title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 95/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 95/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.120/14/51 | 60,000 | 2 ธันวาคม 2551 | 4/12/51 – 18/12/51 | 14 |
| พ.121/14/51 | 60,000 | 3 ธันวาคม 2551 | 8/12/51 – 22/12/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,056 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 95/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำสำหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 95/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการไม่ต่ํากว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศฉบับนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ประเมินระดับเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่เหมาะสมกับความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ ระดับความเสี่ยงรวมทั้งระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของตนเอง โดยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อ้างอิงแนวทางจากส่วนหนึ่งของ The First Pillar - Minimum Capital Requirements ใน International Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive version: June 2006) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS)
เมื่อธนาคารพาณิชย์คํานวณได้มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการแล้วธนาคารพาณิชย์จะต้องนํามูลค่าดังกล่าวไปคํานวณรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต เพื่อประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ต่อไป
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และ มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนด
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
หนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(22)ว.421/2549 เรื่อง นําส่งร่างหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนตาม Basel II หลักการที่ 1 เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Final Draft) ลงวันที่ 27 มีนาคม 2549
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk)" หมายความว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการควบคุมภายใน บุคลากรและระบบงานของธนาคารพาณิชย์ หรือจากเหตุการณ์ภายนอกธนาคารพาณิชย์ รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมาย (เช่น ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ถูกดําเนินคดีตามกฎหมาย หรือถูกทางการเปรียบเทียบปรับ รวมทั้งความเสี่ยงจากความเสียหายที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล เป็นต้น) แต่ไม่รวมความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk) และด้านชื่อเสียง (Reputational risk)
"รายได้จากการดําเนินงาน (Gross income)" หมายความว่า รายได้ที่เกิดจากการดําเนินธุรกิจตามปกติของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 1)
"ยอดคงค้าง" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อรวมดอกเบี้ยค้างรับ และมูลค่าตามบัญชี (Book value) ของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร(ไม่รวมรายการนอกงบดุล) ก่อนหักเงินสํารองที่กันไว้ ยกเว้นกรณียอดคงค้างที่กันสํารองไว้เต็มจํานวนแล้ว ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นําเงินสํารองที่กันไว้ดังกล่าวมาหักจากยอดคงค้างได้ การคํานวณยอดคงค้างในแต่ละปี ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ค่าเฉลี่ยของยอดคงค้างสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือน จํานวน 2 งวด
"ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ" หมายความว่าค่าที่ใช้ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ทั้งนี้ ค่าฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการไม่เท่ากับเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นค่าที่คํานวณจากอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่ร้อยละ 8 ซึ่งต่างจากอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับธนาคารพาณิชย์แต่ละประเภทแตกต่างกัน
"มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ" หมายความว่า ค่าระบุระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อใช้ในการคํานวณรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดเพื่อหาเงินกองทุนขั้นต่ําที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องดํารงตามกฎหมาย ทั้งนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการไม่ได้เกิดจากสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์เหมือนความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านตลาด จึงไม่มีสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่แท้จริง แต่เป็นเพียงมูลค่าเทียบเท่าเท่านั้น
5.2 หลักการ
หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศฉบับนี้กําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการไว้สองทางเลือกคือ Basic Indicator Approach (วิธี BIA) และ Standardised Approach (วิธี SA-OR) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาจากความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ ระดับความเสี่ยง รวมทั้งระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของตนเองโดยทั้งสองวิธีข้างต้นใช้รายได้จากการดําเนินงานเป็นค่าตัวแทน (Proxy) ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์ที่มีรายได้จากการดําเนินงานสูงจะมีความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอยู่ในระดับสูง ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์จะมีมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการสูงและจะต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงปฏิบัติการในระดับที่สูงเช่นเดียวกัน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้มีทางเลือกภายใต้วิธี SA-OR คือ Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ซึ่งอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้ยอดคงค้างเป็น Proxy ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจ Commercial banking และ Retail banking แทนการใช้รายได้จากการดําเนินงาน เนื่องจากยอดคงค้างอาจจะเป็น Proxy ที่ดีกว่ารายได้จากการดําเนินงานในสายธุรกิจดังกล่าว
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในข้อ 5.6 ด้วย
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง
5.3.1 ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) Basic Indicator Approach (วิธี BIA) ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.4
(2) Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative StandardisedApproach (วิธี ASA) ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.5
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สอดคล้องกับลักษณะและความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจโดยธนาคารแห่งประเทศไทยคาดหวังให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีการทําธุรกิจเต็มรูปแบบ' เลือกใช้วิธี SA-0R เป็นมาตรฐานขั้นต่ํา ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยซึ่งมีขอบเขตการประกอบธุรกิจที่จํากัดกว่าธนาคารพาณิชย์อาจเลือกใช้วิธี BIA
5.3.2 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้ Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยวิธี SA-OR เป็นมาตรฐานขั้นต่ํา
5.3.3 หากธนาคารพาณิชย์ต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีที่เปลี่ยนแปลงจากวิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่าเป็นวิธีที่ซับซ้อนมากกว่า ซึ่งได้แก่ เปลี่ยนแปลงจากวิธี BIA เป็นวิธี ASA หรือ จากวิธี BIA เป็นวิธี SA-OR หรือจากวิธี ASA เป็นวิธี SA-0R ธนาคารพาณิชย์ต้องยื่นขออนุญาตพร้อมเอกสารแสดงการจัดแบ่งรายได้จากการดําเนินงาน และ/หรือยอดคงค้าง ตามประเภทสายธุรกิจโดยวิธี SA-OR หรือวิธี ASA และแบบประเมินความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี SA-OR และวิธี ASA (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2) ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากวิธี BIA ไปเป็นวิธี SA-OR หรือวิธี ASA ให้กรอกข้อมูลตามแบบประเมินความพร้อมฯ ให้ครบถ้วนทุกข้อ และธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากวิธี ASA ไปเป็นวิธี SA-OR ให้กรอกข้อมูลตามแบบประเมินความพร้อมฯ เฉพาะข้อ 4 และนําส่งที่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งเอกสารสําคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องยื่นขออนุญาตล่วงหน้าก่อนงวดการบัญชีที่จะเริ่มใช้วิธีการคํานวณวิธีใหม่ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
(2) กรณีที่เปลี่ยนแปลงจากวิธีที่ซับซ้อนมากกว่าเป็นวิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่า ซึ่งได้แก่ เปลี่ยนแปลงจากวิธี SA-OR เป็นวิธี ASA หรือ จากวิธี SA-OR เป็นวิธี BIA หรือจากวิธี ASA เป็นวิธี BIA ธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยจะต้องมีเหตุผลอันสมควรเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น
5.3.4 ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ใช้วิธี SA-0R และวิธี ASA ก่อนที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้ใช้วิธีดังกล่าวตามประกาศฉบับนี้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่
5.3.5 สําหรับกรณีพิเศษ (Exceptional case) ที่มีผลทําให้ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 5.6.2 เช่น มีเหตุการณ์ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ หรือมีการควบหรือรวมกิจการ (Merger and acquisition) หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างมีนัยสําคัญ เป็นต้น ให้ธนาคารพาณิชย์ยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี
5.4 Basic Indicator Approach วิธี BIA)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีของผลคูณค่าคงที่ 15% กับรายได้จากการดําเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ในกรณีที่รายได้จากการดําเนินงานในปีใดมีค่าติดลบหรือเท่ากับศูนย์ให้ตัดรายได้ดังกล่าวออกจากตัวเศษและตัดปีดังกล่าวออกจากจํานวนปีในตัวส่วน และหลังจากนั้นให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยการนํา 12.5 ด้วยฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
ERWABIA = 12.5 x KBIA
KBIA = Ʃ(GIl...n x α)
n
โดย ERWABIA = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี BIA
KBIA = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี BIA
GIl...n = รายได้จากการดําเนินงานย้อนหลัง 3 ปี เฉพาะที่มีค่าบวก
α = ค่าคงที่ความเสี่ยงตามวิธี BIA มีค่าเท่ากับ 15%
n = จํานวนปีที่รายได้จากการดําเนินงานมีค่าเป็นบวก
5.5 Standardised Approach วิธี SA-OR)
5.5.1 ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยวิธี SA-OR ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์จัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
- สายธุรกิจแบ่งตามลักษณะของธุรกรรมออกเป็น 8 ประเภท (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3) โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4) ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่มีระบบภายในที่ใช้งานอยู่แล้วในการจัดประเภทสายธุรกิจ สามารถจัดธุรกรรมบางประเภทให้อยู่ในสายธุรกิจที่แตกต่างจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ได้ในกรณีที่สายธุรกิจนั้นมีค่าคงที่ (ค่า β) สูงกว่าหรือเท่ากับสายธุรกิจตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
- จัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงใน 8 สายธุรกิจที่ได้กล่าวข้างต้นทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนบตัวอย่างการจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานเพื่อให้การจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในแต่ละสายธุรกิจของธนาคารพาณิชย์เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกัน (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 5)
(2) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของแต่ละสายธุรกิจดังกล่าว โดยการนํารายได้จากการดําเนินงานคูณกับค่าคงที่ความเสี่ยง (ค่า β) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้สําหรับแต่ละสายธุรกิจ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3) จากนั้นให้นําผลการคํานวณที่ได้ของแต่ละสายธุรกิจมารวมกันจะเป็นฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งธนาคารพาณิชย์ในปีนั้น อนึ่ง กรณีที่ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําของสายธุรกิจใดติดลบ ธนาคารพาณิชย์สามารถนําฐานเงินกองทุนชั้นต่ําที่ติดลบของสายธุรกิจนั้นมาหักกลบกับฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่เป็นบวกของสายธุรกิจอื่น ๆ ในปีเดียวกันได้
(3) ให้ธนาคารพาณิชย์นําผลการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งธนาคารพาณิชย์ที่คํานวณได้ตามข้อ (2) ย้อนหลัง 3 ปี มาคํานวณหาค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ หากฐานเงินกองทุนขั้นต่ํารวมของทั้งธนาคารพาณิชย์ในปีใดมีค่าติดลบ ให้ถือว่าฐานเงินกองทุนขั้นต่ําในปีนั้นเป็น 0 โดยที่ตัวหารยังคงเป็น 3 ปีเช่นเดิม
(4) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยการนํา 12.5 คูณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณได้ตามข้อ (3)
ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธี SA-0R สามารถสรุปเป็นสูตรการคํานวณได้ ดังต่อไปนี้
ERWASA-OR = 12.5 x KSA-OR
3
โดย ERWASA-OR = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี SA-OR
KSA-OR = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี SA-OR
GI1-8 = รายได้จากการดําเนินงานของแต่ละสายธุรกิจ 8 ประเภท
β1-8 = ค่าคงที่ความเสี่ยงตามวิธี SA-OR ที่กําหนดแตกต่างกันตามประเภทของสายธุรกิจ 8 ประเภท
5.5.2 ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้ Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามวิธีต่อไปนี้
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ํา และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งธนาคารพาณิชย์ ตามที่กําหนดในวิธี SA-OR ข้อ 5.5.1 (1) - 5.5.1 (4) แต่มีข้อแตกต่างคือ ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณฐานเงินกองทุนในแต่ละปีสําหรับสายธุรกิจ Retail banking' และ Commercial banking โดยใช้ยอดคงค้างเฉลี่ยของแต่ละปีคูณกับค่าคงที่ "m" ที่กําหนดไว้เท่ากับ 0.035 แล้วนําไปคูณกับค่า 8 ของแต่ละสายธุรกิจ ตามสูตรการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ดังต่อไปนี้
KRB = βRB xm xLARB (กรณี Retail banking)
KCB =βCB xm xLACB (กรณี Commercial banking)
โดย KRB , KCB = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่ต้องดํารงสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ
Commercial banking ตามวิธี ASA
βRB , βCB = ค่าคงที่ความเสี่ยง (ค่า β) ของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial
banking
LARB , LACB = ยอดคงค้างเฉลี่ยแต่ละปี 3 ปีย้อนหลังของสายธุรกิจ Retail banking และ
Commercial banking
m = ค่าคงที่ มีค่าเท่ากับ 0.035
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี ASA แต่ไม่สามารถจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานหรือยอดคงค้างตามวิธีข้างต้น ให้ธนาคารพาณิชย์เลือกคํานวณฐานเงินกองทุนของสายธุรกิจหรือกลุ่มสายธุรกิจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
- คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มสายธุรกิจ โดยใช้ยอดรวมของยอดคงค้างของ Commercial banking และ Retail banking คูณด้วยค่า m แล้ว จึงนําไปคูณค่า βที่สูงกว่าของ 2 สายธุรกิจนี้ ซึ่งเท่ากับ 15% และใช้ยอดรวมของรายได้จากการดําเนินงานของสายธุรกิจที่เหลือด้วยค่า βสูงสุดของทั้ง 6 สายธุรกิจซึ่งเท่ากับ 18%
- คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มสายธุรกิจ หรือสายธุรกิจ โดยใช้ยอดรวมของยอดคงค้างของ Commercial banking และ Retail banking คุณด้วยค่า m แล้ว จึงนําไปคูณค่า β ที่สูงกว่าของ 2 สายธุรกิจนี้ ซึ่งเท่ากับ 15% และใช้รายได้จากการดําเนินงานของแต่ละสายธุรกิจที่เหลืออีก 6 สายธุรกิจคูณด้วยค่า βของแต่ละสายธุรกิจนั้น
- คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจ หรือกลุ่มสายธุรกิจ โดยใช้ยอดคงค้างของ Commercial banking และ Retail banking คูณด้วยค่า m ก่อนแล้วนําไปคูณกับค่า βของแต่ละสายธุรกิจนี้ และใช้ยอดรวมของรายได้จากการดําเนินงานของสายธุรกิจที่เหลืออีก 6 สายคูณด้วยค่า β สูงสุดของทั้ง 6 สายธุรกิจ ซึ่งเท่ากับ 18%
5.6 แนวทางการบริหารความเสี่ยง และเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ํา
5.6.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ดี โดยใช้แนวทางตามแนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
5.6.2 ธนาคารพาณิชย์ที่จะเลือกใช้วิธี SA-0R และวิธี ASA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัตชําระต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้
(1) คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ต้องมีส่วนร่วมในการกําหนดกรอบนโยบายเละการติดตามดูแลการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
(2) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ดีมีการนําระบบดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งมีการกําหนดความรับผิดชอบที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานที่ทําหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งควรมีหน้าที่สําคัญดังนี้
(2.1) พัฒนากลยุทธ์ที่จะใช้ในการบ่งชี้ ประเมิน ติดตาม ควบคุมและลดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
(2.2) กําหนดนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและควบคุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
(2.3) กําหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ และนําวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติ และ
(2.4) กําหนดรูปแบบการรายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและนํารายงานดังกล่าวไปใช้
(3) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีทรัพยากรเพียงพอสําหรับการใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ในแต่ละสายธุรกิจและในสายงานควบคุมและตรวจสอบกิจการภายใน
(4) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีนโยบายและหลักเกณฑ์ในการเชื่อมโยงรายได้จากการดําเนินงานสําหรับแต่ละสายธุรกิจตามวิธี SA-OR (หรือยอดคงค้างสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ตามวิธี ASA) เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีการทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจหรือมีการทําธุรกิจใหม่
(5) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการในแต่ละสายธุรกิจ ซึ่งต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ และระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการต้องสามารถรวมเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี เช่น ข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินความเสี่ยงต้องเป็นส่วนสําคัญในรายงานความเสี่ยงที่ส่งให้ผู้บริหารและถูกนําไปใช้ในการวิเคราะห์ ติดตาม และควบคุมความเสี่ยง เป็นต้น
(6) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการจัดทํารายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นประจํา ซึ่งในรายงานควรกล่าวถึงการดําเนินการของธนาคารพาณิชย์ที่เหมาะสมต่อข้อมูลความเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้บริหารหน่วยงาน ผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ทราบ
(7) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างครบถ้วน และมีการติดตามการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้การควบคุม และกระบวนการที่เกี่ยวกับระบบบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการดําเนินการเมื่อเกิดกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้
(8) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการสอบทานกระบวนการบริหารความเสี่ยงและระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่เป็นอิสระเป็นประจําอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในการทําธุรกรรม กระบวนการ หรือระบบบริหารความเสี่ยง โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสอบทานทั้งหน่วยงานที่ทําธุรกรรมต่าง ๆ และหน่วยงานบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วย
(9) ระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ต้องมีการสอบทานโดยผู้ตรวจสอบภายนอกเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,057 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3682 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไนทริกสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ไอออน -วิธีโพเทนชิออเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3682 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กรดไนทริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ไอออน -
วิธีโพเทนชิออเมทริก
---------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไนทริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ไอออน - วิธีโพเทนชิออเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1672 - 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2983 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไนทริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์ไอออน - วิธีโพเทนชิออเมทริก ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,058 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3683 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสารผสมยาง - คาร์บอนแบล็ก - การหาพื้นที่ผิวเฉพาะโดยวิธีการดูดซับไนโตรเจน เล่ม 2 วิธีการมัลติพอยท์บีอีที | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3683 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สารผสมยาง - คาร์บอนแบล็ก - การหาพื้นที่ผิวเฉพาะโดยวิธีการดูดซับไนโตรเจน
เล่ม 2 วิธีการมัลติพอยท์บีอีที
-----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสารผสมยาง - คาร์บอนแบล็ก – การหาพื้นที่ผิวเฉพาะโดยวิธีการดูดซับไนโตรเจน เล่ม 2 วิธีการมัลติพอยท์บีอีที มาตรฐานเลขที่ มอก. 1710 เล่ม 2 - 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2982 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสารผสมยาง - คาร์บอนแบล็ก - การหาพื้นที่ผิวเฉพาะโดยวิธีการดูดซับไนโตรเจน เล่ม 2 วิธีการมัลติพอยท์บีอีที ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,059 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 96/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 96/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.122/14/51 | 60,000 | 4 ธันวาคม 2551 | 9/12/51 – 23/12/51 | 14 |
| พ.123/14/51 | 50,000 | 8 ธันวาคม 2551 | 11/12/51 – 25/12/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,060 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 96/2551 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 96/2551
เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ ไม่ต่ํากว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รวมถึงจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงต่างๆ ด้วย นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ฉบับนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Market Discipline) โดยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีความโปร่งใสในด้านข้อมูลการดํารงเงินกองทุนและข้อมูลความเสี่ยงของตนเอง และให้บุคคลภายนอกหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาด (Market participant) สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการประเมินความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นกลไกตลาดที่สําคัญในการผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี นอกเหนือจากการควบคุมภายในของธนาคารพาณิชย์เองและการกํากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อ้างอิงแนวทางจาก The Third Pillar - Market Discipline ใน International Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive version : June 2006) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ประกาศฉบับนี้กําหนดหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง และข้อมูลเกี่ยวกับเงินกองทุนตามมาตรฐานที่กําหนด
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
หนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(22)ว.1783/2549 เรื่อง นําส่งร่างหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนตาม Basel II หลักการที่ 3 เรื่อง การใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Market Discipline) ฉบับ Final Draft ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 หลักการ
หลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลตามประกาศฉบับนี้กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลเงินกองทุนซึ่งได้แก่ เงินกองทุน ระดับความเสี่ยง กระบวนการประเมินความเสี่ยง และความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามประกาศฉบับนี้เป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องเปิดเผยเท่านั้น โดยธนาคารพาณิชย์สามารถเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดกว่าที่กําหนดได้และข้อมูลบางรายการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยอาจจะซ้ําซ้อนกับข้อมูลที่เปิดเผยในช่องทางอื่นอยู่แล้ว ซึ่งธนาคารพาณิชย์สามารถดําเนินการตามที่เห็นสมควรภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเปิดเผยข้อมูล นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนบตัวอย่างตารางการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณในแต่ละหัวข้อ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เข้าใจถึงเนื้อหาของข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ไม่จําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลตามรูปแบบของตารางตัวอย่าง โดยธนาคารพาณิชย์สามารถพิจารณาใช้รูปแบบอื่นในการเปิดเผยข้อมูลได้ตามความเหมาะสม หากเนื้อหาของข้อมูลที่เปิดเผยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
หากธนาคารพาณิชย์ที่ขอความเห็นชอบใช้วิธีเฉพาะในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ํา ซึ่งกําหนดให้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะตามประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจไม่อนุญาตให้ใช้วิธีคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงนั้น
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลตามประกาศฉบับนี้ เฉพาะระดับธนาคารพาณิชย์ (Solo basis เท่านั้น สําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้เปิดเผยข้อมูลเฉพาะของสาขาในประเทศไทย (Standalone basis) และให้เปิดเผยแหล่งข้อมูลฐานะภาพรวมของธนาคารแม่ (Consolidated basis) เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลอ้างอิงได้
5.2 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"คณะผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี
5.3 หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเปิดเผยข้อมูล
5.3.1 ให้ธนาคารพาณิชย์กําหนดนโยบายการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศฉบับนี้ โดยนโยบายดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ หรือคณะกรรมการอื่นที่ให้รับมอบหมาย และต้องระบุถึงกรอบข้อมูลที่ต้องเปิดเผยและระบบการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูล
5.3.2 ข้อมูลที่เปิดเผยจะต้องถูกต้องตรงกับข้อมูลที่ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ได้รับ และใช้ในการบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์
5.3.3 คณะผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความถูกต้องและเหมาะสมของข้อมูลที่เปิดเผยตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ และจัดให้มีกระบวนการประเมินความเหมาะสมของการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงกระบวนการสอบทานความถูกต้องของข้อมูลอย่างเหมาะสม
5.4 ช่องทางการเปิดเผยข้อมูล
5.4.1 คณะผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ต้องพิจารณาถึงช่องทางที่จะใช้ในการเปิดเผยข้อมูลอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดตามที่กําหนดในเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําของประกาศฉบับนี้ในช่องทางเดียวกันโดยให้ธนาคารพาณิชย์ระบุช่องทางที่จะเปิดเผยข้อมูลตามประกาศฉบับนี้และวันที่ที่เปิดเผยข้อมูลไว้ให้ชัดเจนในแหล่งข้อมูลต่อไปนี้
(1) Website ของธนาคารพาณิชย์
(2) ท้ายงบดุลย่อ
(3) ท้ายงบดุลและงบกําไรขาดทุนสิ้นปี'
5.4.2 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เลือกเปิดเผยข้อมูลในหลายช่องทาง เช่น เปิดเผยข้อมูลส่วนที่ซ้ํากับที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยตามมาตรฐานการบัญชีไว้ช่องทางหนึ่ง และเปิดเผยข้อมูลส่วนที่ไม่ช้ํากับข้อกําหนดอื่นไว้อีกช่องทางหนึ่ง เป็นต้น ให้ธนาคารพาณิชย์ระบุช่องทางที่จะเปิดเผยข้อมูลตามประกาศฉบับนี้และวันที่ที่เปิดเผยข้อมูลไว้ให้ชัดเจนในแหล่งข้อมูลที่ (I) - (3) ตามข้อ 5.4.1 ข้างต้นด้วย
5.4.3 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เลือกเปิดเผยข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้พร้อมกับข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามที่กําหนดในหลักเกณฑ์อื่น ๆ ธนาคารพาณิชย์ต้องระบุให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลส่วนใดเป็นการเปิดเผยตามข้อกําหนดเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในประกาศฉบับนี้
5.4.4 ในกรณีที่ข้อมูลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยตามประกาศฉบับนี้ ซ้ําซ้อนกับ ข้อมูลที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยตามมาตรฐานการบัญชี เช่น ข้อมูลที่เปิดเผยในงบการเงินประจําปี ข้อมูลที่ใช้ประกอบงบการเงินและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการตรวจสอบ โดยผู้ตรวจสอบภายนอกด้วย
5.4.5 ในกรณีที่ข้อมูลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยตามประกาศฉบับนี้ ซ้ําซ้อนกับ ข้อมูลที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยตามประกาศหรือข้อกําหนดของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น ข้อมูลคําอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน (Management's discussion and analysis) เป็นต้น ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการสอบทานหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลตามข้อกําหนดของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย
5.4.6 ให้ธนาคารพาณิชย์แจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยถึงช่องทางที่จะใช้เปิดเผยข้อมูลตามประกาศฉบับนี้ มาชั่งฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนการเปิดเผยข้อมูลครั้งแรกไม่น้อยกว่า 15 วัน ทั้งนี้ หากภายหลังธนาคารพาณิชย์ต้องการเปลี่ยนแปลงช่องทางในการเปิดเผยข้อมูล ให้ธนาคารพาณิชย์แจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยล่วงหน้าก่อนที่จะเริ่มเปิดเผยข้อมูลในช่องทางใหม่ไม่น้อยกว่า 15 วัน
5.5 การเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญ (Materiality)
5.5.1 ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญ กล่าวคือ ข้อมูลที่หากไม่เปิดเผยหรือเปิดเผยไม่ถูกต้องจะส่งผลกระทบต่อการประเมินหรือการตัดสินใจของผู้ใช้ข้อมูลได้ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดกล้องกับหลักของมาตรฐานการบัญชี
5.5.2 ให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาอย่างรอบคอบถึงเนื้อหาข้อมูลที่มีนัยสําคัญที่เปิดเผย และเปิดเผยหลักการที่ใช้พิจารณาถึงความมีนัยสําคัญของข้อมูลให้ผู้ใช้ข้อมูลได้ทราบรวมทั้งมีความสม่ําเสมอในการพิจารณาหลักการที่ใช้ในการพิจารณาความมีนัยสําคัญของข้อมูลที่เปิดเผย
5.6 ข้อมูลลับทางธุรกิจของธนาการพาณิชย์และความลับของลูกค้า (Proprietary and confidential information)
ข้อมูลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย และธนาคารพาณิชยคาดว่าจะมีผลกระทบในทางลบเนื่องจากเป็นข้อมูลลับทางธุรกิจ หรือเป็นข้อมูลที่หากเปิดเผยต่อสาธารณะแล้วจะทําให้ธนาคารพาณิชย์เสียประโยชน์หรือมีความสามารถในการแข่งขันลดลง ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในเชิงภาพรวมได้ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องชี้แจงเหตุผลดังกล่าวต่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบ
5.7 การเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานชั้นต่ําของข้อมูลที่ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย
5.7.1 ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําของข้อมูลที่ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย โดยแบ่งเป็น 3 หมวดสําคัญ ได้แก่ หมวด ก : ขอบเขตการบังคับใช้ หมวด ข : เงินกองทุน และหมวด ค : ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ โดยในแต่ละหมวดประกอบด้วยข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 1) ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ตัวอย่างตารางการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณในแต่ละหมวด เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เข้าใจถึงเนื้อหาของข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2) อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์อาจพิจารณาใช้รูปแบบอื่นในการเปิดเผยข้อมูลได้ตามความเหมาะสม หากเนื้อหาของข้อมูลที่เปิดเผยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
5.7.2 ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 5.7.1 โดยมีความถี่ในการเปิดเผยข้อมูล ดังนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| หมวด | ข้อมูลที่ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย | ความถี่ |
| กข ค | ขอบเขตการบังคับใช้หลักเกณฑ์ตาม Basel II (Scope of application)เงินกองทุน (Capital)หัวข้อ 1 โครงสร้างเงินกองทุน (Capital structure)หัวข้อ 2 ความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital adequacy)ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์(Risk exposure and assessment)I. ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยทั่วไป สําหรับทุกประเภทความเสี่ยงII. ข้อมูลในแต่ละประเภทความเสี่ยง ซึ่งแบ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณความเสี่ยงด้านเครดิต (ไม่รวมฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน)หัวข้อ 1 ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิตหัวข้อ 2 ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต 2.1 โดยวิธี SA 2.2 โดยวิธี IRBหัวข้อ 3 ข้อมูลการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต 3.1 โดยวิธี SA 3.2 โดยวิธี IRBความเสี่ยงด้านตลาดสําหรับฐานะในบัญชีเพื่อการค้าหัวข้อ 4 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาด 4.1 โดยวิธีมาตรฐาน 4.2 โดยวิธีแบบจําลองความเสี่ยงด้านปฏิบัติการหัวข้อ 5 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนหัวข้อ 6 ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารหัวข้อ 7 ข้อมูลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร | รายปีรายครึ่งปี รายปี รายปี รายครึ่งปี รายปี รายปี รายปี |
ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดภายในระยะเวลา 90 วันหลังจากวันสิ้นงวด
5.7.3 สําหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลงวดปัจจุบันและงวดก่อนหน้าของการเปิดเผย 1 งวด ยกเว้นกรณีการเปิดเผยข้อมูลตามประกาศฉบับนี้เป็นครั้งแรกหรือกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเป็นอย่างอื่น
5.7.4 สําหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ หากธนาคารพาณิชย์มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารความเสี่ยงอย่างมีนัยสําคัญในระหว่างงวดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้เปิดเผยให้ธนาคารพาณิชย์ปรับปรุงข้อมูลที่เปิดเผยดังกล่าวให้เป็นปัจจุบัน
อื่นๆ - 6. กําหนดการเปิดเผยข้อมูลครั้งแรก
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลในครั้งแรก ดังนี้ (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 3)
(1) โครงสร้างและความเพียงพอของเงินกองทุน รวมถึงข้อมูลเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านตลาด ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยเป็นรายครึ่งปี นั้น
ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยครั้งแรกโดยใช้ข้อมูล ณ สิ้นงวดเดือนมิถุนายน 2552 (ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี AIRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้เปิดเผยข้อมูล โครงสร้างและความเพียงพอของเงินกองทุนที่เกี่ยวข้องกับวิธี AIRE ครั้งแรก โดยใช้ข้อมูล ณ สิ้นงวดเดือนมิถุนายน 2553)
(2) ข้อมูลเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ (ยกเว้นด้านตลาด) และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยเป็นรายปี นั้น
ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยครั้งแรก โดยใช้ข้อมูล ณ สิ้นงวดเดือนธันวาคม 2552 (ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี AIRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงด้านเครดิตครั้งแรก โดยใช้ข้อมูล ณ สิ้นงวดเดือนธันวาคม 2553)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดงวดการเปิดเผยข้อมูลตามประกาศฉบับนี้ให้สอดคล้องกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีการปิดงวดบัญชีทุกสิ้นเดือนมิถุนายนและธันวาคม อย่างไรก็ตาม กรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีงวดการบัญชีแตกต่างจากนี้ นาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลครั้งแรกโดยใช้ข้อมูล ณ สิ้นงวดบัญชี 6 เดือนแรกของปี 2552 สําหรับข้อมูลตามข้อ (1) และข้อมูล ณ สิ้นงวดบัญชีประจําปี 2552 สําหรับข้อมูลตามข้อ (2) เช่น สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีธนาคารแม่ในประเทศญี่ปุ่น ที่ปีงวดบัญชีทุกสิ้นเดือนมีนาคมและกันยายนให้เปิดเผยครั้งแรก โดยใช้ข้อมูล ณ สิ้นงวดกันยายน 2552 สําหรับข้อมูลรายครึ่งปี และ ณ สิ้นงวด มีนาคม 2553 สําหรับข้อมูลรายปี เป็นต้น ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี AIRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้เปิดเผยข้อมูลโครงสร้างและความเพียงพอของเงินกองทุนที่เกี่ยวข้องกับวิธี AIRB ครั้งแรก โดยใช้ข้อมูล ณ สิ้นงวดบัญชี 6 เดือนแรกของปี 253 และ ให้เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงด้านเครดิตครั้งแรก โดยใช้ข้อมูล ณ สิ้นงวดบัญชีประจําปี 2553
ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์จัดเก็บข้อมูลที่ได้เปิดเผยตามประกาศฉบับนี้ไปแล้ว ไม่ต่ํากว่า 5 ปี เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและอ้างอิงของธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,061 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 97/2551 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 97/2551
เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2551 กําหนดให้วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2552 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เพื่อให้ประชาชนเดินทางกลับภูมิลํานา ประกอบกับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอันจะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้ฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมได้โดยเร็ว ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาเล้วเห็นว่าแม้ตามประเพณีปฏิบัติที่เป็นมาการกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินจะกําหนดไม่ให้เกิน 4 วัน ติดต่อกันเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างต่อเนื่องและภาคธุรกิจไม่เสียหายก็ตาม ในครั้งนี้คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2552 เป็นวันหยุด ซึ่งจะทําให้มีวันหยุดติดต่อกัน 5 วัน โดยเหตุที่เป็นช่วงเวลาปลายปี ทั่วโลกมีประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ ธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินมีอยู่เบาบาง และภาคธุรกิจเอกชนก็ไม่ได้เร่งดําเนินธุรกิจ จึงเห็นควรประกาศกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ข้อกําหนดวันหยุดทําการเป็นกรณีพิเศษ
กําหนดให้วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2552 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเพิ่มเติมอีก 1 วัน
อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,062 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 97/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 97/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.124/14/51 | 60,000 | 12 ธันวาคม 2551 | 16/12/51 – 30/12/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,063 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 98/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สำหรับงวดเริ่ม ที่ 12 ธันวาคม 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 98/2551
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550
สําหรับงวดเริ่ม ที่ 12 ธันวาคม 2551
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 ธันวาคม 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวคเริ่มต้นวันที่ 12 ธันวาคม 2551 เท่ากับร้อขละ 2.91625 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการ ยืมเงินระหว่างธนาการของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2551 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกูล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,064 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 99/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการตำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 99/2551
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการตํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 ที่จะประมูลในวันที่ 12 ธันวาคม 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยล ลอยตัว รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 ในวันที่ 12 ธันวาคม 2551 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 9 ธันวาคม 2551 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (II) เท่ากับร้อยละ 2.92324 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 3.11625 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกูล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,065 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3684 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3684 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์
-------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 344 - 2530
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุดสาหกรรม ฉบับที่ 1223 (พ.ศ. 2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุดสาหกรรมขั้วรับหลอดและขั้วรับสตาร์เตอร์สําหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2530 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 344 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 344 - 2549 ใช้บังคับ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,066 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 100/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 100/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.125/14/51 | 50,000 | 16 ธันวาคม 2551 | 18/12/51 – 29/12/51 | 11 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,067 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 101/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 101/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.126/14/51 | 60,000 | 18 ธันวาคม 2551 | 22/12/51 – 5/2/52 | 14 |
| พ.127/14/51 | 60,000 | 19 ธันวาคม 2551 | 23/12/51 – 6/1/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,068 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 102/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 102/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.128/14/51 | 60,000 | 23 ธันวาคม 2551 | 25/12/51 – 8/2/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,069 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 103/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนธันวาคม ปี 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 103/2551
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัศราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนธันวาคม ปี 2551
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนธันวาคม ปี 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนธันวาคม ปี 2551 (รุ่นที่ 4/ 2 ปี/2551) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 19 ธันวาคม 2551 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/2 ปี/2551 ที่จะประมูลในวันที่ 23 ธันวาคม 2551 เท่ากับร้อยละ 2.05'ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,070 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 105/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 105/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.129/14/51 | 50,000 | 25 ธันวาคม 2551 | 29/12/51 – 12/1/52 | 14 |
| พ.130/14/51 | 60,000 | 26 ธันวาคม 2551 | 30/12/51 – 13/1/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,071 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3685 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 3511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสาเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีสำหรับไฟฟ้าแสงสว่าง | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3685 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 3511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เสาเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีสําหรับไฟฟ้าแสงสว่าง
--------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสาเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีสําหรับไฟฟ้าแสงสว่าง มาตรฐานเลขที่ มอก. 2316 - 2549 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,072 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3686 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์เล่ม 1 ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3686 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์
เล่ม 1 ข้อกําหนดด้านความปลอดภัย
-----------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ เล่ม 1 ข้อกําหนดด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 2333 เล่ม 1 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,073 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3687 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์เล่ม 2 วิธีทดสอบ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3687 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์
เล่ม 2 วิธีทดสอบ
-----------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ เล่ม 2 วิธีทดสอบ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2333 เล่ม 2 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,074 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3689 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมบอเรตดิบสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณอะลูมิเนียมที่ละลายได้ในตัวกลางที่เป็นด่าง – วิธีอีดีทีเอไททริเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3689 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
โซเดียมบอเรตดิบสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณอะลูมิเนียมที่ละลายได้
ในตัวกลางที่เป็นด่าง – วิธีอีดีทีเอไททริเมทริก
----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมบอเรตดิบสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณอะลูมิเนียมที่ละลายได้ในตัวกลางที่เป็นด่าง - วิธีอีดีทีเอไททริเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1965 - 2543
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2810 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมบอเรตดิบสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณอะลูมิเนียมที่ละลายได้ในตัวกลางที่เป็นด่าง - วิธีอีดีทีเอไททริเมทริก ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,075 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3690 (พ.ศ. 2550)ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไนทริกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก -วิธี 2,2 – ไบพิริดิลโฟโตเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3690 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กรดไนทริกสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก -
วิธี 2,2 – ไบพิริดิลโฟโตเมทริก
----------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไนทริกสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2 – ไบพิริดิลโฟโตเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1927 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2771 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไนทริกสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2 - ไบพิริดิสโฟโตเมทริก ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,076 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3691 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมและโพแทสเซียมซิลิเกตสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์ทาปริมาณซัลเฟต -วิธีแบเรียมซัลเฟตกราวิเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3691 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
โซเดียมและโพแทสเซียมซิลิเกตสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์ทาปริมาณซัลเฟต -
วิธีแบเรียมซัลเฟตกราวิเมทริก
-----------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมและโพแทสเซียมซิลิเกตสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟต – วิธีแบเรียมซัลเฟตกราวิเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1948 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2772 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมและโพแทสเซียมซิลิเกตสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟต – วิธีแบเรียมซัลเฟตกราวิเมทริก ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,077 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3692 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์สำหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 5 : การวิเคราะห์หาปริมาณแอลกอฮอล์ทั้งหมด -วิธีไททริเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3692 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
แอลกอฮอล์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 5 : การวิเคราะห์หาปริมาณแอลกอฮอล์ทั้งหมด -
วิธีไททริเมทริก
--------------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์สําหรับอุตสาหกรรม -วิธีทดสอบ - เล่ม 5 : การวิเคราะห์หาปริมาณแอลกอฮอล์ทั้งหมด - วิธีไททริเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1810 เล่ม 5 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2773 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 5 : การวิเคราะห์หาปริมาณแอลกอฮอล์ทั้งหมด - วิธีไททริเมทริก ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,078 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3693 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฟีนอล ออโธ - ครีซอล เมตา - ครีซอล และพารา - ครีซอลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การทดสอบหาจุดตกผลึกหลังการทำให้แห้งด้วยตะแกรงโมเลกุล | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3693 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ฟีนอล ออโธ - ครีซอล เมตา - ครีซอล และพารา - ครีซอลสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม -
การทดสอบหาจุดตกผลึกหลังการทําให้แห้งด้วยตะแกรงโมเลกุล
---------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฟีนอล ออโธ - ครีซอล เมตา - ครีซอล และพารา - ศรีซอลสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การทดสอบหาจุดตกผลึกหลังการทําให้แห้งด้วยตะแกรงโมเลกุล มาตรฐานเลขที่ มอก. 1826 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2784 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฟีนอล ออโธ - ครีซอล เมตา – ศรีซอล และพารา - ครีซอลสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การทดสอบหาจุดตกผลึกหลังการทําให้แห้งด้วยตะแกรงโมเลกุล ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,079 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3694 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชันสน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3694 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ชันสน
-----------------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชันสน มาตรฐานเลขที่ มอก. 480 - 2526
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 746 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชันสน ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2526 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชันสน มาตรฐานเลขที่ มอก. 480 – 2550 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,080 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3695 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำมันสน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3695 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
น้ํามันสน
---------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ํามันสน มาตรฐานเลขที่ มอก. 466 - 2529
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 705 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ํามันสน ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1075 (พ.ศ. 2526) เรื่อง แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ํามันสน (แก้ไขครั้งที่ 1) ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2529 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ํามันสน มาตรฐานเลขที่ มอก. 466 – 2550 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,081 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3696 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโกโก้ผงสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3696 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
โกโก้ผงสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม
---------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโกโก้ผงสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม มาตรฐานเลขที่ มอก. 1137 - 2536
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1865 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโกโก้ผงสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโกโก้ผงสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม มาตรฐานเลขที่ มอก. 1137 -2550 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,082 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3697 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลูกฟุตซอล | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3697 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ลูกฟุตซอล
-------------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลูกฟุตซอล มาตรฐานเลขที่ มอก. 2329 - 2550 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,083 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3912 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไปเล่ม 1 : วิธีการเรียกส่วนต่าง ๆ ของแขนและขาที่ขาดไป | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3912 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป
เล่ม 1 : วิธีการเรียกส่วนต่าง ๆ ของแขนและขาที่ขาดไป
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป เล่ม 1 : วิธีการเรียกส่วนต่าง ๆ ของแขนและขาที่ขาดไปแต่กําเนิด มาตรฐานเลขที่ มอก. 2397 เล่ม 1 – 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,084 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3698 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไฮโดรคลอริกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การหาค่าความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก โดยการวัดความหนาแน่น | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3698 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กรดไฮโดรคลอริกสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การหาค่าความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก
โดยการวัดความหนาแน่น
------------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไฮโดรคลอริกสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การหาค่าความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก โดยการวัดความหนาแน่น มาตรฐานเลขที่ มอก. 1959 - 2543
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3240 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไฮโดรคลอริกสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม – การหาค่าความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริกโดยการวัดความหนาแน่ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2547
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,085 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3913 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไปเล่ม 2 : วิธีการเรียกความพิการระดับต่าง ๆ ของขาที่เกิดจากการตัด | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3913 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป
เล่ม 2 : วิธีการเรียกความพิการระดับต่าง ๆ ของขาที่เกิดจากการตัด
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป เล่ม 2 : วิธีการเรียกความพิการระดับต่าง ๆ ของขาที่เกิดจากการตัดมาตรฐานเลขที่ มอก. 2397 เล่ม 2 – 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,086 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3914 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไปเล่ม 3 : วิธีการเรียกความพิการระดับต่าง ๆ ของแขนที่เกิดจากการตัด | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3914 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป
เล่ม 3 : วิธีการเรียกความพิการระดับต่าง ๆ ของแขนที่เกิดจากการตัด
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป เล่ม 3 : วิธีการเรียกความพิการระดับต่าง ๆ ของแขนที่เกิดจากการตัด มาตรฐานเลขที่ มอก. 2397 เล่ม 3 – 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,087 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3915 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไปเล่ม 4 : ภาวะที่นำไปสู่การตัดแขนและขา | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3915 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป
เล่ม 4 : ภาวะที่นําไปสู่การตัดแขนและขา
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณพ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป เล่ม 4 : ภาวะที่นําไปสู่การตัดแขนและขา มาตรฐานเลขที่ มอก. 2397 เล่ม 4 – 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,088 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3916 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไปเล่ม 5 : ภาวะทางคลินิกของบุคคลที่ถูกตัดแขนหรือขา | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3916 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป
เล่ม 5 : ภาวะทางคลินิกของบุคคลที่ถูกตัดแขนหรือขา
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม - ส่วนแขนและขาที่ขาดไป เล่ม 5 : ภาวะทางคลินิกของบุคคลที่ถูกตัดแขนหรือขา มาตรฐานเลขที่ มอก. 2397 เล่ม 5 – 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,089 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การ ใช้ชื่อย่อของผู้รับใบอนุญาตในการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน พ.ศ. 2552 | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง หลักเกณฑ์การ ใช้ชื่อย่อของผู้รับใบอนุญาตในการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน
พ.ศ. 2552
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ให้รัฐมนตรีกําหนดหลักเกณฑ์การใช้ชื่อย่อของผู้รับใบอนุญาตได้ในกรณี ที่มีความจําเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2521) เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ชื่อย่อของผู้รับใบอนุญาตในการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม 2521
(2) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2521) เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ชื่อย่อของผู้รับใบอนุญาตในการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2521
ข้อ ๒ การใช้ชื่อย่อของผู้รับใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อย่อต้องย่อมาจากชื่อเต็มของผู้รับใบอนุญาต โดยต้องเป็นอักษรไทยล้วนหรืออักษรโรมันล้วน และจํานวนอักษรของชื่อย่อต้องมีไม่น้อยกว่าสองตัว มีลักษณะชัดเจน อ่านได้ง่าย
(2) ผู้ใดจะขอใช้ชื่อย่อเป็นอักษรไทยและอักษรโรมันได้ไม่เกินอย่างละหนึ่งชื่อ โดยชื่อย่อนั้นต้องไม่ซ้ํากับชื่อย่อของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่แล้ว
(3) ผู้ใดประสงค์จะใช้ชื่อย่อแทนชื่อเต็มในการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ให้ยื่นคําร้องต่อสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยระบุชื่อย่อที่ประสงค์จะใช้แทนชื่อเต็ม พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผล ความจําเป็นที่ขอใช้ชื่อย่อแทนชื่อเต็ม โดยจะใช้ชื่อย่อแทนชื่อเต็มได้ ต่อเมื่อได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมว่าให้ใช้ชื่อย่อนั้นได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552
ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,090 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3699 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไฮโดรคลอริกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟต - วิธีแบเรียมซัลเฟตแกรวิเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3699 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กรดไฮโดรคลอริกสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟต -
วิธีแบเรียมซัลเฟตแกรวิเมทริก
----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไฮโดรคลอริกสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟต - วิธีแบเรียมซัลเฟตแกรวิเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1960 - 2543
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3203 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไฮโดรคลอริกสําหรับใช้ในอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟต - วิธีแบเรียมซัลเฟตแกรวิเมทริก ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2547
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,091 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3917 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารเล่ม 4 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับกั้นตามแนวดิ่งที่รับโหลด | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3917 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
เล่ม 4 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับชิ้นส่วนที่ใช้สําหรับกั้นตามแนวดิ่งที่รับโหลด
-------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 - 2539
อาศัยอํานาจตามความในมาดรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2136 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ขึ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร เล่ม 4 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับชิ้นส่วนที่ใช้สําหรับกั้นตามแนวดิ่งที่รับโหลด มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 เล่ม 4 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,092 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3918 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารเล่ม 5 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับกั้นตามแนวระนาบที่รับโหลด | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3918 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
เล่ม 5 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับชิ้นส่วนที่ใช้สําหรับกั้นตามแนวระนาบที่รับโหลด
-------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 - 2539
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2136 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร เล่ม 5 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับชิ้นส่วนที่ใช้สําหรับกั้นตามแนวระนาบที่รับโหลด มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 เล่ม 5 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,093 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3700 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลูกบาสเกตบอล | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3700 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ลูกบาสเกตบอล
--------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลูกบาสเกตบอล มาตรฐานเลขที่ มอก. 941 - 2538
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2081 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลูกบาสเกตบอล ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2538 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลูกบาสเกตบอล มาตรฐานเลขที่ มอก. 941 - 2550 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,094 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3919 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโรงสร้างอาคาร และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารเล่ม 6 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับคาน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3919 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโรงสร้างอาคาร
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
เล่ม 6 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับคาน
-------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 - 2539
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2136 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนด่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร เล่ม 6 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับคาน มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 เล่ม 6 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,095 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3920 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารเล่ม 7 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเสา | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3920 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
เล่ม 7 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเสา
-----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 - 2539
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2136 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร เล่ม 7 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเสา มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 เล่ม 7 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,096 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3701 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องฟอกอากาศ และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศ เฉพาะด้านความปลอดภัย | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3701 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัย
และงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องฟอกอากาศ
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เครื่องฟอกอากาศ เฉพาะด้านความปลอดภัย
----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องฟอกอากาศ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1516 - 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2440 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องฟอกอากาศ ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศ เฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 1516 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,097 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3921 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารเล่ม 8 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับกั้นตามแนวดิ่งที่ไม่รับโหลด | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3921 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
เล่ม 8 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับชิ้นส่วนที่ใช้สําหรับกั้นตามแนวดิ่งที่ไม่รับโหลด
---------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 - 2539
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2136 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนด่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร เล่ม 8 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับชิ้นส่วนที่ใช้สําหรับกั้นตามแนวดิ่งที่ไม่รับโหลด มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 เล่ม 8 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,098 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3922 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคารเล่ม 9 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับชิ้นส่วนเพดานที่ไม่รับโหลด | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3922 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร
เล่ม 9 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับชิ้นส่วนเพดานที่ไม่รับโหลด
--------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 - 2539
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2136 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาคาร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการทดสอบความทนไฟ - ขึ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างอาการ เล่ม 9 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับชิ้นส่วนเพดานที่ไม่รับโหลด มาตรฐานเลขที่ มอก. 1334 เล่ม 9 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,099 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3702 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกันข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องใช้สำหรับการดูแลผิวหรือผม และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับการดูแลผิวหรือผม เฉพาะด้านความปลอดภัย | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3702 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน
ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องใช้สําหรับการดูแลผิวหรือผม
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับการดูแลผิวหรือผม เฉพาะด้านความปลอดภัย
----------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องใช้สําหรับการดูแลผิวหรือผม มาตรฐานเลขที่ มอก. 1985 - 2543
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2914 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องใช้สําหรับการดูแลผิว หรือผม ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2544 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับการดูแลผิวหรือผม เฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 1985 – 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,100 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3923 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการบริหารงานคุณภาพ : แนวทางสำหรับการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางการเงินและทางเศรษฐกิจ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3923 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การบริหารงานคุณภาพ : แนวทางสําหรับการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์
ในทางการเงินและทางเศรษฐกิจ
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการบริหารงานคุณภาพ : แนวทางสําหรับการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางการเงินและทางเศรษฐกิจ มาตรฐานเลขที่ มอก. 10014 – 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,101 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3924 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไส้กรองน้ำเซรามิก และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไส้กรองความขุ่นสำหรับเครื่องกรองน้ำดื่ม | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3924 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ไส้กรองน้ําเซรามิก
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ไส้กรองความขุ่นสําหรับเครื่องกรองน้ําดื่ม
-----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไส้กรองน้ําเซรามิก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1420 - 2540
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2265 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไส้กรองน้ําเซรามิก ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไส้กรองความขุ่นสําหรับเครื่องกรองน้ําดื่ม มาตรฐานเลขที่ มอก. 1420 - 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,102 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3703 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ เฉพาะด้านความปลอดภัย และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ เฉพาะด้านความปลอดภัย | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3703 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หลอดฟลูออเรสเซนซ์ เฉพาะด้านความปลอดภัย
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ เฉพาะด้านความปลอดภัย
---------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนช์ เฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 956 - 2533
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1609 (พ.ศ. 2533) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ เฉพาะด้านความปลอดภัย ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2533 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ เฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 956 - 2548 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ เฉพาะด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 956 – 2548 ใช้บังคับ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ฌ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,103 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3925 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องกรองน้ำดื่ม | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3925 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เครื่องกรองน้ําดื่ม
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องกรองน้ําดื่ม มาตรฐานเลขที่ มอก. 2392 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,104 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3926 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมุดเกลียวทรงกระบอก - คำศัพท์ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3926 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หมุดเกลียวทรงกระบอก - คําศัพท์
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมุดเกลียวทรงกระบอก - คําศัพท์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2405 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,105 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3927 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเขียนแบบทางเทคนิค – หมุดเกลียวและส่วนของเกลียว เล่ม 1 ข้อตกลงทั่วไป | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3927 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การเขียนแบบทางเทคนิค – หมุดเกลียวและส่วนของเกลียว เล่ม 1 ข้อตกลงทั่วไป
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเขียนแบบทางเทคนิค – หมุดเกลียวและส่วนของเกลียวเล่ม 1 ข้อตกลงทั่วไป มาตรฐานเลขที่ มอก. 2406 เล่ม 1 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,106 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3928 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเขียนแบบทางเทคนิค – หมุดเกลียวและส่วนของเกลียว เล่ม 2 เกลียวฝัง | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3928 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การเขียนแบบทางเทคนิค – หมุดเกลียวและส่วนของเกลียว เล่ม 2 เกลียวฝัง
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเขียนแบบทางเทคนิค – หมุดเกลียวและส่วนของเกลียว เล่ม 2 เกลียวฝัง มาตรฐานเลขที่ มอก. 2406 เล่ม 2 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,107 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3929 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเขียนแบบทางเทคนิค – หมุดเกลียวและส่วนของเกลียว เล่ม 3 การแสดงภาพอย่างง่าย | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3929 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การเขียนแบบทางเทคนิค – หมุดเกลียวและส่วนของเกลียว เล่ม 3 การแสดงภาพอย่างง่าย
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเขียนแบบทางเทคนิค – หมุดเกลียวและส่วนของเกลียว เล่ม 3 การแสดงภาพอย่างง่าย มาตรฐานเลขที่ มอก. 2406 เล่ม 3 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,108 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3930 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวเมตริกสำหรับใช้งานทั่วไปตามมาตรฐานไอเอสโอ - มิติพื้นที่ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3930 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เกลียวเมตริกสําหรับใช้งานทั่วไปตามมาตรฐานไอเอสโอ - มิติพื้นที่
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวเมตริกสําหรับใช้งานทั่วไปตามมาตรฐานไอเอสโอ - มิติพื้นฐาน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2407 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,109 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3931 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด - การเคลือบผิวด้วยเกล็ดสังกะสีโดยไม่ใช้กรรมวิธีทางไฟฟ้า | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3931 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตัวยึด - การเคลือบผิวด้วยเกล็ดสังกะสีโดยไม่ใช้กรรมวิธีทางไฟฟ้า
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด – การเคลือบผิวด้วยเกล็ดสังกะสีโดยไม่ใช้กรรมวิธีทางไฟฟ้า มาตรฐานเลขที่ มอก. 2408 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,110 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3932 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวนิ้วไอเอสโอ – ข้อกำหนดทั่วไปและการเลือก สำหรับหมุดเกลียว สลักเกลียว และแป้นเกลียว – ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.06 นิ้ว ถึง 6 นิ้ว | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3932 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เกลียวนิ้วไอเอสโอ – ข้อกําหนดทั่วไปและการเลือก สําหรับหมุดเกลียว สลักเกลียว และแป้นเกลียว –
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.06 นิ้ว ถึง 6 นิ้ว
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวนิ้วไอเอสโอ - ข้อกําหนดทั่วไปและการเลือก สําหรับหมุดเกลียว สลักเกลียว และแป้นเกลียว - ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.06 นิ้ว ถึง 6 นิ้ว มาตรฐานเลขที่ มอก. 2409 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,111 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3933 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวนิ้วไอเอสโอ - ความเผื่อและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3933 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เกลียวนิ้วไอเอสโอ - ความเผื่อและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวนิ้วไอเอสโอ – ความเผื่อและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2410 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,112 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3934 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด – ผลิตภัณฑ์หกเหลี่ยม - ความกว้างระหว่างด้านคู่ขนาน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3934 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตัวยึด – ผลิตภัณฑ์หกเหลี่ยม - ความกว้างระหว่างด้านคู่ขนาน
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด – ผลิตภัณฑ์หกเหลี่ยม - ความกว้างระหว่างด้านคู่ขนาน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2411 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,113 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3704 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนำเฟสเดียว และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนำ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3704 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มอเตอร์เหนี่ยวนําเฟสเดียว
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มอเตอร์เหนี่ยวนํา
---------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนําเฟสเดียว มาตรฐานเลขที่ มอก. 866 - 2532
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1518 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนําเฟสเดียว ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2532 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนํา มาตรฐานเลยที่ มอก. 866 - 2550 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระกรวงอุตสาหกรรม | 8,114 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3935 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด – รูเผื่อขนาดสำหรับสลักเกลียวและหมุดเกลียว | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3935 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตัวยึด – รูเผื่อขนาดสําหรับสลักเกลียวและหมุดเกลียว
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด – รูเผื่อขนาดสําหรับสลักเกลียวและหมุดเกลียว มาตรฐานเลขที่ มอก. 2412 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,115 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3936 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสลักเกลียว หมุดเกลียว แป้นเกลียว และอุปกรณ์ประกอบ – คำศัพท์และชื่อเฉพาะ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3936 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สลักเกลียว หมุดเกลียว แป้นเกลียว และอุปกรณ์ประกอบ – คําศัพท์และชื่อเฉพาะ
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสลักเกลียว หมุดเกลียว หมุดเกลียว แป้นเกลียว และอุปกรณ์ประกอบ - คําศัพท์และชื่อเฉพาะ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2413 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,116 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3705 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส : ประสิทธิภาพขั้นต่ำ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3705 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มอเตอร์เหนี่ยวนําสามเฟส
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มอเตอร์เหนี่ยวนําสามเฟส : ประสิทธิภาพขั้นต่ํา
---------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนําสามเฟส มาตรฐานเลขที่ มอก. 867 - 2532
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1519 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนําสามเฟส ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2532 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนําสามเฟส : ประสิทธิภาพขั้นต่ํา มาตรฐานเลขที่ มอก. 867 - 2550 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,117 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3937 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระยะหมดเกลียวสำหรับตัวยึดแบบเกลียวที่เป็นไปตาม ISO 261 และ ISO 262 | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3937 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ระยะหมดเกลียวสําหรับตัวยึดแบบเกลียวที่เป็นไปตาม ISO 261 และ ISO 262
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระยะหมดเกลียวสําหรับตัวยึดแบบเกลียวที่เป็นไปตาม ISO 261 และ ISO 262 มาตรฐานเลขที่ มอก. 2414 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,118 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3938 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึดแบบเกลียว - การทดสอบความล้าเมื่อรับแรงตามแนวแกน - วิธีทดสอบและการประเมินผล | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3938 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตัวยึดแบบเกลียว - การทดสอบความล้าเมื่อรับแรงตามแนวแกน - วิธีทดสอบและการประเมินผล
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึดแบบเกลียว - การทดสอบความล้าเมื่อรับแรงตามแนวแกน - วิธีทดสอบและการประเมินผล มาตรฐานเลขที่ มอก. 2415 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,119 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3939 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด - การเคลือบผิวโดยกรรมวิธีทางไฟฟ้า | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3939 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตัวยึด - การเคลือบผิวโดยกรรมวิธีทางไฟฟ้า
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด - การเคลือบผิวโดยกรรมวิธีทางไฟฟ้า มาตรฐานเลขที่ มอก. 2416 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,120 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3706 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไปและบทนิยาม | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3706 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 1 ข้อกําหนดทั่วไปและบทนิยาม
-----------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานางตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 1 ข้อกําหนดทั่วไปและบทนิยาม มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 1 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,121 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3940 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด - ส่วนปลายของชิ้นงานเกลียวเมตริก ISO เกลียวนอก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3940 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตัวยึด - ส่วนปลายของชิ้นงานเกลียวเมตริก ISO เกลียวนอก
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณพ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด - ส่วนปลายของชิ้นงานเกลียวเมตริก ISO เกลียวนอก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2417 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,122 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3941 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด - ร่องลดที่โคนเกลียวสำหรับเกลียวเมตริก ISO เกลียวนอก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3941 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตัวยึด - ร่องลดที่โคนเกลียวสําหรับเกลียวเมตริก ISO เกลียวนอก
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวยึด – ร่องลดที่โคนเกลียวสําหรับเกลียวเมตริก ISO เกลียวนอก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2418 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,123 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3942 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเขียนแบบทางเทคนิค – การแสดงภาพอย่างง่าย สำหรับการประกอบชิ้นส่วนด้วยตัวยึดเล่ม 1 หลักการทั่วไป | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3942 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การเขียนแบบทางเทคนิค – การแสดงภาพอย่างง่าย สําหรับการประกอบชิ้นส่วนด้วยตัวยึด
เล่ม 1 หลักการทั่วไป
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการเขียนแบบทางเทคนิค - การแสดงภาพอย่างง่าย สําหรับการประกอบชิ้นส่วนด้วยตัวยึด เล่ม 1 หลักการทั่วไป มาตรฐานเลขที่ มอก. 2419 เล่ม 1 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,124 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3943 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการระบุข้อมูลสำหรับตัวยึด | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3943 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ระบบการระบุข้อมูลสําหรับตัวยึด
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการระบุข้อมูลสําหรับตัวยึด มาตรฐานเลขที่ มอก. 2420 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,125 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3707 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบซื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่น 2 วิธีทดสอบคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะที่ต้องการ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3707 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบซื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่น 2 วิธีทดสอบคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะที่ต้องการ
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 2 วิธีทดสอบคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะที่ต้องการ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 2 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,126 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3944 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวเมตริกสำหรับใช้งานทั่วไปตามมาตรฐานไอเอสโอ - เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเล่ม 4 ขีดจำกัดของขนาดสำหรับเกลียวนอกเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อนเพื่อให้คู่กับเกลียวในซึ่งผ่านการกัดเกลียวแล้วมีตำแหน่งเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน H หรือ G หลังการเคลือบสังกะสี | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3944 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เกลียวเมตริกสําหรับใช้งานทั่วไปตามมาตรฐานไอเอสโอ - เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน
เล่ม 4 ขีดจํากัดของขนาดสําหรับเกลียวนอกเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อนเพื่อให้คู่กับเกลียวใน
ซึ่งผ่านการกัดเกลียวแล้วมีตําแหน่งเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน H หรือ G หลังการเคลือบสังกะสี
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวเมตริกสําหรับใช้งานทั่วไปตามมาตรฐานไอเอสโอ – เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน เล่ม 4 ขีดจํากัดของขนาดสําหรับเกลียวนอกเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อนเพื่อให้คู่กับเกลียวใน ซึ่งผ่านการกัดเกลียวแล้วมีตําแหน่งเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน H หรือ G หลังการเคลือบสังกะสี มาตรฐานเลขที่ มอก. 339 เล่ม 4 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,127 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3945 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวเมตริกสำหรับใช้งานทั่วไปตามมาตรฐานไอเอสโอ - เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเล่ม 5 ขีดจำกัดของขนาดสำหรับเกลียวในเพื่อให้คู่กับเกลียวนอกเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อนซึ่งมีขนาดสูงสุดของตำแหน่งเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน h ก่อนการเคลือบสังกะสี | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3945 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เกลียวเมตริกสําหรับใช้งานทั่วไปตามมาตรฐานไอเอสโอ - เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน
เล่ม 5 ขีดจํากัดของขนาดสําหรับเกลียวในเพื่อให้คู่กับเกลียวนอกเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อน
ซึ่งมีขนาดสูงสุดของตําแหน่งเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน h ก่อนการเคลือบสังกะสี
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกลียวเมตริกสําหรับใช้งานทั่วไปตามมาตรฐานไอเอสโอ - เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเล่ม 5 ขีดจํากัดของขนาดสําหรับเกลียวในเพื่อให้คู่กับเกลียวนอกเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อนซึ่งมีขนาดสูงสุดของตําแหน่งเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน h ก่อนการเคลือบสังกะสี มาตรฐานเลขที่ มอก. 339 เล่ม 5 – 2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,128 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3946 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกันข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องสูบของเหลวที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าเฉพาะด้านความปลอดภัย | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3946 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน
ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องสูบของเหลวที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เครื่องสูบน้ําไฟฟ้าเฉพาะด้านความปลอดภัย
-------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องสูบของเหลวที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส มาตรฐานเลขที่ มอก. 1548- 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2461 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องสูบของเหลวที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสูบน้ําไฟฟ้าเฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 1548 – 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,129 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3947 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องรีดผ้า และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องรีดผ้าไฟฟ้า เฉพาะด้านความปลอดภัย | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3947 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน
ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องรีดผ้า
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เครื่องรีดผ้าไฟฟ้า เฉพาะด้านความปลอดภัย
-------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องรีดผ้า มาตรฐานเลขที่ มอก. 1567 - 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2437 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า สําหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับเครื่องรีดผ้า ลงวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องรีดผ้าไฟฟ้าเฉพาะด้านความปลอดภัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 1567 - 2531 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,130 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3708 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 3 ลิ้นกันกลับ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3708 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 3 ลิ้นกันกลับ
---------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 3 ลิ้นกันกลับ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 3 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยนรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,131 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3948 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ – การตรวจประเมินกระบวนการเล่ม 1 แนวความคิดและคำศัพท์ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3948 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศ – การตรวจประเมินกระบวนการ
เล่ม 1 แนวความคิดและคําศัพท์
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ – การตรวจประเมินกระบวนการ เล่ม 1 แนวความคิดและคําศัพท์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2393 เล่ม 1–2551 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,132 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3709 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 4 ลิ้นเปิด – ปิดด้วยมือ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3709 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 4 ลิ้นเปิด – ปิดด้วยมือ
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 4 ลิ้นเปิด - ปิดด้วยมือ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 4 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,133 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3949 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ – การตรวจประเมินกระบวนการเล่ม 2 ปฏิบัติการตรวจประเมิน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3949 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศ – การตรวจประเมินกระบวนการ
เล่ม 2 ปฏิบัติการตรวจประเมิน
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑฺอุตสาหรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ – การตรวจประเมินกระบวนการ เล่ม 2 ปฏิบัติการตรวจประเมิน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2393 เล่ม 2–2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,134 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3710 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 5 ลิ้นหัวถังเปิด – ปิดด้วยมือ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3710 (พ.ศ. 2511)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 5 ลิ้นหัวถังเปิด – ปิดด้วยมือ
--------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 5 ลิ้นหัวถังเปิด - ปิดด้วยมือ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 5 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,135 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3711 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 6 ลิ้นเปิด – ปิดอัตโนมัติ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3711 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 6 ลิ้นเปิด – ปิดอัตโนมัติ
-----------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 6 ลิ้นเปิด - ปิดอัตโนมัติ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 6 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,136 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3712 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 7 หัวฉีดก๊าซ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3712 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 7 หัวฉีดก๊าซ
------------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 7 หัวฉีดก๊าซ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 7 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,137 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3811 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมห้ามล้อสำหรับยานยนต์ที่น้อยกว่า 4 ล้อ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3811 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ห้ามล้อสําหรับยานยนต์ที่น้อยกว่า 4 ล้อ
---------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิดภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมห้ามล้อสําหรับยานยนต์ที่น้อยกว่า 4 ล้อ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2306 - 2549 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,138 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3713 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 8 อุปกรณ์แสดงค่าความดัน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3713 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 8 อุปกรณ์แสดงค่าความดัน
-----------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 8 อุปกรณ์แสดงค่าความดัน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 8 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,139 |
ประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง การยกเลิกและกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกันต้องเป็นไปตามมาตรฐาน | ประกาศสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เรื่อง การยกเลิกและกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัย
และสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน
ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
---------------------------
อื่นๆ - ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 ไปแล้ว นั้น
บัดนี้ คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเห็นสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้า ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตช์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานมาตรฐานเลขที่ มอก. 824-2551 ซึ่งจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ในลําดับต่อไป
ก่อนตราพระราชกฤษฎีกา สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงให้มีการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องตามมาตรฐานดังกล่าว เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการตราพระราชกฤษฎีกาต่อไป ทั้งนี้ ผู้ประสงค์จะแสดงความคิดเห็นให้แสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเหตุผล โดยระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่อสํานักงานฯ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันประกาศ
ผู้ที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดการกําหนดมาตรฐานดังกล่าว โปรดติดต่อขอดูได้ที่สํานักกฎหมายสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือ www.isi.go.th
จึงประกาศมาให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ไพโรจน์ สัญญะเดชากุล
เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | 8,140 |
ประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง การยกเลิกและกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน | ประกาศสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เรื่อง การยกเลิกและกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่
ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด
ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
--------------------------------
อื่นๆ - ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาคใหญ่ที่ใช้เครื่องยนด์ดีเซล ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2542 ไปแล้ว นั้น
บัดนี้ คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเห็นสมควรยกเลิกการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 2 มาตรฐานเลขที่ มอก. 1295-2541 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดเฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ระดับที่ 4 มาตรฐานเลขที่ มอก. 2315-2551 ซึ่งจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาต่อไป
ก่อนตราพระราชกฤษฎีกา สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงให้มีการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องตามมาตรฐานดังกล่าว เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการตราพระราชกฤษฎีกาต่อไป ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะแสดงความคิดเห็น ให้แสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเหตุผล โดยระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้แสดงความคิดเห็นต่อสํานักงาน ฯ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันประกาศ
ผู้ที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดการกําหนดมาตรฐานดังกล่าว โปรดติดต่อขอดูได้ที่สํานักกฎหมายสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ www.isi.go.th
จึงประกาศมาให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ไพโรจน์ สัญญะเดชากุล
เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | 8,141 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3715 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 10 อุปกรณ์ปรับการไหลของก๊าซ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3715 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 10 อุปกรณ์ปรับการไหลของก๊าซ
---------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 10 อุปกรณ์ปรับการไหลของก๊าซ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 10 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,142 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3812 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณสำหรับรถจักรยานยนต์ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3812 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณสําหรับรถจักรยานยนต์
---------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณสําหรับรถจักรยานยนต์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2343 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,143 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3813 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2411 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมลพิษทางเสียงที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3813 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2411
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มลพิษทางเสียงที่เกิดจากรถจักรยานยนต์
--------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมลพิษทางเสียงที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2355 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,144 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3716 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 11 อุปกรณ์ผสมก๊าซ/อากาศ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3716 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 11 อุปกรณ์ผสมก๊าซ/อากาศ
-----------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน - ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 11 อุปกรณ์ผสมก๊าซ/อากาศ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 11 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,145 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3814 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาตรพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ : ข้อกำหนดเฉพาะมาตรกลไฟฟ้าสำหรับพลังงานไฟฟ้าใช้งาน (ชั้น 0.5 ชั้น 1 และ ชั้น 2) | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3814 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มาตรพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ : ข้อกําหนดเฉพาะ
มาตรกลไฟฟ้าสําหรับพลังงานไฟฟ้าใช้งาน (ชั้น 0.5 ชั้น 1 และ ชั้น 2)
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาตรพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ : ข้อกําหนดเฉพาะมาตรกลไฟฟ้าสําหรับพลังงานไฟฟ้าใช้งาน (ชั้น 0.5 ชั้น 1 และ ชั้น 2) มาตรฐานเลขที่ มอก. 2336 - 2550 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,146 |
ประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่อง การยกเลิกและกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน | ประกาศสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เรื่อง การยกเลิกและกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
-----------------------------
อื่นๆ - ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 ไปแล้ว นั้น
บัดนี้ คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเห็นสมควรยกเลิกการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ระดับที่ 5 มาตรฐานเลขที่ มอก. 2130-2545 ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามพระราชกฤษฏีกาดังกล่าว และกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ระดับที่ 6 มาตรฐานเลขที่ มอก. 2350-2551 ซึ่งจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาต่อไป
ก่อนตราพระราชกฤษฎีกา สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงให้มีการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องตามมาตรฐานดังกล่าว เพื่อนํามาประกอบการพิจารณาดําเนินการตราพระราชกฤษฎีกาต่อไป ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะแสดงความคิดเห็นให้แสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเหตุผล โดยระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้แสดงความคิดเห็นต่อสํานักงานฯ ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศ
ผู้ที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดการกําหนดมาตรฐานดังกล่าว โปรดติดต่อขอดูได้ที่สํานักกฎหมาย สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ www.tisi.go.ch
จึงประกาศมาให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ไพโรจน์ สัญญะเดชากุล
เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม | 8,147 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3714 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดเล่ม 9 อุปกรณ์ปรับความดัน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3714 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด
เล่ม 9 อุปกรณ์ปรับความดัน
------------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใช้บนถนน – ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัด เล่ม 9 อุปกรณ์ปรับความดัน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2325 เล่ม 9 - 2550 ไว้ ดังมีรายละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,148 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3815 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไดอะแฟรมยางคุมกำเนิดชนิดนำกลับมาใช้ใหม่ได้เล่ม 1 การแบ่งประเภท การชักตัวอย่าง และคุณลักษณะที่ต้องการ และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอุปกรณ์คุมกำเนิด - ไดอะแฟรมยางธรรมชาติและยางซิลิโคนคุมกำเนิดชนิดนำกลับมาใช้ใหม่ได้ – คุณลักษณะที่ต้องการและวิธีทดสอบ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3815 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ไดอะแฟรมยางคุมกําเนิดชนิดนํากลับมาใช้ใหม่ได้
เล่ม 1 การแบ่งประเภท การชักตัวอย่าง และคุณลักษณะที่ต้องการ
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อุปกรณ์คุมกําเนิด - ไดอะแฟรมยางธรรมชาติและยางซิลิโคนคุมกําเนิด
ชนิดนํากลับมาใช้ใหม่ได้ – คุณลักษณะที่ต้องการและวิธีทดสอบ
---------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ไดอะแฟรมยางคุมกําเนิดชนิดนํากลับมาใช้ใหม่ได้ เล่ม 1 การแบ่งประเภท การชักตัวอย่าง และคุณลักษณะที่ต้องการ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1832 เล่ม 1-2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2726 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไดอะแฟรมยางคุมกําเนิดชนิดนํากลับมาใช้ใหม่ได้ เล่ม 1 การแบ่งประเภท การชักตัวอย่าง และคุณลักษณะที่ต้องการ ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อุปกรณ์คุมกําเนิด - ไดอะแฟรมยางธรรมชาติและยางซิลิโคนคุมกําเนิดชนิดนํากลับมาใช้ใหม่ได้ - คุณลักษณะที่ต้องการและวิธีทดสอบมาตรฐานเลขที่ มอก. 1832 - 2550 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,149 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3818 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย - แนวทางการใช้ ISO 4074ในการจัดการคุณภาพถุงยางอนามัยจากน้ำยางธรรมชาติ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3818 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ถุงยางอนามัย - แนวทางการใช้ ISO 4074
ในการจัดการคุณภาพถุงยางอนามัยจากน้ํายางธรรมชาติ
-------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงยางอนามัย - แนวทางการใช้ ISO 4074 ในการจัดการคุณภาพถุงยางอนามัยจากน้ํายางธรรมชาติ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2352 - 2550 ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,150 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3819 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการศึกษาข้อมูลทางคลินิกสำหรับถุงยางอนามัย – การวัดสมบัติทางกล | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3819 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การศึกษาข้อมูลทางคลินิกสําหรับถุงยางอนามัย – การวัดสมบัติทางกล
----------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการศึกษาข้อมูลทางคลินิกสําหรับถุงยางอนามัย - การวัดสมบัติทางกล มาตรฐานเลขที่ มอก. 2353 - 2550 ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรับษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,151 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3820 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่ออะคริโลไนไทรล์ - บิวทาไดอีน - สไตรีน (เอบีเอส) ทนความดัน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3820 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ท่ออะคริโลไนไทรล์ - บิวทาไดอีน - สไตรีน (เอบีเอส) ทนความดัน
--------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่ออะคริโลไนไทรล์ - บิวทาไดอีน - สไตรีน (เอบีเอส) ทนความดัน มาตรฐานเลขที่ มอก. 2357 - 2550 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,152 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3821 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสบู่เหลว | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3821 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สบู่เหลว
----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสบู่เหลว มาตรฐานเลขที่ มอก. 1403 - 2540
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2331 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสบู่เหลว ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2541 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสบู่เหลว มาตรฐานเลขที่ มอก. 1403 – 2551 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,153 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3822 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลังพลาสติกสำหรับบรรจุผักและผลไม้ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3822 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ลังพลาสติกสําหรับบรรจุผักและผลไม้
----------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลังพลาสติกสําหรับบรรจุผักและผลไม้ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2373 - 2551 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,154 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3823 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอะคริลิกเรซินวาร์นิช | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3823 (พ.ศ. 2551)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อะคริลิกเรซินวาร์นิช
-------------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอะคริลิกเรซินวาร์นิช มาตรฐานเลขที่ มอก. 2364 - 2551 ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,155 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.