title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเป็นบริษัทรับอนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเป็นบริษัทรับอนุญาต (ฉบับที่ 2) ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่บริษัทรับอนุญาต ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2548 เจ้าพนักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) และ (4 ) ของข้อ 8 แห่งประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเป็นบริษัทรับอนุญาต ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(3) การรับซื้อหรือขายเช็ดเดินทาง หรือจ่ายเงินตราให้แก่ผู้ถือบัตรเครดิตต่างประเทศทุกครั้ง บริษัทรับอนุญาตต้องจัดให้มีหลักฐานแสดงการซื้อ ขาย หรือการจ่ายเงินตรา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (ก) วันที่ซื้อหรือขาย (ข) ชื่อ นามสกุล และที่อยู่ของลูกค้า (ค) ชนิด จํานวน และสกุลเงินตราต่างประเทศ (ง) อัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อหรือขาย (จ) ยอดรวมเงินบาท (ฉ) เลขหมายลําดับของหลักฐาน (ช) เลขที่หนังสือเดินทาง หรือเอกสารการเดินทางอื่น (เฉพาะกรณีขายเช็คเดินทางให้ลูกค้า) ให้บริษัทรับอนุญาตมอบหลักฐานแสดงการซื้อหรือขายเช็คเดินทาง หรือการง่ายเงินตราดังกล่าวให้แก่ลูกค้าและจัดให้มีสําเนาเก็บไว้ที่สํานักงานของตน โดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานสามารถตรวจสอบได้เมื่อต้องการ (4) บริษัทรับอนุญาตต้องจัดให้มีสมุดบัญชี และดูแลให้มีการบันทึกรายการเกี่ยวกับการซื้อหรือขายเช็ดเดินทาง หรือการจ่ายเงินตราให้แก่ผู้ถือบัตรเครดิตต่างประเทศทุกชนิด ทุกสกุล ให้เรียบร้อย ถูกต้องและทันเวลา รามทั้งต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีที่เชื่อถือได้ตรวจสอบเป็นประจําอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สมุดบัญชีที่กล่าวในวรรคแรก จะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานสามารถ ตรวจสอบได้เมื่อต้องการ" ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549 (นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ) เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
7,856
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3624 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเซ็กบิวทิลแอลกอฮอล์ เมทิลเอทิลคีโทน ไอโซบิวทิลเมทิลคีโทน ไอโซเอมิลเอทิลคีโทนไดแอซีโทนแอลกอฮอล์ และเฮกซิลีนไกลคอลสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดต่อฟีนนอล์ฟทาลีน – วิธีโวลูเมทริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3624 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เซ็กบิวทิลแอลกอฮอล์ เมทิลเอทิลคีโทน ไอโซบิวทิลเมทิลคีโทน ไอโซเอมิลเอทิลคีโทน ไดแอซีโทนแอลกอฮอล์ และเฮกซิลีนไกลคอลสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดต่อฟีนนอล์ฟทาลีน – วิธีโวลูเมทริก --------------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเซ็กบิวทิลแอลกอฮอล์ เมทิลเอทิลคีโทน ไอโซบิวทิลเมทิลคีโทน ไอโซเอมิลเอทิลคีโทนไดแอซีโทนแอลกอฮอล์ และเฮกซิลีนไกลคอลสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดต่อฟีนนอล์ฟทาลีน – วิธีโวลูเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2017 - 2543 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3007 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเซ็กบิวทิลแอลกอฮอล์ เมทิลเอทิลคีโทน ไอโซบิวทิลเมทิลคีโทน ไอโซเอมิลเอทิลคีโทนไดแอซีโทนแอลกอฮอล์ และเฮกซิลีนไกลคอลสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดต่อฟีนนอล์ฟทาลีน - วิธีโวลูเมทริก ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,857
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1 /2551 ว่าด้วยการโอน การวางหลักประกัน การจำนำตราสารหนี้ และการเปลี่ยนแปลง ทะเบียนตราสารหนี้ พ.ศ. 2551
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1 /2551 ว่าด้วยการโอน การวางหลักประกัน การจํานําตราสารหนี้ และการเปลี่ยนแปลง ทะเบียนตราสารหนี้ พ.ศ. 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ โดยที่หน่วยงานของรัฐบางหน่วยงานได้ทําการระคมเงินกู้โดยวิธีการออกตราสารหนี้และได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน พร้อมทั้งมีการอ้างอิงถึงระเบียบของนายทะเบียนสําหรับการดําเนินการอันเกี่ยวกับทะเบียนตราสารหนี้นั้น ซึ่งในปัจจุบันระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะรองรับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวยังมีเนื้อหาและหลักเกณฑ์ที่ไม่ครอบคลุมเพียงพอ ประกอบกับการที่กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการออก การซื้อขาย การโอน และการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันพ.ศ. 2550 อันมีผลต่อการดําเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะนายทะเบียนอยู่ด้วยจึงสมควรออกระเบียบนี้ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์บางประการ อันเกี่ยวกับการดําเนินงานของนายทะเบียนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ประกอบกับมาตรา 12 (17) แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 3. ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การโอนกรรมสิทธิ์หรือการจํานําพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2541 อื่นๆ - 4. เนื้อหา ข้อ 1 ในระเบียบนี้ "ธนาคาร" หมายถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะนายทะเบียน "ตราสารหนี้" หมายถึง ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร หุ้นกู้ และตราสารอื่นที่มีผลก่อให้เกิดหนี้ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะกําหนด และให้หมายความรวมถึงตราสารหนี้ที่ออกในระบบไร้ใบตราสารด้วย ทั้งนี้ ตราสารที่กล่าวมาเป็นตราสารซึ่งธนาคารเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน "ศูนย์รับฝาก" หมายถึง บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือหน่วยงานอื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อประกอบการศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ "การวางหลักประกัน" หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ให้แก่ผู้รับหลักประกัน เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการทําธุรกรรมต่าง ๆ กับหน่วยงานราชการหรือองค์กรภาครัฐ ข้อ 2 การโอนกรรมสิทธิ์ตราสารหนี้ ผู้โอนและผู้รับโอน ยื่นหนังสือขอโอนกรรมสิทธิ์ตามแบบที่ธนาคารกําหนดพร้อมแนบตราสารหนี้ต้นฉบับ และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 2.1 เอกสารแสดงตัวกรณีบุคคลธรรมดา 2.1.1 บัตรประจําตัวประชาชน หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างต้าวหรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ พร้อมสําเนาที่ลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้อง 2.1.2 ในกรณีกระทําการแทนผู้เยาว์ นอกจากหลักฐานตามข้อ 2.1.1 แล้วให้ใช้ทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์หรือสูติบัตรของผู้เยาว์ หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าวหรือหนังสือเดินทางของผู้เยาว์ พร้อมสําเนาที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้องถ้าผู้เยาว์นั้นมีอายุครบ 15 ปี ขึ้นไป ให้ใช้หลักฐานตามข้อ 2.1.1 ของผู้เยาว์ 2.2 เอกสารแสดงตัวกรณีนิติบุคคล ในกรณีที่ติดต่อกับธนาคารเป็นครั้งแรกหรือมีการเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลหรือเปลี่ยนแปลงผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคล หรือเป็นกรณีที่นิติบุคคลที่ยังไม่เคยให้ข้อมูลหรือตัวอย่างลายมือชื่อกับธนาคารจะต้องนําส่งเอกสารดังต่อไปนี้ 2.2.1 หนังสือรับรองที่ออกโดยกระทรวงพาณิชย์ หรือหนังสือแสดงความเป็นนิติบุคคลที่ออกโดยส่วนราชการ 2.2.2 หนังสือตัวอย่างลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันนิติบุคคลพร้อมสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนที่ลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้องของบุคคลนั้น 2.2.3 ในกรณีที่นิติบุคคลนั้น จะแต่งตั้งตัวแทนเพื่อทําธุรกรรมทุกอย่างเกี่ยวกับตราสารหนี้ทุกประเภท จะต้องใช้หนังสือมอบอํานาจ พร้อมสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจที่ลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้อง เพื่อใช้ประกอบกับหลักฐานตามข้อ 2.2.1 และ 2.2.2 ด้วย 2.3 สําเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ที่ไม่ใช่เงินฝากประจํา) กรณีที่เป็นการติดต่อกับธนาคารครั้งแรกและยังไม่เคยแจ้งบัญชีที่จะนําส่งดอกเบี้ย หรือกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงบัญชีสําหรับนําส่งดอกเบี้ย 2.4 กรณีอื่น ๆ นอกจากข้อ 2.1 และ 2.2. เช่น การกระทําในฐานะผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หรือเป็นการ โอนตราสารหนี้อันเนื่องมาจากการรับมรดก หรือโดยคําสั่งศาล ให้ธนาคารเป็นผู้วินิจฉัยสั่งการ และเรียกหลักฐานอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามสมควร เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะบันทึกการโอนกรรมสิทธิ์และลงลายมือชื่อกํากับในตราสารหนี้นั้น และส่งมอบให้แก่ผู้รับโอน ข้อ 3 การวางหลักประกัน ธนาคาร จะรับดําเนินการทางทะเบียนเฉพาะในกรณีที่เป็นการวางหลักประกันแก่หน่วยงานราชการหรือองค์กรภาครัฐเท่านั้น ทั้งนี้ ให้ผู้วางหลักประกันและผู้รับหลักประกันยื่นหนังสือขอโอนตราสารหนี้เป็นหลักประกันตามแบบที่ธนาคารกําหนดพร้อมแนบตราสารหนี้ต้นฉบับ และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับข้อ 2 เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว จะบันทึกการ โอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกันและลงลายมือชื่อกํากับในตราสารหนี้นั้น และส่งมอบให้แก่ผู้รับหลักประกัน ข้อ 4 การจํานําตราสารหนี้ ผู้จํานําและผู้รับจํานํายื่นหนังสือขอจํานําสิทธิในตราสารหนี้ตามแบบที่ธนาคารกําหนดพร้อมแนบตราสารหนี้ต้นฉบับ และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับข้อ 2 เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว จะบันทึกการจํานําและลงลายมือชื่อกํากับในตราสารหนี้นั้น และส่งมอบให้แก่ผู้รับจํานํา ข้อ 5 การถอนหรือการบังคับหลักประกัน เมื่อการวางหลักประกันระงับสิ้นไป ให้ผู้รับหลักประกันและผู้วางหลักประกันยื่นหนังสือขอโอนกรรมสิทธิ์ตราสารหนี้ที่เป็นหลักประกันคืนตามแบบที่ธนาคารกําหนดพร้อมแนบตราสารหนี้ต้นฉบับ และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับข้อ 2 เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะบันทึกการโอนกรรมสิทธิ์ที่เป็นหลักประกันคืนและลงลายมือชื่อกํากับในตราสารหนี้นั้น และส่งมอบให้แก่ผู้วางหลักประกัน เมื่อผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งขอบังคับหลักประกัน เนื่องจากผู้วางหลักประกันไม่ปฏิบัติตามสัญญา และธนาคาร ได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะดําเนินการบันทึกการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามที่ผู้รับหลักประกันแจ้ง ข้อ 6 การถอนจํานําตราสารหนี้ เมื่อการจํานําได้ระงับสิ้นไป ให้ผู้จํานําติดต่อธนาคารขอถอนการจํานํา โดยจัดทําหนังสือขอถอนจํานําพร้อมแนบหนังสือให้ความยินยอมถอนจํานําตามแบบที่ธนาคารกําหนดซึ่งผู้รับจํานําได้ลงนามให้ความยินยอมไว้แล้วพร้อมแนบตราสารหนี้ต้นฉบับ และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับข้อ 2 เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว จะบันทึกการถอนการจํานําและลงลายมือชื่อกํากับในตราสารหนี้นั้น และส่งมอบให้แก่ผู้จํานํา ข้อ 7 การบังคับจํานําตราสารหนี้ เมื่อดําเนินการบังคับจํานําตามกฎหมายและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วให้ผู้รับจํานํายื่นเอกสารและหลักฐานให้แก่ธนาคาร ได้แก่ สําเนาหนังสือทวงหนี้จากผู้รับจํานําถึงผู้จํานํา สําเนาหนังสือแจ้งผู้จํานําเรื่องการขายทอดตลาด บันทึกผลการประมูลขายทอดตลาดของผู้รับจํานํา และหลักฐานอื่น ๆ ตามที่ธนาคารจะกําหนด เมื่อธนาคารตรวจสอบเอกสารและหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นชื่อผู้ที่ประมูลตราสารหนี้ได้ ข้อ 8 การขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนตราสารหนี้ และอื่น ฯ 8.1 การขอแก้ไขชื่อ หรือชื่อสกุลที่จดทะเบียน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติหรือมีหนังสือถึงธนาคารขอแก้ไขชื่อหรือชื่อสกุลพร้อมแนบตราสารหนี้ต้นฉบับและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 และเอกสารการเปลี่ยนแปลงชื่อหรือชื่อสกุลพร้อมสําเนาลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้อง เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะบันทึกแก้ไขชื่อหรือชื่อสกุลในตราสารหนี้นั้น 8.2 การขอแจ้งเปลี่ยนแปลงบัญชีสําหรับนําส่งดอกเบี้ยหรือแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคําขอเปลี่ยนแปลงทะเบียนประวัติ หรือมีหนังสือถึงธนาคารขอแก้ไขบัญชีสําหรับนําส่งดอกเบี้ย หรือแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่พร้อมแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะบันทึกแก้ไขบัญชีสําหรับนําส่งดอกเบี้ยหรือที่อยู่สําหรับการติดต่อ 8.3 การขอแบ่งแยกหรือยุบรวมตราสารหนี้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคําร้องหรือมีหนังสือถึงธนาคารขอแบ่งแยกหรือยุบรวมตราสารหนี้ โดยระบุจํานวนเงินและจํานวนฉบับที่ต้องการพร้อมแนบตราสารหนี้ต้นฉบับและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับข้อ 2 เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะดําเนินการแบ่งแยกหรือยุบรวมตราสารหนี้ 8.4 การขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่ชํารุด ผู้ถือกรรมสิทธิ์ยื่นคําร้องหรือมีหนังสือถึงธนาคารขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่ชํารุดพร้อมแนบตราสารหนี้ที่ชํารุดและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับข้อ 2 เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะดําเนินการออกตราสารหนี้ฉบับใหม่ให้ 8.5 การขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่ สูญหาย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขึ้นคําร้องหรือมีหนังสือถึงธนาคารขอออกตราสารหนี้ฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายพร้อมแนบใบรับแจ้งความของพนักงานสอบสวนและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับข้อ 2 เมื่อธนาคารได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะดําเนินการออกตราสารหนี้ฉบับใหม่ให้ ข้อ 9 อื่นๆ 9.1 การโอนกรรมสิทธิ์ การวางหลักประกัน การจํานําตราสารหนี้ หรือการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนสามารถกระทําได้ ยกเว้น ในช่วงวันปิดพักทะเบียนซึ่งกําหนดดังนี้ 9.1.1 ตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุของตราสารไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ออกตราสารนั้น กําหนดวันปิดพักทะเบียนในช่วงระยะเวลา 1 วันทําการของธนาคารก่อนวันถึงกําหนดชําระคืนต้นเงิน 9.1.2 ตราสารหนี้ระยะยาวที่มีอายุของตราสารตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปนับแต่วันที่ออกตราสารนั้น กําหนดวันปิดพักทะเบียนในช่วงระยะเวลา 10 วันก่อนวันถึงกําหนดชําระคืนต้นเงิน 9.1.3 ตราสารหนี้ระยะยาวที่มีอายุของตราสารตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปนับแต่วันที่ออกตราสารนั้น และเป็นตราสารนี้ประเภทออมทรัพย์ ตามประกาศของผู้ออกตราสาร กําหนดวันปิดพักทะเบียนในช่วงระยะเวลา 30 วันก่อนวันถึงกําหนดชําระคืนต้นเงิน 9.2 ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้ในแต่ละงวด ให้กับผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยถือตามรายชื่อทางทะเบียน หรือตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์กําหนด ณ วันทําการสุดท้ายของธนาคารก่อนถึงช่วงระยะเวลา 10 วันก่อนวันถึงกําหนดชําระดอกเบี้ย สําหรับตราสารหนี้ประเภทออมทรัพย์จะถือตามรายชื่อทางทะเบียนหรือตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์กําหนด ณ วันทําการสุดท้ายของธนาคารก่อนถึงช่วงระยะเวลา 30 วันก่อนวันถึงกําหนดชําระดอกเบี้ย ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศของผู้ออกตราสาร สําหรับตราสารหนี้ที่ฝากอยู่กับศูนย์รับฝาก การจ่ายดอกเบี้ยหรือการชําระคืนต้นเงินของตราสารหนี้ให้ใช้รายชื่อตามที่ศูนย์รับฝากแจ้งแก่ธนาคาร 9.3 กรณีผู้เกี่ยวข้องจะทําการโอนกรรมสิทธิ์ การวางหลักประกัน การจํานําการถอนจํานํา หรือการทํานิติกรรมหรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ หากผู้เกี่ยวข้องไม่สามารถมาดําเนินการด้วยตนเองได้และได้เคยให้ตัวอย่างลายมือชื่อของตนเองไว้ต่อธนาคารแล้วผู้เกี่ยวข้องสามารถจัดทําหนังสือมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมาดําเนินการแทนได้ พร้อมแนบบัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาที่ลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้องของผู้มอบอํานาจ และบัตรประจําตัวประชาชนพร้อมสําเนาที่ลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้องของผู้รับมอบอํานาจด้วย 9.4 ค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ การวางหลักประกัน การจํานํา การถอนจํานํา หรือทํานิติกรรมหรือธุรกรรมต่าง ๆ กับธนาคาร ให้เป็นไปตามอัตราที่ธนาคารประกาศกําหนด 9.5 ธนาคารสงวนสิทธิที่จะไม่รับดําเนินการโอนกรรมสิทธิ์ วางหลักประกันหรือจํานํา ถอนหลักประกันหรือถอนจํานํา บังคับหลักประกัน หรือบังคับจํานํา หรือธุรกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับตราสารหนี้ ให้กับบุคคลที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม หรือมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกฎหมาย หรือมีเหตุไม่สมควรประการอื่น ข้อ 10 ในกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กําหนดวิธีปฏิบัติไว้หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้ธนาคารมีอํานาจดําเนินการและวินิจฉัยสั่งการได้ตามสมควร อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,858
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3625 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมบอเรตดิบสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็กที่ละลายได้ในตัวกลางที่เป็นด่าง - วิธี 2,2 ’ – วิธีไบไพริดิลโฟโตเมทริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3625 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โซเดียมบอเรตดิบสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็กที่ละลายได้ในตัวกลางที่เป็นด่าง - วิธี 2,2 ’ – วิธีไบไพริดิลโฟโตเมทริก --------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมบอเรตดิบสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็กที่ละลายได้ในตัวกลางที่เป็นด่าง - วิธี 2,2 ’- วิธีไบไพริดิลโฟโตเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1964 - 2543 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2809 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมบอเรตดิบสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็กที่ละลายได้ในตัวกลางที่เป็นด่าง - วิธี 2,2 ’ – วิธีไบไพริดิลโฟโตเมทริก ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,859
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 90/2552 ว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการยืมตราสารหนี้ (บริการการยืมตราสารหนี้)
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 90/2552 ว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการยืมตราสารหนี้ (บริการการยืมตราสารหนี้) ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือในการดําเนินนโยบายการเงิน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 33 (7) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยพุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ผู้ให้ยืมตามระเบียบฉบับนี้ อื่นๆ - 4. เนื้อหา ในระเบียบนี้ "ผู้ให้ยืม" หมายถึง (1) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ ธปท. กําหนด และ (2) นิติบุคคลอื่นตามที่ ธปท. กําหนด "ตราสารหนี้" หมายถึง (1) ตั๋วเงินคลัง (2) ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (3) พันธบัตรรัฐบาล (4) พันธบัตร ธปท. (5) พันธพัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่ ธปท. จะเห็นสมควร "ตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย" หมายถึงตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของ ธปท.ที่ออกให้แก่ผู้ให้ยืมตามระเบียบนี้ "ศูนย์รับฝาก" หมายถึง บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือหน่วยงานอื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อประกอบการศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ "บริการ EFS" หมายถึง บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4.1 ก่อนเริ่มทําธุรกรรมกับ ธปท.ตามระเบียบนี้ ผู้ให้ยืมต้อง 4.1.1 เป็นผู้ใช้บริการ และจะต้องแต่งตั้งบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม ผู้จัดการสิทธิการใช้บริการ/ผู้รับรอง (Certifier) และผู้ปฏิบัติงาน (Officer) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4.1.2 ทําหนังสือแสดงความตกลงตามแบบ (1) ที่ ธปท. กําหนด 4.1.3 ทําหนังสือมอบอํานาจให้บุคคลทําหน้าที่แต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการการยืมตราสารหนี้ ตามแบบ (2) ที่ ธปท. กําหนด 4.14 ให้บุคคลผู้รับมอบอํานาจตามข้อ 4.1.3 ทําหนังสือแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการการยืมตราสารหนี้ ตามแบบ (3) ที่ ธปท. กําหนด 4.1.5 ให้ผู้จัดการสิทธิตามข้อ 4.1.4 ทําหนังสือกําหนดสิทธิในการทําธุรกรรมการยืมตราสารหนี้ ตามแบบ (4) ที่ ธปท. กําหนด แต่จะกําหนดสิทธิให้ตนเองไม่ได้ 4.1.6 ทําหนังสือมอบอํานาจให้บุคคลกระทําการแทนผู้ให้ยืมในการติดต่อกับ ธปท. เพื่อทําธุรกรรมการยืมตราสารหนี้ ตามแบบ (5) ที่ ธปท. กําหนด 4.1.7 ทําหนังสือแจ้งรายละเอียดสําหรับการส่งมอบตราสารหนี้และชําระเงินตามแบบ (6) ที่ ธปท. กําหนด 4.2 การแสดงเจตนา การบอกกล่าวและการสื่อสารใด ๆ ระหว่าง ธปท. กับผู้ให้ยืมให้ดําเนินการผ่านบริการ EFS ในกรณีที่บริการ EFS ขัดข้องหรือไม่สามารถใช้งานได้ การแจ้งคําเสนอให้ยืมตราสารหนี้ การแจ้งผล การยืนยันหรือการติดต่อระหว่างผู้ให้ยืมกับ ธปท. ให้ดําเนินการทางโทรศัพท์ และให้ผู้ให้ยืมและ ธปท. จัดส่งเอกสารให้แก่กันตามเวลาที่ ธปท. ประกาศกําหนด มิฉะนั้น ธปท. มีสิทธิเรียกค่าปรับจากผู้ให้ยืมได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนด 4.3 ในการทําธุรกรรมแต่ละคราวนั้น ให้มีขั้นตอนดําเนินการ ดังนี้ 4.3.1 ผู้ให้ยืมแจ้งคําเสนอให้ยืมตราสารหนี้มายัง ธปท. ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท.ประกาศกําหนด โดยระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) มูลค่ารวมตามราคาตราของตราสารหนี้ที่ให้ยืม โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ ธปท. ประกาศกําหนด (ข) อัตราค่าธรรมเนียมการยืมตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด (ค) ระยะเวลาของการให้ยืม โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ ธปท. ประกาศกําหนด (ง) เงื่อนไขในการเปลี่ยนตราสารหนี้ที่ให้ยืม หากพ้นเวลาที่กําหนดให้ทําคําเสนอ และผู้ให้ยืมขอเพิ่มคําเสนอ ธปท. จะพิจารณาเป็นรายกรณี โดย ธปท.อาจตกลงยืมตราสารหนี้กับผู้ให้ยืมหรือไม่ก็ได้ ตามที่ ธปท.เห็นสมควร 4.3.2 ธปท. จะแจ้งผลการยืมตราสารหนี้ให้ผู้ให้ยืมทราบ โดย ธปท. จะตกลงยืมตราสารหนี้กับผู้ให้ยืมเป็นจํานวนเท่าใดก็ได้ตามที่ ธปท. จะเห็นสมควร และให้ถือว่าการแจ้งผลของธปท. นั้นเป็นคําสนองและสัญญาการยืมตราสารหนี้มีผลผูกพันคู่สัญญาทันที ไม่ว่าผู้ให้ยืมจะได้แจ้งยืนยันกลับมาให้ ธปท. ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนดหรือไม่ก็ตาม และผู้ให้ยืมจะต้องแจ้งรายละเอียดตราสารหนี้ ตามผลการพิจารณาของ ธปท. ตามแบบและหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กําหนด 4.3.3 ในวันทําการถัดไป ผู้ให้ยืมจะต้องโอนตราสารหนี้ให้ ธปท. ตามวิธีการและเวลาที่ ธปท. ประกาศกําหนด เมื่อ ธปท. ได้รับโอนตราสารหนี้จากผู้ให้ยืมแล้ว ธปท. จะดําเนินการออกตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ผู้ให้ยืมเพื่อเป็นหลักประกันตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนด ทั้งนี้ ตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือหรือใช้เป็นหลักประกันได้ เว้นแต่ ธปท. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น 4.3.4 ในวันครบกําหนด เมื่อผู้ให้ยืมเวนคืนตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ ธปท.แล้ว ธปท. จะโอนตราสารหนี้คืนให้ผู้ให้ยืม พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมการยืมตามอัตราและระยะเวลาที่ ธปท. ประกาศกําหนด โดย ธปท. จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ยกเว้น ในกรณีที่ผู้ให้ยืมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร และให้ถือว่าสิทธิของผู้ให้ยืมในตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังกล่าวสิ้นสุดลงทันที 4.3.5 หากผู้ให้ยืมจะขอใช้สิทธิในการเปลี่ยนรุ่นตราสารหนี้ ต้องแจ้งให้ ธปท.ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน และมูลค่ารวมของตราสารหนี้ที่นํามาเปลี่ยนต้องมีราคาตลาดเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่ารวมตามราคาตลาดของตราสารหนี้เดิมที่ขอเปลี่ยน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนด และ ธปท. มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายจากผู้ให้ยืมไม่เกินจํานวนที่ ธปท. ประกาศกําหนด หากผู้ให้ยืมแจ้งขอเปลี่ยนตราสารหนี้กับ ธปท. แล้ว และในวันที่มีผลผู้ให้ยืมไม่โอนตราสารหนี้รุ่นใหม่ตามที่ได้แจ้งขอเปลี่ยนไว้ ธปท. มีสิทธิเรียกค่าปรับจากผู้ให้ยืมตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนด 4.4 ในกรณีที่วันปิดพักสมุดทะเบียนเพื่อการจ่ายดอกเบี้ยตราสารหนี้ที่ใช้ในการยืมอยู่ในช่วงระยะเวลาของสัญญายืม ธปท. จะชําระดอกเบี้ยดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ให้ยืม ในวันที่ ธปท.ได้รับดอกเบี้ยตราสารหนี้ดังกล่าว โดยมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ยกเว้น ในกรณีที่ผู้ให้ยืมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ธปท. จะชําระดอกเบี้ยตราสารหนี้คืนให้แก่ผู้ให้ยืมเต็มจํานวน โดยไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 4.5 ในกรณีที่ผู้ให้ยืมไม่สามารถส่งมอบตราสารหนี้ให้ ธปท. ภายในเวลาที่ ธปท.ประกาศกําหนด ธปท. มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือดําเนินการตามที่เห็นสมควร และ ธปท. มีสิทธิเรียกค่าปรับจากผู้ให้ยืมตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนด 4.6 ในวันทําการก่อนวันครบกําหนด ถ้าผู้ให้ยืมประสงค์จะให้ ธปท. ยืมตราสารหนี้ต่อทั้งจํานวน (Rollover) ให้ผู้ให้ยืมแจ้งความประสงค์มายัง ธปท. ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนด ทั้งนี้ หาก ธปท. ตกลงยืมตราสารหนี้ดังกล่าวต่อ ให้ถือว่าการแจ้งผลของ ธปท. นั้น เป็นคําสนองและสัญญาการยืมตราสารหนี้มีผลผูกพันคู่สัญญาทันที ไม่ว่าผู้ให้ยืมจะได้แจ้งยืนยันกลับมาให้ ธปท.ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนดหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ผู้ให้ยืมจะต้องเวนคืนตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย คืนให้ ธปท. และ ธปท. จะจ่ายค่าธรรมเนียมการยืมตามที่ได้ตกลงไว้ ภายในเวลาที่ ธปท. ประกาศกําหนดโดย ธปท. จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ยกเว้น ในกรณีที่ผู้ให้ยืมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร และให้ถือว่าสิทธิของผู้ให้ยืมในตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับดังกล่าวสิ้นสุดลงทันที และ ธปท. จะออกตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับใหม่แทนให้ 4.7 ธปท. อาจพิจารณาไม่ยืมตราสารหนี้ตามระเบียบนี้กับผู้ให้ยืมเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ในกรณีที่ผู้ให้ยืมไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือระเบียบอื่นใดของ ธปท. และ/หรือดําเนินการใด ๆ ที่ไม่สอดคล้อง และ/หรือ ส่งผลในทางลบต่อแนวทางในการดําเนินนโยบายการเงิน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และ/หรือ การสร้างเสถียรภาพในระบบการเงิน 4.8 ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงระเบียบ ประกาศ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องตามระเบียบนี้ได้ โดย ธปท. จะแจ้งให้ผู้ให้ยืมทราบล่วงหน้า 4.9 การตีความตามระเบียบ ประกาศ หรือข้อกําหนดอื่นใดที่ออกตามระเบียบนี้ ธปท. จะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล ในระหว่างที่ ธปท. ยังพัฒนาบริการ EFS เพื่อรองรับการทําธุรกรรมตามระเบียบนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดําเนินการตามข้อ 4.2 วรรคสอง โดยอนุโลมซึ่งรวมถึงการเรียกค่าปรับกรณีไม่ปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวด้วย อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ก.ย. 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,860
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับศูนย์บริหารเงิน
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับศูนย์บริหารเงิน ---------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และ ข้อ 3 และ ข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ศูนย์บริหารเงิน ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เจ้าพนักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประสงค์จะขอความเห็นชอบจัดตั้งศูนย์บริหารเงินต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือต่างประเทศ (2) มีบริษัทในเครือในประเทศไทย หรือในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หรือประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยที่ประกอบธุรกิจด้านการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ หรือมีบริษัทในประเทศที่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องกันหรือมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการผลิตและการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่ 3 บริษัทขึ้นไป ข้อ ๒ 2 ผู้ประสงค์จะขอความเห็นชอบ จะต้องยื่นคําขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผ่านธนาคาแห่งประเทศไทย โดยให้ยื่นคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบที่เกี่ยวข้องโดยจัดทําเป็น 2 ชุด ดังต่อไปนี้ (1) คําขอจัดตั้งศูนย์บริหารเงินตามแบบที่กําหนด (2) สําเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองทุนจดทะเบียนของผู้ขอ (3) สําเนาหรือภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ และบัญชีราชชื่อผู้ถือหุ้นของผู้ขอ (4) รายชื่อกลุ่มบริษัทในเครือในประเทศและต่างประเทศ หรือกลุ่มบริษัทที่มีธุรกิจเกี่ยวเนื่องกันหรือมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ (5) หนังสือยินยอมจากกลุ่มบริษัทในประเทศมอบอํานาจให้บริหารจัดการทางการเงิน (6) งบการเงินล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วของกลุ่มบริษัทในเครือ หรือกลุ่มบริษัทในประเทศที่ยินยอมให้บริหารจัดการทางการเงิน ในการขึ้นคําขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ขึ้นผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ จะพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้ขอ และความเหมาะสมของสถานการณ์ ข้อ ๓ เมื่อผู้ขออนุญาตได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์บริหารเงินแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการจัดตั้งศูนย์บริหารเงินเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย และยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นศูนย์บริหารเงินพร้อมส่งสําเนาใบสําคัญการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือรับรองและรายชื่อผู้ถือหุ้นที่กระทรวงพาณิชย์รับรองแล้วไปให้เจ้าพนักงานภายใน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์บริหารเงิน ข้อ ๔ เจ้าพนักงานอาจเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาไม่อนุญาต หรือ ถอนใบอนุญาต หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากเจ้าพนักงานมีข้อสงสัยหรือมีเหตุที่เชื่อได้ว่านิติบุคคลที่ขอรับอนุญาต หรือศูนย์บริหารเงิน กระทําการดังต่อไปนี้ (1) ไม่ปฏิบัติหรือฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน หรือกฎข้อบังคับคําสั่ง และประกาศที่ได้ออกเพื่อดําเนินการตามกฎหมายนั้น (2) ปฏิบัติการอันเป็นภัยต่อระบบการแลกเปลี่ยนเงิน (3) ปฏิบัติการอันเป็นภัยต่อสาธารณชนในทางเศรษฐกิจ (4) เหตุอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานเห็นสมควร ในกรณีที่รัฐมนตรีสั่งถอนหรือแจ้งไม่ต่ออายุใบอนุญาตของศูนย์บริหารเงินนั้น ให้เจ้าของหรือผู้จัดการ ส่งคืนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานกําหนด ข้อ ๕ ในการประกอบธุรกิจ ให้ศูนย์บริหารเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) การชําระเงินให้กับกลุ่มบริษัทและบริษัทคู่ค้าในประเทศไทยต้องเป็นเงินบาท สําหรับการชําระเงินให้กับบริษัทในต่างประเทศให้ชําระเป็นเงินตราต่างประเทศ เว้นแต่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยให้ชําระเป็นเงินบาทได้ (2) การนําสภาพคล่องส่วนเกินของกลุ่มบริษัทไปให้กลุ่มบริษัทในต่างประเทศ กู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินวงเงินที่เจ้าพนักงานกําหนด โดยจะพิจารณาจากฐานะทางการเงินและผลประกอบการของกลุ่มบริษัท (3) การซื้อ ขายเงินตราต่างประเทศ และการทําธุรกรรมเพื่อบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องทํากับนิติบุคคลรับอนุญาตในประเทศเท่านั้น (4) นํารายได้จากต่างประเทศฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศได้ โดยให้แจ้งชื่อนิติบุคคลรับอนุญาตผู้รักษาบัญชีและหมายเลขบัญชีดังกล่าวต่อเจ้าพนักงาน และมิให้นําเงินตราต่างประเทศในบัญชีดังกล่าวนี้ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่ธุรกิจการบริหารจัดการทางการเงินโดยยอดคงเหลือในบัญชีรวมทุกบัญชีจะต้องไม่เกินวงเงินตามที่เจ้าพนักงานกําหนด ซึ่งจะพิจารณาจากฐานะทางการเงินและผลประกอบการของกลุ่มบริษัท (5) จัดให้มีการบันทึกบัญชีทุกรายการ ให้เรียบร้อย ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีที่เชื่อถือได้ตรวจสอบเป็นประจําอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ รายการบัญชีดังกล่าวจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานสามารถตรวจสอบได้เมื่อต้องการ (6) จัดให้มีการแยกบันทึกบัญชีของตนกับกลุ่มบริษัทให้ชัดเจน (7) ต้องจัดทํารายงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่เจ้าพนักงานกําหนด ข้อ ๖ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพนิติบุคคลของศูนย์บริหารเงิน ให้รายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานเป็นหนังสือ พร้อมทั้งยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ข้อ ๗ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 (นางทัศนา รัชตโพธิ์) เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
7,861
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57 /2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57 /2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เพื่อให้การดําเนินนโยบายการเงินโดยวิธีการออกพันธบัตรครอบคลุมการออกพันธบัตรเพื่อการออมทรัพย์ จําหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อขยายฐานนักลงทุน อันจะเอื้อต่อการพัฒนาตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 33 (5) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. ยกเลิก ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 4. เนื้อหา ข้อ 1 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกู้ยืมเงินโดยวิธีออกพันธบัตรออมทรัพย์ตามวงเงินและกําหนดชําระคืนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ข้อ 2 พันธบัตรออมทรัพย์เป็นชนิดออกให้ในนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้เป็นหน่วย หน่วยละหนึ่งพันบาท ข้อ 3 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจําหน่ายและจัดสรรพันธบัตรออมทรัพย์ให้แก่ผู้มีสิทธิซื้อตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้แทนจัดจําหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์โดยมีค่าบําเหน็จตอบแทนก็ได้ โดยผู้แทนจัดจําหน่ายต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการจัดจําหน่ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ข้อ 4 ผู้มีสิทธิซื้อ ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สหกรณ์ มูลนิธิ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ไม่มีสิทธิซื้อ ผู้ไม่มีสิทธิซื้อ ได้แก่ ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัท เครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สํานักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างหุ้นส่วน หน่วยงานธุรกิจ หรือนิติบุคคลที่แสวงหากําไร ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจปรับเปลี่ยนประเภทของผู้มีสิทธิซื้อและผู้ไม่มีสิทธิซื้อสําหรับการออกพันธบัตรออมทรัพย์แต่ละรุ่นตามความเหมาะสม ข้อ 5 ผู้เสนอขอซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ต้องดําเนินการและชําระราคาตามวิธีการและกําหนดเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ข้อ 6 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินพันธบัตรออมทรัพย์ และจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการนี้ ข้อ 7 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคํานวณดอกเบี้ยจากราคาตราของพันธบัตรออมทรัพย์ตามอัตราดอกเบี้ยและแบ่งชําระดอกเบี้ยตามงวดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดสําหรับพันธบัตรออมทรัพย์แต่ละรุ่น การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์ในแต่ละงวดจะจ่ายให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยถือตามรายชื่อทางทะเบียน ณ วันทําการสุดท้ายของธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนถึงช่วงระยะเวลา 30 วันก่อนถึงวันกําหนดชําระดอกเบี้ย หรือตามระยะเวลาที่นายทะเบียนประกาศกําหนด หรือตามที่ธนาคารแห่งประทศไทยได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ฝากพันธบัตรไว้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด ข้อ 8 หากวันครบกําหนดชําระดอกเบี้ย หรือวันไถ่ถอนพันธบัตรออมทรัพย์ตรงกับวันหยุดทําการของธนาคารแห่งประเทศไทย จะเลื่อนไปชําระในวันทําการถัดไป ข้อ 9 การโอนกรรมสิทธิ์ การจํานํา หรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่นายทะเบียนให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศและพิธีปฏิบัติในการดําเนินการที่เกี่ยวกับการเป็นนายทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพิธีปฏิบัติระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ การโอนกรรมสิทธิ์ การจํานํา หรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่นายทะเบียน สามารถกระทําได้ตลอดเวลา แต่ไม่สามารถกระทําในระหว่างระยะเวลา 30 วันก่อนถึงกําหนดชําระคืนต้นเงิน หรือตามระยะเวลาที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ในกรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ประสงค์จะดําเนินการผ่านผู้แทนจัดจําหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ อาจมีค่าใช้จ่ายในการดําเนินการตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ข้อ 10 การออกใบพันธบัตร มีให้ถือว่าฉบับใดสมบูรณ์ เว้นแต่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งขึ้น ได้ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรฉบับนั้น ข้อ 11 การชําระต้นเงินตามใบพันธบัตรนี้ จะกระทําได้ต่อเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคืนใบพันธบัตรแล้ว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะชําระต้นเงินให้ตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์แจ้งไว้ในแบบคําขอรับคืนต้นเงินพันธบัตร กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์ฝากพันธบัตรไว้กับบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จํากัด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะชําระต้นเงินตามรายชื่อที่ได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด ข้อ 12 ธนาคารแห่งประเทศไทยสงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนการจําหน่ายพันธบัตรหรือไม่รับคําเสนอขอซื้อของผู้มีสิทธิซื้อรายใดก็ได้ ตามความจําเป็นและเหมาะสม อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล ให้ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปสําหรับพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ออกแล้วตามระเบียบดังกล่าว จนกว่าจะครบกําหนดอายุไถ่ถอนพันธบัตร อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2554 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,862
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3648 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 6 การทดสอบปริมาตรและความดันขณะแตก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3648 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ถุงยางอนามัย เล่ม 6 การทดสอบปริมาตรและความดันขณะแตก ------------------------ อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 6 การทดสอบปริมาตรและความดันขณะแตก มาตรฐานเลขที่ มอก. 625 เล่ม 6 - 2541 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2547 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 6 การทดสอบปริมาตรและความดันขณะแตก ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,863
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ----------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 และข้อ 9 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ข้อ 16 และข้อ 20 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 และข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 8 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 เจ้าพนักงาน ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 1 เมษายน 2534 (2) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 เมษายน 2535 (3) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 (4) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 22 กันยายน 2540 (5) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 (6) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 (7) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2543 (8) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 11 มกราคม 2544 (9) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 (10) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 (11) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 (12) ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2546 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ "นิติบุคคลรับอนุญาต" หมายความว่า ตัวแทนรับอนุญาตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 และนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศ "ธุรกิจในเครือ" หมายความว่า บรรดานิติบุคคลที่มีบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น และหมายความรวมถึงบรรดานิติบุคคลซึ่งนิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมดของนิติบุคคลหลังด้วย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย "ลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ" หมายความถึง จัดตั้งกิจการในต่างประเทศหรือเข้าร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 ของทุนทั้งหมดของกิจการนั้น ทั้งนี้ สัดส่วนการถือหุ้นให้นับต่อหนึ่งราย "กิจการในเครือที่ต่างประเทศ" หมายความถึง สํานักงานสาขาหรือตัวแทนที่อยู่นอกประเทศของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ห้างหุ้นส่วนในต่างประเทศที่ผู้ให้กู้เป็นหุ้นส่วนรวมกันไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 ของทุนทั้งหมดของห้างนั้น บริษัทจํากัดในต่างประเทศที่ผู้ให้กู้ถือหุ้นรวมกันไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 ของหุ้นทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น และให้หมายความรวมถึงกิจการในต่างประเทศที่ผู้ให้กู้มีส่วนเป็นเจ้าของไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 ของทุนทั้งหมดของกิจการนั้น อื่นๆ ๑ การส่งหรือนําเงินตราออกนอกประเทศ ---------------------------------- ข้อ ๓ การส่งหรือนําเงินตราออกนอกประเทศนอกจากกรณีที่ระบุในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ผู้ส่งหรือนําเงินตราออกนอกประเทศต้องยื่นคําขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานโดยชี้แจงรายละเอียดและความจําเป็นพร้อมเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่นิติบุคคลรับอนุญาตได้รับคําขอและเอกสารประกอบ (ถ้ามี) จากผู้ขอและตรวจสอบจนเป็นที่พอใจว่าข้อความในคําขอและเอกสารประกอบแท้จริงและถูกต้อง ให้นิติบุคคลรับอนุญาตลงลายมือชื่อรับรองและประทับตราบนคําขอรวมทั้งเอกสารประกอบ และส่งคําขอพร้อมเอกสารประกอบให้เจ้าพนักงานพิจารณา เมื่อเจ้าพนักงานอนุญาตคําขอแล้ว ให้ผู้ขอนําหนังสืออนุญาตของเจ้าพนักงานไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในขณะที่เดินทางออกนอกประเทศ ข้อ ๔ ในกรณีที่ธนาคารที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยขอส่งหรือนําเงินตราที่ถอนจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศของตนเกินกว่าจํานวนที่ระบุในข้อ 2 (2) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 กลับไปยังประเทศดังกล่าวเจ้าพนักงานอนุญาตให้นิติบุคคลรับอนุญาตดําเนินการ ได้ เมื่อปฏิบัติตามข้อ 5 แล้ว ข้อ ๕ การส่งหรือนําเงินตราออกนอกประเทศตามข้อ 4 และกรณีธนาคารรับอนุญาตส่งหรือนําเงินตราออกนอกประเทศในจํานวนไม่เกินมูลค่าของเงินตราหรือเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารในต่างประเทศส่งหรือนําเข้ามาแลกเปลี่ยน ให้นิติบุคคลรับอนุญาตหรือธนาคารรับอนุญาตแล้วแต่กรณีมีหนังสือถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดราคา และจํานวนเงินตราที่จะส่งหรือนําออกนอกประเทศ พร้อมทั้งรับรองว่าเงินตราที่ส่งหรือนําออกนอกประเทศดังกล่าวเป็นไปตามข้อ 4 แห่งประกาศนี้ หรือตามข้อ 2 (1) แห่งประกาศกระทรวง การคลัง เรื่อง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 แล้วแต่กรณี อื่นๆ ๒ การยกเว้นหรือผ่อนผันเกี่ยวกับค่าของส่งออก --------------------------------------------- ข้อ ๖ กรณีขอยกเว้นหรือผ่อนผันการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศค่าของส่งออกตามข้อ 16 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ดังต่อไปนี้ (1) รับชําระค่าของส่งออกเป็นเงินบาทจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (2) รับชําระค่าของที่ส่งออกไปยังสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามหรือประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยเป็นเงินบาท (3) ยกเว้นการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ สําหรับการส่งของออกไปนอกประเทศเพื่อซ่อมแซม ทดสอบ แสดงเผยแพร่ ชดเชยของที่ชํารุดสูญหายหรือแลกเปลี่ยนกับของที่นําเข้ามาในประเทศ (4) ผ่อนผันการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ สําหรับการส่งของออกที่ผู้ซื้อชําระเงินเกินกว่า 120 วัน นับแต่วันส่งของออกนอกประเทศ หรือเกินกว่ากําหนดเงื่อนเวลาการชําระค่าของ ทั้งนี้ ระยะเวลาการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศต้องไม่เกิน 360 วัน นับแต่วันส่งของออกนอกประเทศ (5) ยกเว้นการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศค่าของส่งออกที่เป็นการรับจ้างผลิตในส่วนที่เป็นค่าวัตถุดิบที่ผู้ว่าจ้างส่งเข้ามาให้ (6) ยกเว้นการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศค่าของส่งออกในกรณีที่มีการหักกลบลบหนี้กับคู่ค้าเพียงรายเดียว โดยให้รวมถึงหนี้ของธุรกิจในเครือด้วย เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ส่งออก รับชําระค่าของส่งออกเป็นเงินบาทตาม (1) ได้ เจ้าพนักงานยกเว้นหรือผ่อนผันตาม (2) ถึง (6) เมื่อผู้ขอยื่นแบบคําขออนุญาตตามที่เจ้าพนักงานกําหนดพร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 และนิติบุคคลรับอนุญาตตรวจสอบและพอใจว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้อง และ ให้จัดทําสําเนาแบบคําขออนุญาตที่ได้อนุญาตแล้วมอบให้แก่บุคคลนั้นไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งปฏิบัติตามข้อ 46 และข้อ 47 ข้อ ๗ กรณีขอยกเว้นตามข้อ 7 และข้อ 16 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 โดยขอไม่ขายเงินตราต่างประเทศค่าของส่งออกแก่นิติบุคคลรับอนุญาตและไม่นําเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฝากไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาตแต่ประสงค์จะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) โอนให้แก่บุคคลในต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 11 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 (2) โอนให้แก่นิติบุคคลรับอนุญาต เพื่อชําระคืนหนี้เงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ ให้รวมถึงกรณีการชําระเงินตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวแทนธุรกิจในเครือด้วย เจ้าพนักงานยกเว้นให้ไม่ขายเงินตราต่างประเทศ และไม่นําเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฝากไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาต เมื่อผู้ขอยื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 พร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ 8 และนิติบุคคลรับอนุญาตตรวจสอบและพอใจว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้อง รวมทั้งปฏิบัติตามข้อ 44 ข้อ 46 และข้อ 47 ข้อ ๘ การขอยกเว้นหรือผ่อนผันตามข้อ 6 และ ข้อ 7 ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเรียกให้ผู้ขอยื่นเอกสารหลักฐานในแต่ละกรณีดังนี้ (1) รับชําระค่าของที่ส่งออกไปยังสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามหรือประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยเป็นเงินบาทตามข้อ 6 (2) ให้เรียกใบสําแดงการนําเงินบาทเข้ามาในประเทศที่พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรประทับตราและลงชื่อแล้ว (2) ยกเว้นการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศตามข้อ 6 (3) ให้เรียกหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามแต่กรณี (3) ผ่อนผันการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศตามข้อ 6 (4) ให้เรียกหนังสือชี้แจงความจําเป็นของผู้ขอ พร้อมทั้งเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารของผู้ซื้อในต่างประเทศที่แจ้งถึงความจําเป็นในการชําระหนี้เกินกว่า 120 วัน หรือขอเลื่อนกําหนดการชําระเงิน (4) ยกเว้นการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศค่าของส่งออกที่เป็นการรับจ้างผลิตในส่วนที่เป็นค่าวัตถุดิบที่ผู้ว่าจ้างส่งเข้ามาให้ตามข้อ 6 (5) ให้เรียกเอกสารที่แสดงว่าเป็นการรับจ้างผลิต ซึ่งแสดงมูลค่าวัตถุดิบที่ผู้ว่าจ้างส่งเข้ามาให้ (5) ยกเว้นการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศค่าของส่งออกในกรณีที่มีการหักกลบลบหนี้กับคู่ค้าเพียงรายเดียวตามข้อ 6 (6) ให้เรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องอันแสดงการหักกลบลบหนี้ และเอกสารหลักฐานประกอบตามแต่กรณีตามที่กําหนดในข้อ 15 (6) ยกเว้นไม่ขายเงินตราต่างประเทศและไม่นําเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฝากไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาต และมีวัตถุประสงค์เพื่อ โอนเงินตราต่างประเทศตามข้อ 7 (1) ให้เรียกเอกสารหลักฐานที่กําหนดในข้อ 15 หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อโอนเงินตราต่างประเทศตามข้อ 7 (2) ให้เรียกสําเนาสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อ (7) การขอยกเว้นตามข้อ 6 (6) กรณีหักกลบลบหนี้ของธุรกิจในเครือ และตามข้อ 7 กรณีชําระเงินแทนธุรกิจในเครือ ให้เรียกหลักฐานการเป็นธุรกิจในเครือประกอบด้วย ข้อ ๙ กรณีขอยกเว้นหรือผ่อนผันตามข้อ 16 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2487) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 นอกเหนือจากที่กล่าวในข้อ 6 และข้อ 3 ให้นิติบุคคลรับอนุญาตจัดให้ผู้ขอยื่นคําขอต่อเจ้าพนักงานผ่านนิติบุคคลรับอนุญาต โดยเรียกให้ผู้ขอยื่นเอกสารหลักฐานเบื้องต้นดังนี้ (1) การขอยกเว้นการจัดให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศค่าของส่งออกในกรณีที่มีการหักกลบลบหนี้กับคู่ค้าหลายราย ให้เรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) คําขออนุญาตพร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็น โดยละเอียด รายละเอียดเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายที่จะนํามาหักกลบลบหนี้ ชื่อศูนย์หักกลบลบหนี้ ขั้นตอนในการหักกลบลบหนี้สกุลเงินที่จะใช้ในการชําระผลของการหักกลบลบหนี้ และรายชื่อนิติบุคคลรับอนุญาตที่จะใช้บริการโอนเงินที่เกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ (ข) เอกสารหลักฐานการจัดตั้งนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (2) การขอยกเว้นหรือผ่อนผันกรณีอื่นๆ ให้เรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) คําขออนุญาตพร้อมชี้แจงรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง (ข) หลักฐานที่เกี่ยวข้องตามแต่กรณี (ค) หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เช่น สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์ สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานก่อนส่งให้เจ้าพนักงานพิจารณา และเจ้าพนักงานอาจเรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ในกรณีที่จําเป็น อื่นๆ ๓ การยกเว้นการขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศที่ไม่ใช่ค่าของส่งออก --------------------------------------------- ข้อ ๑๐ บุคคลที่ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศอันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศนอกจากค่าของส่งออกต้องขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศตามข้อ 20 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ยกเว้นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และชาวต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 3 เดือน (2) สถานทูตต่างประเทศ และผู้ได้รับเอกสิทธิ์ทูต (3) ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ รวมตลอดถึงพนักงาน ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลอื่นที่ปฏิบัติภารกิจเพื่อทบวงการชํานัญพิเศษองค์การหรือสถาบันนั้นๆ ซึ่งได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในประเทศไทยด้วย ข้อ ๑๑ กรณีขอยกเว้นตามข้อ 7 และข้อ 20 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 โดยขอไม่ขายเงินตราต่างประเทศอันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศนอกจากค่าของส่งออกแก่นิติบุคคลรับอนุญาต และไม่นําเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฝากไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาต แต่ประสงค์จะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) โอนให้แก่บุคคลในต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 11 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 (2) โอนให้แก่นิติบุคคลรับอนุญาตเพื่อชําระคืนหนี้เงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ ให้รวมถึงกรณีการชําระเงินตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวแทนธุรกิจในเครือด้วย เจ้าพนักงานยกเว้นให้ไม่ขายเงินตราต่างประเทศและไม่นําเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฝากไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาต เมื่อผู้ขอยื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 พร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ 15 หรือสําเนาสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อตามแต่ละกรณี และหลักฐานการเป็นธุรกิจในเครือกรณีชําระเงินแทนธุรกิจในเครือ และนิติบุคคลรับอนุญาตตรวจสอบและพอใจว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้อง ให้นิติบุคคลรับอนุญาตดําเนินการโอนเงินตราต่างประเทศตามความประสงค์ของผู้นั้นได้ และปฏิบัติตามข้อ 44 ข้อ 46 และข้อ 47 ด้วย อื่นๆ ๔ การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือ โอนเงินตราต่างประเทศ ---------------------------------------- ข้อ ๑๒ เจ้าพนักงานอนุญาตให้บุคคลทั่วไป ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่างประเทศกับนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศได้ ข้อ ๑๓ เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ส่งออกที่ได้รับเงินตราต่างประเทศค่าของที่ส่งออก และผู้ที่ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศในกรณีอื่นๆ โอนเงินตราต่างประเทศดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศได้ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่บุคคลในประเทศขอซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ เจ้าพนักงานอนุญาตและให้นิติบุคคลรับอนุญาตดําเนินการได้ เมื่อผู้ขอและนิติบุคคลรับอนุญาตได้ปฏิบัติตามข้อ 15 แล้ว (1) เพื่อลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในเครือที่ต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ เป็นจํานวนเกินกว่าปีละ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด แต่ไม่เกินปีละ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด (2) เพื่อเป็นค่าใช้ง่ายเดินทางไปต่างประเทศในรูปอื่นนอกจากธนบัตร ธนาคารบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ เป็นจํานวนเกินกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด (3) เพื่อซื้อหุ้นบริษัทในเครือเดียวกันที่ต่างประเทศในลักษณะที่เป็นการให้สวัสดิการแก่พนักงานในวงเงินไม่เกิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี (4) เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นที่พักอาศัยในวงเงินรวมไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อราย (5) เพื่อบริจาคให้แก่สาธารณประโยชน์ในวงเงินไม่เกิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี โดยนิติบุคคลรับอนุญาตต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับการบริจาคและพิจารณาเห็นว่าเป็นการบริจาคให้แก่สาธารณประโยชน์จริง ข้อ ๑๕ บุคคลใดขอซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับนิติบุคคลรับอนุญาตเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ นิติบุคคลรับอนุญาตต้องเรียกให้บุคคลนั้นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการขอซื้อหรือแลกเปลี่ยน ดังนี้ (1) ชําระค่าของที่นําเข้าหรือของที่สั่งจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยไม่นําของเข้ามาในประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (ก) สัญญาซื้อขาย (ข) บัญชีราคาสินค้า (ค) เอกสารเรียกเก็บเงินจากผู้ขาย (2) ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หนังสือชี้แจงเหตุผลความจําเป็น และ (ข) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ (3) ซื้อหุ้นบริษัทในเครือเดียวกันที่ต่างประเทศในลักษณะที่เป็นการให้สวัสดิการแก่พนักงาน ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หนังสือชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับสวัสดิการที่พนักงานจะได้รับ (ข) เอกสารโครงการซื้อหุ้นบริษัทในเครือเดียวกัน และ (ค) เอกสารที่แสดงความสัมพันธ์การเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน (4) ลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หนังสือชี้แจงเหตุผลการลงทุน (ข) รายละเอียดของการลงทุน (ค) เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับผู้ลงทุน อันได้แก่ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง และ (ง) หลักฐานแสดงการลงทุน เช่น สัญญาร่วมทุน หรือสัญญาซื้อขายหุ้น เอกสารตาม (ง) นิติบุคคลรับอนุญาตอาจเรียกให้ผู้ขอซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศยื่นภายหลังจากที่ได้มีการลงทุนแล้วได้ (5) ให้กู้ยืมแก่กิจการในเครือที่ต่างประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของหรือการถือหุ้น และ (ข) หลักฐานการ กู้ยืมที่แสดงรายละเอียดของการกู้ยืม (6) ส่งเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของคนไทยที่ย้ายถิ่นฐานไปพํานักอยู่ต่างประเทศเป็นการถาวรต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หลักฐานของทางการที่แสดงว่ายินยอมให้ผู้รับพํานักอยู่ในประเทศนั้นเป็นการถาวร และ (ข) หลักฐานที่แสดงว่าเงินที่จะส่งเป็นของผู้รับ เช่น หนังสือรับรองเงินฝากจากธนาคาร (7) ส่งเงินมรดกให้แก่ผู้รับมรดกที่มีถิ่นพํานักถาวรในต่างประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หลักฐานของทางการที่แสดงว่ายินยอมให้ผู้รับพํานักอยู่ในประเทศนั้นเป็นการถาวร และ (ข) หลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้รับมรดก เช่น สําเนาพินัยกรรมหรือหนังสือของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ที่แสดงการจัดสรรเงินมรดกให้แก่ผู้รับ (8) ส่งไปให้ครอบครัวหรือญาติพี่น้องซึ่งมีถิ่นพํานักถาวรในต่างประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หลักฐานของทางการที่แสดงว่ายินยอมให้ผู้รับพํานักอยู่ในประเทศนั้นเป็นการถาวร และ (ข) หลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เช่น บัญชีเครือญาติ (9) เป็นค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) หนังสือเดินทาง (ข) ตั๋วเครื่องบินหรือตั๋วยานพาหนะเดินทาง (10) ชําระคืนต้นเงินกู้จากต่างประเทศไม่ว่าเงินกู้บาทหรือเงินกู้เงินตราต่างประเทศต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หลักฐานที่แสดงรายละเอียดของการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เช่น สัญญากู้ และ (ข) หลักฐานการนําเงินกู้จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ ในกรณีเงินกู้เงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนตั้งแต่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้เรียกสําเนาแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ในกรณีเงินกู้เงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนต่ํากว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดและกรณีเงินกู้บาท ให้เรียกใบแจ้งเงินโอนเข้า หรือในกรณีเงินกู้ที่นําเข้าก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้เรียกแบบ ธ.ต. 3 หรือแบบ ธ.ต. 40 (11) ชําระดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศไม่ว่าเงินกู้บาทหรือเงินกู้เงินตราต่างประเทศต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หลักฐานที่แสดงรายละเอียดของการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เช่น สัญญากู้ ทั้งนี้เฉพาะในการส่งเงินค่าดอกเบี้ยครั้งแรก (ข) หลักฐานการนําเงินกู้จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ ในกรณีเงินกู้เงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนตั้งแต่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้เรียกสําเนาแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ในกรณีเงินกู้เงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนต่ํากว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดและกรณีเงินกู้บาท ให้เรียกใบแจ้งเงินโอนเข้า หรือในกรณีเงินกู้ที่นําเข้าก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้เรียกแบบ ธ.ต. 3 หรือแบบ ธ.ต. 40 และ (ค) เอกสารเรียกเก็บเงินค่าดอกเบี้ย หรือเอกสารแสดงการคํานวณดอกเบี้ย กรณีไม่มีเอกสารเรียกเก็บเงิน (12) ส่งคืนเงินลงทุนในหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิ หรือหน่วยลงทุน ต้องเรียกหลักฐานที่แสดงการขาย การโอนกรรมสิทธิ์ หรือการถือกรรมสิทธิ์ (13) ส่งคืนเงินลงทุนในตราสารทางการเงิน เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หลักฐานแสดงการถือกรรมสิทธิ์ สําหรับการถือตราสารทางการเงินจนครบกําหนดหรือไถ่ถอนก่อนกําหนด (ข) หลักฐานแสดงการโอนกรรมสิทธิ์ สําหรับการขายตราสารทางการเงินต่อให้บุคคลอื่น (14) ส่งคืนเงินทุนของสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในประเทศไทย ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หลักฐานการจัดตั้งสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในประเทศไทย เช่น ใบอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ (ข) หลักฐานการนําเงินเข้า ในกรณีเงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนตั้งแต่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้เรียกสําเนาแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ในกรณีเงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนต่ํากว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดและกรณีเงินบาท ให้เรียกใบแจ้งเงินโอนเข้า หรือในกรณีเงินที่นําเข้าก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้เรียกแบบ ธ.ต. 3 หรือแบบ ธ.ต. 40 และ (ค) หลักฐานที่แสดงว่าเงินที่จะส่งเป็นของสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในประเทศไทย เช่น สําเนาบัญชีเงินฝาก (15) ส่งคืนเงินประกันหรือเงินกําไร จากการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ต้องเรียกหนังสือรับรองจากนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า (16) ส่งคืนเงินลงทุนของกองทุนรวมเนื่องจากการลดทุนของกองทุนรวม ทั้งนี้การลดทุนดังกล่าวต้องมิได้เกิดจากการ ระดมทุนหรือกู้ยืมจากในประเทศ หรือรายได้ทางอ้อมที่เกิดจากการระดมทุนหรือกู้ยืมจากในประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐาน ดังนี้ (ก) หลักฐานการนําเงินเข้ามาซื้อหน่วยลงทุน ในกรณีเงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนตั้งแต่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้เรียกสําเนาแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ในกรณีเงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนต่ํากว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดและกรณีเงินบาท ให้เรียกใบแจ้งเงินโอนเข้า หรือในกรณีเงินที่นําเข้าก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้เรียกแบบ ธ.ต. 3 หรือแบบ ธ.ต. 40 (ข) มติที่ประชุมของกองทุนรวมในการลดทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (ค) งบการเงินที่กองทุนรวมรับรองความถูกต้อง (ง) รายละเอียดแสดงทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมในขณะที่ลดทุน และ (จ) หลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินในการลดทุน เอกสารตาม (ง) และ (จ) ให้นิติบุคคลรับอนุญาตส่งให้เจ้าพนักงานภายใน 5 วันทําการนับจากวันที่ส่งคืนเงินลงทุน (17) ส่งคืนเงินลงทุนกรณีเลิกกิจการ ลดทุนหรือลดมูลค่าหุ้น ต้องเรียกเอกสารหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) หนังสือรับรองเสร็จสิ้นการชําระบัญชีของผู้ชําระบัญชี ในกรณีที่เลิกกิจการ (ข) หนังสือรับรองทุนจดทะเบียนที่ออกโดยกระทรวงพาณิชย์ ในกรณีลดทุนหรือลดมูลค่าหุ้น (18) ส่งเงินคืนค่าขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลต่างประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) สัญญาซื้อขาย และ (ข) หลักฐานแสดงการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (19) ส่งเงินค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลต่างประเทศ ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) สัญญาเช่า และ (ข) หลักฐานการถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลต่างประเทศ (20) ส่งคืนเงินที่บุคคลต่างประเทศเคยนําเข้ามาในประเทศไทย ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) หลักฐานการนําเงินเข้า ในกรณีเงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนตั้งแต่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้เรียกสําเนาแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ในกรณีเงินตราต่างประเทศที่มีจํานวนต่ํากว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดและกรณีเงินบาท ให้เรียกใบแจ้งเงินโอนเข้า หรือในกรณีเงินที่นําเข้าก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้เรียกแบบ ธ.ต. 3 หรือแบบ ธ.ต. 40 และ (ข) หลักฐานที่แสดงว่าเงินที่จะส่งออกเป็นเงินของบุคคลต่างประเทศนั้น เช่น สําเนาบัญชีเงินฝาก (21) ส่งเงินปันผล ต้องเรียกหลักฐานการจ่ายเงินปันผล เช่น ใบแจ้งการจ่ายเงินปันผลของบริษัทผู้จ่าย (22) ส่งเงินกําไรออกไปให้สํานักงานใหญ่ ต้องเรียกงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันที่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองแล้ว หรืองบการเงินระหว่างกาลที่บริษัทได้รับรองความถูกต้องแล้ว หากเป็นการส่งกําไรระหว่างกาล (23) เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษา ต้องเรียกหลักฐานการศึกษา เช่น หนังสือรับรองของสถานศึกษาหรือหนังสือรับรองของ ก.พ. (24) ส่งเงินออมของชาวต่างประเทศที่ทํางานในประเทศไทย ต้องเรียกหนังสือรับรองรายได้จากนายจ้าง (25) วัตถุประสงค์อื่นนอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ต้องเรียกเอกสารหลักฐานอันแสดงภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินให้แก่บุคคลในต่างประเทศ เช่น สัญญา เอกสารเรียกเก็บเงิน การซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับนิติบุคคลรับอนุญาตที่มีจํานวนเงินต่ํากว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด นอกจากกรณีตามข้อ 18 (3) ถึง (4) ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเรียกเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม การขอซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต้องกระทําโดยบุคคลที่มีภาระการชําระเงินตามที่ปรากฎในเอกสารหลักฐาน หรือที่สอดคล้องกับหลักฐานเท่านั้น การขอซื้อหรือแลกเปลี่ยนโดยบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้มีภาระโดยกระทําในนามของผู้มีภาระ นิติบุคคลรับอนุญาตต้องเรียกเอกสารการมอบอํานาจให้กระทําการแทนด้วย ในกรณีการชําระเงินให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้มีสิทธิรับเงินตามที่ปรากฏในหลักฐานหรือที่สอดคล้องกับหลักฐาน นิติบุคคลรับอนุญาตต้องเรียกคําสั่งของบุคคลในต่างประเทศซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับเงินดังกล่าวที่ให้บุคคลอื่นรับเงินแทน หรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ นิติบุคคลรับอนุญาตอาจเรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ในกรณีที่จําเป็น และเมื่อนิติบุคคลรับอนุญาตตรวจสอบและ พอใจว่าเป็นเอกสารหลักฐานที่แท้จริงและถูกต้องแล้ว ให้ขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม ข้อ ๑๖ บุคคลใดขอซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อชําระหนี้เงินตราต่างประเทศให้กับนิติบุคคลรับอนุญาต นิติบุคคลรับอนุญาตต้องเรียกให้บุคคลนั้นชื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 พร้อมสําเนาสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อมาประกอบการขอซื้อ และ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตขายเงินตราต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ที่กล่าวได้ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ชาวต่างประเทศที่เข้ามาปฏิบัติงานชั่วคราวในประเทศไทยขอซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อฝากไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาต นิติบุคคลรับอนุญาตต้องเรียกให้บุคคลนั้นยื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 พร้อมหนังสือรับรองรายได้จากนายจ้างมาประกอบการขอซื้อ และให้นิติบุคคลรับอนุญาตขายเงินตราต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ที่กล่าวได้ ข้อ ๑๘ บุคคลใดขอซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในกรณีดังต่อไปนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานพิจารณาอนุญาตก่อน โดยนิติบุคคลรับอนุญาตต้องเรียกให้บุคคลนั้นยื่นเอกสารหลักฐานเบื้องต้นดังนี้ (1) การส่งเงินไปลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในเครือที่ต่างประเทศเป็นจํานวนเกินกว่าปีละ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด รวมทั้งการส่งเงินไปลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในเครือที่ต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้เรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) คําขออนุญาตพร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็น รายละเอียดการลงทุนหรือให้กู้แหล่งที่มาของเงินทุน และประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนหรือให้กู้ (ข) งบการเงินล่าสุดของผู้ลงทุนหรือผู้ให้กู้ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว (ค) หลักฐานแสดงการลงทุน เช่น สัญญาร่วมทุน หรือสัญญาซื้อขายหุ้น (เฉพาะกรณีการส่งเงินไปลงทุน) (ง) หลักฐานแสดงโครงสร้างการถือหุ้นระหว่างผู้ลงทุนหรือให้กู้และผู้รับการลงทุนหรือผู้กู้ และ (จ) หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เช่น สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (2) การขอซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 12 (2) ถึง (4) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 และข้อ 14 (3) ถึง (5) แห่งประกาศนี้ แต่เกินวงเงินที่กําหนดไว้ ให้เรียกเอกสารหลักฐาน ดังนี้ (ก) คําขออนุญาตพร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็น (ข) หลักฐานสําหรับแต่ละกรณีตามที่ระบุในข้อ 15 และ (ค) หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เช่น สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (3) การส่งเงินไปซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ให้เรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) คําขออนุญาตพร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็น โดยระบุรายละเอียดของหลักทรัพย์ที่จะซื้อ (ข) หลักฐานแสดงรายละเอียดของหลักทรัพย์ที่จะซื้อ และ (ค) หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เช่น สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (4) การ โอนเงินกรณีการทําสัญญาคุ้มครองความเสี่ยงกับสถาบันการเงินในต่างประเทศให้เรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) คําขออนุญาตพร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็น โดยระบุรายละเอียดของสัญญา (ข) หลักฐานแสดงรายละเอียดของสัญญาและธุรกรรมที่รองรับการทําสัญญา และ (ค) หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เช่น สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (5) การขอซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกรณีตามข้อ 15 (1) ถึง (25) แต่เอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนตามที่กําหนดไว้ ให้เรียกเอกสารหลักฐานดังนี้ (ก) คําขออนุญาตพร้อมชี้แจงรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง (ข) หลักฐานที่เกี่ยวข้องตามแต่กรณี และ (ค) หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เช่น สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารก่อนส่งให้เจ้าพนักงานพิจารณา และเจ้าพนักงานอาจเรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ในกรณีที่จําเป็น เมื่อเจ้าพนักงานอนุญาตแล้ว ให้นิติบุคคลรับอนุญาตขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินจํานวนที่เจ้าพนักงานอนุญาต ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ผู้ขอซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นส่วนราชการ นิติบุคคลรับอนุญาตไม่ต้องเรียกเอกสารหลักฐาน และให้ขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศดังกล่าวได้ทุกกรณี โดยเรียกให้ส่วนราชการยื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 ด้วย ข้อ ๒๐ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานและการรายงานการขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามที่กําหนดในข้อ 44 ถึง ข้อ 47 อื่นๆ ๕ บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ------------------------------ ข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ส่งออกที่ได้รับเงินตราต่างประเทศค่าของที่ส่งออก และผู้ที่ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศในกรณีอื่น ๆ ฝากเงินตราต่างประเทศดังกล่าวไว้กับนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศได้ ข้อ ๒๒ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตรับฝากเงินตราต่างประเทศจากนิติบุคคลรับอนุญาตได้ทุกกรณีโดยไม่จํากัดจํานวน ข้อ ๒๓ บุคคลใดขอฝากเงินตราต่างประเทศกับนิติบุคคลรับอนุญาต ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเรียกให้บุคคลนั้นยื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 และปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และวงเงิน ดังต่อไปนี้ (1) เงินตราต่างประเทศที่ฝากต้องเป็นเงินอันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ (2) ผู้ฝากเงินตราต่างประเทศต้องยื่นเอกสารแสดงภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินตราต่างประเทศให้แก่บุคคลในต่างประเทศหรือนิติบุคคลรับอนุญาตภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ฝากเงินตราต่างประเทศนั้น ทั้งนี้ เจ้าพนักงานยกเว้นให้ผู้ฝากเงินตราต่างประเทศยื่นเอกสารแสดงภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินตราต่างประเทศให้แก่บุคคลในต่างประเทศ หรือนิติบุคคลรับอนุญาตเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ฝากเงินตราต่างประเทศนั้น และให้ฝากได้ไม่เกินจํานวนตามภาระผูกพันที่ต้องชําระเป็นเงินตราต่างประเทศภายในกําหนด เวลาดังกล่าว โดยภาระผูกพันที่กล่าวให้หมายรวมถึงภาระผูกพันของตนและของธุรกิจในเครือ และยื่นหลักฐานการเป็นธุรกิจในเครือด้วยในกรณีที่เป็นภาระผูกพันของธุรกิจในเครือ (3) เงินฝากเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลและทุกบัญชี ต้องมียอดคงเหลือไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด สําหรับบุคคลธรรมดา หรือ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด สําหรับนิติบุคคล ทั้งนี้ เจ้าพนักงานยกเว้นให้นิติบุคคลมียอดคงเหลือในบัญชีรวมทุกสกุลและทุกบัญชีเกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด แต่ไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดได้ (4) ให้ผู้ฝากแต่ละรายฝากเงินสดได้ไม่เกินวันละ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด เว้นแต่ผู้ฝากนั้นจะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ ให้องค์การของรัฐ องค์การของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย รวมทั้งข้าราชการที่ปฏิบัติงานในต่างประเทศได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใน (2) ถึง (4) ข้อ ๒๔ การฝากเงินตราต่างประเทศอันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศนอกจากค่าของที่ส่งออกของบุคคลต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 23 และให้นิติบุคคลรับอนุญาตไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 14 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 (1) บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และชาวต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 3 เดือน (2) สถานทูตต่างประเทศ และผู้ได้รับเอกสิทธิ์ทูต (3) ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศรวมตลอดถึงพนักงาน ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลอื่นที่ปฏิบัติภารกิจเพื่อทบวงการชํานัญพิเศษ องค์การหรือสถาบันนั้นๆ ซึ่งได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในประเทศไทยด้วย (4) เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของสถานทูตต่างประเทศซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ (5) เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของทบวงการชํานัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ (6) ชาวต่างประเทศที่เข้ามาปฏิบัติงานชั่วคราวในประเทศไทย ข้อ ๒๕ นอกจากเงินตราต่างประเทศอันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศตามข้อ 23 (1) แล้ว เจ้าพนักงานอนุญาตให้ฝากเงินตราต่างประเทศและยกเว้นให้นิติบุคคลรับอนุญาตรับฝากเงินตราต่างประเทศได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เงินตราต่างประเทศซึ่งบุคคลในประเทศกู้ยืมจากกิจการวิเทศธนกิจและขอนําเข้าฝากในบัญชีของตน (2) เงินตราต่างประเทศที่บุคคลในประเทศรับโอนมาจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศบัญชีอื่นของตน หรือบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (3) เงินตราต่างประเทศที่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศรับโอนมาจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศบัญชีอื่นของตน หรือบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศอื่น (4) เงินตราต่างประเทศที่บุคคลในประเทศชําระให้แก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 11 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 โดยมีเอกสารประกอบตามข้อ 15 (5) เงินตราต่างประเทศซึ่งบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศกู้ยืมจากนิติบุคคลรับอนุญาต (6) เงินตราต่างประเทศที่นําเงินบาทจากบัญชีของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศไปซื้อเพื่อฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศนั้น (7) เงินตราต่างประเทศซึ่งชาวต่างประเทศที่เข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยขอซื้อจากนิติบุคคลรับอนุญาต เพื่อฝากตามข้อ 17 ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตถือปฏิบัติเช่นเดียวกับเงินตราต่างประเทศอันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ ข้อ ๒๖ การฝากเงินตราต่างประเทศนอกจากที่กําหนดในข้อ 23 และข้อ 25 นิติบุคคลรับอนุญาตต้องส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานพิจารณาอนุญาตก่อน โดยนิติบุคคลรับอนุญาตต้องเรียกให้ผู้ขอยื่นเอกสารหลักฐานเบื้องต้นดังนี้ (1) คําขออนุญาตพร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็นและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง (2) หลักฐานที่เกี่ยวข้องตามแต่กรณี เช่น รายละเอียดและหลักฐานเอกสารแสดงภาระผูกพันหรือความจําเป็นที่ต้องใช้เงินในอนาคต (3) หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เช่น สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนกรณีเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาต ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารก่อนส่งให้เจ้าพนักงานพิจารณา และเจ้าพนักงานอาจเรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ในกรณีที่จําเป็น ข้อ ๒๗ การฝากเงินตราต่างประเทศไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาต หากผู้ฝากประสงค์จะขอแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลอื่นก่อนฝาก ให้นิติบุคคลรับอนุญาตและผู้ฝากดําเนินการแลกเปลี่ยนได้ ข้อ ๒๘ ในการจ่ายดอกเบี้ยสําหรับเงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้นิติบุคคลรับอนุญาตจ่ายเป็นเงินตราหรือเงินตราต่างประเทศสกุลที่ฝาก ข้อ ๒๙ ให้ถอนเงินตราต่างประเทศจากบัญชีเงินฝากได้เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ โดยผู้ถอนต้องปฏิบัติตามข้อ 30 ด้วย (1) ชําระให้แก่บุคคลในต่างประเทศตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวในข้อ 11 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ทั้งนี้ รวมถึงการชําระแทนธุรกิจในเครือด้วย (2) ชําระหนี้เงินตราต่างประเทศให้แก่นิติบุคคลรับอนุญาต ทั้งนี้ รวมถึงการชําระแทนธุรกิจในเครือด้วย (3) บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศถอนเงินตราต่างประเทศจากบัญชีของตนฝากเข้าบัญชีเงินฝากของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ (4) ฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศบัญชีอื่นของตน (5) ฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของธุรกิจในเครือเพื่อชําระตาม (1) หรือ (2) ซึ่งธุรกิจในเครือมีภาระต้องชําระให้แก่บุคคลดังกล่าวภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ฝากเข้าบัญชี (6) กรณีที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐ องค์การของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของตนเพื่อ ก. ฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของส่วนราชการ องค์การของรัฐ องค์การของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย ข. ฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการองค์การของรัฐ องค์การของรัฐบาลของประเทศไทยที่ปฏิบัติงานในต่างประเทศ (7) ขายให้แก่นิติบุคคลรับอนุญาต ให้นิติบุคคลรับอนุญาตรับฝากเงินตราต่างประเทศตาม (5) หรือ (6) ได้ โดยนิติบุคคลรับอนุญาต ต้องจัดให้ผู้ฝากยื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 ด้วย ข้อ ๓๐ ให้ผู้ถอนเงินตราต่างประเทศยื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการถอนดังนี้ (1) การถอนเงินตามข้อ 28 (1 ให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในข้อ 15 และหากเป็นการถอนเงินเพื่อชําระแทนธุรกิจในเครือ ให้ยื่นหลักฐานการเป็นธุรกิจในเครือด้วย (2) การถอนเงินตามข้อ 29 (2) ให้ยื่นสําเนาสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อ และหากเป็นการถอนเงินเพื่อชําระหนี้แทนธุรกิจในเครือ ให้ยื่นหลักฐานการเป็นธุรกิจในเครือด้วย (3) การถอนเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศตามข้อ 29 (3) หรือข้อ 29 (4) ให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในข้อ 23 (2) (4) การถอนเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของธุรกิจในเครือตามข้อ 29 (5) ให้ยื่นเอกสารหลักฐานตามที่ระบุใน ข้อ 15 หรือสําเนาสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อ พร้อมหลักฐานการเป็นธุรกิจในเครือ ข้อ ๓๑ การขอผ่อนผันเกี่ยวกับการถอนเงินตราต่างประเทศตามที่กําหนดในข้อ 29 นิติบุคคลรับอนุญาตต้องส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานพิจารณาอนุญาตก่อน โดยนิติบุคคลรับอนุญาตต้องเรียกให้ผู้ขอยื่นเอกสารหลักฐานเบื้องต้นดังนี้ (1) คําขออนุญาตพร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็นและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง (2) หลักฐานที่เกี่ยวข้องตามแต่กรณี เช่น รายละเอียดและหลักฐานเอกสารแสดงภาระผูกพันหรือความจําเป็นที่ต้องใช้เงินในอนาคต (3) หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เช่น สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนกรณีเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือรับรองทุนจดทะเบียน บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน ที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ข้อ ๓๒ การถอนเงินตราต่างประเทศจากบัญชีเงินฝากเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 29 (1) ถึง (6) หากผู้ถอนประสงค์จะแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลอื่น ให้นิติบุคคลรับอนุญาตและผู้ถอนแลกเปลี่ยนได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถอนจะใช้เงินตราต่างประเทศสกุลที่ขอแลกเปลี่ยนนั้นตามวัตถุประสงค์ข้างต้นในทันที (2) เมื่อปรากฏว่าผู้ถอนขอแลกเปลี่ยนและฝากเงินตราต่างประเทศสกุลที่ขอแลกเปลี่ยนนั้นไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาต โดยผู้ถอนมีภาระต้องใช้เงินตราต่างประเทศตามวัตถุประสงค์ข้างต้นภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ขอแลกเปลี่ยน ข้อ ๓๓ ในกรณีบุคคลตามที่กล่าวในข้อ 24 ถอนเงินตราต่างประเทศจากบัญชีเงินฝากให้บุคคลดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 28 และข้อ 30 และเจ้าพนักงานอนุญาตให้นิติบุคคลรับอนุญาตดําเนินการถอนได้ทุกกรณี ในกรณีที่ผู้ขอฝากหรือถอนเงินตราต่างประเทศเป็นส่วนราชการ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตไม่ต้องเรียกเอกสารหลักฐาน และให้รับฝากหรือถอนเงินตราต่างประเทศดังกล่าวได้ทุกกรณี โดยเรียกให้ส่วนราชการยื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 ด้วย ข้อ ๓๔ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานและการรายงานการรับฝากหรือถอนเงินตราต่างประเทศตามที่กําหนดในข้อ 44 ถึง ข้อ 47 อื่นๆ ๖ บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ --------------------------------- ข้อ ๓๕ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตรับเงินบาทเข้าบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพิ่มเติมจากกรณี ที่ระบุไว้ในข้อ 16 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เงินบาทค่าของเงินตราต่างประเทศที่ถอนจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (2) เงินบาทที่กู้ยืมจากนิติบุคคลรับอนุญาต (3) เงินบาทที่จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 14 แห่งประกาศนี้ (4) เงินบาทที่ธนาคาร ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีได้รับจากการทําธุรกรรมทางการเงินกับนิติบุคคลรับอนุญาต (5) เงินบาทที่ธนาคารในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีส่งหรือนําเข้าจากประเทศดังกล่าว ข้อ ๓๖ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเรียกให้ผู้ฝากยื่นเอกสารหลักฐานในแต่ละกรณีที่ระบุในข้อ 16 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 และข้อ 35 แห่งประกาศนี้ดังนี้ (1) กรณีเงินบาทค่าของเงินตราต่างประเทศที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศหรือที่ถอนจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ให้เรียกเอกสารหลักฐานที่แสดงการขายเงินตราต่างประเทศ (2) กรณีเงินบาทที่กู้ยืมจากนิติบุคคลรับอนุญาตให้เรียกสําเนาสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อ (3) กรณีเงินบาทที่จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในข้อ 11 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 หรือข้อ 14 แห่งประกาศนี้ ให้เรียกเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในข้อ 15 (4) กรณีเงินบาทตามข้อ 35 (4) ให้เรียกเอกสารหลักฐานการทําธุรกรรมทางการเงินกับนิติบุคคลรับอนุญาต (5) กรณีเงินบาทตามข้อ 35 (5) ให้เรียกเอกสารใบสําแดงการนําเงินบาทเข้ามาในประเทศที่พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรประทับตราและลงชื่อแล้ว ข้อ ๓๗ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตรับเงินบาทของบุคคลที่ระบุต่อไปนี้เข้าบัญชีเงินฝากได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 35 ข้อ 36 และข้อ 47 (1) สถานทูตต่างประเทศ ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย (2) คนสัญชาติไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศไม่ต่ํากว่า 1 ปี (3) บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย และมิได้ประกอบธุรกิจการธนาคาร ข้อ ๓๘ การรับเงินบาทเข้าบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศในกรณีอื่นนอกจากที่ระบุในข้อ 16 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 และข้อ 35 แห่งประกาศนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตจัดให้ผู้ฝากยื่นคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าพนักงานผ่านนิติบุคคลรับอนุญาตก่อน ข้อ ๓๙ การโอนเงินบาทผ่านบัญชีของธนาคารที่เปิดไว้ระหว่างสํานักงานใหญ่กับสาขาในต่างประเทศในลักษณะบัญชีหักกลบลบหนี้ จะต้องกระทําเฉพาะการโอนเงินที่เป็นการชําระระหว่างสาขาธนาคารในต่างประเทศกับสํานักงานใหญ่เท่านั้น ส่วนการโอนเงินบาทผ่านบัญชีของธนาคารที่เป็นการชําระเงินของลูกค้าในการทําธุรกรรมระหว่างประเทศจะต้องกระทําผ่านบัญชีที่เปิดไว้ในรูปบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเท่านั้น และการรับเงินเข้าและการถอนเงินจากบัญชีจะต้องเป็นไปตามข้อ 16 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 และ ข้อ 35 ถึง ข้อ 38 แห่งประกาศนี้ อื่นๆ ๗ การกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ ----------------------- ข้อ ๔๐ เจ้าพนักงานอนุญาตให้นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศได้ ข้อ ๔๑ บุคคลใดนอกจากบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศขอกู้ยืมหรือขอรับสินเชื่อรูปแบบอื่นเป็นเงินตราต่างประเทศจากนิติบุคคลรับอนุญาต ให้กระทําได้เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 11 แห่งประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง คําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 โดยยื่นเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในข้อ 15 แห่งประกาศนี้ (2) เพื่อขายให้นิติบุคคลรับอนุญาตนั้น (3) เพื่อชําระหนี้เงินตราต่างประเทศให้แก่นิติบุคคลรับอนุญาตโดยยื่นสําเนาสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อ เมื่อนิติบุคคลรับอนุญาตตรวจสอบจนเป็นที่พอใจว่าเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งแท้จริงและถูกต้องและเป็นการ กู้ยืมเงินเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่แจ้งไว้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศได้ โดยต้องเรียกให้บุคคลดังกล่าวทําสัญญาเงินกู้หรือเอกสารการรับสินเชื่อไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่ผู้ขอกู้เงินตราต่างประเทศเป็นส่วนราชการ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตไม่ต้องเรียกเอกสารหลักฐาน และให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศดังกล่าวได้ทุกกรณีโดยเรียกให้ส่วนราชการยื่นแบบตามที่กําหนดในข้อ 44 ด้วย ข้อ ๔๒ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศแก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศในขณะใดขณะหนึ่งรวมทั้งสิ้นเกินกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดได้ อื่นๆ ๘ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานและการรายงาน ----------------------------------- ข้อ ๔๓ ผู้นําของเข้าและผู้ส่งของออกต้องแจ้งรายการของที่นําเข้าหรือส่งออก และราคาของต่อเจ้าพนักงานผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่สุลกากรในขณะยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่เจ้าพนักงานกําหนด ผู้นําของเข้าและผู้ส่งของออกไม่ต้องแจ้งรายการต่อเจ้าพนักงานสําหรับของตามเงื่อนไขต่อไปนี้ (1) ตัวอย่างสินค้า (2) ของใช้ส่วนตัวของผู้เดินทางเข้ามาในประเทศหรือไปต่างประเทศแล้วแต่กรณี (3) ภาชนะหรือสิ่งอื่นใดสําหรับใช้บรรจุของทุกชนิดที่ว่างเปล่านําเข้ามาเพื่อบรรจุสิ่งของส่งออก หรือที่ได้ใช้บรรจุของส่งออกไปแล้วนํากลับเข้ามา หรือที่ได้ใช้บรรจุของเข้ามาแล้วจะส่งกลับออกไปภายหลัง รวมตลอดทั้งแกนเปล่าด้วย หรือภาชนะหรือสิ่งอื่นใดสําหรับใช้บรรจุของทุกชนิดที่ว่างเปล่าส่งออกไปเพื่อบรรจุสิ่งของ นํากลับเข้ามา หรือที่ได้ใช้บรรจุของเข้ามาแล้วส่งกลับคืนออกไป หรือที่ได้ใช้บรรจุของส่งออกแล้ว จะนํากลับเข้ามาภายหลัง รวมตลอดทั้งแกนเปล่าด้วยแล้วแต่กรณี (4) ฟิล์มที่ถ่ายบันทึกภาพแล้ว เพื่อทําการล้างแล้วจะนํากลับเข้ามาในภายหลัง หรือฟิล์มภาพยนตร์ตลอดจนภาพโฆษณาที่นําเข้ามาฉายตามโรงมหรสพหรือสถานีโทรทัศน์ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วส่งกลับคืนออกไป (5) ชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์เครื่องบินซึ่งทางการกรมตํารวจนําเข้า หรือที่ไม่มีการซื้อเงินตราต่างประเทศส่งออกไปชําระ ซึ่งสํานักงานสาขาของบริษัทการบินต่างประเทศจัดส่งออกไปยังสํานักงานใหญ่แล้วแต่กรณี (6) ของที่นําเข้ามาโดยไม่มีการชําระเงิน แล้วส่งกลับออกไปภายในระยะเวลาที่ได้ทําสัญญาไว้กับกรมศุลกากร (7) ของที่ส่งกลับคืนออกไปในกรณีที่ของนั้นถูกส่งออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศแล้วนํากลับเข้ามาเพื่อซ่อมแซมโดยไม่มีค่าตอบแทนการซ่อมแซม (8) เครื่องอุปโภคบริโภคที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐ องค์การ ของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจส่งหรือนําออกไปใช้ในราชการหรือกิจการระหว่างปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานนอกประเทศ แล้วแต่กรณี (9) ของที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐ องค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจส่งหรือนําออกไปแสดงหรือซ่อมแซมและจะนํากลับเข้ามาภายหลัง (10) ของที่นําเข้ามาเพื่อบริจาคหรือช่วยเหลือในรูปให้เปล่าแก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐ องค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทย โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา สถาบันการศาสนาหรือมูลนิธิ หรือของที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐ องค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจหรือสภากาชาดไทยบริจาคเพื่อการกุศลแก่ผู้รับในต่างประเทศ (11) ของที่พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรพอใจว่านําเข้ามาเป็นการชั่วคราวเพื่อแสดงในงานสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนดูได้ทั่วไป หรือนําเข้ามาเพื่อใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ (12) ของที่ใช้ในการเจาะสํารวจทรัพยากรธรณีที่บริษัทต่างประเทศ ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลไทยนําเข้ามาใช้ในประเทศ (13) น้ํามันที่เติมอากาศยานบินไปต่างประเทศ (14) ของที่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ทูต ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกนําเข้าหรือส่งออกแล้วแต่กรณี (15) ชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์เรือขนส่งระหว่างประเทศที่พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรพอใจว่าเป็นของที่ผู้ประกอบการเดินเรือระหว่างประเทศหรือสาขาหรือตัวแทนของผู้ประกอบการดังกล่าว ส่งหรือนําออกเพื่อใช้ซ่อมแซมเรือที่ใช้ในกิจการขนส่งระหว่างประเทศของตน (16) ฟิล์มภาพยนตร์ข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือแถบบันทึกภาพและเสียงที่ได้บันทึกแล้วซึ่งนําเข้าหรือส่งออกทางอากาศยานแล้วแต่กรณี (17) ของที่จําหน่ายในร้านค้าปลอดอากร ซึ่งผู้เดินทางไปต่างประเทศ ผู้เดินทางผ่าน หรือผู้ที่เข้ามาในราชอาณาจักรชั่วระยะเวลาที่กําหนดในตั๋วเดินทางไปกลับหรือตั๋วเดินทางผ่าน แล้วแต่กรณี นําติดตัวออกไป (18) ของ รวมตลอดถึง เพชรพลอย เครื่องรูปพรรณทองคําและเครื่องรูปพรรณทองคําขาวซึ่งผู้เดินทางผ่าน หรือผู้ที่เข้ามาในราชอาณาจักรชั่วระยะเวลาที่กําหนดในตั๋วเดินทางไปกลับหรือตั๋วเดินทางผ่าน แล้วแต่กรณี นําติดตัวออกไป (19) ยุทธภัณฑ์ซึ่งทางกระทรวงกลาโหมนําเข้า (20) ของที่นําเข้ามาเพื่อบริการคนโดยสารบนเครื่องบิน ซึ่งบริษัทการบินเป็นผู้นําเข้าทางอากาศยาน (21) หนังสือพิมพ์รายวัน รายคาบ รายปักษ์ และหนังสือพิมพ์ภาพข่าว ซึ่งนําเข้าทางอากาศยาน (22) อุปกรณ์เหมืองแร่ ซึ่งผู้ประกอบการเหมืองแร่นําเข้ามาเพื่อใช้ในกิจการเหมืองแร่ของตน (23) ถุงสําหรับบรรจุแร่เพื่อส่งออก ป้ายติดถุงแร่หรือเชือกสําหรับเย็บถุงแร่ ซึ่งผู้ประกอบการเหมืองแร่นําเข้า (24) ของนอกจากที่มีประกาศหรือคําสั่งกําหนดไว้โดยเฉพาะ ซึ่งผู้เดินทางผ่านหรือผู้ที่เข้ามาในราชอาณาจักรชั่วระยะเวลาที่กําหนดในตั๋วเดินทางไปกลับ หรือตั๋วเดินทางผ่าน แล้วแต่กรณี นําติดตัวเข้ามา (25) ของนอกจากที่กําหนดใน (1) ถึง (24) ซึ่งนําเข้าหรือส่งออกแต่ละครั้งมีมูลค่าต่ํากว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด (26) ของที่ไม่ต้องยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เมื่อผู้นําของเข้าและผู้ส่งของออกได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้วให้ถือว่าแบบใบขนสินค้าที่แจ้งดังกล่าวเป็นแบบที่เจ้าพนักงานกําหนด ข้อ ๔๔ บุคคลใดประสงค์จะขอซื้อ ขาย ฝาก ถอน เงินตราต่างประเทศ หรือไม่ขายเงินตราต่างประเทศและไม่นําเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฝากไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาตจํานวนตั้งแต่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้บุคคลนั้นยื่นแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศตามที่เจ้าพนักงานกําหนด และให้นิติบุคคลรับอนุญาตจัดทําสําเนาเพื่อมอบให้แก่บุคคลนั้นไว้เป็นหลักฐาน และในกรณีที่นิติบุคคลรับอนุญาตรับซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตสําแดงจํานวนเงิน อัตราแลกเปลี่ยน วันเดือนปีที่รับทําธุรกรรมในแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศด้วย ในกรณีไม่ขายเงินตราต่างประเทศและไม่นําเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฝากไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาตจํานวนตั้งแต่ 20,000 คอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดนิติบุคคลรับอนุญาตจะต้องจัดให้ผู้ขอทําแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศเป็น 2 ฉบับ เพื่อแยกรายละเอียดของการรับและการจ่ายเงินตราต่างประเทศให้ชัดเจน ในกรณีที่บุคคลใดขอซื้อ ขาย ฝาก ถอนเงินตราต่างประเทศ หรือไม่ขายเงินตราต่างประเทศและไม่นําเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฝากไว้กับนิติบุคคลรับอนุญาตจํานวนต่ํากว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด ให้นิติบุคคลรับอนุญาตออกหลักฐานประกอบการทําธุรกรรมดังกล่าวโดยต้องสําแดง จํานวนเงิน อัตราแลกเปลี่ยน วันเดือนปีที่รับทําธุรกรรมและวัตถุประสงค์ และให้จัดทําสําเนาเพื่อมอบให้แก่บุคคลนั้นเป็นหลักฐานด้วย ข้อ ๔๕ เจ้าพนักงานอนุญาตให้บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ส่งคําสั่งหรือข้อความผ่าน Authenticated SWIFT ที่มีข้อมูลครบถ้วนเช่นเดียวกับแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่กําหนดในข้อ 44 แทนการกรอกข้อมูลในแบบดังกล่าว ทั้งนี้ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตลงนามรับรองและประทับตรา และสําแดงจํานวนเงิน อัตราแลกเปลี่ยน และวันเดือนปีที่รับทําธุรกรรมในเอกสารดังกล่าวด้วย ข้อ ๔๖ ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเก็บรักษาแบบการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ เอกสารคําสั่งหรือข้อความผ่าน Authenticated SWIFT แบบคําขออนุญาต และเอกสารที่นิติบุคคลรับอนุญาตออกให้ รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปีเพื่อให้เจ้าพนักงานตรวจสอบเมื่อต้องการ ข้อ ๔๗ นิติบุคคลรับอนุญาตจะต้องรายงานการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน โอน ฝาก ถอน ให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศ การฝากถอนเงินบาทจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศรวมทั้งการรายงานด้านอื่นๆ ภายใต้การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศต่อเจ้าพนักงานผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เจ้าพนักงานกําหนด ทั้งนี้ นิติบุคคลรับอนุญาตมีหน้าที่ต้องตรวจสอบและดูแลให้การรายงานข้อมูลดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วน ข้อ ๔๘ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 (นางทัศนา รัชตโพธิ์) เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
7,864
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรบ. 1 /2556 ว่าด้วยการให้บริการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรบ. 1 /2556 ว่าด้วยการให้บริการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน ในการให้บริการแก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินที่ไม่ประสงค์จะโอนกรรมสิทธิ์ หรือนําไปวางเป็นหลักประกันต่าง ๆ ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยจากการสูญหาย และได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องมายื่นขอไถ่ถอนในวันครบกําหนดไถ่ถอนตราสารหนี้ อีกทั้งเป็นการลดขั้นตอนงานด้านการไถ่ถอนตราสารหนี้ ในช่วงตราสารหนี้ใกล้ครบกําหนดไถ่ถอนของ ธปท. อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. เนื้อหา ข้อ 1. ในระเบียบนี้ "ตราสารหนี้" หมายความว่า พันธบัตรประเภทมีใบตราสารหนี้ ที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด "ผู้ถือกรรมสิทธิ์" หมายความว่า ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตราสารหนี้ที่มีสิทธิใช้บริการตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด "นายทะเบียน" หมายความว่า ผู้อํานวยการอาวุโส ฝ่ายการชําระเงินและพันธบัตร (ผอส. ฝชพ.) หรือผู้ที่ ผอส. ฝชพ. มอบหมาย ข้อ 2. ระยะเวลาในการขอใช้บริการ คือ หลังจากวันกําหนดการจ่ายดอกเบี้ยงวดแรกจนถึงวันทําการสุดท้ายก่อนวันปิดพักทะเบียนไถ่ถอน หรือตามที่นายทะเบียนพิจารณาเห็นสมควร ข้อ 3. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ประสงค์จะใช้บริการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอนจะต้องยื่นเอกสาร และดําเนินการตามวิธีการที่นายทะเบียนประกาศกําหนด เมื่อ ธปท. ได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะบันทึกการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน และออกใบรับการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์เก็บไว้เป็นหลักฐาน ข้อ 4. เพื่อยืนยันการไถ่ถอนตราสารหนี้ที่รับลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอนให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามกําหนด ธปท. จะส่งหนังสือแจ้งการนําต้นเงินเข้าบัญชีให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทราบก่อนตราสารหนี้ครบกําหนดไถ่ถอน ข้อ 5. เมื่อถึงวันครบกําหนดไถ่ถอน ธปท. จะโอนต้นเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ใช้รับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้แจ้งไว้ และเป็นชื่อของผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น หากวันครบกําหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุด ธปท. ธปท. จะเลื่อนไปชําระในวันทําการถัดไป และเมื่อมีการชําระต้นเงินคืนแก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ครบถ้วนแล้ว ให้มีผลเป็นการยกเลิกใบรับการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน ข้อ 6. ระหว่างที่ยังไม่ถึงกําหนดวันปิดพักทะเบียนไถ่ถอน หากผู้ถือกรรมสิทธิ์มีความจําเป็นจะขอถอนการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถร้องขอให้นายทะเบียนออกใบตราสารหนี้ฉบับใหม่ ในนามผู้ถือกรรมสิทธิ์และมีเลขที่ตราสารหนี้เดิม โดยเวนคืนใบรับการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอนแก่นายทะเบียน และเมื่อมีการออกใบตราสารหนี้ใหม่แล้วให้มีผลเป็นการยกเลิกใบรับการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,865
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2 /2556 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2 /2556 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนวิธีการส่ง "หนังสือยืนยันธุรกรรมเงินสภาพคล่องระหว่างวัน" ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับวิธีการให้สถาบันการเงินต้องตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของหนังสือดังกล่าวแล้วส่งให้ ธปท. ทางอิเล็กทรอนิกส์ แทนวิธีการเดิมที่สถาบันการเงินต้องพิมพ์หนังสือดังกล่าวจากบริการ EFS (Electronic Financial Services) เพื่อตรวจสอบยืนยันและลงลายมือชื่อรับรองโดยผู้มีอํานาจลงนามแล้วส่งให้ ธปท. อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 44 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. แก้ไข ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2552 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ สถาบันการเงินตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2552 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 อื่นๆ - 5. เนื้อหา ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบหนังสือมอบอํานาจตาม (2) ของข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2552 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 และให้ใช้แบบหนังสือมอบอํานาจที่แนบท้ายระเบียบฉบับนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 9 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2552 ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของรายการธุรกรรมเงินสภาพคล่องระหว่างวัน และส่งหนังสือยืนยันธุรกรรมเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านบริการ EFS ให้ ธปท. ภายในเวลา 10.00 น. ของวันทําการถัดจากวันที่มีธุรกรรมเงินสภาพคล่อง ระหว่างวัน เว้นแต่ ธปท. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น" อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2556 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,866
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2557 ว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2557 ว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ ความเสี่ยงด้านการชําระดุล (Settlement Risk) ในระบบการชําระเงินที่มีลักษณะการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่าย (Multilateral Net Settlement) เป็นความเสี่ยงที่สําคัญประการหนึ่งของระบบการชําระเงิน เนื่องจากหากเกิดกรณีที่มีสมาชิกรายใดรายหนึ่งประสบมีเงินในบัญชีไม่เพียงพอต่อการชําระดุล และจําเป็นต้องดําเนินการคํานวณดุลการหักบัญชีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่นําข้อมูลเรียกเก็บและที่ถูกเรียกเก็บของสมาชิกที่ชําระดุลไม่ได้มาคํานวณด้วยหรือที่เรียกว่าการ Unwind จะมีผลกระทบให้สมาชิกอื่นไม่ได้รับชําระหนี้เต็มจํานวน และอาจมีฐานะยอดขาดดุลการหักบัญชีเพิ่มขึ้นจากการคํานวณดุลใหม่นั้น จนอาจส่งผลให้สมาชิกอื่นไม่มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการชําระดุลตามยอดดุลการหักบัญชีที่คํานวณใหม่ และอาจเป็นเหตุให้จําเป็นต้องดําเนินการ Unwind สมาชิกรายอื่นต่อไปเป็นลูกโซ่ ก่อให้เกิด Systemic Risk ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงินและผู้ใช้บริการระบบการชําระเงินทั้งในระดับภาคธุรกิจและประชาชนเป็นวงกว้าง ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงพิจารณาให้มีมาตรการจัดการความเสี่ยงตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย โดยกําหนด "มาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (Securities Requirement for Settlement: SRS)" ให้สถาบันผู้ส่งคําสั่งและสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่เป็นผู้ใช้บริการบาทเนตปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงด้าน Settlement Risk และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าอย่างน้อยที่สุดการชําระดุลในลักษณะ Net Settlement ที่ดําเนินการผ่านระบบบาทเนตจะสามารถเสร็จสมบูรณ์ได้ตามกําหนดเวลา แม้ในกรณีสมาชิกที่มียอดขาดดุลสูงสุด 1 ราย ไม่สามารถชําระดุลได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 44 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันผู้ส่งคําสั่งและสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินตามระเบียบนี้ อื่นๆ - 4. เนื้อหา ลักษณะ 1 บททั่วไป ข้อ 1 ในประกาศนี้ "ธปท." หมายถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย "บาทเนต" หมายถึง ระบบบาทเนต ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต "สถาบันผู้ส่งคําสั่ง" หมายถึง ผู้ใช้บริการบาทเนตที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้ใช้บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายและได้รับมอบอํานาจจากสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินให้เป็นตัวแทนในการส่งคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายเพื่อดําเนินการกับบัญชีเงินฝากของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่ ธปท. ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย "สถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน" หมายถึง ผู้ใช้บริการบาทเนตที่โอนเงินหรือรับโอนเงินตามคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย ไม่ว่าจะโอนเงินหรือรับโอนเงินในนามตนเองหรือในฐานะเป็นตัวแทนผู้อื่น ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย "สถาบันผู้ให้หลักประกัน" (Collateral Provider: CP) หมายถึง สถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน ที่มีข้อตกลงในการจัดให้มีตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเพื่อดํารงไว้ตามระเบียบฉบับนี้แทนสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินอื่น ทั้งนี้ สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่จะให้บริการเป็นสถาบันผู้ให้หลักประกันได้ ควรมีผลการดําเนินงานดี มีเงินกองทุนแข็งแกร่ง และมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี "ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ" หมายถึง ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันสําหรับการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (Securities Requirement for Settlement: SRS) ที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันดํารงไว้ตามระเบียบนี้ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เป็นตราสารหนี้ประเภทดังต่อไปนี้ (1.1) ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และพันธบัตรรัฐบาล (1.2) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ ธปท. กําหนด ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ย (1.3) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารหนี้อื่นใดที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ ธปท. กําหนด ที่กระทรวงการคลังไม่ค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ตราสารหนี้ดังกล่าวหรือผู้ออกต้องได้รับการจัดอันดับเครดิตไม่ต่ํากว่า AAA จาก TRIS หรืออันดับเครดิตที่เทียบท่าจากสถาบันจัดอันดับเครดิตที่ ปท. กําหนด หรืออันดับเทียบเท่ากับที่ให้กับรัฐบาลไทยจาก S&P หรือ Moody's (1.4) พันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (1.5) พันธบัตร ธปท. พันธบัตรออมทรัพย์ ธปท. (1.6) พันธบัตรหรือตราสารหนี้อื่นใดที่ ธปท. เห็นสมควร (2) สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และปราศจากภาระผูกพัน (3) สามารถคํานวณมูลค่าตามราคาตลาดได้ (4) มีอายุคงเหลือไม่น้อยกว่า 2 วันทําการก่อนวันปิดพักทะเบียน ทั้งนี้ วันปิดพักทะเบียน หมายถึง ระยะเวลาที่กําหนดห้ามการโอน การจํานํา หรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด หรือตามประกาศการจําหน่ายตราสารหนี้แต่ละรุ่น (5) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารหนี้อื่นใดที่ ธปท. ไม่ได้เป็นนายทะเบียน ให้ถือว่าวันทําการหนึ่งวันก่อนวันปิดพักทะเบียนจ่ายดอกเบี้ยของหุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารหนี้อื่นใดนั้นไม่มีคุณสมบัติเป็นตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ "ฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น" (Potential Debit Position: PDP) หมายถึง มูลค่าขาดดุลสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นของแต่ละสถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน ตามวิธีการคํานวณที่ ธปท. ประกาศกําหนด "คําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย" (Multilateral Funds Transfer: MFT) หมายถึง คําสั่งที่สถาบันผู้ส่งคําสั่งส่งผ่านระบบชําระดุลกลางเพื่อเข้าทําการชําระดุลของธุรกรรมการชําระเงินประเภทต่าง ๆ ระหว่างสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินในระบบบาทเนต ซึ่งมีผลเป็นการสั่งโอนเงินและรับโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามดุลสุทธิของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย "ตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน" (Intraday Liquidity Facilities: ILF) หมายถึง ตราสารหนี้ของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่ฝากไว้กับ ธปท. ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน "ศูนย์รับฝาก" หมายถึง บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือหน่วยงานอื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อประกอบการเป็นศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ "บัญชีตราสารหนี้ของ ธปท. เพื่อการบริหารหลักประกัน" หมายถึง บัญชี ตราสารหนี้ที่ ธปท.เปิดไว้ที่ศูนย์รับฝากในฐานะที่ ธปท. ถือตราสารหนี้แทนสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกัน เพื่อประโยชน์ในการบริหารหลักประกันและการทําธุรกรรมกับ ธปท. "บัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ" หมายถึง บัญชีย่อยตราสารหนี้ของแต่ละสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันภายใต้ระบบงานและการดูแลของ ธปท. เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามระเบียบนี้ "บัญชีเงินฝาก" หมายถึง บัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีชําระเงินซึ่งสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันเปิดไว้กับ ธปท. "หลักประกันร่วม" หมายถึง ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ์ในส่วนที่ใช้เป็นหลักประกันร่วมกันระหว่างสถาบันผู้ให้หลักประกันและสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่มีข้อตกลงใช้บริการของสถาบันผู้ให้หลักประกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ธปท. ประกาศกําหนด "บริการ EFS " หมายถึง บริการตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) "คอมพิวเตอร์แม่ข่าย" หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์บาทเนตของ ธปท. "คอมพิวเตอร์ลูกข่าย" หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน ที่ใช้เชื่อมโยงกับบาทเนตของ ธปท. ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์สําหรับการส่งข้อความผ่านสวิฟท์หรือบริการ EFS หรือระบบงานคอมพิวเตอร์อื่นที่เชื่อมโยงเพื่อการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของ ธปท. (Host to Host) "กระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการรับและส่งข้อความ" หมายถึง กระบวนการเพื่อความปลอดภัยของสวิฟท์หรือบริการ EFS หรือระบบงานคอมพิวเตอร์อื่นที่เชื่อมโยงเพื่อการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของ ธปท. (Host to Host) ที่ ธปท. นํามาใช้ในการดําเนินการมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต ภายใต้บริการบาทเนตเพื่อ (1) ยืนยันว่าข้อความที่ ธปท. หรือสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินส่งผ่านบาทเนตเป็นข้อความของ ธปท. หรือสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินจริง ซึ่งผู้ส่งข้อความจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ (2) ยืนยันว่าข้อความที่ ธปท. หรือสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินได้รับผ่านบาทเนต เป็นข้อความเดียวกับที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือ ธปท. ได้ส่งจริง (3) สามารถทําการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) และยืนยันว่าผู้ปฏิบัติงานในบาทเนตเป็นบุคคลที่ได้รับสิทธิในการปฏิบัติงานจริง (4) ให้ตรวจสอบความครบถ้วนของจํานวนข้อความที่ส่งผ่านบาทเนตได้ (5) ป้องกันมิให้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องล่วงรู้ข้อความที่แท้จริงในการรับและส่งข้อความระหว่างคอมพิวเตอร์แม่ข่ายกับคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (6) มีระบบการบันทึกหลักฐานเกี่ยวกับข้อความที่รับส่ง "มาตรการรักษาความปลอดภัย" หมายถึง มาตรการในการป้องกันมีให้บุคคลซึ่งไม่ได้รับ มอบหมายเข้าใช้คอมพิวเตอร์ลูกข่าย ลักษณะ 2 สถาบันผู้ส่งคําสั่งและสถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน ข้อ 2 สถาบันผู้ส่งคําสั่งและสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ ธปท. กําหนดตามระเบียบนี้ ข้อ 3 ก่อนถึงกําหนดเวลาเริ่มดําเนินการตามมาตรการจัดการความเสี่ยงตามระเบียบนี้ให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดําเนินการ ดังนี้ (1) ทําหนังสือแสดงความตกลงในการปฏิบัติตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต ตามแบบที่ ธปท. กําหนด (2) ทําหนังสือมอบอํานาจให้ ธปท. ดําเนินการกับตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ (3) ทําหนังสือมอบอํานาจตามแบบที่ ธปท. กําหนด (4) ทําเอกสารตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) ได้แก่ หนังสือแสดงความตกลงใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือแต่งตั้งผู้รับรอง (Certifier) หนังสือแต่งตั้งผู้มีอํานาจลงนามแต่งตั้งผู้รับรอง หนังสือแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงาน (Officer) ในกรณีที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินเป็นผู้ใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ข้างต้นอยู่ก่อนแล้ว ให้จัดทําเฉพาะหนังสือแต่งตั้งผู้รับรอง (Certifier) และหนังสือแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงาน (Officer) เท่านั้น (5) ทําเอกสารอื่น ๆ ตามที่ ธปท. กําหนดเพิ่มเติม ข้อ 4 สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยและระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไป ข้อ 5 สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินยอมรับในประสิทธิภาพ ขอบเขตความสามารถและข้อจํากัดของกระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการรับส่งข้อความและยอมรับว่าการดําเนินการมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนตภายใต้บริการบาทเนตมีมาตรการที่รัดกุมเพียงพอสําหรับป้องกันความผิดพลาดและการทุจริตต่าง ๆ แล้ว ข้อ 6 สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินต้องรักษาไว้เป็นความลับซึ่งกระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการรับส่งข้อความ สิ่งที่บรรจุข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องด้วยกระบวนการนั้น คู่มือการใช้งาน เว้นแต่เป็นการเปิดเผยเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินต้องเก็บรักษาข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องด้วยกระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการรับส่งข้อความและคู่มือการใช้งานมิให้สูญหาย ในกรณีที่มีการเปิดเผยหรือสูญหาย สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินต้องแจ้ง ธปท. ทราบโดยพลัน ลักษณะ 3 การดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ ข้อ 7 ในแต่ละวันทําการ สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินต้องจัดให้มีตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเพื่อดํารงไว้ไม่น้อยกว่าฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดํารงตราสารหนี้ที่ ธปท. ประกาศกําหนด โดยสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินสามารถนําตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิไปใช้ประโยชน์อื่นได้เฉพาะตามที่กําหนดในระเบียบนี้ และห้ามนําไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ทั้งนี้ หากภายหลังจากการกําหนดฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นตามวรรคหนึ่งปรากฏว่า สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินใดมีความเสี่ยงสูงต่อการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต หรือมียอดขาดดุลของดุลสุทธิรายวันสูงกว่าฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินนั้น ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับเพิ่มฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดังกล่าว ตามที่เห็นสมควร ข้อ 8 ในการจัดให้มีตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเพื่อดํารงไว้ตามข้อ 7 สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินต้องดําเนินการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ (1) ดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิด้วยตนเองทั้งจํานวน หรือ (2) ดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิด้วยตนเองไม่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ําในการดํารงเพื่อตนเองที่ ธปท. ประกาศกําหนด ร่วมกับการใช้บริการจากสถาบันผู้ให้หลักประกันเพื่อให้ครบทั้งจํานวน ข้อ 9 ในการจัดให้มีตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเพื่อดํารงไว้ตามข้อ 7 สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินซึ่งให้บริการเป็นสถาบันผู้ให้หลักประกันจะต้องดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิตามฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยตนเองทั้งจํานวนโดยห้ามมิให้ใช้บริการจากสถาบันผู้ให้หลักประกันอื่น สถาบันผู้ให้หลักประกันสามารถนําตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิในส่วนที่เกินจากเกณฑ์ขั้นต่ําในการดํารงเพื่อตนเองที่ ธปท. ประกาศกําหนด มาใช้เป็นหลักประกันร่วมได้ ในกรณีที่สถาบันผู้ให้หลักประกันมีการให้บริการแก่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินรายใดรายหนึ่งเกินกว่ามูลค่าหลักประกันร่วมในวรรคสอง สถาบันผู้ให้หลักประกันต้องนําตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิมาดํารงเพิ่มเติม เพื่อให้มีการดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิไม่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ําในการดํารงเพื่อตนเองที่ ธปท. ประกาศกําหนด รวมกับยอดที่ให้บริการแก่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินรายที่สูงสุด ทั้งนี้ สถาบันผู้ให้หลักประกันไม่สามารถนําหลักประกันร่วมไปใช้เพื่อประโยชน์อื่นตามที่กําหนดในระเบียบนี้ได้ ข้อ 10 ในการดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิตามข้อ 7 ให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันฝากหรือโอนตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเข้าบัญชีตราสารหนี้ของ ธปท. เพื่อการบริหารหลักประกัน ที่ฝากไว้ที่ศูนย์รับฝากตามวิธีการที่ศูนย์รับฝากกําหนดข้อ 11 สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและสถาบันผู้ให้หลักประกันจะต้องไม่โอนตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิออกจากบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ เว้นแต่ (1) เป็นส่วนเกินจากมูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่สถาบันต้องดํารงตามข้อ 8 หรือ ข้อ 9 แล้วแต่กรณี (2) เป็นการใช้ประโยชน์อื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ธปท. กําหนด ข้อ 12 ให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินซึ่งใช้บริการจากสถาบันผู้ให้หลักประกัน แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการดังกล่าวให้ ปท. ทราบ รวมถึงนําส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ ธปท. ก่อนเริ่มใช้บริการและทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนด ลักษณะ 4 การกันตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ สําหรับการชําระดุลของธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day ข้อ 13 เพื่อประโยชน์ในการดําเนินมาตรการจัดการความเสี่ยงสําหรับการชําระดุลของธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day ในระบบบาทเนต สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่มีการชําระดุลสําหรับธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day ตกลงยินยอมให้ ธปท. กันตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเพื่อการชําระดุลของธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day ให้ครบถ้วนเพียงพอกับยอดขาดดุลสุทธิของสถาบันตนเอง เพื่อเป็นหลักประกันการชําระดุลตามยอดขาดดุลสุทธิของตนเอง ข้อ 14 ในการกันตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิสําหรับการชําระดุลของธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day จะมีขั้นตอนดําเนินการ ดังนี้ (1) สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่มีการชําระดุลระหว่างสถาบันสําหรับธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day ดําเนินการเพื่อให้บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จํากัด แจ้งข้อมูลดุลการหักบัญชีธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day ในแต่ละวันให้ ธปท. ตามรูปแบบและวิธีการที่ ธปท. กําหนดภายในเวลา 16.00 น. ของวันก่อนวันครบกําหนดชําระดุล 1 วันทําการ (Day -1) เพื่อให้ ธปท. ดําเนินการกันตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเพื่อการชําระดุลของธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day (2) สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่มียอดขาดดุลสุทธิตามข้อมูลดุลการหักบัญชีธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day ที่ได้รับแจ้งจากบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จํากัด มีหน้าที่ดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่ไม่ใช่หลักประกันร่วมซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ให้มีมูลค่าคงเหลือเพียงพอกับยอดขาดดุลสุทธิของตนเองตามที่ได้รับแจ้งจากบริษัทเนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จํากัด ภายในเวลา 17.30 น. ของวันก่อนวันครบกําหนดชําระดุล 1 วันทําการ (Day -1) ทั้งนี้ เพื่อให้ ธปท.สามารถกันตราสารหนี้เป็นจํานวนเงินเท่ากับยอดขาดดุลสุทธิได้ (3) หากสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินไม่สามารถดํารงตราสารหนี้เพื่อการกันได้ครบถ้วนตามข้อ 14 (2) สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินตกลงยินยอมปฏิบัติตามพิธีปฏิบัติ ธปท. เรื่อง การกันเงินในบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้กับ ธปท. และตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวันสําหรับการชําระดุลธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day เพื่อให้ ธปท. กันเงินฝากในบัญชีเงินฝากที่ ปท. และตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวันให้ครบถ้วนตามยอดขาดดุลสุทธิ (4) หากสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินได้ปฏิบัติตามข้อ 14 (3) แล้ว ธปท. ยังไม่สามารถกันเงินฝากในบัญชีเงินฝากที่ ปท. และตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวันให้ครบถ้วนตามยอดขาดดุลสุทธิได้ ธปท. จะดําเนินการกันตราสารหนี้ในส่วนของหลักประกันร่วม ดังนี้ (4.1) กรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินมีการใช้บริการจากสถาบันผู้ให้หลักประกัน ธปท. จะกันตราสารหนี้ที่เป็นหลักประกันร่วมของสถาบันผู้ให้หลักประกันให้ครบถ้วนตามยอดขาดดุลสุทธิ แต่ไม่เกินมูลค่าหลักประกันร่วมที่ให้บริการแก่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินนั้น ในกรณีที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินมีการใช้บริการจากสถาบันผู้ให้หลักประกันมากกว่าหนึ่งราย ธปท. จะจัดสรรจํานวนเงินยอดขาดดุลส่วนที่เหลือจากการกันเงินฝากและตราสารหนี้ตามข้อ 14 (3) เพื่อกันตราสารหนี้ที่เป็นหลักประกันร่วมของสถาบันผู้ให้หลักประกันแต่ละราย ตามสัดส่วนมูลค่าหลักประกันที่ให้บริการกับสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดังกล่าว เทียบกับผลรวมของมูลค่าหลักประกันที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินนั้นใช้บริการกับสถาบันผู้ให้หลักประกันทุกรายทั้งนี้ ไม่เกินมูลค่าหลักประกันร่วมที่สถาบันผู้ให้หลักประกันให้บริการแก่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินนั้น (4.2) กรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินเป็นสถาบันผู้ให้หลักประกันด้วย ธปท. จะกันตราสารหนี้ที่เป็นหลักประกันร่วมจนครบถ้วนตามยอดขาดดุลสุทธิ ทั้งนี้ กรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน และ/หรือสถาบันผู้ให้หลักประกันมีการใช้หลักประกันร่วมกัน หากหลักประกันร่วมดังกล่าวมีไม่เพียงพอสําหรับการกันเพื่อการชําระดุลของธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day ของทุกราย ให้ถือว่าดุลการหักบัญชีรอบนั้นเป็นโมฆะ ข้อ 15 หาก ธปท. ไม่สามารถดําเนินการตามข้อ 14 ได้ครบถ้วนตามยอดขาดดุลสุทธิของธุรกรรมดังกล่าว ให้ถือว่าดุลการหักบัญชีรอบนั้นเป็นโมฆะ และ ธปท. จะแจ้งให้บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จํากัด ทราบเพื่อให้บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จํากัด พิจารณาดําเนินการคํานวณดุลการหักบัญชีตามความตกลงระหว่างบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จํากัด กับสถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน เพื่อแจ้งดุลการหักบัญชีใหม่เพื่อให้ ธปท. ดําเนินการกันเงินและกันตราสารหนี้ของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินต่อไป ลักษณะ 5 การใช้ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิสําหรับการชําระดุลในระบบบาทเนต ข้อ 16 ในกรณีที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่อยู่ในฐานะขาดดุลตามคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (Multilateral Funds Transfer: MFT) มีเงินในบัญชีเงินฝากไม่เพียงพอต่อการชําระดุลภายในเวลาชําระดุลที่กําหนด ให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดังกล่าวดําเนินการให้มีเงินในบัญชีเงินฝากเพียงพอต่อการชําระดุล รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการจัดการความเสี่ยงของสถาบันผู้ส่งคําสั่งตามข้อ 17 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริกรโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย เพื่อให้มีเงินเพียงพอชําระดุลได้ ข้อ 17 หากดําเนินการตามข้อ 16 แล้ว สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินยังคงมีเงินในบัญชีเงินฝากไม่เพียงพอต่อการชําระดุลภายในเวลาชําระดุลที่กําหนด ให้ถือว่าสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและสถาบันผู้ให้หลักประกันตกลงยินยอมขายตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่ดํารงไว้ตามข้อ 7 แล้วแต่กรณี ให้แก่ ธปท. โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในระเบียบฉบับนี้ เพื่อดําเนินการชําระดุลให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่ไม่สามารถชําระดุลได้โดย ธปท. จะรับซื้อตราสารหนี้ในแต่ละกรณี ดังนี้ (1) กรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิด้วยตนเองทั้งจํานวน ธปท. จะรับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่ดํารงไว้เพื่อตนเองทั้งจํานวนเท่าที่จําเป็น (2) กรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิด้วยตนเองร่วมกับการใช้บริการจากสถาบันผู้ให้หลักประกันเพื่อให้ครบทั้งจํานวน ธปท.จะรับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่ดํารงไว้เพื่อตนเองทั้งจํานวนก่อน หากยังไม่เพียงพอจะรับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิของสถาบันผู้ให้หลักประกันที่ให้บริการแก่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินรายนั้นต่อไป ในกรณีที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่ไม่สามารถชําระดุลได้ มีการใช้บริการจากสถาบันผู้ให้หลักประกันหลายราย ธปท. จะจัดสรรจํานวนเงินที่ไม่สามารถชําระดุลได้ให้สถาบันผู้ให้หลักประกันแต่ละราย ตามสัดส่วนมูลค่าหลักประกันที่ให้บริการกับสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดังกล่าวเทียบกับผลรวมมูลค่าหลักประกันที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินนั้นใช้บริการกับสถาบันผู้ให้หลักประกันทุกราย ทั้งนี้ ไม่เกินมูลค่าหลักประกันร่วมที่สถาบันผู้ให้หลักประกันให้บริการ (3) กรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินเป็นสถาบันผู้ให้หลักประกันดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิด้วยตนเองร่วมกับการให้บริการแก่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน ธปท. จะรับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่ดํารงไว้เพื่อตนเองก่อน หากยังไม่เพียงพอจะรับซื้อตราสารหนี้ที่เป็นหลักประกันร่วมต่อไป ข้อ 18 ธปท. จะพิจารณารับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิโดยมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) ธปท. จะพิจารณารับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิในราคารับซื้อตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยราคาตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะรับซื้อในการซื้อขายตราสารหนี้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวันซึ่งออกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (2) ธปท. จะพิจารณารับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่ดํารงไว้ในบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและ/หรือสถาบันผู้ให้หลักประกันตามลําดับในข้อ 17 และจะโอนกรรมสิทธิ์ตราสารหนี้ที่รับซื้อนั้นเป็นของ ธบท. พร้อมนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและ/หรือสถาบันผู้ให้หลักประกันแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ ธปท. รับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิในส่วนที่เป็นหลักประกันร่วม ธปท. จะนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของสถาบันผู้ให้หลักประกัน และเป็นหน้าที่ของสถาบันผู้ให้หลักประกันดังกล่าวที่ต้องดําเนินการโอนเงินจํานวนดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินที่ใช้บริการ ข้อ 19 เมื่อ ธปท. ได้นําเงินเข้าบัญชีเงินฝากแล้ว การขายตราสารหนี้โดยมีข้อตกลงว่าจะซื้อคืนมีผลผูกพันสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันทันที ข้อ 20 ในการซื้อคืนตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันแล้วแต่กรณี สามารถซื้อคืนตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก่อนสิ้นวันด้วยตนเองผ่านบริการ EFS โดย ธปท. จะหักเงินในบัญชีเงินฝากของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกัน และจะโอนกรรมสิทธิ์ตราสารหนี้ที่รับซื้อไว้คืนให้แก่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกัน โดยนําเข้าบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกัน (2) หากสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันไม่ดําเนินการตาม (1) ณ สิ้นวัน สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันตกลงยินยอมให้ ธปท.ดําเนินการแทนในการซื้อคืนตราสารหนี้ โดยหักเงินออกจากบัญชีเงินฝากของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกัน เพื่อการซื้อคืนภายในเวลา 17.30 น. ตามราคาที่ ธปท. รับซื้อไว้ ในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันมีไม่เพียงพอให้ ปท. หักเพื่อชําระราคาซื้อคืนตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ ณ สิ้นวันตามเวลาที่ ธปท. กําหนด ธปท. จะเป็นผู้พิจารณาให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันซื้อคืนตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิตามสัดส่วนเท่าที่มีเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันแล้วแต่กรณี สําหรับตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิส่วนที่ไม่มีการซื้อคืนในวันนั้น ธปท. จะขายคืนตราสารหนี้ดังกล่าวภายในเวลา 12.00 น. ของวันทําการถัดไป โดย ธปท.จะขายคืนในราคาที่เท่ากับผลรวมของราคาที่ ธปท. รับซื้อกับค่าตอบแทน และจํานวนวันที่รับซื้อให้นับจากวันที่ ธปท. รับซื้อตราสารหนี้ดังกล่าวจนถึงวันที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันซื้อคืน ทั้งนี้ อัตราค่าตอบแทนและวิธีคํานวณเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยอัตราค่าตอบแทนในการซื้อขายตราสารหนี้และวิธีคํานวณ ซึ่งออกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ในกรณีที่ในวันทําการถัดไปตามวรรคสามนั้น เงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันยังคงไม่พอให้หักชําระราคาซื้อคืนภายในเวลา 12.00 น. ให้ถือว่าสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันนั้นสิ้นสิทธิซื้อคืน ข้อ 21 เมื่อสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันสิ้นสิทธิซื้อคืน ธปท.จะดําเนินการ ดังนี้ (1) คิดค่าตอบแทนจากราคารับซื้อตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยอัตราค่าตอบแทนในการซื้อขายตราสารหนี้และวิธีคํานวณ ซึ่งออกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ทั้งนี้ จํานวนวันที่รับซื้อให้นับจากวันที่ ธปท.รับซื้อตราสารหนี้จนถึงวันที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันสิ้นสิทธิซื้อคืน (2) คํานวณมูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการคํานวณมูลค่าตราสารหนี้กรณีสถาบันการเงินสิ้นสิทธิซื้อคืนตราสารหนี้ซึ่งออกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (3) นําเงินเข้าหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกัน ในกรณีที่มีส่วนต่างระหว่างมูลค่าตราสารหนี้ที่ ธปท. รับซื้อบวกค่าตอบแทนตาม (1) กับมูลค่าตราสารหนี้ที่คํานวณได้ตาม (2) (4) กรณีตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันสิ้นสิทธิซื้อคืนเป็นตราสารหนี้ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยงวด หากวันสิ้นสิทธิซื้อคืนตรงกับวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อการจ่ายดอกเบี้ย ธปท. จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากตราสารหนี้นั้น ทั้งนี้ หากวันปิดสมุดทะเบียนตามที่กล่าวข้างต้นตรงกับวันหยุดทําการของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกัน ธปท. จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากตราสารหนี้นั้นด้วย ข้อ 22 กรณีที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันไม่สามารถดํารงเงินในบัญชีเงินฝากให้เพียงพอสําหรับจํานวนเงินที่ ปท. ต้องหักเงินจากบัญชีของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันที่คํานวณได้ตามข้อ 21 (3) แล้วแต่กรณี สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันยินยอมให้ ธปท. จําหน่ายตราสารหนี้ที่ฝากไว้หรือทรัพย์สินอื่นใดของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันที่มีอยู่ที่ ธปท. จนเพียงพอกับจํานวนเงินดังกล่าว ลักษณะ 6 การดําเนินการกรณีตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิไม่เพียงพอ สําหรับการชําระดุลในระบบบาทเนต ข้อ 23 กรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินไม่สามารถชําระดุลได้และมีตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิไม่เพียงพอต่อการชําระดุลในรอบใดรอบหนึ่ง ให้ถือว่าการชําระดุลรอบนั้นเป็นโมฆะ และให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับรอบชําระดุลนั้น ๆ ต่อไป ข้อ 24 กรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและ/หรือสถาบันผู้ให้หลักประกันที่ใช้หลักประกันร่วมไม่สามารถชําระดุลได้มากกว่าหนึ่งรายขึ้นไป หากหลักประกันร่วมดังกล่าวมีไม่เพียงพอสําหรับการชําระดุลของทุกราย ให้ถือว่าการชําระดุลรอบนั้นเป็นโมฆะ และให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับรอบชําระดุลนั้น ๆ ต่อไป ลักษณะ 7 การตรวจสอบการดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิและการคิดค่าปรับ ข้อ 25 ธปท. จะติดตามและตรวจสอบการดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิทุกวัน ตามกําหนดเวลา หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ธปท. ประกาศกําหนด ข้อ 26 ในกรณีที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันไม่สามารถดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ธปท. จะคิดค่าปรับตามอัตรา หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ธปท. ประกาศกําหนด จนกว่าสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันจะสามารถดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิได้ตามหลักเกณฑ์ ลักษณะ 8 การใช้ประโยชน์อื่นของตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ ข้อ 27 ตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิสามารถนําไปใช้เพื่อประโยชน์อื่นได้ ดังนี้ (1) ใช้เป็นหลักประกันเพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวันในระบบบาทเนต (2) ใช้จํานําเป็นหลักประกันในการขอใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็ค (3) ใช้สําหรับประโยชน์อื่นตามที่ ธปท. เห็นสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ธปท. ประกาศกําหนด ลักษณะ 9 เบ็ดเตล็ด ข้อ 28 ธปท. จะคิดค่าธรรมเนียมการฝาก ถอน โอน รับโอน และการรักษาตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิตามมูลค่าตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายจากการดําเนินการเกี่ยวกับตราสารหนี้ดังกล่าว และค่าปรับ (ถ้ามี) ตามอัตราและวิธีการที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยค่าธรรมเนียมและค่าปรับที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินสภาพคล่องระหว่างวัน ซึ่งออกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ข้อ 29 กรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินขายตราสารหนี้ที่ ธปท. ไม่ได้เป็นนายทะเบียนและไม่สามารถซื้อคืนได้ภายในวันนั้น หากตราสารหนี้ดังกล่าวมีวันปิดพักทะเบียนสิทธิประโยชน์ตรงกับวันหยุดทําการของสถาบันการเงินหรือตรงกับวันทําการถัดไป ธปท. สงวนสิทธิ์ในการงดโอนสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ให้กับสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันแล้วแต่กรณีไม่ว่ากรณีใด ๆ (1) สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือตราสารหนี้ (2) สิทธิในการจองซื้อตราสารหนี้เพิ่มทุน (3) สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่รวมถึงสิทธิในการรับดอกเบี้ยงวด และสิทธิการรับเงินต้นของตราสารหนี้ ข้อ 30 ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องใด ๆ ทําให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินไม่สามารถดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิได้ด้วยตนเอง สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินสามารถแจ้งให้ ธปท. ดําเนินการแทนได้ โดยติดต่อไปยัง BAHTNET Helpdesk และส่งหนังสือแจ้งตามแบบ ที่ ธปท. กําหนด ข้อ 31 สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันมีหน้าที่ต้องตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของรายการธุรกรรมตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิและส่งหนังสือยืนยันธุรกรรมตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านบริการ EFS ให้ ธปท. ภายในเวลา 10.00 น. ของวันทําการถัดจากวันที่มีธุรกรรมที่เกี่ยวกับตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ เว้นแต่ ธปท. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ 32 ธปท. จะรับผิดชอบในความเสียหายเช่นตามปกติที่เกิดจากการกระทําของ ธปท.เว้นแต่ในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีดังต่อไปนี้ (1) ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพฤติการณ์พิเศษ (2) ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องทางเทคนิคของคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (3) ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสิ่งหรือระบบซึ่งไม่ได้อยู่ในความควบคุมของ ธปท. (4) เหตุสุดวิสัย ข้อ 33 ธปท. สงวนสิทธิ์ในการปรับลดหรือระงับการใช้ประโยชน์อื่นตามข้อ 27 หรือสั่งให้สถาบันผู้ส่งคําสั่งระงับการนําธุรกรรมของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินมารวมคํานวณในคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายเป็นการชั่วคราวหรือถาวร หากสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือมีพฤติการณ์อันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบการชําระเงินโดยรวม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นอกจากนี้ ธปท. สงวนสิทธิ์ในการดําเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการชําระเงิน ข้อ 34 ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงระเบียบ ประกาศหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องตามระเบียบนี้ได้ โดย ธปท. จะแจ้งให้สถาบันผู้ส่งคําสั่งและสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินทราบล่วงหน้าก่อนการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ข้อ 35 การตีความตามระเบียบหรือประกาศหรือข้อกําหนดใดที่ออกตามระเบียบนี้ ธปท. จะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ข้อ 36 ให้ถือว่าสถาบันผู้ส่งคําสั่งและสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินตกลงผูกพันและปฏิบัติตามระเบียบนี้และข้อกําหนดอื่นใดที่ออกตามระเบียบนี้และที่จะแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งจะมีขึ้นในภายหน้าทุกประการ ข้อ 37 ให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินเริ่มดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิตามระเบียบฉบับนี้ ตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2557 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,867
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3626 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวเทน - 1 - ออลสำหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 1 : ข้อกำหนดทั่วไป
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3626 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บิวเทน - 1 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 1 : ข้อกําหนดทั่วไป ---------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวเทน - 1 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 1 : ข้อกําหนดทั่วไป มาตรฐานเลขที่ มอก. 2095 เล่ม 1 - 2544 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2088 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวเทน - 1 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 1 : ข้อกําหนดทั่วไป ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,868
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2 /2557 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2 /2557 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เนื่องด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดทํา "มาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ้ายในระบบบาทเนต (Securities Requirement for Settlement SRS)" โดยให้ธนาคารสมาชิกดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ รวมทั้งสามารถนําตราสารหนี้ดังกล่าวมาจํานําเป็นหลักประกันการใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็คของรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ (Same-day Settlement) ธปท. จึงเห็นสมควรปรับปรุงระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 3. แก้ไข ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สร. 1/2554 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐที่เป็นธนาคารสมาชิกตามระเบียบนี้ อื่นๆ - 5. เนื้อหา ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 38 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 1/2554 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน "ในการหักบัญชีรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ (Same-day Settlement) หากธนาคารสมาชิกผู้เป็นลูกหนี้มีเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากไม่พอหักยอดเงินที่ตนเป็นลูกหนี้ในการหักบัญชีครั้งนี้ และธนาคารสมาชิกนั้นไม่สามารถนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากให้เพียงพอในวันนั้นภายในเวลาที่กําหนด รวมทั้งได้ดําเนินการตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนตแล้วยังไม่สามารถชําระดุลหักบัญชีดังกล่าวได้ ให้ถือว่าการหักบัญชีเป็นโมฆะ ศูนย์หักบัญชีจะแจ้งให้ทุกธนาคารสมาชิกทราบและคํานวณดุลการหักบัญชีสุทธิใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่นําข้อมูลและภาพเช็คที่ธนาคารสมาชิกนั้นส่งเรียกเก็บและที่ถูกเรียกเก็บมาคํานวณด้วย และศูนย์หักบัญชีจะแจ้งดุลการหักบัญชีสุทธิที่คํานวณใหมให้ธนาคารสมาชิกทราบ และหักบัญชีหรือขึ้นบัญชีธนาคารสมาชิกต่อไป" ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 39 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 1/2554 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน "ธนาคารสมาชิกอาจนํายอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิของรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ (Same-day Settlement ไปซื้อคืนตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต หรือซื้อคืนตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน หรือชําระรายการโอนเงินในระบบบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนตได้ โดยธนาคารสมาชิกผู้ประสงค์จะใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิดังกล่าวต้องนําตราสารหนี้มาจํานําเป็นหลักประกันการใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีสุทธิ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ธปท. กําหนด" ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 40 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 1/2554 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ในการหักบัญชีรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันทําการถัดไป (Next-day Settlement) หากธนาคารสมาชิกผู้เป็นลูกหนี้มีเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากไม่พอหักยอดเงินที่ตนเป็นลูกหนี้ในการหักบัญชีครั้งนี้ และธนาคารสมาชิกนั้นไม่สามารถนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากให้เพียงพอในวันนั้นภายในเวลาที่กําหนด รวมทั้งได้ดําเนินการตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนตแล้วยังไม่สามารถชําระดุลหักบัญชีดังกล่าวได้ ให้ถือว่าการหักบัญชีครั้งนี้รวมถึงการหักบัญชีรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ (Same-day Settlement) ที่ล่วงมาแล้วเป็นโมฆะ ศูนย์หักบัญชีจะแจ้งให้ทุกธนาคารสมาชิกทราบและคํานวณดุลการหักบัญชีสุทธิใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่นําข้อมูลและภาพเช็คที่ธนาคารสมาชิกนั้นส่งเรียกเก็บและที่ถูกเรียกเก็บมาคํานวณด้วย และศูนย์หักบัญชีจะแจ้งดุลการหักบัญชีสุทธิที่คํานวณใหม่ให้ธนาคารสมาชิกทราบ และหักบัญชีหรือขึ้นบัญชีธนาคารสมาชิกต่อไป” อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2557 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,869
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2559 ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2559 ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ ------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นนายทะเบียนตราสารหนี้ของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ เพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับการให้บริการในปัจจุบัน พร้อมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์การเป็นนายทะเบียนตราสารหนี้ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และเนื่องจากหลักเกณฑ์ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ทั้งประเภทมีใบตราสารและประเภทไร้ใบตราสารมีอยู่หลายฉบับหากนํามารวมอยู่ภายใต้ระเบียบฉบับเดียวกันจะทําให้สะดวกในการอ้างอิง จึงสมควรออกระเบียบฉบับนี้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 8 (4) มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. ยกเลิก (1) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1/2551 ว่าด้วยการโอน การวางหลักประกันการจํานําตราสารหนี้ และการเปลี่ยนแปลงทะเบียนตราสารหนี้ พ.ศ. 2551 (2) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการฝาก การถอน และการโอนตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน พ.ศ. 2549 (3) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข.1/2556 ว่าด้วยการให้บริการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน (4) หนังสือเวียนที่ ฝฝต. (11) ว. 4/2549 เรื่อง การปรับปรุงรายการธุรกรรมในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง ในการใช้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจําหน่าย หรือเป็นนายทะเบียน หรือเป็นตัวแทนการจ่ายเงิน อื่นๆ - 5. เนื้อหา ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 1 คํานิยาม ในระเบียบนี้ "ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งกระทําโดยผู้ว่าการ หรือผู้ที่ผู้ว่าการมอบหมาย "ศูนย์รับฝาก" หมายความว่า บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือหน่วยงานอื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อประกอบการศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ "ตราสารหนี้" หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร หุ้นกู้ และตราสารอื่นใดที่ ธปท. เป็นผู้จัดจําหน่าย หรือนายทะเบียน หรือตัวแทนการจ่ายเงินซึ่ง ธปท. ในฐานะตัวแทนมีหน้าที่ในการจ่ายดอกเบี้ย เงินต้น หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด "ตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร" หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ ธปท. ในฐานะนายทะเบียนเป็นผู้ออกใบตราสารหนี้ "ตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสาร" หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนและอยู่ในระบบไร้ใบตราสารของศูนย์รับฝาก "บัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท." หมายความว่า บัญชีตราสารหนี้ของนิติบุคคลแต่ละรายที่เป็นสมาชิกภายใต้ระบบงานของ ธปท. เพื่อการทําธุรกรรม "วันทําการ" หมายความว่า วันทําการของ ธปท. "ผู้ถือกรรมสิทธิ์" หมายความว่า ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล "ผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้" หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้เยาว์ คือ บิดาหรือมารดา หรือผู้ปกครองที่ศาลแต่งตั้ง หรือบุคคลอื่นที่มีชื่อเป็นผู้จัดการในใบตราสารหนี้ (2) กรณีคนไร้ความสามารถ คือ ผู้อนุบาลที่ศาลแต่งตั้ง (3) กรณีคนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้พิทักษ์ที่ศาลแต่งตั้งกระทําการร่วมกับผู้ถือกรรมสิทธิ์ (4) กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้ถึงแก่กรรม คือ ผู้จัดการมรดก "ผู้เยาว์" หมายความว่า บุคคลที่มีอายุต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์และยังไม่บรรลุนิติภาวะ ส่วนที่ 2 ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ ข้อ 2 บริการธุรกรรมตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร ผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้องที่กฎหมายให้อํานาจไว้ สามารถแจ้งความประสงค์ให้ ธปท. ดําเนินการเกี่ยวกับตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร ดังนี้ (1) เปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนประวัติ (2) ออกใบตราสารหนี้ฉบับใหม่เพื่อทดแทนฉบับเดิม (3) โอนกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ สามารถดําเนินการได้ 2 กรณี ดังนี้ กรณีทั่วไป หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นโดยเจตนาของผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีขายทอดตลาด หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์จากการขายทอดตลาดอันเกิดจากการบังคับหลักประกัน หรือบังคับคดี หรือกรณีอื่นใดให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่น (4) จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน (5) เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือรายละเอียดของการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน (6) จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการอายัดสิทธิในตราสารหนี้ (7) จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการวางสํารองประกันภัย (8) จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการดํารงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (9) ลงทะเบียนและถอนการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน และการไถ่ถอนตราสารหนี้ (10) ออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้หนังสือรับรองสถานะตราสารหนี้ ใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือหนังสืออื่นใดตามที่ ธปท. เห็นสมควร (11) ดําเนินการเพื่อการจัดการมรดกตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด (12) ดําเนินการอื่นใดตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด ข้อ 3 บริการธุรกรรมตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสารผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้องที่กฎหมายให้อํานาจไว้ สามารถแจ้งความประสงค์ให้ ธปท. ดําเนินการเกี่ยวกับตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสาร ดังนี้ .(1) ฝากใบตราสารหนี้เข้าและถอนตราสารหนี้ออกจากระบบไร้ใบตราสารเพื่อออกใบตราสารหนี้ (2) ฝากใบตราสารหนี้เข้าและถอนตราสารหนี้ออกจากบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. (3) ออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ในบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. (4) ออกใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (5) ดําเนินการอื่นใดตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด ส่วนที่ 3 การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ ข้อ 4 การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ (1) ผู้ขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ต้องยื่นแบบคําขอและเอกสารประกอบคําขอ ซึ่งมีข้อความและลงลายมือชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วน ตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด โดย ธปท. จะดําเนินการให้ ต่อเมื่อได้รับเอกสารถูกต้องครบถ้วน ในกรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้ถึงแก่กรรม ให้ผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้เป็นผู้ติดต่อขอรับบริการ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ธปท. อาจเรียกให้ผู้ขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้แสดงต้นฉบับของสําเนาเอกสารต่อ ธปท. หรือยื่นเอกสารอื่นใดเพิ่มเติมได้ (2) ช่องทางการขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ ผู้ขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้สามารถยื่นคําขอรับบริการและเอกสารผ่านช่องทางการขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ ณ เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ หรือนําส่งให้ ปท. ทางไปรษณีย์ หรือช่องทางอื่นใดตามที่ ธปท. กําหนด (3) กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้องที่กฎหมายให้อํานาจไว้ไม่สามารถมาดําเนินการด้วยตนเองได้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้องที่กฎหมายให้อํานาจไว้สามารถจัดทําหนังสือมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมาดําเนินการแทนได้ พร้อมแนบเอกสารแสดงตนของผู้มอบอํานาจและผู้รับมอบอํานาจ ทั้งนี้ ตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ต้องนําส่งหนังสือมอบอํานาจที่ระบุนิติบุคคลผู้ดูแลหลักทรัพย์ (Custodian) ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทยและระบุอายุของหนังสือมอบอํานาจ โดยต้องมีพยานและผู้รับรองเอกสารในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ - กรณีกงสุลไทยเป็นพยาน ต้องมีการรับรองต่อเนื่องเป็นลําดับจาก (ก) เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ (ถ้ามี) และ (ข) เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยในประเทศไทยใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน - กรณีเจ้าหน้าที่ Notary Public หรือแมยิสเตร็ด (Magistrate) หรือบุคคลอื่น ซึ่งมีใบสําคัญของรัฐบาลต่างประเทศว่าเป็นผู้มีอํานาจกระทําการได้เป็นพยาน ต้องมีการรับรองต่อเนื่องเป็นลําดับจาก (ก) เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศหรือหอการค้าระหว่างประเทศของประเทศนั้น (ข) เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ (ถ้ามี) และ (ค) เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยในประเทศไทย (4) การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ดังต่อไปนี้ ไม่สามารถกระทําได้ ตั้งแต่วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นงวดสุดท้ายตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด (ก) การโอนกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ (ข) การจดแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน (ค) การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือรายละเอียดของการ (ง) การจดแจ้งการวางสํารองประกันภัย (จ) การจดแจ้งการดํารงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (ฉ) การลงทะเบียนและถอนการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน (ช) การฝากใบตราสารหนี้เข้าและถอนตราสารหนี้ออกจาก ระบบไร้ใบตราสารเพื่อออกใบตราสารหนี้ (ซ) การฝากใบตราสารหนี้เข้าและถอนตราสารหนี้ออกจากบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. ข้อ 5 ธปท. จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ตามอัตราที่ ธปท. ประกาศกําหนด ส่วนที่ 4 การจ่ายดอกเบี้ยและจ่ายคืนเงินต้นของตราสารหนี้ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ข้อ 6 ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้แต่ละงวด ในวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ยตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือบุคคลอื่นตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์กําหนด โดยถือตามรายชื่อทางทะเบียนของ ธปท. หรือตามที่ศูนย์รับฝากแจ้งแก่ ธปท. ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ยตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด ทั้งนี้ ธปท. จะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามอัตราที่กฎหมายกําหนดและนําส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางไปรษณีย์หรือช่องทางอื่นใดตามที่ ธปท. เห็นสมควร ข้อ 7 ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นของตราสารหนี้ในแต่ละรุ่นให้แก่ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้นหรือวันอื่นใดตามระเบียบหรือประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ โดยถือตามรายชื่อทางทะเบียนของ ธปท. หรือตามที่ศูนย์รับฝากแจ้งแก่ ธปท. ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด ข้อ 8 ธปท. จะดําเนินการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด ส่วนที่ 5 สิทธิและหน้าที่ของ ธปท. ข้อ 9 ธปท. สงวนสิทธิที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงระเบียบ ประกาศ หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับระเบียบนี้ตามที่เห็นสมควรโดย ธปท. จะประกาศให้ทราบล่วงหน้า ข้อ 10 ธปท. สงวนสิทธิที่จะระงับการให้บริการกับบุคคลที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม หรือมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงระเบียบ ธปท. หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่ ธปท. พบใบตราสารหนี้ที่ถูกยกเลิกหรือใบตราสารหนี้ปลอมหรือแปลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ธูปท. จะทําการยึดใบตราสารหนี้นั้น ส่วนที่ 6 บทเฉพาะกาล ข้อ 11 การถอนหรือบังคับหลักประกัน ตามข้อ 5 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต.1/2551 ว่าด้วยการโอน การวางหลักประกันการจํานําตราสารหนี้ และการเปลี่ยนแปลงทะเบียนตราสารหนี้ พ.ศ. 2551 ให้มีผลบังคับใช้กับตราสารหนี้ที่มีการวางหลักประกันอยู่ก่อนตามข้อ 3 แห่งระเบียบฉบับดังกล่าว จนกว่าจะได้ดําเนินการถอนหรือบังคับหลักประกันเรียบร้อยแล้ว อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,870
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3627 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวเทน - 1 - ออลสำหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 2 :การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรด – วิธีไททริเมทริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3627 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บิวเทน - 1 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 2 : การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรด – วิธีไททริเมทริก ------------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวเทน - 1 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 2 : การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรด - วิธีไททริเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2095 เล่ม 2 - 2544 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3089 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวเทน - 1 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม – วิธีทดสอบ เล่ม 2 : การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรด - วิธีไททริเมทริก ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,871
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2560 เรื่อง การให้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2560 เรื่อง การให้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พัฒนาระบบเพื่อรองรับบริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่งในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกหลักเกณฑ์การให้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ออกตราสารหนี้และผู้แลกเปลี่ยนตราสารหนี้มีความเข้าใจและมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 8 (4) มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ใช้บังคับกับผู้ออกตราสารหนี้และผู้แลกเปลี่ยนตราสารหนี้ตามระเบียบนี้ อื่นๆ - 4. เนื้อหา ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 1 คํานิยาม ในระเบียบนี้ "ธปท." หมายถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย "บริการ EFS " หมายถึง บริการตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) "บริการ Bond Switching" หมายถึง บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ออกตราสารหนี้และผู้แลกเปลี่ยน ภายใต้ระบบที่ ธปท. จัดขึ้น "ผู้แลกเปลี่ยน" หมายถึง ผู้แลกเปลี่ยนตราสารหนี้ "ผู้ใช้บริการ Bond Switching" หมายถึง ผู้ออกตราสารหนี้และผู้แลกเปลี่ยน ที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้ใช้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ "ศูนย์รับฝาก" หมายถึง บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือหน่วยงานอื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานอื่นใดที่ ธปท. กําหนด เพื่อประกอบการเป็นศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ "ตราสารหนี้" หมายถึง ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร หุ้นกู้ และตราสารอื่นใดที่ ธปท. เป็นผู้จัดจําหน่าย หรือนายทะเบียน หรือตัวแทนการจ่ายเงิน "ตราสารหนี้ Source Bond" หมายถึง ตราสารหนี้ที่ผู้แลกเปลี่ยนสามารถนํามาแลกเปลี่ยนกับตราสารหนี้อื่นตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด "ตราสารหนี้ Destination Bond" หมายถึง ตราสารหนี้ที่ผู้แลกเปลี่ยนประสงค์จะได้รับจากการแลกเปลี่ยนตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด "เงินค่าส่วนต่างระหว่างราคา" หมายถึง เงินค่าส่วนต่างระหว่างราคาของตราสารหนี้ Source Bond และราคาของตราสารหนี้ Destination Bond "บัญชีเงินฝาก " หมายถึง บัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีชําระเงินซึ่งผู้ใช้บริการ Bond Switching เปิดไว้กับ ธปท. หรือบัญชีเงินฝากที่ผู้ใช้บริการ Bond Switching เปิดไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินใด ๆ ที่มีบัญชีเงินฝากเปิดไว้ที่ ธปท. "บาทเนต" หมายถึง ระบบที่ ธปท. จัดขึ้นตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต "วันทําการ" หมายถึง วันทําการของ ธปท. ข้อ 2 เมื่อผู้ออกตราสารหนี้ประสงค์จะให้ ธปท. เป็นผู้ดําเนินการให้บริการ Bond Switching ให้ผู้ออกตราสารหนี้แจ้งหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ระยะเวลาและข้อมูลต่าง ๆ ให้ ธปท.ทราบล่วงหน้าเป็นคราว ๆ ไป ข้อ 3 ธปท. จะให้บริการ Bond Switching แก่ผู้ใช้บริการ Bond Switching ผ่านบริการ EFS ภายในวันและเวลาทําการปกติของ ธปท. และตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนดเวลาที่ใช้อ้างอิงในบริการ Bond Switching ให้ถือตามเวลาที่ปรากฎที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ ธปท. ข้อ 4 ธปท. จะแจ้งรายชื่อผู้ประสานงานของ ธปท. ไว้ในบริการ EFS ส่วนที่ 2 คุณสมบัติของผู้ใช้บริการ Bond Switching ข้อ 5 ผู้ใช้บริการ Bond Switching ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) กรณีผู้ออกตราสารหนี้ ต้องเป็นผู้ใช้บริการตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) (2) กรณีผู้แลกเปลี่ยน ต้องเป็นผู้ใช้บริการตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะใช้บริการ Bond Switching ต้องได้รับอนุญาตจาก ธปท. ก่อนใช้บริการ Bond Switching และตกลงยินยอมผูกพันรวมทั้งปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน หรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนด ส่วนที่ 3 การขอใช้บริการ Bond Switching ข้อ 6 ก่อนเริ่มใช้บริการ Bond Switching ตามระเบียบนี้ ผู้ใช้บริการ Bond Switching จะต้องจัดทําเอกสารตามแบบที่ ธปท. กําหนด เพื่อขออนุญาตต่อ ธปท. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันทําการ เว้นแต่ รปท. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น ซึ่งเอกสารดังกล่าว ได้แก่ (1) หนังสือแสดงความตกลงการใช้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (2) หนังสือมอบอํานาจการใช้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (3) หนังสือแต่งตั้งผู้มีอํานาจลงนามแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (4) หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการ (5) หนังสือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีตราสารหนี้ และบัญชีเงินฝากสําหรับการใช้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (6) หนังสือแจ้งรายชื่อผู้ประสานงานสําหรับการใช้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (7) เอกสารอื่นตามที่ ธปท. กําหนด ข้อ 7 หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเอกสารที่ได้แจ้งต่อ ธปท. ไว้แล้วตามข้อ 6 ผู้ใช้บริการ Bond Switching จะต้องจัดทําเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิม และยื่นต่อ ธปท. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันทําการ ก่อนวันที่ประสงค์ให้มีผลเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ข้อ 8 ผู้ใช้บริการ Bond Switching มีหน้าที่ทดสอบระบบตามที่ ธปท. กําหนด ข้อ 9 ผู้ใช้บริการ Bond Switching ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยและระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานที่ยอมรับทั่วไป ข้อ 10 ผู้ใช้บริการ Bond Switching ยอมรับประสิทธิภาพ ขอบเขตความสามารถและข้อจํากัดของกระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการรับส่งข้อความ ตลอดจนยอมรับว่าบริการ Bond Switching มีมาตรการที่เหมาะสมเพียงพอในการป้องกันความผิดพลาดและการทุจริตต่าง ๆ แล้ว ข้อ 11 ผู้ใช้บริการ Bond Switching ต้องรักษาไว้เป็นความลับซึ่งกระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการรับส่งข้อความ ข้อมูลเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการดังกล่าว และคู่มือการใช้งานเว้นแต่เป็นการเปิดเผยเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้บริการ Bond Switching ต้องเก็บรักษาข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องด้วยกระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการรับส่งข้อความ และคู่มือการใช้งานมีให้สูญหาย ในกรณีที่มีการเปิดเผยตามวรรคแรก หรือมีการสูญหายตามวรรคสอง ผู้ใช้บริการ Bond Switching ต้องแจ้ง ธปท.ทราบโดยพลัน ทั้งนี้ ปท. อาจพิจารณาดําเนินการตามที่เห็นสมควร ส่วนที่ 4 ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ การส่งคําขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ ข้อ 12 ผู้แลกเปลี่ยนที่ประสงค์จะแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ตามระเบียบนี้ จะต้องส่งคําขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ให้กับ ธปท. ผ่านบริการ EFS โดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่ธปท. กําหนด ตามวันเวลา รวมถึงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด โดยให้ถือว่าคําขอแลกเปลี่ยนดังกล่าวมีผลผูกพันผู้แลกเปลี่ยน ทั้งนี้ หากผู้แลกเปลี่ยนประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกคําขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ ผู้แลกเปลี่ยนต้องดําเนินการก่อนเวลาปิดรับคําขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ โดยให้ถือว่าคําขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้หรือคําขอยกเลิกครั้งหลังสุดมีผลผูกพันผู้แลกเปลี่ยน ข้อ 13 ธปท. จะไม่รับคําขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ที่ส่งมาภายหลังจากวันและเวลาที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนดไว้ การประมวลผล ข้อ 14 ธปท. จะดําเนินการประมวลผลการขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ในเบื้องต้นตามวิธีการที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด และส่งให้ผู้ออกตราสารหนี้พิจารณา การพิจารณาการขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ ข้อ 15 ผู้ออกตราสารหนี้จะเป็นผู้พิจารณาการขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ของผู้แลกเปลี่ยน และแจ้งให้ ธปท. ทราบ เมื่อ ธปท. ได้รับผลการพิจารณาจากผู้ออกตราสารหนี้แล้ว ธปท. จะคํานวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้แลกเปลี่ยนที่ได้รับการจัดสรร ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด ข้อ 16 หากผู้ออกตราสารหนี้ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงผลการแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ผู้ออกตราสารหนี้ต้องแจ้ง ธปท. ทราบล่วงหน้า ก่อน ธปท. ประกาศผลการแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ การประกาศผลการแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ ข้อ 17 ผู้แลกเปลี่ยนต้องตรวจดูผลการแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ หลังจาก ธปท. ประกาศผลการแลกเปลี่ยนดังกล่าว และให้ถือว่าผู้แลกเปลี่ยนทราบผลการแลกเปลี่ยนแล้วเมื่อ ธปท. ประกาศผลการแลกเปลี่ยนแล้วให้ถือว่าการแลกเปลี่ยนตราสารหนี้มีผลสมบูรณ์ผูกพันผู้ใช้บริการ Bond Switching การส่งมอบและรับมอบตราสารหนี้และการชําระเงิน ข้อ 18 การส่งมอบและรับมอบตราสารหนี้และการชําระเงิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด ข้อ 19 ผู้แลกเปลี่ยนต้องส่งมอบตราสารหนี้ Source Bond ตามจํานวนที่กําหนดไว้ในประกาศผลการแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ โดยนําเข้าบัญชีหลักทรัพย์ของ ธปท. ที่เปิดไว้กับศูนย์รับฝากภายในระยะเวลาที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด และต้องระบุรายละเอียดของคําสั่งโอนตราสารหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วน ดังนี้ (1) ชื่อและ/หรือเลขที่บัญชีหลักทรัพย์ของผู้ส่งมอบ (2) ชื่อและ/หรือเลขที่บัญชีหลักทรัพย์ของสถาบันตัวกลาง (ถ้ามี) (3) ชื่อและ/หรือเลขที่บัญชีหลักทรัพย์ของ ธปท. (4) จํานวนหน่วยที่ผู้สั่งโอนตราสารหนี้ต้องการโอนให้กับผู้รับโอนตราสารหนี้ (5) วันที่ที่ผู้สั่งโอนตราสารหนี้ระบุให้นําตราสารหนี้เข้าบัญชีผู้รับโอนตราสารหนี้ (6) รายละเอียดอื่นตามที่ ธปท. กําหนด ข้อ 20 กรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้เป็นฝ่ายที่ต้องชําระเงินค่าส่วนต่างระหว่างราคาผู้ออกตราสารหนี้ต้องโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ ธปท. ผ่านระบบบาทเนตหรือตามที่ ธปท. กําหนดภายในระยะเวลาที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด และ ธปท. จะโอนเงินส่วนต่างระหว่างราคาหลังหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เข้าบัญชีเงินฝากของผู้แลกเปลี่ยน โดยผู้แลกเปลี่ยนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรับโอนเงินดังกล่าว ในกรณีผู้แลกเปลี่ยนเป็นฝ่ายที่ต้องชําระเงินค่าส่วนต่างระหว่างราคา ผู้แลกเปลี่ยนต้องโอนเงินดังกล่าวพร้อมภาษีเงินได้ที่ต้องชําระ เข้าบัญชีเงินฝากของ ธปท. ผ่านระบบบาทเนตหรือตามที่ ธปท. กําหนด ภายในระยะเวลาที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด และ ธปท. จะโอนเงินค่าส่วนต่างระหว่างราคาเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ออกตราสารหนี้ ข้อ 21 เมื่อผู้แลกเปลี่ยนส่งมอบตราสารหนี้ Source Bond ให้ ธปท. ตามข้อ 19 และผู้แลกเปลี่ยนหรือผู้ออกตราสารหนี้ชําระเงินตามข้อ 20 ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด ธปท. จะส่งมอบตราสารหนี้ Destination Bond ตามวิธีการที่ผู้แลกเปลี่ยนแจ้งไว้กับ ธปท. ข้อ 22 ในกรณีที่ผู้แลกเปลี่ยนไม่ส่งมอบตราสารหนี้ Source Bond ให้ ธปท. ตามข้อ 19 หรือไม่ชําระเงินตามข้อ 20 ภายในระยะเวลาที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด ให้ถือว่าผู้แลกเปลี่ยนผิดนัดชําระหนี้ ข้อ 23 ในกรณีที่วันถึงกําหนดการส่งมอบและรับมอบตราสารหนี้ และวันถึงกําหนดชําระเงิน ตรงกับวันปิดทําการของ ธปท. ให้เลื่อนวันถึงกําหนดการส่งมอบและรับมอบตราสารหนี้และวันถึงกําหนดชําระเงิน ออกไปเป็นวันทําการแรกถัดจากวันปิดทําการดังกล่าว ส่วนที่ 5 การจัดการกรณีมีเหตุขัดข้อง ข้อ 24 กรณีผู้แลกเปลี่ยนไม่สามารถส่งคําขอแลกเปลี่ยนผ่านบริการ EFS ได้ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ต้องดําเนินการแจ้งเหตุดังกล่าวให้ ธปท. ทราบ และจัดทําเอกสารตามหนังสือขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้สําหรับการให้บริการธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ที่ ธปท. กําหนดและจัดส่งให้ ธปท. ภายในเวลารับคําขอแลกเปลี่ยนตามที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด ทั้งนี้ ธปท.จะพิจารณาดําเนินการตามที่เห็นสมควร ข้อ 25 กรณีผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถส่งผลการพิจารณาคําขอแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ผ่านบริการ EFS ได้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม หรือไม่สามารถดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมแลกเปลี่ยนตราสารหนี้ ผู้ออกตราสารหนี้ต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้ ปท. ทราบ ทั้งนี้ ธปท. จะพิจารณาดําเนินการตามที่เห็นชอบร่วมกัน ข้อ 26 กรณีที่ ธปท. ไม่สามารถให้บริการ Bond Switching ได้ตามปกติ ธปท.จะประสานงานกับผู้ออกตราสารหนี้ และแจ้งให้ผู้แลกเปลี่ยนดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด ข้อ 27 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็น ธปท. อาจประสานงานกับผู้ออกตราสารหนี้เพื่อดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยกเลิกคําสั่งเกี่ยวกับธุรกรรมของผู้แลกเปลี่ยน (2) ระงับคําสั่งเกี่ยวกับธุรกรรมของผู้แลกเปลี่ยนไว้เป็นการชั่วคราว ส่วนที่ 6 การระงับไปแห่งการให้บริการ ข้อ 28 ในกรณีที่ผู้แลกเปลี่ยนประสงค์จะระงับการใช้บริการเป็นการชั่วคราวหรือขอออกจากการเป็นผู้ใช้บริการ Bond Switching ให้ผู้แลกเปลี่ยน แจ้งเป็นหนังสือที่ลงนามโดยผู้มีอํานาจต่อ ธปท. ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันที่ประสงค์จะให้มีผลระงับการใช้บริการชั่วคราวหรือออกจากการเป็นผู้ใช้บริการ Bond Switching ทั้งนี้ ผู้แลกเปลี่ยนยินยอมผูกพันและรับผิดชอบในการดําเนินการของตนเองที่เกิดขึ้นก่อน ธปท. จะระงับการใช้บริการ ธปท. จะพิจารณาให้ผู้แลกเปลี่ยนระงับการใช้บริการเป็นการชั่วคราวหรือให้ออกจากการเป็นผู้ใช้บริการ Bond Switching ตามเหตุผลและความจําเป็นของผู้แลกเปลี่ยน ข้อ 29 ธปท. อาจพิจารณาระงับการให้บริการ Bond Switching แก่ผู้ใช้บริการ Bond Switching รายใดรายหนึ่งเป็นการชั่วคราวด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (1) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน หรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ปท. กําหนด หรือมีพฤติการณ์ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้บริการ Bond Switching (2) ระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สําหรับการติดต่อเชื่อมโยงกับบริการ Bond Switching ของผู้ใช้บริการเกิดเหตุขัดข้องและไม่สามารถใช้ปฏิบัติงาน Bond Switching ได้บ่อยครั้ง (3) ระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สําหรับการติดต่อเชื่อมโยงกับบริการ Bond Switching ของผู้ใช้บริการ Bond Switching มีกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เหมาะสมและมีความเสี่ยงต่อการได้รับการคุกคามจากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง (4) ผู้ออกตราสารหนี้สั่งระงับการให้บริการแก่ผู้แลกเปลี่ยน ในกรณีที่มีการระงับการให้บริการเป็นการชั่วคราวตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) ผู้ใช้บริการ Bond Switching ต้องทําการแก้ไขข้อบกพร่อง หรือเสนอแผนงานที่ชัดเจนสําหรับการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ภายในระยะเวลา 1 เดือน นับจากวันที่ ธปท. สั่งระงับการให้บริการในระเบียบนี้ ข้อ 30 ธปท. อาจพิจารณาเพิกถอนการให้บริการ Bond Switching แก่ผู้ใช้บริการ Bond Switching รายใดรายหนึ่งด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (1) ไม่ได้ดําเนินการตามข้อ 29 วรรคสอง (2) ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้ใช้บริการ Bond Switching ตามที่กําหนดในระเบียบนี้ (3) มีฐานะหรือพฤติการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการให้บริการ Bond Switching (4) ผู้ออกตราสารหนี้สั่งเพิกถอนการให้บริการแก่ผู้แลกเปลี่ยน ในกรณีที่มีการเพิกถอนการให้บริการ Bond Switching ตามวรรคแรก ผู้ใช้บริการ Bond Switching ยังคงต้องรักษาความลับอันเกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการ Bond Switching ต่อไป ส่วนที่ 7 อื่น ๆ ข้อ 31 ระบบการให้บริการ Bond Switching พิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน และแนวทางการปฏิบัติงานเป็นทรัพย์สินและเป็นสิทธิตามกฎหมายของ ธปท. ซึ่งผู้ใช้บริการ Bond Switching ต้องไม่กระทําการใดที่เป็นการละเมิดสิทธิดังกล่าว เว้นแต่ได้รับความยินยอมจาก ธปท. เป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ 32 ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงระเบียบ ประกาศพิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน หรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนดได้ โดย ธปท.จะแจ้งให้ผู้ใช้บริการ Bond Switching ทราบล่วงหน้า ข้อ 33 ในกรณีที่ ประกาศ พิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงานแบบหนังสือหรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนดขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้แทน ข้อ 34 กรณีที่ต้องมีการตีความหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด ให้ผู้ออกตราสารหนี้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และมีผลผูกพันผู้ใช้บริการ Bond Switching ที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ต้องมีการตีความตามระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน แบบหนังสือหรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนด ให้ ปท. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และมีผลผูกพันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ข้อ 35 หากผู้ใช้บริการ Bond Switching ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติคู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน แบบหนังสือหรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนด ธปท. มีสิทธิที่จะดําเนินการตามที่เห็นสมควร อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2560 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,872
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3649 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 7 การบ่มเร่ง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3649 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ถุงยางอนามัย เล่ม 7 การบ่มเร่ง --------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 7 การบ่มเร่ง มาตรฐาน เลขที่ มอก. 625 เล่ม 7 - 2541 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2548 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เล่ม 7 การบ่มเร่ง ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,873
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2561 ว่าด้วยการดำเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2561 ว่าด้วยการดําเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบบาทเนต และระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ซึ่งถือเป็นระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญต่อความมั่นคงของประเทศตามพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 256 ได้พิจารณาถึงความเสี่ยงพื้นฐานทางด้านการเงิน (Financial Risk) อันมีสาเหตุมาจากการที่สมาชิกที่เป็นผู้ใช้บริการระบบถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และไม่สามารถชําระเงินได้ จึงกําหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองรายการการโอนเงิน และการชําระดุลที่ได้ดําเนินการก่อนเวลาที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้มีผลสมบูรณ์ ไม่สามารถเพิกถอน แก้ไข หรือกลับรายการได้ เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงทางด้านเครดิต (Credit Risk และผลกระทบทางการเงินในวงกว้างที่อาจเกิดขึ้นกับสมาชิกที่เป็นผู้ใช้บริการระบบและผู้เกี่ยวข้อง ธปท. จึงได้ออกระเบียบเพื่อกําหนดแนวทางของ ธปท. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบ และสมาชิกที่เป็นผู้ใช้บริการระบบ ในการดําเนินการในกรณีดังกล่าว เพื่อให้มีกรอบและหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมีมาตรฐานเดียวกัน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต พ.ศ. 2549 และธนาคารสมาชิกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค อื่นๆ - 4. เนื้อหา ข้อ 1 ในประกาศนี้ "ระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ" หมายถึง ระบบบาทเนตและระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค "ธปท." หมายถึง ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย "สมาชิก" หมายถึง ผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต หรือธนาคารสมาชิกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค "รายการ" หมายถึง คําสั่งโอนเงินในระบบบาทเนต หรือข้อมูลและภาพเช็คที่รับและส่งผ่านระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค ข้อ 2 ในกรณีที่สมาชิกยื่นคําร้องหรือถูกร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ ถูกฟ้องล้มละลาย หรือถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้สมาชิกโดยผู้รับมอบอํานาจตามหนังสือมอบอํานาจแนบท้ายระเบียบนี้ ดําเนินการแจ้งให้ ปท. ทราบทันที และรายงานสถานะของสมาชิกดังกล่าวตามแบบฟอร์ม "การแจ้งสถานะสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญตามพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ.2560" เมื่อ ธปท. ได้รับแจ้งแล้ว ธปท. จะแจ้งสมาชิกรายอื่นรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทราบ ข้อ 3 ในกรณีที่สมาชิกรายใดรายหนึ่งเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ให้สมาชิกรายดังกล่าวดําเนินการ ดังนี้ 3.1 เมื่อสมาชิกทราบวันที่ศาลนัดพิจารณาคดีล้มละลาย ให้สมาชิกดําเนินการแจ้งวันและเวลาที่ศาลนัดให้ ธปท. ทราบทันที โดยในวันที่ศาลนัด ธปท. จะระงับการให้บริการชั่วคราวแก่สมาชิกรายดังกล่าว ตั้งแต่เวลาที่ศาลนัดจนกว่าศาลจะมีคําสั่งเสร็จสิ้น พร้อมกับแจ้งให้สมาชิกรายอื่นรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทราบ 3.2 เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดีล้มละลายของสมาชิกรายใดแล้วให้สมาชิกรายนั้นดําเนินการแจ้งคําสั่งศาลให้ ปท. ทราบทันที เพื่อ ธปท. จะดําเนินการ ดังนี้ (1) กรณีศาลมีคําพิพากษายกฟ้อง หรือมีคําสั่งใด ๆ ที่ไม่ใช่คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์สมาชิก ธปท. จะยกเลิกการระงับการให้บริการชั่วคราว และแจ้งให้สมาชิกรายอื่นรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทราบ (2) กรณีศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์สมาชิก ธปท. จะระงับการให้บริการชั่วคราวกับสมาชิกรายดังกล่าวต่อไปจนกว่าศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น และแจ้งให้สมาชิกรายอื่นรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทราบ (3) กรณีศาลมีคําสั่งอันเป็นเหตุให้สมาชิกหลุดพ้นจากการพิทักษ์ทรัพย์ เช่น ศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ให้สมาชิกรายนั้นแจ้งคําสั่งศาลให้ ธปท. ทราบทันที โดย ธปท. จะยกเลิกการระงับการให้บริการชั่วคราวแก่สมาชิกรายดังกล่าว และแจ้งให้สมาชิกรายอื่นรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทราบ (4) กรณีศาลมีคําพิพากษาให้สมาชิกล้มละลาย ธปท. จะเพิกถอนการให้บริการแก่สมาชิกรายนั้น และแจ้งให้สมาชิกรายอื่นรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทราบ 3.3 กรณีที่ศาลเห็นชอบด้วยกับการขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แต่ต่อมาสมาชิกไม่สามารถปฏิบัติตามคําขอประนอมหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อสมาชิกทราบวันที่ศาลนัดฟังคําพิพากษา ให้สมาชิกดําเนินการแจ้งวันและเวลาที่ศาลนัดให้ ปท. ทราบทันที โดย ธปท. จะระงับการให้บริการชั่วคราวแก่สมาชิกรายดังกล่าว ตั้งแต่เวลาที่ศาลนัดจนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาเสร็จสิ้นพร้อมกับแจ้งให้สมาชิกรายอื่นรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทราบ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง หากศาลมีคําพิพากษาให้สมาชิกล้มละลาย ธปท. จะเพิกถอนการให้บริการแก่สมาชิกรายนั้น และแจ้งให้สมาชิกรายอื่นรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทราบ ข้อ 4 การดําเนินการของ ธปท. และสมาชิก กรณีสมาชิกรายใดรายหนึ่งเข้าสู่กระบวนการล้มละลายตามข้อ 3 เช่น การระงับการให้บริการชั่วคราว การยกเลิกการระงับการให้บริการชั่วคราว ตลอดจนการเพิกถอนการให้บริการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ธปท.ประกาศกําหนด ข้อ 5 รายการโอนเงินหรือชําระดุลที่ส่งเข้าระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญจะมีผลสมบูรณ์เมื่อ ธปท. ได้หักเงินจากบัญชีของสมาชิกผู้โอนและนําเข้าบัญชีของสมาชิกผู้รับโอนก่อนเวลาที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์สมาชิก โดยสมาชิกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถเพิกถอน แก้ไข หรือกลับรายการได้ ข้อ 6 สมาชิกต้องดําเนินการซักซ้อมกระบวนการกรณีสมาชิกเข้าสู่กระบวนการล้มละลายตามข้อ 3 ร่วมกับสมาชิกรายอื่นและผู้เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ตามที่ ธปท.กําหนด ข้อ 7 การแจ้งให้ ปท. ทราบตามระเบียบนี้ ให้สมาชิกแจ้งไปที่ทีมสมาชิกสัมพันธ์ฝ่ายการชําระเงินและพันธบัตร หรือตามที่ ธปท. ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงในภายหลังในการแจ้งให้สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบตามระเบียบนี้ ธปท. จะแจ้งให้ทราบผ่านช่องทาง Broadcast E-mail SMS หรือช่องทางอื่นใดเพื่อให้สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถทราบได้ ข้อ 8 ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงระเบียบ ประกาศหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องตามระเบียบนี้ได้ โดย ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า ข้อ 9 ให้ถือว่าสมาชิกตกลงผูกพันและปฏิบัติตามระเบียบและข้อกําหนดอื่นใดที่ออกตามระเบียบนี้ อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2561 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,874
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2 /2562 ว่าด้วยบริการธุรกรรมตราสารหนี้
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2 /2562 ว่าด้วยบริการธุรกรรมตราสารหนี้ -------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะนายทะเบียนตราสารหนี้ของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุง ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น รวมทั้งลดความซ้ําซ้อนของแนวปฏิบัติที่กําหนดไว้ในระเบียบและประกาศหลายฉบับ จึงสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติให้มีความชัดเจนและง่ายต่อการปฏิบัติไว้ในระเบียบฉบับเดียว อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 8 (4) มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 3. ยกเลิก (1) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2559 ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ (2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2559 เรื่อง คําขอและเอกสารประกอบคําขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ และช่องทางการขอรับบริการ (3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4/2559 เรื่อง วันปิดสมุดทะเบียนและวิธีการจ่ายดอกเบี้ยและ เงินต้น (4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5/2559 เรื่อง ค่าธรรมเนียมการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ (5) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5/2562 เรื่อง การใช้ตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสารเป็นหลักประกัน (Scripless Pledging) (6) คําสั่งที่ 138/2522 เรื่อง ระเบียบและพิธีปฏิบัติการขอรับมรดกพันธบัตรและดอกเบี้ยพันธบัตร อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในการใช้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดจําหน่าย หรือเป็นนายทะเบียน หรือเป็นตัวแทนการจ่ายเงิน อื่นๆ - 5. เนื้อหา ส่วนที่ 1 บททั่วไป 5.1 คํานิยาม ในระเบียบนี้ "ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งกระทําโดยผู้ว่าการ หรือผู้ที่ผู้ว่าการมอบหมาย "ศูนย์รับฝาก" หมายความว่า บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือหน่วยงานอื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อประกอบการศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ "ตราสารหนี้" หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร หุ้นกู้ และตราสารอื่นใดที่ ธปท. เป็นผู้จัดจําหน่าย หรือนายทะเบียน หรือตัวแทนการจ่ายเงินซึ่ง ธปท. ในฐานะตัวแทนมีหน้าที่ในการจ่ายดอกเบี้ย เงินต้น หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด "ตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร" หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ ธปท. ในฐานะนายทะเบียนเป็นผู้ออกใบตราสารหนี้ "ตราสารนี้ประเภทไร้ใบตราสาร" หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ ธปท.เป็นนายทะเบียนและอยู่ในระบบไร้ใบตราสารของศูนย์รับฝาก "บัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท." หมายความว่า บัญชีตราสารหนี้ของนิติบุคคลแต่ละรายที่เป็นสมาชิกภายใต้ระบบงานของ ธปท. เพื่อการทําธุรกรรม "วันทําการ" หมายความว่า วันทําการของ ธปท. "ผู้ถือกรรมสิทธิ์" หมายความว่า ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล "ผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้" หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (1) กรณีผู้เยาว์ คือ บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองที่ศาลแต่งตั้ง หรือบุคคลอื่นที่มีชื่อเป็นผู้จัดการในใบตราสารหนี้ (2) กรณีคนไร้ความสามารถ คือ ผู้อนุบาลที่ศาลแต่งตั้ง (3) กรณีคนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้พิทักษ์ที่ศาลแต่งตั้งกระทําการร่วมกับผู้ถือกรรมสิทธิ์ (4) กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้ถึงแก่กรรม คือ ผู้จัดการมรดก หรือผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย "ผู้เยาว์" หมายความว่า บุคคลที่มีอายุต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์และยังไม่บรรลุนิติภาวะ "ผู้ขอรับบริการ" หมายความว่า ผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอํานาจตามกฎหมาย ส่วนที่ 2 ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ 5.2 บริการธุรกรรมตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสารผู้ขอรับบริการ สามารถขอรับบริการเกี่ยวกับตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร ดังนี้ 5.2.1 เปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนประวัติ 5.2.2 ออกใบตราสารหนี้ฉบับใหม่เพื่อทดแทนฉบับเดิม 5.2.3 โอนกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ สามารถดําเนินการได้ 2 กรณี ดังนี้ กรณีทั่วไป หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นโดยเจตนาของผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีขายทอดตลาด หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์จากการขายทอดตลาดอันเกิดจากการบังคับหลักประกัน หรือบังคับคดี หรือกรณีอื่นใดให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่น 5.2.4 จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน 5.2.5 เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือรายละเอียดของการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน 5.2.6 จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการอายัดสิทธิในตราสารหนี้ 5.2.7 จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการวางสํารองประกันภัย 5.2.8 จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการดํารงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.2.9 การไถ่ถอนตราสารหนี้เมื่อครบกําหนดจ่ายคืนเงินต้น 5.2.10 การออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้หนังสือรับรองสถานะตราสารหนี้ หนังสือยืนยันยอดตราสารหนี้ ใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือหนังสืออื่นใดตามที่ ธปท. เห็นสมควร 5.2.11 การจัดการมรดกตราสารหนี้ 5.2.12 การตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ 5.2.13 การฝากใบตราสารหนี้เข้าระบบไร้ใบตราสาร 5.2.14 การฝากใบตราสารหนี้เข้าบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. 5.2.15 ดําเนินการอื่นใดตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด 5.3 บริการธุรกรรมตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสาร ผู้ขอรับบริการสามารถขอรับบริการเกี่ยวกับตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสาร ดังนี้ 5.3.1 การถอนตราสารหนี้ออกจากระบบไร้ใบตราสารเพื่อออกใบตราสาร 5.3.2 การถอนตราสารหนี้ออกจากบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. 5.3.3 ออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตราสารหนี้ในบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. 5.3.4 ออกใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 5.3.5 การใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันและการถอนหลักประกันตราสารหนี้ 5.3.6 ดําเนินการอื่นใดตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด สวนที่ 3 การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ 5.4 การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ 5.4.1 ผู้ขอรับบริการต้องยื่นคําขอ หรือหนังสือแจ้งความประสงค์ และเอกสารประกอบคําขอของแต่ละประเภทบริการตามวิธีการที่ ธปท. ประกาศกําหนด ทั้งนี้ ธปท. อาจเรียกให้ผู้ขอรับบริการยื่นเอกสารอื่นใดเพิ่มเติมได้ 5.4.2 กรณีผู้ขอรับบริการไม่สามารถมาดําเนินการด้วยตนเองได้ผู้ขอรับบริการสามารถจัดทําหนังสือมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมาดําเนินการแทนได้พร้อมแนบต้นฉบับและสําเนาของเอกสารแสดงตนของผู้มอบอํานาจและต้นฉบับเอกสารแสดงตนของผู้รับมอบอํานาจ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ต้องนําส่งหนังสือมอบอํานาจที่ระบุนิติบุคคลผู้ดูแลหลักทรัพย์ (Custodian) ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย และระบุอายุของหนังสือมอบอํานาจ โดยต้องมีพยานและผู้รับรองเอกสารในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ - กรณีกงสุลไทยเป็นพยาน ต้องมีการรับรองต่อเนื่องเป็นลําดับจาก (1) เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ (ถ้ามี) และ (2) เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยในประเทศไทย - กรณีเจ้าหน้าที่ Notary Public หรือแมยิสเตร็ด (Magistrate) หรือบุคคลอื่น ซึ่งมีใบสําคัญของรัฐบาลต่างประเทศว่าเป็นผู้มีอํานาจกระทําการได้เป็นพยาน ต้องมีการรับรองต่อเนื่องเป็นลําดับจาก (1) เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศหรือหอการค้าระหว่างประเทศของประเทศนั้น (2) เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ (ถ้ามี) และ (3) เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยในประเทศไทย 5.4.3 การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ ดังต่อไปนี้ไม่สามารถกระทําได้ตั้งแต่วันปิดสมุด ทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นงวดสุดท้ายตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด (1) การโอนกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ (2) การจดแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน (3) การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือรายละเอียดของการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน (4) การจดแจ้งการวางสํารองประกันภัย (5) การจดแจ้งการดํารงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (6) การฝากใบตราสารหนี้เข้าระบบไร้ใบตราสารและถอนตราสารหนี้ออกจากระบบไร้ใบตราสารเพื่อออกใบตราสาร (7) การฝากใบตราสารหนี้เข้าและถอนตราสารหนี้ออกจากบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. 5.4.4 ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนดเงื่อนไขของการโอนกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ไว้ ผู้ขอรับบริการสามารถดําเนินการได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศของผู้ออกตราสารหนี้เท่านั้น เช่น ตราสารหนี้ระบุผู้รับโอนไว้เฉพาะเจาะจง หรือ โอนกรรมสิทธิ์ได้ในช่วงเวลาที่กําหนด 5.5 ผู้ขอรับบริการต้องให้ความยินยอมเพื่อให้ ธปท. ดําเนินการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในการทําธุรกรรมตราสารหนี้ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5.6 ธปท. จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ตามอัตราที่ ธปท. ประกาศกําหนด ส่วนที่ 4 การจ่ายดอกเบี้ยและจ่ายคืนเงินต้นของตราสารหนี้ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ 5.7 ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้แต่ละงวด ในวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ยและตามเงื่อนไขที่ผู้ออกตราสารหนี้ประกาศกําหนด โดยถือตามรายชื่อทางทะเบียนของ ธปท. หรือตามที่ศูนย์รับฝากแจ้งแก่ ธปท. ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ยตามที่ ธปท.ประกาศกําหนด กรณีที่มีการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้แต่ละงวดให้แก่ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกันเท่านั้น ทั้งนี้ ธบท. จะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามอัตราที่กฎหมายกําหนดและแจ้งข้อมูลการจ่ายดอกเบี้ยและการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางไปรษณีย์หรือช่องทางอื่นใดตามที่ ธปท. เห็นสมควร 5.8 ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นของตราสารหนี้แต่ละรุ่น ในวันครบกําหนดจ่ายคืนเงินต้นและตามเงื่อนไขที่ผู้ออกตราสารหนี้ประกาศกําหนด โดยถือตามรายชื่อทางทะเบียนของ ธปท. หรือตามที่ศูนย์รับฝากแจ้งแก่ ธปท. ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นตามที่ ธปท.ประกาศกําหนด กรณีที่มีการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นของตราสารหนี้ให้แก่ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกันเท่านั้น 5.9 ธปท. จะดําเนินการจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นตามที่ ธปท.ประกาศกําหนด ส่วนที่ 5 สิทธิและหน้าที่ของ ธปท. 5.10 ธปท. สงวนสิทธิที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงระเบียบ ประกาศ หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับระเบียบนี้ตามที่เห็นสมควรโดย ธปท. จะประกาศให้ทราบล่วงหน้า 5.11 ธปท. สงวนสิทธิที่จะระงับการให้บริการกับบุคคลที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม หรือมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงระเบียบ ธปท. หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่ ธปท. พบใบตราสารหนี้ที่ถูกยกเลิกหรือใบตราสารหนี้ปลอมหรือแปลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ธปท. จะทําการยึดใบตราสารหนี้นั้น ส่วนที่ 6 บทเฉพาะกาล 5.12 การถอนหรือบังคับหลักประกัน ตามข้อ 5 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1/2551 ว่าด้วยการโอน การวางหลักประกัน การจํานําตราสารหนี้ และการเปลี่ยนแปลงทะเบียนตราสารหนี้ พ.ศ. 2551 ให้มีผลบังคับใช้กับตราสารหนี้ที่มีการวางหลักประกันอยู่ก่อนตามข้อ 3 แห่งระเบียบฉบับดังกล่าวจนกว่าจะได้ดําเนินการถอนหรือบังคับหลักประกันเรียบร้อยแล้ว อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2562 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,875
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3628 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวเทน - 1 - ออลสำหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 3 :การวัดสีที่เกิดจากการทำปฎิกิริยากับกรดซัลฟิวริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3628 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บิวเทน - 1 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 3 : การวัดสีที่เกิดจากการทําปฎิกิริยากับกรดซัลฟิวริก -------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวเทน - 1 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 3 : การวัดสีที่เกิดจากการทําปฎิกิริยากับกรดซัลฟิวริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2095 เล่ม 3 - 2544 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1090 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวเทน - 1 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 3 : การวัดสีที่เกิดจากการทําปฎิกิริยากับกรดซัลฟิวริก ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โมสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,876
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2563 ว่าด้วยการให้บริการระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform)
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2563 ว่าด้วยการให้บริการระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform) ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินให้มีเสถียรภาพ มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้พัฒนาระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond platform) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานของตลาดตราสารหนี้ พร้อมทั้งออกระเบียบนี้เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยครอบคลุมบทบาทสิทธิและหน้าที่ของ ธปท. และสมาชิกของ Bond Platform อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 8 (4) (1 1) มาตรา 38 (4) มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ใช้บังคับกับสมาชิกตามระเบียบนี้ อื่นๆ - 4. เนื้อหา ส่วนที่ 1 บททั่วไป 4.1 คํานิยาม ในระเบียบนี้ "ธปท." หมายถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย "Bond Plat form " หมายถึง ระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ "Node " หมายถึง อุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์ของ ธปท. หรือของสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมตราสารหนี้ โดยนําเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) หรือเทคโนโลยีอื่นใดมาใช้ในการเชื่อมต่อกับ Bond Platform เพื่อบันทึกข้อมูลและประมวลผล "สมาชิก" หมายถึง ผู้ที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้ใช้บริการ Bond Platform ประกอบด้วยสมาชิกหลักและสมาชิกสมทบ "สมาชิกหลัก" หมายถึง สมาชิกที่มี Node เพื่อเชื่อมต่อกับ Bond Platform โดยตรง "สมาชิกสมทบ" หมายถึง สมาชิกที่เชื่อมต่อกับ Bond Platform ผ่าน Node ของ ธปท. หรือของสมาชิกหลัก "ตราสารหนี้" หมายถึง ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร หุ้นกู้ และตราสารอื่นใด ที่ ธปท. เป็นผู้จัดจําหน่าย หรือนายทะเบียน หรือตัวแทนการจ่ายเงิน "ผู้ออกตราสารหนี้" หมายถึง ผู้ออกตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ซึ่งเป็นภาระผูกพันทางกฎหมายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น "ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้" หมายถึง นิติบุคคลที่ผู้ออกตราสารหนี้แต่งตั้งให้ดําเนินการจําหน่ายตราสารหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ ตามที่ตกลงร่วมกัน "ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์" หมายถึง บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือหน่วยงานอื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานอื่นใดที่ ธปท. กําหนด เพื่อประกอบการเป็นศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง "วันทําการ" หมายถึง วันทําการของ ธปท. 4.2 บริการธุรกรรมตราสารหนี้ภายใต้ Bond Platform ได้แก่ (1) บริการข้อมูลตราสารหนี้ (2) บริการจําหน่ายตราสารหนี้ (3) บริการอื่น ๆ ตามที่ ธปท. กําหนด ทั้งนี้ บริการธุรกรรมตราสารหนี้ดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ ธปท. กําหนด ส่วนที่ 2 สมาชิก Bond Platform 4.3 สมาซิกต้องเป็นหน่วยงานหรือนิติบุคคล ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ออกตราสารหนี้ (2) ผู้จัดจําหน่ายหรือตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ (3) ผู้ดูแลหลักทรัพย์ สถาบันหรือนิติบุคคล ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้ออกตราสารหนี้ เพื่อทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ (4) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (5) สถาบันหรือนิติบุคคล ที่มีบทบาทหน้าที่ในการกําหนดวิธีปฏิบัติและมาตรฐานต่าง ๆ ของตลาดตราสารหนี้ (6) ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ธุรกรรมประมูลตราสารหนี้ (7) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภายใน ธปท. หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมตราสารหนี้ (8) หน่วยงานหรือนิติบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมตราสารหนี้หรือหน่วยงานหรือนิติบุคคลอื่นตามที่ ธปท. กําหนด ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะใช้บริการ Bond Platform ต้องได้รับอนุญาตจาก ธปท.ก่อนใช้บริการดังกล่าว และตกลงยินยอมผูกพันรวมทั้งปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติคู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน หรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนด ส่วนที่ 3 สิทธิและหน้าที่ของ ธปท. 4.4 ธปท. เป็นผู้ให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ กํากับดูแล และกําหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ Bond Platform ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ รูปแบบ และเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนดบรรดาลิซสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาใด ๆ รวมทั้งสิทธิอื่นใดที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาการให้บริการ Bond Platform ที่จัดทําขึ้นโดย ธปท. ให้ตกเป็นสิทธิของ ธปท. 4.5 ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงระเบียบ ประกาศพิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน หรือข้อกําหนดอื่นใด โดย ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าในเวลาอันควร 4.6 ธปท. จะให้บริการ Bond Platform ตามวันและเวลาที่ ธปท. กําหนด ทั้งนี้ในกรณีการปิดให้บริการเพื่อบํารุงรักษาหรือเกิดเหตุขัดข้อง ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบในเวลาอันควรวันและเวลาที่ใช้อ้างอิงใน Bond Platform และบริการธุรกรรมตราสารหนี้ภายใต้ Bond Platform ให้ถือตามวันและเวลาที่ปรากฏบน Bond Platform เว้นแต่ ธปท. จะมีกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น 4.7 ธปท. จะปฏิเสธรายการที่สมาชิกส่งเข้า Bond Platform ในกรณีที่รายการดังกล่าวไม่เป็นไปตามเงื่อนข หรือล่าช้ากว่าเวลาที่ ธปท. กําหนด 4.8 ในกรณีมีเหตุที่อาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการ Bond Platform ธปท.สามารถดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ระงับรายการของสมาชิกไว้เป็นการชั่วคราว (2) แจ้งให้สมาชิกยกเลิกรายการ (3) ยกเลิกรายการตามคําร้องขอของสมาชิก (4) อื่น ๆ ตามที่ ธปท. กําหนด และสมาชิกเห็นชอบร่วมกัน ทั้งนี้ การยกเลิกรายการตาม (2/) หรือ (3) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท.กําหนด รวมทั้งก่อนดําเนินการตาม (1) หรือ (4) ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าในเวลาอันควรเว้นแต่กรณีมีเหตุที่ไม่สามารถแจ้งให้ทราบล่วงหน้าในเวลาอันควรได้ ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบในโอกาสแรก 4.9 ธปท. จัดให้มีทีมงานสนับสนุนเพื่อดูแล และให้บริการเกี่ยวกับระบบงาน โดยมีรายละเอียดตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด 4.10 ธปท. จะแจ้งรายชื่อผู้ประสานงานของสมาชิกทุกราย โดยจะแสดงรายชื่อไว้ในBond Platform หรือช่องทางที่ ธปท. และสมาชิกเห็นชอบร่วมกัน เพื่อให้สมาชิกสามารถสืบค้นได้ทั้งในเวลาปกติ และเวลาที่เกิดเหตุขัดข้องกับระบบงาน 4.11 ธปท. อาจคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับกับสมาชิกตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่ ธปท. และสมาชิกเห็นชอบร่วมกัน โดย ธปท. จะประกาศกําหนดต่อไป ส่วนที่ 4 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก 4.12 สมาชิกหลักมีสิทธิและหน้าที่ ดังนี้ (1) มีสิทธิในข้อมูลที่อยู่ใน Node ของตนเอง (2) ต้องพัฒนา Node เพื่อเชื่อมต่อกับ Bond Platform และดูแลรักษา Node ตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กําหนด เพื่อให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีตลอดเวลา และไม่กระทบกับการทํางานของสมาชิกอื่น (3) ต้องจัดการความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามมาตรฐานที่ ธปท.กําหนด และมีแผนฉุกเฉินรองรับในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้อง รวมทั้งควบคุมดูแลสมาชิกสมทบในการดําเนินการที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้กระทบต่อการทํางานโดยรวม ทั้งนี้ สมาชิกต้องทําการซักซ้อมแผนฉุกเฉินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจัดทํารายงานผลการซักซ้อมให้ ธปท. ทราบ โดยผู้มีอํานาจลงนามรับรองรายงาน รวมทั้งซักซ้อมแผนฉุกเฉินร่วมกับสมาชิกอื่น ตามที่ ธปท. กําหนด (4) บรรดาลิขสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาใด ๆ รวมทั้งสิทธิอื่นใดที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา Node เพื่อเชื่อมต่อกับ Bond Platform ที่จัดทําขึ้นโดยสมาชิกผู้ใดให้ตกเป็นสิทธิของสมาชิกผู้นั้น 4.13 สมาชิกสมทบต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ และพิธีปฏิบัติของสมาชิกหลักที่ไม่ขัดต่อระเบียบนี้ 4.14 สมาชิกต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4.15 สมาชิกมีหน้าที่ทดสอบระบบในกรณี ดังนี้ (1) เมื่อเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ Bond Platform (2) เมื่อ ธปท. มีการปรับปรุง Bond Platform (3) เมื่อสมาชิกมีการปรับปรุงระบบภายในที่กระทบกับ Bond Platform (4) อื่น ๆ ตามที่ ธปท. ขอความร่วมมือ 4.16 สมาชิกต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย และระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานที่ยอมรับทั่วไป 4.17 สมาชิกตกลงยอมรับประสิทธิภาพ ขอบเขตความสามารถ และข้อจํากัดของกระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ภายใต้ Bond Platform รวมทั้งยอมรับในบริการ Bond Platform ที่ได้เห็นชอบร่วมกัน ว่ามีมาตรการที่เหมาะสมเพียงพอในการป้องกันความผิดพลาด และการทุจริตต่าง ๆ แล้ว โดยสมาชิกจะร่วมมือกับ ปท. ในการทบทวนประสิทธิภาพและมาตรการของระบบเป็นระยะ 4.18 สมาชิกต้องรักษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการ Bond Platform ไว้เป็นความลับ แม้ว่าจะถูกระงับการใช้บริการ Bond Platform เป็นการชั่วคราวหรือสิ้นสุดสมาชิกภาพไปแล้วก็ตาม รวมทั้งการรับส่งข้อความ และคู่มือการใช้งานมิให้สูญหายหรือรั่วไหล เว้นแต่เป็นข้อมูลหรือเอกสารที่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว หรือเปิดเผยเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย หรือคําสั่งศาล หรือหน่วยงานที่มีอํานาจ หรือเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานในกรณีที่มีการสูญหาย รั่วไหล หรือมีการเปิดเผยตามวรรคหนึ่ง สมาชิกต้องแจ้ง ธปท.ทราบทันที ทั้งนี้ ธปท. อาจพิจารณาดําเนินการตามที่เห็นสมควร 4.19 สมาชิกต้องยินยอมและอํานวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ของ ธปท. หรือผู้ที่ ธปท. มอบหมาย หรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ Bond Platform มาตรการรักษาความปลอดภัย ระบบการควบคุมภายใน เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องและอื่น ๆ ตามที่ ธปท. เห็นสมควร โดย ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าเป็นทางการในเวลาอันควรก่อนการเข้าตรวจสอบ เว้นแต่มีเหตุที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือมีเหตุเร่งด่วนที่หากไม่รีบดําเนินการอาจเกิดความเสียหายต่อการให้บริการ Bond Platform หรือต่อสมาชิกหรือต่อประชาชน ทั้งนี้ การตรวจสอบดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบงานของสมาชิกรวมทั้งต้องป้องกันไม่ให้มีการรั่วไหล หรือการเปิดเผยข้อมูลของสมาชิก 4.20 สมาชิกต้องเก็บรักษาเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ภายใต้Bond Platform ตามระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด หรือตามอายุความทางกฎหมาย และต้องชี้แจงหรือมอบเอกสารหรือหลักฐานอื่นใด ซึ่งลงนามรับรองโดยผู้มีอํานาจต่อ ธปท. เพื่อการตรวจสอบทั้งนี้ ธปท. จะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบล่วงหน้าในเวลาอันควร ก่อนทําการตรวจสอบ 4.21 ให้สมาชิกแจ้งให้ ธปท. ทราบเมื่อถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ว่าโดยศาลไทยหรือศาลต่างประเทศ หรือเมื่อศาลมีคําสั่งเพิกถอนคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนที่ 5 ความรับผิดของ ธปท. และสมาชิก 4.22 ธปท. และสมาชิกจะรับผิดชอบในความเสียหายเช่นที่ตามปกติที่เกิดจากการกระทําของตน ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และเป็นผลโดยตรงจากการกระทําดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพฤติการณ์พิเศษ เช่น การจลาจล การประท้วงภัยธรรมชาติ โรคระบาด เป็นต้น หรือ (2) ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องทางเทคนิคของ Bond Platform หรือ Node ของ ธปท. หรือ Node ของสมาชิก ที่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว หรือ (3) ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสิ่งหรือระบบซึ่งไม่ได้อยู่ในความควบคุมของตนเอง หรือ (4) เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ ส่วนที่ 6 การขอใช้บริการ Bond Platform 4.23 ก่อนเริ่มใช้บริการ Bond Platform ตามระเบียบนี้ สมาชิกจะต้องจัดทําเอกสารตามแบบที่ ธบท. กําหนด เพื่อขอใช้บริการต่อ ธปท. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันทําการ เว้นแต่ ธปท.จะกําหนดเป็นอย่างอื่น ซึ่งเอกสารดังกล่าว ได้แก่ (1) หนังสือแสดงความตกลงการใช้บริการระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform) (2) หนังสือมอบอํานาจการใช้บริการระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform) (3) แบบฟอร์มแจ้งรายชื่อผู้ประสานงานสําหรับการใช้บริการระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform) (4) แบบฟอร์มแจ้งการขอใช้ใบรับรอง CA ระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform) (5) เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform) 4.24 หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเอกสารที่ได้แจ้งต่อ ธปท. ไว้แล้วตามข้อ 4.23 สมาชิกจะต้องจัดทําเอกสารฉบับใหม่แทนฉบับเดิม และยื่นต่อ ปท. ล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 7 วันทําการก่อนวันที่ประสงค์ให้มีผลเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ส่วนที่ 7 การจัดการกรณีมีเหตุขัดข้อง 4.25 ในกรณีที่สมาชิกมีเหตุขัดข้องไม่สามารถใช้บริการ Bond Platform ได้ให้สมาชิกแจ้ง ธปท. ทราบในเวลาอันควร เพื่อ ธปท. จะพิจารณาใช้แผนฉุกเฉิน และให้สมาชิกดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่เหตุขัดข้องดังกล่าวเกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการ หรือระบบงานของสมาชิก หรืออาจส่งผลกระทบต่อ Bond Platform ให้สมาชิกแจ้งให้ ธปท. ทราบทันทีเมื่อเกิดเหตุหรือเมื่อรับรู้เหตุการณ์นั้น 4.26 ในกรณีที่ Bond Platform ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ปท. สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาดําเนินการเพื่อลดผลกระทบและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับ Bond Platform เช่น การเปลี่ยนแปลง เวลาการให้บริการของ Bond Platform หรือสั่งเปิด/ปิดระบบงาน เป็นต้น รวมทั้ง ธปท. จะพิจารณาใช้แผนฉุกเฉิน และให้สมาชิกดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด โดย ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบทันทีที่มีเหตุดังกล่าว เว้นแต่มีเหตุเร่งด่วนที่หากไม่รีบดําเนินการอาจเกิดความเสียหายต่อการให้บริการ Bond Platform หรือต่อสมาชิกหรือต่อประชาชน สวนที่ 8 การระงับหรือการสิ้นสุดการใช้บริการ 4.27 การระงับไปแห่งการใช้บริการ Bond Platform เกิดขึ้นด้วยสาเหตุ (1) สมาชิกขอระงับการใช้บริการ หรือขอออกจากการเป็นสมาชิก (2) ธปท. สั่งระงับการใช้บริการชั่วคราว (3) ธปท. เพิกถอนการเป็นสมาชิก 4.28 ในกรณีที่สมาชิกต้องการระงับการใช้บริการ ไม่ว่าเป็นการชั่วคราวหรือขอออกจากการเป็นสมาชิก ให้สมาชิกแจ้งความประสงค์ต่อ ธปท. ล่วงหน้าอย่างน้อย 20 วันทําการตามแบบฟอร์มที่ ธปท. กําหนด ซึ่ง ธปท. จะพิจารณาให้สมาชิกระงับการใช้บริการเป็นการชั่วคราวหรือ ให้ออกจากการเป็นสมาชิก Bond Platform ตามเหตุผลและความจําเป็น โดย ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบ ทั้งนี้ สมาชิกยินยอมผูกพันและรับผิดชอบในการดําเนินการของตนเองที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ระงับการใช้บริการ หรือออกจากการเป็นสมาชิก 4.29 ธปท. อาจพิจารณาให้สมาชิกรายใดรายหนึ่งระงับการใช้บริการ Bond Platform เป็นการชั่วคราวเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน หรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนด หรือมีพฤติการณ์ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้บริการ Bond Platform (2) Node ของสมาชิกหลักที่ใช้ในการติดต่อเชื่อมโยงกับ Bond Platform เกิดเหตุขัดข้องและไม่สามารถปฏิบัติงานได้บ่อยครั้ง และส่งผลกระทบต่อการให้บริการ Bond Platform อย่างมีนัยสําคัญ (3) Node ของสมาชิกหลักที่ใช้ในการติดต่อเชื่อมโยงกับ Bond Platform มีกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เหมาะสม และมีความเสี่ยงต่อการได้รับการคุกคามจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง (4) เมื่อสมาชิกถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ว่าโดยศาลไทย หรือศาลต่างประเทศกรณี ( 1) หรือ (2) หรือ (3) ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบในเวลาอันควรก่อนระงับการใช้บริการ Bond Platform และสมาชิกต้องทําการแก้ไขข้อบกพร่อง หรือเสนอแผนงานที่ชัดเจนสําหรับการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ภายในระยะเวลา 20 วันทําการ นับจากวันที่ ธปท. ระงับการใช้บริการ 4.30 ธปท. อาจพิจารณาเพิกถอนการเป็นสมาชิกรายใดรายหนึ่งของ Bond Platform ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (1) ไม่ได้ดําเนินการตามข้อ 4.29 วรรคสอง (2) ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิก ตามที่กําหนดในระเบียบนี้ (3) มีคําพิพากษาของศาลให้เป็นบุคคลล้มละลายไม่ว่าโดยศาลไทย หรือศาลต่างประเทศ (4) มีฐานะหรือพฤติการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการใช้บริการ Bond Platform ในกรณีที่มีการเพิกถอนการเป็นสมาชิก Bond Platform ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าทั้งหมดถูกเพิกถอน การเป็นสมาชิกของบริการธุรกรรมตราสารหนี้ภายใต้ Bond Platform ไปด้วย โดย ธปท. จะแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาอันควร เว้นแต่มีเหตุที่ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ก่อนดําเนินการเพิกถอนการเป็นสมาชิก ทั้งนี้ สมาชิกยังคงต้องรักษาความลับอันเกี่ยวเนื่องกับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ผ่าน Bond Platform ต่อไป 4.31 ธปท. จะแจ้งรายชื่อสมาชิกที่ขอออกจากการเป็นสมาชิก หรือที่ถูกระงับการใช้บริการเป็นการชั่วคราว หรือถูกเพิกถอนการให้บริการแก่สมาชิกรายอื่นทราบในเวลาอันควร ส่วนที่ 1 การจัดการกรณีข้อพิพาท 4.32 ในกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างสมาชิกเกิดขึ้น โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเป็นหน่วยงานของรัฐ และไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ อาจระงับข้อพิพาทดังกล่าวตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพิจารณาขชี้ขาดการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐและการดําเนินคดีหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4.33 ในกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างสมาชิกที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ และไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ อาจนําเรื่องสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ การพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ โดยให้คู่กรณีแต่ละฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละหนึ่งคน และให้อนุญาโตตุลาการดังกล่าวร่วมกันตั้งบุคคลภายนอกอีกหนึ่งคนเป็นอนุญาโตตุลาการคนกลาง ส่วนที่ 10 อื่น ๆ 4.34 ในกรณีที่ ประกาศ พิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน แบบหนังสือหรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนด ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้แทน 4.35 กรณีที่ต้องมีการตีความตามระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งานแนวทางการปฏิบัติงาน แบบหนังสือหรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนด ให้ ธปท. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและมีผลผูกพันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,877
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3629 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดบอริก บอริกออกไซด์และไดโซเดียมเททระบอเรตสำหรับอุตสาหกรรม -การวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ – วิธีเมอร์คุริเมทริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3629 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรดบอริก บอริกออกไซด์และไดโซเดียมเททระบอเรตสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ – วิธีเมอร์คุริเมทริก ------------------------ อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดบอริก บอริกออกไซด์และไดโซเดียมเททระบอเรตสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ - วิธีเมอร์คุริเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2022 - 2543 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3012 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดบอริก บอริกออกไซด์และไดโซเดียมเททระบอเรตสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ - วิธีเมอร์คุริเมทริก ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,878
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5 /2563 ว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลงทุน และการประชุมของคณะกรรมการลงทุน
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5 /2563 ว่าด้วยวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลงทุน และการประชุมของคณะกรรมการลงทุน ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ โดยที่ได้มีการตราพระราชกําหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 กําหนดให้มีคณะกรรมการลงทุน ซึ่งมีหน้าที่และอํานาจคัดเลือกตราสารหนี้ภาคเอกชนภายใต้นโยบายและกรอบการลงทุนที่คณะกรรมการกํากับกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้กําหนด รวมถึงปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลงทุน และการประชุมของคณะกรรมการลงทุน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย มาตรา 12 แห่งพระราชกําหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ คณะกรรมการลงทุนตามพระราชกําหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 และผู้เข้าร่วมประชุม อื่นๆ - 4. นิยาม ในระเบียบนี้ "พ.ร.ก. รักษาเสถียรภาพ " หมายความว่า พระราชกําหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 "ผู้ว่าการ ธปท." หมายความว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย "กองทุน" หมายความว่า กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ก. รักษาเสถียรภาพ "คณะกรรมการลงทุน" หมายความว่า คณะกรรมการลงทุนของกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.ก. รักษาเสถียรภาพ "ประธานกรรมการ" หมายความว่า รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผู้ว่าการ ธปท. มอบหมายให้ทําหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการลงทุน "กรรมการ" หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการลงทุน โดยให้รวมถึงประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการ "เลขานุการ" หมายความว่า พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผู้ว่าการ ธปท.แต่งตั้งให้ทําหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการลงทุน "ที่ปรึกษา" หมายความว่า ที่ปรึกษาที่คณะกรรมการลงทุนแต่งตั้งตามมาตรา 13 วรรคสามแห่ง พ.ร.ก. รักษาเสถียรภาพ "การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า การประชุมของคณะกรรมการลงทุนที่ได้กระทําผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ร่วมประชุมมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกันและสามารถประชุมปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นระหว่างกันได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ "ผู้ร่วมประชุม" หมายความว่า กรรมการ เลขานุการ ที่ปรึกษา และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการลงทุน และให้หมายความรวมถึงผู้ที่คณะกรรมการมีมติเชิญให้เข้าร่วมประชุม "สื่ออิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า สื่อบันทึกข้อมูลหรือสารสนเทศใด ๆ ที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์โดยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น อื่นๆ - 5. เนื้อหา หมวดที่ 1 วาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลงทุน 5.1 ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลงทุน มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี หรือสิ้นสุดเมื่อกองทุนยุติการดําเนินการ ทั้งนี้ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพันจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพันจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตําแหน่งที่ว่างลง และให้นับเป็นวาระการดํารงตําแหน่งใหม่ เมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีกรรมการผู้ทรงคุณฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ เว้นแต่รัฐมนตรีกําหนดให้ดําเนินการเป็นอย่างอื่น 5.2 นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการลงทุน พ้นจากตําแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ผู้ว่าการ ธปท. ให้ออกเนื่องจากบกพร่องในหน้าที่ หมวดที่ 2 การประชุมของคณะกรรมการลงทุน 5.3 ในการประชุมของคณะกรรมการลงทุน ให้ประธานกรรมการเป็นผู้เรียกประชุมโดยให้แจ้งกรรมการทุกคนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทําการ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนประธานกรรมการจะนัดประชุมโดยแจ้งให้กรรมการทราบล่วงหน้าน้อยกว่า 3 วันทําการก็ได้ การจัดระเบียบวาระการประชุม ให้จัดเรียงตามลําดับความสําคัญและความเร่งด่วนของเรื่องที่เสนอให้พิจารณา แต่ถ้ามีเรื่องที่ค้างพิจารณาจากการประชุมครั้งก่อน ให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้เสร็จก่อนเริ่มพิจารณาเรื่องใหม่ เว้นแต่คณะกรรมการลงทุนจะกําหนดเป็นอย่างอื่นให้เลขานุการดําเนินการออกและจัดส่งหนังสือแจ้งวัน เวลา สถานที่นัดประชุมกับระเบียบวาระการประชุมพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้กรรมการทราบ เรื่องที่จัดตามระเบียบวาระการประชุมแล้ว ที่ประชุมอาจมีมติถอนเรื่องออกจากวาระการประชุมได้ และให้บันทึกเหตุผลไว้ในรายงานการประชุม ในกรณีมีเรื่องเร่งด่วนใดนอกเหนือจากที่จัดไว้ในระเบียบวาระการประชุม ที่ประชุมอาจมีมติ ให้นําเรื่องเร่งด่วนนั้นมาพิจารณาเพิ่มเติมได้ โดยให้หมายเหตุและบันทึกความเห็นไว้ในรายงานการประชุมด้วยให้ผู้ร่วมประชุมทุกคนลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานในการประชุมทุกครั้ง 5.4 การประชุมของคณะกรรมการลงทุนต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม 5.5 ประธานในที่ประชุมมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการประชุมและเพื่อรักษาความเรียบร้อยในการประชุมให้ประธานในที่ประชุมมีอํานาจออกคําสั่งใด ๆ ตามความจําเป็นได้ ในการประชุมของคณะกรรมการลงทุน ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจมาประชุมได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม แต่ในกรณีไม่มีรองประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจมาประชุมได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม 5.6 ในการประชุมของคณะกรรมการลงทุน หากกรรมการ เลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาอยู่ ให้แจ้งให้ที่ประชุมทราบ และมิให้เข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้น เว้นแต่คณะกรรมการลงทุนมีคําวินิจฉัยชี้ขาดให้เข้าร่วมพิจรณาหรือเข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้นได้ ในกรณีที่ปรึกษามีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาอยู่ ให้แจ้งให้ที่ประชุมทราบและให้เข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้นเพื่อให้ข้อมูลและมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการของคณะกรรมการลงทุนได้เว้นแต่คณะกรรมการลงทุนมีคําวินิจฉัยขี้ขาดเป็นอย่างอื่น 5.7 การมีมติวินิจฉัยขี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด การลงมติของที่ประชุมในการประชุมทุกครั้ง ให้เลขานุการสรุปประเด็นการประชุมพร้อมทั้งมติที่ประชุม หากไม่มีกรรมการผู้ใดคัดค้าน ให้ถือเป็นมติคณะกรรมการ ในกรณีที่มีกรรมการคัดค้านในประเด็นใดที่เลขานุการกล่าวสรุปตามความในวรรคหนึ่ง ให้ที่ประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดและให้ถือเป็นมติคณะกรรมการ 5.8 ในการทํานิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอก ให้ประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามแทนคณะกรรมการลงทุน เว้นแต่ระเบียบนี้หรือคณะกรรมการลงทุนจะกําหนดเป็นอย่างอื่น 5.9 ระเบียบ ประกาศ หรือหนังสืออื่นใดของคณะกรรมการลงทุน ให้ประธานกรรมการเป็นผู้ลงนาม เว้นแต่ระเบียบนี้หรือคณะกรรมการลงทุนจะกําหนดเป็นอย่างอื่น 5.10 ในการประชุมต้องมีรายงานการประชุมเป็นหนังสือ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (1) รายชื่อกรรมการที่มาและไม่มาประชุม รวมทั้งรายชื่อผู้ร่วมประชุม (2) เรื่องหรือประเด็นตามที่นําเสนอต่อที่ประชุม (3) ความเห็นของที่ประชุม (4) มติของที่ประชุม 5.11 เลขานุการมีหน้าที่ออกหนังสือเชิญประชุม จัดทํารายงานการประชุม เก็บรักษาระเบียบวาระการประชุม เอกสารที่เกี่ยวข้อง และรายงานการประชุม หรือดําเนินการใด ๆ ตามระเบียบนี้หรือตามที่กรรมการของคณะกรรมการลงทุนมอบหมาย ตลอดจนดําเนินงานด้านธุรการ การส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุม จะส่งโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในการนี้ เลขานุการต้องจัดเก็บสําเนาหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุมไว้เป็นหลักฐาน โดยจะจัดเก็บในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ 5.12 การเปิดเผยหรืองดเปิดเผยรายงานการประชุมทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการลงทุน ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ หมวดที่ 3 การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 5.13 ในการจัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้เลขานุการเป็นผู้ทําหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการการประชุม โดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารว่าด้วยมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยอนุโลม 5.14 ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เลขานุการต้อง (1) จัดให้ผู้ร่วมประชุมแสดงตน เพื่อร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนร่วมการประชุม (2) จัดทํารายงานการประชุมเป็นหนังสือตามที่กําหนดใน 5.10 (3) จัดให้มีการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ แล้วแต่กรณี ของผู้ร่วมประชุมทุกคน ตลอด ระยะเวลาที่มีการประชุมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เว้นแต่เป็นการประชุมลับ และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุม 5.15 ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากมีกรณีที่ต้องจ่ายเบี้ยประชุมให้แก่ผู้ร่วมประชุมให้จ่ายเบี้ยประชุมแก่ผู้ร่วมประชุมซึ่งได้แสดงตนเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ หมวดที่ 4 เบ็ดเตล็ด 5.16 ให้ประธานกรรมการรักษาการตามระเบียบนี้สําหรับการประชุมของคณะกรรมการลงทุน และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ กับให้มีอํานาจออกประกาศหรือคําสั่งเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ด้วย อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2563 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน 2563 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,879
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3630 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดฟอสฟอริกสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณแคลเซียม -วิธีไททริเมทริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3630 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรดฟอสฟอริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณแคลเซียม - วิธีไททริเมทริก -------------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดกรดฟอสฟอริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณแคลเซียม – วิธีไททริเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2099 - 2544 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3081 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดฟอสฟอริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณแคลเซียม – วิธีไททริเมทริก ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,880
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2565 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2)
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2565 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เพื่อให้การออกพันธบัตรเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสอดคล้องกับแผนการยกระดับตราสารหนี้ภาครัฐให้พร้อมรองรับระบบการเงินดิจิทัล อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 33 (5) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยพุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. แก้ไข ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 10 เมื่อผู้ได้รับจัดสรรพันธบัตรชําระราคาตามข้อ 9 แล้ว ธปท. จะนําฝากพันธบัตรเข้าบัญชีผู้ฝากตราสารหนี้ของผู้ได้รับจัดสรรพันธบัตรที่ศูนย์รับฝากโดยจะไม่มีการออกเป็นใบพันธบัตร ทั้งนี้ หากผู้ถือกรรมสิทธิ์ประสงค์จะออกเป็นใบพันธบัตรในภายหลังให้ถือปฏิบัติตามข้อ 13" 4.2 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 13 กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ประสงค์จะขอออกใบพันธบัตร ให้ยื่นคําขอต่อ ธปท.ตามขั้นตอนการดําเนินการที่ศูนย์รับฝากกําหนดเพื่อให้ ธปท. ดําเนินการออกใบพันธบัตรให้ โดยให้ถือว่าการออกใบพันธบัตรฉบับนั้นสมบูรณ์เมื่อพนักงาน ธปท. ซึ่งผู้ว่าการ รปท. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการ ธปท. แต่งตั้งขึ้นได้ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรฉบับนั้น เมื่อมีการจ่ายเงินต้นตามใบพันธบัตรตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ใบพันธบัตรนั้นสิ้นผลผูกพันตั้งแต่วันที่มีการจ่ายเงินตามใบพันธบัตรนั้น โดยไม่ต้องนําใบพันธบัตรมาเวนคืนให้แก่นายทะเบียน เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นหรือมีข้อสงสัย นายทะเบียนอาจขอเวนคืนใบพันธบัตรเพื่อตรวจสอบก็ได้" อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2565 (นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,881
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2565 ว่าด้วยการดำเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline)
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2565 ว่าด้วยการดําเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline) ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พิจารณาถึงความเสี่ยงกรณีเกิดเหตุวินาศภัยหรือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ทําให้ ธปท. ไม่สามารถให้บริการระบบบาทเนตได้โดยสิ้นเชิง เช่น การถูกคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Cyber Attack) การก่อการร้าย ภัยพิบัติรุนแรง เป็นต้นและ ธปท. ประเมินว่าระบบบาทเนตจะไม่สามารถกลับมาให้บริการได้ตามปกติภายในวันและเวลาทําการของวันนั้น ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต พ.ศ. 2549 ข้อ 79 ธปท.จึงได้ออกระเบียบฉบับนี้เพื่อกําหนดกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉินเพื่อรองรับกรณีที่ระบบบาทเนตไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้การชําระเงินระหว่างสถาบันสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยสิทธิและหน้าที่ของ ธปท. และผู้ใช้บริการบาทเนตอื่นที่ไม่ได้กล่าวไว้ในระเบียบฉบับนี้ ยังคงเป็นไปตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 8 มาตรา 33 (1) (2) (3) (5) (6) และ (7) มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 44 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 คํานิยามในระเบียบนี้ "ธปท." หมายถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามกฎหมาย ว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย "ผู้ใช้บริการบาทเนต" หมายถึง ผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต "กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ" หมายถึง ผู้ใช้บริการบาทเนต ที่เป็นส่วนราชการ หน่วยงานภายใน ธปท. หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกําหนดนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นผู้ใช้บริการบาทเนต รวมถึงบัญชีองค์กรระหว่างประเทศหรือธนาคารกลางที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ธปท. "BAHTNET Offline (BNO)" หมายถึง กระบวนการปฏิบัติงานของ ธปท. และผู้ใช้บริการบาทเนต เพื่อรองรับกรณีที่ระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง "รายการโอนเงิน BNO" หมายถึง คําสั่งโอนเงินตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต ได้แก่ (1) คําสั่งโอนเงินระหว่างผู้ใช้บริการบาทเนตกับผู้ใช้บริการบาทเนตรายอื่น (2) คําสั่งโอนเงินระหว่างบัญชีของผู้ใช้บริการบาทเนตเอง (3) คําสั่งโอนเงินระหว่างผู้ใช้บริการบาทเนตกับผู้ใช้บริการบาทเนตรายอื่นเพื่อบุคคลที่สาม (4) คําสั่งโอนเงินอื่น ๆ ที่อาจมีขึ้นตามแต่ ธปท. จะกําหนด "บัญชีเงินฝาก" หมายถึง บัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีชําระเงินตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต "ดุลสุทธิ BNO" หมายถึง ยอดสุทธิที่แสดงความเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ที่ได้จากการคํานวณรายการโอนเงิน BNO ที่ผู้ใช้บริการบาทเนตส่งให้ ธปท. ตามรูปแบบและเวลาที่กําหนด เพื่อนําไปใช้ในการชําระดุลสุทธิ BNO "การชําระดุลสุทธิ BNO" หมายถึง การชําระดุลแบบ Net Settlement โดยการหักกลบลบกันของรายการโอนเงินและรับโอนเงิน เพื่อหักเงินในบัญชีเงินฝากหรือนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากที่ ธปท. ของผู้ใช้บริการบาทเนตตามดุลสุทธิ BNO "บัญชี SRS" หมายถึง บัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ (Securities Requirement for Settlement) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต "บัญชี ILF " หมายถึง บัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อเงินสภาพคล่องระหว่างวันของสถาบันการเงิน (Intraday Liquidity Facilties) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน "บัญชี RP" หมายถึง บัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการซื้อขายตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนหรือขายคืน ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการขายตราสารหนี้และเงินตราต่างประเทศโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนเพื่อบริหารสภาพคล่อง "ตราสารหนี้ 5RS" หมายถึง ตราสารหนี้ที่ผู้ใช้บริการบาทเนตนําฝากไว้ในบัญชี SRS "ตราสารหนี้ I.F" หมายถึง ตราสารหนี้ที่ผู้ใช้บริการบาทเนตนําฝากไว้ในบัญชี ILF "ตราสารหนี้ RP" หมายถึง ตราสารหนี้ที่ผู้ใช้บริการบาทเนตนําฝากไว้ในบัญชี RP "ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature)" หมายถึง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตาม พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 4.2 การประกาศใช้ BNO ธปท. ประกาศใช้ BNO เมื่อระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง และธปท. ประเมินว่าระบบบาทเนตจะไม่สามารถกลับมาให้บริการได้ตามปกติภายในวันและเวลาทําการของวันนั้น 4.3 การดําเนินการเมื่อประกาศใช้ BNO 4.3.1 ธปท. แจ้งขั้นตอนและกําหนดเวลาการดําเนินการ BNO รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลธุรกรรมบาทเนตที่ชําระดุลสําเร็จก่อน ธปท. ประกาศใช้ BNO ข้อมูลตราสารหนี้ SRS ที่สามารถนํามาใช้เป็นเงินสภาพคล่องใน BNO กําหนดเวลาปิดรับรายการโอนเงิน BNO เป็นตัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการบาทเนตทราบ รวมถึงประสานงานและดําเนินการอื่นใดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานอันเป็นผลสืบเนื่องจากการประกาศใช้ BNO ทั้งนี้ ธปท. ขอสงวนสิทธิ์การปรับเปลี่ยนกําหนดเวลาการดําเนินการ BNO ตามความเหมาะสมแก่สถานการณ์ 4.3.2 ผู้ใช้บริการบาทเนตตรวจสอบและกระทบยอดข้อมูลธุรกรรมบาทเนตที่ชําระดุลสําเร็จก่อน ธปท. ประกาศใช้ BNO ตามข้อ 4.3.1 กับสถาบันที่เกี่ยวข้อง และส่งรายการโอนเงิน BNO และ/หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ ธปท. ภายในเวลาที่กําหนด 4.3.3 ผู้ใช้บริการบาทเนตจะมีสภาพคล่องเริ่มต้นใน BNO ดังนี้ (1) ผู้ใช้บริการบาทเนตรายที่ไม่เป็นกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ จะมีสภาพคล่องเริ่มต้นใน BNO เป็นศูนย์ เว้นแต่ ธปท. จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น (2) ผู้ใช้บริการบาทเนตรายที่เป็นกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ จะมีสภาพคล่องเริ่มต้นใน BNO ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ ธปท. กําหนด 4.3.4 สําหรับผู้ใช้บริการบาทเนตที่มีบัญชี SRS ธปท. จะรับซื้อตราสารหนี้ SRS ของผู้ใช้บริการบาทเนต เพื่อเป็นเงินสภาพคล่องใน BNO โดย ธปท. จะนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการบาทเนตในวันที่ประกาศใช้ BNO และให้ผู้ใช้บริการบาทเนตซื้อคืนตราสารหนี้ SRS ดังกล่าว ภายในสิ้นวันที่ระบบบาทเนตกลับมาให้บริการได้ตามปกติหรือภายในระยะเวลาที่ ธปท. กําหนด หากผู้ใช้บริการบาทเนตไม่สามารถซื้อคืนตราสารหนี้ SRS ดังกล่าวได้ ให้ถือว่าสิ้นสิทธิซื้อคืน ทั้งนี้ คุณสมบัติของตราสารหนี้ SRS เงื่อนไขการรับซื้อและการซื้อคืนตราสารหนี้ที่ใช้เป็นเงินสภาพคล่องใน BNO ให้เป็นไปตามที่ ธปท. กําหนด 4.3.5 สําหรับผู้ใช้บริการบาทเนตรายที่ไม่เป็นกลุ่มหน่วยงานภาครัฐให้ถือว่าทําธุรกรรมฝากเงินกรณีฉุกเฉินด้านระบบงานกับ ธปท. ในจํานวนไม่เกินยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีก่อนระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง โดยสามารถแจ้งยืนยันการฝากเงินหรือยกเลิกการฝากเงินดังกล่าว ทั้งนี้ ขั้นตอน วิธีการและเงื่อนไขการฝากเงินให้เป็นไปตามที่ ธปท. กําหนด 4.3.6 เมื่อ ธปท. ได้รับรายการโอนเงิน BNO จากผู้ใช้บริการบาทเนตตามข้อ 4.3.2 แล้วจะดําเนินการตามลําดับ ดังนี้ (1) คํานวณดุลสุทธิ BNO เบื้องต้น (Preliminary Position) และยอดเงินคงเหลือรายบัญชีใน BNO ของผู้ใช้บริการบาทเนตแต่ละราย (Available Balance) โดยคํานวณจากรายการโอนเงิน BNO และเงินที่ ธปท. รับซื้อตราสารหนี้ SRS จากผู้ใช้บริการบาทเนตรายที่มีบัญชี SRS (2) แจ้งข้อมูลดุลสุทธิ BNO เบื้องตัน (Preliminary Position) ที่คํานวณได้ตามข้อ 4.3.6 (1) โดยแสดงดุลสุทธิ BNO และยอดเงินคงเหลือรายบัญชีใน BNO ของผู้ใช้บริการบาทเนตให้ผู้ใช้บริการบาทเนตแต่ละรายทราบ 4.3.7 เมื่อผู้ใช้บริการบาทเนตได้รับข้อมูลดุลสุทธิ BNO เบื้องต้น (Prelininary Position) แล้ว กรณีผู้ใช้บริการบาทเนตรายที่เป็นไม่เป็นกลุ่มหน่วยงานภาครัฐให้ดําเนินการบริหารสภาพคล่องเพื่อให้มียอดเงินคงเหลือรายบัญชีใน BNO ณ สิ้นวันไม่น้อยกว่าศูนย์บาท เช่น ขอกู้เงินจากผู้ใช้บริการบาทเนตรายอื่นและ/หรือทําธุรกรรมด้านตลาดเงินกับ ธปท. เป็นต้น ทั้งนี้ กรณีผู้ใช้บริการบาทเนตรายที่เป็นกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ธปท. อาจกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารสภาพคล่องเฉพาะเป็นรายกรณี 4.3.8 ผู้ใช้บริการบาทเนตสามารถทําธุรกรรมด้านตลาดเงินกับ ธปท. เพื่อบริหารสภาพคล่องใน BNO ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด โดยครอบคลุมธุรกรรม ดังนี้ (1) ธุรกรรมการซื้อขายตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืน และการขายตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยกับไพรมารี ดีลเลอร์ (Bilateral Repo: BRP) (2) ธุรกรรมการฝากเงินกับ ธปท. (Deposit Facility: DF) (3) ธุรกรรมการขายตราสารหนี้และเงินตราต่างประเทศโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนเพื่อบริหารสภาพคล่อง (Lending Facility: LF) ทั้งนี้ ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะทําธุรกรรมด้านตลาดการเงินอื่น ๆ หรือดําเนินการใด ๆเพิ่มเติม เพื่อการบริหารสภาพคล่องกับสมาชิกในช่วงการประกาศใช้ BNO โดย ธปท. จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 4.3.9 หากผู้ใช้บริการบาทเนตรายใดไม่สามารถบริหารสภาพคล่องให้มียอดเงินคงเหลือรายบัญชีใน BNO ณ สิ้นวันไม่น้อยกว่าศูนย์บาทได้ภายในเวลาที่กําหนด ให้แจ้ง ธปท. ทราบพร้อมแจ้งแนวทางบริหารสภาพคล่องและระยะเวลาดําเนินการที่ใช้โดยเร็ว เพื่อ ธปท. จะพิจารณาดําเนินการตามที่เห็นสมควรเพื่อให้ผู้ใช้บริการบาทเนตรายนั้นสามารถชําระดุลสุทธิ BNO เสร็จสิ้นภายในวันนั้น 4.3.10 เมื่อ ธปท. ได้รับรายการโอนเงิน BNO เพื่อการบริหารสภาพคล่อง ตามข้อ 4.3.7 ข้อ 4.3.8 และ 4.3.9 แล้ว ธปท. จะดําเนินการคํานวณดุลสุทธิ BNO และยอดเงินคงเหลือรายบัญชีใน BNO ของผู้ใช้บริการบาทเนตแต่ละรายอีกครั้ง 4.3.11 เมื่อคํานวณดุลสุทธิ BNO ตามข้อ 4.3.10 แล้ว ธปท. จะดําเนินการชําระดุลสุทธิ BNO ของผู้ใช้บริการบาทเนตทุกราย ซึ่งมีผลให้รายการโอนเงิน BNO ของผู้ใช้บริการบาทเนตทุกรายมีผลสมบูรณ์ ไม่สามารถเพิกถอน กลับรายการ แก้ไข หยุด หรือระงับได้ พร้อมแจ้งผลการชําระดุลสุทธิ BNO และยอดเงินคงเหลือรายบัญชีใน BNO ให้ผู้ใช้บริการบาทเนตแต่ละรายทราบ เพื่อดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 4.3.12 เมื่อจบกระบวนการ BNO ในแต่ละวัน ธปท. จะแจ้งสรุปรายการโอนเงิน/รายการรับโอนเงินรายบัญชีใน BNO ตามคู่สถาบัน และรายการโอนเงิน/รายการรับโอนเงิน BNO ทั้งหมดของวันนั้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการบาทเนตตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องกลับมาให้ ปท. ภายในเวลาที่กําหนด เมื่อระบบบาทเนตกลับมาให้บริการได้ตามปกติ ธปท. จะนําข้อมูลสรุปรายการโอนเงิน/รายการรับโอนเงินรายบัญชีใน BNO ตามคู่สถาบันดังกล่าวข้างต้นไปบันทึกบัญชีในระบบบาทเนตต่อไป หากผู้ใช้บริการบาทเนตรายใดไม่แจ้งยืนยันความถูกต้องภายในเวลาที่กําหนด จะถือว่าผู้ใช้บริการบาทเนตรายนั้นได้ยืนยันความถูกต้องแล้ว และ ธปท. จะใช้ข้อมูลสรุปรายการโอนเงิน/รายการรับโอนเงินรายบัญชีใน BNO ตามคู่สถาบันที่กล่าวข้างต้นไปบันทึกบัญชีเมื่อระบบบาทเนตกลับมาให้บริการได้ตามปกติต่อไป 4.3.13 ธปท. สงวนสิทธิ์ในการพิจารณากําหนดให้มีการชําระดุลสุทธิ BNO มากกว่า 1 ครั้งในแต่ละวัน โดยการดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ ธปท. กําหนด 4.3.14 ทุกสิ้นวันทําการ ธปท. จะประเมินความพร้อมในการเปิดให้บริการระบบบาทเนตและแจ้งแนวทางดําเนินการของวันทําการถัดไปให้ผู้ใช้บริการบาทเนตทราบ 4.3.15 การดําเนินการตามข้อ 4.3.1 ถึงข้อ 4.3.14 รวมทั้งการดําเนินการธุรกรรมด้านตลาดการเงินกับ ปท. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ ธปท. กําหนด 4.4 การดําเนินการเพื่อให้สามารถกลับมาให้บริการระบบบาทเนตได้ตามปกติเมื่อระบบบาทเนตได้รับการแก้ไขให้กลับมาให้บริการได้ตามปกติ ก่อนเปิดให้บริการธปท. และผู้ใช้บริการบาทเนตต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ 4.4.1 ธปท. จะปรับปรุงยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝาก และบัญชีย่อยตราสารหนี้ ได้แก่ บัญชี ILF บัญชี SRS และบัญชี RP ของผู้ใช้บริการบาทเนตแต่ละราย ณ สิ้นวันก่อนการประกาศใช้ BNO เช่น ยกเลิกคําสั่งโอนเงินที่ค้างอยู่ในคิว ปลดรายการจํานําเพื่อการใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็คซื้อคืนตราสารหนี้ LF และบันทึกบัญชีการชําระดุลรายการโอนเงิน/รายการรับโอนเงินรายบัญชีใน BNO ให้เป็นปัจจุบัน หลังจากนั้น ธปท. จะแจ้งให้ผู้ใช้บริการบาทเนตดําเนินการตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีดังกล่าว 4.4.2 เมื่อผู้ใช้บริการบาทเนตได้รับแจ้งจาก ธปท. ตามข้อ 4.4.1 ให้ผู้ใช้บริการบาทเนตดําเนินการดังนี้ (1) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากการดําเนินการของ ธปท. ตามข้อ 4.4.1 และแจ้งผลการตรวจสอบให้ ธปท. ทราบภายในเวลาที่กําหนดในพิธีปฏิบัติ BNO หากผู้ใช้บริการบาทเนตรายใดไม่แจ้งผลการตรวจสอบภายในเวลาดังกล่าว จะถือว่าผู้ใช้บริการบาทเนตรายนั้นได้ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว และ ธปท. จะดําเนินการต่อไป (2) กรณีที่พบว่ามีรายการคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องจากการดําเนินการ BNO หรือการดําเนินการในระบบบาทเนตก่อนประกาศใช้ BNO ให้ผู้ใช้บริการบาทเนตประสานงานกับสถาบันที่เกี่ยวข้อง เพื่อทํารายการโอนเงินเพิ่มเติม และ/หรือทํารายการโอนเงินคืนให้แก่สถาบันที่เกี่ยวข้องผ่านระบบบาทเนตภายหลังจากที่เปิดให้บริการระบบบาทเนตตามปกติโดยเร็วกําหนด 4.4.3 ธปท. จะประกาศยุติการประกาศใช้ BNO และเปิดให้บริการระบบบาทเนตตามปกติ เมื่อผู้ใช้บริการบาทเนตได้ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยตามข้อ 4.4.2 (1) แล้ว 4.4.4 ธปท. จะคิดค่าตอบแทนจากการใช้เงินสภาพคล่องของ ธปท. ในช่วงที่ประกาศใช้ BNO โดยดําเนินการผ่านระบบบาทเนต ทั้งนี้ การดําเนินการตามข้อ 4.4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ ธปท.กําหนด 4.5 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ 4.5.1 ก่อนการดําเนินการตามระเบียบนี้ ให้ผู้ใช้บริการบาทเนตจัดทําและยื่นเอกสารตามแบบที่ ธปท. กําหนด ดังนี้ (1) หนังสือแสดงความตกลง เพื่อดําเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline) (2) หนังสือมอบอํานาจให้ ธปท. ดําเนินการกับตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันสําหรับการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่าย และตราสารหนี้เพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวันในกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline) (3) หนังสือมอบอํานาจทําธุรกรรมฝากเงินกรณีฉุกเฉินด้านระบบงาน ในกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline) (4) หนังสือแจ้งรายละเอียดการรับดอกเบี้ยสําหรับการฝากเงินกรณีฉุกเฉินด้านระบบงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย (5) เอกสารอื่นใดที่ ธปท. กําหนด ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการบาทเนตที่ไม่เป็นกลุ่มหน่วยงานภาครัฐรายใดที่เป็นคู่สัญญากับ ธปท. ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2553 ว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการฝากเงินกับธนาคารแห่งประเทศไทย (บริการการฝากเงิน) และที่แก้ไขเพิ่มเติม และยินยอมผูกพันตามระเบียบนี้ไม่ต้องจัดทําหนังสือตาม 4.5.1 (3) และ (4) โดยยินยอมให้หนังสือมอบอํานาจ หนังสือแสดงความยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากและนําเงินเข้าบัญชีเงินฝาก ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2553 มีผลใช้บังคับกับการลงนาม การแสดงเจตนา การมอบอํานาจ การยินยอม การบอกกล่าว การสื่อสารใด ๆ และการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมฝากเงินกรณีฉุกเฉินด้านระบบงาน ในกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline) ตามระเบียบนี้ด้วยโดยอนุโลม เว้นแต่ผู้ใช้บริการบาทเนตจะแจ้งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นหนังสือหรือตามวิธีการที่กําหนดแก่ ธูปท 4.5.2 ให้ผู้จัดการสิทธิและผู้ใช้งานของบริการ BAHTNET Web Service ของผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต เป็นผู้จัดการสิทธิและผู้ใช้งาน BNO ตามระเบียบนี้ และให้ผู้จัดการสิทธิกําหนดสิทธิให้ผู้ใช้งาน BNO เป็นผู้มีอํานาจดําเนินการในกระบวนการ BNO ตามวิธีการที่ ธปท. กําหนด ทั้งนี้ ให้ถือว่าการดําเนินการใด ๆ ตามกระบวนการ BNO โดยผู้ใช้งาน BNO ตามวรรคหนึ่ง ซึ่งมีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ของบุคคลข้างต้น มีผลผูกพันเช่นเดียวกันกับการลงนามด้วยลายมือชื่อของบุคคลนั้น 4.5.3 การดํารงเงินฝากของสถาบันการเงินที่ ธปท. (Reserve Requirement) การดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) การดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ (SRS) การซื้อคืนตราสารหนี้ ILF การซื้อคืนตราสารหนี้ SRS และการซื้อคืนตราสารหนี้ RP ของผู้ใช้บริการบาทเนตเมื่อระบบบาทเนตกลับมาให้บริการได้ตามปกติ การจํานําเพื่อการใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารสมาชิกรอบปกติ และการดําเนินการอื่นใดในช่วงประกาศใช้ BNO หรือเป็นผลสืบเนื่องจากการประกาศใช้ BNO ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด 4.5.4 ธปท. จะรับผิดชอบในความเสียหายเช่นที่ตามปกติที่เกิดจากการกระทําของ ธปท. ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 1 1 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต พ.ศ. 2549 4.5.5 ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงระเบียบ ประกาศพิธีปฏิบัติ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องตามระเบียบนี้ รวมถึงดําเนินการใด ๆ เพิ่มเติมในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเพื่อให้การชําระเงินระหว่างสถาบันสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ราบรื่น และมีประสิทธิภาพโดยจะแจ้งให้ผู้ใช้บริการบาทเนตทราบล่วงหน้า 4.5.6 เมื่อ ธปท. ประกาศใช้ BNO แล้ว หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของระเบียบ ประกาศพิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งาน แนวทางการปฏิบัติงาน แบบหนังสือหรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนดขัดหรือแย้งกับระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติ หรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนดตามระเบียบฉบับนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติ หรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนดตามระเบียบฉบับนี้แทน 4.5.7 กรณีที่ต้องมีการตีความตามระเบียบ ประกาศ พิธีปฏิบัติ คู่มือการใช้งานแนวทางการปฏิบัติงาน แบบหนังสือหรือข้อกําหนดอื่นใดที่ ธปท. กําหนด ให้ ธปท. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและมีผลผูกพันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 4.5.8 ให้ถือว่าผู้ใช้บริการบาทเนตตกลงผูกพันและปฏิบัติตามระเบียบ ประกาศพิธีปฏิบัติ และข้อกําหนดอื่นใดที่ออกตามระเบียบนี้ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 (นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,882
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3650 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 9 การทดสอบสมบัติความต้านแรงดึง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3650 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ถุงยางอนามัย เล่ม 9 การทดสอบสมบัติความต้านแรงดึง ----------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 9 การทดสอบสมบัติความต้านแรงดึง มาตรฐานเลขที่ มอก. 624 เล่ม 9 - 2541 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2549 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 9 การทดสอบสมบัติความต้านแรงดึง ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,883
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2565 ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับงานหักบัญชีเช็ค
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2565 ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับงานหักบัญชีเช็ค --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เนื่องด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. ยุติการให้บริการระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (Imaged Cheque Clearing and Archive System : ICAS) โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ให้บริการระบบ ICAS แก่ธนาคารสมาชิกแทน ธปท. เพื่อเป็นการแบ่งบทบาทระหว่างผู้ให้บริการ (Operator) และผู้กํากับดูแล (Regulator) ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงินที่ชัดเจน อีกทั้งภาคเอกชนยังสามารถพัฒนาต่อยอดกับบริการชําระเงินอื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างคล่องตัวอีกด้วย ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ ธปท. ยุติการให้บริการระบบ ICAS แล้ว จึงเห็นสมควรยกเลิกระเบียบและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการระบบ ICAS ทั้งหมดด้วย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 3. เนื้อหา ข้อ 1. ให้ยกเลิกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็คและประกาศที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2554 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 (2) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2557 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2557 (3) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2558 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 (4) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2562 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3) ลงวันที่ 18 มกราคม 2562 (5) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2554 เรื่อง มาตรฐานเช็คมาตรฐานภาพเช็ค มาตรฐานใบแทน มาตรฐานใบแจ้งแก้ไขคลาดเคลื่อน มาตรฐานตั๋วแลกเงิน และตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารอื่นใด ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 (6) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9/2554 เรื่อง การจัดส่งรายชื่อและตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอํานาจของธนาคารสมาชิกในระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 (7) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10/2554 เรื่อง พิธีปฏิบัติกรณีขยายเวลารอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ (Same-day Settlement) หรือกรณีขยายเวลารอบการชําระดุลหักบัญชีในวันทําการถัดไป (Next-day Settlement) ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 (8) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 12/2554 เรื่อง การใช้บริการรับหรือส่งข้อมูลและภาพเช็คผ่านเครื่องรับส่งข้อมูลและภาพเช็คของธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 (9) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 17/2554 เรื่อง กําหนดวันเริ่มให้บริการระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 (10) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2555 เรื่อง ค่าธรรมเนียมและค่าปรับระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 31 มกราคม 2555 (11) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9/2555 เรื่อง เวลาการปฏิบัติงานของระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2555 (12) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 17/2555 เรื่อง วิธีปฏิบัติสําหรับการแลกเปลี่ยนเช็คกลุ่มพิเศษ ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2555 (13) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4/2558 เรื่อง การจัดทําสิ่งพิมพ์ออกจากระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 (14) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สร. 5/2560 เรื่อง มาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 (15) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2562 เรื่อง ค่าธรรมเนียมและค่าปรับระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 18 มกราคม 2562 ข้อ 2 ให้ยกเลิกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการหักบัญชีระหว่างธนาคารในกรุงเทพมหานครด้วยอิเล็กทรอนิกส์และประกาศที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการหักบัญชีระหว่างธนาคารในกรุงเทพมหานครด้วยอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 (2) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการหักบัญชีระหว่างธนาคารในกรุงเทพมหานครด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2543 (3) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการหักบัญชีระหว่างธนาคารในกรุงเทพมหานครด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 31 มกราคม 2545 (4) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการหักบัญชีระหว่างธนาคารในกรุงเทพมหานครด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2546 (5) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการหักบัญชีระหว่างธนาคารในกรุงเทพมหานครด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2549 (6) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2550 ว่าด้วยการหักบัญชีระหว่างธนาคารในกรุงเทพมหานครด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 5) ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2550 (7) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง พิธีปฏิบัติในการหักบัญชีด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 (8) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ค่าธรรมเนียมการใช้บริการหักบัญชีด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 (9) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และค่าธรรมเนียมการขอข้อมูลการหักบัญชีระหว่างธนาคารด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2540 (10) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ค่าธรรมเนียมการใช้บริการหักบัญชีด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2541 (11) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง วิธีการและกําหนดเวลาการปฏิบัติงานหักบัญชีเช็คคืน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2541 (12) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กําหนดเวลาการปฏิบัติงานหักบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2543 (13) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง พิธีปฏิบัติการหักบัญชีด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 มกราคม 2545 (14) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2546 (15) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10/2550 เรื่อง การใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสํานักหักบัญชีและประกาศที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสํานักหักบัญชี พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 10 มกราคม 2546 (2) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสํานักหักบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2548 (3) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสํานักหักบัญชี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2549 (4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กําหนดเวลาปฏิบัติงานการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสํานักหักบัญชี (สําหรับสํานักหักบัญชีที่รับส่งข้อมูลกับธนาคารสมาชิกแบบออนไลน์) ลงวันที่ 10 มกราคม 2546 (5) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง พิธีปฏิบัติในการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสํานักหักบัญชี ลงวันที่ 10 มกราคม 2546 (6) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ค่าธรรมเนียมการใช้บริการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสํานักหักบัญชี ลงวันที่ 10 มกราคม 2546 (7) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ค่าปรับการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสํานักหักบัญชี ลงวันที่ 10 มกราคม 2546 ข้อ 4 ให้ยกเลิกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการชําระดุลการหักบัญชีระหว่างธนาคารของสํานักหักบัญชีนอกเขตกรุงเทพมหานครและประกาศที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2551 ว่าด้วยการชําระดุลการหักบัญชีระหว่างธนาคารของสํานักหักบัญชีนอกเขตกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 12 กันยายน 2551 (2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและกําหนดเวลาในการชําระดุลการหักบัญชีระหว่างธนาคาร ลงวันที่ 12 กันยายน 2551 ข้อ 5 ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2561 เรื่อง การดําเนินการกรณีธนาคารสมาชิกในระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ICAS) เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ลงวันที่ 23 เมษายน 2561 ข้อ 6 ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4/2555 เรื่อง ค่าธรรมเนียมของบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) ลงวันที่ 31 มกราคม 2555 ข้อ 7 ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5/2555 เรื่อง ค่าธรรมเนียมของบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่องปฏิบัติงาน (Electronic Financial Services via Certified Servers) ลงวันที่ 31 มกราคม 2555 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2565 (นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,884
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/ 2565 ว่าด้วยการดำเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/ 2565 ว่าด้วยการดําเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกระเบียบ เนื่องด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยุติการให้บริการระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (Imaged Cheque Clearing and Archive System : ICAS) โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ให้บริการระบบ ICAS แก่ธนาคารสมาชิกแทน ธปท. เพื่อเป็นการแบ่งบทบาทระหว่างผู้ให้บริการ (Operator) และผู้กํากับดูแล (Regulator) ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงินที่ชัดเจน และสามารถนําไปพัฒนาต่อยอดกับบริการชําระเงินอื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างคล่องตัว ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญที่ดําเนินการโดย ปท. ภายหลังจากยุติการให้บริการระบบ ICAS แล้ว จึงเห็นสมควรปรับปรุงระเบียบ ธปท. ที่ สร. 1/2561 ว่าด้วยการดําเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย ลงวันที่ 23 เมษายน 2561 โดยยกเลิกการบังคับใช้กับธนาคารสมาชิกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 3. แก้ไข ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สร. 1/ 2561 ว่าด้วยการดําเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย ลงวันที่ 23 เมษายน 2561 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ให้ยกเลิกความใน 3. ขอบเขตบังคับใช้ แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 1/2561 ว่าด้วยการดําเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย ลงวันที่ 23 เมษายน 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "3. ขอบเขตการบังคับใช้ ผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต" 5.2 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของ 4 เนื้อหา แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 1/2561 ว่าด้วยการดําเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย ลงวันที่ 23 เมษายน 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 1 ในระเบียบนี้ "ระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ" หมายถึง ระบบบาทเนต "ธปท." หมายถึง ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย "สมาชิก" หมายถึง ผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต "รายการ" หมายถึง คําสั่งโอนเงินหรือชําระดุลในระบบบาทเนต" อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2565 (นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,885
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 51/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน สำหรับสาขาของธนาการพาณิชย์ต่างประเทศ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 51/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุน สําหรับสาขาของธนาการพาณิชย์ต่างประเทศ ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบัน สถาบันการเงินจําเป็นต้องมีเงินกองทุนให้เพียงพอเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Loss) สถาบันการเงินที่ดํารงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทําไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่มีความเสี่ยงทั้งหมดของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักการการดํารงเงินกองทุนตาม The 1998 Basel Capital Accord (Basel I) เงินกองทุนจะใช้ในการรองรับความเสี่ยงเฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านตลาด เท่านั้น เพื่อให้สามารถสะท้อนดวามเสี่ยงได้ดีขึ้นตามหลักเกณฑ์ Basel II (2004) จึงได้เพิ่มการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วย ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญขององค์ประกอบของเงินกองทุน หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุน และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยังคงเป็นหลักเกณฑ์ที่อ้างอิงการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel I ในโอกาสนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องมาประมวลไว้ในคราวเดียวกัน โดยแยกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยออกเป็นฉบับหลัก ดังนี้ 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ 1 ฉบับ และว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 1 ฉบับ ทั้งนี้ ได้แยกเป็น 2 ฉบับดังกล่าว เนื่องจากองค์ประกอบของเงินกองทุนและอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศกับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีหลักการที่ต่างกัน โดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศจะต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 ขณะที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องดํารงเงินกองทุนดังกล่าวไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5 2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครติดสําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธนาการพณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะใช้ฉบับเดียวกันเนื่องจากมีหลักการเหมือนกัน โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจะเป็นการคํานวณมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรากฏอยู่ในและนอกงบดุลที่เกิดจากลูกหนี้หรือคู่สัญญาของสถาบันการเงินไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญา 3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับตวามเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ซึ่งครอบคลุมวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดสําหรับสถาบันการเงินทุกประเภทที่ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดจะเป็นการคํานวณมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรากฏอยู่ในและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาตลาดต่างๆ โดยความเสี่ยงด้านตลาดประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาตราสารทุนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในการแยกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเป็นรายฉบับดังกล่าวก็เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่สถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นประโยชน์ในการเตรียมพร้อมสําหรับการดํารงเงินกองทุนตาม Basel II ต่อไป สําหรับสถาบันการเงินใดที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนตามที่กฎหมายฉบับเดิมกําหนดให้สถาบันการเงินนั้นสามารถดํารงเงินกองทุนนั้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 32 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาการแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์องค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสาขาของธนาการพาณิชย์ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ถูกยกเลิก ตามรายการในเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุน ให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดํารงเงินกองทุนเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5 5.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน 5.2.1 ให้เงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ประกอบด้วย สินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องดํารงตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กล่าวคือ เป็นสินทรัพย์ที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องดํารงไว้ในประเทศไทยหรือมีหลักทรัพย์ในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2 5.2.2 รายการหักจากเงินกองทุน (1) ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศใดทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivatives) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives (2) ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศใดทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ 5.3 ประเภทของสินทรัพย์เสี่ยง สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น หมายถึง ยอดรวมของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด (ถ้ามี) แล้วหักด้วยสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตในส่วนที่ซ้ําซ้อนกับสินทรัพย์ที่ได้นําไปคํานวณความเสี่ยงด้านตลาดแล้ว (ถ้ามี) ทั้งนี้ การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดให้เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ซึ่งครอบคลุมการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และ สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ส่วนสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญที่กําหนดในหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินดังกล่าวข้างต้น แต่มีการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการค้าให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดเฉพาะสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการค้า โดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,886
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 51/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 51 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ----------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.84/14/51 | 70,000 | 22 สิงหาคม 2551 | 26/8/51 – 9/9/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,887
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 52/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 52 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ------------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.85/14/51 | 70,000 | 26 สิงหาคม 2551 | 28/8/51 – 11/9/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,888
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 53/2551 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์สำหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 53/2551 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์สําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบัน สถาบันการเงินจําเป็นต้องมีเงินกองทุนให้เพียงพอเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Loss) สถาบันการเงินที่ดํารงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่า สถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทําไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงทั้งหมดของบริษัท ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศฉบับนี้ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้รวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มาประมวลเป็นประกาศฉบับเดียวเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดซึ่งอาจมีบางส่วนที่ยังไม่สอดคล้องกับหลักการ การดํารงเงินกองทุนตาม The 1998 Basel Capital Accord (Basel I) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราส่วนของการดํารงเงินกองทุนของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้สอดกล้องกับ Basel I ซึ่งจะแจ้งให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทราบต่อไป ทั้งนี้ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนตามที่กฎหมายฉบับเดิมกําหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นสามารถดํารงเงินกองทุนนั้นต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกบริษัท อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ถูกยกเลิก ตามรายการในเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุน ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงเงินกองทุนทั้งสิ้นเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 ของสินทรัพย์ที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องนํามาดํารงเงินกองทุนตาม 5.3 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งใช้เฉพาะสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เท่านั้น ส่วนอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม 5.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน ให้เงินกองทุนทั้งสิ้นของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ประกอบด้วยยอดรวมของเงินกองทุนตาม 5.2.1 หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนตาม 5.2.2 ดังนี้ 5.2.1 เงินกองทุน ประกอบด้วย (1) ทุนชําระแล้ว ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ํามูลค่าหุ้นที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้รับ และเงินที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น (2) ทุนสํารองตามกฎหมาย (3) เงินสํารองที่ได้จัดสรรจากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามข้อบังกับของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับการลดค่าของสินทรัพย์ และเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ (4) กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร 5.2.2 รายการหักจากเงินกองทุน (1) มูลค่าของหุ้นที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้ซื้อคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ด้วยวิธีราคาตามมูลค่าตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนของกิจการ (2) ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชี (3) ค่าความนิยม (Goodwill) ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฏในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ งวดระยะเวลาในการนับรายการแต่ละประเภทเข้าเป็นเงินกองทุน หรือหักออกจากเงินกองทุน ปรากฏตามเอกสารแนบ 2 5.3 สินทรัพย์ที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องนํามาดํารงเงินกองทุน สินทรัพย์ที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องนํามาดํารงเงินกองทุน หมายถึง ยอดรวมของสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นบวกกลับด้วยรายการหักทุกรายการในรายงานฐานะการเงิน และหักด้วยรายการหักออกจากสินทรัพย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3.1 สินทรัพย์รามทั้งสิ้น หมายถึง ยอดสินทรัพย์รวมที่ปรากฏในรายงานฐานะการเงิน 5.3.2 รายการหักทุกรายการในรายงานฐานะการเงิน ได้แก่ ส่วนต่ําจากการปรับมูลค่าของหลักทรัพย์ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อการลคราคาของทรัพย์สินรอการขาย ค่าเผื่อจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ทั้งนี้ รายการหักดังกล่าวไม่นับรวมค่าเสื่อมราคาสะสม 5.3.3 รายการหักออกจากสินทรัพย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ประกอบด้วย (1) สินทรัพย์สภาพคล่องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง (2) สินทรัพย์ตามรายการในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารสินทรัพย์สภาพคล่อง ส่วนที่ไม่เป็นสภาพคล่อง (3) เงินสด (4) หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (5) บัตรเงินฝากที่ออกโดยบริษัทเงินทุน (6) อสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจ หรือสําหรับเป็นที่พัก หรือเพื่อสวัสดิสงเคราะห์ของพนักงานและลูกจ้าง เมื่อได้หักค่าเสื่อมราคาสะสมแล้ว (7) เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งสํานักงาน หรือสําหรับบ้านพัก หรือสถานที่เพื่อสวัสดิสงเคราะห์ของพนักงานและลูกจ้าง เมื่อได้หักค่าเสื่อมราคาสะสมแล้ว อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,889
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 53/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 53 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาการแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.86/14/51 | 70,000 | 28 สิงหาคม 2551 | 1/9/51 – 15/9/51 | 14 | | พ.87/14/51 | 70,000 | 29 สิงหาคม 2551 | 2/9/51 – 16/9/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,890
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 54/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 54/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ สถาบันการเงินจําเป็นต้องมีเงินกองทุนให้เพียงพอเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่ได้คาดไว้ถ่วงหน้า (Unexpected Loss) สถาบันการเงินที่ดํารงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทําไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงกําหนดให้สถาบันการเงินดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่มีความเสี่ยงทั้งหมดของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักการการดํารงเงินกองทุนตาม The 1998 Basel Capital Accord (Basel I) นั้น เงินกองทุนจะใช้ในการรองรับความเสี่ยงเฉพาะด้านเครดิตและด้านตลาดเท่านั้น และเพื่อให้สามารถสะท้อนความเสี่ยงได้ดีขึ้นตามหลักเกณฑ์ Basel II (2004) จึงได้เพิ่มการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วย ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญขององค์ประกอบของเงินกองทุน หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุน และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยังคงเป็นหลักเกณฑ์ที่อ้างอิงการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel I ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องมาประมวลไว้ในคราวเดียวกัน โดยแยกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยออกเป็นฉบับหลัก ดังนี้ 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ 1 ฉบับ และว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 1 ฉบับ ทั้งนี้ ได้แยกเป็น 2 ฉบับดังกล่าวเนื่องจากองค์ประกอบของเงินกองทุนและอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศกับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีหลักการที่ต่างกัน โดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศจะต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 ขณะที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องดํารงเงินกองทุนดังกล่าวไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5 2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะใช้ฉบับเดียวกันเนื่องจากมีหลักการเหมือนกัน โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจะเป็นการคํานวณมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรากฏอยู่ในและนอกงบดุลที่เกิดจากลูกหนี้หรือคู่สัญญาของสถาบันการเงินไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญา 3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ซึ่งครอบคลุมวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดสําหรับสถาบันการเงินทุกประเภทที่ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดจะเป็นการคํานวณมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรากฏอยู่ในและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาตลาดต่าง ๆ โดยความเสี่ยงด้านตลาดประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนราคาตราสารทุนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในการแยกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเป็นรายฉบับดังกล่าวก็เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่สถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นประโยชน์ในการเตรียมพร้อมสําหรับการดํารงเงินกองทุนตาม Basel II ต่อไป สําหรับสถาบันการเงินใดที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนตามที่กฎหมายฉบับเดิมกําหนด ให้สถาบันการเงินนั้นสามารถดํารงเงินกองทุนนั้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับรายการสินทรัพย์และภาระผูกพันรวมอนุพันธ์ทางการเงินให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศถือปฏิบัติ เพื่อนําไปใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ถูกยกเลิก ตามรายการในเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีดังต่อไปนี้เพื่อนําไปใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (1) นํารายการในงบการเงินทางด้านสินทรัพย์ และภาระผูกพันทุกรายการโดยใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่รายงานมาคํานวณกับน้ําหนักความเสี่ยง ทั้งนี้ สินทรัพย์และภาระผูกพันที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แปลงค่าเป็นเงินบาทก่อน ณ วันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงานโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน (2) คูณสินทรัพย์แต่ละรายการด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่กําหนดไว้ใน 5.2 (3) คูณภาระผูกพันแต่ละรายการที่มิใช่กรณีตาม (4) (5) และ (6) ด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กําหนดไว้ใน 5.3 แล้วนําค่าที่ได้คูณกับน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กําหนดไว้ใน 5.2 อีกครั้งหนึ่ง (4) สําหรับภาระผูกพันที่เป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินตามเอกสารแนบ 2 ให้คํานวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์ (Credit Equivalent Amount: CEA) โดยวิธี Current Exposure หรือ วิธี Original Exposure ก่อน แล้วนําค่าที่ได้คุณกับน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กําหนดไว้ใน5.2 โดยรายละเอียดการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์ของภาระผูกพันที่เป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินให้ถือปฏิบัติตามเอกสารแนบ 3 และ 4 ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดใช้วิธี Current Exposure ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์สําหรับภาระผูกพันที่เป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินกับคู่สัญญาทุกราย หรือ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดสามารถลือกใช้วิธี Current Exposure หรือ วิธี Original Exposure ที่คํานวณตามอายุสัญญาได้แต่หากมีการทําสัญญาอนุพันธ์ที่นอกเหนือจากอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ยกับคู่สัญญารายใด ให้ถือปฏิบัติตามวิธี Current Exposure กับทุกสัญญาที่ทํากับคู่สัญญารายนั้นทันที (5) สําหรับรายการสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivatives) ให้คูณสินทรัพย์หรือภาระผูกพันแต่ละรายการดังกล่าวด้วยน้ําหนักความเสี่ยง หรือค่าแปลงสภาพและน้ําหนักความเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives และน้ําหนักความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องตามประกาศฉบับนี้ (6) สําหรับรายการสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ให้คูณสินทรัพย์หรือภาระผูกพันแต่ละรายการดังกล่าวด้วยน้ําหนักความเสี่ยง หรือค่าแปลงสภาพและน้ําหนักความเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และน้ําหนักความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องตามประกาศฉบับนี้ (7) รวมผลคูณของสินทรัพย์ตาม (2) และภาระผูกพันตาม (3) (4) (5) และ (6) ทุกรายการ เพื่อเป็นมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต 5.2 น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภท เงินฝาก หรือเงินให้สินเชื่อที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ ให้หมายความรวมถึง ลูกหนี้ตามธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เช่น ลูกหนี้เช่าซื้อ ลูกหนี้ให้เช่าแบบลิสซิ่ง เป็นต้น หรือลูกหนี้อื่น (สิทธิเรียกร้องในทางกฎหมาย) ที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อขายสินทรัพย์ หรือธุรกรรมการซื้อหรือขายตราสารโดยมีสัญญาว่าจะขายหรือจะซื้อคืน และธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) เช่น ลูกหนี้ตามสัญญาซื้อคืน ลูกหนี้ตามสัญญาให้ยืมหลักทรัพย์ ลูกหนี้มาร์จิ้นที่โอน และลูกหนี้วางเงินสดเป็นประกัน เป็นต้น 5.2.1 น้ําหนักความเสี่ยง 0 (1) เงินสดที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ (2) เงินฝากหรือเงินให้สินเชื่อแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (3) เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือหลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ข้างต้นเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (4) เงินให้สินเชื่อที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือเงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชําระหนี้ให้ รวมดอกเบี้ยค้างรับ (5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ําประกันโดยปราศจากเงื่อนไข หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (6) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ําประกันโดยปราศจากเงื่อนไข หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับทั้งนี้ ต้องเป็นสกุลเงินของประเทศนั้น และไม่เกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น (7) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือนิติบุคคลที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือสถาบันคุ้มครองเงินฝากถือหุ้นเต็มจํานวน รวมถึงเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าว รับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (8) เงินให้สินเชื่อที่มีสิทธิซึ่งมีตราสารการฝากเงินหรือตั๋วเงินเพื่อกู้ยืมจากประชาชนซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์นั้น หรือมีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์นั้น หรือมีเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์นั้นยึดถือไว้ เป็นประกัน โดยไม่รวมถึงเงินฝากหรือตั๋วเงินที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าตามตราสาร หรือจํานวนเงินตามเงินฝากหรือเงินสดนั้น (9) มูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์สําหรับสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน (Credit Equivalent Amount : CEA) ที่มีเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์นั้นยึดถือไว้เป็นประกัน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าจํานวนเงินสดนั้น (10) ยอดเหลื่อมบัญชีระหว่างสํานักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น (11) สินทรัพย์ประเภทภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (12) เงินให้สินเชื่อเฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจํานวนที่ได้กันสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันสํารองของสถาบันการเงิน (13) เงินให้สินเชื่อเฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจํานวนดอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชีสําหรับลูกหนี้ให้เช่าซื้อและรายได้ทางการเงินรอการรับรู้สําหรับลูกหนี้ให้เช่าแบบลิสซิ่ง (14) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (15) เงินสดระหว่างเรียกเก็บเพื่อประโยชน์ของลูกค้า (16) สินทรัพย์ที่เกิดจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน (Mark to Market) (17) มูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์ (Credit Equivalent Amount : CEA) สําหรับสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่ทําผ่านศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีระบบ Mark to Market และมีการเรียกและชําระมาร์จิ้น (Margin Call) เป็นรายวัน เช่น บริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) เป็นต้น (18) รายการที่นําไปหักออกจากเงินกองทุนแล้ว เช่น ค่าความนิยม เป็นต้น 5.2.2 น้ําหนักความเสี่ยง 0.2 (1) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รับรอง รับอาวัล ค้ําประกันหรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาการออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อซึ่งมีตราสารที่ออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (4) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยสถาบันที่กล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว รับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตรวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว เป็นประกัน รามทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าว รับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การระหว่างประเทศ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีองค์การดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยองค์การดังกล่าว เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือไม่เกิน 1 ปี (9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเอกสารประเภทอื่น ที่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับผิดชอบในการชําระค่าสินค้าแทนผู้ซื้อ แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับผิดชอบในการชําระค่าสินค้าเป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องชําระค่าสินค้าไม่เกิน 1 ปี (10) เงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชําระหนี้แต่สํานักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชําระหนี้ให้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่ถึงกําหนดชําระเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป (11) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกที่มีธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยรับประกัน ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ให้ธนาคารพาณิชย์แล้ว (12) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ หรือหน่วยลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะจํานวนเงินที่กระทรวงการคลังทําสัญญาให้ความคุ้มครองหรือตกลงเป็นผู้รับความเสี่ยง 5.2.3 น้ําหนักความเสี่ยง 0.35 เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยธนาคารพาณิชย์รับจํานองที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลําดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีมูลค่าไม่ต่ํากว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ วงเงินให้สินเชื่อแต่ละราย จักต้อง (ก) ไม่เกิน 3 ล้านบาท และ (ข) มีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาตาม (ก) รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตาม 5.2.5 5.2.4 น้ําหนักความเสี่ยง 0.5 (1) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประกัน (2) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยธนาคารพาณิชย์รับจํานองที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลําดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีมูลค่าไม่ต่ํากว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ที่นอกเหนือจาก 5.2.3 (3) มูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์ (Credit Equivalent Amount : CEA) สําหรับภาระผูกพันที่เป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน เว้นแต่กรณีที่มูลค่าเทียบเท่าของภาระผูกพันดังกล่าวถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีน้ําหนักความเสี่ยงต่ํากว่า 0.5 5.2.5 น้ําหนักความเสี่ยง 0.75 (1) เงินให้สินเชื่อมีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อยรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ที่มีวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท (2) เงินให้สินเชื่อไม่มีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อยรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ที่มีวงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท (3) เงินให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท ทั้งนี้ วงเงินให้สินเชื่อแต่ละราย จักต้อง (ก) นับรวมวงเงินสินเชื่อแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สําหรับช่วงเปลี่ยนต่อของกฎหมายให้ธนาคารพาณิชย์ใช้คําจํากัดความซึ่งมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 5 (ข) เมื่อนับรวม (ก) แล้ว ต้องมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาตาม 5.3 รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตาม (1) (2) และ (3) 5.2.6 น้ําหนักความเสี่ยง 1.0 (1) เงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชน หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของภาคเอกชน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือเกิน 1 ปี (3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล หรือธนาคารกลาง นอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ําประกันโดยปราศจากเงื่อนไข หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับซึ่งมิใช่เงินสกุลของประเทศนั้น หรือมีจํานวนเกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น (4) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ซึ่งมีน้ําหนักความเสี่ยง 0.35 ตาม 5.2.3 ที่กลายเป็นเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (5) เงินลงทุนในหน่วยลงทุน ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์สามารถคํานวณมูลค่าสุทธิของหน่วยลงทุนใดตามมูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ที่กองทุนผู้ออกหน่วยลงทุนนั้นถืออยู่ในแต่ละวันได้ ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วน ประเภทและจํานวนที่กองทุนนั้นลงทุนจริงตามแต่กรณีตามประกาศนี้ แทนน้ําหนักความเสี่ยงใน 5.2.6 ได้ (6) ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ประจําอื่น ๆ และทรัพย์สินรอการขาย (7) สินทรัพย์อื่น ๆ ที่มิได้ระบุน้ําหนักความเสี่ยงไว้ใน 5.2 นี้ 5.2.7 น้ําหนักความเสี่ยง 1.5 เงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ซึ่งมีน้ําหนักความเสี่ยง 0.75 ตาม 5.2.5 ที่กลายเป็นเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) สําหรับภาระผูกพันตาม 5.1 (3) 5.3.1 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 1.0 (1) การรับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ค้ําประกันการกู้ยืมเงิน ค้ําประกัน การขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน (2) การสลักหลังตั๋วเงินแบบผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย (With Recourse) (3) สัญญาการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามโดยปราศจากเงื่อนไข (4) การค้ําประกัน การรับประกัน หรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใด ๆของธนาคารพาณิชย์ อันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์ (5) ภาระผูกพันตามสัญญาขายตราสารโดยมีสัญญาจะซื้อคืน ตามวิธีการคํานวณที่ปรากฏในเอกสารแนบ 6 (6) ภาระผูกพันตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) ตามวิธีการคํานวณที่ปรากฏในเอกสารแนบ 6 (7) การค้ําประกันการเพิ่มทุน หรือการค้ําประกันในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการกู้ยืมเงินของบุคคลหนึ่งบุคคลใด 5.3.2 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.5 (1) ภาระผูกพันซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดําเนินงานของลูกค้า เช่น การค้ําประกันการรับเหมาก่อสร้าง การค้ําประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) การค้ําประกัน การปฏิบัติงานตามสัญญาซื้อขาย/ว่าจ้าง (Performance Bond) เป็นต้น (2) การประกันการจําหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์แบบ Firm Underwriting (3) การค้ําประกันการชําระเงินค่าสินค้า (4) การค้ําประกันการชําระเงินค่าภาษี เช่น ค่าภาษีของชาวต่างประเทศที่ทํางานในประเทศไทย และจะเดินทางออกนอกประเทศ ภาษีกรมสรรพสามิต การชําระภาษีสินค้าขาเข้า หรือการขอคืนภาษี เป็นต้น (5) การค้ําประกันต่อศาล เช่น การค้ําประกันเพื่อการดําเนินคดี หรือเพื่อรอคําตัดสินของศาล (6) การค้ําประกันการชําระเงินค่าน้ําหรือมิเตอร์น้ํา ค่าไฟฟ้าหรือมิเตอร์ไฟฟ้า (7) การค้ําประกันเพื่อการเบิกเงินล่วงหน้า (Advance Payment Guarantee) (8) การค้ําประกันการปฏิบัติตามสัญญาอื่น เช่น การค้ําประกันบุคคลต่างด้าวเข้าเมือง การค้ําประกันการใช้จ่ายผ่านบัตร Synergy card หรือ Star card ในการเติมน้ํามัน เป็นต้น (9) การค้ําประกันผลงานค้ําประกันคุณภาพสินค้า (Retention/Warranty Bond) 5.3.3 ค่าแปลงสภาพ Credit Conversion Factor) 0.2 ภาระผูกพันเพื่อการนําสินค้าเข้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตทั้งที่มีเอกสารประกอบแล้ว และยังไม่มีเอกสารประกอบ รวมถึงภาระการรับรองตามตั๋วเงินค่าสินค้านําเข้าที่ยังไม่ครบกําหนด (Acceptance on Trade Bills) 5.3.4 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0 (1) ตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ (2) วงเงินที่ลูกค้ายังมิได้ใช้ (3) ค้ําประกันการออกของ (Shipping Guarantee) (4) ภาระผูกพันที่ธนาคารพาณิชย์สามารถบอกยกเลิกเมื่อใดก็ได้ (5) ภาระผูกพันอื่น ๆ ที่มิได้ระบุค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ไว้ใน 5.3 นี้ อื่นๆ - 6. การผ่อนผัน 6.1 เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาตาม 5.3. ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยง 0.5 ตาม 5.2.4 ในการคํานวณเพื่อดํารงเงินกองทุนได้แต่หากธนาคารพาณิชย์ใช้น้ําหนักความเสี่ยงตาม 5.2.3 แล้ว จะเปลี่ยนกลับไปใช้น้ําหนักความเสี่ยง 0.5 ตาม 5.2.4 อีกไม่ได้ อนึ่ง สําหรับธนาคารพาณิชย์ซึ่งในปัจจุบันใช้น้ําหนักความเสี่ยง 0.5 ตาม 5.2.4 เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมด้านระบบงานและการกระจายตัวชองพอร์ตสินเชื่อนั้น เมื่อมีความพร้อม ธนาคารพาณิชย์สามารถเปลี่ยนมาใช้น้ําหนักความเสี่ยงตาม 5.2 3 ได้ 6.2 เงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตาม 5.2.5 ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยง 1.0 ตาม 5.2.6 ในการคํานวณเพื่อดํารงเงินกองทุนได้ แต่หากธนาคารพาณิชย์ใช้น้ําหนักความเสี่ยงตาม 5.2.5 แล้ว จะเปลี่ยนกลับไปใช้น้ําหนักความเสี่ยง 1.0 ตาม 5.2.6 อีกไม่ได้ อนึ่ง สําหรับธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันใช้น้ําหนักความเสี่ยง 1.0 ตาม 5.2.6 เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมด้านระบบงานและการกระจายตัวของพอร์ตสินเชื่อนั้น เมื่อมีความพร้อม ธนาคารพาณิชย์สามารถเปลี่ยนมาใช้น้ําหนักความเสี่ยงตาม 5.2.5 ได้ อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,891
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 54/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 54 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ดังนี้ | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน- วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 7/364/51 | - | 25,000 | 9 ก.ย. 51 | 11/9/51 – 6/8/52 | 364 วัน | 329 วัน | | 2/FRB 3 ปี/2551 | 6M BIBOR-0.20(= 3.63797% สําหรับงวดเริ่มต้น 2 ก.ค. 51) | 10,000 | 12 ก.ย. 51 | 16/9/51 – 2/7/54 | 3 ปี (FRB) | 2.79 ปี | | 3/3 ปี/2551 | 4.75 | 10,000 | 16 ก.ย. 51 | 18/9/51 – 31/7/54 | 3 ปี | 2.87 ปี | | 5/63/51 | - | 30,000 | 23 ก.ย. 51 | 25/9/51 – 27/11/51 | 63 วัน | 63 วัน | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 ธปท. จะประกาศกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 10 กันยายน 2551 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,892
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 55/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับบริษัทเงินทุน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 55/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับบริษัทเงินทุน -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ สถาบันการเงินจําเป็นต้องมีเงินกองทุนให้เพียงพอเพื่อรองรับความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Loss) สถาบันการเงินที่ดํารงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงิน จะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตาม ข้อตกลงที่ทําไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ธนาคาร แห่งประเทศไทย จึงกําหนดให้บริษัทเงินทุนดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระ ผูกพันที่มีความเสี่ยงทั้งหมดของบริษัทเงินทุน โดยยึดหลักการการดํารงเงินกองทุนตาม The 1998 Basel Capital Accord (Basel I) ซึ่งเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel I จะใช้ในการรองรับความเสี่ยง เฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านตลาด เท่านั้น ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุน ของบริษัทเงินทุนตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของ องค์ประกอบของเงินกองทุน หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุน และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงไม่มี การเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและ หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องมาประมวลไว้ในคราวเดียวกัน โดยแยกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ออกเป็นฉบับหลัก ดังนี้ 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและ หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัทเงินทุน 2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง ด้านเครดิตสําหรับบริษัทเงินทุนโดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจะเป็นการคํานวณมูลค่า สินทรัพย์เสี่ยงที่ปรากฏอยู่ในและนอกงบดุลที่เกิดจากลูกหนี้หรือคู่สัญญาของบริษัทเงินทุน ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญา 3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้าน ตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ซึ่งครอบคลุม วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดสําหรับสถาบันการเงินทุกประเภทที่ต้องดํารงเงินกองทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดจะเป็นการคํานวณมูลค่า สินทรัพย์เสี่ยงที่ปรากฏอยู่ในและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาตลาดต่าง ๆ โดยความเสี่ยงด้านตลาดประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาตราสารทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในการแยกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเป็นรายฉบับดังกล่าวก็เพื่อ อํานวยความสะดวกให้แก่บริษัทเงินทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง สําหรับบริษัทเงินทุนใดที่ได้รับอนุญาต จากธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนตามที่กฎหมายฉบับเดิม กําหนด ให้บริษัทเงินทุนนั้นสามารถดํารงเงินกองทุนนั้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์ เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับรายการสินทรัพย์และภาระผูกพันรวมอนุพันธ์ทางการเงิน ให้บริษัทเงินทุน ถือปฏิบัติเพื่อนําไปใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนตามที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกําหนด อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามรายการในเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้บริษัทเงินทุนคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีดังต่อไปนี้เพื่อนําไปใช้ ในการคํานวณอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนตามที่กําหนดในประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับ บริษัทเงินทุน (1) นํารายการในงบการเงินทางด้านสินทรัพย์ และภาระผูกพันทุกรายการ โดยใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่รายงานมาคํานวณกับน้ําหนักความเสี่ยง ทั้งนี้ สินทรัพย์และภาระ ผูกพันที่เป็นเงินตรา ต่างประเทศให้แปลงค่าเป็นเงินบาทก่อน ณ วันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับ การบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน (2) คูณสินทรัพย์แต่ละรายการด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่กําหนดไว้ใน 5.2 (3) คูณภาระผูกพันแต่ละรายการที่มิใช่กรณีตาม (4) และ (5) ด้วยค่าแปลงสภาพ(Credit Conversion Factor) ตามที่กําหนดไว้ใน 5.3 แล้วนําค่าที่ได้คูณกับน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กําหนดไว้ใน 5.2 อีกครั้งหนึ่ง (4) สําหรับภาระผูกพันที่เป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินตามเอกสารแนบ 2 ให้คํานวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์ (Credit Equivalent Amount: CEA) โดยวิธี Current Exposure หรือ วิธี Original Exposure ก่อน แล้วนําค่าที่ได้คูณกับน้ําหนักความเสี่ยง ของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กําหนดไว้ใน 5.2 โดยรายละเอียดการคํานวณมูลค่าเทียบเท่า ที่จะนับเป็นสินทรัพย์ของภาระผูกพันที่เป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินให้ถือปฏิบัติตามเอกสาร แนบ 3 และ 4 ทั้งนี้ ให้บริษัทเงินทุนที่ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้าน ตลาด ใช้วิธี Current Exposure ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์สําหรับภาระ ผูกพันที่เป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินกับคู่สัญญาทุกราย หรือ ให้บริษัทเงินทุนที่ไม่ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด สามารถเลือกใช้วิธี Current Exposure หรือ วิธี Original Exposure ที่คํานวณตามอายุสัญญาได้ แต่หากมีการทําสัญญาอนุพันธ์ที่นอกเหนือจากอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอนุพันธ์ด้านอัตรา ดอกเบี้ยกับคู่สัญญารายใด ให้ถือปฏิบัติตามวิธี Current Exposure กับทุกสัญญาที่ทํากับคู่สัญญา รายนั้นทันที (5) สําหรับรายการสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivatives ให้คูณสินทรัพย์หรือภาระผูกพันแต่ละรายการดังกล่าวด้วยน้ําหนักความ เสี่ยง หรือค่าแปลงสภาพและน้ําหนักความเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทําธุรกรรม Credit Default Swaps และ Credit Linked Notes และน้ําหนักความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องตามประกาศฉบับนี้ (6) สําหรับรายการสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการแปลง สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ให้คูณสินทรัพย์หรือภาระผูกพันแต่ละรายการดังกล่าว ด้วยน้ําหนักความเสี่ยง หรือค่าแปลงสภาพและน้ําหนักความเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลง สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และน้ําหนักความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องตามประกาศฉบับนี้ (7) รวมผลคูณของสินทรัพย์ตาม (2) และภาระผูกพันตาม (3) (4) (5) และ(6) ทุกรายการเพื่อเป็นมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต 5.2 น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภท เงินฝาก เงินให้สินเชื่อที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ ให้หมายความรวมถึง ลูกหนี้ตาม ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เช่น ลูกหนี้เช่าซื้อ ลูกหนี้ให้เช่าแบบลิสซิ่ง เป็นต้น หรือ ลูกหนี้อื่น (สิทธิเรียกร้องในทางกฎหมาย) ที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อขายสินทรัพย์ หรือธุรกรรม การซื้อหรือขายตราสารโดยมีสัญญาว่าจะขายหรือจะซื้อคืน และธุรกรรมการยืมและให้ยืม หลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) เช่น ลูกหนี้ตามสัญญาซื้อคืน ลูกหนี้ตามสัญญา ให้ยืมหลักทรัพย์ ถูกหนี้มาร์จิ้นที่โอน และลูกหนี้วางเงินสดเป็นประกัน เป็นต้น 5.2.1 น้ําหนักความเสี่ยง 0 (1) เงินสดที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ (2) เงินฝากหรือเงินให้สินเชื่อแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมดอกเบี้ย ค้างรับ (3) เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือ หลักทรัพย์หรือตราสาร แสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือ หลักทรัพย์หรือตราสาร แสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือลูกหนี้ที่มีหลักทรัพย์ หรือตราสารข้างต้นจํานําเป็นประกัน รวมดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (4) เงินให้สินเชื่อที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเฉพาะ ส่วนที่คุ้มหนี้ หรือเงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชําระหนี้ให้ รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือ เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือ ธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มประเทศ OECD1 หรือ เงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ําประกันโดยปราศจากเงื่อนไข หรือตกลงรับประกันความเสี่ยง ด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวจํานําเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ย ค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (6) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือ ธนาคารกลางของประเทศนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ําประกัน โดยปราศจากเงื่อนไขและเฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ หรือ ตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวเป็น ประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องเป็นสกุลเงินของประเทศนั้น และไม่เกินกว่าหนี้สินที่ บริษัทเงินทุนมีอยู่ในเงินสกุลนั้น (7) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารแสดง สิทธิในหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือสถาบันคุ้มครอง เงินฝาก หรือโดยนิติบุคคลที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือสถาบัน คุ้มครองเงินฝากถือหุ้นเต็มจํานวน หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์หรือลูกหนี้ที่มี นิติบุคคลดังกล่าว รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวจํานํา เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (8) เงินให้สินเชื่อที่มีสิทธิซึ่งมีตราสารการฝากเงินหรือตั๋วเงินเพื่อกู้ยืม จากประชาชนซึ่งออกโดยบริษัทเงินทุนนั้น หรือมีเงินฝากที่บริษัทเงินทุนนั้น หรือมีเงินสดที่บริษัท เงินทุนนั้นยึดถือไว้ เป็นประกัน โดยไม่รวมถึงเงินฝากหรือตั๋วเงินที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าตามตราสาร หรือจํานวนเงินตามเงินฝากหรือเงินสด นั้น (9) มูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์สําหรับสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน (Credit Equivalent Amount : CEA) ที่มีเงินสดที่บริษัทเงินทุนนั้นยึดถือไว้เป็นประกัน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าจํานวนเงินสดนั้น (10) ยอดเหลื่อมบัญชีระหว่างสํานักงานของบริษัทเงินทุนนั้น (11) สินทรัพย์ประเภทภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (12) สินทรัพย์เฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจํานวนที่ได้กันสํารองสําหรับ สินทรัพย์จัดชั้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการ กันสํารองของสถาบันการเงิน (13) เงินให้สินเชื่อเฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจํานวนดอกผลเช่าซื้อรอการ ตัดบัญชีสําหรับลูกหนี้ให้เช่าซื้อและรายได้ทางการเงินรอการรับรู้สําหรับลูกหนี้ให้เช่าแบบลิสซิ่ง (14) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (15) สิทธิเรียกร้องตามเอกสารการให้สินเชื่อหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท เงินทุนอื่นหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออก ซึ่งรับโอนจากประชาชน ทั้งนี้เฉพาะตามโครงการ และจํานวนเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ (16) สินทรัพย์ที่เกิดจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของสัญญาอนุพันธ์ทาง การเงิน (Mark to Market) (17) มูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์ (Credit Equivalent Amount : CEA) สําหรับสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่ทําผ่านศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายถ่วงหน้าที่มีระบบ Mark to Market และมีการเรียกและชําระมาร์จิ้น (Margin Cal) เป็นรายวัน เช่น บริษัทตลาด อนุพันธ์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) เป็นต้น (18) รายการที่นําไปหักออกจากเงินกองทุนแล้ว เช่น ค่าความนิยม 5.2.2 น้ําหนักความเสี่ยง 0.2 (1) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ที่มีธนาคารพาณิชย์รับรอง รับอาวัล ประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์จํานําเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ที่ออกโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงิน ลงทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีธนาคารดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือ ตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดย ธนาคารดังกล่าวจํานําเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ ที่ออกโดยบริษัทเงินทุนอื่น หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุน ในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ประกัน หรือตกลง รับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดย สถาบันดังกล่าวจํานําเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (4) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้นกู้หรือพันธบัตรหรือตราสารแสดง สิทธิในหนี้ ที่ออกโดยองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่สถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกัน ความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยสถาบันดังกล่าว จํานําเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือ เงินลงทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว รับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจํานําเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้เฉพาะส่วน ที่คุ้มหนี้ (6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้นกู้หรือพันธบัตรหรือตราสารแสดง สิทธิในหนี้ ที่ออกโดยองค์การของรัฐในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนใน หุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลง รับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยสถาบันดังกล่าวจํานําเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ ออกโดยองค์กรระหว่างประเทศ2 หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ รวมดอกเบี้ยค้างรับที่มีองค์การดังกล่าว รับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยองค์การดังกล่าวจํานําเป็นประกัน รวมดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (8) เงินฝากเงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงิน ทุนในหุ้นกู้หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือที่มีหลักทรัพย์ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจํานําเป็นประกัน รวมดอกเบี้ยค้างรับ เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือไม่เกิน 1 ปี (9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือเงินให้ สินเชื่อเพื่อการส่งออก ตามเอกสารประเภทอื่น ที่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับผิดชอบในการ ชําระค่าสินค้าแทนผู้ซื้อ แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับผิดชอบใน การชําระค่าสินค้า เป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครคิต หรือระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องชําระค่าสินค้าไม่เกิน 1 ปี (10) เงินให้สินเชื่อรวมดอกเบี้ยค้างรับที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชําระหนี้ แต่สํานักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชําระหนี้ให้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่ถึงกําหนดชําระเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป (11) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกที่มีธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยรับประกัน ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ให้ บริษัทเงินทุนแล้ว (12) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ หรือหน่วยลงทุน รวมทั้งผลตอบแทน ค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะจํานวนเงินที่กระทรวงการคลังทําสัญญาให้ความคุ้มครองหรือตกลงเป็นผู้รับความเสี่ยง 5.2.3 น้ําหนักความเสี่ยง 0.5 (1) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออก โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีองค์กรดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันหรือที่มีตราสารดังกล่าวจํานําเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่คุ้มหนี้ (2) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยบริษัทเงินทุนรับจํานองที่ดิน และ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลําดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีมูลค่าไม่ต่ํากว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (3) มูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นสินทรัพย์ (Credit Equivalent Amount : CEA) สําหรับภาระผูกพันที่เป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน เว้นแต่กรณีที่มูลค่าเทียบเท่าของภาระผูกพันดังกล่าวถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีน้ําหนักความเสี่ยงต่ํากว่า 0.5 5.2.4 น้ําหนักความเสี่ยง 1.0 (1) เงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชน หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของ ภาคเอกชน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ (2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารแสดง สิทธิในหนี้ที่ ออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ําประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือมีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจํานําเป็นประกัน รวมดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือเกิน 1 ปี (3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือ ธนาคารกลางนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือ ธนาคารกลางดังกล่าวค้ําประกันโดยปราศจากเงื่อนไข หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมดอกเบี้ยค้างรับ ซึ่งมิใช่เงินสกุลของประเทศนั้น หรือมีจํานวนเกินกว่าหนี้สินที่บริษัทเงินทุนมี อยู่ในเงินสกุลนั้น (4) เงินลงทุนในหน่วยลงทุน ในกรณีที่บริษัทเงินทุนสามารถคํานวณมูลค่าสุทธิของหน่วยลงทุนใดตามมูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ที่กองทุนผู้ออกหน่วยลงทุนนั้นถืออยู่ในแต่ละวันได้ ให้บริษัทเงินทุน สามารถเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วน ประเภทและจํานวนที่กองทุน นั้นลงทุนจริงตามแต่กรณีตามประกาศนี้ แทนน้ําหนักความเสี่ยงใน 5.24 ได้ (5) ลูกหนี้เช่าซื้อที่ได้หักรายได้รอตัดบัญชีแล้ว (6) ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ประจําอื่น ๆ และทรัพย์สินรอการขาย (7) สินทรัพย์และภาระผูกพันอื่น ๆ ที่มิได้ระบุอัตราความเสี่ยงไว้ใน 5.2 นี้ การตีราคาหลักประกันในข้อนี้ ถ้ามิได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ถือปฏิบัติดังนี้ (1) กรณีหุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ประเภทระบุอัตราดอกเบี้ยจะต้องไม่เกินจํานวนเงินที่ตราไว้ (2) กรณีหุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ประเภทไม่ระบุ อัตราดอกเบี้ยจะต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของจํานวนเงินที่ตราไว้ (3) กรณีหุ้นหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (4) กรณีหุ้นที่ชําระเต็มมูลค่าแล้วและไม่ได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องไม่เกินจํานวนเงินที่ตราไว้ 5.3 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) สําหรับภาระผูกพันตาม 5.1 (3) 5.3.1 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 1.0 (1) การรับอาวัล รับรอง และสอดเข้าแก้หน้าตั๋วเงิน ค้ําประกันการกู้ยืมเงิน และการค้ําประกันการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน (2) การสลักหลังตั๋วเงินแบบผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย (With Recourse) (3) สัญญาการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตาม โดยปราศจากเงื่อนไข (4) การค้ําประกัน การรับประกัน หรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใด ๆของบริษัทเงินทุน อันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์ (5) ภาระผูกพันตามสัญญาขายตราสาร โดยมีสัญญาจะซื้อคืนตามวิธีการคํานวณที่กําหนดในเอกสารแนบ 5 (6) ภาระผูกพันตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) ตามวิธีการคํานวณที่กําหนดในเอกสารแนบ 5 (7) การค้ําประกันการเพิ่มทุน หรือการค้ําประกันในลักษณะอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการกู้ยืมเงินของบุคคลหนึ่งบุคคลใด 5.3.2 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.5 (1) ภาระผูกพันซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดําเนินงานของลูกค้า เช่น การค้ําประกันการรับเหมาก่อสร้าง การค้ําประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) การค้ําประกัน การปฏิบัติงานตามสัญญาซื้อขาย/ว่าจ้าง (Performance Bond) เป็นต้น (2) การประกันการจําหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์แบบ FirmUnderwriting (3) การค้ําประกันการชําระเงินค่าสินค้า (4) การค้ําประกันการชําระเงินค่าภาษี เช่น ค่าภาษีของชาวต่างประเทศที่ทํางานในประเทศไทย และจะเดินทางออกนอกประเทศ ภาษีกรมสรรพสามิต การชําระภาษีสินค้าขาเข้า หรือการขอคืนภาษี เป็นต้น (5) การค้ําประกันต่อศาล เช่น การค้ําประกันเพื่อการดําเนินคดี หรือเพื่อรอคําตัดสินของศาล (6) การค้ําประกันการชําระเงินค่าน้ําหรือมิเตอร์น้ํา ค่าไฟฟ้าหรือมิเตอร์ไฟฟ้า (7) การค้ําประกันเพื่อการเบิกเงินถ่วงหน้า (Advance Payment Guarantee) (8) การค้ําประกันการปฏิบัติตามสัญญาอื่น เช่น การค้ําประกันบุคคลต่างด้าวเข้าเมือง การค้ําประกันการใช้จ่ายผ่านบัตร Synergy card หรือ Star card ในการเดิมน้ํามัน เป็นต้น (9) การค้ําประกันผลงาน/ค้ําประกันคุณภาพสินค้า (Retention/Warranty Bond) 5.3.3 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.2 ภาระผูกพันเพื่อการนําสินค้าเข้ามาตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งที่มีเอกสารประกอบและยังไม่มีเอกสารประกอบ รวมถึงภาระการรับรองตามตั๋วเงินค่าสินค้านําเข้าที่ยังไม่ครบกําหนด (Acceptance on Trade Bills) 5.3.4 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0 (1) ตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ (2) วงเงินให้กู้ยืมที่ลูกค้ายังมิได้ใช้ (3) ค้ําประกันการออกของ (Shipping Guarantee) (4) ภาระผูกพันที่บริษัทเงินทุนสามารถบอกยกเลิกเมื่อใดก็ได้ (5) ภาระผูกพันอื่น ๆ ที่มิได้ระบุค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ไว้ใน 5.3 นี้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,893
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3717 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 12 ลิ้นระบายความดัน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3717 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 12 ลิ้นระบายความดัน --------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 12 ลิ้นระบายความดัน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 12 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,894
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3718 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 13 อุปกรณ์ระบายความดัน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3718 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 13 อุปกรณ์ระบายความดัน --------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 13 อุปกรณ์ระบายความดัน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 13 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,895
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3719 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 14 ลิ้นป้องกันการไหลเกิน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3719 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 14 ลิ้นป้องกันการไหลเกิน ------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 14 ลิ้นป้องกันการไหลเกิน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 14 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,896
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3720 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 15 เรือนกักก๊าซและท่ออ่อนระบายก๊าซ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3720 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 15 เรือนกักก๊าซและท่ออ่อนระบายก๊าซ --------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 15 เรือนกักก๊าซและท่ออ่อนระบายก๊าซ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 15 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,897
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 55/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 55 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ----------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.88/14/51 | 75,000 | 2 กันยายน 2551 | 4/9/51 – 18/9/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,898
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3721 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 16 ท่อเชื้อเพลิงคงตัว
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3721 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 16 ท่อเชื้อเพลิงคงตัว ----------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 16 ท่อเชื้อเพลิงคงตัว มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 16 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,899
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 56/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดำรงเงินกองทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 56/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียหายต่อสถาบันการเงินอันเนื่องมาจากความผันผวนทางด้านราคาหรือมูลค่าของฐานะ อันได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันที่สถาบันการเงินมีอยู่ โดยปัจจัยด้านตลาดที่จะส่งผลกระทบต่อราคาหรือมูลค่าดังกล่าวได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาของตราสารทุนและสินค้าโภคภัณฑ์ การถือครองตราสารหรือการมีฐานะที่เกี่ยวข้องความเสี่ยงด้านตลาดจํานวนมากอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสถาบันการเงินทั้งในด้านรายได้และความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน หากราคาตลาดของฐานะดังกล่าวมีความผันผวนสูง ซึ่งผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดด้วย 2 สาเหตุ คือ (1) ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อทั้งระบบในทิศทางเดียวกัน เรียกว่า Gencral market : risk (2) การเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาที่เป็นผลมาจากผู้ออกสารตราเอง หรือเรียกว่า Specific risk ซึ่งจะเกิดขึ้นกับตราสารหนี้และตราสารทุน ดังนั้น สถาบันการเงินจึงต้องมีเงินกองทุนที่เพียงพอเพื่อรองรับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะ อย่างยิ่งฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าซึ่งจะได้รับผลกระทบในระยะสั้น นอกจากนี้ สถาบันการเงิน ควรต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงและมีเครื่องมือในการวัด ติดตามและควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมกับปริมาณและความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงิน เพื่อให้การกํากับดูแลการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเป็นไปตามมาตรฐานสากล และสามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้งเพื่อให้สถาบันการเงินมีการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน โดยกําหนดให้สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าในระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดสําหรับ 1) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยเละราคาตราสารทุนเฉพาะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า และ 2) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดของสถาบันการเงินทั้งในบัญชีเพื่อการค้าและบัญชีเพื่อการธนาคาร โดยมีวิธีในการคํานวณเงินกองทุน3 วิธี ได้แก่ 1) วิธีมาตรฐาน 2) วิธีแบบจําลอง และ 3) วิธีผสม ซึ่งหากสถาบันการเงินใดประสงค์จะใช้วิธีการคํานวณแบบจําลองหรือวิธีแบบผสม สถาบันการเงินนั้นต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน นอกจากนี้ สถาบันการเงินควรมีระบบการบริหารความเสี่ยงและมีเครื่องมือในการวัด ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงิน รวมถึงการมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมด้วย ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากหลักเกณฑ์เดิม ทั้งนี้ สถาบันการเงินใดที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้แบบจําลองในการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดด้วยวิธีแบบจําลอง วิธีผสม หรือวิธีการใดวิธีการหนึ่งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีแล้ว ให้สถาบันการเงินนั้นสามารถดําเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ อื่นๆ - 4. ประกาศหรือหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามรายการในเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ความเสี่ยงด้านตลาด" หมายความว่า ความเสี่ยงที่สถาบันการเงินอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของฐานะทั้งที่อยู่ในงบดุลและนอกงบดุลเกิดจาก การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและราคาตราสารทุนอาจเกิดจากปัจจัยตลาดทั่วไป (General Market Risk) และ/หรือ ปัจจัยเฉพาะของผู้ออกตราสารนั้น (Specific Risk) "บัญชีเพื่อการค้า" (Trading Book) หมายความว่า ฐานะ (Position) ของ เครื่องมือทางการเงินทั้งในและนอกงบการเงินที่สถาบันการเงินถือครองไว้โดยมีเจตนาเพื่อการค้า หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะอื่นๆ ในบัญชีเพื่อการค้า รวมทั้งอนุพันธ์ทางการเงินทุกประเภทที่ไม่ได้นําไปใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking Book) "บัญชีเพื่อการธนาคาร" (Banking Book) หมายความว่า ฐานะของเครื่องมือ ทางการเงินหรือธุรกรรมอื่นที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือตราสารทางการเงินที่มีเจตนา ตั้งแต่แรกว่าจะถือครองระยะยาวหรือถือจนครบกําหนดอายุ "ฐานะที่มีเจตนาถือไว้เพื่อการค้า" (Trading Intent) หมายความว่า ฐานะต่างๆ ที่ถือไว้ในระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อ และ/หรือ เพื่อหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง ของราคาหรือเพื่อหากําไรจากความแตกต่างของราคาในแต่ละตลาดเปรียบเทียบกัน (Arbitrage) ครอบคลุมทั้งฐานะที่เป็นของสถาบันการเงินเอง ฐานะที่เกิดจากการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้าโดย สถาบันการเงิน เช่น การให้บริการเป็นนายหน้าโดยซื้อขายในนามของสถาบันการเงิน (Matched Pincipal Brokering) และฐานะที่เกิดขึ้นจากการเป็นผู้เสนอราคาซื้อขายในตลาด (Market Makers) "เงินกองทุน" หมายความว่า (1) เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ให้ใช้ความหมายเดียวกับเงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบ ของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ (2) เงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้ใช้ความหมายเดียวกับเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (3) เงินกองทุนของบริษัทเงินทุน ให้ใช้ตามความหมายเดียวกับเงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศรนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัทเงินทุน "ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่าปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินได้ประเมินแล้วอยู่ในระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (เอกสารแนบ 2) "ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่าปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินได้ประเมินแล้วต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (เอกสารแนบ 2) 5.2 ขอบเขตของหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดซึ่งครอบคลุมถึงองค์ประกอบความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ราคาของ ตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดแบ่งออกเป็น 5 เรื่อง ดังนี้ 5.2.1 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า 5.2.2 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด 5.2.3 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า 5.2.4 การดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาด (1) การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน (2) การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีแบบจําลอง (3) การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีผสม 5.2.5 การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง 5.3 การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดโดยต้องมีการประเมินปริมาณการทําธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าก่อนตามข้อ 5.4 เพื่อพิจารณาระดับที่สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณและความซับซ้อนในการทํา ธุรกรรม ดังนี้ 5.3.1 สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ5.2.1-5.2.5 5.3.2 สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 5.2.1 - 5.2.3และให้ประเมินความเสี่ยงด้านตลาดเพื่อดํารงเงินกองทุนเฉพาะองค์ประกอบด้านราคาสินค้า โภคภัณฑ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องตามนโยบายในข้อ 5.2.4 - 5.2.5 ด้วย 5.4 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า 5.4.1 ให้สถาบันการเงินอ้างอิงปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาว่า เป็นระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) จากหลักเกณฑ์ การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียด ปรากฏตามเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาทบทวนระดับที่มีนัยสําคัญ ของปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าเป็นครั้งคราว เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาดการเงินและ มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต 5.4.2 ให้สถาบันการเงินทุกแห่ง ประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชี เพื่อการค้าเพื่อเปรียบเทียบกับระดับที่มีนัยสําคัญ โดยการประเมินปริมาณธุรกรรมจะคํานวณตาม แบบรายงานปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในระบบบริหารข้อมูล (Data Management System) ที่สถาบันการเงินต้องรายงานเป็นประจําทุกเดือน (ตัวอย่างตามเอกการแนบ 2.1) ทั้งนี้ (1) สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ ให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายในข้อ 5.3.1 ไปตลอด จนกว่าจะได้รับการพิจารณายกเลิกจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีไป หากสถาบันการเงินมีเหตุผลที่สําคัญ เช่น มีนโยบายยกเลิกการทําธุรกรรมเพื่อการค้า เป็นต้น (2) สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายในข้อ 5.3.2 รวมทั้งต้องติดตามฐานะของสถาบันการเงินอย่างสม่ําเสมอโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาทบทวนระดับที่มีนัยสําคัญของสถาบันการเงินทุก 6 เดือน 5.5 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด คณะกรรมการของสถาบันการเงินและผู้บริหารระดับสูงต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การควบคุม ภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียด ปรากฏตามเอกสารแนบ 3 ทั้งนี้ ระบบการควบคุมภายในดังกล่าวต้องครอบคลุมประเด็นสําคัญ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ 5.5.1 บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการของสถาบันการเงินและผู้บริหารระดับสูง 5.5.2 แนวทางการวัด ติดตาม และประเมินความเสี่ยง 5.5.3 แนวปฏิบัติในการควบคุมความเสี่ยงและการแบ่งแยกหน้าที่ 5.5.4 แนวทางการเก็บข้อมูลและการสื่อสารภายในองค์กร 5.5.5 ระบบการตรวจสอบภายในและการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น 5.6 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า ให้สถาบันการเงินจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า (Trading Book Policy) ของสถาบันการเงินที่เหมาะสมกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4 ดังนี้ 5.6.1 ฐานะในบัญชีเพื่อการค้า (Trading Book) จะประกอบด้วยฐานะในเครื่องมือทางการเงิน เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน ที่สถาบันการเงินถือครองไว้โดยมีเจตนา เพื่อการค้า หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะอื่น 1 ในบัญชีเพื่อการค้า รวมทั้งอนุพันธ์ทางการเงินทุกประเภทที่ไม่ได้นําไปใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking Book) ทั้งนี้ เครื่องมือทางการเงินในบัญชีเพื่อการค้าต้องไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขาย รวมทั้งมีการประเมินมูลค่าของฐานะที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอ และต้องมีการบริหาร จัดการที่ดี 5.6.2 สถาบันการเงินต้องจัดทํานโยบายดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมให้ผู้ตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ และต้องมีรายละเอียด ครอบคลุมในประเด็นต่างๆ อย่างน้อยตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยเฉพาะเรื่อง นโยบายการจัดกลุ่มตราสารทางการเงินให้อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า และบัญชีเพื่อการธนาคาร นโยบายการโยกย้ายรายการระหว่างบัญชี การกําหนดระยะเวลาการถือครองฐานะในบัญชี เพื่อการค้า การกําหนดนโยบาย กลยุทธ์ทางการค้า และกระบวนการบริหารฐานะที่ชัดเจน เป็นต้น 5.6.3 คณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับ มอบหมายต้องเป็นผู้อนุมัตินโยบายดังกล่าวและต้องเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและนําไปปฏิบัติ โดยทั่วกัน 5.6.4 นโยบายดังกล่าวต้องมีการกําหนดเวลาทบทวนเป็นประจําที่ชัดเจน เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ หากมีการปรับปรุงในประเด็น ที่สําคัญ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมาย 5.7 การดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด 5.7.1 ให้สถาบันการเงินที่มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาดดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงดังกล่าวให้เพียงพอกับระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา 5.7.2 ให้สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ ดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามองค์ประกอบตามข้อ (1) ถึงข้อ (4) สําหรับสถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญให้ดํารงเงินกองทุนเฉพาะในข้อ (4) เท่านั้น (1) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า (2) ความเสี่ยงด้านราคาตราสารทุนจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า (3) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากฐานะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ (4) ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากฐานะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ 5.7.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการให้สถาบันการเงินที่มี ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับ ความเสี่ยงด้านตถาดในทุกองค์ประกอบหรือองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเพิ่มเติมจาก ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ใด้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าการสั่งการดังกล่าวทําให้สถาบัน การเงินแห่งนั้นมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งกรณีนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการ ในภายหลัง 5.7.4 ให้สถาบันการเงินคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด สําหรับประเภทของความเสี่ยงด้านตลาดที่กําหนดในข้อ 5.7.2 ซึ่งคํานวณตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ (1) วิธีมาตรฐาน (Standardised Approacb) หรือ (2) วิธีแบบจําลอง (Internal Model Approach) หรือ (3) วิธีผสมระหว่างวิธีมาตรฐานกับวิธีแบบจําลอง 5.7.5 ให้สถาบันการเงินนําเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ที่คํานวณได้ตามวิธีที่ระบุในข้อ 5.7.4 มาคูณด้วย 12.5 เป็นสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด เพื่อนํามาใช้ ในการดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์ การดํารงเงินกองทุน ทั้งนี้ สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น หมายถึง ยอดรวมของสินทรัพย์เสี่ยง ด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต (ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง ด้านเครดิตสําหรับสถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ ให้ยกเว้น ตราสารที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้า ' แต่ยังคงรวมความเสี่ยงของคู่ค้า (Counterparty Risk) จากอนุพันธ์ทางการเงินประเภท OTC (Over the Counter) ที่จัดอยู่ในทุกบัญชี) รวมกับสินทรัพย์ เสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณได้ข้างต้น และรวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงด้านการปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์ การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตาม Basel II สําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยจะกําหนดต่อไป 5.8 การคํานวณเงินลงทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน 5.8.1 สถาบันการเงินสามารถเลือกคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับ ความเสี่ยงด้านตลาดด้วยวิธีมาตรฐานได้ โดยเงินกองทุนที่จะต้องดํารงขึ้นอยู่กับมูลค่าของฐานะ ที่สถาบันการเงินถือครองและน้ําหนักความเสี่ยงของฐานะที่แบ่งตามปัจจัยความเสี่ยงด้าน อัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งนี้ ธนาคารแห่ง ประเทศไทยเป็นผู้กําหนดน้ําหนักเงินกองทุน (Capital Charge) เพื่อรองรับความเสี่ยงแต่ละประเภท โดยที่น้ําหนักเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง General Market Risk ประมาณการจาก ความอ่อนไหว (Sensitivity) ของมูลค่าฐานะต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยความเสี่ยงแต่ละประเภท ดังกล่าว โดยไม่มีการพิจารณาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างปัจจัยความเสี่ยง ทั้งนี้ การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน แบ่งตามประเภทของความเสี่ยงด้านต่างๆ ดังนี้ | | | | | --- | --- | --- | | ความเสี่ยงด้าน | น้ําหนักเงินกองทุน (Capital Charge) เพื่อรองรับความเสี่ยงประเภท | รายละเอียดการคํานวณตาม | | Specific Risk | General Market Risk | | อัตราดอกเบี้ย(รวมถึง CreditDerivatives) | ร้อยละ 0-8ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้นั้น | ร้อยละ 0 - 12.5ขึ้นอยู่กับอายุคงเหลือหรือระยะเวลากําหนดอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของตราสารหนี้นั้น | เอกสารแนบ 5 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม CreditDerivatives | | ราคาตราสารทุน | ร้อยละ 2 4 และ 8ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของตราสารทุนนั้น และการกระจายตัวในการลงทุน | ร้อยละ 8 | เอกสารแนบ 6 | | อัตราแลกเปลี่ยน | ไม่มี | ร้อยละ 8 | เอกสารแนบ 7 | | ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ | ไม่มี | ร้อยละ 0.6 - 15ขึ้นกับอายุคงเหลือของสัญญา | เอกสารแนบ 8 | | Options | การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของOptions แบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธี Simplified2) วิธี Delta Plus และ 3) วิธี Contingent Loss | เอกสารแนบ9 | 5.9 การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาคตามวิชีแบบจําลอง สถาบันการเงินสามารถเลือกคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง ด้านตลาดตามวิธีแบบจําลอง ได้ ภายหลังจากที่ใด้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ในการประเมินความเสี่ยงด้วยวิธีนี้ สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และข้อกําหนด ที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 10 ดังนี้ 5.9.1 หลักเกณฑ์เชิงคุณภาพ (Qualitative Standards) 5.9.2 ข้อกําหนดของปัจจัยความเสี่ยงด้านตลาดต่างๆ (Specification of Market Risk Factors) 5.9.3 หลักเกณฑ์เชิงปริมาณ (Quantitative Standards) 5.9.4 หลักเกณฑ์การจัดทํา Stress Testing 5.9.5 หลักเกณฑ์การจัดทํา Back Testing และการกําหนดต่ํา Plus Factor 5.9.6 หลักเกณฑ์การใช้แบบจําลองในการประเมินความเสี่ยง Specific Risk 5.10 การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีผสม 5.10.1 สถาบันการเงินสามารถเลือกคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับ ความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีผสมระหว่างวิธีมาตรฐานกับวิธีแบบจําลองเพื่อดํารงเงินกองทุนได้ สําหรับความเสี่ยงด้านตลาดในแต่ละองค์ประกอบ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาต ให้สถาบันการเงินคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดในองค์ประกอบเดียวกัน โดยใช้ 2 วิธี เช่น คํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยสําหรับตราสาร ต่างชนิดกัน โดยใช้ทั้งวิธีมาตรฐานและวิธีแบบจําลอง ยกเว้นการประเมินความเสี่ยงของ Options หรือฐานะที่ประเมินความเสี่ยงได้ยากและ ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว 5.10.2 หากสถาบันการเงินใช้แบบจําลองในการคํานวณเงินกองทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดในองค์ประกอบใดแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาต ให้สถาบันการเงินกลับมาใช้วิธีมาตรฐานในการประเงินความเสี่ยงในองค์ประกอบดังกล่าวได้อีก ยกเว้นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณายกเลิกการอนุญาตให้ใช้วิธีแบบจําลองในการ ประเมินความเสี่ยง อย่างไร้ก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่จํากัดเวลาที่สถาบันการเงินคํานวณ เงินกองทุนโดยวิธีแบบจําลองร่วมกับวิธีมาตรฐานในช่วงที่กําลังพัฒนาแบบจําลองให้สามารถ ประเมินความเสี่ยงด้านตลาดในทุกองค์ประกอบได้ ทั้งนี้ สําหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง ด้านตลาดตามวิธีผสมให้สถาบันการเงินอ้างอิง รายละเอียดตามเอกสารแนบ 11 5.11 การจัดทําข้อมูลแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง ให้สถาบันการเงินจัดทําข้อมูลและจัดส่งแบบรายงานการประเมินปริมาณ ธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระบบบริหารข้อมูล (Data Management System) ชุด Total Trading Book Position (DS TBP) และแบบรายงานที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ซึ่งปัจจุบันจัดส่งในรูป Excel File ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามหลักเกณฑ์การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดตามเอกสารแนบ 12 อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,900
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3722 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 17 ท่อเชื้อเพลิงยืดหยุ่น
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3722 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 17 ท่อเชื้อเพลิงยืดหยุ่น -------------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 17 ท่อเชื้อเพลิงยืดหยุ่น มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 17 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,901
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3723 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 18 ตัวกรอง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3723 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 18 ตัวกรอง ----------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 18 ตัวกรอง มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 18 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,902
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3724 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 19 ข้อต่อ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3724 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 19 ข้อต่อ -------------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 19 ข้อต่อ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 19 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,903
ประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคเบิลเส้นใยนำแสงโทรคมนาคมภายนอกอาคารสำหรับผ่านทะเลสาบและแม่น้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
ประกาศสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคเบิลเส้นใยนําแสงโทรคมนาคมภายนอกอาคาร สําหรับผ่านทะเลสาบและแม่น้ํา ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ----------------------------- อื่นๆ - เพื่อความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเห็นสมควรกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคเบิลเส้นใยนําแสงโทรคมนาคม สําหรับผ่านทะเลสาบและแม่น้ํา ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคเบิลเส้นใยนําแสง เล่ม 3-30 : เคเบิลภายนอกอาคาร - ข้อกําหนดคุณลักษณะเป็นรายกลุ่ม สําหรับเคเบิลเส้นใยนําแสงโทรคมนาคม สําหรับผ่านทะเลสาบและแม่น้ํามาตรฐานเลขที่ มอก. 2167-2549 โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ก่อนตราพระราชบัญญัติ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จึงให้มีการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องตามมาตรฐานดังกล่าว เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการตราพระราชกฤษฎีกาต่อไป ทั้งนี้ ผู้ประสงค์จะแสดงความคิดเห็น ให้แสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเหตุผล โดยระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่อสํานักงาน ฯ ภายในสามสิบวัน นับแต่เว้นประกาศ ผู้ที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดการกําหนดมาตรฐานดังกล่าว โปรดติดต่อขอดูได้ที่กองนิติการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือ www.tisi.go.th จึงประกาศมาให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 สมคิด แสงนิล รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
7,904
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3725 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตะแกรงลวดเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีตและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3725 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตะแกรงลวดเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ----------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตะแกรงลวดเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต มาตรฐานเลขที่ มอก. 737 -2531 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1266 (พ.ศ. 2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตะแกรงลวดเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2530 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 1420 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตะแกรงลวดเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต (แก้ไขครั้งที่ 1) ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2531 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต มาตรฐานเลขที่ มอก. 737 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,905
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 56/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 56 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.89/14/51 | 70,000 | 5 กันยายน 2551 | 9/9/51 – 23/9/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2551 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,906
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 57/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 57 /2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงิน หรือบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธุรกิจของสถาบันการเงินมีความเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจต่าง ๆ และประชาชนจํานวน มาก การถูกครอบงํากิจการโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ใช้อํานาจในทางที่ไม่เหมาะสม อาจเกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นรายอื่น และอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของประเทศได้ นอกจากนี้ การที่บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินซึ่งมีบุคคลใด บุคคลหนึ่งครอบงํากิจการอาจก่อให้เกิดการใช้อํานาจในทางที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจกระทบต่อสถาบัน การเงินที่เป็นบริษัทลูกได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบัน การเงิน พ.ศ. 2551 กําหนดให้บุคคลใดรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแห่งใด แห่งหนึ่ง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ต้องรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด โดยอ้างอิงแบบรายงานในเรื่องนี้ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่บังคับใช้อยู่แล้วมาถือปฏิบัติโดย อนุโลม เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ําช้อนและลดภาระในการจัดทําแบบรายงาน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 และมาตรา 55 ประกอบมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแค่ร้อยละ 5 ขึ้นไป อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบุคคลผู้ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินหรือ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 แต่ไม่รวมถึงธนาคาร พาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ "บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า บริษัท ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม "ผู้ที่เกี่ยวข้อง" หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สมรส (2) เป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (3) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจในการจัดการ (4) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (5) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ (6) เป็นบริษัทลูกของบริษัทตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) (7) เป็นบริษัทร่วมของบริษัทตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) (8) เป็นตัวการ ตัวแทน หรือ (9) บุคคลอื่นที่มีลักษณะตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ในกรณีที่บุคคลใดถือหุ้นในบริษัทใดตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทนั้นเป็น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง "หุ้น" หมายความว่า หุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิที่มีสิทธิออกเสียง "จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด" หมายความว่า จํานวนหุ้นของสถาบัน การเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดโดยไม่หักจํานวนหุ้นที่สถาบันการเงินหรือ บริษัทโฮลดิ้งซื้อคืน (reasury stock) เว้นแต่ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งไม่สามารถ จําหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนดังกล่าวได้ซึ่งทําให้สถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งต้องลดทุนตามกฎหมาย ว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ให้สถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งนําหุ้นที่ไม่สามารถจําหน่ายได้ ดังกล่าวมาหักออกจากจํานวนหุ้นของสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด 4.2 บุคคลใดถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งที่เป็น บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด บุคคลนั้นต้องรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้น ดังกล่าวต่อธนาคารแห่งประเทศไทย การนับจํานวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ตามวรรคหนึ่งถืออยู่หรือมีไว้ด้วย 4.3 ในการรายงานข้อมูลตามที่กล่าวในข้อ 4.2 ให้รายงานเมื่อมีการถือหุ้นหรือมีไว้ ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินหรือบริษัท โฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดครั้งหนึ่งและให้รายงานอีกครั้งหนึ่งเมื่อลดการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นจนมีจํานวนหุ้นที่ถือหรือมีไว้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยอนุโลมใช้แบบรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ (แบบ 246-2) ที่ต้องรายงานต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย แบบรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ โดยให้ส่งสําเนาแบบรายงานดังกล่าวพร้อมรับรองสําเนาถูกต้องต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินที่เข้าข่ายต้องรายงานดังกล่าว ทั้งนี้ กรณีเป็นการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงิน หรือบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ก็ให้ใช้แบบรายงานดังกล่าวด้วย 4.4 หากในภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทยมีเหตุอันควรสงสัยหรือเชื่อได้ว่า บุคคลใดรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นโคยทางตรงหรือทางอ้อมตามที่รายงานในข้อ 4.3 รายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือไม่ได้รายงานตามข้อ 4.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจขอให้บุคคลดังกล่าวส่งข้อมูลเพิ่มเติมก็ได้ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,907
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 -------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.90/14/51 | 75,000 | 9 กันยายน 2551 | 11/9/51 – 25/9/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน 2551 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,908
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 58/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินเกินร้อยละ 10 ขึ้นไป
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 58/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินเกินร้อยละ 10 ขึ้นไป ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อป้องกันการถูกครอบงํากิจการของสถาบันการเงิน พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบัน การเงิน พ.ศ. 2551 จึงห้ามมิให้บุคคลใดรวมผู้ที่เกี่ยวข้องถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงิน แห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้ว ทั้งหมด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ในการออกประกาศฉบับนี้ได้ยึดแนวทางตามกฎหมายเดิม และเพิ่มเติมการอนุญาต ให้แก่องค์การของรัฐหรือหน่วยงานที่ไม่มีเจตนาในการครอบงํากิจการหรือบริหารกิจการสถาบัน การเงินตามที่เห็นสมควร อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ถือหุ้นของ สถาบันการเงินเกินร้อยละ 10 ขึ้นไป อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบุคคลผู้ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงิน ทุกแห่ง ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและสาขาของ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 แต่ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์ที่ เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ "บุคคล" หมายความว่า บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล "หุ้น" หมายความว่า หุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิที่มีสิทธิออกเสียง "จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด" หมายความว่า จํานวนหุ้นของสถาบัน การเงินที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดโดยไม่หักจํานวนหุ้นที่สถาบันการเงินซื้อคืน (trcasury stock) เว้นแต่ในกรณีที่สถาบันการเงินไม่สามารถจําหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนดังกล่าวได้ซึ่งทําให้สถาบันการเงิน ต้องลดทุนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ให้สถาบันการเงินนําหุ้นที่ไม่สามารถจําหน่าย ได้ดังกล่าวมาหักออกจากจํานวนหุ้นของสถาบันการเงินที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด 4.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บุคคลดังต่อไปนี้ ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้น ของสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (1) ส่วนราชการ (2) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (3) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทย (4) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (5) สถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (6) บุคคลที่ถือหุ้นเนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องแก้ไขฐานะหรือ การดําเนินการของสถาบันการเงิน ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (7) บุคกลอื่นที่มีลักษณะเป็นไปตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด หรือพิจารณาอนุญาตเป็นรายกรณี อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,909
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 58/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 58 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 --------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.91/14/51 | 70,000 | 11 กันยายน 2551 | 15/9/51 – 29/9/51 | 14 | | พ.92/14/51 | 70,000 | 12 กันยายน 2551 | 16/9/51 – 30/9/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน 2551 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,910
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3651 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 10 การบรรจุและการแสดงเครื่องหมาย - ถุงยางอนามัยในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายให้ผู้บริโภค
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3651 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ถุงยางอนามัย เล่ม 10 การบรรจุและการแสดงเครื่องหมาย - ถุงยางอนามัยในภาชนะบรรจุ พร้อมจําหน่ายให้ผู้บริโภค ----------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 10 การบรรจุและการแสดงเครื่องหมาย – ถุงยางอนามัยในภาชนะบรรจุพร้อมจําหน่ายให้ผู้บริโภค มาตรฐานเลขที่ มอก. 625 เล่ม 10 - 2541 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2550 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย เล่ม 10 การบรรจุและการแสดงเครื่องหมาย - ถุงยางอนามัยในภาชนะบรรจุพร้อมจําหน่ายให้ผู้บริโภค ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,911
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3632 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นสะท้อนแสงและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นสะท้อนแสงสำหรับควบคุมการจราจร
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3632 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แผ่นสะท้อนแสง และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แผ่นสะท้อนแสงสําหรับควบคุมการจราจร ----------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นสะท้อนแสง มาตรฐานเลขที่ มอก. 606 - 2529 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1064 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นสะท้อนแสง ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นสะท้อนแสงสําหรับควบคุมการจราจร มาตรฐานเลขที่ มอก. 606 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,912
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3652 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้อต่อเหล็กหล่อแกรไฟต์กลมสำหรับท่อส่งน้ำชนิดทนความดัน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3652 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อต่อเหล็กหล่อแกรไฟต์กลมสําหรับท่อส่งน้ําชนิดทนความดัน ------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้อต่อเหล็กหล่อแกรไฟต์กลมสําหรับท่อส่งน้ําชนิดทนความดัน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2253 - 2548 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดสาหกรรม
7,913
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3633 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ : น้ำมะเขือเทศ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3633 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ําผลไม้ : น้ํามะเขือเทศ ------------------------ อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ํามะเขือเทศ มาตรฐานเลขที่ มอก. 100 - 2517 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 113 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ํามะเขือเทศ ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ํามะเขือเทศ มาตรฐานเลขที่ มอก. 100 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,914
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3634 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ : น้ำสับปะรด
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3634 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ําผลไม้ : น้ําสับปะรด ------------------------ อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําสับปะรด มาตรฐานเลขที่ มอก. 112 - 2517 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําสับปะรด ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 179 (พ.ศ. 2518) เรื่อง แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําสับปะรด (แก้ไขครั้งที่ 1) ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําสับปะรด มาตรฐานเลขที่ มอก. 112 -2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,915
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3635 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ : น้ำส้ม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3635 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ําผลไม้ : น้ําส้ม ---------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําส้ม มาตรฐานเลขที่ มอก. 99 - 2517 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 112 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําส้ม ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําส้ม มาตรฐานเลขที่ มอก. 99 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,916
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3653 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นผนังอะลูมิเนียม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3653 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แผ่นผนังอะลูมิเนียม ------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นผนังอะลูมิเนียม มาตรฐานเลขที่ มอก. 2314 - 2549 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,917
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3636 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวุ้นเส้น
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3636 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วุ้นเส้น ------------------------ อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวุ้นเส้น มาตรฐานเลขที่ มอก. 444 - 2525 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 672 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวุ้นเส้น ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1176 (พ.ศ. 2530) เรื่อง แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวุ้นเส้น (แก้ไขครั้งที่ 1) ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2530 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวุ้นเส้น มาตรฐานเลขที่ มอก. 444 – 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,918
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3654 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโพรเพน - 2 - ออลสำหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 2 : การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรด – วิธีไททริเมทริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3654 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โพรเพน - 2 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 2 : การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรด – วิธีไททริเมทริก ---------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโพรเพน - 2 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 2 : การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรด – วิธีไททริเมทริก มาตราฐานเลขที่ มอก. 2096 เล่ม 2 - 2544 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3092 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโพรเพน - 2 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 2 : การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรด - วิธีไททริเมทริก ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,919
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3637 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทุเรียนทอดกรอบ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3637 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทุเรียนทอดกรอบ -------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทุเรียนทอดกรอบ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2317 - 2549 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,920
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3655 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโพรเพน - 2 - ออลสำหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 3 : การทดสอบความสามารถในการเข้ากันได้กับน้ำ
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3655 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โพรเพน - 2 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 3 : การทดสอบความสามารถในการเข้ากันได้กับน้ํา --------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโพรเพน - 2 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 3 : การทดสอบความสามารถในการเข้ากันได้กับน้ํา มาตรฐานเลขที่ มอก. 2096 เล่ม 3 - 2544 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3093 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโพรเพน - 2 - ออลสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ เล่ม 3 : การทดสอบความสามารถในการเข้ากันได้กับน้ํา ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระหรวงอุตสาหกรรม
7,921
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3638 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทุเรียนกวน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3638 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทุเรียนกวน ----------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทุเรียนกวน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2318 - 2549 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,922
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3656 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดฟอสฟอริกสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ - ไบพิริดิลสเปกโทรโฟโตเมทริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3656 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรดฟอสฟอริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ - ไบพิริดิลสเปกโทรโฟโตเมทริก -------------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดฟอสฟอริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ - ไบพิริติลสเปกโทรโฟโตเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2100 - 2544 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3082 (พ.ศ. 2545) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดฟอสฟอริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ - ไบพิริติลสเปกโทรโฟโตเมทริก ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,923
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3639 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเฟอร์ฟูรัลสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดต่อฟีนอล์ฟทาลีน - วิธีโวลูเมทริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3639 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เฟอร์ฟูรัลสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดต่อฟีนอล์ฟทาลีน - วิธีโวลูเมทริก --------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเฟอร์ฟูรัลสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดต่อฟีนอล์ฟทาลีน - วิธีโวคูเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2018 - 2543 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3008 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเฟอร์ฟูรัลสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดต่อฟีนอล์ฟทาลีน - วิธีโวลูเมทริก ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,924
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 29/2551 เรื่อง การใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 29/2551 เรื่อง การใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing) ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ สถาบันการเงินมีการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการประมวลผลจากผู้ให้บริการราชอื่น (IT Outsourcing) ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างแพร่หลาย เพื่อลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินงานและพัฒนาศักยภาพการให้บริการให้ทันต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการทั้งนี้ ในการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น สถาบันการเงินยังคงมีความรับผิดชอบต่อการให้บริการอย่างต่อเนื่องแก่ลูกค้า รวมทั้งยังต้องคงความน่าเชื่อถือของการให้บริการเช่นเดียวกับที่สถาบันการเงินพึงจะมีเสมือนกับที่สถาบันการเงินเป็นผู้ดําเนินการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศเอง โดยสถาบันการเงินต้องคํานึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากการดําเนินงานปกติที่กระทําโดยสถาบันการเงินเอง เช่น ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (operational risk) ที่อาจมีเพิ่มขึ้นจากการดําเนินงานของผู้ให้บริการ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (strategic risk) ในการวางแผนการดําเนินธุรกิจ ความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของสถาบันการเงิน(reputational risk) และความเสี่ยงด้านกฎหมาย (legal risk) โดยเฉพาะในเรื่องการรักษาความลับของข้อมูลลูกค้า เป็นต้น การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมหนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นในการประกอบธุรกิจ มาไว้ในฉบับเดียวกันโดยสาระสําคัญไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สําหรับสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่นให้ทําได้ต่อไปตามที่ได้รับอนุญาต อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น ( IT Outsourcing) อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก 4.1. หนังสือเวียนที่ ธปท. สนส. (01) ว. 1191/2546 เรื่อง แนวปฏิบัติในการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing) ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2546 4.2. หนังสือเวียนที่ ธปท. ฝกส. (11) ว. 1790/2548 เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing) ลงวันที่ 26 กันยายน 2548 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "งานเทคโนโลยีสารสนเทศ" หมายความว่า งานใด ๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและมีผลกระทบต่อความเสี่ยงของสถาบันการเงิน โดยอย่างน้อยควรครอบคลุมงานด้านการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงานและโปรแกรม การจัดเก็บข้อมูลการบํารุงรักษาและการรักษาความปลอดภัยทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ระบบงานและโปรแกรม ระบบเครือข่ายสื่อสาร และข้อมูล เป็นต้น "การใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่น" หมายความว่า การให้ผู้ให้บริการรายอื่นดําเนินการแทนในงานซึ่งโดยปกติแล้วสถาบันการเงินต้องดําเนินการเอง "ผู้ให้บริการรายอื่น" หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินผู้ใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 5.2 หลักเกณฑ์การใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing) ในการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น สถาบันการเงินต้องคํานึงถึงประเด็นที่สําคัญดังนี้ 5.2.1 ผลกระทบต่อความสามารถในการพัฒนาและนําเสนอบริการใหม่ ๆ ในอนาคต ซึ่งการสร้างศักยภาพในเรื่องดังกล่าวส่วนหนึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยสถาบันการเงินเองด้วย ดังนั้น ในการกําหนดนโยบายการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น สถาบันการเงินต้องคํานึงถึงความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และความต่อเนื่องในการพัฒนาศักยภาพในระยะยาวสําหรับการทําธุรกิจหลักของสถาบันการเงินด้วย 5.2.2 การให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่งกับความเสี่ยงด้านกฎหมายและความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สืบเนื่องมาจากความแตกต่างของกฎหมายและกฎระเบียบปฏิบัติในแต่ละประเทศที่เกี่ยวกับธุรกรรมข้ามพรมแดน (cross border) รวมถึงความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศละการสื่อสารระหว่างประเทศ และความเสี่ยงของประเทศที่ผู้ให้บริการตั้งอยู่ด้วย ดังนั้น สถาบันการเงินต้องให้ความสําคัญกับการพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการไทยด้วย 5.2.3 การใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่นที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงสํานักงานใหญ่หรือสาขาของสถาบันการเงินที่อยู่ในต่างประเทศ สถาบันการเงินจะต้องจัดให้มีข้อมูลอยู่ในประเทศสําหรับการดําเนินธุรกิจภายในประเทศและให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องหากเกิดข้อขัดข้องในการรับส่งข้อมูลข้ามพรมแดน และต้องพร้อมสําหรับการเข้าตรวจสอบโดยธนาคารแห่งประเทศไทยในทุกกรณี 5.2.4 การจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งรวมถึงการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า และให้ผู้ให้บริการแยกฐานข้อมูลของลูกค้าของสถาบันการเงินออกจากข้อมูลของผู้ให้บริการหรือลูกค้ารายอื่นของผู้ให้บริการด้วย ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องคํานึงถึงการดําเนินการของหน่วยงานภาครัฐของไทยซึ่งอยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะกําหนดให้การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลด้วย 5.3 สถาบันการเงินจะต้องประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่นทั้งที่อยู่ในประเทศและในต่างประเทศก่อนการใช้บริการ และแจ้งรายละเอียดการใช้บริการ ซึ่งประกอบด้วย ประเภทบริการ ขอบเขตและมาตรฐานการให้บริการของผู้ให้บริการ เหตุผลการคัดเลือกผู้ให้บริการ รวมถึงฐานะและประวัติการให้บริการแนวทางการรักษาความลับของข้อมูลลูกค้าและความรับผิดชอบต่อความเสียหาย สําเนาหนังสือคํายินยอมให้ผู้ว่าจ้างและทางการเข้าตรวจสอบการให้บริการ รายละเอียดอุปกรณ์และเครือข่าย วิธีการสํารองข้อมูลที่แสดง ได้ว่าสามารถดําเนินธุรกิจได้ต่อเนื่องแม้ติดต่อกับศูนย์ที่อยู่นอกประเทศไม่ได้และการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง มายังฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทราบก่อนการเริ่มใช้บริการหรือก่อนวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้บริการเป็นเวลาไม่ต่ํากว่า 30 วัน 5.4 สถาบันการเงินต้องมีกระบวนการหลักในการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น ได้แก่ การกําหนดนโยบายการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น การบริหารความเสี่ยง การคัดเลือกผู้ให้บริการ การจัดทําสัญญาและการติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการให้บริการ ดังนี้ 5.4.1 นโยบายการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (1) สถาบันการเงินต้องกําหนดนโยบายการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่นอย่างชัดเจน โดยควรคํานึงถึงความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันด้วย และนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ คณะกรรมการของสถาบันการเงินอาจมีมติมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินเป็นผู้ให้ความเห็นชอบได้โดยอนุโลม (2) สถาบันการเงินต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนสําหรับการตัดสินใจใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น เช่น ความจําเป็นทางธุรกิจ ประโยชน์และต้นทุน เป็นต้น ทั้งนี้ การเลือกใช้บริการใด ๆ ซึ่งรวมถึงกรณีที่ผู้ให้บริการอยู่ในต่างประเทศและกรณีที่ผู้ให้บริการมีการว่าจ้างผู้รับจ้างช่วงงานต่อ (sub-contract) ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับของทางการของประเทศไทยและประเทศผู้ให้บริการ (3) สถาบันการเงินต้องมีการประเมินนโยบายการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายของสถาบันการเงิน 5.4.2 การบริหารความเสี่ยง (1) สถาบันการเงินต้องมีความเข้าใจและสามารถประเมินระดับของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น และกําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเน โดยให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของสถาบันการเงินและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถาบันการเงิน (2) สถาบันการเงินต้องกําหนดแนวทาง วิธีการและผู้รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่นไว้อย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องถือปฏิบัติตามแนวทางและวิธีการที่กําหนด รวมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้สามารถบริหารและควบคุมความเสี่ยงได้ (3) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีแผนฉุกเฉิน เพื่อรองรับกรณีเกิดปัญหาจากการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น โดยแผนฉุกเฉินดังกล่าวควรมีการระบุอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการสํารองข้อมูลที่พร้อมใช้งาน ขั้นตอนและวิธีการดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาหรือฟื้นฟูความเสียหาย (Recovery) ผู้รับผิดชอบและระยะเวลาในการปฏิบัติตามแผน และมีการสอบทาน ปรับปรุงและทดสอบแผนอย่างสม่ําเสมอเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง ในกรณีที่ผู้ให้บริการอยู่ต่างประเทศ อาจมีความเสี่ยงจากการเกิดข้อขัดข้องในการรับส่งข้อมูลข้ามพรมแดน หรือ เกิดภัยพิบัติขึ้นในประเทศผู้ให้บริการ เช่น การก่อวินาศกรรม หรือภัยธรรมชาติ เป็นต้น ดังนั้น สถาบันการเงินจะต้องจัดให้มีข้อมูลอยู่ในประเทศที่พร้อมสําหรับการดําเนินธุรกิจและให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องจัดให้มีแผนฉุกเฉินและแนวทางการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สถาบันการเงินอาจต้องมีระบบประมวลผล'สํารองไว้ในประเทศหรือในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศผู้ให้บริการด้วย 5.4.3 การคัดเลือกผู้ให้บริการ สถาบันการเงินต้องมีกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้บริการที่ชัดเจน รวมทั้งมีการตรวจสอบความพร้อมและพิจารณาความเหมาะสมของผู้ให้บริการเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ให้บริการจะสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องและสามารถตอบสนองความต้องการของสถาบันการเงินได้ โดยควรคํานึงถึงปัจจัยที่สําคัญ เช่น ประสบการณ์และความสามารถในการให้บริการ ระบบการบริหารงานภายใน หรือความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ให้บริการ เป็นต้น 5.4.4 การจัดทําสัญญา สถาบันการเงินและผู้ให้บริการต้องจัดให้มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรและเก็บรักษาไว้ที่สถาบันการเงินเพื่อให้พร้อมสําหรับการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ แต่ในกรณีที่ผู้ให้บริการเป็นสํานักงานใหญ่หรือสาขาที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันกับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินอาจไม่จําเป็นต้องจัดทําสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ และสถาบันการเงินจะต้องดําเนินการให้ผู้ให้บริการสํานักงานใหญ่หรือสาขาของสถาบันการเงินที่อยู่ในต่างประเทศดังกล่าวมีหนังสือยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบการดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้วย ในกรณีที่หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่ผู้ให้บริการนั้นตั้งอยู่ มีข้อกําหนดว่าหน่วยงานใดที่จะเข้าไปตรวจสอบการดําเนินงานของผู้ให้บริการในประเทศนั้นจะต้องได้รับคํายินยอมจากหน่วยงานกํากับดูแลก่อน ก็ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามข้อกําหนดของหน่วยงานกํากับดูแลหรือข้อกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณากํากับดูแลตามความเหมาะสม การจัดทําสัญญาต้องระบุถึงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของคู่สัญญา รวมทั้งเงื่อนไขการให้บริการอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เนื้อหาของสัญญาควรได้รับการตรวจสอบโดยฝ่ายกฎหมายของสถาบันการเงินก่อน และต้องมีเนื้อหารวมถึง (1) ขอบเขตงานและเงื่อนไขในการให้บริการ เช่น ชื่อและประเภทการให้บริการ วันและเวลาในการให้บริการ สถานที่ที่ให้บริการ และค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ เป็นต้น (2) มาตรฐานของการปฏิบัติงานขั้นต่ําที่ต้องการจากผู้ให้บริการทั้งภายใต้สถานการณ์ปกติและไม่ปกติ (3) ขอบเขตความรับผิดชอบของคู่สัญญา และภาระผูกพันในกรณีที่เกิดปัญหาในการให้บริการ เช่น เกิดความผิดพลาด ล่าช้าในการให้บริการ เป็นต้น (4) การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งรวมถึงการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า เช่น วิธีการรับส่งข้อมูล สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ความเป็นเจ้าของข้อมูล และวิธีการเก็บรักษาข้อมูล เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ให้บริการควรแยกฐานข้อมูลลูกค้าของสถาบันการเงินออกจากข้อมูลของผู้ให้บริการหรือลูกค้ารายอื่นของผู้ให้บริการด้วย (5) ระบบการควบคุมภายในและการรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการ ตลอดจนรายงานการเปลี่ยนแปลงที่สําญในส่วนของผู้ให้บริการที่อาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญา เช่น การเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของผู้ให้บริการ การเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของผู้ให้บริการอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีการให้บริการแก่ลูกค้ารายอื่น ๆ จํานวนมากจนอาจมีผลต่อความสามารถในการให้บริการ เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ให้บริการมีการให้บริการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ลูกค้ารายอื่น ๆ อีกจํานวนมาก สถาบันการเงินจะต้องพิจารณาให้ผู้ให้บริการจัดให้มีระบบงานที่เพียงพอที่จะรองรับการให้บริการแก่ลูกค้าทุกรายได้พร้อม ๆ กัน ทั้งในเหตุการณ์ปกติเละไม่ปกติ (6) ในกรณีที่ผู้ให้บริการให้ผู้ให้บริการรายอื่นรับจ้างช่วงงานต่อ สถาบันการเงินจะต้องระบุให้ชัดเจนถึงความรับผิดชอบของผู้ให้บริการที่มีต่อการให้บริการแก่สถาบันการเงินแม้ว่าผู้ให้บริการจะให้ผู้ให้บริการรายอื่นรับจ้างช่วงงานต่อ โดยผู้รับจ้างช่วงงานต่อจะต้องสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้บริการที่สถาบันการเงินกําหนดไว้กับผู้ให้บริการได้เสมือนกับที่ผู้ให้บริการดําเนินการเอง ทั้งนี้ สถาบันการเงินอาจระบุในสัญญาให้ผู้ให้บริการแจ้งต่อสถาบันการเงินหรือต้องได้รับอนุญาตจากสถาบันการเงินก่อนที่จะให้ผู้ให้บริการรายอื่นรับจ้างช่วงงานต่อไป หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับจ้างช่วงงานต่อ (7) การจัดให้มีแผนฉุกเฉินสําหรับการให้บริการของผู้ให้บริการที่สอดคล้องกับแผนฉุกเฉินของสถาบันการเงิน (8) สิทธิของสถาบันการเงินในการเปลี่ยนแปลงสัญญา ซึ่งรวมถึงการแก้ไข ต่ออายุ และยกเลิกสัญญา ทั้งนี้ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการปรับปรุงการให้บริการหากจําเป็น เช่น การปรับปรุงให้ทันกับพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมทั้งเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานของสถาบันการเงินในอนาคต (9) แนวทางการนํางานทั้งหมดหรือบางส่วนกลับมาดําเนินการโดยสถาบันการเงินเองหรือส่งมอบงานต่อให้ผู้ให้บริการรายอื่นหากมีการยกเลิกสัญญา หรือมีการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการเพื่อให้สถาบันการเงินสามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงผู้ดําเนินการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (10) สิทธิของสถาบันการเงิน ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภายนอกหรือทางการในการเข้าตรวจสอบการดําเนินงานและการควบคุมภายในของผู้ให้บริการหรือผู้รับจ้างช่วงงานต่อ (หากมี) (11) สิทธิของทางการในการเรียกดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบกับการให้บริการแก่สถาบันการเงิน ที่เห็นว่าจําเป็นต่อการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินจากผู้ให้บริการหรือผู้รับจ้างช่วงงานต่อ 5.4.5 การติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการให้บริการ สถาบันการเงินต้องจัดให้มีการติดตามประเมินผลและตรวจสอบการให้บริการของผู้ให้บริการอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้การใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการราชอื่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กําหนดไว้ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ ฐานะทางการเงิน การปฏิบัติตามสัญญาและปัญหาที่เกิดขึ้นโดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ (1) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีระบบที่ชัดเจนในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการ พร้อมทั้งมีการประเมินระบบดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ (2) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีการตรวจสอบผู้ให้บริการ โดยผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้ตรวจสอบภายนอกอย่างสม่ําเสมอ และจัดให้มีรายงานผลการติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการเก็บไว้ที่สถาบันการเงิน และมีพร้อมสําหรับให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ หากจําเป็น สถาบันการเงินหรือธนาการแห่งประเทศไทยจะต้องสามารถเข้าตรวจสอบการดําเนินงานและการควบคุมภายในของผู้ให้บริการได้ (3) สถาบันการเงินต้องจัดให้มี หรือดําเนินการให้ผู้ให้บริการจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ติดตาม ประเมินผลและบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน (4) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีพนักงานที่มีความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการ เพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ (5) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีการรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นต่อผู้บริหารของสถาบันการเงินให้ทราบในทันที เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที (6) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีข้อมูลให้พร้อมสําหรับการเข้าตรวจสอบโดยธนาคารแห่งประเทศไทยในทุกกรณี อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,925
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3657 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทาลิกแอนไฮไดรด์สำหรับอุตสาหกรรม - การทดสอบ - เล่ม 3 : การวัดเสถียรภาพของสี
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3657 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทาลิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - การทดสอบ - เล่ม 3 : การวัดเสถียรภาพของสี ----------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทาลิกเอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - การทดสอบ - เล่ม 3 : การวัดเสถียรภาพของสี มาตรฐานเลขที่ มอก. 1690 เล่ม 3 - 2541 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2971 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทาลิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - การทดสอบ - เล่ม 3 : การวัดเสถียรภาพของสี ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.63/14/51 | 75,000 | 24 มิถุนายน 2551 | 26/6/51 – 10/7/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,927
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 30/2551 เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 30/2551 เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่เปิดดําเนินการอยู่และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมยื่นขออนุญาตปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินประเภทต่างๆ โดยธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะเน้นการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้เงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประกาศ เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยเนื้อหาของหลักเกณฑ์ไม่แตกต่างไปจากหลักเกณฑ์เดิมที่ได้ออกไปแล้ว อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และความในเงื่อนไขแนบใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยประกอบธุรกิจเพื่อการให้บริการแก่ลูกค้าและในการทําธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์หนี้สินและเพื่อการป้องกันความเสี่ยงตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย" หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการให้บริการแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีข้อจํากัดการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศตราสารอนุพันธ์ และธุรกรรมอื่นที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด "สถาบันการเงิน" หมายความว่า (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (2) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (3) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (4) ธนาคารพาณิชย์ (5) บริษัทเงินทุน (6) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (7) บริษัทหลักทรัพย์ (8) บริษัทประกันชีวิต (9) สถาบันการเงินต่างประเทศ (10) กองทุนรวม (11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (12) กองทุนส่วนบุคคล (13) กองทุนบําเหน็จบํานาญ (14) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (15) นิติบุคคลอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด "การลงทุนในตราสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า" หมายความว่า การลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้ ทําให้กิจการถือหลักทรัพย์นั้นไว้เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อหากําไร จากการเปลี่ยนแปลงราคาของตราสารนั้น "การลงทุนในตราสารที่มีวัตถุประสงค์เผื่อขาย" หมายความว่า การลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดซึ่งไม่ถือเป็นการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้าและในขณะเดียวกันไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนดหรือเงินลงทุนในบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมหลักทรัพย์ "วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)" หมายความว่า กิจการที่เข้าลักษณะตามคําจํากัดความของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กําหนดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมตามเอกสารแนบ 2 "การให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยที่มีหลักประกัน" หมายความว่า สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย ที่มีสินทรัพย์หรือการค้ําประกันดังต่อไปนี้เป็นประกันเต็มจํานวน โดยธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันได้อย่างน่าเชื่อถือและสามารถยึดหรือบังคับหลักประกันดังกล่าวได้ตามกฎหมายกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้ หรือเป็นการค้ําประกันโดยผู้ค้ําประกันที่น่าเชื่อถือและธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถไล่เบี้ยกับผู้ค้ําประกันได้ตามกฎหมายกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชําระหนี้ (1) เงินสดหรือสิทธิในเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้น (2) หลักประกันที่ใกล้เคียงเงินสด ได้แก่ หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (3) หลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือนอกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (4) ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (5) สินค้า (6) เครื่องจักร (7) สิทธิการเช่า เฉพาะในกรณีที่ผู้ให้เช่ายินยอมให้มีการสวมสิทธิแทนเมื่อผู้เช่าเดิมซึ่งเป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยไม่ชําระหนี้ ซึ่งไม่รวมถึงการเช่าช่วงสิทธิการเช่า (8) รถจักรยานยนต์ รวมถึงการให้สินเชื่อประเภทการให้เช่าซื้อหรือการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถจักรยานยนต์ ซึ่งกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์เป็นของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยผู้ให้เช่าซื้อหรือผู้ให้เช่าแบบลีสซิ่ง (9) รถยนต์ รวมถึงการให้สินเชื่อประเภทการให้เช่าซื้อหรือการให้เช่าแบบดีสซิ่งรถยนต์ ซึ่งกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยผู้ให้เช่าซื้อหรือผู้ให้เช่าแบบลีสซิ่ง (10) ทรัพย์สินทางปัญญา เฉพาะในกรณีที่มีราคาประเมินที่ยอมรับได้ มีกฎหมายรองรับสิทธิของเจ้าของ และลามารถบังดับได้จริงหากลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ (11) การค้ําประกันโดยกระทรวงการคลัง หรือรัฐบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชําระหนี้ หรือมีหลักฐานว่าจะได้รับชําระเงินจากหน่วยราชการใดอย่างแน่นอน (12) การค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และนิติบุคคลอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด (13) สินทรัพย์หรือการค้ําประกันประเภทอื่นที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด "ผู้เกี่ยวข้อง" หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สมรส (2) เป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (3) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจในการจัดการ (4) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบกุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (5) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ (6) เป็นบริษัทลูกของบริษัทตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) (7) เป็นบริษัทร่วมของบริษัทตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) (8) เป็นตัวการ ตัวแทน หรือ (9) บุคคลอื่นที่มีลักษณะตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในกรณีที่บุคคลใดถือหุ้นในบริษัทใดตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทนั้นเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง 5.2 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจเพื่อการให้บริการแก่ลูกค้าและสามารถทําธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์หนี้สินและเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองได้ภายในขอบเขตดังต่อไปนี้ 5.2.1 ธุรกิจเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจพื้นฐานของธนาคารพาณิชย์ธุรกิจที่เกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือจําเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์เพื่อการให้บริการลูกค้าภายใต้ขอบเขตดังต่อไปนี้ (1) ธุรกิจพื้นฐาน ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละรายได้ โดยจํากัดวงเงินการให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ละรายตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดในเรื่องว่าด้วย การกําหนดอัตราส่วนจํานวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือโครงการหนึ่งโครงการใดกับเงินกองทุนและที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ วงเงินการให้สินเชื่อแก่ถูกหนี้แต่ละรายจะต้องนับรวมวงเงินการให้สินเชื่อแก่ผู้เกี่ยวข้องกับลูกหนี้รายนั้นๆ ส่วนธุรกิจพื้นฐานอื่น เช่น การรับฝากเงินทุกประเภท หรือการโอนเงินชําระเงิน ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถดําเนินการได้โดยไม่จํากัดคู่สัญญา (2) ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยเงินต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศได้ ดังนี้ (2.1) ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยเงินต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศได้ตามที่บุคคลรับอนุญาตกระทําได้ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยเรื่องคําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่บุคคลรับอนุญาตและที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินในเรื่องว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแถกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินตราต่างประเทศนี้ไม่รวมการรับฝากเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (2.2) ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถมีบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศที่ต่างประเทศและส่งเงินตราต่างประเทศออกไปสํารองไว้ในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศที่ต่างประเทศนั้นเพื่อปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขในการเข้าเป็นสมาชิกเพื่อการดําเนินธุรกิจด้านบัตรเครดิตได้ อย่างไรก็ดี หากในการประกอบธุรกิจด้านบัตรเครดิตนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเป็นผู้ได้รับชําระเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องนําเงินตราต่างประเทศที่ได้รับกลับเข้ามาในประเทศไทยทันทีที่ได้รับ พร้อมทั้งขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศนั้นกับตัวแทนรับอนุญาตรายอื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยในประเทศไทยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้มาหรือนําเข้า (3) ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือจําเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจการเรียกเก็บเงินตามตั๋ว การรับรางวัลตั๋วเงินการรับรองตั๋วเงิน หรือการค้ําประกัน หรือธุรกิจทํานองเดียวกันด้วยก็ได้ รวมถึงธุรกิจอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตไว้แก่ธนาคารพาณิชย์แล้ว เช่น การเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ การคูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ การประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน เป็นต้น ทั้งนี้ ยกเว้นธุรกิจดังต่อไปนี้ (3.1) การให้สาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นผู้จัดการกองทุน เพื่อการลงทุน หรือการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือรับบริหารสินทรัพย์ให้แก่บุคคลในต่างประเทศ (3.2) ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการขายชอร์ต (3.3) ธุรกิจการค้าตราสารแห่งหนี้ (3.4) ธุรกิจการค้าหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (3.5) ธุรกิจการรับประกันการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (3.6) ธุรกิจที่เกี่ยวกับอนุพันธ์ทางการเงิน (3.7) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจตาม (3) ได้ โดยไม่จํากัดคู่สัญญา เว้นแต่ในกรณีธุรกิจที่ถือว่าเป็นการให้สินเชื่อ หรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือธุรกิจจัดจําหน่ายตราสารแห่งหนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะสามารถให้บริการได้เฉพาะแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเท่านั้น สําหรับกรณีการประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลีสซิ่ง การให้สินเชื่อภายใต้การให้บริการทางการเงินตามหลักขาริอะฮ์ การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริ่งแบบมีสิทธิไถ่เบี้ย และการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแบบมีสิทธิไล่เบี้ยนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในตารางประเภทธุรกิจที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย) ทําตามเอกสารแนบ3 ด้วย 5.2.2 ธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเอง (1) ธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์หนี้สินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเอง (1.1) การกําหนดขอบเขตธุรกรรมตามสกุลเงิน (1.1.1) ธุรกรรมในสกุลเงินบาท ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมในสกุลเงินบาทได้ทุกประเภท ยกเว้นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์ทางการเงินซึ่งสามารถทําได้เฉพาะเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองเท่านั้น อย่างไรก็ดีธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝงซึ่งมีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรหรือกลุ่มของตัวเเปรที่มีเงื่อนไขกําหนดให้มีการชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวนเฉพาะเพื่อการลงทุน โดยตัวแปรที่ใช้อ้างอิงต้องเข้าข่ายตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝง (1.1.2) ธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อการบริหารสินทรัพย์หนี้สินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองได้ เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป (1.2) การกําหนดขอบเขตธุรกรรมด้านสินทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมด้านสินทรัพย์เพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองได้เฉพาะกับคู่สัญญาที่เป็นประชาชนรายย่อย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันการเงิน บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และรัฐบาลเท่านั้น สําหรับธุรกรรมการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน ห้ามธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินที่ขายโดยนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สําหรับธุรกรรมการลงทุนในตราสารหนี้/ตราสารทุน ห้ามธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยลงทุนในตราสารหนี้/ตราสารทุนที่ออกโดยนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่กําหนดในวรรดหนึ่งเว้นแต่การลงทุนในตราสารดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือมีวัตถุประสงค์เผื่อขายที่มีกําหนดระยะเวลาการถือครองไม่เกินกว่า 1 ปี ทั้งนี้ ตราสารที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยถืออยู่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้านั้นต้องไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขาย มีการประเมินมูลค่าที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอและต้องมีการบริหารจัดการที่ดี โดยธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดว่าด้วยนโยบายการกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน อาทิกําหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการถือครองฐานะในบัญชีเพื่อค้า กําหนดให้มีกระบวนการที่ ใช้ในการประเมินมูลค่าฐานะในบัญชีเพื่อค้าอย่างน้อยทุกวัน และกําหนดให้มีนโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อค้าเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีกระบวนการควบคุมภายในและมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อค้าที่ ได้กําหนดขึ้น (2) ธุรกรรมเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเองได้ เช่นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับตราสารอนุพันธ์ประเภทต่างๆ และธุรกรรมการซื้อ/ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เป็นต้น ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวต้องเป็นการทําเพื่อป้องกันความเสี่ยง และไม่มีลักษณะของการเก็งกําไร 5.3 ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องบันทึกบัญชีรายได้จากการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง 5.4 ในการประกอบธุรกิจและการทําธุรกรรมตามประกาศฉบับนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ หรือหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องด้วย อื่นๆ - 6. เกณฑ์การผ่อนผัน ในกรณีที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้จัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยหรือมีการนรวบรวมหรือโอนกิจการของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เพื่อจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย หรือกรณีที่ลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยได้เปลี่ยนสถานะจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามคําจํากัดความในประกาศฉบับนี้ไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Large Corporate) มีผลให้การประกอบธุรกิจและการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยไม่เป็น ไปตามข้อกําหนดในข้อ 5.2 ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยถือปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการทําธุรกรรม ดังนี้ (1) กรณีสัญญามีกําหนดอายุ (Term loan) ผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหรือทําธุรกรรมตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุสัญญา (2) กรณีสัญญาที่ไม่มีกําหนดอายุ (Call loan) ผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหรือธุรกรรมได้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันเปิดดําเนินการของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้น หรือนับจากวันที่ลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยได้เปลี่ยนสถานะจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามคําจํากัดความในประกาศฉบับนี้ไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Large Corporate) แล้วแต่กรณี หลังจากนั้น จะต้องดําเนินการให้การประกอบธุรกิจและทําธุรกรรมเป็นไปตามขอบเขตที่กําหนด ทั้งนี้ เกณฑ์การผ่อนผันตามข้อ (1) และ (2) มีผลบังคับใช้เฉพาะกรณีสัญญาที่ทําไว้ก่อนวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ดําเนินการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเท่านั้น หรือก่อนวันที่ถูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยได้เปลี่ยนสถานะจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามคําจํากัดความในประกาศฉบับนี้ไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Large Corporate) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้ สําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่เคยได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหรือทําธุรกรรมในลักษณะตามข้อ (1) และ (2) มาแล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหรือธุรกรรมได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดิมที่เคยได้รับการผ่อนผันและให้ถือว่าได้รับการผ่อนผันตามประกาศฉบับนี้ด้วย อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,928
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 31/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 31/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ แต่เดิมมาธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองเพื่อให้สถาบันการเงินมีการกันเงินสํารองอย่างเพียงพอและสามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินได้ถือครองอยู่ได้ โดยเฉพาะเงินให้สินเชื่อซึ่งถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงิน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้นําแนวทางการกันเงินสํารองตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standard - IAS) ฉบับที่ 39 เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารทางการเงิน มาใช้ตั้งแต่ปลายปี 2549 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินทุกแห่งได้ดําเนินการตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการจัดชั้นและการกันเงินสํารองมาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม คือ ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองสําหรับผลต่างของยอดหนี้คงค้างกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือผลต่างของยอดหนี้คงค้างกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันอย่างไรก็ดี เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความสามารถในการรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงในการดําเนินธุรกิจ โดยที่ไม่เป็นการเพิ่มภาระการดําเนินงานของสถาบันการเงินมากจนเกินไป ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในบางประเด็น เช่น ในการจัดชั้นรายบัญชีนั้น หากมีข้อบ่งชี้ว่ากระแสเงินสดรับของลูกหนี้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ในแต่ละบัญชีมีความเกี่ยวข้องกันซึ่งอาจส่งผลให้ความสามารถในการชําระหนี้นั้นลดลง สถาบันการเงินก็ควรพิจารณาจัดชั้นลูกหนี้รายนั้นไว้ด้วยกัน ปรับปรุงประเภทของหลักประกันที่สามารถนํามาหักจากมูลหนี้ก่อนการกันเงินสํารองได้ และกําหนดให้สถาบันการเงินมีนโยบายในการจัดชั้น การกันเงินสํารองและการจัดจําหน่ายหนี้สูญเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สถาบันการเงินใช้เป็นการทั่วไปอยู่แล้วในปัจจุบันให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นต้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 60 และมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "สินทรัพย์ที่เสียหาย" หมายความว่า สินทรัพย์จัดชั้นสูญ "สินทรัพย์ที่อาจเสียหาย" หมายความว่า (ก) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ (ข) สินทรัพย์จัดนั้นสงสัย (ค) สินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน (ง) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ (จ) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ "เงินสํารอง" หมายความว่า เงินสํารองที่กันไว้เป็นค่าเผือหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อการลดราคา ค่าเผื่อการด้อยค่า ค่าเผื่อการปรับมูลค่า สําหรับสินทรัพย์ที่อาจเสียหายรวมถึงสินทรัพย์และภาระผูกพันอื่นที่ไม่เสี่ยหาย ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะต้องกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นแต่ละประเภทตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่ระบุในประกาศฉบับนี้ 5.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสํารองดังนี้ 5.2.1 การกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติ สถาบันการเงินต้องกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารองและการจัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เสียหายหรืออาจเสียหายออกจากบัญชีไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ นโยบายและวิธีปฏิบัติดังกล่าวต้องรวมเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของกรรมการ เจ้าหน้าที่บริหารและพนักงานของสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง (2) การพิจารณาปัจจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการจัดชั้นสินทรัพย์ (3) การกําหนดสมมติฐานและวิธีการคํานวณการกันเงินสํารอง (4) การจัดจําหน่ายหนี้สูญและหนี้สูญรับคืนของสถาบันการเงิน (5) ระบบการควบคุมภายในและแนวทางการบันทึกบัญชี (6) การตรวจสอบความถูกต้องในการจัดชั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารองและการจัดจําหน่ายหนี้สูญ รวมถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลหลักฐานที่นํามาใช้ประกอบ 5.2.2 การจัดชั้นสินทรัพย์ สถาบันการเงินต้องจัดชั้นสินทรัพย์ตามลักษณะสินทรัพย์ดังต่อ ไปนี้ เป็นรายบัญชี โดยสถาบันการเงินต้องคํานึงถึงความเกี่ยวเนื่องของกระแสเงินสดรับของแต่ละบัญชีด้วย ซึ่งหากกระแสเงินสดของลูกหนี้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน ก็อาจต้องจัดชั้นไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดชั้นสินทรัพย์ได้หากพิจารณาเห็นสมควร (1) สินทรัพย์จัดชั้นสูญ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (1.1) สิทธิเรียกร้องซึ่งได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชําระหนี้แต่ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้แล้ว โดยให้พิจารณาตามเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1.1.1) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ (1.1.2) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลําดับก่อนเป็นจํานวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ (1.1.3) สถาบันการเงินได้ฟ้องลูกหนี้หรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคําบังคับหรือคําสั่งของศาลแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ (1.1.4) สถาบันการเงินได้ฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้ โดยศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว (1.2) สิทธิเรียกร้องซึ่งตามพฤติการณ์ไม่อาจเรียกให้ชําระหนี้ ได้ (1.3) สินทรัพย์อื่นซึ่งชํารุด เสียหาย หรือหมดราคา (1.4) ส่วนสูญเสียที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (2.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 12 เดือน นับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญาหรือวันที่สถาบันการเงินทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญแล้ว สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (2.2) (2.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงินหรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้วและไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 12 เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญาแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน (2.3) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการชําระหนี้ หรือซื้อจากการขายทอดตลาด เฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคาไว้ไม่เกิน 12 เดือน โดยมูลค่าที่กล่าวให้หักด้วยประมาณการค่าใช้จ่ายในการขายก่อนนําไปเปรียบเทียบกับราคาตามบัญชี แต่หากสถาบันการเงินได้ทําการประเมินราคาหรือตีราคาไว้เกินกว่า 12 เดือน ให้นํามูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคามาใช้ได้เพียงร้อยละ 50 ทั้งนี้ ในการประเมินราคาหรือตีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2.4) สินทรัพย์อื่นเฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม หรือมูลค่าที่คาคว่าจะได้รับคืน ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องกําหนดมูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าที่คาคว่าจะได้รับคืนตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี (2.5) สินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่คาดว่าจะเรียกคืนไม่ได้ทั้งจํานวน (2.6) ส่วนสูญเสียที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2.7) มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นจะเรียกคืนไม่ได้ทั้งจํานวนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่ง (3) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (3.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญาหรือวันที่สถาบันการเงินทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญหรือสงสัยจะสูญแล้ว สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (3.2) (3.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงินหรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระดันเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญาแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน (3.3) ลูกหนี้ที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว (3.4) ลูกหนี้ที่หยุดดําเนินกิจการหรือเลิกกิจการ หรือกิจการของลูกหนี้อยู่ระหว่างชําระบัญชี (3.5) ลูกหนี้ที่ประวิงการชําระหนี้ หรือกระทําการใด ๆ เพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ เช่น ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน (3.6) ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินติดต่อไม่ได้ หรือตามตัวลูกหนี้ไม่พบหรือลูกหนี้ไปเสียจากภูมิลําเนาที่ปรากฏตามสัญญาโดยไม่แจ้งให้สถาบันการเงินทราบ (3.7) ลูกหนี้ที่ไม่ปรากฏธุรกิจแน่ชัด หรือไม่ได้ประกอบธุรกิจจริงจังหรือนําเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ (3.8) สถาบันการเงินได้ยื่นคําขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง (3.9) สินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่คาคว่าจะเรียกให้ชําระคืนไม่ได้ครบถ้วน (3.10) มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นคาดว่าจะเรียกคืนไม่ได้ครบถ้วนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่ง (4) สินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (4.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญาหรือวันที่สถาบันการเงินทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญ สงสัยจะสูญ หรือสงสัยแล้ว สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (4.2) (4.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงินหรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญา แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน (4.3) มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นมีปัญหาในการเรียกให้ชําระคืน หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้ตามปกติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่ง (5) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (5.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 1 เดือน นับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญาหรือวันที่สถาบันการเงินทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญ สงสัยจะสูญ สงสัย หรือต่ํากว่ามาตรฐาน สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (5.2) (5.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงินหรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้กินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้วและไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 1 เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญาแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน (6) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (6.1) ลูกหนี้ที่ไม่ผิดนัดชําระ สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (6.2) (6.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ยังใช้ไม่เต็มวงเงิน และยังไม่ถูกยกเลิกวงเงินหรือสัญญายังไม่ครบกําหนด หรือลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ค้างชําระดอกเบี้ยไม่เกิน 1 เดือน (6.3) ลูกหนี้อื่นที่ไม่เข้าข่ายเป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญ สงสัยจะสูญ สงสัยต่ํากว่ามาตรฐาน หรือกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควรระวังเป็นพิเศษ) (6.4) ลูกหนี้ที่มีหนังสือยืนยันการตรวจรับงานจากหน่วยราชการตามระเบียบของหน่วยราชการนั้นที่มีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันตรวจรับงาน เงินให้สินเชื่อส่วนที่มีหนังสือยืนขันนั้นให้ถือเป็นสินทรัพย์จัดขั้นปกติ 5.2.3 การจัดขั้นกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ตัดส่วนสูญเสียออกจากบัญชีหรือกันเงินสํารอง ดังต่อไปนี้ (1.1) ในกรณีที่สถาบันการเงินยินยอมลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยที่ค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือรับชําระหนี้โดยการรับโอนสินทรัพย์ตราสารการเงิน หรือรับทุนของลูกหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน ให้สถาบันการเงินตัดจําหน่ายบัญชีลูกหนี้และบันทึกส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้น พร้อมกับโอนกลับรายการเงินสํารองส่วนเกินที่กันไว้เฉพาะสําหรับลูกหนี้รายนั้นทั้งจํานวนได้ (1.2) ในกรณีที่สถาบันการเงินยินยอมผ่อนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยไม่มีการลดต้นเงินและดอกเบี้ยที่ต่างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งมีผลทําให้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของหนี้ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้คํานวณตามวิธีการที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่ํากว่าราคาตามบัญชีเดิมรวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกในบัญชีของลูกหนี้ก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สถาบันการเงินบันทึกเงินสํารองสําหรับส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นดังกล่าวทั้งจํานวน ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถโอนกลับรายการเงินสํารองที่กันไว้แล้วเดิมก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สําหรับลูกหนี้รายนั้นได้เฉพาะจํานวนที่กันไว้แล้วสูงกว่าจํานวนส่วนสูญเสียที่ต้องกัน และหากเงินสํารองที่กันไว้แล้วต่ํากว่าจํานวนส่วนสูญเสียที่ต้องกันก็ให้กันเงินสํารองเพิ่มขึ้นให้ครบจํานวนส่วนสูญเสียที่ต้องกันดังกล่าว (1.3) ในกรณีที่สถาบันการเงินยินยอมลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยที่ค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือรับชําระหนี้บางส่วนโดยการรับโอนสินทรัพย์ ตราสารการเงิน หรือรับทุนของลูกหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน และผ่อนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้ในส่วนที่เหลือให้แก่ลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตาม (1.1) สําหรับกรณีการลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยหรือการรับชําระหนี้ดังกล่าว และปฏิบัติตาม (1.2) ในส่วนการผ่อนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้ (2) ในระหว่างติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้ต้องชําระเงินตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนหรือ 3 งวดการชําระเงิน แล้วแต่ระยะเวลาใดจะนานกว่า ให้ดําเนินการดังนี้ (2.1) ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสงสัยจะสูญ หรือสงสัย ให้จัดชั้นเป็นต่ํากว่ามาตรฐาน (2.2) ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นต่ํากว่ามาตรฐาน หรือกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควรระวังเป็นพิเศษ) ให้คงจัดชั้นเช่นเดิม ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะต้องกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ตามสถานการณ์จัดชั้นหลังการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หากเงินสํารองตาม (2) นี้มีจํานวนสูงกว่าเงินสํารองสําหรับส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตาม (1.1) (1.2) และ (1.3) เมื่อลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้โดยชําระเงินตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน หรือ 3 งวดการชําระเงินแล้ว ให้ถือเป็นลูกหนี้จัดชั้นปกติ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชําระหนี้ใหม่ให้นับระยะเวลาการค้างชําระรวมกับระยะเวลาการค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วพิจารณาจัดชั้นตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นเพื่อการกันเงินสํารองตามเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ต่อไป (3) สําหรับลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สถาบันการเงินจัดชั้นลูกหนี้งกล่าวเป็นชั้นปกติได้ทันทีโดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (3.1) ลูกหนี้ที่สามารถชําระดอกเบี้ยได้ไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด (Market interest rate) โดยไม่มีช่วงปลอดการชําระดอกเบี้ย แต่อาจมีช่วงปลอดชําระเงินต้นได้ (3.2) ลูกหนี้ที่มีส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 20 ของยอดหนี้ตามบัญชีก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งได้มีการตัดออกจากบัญชีแล้วหรือได้มีการกันเงินสํารองในอัตราดังกล่าวครบถ้วนแล้ว โดยหนี้ส่วนที่เหลือได้มีการวิเคราะห์ฐานะและกิจการของลูกหนี้ ตลอดจนกระแสเงินสดอย่างมีหลักเกณฑ์ สมเหตุสมผล และมีหลักฐานประกอบจนเชื่อได้แน่นอนว่า ลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ (3.3) ลูกหนี้ในลักษณะ Loan Syndication หรือมีเจ้าหนี้หลายรายซึ่งบรรดาเจ้าหนี้ได้ตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกันได้ และสามารถแสดงหลักฐานการวิเคราะห์ฐานะและกิจการของลูกหนี้ ตลอดจนกระแสเงินสดอย่างมีหลักเกณฑ์ สมเหตุสมผล และมีความเป็นไปได้แน่นอนที่ลูกหนี้จะปฏิบัติตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ (3.4) กรณีที่สถาบันการเงินได้ฟ้องร้องลูกหนี้ ต่อมาได้มีการตกลงทําสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้มีคําพิพากษาตามยอมแล้ว และกรณีที่สถาบันการเงินได้ฟ้องร้องลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย และศาลได้มีคําสั่งเห็นชอบตามคําขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว (4) ในกรณีที่เห็นว่ามีข้อผิดสังเกตในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้มีการแก้ไข หรือให้สถาบันการเงินหาผู้เชี่ยวชาญอิสระมาประเมินหรือทบทวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือสั่งการให้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ในแต่ละรายได้ 5.2.4 การกันเงินสํารองและการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เสียหายหรืออาจเสียหาย สถาบันการเงินต้องตัดจําหน่ายสินทรัพย์และกันเงินสํารองตามลักษณะการจัดชั้นสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้ (1) สินทรัพย์จัดชั้นสูญ ให้สถาบันการเงินตัดออกจากบัญชีทั้งจํานวน (2) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ จัดชั้นสงสัย หรือจัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน (2.1) ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองในอัตราร้อยละ 100 สําหรับส่วนต่างระหว่างหนี้คงค้างตามบัญชีกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันโดยใช้วิธีการคํานวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือ มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 2 สําหรับหลักประกันประเภทอื่นนอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่า เครื่องจักร และยานพาหนะ ให้สถาบันการเงินสามารถนํามูลค่าของหลักประกันตามตารางสรุปประเภทของหลักประกันและมูลค่าของหลักประกันที่สามารถนํามาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดได้ โดยมิต้องคํานวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันดังกล่าว (2.2) กรณีสินเชื่อรายย่อยที่สามารถจัดกลุ่มสินเชื่อที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตคล้ายคลึงกันได้อย่างเหมาะสม สถาบันการเงินสามารถเลือกกันเงินสํารองตามข้อ (2.1) หรือกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อ (Collective Approach) โดยใช้วิธีผลขาดทุนจากประสบการณ์ในอดีตตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 3 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าสมมติฐานและปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการคํานวณกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกัน หรือผลขาดทุนจากประสบการณ์ในอดีตสําหรับการกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตคล้ายคลึงกันไม่เหมาะสมธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้สถาบันการเงินนั้นกันเงินสํารองเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนวิธีการคํานวณเงินกันสํารองได้ (3) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือจัดชั้นปกติ (3.1) ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองโดยใช้ยอดคงค้างของต้นเงินที่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับเป็นฐานในการคํานวณจากอัตราดังต่อไปนี้ (3.1.1) ร้อยละ 2 ของสินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (3.1.2) ร้อยละ 1 ของสินทรัพย์จัดชั้นปกติ (3.2) กรณีสินเชื่อที่สามารถจัดกลุ่มสินเชื่อที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตคล้ายคลึงกันได้อย่างเหมาะสม สถาบันการเงินสามารถเลือกกันเงินสํารองตามข้อ (3.1) หรือกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อ (Collective Approach) โดยใช้วิธีผลขาดทุนจากประสบการณ์ในอดีตตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินมีระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการคํานวณการกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อตามข้อ (3.2) ไม่เพียงพอ เช่น น้อยกว่า 5 ปี เป็นต้น ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองตามที่คํานวณได้ในข้อ (3.2) หรือ (3.1) แล้วแต่จํานวนใดจะมากกว่า 5.2.5 การกันเงินสํารองสําหรับรายการภาระผูกพัน (รายการนอกงบดุล) (1) รายการนอกงบดุลที่ต้องกันเงินสํารอง สถาบันการเงินต้องกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่เข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้ (1.1) ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดนั้นสูญ สงสัยจะสูญ สงสัย และต่ํากว่ามาตรฐาน ตามข้อ 5.2.2 (1.2). ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่พึงรับรู้ประมาณการหนี้สินเป็นหนี้สินในงบดุลตามข้อ 14 ของมาตรฐานการบัญชีของประเทศไทย ฉบับที่ 53 เมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ต่อไปนี้ (1.2.1) มีภาระผูกพันในปัจจุบันซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีตไม่ว่าภาระผูกพันนั้นจะเป็นภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน (1.2.2) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่สถาบันการเงินจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันดังกล่าว และ (1.2.3) สามารถประมาณมูลค่าภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ (1.3) ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่มีความเสี่ยงค้านเครดิตในระดับสูง เช่น การค้ําประกันการกู้ยืม การอาวัล หรือภาระผูกพันที่สถาบันการเงินไม่สามารถยกเลิกได้ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ในการคํานวณเงินกองทุนที่ต้องดํารงเท่ากับ 1 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ หรือสําหรับบริษัทเงินทุน หรือของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แล้วแต่กรณี (2) อัตราส่วนในการกันเงินสํารอง สถาบันการเงินต้องกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่เข้าเงื่อนไขตามข้อ (1) ในอัตราเดียวกันกับอัตราการกันเงินสํารองของลูกหนี้รายเดียวกันที่ปรากฎในงบดุล ในกรณีที่ลูกหนี้รายดังกล่าวมีหนี้หลายประเภทและหนี้แต่ละประเภทมีอัตราการกันเงินสํารองแตกต่างกัน ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลโดยใช้อัตราเดียวกันกับการกันเงินสํารองสูงสุดของลูกหนี้รายนั้น เว้นแต่สถาบันการเงินสามารถแบ่งแยกที่มาของการชําระเงินของรายการภาระผูกพันนั้นได้ว่าเกี่ยวข้องกับหนี้บัญชีใดของลูกหนี้ ก็ให้สามารถกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันในอัตราเดียวกันกับอัตราการกันเงินสํารองของหนี้บัญชีนั้นได้ ให้สถาบันการเงินรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกันเงินสํารองดังกล่าวไว้ในรายการค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และหนี้สินอื่น และหากต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับรายการของตารางรหัส (classification) ที่ใช้ประกอบการจัดทําชุดข้อมูล (Data Set) โดยเพิ่มรหัสบัญชีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้สถาบันการเงินรายงานตามรหัสบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดขึ้นต่อไป และให้จัดเก็บหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกันเงินสํารองดังกล่าวไว้ที่สถาบันการเงินเองเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 5.2.6 การกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ให้เช่าซื้อ และลูกหนี้ให้เช่าแบบลีสซิ่ง สถาบันการเงินต้องคํานวณจากยอดลูกหนี้ตามจํานวนเงินให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซึ่งคงค้างซึ่งเป็นยอดสุทธิที่หักยอดคงเหลือจากคอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชีหรือรายได้ทางการเงินรอการรับรู้ออกแล้ว ทั้งนี้ กรณีที่เป็นการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ในกรณียานพาหนะและเครื่องจักร สถาบันการเงินสามารถนํามูลค่าของยานพาหนะและเครื่องจักรตามที่กําหนดในข้อ 5.2.9 มาหักออกจากยอดลูกหนี้ตามวรรคหนึ่งก่อนการกันเงินสํารองได้ 5.2.7 การกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ที่มีสัญญาจะซื้อจะขาย ในการคํานวณเงินกันสํารองสําหรับลูกหนี้ที่สถาบันการเงินมีสัญญาจะซื้อจะขายให้กับบุคคลภายนอก สถาบันการเงินต้องคํานวณการกันสํารองโดยให้นํามูลค่าตามราคาซื้อขายมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองโดยมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) ต้องมีหนังสือค้ําประกันการซื้อจากสถาบันการเงินอื่น หรือผู้ซื้อได้มีการวางเงินเป็นประกันไม่ต่ํากว่าร้อยละ 20 ของราคาซื้อขาย (2) ต้องดําเนินการซื้อขายให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับจากวันทําสัญญาจะซื้อจะขาย 5.2.8 การกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ในกรณีสถาบันการเงินที่เป็นบริษัทเงินทุนที่ยังมีลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์อยู่ก่อนที่จะทําการแยกธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน ให้จัดชั้นเฉพาะส่วนต่างระหว่างยอดหนี้ที่สูงกว่ามูลค่าหลักประกันเป็นสินเชื่อจัดชั้นสงสัยจะสูญ และกันเงินสํารองในอัตราร้อยละ 100 5.2.9 การนํามูลค่าหลักประกันไปใช้ในการกันเงินสํารอง ในการกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นทุกประเภท เว้นแต่สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญตามข้อ 5.2.2 (2.3) (2.4) และ (2.6) ให้นํามูลค่าของหลักประกันซึ่งได้ประเมินราคาตามแนวนโยบายการประเมินมูลค่าหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารอง โดยสถาบันการเงินสามารถเลือกที่จะนําหลักประกันมาหักออกจากบัญชีใดของลูกหนี้ก่อนก็ได้ ทั้งนี้ มูลค่าของหลักประกันที่นํามาหักได้จะต้องไม่สูงเกินกว่าวงเงินที่ระบุในสัญญาจํานํา สัญญาจํานอง สัญญาค้ําประกัน หรือสัญญาหลักประกันอื่นแล้วแต่กรณีและประเภทหลักประกัน มูลค่าที่จะนํามาหักได้ รวมทั้งความถี่ในการประเมินราคาหลักประกันแต่ละประเภทให้เป็นไปตามตารางสรุปประเภทของหลักประกัน และมูลค่าของหลักประกันที่สามารถนํามาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 4 5.2.10 การจ่ายเงินปันผล ในระหว่างเวลาที่สถาบันการเงินยังไม่ได้ตัดสินทรัพย์ที่เสียหายออกจากบัญชี หรือยังกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่อาจเสียหายและไม่เสียหายไม่ครบทั้งจํานวน สถาบันการเงินจะจ่ายเงินปันผลหรือเงินตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้นมิได้ 5.2.11 การกันเงินสํารองที่เข้มงวดกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในกรณีที่สถาบันการเงินประสงค์จะจัดชั้นสินทรัพย์และกันเงินสํารองโดยใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าข้อกําหนดตามประกาศฉบับนี้ ให้สถาบันการเงินสามารถกระทําได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินมีความประสงค์จะตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีเนื่องจากเห็นว่าไม่สามารถที่จะเรียกชําระหนี้คืนได้ เช่น ได้ดําเนินคดีทางกฎหมายแล้ว ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่จะชําระหนี้ได้ หรือไม่มีบุคคลค้ําประกัน หรือหลักประกันไม่มีค่าแล้ว สถาบันการเงินสามารถดําเนินการได้ รวมถึงกรณีการตัดลูกหนี้ออกจากบัญชี สามารถตัดบัญชีใดบัญชีหนึ่งออกก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและเพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สถาบันการเงินควรดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติในการตัดลูกหนี้ออกจากบัญชี และการควบคุมภายในให้ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ (2) การตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีจะต้องไม่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกิจการที่บุคคลดังกล่าวมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง 5.2.12 การสอบทานเงินให้สินเชื่อและภาระผูกพัน สถาบันการเงินต้องทําการสอบทานและจัดทํารายงานการสอบทานเงินให้สินเชื่อ เงินให้กู้ยืม ภาระผูกพัน และธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามแนวนโยบายการสอบทานเงินให้สินเชื่อ เงินให้กู้ยืม ภาระผูกพัน และธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่งวดการบัญชีหลังของปี 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,929
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3640 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอะลูมิเนียมฟลูออไรด์สำหรับอุตสาหกรรม – การเตรียมและการเก็บรักษาตัวอย่าง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3640 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อะลูมิเนียมฟลูออไรด์สําหรับอุตสาหกรรม – การเตรียมและการเก็บรักษาตัวอย่าง -------------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอะลูมิเนียมฟลูออไรด์สําหรับอุตสาหกรรม - การเตรียมและการเก็บรักษาตัวอย่าง มาตรฐานเลขที่ มอก. 2019 - 2543 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3009 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอะลูมิเนียมฟลูออไรด์สําหรับอุตสาหกรรม - การเตรียมและการเก็บรักษาตัวอย่าง ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,930
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32 /2551 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ประจําไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 โดยกําหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ลบร้อยละ 0.2 ต่อปี ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยสําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ในวันที่ 25 มิถุนายน 2551 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 เท่ากับร้อยละ 3.63797 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,931
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 32/2551 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 32/2551 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ ---------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในการดําเนินธุรกิจสถาบันการเงินนั้น สถาบันการเงินอาจมีความจําเป็นที่จะต้องถือครองอสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามสัญญา ไม่ว่าจะเป็นการได้มาจากการรับชําระหนี้ การประกันการให้สินเชื่อ หรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินนั้นรับจํานองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคําสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และด้วยเหตุที่ทรัพย์ดังกล่าวมิใช่สินทรัพย์ทางการเงินและมีสภาพคล่องต่ํา ประกอบกับเหตุผลที่ว่าการถือครองทรัพย์สินเหล่านั้นมิใช่ธุรกิจหลักของสถาบันการเงิน พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินจึงจํากัดระยะเวลาการถือครองทรัพย์สินดังกล่าว โดยกําหนดให้สถาบันการเงินจําหน่ายออกไปภายใน 5 ปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของสถาบันการเงิน เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่นเนื่องจากมีเหตุอันจําเป็น เช่น สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่เป็นอุปสรรคต่อการจําหน่ายเป็นต้น ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและหนังสือเวียนซึ่งเกี่ยวข้องกับการถือครองอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ มาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 80(2) (ข) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับแนวทางการจําหน่ายและการกันเงินสํารองสําหรับการถือครองอสังหาริมทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงินที่ได้มาจากการชําระหนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา หลักเกณฑ์การจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ สถาบันการเงินต้องปฏิบัติเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 5.1 วันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ 5.1.1 กรณีทั่วไปให้สถาบันการเงินถือวันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นวันที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ 5.1.2 กรณีที่สถาบันการเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินนั้นรับจํานองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคําสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้สถาบันการเงินถือวันที่มีการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นวันที่ได้มา 5.1.3 กรณีสถาบันการเงินถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากการรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินอื่นตามนโยบายของทางการเพื่อแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินนั้น การนับระยะเวลาถือครองอสังหาริมทรัพย์ให้เริ่มตั้งแต่วันที่สถาบันการเงินได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น 5.2 การจําแนกกลุ่มของอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ 5.2.1 อสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินได้รับโอนมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 5.2.2 อสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินได้รับโอนมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 เฉพาะที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สําหรับลูกหนี้ ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2548 และให้รวมถึงลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสํารองครบร้อยละ100 และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี 5.2.3 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับโอนมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป และไม่ใช่กรณีตาม 5.2.2 5.2.4 อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ระหว่างฟ้องร้องดําเนินคดีในชั้นศาลหรือมีการยื่นข้อเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาหรือมีการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอให้ดําเนินคดีแล้ว หรือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาในการรังวัดยังไม่เสร็จหรือไม่ถูกต้อง หรือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารสิทธิ์ หรือเป็นอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่คงเหลือจากการยกเป็นสาธารณสมบัติหรือถูกเวนคืน หรือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกรอนสิทธิหรือมีภาระผูกพัน ซึ่งสถาบันการเงินมีหลักฐานอย่างชัดเจนว่าอยู่ระหว่างการดําเนินงานของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการเงินได้พยายามเร่งรัดการดําเนินการมากที่สุดแล้ว 5.3 การจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์และอัตรากันเงินสํารอง 5.3.1 สถาบันการเงินต้องจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 5.2.1 และข้อ 5.2.2 ให้หมดภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ได้มา 5.3.2 ในการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์รอการขายตามข้อ 5.3.1 ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติ ดังนี้ (1) สถาบันการเงินต้องทยอยขายอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ถือครองกรรมสิทธิ์มาแล้ว 5 ปี โดยให้เริ่มขายในปีถัดจากปีที่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์ครบ 5 ปีเป็นต้นไปในการคํานวณจํานวนอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่จะต้องทยอยขายในแต่ละปี ให้สถาบันการเงินใช้มูลค่าตามบัญชีสุทธิของอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ครบกําหนดต้องขายนั้นหารด้วยจํานวนปีคงเหลือจนถึงปีที่สิ้นสุดการขยายระยะเวลา ทั้งนี้ ในการคํานวณจํานวนเงินที่ต้องขายอสังหาริมทรัพย์รอการขายในแต่ละปีนั้น ให้สถาบันการเงินใช้มูลค่าตามบัญชีสุทธิของปีก่อนหน้าปีที่ต้องขายอสังหาริมทรัพย์รอการขายดังกล่าว (2) ในกรณีที่สถาบันการเงินไม่สามารถขายอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ถือครองครบ 5 ปี ในแต่ละปีได้ตามจํานวนที่คํานวณในข้อ 5.3.2 (1) สถาบันการเงินสามารถขายอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้รับโอนมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ซึ่งถือครองยังไม่ครบ 5 ปี หรือถือครองครบ 5 ปีแล้วแต่สถาบันการเงินสามารถขายได้มากกว่าเกณฑ์ที่กําหนดแทนก็ได้ แต่จะต้องมียอดรวมเป็นจํานวนเงินไม่ต่ํากว่าจํานวนที่ต้องทยอยขายทั้งหมดในรอบปีดังกล่าว 5.3.3 ให้สถาบันการเงินจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 5.2.3 และข้อ 5.2.4 ให้หมดภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาหรือวันที่การดําเนินการในกรณีต่างๆ สิ้นสุดลง แล้วแต่กรณี 5.3.4 หากสถาบันการเงินไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้หมดภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 5.3.1 และข้อ 5.3.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้สถาบันการเงินที่สามารถกันเงินสํารองสําหรับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงเวลาดังที่ ระบุนี้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปอีก 2 ปี (1) ร้อยละ 25 ของมูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคาหรือราคาตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ํากว่า ภายในปีที่ 11 นับแต่วันที่ได้มาในกรณีข้อ 5.3.1 หรือภายในปีที่ นับแต่วันที่ได้มาหรือวันที่การดําเนินการในกรณีต่างๆสิ้นสุดลง แล้วแต่กรณีในกรณีข้อ 5.3.3 (2) ร้อยละ 50 ของมูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคาหรือราคาตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ํากว่า ภายในปีที่ 12 นับแต่วันที่ได้มาในกรณีข้อ 5.3.1 หรือภายในปีที่ 7 นับแต่วันที่ได้มาหรือวันที่การดําเนินการในกรณีต่างๆสิ้นสุดลง แล้วแต่กรณีในกรณีข้อ 5.3.3 5.3.5 สถาบันการเงินต้องทําการประเมินราคาและจัดชั้นอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ถือครอง และกันเงินสํารองสําหรับผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคา ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน 5.3.6 ให้สถาบันการเงินจัดทําและเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับการจําหน่ายเละข้อมูลการกันเงินสํารองเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ และในกรณีมีเหตุอันควร ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งระงับหรือยกเลิกการอนุญาตการผ่อนผันระยะเวลาการถือครองดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,932
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอายุ 2 เดือน 1 ปี และ 3 ปี ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ดังนี้ | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 6/364/51(CB09618A) | 24,289 | 8 กรกฎาคม 2551 | 10/7/51 – 18/6/52 | 364 วัน | 343 วัน | | 3/63/51 | 30,000 | 22 กรกฎาคม 2551 | 24/7/51 – 29/9/51 | 63 วัน | 63 วัน | | 3/3ปี/2551 | 10,000 | 29 กรกฎาคม 2551 | 31/7/51 – 31/7/54 | 3 ปี | 3 ปี | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/3ปี/2551 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 25 ก.ค. 2551 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่าๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 31 ม.ค. และ ก.ค. ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 31 ม.ค. 2552 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 31 ก.ค. 2554 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,933
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3658 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาลีอิกแอนไฮไดรด์สำหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 4 : การวิเคราะห์หาปริมาณมาลีอิกแอนไฮไดรด์ – วิธีไททริเมทริก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3658 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาลีอิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 4 : การวิเคราะห์หาปริมาณมาลีอิกแอนไฮไดรด์ – วิธีไททริเมทริก ------------------------ อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาลีอิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 4 : การวิเคราะห์หาปริมาณมาลีอีกแอนไฮไดรด์ - วิธีไททริเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1807 เล่ม 4 - 2542 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3026 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาลีอิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 4 : การวิเคราะห์หาปริมาณมาลีอิกแอนไฮไดรด์ - วิธีไททริเมทริก ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,934
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 33/2551 เรื่อง การให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 33/2551 เรื่อง การให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีตธนาคารแห่งประเทศไทยมีการกําหนดหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อที่เข้าข่ายว่าจะมีลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังในการให้สินเชื่อและมีการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่เหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเว้นแต่ได้ยกเลิกการนับรวมการให้สินเชื่อในบางกรณี เช่น การให้สินเชื่อแก่บุคคลที่ดําเนินธุรกิจขาดทุนเป็นเวลาตั้งแต่ 3 ปีติดต่อกันขึ้นไปหรือขาดทุนเกินกว่าทุนซึ่งได้ชําระแล้วเป็นสินเชื่อที่เข้าข่ายว่าจะมีลักษณะที่เห็นว่าอาจเรียกคืนไม่ได้ เนื่องจากกรณีกิจการที่เริ่มก่อตั้ง การดําเนินธุรกิจในช่วงแรกอาจประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง ซึ่งหากกําหนดให้การให้สินเชื่อแก่กิจการดังกล่าวเข้าข่ายว่าจะเรียกคืนไม่ได้ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งธุรกิจใหม่ได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงินระงับหรืองดเว้นการให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2532 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ให้สถาบันการเงินงดเว้นหรือระงับการให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ ซึ่งมีลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ 5.1.1 การให้สินเชื่อแก่บุคคลซึ่งตามพฤติการณ์ไม่อาจชําระหนี้ได้ หรืออาจชําระหนี้ได้โดยยาก ตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) บุคคลซึ่งศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (2) บุคคลซึ่งถูกฟ้องบังคับชําระหนี้และไม่มีทรัพย์สินพอที่จะยึดมาชําระหนี้ได้ (3) บุคคลซึ่งมีฐานะการเงินไม่มั่นคงหรือความสามารถในการหารายได้ต่ําจนไม่น่าเชื่อว่าจะชําระหนี้ได้ (4) บุคคลซึ่งไม่ปรากฏว่าประกอบธุรกิจแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าไม่ได้ประกอบธุรกิจจริงจัง และไม่ปรากฏว่ามีรายได้เพียงพอที่จะชําระหนี้ได้ 5.1.2 การให้สินเชื่อโดยมีบุคคลตาม 5.1.1 เป็นผู้ค้ําประกัน 5.1.3 การให้สินเชื่อที่ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานแสดงข้อมูลสําคัญเกี่ยวกับตัวลูกหนี้หรือผู้ค้ําประกัน 5.1.4 การให้สินเชื่อที่ปรากฏหลักฐานว่าลูกหนี้หรือผู้ค้ําประกันตามเอกสารหลักฐานไม่มีตัวตนจริงหรือมีแต่มิได้เป็นผู้ขอสินเชื่อหรือผู้ค้ําประกัน 5.1.5 การให้สินเชื่อโดยไม่ได้มีการวิเคราะห์หรือประเมินฐานะหรือความสามารถในการชําระหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ค้ําประกัน อย่างเช่นสถาบันการเงินผู้ประกอบกิจการด้วยความระมัดระวังพึงกระทํา 5.1.6 การทําธุรกรรมด้านสินเชื่อที่มีการประเมินราคาหลักประกันไว้สูงกว่ามูลค่าหลักประกันที่แท้จริง โดยมูลค่าหลักประกันที่แท้จริงมิได้ใช้มูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคาตามหลักเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินมูลค่าหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงิน 5.2 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าสถาบันการเงินใดมีการให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ตามข้อ 5.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้สถาบันการเงินแก้ไขหรือระงับการดําเนินการดังกล่าวได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,935
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.66/14/51 | 80,000 | 3 กรกฎาคม 2551 | 7/7/51 – 21/7/51 | 14 | | พ.67/14/51 | 80,000 | 4 กรกฎาคม 2551 | 8/7/51 – 22/7/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,936
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 34/2551 เรื่อง หลักประกันเป็นทรัพย์สินที่บริษัทเงินทุนต้องเรียก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 34/2551 เรื่อง หลักประกันเป็นทรัพย์สินที่บริษัทเงินทุนต้องเรียก ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีต เพื่อป้องกันความเสียหายให้แก่บริษัทเงินทุน อันเนื่องจากการทําธุรกรรมการให้กู้ยืมหรือค้ําประกันแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเงินทุน จึงมีข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันเป็นทรัพย์สินที่บริษัทเงินทุนต้องเรียก การออกประกาศฉบับนี้ เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักประกันเป็นทรัพย์สินที่บริษัทเงินทุนต้องเรียกมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากหลักเกณฑ์เดิม ทั้งนี้ การทําธุรกรรมของบริษัทเงินทุนที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเรียกหลักประกัน อันเนื่องจากเป็นการกระทํากับคู่ค้าซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทเงินทุนนั้น จะต้องไม่ขัดกับข้อบังคับตามมาตรา 48 (1) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และหลักเกณฑ์ว่าด้วยการให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินด้วย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 46 (5) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักประกันเป็นทรัพย์สินที่บริษัทเงินทุนต้องเรียก อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ คําจํากัดความของคําว่า "สถาบันการเงิน" "ผู้มีอํานาจในการจัดการ" และ "ผู้ที่เกี่ยวข้อง" ให้ เป็นไปตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (เอกสารแนบ 2) 5.2 หลักเกณฑ์ 5.2.1 การทําธุรกรรมที่บริษัทเงินทุนต้องเรียกหลักประกันเต็มจํานวน การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลดังต่อไปนี้ บริษัทเงินทุนต้องเรียกหลักประกันเต็มจํานวน (1) ผู้ถือหุ้น หรือบุคคลซึ่งถือหรือมีหุ้นของบริษัทเงินทุนเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทเงินทุนนั้น (2) บริษัทจํากัดที่บริษัทเงินทุน กรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทเงินทุนนั้นถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดดังกล่าว (3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทเงินทุนนั้นเป็นหุ้นส่วน (4) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทเงินทุนนั้นเป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือห้างหุ้นส่วนจํากัดที่กรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทเงินทุนนั้นเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 10 ของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัดดังกล่าว (5) บริษัทจํากัดหรือห้างหุ้นส่วนที่กรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทเงินทุนนั้นเป็นกรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ 5.2.2 หลักประกันที่บริษัทเงินทุนต้องเรียก การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่เข้าลักษณะตามข้อ 5.2.1 บริษัทเงินทุนจะต้องดําเนินการเพื่อให้ได้ซึ่งหลักประกันลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ (1) ตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลไทย (2) หุ้นกู้และพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย (3) หุ้น หุ้นกู้ และพันธบัตรที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (4) ตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ที่บริษัทเงินทุนนั้นเป็นผู้ออก (5) หลักทรัพย์จดทะเบียนและหลักทรัพย์รับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงหลักทรัพย์ที่ออกโดยลูกหนี้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ (6) อสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ มูลค่าของหลักประกันตาม (1)-(5) ข้างต้นให้ใช้การประเมินราคาหรือตีราคาตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินมูลค่าหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงิน 5.2.3 ข้อยกเว้นการทําธุรกรรมที่บริษัทเงินทุนไม่ต้องเรียกหลักประกันเต็มจํานวน (1) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีธนาคารพาณิชย์ค้ําประกันหนี้เต็มจํานวน หรือที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (2) การซื้อหุ้นกู้ที่ออกโดยบุคคลตามข้อ 5.2.1 ที่ข้าลักษณะและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (2.1) เป็นหุ้นกู้ที่มีการซื้อขายในตลาครองตราสารหนี้ (2.2) เป็นหุ้นกู้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในระดับตั้งแต่ A- ขึ้นไป ณ วันที่ซื้อหุ้นกู้นั้น (3) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลตามข้อ 5.2.1 (1)-(5) ซึ่งเป็นยุคคลที่ประกอบธุรกิจในภาคธุรกิจที่สําคัญอันจะช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว เช่น การเกษตร การเหมืองแร่และเหมืองหินการอุตสาหกรรมการผลิต การส่งสินค้าออก การค้าส่งผลิตผลทางกสิกรรม และการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อย และต้องเข้าลักษณะและเงื่อนไขลักษณะหนึ่งลักษณะใคดังต่อไปนี้ (3.1) เป็นบริษัทจํากัดที่ผลการดําเนินงานมีกําไรสุทธิ 5 ปีต่อเนื่องกันจนถึงวันที่บริษัทให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ (3.2) เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3.3) เป็นการให้สินเชื่อในลักษณะ Syndicated Loan ที่มีโครงการชัดเจน และต้องเป็นการให้สินเชื่อร่วมกันกับสถาบันการเงินอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 แห่งโดยสถาบันการเงินอื่นแต่ละแห่งมีวงเงินให้สินเชื่อไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินที่จะให้สินเชื่อ (3.4) เป็นการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงินที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทเงินทุนต้องถือปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อแก่บุคคลตามตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ และเมื่อรวมวงเงินที่ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อแก่บุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเรียกหลักประกันตาม 5.2.3 ข้างต้นทุกรายรวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 75 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของบริษัทเงินทุนนั้น อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,937
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.68/14/51 | 80,000 | 8 กรกฎาคม 2551 | 10/7/51 – 24/7/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,938
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 35/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 35/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ----------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีต แนวทางกํากับลูกหนี้รายใหญ่ได้จํากัดขอบเขตการทําธุรกรรมกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินมีการกระจายความเสี่ยงไม่ให้กระจุกตัวในลูกหนี้รายใดรายหนึ่งมากเกินไป จากสภาวการณ์ที่ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป สถาบันการเงินได้พัฒนารูปแบบการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ การเงิน การธนาคารที่ซับซ้อนและมีความหลากหลายยิ่งขึ้น การออกประกาศฉบับนี้ สาระสําคัญไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก เป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่มาไว้ในฉบับเดียวกัน และเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ กล่าวคือ ประการที่ 1เพื่อให้การกํากับดูแลสามารถรองรับความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมของสถาบันการเงินได้จริง และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล จึงได้ขยายขอบเขตการกํากับลูกหนี้รายใหญ่โดยนับรวมการทําธุรกรรมทุกประเภทในการคํานวณอัตราส่วน และนับควจามสัมพันธ์ของลูกหนี้ตามนิยามผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้ขยายฐานเงินกองทุนที่เหมาะสมโดยเลือกใช้เงินกองทุนทั้งสิ้น ประการที่ 2เพื่อให้การกํากับดูแลสถาบันการเงินทุกประเภทเป็นมาตรฐานเดียวกันสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เนื่องจากเดิมเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีความแตกต่างกันอยู่ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 และมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ 5.1.1 คําจํากัดความดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ตามเอกสารแนบ 2 (1) ธุรกิจทางการเงิน (2) การให้สินเชื่อ (3) ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ (4) สถาบันการเงิน (5) บริษัท (6) บริษัทแม่ (7) บริษัทถูก (8) บริษัทร่วม (9) ผู้ที่เกี่ยวข้อง 5.1.2 "เงินกองทุน" หมายความว่า เงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ สําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สําหรับบริษัทเงินทุน หรือสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี 5.1.3 "ก่อภาระผูกพัน" หมายความว่า ภาระผูกพันที่ระบุตามประกาศธนาการแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์หรือสําหรับบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณี 5.1.4 "ตั๋วเงินที่มีคุณภาพ" หมายความว่า ตั๋วเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1.1) ตั๋วเงินที่มีสถาบันการเงินอื่นในประเทศรับรองหรือรับอาวัล (1.2) ตั๋วเงินที่ออกโดยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือตั๋วเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไปโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 5.2 หลักเกณฑ์ 5.2.1 การคํานวณอัตราส่วนการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (1) จํานวนเงินที่สถาบันการเงิน ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุน (2) จํานวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 11 ของเงินกองทุน โดยกําหนดอัตราส่วนการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยแก่คู่ค้าแต่ละประเภทตามเอกสารแนบ 3 (3) จํานวนเงินที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่คู่ค้าที่เป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ อาจเกินกว่าอัตราที่กําหนดในข้อ 5.2.1(1) โดยมีเงื่อนไขว่าคู่ค้าดังกล่าวแต่ละรายต้องมีวงเงินไม่เกินร้อยละ 60 ของเงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และเมื่อนับรวมกับวงเงินของคู่ค้ารายอื่นที่เกินวงเงินดังกล่าวแล้ว ต้องมีวงเงินรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 2.5 เท่าของเงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศด้วย โดยสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกรรมของคู่ค้ารายที่เกินอัตราส่วนดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบตามแบบรายงานในเอกสารแนบ 4 ทุกสิ้นเดือนที่มีรายการนั้น (4) ในการพิจารณาจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใดหรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ให้สถาบันการเงินพิจารณาฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของกลุ่มลูกหนี้ว่ามีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด (Financial Interdependence) จนเสมือนเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการให้สินเชื่อแก่บุคคลเดียวกัน (Single Risk) เป็นสําคัญ ตามเอกสารแนบ 5 5.2.2 วิธีคํานวณการก่อภาระผูกพัน ให้สถาบันการเงินคํานวณมูลค่าของภาระผูกพันที่ใช้ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 5.2.1 โดยนําจํานวนเงินตามสัญญาภาระผูกพัน (Notional Amount) ไปคูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามสัญญาภาระผูกพันแต่ละประเภทที่กําหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ หรือสําหรับบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณี 5.2.3 ข้อยกเว้นในการคํานวณอัตราส่วนการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (1) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามข้อ 5.2.1 ไม่รวมถึงธุรกรรมดังต่อไปนี้ (1.1) ธุรกรรมตามมาตรา 52 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (1.2) การให้กู้ยืมระหว่างสถาบันการเงินที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (1.2.1) การให้กู้ยืมประเภทชําระคืนเมื่อทวงถาม (Call loan) หรือให้กู้ยืมเงินประเภทกําหนดชําระคืนไม่เกินหนึ่งวัน (Overnight loan) แก่ธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยในประเทศไทย (1.2.2) การให้กู้ยืมเงินประเภทมีระยะเวลา (Term loan) ไม่เกิน 12 เดือน เฉพาะสกุลเงินบาท แก่ธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยในประเทศไทย (1.3) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ที่มีความเสี่ยงน้อยที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (1.3.1) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่กระทรวงการคลัง หรือส่วนราชการอื่นใด หรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (1.3.2) การก่อภาระผูกพัน หรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ โดยมีเงินฝากที่สถาบันการเงินนั้น หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือหลักทรัพย์สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หลักทรัพย์ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง หรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือหลักทรัพย์ที่ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝากเป็นประกัน ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เกินจํานวนเงินฝากที่เป็นประกันหรือราคาหลักทรัพย์ที่ตราไว้ (1.3.3) การให้สินเชื่อโดยมีหรือลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลต่างประเทศที่มีน้ําหนักความเสี่ยง 0 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ หรือสําหรับบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณีค้ําประกันเต็มจํานวน (1.3.4) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ที่มีตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินนั้น หรือเงินสดเป็นหลักประกัน (1.3.5) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ที่เป็นเงินตราต่างประเทศแก่บุคคลที่มีภูมิลําเนาในประเทศไทยโดยสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นที่อยู่ในต่างประเทศของธนาคารที่ตั้งอยู่ต่างประเทศและมีสาขาอยู่ในประเทศไทย (1.3.6) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มี ลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ที่ได้รับการค้ําประกันจากสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือสถาบันการเงินในต่างประเทศ (1.3.7) ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น แบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm underwrite) 5.2.4 แนวทางในการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่แก่กลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพ หรือมีฐานะกิจการที่มั่นคง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะกลุ่มธุรกิจเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกําหนดเป็นรายกรณี โดยพิจารณาว่าต้องเข้าข่ายเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ หรือมีฐานะกิจการที่มั่นคง ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามเอกสารแนบ 6 5.2.5 หลักเกณฑ์การนับถูกหนี้ตั๋วเงิน การให้สินเชื่อโดยวิธีการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินให้ถือเป็นการให้สินเชื่อแก่บุคคลดังกล่าวต่อไปนี้ ซึ่งเมื่อรวมกับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแล้ว ต้องไม่เกินอัตราส่วนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.2.1 แล้วแต่กรณี ด้วย (1) กรณีเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพที่มีสถาบันการเงินรับรองหรือรับอาวัลให้นับสถาบันการเงินที่รับรองหรือรับอาวัลตั๋วเงินที่มีคุณภาพเป็นลูกหนี้ (2) กรณีเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพที่ไม่มีสถาบันการเงินรับรองหรือรับอาวัลให้นับผู้สั่งง่ายหรือผู้ออกตั๋วเงินที่มีคุณภาพเป็นลูกหนี้ (3) กรณีเป็นตั๋วเงินไม่มีคุณภาพ ให้นับผู้ทรงซึ่งขายตั๋วเงินและบุคคลซึ่งต้องรับผิดชอบตามตั๋วเงินไม่มีคุณภาพทุกทอดเป็นลูกหนี้ 5.2.6 หลักเกณฑ์การนับการลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือให้สินเชื่อเพื่อซื้อตราสารตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้แบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm Underwrite) (1) ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้แบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm Underwrite) ได้แก่ ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสาร ดังต่อไปนี้ (1.1) หุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกเพื่อระดมทุ่นจากประชาชนหรือบุคคลใด ที่ได้รับการจัดอันดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (1.2) หุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงิน (2) ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.6(1) เมื่อนับรวมกับจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามข้อ 5.2.1 ต้องมีมูลค่าไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินกองทุนโดยให้นับแต่วันที่สถาบันการเงินทําสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายจนถึงวันปิดการเสนอขายและในกรณีที่สถาบันการเงินไม่สามารถจําหน่ายและจําเป็น ต้องลงทุนหรือให้สินเชื่อเพื่อซื้อตราสารดังกล่าวให้จํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามข้อ 5.2.1 ได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินกองทุน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันปิดการเสนอขายตราสารนั้น 5.2.7 หลักเกณฑ์การนับถูกหนี้ที่มีการรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต (ที่ไม่ใช่ธุรกรรม Credit Derivatives) (1) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือสถาบันการเงินในต่างประเทศเป็นผู้รับประกันความเสี่ยง ให้นับสถาบันการเงินที่เป็นผู้รับประกันความเสี่ยงนั้นเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 5.2.1 (2) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันจากบริษัทอื่น ให้ยังคงนับถูกหนี้รายนั้นเป็นถูกหนี้ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 5.2.1 โดยไม่นับบริษัทผู้ค้ําประกันเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 5.2.1 5.2.8 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ธุรกรรมอื่น (1) ธุรกรรมให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และการขายชอร์ต ธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหถักทรัพย์ (Securitisation) แตะธุรกรรม Collateralized Debt Obligation ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตและการกํากับดูแลการทําธุรกรรมในแต่ละเรื่อง (2) ธุรกรรมอนุพันธ์ ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์และสําหรับบริษัทเงินทุน และ/หรือ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ๆ 5.2.9 เกณฑ์การกํากับดูแลตามประกาศฉบับนี้ ไม่รวมถึงการให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ได้รับการอนุญาตให้จัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินดังกล่าวต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม 5.2.10 ในกรณีที่มีการกระทําที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 50 โดยที่สถาบันการเงินสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังด้วยความรอบคอบในการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่ไม่สามารถทราบหรือป้องกันมิให้เกิดการฝ่าฝืนดังกล่าวได้ ให้ถือว่าสถาบันการเงินมิได้กระทําความผิดตามมาตรา 50 อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล 6.1 ในกรณีที่สถาบันการเงินใดได้รับผ่อนผันการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเกินอัตราส่วนตามข้อ 5.2.1 อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ ให้สถาบันการเงินนั้น สามารถคงการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วต่อไปตามที่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย 6.2 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลใด หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว รวมกันเกินอัตราที่กําหนดในข้อ 5.2.1 ก่อนที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ โดยการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าว ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่บุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวอีกไม่ได้ และต้องดําเนินการเพื่อให้การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 50 โดยเร็ว ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,939
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 36/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับการทำธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มี ผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 36/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มี ผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีต สถาบันการเงินได้มีการลงทุนในกิจการต่างๆ หลากหลาย ทั้งกิจการที่สถาบันการเงินเข้าไปลงทุนด้วยตนเองและลงทุนร่วมกับกรรมการ ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้น รวมทั้งมีการให้สินเชื่อแก่กิจการที่กล่าว ผู้ถือหุ้น และผู้บริหารระดับสูงในปริมาณสูงโดยไม่ได้มีกระบวนการพิจารณาสินเชื่อที่รัดกุมเหมาะสม หรือให้สินเชื่อในลักษณะเอื้อประโยชน์แก่กิจการเหล่านี้ ส่งผลให้สถาบันการเงินได้รับความเสียหายจากการให้สินเชื่อนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการให้สินเชื่อหรือลงทุนในกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง และการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน ตั้งแต่ปี 2544เป็นต้นมา โดยกําหนดอัตราส่วนและแนวทางการกํากับดูแลให้แก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งเดิมการกําหนดหลักเกณฑ์ของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนในบางส่วนยังมีความแตกต่างกันอยู่ อันเนื่องมาจากขอบเขตการประกอบธุรกิจ การออกประกาศในครั้งนี้เป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกันมาไว้ในฉบับเดียวกันโดยสาระสําคัญส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การดําเนินการครั้งนี้ จึงเป็นการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ กล่าวคือ ประการที่ 1ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มเมื่อพระราช บัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ได้รับการอนุมัติในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเดิมอยู่ภายใต้เกณฑ์การกํากับในเรื่องนี้จะถูกแยกออกไปกํากับดูแลตามเกณฑ์กํากับแบบรวมกลุ่มคงเหลือเพียงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องที่เป็นธุรกิจนอกกลุ่ม ประการที่ 2เพื่อให้การกํากับดูแลสามารถรองรับความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมของสถาบันการเงินที่ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องของสถาบันการเงินได้จริง จึงได้ขยายขอบเขตการกํากับดูแลโดยนับรวมการทําธุรกรรมทุกประเภทในการคํานวณอัตราส่วน และขยายฐานเงินกองทุนที่เหมาะสมโดยเลือกใช้เงินกองทุนทั้งสิ้น ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ที่จะปรับปรุง ประการที่ 3เพื่อให้การกํากับดูแลสถาบันการเงินทุกประเภทเป็นมาตรฐานเดียวกันสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เนื่องจากเดิมเกณฑ์การกํากับดูแลของธนาคารพาณิชย์ และของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีความแตกต่างกันในบางส่วน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประ โยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิกตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ 5.1.1 คําจํากัดความของนิยามดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามมาตรา 4 และมาตรา 49 วรรค 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ตามเอกสารแนบ 2 (1) ธุรกิจทางการเงิน (2) การให้สินเชื่อ (3) ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ (4) สถาบันการเงิน (5) บริษัท (6) บริษัทแม่ (7) บริษัทลูก (8) บริษัทร่วม (9) ผู้มีอํานาจในการจัดการ (10) ผู้ที่เกี่ยวข้อง (11) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (12) กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง 5.1.2 "เงินกองทุน" หมายถึง เงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ สําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สําหรับบริษัทเงินทุน หรือสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี 5.2 หลักเกณฑ์ 5.2.1 อัตราส่วนการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือแก่กิจการที่มีผลประ โยชน์เกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ในแต่ละรายเกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน หรือเกินร้อยละ 25 ของหนี้สินทั้งหมดของผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือของกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า ทั้งนี้ ให้นับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ด้วย 5.2.2 ข้อยกเว้นในการคํานวณอัตราส่วน การคํานวณอัตราส่วนการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ตามข้อ 5.2.1 ไม่รวมถึงการทําธุรกรรมดังต่อไปนี้ (1) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ส่วนราชการ หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (2) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บริษัทที่ส่วนราชการ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น หรือนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีอํานาจควบคุมกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม (3) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่กองทุนรวมที่จัดตั้งโดยส่วนราชการ (4) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อโดยมีหลักประกันเต็มจํานวนเป็นเงินสด เงินฝากที่สถาบันการเงินนั้น ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินนั้น หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่ปราศจากภาระผูกพันและโอนเปลี่ยนมือได้ หรือหลักทรัพย์ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ การตีราคาหลักทรัพย์ให้ถือเอามูลค่าที่ตราไว้ของหลักทรัพย์หรือตราสารนั้น (5) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในกิจการที่สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประ โยชน์เกี่ยวข้อง ไม่ได้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในกิจการนั้นก่อนการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนในกรณีที่สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง มีผลประ โยชน์เกี่ยวข้องกับกิจการดังกล่าวก่อนการปรับโครงสร้างหนี้ หรือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ภายหลังที่สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องเนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หากมีความจําเป็นต้องให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพิ่มจนเกินอัตราที่กําหนดตามข้อ 5.2.1 จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน (6) การก่อภาระผูกพันตามสัญญาอนุพันธ์กับบริษัทแม่ สาขาอื่นของบริษัทแม่ หรือบริษัทร่วม ที่อยู่ในต่างประเทศของสถาบันการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารความเสี่ยงของธุรกรรมอนุพันธ์ที่สถาบันการเงินทํากับบุคคลอื่น 5.2.3 การคํานวณการก่อภาระผูกพันที่กําหนดในข้อ 5.2.1 ให้ถือปฏิบัติโดยอ้างอิงวิธีการคํานวณในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ 5.2.4 การทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องจะต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดพิเศษผิดไปจากปกติ ซึ่งเข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้ (1) ไม่ได้พิจารณาถึงฐานะและผลการดําเนินงานของธุรกิจ หรือไม่ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ (2) มีลักษณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการนั้น เช่น เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยต่ํากว่าอัตราปกติของลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับเดียวกัน ไม่มีการจดจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ไม่ดําเนินการให้หลักประกันมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เป็นต้น (3) มีเหตุอันควรสงสัยว่าลูกหนี้ไม่ได้ดําเนินธุรกิจจริง 5.2.5 ให้สถาบันการเงินจัดทํานโยบายการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องโดยจะต้องมีข้อกําหนดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ (2) การทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสถาบันการเงินด้วยมติเป็นเอกฉันท์เว้นแต่กรณีดังนี้ให้คณะกรรมการสถาบันการเงินสามารถมอบอํานาจให้คณะกรรมการสินเชื่อหรือคณะกรรมการบริหารเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวได้ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่สถาบันการเงินกําหนด และให้นําจํานวนเงินที่ให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องนั้น เข้าขอรับสัตยาบันจากคณะกรรมการสถาบันการเงินในการประชุมครั้งถัดไปและต้องได้รับมติเอกฉันท์ (2.1) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ส่วนราชการ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือบริษัทที่ส่วนราชการ หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มีอํานาจควบคุมกิจการหรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายแล้วทั้งหมดของกิจการนั้น หรือ (2.2) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายเดิมที่เคยผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการสถาบันการเงินมาแล้วทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีขอวงเงินดังกล่าวเพิ่มเติม หรือขอวงเงินดังกล่าวใหม่ก็ตาม ทั้งนี้ หากคณะกรรมการสถาบันการเงินไม่ให้สัตยาบัน หรือให้สัตยาบันด้วยมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ ให้สถาบันการเงินยกเลิกการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวทันที (3) ห้ามกรรมการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเข้าร่วมในการพิจารณาอนุมัติการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าว 5.2.6 เกณฑ์การกํากับดูแลตามประกาศฉบับนี้ ไม่รวมถึงการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินที่ได้รับการอนุญาตให้จัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินดังกล่าวต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม 5.2.7 ในกรณีที่มีการกระทําที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 49 โดยที่สถาบันการเงินสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังด้วยความรอบคอบในการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่ไม่สามารถทราบหรือป้องกันมิให้เกิดการฝ่าฝืนดังกล่าวได้ให้ถือว่าสถาบันการเงินมิได้กระทําความผิดตามมาตรา 49 อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องรวมกันเกินอัตราที่กําหนดในข้อ 5.2.1 ก่อนที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินมีผลใช้บังคับ โดยการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่ออื่นใดเพิ่มเติมแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องดังกล่าวอีกไม่ได้ และต้องดําเนินการเพื่อให้การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวเป็นไปตามที่บัญญัติในมาตรา 49 โดยเร็ว ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินมีผลใช้บังคับ อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 36/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มี ผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,940
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกรกฎาคม 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.69/15/51 | 80,000 | 14 กรกฎาคม 2551 | 16/7/51 – 31/7/51 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,941
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 37/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 37/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงิน ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีต ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการกําหนดหลักเกณฑ์การลงทุนของสถาบันการเงินในบริษัทอื่น เพื่อมิให้สถาบันการเงินเข้าไปมีส่วนได้เสียในกิจการต่างๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจทางการเงิน หรือธุรกิจสนับสนุนทางการเงินมากเกินสมควร โดยที่ผ่านมานั้น ธุรกรรมการลงทุนของสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนทางตรงผ่านหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ หรือธุรกรรมที่ไม่มีความซับซ้อน แต่จากสภาวการณ์ของตลาดเงินและตลาดทุนที่ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปทําให้ตลาดมีการพัฒนารูปแบบการลงทุนที่หลากหลายและซับซ้อนขึ้น การปรับปรุงประกาศในครั้งนี้ เป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การลงทุนมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม การดําเนินการในครั้งนี้ จึงเป็นการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ กล่าวคือ ประการที่ 1เพื่อให้การกํากับดูแลสถาบันการเงินทุกประเภทเป็นมาตรฐานเดียวกันสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เนื่องจากเดิมหลักเกณฑ์การลงทุนของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีความแตกต่างกันในอัตราส่วนและการกํากับดูแลประเภทการลงทุน ประการที่ 2ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยมีข้อยกเว้นไม่นับรวมการลงทุนผ่านบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลเป็นการเฉพาะ (regulated entity) เช่น บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกัน เนื่องจากบริษัทในกลุ่มธุรกิจดังกล่าวอยู่ภายใต้การกํากับของหน่วยงานที่กํากับดูแลฉพาะเรื่องอยู่แล้ว และเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ําซ้อนในการกํากับดูแล ถึงได้พิจารณายกเว้นไม่นับรวมการถือหรือมีหุ้นในบริษัทที่ไม่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันที่ได้รับการอนุมัติในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามประกาศฉบับนี้ด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงประกาศฉบับนี้ด้วยเหตุข้างต้น และสถาบันการเงินใดได้รับการอนุญาตให้มีการลงทุนอยู่ก่นวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ดําเนินธุรกรรมดังกล่าวต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การลงทุนของสถาบันการเงินตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิกตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "หุ้น" หมายความว่า หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ "หน่วยลงทุน" หมายความว่า หน่วยลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ "หลักทรัพย์" หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ "กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้" หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีการอื่นตามที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด "กองทุนรวมประเภทอื่น" หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีการอื่นแตกต่างจากกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ตามที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด "เงินกองทุน" หมายความว่า เงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ สําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สําหรับบริษัทเงินทุน หรือสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี "ผู้ที่เกี่ยวข้อง" หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สมรส (2) เป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (3) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจในการจัดการ (4) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (5) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุดคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ (6) เป็นบริษัทลูกของบริษัทตาม (3) หรือ (4 หรือ (5) (7) เป็นบริษัทร่วมของบริษัทตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) (8) เป็นตัวการ ตัวแทน หรือ (9) บุคคลอื่นที่มีลักษณะตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ในกรณีที่บุคคลใดถือหุ้นในบริษัทใดตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทนั้นเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง 5.2 หลักเกณฑ์ 5.2.1 การถือหรือมีหุ้นของสถาบันการเงิน ในกรณีการถือหรือมีหุ้นในบริษัทใด สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังนี้ (1) อัตราส่วนการถือหรือมีหุ้นของสถาบันการเงิน ห้ามมิให้สถาบันการเงินถือหรือมีหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมในบริษัทใดเกินกว่าอัตราดังนี้ (1.1) ร้อยละ 20 ของเงินกองทุนของสถาบันการเงินนั้น สําหรับการถือหรือมีหุ้นในทุกบริษัทรวมกัน (1.2) ร้อยละ 5 ของเงินกองทุนของสถาบันการเงินนั้น สําหรับการถือหรือมีหุ้นในบริษัทแต่ละราย หรือ (1.3) ร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วของบริษัทนั้น การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่งให้นําหุ้นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินถืออยู่นับรวมเป็นหุ้นที่สถาบันการเงินถืออยู่ด้วย ทั้งนี้ กรณีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้นับรวมหุ้นในกิจการที่จดทะเบียนในประเทศ ที่ถือโดยสํานักงานใหญ่ หรือสํานักงานสาขาอื่นของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ เป็นหุ้นที่ถือโดยสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้นด้วย (2) ข้อยกเว้นการคํานวณอัตราส่วนในการถือหรือมีหุ้นของสถาบันการเงิน การคํานวณอัตราส่วนการถือ หรือมีหุ้นตามข้อ 5.2.1 (1) ไม่รวมถึง (2.1) การถือหรือมีหุ้นในธุรกิจบางประเภทตามแนวนโยบายของทางการเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ระบบสถาบันการเงินโดยรวม ได้แก่ การถือหรือมีหุ้นในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด และบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ จํากัด (2.2) การถือหรือมีหุ้นโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน หากเป็นการถือโดยบริษัทที่มีหน่วยงานกํากับดูแลเป็นการเฉพาะ (regulated entity) เช่น บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกัน และบริษัทดังกล่าวไม่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม และหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ที่ได้รับอนุญาตเป็นรายสถาบัน 5.2.2 การถือหรือมีหน่วยลงทุนของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการลงทุนในหน่วยลงทุน (1) อัตราส่วนการถือหรือมีหน่วยลงทุน (1.1) การถือหรือมีหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกอง ห้ามมิให้สถาบันการเงินถือหรือมีหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกอง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหรือนอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งทางตรง และทางอ้อมเกินกว่าอัตราที่กําหนด ดังนี้ (1.1.1) การถือหรือมีหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เกินกว่าร้อยละ 20 ของหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้กองนั้น (1.1.2) การถือหรือมีหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทอื่นนอกจากหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ตาม (1.1.1) เกินกว่าร้อยละ 10 ของหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมประเภทอื่นกองนั้น (1.2) การถือ หรือมีหน่วยลงทุน รวมกับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ห้ามมิให้สถาบันการเงินถือหรือมีหน่วยลงทุน รวมกับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ไม่ว่าจะถือหรือมีเนื่องจากการทําธุรกรรมใน หรือนอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นจํานวนรวมกันทั้งสิ้นเกินกว่าร้อยละ 30 ของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน (2) ข้อยกเว้นการคํานวณอัตราส่วนการถือหรือมีหน่วยลงทุน การคํานวณอัตราส่วนการถือหรือมีหน่วยลงทุนของสถาบันการเงินตามข้อ 5.2.2 (1) ไม่นับรวมถึงกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของทางการ หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินได้แก่ กองทุนรวมวายุภักษ์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 2) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4) และกองทุนพันธบัตรเอเชีย (ABF) 5.2.3 หลักเกณฑ์ และวิธีการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดมูลค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี การวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่กล่าวข้างต้น ให้มีผลใช้บังคับในการคํานวณอัตราส่วนการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) และการคํานวณอัตราส่วนการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประ โยชน์เกี่ยวข้อง ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) 5.2.4 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลตามประกาศฉบับนี้ ไม่รวมถึงการลงทุนในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ได้รับการอนุมัติในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม และให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันในหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ที่ได้รับอนุญาตเป็นรายสถาบัน 5.2.5 ในกรณีที่มีการกระทําที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 34 โดยที่สถาบันการเงินสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังด้วยความรอบคอบในการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่ไม่สามารถทราบหรือป้องกันมิให้เกิดการฝ่าฝืนดังกล่าวใด้ ให้ถือว่าสถาบันการเงินมิได้กระทําความผิดตามมาตรา 34 อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาผ่อนผันเป็นการเฉพาะกาลให้แก่การลงทุน หรือซื้อหรือมีหุ้น หรือหน่วยลงทุนเกินอัตราส่วนตามข้อ 5.2.1 (1) และ ข้อ 5.2.2 (1) อยู่แล้วในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 นี้ใช้บังคับ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ 6.1 การลงทุน หรือซื้อหรือมีหุ้น หรือหน่วยลงทุนของสถาบันการเงิน ที่ได้รับการผ่อนผันให้ลงทุน หรือซื้อหรือมีเกินอัตราส่วนที่กําหนดอยู่แล้วก่นวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ ให้สถาบันการเงินมีสิทธิถือหรือมีไว้ซึ่งหุ้นหรือหน่วยลงทุนดังกล่าวต่อไปได้ตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับการผ่อนผันเดิม ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินมีผลใช้บังคับ 6.2 การลงทุน หรือซื้อหรือมีหุ้น หรือหน่วยลงทุนของสถาบันการเงิน และของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน รวมกันเกินอัตราที่กําหนดในข้อ 5.2.1 (1) และข้อ 5.2.2 (1) ก่อนวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ โดยการลงทุน หรือการซื้อหรือมีหุ้นหรือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น สถาบันการเงินจะลงทุนเพิ่มเติมในหุ้นหรือหน่วยลงทุนดังกล่าวอีกไม่ได้ และต้องดําเนินการเพื่อให้การลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามที่บัญญัติในมาตรา 33 และมาตรา 34 และที่กําหนดในข้อ 5.2.1 (1) และข้อ 5.2.2 (1) โดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินมีผลใช้บังคับ อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,942
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกรกฎาคม 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.70/14/51 | 80,000 | 15 กรกฎาคม 2551 | 18/7/51 – 1/8/51 | 14 | | พ.71/14/51 | 80,000 | 16 กรกฎาคม 2551 | 21/7/51 – 4/8/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,943
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 38/2551 เรื่อง การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 38/2551 เรื่อง การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีตกฎหมายมีข้อกําหนดห้ามสถาบันการเงินอันประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้สินเชื่อหรือให้กู้ยืมเงินแก่กรรมการของสถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้ห้ามการให้สินเชื่อหรือการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้บริหารระดับสูง ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวได้ แต่ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ซึ่งตราขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายเดิมได้มีข้อกําหนดห้ามสถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่กรรมการรวมทั้งผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว โดยมีข้อยกเว้นกรณีให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตหรือเพื่อเป็นสวัสดิการ การออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้เนื้อหาสาระสอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48 (1) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงินปฏิบัติในเรื่องอัตราขั้นสูงในการให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 ในประกาศนี้ "ผู้มีอํานาจในการจัดการ" และ "ผู้ที่เกี่ยวข้อง" หมายความว่า ผู้มีอํานาจในการจัดการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามคํานิยามตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (เอกสารแนบ 1) "บัตรเครดิต" หมายความว่า บัตรเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต "สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการ" หมายความว่า สินเชื่อที่สถาบันการเงินให้แก่พนักงานของสถาบันการเงินนั้นเพื่อเป็นสวัสดิการ เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อการศึกษาบุตรสินเชื่อเพื่อผู้ประสบอัคคีภัยหรือภัยธรรมชาติ หรือสินเชื่อเพื่อการศึกษาต่อ เป็นต้น 4.2 หลักเกณฑ์ การให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่กรรมการผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินนั้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 4.2.1 สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิต สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต สามารถให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินนั้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว โดยวงเงินบัตรเครดิตที่สถาบันการเงินจะให้แก่บุคคลดังกล่าวและผู้ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตโดยจะต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดพิเศษทั้งในเรื่องวงเงินและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ผิดไปจากผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภครายอื่น ๆ และต้องไม่มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลดังกล่าว 4.2.2 สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการ สถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่กรรมการผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินนั้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวได้ภายใต้เงื่อนไข เช่นเดียวกับการให้สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานทั่วไป 4.3 ในกรณีที่สถาบันการเงินใดให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อหรือประกันหนี้แก่ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินนั้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือบริษัทซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับกรรมการแต่สถาบันการเงินให้สินเชื่อหรือประกันหนี้ได้ โดยไม่ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ใช้บังคับ นั้น ตามหลักของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 แล้ว กฎหมายใหม่ย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปเอาผิดสิ่งที่ได้ทําไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานความผิดซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เป็นความผิดในตัวเอง ดังนั้น ให้สินเชื่อ หรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือการประกันหนี้แก่บุคคลดังกล่าวซึ่งมีผลผูกพันตามกฎหมายโดยชอบก่อนที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับยังคงมีผลต่อไปได้ แต่ห้ามทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม เพื่อให้การเป็นไปตามบทบัญญัติตามมาตรา 48(1) อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,944
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกรกฎาคม 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.72/14/51 | 80,000 | 18 กรกฎาคม 2551 | 22/7/51 – 5/8/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,945
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 39/2551 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 39/ 2551 เรื่อง การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว และเพียงพอที่จะใช้ชําระหนี้สินหรือภาระเมื่อถูกเรียกคืน ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้อง กับเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้รวมทั้งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จึงได้ปรับปรุงประเภทสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยการปรับแก้ประกาศในครั้งนี้จะเน้นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องอย่างแท้จริง จึงกําหนดให้ต้องเป็นตราสารที่โอนเปลี่ยนมือได้ นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงประกาศเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องการนับเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง สืบเนื่องจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดรับเงินฝากประเภทเงินฝากประจําจากสถาบันการเงินเพิ่มเติมจากเดิม โดยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินฝากประเภทเงินฝากกระแสร้ายวันที่ ธปท.ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 0.8 ของยอดรวมเงินรับฝากและเงินกู้ยืม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 64 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องและประเภทสินทรัพย์สภาพคล่องตามประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยแล้วไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 ของยอดเงินรับฝากและยอดเงินกู้ยืมดังต่อไปนี้ 5.1.1 ยอดรวมเงินรับฝากทุกประเภท 5.1.2 ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศที่ครบกําหนดใน 1 ปีนับแต่วันกู้และยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศซึ่งอาจชําระคืนหรืออาจถูกเรียกคืนได้ใน 1 ปีนับแต่วันกู้ เว้นแต่เป็นเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 2 5.1.3 ยอดรวมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ทั้งนี้ ยอดรวมเงินรับฝากและยอดรวมเงินกู้ยืมข้างต้นให้นับรวมยอดเงินซึ่งโอนเข้ามาในประเทศไทยจากสาขาหรือสํานักงานใหญ่ในต่างประเทศที่แสดงอยู่ในบัญชีระหว่างกันด้วย 5.2 สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารงตามข้อ 5.1 ดังกล่าว ประกอบด้วย 5.2.1 เงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ํากว่าร้อยละ 0.8 5.2.2 เงินฝากประจําที่ธนาคารแห่งประเทศไทย 5.2.3 เงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยแล้วไม่เกินร้อยละ 0.2 และเมื่อนําไปนับรวมกับ 5.2.1 แล้วจะต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 1 5.2.4 เงินสดที่ธนาคารพาณิชย์แต่เมื่อรวมกับเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่ต้องดํารงตาม 5.2.3 แล้ว ให้ถือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ไม่เกินร้อยละ 2.5 5.2.5 หลักทรัพย์หรือตราสารซึ่งปราศจากภาระผูกพันและสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ (แนวปฏิบัติตามเอกสารแนบ 2) ดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (2) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ค้ําประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย (3) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่สามารถใช้เป็นหลักประกันในการทําธุรกรรมซื้อขายพันธบัตร ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายพันธบัตรกับไพรมารี ดีลเลอร์ (Primary Dealer) โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืนด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bilateral Repo) (4) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหน่วยงานของรัฐ หรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3 5.2.6 ตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนหรือขายคืน 5.2.7 หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน ที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รับรอง อาวัล หรือค้ําประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย ซี่งปราศจากภาระผูกพัน 5.3 สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารงตามประกาศนี้ให้คิดจากส่วนเฉลี่ยรายปักษ์ของทุกสิ้นวัน และส่วนเฉลี่ยรายปักษ์ของยอดรวมเงินรับฝากหรือเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณีทุกสิ้นวันในปักษ์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ให้ถือเอาวันพุธเป็นวันเริ่มต้นของปักษ์ และสิ้นสุดในวันอังคารของอีกสองสัปดาห์ถัดมาจากวันดังกล่าว (รวมปักษ์ละ 14 วัน) โดยให้นับวันหยุดทําการรวมคํานวณเข้าด้วย ในกรณีที่ในปักษ์ใจปักษ์หนึ่ง ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยไว้น้อยกว่าร้อยละ 0.8 หรือดํารงเงินฝากกระแสร้ายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยไว้น้อยกว่าร้อยละ 1 ให้สามารถโอนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใน 1 ปักษ์ก่อนหน้า หรือเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใน 1 ปักษ์ถัดไป ที่ได้ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องถูกต้องตามประกาศฉบับนี้ และมีการดํารงเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไว้เกินเกณฑ์ขั้นต่ําที่กําหนดไว้ในข้อ 5.2.1 เข้ามารวมในการคํานวณเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในปักษ์ที่ขาดได้ ภายใต้ข้อกําหนดดังนี้ 5.3.1 การโอนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยส่วนที่ดํารงไว้เกินในปักษ์ก่อนหน้าเพื่อนําไปใช้สําหรับปักษ์ที่ขาด สามารถทําได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของ (1) หรือ (2) แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่าดังนี้ (1) จํานวนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ธนาคารพาณิชย์ได้ดํารงไว้จริงในข้อ 5.2.1 ของปักษ์ที่โอน หรือจํานวนที่คํานวณจากร้อยละ 1 ของยอดรวมเงินรับฝากและเงินกู้ยืมตามข้อ 5.1 ของปักษ์ที่โอน 5.3.2 การโอนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในปักษ์ถัดไปเพื่อนําไปใช้สําหรับปักษ์ที่ขาด สามารถทําได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจํานวนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องดํารงตามเกณฑ์ขั้นต่ําที่กําหนดไว้ในข้อ 5.2.1 ของปักษ์ที่ขาด 5.3.3 เงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยส่วนที่โอนไปใช้ในปักษ์ที่ขาดจะต้องถูกหักออกจากจํานวนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสําหรับการคํานวณสินทรัพย์สภาพคล่องในปักษ์ที่โอนนั้น และการโอนดังกล่าวต้องไม่ทําให้ปักษ์ที่โอนดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องต่ํากว่าอัตราที่ประกาศฉบับนี้กําหนด อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,946
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 59/2551 เรื่อง การแจ้งผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 59/2551 เรื่อง การแจ้งผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน ----------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อให้มั่นใจว่าการถือหุ้นของสถาบันการเงินไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนด และเพื่อให้สถาบันการเงินทราบถึงรายละเอียดผู้ถือหุ้นของตน พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จึงได้กําหนดให้สถาบันการเงินตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกครั้งก่อนการประชุม ผู้ถือหุ้นหรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น แล้วให้แจ้งผลการตรวจสอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย ในการออกประกาศฉบับนี้ เป็นการอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 และรวบรวมหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการแจ้งผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา ให้สถาบันการเงินจัดทํารายการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของสถาบัน การเงินตามแบบรายงานที่ระบุแนบท้าย (เอกสารแนบ 2) โดยให้สถาบันการเงินส่งแบบรายงานดังกล่าวไปยังฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นหรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใจแก่ผู้ถือหุ้น อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,947
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 59/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 59 /2551 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 --------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 ที่จะประมูลในวันที่ 12 กันยายน 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 ในวันที่ 12 กันยายน 2551 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 10 กันยายน 2551 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันง่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 3.87201 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 3.94688 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน 2551 (นางอัจนา ไวความดี) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,948
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ---------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาการแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.93/14/51 | 70,000 | 16 กันยายน 2551 | 18/9/51 – 2/10/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2551 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,949
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 61/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการและบุคคลอื่นที่กำหนด ตามมาตรา 48(4) หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 61/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการและบุคคลอื่นที่กําหนด ตามมาตรา 48(4) หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว ------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อป้องกันการเอื้อประโยชน์แก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จึงห้ามสถาบันการเงินขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่บุคคลดังกล่าว หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สินใด ๆจากบุคคลดังกล่าวนั้น เกินกว่ามูลค่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการออกประกาศฉบับนี้เป็นการนําหลักเกณฑ์ เรื่อง การขายหรือให้สังหาริมทรัพย์ของธนาครพาฒณิชย์และบริษัทเงินทุนแก่กรรมการมาปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อให้ สอคคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มี การเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 48(4) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขาย ให้ หรือให้เข่า ทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการและบุคคลอื่นที่กําหนดตามมาตรา 48(4) หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สิน ใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในแต่ละรอบปีบัญชี สถาบันการเงินอาจขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่ กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัตการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจ ในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าวนั้น มีมูลค่าของทรัพย์สินรวมกันแต่ละรายไม่เกิน 50,000 บาท โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน 5.2 กรณีมูลค่าของทรัพย์สินเกิน 50,000 บาท สถาบันการเงินจะขาย ให้ หรือให้เช่า ทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ดังกล่าว หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าวนั้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 5.2.1 เป็นการขาย ให้ ให้เช่า หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ ตามมูลค่าของ ทรัพย์สินนั้น และ 5.2.2 สถาบันการเงินได้กําหนดและปฏิบัติตามระเบียบและหลักเกณฑ์ตาม แนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ 5.3 การคํานวณมูลค่าของทรัพย์สินตามข้อ 5.1 และ 5.2 ให้ถือเอาราคาตามบัญชีของ ทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น หรือราคาตลาดตามมาตรฐานการบัญชีของทรัพย์สินนั้น แล้วแต่ จํานวนใดจะสูงกว่า 5.4 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้การขาย ให้ หรือให้เช่า ทรัพย์สินใด ๆ แก่ กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจ ในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุดคลดังกล่าว หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าวนั้น รวมถึงค่าตอบแทนที่ผูกพันตามสัญญาจ้างงานและ ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่น ถือเป็นผลประโยชน์อื่นและสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่สถาบันการเงินต้องเปิดเผยในงบการเงินและรายงานประจําปีตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยเรื่องการจัดทําและการประกาศงบการเงินของสถาบันการเงินด้วย อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,950
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 61/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กันยายน 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 61 /2551 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กันยายน 2551 ---------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กันยายน 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยกําหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือนลบร้อยละ 0.2 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดอัตราดอกเบี้ยสําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กันยายน 2551 ในวันที่ 11 กันยายน 2551 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กันยายน 2551 เท่ากับร้อยละ 3.74688 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2551 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,951
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 62/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 62 /2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี และเพื่อให้เกิด ความเข้าใจที่ชัดเจนและตรงกันเกี่ยวกับคุณสมบัติและการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีที่พึงประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบ ผู้สอบบัญชี ตลอดจนกําหนดขอบเขตการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน ในการออกประกาศฉบับนี้ เป็นการรวบรวมข้อกําหนดของธนาคารแห่ง ประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 67 มาตรา 69 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงินทุกแห่ง ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คุณสมบัติผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน ผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ 5.1.1 ไม่เป็นกรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของสถาบันการเงินนั้น 5.1.2 ไม่เป็นผู้สอบบัญชีที่ถูกสั่งพัก หรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดย หน่วยงานที่พิจารณาออกใบอนุญาตผู้สอบบัญชี หากระยะเวลาที่ถูกสั่งพักใบอนุญาตอยู่ในงวดปี การบัญชีใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่ให้ความเห็นชอบตลอดงวดปีการบัญชีนั้น 5.1.3 ไม่เป็นผู้สอบบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมสรรพากร หรือหน่วยงานอื่นของทางการ เพิกถอน การให้ความเห็นชอบ ไม่รับรองหรือไม่อนุญาตให้ตรวจสอบบัญชีของกิจการที่อยู่ในการกํากับดูแล ของหน่วยงานดังกล่าว 5.1.4 ไม่เป็นผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบสถาบันการเงินแห่งเดียวกันเกินกว่า 5 ปี ติดต่อกัน จนถึงรอบปีการบัญชีที่ขอความเห็นชอบ 5.1.5 เป็นผู้สอบบัญชีที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์เละตลาดหลักทรัพย์ ให้ความเห็นชอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของ นิติบุคคลใด ๆ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 5.2 การยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ 5.2.1 ยื่นขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีต่อธนาคารแห่ง ประเทศไทยล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนนําเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นทุกรอบปีการบัญชี 5.2.2 ใช้แบบคําขอความเห็นชอบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ตามเอกสารแนบ 2 โดยแนบสําเนาหนังสือการให้ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พร้อมทั้งหนังสือรับรองของผู้สอบบัญชี ประวัติและรายละเอียดของ ผู้สอบบัญชี และหนังสือรับรองของหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีตามแบบแนบท้าย 5.2.3 สถาบันการเงินอาจขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีมากกว่า 1 คน หรือ ต่างสํานักงานเพื่อนําไปเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นก็ได้ และเมื่อที่ประชุมได้แต่งตั้งผู้สอบบัญชี รายใดเป็นผู้สอบบัญชีประจําปีนั้นแล้ว ให้แจ้งมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้สอบ บัญชีดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งที่กล่าว 5.3 การพิจารณาให้ความเห็นชอบ 5.3.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจแจ้งให้สถาบันการเงินที่ขอความเห็นชอบ หรือให้สถาบันการเงินดําเนินการให้ผู้สอบบัญชีที่สถาบันการเงินขอความเห็นชอบ มาชี้แจงหรือ ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ภายในเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในกรณีที่สถาบันการเงินที่ขอความเห็นชอบ ไม่ดําเนินการตามวรรคแรก ภายในระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด จะถือว่าสถาบันการเงินไม่ประสงค์จะยื่นขอ ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายนั้น 5.3.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยเห็นว่า ผลการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีมีข้อบกพร่องหรือมีพฤติการณ์ที่ไม่ เหมาะสม ขาดความระมัดระวังในฐานะผู้สอบบัญชีพึงปฏิบัติในการตรวจสอบสถาบันการเงิน ละเว้นหรือไม่ปฏิบัติตามแนวทางการสอบบัญชี (Audit Program) ที่จัดส่งให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชี รวมทั้งไม่ให้ความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ในการกํากับและตรวจสอบฐานะและการดําเนินงานของสถาบันการเงินตามที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยร้องขอ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 5.3.3 ให้สถาบันการเงินยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายใหม่ต่อธนาคารแห่ง ประเทศไทยเมื่อปรากฎกรณีต่อไปนี้ (1) ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีที่สถาบัน การเงินขอมา โดยอื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งให้ทราบ (2) สถาบันการเงินประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือแต่งตั้งผู้สอบบัญชี เพิ่มเติมจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบไว้แล้ว (3) ปรากฏในภายหลังว่า ผู้สอบบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบไว้แล้วนั้น ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งตามข้อ 5.1 5.3.4 ให้สถาบันการเงินดําเนินการให้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบปฏิบัติ ดังนี้ (1) จัดส่งแนวการตรวจสอบบัญชี (Audit Program) ทุกด้านที่จะใช้ ปฏิบัติงานสําหรับรอบปีการบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบ โดยแสดงให้เห็นถึงขอบเขตและวิธีการ ตรวจสอบอย่างละเอียด และปริมาณการทดสอบ รวมทั้งประมาณการจํานวนชั่วโมงทําการในการตรวจสอบแต่ละเรื่องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้สอบบัญชีได้รับการ แต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนยินยอมให้ผู้สอบบัญชีจัดส่งแนวการตรวจสอบที่ใช้ปฏิบัติงานจริง กระดาษทําการ และเอกสารหลักฐานอื่นที่ได้จากการตรวจสอบ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ (2) จัดส่งหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ และ หนังสือแจ้งจุดอ่อนของระบบการควบคุมกายในด้านบัญชีที่มีสาระสําคัญตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 250 และรหัส 400 ตามลําดับ รวมทั้ง หนังสือแจ้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนําอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับฐานะการดําเนินงานหรือการบริหาร ที่ผู้สอบบัญชีส่งให้สถาบันการเงิน(ถ้ามี) ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นงวดการบัญชีในรอบระยะเวลา 6 เดือนและสิ้นปีการบัญชี (3) จัดทําร้ายงานพิเศษตามแนวการจัดทํารายงาน (เอกสารแนบ 3) และให้สถาบันการเงินจัดส่งรายงานดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 60 วันนับจาก วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นรับรองงบการเงิน (4) ตรวจสอบในเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสงสัยหรือมีข้อสังเกต เป็นพิเศษตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ (5) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันกับผู้สอบบัญชีเป็นครั้งคราว หรือขอความร่วมมือให้ตรวจสอบ หรือให้มาชี้แจงในประเด็นที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยร้องขอ (6) หากธนาคารแห่งประเทศไทยพบหรือรับทราบข้อมูลข่าวสารหรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ปฏิบัติตาม (1) ถึง (5) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจให้ผู้สอบบัญชีมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือให้ดําเนินการแก้ไข หรือให้ปฏิบัติ หรืองดเว้นการกระทํา ตามที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยร้องขอได้ (7) หากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบรายใดปฏิบัติงานบกพร่อง หรือไม่ให้ความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อกําหนดในประกาศฉบับนี้ ธนาคาร แห่งประเทศไทยอาจไม่ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีนั้นเป็นผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน และหากสํานักงานสอบบัญชีมิได้ควบคุมดูแลผู้สอบบัญชีหรือไม่ปฏิบัติตามคํารับรองที่ให้ไว้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจไม่ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีที่สังกัดสํานักงานนั้นด้วย (8) สถาบันการเงินที่เป็นหน่วยงานของรัฐและตรวจสอบโดยสํานักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ให้ถือว่าสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินนั้น โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยอีก และไม่ต้องปฏิบัติตาม (1) ส่วนการปฏิบัติตาม (3) และ (4) ขอให้เป็นดุลยพินิจของสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่จะดําเนินการเอง หรือให้ผู้สอบบัญชีอื่นดําเนินการแทน ได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,952
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 62/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 62 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.94/14/51 | 70,000 | 19 กันยายน 2551 | 23/9/51 – 7/10/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,953
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 63/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 63 /2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์ ---------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ 1.1 เพื่อเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพระบบสถาบันการเงินให้เหมาะสมกับการ แข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน โดยการสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถขยายเครือข่าย ปรับรูปแบบการให้บริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และสามารถบริหารการดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 1.2 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์เร่งสร้างความแข็งแกร่งทั้งในด้านฐานะการดําเนินงาน และการมีระบบธรรมาภิบาลที่ดี เพื่อให้เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ (Qualified Bank) ที่จะได้รับสิทธิการจัดตั้งสาขาทั่วไปได้โดยไม่จํากัดจํานวนในแต่ละปี โดยถือว่าได้รับอนุญาตเป็นการทั่วไปจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะทําให้ธนาคารพาณิชย์มีความยืดหยุ่นในการบริหารงานสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์ ให้สอดคล้องกับการดําเนินธุรกิจทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยกเลิกข้อจํากัดต่าง ๆที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานและการให้บริการแก่ลูกค้าและประชาชน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 มาตรา 37 มาตรา 71 และมาตรา 80(2)(ก) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์ การประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้ 3.1 กรณีธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศการจัดตั้งสํานักงานสาขาให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งสามารถจัดตั้งสํานักงานสาขาได้ 1 สํานักงานสาขาในเขต กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล (ปทุมธานี นครปฐม นนทบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) และ 3 สํานักงานสาขานอกเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 4 สํานักงานสาขา โดยขออนุญาต จัดตั้งสํานักงานสาขาได้ไม่เกินปีละ 1 สํานักงานสาขา 3.2 กรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ใช้บังคับเฉพาะข้อ 5.4 และ 5.5 ตามประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ประเภทสาขาและขอบเขตธุรกรรม 5.1.1 "สาขาทั่วไป" หมายความว่า สาขาธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการทางการเงิน ได้ทุกประเภทตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งประกอบ โดยธนาคารพาณิชย์สามารถกําหนดให้สาขาทั่วไปนั้น ๆ ให้บริการทุกประเภท (Full finctions) หรือ บางประเภท (Partial finctions) ก็ได้ แต่อย่างน้อยต้องให้บริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน 4 ประเภท ได้แก่ การรับฝากเงิน การถอนเงิน การโอนเงิน และการเปิด-ปิดบัญชีเงินฝาก โดยธนาคารพาณิชย์ ต้องจัดให้มีช่องทางการแจ้งให้ลูกค้าและประชาชนทราบถึงประเภทของธุรกรรมที่สาขาทั่วไป แต่ละแห่งให้บริการอย่างชัดเจน 5.1.2 "สาขาอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า (1) สาขาที่ให้บริการทางการเงินด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ โดยให้ ลูกค้าทําธุรกรรมทางการเงินด้วยตนเอง (Selfservice Banking ผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคาร พาณิชย์จัดไว้ หรืออาจมีเจ้าหน้าที่ให้คําแนะนําและช่วยเหลือลูกค้าในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ เท่านั้น โดยสาขาอิเล็กทรอนิกส์จะให้บริการได้เฉพาะบริการฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน ชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ บริการธนาคารทางโทรศัพท์ (Tele Banking) บริการธนาคารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Intemet Banking) หรือบริการอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต จากธนาคารแห่งประเทศไทย (2) เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการให้บริการทางการเงินที่ตั้งอยู่นอก สํานักงานหรือนอกสาขาทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ ทั้งในลักษณะเครื่องเดียวหรือหลายเครื่อง รวมกัน เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM)1 กล่องรับฝากเงินสดและเช็ค (Drop Box) เครื่องบันทึกรายการสมุดคู่ฝากอัตโนมัติ (Passbook Update Machine) และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์อื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.1.3 "สํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน" หมายความว่า สํานักงานที่ประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศ และธุรกิจอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาต ได้แก่ การให้บริการรับชําระหนี้ การให้บริการรับฝากเงินเพิ่มเติมในบัญชีเงินฝากที่ได้เปิดไว้แล้ว การให้บริการปรับรายการสมุดเงินฝากด้วยเครื่องอัตโนมัติ การให้บริการรับส่งเอกสารและข้อมูล ระหว่างลูกค้าและส่วนงานต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ การให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ทั้งที่ผ่านเครือข่ายของธนาคารพาณิชย์ หรือเครือข่ายอื่น ๆ และการโอนเงินภายในประเทศ โดยผู้โอนเงินและผู้รับเงินไม่จําเป็นต้องมีบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ การจําหน่ายเละให้บริการอื่น ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นผู้ออก เป็นต้น 5.2 การขออนุญาตและการอนุญาตให้จัดตั้งสาขา 5.2.1 สาขาทั่วไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์จัดตั้ง สาขาทั่วไป ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ (Qualifiled Bankสามารถจัดตั้งสาขาทั่วไปได้โดยไม่จํากัดจํานวนในแต่ละปี ตามหลักเกณฑ์การพิจารณา ธนาคารพาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ (Qualified Bank) (เอกสารแนบ 2) โดยถือว่าได้รับอนุญาต เป็นการทั่วไปจากธนาคารแห่งประเทศไทย (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ประสงค์จะขอเข้ารับการประเมินเป็นธนาคาร พาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ (Qualified Bank) หรือธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ผ่านการพิจารณาดังกล่าว สามารถยื่นคําขออนุญาตจัดตั้งสาขาทั่วไปเป็นรายสาขาได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต จัดตั้งสาขาทั่วไป (เอกสารแนบ 3) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาอนุญาตให้ธนาคาร พาณิชย์จัดตั้งสาขาทั่วไปตามเหตุผลและความจําเป็นในแต่ละกรณี ทั้งนี้ การจัดตั้งสาขาทั่วไปตามข้อ 5.2.1 (1) และ (2) ไม่ครอบคลุมถึง การขออนุญาตจัดตั้งสาขาหรือสํานักงานตัวแทนในต่างประเทศ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องขออนุญาตต่อ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี 5.2.2 สาขาอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้ธนาคารพาณิชย์จัดตั้ง สาขาอิเล็กทรอนิกส์นอกสาขาทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งและขอบเขตการให้บริการของสาขาอิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบ 4) 5.2.3 สํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้ธนาคารพาณิชย์จัดตั้ง สํานักงานแลกเปลี่ยนเงินนอกสาขาทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งและขอบเขตการให้บริการของสํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน (เอกสารแนบ 5) 5.3 การพิจารณาธนาคารพาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ (Qualified Bank) ธนาคารพาณิชย์สามารถยื่นแสดงความจํานงขอรับการประเมินเป็นธนาคาร พาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ (Qualified Bank) ได้ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาธนาคารพาณิชย์ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ (Qualified Bank) (เอกสารแนบ 2) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะมี หนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ธนาคารพาณิชย์ทราบเป็นรายธนาคาร และหากภายหลังธนาคาร แห่งประเทศไทยตรวจพบว่าธนาคารพาณิชย์ใดขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีข้อสังเกตเรื่อง ธรรมาภิบาลหรือการปฏิบัติตามคําสั่งการอย่างมีนัยสําคัญ ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถ เพิกถอนสิทธิธนาคารพาณิชย์นั้นได้ตลอดเวลา และจะเริ่มมีผลทันที นับตั้งแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ ดังกล่าวได้รับหนังสือแจ้งการเพิกถอนสิทธิจากธนาคารแห่งประเทศไทย 5.4 วันและเวลาทําการปกติ และการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาทําการ 5.4.1 วันและเวลาทําการปกติ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดทําการและหยุด ทําการตามวันและเวลา ดังนี้ (1) วันและเวลาเปิดทําการ (1.1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้เปิดทําการวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 9.30 ถึง 15.30 น. (1.2) ในเขตอื่นนอกจากข้อ (1.1) ให้เปิดทําการวันจันทร์ ถึง วันศุกร์เวลา 8.30 ถึง 15.30 น. (2) วันหยุดทําการประจําสัปดาห์ คือวันเสาร์และวันอาทิตย์ (3) วันหยุดตามประเพณีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด สําหรับสาขาอิเล็กทรอนิกส์ และสํานักงานแลกเปลี่ยนเงินที่เปิดให้บริการ ภายนอกสํานักงานของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้เปิดทําการ ได้ตามวันและเวลาที่ต้องการ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศวันและเวลาเปิดและหยุดทําการไว้ ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง 5.4.2 การเปลี่ยนแปลงวันเละเวลาทําการ (1) ธนาคารพาณิชย์สามารถเปลี่ยนแปลงวันและเวลาทําการได้ในกรณี ต่อไปนี้ (1.1) เปิดทําการในวันหยุดทําการหรือเปิดทําการนอกเวลาทําการตามที่ธนาคารแห่งประเทศได้กําหนดไว้ตาม 5.4.1(1) ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตอีก (1.2) ปรับเปลี่ยนเวลาเปิดและปิดทําการได้ กรณีธนาคารพาณิชย์เปิดและปิดทําการตามเวลาที่สอคคล้องกับสถานที่ตั้ง เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยถือว่าได้รับอนุญาตเป็นการทั่วไปจากธนาคารแห่งประเทศไทย (2) การเปลี่ยนแปลงวันและเวลาทําการนอกเหนือจากข้อ 5.4.2 (1) (1.1)และ (1.2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี (3) เงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาทําการ (3.1) การเปลี่ยนแปลงวันและเวลาทําการในแต่ละครั้งธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งให้ลูกค้าและประชาชนทราบถ่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน โดยประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น ๆ และจะต้องใช้วันและเวลาดังกล่าวต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน ยกเว้น ธนาคารพาณิชย์จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีเมื่อมีเหตุอันควร (3.2) การเปลี่ยนแปลงวันและเวลาทําการในทุกกรณี ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดแผนการปฏิบัติงานเพื่อรองรับไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบงานหลักของสถาบันการเงิน โดยรวม เช่น ระบบการชําระเงิน เละกําหนดแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดกรณีวิกฤต อาทิ การขาดสภาพคล่อง หรือการถอนเงินฝากอย่างกระทันหันจากสาเหตุข่าวลือ เป็นต้น (3.3) ธนาคารพาณิชย์ต้องสื่อสารให้พนักงานในส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเผนการปฏิบัติเพื่อรองรับและแก้ไขเมื่อเกิดวิกฤต และถือปฏิบัติตามแผนดังกล่าวโดย เคร่งครัดเมื่อเกิดปัญหาขึ้น (3.4) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายใน และ มาตรการรักษาความปลอดภัย ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์เอง และอํานวยความปลอดภัยให้แก่ ลูกค้าได้เป็นอย่างดี (3.5) ธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศวัน เวลา และธุรกรรมที่จะให้บริการให้ชัดเจนไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง (3.6) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทํารายงานสรุปการเปลี่ยนแปลงวัน และเวลาทําการสาขาทั่วไปของธนาคารพาณิชย์เป็นรายไตรมาส ตามแบบรายงานที่แนบมาพร้อม ประกาศนี้ (เอกสารแนบ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วันนับจากวันสิ้นไตรมาส หากไตรมาสใดไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ระบุในแบบรายงานว่า "ไม่มีการเปลี่ยนแปลง" ด้วย 5.4.3 การลดวันและเวลาทําการของสาขาทั่วไปแห่งสุดท้าย ธนาคารพาณิชย์อาจขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี ในการลดวันและเวลาทําการของสาขาทั่วไปแห่งสุดท้ายในอําเภอหรือกิ่งอําเภอ เพื่อทดแทนการ ยกเลิกสาขาทั่วไปแห่งสุดท้าย โดยธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดให้บริการอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ และกําหนดแนวทางดําเนินการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกค้าและประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งกําหนดวัน เวลา และประเภทธุรกรรมที่สาขานั้นให้บริการให้ลูกค้า ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันดําเนินการ พร้อมทั้งระบุชื่อสาขาทั่วไปหรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบพร้อมช่องทางในการติดต่อ เพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อได้หากมีข้อผิดพลาดหรือ มีข้อร้องเรียนในวันที่ธนาคารพาณิชย์มิได้เปิดทําการ 5.5 การประกอบการนอกสถานที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้ธนาคารพาณิชย์ ประกอบการนอกสถานที่ได้ทั้งในเวลาทําการและนอกเวลาทําการ ตามหลักเกณฑ์และขอบเขต การประกอบการนอกสถานที่ของธนาคารพาณิชย์ (เอกสารแนบ 7) เพื่อเปิดให้ธนาคารพาณิชย์ สามารถอํานวยความสะดวกให้แก่ลูกค้านอกสถานที่ได้ แต่ต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยง การขออนุญาตจัดตั้งสาขา หรือเป็นการทําธุรกรรมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาต ในกรณีที่ ธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมอื่นนอกเหนือจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาต ธนาคารพาณิชย์ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี 5.6 การย้ายสถานที่ตั้งสาขา 5.6.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้ธนาคารพาณิชย์ย้าย สํานักงานสาขาได้ หากการย้ายสาขานั้นเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) การย้ายสถานที่ตั้งสาขานั้นยังอยู่ในเขตหรืออําเภอเดียวกันกับสํานักงาน สาขาปัจจุบัน และ (2) การเลิกสํานักงานสาขาปัจจุบันหรือสํานักงานสาขาชั่วคราวในวัน เดียวกับวันที่จัดตั้งสํานักงานสาขาแห่งใหม่หรือสํานักงานสาขาถาวรแล้วแต่กรณี ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันดําเนินการ และประกาศกําหนดการย้ายสถานที่ตั้งสาขาไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขานั้น ๆทั้งนี้ ในช่วงเวลาดําเนินการย้ายสาขาดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดแนวทางดําเนินการเพื่อ อํานวยความสะดวกให้ลูกค้าและประชาชน ตามความเหมาะสม 5.6.2 การย้ายสํานักงานใหญ่ และกรณีอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 5.6.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี 5.7 การหยุดทําการชั่วคราว และการเลิกสาขา 5.7.1 การหยุดทําการชั่วคราว (1) กรณีสาขาทั่วไป ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้ธนาคารพาณิชย์หยุดทําการสาขาทั่วไปชั่วคราวได้ในกรณี ดังนี้ (1.1) กรณีฉุกเฉินหรือมีเหตุสุดวิสัย โดยการหยุดทําการดังกล่าวมีกําหนดเวลาไม่เกิน 15 วัน และต้องแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทันทีที่ได้หยุดทําการ และปิดประกาศให้ลูกค้าและประชาชนทราบ (1.2) กรณีไม่ฉุกเฉิน แต่มีเหตุผลความจําเป็นที่จะต้องหยุดทําการ และการหยุดทําการตังกล่าวมีกําหนดเวลาไม่เกิน 15 วัน เช่น การไฟฟ้าแจ้งดับไฟ การปรับปรุงซ่อมแซม ที่ทําการสํานักงานสาขา เป็นต้น (1.3) กรณีสาขาทั่วไปที่เปิดให้บริการนอกวันทําการ หรือเปิดให้บริการทุกวัน ประสงค์จะหยุดทําการในวันหยุดตามประเพณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ทั้งนี้ ในกรณีการหยุดทําการตามข้อ (1.2) และ (1.3) ธนาคารพาณิชย์ ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้า และปิดประกาศให้ลูกค้าและประชาชนทราบ ล่วงหน้า (2) กรณีสาขาอิเล็กทรอนิกส์และสํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้ธนาคารพาณิชย์หยุดทําการสาขาอิเล็กทรอนิกส์และสํานักงานแลกเปลี่ยนเงินเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การหยุดทําการ ดังกล่าวมีกําหนดเวลาไม่เกิน 90 วัน โดชธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศวันและเวลาหยุดทําการชั่วคราว ไว้ในที่เปิดเผย ณ บริเวณที่ตั้งสาขาอิเล็กทรอนิกส์ หรือบริเวณสํานักงานแลกเปลี่ยนเงินนั้น ๆ และ ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดแนวทางดําเนินการเพื่ออํานวยความสะดวกให้ลูกค้าและประชาชน สามารถรับบริการจากสํานักงานสาขาอื่น หรือช่องทางบริการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม 5.7.2 การเลิกสาขา (1) การเลิกสาขาทั่วไป ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะเลิกสาขาทั่วไป ให้ธนาคารพาณิชย์ยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ตามหลักเกณฑ์การเลิกสาขาทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ (เอกสารแนบ 8) พร้อมเสนอแผนการเลิกสาขาทั่วไปล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันเลิกทําการ และแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันเลิกทําการ หากไม่ได้รับการทักท้วงจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 30 วัน นับจากวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคําขอและเอกสาร ประกอบการพิจารณาครบถ้วน ให้ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการตามแผนการเลิกสาขาทั่วไปนั้นได้ (2) การเลิกสาขาอิเล็กทรอนิกส์ หรือสํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะเลิกสาขาอิเล็กทรอนิกส์ หรือสํานักงานแลกเปลี่ยนเงินเป็นการถาวร ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันเลิกทําการ 5.8 การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ ในการซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้เป็นสถานที่สําหรับการประกอบ ธุรกิจของสาขาทั่วไป สาขาอิเล็กทรอนิกส์ และสํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน นอกจากปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสาขาแต่ละประเภทดังกล่าวข้างต้นแล้ว ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็น สถานที่สําหรับประกอบธุรกิจ หรือสําหรับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล 6.1 ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสาขาก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการต่อไปได้ตามที่ได้รับอนุญาต 6.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เวลาธนาคารพาณิชย์ในการดําเนินการตามประกาศ ฉบับนี้ เพื่อปรับฐานะสาขาย่อย และสาขาคอมพิวเตอร์ที่มีพนักงานให้บริการทําธุรกรรมการเงิน พื้นฐานในปัจจุบันเป็น "สาขาทั่วไป" ให้สอดคล้องกับรูปแบบสาขาตามหลักเกณฑ์ใหม่ ตลอดจน ดําเนินการเรื่องต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงประเภทของการให้บริการ การจัดการเกี่ยวกับการ พนักงาน การปรับปรุงสถานที่ทําการและเครื่องใช้สํานักงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ระบบรายงานต่าง ๆ ฯลฯ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,954
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 63/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 63 /2551 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2551 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2551 เท่ากับร้อยละ 3.74688 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการ กู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 16 กันยายน 2551 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,955