title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน ------------------------------ อื่นๆ - ด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากอาคารที่ทําการหลังเดิม เลขที่ 77 ถนนสิงหนาทบํารุง ตําบลจองคํา อําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ อาคารศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน เลขที่ 153 หมู่ที่ 11 ตําบลผาบ่อง อําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,656
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 -------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 จากอาคารที่ทําการหลังเดิม อาคารศาลจังหวัดสุรินทร์ ชั้น 4 เลขที่ 809 หมู่ที่ 20 ถนนเลี่ยงเมือง ตําบลนอกเมือง อําเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ อาคารศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 3 เลขที่ 807 หมู่ที่ 20 ตําบลนอกเมือง อําเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,657
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวซนและครอบครัวจังหวัดลำพูน
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวซนและครอบครัวจังหวัดลําพูน -------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดลําพูน จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดลําพูน จากอาคารที่ทําการหลังเดิม เลขที่ 299 หมู่ที่ 4 ตําบลป่าสัก อําเภอเมืองลําพูน จังหวัดลําพูน ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ เลขที่ 155 หมู่ที่ 3 ตําบลเวียงยอง อําเภอเมืองลําพูน จังหวัดลําพูน โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,658
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงอุบลราชธานี
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงอุบลราชธานี ----------------------------------- อื่นๆ - ด้วยสํานักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครอุบลราชธานีได้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อถนนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้านเลขที่ของศาลแขวงอุบลราชธานี จากเลขที่ 260 ถนนพโลรังฤทธิ์ เป็นเลขที่ 2 ถนนหม่อมเจียงคํา อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงอุบลราชธานี จากเดิมเลขที่ 260 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตําบลในเมือง อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเลขที่ 2 ถนนหม่อมเจียงคํา ตําบลในเมือง อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,659
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี -------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรีจากอาคารที่ทําการหลังเดิม ถนนประชาธิปไตย ตําบลท่าพี่เลี้ยง อําเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ เลขที่ 731 ถนนเณรแก้ว ตําบลท่าระหัด อําเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,660
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลจังหวัดมหาสารคาม
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลจังหวัดมหาสารคาม --------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลจังหวัดมหาสารคาม จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลจังหวัดมหาสารคาม จากอาคารที่ทําการหลังเดิม เลขที่ 464 ถนนนครสวรรค์ ตําบลตลาด อําเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ อาคารศาลจังหวัดมหาสารคาม เลขที่ 511 หมู่ที่ 11 ตําบลแวงน่าง อําเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,661
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแรงงานภาค 3
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแรงงานภาค 3 -------------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลแรงงานภาค 3 จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแรงงานภาค 3 จากอาคารที่ทําการหลังเดิม อาคารศาลแขวงนครราชสีมา เลขที่ 42/2 ถนนราชนิกูล ตําบลในเมือง อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ เลขที่ 6 ถนนกําแหงสงคราม ตําบลในเมือง อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,662
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ------------------------ อื่นๆ - ด้วยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 จากอาคารที่ทําการหลังเดิม อาคารศาลจังหวัดสระบุรี ชั้น 4 เลขที่ 42 หมู่ที่ 5 ตําบลดาวเรือง อําเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ อาคารศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 เลขที่ 99/99 หมู่ที่ 9 ตําบลห้วยบง อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,663
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลอุทธรณ์ภาค 8
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 -------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จากอาคารที่ทําการหลังเดิม อาคารศาลอุทธรณ์ภาค 8 เลขที่ 144 หมู่ที่ 5 ถนนประชาอุทิศ ตําบลรัษฎา อําเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ อาคารศาลอุทธรณ์ภาค 8 เลขที่ 9/60 ถนนเจ้าฟ้า ตําบลตลาดเหนือ อําเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,664
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี --------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี จะย้ายที่ทําการจากที่ทําการชั่วคราวศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี อาคารศาลแขวงอุบลราชธานี (หลังเก่า) ไปยังอาคารศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี จากอาคารที่ทําการชั่วคราวศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี อาคารศาลแขวงอุบลราชธานี (หลังเก่า) ถนนพโลรังฤทธิ์ ตําบลในเมือง อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ไปยังอาคารที่ทําการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี เลขที่ 265 ถนนพิซิตรังสรรค์ ตําบลในเมือง อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563 ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,665
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงลพบุรี
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงลพบุรี --------------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลแขวงลพบุรีจะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงลพบุรี จากอาคารที่ทําการหลังเดิม อาคารศาลจังหวัดลพบุรี ถนนสุรสงคราม ตําบลท่าหิน อําเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ อาคารศาลแขวงลพบุรี เลขที่ 555 หมู่ที่ 3 ตําบลป่าตาล อําเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,666
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงพระนครเหนือชั่วคราว
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงพระนครเหนือชั่วคราว ------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลแขวงพระนครเหนือ จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลแขวงพระนครเหนือเป็นการชั่วคราว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงพระนครเหนือชั่วคราวจากที่ทําการศาลแขวงพระนครเหนือเดิม อาคารศาลแขวงพระนครเหนือ ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ไปยังที่ทําการศาลแขวงพระนครเหนือชั่วคราว เลขที่ 120 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยให้เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,667
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงสงขลา
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงสงขลา ---------------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลแขวงสงขลาจะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแขวงสงขลา จากอาคารที่ทําการหลังเดิม อาคารศาลแขวงสงขลา ถนนปละท่า ตําบลบ่อยาง อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ อาคารศาลแขวงสงขลา เลขที่ 1/2 ถนนชลาทัศน์ ตําบลบ่อยาง อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,668
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแรงงานภาค 6
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแรงงานภาค 6 --------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลแรงงานภาค 6 จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลแรงงานภาค 6 จากอาคารที่ทําการหลังเดิมอาคารศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์ ณนนริมน้ํา ตําบลนครสวรรค์ตก อําเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ อาคารศาลแรงงานภาค 6 เลขที่ 999 หมู่ที่ 1 ตําบลนครสวรรค์ออก อําเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,669
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง กำหนดสถานที่ตั้งและเขตอำนาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง กําหนดสถานที่ตั้งและเขตอํานาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง กําหนดสถานที่ตั้งและเขตอํานาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค" ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีสถานที่ตั้ง และมีเขตอํานาจดังต่อไปนี้ (1) อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 มีสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีเขตอํานาจในกรุงเทพมหานคร จังหวัดชัยนาท จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสระบุรี และจังหวัดอ่างทอง (2) อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 มีสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่ขังหวัดชลบุรี และมีเขตอํานาจในจังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว (3) อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 มีสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา และมีเขตอํานาจในจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนดรราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอํานาจเจริญ (4) อธิบดีผู้พิพากษาภาด 4 มีสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น และมีเขตอํานาจในจังหวัดกาฬสินธุ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลําภู และจังหวัดอุดรธานี (5) อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 มีสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และมีเขตอํานาจในจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลําปาง และจังหวัดลําพูน (6) อธิบดีผู้พิพากษาภาค 6 มีสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก และมีเขตอํานาจในจังหวัดกําแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี (7) อธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 มีสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่จังหวัดนครปฐม และมีเขตอํานาจในจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครปฐม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร (8) อธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 มีสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีเขตอํานาจในจังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี (9) อธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 มีสถานที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่จังหวัดสงขลา และมีเขตอํานาจในจังหวัดตรัง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดพัทลุง จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล ข้อ ๔ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ธวัชชัย พิทักษ์พล ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ช่วยทํางานชั่วคราวในตําแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,670
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอ่างทอง
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอ่างทอง ---------------------------- อื่นๆ - ด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอ่างทอง จะย้ายที่ทําการไปยังอาคารที่ทําการศาลหลังใหม่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอ่างทอง จากอาคารที่ทําการหลังเดิม เลขที่ 82/1 - 3 หมู่ที่ 5 ตําบลบ้านอิฐ อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ไปยังอาคารที่ทําการหลังใหม่ เลขที่ 9 ถนนเทศบาล 1 ตําบลบางแก้ว อําเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โดยเริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,671
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง กำหนดสถานที่ตั้งของศาลแขวงเชียงดาว
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง กําหนดสถานที่ตั้งของศาลแขวงเชียงดาว ---------------------------- อื่นๆ - ด้วยพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอํานาจศาลแขวงเชียงใหม่ กับกําหนดเขตอํานาจและวันเปิดทําการของศาลแขวงเชียงดาว ในจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 กําหนดให้ในจังหวัดเชียงใหม่มีศาลแขวงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งศาล คือ ศาลแขวงเชียงดาว โดยให้เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศกําหนดสถานที่ตั้งของศาลแขวงเชียงดาว โดยกําหนดให้ศาลแขวงเชียงดาว ตั้งอยู่เลขที่ 456 หมู่ที่ 12 ตําบลเชียงดาว อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,672
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 13 มาตรา 14 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศเป็นข้อกําหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนตามมาตรา 10 (1) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 ของสินทรัพย์ทั้งสิ้น ข้อ ๒ ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินสดสํารองไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตาม มาตรา 11 ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 ของยอดเงินฝาก อัตราส่วนที่ต้องดํารงนั้น ให้ถือเอาส่วนเฉลี่ยรายสัปดาห์ของเงินสดสํารองและยอดเงินฝากแต่ละวัน โดยให้ถือเอาวันศุกร์เป็นวันเริ่มต้นและวันพฤหัสบดีเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์ เงินสดสํารองที่พึ่งดํารงตามวรรค 1 ธนาคารพาณิชย์จะถือเอาหลักทรัพย์รัฐบาลไทย ซึ่งปราศจากภาระผลพันได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 2.5 ของเงินสดสํารองที่พึงดํารงนั้น ข้อ ๓ จํานวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้กู้ยืม หรือให้เครดิตโดยการซื้อลดหรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ในขณะใดขณะหนึ่งตามมาตรา 13 ต้องไม่เกินร้อยละ 40 ของเงินกองทุน ความในวรรคก่อนไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ให้เครดิตโดยการซื้อ ซื้อลดหรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน ดังต่อไปนี้ (1) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กระทรวงทบวงกรมรับรองหรือออกเป็นค่าซื้อสิ่งของ หรือจ้างทําของ (2) ตั๋วแลกเงินค่าสินค้าที่ส่งออก ข้อ ๔ ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามอัตราดังต่อไปนี้ (1) อัตราสูงสุดสําหรับดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์พึงจ่ายสําหรับเงินฝากแต่ละประเภท นอกจากเงินฝากระหว่างธนาคาร ก. เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามต้องไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อปี ข. เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามโดยมีเงื่อนไขในการจ่ายต้องไม่เกินร้อยละ 4.5 ต่อปี ค. เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาไม่เกินสามเดือนต้องไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ง. เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาเกินสามเดือนแต่ไม่เงินหกเดือน ต้องไม่เกินร้อยละ 6 ต่อปี จ. เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาเกินหกเดือน (ก) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องไม่เกินร้อยละ 8 ต่อปี แต่ถ้าได้มีสัญญากําหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ธนาคารพาณิชย์ ถือปฏิบัติตามสัญญานั้นได้จนกว่าว่าจะสิ้นความผูกพันตามสัญญา แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันประกาศนี้ใช้บังคับ (ข) พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องไม่เกินร้อยละ 7 ต่อปี (2) อัตราสูงสุดสําหรับดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกสําหรับ ก. การให้กู้ยืมเพื่อส่งสินค้าออกตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่เปิดมายังธนาคารพาณิชย์ หรือการซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วแลกเงินค่าสินค้าที่ส่งออก ต้องไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ข. ธุรกิจอื่นนอกจาก ก. ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ข้อ ๕ ในการติดต่อกับประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดทํางานตามเวลาและหยุดทํางานตามวัน ดังต่อไปนี้ (1) เวลาเปิดทํางาน ให้ธนาคารเปิดทํางานตั้งแต่เวลา 08.30 นาฬิกา ถึง 15.30. นาฬิกา (2) วันหยุดทํางาน ก. วันหยุดประจําสัปดาห์ วันเสาร์และวันอาทิตย์ ข. วันหยุดตามประเพณีนิยม นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับถึงวันสิ้นปี 2505 วันอังคาร 1 พฤษภาคม วันแรงงานของชาติ วันจันทร์ 7 พฤษภาคม ชดเชยวันฉัตรมงคล วันศุกร์ 18 พฤษภาคม วันวิสาขบูชา วันอังคาร 17 กรกฎาคม วันเข้าพรรษา วันจันทร์ 13 สิงหาคม ชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จ พระบรมราชินีนาถ วันอังคาร 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช วันพุธ 5 ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันจันทร์ 10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ วันอังคาร 25 ธันวาคม วันคริสต์มาส วันจันทร์ 31 ธันวาคม วันสิ้นปี ข้อ ๖ ความในข้อ 1 ให้ใช้บังคับเมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ความในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ให้ใช้บังคับเมื่อครบสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ป๋วย อิ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
7,673
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 -------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกเป็นข้อกําหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 4(1) แห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่อง ดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2527 โดยใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) กิจการ เพื่อการอุตสาหกรรมและกิจการ เหมืองแร่ ซึ่งหมายถึง กิจการอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกิจการ เหมืองแร่ที่ได้รับประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยแร่” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2527 (นายกําจร สถิรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,674
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 3/2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 3/2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 2/2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายสมชาย เสตกรญกูล 2. นางจันทวรรณ สุจริตกุล 3. นายนิรุธ รักษาเสรี 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นางสร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช 7. นายปราณีต โชติกีรติเวช 8. นายอมร กังวาฬ 9. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 10. นายสุกิจ สหนุกูล 11. นายสัญญา จันทวดี 12. นายวิโรจน์ นริศวรานนท์ 13. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 14. นายยรรยง ดํารงศิริ 15. นายเอนก อิงวิยะ 16. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์ 17. นายสุขชัย พูลสินากร 18. นายวีระยุทธ์ เลิศพูนวิไลกุล 19. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 20. นายทนงศักดิ์ วรรณกาญ 21. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 22. นายประสงค์ วิริยะวิภาต 23. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,675
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การยื่นคำขอจัดตั้งสำนักงานผู้แทนของบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การยื่นคําขอจัดตั้งสํานักงานผู้แทนของบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2528 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “สํานักงานผู้แทน” หมายความว่า สํานักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปโดยบุคคลผู้กระทําการแทนบริษัท ข้อ ๒ บริษัทที่ประสงค์จะจัดตั้งสํานักงานผู้แทนต้องยื่นคําขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและที่อยู่ของสํานักงานใหญ่ของบริษัท (2) งบการเงินประจําปีสําหรับระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมาของบริษัท (3) หลักฐานการได้รับความเห็นชอบในการขอจัดตั้งสํานักงานผู้แทนจากทางการในประเทศของบริษัท หรือในกรณีที่บริษัทไม่ต้องขอความเห็นชอบก็ให้ชี้แจงให้ชัดเจน (4) ขอบเขตการปฏิบัติของสํานักงานผู้แทน (5) วงเงินและปริมาณสินเชื่อหรือการให้บริการที่บริษัทให้หรือจัดหาให้แก่รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน ธุรกิจเอกชน และกิจการอื่นในประเทศไทยอยู่แล้ว (6) ชื่อและที่ตั้งของสํานักงานผู้แทน (7) ชื่อ ประวัติการทํางาน และคุณสมบัติของบุคคลที่จะกระทําการแทนบริษัท (8) ตําแหน่งและจํานวนพนักงานในสํานักงานผู้แทน ตลอดจนอํานาจหน้าที่ของพนักงานระดับบริหาร หากบริษัทไม่อาจแจ้งรายการตาม (6) (7) หรือ (8) ได้ ในขณะที่ยื่นคําขออนุญาต ให้บริษัทแจ้งรายการดังกล่าวต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2529 (นายกําจร สถิรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,676
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 01/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 01/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง ------------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ที่ผ่านมารูปแบบความต้องการใช้เงินกู้ยืมของผู้บริโภคนอกเหนือจากการกู้ยืมเงินเพื่อการดําเนินธุรกิจหรือการอุปโภคบริโภค (Loan Credit) แล้ว ยังมีความต้องการกู้ยืมเงินเพื่อนําไปซื้อทรัพย์สิน (Sales Credit) โดยการเช่าซื้อหรือเช่าแบบลีสซิ่งจากสถาบันการเงิน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้บริการทางการเงินได้เพิ่มขึ้นและเป็นแหล่งเงินทุนสําหรับผู้ที่ประสงค์จะซื้อทรัพย์สินแต่ไม่มีเงินทุนเพียงพอ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งได้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 ซึ่งครอบคลุมถึงการขายและเช่ากลับคืน (Sale and Lease Back) โดยมีการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์มาเป็นลําดับดังนี้ (1) การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งได้โดยมีเงื่อนไขสําหรับการขายและเช่ากลับคืน (Sale and Lease Back) ที่กําหนดให้ผู้ขายและเช่ากลับคืนต้องเป็นนิติบุคคล และทรัพย์สินที่ให้เช่าต้องไม่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ําหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก เหตุที่ต้องจํากัดขอบเขตธุรกิจการขายและเช่ากลับคืนในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากมีข้อกังวลเรื่องภาระหนี้ภาคครัวเรือนที่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปี (Flat Interest Rate) คํานวณผลตอบแทน ทําให้ผู้เช่าไม่ทราบภาระอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Rate) ที่ถูกเรียกเก็บ (2) การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจการขายและเช่ากลับคืนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้บริการดังกล่าวกับบุคคลธรรมดาได้โดยไม่จํากัดประเภททรัพย์สินตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า เป็นการเพิ่มช่องทางให้ประชาชนสามารถนําทรัพย์สินที่มีอยู่มาเป็นหลักประกันเพื่อการหาเงินทุนในระบบได้ (Asset-Based Financing) โดยมีภาระดอกเบี้ยต่ํากว่าสินเชื่อส่วนบุคคล โดยได้กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศเผยแพร่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งใช้คํานวณผลตอบแทนให้ผู้เช่าทราบ และเนื่องจากการให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งเป็นธุรกรรมคล้ายการให้สินเชื่อ ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ควรบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับการให้สินเชื่อ การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ใดที่ได้รับการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวแล้วให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีก อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง ลงวันที่ 7 มีนาคม 2551 (หนังสือเวียนที่ ฝนส. (21) ว. 47/2551 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2551) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ทรัพย์สิน" หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ธนาคารพาณิชย์ให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่ง "ให้เช่าแบบลีสซึ่ง" หมายความว่า การให้เช่าทรัพย์สินในลักษณะที่เป็นสัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease) โดยธนาคารพาณิชย์จัดหาทรัพย์สินตามความประสงค์ของผู้เช่ามาจากผู้ผลิต ผู้จําหน่าย หรือบุคคลอื่น หรือเป็นทรัพย์สินที่ยึดได้จากผู้เช่ารายอื่น เพื่อให้ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น โดยผู้เช่ามีหน้าที่ต้องบํารุงรักษาเละซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า ทั้งนี้ ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาก่อนครบกําหนดเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ และเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า สิทธิในการซื้อทรัพย์สินที่เช่าขึ้นอยู่กับข้อตกลงของธนาคารพาณิชย์และผู้เช่า "ให้เช่าซื้อ" หมายความว่า การให้เช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ "ราคาเงินสด" หมายความว่า ราคาที่จะพึงซื้อขายทรัพย์สินที่ให้เช่ากันได้ในท้องตลาดด้วยเงินสด ณ วันทําสัญญา "เงินลงทุน" หมายความว่า ผลรวมของราคาเงินสดและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องชําระเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษีอากร และค่าเบี้ยประกันภัย เป็นต้น โดยเงินลงทุนจะต้องมียอดลดลงตามจํานวนเงินที่ผู้เช่าผ่อนชําระเงินรายงวดตามสัญญาเช่า "เงินรายงวด" หมายความว่า จํานวนเงินที่ผู้เช่าต้องชําระแก่ธนาคารพาณิชย์ในแต่ละงวด ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นเงินต้นและดอกเบี้ยหรือดอกผลเช่าซื้อ "เงินล่วงหน้า" หมายความว่า จํานวนเงินที่ผู้เช่าต้องชําระล่วงหน้าครั้งแรกเมื่อทําสัญญา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของจํานวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญา "สัญญาเช่า" หมายความว่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาเช่าแบบลีสซิ่ง "ผู้ให้เช่า" หมายความว่า ผู้ให้เช่าซื้อ หรือผู้ให้เช่าแบบลีสซิ่ง "ผู้เช่า" หมายความว่า ผู้เช่าซื้อ หรือผู้เช่าแบบลีสซิ่ง 5.2 หลักการ 5.2.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง ซึ่งเป็นธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ อย่างไรก็ดี การประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งจะต้องไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ หรือเป็นช่องทางในการตกแต่งบัญชี เช่น ในกรณีเจ้าของทรัพย์สินนําทรัพย์สินมาจําหน่ายให้ธนาคารพาณิชย์ และหลังจากนั้นทําการเช่าทรัพย์สินนั้นจากธนาคารพาณิชย์ (Sale and Lease Back) โดยธนาคารพาณิชย์ประเมินราคาจําหน่ายที่สูงเกินจริงเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้เช่า หรือในทางกลับกัน ธนาคารพาณิชย์เป็นเจ้าของทรัพย์สินและได้ทําการ Sale and Lease Back โดยจําหน่ายทรัพย์สินให้ผู้ให้เช่ารายอื่นในราคาที่สูงเกินจริงเพื่อสร้างกําไรทางบัญชี หรือการประเมินราคาทรัพย์สินอย่างไม่เหมาะสม เป็นต้น 5.2.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยมุ่งเน้นให้ธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงของตนเองโดยธนาคารพาณิชย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะธุรกรรม ทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง รวมทั้งความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งมีระบบงาน ระบบบริหารความเสี่ยง และระบบการควบคุมภายในที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้ 5.2.3 การประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งมีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกับการให้สินเชื่อทั่วไป ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องคํานึงถึงการบริหารความเสี่ยงและคุณภาพของสินเชื่อ เช่น กระบวนการอนุมัติสินเชื่อที่มีมาตรฐานซึ่งจะต้องยึดถือรายได้ของลูกหนี้เป็นปัจจัยสําคัญ การวิเคราะห์ความสามารถในการชําระหนี้ และการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งต้องมีหลักเกณฑ์อ้างอิงที่เชื่อถือได้ เป็นต้น โดยไม่มุ่งเน้นแต่เพียงการเพิ่มปริมาณของสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องมีความพร้อมในเรื่องจํานวนและคุณภาพของบุคลากร และระบบงานต่าง ๆ ได้แก่ ระบบการบริหารความเสี่ยง การวิเคราะห์สินเชื่อและทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่ง การติดตามและทวงถามหนี้ การบังคับขายทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง รวมไปถึงการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ 5.3.1 มีฐานะการเงินและฐานะการดําเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถกันเงินสํารองได้ครบถ้วน สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันได้ไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ตลอดจนสามารถดํารงอัตราส่วนทางการเงินอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการเป็นกรณีพิเศษ 5.3.2 ให้ความร่วมมือกับทางการในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในการปรับบทบาทและรูปแบบสถาบันการเงิน โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีสถาบันการเงินที่รับฝากเงินจากประชาชนอยู่กายใต้กลุ่มธุรกิจเดียวกันมากกว่า 1 แห่ง/รูปแบบ ต้องจัดทําแผนการควบกิจการ รวมกิจการ ขายกิจการ คืนใบอนุญาต รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่น เพื่อการดําเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3.3 จัดทําแผนงานรองรับการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง ที่เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคารพาณิชย์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานและเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อย ดังนี้ (1) นโยบายและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ (2) รายละเอียดของระบบการบริหารจัดการ ระบบบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน และระบบการจัดทําบัญชี รวมทั้งความพร้อมและคุณภาพของบุคลากร (3) รายละเอียดของระบบบริหารความเสี่ยงต้องครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย - ระบบการวิเคราะห์สินเชื่อ เพื่อการกําหนดวงเงินสินเชื่อของลูกค้าและการกําหนดจํานวนเงินล่วงหน้าที่ลูกค้าต้องชําระที่มีกระบวนการเป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะในการวิเคราะห์ความสามารถในการชําระหนี้ต้องยึดถือรายได้ของลูกค้าเป็นปัจจัยสําคัญ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงคุณภาพและสภาพคล่องของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่ง - การกําหนดประเภทของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่ง การกําหนดจํานวนเงินลงทุนสูงสุดสําหรับทรัพย์สินแต่ละประเภท และทรัพย์สินทุกประเภทรวมกันโดยคํานึงถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ตลาดรองสําหรับขายทรัพย์สิน การล้าสมัยของทรัพย์สิน เป็นต้น - การบริหารทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่ง ซึ่งรวมถึงการจัดหาทรัพย์สิน การดําเนินการกับทรัพย์สินที่ยึดมา การติดตามและตรวจสอบสภาพทรัพย์สินการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน การประเมินมูลค่าซากของทรัพย์สิน จะต้องมีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพทั้งนี้ ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินนั้น ธนาคารพาณิชย์จะใช้ผู้ประเมินราคาอิสระหรือผู้ประเมินราคาภายในก็ได้ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในวงการวิชาชีพการประเมินราคาสินทรัพย์ - ระบบการเรียกเก็บหนี้ และการติดตามทวงถามหนี้ที่สามารถเตือนให้ธนาคารพาณิชย์ทราบเมื่อลูกหนี้เริ่มมีปัญหาในการชําระหนี้หรือไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามข้อตกลง ตลอดจนกลยุทธ์ในการเรียกเก็บหนี้ในกรณีต่าง ๆ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยในการติดตามทวงถามหนี้ - การจัดเก็บข้อมูล และการจัดทํารายงาน ตลอดจนระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสําหรับใช้ในการกําหนดและทบทวนนโยบายและแผนงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง 5.3.4 ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งต้องอื่นหนังสือแสดงความจํานงที่จะประกอบธุรกิจดังกล่าวที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารพาณิชย์ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารพาณิชย์ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินต้องให้การรับรองมาในหนังสือแสดงความจํานงดังกล่าวด้วยว่าจะปฏิบัติตามแผนการควบกิจการ รวมกิจการ ขายกิจการคืนใบอนุญาต รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่น เพื่อการดําเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ รวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะกําหนดประกอบการให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งหนังสือแสดงความจํานงไปที่สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเมื่อธนาคารพาณิชย์ได้ยื่นหนังสือแสดงความจํานงแล้ว ให้มีผลเป็นการอนุญาตเมื่อพ้นกําหนด 30 วัน นับแต่วันที่ยื่นหนังสือดังกล่าว เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีข้อทักท้วงหรือให้ชี้แจงเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีข้อทักท้วงหรือให้ชี้แจงเพิ่มเติม ให้ถือว่าธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตเมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย 5.3.5 การจัดทําสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเช่าแบบลีสซิ่ง ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเช่าแบบสซิ่งกับผู้เช่าเป็นหนังสืออย่างน้อย 2 ฉบับ และมอบให้ผู้เช่าเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ฉบับ โดยต้องระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าแต่ละประเภท ดังนี้ (1) ประเภท ลักษณะ และอายุการใช้งานของทรัพย์สิน (2) ราคาเงินสด เงินลงทุน จํานวนเงินล่วงหน้า จํานวนเงินรายงวด และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคํานวณผลตอบแทน (3) รายละเอียดและวิธีการที่ใช้ในการคํานวณผลตอบแทน และจํานวนเงินรายงวดหากธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปี (Flat Interest Rate) ในการคํานวณผลตอบแทนให้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีด้วย (Effective Interest Rate) (4) ระยะเวลาในการเช่า (3) วิธีการส่งมอบ การตรวจตรา การติดตรึงหรือติดตั้ง การเคลื่อนย้าย การสูญหายความเสียหาย ความชํารุดบกพร่อง การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินนั้น (6) การประกันภัย การรับค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย การค้ําประกัน (7) เงื่อนไขและสิทธิของผู้เช่าที่จะชําระค่าเช่าตามสัญญาคงเหลือสุทธิก่อนถึงกําหนด (ถ้ามี) (8) ค่าใช้จ่ายและค่าเบี้ยปรับในกรณีต่างๆ (9) เงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญา การสิ้นสุดของสัญญาและการยึดทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่ง (10) เงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแก่ผู้เช่า (11) เงื่อนไขในการให้ผู้เช่าเช่าต่อหรือซื้อทรัพย์สินทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของทรัพย์สินด้วยราคาที่ตกลงกัน เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าและผู้เช่าใช้สิทธิซื้อทรัพย์สินโดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินครบถ้วนตามสัญญาเช่าแล้ว ธนาคารพาณิชย์ต้องดําเนินการตามที่จําเป็นโดยไม่ชักช้าเพื่อให้ผู้เช่ามีสิทธิในทรัพย์สินอย่างบริบูรณ์ เช่น จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของทรัพย์สิน เป็นต้น นอกจากนั้น เนื่องจากการให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และการให้เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 และประกาศคณะกรรมการว่าสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2544 ดังนั้น ในการให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และการให้เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําสัญญาเช่าซื้อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว ตลอดจนหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาประกาศกําหนดด้วย 5.3.6 การประกาศเผยแพร่อัตราดอกเบี้ยในการคํานวณผลตอบแทน ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียมใด ๆ (1) ให้ธนาคารพาณิชย์ปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณผลตอบแทน ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานทุกแห่งภายในวันเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรวมทั้ง ให้เผยแพร่ข้อมูลข้างต้นไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของธนาคารพาณิชย์ก่อนวันที่รายละเอียดดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หากธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปี (Flat Interest Rate) ในการคํานวณผลตอบแทนให้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีด้วย (Effective Interest Rate) (2) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนด อัตรา ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ค่าปรับ วิธีการคํานวณ และเงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญา ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับสําหรับธนาคารพาณิชย์ 5.3.7 การกํากับดูแลการประกอบธุรกิจ (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องให้ความสําคัญกับการลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง และควรจัดให้มีประกันภัยทรัพย์สินดังกล่าว โดยธนาคารพาณิชย์เป็นผู้รับประโยชน์ตามความจําเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ในการทําประกันภัยธนาคารพาณิชย์ต้องคํานึงถึงประเภททรัพย์สิน ยอดเงินลงทุนในทรัพย์สิน โอกาสในการเกิดความเสียหายของทรัพย์สิน และค่าซ่อมแซมกรณีทรัพย์สินได้รับความเสียหาย เป็นต้น (2) ในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถลงทุนในทรัพย์สินเพื่อให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบสซิ่งแก่บุคคลใคบุคคลหนึ่งให้นับรวมกับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ซึ่งเมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้น สําหรับกรณีของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถลงทุนในทรัพย์สินเพื่อให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลีสซิ่งแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนับรวมกับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือโครงการหนึ่งโครงการใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินกว่าที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําได้ตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกําหนดอัตราส่วนจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือโครงการหนึ่งโครงการใดกับเงินกองทุน (3) ในการคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเพื่อดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน การจัดชั้นลูกหนี้ตามสัญญาเช่าและการกันสํารอง รวมทั้งการระงับการรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้จากการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (4) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับทรัพย์สินกลับคืนมาเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่าหรือเนื่องจากยึดมาจากผู้เช่า ธนาคารพาณิชย์ต้องดําเนินการจําหน่ายหรือให้เช่าทรัพย์สินนั้นต่อภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเช่าหรือนับแต่วันที่ยึดมา หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถจําหน่ายหรือให้เช่าทรัพย์สินนั้นต่อได้ ธนาคารพาณิชย์ต้องกันเงินสํารองสําหรับทรัพย์สินนั้น โดยให้ทยอยกันเงินสํารองทุกงวด 6 เดือน ในอัตรางวดละไม่ต่ํากว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าทรัพย์สินนั้น ณ วันสิ้นสุดสัญญาเช่าหรือวันที่ยืดมา หากปรากฏว่าทรัพย์สินที่ได้รับกลับคืนมานั้นเข้าข่ายเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสูญหรือสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน ให้ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการตัดทรัพย์สินนั้นออกจากบัญชีหรือกันเงินสํารองให้ครบถ้วนทันทีตามประกาศที่กล่าวด้วย โดยในกรณีทรัพย์สินนั้นเข้าข่ายเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ ให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินสํารองเป็นจํานวนที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเงินสํารองที่ได้ทยอยกันไปแล้วตามวิธีการที่กล่าวในวรรคแรกกับเงินสํารองที่ต้องกันสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญตามประกาศที่กล่าว ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ได้รับกลับคืนมานั้น มีอายุการใช้งานเหลือน้อยกว่า 2 ปี และธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถจําหน่ายหรือให้เช่าต่อได้ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเช่าหรือวันที่ยึดมา ให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินสํารองสําหรับทรัพย์สินนั้นทั้งจํานวนทันทีเมื่อครบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเช่าหรือวันที่ยึดมา 5.3.8 การจัดทําบัญชีและรายงาน (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด (2) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งไว้ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา 5.3.9 ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์กระทําการดังนี้ (1) จัดหาทรัพย์สินโดยที่ยังไม่ได้ตกลงทําสัญญาเช่าทรัพย์สินนั้นกับผู้ใด หรือ จัดหาทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดหรือสูงกว่าราคาต่ําสุดที่พึงจัดหาได้ (2) นําทรัพย์สินที่ให้เช่าไปทํานิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระแก่ทรัพย์สินนั้น เว้นแต่ในกรณีจําเป็นโดยได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ (3) ให้ผู้เช่านําทรัพย์สินไปให้เช่าช่วง ยกเว้นในกรณีที่ผู้เช่าเป็น ผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ 5.3.10 กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินนําทรัพย์สินมาขายและเช่ากลับคืน (Sale and Lease Back) (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งดังกล่าวข้างต้น (2) ในการรับซื้อทรัพย์สินและให้เช่ากลับคืน ธนาคารพาณิชย์ต้องดําเนินการให้มีการประเมินราคาทรัพย์สินที่จะรับซื้อและให้เช่ากลับคืนดังนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีการประเมินราคาทรัพย์สินที่จะรับซื้อและให้เช่ากลับคืน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์หรือคณะผู้บริหารที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ต้องประเมินราคาทรัพย์สินอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการตกแต่งบัญชี หรือการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ขายและเช่ากลับคืน (ข) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไม่มีความชํานาญหรือทรัพย์สินไม่มีราคาประเมินในตลาดรองเพื่อการอ้างอิง เช่น เครื่องจักร เครื่องบิน และเรือ เป็นต้น ธนาคารพาณิชย์ควรใช้ผู้ประเมินอิสระภายนอกในการประเมินราคาทรัพย์สินที่จะรับซื้อและให้เช่ากลับคืน ประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ขายและเช่ากลับคืนในการตกแต่งบัญชีเช่น การรับซื้อทรัพย์สินในราคาที่สูงเกินจริง 5.3.11 การพักหรือเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจพักหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือข้อกําหนดข้างต้น (2) ธนาคารพาณิชย์ไม่ดําเนินการตามแผนการควบกิจการ รวมกิจการขายกิจการ คืนใบอนุญาต รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่นเพื่อการดําเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (Ore Presence) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ (3) ธนาคารพาณิชย์ไม่ดําเนินการตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังกําหนดประกอบการให้ความเห็นชอบแผนการควบกิจการ รวมกิจการ ขายกิจการคืนใบอนุญาต รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่นเพื่อการดําเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) (4) กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,677
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1/2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามใน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1/2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามใน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ----------------------------------- อื่นๆ - เพื่ออนุมัติตามข้อ 12 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 ธนาคารแห่งประเทศไทยขอแต่งตั้งให้บุคคลดังมี รายนามต่อไปนี้เป็นผู้มีอํานาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นางสร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช 2. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 3. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 4. นายวิโรจน์ นริศวรานนท์ 5. นายยรรยง ดํารงศิริ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,678
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 2/2551 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 2/2551 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1/2542 ลงวันที่ 4 มกราคม 2542 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน ตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามความในคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส.1/2550 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ 2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 2/2550 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริษัทเงินทุ่น และบริษัทเครดิตฟองซิเวร์ อื่นๆ - 5. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และตามความในคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจและคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1/2542 ลงวันที่ 4 มกราคม 2542 เรื่องการกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ จํานวน 390 คน ดังนี้ 1. นายบัณฑิต นิจถาวร 29. นายจิตเกษม พรประพันธ์ 2. นายเกริก วณิกกุล 30. นางสาวจิตสุภา วิระยะวานิช 3. นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ 31. นางสาวจินคารัตน์ เหล่านริศอารี 4. นางสาวพิมพา ถาวรายุศม์ 32. นางสาวจินตนา รัตนสินชัย 5. นางสาลินี วังตาล 33. นายจิรคม อัครสมพงศ์ 6. นายพงศ์อคุลก ฤษณะราช 34. นายจิระชาติศิริ รุ่งพาณิชย์ 7. นางนิรมล อัศวมณี 35. นางจิราวัฒน์ วินิจชีวิต 8. นายรณคล นุ่มนนท์ 36. นายจุมพล สอนพงศ์ 9. นายผดุงศักดิ์ เทียนสุวรรณ 37. นายเจริญ กรุงแก้ว 10. นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ 38. นายเฉลิมชัย วงศ์ตั้งเจริญ 11. นางกรอุมา ธีรวิวัฒน์วงศ์ 39. นายชนะเลิศ เลิศทองไพบูลย์ 12. นางสาวกัญญา แซ่เตียว 40. นางสาวชนัตถา เลขะวัฒนพงษ์ 13. นายกัณชรัฐ เล็กมณี 41. นางช้องมาศ ธีระสูตร์ 14. นางสาวกัลยาณี รัตนสิงห์ 42. นางชัชชไม มากกมลธรรม 15. ว่าที่ร้อยตรี กําธรประเสริฐสม 43. นายชัชวัฏ พิพัฒนาบูรณ์ 16. นายกิตติ ฉวีธรรมวัฒน์ 44. นายชัชวาล เกษรมาลา 17. นายกิตติ อุดมวงย์กุล 45. นายชัยสิทธิ์ พุทธิขจร 18. นางกูลภัทร ศรีสว่างสุข 46. นายชาญยุทธ สิทธิถาวรทรัพย์ 19. นางกุลฤดี ช่วงประยูร 47. นายชาญยุทธ สุตาธิกานนท์ 20. นางเกสา ตั้งเพียรวัฒนา 48. นางชาดา ลิมป์กิตติสิน 21. นายขวัญชัย ร่มฉัตร์ 49. นายชาตรี ชีวชุติรุ่งเรือง 22. นางงามเพ็ญ บังเกิดลาภ 50. นายชาตรี วรวณิชชานันท์ 23. นางสาวจงลักษณ์ บํารุงไทยชัยชาญ 51. นายชาติชาย อเนกธนทรัพย์ 24. นายจรินทร์ เรือนแก้ว 52. นางสาวชุติมา นิ่มสุวรรณ 25. นายจักรพันธ์ พงษ์เภตรา 53. นายชูชัย ประภารวีวรรณ 26. นายจักรี สงวนสุข 54. นายชูพันธุ์ ภัทรเธียรชัย 27. นายจาคูรพงศ์ ธารีลาภ 55. นายฐะนัติ แสงมณีทอง 28. นายจํารัส พรมสุวรรณ 56. นางฐิตาภา จิตตปาลกุล 57. นายณรงค์ แสงคํา 87. นายธนะสิทธิ์ สรรพโชติวัฒน์ 58. นายณัชพล พูนพัฒนาทรัพย์ 88. นายธวัชชัย จุฑารัตน์ 59. นายณัฐวัสส์ วิฑิตวิริยกุล 89. นายธวัชชัย บังเกิดสิงห์ 60. นายณัฐสมพล ศีละสะนา 90. นายธวัชชัย หนุนภักดี 61. นายณัติพงศ์ สอวิเศษ 91. นางธัญญนิตย์ นิยมการ 62. นายดนัย น้าสกุล 92. นายธํารง อุ่นสินมั่น 63. นางคนิตา ลี้ศิริวัฒนกุล 93. นายธีรศักดิ์ สูงลอย 64. นางดวงจันทร์ กมลงาม 94. นางนงนุช โกสลาทิพย์ 65. นางดวงเดือน ปิยวงศ์สิริ 95. นางสาวนฤมล อัศวสุธีรกุล 66. นางดวงรัตน์ วรยศโกวิท 96. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 67. นางดารณี จันทราสุริยารัตน์ 97. นางสาวนันทพันธ์ วศวรรณวัฒน์ 68. นางดาราณี กิติสารศักดิ์ 98. นางสาวนิรมล กอสงวนมิตร 69. นายคํารงค์ ปโยราศิสกุล 99. นายนิวัติ พงษ์สุขเวชกุล 70. นายดิสพงษ์ ศิโรรัตนกุล 100.ร้อยโท นุกูล เนียมถนอม 71. นายต่อศักดิ์ ชัยวัฒน์ 101. นางนุชน้อย กิตติจารุภา 72. นายถนอม โพธิ์ทอง 102. นางสาวเนาวนิตย์ วงศ์รัศมีทอง 73. นายถาวร ศิริสวัสดิลก 103. นายบวร วงษ์จันทเจริญ 74. นายทนงศักดิ์ ประเจิดชัยวงศ์ 104. นายบุญช่วย อุดมรัตนพรกุล 75. นายทรงวุฒิ อินสว่าง 105. นายบุญชัย จินตกวีวัฒน์ 76. นายทวีชัย สหนุกูล 106. นายบุญทอง พฤกษมหาศาล 77. นายทัดลาภ เผ่าเหลืองทอง 107. นายบุญเที่ยง ภูมี 78. นายทัศนัย เพชรรุ่งรัศมี 108. นางบุษกร ธีระปัญญาชัย 79. นางสาวทัศนีย์ เดชอิทธิกุล 109. นางเบญจพร วุฒิวิกัยการ 80. นายทิพย์พล กิติอาภา 110. นางเบญจมา ชิงพยัคฆ์มัณฑ์ 81. นางเทพเทพิน ประศาสน์สารกิจ 111. นายประจวบ ร่ํารวยธรรม 82. นายธงชัย ปิยนรเศรษฐ์ 112. นายประจักษ์ อุดมเดชชัยรัตน์ 83. นายธนธัช หัตถกิจธาตรี 113. นายประดิษฐ์ พงษ์ไทย 84. นายธนวัฒน์ โสตถิโยธิน 114. นางประภา ศรีวงษ์ 85. นายธนะชัย องค์ชนะสุข 115. นายประวิตร วงษ์จันทเจริญ 86. นายธนะพุฒ องค์ธนะสุข 116. นายปรัชญา อัศวเดชกําจร 117. นางปราณีต อคิศัยปัญญา 147. นายมัณย์นิชิษฐ์ อมราอุไร 118. นายปราโมทย์ สายันตนะ 148. นางมัธนา หวังจิตรารักษ์ 119. นายปริสันติ ผคุงชีวิต 149. นางสาวมัลลิกา กิจกร 120. นายปรีชา มิ่งมาลัยรักษ์ 150. นายมาณพ เอกฤทธิไกร 121. นายปฤณัต ศักดิ์พานิช 151. นายมาโนช โมฬี 122. นายปวิตร ตันเจริญ 152. นายมิตรนเรนทร์ อํามฤคขจร 123. นายปัญญา บุญงามชัยรัตน์ 153. นางสาวเมทินี ศุภสวัสดิ์กุล 124. นายปัญญา พุฒิพิพัฒน์ 154. นายยงศักดิ์ เซี่ยงหลอ 125. นางปิยธิดา กิตติการุญจิต 155. นายยรรยง ลิขิตเจริญ 126. นางปิยมล ตุงควิจิตรวัฒน์ 156. นายยอดยิ่ง วีระพงศ์ 127. นายพงศัคณิต คุณัมพรานนท์ 157. นางสาวยินดี ทักษิณนุกุลวงศ์ 128. นายพรชัย เจริญใจ 158. นางสาวยุพาภรณ์ พีระนิกร 129. นายพรชัย อนันบุญทริก 159. นางสาวยุพิน เรืองฤทธิ์ 130. นายพลวิชญ์ กิจนิธิบารมี 160. นางเยาวดี เทพอํานวยสุข 131. นางพัชญา ศรีปลั่ง 161. นางรวมพร เรณุมาน 132. นางพันทิพา นาคะประวิง 162. นางสาวรวีวรรณ อรรจน์สาธิต 133. นายพันธ์ทิพย์ จันทร์แจ่มแสง 163. นางระวีวรรณ คุณานุกูล 134. นายพันธ์วริศ วัฒนวิจิตร 164. นางรัตนาภรณ์ ชินพัฒน์ 135. นายพัลลภ ลิ้มสุวรรณ 165. นายรามรุจิโรจน์ จุลละบุษปะ 136. นายพิพัฒน์ ลอระพงษ์ 166. นางสาวรุ่งนภา แจ้งสรรพกิจ 137. นายพิพัฒน์ เลิศพิพัฒน์ 167. นางรุ่งรัตน์ ตัถยาธิคม 138. นางพิมพ์ชนก ใจกล้า 168. นายเริงชัย แซ่โล๊ก 139. นายไพบูลย์ สุรพงศานุรักษ์ 169. นายวรโยชน์ มนชน 140. นายไพโรจน์ แคงเจริญ 170. นางสาววรรณา ลิมป์พัฒนสิน 141. นายภิรมย์ ทวีวัฒน์ 171. นางวรรณี งามประภาวัฒน์ 142. นายภูริ ปถวีธาตุ 172. นางวรรณี บุรัญชัย 143. นายมงคล ด่านวรรณพงศ์ 173. นางวรางคณา ธํารงรัตน์ 144. นางสาวมณีรัตน์ กฤตยาประทานพร 174. นางสาววรินทร์ จังกอบพัฒนา 145. นายมนต์ชัย รัตนเสถียร 175. นายวัชรินทร์ ธรรมนิยม 146. นายมนตรี อินทร์สุริวงค์ 176. นายวัฒนา วัธนานุกิจ 177. นายวัฒนา อภัยสุวรรณ 207. นายศรีรัฐ รัตนมุสิก 178. นายวันชัย เข็มทองประดิษฐ์ 208. นายศิริมงคล ศรีสุโข 179. นางสาววันดี แซ่เอ็ง 209. นางสาวศิริลักษณ์ พงศ์ศิริถาวร 180. นางวันทนา บุญสร้อย 210. นายศิวัฑฆ์ ปิยพิทักษ์ 181. นางสาววันทนีย์ บุญบานเย็น 211. นายศุภชัย งามประกาวัฒน์ 182. นางสาววัลยา ศรีวัฒนา 212. นายศุภรัตน์ วรพันธ์ 183. นายวิชัย ทองทวี 213. นายสถาพร ไกรสิทธิ์ 184. นายวิชา มหาเดชสุรชัย 214. นางสถาพร รัตนเศรษฐ์ยุทธ 185. นายวิชิต กรวิทยาคุณ 215. นางสาวสมใจ ประสิทธิ์ชัยพันธ์ 186. นายวิชิต คงอํานวยศักดิ์ 216. นายสมชัย ลิขสิทธิพันธุ์ 187. นายวิชิต อังกูรสุรารักษ์ 217. นายสมชาย ชนกิจโกศ 188. นายวิทยา ตันติยุทธ 218. นายสมชาย รุ่งขจรไพศาล 189. นายวิทูร เจียมวัฒนศิริกิจ 219. นายสมชาย เสรีวิชยสวัสดิ์ 190. นายวิบูลย์ เฉลิมศิริกุล 220. นายสมถ้วน อุณห์ศิริ 191. นายวิบูลย์ ธีระพันธ์ 221. นายสมบัติ ชื่นสุข 192. นายวิบูลย์ มิ่งมงคลชัย 222. นายสมบัติ ตั้งประสพทรัพย์ 193. นายวิภาส อิสริยาพันธุ์ 223. นายสมบูรณ์ จริยานุกูลกิจ 194. นางวิมลรัตน์ ปิยสถาพรพงศ์ 224. นายสมพงษ์ ทิพย์สมพรดี 195. นางวิมรัตน์ รุจิรากรสกุล 225. นายสมพจน์ เพ็ชรสม 196. นางสาววิไลพร กูหลาบศรี 226. นายสมพล ดีวิไลพันธุ์ 197. นายวิสุทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ 227. นายสมยศ มีเพ็ชรตี 198. นายวิสุทธิ์ พีรพัฒนโภคิน 228. นายสมศักดิ์ สิริตระกูลเกียรติ์ 199. นายวิสุทธิ์ อนันตกุลนธี 229. นายสราวุธ ภู่อภิสิทธิ์ 200. นายวีรไชย เล็กประเสริฐ 230. นายสราวุธ ศิริปักมานนท์ 201. นายวีระยุทธ ภูริวรานนท์ 231. นายสัญชัย กิตติชัยเจริญพร 202. นายวีระศักดิ์ จันทรจิรวงศ์ 232. นายสันติ ธนพัฒน์พิศาล 203. นายวุฒิชัย คชสารเสรี 233. นายสาธิต เบญจตัญวิทย์ 204. นายเวชยันต์ ประสาทเสรี 234. นายสําราญ ฮีเกษม 205. นายศรัณย์ มาสิทธิ์ 235. นายสิทธินาท ดวงรัตน์ 206. นางสาวศรีทอง จั่นทอง 236. นายสืบศักดิ์ ทองศรีคํา 237. นางสุจารี มนชน 267. นางสาวสุวิชา สัจจานิตย์ 238. นางสุจินต์ ตันเจริญ 268. นายสุวิทย์ ตุงควิจิตรวัฒน์ 239. นายสุชาติ นาคศรีเจริญ 269. นางสาวเสมอใจ กิตติคุษฎีกุล 240. นายสุชาติ สะเทือนวงษา 270. นายเสรี ธารชมพู 241. นางสาวสุดา เตชะกาญจนกิจ 271. นายแสงทอง ประกาศเกียรติ 242. นายสุทธินันท์ เจริญโภคราช 272. นางสาวโสภา กิตติธรรมกูล 243. นายสุทธิพงษ์ ทวีทรัพย์ไพบูลย์ 273. นางสาวโสภิตา สารศรี 244. นายสุทัศน์ ไกรวงศ์ 274. นายเหม เตชะธรรม 245. นายสุธินันท์ นันทนวิจิตร 275. นายองอาจ ตรีจรูญ 246. นายสุธี ทองผดุงโรจน์ 276. นายอดิศร พินิจกุลวิวัฒน์ 247. นายสุนทร เพ่งไพฑูรย์ 277. นายอดิศักดิ์ เสริฐศรี 248. นางสุนทรี สุขสุเมฆ 278. นายอนันตศักดิ์ ศรีสรรพางค์ 249. นางสาวสุนัดดา ปริปุณณะ 279. นายอนุชิต ฟ้ามิตินนท์ 250. นางสุนันท์ หอไพฑูรย์ 280. นางสาวอรทัย ธีรชัยธํารงกุล 251. นางสุนีย์ สมสุขสวัสดิ์กุล 281. นายอรรถพล สินสาคร 252. นายสุพจน์ รัตนพิบูลย์เดช 282. นายอร่าม บัวศรี 253. นางสาวสุภัค พันธุ์ไทย 283. นางสาวอโรรา อุนนะนันทน์ 254. นางสาวสุภัตรา ก่อกวิน 284. นายอัคนี ตั้งจิตเพิ่มความดี 255. นางสาวสุภัทรา เพิ่มมณีนิล 285. นางอังสนา ก่อเกียรติตระกูล 256. นางสุภาพรรณ มาณวพัฒน์ 286. นายอัตชัย มุ่งรักษาธรรม 257. นางสุภาวรรณ ชัยสังฆะ 287. นางอัมพร แก้วประเสริฐ 258. นางสุมาลี วิทยถาวรวงศ์ 288. นางสาวอัมพร สุวิภานนท์ 259. นางสาวสุมาลี ศีละสะนา 289. นางสาวอัษฎาพร มัจฉวานิช 260. นายสุเมธ สมบัติวิชาธร 290. นายอานุภาพ คูวินิชกุล 261. นายสุรชัย กิจกมลวัฒน์ 291. นางอาภรณ์ ตอพิทักษ์ชล 262. นายสุรชัย ปิยะปกรณ์ 292. นางอุดมศรี ภาคโพธิ์ 263. นายสุรชา ศุภารักษ์สืบวงศ์ 293. นางอุบลศรี บุณยรัตพันธุ์ 264. นายสุรพร ฉัตรศิขรินทร 294. นางอุไรวรรณ ศรีสุวรรณ 265. นายสุรพันธ์ วงศ์พันธ์ 295. นางอุษา ภักดิ์วิไลเกียรติ 266. นางสุรีย์พร ภูมี 296. นายเอกชัย เกตุแก้วมณีรัตน์ 297. นายเอกศิษฐ์ รังวัฒณเศรษฐ์ 327. นางสาวขวัญลดา สมิติเมธา 298. นายโอภาส พิมพ์สวัสดิ์ 328. นายคิมหันต์ พยุหนิกร 299. นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน 329. นางสาวจณัญญา เฉลิมวิวัฒน์กิจ 300. นางฤชุกร สิริโยธิน 330. นายจักรกริศน์ เหล่าจันอ้น 301. นางสาวนวพร มหารักขกะ 331. นายชาตรี มณีสวัสดิ์ 302. นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม 332. นายชินพันธ์ วุฒิพัฒนานนท์ 303. นางสาวกนกวรรณ เมฆโสภาวรรณกูล 333. จ่าเอก เชิดชัย พูดน้อย 304. นางสาวจันทร์เพ็ญ รัตนาภินันท์ 334. ว่าที่ร้อยตรี ดํารงศักดิ์ ณ ระนอง 305. นางสาวจามรี สุทธิพงษ์ชัย 335. นายทวีศักดิ์ จามีกรกุล 306. นางชณัญญา ศรธนะรัตน์ 336. นางสาวทิพย์วรรณ บุญไพโรจน์ 307. นางณัฐนันท์ ลิ้มสุขนิรันคร์ 337. นางสาวทิพวรรณ ตีรถานนท์ 308. นายนรศิ พูกกะมาน 338. นางธรรมพร ศรีธนสาร 309. นางนิศารัตน์ ไตรรัตน์วรกุล 339. นางนริศรา รวมศิริวัฒนกุล 310. นายบัญชา มนูญกุลชัย 340. นางสาวนันทพร พัฒนศักค์ภิญโญ 311. นางสาวประภากร วรรณกนก 341. นางสาวนิธินทรา ดีประดับ 312. นายประสาท สมจิตรนึ 342. นางสาวปณัฐวดี ยันตรกิจโกศล 313. นางสาวปรียานุช จึงประเสริฐ 343. นางสาวปรณีย์ เต็มไตรเพท 314. นางสาวพนิตา ปิยะอุย 344. นายประทีป ทองสิมา 315. นางสาวพีรจิต ปัทมสูต 345. นางสาวพจมาน กังวาฬไกรไพศาล 316. นางสาวรวิวรรณ์ ศิริเกษมทรัพย์ 346. นางสาวพนาพร ศุภรัชตการ 317. นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร 347. นายพรศักดิ์ ผ่องศรีงามชัย 318. นางวิเรขา สันตะพันธุ์ 348. นางพัชรี คงโกมลสกุล 319. นายวีรพล โสธรบุญ 349. นางพัชรี สุนทรพินิจกิจ 320. นางสาวศุภลักษณ์ สันติเพ็ชร์ 350. ร้อยเอก พิทยา ทรงสวัสดิ์ 321. นายสุประดิษฐ์ ตั้งประเสริฐ 351. นางสาวเพ็ญพิมล อรุณสุรัตน์ 322. นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ 352. นายไพโรจน์ รักเที่ยงธรรม 323. นางสาวอําไพพรรณ ศรยานยนตร์ 353. นางภัสรา อัคคะสาระกุล 324. นายวีระชาติ ศรีบุญมา 354. นายมานิตย์ บุญเนรมิตร 325. นางสาวกุลิสรา คุณธรรมดี 355. นางยุหา ราชนิยม 326. นางสาวขจิตพรรณ สุขแสง 356. นางยูวนุช มหาเอก 357. นายรักษ์ พัฒนวิบูลย์ 374. นายโอรส เพชรเจริญ 358. นายรุจิกุล อัดคะสาระกุล 375. นายอโณทัย ขุนอ่อน 359. นางวรรณี พรสมบูรณ์ศิริ 376. นายกริชทอง เดชะปัญญา 360. นายวิชัย จิตตปาลกุล 377. นายจีระพงศ์ ตีระแพทย์ 361. นายวิรัตน์ ทองคํา 378. นายเฉลิมพล กิ๊มประพันธ์ 362. นางสาววิสาข์ โตโพธิ์ไทย 379. นายชัยพฤกษ์ ไทยวิรัช 363. นายวีรวัฒน์ อินทรประคอง 380. นาวาตรี ชาญวิทย์ ประชาศรี 364. นางสาวศิวพร วงศ์สุนทร 381. นายนิคม หมอยา 365. นายเศกสรร บัวทรัพย์ 382. นางสาวเพ็ญรุ่ง บุญมา 366. นางสาวสมิตานันช์ พรหมพินิจ 383. ร้อยตํารวจโท เมฆา ศชพงษ์ 367. นายสิริวัฒน์ แสงสุวรรณโต 384. นางสาวร่มเกล้า คําสงค์ 368. นางสาวอโนชา รอดชมภู 385. นางวันเพ็ญ ไชยผคุง 369. นายอรุโณทัย วงศ์ศิริ 386. นายวิเชียร ใยเผือก 370. นายอัคคพล ไทยจรรยา 387. นางสลักเนตร ชาญอุไร 371. นายอัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล 388. นายสมชาย เสตกรณุกูล 372. นางอัมพร สุนทรภูษิต 389. นายนิรุธ รักษาเสรี 373. นายอุทิศ แสนจันทร์ 390. นางสาวปรางทิพย์ บุศยศิริ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,679
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 02/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์และการรับโอนซึ่งสิทธิเรียกร้อง ที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าในกิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 02/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์และการรับโอนซึ่งสิทธิเรียกร้อง ที่เกิดจากการจําหน่ายสินค้าในกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและการบริโภค ----------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เดิมการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 บริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายเละบริโภคสามารถให้ประชาชนกู้ยืมเงินเพื่อเช่าซื้อสินค้าจากผู้จําหน่ายสินค้า หรือให้เช่าซื้อสินค้าซึ่งยึดได้จากผู้เช่าซื้อรายอื่นได้ ซึ่งเป็นผลให้บริษัทเงินทุนสามารถให้เช่าซื้อได้เฉพาะรถยนต์ที่บริษัทเงินทุนได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากผู้ประกอบกิจการจําหน่ายรถยนต์เท่านั้น ไม่สามารถให้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากบุคคลทั่วไปได้ ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าความต้องการเช่าซื้อไม่ได้จํากัดอยู่เพียงการซื้อสินค้าจากผู้จําหน่ายเท่านั้น ประชาชนที่ต้องการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อรถยนต์จากบุคคลทั่วไปควรมีแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้นโดยมีบริษัทเงินทุนซึ่งทําธุรกรรมให้เช่าซื้อได้อยู่แล้วมาให้บริการ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้บริษัทเงินทุนที่มีความพร้อมสามารถให้เช่าซื้อรถยนต์แก่บุคคลทั่วไป นอกเหนือจากที่ได้รับโอนมาจากผู้ประกอบกิจการจําหน่ายรถยนต์ได้เมื่อมีนาคม 2542 การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศที่เกี่ยวกับการเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของบริษัทงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเพื่อการจําหน่ายและบริโภคมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยขอบเขตธุรกิจที่บริษัทเงินทุนได้รับอนุญาตยังคงเป็นไปตามขอบเขตที่ได้รับอนุญาตอยู่เดิม เนื่องจากพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังนั้น กฎกระทรวง ประกาศต่าง ๆ ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว จึงสิ้นผลบังคับใช้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์แก่บุคคลทั่วไปได้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินเฉพาะบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและบริโภคเท่านั้น อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ถูกยกเลิก 4.1 หนังสือเวียนที่ ธปท.งพ.(ว) 2909/2539 เรื่อง ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการให้กู้ยืมเพื่อเช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ลักษณะเก๋ง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 4.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและการบริโภค ลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 (หนังสือเวียนนําส่ง ที่ ธปท.สนส.(11) ว.1906/2544 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2544) 4.3 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกําหนดวงเงินสูงสุดที่บริษัทเงินทุนจะให้กู้ยืมแก่ผู้ดําเนินกิจการให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภท ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2544 (หนังสือเวียนนําส่ง ที่ ธปท.สนส.(11) ว.1906/2544 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2544) 4.4 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนให้เช่าซื้อรถยนต์บางประเภทที่รับโอนมาจากบุคคลทั่วไปนอกเหนือจากที่รับโอนมาจากผู้ประกอบกิจการจําหน่ายรถยนต์ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 (หนังสือเวียนนําส่ง ที่ ธปท.สนส.(11)ว.603/2545 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2545) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "รถยนต์" หมายความว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคนหรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ําหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก "บริษัทเงินทุน" หมายความว่า บริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและบริโภค "กิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและบริโภค" หมายความว่า กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชนและทําการดังต่อไปนี้เป็นทางค้าปกติ (1) ให้กู้ยืมเงิน เพื่อให้ใช้เกี่ยวกับการจําหน่ายสินค้า โดยชําระราคาเป็นงวด ๆ หรือโดยให้เช่าซื้อ (2) ให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชน เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าจากกิจการที่มิใช่ของตนเอง (3) ให้ประชาชนเช่าซื้อสินค้าที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากกิจการซึ่งจําหน่ายสินค้านั้นเมื่อได้ตกลงจะให้เช่าซื้อ หรือให้ประชาชนเช่าซื้อสินค้าซึ่งยึดได้จากผู้เช่าซื้อรายอื่น (4) รับโอนโดยมีค่าตอบแทนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการจําหน่ายสินค้า 5.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์แก่บุคคลทั่วไปได้ โดยบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3 บริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและบริโภคก่อนหน้าที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้สามารถทําธุรกิจตามขอบเขตที่ได้รับอนุญาตต่อไป 5.4 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ 5.4.1 ในการให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนให้ถือปฏิบัติดังนี้ (1) ในการทําสัญญาให้เช่าซื้อนอกจากข้อความอื่นที่พึงมีแล้ว บริษัทเงินทุนต้อง (1.1) กําหนดจํานวนเงินที่ผู้เช่าซื้อต้องชําระครั้งแรกทันทีที่ทําสัญญา (Down payment) การชําระเงินครั้งแรกบริษัทเงินทุนจะให้ผู้เช่าซื้อชําระแก่ผู้จําหน่ายรถยนต์นั้น โดยตรงก็ได้ แต่บริษัทเงินทุนต้องมีหลักฐานแสดงการชําระเงินหรือสําเนาหลักฐานดังกล่าวไว้ (1.2) ระบุราคาเงินสดและจํานวนเงินที่ได้ชําระครั้งแรกดังกล่าวไว้ด้วย (1.3) กําหนดระยะเวลาในการให้เช่าซื้อ (1.4) แสดงวิธีการคํานวณผลประโยชน์ที่บริษัทเงินทุนเรียกเก็บอย่างชัดเจนและให้แนบไว้กับคู่ฉบับของสัญญาให้เช่าซื้อที่มอบให้แก่ผู้เช่าซื้อ (1.5) ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่าย (1.6) กําหนดวิธีคิดค่าปรับ (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อชําระเงินแต่ละงวดล่าช้ากว่าเวลาที่กําหนด (1.7) กําหนดเงื่อนไขในการใช้สิทธิริบเงินที่ได้รับชําระแล้วและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อดังจะกล่าวต่อไปนี้ (1.7.1) กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินรายงวดสามงวดติดต่อกันบริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาเช่าซื้อ ริบบรรดาเงินที่ได้รับชําระแล้วและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อได้ต่อเมื่อบริษัทเงินทุนมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชําระนั้นภายในเวลาอย่างน้อย 30 วันนับตั้งแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น (1.7.2) กรณีผู้เช่าซื้อไม่อาจชําระค่าเช่าซื้อต่อไปได้และจัดหาบุคคลอื่นซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้เช่าซื้อได้ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทเงินทุนกําหนดเป็นการทั่วไปในการประกอบกิจการให้เช่าซื้อตามปกติมารับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อได้ บริษัทเงินทุนต้องยินยอมให้ผู้เช่าซื้อโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อ จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพื่อริบเงินที่ได้ชําระแล้วและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อไม่ได้ (1.8) กําหนดวิธีการชําระเงินว่าบริษัทเงินทุนจะให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าซื้อในกรณีผู้เช่าซื้อชําระเงินรายงวดทั้งหมดที่ยังไม่ถึงกําหนดชําระก่อนสิ้นสุดอายุสัญญาเข่าซื้อ (1.9) ปิดประกาศหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการเรียกเก็บเงินที่ผู้เช่าซื้อต้องชําระครั้งแรกทันทีที่ทําสัญญา ระยะเวลาในการให้เช่าซื้อ และเงื่อนไขการยึดรถยนต์และริบเงินรายงวดที่ได้รับชําระแล้วไว้ในที่เปิดเผยภายในสํานักงานทุกแห่งของบริษัทที่ใช้ติดต่อกับประชาชน ในกรณีที่บริษัทเงินทุนประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดอัตราค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ค่าปรับ วิธีการคํานวณ และเงื่อนไขต่างๆของสัญญา ให้บริษัทเงินทุนถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับสําหรับบริษัทเงินทุน (2) บริษัทเงินทุนอาจประกอบกิจการให้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับโอนมาจากบุคคลทั่วไปนอกเหนือจากที่ได้รับโอนมาจากผู้ประกอบกิจการจําหน่ายรถยนต์ได้ ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (2.1) เป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ แต่ไม่มีเงินที่จะชําระราคาให้แก่เจ้าของได้ จึงมีการจัดการให้เจ้าของรถยนต์โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บริษัทเงินทุนเพื่อให้เช่าซื้อรถยนต์แก่ผู้เช่าซื้อ ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้มีรถยนต์อยู่แล้วและประสงค์จะมาขอสินเชื่อโดยใช้รถยนต์นั้นเป็นประกันโดยวิธีอื่น (2.2) รถยนต์ที่จะให้เช่าซื้อจะต้องได้รับการประกันภัยชั้นหนึ่งตลอดอายุสัญญาการให้เช่าซื้อ (2.3) ในกรณีที่มีผู้ค้ําประกัน ผู้ค้ําประกันจะเป็นเจ้าของเดิมผู้โอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้นให้แก่บริษัทเงินทุนไม่ได้ 5.4.2 บริษัทเงินทุนจะรับโอนสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนจากบุคคลใด ๆ ได้ต่อเมื่อสัญญาให้เช่าซื้อที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องที่รับโอนมานั้น ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,680
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 2/2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 2/2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย พระราชกฤษฎีกากําหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 มาตรา 12 (13) อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 26 ธันวาคม 2550 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายสมชาย เสตกรณุกูล 2. นางสาวปรางทิพย์ บุศยศิริ 3. นายนิรุธ รักษาเสรี 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นางสร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช 7. นายปราณีต โชติกีรติเวช 8. นายอมร กังวาฬ 9. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 10. นายสุกิจ สหนุกูล 11. นายสัญญา จันทวดี 12. นายวิโรจน์ นริศวรานนท์ 13. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 14. นายยรรยง ดํารงศิริ 15. นายเอนก อิงวิยะ 16. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์ 17. นายสุขชัย พูลสินากร 18. นายวีระยุทธ์ เลิศพูนวิไลกุล 19. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 20. นายทนงศักดิ์ วรรณกาญ 21. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 22. นายประสงค์ วิริยะวิภาต 23. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,681
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3/2551 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริษัทบริหารสินทรัพย์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3/2551 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริษัทบริหารสินทรัพย์ --------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริษัทบริหารสินทรัพย์ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 12/1 แห่งพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2550 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังกับกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ทุกแห่ง ตามความในพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 อื่นๆ - 4. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามความในพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2550 จํานวน 390 คน ดังนี้ 1. นายบัณฑิต นิจถาวร 6. นายพงศ์อคุลก ฤษณะราช 2. นายเกริก วณิกกุล 7. นางนิรมล อัศวมณี 3. นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ 8. นายรณคล นุ่มนนท์ 4. นางสาวพิมพา ถาวรายุศม์ 9. นายผดุงศักดิ์ เทียนสุวรรณ 5. นางสาลินี วังตาล 10. นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ 11. นางกรอุมา ธีรวิวัฒน์วงศ์ 41. นางช้องมาศ ธีระสูตร์ 12. นางสาวกัญญา แซ่เตียว 42. นางชัชชไม มากกมลธรรม 13. นายกัณชรัฐ เล็กมณี 43. นายชัชวัฏ พิพัฒนาบูรณ์ 14. นางสาวกัลยาณี รัตนสิงห์ 44. นายชัชวาล เกษรมาลา 15. ว่าที่ร้อยตรี กําธรประเสริฐสม 45. นายชัยสิทธิ์ พุทธิขจร 16. นายกิตติ ฉวีธรรมวัฒน์ 46. นายชาญยุทธ สิทธิถาวรทรัพย์ 17. นายกิตติ อุดมวงย์กุล 47. นายชาญยุทธ สุตาธิกานนท์ 18. นางกูลภัทร ศรีสว่างสุข 48. นางชาดา ลิมป์กิตติสิน 19. นางกุลฤดี ช่วงประยูร 49. นายชาตรี ชีวชุติรุ่งเรือง 20. นางเกสา ตั้งเพียรวัฒนา 50. นายชาตรี วรวณิชชานันท์ 21. นายขวัญชัย ร่มฉัตร์ 51. นายชาติชาย อเนกธนทรัพย์ 22. นางงามเพ็ญ บังเกิดลาภ 52. นางสาวชุติมา นิ่มสุวรรณ 23. นางสาวจงลักษณ์ บํารุงไทยชัยชาญ 53. นายชูชัย ประภารวีวรรณ 24. นายจรินทร์ เรือนแก้ว 54. นายชูพันธุ์ ภัทรเธียรชัย 25. นายจักรพันธ์ พงษ์เภตรา 55. นายฐะนัติ แสงมณีทอง 26. นายจักรี สงวนสุข 56. นางฐิตาภา จิตตปาลกุล 27. นายจาคูรพงศ์ ธารีลาภ 57. นายณรงค์ แสงคํา 28. นายจํารัส พรมสุวรรณ 58. นายณัชพล พูนพัฒนาทรัพย์ 29. นายจิตเกษม พรประพันธ์ 59. นายณัฐวัสส์ วิฑิตวิริยกุล 30. นางสาวจิตสุภา วิระยะวานิช 60. นายณัฐสมพล ศีละสะนา 31. นางสาวจินคารัตน์ เหล่านริศอารี 61. นายณัติพงศ์ สอวิเศษ 32. นางสาวจินตนา รัตนสินชัย 62. นายดนัย น้าสกุล 33. นายจิรคม อัครสมพงศ์ 63. นางคนิตา ลี้ศิริวัฒนกุล 34. นายจิระชาติศิริ รุ่งพาณิชย์ 64. นางดวงจันทร์ กมลงาม 35. นางจิราวัฒน์ วินิจชีวิต 65. นางดวงเดือน ปิยวงศ์สิริ 36. นายจุมพล สอนพงศ์ 66. นางดวงรัตน์ วรยศโกวิท 37. นายเจริญ กรุงแก้ว 67. นางดารณี จันทราสุริยารัตน์ 38. นายเฉลิมชัย วงศ์ตั้งเจริญ 68. นางดาราณี กิติสารศักดิ 39. นายชนะเลิศ เลิศทองไพบูลย์ 69. นายคํารงค์ ปโยราศิสกุล 40. นางสาวชนัตถา เลขะวัฒนพงษ์ 70. นายดิสพงษ์ ศิโรรัตนกุล 71. นายต่อศักดิ์ ชัยวัฒน์ 101. นางนุชน้อย กิตติจารุภา 72. นายถนอม โพธิ์ทอง 102. นางสาวเนาวนิตย์ วงศ์รัศมีทอง 73. นายถาวร ศิริสวัสดิลก 103. นายบวร วงษ์จันทเจริญ 74. นายทนงศักดิ์ ประเจิดชัยวงศ์ 104. นายบุญช่วย อุดมรัตนพรกุล 75. นายทรงวุฒิ อินสว่าง 105. นายบุญชัย จินตกวีวัฒน์ 76. นายทวีชัย สหนุกูล 106. นายบุญทอง พฤกษมหาศาล 77. นายทัดลาภ เผ่าเหลืองทอง 107. นายบุญเที่ยง ภูมี 78. นายทัศนัย เพชรรุ่งรัศมี 108. นางบุษกร ธีระปัญญาชัย 79. นางสาวทัศนีย์ เดชอิทธิกุล 109. นางเบญจพร วุฒิวิกัยการ 80. นายทิพย์พล กิติอาภา 110. นางเบญจมา ชิงพยัคฆ์มัณฑ์ 81. นางเทพเทพิน ประศาสน์สารกิจ 111. นายประจวบ ร่ํารวยธรรม 82. นายธงชัย ปิยนรเศรษฐ์ 112. นายประจักษ์ อุดมเดชชัยรัตน์ 83. นายธนธัช หัตถกิจธาตรี 113. นายประดิษฐ์ พงษ์ไทย 84. นายธนวัฒน์ โสตถิโยธิน 114. นางประภา ศรีวงษ์ 85. นายธนะชัย องค์ชนะสุข 115. นายประวิตร วงษ์จันทเจริญ 86. นายธนะพุฒ องค์ธนะสุข 116. นายปรัชญา อัศวเดชกําจร 87. นายธนะสิทธิ์ สรรพโชติวัฒน์ 117. นางปราณีต อคิศัยปัญญา 88. นายธวัชชัย จุฑารัตน์ 118. นายปราโมทย์ สายันตนะ 89. นายธวัชชัย บังเกิดสิงห์ 119. นายปริสันติ ผคุงชีวิต 90. นายธวัชชัย หนุนภักดี 120. นายปรีชา มิ่งมาลัยรักษ์ 91. นางธัญญนิตย์ นิยมการ 121. นายปฤณัต ศักดิ์พานิช 92. นายธํารง อุ่นสินมั่น 122. นายปวิตร ตันเจริญ 93. นายธีรศักดิ์ สูงลอย 123. นายปัญญา บุญงามชัยรัตน์ 94. นางนงนุช โกสลาทิพย์ 124. นายปัญญา พุฒิพิพัฒน์ 95. นางสาวนฤมล อัศวสุธีรกุล 125. นางปิยธิดา กิตติการุญจิต 96. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 126. นางปิยมล ตุงควิจิตรวัฒน์ 97. นางสาวนันทพันธ์ วศวรรณวัฒน์ 127. นายพงศัคณิต คุณัมพรานนท์ 98. นางสาวนิรมล กอสงวนมิตร 128. นายพรชัย เจริญใจ 99. นายนิวัติ พงษ์สุขเวชกุล 129. นายพรชัย อนันบุญทริก 100.ร้อยโท นุกูล เนียมถนอม 130. นายพลวิชญ์ กิจนิธิบารมี 131. นางพัชญา ศรีปลั่ง 161. นางรวมพร เรณุมาน 132. นางพันทิพา นาคะประวิง 162. นางสาวรวีวรรณ อรรจน์สาธิต 133. นายพันธ์ทิพย์ จันทร์แจ่มแสง 163. นางระวีวรรณ คุณานุกูล 134. นายพันธ์วริศ วัฒนวิจิตร 164. นางรัตนาภรณ์ ชินพัฒน์ 135. นายพัลลภ ลิ้มสุวรรณ 165. นายรามรุจิโรจน์ จุลละบุษปะ 136. นายพิพัฒน์ ลอระพงษ์ 166. นางสาวรุ่งนภา แจ้งสรรพกิจ 137. นายพิพัฒน์ เลิศพิพัฒน์ 167. นางรุ่งรัตน์ ตัถยาธิคม 138. นางพิมพ์ชนก ใจกล้า 168. นายเริงชัย แซ่โล๊ก 139. นายไพบูลย์ สุรพงศานุรักษ์ 169. นายวรโยชน์ มนชน 140. นายไพโรจน์ แคงเจริญ 170. นางสาววรรณา ลิมป์พัฒนสิน 141. นายภิรมย์ ทวีวัฒน์ 171. นางวรรณี งามประภาวัฒน์ 142. นายภูริ ปถวีธาตุ 172. นางวรรณี บุรัญชัย 143. นายมงคล ด่านวรรณพงศ์ 173. นางวรางคณา ธํารงรัตน์ 144. นางสาวมณีรัตน์ กฤตยาประทานพร 174. นางสาววรินทร์ จังกอบพัฒนา 145. นายมนต์ชัย รัตนเสถียร 175. นายวัชรินทร์ ธรรมนิยม 146. นายมนตรี อินทร์สุริวงค์ 176. นายวัฒนา วัธนานุกิจ 147. นายมัณย์นิชิษฐ์ อมราอุไร 177. นายวัฒนา อภัยสุวรรณ 148. นางมัธนา หวังจิตรารักษ์ 178. นายวันชัย เข็มทองประดิษฐ์ 149. นางสาวมัลลิกา กิจกร 179. นางสาววันดี แซ่เอ็ง 150. นายมาณพ เอกฤทธิไกร 180. นางวันทนา บุญสร้อย 151. นายมาโนช โมฬี 181. นางสาววันทนีย์ บุญบานเย็น 152. นายมิตรนเรนทร์ อํามฤคขจร 182. นางสาววัลยา ศรีวัฒนา 153. นางสาวเมทินี ศุภสวัสดิ์กุล 183. นายวิชัย ทองทวี 154. นายยงศักดิ์ เซี่ยงหลอ 184. นายวิชา มหาเดชสุรชัย 155. นายยรรยง ลิขิตเจริญ 185. นายวิชิต กรวิทยาคุณ 156. นายยอดยิ่ง วีระพงศ์ 186. นายวิชิต คงอํานวยศักดิ์ 157. นางสาวยินดี ทักษิณนุกุลวงศ์ 187. นายวิชิต อังกูรสุรารักษ์ 158. นางสาวยุพาภรณ์ พีระนิกร 188. นายวิทยา ตันติยุทธ 159. นางสาวยุพิน เรืองฤทธิ์ 189. นายวิทูร เจียมวัฒนศิริกิจ 160. นางเยาวดี เทพอํานวยสุข 190. นายวิบูลย์ เฉลิมศิริกุล 191. นายวิบูลย์ ธีระพันธ์ 221. นายสมบัติ ชื่นสุข 192. นายวิบูลย์ มิ่งมงคลชัย 222. นายสมบัติ ตั้งประสพทรัพย์ 193. นายวิภาส อิสริยาพันธุ์ 223. นายสมบูรณ์ จริยานุกูลกิจ 194. นางวิมลรัตน์ ปิยสถาพรพงศ์ 224. นายสมพงษ์ ทิพย์สมพรดี 195. นางวิมรัตน์ รุจิรากรสกุล 225. นายสมพจน์ เพ็ชรสม 196. นางสาววิไลพร กูหลาบศรี 226. นายสมพล ดีวิไลพันธุ์ 197. นายวิสุทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ 227. นายสมยศ มีเพ็ชรตี 198. นายวิสุทธิ์ พีรพัฒนโภคิน 228. นายสมศักดิ์ สิริตระกูลเกียรติ์ 199. นายวิสุทธิ์ อนันตกุลนธี 229. นายสราวุธ ภู่อภิสิทธิ์ 200. นายวีรไชย เล็กประเสริฐ 230. นายสราวุธ ศิริปักมานนท์ 201. นายวีระยุทธ ภูริวรานนท์ 231. นายสัญชัย กิตติชัยเจริญพร 202. นายวีระศักดิ์ จันทรจิรวงศ์ 232. นายสันติ ธนพัฒน์พิศาล 203. นายวุฒิชัย คชสารเสรี 233. นายสาธิต เบญจตัญวิทย์ 204. นายเวชยันต์ ประสาทเสรี 234. นายสําราญ ฮีเกษม 205. นายศรัณย์ มาสิทธิ์ 235. นายสิทธินาท ดวงรัตน์ 206. นางสาวศรีทอง จั่นทอง 236. นายสืบศักดิ์ ทองศรีคํา 207. นายศรีรัฐ รัตนมุสิก 237. นางสุจารี มนชน 208. นายศิริมงคล ศรีสุโข 238. นางสุจินต์ ตันเจริญ 209. นางสาวศิริลักษณ์ พงศ์ศิริถาวร 239. นายสุชาติ นาคศรีเจริญ 210. นายศิวัฑฆ์ ปิยพิทักษ์ 240. นายสุชาติ สะเทือนวงษา 211. นายศุภชัย งามประกาวัฒน์ 241. นางสาวสุดา เตชะกาญจนกิจ 212. นายศุภรัตน์ วรพันธ์ 242. นายสุทธินันท์ เจริญโภคราช 213. นายสถาพร ไกรสิทธิ์ 243. นายสุทธิพงษ์ ทวีทรัพย์ไพบูลย์ 214. นางสถาพร รัตนเศรษฐ์ยุทธ 244. นายสุทัศน์ ไกรวงศ์ 215. นางสาวสมใจ ประสิทธิ์ชัยพันธ์ 245. นายสุธินันท์ นันทนวิจิตร 216. นายสมชัย ลิขสิทธิพันธุ์ 246. นายสุธี ทองผดุงโรจน์ 217. นายสมชาย ชนกิจโกศ 247. นายสุนทร เพ่งไพฑูรย์ 218. นายสมชาย รุ่งขจรไพศาล 248. นางสุนทรี สุขสุเมฆ 219. นายสมชาย เสรีวิชยสวัสดิ์ 249. นางสาวสุนัดดา ปริปุณณะ 220. นายสมถ้วน อุณห์ศิริ 250. นางสุนันท์ หอไพฑูรย์ 251. นางสุนีย์ สมสุขสวัสดิ์กุล 281. นายอรรถพล สินสาคร 252. นายสุพจน์ รัตนพิบูลย์เดช 282. นายอร่าม บัวศรี 253. นางสาวสุภัค พันธุ์ไทย 283. นางสาวอโรรา อุนนะนันทน์ 254. นางสาวสุภัตรา ก่อกวิน 284. นายอัคนี ตั้งจิตเพิ่มความดี 255. นางสาวสุภัทรา เพิ่มมณีนิล 285. นางอังสนา ก่อเกียรติตระกูล 256. นางสุภาพรรณ มาณวพัฒน์ 286. นายอัตชัย มุ่งรักษาธรรม 257. นางสุภาวรรณ ชัยสังฆะ 287. นางอัมพร แก้วประเสริฐ 258. นางสุมาลี วิทยถาวรวงศ์ 288. นางสาวอัมพร สุวิภานนท์ 259. นางสาวสุมาลี ศีละสะนา 289. นางสาวอัษฎาพร มัจฉวานิช 260. นายสุเมธ สมบัติวิชาธร 290. นายอานุภาพ คูวินิชกุล 261. นายสุรชัย กิจกมลวัฒน์ 291. นางอาภรณ์ ตอพิทักษ์ชล 262. นายสุรชัย ปิยะปกรณ์ 292. นางอุดมศรี ภาคโพธิ์ 263. นายสุรชา ศุภารักษ์สืบวงศ์ 293. นางอุบลศรี บุณยรัตพันธุ์ 264. นายสุรพร ฉัตรศิขรินทร 294. นางอุไรวรรณ ศรีสุวรรณ 265. นายสุรพันธ์ วงศ์พันธ์ 295. นางอุษา ภักดิ์วิไลเกียรติ 266. นางสุรีย์พร ภูมี 296. นายเอกชัย เกตุแก้วมณีรัตน์ 267. นางสาวสุวิชา สัจจานิตย์ 297. นายเอกศิษฐ์ รังวัฒณเศรษฐ์ 268. นายสุวิทย์ ตุงควิจิตรวัฒน์ 298. นายโอภาส พิมพ์สวัสดิ์ 269. นางสาวเสมอใจ กิตติคุษฎีกุล 299. นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน 270. นายเสรี ธารชมพู 300. นางฤชุกร สิริโยธิน 271. นายแสงทอง ประกาศเกียรติ 301. นางสาวนวพร มหารักขกะ 272. นางสาวโสภา กิตติธรรมกูล 302. นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม 273. นางสาวโสภิตา สารศรี 303. นางสาวกนกวรรณ เมฆโสภาวรรณกูล 274. นายเหม เตชะธรรม 304. นางสาวจันทร์เพ็ญ รัตนาภินันท์ 275. นายองอาจ ตรีจรูญ 305. นางสาวจามรี สุทธิพงษ์ชัย 276. นายอดิศร พินิจกุลวิวัฒน์ 306. นางชณัญญา ศรธนะรัตน์ 277. นายอดิศักดิ์ เสริฐศรี 307. นางณัฐนันท์ ลิ้มสุขนิรันคร์ 278. นายอนันตศักดิ์ ศรีสรรพางค์ 308. นายนรศิ พูกกะมาน 279. นายอนุชิต ฟ้ามิตินนท์ 309. นางนิศารัตน์ ไตรรัตน์วรกุล 280. นางสาวอรทัย ธีรชัยธํารงกุล 310. นายบัญชา มนูญกุลชัย 311. นางสาวประภากร วรรณกนก 341. นางสาวนิธินทรา ดีประดับ 312. นายประสาท สมจิตรนึ 342. นางสาวปณัฐวดี ยันตรกิจโกศล 313. นางสาวปรียานุช จึงประเสริฐ 343. นางสาวปรณีย์ เต็มไตรเพท 314. นางสาวพนิตา ปิยะอุย 344. นายประทีป ทองสิมา 315. นางสาวพีรจิต ปัทมสูต 345. นางสาวพจมาน กังวาฬไกรไพศาล 316. นางสาวรวิวรรณ์ ศิริเกษมทรัพย์ 346. นางสาวพนาพร ศุภรัชตการ 317. นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร 347. นายพรศักดิ์ ผ่องศรีงามชัย 318. นางวิเรขา สันตะพันธุ์ 348. นางพัชรี คงโกมลสกุล 319. นายวีรพล โสธรบุญ 349. นางพัชรี สุนทรพินิจกิจ 320. นางสาวศุภลักษณ์ สันติเพ็ชร์ 350. ร้อยเอก พิทยา ทรงสวัสดิ์ 321. นายสุประดิษฐ์ ตั้งประเสริฐ 351. นางสาวเพ็ญพิมล อรุณสุรัตน์ 322. นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ 352. นายไพโรจน์ รักเที่ยงธรรม 323. นางสาวอําไพพรรณ ศรยานยนตร์ 353. นางภัสรา อัคคะสาระกุล 324. นายวีระชาติ ศรีบุญมา 354. นายมานิตย์ บุญเนรมิตร 325. นางสาวกุลิสรา คุณธรรมดี 355. นางยุหา ราชนิยม 326. นางสาวขจิตพรรณ สุขแสง 356. นางยูวนุช มหาเอก 327. นางสาวขวัญลดา สมิติเมธา 357. นายรักษ์ พัฒนวิบูลย์ 328. นายคิมหันต์ พยุหนิกร 358. นายรุจิกุล อัดคะสาระกุล 329. นางสาวจณัญญา เฉลิมวิวัฒน์กิจ 359. นางวรรณี พรสมบูรณ์ศิริ 330. นายจักรกริศน์ เหล่าจันอ้น 360. นายวิชัย จิตตปาลกุล 331. นายชาตรี มณีสวัสดิ์ 361. นายวิรัตน์ ทองคํา 332. นายชินพันธ์ วุฒิพัฒนานนท์ 362. นางสาววิสาข์ โตโพธิ์ไทย 333. จ่าเอก เชิดชัย พูดน้อย 363. นายวีรวัฒน์ อินทรประคอง 334. ว่าที่ร้อยตรี ดํารงศักดิ์ ณ ระนอง 364. นางสาวศิวพร วงศ์สุนทร 335. นายทวีศักดิ์ จามีกรกุล 365. นายเศกสรร บัวทรัพย์ 336. นางสาวทิพย์วรรณ บุญไพโรจน์ 366. นางสาวสมิตานันช์ พรหมพินิจ 337. นางสาวทิพวรรณ ตีรถานนท์ 367. นายสิริวัฒน์ แสงสุวรรณโต 338. นางธรรมพร ศรีธนสาร 368. นางสาวอโนชา รอดชมภู 339. นางนริศรา รวมศิริวัฒนกุล 369. นายอรุโณทัย วงศ์ศิริ 340. นางสาวนันทพร พัฒนศักค์ภิญโญ 370. นายอัคคพล ไทยจรรยา 371. นายอัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล 381. นายนิคม หมอยา 372. นางอัมพร สุนทรภูษิต 382. นางสาวเพ็ญรุ่ง บุญมา 373. นายอุทิศ แสนจันทร์ 383. ร้อยตํารวจโท เมฆา ศชพงษ์ 374. นายโอรส เพชรเจริญ 384. นางสาวร่มเกล้า คําสงค์ 375. นายอโณทัย ขุนอ่อน 385. นางวันเพ็ญ ไชยผคุง 376. นายกริชทอง เดชะปัญญา 386. นายวิเชียร ใยเผือก 377. นายจีระพงศ์ ตีระแพทย์ 387. นางสลักเนตร ชาญอุไร 378. นายเฉลิมพล กิ๊มประพันธ์ 388. นายสมชาย เสตกรณุกูล 379. นายชัยพฤกษ์ ไทยวิรัช 389. นายนิรุธ รักษาเสรี 380. นาวาตรี ชาญวิทย์ ประชาศรี 390. นางสาวปรางทิพย์ บุศยศิริ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,682
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 03/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ของบริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 03/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ของบริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ----------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีตธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้บริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ โดยการจัดหาที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัยมาให้ประชาชนเช่าซื้อ ทั้งนี้ เพื่อให้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อให้การให้เช่าซื้อสามารถเทียบเคียงได้กับการให้สินเชื่อโดยวิธีอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้วิธีคิดผลประโยชน์จากการให้เช่าซื้อเป็นไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการคิดดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมโดยผ่อนชําระเป็นงวด ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนผู้ใช้บริการเช่าซื้อ รวมทั้งได้กําหนดให้เปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่ผู้เช่าซื้อควรทราบ เพื่อช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจและความนิยมต่อบริการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์มาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกันโดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม อย่างไรก็ดี บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดที่ดําเนินการหรือได้รับอนุญาตในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้วในวันก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ประกอบธุรกิจได้ตามที่ได้รับอนุญาตไว้ต่อไปได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2523 (หนังสือเวียนที่ ธปท. งพ. (ว) 1674/2523 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2523) 2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2524 (หนังสือเวียนที่ งท. (ว) 699/2524 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2524) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ" หมายความว่า กิจการจัดหาเงินทุนจากประชาชนและทําการดังต่อไปนี้ เป็นทางค้าปกติ (1) ให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัย หรือ (2) ให้กู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการจัดหาที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัยสําหรับจําหน่ายแก่ประชาชนหรือให้ประชาชนเช่าซื้อ หรือ (3) จัดหาที่ดินและหรือบ้านที่อยู่อาศัยเพื่อจําหน่ายแก่ประชาชน รวมทั้งให้ประชาชนเช่าซื้อ "บ้านที่อยู่อาศัย" หมายความว่า บ้านหรืออาคารที่บุคคลใช้อยู่อาศัยเป็นปกติแต่ไม่รวมถึงอาคารที่ใช้เพื่อความประสงค์อย่างอื่นที่บุคคลใช้อยู่อาศัยเป็นปกติด้วย "เช่าซื้อ" หมายความว่า สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คํามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจํานวนเท่านั้นเท่านี้คราว ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ "ราคาจําหน่าย" หมายความว่า ราคาเช่าซื้อหรือราคาเงินสด "ราคาเช่าซื้อ" หมายความว่า จํานวนเงินรวมทั้งสิ้นของเงินล่วงหน้าและเงินรายงวด ซึ่งผู้เช่าซื้อจะต้องชําระแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามระยะเวลาและเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้อเพื่อจะให้อสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ "เงินล่วงหน้า" หมายความว่า เงินที่ผู้เช่าซื้อชําระแก่ผู้ให้เช่าซื้อเมื่อทําสัญญาเช่าซื้อเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของราคาเงินสดต่างหากจากเงินรายงวด "เงินรายงวด" หมายความว่า เงินที่ผู้เช่าซื้อจะต้องชําระแก่ผู้ให้เช่าซื้อในแต่ละงวด ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นดอกผลเช่าซื้อและราคาเงินสดประจํางวด ตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้อ "ราคาเงินสด" หมายความว่า ราคาที่จะพึงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ในท้องตลาดด้วยเงินสด ณ วันทําสัญญาเช่าซื้อ "ราคาเงินสดประจํางวด" หมายความว่า ส่วนของราคาเงินสดที่ผู้เช่าซื้อชําระแก่ผู้ให้เช่าซื้อในแต่ละงวด "ราคาเงินสดสุทธิ" หมายความว่า ยอดสุทธิ ณ ขณะใดขณะหนึ่งของราคาเงินสดหักด้วยเงินล่วงหน้าและราคาเงินสดประจํางวดที่ได้ชําระแล้ว "ดอกผลเช่าซื้อ" หมายความว่า เงินที่ผู้ให้เช่าซื้อรับจากผู้เช่าซื้อ เป็นการตอบแทนการให้เช่าซื้อนอกจากราคาเงินสดประจํางวด หรือเงินล่วงหน้า โดยคํานวณจากราคาเงินสดสุทธิ ณ วันต้นงวดหรือเมื่อเริ่มช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการคํานวณดอกผลเช่าซื้อนั้น "อัตราดอกผลเช่าซื้อ" หมายความว่า อัตราร้อยละต่อปีที่ผู้ให้เช่าซื้อใช้ในการคํานวณดอกผลเช่าซื้อ "ผู้ให้เช่าซื้อ" หมายความว่า บริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 5.2 อนุญาตให้บริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ 5.3.1 ผู้ให้เช่าซื้อต้องทําสัญญาเช่าซื้อเป็นหนังสือมีข้อความตรงกันอย่างน้อย 2 ฉบับ และต้องมอบให้ผู้เช่าซื้อเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ฉบับ ในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อชํารุดหรือสูญหายและผู้เช่าซื้อขอให้ผู้ให้เช่าซื้อถ่ายเอกสารหรือจัดทําสําเนาให้แก่ผู้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อต้องดําเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้เช่าซื้อ โดยอาจเรียกค่าใช้จ่ายเอาจากผู้เช่าซื้อเท่าที่จําเป็น 5.3.2 ในสัญญาเช่าซื้อ นอกจากข้อความที่เป็นสาระและเงื่อนไขแห่งสัญญาที่พึงระบุตามปกติแล้ว ให้ผู้ให้เช่าซื้อระบุข้อความต่อไปนี้ไว้ด้วย คือ (1) ราคาเงินสด (2) เงินล่วงหน้า (3) อัตราดอกผลเช่าซื้อ และเงื่อนไขการสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลง อัตราดังกล่าว (ถ้ามี) (4) เงินรายงวด จํานวนงวด และวิธีการชําระเงิน (5) ค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่าซื้อต้องมีหน้าที่ต้องชําระ นอกจากเงินล่วงหน้าและเงินรายงวด อันได้แก่ เบี้ยประกันกรมธรรม์ประกันภัย ค่าภาษีโรงเรือนและภาษีบํารุงท้องที่ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์หรือค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายหรือตามสัญญา (ถ้ามี) ที่ไม่ใช่ผลประโยชน์ตอบแทนจากการให้เช่าซื้อ (6) เงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อ (7) ข้อความที่ให้ถือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของบริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ 5.3.3 ผู้ให้เช่าซื้อจะคิดดอกผลเช่าซื้อในแต่ละงวดหรือสําหรับช่วงระยะเวลาเช่าซื้อใดเกินกว่าดอกผลเช่าซื้อที่พึงคํานวณได้ตามอัตราที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาหรือจะเรียกค่าใช้จ่ายอื่นนอกจากข้อ 5.3.2 (5) ไม่ได้ เว้นแต่ค่าปรับเมื่อมีการผิดนัดไม่ชําระเงินรายงวดหรือค่าชดเชยเมื่อมีการขอชําระเงินรายงวดก่อนกําหนด ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกว่าที่ระบุให้เรียกได้ในข้อ 5.3.7 หรือข้อ 5.3.9 แล้วแต่กรณี 5.3.4 ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกผลเช่าซื้อโดยถือเป็นเงื่อนไขของสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบถ่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกผลเช่าซื้อ ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์และผู้เช่าซื้อได้ยินยอมแล้ว 5.3.5 ทุกครั้งที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับชําระเงินจากผู้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องออกหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้เช่าซื้อหรือผู้ได้รับมอบอํานาจให้แก่ผู้เช่าซื้อ และหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องระบุจํานวนเงินและประเภทของเงินที่ชําระ 5.3.6 ผู้ให้เช่าซื้อต้องมีบัญชีผู้เช่าซื้อเป็นรายบุคคล และต้องจัดให้มีการบันทึกบัญชีเพื่อแสดงรายการอย่างน้อยดังนี้ (1) ราคาเงินสด (2) การชําระเงินล่วงหน้า (3) การชําระดอกผลเช่าซื้อ ราคาเงินสดประจํางวด และเงินรายงวดในแต่ละงวด (4) ราคาเงินสดสุทธิที่คงเหลือ (5) การชําระค่าใช้จ่ายอื่นตามข้อ 5.3.2 (5) ค่าปรับตามข้อ 5.3.7 หรือค่าชดเชยตามข้อ 5.3.9 (ถ้ามี) 5.3.7 ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชําระเงินรายงวดในงวดใดงวดหนึ่ง ผู้ให้เช่าซื้อจะเรียกค่าปรับจากผู้เช่าซื้อก็ได้โดยต้องระบุไว้ชัดแจ้งในสัญญา แต่ค่าปรับดังกล่าวเมื่อคิดเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินและระยะเวลาที่ผิดนัดแล้ว ต้องไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ผู้ให้เช่าซื้อพึงเรียกได้ตามกฎหมาย 5.3.8 เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชําระเงินรายงวดสองงวดติด ๆ กัน หรือเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสําคัญ ผู้ให้เช่าซื้ออาจถือเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ โดยต้องแจ้งการบอกเลิกสัญญาพร้อมเหตุผลเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อทราบก่อน ไม่น้อยกว่า 30 วัน ในหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวให้ระบุด้วยว่า หากผู้เช่าซื้อชําระเงินรายงวดที่ค้างชําระหรือแก้ไขการผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสําคัญนั้นแล้วแต่กรณี ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา สัญญาเช่าซื้อไม่ระงับไป ในกรณีผิดนัดไม่ชําระเงินรายงวดสองงวดติด ๆ กัน เมื่อผู้เช่าซื้อชําระเงินจํานวนดังกล่าวให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาของผู้ให้เช่าซื้อ ให้การบอกเลิกสัญญานั้นเป็นอันระงับไป ในกรณีกระทําผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสําคัญ หากผู้เช่าซื้อสามารถแก้ไขให้เป็นที่พอใจแก่ผู้ให้เช่าซื้อได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาของผู้ให้เช่าซื้อ ให้การบอกเลิกสัญญานั้นเป็นอันระงับไป 5.3.9 เมื่อผู้เช่าซื้อขอชําระราคาเงินสดประจํางวดก่อนกําหนด ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องไม่คิดดอกผลเช่าซื้อสําหรับส่วนของราคาเงินสดสุทธิที่ลดลงเนื่องจากการชําระราคาเงินสดประจํางวดดังกล่าวตามระยะเวลาที่ชําระก่อนกําหนดนั้น หากยังคงมีราคาเงินสดสุทธิเหลืออยู่ ผู้ให้เช่าซื้อจะปรับปรุงวิธีการชําระเงินในส่วนที่เหลือต่อไปได้เมื่อผู้เช่าซื้อยินยอม วิธีการดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้เช่าซื้อขอชําระส่วนของราคาเงินสดสุทธิคงเหลือด้วยโดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อขอชําระเงินสดประจํางวดตามวรรคหนึ่ง หรือส่วนของราคาเงินสดสุทธิตามวรรคสอง ผู้ให้เช่าซื้ออาจเรียกค่าชดเชยจากผู้เช่าซื้อได้ ค่าชดเชยดังกล่าวให้คิดได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 1 ของราคาเงินสดประจํางวดหรือส่วนของราคาเงินสดสุทธิที่ผู้เช่าซื้อชําระ 5.3.10 ผู้ให้เช่าซื้อต้องยอมให้ผู้เช่าซื้อโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้เช่าซื้อได้ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ให้เช่าซื้อกําหนดในการประกอบกิจการให้เช่าซื้อตามปกติ 5.3.11 ในระหว่างอายุสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อขอทราบเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ส่วนของราคาเช่าซื้อที่ได้ชําระแล้ว (2) ส่วนของราคาเช่าซื้อที่ถึงกําหนดชําระแต่ยังมิได้ชําระ (3) ส่วนของราคาเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกําหนดชําระ (4) ราคาเงินสดสุทธิที่ยังคงเหลืออยู่ ผู้ให้เช่าซื้อต้องจัดทําหนังสือแสดงรายการดังกล่าวให้ผู้เช่าซื้อได้ทราบโดยไม่ชักช้า 5.3.12 เมื่อผู้เช่าซื้อได้ชําระราคาเช่าซื้อจนครบถ้วนตามสัญญา หรือได้ชําระราคาเงินสดสุทธิรวมทั้งดอกผลเช่าซื้อคงค้างหรือเงินค่าชดเชยตามข้อ 5.3.9 (ถ้ามี) ครบถ้วนแล้วผู้ให้เช่าซื้อต้องดําเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาโดยพลัน 5.3.13 การกํากับดูแลที่จะต้องถือปฏิบัติ (1) ที่ดินที่บริษัทเงินทุนมีไว้เพื่อประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะทุกแปลงรวมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องมีมูลค่าตามบัญชีไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนนั้น ทั้งนี้ ไม่รวมที่ดินส่วนที่ได้ทําสัญญาให้เช่าซื้อไปแล้ว (2) อสังหาริมทรัพย์รวมถึงที่ดินตาม (1) ที่บริษัทเงินทุนมีไว้เพื่อประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะรวมทั้งสิ้นเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องมีมูลค่าตามบัญชีไม่เกิน 2 เท่าของเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนนั้น ทั้งนี้ ไม่รวมอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่ได้ทําสัญญาให้เช่าซื้อไปแล้ว (3) ที่ดินที่บริษัทเงินทุนมีไว้เพื่อดําเนินการก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยไว้จําหน่ายหรือให้ประชาชนเช่าซื้อ แม้จะเป็นแปลงย่อยมีจํานวนต่ํากว่า 10 แปลงก็ต้องจัดให้มี (3.1) ระบบและมาตรฐานของถนนประเภทต่าง ๆ ทางเดินและทางเท้าในที่ดินนั้นทั้งหมด รวมทั้งการต่อเชื่อมกับถนนหรือทางสายนอกของที่ดิน (3.2) ระบบการระบายน้ํา (3.3) ระบบและมาตรฐานของสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะตามที่จําเป็น ทั้งนี้ การดําเนินการตาม (3.1) (3.2) และ (3.3) ให้ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินโดยอนุโลม (4) เมื่อบริษัทเงินทุนได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิใด ๆในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาเพื่อประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะแล้ว ต้องปฏิบัติดังนี้ (4.1) แจ้งการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิใด ๆ ข้างต้น แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหนังสือภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้มา (4.2) ยื่นเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับโครงการดําเนินงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายในสามเดือนนับแต่วันที่ได้มา โดยมีรายละเอียดดังนี้ (4.2.1) ชื่อของโครงการ (4.2.2) ขนาดของโครงการ และทําเลที่ตั้ง (4.2.3) นโยบายการดําเนินงาน และระยะเวลาของการดําเนินงาน (4.2.4) รายละเอียดเกี่ยวกับระบบถนน ระบบการระบายน้ําระบบสาธารณูปโภค และระบบบริการสาธารณะที่จะจัดสรร (4.2.5) ปริมาณของานที่ได้ดําเนินการไปแล้ว (ถ้ามี) (4.2.6) รายจ่ายที่คาดว่าจะต้องใช้ในการพัฒนาที่ดินในโครงการ (4.2.7) ราคาจําหน่ายที่ดินต่อตารางวา (4.2.8) รายจ่ายที่คาดว่าจะต้องใช้ในการก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัย (4.2.9) แบบและจํานวนของอาคาร และราคาจําหน่ายต่อหน่วยของอาคารแต่ละแบบ (4.2.10) ประมาณการรายรับ รายจ่าย ทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งแบ่งออกตามช่วงระยะเวลาของการดําเนินงาน (4.2.11) รายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนที่จะใช้ในการดําเนินงานของโครงการ (4.2.12) นโยบายในการหาลูกค้า (4.2.13) วิธีการจําหน่าย (4.3) ต้องเริ่มดําเนินการตามโครงการตามข้อ (4.2) ภายใน 9 เดือนนับแต่วันที่ได้มา เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย หากไม่สามารถดําเนินการได้ตามกําหนดเวลาต้องจําหน่ายขอสังหาริมทรัพย์นั้นไปภายใน 1 ปีนับแต่วันสิ้นสุดกําหนดเวลาดังกล่าวนั้น (5) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาเพื่อประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะในกรณีที่ต้องทําการพัฒนาที่ดินและส่งปลูกสร้างต้องดําเนินการตามโครงการและจําหน่ายหรือให้เช่าซื้อให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ได้มา หรือภายใน 1 ปีในกรณีที่ไม่ต้องทําการพัฒนาเว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ (6) ห้ามมิให้บริษัทเงินทุนนําอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะไปทํานิติกรรมกับบุคคลใดอันจะก่อให้เกิดภาระแก่อสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่ในกรณีจําเป็นโดยได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ (7) การนําที่ดินที่ได้มาตามมาตรา 80 (2) (ค) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 มาแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงบ่อยเพื่อจําหน่ายแก่ประชาชน รวมทั้งให้ประชาชนเช่าซื้อนั้น ถือว่าเป็นการค้าที่ดินและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินด้วย อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,683
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ----------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.64/14/51 | 70,000 | 27 มิถุนายน 2551 | 2/7/51 – 16/7/51 | 14 | | พ.65/15/52 | 80,000 | 30 มิถุนายน 2551 | 3/7/51 – 18/7/51 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
7,684
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 04/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจแฟ๊กเตอริง (Factoring)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 04/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจแฟ๊กเตอริง (Factoring) -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินอันมีเจตนารมณ์ที่จะให้การประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์กับลูกค้าเป็นไปตามลักษณะของธุรกรรมอย่างแท้จริงและมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการเสริมสภาพคล่องสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อแก่ลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการ โดยการรับซื้อรับโอนลูกหนี้ทางการค้าจากลูกค้าซึ่งเรียกว่าธุรกิจแฟ็กเตอริงได้ตั้งแต่ปี 2547ธุรกรรมดังกล่าวครอบคลุมถึงการบริหารบัญชีลูกหนี้ เรียกเก็บหนี้ทางการค้า และรับผิดชอบในหนี้ที่ลูกหนี้ของลูกค้าผิดนัด ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้การอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายสอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยไม่ได้เปลี่ยนสาระสําคัญของประกาศ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ใดที่ได้รับการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวแล้วให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีก อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง ลงวันที่ 3 เมษายน 2549 (หนังสือเวียนนําส่ง ที่ ฝนส.(21)ว. 90/2549 ลงวันที่ 20 เมษายน 2549) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "ธุรกิจเเพ็กเตอริง" หมายความว่า ธุรกิจที่ลูกค้าตกลงจะโอนหนี้ทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง โดยผู้ประกอบธุรกิจเฟ็กเตอริงนั้นตกลงจะให้สินเชื่อซึ่งรวมถึงการรับที่จะดําเนินธุรกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) การบริหารบัญชีลูกหนี้ (2) เรียกเก็บหนี้ทางการค้า (3) รับผิดชอบในหนี้ที่ลูกหนี้ของลูกค้าผิดนัด ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงอื่นซึ่งรับโอนหรือตกลงที่จะรับโอนหนี้ทางการค้าจากผู้ประกอบธุรกิจเฟีกเตอริงตามวรรคหนึ่งและรับที่จะดําเนินการตาม (1) (2) หรือ (3) ของวรรคหนึ่งด้วย "สัญญาแฟ็กเตอริง" หมายความว่า สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างธนาคารพาณิชย์ฝ่ายหนึ่งกับลูกค้าอีกฝ่ายหนึ่ง โดยลูกค้าตกลงโอนและธนาคารพาณิชย์ตกลงรับโอนหนี้ทางการค้าที่ลูกค้ามีสิทธิเรียกร้องเหนือลูกหนี้ เพื่อดําเนินธุรกรรมภายใต้ธุรกิจแฟ็กเตอริง และให้หมายความรวมถึงกรณีที่ธนาคารพาณิชย์รับโอนหรือตกลงที่จะรับโอนหนี้ทางการค้าจากผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงมาอีกทอดหนึ่งด้วย "สัญญาแฟ็กเตอริงแบบไม่มีสิทธิไถ่เบี้ย (Without Recourse)" หมายความว่า สัญญาแฟ็กเตอริงที่ธนาคารพาณิชย์ไม่มีสิทธิเรียกร้องหรือไถ่เบี้ยให้ลูกค้าชําระหนี้แทนลูกหนี้หากลูกหนี้ผิดนัด "ลูกค้า" หมายความว่า ผู้ขายสินค้าหรือบริการแก่ลูกหนี้ และมีสิทธิได้รับชําระหนี้สําหรับจํานวนหนี้ทางการค้าจากลูกหนี้ "ลูกหนี้" หมายความว่า ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการจากลูกค้าและมีหน้าที่ต้องชําระหนี้อันเนื่องมาจากหนี้ทางการค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งต่อมาลูกค้าได้โอนสิทธิการรับชําระหนี้ทางการค้านั้นให้แก่ธนาคารพาณิชย์ตามสัญญาแฟ็กเตอริง "หนี้ทางการค้า" หมายความว่า เงินค่าสินค้าหรือบริการที่ลูกหนี้ต้องชําระให้แก่ลูกค้าอันเนื่องมาจากการขายสินค้าหรือบริการ "การบริหารบัญชีลูกหนี้" หมายความว่า การจัดทําทะเบียนและ/หรือรายงานบัญชีลูกหนี้ที่ลูกค้านํามาโอนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ตามสัญญาแฟ็กเตอริง การตรวจสอบข้อมูลเครดิตและสถานภาพของลูกหนี้ การควบคุมดูแลยอดหมุนเวียนและยอดคงค้างของลูกหนี้ให้เหมาะสม 5.2 หลักการ การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงนั้นเป็นธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อระยะสั้นเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการ ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์จึงต้องมีความพร้อมในด้านระบบการวิเคราะห์สินเชื่อ การบริหารความเสี่ยง การติดตามหนี้ และการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเช่นเดียวกับที่ใช้ในการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนั้นธนาคารพาณิชย์ต้องคํานึงถึงคุณภาพของลูกค้าและลูกหนี้เป็นหลัก มิใช่มุ่งเน้นเพียงการเพิ่มปริมาณธุรกรรม เนื่องจากปัจจัยดังกล่าว จะมีผลกระทบโดยตรงต่อฐานะและผลการดําเนินงานของธนาคารพาณิชย์ หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยจะมุ่งเน้นให้ธนาคารพาณิชย์สามารถบริหารความเสี่ยงของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยธนาคารพาณิชย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะธุรกรรม ธุรกิจของลูกค้าและลูกหนี้และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีและมีการกําหนดนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ รวมถึงระบบงานและระเบียบการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนและเหมาะสมเพียงพอที่จะรองรับการประกอบธุรกิจได้ และต้องมีระบบการควบคุมภายในที่ดี อาทิ จัดให้มีขั้นตอนและวิธีการประเมินเครดิตของลูกค้าและลูกหนี้อย่างเหมาะสม เป็นต้น 5.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงโดยธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (1) มีฐานะการเงินและฐานะการดําเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถกันเงินสํารองได้ครบถ้วนและดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหรือสั่งการเป็นกรณีพิเศษ รวมทั้งสามารถดํารงอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ได้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการสั่งการเป็นกรณีพิเศษด้วย (2) มีระบบงาน ระบบข้อมูล และมีบุคลากรเพียงพอเพื่อรองรับการทําธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคลากรดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ และประสบการณ์เพียงพอ (3) ให้ความร่วมมือกับทางการในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินในการปรับบทบาทและรูปแบบสถาบันการเงิน โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีสถาบันการเงินที่รับฝากเงินจากประชาชนอยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจเดียวกันมากกว่า 1 แห่ง/รูปแบบ ต้องจัดทําแผนการควบกิจการรวมกิจการ ขายกิจการ คืนใบอนุญาต รับโอนสินทรัพย์เละหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่น เพื่อการดําเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ตามแนวทางที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงต้องยื่นหนังสือแสดงความจํานงที่จะประกอบธุรกิจดังกล่าวที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารพาณิชย์ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินต้องให้การรับรองมาในหนังสือแสดงความจํานงดังกล่าวด้วยว่าจะปฏิบัติตามแผนการควบกิจการ รวมกิจการ ขายกิจการ คืนใบอนุญาตรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่น เพื่อการดําเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแเบบ (One Presence) ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ที่รัฐมนตรีจะกําหนดประกอบการให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งหนังสือแสดงความจํานงไปที่สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเมื่อธนาคารพาณิชย์ได้ยื่นหนังสือแสดงความจํานงแล้ว ให้มีผลเป็นการอนุญาตเมื่อพ้นกําหนด 30 วัน นับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับหนังสือดังกล่าว เว้นแต่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีข้อทักท้วงหรือให้ชี้แจงเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ถือว่าธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตเมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย 5.4 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจสําหรับธนาคารพาณิชย์ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 5.4.1 ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงจะต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการทําธุรกรรมดังนี้ (1) คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (2) คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีระบบงานอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเป็นผู้กําหนด อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ นโยบาย กลยุทธ์ ขั้นตอนการปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ ระเบียบและวิธีการบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายในระบบการจัดการ และระบบบัญชี (3) ระบบงานที่เกี่ยวกับระเบียบและวิธีการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงอย่างน้อยต้องครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ (3.1) ระบบการวิเคราะห์เครคิตของลูกค้าและลูกหนี้ โดยเฉพาะกรณีการประกอบธุรกิจเฟิกเตอริงแบบไม่มีสิทธิไถ่เบี้ย ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ ข้อมูลเครดิตลูกค้าและลูกหนี้ที่จะรับโอนทุกรายอย่างเพียงพอ และมีระบบการกําหนดวงเงินสินเชื่อของลูกค้า โดยพิจารณาถึงหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาให้สินเชื่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย เช่น การกําหนดเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อที่จําเป็น ได้แก่ ใบกํากับสินค้า (Invoice) และเอกสารการค้าอื่น ๆ เป็นต้น (3.2) ระบบการติดตามหนี้ที่รับโอนมาตามสัญญาแฟ็กเตอริง ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ทราบข้อมูลเกี่ยวกับลูกหนี้และลูกค้า เช่น ความมีอยู่จริงของหนี้ทางการค้าที่รับโอน คุณภาพการชําระหนี้ของลูกหนี้ คุณภาพสินค้าที่จัดส่ง และการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้า (3.3) การบริหารความเสี่ยงด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น การประกันภัยหรือการเรียกเงินประกันตามคุณภาพของลูกค้าและประเภทของธุรกรรม รวมทั้งการกระจายความเสี่ยงอันเกิดจากการกระจุกตัวของลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นต้น (3.4) ระบบการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทํารายงานเพื่อการติดตามวิเคราะห์ และประเมินผลการประกอบธุรกิจ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 5.4.2 เพื่อเป็นการเปิดเผยข้อมูลและทําความเข้าใจกับลูกค้าเกี่ยวกับธุรกรรมธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีสัญญาแฟ็กเตอริงเป็นหนังสือและมอบให้แก่ลูกค้าเก็บไว้เป็นหลักฐาน 1 ฉบับ โดยในสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) จํานวนวงเงินที่จะรับโอน (2) สิทธิเรียกร้องที่จะรับโอน หรือวิธีการเลือกสิทธิเรียกร้องดังกล่าว (3) วิธีการในการคํานวณอัตราดอกเบี้ย ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าอย่างชัดเจน โดยให้แนบรายละเอียดไว้กับคู่ฉบับของสัญญาที่มอบให้แก่ลูกค้า (4) ค่าใช้จ่ายและเบี้ยปรับต่างๆ (5) อายุสัญญา ทั้งนี้ รายละเอียดตาม (3) และ (4) ธนาคารพาณิชย์อาจจัดทําเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้ 5.4.3 การแก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ค่าตอบแทนผลประโยชน์ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้า ค่าใช้จ่าย หรือเบี้ยปรับต่าง ๆ ตามสัญญาแฟ็กเตอริงนั้น ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนที่จะมีการแก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มิฉะนั้น ธนาคารพาณิชย์จะสามารถเรียกดอกเบี้ย ค่าตอบแทน ผลประโยชน์ที่เรียกเก็บจากลูกค้า ค่าใช้จ่าย หรือเบี้ยปรับต่าง ๆ ได้เพียงเท่าที่ระบุไว้ในสัญญา 5.4.4 การกํากับดูแล (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีที่ยอมรับทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด (2) ในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมแฟ็กเตอริงกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ธนาคารพาณิชย์นับรวมกับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้น ตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้ร้ายใหญ่ (Single Lending Limit) ทั้งนี้ ในการคํานวณการทําธุรกรรมกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดข้างต้นให้ปฏิบัติดังนี้ (2.1) กรณีสัญญาแฟ็กเตอริงแบบมีสิทธิไล่เบี้ยให้นับลูกค้าที่นําสิทธิการรับชําระหนี้มาโอนแก่ธนาคารพาณิชย์ในการคํานวณ (2.2) กรณีสัญญาแฟ็กเตอริงแบบไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้นับลูกหนี้ในการคํานวณ (3) ในการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารอง การดํารงเงินกองทุน การสอบทานเงินให้สินเชื่อและภาระผูกพัน และแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการระงับการรับรู้รายได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (4) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจยับยั้งหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (4.1) ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และข้อกําหนดข้างต้น (4.2) ธนาคารพาณิชย์ไม่ดําเนินการตามแผนการควบกิจการ รวมกิจการขายกิจการ คืนใบอนุญาต รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่นเพื่อการดําเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ (4.3) ธนาคารพาณิชย์ไม่ดําเนินการตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดประกอบการให้ความเห็นชอบแผนการควบกิจการ รวมกิจการ ขายกิจการคืนใบอนุญาต รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินจากสถาบันการเงินแห่งอื่น เพื่อการดําเนินการตามนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) (4.4) กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน 5.5 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจสําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ในการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 5.4 เว้นแต่เรื่องขอบเขตในการประกอบธุรกิจ และเรื่องการนับลูกหนี้รายใหญ่ 5.5.1 ขอบเขตในการประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ โดยจํากัดขอบเขตธุรกรรมเฉพาะธุรกิจแฟ็กเตอริภายในประเทศซึ่งลูกค้าและลูกหนี้จะต้องเป็นผู้ประกอบการในประเทศและมีมูลหนี้ที่จะรับโอนสิทธิเรียกร้องในการรับชําระหนี้เป็นสกุลเงินบาท ทั้งนี้ ขอบเขตการประกอบธุรกิจต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 รวมทั้งตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.5.2 การนับลูกหนี้รายใหญ่ ในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมแฟ็กเตอริงกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือโครงการหนึ่งโครงการใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินกว่าที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําได้ตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,685
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 4/2551 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 4/2551 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน และมิใช่ผู้ออกบัตรเครดิตให้แก่ผู้บริโภคเพื่อชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใด อันเป็นธุรกิจของตนเอง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามข้อ 12 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2547 กําหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน และมิใช่ผู้ออกบัตรเครคิตให้แก่ผู้บริโภคเพื่อชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใด อันเป็นธุรกิจของตนเอง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3/2550 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ฉบับลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 อื่นๆ - 5. เนื้อหา แต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 และ 10 สิงหาคม 2547 จํานวน 372 คน ดังนี้ 1. นายบัณฑิต นิจถาวร 28. นายจํารัส พรมสุวรรณ 2. นายเกริก วณิกกุล 29. นายจิตเกษม พรประพันธ์ 3. นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ 30. นางสาวจิตสุภา วิระยะวานิช 4. นางสาวพิมพา ถาวรายุศม์ 31. นางสาวจินคารัตน์ เหล่านริศอารี 5. นางสาลินี วังตาล 32. นางสาวจินตนา รัตนสินชัย 6. นายพงศ์อคุลก ฤษณะราช 33. นายจิรคม อัครสมพงศ์ 7. นางนิรมล อัศวมณี 34. นายจิระชาติศิริ รุ่งพาณิชย์ 8. นายรณคล นุ่มนนท์ 35. นางจิราวัฒน์ วินิจชีวิต 9. นายผดุงศักดิ์ เทียนสุวรรณ 36. นายจุมพล สอนพงศ์ 10. นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ 37. นายเจริญ กรุงแก้ว 11. นางกรอุมา ธีรวิวัฒน์วงศ์ 38. นายเฉลิมชัย วงศ์ตั้งเจริญ 12. นางสาวกัญญา แซ่เตียว 39. นายชนะเลิศ เลิศทองไพบูลย์ 13. นายกัณชรัฐ เล็กมณี 40. นางสาวชนัตถา เลขะวัฒนพงษ์ 14. นางสาวกัลยาณี รัตนสิงห์ 41. นางช้องมาศ ธีระสูตร์ 15. ว่าที่ร้อยตรี กําธรประเสริฐสม 42. นางชัชชไม มากกมลธรรม 16. นายกิตติ ฉวีธรรมวัฒน์ 43. นายชัชวัฏ พิพัฒนาบูรณ์ 17. นายกิตติ อุดมวงย์กุล 44. นายชัชวาล เกษรมาลา 18. นางกูลภัทร ศรีสว่างสุข 45. นายชัยสิทธิ์ พุทธิขจร 19. นางกุลฤดี ช่วงประยูร 46. นายชาญยุทธ สิทธิถาวรทรัพย์ 20. นางเกสา ตั้งเพียรวัฒนา 47. นายชาญยุทธ สุตาธิกานนท์ 21. นายขวัญชัย ร่มฉัตร์ 48. นางชาดา ลิมป์กิตติสิน 22. นางงามเพ็ญ บังเกิดลาภ 49. นายชาตรี ชีวชุติรุ่งเรือง 23. นางสาวจงลักษณ์ บํารุงไทยชัยชาญ 50. นายชาตรี วรวณิชชานันท์ 24. นายจรินทร์ เรือนแก้ว 51. นายชาติชาย อเนกธนทรัพย์ 25. นายจักรพันธ์ พงษ์เภตรา 52. นางสาวชุติมา นิ่มสุวรรณ 26. นายจักรี สงวนสุข 53. นายชูชัย ประภารวีวรรณ 27. นายจาคูรพงศ์ ธารีลาภ 54. นายชูพันธุ์ ภัทรเธียรชัย 55. นายฐะนัติ แสงมณีทอง 85. นายธนะชัย องค์ชนะสุข 56. นางฐิตาภา จิตตปาลกุล 86. นายธนะพุฒ องค์ธนะสุข 57. นายณรงค์ แสงคํา 87. นายธนะสิทธิ์ สรรพโชติวัฒน์ 58. นายณัชพล พูนพัฒนาทรัพย์ 88. นายธวัชชัย จุฑารัตน์ 59. นายณัฐวัสส์ วิฑิตวิริยกุล 89. นายธวัชชัย บังเกิดสิงห์ 60. นายณัฐสมพล ศีละสะนา 90. นายธวัชชัย หนุนภักดี 61. นายณัติพงศ์ สอวิเศษ 91. นางธัญญนิตย์ นิยมการ 62. นายดนัย น้าสกุล 92. นายธํารง อุ่นสินมั่น 63. นางคนิตา ลี้ศิริวัฒนกุล 93. นายธีรศักดิ์ สูงลอย 64. นางดวงจันทร์ กมลงาม 94. นางนงนุช โกสลาทิพย์ 65. นางดวงเดือน ปิยวงศ์สิริ 95. นางสาวนฤมล อัศวสุธีรกุล 66. นางดวงรัตน์ วรยศโกวิท 96. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 67. นางดารณี จันทราสุริยารัตน์ 97. นางสาวนันทพันธ์ วศวรรณวัฒน์ 68. นางดาราณี กิติสารศักดิ์ 98. นางสาวนิรมล กอสงวนมิตร 69. นายคํารงค์ ปโยราศิสกุล 99. นายนิวัติ พงษ์สุขเวชกุล 70. นายดิสพงษ์ ศิโรรัตนกุล 100.ร้อยโท นุกูล เนียมถนอม 71. นายต่อศักดิ์ ชัยวัฒน์ 101. นางนุชน้อย กิตติจารุภา 72. นายถนอม โพธิ์ทอง 102. นางสาวเนาวนิตย์ วงศ์รัศมีทอง 73. นายถาวร ศิริสวัสดิลก 103. นายบวร วงษ์จันทเจริญ 74. นายทนงศักดิ์ ประเจิดชัยวงศ์ 104. นายบุญช่วย อุดมรัตนพรกุล 75. นายทรงวุฒิ อินสว่าง 105. นายบุญชัย จินตกวีวัฒน์ 76. นายทวีชัย สหนุกูล 106. นายบุญทอง พฤกษมหาศาล 77. นายทัดลาภ เผ่าเหลืองทอง 107. นายบุญเที่ยง ภูมี 78. นายทัศนัย เพชรรุ่งรัศมี 108. นางบุษกร ธีระปัญญาชัย 79. นางสาวทัศนีย์ เดชอิทธิกุล 109. นางเบญจพร วุฒิวิกัยการ 80. นายทิพย์พล กิติอาภา 110. นางเบญจมา ชิงพยัคฆ์มัณฑ์ 81. นางเทพเทพิน ประศาสน์สารกิจ 111. นายประจวบ ร่ํารวยธรรม 82. นายธงชัย ปิยนรเศรษฐ์ 112. นายประจักษ์ อุดมเดชชัยรัตน์ 83. นายธนธัช หัตถกิจธาตรี 113. นายประดิษฐ์ พงษ์ไทย 84. นายธนวัฒน์ โสตถิโยธิน 114. นางประภา ศรีวงษ์ 115. นายประวิตร วงษ์จันทเจริญ 145. นายมนต์ชัย รัตนเสถียร 116. นายปรัชญา อัศวเดชกําจร 146. นายมนตรี อินทร์สุริวงค์ 117. นางปราณีต อคิศัยปัญญา 147. นายมัณย์นิชิษฐ์ อมราอุไร 118. นายปราโมทย์ สายันตนะ 148. นางมัธนา หวังจิตรารักษ์ 119. นายปริสันติ ผคุงชีวิต 149. นางสาวมัลลิกา กิจกร 120. นายปรีชา มิ่งมาลัยรักษ์ 150. นายมาณพ เอกฤทธิไกร 121. นายปฤณัต ศักดิ์พานิช 151. นายมาโนช โมฬี 122. นายปวิตร ตันเจริญ 152. นายมิตรนเรนทร์ อํามฤคขจร 123. นายปัญญา บุญงามชัยรัตน์ 153. นางสาวเมทินี ศุภสวัสดิ์กุล 124. นายปัญญา พุฒิพิพัฒน์ 154. นายยงศักดิ์ เซี่ยงหลอ 125. นางปิยธิดา กิตติการุญจิต 155. นายยรรยง ลิขิตเจริญ 126. นางปิยมล ตุงควิจิตรวัฒน์ 156. นายยอดยิ่ง วีระพงศ์ 127. นายพงศัคณิต คุณัมพรานนท์ 157. นางสาวยินดี ทักษิณนุกุลวงศ์ 128. นายพรชัย เจริญใจ 158. นางสาวยุพาภรณ์ พีระนิกร 129. นายพรชัย อนันบุญทริก 159. นางสาวยุพิน เรืองฤทธิ์ 130. นายพลวิชญ์ กิจนิธิบารมี 160. นางเยาวดี เทพอํานวยสุข 131. นางพัชญา ศรีปลั่ง 161. นางรวมพร เรณุมาน 132. นางพันทิพา นาคะประวิง 162. นางสาวรวีวรรณ อรรจน์สาธิต 133. นายพันธ์ทิพย์ จันทร์แจ่มแสง 163. นางระวีวรรณ คุณานุกูล 134. นายพันธ์วริศ วัฒนวิจิตร 164. นางรัตนาภรณ์ ชินพัฒน์ 135. นายพัลลภ ลิ้มสุวรรณ 165. นายรามรุจิโรจน์ จุลละบุษปะ 136. นายพิพัฒน์ ลอระพงษ์ 166. นางสาวรุ่งนภา แจ้งสรรพกิจ 137. นายพิพัฒน์ เลิศพิพัฒน์ 167. นางรุ่งรัตน์ ตัถยาธิคม 138. นางพิมพ์ชนก ใจกล้า 168. นายเริงชัย แซ่โล๊ก 139. นายไพบูลย์ สุรพงศานุรักษ์ 169. นายวรโยชน์ มนชน 140. นายไพโรจน์ แคงเจริญ 170. นางสาววรรณา ลิมป์พัฒนสิน 141. นายภิรมย์ ทวีวัฒน์ 171. นางวรรณี งามประภาวัฒน์ 142. นายภูริ ปถวีธาตุ 172. นางวรรณี บุรัญชัย 143. นายมงคล ด่านวรรณพงศ์ 173. นางวรางคณา ธํารงรัตน์ 144. นางสาวมณีรัตน์ กฤตยาประทานพร 174. นางสาววรินทร์ จังกอบพัฒนา 175. นายวัชรินทร์ ธรรมนิยม 205. นายศรัณย์ มาสิทธิ์ 176. นายวัฒนา วัธนานุกิจ 206. นางสาวศรีทอง จั่นทอง 177. นายวัฒนา อภัยสุวรรณ 207. นายศรีรัฐ รัตนมุสิก 178. นายวันชัย เข็มทองประดิษฐ์ 208. นายศิริมงคล ศรีสุโข 179. นางสาววันดี แซ่เอ็ง 209. นางสาวศิริลักษณ์ พงศ์ศิริถาวร 180. นางวันทนา บุญสร้อย 210. นายศิวัฑฆ์ ปิยพิทักษ์ 181. นางสาววันทนีย์ บุญบานเย็น 211. นายศุภชัย งามประกาวัฒน์ 182. นางสาววัลยา ศรีวัฒนา 212. นายศุภรัตน์ วรพันธ์ 183. นายวิชัย ทองทวี 213. นายสถาพร ไกรสิทธิ์ 184. นายวิชา มหาเดชสุรชัย 214. นางสถาพร รัตนเศรษฐ์ยุทธ 185. นายวิชิต กรวิทยาคุณ 215. นางสาวสมใจ ประสิทธิ์ชัยพันธ์ 186. นายวิชิต คงอํานวยศักดิ์ 216. นายสมชัย ลิขสิทธิพันธุ์ 187. นายวิชิต อังกูรสุรารักษ์ 217. นายสมชาย ชนกิจโกศ 188. นายวิทยา ตันติยุทธ 218. นายสมชาย รุ่งขจรไพศาล 189. นายวิทูร เจียมวัฒนศิริกิจ 219. นายสมชาย เสรีวิชยสวัสดิ์ 190. นายวิบูลย์ เฉลิมศิริกุล 220. นายสมถ้วน อุณห์ศิริ 191. นายวิบูลย์ ธีระพันธ์ 221. นายสมบัติ ชื่นสุข 192. นายวิบูลย์ มิ่งมงคลชัย 222. นายสมบัติ ตั้งประสพทรัพย์ 193. นายวิภาส อิสริยาพันธุ์ 223. นายสมบูรณ์ จริยานุกูลกิจ 194. นางวิมลรัตน์ ปิยสถาพรพงศ์ 224. นายสมพงษ์ ทิพย์สมพรดี 195. นางวิมรัตน์ รุจิรากรสกุล 225. นายสมพจน์ เพ็ชรสม 196. นางสาววิไลพร กูหลาบศรี 226. นายสมพล ดีวิไลพันธุ์ 197. นายวิสุทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ 227. นายสมยศ มีเพ็ชรตี 198. นายวิสุทธิ์ พีรพัฒนโภคิน 228. นายสมศักดิ์ สิริตระกูลเกียรติ์ 199. นายวิสุทธิ์ อนันตกุลนธี 229. นายสราวุธ ภู่อภิสิทธิ์ 200. นายวีรไชย เล็กประเสริฐ 230. นายสราวุธ ศิริปักมานนท์ 201. นายวีระยุทธ ภูริวรานนท์ 231. นายสัญชัย กิตติชัยเจริญพร 202. นายวีระศักดิ์ จันทรจิรวงศ์ 232. นายสันติ ธนพัฒน์พิศาล 203. นายวุฒิชัย คชสารเสรี 233. นายสาธิต เบญจตัญวิทย์ 204. นายเวชยันต์ ประสาทเสรี 234. นายสําราญ ฮีเกษม 235. นายสิทธินาท ดวงรัตน์ 265. นายสุรพันธ์ วงศ์พันธ์ 236. นายสืบศักดิ์ ทองศรีคํา 266. นางสุรีย์พร ภูมี 237. นางสุจารี มนชน 267. นางสาวสุวิชา สัจจานิตย์ 238. นางสุจินต์ ตันเจริญ 268. นายสุวิทย์ ตุงควิจิตรวัฒน์ 239. นายสุชาติ นาคศรีเจริญ 269. นางสาวเสมอใจ กิตติคุษฎีกุล 240. นายสุชาติ สะเทือนวงษา 270. นายเสรี ธารชมพู 241. นางสาวสุดา เตชะกาญจนกิจ 271. นายแสงทอง ประกาศเกียรติ 242. นายสุทธินันท์ เจริญโภคราช 272. นางสาวโสภา กิตติธรรมกูล 243. นายสุทธิพงษ์ ทวีทรัพย์ไพบูลย์ 273. นางสาวโสภิตา สารศรี 244. นายสุทัศน์ ไกรวงศ์ 274. นายเหม เตชะธรรม 245. นายสุธินันท์ นันทนวิจิตร 275. นายองอาจ ตรีจรู 246. นายสุธี ทองผดุงโรจน์ 276. นายอดิศร พินิจกุลวิวัฒน์ 247. นายสุนทร เพ่งไพฑูรย์ 277. นายอดิศักดิ์ เสริฐศรี 248. นางสุนทรี สุขสุเมฆ 278. นายอนันตศักดิ์ ศรีสรรพางค์ 249. นางสาวสุนัดดา ปริปุณณะ 279. นายอนุชิต ฟ้ามิตินนท์ 250. นางสุนันท์ หอไพฑูรย์ 280. นางสาวอรทัย ธีรชัยธํารงกุล 251. นางสุนีย์ สมสุขสวัสดิ์กุล 281. นายอรรถพล สินสาคร 252. นายสุพจน์ รัตนพิบูลย์เดช 282. นายอร่าม บัวศรี 253. นางสาวสุภัค พันธุ์ไทย 283. นางสาวอโรรา อุนนะนันทน์ 254. นางสาวสุภัตรา ก่อกวิน 284. นายอัคนี ตั้งจิตเพิ่มความดี 255. นางสาวสุภัทรา เพิ่มมณีนิล 285. นางอังสนา ก่อเกียรติตระกูล 256. นางสุภาพรรณ มาณวพัฒน์ 286. นายอัตชัย มุ่งรักษาธรรม 257. นางสุภาวรรณ ชัยสังฆะ 287. นางอัมพร แก้วประเสริฐ 258. นางสุมาลี วิทยถาวรวงศ์ 288. นางสาวอัมพร สุวิภานนท์ 259. นางสาวสุมาลี ศีละสะนา 289. นางสาวอัษฎาพร มัจฉวานิช 260. นายสุเมธ สมบัติวิชาธร 290. นายอานุภาพ คูวินิชกุล 261. นายสุรชัย กิจกมลวัฒน์ 291. นางอาภรณ์ ตอพิทักษ์ชล 262. นายสุรชัย ปิยะปกรณ์ 292. นางอุดมศรี ภาคโพธิ์ 263. นายสุรชา ศุภารักษ์สืบวงศ์ 293. นางอุบลศรี บุณยรัตพันธุ์ 264. นายสุรพร ฉัตรศิขรินทร 294. นางอุไรวรรณ ศรีสุวรรณ 295. นางอุษา ภักดิ์วิไลเกียรติ 325. นางสาวกุลิสรา คุณธรรมดี 296. นายเอกชัย เกตุแก้วมณีรัตน์ 326. นางสาวขจิตพรรณ สุขแสง 297. นายเอกศิษฐ์ รังวัฒณเศรษฐ์ 327. นายคิมหันต์ พยุหนิกร 298. นายโอภาส พิมพ์สวัสดิ์ 328. นางสาวจณัญญา เฉลิมวิวัฒน์กิจ 299. นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน 329. นายจักรกริศน์ เหล่าจันอ้น 300. นางฤชุกร สิริโยธิน 330. นายชาตรี มณีสวัสดิ์ 301. นางสาวนวพร มหารักขกะ 331. จ่าเอก เชิดชัย พูดน้อย 302. นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม 332. ว่าที่ร้อยตรี ดํารงศักดิ์ ณ ระนอง 303. นางสาวกนกวรรณ เมฆโสภาวรรณกูล 333. นายทวีศักดิ์ จามีกรกุล 304. นางสาวจันทร์เพ็ญ รัตนาภินันท์ 334. นางสาวทิพย์วรรณ บุญไพโรจน์ 305. นางสาวจามรี สุทธิพงษ์ชัย 335. นางนริศรา รวมศิริวัฒนกุล 306. นางชณัญญา ศรธนะรัตน์ 336. นางสาวปฉัฐว ขันตรกิจโกศล 307. นางณัฐนันท์ ลิ้มสุขนิรันคร์ 337. นางสาวปรณีย์ เต็มไตรเพท 308. นายนรศิ พูกกะมาน 338. นายประทีป ทองสิมา 309. นางนิศารัตน์ ไตรรัตน์วรกุล 339. นางพัชรี คงโกมลสกูล 310. นายบัญชา มนูญกุลชัย 340. นางพัชรี สุนทรพินิจกิจ 311. นางสาวประภากร วรรณกนก 341. ร้อยเอก พิทยา ทรงสวัสดิ์ 312. นายประสาท สมจิตรนึ 342. นางสาวเพ็ญพิมล อรุณสุรัตน์ 313. นางสาวปรียานุช จึงประเสริฐ 343. นายไพโรจน์ รักเที่ยงธรรม 314. นางสาวพนิตา ปิยะอุย 344. นางภัสรา อัคคะสาระกูล 315. นางสาวพีรจิต ปัทมสูต 345. นายมานิตย์ บุญเนรมิตร 316. นางสาวรวิวรรณ์ ศิริเกษมทรัพย์ 346. นางยุพา ราชนิยม 317. นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร 347. นายรักษ์ พัฒนวิบูลย์ 318. นางวิเรขา สันตะพันธุ์ 348. นางวรรณี พรสมบูรณ์ศิริ 319. นายวีรพล โสธรบุญ 349. นายวิรัตน์ ทองคํา 320. นางสาวศุภลักษณ์ สันติเพ็ชร์ 350. นางสาวศิวพร วงศ์สุนทร 321. นายสุประดิษฐ์ ตั้งประเสริฐ 351. นายเศกสรร บัวทรัพย์ 322. นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ 352. นายสิริวัฒน์ แสงสุวรรณโต 323. นางสาวอําไพพรรณ ศรยานยนตร์ 353. นายอรุโณทัย วงศ์ศิริ 324. นายวีระชาติ ศรีบุญมา 354. นายอัคคพล ไทยจรรยา 355. นายอัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล 364. นางสาวเพ็ญรุ่ง บุญมา 356. นายอุทิศ แสนจันทร์ 365. ร้อยตํารวจโท เมฆา คชพงษ์ 357. นายอโณทัย ขุนอ่อน 366. นางสาวร่มเกล้า คําสงค์ 358. นายกริชทอง เดชะปัญญา 367. นางวันเพ็ญ ไชยผคุง 359. นายจีระพงศ์ ตีระแพทย์ 368. นายวิเชียร ใยเผือก 360. นายเฉลิมพล กิ๊มประพันธ์ 369. นางสลักเนตร ชาญอุไร 361. นายชัยพฤกษ์ ไทยวิรัช 370. นายสมชาย เสตกรณุกูล 362. นาวาตรี ชาญวิทย์ ประชาศรี 371. นายนิรุธ รักษาเสรี 363. นายนิคม หมอยา 372. นางสาวปรางทิพย์ บุศยศิริ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,686
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 05/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 05/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ------------------------------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เดิมธนาคารพาณิชย์มุ่งเน้นประกอบธุรกิจการรับฝากเงินและการให้สินเชื่อเป็นหลักต่อมาการบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และธุรกิจต่าง ๆ มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปจากการกู้ยืมเงิน โดยทั่วไป ธนาคารพาณิชย์และธุรกิจสามารถหาสภาพคล่องจากลูกหนี้เงินให้กู้ยืมซึ่งเป็นสินทรัพย์ของตนได้ (Asset-Based Financing) โดยการขายลูกหนี้เงินให้กู้ยืมดังกล่าวให้แก่ธนาคารพณิชย์อื่นหรือธุรกิจที่มีสภาพคล่องเหลือได้ และเพื่อสนับสนุนให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์และภาคธุรกิจมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีสภาพคล่องเหลือสามารถรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์และของนิติบุคคลอื่นมาเพื่อบริหารต่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นได้ การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยไม่ได้เปลี่ยนสาระสําคัญของประกาศแต่อย่างใด อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 (หนังสือเวียนนําส่งที่ ฝกส. (11) ว. 3/2548 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2548) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม" หมายความว่า ลูกหนี้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจให้กู้ยืมปกติของธนาคารพาณิชย์และนิติบุคคลอื่น ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงลูกหนี้จากการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งด้วย "สถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการ" หมายความว่า บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินการได้ "บริษัทแม่" หมายความว่า บริษัทแม่ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน 5.2 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมทั้งที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศได้จากธนาคารพาณิชย์และนิติบุคคลอื่นในประเทศโดยธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในกรณีที่เป็นการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้มาจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์ผู้รับซื้อหรือรับโอนนั้นเป็นบริษัทแม่ของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น ลูกหนี้ ดังกล่าวต้องได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วและเป็นสินทรัพย์จัดชั้นปกติหรือสินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินและที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจสําหรับธนาคารพาณิชย์ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 5.3.1 ธนาคารพาณิชย์สามารถรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและสินทรัพย์อื่นของสถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ 5.3.2 การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและสินทรัพย์อื่นต้องกระทําภายใต้ขอบเขตที่ธนาคารพาณิชย์สามารถกระทําได้ตามที่กําหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินเท่านั้น และธนาคารพาณิชย์จะต้องถือปฏิบัติต่อลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่รับซื้อหรือรับโอนตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3.3 การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมนั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการวิเคราะห์และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าลูกหนี้เงินให้กู้ยืมดังกล่าวจะสามารถก่อให้เกิดรายได้แก่ธนาคารพาณิชย์ในอนาคต 5.3.4 การรับซื้อหรือรับ โอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและสินทรัพย์อื่นให้ใช้ราคายุติธรรม (fair value) ซึ่งมีความหมายเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี 5.3.5 ธนาคารพาณิชย์ผู้รับซื้อหรือรับโอนต้องกําหนดหลักเกณฑ์ หรือระเบียบปฏิบัติที่ดี เพื่อป้องกันมิให้ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานกระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ อันผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต 5.3.6 การกํากับดูแล (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด (2) ในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ธนาคารพาณิชย์นับรวมกับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใดหรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ซึ่งเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้นตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย หลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) (3) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจยับยั้งหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (3.1) ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (3.2) กรณีอื่นๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน 5.4 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจสําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ในการประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 5.3 เว้นแต่เรื่องขอบเขตในการประกอบธุรกิจ และเรื่องการนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ถือปฏิบัติดังนี้ 5.4.1 ขอบเขตในการประกอบธุรกิจ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น ทั้งนี้ ขอบเขตการประกอบธุรกิจต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 รวมทั้งตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.4.2 การนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 5.3.6 (2) ในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยให้นับรวมกับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือโครงการหนึ่งโครงการใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินกว่าที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2551 (นางธาริบา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,687
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 5/2551 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีใช่สถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 5/2551 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกํากับที่มีใช่สถาบันการเงิน --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน และมิใช่ผู้ประกอบการที่ให้สินเชื่อส่วนบุคคลแก่ผู้บริโภคเพิ่งชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใด อันเป็นธุรกิจของตนเอง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามข้อ 12 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขอนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 กําหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน และมิใช่ผู้ประกอบการที่ให้สินเชื่อส่วนบุคคลแก่ผู้บริโภคเพื่อชําระค่าสินค้าค่าบริการ หรือค่าอื่นใด อันเป็นธุรกิจของตนเอง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 4/2550 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใด้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน ฉบับลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 อื่นๆ - 5. เนื้อหา แต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในประกาศกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 จํานวน 438 คน ดังนี้ 1. นายบัณฑิต นิจถาวร 28. นายจํารัส พรมสุวรรณ 2. นายเกริก วณิกกุล 29. นายจิตเกษม พรประพันธ์ 3. นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ 30. นางสาวจิตสุภา วิระยะวานิช 4. นางสาวพิมพา ถาวรายุศม์ 31. นางสาวจินคารัตน์ เหล่านริศอารี 5. นางสาลินี วังตาล 32. นางสาวจินตนา รัตนสินชัย 6. นายพงศ์อคุลก ฤษณะราช 33. นายจิรคม อัครสมพงศ์ 7. นางนิรมล อัศวมณี 34. นายจิระชาติศิริ รุ่งพาณิชย์ 8. นายรณคล นุ่มนนท์ 35. นางจิราวัฒน์ วินิจชีวิต 9. นายผดุงศักดิ์ เทียนสุวรรณ 36. นายจุมพล สอนพงศ์ 10. นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ 37. นายเจริญ กรุงแก้ว 11. นางกรอุมา ธีรวิวัฒน์วงศ์ 38. นายเฉลิมชัย วงศ์ตั้งเจริญ 12. นางสาวกัญญา แซ่เตียว 39. นายชนะเลิศ เลิศทองไพบูลย์ 13. นายกัณชรัฐ เล็กมณี 40. นางสาวชนัตถา เลขะวัฒนพงษ์ 14. นางสาวกัลยาณี รัตนสิงห์ 41. นางช้องมาศ ธีระสูตร์ 15. ว่าที่ร้อยตรี กําธรประเสริฐสม 42. นางชัชชไม มากกมลธรรม 16. นายกิตติ ฉวีธรรมวัฒน์ 43. นายชัชวัฏ พิพัฒนาบูรณ์ 17. นายกิตติ อุดมวงย์กุล 44. นายชัชวาล เกษรมาลา 18. นางกูลภัทร ศรีสว่างสุข 45. นายชัยสิทธิ์ พุทธิขจร 19. นางกุลฤดี ช่วงประยูร 46. นายชาญยุทธ สิทธิถาวรทรัพย์ 20. นางเกสา ตั้งเพียรวัฒนา 47. นายชาญยุทธ สุตาธิกานนท์ 21. นายขวัญชัย ร่มฉัตร์ 48. นางชาดา ลิมป์กิตติสิน 22. นางงามเพ็ญ บังเกิดลาภ 49. นายชาตรี ชีวชุติรุ่งเรือง 23. นางสาวจงลักษณ์ บํารุงไทยชัยชาญ 50. นายชาตรี วรวณิชชานันท์ 24. นายจรินทร์ เรือนแก้ว 51. นายชาติชาย อเนกธนทรัพย์ 25. นายจักรพันธ์ พงษ์เภตรา 52. นางสาวชุติมา นิ่มสุวรรณ 26. นายจักรี สงวนสุข 53. นายชูชัย ประภารวีวรรณ 27. นายจาคูรพงศ์ ธารีลาภ 54. นายชูพันธุ์ ภัทรเธียรชัย 55. นายฐะนัติ แสงมณีทอง 85. นายธนะชัย องค์ชนะสุข 56. นางฐิตาภา จิตตปาลกุล 86. นายธนะพุฒ องค์ธนะสุข 57. นายณรงค์ แสงคํา 87. นายธนะสิทธิ์ สรรพโชติวัฒน์ 58. นายณัชพล พูนพัฒนาทรัพย์ 88. นายธวัชชัย จุฑารัตน์ 59. นายณัฐวัสส์ วิฑิตวิริยกุล 89. นายธวัชชัย บังเกิดสิงห์ 60. นายณัฐสมพล ศีละสะนา 90. นายธวัชชัย หนุนภักดี 61. นายณัติพงศ์ สอวิเศษ 91. นางธัญญนิตย์ นิยมการ 62. นายดนัย น้าสกุล 92. นายธํารง อุ่นสินมั่น 63. นางคนิตา ลี้ศิริวัฒนกุล 93. นายธีรศักดิ์ สูงลอย 64. นางดวงจันทร์ กมลงาม 94. นางนงนุช โกสลาทิพย์ 65. นางดวงเดือน ปิยวงศ์สิริ 95. นางสาวนฤมล อัศวสุธีรกุล 66. นางดวงรัตน์ วรยศโกวิท 96. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 67. นางดารณี จันทราสุริยารัตน์ 97. นางสาวนันทพันธ์ วศวรรณวัฒน์ 68. นางดาราณี กิติสารศักดิ์ 98. นางสาวนิรมล กอสงวนมิตร 69. นายคํารงค์ ปโยราศิสกุล 99. นายนิวัติ พงษ์สุขเวชกุล 70. นายดิสพงษ์ ศิโรรัตนกุล 100.ร้อยโท นุกูล เนียมถนอม 71. นายต่อศักดิ์ ชัยวัฒน์ 101. นางนุชน้อย กิตติจารุภา 72. นายถนอม โพธิ์ทอง 102. นางสาวเนาวนิตย์ วงศ์รัศมีทอง 73. นายถาวร ศิริสวัสดิลก 103. นายบวร วงษ์จันทเจริญ 74. นายทนงศักดิ์ ประเจิดชัยวงศ์ 104. นายบุญช่วย อุดมรัตนพรกุล 75. นายทรงวุฒิ อินสว่าง 105. นายบุญชัย จินตกวีวัฒน์ 76. นายทวีชัย สหนุกูล 106. นายบุญทอง พฤกษมหาศาล 77. นายทัดลาภ เผ่าเหลืองทอง 107. นายบุญเที่ยง ภูมี 78. นายทัศนัย เพชรรุ่งรัศมี 108. นางบุษกร ธีระปัญญาชัย 79. นางสาวทัศนีย์ เดชอิทธิกุล 109. นางเบญจพร วุฒิวิกัยการ 80. นายทิพย์พล กิติอาภา 110. นางเบญจมา ชิงพยัคฆ์มัณฑ์ 81. นางเทพเทพิน ประศาสน์สารกิจ 111. นายประจวบ ร่ํารวยธรรม 82. นายธงชัย ปิยนรเศรษฐ์ 112. นายประจักษ์ อุดมเดชชัยรัตน์ 83. นายธนธัช หัตถกิจธาตรี 113. นายประดิษฐ์ พงษ์ไทย 84. นายธนวัฒน์ โสตถิโยธิน 114. นางประภา ศรีวงษ์ 115. นายประวิตร วงษ์จันทเจริญ 145. นายมนต์ชัย รัตนเสถียร 116. นายปรัชญา อัศวเดชกําจร 146. นายมนตรี อินทร์สุริวงค์ 117. นางปราณีต อคิศัยปัญญา 147. นายมัณย์นิชิษฐ์ อมราอุไร 118. นายปราโมทย์ สายันตนะ 148. นางมัธนา หวังจิตรารักษ์ 119. นายปริสันติ ผคุงชีวิต 149. นางสาวมัลลิกา กิจกร 120. นายปรีชา มิ่งมาลัยรักษ์ 150. นายมาณพ เอกฤทธิไกร 121. นายปฤณัต ศักดิ์พานิช 151. นายมาโนช โมฬี 122. นายปวิตร ตันเจริญ 152. นายมิตรนเรนทร์ อํามฤคขจร 123. นายปัญญา บุญงามชัยรัตน์ 153. นางสาวเมทินี ศุภสวัสดิ์กุล 124. นายปัญญา พุฒิพิพัฒน์ 154. นายยงศักดิ์ เซี่ยงหลอ 125. นางปิยธิดา กิตติการุญจิต 155. นายยรรยง ลิขิตเจริญ 126. นางปิยมล ตุงควิจิตรวัฒน์ 156. นายยอดยิ่ง วีระพงศ์ 127. นายพงศัคณิต คุณัมพรานนท์ 157. นางสาวยินดี ทักษิณนุกุลวงศ์ 128. นายพรชัย เจริญใจ 158. นางสาวยุพาภรณ์ พีระนิกร 129. นายพรชัย อนันบุญทริก 159. นางสาวยุพิน เรืองฤทธิ์ 130. นายพลวิชญ์ กิจนิธิบารมี 160. นางเยาวดี เทพอํานวยสุข 131. นางพัชญา ศรีปลั่ง 161. นางรวมพร เรณุมาน 132. นางพันทิพา นาคะประวิง 162. นางสาวรวีวรรณ อรรจน์สาธิต 133. นายพันธ์ทิพย์ จันทร์แจ่มแสง 163. นางระวีวรรณ คุณานุกูล 134. นายพันธ์วริศ วัฒนวิจิตร 164. นางรัตนาภรณ์ ชินพัฒน์ 135. นายพัลลภ ลิ้มสุวรรณ 165. นายรามรุจิโรจน์ จุลละบุษปะ 136. นายพิพัฒน์ ลอระพงษ์ 166. นางสาวรุ่งนภา แจ้งสรรพกิจ 137. นายพิพัฒน์ เลิศพิพัฒน์ 167. นางรุ่งรัตน์ ตัถยาธิคม 138. นางพิมพ์ชนก ใจกล้า 168. นายเริงชัย แซ่โล๊ก 139. นายไพบูลย์ สุรพงศานุรักษ์ 169. นายวรโยชน์ มนชน 140. นายไพโรจน์ แคงเจริญ 170. นางสาววรรณา ลิมป์พัฒนสิน 141. นายภิรมย์ ทวีวัฒน์ 171. นางวรรณี งามประภาวัฒน์ 142. นายภูริ ปถวีธาตุ 172. นางวรรณี บุรัญชัย 143. นายมงคล ด่านวรรณพงศ์ 173. นางวรางคณา ธํารงรัตน์ 144. นางสาวมณีรัตน์ กฤตยาประทานพร 174. นางสาววรินทร์ จังกอบพัฒนา 175. นายวัชรินทร์ ธรรมนิยม 205. นายศรัณย์ มาสิทธิ์ 176. นายวัฒนา วัธนานุกิจ 206. นางสาวศรีทอง จั่นทอง 177. นายวัฒนา อภัยสุวรรณ 207. นายศรีรัฐ รัตนมุสิก 178. นายวันชัย เข็มทองประดิษฐ์ 208. นายศิริมงคล ศรีสุโข 179. นางสาววันดี แซ่เอ็ง 209. นางสาวศิริลักษณ์ พงศ์ศิริถาวร 180. นางวันทนา บุญสร้อย 210. นายศิวัฑฆ์ ปิยพิทักษ์ 181. นางสาววันทนีย์ บุญบานเย็น 211. นายศุภชัย งามประกาวัฒน์ 182. นางสาววัลยา ศรีวัฒนา 212. นายศุภรัตน์ วรพันธ์ 183. นายวิชัย ทองทวี 213. นายสถาพร ไกรสิทธิ์ 184. นายวิชา มหาเดชสุรชัย 214. นางสถาพร รัตนเศรษฐ์ยุทธ 185. นายวิชิต กรวิทยาคุณ 215. นางสาวสมใจ ประสิทธิ์ชัยพันธ์ 186. นายวิชิต คงอํานวยศักดิ์ 216. นายสมชัย ลิขสิทธิพันธุ์ 187. นายวิชิต อังกูรสุรารักษ์ 217. นายสมชาย ชนกิจโกศ 188. นายวิทยา ตันติยุทธ 218. นายสมชาย รุ่งขจรไพศาล 189. นายวิทูร เจียมวัฒนศิริกิจ 219. นายสมชาย เสรีวิชยสวัสดิ์ 190. นายวิบูลย์ เฉลิมศิริกุล 220. นายสมถ้วน อุณห์ศิริ 191. นายวิบูลย์ ธีระพันธ์ 221. นายสมบัติ ชื่นสุข 192. นายวิบูลย์ มิ่งมงคลชัย 222. นายสมบัติ ตั้งประสพทรัพย์ 193. นายวิภาส อิสริยาพันธุ์ 223. นายสมบูรณ์ จริยานุกูลกิจ 194. นางวิมลรัตน์ ปิยสถาพรพงศ์ 224. นายสมพงษ์ ทิพย์สมพรดี 195. นางวิมรัตน์ รุจิรากรสกุล 225. นายสมพจน์ เพ็ชรสม 196. นางสาววิไลพร กูหลาบศรี 226. นายสมพล ดีวิไลพันธุ์ 197. นายวิสุทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ 227. นายสมยศ มีเพ็ชรตี 198. นายวิสุทธิ์ พีรพัฒนโภคิน 228. นายสมศักดิ์ สิริตระกูลเกียรติ์ 199. นายวิสุทธิ์ อนันตกุลนธี 229. นายสราวุธ ภู่อภิสิทธิ์ 200. นายวีรไชย เล็กประเสริฐ 230. นายสราวุธ ศิริปักมานนท์ 201. นายวีระยุทธ ภูริวรานนท์ 231. นายสัญชัย กิตติชัยเจริญพร 202. นายวีระศักดิ์ จันทรจิรวงศ์ 232. นายสันติ ธนพัฒน์พิศาล 203. นายวุฒิชัย คชสารเสรี 233. นายสาธิต เบญจตัญวิทย์ 204. นายเวชยันต์ ประสาทเสรี 234. นายสําราญ ฮีเกษม 235. นายสิทธินาท ดวงรัตน์ 265. นายสุรพันธ์ วงศ์พันธ์ 236. นายสืบศักดิ์ ทองศรีคํา 266. นางสุรีย์พร ภูมี 237. นางสุจารี มนชน 267. นางสาวสุวิชา สัจจานิตย์ 238. นางสุจินต์ ตันเจริญ 268. นายสุวิทย์ ตุงควิจิตรวัฒน์ 239. นายสุชาติ นาคศรีเจริญ 269. นางสาวเสมอใจ กิตติคุษฎีกุล 240. นายสุชาติ สะเทือนวงษา 270. นายเสรี ธารชมพู 241. นางสาวสุดา เตชะกาญจนกิจ 271. นายแสงทอง ประกาศเกียรติ 242. นายสุทธินันท์ เจริญโภคราช 272. นางสาวโสภา กิตติธรรมกูล 243. นายสุทธิพงษ์ ทวีทรัพย์ไพบูลย์ 273. นางสาวโสภิตา สารศรี 244. นายสุทัศน์ ไกรวงศ์ 274. นายเหม เตชะธรรม 245. นายสุธินันท์ นันทนวิจิตร 275. นายองอาจ ตรีจรูญ 246. นายสุธี ทองผดุงโรจน์ 276. นายอดิศร พินิจกุลวิวัฒน์ 247. นายสุนทร เพ่งไพฑูรย์ 277. นายอดิศักดิ์ เสริฐศรี 248. นางสุนทรี สุขสุเมฆ 278. นายอนันตศักดิ์ ศรีสรรพางค์ 249. นางสาวสุนัดดา ปริปุณณะ 279. นายอนุชิต ฟ้ามิตินนท์ 250. นางสุนันท์ หอไพฑูรย์ 280. นางสาวอรทัย ธีรชัยธํารงกุล 251. นางสุนีย์ สมสุขสวัสดิ์กุล 281. นายอรรถพล สินสาคร 252. นายสุพจน์ รัตนพิบูลย์เดช 282. นายอร่าม บัวศรี 253. นางสาวสุภัค พันธุ์ไทย 283. นางสาวอโรรา อุนนะนันทน์ 254. นางสาวสุภัตรา ก่อกวิน 284. นายอัคนี ตั้งจิตเพิ่มความดี 255. นางสาวสุภัทรา เพิ่มมณีนิล 285. นางอังสนา ก่อเกียรติตระกูล 256. นางสุภาพรรณ มาณวพัฒน์ 286. นายอัตชัย มุ่งรักษาธรรม 257. นางสุภาวรรณ ชัยสังฆะ 287. นางอัมพร แก้วประเสริฐ 258. นางสุมาลี วิทยถาวรวงศ์ 288. นางสาวอัมพร สุวิภานนท์ 259. นางสาวสุมาลี ศีละสะนา 289. นางสาวอัษฎาพร มัจฉวานิช 260. นายสุเมธ สมบัติวิชาธร 290. นายอานุภาพ คูวินิชกุล 261. นายสุรชัย กิจกมลวัฒน์ 291. นางอาภรณ์ ตอพิทักษ์ชล 262. นายสุรชัย ปิยะปกรณ์ 292. นางอุดมศรี ภาคโพธิ์ 263. นายสุรชา ศุภารักษ์สืบวงศ์ 293. นางอุบลศรี บุณยรัตพันธุ์ 264. นายสุรพร ฉัตรศิขรินทร 294. นางอุไรวรรณ ศรีสุวรรณ 295. นางอุษา ภักดิ์วิไลเกียรติ 325. นางสาวกุลิสรา คุณธรรมดี 296. นายเอกชัย เกตุแก้วมณีรัตน์ 326. นางสาวขจิตพรรณ สุขแสง 297. นายเอกศิษฐ์ รังวัฒณเศรษฐ์ 327. นายคิมหันต์ พยุหนิกร 298. นายโอภาส พิมพ์สวัสดิ์ 328. นางสาวจณัญญา เฉลิมวิวัฒน์กิจ 299. นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน 329. นายจักรกริศน์ เหล่าจันอ้น 300. นางฤชุกร สิริโยธิน 330. นายชาตรี มณีสวัสดิ์ 301. นางสาวนวพร มหารักขกะ 331. จ่าเอก เชิดชัย พูดน้อย 302. นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม 332. ว่าที่ร้อยตรี ดํารงศักดิ์ ณ ระนอง 303. นางสาวกนกวรรณ เมฆโสภาวรรณกูล 333. นายทวีศักดิ์ จามีกรกุล 304. นางสาวจันทร์เพ็ญ รัตนาภินันท์ 334. นางสาวทิพย์วรรณ บุญไพโรจน์ 305. นางสาวจามรี สุทธิพงษ์ชัย 335. นางนริศรา รวมศิริวัฒนกุล 306. นางชณัญญา ศรธนะรัตน์ 336. นางสาวปฉัฐว ขันตรกิจโกศล 307. นางณัฐนันท์ ลิ้มสุขนิรันคร์ 337. นางสาวปรณีย์ เต็มไตรเพท 308. นายนรศิ พูกกะมาน 338. นายประทีป ทองสิมา 309. นางนิศารัตน์ ไตรรัตน์วรกุล 339. นางพัชรี คงโกมลสกูล 310. นายบัญชา มนูญกุลชัย 340. นางพัชรี สุนทรพินิจกิจ 311. นางสาวประภากร วรรณกนก 341. ร้อยเอก พิทยา ทรงสวัสดิ์ 312. นายประสาท สมจิตรนึ 342. นางสาวเพ็ญพิมล อรุณสุรัตน์ 313. นางสาวปรียานุช จึงประเสริฐ 343. นายไพโรจน์ รักเที่ยงธรรม 314. นางสาวพนิตา ปิยะอุย 344. นางภัสรา อัคคะสาระกูล 315. นางสาวพีรจิต ปัทมสูต 345. นายมานิตย์ บุญเนรมิตร 316. นางสาวรวิวรรณ์ ศิริเกษมทรัพย์ 346. นางยุพา ราชนิยม 317. นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร 347. นายรักษ์ พัฒนวิบูลย์ 318. นางวิเรขา สันตะพันธุ์ 348. นางวรรณี พรสมบูรณ์ศิริ 319. นายวีรพล โสธรบุญ 349. นายวิรัตน์ ทองคํา 320. นางสาวศุภลักษณ์ สันติเพ็ชร์ 350. นางสาวศิวพร วงศ์สุนทร 321. นายสุประดิษฐ์ ตั้งประเสริฐ 351. นายเศกสรร บัวทรัพย์ 322. นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ 352. นายสิริวัฒน์ แสงสุวรรณโต 323. นางสาวอําไพพรรณ ศรยานยนตร์ 353. นายอรุโณทัย วงศ์ศิริ 324. นายวีระชาติ ศรีบุญมา 354. นายอัคคพล ไทยจรรยา 355. นายอัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล 385. นายวิชิต พิมพ์สวัสดิ์ 356. นายอุทิศ แสนจันทร์ 386.นางวีณา ดอกบัว 357. นายอโณทัย ขุนอ่อน 387.นายสถิตย์ ตระกูลอึ้ง 358. นายกริชทอง เดชะปัญญา 388.นายสนธิเชษฐ โคตรหนองบัว 359. นายจีระพงศ์ ตีระแพทย์ 389.นายสมบูรณ์ คูวัฒนสุชาติ 360. นายเฉลิมพล กิ๊มประพันธ์ 390.นายสาโรจน์ หลาบหนองแสง 361. นายชัยพฤกษ์ ไทยวิรัช 391.นายสุวัฒน์ วิเชียรศิริ 362. นาวาตรี ชาญวิทย์ ประชาศรี 392.นางสาวอัมพร นิติกิจไพบูลย์ 363. นายนิคม หมอยา 393.นายอุดม อ่ํากลาง 364. นางสาวเพ็ญรุ่ง บุญมา 394.นายนิรุธ รักษาเสรี 365. ร้อยตํารวจโท เมฆา คชพงษ์ 395.นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 366. นางสาวร่มเกล้า คําสงค์ 396.นางจันทรา ตุรงค์แสง 367. นางวันเพ็ญ ไชยผคุง 397.นายชฎิล สุนทรสิงห์ 368. นายวิเชียร ใยเผือก 398.นายถนัด ตันสกุล 369. นางสลักเนตร ชาญอุไร 399.นายธนิต กมลวาริน 370. นายสมชาย เสตกรณุกูล 400.นางนิลวรรณ ฟูเฟื่องสิน 371. นายปราณีต โชติกีรติเวช 401.นางสาวพวงทิพย์ ศรีสุวิภา 372. นายก้องเกียรติ วินโกมินทร์ 402.นายเรื่องนาม ปุสวิโร 373. นายคมสันติ์ ศรีคงเพ็ชร 403.นางสาวเรื่องรอง หาญสุวัฒน์ 374. นายเฉลิมศักดิ์ พัฒนาคม 404.นายวันชัย ชยานันต์นุกูล 375. นายชนัช เทียมมณีเนตร 405.นางวิภาดา ไทยหิรัญ 376. นายชุติมา ไชยบุตร 406.นางสาวศศิธร ถนอมศักดิ์ 377. นางสาวณิชาภา จิรกัญญากุล 407.นายสมศักดิ์ เหล่าแก้ว 378. นายดนัย บูรณะปิยะวงศ์ 408.นายสมหมาย ยอดแก้ว 379. นายธเนศชัย อังวราวงศ์ 409.นายสุเทพ พงษหา 380. นายธวัช โอสถ 410.นายสุรศักดิ์ สุพรรณพงศ์ 381. นายประกาศิต คุ้มแถว 411.นายอนันต์ อิงวิยะ 382. นายภิรมย์ เรืองจิต 412.นายอนุชิต บุณยเกียรติ 383. เรือตรี รัฐศาสตร์ ไหลหลั่ง 413.นายอนุเชษฐ์ จําเริญนุสิทธิ์ 384. นางวันทา ศรีทรา 414.นายอาคม ค้าไกล 415. นางสาวปรางทิพย์ บุศยศิริ 427. นายปราโมทย์ ศิริพงษาโรจน์ 416. นายประสพสุข พ่วงสาคร 428. นายปรีชา เชื้อสุวรรณ 417. นายกุศล จันทร์แสงศรี 429. นางภาลินี ศักดิ์บุญ 418. นางเกษณี หล่อตระกูลงาม 430. นายภูมินทร์ บุญสินวโรทัย 419. นายคทาวุธ ตั้งศรีวงศ์ 431. นายวิรักษ์ ทรงฤทธิขันชัย 420. นางจรรยา ต้นอนุชิตติกุล 432. นายวิศิษฐ์ วงศ์กิตติรักษ์ 421. นายจักรกฤษณ์ ตันติพงศ์ 433. นายสมชาย เมืองเกษม 422. นายชิตชัย กิตติศรีอนันต์ 434. นายสมปอง โมราเพ็ง 423. นายโชคชัย เหมวงศ์กุล 435. นายสุจิตร์ แก้วน่าน 424. นายทวัส ทาสุวรรณ 436. นายสุนทรสิงห์ วิทยปียานนท์ 425. นางสาวนภมาศ เลิศเกษมกุล 437. นางอรทัย ศรีใจ 426. ร้อยตรี ประยุทธ สังขรัตน์ 438. นายอาทร เจียมเด่นงาม อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,688
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 6/2551 เรื่อง การกำหนดแบบรายงานการตรวจสอบสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 6/2551 เรื่อง การกําหนดแบบรายงานการตรวจสอบสถาบันการเงิน ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแบบของรายงานการตรวจสอบทั้งแบบการตรวจสอบเป็นการทั่วไป และเป็นการเฉพาะ สําหรับรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา ข้อ 1 ในประกาศนี้ "การตรวจสอบเป็นการทั่วไป" หมายถึง การตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของสถาบันการเงิน บริษัทแม่บริษัทลูก หรือบริษัทร่วม และบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตลอดจนลูกหนี้และผู้เกี่ยวข้องของสถาบันการเงินนั้น "การตรวจสอบเป็นการเฉพาะ" หมายถึง การตรวจสอบที่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเพื่อตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วม และบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตลอดจนลูกหนี้และผู้เกี่ยวข้องของสถาบันการเงินนั้น เป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเฉพาะด้านหรือเฉพาะราย "ผู้ตรวจการ" หมายถึง ผู้ตรวจการสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ข้อ 2 ให้ผู้ตรวจการรายงานการตรวจสอบเป็นการทั่วไป โดยมีหัวข้อครอบคลุมเนื้อหา ดังต่อไปนี้ (1) สรุปผลการตรวจสอบและความเห็นของผู้ตรวจการ ประกอบด้วยผลการจัดอันดับ ฐานะและการดําเนินงาน และการบริหารความเสี่ยง (2) ประเด็นที่สําคัญที่ต้องการให้แก้ไข (ถ้ามี) (3) การปฏิบัติไม่ชอบหรืออาจเข้าข่ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ถ้ามี) (4) ผลการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง (5) ผลการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ถ้ามี) (6) ผลการตรวจสอบบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (ถ้ามี) (7) เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ข้อ 3 ให้ผู้ตรวจการรายงานการตรวจสอบเป็นการเฉพาะ โดยมีหัวข้อครอบคลุมเนื้อหา ดังต่อไปนี้ (1) สรุปผลการตรวจสอบและความเห็นของผู้ตรวจการ (2) ประเด็นที่สําคัญที่ต้องการให้แก้ไข (ถ้ามี) (3) การปฏิบัติไม่ชอบหรืออาจเข้าข่ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ถ้ามี) (4) ผลการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง.......(เฉพาะด้าน) (ถ้ามี) (5) เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ข้อ 4 ให้ผู้ตรวจการรายงานการตรวจสอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,689
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 06/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 06/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ------------------------------------------------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ แต่เดิมบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและบริโภคสามารถรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้ที่เกิดจากการจําหน่ายสินค้าโดยชําระราคาเป็นงวด ๆ หรือโดยการเช่าซื้อจากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาอื่นได้ เช่น ลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ โดยถือเป็นการรับ โอนสิทธิเรียกร้องซึ่งเข้าข่ายเป็นธุรกิจเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและการบริโภคประเภทหนึ่ง แต่ห้ามมิให้ทําการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้ให้กู้ยืมจากสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้บริษัทเงินทุนรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมจากสถาบันการเงิน และบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินได้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการประมูลสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการ และช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องของภาคเอกชน เนื่องจากพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังนั้น กฎกระทรวง ประกาศต่างๆ ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวจึงสิ้นผลบังคับใช้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศฉบับนี้ การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์การอนุญาตไม่มีการเปลี่ยนแปลง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ถูกยกเลิก 4.1 ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การอนุญาตเป็นการทั่วไปให้บริษัทเงินทุนประกอบกิจการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ลงวันที่ 2 กันยายน 2545 (หนังสือเวียนที่ สนส.(01) ว. 196/2545 ลงวันที่ 23 กันยายน 2545) 4.2 ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การอนุญาตเป็นการทั่วไปให้บริษัทเงินทุนประกอบกิจการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2545 (หนังสือเวียนที่ สนส.(11) ว.1/2546 ลงวันที่ 14 มกราคม 2546) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการ" หมายความว่า บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินการได้ 5.2 อนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมโดยบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ 5.3.1 บริษัทเงินทุนสามารถรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่เป็นเงินบาทหรือลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่เป็นเงินบาทซึ่งมีสัญญาให้ลูกค้ารับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ จากสถาบันการเงินในประเทศ บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทั้งนี้ ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่รับซื้อหรือรับโอนมาจากบริษัทบริหารสินทรัพย์จะต้องเป็นลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วและมีสภาพเป็นสินทรัพย์จัดชั้นปกติหรือสินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.3.2 บริษัทเงินทุนสามารถรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและสินทรัพย์อื่นของสถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ในการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและสินทรัพย์อื่นของสถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ให้บริษัทเงินทุนกระทําภายใต้ขอบเขตตามที่กําหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินเท่านั้น 5.3.3 การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมนั้น บริษัทเงินทุนต้องมีข้อมูลสนับสนุนอย่างเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่า ลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมานั้นเป็นหนี้ชั้นดีมีศักยภาพ และสามารถชําระหนี้ได้ในอนาคต 5.3.4 การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและสินทรัพย์อื่นให้ใช้ราคายุติธรรม (fair value) ซึ่งมีความหมายเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี 5.3.5 บริษัทเงินทุนผู้รับซื้อหรือรับโอนต้องกําหนดหลักเกณฑ์ หรือระเบียบในการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อป้องกันมิให้ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ อันผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต 5.3.6 ในการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม บริษัทเงินทุนต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) โดยเคร่งครัด อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,690
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2551 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2551 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ----------------------------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์อื่น รายงานลับต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ในรูปแบบชุดข้อมูล (Data Set) โดยผ่านวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์และธนาคารแห่งประเทศไทยได้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 และมาตรา 24 ประกอบมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว กําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ยื่นรายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูล (Data Set) โดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ และให้จัดส่งข้อมูลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตามวิธีการและหลักเกณฑ์ในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 เพื่อให้รูปแบบของข้อมูลและวิธีการส่งรายงานมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับระบบบริหารข้อมูล (Data Management System: DMs) ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2546 นั้น การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบและการส่งรายงานข้อมูลของสถาบันการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทยให้อยู่ในฉบับเดียวกันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ในการกําหนดรูปแบบและการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยไปจากหลักเกณฑ์เดิมแต่อย่างใด อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดให้สถาบันการเงินจัดทําและส่งรายงานข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก หนังสือเรียนธนาคารแห่งประเทศไทย จํานวน 12 ฉบับ ตาม เอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ให้สถาบันการเงิน จัดทําและส่งรายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูล (Data Set) ตามรายชื่อชุดข้อมูล (เอกสารแนบ 2) โดยให้จัดส่งข้อมูลให้ ธปท. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการและหลักกณฑ์ตามที่กําหนดใน "ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการค้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546" ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (เอกสารแนบ 3) 5.2 ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับรายงานข้อมูลตามชุดข้อมูล (Data Set) ในวันที่สถาบันการเงินส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลที่ส่งมานั้นมีความถูกต้องโดยผ่านหลักเกณฑ์การตรวจสอบเบื้องตัน (Basic Validation) ของระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,691
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 07/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 07/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ----------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ด้วยธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย และตราสารหนี้เป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ขึ้น และศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เปิดดําเนินการเมื่อ 28 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยการนี้คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ออกประกาศ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้ให้บริการประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ โดยจะต้องจดทะเบียนกับสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ การจดทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตดังกล่าวจะทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเสียก่อน จึงเห็นสมควรออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่ออนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ และเพื่อเป็นการรองรับกับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ใดที่ได้รับการอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทใดแล้วให้ดําเนินธุรกิจดังกล่าวต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีก อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 (หนังสือเวียนที่ ฝนส. (21) ว.186/2549 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2549) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "สัญญาซื้อขายล่วงหน้า" หมายความว่า สัญญาที่มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 "ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า" หมายความว่า บุคคลซึ่งให้บริการหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้บริการเพื่อทําการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับบุคคลอื่น โดยกระทําเป็นทางค้าปกติและ ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในลักษณะตามที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนด "ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า" หมายความว่า บุคคลซึ่งแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้ซึ่งประสงค์จะซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยการเสนอเข้าหรือเข้าเป็นคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยกระทําเป็นทางค้าปกติและได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งเสนอซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองที่กระทําในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในลักษณะตามที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนด "ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า" หมายความว่า บุคคลซึ่งให้คําแนะนําหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่บุคคลอื่นเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยกระทําเป็นทางค้าปกติและได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งให้คําแนะนําอันเป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบการของตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการให้คําแนะนําในลักษณะตามที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนด "ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า" หมายความว่า บุคคลซึ่งเข้าจัดการเงินทุนหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะรับจัดการเงินทุนให้แก่บุคคลอื่น เพื่อแสวงหาประโยชน์จากสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยกระทําเป็นทางค้าปกติและได้รับใบอนุญาตหรือได้จดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในลักษณะตามที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนด 5.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศนี้มุ่งเน้นให้ธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงของตนเอง โดยคณะกรรมการและผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถกําหนดกลยุทธ์ อนุมัตินโยบายแผนงานและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจดังกล่าว รวมทั้งมีการทบทวนปรับปรุงอย่างสม่ําเสมอ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีนโยบายและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งมีระบบงาน ระบบบริหารความเสี่ยง และระบบการควบคุมภายในที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ 5.3.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ โดยธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (1) มีฐานะการเงินและฐานะการดําเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสามารถกันเงินสํารองได้ครบถ้วนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันได้ไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ตลอดจนสามารถดํารงอัตราส่วนทางการเงินอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการเป็นกรณีพิเศษ (2) จัดทําแผนงานรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคารพาณิชย์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานและเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อย ดังนี้ (2.1) นโยบายและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ การเพิ่มเดิมหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ (2.2) รายละเอียดของระบบบริหารจัดการระบบบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในที่ใช้รองรับการประกอบธุรกิจ โดยครอบคลุมถึงระบบงานตามประเภทของการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับการจดทะเบียนจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2.2.1) โครงสร้างองค์กรที่ใช้รองรับการประกอบธุรกิจ ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบบการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระบบการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามระบบที่วางไว้ (2.2.2) ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าและดูแลผลประโยชน์ของลูกค้า เช่น การรับส่งคําสั่งซื้อขาย การยืนยันรายการ การคํานวณฐานะกําไรขาดทุนของลูกค้า การเรียกหลักประกันเริ่มแรก การเรียกหลักประกันเพิ่ม การเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าแยกจากทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์ การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า การรับส่งข้อมูลเอกสารหลักฐานหรือรายงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า การให้คําแนะนําในการลงทุน การจัดการเรื่องร้องเรียนที่ได้รับจากลูกค้า การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า รวมทั้งมีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือมีข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจสําหรับการใช้บริการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2.2.3) ระบบการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทํารายงานที่มีรายละเอียดอันเป็นประโยชน์ต่อการติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลการประกอบธุรกิจ (2.2.4) ระบบการตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด (2.2.5) ระบบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการประกอบธุรกิจ (2.2.6) ระบบงานอื่นใดที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนด เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2.2.7) ระบบการติดตามการเปลี่ยนแปลงมูลค่าตามราคาตลาดของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Mark to Market) ระบบการบันทึกบัญชีและระบบการจัดทํารายงานกําไรขาดทุนที่เกิดจากการทําธุรกรรม (2.2.8) ระบบการติดตามการปฏิบัติงานของ Back Office เช่น การยืนยันการทํารายการ การกระทบยอดรายการ การจัดการทางกฎหมาย และการชําระราคา (Settlement) (2.2.9) ระบบการวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถรองรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านราคาตราสารทุนความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านการชําระราคา เป็นต้น การกําหนดวงเงินลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทต่าง ๆ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา รวมถึงการกําหนดวงเงินในการทําธุรกรรมกับคู่สัญญา (2.2.10) ระบบการกําหนดเพดานความเสี่ยงและความเสียหายที่สามารถยอมรับได้ การติดตามและทบทวนเพดานความเสี่ยง รวมทั้งการอนุมัติและการรายงานผู้บริหารในกรณีที่มีการปฏิบัติแตกต่างไปจากเพดานความเสี่ยงที่กําหนด กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าควรมีรายละเอียดระบบงานตามข้อ (2.2.1) ถึงข้อ (2.2.6) กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าควรมีรายละเอียดระบบงานตามข้อ (2.2.1) ถึงข้อ (2.2.8) กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้คําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าควรมีรายละเอียดระบบงานตามข้อ (2.2.1) ถึงข้อ (2.2.10) (3) มีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการทํางานที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ 5.3.2 ธนาคารพาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 5.3.1 และประสงค์จะประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องได้รับการจดทะเบียนจาก สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ส่วนการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับการจดทะเบียนจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด 5.3.3 ในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งธนาคารพาณิชย์ด้องเข้าเป็นคู่สัญญาในการทําธุรกรรมซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วยนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถข้าเป็นคู่สัญญาในการทําธุรกรรมได้เฉพาะธุรกรรมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศอนุญาตให้ทําได้เท่านั้นและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข รวมทั้งจัดทํารายงานตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3.4 ในการขอจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้ผู้ขอต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือเป็นผู้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น ในกรณีธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ธนาคารพาณิชย์จะต้องดําเนินการขออนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลควบคู่ไปกับการขอจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 5.3.5 เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับการจดทะเบียนจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ธนาคารพาณิชย์มีหนังสือแจ้งพร้อมสําเนาหลักฐานการได้รับการจดทะเบียนหรือสําเนาหลักฐานการได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับการจดทะเบียนจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธนาคารพาณิชย์ต้องขออนุญาตเลิกประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้วแต่กรณี เมื่อได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วให้ธนาคารพาณิชย์มีหนังสือแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งหนังสือดังกล่าวไปที่สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 5.3.6 ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรฐานการบัญชี และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ โดยเคร่งครัด 5.3.7 ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา 5.3.8 ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจยับยั้งหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน 5.3.9 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามที่เห็นสมควร อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,692
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 7/2551 เรื่อง การกำหนดแบบบัตรประจำตัวผู้ตรวจการสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 7/2551 เรื่อง การกําหนดแบบบัตรประจําตัวผู้ตรวจการสถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่กําหนดให้ในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ตรวจการสถาบันการเงินต้องแสดงบัตรประจําตัวที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง และบัตรประจําตัวให้เป็นไปตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 4. เนื้อหา ข้อ 1 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ผู้ตรวจการสถาบันการเงินต้องแสดงบัตรประจําตัวที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก ตามแบบแนบท้ายประกาศ ดังนี้ ก. บัตรประจําตัวสําหรับผู้ตรวจการสถาบันการเงินที่เป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามแบบที่ 1. ข. บัตรประจําตัวสําหรับผู้ตรวจการสถาบันการเงินที่เป็นบุคคลภายนอก (มิใช่พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย) ให้เป็นไปตามแบบที่ 2. ข้อ 2 รูปถ่ายที่ปรากฏบนบัตรประจําตัวให้เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกไม่สวมแว่นตาดํา ขนาด 2.5 x 3 ซ.ม. อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,693
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 08/2551 เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 08/2551 เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ----------------------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบกิจการจัดการโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เพื่อเสนอต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งแต่ปี 2540 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.1 เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการประกอบธุรกิจ เสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับสถาบันการเงิน และใช้ประโยชน์จากเงินกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน 1.2 เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ให้สถาบันการเงินทุกแห่งถือปฏิบัติ 1.3 เพื่อให้สถาบันการเงินที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์สามารถระบุ วัด ติดตาม บริหาร และควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ ได้รวมทั้งสามารถดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม 1.4 เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ โปร่งใสอันจะช่วยให้ตลาดมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม แต่ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงินสําหรับกรณีการทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก ซึ่งเมื่อ Basel II มีผลบังคับใช้ ให้สถาบันการเงินนํามูลค่าที่ต้องรับผิดชอบต่อนิติบุคคลเฉพาะกิจหรือบริษัทที่รับโอนสินทรัพย์หักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 แทนการหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 32 มาตรา 36 มาตรา 50 มาตรา 52 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "Special Purpose Vehicle (SPV)" หมายความว่า นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่รับโอนสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยการรับโอนสินทรัพย์จากผู้ขายสินทรัพย์ และออกหลักทรัพย์ขายแก่ผู้ลงทุน "การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation)" หมายความว่า การที่ผู้ขายสินทรัพย์ทําการโอนสินทรัพย์ไปยัง SPV และ SPV ออกหลักทรัพย์ขายแก่ผู้ลงทุน โดยกําหนดให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับกระแสรายรับที่เกิดจากสินทรัพย์ที่รับโอนมาโดยสินทรัพย์อ้างอิงที่รับโอนมาจะต้องมีลักษณะเหมือนกัน (Homogeneous) "ตราสาร Securitisation" หมายความว่า ตราสารที่ออกโดย SPV ซึ่งจะออกได้ทั้งในรูปตราสารหนี้หรือหน่วยลงทุน "สินทรัพย์อ้างอิง" หมายความว่า สิทธิเรียกร้องหรือสิทธิอื่นใดที่ก่อให้เกิดกระแสรายรับขึ้นในอนาคตไม่ว่ารายรับนั้นจะมีความแน่นอนหรือไม่ก็ตาม เช่น สัญญาให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสิทธิตามสัมปทานสร้างถนนเก็บค่าผ่านทาง และให้เป็นไปตามคําจํากัดความในพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ไม่ให้รวมถึงสินทรัพย์อ้างอิงดังต่อไปนี้ 1. ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (บัญชีมาร์ขึ้น) 2.ตราสารที่นับเข้าเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินผู้ลงทุน 3. ตราสาร Collateralized Debt Obligations (CDOs) 4. อนุพันธ์และธุรกรรมที่มีอนุพันธ์แฝงทุกประเภท 5. สินทรัพย์อื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด "สํานักงาน ก.ล.ต." หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 5.2 หลักการ 5.2.1 ธุรกิจ Securitisation เป็นวิธีการหนึ่งในการโอนความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งรูปแบบและโครงสร้างของธุรกิจดังกล่าวนั้นจะมีความหลากหลายและแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ขายสินทรัพย์ ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ ประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์เป็นหลัก สถาบันการเงินที่เข้าร่วมในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ นอกจากจะเป็นผู้ขายสินทรัพย์ (Originator) หรือเป็นผู้ลงทุนในตราสาร Securitisation (Investor) แล้ว ยังอาจทําหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น การเป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility provider) ผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ (Servicer/Back-up servicer) เป็นต้น ซึ่งการทําหน้าที่ต่าง ๆ ดังกล่าว สถาบันการเงินจะต้องรับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ดังนั้น สถาบันการเงินจึงต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของแต่ละหน้าที่อย่างถูกต้องและเหมาะสม 5.2.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําหน้าที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ (Originator) เพื่อจัดการโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เพื่อเสนอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. และทําหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ได้ เช่น ผู้ให้บริการเป็นตัวแทน/ตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้ เป็นต้น ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในประกาศฉบับนี้ โดยธนาคารพาณิชย์ที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์เพื่อจัดการโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทุกโครงการ ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ โอนสินทรัพย์ไปยัง SPV กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ได้เป็นผู้ขายสินทรัพย์ซึ่งทําหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ ไม่ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายหลังการดําเนินการ ทั้งนี้ การอนุญาตดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงธุรกรรม Synthetic securisation ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กําหนดเกณฑ์การอนุญาตและกํากับดูแลต่อไป สําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งมีขอบเขตการประกอบธุรกิจที่จํากัดกว่านั้น หากประสงค์จะทําหน้าที่ผู้ขายสินทรัพย์ (Originator) เพื่อจัดการโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เพื่อเสนอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. หรือประสงค์จะทําหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน โดยยื่นคําขอต่อฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งรายละเอียดที่สําคัญเกี่ยวกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์นั้น ตลอดจนประเภทและโครงสร้างการถือหุ้นใน SPV ที่จะจัดตั้งขึ้นด้วย 5.2.3 สถาบันการเงินที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ต้องสามารถระบุ วัค ติดตาม บริหาร และควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้ คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินจะต้องกําหนดนโยบายและวิธีการในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน เพื่อให้การประกอบธุรกิจดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม 5.2.4 สถาบันการเงินควรพิจารณาถึงปริมาณสูงสุดของสินทรัพย์แต่ละประเภทที่จะทําการโอนไปยัง SPV รวมทั้งควรกําหนดวงเงินรวมหรือเพดานสูงสุดของการลงทุนในหลักทรัพย์ของ SPV ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงอยู่ในประเภทธุรกิจ กลุ่มอุตสาหกรรม หรือภูมิภาคเดียวกัน เพื่อมิให้มีปริมาณมากเกินสมควร ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมปริมาณดังกล่าวได้ 5.2.5 สถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์เพื่อจัดการโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินที่มิได้เป็นผู้ขายสินทรัพย์แต่ทําหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เช่น ผู้ให้บริการเป็นตัวแทนตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้ เป็นต้น ต้องจัดทําเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ในรูปแบบของรายงานผลการดําเนินงานประจําปีของสถาบันการเงิน (Annual report) หรือในรูปแบบอื่นเพื่อเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและรูปแบบของธุรกิจดังกล่าว รวมทั้งความเสี่ยงที่ได้รับจากการมีส่วนเกี่ยวข้องในหน้าที่ต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจ Securitisation ให้แก่ผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงินและบุคคลภายนอกทราบ เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวมีความซับซ้อนแตกต่างกัน และหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าวส่งผลให้สถาบันการเงินได้รับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5.3.5 5.2.6 ในกรณีที่สถาบันการเงินเป็นผู้ขายสินทรัพย์ ให้สถาบันการเงินนั้นลงทุนในตราสาร Securitisation ซึ่งมีสินทรัพย์ที่รับโอนมาดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิงได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าตราสารดังกล่าวที่มีอยู่ในแต่ละระดับ (Tranche) และในกรณีที่สถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ทําหน้าที่รับประกันการจําหน่ายตราสารที่ SPV ออกแบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm underwrite) และต้องลงทุนในตราสารดังกล่าวในปริมาณเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าตราสารที่อยู่ในแต่ละระดับ ให้สถาบันการเงินจําหน่ายตราสารออกไปภายใน 90 วัน เพื่อให้ปริมาณที่ถืออยู่ไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าตราสารที่อยู่ในแต่ละระดับ อย่างไรก็ดี หากธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบพบว่าสถาบันการเงินได้ลงทุนในตราสาร Securitisation ที่ออกโดย SPV อื่นโดยส่วนใหญ่หรือทั้งหมด โดยที่สถาบันการเงินนั้นมิได้เป็นผู้ขายสินทรัพย์ไปยัง SPV นั้น แต่สถาบันการเงินนั้นได้เคยเป็นผู้ให้สินเชื่อหรือลงทุนในลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของตราสารดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีเจตนาหลีกเลี่ยงเกณฑ์การกํากับดูแลที่กล่าวข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถสั่งการให้สถาบันการเงินนั้นลดปริมาณการถือตราสารดังกล่าวหรือให้นํามูลค่าตราสารส่วนที่เกินกว่าอัตราที่กําหนดทั้งจํานวนหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน หรือหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 แทน เมื่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุน และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนตาม Basel II มีผลบังคับใช้ 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ สาระของหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ประกอบด้วย | | | | --- | --- | | เรื่อง | หัวข้อ | | * การอนุญาต * หลักเกณฑ์การกํากับการประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ของสถาบันการเงิน - การขายสินทรัพย์ - การรับประกันส่วนสูญเสียของสินทรัพย์แก่ผู้ลงทุน - การให้บริการเป็นตัวแทน/ตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้ อันเนื่องมาจากการทําธุรกรรม Securitisation - การให้สภาพคล่องชั่วคราวแก่นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือ บริษัทที่รับโอนสินทรัพย์ - การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ - การลงทุนในตราสาร Securitisation - การทําหน้าที่อื่น* การขออนุญาตของสถาบันการเงินสําหรับธุรกรรมที่นอกเหนือจากแนวทางที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ * การซื้อสินทรัพย์คืนจาก SPV - Representations and warranties - Clean-up call* การเปิดเผยข้อมูล * ข้อกําหนดอื่น - การปฏิบัติตามกฎหมายหรือแนวปฏิบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง - อํานาจในการลงโทษสถาบันการเงิน - การกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม | 5.3.15.3.2 5.3.2 (1)5.3.2 (2)5.3.2 (3) 5.3.2 (4) 5.3.2 (5)5.3.2 (6)5.3.2 (7)5.3.3 5.3.45.3.4 (1)5.3.4 (2)5.3.55.3.65.3.6 (1) 5.3.6 (2)5.3.6 (3) | 5.3.1 การอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจ Securitisation ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) สถาบันการเงินต้องจัดทําแผนงานรองรับการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม Securitisation เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของสถาบันการเงินซึ่งต้องระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1.1) ความพร้อมด้านระบบงาน เช่น นโยบายการประกอบธุรกิจวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การจัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐาน เป็นต้น (1.2) ความพร้อมด้านบุคลากร (2) กรณีสถาบันการเงินเป็นผู้ขายสินทรัพย์เพื่อจัดการโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เพื่อเสนอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (2.1) สถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ ต้องไม่ถือหุ้นใน SPV เกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมด (2.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําหนังสือแจ้งการประกอบธุรกิจดังกล่าวให้ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่โอนสินทรัพย์ไปยัง SPV สําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนโดยยื่นคําขอต่อฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้หนังสือหรือคําขอดังกล่าวต้องมีเนื้อหาสรุปลักษณะของธุรกิจ Securitisation ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (2.2.1) ลักษณะโครงสร้างของธุรกิจ Securitisation ประเภทสินทรัพย์ที่โอนไปขัง SPV และหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2.2.2) โครงสร้างการถือหุ้นใน SPV รวมทั้งโครงสร้างของหลักทรัพย์ที่ SPV เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุน (2.2.3) เงื่อนไขในการซื้อคืนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินผู้ขาย รวมทั้งหลักเกณฑ์หรือลําดับในการชําระคืนดอกเบี้ยหรือเงินต้นให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ให้บริการต่างๆ (2.2.4) หากธนาคารพาณิชย์ที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ทําหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการทําหน้าที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ เช่น ผู้ให้บริการเป็นตัวแทน/ตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้ เป็นต้น ให้ธนาคารพาณิชย์แจ้งสรุปขอบเขตหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ในการประกอบธุรกิจดังกล่าวให้ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับหน้าที่นั้น ๆ ด้วย (3) กรณีธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทําหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการทําหน้าที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับการประกอบธุรกิจ Securitisation ตามข้อ 5.3.2 ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ยื่นคําขอเพื่อขอความเห็นชอบจากฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งรายละเอียดที่สําคัญเกี่ยวกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และสรุปขอบเขตหน้าที่ในการประกอบธุรกิจดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจ Securitisation ต้องกระทําภายใต้ขอบเขตธุรกิจที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สามารถกระทําได้ตามที่กําหนดไว้ตามกฎหมายเท่านั้น โดยจะต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย สําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาคําขอทําธุรกิจเฉพาะ 1) การขายสินทรัพย์เพื่อจัดการโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ 2) การให้บริการเป็นตัวแทน/ตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้โดยที่ไม่เข้าไปรับผิดชอบในภาระหนี้แทนลูกหนี้ และ 3) การลงทุนในตราสาร Securisation เท่านั้น (4) กรณีสถาบันการเงินประกอบธุรกิจที่ส่งผลให้สถาบันการเงินต้องรับความเสี่ยงทางการเงิน ได้แก่ ก) เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียของสินทรัพย์แก่ผู้ลงทุน (Provider of credit enhancement) หมายถึง การกระทําใด ๆ ที่ส่งผลให้สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบในส่วนสูญเสียให้แก่ SPV หรือผู้ลงทุนในตราสาร Securitisation ข) เป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทน/ตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้อันเนื่องมาจากการทําธุรกรรม Securitisation (Servicer/Back-up servicer) ในกรณีที่ขอบเขตการให้บริการดังกล่าวผูกพันให้สถาบันการเงินเข้ารับผิดชอบในภาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนจากการทําหน้าที่ดังกล่าว สถาบันการเงินที่ทําหน้าที่ดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (4.1) มีฐานะการเงินและฐานะการดําเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถกันเงินสํารองได้ครบถ้วนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ตลอดจนสามารถดํารงอัตราส่วนทางการเงินอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการเป็นกรณีพิเศษ (4.2) มีระบบงานซึ่งทําให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินสามารถติดตามความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรม เช่น สัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับผลประกอบการของภาคธุรกิจของสินทรัพย์อ้างอิง ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับระบบงานและการควบคุมภายในการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ เป็นต้น (5) กรณีสถาบันการเงินเป็นผู้บริหารโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Transaction administrator) ได้แก่ การทําหน้าที่จัดสรร และบริหารรายรับจากสิทธิเรียกร้องที่ โอนให้แก่ผู้ออกตราสาร Securitisation ให้สถาบันการเงินดําเนินการได้ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กําหนดไว้ในสัญญาการบริหารจัดการโครงการ 5.3.2 หลักเกณฑ์การกํากับการประกอบธุรกิจ Securitisation ของสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ Securitisation ตามหน้าที่ของสถาบันการเงินในการประกอบธุรกิจ Securitisation ดังต่อไปนี้ (1) การขายสินทรัพย์เพื่อจัดการโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ สถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์สามารถตัดสินทรัพย์ที่ขายออกจากบัญชีได้และไม่ต้องดํารงเงินกองทุนสําหรับสินทรัพย์อ้างอิงที่ขายไป ถ้าการขายนั้นส่งผลให้สถาบันการเงินสามารถตัดสินทรัพย์ที่โอนออกจากบัญชีของสถาบันการเงินได้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1.1) สถาบันการเงินต้องขายสินทรัพย์โดยใช้ราคายุติธรรม (Fair value) ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี (1.2) สําหรับเงื่อนไขในการขายนั้น สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1.2.1) สถาบันการเงินต้องโอนความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์และผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือครองสินทรัพย์ทั้งหมดไปยังบุคคลอื่น ทั้งนี้ ยกเว้นในกรณีที่ผู้ขายสินทรัพย์ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากการทําหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Securitisation เช่น การเป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก การเป็นผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ เป็นต้น (1.2.2) ผู้ขายสินทรัพย์ต้องไม่มีอํานาจควบคุมในสินทรัพย์ที่ได้โอนขายออกไป รวมทั้งในกรณีที่ผู้ขายสินทรัพย์ล้มละลาย เจ้าหนี้ของผู้ขายสินทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องในสินทรัพย์ที่ได้โอนไปแล้ว (1.2.3) ผู้ขายสินทรัพย์ต้องไม่มีภาระที่จะต้องรับผิดชอบต่อผู้ลงทุนสําหรับคุณภาพของสินทรัพย์นั้น (1.2.4) SPV และผู้ลงทุนมีสิทธิในการนําเอาสินทรัพย์ไปจํานําหรือจํานองต่อได้ (1.2.5) ผู้ขายสินทรัพย์ต้องไม่มีข้อตกลงในการซื้อคืนสินทรัพย์ ยกเว้นเงื่อนไขการซื้อคืนสินทรัพย์สําหรับกรณี Representations and warranties และ Clean-up call ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดไว้ ในข้อ 5.3.4 (1.2.6) ในสัญญาการขายสินทรัพย์ต้องไม่มีข้อความที่แสดงว่าสถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์สามารถเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์อ้างอิงเพื่อปรับเปลี่ยนให้อันดับความน่าเชื่อถือของกลุ่มสินทรัพย์อ้างอิงดีขึ้น ยกเว้นในกรณี SPV ขายสินทรัพย์ให้แก่นิติบุคคลอื่นที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์ด้วยราคายุติธรรม นอกจากนี้ ในสัญญาต้องไม่มีข้อความที่กําหนดให้สถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์เพิ่มความรับผิดชอบในส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss) หรือข้อความที่กําหนดให้มีการเพิ่มผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่ผู้ลงทุนหรือผู้ให้บริการรายอื่นที่มิใช่สถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์ เพื่อชดเชยการเสื่อมคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง นอกจากนี้ หากแนวปฏิบัติทงการบัญชีเรื่องธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์หรือมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องของสภาวิชาชีพบัญชีมีผลบังคับใช้ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการตัดสินทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วน (Derecognition) ออกจากบัญชีของสถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์ตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว (2) การรับประกันส่วนสูญเสียของสินทรัพย์แก่ผู้ลงทุน (Provider of creditenhancement) การรับประกันส่วนสูญเสียของสินทรัพย์แก่ผู้ลงทุน มี 2 รูปแบบ คือ (ก) การเป็นผู้ค้ําประกันลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Guarantor) หมายถึง สถาบันการเงินที่ทําหน้าที่ค้ําประกันการกู้ยืมเงินให้แก่ลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงรายใดรายหนึ่งในพอร์ตของสินทรัพย์ให้แก่ SPV ในกรณีที่ลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงผิดนัดชําระหนี้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร Securisation มีคุณภาพที่ดีขึ้น (ข) การเป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) หมายถึง การที่สถาบันการเงินทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรกให้แก่ผู้ลงทุนในตราสาร Securitisation รายอื่น ๆ ในกรณีที่ลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงไม่สามารถชําระดอกเบี้ยหรือเงินต้นได้ตามกําหนด ได้แก่ สถาบันการเงินที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ สถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อด้อยสิทธิ์แก่ SPV หรือหน้าที่อื่นที่ส่งผลให้สถาบันการเงินต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนสูญเสียของกลุ่มของสินทรัพย์อ้างอิงเป็นลําดับแรก เช่น การที่สถาบันการเงินเข้าไปรับภาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนจากการทําหน้าที่เป็นตัวแทน/ตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้เป็นต้น สถาบันการเงินจะต้องประเมินคุณภาพของสินทรัพย์ ประวัติการผิดนัดชําระหนี้และอัตราหนี้สูญของสินทรัพย์อ้างอิงกลุ่มนี้ เพื่อประเมินความเพียงพอของปริมาณส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) โดยสถาบันการเงินต้องจัดให้มีบุคคลภายนอกหรือหน่วยงานอิสระรับรองความเพียงพอของปริมาณส่วนสูญเสียในลําดับแรก ดังนี้ - โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่ต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด สถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ต้องจัดให้มีการประเมินมูลค่านี้โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสากล เช่น Fitch Ratings Standard Poor’s และ Moody's เป็นต้น - โครงการที่ไม่ต้องให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารสถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีหน่วยงานอิสระ (Independence unit) หรือหน่วยงานควบคุมภายในและตรวจสอบ (Internal control unit) หรือคณะกรรมการตรวจสอบของสถาบันการเงินนั้น ทําหน้าที่เป็นผู้ประเมินความเพียงพอของมูลค่าของส่วนสูญเสียนี้ วงเงินรวมสูงสุดที่สถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) ให้แก่ SPV ทุกรายรวมกัน ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของสถาบันการเงิน การทําหน้าที่ทั้ง 2 รูปแบบดังกล่าวข้างต้น สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (2.1) ต้องระบุภาระหรือมูลค่าของความสูญเสียที่สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบไว้ให้ชัดเจนในสัญญา และสถาบันการเงินต้องไม่เข้ารับผิดชอบในส่วนสูญเสียที่มากกว่าจํานวนที่ได้ตกลงไว้ (2.2) ต้องระบุช่วงเวลาในการรับประกันไว้ให้ชัดเจน โดยไม่จําเป็นต้องระบุเป็นวันที่ที่สัญญาจะสิ้นสุดก็ได้ เช่น กําหนดให้เป็นวันที่มีการายชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ผู้ลงทุนเต็มจํานวนแล้ว เป็นต้น (2.3) สถาบันการเงินต้องมีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์อ้างอิงที่ต้องรับผิดชอบเช่นเดียวกับแนวปฏิบัติในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยต้องได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับราคาตลาด (Arm's length basis) (2.4) หากสถาบันการเงินต้องการยกเลิกสัญญาการเป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียของสินทรัพย์ จะต้องแจ้งให้ SPV ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้ SPV สามารถหาบุคคลอื่นมาทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียแทน การดํารงเงินกองทุน (1) สถาบันการเงิน (ยกเว้นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ที่ทําหน้าที่เป็นผู้ค้ําประกันลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Guarantor) ต้องดํารงเงินกองทุนโดยใช้ค่าแปลงสภาพ (Credit conversion factor) เท่ากับ 1 และใช้น้ําหนักความเสี่ยงเท่ากับน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงนั้น (2) สถาบันการเงิน (ยกเว้นบริษัทเครคิตฟองซิเอร์) ที่ทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) ให้ปฏิบัติดังนี้ - กรณีที่สถาบันการเงินมิได้เป็นผู้ขายสินทรัพย์ ให้สถาบันการเงินนํามูลค่าที่ต้องรับผิดชอบต่อ SPV แต่ละรายหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินนั้นตั้งแต่วันที่ทําธุรกรรม ทั้งนี้ เมื่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุน และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนตาม Basel II มีผลบังคับใช้ ให้สถาบันการเงินนํามูลค่าที่ต้องรับผิดชอบต่อ SPV แต่ละรายหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 แทน - กรณีที่สถาบันการเงินเป็นผู้ขายสินทรัพย์ สถาบันการเงินต้องนํามูลค่าที่ต้องรับผิดชอบต่อ SPV แต่ละรายหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินนั้นตั้งแต่วันที่ทําธุรกรรม ทั้งนี้ เมื่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุน และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนตาม Basel II มีผลบังคับใช้ ให้สถาบันการเงินนํามูลค่าที่ต้องรับผิดชอบต่อ SPV แต่ละรายหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 แทน ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ปริมาณเงินกองทุนที่จะถูกหักต่อ SPV แต่ละรายมีจํานวนไม่เกินกว่าปริมาณงินกองทุนที่ต้องดํารงหากสินทรัพย์อ้างอิงที่โอนไปดังกล่าวยังอยู่ในบัญชีของสถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ นอกจากนี้ หากพบว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นจริงมีปริมาณมากกว่าปริมาณเงินกองทุนที่ดํารงไว้ ให้สถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์กันเงินสํารองเพิ่มเติมตามปริมาณของความสูญเสียที่เกิดขึ้นจริงอันเนื่องมาจากการเสื่อมคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิงจนเต็มมูลค่าที่สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบ และหากผู้ตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าสถาบันการเงินมีภาระหรือความเสี่ยงที่ต้องรับผิดชอบสูงกว่าจํานวนดังกล่าว (Implicit support) ผู้ตรวจสอบสามารถสั่งการให้สถาบันการเงินดํารงเงินกองทุนในปริมาณที่สูงขึ้นได้ การนับลูกหนี้รายใหญ่ (1) สถาบันการเงินที่ทําหน้าที่เป็นผู้ค้ําประกันลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Guarantor) ให้ถือว่าการค้ําประกันนั้นเป็นการก่อภาระผูกพัน ดังนั้น สถาบันการเงินต้องนําจํานวนเงินตามสัญญาค้ําประกันดังกล่าว รวมกับจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เพื่อลูกหนี้รายนั้น เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนดสําหรับสถาบันการเงินนั้น ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) (2) สถาบันการเงินที่ทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) มีหลายรูปแบบ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติดังนี้ - กรณีที่สถาบันการเงินทําหน้าที่เป็นผู้ให้สินเชื่อด้อยสิทธิ์แก่ SPV หรือเป็นตัวแทนตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้ที่มีการเข้าไปรับผิดชอบในภาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ SPV หรือเป็นผู้ให้สภาพคล่องชั่วคราวแก่ SPV โดยที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ (4) ให้สถาบันการเงินนับบุคคลดังต่อไปนี้ ในการคํานวณลูกหนี้รายใหญ่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) (ก) SPV มูลค่าจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อประเภทด้อยสิทธิ์หรือจํานวนเงินที่สถาบันการเงินเข้าไปรับภาระหนี้แทนลูกหนี้ หรือจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สภาพคล่องชั่วคราวแก่ SPV นั้น เมื่อรวมกับจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เพื่อ SPV รายนั้น เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนดสําหรับสถาบันการเงินนั้น (ข) ลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงเฉพาะกรณีที่เป็นลูกหนี้รายใหญ่ (Corporate loan) ให้สถาบันการเงินนับความเสี่ยง (Exposure) ที่มีต่อสินทรัพย์อ้างอิงแต่ละรายที่เกิดจากเงินให้สินเชื่อประเภทด้อยสิทธิ์แก่ SPV หรือจํานวนเงินที่สถาบันการเงินเข้าไปรับภาระหนี้แทนลูกหนี้ หรือจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สภาพคล่องชั่วคราวแก่ SPV ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ (4) ซึ่งสะท้อนระดับ (Tranche) ของเงินให้สินเชื่อหรือจํานวนเงินที่รับภาระหนี้หรือจํานวนเงินที่ให้สภาพคล่องชั่วคราว เช่น การพิจารณา Sensitivity ของเงินให้สินเชื่อหรือจํานวนเงินที่รับภาระหนี้แทนลูกหนี้หรือจํานวนเงินที่ให้สภาพคล่องชั่วคราวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับความน่าเชื่อถือสินทรัพย์อ้างอิงแต่ละราย ซึ่งเมื่อรวมกับจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพื่อลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงรายนั้นแล้ว เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนดสําหรับสถาบันการเงินนั้น หากมีข้อสงสัยให้ธนาคารพาณิชย์หารือธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องจัดทําระบบรายงานภายในเพื่อควบคุมดูแลไม่ให้สถาบันการเงินมีความเสี่ยงอันเกิดจากสินทรัพย์อ้างอิงแต่ละรายที่ธนาคารพาณิชย์รับความเสี่ยงมาเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินกว่าอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดและต้องมีหลักฐานไว้ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบหรือจัดส่งสําเนาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ - กรณีที่สถาบันการเงินทําหน้าที่เป็นผู้ลงทุนในตราสาร Securitisation ซึ่งสถาบันการเงินต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับแรก (Fist loss tranche) ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การนับลูกหนี้รายใหญ่ที่กําหนดไว้สําหรับผู้ลงทุนในตราสาร Securitisation (Investor) ในข้อ (6) - สําหรับกรณีอื่น ๆ ให้สถาบันการเงินหารือไปยังฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณี (3) การให้บริการเป็นตัวแทนตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้อันเนื่องมาจากการทําธุรกรรม Securitisation (Servicer/Back-up servicer) การให้บริการเป็นตัวแทน/ตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้อันเนื่องมาจากการทําธุรกรรม Securitisation หมายถึง การให้บริการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ให้แก่ SPV หรือการเป็นตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้ในกรณีที่ตัวแทนเรียกเก็บหนี้ส้มละลายหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ซึ่งครอบคลุมถึงการทําหน้าที่บริหารสินทรัพย์ให้แก่ SPV การลงทุนหรือจัดหาผลประโยชน์เพิ่มเติมจากสิทธิเรียกร้องที่ได้โอนไปยัง SPV การเป็นตัวแทนให้แก่ SPV ในการทวงถามหรือฟ้องร้องเพื่อบังคับคดีกับลูกหนี้ รวมทั้ง การจัดทําบัญชี รายงาน เก็บรักษาเอกสาร ชําระภาษีหรือเบี้ยประกันภัยตลอดจนหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บหนี้เงินกู้นั้น การให้บริการดังกล่าวสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (3.1) ค่าตอบแทนที่สถาบันการเงินได้รับต้องเป็นธรรมและสอดคล้องกับราคาตลาด รวมทั้งสถาบันการเงินต้องได้รับค่าตอบแทนจากการทําหน้าที่ดังกล่าวในลําดับแรก (3.2) สถาบันการเงินต้องไม่เข้ารับความเสี่ยงจากการเป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทน/ตัวแทนสํารองเรียกเก็บหนี้ เช่น เข้าไปมีส่วนรับผิดชอบในภาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นต้น หากสถาบันการเงินเข้าไปรับผิดชอบในภาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนจากการทําหน้าที่เป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ ให้ถือว่าสถาบันการเงินนั้นทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) ซึ่งสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับในเรื่องเงินกองทุนและการกํากับลูกหนี้รายใหญ่สําหรับกรณีการรับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรกด้วย (3.3) สถาบันการเงินต้องมีระบบงานรองรับและดูแลความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (3.3.1) นโยบายด้านปฏิบัติการ ด้านบัญชี และการควบคุมภายในต้องกําหนดให้สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้บริการเรียกเก็บหนี้ที่ได้ทําไว้กับคู่สัญญา (3.3.2) ต้องมีระบบงานและระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ (3.3.3) จัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานของสัญญาการกู้ยืมเงินในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ แยกต่างหากจากกิจการอื่นของสถาบันการเงิน (3.3.4) จัดทํารายงานในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แต่ละรายออกจากกันตามสัญญาระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ว่าจ้างต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง SPV แต่ละราย เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ว่าจ้างต่าง ๆ สามารถตรวจสอบและติดตามดูแลผลการดําเนินงานได้ (4) การให้สภาพคล่องชั่วคราวแก่ SPV (Provider of liquidity facility) การให้สภาพคล่องชั่วคราวแก่ SPV หมายถึง การให้สินเชื่อแก่ SPV เพื่อนําไปจ่ายค่าดอกเบี้ยหรือเงินต้นแก่ผู้ลงทุนตามระยะเวลาที่ได้กําหนดไว้ ในกรณีที่ช่วงเวลาที่ได้รับดอกเบี้ยหรือเงินต้นจากสินทรัพย์อ้างอิงกับช่วงเวลาที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ลงทุนไม่ตรงกันโดยการให้สินเชื่อดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการรับส่วนสูญเสีย ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (4.1) สถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อในกรณีนี้ต้องไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ์ กล่าวคือ SPV ต้องชําระเงินคืนให้แก่สถาบันการเงินทันทีที่ได้รับชําระดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนจากสินทรัพย์อ้างอิง (4.2) สถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อต้องได้รับชําระเงินคืนภายในระยะเวลา 3 เดือนนับจากวันที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ หรืออาจได้รับชําระเงินคืนหลังจากระยะเวลาที่กําหนดไว้ได้ หากสถาบันการเงินสามารถพิสูจน์ได้ว่าการได้รับชําระเงินคืนหลังจากระยะเวลาดังกล่าวนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการด้อยคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ทําหน้าที่ให้สภาพคล่องชั่วคราวแก่ SPV ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการดํารงเงินกองทุนและการนับลูกหนี้รายใหญ่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดไว้สําหรับสถาบันการเงินที่ทําหน้าที่เป็นผู้ให้สินเชื่อด้วย หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ (4.1) หรือ (4.2) หรือสถาบันการเงินไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าการให้สินเชื่อดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้สภาพคล่องชั่วคราว ให้ถือว่าสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) และให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) อย่างเคร่งครัดด้วย (5) การจัดจําหน่ายตราสาร Securitisation (Underwriter) ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (5.1) ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกิจการจัดจําหน่ายตราสารแห่งหนี้ ตามที่ระบุในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งได้แก่ คุณสมบัติและข้อกําหนดในการจัดทําแผนงานรองรับการประกอบธุรกิจดังกล่าว เช่น ระเบียบวิธีการบริหารความเสี่ยงระบบควบคุมภายใน ระบบการจัดการ และระบบบัญชี เป็นต้น (5.2) ในกรณีที่สถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์เป็นผู้จัดจําหน่ายตราสาร Securitisation และต้องลงทุนในตราสารเนื่องจากการทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันการจําหน่ายตราสาร Securitisation แบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm Underwrite) ซึ่งอาจส่งผลให้สถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์ต้องถือตราสารในปริมาณเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าตราสารที่อยู่ในแต่ละระดับ ให้สถาบันการเงินจําหน่ายตราสารดังกล่าวออกไปภายใน 90 วัน เพื่อให้ปริมาณที่ถืออยู่ไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าตราสารที่อยู่ในแต่ละระดับ การดํารงเงินกองทุน (1) การรับประกันการจําหน่ายตราสาร Securitisation แบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm Underwrite) ถือว่าเป็นการก่อภาระผูกพัน ให้สถาบันการเงิน (ยกเว้นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ที่เป็นผู้จัดจําหน่ายตราสาร Securisation ดํารงเงินกองทุนสําหรับภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสาร Securitisation ตั้งแต่วันที่สถาบันการเงินนั้นทําสัญญารับประกันการจําหน่ายถึงวันปิดการเสนอขาย โดยภาระผูกพันดังกล่าวมีค่าแปลงสภาพเทียบเท่ากับภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดซึ่งเท่ากับ 0.5 และใช้น้ําหนักความเสี่ยงเท่ากับน้ําหนักความเสี่ยงของ SPV ซึ่งเป็นผู้ออกตราสาร (2) หากสถาบันการเงิน (ยกเว้นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ที่ทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันการจําหน่ายตราสาร Securitisation แบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm Underwrite) ต้องลงทุนในตราสาร Securitisation ที่เหลือจากการจําหน่ายนับตั้งแต่วันปิดการเสนอขายตราสารนั้นให้สถาบันการเงินบันทึกตราสารดังกล่าวไว้ในบัญชี Trading book ของสถาบันการเงิน และให้สถาบันการเงินดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน การนับลูกหนี้รายใหญ่ สถาบันการเงินที่ทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันการจําหน่ายตราสาร Securitisation แบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm underwrite) ถือเป็นการก่อภาระผูกพัน ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องนําจํานวนเงินตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารดังกล่าวรวมกับจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เพื่อ SPV รายนั้น เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนดสําหรับสถาบันการเงินนั้น ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) (6) การลงทุนในตราสาร Securitisation (Investor) สถาบันการเงินสามารถลงทุนในตราสาร Securitisation ได้ ซึ่งตราสาร Securitisation อาจแบ่งเป็นหลายระดับ โดยแต่ละระดับมีความเสี่ยงแตกต่างกัน การลงทุนในตราสารดังกล่าวสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (6.1) หากสถาบันการเงินลงทุนในตราสารที่สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss tranche) ให้บันทึกตราสารดังกล่าวไว้ในบัญชี Banking Book ของสถาบันการเงิน (6.2) หากสถาบันการเงินลงทุนในตราสารที่สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับสูงกว่า First loss tranche ให้บันทึกตราสารดังกล่าวไว้ในบัญชี Trading Book หรือบัญชี Banking Book ของสถาบันการเงิน ตามคุณสมบัติของตราสารและความตั้งใจ รวมทั้งความสามารถในการถือตราสาร (6.3) ในกรณีที่ผู้ลงทุนในตราสาร เป็นสถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์ให้แก่ SPV ด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์นั้นลงทุนในตราสาร Securisation ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าตราสารที่มีอยู่ในแต่ละระดับ ทั้งนี้ ไม่นับรวมการลงทุนในตราสารที่สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss tranche) การดํารงเงินกองทุน การดํารงเงินกองทุนสําหรับการลงทุนในตราสาร Securitisation แต่ละระดับมีความแตกต่างกัน เนื่องจากตราสารแต่ละระดับมีความเสี่ยงแตกต่างกัน ซึ่งสถาบันการเงิน (ยกเว้นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงของตราสารที่ลงทุนและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังต่อไปนี้ (1) ตราสารในบัญชี Trading Book ของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการดํารงเงินกองทุน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน (2) ตราสารในบัญชี Banking Book ของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงิน (ยกเว้นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ | | | | --- | --- | | ระดับของตราสาร | การดํารงเงินกองทุน | | สง. ที่ลงทุนในตราสารเป็น Originator | สง. ที่ลงทุนในตราสารไม่ได้เป็น Originator | | ตราสารที่สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First Loss Tranche) | * นํามูลค่าหรือฐานะ ดังกล่าวหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน ทั้งนี้เมื่อประกาศ ธปท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุน และประกาศ ธปท.ว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนตาม Basel II มีผลบังคับใช้ ให้สง. นํามูลค่าที่ต้องรับผิดชอบต่อSPV แต่ละรายหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 แต่ไม่เกินกว่าปริมาณเงินกองทุนที่ต้องดํารงหากสินทรัพย์ยังอยู่ในบัญชี | * นํามูลค่าหรือฐานะ ดังกล่าวหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ เมื่อประกาศ ธปท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุน และประกาศธปท.ว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนตาม Basel IIมีผลบังคับใช้ ให้ สง. นํามูลค่าที่ต้องรับผิดชอบต่อSPV แต่ละรายหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 | | ตราสารที่สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับที่สอง (Second Losstranche or Mezzanine tranche) | 1) ในกรณีที่ตราสารSecuritisation มีจํานวนทั้งหมด2 ระดับ น้ําหนักความเสี่ยงของตราสารในระดับนี้มีค่าเท่ากับค่าเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์อ้างอิง | * เหมือน Originator | | | | | --- | --- | | ระดับของตราสาร | การดํารงเงินกองทุน | | สง. ที่ลงทุนในตราสารเป็น Originator | สง. ที่ลงทุนในตราสารไม่ได้เป็น Originator | | | 2) ในกรณีที่ตราสารSecuritisation มีจํานวนทั้งหมด3 ระดับหรือมากกว่า ให้ดําเนินการดังนี้ 2.1) ให้ สง. ใช้น้ําหนักความเสี่ยงเท่ากับ 1 หากมี Firstloss facility รองรับความเสี่ยงเพียงพอแล้ว ซึ่งความเพียงพอของ First loss facility ต้องได้รับการประเมินจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายนอกหรือหน่วยงานอิสระของ สง. ที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ 2.2) ให้ สง. นํามูลค่าหรือฐานะดังกล่าวหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของ สง. หากพบว่า First Loss facility มีปริมาณไม่เพียงพอ ทั้งนี้ เมื่อประกาศ ธปท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนและประกาศ ธปท.ว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนตามBasel II มีผลบังคับใช้ ให้ สง. นํามูลค่าที่ต้องรับผิดชอบต่อ SPVแต่ละรายหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2อย่างละร้อยละ 50 | | | ระดับของตราสาร | การดํารงเงินกองทุน | | สง. ที่ลงทุนในตราสารเป็น Originator | สง. ที่ลงทุนในตราสารไม่ได้เป็น Originator | | ตราสารที่สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับที่สาม หรือลําดับที่สูงขึ้นไป (Senior or above Tranche) | * น้ําหนักความเสี่ยงของ ตราสารในระดับนี้มีค่าเท่ากับค่าเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์อ้างอิง | เหมือน Originator | การนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้สถาบันการเงินผู้ลงทุนในตราสาร Securitisation นับบุคคลดังต่อไปนี้ ในการคํานวณอัตราส่วนลูกหนี้รายใหญ่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) (1) SPV ผู้ออกตราสาร Securitisation มูลค่าของตราสาร Securitisation ที่ออกโดย SPV แต่ละรายที่สถาบันการเงินลงทุน เมื่อรวมกับจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เพื่อ SPV รายนั้น เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนดสําหรับสถาบันการเงินนั้น (2) ลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงเฉพาะกรณีที่เป็นลูกหนี้รายใหญ่ (Corporate loan) ให้สถาบันการเงินนับความเสี่ยง (Exposure) ที่มีต่อสินทรัพย์อ้างอิงแต่ละรายที่เกิดจากเงินลงทุนในตราสาร Securitisation ซึ่งสะท้อนระดับ (Tranche) ของตราสาร Securitisation ที่ธนาคารพาณิชย์ลงทุน เช่น การพิจารณา Sensitivity ของเงินลงทุนในตราสาร Securitisation ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับความน่าเชื่อถืสินทรัพย์อ้างอิงแต่ละราย ซึ่งเมื่อรวมกับจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เพื่อลูกหนี้ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงรายนั้นแล้ว เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนดสําหรับสถาบันการเงินนั้น หากมีข้อสงสัยให้สถาบันการเงินหารือธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่เป็นผู้ลงทุนในตราสาร Securitisation ต้องจัดทําระบบรายงานภายในเพื่อควบคุมดูแลไม่ให้สถาบันการเงินมีความเสี่ยงอันเกิดจากสินทรัพย์อ้างอิงแต่ละรายที่สถาบันการเงินรับความเสี่ยงมาเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เกินกว่าอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และต้องมีหลักฐานไว้ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งสําเนาให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ การกําหนดวงเงินรวมหรือเพดานสูงสุดในการลงทุน ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดวงเงินรวมหรือเพดานสูงสุดในการลงทุนของสถาบันการเงินในตราสาร Secuitisation ที่มีปริมาณของสินทรัพย์อ้างอิงอยู่ในประเภทธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมหรือภูมิภาคเดียวกันมากเกินปริมาณที่สมควรได้ เพื่อป้องกันมิให้สถาบันการเงินมีความเสี่ยงในประเภทธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมหรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ มากเกินสมควร (Concentration risk) (7) การประกอบธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม Securitisation การประกอบธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม Securitisation ได้แก่ (7.1) การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (Registrar) (7.2) การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน (Debenture holders representative/ Trustee) (7.3) การจัดการออกตราสาร Securitisation (Arranger) (7.4) การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินทั่วไป (Financial advisor) (7.5) การเป็นผู้ให้บริการในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Swap counterparty) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้สถาบันการเงินทําได้ ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดไว้ในการอนุญาตอย่างเคร่งครัดด้วย 5.3.3 การขออนุญาตของสถาบันการเงินสําหรับธุรกรรมที่นอกเหนือจากแนวทางที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้เป็นแนวทางการกํากับขั้นต่ําสําหรับธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เนื่องจากไม่สามารถกําหนดเกณฑ์การกํากับให้รองรับธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ทุกรูปแบบและโครงสร้างได้ ดังนั้น หากโครงสร้างในการประกอบธุรกิจดังกล่าวของสถาบันการเงินมิได้เป็นไปตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ หรือหากสถาบันการเงินต้องการทําหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์นอกเหนือจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตไว้ ให้สถาบันการเงินหารือไปยังฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการทําธุรกรรม เช่น ธุรกรรมที่มี Early amortization feature เป็นต้น 5.3.4 การซื้อสินทรัพย์คืนจาก SPV สถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์ต้องไม่ซื้อสินทรัพย์คืนจาก SPV ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ (1) Representations and Warranties หมายถึง เงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้ ล่วงหน้าว่าหากสินทรัพย์อ้างอิงที่สถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์ได้โอนไปยัง SPV นั้น มีคุณสมบัติไม่ตรงกับเงื่อนไขที่ผู้ซื้อและผู้ขายสินทรัพย์ได้กําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันที่ โอนสินทรัพย์ เช่น ประวัติการชําระหนี้ สัดส่วนของสินเชื่อต่อหลักประกัน เป็นต้น โดยสถาบันการเงินสามารถโอนสินทรัพย์ใหม่ไปยัง SPV ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ได้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1.1)เงื่อนไขในการซื้อคืนที่กําหนดไว้ต้องสอดคล้องกับหลักปฏิบัติของตลาดทั่วไป และสถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์ต้องได้ตรวจดูเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้กําหนดไว้เกี่ยวกับการซื้อคืนว่าเป็นไปตามความเป็นจริงและสามารถปฏิบัติได้ ในช่วงเวลาที่ทําการโอนขายสินทรัพย์นั้น (1.2) สถาบันการเงินได้ทําการตรวจสอบคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิงที่ทําการโอนขายแล้ว ก่อนที่จะกําหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กําหนดไว้เพื่อซื้อสินทรัพย์ที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติคืน (1.3) เงื่อนไขในการซื้อคืนที่กําหนดต้องไม่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง วิธีดําเนินธุรกิจของ SPV และตราสารที่ออกขาย (2) Clean-up call หมายถึง การที่สถาบันการเงินมีสิทธิที่จะซื้อสินทรัพย์ที่คงเหลือตอนสิ้นสุดโครงการจาก SPV เมื่อมูลค่าของสินทรัพย์คงเหลือน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 ของมูลค่าของสินทรัพย์ที่โอนไปยัง SPV ซึ่งสถาบันการเงินผู้ซื้อสินทรัพย์อาจเป็นผู้ขายสินทรัพย์หรือผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ก็ได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (2.1) ราคาซื้อขายต้องเป็นราคายุติธรรม (Fair value) ณ วันที่ซื้อคืน (2.2) สถาบันการเงินสามารถซื้อสินทรัพย์ที่คงเหลืออยู่ซึ่งเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพจาก SPV ได้ แต่ราคาที่ซื้อขายนั้นต้องเป็นราคายุติธรรม ณ วันที่ซื้อคืน โดยสถาบันการเงินไม่ได้มีส่วนต้องรับผิดชอบในส่วนสูญเสียของสินทรัพย์อ้างอิงให้แก่ผู้ลงทุน 5.3.5 การเปิดเผยข้อมูล (1) สถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ต้องจัดทําเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ในรูปแบบของรายงานผลการดําเนินงานประจําปีของสถาบันการเงิน (Annual report) หรือในรูปแบบอื่น เพื่อเปิดเผยข้อมูลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ได้รับทราบอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1.1) วัตถุประสงค์ วิธีการ และหลักปฏิบัติในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ ได้แก่ ประเภทของสินทรัพย์ ปริมาณสินทรัพย์ที่ได้ขายออกไป คุณภาพของสินทรัพย์ที่ขายไป จํานวนเงินที่กันสํารองเพื่อรองรับส่วนสูญเสีย เป็นต้น เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจถึงความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจ Securisation รวมทั้งให้ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทนี้เข้าใจในความเสี่ยงด้านการลงทุน ด้าน Prepayment และด้านอัตราดอกเบี้ยจากการชําระหนี้ล่าช้าและการขาดทุนจากการผิดนัดชําระหนี้ของสินทรัพย์ด้วย (1.2) ในกรณีที่สถาบันการเงินผู้ขายสินทรัพย์ทําหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ซึ่งก่อให้เกิด Exposure ต่อสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินเปิดเผยภาระความรับผิดชอบของสถาบันการเงินที่มีต่อ SPV เช่น มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ลงทุนหรือความเสี่ยงที่เกิดจากการทําหน้าที่ดังกล่าว เป็นต้น ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบเพิ่มเติมไว้ด้วย (1.3) รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายทางการบัญชีในการทําธุรกรรม เช่น การบันทึกบัญชีว่าเป็นการขายหรือการกู้ยืมเงิน การรับรู้รายได้จากการขาย เป็นต้น (1.4) การลงทุนในตราสาร Securitisation ไม่ถือว่าเป็นการฝากเงินหรือให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินที่เป็นผู้ขายสินทรัพย์ ดังนั้น ข้อมูลที่สถาบันการเงินเปิดเผยให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องไม่แสดงถึงการโฆษณาหรือทําให้ผู้ลงทุนเกิดความสับสน ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลที่กําหนดไว้ในแนวปฏิบัติทางการบัญชีเรื่องธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์หรือมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องด้วย (2) สถาบันการเงินมิได้เป็นผู้ขายสินทรัพย์แต่ทําหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ โดยอาจทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ผู้รับประกันส่วนสูญเสียของสินทรัพย์แก่ผู้ลงทุน หรือผู้ให้บริการในการให้สภาพคล่องชั่วคราวแก่ SPV เป็นต้น ซึ่งการทําหน้าที่ดังกล่าวก่อให้เกิด Exposure ต่อสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินจัดทําเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ในรูปแบบของรายงานผลการดําเนินงานประจําปีของสถาบันการเงิน (Annual report) หรือในรูปแบบอื่น เพื่อเปิดเผยภาระความรับผิดชอบของสถาบันการเงินที่มีต่อ SPV เช่น มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ลงทุนหรือความเสี่ยงที่เกิดจากการทําหน้าที่ดังกล่าวเป็นต้น ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบด้วย ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลที่กําหนดไว้ในแนวปฏิบัติทางการบัญชีเรื่องธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์หรือมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องด้วย 5.3.6 ข้อกําหนดอื่น (1) สถาบันการเงินต้องมีการตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดด้วย เช่น จัดให้มีการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีหรือแนวปฏิบัติของสภาวิชาชีพบัญชี เป็นต้น (2) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจในการลงโทษสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือสงวนสิทธิที่จะกําหนดให้สถาบันการเงินต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการประกอบธุรกิจ Securitisation ทุกธุรกรรม ในกรณีดังต่อไปนี้ (2.1) สถาบันการเงินฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (2.2) กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน (3) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ Securisation ได้ตามที่เห็นสมควร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดวงเงินรวมหรือเพดานสูงสุดของการลงทุนในตราสาร Securitisation หรือประเภทของสินทรัพย์ในการประกอบธุรกิจ Securitisation รวมทั้งอาจกําหนดให้สถาบันการเงินเพิ่มปริมาณเงินกองทุนเพื่อรองรับการประกอบธุรกิจ Securitisation ได้ หากพบว่าสถาบันการเงินมีปริมาณความเสี่ยงที่สูงมากกว่าปริมาณเงินกองทุนที่รองรับความเสี่ยงปกติของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ทําหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ Securitisation จะต้องมีการรายงานธุรกรรมต่าง ๆ ตามแบบรายงานหรือชุดข้อมูลที่ใช้รองรับการทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,694
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 8/2551 เรื่อง การกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 8/2551 เรื่อง การกําหนดแบบบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 124 แห่งพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2550 ที่กําหนดให้ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง และบัตรประจําตัวให้เป็นไปตามแบบที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 12/4 แห่งพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2550 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2550 อื่นๆ - 4. เนื้อหา ข้อ 1 ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ 2 รูปถ่ายที่ปรากฏบนบัตรประจําตัวให้เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดํา ขนาด 2..5 x 3 ช.ม. อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,695
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 09/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนในตราสาร Collateralized Debt Obligation
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 09/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนในตราสาร Collateralized Debt Obligation ---------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนในตราสาร Collateralized Debt Obligation (CDO) ได้ตั้งแต่ปี 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีทางเลือกในการลงทุนในตราสารทางการเงินใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ธนาคารพาณิชย์ที่จะลงทุนดังกล่าวจะต้องมีความรู้ความสามารถ และมีระบบบริหารความเสี่ยงที่สามารถรองรับการทําธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมและเพียงพอ ตลอดจนมีการบันทึกบัญชีและการประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในตราสารดังกล่าวที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงที่ถูกต้องสอดคล้องตามมาตรฐานการบัญชี จากภาวะความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในตลาดการเงินโลก ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นความสําคัญของการติดตามการลงทุนในตราสาร CDO ของธนาคารพาณิชย์ให้ใกล้ชิดมากขึ้นจึงได้กําหนดหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้แทน ซึ่งมีสาระสําคัญเหมือนกับประกาศฉบับเดิม แต่ได้เพิ่มข้อกําหนดให้มีการรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรมตามรายละเอียดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดและต้องจัดส่งรายงานดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกไตรมาสภายในวันสิ้นเดือนนับจากวันสิ้นไตรมาสแทนการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ หรือจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อมีการร้องขอเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนในตราสาร Collateralized Debt Obligation ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ตราสาร Collateralized Debt Obligation (CDO)" หมายความว่า ตราสารที่ออกโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงกระจายตัวอยู่ในอุตสาหกรรมต่างประเภท หรือต่างภูมิภาคกัน และมีข้อตกลงว่าจะจ่ายคืนเงินต้นและผลตอบแทนทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับผู้ทรงตราสารโดยอ้างอิงกับเงื่อนไขหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความสามารถในการชําระหนี้ (Credit Event) ของกลุ่มสินทรัพย์อ้างอิงที่กําหนดไว้ คุณภาพของกลุ่มสินทรัพย์อ้างอิง และลําดับของสิทธิที่กําหนดไว้ในตราสาร สําหรับสินทรัพย์อ้างอิงตามวรรคแรก อาจเป็นบัญชีลูกหนี้หรือตราสารหนี้ (Cash flow CDO) หรือเป็นการทําข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต (Synthetic CDO) เช่น สัญญา Credit Default Swap โดยผู้ออกตราสาร CDO จะนําเงินที่ได้รับจากการออกขายตราสารไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ชั้นดี หรือฝากกับสถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดก็ได้ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย "คณะกรรมการธนาคาร" หมายความว่า คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 5.2 ขอบเขตของธุรกรรมที่ได้รับอนุญาต 5.2.1 ให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนในตราสาร CDO ที่ออกโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทําธุรกรรม CDO ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทั้งในและนอกประเทศ หรือคู่สัญญาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเพิ่มเติมเท่านั้น 5.2.2 ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะลงทุนในตราสาร CDO จะต้องลงทุนเฉพาะในตราสารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ BBB ขึ้นไปหรือเทียบเท่าจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสากลในกรณีที่เป็นตราสารซึ่งออกขายในต่างประเทศ ทั้งนี้ หากภายหลังตราสารดังกล่าวถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงจนต่ํากว่าระดับ BBB ธนาคารพาณิชย์จะสามารถถือตราสารต่อไปได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคารเท่านั้น โดยธนาคารพาณิชย์ต้องเก็บหลักฐานในการอนุมัติดังกล่าวไว้ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบด้วย 5.2.3 ธนาคารพาณิชย์จะลงทุนในตราสาร Synthetic CDO ได้ เฉพาะในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทําธุรกรรม CDO จะนําเงินที่ได้รับจากการออกขายตราสารดังกล่าวไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ชั้นดีหรือฝากกับสถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ระดับ A4 หรือเทียบเท่าขึ้นไป จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสากลในกรณีที่เป็นตราสารซึ่งออกขายในต่างประเทศ หรือพันธบัตรรัฐบาลไทย 5.2.4 ห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์ลงทุนในตราสาร CDO ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี (1) ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (บัญชีมาร์จิ้น) (2) ตราสารที่นับเข้าเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ผู้ลงทุน (3) ตราสาร CDO 5.3 หลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมที่ได้รับอนุญาต 5.3.1 การบริหารความเสี่ยง (1) ในการลงทุนในตราสาร CDO ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณและความซับซ้อนของการทําธุรกรรม โดยจะต้องถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารความสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ อย่างเคร่งครัด และจะต้องให้ความสําคัญในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (1.1) ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) สําหรับตราสาร CDO ทุกประเภท ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารก่อนที่จะทําธุรกรรมประเภทใหม่ทุกครั้ง โดยต้องจัดเก็บไว้เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบหรือนําส่งธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ ตามรายละเอียด ดังนี้ (1.1.1) สําหรับธุรกรรมที่มียอดคงค้างอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และธนาคารพาณิชย์ไม่ประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม (1.1.1.1) หากสัญญาครบกําหนดก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมดังกล่าว (1.1.1.2) หากสัญญาครบกําหนดภายหลังวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 (1.1.2) สําหรับธุรกรรมประเภทเดิมที่ธนาคารพาณิชย์เคยทํามาก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติมโดยยังไม่มีระเบียบผลิตภัณฑ์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และสําหรับธุรกรรมประเภทใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่เคยทํามาก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ให้ครบถ้วนตามเกณฑ์ก่อนที่จะลงทุนในตราสาร CDO นั้น (1.2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่ทําธุรกรรมที่ยังไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือตามวิธีการที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีไทยหรือมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (1.3) ธนาคารพาณิชย์ที่จะลงทุนในตราสาร CDO ตามที่ได้รับอนุญาตในประกาศฉบับนี้ จะต้องมีฐานะการเงินที่มั่นคงและมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอันดับความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการชําระคืนหนี้ ตัวแปรด้านตลาด หรือความเสี่ยงด้านคู่สัญญา จากการลงทุนในตราสาร CDO ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูง ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารจะต้องกําหนดวิธีการที่ใช้ในการพิจารณาฐานะและเงินกองทุน ณ วันที่ต้องการลงทุน เพื่อพิจารณาถึงความเพียงพอของเงินกองทุนก่อนการลงทุน และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวก่อนการลงทุนทุกครั้ง (2) การพิจารณาระบบบริหารความเสี่ยงว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับการลงทุนใน CDO ประเภทต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องประเมินประสิทธิภาพของธนาคารพาณิชย์เอง โดยจะต้องนําผลการจัดระดับความเสี่ยงรวมด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ ที่ได้รับจากการตรวจสอบประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาพิจารณาประกอบด้วย ทั้งนี้ จะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบา และการปฏิบัติตามคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญด้วย 5.3.2 การป้องกันผลกระทบที่อาจมีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน (1) การลงทุนในตราถาร CDO รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหนังสือดังต่อไปนี้ หรือที่แก้ไขหรือกําหนดเพิ่มเติม โดยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจนี้ด้วย (1.1) ประกาศและหนังสือเวียนของเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่เกี่ยวข้อง ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดต่อไป (1.2) มาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (1.2.1) หนังสือที่ นต. (ว) 31/2541 เรื่อง หลักปฏิบัติในการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2541 (1.2.2) หนังสือที่ ธปท.ฝกช. (02)ว. 371/2551 เรื่อง ขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาท ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 (1.3) หนังสืออื่นๆ ที่ ธปท. กําหนดเพิ่มเติม (2) การลงทุนในตราสาร CDO รวมทั้งการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องธนาคารพาณิชย์จะต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอย่างเคร่งครัด 5.3.3. การบันทึกบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล (1) ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดประเภทเงินลงทุน บันทึกบัญชี บันทึกการด้อยค่าและเปิดเผยข้อมูลการลงทุนในตราสาร CDO ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยในเรื่องของการจัดประเภทเงินลงทุนและบันทึกบัญชีสําหรับตราสาร CDO สามารถสรุปได้ตามเอกสารแนบ 2 (2) ในการพิจารณาจัดประเภทเงินลงทุนและบันทึกบัญชีสําหรับตราสาร CDO ตาม 5.3.3 (1) นั้น ธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาทั้งรูปแบบและเนื้อหาในสัญญาร่วมกับความตั้งใจและความสามารถในการลงทุน รวมทั้งพิจารณาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างอนุพันธ์แฝงและตราสารหลักประกอบด้วย ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทํากระบวนการที่ใช้ในการพิจารณาจัดประเภทและบันทึกบัญชี ตลอดจนจัดเก็บหลักฐาน เอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการพิจารณาดังกล่าวไว้เพื่อให้ผู้สอบบัญชีและธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการตรวจสอบ หรือนําส่งเมื่อมีการร้องขอด้วย 5.3.4 การจัดเก็บข้อมูลและการรายงาน (1) ธนาคารพาณิชย์ที่ลงทุนในตราสาร CDO จะต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการลงทุนดังกล่าวไว้ที่ธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบหรือจัดส่งสําเนาให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ ซึ่งรวมถึงข้อมูลตาม (2) และรายละเอียดอื่นๆ ที่สําคัญด้วย ได้แก่ ลักษณะและโครงสร้างของธุรกรรม รวมทั้งลักษณะพิเศษ(ถ้ามี) สินทรัพย์อ้างอิงทั้งหมดในกลุ่ม จัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความน่าเชื่อถือของตราสารอย่างน้อยเป็นรายไตรมาส และเอกสารสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ลงทุนในตราสาร CDO ต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรม โดยมีรายละเอียดของข้อมูลที่สําคัญ ได้แก่ เลขที่อ้างอิง วันที่ทําธุรกรรม วันครบกําหนดของตราสาร วัตถุประสงค์ ประเภทของธุรกรรม ฐานะการทําธุรกรรมคู่สัญญา ประเภทของสินทรัพย์อ้างอิง สกุลเงินของสินทรัพย์อ้างอิง สกุลเงินของตราสาร ระดับความน่าเชื่อถือของตราสาร จํานวนเงิน มูลค่ายุติธรรมของธุรกรรม และผลกําไรบาดทุน ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ตามแบบรายงานการทําธุรกรรม Credit Derivatives ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivativesและจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกไตรมาสภายในวันสิ้นเดือนนับจากวันสิ้นไตรมาส ผ่านทางระบบบริหารข้อมูลผ่านทางช่องทาง DMS DA (Extranet) 5.3.5 การกํากับดูแล (1) เพื่อความระมัดระวังในการพิจารณาฐานะ และความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับการอนุญาตธุรกรรมตามประกาศฉบับนี้ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติดังนี้ (1.1) ให้ประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรมดังต่อไปนี้อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันสิ้นเดือน ไม่ว่าธุรกรรมดังกล่าวจะจัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าหรือบัญชีเพื่อการธนาคารก็ตาม (1.1.1) อนุพันธ์แฝง หรือธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงทั้งจํานวนในกรณีที่ไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมส่วนที่เป็นอนุพันธ์แฝงได้อย่างน่าเชื่อถือ (1.1.2) ธุรกรรม Synthetic Collateralized Debt Obligations,Credit Linked Notes, first to default Credit Linked Notes, Proportionate Credit Linked Notes (1.1.3) ธุรกรรมอื่นในบัญชีเพื่อการค้าทั้งหมด (1.1.4) ธุรกรรมที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging Instruments) สําหรับธุรกรรมตามกล่าวข้างต้น (ถ้ามี) ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่ามีผลขาดทุนสุทธิให้นําผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ ถ้ามีผลทําให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด ธนาคารพาณิชย์จะต้องดําเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติที่ได้กําหนดไว้ ซึ่งจะต้องกําหนดไว้อย่างละเอียดชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร โดยรวมถึงการกําหนดเกี่ยวกับการรายงานบุคคลที่เกี่ยวข้องตามระดับความรุนแรงและระยะเวลาในการดําเนินการในแต่ละขั้นตอนด้วย สําหรับปัญหาที่รุนแรงจะต้องรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาสั่งการและเร่งดําเนินการแก้ไข รวมทั้งจะต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาด้วย (1.2) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์จะลงทุนใน CDO เพิ่มเติมธนาคารพาณิชย์จะต้องประเมินมูลค่ายุติธรรม ณ สิ้นวันก่อน ของธุรกรรมตามข้อ 5.3.5 (1.1.1) ถึงข้อ 5.3.5 (1.14) ถ้ามีผลขาดทุนสุทธิให้นํามาหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ เงินกองทุนที่คํานวณได้จะต้องไม่ต่ํากว่าอัตราตามที่กฎหมายกําหนดและมีเพียงพอที่จะรองรับ CDO ที่ต้องการจะลงทุนเพิ่ม มิฉะนั้น ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวไม่ได้ (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ลงทุนในตราสาร CDO จะต้องดูแลให้สัญญามีผลบังคับตามกฎหมาย และ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลธุรกรรมนี้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3.6 ข้อกําหนดอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีความจําเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงกรอบหรือหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมหรือการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์สําหรับการลงทุนในตราสาร CDO ในอนาคตตามความเหมาะสม รวมทั้งสงวนสิทธิในการระงับการลงทุน จํากัด ปริมาณธุรกรรม การกําหนดให้สํารองเพิ่มเดิม หรือมาตรการอื่นใด ในกรณีที่พบว่าธนาคารพาณิชย์ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด หรือตรวจสอบพบการถือปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ใดที่ไม่รัดกุมหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,696
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9/2551 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ในการนำประกาศคำสั่งควบคุม คำสั่งเลิกควบคุม และคำสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ลงในสื่อใด ๆ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9/2551 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ในการนําประกาศคําสั่งควบคุม คําสั่งเลิกควบคุม และคําสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ลงในสื่อใด ๆ --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการนําคําสั่งควบคุม หรือคําสั่งเลิกควบคุม หรือคําสั่งปิดกิจการสถาบันการเงิน ไปประกาศในสื่อใดๆ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคําสั่งดังกล่าว อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 101 มาตรา 110 และมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 อื่นๆ - 3. เนื้อหา เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยมีคําสั่งควบคุม หรือคําสั่งเลิกควบคุม หรือคําสั่งปิดกิจการสถาบันการเงิน ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนําคําสั่งดังกล่าวลงประกาศใน Website ของธนาคารแห่งประเทศไทย และลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน อื่นๆ - 4. วันเริ่มบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,697
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรม Credit Derivatives
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives ----------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เดิมธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง โดยการถ่ายโอนความเสี่ยงด้านเครดิตไปยังผู้ที่มีความพร้อมในการรับความเสี่ยงดังกล่าว ทําให้การบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประสิทธิภาพของตลาด Credit Derivatives จําเป็นจะต้องประกอบด้วยผู้เล่นที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดการซื้อขายกันอย่างคล่องตัว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นความสําคัญของการเปิดให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีความรู้ความเข้าใจและความพร้อมที่จะรองรับการบริหารความเสี่ยง ทําธุรกรรม Credit Derivatives เพื่อการค้า จึงได้กําหนดขอบเขตการทําธุรกรรมใหม่ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์การกํากับดูแลไว้ในประกาศฉบับนี้ ซึ่งเป็นการรวมการอนุญาตธุรกรรม Credit Derivatives ทุกประเภทไว้ในฉบับเดียวกัน นอกจากนั้น ยังได้กําหนดคุณสมบัติของการประกันความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ และหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนและการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ สําหรับธุรกรรมที่เข้าข่ายการประกันความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและที่ไม่เข้าข่ายอย่างชัดเจน สําหรับธุรกรรมที่ผู้ขายประกันความเสี่ยงชําระเงินทั้งจํานวน เพื่อวางเป็นประกันในการรับประกันความเสี่ยงของตนเอง (Funded Credit Derivatives) เนื่องจากผู้ขายประกันความเสี่ยงมีโอกาสได้รับคืนเงินต้นไม่เต็มจํานวน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ทําธุรกรรมได้เฉพาะในรูปของการกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ทําธุรกรรมในรูปแบบของเงินฝาก เพื่อป้องกันผู้ลงทุนไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ใดที่ได้ทําธุรกิจดังกล่าวไปแล้วก่อนหน้าที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้คงธุรกรรมดังกล่าวต่อไปได้จนครบกําหนด แต่ไม่อนุญาตให้มีการต่ออายุสัญญา อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 32 มาตรา 36 มาตรา 50 มาตรา 52 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives ตามกรอบและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ คําจํากัดความให้เป็นไปตามเอกสารแนบ 2 5.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives ได้ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ และการทําธุรกรรมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักการดังนี้ 5.2.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรม Credit Derivatives ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีฐานะการเงินมั่นคงรวมทั้งมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมดังกล่าว 5.2.2 ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่เสนอธุรกรรมดังกล่าวในลักษณะที่อาจทําให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน เช่น การเสนอธุรกรรมให้กับลูกค้าในลักษณะที่เป็นตัวกลางในการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ หรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยน โดยไม่เป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งอาจส่งผลเสียหายแก่เสถียรภาพระบบการเงินและระบบสถาบันการเงินในประเทศได้ 5.2.3 ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําเอกสารหลักฐานประกอบการทําธุรกรรมเพียงพอแก่การตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย และจัดเก็บไว้ที่สถานที่ทําการของธนาคารพาณิชย์ หรือจัดส่งให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ พร้อมทั้งต้องรายงานข้อมูลการทําธุรกรรมตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย 5.2.4 ธนาคารพาณิชย์ต้องชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน พร้อมทั้งมีหลักฐานแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า 5.2.5 ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3 ขอบเขตของธุรกรรม Credit Derivatives ที่ได้รับอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivativesโดยมีขอบเขตของธุรกรรม ดังนี้ 5.3.1 ประเภทของธุรกรรมที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ (1) Credit Default Swaps (CDS) (2) Credit Linked Notes (CLN) (3) Total Rate of Return Swaps (TRORS) (4) Credit Derivatives ที่อ้างอิงกลุ่มของสินทรัพย์ อันได้แก่ (4.1) First to Default Swaps (FTDS) (4.2) First to Default Credit Linked Notes (FTDN) (4.3) Proportionate Credit Default Swaps (Proportionate CDS) (4.4) Proportionate Credit Linked Notes (Proportionate CLN) 5.3.2 คู่สัญญา (1) ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมในฐานะผู้ซื้อประกันความเสี่ยงได้เฉพาะกับผู้ลงทุนสถาบันตามเอกสารแนบ 3 หรือคู่สัญญาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงการทําธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (2) ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมในฐานะผู้ขายประกันความเสี่ยงด้านเครดิตได้ทั้งกับผู้ลงทุนสถาบันตามเอกสารแนบ 3 และผู้ลงทุนทั่วไป หากคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน หรือเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ คู่สัญญาดังกล่าวจะต้องมีภาระความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์อ้างอิงนั้น โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับภาระอ้างอิงดังกล่าว รวมทั้งจัดเก็บเอกสารหลักฐานไว้ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือนําส่งธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.3.3 สินทรัพย์อ้างอิง (1) ในการทําธุรกรรม ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ใช้สินทรัพย์ดังต่อไปนี้ เป็นสินทรัพย์อ้างอิงในการทําธุรกรรมดังกล่าว (1.1) เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (บัญชีมาร์จิน) (1.2) ตราสารที่นับเข้าเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากอาจเข้าข่ายเป็นการลดทุนของสถาบันการเงินผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาความเพียงพอของเงินกองทุนก่อนที่จะอนุญาตให้ทําธุรกรรมได้ (1.3) เงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์การเสนอขายตามข้อกําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง (1.4) สินทรัพย์หรือภาระผูกพันอื่นๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ทําธุรกรรม Credit Derivatives ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นธุรกรรมอนุพันธ์ เว้นแต่ (2.1) ธุรกรรม Credit Default Swaps หรือ Credit Linked Notes เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกิดจากฐานะในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยธุรกรรม Credit Derivatives ที่ทําจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอื่นเพิ่มเติมยกเว้นความเสี่ยงที่เกิดจากคู่สัญญาของธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงที่กล่าว (2.2) เป็นการให้บริการป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกิดจากฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์เท่านั้น ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนในเรื่องการกํากับดูแลเรื่องการดํารงเงินกองทุน การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ และการกํากับดูแลในเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการทําธุรกรรมดังกล่าวเป็นการทําเพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เอง หรือเพื่อให้บริการป้องกันความเสี่ยงให้แก่ลูกค้า เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 5.3.4 การโอนเปลี่ยนมือ หากการทําธุรกรรมมีการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องระบุเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือ ยกเว้นในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกสามารถควบคุมดูแลการโอนเปลี่ยนมือให้อยู่ภายในขอบเขตของกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.4 หลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมที่ได้รับอนุญาต 5.4.1 การบริหารความเสี่ยง (1) ในการทําธุรกรรม Credit Derivatives ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของการทําธุรกรรม โดยจะต้องถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ อย่างเคร่งครัด และจะต้องให้ความสําคัญในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (1.1) ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program)สําหรับธุรกรรม Credit Derivatives ทุกประเภท ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารก่อนที่จะทําธุรกรรมประเภทใหม่ทุกครั้ง โดยต้องจัดเก็บไว้เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือนําส่งธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ ตามรายละเอียดดังนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ซึ่งในการกําหนดดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติด้วยก็ได้ (1.1.1) สําหรับธุรกรรมที่มียอดคงค้างอยู่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และธนาคารพาณิชย์ไม่ประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม (1.1.1.1) หากสัญญาครบกําหนดก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 552 ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมดังกล่าว (1.1.1.2) หากสัญญาครบกําหนดภายหลังวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 (1.1.2) สําหรับธุรกรรม Credit Derivatives ประเภทเดิมที่ธนาคารพาณิชย์เคยทํามาก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม โดยยังไม่มีระเบียบผลิตภัณฑ์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันการจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมที่กล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 (1.1.3) สําหรับธุรกรรม Credit Derivatives ประเภทใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่เคยทํามาก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ให้ครบถ้วนตามเกณฑ์ก่อนที่จะทําธุรกรรมนั้น ๆ (1.2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่ทําธุรกรรมที่ยังไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือตามวิธีการที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีไทยหรือมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (1.3) ธนาคารพาณิชย์ที่จะทําธุรกรรมตามที่ได้รับอนุญาตในประกาศฉบับนี้จะต้องมีฐานะการเงินที่มั่นคงและมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอันดับความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการชําระหนี้ ตัวแปรด้านตลาดหรือปัจจัยต่างๆ หรือความเสี่ยงด้านคู่สัญญาที่เกิดจากการทําธุรกรรม ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูง ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารจะต้องกําหนดวิธีการที่ใช้ในการพิจารณาฐานะและเงินกองทุน ณ วันที่ต้องการทําธุรกรรม เพื่อพิจารณาถึงความเพียงพอของเงินกองทุนก่อนที่จะเข้าทําธุรกรรม และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวก่อนเข้าทําธุรกรรมทุกครั้ง (2) คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ต้องพิจารณาความมีประสิทธิภาพของระบบบริหารความเสี่ยงที่รองรับการทําธุรกรรมประเภทต่าง ๆ โดยจะต้องนําผลการจัดระดับความเสี่ยงรวมด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ ที่ได้รับจากการตรวจสอบประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาพิจารณาประกอบ ทั้งนี้ จะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญด้วย 5.4.2 การป้องกันผลกระทบที่อาจมีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน (1) ในการทําธุรกรรม Credit Derivative ที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 5.3 รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหนังสือดังต่อไปนี้ หรือที่แก้ไขหรือกําหนดเพิ่มเติม โดยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจนี้ด้วย (1.1) ประกาศและหนังสือเวียนของเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดต่อไป (1.2) มาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (1.2.1) หนังสือที่ นต.(ว)31 / 2541 เรื่อง หลักปฏิบัติในการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2541 (1.2.2) หนังสือที่ ธปท.ฝกช. (02)ว.371 / 2551 เรื่อง ขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาท ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 (1.3) หนังสืออื่นๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเพิ่มเติม (2) ในการทําธุรกรรม Credit Derivative ที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 5.3 รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอย่างเคร่งครัด 5.4.3 การดูแลลูกค้า (1) ธนาคารพาณิชย์จะต้องวิเคราะห์ลูกค้าพร้อมทั้งมีหลักฐานแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้ทําตามขั้นตอนการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าก่อนทําธุรกรรม (Client Suitability Analysis) (2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะธุรกรรม ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เงื่อนไขและวิธีการคํานวณ และการจ่ายชําระคืนเงินต้นและผลตอบแทน รวมทั้งเงื่อนไขหรือวิธีการคิดค่าปรับในกรณีที่ลูกค้าต้องการเรียกคืนเงินให้กู้ยืมก่อนครบกําหนดสัญญา อย่างชัดเจนก่อนตกลงทําสัญญา รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้าให้เพียงพอแก่การตัดสินใจของลูกค้า (3) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการรับคําร้องเรียนจากลูกค้า และรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารหรือผู้บริหารระดับสูงเพื่อพิจารณากําหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันการเกิดปัญหาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย มาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ 5.4.4 การบันทึกบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล (1) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรม Credit Derivatives จะต้องจัดประเภท บันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยในเรื่องของการจัดประเภทและบันทึกบัญชีสําหรับธุรกรรม Credit Derivatives ที่มีเงินวางเป็นหลักประกันสําหรับการรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตผ่านการกู้ยืมหรือออกตราสารสามารถสรุปได้ตามเอกสารแนบ 4 (2) ในการพิจารณาจัดประเภทและบันทึกบัญชีสําหรับธุรกรรม Credit Derivatives ที่มีเงินวางเป็นหลักประกันสําหรับการรับประกันความเสี่ยงด้านเครคิตผ่านการกู้ยืมหรือออกตราสารนั้น ธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาทั้งรูปแบบและเนื้อหาในสัญญาร่วมกับความตั้งใจและความสามารถในการลงทุน รวมทั้งพิจารณาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างอนุพันธ์แฝงและตราสารหลักประกอบด้วย ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทํากระบวนการที่ใช้ในการพิจารณาจัดประเภทและบันทึกบัญชี ตลอดจนจัดเก็บหลักฐาน เอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการพิจารณาดังกล่าวไว้ เพื่อให้ผู้สอบบัญชีและธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการตรวจสอบ หรือนําส่งเมื่อมีการร้องขอด้วย 5.4.5 การจัดเก็บข้อมูลและการรายงาน (1) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรม Credit Derivatives จะต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการทําธุรกรรมดังกล่าวไว้ที่ธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบหรือจัดส่งสําเนาให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรม Credit Derivatives จะต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรม ได้แก่ เลขที่อ้างอิง วันที่ทําธุรกรรม วันครบกําหนด วัตถุประสงค์ ประเภทธุรกรรม ฐานะการทําธุรกรรม คู่สัญญา สินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงในกรณีของผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง สินทรัพย์อ้างอิง สกุลเงินของสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงในกรณีของผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง หรือสกุลเงินของสินทรัพย์อ้างอิง สกุลเงินและจํานวนเงินของธุรกรรม มูลค่ายุติธรรมของธุรกรรม และผลกําไรขาดทุน ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ ตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (เอกสารแนบ 5) และจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกไตรมาส ภายในวันสิ้นเดือนนับจากวันสิ้นไตรมาส ผ่านทางระบบบริหารข้อมูลผ่านทางช่องทาง DMS DA (Extranet) 5.4.6 การกํากับดูแล (1) เพื่อความระมัคระวังในการพิจารณาฐานะ และความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการอนุญาตธุรกรรมตามประกาศฉบับนี้ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติดังนี้ (1.1) ให้ประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรมดังต่อไปนี้อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันสิ้นเดือน ไม่ว่าธุรกรรมดังกล่าวจะจัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าหรือบัญชีเพื่อการธนาคารก็ตาม (1.1.1) อนุพันธ์แฝง หรือธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงทั้งจํานวนในกรณีที่ไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมส่วนที่เป็นอนุพันธ์แฝงได้อย่างน่าเชื่อถือ (1.1.2) ธุรกรรม Synthetic Collateralized Debt Obligations, redit Linked Notes, first to default Credit Linked Notes, Proportionate Credit Linked Notes (1.1.3) ธุรกรรมอื่นในบัญชีเพื่อการค้าทั้งหมด (1.1.4) ธุรกรรมที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging Instruments) สําหรับธุรกรรมตามกล่าวข้างต้น (ถ้ามี) ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่ามีผลขาดทุนสุทธิให้นําผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ ถ้ามีผลทําให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด ธนาคารพาณิชย์จะต้องดําเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติที่ได้กําหนดไว้ ซึ่งต้องกําหนดไว้อย่างละเอียด ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร โดยรวมถึงการกําหนดเกี่ยวกับการรายงานบุคคลที่เกี่ยวข้องตามระดับความรุนแรงและระยะเวลาในการดําเนินการในแต่ละขั้นตอนด้วย สําหรับปัญหาที่รุนแรงจะต้องรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาสั่งการและเร่งดําเนินการแก้ไข รวมทั้งจะต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาด้วย (1.2) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรม Credit Derivatives เพิ่มเติมธนาคารพาณิชย์จะต้องประเมินมูลค่ายุติธรรมตาม ณ สิ้นวันก่อน ของธุรกรรมตาม 5.4.6(1.1.) ถึงข้อ 5.46 (1.14) ถ้ามีผลขาดทุนสุทธิให้นํามาหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ เงินกองทุนที่คํานวณได้จะต้องไม่ต่ํากว่าอัตราตามที่กฎหมายกําหนดและมีเพียงพอที่จะรองรับธุรกรรม Credit Derivatives ที่ต้องการจะทําเพิ่ม มิฉะนั้น ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวไม่ได้ (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรม Credit Derivative ตามข้อ 5.3 ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง นอกจากต้องปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้แล้ว ยังต้องปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มือนุพันธ์แฝง โดยถือเสมือนธนาคารพาณิชย์ผู้ซื้อประกันความเสี่ยงและธนาคารพาณิชย์ผู้ขายประกันความเสี่ยงเป็นผู้รับฝาก/กู้ยืม/ออกตราสารและผู้ฝาก/ผู้ให้ผู้ยืม/ผู้ลงทุนในธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าว (3) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรม Credit Derivative ตามข้อ 5.3 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด สําหรับการกํากับดูแลเรื่องการดํารงเงินกองทุนของธุรกรรม Credit Derivatives ในบัญชีเพื่อการธนาคาร ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเอกสารแนบ 6 ส่วนการดํารงเงินกองทุนของธุรกรรม Credit Derivatives ในบัญชีเพื่อการค้าธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเอกสารแนบ 7 และสําหรับการกํากับดูแลเรื่องการนับลูกหนี้รายใหญ่สําหรับธุรกรรม Credit Derivatives ธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติตามเอกสารแนบ 8 5.4.7 ข้อกําหนดอื่น (1) ในการทําธุรกรรม Credit Derivatives ธนาคารพาณิชย์ต้องดูแลให้สัญญามีผลบังคับตามกฎหมาย ไม่ขัดกับกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการทบทวนเป็นระยะตามความเหมาะสม (2) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีความจําเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงกรอบหรือหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมหรือการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ในการทําธุรกรรม Credit derivatives ในอนาคตตามความเหมาะสม รวมทั้งสงวนสิทธิในการระงับการทําธุรกรรม จํากัดปริมาณธุรกรรม กําหนดให้สํารองเพิ่มเติม หรือมาตรการอื่นใด ในกรณีที่พบว่าธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ใดไม่สอดคล้องตามหลักการในข้อ 5.2 หรือธนาคารพาณิชย์ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดหรือพบการถือปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ใดที่ไม่รัดกุมหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ (3) การทําธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่สาขานั้นตั้งอยู่ และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 5.2 ข้อ 5.3.3 ข้อ 5.4.1 และข้อ 5.4.3-5.4.7 ของประกาศฉบับนี้ด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการทําธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศกับคู่สัญญาที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศซึ่งต้องปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ด้วย อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล สําหรับธุรกรรม Credit Derivatives ที่ธนาคารพาณิชย์ได้ทําไปแล้วตามที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับเดิม ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หากธุรกรรมดังกล่าวไม่อยู่ในกรอบการทําธุรกรรมที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มอีกไม่ได้ส่วนธุรกรรมที่ทําไปแล้วอนุญาตให้คงธุรกรรมดังกล่าวไว้ได้จนครบกําหนดอายุตามสัญญา โดยไม่อนุญาตให้มีการต่ออายุสัญญา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,698
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 11/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทำธุรกรรม Credit Default Swaps และ Credit Linked Notes
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 11/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทําธุรกรรม Credit Default Swaps และ Credit Linked Notes -------------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทําธุรกรรม Credit Default Swaps (CDS) และ Credit L inked Notes (CLN) ได้ตั้งแต่ปี 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตลาดทางการเงินอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มทางเลือกในการบริหารความเสี่ยงและการลงทุนให้แก่บริษัทเงินทุน โดยบริษัทเงินทุนจะต้องมีความรู้ความสามารถ และมีระบบบริหารความเสี่ยงที่สามารถรองรับการทําธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโดยที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เห็นควรออกประกาศฉบับนี้เพื่ออนุญาตและกําหนดกรอบในการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทําธุรกรรม CDS และ CLN รวมเป็นฉบับเดียวกัน และสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว โดยมีการเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญจากหลักเกณฑ์เดิมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงของธุรกรรม ซึ่งจะเน้นหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงในการดูแลให้บริษัทเงินทุนมีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะความซับซ้อนและปริมาณธุรกรรมที่ทํา และมีการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ โดยเคร่งครัด อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 36 มาตรา 50 มาตรา 52 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทําธุรกรรม Credit Default Swaps และ Credit Linked Notes ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเถิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ธุรกรรม Credit Default Swaps (CDS)" หมายความว่า การซื้อขายข้อตกลงที่จะรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการชําระหนี้ของสินทรัพย์อ้างอิงหรือสินทรัพย์อื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิงตามที่กําหนดไว้ในสัญญา (Obligation Category and Obligation Characteristics) โดยผู้ซื้อตกลงจะจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ขายและผู้ขายตกลงจะจ่ายเงินตามจํานวนที่ตกลงไว้ (Credit Event Payment) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการชําระหนี้ (Credit Event) ขึ้น ซึ่งจะมีผลให้ข้อตกลงครบกําหนดทันที โดยการชําระราคาอาจทําได้ 2 วิธี ได้แก่ (1) Physical Settlement หรือ (2) Cash Settlement อย่างไรก็ดี หากไม่เกิด Credit Event ข้อตกลงจะสิ้นสุดในวันครบกําหนดตามปกติ "ธุรกรรม Credit L inked Notes (CLN)" หมายความว่า ธุรกรรมที่ประกอบด้วยธุรกรรม 2 ธุรกรรม คือ (ก) ธุรกรรม CDS และ (ข) ธุรกรรมการกู้ยืมเงินหรือซื้อขายตราสาร ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงตามธุรกรรม CDS นําเงินมาวางเป็นประกันแก่ผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง ผ่านการทําธุรกรรมการให้กู้ยืมหรือซื้อตราสารตั้งแต่วันเริ่มต้นของข้อตกลง (2) ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงตามธุรกรรม CDS จะได้รับดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากเงินให้กู้หรือเงินลงทุนในตราสารเป็นอัตราอ้างอิงกับความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์อ้างอิงที่ตนเข้ารับประกัน (3) เมื่อเกิด Credit Event ขึ้น จะมีผลให้ข้อตกลงครบกําหนดทันที และผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงตามธุรกรรม CDS ต้องส่งมอบสินทรัพย์ที่ได้ระบุในสัญญาว่าจะใช้ในการส่งมอบได้ (Deliverable Obligation) ให้แก่ผู้ขาย (Physical Settlement) หรือจ่ายชําระเป็นเงินสดมูลค่าเทียบเท่ามูลค่าที่อาจเรียกคืนได้ของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นให้แก่ผู้ขายก็ไค้ (Cash Settlement) โดยการชําระราคาดังกล่าวถือเป็นการชําระคืนเงินกู้หรือเงินตามตราสารตามสัญญา CLN แล้วแต่กรณี (4) หากไม่เกิด Credit Event ในระหว่างอายุสัญญา ข้อตกลงจะสิ้นสุดในวันครบกําหนดตามปกติ และผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงในฐานะผู้กู้ยืมหรือผู้ออกตราสารจะต้องชําระคืนเงินต้นพร้อมผลตอบแทนเต็มจํานวนให้แก่ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง "Credit Event Payment" หมายความว่า จํานวนเงินที่ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง (Protection Seller) ต้องจ่ายชําระให้กับผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง (Protection Buyer) เมื่อเกิด Credit Event ตามที่ระบุในสัญญา โดยปกติการจ่ายชําระเงินเมื่อเกิด Credit Event จะทําได้ 2 วิธี คือ (1) Physical Settlement หมายความว่า ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง (Protection Seller) จ่ายเงินจํานวนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของสินทรัพย์อ้างอิง เพื่อแลกกับการรับมอบสินทรัพย์ที่ได้ระบุในสัญญาว่าจะใช้ในการส่งมอบได้ (Deliverable Obligation) เมื่อเกิด Credit Event จากผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง (Protection Buyer) (2) Cash Settlement หมายความว่า ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง (Protection Seller) จะจ่ายเงินสดให้แก่ผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง (Protection Buyer) ในจํานวนคงที่ตามที่ระบุไว้ในสัญญา (Binary payout) หรือจํานวนที่สูงกว่าระหว่าง (2.1) ส่วนต่างระหว่างมูลค่าที่ตราไว้ของสินทรัพย์อ้างอิงกับมูลค่าที่อาจเรียกคืนได้ (Recovery Value) ของสินทรัพย์อ้างอิงหลังจากเกิด Credit Event แล้ว หรือ (2.2) การไม่ต้องง่ายเงิน ในกรณีที่ส่วนต่างตาม (2.1) ติดลบ ซึ่งตามปกติจะมีการระบุ Calculation Agent ไว้ในสัญญา "Credit Event" หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการชําระหนี้ที่ระบุในสัญญา Credit Derivatives ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นผลให้ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงต้องชําระเงินในจํานวนที่ตกลงกัน (Credit Event Payment) ให้แก่ผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง เช่น การล้มละลาย การผิดนัดชําระเงินนหรือดอกเบี้ย การ ไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพัน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิง (Reference Entity) เป็นต้น "Deliverable Obligation" หมายความว่า สินทรัพย์อ้างอิงหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ออกโดยผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งได้ระบุในสัญญา Credit Derivatives ว่าสามารถใช้ในการส่งมอบได้เมื่อเกิด Credit Event (เฉพาะในกรณีที่มีการชําระราคาแบบ Physical Settlement) "ผู้ลงทุนสถาบัน" หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามที่มีรายชื่อในเอกสารแนบ 2 5.2 ขอบเขตธุรกรรมที่ได้รับอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทําธุรกรรม Credit Default Swaps และ Credit Linked Notes โดยมีขอบเขตของธุรกรรม ดังนี้ 5.2.1 ให้บริษัทเงินทุนทําธุรกรรม CDS หรือ CLN ได้ทั้งในฐานะผู้ซื้อและผู้ขายประกันความเสี่ยงด้านเครดิต 5.2.2 บริษัทเงินทุนที่ประสงค์จะทําธุรกรรม CDS หรือ CLN ในฐานะผู้ซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์อ้างอิงใดจะต้องมีภาระความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์นั้นตลอดอายุของ CDS หรือ CLN โดยอายุของสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าอายุของ CDS หรือ CLN 5.2.3 ข้อกําหนดเกี่ยวกับคู่สัญญา (1) บริษัทเงินทุนทําธุรกรรมในฐานะผู้ซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตได้เฉพาะกับผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงการทําธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งไม่สามารถทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรับโอนความเสี่ยงด้านเครดิตได้ (2) บริษัทเงินทุนทําธุรกรรมในฐานะผู้ขายประกันความเสี่ยงด้านเครดิตได้เฉพาะกับลูกค้าที่มีภาระความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นเท่านั้น 5.2.4 ในการทําธุรกรรม บริษัทเงินทุนต้องไม่ทําธุรกรรม CDS หรือ CLN ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารที่นับเข้าเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินผู้ขายประกันความเสี่ยงเองและการทําธุรกรรม CDS หรือ CLN ที่อ้างอิงกับกลุ่มสินทรัพย์อ้างอิง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ 5.3.1 การบริหารความเสี่ยง บริษัทเงินทุนต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของการทําธุรกรรม ดังนี้ (1) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร (1.1) คณะกรรมการบริษัทจะต้องเข้าใจลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง กําหนดและอนุมัตินโยบายซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ในการทําธุรกรรม การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายในและการตรวจสอบ อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งอนุมัติระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) สําหรับธุรกรรมประเภทใหม่ก่อนที่บริษัทเงินทุนจะเริ่มทําธุรกรรมนั้นๆ ทั้งนี้ ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ข้างต้นรวมทั้งระเบียบผลิตภัณฑ์ คณะกรรมการบริษัทจะต้องให้ความเห็นชอบก่อนทุกครั้ง (1.2) คณะกรรมการบริษัทจะต้องนําผลการจัดระดับความเสี่ยงรวมด้านตลาดและด้านปฏิบัติการที่ได้รับจากการตรวจสอบประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาพิจารณาประกอบในการอนุญาตขอบเขตและลักษณะของธุรกรรม รวมทั้งการพิจารณาความมีประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับการทําธุรกรรม ทั้งนี้ จะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญด้วย (1.3) คณะกรรมการบริษัทจะต้องกําหนดให้มีคณะกรรมการย่อย เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ดูแลการทําธุรกรรม CDS และ CLN ซึ่งคณะกรรมการย่อยหรือผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมดังกล่าวและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี และจะต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลการทําธุรกรรมดังกล่าวตามนโยบายซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วอย่างใกล้ชิด และให้ความสําคัญในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมดังกล่าวด้วย (1.4) ตามหลักการของการอนุญาตธุรกรรม บริษัทเงินทุนที่ทําธุรกรรมจะต้องมีฐานะการเงินและเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอันดับความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการชําระหนี้ ตัวแปรด้านตลาดรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ และความเสี่ยงด้านคู่สัญญาจากธุรกรรม ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูง ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทต้องกําหนดวิธีการในการพิจารณาฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุนก่อนเข้าทําธุรกรรม และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวก่อนเข้าทําธุรกรรมด้วย (2) นโยบายและกลยุทธ์ในการทําธุรกรรม บริษัทเงินทุนต้องกําหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการทําธุรกรรม CDS หรือ CLN ให้ครอบคลุมขอบเขต ลักษณะ และปริมาณหรือเพดานสูงสุดของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ บริษัท โดยอาจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น ประเภทธุรกรรมประเภทสินทรัพย์อ้างอิงที่ได้รับอนุญาต สกุลเงิน ระยะเวลา ประเภทของคู่สัญญา จํานวนเงินขั้นสูงหรือขั้นต่ํา โดยในการพิจารณานั้น คณะกรรมการบริษัทจะต้องพิจารณาฐานะการเงิน และเงินกองทุนรวมทั้งความพร้อมของระบบและบุคลากรในการรองรับการทําธุรกรรม และการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย (3) การจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) สําหรับธุรกรรมบริษัทเงินทุนต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) สําหรับธุรกรรม CDS หรือ CLN โดยระเบียบผลิตภัณฑ์ที่กล่าวจะต้องลงนามให้ความเห็น โดยหัวหน้าฝ่ายงานหรือสายงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการบริษัทก่อนเริ่มทําธุรกรรมนั้นๆ ซึ่งรายละเอียดที่ต้องกําหนด ได้แก่ (3.1) ลักษณะและโครงสร้างของธุรกรรม (3.2) ความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (3.3) ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า (3.4) รายละเอียดขั้นตอนในการทําธุรกรรม (3.5) วิธีการกําหนดราคาและการประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรม (3.6) อํานาจในการอนุมัติของผู้บริหารแต่ละระดับ (3.7) วิธีการบันทึกบัญชีของรายการดังกล่าว ระบบ/วิธีการทางภาษีอากร (3.8) วิธีการหรือแนวทางในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง (3.9) การจัดทํารายงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขั้นตอนการรายงานและการปฏิบัติกรณีเกิดความเสียหายเกินกว่าเพดานที่กําหนดด้วย (3.10) ประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าว (3.11) ข้อมูลอื่น ๆ ที่จําเป็น (4) นโยบายและกายุทธ์การบริหารความเสี่ยง จะต้องครอบคลุมเรื่องต่อไปนี้ (4.1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยง (วัด ติดตาม บริหาร และควบคุม) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งในด้านการจัดโครงสร้างองค์กรและในทางปฏิบัติ (4.2) การระบุประเภทความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรม CDS หรือ CLN ให้ครบถ้วนทุกประเภท และกําหนดประเภทของความเสี่ยงที่บริษัทเงินทุนอาจมี โดยพิจารณาความพร้อมในการบริหารและรองรับความเสี่ยงดังกล่าว การกําหนดนโยบายให้มีการปิดความเสี่ยงในธุรกรรมที่ไม่มีระบบบริหารความเสี่ยงรองรับหรือที่บริษัทเงินทุนไม่สามารถบริหารความเสี่ยงนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในการพิจารณาความเสี่ยงในการทําธุรกรรมบริษัทเงินทุนจะต้องพิจารณาข้อมูลและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดจากประเภท โครงสร้างธุรกรรมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ สินทรัพย์อ้างอิงแต่ละตัว คู่สัญญา รวมทั้งการประเมินค่าสหสัมพันธ์ต่างๆ (Correlation) ซึ่งรวมถึงค่าสหสัมพันธ์ของสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงกับคู่สัญญาซึ่งอาจมีผลให้การป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงคงเหลือที่เกิดจากความไม่สอดคล้องกันของการป้องกันความเสี่ยง (ถ้ามี) และการเข้าถึงเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงด้วย (4.3) การกําหนดให้มีระบบงานรองรับการบริหารความเสี่ยงทุกประเภทของบริษัทเงินทุนอย่างครบถ้วน มีประสิทธิภาพและเหมาะสม สามารถสะท้อนและรองรับการวัด บริหาร ติดตาม และควบคุม ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมทั้งหมดได้อย่างถูกต้อง แม่นยํา รวมทั้งติดตามดูแลให้มีการนําระบบงานดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนจะต้องทดสอบประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และแม่นยําของระบบบริหารความเสี่ยงภายในระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นประจําสม่ําเสมอ (4.4) การกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรม (Mark to Market) ที่เหมาะสม ชัดเจน และสะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริง และมีการประเมินมูลค่ายุติธรรมของยอดคงค้าง ณ ทุกสิ้นวันทําการ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (4.4.1) ในการประเมินมูลค่ายุติธรรม บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว ให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสรุปได้ตามเอกสารแนบ 3 ทั้งนี้ ในการประเมินมูลค่ายุติธรรม บริษัทเงินทุนจะต้องเลือกใช้ราคาที่เหมาะสมกับฐานะที่ถือครองอยู่ เช่น กรณีบริษัทเงินทุนเป็นผู้ลงทุนในตราสาร ก็ควรจะต้องเลือกใช้ราคาเสนอซื้อในการประเมินมูลค่ายุติธรรม เป็นต้น จนกว่ามาตรฐานการบัญชีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น (4.4.2) ในกรณีที่บริษัทเงินทุนใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าตามวิธีการในข้อ 2.3 - 2.5 ของเอกสารแนบ 3 เทคนิคดังกล่าวจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอิสระให้การรับรองด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระดังกล่าวอาจจะเป็นบุคคลหรือหน่วยงานภายในหรือภายนอกบริษัทเงินทุนก็ได้ แต่จะต้องเป็นอิสระจากหน่วยงานที่ทําหน้าที่พัฒนาเทคนิคหรือแบบจําลองดังกล่าว และหน่วยงานที่เป็นผู้ใช้เทคนิคหรือแบบจําลองดังกล่าว อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมที่กล่าวของบริษัทเงินทุนใดแล้วพบว่าบริษัทเงินทุนยังถือปฏิบัติไม่รัดกุมหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการให้ดําเนินการเพิ่มเติมตามความเหมาะสม (4.4.3) สําหรับธุรกรรม CDS หรือ CLN ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking Book) และธุรกรรม CDS หรือ CLN ที่บริษัทเงินทุนบริหารความเสี่ยงธุรกรรมแบบ Back to Back ซึ่งทําให้ไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์อ้างอิงเหลืออยู่ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้บริษัทเงินทุนประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรมดังกล่าวในทุกวันสิ้นเดือนแทน (4.5) กําหนดเพดานความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เหมาะสมกับกลยุทธ์ ฐานะการเงิน และเงินกองทุน ของบริษัทเงินทุนเองรวมทั้งสอดคล้องกับระบบบริหารความเสี่ยงที่บริษัทเงินทุนใช้ เช่น Stop loss limit, Correlation risk limit ตลอดจนเพดานความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกระจุกตัวต่าง ๆ เช่น การกระจุกตัวในสินทรัพย์อ้างอิงประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิงรายใดรายหนึ่ง หรืออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งด้วย โดยบริษัทเงินทุนจะต้องมีหน่วยงานที่เป็นอิสระ ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะสามารถทําหน้าที่ประเมิน ติดตาม ควบคุม ตรวจสอบดูแลการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของบริษัทเงินทุนนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4.6) การรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทผ่านทางคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ําเสมอ (5) นโยบายการควบคุมภายในและตรวจสอบ จะต้องครอบคลุมถึงเรื่องต่อไปนี้ (5.1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยง (วัด ติดตาม บริหาร และควบคุม) การควบคุมภายในและตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ มีการแบ่งแยกหน้าที่ และการจัดโครงสร้างองค์กร สายบังคับบัญชา ที่เหมาะสมและชัดเจน (5.2) กําหนดให้คณะกรรมการย่อยหรือคณะผู้บริหารระดับสูงกําหนดรายละเอียดขั้นตอนในการทําธุรกรรม จัดทําระเบียบและวิธีปฏิบัติในการควบคุมภายในอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติงานและช่วยในการติดตามดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่ได้รับความเห็นชอบ (5.3) การตรวจสอบการปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติโดยหน่วยงานอิสระ ตามระเบียบวิธีการ และความถี่ที่กําหนด (5.4) การรายงานการติดตามการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในทั้งในกรณีปกติอย่างสม่ําเสมอ และกรณีที่พบการปฏิบัติที่ไม่รัดกุม ซึ่งต้องรายงานเพื่อพิจารณากําหนดแนวทางแก้ไขปรับปรุง และป้องกันปัญหาในอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทํารายงานการตรวจสอบภายในเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ (6) บุคลากร บริษัทเงินทุนต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถและประสบการณ์เพียงพอในแต่ละส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงหน่วยงานบริหารความเสี่ยง หน่วยงานด้านปฏิบัติการ และหน่วยงานควบคุมภายในที่เพียงพอที่จะรองรับการประกอบธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร 5.3.2 ข้อกําหนดเกี่ยวกับการป้องกันผลกระทบที่อาจมีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน (1) ในการทําธุรกรรม CDS และ CLN รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหนังสือดังต่อไปนี้ โดยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจนี้ด้วย (1.1) ประกาศและหนังสือเวียนของเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดต่อไป (1.2) มาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ หนังสือที่ ธปท.ฝกช. (02)ว. 371/2551 เรื่อง ขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาท ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 หรือที่แก้ไขหรือประกาศเพิ่มเติม (1.3) หนังสืออื่นๆ ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเพิ่มเติม (2) ในการทําธุรกรรม CDS และ CLN รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอย่างเคร่งครัด 5.3.3 การบันทึกบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล (1) บริษัทเงินทุนที่ทําธุรกรรม Credit Derivatives จะต้องจัดประเภทบันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีมาตรฐานกรบัญชีไทยในเรื่องดังกล่าว ให้บริษัทเงินทุนถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยในเรื่องของการจัดประเภทและบันทึกบัญชีสําหรับธุรกรรม Credit Derivatives ที่มีเงินวางเป็นหลักประกันสําหรับการรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตผ่านการกู้ยืมหรือออกตราสาร สามารถสรุปได้ตามเอกสารแนบ 4 (2) ในการพิจารณาจัดประเภทและบันทึกบัญชีสําหรับธุรกรรม Credit Derivatives ที่มีเงินวางเป็นหลักประกันสําหรับการรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตผ่านการกู้ยืมหรือออกตราสารนั้น บริษัทเงินทุนจะต้องพิจารณาทั้งรูปแบบและเนื้อหาในสัญญาร่วมกับความตั้งใจและความสามารถในการลงทุน รวมทั้งพิจารณาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างอนุพันธ์แฝงและตราสารหลักประกอบด้วย ซึ่งบริษัทเงินทุนจะต้องจัดทํากระบวนการที่ใช้ในการพิจารณาจัดประเภทและบันทึกบัญชี ตลอดจนจัดเก็บหลักฐาน เอกสารต่างๆ ที่ใช้ประกอบการพิจารณาดังกล่าวไว้เพื่อให้ผู้สอบบัญชีและธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการตรวจสอบ หรือนําส่งเมื่อมีการร้องขอด้วย 5.3.4 การจัดเก็บข้อมูลและการรายงาน (1) บริษัทเงินทุนที่ทําธุรกรรม Credit Derivatives จะต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการทําธุรกรรมดังกล่าวไว้ที่บริษัทเงินทุนเอง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งสําเนาให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ (2) บริษัทเงินทุนที่ทําธุรกรรม Credit Derivatives จะต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรม ได้แก่ เลขที่อ้างอิง วันที่ทําธุรกรรม วันครบกําหนด วัตถุประสงค์ประเภทธุรกรรม ฐานะการทําธุรกรรม คู่สัญญา สินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงในกรณีของผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง สินทรัพย์อ้างอิง สกุลเงินของสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงในกรณีของผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง หรือสกุลเงินของสินทรัพย์อ้างอิง...สกุลเงิน และจํานวนเงินของธุรกรรม มูลค่ายุติธรรมของธุรกรรม และผลกําไรขาดทุน ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ ตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (เอกสารแนบ 5) และจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกไตรมาส ภายในวันสิ้นเดือนนับจากวันสิ้นไตรมาส ผ่านทางระบบบริหารข้อมูลผ่านทางช่องทาง DMS DA (ExtraNet) 5.3.5 การกํากับดูแล (1) บริษัทเงินทุนที่ทําธุรกรรม CDS หรือ CLN ต้องดูแลให้สัญญามีผลบังคับตามกฎหมาย ไม่ขัดกับกฎหมายหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการทบทวนเป็นระยะตามความเหมาะสม และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยในเรื่องการดํารงเงินกองทุนและการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติเช่นเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรม CDS หรือ CLN โดยต้องถือปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมCredit Derivatives (2) กรณี CDS และ CLN มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นสกุลเงินต่างกัน บริษัทเงินทุนต้องไม่นําสินทรัพย์ซึ่งออกโดยบุคคลหนึ่งบุคคลใด มาใช้อ้างอิงสําหรับการซื้อ CDS หรือการออก CLN เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้น ยกเว้นกรณีที่บริษัทเงินทุนนั้นไม่ต้องรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงที่กล่าวซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายอันเกิดจากภาระในการปฏิบัติตามเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดหรือกรณีที่สินทรัพย์อ้างอิงเป็นหลักทรัพย์รัฐบาลไทย 5.3.6 ข้อกําหนดอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีความจําเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงกรอบหรือหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมหรือการกํากับดูแลบริษัทเงินทุนในการทําธุรกรรม CDS หรือ CLN ในอนาคตตามความเหมาะสม รวมทั้งสงวนสิทธิในการระงับการทําธุรกรรม จํากัดปริมาณธุรกรรมการกําหนดให้สํารองเพิ่มเติม หรือมาตรการอื่นใด ในกรณีที่พบว่าบริษัทเงินทุนใดไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กําหนด หรือตรวจสอบพบการถือปฏิบัติของบริษัทเงินทุนใดที่ไม่รัดกุมหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,699
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด ---------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด ได้แก่ อนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย อนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน อนุพันธ์ด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อนุพันธ์ด้านตราสารหนี้ และอนุพันธ์ด้านตราสารทุน มาเป็นลําดับ โดยได้กําหนดขอบเขตของธุรกรรมอนุพันธ์ที่อนุญาตให้ทําได้ ตั้งแต่ธุรกรรมอนุพันธ์ขั้นพื้นฐาน และมีการขยายเพิ่มเติมเป็นลําดับให้สามารถทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้นสําหรับอนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ยและอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน การอนุญาตของธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้นอยู่ภายใต้หลักการทั้ง 5 ข้อ นั่นคือ (1) การบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) การไม่เสนอธุรกรรมซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงิน เศรษฐกิจ และระบบสถาบันการเงิน (3) การจัดเก็บเอกสารหลักฐานและรายงานข้อมูลตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (4) การชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า และ (5) การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในช่วงเวลาที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยเติบโตขึ้น และธนาคารพาณิชย์มีความต้องการทําธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทใหม่ ๆ ซึ่งไม่ได้อยู่ในกรอบการอนุญาตเดิมเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายขึ้น จึงทําให้ต้องขออนุญาตรายกรณี ซึ่งในบางครั้งอาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการทําธุรกรรมในตลาดได้อย่างเต็มที่ภายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนการเสียโอกาสที่อาจเกิดจากกระบวนการพิจารณาอนุญาตของธนาคารแห่งประเทศไทยและเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้พิจารณาขยายกรอบการอนุญาตใหม่ในครั้งนี้ภายใต้หลักการเดิมทั้ง 5 ข้อข้างต้น โดยยกเลิกรายชื่อของธุรกรรมที่อนุญาตทั้งหมด และอนุญาตเป็นการทั่วไปสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาดที่มีแนวทางการกํากับดูแลรองรับครบถ้วน ซึ่งครอบคลุมธุรกรรมอนุพันธ์ที่สามารถแยกองค์ประกอบย่อยออกเป็นธุรกรรมอนุพันธ์ขึ้นพื้นฐานทั้งหมดโดยอาจเป็นธุรกรรมอนุพันธ์แบบผสม (Hybrid Derivatives) ซึ่งอ้างอิงตัวแปรด้านตลาดมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไปก็ได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะเน้นที่อํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงในการติดตาม กํากับดูแล และอนุมัติการทําธุรกรรม การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม และการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าในการทําธุรกรรมอนุพันธ์โดยในการพิจารณาประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงและอนุมัติในการทําธุรกรรมใด ๆ คณะกรรมการธนาคารจะต้องพิจารณาผลการจัดระดับความเสี่ยงรวมด้านตลาด และด้านปฏิบัติการที่ได้รับจากการตรวจสอบประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญ ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะทําหน้าที่ติดตามดูแลการทําธุรกรรมและการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมผ่าน Risk based supervision และยังสงวนสิทธิในการระงับการทําธุรกรรมจํากัดปริมาณธุรกรรม การกําหนดให้สํารองเพิ่มเติมและมาตรการอื่น ๆ ที่จําเป็นในกรณีที่พบว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือกรณีอื่น ๆ ตามความเหมาะสม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 50 มาตรา 52 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาดตามกรอบและหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 4. ประกาศหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ คําจํากัดความ ให้เป็นไปตามเอกสารแนบ 2 5.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาดได้โดยธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ และการทําธุรกรรมอนุพันธ์ดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักการ ดังนี้ 5.2.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีฐานะการเงินมั่นคงรวมทั้งมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมดังกล่าว 5.2.2 ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่เสนอธุรกรรมดังกล่าวในลักษณะที่อาจทําให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน เช่น การเสนอธุรกรรมให้กับลูกค้าในลักษณะที่เป็นตัวกลางในการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ หรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยน โดยไม่เป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งอาจส่งผลเสียหายแก่เสถียรภาพระบบการเงินและระบบสถาบันการเงินในประเทศได้ 5.2.3 ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําเอกสารหลักฐานประกอบการทําธุรกรรมเพียงพอแก่การตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย และจัดเก็บไว้ที่สถานที่ทําการของธนาคารพาณิชย์ หรือจัดส่งให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ พร้อมทั้งต้องรายงานข้อมูลการทําธุรกรรมตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย 5.2.4 ธนาคารพาณิชย์ต้องชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน พร้อมทั้งมีหลักฐานแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า 5.2.5 ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3 ประเภทธุรกรรมอนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาดตามประเภทและตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดตามข้อนี้ ได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ โดยธุรกรรมอนุพันธ์ที่อนุญาตได้แก่ 5.3.1 ธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาดตามที่กําหนดในข้อ 5.3.4 ที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ (1) ธุรกรรมอนุพันธ์ขั้นพื้นฐาน (Plain Vanilla Derivatives) (2) ธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีการกําหนดราคาใดราคาหนึ่ง หรือช่วงของราคาใดราคาหนึ่ง เพื่อระบุการมีผลหรือไม่มีผลของสัญญา (Barrier Derivatives) (3) ธุรกรรมซื้อหรือขายสิทธิที่จะซื้อหรือสิทธิที่จะขายสินทรัพย์ล่วงหน้าที่กําหนดให้ใช้ค่าเฉลี่ยของราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กําหนดเปรียบเทียบกับ Strike rate ที่กําหนดไว้ล่วงหน้าในการคํานวณผลกําไรหรือขาดทุนของการทําสัญญา (Average Rate Options) หรือที่กําหนดราคาสินทรัพย์ล่วงหน้า (Strike Rate) เท่ากับค่าเฉลี่ยของราคาสินทรัพย์ภายในช่วงเวลาที่กําหนด (Average Strike Options) (4) ธุรกรรมซื้อหรือขายสิทธิที่จะทําธุรกรรมอนุพันธ์ขั้นพื้นฐานในราคาระยะเวลา และเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ซึ่งได้แก่ ธุรกรรม Swaption, Compound Options และ Options on Forwards (5) ธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกิดจากการรวมกันของธุรกรรมอนุพันธ์ตาม (1) - (4) ข้างต้น (6) ธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกิดจากการรวมกันของธุรกรรมตาม (1) - (5) ข้างต้นกับธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีการกําหนดผลตอบแทนเป็นจํานวนคงที่ในกรณีที่ราคาสินทรัพย์เป็นไปตามข้อกําหนดตามสัญญา (Digital Option) หรือที่ได้เพิ่มสิทธิในการยกเลิกก่อนครบกําหนด(Cancelable Option) หรือขยายระยะเวลาในการทําธุรกรรมนั้น ๆ (Extendable Option) เข้าด้วย (7) เงินให้กู้ยืมที่นําเสนอพร้อมธุรกรรมอนุพันธ์ตามกล่าวใน (1) - (6) ทั้งนี้ ธุรกรรมอนุพันธ์ดังกล่าวจะต้องมี Leverage ไม่เกิน 2 เท่า และธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าได้มีการพิจารณาแล้วว่าธุรกรรมที่ทํานั้นมี Leverage ไม่เกิน 2 เท่าก่อนที่จะทําธุรกรรมอนุพันธ์ข้างต้น เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ ยกเว้นธุรกรรมอนุพันธ์ขั้นพื้นฐาน (Plain Vanilla Derivatives) ซึ่งไม่มีการ Leverage 5.3.2 ธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทอื่น เฉพาะที่ทําเพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เอง ทั้งนี้ จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการทําธุรกรรมดังกล่าวเป็นการทําเพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 5.3.3 ธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม 5.3.1 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําได้หากธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาเห็นว่าสอดคล้องกับหลักการในการอนุญาตธุรกรรมตามข้อ 5.2 โดยธนาคารพาณิชย์ต้องนําส่งคําขอตามแบบฟอร์มธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด / อนุพันธ์แฝง (เอกสารแนบ 3) และนําส่งข้อมูลตามที่กําหนดหรือข้อมูลอื่น ๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ ทั้งนี้ คําขอที่กล่าวจะต้องลงนามโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารสูงสุดของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจให้ลงนามแทนในระดับที่ไม่ต่ํากว่าผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารสูงสุดในสายงานที่รับผิดชอบการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยในการมอบอํานาจดังกล่าวต้องกระทําอย่างเป็นทางการ เป็นลายลักษณ์อักษรและต้องเป็นการลงนามแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารสูงสุดของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเท่านั้น 5.3.4 ตัวแปรตลาดอ้างอิงที่ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้อ้างอิงในการทําธุรกรรมตาม 5.3.1 ได้แก่ ตัวแปร กลุ่มของตัวแปร หรือดัชนีทางการเงินที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่คํานวณจากตัวแปร ดังนี้ (1) อัตราดอกเบี้ยทั้งในประเทศและต่างประเทศ (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (3) ราคาตราสารหนี้ ตามประเภทที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 (4) ราคาตราสารทุน ตามประเภทที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 (5) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ตามประเภทที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 (6) ดัชนีทางการเงินที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งนี้ ดัชนีทางการเงินที่จะนํามาใช้เป็นตัวแปรอ้างอิงในการทําธุรกรรมจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้ - เป็นดัชนีทางการเงินที่พัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ - เป็นดัชนีทางการเงินที่นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล - เป็นดัชนีทางการเงินที่มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันผ่านสื่อที่เสนอข่าวที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ และ - เป็นดัชนีทางการเงินที่มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจนโดยมีการระบุแหล่งข้อมูลของตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณ ทั้งนี้ ตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณดังกล่าวต้องมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีบุคคลใดสามารถมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแปร ปัจจัย หรือดัชนีทางการเงินนั้นได้ โดยในการพิจารณาคุณสมบัติของดัชนีทางการเงินนี้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานไว้ที่สถานที่ทําการ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.3.5 กรณีของธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ดังกล่าวข้างต้น ให้มีการส่งมอบและชําระส่วนต่างของราคาเทียบเท่าเป็นเงินสด (Cash settlement) เท่านั้น 5.3.6 หากธนาคารพาณิชย์ใดมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าธุรกรรมอนุพันธ์ที่ประสงค์จะทํานั้นอยู่ในขอบเขตที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตหรือไม่ ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นหารือกับ ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนทําธุรกรรมดังกล่าว 5.4 หลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ 5.4.1 การบริหารความเสี่ยง (1) ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของการทําธุรกรรม โดยจะต้องถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ อย่างเคร่งครัด และ จะต้องให้ความสําคัญในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (1.1) ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภท ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารก่อนที่จะทําธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทใหม่ทุกครั้ง โดยต้องจัดเก็บไว้เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือนําส่งธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ ตามรายละเอียด ดังนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ซึ่งในการกําหนดดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติด้วยก็ได้ (1.1.1) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่มียอดคงค้างอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้และธนาคารพาณิชย์ไม่ประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม (1.1.1.1) หากสัญญาครบกําหนดก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมดังกล่าว (1.1.1.2) หากสัญญาครบกําหนดภายหลังวันที่30 มิถุนายน 2552 ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 (1.1.2) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทเดิมที่ธนาคารพาณิชย์เคยทํามาก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม โดยยังไม่มีระเบียบผลิตภัณฑ์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันการจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมที่กล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 (1.1.3) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่เคยทํามาก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังกับ ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ให้ครบถ้วนตามเกณฑ์ก่อนที่จะทําธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ๆ (1.2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่ยังไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือตามวิธีการที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีไทยหรือมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (1.3) ธนาคารพาณิชย์ที่จะทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามที่ได้รับอนุญาตในประกาศฉบับนี้ จะต้องมีฐานะการเงินที่มั่นคงและมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรด้านตลาดหรือปัจจัยต่าง ๆ หรือความเสี่ยงด้านคู่สัญญาที่เกิดจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูง ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารจะต้องกําหนดวิธีการที่ใช้ในการพิจารณาฐานะและเงินกองทุน ณ วันที่ต้องการทําธุรกรรม เพื่อพิจารณาถึงความเพียงพอของเงินกองทุนก่อนที่จะเข้าทําธุรกรรม และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวก่อนเข้าทําธุรกรรมอนุพันธ์ทุกครั้ง (2) คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ต้องพิจารณาความมีประสิทธิภาพของระบบบริหารความเสี่ยงที่รองรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทต่าง ๆ โดยจะต้องนําผลการจัดระดับความเสี่ยงรวมด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ ที่ได้รับจากการตรวจสอบประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาพิจารณาประกอบ ทั้งนี้ จะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญด้วย 5.4.2 การป้องกันผลกระทบที่อาจมีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน (1) ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 5.3 รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหนังสือดังต่อไปนี้ หรือที่แก้ไขหรือกําหนดเพิ่มเติม โดยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจนี้ด้วย (1.1) ประกาศและหนังสือเวียนของเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดังนี้ (1.1.1) หนังสือที่ ฝกก. (03)ว.60 / 2548 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจในการประกอบธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านอัตราแลกเปลี่ยน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2548 (1.1.2) หนังสือที่ ธปท. ฝกช.(02)ว.38 / 2551 เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านอัตราแลกเปลี่ยน ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 (1.2) มาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ (1.2.1) หนังสือที่ นต.(ว)31 / 2541 เรื่อง หลักปฏิบัติในการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2541 (1.2.2) หนังสือที่ ธปท.ฝกช.(02)ว.371 / 2551 เรื่อง ขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาท ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 (1.3) หนังสืออื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเพิ่มเติม (2) ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 5.3 รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอย่างเคร่งครัด 5.4.3 การดูแลลูกค้า (1) ธนาคารพาณิชย์จะต้องวิเคราะห์ลูกค้าพร้อมทั้งมีหลักฐานแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้ทําตามขั้นตอนการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าก่อนทําธุรกรรม (Client Suitability Analysis) (2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะธุรกรรมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนก่อนตกลงทําสัญญา รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้าให้เพียงพอแก่การตัดสินใจของลูกค้า (3) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการรับคําร้องเรียนจากลูกค้า และมีการรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารหรือผู้บริหารระดับสูงเพื่อพิจารณากําหนดแนวทางการแก้ไข และป้องกันการเกิดปัญหา ที่เหมาะสมทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ 5.4.4 การบันทึกบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์จะต้องบันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 5.4.5 การจัดเก็บข้อมูลและการรายงาน (1) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมตามข้อ 5.3 จะต้องจัดเก็บหลักฐานในการทําธุรกรรมดังกล่าวไว้ที่ธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบหรือจัดส่งสําเนาให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมตามข้อ 5.3 ยกเว้นธุรกรรมอนุพันธ์ขั้นพื้นฐาน (Plain Vanilla Derivatives) ที่อ้างอิงตัวแปรตลาดเพียงชนิดเดียว จะต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรมได้แก่ เลขที่อ้างอิง วันที่ทําธุรกรรม วันครบกําหนด ประเภทธุรกรรมคู่สัญญา ตัวแปรอ้างอิง ผลของธุรกรรม องค์ประกอบย่อยของอนุพันธ์พร้อมรายละเอียด ฐานะและจํานวนเงินขององค์ประกอบย่อย นั้น ๆ สกุลเงินของธุรกรรม จํานวนเงินตามสัญญา จํานวนเงินเป็นสกุลบาทเทียบเท่า มูลค่ายุติธรรมของธุรกรรม ผลกําไร/ขาดทุนจากการทําธุรกรรม ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ ตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (เอกสารแนบ 5) และจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป ผ่านทางระบบบริหารข้อมูลผ่านทางช่องทาง DMS DA (Extranet) (3) ในการทําธุรกรรมตามข้อ 5.3 ยกเว้นธุรกรรมตามข้อ 5.3.1 (1) เป็นครั้งแรกหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือองค์ประกอบของธุรกรรม หรือการเสนอดัชนีทางการเงินหรือกลุ่มของตัวแปรใดเป็นครั้งแรก รวมถึงธุรกรรมที่เคยทําไปแล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ซึ่งยังไม่เคยนําส่งระเบียบผลิตภัณฑ์ที่ครบถ้วน ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดส่งรายละเอียดการทําธุรกรรมดังกล่าวมาที่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบฟอร์มธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด / อนุพันธ์แฝง (เอกสารแนบ 3) ภายใน15 วันทําการนับจากวันทําธุรกรรม โดยต้องนําส่ง Term Sheet และระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) ที่รองรับธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ๆ มาพร้อมกันด้วย อนึ่ง เพื่อให้เวลาแก่ธนาคารพาณิชย์ในการปรับตัวในการถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ สําหรับกรณีดังต่อไปนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งระเบียบผลิตภัณฑ์มาที่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยภายในวันที่กําหนดดังนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ซึ่งในการกําหนดดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติด้วยก็ได้ (3.1) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่ไม่มีการทําธุรกรรมเพิ่มเติมและมียอดคงค้างตามสัญญาซึ่งครบกําหนดหลังวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ให้จัดส่งภายในวันที่ดังกล่าว (3.2) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่เป็นธุรกรรมประเภทเดิมที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเคยทําแล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ และธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมเพิ่มเติม ให้จัดส่งภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 (4) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตราสารหนี้สกุลเงินบาทจะต้องรายงานการทําธุรกรรมให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (The Thai Bond Market Association หรือ Thai BMA) โดยมีรายละเอียดตามที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด ทั้งนี้ ต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรมดังกล่าวไว้ที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งสําเนาให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอด้วย 5.4.6 การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (1) เพื่อความระมัดระวังในการพิจารณาฐานะ และความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการอนุญาตธุรกรรมตามประกาศฉบับนี้ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติดังนี้ (1.1) ให้ประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรมดังต่อไปนี้อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันสิ้นเดือน ไม่ว่าธุรกรรมดังกล่าวจะจัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าหรือบัญชีเพื่อการธนาคารก็ตาม (1.1.1 ) อนุพันธ์แฝง หรือธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงทั้งจํานวนในกรณีที่ไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมส่วนที่เป็นอนุพันธ์แฝงได้อย่างน่าเชื่อถือ (1.1.2) ธุรกรรม Synthetic Collateralized Debt Obligations, Credit Linked Notes, first to default Credit Linked Notes, Proportionate Credit Linked Notes (1.1.3) ธุรกรรมอื่นในบัญชีเพื่อการค้าทั้งหมด (1.1.4) ธุรกรรมที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging Instruments) สําหรับธุรกรรมข้างต้น (ถ้ามี) ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่ามีผลขาดทุนสุทธิให้นําผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ และถ้ามีผลทําให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดธนาคารพาณิชย์จะต้องดําเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติที่ได้กําหนดไว้ ซึ่งจะต้องกําหนดไว้อย่างละเอียด ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยรวมถึงการกําหนดเกี่ยวกับการรายงานบุคคลที่เกี่ยวข้องตามระดับความรุนแรงและระยะเวลาในการดําเนินการในแต่ละขั้นตอนด้วย สําหรับปัญหาที่รุนแรงจะต้องรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาสั่งการและเร่งดําเนินการแก้ไข รวมทั้งจะต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาด้วย ( 1.2) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมอนุพันธ์เพิ่มเติมธนาคารพาณิชย์จะต้องประเมินมูลค่ายุติธรรม ณ สิ้นวันก่อน ของธุรกรรมตามข้อ 5.4.6 (1.1.1) ถึงข้อ 5.4.6 (1.1.4) ถ้ามีผลขาดทุนสุทธิให้นํามาหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้เงินกองทุนที่คํานวณได้จะต้องไม่ต่ํากว่าอัตราตามที่กฎหมายกําหนดและมีเพียงพอที่จะรองรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่ต้องการจะทําเพิ่ม มิฉะนั้น ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวไม่ได้ (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุน หลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ หลักเกณฑ์การกํากับเรื่องเงินลงทุนหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด หลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ และหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง โดยสรุปได้ตามเอกสารแนบ 6 รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.4.7 ข้อกําหนดอื่น (1) ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ธนาคารพาณิชย์ต้องดูแลให้สัญญามีผลบังคับตามกฎหมาย ไม่ขัดกับกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการทบทวนเป็นระยะตามความเหมาะสม (2) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีความจําเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงกรอบหรือหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมหรือการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาดในอนาคตตามความเหมาะสม รวมทั้งสงวนสิทธิในการระงับการทําธุรกรรม จํากัดปริมาณธุรกรรม กําหนดให้สํารองเพิ่มเติม หรือมาตรการอื่นใด ในกรณีที่พบว่าธุรกรรมอนุพันธ์ของธนาคารพาณิชย์ใดไม่สอดคล้องตามหลักการในข้อ 5.2 หรือธนาคารพาณิชย์ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด หรือพบการถือปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ใดที่ไม่รัดกุมหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ (3) การทําธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่สาขานั้นตั้งอยู่ และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 5.2 ข้อ 5.4.1 และข้อ 5.4.3 ถึงข้อ 5.4.7 ของประกาศฉบับนี้ด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีสาขาที่กล่าวทําธุรกรรมกับบุคคลในประเทศไทย ซึ่งจะต้องถือปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ด้วย อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล 6.1 การปฏิบัติในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่ซับซ้อนเป็นรายกรณีไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินมีผลใช้บังคับ พ.ศ. 2551 หากธุรกรรมดังกล่าวไม่อยู่ในกรอบการทําธุรกรรมที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มอีกไม่ได้ ส่วนธุรกรรมที่ทําไปแล้ว อนุญาตให้คงธุรกรรมดังกล่าวไว้ได้จนครบกําหนดอายุตามสัญญาโดยไม่อนุญาตให้มีการต่ออายุสัญญา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย 6.2 สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยมีหนังสืออนุญาตเป็นการทั่วไปก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ได้แก่ (1) ธุรกรรมประเภทที่มี Average Rate Option หรือ Average Strike Option เป็นธุรกรรมหลักแต่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเล็กน้อยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือลดต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยง และ (2) ธุรกรรม Cross Currency Swaps หรือ Interest Rate Swaps ที่มีเงื่อนไขให้สัญญาสิ้นสุดลงโดยอ้างอิงกับความสามารถในการชําระหนี้ (Credit Event) นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยังอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมต่อไปได้ภายใต้ข้อกําหนดเดิม และให้ปฏิบัติตามข้อ 5.2 และ 5.4 ของประกาศ ฯ ฉบับนี้ด้วยทั้งนี้ จนกว่าจะมีการออกหลักเกณฑ์การกํากับธุรกรรมอนุพันธ์แบบผสม (Hybrid Derivatives) เพิ่มเติมต่อไป อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,700
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงตามกรอบการทําธุรกรรมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งทําให้ธนาคารพาณิชย์มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้น และได้มีการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงให้สามารถรองรับความซับซ้อนของธุรกรรมได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้ลงทุนในตลาดเริ่มมีความรู้ ความเข้าใจ และความคุ้นเคยกับธุรกรรมเหล่านี้เพิ่มขึ้นทําให้มีความต้องการลงทุนที่หลากหลาย ดังนั้น เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เล่นในตลาด และเพื่อลดต้นทุนการเสียโอกาสจากกระบวนการพิจารณาอนุญาตของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงได้เพิ่มเติม ดังนี้ เพิ่มตัวแปรอ้างอิงในการทําธุรกรรมให้รวมถึงราคาตราสารหนี้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เครดิต (เฉพาะเครดิตรายตัว หรือกลุ่มของเครดิตทั้งกลุ่ม) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวม เป็นต้น และปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในการทําธุรกรรมในเรื่องการคืนเงินต้นเต็มจํานวน เป็นกําหนดให้มีการคืนเงินต้นอย่างต่ําร้อยละ 80 เมื่อครบอายุสัญญาสําหรับเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง แต่ยังคงป้องกันผู้ลงทุนที่อาจไม่มีความรู้ ความเข้าใจเพียงพอ โดยเน้นให้ธนาคารพาณิชย์ทํา Client Suitability Analysis นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ให้สิทธิคู่สัญญาในการชําระหรือรับชําระคืนเป็นตราสารทุนได้กับผู้ลงทุนสถาบันเพื่อให้สอดคล้องกับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตราสารทุน จากเดิมที่อนุญาตเฉพาะตราสารหนี้และเงินตราต่างประเทศ อย่างไรก็ดี การขยายขอบเขตการทําธุรกรรมเพิ่มขึ้นดังกล่าว อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อธนาคารพาณิชย์และระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวจึงได้กําหนดให้คณะกรรมการธนาคารต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการอนุญาตการทําธุรกรรมก่อนการทําธุรกรรมประเภทใหม่ ๆ โดยต้องพิจารณาถึงความพร้อมของบุคลากรและระบบบริหารความเสี่ยง ซึ่งต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดประกอบกับผลการจัดระดับความเสี่ยงด้านตลาดและด้านปฏิบัติการที่ได้รับจากการตรวจสอบ ประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญด้วย หมวด ๑ 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 มาตรา 41 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ทั้งในฐานะที่เป็นผู้รับฝากหรือผู้กู้ยืมและผู้ฝากหรือผู้ให้กู้ยืมตามกรอบและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ 5.1.1 " ธนาคารพาณิชย์ " หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 5.1.2 " ธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง " หมายความว่า ธุรกรรมที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะรวมกัน ดังนี้ (1) ธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรโดยอัตราผลตอบแทนดังกล่าวขึ้นอยู่กับตัวแปรอ้างอิงที่ได้กําหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งไม่ใช่การจ่ายอัตราดอกเบี้ยปกติ (2) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ให้สิทธิผู้กู้ยืมในการชําระคืนหรือผู้ให้กู้ยืมในการรับชําระคืนเงินต้นหรือผลตอบแทนเป็นตราสารหนี้หรือตราสารทุนตามประเภทและอัตราที่กําหนดไว้ล่วงหน้า หรือให้สิทธิผู้ก็ยืมในการขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือผู้ให้กู้ยืมในการซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตามสกุลเงินและอัตราที่ได้กําหนดไว้ถ่วงหน้า (3) ธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่ให้สิทธิคู่สัญญาที่จะขยายระยะเวลาหรือไถ่ถอนก่อนครบกําหนดตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่ให้สิทธิคู่สัญญาในการไถ่ถอนก่อนครบกําหนดตามประเพณีปฏิบัติตามปกติของตลาดตราสารทางการเงิน 5.1.3 " ผู้ลงทุนสถาบัน " หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามเอกสารแนบ 2 ของประกาศฉบับนี้ 5.1.4 "คณะกรรมการธนาคาร " หมายความว่า คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 5.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงได้ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ และการทําธุรกรรมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักการ ดังนี้ 5.2.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีฐานะการเงินที่มั่นคงรวมทั้งมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมดังกล่าว 5.2.2 ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่เสนอธุรกรรมดังกล่าวในลักษณะที่อาจทําให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน เช่น การเสนอธุรกรรมให้กับลูกค้าในลักษณะที่เป็นตัวกลางในการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ หรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยน โดยไม่เป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งอาจส่งผลเสียหายแก่เสถียรภาพระบบการเงินและระบบสถาบันการเงินในประเทศได้ 5.2.3 ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําเอกสารหลักฐานประกอบการทําธุรกรรมเพียงพอแก่การตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย และจัดเก็บไว้ที่สถานที่ทําการของธนาคารพาณิชย์หรือจัดส่งให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ พร้อมทั้งต้องรายงานข้อมูลการทําธุรกรรมตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย 5.2.4 ธนาคารพาณิชย์ต้องชี้แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน พร้อมทั้งมีหลักฐานแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า 5.2.5 ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3 ขอบเขตของการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ได้รับอนุญาต 5.3.1 ลักษณะธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่มีตัวเเปรอ้างอิงตาม 5.3.2 ทั้งในฐานะผู้รับฝากหรือผู้กู้ยืม หรือผู้ฝากหรือผู้ให้กู้ยืม โดยมีลักษณะการทําธุรกรรม ดังนี้ (1) มีจํานวนเงินขั้นต่ํา 10 ล้านบาทหรือเทียบเท่า ยกเว้นการทําธุรกรรมกับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (2) มีเงื่อนไขการชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวนที่รับมาแก่ผู้ฝากในการทําธุรกรรมเงินฝากที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงตัวแปร หรือมีการชําระคืนเงินต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจํานวนเงินที่รับมาให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงตัวแปร เมื่อครบอายุสัญญา (3) ในการทําธุรกรรมที่ให้สิทธิคู่สัญญาในการชําระคืนหรือรับชําระคืนเป็นตราสารหนี้หรือตราสารทุน หรือให้สิทธิผู้กู้ยืมในการขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือให้สิทธิผู้ให้กู้ยืมในการซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ให้ธนาคารพาณิชย์ทําในรูปเงินกู้ยืมเท่านั้น โดยตราสารหนี้และตราสารทุนอ้างอิงต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (3.1) กรณีเป็นตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศ ตราสารหนี้ดังกล่าวต้องมีการซื้อขายกันในตลาดซื้อขายคล่อง โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการพิจารณาไว้ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงตราสารหนี้ที่นับเข้าเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์เอง (3.2) กรณีเป็นตราสารหนี้สกุลเงินบาท ตราสารหนี้ดังกล่าวจะต้องเป็นตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ที่รัฐบาลค้ําประกัน หรือตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับ BBB หรือเทียบเท่าขึ้นไปจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือตราสารหนี้ประเภทอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเพิ่มเติม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงตราสารหนี้ที่นับเข้าเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์เอง (3.3) กรณีเป็นตราสารทุน จะต้องเป็นตราสารทุนที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐาน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ยกเว้นหุ้นของธนาคารพาณิชย์เองหรือธนาคารพาณิชย์อื่น (4) การทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง หากมีการออกบัตรเงินฝากหรือตราสารหนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องระบุเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือ ยกเว้นในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกสามารถควบคุมดูแลการโอนเปลี่ยนมือให้อยู่ภายในขอบเขตของกลุ่มผู้ลงทุนตามกรอบและหลักเกณฑ์ที่กําหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย 5.3.2 ตัวแปร กลุ่มตัวแปร หรือดัชนีทางการเงินที่ใช้อ้างอิงในการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง (1) ตัวแปร กลุ่มของตัวแปร หรือดัชนีทางการเงิน (1.1) ตัวแปรหรือกลุ่มตัวแปรอ้างอิงที่นํามาใช้อ้างอิงในการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ซึ่งมีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงตัวแปร ได้แก่ (1.1.1) อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ (1.1.2) อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ (1.1.3) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (1.1.4) ราคาของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐาน ในประเทศ ยกเว้นราคาหุ้นของธนาคารพาณิชย์เองหรือธนาคารพาณิชย์อื่น (1.1.5) ราคาของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐานในต่างประเทศ (1.1.6) ราคาตราสารหนี้ ซึ่งเป็นตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศหรือตราสารหนี้สกุลบาท ตาม 5.3.1 (3) (3.1) และ (3.2) (1.1.7) เครดิต (เฉพาะเครดิตรายตัว หรือกลุ่มของเครดิตทั้งกลุ่ม) (1.1.8) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายในตลาดสินค้าล่วงหน้าที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ทั้งในหรือต่างประเทศ หรือสินค้าที่มีการซื้อขายในตลาด Over the counter ซึ่งมีราคาที่เป็นมาตรฐานเผยแพร่เป็นปกติกับสาธารณชน (1.1.9) ผลการดําเนินงานของกองทุน ซึ่งมีหน่วยงานของทางการกํากับดูแล (1.1.10) ดัชนีทางการเงิน ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนดใน 5.3.2 (2) (1.1.11) ตัวแปรอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเพิ่มเติม (2) คุณสมบัติของดัชนีทางการเงิน ดัชนีทางการเงินที่ธนาคารพาณิชย์จะนํามาใช้เป็นตัวแปรอ้างอิงในการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ซึ่งมีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร ได้ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้ (2.1) เป็นดัชนีทางการเงินที่เกิดจากการคํานวณโดยใช้ตัวแปรอ้างอิงที่ (2.2) เป็นดัชนีทางการเงินที่พัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ (2.3) เป็นดัชนีทางการเงินที่นิยมเพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล (2.4) เป็นดัชนีทางการเงินที่มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวัน ผ่านสื่อที่เสนอข่าวที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ และ (2.5) เป็นดัชนีทางการเงินที่มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจนโดยมีกรระบุแหล่งข้อมูลของตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณ ทั้งนี้ ตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณดังกล่าวต้องมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีบุคคลใดสามารถมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแปร ปัจจัย หรือดัชนีทางการเงินนั้นได้ในการพิจารณาคุณสมบัติของดัชนีทางการเงินนี้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานไว้ที่สถานที่ทําการเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.3.3 คู่สัญญา (1) นอกจากที่กําหนดไว้ใน (2) ธนาคารพาณิชย์อาจทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงกับผู้ลงทุนทั่วไป (2) ธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงดังต่อไปนี้ เฉพาะกับผู้ลงทุนสถาบันหรือบุคคลที่มีภาระสอดคล้องเท่านั้น (2.1) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ให้สิทธิคู่สัญญาในการชําระคืนหรือรับชําระคืนเป็นตราสารหนี้หรือตราถารทุน หรือ (2.2) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ให้สิทธิผู้กู้ยืมในการขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือให้สิทธิผู้ให้กู้ยืมในการซื้อหรือแถกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 5.3.4 ธุรกรรมนอกเหนือจากที่กําหนดในประกาศฉบับนี้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) การทําธุรกรรมเฉพาะเพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เองทั้งนี้ จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการทําธุรกรรมดังกล่าวเป็นการทําเพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ (2) การทําธุรกรรมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าสอดคล้องกับหลักการในการอนุญาตการทําธุรกรรมตามข้อ 5.2 โดยธนาคารพาณิชย์ต้องนําส่งคําขอตามแบบฟอร์มธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด / อนุพันธ์แฝง (เอกสารแนบ 3) และนําส่งข้อมูลตามที่กําหนดหรือข้อมูลอื่นๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ ทั้งนี้ คําขอที่กล่าวจะต้องลงนามโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารสูงสุดของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจให้ลงนามแทนในระดับที่ไม่ต่ํากว่าผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารสูงสุดในสายงานที่รับผิดชอบการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยในการมอบอํานาจดังกล่าวต้องกระทําอย่างเป็นทางการ เป็นลายลักษณ์อักษรและต้องเป็นการลงนามแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารสูงสุดของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเท่านั้น 5.3.5 หากธนาคารพาณิชย์ใดมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ประสงค์จะทํานั้นอยู่ในขอบเขตที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ให้ธนาคารพาณิชย์หารือธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนทําธุรกรรมดังกล่าว 5.4 หลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมที่ได้รับอนุญาต 5.4.1 การบริหารความเสี่ยง (1) ในการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของการทําธุรกรรม โดยจะต้องถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ อย่างเคร่งครัด และจะต้องให้ความสําคัญในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (1.1) ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program)สําหรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงทุกประเภท ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารก่อนที่จะทําธุรกรรมประเภทใหม่ทุกครั้ง โดยต้องจัดเก็บไว้เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือนําส่งธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ ตามรายละเอียด ดังนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ซึ่งในการกําหนดดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ (1.1.1) สําหรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่มียอดคงค้างอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้และธนาคารพาณิชย์ไม่ประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเติม (1.1.1.1) หากสัญญาครบกําหนดก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมดังกล่าว (1.1.1.2) หากสัญญาครบกําหนดภายหลังวันที่ 30 มิถุนายน2552 ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 (1.1.2) สําหรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงประเภทเดิมที่ธนาคารพาณิชย์เคยทํามาแล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มเดิม โดยยังไม่มีระเบียบผลิตภัณฑ์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันการจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์สําหรับธุรกรรมที่กล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 (1.1.3) สําหรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงประเภทใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่เคยทํามาก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ให้ครบถ้วนตามเกณฑ์ก่อนที่จะทําธุรกรรมนั้น ฯ (1.2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ยังไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือตามวิธีการที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีไทยหรือมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (1.3) ธนาคารพาณิชย์ที่จะทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงตามที่ได้รับอนุญาตในประกาศฉบับนี้ จะต้องมีฐานะการเงินที่มั่นคงและมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรด้านตลาดหรือปัจจัยต่างๆ หรือความเสี่ยงด้านคู่สัญญาที่เกิดจากการทําธุรกรรม ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูง ทั้งนี้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารจะต้องกําหนดวิธีการที่ใช้ในการพิจารณาฐานะและเงินกองทุน ณ วันที่ต้องการทําธุรกรรม เพื่อพิจารณาถึงความเพียงพอของเงินกองทุนก่อนที่จะเข้าทําธุรกรรม และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวก่อนเข้าทําธุรกรรมทุกครั้ง (2) คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ต้องพิจารณาความมีประสิทธิภาพของระบบบริหารความเสี่ยงที่รองรับการทําธุรกรรมประเภทต่างๆ โดยจะต้องนําผลการจัดระดับความเสี่ยงรวมด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ ที่ได้รับจากการตรวจสอบประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาพิจารณาประกอบ ทั้งนี้ จะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญด้วย 5.4.2 การป้องกันผลกระทบที่อาจมีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน (1) ในการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ได้รับอนุญาตตาม ข้อ 5.3 รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหนังสือดังต่อไปนี้หรือที่แก้ไขหรือกําหนดเพิ่มเดิม โดยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจนี้ด้วย (1.1) ประกาศและหนังสือเวียนของเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดต่อไป (1.2) มาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ (1.2.1) หนังสือที่ นต.(ว)31 / 2541 เรื่อง หลักปฏิบัติในการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2541 (1.2.2) หนังสือที่ ธปท.ฝกช.(02)ว.371 / 2551 เรื่อง ขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาท ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 (1.3) หนังสืออื่นๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเพิ่มเติม (2) ในการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ได้รับอนุญาตตาม ข้อ 5.3 รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอย่างเคร่งครัด 5.4.3 การดูแลลูกค้า (1) ธนาคารพาณิชย์จะต้องวิเคราะห์ลูกค้าพร้อมทั้งมีหลักฐานแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้ทําตามขั้นตอนการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าก่อนทําธุรกรรม (Client Suitability Analysis) (2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะธุรกรรม ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเงื่อนไขและวิธีการคํานวณและการจ่ายชําระคืนเงินต้นและผลตอบแทน รวมทั้งเงื่อนไขหรือวิธีการคิดค่าปรับในกรณีที่ลูกค้าต้องการถอนเงินฝากหรือเรียกคืนเงินให้กู้ยืมก่อนครบกําหนดสัญญาอย่างชัดเจนก่อนตกลงทําสัญญา รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้าให้เพียงพอแก่การตัดสินใจของลูกค้า (3) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการรับข้อร้องเรียนจากลูกค้า และรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารหรือผู้บริหารระดับสูงเพื่อพิจารณากําหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันการเกิดปัญหาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลถูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ 5.4.4 การบันทึกบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล (1) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงจะต้องจัดประเกท บันทึกบัญชี และเปิดเผยข้อมูลให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องซึ่งในขณะที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยในเรื่องของการจัดประเภทรายการและบันทึกบัญชีสําหรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง สามารถสรุปได้ตามเอกสารแนบ 4 (2) ในการพิจารณาจัดประเภทและบันทึกบัญชีสําหรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงนั้น ธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาทั้งรูปแบบและเนื้อหาในสัญญาร่วมกับความตั้งใจและความสามารถในการลงทุน รวมทั้งพิจารณาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างอนุพันธ์แฝงและตราสารหลักประกอบด้วย ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทํากระบวนการที่ใช้ในการพิจารณาจัดประเภทและบันทึกบัญชี ตลอดจนจัดเก็บหลักฐาน เอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการพิจารณาดังกล่าว ไว้เพื่อให้ผู้สอบบัญชีและธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการตรวจสอบ หรือนําส่งเมื่อมีการร้องขอด้วย 5.4.5 การจัดเก็บข้อมูลและการรายงาน (1) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงจะต้องจัดเก็บหลักฐานในการทําธุรกรรมดังกล่าวไว้ที่ธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งสําเนาให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงจะต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรม ได้แก่ เลขที่อ้างอิง วันที่ทําธุรกรรม วันครบกําหนดประเภทธุรกรรม คู่สัญญา ตัวแปรอ้างอิง ฐานะการทําธุรกรรม (รับฝาก/กู้ยืม หรือฝาก/ให้กู้ยืม) ผลของธุรกรรม องค์ประกอบย่อยของอนุพันธ์พร้อมรายละเอียด ฐานะและจํานวนเงินขององค์ประกอบย่อย สกุลเงินของธุรกรรม จํานวนเงินตามสัญญาจํานวนเงินเป็นสกุลบาทเทียบเท่ามูลค่ายุติธรรมของธุรกรรม ผลกําไร/ขาดทุนจากการทําธุรกรรม ในรูปสื่อคอมพิวเตอร์ตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (เอกสารแนบ 5) และจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกเดือนภายใน 21 วันนับจากวันสิ้นเดือน ผ่านทางระบบบริหารข้อมูลผ่านทางช่องทางDMS DA (Extranet) (3) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงจะต้องดําเนินการแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีการนําเสนอตัวแปรอ้างอิงที่เป็นดัชนีทางการเงินใดหรือกลุ่มของตัวแปรใดเป็นครั้งแรก หรือมีการนําเสนอธุรกรรมในลักษณะใดเป็นครั้งแรกหรือมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือลักษณะธุรกรรมในรายละเอียด รวมถึงธุรกรรมที่เคยทําไปแล้วก่อนหน้าที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ซึ่งยังไม่เคยนําส่งระเบียบผลิตภัณฑ์ที่ครบถ้วนด้วย โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดส่งรายละเอียดการทําธุรกรรมดังกล่าวมายังฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบฟอร์มธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด/อนุพันธ์แฝง (เอกสารแนบ 3) ภายใน 15 วันทําการนับจากวันทําธุรกรรม โดยต้องนําส่ง Term sheet และระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) ที่รองรับธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ๆ มาพร้อมกันด้วย อนึ่ง เพื่อให้เวลาแก่ธนาคารพาณิชย์ในการปรับตัวในการถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ สําหรับกรณีดังต่อไปนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งระเบียบผลิตภัณฑ์มาที่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่กําหนดดังนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเป็นอย่างอื่น ซึ่งในการกําหนดดังกล่าวธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติด้วยก็ได้ (3.1) สําหรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ไม่มีการทําธุรกรรมเพิ่มเติมและมียอดคงค้างตามสัญญาครบกําหนดหลังวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ให้จัดส่งภายในวันที่ดังกล่าว (3.2) สําหรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่เป็นธุรกรรมประเภทเดิมที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเคยทําแล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ และธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมเพิ่มเติม ให้จัดส่งภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 (4) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ซึ่งมีการง่ายผลตอบแทนอ้างอิงตราสารหนี้สกุลเงินบาท หรือให้สิทธิคู่สัญญาในการชําระคืนหรือรับชําระคืนเงินต้นหรือผลตอบแทนเป็นตราสารหนี้สกุลเงินบาท จะต้องรายงานการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตราสารหนี้ที่แฝงอยู่กับเงินฝากหรือเงินกู้ยืมให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ ไทย (The Thai Bond Market Association หรือ Thai BMA) โดยมีรายละเอียดตามที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด 5.4.6 การกํากับดูแล (1) เพื่อความระมัดระวังในการพิจารณาฐานะ และความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการอนุญาตธุรกรรมตามประกาศฉบับนี้ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติดังนี้ (1.1) ให้ประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรมดังต่อไปนี้อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันสิ้นเดือน ไม่ว่าธุรกรรมดังกล่าวจะอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าหรือบัญชีเพื่อการธนาคารก็ตาม (1.1.1) อนุพันธ์แฝง หรือธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงทั้งจํานวนในกรณีที่ไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมส่วนที่เป็นอนุพันธ์แฝงได้อย่างน่าเชื่อถือ (1.1.2) ธุรกรรม Synthetic Collateralized Debt Obligations, Credit Linked Notes, First to default Credit Linked Notes, Proportionate Credit Linked Notes (1.1.3) ธุรกรรมอื่นในบัญชีเพื่อการค้าทั้งหมด (1.1.4) ธุรกรรมที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging Instruments) สําหรับธุรกรรมตามกล่าวข้างต้น (ถ้ามี) ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมตามวรรค 1 หากปรากฏว่ามีผลขาดทุนสุทธิให้นําผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์และถ้ามีผลทําให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด ธนาคารพาณิชย์จะต้องดําเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติที่ได้กําหนดไว้ ซึ่งจะต้องกําหนดไว้อย่างละเอียด ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร โดยรวมถึงการกําหนดเกี่ยวกับการรายงานบุคคลที่เกี่ยวข้องตามระดับความรุนแรงและระยะเวลาในการดําเนินการ ในแต่ละขั้นตอนด้วย สําหรับปัญหาที่รุนแรงจะต้องรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาสั่งการและเร่งดําเนินการแก้ไข รวมทั้งจะต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาด้วย (1.2) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงเพิ่มเติม ธนาคารพาณิชย์จะต้องประเมินมูลค่ายุติธรรม ณ สิ้นวันก่อนของธุรกรรมตาม ข้อ 5.4.6 (1.1.1) ถึงข้อ 5.4.6 (1.1.1) ถ้ามีผลขาดทุนฤทธิให้นํามาหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ เงินกองทุนที่คํานวณได้จะต้องไม่ต่ํากว่าอัตราตามที่กฎหมายกําหนดและมีเพียงพอที่จะรองรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ต้องการจะทําเพิ่มมิฉะนั้น ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวไม่ได้ (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุน หลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ หลักเกณฑ์การกํากับเรื่องเงินลงทุน หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด หลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ หลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเหล่านี้ ให้พิจารณาตามองค์ประกอบบ่อยของธุรกรรม ทั้งนี้ การกํากับดูแลในเรื่องต่าง ๆ นั้น ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (2.1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ (2.2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน (2.3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) (2.4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงิน (2.5) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศสําหรับธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (2.6) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง (2.7) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด 5.4.7 ข้อกําหนดอื่น (1) ในการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ธนาคารพาณิชย์ต้องดูแลให้สัญญามีผลบังคับตามกฎหมาย ไม่ให้ขัดกับกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการทบทวนเป็นระยะตามความเหมาะสม (2) ห้ามธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงเกินวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (3) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีความจําเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงกรอบหรือหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมหรือการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ในการทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงในอนาคตตามความเหมาะสม รวมทั้งสงวนสิทธิในการระงับการทําธุรกรรม จํากัดปริมาณธุรกรรม กําหนดให้สํารองเพิ่มเติม หรือมาตรการอื่นใด ในกรณีที่พบว่าธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ใดไม่สอดคล้องตามหลักการใน 5.2 หรือธนาคารพาณิชย์ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด หรือพบการถือปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ใดที่ไม่รัดกุมหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ (4) การทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงของสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่สาขานั้นตั้งอยู่และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน 5.2 5.4.1 และ 5.4.3 ถึง 5.4.7 ของประกาศฉบับนี้ด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีสาขาดังกล่าวทําธุรกรรมกับบุคคลในประเทศไทยซึ่งจะต้องถือปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ด้วย อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล สําหรับธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยมีหนังสืออนุญาตให้ทําธุรกรรมก่อนวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับนั้น หากธุรกรรมดังกล่าวไม่อยู่ในกรอบการทําธุรกรรมที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มอีกไม่ได้ ส่วนธุรกรรมที่ทําไปแล้ว อนุญาตให้คงธุรกรรมดังกล่าวไว้ได้จนครบกําหนดอายุตามสัญญาโดยไม่อนุญาตให้มีการต่ออายุสัญญา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,701
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมอนุพันธ์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหลักการสําคัญที่ใช้ในการพิจารณาข้อหนึ่งคือ ธนาคารพาณิชย์จะต้องสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในประกาศฉบับนี้ได้กําหนดหลักการและรายละเอียดในทางปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นแนวทางในการถือปฏิบัติ โดยเป็นหน้าที่หลักของคณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องดูแลให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบในการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะความซับซ้อนและปริมาณธุรกรรมที่ทําและมีการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ โดยเคร่งครัด เดิมธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตการทําธุรกรรมอนุพันธ์แต่ละฉบับ จึงทําให้มีการกล่าวถึงซ้ํา ๆ กันไว้ในประกาศแต่ละฉบับ นอกจากนั้น แนวทางในการบริหารความเสี่ยงของประกาศแต่ละฉบับก็อาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับช่วงเวลาในการออกประกาศฉบับนั้น ๆ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้รวบรวมหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภทไว้ในประกาศฉบับนี้ เพื่อความชัดเจนและง่ายแก่การอ้างอิง โดยมีหลักการและเนื้อหาสาระที่ใกล้เคียงกับประกาศเดิม แต่จะให้ความสําคัญกับหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคาร และผู้บริหารระดับสูงมากขึ้นในการดูแลให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบในการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ และให้มีการอนุมัติระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) ที่มีการพิจารณาธุรกรรมในลักษณะที่ครบวงจร เพื่อมุ่งเน้นไปสู่การกํากับดูแลความเสี่ยง (Risk Based Supervision) อย่างเต็มรูปแบบ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 และมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ตามกรอบที่กําหนดในประกาศนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 แต่ไม่รวมธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย "คณะกรรมการธนาคาร" หมายความว่า คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 4.2 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์หลายประเภท ตามรายละเอียดในเอกสารแนบ 1 ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบธุรกิจดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ดังนี้ 4.2.1 หลักการ (1) คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ในการดูแลให้ธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับลักษณะปริมาณ และความซับซ้อนของการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ เพื่อมุ่งเน้นไปสู่การกํากับดูแลความเสี่ยง (Risk Based Supervision) อย่างเต็มรูปแบบ โดยในการพิจารณาประสิทธิภาพของระบบบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการธนาคารจะต้องนําผลการจัดระดับความเสี่ยงรวมด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ ที่ได้รับจากการตรวจสอบประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาพิจารณาประกอบด้วยและจะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบาล และการปฏิบัติตามดําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญด้วย (2) ในการอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ใด คณะกรรมการธนาคารต้องพิจารณาลักษณะโครงสร้างของธุรกรรม ความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมดังกล่าว ในลักษณะที่ครบวงจรครอบคลุมประเด็นสําคัญ ๆ ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกําหนดราคาและการประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรมอนุพันธ์นั้นๆ (3) คณะกรรมการธนาคารจะต้องพิจารณาอนุมัติการทําธุรกรรมอย่างระมัดระวัง โดยให้สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งให้เหมาะสมกับฐานะการเงินและเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (4) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีระบบงานเพื่อให้คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงสามารถติดตาม และควบคุมดูแล การทําธุรกรรมและการบริหารความเสี่ยงได้อย่างสม่ําเสมอ ทันต่อเวลา 4.2.2 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารและผู้บริหาร คณะกรรมการธนาคารมีบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) คณะกรรมการธนาคารจะต้องเข้าใจลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และจะต้องเป็นผู้กําหนดและอนุมัตินโยบายซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ในการทําธุรกรรมการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายในและการตรวจสอบ อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้งจะต้องเป็นผู้อนุมัติระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทใหม่ก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะเริ่มทําธุรกรรมนั้น ๆ ทั้งนี้ ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ข้างต้นรวมทั้งระเบียบผลิตภัณฑ์ คณะกรรมการธนาคารจะต้องให้ความเห็นชอบก่อนทุกครั้ง (2) คณะกรรมการธนาคารจะต้องนําผลการจัดระดับความเสี่ยงรวมด้านตลาดและด้านปฏิบัติการ ที่ได้รับจากการตรวจสอบประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาพิจารณาประกอบในการพิจารณาอนุญาตขอบเขตและลักษณะของธุรกรรมอนุพันธ์ รวมทั้งความมีประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับการทําธุรกรรมด้วย ทั้งนี้ จะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญด้วย (3) คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหาระต้องให้ความสําคัญ และส่งเสริมในเรื่องการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า (Client Suitability Analysis) และดูแลให้มีการปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ อย่างเคร่งครัด (4) คณะกรรมการธนาคารจะต้องกําหนดให้มีคณะกรรมการย่อย เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ดูแลการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ซึ่งคณะกรรมการย่อยหรือผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมดังกล่าวและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี และจะต้องควบคุมดูแลการทําธุรกรรมดังกล่าวให้เป็นไปตามน โยบายซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วอย่างใกล้ชิด และให้ความสําคัญในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมดังกล่าวด้วย (5) ตามหลักการของการอนุญาตธุรกรรมอนุพันธ์ ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์จะต้องมีฐานะและเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรด้านตลาดรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ และความเสี่ยงด้านคู่สัญญา จากธุรกรรมอนุพันธ์ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่ตลาดผันผวนสูง ทั้งนี้ คณะกรรมการธนาคารต้องกําหนดวิธีการในการพิจารณาฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุนก่อนเข้าทําธุรกรรม และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวก่อนเข้าทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้วย 4.2.3 นโยบายและกลยุทธ์ในการทําธุรกรรม ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการทําธุรกรรมให้ครอบคลุมขอบเขต ลักษณะ และปริมาณหรือเพดานสูงสุดของธุรกรรมอนุพันธ์ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร โดยอาจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น ประเภทธุรกรรม ประเภทตัวเปรหรือสินทรัพย์อ้างอิงที่ได้รับอนุญาต สกุลเงิน ระยะเวลา ประเภทของคู่สัญญา จํานวนเงินขั้นสูงหรือขั้นต่ํา โดยจะต้องพิจารณาฐานะการเงิน และเงินกองทุน รวมทั้งความพร้อมของระบบ บุคลากร ในการรองรับการทําธุรกรรมและการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 4.2.4 การจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product Program) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภทก่อนทําธุรกรรม โดยระเบียบผลิตภัณฑ์ที่กล่าวจะต้องลงนามให้ความเห็นโดยหัวหน้าฝ่ายงานหรือสายงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการธนาคารก่อนเริ่มทําธุรกรรมนั้น ๆ ซึ่งรายละเอียดที่ต้องกําหนด ได้แก่ (1) ลักษณะและโครงสร้างของธุรกรรม (2) ความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (3) ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า" (4) รายละเอียดขั้นตอนในการทําธุรกรรม กรณีที่มีประเด็นที่แตกต่างจากขั้นตอนการปฏิบัติที่กําหนดไว้ในข้อ 42.8 (5) วิธีการกําหนดราคาและการประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรม (6) อํานาจในการอนุมัติของผู้บริหารแต่ละระดับ (7) วิธีการบันทึกบัญชีของรายการดังกล่าว ระบบวิธีการทางภาษีอากร (8) วิธีการหรือแนวทางในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง (9) การจัดทํารายงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขั้นตอนการรายงานและการปฏิบัติกรณีเกิดความเสียหายเกินกว่าเพดานที่กําหนดด้วย (10) ประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าว (11) ข้อมูลอื่น ๆ ที่จําเป็น 4.2.5 นโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง ธนาคารพาณิชย์จะต้องกําหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงซึ่งครอบคลุมเรื่องต่อไปนี้ (1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหาร (วัด ติดตาม บริหาร และควบคุม) ความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งในด้านการจัดโครงสร้างองค์กรและในทางปฏิบัติ (2) การระบุประเภทความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมให้ครบถ้วนทุกประเภท และกําหนดประเภทของความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์อาจมี โดยพิจารณาความพร้อมในการบริหารและรองรับความเสี่ยงดังกล่าว การกําหนดนโยบายให้มีการปิดความเสี่ยงที่ไม่มีระบบบริหารความเสี่ยงรองรับหรือที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถบริหารความเสี่ยงนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในการพิจารณาความเสี่ยงในการทําธุรกรรม ธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาข้อมูลและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดจากประเภท โครงสร้างธุรกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างที่ไม่เป็นมาตรฐานหรือมีการ Leverage ความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ตัวแปร สินทรัพย์อ้างอิงแต่ละตัวหรือกลุ่มของสินทรัพย์อ้างอิง คู่สัญญา การประเมินค่าสหสัมพันธ์ต่าง ๆ (Correlation) รวมทั้งค่าสหสัมพันธ์ของสินทรัพย์หรือตัวแปรที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงกับคู่สัญญาซึ่งอาจมีผลให้การป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงคงเหลือที่เกิดจากความไม่สอดคล้องกันของการป้องกันความเสี่ยง (ถ้ามี) และการเข้าถึงเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงด้วย สําหรับการทําธุรกรรมที่อ้างอิงตัวแปรที่เกิดจากผลการดําเนินการใด ๆ เช่น การทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงอ้างอิงตัวแปรที่เป็นผลการดําเนินงานของกองทุนรวม ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์และประเมินกลยุทธ์และการตัดสินใจลงทุนที่เหมาะสม (3) การกําหนดให้มีระบบงานในการรองรับการบริหารความเสี่ยงทุกประเภทที่ธนาคารพาณิชย์มีอย่างครบถ้วน มีประสิทธิภาพ เหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กําหนดตามข้อ 4.2.6 สามารถสะท้อนและรองรับการวัด บริหารติดตาม และควบคุม ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมตามความซับซ้อนของธุรกรรม ได้อย่างถูกต้อง แม่นยํา รวมทั้งติดตามดูแลให้มีการนําไปใช้ในการบริหารและควบคุมความเสี่ยงในทางปฏิบัติ (4) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีการกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรม (Mark to Market) ที่เหมาะสม ชัดเจน และสะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริงและมีการประเมินมูลค่ายุติธรรมของยอดคงค้าง ณ ทุกสิ้นวันทําการ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (4.1) ในการประเมินมูลค่ายุติธรรม ธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในขณะที่ขังไม่มีมาตรฐานการบัญชีดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ซึ่งสรุปได้ตามเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ในการประเมินมูลค่ายุติธรรม ธนาคารพาณิชย์จะต้องเลือกใช้ราคาที่เหมาะสมกับฐานะที่ถือครองอยู่ เช่น กรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ลงทุนในตราสาร ก็ควรจะต้องเลือกใช้ราคาเสนอซื้อในการประเมินมูลค่ายุติธรรม เป็นต้น จนกว่ามาตรฐานการบัญชีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น (4.2) ในกรณีธนาคารพาณิชย์ประเมินมูลค่ายุติธรรมโดยใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าตามวิธีการในข้อ 2.3-2.5 ของเอกสารแนบ 2 เทคนิคดังกล่าวจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอิสระให้การรับรองด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระดังกล่าวอาจจะเป็นบุคคลหรือหน่วยงานภายในหรือภายนอกธนาคารพาณิชย์ก็ได้ แต่จะต้องเป็นอิสระจากหน่วยงานที่ทําหน้าที่พัฒนาเทคนิคหรือแบบจําลองดังกล่าว และหน่วยงานที่เป็นผู้ใช้เทคนิคหรือแบบจําลองดังกล่าวอย่างไรก็ดี ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมที่กล่าวของธนาคารพาณิชย์ใดแล้วพบว่าธนาคารพาณิชย์ยังถือปฏิบัติไม่รัดกุมหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการให้ดําเนินการเพิ่มเติมตามความเหมาะสม (4.3) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking Book) และธุรกรรมอนุพันธ์ที่ธนาคารพาณิชย์ได้บริหารความเสี่ยงแบบ Back-to-Back ซึ่งไม่มีความเสี่ยงด้านตลาดเหลืออยู่นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์ประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรมอนุพันธ์ข้างต้นนั้นในทุกวันสิ้นเดือนแทน (5) การกําหนดเพดานความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เหมาะสมกับกลยุทธ์ ฐานะการเงิน และเงินกองทุน ของธนาคารพาณิชย์เองรวมทั้งสอดคล้องกับระบบบริหารความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ เช่น Stop loss limit, Delta limit, Gamma limit, Vega limit, Correlation risk limit ตลอดจนเพดานที่เกี่ยวข้องกับการกระจุกตัวต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การกระจุกตัวในสินทรัพย์อ้างอิงประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิงรายใดรายหนึ่ง หรืออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งด้วยโดยธนาคารพาณิชย์จะต้องมีหน่วยงานที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะสามารถทําหน้าที่ประเมิน ติดตาม ควบคุมตรวจสอบดูแลการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของธนาคารพาณิชย์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (6) การรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารผ่านทางคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ําเสมอ สําหรับกรณีของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หน่วยงานบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอาจตั้งอยู่ในสํานักงานภูมิภาคก็ได้ โดยจะต้องมีการรายงานต่อหน่วยงานในประเทศที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานใหญ่ฯ อย่างสม่ําเสมอด้วย 4.2.6 ระบบงานที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีระบบงานที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยง และความซับซ้อนของธุรกรรมอนุพันธ์ของธนาคารพาณิชย์ โดยระบบที่กล่าวจะต้อง (1) สามารถสะท้อนและรองรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ได้อย่างชัดเจน ถูกต้องและแม่นยํา ทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรด้านตลาด (อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาตราสารทุน ราคาตราสารหนี้ ราคาสินค้า โภคภัณฑ์ เป็นต้น) ความเสี่ยงจากการทําธุรกรรม Options เช่น Delta, Vega, Gamma, Theta, Rhoและ Higher Order Greeks ความเสี่ยงในการกระจุกตัวของราคาใช้สิทธิและวันครบกําหนดความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านเครดิตทั้งที่เกิดจากสินทรัพย์อ้างอิงและที่เกิดจากคู่สัญญาทั้ง Pre-settlement และ Settlement risk เป็นต้น รวมทั้งมีระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ทิศทางและแนวโน้มของตัวเปรที่ใช้อ้างอิง และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และสามารถคํานวณความอ่อนไหวของอัตราผลตอบแทนต่อตัวแปรและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ (2) มีการนําไปใช้ในการบริหารและควบคุมความเสี่ยงในทางปฏิบัติโดยมีการเลือกใช้วิธีบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์มี เช่น Delta /Gamma / Vega Hedging, Dynamic/Static Replication Portfolio เป็นต้น ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวิเคราะห์ ทบทวน และปรับอัตราส่วน (Re-Balance) ฐานะในตัวแปรแต่ละประเภท (Asset Allocation) ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทิศทางของภาวะตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ตลอดจนมีการควบคุมระดับความเสี่ยงให้อยู่ภายในเพดานความเสี่ยงตามนโยบายที่กําหนดโดยคณะกรรมการธนาคาร (3) สามารถบริหารการลงทุนในลักษณะ Portfolio Model ที่สามารถวิเคราะห์จัดสรรอัตราส่วนการลงทุนในตัวแปรแต่ละประเภท (Asset Allocation) ซึ่งครอบคลุมค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแต่ละประเภทด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมโดยแบบจําลองจะต้องสามารถวัดและคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนในตัวแปรแต่ละประเภท และผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในลักษณะ Portfolio ได้อย่างน้อยทุกวัน (4) มีการทดสอบประสิทธิภาพ ความถูกต้องและแม่นยําของระบบบริหารความเสี่ยงภายในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น มีการทดสอบ Back Test และมีการทดสอบ Stress Test ของแบบจําลอง Value at Risk อย่างสม่ําเสมอ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่สามารถทําตามข้อกําหนดข้อ (1) - (4) ข้างต้นได้อย่างครบถ้วนเฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงธุรกรรมอนุพันธ์แบบ Back to Back เท่านั้น แต่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีแนวทางที่เหมาะสมชัดเจน ในการประเมิน ติดตาม บริหาร และควบคุม ความเสี่ยงของคู่สัญญา 4.2.7 นโยบายการควบคุมภายในและตรวจสอบ ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดนโยบายการควบคุมภายในและตรวจสอบ ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องต่อไปนี้ (1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหาร (วัด ติดตาม บริหาร และควบคุม) ความเสี่ยง และการควบคุมภายในและตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ มีการแบ่งแยกหน้าที่ และการจัดโครงสร้างองค์กร สายบังคับบัญชา ที่เหมาะสมและชัดเจน (2) การกําหนดให้คณะกรรมการบ่อยหรือคณะผู้บริหารระดับสูงกําหนดรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติในการทําธุรกรรมตามข้อ 4.2.8 และจัดทําระเบียบและวิธีปฏิบัติในการควบคุมภายใน อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติงานและช่วยในการติดตามดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่ได้รับความเห็นชอบที่กล่าว (3) การตรวจสอบการปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติโดยหน่วยงานอิสระ ตามระเบียบวิธีการ และความถี่ที่กําหนด (4) การรายงานการติดตามการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในทั้งในกรณีปกติอย่างสม่ําเสมอ และกรณีที่พบการปฏิบัติที่ไม่รัดกุม ซึ่งต้องรายงานเพื่อพิจารณากําหนดแนวทางแก้ไขปรับปรุง และป้องกันปัญหาในอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทํารายงานการตรวจสอบภายในเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานใหญ่ในกรณีของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศโดยหน่วยงานดังกล่าวอาจตั้งอยู่ในสํานักงานภูมิภาคก็ได้ 4.2.8 ขั้นตอนการปฏิบัติในการทําธุรกรรม ธนาคารพาณิชย์ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติในการทําธุรกรรมที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีรายละเอียดของการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตั้งแต่เริ่มขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารไปจนถึงการติดตามบริหารความเสี่ยงธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ๆ จนสิ้นสุดสัญญา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการขออนุญาตทําธุรกรรมจากคณะกรรมการธนาคาร (2) รายละเอียดในการพิจารณาฐานะการเงินและเงินกองทุนว่าเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรด้านตลาดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือความเสี่ยงด้านคู่สัญญาจากธุรกรรมอนุพันธ์ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูงตามวิธีการที่กําหนดโดยคณะกรรมการธนาคาร (3) ขั้นตอนการทําธุรกรรม เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกรรมการจัดทําการวิเคราะห์ความเหมาะสมของคู่สัญญาในการเข้าทําธุรกรรม การตรวจสอบภาระ (Underlying) ของลูกค้า การตรวจสอบความเสี่ยงของคู่สัญญาก่อนและหลังการเข้าทําธุรกรรมการตรวจสอบระดับความเสี่ยงปัจจุบันของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมการตรวจสอบเพดานคงเหลือก่อนทําธุรกรรม การอนุมัติการทําธุรกรรมโดยบุคคลที่มีอํานาจตามลําดับขั้น การให้ข้อมูลลูกค้า การบันทึกธุรกรรมลงในระบบงาน การตรวจสอบความถูกต้องของการทําธุรกรรม การยืนยันธุรกรรม และการจัดทําเอกสารหลักฐานและลงนามโดยผู้มีอํานาจดําเนินการ เป็นต้น (4) ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องมีแนวทางในการรองรับการประเมินราคายุติธรรม และความเสี่ยงต่าง ๆ สภาพคล่องของสภาวะตลาดในการบริหารความเสี่ยงของธุรกรรมนั้น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์อาจไม่สามารถออกจากฐานะที่ธนาคารพาณิชย์ถืออยู่ได้อย่างรวดเร็วจนทําให้ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากได้ และการควบคุมระดับความเสี่ยงให้อยู่กายใต้เพดานที่กําหนด การรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการธนาคาร ทั้งกรณีปกติที่ทําอย่างสม่ําเสมอ และกรณีเกินเพดานความเสี่ยงที่กําหนดไว้ ขั้นตอนการปฏิบัติกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ไปในทิศทางที่เป็นผลลบกับธนาคารพาณิชย์ โดยอาจพิจารณาในลักษณะผลกระทบต่อ Portfolio โดยรวมก็ได้ 4.2.9 บุคลากร ธนาคารพาณิชย์ต้องมีบุคลากรในแต่ละส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ หน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง หน่วยงานบริหารความเสี่ยง หน่วยงานด้านปฏิบัติการและหน่วยงานควบคุมภายในที่เพียงพอที่จะรองรับการประกอบธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร โดยบุคลากรดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถและประสบการณ์เพียงพอ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,702
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ --------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีตธุรกิจธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจที่แยกออกมาจากธุรกิจหลักทรัพย์อย่างสิ้นเชิงแต่สภาวการณ์ของตลาดเงินและตลาดทุนได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกิจหลักทรัพย์ได้มากขึ้นมาเป็นลําดับ และยังเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์สามารถถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมได้ร้อยละ 100 เพื่อเพิ่มช่องทางการประกอบธุรกิจและบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ถึงบัดนี้ธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้เกือบทุกประเภท ยกเว้นการเป็นนายหน้าซื้อขาย การจัดจําหน่ายและการค้าตราสารทุน ทั้งนี้ การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดขอบเขตธุรกิจให้สอดคล้องกับสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์มาไว้ในฉบับนี้ เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ธนาคารพาณิชย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ใดได้รับการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดแล้วให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ขอบเขตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้โดยธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับใบอนุญาต ขึ้นทะเบียน หรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อย่างไรก็ดี ธุรกิจบางประเภทธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย สําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย | | | | | --- | --- | --- | | ที่ | ประเภทธุรกิจ | หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ | | เกณฑ์ ก.ล.ต. | เกณฑ์ ธปท. (เพิ่มเติม) | | 1 | ธุรกิจนายหน้า ค้าและจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ | | 1.1 | การค้าและการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ | P | P(เอกสารแนบ 2) | | 1.2 | การเป็นนายหน้า ค้า จัดจําหน่าย หน่วยลงทุน | P | P(เอกสารแนบ 3) | | | | | | --- | --- | --- | | ที่ | ประเภทธุรกิจ | หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ | | เกณฑ์ ก.ล.ต. | เกณฑ์ ธปท. (เพิ่มเติม) | | 2 | ธุรกิจแนะนําการลงทุน | | 2.1 | การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน | P | - | | 2.2 | การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ด้านหลักทรัพย์) | P | - | | 3 | ธุรกิจจัดการลงทุน | | 3.1 | การจัดการกองทุนส่วนบุคคล | P | - | | 3.2 | การจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | P | - | | 4 | ธุรกิจหลักทรัพย์อื่น | | 4.1 | การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และการขายชอร์ต | P | P(เอกสารแนบ 4) | | 4.2 | การเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ | P | - | | 4.3 | การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ | P | - | | 4.4 | การเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม | P | - | | 4.5 | การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ | P | - | | 4.6 | การเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน | P | - | 5.2 เกณฑ์การกํากับทั่วไป 5.2.1 ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวข้างต้นต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงที่สามารถประเมิน ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมโดยคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดกลยุทธ์ อนุมัตินโยบาย แผนงาน ระเบียบ และหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงระบบงานเพื่อรองรับธุรกิจตามมาตรฐานที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด เช่น ระบบการแยกทรัพย์สินของลูกค้าและธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น 5.2.2 ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ประก่อบธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ หรือเป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงเกณฑ์อัตราส่วนการถือหรือมีหุ้นหรือมีหน่วยลงทุน และหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) 5.3 การพักหรือเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจพักหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ 5.3.1 ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และข้อกําหนดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3.2 กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,703
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 16/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 16/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ------------------------------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีตการดําเนินธุรกิจเงินทุนซึ่งเป็นธุรกิจการเงินประเภทหนึ่งในการระดมเงินจากประชาชนและให้กู้ยืมเงินดังกล่าวในรูปของสินเชื่อทั่วไปและการให้เช่าซื้อทรัพย์สิน ได้รวมอยู่กับธุรกิจหลักทรัพย์ในรูปของ "บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์" ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งอยู่ในการกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยจนกระทั่งปี 2535 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ขึ้นเพื่อกํากับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งเป็นธุรกรรมทางด้านตลาดทุนเป็นการเฉพาะ โดยมีสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นหน่วยงานกํากับดูแลต่อมาในปี 2537 ทางการมีนโยบายให้ "บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์" แยกกิจการเงินทุนและหลักทรัพย์ออกจากกันเป็นสองบริษัทคือ "บริษัทเงินทุน" และ "บริษัทหลักทรัพย์" เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจเงินทุนกับธุรกิจหลักทรัพย์มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันและแนวทางการกํากับดูแลแตกต่างกัน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันจะเกิดแก่เงินออมของประชาชนที่นํามาฝากไว้กับบริษัทเงินทุนในการที่บริษัทเงินทุนจะนําเงินนั้นไปใช้ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาวการณ์ของตลาดเงินและตลาดทุนได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรเปิดให้บริษัทเงินทุนที่มีความพร้อมและมีระบบบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมสามารถประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์บางประเภทได้ เช่นการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ เป็นต้น ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่บริษัทเงินทุนเคยได้รับอนุญาตให้ทําได้อยู่แล้วตามเดิมมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนใดทําธุรกรรมดังกล่าวอยู่แล้วก็ให้ดําเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ บริษัทเงินทุนจะต้องคํานึงถึงการขออนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งกําหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แต่ละประเภท โดยได้จํากัดประเภทของธุรกิจหลักทรัพย์บางประเภทที่เดิมเคยให้บริษัทเงินทุนสามารถขออนุญาตประกอบธุรกิจได้ เช่น การค้าและจัดจําหน่ายตราสารแห่งหนี้ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เป็นต้น เนื่องจากพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น กฎกระทรวง ประกาศต่าง ๆ ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวจึงสิ้นผลบังคับใช้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ขอบเขตการประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์โดยบริษัทเงินทุนต้องได้รับใบอนุญาต ขึ้นทะเบียน หรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ดังนี้ | | | | | --- | --- | --- | | ที่ | ประเภทธุรกิจ | หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจตามสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | | 1 | การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน | P | | 2 | การเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ | P | | 3 | การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ | P | | 4 | การเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม | P | | 5 | การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ | P | | 6 | การเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน | P | 5.2 เกณฑ์การกํากับทั่วไป 5.2.1 บริษัทเงินทุนที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวข้างต้นต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงที่สามารถประเมิน ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม โดยคณะกรรมการของบริษัทเงินทุนต้องกําหนดกลยุทธ์ อนุมัตินโยบาย แผนงาน ระเบียบ และหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งครอบคลุมถึงระบบงานเพื่อรองรับธุรกิจตามมาตรฐานที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดเช่น ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบการแยกทรัพย์สินของลูกค้าและบริษัทเงินทุน เป็นต้น 5.2.2 บริษัทเงินทุนต้องไม่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ 5.3 การพักหรือเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจพักหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ 5.3.1 บริษัทเงินทุนฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และข้อกําหนดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3.2 กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,704
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจการประกันภัย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจการประกันภัย -------------------------------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในอดีตผู้ให้บริการด้านประกันภัยจํากัดอยู่เพียงบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตเท่านั้น ต่อมามีความต้องการใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการลดความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ในฐานะเจ้าหนี้ และประชาชนในฐานะลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกหนี้ที่รู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งมีระยะเวลาการผ่อนชําระก่อนข้างยาว (10 ปีขึ้นไป) ที่มีความเสี่ยงอันอาจทําให้ต้องสูญเสียที่อยู่อาศัยหากเสียชีวิต หรือมีภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นหากมีความเสียหายจากที่อยู่อาศัย เช่น เพลิงไหม้ เป็นต้น ซึ่งการประกันภัยจะเข้ามาช่วยบรรเทาภาระของผู้กู้ได้ ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์จะแนะนําหรือนําเสนอโครงการประกันภัยของบริษัทในเครือของตนต่อลูกค้าผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ขัดข้องที่ธนาคารพาณิชย์จะแนะนําบริการนี้ เพราะเห็นว่าการเสนอบริการในลักษณะที่กล่าวนี้มีประโยชน์ต่อลูกค้าแต่การทําประกันภัยดังกล่าวให้เป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้า ห้ามธนาคารพาณิชย์กําหนดเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และจะบังคับให้ลูกค้าทําประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งไม่ได้ ต่อมาสถานการณ์ตลาดเงินและตลาดทุนได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป การประกันภัยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการระดมเงินออมและป้องกันความเสี่ยงได้อย่างกว้างขวาง กรมการประกันภัยซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และธนาคารแห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นความสําคัญของการทําประกันภัย จึงได้เปิดให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยได้เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้บริการแนะนํา เผยแพร่แผ่นพับโฆษณาของบริษัทประกันภัยให้แก่ลูกค้า รวมถึงการเป็นนายหน้าประกันภัย การออกประกาศฉบับนี้ เพื่อให้การอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายสอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 และเป็นการรวบรวมประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจการประกันภัยให้อยู่ในฉบับเดียวกันโดยสาระสําคัญและหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจการประกันภัยไม่เปลี่ยนแปลง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจการประกันภัยตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก 4.1 หนังสือเวียนที่ ธปท. ณก. (ว) 310/2536 เรื่อง การให้บริการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกันภัยแก่ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ลงวันที่ 1 มีนาคม 2536 4.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2544 และหนังสือเวียนที่ สนส. (03) ว. 1/2545 ลงวันที่ 4 มกราคม 2545 4.3 หนังสือเวียนที่ ธปท.สนส. (31) ว. 196/2545 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เผยแพร่แผ่นพับโฆษณาของบริษัทประกันภัย ลงวันที่ 22 มกราคม 2545 4.4 หนังสือเวียนที่ สนส. (03) ว. 10/2545 เรื่อง นําส่งประกาศนายทะเบียนกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลประเภทธนาคารพาณิชย์เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิต ลงวันที่ 31 มกราคม 2545 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "นายหน้าประกันวินาศภัย" หมายความว่า ธุรกรรมการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน "นายหน้าประกันชีวิต" หมายความว่า ธุรกรรมการเป็นนายหน้าประกันชีวิตตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน "บริษัท" หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยหรือบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยหรือธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย "นายทะเบียน" หมายความว่า นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.2 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ 5.2.1 ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิต จะต้องยื่นขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนและปฏิบัติตามประกาศนายทะเบียน ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง (1) ประกาศนายทะเบียนเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลประเภทธนาคารพาณิชย์เป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ลงวันที่ 14 มกราคม 2545 (2) ประกาศนายทะเบียนเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลประเภทธนาคารพาณิชย์เป็นนายหน้าประกันชีวิต ลงวันที่ 14 มกราคม 2545 5.2.2 ห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับลูกค้าทําประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ หรือบังคับลูกค้าทําประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง หรือกําหนดการทําประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาสินเชื่อหรือแนวปฏิบัติที่มีลักษณะเป็นการบังคับให้ลูกค้าทําประกันภัย แต่ให้ลูกค้ามีสิทธิเลือกที่จะทําประกันภัยกับบริษัทใดก็ได้หรือทําผ่านนายหน้าประกันวินาศภัยและ/หรือนายหน้าประกันชีวิตใดก็ได้ตามความสมัครใจของลูกค้า 5.2.3 กําหนดนโยบายการประกอบกิจการนายหน้าประกันภัย รวมถึงรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติ วิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การบริหารความเสี่ยงการคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการกับลูกค้าและกับบริษัทประกันภัย และระบบการควบคุมภายในไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ 5.2.4 ตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม 5.2.5 บันทึกรับรู้รายได้ที่ได้รับจากนายหน้าประกันวินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต หรือจากการให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากลูกค้า จากบริษัทประกันวินาศภัยและจากบริษัทประกันชีวิตให้ครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง 5.2.6 มีการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,705
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.52/14/51 | 75,000 | 23 พฤษภาคม 2551 | 27/5/51 – 10/6/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2551 (นางอัจนา ไวความดี) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,706
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 18/2551เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนและบริการอื่น
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 18/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนและบริการอื่น ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น อันเป็นการลดต้นทุนในการดําเนินงาน เพิ่มรายได้ และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านบริการของธนาคารพาณิชย์ในการให้บริการงานด้านปฏิบัติการต่าง ๆ (Back office) และบริการอื่นเพิ่มเติมเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า โดยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) และการให้บริการอื่นมาเป็นลําดับ การให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นในด้านปฏิบัติการต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นงาน Back office ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 และต่อมาเมื่อได้มีการออกหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ประการหนึ่ง และหลักเกณฑ์เรื่องการประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 อีกประการหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นได้มากขึ้น โดยให้ครอบคลุมถึงหน่วยธุรกิจทุกหน่วยในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และครอบคลุมถึงนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และบริษัทที่รับโอนสินทรัพย์ที่อยู่ภายใด้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรับโอนสินทรัพย์จากผู้ขายสินทรัพย์และออกหลักทรัพย์ขายแก่ผู้ลงทุน สําหรับการให้บริการเพิ่มเติมอื่นเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ลูกค้า เช่น การเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ การรับจ้างบริหารสินทรัพย์ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเมื่อมีการตรากฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย การทําหน้าที่ตัวแทนจ่ายแคชเชียร์เช็คให้แก่ลูกค้านั้นธนาคารแห่งประเทศไทยก็อนุญาตให้สถาบันการเงินดําเนินการได้เป็นการทั่วไปมาเป็นลําดับเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี การให้บริการดังกล่าวข้างต้นธนาคารพาณิชย์ควรมีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการและระมัดระวังไม่ให้บริการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจปกติของธนาคาร และไม่ให้ปริมาณของงานให้บริการดังกล่าวมีมากเกินบทบาทของงานด้านการธนาคารพาณิชย์ หรือเกินกว่าความสามารถของธนาคารพาณิชย์ในการให้บริการได้ด้วยตนเอง การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นและบริการอื่นมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ใดได้ดําเนินธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้วก็ให้ทําต่อไปได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นและบริการอื่นตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "บุคคลอื่น" หมายความว่า บุคคลอื่นนอกจากธนาคารพาณิชย์แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังนี้ (1) สถาบันการเงินอื่น (2) บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์นั้น หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินอื่น ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินดังกล่าวข้างต้นจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (4) ธนาคารแห่งประเทศไทย (5) นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่รับโอนสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรับโอนสินทรัพย์จากผู้ขายสินทรัพย์และออกหลักทรัพย์ขายแก่ผู้ลงทุน "บริษัท" หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัดห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น "งานสนับสนุน" หมายความว่า งานปฏิบัติการที่เป็นการเอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานปกติของสถาบันการเงิน (Back office) ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง งานบัญชีและการเงินงานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานตรวจสอบภายใน (Internal audit) งานด้านกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance) งานบริหารจัดการในธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์(Securitization) หรืองานสนับสนุนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว "งานเทคโนโลยีสารสนเทศ" หมายความว่า งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นงานสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน เช่น งานด้านการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์การพัฒนาและจําหน่ายระบบงานและ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูล และการบํารุงรักษาและการรักษาความปลอดภัยทรัพยากร คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ระบบงานและโปรแกรม ระบบเครือข่ายสื่อสาร และข้อมูล เป็นต้น "กิจการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้" หมายความว่า กิจการให้บริการเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชําระหนี้ การจัดทําบัญชี รายงาน เก็บรักษาเอกสาร ชําระภาษี หรือเบี้ยประกันภัยตลอดจนการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บหนี้นั้น 5.2 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ 5.2.1 การให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.1 ได้ เมื่อธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามที่กล่าวใน (1) ถึง (7) ครบถ้วนแล้ว (1) กําหนดนโยบายการให้บริการด้านงานสนับสนุนอย่างชัดเจน โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ โดยคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์อาจมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบด้านงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ให้ความเห็นชอบได้ (2) ประเมินศักยภาพและความเพียงพอของทรัพยากรของธนาคารในการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องระมัดระวังไม่ให้บริการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานและการให้บริการตามปกติของธนาคาร และไม่ให้ปริมาณของงานให้บริการดังกล่าวมีมากเกินบทบาทของงานด้านธุรกิจธนาคารพาณิชย์ หรือเกินกว่าความสามารถของธนาคารพาณิชย์ในการให้ บริการได้ด้วยตนเอง โดยการให้บริการดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้ธนาคารพาณิชย์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมารับช่วงให้บริการแทน (3) ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการให้บริการด้านงานสนับสนุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงต่อการดําเนินงาน ภาพลักษณ์ของธนาคารพาณิชย์ และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งกําหนดน โยบายการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจน (4) จัดทําสัญญาที่กําหนดรายละเอียดประเภทของการให้บริการ ขั้นตอนหรือวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการระหว่างกันระบบการควบคุมภายใน และระบบการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์และผู้รับบริการ (5) จัดให้มีการบันทึกบัญชีรายได้จากการให้บริการดังกล่าวให้ถูกต้องทั้งนี้ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการจากการให้บริการดังกล่าวต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม (6) จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมและเพียงพอ มีการจัดทําแผนฉุกเฉิน ทดสอบ และปรับปรุงแผนฉุกเฉินดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ (7) เก็บรักษาเอกสารตาม (1) ถึง (6) ไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา 5.2.2 บริการอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการอื่นได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ (1) การให้บริการข่าวสารข้อมูล เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจและการลงทุนของประชาชน (2) การจัดจําหน่ายโปรแกรมระบบงานที่ธนาคารพาณิชย์ได้นํามาพัฒนาแล้วรวมถึงการพัฒนาระบบงานด้านคอมพิวเตอร์ ธนาคารพาณิชย์อาจกระทําได้ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (2.1) ต้องมิได้กระทําเป็นทางค้าปกติ (2.2) ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการเงิน (2.3) ต้องมีลักษณะเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้ได้ประโยชน์มากขึ้น (3) การจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับรายการสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งใบสั่งซื้อให้แก่ลูกค้า ธนาคารพาณิชย์อาจจะเป็นผู้รวบรวมเอกสารดังกล่าวจากผู้จําหน่ายหรือผู้ให้บริการหรือธนาคารพาณิชย์อาจจะเป็นผู้จัดพิมพ์เอกสารดังกล่าวให้เองและจัดส่งให้แก่ลูกค้าก็ได้โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (3.1) ในใบสั่งซื้อหรือขอใช้บริการจะต้องระบุรายการให้ชัดเจนแยกตามผู้จําหน่ายอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ หรือสถานที่ติดต่อของผู้จําหน่ายสินค้าหรือผู้ให้บริการ และถ้อยคําที่ระบุว่าธนาคารพาณิชย์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจําหน่ายสินค้าหรือให้บริการนั้น และในกรณีที่สินค้าหรือบริการที่ให้แก่ลูกค้าชํารุดเสียหายหรือมีข้อบกพร่องใด ๆ ให้ลูกค้าติดต่อกับผู้จําหน่ายหรือผู้ให้บริการโดยตรง ตามชื่อ หมายเลขโทรศัพท์หรือสถานที่ของผู้จําหน่ายหรือผู้ให้บริการที่แจ้งไว้ (3.2) ในการรับใบสั่งซื้อจากลูกค้า โดยปกติแล้วมีเจตนาที่จะให้ผู้ขายเป็นผู้รับใบสั่งซื้อจากลูกค้าโดยตรง ไม่ควรจะเป็นธนาคารพาณิชย์ เพราะจะทําให้ประชาชนเกิดการเข้าใจผิดว่าธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการเสียเอง อย่างไรก็ดี หากมีปัญหาหรือมีข้อขัดข้องหรือเกิดความไม่สะดวกขึ้นเป็นอย่างยิ่ง ธนาคารพาณิชย์อาจจะเป็นผู้รับใบสั่งซื้อจากลูกคําบัตรเครดิต เพื่อรวบรวมส่งต่อให้แก่ผู้จําหน่ายหรือผู้ให้บริการก็ไว้ แต่ธนาคารพาณิชย์จะต้องจดแจ้งข้อความให้เห็นโดยชัดเจนว่า การสั่งซื้อสินค้าหรือการขอใช้บริการในแต่ละครั้งนั้นเป็นการสั่งซื้อหรือการขอใช้บริการจากผู้จําหน่ายหรือผู้ให้บริการ มิใช่เป็นการสั่งซื้อหรือขอใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ (4) การดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินทั่วไป (Custodian service) มีขอบเขตรวมถึงการรับหรือส่งมอบหลักทรัพย์ การรับหรือการจ่ายเงินค่าหลักทรัพย์ การรับเงินปันผล การผลประโยชน์อันเกิดจากหลักทรัพย์นั้น ๆ การเป็นตัวแทนผู้รับมอบฉันทะจากลูกค้าในการเข้าประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นและลงคะแนนเสียง และการดูแลและเก็บรักษาเอกสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินต่าง ๆ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจําหน่าย จ่ายโอน หรือประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (5) การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินทั่วไป (Financial advisor) คือ การให้คําปรึกษาทางด้านการเงินในด้านต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนทางการเงินของโครงการลงทุน การจัดโครงสร้างเงินทุนของกิจการ การให้บริการจัดทําหรือวิเคราะห์ โครงการเพื่อการลงทุน (Feasibility studies) และการวางแผนทางการเงิน เป็นต้น (6) การจัดการออกตราสารหนี้ ได้แก่ การเป็นผู้จัดการให้บริษัทจํากัดและบริษัทมหาชนจํากัด ออกตราสารแห่งหนี้เพื่อการกู้ยืมเงินจากประชาชน และรวมถึงการให้คําปรึกษาและการจัดการด้านเอกสารต่างๆ (7) การเป็นตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอนุญาตให้ทําได้เฉพาะตราสารแห่งหนี้ภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน (8) การติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า ได้แก่ การเผยแพร่ข้อมูลและบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า และติดต่อชักชวนให้ลูกค้ามาใช้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ เช่น การเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งรวมถึงการแจก รวบรวม และตรวจสอบเอกสารคําขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และเอกสารหลักฐานประกอบการเปิดบัญชี (9) ผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศ อนุญาตให้สาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศทําหน้าที่จัดการกองทุน หรือรับบริหารสินทรัพย์ให้แก่บุคคลได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในประเทศนั้น (10) การประกอบกิจการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ให้แก่บุคคลใด ๆ โดยมีคําตอบแทนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นหนี้ ที่เกิดจากการกู้ยืม หรือหนี้อื่นใด หรือการเป็นตัวแทนรับชําระหนี้คําสาธารณูปโภคให้กับหน่วยงานที่ให้บริการด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่เข้ารับความเสี่ยงจากกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ เช่น เข้ามีส่วนรับผิดชอบในภาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน นอกจากนี้จะต้องดําเนินการดังนี้ (10.1) จัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานของสัญญาอันเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ แยกต่างหากจากกิจการอื่นของธนาคารพาณิชย์ (10.2) จัดทํารายงานในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แต่ละรายออกจากกันตามสัญญาระหว่างธนาคารพาณิชย์กับผู้ว่าจ้างแต่ละราย เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์และผู้ว่าจ้างสามารถตรวจสอบและติดตามดูแลผลการดําเนินงานได้ (10.3) ในการประกอบกิจการตัวแทนรับชําระหนี้ค่าสาธารณูปโภคนั้นธนาคารพาณิชย์จะต้องให้บริการรับชําระหนี้ค่าสาธารณูปโภคโดยวิธีหักบัญชีผู้ใช้บริการที่เป็นลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ควบคู่ไปกับวิธีรับชําระเงินผ่านเคาน์เตอร์ และในกรณีที่หน่วยงานผู้ให้บริการสาธารณูปโภคเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้ใช้บริการ ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้บริการอีกไม่ได้ (11) การเป็นตัวแทนหรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยรับโอนมาตามพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องอันเนื่องมาจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ตามที่ได้รับมอบหมายจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าการประกอบธุรกิจตัวแทนรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวนั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่ตนรับทําหน้าที่เป็นตัวแทนรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแยกต่างหากจากกิจการอื่นของธนาคารพาณิชย์ (12) การให้บุคคลภายนอกใช้บริการศูนย์ฝึกอบรมของธนาคารพาณิชย์โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (12.1) การกําหนดราคาให้เช่าจะต้องเหมาะสมเป็นทางการค้าปกติ (12.2) การให้เช่าต้องกระทําเป็นครั้งคราว โดยไม่ให้มีการผูกขาดโดยบุคคลหนึ่งบุคคลใด (12.3) ในการพิจารณาให้เช่า จะต้องคํานึงถึงประโยชน์เพื่อธนาคารพาณิชย์และพนักงานของธนาคารพาณิชย์ก่อนเป็นอันดับแรก (13) การให้ผู้ร่วมลงทุน หรือสถาบันการเงินอื่นใช้บุคลากร สถานที่ อุปกรณ์และบริการต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่ออํานวยความสะดวกและเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (13.1) ธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ดําเนินการ ได้เฉพาะส่วนของสายงานปฏิบัติการ (Back office) และกับผู้ร่วมลงทุนหรือสถาบันการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเท่านั้น งานดังกล่าวในวรรคหนึ่งประกอบด้วยงานส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรและส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากร ได้แก่ ส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ปฏิบัติงาน ดังนี้ ก. งานลักษณะสนับสนุน เช่น งานทางด้านบุคคล ด้านการจัดจ้างจัดเก็บ ด้านการจัดซื้อ ด้านสถานที่ ด้านธุรการ ด้านสวัสดิการ ด้านรักษาความปลอดภัย เป็นต้น ข. งานที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับมอบหมายเฉพาะด้าน เช่น งานทางด้านบัญชี ด้านนายหน้าหรือตัวแทน ด้านกฎหมาย ด้านประมวลผลข้อมูล ด้านดูแลทรัพย์สิน ด้านการจัดเตรียมนิติกรรมสัญญา ด้านการพิมพ์ใบแจ้งหนี้ ด้านการติดตามหนี้ยกเว้นการรับชําระหนี้ ด้านการประเมินราคาทรัพย์สินและหลักประกันโดยธุรกรรมที่กระทําจะต้องดําเนินการผ่านธนาคารพาณิชย์ ค. งานทางด้านการกํากับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance unit) ทั้งนี้ บุคลากรที่อาจใช้ร่วมกันได้รวมไปถึงกรรมการที่ไม่มีตําแหน่งทางด้านบริหาร โดยไม่ขัดต่อข้อกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ ก. สถานที่ในส่วนสนับสนุนธุรกิจ เช่น สถานที่จอดรถสถานพยาบาล อาคารสันทนาการ ห้องมั่นคง ห้องคอมพิวเตอร์ และคลังสินค้า เป็นต้น ข. สถานที่ในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้งานของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ ผู้ร่วมลงทุนหรือสถาบันการเงินอื่นจะต้องชําระค่าใช้บริการให้แก่ธนาคารพาณิชย์ที่มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ว่าจ้างบุคลากร และ หรือเฉลี่ยค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานตามสัดส่วนของต้นทุนที่เกิดขึ้น (13.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดระเบียบพิธีปฏิบัติ การรักษาข้อมูลหรือความลับที่ชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสน และนําเสนอระเบียบดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบ รวมทั้งต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยเคร่งครัด (13.3) ให้ใช้เจ้าหน้าที่ซึ่งทําหน้าที่ ติดตาม และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งที่เป็นลูกหนี้รายเดียวและไม่ใช่รายเดียวกัน ร่วมกับบุคคลอื่นได้ (13.4) จะต้องมีระเบียบพิธีปฏิบัติควบคุมดูแลบุคลากรที่ใช้ร่วมกับผู้อื่นและผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีการนําข้อมูลของลูกหนี้ ทั้งที่เป็นลูกหนี้ของตนเอง และของบุคคลอื่นที่อาจได้รับทราบจากการใช้บุคลากรร่วมกันไปใช้เพื่อประ โยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ และให้มีการติดตามดูแลการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยเคร่งครัด และมีบทกําหนดโทษสําหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนั้น (13.5) จะต้องควบคุมดูแลบุคลากรที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่นให้ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ ทั้งลูกหนี้จะต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจนว่าบุคลากรดังกล่าวกําลังทํางานให้แก่บุคคลใดเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด และจากการที่บุคลากรนั้นทํางานให้บุคคลอื่นเกินกว่า 1 แห่งอาจก่อให้เกิดความสับสนทั้งบุคลากรและลูกหนี้ จึงต้องมีข้อกําหนดถึงบุคคลที่ต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายแก่ลูกหนี้อันเกิดจากความสับสนดังกล่าวแม้ว่าลูกหนี้ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยที่พึงปฏิบัติแล้ว ทั้งนี้ บุคคลที่ต้องรับผิดชอบอาจมิใช่เจ้าหนี้ก็ได้ (14) การเป็นตัวแทนจ่ายเงิน (Paying agent) ธนาคารพาณิชย์สามารถทําหน้าที่เป็นตัวแทนจ่ายแคชเชียร์เช็ดหรือเงินสดให้แก่ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นตามที่ ได้รับการแต่งตั้งได้ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งที่เป็นตัวการและตัวแทนดังกล่าวทั้งสองฝ่ายยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ทราบความประสงค์ของทั้งสองฝ่ายให้เป็นที่แน่ชัด โดยแสดงเหตุผลและข้อมูลตามรายการดังต่อไปนี้ และหากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีหนังสือแจ้งทักท้วงหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับหนังสือขออนุญาตครบถ้วนจากทั้งสองฝ่ายแล้ว ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์นั้นดําเนินการได้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (14.1) กําหนดนโยบาย กระบวนการ และวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการดําเนินการเป็นตัวการและตัวแทนจ่ายเงินซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย เพื่อนําไปถือปฏิบัติเป็นเกณฑ์ภายในซึ่งรวมถึงการจัดตั้งระบบ การประเมินความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง ขั้นตอนของการบริการการส่งคําสั่งจ่ายเงินมาให้ธนาคารตัวแทน การควบคุมภายใน การตรวจสอบหลักฐานแสดงตนของผู้รับเงิน การรักษาความปลอดภัย การรักษาความลับของข้อมูล และแผนรองรับกรณีธนาคารตัวแทนไม่สามารถให้บริการได้ (14.2) จัดทําสัญญาที่กําหนดรายละเอียดประเภทของการให้บริการขั้นตอนหรือวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ระบบการควบคุมภายใน และระบบการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลของธนาคารพาณิชย์และลูกค้าหรือผู้รับบริการ (14.3) ตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตาม (14.1) และ (14.2) อย่างเคร่งครัด รวมทั้งตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่มีกําหนดไว้ด้วยพร้อมทั้งเก็บรักษาเอกสารการให้บริการไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ผู้แต่งตั้งตัวแทนง่ายเงินยังคงต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าและบุคคลภายนอกเสมือนตนเป็นผู้ดําเนินการเอง แต่ต้องไม่ปิดกั้นหรือห้ามธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจ่ายเงินทําหน้าที่นี้ให้กับธนาคารพาณิชย์อื่น 5.3 ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อ 5.2 โดยเคร่งครัด รวมทั้งตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่มีกําหนดไว้ด้วย 5.4 หากธนาคารแห่งประเทศไทยพบหรือทราบว่าการปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 5 .2 และ ข้อ 5.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ธนาคารพาณิชย์ชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงของการปฏิบัติดังกล่าว หากธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นสมควร อาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นปฏิบัติเพิ่มเติม หรือยกเลิกการให้อนุญาตก็ได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,707
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.53/14/51 | 70,000 | 27 พฤษภาคม 2551 | 29/5/51 – 12/6/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,708
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 19/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการด้านงานสนับสนุนและบริการอื่น
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 19/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ให้บริการด้านงานสนับสนุนและบริการอื่น ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นการลดภาระต้นทุนในการดําเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านปฏิบัติการต่างๆ (Back Office) รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพขององค์กรให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) และการให้บริการเพิ่มเติมอื่นมาเป็นลําดับ การให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นในด้านปฏิบัติการต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นงาน Back office บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถให้บริการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2544 และต่อมาเมื่อได้มีแนวนโยบายในการกํากับแบบรวมกลุ่มขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถให้บริการด้านงานสนับสนุนที่ครอบคลุมถึงหน่วยธุรกิจทุกหน่วยในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน สําหรับการให้บริการเพิ่มเติมอื่นเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ลูกค้า เช่น การเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ การรับจ้างบริหารสินทรัพย์ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเมื่อมีการตรากฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยก็อนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดําเนินการได้เป็นการทั่วไปมาเป็นลําดับเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี การให้บริการดังกล่าวข้างต้นบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ควรมีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการและระมัดระวังไม่ให้บริการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจปกติของบริษัทฯ และไม่ควรให้ปริมาณของงานให้บริการดังกล่าวมีมากเกินบทบาทของงานด้านธุรกิจเงินทุนและเครดิตฟองซิเอร์ หรือเกินกว่าความสามารถของบริษัทฯ ในการให้บริการได้ด้วยตนเอง การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นและบริการอื่นมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ในการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นและบริการอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดที่ดําเนินธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้วก็ให้ทําต่อไปได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังนั้น กฎกระทรวง ประกาศต่าง ๆ ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว จึงสิ้นผลบังคับใช้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ประกอบกิจการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นและงานบริการอื่นได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "งานสนับสนุน" หมายความว่า งานปฏิบัติการที่เป็นการเอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานปกติของสถาบันการเงิน (Back office) ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง งานบัญชีและการเงินงานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานตรวจสอบภายใน (Internal audit) งานด้านกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance) งานบริหารจัดการในธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) หรืองานสนับสนุนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว "บุคคลอื่น" หมายความว่า บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วม ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินหรือประกอบธุรกิจที่เป็นงานสนับสนุนที่ให้บริการเฉพาะกับบริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วมในกลุ่มธุรกิจการเงิน ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินดังกล่าวข้างต้นจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินเท่านั้น "บริษัท" หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัดห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น "กิจการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้" หมายความว่า กิจการให้บริการเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชําระหนี้ การจัดทําบัญชี รายงาน เก็บรักษาเอกสาร ชําระภาษี หรือเบี้ยประกันภัยตลอดจนการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บหนี้นั้น 5.2 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ 5.2.1 การให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing ได้เมื่อบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ปฏิบัติตามที่กล่าว (1) ถึง (3) ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ (1) กําหนคนโยบายการประกอบกิจการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น และ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (2) กําหนดรายละเอียดประเภทของการให้บริการ ขั้นตอนหรือวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การบริหารความเสี่ยง การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการระหว่างกัน ระบบการควบคุมภายใน และระบบการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและทรัพย์สินของทั้งบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์และผู้รับบริการ (3) เก็บรักษาเอกสารตาม (1) และ (2) ไว้ที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เพื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ในกรณีที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการด้านงานสนับสนุนตามที่ได้รับอนุญาตในวรรคหนึ่งโดยเกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องแสดงให้ชัดเจนว่า งานที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทําเป็นการทําในนามของบริษัทอื่นไม่ใช่งานของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เอง 5.2.2 บริการอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนให้บริการอื่นได้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) การให้บริการข่าวสารข้อมูล เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจและการลงทุนของประชาชน (2) การเป็นตัวแทนจําหน่ายพันธบัตรรัฐบาลและตราสารแห่งหนี้ที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก (3) การเป็นที่ปรึกษาเพื่อนําบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Sponsor) ซึ่งได้แก่การดําเนินการดังนี้ (3.1) จัดเตรียมและยื่นแบบคําขอและเอกสารต่าง ๆ ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนด (3.2) ติดต่อประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3.3) กระทําการใด ๆ จนเป็นที่พอใจว่าผู้บริหารของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และวิธีการปฏิบัติในการเป็นบริษัทจดทะเบียนตลอดจนต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน (3.4) ให้ความเห็นต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทที่ยื่นคําขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีทีมงานบริหารที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เหมาะสมที่จะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน (4) การดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินทั่วไป (Custodian Service) ประกอบด้วยการดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ บัตรเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ เอกสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจําหน่าย จ่ายโอน หรือประเมินมูลค่าทรัพย์สินซึ่งรวมถึงการรับหรือส่งมอบหลักทรัพย์ การรับหรือการจ่ายเงินค่าหลักทรัพย์ การรับเงินปันผลการส่งมอบผลประโยชน์อันเกิดจากหลักทรัพย์นั้น ๆ การเป็นตัวแทนผู้รับมอบฉันทะจากลูกค้าในการเข้าประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นและลงคะแนนเสียง และการดูแลและเก็บรักษาเอกสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินต่าง ๆ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจําหน่าย จ่ายโอน หรือประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เช่น เอกสารประเมินราคาทรัพย์สิน เป็นต้น (5) การจัดการออกตราสารหนี้ ซึ่งหมายถึง การเป็นผู้จัดการให้บริษัทจํากัดและบริษัทมหาชนออกตราสารแห่งหนี้เพื่อการกู้ยืมเงินจากประชาชน รวมถึงการให้คําปรึกษาและการจัดการด้านเอกสารต่าง ๆ โดยบริษัทเงินทุนต้องจัดทําแผนงานในการประกอบธุรกิจดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรให้คณะกรรมการของบริษัทเงินทุนอนุมัติ และต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (5.1) มีความพร้อมด้านระบบงาน เช่น กําหนดนโยบายการประกอบธุรกิจ วิธีดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การจัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐานและการเก็บรักษาความลับของลูกค้า เป็นต้น (5.2) มีความพร้อมด้านบุคลากร (6) การติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าได้แก่ การเผยแพร่ข้อมูลและบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า เละติดต่อชักชวนให้ลูกค้ามาใช้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ เช่น การเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งรวมถึงการแจก รวบรวม และตรวจสอบเอกสารคําขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และเอกสารหลักฐานประกอบการเปิดบัญชี เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนต้องมีความพร้อมในด้านบุคลากรและระบบงานมีการจัดทําและปฏิบัติตามนโยบายและแผนงานการติดต่อหรือแนะนําการบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า ซึ่งรวมถึงการป้องกันการเข้าใจผิดของลูกค้าเกี่ยวกับขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างบริษัทเงินทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ และข้อมูลที่จัดทําขึ้นหรือนําไปเผยแพร่ต้องมีความถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงและไม่ทําให้ลูกค้าเข้าใจผิดในสาระสําคัญมีการแบ่งแยกสัดส่วนสําหรับสถานที่ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า มีการบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง และมีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา (7) การจัดจําหน่ายโปรแกรมระบบงานที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้นํามาพัฒนาแล้ว รวมถึงการพัฒนาระบบงานด้านคอมพิวเตอร์ บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์อาจกระทําได้ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (7.1) ต้องมิได้กระทําเป็นทางค้าปกติ (7.2) ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการเงิน (7.3) ต้องมีลักษณะเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้ได้ประโยชน์มากขึ้น (8) การติดต่อหรือแนะนําบริษัทประกันภัยให้กับลูกค้า เพื่อประกันภัยทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ หรือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหนี้ซึ่งมีอยู่กับบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือประกันชีวิตลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้าผู้เอาประกันด้วย จะไปบังคับให้ลูกค้าเอาประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งมิได้ การดําเนินการดังกล่าวรวมถึงการเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาของบริษัทประกันภัยให้แก่ลูกค้าด้วย (9) การประกอบกิจการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ให้แก่บุคคลใด ๆ โดยมีค่าตอบแทนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นหนี้ ที่เกิดจากการกู้ยืมหรือหนี้อื่นใด หรือการเป็นตัวแทนรับชําระหนี้ค่าสาธารณูปโภคให้กับหน่วยงานที่ให้บริการด้านสาธารณูปโภคต่างๆ ด้วย ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องไม่เข้ารับความเสี่ยงจากกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ เช่น เข้ามีส่วนรับผิดชอบในภาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน นอกจากนี้จะต้องดําเนินการดังนี้ (9.1) จัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานของสัญญาอันเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ แยกต่างหากจากกิจการอื่นของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (9.2) จัดทํารายงานในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แต่ละรายออกจากกันตามสัญญาระหว่างบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์กับผู้ว่าจ้างแต่ละรายเพื่อให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และผู้ว่าจ้างสามารถตรวจสอบและติดตามดูแลผลการดําเนินงานได้ (9.3) ในการประกอบกิจการตัวแทนรับชําระหนี้ค่าสาธารณูปโภคหากหน่วยงานผู้ให้บริการสาธารณูปโภคเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้ใช้บริการ บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้บริการอีกไม่ได้ (10) การเป็นตัวแทนหรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยรับโอนมาตามพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องอันเนื่องมาจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ตามที่ได้รับมอบหมายจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าการประกอบธุรกิจตัวแทนรับจ้างบริหารสินทรัพย์ค้อยคุณภาพดังกล่าวนั้น บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องจัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่ตนรับทําหน้าที่เป็นตัวแทนรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแยกต่างหากจากกิจการอื่นของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (11) การให้ผู้ร่วมลงทุนหรือสถาบันการเงินอื่นใช้บุคลากร สถานที่อุปกรณ์และบริการต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่ออํานวยความสะดวกและเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (11.1) บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้รับอนุญาตให้ดําเนินการได้เฉพาะส่วนของสายงานปฏิบัติการ (Back Office) และกับผู้ร่วมลงทุนหรือสถาบันการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเท่านั้น งานดังกล่าวในวรรคหนึ่งประกอบด้วยงานส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรและส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ปฏิบัติงาน ดังนี้ ส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรได้แก่ ก. งานลักษณะสนับสนุน เช่น งานทางด้านบุคคล ด้านการจัดข้างจัดเก็บ ด้านการจัดซื้อ ด้านสถานที่ ด้านธุรการ ด้านสวัสดิการ ด้านรักษาความปลอดภัย เป็นต้น ข. งานที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับมอบหมายเฉพาะด้าน เช่น งานทางด้านบัญชี ด้านนายหน้าหรือตัวแทนด้านกฎหมาย ด้านประมวลผลข้อมูล ด้านดูแลทรัพย์สิน ด้านการจัดเตรียมนิติกรรมสัญญาด้านการพิมพ์ใบเจ้งหนี้ ด้านการติดตามหนี้ยกเว้นการรับชําระหนี้ ด้านการประเมินราคาทรัพย์สินและหลักประกัน โดยธุรกรรมที่กระทําจะต้องดําเนินการผ่านบริษัทเงินทุนและ/หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ค. งานทางด้านการกํากับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Unit) ทั้งนี้ บุคลากรที่อาจใช้ร่วมกันได้รวมไปถึงกรรมการที่ไม่มีตําแหน่งทางด้านบริหาร โดยไม่ขัดต่อข้อกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ ก. สถานที่ในส่วนสนับสนุนธุรกิจ เช่น สถานที่จอดรถสถานพยาบาล อาคารสันทนาการ ห้องมั่นคง ห้องคอมพิวเตอร์ และคลังสินค้า เป็นต้น ข. สถานที่ในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้งานของบริษัทเงินทุนและ/หรือบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ทั้งนี้ ผู้ร่วมลงทุนหรือสถาบันการเงินอื่นจะต้องชําระค่าใช้บริการให้แก่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ว่าจ้างบุคลากร และ/หรือเฉลี่ยดําใช้จ่ายจากการดําเนินงานตามสัดส่วนของต้นทุนที่เกิดขึ้น โดยบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องกําหนดระเบียบพิธีปฏิบัติ การรักษาข้อมูลหรือความลับที่ชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสน และนําเสนอระเบียบดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบรวมทั้งต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยเคร่งครัด (11.2) ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใช้เจ้าหน้าที่ซึ่งทําหน้าที่ติดตามและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ของลูกหนี้ที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งที่เป็นลูกหนี้รายเดียวและไม่ใช่รายเดียวกัน ร่วมกับบุคคลอื่นได้ ก. บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะต้องมีระเบียบพิธีปฏิบัติควบคุมดูแลบุคลากรที่ใช้ร่วมกับผู้อื่นและผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีการนําข้อมูลของลูกหนี้ทั้งที่เป็นลูกหนี้ของตนเอง และของบุคคลอื่นที่อาจได้รับทราบจากการใช้บุคลากรร่วมกันไปใช้เพื่อประโยชน์ใดๆ โดยมิชอบ และให้มีการติดตามดูแลการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยเคร่งครัดและมีบทกําหนดโทษสําหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนั้น ข. บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะต้องควบคุมดูแลบุคลากรที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่นให้ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ ทั้งลูกหนี้จะต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจนว่าบุคลากรดังกล่าวกําลังทํางานให้แก่บุคคลใดเพื่อ ไม่ให้เกิดความผิดพลาดและจากการที่บุคลากรนั้นทํางานให้บุคคลอื่นเกินกว่า 1 แห่ง อาจก่อให้เกิดความสับสนทั้งบุคลากรและลูกหนี้ จึงต้องมีข้อกําหนดถึงบุคคลที่ต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายแก่ลูกหนี้ที่เกิดจากความสับสนดังกล่าวแม้ว่าลูกหนี้ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยที่พึงปฏิบัติแล้ว ทั้งนี้ บุคคลที่ต้องรับผิดชอบอาจมิใช่เจ้าหนี้ก็ได้ 5.3 บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 5.2 ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กําหนดในข้อดังกล่าวโดยเคร่งครัด รวมทั้งตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่มีกําหนดไว้ด้วย 5.4 หากธนาคารแห่งประเทศไทยพบหรือทราบว่าการปฏิบัติของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ได้รับอนุญาต ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 5.2 และข้อ 5.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงของการปฏิบัติดังกล่าว หากธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นสมควร อาจกําหนดหลักเกณฑ์ใด ๆ ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นปฏิบัติเพิ่มเติม หรือยกเลิกการให้อนุญาตก็ได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,709
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.54/14/51 | 60,000 | 30 พฤษภาคม 2551 | 3/6/51 – 17/6/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,710
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 20/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ (Shariah Banking Services)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 20/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ (Shariah Banking Services) ------------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบันธุรกิจทางการเงินได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งมีการเสนอบริการทางการเงินที่หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนให้กับผู้ฝากเงิน ซึ่งกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ (Shariah Banking Services) ที่มีรูปแบบในการดําเนินธุรกิจโดยห้ามการรับและจ่ายดอกเบี้ย (riba) และเน้นการร่วมลงทุนและการแบ่งปันผลกําไรระหว่างธนาคารพาณิชย์กับผู้ฝากเงิน จึงเป็นแนวทางใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ฝากเงินได้ และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์มีความคล่องตัวในการเสนอบริการทางการเงินแก่ลูกค้ามากขึ้นธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีความพร้อมสามารถให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ได้ การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ในการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และธนาคารพาณิชย์ใดที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ประกอบกิจการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์แล้ว ให้ดําเนินธุรกิจดังกล่าวต่อไปได้โดยไม่ต้องขออนุญาตใหม่อีก อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังกับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ (Shariah Banking Services) ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2546 (หนังสือเวียนนําส่ง ที่ สนส.(11) ว.43/2546 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2546) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ " กิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ " (Shariah Banking Services) หมายความว่า กิจการธนาคารตามหลักชาริอะฮ์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์สามารถให้บริการ ได้ตามความหมายของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในมาตรา 4 และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือจําเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ตามความหมายในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 5.2 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์เป็นแผนกหนึ่งต่างหากในสํานักงานธนาคารพาณิชย์ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย 5.3 ในการพิจารณาอนุญาต จะพิจารณาจากฐานะการดําเนินงานของธนาคารพาณิชย์และความพร้อมในการประกอบธุรกิจ ทั้งด้านบุคลากรและการจัดการ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่ยื่นคําขออนุญาตจะต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นกรณีธนาคารพาณิชย์ไทย หรือสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ตามมาตรา 32 กรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และในคําขออนุญาตจะต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) สาขาที่จะประกอบกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ (2) ทุนดําเนินการเบื้องต้น และวิธีการจัดหา (3) ประเภทของเงินฝาก ประเภทเงินให้สินเชื่อ รวมถึงแนวทางการลงทุนและธุรกิจต่าง ๆ ที่จะให้บริการ รวมทั้งรายละเอียด วิธีปฏิบัติ การจัดสรรและการจ่ายผลประโยชน์ที่จะได้รับ (4) วิธีการแบ่งแยกเงินทุนของกิจการออกต่างหากจากกิจการธนาคารพาณิชย์ตามปกติ (5) ข้อกําหนดในเรื่องการใช้สายงานสนับสนุนต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์เพื่อประโยชน์ของกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะส์ รวมทั้งการจัดสรรค่าใช้จ่าย เช่น การจัดหาบุคลากร การฝึกอบรมพนักงาน การตรวจสอบกิจการภายใน และระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (6) เกณฑ์เกี่ยวกับการบัญชี การรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย และการจัดทํางบการเงินและเอกสารประกอบ (7) ขั้นตอน วิธีการดําเนินงานในแต่ละวัน เช่น การจัดทําเอกสารหลักฐานการลงบัญชี การกําหนดรหัสบัญชี และการใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการออกงบทคลองรายวัน เป็นต้น 5.4 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ 5.4.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งสํานักงานที่ให้บริการ และวันเปิดทําการกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชารอะฮ์ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันที่จะเริ่มประกอบกิจการ 5.4.2 ในการประกอบกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดสรรเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นเพิ่มทุนมาใช้เป็นทุนดําเนินการเบื้องต้น และเงินทุนของกิจการนี้ต้องปราศจากดอกเบี้ย นอกจากนี้ กิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินอื่นที่มิใช่ระบบปราศจากดอกเบี้ยไม่ได้ 5.4.3 ธนาคารพาณิชย์ต้องแบ่งแยกทรัพย์สิน หนี้สิน และภาระผูกพัน รวมทั้งระบบบัญชีของกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ออกต่างหากจากกิจการธนาคารพาณิชย์ปกติเสมือนหนึ่งเป็นคนละนิติบุคคล 5.4.4 ธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศเรื่องการจ่ายหรือการคิดค่าตอบแทนของการดําเนินการต่าง ๆ ของกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ อาทิ วิธีคํานวณค่าตอบแทนสําหรับเงินฝากแต่ละประเภท รวมทั้งกรณีที่ผู้ฝากเงินขอถอนเงินก่อนครบกําหนด และการคิดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ลูกค้าทราบ และแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทย ทํานองเดียวกับการง่ายดอกเบี้ยส่วนลด และค่าธรรมเนียมของกิจการธนาคารพาณิชย์ตามปกติ 5.4.5 กําไรของกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ก่อนการจัดสรรให้แก่ผู้ฝากเงินหรือผู้ร่วมลงทุน จะต้องมีการรับรู้รายได้รายง่ยต่าง ๆ ครบถ้วนถูกต้อง รวมทั้งได้หักหนี้สูญ ตั้งสํารองเผื่อการเสื่อมค่าของสินทรัพย์ไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว 5.4.6 ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาของกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการศาสนาอิสลามอย่างน้อย 1 คน และแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลง 5.4.7 หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะให้กิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ เสนอบริการใด ๆ เพิ่มเติมจากที่ได้รับอนุญาตไว้ตอนเปิดดําเนินการครั้งแรก จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนทุกครั้ง 5.4.8 การประกอบกิจการการให้บริการทางการนตามหลักชาริอะฮ์ถือเป็นสาขาและหรือแผนกหนึ่งต่างหากในกิจการธนาคารพาณิชย์ที่ต้องถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อาทิ ธนาคารพาณิชย์ต้องนับรวมทรัพย์สิน หนี้สิน และการะผูกพันของกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินในทุกเรื่อง อาทิ ความเพียงพอของเงินกองทุนการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง การลงทุนในกิจการตามมาตรา 34 เป็นต้น รวมทั้งการนําเงินส่งสถาบันคุ้มครองเงินฝากด้วย ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทํางบทดลองของกิจการการให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์แยกต่างหากเป็นงบย่อยรายสาขาและงบรวมของกิจการ รวมทั้ง ให้รายงานฐานะการดําเนินงานของกิจการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายงานของธนาคารพาณิชย์ด้วย อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังกับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,711
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 เดือนและ 1 ปี ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | ชนิดอายุ(วัน) | | 2/63/51 | 25,000 | 10 มิถุนายน 2551 | 12/6/51 – 14/8/51 | 63 | | 6/364/51 | 40,000 | 17 มิถุนายน 2551 | 19/6/51 – 18/6/52 | 364 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,712
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21 /2550 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21 /2550 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย พระราชกฤษฎีกากําหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 มาตรา 12 (13) อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2550 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพยัธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายสมชาย เสตกรณุกูล 2. นางสาวปรางทิพย์ บุศยศิริ 3. นายนิรุธ รักษาเสรี 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นางสร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช 7. นายปราณีต โชติกีรติเวช 8. นายอมร กังวาฬ 9. นางวิมสรัตน์ เศารยะ 10. นายสุกิจ สหนุกูล 11. นายสัญญา จันทวดี 12. นายวิโรจน์ นริศวรานนท์ 13. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 14. นายยรรยง ดํารงศิริ 15. นายอนันต์ อิงวิยะ 16. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์ 17. นายสุขชัย พูลสินากร 18. นายวีระยุทธ์ เลิศพูนวิไลกุล 19. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 20. นายทนงศักดิ์ วรรณกาญ 21. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 22. นายประสงค์ วิริยะวิภาต 23. นางทัศนีย์ตั้ง พัฒนาศิริ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2550 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2550 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,713
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์เฉพาะการรับฝากและดูแลรักษาเงินในบัญชีดูแลผลประโยชน์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน ประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์เฉพาะการรับฝากและดูแลรักษาเงินในบัญชีดูแลผลประโยชน์ -------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ โดยที่ระบบการทําสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือการทําสัญญาต่างตอบแทนอื่นใดในปัจจุบันต้องอาศัยความน่าเชื่อถือระหว่างคู่สัญญาเป็นหลักในการชําระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และการดําเนินธุรกิจโดยทั่วไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดให้มีบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 ให้มีผลบังคับใช้เกี่ยวกับกิจการดูแลผลประโยชน์ซึ่งรวมถึงบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเพื่อให้มีคนกลางที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อทําหน้าที่ดูแลการชําระหนี้ของคู่สัญญาให้เป็นไปตามที่ตกลงกัน ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับที่มีการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ในส่วนของการรับฝากและการดูแลรักษาเงินในบัญชีดูแลผลประโยชน์ โดยธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนที่ประสงค์จะประกอบกิจการดังกล่าวจะต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายใต้กฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังนั้นกฎกระทรวง ประกาศต่าง ๆ ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว จึงสิ้นผลบังคับใช้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์เฉพาะการรับฝากและการดูแลรักษาเงินในบัญชีดูแลผลประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก 4.1 หนังสือเวียนที่ ธปท.สนส. (1 1)ว. 514/2544 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจ Escrow account ลงวันที่ 8 มีนาคม 2544 4.2 ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดให้มีบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2546 (หนังสือเวียนนําส่งที่ ธปท.สนส. (11) ว. 2689/2546 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2546) อื่นๆ - 5. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์เฉพาะในส่วนของการรับฝากและการดูแลรักษาเงินในบัญชีดูแลผลประโยชน์โดยธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน" หมายความว่าธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 "กิจการดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า การทําหน้าที่เป็นคนกลางเพื่อดูแลการชําระหนี้ของคู่สัญญาให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาดูแลผลประโยชน์ โดยกระทําเป็นทางค้าปกติและได้รับค่าตอบแทนหรือค่าบริการ 5.2 ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนที่ประสงค์จะประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประกอบกิจการภายใต้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 โดยธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนจะต้องปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 5.3 ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนสามารถดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการจัดให้มีบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยอนุญาตไว้เดิมได้โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 5.3.1 ให้บริการรับฝากเงินจากผู้ฝากในรูปแบบบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) ที่ได้ทําสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ต่าง ๆ กับผู้ขายสินทรัพย์โดยดูแลให้มีการเบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวเมื่อผู้ซื้อและผู้ขายปฏิบัติตามข้อกําหนดในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) ครบถ้วนแล้ว 5.3.2 ในการให้บริการดูแลการเบิกถอนเงินจากบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการเปิดบัญชี ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายอื่นจากผู้ใช้บริการได้ แต่จะต้องกําหนดไว้ในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) อย่างชัดเจน 5.3.3 ในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา (2) ข้อมูลด้านสินทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ในสัญญา (3) กําหนดขอบเขตความรับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนในการให้บริการดูแลบัญชีผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) อย่างชัดเจนทั้งนี้ จะต้องไม่รวมถึงการตรวจสอบความสําเร็จของสิ่งปลูกสร้างและการตัดสินว่าคู่สัญญาปฏิบัติตามเงื่อนไขการถอนเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ (4) หลักเกณฑ์การเปิดบัญชี การฝาก หรือการเบิกถอนเงิน การชําระดอกเบี้ย ข้อปฏิบัติในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหรือเกิดข้อพิพาท รวมทั้งการปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) (5) รายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมจากการให้บริการดูแลบัญชีผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยระบุผู้รับภาระค่าใช้ง่ายดังกล่าวอย่างชัดเจน (6) วันเริ่มและสิ้นสุดการเปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow account) 5.3.4 กําหนดนโยบายการประกอบธุรกิจ รวมถึงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบหน่วยงานที่รับผิดชอบ รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติเละวิธีการดําเนินการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ระเบียบปฏิบัติในการเปิดบัญชี ระเบียบปฏิบัติในการรับฝากหรือถอนเงิน หลักเกณฑ์ในการจ่ายดอกเบี้ย การคิดค่าธรรมเนียมหรือคิดค่าบริการจากลูกค้า แนวทางปฏิบัติในกรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหรือเกิดข้อพิพาทและระบบการควบคุมภายใน เป็นต้น ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน 5.3.5 จัดให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของคู่สัญญาต่อเงินฝาก และต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบและเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าวอย่างชัดเจน 5.3.6 ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนต้องจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 5.3.7 ตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดและต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,714
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาการแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวประจำไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ประจําไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2551 -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี ประจําไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี ประจําไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2551 ดังนี้ | | | | --- | --- | | รุ่นที่วงเงินอัตราดอกเบี้ยวันประมูลวันชําระเงิน | 2/FRB 3 ปี/255120,000 ล้านบาทBIBOR ระยะ 6เดือน - ร้อยละ 0.20 ต่อปีวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2551วันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2551 | | การชําระดอกเบี้ยวันชําระดอกเบี้ยวันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | แบ่งเป็นปีละ 2 งวดวันที่ 2 กรกฎาคม และวันที่ 2 มกราคมของทุกปีวันที่ 2 มกราคม 2552 | | อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2551วันกําหนดอัตราดอกเบี้ยงวดต่อ ๆ ไปวันครบกําหนดไถ่ถอน | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันพุธที่ 25 มิถุนายน 25512 วันทําการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ยวันที่ 2 กรกฎาคม 2554 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,715
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 22/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 22/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในปี 2541 ทางการโดยกระทรวงการคลัง ได้เล็งเห็นความสําคัญของการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ เพื่อให้ตลาดตราสารหนี้เป็นแหล่งเงินทุนอีกทางหนึ่งของภาคธุรกิจนอกเหนือจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน รวมทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางให้สถาบันการเงินสามารถบริหารสภาพคล่องของตนเองโดยผ่านตลาดตราสารหนี้ ดังนั้น จึงได้จัดตั้งคณะทํางานเพื่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรในประเทศขึ้นเพื่อศึกษา วางแผน และดําเนินการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จําเป็นในการทําธุรกรรมในตลาด การสนับสนุนให้มีการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) อย่างกว้างขวางเป็นมาตรการสําคัญประการหนึ่งที่จะสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดตราสารหนี้ของไทย โดยธุรกรรม Private Repo จะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันการเงินในรูปแบบที่มีหลักประกันเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารความเสี่ยงของตนได้มากขึ้นแทนการกู้ยืมเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Market : Repo) ซึ่งที่ผ่านมาทางการได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับธุรกรรมดังกล่าว จนถึงปัจจุบันธุรกรรมดังกล่าวมีสัญญามาตรฐานรองรับ และไม่มีปัญหาอุปสรรคทางด้านภาษีแล้ว ประกอบกับการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายทําธุรกรรมการซื้อ/ขายพันธบัตรรัฐบาลกับสถาบันการเงินที่เป็น Primary Dealers เท่านั้นเพื่อเพิ่มช่องทางในการดําเนินโยบายการเงิน และได้ยกเลิกตลาดซื้อคืนพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (Repo) ดังนั้น เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมดังกล่าวได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้ตามนัยของประกาศฉบับนี้ ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ที่ธนาคารพาณิชย์เคยได้รับอนุญาตให้ทําได้อยู่แล้วตามเดิมมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ใด ทําธุรกรรมดังกล่าวอยู่แล้วก็ให้ดําเนินต่อไปได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก 4.1 หนังสือเวียนที่ ธปท. สนส. (1 1) ว.3491/2543 เรื่อง แนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ของสถาบัน การเงิน ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2543 4.2 หนังสือเวียนที่ สนส. (11) ว. 120/2544 เรื่อง สรุปคําถาม-คําตอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ของสถาบันการเงินจากการจัดประชุมชี้แจงลงวันที่ 21 มีนาคม 2544 4.3 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ลงวันที่ 3 เมษายน 2549 (หนังสือเวียนนําส่งที่ ฝนส.(21) ว.89/2549 ลงวันที่ 20 เมบายน 2549) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกรรม 5.1.1 ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 "ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 "ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน" หมายความว่า การประกอบธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืน เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน หรือกู้ยืมเงินตามแต่กรณีโดยมีหลักประกันเป็นตราสาร ทั้งนี้ กําหนดให้ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) เป็นธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ประเภทหนึ่ง "กองทุน" หมายความว่า กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกองทุนส่วนบุคคล และกองทุนประเภทอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะกําหนดขึ้นในอนาคต 5.1.2 คู่สัญญาในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (1) การให้กู้ยืมเงิน (1.1) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้กู้ยืมเงินบาท โดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับบุคคลธรรมค่าและนิติบุคคลทุกประเภทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (1.2) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้กู้ยืมเป็นสกุลเงินต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้เฉพาะกับสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 และนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (Non-resident) (1.3) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้กู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศ หรือให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนกับสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 (2) การกู้ยืมเงิน (2.1) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับนิติบุคคลทุกประเภทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย กองทุน สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ออกตราสารหนี้สกุลเงินบาทตามที่กระทรวงการคลังกําหนด และรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศที่ออกตราสารหนี้สกุลเงินบาทตามที่กระทรวงการคลังกําหนด (2.2) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมเป็นสกุลเงินต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้เฉพาะกับสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบกุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 และนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (Non-resident) (2.3) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศ หรือกู้ยืมเงินตราต่างประเทศโดยใช้ตราสารนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนกับสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ทั้งนี้ ในการทําธุรกรรมการให้กู้ยืมหรือการกู้ยืมกับนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบในเรื่องมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทที่เกี่ยวข้องด้วย 5.1.3 หลักทรัพย์ที่ใช้ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (1) ให้ตราสารหนี้ที่เป็นเงินบาทดังต่อไปนี้ เป็นตราสารที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (1.1) ตราสารหนี้ภาครัฐที่มีความเสี่ยงต่ําและมีราคาตลาดที่อ้างอิงได้อย่างโปร่งใส ได้แก่ (1.1.1) ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล (1.1.2) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (1.1.3) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจและหุ้นกู้ที่รัฐบาลค้ําประกัน (1.1.4) พันธบัตรและตราสารการเงินอื่นใดที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ (1.2) ตราสารหนี้ที่เป็นเงินบาทที่ออกในประเทศไทย ได้แก่ (1.2.1) ตราสารหนี้ที่เป็นเงินบาทที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศตามที่กระทรวงการคลังกําหนด (1.2.2) ตราสารหนี้ที่เป็นเงินบาทที่ออกโดยรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศตามที่กระทรวงการคลังกําหนด (1.2.3) ตราสารหนี้สกุลเงินบาทที่ได้รับการจัดอันดับในระดับที่สูงกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ 1 ระดับ กล่าวคือ ได้รับการจัดอันดับสูงกว่า BBB หรือเทียบเท่าขึ้นไปจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) ให้ตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศดังต่อไปนี้ เป็นตราสารที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (2.1) พันธบัตรรัฐบาลไทยสกุลเงินตราต่างประเทศ (2.2) พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศสกุลเงินตราต่างประเทศ (2.3) ตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกโดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศหรือจดทะเบียนในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการจัดอันดับในระดับที่สูงกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ 1 ระดับ กล่าวคือ ได้รับการจัดอันดับสูงกว่า BEB หรือเทียบเท่าขึ้นไปจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เช่น Fitch Ratings Standard & Poor's และ Moody's เป็นต้น (2.4) หลักทรัพย์อื่นใคตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.1.4 นิติกรรมสัญญา ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สัญญาเดียวกับที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้มีเอกสารแนบท้ายสัญญา (Annex) ได้โดยต้องไม่ทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแก่คู่สัญญา 5.2 หลักเกณฑ์การกํากับดูแล 5.2.1 ระบบการควบคุมภายใน ให้ธนาคารพาณิชย์กําหนดให้มีระบบการควบคุมภายในขั้นต่ํา ในเรื่องต่อไปนี้ (1) นโยบายและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ (2) นโยบายการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและการกําหนดวงเงินคู่สัญญา (3) ระเบียบและวิธีการบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายใน เช่น (3.1) หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและการกําหนดวงเงินคู่สัญญาก่อนการทําธุรกรรม และการทบทวนความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาภายหลังการทําธุรกรรมระยะหนึ่ง ทํานองเดียวกับการให้สินเชื่อ/ให้กู้ยืมโดยทั่วไป (3.2) การบริหารความเสี่ยง (3.3) การกําหนดคู่มือการปฏิบัติงาน (3.4) การแยกหน้าที่ของ Dealer และ Back Office ออกจากกันโดยเฉพาะการแยกหน้าที่เรื่องการทบทวนความน่าเชื่อถือของคู่ค้า และการประเมินราคาหลักทรัพย์/หลักประกัน (Mark to Market) ออกจากหน้าที่ของ Dealer (3.5) การจัดทําทะเบียนคุมหลักทรัพย์/หลักประกันที่ได้จากการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน 5.2.2 การดํารงเงินกองทุน ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หรือสําหรับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศแล้วแต่กรณี และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ 5.2.3 การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ให้ธนาคารพาณิชย์ผู้ให้กู้ยืมเงิน (ผู้ซื้อตราสาร) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตราสาร ณ สิ้นวันใควันหนึ่ง สามารถนับตราสารตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตั้งแต่วันที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตราสาร (Settlement date) ในขณะเดียวกันผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ขายตราสาร) ซึ่งเป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์ต้องไม่นับตราสารนั้นเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องในวันเดียวกัน และเมื่อถึงวันครบกําหนดสัญญา Private Repo ผู้ให้กู้ยืมเงินต้องตัดตราสารดังกล่าวออกจากการนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องและผู้กู้ยืมเงินซึ่งรับคืนตราสารสามารถนับตราสารนั้นเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ในวันเดียวกัน 5.2.4 การนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ธนาคารพาณิชย์นับธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนรวมกับธุรกรรมปกติของลูกหนี้รายนั้น ตามความในมาตรา 50 และมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ดังนี้ (1) ให้ผู้ให้กู้ยืมเงิน (ผู้ซื้อตราสาร) นับจํานวนเงินที่ให้กู้ยืมดังกล่าวในการคํานวณการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายใหญ่ตามมาตรา 50 แห่งพระราขบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยให้ธนาคารพาณิชย์นับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้น ทั้งนี้ หากตราสารที่รับโอนมาได้รับยกเว้นตามมาตรา ร2 ให้ธนาคารพาณิชย์ผู้รับโอนตราสารได้รับยกเว้น ไม่ต้องนับเงินให้กู้ยืมในส่วนที่มีตราสารวางเป็นประกันดังกล่าวในการคํานวณข้างต้น (2) ให้ผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ขายตราสาร) นับมูลค่าของตราสารที่ โอนไปให้ผู้ให้กู้ยืมเงินในส่วนที่เกินกว่าเงินกู้ยืมที่ได้รับมาในการคํานวณตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 กล่าวคือให้ธนาคารพาณิชย์นับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้น (3) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ขายตราสาร) ได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 5.2.4 (2) แล้ว ต่อมาถ้ามูลค่าตราสารที่ธนาคารพาณิชย์โอนเป็นหลักประกันเปลี่ยนแปลงจนมีผลทําให้อัตราส่วนดังกล่าวตามข้อ 5.2.4 (2) เกินกว่าที่กําหนด ธนาคารพาณิชย์จะประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนกับคู่สัญญาดังกล่าวเพิ่มอีกไม่ได้ ส่วนการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนที่เกิดขึ้นก่อนแล้ว มีผลผูกพันต่อไปตามสัญญาที่ทําไว้ (4) ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 5.2.4 (1) และ 5.2.4 (2) สําหรับช่วงเวลาที่ประกอบธุรกรรมอยู่นั้นจะต้องมีการตีมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกันให้มีมูลค่าตามราคาตลาด (Mark to market) ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์จึงต้องถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ (4.1) ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าลดลง ถ้าธนาคารพาณิชย์ผู้กู้ยืมเงินถูกเรียกมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับลดยอดเงินกู้ยืมลงเท่าจํานวนเงินมาร์จินที่เพิ่มขึ้นแต่ถ้าถูกเรียกมาร์จินเป็นตราสาร ให้ปรับมูลค่าของตราสารที่ โอนเป็นหลักประกันโดยรวมตราสารที่เป็นมาร์จินเพิ่มขึ้นด้วย (4.2) ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถ้าธนาคารพาณิชย์ผู้ผู้ยืมเงินได้รับคืนมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับเพิ่มยอคเงินกู้ยืมขึ้นเท่าจํานวนเงินที่ใด้รับนั้นแต่ถ้าได้รับคืนมาร์จินเป็นตราสาร ให้ลดจํานวนตราสารที่เป็นหลักประกันลงตามจํานวนตราสารที่ได้รับคืน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างของมาร์จิน (Exposure)ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ตามมูลค่าของตลาดในช่วงเวลาก่อนที่จะมีการเรียกมาร์จิน หรือหลักประกันเพิ่มนั้น ในการคํานวณอัตราส่วนของลูกหนี้รายใหญ่ (Total Exposure) ในข้อ 5.2.4 (1) และ 5.2.4 (2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องนํามูลค่าส่วนต่างของมาร์จินที่กําหนดไว้ตอนเริ่มทําสัญญามาใช้ในการคํานวณอัตราส่วนของลูกหนี้รายใหญ่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่างของมาร์จินตลอดเวลาอันเนื่องจากการตีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดแต่ในการคํานวณจะไม่นําส่วนต่างของมาร์จินที่เกิดขึ้นจริงมาใช้ในการคํานวณ แต่จะให้นํามูลค่าของส่วนต่างของมาร์จินเดิมตอนเริ่มทําสัญญามาใช้ในการคํานวณ 5.2.5 การบันทึกบัญชี ให้ธนาคารพาณิชย์บันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีหรือแนวปฏิบัติของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยหรือสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยแล้วแต่กรณี และให้จัดทําทะเบียนเกี่ยวกับการซื้อหรือขายธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนเพื่อประโยชน์ในการติดตามและควบคุมความถูกต้องของการทําธุรกรรม โดยในทะเบียนควรมีข้อมูลขั้นต่ําดังนี้ วันที่ทําสัญญา วันครบกําหนดสัญญา วันส่งมอบหลักทรัพย์ จํานวนเงินที่ทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน การดํารงมาร์จิน รายละเอียดตราสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เลขที่ตราสาร ชื่อผู้ออกจํานวนเงิน เป็นต้น 5.2.6 การรายงาน การรายงานธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนในแบบรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แสดงไว้ภายใต้รายการเงินให้สินเชื่อ เงินกู้ยืม รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพย์อื่นหรือหนี้สินอื่น แล้วแต่กรณีจนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ทําการปรับปรุงแก้ไขแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง และประกาศใช้ต่อไป 5.2.7 การยับยั้งหรือสั่งเพิกถอน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจขับยั้งหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้ ในกรณีต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกรรมสําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ในการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 5.1 - 5.2 เว้นแต่เรื่องขอบเขตในการประกอบธุรกรรม และเรื่องการนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติ ดังนี้ 5.3.1 ขอบเขตในการประกอบธุรกรรม (1) การให้กู้ยืมเงิน ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถให้กู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับคู่สัญญาตามขอบเขตที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (2) การกู้ยืมเงิน ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถกู้ยืมเงินบาท โดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับนิติบุคคลทุกประเภทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยกองทุน สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ออกตราสารหนี้สกุลเงินบาทตามที่กระทรวงการคลังกําหนดและรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศที่ออกตราสารหนี้สกุลเงินบาทตามที่กระทรวงการคลังกําหนด 5.3.2 การนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 5.2.4 ในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือโครงการหนึ่งโครงการใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินกว่าที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําได้ตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,716
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3836 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำมันเกียร์ และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำมันเกียร์ยานยนต์
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3836 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ํามันเกียร์ และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ํามันเกียร์ยานยนต์ -------------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ํามันเกียร์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 976 - 2533 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1638 (พ.ศ. 2533) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ํามันเกียร์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 976 - 2533 ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2533 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ํามันเกียร์ยานยนต์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 976 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,717
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.55/14/51 | 70,000 | 3 มิถุนายน 2551 | 5/6/51 – 19/6/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,718
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 23/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 23/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในปี 2541 ทางการโดยกระทรวงการคลัง ได้เล็งเห็นความสําคัญของการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ เพื่อให้ตลาดตราสารหนี้เป็นแหล่งเงินทุนอีกทางหนึ่งของภาคธุรกิจนอกเหนือจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน รวมทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางให้สถาบันการเงินสามารถบริหารสภาพคล่องของตนเองโดยผ่านตลาดตราสารหนี้ ดังนั้น จึงได้จัดตั้งคณะทํางานเพื่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรในประเทศขึ้นเพื่อศึกษา วางแผน และดําเนินการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จําเป็นในการทําธุรกรรมในตลาด การสนับสนุนให้มีการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) อย่างกว้างขวางเป็นมาตรการสําคัญประการหนึ่งที่จะสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดตราสารหนี้ของไทย โดยธุรกรรม Private Repo จะช่วยให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันการเงินในรูปแบบที่มีหลักประกันเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารความเสี่ยงของตนได้มากขึ้นแทนการกู้ยืมเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Market : Repo) ซึ่งที่ผ่านมาทางการได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับธุรกรรมดังกล่าว จนถึงปัจจุบันธุรกรรมดังกล่าวมีสัญญามาตรฐานรองรับ และไม่มีปัญหาอุปสรรคทางด้านภาษีแล้ว ประกอบกับการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายทําธุรกรรมการซื้อ/ขายพันธบัตรรัฐบาลกับสถาบันการเงินที่เป็น Primary Dealers เท่านั้นเพื่อเพิ่มช่องทางในการดําเนินนโยบายการเงิน และได้ยกเลิกตลาดซื้อคืนพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (Repo) อังนั้นเพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถทําธุรกรรมดังกล่าวได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้อนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้ตามนัยของประกาศฉบับนี้ ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เคยได้รับอนุญาตให้ทําได้อยู่แล้วตามเดิมมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใคทําธุรกรรมดังกล่าวอยู่แล้วก็ให้ดําเนินต่อไปได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก 4.1 หนังสือเวียนที่ ธปท. สนส. (11) ว.3491/2543 เรื่อง แนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2543 4.2 หนังสือเวียนที่ สนส. (11) ว.120/2544 เรื่อง สรุปคําถาม-คําตอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ของสถาบันการเงินจากการจัดประชุมชี้แจงลงวันที่ 21 มีนาคม 2544 4.3 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ของบริษัทเงินทุน ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 (หนังสือเวียนนําส่งที่ สนส. (02) ว.87/2544 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544) 4.4 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกําหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินจากผู้ลงทุนประเกทสถาบันในรูปแบบของธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2544 (หนังสือเวียนนําส่งที่ สนส.(01) ว.133/2545 ลงวันที่ 21 มกราคม 2545) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกรรม 5.1.1 ในประกาศฉบับนี้ "บริษัทเงินทุน" หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 "บริษัทเครดิตฟองซิเอร์" หมายความว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 "ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน" หมายความว่า การประกอบธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืน เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน หรือกู้ยืมเงินตามแต่กรณี โดยมีหลักประกันเป็นตราสาร ทั้งนี้ กําหนดให้ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนเป็นธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ประเภทหนึ่ง "กองทุน" หมายความว่า กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกองทุนส่วนบุคคล และกองทุนประเภทอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะกําหนดขึ้นในอนาคต 5.1.2 คู่สัญญาในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (1) การให้กู้ยืมเงิน ให้บริษัทเงินทุนสามารถให้กู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับบุคคลธรรมดาและนิดิบุคคลทุกประเภทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (2) การกู้ยืมเงิน (2.1) ให้บริษัทเงินทุนสามารถกู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับประเภทผู้ลงทุนดังต่อไปนี้ (2.1.1) สถาบันการเงิน (2.1.2) กองทุน (2.1.3) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (2.1.4) สํานักงานประกันสังคม (2.1.5) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น เช่น บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น (2.1.6) บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันภัย (2.2) ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถกู้ยืมเงินบาทภายใต้ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนจากสถาบันการเงินเท่านั้น อย่างไรก็ดี ไม่ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน หรือธุรกรรมที่มีลักษณะเดียวกันกับคู่สัญญาที่เป็นผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (Non-resident) 5.1.3 หลักทรัพย์ที่ใช้ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนเฉพาะในตราสารหนี้ภาครัฐสกุลเงินบาทที่มีความเสี่ยงต่ําและมีราคาตลาดที่อ้างอิงได้อย่างโปร่งใส ได้แก่ (1) ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล (2) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (3) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจและหุ้นกู้ที่รัฐบาลประกัน (4) พันธบัตรและตราสารการเงินอื่นใดที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ 5.1.4 นิติกรรมสัญญา ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใช้สัญญาเดียวกับที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้มีเอกสารแนบท้ายสัญญา (Annex) ได้ โดยต้องไม่ทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแก่คู่สัญญา 5.2 หลักเกณฑ์การกํากับดูแล 5.2.1 ระบบการควบคุมภายใน ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์กําหนดให้มีระบบการควบคุมภายในขั้นต่ํา ในเรื่องต่อไปนี้ (1) นโยบายและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ (2) นโยบายการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและการกําหนดวงเงินคู่สัญญา (3) ระเบียบและวิธีการบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในเช่น (3.1) หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและการกําหนดวงเงินคู่สัญญาก่อนการทําธุรกรรม และการทบทวนความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาภายหลังการทําธุรกรรมระยะหนึ่ง ทํานองเดียวกับการให้สินเชื่อ/ให้กู้ยืมโดยทั่วไป (3.2) การบริหารความเสี่ยง (3.3) การกําหนดคู่มือการปฏิบัติงาน (3.4) การแยกหน้าที่ของ Dealer และ Back Office ออกจากกันโดยเฉพาะการแยกหน้าที่เรื่องการทบทวนความน่าเชื่อถือของคู่ค้า และการประเมินราคาหลักทรัพย์/หลักประกัน (Mark to Market) ออกจากหน้าที่ของ Dealer (3.5) การจัดทําทะเบียนคุมหลักทรัพย์/หลักประกันที่ได้จากการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน 5.2.2 การดํารงเงินกองทุน ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัทเงินทุน และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์สําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แล้วแต่กรณี 5.2.3 การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติดังนี้ ให้ผู้ให้กู้ยืมเงิน (ผู้ซื้อตราสาร) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตราสาร ณ สิ้นวันใดวันหนึ่ง สามารถนับตราสารตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตั้งแต่วันที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตราสาร (Settlement date) ในขณะเดียวกันผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ขายตราสาร) ซึ่งเป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์ต้องไม่นับตราสารนั้นเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องในวันเดียวกัน และเมื่อถึงวันครบกําหนดสัญญา Private Repo ผู้ให้กู้ยืมเงินต้องตัดตราสารดังกล่าวออกจากการนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องและผู้กู้ยืมเงินซึ่งรับคืนตราสาร สามารถนับตราสารนั้นเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ในวันเดียวกัน 5.2.4 การนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นับธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนรวมกับธุรกรรมปกติของลูกหนี้รายนั้นตามความมาตรา 50 และมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ดังนี้ (1) ให้ผู้ให้กู้ยืมเงิน (ผู้ซื้อตราสาร) นับจํานวนเงินที่ให้ กู้ยืมดังกล่าวในการคํานวณการใหสินเชื่อแก่ลูกหนี้รายใหญ่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยให้บริษัทเงินทุนนับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อการะผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันใน โครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนนั้น ทั้งนี้ หากตราสารที่รับโอนมาได้รับยกเว้นตามมาตรา 52 ให้บริษัทเงินทุนผู้รับโอนตราสารได้รับยกเว้น ไม่ต้องนับเงินให้กู้ยืมในส่วนที่มีตราสารวางเป็นประกันดังกล่าวในการคํานวณข้างต้น (2) ให้ผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ขายตราสาร) นับมูลค่าของตราสารที่ โอนไปให้ผู้ให้กู้ยืมเงินในส่วนที่เกินกว่าเงินกู้ยืมที่ได้รับมาในการคํานวณตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กล่าวคือให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แล้วแต่กรณี (3) ในกรณีที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ขายตราสาร) ได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 5.2.4 (2) แล้ว ต่อมาถ้ามูลค่าตราสารที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์โอนเป็นหลักประกันเปลี่ยนแปลงจนมีผลทําให้อัตราส่วนดังกล่าวตามข้อ 5.2.4 (2) เกินกว่าที่กําหนด บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนกับคู่สัญญาดังกล่าวเพิ่มอีกไม่ได้ ส่วนการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนที่เกิดขึ้นก่อนแล้วให้มีผลผูกพันต่อไปตามสัญญาที่ทําไว้ (4) ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 5.2.4 (1) และ 5.2.4 (2) สําหรับช่วงเวลาทีประกอบธุรกรรมอยู่นั้นจะต้องมีการตีมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกันให้มีมูลค่าตามราคาตลาด (Mark to market) ดังนั้น บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จึงต้องถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ (4.1) ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าลดลง ถ้าบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ผู้กู้ยืมเงินถูกเรียกมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับลดยอดเงินกู้ยืมลงเท่าจํานวนเงินมาร์จินที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าถูกเรียกมาร์จินเป็นตราสาร ให้ปรับมูลค่าของตราสารที่ โอนเป็นหลักประกันโดยรวมตราสารที่เป็นมาร์จินเพิ่มขึ้นด้วย (4.2) ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถ้าบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ผู้กู้ยืมเงินได้รับคืนมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับเพิ่มยอดเงินกู้ยืมขึ้นเท่าจํานวนเงินที่ได้รับนั้น แต่ถ้าได้รับคืนมาร์จินเป็นตราสาร ให้ลดจํานวนตราสารที่เป็นหลักประกันลงตามจํานวนตราสารที่ได้รับคืน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างของมาร์จิน (Exposure)ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ตามมูลค่าของตลาดในช่วงเวลาก่อนที่จะมีการเรียกมาร์จิน หรือหลักประกันเพิ่มนั้น ในการคํานวณอัตราส่วนของลูกหนี้รายใหญ่ (Total Exposure) ในข้อ 5.2.4 (1) และ 5.2.4 (2) บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะต้องนํามูลค่าส่วนต่างของมาร์จินที่กําหนดไว้ตอนเริ่มทําสัญญามาใช้ในการคํานวณอัตราส่วนของลูกหนี้รายใหญ่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่างของมาร์จินตลอดเวลาอันเนื่องจากการตีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด แต่ในการคํานวณจะไม่นําส่วนต่างของมาร์จินที่เกิดขึ้นจริงมาใช้ในการคํานวณ แต่จะให้นํามูลค่าของส่วนต่างของมาร์จินเดิมตอนเริ่มทําสัญญามาใช้ในการคํานวณ 5.2.5 การบันทึกบัญชี ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์บันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีหรือแนวปฏิบัติของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยหรือสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยแล้วแต่กรณี และให้จัดทําทะเบียนเกี่ยวกับการซื้อหรือขายธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนเพื่อประโยชน์ในการติดตามและควบคุมความถูกต้องของการทําธุรกรรม โดยในทะเบียนควรมีข้อมูลขั้นต่ําดังนี้ วันที่ทําสัญญา วันครบกําหนดสัญญา วันส่งมอบหลักทรัพย์ จํานวนเงินที่ทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน การดํารงมาร์จิน รายละเอียดตราสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เลขที่ตราสารชื่อผู้ออก จํานวนเงิน เป็นต้น 5.2.6 การรายงาน การรายงานธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนในแบบรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แสดงไว้ภายใต้รายการเงินให้สินเชื่อ เงินกู้ยืม รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพย์อื่นหรือหนี้สินอื่น แล้วแต่กรณีจนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ทําการปรับปรุงแก้ไขแบบรายงานที่เกี่ยวข้องและประกาศใช้ต่อไป 5.2.7 การยับยั้งหรือสั่งเพิกถอน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจยับยั้งหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้ ในกรณีต่อไปนี้ (1) บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,719
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3837 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอุปกรณ์ป้องกันด้านท้ายยานยนต์
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3837 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อุปกรณ์ป้องกันด้านท้ายยานยนต์ --------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอุปกรณ์ป้องกันด้านท้ายยานยนต์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2347 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,720
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.56/14/51 | 75,000 | 5 มิถุนายน 2551 | 9/6/51 – 23/6/51 | 14 | | พ.57/14/51 | 75,000 | 6 มิถุนายน 2551 | 10/6/51 – 24/6/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,721
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3838 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการป้องกันด้านข้างรถบรรทุกสินค้า รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3838 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การป้องกันด้านข้างรถบรรทุกสินค้า รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง -------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการป้องกันด้านข้างรถบรรทุกสินค้า รถพ่วง และรถกึ่งพ่วง มาตรฐานเลขที่ มอก. 2348 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,722
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 24/2551 เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 24/2551 เรื่อง การอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการนําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า -------------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เดิมตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้เฉพาะกรณีเพื่อการใช้เป็นที่ทําการ หรือได้รับมาจากการชําระหนี้เท่านั้น ซึ่งมีระยะเวลาการถือครองค่อนข้างเข้มงวด กล่าวคือหากได้รับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการชําระหนี้จะต้องจําหน่ายออกไปโคยเร็ว อย่างไรก็ดีธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า เพื่อให้สถาบันการเงินมีความยืดหยุ่นในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว และไม่ให้เป็นภาระต่อสถาบันการเงิน จึงได้อนุญาตให้สถาบันการเงินนําอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวออกให้เช่าได้ในช่วงที่ถือครองอยู่ โดยการให้เช่าดังกล่าวต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจปกติของสถาบันการเงิน การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจนําอสังหาริมทรัพย์อกให้เช่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ สถาบันการเงินใดได้มีการดําเนินการอยู่แล้วก็ให้ทําต่อไปได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่าได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก 4.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจการนําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า ลงวันที่ 3 มกราคม 2546 (หนังสือเวียนที่ สนส.(11) ว. 10/2546 ลงวันที่ 31 มกราคม 2546) 4.2 หนังสือเวียนที่ ธปท.สนส.(11) ว. 1457/2547เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกิจการนําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2547 4.3 หนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(21) ว. 2205/2548 เรื่อง การยกเลิกการจัดทําและนําส่งแบบรายงานการนําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2548 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ 5.1.1 ประเภทของอสังหาริมทรัพย์ที่อนุญาตให้นําออกให้เช่าได้ ได้แก่ (1) อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสถานที่สําหรับดําเนินธุรกิจซึ่งยังมิได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น สถานที่ทําการ ที่จอดรถ คลังสินค้าที่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีไว้เพื่อเก็บรักษาทรัพย์ที่นํามาวางประกันการให้สินเชื่อ (2) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการชําระหนี้ หรือจากการประกันการให้สินเชื่อ หรือจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่รับจํานองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคําสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้มาเนื่องจากสัญญาขายฝาก สําหรับอสังหาริมทรัพย์ตาม 5.1.1 (2) ระยะเวลาการให้เช่าจะต้องไม่เกิน 3 ปีสําหรับบริษัทเงินทุน และไม่เกิน 5 ปีสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เว้นแต่อสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ขยายระยะเวลาการถือครองสําหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาในระหว่าง พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2547 ให้กําหนดระยะเวลาการให้เช่าได้ครั้งละไม่เกิน 3 ปีสําหรับบริษัทเงินทุน และครั้งละไม่เกิน 5 ปีสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทั้งนี้ การกําหนดสัญญาเช่าจะต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ขยายเวลาให้ (3) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ซื้อหรือมีไว้เพื่อใช้เป็นสํานักงานสาขา แต่อยู่ระหว่างรอการจําหน่ายอันเนื่องมาจากการย้าย การปิด และการระงับหรือยกเลิกการเปิดสํานักงาน 5.1.2 ในการนําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า ให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นการให้เข่าเพื่อป้องกันการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจหรือเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของอสังหาริมทรัพย์ (2) ต้องจัดให้มีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ ยกเว้นในกรณีการนําที่จอดรถตามข้อ 5.1.1 (1) ออกให้เช่าในลักษณะที่ไม่อาจทําสัญญาได้เนื่องจากความจําเป็นหรือเหตุสุดวิสัย โดยในกรณีดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จะต้องจัดทําและจัดเก็บเอกสารการให้เช่าไว้เป็นหลักฐาน เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ (3) ต้องไม่ทําสัญญาเช่าที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้พื้นที่ของธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หากเป็นกรณีการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสถานที่สําหรับดําเนินธุรกิจ ตามข้อ 5.1.1 (1) และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ในกรณีการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามข้อ 5.1.1 (2) และ ข้อ 5.1.1 (3) (4) ต้องให้เช่าไม่เกินกว่าระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย โดยธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ต้องจําหน่ายหรือยกเลิกการถืออสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลาตามกฎหมายและตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (5) ในกรณีการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสถานที่สําหรับดําเนินธุรกิจเมื่อนําพื้นที่ของสํานักงานใดออกให้เช่าแล้ว สํานักงานนั้นต้องไม่เช่าหรือซื้อพื้นที่เพิ่มเติมอีก รวมทั้งต้องให้เช่าแก่สู้ประกอบธุรกิจที่เหมาะสมและไม่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (6) ต้องกําหนดเงื่อนไขในการให้เช่า เช่น ค่าเช่าหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเหมาะสมตามสภาวะตลาดและเป็นปกติทางการค้า มิฉะนั้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จะต้องนําเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมก่อนดําเนินการให้เช่า (7) ต้องจัดทําและเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการนําอสังหาริ่มทรัพย์ออกให้เช่า เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ (8) ต้องประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด อนึ่ง ในกรณีที่การนําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่ามิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดข้างต้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ที่ประสงค์จะนําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่าจะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน และในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์ละวิธีปฏิบัติใด ๆ ด้วยก็ได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,723
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.58/14/51 | 75,000 | 10 มิถุนายน 2551 | 12/6/51 – 26/6/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,724
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 25/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองชิเอร์ให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินและให้กู้ยืมเงินโดยไม่รับจำนองอสังหาริมทรัพย์ในกรณีอื่น
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 25/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองชิเอร์ให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานําตั๋วสัญญาใช้เงิน และให้กู้ยืมเงินโดยไม่รับจํานองอสังหาริมทรัพย์ในกรณีอื่น ----------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เดิมกระทรวงการคลังมีนโยบายส่งเสริมให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีช่องทางในการให้กู้ยืมเงินได้มากขึ้น จึงอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองชิเอร์ให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานําตั๋วสัญญาใช้เงินได้ การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้กู้ยืมเงิน โดยวิธีรับจํานําตั๋วสัญญาใช้เงินมาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ในการให้กู้ยืมเงินไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังนั้น กฎกระทรวง ประกาศต่างๆ ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว จึงสิ้นผลบังคับใช้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้กู้ยืมเงินโดยรับจํานําตั๋วสัญญาใช้เงินได้ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ถูกยกเลิก 4.1 ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการอื่น ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2525 (หนังสือเวียนนําส่ง ที่ งพ.(ว) 130/2525 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2525) 4.2 หนังสือเวียนที่ ธปท. งพ. (ว) 505/2526 เรื่อง การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2526 4.3 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการอื่น (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2528 (หนังสือเวียนนําส่ง ที่ งพ. (ว) 1622/2528 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2528) อื่นๆ - 5. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเครดิดฟองซิเอร์ให้กู้ยืมเงินแก่ผู้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นเป็นผู้ออกโดยวิธีรับจํานําตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ 5.1 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะรับจํานําได้ต้องเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีระยะเวลานับตั้งแต่ออกตั๋วจนถึงวันครบกําหนดใช้เงิน ไม่ต่ํากว่า 3 ปี 5.2 จํานวนเงินที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะให้ผู้ยืมได้ต้องไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละ 90 ของจํานวนเงินที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้กู้นํามาจํานําซึ่งไม่รวมดอกเบี้ย สําหรับกรณีที่ระยะเวลานับแต่วันให้กู้จนถึงวันครบกําหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นยังเหลือไม่เกิน 1 ปี (2) ร้อยละ 75 ของจํานวนเงินที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้กู้นํามาจํานําซึ่งไม่รวมดอกเบี้ย สําหรับกรณีที่ระยะเวลานับแต่วันให้กู้จนถึงวันครบกําหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นยังเหลือเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี (3) ร้อยละ 60 ของจํานวนเงินที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้กู้นํามาจํานําซึ่งไม่รวมดอกเบี้ย สําหรับกรณีที่ระยะเวลานับแต่วันให้กู้จนถึงวันครบกําหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นยังเหลือเกินกว่า 2 ปี 5.3 บริษัทเครดิตฟองซิเร์ต้องขัดให้ผู้กู้ทําสัญญากู้ยืมเงิน มีกําหนดเวลาชําระคืนเงินต้นไม่เกินกว่าวันครบกําหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้กู้นํามาจํานํา 5.4 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องเก็บรักษาตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้กู้นํามาจํานําไว้ และจะนําไปใช้ประโยชน์อื่นมิได้ 5.5 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะให้กู้ยืมเงินแก่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครคิตฟองซิเอร์อื่น โดยไม่ต้องรับจํานองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันได้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (1) ต้องเป็นการให้กู้ยืมประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (2) จํานวนเงินที่ให้กู้ยืมเมื่อสิ้ สิ้นวันหนึ่ง ๆ แก่ผู้กู้แต่ละราย ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุนของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น หรือเมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินกองทุนของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,725
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3839 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการวัดกำสังสุทธิของเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือของการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และกำลังสูงสุด ในเวลา 30 นาที ของการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า สำหรับรถยนต์นั่งและรถบรรทุก
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3839 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การวัดกําสังสุทธิของเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือของการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และกําลังสูงสุด ในเวลา 30 นาที ของการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า สําหรับรถยนต์นั่งและรถบรรทุก -------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการวัดกําลังสุทธิของเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือของการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและกําลังสูงสุดในเวลา 30 นาที ของการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า สําหรับรถยนต์นั่งและรถบรรทุก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2331 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,726
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 มิถุนายน 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2551 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 มิถุนายน 2551 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/1RB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 มิถุนายน 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยกําหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ลบร้อยละ 0.2 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยสําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 มิถุนายน 2551 ในวันที่ 10 มิถุนายน 2551 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 มิถุนายน 2551 เท่ากับร้อยละ 3.4 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
7,727
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3840 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ : เฉพาะด้านความปลอดภัย และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ระบบยึดแบบไอโซฟิกเละจุดยึดไอโซฟิกทอปเททอร์
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3840 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ : เฉพาะด้านความปลอดภัย และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จุดยึดเข็มขัดนิรภัย ระบบยึดแบบไอโซฟิกเละจุดยึดไอโซฟิกทอปเททอร์ ---------------------------------- อื่นๆ - โดยเป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ : เฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 1467 - 2540 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2387 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจุดยึดเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ : เฉพาะด้านความปลอดภัย ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจุดยึดเข็มขัดนิรภัย ระบบยึดแบบไอโซฟิกและจุดยึดไอโซฟิกทอปเทเทอร์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1467 - 2550 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,728
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 26/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 26/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ผู้ให้บริการทางการเงินมีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพของธนาคารพาณิชย์ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายที่จะสนับสนุนการให้บริการของธนาคารพาณิชย์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ภายในขอบเขตอันสมควรตามความเหมาะสมกับฐานะและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า ซึ่งการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทําให้ธนาคารพาณิชย์สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานได้จริง เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการใช้ระบบหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการให้บริการ ธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับความเห็นชอบในหลักการจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน มิฉะนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยะไม่พิจารณาคําขออนุญาตให้บริการด้วยระบบหรืออุปกรณ์ดังกล่าวของธนาคารพาณิชย์ ส่วนการให้บริการของธนาคารพาณิชย์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และเป็นการให้บริการนอกสํานักงานและหรือนอกเวลาทําการของธนาคารพาณิชย์นั้น ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และขอบเขตการประกอบการนอกสถานที่ของธนาคารพาณิชย์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้จะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ลดต้นทุนการให้บริการเพิ่มประสิทธิภาพ เกิดความรวดเร็วและสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการก็จริง แต่การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้น การควบคุมดูแลรักษาความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสําคัญ เนื่องจากเมื่อเกิดความเสียหายจากระบบเทคโนโลยีดังกล่าว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารพาณิชย์เองทั้งในด้านจํานวนเงินและชื่อเสียงที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ รวมถึงการฉ้อโกงรูปแบบใหม่ ๆ ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและเกิดความเสียหายอย่างมากและมีผลกระทบในวงกว้างต่อระบบการเงินของประเทศได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าว จึงออกหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการการเงิน ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ มาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 รูปแบบธุรกรรมการให้บริการทางการเงิน การนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยในการให้บริการการเงินนั้น ธนาคารพาณิชย์จะต้องได้รับความเห็นชอบในหลักการจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการให้บริการ ทั้งในส่วนของเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เคยนํามาใช้ และการพัฒนาเทคโนโลยีเดิมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการทางการเงิน ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการให้บริการทางการเงินที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด มีดังนี้ 5.1.1 การให้บริการในรูปของสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของรูปแบบการจัดตั้งและหลักเกณฑ์การให้บริการ ให้เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์ 5.1.2 การใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้รองรับการให้บริการธุรกรรมผ่านเครือข่ายดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดหลักเกณฑ์การให้บริการดังกล่าวตามเอกสารแนบ 2 โดยธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการดําเนินการ สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่เดิมแล้ว ให้ทําได้ต่อไปตามที่ได้รับอนุญาต 5.1.3 การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Money) ปัจจุบันได้มีการริเริ่มการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถนําเงินอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นประโยชน์ของธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เช่น ประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชน เป็นต้น จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Money) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพของระบบการเงิน ระบบสถาบันการเงิน และระบบการชําระเงิน ตามเอกสารแนบ 3 โดยธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการดําเนินการ สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่เดิมแล้วให้ทําได้ต่อไปตามที่ได้รับอนุญาต 5.2 การให้บริการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารพาณิชย์ได้มีการให้บริการ โอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ลูกค้าประชาชนทั่วไปให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วจนเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยการนําเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ทําให้เกิดความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาและข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งระหว่างธนาคารพาณิชย์กับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งลูกค้าผู้ใช้บริการทั่วไป โดยส่วนหนึ่งมักเกิดจากลูกค้าผู้ใช้บริการขาดเอกสารหลักฐานเพื่อยืนยันข้อเท็จจริง และไม่ทราบขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้องรวมทั้งข้อควรระมัดระวังในการใช้บริการ ประกอบกับปัจจุบันยังไม่มีข้อกําหนดวิธีการหรือกฎหมายใดที่ให้ความคุ้มครองและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกรรมการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเห็นสมควรกําหนดหลักเกณฑ์การให้บริการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับธนาคารพาณิชย์ได้ใช้เป็นแนวทางและวิธีปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเพิ่มความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนมากยิ่งขึ้น อันเป็นพื้นฐานและปัจจัยสําคัญของการพัฒนาระบบการชําระเงินให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยก้าวหน้าต่อไปตามเอกสารแนบ 4 5.3 การรักษาความปลอดภัย 5.3.1 การให้บริการทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความเสี่ยงที่สําคัญคือ ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Security Risk) ของข้อมูล ระบบ และเครือข่ายที่ใช้ในการให้บริการธนาคารพาณิชย์จําเป็นต้องมีนโยบายและกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถป้องกันระบบการให้บริการจากภัยคุกคาม การลักลอบเข้าถึง และการโจรกรรมข้อมูลทั้งของธนาคารพาณิชย์และลูกค้า ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสียหายทางการเงิน ความเสียหายต่อชื่อเสียงและสามารถนําไปสู่การขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการให้บริการของธนาคารพาณิชย์โดยรวมได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ควรมีแนวทางในการกําหนดนโยบายและกระบวนการในการรักษาความปลอดภัยสําหรับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการดังกล่าวมีความปลอดภัย เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นการรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น จึงได้ออกแนวปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแนวทางสําหรับธนาคารพาณิชย์ ตามเอกสารแนบ 5 5.3.2 การจัดทําแผนฉุกเฉินด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายและกระบวนการจัดทําแผนฉุกเฉินด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมรองรับเหตุการณ์และลดผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นรวมทั้งฟื้นฟูระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคารพาณิชย์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้ภายในเวลาที่เหมาะสม ตามเอกสารแนบ ซึ่งทําให้ธนาคารพาณิชย์สามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องหรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุดหลังจากเกิดเหตุการณ์หยุดชะงัก อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ดี แผนฉุกเฉินฯ ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวปฏิบัติในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) และการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) ซึ่งเป็นแผนงานในการทําให้ธุรกิจดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่องหรือทําให้ธุรกิจกลับคืนสู่สภาพที่สามารถดําเนินต่อไปได้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบคอมพิวเตอร์สํารองนอกอาคารที่ตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์หลักของธนาคารพาณิชย์ที่มีระยะห่างไกลกันพอสมควร ทั้งนี้การหยุดให้บริการแก่ลูกค้าประชาชนผู้ฝากเงินและผู้ใช้บริการของธนาคารพาณิชย์อันมีสาเหตุจากระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้องหรือเสียหาย จะหยุดเกิน 1 วันทําการไม่ได้ 5.4 การควบคุมภายใน เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลระบบต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงความจําเป็นในการเก็บรักษาข้อมูลไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรกําหนดมาตรฐานข้อมูลขั้นต่ําของระบบงานต่าง ๆ ตามเอกสารแนบ 7 เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ต้องมีข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.5 การดําเนินการอื่น ๆ การใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing) เนื่องด้วยธนาคารพาณิชย์ได้มีการใช้บริการดังกล่าวอย่างแพร่หลายมากขึ้น เพื่อลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินงานและพัฒนาศักยภาพการให้บริการให้ทันต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งธนาคารพาณิชย์ที่ใช้บริการดังกล่าวขอให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ 5.6 รูปแบบการฉ้อโกงทางการเงินและแนวทางป้องกัน เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บริการมีความรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ มีความปลอดภัยเมื่อใช้บริการลดผลกระทบและความเสียหายต่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ และเป็นการรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้าในการใช้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีรูปแบบดังนี้ 5.6.1 การใช้เครื่องบันทึกข้อมูลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer) ดึงข้อมูลบัตรลูกค้าจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) เพื่อทําบัตรปลอม ธนาคารพาณิชย์ควรตระหนักถึงปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้น เพิ่มความระมัดระวังในการให้บริการ รวมทั้งจัดให้มีมาตรการป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้การให้บริการผ่านเครื่องATM มีความปลอดภัยต่อลูกค้าผู้ใช้บริการ ตามเอกสารแนบ 8 5.6.2 การทุจริตผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยวิธี Phishing ธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการธนาคารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรเพิ่มความระมัดระวังในการให้บริการ รวมทั้งจัดให้มีมาตรการป้องกันและแจ้งเตือนลูกค้าเกี่ยวกับการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น ตามเอกสารแนบ 9 5.7 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การบริหารความเสี่ยงทางด้านการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ยังมีกฎเกณฑ์ที่ธนาคารพาณิชย์จําเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงและส่งเสริมให้การทําธุรกรรมด้านการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัยและเป็นมาตรฐานสากล เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ตามเอกสารแนบ 10) และBank for International Settlements (BIS) โดย Basel Committee on Banking Supervision ได้ดําเนินการจัดทําและเผยแพร่ Risk Management Principles for Electronic Banking (ตามเอกสารแนบ 11) อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,729
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.59/15/51 | 70,000 | 13 มิถุนายน 2551 | 17/6/51 – 2/7/51 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,730
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 27/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 27/2551 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทางการเงินมีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทําให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานได้จริง เป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้จะช่วยให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ลดต้นทุนการให้บริการ เพิ่มประสิทธิภาพ เกิดความรวดเร็วและสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการก็จริง แต่การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้น การควบคุมดูแลรักษาความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสําคัญ เนื่องจากเมื่อเกิดความเสียหายจากระบบเทคโนโลยีดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เองทั้งในด้านจํานวนเงินและชื่อเสียงที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ รวมถึงการฉ้อโกงรูปแบบใหม่ ๆ ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและเกิดความเสียหายอย่างมากและมีผลกระทบในวงกว้างต่อระบบการเงินของประเทศได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าว จึงออกหลักเกณฑ์ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การออกประกาศฉบับนี้ เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องมาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยให้ขอบเขตธุรกิจที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้รับอนุญาตยังคงเป็นไปตามขอบเขตที่ได้รับอนุญาตอยู่เดิม เนื่องจากพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ดังนั้น กฎกระทรวง ประกาศต่าง ๆ ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวจึงสิ้นผลบังคับใช้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 รูปแบบธุรกรรมการให้บริการทางการเงิน การนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยในการให้บริการการเงินนั้น บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะต้องขออนุญาตตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดก่อนการให้บริการ ทั้งในส่วนของเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เคยนํามาใช้ และการพัฒนาเทคโนโลยีเดิมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการทางการเงิน ปัจจุบันรูปแบบการให้บริการทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดําเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาการแห่งประเทศไทยกําหนด ได้แก่ การใช้บริการครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามเอกสารแนบ 2 ซึ่งได้ให้บริการหรือทําธุรกรรมผ่านเครือข่ายดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการดําเนินการ สําหรับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่เดิมแล้ว ให้ทําได้ต่อไปตามที่ได้รับอนุญาต 5.2 การรักษาความปลอดภัย 5.2.1 การให้บริการทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความเสี่ยงที่สําคัญคือ ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Security Risk) ของข้อมูล ระบบ และเครือข่ายที่ใช้ในการให้บริการบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จําเป็นต้องมีนโยบายและกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถป้องกันระบบการให้บริการจากภัยคุกคาม การลักลอบเข้าถึงและการโจรกรรมข้อมูลทั้งของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เองเละลูกค้า ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสียหายทางการเงิน ความเสียหายต่อชื่อเสียง และสามารถนําไปสู่การขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการให้บริการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยรวมได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นว่าบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ควรมีแนวทางในการกําหนดนโยบายและกระบวนการในการรักษาความปลอดภัยสําหรับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการดังกล่าวมีความปลอดภัย เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นการรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ดังนั้น จึงได้ออกแนวปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแนวทางสําหรับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามเอกสารแนบ 3 5.2.2 การจัดทําแผนฉุกเฉินด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีแนวทางในการกําหนดนโยบายและกระบวนการจัดทําแผนฉุกเฉินด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมรองรับเหตุการณ์และลดผลกระทบต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งฟื้นฟูระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้ภายในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งทําให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องหรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุดหลังจากเกิดเหตุการณ์หยุดชะงัก อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการให้บริการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกแนวปฏิบัติในการจัดทําแผนฉุกเฉินด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (แผนฉุกเฉินด้าน IT) ตามเอกสารแนบ 4 5.3 การควบคุมภายใน การที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้นําคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลธุรกิจการเงินหรือใช้เป็นเครื่องมือสําคัญในการให้บริการทางการเงินใหม่ ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและความเสียหายแก่การดําเนินธุรกิจของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้ หากมิได้มีการตระเตรียมในการควบคุมและตรวจสอบไว้ถ่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการควบคุมภายในและการรักษาความปลอดภัย เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติและสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพโครงสร้างธุรกิจและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานขั้นต่ําการควบคุมภายในและการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการประมวลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามเอกสารแนบ 5 อันจะช่วยป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้มีความปลอดภัยและมั่นคงอย่างเพียงพอได้ตามสมควร 5.4 การดําเนินการอื่นๆ การใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing) เนื่องด้วยสถาบันการเงินส่วนใหญ่ได้มีการใช้บริการดังกล่าวอย่างแพร่หลายมากขึ้นเพื่อลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินงานและพัฒนาศักยภาพการให้บริการให้ทันต่อพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ใช้บริการดังกล่าว ขอให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing) เพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ 5.5 รูปแบบการฉ้อโกงทางการเงินและแนวทางป้องกัน เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บริการมีความรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ มีความปลอดภัยเมื่อใช้บริการลดผลกระทบและความเสียหายต่อธุรกิจของบริษัทเงินทุนเละบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และเป็นการรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้าในการใช้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ให้บริการธนาคารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรเพิ่มความระมัดระวังในการให้บริการจากการทุจริตผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยวิธี Phishing รวมทั้งจัดให้มีมาตรการป้องกันและแจ้งเตือนลูกค้าเกี่ยวกับการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นตามเอกสารแนบ 6 5.6 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การบริหารความเสี่ยงทางด้านการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ยังมีกฎเกณฑ์ที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จําเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงของตนและส่งเสริมให้การทําธุรกรรมด้านการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัยและเป็นมาตรฐานสากล เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ตามเอกสารแนบ 7) และBank for International Settlements (BIS) โดย Basle Committee on Banking Supervision ได้ดําเนินการจัดทําและเผยแพร่ Risk Management Principles for Electronic Banking (ตามเอกสารแนบ 8) อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,731
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3841 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดเฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 4
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3841 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 4 ------------------------------ อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 4 มาตรฐานเลขที่ มอก. 2315 - 2549 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ. ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3606 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 4 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด เฉพาะด้านความปลอดกับ : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ระดับที่ 4 มาตรฐานเลขที่ มอก. 2315 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,732
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 28/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 28/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.60/14/51 | 70,000 | 17 มิถุนายน 2551 | 19/6/51 – 3/7/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,733
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3842 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 6
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3842 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รถจักรยานยนต์ เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 6 ------------------------------- อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 6 มาตรฐานเลขที่ มอก. 2350 - 2550 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3772 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 6 ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ เฉพาะด้านความปลอดกับ : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 6 มาตรฐานเลขที่ มอก. 2350 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,734
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 28/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสำหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 28 /2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืมเงินจากประชาชนได้จากการออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาจ่ายคืนไม่ต่ํากว่าหนึ่งปีโดยไม่จ่ายส่วนลดเพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่เน้นการให้สินเชื่อระยะยาว ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ได้ขยายขอบเขตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทเครดิตฟองชิเอร์สามารถรับฝากเงินโดยใช้สมุดคู่ฝากหรือใบรับฝากเงิน ระยะเวลาไม่ต่ํากว่า 1 ปีได้รวมทั้งกําหนดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมด้วย นอกจากนี้เป็นการรวบรวมประกาศที่เกี่ยวข้องกันมาอยู่ในฉบับเดียวกัน และอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ได้ ดังนี้ 5.1.1 การรับฝากเงินโดยใช้สมุดคู่ฝาก หรือใบรับฝากเงินในการรับฝากเงินให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (เอกสารแนบ 2) 5.1.2 ในการกู้ยืมเงินจากประชาชน ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) ออกเอกสารการกู้ยืมเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาจ่ายคืนไม่ต่ํากว่าหนึ่งปีให้แก่ผู้ให้กู้โดยไม่จ่ายส่วนลด (2) จํานวนเงินขั้นต่ําที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์กู้ยืมแต่ละครั้งต้องไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันบาท (3) ต้องมีข้อกําหนดห้ามไถ่ถอนก่อนครบกําหนดระยะเวลาหนึ่งปี และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จะจ่ายคืนเงินกู้ยืมก่อนครบกําหนดระยะเวลาหนึ่งปีไม่ได้ 5.2 การปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ย ส่วนลด และค่าบริการต่างๆ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ยหรือส่วนลด ละค่าบริการต่างๆ ของเงินฝากและเงินกู้ยืม ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ สําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.3 ระบบการควบคุมภายใน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องมีระบบการควบคุมภายในสําหรับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมการรับฝากเงินและการรับเงินจากประชาชนที่เหมาะสมได้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยต้องจัดทําระเบียบการควบคุมภายในดังกล่าวให้ครบถ้วนถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ และต้องจัดส่งสําเนาระเบียบการควบคุมภายในให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ นอกจากนี้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกําหนดระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (เอกสารแนบ 3) 5.4 การเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องชี้แจงข้อมูลที่สําคัญ ๆ ให้ลูกค้าได้ทราบและเข้าใจชัดเจนก่อนการรับฝากเงินหรือการรับเงิน เช่น เงื่อนไขการจ่ายชําระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยคิดลด ค่าบริการต่าง ๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ย และ/หรือการไถ่ถอนเงินฝากสิทธิประโยชน์ทางภาษี รายละเอียดการประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝากของผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ละประเภทที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการแก่ลูกค้า อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจนุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,735
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.61/14/51 | 75,000 | 19 มิถุนายน 2551 | 23/6/51 – 7/7/51 | 14 | | พ.62/14/51 | 70,000 | 20 มิถุนายน 2551 | 24/6/51 – 8/7/51 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2551 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,736
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแต่งตั้งผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ เพื่อเสนอคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้ | | | | | --- | --- | --- | | ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | ผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | หมายเหตุ | | 1. มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เฉพาะด้านความปลอดภัย (มอก. 812) | 1. บริษัท โปร - แอพพลิเคชั่น เซอร์วิซจํากัด | เพิ่มเติม | ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,737
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจสอบการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจสอบการทําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม -------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่งตั้งผู้ตรวจสอบการทําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อตรวจสอบการทําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ เพื่อเสนอคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้ 1. สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ 2. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3. สถาบันยานยนต์ 4. สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย 5. สถาบันอาหาร 6. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ 7. บริษัท แอ็ดแวนเทช จํากัด ดังมีรายการละเอียดท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,738
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3843 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่อเหล็กกล้าแบบมีตะเข็บเชื่อมสำหรับส่งน้ำมัน ก๊าซ และของเหลววามดันสูง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3843 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ท่อเหล็กกล้าแบบมีตะเข็บเชื่อมสําหรับส่งน้ํามัน ก๊าซ และของเหลววามดันสูง ---------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่อเหล็กกล้าแบบมีตะเข็บเชื่อมสําหรับส่งน้ํามัน ก๊าช และของเหลวความดันสูง มาตรฐานเลขที่ มอก. 2367 - 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,739
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3844 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคันบังคับสำหรับยานยนต์ที่น้อยกว่าสี่ล้อ : การป้องกันการโจรกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3844 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คันบังคับสําหรับยานยนต์ที่น้อยกว่าสี่ล้อ : การป้องกันการโจรกรรม ------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรมม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคันบังคับสําหรับยานยนต์ที่น้อยกว่าสี่ล้อ : การป้องกันการโจรกรรม มาตรฐานเลขที่ มอก. 2370 - 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,740
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3845 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโคมไฟแสดงตำแหน่งด้านข้างสำหรับยานยนต์และส่วนพ่วง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3845 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โคมไฟแสดงตําแหน่งด้านข้างสําหรับยานยนต์และส่วนพ่วง -------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโคมไฟแสดงตําแหน่งด้านข้างสําหรับยานยนต์และส่วนพ่วง มาตรฐานเลขที่ มอก. 2371 - 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,741
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3846 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตำแหน่งและการชี้บ่งของอุปกรณ์ควบคุมด้วยมือสัญญาณบนแผงหน้าปัด และตัวบ่งชี้สถานะสำหรับยานยนต์
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3846 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตําแหน่งและการชี้บ่งของอุปกรณ์ควบคุมด้วยมือ สัญญาณบนแผงหน้าปัด และตัวบ่งชี้สถานะสําหรับยานยนต์ ------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตําแหน่งและการชี้บ่งของอุปกรณ์ควบคุมด้วยมือ สัญญาณบนแผงหน้าปัด และตัวบ่งชี้สถานะสําหรับยานยนต์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2372 - 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,742
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3850 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นพีวีซีโฟมแข็ง
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3850 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แผ่นพีวีซีโฟมแข็ง ----------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นพีวีซีโฟมแข็ง มาตรฐานเลขที่ มอก. 2356 - 2550 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,743
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3853 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางอุดรอยต่อคอนกรีต
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3853 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยางอุดรอยต่อคอนกรีต ----------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางอุดรอยต่อคอนกรีต มาตรฐานเลขที่ มอก. 2379 - 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,744
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3854 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ : ชนิดกรองอนุภาคดูดซับก๊าซและไอในขณะเดียวกัน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3854 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ : ชนิดกรองอนุภาคดูดซับก๊าซและไอในขณะเดียวกัน ------------------------------------ อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ : ชนิดกรองอนุภาคดูดซับก๊าซและไอในขณะเดียวกัน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2382 - 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,745
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3855 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้อต่อสามทางใช้ในการแพทย์
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3855 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อต่อสามทางใช้ในการแพทย์ ------------------------ อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้อต่อสามทางใช้ในการแพทย์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2384 - 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,746
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3856 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีรองพื้นกันสนิมซิงก์ฟอสเฟต
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3856 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สีรองพื้นกันสนิมซิงก์ฟอสเฟต ---------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีรองพื้นกันสนิมซิงก์ฟอสเฟต มาตรฐานเลขที่ มอก. 2386 - 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,747
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3857 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีรองพื้นกันสนิม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3857 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สีรองพื้นกันสนิม ------------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีรองพื้นกันสนิม มาตรฐานเลขที่ มอก. 2387 - 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,748
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3858 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสารละลายเฟร์ริกคลอไรด์
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3858 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สารละลายเฟร์ริกคลอไรด์ --------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสารละลายเฟร์ริกคลอไรด์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2391 - 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,749
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3859 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสำหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 1 : การพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่นและป้อนม้วนแบบหมาดตัวด้วยความร้อน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3859 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 1 : การพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่นและป้อนม้วนแบบหมาดตัวด้วยความร้อน -------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 1 : การพิมพ์ออฟเซดป้อนแผ่นและป้อนม้วน แบบหมาดตัวด้วยความร้อน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2363 เล่ม 1 - 2550 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,750
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3860 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสำหรับการพิมพ์สี่สีเล่ม 2 : การพิมพ์ออฟเซตแบบหมาดตัวปกติหรือโคลด์เซต
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3860 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 2 : การพิมพ์ออฟเซตแบบหมาดตัวปกติหรือโคลด์เซต -------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 2 : การพิมพ์ออฟเชตแบบหมาดตัวปกติ หรือโคลด์เซต มาตรฐานเลขที่ มอก. 2363 เล่ม 2 - 2550 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,751
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3861 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสำหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 3 : การพิมพ์กราวัวร์สำหรับนิตยสารวารสาร
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3861 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 3 : การพิมพ์กราวัวร์สําหรับนิตยสารวารสาร ------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 3 : การพิมพ์กราวัวร์สําหรับนิตยสารวารสาร มาตรฐานเลขที่ มอก. 2363 เล่ม 3 - 2550 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,752
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3862 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ – สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสำหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 4 : การพิมพ์สกรีน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3862 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการพิมพ์ – สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 4 : การพิมพ์สกรีน ------------------------------ อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 4 : การพิมพ์สกรีน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2363 เล่ม 4 - 2550 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,753
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3863 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสำหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 5 : การพิมพ์เฟลกโซกราฟี
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3863 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 5 : การพิมพ์เฟลกโซกราฟี ------------------------------------------------------- อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการพิมพ์ - สีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสําหรับการพิมพ์สี่สี เล่ม 5 : การพิมพ์เฟลกโซกราฟี มาตรฐานเลขที่ มอก. 2363 เล่ม 5 - 2550 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้าย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7,754
ประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง การยกเลิกและกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไฟแช็กก๊าซต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
ประกาศสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง การยกเลิกและกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไฟแช็กก๊าซต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ----------------------------------- อื่นๆ - ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไฟแช็กก๊าซต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2543 ไปแล้ว นั้น บัดนี้ คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเห็นสมควรยกเลิกการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไฟแช็กก๊าซต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไฟแช็กก๊าซต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มาตรฐานเลขที่ มอก. 879 - 2551 ซึ่งจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาต่อไป ก่อนตราพระราชกฤษฎีกา สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงให้มีการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องตามมาตรฐานดังกล่าวเพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการตราพระราชกฤษฎีกาต่อไป ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะแสดงความคิดเห็น ให้แสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเหตถผลโดยระบุชื่อ ที่อยู่ ของผู้แสดงความคิดเห็นต่อสํานักงาน ฯ ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศ ผู้ที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดการกําหนดมาตรฐานดังกล่าว โปรดติดต่อขอดูได้ที่สํานักกฎหมาย สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ www.tisi.go.th จึงประกาศมาให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ชัยยง กฤตผลชัย รองเลขาธิการ ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
7,755