title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 59/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกันยายน 2557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 59/2557 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2557 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2557 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.34/14/57 | 30,000 | 5 กันยายน 2557 | 9/9/57 – 23/9/57 | 14 | ทั้งนี้ วันที่ 12 และ 19 กันยายน 2557 จะไม่มีการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุไม่เกิน 15 วัน อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กันยายน 2557 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,453
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 82/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 82 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 1/91/59 | - | 40,000 | 5 ม.ค. 59 | 7 ม.ค. 59 | 7 เม.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 1/182/59 | - | 40,000 | 5 ม.ค. 59 | 7 ม.ค. 59 | 7 ก.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/371/59 | - | 40,000 | 5 ม.ค. 59 | 7 ม.ค. 59 | 12 ม.ค. 59 | 371 วัน | 371 วัน | | 2/89/59 | - | 40,000 | 12 ม.ค. 59 | 14 ม.ค. 59 | 12 เม.ย. 59 | 89 วัน | 89 วัน | | 2/182/59 | - | 40,000 | 12 ม.ค. 59 | 14 ม.ค. 59 | 14 ก.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/3ปี/2558 | 1.55 | 30,000 | 14 ม.ค. 59 | 18 ม.ค. 59 | 20 ก.ค. 61 | 3 ปี | 2.50 ปี | | 3/91/59 | - | 40,000 | 19 ม.ค. 59 | 21 ม.ค. 59 | 21 เม.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 3/182/59 | - | 40,000 | 19 ม.ค. 59 | 21 ม.ค. 59 | 21 ก.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 4/91/59 | - | 40,000 | 26 ม.ค. 59 | 28 ม.ค. 59 | 28 เม.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 4/182/59 | | 40,000 | 26 ม.ค. 59 | 28 ม.ค. 59 | 28 ก.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,454
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกันยายน 2557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60/2557 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2557 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2557 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.35/14/57 | 30,000 | 26 กันยายน 2557 | 30/9/57 – 14/10/57 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน 2557 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,455
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนธันวาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2558 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.46/14/58 | 15,000 | 25 ธันวาคม 2558 | 29/12/58 - 12/1/59 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,456
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 61/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 61/2557 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 39/98/57 | - | 28,000 | 30 ก.ย. 57 | 2 ต.ค. 57 | 8 ม.ค. 58 | 98 วัน | 98 วัน | | 39/182/57 | - | 28,000 | 30 ก.ย. 57 | 2 ต.ค. 57 | 2 เม.ย. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 40/91/57 | - | 28,000 | 7 ต.ค. 57 | 9 ต.ค. 57 | 8 ม.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 40/182/57 | - | 28,000 | 7 ต.ค. 57 | 9 ต.ค. 57 | 9 เม.ย. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2556 | 3M BIBOR-0.1 (เท่ากับ 2.07846 สําหรับงวดเริ่มต้น วันที่ 26 ส.ค.57) | 15,000 | 10 ต.ค. 57 | 14 ต.ค. 57 | 26 ก.พ. 59 | 3 ปี | 1.37 ปี | | 41/91/57 | - | 28,000 | 14 ต.ค. 57 | 16 ต.ค. 57 | 15 ม.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 41/182/57 | | 28,000 | 14 ต.ค. 57 | 16 ต.ค. 57 | 16 เม.ย. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2557 | 2.42 | 30,000 | 16 ต.ค. 57 | 20 ต.ค. 57 | 25 ส.ค. 59 | 2 ปี | 1.85 ปี | | 42/90/57 | - | 28,000 | 21 ต.ค. 57 | 24 ต.ค. 57 | 22 ม.ค. 58 | 90 วัน | 90 วัน | | 42/181/57 | - | 28,000 | 21 ต.ค. 57 | 24 ต.ค. 57 | 23 เม.ย. 58 | 181 วัน | 181 วัน | | 43/91/57 | - | 28,000 | 28 ต.ค. 57 | 30 ต.ค. 57 | 29 ม.ค. 8 | 91 วัน | 91 วัน | | 43/182/57 | - | 28,000 | 28 ต.ค. 57 | 30 ต.ค. 57 | 30 เม.ย. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 4/364/57 | - | 30,000 | 28 ต.ค. 57 | 30 ต.ค. 57 | 29 ต.ค. 58 | 364 วัน | 364 วัน | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันที่ 8 ตุลาคม 2557 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2557 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,457
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนธันวาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2558 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.45/14/58 | 15,000 | 18 ธันวาคม 2558 | 22/12/58 - 5/1/59 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,458
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 62/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนตุลาคม 2557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 62/2557 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2557 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2557 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.36/14/57 | 30,000 | 3 ตุลาคม 2557 | 7/10/57 – 21/10/57 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,459
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 63/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนตุลาคม 2557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 63/2557 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2557 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2557 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.37/14/57 | 30,000 | 10 ตุลาคม 2557 | 14/10/57 – 28/10/57 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2557 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,460
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 79/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนธันวาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 79/2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2558 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.44/14/58 | 15,000 | 11 ธันวาคม 2558 | 15/12/58 - 29/12/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,461
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 64/2557 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 64 /2557 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ---------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ที่จะประมูลในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเกทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 8 ตุลาคม 2557 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 2.10734 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 2.18154 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2557 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,462
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2558 เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำในการดูแลลูกค้าสำหรับการทำธุรกรรมอนุพันธ์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17 / 2558 เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยกําหนดให้มีการประเมินความเหมาะสมของลูกค้าและเปิดเผยข้อมูลต่อลูกค้าในการทําธุรกรรมตามลักษณะความซับซ้อนของประเภทธุรกรรมอนุพันธ์และตามประเภทของลูกค้า เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันและมีแนวทางการดําเนินการที่สอดคล้องกันในเรื่องการดูแลลูกค้าที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคาร อันจะป้องกันไม่ให้ธนาคารพาณิชย์มีความเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียชื่อเสียง (Reputational risk) จากการทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมกับลูกค้าหรือธุรกรรมที่ลูกค้าไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริง อันอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ ปัจจุบันตลาดอนุพันธ์ของไทยมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านของปริมาณการทําธุรกรรมและความหลากหลายของธุรกรรมใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ลงทุนหรือผู้เล่นในตลาดมีความคุ้นเคย รวมถึงมีความรู้และความเข้าใจในธุรกรรมอนุพันธ์มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ประเภทนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการบริหารความเสี่ยงในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของตลาด รวมถึงระดับความรู้ ความชํานาญและความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของลูกค้ามากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้การนําเสนอธุรกรรมอนุพันธ์ของธนาคารพาณิชย์มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และดูแลให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการอย่างเป็นธรรมต่อลูกค้า (Fairness) โดยธนาคารพาณิชย์อาจไม่ประเมินความเหมาะสมของลูกค้าประเภทผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ประเภทนิติบุคคลได้ หากลูกค้าดังกล่าวได้ลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรโดยบุคคลผู้มีอํานาจในการขอไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการเข้าทําธุรกรรมอนุพันธ์ต่อธนาคารพาณิชย์ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้แล้ว (Opt out) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเข้าถึงธุรกรรมอนุพันธ์ของลูกค้า อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดกรอบและหลักเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ยกเลิก/แก้ไข ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 79/2551 เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "ธุรกรรมอนุพันธ์" หมายความว่า ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาด (Market derivatives) ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) และธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured products) "ลูกค้า" หมายความว่า ผู้ที่ประสงค์จะทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารพาณิชย์หรือคู่สัญญาที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารพาณิชย์ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย "คณะกรรมการธนาคาร" หมายความว่า คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ "ผู้ลงทุนสถาบัน" และ "ผู้ลงทุนรายใหญ่" หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์สําหรับธนาคารพาณิชย์ "ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ" หมายความว่า ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ตามคําจํากัดความที่กําหนดไว้ในมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทตามหนังสือเวียนว่าด้วยขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาท "ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ" หมายความว่า ผู้ที่ไม่ใช่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามคําจํากัดความที่กําหนดข้างต้น 5.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดกรอบและหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยครอบคลุมทั้งในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้เสนอซื้อผู้เสนอขาย หรือผู้ให้บริการธุรกรรมอนุพันธ์แก่ลูกค้า ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องให้บริการลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีจรรยาบรรณ และใช้ความระมัดระวังอย่างผู้มีวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการประเมินระดับความรู้ความชํานาญ และระดับความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่เหมาะสมของลูกค้าก่อนนําเสนอธุรกรรม นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องแสดงข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกค้า ซึ่งรวมถึงข้อมูลการคิดค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม สุจริต ไม่บิดเบือนและมีรายละเอียดเพียงพอที่ลูกค้าจะสามารถทําความเข้าใจได้ รวมถึงต้องมีกระบวนการในการดูแลลูกค้าและระบบการควบคุมภายในอย่างเหมาะสม และธนาคารพาณิชย์ต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจในธุรกรรมอนุพันธ์เป็นอย่างดีด้วย เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ําตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ ซึ่งสรุปโครงสร้างประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ได้ตามแผนภาพในเอกสารแนบท้ายประกาศ 5.3 ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการเสนอและให้บริการธุรกรรมอนุพันธ์กับลูกค้า 5.3.1 คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสําคัญกับการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยคณะกรรมการธนาคารต้องกําหนดนโยบายการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์และต้องดูแลให้ผู้บริหารระดับสูงกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลลูกค้าของธนาคารพาณิชย์เป็นลายลักษณ์อักษรให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะกรรมการธนาคารได้อนุมัติไว้ โดยขั้นตอนดังกล่าวต้องครอบคลุมทั้งการประเมินความเหมาะสมของลูกค้า การเปิดเผยข้อมูลต่อลูกค้า การรับข้อร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า ระบบการควบคุมภายใน และความพร้อมของบุคลากร ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดูแลลูกค้าอย่างถูกต้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ 5.3.2 ธนาคารพาณิชย์ต้องมีทรัพยากรที่สามารถรองรับการเสนอบริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในธุรกรรมอนุพันธ์และสามารถใช้เทคโนโลยีทางการเงินได้อย่างเหมาะสม รวมถึงต้องใช้ความรู้ความสามารถของทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ของลูกค้าอย่างเต็มที่ 5.3.3 ธนาคารพาณิชย์ต้องรักษาความลับของลูกค้า โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าให้กับบุคคลอื่น ยกเว้นเป็นการเปิดเผยข้อมูลตามกรณีต่อไปนี้ (1) การเปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานผู้กํากับดูแลหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายบัญญัติไว้ (2) การเปิดเผยข้อมูลตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม หรือ (3) การเปิดเผยข้อมูลที่ลูกค้าให้ความยินยอมที่จะให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น 5.3.4 ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบงานและกระบวนการเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องการทําธุรกรรมอนุพันธ์กับลูกค้า 5.3.5 ธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกํากับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสถาบันการเงิน (Compliance) 5.3.6 ธนาคารพาณิชย์ต้องมีแนวทางป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการเสื่อมเสียชื่อเสียง (Reputational risk) อันอาจเกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ และมาตรการที่จะแก้ไขปัญหา 5.3.7 การทําธุรกรรมอนุพันธ์ของสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่สาขานั้นตั้งอยู่ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีสาขาดังกล่าวทําธุรกรรมกับผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ซึ่งจะต้องถือปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้ 5.4 การประเมินความเหมาะสมของลูกค้า (Client suitability assessment) 5.4.1 หลักการ ก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะเสนอหรือให้บริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอนุพันธ์ให้กับลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า (Know your client - KYC) และนําข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ประกอบการประเมินความเหมาะสมของลูกค้า ซึ่งจะทําให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเสนอธุรกรรมอนุพันธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการทําธุรกรรมของลูกค้า และเหมาะสมกับระดับความรู้ความชํานาญรวมถึงความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของลูกค้า 5.4.2 นอกเหนือจากการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-money laundering and combating the financing of terrorism: AML/CFT) แล้วในการทําธุรกรรมอนุพันธ์กับลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องประเมินความเหมาะสมของลูกค้าเพิ่มเติมโดยมีมาตร์ฐานขั้นต่ําดังนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1.1) ลักษณะและสถานะของการประกอบธุรกิจ ตําแหน่งหรืออาชีพของลูกค้า (1.2) วัตถุประสงค์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ของลูกค้า เช่น เพื่อป้องกันความเสี่ยงเพื่อการลงทุน หรือ เพื่อลดต้นทุน (1.3) ระดับความเสี่ยงที่ลูกค้าต้องการในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ และระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ (1.4) ฐานะการดําเนินงานและฐานะการเงินของลูกค้า โดยธนาคารพาณิชย์ต้องพยายามอย่างเต็มที่ในการประเมินความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของลูกค้า (1.5) การลงทุนของลูกค้าทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมอนุพันธ์ของลูกค้า ซึ่งนอกเหนือจากการประเมินประสบการณ์การลงทุนของลูกค้าแล้ว ธนาคารพาณิชย์ควรมีการประเมินความสามารถของลูกค้าในการทําความเข้าใจในธุรกรรมอนุพันธ์และธุรกรรมอนุพันธ์ที่ธนาคารพาณิชย์จะนําเสนอแก่ลูกค้า เช่น การใช้แบบสอบถามทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าเป็นนิติบุคคลให้พิจารณาจากผู้มีอํานาจในการตัดสินใจทําธุรกรรม ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นระดับผู้รับผิดชอบสูงสุดในด้านการเงินของนิติบุคคลนั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้มีอํานาจลงนามในการทําธุรกรรม (1.6) ข้อมูลอื่น ๆ ที่ควรทราบ เช่น ภาระการค้ําประกัน (2) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้า (Client suitability analysis) ดังนี้ (2.1) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้าในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยจะต้องนําข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าตามข้อ 5.4.2 (1) มาวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเพื่อเลือกสรรธุรกรรมอนุพันธ์ที่จะนําเสนอหรือให้บริการได้อย่างเหมาะสมกับข้อมูลของลูกค้า (Client's profile) เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้ามีความรู้ความชํานาญเพียงพอที่จะเข้าใจลักษณะของธุรกรรมอนุพันธ์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยลูกค้าต้องเป็นผู้ตัดสินใจเลือกทําธุรกรรมอนุพันธ์เอง (2.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้า ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมอนุพันธ์ที่เสนอหรือให้บริการแก่ลูกค้า พร้อมด้วยเหตุผลประกอบการทําธุรกรรมดังกล่าว โดยต้องเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบหรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถเสนอบริการหรือธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีความเหมาะสมกับลูกค้าได้ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบทันที (2.3) กรณีที่ลูกค้าให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอสําหรับการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ควรติดตามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอในการวิเคราะห์ หรือแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการนําเสนอบริการหรือธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ธนาคารพาณิชย์ได้ประเมินบนพื้นฐานข้อมูลของลูกค้าที่ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นข้อจํากัดในการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (2.4) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีหลักฐานแสดงถึงการทบทวนความเหมาะสมของลูกค้าอย่างสม่ําเสมอเป็นประจําทุกปีหรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้าที่อาจกระทบกับการประเมินความเหมาะสมของลูกค้า เว้นแต่ในกรณีภายหลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ได้ทําการประเมินความเหมาะสมของลูกค้าในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ครั้งแรกแล้วและต่อมาลูกค้ารายเดิมยังคงมีความประสงค์จะทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีลักษณะและความเสี่ยงเช่นเดิม โดยข้อมูลของลูกค้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ธนาคารพาณิชย์อาจไม่ประเมินความเหมาะสมของลูกค้าตามข้อ 5.4.2 ได้ 5.4.3 ในกรณีการทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ธนาคารพาณิชย์อาจใช้ดุลยพินิจในการกําหนดการประเมินความเหมาะสมของลูกค้าได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ําในข้อ 5.4.2 แต่จะต้องสอดคล้องกับหลักการตามข้อ 5.4.1 (1) ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาดขั้นพื้นฐานประเภท Forwards Futures และ Swaps ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงคําจํากัดความของธุรกรรมดังกล่าวตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาด(Market derivatives) หรือ (2) ลูกค้าที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานทางการ ดังต่อไปนี้ (2.1) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (2.2) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และกองทุนภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนรวม (2.3) บริษัทประกันภัยภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (2.4) นิติบุคคลต่างประเทศภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานทางการในต่างประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินประเภทอื่น และกองทุนรวม 5.4.4 ธนาคารพาณิชย์อาจไม่ประเมินความเหมาะสมของลูกค้าประเภทผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ประเภทนิติบุคคลได้ หากลูกค้าดังกล่าวได้ลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรโดยผู้มีอํานาจของลูกค้าประเภทผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ประเภทนิติบุคคลในการขอไม่รับการประเมินความเหมาะสมในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามข้อ 5.4ต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์แล้ว (Opt out) ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเก็บเอกสารแสดงเจตนาของลูกค้าดังกล่าวเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.5 การเปิดเผยข้อมูลต่อลูกค้า (Disclosure) 5.5.1 หลักการ ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมอนุพันธ์ที่ถูกต้องครบถ้วน และเพียงพอแก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าใช้ประกอบการตัดสินใจในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลตามหลักการ ดังนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําข้อมูลในรูปแบบที่อธิบายลักษณะธุรกรรมอนุพันธ์และการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ประโยชน์ ความเสี่ยง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ขอบเขตความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และสภาวะตลาดในปัจจุบัน รวมทั้งต้องกล่าวถึงข้อมูลสําคัญในส่วนต่าง ๆ ของสัญญาหรือเอกสารข้อมูลอื่นที่ลูกค้าต้องศึกษาโดยละเอียดด้วย (2) ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และเป็นปัจจุบัน รวมถึงไม่บิดเบือนเพื่อจูงใจให้ลูกค้าทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งข้อมูลที่นําเสนอต้องแสดงความชัดเจนทั้งในด้านที่ลูกค้าได้ประโยชน์และด้านที่ลูกค้าเสียประโยชน์ โดยไม่เน้นเฉพาะจุดที่ลูกค้าได้รับประโยชน์แต่มีความไม่ชัดเจนในส่วนที่ลูกค้าอาจเสียประโยชน์ในสภาวะที่ตลาดไม่เอื้ออํานวย (3) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีรูปแบบการนําเสนอข้อมูลที่ตรงประเด็นไม่ซับซ้อน ใช้ภาษาที่ง่าย ไม่กํากวม ซึ่งลูกค้าสามารถทําความเข้าใจได้ โดยไม่ทําให้ลูกค้าเข้าใจผิดในสาระสําคัญของธุรกรรมอนุพันธ์ และหากจําเป็นต้องใช้คําศัพท์เฉพาะ (Jargon หรือ Technical term) ควรมีการอธิบายความหมายให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจน (4) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้ลูกค้าได้รับข้อมูลอย่างต่อเนื่องและทันต่อเวลา ทั้งก่อนและระหว่างการทําธุรกรรมจนกว่าธุรกรรมอนุพันธ์นั้นจะครบกําหนด โดยไม่เลือกปฏิบัติ (5) ธนาคารพาณิชย์ต้องให้ความช่วยเหลือลูกค้าในการทําความเข้าใจในลักษณะของธุรกรรมอนุพันธ์ที่ธนาคารพาณิชย์เสนอหรือให้บริการ โดยต้องเปิดโอกาสให้ลูกค้าสอบถามข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกรรมอนุพันธ์ และต้องอํานวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างละเอียดก่อนที่จะมีการตกลงทําธุรกรรมอนุพันธ์ รวมทั้งจะต้องแนะนําให้ลูกค้าศึกษารายละเอียดข้อมูลที่สําคัญที่ธนาคารพาณิชย์ได้จัดเตรียมไว้ให้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจนอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าได้ดําเนินการเปิดเผยข้อมูลตามที่ประกาศฉบับนี้กําหนดแล้ว 5.5.2 ในการเสนอหรือให้บริการธุรกรรมอนุพันธ์กับลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลต่อลูกค้า โดยมีมาตรฐานขั้นต่ําดังนี้ (1) ข้อมูลขั้นต่ําที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผย (1.1) ข้อมูลทั่วไป (1.1.1) ข้อมูลทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ เช่น ชื่อที่อยู่สถานที่ตั้งของสํานักงาน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ช่วงเวลาที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้สะดวก และช่องทางหรือวิธีการส่งข้อร้องเรียน (1.1.2) ประเภทของบริการ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ที่ธนาคารพาณิชย์ให้บริการ เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าในการพิจารณาทําธุรกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของลูกค้าเอง ซึ่งอาจแบ่งแยกบริการหรือผลิตภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์ลักษณะของการทําธุรกรรม หรือประเภทตัวแปรอ้างอิงตามความเหมาะสม โดยไม่จําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดรายธุรกรรม (1.2) ข้อมูลธุรกรรมอนุพันธ์ ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอนุพันธ์ที่นําเสนอหรือให้บริการแก่ลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร เน้นถึงความเสี่ยงและขอบเขตความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการทําธุรกรรม โดยธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับข้อมูลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1.2.1) ประเภท ลักษณะ และโครงสร้างของธุรกรรมอนุพันธ์สินทรัพย์ทางการเงินหรือตัวแปรที่ใช้อ้างอิง รวมถึงเหตุผลในการนําเสนอธุรกรรมอนุพันธ์นั้นและความเหมาะสมกับข้อมูลของลูกค้า (Client's profile) กรณีที่เป็นธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีความซับซ้อนธนาคารพาณิชย์อาจพิจารณาใช้องค์ประกอบย่อยของธุรกรรมอนุพันธ์ในการอธิบาย เพื่อความชัดเจนและง่ายแก่การทําความเข้าใจ และต้องอธิบายองค์ประกอบย่อยของธุรกรรมอนุพันธ์เมื่อลูกค้ามีการร้องขอ (1.2.2) ประโยชน์หรือผลตอบแทน กําไรหรือขาดทุน ที่ลูกค้าจะได้รับจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ รายละเอียดวิธีการคํานวณกําไร ขาดทุน หรือผลตอบแทนดังกล่าว (1.2.3) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ทั้งในส่วนที่ลูกค้าต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงนั้น หรือในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้รับความเสี่ยงมาจากลูกค้า ซึ่งอาจรวมถึงกรณีที่มีการหักกลบความเสี่ยงที่เกิดจากองค์ประกอบย่อยของธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีความซับซ้อน โดยจะต้องแสดงการวิเคราะห์ความเสี่ยงในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ขอบเขตความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในสภาวะที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ระยะเวลาที่ลูกค้าต้องรับภาระความเสี่ยงในความเสียหายที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ๆ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งต้องครอบคลุมถึงกรณีสถานการณ์วิกฤต (Stress scenarios) และกรณีสถานการณ์ที่ลูกค้าอาจได้รับความเสียหายสูงสุดด้วยตลอดจนสภาพคล่องของธุรกรรมอนุพันธ์ที่นําเสนอหรือให้บริการ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องให้ความร่วมมือกับลูกค้าในกรณีที่ลูกค้ามีข้อซักถาม โดยลูกค้าต้องได้รับคําอธิบายอย่างชัดเจนตรงต่อความเป็นจริงด้วยความรวดเร็วก่อนการตัดสินใจทําธุรกรรมของลูกค้า (1.2.4) ข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สภาวะตลาด และปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ (1.2.5) ราคา จํานวนเงิน หลักทรัพย์ หรือหลักประกันที่ใช้ในการทําธุรกรรม ทั้งที่ลูกค้าต้องชําระหรือส่งมอบ และที่ลูกค้าจะได้รับชําระหรือรับมอบ รวมถึงค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยละเอียดถึงกําหนดเวลาที่ลูกค้าจะต้องจ่ายชําระหรือได้รับชําระ (1.2.6) ธนาคารพาณิชย์ต้องแยกข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อมูลที่เป็นความเห็นของธนาคารพาณิชย์ออกจากกันอย่างชัดเจน และในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการให้หรือแสดงข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการคาดการณ์ผลตอบแทนของการทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่ลูกค้าอาจได้รับในอนาคต หรือข้อมูลผลตอบแทนของธุรกรรมอนุพันธ์ในอดีต หรือข้อมูลเกี่ยวกับการคาดการณ์สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ทําให้ลูกค้าเข้าใจผิดว่าข้อมูลที่ธนาคารพาณิชย์ให้หรือแสดงนั้นเป็นผลตอบแทนของการทําธุรกรรมนุพันธ์ที่ลูกค้าจะได้รับในอนาคต (1.2.7) ข้อมูลอื่น ๆ ที่สําคัญต่อการตัดสินใจของลูกค้า เช่น - ระยะเวลา ขั้นตอนหรือกระบวนการในการทําธุรกรรมอนุพันธ์โดยละเอียด รวมถึงเอกสารหรือหลักฐานที่ลูกค้าต้องใช้ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ - ภาระผูกพันและสิทธิระหว่างลูกค้ากับธนาคารพาณิชย์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ผลของการใช้สิทธิและไม่ใช้สิทธิทั้งของลูกค้าและธนาคารพาณิชย์ รวมถึงระยะเวลาและอายุการใช้สิทธิ หรือระยะเวลาและอายุของภาระผูกพันที่เกิดขึ้น - ข้อมูล เอกสาร หลักฐาน และรายงานต่าง ๆ ที่ลูกค้าจะได้รับ รวมทั้งกําหนดเวลาและความถี่ที่จะได้รับ - การถอนตัวจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์หรือการยกเลิกสัญญา รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากการถอนตัวหรือการยกเลิกสัญญา - คําเตือนและข้อจํากัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอนุพันธ์ (2) รูปแบบการเปิดเผยข้อมูล (2.1) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญ (Quick guide) ซึ่งเป็นเอกสารแสดงถึงข้อมูลที่สําคัญและจําเป็น เพื่อให้ลูกค้าใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเอกสารดังกล่าวต้องมีลักษณะที่แสดงข้อมูลที่สําคัญตรงประเด็น อ่านง่ายและระบุแหล่งข้อมูลในแต่ละเรื่องในเอกสารข้อมูลทั้งหมดที่ลูกค้าจะศึกษาเพิ่มเติมได้ (2.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําเอกสารข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรมอนุพันธ์และข้อมูลอื่นที่ลูกค้าควรทราบ 5.5.3 ในกรณีการทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ธนาคารพาณิชย์อาจใช้ดุลยพินิจในการกําหนดการเปิดเผยข้อมูลต่อลูกค้าได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ําในข้อ 5.5.2 แต่จะต้องสอดคล้องกับหลักการตามข้อ 5.5.1 (1) ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาดขั้นพื้นฐานประเภท Forwards Futures และ Swaps ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงคําจํากัดความของธุรกรรมดังกล่าวตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาด (Market derivatives) หรือ (2) ลูกค้าเป็นธนาคารพาณิชย์นอกจากนี้ หากธนาคารพาณิชย์ได้ทําการเปิดเผยข้อมูลต่อลูกค้าในการทําธุรกรรมครั้งแรกแล้ว และต่อมาลูกค้ารายเดิมยังคงมีความประสงค์จะทําธุรกรรมที่มีลักษณะและความเสี่ยงเช่นเดิม ธนาคารพาณิชย์สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเก็บเอกสารดังกล่าวเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.6 การรับข้อร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า 5.6.1 หลักการ ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการเพื่อรับข้อร้องเรียนจากลูกค้า รวมถึงกระบวนการแก้ไขและติดตามผลในการดําเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกค้าในการร้องเรียนเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารพาณิชย์ โดยกระบวนการดังกล่าวต้องมีความชัดเจน รวดเร็ว และยุติธรรม 5.6.2 กระบวนการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีหน่วยงานรับข้อร้องเรียนที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่เสนอหรือให้บริการธุรกรรมอนุพันธ์เพื่อทําหน้าที่รับข้อร้องเรียนจากลูกค้า ตรวจสอบ สืบหาข้อเท็จจริง จัดการ แจ้งผล ติดตามผล และรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการธนาคารตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของธนาคารพาณิชย์ โดยหน่วยงานดังกล่าวจะต้องสามารถรองรับการติดต่อจากลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และควรมีการบันทึกข้อร้องเรียนที่ได้รับจากลูกค้า (2) เมื่อหน่วยงานตามข้อ 5.6.2 (1) ได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าให้ดําเนินการสืบหาข้อเท็จจริงและหาหลักฐานที่เพียงพอ เพื่อสรุปผลและหาแนวทางแก้ไข โดยจะต้องบันทึกกระบวนการดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและมีข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (2.1) สรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อร้องเรียน (2.2) ผลการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบการทําธุรกรรมอนุพันธ์ดังกล่าวทั้งในด้านของธนาคารและลูกค้า รวมถึงหลักฐานเกี่ยวกับธุรกรรมอนุพันธ์ที่ถูกร้องเรียนและการปฏิบัติตามขั้นตอนในการทําธุรกรรม (2.3) การประเมินผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ (2.4) การดําเนินการจัดการข้อร้องเรียน ซึ่งอาจต้องมีการเสนอผู้บริหารระดับสูงเพื่อพิจารณาแนวทางจัดการ ตามลําดับขั้นของความรุนแรงตามที่กําหนดไว้ในขั้นตอนการปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ (3) ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดระยะเวลาในการดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียน รวมทั้งมีการแจ้งผลการติดตามหรือการจัดการข้อร้องเรียนดังกล่าวให้ลูกค้าทราบ โดยระยะเวลาและการติดตามผลนั้นต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่เป็นการถ่วงเวลาเพื่อรอให้ภาวะตลาดเปลี่ยนไปในแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธนาคารพาณิชย์ (4) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีการรายงานข้อร้องเรียนและผลการดําเนินการจัดการข้อร้องเรียนให้ผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการธนาคารตามขั้นตอนการปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์เป็นระยะ ( เพื่อพิจารณาปัญหาและข้อบกพร่องในการดําเนินงานและพิจารณาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคต 5.6.3 การดําเนินการเมื่อมีความเสียหายกับลูกค้า (1) เมื่อเกิดความเสียหายต่อผลตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ใด ๆ ในการทําธุรกรรมของลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถชี้แจงเหตุการณ์ ข้อเท็จจริง และเหตุผลต่อลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง (2) ในกรณีที่ลูกค้าที่ได้รับความเสียหายจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์และเรียกร้องต่อธนาคารพาณิชย์ว่าไม่ได้รับการชี้แจงที่ถูกต้องก่อนการทําธุรกรรม ธนาคารพาณิชย์ต้องมีเอกสารและหลักฐานอย่างชัดเจนว่ากระบวนการเปิดเผยข้อมูลในการเสนอหรือให้บริการผลิตภัณฑ์ได้เป็นไปอย่างถูกต้อง และธนาคารพาณิชย์ได้กระทําการอย่างเต็มความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการชี้แจงให้เกิดความเข้าใจแก่ลูกค้าในลักษณะและความเสี่ยงของธุรกรรมอนุพันธ์แล้ว (3) ในกรณีที่ลูกค้าได้รับความเสียหายอันเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องหรือไม่รัดกุมเพียงพอของธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารพาณิชย์มีการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและอาจพิจารณาแนวทางในการชดเชยความเสียหายแก่ลูกค้าตามความเหมาะสม 5.7 ระบบการควบคุมภายใน (Internal control) 5.7.1 หลักการ ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์และบุคลากรของธนาคารพาณิชย์ได้ปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการดูแลลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดูแลลูกค้าอย่างถูกต้องตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ 5.7.2 แผนงานและมาตรฐานการดําเนินงาน ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดแผนงานและมาตรฐานการดําเนินงานในเรื่องระบบการควบคุมภายในดังนี้ (1) กําหนดโครงสร้างการบังคับบัญชาให้มีการควบคุมภายในและตรวจสอบการดําเนินงานได้อย่างเหมาะสมและเป็นอิสระ (2) กําหนดขั้นตอนปฏิบัติในการควบคุมภายในและตรวจสอบ ซึ่งรวมถึงการควบคุมและตรวจสอบการถือปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลลูกค้าของบุคลากรด้วย ทั้งนี้ การดําเนินการควบคุมและตรวจสอบดังกล่าวต้องมีขั้นตอนที่กําหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การสุ่มตรวจสอบการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์เป็นประจํา (3) กําหนดบทลงโทษบุคลากรผู้รับผิดชอบ กรณีเกิดความผิดพลาด หรือกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลลูกค้าตามที่ธนาคารพาณิชย์กําหนด (4) กําหนดการรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้บริหารระดับสูง เกี่ยวกับการดําเนินการตามนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติในการดูแลลูกค้า รวมถึงการดําเนินการในข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5.7.3 การเก็บเอกสารและหลักฐาน ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเหมาะสม ทั้งในเรื่องการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้า การเปิดเผยข้อมูลต่อลูกค้า การเสนอธุรกรรมอนุพันธ์ การทําธุรกรรมอนุพันธ์ รวมถึงการรับข้อร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า โดยข้อมูลดังกล่าวต้องอยู่ในลักษณะที่พร้อมใช้งานเมื่อมีการตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอกธนาคาร 5.8 ความพร้อมของบุคลากร 5.8.1 หลักการ เพื่อให้การเสนอหรือให้บริการธุรกรรมอนุพันธ์แก่ลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารพาณิชย์ต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีในธุรกรรมอนุพันธ์ที่เสนอหรือให้บริการแก่ลูกค้า มีความเชี่ยวชาญในธุรกรรมอนุพันธ์ ธุรกรรมทางการเงินที่ทันสมัยและสามารถใช้เทคโนโลยีทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน 5.8.2 กระบวนการในการสรรหาและการฝึกอบรมบุคลากร เพื่อให้บุคลากรที่ทําหน้าที่เสนอหรือให้บริการธุรกรรมอนุพันธ์แก่ลูกค้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกรรมอนุพันธ์และผลิตภัณฑ์ทางการเงินดังกล่าวอย่างดี สามารถถ่ายทอดความรู้ อธิบายลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องชัดเจน และถือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ธนาคารพาณิชย์กําหนด โดยมีการกําหนดโครงสร้างและจัดแบ่งจํานวนบุคลากรภายใต้การบังคับบัญชาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมดูแลการปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ธนาคารพาณิชย์จึงต้องมี (1) กระบวนการในการสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความชํานาญที่เหมาะสมกับงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านธุรกรรมอนุพันธ์ รวมทั้งมีความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณที่ดี (2) การฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสามารถนําเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ลูกค้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการกําหนดแผนการพัฒนาบุคลากร โดยสถาบันการเงินอาจพิจารณากําหนดเป็นกฎระเบียบภายใน เช่น กําหนดให้บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมไม่ต่ํากว่า 15 ชั่วโมงต่อปี ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ความรับผิดชอบ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2558 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,463
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 65/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนตุลาคม 2557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 65/2557 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2557 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2557 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.38/14/57 | 30,000 | 17 ตุลาคม 2557 | 21/10/57 – 4/11/57 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2557 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,464
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 66/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนตุลาคม 2557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 66/2557 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2557 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2557 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.39/14/57 | 15,000 | 24 ตุลาคม 2557 | 28/10/57 – 11/11/57 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2557 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,466
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67/2557 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 44/91/57 | - | 25,000 | 4 พ.ย. 57 | 6 พ.ย. 57 | 5 ก.พ. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 44/182/57 | - | 28,000 | 4 พ.ย. 57 | 6 พ.ย. 57 | 7 พ.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 45/91/57 | - | 25,000 | 11 พ.ย. 57 | 13 พ.ย. 57 | 12 ก.พ. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 45/182/57 | - | 28,000 | 11 พ.ย. 57 | 13 พ.ย. 57 | 14 พ.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 4/364/57 | - | 35,000 | 11 พ.ย. 57 | 13 พ.ย. 57 | 29 ต.ค. 58 | 364 วัน | 350 วัน | | 46/91/57 | - | 25,000 | 18 พ.ย. 57 | 20 พ.ย. 57 | 19 ก.พ. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 46/182/57 | | 28,000 | 18 พ.ย. 57 | 20 พ.ย. 57 | 21 พ.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/3ปี/57 | 2.66 | 30,000 | 20 พ.ย. 57 | 24 พ.ย. 57 | 21 ก.ค. 60 | 3 ปี | 2.66 ปี | | 47/91/57 | - | 25,000 | 25 พ.ย. 57 | 27 พ.ย. 57 | 26 ก.พ. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 47/182/57 | - | 28,000 | 25 พ.ย. 57 | 27 พ.ย. 57 | 28 พ.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2557 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,467
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.16/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมอนุพันธ์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.16/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธุรกรรมอนุพันธ์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบธนาคารพาณิชย์ของต่างประเทศในวิกฤตทางการเงินโลกที่ผ่านมา โดยปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากความบกพร่องในการบริหารความเสี่ยงของธุรกรรมอนุพันธ์ เช่น การวัดความเสี่ยงและการประเมินมูลค่าที่ไม่สามารถสะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริงของธุรกรรมที่มีโครงสร้างซับซ้อนได้ การขาดธรรมาภิบาลที่ดีในการดูแลความเสี่ยง นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์สําหรับธนาคารพาณิชย์โดยขยายขอบเขตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมอนุพันธ์ได้มากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ให้มีความรัดกุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในคราวเดียวกัน เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีธรรมาภิบาลที่ดี โดยประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากขึ้น และได้รวบรวมข้อกําหนดเกี่ยวกับการพิจารณาฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุน ซึ่งเดิมได้กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์แต่ละฉบับมาไว้ในประกาศฉบับนี้ เพื่อให้ชัดเจนง่ายแก่การอ้างอิง และมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 และมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์สําหรับธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ยกเลิก/แก้ไข ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย "คณะกรรมการธนาคาร " หมายความว่า คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ "ธุรกรรมอนุพันธ์" หมายความว่า ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาด (Market derivatives) ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) และธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured products) 5.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์โดยให้คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ในการดูแลให้ธนาคารพาณิชย์มีการบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงดูแลให้มีการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้โดยเคร่งครัด 5.3 บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) คณะกรรมการธนาคารจะต้องเข้าใจโครงสร้าง ลักษณะของธุรกรรมอนุพันธ์ความเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมดังกล่าวทั้งหมดในลักษณะที่ครบวงจร โดยคณะกรรมการธนาคารจะต้องพิจารณาอนุมัติการทําธุรกรรมอนุพันธ์อย่างระมัดระวังให้สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ รวมทั้งเหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยง (Risk profile) ฐานะการเงิน เงินกองทุนและสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ (2) คณะกรรมการธนาคารจะต้องเป็นผู้อนุมัตินโยบายและกลยุทธ์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ นโยบายและกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง นโยบายการควบคุมภายในและการตรวจสอบอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงอนุมัติระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product program) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทใหม่ก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะเริ่มทําธุรกรรมนั้น 1 ทั้งนี้ ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกลยุทธ์ข้างต้น รวมทั้ง Product program คณะกรรมการธนาคารจะต้องให้ความเห็นชอบก่อนทุกครั้ง (3) คณะกรรมการธนาคารจะต้องดูแลให้ธนาคารพณิชย์มีระบบงานเพื่อให้คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงสามารถติดตาม ควบคุมดูแลการทําธุรกรรมและการบริหารความเสี่ยงได้อย่างสม่ําเสมอ และทันต่อเวลา (4) คณะกรรมการธนาคารต้องนําผลการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอนุพันธ์ที่ได้รับจากการตรวจสอบประจําปีของธนาคารแห่งประเทศไทยมาประกอบการพิจารณาอนุญาตขอบเขตและลักษณะของธุรกรรมอนุพันธ์ รวมถึงต้องนําผลการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาความมีประสิทธิภาพของการบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้วย ทั้งนี้ จะต้องไม่มีข้อสังเกตในเรื่องธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอนุพันธ์อย่างมีนัยสําคัญด้วย (5) คณะกรรมการธนาคารจะต้องเป็นผู้อนุมัติวิธีการในการพิจารณาฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุนก่อนเข้าทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีความประสงค์จะทําธุรกรรมอนุพันธ์ต้องมีฐานะเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์นั้นทั้งในภาวะปกติและภาวะที่ตลาดผันผวนสูง และผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวก่อนเข้าทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้วย (6) คณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงจะต้องส่งเสริมและให้ความสําคัญต่อการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมนุพันธ์ โดยจะต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์อย่างเคร่งครัด (7) คณะกรรมการธนาคารจะต้องกําหนดให้มีคณะกรรมการย่อย (เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งต้องมีความเป็นอิสระจากกัน) รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงเพื่อทําหน้าที่ดูแลการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ซึ่งคณะกรรมการย่อยและผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมดังกล่าวและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี และจะต้องควบคุมดูแลการทําธุรกรรมดังกล่าวให้เป็นไปตามนโยบายและกลยุทธ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคารแล้วอย่างใกล้ชิด และให้ความสําคัญในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมดังกล่าว รวมทั้งดูแลให้มีการปฏิบัติตามวิธีการในการพิจารณาฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุนก่อนเข้าทําธุรกรรมด้วย ทั้งนี้ ในการมอบอํานาจให้แก่คณะกรรมการย่อย หรือผู้บริหารระดับสูง เพื่อบริหารหรือดําเนินการใด ๆ ให้ยังถือว่าเป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคารเช่นเดิม 5.4 นโยบายและกลยุทธ์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์และการจัดทํา Product program 5.4.1 นโยบายและกลยุทธ์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ให้ครอบคลุมขอบเขต ลักษณะ และปริมาณหรือเพดานสูงสุดของธุรกรรมอนุพันธ์ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร โดยอาจแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ประเภทธุรกรรมประเภทตัวแปรหรือสินทรัพย์อ้างอิงที่ได้รับอนุญาต สกุลเงิน ระยะเวลา ประเภทของคู่สัญญา จํานวนเงินขั้นสูงหรือขั้นต่ํา โดยจะต้องพิจารณาฐานะการเงิน เงินกองทุนและส.ภาพคล่อง รวมทั้งความพร้อมของระบบและบุคลากร ในการรองรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์และการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 5.4.2 การจัดทําระเบียบผลิตภัณฑ์ (Product program) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทํา Product program สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภทก่อนทําธุรกรรม โดย Product program ที่กล่าวจะต้องลงนามให้ความเห็นโดยหัวหน้าฝ่ายงานหรือสายงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารก่อนเริ่มทําธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ๆ ซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องกําหนดตามเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเก็บ Product program ไว้ที่สถานที่ทําการเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.5 นโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง ธนาคารพาณิชย์จะต้องกําหนดนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงซึ่งครอบคลุม เรื่องต่อไปนี้ 5.5.1 การจัดโครงสร้างองค์กร การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยง (ระบุ วัด ติดตาม รายงาน และควบคุมหรือลดความเสี่ยง) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ก่อให้เกิดความสี่ยง ทั้งในด้านการจัดโครงสร้างองค์กรและในทางปฏิบัติ 5.5.2 กระบวนการบริหารความเสี่ยง (1) การระบุประเภทความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ให้ครบถ้วนทุกประเภท และกําหนดประเภทของความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์อาจมี โดยพิจารณาความพร้อมในการบริหารและรองรับความเสี่ยงดังกล่าว การกําหนดนโยบายให้มีการปิดความเสี่ยงที่ไม่มีระบบบริหารความเสี่ยงรองรับหรือที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถบริหารความเสี่ยงนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในการพิจารณาความเสี่ยงในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาข้อมูลและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดจากประเภท โครงสร้างธุรกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างที่ไม่เป็นมาตรฐานหรือมีการ Leverage ความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ตัวแปร สินทรัพย์อ้างอิงแต่ละตัวหรือกลุ่มของสินทรัพย์อ้างอิง คู่สัญญา การประเมินค่าสหสัมพันธ์ต่าง ๆ (Correlation) รวมทั้งค่าสหสัมพันธ์ของสินทรัพย์หรือตัวแปรที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงกับคู่สัญญาซึ่งอาจมีผลให้การป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงคงเหลือที่เกิดจากความไม่สอดคล้องกันของการป้องกันความเสี่ยง (ถ้ามี) และการเข้าถึงเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงด้วย สําหรับการทําธุรกรรมที่อ้างอิงตัวแปรที่เกิดจากผลการดําเนินการใด ๆ เช่น การทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงโดยอ้างอิงตัวแปรที่เป็นผลการดําเนินงานของกองทุนรวม ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์และประเมินกลยุทธ์และการตัดสินใจลงทุนที่เหมาะสม (2) การกําหนดให้มีระบบงานในการรองรับการบริหารความเสี่ยงทุกประเภทที่ธนาคารพาณิชย์มีอย่างครบถ้วน โดยระบบดังกล่าวต้องมีประสิทธิภาพ เหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กําหนดตามข้อ 5.6 สามารถสะท้อนและรองรับการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามความซับซ้อนของธุรกรรมได้อย่างถูกต้อง แม่นยํารวมทั้งมีการสื่อสารและติดตามดูแลให้มีการนําไปใช้ในการบริหารความเสี่ยงในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ในกรณีที่ระบบงานของธนาคารพาณิชย์ใช้แบบจําลองในการวัดความเสี่ยง ธนาคารพาณิชย์จะต้องมั่นใจว่าคณะกรรมการธนาคารรวมถึงผู้บริหารระดับสูงเข้าใจข้อจํากัดต่าง ๆ ของการใช้แบบจําลอง ว่าผลที่ได้จากแบบจําลองนั้นอาจคลาดเคลื่อนหรือมีข้อจํากัดในการนําไปใช้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการนําผลดังกล่าวไปใช้ประกอบการพิจารณาในด้านต่าง ๆ ต่อไป (3) การกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรม (Mark-to- market) ที่เหมาะสม ชัดเจน และสะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริง และมีการประเมินมูลค่ายุติธรรมของยอดคงค้าง ณ ทุกสิ้นวันทําการ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (3.1) ในการประเมินมูลค่ายุติธรรม ธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ทั้งนี้ ในระหว่างที่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ยังไม่มีผลบังคับใช้ในประเทศไทยให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตาม International Accounting Standard No. 39 FinancialInstrument: Recognition and Measurement (IAS 39) (3.2) ในกรณีธนาคารพาณิชย์ประเมินมูลค่ายุติธรรมโดยใช้เทคนิคการประเมินมูลค่า เทคนิคดังกล่าวจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอิสระให้การรับรองด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระดังกล่าวอาจเป็นบุคคลหรือหน่วยงานภายในหรือภายนอกธนาคารพาณิชย์ก็ได้ แต่จะต้องเป็นอิสระจากทั้งหน่วยงานที่ทําหน้าที่พัฒนาและหน่วยงานที่เป็นผู้ใช้เทคนิคหรือแบบจําลองดังกล่าวอย่างไรก็ดี ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมที่กล่าวของธนาคารพาณิชย์ใดแล้วพบว่าธนาคารพาณิชย์ยังถือปฏิบัติไม่รัดกุมหรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการให้ดําเนินการเพิ่มเติมตามความเหมาะสม(3.3) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book) และธุรกรรมอนุพันธ์ที่ธนาคารพาณิชย์ได้บริหารความเสี่ยงแบบ Back- to -back' ซึ่งไม่มีความเสี่ยงด้านตลาดเหลืออยู่นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์ประเมินมูลค่ายุติธรรมของธุรกรรมอนุพันธ์ข้างต้นนั้นในทุกวันสิ้นเดือนแทน (3.4) ธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่ยังไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือตามวิธีการที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีไทยหรือมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (4) การกําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk appetite) รวมถึงเพดานความเสี่ยง (Risk limit/ ต่าง ๆ เพื่อควบคุมหรือลดความเสี่ยงให้เหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ลักษณะความเสี่ยง ฐานะการเงิน เงินกองทุนและสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เอง รวมทั้งสอดคล้องกับระบบบริหารความเสี่ยงที่ธนาคารพณิชย์ใช้ เช่น Stop loss limit, Delta limit, Gamma limit, Vega limit, Correlation risk limit ตลอดจนเพดานที่เกี่ยวข้องกับการกระจุกตัวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การกระจุกตัวในสินทรัพย์อ้างอิงประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิงรายใดรายหนึ่ง อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งด้วยโดยธนาคารพาณิชย์จะต้องมีหน่วยงานที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะสามารถทําหน้าที่ประเมิน ติดตาม ควบคุม ตรวจสอบดูแลการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของธนาคารพาณิชย์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (5) การกําหนดให้มีการทบทวนและปรับปรุงนโยบาย กลยุทธ์ ระบบงานในการบริหารความเสี่ยง และเพดานความเสี่ยง (Risk limit) ให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk appetite) ฐานะความเสี่ยง และภาวะตลาดและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป (6) การกําหนดให้มีการขอความเห็นชอบจากผู้บริหารในระดับที่เหมาะสมหรือจากคณะกรรมการธนาคารในกรณีที่จําเป็น หากธนาคารพาณิชย์ได้มีการดําเนินการที่แตกต่างไปจากนโยบายหรือกลยุทธ์ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการธนาคาร (7) การรายงนต่อคณะกรรมการธนาคารผ่านทางคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ําเสมอ สําหรับกรณีของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หน่วยงานบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอาจตั้งอยู่ในสํานักงานภูมิภาคได้ โดยจะต้องมีการรายงานต่อหน่วยงานในประเทศที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานใหญ่ฯ อย่างสม่ําเสมอด้วย เพื่อให้คณะกรรมการธนาคารมีข้อมูลที่เพียงพอในการติดตามและควบคุมดูแลการทําธุรกรรมอนุพันธ์และการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ําเสมอ 5.6 ระบบงานที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีระบบงานที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม สอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยง และความชับซ้อนของธุรกรรมอนุพันธ์ของธนาคารพาณิชย์ โดยระบบที่กล่าวจะต้อง (1) สามารถสะท้อนและรองรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ได้อย่างชัดเจน ถูกต้องและแม่นยํา ทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรด้านตลาด (เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาตราสารทุน ราคาตราสารหนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์) ความเสี่ยงจากการทําธุรกรรม Options เช่น Delta, Vega, Gamma, Theta, Rho และ Higher Order Greeks ความเสี่ยงจาก Digital risk ความเสี่ยงจากการที่สัญญามี Barriers (เช่น Knock in หรือ Knock out) ความเสี่ยงในการกระจุกตัวของราคาใช้สิทธิและวันครบกําหนด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านเครดิตทั้งที่เกิดจากสินทรัพย์อ้างอิงและที่เกิดจากคู่สัญญาทั้ง Pre-settlement risk และ Settlement risk รวมทั้งมีระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ทิศทางและแนวโน้มของตัวแปรที่ใช้อ้างอิง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และสามารถคํานวณความอ่อนไหวของอัตราผลตอบแทนต่อตัวแปรและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ (2) มีการนําไปใช้ในการบริหารและควบคุมความเสี่ยงในทางปฏิบัติ โดยมีการเลือกใช้วิธีบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์มี เช่น Delta / Vega / Gamma hedging และ Dynamic/Static replication portfolio ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวิเคราะห์ ทบทวน และปรับสัดส่วน (Re-balance) ฐานะในตัวแปรแต่ละประเภท(Asset allocation) ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ทิศทางของภาวะตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ตลอดจนมีการควบคุมระดับความเสี่ยงให้อยู่ภายในเพดานความเสี่ยงตามนโยบายที่กําหนดโดยคณะกรรมการธนาคาร (3) สามารถบริหารการลงทุนในลักษณะ Portfolio model ที่สามารถวิเคราะห์จัดสรรอัตราส่วนการลงทุนในตัวแปรแต่ละประเภท (Asset allocation) ซึ่งครอบคลุมค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแต่ละประเภทด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยแบบจําลองจะต้องสามารถวัดและคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนในตัวแปรแต่ละประเภท และผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในลักษณะ Portfolio ได้อย่างน้อยทุกวัน (4) มีการจัดทําแผนรองรับในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติ (Contingency arrangements) เพื่อจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงข้อปฏิบัติในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ ดังกล่าวด้วย (5) มีการจัดทํา Stress test เช่น Stress test ของแบบจําลอง Value at Risk ในลักษณะ Forward-looking basis ที่สอดคล้องกับฐานะความเสี่ยงและความสําคัญเชิงระบบของธนาคารพาณิชย์ โดยให้ครอบคลุมแหล่งสําคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและเหตุการณ์ในทางลบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Plausible adverse scenarios) รวมถึงการนําผลที่ได้ไปปรับใช้ในการตัดสินใจต่าง ๆ การบริหารความเสี่ยงและการประเมินฐานะเงินกองทุนและสภาพคล่อง และการจัดทําแผนรองรับ ทั้งนี้ ควรมีการทบทวนผลจากการทํา Stress test อย่างเพียงพอและรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการบริหารความสี่ยงอย่างสม่ําเสมอ (6) มีการทดสอบประสิทธิภาพ ความถูกต้องและแม่นยําของระบบบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นอิสระ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น มีการทดสอบ Back test อย่างสม่ําเสมอ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่สามารถทําตามข้อกําหนดข้อ (1) - (6) ข้างต้นได้อย่างครบถ้วนเฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงธุรกรรมอนุพันธ์แบบ Back to -back เท่านั้น แต่ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีแนวทางที่เหมาะสมและชัดเจนในการบริหารความเสี่ยงของคู่สัญญา 5.7 ขั้นตอนการปฏิบัติในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ คณะกรรมการย่อยหรือผู้บริหารระดับสูงต้องกําหนดรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่เริ่มขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารไปจนถึงการติดตามบริหารความเสี่ยงธุรกรรมอนุพันธ์นั้น ๆ จนสิ้นสุดสัญญา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 5.7.1 ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการขออนุมัติทําธุรกรรมอนุพันธ์จากคณะกรรมการธนาคาร ก่อนที่จะเริ่มทําธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทใหม่ ธนาคารพาณิชย์จะต้องกําหนดให้มีรายละเอียดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการขออนุมัติทําธุรกรรมอนุพันธ์จากคณะกรรมการธนาคาร 5.7.2 การพิจารณาฐานะและความเพียงพอของเงินกองทุน ในการพิจารณาว่าฐานะของเงินกองทุนมีเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงด้านตลาดหรือความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาที่เกิดจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูงตามวิธีการที่อนุมัติโดยคณะกรรมการธนาคาร โดยอย่างน้อยต้องกําหนดให้มีการประเมินมูลค่าของธุรกรรมที่อาจเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความผันผวนของตัวแปรหรือดัชนีทางการเงินโดยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นจะต้องนําไปพิจารณาให้สะท้อนในเงินกองทุนตามกฎหมาย ดังนี้ (1) ก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมอนุพันธ์ ธนาคารพาณิชย์จะต้องประเมินมูลค่ายุติธรรม ณ สิ้นวันก่อนของธุรกรรม ดังต่อไปนี้ (1.1) ธุรกรรมทั้งหมดในบัญชีเพื่อการค้า (1.2) ธุรกรรมในบัญชีเพื่อการธนาคาร ดังนี้ (1.2.1) อนุพันธ์แฝง หรือธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงทั้งจํานวนในกรณีที่ไม่สามารถประเมินมูลค่ายุติธรรมส่วนที่เป็นอนุพันธ์แฝงได้อย่างน่าเชื่อถือ (1.2.2) ธุรกรรม Funded credit derivatives' ทุกประเภทยกเว้นธุรกรรม Funded credit derivatives ที่ธนาคารพาณิชย์ทําเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (1.2.3) ธุรกรรม Synthetic collateralized debt obligations (1.2.4) ธุรกรรมที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging instruments) สําหรับธุรกรรมข้างต้น (ถ้ามี) โดยหากมีผลขาดทุนสุทธิให้นําผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวมาทดลองหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ อัตราส่วนเงินกองทุนที่คํานวณได้จะต้องไม่ต่ํากว่าอัตราตามที่กฎหมายกําหนดและมีเพียงพอที่จะรองรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่ต้องการจะทําเพิ่ม มิฉะนั้น ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่ต้องการจะทําเพิ่มไม่ได้ เว้นแต่เป็นการทําธุรกรรมอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงของธุรกรรมที่มีอยู่เดิม (2) ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดให้มีการประเมินมูลค่ายุติธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันสิ้นเดือนสําหรับธุรกรรมตามข้อ 5.7.2 (1.1) และ 5.7.2 (1.2) ข้างต้น หากปรากฎว่ามีผลขาดทุนสุทธิ์ให้นําผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวมาทดลองหักออกจากเงินกองทุน ณ สิ้นงวดการบัญชีล่าสุดของธนาคารพาณิชย์ และถ้ามีผลทําให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าที่กฎหมายกําหนด ธนาคารพาณิชย์จะต้องดําเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติที่ได้กําหนดไว้ ซึ่งจะต้องกําหนดไว้อย่างละเอียดชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยรวมถึงการกําหนดเกี่ยวกับการรายงานบุคคลที่เกี่ยวข้องตามระดับความรุนแรงและระยะเวลาในการดําเนินการในแต่ละขั้นตอนด้วย สําหรับปัญหาที่รุนแรงจะต้องรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาสั่งการและเร่งดําเนินการแก้ไข รวมทั้งจะต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาด้วย 5.7.3 ขั้นตอนในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ธนาคารพาณิชย์จะต้องกําหนดขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรม เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกรรม การจัดทําการวิเคราะห์ความเหมาะสมของคู่สัญญาในการเข้าทําธุรกรรม การตรวจสอบภาระสอดคล้อง (Underlying) ของลูกค้า การตรวจสอบความเสี่ยงของคู่สัญญาก่อนและหลังการเข้าทําธุรกรรม การตรวจสอบระดับความเสี่ยงปัจจุบันของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรม การตรวจสอบเพดานคงเหลือก่อนทําธุรกรรม การอนุมัติการทําธุรกรรมโดยบุคคลที่มีอํานาจตามลําดับขั้น การให้ข้อมูลลูกค้าการบันทึกธุรกรรมลงในระบบงาน การตรวจสอบความถูกต้องของการทําธุรกรรม การยืนยันธุรกรรมและการจัดทําเอกสารหลักฐานและลงนามโดยผู้มีอํานาจดําเนินการ 5.7.4 ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยง ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีแนวทางในการรองรับการประเมินมูลค่ายุติธรรมและความเสี่ยงต่าง ๆ สภาพคล่องของภาวะตลาดในการบริหารความเสี่ยงของธุรกรรมนั้น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์อาจไม่สามารถออกจากฐานะที่ธนาคารพาณิชย์ถืออยู่ได้อย่างรวดเร็วจนทําให้ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากได้ และการควบคุมระดับความเสี่ยงให้อยู่ภายใต้เพดานที่กําหนด การรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการธนาคารทั้งกรณีปกติที่ทําอย่างสม่ําเสมอ และกรณีเกินเพดานความเสี่ยงที่กําหนดไว้ ขั้นตอนการปฏิบัติกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ไปในทิศทางที่เป็นผลลบกับธนาคารพาณิชย์ โดยอาจพิจารณาในลักษณะผลกระทบต่อ Portfolio โดยรวมก็ได้ 5.8 นโยบายการควบคุมภายในและตรวจสอบ ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดนโยบายการควบคุมภายในและตรวจสอบ ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องต่อไปนี้ 5.8.1 การจัดโครงสร้างองค์กร การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการควบคุมภายในและตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ มีการแบ่งแยกหน้าที่และการจัดโครงสร้างองค์กร สายบังคับบัญชาที่เหมาะสมและชัดเจนโดยมีหน่วยงานที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยง 5.8.2 กระบวนการควบคุมภายในและตรวจสอบ (1) การกําหนดให้คณะกรรมการย่อยหรือผู้บริหารระดับสูงกําหนดรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามข้อ 5.7 และจัดทําระเบียบและวิธีปฏิบัติในการควบคุมภายในและตรวจสอบอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติงานและช่วยในการติดตามดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่ได้รับความเห็นชอบ (2) การตรวจสอบการปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติโดยหน่วยงานอิสระตามระเบียบวิธีการ และความถี่ที่กําหนด (3) การรายงานการติดตามการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในและผลการตรวจสอบทั้งในกรณีปกติอย่างสม่ําเสมอ และกรณีที่พบการปฏิบัติที่ไม่รัดกุม ซึ่งต้องรายงานเพื่อพิจารณากําหนดแนวทางแก้ไขปรับปรุง และป้องกันปัญหาในอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทํารายงานการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานใหญ่ในกรณีของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ โดยหน่วยงานดังกล่าวอาจตั้งอยู่ในสํานักงานภูมิภาคก็ได้ 5.9 ความพร้อมด้านบุคลากร ธนาคารพาณิชย์ต้องมีบุคลากรที่เพียงพอที่จะรองรับการประกอบธุรกรรมอนุพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจรในแต่ละส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงหน่วยงานบริหารความเสี่ยง หน่วยงานด้านปฏิบัติการ และหน่วยงานควบคุมภายในและตรวจสอบนอกจากนี้ บุคลากรดังกล่าวจะต้องมีความรู้ความเข้าใจความสามารถและประสบการณ์เพียงพอ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2558 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,468
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง(Structured products)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15 / 2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured products) ----------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ด้วยพัฒนาการของตลาดเงินในปัจจุบันที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่อยู่ในระดับต่ํา ทําให้ผู้ลงทุนต่าง ๆ มีความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึงมีการนําเสนอทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งรวมถึงธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคารพาณิชย์ในการนําเสนอธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ตอบสนองต่อพัฒนาการและความต้องการของผู้ลงทุนดังกล่าว ในขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ต้องนําเสนอธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่เหมาะสมสอดคล้องกับความรู้ ความชํานาญ และความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนแต่ละประเภทด้วย โดยสาระสําคัญในการปรับปรุงประกาศสามารถสรุปได้ ดังนี้ (1) ลดจํานวนเงินขั้นต่ําในการทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงจาก 10 ล้านบาท เป็น 5 ล้านบาท เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการนําเสนอธุรกรรม และเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันยังคงป้องกันไม่ให้ผู้ลงทุนรายย่อยมีโอกาสเข้าถึงธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงมากเกินไป (2) กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการชําระคืนเงินต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 หากธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงกับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ให้สิทธิผู้กู้ยืมในการชําระคืน หรือให้สิทธิผู้ให้กู้ยืมในการรับชําระคืนเงินต้นหรือผลตอบแทนเป็นตราสารหนี้ ตราสารทุน หรือให้สิทธิผู้กู้ยืมหรือผู้ให้กู้ยืมในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับผู้ลงทุนรายย่อยที่มีภาระสอดคล้อง (3) กําหนดให้อนุพันธ์แฝงต้องเป็นประเภทธุรกรรมอนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตให้ทําได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาด (Market derivatives) เพื่อไม่ให้ธนาคารพาณิชย์นําเสนอธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่มีความชับซ้อนจนก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงเกินไปแก่ผู้ลงทุน (4) กําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงอ้างอิงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (ยกเว้นราคาทองคํา โดยจํากัดให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมดังกล่าวได้เฉพาะเป็นการทําเพื่อบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์หรือของคู่สัญญาเท่านั้น เพื่อลดโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์หรือคู่สัญญาจะได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าสูงจากธุรกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ (5) กําหนดให้หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ด้านเงินเฟ้อแฝงมาอยู่ภายใต้ประกาศฉบับนี้ เพื่อให้มีหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่สอดคล้องกับธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แผ่งประเภทอื่น ๆ มากขึ้น รวมถึงเพื่อเพิ่มความสะดวกของธนาคารพาณิชย์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 มาตรา 41 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงได้ตามกรอบและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ยกเลิก/แก้ไข 3.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 2/2554 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 3.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 3/2554 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ด้านเงินเฟ้อแฝง ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย "ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง" หมายความว่า ธุรกรรมเงินกู้ยืม' ที่ธนาคารพาณิชย์ทําทั้งในฐานะผู้กู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะรวมกัน ดังนี้ (1) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรที่ได้กําหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งการจ่ายอัตราผลตอบแทนดังกล่าวไม่ใช่การจ่ายอัตราดอกเบี้ยปกติ ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวไม่รวมถึงธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ชําระคืนเงินต้น และ/หรือจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อซึ่งคํานวณมาจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ของประเทศผู้ออกตราสารและมีโครงสร้างธุรกรรมไม่ซับซ้อน ดังต่อไปนี้ (1.1) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ในแต่ละงวดการชําระดอกเบี้ยผู้ให้กู้ยืมจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest rate) คงที่ที่กําหนดไว้ล่วงหน้าซึ่งคํานวณบนเงินต้นที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ' และได้รับชําระคืนเงินต้นที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ ณ วันครบอายุสัญญา (1.2) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ในแต่ละงวดการชําระดอกเบี้ยผู้ให้กู้ยืมจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงบวกด้วยอัตราเงินเฟ้อ ' และได้รับชําระคืนเงินต้นที่ไม่ได้ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ ณ วันครบอายุสัญญา (2) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ให้สิทธิผู้กู้ยืมในการชําระคืน หรือให้สิทธิผู้ให้กู้ยืมในการรับชําระคืนเงินต้นหรือผลตอบแทนเป็นตราสารหนี้ ตราสารทุน หรือให้สิทธิผู้กู้ยืมหรือผู้ให้กู้ยืมในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวไม่รวมถึงตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิที่จะแปลงสภาพหุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นสามัญของผู้ออกหุ้นกู้ในช่วงเวลาและราคาที่กําหนดไว้ตามสัญญา ซึ่งเป็นไปตามประเพณีปฏิบัติปกติของตลาดตราสารทางการเงิน (3) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ให้สิทธิผู้กู้ยืมหรือผู้ให้กู้ยืมที่จะขยายระยะเวลา หรือไถ่ถอนก่อนครบกําหนดตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวไม่รวมถึงตราสารหนี้ที่ผู้กู้ยืมหรือผู้ให้กู้ยืมมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกําหนดในช่วงเวลา ราคา และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นไปตามประเพณีปฏิบัติปกติของตลาดตราสารทางการเงิน (4) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่ให้สิทธิผู้กู้ยืมหรือผู้ให้กู้ยืมที่จะเพิ่มมูลค่าเงินกู้ยืมหรือเงินให้กู้ยืมตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญา โดยมีการกําหนดราคาตัวแปรอ้างอิงไว้ล่วงหน้า (Top-up products) ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวไม่รวมถึงธุรกรรมที่ได้รับการคุ้มครองโดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ทั้งนี้ ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงไม่รวมถึงเงินให้สินเชื่อที่นําเสนอพร้อมธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาด ซึ่งผู้กู้ยืมทําธุรกรรมอนุพันธ์เพื่อบริหารความเสี่ยงจากเงินให้สินเชื่อ' โดยกรณีดังกล่าวธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาด (Market derivatives) "ผู้ลงทุนสถาบัน" "ผู้ลงทุนรายใหญ่" และ "ผู้ลงทุนรายย่อย" หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ และผู้ลงทุนรายย่อยตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์สําหรับธนาคารพาณิชย์ "ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ" หมายความว่า ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident ตามคําจํากัดความที่กําหนดไว้ในมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทตามหนังสือเวียนว่าด้วยขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาท "ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ" หมายความว่า ผู้ที่ไม่ใช่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามคําจํากัดความที่กําหนดข้างต้น 5.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงได้ โดยธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวต้องมีลักษณะของธุรกรรม ตัวแปรอ้างอิงรวมถึงคู่สัญญาตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อให้ธุรกรรมที่นําเสนอเหมาะสมกับความรู้ความชํานาญ รวมถึงความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน เช่น มีการกําหนดเงื่อนไขจํานวนเงินขั้นต่ําในการลงทุน 5 ล้านบาท โดยธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ใช้คําว่า "เงินฝาก" ในการนําเสนอธุรกรรม และกําหนดให้อนุพันธ์แฝงต้องเป็นประเภทธุรกรรมอนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตให้ทําได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาด (Market derivatives) รวมถึงการทําธุรกรรมให้กับผู้ลงทุนรายย่อยต้องมีเงื่อนไขการชําระคืนเงินต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ณ วันครบกําหนดอายุสัญญา สําหรับธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงอื่นที่อาจมีรายละเอียดของธุรกรรมบางประการต่างจากหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ธนาคารพาณิชย์ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนที่จะเริ่มทําธุรกรรมดังกล่าว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเห็นชอบให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นไปตามหลักการในการกํากับดูแลสถาบันการเงิน 5 ด้าน ได้แก่ Efficiency, Governance, Micro-prudential, Macro-prudentialและ Fairness ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์สําหรับธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ สรุปโครงสร้างประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ได้ตามแผนภาพในเอกสารแนบ 1 5.3 ลักษณะธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ได้ 5.3.1 มีจํานวนเงินขั้นต่ําในการทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาทหรือเทียบเท่า ยกเว้นการทําธุรกรรมกับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ 5.3.2 กรณีธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงในฐานะผู้กู้ยืมโดยมีการออกตราสารหนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องระบุเงื่อนไขห้ามโอนเปลี่ยนมือ ยกเว้นในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกสามารถควบคุมดูแลการโอนเปลี่ยนมือให้อยู่ภายในขอบเขตของกลุ่มผู้ให้กู้ยืมตามกรอบและหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3.3 กรณีธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงในฐานะผู้กู้ยืมธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ใช้คําว่า "เงินฝาก" ในการนําเสนอธุรกรรม รวมถึงต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้ผู้ให้กู้ยืมทราบว่าธุรกรรมดังกล่าวไม่ใช่ "เงินฝาก" และธุรกรรมดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพื่อไม่ให้ผู้ให้กู้ยืมเข้าใจผิด โดยธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าได้ดําเนินการชี้แจงให้ผู้ให้กู้ยืมทราบแล้วไว้ที่สถานที่ทําการ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ สําหรับกรณีธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงในฐานะผู้ให้กู้ยืมที่มีการเสนอขายในต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมที่ใช้คําว่า "เงินฝาก" ได้ 5.3.4 อนุพันธ์แฝงในธุรกรรมเงินกู้ยืมต้องเป็นประเภทธุรกรรมอนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตให้ทําได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาด (Market derivatives) 5.3.5 กรณีธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งให้สิทธิผู้กู้ยืมในการชําระคืน หรือให้สิทธิผู้ให้กู้ยืมในการรับชําระคืนเงินต้นหรือผลตอบแทนเป็นตราสารหนี้หรือตราสารทุนนั้น ตราสารหนี้และตราสารทุนดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 5.3.6 กรณีธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ ธนาคารพาณิชย์สามารถทําได้เฉพาะในฐานะผู้ให้กู้ยืมในธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงอ้างอิงอัตราเงินเอของรัฐบาลหรือธนาคารกลางในต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวต้องได้รับการจัดอันดับเครดิตไม่ต่ํากว่า AA- หรือ Aa3 จากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกตั้งแต่ 2 สถาบันขึ้นไป 5.3.7 กรณีธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงอ้างอิงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ค่าเฉลี่ยของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หรือค่าเฉลี่ยของดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 3 5.4 ตัวแปรอ้างอิง ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงโดยอ้างอิงตัวแปรได้ ดังนี้ 5.4.1 อัตราดอกเบี้ย 5.4.2 อัตราแลกเปลี่ยน 5.4.3 ราคาตราสารหนี้ ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 5.4.4 ราคาตราสารทุน ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 5.4.5 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 5.4.6 เครดิต ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการอ้างอิงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการชําระหนี้ (Credit event) 5.4.7 ผลการดําเนินงานของกองทุน ซึ่งมีหน่วยงานของทางการกํากับดูแล 5.4.8 อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งต้องคํานวณมาจากดัชนีราคาผู้บริโภคเท่านั้น 5.4.9 ดัชนีทางการเงินที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้ (1) เกิดจากการคํานวณโดยใช้ตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดในข้อ 5.4.1 ถึง ข้อ 5.4.8 (2) ถูกพัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ (3) เป็นที่นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล (4) มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันผ่านสื่อที่เสนอข่าวที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ และ (5) มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยระบุแหล่งข้อมูลของตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณ ทั้งนี้ ตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณดังกล่าวต้องมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีบุคคลใดสามารถมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแปร ปัจจัย หรือดัชนีทางการเงินนั้นได้ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้มีการพิจารณาคุณสมบัติของดัชนีทางการเงินอย่างครบถ้วนแล้วไว้ที่สถานที่ทําการเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.4.10 ค่าเฉลี่ยของตัวแปรอ้างอิงตามข้อ 5.4.1 ถึงข้อ 5.4.9 ซึ่งคํานวณด้วยวิธีค่าเฉลี่ยแบบง่าย (Simple average) หรือวิธีแบบค่าเฉลี่ยถ่วงน้ําหนัก (Weighted average) ที่กําหนดน้ําหนักไว้อย่างคงที่และชัดเจนตลอดอายุสัญญาเท่านั้น 5.5 คู่สัญญา ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงกับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนได้ทุกประเภท ตามเงื่อนไขดังนี้ 5.5. 1 กรณีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงได้โดยไม่มีข้อจํากัด 5.5.2 กรณีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนรายย่อย และธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมในฐานะผู้กู้ยืม ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการชําระคืนเงินต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจํานวนเงินที่รับมา ณ วันครบกําหนดอายุสัญญา โดยธนาคารพาณิชย์ต้องขี้แจงข้อเท็จจริงให้ผู้ลงทุนรายย่อยทราบถึงเงื่อนไขการชําระคืนเงินต้นในกรณีต่าง ๆ รวมถึงในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ดําเนินกิจการ ซึ่งผู้ลงทุนรายย่อยอาจไม่ได้รับชําระคืนเงินต้นตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้ และธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ได้ดําเนินการชี้แจงให้ผู้ลงทุนรายย่อยทราบอย่างชัดเจนแล้วไว้ที่สถานที่ทําการ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบหรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ ยกเว้นในกรณีธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ให้สิทธิผู้ลงทุนรายย่อยในการชําระคืน หรือให้สิทธิผู้ลงทุนรายย่อยในการรับชําระคืนเงินต้นหรือผลตอบแทนเป็นตราสารหนี้ ตราสารทุน หรือให้สิทธิผู้ลงทุนรายย่อยในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กับผู้ลงทุนรายย่อยที่มีภาระสอดคล้อง 5.6 ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงประเภทอื่นที่ทําเพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เอง หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดในข้อ 5.3.4 ข้อ 5.3.5 และข้อ 5.4 เพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เอง ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําได้เฉพาะกรณีที่ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวมีลักษณะความเสี่ยง (Risk profile) ด้านตลาดในทางตรงกันข้ามและสามารถลดหรือจํากัดความเสี่ยงอย่างมีนัยสําคัญต่อผลขาดทุนที่เกิดขึ้นกับฐานะที่ถูกป้องกันความเสี่ยง (Hedged item) ที่มีอยู่ก่อน รวมถึงไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอื่นเพิ่มเติม ยกเว้นความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาของธุรกรรมที่ทําเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวเท่านั้น ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการทําธุรกรรมดังกล่าวเป็นการทําเพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เอง โดยจัดเก็บเอกสารหลักฐานดังกล่าวไว้ที่สถานที่ทําการ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.7 ธุรกรรมที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่อาจมีรายละเอียดของธุรกรรมบางประการต่างจากหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดตามข้อ 5.3 ถึงข้อ 5.6 ธนาคารพาณิชย์ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนที่จะเริ่มทําธุรกรรมดังกล่าวโดยธนาคารพาณิชย์ต้องนําส่งคําขอตามแบบฟอร์มการขอความเห็นชอบทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตลาดและธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 ทั้งนี้ คําขอดังกล่าวจะต้องลงนามโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารสูงสุดของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจให้ลงนามแทนในระดับที่ไม่ต่ํากว่าผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารสูงสุดในสายงานที่รับผิดชอบการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยในการมอบอํานาจดังกล่าวต้องกระทําเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องเป็นการลงนามแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารสูงสุดของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเท่านั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเห็นชอบให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นไปตามหลักการในการกํากับดูแลสถาบันการเงิน 5 ด้านตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์ โดยในการพิจารณาให้ความเห็นชอบธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับจากวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์มีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ประสงค์จะทํานั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหรือไม่ให้ธนาคารพาณิชย์หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนทําธุรกรรมดังกล่าว 5.8 การรายงานข้อมูล ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงต้องจัดทําแบบรายงานตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยต้องจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป ผ่านทางระบบบริหารข้อมูล DMS DA (Extranet) ดังนี้ 5.8.1 การรายงานการทําธุรกรรมครั้งแรก ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงต้องรายงานรายละเอียดของสัญญาที่ทําเป็นครั้งแรกของแต่ละธุรกรรม (รวมถึงธุรกรรมที่ทําและสิ้นสุดในระหว่างงวดการรายงานด้วย) ใน "แบบรายงานยอดคงค้างธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง" ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 5 5.8.2 การรายงานยอดคงค้าง ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงทุกประเภทที่มียอดคงค้างเหลืออยู่ ณ วันสิ้นเดือน ต้องรายงานยอดคงค้างของธุรกรรมที่ทําใน "แบบรายงานยอดคงค้างธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง" ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 5 5.9 การกํากับดูแลอื่นที่เกี่ยวข้อง ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุน ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงิน และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศสําหรับธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย โดยในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลดังกล่าวให้พิจารณาตามองค์ประกอบย่อยของธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ทั้งนี้ กรณีธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อตามข้อ 5.3.6 ให้ธนาคารพาณิชย์หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยถึงแนวทางการกํากับดูแลที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มทําธุรกรรมดังกล่าว 5.10 ข้อกําหนดอื่น การทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงของสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่สาขานั้นตั้งอยู่และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 5.1 ข้อ 5.2 ข้อ 5.8 และข้อ 5.9 ของประกาศฉบับนี้ด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีสาขาดังกล่าวทําธุรกรรมกับผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ซึ่งจะต้องถือปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ทุกประการ อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล 6.1 หากธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งธนาคารพาณิชย์ได้ทําก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับและธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําได้โดยมีหนังสือให้ความเห็นชอบแก่ธนาคารพาณิชย์ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ไม่อยู่ในกรอบและหลักเกณฑ์การทําธุรกรรมที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มอีกไม่ได้ สําหรับธุรกรรมที่ทําไปแล้วและยังคงค้างอยู่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้คงธุรกรรมดังกล่าวไว้ได้จนครบกําหนดอายุสัญญาโดยไม่อนุญาตให้มีการต่ออายุสัญญาเว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย 6.2 ให้ธนาคารพาณิชย์มาสารถจัดส่งแบบรายงานตามข้อ 5.8 สําหรับข้อมูลของสิ้นเดือนที่ 1 และสิ้นเดือนที่ 2 หลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้มายังธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมกับข้อมูลของสิ้นเดือนที่ 3 ได้ อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2558 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,469
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.14/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.14/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์และคู่สัญญาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต โดยที่ผ่านมา หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตจะเข้มงวดกว่าธุรกรรมอนุพันธ์ประเภทอื่น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดรายชื่อของธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําได้เป็นการทั่วไป และไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมที่นอกเหนือจากรายชื่อดังกล่าว เพื่อลดโอกาสที่ธนาคารพาณิชย์หรือคู่สัญญาจะได้รับความเสียหายจากการทําธุรกรรมดังกล่าวจนอาจส่งผลกระทบต่อความมีเสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง และยังเป็นเครื่องมือในการทําธุรกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น ธุรกรรม Synthetic collateralized debt obligation ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตเป็นหนึ่งในสาเหตุสําคัญของวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดเริ่มมีความต้องการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตประเภท Funded credit derivatives เช่น Total rate of return linked notes เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุนให้กับผู้ลงทุนธนาคารแห่งประเทศไทยจึงปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคารพาณิชย์ในการนําเสนอธุรกรรม โดยสรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ (1) ขยายขอบเขตของธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่ได้รับอนุญาตให้ครอบคลุมธุรกรรม Total rate of return linked notes ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่จํานวนเงินตามสัญญามีมูลค่าไม่คงที่ตลอดอายุสัญญา (Accreting หรือ Amortised credit derivatives) และธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่มีการออกตราสารและมีเงื่อนไขให้สามารถไถ่ถอนก่อนครบกําหนด (Callable หรือ Puttable funded credit derivatives) ซึ่งเป็นธุรกรรมที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับเดิมไม่มากนัก (2) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถขอความเห็นชอบในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่อาจมีรายละเอียดของธุรกรรมบางประการต่างจากหลักเกณฑ์ในประกาศได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคารพาณิชย์ในการนําเสนอธุรกรรม รวมถึงตอบสนองความต้องการในการบริหารความเสี่ยงและการลงทุน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 32 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 50 มาตรา 52 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตได้ตามกรอบและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ยกเลิก/แก้ไข ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 10/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย "ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต" หมายความว่า ธุรกรรมที่ใช้ในการโอนความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์อ้างอิง (Reference obligation) หรือสินทรัพย์อื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิงที่กําหนดไว้ในสัญญา (Obligation category and Obligation characteristics) จากผู้โอนความเสี่ยงด้านเครดิต (Protection buyer) ไปยังผู้รับโอนความเสี่ยงด้านเครดิต (Protection seller) โดย Protection seller จะได้รับผลตอบแทนหรือค่าธรรมเนียมที่อ้างอิงกับความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิง (Reference entity) แลกกับการมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชําระเงินให้แก่ Protection buyer เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ออกสินทรัพย์ตามที่ระบุในสัญญาธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit event) "ผู้ลงทุนสถาบัน" "ผู้ลงทุนรายใหญ่" และ "ผู้ลงทุนรายย่อย" หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ และผู้ลงทุนรายย่อยตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์สําหรับธนาคารพาณิชย์ "ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ" หมายความว่า ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ตามคําจํากัดความที่กําหนดไว้ในมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทตามหนังสือเวียนว่าด้วยขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาท "ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ" หมายความว่า ผู้ที่ไม่ใช่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามคําจํากัดความที่กําหนดข้างต้น คําจํากัดความอื่นนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น ให้เป็นไปตามเอกสารแนบ 1 5.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตได้ทั้งในฐานะ Protection buyer และ Protection seller โดยต้องเป็นประเภทของธุรกรรมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาต ซึ่งส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างเป็นมาตรฐานและเป็นที่รู้จักในตลาดอนุพันธ์ด้านเครดิต รวมถึงมีแนวทางการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตดังกล่าวต้องมีลักษณะของธุรกรรม สินทรัพย์อ้างอิงและคู่สัญญาตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตอื่นที่อาจมีรายละเอียดของธุรกรรมบางประการต่างจากหลักเกณฑ์ในประกาศ ธนาคารพาณิชย์ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนที่จะเริ่มทําธุรกรรมดังกล่าว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเห็นชอบให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นไปตามหลักการในการกํากับดูแลสถาบันการเงิน 5 ด้าน ได้แก่ Efficiency, Governance, Micro-prudential, Macro-prudential และ Fairness ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์สําหรับธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ โครงสร้างประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) สรุปได้ตามแผนภาพในเอกสารแนบ 2 5.3 ประเภทของธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่ได้รับอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตภายใต้ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงที่อ้างอิงเอกสารสัญญามาตรฐานของ International Swaps and Derivatives Association (ISDA)' ดังนี้ 5.3.1 ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่ Protection seller ยังไม่มีการชําระเงินเพื่อวางเป็นประกันในการรับความเสี่ยงของตนเอง (Unfunded credit derivatives) ได้แก่ (1) Credit default swaps (CDS) (2) Total rate of return swaps (TRORS) (3) First to default swaps (FTDS) (4) Proportionate credit default swaps (PCDS) 5.3.2 ธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่ Protection seller ชําระเงินทั้งจํานวนเพื่อวางเป็นประกันในการรับความเสี่ยงของตนเอง (Funded credit derivatives) ได้แก่ (1) Credit linked notes (CLN) (2) Total rate of return linked notes (TRORN) (3) First to default credit linked notes (FTDN) (4) Proportionate credit linked notes (PCLN) ทั้งนี้ ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง รวมถึงประเภทของธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตข้างต้นมีคําจํากัดความตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 5.4 ลักษณะของธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ได้ 5.4.1 ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตทั้ง Unfunded และ Funded credit derivatives ที่จํานวนเงินตามสัญญามีมูลค่าไม่คงที่ตลอดอายุสัญญา โดยจํานวนเงินตามสัญญาอาจมีค่าเพิ่มขึ้น (Accreting) หรือลดลง (Amortised) ซึ่งมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องถูกกําหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน ณ วันเริ่มต้นสัญญาอย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่จํานวนเงินตามสัญญาสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยที่มูลค่าที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ถูกกําหนดไว้ล่วงหน้า เช่น ธุรกรรม Contingent credit default swaps 5.4.2 ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรม Funded credit derivatives ที่มีการออกตราสารและมีเงื่อนไขให้สามารถไถ่ถอนก่อนครบกําหนด ซึ่งได้แก่ ตราสารหนี้ที่ผู้กู้ยืมมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกําหนด หรือตราสารหนี้ที่ผู้ให้กู้ยืมมีสิทธิไถ่ถอนก่อนกําหนด ในช่วงเวลา ราคาและวิธีการที่กําหนดไว้ตามสัญญา โดยวิธีการดังกล่าวเป็นไปตามประเพณีปฏิบัติปกติของตลาดตราสารทางการเงิน 5.4.3 หากธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Funded credit derivatives ในฐานะ Protection buyer ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ใช้คําว่า "เงินฝาก" ในการเสนอขายเพื่อป้องกัน Protection seller เข้าใจผิดว่าธุรกรรมดังกล่าวจะได้รับการคุ้มครองโดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 5.4.4 หากธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Funded credit derivatives ในฐานะ Protection buyer โดยมีการออกตราสารหนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องระบุเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือ ยกเว้นในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกสามารถควบคุมดูแลการโอนเปลี่ยนมือให้อยู่ภายในขอบเขตของกลุ่มคู่สัญญาตามที่กําหนดในข้อ 5.6.1 5.5 สินทรัพย์อ้างอิง ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ใช้สินทรัพย์ดังต่อไปนี้เป็นสินทรัพย์อ้างอิงในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (1) สินทรัพย์หรือภาระผูกพันที่ออกโดย Protection seller (2) ธุรกรรมเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (บัญชีมาร์จิน) (3) ธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงที่ไม่เข้าข่ายได้รับอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured products) ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ซึ่งนอกจากจะต้องปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้แล้ว ธนาคารพาณิชย์ยังต้องปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured products) ด้วย (4) ธุรกรรมอนุพันธ์ เว้นแต่กรณีธนาคารพาณิชย์เป็น Protection buyer ซึ่งธนาคารพาณิชย์สามารถทําได้เฉพาะธุรกรรม Credit default swaps หรือธุรกรรม Credit Lin ked notes เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกิดจากฐานะในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่ทําต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอื่นเพิ่มเติมยกเว้นความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาและความเสี่ยงด้านตลาดที่เกิดจากธุรกรรม Credit default swaps หรือธุรกรรม Credit linked notes ดังกล่าว ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการทําธุรกรรมดังกล่าวเป็นการทําเพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เองหรือเพื่อให้บริการป้องกันความเสี่ยงแก่คู่สัญญา โดยจัดเก็บเอกสารหลักฐานดังกล่าวไว้ที่สถานที่ทําการเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.6 คู่สัญญา ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตกับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนได้ทุกประเภท ตามเงื่อนไขดังนี้ 5.6.1 ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมในฐานะ Protection buyer ได้เฉพาะกับผู้ลงทุนสถาบัน แต่ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 5.6.2 ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมในฐานะ Protection seller ได้กับ (1) ผู้ลงทุนสถาบัน แต่ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือ (2) ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนรายย่อย ที่มีภาระความเสี่ยงด้านเครดิตจากสินทรัพย์อ้างอิงและต้องการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นเท่านั้นโดยธนาคารพาณิชย์จะต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับภาระอ้างอิงดังกล่าว รวมทั้งจัดเก็บเอกสารหลักฐานดังกล่าวไว้ที่สถานที่ทําการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.7 ธุรกรรมที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่อาจมีรายละเอียดของธุรกรรมบางประการต่างจากหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดตามข้อ 5.3 ถึงข้อ 5.06 ธนาคารพาณิชย์ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนที่จะเริ่มทําธุรกรรมดังกล่าวโดยธนาคารพาณิชย์ต้องนําส่งคําขอตามแบบฟอร์มการขอความเห็นชอบทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 ทั้งนี้ คําขอดังกล่าวจะต้องลงนามโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารสูงสุดของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจให้ลงนามแทนในระดับที่ไม่ต่ํากว่าผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารสูงสุดในสายงานที่รับผิดชอบการออกผลิตภัณฑ์หม่ โดยในการมอบอํานาจดังกล่าวต้องกระทําเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องเป็นการลงนามแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารสูงสุดของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเท่านั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเห็นชอบให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นไปตามหลักการในการกํากับดูแลสถาบันการเงิน 5 ด้านตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมอนุพันธ์สําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยในการพิจารณาให้ความเห็นชอบธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์มีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่ประสงค์จะทํานั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหรือไม่ให้ธนาคารพาณิชย์หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนทําธุรกรรมดังกล่าว 5.8 การรายงานข้อมูล ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตต้องจัดทําแบบรายงานตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยต้องจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป ผ่านทางระบบบริหารข้อมูล DMS DA (Extranet) ดังนี้ 5.8.1 การรายงานการทําธุรกรรมครั้งแรก ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตต้องรายงานรายละเอียดของสัญญาที่ทําเป็นครั้งแรกของแต่ละธุรกรรม (ร่วมถึงธุรกรรมที่ทําและสิ้นสุดในระหว่างงวดการรายงานด้วย) ใน "แบบรายงานยอดคงค้างธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต" ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 5.8.2 การรายงานยอดคงค้าง ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตทุกประเภทที่มียอดคงค้างเหลืออยู่ ณ วันสิ้นเดือน ต้องรายงานยอดคงค้างของธุรกรรมที่ทําใน "แบบรายงานยอดคงค้างธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต" ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 5.9 การกํากับดูแลอื่นที่เกี่ยวข้อง ธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 5 ถึงเอกสารแนบ 8 5.10 ข้อกําหนดอื่น การทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตของสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่สาขานั้นตั้งอยู่และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 5.1 ข้อ 5.2 ข้อ 5.8 และข้อ 5.9 ของประกาศฉบับนี้ด้วย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีสาขาดังกล่าวทําธุรกรรมกับผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ทุกประการ อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล 6.1 หากธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตซึ่งธนาคารพาณิชย์ได้ทําก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ไม่อยู่ในกรอบและหลักเกณฑ์การทําธุรกรรมที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ ธนาคารพาณิชย์จะทําธุรกรรมดังกล่าวเพิ่มอีกไม่ได้ สําหรับธุรกรรมที่ทําไปแล้วและยังคงค้างอยู่ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้คงธุรกรรมดังกล่าวไว้ได้จนครบกําหนดอายุสัญญา โดยไม่อนุญาตให้มีการต่ออายุสัญญา เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย 6.2 ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดส่งแบบรายงานตามข้อ 5.8 สําหรับข้อมูลของสิ้นเดือนที่ 1 และสิ้นเดือนที่ 2 หลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้มายังธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมกับข้อมูลของสิ้นเดือนที่ 3 ได้ อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2558 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,470
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ------------------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.11/14/54 | 90,000 | 10 กุมภาพันธ์ 2554 | 14/2/54 – 28/2/54 | 14 | | พ.12/14/54 | 80,000 | 11 กุมภาพันธ์ 2554 | 15/2/54 – 1/3/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,471
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21/2558 เรื่อง การจัดทำและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21 /2558 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่ สนส. 11/2553 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 กําหนดรูปแบบการจัดทํางบการเงินซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี และการประกาศงบการเงินดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งการนําส่งงบการเงินให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกแห่งถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันและสามารถเปรียบเทียบกันได้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการกํากับดูแลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจนั้น เนื่องจากสภาวิชาชีพบัญชีได้ปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติสําหรับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป โดยมาตรฐานการบัญชีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ซึ่งทําให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถใช้รูปแบบงบการเงินเดิมที่กําหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 11/2553 ได้อีกต่อไป นอกจากนี้ จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่แก่กลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพหรือมีฐานะกิจการที่มั่นคงต้องดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (capital add-on) เพื่อรองรับส่วนที่ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์และต้องเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนและอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนหลังหักเงินกองทุนส่วนเพิ่มดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินตามที่กําหนดไว้ในแนวทางการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่แก่กลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพหรือมีฐานะกิจการที่มั่นคงสําหรับธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งได้ปรับปรุงคําอธิบายความหมายของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินโดยกําหนดประเภทของคู่สัญญาภายใต้รายการดังกล่าวให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินและกลุ่มภาคธุรกิจจริง (real sector) สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงรูปแบบงบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลและคําอธิบายความหมายของรายการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่กล่าวข้างต้น เพื่อให้ธนาคารพณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกแห่งสามารถใช้รูปแบบงบการเงินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเปรียบเทียบกันได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 68 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งหมายถึง ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติในเรื่องรูปแบบงบการเงินตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศฉบับนี้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 11/2553 เรื่องการจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 อื่นๆ - 5. เนื้อหา การจัดทํางบการเงิน 1. ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจัดทํางบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน รวมทั้งจัดทํางบการเงินเปรียบเทียบกับงวดก่อนด้วย ทั้งนี้ ให้มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยตามรายการที่กําหนด 2. การจัดทํางบการเงินดังกล่าวตามข้อ 1 ให้เป็นไปโดยครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง และเป็นไปตามคําอธิบายความหมายของรายการตามแนบ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ( ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีครอบคลุมถึงให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติ โดยให้เปิดเผยถึงที่มาของหลักการบัญชีที่นํามาใช้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินในส่วนของนโยบายการบัญชี ทั้งนี้ การนํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติ ไม่ให้นํามาใช้เฉพาะบางส่วน แต่จะต้องนํามาใช้ทั้งฉบับ เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดอื่น ๆ ของสภาวิชาชีพบัญชีหรือธนาคารแห่งประเทศไทย 3. หมายเลขกํากับรายการที่ปรากฎในแบบงบการเงิน มีไว้เพื่อสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ต้องแสดงในการจัดทํางบการเงิน 4. ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแสดงรายการในงบการเงินตามแบบที่กําหนดไว้ หากไม่มีรายการใดก็ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าวทั้งนี้ หากมีความจําเป็นที่จะใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในแบบงบการเงินที่กําหนดก็สามารถกระทําได้ แต่การใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้สาระสําคัญของรายการแตกต่างไปจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือหากมีรายการที่ต้องการนําเสนอนอกเหนือจากแบบที่กําหนดไว้ให้แสดงรายการนั้นได้ตามความจําเป็นและเหมาะสมแก่กรณี เช่น ตามแบบงบการเงินกําหนดให้แสดงรายการใดเพียงรายการเดียว แต่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องการแสดงรายละเอียดภายใต้รายการนั้นก็สามารถกระทําได้ แต่ต้องแสดงรายการให้ถูกต้องตามประเภทและลักษณะของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้หรือค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้มีการแสดงรายการใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในแบบงบการเงิน หรือในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นผลให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการแสดงรายการจากที่กําหนดในแบบงบการเงิน ให้แสดงรายการนั้นเพิ่มเติมตามที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนด 5. สําหรับรอบบัญชีแรกที่จัดทํางบการเงินตามประกาศฉบับนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจัดประเภทรายการหรือรูปแบบงบการเงินที่จะนํามาเปรียบเทียบให้สอดคล้องกับประกาศฉบับนี้ด้วย เว้นแต่ในทางปฏิบัติจะไม่สามารถทําได้และได้หารือกับผู้สอบบัญชีแล้ว การกําหนดจํานวนหน่วยในการจัดทํางบการเงิน 6. การกําหนดหน่วยในสกุลเงินบาท ให้แสดงเป็นหน่วยของหลักพันบาท (ไม่ต้องมีทศนิยม) ในการจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสด สําหรับการจัดทําหมายเหตุประกอบงบการเงิน ให้สามารถเลือกแสดงหน่วยในสกุลเงินบาทตามที่ต้องการได้ โดยต้องระบุหน่วยในสกุลเงินบาทที่ใช้ในแต่ละที่ให้ชัดเจนและสามารถกระทบยอดกับรายการที่ปรากฏในงบการเงินได้ ระยะเวลาในการจัดทํางบการเงิน 7. ให้ธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จัดทํางบการเงินทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน และรอบระยะเวลา 12 เดือน อันเป็นรอบปีบัญชีของธนาคารพาณิชย์นั้น สําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้จัดทํางบการเงินทุกรอบระยะเวลา 12 เดือน อันเป็นรอบปีบัญชีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและบริษัทโยลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น การจัดทํางบการเงินรวม 8. ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีบริษัทย่อย ให้จัดทํางบการเงินรวมเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ คํานิยามของบริษัทย่อยและการแสดงรายการเพิ่มเติมสําหรับการจัดทํางบการเงินรวม ให้ถือปฏิบัติตามที่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม รวมถึงมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกําหนด และหากธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่ได้นําบริษัทย่อยใดมารวมในงบการเงินรวม ให้แจ้งเหตุผลถึงการไม่นํามารวม พร้อมทั้งเปิดเผยผลกระทบและเปิดเผยงบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย การประกาศงบการเงิน 9. ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินประกาศงบการเงิน ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ 9.1 ธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้ประกาศงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของธนาคารพาณิชย์ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์นั้น รวมทั้งให้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ (website) ของธนาคารพาณิชย์ และให้เสนอต่อฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะสายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินตามสื่อต่าง ๆ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด จะต้องเป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย ทั้งนี้ การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ในกรณีของงบการเงินสําหรับงวดบัญชีในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีบัญชี ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นงวดบัญชี ส่วนงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 21 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินแล้ว แต่ต้องไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น 9.2 สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 9.2.1 ให้ประกาศงบการเงินของธนาคารพณิชย์ต่างประเทศ (ซึ่งได้จัดทําตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ของผู้กํากับดูแลในประเทศนั้น) ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (สํานักงานใหญ่) ประกาศงบการเงิน โดยให้ประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้น ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินดังกล่าวให้หมายถึง รายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่จัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของหน่วยงานกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศนั้น ทั้งนี้ หากงบการเงินของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมิได้จัดทําเป็นภาษาอังกฤษ ให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจัดทํางบการเงินดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย และให้ผู้จัดการสาขาหรือผู้ได้รับมอบหมายลงนามรับรองในงบการเงินดังกล่าวก่อนนําไปประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้น 9.2.2 ให้ประกาศงบการเงินของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยผู้จัดการสาขา ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้น รวมทั้งให้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เผยแพรไว้ในเว็บไซต์ (website) ของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และให้เสนอต่อฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยการดําเนินการดังกล่าวต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินตามสื่อต่าง ๆ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด จะต้องเป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย 9.3 บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้เสนองบการเงินของบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่จัดทําตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น โดยไม่ต้องประกาศงบการเงินไว้ ณ สํานักงานของบริษัท และไม่ต้องเผยแพร่งบการเงินในสื่ออื่น ๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ การเสนองบการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด จะต้องเป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย 10. การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขา และการลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ตามที่กําหนดในข้อ 9.1 และข้อ 9.2.2 ให้หมายถึง เฉพาะรายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากรายงานของผู้สอบบัญชีมีการอ้างถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดโดยไม่ระบุจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องในรายงานผู้สอบบัญชี ให้แสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีอ้างถึงนั้นไว้ด้วย สําหรับการประกาศงบการเงินในเว็บไซต์ (website) ของธนาคารพาณิชย์ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในข้อ 9.1 ข้อ 9.2.2 และข้อ 9.3 ให้หมายถึงรายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินทั้งหมด 11. การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ สํานักงานสาขา รวมถึงการประกาศงบการเงินในเว็บไซต์ (website) ของธนาคารพาณิชย์ อย่างน้อยให้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีปัจจุบันไว้จนกว่าจะได้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีถัดไป อย่างไรก็ตามการประกาศงบการเงินไว้หลายงวดบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบกันได้ของงบการเงินจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินได้ดียิ่งขึ้น 12. ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการจัดทํางบการเงินรวม การดําเนินการตามข้อ 9.1 ข้อ 9.2.2 และข้อ 9.3 ให้หมายความรวมถึงงบการเงินรวมด้วย อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน ให้ถือปฏิบัติสําหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดหลังวันที่ประกาศฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2558 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,472
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10 /2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ------------------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราตอกเบี้ยลอยตัวอายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 เท่ากับร้อยละ 2.34016 ต่อปี (เท่ากับอัตราตอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,473
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2554 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2554 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเป็นอยู่และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนในวงกว้าง ตลอดจนส่งผลให้การสัญจรไปมาของประชาชนเป็นไปอย่างยากลําบาก ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของประชาชนและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในการเดินทางเพื่อใช้บริการของสถาบันการเงิน ตลอดจนพนักงานและทรัพย์สินของสถาบันการเงินจึงกําหนดให้วัน - ตุลาคม 2554 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4.ข้อกําหนดวันหยุดทําการเป็นกรณีพิเศษ กําหนดให้วันที่ - ตุลาคม 2554 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษทั่วประเทศ อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ ตุลาคม 2554 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,474
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.24/2558 เรื่อง การจัดทำและการเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.24 /2558 เรื่อง การจัดทําและการเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ด้วยเหตุที่รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินนั้นเป็นหนึ่งในข้อมูลสําคัญที่แสดงให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย และการให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้งบการเงิน เช่น การให้ข้อมูลแก่นักลงทุนผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ของบริษัทดังกล่าว เพื่อประกอบตัดสินใจทําธุรกิจกรรมกับบริษัทนั้น ๆ ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการพิจารณาปรับปรุงคําอธิบายความหมายของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน โดยกําหนดประเภทของคู่สัญญาภายใต้รายการดังกล่าวให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินและกลุ่มภาคธุรกิจจริง (real sector) สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงคําอธิบายความหมายของรายการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่กล่าวข้างต้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 มาตรา 39(5) และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ถือปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศฉบับนี้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 14/2553 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 การจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ให้บริษัทจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือนให้ครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง และเป็นไปตามรูปแบบและคําอธิบายความหมายของรายการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามแนบ ดังนี้ (1) ให้บริษัทเงินทุนจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ บ.ง. 1.2 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 1 โดยรวมสินทรัพย์และหนี้สินของทุกสํานักงาน (2) ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์จัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ บ.ค. 1.2 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ในการจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าว ให้บริษัทอ้างอิงจากคําอธิบายรายการ และอ้างอิงรายการของชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Dataset) ในระบu DMS ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3 และ 4 ตามลําดับ 5.2 การกําหนดจํานวนหน่วยในการจัดทํารายการ ให้บริษัทแสดงรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน เป็นหน่วยของบาท (ไม่ต้องมีทศนิยม) 5.3 การเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินและรายละเอียดของบริษัท 5.3.1 ให้บริษัทเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่รับรองความถูกต้องและลงนามอย่างน้อย 2 คน ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ และผู้อํานวยการฝ่ายบัญชี หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าในทํานองเดียวกันที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยให้แสดงชื่อและชื่อสกุลในเครื่องหมายวงเล็บ พร้อมด้วยตําแหน่งใต้ลายมือชื่อ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นที่มีอํานาจลงนามแทน ให้ระบุคําว่า "แทน" หน้าตําแหน่งนั้นด้วย ทั้งนี้ ให้บริษัทเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าว ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ดังนี้ (1) ให้ประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานทุกแห่งของบริษัทนั้น (2) ให้ประกาศลงในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ สําหรับรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเฉพาะรายไตรมาส และให้จัดส่งเอกสารหลักฐานว่าได้ประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าวในหนังสือพิมพ์แล้ว ให้ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเดือนที่ประกาศด้วย (3) ให้เผยแพร่รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินใน website ของบริษัทนั้นโดยบังคับใช้เฉพาะบริษัทเงินทุนเท่านั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่น 5.3.2 ให้บริษัทประกาศรายละเอียดของบริษัทที่ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริงดังต่อไปนี้ ไว้ในที่เปิดเผยในสํานักงานทุกแห่งของบริษัทที่ใช้ติดต่อกับประชาชน (1) ใบอนุญาต หรือสําเนาใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี (2) หนังสือรับรองของสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์ที่แสดงรายชื่อกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท ทุนจดทะเบียน และที่ตั้งสํานักงานใหญ่ของบริษัทรวมทั้งสาขา (ถ้ามี) ที่เป็นปัจจุบัน (3) รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่สิบอันดับแรกเรียงตามลําดับ ทั้งนี้ ตามหลักฐานที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท พร้อมทั้งแสดงอัตราร้อยละของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ ณ วันที่บริษัทอ้างถึงชื่อผู้สอบบัญชีซึ่งได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจําปี และได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว พร้อมทั้งชื่อและสถานที่ตั้งสํานักงานของผู้สอบบัญชี (5) ตัวอย่างตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท และวันที่เริ่มใช้ พร้อมทั้งระบุชื่อโรงพิมพ์ที่พิมพ์ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว (6) ตัวอย่างตราของบริษัทที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจดทะเบียนไว้กับสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์ 5.3.3 ให้บริษัทจัดให้มีเอกสารที่แสดงข้อมูลที่ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริงดังต่อไปนี้ ไว้ในที่เปิดเผยตลอดเวลาทําการ ภายในสํานักงานทุกแห่งของบริษัท เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจดูได้โดยสะดวก ทั้งนี้ อาจจัดเตรียมไว้ในรูปแฟ้มเอกสารก็ได้ (1) งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี พร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงินของงวดการบัญชีหลังสุด (2) รายชื่อกรรมการและพนักงานผู้มีอํานาจลงนามแทนบริษัททุกคนพร้อมทั้งตัวอย่างลายมือชื่อที่ใช้อยู่เป็นปกติของบุคคลดังกล่าวทุกภาษา ตลอดจนขอบเขตและอํานาจในการลงนามแทนบริษัท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรายละเอียดของบริษัท หรือข้อมูลที่ประกาศหรือเปิดเผยไว้ตามข้อ 5.3.2 หรือ 5.3.3 ดังกล่าว ให้บริษัทแก้ไขรายละเอียดหรือข้อมูลนั้นให้ถูกต้องโดยพลัน เว้นแต่รายละเอียดผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามข้อ 5.3.2 (3) จะปรับปรุงเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญก็ได้ 5.4 การจัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน 5.4.1 ให้บริษัทจัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามรูปแบบการจัดส่งดังนี้ (1) รูปแบบ Excel File ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยให้ส่งผ่านช่องทางการรับส่งข้อมูลของระบบ DMS Data Acquisition ทาง Extranet (https:/websenv) หัวข้อ Summit File เลือกรายการ "Summary Statement of Assets and Liabilities" ภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ หากวันที่ครบกําหนดส่งตรงกับวันหยุด ให้ส่งข้อมูลภายในวันทําการถัดจากวันหยุดดังกล่าว แต่ก่อนหน้าวันเปิดเผยรายการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามข้อ 5.3.1 (2) รูปแบบเอกสาร โดยให้ส่งเอกสารต้นฉบับที่มีการลงนามตามข้อ 5.3.1 จํานวน 1 ชุดพร้อมสําเนา 1 ชุด ต่อสํานักสถิติ ฝ่ายสถิติและข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ หากวันที่ครบกําหนดส่งตรงกับวันหยุด ให้ส่งข้อมูลภายในวันทําการถัดจากวันหยุดดังกล่าว 5.4.2 ให้บริษัทจัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินในรูปแบบเอกสารจํานวน 1 ชุดต่อสํานักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สํานักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลัง ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ หากวันครบกําหนดส่งตรงกับวันหยุด ให้ส่งข้อมูลภายในวันทําการถัดจากวันหยุดดังกล่าว 5.5 การปรับปรุงข้อมูลในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน 5.5.1 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ซึ่งทําให้บริษัทต้องมีการปรับปรุงรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยตามข้อ 5.3.1 หรือจัดส่งตามข้อ 5.4 แล้ว ให้บริษัทจัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่ได้ปรับปรุงต่อสํานักสถิติ ฝ่ายสถิติและข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสํานักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สํานักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานทุกแห่ง และเผยแพร่ใน website ของบริษัทนั้น ทั้งนี้ ให้ระบุข้อความ "ฉบับปรับปรุง" ไว้ตรงกลางด้านบนสุดของรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินฉบับที่แก้ไขด้วย 5.5.2 ในกรณีที่ข้อมูลในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้บริษัทระบุข้อความว่า "รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินนี้ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต" ในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินนี้ด้วย ทั้งนี้ รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่เปิดเผยและจัดส่งตามข้อ 5.3.1 ข้อ 5.4 และข้อ 5.5 ต้องเป็นรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่มีรอบระยะเวลาจัดทําสิ้นสุดหลังวันที่ประกาศฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2558 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,475
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลแพ่ง
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลแพ่ง ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลแพ่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลแพ่ง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้จัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมขึ้นในศาลแพ่ง เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีสิ่งแวดล้อมตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับการดําเนินคดีสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้ (1) คดีสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในเขตศาลแพ่ง (2) คดีสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแห่งซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อน และศาลแพ่งได้รับไว้พิจารณาพิพากษาตามมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแห่งอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในแผนกคดีสิ่งแวดล้อมพิจารณาพิพากษาคดีอื่นใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ข้อ ๔ ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลแพ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน ข้อ ๕ แผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลแพ่งจะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งรักษาการตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554 สบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,476
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 22/2558 เรื่อง การจัดทำและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 22 / 2558 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่ สนส. 12/2553 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 กําหนดรูปแบบการจัดทํางบการเงินซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี และการประกาศงบการเงินดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งการนําส่งงบการเงินแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกแห่งถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันและสามารถเปรียบเทียบกันได้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการกํากับดูแลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจนั้น เนื่องจากสภาวิชาชีพบัญชีได้ปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนําเสนองบการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ซึ่งบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องถือปฏิบัติสําหรับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไปโดยมาตรฐานการบัญชีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ซึ่งทําให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ไม่สามารถใช้รูปแบบงบการเงินเดิมที่กําหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12/2553 ได้อีกต่อไป นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการพิจารณาปรับปรุงคําอธิบายความหมายของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน โดยกําหนดประเภทของคู่สัญญาภายใต้รายการดังกล่าวให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินและกลุ่มภาคธุรกิจจริง (real sector) สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงรูปแบบงบการเงิน และคําอธิบายความหมายของรายการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่กล่าวข้างต้น เพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกแห่งสามารถใช้รูปแบบงบการเงินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเปรียบเทียบกันได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 66 มาตรา 67 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ถือปฏิบัติในเรื่องรูปแบบงบการเงินตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศฉบับนี้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 12/2553 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 อื่นๆ - 5. เนื้อหา การจัดทํางบการเงิน 1. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์จัดทํางบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของงบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน รวมทั้งจัดทํางบการเงินเปรียบเทียบกับงวดก่อนด้วยทั้งนี้ รูปแบบและรายละเอียดในการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ให้ถือปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ยกเว้นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของเงินกองทุนและอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนตามที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้ หากบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ยังไม่มีการทําธุรกรรมใด หรือไม่มีรายการใดที่ปรากฏในแบบงบการเงินที่กําหนดเนื่องจากข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจ เช่น หนี้สินทางการเงินที่กําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม ตราสารอนุพันธ์เพื่อค้า และกําไร (ขาดทุน) สุทธิจากหนี้สินที่กําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม เป็นต้น ให้ยกเว้นไม่ต้องแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว 2. การจัดทํางบการเงินดังกล่าวตามข้อ 1 ให้เป็นไปโดยครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริงและเป็นไปตามคําอธิบายความหมายของรายการตามแนบ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีครอบคลุมถึง ให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติ โดยให้เปิดเผยถึงที่มาของหลักการบัญชีที่นํามาใช้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินในส่วนของนโยบายการบัญชี ทั้งนี้ การนํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติไม่ให้นํามาใช้เฉพาะบางส่วน แต่จะต้องนํามาใช้ทั้งฉบับ เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดอื่น ๆ ของสภาวิชาชีพบัญชีหรือธนาคารแห่งประเทศไทย 3. หมายเลขกํากับรายการที่ปรากฎในแบบงบการเงิน มีไว้เพื่อสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้นไม่ต้องแสดงในการจัดทํางบการเงิน 4. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แสดงรายการในงบการเงินตามแบบที่กําหนดไว้หากไม่มีรายการใดก็ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นที่จะใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในแบบงบการเงินที่กําหนดก็สามารถกระทําได้ แต่การใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้สาระสําคัญของรายการแตกต่างไปจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือหากมีรายการที่ต้องการนําเสนอนอกเหนือจากแบบที่กําหนดไว้ ให้แสดงรายการนั้นได้ตามความจําเป็นและเหมาะสมแก่กรณี เช่น ตามแบบงบการเงินกําหนดให้แสดงรายการใดเพียงรายการเดียว แต่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องการแสดงรายละเอียดภายใต้รายการนั้นก็สามารถกระทําได้ แต่ต้องแสดงรายการให้ถูกต้องตามประเภทและลักษณะของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้หรือค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้มีการแสดงรายการใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในแบบงบการเงิน หรือในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นผลให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการแสดงรายการจากที่กําหนดในแบบงบการเงิน ให้แสดงรายการนั้นเพิ่มเติมตามที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนด 5. สําหรับรอบบัญชีแรกที่จัดทํางบการเงินตามประกาศฉบับนี้ ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จัดประเภทรายการหรือรูปแบบงบการเงินที่จะนํามาเปรียบเทียบให้สอดคล้องกับประกาศฉบับนี้ด้วย เว้นแต่ในทางปฏิบัติจะไม่สามารถทําได้และได้หารือกับผู้สอบบัญชีแล้ว การกําหนดจํานวนหน่วยในการจัดทํางบการเงิน 6. การกําหนดหน่วยในสกุลเงินบาท ให้แสดงเป็นหน่วยของหลักบาท (ไม่ต้องมีทศนิยม) ในการจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสด สําหรับการจัดทําหมายเหตุประกอบงบการเงิน ให้สามารถเลือกแสดงหน่วยในสกุลเงินบาทตามที่ต้องการได้ โดยต้องระบุหน่วยในสกุลเงินบาทที่ใช้ในแต่ละที่ให้ชัดเจนและสามารถกระทบยอดกับรายการที่ปรากฏในงบการเงินได้ ระยะเวลาในการจัดทํางบการเงิน 7. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จัดทํางบการเงินทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน และรอบระยะเวลา 12 เดือนอันเป็นรอบปีบัญชีของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น การจัดทํางบการเงินรวม 8. ในกรณีที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์มีบริษัทย่อย ให้จัดทํางบการเงินรวมเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ คํานิยามของบริษัทย่อยและการแสดงรายการเพิ่มเติมสําหรับการจัดทํางบการเงินรวมให้ถือปฏิบัติตามที่มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม รวมถึงมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกําหนด และหากบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไม่ได้นําบริษัทย่อยใดมารวมในงบการเงินรวม ให้แจ้งเหตุผลถึงการไม่นํามารวม พร้อมทั้งเปิดเผยผลกระทบและเปิดเผยงบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย การประกาศงบการเงิน 9. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกาศงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น รวมทั้งให้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เผยแพรไว้ในเว็บไซต์ (website) และให้เสนอต่อฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย การกําหนดให้เผยแพรในเว็บไซต์ (website) บังคับใช้เฉพาะกับบริษัทเงินทุนเท่านั้น ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินตามสื่อต่าง ๆ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด จะต้องเป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย ทั้งนี้ การดําเนินการตามรรคหนึ่ง ในกรณีของงบการเงินสําหรับงวดบัญชี ในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีบัญชี ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นงวดบัญชี ส่วนงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 21 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินแล้ว แต่ต้องไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น 10. การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาและการลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ตามที่กําหนดในข้อ 9 ให้หมายถึงเฉพาะรายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หากรายงานของผู้สอบบัญชีมีการอ้างถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดโดยไม่ระบุจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องในรายงานผู้สอบบัญชี ให้แสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีอ้างถึงนั้นไว้ด้วย สําหรับการประกาศงบการเงินในเว็บไซต์ (website) และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในข้อ 9 ให้หมายถึงรายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินทั้งหมด 11. การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ สํานักงานสาขา รวมถึงการประกาศงบการเงินในเว็บไซต์ (website) ตามที่กําหนดในข้อ 9 อย่างน้อยให้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีปัจจุบันไว้จนกว่าจะได้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีถัดไป อย่างไรก็ตามการประกาศงบการเงินไว้หลายงวดบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบกันได้ของงบการเงิน จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินได้ดียิ่งขึ้น 12. ในกรณีที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีการจัดทํางบการเงินรวมการดําเนินการตามข้อ 9 ให้หมายความรวมถึงงบการเงินรวมด้วย ผู้มีอํานาจลงนาม -
7,477
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งสาขาและการประกอบกิจการ สาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งสาขาและการประกอบกิจการ สาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ------------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสถาบันการเงินในประเทศไทย และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการทยอยเปิดเสริในระดับที่สูงขึ้นที่มีมาอย่างต่อเนื่อง แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 จึงมีนโยบายให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ โดยสามารถจัดตั้งสาขาทั่วไปรวมทั้งหมดได้ไม่เกิน 20 แห่ง และสาขาอิเล็กทรอนิกส์ประเภทเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) นอกสถานที่ รวมทั้งหมดได้ไม่เกิน 20 แห่ง โดยมุ่งให้ระบบสถาบันการเงินมีระดับการแข่งขันที่เหมาะสมอันจะนํามาซึ่งการให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 15 พฤสจิกายน 2554 โดยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทยสามารถยื่นคําขอจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศได้โดยข้อ 4 ของประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวได้กําหนดให้การจัดตั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศกระทวงการคลังฉบับดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศไทย อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 มาตรา 37 มาตรา 71 และมาตรา 80(2Xก) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 อันประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งสาขาเพิ่มเติมและการประกอบกิจการสาขาที่จัดตั้งเพิ่มเติมของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 ในประกาศฉบับนี้ ให้คําว่า "สาขาทั่วไป " และ "สาขาอิเล็กทรอนิกส์ประเภทเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากถอนเงินอัตโนมัติ" มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 63/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาของธนาคารพาณิชย์และที่จะแก้ไขเพิ่มเติม 4.2 การขออนุญาตจัดตั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 4.2.1 ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 สามารถขออนุญาตจัดตั้งสาขาทั่วโปรวมทั้งหมดได้ไม่เกิน 20 แห่ง และสาขาอิเล็กทรอนิกส์ประเภทเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic TellerMachine : ATM) นอกสถานที่ รวมทั้งหมดได้ไม่เกิน 20 แห่ง โดยให้ยื่นคําขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 4.2.2 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 สามารถจัดตั้งสํานักงานสาขาได้จํานวนไม่เกิน 4 แห่งในสถานที่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอนุญาต อย่างไรก็ดีหากเลือกที่จะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็นผลให้มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่ต่ํากว่า 10,000 ล้านบาทภายในปี 2558 ก็ให้สามารถยื่นขออนุญาตจัดตั้งสาขาทั่วไปรวมทั้งหมดได้ไม่เกิน 20 แห่ง และสาขาอิเล็กทรอนิกส์ประเภทเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic TellerMachine : ATM) นอกสถานที่ รวมทั้งหมดได้ไม่เกิน 20 แห่ง เช่นเดียวกับกรณีตามข้อ 4.2.1ในการพิจารณาอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนําผลการประเมินคุณภาพการจัดการ การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น การมีอัตราส่วนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพต่อสินทรัพย์ทั้งสิ้น และการกันสํารอง มาพิจารณาประกอบ โดยนําข้อ 5.9 - 5.12 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 มาใช้โดยอนุโลม 4.3 ประเภทสาขาและการประกอบกิจการสาขา ให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 63/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์และที่จะแก้ไขเพิ่มเติมมาบังคับกับการประกอบกิจการสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 4.2 โดยอนุโลม อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,478
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคในศาลแพ่ง
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคในศาลแพ่ง ----------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลแพ่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคในศาลแพ่ง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้จัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคขึ้นในศาลแพ่ง โดยให้มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับคดีผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ดังต่อไปนี้ (1) คดีผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในเขตศาลแพ่ง (2) คดีผู้บริโภคที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อน และศาลแพ่งได้รับไว้พิจารณาพิพากษาตามมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ข้อ ๔ ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าเผนกคดีผู้บริโภคในศาลแพ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคนและให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านคดีผู้บริโภคจํานวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจําแผนก มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาพิพากษาคดีผู้บริโภคที่มีความสําคัญหรือที่อาจส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนช่วยเหลือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีผู้บริโภคในการประชุมและการบริหารงานของแผนกคดีผู้บริโภคให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราซการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาอื่นนอกจากวรรคหนึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีผู้บริโภคก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ หากองค์คณะผู้รับผิดชอบสํานวนเห็นว่ามีปัญหาสําคัญที่ควรขอความเห็นจากแผนกคดีผู้บริโภคก็ให้นําปัญหาดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมของแผนกคดีผู้บริโภค โดยให้องค์คณะผู้รับผิดชอบสํานวนนั้นเข้าร่วมเป็นองค์ประชุมในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวด้วย ข้อ ๕ แผนกคดีผู้บริโภคในศาลแพ่งจะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งรักษาการตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,479
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554 -------------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554 (รุ่นที่ 1/2 ปี/2554) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2 ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 เท่ากับร้อยละ 3.05 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,480
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง คุณสมบัติและวิธีการได้มาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2564
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง คุณสมบัติและวิธีการได้มาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ---------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศเกี่ยวกับคุณสมบัติและวิธีการได้มาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 148 และมาตรา 149 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ประกอบข้อ 25 ของระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรื่อง คุณสมบัติและวิธีการได้มาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2564” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การคัดเลือกบุคคลเพื่อดํารงตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ "คณะกรรมการสรรหา " หมายความว่า คณะกรรมการสรรหาบุคคลเพื่อดํารงตําแหน่งเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้อ ๕ เลขาธิการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามกรทุจริต และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. ข้อ ๖ นอกจากคุณสมบัติตามข้อ 5 แล้ว เลขาธิการต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของสํานักงาน ป.ป.ช. ดังต่อไปนี้ด้วย (1) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (2) ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (ก) อธิบดีหรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าอธิบดีตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ข) ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งดํารงตําแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือ ตําแหน่งอื่นที่เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ค) ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งดํารง ตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาล รวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (ง) ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํา กว่าอัยการจังหวัด รวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (จ) ข้าราชการตํารวจซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้บัญชาการและเป็นหัวหน้าส่วนราชการหรือ หน่วยงานระดับกองบัญชาการ มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ฉ) ข้าราชการทหารซึ่งดํารงตําแหน่งรองเจ้ากรมพระธรรมนูญ มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (3) มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการไต่สวนและวินิจฉัยคดี หรือกฎหมายหรือการตรวจสอบบัญชีและทรัพย์สิน หรือการป้องกันการทุจริต หรือการบริหารราชการแผ่นดินหรือการอื่นใดอันเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของสํานักงาน ป.ป.ช. อย่างหนึ่งอย่างใดมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี (4) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหาร ป.ป.ช. ระดับสูง ของสํานักงาน ป.ป.ช. หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าตามที่ กปปช. กําหนด (5) ผ่านการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหารของสํานักงาน ก.พ. หรือที่สํานักงาน ป.ป.ช. กําหนด ในกรณีที่บุคคลที่เข้ารับการสรรหายังไม่เคยผ่านการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหารตาม (5) ให้สํานักงาน ป.ป.ช. ดําเนินการให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการประเมินก่อนเข้าสู่กระบวนการสรรหา ข้อ ๗ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสรรหาบุคคลเพื่อดํารงตําแหน่งเลขาธิการ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กปปช. เป็นประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กปปช. จํานวนสองคน เป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกด้านการบริหารจํานวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกด้านกระบวนการยุติธรรม จํานวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ ผู้อํานวยการสํานักบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นเลขานุกร และให้ผู้อํานวยการสํานักบริหารทรัพยากรบุคคลมอบหมายข้าราชการของสํานักบริหารทรัพยากรบุคคล จํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กปปช. เป็นกรรมการสรรหาได้ครบตามจํานวนที่กําหนด ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกด้านการบริหารหรือด้านกระบวนการยุติธรรม เป็นกรรมการสรรหาให้ครบตามจํานวนที่กําหนด ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์การสรรหาบุคคลเพื่อดํารงตําแหน่งเลขาธิการ (2) ดําเนินการสรรหาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน (1) และดําเนินการอื่นใด เพื่อให้การสรรหา บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เห็นสมควร (3) แต่งตั้งคณะทํางานหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือคณะกรรมการสรรหาในการปฏิบัติหน้าที่ (4) ปฏิบัติการหรือดําเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายหรือมีมติ ข้อ ๙ ในกรณีที่เลขาธิการจะพ้นจากตําแหน่งตามวาระหรือพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ให้เริ่มดําเนินการสรรหาเลขาธิกรใหม่ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันก่อนวันที่เลขาธิการครบวาระหรือพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แต่ถ้าเลขาธิการพ้นจากตําแหน่งด้วยเหตุอื่นนอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระหรือพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ให้เริ่มดําเนินการสรรหาเลขาธิการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตําแหน่งว่างลง ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการสรรหาออกประกาศรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาเพื่อดํารงตําแหน่งเลขาธิการ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ซึ่งจะต้องกระทําโดยเปิดเผย โดยกําหนดรายละเอียดของตําแหน่ง หน้าที่และอํานาจ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วิธีการสมัคร หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา การประกาศผลการคัดเลือก และรายละเอียดอื่นใดตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการสรรหาและดําเนินการสรรหโดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญอันจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติงนของสํานักงาน ป.ป.ช. ความประพฤติ และประวัติการรับราชการโดยการประเมินจากเอกสารประกอบการสมัครและผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ การสัมภาษณ์การแสดงวิสัยทัศน์ หรือวิธีการอื่นใดตามที่เห็นสมควรประกอบด้วยก็ได้ กรณีที่คณะกรรมการสรรหามีเหตุผลความจําเป็นต้องใช้เอกสารหลักฐานหรือข้อมูลอื่นใดเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบกรดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงน ป.ป.ช. ดําเนินการจัดหาเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหาจํานวนไม่เกินสามรายพร้อมทั้งระบุเหตุผลและความเหมาะสมของผู้ที่ได้รับการสรรหาดังกล่าวต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่คณะกรรมการสรรหาได้ดําเนินการตามข้อ 11 แล้วเห็นว่าไม่มีผู้ใดสมควรได้รับการสรรหาให้รายงานต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และประกาศผลการสรรหาดังกล่าว แล้วจึงดําเนินการสรรหาใหม่ ข้อ ๑๓ ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาเลือกผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ จํานวนหนึ่งราย และเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยกับรายชื่อที่ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ ให้ประกาศผลการคัดเลือกบุคคลเพื่อดํารงตําแหน่งเลขาธิการให้ทราบทั่วกัน แล้วดําเนินการเพื่อบรรจุและแต่งตั้งตามขั้นตอนของกฎหมาย กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่ารายชื่อที่ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เสนอยังไม่สมควรได้รับการแต่งตั้ง ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาเลือกผู้ที่ได้รับการสรรหาจากรายชื่อที่เหลือ (ถ้ามี) ทีละรายสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจรณาให้ความเห็นชอบ หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นชอบด้วยให้ดําเนินการตามวรรคสอง กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณารายชื่อที่ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เสนอจากรายชื่อทั้งหมดแล้วเห็นว่ายังไม่มีผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้ง ให้ประกาศผลการคัดเลือกดังกล่าวและแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาใหม่ โดยอาจแต่งตั้งจากคณะกรรมการสรรหาคณะเดิมก็ได้ และให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาใหม่ผู้ซึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในครั้งนี้ จะเข้ารับการสรรหาในครั้งใหม่นี้ไม่ได้ ข้อ ๑๔ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามกรทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาด คําวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เป็นที่สุด ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
7,481
ประกาศรนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12/2554 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ
ประกาศรนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12 /2554 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ ---------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 กําหนดให้วันอังคารที่ 3 มกราคม 2555 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวและให้ประชาชนมีเวลาซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นสมควรกําหนดให้วันอังคารที่ 3 มกราคม 2555 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน เนื่องจากไม่ขัดต่อหลักประเพณีปฏิบัติและไม่น่าจะส่งผลกระทบในด้านลบต่อระบบสถาบันการเงินและภาคธุรกิจต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐอีกทางหนึ่งด้วย อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันีการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4.ข้อกําหนดวันหยุดทําการเป็นกรณีพิเศษ กําหนดให้วันอังคารที่ 3 มกราคม 2555 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเพิ่มเติมอีก 1 วัน อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2554 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,482
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กําหนดแบบสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี ---------------------------------- อื่นๆ - โดยที่ตามพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหันของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 กําหนดให้สัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรีต้องจัดทําตามแบบที่คณะกรรมการป.ป.ช. ประกาศกําหนด อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 (13) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงประกาศกําหนดแบบสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี ตามแบบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.
7,483
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง ตราสัญลักษณ์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ เรื่อง ตราสัญลักษณ์สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ --------------------------- อื่นๆ - โดยที่สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นองค์กรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 แต่ขณะนี้ยังไม่มีตราสัญลักษณ์ที่จะแสดงหรือสื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจถึงองค์กรนี้ได้ ในการนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงเห็นสมควรกําหนดตราสัญลักษณ์สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ขึ้นไว้ดังปรากฏตามภาพและรายการท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2543 โอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
7,484
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน – วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.13/14/54 | 95,000 | 16 กุมภาพันธ์ 2554 | 21/2/54 - 7/3/54 | 14 | | พ.14/14/54 | 80,000 | 17 กุมภาพันธ์ 2554 | 22/2/54 – 8/3/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,485
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2558 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หมวด - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.7/14/58 | 25,000 | 13 มีนาคม 2558 | 17/3/58 - 31/3/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,486
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2558 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.8/14/58 | 25,000 | 20 มีนาคม 2558 | 24/3/58 - 7/4/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม 2558 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,487
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2558 ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.9/10/58 | 25,000 | 27 มีนาคม 2558 | 31/3/58-10/4/58 | 10 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,488
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ------------------------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ในสภาวะปัจจุบันระบบสถาบันการเงินมีการแข่งขันสูง และธุรกรรมต่าง ๆ ได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว มีความซับซ้อนและความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินจึงจําเป็นจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมทั้งในด้านจริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและควบคุมการดําเนินงาน ตลอดจนการกํากับดูแลให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่กําหนดไว้ เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของสถาบันการเงินและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholders) ซึ่งเป็นพื้นฐานสําคัญของการมีธรรมาภิบาลที่ดีในระบบสถาบันการเงิน พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จึงกําหนดให้การแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเข้ารับตําแหน่ง และบุคคลดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตลอดระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน โดยกําหนดลักษณะต้องห้ามเพื่อมิให้อดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีอิทธิพลอันอาจแทรกแชงการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย จึงกําหนดห้ามผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยภายหลังจากการเกษียณอายุหรือลาออกยังไม่ครบ 1 ปี ในตําแหน่งผู้อํานวยการขึ้นไปในทุกส่วนงานและผู้บริหารส่วนในส่วนงานที่สามารถล่วงรู้ข้อมูลของกิจการสถาบันการเงิน ไปดํารงตําแหน่งดังกล่าวในสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับผู้กํากับดูแลอื่น ซึ่งโดยทั่วไปจะกําหนดข้อห้ามสําหรับอดีตพนักงานที่ดํารงตําแหน่งในระดับสูงเท่านั้นที่อาจมีอิทธิพลที่กล่าวได้ จึงเห็นสมควรทบทวนแก้ไขระดับตําแหน่งของอดีตพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่ห้ามไปดํารงตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินโดยเป็นข้อห้ามสําหรับอดีตพนักงานในระดับตําแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไปของส่วนงานต่าง ๆ หรือในตําแหน่งผู้อํานวยการอวุโสในสายงานที่มีอํานาจในการตัดสินใจกําหนดนโยบายกํากับดูแลหรือการกํากับตรวจสอบสถาบันการเงิน อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 (4) ถึงมาตรา 24 (6) มาตรา 24 (7) ข มาตรา 24 (8) ถึงมาตรา 24 (10) และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นตําแหน่งกรรมการของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทยไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 4.ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 อื่นๆ - 5.ประกาศที่อ้างอิง ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2552 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 6.เนื้อหา 6.1 ในประกาศฉบับนี้ 6.1.1 คําดังต่อไปนี้ให้ใช้นิยามตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (1) สถาบันการเงิน (2) บริษัท 6.1.2 "ผู้มีอํานาจในการจัดการ" หมายความว่า (1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินหรือบริษัท แล้วแต่กรณี หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัททําสัญญาให้มีอํานาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการหรือกรรมการ หรือการจัดการของสถาบันการเงินหรือบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของสถาบันการเงินหรือบริษัท 6.1.3 "กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" หมายความว่า (1) กรรมการที่ทําหน้าที่บริหารงานในตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) กรรมการที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการหรือมีส่วนร่วมในการบริหารงานใด ๆ เยี่ยงผู้บริหาร และให้หมายความรวมถึงบุคคลในคณะกรรมการบริหาร (Executive committee) (3) กรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพัน เว้นแต่เป็นการลงนามผูกพันตามรายการที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติไว้แล้วเป็นรายกรณี และเป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น 6.1.4 "ที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน" หมายความว่า บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่อาจทําหน้าที่เปรียบเสมือนกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เพียงใช้ชื่อว่าเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น รวมไปถึงบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว แต่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่รวมถึงบุคคลที่รับจ้างทํางานให้แก่สถาบันการเงิน โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชี ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาด้านภาษี ที่ปรึกษาด้านภาษา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กร ที่ปรึกษาด้านประกันภัย ที่ปรึกษาด้านแบบจําลองเชิงปริมาณขั้นสูง เป็นต้น 6.1.5 "กลุ่มธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม และที่แก้ไขเพิ่มเติม 6.2 คุณสมบัติของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินต้องมีคุณสมบัติและความสามารถที่เหมาะสม (Fit and Proper) โดยต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) ถึงมาตรา 24 (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (เอกสารแนบ 1) และลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมใน 3 ด้านหลัก ดังต่อไปนี้ 6.2.1 ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง (Honesty. Integrity and Reputation) กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวกับประเด็นความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง ดังต่อไปนี้ (1) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สั่งถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจใน การจัดการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน หรือบริษัทหลักทรัพย์ใดมาก่อน เว้นแต่จะพ้นระยะเวลาที่กําหนดห้ามดํารงตําแหน่งดังกล่าวแล้ว หรือได้รับการยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี (2) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานของรัฐทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่กํากับและควบคุมสถาบันการเงิน กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกําลังถูกดําเนินคดี ในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของสถาบันการเงินและหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่น ๆ เวันแต่ปรากฎว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด (3) เคยถูกหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากที่ระบุใน (2) กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกําลังถูกดําเนินคดี ในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริตทางการเงินเว้นแต่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด (4) มีหรือเคยมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือการดําเนินกิจการใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือประซาชน (5) มีหรือเคยมีประวัติส่วนตัวหรือพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนให้เกิดการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (6) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉล หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนให้เกิดการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น ซึ่งรวมถึงการเลือกปฏิบัติ หรือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใดอันอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (conftict of interest) (7) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลหรือการปฏิบัติงานที่พึงกระทําตามสมควรเยี่ยงกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ซึ่งทําให้สถาบันการเงินฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ คู่มือการปฏิบัติงานภายใน ตลอดจนมติของคณะกรรมการ หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพิจารณาสินเชื่อการตัดสินใจลงทุน หรือดําเนินการอื่นใด อันเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงินหรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินอย่างมีนัยสําคัญ หรือเกิดความเสียหายต่อลูกค้าของธุรกิจสถาบันการเงิน เช่น ทําให้การดํารงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ต่ํากว่าที่กฎหมายกําหนด หรือทําให้ไม่สามารถดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามที่กฎหมายกําหนด เป็นต้น 6.2.2 ด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ (Competence. Capability and Experiences) กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่จําเป็นและเหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบในระดับที่ผู้ประกอบวิชาชีพการเงินการธนาคารพึงมี และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต นอกเหนือจากตําแหน่งที่ระบุไว้ตามมาตรา 24 (8) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ให้รวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยรัฐมนตรี ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 (2) เป็นผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ครบ1 ปี ในตําแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไปหรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของส่วนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานใด หรือในตําแหน่งผู้อํานวยการอาวุโสหรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสายงานที่มีอํานาจในการตัดสินใจกําหนดนโยบายกํากับดูแลหรือการกํากับตรวจสอบสถาบันการเงิน (3) มีหรือเคยมีการทํางานที่แสดงถึงการขาดมาตรฐานทางบัญชี มาตรฐานการบริหารความเสี่ยง หรือมาตรฐานทางวิชาชีพอื่น ๆ ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งกําหนดโดยหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานกําหนดมาตรฐานอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริง การจงใจหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลในประเด็นอันเป็นสาระสําคัญ การถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นต้น 6.2.3 ด้านสถานะทางการเงิน (Financial Soundness) กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสถานะทางการเงิน กล่าวคือ บุคคลดังกล่าวจะต้องไม่มีปัญหาในการชําระเงินต้น หรือดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ให้สินเชื่อหรือเข้าข่ายจัดชั้นเป็นลูกหนี้ชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน ชั้นสงสัย ชั้นสงสัยจะสูญ หรือสูญ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 6.3 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 สถาบันการเงินต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งบุคคลใหม่หรือแต่งตั้งบุคคลเดิมให้ดํารงตําแหน่งต่อไป โดยมีขั้นตอนดังนี้ 6.3.1 สถาบันการเงินต้องตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลที่จะเสนอชื่อให้ดํารงตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน เพื่อให้แนใจว่าไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) - (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมใน 3 ด้านหลัก ตามข้อ 6.2 ในประกาศฉบับนี้ 6.3.2 ให้สถาบันการเงินมีหนังสือขอความเห็นชอบพร้อมเอกสารประกอบตามเอกสารแนบ 2 ส่งให้ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งนี้ หากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีหนังสือแจ้งทักท้วง หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับหนังสือขอความเห็นชอบและเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนั้นแล้ว ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องไม่เปิดเผยรายชื่อของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดํารงตําแหน่งต่อสาธารณชนก่อนได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ สําหรับกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในปัจจุบันหรือได้รับความเห็นชอบก่อนประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปได้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องแน่ใจว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) - (9) แห่งพระราขบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ในตลอดระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่ง แต่เมื่อหมดวาระลงและจะดํารงตําแหน่งต่อไปอีก ก็ให้ขอความเห็นชอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามประกาศฉบับนี้ อนึ่ง หากสถาบันการเงินไม่แน่ใจเกี่ยวกับตําแหน่งที่ต้องขอความเห็นชอบก่อนการแต่งตั้ง ก็สามารถหารือกับธนาดารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีได้ 6.4 ปัจฉัยประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) - (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่กําหนดเพิ่มเติมตามประกาศฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม กรณีที่บุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (4) ถึงมาตรา 24 (6) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ซึ่งให้อํานาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการพิจารณายกเว้นได้ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6.2.1 (1) ถึง (7) ข้อ 6.2.2 (3) และข้อ 6.2.3 ของประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจนําปัจจัยอื่นมาประกอบการพิจารณาตามเหตุผลและความจําเป็นในแต่ละกรณี โดยปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณามีดังต่อไปนี้ 6.4. 1 ลักษณะต้องห้ามนั้น มิได้ร้ายแรง หรือมีได้ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินถึงขั้นไม่สมควรได้รับความเห็นชอบ 6.4.2 ระยะเวลาที่ล่วงเลยมานับจากการมีลักษณะต้องห้ามนั้นต้องไม่น้อยกว่า 10 ปี 6.4.3 ลักษณะต้องห้ามนั้น มิได้มีผลกระทบต่อหน้าที่และความรับผิดชอบตามตําแหน่งที่ขอความเห็นชอบ 6.4.4 ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล หรือนัยสําคัญของหลักฐานหรือเหตุการณ์ตลอดจนผลการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีอํานาจตามกฎหมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 6.4.5 ไม่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลที่ดีของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) หรือไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น 6.5 ข้อยกเว้นเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (7) (ข) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดข้อยกเว้นเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (7) (ข) ดังนี้ 6.5.1 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้น และเป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเดียวกันกับสถาบันการเงิน สามารถเป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินนั้นได้ 6.5.2 โดยที่มีกรณีเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งที่สถาบันการเงินมีความจําเป็นจะต้องส่งกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินของตนเข้าไปกํากับดูแลบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงสมควรอนุญาต ให้สถาบันการเงินสามารถส่งกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ ไปเป็นผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการ ค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้นและเป็นบริษัทที่อยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินได้ หรืออีกนัยหนึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงิน ที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากสถาบันการเงิน สามารถเป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินนั้นได้ เพราะเหตุแห่งความจําเป็นที่จะต้องกํากับดูแลลูกหนี้ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น 6.6 การเพิกถอนการให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบแล้วในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลซึ่งได้รับความเห็นซอบไปแล้ว มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) ถึงมาตรา 24 (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 หรือลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมใน 3 ด้านหลัก ตามข้อ 6.2 ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเพิกถอนการให้ความเห็นชอบการดํารงตําแหน่งของบุคคลดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ 6.7 การแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 81 (2) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ในกรณีที่กรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ลาออก เสียชีวิต หรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในตําแหน่งงานระดับเดียวกัน สถาบันการเงินต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นหนังสือให้สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ตามแบบรายงานการเปลี่ยนแปลง (เอกสารแนบ 3) นอกจากนี้ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สัมพันธ์สถาบันการเงิน (CPC) ของแต่ละสถาบันการเงินทาง E-mail ด้วย อื่นๆ - 7.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2554 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,489
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 --------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ.2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 14/91/58 | - | 32,000 | 7 เม.ย. 58 | 9 เม.ย. 58 | 9 ก.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 14/182/58 | - | 30,000 | 7 เม.ย. 58 | 9 เม.ย. 58 | 8 ต.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/364/58 | - | 45,000 | 7 เม.ย. 58 | 9 เม.ย. 58 | 7 เม.ย. 59 | 364 วัน | 364 วัน | | 15/91/58 | - | 32,000 | 9 เม.ย. 58 | 16 เม.ย. 58 | 16 ก.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 15/182/58 | - | 30,000 | 9 เม.ย. 58 | 16 เม.ย. 58 | 15 ต.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2ปี/2558 | 2.05 | 35,000 | 16 เม.ย. 58 | 20 เม.ย. 58 | 23 ก.พ. 60 | 2 ปี | 1.85 ปี | | 16/91/58 | - | 32,000 | 21 เม.ย. 58 | 23 เม.ย. 58 | 23 ก.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 16/182/58 | - | 30,000 | 21 เม.ย. 58 | 23 เม.ย. 58 | 22 ต.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR – 0.1 (เท่ากับ 2.07500 สําหรับงวดเริ่มต้น วันที่ 17 ก.พ. 58) | 10,000 | 24 เม.ย. 58 | 28 เม.ย. 58 | 17 ก.พ. 61 | 3 ปี | 2.81 ปี | | 17/92/58 | - | 32,000 | 28 เม.ย. 58 | 30 เม.ย. 58 | 31 ก.ค. 58 | 92 วัน | 92 วัน | | 17/182/58 | - | 32,000 | 28 เม.ย. 58 | 30 เม.ย. 58 | 29 ต.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันที่ 22 เมษายน 2558 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,490
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2558 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.10/14/58 | 30,000 | 2 เมษายน 2558 | 7/4/58 - 21/4/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน 2558 (นางจันทวรรณ สุจรีตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,491
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2558 อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.11/15/58 | 35,000 | 17 เมษายน 2558 | 21/4/58 - 6/5/58 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,492
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 18/91/58 | - | 32,000 | 30 เม.ย. 58 | 7 พ.ค. 58 | 6 ส.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 18/182/58 | - | 32,000 | 30 เม.ย. 58 | 7 พ.ค. 58 | 5 พ.ย. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/364/58 | - | 45,000 | 30 เม.ย. 58 | 7 พ.ค. 58 | 7 เม.ย. 59 | 364 วัน | 364 วัน | | 19/91/58 | - | 32,000 | 12 พ.ค. 58 | 14 พ.ค. 58 | 13 ส.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 19/182/58 | - | 32,000 | 12 พ.ค. 58 | 14 พ.ค. 58 | 12 พ.ย. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 20/91/58 | - | 32,000 | 19 พ.ค. 58 | 21 พ.ค. 58 | 20 ส.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 20/182/58 | - | 32,000 | 19 พ.ค. 58 | 21 พ.ค. 58 | 19 พ.ย. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2558 | 2.20 | 30,000 | 21 พ.ค. 58 | 25 พ.ค. 58 | 26 ม.ค. 61 | 3 ปี | 2.68 ปี | | 21/91/58 | - | 32,000 | 26 พ.ค. 58 | 28 พ.ค. 58 | 27 ส.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 21/182/58 | - | 32,000 | 26 พ.ค. 58 | 28 พ.ค. 58 | 26 พ.ย. 58 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,493
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2558 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21 /2558 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 24 เมษายน 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ในวันที่ 24 เมษายน 2558 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 22 เมษายน 2558 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.80250 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.91917 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม -
7,494
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13. /2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554 -------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554 (รุ่นที่ 1/4 ปี/2554) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/4 ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เท่ากับร้อยละ 3.50 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,495
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 -------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.15/14/54 | 90,000 | 24 กุมภาพันธ์ 2554 | 28/2/54 14/3/54 | 14 | | พ.16/14/54 | 80,000 | 25 กุมภาพันธ์ 2554 | 1/3/54 – 15/3/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 (นางอัจนา ไวความดี) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,496
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ------------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 9/28/54 | - | 25,000 | 1 มี.ค. 54 | 3 มี.ค. 54 | 31 มี.ค. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 9/91/54 | - | 20,000 | 1 มี.ค. 54 | 3 มี.ค. 54 | 2 มิ.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 9/182/54 | - | 12,000 | 1 มี.ค. 54 | 3 มี.ค. 54 | 1 ก.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/364/54 | - | 40,000 | 1 มี.ค. 54 | 3 มี.ค. 54 | 2 ก.พ. 55 | 364 วัน | 336 วัน | | 10/28/54 | - | 25,000 | 8 มี.ค. 54 | 10 มี.ค. 54 | 7 เม.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 10/91/54 | - | 20,000 | 8 มี.ค. 54 | 10 มี.ค. 54 | 9 มิ.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 10/182/54 | - | 12,000 | 8 มี.ค. 54 | 10 มี.ค. 54 | 8 ก.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 11/32/54 | - | 25,000 | 15 มี.ค. 54 | 17 มี.ค. 54 | 18 เม.ย. 54 | 32 วัน | 32 วัน | | 11/91/54 | - | 20,000 | 15 มี.ค. 54 | 17 มี.ค. 54 | 16 มิ.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 11/182/54 | - | 12,000 | 15 มี.ค. 54 | 17 มี.ค. 54 | 15 ก.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB2ปี/54 | 3M BIBOR – 0.20 | 15,000 | 18 มี.ค. 54 | 22 มี.ค. 54 | 22 มี.ค. 56 | 2 ปี | 2 ปี | | 12/28/54 | - | 25,000 | 22 มี.ค. 54 | 24 มี.ค. 54 | 21 เม.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 12/91/54 | - | 20,000 | 22 มี.ค. 54 | 24 มี.ค. 54 | 23 มิ.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 12/182/54 | - | 12,000 | 22 มี.ค. 54 | 24 มี.ค. 54 | 22 ก.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 13/28/54 | - | 25,000 | 29 มี.ค. 54 | 31 มี.ค. 54 | 28 เม.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 13/91/54 | - | 20,000 | 29 มี.ค. 54 | 31 มี.ค. 54 | 30 มิ.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 13/182/54 | - | 12,000 | 29 มี.ค. 54 | 31 มี.ค. 54 | 29 ก.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2554 | จะกําหนดและประกาศวันที่ 25 มีนาคม 2554 | 40,000 | 29 มี.ค. 54 | 31 มี.ค. 54 | 31 มี.ค. 57 | 3 ปี | 3 ปี | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่1/ERB2ปี/2554 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 4 งวด | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 22 มีนาคม, 22 มิถุนายน, 22 กันยายน, และ 22 ธันวาคม ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 22 มิถุนายน 2554 | | อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ 22 มีนาคม 2554 | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2554 | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ยงวดต่อๆ ไป | 2 วันทําการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 22 มีนาคม 2556 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่1/3ปี/2554 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันพุธที่ 25 มีนาคม 2554 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 31 มีนาคม และ 30 กันยายน ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 30 กันยายน 2554 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 31 มีนาคม 2557 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,497
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2558 ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.12/14/58 | 35,000 | 24 เมษายน 2558 | 28/4/58 - 12/5/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,498
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2558 ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.13/14/58 | 40,000 | 8 พฤษภาคม 2558 | 12/5/58 - 26/5/58 | 14 | หมวด ๑ 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,499
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 23/2558 เรื่อง การจัดทำและการเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 23 / 2558 เรื่อง การจัดทําและการเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ด้วยเหตุที่รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินนั้นเป็นหนึ่งในข้อมูลสําคัญที่แสดงให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย และการให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้งบการเงิน เช่น การให้ข้อมูลแก่นักลงทุน ผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อประกอบการตัดสินใจทําธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์นั้น 1 ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่แก่กลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพหรือมีฐานะกิจการที่มั่นคงต้องดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (capital add-on) เพื่อรองรับส่วนที่ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ และต้องเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนและอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนหลังหักเงินกองทุนส่วนเพิ่มดังกล่าวไว้ในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ (ธ.พ. 1.1 และ ธ.พ. 1.2) ตามที่กําหนดไว้ในแนวทางการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่แก่กลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพหรือมีฐานะกิจการที่มั่นคงสําหรับธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งได้มีการพิจารณาปรับปรุงคําอธิบายความหมายของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน โดยกําหนดประเภทของคู่สัญญาภายใต้รายการดังกล่าวให้มีความชัดเจนมากขึ้นเพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินและกลุ่มภาคธุรกิจจริง (real sector) สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงรูปแบบรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน และคําอธิบายความหมายของรายการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่กล่าวข้างต้น เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้รูปแบบรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 มาตรา 39(5) และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศฉบับนี้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 13/2553 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 การจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือนให้ครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง และเป็นไปตามแบบและคําอธิบายความหมายของรายการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามแนบ ดังนี้ (1) ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ ธ.พ. 1.1 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 1 โดยรวมสินทรัพย์และหนี้สินของทุกสํานักงาน (2) ให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ ธ.พ. 1.2 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ในการจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงจากคําอธิบายรายการ และอ้างอิงรายการของชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Dataset) ในระบบ DMS ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3 และ 4 ตามลําดับ 5.2 การกําหนดจํานวนหน่วยในการจัดทํารายการ ให้ธนาคารพาณิชย์แสดงรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน เป็นหน่วยของหลักพันบาท (ไม่ต้องมีทศนิยม) 5.3 การเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่รับรองความถูกต้องและลงนามอย่างน้อย 2 คน ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ และผู้อํานวยการฝ่ายบัญชี หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าในทํานองเดียวกันที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยให้แสดงชื่อและชื่อสกุลในเครื่องหมายวงเล็บ พร้อมด้วยตําแหน่งใต้ลายมือชื่อ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นที่มีอํานาจลงนามแทน ให้ระบุคําว่า "แทน" หน้าตําแหน่งนั้นด้วย ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าว ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ดังนี้ (1) ให้ประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์นั้นทุกแห่ง (2) ให้ประกาศลงในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ สําหรับรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเฉพาะรายไตรมาส และให้จัดส่งเอกสารหลักฐานว่าได้ประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าวในหนังสือพิมพ์แล้ว ให้ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในเดือนที่ประกาศด้วย (3) ให้เผยแพร่รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินใน website ของธนาคารพาณิชย์นั้น 5.4 การจัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน 5.4.1 ให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามรูปแบบการจัดส่งดังนี้ (1) รูปแบบ Excel File ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยให้ส่งผ่านช่องทางการรับส่งข้อมูลของระบบ DMS Data Acquisition ทาง Extranet () หัวข้อ Summit File เลือกรายการ "Summary Statement of Assets and Liabilities" ภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ หากวันที่ครบกําหนดส่งตรงกับวันหยุด ให้ส่งข้อมูลภายในวันทําการถัดจากวันหยุดดังกล่าว แต่ก่อนหน้าวันเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามข้อ 5.3 (2) รูปแบบเอกสาร โดยให้ส่งเอกสารต้นฉบับที่มีการลงนามตามข้อ 5.3 จํานวน 1 ชุดพร้อมสําเนา 1 ชุด ต่อสํานักสถิติ ฝ่ายสถิติและข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ หากวันที่ครบกําหนดส่งตรงกับวันหยุด ให้ส่งข้อมูลภายในวันทําการถัดจากวันหยุดดังกล่าว 5.4.2 ให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินในรูปแบบเอกสารจํานวน 1 ชุดต่อสํานักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สํานักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลัง ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ หากวันครบกําหนดส่งตรงกับวันหยุด ให้ส่งข้อมูลภายในวันทําการถัดจากวันหยุดดังกล่าว 5.5 การปรับปรุงข้อมูลในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน 5.5.1 ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ซึ่งทําให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการปรับปรุงรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยตามข้อ 5.3 หรือจัดส่งตามข้อ 5.4 แล้วให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่ได้ปรับปรุงต่อสํานักสถิติ ฝ่ายสถิติและข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสํานักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พร้อมทั้งประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานทุกแห่ง และเผยแพรใน website ของธนาคารพาณิชย์นั้น ทั้งนี้ ให้ระบุข้อความ "ฉบับปรับปรุง" ไว้ตรงกลางด้านบนสุดของรายการย่อฉบับที่แก้ไขด้วย 5.5.2 ในกรณีที่ข้อมูลในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้ธนาคารพาณิชย์ระบุข้อความว่า "รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินนี้ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต" ในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินนี้ด้วย ทั้งนี้ รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่เปิดเผยและจัดส่งตามข้อ 5.3 ข้อ 5.4 และข้อ 5.5 ต้องเป็นรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย เว้นแต่กรณีการประกาศลงในหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามารถเลือกจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเป็นภาษาอังกฤษได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน ให้ถือปฏิบัติสําหรับการจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่มีรอบระยะเวลาจัดทําสิ้นสุดหลังวันที่ประกาศฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2558 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,500
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2558 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.14/14/58 | 35,000 | 15 พฤษภาคม 2558 | 19/5/58 - 2/6/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,501
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 15/2554 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนาม ในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 15 /2554 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม ในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 3.เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางวันทนา เฮงสกุล 2. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์ 3. นายยรรยง ดํารงศิริ 4. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล 5. นางสมศรี สมัตาดล 6. นางศศิวิมล นิลโกสิตย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2554 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,502
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554 ---------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.17/14/54 | 95,000 | 3 มีนาคม 2554 | 7/3/54 – 21/3/54 | 14 | | พ.18/14/54 | 85,000 | 4 มีนาคม 2554 | 8/3/54 – 22/3/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,503
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 16/2554 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนาม ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 16 /2554 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย -------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 3.เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางวันทนา เฮงสกุล 2. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์ 3. นายยรรยง ดํารงศิริ 4. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล 5. นางสมศรี สมัตาดล 6. นางศศิวิมล นิลโกสิตย์ 7. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ 8. นายบุญชัย กาญจนพิมาย 9. นายภูวดล เหล่าแก้ว 10. นายอนันต์ อิงวิยะ 11. นายพิชิต ภัทรวิมลพร 12. นายธเนศชัย อังวราวงศ์ 13. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 14. นายชัซวาลย์ ตียะพาณิชย์ 15. นางสุภาวดี ปุณศรี 16. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร 17. นางศรีสกุล รังสิกุล 18. นายวีระยุทธ์ เลิศพูนวีไลกุล อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2554 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,504
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554 ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.19/14/54 | 95,000 | 10 มีนาคม 2554 | 14/3/54 – 28/3/54 | 14 | | พ.20/14/54 | 95,000 | 11 มีนาคม 2554 | 15/3/54 – 29/3/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ
7,505
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2558 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26 /2558 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2558 ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เท่ากับร้อยละ 1.57833 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,506
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2553 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 16 มีนาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18 /2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2553 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 16 มีนาคม 2554 -------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2553 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 16 มีนาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2553 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 16 มีนาคม 2554 เท่ากับร้อยละ 2.57125 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 14 มีนาคม 2554 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,507
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2558 ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.5/14/58 | 45,000 | 22 พฤษภาคม 2558 | 26/5/58 - 9/6/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,508
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19 /2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2554 --------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2554 เท่ากับร้อยละ 2.585 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 15 มีนาคม 2554 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,509
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554 ---------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.21/14/54 | 95,000 | 17 มีนาคม 2554 | 21/3/54 – 4/4/54 | 14 | | พ.22/14/54 | 85,000 | 18 มีนาคม 2554 | 22/3/54 – 5/4/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรื่องวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,510
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 28/2558 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 28 /2558 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/ FRB 3 ปี/2556 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 เท่ากับร้อยละ 1.57333 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,511
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 22 มีนาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21 /2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 22 มีนาคม 2554 ----------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 22 มีนาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราตอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 22 มีนาคม 2554 เท่ากับร้อยละ 2.45875 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 16 มีนาคม 2554 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,512
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2558 ----------------------------------------- อื่นๆ - อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.16/14/58 | 25,000 | 28 พฤษภาคม 2558 | 2/6/58 - 16/6/58 | 14 | หมวด ๑ 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,513
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 22/91/58 | - | 28,000 | 2 มิ.ย. 58 | 4 มิ.ย. 58 | 3 ก.ย. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 22/182/58 | - | 28,000 | 2 มิ.ย. 58 | 4 มิ.ย. 58 | 3 ธ.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/364/58 | - | 35,000 | 2 มิ.ย. 58 | 4 มิ.ย. 58 | 7 เม.ย. 59 | 364 วัน | 364 วัน | | 23/91/58 | - | 28,000 | 9 มิ.ย. 58 | 11 มิ.ย. 58 | 10 ก.ย. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 23/183/58 | - | 28,000 | 9 มิ.ย. 58 | 11 มิ.ย. 58 | 11 ธ.ค. 58 | 183 วัน | 183 วัน | | 1/2ปี/2558 | 2.05 | 25,000 | 11 มิ.ย. 58 | 15 มิ.ย. 58 | 23 ก.พ. 60 | 2 ปี | 1.70 ปี | | 24/91/58 | - | 28,000 | 16 มิ.ย. 58 | 18 มิ.ย. 58 | 17 ก.ย. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 24/182/58 | - | 28,000 | 16 มิ.ย. 58 | 18 มิ.ย. 58 | 17 ธ.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR -0.1 (เท่ากับ 1.57833 สําหรับงวดเริ่มต้น วันที่ 17 พ.ค. 58) | 10,000 | 19 มิ.ย. 58 | 23 มิ.ย. 58 | 17 ก.พ. 60 | 3 ปี | 2.66 ปี | | 25/91/58 | - | 28,000 | 23 มิ.ย. 58 | 25 มิ.ย. 58 | 24 ก.ย. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 25/182/58 | - | 28,000 | 23 มิ.ย. 58 | 25 มิ.ย. 58 | 24 ธ.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน | | 26/91/58 | - | 28,000 | 29 มิ.ย. 58 | 2 ก.ค. 58 | 1 ต.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 26/181/58 | - | 28,000 | 29 มิ.ย. 58 | 2 ก.ค. 58 | 30 ธ.ค. 58 | 181 วัน | 181 วัน | | 3/364/58 | - | 35,000 | 29 มิ.ย. 58 | 2 ก.ค. 58 | 30 มิ.ย. 59 | 364 วัน | 364 วัน | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันที่ 17 มิถุนายน 2558 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,514
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554 ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.23/14/54 | 90,000 | 24 มีนาคม 2554 | 28/3/54 – 11/4/54 | 14 | | พ.24/14/54 | 90,000 | 25 มีนาคา 2554 | 29/3/54 – 12/4/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,515
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2558 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.17/14/58 | 35,000 | 5 มิถุนายน 2558 | 9/6/58 - 23/6/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,516
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนมีนาคม ปี 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23 /2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมีนาคม ปี 2554 ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมีนาคม ปี 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมีนาคม ปี 2554 (รุ่นที่ 1/3 ปี/2554) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 25 มีนาคม 2554 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/3 ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 29 มีนาคม 2554 เท่ากับร้อยละ 3.20 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,517
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2558 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.18/14/58 | 30,000 | 12 มิถุนายน 2558 | 16/6/58 - 30/6/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2558 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,518
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2554 ----------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.25/14/54 | 85,000 | 31 มีนาคม 2554 | 4/4/54 – 18/4/54 | 14 | | พ.26/14/54 | 75,000 | 1 เมษายน 2554 | 5/4/54 – 19/4/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,519
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2558 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.19/14/58 | 35,000 | 19 มิถุนายน 2558 | 23/6/58 - 7/7/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,520
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2558 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34 /2558 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 19 มิถุนายน 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ในวันที่ 19 มิถุนายน 2558 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 17 มิถุนายน 2558 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.61083 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.6600 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,521
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 14/29/54 | - | 25,000 | 4 เม.ย.54 | 7 เม.ย. 54 | 6 พ.ค. 54 | 29 วัน | 29 วัน | | 14/91/54 | - | 22,000 | 4 เม.ย.54 | 7 เม.ย. 54 | 7 ก.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 14/182/54 | - | 12,000 | 4 เม.ย.54 | 7 เม.ย. 54 | 6 ต.ค. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2ปี/2554 | 3.05% | 30,000 | 4 เม.ย.54 | 7 เม.ย. 54 | 17 ก.พ. 54 | 2 ปี | 1.87 ปี | | 15/24/54 | - | 23,000 | 11 เม.ย. 54 | 18 เม.ย. 54 | 12 พ.ค. 54 | 24 วัน | 24 วัน | | 15/87/54 | - | 20,000 | 11 เม.ย. 54 | 18 เม.ย. 54 | 14 ก.ค. 54 | 87 วัน | 87 วัน | | 15/178/54 | - | 10,000 | 11 เม.ย. 54 | 18 เม.ย. 54 | 13 ต.ค. 54 | 178 วัน | 178 วัน | | 16/28/54 | - | 23,000 | 19 เม.ย. 54 | 21 เม.ย. 54 | 19 พ.ค. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 16/91/54 | - | 20,000 | 19 เม.ย. 54 | 21 เม.ย. 54 | 21 ก.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 16/182/54 | - | 10,000 | 19 เม.ย. 54 | 21 เม.ย. 54 | 20 ต.ค. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 17/28/54 | - | 28,000 | 26 เม.ย. 54 | 28 เม.ย. 54 | 26 พ.ค. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 17/91/54 | - | 22,000 | 26 เม.ย. 54 | 28 เม.ย. 54 | 28 ก.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 17/182/54 | - | 15,000 | 26 เม.ย. 54 | 28 เม.ย. 54 | 27 ต.ค. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 3/364/54 | - | 30,000 | 26 เม.ย. 54 | 28 เม.ย. 54 | 26 เม.ย. 54 | 364 วัน | 364 วัน | | 1/FRB3ปี/2554 | 6M BIBOR – 0.20(= 2.34016% สําหรับงวดเริ่มต้น 15 ก.พ. 54) | 10,000 | 28 เม.ย. 54 | 3 พ.ค. 54 | 15 ก.พ. 57 | 3 ปี | 2.79 ปี | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2554 ธปท. จะประกาศกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันอังคารที่ 26 เมษายน 2554 อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,522
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2558 ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.20/14/58 | 35,000 | 26 มิถุนายน 2558 | 30/6/58 - 14/7/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,523
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2554 ------------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.27/14/54 | 90,000 | 7 เมษายน 2554 | 11/4/54 – 25/4/54 | 14 | | พ.28/14/54 | 90,000 | 8 เมษายน 2554 | 12/4/54 – 26/4/54 | 14 | | พ.29/15/54 | 85,000 | 11 เมษายน 2554 | 18/4/54 – 3/5/54 | 15 | | พ.30/15/54 | 75,000 | 12 เมษายน 2554 | 19/4/54 -4/5/54 | 15 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,524
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2554 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.31/14/54 | 85,000 | 21 เมษายน 2554 | 25/4/54 – 9/5/54 | 14 | | พ.32/14/54 | 85,000 | 22 เมษายน 2554 | 26/4/54 – 10/5/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,525
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 27/91/58 | - | 35,000 | 7 ก.ค. 58 | 9 ก.ค. 58 | 8 ต.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 27/182/58 | - | 35,000 | 7 ก.ค. 58 | 9 ก.ค. 58 | 7 ม.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 28/91/58 | - | 35,000 | 14 ก.ค. 58 | 16 ก.ค. 58 | 15 ต.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 28/182/58 | - | 35,000 | 14 ก.ค. 58 | 16 ก.ค. 58 | 14 ม.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/3ปี/2558 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 14 ก.ค.58 | 40,000 | 16 ก.ค. 58 | 20 ก.ค. 58 | 20 ก.ค. 58 | 3 ปี | 3 ปี | | 29/91/58 | - | 35,000 | 21 ก.ค. 58 | 23 ก.ค. 58 | 22 ต.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 29/182/58 | - | 35,000 | 21 ก.ค. 58 | 23 ก.ค. 58 | 21 ม.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 30/90/58 | - | 35,000 | 28 ก.ค. 58 | 31 ก.ค. 58 | 29 ต.ค. 58 | 90 วัน | 90 วัน | | 30/181/58 | - | 35,000 | 28 ก.ค. 58 | 31 ก.ค. 58 | 28 ม.ค. 59 | 181 วัน | 181 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/3ปี/2558 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวัน 14 กรกฎาคม 2558 | | การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่าๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 20 มกราคม และ 20 กรกฎาคม ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 20 มกราคม 2559 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,526
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 28/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 28 /2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 28 เมษายน 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน เมษายน พ.ศ. 2554 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 ในวันที่ 28 เมษายน2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 26 เมษายน 2554 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 2.90435 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 3.00000 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,527
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.21/14/58 | 35,000 | 3 กรกฎาคม 2558 | 7/7/58 - 21/7/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,528
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 18/27/54 | - | 25,000 | 3 พ.ค. 54 | 6 พ.ค. 54 | 2 มิ.ย. 54 | 27 วัน | 27 วัน | | 18/90/54 | - | 22,000 | 3 พ.ค. 54 | 6 พ.ค. 54 | 4 ส.ค. 54 | 90 วัน | 90 วัน | | 18/181/54 | - | 15,000 | 3 พ.ค. 54 | 6 พ.ค. 54 | 3 พ.ย. 54 | 181 วัน | 181 วัน | | 4/363/54 | - | 35,000 | 3 พ.ค. 54 | 6 พ.ค. 54 | 3 พ.ค. 54 | 363 วัน | 363 วัน | | 19/28/54 | - | 25,000 | 10 พ.ค. 54 | 12 พ.ค. 54 | 9 มิ.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 19/91/54 | - | 22,000 | 10 พ.ค. 54 | 12 พ.ค. 54 | 11 ส.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 19/182/54 | - | 15,000 | 10 พ.ค. 54 | 12 พ.ค. 54 | 10 พ.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/3ปี/2554 | จํากําหนดและประกาศวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 | 25,000 | 10 พ.ค. 54 | 12 พ.ค. 54 | 12 พ.ค. 54 | 3 ปี | 3 ปี | | 20/28/54 | - | 25,000 | 13 พ.ค. 54 | 19 พ.ค. 54 | 16 มิ.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 20/91/54 | - | 22,000 | 13 พ.ค. 54 | 19 พ.ค. 54 | 18 ส.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 20/182/54 | - | 15,000 | 13 พ.ค. 54 | 19 พ.ค. 54 | 17 พ.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 1/4ปี/2554 | 3.50% | 12,000 | 13 พ.ค. 54 | 19 พ.ค. 54 | 24 ก.พ. 58 | 4 ปี | 3.77 ปี | | 21/28/54 | - | 25,000 | 24 พ.ค. 54 | 26 พ.ค. 54 | 23 มิ.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 21/91/54 | - | 22,000 | 24 พ.ค. 54 | 26 พ.ค. 54 | 25 ส.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 21/182/54 | - | 15,000 | 24 พ.ค. 54 | 26 พ.ค. 54 | 24 พ.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB2ปี/2554 | 3M BIBOR – 0.20(= 2.45875% สําหรับงวดเริ่มต้น 22 มี.ค. 54) | 10,000 | 27 พ.ค. 54 | 31 พ.ค. 54 | 22 มี.ค. 54 | 2 ปี | 1.81 ปี | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่2/3ปี/2554 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2554 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 12 พฤษภาคม และ 12 พฤศจิกายน ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 12 พฤษภาคม 2557 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB2ปี/2554 ธปท. จะประกาศกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2554 อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,529
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38/2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.22/14/58 | 30,000 | 10 กรกฎาคม 2558 | 14/7/58 - 28/7/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2558 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,530
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2554 ------------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.33/15/54 | 85,000 | 28 เมษายน 2554 | 3/5/54 – 18/5/54 | 15 | | พ.34/15/54 | 75,000 | 29 เมษายน 2554 | 4/5/54 – 19/5/54 | 15 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,531
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 40/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 40/2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.23/14/58 | 35,000 | 17 กรกฎาคม 2558 | 21/7/58 - 4/8/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,532
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2554 -------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัหิตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.35/14/54 | 85,000 | 4 พฤษภาคม 2554 | 9/5/54 – 23/5/54 | 14 | | พ.36/14/54 | 85,000 | 6 พฤษภาคม 2554 | 10/5/54 – 24/5/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,533
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 41/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 41 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 -------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.24/14/58 | 40,000 | 24 กรกฎาคม 2558 | 28/7/58 - 11/8/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,534
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32/2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 -------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 3 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 (รุ่นที่ 2/3 ปี/2554) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/3 ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 เท่ากับร้อยละ 3.33 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2554 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ
7,535
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 42/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 42 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 31/91/58 | - | 32,000 | 4 ส.ค. 58 | 6 ส.ค. 58 | 5 พ.ย. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 31/182/58 | - | 32,000 | 4 ส.ค. 58 | 6 ส.ค. 58 | 4 ก.พ. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 32/91/58 | - | 32,000 | 10 ส.ค. 58 | 13 ส.ค. 58 | 12 พ.ย. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 32/182/58 | - | 32,000 | 10 ส.ค. 58 | 13 ส.ค. 58 | 11 ก.พ. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/364/58 | | 30,000 | 10 ส.ค. 58 | 13 ส.ค. 58 | 30 มิ.ย. 59 | 364 วัน | 322 วัน | | 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR -0.1 (สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 ส.ค. 58 จะประกาศในวันที่ 13 ส.ค. 58) | 10,000 | 14 ส.ค. 58 | 18 ส.ค. 58 | 17 ก.พ. 61 | 3 ปี | 2.5 ปี | | 33/91/58 | - | 32,000 | 18 ส.ค. 58 | 20 ส.ค. 58 | 19 พ.ย. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 33/182/58 | - | 32,000 | 18 ส.ค. 58 | 20 ส.ค. 58 | 18 ก.พ. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2558 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 18 ส.ค. 58 | 30,000 | 20 ส.ค. 58 | 24 ส.ค. 58 | 24 ส.ค. 60 | 2 ปี | 2 ปี | | 34/91/58 | - | 32,000 | 25 ส.ค. 58 | 27 ส.ค. 58 | 26 พ.ย. 58 | 91 วัน | 91 วัน | | 34/182/58 | - | 32,000 | 25 ส.ค. 58 | 27 ส.ค. 58 | 25 ก.พ. 59 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่2/2ปี/2558 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2558 | | การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่าๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 24 กุมภาพันธ์ และ 24 สิงหาคม ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 24 สิงหาคม 2560 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2558 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,536
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2554 ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.41/14/54 | 60,000 | 26 พฤษภาคม 2554 | 30/5/54 – 13/6/54 | 14 | | พ.42/14/54 | 50,000 | 27 พฤษภาคม 2554 | 31/5/54 – 14/6/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,537
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 43/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 43/2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.25/14/58 | 35,000 | 31 กรกฎาคม 2558 | 4/8/58 - 18/8/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,538
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2554 ------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.37/12/54 | 85,000 | 12 พฤษภาคม 2554 | 18/5/54 – 30/5/54 | 12 | | พ.38/12/54 | 75,000 | 13 พฤษภาคม 2554 | 19/5/54 – 31/5/54 | 12 | | พ.39/14/54 | 85,000 | 19 พฤษภาคม 2554 | 23/5/54 – 6/6/54 | 14 | | พ.40/14/54 | 80,000 | 20 พฤษภาคม 2554 | 24/5/54 – 7/6/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,539
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35 /2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราตอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราตอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรตังกล่าวในวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 2.84097 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 3.06750 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,540
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา -------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ "คดีค้ามนุษย์ " หมายความว่า คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ไม่ว่าจะมีข้อหาความผิดตามกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงกรณีที่มีการขอให้ศาลดําเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ข้อ ๔ ให้ขัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาโดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาพิพากษาคดีค้ามนุษย์ที่อยู่ในเขตอํานาจและที่โอนมาตามกฎหมาย (2) ดําเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ข้อ ๕ ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคนและให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านคดีค้ามนุษย์จํานวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจําแผนกคดีค้ามนุษย์ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในแผนกคดีค้ามนุษย์พิจารณาพิพากษาคดีอื่นใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ข้อ ๖ แผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาจะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๗ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,541
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ------------------------------ อื่นๆ - ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบความถูกต้องและมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว ตามมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 35 มาตรา 36 และมาตรา 37 นั้น บัดนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ทําการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินกรณีเข้ารับตําแหน่งกับกรณีพ้นจากตําแหน่ง ตามบัญชีและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้ ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองแล้วเสร็จ จํานวน 167 ราย ฉะนั้น เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามความในมาตรา 36 และมาตรา 37 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอรายงานผลการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ดังต่อไปนี้ ผลการตรวจสอบไม่ปรากฏว่า ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติแต่อย่างใด จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกัน 1. นายศิริ กุลเจริญ นายกเทศมนตรีตําบลสําโรงใต้ และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 2. นายรุ่งโรจน์ เทศดนตรี เทศมนตรีตําบลสําโรงใต้ และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 3. นายสรรเกียรติ กุลเจริญ เทศมนตรีตําบลสําโรงใต้ และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 4. นางฉลองรัฐ เล็กมณี สมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 5. นายสําเนาว์ ช้างมาศ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 6. นายเอนก แป้นเหมือน สมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 7. นายเชวง สุอังควาทิน สมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 8. นางพัก กุลเจริญ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 9. นายมรกต กุลเจริญ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 10. นายสมยศ ศรีโสภาเจริญรัตน์ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 11. นางเพ็ญศรี กันภัย สมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 12. นางสุภา เม่นมิ่ง สมาชิกสภาเทศบาลตําบลสําโรงใต้ 13. นายอนุกูล วินิจวลัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 14. นายวัลลภ สุประดิษฐกุล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 15. นายสมเกียรติ เจิมศักดิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 16. นายสุวัฒน์ ตระกูลโรจน์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 17. นายกิติพงษ์ นามวงศ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 18. นายจิตติ วันไชยธนวงศ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 19. นายเฉลิม เจริญชัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 20. นายดํารงศักดิ์ ขวัญชัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 21. นายธรรมสิทธิ์ วันไชยธนวงศ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 22. นายธีรพงษ์ เผ่ากา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 23. นายธันยพงศ์ คีรีแสนใจ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 24. นายประสิทธิ์ กาใจทราย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 25. นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 26. นายแพทย์วิชัย ทวีปวรเดช สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 27. นายวัชรศักดิ์ เจียมวิจักษณ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 28. นายสนั่น ขันทะวงค์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 29. นายสุธีระพงษ์ วันไชยธนวงศ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย 30. นายอาคม พรหมสาขา ณ สกลนคร นายกเทศมนตรีเมืองสกลนครและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 31. นายวิชัย ชัดเชื้อ เทศมนตรีเมืองสกลนคร ครั้งที่ 1 เทศมนตรีเมืองสกลนคร ครั้งที่ 2 และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 32. นายกําจร พีระธรรม เทศมนตรีเมืองสกลนคร ครั้งที่ 1 เทศมนตรีเมืองสกลนคร ครั้งที่ 2 ละสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 33. นายวัชระ ตรีสวัสดิชัย เทศมนตรีเมืองสกลนคร ครั้งที่ 1 เทศมนตรีเมืองสกลนคร ครั้งที่ 2 และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 34. นายนคร กองทรัพย์ เทศมนตรีเมืองสกลนคร และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 35. นายไพจิตร กุลตั้งวัฒนา เทศมนตรีเมืองสกลนคร และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 36. นางเอมอร บุญคง สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 37. นายดิลก อัคราช สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 38. นายสงวน กัลปเสนา สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 39. นางสมลักษณ์ นวลมณี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 40. นายโกมุท ทีฆธนานนท์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 41. นายภาณุพล วงศ์กาฬสินธุ์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 42. นายจักรวรรดิ์ ตงศิริ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 43. นายวิสุทธิ์ คําคลี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร 44. นายสุรินทร์ รัตนประภานันท์ นายกเทศมนตรีเมืองบางบัวทอง และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 45. นายสุริยัน บุญยมโนบุกุล เทศมนตรีเมืองบางบัวทอง และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 46. นางสมศรี เกิดแสง เทศมนตรีเมืองบางบัวทอง และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 47. นายวีรพล สุชัยพร เทศมนตรีเมืองบางบัวทอง และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 48. นายมนัส ตั้งชั้ว สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 49. นายวัฒนา วัฒนมะโน สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 50. นายสุรพงษ์ วัชรวิทยากร สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 51. นายทรงกช ช้อยจินดา สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 52. นายอาคม เผือกหอม สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 53. นายสมพล วัฒโน สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 54. นายเทพชัย ประมาณพาณิชย์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 55. นางเครือพันธ์ ปั่นแก้ว สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 56. นางสาวแสงเดือน ราบเรียบ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 57. นายสําเนียง พวงแก้ว สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 58. นายสมศักดิ์ สมหวัง สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 59. นายบุญรอด หนุนทอง สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 60. นายชูศักดิ์ เวียสุวรรณ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 61. นายธนธร นนทพิมลชัย สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง 62. นางบังอร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 63. นายไพรัตน์ มณีเสวตร์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 64. นายเสถียร แก้วไทรเลิศ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 65. นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 66. นายวิวัฒน์ จันทร์สิวานนท์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 67. นายสวัสดิ์ โพลอย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 68. นางแน่งน้อย แสงอุไร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 69. นายสมชาย วิจารณ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 70. นายวิรัตน์ ตั้งพัฒนานนท์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 71. นายประเชิญ สมโภช สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 72. นายสมพงษ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 73. นางปทุมรัตน์ เลิศมณี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 74. นายสุเทพ จํานงค์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 75. นายสุรเดช จิรัฐติเจริญ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 76. นางกนกวรรณ ศรีจันทร์งาม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 77. นางประกายแก้ว รัตนนาคะ นายกเทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 78. นายแก้ว สมจิตรานุกิจ นายกเทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ เทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 79. นายชัชพล นุชผ่องใส เทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 1 เทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 2 และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 80. นายพรชัย เอื้อประเสริฐ เทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 1 เทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 2 และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 81. นายสมพงษ์ ไกรสรไขศรี เทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 82. นายกุหลาบ มั่นเข็มทอง สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 83. พันตรี เสมอ เอี่ยมสมร สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 84. นายอุทัย อิศราภรณ์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 85. นายพนัส ใจภักดี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 86. นายดุษฎี จินดากุล สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 87. จ่าสิบเอก สําเริง เลี้ยงเชื้อ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 88. นางวนิดา สายทวี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 89. นายสมเกียรติ เล็กอุทัย สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 90. นายชัยณรงค์ สวัสดีนฤนาท นายกเทศมนตรีเมืองปากพนัง และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 91. นายก้อง ภู่ศิริ เทศมนตรีเมืองปากพนัง และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 92. ร้อยตํารวจตรี ธนิต นุ่มน้อย เทศมนตรีเมืองปากพนัง และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 93. นายฉลาด วรรธนะพิศิษฐ์ เทศมนตรีเมืองปากพนัง และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 94. นายวีระ โชติช่วง สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 95. นายเกรียงศักดิ์ ลักษณา สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 96. นายภิรมย์ พรหมมานนท์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 97. นายดํารงค์ โยธารักษ์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 98. นายนนทิวรรธน์ นนทภักดิ์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 99. นายพลเดช ลมัยพันธ์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 100. นายสุรินทร์ เย็นรักษา สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 101. นายเฉลียว ไสยรัตน์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 102. นายจรุง เลาหวณิช สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 103. นายเสวก สิงคบุรี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 104. นายทวีศักดิ์ สุขยืน สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 105. นายพีรพงศ์ ปรีชานนท์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 106. ดาบตํารวจ สุชาติ ศักดิ์ณรงค์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองปากพนัง 107. นายคมกฤษณ์ ลิ้มปัญญาเลิศ นายกเทศมนตรีตําบลปากช่อง สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 108. นายธเนศ พาหิระ เทศมนตรีตําบลปากช่อง และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 109. นายศุภชัย วัฒนศิริพงษ์ เทศมนตรีตําบลปากช่อง และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 110. นายกังวาน บรรณาภูมิ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 111. นายอรุณศักดิ์ รัตนะคุณชัย สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 112. นายชนะศักดิ์ อุ่นเมตตาอารี สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 113. นายไชยวุฒิ วีระพงษ์สุชาติ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 114. นายชลพรรษ เมธาวัฒนานันท์ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 115. นายสุวัฒน์ กังวานรัตนกุล สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 116. นายพิชัย สุวรรณาภิรมย์ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลปากช่อง 117. นายเดชา กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรีตําบลประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 118. นายไพโรจน์ อินทร์เนื่อง เทศมนตรีตําบลประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 119. นายวีรพงษ์ พิทักษ์ไพบูลย์กิจ เทศมนตรีตําบลประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 120. นายสุนทร แต้เจริญ เทศมนตรีตําบลประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 121. นายสมพร จิวะอิสสระ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 122. นายเยี่ยม เทพธัญญะ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 123. นายลี พลับลับโพธิ์ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 124. นายเฉลิม ปั้นงาม สมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 125. นายสมพิศ ศรีเพ็ชร์ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 126. นางเกณิกา สุวรรณเทพ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 127. นายเหมืองทอง กลิ่นกุสุม สมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 128. นายสมศักดิ์ เดชสมบุญ สมาชิกสภาเทศบาลตําบลประชาธิปัตย์ 129. นางจิรดา สงฆ์ประชา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาทและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 130. นายมงคล ครุธพันธ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 131. นายภราดา อาสาสรรพกิจ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 132. นายศักดิ์สิทธิ์ สงฆ์ประชา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 133. นายสุชัย เมฆพัฒนาภิญโญ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 134. นางฉลอม สงล่า สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 135. นายประเวศ จารุพันธ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 136. นายปิยะ ทองวัฒนา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 137. นายโพธิ์ มูลศิริ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 138. นายวิเชียร สุคนธ์ขจร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 139. นายวิชาญ วงษ์พานิช สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 140. นางสาวน้ําอ้อย เจริญยศ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 141. นายวิเชียร สุขสันต์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 142. นายกิติศักดิ์ วิมลอนุพงษ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 143. นางสาวศิริวรรณ สุนทรสาธิต สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 144. นางทิวา เลิศสุวรรณสิทธิ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 145. นายประเสริฐ ชัยอํานาจ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 146. นายสมชาย โรจน์วิบูลย์ชัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 147. นายทรงพล แสงสว่าง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 148. นายมานพ สุธีรชูเกียรติ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 149 นายประสิทธิ์ จิตรจุน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท 150. นายเฉลิม วงษ์ไพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี 151. นายอรรถพล วงษ์ประยูร รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี 152. นางธัญลักษณ์ อมาตยกุล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี 153. นางสาววรรณภา โพธิ์ศรี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี 154. นายดําริ เพ็งภาค สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี 155. นายจเร ตันฑ์พรชัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี 156. นายวสุ บูรณศักดิ์ศรี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี 157. นายเทอดพงษ์ เสริฐธิกุล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี (ตาย) 158. นายอดิสัณห์ ชัยวิวัฒน์พงศ์ เทศมนตรีนครหาดใหญ่ และสมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ 159. นายชนะ มหาศรี เทศมนตรีนครหาดใหญ่ และสมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ 160. นายประเสริฐ หมิดปน สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ 161. นางเสริมศิริ ผสมพงษ์ สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ 162. นายวิชิต คงสุจริต สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ 163. นายพิพัฒน์ เจือละออง สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ 164. นายจํานง มหิตพงษ์ สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ 165. นายวีระชัย สุวรรณวงศ์ สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ 166. นายอนงค์ แก้วจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ 167. นายเนิ่น ไชยบัญดิษฐ์ สมาชิกสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.
7,542
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36/2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 22/28/54 | - | 20,000 | 31 พ.ค. 54 | 2 มิ.ย. 54 | 30 มิ.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 22/91/54 | - | 20,000 | 31 พ.ค. 54 | 2 มิ.ย. 54 | 1 ก.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 22/182/54 | - | 18,000 | 31 พ.ค. 54 | 2 มิ.ย. 54 | 1 ธ.ค. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 23/28/54 | - | 20,000 | 7 มิ.ย. 54 | 9 มิ.ย. 54 | 7 ก.ค. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 23/91/54 | - | 20,000 | 7 มิ.ย. 54 | 9 มิ.ย. 54 | 8 ก.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 23/182/54 | - | 18,000 | 7 มิ.ย. 54 | 9 มิ.ย. 54 | 8 ธ.ค. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 1/FRB3ปี/2554 | 6M BIBOR – 0.20 (= 2.34016% สําหรับงวดเริ่มต้น 15 ก.พ. 54) | 15,000 | 10 มิ.ย. 54 | 14 มิ.ย. 54 | 15 ก.พ. 54 | 3 ปี | 2.68 ปี | | 24/28/54 | - | 20,000 | 14 มิ.ย. 54 | 16 มิ.ย. 54 | 14 ก.ค. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 24/91/54 | - | 20,000 | 14 มิ.ย. 54 | 16 มิ.ย. 54 | 15 ก.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 24/182/54 | - | 18,000 | 14 มิ.ย. 54 | 16 มิ.ย. 54 | 15 ธ.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 4/363/54 | - | 40,000 | 14 มิ.ย. 54 | 16 มิ.ย. 54 | 3 พ.ค. 54 | 363 วัน | 322 วัน | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 25/28/54 | - | 20,000 | 21 มิ.ย. 54 | 23 มิ.ย. 54 | 21 ก.ค. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 25/91/54 | - | 20,00 | 21 มิ.ย. 54 | 23 มิ.ย. 54 | 22 ก.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 25/182/54 | - | 18,000 | 21 มิ.ย. 54 | 23 มิ.ย. 54 | 22 ธ.ค. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 26/28/54 | - | 20,000 | 28 มิ.ย. 54 | 30 มิ.ย. 54 | 28 ก.ค. 54 | 28 วัน | 28 วัน | | 26/91/54 | - | 20,000 | 28 มิ.ย. 54 | 30 มิ.ย. 54 | 29 ก.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน | | 26/182/54 | - | 18,000 | 28 มิ.ย. 54 | 30 มิ.ย. 54 | 29 ธ.ค. 54 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2ปี/2554 | 3.05% | 30,000 | 28 มิ.ย. 54 | 30 มิ.ย. 54 | 17 ก.พ. 56 | 2 ปี | 1.64 ปี | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2554 ธปท. จะประกาศกําหนดอัตราดอกเบี้ย ในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2554 อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,543
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 44/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 44 /2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2558 ----------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.26/14/58 | 40,000 | 7 สิงหาคม 2558 | 11/8/58 - 25/8/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,544
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37/2554 เรื่อง อัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาเพื่อใช้สำหรับช่วงวันชำระเงิน ถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) ของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37 /2554 เรื่อง อัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงิน ถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) ของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 ------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวรุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.แก้ไข ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 35/2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 อื่นๆ - 4.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยขอแก้ไขอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 35/2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 เป็นร้อยละ 2.85245 ต่อปี อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,545
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2554 ----------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.43/14/54 | 70,000 | 2 มิถุนายน 2554 | 6/6/54 – 20/6/54 | 14 | | พ.44/14/54 | 60,000 | 3 มิถุนายน 2554 | 7/6/54 – 21/6/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,546
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญา
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญา ---------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญา” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ "คดียาเสพติด " หมายความว่า คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติด ข้อ ๔ ให้จัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญาโดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาพิพากษาคดียาเสพติดที่อยู่ในเขตอํานาจและที่โอนมาตามกฎหมาย (2) ดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับคดียาเสพติดที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของศาลอาญา ข้อ ๕ ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคนและให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านคดียาเสพติดจํานวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจําแผนกคดียาเสพติด ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในแผนกคดียาเสพติดพิจารณาพิพากษาคดีอื่นใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ข้อ ๖ แผนกคดียาเสพติดในศาลอาญาจะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๗ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,547
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 45/2558เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 45/2558 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 14 สิงหาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 ในวันที่ 14 สิงหาคม 2558 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 11 สิงหาคม 2558 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว เพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.62639 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.62750 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,548
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 39/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 39 /2554 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2554 ---------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งบระเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.45/14/54 | 60,000 | 9 มิถุนายน 2554 | 13/6/54 – 27/6/54 | 14 | | พ.46/14/54 | 50,000 | 10 มิถุนายน 2554 | 14/6/54 – 28/6/54 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,549
ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ------------------------------- อื่นๆ - ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบความถูกต้องและมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวตามมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 35 มาตรา 36 และมาตรา 37 นั้น บัดนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ทําการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตําแหน่งกับกรณีพ้นจากตําแหน่ง ตามบัญชีและเอกสารประกอบที่ได้ยื่นไว้ของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองแล้วเสร็จ จํานวน 117 ราย ฉะนั้น เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามความในมาตรา 36 และมาตรา 37 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอรายงานผลการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ดังต่อไปนี้ 1. นายทรงยศ เทียนทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 2. นายวันชัย นารีรักษ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 3. นายเทียบ จารนัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 4. นายนิวัฒน์ วงษ์พานิช สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 5. นายนายวุฒิกร สุวิทยพันธุ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 6. นายโชธร นวมมณีรัตน์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 7. นายประเสริฐ โสตถิพัฒนพงศ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 8. นายบัณฑิต วีระกุล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 9. นายบรรจง ปลาทอง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 10. นายสุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 11. นายสมหวัง วุฒิรัตน์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 12. นายวุฒิพงษ์ ตัญศิริ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 13. นายธานินทร์ ศุภศักดิ์มนตรี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 14. นายสํารวย เชื้อวงษ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 15. นายไหล พงษ์สมร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 16. นายมนตรี มโนสุดประเสริฐ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 17. นายสุทธิ ศรีหทัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 18. นายก่อเกียรติ คติกําจร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 19. นายวุฒิ อัศวนิโครธร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 20. นายประพาฬ จารศังข์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 21. นายสนิท นวลละออ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 22. นายสิทธิชัย ฮอเจริญชัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 23. นายวรพร อัศวเหม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 24. นายธนพัต ปองทิพย์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 25. นายอํานวย รัศมิทัต สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 26. นายเชษฐ ชุมทอง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 27. นายกริช ไกรศรี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 28. นายสามารถ เขตเผชิญไชย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 29. นายไพรัช ช้อยบําเพ็ญ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 30. พันจ่าเอก สินชัย พูนจําเนิน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 31. นายมนัสชัย ลิขิตวานิช สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 32. นายสม อิ่มละเอียด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 33. นายมาโนช มหาสุวีระชัย นายกเทศมนตรีเมืองศรีสะเกษ เทศมนตรีเมืองศรีสะเกษ และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 34. นายนพดล จันทร์พวง นายกเทศมนตรีเมืองศรีสะเกษ เทศมนตรีเมืองศรีสะเกษ และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 35. นางลลิตา นวเลิศปรีชา สมาชิกสภาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 36. นายสุรพงษ์ พัวไพศาล สมาชิกสภาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 37. นายวันดี แซ่จึง สมาชิกสภาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 38. ว่าที่ร้อยตรี เกียรติศักดิ์ จรรยาสุทธิวงศ์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 39. นายชาดา ไทยเศรษฐ นายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 40. นายนิกร กล้าวิกย์กิจ นายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี เทศมนตรีเมืองอุทัยธานี และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 41. นายสมบูรณ์ ตรุณาวงษานนท์ เทศมนตรีเมืองอุทัยธานี ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 42. นายอมรเทพ กอบกัยกิจ เทศมนตรีเมืองอุทัยธานี และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 43. นางกนกวรรณ มิตรกิจการค้า เทศมนตรีเมืองอุทัยธานี และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 44. นางสาวกัญชดา บุศยารัศมี เทศมนตรีเมืองอุทัยธานี และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 45. นายเกษม แผ่วัฒนากุล สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 46. นายวิชัย วิจิตรชํานาญ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 47. นายประกอบ คงเขียว สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 48. นายสิน ทองเปรม สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 49. นายจํารัส บางสมบุญ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 50. นายสําเริง จรบุรี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 51. นายวศิน สวนศิลป์พงศ์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 52. นายประชุม มุ่งการ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 53. นายพิพัฒน์ สัมพันธ์อภัย สมาชิกสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี 54. นายพิศิษฐ์ ปิติพัฒน์ นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครพนม 55. นายกิจจา พลหนองหลวง เทศมนตรีเมืองนครพนม และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครพนม 56. นางวาณี กุลสิงห์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครพนม 57. นายสุรพร คําละคร สมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครพนม 58. นายพงษ์ศักดิ์ อนนตะชัย สมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครพนม 59. นายประมูล สุวรรณศรี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครพนม 60. นายไพฑูย์ โพธิ์ทอง นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร 61. นายพันธ์ศักดิ์ คําแก้ว สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 62. นายอาคม แก้วมูลคํา สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 63. นายจรูญ รัตนสถิตย์ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 64. นายสมเพชร ชมภูศรี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 65. นายสมยศ โพธิ์ทอง สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 66. นายจุติพงษ์ ไชยเชียงของ สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 67. นายสถาพร ว่องสัธนพงษ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 68. นายวัชรินทร์ เอี่ยมรัศมีกุล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 69. นางนันทพร สิริปัญจโชติ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 70. นายเสน่ห์ แก้วมาลัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลําปาง 71. นายพนัส เครือนวล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลําปาง 72. นายวัฒนา สิทธิวัง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลําปาง 73. นายภาณุพันธ์ เชาว์น้อย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลําปาง 74. นายกิติชัย ไชยเอีย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 75. นายสมพร หัตถปนิตย์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 76. นายสมชัย คงวัฒนานนท์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 77. นายธนพนธ์ ฉายากุล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 78. นายบวรธรรม ไชยเอีย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 79. นางสมใจ ประกอบใส สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 80. นายสุมล มานะศรี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 81. นางสาววิลัดดา อินฉัตร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 82. นายสุนทร จําเนียรศิลป์ นายกเทศมนตรีตําบลบ้านสวน 83. นายไพฑูรย์ พงษ์ประดิษฐ์ เทศมนตรีตําบลบ้านสวน 84. นายประเสริฐ ค่ายทอง นายกเทศมนตรีตําบลคลองหลวง และสมาชิกสภาเทศบาลตําบลคลองหลวง 85. นายบุญลือ ฉัตรเท สมาชิกสภาเทศบาลตําบลคลองหลวง 86. นายสมเกียรติ ชะยันโต สมาชิกสภาเทศบาลตําบลคลองหลวง 87. นายจํารัส รอดเนตร สมาชิกสภาเทศบาลตําบลคลองหลวง 88. นายบุญปลูก ใจแคล้ว สมาชิกสภาเทศบาลตําบลคลองหลวง 89. นายสินชัย สาระศาลิน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 90. นายวิศิษฐ์ เลาหะกาญจนศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 91. นายชูชาติ เสือส่าน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 92. นายไตรรงค์ จีนาภักดิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 93. นายสมาน สุ่มเมา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 94. นายสุวรรณ พูลทรัพย์เจริญ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 95. นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 96. ดาบตํารวจ เสรีย์ ศรีสวัสดิ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 97. นายวีระชน จาวรุ่งฤทธิ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 98. ดาบตํารวจ ภากร (วิจารณ์) เสริมสุข สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 99. นายนภา ประเสริฐลาภ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 100. นายสุธี นภาพร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ 101. นายเพลิน สุขขํา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ 102. นายอุปถัมภ์ อินสุธา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ 103. นายประเทือง วรรธนะพงษ์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ 104. นายชาตรี อยู่ประเสริฐ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 ครั้ง ที่ 2 และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 105. นายสมชาย ศิลาเจริญธนกิจ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 106. นายจรัล คงธารา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 107. นายสมชัย นันทาภิรัตน์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 108. นายสมเด็จ ดํารงวัฒนปัญญา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 109. นายพงศกร เกษสุขมาโนช สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง 110. นายไพโรจน์ แก้วประดับ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง 111. นายสุรินทร์ เปาอินทร์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง 112. นายวิชัย ล้ําสุทธิ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง 113. นายอาทร สุวรรณโชติ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง 114. นายดนัย นาคบุรินทร์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 115. นายมนูญ บังเกิด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 116. นายพิชัย ตาลอ่อน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 117. นายยม ศรีเมือง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ผลการตรวจสอบไม่ปรากฏว่า ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติแต่อย่างใด จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.
7,550
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 46/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 46/2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2558 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2558 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.27/14/58 | 40,000 | 14 สิงหาคม 2558 | 18/8/58 - 1/9/58 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2558 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
7,551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 40/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 40/2554 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 ----------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 10 มิถุนายน 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2554 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 ในวันที่ 10 มิถุนายน2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 8 มิถุนายน 2554 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราตอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 3.10000 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 3.27875 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2554 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
7,552
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การเปิดทำการศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การเปิดทําการศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย ----------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคสองและวรรคสี่ แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้เปิดทําการศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การเปิดทําการศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เปิดทําการศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย ที่อําเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ข้อ ๔ ให้ศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย มีอํานาจรับคดีแพ่งของศาลจังหวัดพิษณุโลกซึ่งเกิดในเขตท้องที่อําเภอชาติตระการและอําเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ดังต่อไปนี้ ไว้พิจารณาพิพากษา (1) คดีที่จําเลยมีภูมิลําเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าว (2) คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตท้องที่ดังกล่าว (3) คดีร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งเจ้ามรดกมีภูมิลําเนาหรือทรัพย์มรดกอยู่ในเขตท้องที่ดังกล่าว ข้อ ๕ ให้ศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย กําหนดหมายเลขคดี จัดทําสารบบความสารบบคําพิพากษา ตลอดจนระบบงานด้านธุรการอื่น สําหรับคดีที่ได้รับไว้ตามข้อ 4 แยกต่างหากจากศาลจังหวัดพิษณุโลก ข้อ ๖ คดีตามข้อ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลจังหวัดพิษณุโลกในวันเปิดทําการศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย ให้คงพิจารณาต่อไปที่ศาลจังหวัดพิษณุโลก เว้นแต่เพื่อความสะดวกของคู่ความทุกฝ่าย ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพิษณุโลกจะมีคําสั่งให้โอนคดีนั้นไปพิจารณาต่อที่ศาลจังหวัดพิษณุโลก สาขานครไทย ก็ได้ ข้อ ๗ ให้เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมรักษาการตามประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559 วีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
7,553