title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 64/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตมีสำนักงานอำนวยสินเชื่อของบริษัทเงินทุน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 64 /2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตมีสํานักงานอํานวยสินเชื่อของบริษัทเงินทุน
----------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ในการสนับสนุนให้บริษัทเงินทุนสามารถขยายสินเชื่อแก่ผู้บริโภคได้มากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนมีสํานักงาน อํานวยสินเชื่อได้
การออกประกาศฉบับนี้เป็นการอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 80(2)(ก) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตมีสํานักงาน อํานวยสินเชื่อของบริษัทเงินทุน ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบัน การเงิน พ.ศ. 2551 ทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
4.1 หนังสือเวียนที่ งพ.(ว) 963/2530 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2530 เรื่อง กฎกระทรวงและประกาศกระทรวงการคลัง
4.2 หนังสือเวียนที่ ธปท.สนส.(31) ว. 1749/2546 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2546 เรื่อง การขออนุญาตมีสํานักงานอํานวยสินเชื่อ
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"สํานักงานอํานวยสินเชื่อ" หมายความว่า สํานักงานของบริษัทเงินทุนประเภทจํากัดขอบเขตการประกอบธุรกิจเงินทุนเฉพาะที่กําหนดในประกาศนี้
5.2 การขออนุญาตจัดตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อ
5.2.1 บริษัทเงินทุนที่จะขออนุญาตจัดตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีเงินทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชําระแล้วเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด
(2) ปฏิบัติตามกฎหมาย คําสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คําสั่งธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเคร่งครัด และไม่เป็นผู้ที่ปฏิบัติขัดกับนโยบายของทางการ
(3) มีฐานะการดําเนินงานดี มีระบบการจัดการ การควบคุมภายใน และ การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความพร้อมในด้านบุคลากร
(4) มีสัดส่วนสินทรัพย์ประจําต่อเงินกองทุนอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและไม่เกิน 1 เท่าของเงินกองทุน
(5) มีเงินกองทุนและมีการกันสํารองถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
5.2.2 สํานักงานอํานวยสินเชื่อที่จะขออนุญาตจัดตั้ง จะต้องอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร
5.2.3 ในการอนุญาตให้จัดตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อในแต่ละพื้นที่นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาจากความพร้อมของแต่ละบริษัทในด้านการจัดการ การควบคุมภายใน การบริหารงานและบุคลากร และจํานวนสาขาสถาบันการเงินในแต่ละพื้นที่ด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทเงินทุนยังคงต้องพิจารณาศักยภาพของพื้นที่ที่ตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อ ด้านความหนาแน่นของประชากร ประเภทธุรกิจ และปัจจัยที่สําคัญต่าง ๆ
5.2.4 บริษัทเงินทุนที่มีความพร้อมสามารถยื่นคําขออนุญาตเปิดสํานักงาน อํานวยสินเชื่อต่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ โดยไม่จํากัดเวลาและจํานวนคําขอ ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนสามารถยื่นคําขออนุญาตได้ในทุกพื้นที่ที่ตนเองเห็นว่าเหมาะสมและมีความคุ้มค่าทางธุรกิจนอกเขตกรุงเทพมหานคร
5.2.5 ให้บริษัทเงินทุนที่มีคุณสมบัติตามข้อ 5.2.1 และประสงค์จะมีสํานักงาน อํานวยสินเชื่อต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคําขออนุญาตต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นคําขออนุญาต
(2) ชื่อบริษัทเงินทุนผู้ขออนุญาต
(3) จํานวนสํานักงานอํานวยสินเชื่อที่จะขออนุญาต
(4) สถานที่ตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อ โดยจัดทําแผนที่พอสังเขปแสดง ปริมณฑลด้วย ในกรณีที่ไม่สามารถระบุสถานที่ตั้งได้แน่นอน ให้ระบุอําเภอและจังหวัดที่จะจัดตั้ง สํานักงานอํานวยสินเชื่อ
(5) แผนการดําเนินงานของสํานักงานอํานวยสินเชื่อที่จะจัดตั้ง และระยะเวลาที่คาดว่าจะถึงจุดคุ้มทุน
(6) วิธีปฏิบัติงานและการควบคุมภายในของสํานักงานอํานวยสินเชื่อและระหว่างสํานักงานใหญ่กับสํานักงานอํานวยสินเชื่อ
(7) ผังการจัดองค์กรของแต่ละสํานักงาน สายการปฏิบัติงานและการควบคุมบังคับบัญชา และคุณวุฒิและประสบการณ์ของพนักงาน
(8) ระบบการประสานงานระหว่างสํานักงานอํานวยสินเชื่อกับ สํานักงานใหญ่
5.2.6 ให้สํานักงานอํานวยสินเชื่อประกอบธุรกิจได้เฉพาะธุรกิจเงินทุนตาม ประเภทที่ได้รับอนุญาต และธุรกิจอื่นที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 แต่จะรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนไม่ได้
5.2.7 บริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อ ต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเปิดให้บริการ ณ สํานักงานอํานวยสินเชื่อภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการได้ให้ถือว่าการอนุญาตเป็นอันสิ้นผล
(2) ต้องแจ้งกําหนดวันเปิดให้บริการของสํานักงานอํานวยสินเชื่อต่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนวันเปิดให้บริการไม่น้อยกว่า 15 วัน
5.2.8 บริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อจะต้อง ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และให้ยื่นคําขอซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ตามนัยมาตรา 80 (2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะได้รับการขยายระยะเวลาจากธนาคารแห่งประเทศไทย
5.3 การยกระดับสํานักงานอํานวยสินเชื่อขึ้นเป็นสํานักงานสาขา
5.3.1 บริษัทเงินทุนอาจยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับ สํานักงานอํานวยสินเชื่อขึ้นเป็นสํานักงานสาขาที่รับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน ได้ด้วยเมื่อสํานักงานอํานวยสินเชื่อนั้นมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ให้สินเชื่ออย่างต่อเนื่องแก่สาขาเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการผลิตและมีการบํารุงรักษาสภาพแวดล้อม รวมทั้งมิใช่เป็นการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจเก็งกําไร
(2) มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ
(3) มีการขยายสินเชื่อให้แก่ลูกค้าที่มีภูมิลําเนาอยู่ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องและมียอดคงค้างสินเชื่อในภูมิภาค ณ วันยื่นขออนุญาตไม่ต่ํากว่า 150 ล้านบาท
5.3.2 บริษัทเงินทุนที่ประสงค์จะยกระดับสํานักงานอํานวยสินเชื่อขึ้นเป็นสํานักงานสาขา ให้ขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคําขออนุญาตต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นคําขออนุญาต
(2) ชื่อบริษัทเงินทุนผู้ขออนุญาต
(3) จํานวนและสถานที่ตั้งของสํานักงานอํานวยสินเชื่อที่จะขออนุญาตยกระดับขึ้นเป็นสํานักงานสาขา
(4) แผนการดําเนินงานของสํานักงานสาขา และประมาณการให้กู้ยืมเงิน และการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนของสํานักงานสาขา
(5) รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการควบคุมภายในของสํานักงานอํานวยสินเชื่อและระหว่างสํานักงานใหญ่กับสํานักงานอํานวยสินเชื่อ
(6) ผังการจัดองค์กรของแต่ละสํานักงานสาขา สายการปฏิบัติงานและ การควบคุมบังคับบัญชา และคุณวุฒิและประสบการณ์ของพนักงาน
5.3.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาคําขออนุญาตปีละ 1 ครั้ง โดยให้ บริษัทเงินทุนที่จะขอยกระดับสํานักงานอํานวยสินเชื่อขึ้นเป็นสํานักงานสาขายื่นคําขออนุญาต พร้อมเอกสารที่กําหนดมายังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 กันยายนของทุกปี
5.3.4 บริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ยกระดับสํานักงานอํานวยสินเชื่อขึ้นเป็น สํานักงานสาขาจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และให้เริ่มดําเนินการในรูปสํานักงานสาขาภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ หากบริษัทเงินทุนไม่สามารถดําเนินการได้ทัน ให้ยื่นคําขอผ่อนผันพร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็นมายังธนาคารแห่งประเทศไทยในการผ่อนผันธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาขยายเวลาให้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับ อนุญาต และจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ปฏิบัติด้วยก็ได้
5.4 การเลิกสํานักงานอํานวยสินเชื่อ หรือสํานักงานสาขา
บริษัทเงินทุนที่ประสงค์จะเลิกสํานักงานอํานวยสินเชื่อ หรือสํานักงานสาขาให้ยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันเลิกสํานักงาน และแจ้งให้ลูกค้าทราบถ่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน หากไม่ได้รับการทักท้วงจากธนาคารแห่ง ประเทศไทยภายใน 30 วัน นับจากวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคําขอ ให้บริษัทเงินทุนดําเนินการเลิกสํานักงานอํานวยสินเชื่อหรือสํานักงานสาขานั้นได้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,956 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 64/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 64/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.95/14/51 | 75,000 | 23 กันยายน 2551 | 25/9/51 – 09/10/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,957 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 65/2551 เรื่อง การกำหนดวันและเวลาทำการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 65 /2551
เรื่อง การกําหนดวันและเวลาทําการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการดําเนินงานและการให้บริการแก่ลูกค้าและประชาชนของ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดวันและเวลาทําการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
การออกประกาศฉบับนี้เป็นการอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันและเวลาทําการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกําหนดวันและเวลาทําการของ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 11 กันยายน 2539 (หนังสือเวียนที่ งฟ. (ว) 3218/2539 ลงวันที่ 13 กันยายน 2539)
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เปิด ทําการและหยุดทําการตามวันและเวลา ดังนี้
(1) วันและเวลาเปิดทําการ
(1.1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้เปิดทําการวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 9.30 ถึง 16.30 น.
(1.2) ในเขตอื่นนอกจาก (1.1) ให้เปิดทําการวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 8.30 ถึง 16.30 น.
(2) วันหยุดทําการประจําสัปดาห์ คือ วันเสาร์และอาทิตย์
(3) วันหยุดตามประเพณีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องประกาศวันและเวลาเปิด และหยุดทําการไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น ๆ
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,958 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 65/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 65/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.96/14/51 | 70,000 | 25 กันยายน 2551 | 29/9/51 – 13/10/51 | 14 |
| พ.97/14/51 | 70,000 | 26 กันยายน 2551 | 30/9/51 – 14/10/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,959 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 66/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่ม | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 66/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตั้งแต่ปี 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกแนวนโยบายการกํากับแบบรวมกลุ่มโดยขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ทดลองปฏิบัติ ซึ่งในช่วงแรกได้ขอให้ธนาคารพาณิชย์ปรับโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายด้วยการทยอยลดการถือหุ้นในบริษัทที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน รวมทั้งการเพิ่มการถือหุ้นในบริษัทที่ต้องการให้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 และการกําหนดวงเงินสูงสุดที่กลุ่มธุรกิจทางการเงิน สามารถให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทดลองปฏิบัติตามแนวนโยบายดังกล่าวแม้ว่าจะไม่มีอํานาจตามกฎหมายรองรับและต่อมาในเดือนมกราคม ปี 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกแนวนโยบายการกํากับแบบรวมกลุ่มเพิ่มเติม เช่น เกณฑ์การประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินการลงทุนภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เป็นต้น เพื่อขอความเห็นจากธนาคารพาณิชย์ก่อนที่จะบังคับใช้เมื่อพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้
จากสภาพการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ทําให้สถาบันการเงินมีการดําเนินธุรกิจในลักษณะเครือข่ายหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจให้สามารถสนองตอบความต้องการที่หลากหลายของคู่ค้าและลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทางธุรกิจเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงินอันเป็นเหตุให้ผู้ฝากเงินขาดความเชื่อมั่นและสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ โดยรวมดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต จึงเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกํากับแบบรวมกลุ่มในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เพื่อให้สามารถกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินควบคู่ไปกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินแบบเดี่ยว (solo basis) เพื่อให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดําเนินธุรกิจที่เหมาะสมและมีความมั่นคง อันจะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่ระบบสถาบันการเงินโดยรวม และเพื่อให้การกํากับดูแลสถาบันการเงินในประเทศไทยมีมาตรฐานและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล (the international best practices)
เพื่อให้สถาบันการเงินมีความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ในเบื้องต้นธนาคารแห่งประเทศไทยจะบังคับใช้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลในเชิงคุณภาพก่อน เช่น การจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การขอความเห็นชอบกรรมการและผู้บริหารของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การกําหนดขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การกําหนดนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การบริหารและติดตามความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การควบคุมภายใน และเมื่อสถาบันการเงินมีความพร้อม ธนาคารแห่งประเทศไทยจะบังคับใช้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลในเชิงปริมาณต่อไป เช่น การดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อรองรับความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การกําหนดปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันภายในและภายนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เป็นต้น
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 31 มาตรา 34 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 59 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มให้สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมทุกแห่งของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินยกเว้น สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
ส่วนที่ 1
คําจํากัดความ
1. ในประกาศฉบับนี้
1.1. คําดังต่อไปนี้ให้มีความหมายตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (เอกสารแนบ 2)
(1) "การให้สินเชื่อ"
(2) "ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ"
(3) "บริษัท"
(4) "บริษัทแม่"
(5) "บริษัทลูก"
(6) "บริษัทร่วม"
(7) "ผู้มีอํานาจในการจัดการ"
(8) "ผู้ที่เกี่ยวข้อง"
(9) "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่"
1.2. "การกํากับดูแลสถาบันการเงินแบบรวมกลุ่ม" (Consolidated Supervision) หมายความว่า การกํากับสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินเพื่อความแข็งแกร่งและความมั่นคงของสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยรวมทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยคํานึงถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยรวมที่มีผลกระทบต่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและสถาบันการเงินนั้นๆ ไม่ว่าความเสี่ยงนั้นจะปรากฏอยู่ในบัญชีของสถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินหรือไม่ก็ตาม
1.3. "สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งหมายความรวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย และธนาคาร พาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ แต่ไม่รวมสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
(2) บริษัทเงินทุน
(3) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
1.4. "กลุ่มธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงินตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
1.5. "ธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายถ่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจโฮลดิ้งที่ลงทุนในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเอง ธุรกิจการให้เช่าซื้อธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน ธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ธุรกิจเกี่ยวกับการชําระเงินและโอนเงิน ธุรกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืม ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) และธุรกิจอื่นที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดเพิ่มเติม
1.6. "ธุรกิจสนับสนุน" หมายความว่า ธุรกิจที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ประกอบกิจการที่เป็นงานด้านปฏิบัติการซึ่งสถาบันการเงินจะต้องปฏิบัติในการดําเนินธุรกิจปกติ หรืองานที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานของสถาบันการเงินโดยตรงเพื่อให้การประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินเป็นไปตามเป้าหมาย และ
(2) ให้บริการแก่สถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งของตนเองและสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้น ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจวิจัยข้อมูล ธุรกิจกฎหมาย และธุรกิจประเมินราคาสินทรัพย์ ซึ่งสามารถให้บริการแก่บุคคลทั่วไปได้แต่ต้องให้บริการกับสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งของตนเองและสถาบันการเงินอื่นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทยรวมกันเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับรายได้รวมของบริษัทนั้น
1.7. "เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน" ให้มีความหมายตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ สําหรับบริษัทเงินทุน หรือสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี
1.8. "กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" ให้มีความหมายตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน
1.9. "ที่ปรึกษา" ให้มีความหมายตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน
ส่วนที่ 2
โครงสร้างและการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(1) โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
2. กลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกอบด้วย สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ
3. บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกบริษัทจะประกอบธุรกิจ ได้แต่เฉพาะธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน เท่านั้น จะประกอบการค้าหรือธุรกิจอื่นมิได้
4. สําหรับโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยแบ่งตามประเภทของบริษัทแม่ ออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
4.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่เป็นสถาบันการเงินบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกอบด้วย สถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และมีบริษัทอื่นทั้งในและต่างประเทศเป็นบริษัทลูกบริษัทเดียวหรือหลายบริษัท โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินรูปแบบนี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
4.1.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการ ของบริษัทอื่น หรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของกระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือส่วนราชการอื่น
4.1.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ มีสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นบริษัทแม่อีกทอดหนึ่ง (สถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศดังกล่าว ไม่ใช่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน)
4.1.3 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่มีนิติบุคคลอื่นที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นบริษัทแม่อีกทอดหนึ่ง (นิติบุคคลอื่นดังกล่าว ไม่ใช่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน)
4.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกอบด้วย บริษัทแม่ที่จดทะเบียนในประเทศซึ่งไม่ใช่สถาบันการเงิน สถาบันการเงิน บริษัทลูกของสถาบันการเงิน และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินประเภทนี้ ได้แก่
4.2.1 บริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินและมีหน่วยงานกํากับดูแลเป็นการเฉพาะ (Regulated entity) เช่น บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกันชีวิต เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวต้องมีมาตร ฐานการกํากับดูแลเป็นที่ยอมรับของธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัทดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกํากับดูแลของตนให้เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
4.2.2 บริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ทําธุรกิจของตนเอง (Non - Operating Holding Company) แต่เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทอื่นมากกว่าเพื่อการลงทุนหาผลตอบแทนทั่วไปทั้งนี้ บริษัทโฮลดิ้งดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและประกอบธุรกิจตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
5. ธนาคารแห่งประเทศไทย อาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามความเหมาะสมกับโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพิ่มเติมได้ในกรณีที่สถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยไม่ได้ถูกกํากับดูแลแบบรวมกลุ่ม หรือธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มที่ใช้บังคับกับสถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศนั้นยังไม่เพียงพอหรือมีมาตรฐานต่ํากว่ามาตรฐานในเรื่องเดียวกันของธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) หน้าที่ของบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
6. เพื่อให้การประกอบธุรกิจและการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีประสิทธิภาพและความมั่นคง สอดคล้องกับนโยบายและหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้
6.1 กําหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบเป็นประจําทุกปี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ทั้งนี้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ
6.2 กําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงซึ่งรวมถึงการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ระบบการควบคุมและติดตามดูแล โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติว่าด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) ของสถาบันการเงิน
6.3 ควบคุม ดูแล ให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และปฏิบัติตามนโยบายที่บริษัทแม่ได้กําหนดไว้
6.4 ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามสมควรเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือแก้ไขให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีเงินกองทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
6.5 แจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่อาจกระทบต่อฐานะและชื่อเสียงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
6.6 มีและจัดเตรียมข้อมูลของกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งรายบริษัทและภาพรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ตรวจการ สถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบได้ เช่น งบการเงิน ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญ เป็นต้น
(3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้งคุณสมบัติของบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง
7. เนื่องจากบริษัทแม่มีบทบาทสําคัญต่อความมั่นคงในการดําเนินธุรกิจทั้งในด้านการสนับสนุนทางการเงินและการกําหนดนโยบายการบริหารงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรกําหนดคุณสมบัติที่สําคัญของบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ดังนี้
7.1 เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย
7.2 มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง และมีความสามารถในการระดมเงินทุนเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้อย่างเพียงพอ
7.3 มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัทโฮลดิ้งที่แท้จริงซึ่งมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสถาบันการเงิน โดยบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ต้องตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกครั้งก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นหรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น และแจ้งผลการตรวจสอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยจัดทํารายการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งตามแบบรายงานเช่นเดียวกับกรณีของสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการแจ้งผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน โดยให้จัดส่งมายังฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นหรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น
7.4 มีกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน และต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน เว้นแต่ เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษา ที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในปัจจุบันก่อนพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลบังกับใช้ ให้ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปได้ แต่เมื่อหมดวาระลงและจะดํารงตําแหน่งต่อไปอีก หรือมีการปรับเปลี่ยนตําแหน่งให้ขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยขอบเขตธุรกิจของบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง
8. บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถประกอบธุรกิจได้เฉพาะที่กําหนดดังต่อไปนี้
8.1 ลงทุน" และทําธุรกรรมกับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเอง
8.2 การลงทุนในบริษัทอื่นใดอันมีผลทําให้บริษัทโฮลดิ้งมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกับการลงทุนของสถาบันการเงินตามข้อ 9 โดยจะนับการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน รวมทั้งให้นับรวม ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย และหากลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
8.3 ลงทุนในบริษัทอื่นใดที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเองได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และรวมกันทุกบริษัทไม่เกินร้อยละ 10 ของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทโฮลดิ้ง ทั้งนี้ ในการนับการลงทุนจะนับเฉพาะการถือหุ้นทางตรงของบริษัทโฮลดิ้งเท่านั้น
8.4 บริหารเงินเพื่อตนเองหรือเพื่อกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเองได้
8.5 จัดหาเงินทุนโดยวิธีอื่นใดเพื่อใช้ในการดําเนินธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและของตนเองรวมถึงการออกหุ้นกู้ ยกเว้นการทําธุรกรรมที่เทียบเคียงได้กับการรับฝากเงิน
8.6 ให้บริการทางด้านงานสนับสนุนแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งของตนเองและสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ ธนาคารแห่งประเทศไทย
8.7 ประกอบธุรกิจอื่นใดตามที่ได้รับอนุญาตจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทแม่
9. ห้ามบริษัทแม่ลงทุนในบริษัทใดเกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ยกเว้นได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีดังต่อไปนี้
9.1 การลงทุนในบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทแม่ต้องลงทุนในบริษัทจนมีอํานาจควบคุมกิจการ และต้องเป็นบริษัทที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
9.1.1 เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดและในกรณีที่มีการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture capital) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะอนุญาตให้เฉพาะกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่มีศักยภาพสูง ลงทุนในธุรกิจประเภทนี้เนื่องจากธุรกิจเงินร่วมลงทุนเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ บริษัทแม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
9.1.2 เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดและให้บริการกับสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งของตนเองและสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย ยกเว้นในกรณีที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจวิจัยข้อมูล ธุรกิจกฎหมาย และธุรกิจประเมินราคาสินทรัพย์ ซึ่งสามารถให้บริการกับบุคคลทั่วไปได้เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง หรือใช้ความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านอย่างไรก็ดี ธุรกิจดังกล่าวจะต้องให้บริการกับสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งของตนเองและสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทยรวมกันเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับรายได้รวมของบริษัทนั้น
9.1.3 ในกรณีเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ บริษัทแม่จะต้องตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถดําเนินการจัดส่งข้อมูลของบริษัทนั้นให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตามที่ร้องขอ
9.2 การลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
9.2.1 กรณีบริษัทแม่เป็นสถาบันการเงินสถาบันการเงินจะลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินเกินร้อยละ 10ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นได้เฉพาะในบริษัทดังต่อไปนี้
9.2.1.1. บริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ถือหุ้นอยู่ก่อนแล้วแต่เงินลงทุนในบริษัทเหล่านี้จะถูกหักออกจากเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
9.2.1.2. บริษัทที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนเพื่อประโยชน์ในการดําเนินงานของสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงินโดยรวม เช่น บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ บริษัทนชั่นแนลไอทีเอ็มเอ็กซ์ บริษัท S.W.F.T และบริษัทไทยเรทติ้งแอนอินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส เป็นต้น
9.2.1.3. บริษัทที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การชําระหนี้ การบังคับชําระหนี้ หรือการประกันการให้สินเชื่อ ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
9.2.1.4. บริษัทที่อยู่ระหว่างการชําระบัญชี
9.2.1.5. บริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุนที่บริษัทแม่ไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจอื่น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะอนุญาตเฉพาะในกรณีที่เป็นการลงทุนผ่านบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลเป็นการเฉพาะ (regulated entity) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวอนุญาตให้สามารถลงทุนได้แต่เงินลงทุนในบริษัทเหล่านี้จะถูกนําไปหักออกจากเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
9.2.2 กรณีบริษัทแม่ไม่ใช่สถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้บริษัทแม่ที่เป็นนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินลงทุนในบริษัทใดเกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นโดยไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ เว้นแต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะของบริษัทแม่นั้นอนุญาต หรือเป็นการลงทุนในบริษัทตามที่กําหนดในข้อ 9.2.1.4 และ 9.2.1.5
10. ในกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย การลงทุนในบริษัทลูกถือเป็นธุรกรรมการลงทุนในตราสารทุน ดังนั้น บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยด้วย
การนับการถือหุ้น
11. การลงทุนตามข้อ 9 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนับการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยนับการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ของบริษัทแม่ เข้ามารวมกับการถือหุ้นของบริษัทแม่นั้นด้วย นอกจากนี้ ให้นับการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ลงไปทุกทอดที่บริษัทแม่มีอํานาจควบคุมกิจการ แม้บริษัทแม่จะมีการถือหุ้นเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีการถือหุ้นในบริษัทเลยแต่มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือมีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้มีอํานาจในการจัดการหรือกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดในบริษัทนั้น ให้ถือว่าบริษัทแม่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้น
ตัวอย่างการนับการถือหุ้นทางอ้อม
12. ในกรณีที่กรรมการ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบุคคลที่ทําหน้าที่เยี่ยงกรรมการ ของบริษัทแม่รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าวถือหุ้นในบริษัทที่บริษัทแม่ถือหุ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า การถือหุ้นของบุคคลเหล่านั้น เป็นการถือหุ้นทางอ้อมของบริษัทแม่ เว้นแต่บริษัทแม่จะพิสูจน์ได้ว่าการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการกระทําในฐานะตัวแทนของตน หรือไม่ใช่เป็นการถือหุ้นทางอ้อมของตน
(5) โครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน แบ่งตามลักษณะการกํากับดูแล
13. โครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน สามารถแบ่งตามลักษณะการกํากับดูแล ออกเป็น 2 ระดับดังนี้
13.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินระดับ full consolidation ประกอบด้วย บริษัทแม่ และบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามข้อ 4 ทุกบริษัท
13.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินระดับ solo consolidation ประกอบด้วย สถาบันการเงินและบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ทุกบริษัท
13.2.1 บริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation หมายถึง บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อ (credit institution) หรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้
สินเชื่อ" ซึ่งมีลักษณะทุกข้อดังต่อไปนี้
13.2.1.1. สถาบันการเงินถือหุ้น โดยตรงตั้งแต่ร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
13.2.1.2. การบริหารงานของบริษัทลูกอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสถาบันการเงินโดยตรง
13.2.1.3. ไม่มีข้อจํากัดในด้านกฎหมายหรือการโอนเงินระหว่างประเทศที่ทําให้ไม่สามารถโอนเงินจากบริษัทลูกในกลุ่มนี้ไปยังสถาบันการเงิน เว้นแต่เป็นข้อจํากัดที่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย
13.2.1.4. สถาบันการเงินต้องมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะลงทุนในบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ในวันที่นําบริษัทดังกล่าวเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้ กล่าวคือ เมื่อสถาบันการเงินนําเงินลงทุนในบริษัทลูกดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินแล้วสถาบันการเงินยังสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามกฎหมาย
ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถเลือกที่จะไม่นําบริษัทที่เข้าลักษณะการเป็นบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation เข้ามาเป็นบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ได้ และธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาไม่อนุญาตให้บริษัทใดอยู่ในกลุ่ม solo consolidation ก็ได้
13.2.2 ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินใดไม่มีบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ให้ถือว่า สถาบันการเงิน คือ กลุ่มธุรกิจทางการเงินระดับ solo consolidation(6) ขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
14. เนื่องจากกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจประกอบธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจการให้เช่าซื้อธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง และธุรกิจแฟ็กเตอริง ผ่านบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation หรือ นอกกลุ่ม solo consolidation ดังนั้นเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติจึงได้กําหนดขอบเขตของการประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในแต่ละระดับ ดังนี้
การประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation
15. บริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ให้นําหลักเกณฑ์การกํากับดูแลขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
15.1 ธุรกิจทางการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะหรือมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะนั้นกําหนด ทั้งด้านขอบเขตการประกอบธุรกิจและหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น
15.1.1 ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ให้ถือปฏิบัติตามพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
15.1.2 ธุรกิจบัตรเครดิต ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตสําหรับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต
15.1.3 ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับสําหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
15.2 ธุรกิจทางการเงินที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะหรือไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในการอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และให้นําหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องมาถือปฏิบัติโดยอนุโลม ดังนี้
15.2.1 ธุรกิจการให้เช่าซื้อและธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบสีสซิ่ง โดยต้องจัดให้มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ ระบบงาน ระบบบริหารความเสี่ยง และระบบการควบคุมภายในที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเพื่อการดํารงเงินกองทุน การรับทรัพย์สินกลับคืนมาเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่าหรือเนื่องจากยึดมาจากผู้เช่าและการให้เช่าในลักษณะที่เป็นการขายและเช่ากลับคืน เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation สามารถให้บริการได้เฉพาะสัญญาเช่าทางการเงิน(financial lease) เท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้บริการสัญญาเช่าดําเนินงาน (operating laces) ซึ่งในกรณีที่บริษัทลูกได้มีการทําสัญญาให้บริการสัญญาเช่าดําเนินงานอยู่ก่อนที่จะมีการบังคับใช้ประกาศฉบับนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวให้บริการสัญญาเช่าดําเนินงานต่อไปได้จนครบกําหนดระยะเวลาของสัญญาเท่านั้น และห้ามมิให้มีการทําสัญญาเช่าดําเนินงานเพิ่มเติมหรือต่ออายุสัญญาอีก
15.2.2 ธุรกิจแฟ็กเตอริง ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง (Factoring) โดยต้องจัดให้มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจระบบงาน ระบบบริหารความเสี่ยง และระบบการควบคุมภายในที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจ การดํารงเงินกองทุน และการนับลูกหนี้รายใหญ่เป็นต้นการประกอบธุรกิจของบริษัทลูกนอกกลุ่ม solo consolidation
16. บริษัทลูกนอกกลุ่ม solo consolidation ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
16.1 ธุรกิจทางการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะหรือมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะกําหนด ทั้งด้านขอบเขตการประกอบธุรกิจและหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านอื่น เช่น ธุรกิจหลักทรัพย์ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจประกันชีวิต
16.2 ธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุนที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะหรือไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ประกอบธุรกิจได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในการอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และข้อกําหนดภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม เช่น ขอบเขตการให้บริการด้านงานสนับสนุน โดยสามารถให้บริการได้เฉพาะแก่สถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งของตนเองและสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย เท่านั้นยกเว้น ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจวิจัยข้อมูล ธุรกิจกฎหมาย และธุรกิจประเมินราคาสินทรัพย์ ซึ่งสามารถให้บริการแก่บุคคลทั่วไปได้ แต่ต้องให้บริการแก่บุคคลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดรวมกันเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับรายได้รวม
17. ในกรณีของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยต้องประกอบธุรกิจและทําธุรกรรมในขอบเขตเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย โดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
(7) การขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
18. ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทแม่จะต้องดําเนินการขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาคําขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยคํานึงถึงความมั่นคงของสถาบันการเงินและประโยชน์ในการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเป็นหลัก
19. หลักเกณฑ์และวิธีการขอจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
19.1 กรณีบริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน
19.2 กรณีบริษัทแม่ไม่ใช่สถาบันการเงินกรณีบริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน
20. ให้สถาบันการเงินที่ต้องการจะเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ดําเนินการขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารประกอบการขออนุญาตดังต่อไปนี้
20.1 ผังโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและแนวทางการบริหารบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็นของการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามโครงสร้างลักษณะดังกล่าว
20.2 ข้อมูลรายละเอียดของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกบริษัท เช่น โครงสร้างการถือหุ้น รายชื่อกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
20.3 นโยบายและแผนกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในอนาคต (ระยะ 3 ปี) และหลังจากได้รับอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินแล้ว ต้องรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบเป็นประจําทุกปี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ทั้งนี้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ
20.4 นโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และหลังจากได้รับอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินแล้ว ต้องรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกปี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ทั้งนี้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ
20.5 หนังสือยินยอมเข้าร่วมกลุ่มธุรกิจทางการเงินและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกบริษัท
20.6 สําหรับกรณีบริษัทแม่เป็นสถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งมีสถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศเป็นบริษัทแม่อีกทอดหนึ่ง ให้ยื่นเอกสารดังกล่าวข้างต้นและให้เพิ่มเติมเอกสารดังต่อไปนี้
20.6.1 หนังสือของสถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศสรุปหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มที่สถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศนั้นถูกกํากับโดยผู้กํากับดูแลในต่างประเทศ (home supervisor)
20.6.2 หนังสือของสถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศรับทราบหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มและหน้าที่ของสถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยในฐานะเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในประเทศไทยตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
20.7 เอกสารหรือข้อมูลอื่นใด ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจขอให้ยื่นเพิ่มเติมตามความจําเป็นกรณีบริษัทแม่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
21. ให้นิติบุคคลอื่นใดที่ต้องการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยตนเองเป็นบริษัทแม่ ยื่นคําขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยผ่านสถาบันการเงินที่เป็นบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น สําหรับเอกสารประกอบการขออนุญาตให้มีรายละเอียดเช่นเดียวกับกรณีบริษัทแม่เป็นสถาบันการเงินและให้เพิ่มเติมเอกสารดังต่อไปนี้
21.1 หนังสือการอนุญาตเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจากหน่วยงานการกํากับดูแลเฉพาะ เช่น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย แล้วแต่กรณี
21.2 รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทุกราย และผู้มีอํานาจควบคุมกิจการที่แท้จริงซึ่งมีคุณสมบัติ
เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสถาบันการเงิน
21.3 หนังสือขอความเห็นชอบกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาทุกคนซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน เว้นแต่ เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาที่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 7.4
21.4 เอกสารแสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น
21.5 หนังสือของนิติบุคคลที่เป็นบริษัทแม่รับทราบหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มและหน้าที่ของการเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
21.6 เอกสารหรือข้อมูลอื่นใด ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจขอให้ยื่นเพิ่มเติมตามความจําเป็น
(8) การขออนุญาตเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
22. ในกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามที่เคยได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว เช่น กรณีต้องการเข้าไปมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทอื่นเพิ่มเติม มีผลให้บริษัทดังกล่าวเข้ามาอยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน สถาบันการเงินหรือบริษัทแม่โดยผ่านสถาบันการเงินต้องขออนุญาตและได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนดําเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยยื่นคําขออนุญาตพร้อมรายละเอียดดังนี้
22.1 เหตุผลความจําเป็นของการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
22.2 ข้อมูลของบริษัทที่ต้องการมีอํานาจควบคุมกิจการ เช่น โครงสร้างการถือหุ้น รายชื่อกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน เป็นต้น
22.3 แผนดําเนินการในเรื่องดังกล่าว
23. ในกรณีที่ต้องการถอนบริษัทที่เคยได้รับอนุญาตอยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินออกจากกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้สถาบันการเงิน หรือบริษัทแม่โดยผ่านสถาบันการเงินแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้โอนหุ้นออกไป หรือวันที่สิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้นแล้ว พร้อมกับส่งผังโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และยกเลิกสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะของการเป็นบริษัทลูกภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตั้งแต่วันที่ได้โอนหุ้นออกไป หรือวันที่สิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้นแล้ว
ส่วนที่ 3
หลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(1) การกํากับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในภาพรวม
24. เนื่องจากปัจจุบันลักษณะความสัมพันธ์ของโครงสร้างการถือหุ้นของสถาบันการเงินมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความเสี่ยงในหลายรูปแบบนอกเหนือจากความเสี่ยงทางด้านการเงินที่มีการให้การสนับสนุนระหว่างกัน เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) และความเสี่ยงทางด้านชื่อเสียง (Reputation Risk) ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจลุกลามขยายไปยังสถาบันการเงินและบริษัทอื่น ๆ ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเป็นบริษัทที่ต้องการความเชื่อมั่นของตลาด จะเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดปัญหาต่อสภาพคล่องจนกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงของสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ในที่สุด บริษัทแม่จึงจําเป็นจะต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงของแต่ละบริษัทและเข้าใจความเสี่ยงโดยรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆได้
การบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
25. เพื่อให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีความเข้าใจและตระหนักถึงความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในภาพรวม และความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน(ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป) เพื่อให้สามารถบริหาร ควบคุมและติดตามความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน จะต้องดําเนินการดังนี้
25.1 จัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อทําหน้าที่ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบและดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ดําเนินการตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ได้กําหนดไว้ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีคณะกรรมการตรวจสอบของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้บริษัทแม่สามารถกํากับดูแล และติดตามการปฏิบัติตามแนวนโยบายของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ รวมทั้งสอบทานรายงานทางการเงินของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ถูกต้องและเพียงพอ
25.2 จัดทําแนวทางการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ถือปฏิบัติตามหนังสือเวียนที่ ธปท.สกส. (03) ว. 227/2548 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 เรื่อง แนวทางที่พึงปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยง
25.3 จัดทํานโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทแม่ และจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกปี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบหรือการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สําคัญ ทั้งนี้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ นโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินควรประกอบไปด้วย นโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงในการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
25.3.1 นโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ต้องครอบคลุมรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
25.3.1.1. ประเภทความเสี่ยงที่สําคัญของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และของแต่ละบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
25.3.1.2. กระบวนการและวิธีการในการประเมินและการวัดความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
25.3.1.3. การควบคุมและการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น การกําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือขอบเขตการมอบอํานาจในการตัดสินใจของผู้มีอํานาจอย่างชัดเจน
25.3.1.4. การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) ซึ่งครอบคลุมถึงแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan) ซึ่งได้แก่ แผนดําเนินการกรณีที่มีเหตุการณ์ที่อาจทําให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และแผนดําเนินการเพื่อให้กลับเข้าสู่การทํางานได้ตามปกติที่มีการระบุผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติว่าด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ(Business Continuity Management: BCM) และการจัดทําแผน
รองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan :BCP) ของสถาบันการเงิน
25.3.2 นโยบายการบริหารความเสี่ยงในการทําธุรกรรมระหว่างกันภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะต้องครอบคลุมรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
25.3.2.1. นโยบายและข้อกําหนดเกี่ยวกับการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
25.3.2.2. การกําหนดอัตราส่วนในการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สําคัญ
25.3.2.3. ข้อกําหนดเกี่ยวกับการที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกันให้กับบุคคลภายนอก
25.3.2.4. ข้อกําหนดอื่น ๆ เกี่ยวกับการให้บริการระหว่างกันทั้งนี้ บริษัทแม่จะต้องมีธรรมาภิบาลที่ดีในการทําธุรกรรมภายในกลุ่มโดยคํานึงถึงเงื่อนไขการทําธุรกรรมที่จะต้องเป็นไปตามธุรกิจปกติ
มีระบบบริหารความเสี่ยง และระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพมีการติดตาม ทบทวน และวัดความเสี่ยงที่เกิดจากธุรกรรมภายในกลุ่มอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยปีละครั้ง หรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญ
26. สําหรับบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ที่มีนัยสําคัญต่อกลุ่มธุรกิจทางการเงินควรจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงของตนเอง เพื่อให้สามารถบริหาร ควบคุม และติดตามความเสี่ยงของตนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความเข้าใจและตระหนักถึงความเสี่ยงของตนที่อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินการติดตามความเสี่ยง และการควบคุมภายใน
27. ความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะลดลงหากกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีระบบการควบคุมติดตาม และระบบการควบคุมภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีธรรมาภิบาลที่ดีดังนั้นเพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการจัดการที่ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนด ดังนี้
27.1 ให้บริษัทแม่ดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีระบบการควบคุมภายในและระบบการติดตามที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
27.2 ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ทําหน้าที่ประเมินผลการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการของบริษัทแม่อย่างสม่ําเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อให้คณะกรรมการของบริษัทแม่ได้ติดตามการบริหารงานของกลุ่มได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่อาจทําให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงรายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทแม่ในทันที
27.3 บริษัทแม่จะต้องทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงตามความจําเป็นและเหมาะสมซึ่งรวมทั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการของบริษัทแม่ และรายงานต่อ ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
27.4 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องดํารงเงินกองทุนสูงกว่าปกติได้หากไม่มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่ดีพอ
(2) หลักเกณฑ์ความเพียงพอของเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
28. ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามหลักการ solo basis คือ กําหนดระดับเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงเฉพาะสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดี เนื่องจากปัจจุบัน สถาบันการเงินมีลักษณะการประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบทั้งธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาลักษณะการประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนไปนี้ และเห็นว่าการมีเงินกองทุนตามหลักการ solo basis เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการประกอบธุรกิจในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงิน จึงเห็นควรให้มีการใช้หลักเกณฑ์การคํานวณเงินกองทุนแบบconsolidated basis กับกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อเพิ่มความมั่นคงและความมีเสถียรภาพให้กับระบบสถาบันการเงินไทย
29. เงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน"' คือ เงินกองทุนที่ใช้รองรับความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งจะต้องมีไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
30. แม้จะได้มีการนําหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนแบบ consolidated basis มาใช้แล้วสถาบันการเงินยังคงต้องดํารงเงินกองทุนแบบ solo basis ควบคู่ไปด้วย นอกจากนั้นสําหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะอื่นเช่น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลของตนเช่นเดิม
การจัดทํางบการเงินรวมตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม
31. กลุ่มธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่บริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน หรือ บริษัทแม่ไม่ใช่สถาบันการเงิน จะต้องจัดทํางบการเงินรวมโดยให้ใช้วิธีการตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี สําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้ง 2 ระดับ ได้แก่
31.1 งบการเงินรวมของกลุ่ม full consolidation หมายถึง การจัดทํางบการเงินรวมของบริษัทแม่ กับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเฉพาะบริษัทที่บริษัทแม่ถือหุ้นทางตรงและ/หรือทางอ้อมรวมทั้งการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ยกเว้น บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจประกันภัยหรือประกันชีวิต ไม่ต้องนํามาจัดทํางบการเงินรวมในทุกกรณี (แม้ว่าบริษัทแม่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปก็ตาม) สําหรับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ถือหุ้นทางตรงและ/หรือทางอ้อมน้อยกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ไม่ต้องนํามาจัดทํางบการเงินรวม
31.2 งบการเงินรวมของกลุ่ม solo consolidation หมายถึง การจัดทํางบการเงินรวมของถาบันการเงิน กับบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ทุกบริษัทการคํานวณเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
32. บริษัทแม่จะต้องคํานวณเงินกองทุนกลุ่มทั้ง 2 ระดับ คือ เงินกองทุนกลุ่ม full consolidation และเงินกองทุนกลุ่ม solo consolidation (แม้ว่าจะไม่มีบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidationก็ตาม) เพื่อใช้เป็นฐานในการกํากับความเพียงพอของเงินกองทุนและเพื่อใช้เป็นฐานในการคํานวณอัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ซึ่งจะกําหนดต่อไป
33. ให้บริษัทแม่ใช้ข้อมูลในงบการเงินรวมตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม มาคํานวณเงินกองทุนกลุ่มตามองค์ประกอบของเงินกองทุนเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ solo basisตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ สําหรับบริษัทเงินทุนหรือสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณีในกรณีที่สถาบันการเงินไม่มีบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ให้นําเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ solo basis มาใช้คํานวณแทนเพื่อหาเงินกองทุนกลุ่ม solo consolidation ต่อไป
34. ให้บริษัทแม่นับรายการส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่เกิดจากการทํางบการเงินรวมตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มเป็นเงินกองทุนกลุ่มได้ ทั้งนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยดังกล่าวจะต้องมาจากส่วนของผู้ถือหุ้นรายอื่นที่ไม่ใช่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่
35. รายการใดที่กําหนดให้สถาบันการเงินต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนนับเข้าเป็นเงินกองทุน ให้ใช้หลักการดังกล่าวกับทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินยกเว้น การนับรายการใดของบริษัทแม่และบริษัทลูกนอกกลุ่ม solo consolidation เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนทุกรายการ
36. ให้บริษัทแม่หักเงินลงทุนในบริษัทที่บริษัทแม่ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่เกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นทั้งจํานวน ดังต่อไปนี้ '
36.1 เงินลงทุนในบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบธุรกิจประกันภัยและธุรกิจประกันชีวิตในทุกกรณี (แม้ว่าบริษัทแม่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปก็ตาม)
36.2 เงินลงทุนในบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ถือหุ้นทางตรงและ/หรือทางอ้อมรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่เกินร้อยละ 10 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
36.3 เงินลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งหมดที่ถือหุ้นเกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ยกเว้น เงินลงทุนในบริษัทดังต่อไปนี้
36.3.1 บริษัทที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนเพื่อประโยชน์ในการดําเนินงานของสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงินโดยรวม เช่น บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติบริษัทเนชั่นแนลไอทีเอ็มเอ็กซ์ บริษัท S.W.I.F.T และบริษัทไทยเรทติ้งแอนอินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส เป็นต้น
36.3.2 บริษัทที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การชําระหนี้ การบังคับชําระหนี้หรือการประกันการให้สินเชื่อ ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
36.3.3 บริษัทที่อยู่ระหว่างการชําระบัญชี
ทั้งนี้ ให้หักเงินลงทุนดังกล่าวจากเงินกองทุนกลุ่ม โดยหักจากเงินกองทุนกลุ่มชั้นที่ 1 ร้อยละ 50และเงินกองทุนกลุ่มชั้นที่ 2 ร้อยละ 50 หากเงินกองทุนกลุ่มชั้นที่ 2 ไม่มี หรือมีไม่เพียงพอให้หักจํานวนที่เหลือออกจากเงินกองทุนกลุ่มชั้นที่ 1 ทั้งจํานวน ทั้งนี้ มูลค่าเงินลงทุนที่นํามาหักให้ใช้มูลค่าเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียหรือวิธีราคาทุนหรือวิธีราคาตลาดตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี โดยพิจารณาจํานวนหุ้นที่บริษัทแม่ถือทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมารวมกัน
37. เงินลงทุนในบริษัทใดที่ถูกหักออกจากเงินกองทุนกลุ่มแล้ว ไม่ต้องนําเงินลงทุนที่บริษัทนั้นไปลงทุนในบริษัทอื่น ๆ มาหักออกจากเงินกองทุนกลุ่มเพิ่มเติมอีก
38. ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพิ่มเติมในภายหลังได้
การคํานวณสินทรัพย์และภาระผูกพันของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
39. ให้นําสินทรัพย์และภาระผูกพันจากงบการเงินรวมทั้งระดับกลุ่ม full consolidation และกลุ่ม solo consolidation แต่ละรายการ (ซึ่งรวมถึงเงินลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนเพื่อประโยชน์ในการดําเนินงานของสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงินโดยรวมตามข้อ 36.3. เงินลงทุนในบริษัทที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามข้อ 36.3.2 และเงินลงทุนในบริษัทที่อยู่ระหว่างการชําระบัญชีตามข้อ 36.3.3 มาคิดน้ําหนักความเสี่ยง โดยในเบื้องต้นให้ใช้น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และภาระผูกพันแต่ละรายการเช่นเดียวกับกรณี solo basis ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์สําหรับบริษัทเงินทุน หรือสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี
40. เงินลงทุนในบริษัทที่กําหนดให้หักออกจากเงินกองทุนกลุ่มตามข้อ 36 มีน้ําหนักความเสี่ยงเท่ากับ 0
41. ในกรณีที่สินทรัพย์และภาระผูกพันบางรายการไม่ได้กําหนดน้ําหนักความเสี่ยงไว้ ให้ถือว่ามีน้ําหนักความเสี่ยงเท่ากับ 1
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
42. อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันของกลุ่ม full consolidation และ กลุ่ม solo consolidation จะต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่กําหนดดังต่อไปนี้
42.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ จะต้องไม่ต่ํากว่าอัตราร้อยละ 8.5
42.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน จะต้องไม่ต่ํากว่าอัตราร้อยละ 8
42.3 กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จะต้องไม่ต่ํากว่าอัตราร้อยละ 6
(3) อัตราส่วนการลงทุนของสถาบันการเงิน
43. เพื่อให้สถาบันการเงินมุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจสถาบันการเงินมากกว่าการลงทุนเพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่เกินกว่าการสนับสนุนธุรกิจตามปกติ และเพื่อจํากัดความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของการลงทุนภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้สถาบันการเงินลงทุนได้ดังนี้ การลงทุนในบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation
44. สถาบันการเงินสามารถซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ได้โดยไม่จํากัดจํานวนการลงทุนในบริษัทอื่น
45. สถาบันการเงินสามารถซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทลูกนอกกลุ่ม solo consolidation โดยเมื่อนับรวมกับหุ้นของบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกบริษัทตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงิน แล้วต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน
(4) การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
46. ความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจจะเกิดขึ้นโดยการกระทําของบริษัทแม่โดยตรง หรือโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การทําธุรกรรมกับบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้หลายรูปแบบ เช่น การให้สินเชื่อ การถือหุ้น การซื้อขายทรัพย์สินการค้ําประกัน การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และการให้บริการระหว่างกัน เป็นต้นความหมายของธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
47. ธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หมายถึง ธุรกรรมทั้งในและนอกงบดุลทุกประเภท
ที่ทําขึ้นระหว่างบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งหมายความถึง ธุรกรรมระหว่า
47.1 บริษัทในกลุ่ม solo consolidation (รวมถึง ธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินกับ
บริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation)
47.2 บริษัทในกลุ่ม solo consolidation กับบริษัทนอกกลุ่ม solo consolidation
48. ตัวอย่างของธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น
48.1 การให้สินเชื่อหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เช่น ธุรกรรมแฟ็กเตอริง ธุรกรรมการให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลีสซิ่ง เป็นต้น
48.2 การก่อภาระผูกพัน เช่น การรับรอง การอาวัล หรือการสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินการสลักหลังตั๋วเงินที่ผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย การค้ําประกันการกู้ยืมเงิน หรือการค้ําประกันการขาย การขายลด หรือการขายช่วงลดตั๋วเงิน การค้ําประกันการเพิ่มทุนหรือการค้ําประกันในลักษณะอื่นใดเพื่อผลประโยชน์ในการกู้ยืมเงินของบุคคลหนึ่งบุคคลใด การรับประกันการจําหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้แบบรับประกันทั้งจํานวน และการทําสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน เช่น อนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนอนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย และอนุพันธ์ด้านตราสารทุน เป็นต้น
48.3 การซื้อหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
48.4 การซื้อหรือขายสินทรัพย์ รวมถึงการขายสินทรัพย์โดยมีสัญญาซื้อคืน
48.5 การรับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เป็นหลักประกันการให้สินเชื่อ หรือการออกหนังสือค้ําประกัน หรือเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
48.6 การทําธุรกรรมประเภทอื่น เช่น การให้บริการระหว่างกัน (ไม่รวมถึงการรับฝากเงิน) การจ่ายดอกเบี้ย และการจ่ายเงินปันผล รวมถึงการทําธุรกรรมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ทําขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อถ่ายโอนผลประโยชน์ให้กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น การขายทรัพย์สินให้กับบุคคลภายนอกโดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลภายนอกนั้นจะต้องนําทรัพย์สินนั้นมาขายต่อให้กับบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินด้วยราคาที่ต่ํากว่าราคาตลาด เป็นต้น
การกํากับดูแลเชิงปริมาณ
49. ปริมาณการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (กํากับเฉพาะการให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ) จะถูกกํากับดูแลด้วยอัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ดังนี้
49.1 ในช่วงระหว่างวันที่ 4 สิงหาคม 2551 ถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2553 ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติดังนี้
49.1.1 สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ กับบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ได้โดยจํากัดปริมาณต่อรายที่ร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินแต่ไม่จํากัดปริมาณโดยรวม
สําหรับกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้นจํากัดปริมาณต่อรายที่ร้อยละ 10 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย แต่ไม่จํากัดปริมาณโดยรวม
49.1.2 สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ กับบริษัทนอกกลุ่ม solo consolidation ได้ไม่จํากัดปริมาณต่อราย แต่จํากัดปริมาณโดยรวมที่ร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน
สําหรับกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้นจํากัดปริมาณโดยรวมที่ร้อยละ 10 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
49.2 ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2553 เป็นต้นไป ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติดังนี้
49.2.1 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ไม่จํากัดปริมาณทั้งต่อรายและโดยรวม
49.2.2 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้าย
การให้สินเชื่อระหว่างบริษัทในกลุ่ม solo consolidation กับบริษัทนอกกลุ่ม
solo consolidation' ไม่จํากัดปริมาณต่อราย แต่จํากัดปริมาณโดยรวมที่ร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของกลุ่ม solo consolidation
สําหรับกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจํากัดปริมาณ โดยรวมที่ร้อยละ 10 ของเงินกองทุนของกลุ่ม solo consolidationของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
ทั้งนี้ การนับปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2553 เป็นต้นไปจะไม่นับรวมถึงเงินลงทุนในบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ที่บริษัทแม่ได้หักเงินลงทุนในบริษัทลูกดังกล่าวออกจากเงินกองทุนกลุ่ม solo consolidation แล้ว50. การนับรายการใดเป็นการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ และการยกเว้นรายการใดที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณการให้สินเชื่อลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับกรณี solo basis ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
การกํากับดูแลเชิงคุณภาพนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
51. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบกําหนดนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและมีการทบทวนนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่า นโยบายดังกล่าวมีความเพียงพอและเหมาะสมในการบริหารและติดตามดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึง
51.1 ประเภทของธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
51.2 หลักเกณฑ์และข้อจํากัดในการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รวมถึงปริมาณการทําธุรกรรมกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งต่อรายและโดยรวม
51.3 แนวทางในการติดตามการปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนด
51.4 แนวทางดําเนินการในกรณีที่การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่เป็นไปตามนโยบายที่กําหนด
51.5 แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจขึ้นเกิดจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น การกําหนดให้บริษัทลูกที่มีฐานะการเงินมั่นคงไปช่วยเหลือบริษัทลูกอีกแห่งหนึ่งที่มีฐานะการเงินอ่อนแอ โดยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการทําธุรกรรมปกติ และแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาต
51.6 แนวทางการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อคณะกรรมการบริษัทแม่และบุคคลภายนอกนอกจากนี้ บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบให้มีกระบวนการในการวัด บริหาร ติดตาม ควบคุมและรายงานความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินในระดับกลุ่มและมีกระบวนการในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอย่างเพียงพอ
52. คณะกรรมการบริษัทแม่ ต้องให้ความเห็นชอบในนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในนโยบายดังกล่าวแนวทางการทําธุรกรรม
53. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามที่กําหนด และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
54. การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกประเภท รวมถึงการซื้อขายสินทรัพย์การรับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเป็นหลักประกันการให้สินเชื่อและการทําธุรกรรมใดๆ ที่เป็นผลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้รับประโยชน์ต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเงื่อนไขของการทําธุรกรรม การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรม การควบคุมภายใน การรายงาน และการเปิดเผยข้อมูล โดยยึดกรอบการกํากับดูแลตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ
55. การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ต้องจัดทําเป็นเอกสารสัญญาที่มีผลบังคับตามกฎหมาย และมีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดที่เป็นปกติเหมือนกับการทําธุรกรรมกับบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน เช่น การซื้อขายสินทรัพย์ควรซื้อขายกันในราคาตลาดโดยมีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดของการซื้อขายเช่นเดียวกับการซื้อขายกับบุคคลภายนอก ซึ่งตัวอย่างการทําธุรกรรมที่ถือว่ามีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดพิเศษผิดไปจากปกติ เช่น การให้สินเชื่อหรือลงทุน โดยไม่ได้พิจารณาถึงฐานะและผลการดําเนินงานของธุรกิจ หรือการให้สินเชื่อหรือลงทุนในลักษณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ เช่น เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ํากว่าอัตราปกติหรือต่ํากว่าต้นทุนการจัดหาเงิน หรือเสนอราคาที่ต่ํากว่าราคาปกติของบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน
56. ในกรณีที่มีการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินด้วยเงื่อนไขหรือข้อกําหนดที่ผิดไปจากธุรกรรมปกติ หรือ ไม่เป็น ไปตามนโยบายที่กําหนด ให้คณะกรรมการบริษัทรับผิดชอบในการอนุมัติการทําธุรกรรมดังกล่าวทุกกรณี และ จัดทําเอกสารหลักฐานระบุเหตุผลและความจําเป็นในการทําธุรกรรม และรายงานพร้อมทั้งจัดส่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวให้แก่บริษัทแม่ ทั้งนี้บริษัทแม่ต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย
57. การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ต้องถือปฏิบัติตามนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแม่ ทั้งนี้
57.1 การทําธุรกรรมระหว่างบริษัทในกลุ่ม solo consolidation ให้ถือปฏิบัติตามกระบวนการเดียวกันกับการทําธุรกรรมกับบุคคลทั่วไปในทุกกรณี
57.2 การทําธุรกรรมระหว่างบริษัทในกลุ่ม solo consolidation กับบริษัทนอกกลุ่ม solo consolidation ให้ถือปฏิบัติตามกระบวนการเดียวกันกับการทําธุรกรรมกับบุคคลทั่วไป และสําหรับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อระหว่างบริษัทในกลุ่ม solo consolidation กับบริษัทนอกกลุ่ม solo consolidation ให้คณะกรรมการบริษัทให้สัตยาบันรับรองการทําธุรกรรมในการประชุมครั้งถัดไปในทุกกรณี
58. การทําธุรกรรมประเภทอื่นในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวทางการกํากับดูแลธุรกรรมดังกล่าว บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ทําธุรกรรมนั้นต้องถือปฏิบัติตามแนวทางกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น การทําธุรกรรมเช่าซื้อระหว่างบริษัทในกลุ่ม solo consolidation กับบริษัทนอกกลุ่มsolo consolidation ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง เป็นต้น
59. ในกรณีที่สถาบันการเงินใช้บริการงานสนับสนุนจากบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินการใช้บริการนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดําเนินงานหลักของสถาบันการเงินซึ่งสถาบันการเงินต้องมีการจัดทําแผนรองรับหากบริษัทผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการได้ และสถาบันการเงินต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าหรือบุคคลภายนอกเสมือนสถาบันการเงินเป็นผู้ดําเนินการในเรื่องดังกล่าวด้วยตนเอง
การรายงาน
60. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการจัดทําและ จัดส่งรายงานที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในข้อ 113.5.1 (รายงาน สง. /นบ. 5.1) และจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น นโยบายในการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และนโยบายในการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ หรือจัดส่งสําเนาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ
61. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบจัดส่งหนังสือยืนยันที่ลงนามโดยคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างน้อยปีละครั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ หนังสือยืนยันดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นรายงานการประชุมคณะกรรมการของบริษัทแม่ อย่างน้อยควรแสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการของบริษัทแม่ได้พิจารณาและระบุถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินแล้ว และ จัดให้มีนโยบายในการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและเพียงพอ การกําหนดปริมาณการทําธุรกรรมและความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ รวมถึงระบบและกระบวนการในการติดตามและบริหารความเสี่ยง และแจ้งให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินรับทราบและนํานโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ
62. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการเปิดเผยนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินไว้ในรายงานทางการเงินอย่างน้อยทุก 6 เดือน
บทเฉพาะกาล
63. ในกรณีที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินใดได้รับผ่อนผันให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเกินอัตราส่วนตามข้อ 49 อยู่แล้วในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น สามารถคงการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วต่อไปตามที่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation
64. บริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ถือเสมือนเป็นแผนกหนึ่งของสถาบันการเงินและได้รับสินเชื่อโดยไม่จํากัดจํานวนจากสถาบันการเงิน ดังนั้น การกํากับดูแลในเรื่องการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง จึงต้องขยายขอบเขตให้ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินในระดับ solo consolidation โดยสถาบันการเงินที่มีกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับสถาบันการเงินและระดับกลุ่ม solo consolidation คําจํากัดความ (ใช้เฉพาะในหัวข้อ (5) นี้เท่านั้น)
65. "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation" หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงิน หรือบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation แล้วแต่กรณีเกินร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสถาบันการเงิน หรือบริษัทนั้นและให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นบริษัทโฮลดิ้ง (บริษัทหลักทรัพย์ / บริษัทประกัน) ที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้นับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทโฮลดิ้ง ( / บริษัทหลักทรัพย์ / บริษัทประกัน) ดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation ด้วย
ทั้งนี้ หากบุคคลนั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้น จะไม่ถูกนับเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามแนวนโยบายนี้ แต่บุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มในเรื่อง การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
66. "กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation" หมายความว่า บริษัทที่สถาบันการเงิน บริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation กรรมการของสถาบันการเงินกรรมการของบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
ทั้งนี้ หากบริษัทนั้นเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้น จะไม่ถูกนับเป็นกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องตามแนวนโยบายนี้ แต่บริษัทดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มในเรื่อง การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ประเภทของผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
67. ผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
67.1 กรรมการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง กรรมการของสถาบันการเงิน หรือกรรมการของบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้
67.2 ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้องหมายถึง ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้
67.3 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้
67.4 กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidationการกํากับดูแลเชิงปริมาณ
68. สําหรับกรรมการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ห้าม มิให้บริษัทในกลุ่ม solo consolidation ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
68.1 ให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้แก่กรรมการผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่การ ให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตตามอัตราขั้นสูงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือการให้สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุคคลดังกล่าวโดยให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการแก่กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
68.2 รับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินที่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เป็นผู้สั่งง่ายผู้ออกตั๋ว หรือผู้สลักหลัง
68.3 จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่มsolo consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เป็นค่าตอบแทนสําหรับหรือเนื่องจากการกระทําหรือการประกอบธุรกิจใดๆ ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation นั้น ซึ่งมิใช่บําเหน็จ เงินเดือน รางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ
68.4 ขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใดๆ แก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่มsolo consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการและบุคคลอื่นที่กําหนดตามมาตรา 48(4) หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว
68.5 ให้ผลประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่มsolo consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด โดยให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับสถาบันการเงิน
69. สําหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation
69.1 ห้าม มิให้บริษัทในกลุ่ม solo consolidation ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidationอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ในแต่ละรายเกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนกลุ่ม solo consolidation หรือเกินร้อยละ 25 ของหนี้สินทั้งหมดของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation รวมผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือของกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidationนั้น แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า ทั้งนี้ ให้นับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation เป็นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation นั้นด้วย
69.2 ห้าม มิให้บริษัทในกลุ่ม solo consolidation ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ขาย ให้หรือให้เช่าทรัพย์สินใดๆ แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใดๆ จากบุคคลดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการหรือบุคคลอื่นที่กําหนดตามมาตรา48(4) หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว
69.3 ทั้งนี้ การคํานวณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ตามข้อ 69.1 - 69.2 ไม่รวมถึงการทําธุรกรรมดังต่อไปนี้
69.3.1 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้น
69.3.2 การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ส่วนราชการ หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
69.3.3 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บริษัทที่ส่วนราชการ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถือหุ้นเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น หรือนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีอํานาจควบคุมกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม
69.3.4 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่กองทุนรวมที่จัดตั้ง โดยส่วนราชการ
69.3.5 การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อโดยมีหลักประกันเต็มจํานวนเป็นเงินสด เงินฝากที่สถาบันการเงินนั้น ตั๋วเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินนั้น หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่ปราศจากภาระผูกพันและ โอนเปลี่ยนมือได้ หรือหลักทรัพย์ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ การตีราคาหลักทรัพย์ให้ถือเอามูลค่าที่ตราไว้ของหลักทรัพย์หรือตราสารนั้น
69.3.6 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่กิจการที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งไม่ได้เป็นกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องก่อนการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนกรณีการปรับโครงสร้างหนี้ของกิจการซึ่งเป็นกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องก่อนการปรับโครงสร้างหนี้ หรือกรณีการปรับโครงสร้างหนี้ของกิจการซึ่งเป็นกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องเนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้ หากมีความจําเป็นต้องให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพิ่มจนเกินอัตราที่กําหนดตามข้อ 69.1 จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน
69.3.7 การก่อภาระผูกพันตามสัญญาอนุพันธ์กับบริษัทแม่ สาขาของบริษัทแม่ หรือบริษัทร่วม ที่อยู่ในต่างประเทศของสถาบันการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารความเสี่ยงของธุรกรรมอนุพันธ์ที่สถาบันการเงินทํากับบุคคลอื่น
69.4 การคํานวณการก่อภาระผูกพันที่กําหนดในข้อ 69.1 ให้ถือปฏิบัติโดยอ้างอิงวิธีการคํานวณในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
70. ในกรณีที่มีการกระทําที่อาจไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในข้อ 68 และข้อ 69 โดยที่บริษัทในกลุ่ม solo consolidation สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังด้วยความรอบคอบในการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ไม่สามารถทราบหรือป้องกันมิให้เกิดการกระทําดังกล่าวได้ ให้ถือว่าบริษัทในกลุ่ม solo consolidation มิได้กระทําความผิดตามหลักเกณฑ์นี้การกํากับดูแลเชิงคุณภาพ
71. การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation จะต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดพิเศษผิดไปจากปกติ ซึ่งเข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้
71.1 ไม่ได้พิจารณาถึงฐานะและผลการดําเนินงานของธุรกิจ หรือไม่ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
71.2 มีลักษณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการนั้น เช่น เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยต่ํากว่าอัตราปกติของลูกค้าที่มีความเสี่ยงระดับเดียวกัน ไม่มีการจดจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน หรือไม่ดําเนินการให้หลักประกันมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เป็นต้น
71.3 มีเหตุอันควรสงสัยว่าลูกหนี้ไม่ได้ดําเนินธุรกิจจริง
72. ให้บริษัทในกลุ่ม solo consolidation จัดทํานโยบายการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation และนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัท โดยจะต้องมีข้อกําหนดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
72.1 ปฏิบัติตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ
72.2 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวข้างต้น ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation นั้นด้วยมติเป็นเอกฉันท์ เว้นแต่กรณีดังนี้ให้คณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation นั้นสามารถมอบอํานาจให้คณะกรรมการสินเชื่อหรือคณะกรรมการบริหารเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวได้ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่บริษัทในกลุ่ม solo consolidation นั้นกําหนด และให้นําจํานวนเงินที่ให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation นั้น เข้าขอรับสัตยาบันจากคณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation นั้นในการประชุมครั้งถัดไปและต้องได้รับมติเอกฉันท์
72.2.1 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ส่วนราชการ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ส่วนราชการ หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มีอํานาจควบคุมกิจการหรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายแล้วทั้งหมดของกิจการนั้น หรือ
72.2.2 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายเดิมที่เคยผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation นั้นมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีขอวงเงินดังกล่าวเพิ่มเติม หรือขอวงเงินดังกล่าวใหม่ก็ตาม
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation นั้นไม่ให้สัดยาบันหรือให้สัตยาบันด้วยมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ ให้บริษัทในกลุ่ม solo consolidation ยกเลิกการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวทันที
72.3 ห้ามกรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เข้าร่วมในการพิจารณาอนุมัติการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวบทเฉพาะกาล
73. การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation รวมกันเกินอัตราที่กําหนดในข้อ 69.1 ก่อนที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ โดยการให้สินเชื่อลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจบริษัทเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเกรดิดฟองซิเอร์ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บริษัทในกลุ่ม solo consolidation จะให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่ออื่นใดเพิ่มเติมแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation ดังกล่าวอีกไม่ได้ และต้องดําเนินการเพื่อให้การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์นี้โดยเร็ว ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ
(6) อัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ แก่ลูกหนี้รายใหญ่
74. ความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจจะกระจุกตัวอยู่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือในภาคธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ซึ่งอาจทําให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างรุนแรงได้ จึงจําเป็นต้องกําหนดอัตราส่วนของความเสี่ยงในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ให้มากเกินไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรกําหนดอัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ต่อเงินกองทุนกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพิ่มเติม นอกเหนือจากการกําหนดอัตราส่วนตามหลักเกณฑ์ของ solo basis ดังนี้
74.1 บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (ไม่รวมกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย) ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนกลุ่ม full consolidation
74.2 บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อรวมกันแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 11 ของเงินกองทุนกลุ่ม full consolidation ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย โดยกําหนดอัตราส่วนการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยแก่คู่ค้าแต่ละประเภทให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับกรณี solo basis ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
ทั้งนี้ การนับปริมาณธุรกรรมกับลูกหนี้รายใหญ่ จะไม่นับรวมถึง เงินที่เกิดจากการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ได้หักเงินลงทุนในบริษัทลูกดังกล่าวออกจากเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามข้อ 36.1 และ 36.2 แล้ว และจะไม่นับรวมเงินลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ได้นําเงินกองทุนในบริษัทนั้นไปหักออกจากเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามข้อ 36.3 แล้ว
75. สถาบันการเงินยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ solo basis คือ ให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินควบคู่กันไป
76. การนับรายการใดเป็นการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ และการยกเว้นรายการใดที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณอัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ รวมถึงการเพิ่มอัตราส่วนดังกล่าวให้สูงขึ้นเพื่อรายการหนึ่งรายการใด และการพิจารณาจํานวนเงินที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับกรณี solo basis ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
ทั้งนี้ ให้เพิ่มเติมรายการยกเว้นที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณการให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ได้แก่ ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารทุนแบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm Underwrite)นับแต่วันที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทําสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายจนถึงวันปิดการเสนอขาย
77. สําหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีผู้กํากับดูแลเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ให้เป็นไปตามที่ผู้กํากับดูแลเฉพาะนั้นกําหนด แต่ปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อของทั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินรวมกันต้องไม่เกินอัตราที่กําหนดข้างต้น
78. ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการคํานวณลูกหนี้รายใหญ่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้เหมาะสมเพิ่มเติมในภายหลังได้
79. ในกรณีที่มีการกระทําที่อาจไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในข้อ 74 โดยที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังด้วยความรอบคอบในการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ไม่สามารถทราบหรือป้องกันมิให้เกิดการกระทําดังกล่าวได้ ให้ถือว่าบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมิได้กระทําความผิดตามหลักเกณฑ์นี้บทเฉพาะกาล
80. ในกรณีที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินใดได้รับผ่อนผันการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเกินอัตราส่วนตามข้อ 74 อยู่แล้วในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ใช้บังกับให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น สามารถคงการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วต่อไปตามที่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย
81. การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลใด หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว รวมกันเกินอัตราที่กําหนดในข้อ 74 ก่อนที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ โดยการให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าว ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจบริษัทเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่บุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวอีกไม่ได้ และต้องดําเนินการเพื่อให้การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์นี้โดยเร็ว ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ
(7) การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
82. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบดูแลและควบคุมให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามแนวนโยบายความเสี่ยงด้านเครดิตและแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง
83. บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิต ดังนี้
83.1 บริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิตทั้งหมด 9 เรื่อง33 ดังนี้
83.1.1 การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของพอร์ตสินเชื่อ
83.1.2 การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสํารอง
83.1.3 การประเมินมูลค่าหลักประกัน
83.1.4 การรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้
83.1.5 การสอบทานสินเชื่อ
83.1.6 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
83.1.7 การให้สินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์เป็นประกัน
83.1.8 การถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการชําระหนี้
83.1.9 การกํากับดูแลบริษัทบริหารสินทรัพย์
83.2 บริษัทลูกนอกกลุ่ม solo consolidation ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะกําหนด (ถ้ามี)
84. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบจัดส่งรายงานให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้จัดส่งแบบรายงานการจัดชั้นและกันเงินสํารองตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 113.6
85. บริษัทแม่ต้องดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตไว้ที่สํานักงานเพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งสําเนาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ
(8) การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงินการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด
86. กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
87. การพิจารณาว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงินใดต้องคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ให้พิจารณาจากระดับความมีนัยสําคัญของปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า(threshold) โดยใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับกรณีของสถาบันการเงินดังนี้
87.1 ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าในทุกสกุลเงินเทียบเท่าเงินบาท มีค่าเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนย้อนหลังตั้งแต่ 3,000 ล้านบาท ขึ้นไป หรือ
87.2 อัตราส่วนของปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าในทุกสกุลเงินเทียบเท่าเงินบาทต่อยอดรวมของสินทรัพย์ หนี้สิน และอนุพันธ์ทางการเงินทั้งสิ้นในทุกสกุลเงินเทียบเท่าเงินบาท มีค่าเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนย้อนหลังตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป
88. แนวนโยบายการกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด ครอบคลุมองค์ประกอบความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยแบ่งออกเป็น 8 เรื่อง ดังนี้
88.1 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า
88.2 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด
88.3 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า
88.4 การดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด
88.5 การประเมินความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน
88.6 การประเมินความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีแบบจําลอง
88.7 การประเมินความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีผสม
88.8 การจัดทําข้อมูลและแบบรายงาน
โดยมีรายละเอียดอยู่ในประกาศตามข้อ 86 ดังกล่าวข้างต้น
89. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบดูแลการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดและการกําหนดนโยบายต่างๆ ในการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด และการควบคุมภายในในการทําธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 88. 1 - 88.8 ทั้งระดับกลุ่ม solo consolidation และกลุ่มfull consolidation ทั้งนี้ บริษัทแม่อาจมอบหมายให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน(โดยคณะกรรมการบริษัท) ทําหน้าที่กําหนดนโยบายของตนเองได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทแม่
90. การดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน มีแนวทางดังต่อไปนี้
90.1 การพิจารณาระดับความมีนัยสําคัญของปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าให้พิจารณาในระดับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยรวมปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าของทั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินเสมือนเป็นหน่วยงานเดียวกัน
90.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญตามที่กําหนดในข้อ 87 ให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายในข้อ 88.1 - 88.8
90.3 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญตามที่กําหนดในข้อ 87 ให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายในข้อ 88.1 - 88.3 และประเมินความเสี่ยงด้านตลาดเพื่อดํารงเงินกองทุนเฉพาะองค์ประกอบด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องตามแนวนโยบายในข้อ 88.4 - 88.8
90.4 เมื่อคํานวณเงินกองทุนจากปริมาณธุรกรรมรวมแล้วให้ถือว่าเงินกองทุนดังกล่าวเป็นเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และให้นําผลลัพธ์ที่ได้มาคํานวณเป็นสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดเพื่อนําไปใช้เป็นองค์ประกอบในการคํานวณความเพียงพอของเงินกองทุนทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อไปตามข้อ 113.4 รายงานแสดงการดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน (รายงาน สง./นบ. 4.1. และ สง./นบ. 4.2.)
90.5 หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินใดประสงค์จะแยกคํานวณเงินกองทุนเป็นรายบริษัทให้ยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี
91. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการจัดส่งรายงานการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้จัดส่งแบบรายงานปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า และแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดและตารางประกอบ ตามข้อ 88.8 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งระดับกลุ่ม solo consolidation และกลุ่ม full consolidation
92. บริษัทแม่ต้องดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีการทําธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าถือปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนดไว้ รวมทั้งจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมไว้ที่สํานักงานเพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ หรือจัดส่งสําเนาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่ขอการกํากับดูแลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร
93. กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องถือปฏิบัติโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการ ธนาคาร ของสถาบันการเงิน
94. แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่มีประสิทธิภาพจะครอบคลุมถึง
94.1 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบันการเงิน และผู้มีอํานาจในการจัดการ
94.2 นโยบายการบริหารความเสี่ยงและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
94.3 แนวทางการประเมิน ควบคุม และติดตามความเสี่ยง
94.4 การควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยโดยมีรายละเอียดอยู่ในประกาศตามข้อ 93 ดังกล่าวข้างต้น
95. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบดูแลให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีเงินกองทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีอยู่ และกําหนดนโยบายต่างๆ ในการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดทั้งระดับกลุ่ม solo consolidation และกลุ่ม full consolidation ทั้งนี้ บริษัทแม่อาจมอบหมายให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (โดยคณะกรรมการบริษัท ทําหน้าที่กําหนดนโยบายของตนเองได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทแม่
96. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการจัดทําและ จัดส่งข้อมูลของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามแบบรายงานการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารตามรูปแบบและแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดทั้งระดับกลุ่ม solo consolidation และกลุ่ม full consolidation รวมทั้งให้จัดเตรียมแบบรายงานการบริหารความเสี่ยงที่ใช้ภายใน สมมติฐานเอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบการจัดทํารายงานเพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งสําเนาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ และแบบรายงานที่เกี่ยวข้องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
97. กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องถือปฏิบัติโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศสําหรับธนาคารพาณิชย์ สําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย หรือสําหรับบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณี
98. การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้
98.1 ฐานะรายสกุลเงิน (individual currency limit) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศรายสกุลเงิน (net open position in each currency) เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่เกินกว่าร้อยละ 15 หรือ5 ล้านดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า
98.2 ฐานะรวมทุกสกุลเงิน (aggregate limit) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน (aggregate position) เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่เกินกว่าร้อยละ 20 หรือ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่าโดยมีรายละเอียดและการคํานวณอยู่ในประกาศตามข้อ 97 ดังกล่าวข้างต้น
99. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบดูแลการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศเมื่อสิ้นวันเป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งระดับกลุ่ม solo consolidation และกลุ่ม full consolidation
100. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการจัดทําและจัดส่งข้อมูลของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามแบบรายงานฐานะรวม ตามรูปแบบและแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งระดับกลุ่ม solo consolidation และกลุ่ม full consolidation
(9) การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
101. กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องจัดทํานโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยจัดให้มีระบบงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่เหมาะสมสอดคล้องตามนโยบายและลักษณะการบริหารสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และมีการจัดทําแบบรายงานฐานะสภาพคล่องรวมของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับแนวทางที่กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องของสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงิน ดังนี้
101.1 การจัดทํานโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ต้องระบุลักษณะการบริหารสภาพคล่องของกลุ่ม (แบบรวมศูนย์ Centralize หรือ แบบกระจายอํานาจ Decentralize) โดยต้องระบุว่าบริษัทใดในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้บริหารสภาพคล่อง และบริษัทใดที่สถาบันการเงินไม่ได้เป็นผู้บริหารสภาพคล่อง
101.1.1 กรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการบริหารสภาพคล่องแบบ Centralizeให้จัดทํานโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง รวมทั้งแบบรายงานฐานะสภาพคล่องรวม ของทุกบริษัทในกลุ่ม full consolidation
101.1.2 กรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการบริหารสภาพคล่องแบบ Decentralizeให้จัดทํานโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง รวมทั้งแบบรายงานฐานะสภาพคล่องรวม ของทุกบริษัทในกลุ่ม solo consolidationโดยต้องคํานึงถึงภาระต่าง ๆ ที่อาจมี ซึ่งรวมถึงภาระในการสนับสนุนสภาพคล่องให้กับบริษัทนอกกลุ่ม solo consolidation ด้วย
101.2 การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและการจัดทําแบบรายงานฐานะสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ต้องมีการปรับพฤติกรรมสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันให้สอดคล้องกับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งต้องมีการจัดทํา Scenario test และ Stress testในระดับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามความจําเป็นเพื่อรองรับความผันผวนของตลาดการเงิน รวมทั้งมีการจัดทํา Contingency Funding plan ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อรองรับการขาดสภาพคล่องในภาวะต่าง ๆ ซึ่งจะต้องสะท้อนความแตกต่างของลักษณะธุรกิจแต่ละประเภทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอย่างชัดเจน และกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดทํากระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายของธุรกรรมที่เป็นรายการระหว่างกันด้วย
102. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบดูแลการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนงานที่กําหนด รวมทั้งเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
103. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการจัดส่งรายงานฐานะสภาพคล่องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งระดับกลุ่ม full consolidation หรือกลุ่ม solo consolidation โดยขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(10) การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจทางการเงินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
104. บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบกําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ นโยบายการจัดเก็บข้อมูลความเสียหายที่เกิดจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ นโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจฯ (BCM/BCP) นโยบายการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่น (outsourcing) และมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) ในลักษณะภาพรวม
ทั้งนี้ สําหรับเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AML/CFT นั้น บริษัทใดในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วยอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม
105. บริษัทลูกที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เช่น บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลคุณสมบัติของกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ
106. บริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation และบริษัทนอกกลุ่ม solo consolidation ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลเช่นเดียวกับสถาบันการเงินในเรื่องคุณสมบัติกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ
107. สําหรับการขอความเห็นชอบและการแจ้งเปลี่ยนกรรมการและ ผู้มีอํานาจในการจัดการให้ใช้บังคับกับกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการทุกคนของบริษัทโฮลดิ้ง เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 7.4 ส่วนบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ให้ใช้บังคับเฉพาะบุคคลที่มีอํานาจในการตัดสินใจ ซึ่งหมายถึงผู้บริหารที่มีอํานาจสูงสุดผู้สอบบัญชีภายนอก
108. สถาบันการเงินต้องยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน บริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation และบริษัท โฮลดิ้งมาในคราวเดียวกัน โดยสําหรับบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และบริษัทโฮลดิ้งที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเป็นผู้สอบบัญชีในสํานักงานเดียวกัน ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินยังไม่สามารถดําเนินการให้มีผู้สอบบัญชีในสํานักงานเดียวกันได้ ให้สถาบันการเงินทําหนังสือขอผ่อนผันต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี
109. งบการเงินของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ยกเว้น งบการเงินของสถาบันการเงินที่นํามาใช้ในการจัดทํางบการเงินรวมเพื่อส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสําหรับข้อมูลงวด 6 เดือน สิ้นเดือนมิถุนายน ไม่จําเป็นต้องได้รับการรับรองจากผู้สอบบัญชีการใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์
110. บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ แต่ไม่สามารถใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของบริษัทใดๆ ในกลุ่มร่วมกันได้ ทั้งนี้ ในการใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงกลุ่มธุรกิจทางการเงินร่วมกันนั้น บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินกําหนดประเภทธุรกิจ โครงสร้างการดําเนินงาน บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ และกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอก เกิดความเข้าใจผิดในบทบาทหน้าที่และการประกอบธุรกิจของแต่ละบริษัท
การทําธุรกรรมกับบุคคลนอกกลุ่มธุรกิจ ทางการเงิน
111. ในกรณีที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทําหน้าที่เป็นตัวแทนบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอีกบริษัทหนึ่งในการให้บริการหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินแก่บุคคลภายนอกต้องมีการระบุหรือสื่อสารให้บุคคลภายนอกรับทราบอย่างชัดเจนถึง ชื่อและบทบาทหน้าที่ของผู้เสนอบริการหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และตัวแทน เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดแก่บุคคลภายนอก ทั้งนี้ตัวแทนดังกล่าวต้องไม่ทําหน้าที่ตัดสินใจแทนเจ้าของผลิตภัณฑ์ทางการเงินในการที่จะให้บริการหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
(11) การเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
112. กลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจต้องมีการเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันเพื่อให้สามารถบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดขอบเขตการเปิดเผยข้อมูลระหว่างกัน ดังนี้
112.1 ข้อมูลที่บริษัทแม่สามารถเปิดเผยให้แก่บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ได้แก่
ข้อมูลยอดคงค้างของรายการต่างๆ ที่บริษัทลูกดังกล่าวจําเป็นต้องทราบ เพื่อปฏิบัติตามเกณฑ์กํากับดูแลเชิงปริมาณตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ บริษัทลูกจะต้องไม่กระทําการใดอันอาจเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ ข้อมูลเครดิต
112.2 ข้อมูลที่บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถเปิดเผยให้แก่บริษัทแม่ ได้แก่ข้อมูลต่างๆ ที่บริษัทแม่จําเป็นต้องใช้ในการบริหารและกํากับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้เป็นไปตามกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือเกณฑ์กํากับดูแลเชิงปริมาณตามประกาศฉบับนี้ หรือข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการจัดทํารายงานการกํากับแบบรวมกลุ่มเพื่อส่งธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิต ตลาด สภาพคล่อง และปฏิบัติการ และข้อมูลยอดคงค้างของรายการต่างๆเป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทแม่จะต้องไม่กระทําการใดอันอาจเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
(12) การจัดทําและจัดส่งรายงานการกํากับแบบรวมกลุ่ม
113. หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินแล้ว ให้สถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน จัดทํารายงานการกํากับแบบรวมกลุ่ม จํานวน 10 เรื่อง ดังนี้
113.1 รายงานการลงทุนในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
113.1.1รายงานการลงทุนในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (รายงาน สง. /นบ. 1)
113.2 รายงานงบการเงินรวม
113.2.1 รายงานฐานะการเงินรวม กลุ่ม solo consolidation (รายงาน สง. /นบ. 2.1 )
113.2.2 รายงานฐานะการเงินรวม กลุ่ม full consolidation (รายงาน สง. /นบ. 2.2)
113.2.3 รายงานรายได้และค่าใช้จ่ายรวม กลุ่ม solo consolidation (รายงาน สง./นบ. 2.3
113.2.4 รายงานรายได้และค่าใช้จ่ายรวม กลุ่ม full consolidation (รายงาน สง. /นบ. 2.4)
113.3 รายงานเงินกองทุนตามกฎหมาย
113.3.1 รายงานเงินกองทุนตามกฎหมาย กลุ่ม solo consolidation (รายงาน สง./นบ. 3.1)
113.3.2 รายงานเงินกองทุนตามกฎหมาย กลุ่ม full consolidation (รายงาน สง. /นบ. 3.2)
113.4 รายงานแสดงการดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน
113.4.1รายงานแสดงการดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และ
ภาระผูกพัน กลุ่ม solo consolidation (รายงาน สง. /นบ. 4.1)
113.4.2 รายงานแสดงการดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และ
ภาระผูกพัน กลุ่ม full consolidation (รายงาน สง. /นบ. 4.2)
113.4.3รายงานแสดงการดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยง
กลุ่ม solo consolidation (รายงาน สง. /นบ. 4.3)
113.4.4 รายงานแสดงการดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยง
กลุ่ม full consolidation (รายงาน สง. /นบ. 4.4
113.5 รายงานการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ
113.5.1 รายงานการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ แก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (รายงาน สง. เนบ. 5.1)
113.5.2 รายงานการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ แก่ลูกหนี้รายใหญ่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (รายงาน สง./นบ. 5.2)
113.6 รายงานการจัดชั้นและกันสํารอง
113.6.1 รายงานการจัดชั้นและกันสํารอง กลุ่ม solo consolidation
113.6.2 รายงานการจัดชั้นและกันสํารองของบริษัทในกลุ่ม solo consolidationเป็นรายบริษัท
113.7 รายงานการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด
113.7.1รายงานปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า กลุ่ม solo consolidation
113.7.2 รายงานปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า กลุ่ม full consolidation
113.7.3 รายงานการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดกลุ่ม solo consolidation
113.7.4 รายงานการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดกลุ่ม full consolidation
113.8 รายงานการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราคอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร
113.8.1 รายงานการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารกลุ่ม solo consolidation
113.8.2 รายงานการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร กลุ่ม full consolidation
113.9 รายงานการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ
113.9.1 รายงานฐานะรวม กลุ่ม solo consolidation
113.9.2 รายงานฐานะรวม กลุ่ม full consolidation
113.10 รายงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
113. 10.1 รายงานฐานะสภาพคล่อง กลุ่ม solo / full consolidation (ภาวะปกติ)
113.10.2 รายงานฐานะสภาพคล่อง กลุ่ม solo / full consolidation (ภาวะวิกฤต)
114. ให้บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน จัดทํารายงานดังกล่าวข้างต้นทุก 6 เดือนโดยใช้ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมิถุนายน และธันวาคม โดยงบการเงินของสถาบันการเงินทั้งงวดสิ้นเดือนมิถุนายนและธันวาคมต้องใช้งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรอง สําหรับงบการเงินของบริษัทอื่นในกลุ่มธุรกิจทางการเงินงวดสิ้นเดือนมิถุนายน อนุโลมให้ใช้งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีไม่ต้องรับรองได้ และ ให้สถาบันการเงินจัดส่งรายงานดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 6 เดือน นับจากวันสิ้นเดือนที่ต้องรายงาน โดยให้เริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป เว้นแต่ รายงานตามข้อ 113.6 - 113.10 ให้เริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไป
ส่วนที่ 4
การตรวจสอบกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
115. ธนาคารแห่งประเทศไทยจะตรวจสอบการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยเน้นการตรวจสอบระบบ ความเสี่ยงแบบรวมกลุ่ม โดยจะพิจารณาในเรื่องสําคัญดังต่อไปนี้
115.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประเมินระบบการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยรวมว่ามีความเหมาะสมและครอบคลุมความเสี่ยงในทุกส่วนของธุรกิจหรือไม่
115.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมส่งข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบฐานะและผลการดําเนินงาน
115.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเข้าตรวจสอบบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินซึ่งได้แก่ บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วม เพื่อให้ทราบถึงการดําเนินงานและสถานะที่แท้จริงของบริษัทนั้น และเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าได้มีการจัดการในเรื่องของความเสี่ยงในบริษัทนั้น ๆ อย่างเหมาะสม
115.4 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้สถาบันการเงินดําเนินการให้ผู้สอบบัญชีเข้าตรวจสอบบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและส่งรายงานตรวจสอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
115.5 ในกรณีที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีผู้กํากับดูแลเป็นการเฉพาะ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันชีวิต ธนาคารแห่งประเทศไทยะประสานงานกับผู้กํากับดูแลบริษัทนั้น เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยง และความเพียงพอของเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ได้อย่างเหมาะสม
115.6 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบพบว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่ได้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยรวมที่ดีพอ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องดํารงเงินกองทุนสูงกว่าปกติ หรืออาจสั่งให้กระทําการหรืองดกระทําการใด ๆ
ส่วนที่ 5
บทเฉพาะกาล
การดําเนินการของสถาบันการเงินที่มีกลุ่มธุรกิจทางการเงินอยู่แล้วในปัจจุบัน
การปรับโครงสร้างการถือหุ้น
116. ตามที่สถาบันการเงินได้ขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินและธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาอนุญาตแล้วตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกแนวนโยบายขอให้สถาบันการเงินทดลองปฏิบัตินั้น เพื่อให้การจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินเป็นไปตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และประกาศฉบับนี้ จึงขอให้สถาบันการเงินยื่นขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทยใหม่ โดยปรับโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินดังนี้
116.1 ตรวจสอบการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ทั้งการถือหุ้นทางตรงและทางอ้อมรวมกันที่เกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้เนื่องจากมีบางส่วนที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม เช่น คําจํากัดความของ "ผู้ที่เกี่ยวข้อง" ที่สถาบันการเงินจะต้องนับรวมเป็นการถือหุ้นของสถาบันการเงิน โดย "ผู้ที่เกี่ยวข้อง" ตามประกาศฉบับนี้จะ ไม่รวมถึง บิดา มารดาผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นต้น และปรับโครงสร้างบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้เป็นไปตามข้อ9
116.2 ในกรณีที่สถาบันการเงินถือหุ้นในบริษัทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้ลงทุนสถาบันการเงินต้องขายหุ้นในบริษัทเหล่านี้ออกไปจนเหลือไม่เกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ดังนี้
116.2.1 บริษัทที่สถาบันการเงินได้แจ้งมาเมื่อขอจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินครั้งก่อนให้ลดการถือหุ้นตามระยะเวลาที่กําหนดเดิม
116.2.2 ในกรณีที่สถาบันการเงินถือหุ้นในบริษัทใดอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การชําระหนี้ การบังคับชําระหนี้ และการประกันการให้สินเชื่อ ให้ลดการถือหุ้นลงภายในเวลาที่ได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี
116.2.3 ในกรณีที่สถาบันการเงินถือหุ้นในบริษัทที่อยู่ระหว่างการชําระบัญชีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม โดยบริษัทดังกล่าวไม่จัดเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และไม่ต้องนําเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน แต่ให้นําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงตามปกติ
116.3 สําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ให้บริษัทแม่ตรวจสอบการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ และปรับโครงสร้างการถือหุ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ในลักษณะเดียวกันกับสถาบันการเงินและในกรณีที่มีบริษัทที่ไม่อยู่ในข่ายที่ได้รับอนุญาตให้ถือหุ้นเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น บริษัทแม่จะต้องขายหุ้นในบริษัทนั้น ๆ ออกไปให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10 เช่นเดียวกับสถาบันการเงิน
การยื่นขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
117. ให้สถาบันการเงินยื่นขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามแบบคําขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มมีผลใช้บังคับ พร้อมเอกสารประกอบดังต่อไปนี้
117.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน
117.1.1 ผังโครงสร้างการถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และผังโครงสร้างการถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่จะขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มตามประกาศฉบับนี้
117.1.2 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (กรณีที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ส่งรายชื่อ 20 อันดับแรก และรายชื่อผู้ถือหุ้นทางอ้อมทุกราย ถ้าเป็นบริษัทนอกตลาดให้ส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด)
117.1.3 หนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
117.1.4 หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
117.1.5 ข้อบังคับของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
117.1.6 งบการเงินของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ณ 31 ธันวาคม 2550
117.1.7 หนังสือขอกวามเห็นชอบผู้บริหารที่มีอํานาจสูงสุดของบริษัทลูกในกลุ่ม solo consolidation ทุกบริษัท
117.1.8 แนวทางการบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินในภาพรวม
117.1.9 นโยบายและแผนกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในอนาคต (ระยะ 3 ปี) และหลังจากได้รับอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินแล้ว ต้องรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบเป็นประจําทุกปี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ทั้งนี้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ
117.1.10 นโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และหลังจากได้รับอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินแล้ว ต้องรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจําทุกปี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ทั้งนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ
117.1.11 หนังสือยืนยัน (ซึ่งอาจเป็นรายงานการประชุม) ที่ลงนามโดยคณะกรรมการของบริษัทแม่ แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการ ของบริษัทแม่ได้พิจารณาความเสี่ยงและจัดให้มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มที่เหมาะสมและเพียงพอแล้ว ยื่นให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างน้อยปีละครั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ
117.1.12 รายงานการประชุมคณะกรรมการสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีมติเห็นชอบการเข้าร่วมในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
117.1.13 หนังสือยินยอมจากบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินในการเข้าร่วมในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
117.1.14 หนังสือของสถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศที่เป็นบริษัทแม่ของสถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยที่ทําหน้าที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รับทราบหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มและหน้าที่ของสถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทย ในฐานะเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน" ในประเทศไทย
117.1.15 หนังสือของสถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศที่เป็นบริษัทแม่ของสถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยที่ทําหน้าที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน สรุปหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มที่สถาบันการเงินจดทะเบียนในต่างประเทศนั้นถูกกํากับโดยผู้กํากับดูแลในต่างประเทศ (home supervisor)
ทั้งนี้ เอกสารตามข้อ 117.1.1 - 117.1.5 117.1.12 และ 117.1.15 ของสถาบันการเงินหรือบริษัทใดที่ได้ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วเมื่อขอจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินในครั้งก่อนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่ต้องแนบเอกสารประกอบดังกล่าวมาในครั้งนี้อีก และเอกสารตามข้อ 117.1.8 - 117.1.11 สถาบันการเงินอาจยื่นภายหลังจากยื่นขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ แต่ต้องไม่เกินสิ้นเดือน
มีนาคม 2552
117.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ไม่ใช่สถาบันการเงินให้นิติบุคคลที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินยื่นคําขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยผ่านสถาบันการเงินที่เป็นบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้นและจัดส่งเอกสารประกอบการขออนุญาตเช่นเดียวกับกรณีสถาบันการเงินเป็นบริษัทแม่และเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
117.2.1 งบการเงินของนิติบุคคลที่เป็นบริษัทแม่ ณ 31 ธันวาคม 2550
117.2.2 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือผู้มีอํานาจควบคุมที่แท้งริง (กรณีที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ส่งรายชื่อ 20 อันดับแรก และรายชื่อผู้ถือหุ้นทางอ้อมทุกราย ถ้าเป็นบริษัทนอกตลาดให้ส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด)
117.2.3 หนังสือขอความเห็นชอบกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาทุกคนของบริษัทโฮลดิ้ง เว้นแต่ ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 7.4
117.2.4 หนังสือของนิติบุคคลที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินรับทราบหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มและหน้าที่การเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
117.2.5 หนังสือการอนุญาตเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจากหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ เช่น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ เอกสารตามข้อ 117.2.2 และ 117.2.5 หากนิติบุคคลที่เป็นบริษัทแม่ได้ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วเมื่อขอจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินในครั้งก่อนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่ต้องแนบเอกสารประกอบเพิ่มเติมดังกล่าวมาในครั้งนี้อีก
118. ในช่วงระหว่างวันที่หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศฉบับนี้ ให้ถือว่ากลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามคําสั่งธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ใช้บังคับได้ต่อไปโดยอนุโลม
119. ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ใดมีบริษัทแม่หรือบริษัทลูกที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้และไม่สามารถยื่นขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินกับธนาคารแห่งประเทศไทยภายในระยะเวลาที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดังกล่าวทําหนังสือขอผ่อนผันต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีภายใน 10 วันก่อนวันครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นพร้อมเหตุผลและตารางเวลาที่จะสามารถดําเนินการได้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่หลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในเรื่องต่อไปนี้ ได้แก่
(1) หลักเกณฑ์ความเพียงพอของเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(2) การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเฉพาะในส่วนการกํากับดูแลเชิงปริมาณ
(3) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation เฉพาะในส่วนการกํากับดูแลเชิงปริมาณ สําหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม solo consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม solo consolidation
(4) อัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายใหญ่
(5) การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(6) การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และ
(7) การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป (รายละเอียดการบังคับใช้ปรากฏตามเอกสารแนบ 14)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,960 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 66/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 กันยายน 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 66 /2551
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 กันยายน 2551
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 กันยายน 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 กันยายน 2551 เท่ากับร้อยละ 3.75 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการ กู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 23 กันยายน 2551 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,961 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 67/2551 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 67/2551
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน
---------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
โดยปกติแล้วสถาบันการเงินต้องจัดทําบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดเช่นเดียวกับนิติบุคคลประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธุรกิจ ของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจการเงินที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากธุรกิจโดยทั่วไป ทําให้ใน การทําธุรกรรมบางประเภทอาจไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่เป็นการเฉพาะครอบกลุ่่มถึง หรือ มาตรฐานการบัญชีที่มีอยู่อาจไม่ชัดเจนในสถานการณ์หนึ่ง ๆ ซึ่งต้องอาศัยการตีความและ วิจารณญาณในการนําไปใช้ที่หลากหลาย หรือมาตรฐานการบัญชีในบางเรื่องได้ให้ทางเลือกไว้ หลายแนวทางในการนําไปปฏิบัติ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวที่เกิดขึ้นอาจทําให้เกิดความไม่ชัดเจนและความหลากหลายในการนําไปปฏิบัติของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ด้วยเหตุดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นความจําเป็นในการออกหลักเกณฑ์ทางบัญชีในประเด็นที่เป็น ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติอย่างมีมาตรฐานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพิ่มเติมจากที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีในกรณีปกติ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเป็นไปตามหลักการและกรอบของแม่บท การบัญชีและมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ขัดแย้งกัน หรือในบางกรณี ที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีครอบคลุมถึง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดหลักเกณฑ์ทางบัญชีให้เป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการบัญชี ระหว่างประเทศ (International Financial Reporting Standard - IFRS)
ในการออกประกาศฉบับนี้ เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดกล้องกับ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศและหนังสือเวียน ของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ทางบัญชีมาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ที่กําหนดไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นข้อกําหนดในหมวด 6 การบัญชีสําหรับการซื้อขายตั๋วเงิน ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน การบัญชี นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน ทุกประเภทให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. 2551 เนื่องจากหลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีเดิมของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ในบางเรื่องยังมีความแตกต่างกัน ดังนั้น สําหรับรายการที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และสถาบันการเงินได้ปฏิบัติถูกต้องแล้วตามหลักเกณฑ์ที่บังคับ ใช้ในขณะนั้น ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เดิมสําหรับรายการดังกล่าว จนกว่าจะ หมดอายุสัญญา
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 62 และมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์การบัญชีในเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจ สถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
หมวด 1
การบัญชีสําหรับการขายทรัพย์สินรอการขาย
-----------------------------------
1. ในประกาศฉบับนี้
1.1 คําจํากัดความดังต่อไปนี้ ให้ใช้คํานิยามตามมาตรา 4 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (เอกสารแนบ 2)
1.1.1 "ผู้มีอํานาจในการจัดการ"
1.1.2 "ผู้ที่เกี่ยวข้อง"
1.1.3 "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่"
1.1.4 "กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง"
1.2 "กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" ให้มีความหมายตามประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน
1.3 "กลุ่มธุรกิจทางการเงิน" ให้มีความหมายตามประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม
2. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการขายทรัพย์สินรอการขาย ทุกประเภท ยกเว้นการขายทรัพย์สินรอการขายประเภทตราสารหนี้และตราสารทุน
3. หลักเกณฑ์ในการรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขาย
ในการขายทรัพย์สินรอการขาย สถาบันการเงินจะรับรู้รายได้จากการขายได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง การรับรู้รายได้
3.1 ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสําคัญของความเป็นเจ้าของ ในทรัพย์สินรอการขายให้กับผู้ซื้อแล้ว
3.2 ไม่เกี่ยวข้องในการบริหารทรัพย์สินรอการขายอย่างต่อเนื่องในระดับที่ เจ้าของพึงกระทํา หรือไม่ได้มีการควบคุมทั้งทางตรงและทางอ้อมในทรัพย์สินรอการขายที่ขาย ไปแล้ว
3.3 สามารถวัดมูลค่าของจํานวนรายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขายได้ อย่างน่าเชื่อถือ
3.4 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของ รายการบัญชีนั้น
3.5 สามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการ ขายทรัพย์สินรอการขายนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
4. การบัญชีสําหรับการขายทรัพย์สินรอการขาย
4.1 การขายทรัพย์สินรอการขายรายการใดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ให้บันทึกบัญชีเป็นการรับเงินมัดจํา
4.2 นอกเหนือจากการขายทรัพย์สินรอการขายในข้อ 4.3 หากการขาย ทรัพย์สินรอการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว ให้สถาบันการเงินแยก พิจารณาเป็น 2 กรณี คือ การขายให้กับบุคคลทั่วไป และการขายให้กับกิจการที่มีผลประโยชน์ เกี่ยวข้อง กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลดังกล่าว โดยวิธีการบัญชีสําหรับการขายในแต่ละกรณีให้ถือปฏิบัติดังนี้
4.2.1 การขายทรัพย์สินรอการขายให้กับบุคคลทั่วไป สําหรับรายการที่มี ยอดขายสูงกว่า 10 ล้านบาท สถาบันการเงินจะสามารถรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ได้รับชําระเงินสดแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของราคาขาย
(2) ผู้ซื้อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะชําระค่าทรัพย์สินได้ ครบตามจํานวน
หากการขายไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ให้รับรู้กําไร เป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระต่อราคาขายจนกว่าการขายจะเข้าเงื่อนไขทั้งสอง ข้อจึงให้รับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เช่น ในกรณีที่ได้รับชําระเงินสดน้อยกว่าร้อยละ 20 ในครั้งแรก เนื่องจากการให้กู้ยืมเงินเกินกว่าร้อยละ 80 เมื่อผู้ซื้อได้นําเงินสดมาชําระจนถึงร้อยละ 20 แล้ว ก็สามารถรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนได้
4.2.2 การขายทรัพย์สินรอการขายให้กับกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง รวมถึงกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลดังกล่าว ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) กรณีไม่มีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้น
(1.1) กรณีรับเป็นเงินสดทั้งจํานวน สามารถรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน
(1.2) กรณีให้มีการทยอยชําระ ให้รับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนเมื่อได้รับเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (Cost Recovery Method)
(2) กรณีมีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจ ทางการเงินของสถาบันการเงินนั้น
(2.1) กรณีให้กู้ยืมเพื่อชําระค่าทรัพย์สินทั้งจํานวน ให้รับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อได้รับชําระเงินกู้ยืมครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (Cost Recovery Method)
(2.2) กรณีให้กู้ยืมเพื่อชําระค่าทรัพย์สินไม่เต็มจํานวน โดยผู้ซื่อได้จ่ายชําระเป็นเงินสดบางส่วน ให้รับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระต่อราคาขาย สําหรับส่วนที่มีการให้กู้ยืมเงิน ให้รับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อได้รับชําระเงินกู้ยืมครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (Cost Recovery Method)
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการขายทรัพย์สินรอการขายให้แก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจ ในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ให้เป็นไป ตามมาตรา 48(4) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการและบุคคลอื่น ที่กําหนดตามมาตรา 48(4) หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว
4.3 การขายทรัพย์สินรอการขายให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด และได้รับชําระเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติดังนี้
43.1 เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จํากัดเป็นหนี้ที่เกิดจากการขายทรัพย์สินรอการขาย ไม่ใช่เงินให้สินเชื่อจากการดําเนินธุรกิจปกติ ของสถาบันการเงิน จึงให้บันทึกบัญชีเป็นลูกหนี้อื่นในหัวข้อสินทรัพย์อื่นในงบการเงินด้วย มูลค่ายุติธรรมที่คํานวณจากกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ กําหนดขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง การรับรู้รายได้ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ให้สถาบันการเงินเทียบเคียงจาก yield curve ของพันธบัตร รัฐบาล และหากไม่มีพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุเท่ากับตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด ให้สถาบันการเงินใช้วิธี interpolate จาก yield curve ของพันธบัตรรัฐบาล
4.3.2 การรับรู้กําไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายเป็นรายได้ตามที่ กําหนดในข้อ 4.2 มีเจตนารมณ์ที่จะให้ยึดหลักระมัดระวัง จึงต้องมั่นใจว่าจะไม่มีการยกเลิก การขาย และผู้ซื้อมีความสามารถในการชําระเงิน สําหรับกรณีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็ม จํานวน หากการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว สถาบันการเงินสามารถ ที่จะรับรู้กําไรจากการขายเป็นรายได้ทั้งจํานวน
4.4 การขายทรัพย์สินรอการขายโดยที่สถาบันการเงินยังมีภาระที่จะต้อง ดําเนินการอยู่อีก และจะมีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญต่อกําไรจากการขายทรัพย์สินนั้น เช่น ภาระในการโยกย้ายผู้อยู่อาศัย ภาระในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น ในการคํานวณกําไร จากการขายทรัพย์สินดังกล่าว ให้สถาบันการเงินหักค่าใช้จ่ายที่ประมาณว่าอาจจะเกิดขึ้นใน ภายหน้าออกจากกําไรจากการขายทรัพย์สินนั้นตามสัดส่วนเช่นเดียวกับการรับรู้กําไรในแต่ละ กรณี ทั้งนี้ การประมาณการค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 53 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจ เกิดขึ้น และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4.5 ในกรณีที่มีรายการขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขาย จะต้องรับรู้ ขาดทุนนั้นในงบกําไรขาดทุนทันทีทั้งจํานวน
5. ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขายในหมายเหตุประกอบ งบการเงิน
6. ตัวอย่างวิธีการบัญชีเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขาย (สําหรับกรณีตามข้อ4.2) แสดงไว้ในเอกสารแนบ 3
หมวด 2
การบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน
----------------------------------
เพื่อให้การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดย ไม่รวมถึงเงินลงทุนในลูกหนี้ของสถาบันการเงิน มีความสอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงิน ปฏิบัติดังนี้
1. ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตาม เกณฑ์ที่กําหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุน และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีที่มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ไม่ครอบคลุม ถึงตราสารการเงินหรือตราสารอนุพันธ์ประเภทใด ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศ ฉบับที่ 39 (IAS39) โดย
1.1 ตราสารหนี้ หมายถึง ตราสารที่แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้ง ทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ให้แก่ผู้ถือตราสารตามจํานวน และเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย ได้แก่ (1) พันธบัตร (2) ตั๋วเงินคลัง (3) ตราสารอื่นที่ออกโดยรัฐบาลไทย องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมาย เฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก ที่มีลักษณะเป็นการระดมทุน (4) หุ้นกู้ (5) ตั๋วแลกเงินที่ธนาคาร พาณิชย์ออกเพื่อการกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันการเงิน และเพื่อระดมทุนจากประชาชน ตาม หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (6) ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุน ออกเพื่อระดมทุน จากประชาชน (7) ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยธุรกิจอื่นหากมีลักษณะเป็นการระดมทุน และมีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ (8) FRN FRCD หรือตราสารแห่งหนี้อื่นใด ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ หรือ คล้ายคลึงหุ้นกู้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้ เสนอขาย (9) ตราสารหนี้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกําหนด เช่น Credit Linked Notes และ Structured Notes (10) ตั๋วสัญญา ใช้เงินที่สถาบันการเงินได้รับจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เพื่อชําระค่าโอนสินทรัพย์ด้อย คุณภาพ และ (11) ตราสารหนี้ประเภทอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศเพิ่มเติม
1.2 ตราสารทุน หมายถึง ตราสารที่แสดงว่าผู้ถือตราสารมีความเป็นเจ้าของ ในส่วนได้เสียคงเหลือของกิจการที่ไปลงทุน ได้แก่ (1) หุ้นสามัญ (2) หุ้นบุริมสิทธิ (3) ตราสารที่ มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับตราสารทุน เช่น ใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ (4) ตราสารทุน ประเภทอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศเพิ่มเติม
2. การประเมินมูลค่ายุติธรรม
2.1 การประเมินมูลค่ายุติธรรมสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้
2.1.1 เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จําหน่ายในประเทศ ในกรณีที่มีอัตรา ผลตอบแทน ให้นํามาคํานวณมูลค่ายุติธรรมโดยใช้สูตรที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในหนังสือที่ ธปท.นว.(ว)1086/2538 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2538 เรื่อง มาตรฐานเสนอซื้อขาย และคํานวณราคาสําหรับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาดรอง และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในกรณีที่มีราคาในตลาดหรือสามารถประเมินราคาได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้ใช้ราคานั้นเป็นมูลค่า ยุติธรรมได้ โดยทั้ง 2 กรณีให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ตราสารหนี้ที่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ
(1.1) ตราสารหนี้ประเภทตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ให้ใช้อัตราผลตอบแทนหรือราคาเสนอซื้อเฉลี่ยครั้งล่าสุด ที่เผยแพร่ไว้บน Web site ของ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)
(1.2) ตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้บริษัทเอกชน ให้ใช้อัตรา ผลตอบแทนหรือราคาเสนอซื้อเฉลี่ยครั้งล่าสุดที่เผยแพร่ไว้บน Web Site ของ ThaiBMA หรือ ตลาดอื่นที่มีหน่วยงานของรัฐกํากับดูแลและหลักทรัพย์ดังกล่าวมีการซื้อขายอยู่
(2) ตราสารหนี้ที่ไม่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับหรือตลาดนั้นไม่มี คุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นตลาดซื้อขายคล่อง
(2.1) ตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้บริษัทเอกชน ให้ใช้อัตราผลตอบแทนหรือราคาเสนอซื้อเฉลี่ยครั้งล่าสุดของพันธบัตรรัฐบาล หรืออัตราผลตอบแทน ที่เป็น Interpolated Yield ของพันธบัตรรัฐบาลที่เผยแพร่ไว้บน Web Site ของ ThaiBMA โดยบวกค่าความเสี่ยง (Risk Premium) ตามความเหมาะสม
(2.2) ตราสารหนี้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้สถาบันการเงินประเมินมูลค่ายุติธรรมตามแนวทางที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์
(2.3) พันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ ให้ใช้ราคาซื้อคืนก่อนครบกําหนดในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ
(2.4) ตราสารหนี้อื่นที่ออกจําหน่ายในประเทศ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ (2.1) (2.2) และ (2.3) ให้สถาบันการเงินที่เชื่อถือได้เป็นผู้ประเมินมูลค่ายุติธรรม ทั้งนี้ สถาบันการเงินผู้ประเมินราคาจะต้องแสดงเหตุผลที่เชื่อถือได้เป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วย หรือคํานวณหามูลค่ายุติธรรมจากอัตราที่ระบุไว้ในข้อ (2.1) บวกค่าความเสี่ยง (Risk Premium) ตามความเหมาะสม
2.1.2 เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จําหน่ายในต่างประเทศ ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ตราสารหนี้ที่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ
ให้ใช้ราคาที่เผยแพร่โดย แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น Bloomberg, Reuters, Telerate หรือ Euroclear เป็นมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในตราสารหนี้ ในต่างประเทศ
(2) ตราสารหนี้ที่ไม่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับหรือตลาดนั้นไม่มี คุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นตลาดซื้อขายคล่อง
ให้สถาบันการเงินในต่างประเทศที่เป็นผู้ขาย หรือเป็น Dealer ในตราสารหนี้ดังกล่าวให้แก่สถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินในต่างประเทศรายอื่นที่เชื่อถือได้ เป็นผู้ประเมินมูลค่ายุติธรรม ซึ่งต้องทําการประเมินเป็นลายลักษณ์อักษรและมีแหล่งข้อมูล อ้างอิงได้
ทั้งนี้ สถาบันการเงินควรใช้ราคาจากแหล่งข้อมูลเดียวกันเพื่อความสม่ําเสมอ ของราคา เว้นแต่แหล่งข้อมูลนั้นจะไม่มีการเสนอราคาในตราสารบางรุ่น สถาบันการเงินอาจจะ ใช้ราคาจากแหล่งข้อมูลอื่นแทนได้ โดยต้องสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลได้เมื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ
2.2 การประเมินมูลค่ายุติธรรมสําหรับเงินลงทุนในตราสารทุน
2.2.1 เงินลงทุนในตราสารทุนที่จําหน่ายในประเทศ ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ตราสารทุนที่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ
ให้ใช้ราคาเสนอซื้อครั้งล่าสุดจากตลาดในประเทศที่มีหน่วยงานของรัฐกํากับดูแลและหลักทรัพย์ดังกล่าวมีการซื้อขายกับอยู่ เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เป็นมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนดังกล่าว
(2) ตราสารทุนที่ไม่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับหรือตลาดนั้นไม่มี คุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นตลาคซื้อขายคล่อง ให้ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี โดยถือเป็น เงินลงทุนทั่วไป แสดงในงบดุลด้วยราคาทุน และพิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนด้วย
2.2.2 เงินลงทุนในตราสารทุนที่จําหน่ายในต่างประเทศ ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ตราสารทุนที่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ
ให้ใช้ราคาที่เผยแพร่ไว้ในตลาดต่างประเทศที่มีหน่วยงานของรัฐกํากับดูแลเป็นมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในตราสารทุนดังกล่าว
(2) ตราสารทุนที่ไม่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับหรือตลาดนั้นไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นตลาดซื้อขายคล่อง
ให้ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี โดยถือเป็นเงินลงทุนทั่วไป แสดงในงบดุลด้วยราคาทุน และพิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนด้วย
ทั้งนี้ สถาบันการเงินควรใช้ราคาจากแหล่งข้อมูลเดียวกันเพื่อความสม่ําเสมอของราคา เว้นแต่แหล่งข้อมูลนั้นจะไม่มีการเสนอราคาในตราสารบางรุ่น สถาบันการเงิน อาจจะใช้ราคาจากแหล่งข้อมูลอื่นแทนได้ โดยต้องสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล ได้เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ
3. ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กรณีที่สถาบันการเงินรับชําระหนี้ โดยรับ ตราสารทุนของลูกหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน และตราสารทุนดังกล่าวมีข้อจํากัดในการ ถือครองและจําหน่าย สถาบันการเงินต้องกําหนดนโยบายในการถือครองไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ วันที่ได้รับทุนนั้นมาว่าจะถือไว้เป็นเงินลงทุนทั่วไป หรือเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือบริษัทย่อย และให้บันทึกบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดไว้
หมวด 3
การรับซื้อหรือรับโอนถูกหนี้
--------------------------------------
เพื่อให้หลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้ กู้ยืมของสถาบันการเงินมีความถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติ ทางบัญชีเกี่ยวกับการโอนและการรับโอนสินทรัพย์ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึง ออกข้อกําหนดทางการบัญชีและเกณฑ์การกํากับดูแลเพื่อให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. การบันทึกบัญชีลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่รับซื้อหรือรับโอนมา
ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่รับซื้อหรือรับโอนมาตาม แนวปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการโอนและการรับโอนสินทรัพย์ทางการเงิน ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 ของสภาวิชาชีพบัญชี และยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ด้วย เช่น การบัญชีสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา และการค้อยค่าของสินทรัพย์ เป็นต้น
2. การจัดประเภทรายการสําหรับลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่รับซื้อหรือรับโอนมา
หลักเกณฑ์ในการจัดประเภทรายการในงบการเงินสําหรับลูกหนี้ที่รับซื้อหรือ รับโอนมา ภายหลังจากที่บันทึกเป็นเงินลงทุนในลูกหนี้แล้ว ให้ถือปฏิบัติดังนี้
2.1 ในกรณีที่สถาบันการเงิน ไม่มีการทําข้อตกลงใหม่ใด ๆ กับลูกหนี้ที่รับซื้อ หรือรับโอนมา และไม่ได้มีการให้สินเชื่อเพิ่มเติม ให้จัดประเภทรายการดังกล่าวเป็นเงินลงทุน ในลูกหนี้ และใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีเช่นเดียวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
2.2 ในกรณีที่สถาบันการเงิน มีการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ที่ รับซื้อหรือรับ โอนมา ซึ่งอาจเป็นการให้สินเชื่อภายใต้วงเงินที่ยังเหลืออยู่ตามสัญญาเดิมหรือทําสัญญาใหม่ ให้แยกพิจารณา ดังนี้
2.2.1 กรณีที่สามารถแยกลูกหนี้ส่วนที่รับซื้อหรือรับโอนมากับส่วนที่ ให้สินเชื่อเพิ่มเติมได้อย่างชัดเจน ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ลูกหนี้ส่วนที่ซื้อมาครั้งแรกตามสัญญาเดิม ซึ่งมิได้มีการทํา สัญญาใดและปรับเปลี่ยนเงื่อนไขใด ๆ เพิ่มติมจากสัญญาเดิม ให้จัดประเภทรายการส่วนนี้ เป็นเงินลงทุนในลูกหนี้ และใช้วิธีปฏิบัติทางบัญชีเช่นเดียวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และ ตราสารทุน
(2) ลูกหนี้ส่วนที่ให้สินเชื่อใหม่เพิ่มเติม โดยอาจทําสัญญาใหม่ เพิ่มเติมจากสัญญาเดิม หรือทําสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มเติมจากสัญญาเดิม ให้จัดประเภท รายการส่วนนี้เป็นเงินให้สินเชื่อเช่นเดียวกับเงินให้สินเชื่อทั่วไป
2.2.2 กรณีที่ไม่สามารถยกลูกหนี้ส่วนที่รับซื้อหรือรับโอนมากับส่วนที่ ให้สินเชื่อเพิ่มเติมได้อย่างชัดเจน เนื่องจากลักษณะการให้สินเชื่อเป็นสินเชื่อที่มีการชําระและ การยืมเงินอย่างต่อเนื่อง (Revolving Credit) เช่น วงเงินเบิกเกินบัญชี การให้สินเชื่อบัตรเครดิต หรือลูกหนี้อื่นที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน ให้จัดประเภทเป็นเงินให้สินเชื่อทั้งจํานวน
2.3 ในกรณีที่สถาบันการเงิน มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขหรือทําข้อตกลงใหม่ ในการชําระหนี้ โดยทําสัญญาใหม่เพิ่มเติมจากสัญญาเดิม หรือยกเลิกสัญญาเดิม หรือทําสัญญา ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้จัดประเกทรายการถูกหนี้เป็นเงินให้สินเชื่อทั้งจํานวน
2.4 ในกรณีที่สถาบันการเงิน มีการให้สินเชื่อเพิ่มเติม โดยการยกเลิกสัญญา เดิมและทําเป็นสัญญาการกู้ยืมใหม่ ให้จัดประเภทรายการเป็นเงินให้สินเชื่อทั้งจํานวน
2.5 การโอนเปลี่ยนประเภทรายการจากเงินลงทุนในลูกหนี้เป็นเงินให้สินเชื่อ ถือเป็นการโอนเปลี่ยนประเภทสินทรัพย์ทางการเงิน ดังนั้น ณ วันที่มีการโอนเปลี่ยนประเภทจากเงินลงทุนในลูกหนี้เป็นเงินให้สินเชื่อ สถาบันการเงินต้องใช้มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ โอนเปลี่ยนประเภทในการบันทึกบัญชี และรับรู้ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรม ณ วันนั้น เป็นกําไรหรือขาดทุนในงบกําไรขาดทุนทันที
2.6 ในกรณีที่ลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมาได้มีการจัดประเภทรายการเป็น เงินให้สินเชื่อแล้ว และต่อมาลูกหนี้ดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงใหม่ได้ ให้จัดประเภทรายการเป็นเงินให้สินเชื่อต่อไป โดยห้ามเปลี่ยนการจัดประเภทรายการจาก เงินให้สินเชื่อเป็นเงินลงทุนอีก
3. การประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้
การประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
3.1 การประเมินมูลค่ายุติธรรมสําหรับเงินลงทุนในลูกหนี้ที่ โอนเปลี่ยนประเภทเป็นเงินให้สินเชื่อ ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
3.1.1 ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการโอนและการรับโอน สินทรัพย์ทางการเงิน ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 ของสภาวิชาชีพบัญชี โดยใช้วิธีการหามูลค่า ปัจจุบันของกระเสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต คิดลดด้วยอัตราที่เหมาะสมกับความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้แต่ละราย โดยอัตราคิดลดอาจคํานวณจากอัตราคอกเบี้ย MLR บวก Risk Premium ซึ่งในการคํานวณ Risk Premium ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) แสดงวิธีการคํานวณเป็นลายลักษณ์อักษรที่ผู้ตรวจสอบของ ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้
(2) การคํานวณมีความสมเหตุสมผล สามารถอ้างอิงได้ เช่น อ้างอิงจาก Rating ของลูกหนี้ โดยเมื่อนํา MLR บวก Risk Premium จะต้องสูงกว่าอัตรา ดอกเบี้ยที่ให้กับลูกหนี้ปกติทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด
(3) สามารถใช้อัตรา Risk Premium เดียวกันสําหรับลูกหนี้ที่มี ลักษณะและความเสี่ยงเหมือนกันได้
3.1.2 ในกรณีที่สามารถประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ ในอนาคตได้ แต่ไม่สามารถหาอัตราคิดลดที่เหมาะสมได้ ให้ใช้อัตราคิดลดที่ทําให้มูลค่า ปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตเท่ากับมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุน ในลูกหนี้
3.2 การประเมินมูลค่ายุติธรรมเพื่อใช้ในการวัดมูลค่าของเงินลงทุนในลูกหนี้ ให้ถือปฏิบัติดังนี้
3.2.1 กรณีเงินลงทุนในลูกหนี้ที่สามารถประมาณการกระแสเงินสดรับในอนาคต และอัตราคิดลดที่เหมาะสมได้ ให้ปฏิบัติตามข้อ 3.1.1
3.2.2 กรณีเงินลงทุนในลูกหนี้ที่ไม่สามารถประมาณการกระแสเงินสดรับ ในอนาคตได้ หรือสามารถประมาณได้ แต่ไม่สามารถหาอัตราคิดลดที่เหมาะสมได้ ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) ในกรณีที่มีหลักประกัน และสถาบันการเงินมีอํานาจตามกฎหมายในการบังคับหลักประกันของลูกหนี้เพื่อชําระหนี้ สถาบันการเงินอาจใช้มูลค่าหลักประกันของ ลูกหนี้เป็นมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้ได้ สําหรับการประเมินราคาหลักประกันให้ ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารอง ของสถาบันการเงิน และแนวนโยบายการประเมินมูลค่าหลักประกันเละอสังหาริมทรัพย์รอการขาย ที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ มูลค่าของหลักประกันที่นํามาใช้เป็นมูลค่ายุติธรรมของ เงินลงทุนในลูกหนี้จะต้องไม่สูงกว่าเงินต้นคงเหลือตามสัญญาเงินกู้ของลูกหนี้ที่รับซื้อหรือ รับโอนมา
(2) ในกรณีที่ไม่มีหลักประกัน ให้ถือว่ามูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้เท่ากับศูนย์
4. การพิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนในลูกหนี้
ภายหลังจากการรับซื้อหรือรับโอนเงินลงทุนในลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ค้างชําระ ดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันครบกําหนดชําระตามสัญญาสถาบัน การเงินต้องพิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนในลูกหนี้ โดยใช้วิธีการประเมินมูลค่ายุติธรรม ในการพิจารณาการด้อยค่าตามข้อ 3.2
5. การรับรู้กําไรจากการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนในลูกหนี้
กรณีที่สถาบันการเงินมีกําไร จากการโอนเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนใน ลูกหนี้เป็นเงินให้สินเชื่อ ในการบันทึกบัญชีรับรู้เป็นรายได้ ให้สถาบันการเงินคํานึงถึงความ แน่นอนที่จะได้รับเงินสดในอนาคตด้วย
6. เกณฑ์การกํากับดูแลสําหรับถูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา
6.1 ลูกหนี้ที่จัดประเภทรายการเป็นเงินให้สินเชื่อให้ จัดชั้นและกันเงินสํารอง ในลักษณะเดียวกับเงินให้สินเชื่อทั่วไป ส่วนลูกหนี้ที่จัดประเภทรายการเป็นเงินลงทุนให้ จัดชั้นและกันสํารองในลักษณะเดียวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตามเกณฑ์ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
6.2 ลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา ทั้งที่จัดประเภทรายการเป็นเงินลงทุนและ เงินให้สินเชื่อ การกํากับดูแลจะเหมือนกับเงินให้สินเชื่อตามปกติ ซึ่งต้องนํามานับรวมในการ คํานวณลูกหนี้รายใหญ่ตามที่กําหนดในประกาศว่าด้วยการคํานวณอัตราส่วนจํานวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือโครงการหนึ่งโครงการใดกับเงินกองทุน
นอกจากนี้ ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่รับซื้อหรือรับโอนมาดังกล่าวจะต้องถือ ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมโดยเคร่งครัด เช่น ข้อห้ามในการให้สินเชื่อ แก่กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูง ตามข้อกําหนดในมาตรา 48(1) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เป็นต้น
6.3 การบันทึกดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้ของลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา ทั้งที่จัดประเภทเป็นเงินลงทุนและเงินให้สินเชื่อ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามเกณฑ์การบันทึก บัญชีรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้ในลักษณะเดียวกับเงินให้สินเชื่อทั่วไป
หมวด 4
การแปลงค่าเงินสกุลต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาท
-----------------------------------------
การแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาทสําหรับ รายการแต่ละประเภทต่อไปนี้ ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ดังนี้
1. รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันที (Spot position)
รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกรายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศ ทันที (Spot position) รวมถึงกรณีการแปลงค่างบการเงินของกิจการในต่างประเทศ เพื่อนํามา รวมในการจัดทํางบการเงินของสถาบันการเงิน และการจัดทํารายงานทุกแบบรายงาน ซึ่งเกี่ยวข้อง กับการแปลงค่าสกุลเงินตราต่างประเทศ (เฉพาะข้อมูลด้าน FI ที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศ ทันที) ในทุกวันสิ้นเดือนที่ต้องนําส่งธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สถาบันการเงินทําการแปลงค่า รายการดังกล่าว โดยให้ใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อตั๋วเฉลี่ยทางโทรเลข (Average buying rates - Telex Transfer) และอัตราขายตั๋วเฉถี่ย (Average selling rates) ที่เผยแพร่ใน Website ของธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th) ณ วันที่ในงบดุลหรือ ณ วันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน
ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลสําหรับสกุลเงินใด ให้สถาบันการเงินใช้อัตรา แลกเปลี่ยนไขว้ (Cross rate) ณ วันที่ในงบดุลหรือ ณ วันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน ซึ่งเป็น อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินอื่นเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดส่งให้สถาบันการเงิน ทาง e-Mail แล้วแปลงค่าเป็นสกุลเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยทางโทรเลขและอัตราขายถัวเฉลี่ยที่เผยแพร่ใน Website ของธนาคารแห่งประเทศไทย
2. รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศถ่วงหน้า
รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศถ่วงหน้า ให้สถาบันการเงินใช้อัตรา แลกเปลี่ยนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับระยะเวลาคงเหลือของฐานะ/สัญญาดังกล่าวในการประเมินมูลค่าของฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในการปิดบัญชีทุกสิ้นเดือน โดยจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันหรือไม่ก็ได้
สถาบันการเงินที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นในการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าให้ใช้วิธีการ Premium/Discount Amortization ส่วนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Forward Contract) และสัญญาแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ (Cross Currency Swap) สําหรับฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าใน Banking book ได้ตามมาตรฐานการบัญชี หรือแนวปฏิบัติทางการบัญชี ที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนด โดยระหว่างนี้ สถาบันการเงินที่ได้รับการผ่อนผันควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะใช้วิธีการทาง บัญชีใหม่ที่จะออกบังคับใช้ในอนาคตด้วย
3. รายการที่เป็นตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน
รายการที่เป็นตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นที่กล่าวในข้อ 2 ให้สถาบันการเงินประเมินหามูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าวโดยใช้วิธี ใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
3.1 ใช้ราคาตราสารอนุพันธ์ทางการเงินประเภทเดียวกัน คุณลักษณะเหมือนกัน สกุลเงินเดียวกัน และมีอายุสัญญาเท่ากับระยะเวลาคงเหลือของตราสารที่ถืออยู่ ที่เผยแพร่ โดย แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น Bloomberg, Reuters, Telerate หรือ Euroclear หรือ
3.2 ใช้ราคาที่คู่ค้าเสนอสําหรับตราสารอนุพันธ์ทางการเงินประเภทเดียวกัน คุณลักษณะเหมือนกัน สกุลเงินเดียวกัน และมีอายุสัญญาเท่ากับระยะเวลาคงเหลือของตราสาร ที่ถืออยู่ หรือ
3.3 ใช้ราคาที่คํานวณจากแบบจําลอง (Model) ที่น่าเชื่อถือ โดยแบบจําลอง ดังกล่าวต้องมีการคํานวณที่สอดคล้องกับหลักวิชาการและได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ รวมทั้ง Parameter ที่ใช้ต้องสอดคล้องกับข้อมูลในตลาดที่มีการซื้อขายคล่องและเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ในกรณีสถาบันการเงินประเมินมูลค่ายุติธรรมโดยใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าตามวิธีการที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ เทคนิคดังกล่าวจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอิสระให้การรับรองด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระดังกล่าวอาจจะเป็นบุคคลหรือหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบันการเงินก็ได้ แต่จะต้องเป็นอิสระจากหน่วยงานที่ทําหน้าที่พัฒนาเทคนิคหรือแบบจําลองดังกล่าว และหน่วยงานที่เป็นผู้ใช้เทคนิคหรือแบบจําลองดังกล่าว สําหรับกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หากแบบจําลองที่ใช้เป็นแบบจําลองเดียวกับ ธนาคารแม่หรือสาขาต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงิน ของประเทศที่ธนาคารแม่ตั้งอยู่แล้ว ธนาการแห่งประเทศไทยอนุโลมให้ ใช้แบบจําลอง ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบ
4. ผลกําไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศตามที่ กําหนดในข้อ 1- 3 ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไทย หรือแนวปฏิบัติทางการบัญชีไทย หรือมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีของต่างประเทศซึ่งได้รับการ ยอมรับในระดับสากล
5. การแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศในกรณีของการดํารงสินทรัพย์ สภาพคล่อง ณ สิ้นวันหนึ่ง ๆ ที่มิใช่วันสิ้นเดือน ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง
หมวด 5
การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืม หรือเงินค่างวดจากการให้เช่าซื้อ
------------------------------------
1. การบันทึกบัญชีเป็นรายได้
1.1 ในการจัดทําบัญชีรวมทั้งงบการเงิน ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตาม เกณฑ์สิทธิทุกสิ้นเดือน
1.2 ในกรณีที่ลูกหนี้ค้างชําระดอกเบี้ยหรือเงินค่างวดเป็นระยะเวลาไม่ถึง 3 เดือน สถาบันการเงินจะบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามจํานวนเงินที่ได้รับชําระก็ได้
1.3 ดอกเบี้ยที่ได้รับชําระบางส่วนต้องชําระดอกเบี้ยค้างรับที่สถาบันการเงิน รับรู้เป็นรายได้แล้วในบัญชีก่อนที่จะนําไปตัดดอกเบี้ยค้างรับที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้
1.4 สถาบันการเงินจะบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามเกณฑ์สิทธิได้ใหม่สําหรับ ลูกหนี้ที่ต้องระงับการบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามข้อ 3 เมื่อลูกหนี้ได้ชําระต้นเงินและดอกเบี้ย ที่รับรู้เป็นรายได้แล้ว และที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ หรือเงินค่างวดที่ค้างชําระทั้งหมดแล้ว
2. การบันทึกบัญชีรายได้สําหรับการให้เช่าซื้อ
ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีรายได้จากการให้เช่าซื้อ โดยคํานวณตามวิธีที่ กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
3. การระงับการบันทึกบัญชีเป็นรายได้
กรณีดังต่อไปนี้ให้ระงับการบันทึกบัญชีเป็นรายได้
3.1 เมื่อลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและหรือถูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินรายใด ค้างชําระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันครบกําหนดชําระตามสัญญา
3.2 เมื่อลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีรายใดที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือ มีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน และเกิดยอดดอกเบี้ยค้างชําระโดยไม่มีเม็ดเงินนําเข้า บัญชีเพื่อชําระดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันที่เริ่มค้างชําระดอกเบี้ย หรือมีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระดอกเบี้ยเป็นบางส่วนแต่ดอกเบี้ยคงค้างยังเกิน 3 เดือน
3.3 เมื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรายใดค้างชําระเงินค่างวดเป็นระยะเวลา รวมกันเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันกรบกําหนดชําระตามสัญญา
3.4 เมื่อลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและหรือลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือการ รับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินรายใด หรือถูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีรายใดค้างชําระ ดอกเบี้ย หรือลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรายใดค้างชําระเงินค่างวด เป็นระยะเวลารวมกันไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันครบกําหนดชําระตามสัญญา แต่ถูกจัดชั้นเป็นประเภทสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ หรือสินทรัพย์จัดชั้นสงสัย ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน
3.5 ให้สถาบันการเงินบันทึกยกเลิกรายได้จากการบันทึกบัญชีดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมหรือเงินเบิกเกินบัญชีหรือเงินค่างวดจากการให้เช่าซื้อของลูกหนี้ที่สถาบันการเงิน บันทึกบัญชีเป็นรายได้ไว้แล้วตามข้อ 1 และข้อ 2 ออกจากบัญชี เมื่อลูกหนี้รายดังกล่าวเป็น ลูกหนี้ที่ค้างชําระหรือมีลักษณะตามข้อ 3.1 - 3.4
3.6 ตัวอย่างการนับระยะเวลาการบันทึกรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้และ การบันทึกยกเลิกรายการดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ไว้แล้วออกจากบัญชีที่ เกี่ยวข้องแสดงไว้ในเอกสารแนบ 4
หมวด 6
การบัญชีสําหรับการซื้อขายตั๋วเงิน
-------------------------
1. คําจํากัดความ
ในหมวดนี้ "ตั๋วเงิน" หมายถึง ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน แต่ไม่รวมถึง ตั๋วแลกเงินที่สถาบันการเงินออก ตามข้อกําหนดในข้อ 1.1 ของหมวด 2 การบัญชีเกี่ยวกับ เงินลงทุน
2. การบันทึกบัญชีการซื้อขายตั๋วเงิน
2.1 ในการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีเป็นเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ทรง ซึ่งขายตั๋วเงิน เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็น อย่างอื่น
2.2 ในการขาย ขายลดหรือขายช่วงลดตั๋วเงิน ซึ่งสถาบันการเงินรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดไว้ ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่สถาบันการเงินขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินแบบผู้ซื้อมีสิทธิไล่เบี้ย ให้สถาบันการเงินเปิดเผยยอดคงค้างจากการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินไว้ในส่วนของ รายการนอกงบดุลซึ่งอยู่ท้ายงบดุล นอกจากนี้ สถาบันการเงินควรคํานึงถึงภาระหนี้สินที่อาจ เกิดขึ้นจากรายการดังกล่าว และปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 53 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หมวด 7
การบันทึกรายการหนี้สูญได้รับคืน
------------------------------
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีข้อกําหนดให้สถาบันการเงินปฏิบัติเกี่ยวกับ การตัดจําหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารอง ของสถาบันการเงิน ซึ่งหากในเวลาต่อมา สถาบันการเงินสามารถดําเนินการให้ถูกหนี้ที่ตัดจําหน่าย เป็นสูญไปแล้วมาทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้นั้น ให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับรายการหนี้สูญที่ได้รับคืน ดังต่อไปนี้
แม่บทการบัญชีกําหนดเกณฑ์การบันทีกรับรู้รายได้ในงบกําไรขาดทุนไว้ว่า กิจการควรรับรู้รายได้ในงบกําไรขาดทุน เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือลดลงของหนี้สินและเมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ จากข้อกําหนดดังกล่าว สถาบันการเงินจะบันทึกหนี้ สูญ ที่จะได้รับคืนเป็นรายได้เฉพาะรายการที่มีความแน่นอนเพียงพอที่จะเกิดขึ้นและสามารถ วัดค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้ําไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องบันทึกหนี้สูญที่จะได้รับคืนเป็นรายได้ เมื่อได้รับชําระจริง
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรกําหนดให้สถาบันการเงินบันทึกหนี้สูญที่ ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ในภายหลังเป็นรายได้เพียงเท่าที่ได้รับชําระเงินแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักความระมัดระวัง (Conservatism) และเป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินพิจารณาเห็นว่าหนี้สูญที่ปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ได้อยู่ในเกณฑ์ที่กําหนดในแม่บทการบัญชีที่สามารถรับรู้เป็นรายได้ได้ ให้สถาบันการเงิน รับรู้รายการหนี้สูญ ได้รับคืนดังกล่าวเป็นรายได้ได้ทันที
หมวด 8
นโยบายการจ่ายเงินปันผล
-------------------------------------
เนื่องจากสถาบันการเงินได้มีการบันทึกกําไรจากการตีราคาทรัพย์สิน การโอน เปลี่ยนประเภทสินทรัพย์ทางการเงิน และรายการอื่น ๆ โดยเป็นกําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Unrealized gain) ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และ มูลค่ายุติธรรม หรือมีการรับรู้กําไรที่สูงกว่าหรือขาดทุนต่ํากว่ากรณีปกติ ซึ่งกําไรดังกล่าวจะถูกนํามารวมในการคํานวณกําไร (ขาดทุน) สุทธิสําหรับงวดและกําไร (ขาดทุน) สะสม ซึ่งเป็นฐานในการนํามาพิจารณาจ่ายเงินปันผล ดังนั้น เพื่อรองรับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล ดังนี้
1.สถาบันการเงินไม่ควรนํากําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง หรือไม่มีกระแสเงินสดรับจริง มาใช้ในการจ่ายเงินปันผล เช่น กําไรที่เกิดจากการตีราคาหลักทรัพย์เพื่อค้า (Mark to Market) และ กําไรที่เกิดจากการ โอนเปลี่ยนประเภทสินทรัพย์ทางการเงิน เป็นต้น
2. สถาบันการเงินไม่ควรนํากําไรที่เกิดจากการขายทรัพย์สินที่มิได้มีการซื้อขายจริง ซึ่งมีผลทําให้สถาบันการเงินมีกําไรสูงกว่าหรือขาดทุนต่ํากว่ากรณีปกติ มาใช้ในการถ่าย เงินปันผล เช่น กําไรที่เกิดจากการขายทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินที่มีเงื่อนไขให้ สถาบันการเงินสามารถซื้อคืนหรือมีสิทธิซื้อคืนทรัพย์สินนั้นได้ในอนาคต เป็นต้น
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
เนื่องจากหลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีเดิมในบางเรื่องของสถาบันการเงินแต่ละ ประเภทมีความแตกต่างกัน ดังนั้น สําหรับรายการที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่ประกาศฉบับนี้มีผล บังคับใช้ และสถาบันการเงินได้ปฏิบัติถูกต้องแล้วตามหลักเกณฑ์ที่บังคับใช้ในขณะนั้น ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เดิมสําหรับรายการนั้น จนกว่าจะหมดอายุสัญญา
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,962 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 39/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกรกฎาคม 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 39/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนกรกฎาคม 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.73/14/51 | 80,000 | 22 กรกฎาคม 2551 | 24/7/51 – 7/8/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,963 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 40/2551 เรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 40 / 2551
เรื่อง การกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง
--------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
การกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว และเพียงพอที่จะใช้ชําระหนี้สินหรือภาระเมื่อถูกเรียกคืน ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ รวมทั้งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จึงได้ปรับปรุงประเภทสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยการปรับแก้ประกาศในครั้งนี้จะเน้นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องอย่างแท้จริง จึงกําหนดให้ต้องเป็นตราสารที่โอนเปลี่ยนมือได้ นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงประกาศเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องการนับเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง สืบเนื่องจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดรับเงินฝากประเภทเงินฝากประจําจากสถาบันการเงินเพิ่มเติมจากเดิม โดยกําหนดให้ชัดเจนว่าบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องดํารงเงินฝากประเภทเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 0.5 ของยอดรวมเงินรับฝาก เงินกู้ยืม และเงินรับจากประชาชนทุกประเภท
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 64 มาตรา 65 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องและประเภทสินทรัพย์สภาพคล่องตามประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องต่อยอดรวมเงินรับฝาก เงินกู้ยืม และเงินรับจากประชาชนทุกประเภท ดังนี้
5.1.1 บริษัทเงินทุนดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยแล้วไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6
5.1.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยแล้วไม่ต่ํากว่าร้อยละ 5
5.2 สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารงตามข้อ 5.1 ประกอบด้วย
5.2.1 เงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ํากว่าร้อยละ 0.5
5.2.2 เงินฝากประจําที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
5.2.3 หลักทรัพย์หรือตราสารซึ่งปราศจากภาระผูกพันและสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือหลายประเภท (แนวปฏิบัติตามเอกสารแนบ 2) ดังต่อไปนี้
(1) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(2) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย
(3) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่สามารถใช้เป็นหลักประกันในการทําธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายพันธบัตรกับไพรมารี ดีลเลอร์ (Primary Dealer) โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืนด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bilateral Repo)
(4) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3
5.2.4 ตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนหรือขายคืน
5.2.5 หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน ที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รับรอง อาวัล หรือ ค้ําประกัน เฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน
5.2.6 เงินฝาก เงินให้กู้ยืมเผื่อเรียก หรือ บัตรเงินฝาก ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน สุทธิกับธนาคารที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยเงินให้กู้ยืมเผื่อเรียกและบัตรเงินฝากนั้นต้องสามารถโอนเปลี่ยนมือได้
5.2.7 เงินให้กู้ยืมเผื่อเรียกสุทธิกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน เมื่อรวมกับข้อ 5.2.6 ต้องไม่เกินร้อยละ 1
5.3 อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารงตามประกาศนี้ ให้คิดจากส่วนเฉลี่ยรายปักษ์ของสินทรัพย์สภาพคถ่องทุกสิ้นวัน และส่วนเฉลี่ยรายปักษ์ของยอดรวมเงินที่ได้จากการรับฝาก กู้ยืม หรือได้รับจากประชาชนทุกสิ้นวันในปักษ์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ให้ถือเอาวันพุธเป็นวันเริ่มต้นของปักษ์ และสิ้นสุดในวันอังคารของอีกสองสัปดาห์ถัดมาจากวันดังกล่าว (รวมปักษ์ละ 14 วัน) โดยให้นับวันหยุดทําการรวมคํานวณเข้าด้วย
ทั้งนี้ ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ดําเนินการจัดส่งข้อมูลการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,964 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 40/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกรกฎาคม 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 40/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนกรกฎาคม 2551
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกรกฎาคม 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.74/14/51 | 75,000 | 29 กรกฎาคม 2551 | 31/7/51 – 14/8/51 | 14 |
| พ.75/10/51 | 70,000 | 30 กรกฎาคม 2551 | 1/8/51 – 11/8/51 | 10 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,965 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 41/2551 เรื่อง การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 41 /2551
เรื่อง การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงิน
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เนื่องจากความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นความเสี่ยงที่สําคัญต่อความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินที่มีต่อสถาบันการเงิน แม้ว่าสถาบันการเงินจะมีฐานะการเงินที่มั่นคง แต่หากไม่สามารถจ่ายชําระผู้ฝากเงินและเข้าหนี้ตามภาระผูกพันที่มีอยู่ได้ ก็อาจทําให้สถาบันการเงินนั้นไม่สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นความจําเป็นของการกําหนดให้สถาบันการเงินมีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้สถาบันการเงินมีระบบการบริหารสภาพคล่องที่เหมาะสม สามารถรองรับการจ่ายคืนหนี้สินและภาระผูกพันที่ถึงกําหนดชําระได้ โดยมีโครงสร้างของการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินที่เหมาะสม และมีระยะเวลาและมูลค่าของเงินกู้ยืมที่สอดคล้องกับระยะเวลาและมูลค่าของการได้รับชําระหนี้จากการปล่อยสินเชื่อหรือลงทุน และมีแหล่งเงินทุนหรือสินทรัพย์ที่พร้อมจะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เพียงพอที่จะรองรับภาวะวิกฤตได้ระยะเวลาหนึ่ง รวมทั้งเพื่อให้สถาบันการเงินมีแผนจัดหาสภาพคล่อง (Contingency funding plans) เพื่อรองรับการขาดสภาพคล่อง อันเนื่องมาจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากในอนาคต ตลอดจนภาวะความผันผวนในตลาดการเงินของโลก
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงินมีแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
อื่นๆ - 4. ประกาสและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
สถาบันการเงิน หมายความว่า สถาบันการเงินตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
5.2 หลักเกณฑ์ในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
5.2.1 หลักทั่วไป
(1) คณะกรรมการของสถาบันการเงิน' (Board of Directors) ต้องเป็นผู้อนุมัตินโยบาย (Policy) และแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Action Plan) รวมทั้งต้องควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบว่าน โบายและแผนงานที่กล่าวยังมีความเหมาะสมกับธุรกิจของสถาบันการเงิน
(2) สถาบันการเงินต้องจัดทํานโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และมีการทบทวนนโยบายและแผนงานดังกล่าวเป็นระยะหรือทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนมีระบบควบคุมภายในที่สามารถติดตามได้ว่าการบริหารสภาพคล่องของสถาบันการเงินเป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่ได้กําหนดไว้
(3) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่เหมาะสม ทั้งในสกุลเงินตราต่างประเทศและสกุลเงินบาท ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ และมีระบบการรายงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ที่สามารถให้ข้อมูลที่จําเป็นอย่างเพียงพอแก่ฝ่ายบริหารของสถาบันการเงินได้อย่างทันเวลา โดยจะต้องมีการควบคุมดูแล และการรายงานข้อมูลในด้านต่าง ๆ อย่างน้อยตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(4) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีแบบรายงานที่ใช้เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือหากรูปแบบรายงานที่สถาบันการเงินใช้อยู่แล้วสอดคล้องกับรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในสาระสําคัญ ก็ให้ใช้แบบรายงานเดิมต่อไปได้ และต้องจัดให้มีพร้อมสําหรับผู้ตรวจการสถาบันการเงินหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะสุ่มตรวจสอบได้
5.2.2 ข้อกําหนดในการปฏิบัติ
(1) สถาบันการเงินที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์นี้ ได้แก่
(1.1) ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ (รวมสาขาในต่างประเทศ)
(1.2) บริษัทเงินทุนที่มีเงินกองทุนตั้งแต่ 2,500 ล้านบาทขึ้นไป
(1.3) สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
(2) คณะกรรมการของสถาบันการเงิน (Board of Directors) ต้องเป็นผู้อนุมัตินโยบาย (Policy) และแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Action Plan) รวมทั้งต้องควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบว่านโยบายและแผนงานที่กล่าวยังมีความเหมาะสมกับธุรกิจของสถาบันการเงิน
(3) สถาบันการเงินต้องจัดทํานโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและต้องดูแลให้การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่ได้กําหนดไว้อย่างเคร่งครัด และแจ้งต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทันทีที่เกิดปัญหา ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องจัดให้มีการทบทวนนโยบายและแผนงานที่กล่าวอย่างน้อยทุกปี หรือทันเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจที่มีสาระสําคัญ เพื่อปรับปรุงให้สอคคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(4) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีระบบควบคุมที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และ จะต้องมีระบบติดตามอย่างสม่ําเสมอว่าการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นไปตามที่กําหนดไว้
(5) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่เหมาะสมทั้งในสกุลเงินตราต่างประเทศและสกุลเงินบาท ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ โดยให้คํานึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
(5.1) ขนาดและลักษณะของธุรกิจ
(5.2) การกระจาย และความผันผวนของแหล่งเงินทุน
(5.3) ขนาด และคุณภาพของสินทรัพย์
(5.4) ความน่าเชื่อถือของ Standby Facility ที่มีอยู่
(5.5) ขนาดและความซับซ้อนของธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ
(5.6) ความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของสถาบันการเงิน เช่น ความเสี่ยงทางเครดิต ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านราคาตลาด ความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน ความเสี่ยงด้านกฎหมาย ความเสี่ยงด้านการชําระราคา (Settlement Risk) และความเสี่ยงด้านชื่อเสียงขององค์กร เป็นต้น
(5.7) ภาระของสถาบันการเงินในการสนับสนุนสภาพคล่องให้กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(6) ระบบการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่กล่าวในข้อ (5) จะต้องสามารถให้ข้อมูลที่จําเป็นอย่างเพียงพอแก่ฝ่ายบริหารของสถาบันการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยอย่างน้อยจะต้องมีการรายงานข้อมูลด้านต่าง ๆ ดังนี้
(6.1) ฐานะสภาพคล่องสุทธิ ของสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันของสถาบันการเงินทั้งในภาวะปกติและในภาวะวิกฤต หรือระบบอื่นที่ให้ข้อมูลในลักษณะเดียวกัน
(6.2) มูลค่าตลาดของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ และมูลค่าตลาดของเงินลงทุนในหลักทรัพย์หลังหักส่วนลดในกรณีที่ถูก forced sale ในภาวะวิกฤต ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินกําหนดอัตราส่วนลดที่ใช้ในการปรับลดมูลค่าตลาดได้ แต่อัตราดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2
(6.3) ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญาของแหล่ง Standby facility ของสถาบันการเงิน
(6.4) การกระจุกตัวของแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงิน
(7) ให้สถาบันการเงินจัดให้มีแบบรายงานที่ใช้เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือหากรูปแบบรายงานที่สถาบันการเงินใช้อยู่แล้วสอดคล้องกับรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในสาระสําคัญ ก็ให้ใช้แบบรายงานเดิมต่อไปได้
(8) ให้สถาบันการเงินจัดให้มีแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องระบบการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่เหมาะสม ตามข้อกําหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
(9) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจสั่งการให้สถาบันการเงินทบทวนหรือปรับปรุงกลยุทธ์ แนวทาง หรือระบบงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องได้ตามความเหมาะสม
5.2.3 นโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
ข้อมูลที่ต้องระบุเป็นอย่างน้อยในนโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง มีดังนี้
(1) กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินโดยต้องระบุแหล่งที่มาของเงินทุนที่ให้ความสําคัญ เช่น เน้นผู้ฝากรายย่อยหรือรายใหญ่ หรือพึ่งพาเงินทุนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ และแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุนที่ให้ความสําคัญ เช่น เน้นการปล่อยสินเชื่อในภาคอุตสาหกรรมใด และระบุนโยบายที่จะนํามาใช้เพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ด้วยโดยให้แยกแสดงกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทั้งสกุลเงินบาท และสกุลเงินตราต่างประเทศ
(2) ผู้รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทั้งภาวะปกติ และภาวะวิกฤต
(3) Limit ต่าง ๆ ที่ สถาบันการเงินจะใช้ในการควบคุมเกี่ยวกับระดับการพึ่งพาเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งในด้านองค์ประกอบ ลักษณะ และการกระจายในด้านผู้ฝากเงินเครื่องมือทางการเงินระยะเวลาครบกําหนด และอัตราส่วนอื่น ๆ (ตัวอย่างตามเอกสารแนบ 3) เช่น อัตราส่วนเงินฝากต่อเงินให้สินเชื่อ Mismatch Limit ในแต่ละช่วงเวลา เป็นต้น
(4) หลักเกณฑ์ในการปรับแผนงานเพื่อให้สะท้อนกระแสเงินสดรับและจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา
(5) โครงสร้างที่มาของเงินทุนและการใช้ไปของเงินทุน ตามระยะเวลา
(6) ระบบการกํากับควบคุมที่ใช้ ความถี่และขอบเขตของรายงานและผู้รับ
(7) แผนรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีเกิดวิกฤตเฉพาะสถาบันการเงินและกรณีเกิดวิกฤตของทั้งระบบ ข้อมูลที่สถาบันการเงินต้องระบุเป็นอย่างน้อยในแผนมีดังนี้
(7.1) ขั้นตอนและกระบวนการทํางาน โดยระบุผู้รับผิดชอบและวิธีปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ ขั้นตอนในการรายงานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่จําเป็นต่อผู้รับผิดชอบในแต่ละระดับ
(7.2) ระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) หรือตัวบ่งซี้(Trigger Point) (แนวทางตามเอกสารแนบ 1) ที่ใช้วัดว่าเมื่อใดสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤตและจะต้องเริ่มปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉิน
(7.3) แผนการจัดหาสภาพคล่อง โดยต้องระบุแหล่งที่มาของเงิน เช่น หลักทรัพย์ที่ไม่มีภาระผูกพันซึ่งสามารถนําไปขายได้ หรือวงเงินกู้ยืมจากธนาคารอื่นที่ยังไม่เบิกถอน (Committed Credit Line) รวมทั้งสินทรัพย์ที่จะนําไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืม
(7.4) การจัดลําดับความสําคัญและวิธีปฏิบัติต่อลูกค้าแต่ละกลุ่ม ทั้งด้านลูกหนี้และเจ้าหนี้
(7.5) แผนการสื่อสารและจัดการกับข่าวลือ ตลอดจนภาพพจน์ของสถาบันการเงินกับลูกค้า พนักงาน เจ้าหนี้ สื่อมวลชน และบุคคลทั่วไป
5.2.4 ระบบการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
(1) ให้สถาบันการเงินจัดให้มีระบบรายงานฐานะสภาพคล่องสุทธิ ของสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพัน โดยข้อมูลสําคัญควรมีดังนี้
(1.1) ฐานะสภาพคล่องสุทธิ ซึ่งแสดงกระแสเงินสดรับเปรียบเทียบกับกระแสเงินสดจ่าย สําหรับช่วงเวลา 7 วันและ 1 เดือนข้างหน้า
(1.2) ฐานะสภาพคล่องสุทธิสําหรับช่วง 7 วันข้างหน้าถ้าเกิดภาวะวิกฤตโดยการทํา Scenario Analysis ทั้งนี้ ได้แสดงรายละเอียดของวิกฤตแต่ละประเกทไว้ตามเอกสารแนบ 5
(2) สถาบันการเงินที่มีธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวนมาก (สูงกว่าอัตราที่ระบุไว้ในคําอธิบายแบบรายงาน) ให้จัดทําแบบรายงานเพิ่มเติมสําหรับฐานะสภาพคล่องสุทธิของสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันแบบรวมทุกสกุลเงินตราต่างประเทศ
(3) ในการจัดกลุ่มสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพัน สําหรับแต่ละช่วงเวลาให้ถือปฏิบัติดังนี้
(3.1) ให้คํานึงถึงสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพัน ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ก่อนครบกําหนดตามสัญญา (Contractual Maturity)
(3.2) ต่อจากนั้นให้ปรับปรุงโดยคํานึงถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในอดีต (Behavioral Maturity) เนื่องจากสินทรัพย์บางประเภทอาจไม่ได้รับเงินตามสัญญา หรือเงินฝากประเภทที่ผู้ฝากมีสิทธิไถ่ถอนได้ทันทีแต่ก็มิได้มาไถ่ถอนทั้งหมด หรือเมื่อเงินฝากครบกําหนดก็ยังมีการ Rollover (ฝากต่อ) หรือกรณีที่สถาบันการเงินได้ให้วงเงินกู้ (Draw downs under loan commitment) แต่ลูกค้ามิได้เบิกถอน เป็นต้น
(3.3) การปรับปรุงข้อมูลให้สอดคล้องกับพฤติกรรมดังกล่าวให้คํานึงถึงสถานการณ์ ทั้งภาวะปกติและภาวะวิกฤต และให้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) หรือคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (ALCO) โดยสถาบันการเงินจะต้องเก็บเอกสารที่แสดงวิธีการคํานวณ สมมติฐาน และข้อมูลประกอบไว้ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ และจะต้องมีการทบทวนสมมติฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมทุกปี หรือทันทีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ได้แสดงตัวอย่างวิธีการปรับข้อมูลให้สอดคล้องกับพฤติกรรมไว้ตามเอกสารแนบ 6
(3.4) ให้สถาบันการเงินจัดทํารายงานแสดงข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในงวดที่แล้วรวมถึงยอดการถอนเงินสูงสุดต่อวันในแต่ละเดือน เปรียบเทียบกับตัวเลขปรับพฤติกรรมที่ประมาณการไว้ในงวดก่อนหน้าด้วย
5.2.5 ระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
(1) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) หรือคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (AICO) ซึ่งทําหน้าที่ดังนี้
(1.1) จัดทํานโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องจัดให้มีการทบทวนเป็นประจํา (อย่างน้อยปีละครั้ง) หรือทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถรองรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้และเปิดเผยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบโดยทั่วกัน
(1.2) กําหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ และลําดับชั้นการรายงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรและเปิดเผยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทราบและปฏิบัติ ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการสอบทานและคานอํานาจกันอย่างเหมาะสมด้วย
(1.3) ควบคุมการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กําหนด และรายงานต่อคณะกรรมการของสถาบันการเงิน
(2) ในกรณีที่เกิดปัญหาด้านสภาพคล่องให้ผู้รับผิดชอบรายงานต่อผู้บริหารในระดับที่เหมาะสมทันทีที่พบปัญหา รวมถึงการพิจารณารายงานปัญหาให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงหรือคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินทราบ และให้ธนาคารพาณิชย์รายงานปัญหาที่พิจารณาว่ามีนัยสําคัญให้สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ ทั้งนี้ สถาบันการเงินควรมีข้อกําหนดเกี่ยวกับระดับของปัญหาและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
(3) ให้สถาบันการเงินจัดให้มีการตรวจสอบความถูกต้อง การกระทบยอดการสอบทาน และการรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล ให้กับระบบข้อมูลข่าวสารและระบบการรายงาน อย่างสม่ําเสมอ
(4) ให้สถาบันการเงินจัดให้มีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ซึ่งดําเนินการ โดยหน่วยงานอิสระภายในสถาบันการเงินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และรายงานตรงต่อคณะกรรมการของสถาบันการเงินผ่านคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงหรือคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน โดยในการประเมินควรคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(4.1) การกําหนดนโยบาย ข้อกําหนด และวิธีปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องต้องมีความชัดเจน ทําเป็นลายลักษณ์อักษร สอดคล้องกับกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินและต้องมีการทบทวนอย่างสม่ําเสมอ
(4.2) สถาบันการเงินได้ถือปฏิบัติตามน โยบาย ข้อกําหนดและวิธีปฏิบัติภายในและหลักเกณฑ์ของ ธปท.
(4.3) ระบบข้อมูลข่าวสารและระบบการรายงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีการพิสูจน์ความถูกต้องและการกระทบยอดสอบทานกันด้วย
(4.4) มีการคํานึงถึงความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องครบถ้วนทุกด้าน
(4.5) มีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและกําหนดแนวทางแก้ไข
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,966 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 41/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนกรกฎาคม ปี 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 41/2551
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนกรกฎาคม ปี 2551
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนกรกฎาคม ปี 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนกรกฎาคม ปี 2551 (รุ่นที่ 3/ 3 ปี/2551) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/3 ปี/2551 ที่จะประมูลในวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 เท่ากับร้อยละ 4.75 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,967 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 42/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารของสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 42/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร
ของสถาบันการเงิน
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ความเสี่ยงด้านตลาด หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดผลขาดทุนต่อสถาบันการเงินอันเนื่องมาจากความผันผวนทางด้านราคาของฐานะทั้งในบัญชีเพื่อการค้าและในบัญชีเพื่อการธนาคารที่สถาบันการเงินถือครองอยู่ โดยฐานะดังกล่าว ได้แก่ ฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยอัตราแลกเปลี่ยน ตราสารทุน และสินค้าโภคภัณฑ์ การถือครองตราสาร หรือฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาดจํานวนมากอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสถาบันการเงินทั้งในด้านรายได้และความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงินโดยเฉพาะหากราคาตลาดของฐานะดังกล่าวมีความผันผวนสูง
เพื่อให้การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเป็นไปตามมาตรฐานสากล และสามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้งเพื่อให้สถาบันการเงินมีการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์นโยบายการกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ซึ่งกําหนดให้สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าในระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดสําหรับ 1) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยและราคาตราสารทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า และ 2) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดของสถาบันการเงิน โดยมีวิธีในการคํานวณเงินกองทุน 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธีมาตรฐาน 2) วิธีแบบจําลอง และ 3) วิธีผสม
นอกจากฐานะในบัญชีเพื่อการค้าแล้ว สถาบันการเงินยังมีฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคารที่อาจได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ที่ถือจนกว่าจะครบกําหนด เงินให้สินเชื่อ เงินฝากจากประชาชน เป็นต้น ซึ่งเมื่ออัตราดอกเบี้ยมี'ความผันผวน สถาบันการเงินก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อรายได้ และ/หรือ มูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นด้วยเช่นกัน เพื่อให้การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สถาบันการเงินมีการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันให้มีความสัมพันธ์กับการรับฝากเงิน การกู้ยืมเงิน หรือการรับเงินจากประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารของสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินใช้เป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวและดูแลเงินกองทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง และเพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของนโยบายดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากหลักการเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 63 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร และการดูแลเงินกองทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของสถาบันการเงินให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
หนังสือเวียนที่ ธปท. สนส. (21) ว. 2141/2547 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 เรื่องนโยบายการกํากับดูแลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารของสถาบันการเงินและแบบรายงานเกี่ยวข้อง
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"บัญชีเพื่อการธนาคาร" (Banking Book) หมายถึง ฐานะของเครื่องมือทางการเงินหรือธุรกรรมอื่นที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือตราสารทางการเงินที่มีเจตนาตั้งแต่แรกว่าจะถือครองระยะยาวหรือถือจนครบกําหนดอายุ
"ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร" หมายถึง ความเสียหายต่อรายได้ และ/หรือ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ของสถาบันการเงินจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยซึ่งอาจเกิดจากฐานะทั้งในและนอกงบดุลที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร โดยรายละเอียดของประเภทและผลกระทบของความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยตามเอกสารแนบ 1
5.2 แนวทางการบริทารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่มีประสิทธิภาพ
5.2.1 แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่มีประสิทธิภาพของสถาบันการเงินต้องประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการในการบริหารสินทรัพย์ หนี้สินและรายการนอกงบดุล ดังนี้
(1) การติดตามดูแลที่เหมาะสมของคณะกรรมการของสถาบันการเงิน และผู้บริหารระดับสูง
(2) นโยบายการบริหารความเสี่ยงและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
(3) การประเมิน การติดตาม การรายงาน และการควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม
(4) การควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
5.2.2 แนวทางที่สถาบันการเงินใช้องค์ประกอบทั้งสี่ตามข้อ 5.2.1(1)-(4) ในการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับชอบเขต ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรม รวมทั้งระดับความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงิน ดังนั้น แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยอาจหลากหลาย เช่น สถาบันการเงินขนาดเล็กที่ผู้บริหารระดับสูงติดตามดูแลการทํางานประจําวันอย่างใกล้ชิด สามารถใช้กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก ขณะที่สถาบันการเงินที่ธุรกรรมมีความซับซ้อนและหลากหลาย อาจต้องใช้กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นโดยมีการรายงานธุรกรรมทางการเงินแก่ผู้บริหารระดับสูงเพื่อใช้ในการติดตามดูแลการทํางานประจําวัน มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอโดยมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นําเสนอผู้บริหารระดับสูง เพื่อใช้ในการติดตามดูแลการดําเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายและให้อยู่ภายใต้เพดานความเสี่ยงที่กําหนด
5.3 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการของสถาบันการเงินและผู้บริหารระดับสูง
5.3.1 คณะกรรมการของสถาบันการเงิน มีหน้าที่อนุมัติกลยุทธ์ทางธุรกิจและนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งมอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูงดูแลให้มีการประเมิน ควบคุม ติดตาม และรายงานความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่สอดคล้องกับขอบเขตปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ คณะกรรมการของสถาบันการเงิน ต้องได้รับข้อมูลที่เพียงพอ เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ เพื่อประเมินความสามารถในการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยของผู้บริหารระดับสูงให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้กําหนดไว้
5.3.2 ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ติดตามดูแลให้ระบบการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยมีความเหมาะสมกับระดับความเสี่ยง และธุรกรรมของสถาบันการเงิน รวมถึงการกําหนดเพดานความเสี่ยง นโยบาย และขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงต้องจัดสรรทรัพยากรและบุคลากรให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
5.3.3 สถาบันการเงินควรกําหนดให้มีคณะกรรมการย่อยหรือบุคลากรรับผิดชอบต่อการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งกําหนดให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ และขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงานบริหารความเสี่ยง ซึ่งทําหน้าที่ประเมินควบคุม ติดตามและรายงานความเสี่ยง เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง เพื่อไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interests) และมีการรายงานตรงต่อผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการของสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการของสถาบันการเงินและผู้บริหารระดับสูงตามเอกสารแนบ 2
5.4 นโยบายการบริหารความเสี่ยงและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
5.4.1 สถาบันการเงินต้องจัดทํานโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยเป็นลายลักษณ์อักษรและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบและถือปฏิบัติ รวมทั้งจัดเก็บไว้เพื่อผู้ตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้โดยนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานควรมีรายละเอียดครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามเอกสารแนบ 3
5.4.2 สถาบันการเงินต้องมีการทบทวนและสอบทานนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยเป็นประจํา รวมถึงการปรับปรุงนโยบายให้เหมาะสมกับขอบเขต ปริมาณความซับซ้อนของธุรกรรมและภาวะตลาดที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
5.5 แนวทางการประเมิน ควบคุม และติดตามความเสี่ยง
5.5.1 แนวทางการประเมินความเสี่ยง
(1) สถาบันการเงินควรจัดให้มีระบบที่สามารถประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่มีนัยสําคัญ และสามารถประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยต่อรายได้ (Earning) และ/หรือ ต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) ของสถาบันการเงินได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับขอบเขต ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทยประสงค์จะผลักดันให้สถาบันการเงิน มีการจัดเตรียมบุคลากรและระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถพัฒนาหรือจัดให้มีระบบประเมินความเสี่ยงที่สามารถประเมินผลกระทบทั้งต่อรายได้และต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของสถาบันการเงินได้ รวมทั้งมีการสื่อสารสมมติฐานหลักประกอบการประเมินความเสี่ยงให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนแก่ผู้บริหารของสถาบันการเงิน
(2) สถาบันการเงินควรเลือกใช้ระบบและเครื่องมือในการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับขอบเขต ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงิน โดยรายละเอียดเกี่ยวกับระบบและเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยตามเอกสารแนบ 4
(3) สถาบันการเงินที่มีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยประเภท Repricing Risk เป็นหลัก มี Embedded Options และธุรกรรมที่ซับซ้อนในสัดส่วนที่ไม่มีนัยสําคัญ อาจเลือกใช้วิธี Repricing Gap ในการประเมินผลกระทบต่อรายได้ ซึ่งเป็นแนวทางขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยโดยวิธี Repricing Gap ตามเอกสารแนบ 5
(4) สถาบันการเงินควรพิจารณาโครงสร้างงบดุลและระดับความเสี่ยงประเภท Option Risk เป็นปัจจัยในเบื้องต้น ในการพิจารณาจัดให้มีระบบประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่สามารถประเมินผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ ได้ ตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินที่มีฐานะที่มี Embedded Options ในสัดส่วนที่มีนัยสําคัญ หรือมีสินทรัพย์ระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ในสัดส่วนสูง ในขณะที่มีหนี้สินระยะยาวในสัดส่วนต่ํา
(5) สถาบันการเงินที่ถือครองฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในสกุลเงินตราต่างประเทศในสัดส่วนที่สถาบันการเงินพิจารณาแล้วเห็นว่ามีนัยสําคัญและสามารถอธิบายแก่ผู้ตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทยได้ ต้องสามารถประเมินระดับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในแต่ละสกุลเงินเหล่านั้นได้ด้วย เนื่องจาก Yield Curve ของอัตราดอกเบี้ยในแต่ละสกุลเงินอาจมีลักษณะแตกต่างกัน
(6) สถาบันการเงินควรพัฒนาระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยสําหรับสินทรัพย์และหนี้สินที่มีระยะเวลาการปรับอัตราดอกเบี้ย หรืออายุคงเหลือไม่ชัดเจนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะสถาบันการเงินที่มีฐานะดังกล่าวในระดับที่มีนัยสําคัญ เช่น เงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน (Non-maturity Deposits) ที่ผู้ฝากเงินมีทางเลือกที่จะถอนเงินเมื่อใดก็ได้ สินเชื่อที่ให้สิทธิแก่ลูกค้าในการจ่ายคืนหนี้ก่อนครบกําหนด (Prepayment) ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ปัจจัยเหล่านี้ทําให้เกิดความซับซ้อนในการประเมินระดับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากทั้งมูลค่าของฐานะและระยะเวลาที่จะเกิดกระแสเงินสดของฐานะเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปเมื่ออัตราดอกเบี้ยตลาดเปลี่ยนแปลงไป โดยสถาบันการเงินที่จะปรับข้อมูลให้สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้า ควรดําเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ 6
(7) สถาบันการเงินต้องประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยภายใต้ภาวะวิกฤติได้ (Stress Testing) รวมไปถึงกรณีที่สมมติฐานหลักไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้เดิมรวมทั้งควรพิจารณาใช้ผลการประเมินดังกล่าวในการกําหนดและทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยง และเพดานความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยด้วย โดยแนวทางการจัดทํา Stress Testing ตามเอกสารแนบ 7
5.5.2 แนวทางการควบคุมความเสี่ยง
สถาบันการเงินต้องกําหนดให้มีระบบเพดานความเสี่ยง และแนวปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้มีการนําไปปฏิบัติอย่างจริงจัง และมีการทบทวนเป็นระยะ เพื่อให้สามารถควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับนโยบายที่สถาบันการเงินกําหนดได้ โดยรายละเอียดของแนวทางควบคุมความเสี่ยงตามเอกสารแนบ 8
5.5.3 แนวทางการติดตามความเสี่ยง
(1) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีระบบข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอในการประเมิน ควบคุม ติดตาม และรายงานความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย โดยการรายงานข้อมูลดังกล่าวต้องจัดทําอย่างสม่ําเสมอ ทันต่อเหตุการณ์ และพิจารณานําเสนอต่อคณะกรรมการสถาบันการเงินคณะกรรมการอื่น ผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารสายธุรกิจต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
(2) สถาบันการเงินต้องทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือและสมมติฐานที่ใช้ในระบบการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถบ่งชี้ข้อบกพร่องต่าง ๆ ของระบบที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบประเมินความเสี่ยงให้มีความน่าเชื่อถือ
ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับการรายงานความเสี่ยงและการทดสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือและสมมติฐานที่ใช้ตามเอกสารแนบ 9
5.6 การควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย
สถาบันการเงินต้องมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และควรจัดให้มีการสอบทานระบบบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระอย่างสม่ําเสมอ เพื่อประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย โดยรายละเอียดของแนวทางการควบคุมภายในและการสอบทานตามเอกสารแนบ 10
5.7 แนวทางการดูแลเงินกองทุน
5.7.1 สถาบันการเงินต้องพิจารณาและติดตามดูแลระดับเงินกองทุนของสถาบันการเงินให้เพียงพอ และสามารถรองรับผลเสียหายที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคารได้
5.7.2 ผู้ตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาให้ความเห็นเป็นรายกรณี ให้สถาบันการเงินที่มีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยสูง และ/หรือ มีเงินกองทุนไม่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ดําเนินการในการเพิ่มเงินกองทุน และ/หรือ ลดฐานะที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หรือดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อลคระดับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย
5.8 การจัดส่งข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง
5.8.1 ให้สถาบันการเงินจัดทําและจัดส่งข้อมูลสําหรับการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารตามรูปแบบและแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในระบบบริหารข้อมูล (DMS) โดยให้จัดส่งภายใน 21 วัน นับจากวันสิ้นไตรมาสโดยแนวทางและคําอธิบายการจัดทําข้อมูลตามเอกสารแนบ 11
5.8.2 สถาบันการเงินที่มีฐานะที่มีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในสกุลเงินต่างประเทศในระดับที่สถาบันการเงินพิจารณาแล้วเห็นว่ามีนัยสําคัญ จะต้องจัดทําและจัดส่งข้อมูลแยกเป็นรายสกุลเงินเพิ่มเติมจากสกุลเงินบาท สําหรับฐานะสกุลเงินต่างประเทศที่ไม่มีนัยสําคัญให้สถาบันการเงินจัดทําและจัดส่งรวมกันในสกุลเงินอื่น
5.8.3 สถาบันการเงินที่มีการปรับพฤติกรรมข้อมูล และถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปรับพฤติกรรมข้อมูลแล้ว ให้จัดส่งแบบรายงานโดยอิงข้อมูลที่มีการปรับพฤติกรรมแล้ว พร้อมสมมติฐานประกอบการปรับพฤติกรรม
5.8.4 สถาบันการเงินต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานและรายละเอียดต่างๆ ประกอบการจัดทําข้อมูลตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รวมทั้งรายละเอียดการจัดทําแบบรายงานที่สถาบันการเงินใช้ภายในเพื่อการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยอย่างสม่ําเสมอรวมทั้งจัดส่งข้อมูลดังกล่าวตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,968 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3641 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารและดำแนะนำในการนำไปใช้ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3641 (พ.ศ. 2549)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารและดําแนะนําในการนําไปใช้
---------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารและคําแนะนําในการนําไปใช้ มาตรฐานเลขที่ มอก. 7000 - 2540
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2276 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารและคําแนะนําในการนําไปใช้ ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2540 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารและคําแนะนําในการนําไปใช้ มาตรฐานเลขที่ มอก. 7000 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,969 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3659 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาลีอิกแอนไฮไดรด์สำหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 5 : การวิเคราะห์หาปริมาณเถ้า | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3659 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มาลีอิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ -
เล่ม 5 : การวิเคราะห์หาปริมาณเถ้า
---------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาลีอิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 5 : การวิเคราะห์หาปริมาณเถ้า มาตรฐานเลขที่ มอก. 1807 เล่ม 5 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3027 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาลีอิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม -วิธีทดสอบ - เล่ม 5 : การวิเคราะห์หาปริมาณเถ้า ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,970 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 67/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.98/14/51 | 70,000 | 30 กันยายน 2551 | 02/10/51 – 16/10/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,971 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 68/2551 เรื่อง การจัดทำและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 68/2551
เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์
----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ด้วยเหตุที่การจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเป็นข้อมูลสําคัญ ที่แสดงฐานะการเงินของสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยใช้เป็นส่วนประกอบในการกํากับ ดูแลสถาบันการเงินและเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและคู่สัญญาที่จะใช้ข้อมูลเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจทําธุรกรรมกับสถาบันการเงินนั้น ๆ
การออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์ และหนี้สินและเพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยเนื้อหาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ตามประกาศฉบับนี้ยังคงเป็นไปตามหลักการของ การจัดทํารายการย่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยกําหนดขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
พร้อมกันนี้ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทางปฏิบัติ ได้ปรับปรุงชื่อรายการและนิยาม ดําอธิบายแบบรายงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และได้เพิ่มการขอให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งหลักฐานว่าได้ประกาศรายการย่อดังกล่าวในหนังสือพิมพ์แล้วให้ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย เพื่อประโยชน์ในการกํากับ ตรวจสอบ รวมทั้งปรับปรุงรายการแสดงค่าปรับรายเดือนเป็นค่าปรับในช่วงไตรมาสที่รายงาน
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 มาตรา 39(5) และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2549 และหนังสือเวียนที่ ธปท.ฝกส.(11) ว. 2008/2549 เรื่อง นําส่งประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นเดือน ของทุกเดือน และจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังภายในวันที่ยี่สิบเอ็ด ของเดือนถัดไป ดังนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยให้จัดทํารายการย่อแสดง สินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ ธ.พ. 1.1 ที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้จัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ ธ.พ. 1.2 ที่แนบท้ายประกาศนี้
5.2 ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดไป ดังนี้
(1) ปิดประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานทุกแห่ง
(2) ประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นเดือนของเดือนสุดท้ายของไตรมาส คือ เดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และ ธันวาคม ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับและจัดส่งหลักฐานว่าได้ประกาศรายการย่อดังกล่าวในหนังสือพิมพ์แล้วให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายในเดือนที่ประกาศด้วย
(3) ประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินใน Website ของ ธนาคารพาณิชย์เอง
อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่การรายงานข้อมูลงวดสิ้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,972 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3642 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผงซักฟอก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3642 (พ.ศ. 2549)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ผงซักฟอก
------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผงซักฟอก มาตรฐานเลขที่ มอก. 78 - 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2371 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผงซักฟอก ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2489 (พ.ศ. 2541) เรื่อง แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผงซักฟอก (แก้ไขครั้งที่ 1) ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 3653 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3095 (พ.ศ. 2545) เรื่อง แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผงซักฟอก (แก้ไขครั้งที่ 2) ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผงซักฟอก มาตรฐานเลขที่ มอก. 78 – 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผงซักฟอกต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 78 - 2549 ใช้บังคับเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,973 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 68/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 68/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ดังนี้
| | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน – วันครบกําหนด | ประเภทอายุ |
| 1/28/51 | - | 10,000 | 7 ต.ค. 51 | 9/10/51 – 6/11/51 | 28 วัน |
| 8/364/51 | - | 30,000 | 7 ต.ค. 51 | 9/10/51 – 8/10/52 | 364 วัน |
| 2/28/51 | - | 10,000 | 14 ต.ค. 51 | 16/10/51 – 31/11/51 | 28 วัน |
| 6/63/51 | - | 30,000 | 14 ต.ค. 51 | 16/10/51 – 18/12/51 | 63 วัน |
| 3/28/51 | - | 10,000 | 21 ต.ค. 51 | 24/10/51 – 21/11/51 | 28 วัน |
| 3/2ปี/2551 | 4.0625 | 30,000 | 21 ต.ค. 51 | 24/10/51 – 21/8/53 | 2 ปี |
| 4/28/51 | - | 10,000 | 28 ต.ค. 51 | 30/10/51 – 27/11/51 | 28 วัน |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,974 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3660 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาลีอิกแอนไฮไดรด์สำหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 6 : การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ – ไบพิริดิลโฟโตเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3660 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มาลีอิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ -
เล่ม 6 : การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ – ไบพิริดิลโฟโตเมทริก
--------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาลีอิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 6 : การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ – ไบพิริดิลโฟโตเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1807 เล่ม 6 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3028 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาลีอิกแอนไฮไดรด์สําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ - เล่ม 6 : การวิเคราะห์ทาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ - ไบพิริดิลโฟโตเมทริก ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,975 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3643 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีอิมัลชัน และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีอิมัลชันใช้งานทั่วไป | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3643 (พ.ศ. 2549)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สีอิมัลชัน
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
สีอิมัลชันใช้งานทั่วไป
------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีอิมัลชัน มาตรฐานเลขที่ มอก. 272 - 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2352 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีอิมัลชัน ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีอิมัลชันใช้งานทั่วไป มาตรฐานเลขที่ มอก. 272 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายละเอียดต่อท้าย ประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 180 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,976 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 69/2551 เรื่อง การจัดทำและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 69/2551
เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของ
บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ด้วยเหตุที่การจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเป็นข้อมูลสําคัญ ที่แสดงฐานะการเงินของสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยใช้เป็นส่วนประกอบในการกํากับ ดูแลสถาบันการเงิน เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและคู่สัญญาที่จะใช้ข้อมูลเป็นปัจจัยหนึ่ง ในการตัดสินใจทําธุรกรรมกับสถาบันการเงินนั้น ๆ
การออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จัดทําและเปิดเผย รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน และเพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยเนื้อหาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ตามประกาศฉบับนี้ ยังคงเป็นไปตามหลักการของการจัดทํารายการย่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยกําหนดขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
พร้อมกันนี้ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทางปฏิบัติ ได้ปรับปรุงชื่อรายการและนิยาม คําอธิบายแบบรายงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และได้เพิ่มการขอใหบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จัดส่งหลักฐานว่าได้ประกาศรายการย่อดังกล่าวในหนังสือพิมพ์แล้วให้ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย เพื่อประโยชน์ในการกํากับตรวจสอบ รวมทั้งปรับปรุงรายการแสดงค่าปรับรายเดือนเป็นค่าปรับในช่วง ไตรมาสที่รายงาน
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 มาตรา 39(5) และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกบริษัท
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2549 และหนังสือเวียนที่ ธปท.ฝกส.(11)ว. 2009/2549 เรื่อง นําส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกาศรายการ และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้ "บริษัท" หมายความว่า บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
5.2 ให้บริษัทจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือน และจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง ภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดไป ดังนี้
(1) บริษัทเงินทุนให้จัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ บ.ง. 1.2 ที่แนบท้ายประกาศนี้
(2) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้จัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ บ.ค. 12 ที่แนบท้ายประกาศนี้
5.3 ให้บริษัทเปิดเผยราชการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของ เดือนถัดไป ดังนี้
(1) ปิดประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์เละหนี้สินไว้ในที่เปีดเผย ณ สํานักงานทุกแห่ง
(2) ประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นเดือนของเดือนสุดท้ายของ ไตรมาส คือ เดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และ ธันวาคม ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ และจัดส่งหลักฐานว่าได้ประกาศรายการย่อดังกล่าวในหนังสือพิมพ์แล้วให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ ภายในเดือนที่ประกาศด้วย
(3) ประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินใน Website ของบริษัทเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ปฏิบัติเป็นอย่างอื่น
5.4 ให้บริษัทปิดประกาศรายการที่ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริงดังต่อไปนี้ไว้ใน ที่เปิดเผยในสํานักงานทุกแห่งของบริษัทที่ใช้ติดต่อกับประชาชน
(1) ใบอนุญาตหรือสําเนาใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจ เครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี
(2) หนังสือรับรองของสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์ที่ แสดงรายชื่อกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท ทุนจดทะเบียน และที่ตั้งสํานักงานใหญ่ของ บริษัทรวมทั้งสาขา (ถ้ามี) ที่เป็นปัจจุบัน
(3) รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่สิบลําดับแรกเรียงตามลําดับ ทั้งนี้ ตามหลักฐานที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท พร้อมทั้งแสดงอัตราร้อยละของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้ว ทั้งหมดที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ ณ วันที่บริษัทอ้างถึง
(4) ชื่อผู้สอบบัญชีซึ่งได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจําปี และ ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว พร้อมทั้งชื่อและสถานที่ตั้งสํานักงานของ ผู้สอบบัญชี
(5) ตัวอย่างตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท และวันที่เริ่มใช้พร้อมทั้งระบุชื่อโรงพิมพ์ ที่พิมพ์ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว
(6) ตัวอย่างตราของบริษัทที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์
5.5 ให้บริษัทจัดให้มีเอกสารที่แสดงข้อมูลที่ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริง ดังต่อไปนี้ไว้ในที่เปิดเผยตลอดเวลาทําการ ภายในสํานักงานทุกแห่งของบริษัท เพื่อให้ประชาชน สามารถตรวจดูได้โดยสะดวก ทั้งนี้ อาจจัดเตรียมไว้เป็นแฟ้มก็ได้
(1) งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี พร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงิน ของงวดการบัญชีหลังสุด
(2) รายชื่อกรรมการและพนักงานผู้มีอํานาจลงนามแทนบริษัททุกคน พร้อมทั้งตัวอย่างลายมือชื่อที่ใช้อยู่เป็นปกติของบุคคลดังกล่าวทุกภาษา ตลอดจนขอบเขตและอํานาจในการลงนามแทนบริษัท
5.6 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรายการหรือข้อมูล ตลอดจนรายละเอียดที่ ประกาศหรือเปิดเผยไว้ตามข้อ 5.3 – 5.5 ดังกล่าวข้างต้น ให้บริษัทแก้ไขประกาศหรือข้อมูลนั้นให้ถูกต้องครบถ้วน โดยพลัน เว้นแต่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามข้อ 5.4 จะปรับปรุงเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญก็ได้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่การรายงานข้อมูลงวดสิ้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,977 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 69/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 69/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.99/14/51 | 70,000 | 3 ตุลาคม 2551 | 07/10/51 – 21/10/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,978 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 70/2551 เรื่อง การจัดทำและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 70/2551
เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์
และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
งบการเงินเป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินที่สําคัญเพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ของผู้ใช้งบการเงินที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกํากับดูแล และสาธารณชน ทั่วไป ดังนั้น เพื่อมิให้ธนาคารพาณิชย์มีการปฏิบัติที่หลากหลายในการแสดงรายการในงบการเงิน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากงบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรกําหนด แบบงบการเงินเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันและสามารถ เปรียบเทียบกันได้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการกํากับดูแลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงิน
นอกจากนี้ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม เพื่อกํากับดูแลฐานะและการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในภาพรวม โดยที่บริษัทแม่ของ กลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือนิติบุคคลอื่น เช่น บริษัทโฮลดิ้งที่มีคุณสมบัติ และประกอบธุรกิจตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และเนื่องจากการประกอบธุรกิจของ ธนาคารพาณิชย์ถือเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ดังนั้น เพื่อให้งบการเงินของบริษัท โฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินสะท้อนถึงการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่แท้จริง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรกําหนดให้บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของ กลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม จัดทํางบการเงินตามรูปแบบเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์
ในการออกประกาศฉบับนี้ เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศและหนังสือเวียน ของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดทํางบการเงินมาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ในการกําหนดรูปแบบงบการเงินไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม มีเพียงการปรับปรุงรายการบางรายการเพื่อให้สอดคล้องกับการทําธุรกรรมในปัจจุบันของธนาคาร พาณิชย์และให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของไทยที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57 มาตรา 67 มาตรา 68 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนด ให้ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งหมายถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทโฮลดิ้ง ที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ถือปฏิบัติในเรื่องรูปแบบงบการเงินตามที่กําหนดใน ประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงินทุกธนาคาร และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
1. ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน จัดทํางบดุล งบกําไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด นโยบาย การบัญชีและหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน รวมทั้งจัดทํางบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อนด้วย ทั้งนี้ ให้มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยตามรายการที่กําหนด
2. ในการจัดทํางบการเงินดังกล่าวตามข้อ 1 ให้เป็นไปโดยครบถ้วนถูกต้องตาม ความเป็นจริง และเป็นไปตามคําอธิบายความหมายของรายการตามแนบ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วย การบัญชี ในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ครอบคลุมถึง ให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับ ทั่วไปมาถือปฏิบัติ โดยให้เปิดเผยถึงที่มาของหลักการบัญชีที่นํามาใช้ในหมายเหตุประกอบ งบการเงินในส่วนของนโยบายบัญชี ทั้งนี้ การนํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศมาใช้ ห้ามนํามาใช้เฉพาะบางส่วน แต่จะต้องนํามาใช้ทั้งฉบับ เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดอื่น ๆของธนาคารแห่งประเทศไทย
3. ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีบริษัทย่อย ให้จัดทํางบการเงินรวมเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ คํานิยามของบริษัทย่อยและการแสดง รายการเพิ่มเติมสําหรับการจัดทํางบการเงินรวม ให้ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ และมาตรฐานการบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้อง และหากธนาคารพาณิชย์และบริษัท โฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่ได้นําบริษัท ย่อยใดมารวมในงบการเงินรวม ให้แจ้งเหตุผลถึงการไม่นํามารวม พร้อมทั้งเปิดเผยผลกระทบและ เปิดเผยงบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย
4. หมายเลขกํากับรายการที่ปรากฏในแบบงบการเงิน มีไว้เพื่อสะดวกในการอ้างอิง เท่านั้น ไม่ต้องแสดงในการจัดทํางบการเงิน
5. ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน แสดงรายการในงบการเงินตามแบบที่กําหนดไว้ หากไม่มีรายการใดไม่ต้องแสดงรายการนั้น และในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีกําหนดให้มีการแสดงรายการใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ใน แบบงบการเงิน หรือในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีในเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขซึ่งเป็น ผลให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการแสดงรายการจากที่กําหนดในแบบงบการเงิน ให้แสดงรายการนั้น ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีเพิ่มเติมด้วย และหากมีรายการที่ประสงค์จะแสดงนอกเหนือจาก ที่กําหนดไว้ ก็ให้แสดงรายการนั้น ๆ ตามความเหมาะสมและถูกต้องตามประเภทของรายการที่กําหนด
6. ให้ธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จัดทํางบการเงิน ทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน และรอบระยะเวลา 12 เดือนอันเป็นรอบปีบัญชีของธนาคารพาณิชย์ นั้น สําหรับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้จัดทํางบการเงินทุกรอบระยะเวลา 12 เดือน อันเป็นรอบปีบัญชีของสาขาธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศและบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น
7. ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกาศงบการเงิน ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
7.1 ธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ให้ประกาศงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและรับรอง ความถูกต้อง
โดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนอย่างน้อย 2 ท่าน ของธนาคารพาณิชย์ ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์นั้น รวมทั้ง ให้ลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของธนาคารพาณิชย์ และให้เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย ทั้งนั้นในกรณีของงบการเงินสําหรับงวดบัญชี 6 เดือนแรก ของปีบัญชี การดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นงวดบัญชี และในกรณี ของงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี การดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 21 วันนับแต่ วันที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินแล้ว แต่ต้องไม่เกิน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น
7.2 สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
7.2.1 ให้ประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้น ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินดังกล่าวให้หมายถึง รายงานของผู้สอบบัญชี งบดุล และงบกําไรขาดทุน ที่จัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของหน่วยงานกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศในประเทศนั้น
7.2.2 ให้ประกาศงบการเงินของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ผ่าน การตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศนั้น รวมทั้งให้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และให้เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น
7.3 บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ให้เสนองบการเงินที่จัดทําตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด สําหรับธนาคารพาณิชย์ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 5 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น โดยไม่ต้องประกาศงบการเงินไว้ ณ สํานักงานของบริษัท และไม่ต้องเผยแพร่งบการเงินในสื่ออื่น ๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขา และการลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ตามที่กําหนดในข้อ 7.1 และข้อ 7.2.2 ให้หมายถึงเฉพาะรายงานของผู้สอบบัญชี งบดุล และงบกําไรขาดทุน เท่านั้น แต่หากธนาคารพาณิชย์ ได้มีการอ้างอิงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดไว้ในงบดุลและงบกําไร ขาดทุนที่นําไปประกาศ ให้แสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินนั้นเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่รายงานของผู้สอบบัญชีมี การอ้างถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดโดยไม่ระบุจํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ให้แสดงหมายเหตุประกอบ งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีอ้างถึงนั้นไว้ด้วย สําหรับการประกาศงบการเงินในเว็บไซต์ (Website) ของธนาคารพาณิชย์ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในข้อ 7.1 ข้อ 7.2.2 และ ข้อ 7.3 ให้หมายถึงรายงานของผู้สอบบัญชี งบดุล งบกําไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วน ของผู้ถือหุ้นงบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงินทั้งหมด
8. ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน มีการจัดทํางบการเงินรวม การดําเนินการตามข้อ 7.1 ข้อ 7.2.2 และ ข้อ 7.3 ให้หมายความรวมถึง งบการเงินรวมด้วย
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,979 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3661 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมไพโรฟอสเฟตสำหรับอุตสาหกรรม - การประมาณค่าปริมาณไพโรฟอสเฟต -วิธีโพเทนชิออเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3661 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
โซเดียมไพโรฟอสเฟตสําหรับอุตสาหกรรม - การประมาณค่าปริมาณไพโรฟอสเฟต -
วิธีโพเทนชิออเมทริก
---------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมไพโรฟอสเฟตสําหรับอุตสาหกรรม - การประมาณค่าปริมาณไพโรฟอสเฟต - วิธีโพเทนชิออเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1770 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3024 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโซเดียมไพโรฟอสเฟตสําหรับอุตสาหกรรม - การประมาณค่าปริมาณไพโรฟอสเฟต - วิธีโพเทนชิออเมทริก ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,980 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 70/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 70/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.100/15/51 | 75,000 | 7 ตุลาคม 2551 | 9/10/51 – 24/10/51 | 15 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,981 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3662 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดบอริก บอริกออกไซด์ ไดโซเดียมเททระบอเรต โซเดียมเพอร์บอเรตและโซเดียมบอเรตดิบสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ - ไบไพริดิลโฟโตเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3662 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กรดบอริก บอริกออกไซด์ ไดโซเดียมเททระบอเรต โซเดียมเพอร์บอเรตและโซเดียมบอเรตดิบ
สําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ - ไบไพริดิลโฟโตเมทริก
---------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดบอริก บอริกออกไซด์ ไดโซเดียมเททระบอเรต โซเดียมเพอร์บอเรตและโซเดียมบอเรตดิบสําหรับอุตสาพกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ - ไบไพริดิลโฟโตเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 2023 - 2543
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3013 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดบอริก บอริกออกไซด์ ไดโซเดียมเททระบอเรต โซเดียมเพอร์บอเรตและโซเดียมบอเรตดิบสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก - วิธี 2,2’ – ไบไพริดิลโฟโตเมทริก ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,982 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 71/2551 เรื่อง การจัดทำและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 71/2551
เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
งบการเงินเป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินที่สําคัญเพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของ ผู้ใช้งบการเงินที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกํากับดูแล และสาธารณชนทั่วไป ดังนั้น เพื่อมิให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีการปฏิบัติที่หลากหลายในการแสดง รายการในงบการเงิน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากงบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเห็นควรกําหนดแบบงบการเงินเพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกแห่ง ถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันและสามารถเปรียบเทียบกันได้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งใน ด้านการกํากับดูแลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงิน
ในการออกประกาศฉบับนี้ เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศและหนังสือเวียนของ ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดทํางบการเงินมาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ในการกําหนดรูปแบบงบการเงินไม่มีการเปลี่ยนแปลงจาก หลักเกณฑ์เดิม มีเพียงการปรับปรุงรายการบางรายการเพื่อให้สอดคล้องกับการทําธุรกรรมใน ปัจจุบันของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีของไทย ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ได้ปรับปรุงการแสดงรายการเกี่ยวกับการขายตั๋วเงินเพื่อให้ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับ การบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 67 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ถือปฏิบัติในเรื่องรูปแบบงบการเงินตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมาย ว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
1. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จัดทํางบดุล งบกําไรขาดทุน งบแสดง การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบ งบการเงิน รวมทั้งจัดทํางบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อนด้วย ทั้งนี้ ให้มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยตามรายการที่กําหนดตามแนบ
2. ในการจัดทํางบการเงินดังกล่าวตามข้อ 1 ให้เป็นไปโดยครบถ้วนถูกต้องตาม ความเป็นจริง และเป็นไปตามคําอธิบายความหมายของรายการตามแนบ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วย การบัญชี ในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ครอบคลุมถึง ให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับ ทั่วไปมาถือปฏิบัติ โดยให้เปิดเผยถึงที่มาของหลักการบัญชีที่นํามาใช้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ในส่วนของนโยบายบัญชี ทั้งนี้ การนํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศมาใช้ ห้ามนํามาใช้เฉพาะ บางส่วน แต่จะต้องนํามาใช้ทั้งฉบับ เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดอื่น ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย
3. ในกรณีที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีบริษัทย่อย ให้จัดทํางบการเงิน รวมเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ คํานิยามของบริษัทย่อยและการแสดงรายการเพิ่มเติมสําหรับการจัดทํา งบการเงินรวม ให้ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 เรื่อง งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ และมาตรฐานการบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้อง และหากบริษัทเงินทุนและบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ไม่ได้นําบริษัทย่อยใดมารวมในงบการเงินรวม ให้แจ้งเหตุผลถึงการไม่นํามารวม พร้อมทั้งเปิดเผยผลกระทบ และเปิดเผยงบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวในหมายเหตุประกอบ งบการเงินด้วย
4. หมายเลขกํากับรายการที่ปรากฎในแบบงบการเงิน มีไว้เพื่อสะดวกในการอ้างอิง เท่านั้น ไม่ต้องแสดงในการจัดทํางบการเงิน
5. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แสดงรายการในงบการเงินตามแบบ ที่กําหนดไว้ หากไม่มีรายการใดก็ไม่ต้องแสดงรายการนั้น และในกรณีที่มาตรฐานการบัญชี กําหนดให้มีการแสดงรายการใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในแบบงบการเงิน หรือในกรณีที่ มาตรฐานการบัญชีในเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขซึ่งเป็นผลให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการแสดง รายการจากที่กําหนดในแบบงบการเงิน ให้แสดงรายการนั้นให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี เพิ่มเติมด้วย และหากมีรายการที่ประสงค์จะแสดงนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ ให้แสดงรายการนั้น ๆ ตามความเหมาะสมและถูกต้องตามประเภทของรายการที่กําหนด
6. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ จัดทํางบการเงินทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน และรอบระยะเวลา 12 เดือนอันเป็นรอบปีบัญชีของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น
7. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกาศงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบ ของผู้สอบบัญชีและรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนอย่างน้อย 2 ท่านของ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของ บริษัทเงินทุนและบริษัท เครดิตฟองซิเอร์นั้น รวมทั้งให้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่ง ฉบับ เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ (Website) และให้เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย การกําหนดให้ เผยแพร่ในเวบไซต์ (Website) บังคับใช้เฉพาะกับบริษัทเงินทุนเท่านั้น ทั้งนี้ ในกรณีของงบการเงิน สําหรับงวดบัญชี 6 เดือนแรกของปีบัญชี การดําเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นงวดบัญชี และในกรณีของงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี การดําเนินการดังกล่าวให้แล้ว เสร็จภายใน 21 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินแล้ว แต่ต้องไม่เกิน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น
ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงาน สาขา และการลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ตามที่กําหนดในข้อ 7 ให้หมายถึง เฉพาะรายงานของผู้สอบบัญชี งบดุล และงบกําไรขาดทุน เท่านั้น แต่หากบริษัทเงินทุนและบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ได้มีการอ้างอิงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดไว้ในงบดุลและงบกําไรขาดทุน ที่นําไปประกาศ ให้แสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินนั้นเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่รายงาน ของผู้สอบบัญชีมีการอ้างถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดโดยไม่ระบุจํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ให้แสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีอ้างถึงนั้นไว้ด้วย สําหรับการ ประกาศงบการเงิน ในเว็บไซต์ (Website) และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในข้อ 7 ให้หมายถึงรายงานของผู้สอบบัญชี งบดุล งบกําไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงินทั้งหมด
8. ในกรณีที่บริษัทเงินทุนและ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีการจัดทํางบการเงินรวม การดําเนินการตามข้อ 7 ให้หมายความรวมถึงงบการเงินรวมด้วย
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับงวดประจําปีบัญชี 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,983 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 71/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 71/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.101/14/51 | 70,000 | 9 ตุลาคม 2551 | 9/10/51 – 24/10/51 | 14 |
| พ.102/14/51 | 70,000 | 10 ตุลาคม 2551 | 14/10/51 – 28/10/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,984 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3663 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่อคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับงานระบายน้ำ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3663 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กสําหรับงานระบายน้ํา
----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่อคอนกรีตเสริมเหล็กสําหรับงานระบายน้ํา มาตรฐานเลขที่ มอก. 128 - 2528
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 915 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่อระบายน้ําคอนกรีตเสริมเหล็ก และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่อคอนกรีตเสริมเหล็กสําหรับงานระบายน้ํา ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่อคอนกรีตเสริมเหล็กสําหรับงานระบายน้ํา มาตรฐานเลขที่ มอก. 128 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,985 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 72/2551 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 72/2551
เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต
ของธนาคารพาณิชย์
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธุรกิจบัตรเครดิตถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อประชาชน จํานวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีการใช้บริการบัตรเครดิตเพื่อความสะดวกในการชําระเงินจากการซื้อ สินค้าและบริการในชีวิตประจําวันเพิ่มขึ้น เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและดูแล ให้หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นการระมัดระวังและป้องกันปัญหาจากบัตรเครดิตที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทั้งประชาชนและธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ ออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ซึ่งสาระสําคัญไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 2/2551 เรื่อง การกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 31 มีนาคม 2551
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"บัตรเครดิต" หมายความว่า บัตรที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ผู้ถือบัตรหรือ ผู้บริโภคตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารพาณิชย์กําหนด เพื่อใช้ชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือ ค่าอื่นใดแทนการชําระด้วยเงินสุดหรือเพื่อใช้เบิกถอนเงินสด ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบัตรที่ได้มีการชําระ ค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใด ไว้ล่วงหน้า
"บัตรหลัก" หมายความว่า บัตรเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ผู้ถือบัตรหรือ ผู้บริโภคที่เป็นผู้มีรายได้หรือฐานะทางการเงินเพียงพอสําหรับการชําระหนี้ตามบัตรเครดิตได้
"บัตรเสริม" หมายความว่า บัตรเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ผู้ถือบัตรหรือ ผู้บริโภคที่ผู้ถือบัตรหลักยินยอมให้ใช้จ่ายเงินภายในวงเงินของผู้ถือบัตรหลัก และผู้ถือบัตรหลักจะเป็นผู้รับผิดชอบชําระหนี้อันเกิดจากบัตรเสริมทั้งหมด
"บัตรประเภทองค์กร" (Corporate Card) หมายความว่า บัตรเครดิตที่ธนาคาร พาณิชย์ออกให้ข้าราชการหรือพนักงานของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ บริษัทเอกชน ซึ่งองค์กรข้างต้นจะเป็นผู้รับผิดชอบชําระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวทั้งหมด
5.2 หลักเกณฑ์
5.2.1 คุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิต
ธนาคารพาณิชย์ต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิตตามเอกสาร ประกอบใบสมัครการขอมีบัตรเครดิตของลูกค้า โดยห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์ทําการออกบัตร เครดิตให้แก่ลูกค้าโดยมิได้รับการร้องขอจากลูกค้าก่อน (Pre-approved) คุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิตมีดังนี้
(1) กรณีผู้ถือบัตรหลัก
ธนาคารพาณิชย์จะออกบัตรหลักให้แก่ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคได้ เมื่อผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
(1.1) มีรายได้จากแหล่งที่มาต่าง ๆ รวมกันไม่ต่ํากว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือไม่ต่ํากว่า 180,000 บาทต่อปี โดยต้องแสดงหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของ รายได้
(1.2) เป็นผู้มีรายได้หรือเคยมีรายได้จากการทํามาหาได้ของตนเองโดยพิจารณาจากกระแสเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝาก ซึ่งฝากไว้กับสถาบันการเงินที่สามารถ รับฝากเงินจากประชาชนได้ตามกฎหมาย ย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยอย่างน้อย จะต้องมีกระแสเงินสดเข้าเฉลี่ยไม่ต่ํากว่า 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งธนาคารพาณิชย์พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นผู้มีฐานะทางการเงินเพียงพอที่จะชําระเงินตามบัตรเครดิตได้
(1.3) มีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นหลักประกัน เต็มวงเงินของบัตรเครดิตที่อนุมัติ
(1.4) มีเงินฝากประจําที่ธนาคารพาณิชย์ใด ๆ ไม่น้อยกว่า 500,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
(1.5) มีเงินฝากประจํา หรือเงินฝากออมทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์ใด ๆหรือลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือลงทุนในกองทุนรวม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
(2) กรณีผู้ถือบัตรเสริม
ธนาคารพาณิชย์อาจออกบัตรเสริมให้กับผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 5.2.1 (1.1) - (1.5) ข้างต้น หรือผู้ที่ไม่มีรายได้ประจําได้ ภายใต้สัญญาที่ทํากับผู้ถือบัตรหลัก โดยวงเงินการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรเสริมต้องอยู่ภายในวงเงินของผู้ถือบัตรหลักเท่านั้น และผู้ถือบัตรหลักจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชําระหนี้อันเกิดจากบัตรเสริมทั้งหมด
(3) กรณีบัตรประเภทองค์กร (Corporate Card)
ธนาคารพาณิชย์ต้องพิจารณาถึงความมั่นคงและฐานะทางการเงินขององค์กร หรือบริษัทผู้ยื่นขอมีบัตรโดยไม่จําเป็นต้องตรวจสอบคุณสมบัติผู้ถือบัตรในนามองค์กรหรือ บริษัทดังกล่าวเป็นรายบุคคล
(4) กรณีผู้ถือบัตรรายเก่า
ธนาคารพาณิชย์จะต่ออายุบัตรเครดิตให้แก่ผู้ถือบัตรรายเก่าก่อนวันที่1 เมษายน 2547 ที่มีรายได้จากแหล่งที่มาต่าง ๆ รวมกันต่ํากว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือต่ํากว่า180,000 บาทต่อปีได้ หากผู้ถือบัตรรายเก่ามีประวัติการชําระหนี้ที่ดีต่อเนื่องกัน โดยในรอบ 1 ปี ย้อนหลัง ไม่เคยผิดนัดชําระหนี้เกิน 2 ครั้ง แต่ละครั้งไม่เกิน 30 วัน
5.2.2 การพิจารณาอนุมัติ การกําหนดวงเงิน และการเพิ่มวงเงิน
(1) วงเงินที่จะอนุมัติให้แก่ผู้ถือบัตรเครดิต แต่ละรายต้องไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสงิเนสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยในบัญชีเงินฝากตามข้อ 5.2.1 (1.1) และ (1.2) หรือไม่เกินร้อยละ 10 ของยอดเงินฝากประจําตามข้อ 5.2.1 (1.4) หรือไม่เกินร้อยละ 10 ของ ยอดเงินฝากประจําเงินฝากออมทรัพย์ มูลค่าการลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ และกองทุนรวม ตามข้อ 5.2.1 (1.5)
ในกรณีผู้ถือบัตรเครดิตรายเก่าก่อนวันที่ 1 เมษายน 2547 ที่มีประวัติการชําระหนี้ที่ดีต่อเนื่องกัน โดยในรอบ 1 ปี ย้อนหลังไม่เคยผิดนัดชําระหนี้เกิน 2 ครั้งแต่ละครั้งไม่เกิน 30 วัน ธนาคารพาณิชย์จะเพิ่มวงเงินให้แก่ผู้ถือบัตรเครดิตรายนั้นอีกไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 5.2.2 (2) หรือกรณีที่วงเงินเดิมของผู้ถือบัตรเครดิตรายนั้นต่ํากว่า เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยในบัญชีเงินฝาก
(2) ธนาคารพาณิชย์สามารถเพิ่มวงเงินชั่วคราวเกินกว่าวงเงินที่กําหนดไว้ ตามข้อ 5.2.2 (1) ข้างต้น ให้แก่ผู้ถือบัตรเครดิตในกรณีฉุกเฉินได้ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้พิจารณา ความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ถือบัตร รวมทั้งกําหนดผู้รับผิดชอบในการอนุมัติเพิ่มวงเงินและ ทําข้อตกลงเป็นพิเศษให้ผู้ถือบัตรต้องชําระเงินส่วนที่เกินกว่าวงเงินตามข้อ 5.2.2 (1) เต็มจํานวน ภายในกําหนดชําระเงินตามใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตงวดที่สองที่ปรากฎยอดใช้จ่ายดังกล่าว นอกจากนี้ ในส่วนของการชําระหนี้สําหรับการใช้จ่ายที่ไม่เกินกว่าวงเงินตามข้อ 5.2.2 (1) ธนาคาร พาณิชย์ยังคงต้องถือปฏิบัติตามเกณฑ์การเรียกให้ชําระหนี้ที่กําหนดไว้ในข้อ 5.2.4 ด้วย
(3) ให้ผู้ยื่นขอบัตรรายใหม่และผู้ถือบัตรรายเก่าที่ประสงค์จะขอวงเงิน เพิ่ม ต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับบัตรเครดิตและวงเงินที่ได้รับขณะยื่นขอบัตรเครดิตหรือขอเพิ่ม วงเงินที่ครบถ้วนและถูกต้อง โดยธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งให้ถูกค้ารับทราบเกี่ยวกับความสําคัญของ การแจ้งข้อมูลดังกล่าว ซึ่งมีผลให้ธนาคารพาณิชย์อาจบอกเลิกการถือบัตรได้หากต่อมาตรวจพบว่า มีการแจ้งข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้อง
5.2.3 ดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ เกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต
ในการเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ เกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การ ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ในการประกอบ ธุรกิจบัตรเครดิต
5.2.4 การเรียกให้ชําระหนี้และการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติในการเรียกให้ชําระหนี้และติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ดังนี้
(1) หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะให้ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคผ่อนชําระ หนี้เป็นงวดจะต้องกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการผ่อนชําระหนี้โดยให้ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคชําระ หนี้ขั้นต่ําในแต่ละงวด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของยอดคงค้างทั้งสิ้น เว้นแต่หนี้ที่เกิดจากวงเงิน ชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินซึ่งผู้ถือบัตรจะต้องชําระเต็มจํานวน ตามข้อ 5.2.2 (2)
(2) ต้องมีหนังสือเตือนผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน ก่อนดําเนินการบังคับชําระหนี้ตามกฎหมาย
(3) จัดส่งใบแจ้งหนี้ให้แก่ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วันก่อนวันถึงกําหนดชําระหรือหักบัญชี ทั้งนั้น ในกรณีที่มีการคิดดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และ เบี้ยปรับในหนี้ค้างชําระให้แสดงรายละเอียดการคํานวณรายการดังกล่าวในใบแจ้งหนี้ด้วย
(4) กรณีที่ผู้ถือบัตรมีการผิดนัดชําระหนี้เกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันที่ครบ กําหนดชําระให้ธนาคารพาณิชย์ยกเลิกการใช้บัตรเครดิตของผู้ถือบัตรรายนั้นทันที
5.2.5 การเปลี่ยนประเภทหนี้
ห้ามธนาคารพาณิชย์โอนหนี้ หรือเปลี่ยนประเภทหนี้ที่เกิดจากการใช้ บัตรเครดิต ไปเป็นหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด หรือหนี้ตามสัญญาสินเชื่อประเภทอื่น เว้นแต่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคก่อน
(2) ต้องกําหนดให้มีการชําระหนี้ขั้นต่ําในแต่ละงวดไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 ของยอดหนี้คงค้าง เว้นแต่เป็นการดําเนินการเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ ผู้ถือบัตร โดยเฉพาะในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่ต่ําลง และธนาคารพาณิชย์ จะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ครบถ้วน และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
(3) การเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ ต้องเป็นไปตาม ข้อ 5.2.3
(4) ต้องยกเลิกการใช้บัตร และบัญชีบัตรเครดิตของผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภค รายนั้นทันที
(5) การโอนหนี้หรือเปลี่ยนประเภทหนี้ดังกล่าวต้องไม่เป็นการกระทํา เพื่อหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันสํารองหรือเป็นเหตุให้มีการจดแจ้งบัญชีสินทรัพย์และ หนี้สินไม่ถูกต้องทั้งนี้ หนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิต ที่ยังมิได้โอนไปเป็นหนี้ตามสัญญา บัญชีเดินสะพัดจะเอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยในจํานวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น ไม่ได้
5.2.6 การปฏิบัติและการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภค
(1) ธนาคารพาณิชย์ต้องให้ความสําคัญและจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขอบัตร ที่ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติและกําหนดวงเงินบัตรเครดิตที่เหมาะสม และสอดกล้องกับความสามารถในการชําระหนี้ของลูกหนี้ โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลกลางที่ เชื่อถือได้ เช่น บริษัทที่ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต เป็นต้น หรือร่วมกันจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อใช้ ข้อมูลร่วมกัน เพื่อสอบยันประวัติส่วนตัวของผู้ขอมีบัตร จํานวนบัตรและวงเงินบัตรเครดิตที่ได้รับ ทั้งสิ้น ตลอดจนข้อมูลอื่น ๆ
(2) ธนาคารพาณิชย์ต้องรักษาข้อมูลของผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคไว้เป็นความลับ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(2.1) การเปิดเผยโดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภค
(2.2) การเปิดเผยตามหน้าที่ หรือเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือการพิจารณาคดี
(2.3) การเปิดเผยแก่ผู้สอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์นั้น
(2.4) การส่งข้อมูลเครดิตให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต
(2.5) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามที่กฎหมายกําหนดไว้
5.2.7 การปฏิบัติเมื่อมีข้อร้องเรียน
ธนาคารพาณิชย์จะต้องดําเนินการตรวจสอบเมื่อผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภค ร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต และแจ้งความคืบหน้าของผลการตรวจสอบรวมทั้งชี้แจงขั้นตอน การดําเนินการต่อไปให้ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคทราบภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการร้องเรียน รวมทั้งให้ดําเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนนั้นให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคนั้นทราบ โดยเร็ว
5.2.8 การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจบัตรเครดิต
(1) ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดนโยบายและแผนงานในการดําเนินธุรกิจ บัตรเครดิต โดยต้องเสนอคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ความเห็นชอบทุกปี ทั้งนี้ นโยบายและแผนงานดังกล่าว ควรประกอบด้วยทิศทางและแนวทางในการให้บริการบัตรเครดิต พร้อมทั้งเป้าหมายในการให้บริการแก่ถูกค้าตามระดับรายได้ของผู้ถือบัตร
(2) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีระเบียบ หรือพิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ธนาคารพาณิชย์หรือระบุในสัญญาการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อกระทําการแทนธนาคารพาณิชย์ ในเรื่องการติดต่อหาผู้ถือบัตรรายใหม่ หรือติดต่อกับผู้ถือบัตรรายเก่าเพื่อเสนอสินเชื่อประเภทใหม่ พร้อมทั้งถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
(2.1) การติดต่อหาผู้ถือบัตรรายใหม่ หรือติดต่อกับผู้ถือบัตรรายเก่าจะดําเนินการได้คือตั้งแต่เวลา 18.00-20.00 น. ในวันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ ให้ดําเนินการตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น.
(2.2) ห้ามมิให้มีการแจกเงิน สิ่งของ หรือบัตรกํานัลใด ๆ ในการรับสมัครถูกค้ารายใหม่ หรือการอนุมัติบัตรให้ลูกค้ารายใหม่ เว้นแต่จะมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรแล้ว อย่างน้อย 1 งวด
(3) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงในการ ให้บริการบัตรเครดิต ดังนี้
(3.1) ระบบการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นขอบัตรเครดิตเพื่อ การอนุมัติและกําหนดวงเงินบัตรเครดิตตามระดับความสามารถในการชําระหนี้
(3.2) ระบบการเรียกเก็บหนี้ที่สามารถเตือนให้ทราบเมื่อลูกหนี้เริ่มมี ปัญหาในการชําระหนี้หรือไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามข้อตกลง ตลอดจนกลยุทธ์ในการเรียกเก็บหนี้ ในกรณีต่าง ๆ
(3.3) ระบบการติดตามพฤติกรรมในการใช้จ่ายและการชําระหนี้ของ ผู้ถือบัตรแต่ละราย เพื่อประโยชน์ในการทบทวน เปลี่ยนแปลงวงเงินให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและ รูปแบบการใช้บัตรของผู้ถือบัตรแต่ละราย
(3.4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสําหรับใช้ในการกําหนดและ ทบทวนนโยบายและแผนงานเกี่ยวกับการให้บริการบัตรเครดิต
5.2.9 การจัดทําบัญชีและการรายงาน
ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทํารายงานหรือข้อมูลตามแบบที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยกําหนด และส่งรายงานหรือข้อมูลดังกล่าวให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยตาม ระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
5.2.10 ข้อกําหนดในประกาศนี้ ไม่ใช้บังคับแก่กรณีการออกบัตรเดบิตเพื่อใช้ เบิกถอนเงินสดหรือหักทอนค่าสินค้าหรือค่าบริการ จากบัญชีเงินฝากในขณะที่ใช้บัตรนั้น
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,986 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 72/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 72/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.103/14/51 | 65,000 | 14 ตุลาคม 2551 | 16/10/51 – 30/10/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,987 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3664 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องพลาสติกแผ่นลอน : โพลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นพอลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3664 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กระเบื้องพลาสติกแผ่นลอน : โพลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว
และกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
แผ่นพอลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว
---------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องพลาสติกแผ่นลอน : โพลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว มาตรฐานเลขที่ มอก. 612 - 2529
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1050 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องพลาสติกแผ่นลอน : โพลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นพอลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว มาตรฐานเลขที่ มอก. 612 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลเมื่อพ้นกําหนด 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,988 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 73/2551 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 73/2551
เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ
สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับสําหรับสถาบันการเงิน
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธุรกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องและ ส่งผลกระทบต่อประชาชนจํานวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีการใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ เพื่อซื้อสินค้าและบริการในชีวิตประจําวัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เข้ามากํากับดูแลการประกอบ ธุรกิจการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับของสถาบันการเงิน เพื่อเป็นการดูแลให้หนี้ภาคครัวเรือน อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นการระมัดระวังและป้องกันปัญหาจากธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกํากับที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทั้งประชาชนและสถาบันการเงิน ตลอดจนเพื่อให้ผู้ประกอบ ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ในการออกประกาศฉบับนี้ เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับมาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับของสถาบันการเงิน
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตามพระราชบัญญัติธุรกิจ สถาบันการเงิน โดยบริษัทเงินทุนหมายถึงบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนเพื่อ การจําหน่ายและการบริโภค
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตาม กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนตามประกาศฉบับนี้หมายถึงบริษัทเงินทุน ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและการบริโภค
"สินเชื่อส่วนบุคคล" หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน รับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์หรือมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการและไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเอง
"สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ" หมายความว่า สินเชื่อส่วนบุคคลเฉพาะที่ไม่มีทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน และเพื่อประโยชน์แห่งประกาศฉบับนี้ ให้รวมถึงสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจมิได้จําหน่าย เป็นทางการค้าปกติยกเว้นในสินค้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ไม่รวมถึง สินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทํางานในต่างประเทศ สินเชื่อเพื่อรักษาพยาบาล สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงานที่หน่วยงานต้นสังกัดได้มีการทําสัญญากับสถาบันการเงิน และสินเชื่อ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
5.2 ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ดังนี้
5.2.1 คุณสมบัติของผู้ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ
สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับแก่บุคคลธรรมดาได้เมื่อสถาบันการเงินพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นผู้ที่มีฐานะทางการเงินเพียงพอสําหรับการชําระหนี้ได้
5.2.2 การกําหนดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ
สถาบันการเงินจะให้วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับแก่ผู้บริโภค แต่ละรายได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ของผู้บริโภคเฉลี่ยต่อเดือน หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนใน บัญชีเงินฝากของผู้บริโภคซึ่งฝากไว้กับสถาบันการเงินเฉลี่ยต่อเดือนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
5.2.3 ดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้ การกํากับ
ให้สถาบันการเงินปฏิบัติในเรื่อง ดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ และจัดทําตารางแสดงภาระหนี้และใบเสร็จรับเงินตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่สถาบันการเงินอาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ
5.2.4 การเรียกให้ชําระหนี้ และการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้
สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติในการเรียกให้ชําระหนี้และติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ดังนี้
(1) จัดส่งใบแจ้งหนี้ให้แก่ผู้บริโภคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วัน ก่อนวันถึงกําหนดชําระหรือหักบัญชี ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการคิดดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับในหนี้ค้างชําระให้แสดงรายละเอียดการคํานวณดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับดังกล่าว ในใบแจ้งหนี้ด้วย
(2) ต้องมีหนังสือแจ้งเตือนผู้บริโภคที่ผิดนัดชําระหนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน ก่อนดําเนินการบังคับชําระหนี้ตามกฎหมาย
5.2.5 การเปลี่ยนประเภทหนี้
ห้ามสถาบันการเงินโอนหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ไปเป็นหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด หรือหนี้ตามสัญญาสินเชื่อประเภทอื่น เว้นแต่จะได้รับ ความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้บริโภคก่อน
หนี้อันเกิดจากสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ที่ยังมิได้โอนไปเป็น หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจํานวนเงิน ที่ทบเข้ากับนั้นไม่ได้
5.2.6 การปฏิบัติและการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลของผู้บริโภค
สถาบันการเงินต้องให้ความสําคัญและจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคที่ ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติและกําหนดวงเงินที่เหมาะสม และสอดคล้อง กับความสามารถในการชําระหนี้ของลูกหนี้ โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลกลางที่เชื่อถือได้ เช่น บริษัทที่ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต เป็นต้น หรือร่วมกันจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน เพื่อสอบยันประวัติส่วนตัวของผู้บริโภค และวงเงินสินเชื่อที่ได้รับทั้งสิ้น ตลอดจนข้อมูลอื่น ๆ
5.2.7 การปฏิบัติเมื่อมีข้อร้องเรียน
สถาบันการเงินจะต้องดําเนินการตรวจสอบเมื่อผู้บริโภคร้องเรียนเกี่ยวกับ การใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ และแจ้งความคืบหน้ารวมทั้งชี้แจงขั้นตอนต่อไป ให้ผู้บริโภคทราบภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการร้องเรียน รวมทั้งให้ดําเนินการแก้ไข ข้อร้องเรียนนั้นให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้ผู้บริโภคนั้นทราบโดยเร็ว
5.2.8 การกําหนดนโยบาย แผนงาน และการประชาสัมพันธ์
ให้สถาบันการเงินมีการกําหนดนโยบาย แผนงานและการประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ดังนี้
(1) สถาบันการเงินต้องกําหนดนโยบายและแผนงานในการดําเนินธุรกิจ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ และเสนอคณะกรรมการของสถาบันการเงินเพื่อให้ความเห็นชอบ ทุกปี ทั้งนี้ นโยบายและแผนงานดังกล่าว ควรประกอบด้วยทิศทางและแนวทางในการให้บริการ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ พร้อมทั้งเป้าหมายในการให้บริการแก่ผู้บริโภคตามระดับรายได้ ของผู้บริโภค
(2) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีระเบียบ หรือพิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของ สถาบันการเงินหรือระบุในสัญญาการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อกระทําการแทนสถาบันการเงินในเรื่อง การติดต่อหาผู้บริโภครายใหม่ หรือติดต่อกับผู้บริโภครายเก่าเพื่อเสนอสินเชื่อประเภทใหม่ พร้อมทั้ง ให้ถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(2.1) การติดต่อหาผู้บริโภครายใหม่หรือติดต่อกับผู้บริโภครายเก่าจะดําเนินการได้ระหว่างเวลา 8.00-20.00 น. ในวันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ ให้ดําเนินการระหว่างเวลา 8.00-18.00 น.
(2.2) ในกรณีที่สถาบันการเงินใช้สื่อทางการตลาดในการส่งเสริม การให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ต้องสื่อความให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่าย ไม่ชวนเชื่อ เกินความจริง และต้องชี้แจงข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน รวมทั้งระบุอัตราดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และ เบี้ยปรับ ของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับแต่ละประเภทให้ชัดเจน
5.2.9 การบริหารความเสี่ยง
สถาบันการเงินต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ ส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ดังนี้
(1) ระบบการพิจารณาคุณสมบัติของผู้อื่นคําขอสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้ การกํากับเพื่อการอนุมัติและกําหนดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับตามระดับความสามารถ ในการชําระหนี้
(2) ระบบการเรียกเก็บหนี้ที่สามารถเตือนให้ทราบเมื่อลูกหนี้เริ่มมีปัญหา ในการชําระหนี้หรือไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามข้อตกลง ตลอดจนกลยุทธ์ในการเรียกเก็บหนี้ใน กรณีต่าง ๆ
(3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสําหรับใช้ในการกําหนดและทบทวน นโยบายเละแผนงานเกี่ยวกับการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ
5.2.10 การจัดทําบัญชีและการรายงาน
สถาบันการเงินต้องจัดทํารายงานตามแบบที่กําหนดไว้ท้ายประกาศฉบับนี้ ทุกเดือน (เอกสารแนบ 2) และส่งมายังธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 21 วันนับจากวันสิ้นเดือน รวมทั้งจัดส่งรายงานดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังภายในกําหนดเวลาเดียวกันข้างต้น โดยจัดส่ง เป็นรูปแบบ excel file ตามแบบที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ไปยัง e-mail address ของสํานักงาน เศรษฐกิจการคลังที่ [email protected]
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,989 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 73/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 73/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.104/14/51 | 70,000 | 17 ตุลาคม 2551 | 21/10/51 – 4/11/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,990 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3665 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินเอทิลซักซิเนต | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3665 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อิริโทรไมซินเอทิลซักซิเนต
--------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินเอทิลซักซิเนต มาตรฐานเลขที่ มอก. 2302 - 2549 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 7,991 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 74/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศ สำหรับธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 74/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ
สําหรับธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
--------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ฐานะเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ที่เกิดจากการรับฝากเงินหรือ การให้สินเชื่อที่เป็นเงินตราต่างประเทศ การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ การซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศ หรือการทําธุรกรรมตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนทั้งที่อยู่ในบัญชี เพื่อการค้าหรือบัญชีเพื่อการธนาคาร อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนแก่ธนาคาร พาณิชย์ การมีฐานะเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับสูงทําให้ธนาคารพาณิชย์มีความเสี่ยง ด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงและอาจสร้างความเสียหายที่มีผลกระทบต่อรายได้และความเพียงพอ ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้น ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ที่มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินตรา ต่างประเทศ จึงควรพิจารณาถึงการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามแนวทาง ดังนี้ (1) การมีระบบการควบคุมภายในที่สามารถระบุ วัด ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงด้านอัตรา แลกเปลี่ยน (2) การกําหนดเพดานสูงสุดในการทําธุรกรรมหรือการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ ที่เหมาะสม และ (3) การดํารงเงินกองทุนที่เพียงพอต่อความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนภายใต้กรอบ การดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ควรพิจารณาถึงความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วยเช่น ความเสี่ยงด้านอัตรา ดอกเบี้ยและความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง เป็นต้น
เพื่อให้การกํากับดูแลการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์เป็นไป ตามมาตรฐานสากล และสามารถสะท้อนความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้งเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ที่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศของ ธนาคารพาณิชย์ทั้งฐานะแต่ละรายสกุลเงินและฐานะรวมทุกสกุลเงิน รวมทั้งกําหนดให้ธนาคาร พาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยน ด้วย ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนดังกล่าวจะปรากฏตามประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การดํารง ฐานะเงินตราต่างประเทศสําหรับธนาคารพาณิชย์ เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดกล้องกับ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตรา ต่างประเทศไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ใดที่ได้รับอนุญาตจากธนาคาร แห่งประเทศไทยให้สามรถรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศด้วยวิธีมูลค่าปัจจุบัน หรือได้รับการ ผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศ ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับ ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นดําเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องอื่น ขออนุญาตใหม่อีกครั้ง
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 41 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบัน การเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศให้ ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดํารงฐานะ เงินตราต่างประเทศถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังกับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงินทุกธนาคาร ยกเว้น ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
หนังสือเวียนที่ ธปท.สนส.(21) ว. 167/2546 ลงวันที่ 21 มกราคม 2546 เรื่อง นําส่งแนวนโยบาย เรื่อง หลักเกณฑ์การคํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ และแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
"เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ" หมายความว่า เงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ตามประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทยว่าคด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับ ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
"เงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ" หมายความว่า เงินกองทุนตามประกาศรนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและ หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ทั้งนี้ เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ต้องเทียบเท่าเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์ สรอ.)
5.2 หลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ
ให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
5.2.1 การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศรายสกูลเงิน (Individual Currency Limit)
ให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงิน(Net open position in each currency) เมื่อเทียบเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. แล้ว เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆเป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนไม่เกินกว่าร้อยละ 15 หรือ 5 ล้านดอลลาร์ สรอ. แล้วแต่จํานวนใด จะสูงกว่า
5.2.2 การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน (Aggregate Limit)
ให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน (Aggregate position) เมื่อเที่ยบเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. แล้ว เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วน กับเงินกองทุนไม่เกินกว่าร้อยละ 20 หรือ 10 ล้านดอลลาร์ สรอ. แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศ
ให้ธนาคารพาณิชย์นับรวมฐานะเงินตราต่างประเทศทุกฐานะ ทั้งที่อยู่ในบัญชี เพื่อการค้า และบัญชีเพื่อการธนาคาร เพื่อนํามารวมคํานวณฐานะเงินต่างประเทศทั้งรายสกุลและ รวมทุกสกุลตามหลักเกณฑ์และแนวทางดังนี้ ทั้งนี้รายละเอียดองค์ประกอบและวิธีการคํานวณ ปรากฏใน "แบบรายงานฐานะรวม" ตามเอกสารแนบ 1
5.3.1 การคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงิน (Net open position in each currency)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงินจาก ผลรวมของฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงินของธุรกิจธนาคาร (11)1 และกิจการสาขาใน ต่างประเทศและบริษัทที่ทําหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นสาขาในต่างประเทศ (13)1 ซึ่งผลรวมดังกล่าวจะแสดงอยู่ใน "แบบรายงานฐานะรวม" รายการที่ 141 รวมฐานะเงินตราต่างประเทศรายสกุลเงินโดย แยกคํานวณตามแต่ละสกุลเงิน เช่น ดอลลาร์ สรอ. เยน ยูโร เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1) ฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงินของธุรกิจธนาคารได้แก่ ฐานะทันทีสุทธิ ซึ่งเป็นฐานะสุทธิตามงบดุลของธนาคารพาณิชย์ หรือสาขาของธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศ และฐานะล่วงหน้าสุทธิ ซึ่งเป็นฐานะที่เกิดจากการทําสัญญาซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ สัญญาสิทธิ (Option) สัญญาสวอป (Swap) เป็นต้น
2) ฐานะเงินตราต่างประเทศรายสกุลเงินของกิจการสาขาในต่างประเทศและบริษัทที่ทําหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นสาขาในต่างประเทศ
5.3.2 การคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน (Aggregate position)ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน จากจํานวนที่สูงกว่าระหว่าง
1) ยอดรวมของฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงินด้านเกินดุล (Sum of all net FX overbought position) ของทุกสกุลเงินที่แปลงค่าเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. กับ
2) ยอดรวมของฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงินด้านขาดดุล(Sum of all net FX oversold position) ของทุกสกุลเงินที่แปลงค่าเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.
5.4 การรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศด้วยมูลค่าปัจจุบัน (Present Value)
โดยปกติ ธนาคารพาณิชย์จะรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศด้วยมูลค่าตาม สัญญา (Notional Amount) แต่หากธนาคารพาณิชย์ใดมีศักยภาพและความพร้อมซึ่งสอดคล้องกับ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการคํานวณมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2 และธนาคารพาณิชย์นั้นได้แจ้งมายัง ฝ่ายกํากับสถาบัน การเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันนับจากวันแรกของงวดการรายงานที่ ธนาคารพาณิชย์จะเริ่มใช้วิธีการดังกล่าวแล้ว ธนาคารพาณิชย์นั้นอาจรายงานฐานะเงินตรา ต่างประเทศล่วงหน้าด้วยวิธีการคํานวณมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ได้ โดยในการคํานวณมูลค่า ปัจจุบันนั้นให้ธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลนั้นเป็นอัตราคิดลด (Discount rate) และ เมื่อธนาคารพาณิชย์เลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าปัจจุบันแล้ว (Present Value) จะต้องใช้วิธีการ ดังกล่าวตลอดไป
5.5 การนับรายการรวมอยู่ในฐานะเงินตราต่างประเทศ
ให้ธนาคารพาณิชย์นับหรือไม่นับรายการดังต่อไปนี้ รวมเป็นฐานะเงินตรา ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์
5.5.1 เงินให้สินเชื่อที่เป็นเงินตราต่างประเทศของบัญชีที่ถูกจัดชั้นสงสัยจะสูญ
(1) กรณีในประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องนับรวมบัญชีเงินให้สินเชื่อที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ถูกจัดชั้นสงสัยจะสูญตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน ทั้งจํานวนเป็นสินทรัพย์เงินตรา ต่างประเทศโดยไม่คํานึงถึงหลักประกัน เว้นแต่กรณีที่มีหลักประกันเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ สกุลเดียวกับเงินให้สินเชื่อ ให้ธนาคารพาณิชย์นับจํานวนเงินให้สินเชื่อเป็นฐานะเงินตรา ต่างประเทศเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของหลักประกันที่เป็นสกุลงินตราต่างประเทศดังกล่าวตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน
(2) กรณีสาขาในต่างประเทศ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนับรวมบัญชีเงินให้สินเชื่อที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ถูกจัดชั้นสงสัยจะสูญในการกํานวณฐานะ เงินตราต่างประเทศเฉพาะยอดเงินต้นบวกดอกเบี้ยคงค้างในบัญชีหักด้วยเงินสํารองที่กันไว้สําหรับเงินให้สินเชื่อดังกล่าวตามหลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีและการกันเงินสํารองของประเทศที่สาขาไปเปิดดําเนินการ
อนึ่ง สําหรับบัญชีเงินให้สินเชื่อเป็นเงินตราต่างประเทศที่ถูกจัดชั้นสงสัย จะสูญที่อาจมีการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในอนากต ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถนับรวมบัญชี ดังกล่าว ในการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศได้อีก 1 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีการเจรจาปรับปรุง โครงสร้างหนึ่ง ซึ่งปรากฏตามเอกสารของธนาคารพาณิชย์ว่ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สําหรับลูกหนี้รายนั้นได้เริ่มแล้ว
5.5.2 สัญญาป้องกันความเสี่ยง (hedge) ของบัญชีเงินให้สินเชื่อที่เป็นเงินตราต่างประเทศถูกจัดชั้นสงสัยจะสูญ
ในกรณีที่ลูกหนี้ได้ทําสัญญาป้องกันความเสี่ยงสําหรับบัญชีเงินให้สินเชื่อที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่ถูกจัดชั้นสงสัยจะสูญไม่ให้นับรวมในการคํานวณฐานะเงินตรา ต่างประเทศตามข้อ 5.5.1 นั้น ให้ธนาคารพาณิชย์หักยอดคงค้างของสัญญาดังกล่าวออกจากการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศ ด้วย
5.5.3. สัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนรายการอื่น ๆ นอกจาก ข้อ 5.5.2
ให้ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องนับรวมยอดคงค้างของสัญญาป้องกันความเสี่ยง ทุกรายการของลูกหนี้ที่มีบัญชีใดบัญชีหนึ่งของทุกสกุลเงินที่ถูกจัดชั้นสงสัยจะสูญและสูญตามประกาศธนาคารแห่งประเทศว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินในการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศ
5.5.4 รายการภาระค้ําประกันที่บอกเลิกไม่ได้ของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นสงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ (Irrevocable guarantee)
ให้ธนาคารพาณิชย์นับรวมภาระค้ําประกันที่บอกเลิกไม่ได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ของลูกหนี้ที่มีบัญชีใดบัญชีหนึ่งของทุกสกุลเงินที่ถูกจัดชั้นสงสัย สงสัยจะสูญ และสูญตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชื้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน ในการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศด้วย
ทั้งนี้ รายการภาระค้ําประกันที่บอกเลิกไม่ได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้แก่ การรับรองตั๋วเงิน การรับอาวัล และการค้ําประกันการกู้ยืมเงินที่จะถึงกําหนดชําระไม่เกิน 3เดือนนับจากวันที่รายงาน
5.5.5 รายการผ่อนผันอื่น
ผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องนับรวมสินทรัพย์เงินตราต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ ในการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศ
(1) เงินลงทุนในสาขาต่างประเทศแยกตามรายสกุลเงิน
(2) เงินลงทุนที่มีลักษณะเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศและไม่มีกําหนด ระยะเวลาชําระคืนแยกตามรายสกุลเงิน เช่น เงินลงทุนในบรรษัทเงินทุนแห่งอาเซียน
(3) อื่น ๆ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นรายกรณี
5.6 ฐานะเงินตราต่างประเทศของสํานักงานสาขาและบริษัทที่ทําหน้าที่เสมือนหนึ่ง เป็นสาขาในต่างประเทศ
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนับรวมฐานะเงินตราต่างประเทศ ของสํานักงานสาขาในต่างประเทศและบริษัทที่ทําหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นสาขาในต่างประเทศใน การคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ การคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศของสาขาใน ต่างประเทศ ให้ถือว่าเงินสกุลใดก็ตามที่ไม่ใช่เงินสกุลบาทเป็นเงินตราต่างประเทศและต้องนับรวม ในการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศ โดยไม่คํานึงว่าเงินสกุลนั้นจะเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของ ประเทศที่สาขาธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยไปเปิดดําเนินการ
5.7 การจัดทําและส่งแบบรายงาน
ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามวิธีการคํานวณการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ ตามแบบรายงานและคําแนะนําในการจัดทําแบบรายงาน ดังนี้
5.7.1 แบบรายงานฐานะรวม ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําแบบรายงานฐานะรวม ณ ทุกสิ้นวันและรวบรวมส่งแบบรายงานฐานะรวมของสัปดาห์ก่อน (เริ่มต้นจากวันศุกร์เป็นวันแรก และวันพฤหัสบดีเป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์ ให้ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 10 วันทําการ โดยรายละเอียดของแบบรายงานพร้อมคําอธิบายในการจัดทําแบบรายงาน ฐานะรวมปรากฎในเอกสารแนบ 1
5.7.2 แบบรายงานฐานะสาขา ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศที่มี สาขาเปิดดําเนินการในต่างประเทศจัดทําระบบเพื่อรองรับการจัดทํารายงานฐานะเงินตรา ต่างประเทศเป็นรายสํานักงานสาขาในต่างประเทศและรวมทุกสํานักงานสาขาในต่างประเทศ ณ ทุกสิ้นวัน โดยจะมีการนําข้อมูลฐานะเงินตราต่างประเทศดังกล่าวไปใช้ในการจัดทําแบบรายงาน ฐานะรวมในข้อ 5.7.1 ต่อไป ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดส่งแบบรายงานฐานะสาขาทั้งราย สํานักงานสาขาในต่างประเทศ และรวมทุกสํานักงานสาขาในต่างประเทศ โดยใช้ข้อมูล ณ วัน พฤหัสบดีของสัปดาห์สุดท้ายของทุกเดือน ให้ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 10 วันทําการ เว้นแต่ในกรณีที่วันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือนเป็นวันหยุดทําการ ให้ธนาคารพาณิชย์ รายงานโดยใช้ข้อมูลของวันทําการก่อน โดยรายละเอียดของแบบรายงานฐานะสาขาพร้อมคําอธิบายในการจัดทําแบบรายงานปรากฏในเอกสารแนบ 1.1
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,992 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 74/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 74/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.105/13/51 | 60,000 | 21 ตุลาคม 2551 | 24/10/51 – 6/11/51 | 13 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,993 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 75/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศ สำหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 75/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ สําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ฐานะเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ หรือการทําธุรกรรมตราสารอนุพันธ์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยน อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน แก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย การมีฐานะเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับสูงทําให้ธนาคารพาณิชย์ เพื่อรายย่อยมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงและอาจสร้างความเสียหายที่มีผลกระทบต่อ รายได้และความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้น ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ เพื่อรายย่อยที่มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ จึงควรพิจารณาถึงการบริหารความเสี่ยง ด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามแนวทาง ดังนี้ (1) การมีระบบการควบคุมภายในที่สามารถระบุ วัด ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (2) การกําหนดเพดานสูงสุดในการทําธุรกรรม หรือการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศที่เหมาะสม และ (3) การดํารงเงินกองทุนที่เพียง ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนภายใต้กรอบการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยควรพิจารณาถึงความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยและความเสี่ยงด้าน สภาพคล่อง เป็นต้น
เพื่อให้การกํากับดูแลการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเป็นไปตามมาตรฐานสากล และสามารถสะท้อนความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้งเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยมีการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การดํารง ฐานะเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยรวมทุกสกุลเงิน รวมทั้งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ(Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง ด้านตลาดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนดังกล่าวจะปรากฏตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับ ดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถานะ การเงิน
ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การดํารง ฐานะเงินตราด่างประเทศสําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้ สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์การดํารง ฐานะเงินตราต่างประเทศไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยใดที่ ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดํารงฐานะเงินตรา ต่างประเทศ ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้น ดําเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 41 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบัน การเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศให้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยทุกธนาคารตามกฎหมาย ว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
หนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(21) ว. 348/2549 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2549 เรื่อง แนวนโยบายการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศสําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย และแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ประกาศฉบับนี้
"เงินกองทุน" หมายความว่า เงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียน ในประเทศ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและ หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
5.2 หลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน (Aggregate Limit)
ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน (Aggregate position) เมื่อเทียบเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์ สรอ.) แล้ว เมื่อสิ้น วันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนไม่เกินกว่าร้อยละ 20 หรือ 2 ล้านดอลลาร์ สรอ. แล้วแต่ จํานวนใดจะสูงกว่า
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน (Aggregate position)
ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน โดยพิจารณาจากจํานวนที่สูงกว่าระหว่าง
1) ผลรวมของฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงินด้านเกินดุล (Sum of all net FX overbought position) ของทุกสกุลเงินที่แปลงค่าเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. กับ
2) ผลรวมของฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงินด้านขาดดุล (Sum of allnet FX oversold position) ของทุกสกุลเงินที่แปลงค่าเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.
โดยฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิรายสกุลเงิน (Net open position in each currency) คือผลรวมของฐานะทันทีสุทธิรายสกุลเงิน กับ ฐานะล่วงหน้าสุทธิรายสกุลเงิน
"ฐานะทันทีสุทธิรายสกุลเงิน" ให้คํานวณโดยนําสินทรัพย์ที่เป็นเงินตรา ต่างประเทศรายสกุลเงิน (สุทธิจากเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้น) หักด้วย หนี้สินที่เป็นเงินตรา ต่างประเทศรายสกุลเงิน
"ฐานะล่วงหน้าสุทธิรายสกุล" ให้คํานวณ โดยนํา สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ ล่วงหน้ารายสกุลเงิน1 หักด้วย สัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ารายสกุลเงิน1
5.4 การจัดทําและส่งแบบรายงาน
ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามวิธีการคํานวณการดํารงฐานะเงินตรา ต่างประเทศตามแบบรายงานฐานะรวมและคําแนะนําในการจัดทําแบบรายงานฐานะรวม (รายละเอียดตามเอกสารแนบ โดยใช้ข้อมูล ณ วันพฤหัสบดีของสัปดาห์สุดท้ายของทุกเดือน และส่ง แบบรายงานที่กล่าวในรูป CRF File ให้ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 10 วัน ทําการนับจากวันสิ้นเดือน อนึ่ง ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องแจ้งความประสงค์ว่าจะเลือกใช้ อัตราแลกเปลี่ยนจากแหล่งใดในการแปลงค่าฐานะเงินตราต่างประเทศแต่ละสกุลเป็นดอลลาร์ สรอ. ไปยังฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกํากับสถาบันการเงินก่อนหน้าวันที่เริ่มจัดทําแบบรายงาน ที่กล่าวด้วย
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,994 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 75/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 75/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.106/14/51 | 70,000 | 22 ตุลาคม 2551 | 27/10/51 – 10/11/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,995 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 76/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศ สำหรับบริษัทเงินทุน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 76/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ สําหรับบริษัทเงินทุน
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ฐานะเงินตราต่างประเทศของบริษัทเงินทุนที่เกิดจากการกู้ยืมเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อตนเอง หรือการทําธุรกรรมตราสารอนุพันธ์ทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยน อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนแก่บริษัทเงินทุน การมีฐานะเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับสูงทําให้บริษัทเงินทุนมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงและอาจสร้างความเสียหายที่มีผลกระทบต่อรายได้และความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัทเงินทุนนั้น ดังนั้น บริษัทเงินทุนที่มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศจึงควรพิจารณาถึงการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามแนวทาง ดังนี้(1) การมีระบบการควบคุมภายในที่ใช้ในการระบุ วัด ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (2) การกําหนดเพดานสูงสุดในการทําธุรกรรมหรือการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศที่เหมาะสม และ (3) การดํารงเงินกองทุนที่เพียงพอต่อความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนภายใต้กรอบการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด นอกจากนี้ บริษัทเงินทุนควรพิจารณาถึงความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยและความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง เป็นต้น
เพื่อให้การกํากับดูแลการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศของบริษัทเงินทุนเป็นไปตามมาตรฐานสากล และสามารถสะท้อนความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้งเพื่อให้บริษัทเงินทุนมีการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศของบริษัทเงินทุนโดยพิจารณาฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิ รวมทั้งกําหนดให้บริษัทเงินทุนใดที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนดังกล่าวจะปรากฏตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศสําหรับบริษัทเงินทุน เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้อง กับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนใจที่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับให้บริษัทเงินทุนนั้นดําเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขออนุญาตใหม่อีกครั้ง
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 41 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศให้บริษัทเงินทุนถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนทุกบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
หนังสือเวียนที่ ธปท. งพ. (ว) 721/2537 ลงวันที่ 21 เมษายน 2537 เรื่อง การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศและการยื่นรายงาน
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ประกาศฉบับนี้
"เงินกองทุนชั้นที่ 1" หมายความว่า เงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าวยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัทเงินทุน
5.2 หลักเกณฑ์การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศ
ให้บริษัทเงินทุนดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงินสุทธิเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นยอดขาดดุลเป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนชั้นที่ 1 ไม่เกินกว่าร้อยละ 20 หรือเป็นยอดเกินดุลเป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนชั้นที่ 1 ไม่เกินกว่าร้อยละ 25
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงินสุทธิ
ให้บริษัทเงินทุนคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงินสุทธิโดยให้เป็นผลจากการนําสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า แล้วหักด้วยหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศและสัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
รายละเอียดและการคํานวณปรากฏในแบบรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศตามเอกสารแนบ
ทั้งนี้ การแสดงฐานะเงินตราต่างประเทศให้แสดงยอดคงค้างเป็นเงินบาทโดยอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการแปลงค่าฐานะเงินสกุลอื่น ๆ เป็นเงินบาท ให้ใช้ตามที่กําหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน
5.4 การจัดทําและส่งแบบรายงาน
ให้บริษัทเงินทุนรายงานฐานะเงินตราต่างประเทศตามแบบ บ.ง. 5 (รายงานฐานะเงินตราต่างประเทศ รายละเอียดตามเอกสารแนบ โดยใช้ข้อมูล ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือน และส่งแบบรายงานที่กล่าวในรูป Hard Copy ให้ฝ่ายบริหารข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่15 ของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,996 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 77/2551 เรื่อง การกำหนดให้สถาบันการเงินปฏิบัติในเรื่องการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 77/2551
เรื่อง การกําหนดให้สถาบันการเงินปฏิบัติในเรื่องการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
การฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ถือเป็นภัยร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม สถาบันการเงินอาจตกเป็นเครื่องมือหรือช่องทางของการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย โดยผ่านธุรกรรมการรับฝากเงิน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อฐานะการดําเนินงานและชื่อเสียง และสามารถนําไปสู่ความเสียหายขั้นร้ายแรงได้
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรกําหนดกฎเกณฑ์ให้สถาบันการเงินปฏิบัติในการรับฝากเงินให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินคือ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการรู้จักลูกค้า (Know Your Customer : KYC) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสําคัญของมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism :AML/CFT) ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติโดยทั่วกัน
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเรื่อง การกําหนดให้สถาบันการเงินปฏิบัติในเรื่องการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
"บัญชีเงินฝาก" หมายความว่า การรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ ไม่ว่าจะกระทําโดยวิธีการใดที่สถาบันการเงินได้รับอนุญาตในปัจจุบัน หรืออาจได้รับอนุญาตในอนาคต
"การรับเงินจากประชาชน" หมายความว่า การกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนไม่ว่าจะกระทําโดยวิธีการใดที่สถาบันการเงินได้รับอนุญาตในปัจจุบัน หรืออาจได้รับอนุญาตในอนาคต
"ลูกค้า" หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือทําธุรกรรมกับสถาบันการเงิน หรือเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ในทอดสุดท้ายจากการมีความสัมพันธ์หรือทําธุรกรรม หรือเป็นผู้มีอํานาจควบคุมหรือตัดสินใจในทอดสุดท้าย รวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจในการดําเนินการเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์ หรือทําธุรกรรมกับสถาบันการเงินแทน หรือในนามของผู้อื่น
5.2 ในการเปิดบัญชีเงินฝากหรือการรับเงินจากประชาชน สถาบันการเงินต้องจัดให้ลูกค้าแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับตนเองอย่างละเอียด ในแบบรายการการที่สถาบันการเงินกําหนดขึ้น พร้อมลงลายมือชื่อ
แบบรายการที่สถาบันการเงินกําหนดขึ้นตามวรรคหนึ่งจะต้องมีรายการละเอียดของลูกค้าอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
5.2.1 ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ปัจจุบัน อาชีพ สถานที่ทํางาน สถานที่ที่สะดวกในการติดต่อ
52.2 ในกรณีเป็นนิติบุคคลให้แสดงรายละเอียดข้อมูล เกี่ยวกับประเภทธุรกิจหรือวัตถุประสงค์ของลูกค้าที่เป็นธุรกิจในทางการค้าปกติ
5.3 สถาบันการเงินต้องจัดให้มีเอกสารแสดงตน หรือสําเนาเอกสารดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานประกอบกรขอเปิดบัญชีเงินฝากอย่างน้อยดังต่อไปนี้ และต้องให้ลูกค้าลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสําเนาเอกสารหลักฐานดังกล่าวไว้ด้วย
5.3.1 สําหรับลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา เอกสารที่ต้องมีอย่างน้อยต้องเป็นเอกสารที่ระบุเลขที่บัตรประจําตัวประชาชนของบุคคลนั้นไว้ด้วย
5.3.2 สําหรับลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศไทย เอกสารที่ต้องมีได้แก่ หนังสือรับรองของสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารที่แสดงว่าคณะกรรมการของนิติบุคคลดังกล่าว หรือหุ้นส่วนเห็นชอบให้เปิดบัญชีรวมทั้งกําหนดอํานาจและเงื่อนไขในการสั่งจ่ายโดยผู้มีอํานาจลงนามรับรองพร้อมทั้งประทับตรา (ถ้ามี) พร้อมเอกสารสดงตนของผู้มีอํานาจลงนาม เช่นเดียวกับที่กําหนดตามข้อ 5.3.1
5.3.3 สําหรับลูกค้าที่เป็นส่วนราชการ องค์กรของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เอกสารที่ต้องมีได้แก่ หนังสือแสดงความจํานงขอเปิดบัญชี อํานาจและเงื่อนไขในการสั่งจ่าย พร้อมเอกสารแสคงตนของผู้มีอํานาจลงนาม เช่นเดียวกับที่กําหนดตามข้อ 5.3.1
5.3.4 สําหรับลูกค้าที่เป็นสหกรณ์ มูลนิธิ สมาคม สโมสร วัด มัสยิด ศาลเจ้าและนิติบุคคลอื่น เอกสารที่ต้องมีได้แก่ หนังสือจดทะเบียนของกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หนังสือแต่งตั้งหรือมอบอํานาจ รายงานการประชุมคณะกรรมการหรือหนังสือแสดงความประสงค์ขอเปิดบัญชีรวมทั้งกําหนดอํานาจและเงื่อนไขในการสั่งจ่ายโดยผู้มีอํานาจลงนามรับรองพร้อมประทับตราพร้อมเอกสารแสดงตนของผู้มีอํานาจลงนาม เช่นเดียวกับที่กําหนดตามข้อ 5.3.1
5.3.5 สําหรับลูกค้าที่ไม่ใช่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย หรือ ไม่ใช่นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย เอกสารที่ต้องมีได้แก่ หนังสือเดินทาง หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าวหรือเอกสารหลักฐานแสดงตนที่ออกหรือรับรองโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือเอกสารแสดงตนตามที่กล่าวข้างต้น ให้หมายความรวมถึง ใบแทน หรือบัตรชั่วคราวที่ใช้ระหว่างรอการออกเอกสารดังกล่าวด้วย
5.4 สถาบันการเงินต้องตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐาน หรือสําเนาเอกสารหลักฐานในข้อ 5.3 ตามปกติวิสัยที่พึงปฏิบัติ โดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่อและต้องจัดเก็บรักษาเอกสาร หรือสําเนาเอกสารหลักฐานที่ลูกค้า ได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องแล้วในห้องมั่นคง หรือสถานที่ที่ปลอดภัย ณ สถาบันการเงินตั้งแต่วันเปิดบัญชีเงินฝากหรือรับเงินจากลูกค้าและเก็บรักษาต่อไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ปี นับแต่วันที่ลูกค้าปิดบัญชีเงินฝากหรือชําระเงินคืนแก่ลูกค้า เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้มีอํานาจตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ หรือใช้ประกอบในการสอบสวนหรือดําเนินคดี
5.5 สถาบันการเงินจะให้ถูกค้ําปกปิดชื่อจริง ใช้ชื่อแฝง หรือใช้ชื่อปลอมมิได้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,997 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 78/2551 เรื่อง การทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลของสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 78/2551
เรื่อง การทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคลของสถาบันการเงิน
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เนื่องจากสถาบันการเงินหลายแห่งจะกําหนดข้อสัญญาค้ําประกันให้ผู้ค้ําประกันรับผิดในหนี้ในอนาคตของลูกหนี้โดยไม่จํากัดจํานวน ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยเห็นร่วมกันว่า วิธีปฏิบัติดังกล่าวเป็นการตัดสิทธิผู้ค้ําประกันที่จะบริหารความเสี่ยงของตนเอง สมควรที่จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติดังกล่าว จึงได้สนับสนุนให้มีการตราพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินอันมีข้อความในมาตรา 39(3) ขึ้น นอกจากนั้น เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ําประกันมากขึ้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เพิ่มเติมบทกฎหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเพิ่มให้สถาบันการเงินแจ้งผู้ค้ําประกันหากสถาบันการเงินไม่สามารถตกลงกับลูกหนี้ที่ผิดนัดชําระหนี้ได้ภายใน 6 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้ําประกันชําระหนี้แทนลูกหนี้อันเป็นลูกหนี้ชั้นต้น ถ้าเกรงว่าดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาซึ่งจะเป็นภาระที่สูงขึ้นแก่ผู้ค้ําประกันในอนาคต
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39(3) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงินดําเนินการเกี่ยวกับการทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคล
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
ในการทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคล ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติดังนี้
4.1 สัญญาประกันด้วยบุคคลดังกล่าวต้องมีการระบุวงเงินของต้นเงินในสัญญาให้ชัดเจน หรือมิให้มีการทําข้อตกลงให้ผู้ค้ําประกันทําสัญญาค้ําประกันแบบไม่จํากัดจํานวน
4.2 ในกรณีที่เป็นการค้ําประกันหนี้ที่มีกําหนดเวลาชําระเงินที่แน่นอน และสถาบันการเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่ไม่สามารถจะตกลงกันได้ภายในเวลา 6 เดือนนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ให้สถาบันการเงินแจ้งรายละเอียดดังกล่าวให้ผู้ค้ําประกันทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,998 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 78/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 78/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.107/14/51 | 70,000 | 24 ตุลาคม 2551 | 28/10/51 – 11/11/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,999 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3666 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัสดุที่ใส่ในร่างกายทางศัลยกรรม - แผ่นโลหะยึดกระดูก - รูสำหรับหมุดเกลียวที่มีเกลียวอสมมาตรและฐานหัวจม | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3666 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
วัสดุที่ใส่ในร่างกายทางศัลยกรรม - แผ่นโลหะยึดกระดูก - รูสําหรับหมุดเกลียว
ที่มีเกลียวอสมมาตรและฐานหัวจม
-----------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัสดุที่ใส่ในร่างกายทางศัลยกรรม - แผ่นโลหะยึดกระดูก - รูสําหรับหมุดเกลียวที่มีเกลียวอสมมาตรและฐานหัวจม มาตรฐานเลขที่ มอก. 2296 - 2549 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,000 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 79/2551 เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำในการดูแลลูกค้าสำหรับการทำธุรกรรมอนุพันธ์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 79/2551
เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา โดยมีข้อกําหนดกว้าง ๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้าและการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์มีการปฏิบัติที่หลากหลาย ทําให้ในบางกรณีธนาคารพาณิชย์อาจมีการเสนอหรือให้บริการธุรกรรมที่มี โครงสร้างซับซ้อนและยากแก่การทําความเข้าใจของลูกค้า และอาจเปิดเผยข้อมูลเฉพาะด้านที่ทําให้ลูกค้าได้ประโยชน์ ดังนั้น ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้านั้น ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีแนวทางและกระบวนการในการดูแลลูกค้าอย่างเหมาะสม โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้มีการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้า (Client Suitability) และเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้าในการทําธุรกรรม และเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันและมีแนวทางการดําเนินการที่สอดคล้องกันในเรื่องการดูแลลูกค้าที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้า โดยธนาคารพาณิชย์ควรใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งในการเสนอหรือให้บริการธุรกรรมอนุพันธ์ให้กับลูกค้า เพื่อป้องกันไม่ให้ธนาคารพาณิชย์มีความเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียชื่อเสียง (Reputational Risk) จากการทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมกับลูกค้าหรือธุรกรรมที่ลูกค้าไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริง ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเพื่อให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจในการทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารพาณิชย์
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังกับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก รายละเอียดตามเอกสารแนบ
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"ธุรกรรมอนุพันธ์" หมายความว่า ธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภท ตั้งแต่ธุรกรรมอนุพันธ์ขั้นพื้นฐาน เช่น Forwards และ FX Swaps ตลอดจนธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีความซับซ้อนตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
"ลูกค้า" หมายความว่า ผู้ที่ประสงค์จะทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารพาณิชย์ หรือคู่สัญญาที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารพาณิชย์
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
5.2 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์
5.2.1 ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการเสนอและให้บริการอนุพันธ์กับลูกค้า
(1) ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์จะต้องให้ความสําคัญกับการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยจะต้องกําหนดนโยบายและดูแลให้มีการกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลลูกค้าของธนาคารพาณิชย์เป็นลายลักษณ์อักษร ครอบคลุมทั้งการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า การเปิดเผยข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ การรับข้อร้องเรียนและดําเนินการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า ระบบการควบคุมภายใน และความพร้อมของบุคลากร ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดูแลลูกค้าอย่างถูกต้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้
(2) ธนาคารพาณิชย์ต้องให้บริการลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรมมีจรรยาบรรณ และใช้ความระมัดระวังอย่างผู้มีวิชาชีพ โดยข้อมูลที่ให้แก่ลูกค้าต้องถูกต้อง ไม่บิดเบือนการคิดค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม สุจริต และมีรายละเอียดเพียงพอที่ลูกค้าจะสามารถทําความเข้าใจได้
(3) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีทรัพยากรที่สามารถรองรับการเสนอบริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในธุรกรรมอนุพันธ์รวมถึงธุรกรรมทางการเงินที่ทันสมัย และสามารถใช้เทคโนโลยีทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ นาการพาณิชย์ต้องให้บริการกับลูกค้าอย่างเป็นธรรม โดยใช้ความรู้ความสามารถและทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ของลูกค้าอย่างเต็มที่
(4) ธนาคารพาณิชย์ต้องรักษาความลับของลูกค้า โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าให้กับบุคคลอื่น ยกเว้นเป็นการเปิดเผยข้อมูลตามกรณีต่อไปนี้
(4.1) การเปิดเผยข้อมูลให้ผู้กํากับดูแลหรือหน่วยงานราชการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องบัญญัติไว้
(4.2) การเปิดเผยข้อมูลตามประกาศว่าด้วยการกํากับแบบรวมกลุ่ม หรือ
(4.3) การเปิดเผยข้อมูลที่ลูกค้าให้ความยินยอมที่จะให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น
(5) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบงานและกระบวนการเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องการทําธุรกรรมอนุพันธ์กับลูกค้า
(6) ธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสถาบันการเงิน (Compliance) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(7) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีแนวทางที่ป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากความเสื่อมเสียชื่อเสียง (Reputational risk) อันอาจเกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอนุพันธ์ และมาตรการที่จะแก้ไขปัญหา (หากมี)
(8) การทําธุรกรรมอนุพันธ์ของสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของประเทศที่สาขานั้นตั้งอยู่ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีสาขาที่กล่าวทําธุรกรรมกับบุคคลในประเทศไทย ซึ่งจะต้องถือปฏิบัติตามกรอบและหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้
5.2.2 การพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า (Client Suitability)
(1) หลักการ
ก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะเสนอหรือให้บริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์ให้กับลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเสนอธุรกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางการเงินของลูกค้า มีความเหมาะสมกับความรู้ความชํานาญของลูกค้าอย่างแท้จริง และเหมาะสมกับระดับความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของลูกค้า
(2) ข้อกําหนด
นอกเหนือจากการถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT) แล้ว ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์กับลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าเพิ่มเติม ดังนี้
(2.1) ข้อมูลลูกค้า
ธนาคารพาณิชย์ควรทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(2.1.1) ลักษณะและสถานะการประกอบธุรกิจ ตําแหน่งหรืออาชีพของลูกค้า
(2.1.2) วัตถุประสงค์ทางการเงิน วัตถุประสงค์ในการทําธุรกรรมของลูกค้าเช่น เพื่อป้องกันความเสี่ยง เพื่อการลงทุน หรือ เพื่อลดต้นทุน เป็นต้น รวมถึงระดับความเสี่ยงที่ลูกค้าต้องการในการทําธุรกรรม
(2.1.3) ฐานะการดําเนินงานและฐานะการเงินของลูกค้าและพยายามอย่างเต็มที่ในการประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของลูกค้า
(2.1.4) การลงทุนของลูกค้าทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมอนุพันธ์ของลูกค้า ซึ่งนอกเหนือจากการประเมินจากประสบการณ์การลงทุนของลูกค้าแล้ว ธนาคารพาณิชย์ควรมีการประเมินความสามารถของลูกค้าในการทําความเข้าใจในธุรกรรมอนุพันธ์และธุรกรรมที่ธนาคารพาณิชย์จะนําเสนอแก่ลูกค้า เช่น การใช้แบบสอบถาม เป็นต้นทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าเป็นนิติบุคคลให้พิจารณาจากผู้มีอํานาจในการตัดสินใจทําธุรกรรม ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นระดับผู้รับผิดชอบสูงสุดด้านการเงินของนิติบุคคลนั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้มีอํานาจลงนามในการทําธุรกรรม
(2.1.5) ข้อมูลอื่น ๆ ที่ควรทราบ เช่น ภาระการค้ําประกัน เป็นต้น
(2.2) การวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้า (Client Suitability Analysis)
(2.2.1) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้าในการทําธุรกรรม โดยจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าตาม (2.1) อย่างถี่ถ้วนเพื่อเลือกสรรธุรกรรมที่จะนําเสนอหรือให้บริการได้อย่างเหมาะสมกับข้อมูลของลูกค้า (Client's Profile) เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้ามีความรู้ความชํานาญเพียงพอที่จะเข้าใจลักษณะของธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ลูกค้าต้องเป็นผู้ตัดสินใจเลือกทําธุรกรรมทางการเงินเอง
(2.2.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้า ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่เสนอหรือให้บริการแก่ลูกค้า พร้อมด้วยเหตุผลประกอบการทําธุรกรรมดังกล่าว และต้องเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถเสนอบริการหรือธุรกรรมที่มีความเหมาะสมกับลูกค้าได้ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบทันที
(2.2.3) กรณีที่ลูกค้าให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอสําหรับการวิเคราะห์ ธนาคารพาณิชย์ควรติดตามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอในการวิเคราะห์ หรือแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการนําเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นธนาคารพาณิชย์ได้วิเคราะห์ข้อมูลบนพื้นฐานข้อมูลของลูกค้าที่ไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นข้อจํากัดในการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
(2.2.4) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีหลักฐานแสดงถึงการทบทวนความเหมาะสมของลูกค้าอย่างสม่ําเสมอเป็นประจําทุกปีหรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้าที่อาจกระทบกับการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้า
(3) ข้อยกเว้น
ข้อกําหนดเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าตามข้อ (2) ยกเว้นสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์หรือลูกค้าดังต่อไปนี้
(3.1) ธุรกรรมอนุพันธ์ขั้นพื้นฐานประเภท Forwards Futures และ Swaps
(3.2) ลูกค้าที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานราชการ ดังต่อไปนี้
(3.2.1) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(3.2.2) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และกองทุนภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนรวม เป็นต้น
(3.2.3) บริษัทประกันภัยที่จดทะเบียนในประเทศไทย ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(3.2.4) นิติบุคคลต่างประเทศภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานทางการในต่างประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินประเภทอื่น และกองทุนรวม เป็นต้น
(3.2.5) นิติบุคคลอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเพิ่มเติม
5.2.3 การเปิดเผยข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ (Disclosure)
ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดแนวทางในการเปิดเผยข้อมูลในการเสนอหรือให้บริการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอนุพันธ์ ดังนี้
(1) หลักการ
ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ไม่บิดเบือน ทันเวลา และเพียงพอในการตัดสินใจทําธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อมูลที่ลูกค้าได้รับจากธนาคารพาณิชย์ต้องทําให้เกิดความเข้าใจในลักษณะของธุรกรรม และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการทําธุรกรรมนั้น ตลอดจนปัจจัยใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดประโยชน์หรือความเสียหายแก่ลูกค้า โดยธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลโดยยึดถือหลักการ ดังนี้
(1.1) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําข้อมูลในรูปแบบที่อธิบายลักษณะธุรกรรมและการทําธุรกรรม ประโยชน์ ความเสี่ยง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และขอบเขตความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และสภาวะตลาดในปัจจุบัน รวมทั้งยังต้องกล่าวถึงข้อมูลสําคัญในส่วนต่าง ๆ ของสัญญาหรือเอกสารข้อมูลอื่นที่ลูกค้าต้องศึกษาโดยละเอียดด้วย
(1.2) ข้อมูลที่ให้แก่ลูกค้าต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงต่อความจริงเป็นปัจจุบัน และไม่เป็นการบิดเบือนเพื่อจูงใจให้ลูกค้าลงทุนหรือทําธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์การนําเสนอข้อมูลต้องมีความชัดเจนทั้งด้านที่ลูกค้าได้ประโยชน์และด้านที่ลูกค้าเสียประโยชน์โดยไม่เน้นจุดที่ลูกค้าได้รับประโยชน์แต่มีความไม่ชัดเจนในส่วนที่ลูกค้าอาจเสียประโยชน์ในภาวะที่ตลาดไม่เอื้ออํานวย
(1.3) ข้อมูลที่ลูกค้าได้รับต้องมีรูปแบบการนําเสนอที่ตรงประเด็นไม่ซับซ้อน ใช้ภาษาที่ง่าย ไม่กํากวม และลูกค้าสามารถทําความเข้าใจได้ โดยไม่ทําให้ลูกค้าเข้าใจผิดในสาระสําคัญของธุรกรรม หากจําเป็นต้องใช้คําศัพท์เฉพาะ (Jargon หรือ technical term) ควรมีการอธิบายความหมายให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจน
(1.4) ลูกค้าต้องได้รับข้อมูลอย่างต่อเนื่องและทันต่อเวลา ทั้งก่อนและหลังการทําธุรกรรมจนกว่าธุรกรรมจะครบกําหนด โดยไม่เลือกปฏิบัติ
(1.5) ธนาคารพาณิชย์ต้องให้ความช่วยเหลือลูกค้าในการทําความเข้าใจในลักษณะของธุรกรรมที่ธนาคารพาณิชย์เสนอหรือให้บริการ โดยต้องเปิดโอกาสให้ลูกค้าสอบถามข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกรรม และต้องอํานวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างละเอียดก่อนที่จะมีการตกลงทําธุรกรรม รวมทั้งจะต้องแนะนําให้ลูกค้าศึกษารายละเอียดข้อมูลที่สําคัญที่ธนาคารพาณิชย์เตรียมไว้ให้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยก่อนการทําธุรกรรมอนุพันธ์กับลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องมั่นใจว่าลูกค้าได้รับรู้ข้อมูลและเข้าใจในธุรกรรม ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเป็นอย่างดีแล้ว รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าได้ดําเนินการเปิดเผยข้อมูลที่กําหนดแล้ว
(2) ข้อกําหนด
(2.1) ข้อมูลขั้นต่ําที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผย
(2.1.1) ข้อมูลทั่วไป
(2.1.1.1) . ข้อมูลทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ เช่น ชื่อที่อยู่สถานที่ตั้งของสํานักงาน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ช่วงเวลาที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้สะดวก และช่องทางหรือวิธีการส่งข้อร้องเรียน เป็นต้น
(2.1.1.2) ประเภทของบริการ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารพาณิชย์ให้บริการ
(2.1.2) ข้อมูลธุรกรรมอนุพันธ์
ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอนุพันธ์ที่นําเสนอหรือให้บริการ ซึ่งสอดคล้องตามหลักการในข้อ 4.2.3(1) โดยมีการจัดทํารายละเอียดเกี่ยวกับธุรกรรมดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร เน้นถึงความเสี่ยง และขอบเขตความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการทําธุรกรรม โดยธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(2.1.2.1) ประเภท ลักษณะ และโครงสร้างของธุรกรรมอนุพันธ์ สินทรัพย์ทางการเงินหรือตัวแปรที่ใช้อ้างอิง รวมถึงเหตุผลในการนําเสนอธุรกรรมนั้น และความเหมาะสมกับข้อมูลของลูกค้า (Client's Profile) กรณีที่เป็นธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีความซับซ้อนธนาคารพาณิชย์อาจพิจารณาใช้องค์ประกอบย่อยของธุรกรรมในการอธิบาย เพื่อความชัดเจนและง่ายแก่การทําความเข้าใจ และต้องอธิบายองค์ประกอบย่อยของธุรกรรมเมื่อลูกค้ามีการร้องขอ
(2.1.2.2) ประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการทําธุรกรรม กําไรหรือขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากการทําธุรกรรม รายละเอียดวิธีการคํานวณกําไร ขาดทุนหรือผลตอบแทนดังกล่าว
(2.1.2.3) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ทั้งในส่วนที่ลูกค้าต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงนั้น หรือในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้รับความเสี่ยงมาจากลูกค้า ซึ่งอาจรวมถึงกรณีที่มีการหักกลบความเสี่ยงที่เกิดจากองค์ประกอบย่อยของอนุพันธ์ที่มีความซับซ้อน โดยจะต้องแสดงการวิเคราะห์ความเสี่ยงในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ขอบเขตความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในสภาวะที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ระยะเวลาที่ลูกค้าต้องรับภาระความเสี่ยงในความเสียหายที่เกิดจากธุรกรรมนั้น ๆ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงในสถานการณ์ที่เป็นผลลบกับลูกค้ามากที่สุดด้วย ตลอดจนสภาพคล่องของธุรกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่นําเสนอหรือให้บริการ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องให้ความร่วมมือกับลูกค้าในกรณีที่ลูกค้ามีข้อซักถามโดยลูกค้าต้องได้รับคําอธิบายอย่างชัดเจนตรงต่อความเป็นจริงด้วยความรวดเร็วก่อนการตัดสินใจ ทําธุรกรรมของลูกค้า
(2.1.2.4) ข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สภาวะตลาดและปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรม
(2.1.2.5) ราคา จํานวนเงิน หลักทรัพย์ หรือหลักประกันที่ใช้ในการทําธุรกรรม ทั้งที่ลูกค้าต้องชําระหรือส่งมอบ และที่ลูกค้าจะได้รับชําระหรือรับมอบ รวมถึงค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรม ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยละเอียดถึงกําหนดเวลาที่ลูกค้าจะต้องจ่ายชําระหรือได้รับชําระ
(2.1.2.6) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการแยกความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงและความเห็นของธนาคารพาณิชย์อย่างชัดเจน และในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการให้หรือแสดงข้อมูลแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการคาดการณ์ผลตอบแทนของการทําธุรกรรมที่ลูกค้าอาจได้รับในอนาคต หรือข้อมูลผลตอบแทนของธุรกรรมในอดีต หรือข้อมูลเกี่ยวกับการคาดการณ์สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ทําให้ลูกค้าเข้าใจผิดว่าข้อมูลที่ธนาคารพาณิชย์ให้หรือแสดงนั้นเป็นผลตอบแทนของการทําธุรกรรมที่ลูกค้าจะได้รับในอนาคต หากธนาคารพาณิชย์นั้นไม่ได้รับประกันในการจ่ายผลตอบแทนดังกล่าว
(2.1.2.7) ข้อมูลอื่น ๆ ที่สําคัญต่อการตัดสินใจของลูกค้า เช่น
- ระยะเวลา ขั้นตอนหรือกระบวนการในการทําธุรกรรมโดยละเอียด รวมถึงเอกสารหรือหลักฐานที่ลูกค้าต้องใช้ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์
- ภาระผูกพันและสิทธิระหว่างลูกค้ากับธนาคารพาณิชย์ในการทําธุรกรรม ผลของการใช้สิทธิและไม่ใช้สิทธิทั้งของลูกค้าและธนาคารพาณิชย์รวมถึงระยะเวลาและอายุการใช้สิทธิ หรือระยะเวลาและอายุของภาระผูกพันที่เกิดขึ้น
- ข้อมูล เอกสาร หลักฐาน และรายงานต่างๆ ที่ลูกค้าจะได้รับ รวมทั้งกําหนดเวลาและความถี่ที่จะได้รับ
- การถอนตัวจากการทําธุรกรรมหรือการยกเลิกสัญญา รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากการถอนตัวหรือการยกเลิกสัญญา
- คําเตือนและข้อจํากัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม
(2.2) รูปแบบการเปิดเผยข้อมูล
ในการเปิดเผยข้อมูล ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําเอกสารข้อมูล ดังนี้
(2.2.1) เอกสารสรุปข้อมูลสําคัญ (quick guide) ซึ่งเป็นเอกสารแสดงถึงข้อมูลที่สําคัญและจําเป็นต่อการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอกสารดังกล่าวต้องมีลักษณะที่แสดงข้อมูลที่สําคัญตรงประเด็น อ่านง่าย และระบุแหล่งข้อมูลในแต่ละเรื่องในเอกสารข้อมูลทั้งหมดที่ลูกค้าจะศึกษาเพิ่มเติมได้
(2.2.2) เอกสารข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรมรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ลูกค้าควรทราบ
(3) ข้อยกเว้น
ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ (2) นี้ ยกเว้นสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ขั้นพื้นฐานประเภท Forwards Futures และ Swaps หรือ ธุรกรรมที่ทํากับลูกค้าที่เป็นธนาคารพาณิชย์อื่น โดยให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาเปิดเผยข้อมูลตามความเหมาะสม สอดคล้องกับหลักการในการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ (1)
5.2.4 การรับข้อร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า
(1) หลักการ
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกค้าในการร้องเรียนเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมอนุพันธ์กับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการเพื่อรับข้อร้องเรียนจากลูกค้า รวมถึงกระบวนการแก้ไขและติดตามผลในการดําเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนนั้นโดยกระบวนการดังกล่าวต้องมีความชัดเจน รวดเร็ว และยุติธรรม
(2) ข้อกําหนด
(2.1) กระบวนการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า
(2.1.1) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีหน่วยงานรับข้อร้องเรียนที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่เสนอหรือให้บริการธุรกรรมเพื่อทําหน้าที่รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าตรวจสอบ สืบหาข้อเท็จจริง จัดการ แจ้งผล ติดตามผล และรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของธนาคารพาณิชย์ โดยหน่วยงานดังกล่าวจะต้องสามารถรองรับการติดต่อจากลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และควรมีการบันทึกข้อร้องเรียนที่ได้รับจากลูกค้า
(2.1.2) เมื่อหน่วยงานตามข้อ (2.1.1) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้า ให้ดําเนินการสืบหาข้อเท็จจริงและหาหลักฐานที่เพียงพอ เพื่อสรุปผลในข้อร้องเรียนและหาแนวทาง แก้ไข โดยจะต้องบันทึกกระบนการดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอย่างน้อยควรมีข้อมูลดังต่อไปนี้
(2.1.2.1) สรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อร้องเรียน
(2.1.2.2) ผลการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบการทําธุรกรรมดังกล่าว ทั้งในด้านของธนาคารและลูกค้า รวมถึงหลักฐานเกี่ยวกับธุรกรรมที่ถูกร้องเรียนและการปฏิบัติตามขั้นตอนในการทําธุรกรรม
(2.1.2.3) การประเมินผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ
(2.1.2.4) การดําเนินการจัดการข้อร้องเรียน ซึ่งอาจต้องมีการเสนอผู้บริหารระดับสูงเพื่อพิจารณาแนวทางจัดการ ตามลําดับขั้นของความรุนแรงตามที่กําหนดไว้ในขั้นตอนการปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์
(2.1.3) มีการกําหนดระยะเวลาในการดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียน รวมทั้งมีการแจ้งผลการติดตามหรือการจัดการข้อร้องเรียนดังกล่าวให้ลูกค้าทราบ โดยระยะเวลาและการติดตามผลนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อเป็นการถ่วงเวลาเพื่อรอให้ภาวะตลาดเปลี่ยนไปในแนวทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธนาคารพาณิชย์
(2.1.4) ต้องมีการรายงานข้อร้องเรียนและผลการดําเนินการจัดการข้อร้องเรียนให้ผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการของธนาคารตามขั้นตอนการปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์เป็นระยะ ๆ เพื่อพิจารณาปัญหาและข้อบกพร่องในการดําเนินงาน และพิจารณาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคต
(2.2) การดําเนินการเมื่อมีความเสียหายกับลูกค้า
(2.2.1) เมื่อเกิดความเสียหายต่อผลตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ใด ๆ ในการทําธุรกรรมของลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถชี้แจงเหตุการณ์ ข้อเท็จจริง และเหตุผลต่อลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
(2.2.2) ในกรณีที่ลูกค้าที่ได้รับความเสียหายจากการทําธุรกรรมและเรียกร้องต่อธนาคารพาณิชย์ว่าไม่ได้รับการชี้แจงที่ถูกต้องก่อนการทําธุรกรรม ธนาคารพาณิชย์ต้องมีเอกสารและหลักฐานอย่างชัดเจนว่ากระบวนการเปิดเผยข้อมูลในการเสนอหรือให้บริการผลิตภัณฑ์ได้เป็นไปอย่างถูกต้อง และธนาคารพาณิชย์ได้กระทําการอย่างเต็มความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการชี้แจงให้เกิดความเข้าใจแก่ลูกค้าในลักษณะและความเสี่ยงของธุรกรรมอนุพันธ์แล้ว
(2.2.3) ในกรณีที่ลูกค้าได้รับความเสียหายอันเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องหรือไม่รัดกุมเพียงพอของธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารพาณิชย์มีการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและอาจพิจารณาแนวทางในการชดเชยความเสียหายแก่ลูกค้าตามความเหมาะสม
5.2.5 ระบบการควบคุมภายใน (Internal Control)
(1) หลักการ
ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารและบุคลากรของธนาคารได้ปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการดูแลลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดูแลลูกค้าอย่างถูกต้องตามที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้
(2) ข้อกําหนด
(2.1) แผนงานและมาตรฐานการดําเนินงาน
ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดแผนงานและมาตรฐานการดําเนินงานในเรื่องระบบการควบคุมภายใน ดังนี้
(2.1.1) กําหนดโครงสร้างการบังคับบัญชาให้มีการควบคุมภายในและตรวจสอบการดําเนินงานได้อย่างเหมาะสมและเป็นอิสระ
(2.1.2) กําหนดขั้นตอนปฏิบัติในการควบคุมภายในและตรวจสอบ ซึ่งรวมถึงการควบคุมและตรวจสอบการถือปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลลูกค้าของบุคลากรด้วย ทั้งนี้ การดําเนินการควบคุมและตรวจสอบดังกล่าวต้องมีขั้นตอนที่กําหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรมเช่น การสุ่มตรวจสอบการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์เป็นประจํา เป็นต้น
(2.1.3) กําหนดบทลงโทษบุคลากรผู้รับผิดชอบ กรณีเกิดความผิดพลาดหรือกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลลูกค้าตามที่ ธนาคารพาณิชย์กําหนด
(2.1.4) กําหนดการรายงานต่อคณะกรรมการการตรวจสอบและคณะกรรมการของธนาคาร รวมทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้บริหารระดับสูง เกี่ยวกับการดําเนินการตามนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติในการดูแลลูกค้า รวมถึงการดําเนินการในข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(2.2) การเก็บเอกสารและหลักฐาน
ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเหมาะสม ทั้งในเรื่องการวิเคราะห์ความเหมาะสมของลูกค้า การเปิดเผยข้อมูล การเสนอธุรกรรม การทําธุรกรรม และข้อร้องเรียนจากลูกค้า โดยข้อมูลดังกล่าวต้องอยู่ในลักษณะที่พร้อมใช้งานเมื่อมีการตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอกธนาคาร
5.2.6 ความพร้อมของบุคลากร
(1) หลักการ
เพื่อให้การเสนอหรือให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพธนาคารพาณิชย์ต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีในธุรกรรมอนุพันธ์ที่เสนอหรือให้บริการแก่ลูกค้า มีความเชี่ยวชาญในธุรกรรมทางการเงินที่ทันสมัยและสามารถใช้เทคโนโลยีทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน
(2) ข้อกําหนด
เพื่อให้บุคลากรที่ทําหน้าที่เสนอหรือให้บริการแก่ลูกค้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกรรมนุพันธ์และผลิตภัณฑ์ทางการเงินดังกล่าวอย่างดี สามารถถ่ายทอดความรู้อธิบายลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องชัดเจน และถือปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติที่ธนาคารพาณิชย์กําหนด โดยมีการกําหนดโครงสร้างและจัดแบ่งจํานวนบุคลากรภายใต้การบังคับบัญชาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมดูแลการปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ธนาคารพาณิชย์จึงต้องมี
(2.1) กระบวนการในการสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความชํานาญที่เหมาะสมกับงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านธุรกรรมอนุพันธ์ รวมทั้งมีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม
(2.2) การฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสามารถนําเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ลูกค้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการกําหนดแผนการพัฒนาบุคลากร โดยสถาบันการเงินอาจพิจารณากําหนดเป็นกฎระเบียบภายใน เช่น กําหนดให้บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมไม่ต่ํากว่า 15 ชั่วโมงต่อปีในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นต้น
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
เพื่อให้เวลาธนาคารพาณิชย์เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ําในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันข้อกําหนดต่าง ๆ จนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2551 โดยในระหว่างนี้ธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามแนวทางภายในของธนาคารพาณิชย์เองในการดูแลลูกค้า ครอบคลุมทั้งการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า การเปิดเผยข้อมูล การรับข้อร้องเรียนและการแก้ไขปัญหา และการควบคุมภายในซึ่งสอดคล้องกับหลักการในการดูแลลูกค้าในเรื่องต่าง ๆ ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ โดยหลักการต่าง ๆ ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการเดิมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในหนังสือเวียนที่ธปท.ฝนส.(21)ว.1 821/2550 เรื่อง การตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลลูกค้าสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงิน
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,001 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3667 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ – วิธีวิเคราะห์สารตกค้างของสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนคลอรีนโดยวิธีก๊าซโครมาโทกราฟ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3667 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อาหารสัตว์ – วิธีวิเคราะห์สารตกค้างของสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนคลอรีน
โดยวิธีก๊าซโครมาโทกราฟ
----------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ - วิธีวิเคราะห์สารตกค้างของสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนคลอรีนโดยวิธีก๊าซโครมาโทกราฟ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2322 - 2549 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,002 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 79/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 79/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.108/14/51 | 55,000 | 28 ตุลาคม 2551 | 30/10/51 – 13/11/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,003 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 80/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับสำหรับธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 80 /2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับสําหรับธนาคารพาณิชย์
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใสในการจ่ายและเรียกเก็บดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ ที่เกี่ยวเนื่องกับการรับฝากเงินและการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการเปรียบเทียบข้อมูลสําหรับเลือกใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับของธนาคารพาณิชย์ให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม อย่างไรก็ดี เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกําหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากได้ยืดหยุ่นมากขึ้นธนาคารแห่งประทศไทยจึงยกเลิกการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากพิเศษที่ธนาคารพาณิชย์กําหนดเพิ่มขึ้นจากอัตราที่ประกาศไว้ได้อีกไม่เกินร้อยละ 0.5 นอกจากนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคผู้ฝากเงิน ในการเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ลูกค้าแต่ละรายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และกรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวแต่ไม่อยู่ในข่ายเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์จะต้องแจ้งเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับรองให้ลูกค้าทราบ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 46 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร แต่ไม่ใช้บังคับกับกรณี ดังต่อไปนี้
3.1 การรับฝากเงิน หรือการให้สินเชื่อระหว่างธนาคารพาณิชย์กับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
3.2 การให้สินเชื่อ โดยตกลงกันเป็นเงินตราต่างประเทศ
3.3 ธุรกรรมเงินฝาก และเงินให้สินเชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์โดยเฉพาะในเรื่องดังกล่าวไว้ เช่น เงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"ดอกเบี้ย ส่วนลด หรือค่าบริการ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน ซึ่งผู้ฝากเงินหรือบุคคลใดได้รับจากธนาคารพาณิชย์ พนักงาน หรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากการรับฝากเงิน กู้ยืมเงิน หรือรับเงิน หรือที่ธนาคารพาณิชย์ พนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้นได้รับเนื่องจากการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
"ค่าบริการต่าง ๆ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน นอกจากดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากลูกค้าเนื่องจากการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่า ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดก็ตาม แต่ไม่รวมถึงเบี้ยปรับที่อาจเรียกได้ ตามมาตรา 46 (7) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
"เงินให้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ (Commercial loan)" หมายความว่าเงินให้สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบธุรกิจ
"เงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer loan)" หมายความว่าเงินให้สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งรวมถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Housing loan) สินเชื่อบัตรเครดิต (Credit card loan) และสินเชื่อส่วนบุคคล(Personal loan)
5.2 การกําหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงิน และการให้สินเชื่อ
5.2.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้แก่ลูกค้า
(2) การเรียกเก็บดอกเบี้ย หรือส่วนลดเงินให้สินเชื่อ และค่าบริการต่าง ๆ รวมถึงเบี้ยปรับจากลูกค้า
(3) การรับข้อร้องเรียนจากลูกค้าในเรื่องการจ่ายดอกเบี้ย การเรียกเก็บดอกเบี้ยหรือส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางในการรับข้อร้องเรียน กระบวนการพิจารณาตรวจสอบ ระยะเวลาในการดําเนินการ การแจ้งผลการดําเนินการ และกระบวนการพิจารณาการชดเชยสําหรับความเสียหายใด ๆ ที่ลูกค้าได้รับอันเกิดจากความผิดพลาดของธนาคารพาณิชย์
5.2.2 ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่ให้บริการ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดสัญญาหรือข้อตกลงที่เป็นรูปแบบมาตรฐานสําหรับลูกค้าทั่วไป เงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญาหรือข้อตกลง อัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ เบี้ยปรับ รวมถึงสูตรและวิธีการคํานวณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้รวมถึงกรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวด้วย และต้องสามารถมอบให้ลูกค้าผู้ใช้บริการได้ตามสมควรเมื่อมีการร้องขอ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการ
5.2.3 ในการทําสัญญาใหม่กับลูกค้า ธนาคารพาณิชย์ต้องมอบหรือส่งสําเนาสัญญาหรือข้อตกลงการให้บริการให้แก่ลูกค้า ซึ่งต้องระบุถึงอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดหรือค่าบริการต่าง ๆ หรือเบี้ยปรับ และต้องขี้แจงให้ลูกค้าทราบถึงภาระ สิทธิและประโยชน์ในการทําสัญญาดังกล่าวด้วย
5.2.4 การทําโฆษณาไม่ว่าจะกระทําด้วยการใช้ถ้อยคํา ตัวอักษร ตัวเลข ภาพหรือผัง หรือด้วยวิธีอื่นใด โดยทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ป้ายโฆษณา จดหมาย หรือโดยทางอื่นใดต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ควรให้ข้อมูลที่ชัดเจนทั้งด้านสิทธิประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับและภาระหรือค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าจะต้องจ่าย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและลูกต้อง
5.3 ดอกเบี้ยเงินฝาก
ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยเงินฝาก ดังต่อไปนี้
5.3.1 ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่จะจ่ายสําหรับเงินฝากของลูกค้าแต่ละประเภทรวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ (ถ้ามี โดยคํานึงถึงความชัดเจน โปร่งใส และเท่าเทียมกันสําหรับเงินฝากของลูกค้าประเภทเดียวกัน และให้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) อัตราดอกเบี้ยสําหรับเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทกระแสรายวัน เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่ไม่ใช้เช็คในการถอน เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา เงินฝากที่ต้องง่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้โดยการออกบัตรเงินฝาก และเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาแบบผูกพันที่มีระยะเวลาการฝากต่อเนื่องเป็นรายเดือนไม่ต่ํากว่า 24 เดือน (Contractual savings)
(2) เงื่อนไขต่าง ๆ ในการจ่ายดอกเบี้ย เช่น อัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าถอนก่อนครบกําหนดระยะเวลา แต่จะต้องไม่เกินอัตราที่กําหนดตามข้อ (1) วิธีการคํานวณดอกเบี้ยจ่ายความถี่ในการจ่าย จํานวนวันต่อปีที่ใช้ในการคิดดอกเบี้ย และสาขาที่ให้บริการเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น
(3) เงื่อนไขอื่น ๆ ที่สําคัญ เช่น รายละเอียดการประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝากของผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ละประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ให้บริการแก่ลูกค้า เป็นต้น
5.3.2 จ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ตามอัตราที่ประกาศกําหนดสําหรับเงินฝาก และลูกค้าแต่ละประเภทตามข้อ 5.3.1
5.3.3 กรณีที่วันครบกําหนดจ่ายคืนเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้ตรงกับวันหยุดทําการของธนาคารพาณิชย์ ให้ถือเอาวันทําการวันแรกต่อจากวันหยุดทําการนั้นเป็นวันครบกําหนดจ่ายคืนเงินฝาก โดยธนาคารพาณิชย์ต้องง่ายดอกเบี้ยให้ลูกค้าสําหรับวันหยุดทําการนั้นด้วย สําหรับบัตรเงินฝากที่ไม่กําหนดอัตราดอกเบี้ย ให้จ่ายไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่จ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ตามที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกําหนดเว้นแต่ลูกค้าจะมีข้อตกลงกับธนาคารพาณิชย์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนว่าให้โอนเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากอื่นของลูกค้าตั้งแต่วันครบกําหนดจ่ายคืน
5.3.4 ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์แจกเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดนอกจากดอกเบี้ยโดยการจัดรายการชิงโชคหรือจับฉลากให้แก่ลูกค้าอีก เว้นแต่เป็นการให้ของกํานัลแก่ลูกค้าในโอกาสอันเป็นประเพณีนิยมที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป
5.4 ค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝาก
ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติในเรื่องค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝากดังต่อไปนี้
5.4.1 กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหว มียอดเงินฝากคงเหลือน้อยกว่าที่ธนาคารพาณิชย์กําหนด และธนาคารพาณิชย์มีความจําเป็นที่จะต้องเรียกเก็บหรือหักบัญชีเป็นค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก ให้ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการ ดังนี้
(1) กําหนดค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก เท่าที่จําเป็นเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการบริหารบัญชีดังกล่าว โดยคํานึงถึงรายได้ที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการนําเงินฝากของลูกค้าไปหาผลประโยชน์ประกอบด้วย พร้อมทั้งกําหนดเงื่อนไขในการเรียกเก็บให้ชัดเจน
(2) ในขณะที่ลูกค้าเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงค่าบริการรักษาบัญชีงินฝากและเงื่อนไขในการเรียกเก็บที่ชัดเจน
(3) แจ้งเป็นหนังสือให้ลูกค้าแต่ละรายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนที่จะเรียกเก็บหรือหักบัญชีเป็นค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก โดยให้ชําระยอดเงินฝากคงเหลือค่าบริการที่เรียกเก็บ และเงื่อนไขในการเรียกเก็บให้ชัดเจน
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะทําข้อตกลงเรียกเก็บหรือหักบัญชีเป็นค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากเกินกว่ายอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีไม่ได้
5.4.2 กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวแต่ไม่อยู่ในข่ายที่ลูกเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากตามข้อ 5.4.1 และเป็นบัญชีของบุคคลธรรมดาประเภทกระแสรายวันหรือออมทรัพย์ รวมถึงบัญชีเงินฝากประจําซึ่งโดยทั่วไปจะทําสัญญาแบบฝากต่อเนื่องเมื่อครบกําหนด(Roll over) แต่ลูกค้าไม่มีการติดต่อเป็นเวลานาน ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งยอดเงินฝากคงเหลือเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับรองให้ลูกค้าทราบ และหากลูกค้าหรือทายาทยังไม่ติดต่อมายังธนาคารพาณิชย์ เพื่อขอปิดบัญชีหรือทํารายการเพื่อให้บัญชีมีการเคลื่อนไหว ให้ธนาคารพาณิชย์แจ้งเป็นจดหมายอีก 2 ครั้งโดยมีระยะเวลาห่างกันคราวละ 1 ปี โดยในครั้งสุดท้าย ให้ระบุว่า
ธนาคารพาณิชย์จะหยุดการแจ้งเป็นหนังสือ
5.5 ดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ
ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ดังต่อไปนี้
5.5.1 ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่จะเรียกเก็บจากลูกค้าแต่ละประเภท ดังนี้
(1) อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง พร้อมทั้งคําจํากัดความของลูกค้าที่ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยและส่วนลดโดยอ้างอิงกับอัตราดังกล่าว เช่น อัตราดอกเบี้ยสําหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate หรือ MLR) อัตราดอกเบี้ยสําหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate หรือ MRR) และอัตราดอกเบี้ยสําหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate หรือ MOR) เป็นต้น
(2) เพดานอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บได้สูงสุดโดยจําแนกตามกลุ่มเป็นเงินให้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ (Commercial loan) และเงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer loan) ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์อาจประกาศจําแนกปลีกย่อยตามประเภทเงินให้สินเชื่อ และอาจแยกประกาศเพดานอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดกรณีผิดนัดชําระหนี้ออกจากเพดานอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดกรณีปกติด้วยก็ได้
5.5.2 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินเพดานอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศไว้สําหรับเงินให้สินเชื่อและลูกค้าแต่ละกลุ่มและประเภทตามข้อ 5.5.1 (2) ยกเว้นสินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยที่ได้ทําสัญญาผูกพันกันไว้ก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 253 ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตรา MLR ตามข้อ 5.5.1 (1)
5.6 ค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินให้สินเชื่อ
ค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยหรือส่วนลด เว้นแต่ค่าบริการต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังต่อไปนี้ ให้เรียกเก็บต่างหากจากดอกเบี้ยได้
5.6.1 กรณีเงินให้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ (Commercial loan) หากธนาคารพาณิชย์ประกาศประเภท จํานวน หรืออัตราของค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อไว้อย่างชัดเจน ธนาคารพาณิชย์อาจรียกค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บได้ต่างหากโดยไม่ถือเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลดก็ได้
5.6.2 กรณีเงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer loan) ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ตามที่ได้ง่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุได้ต่างหากโดยไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ แต่ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะที่กําหนด ไว้ดังต่อไปนี้
(1) ค่าใช้จ่ายที่ธนาคารพาณิชย์ต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ
(2) ค่าใช้จ่ายที่ธนาคารพาณิชย์ต้องจ่ายให้แก่บุคคลอื่นหรือหน่วยงานภายนอก โดยมีหลักฐานการชําระเงินที่สามารถตรวจสอบได้ตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังตารางที่ 3 แนบท้ายประกาศนี้
(3) ค่าใช้จ่ายที่ทําให้ต้นทุนในการดําเนินงานของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการแก่ลูกค้าหรือการผิดนัดชําระหนี้ของลูกค้าแล้วแต่กรณีเฉพาะรายตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังตารางที่ 3 แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายประเภทเดียวกันตามที่ระบุไว้ในข้อ (2) และ (3) ซ้ําซ้อนกันไม่ได้
5.7 ค่าบริการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อ
ค่าบริการใด ๆ ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อ เช่น ค่าบริการการใช้เช็คหรือการโอนเงินนั้น ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บได้อยู่แล้ว แต่ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กําหนดไว้โดยเฉพาะในเรื่องนั้น ๆ
5.8 เบี้ยปรับที่เกี่ยวเนื่องกับเงินให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย
ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติในเรื่องเบี้ยปรับเงินให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
5.8.1 กรณีที่ลูกค้าเลือกทําสัญญาเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตั้งแต่แรกและประสงค์จะไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกําหนดทั้งจํานวน ธนาคารพาณิชย์สามารถคิดเบี้ยปรับดังกล่าวได้เฉพาะกรณีลูกค้าไถ่ถอนสินเชื่อเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่นภายในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทําสัญญา
5.8.2 กรณีที่ลูกค้าทําสัญญาเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยคงที่และประสงค์จะไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบรอบสัญญา ซึ่งเป็นสัญญาที่ธนาคารพาณิชย์กําหนดให้มีการคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เปลี่ยนทุกรอบ 3 ปี หรือ ร ปี เพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น หรือกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะขอเปลี่ยนไปใช้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวก่อนครบรอบสัญญาที่กล่าวให้ธนาคารพาณิชย์สามารถคิดเบี้ยปรับได้
5.9 การเปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ
5.9.1 การประกาศกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่างๆและเบี้ยปรับ ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ปิดประกาศตารางที่ 1 - 6 แนบท้ายประกาศนี้ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่ให้บริการ ภายในวันเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศหรือเปลี่ยนแปลงประกาศ
(2) เผยแพร่ตารางที่ 1 - 6 แนบท้ายประกาศนี้ไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของธนาคารพาณิชย์ ก่อนวันที่อัตราที่ประกาศมีผลใช้บังคับ และต้องเผยแพร่ข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้ลูกค้าเรียกดูข้อมูลได้
(3) แจ้งเป็นหนังสือให้แก่ลูกค้าภายในเวลาอันควร หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer loan) ซึ่งทําให้ลูกค้าเสียประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว
5.9.2 การประกาศกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงค่าบริการต่าง ๆ เบี้ยปรับ สูตรและวิธีการคํานวณ ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญาหรือข้อตกลง ซึ่งทําให้ลูกค้าผู้ใช้บริการเสียประโยชน์ ธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อน เว้นแต่ลูกค้าเลือกที่จะให้ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีการตกลงใด ๆ ไว้ ธนาคารพาณิชย์ต้องปิดประกาศการกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่ให้บริการ เพื่อให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนจะมีผลใช้บังคับ และต้องเผยแพร่ในเว็บไซต์ (Website) ของธนาคารพาณิชย์ไปในคราวเดียวกันด้วย ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ข้อนี้ไม่ใช้บังคับกับสัญญาที่เป็นการเฉพาะรายกับลูกค้ารายใหญ่
5.9.3 ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเก็บต้นฉบับของตารางที่ 1- 6 แนบท้ายประกาศนี้ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสาร หรือสื่อบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือในรูปแบบใด ๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีนับแต่วันที่อัตราที่ประกาศมีผลใช้บังคับ เพื่อจัดให้ลูกค้า ศาล หรือหน่วยงานของรัฐตามที่ร้องขอ
5.10 การจัดทํารายงานบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารพาณิชย์ต้องส่งข้อมูลตามข้อ 5.9.1 (1) เฉพาะตารางที่ 4 - 6 ให้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในรูปแบบ Excel file ผ่านช่องทาง Email Address : [FOG\[email protected]](mailto:[email protected]) ภายใน 3 วันทําการนับจากวันที่ออกประกาศหรือเปลี่ยนแปลงประกาศ
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,004 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 80/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.109/14/51 | 70,000 | 31 ตุลาคม 2551 | 4/11/51 – 18/11/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,005 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 81/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ สำหรับบริษัทเงินทุน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 81 / 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ สําหรับบริษัทเงินทุน
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใสในการจ่ายและเรียกเก็บดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ ที่เกี่ยวเนื่องกับการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการให้สินเชื่อของบริษัทเงินทุน ส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการเปรียบเทียบข้อมูลสําหรับเลือกใช้บริการจากบริษัทเงินทุน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกหลักเกณฑ์ให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับของบริษัทเงินทุนให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิมอย่างไรก็ดี เพื่อให้บริษัทเงินทุนสามารถกําหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากหรือเงินที่ได้รับจากประชาชนได้ยืดหยุ่นมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงยกเลิกการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดพิเศษสําหรับเงินกู้ยืมหรือเงินที่ได้รับจากประชาชนที่บริษัทเงินทุนกําหนดเพิ่มขึ้นจากอัตราที่ประกาศไว้ได้อีกไม่เกินร้อยละ 0.5 นอกจากนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคผู้ฝากเงินในการเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก บริษัทเงินทุนจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ลูกค้าแต่ละรายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และกรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวแต่ไม่อยู่ในข่ายเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก บริษัทเงินทุนจะต้องแจ้งเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับรองให้ลูกค้าทราบ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 มาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง แต่ไม่ใช้บังคับกับกรณี ดังต่อไปนี้
3.1 การรับฝากเงิน กู้ยืมเงินหรือรับเงิน และการให้สินเชื่อระหว่างบริษัทเงินทุนกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
3.2 ธุรกรรมเงินให้สินเชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์โดยเฉพาะในเรื่องดังกล่าวไว้ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ เป็นต้น ให้บริษัทเงินทุนถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"ดอกเบี้ย ส่วนลด หรือค่าบริการ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน ซึ่งผู้ฝากเงินหรือบุคคลใดได้รับจากบริษัทเงินทุน พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทเงินทุน เนื่องจากการรับฝากเงิน กู้ยืมเงิน หรือรับเงิน หรือที่บริษัทเงินทุนพนักงาน หรือถูกจ้างของบริษัทเงินทุนนั้นได้รับเนื่องจากการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุน
"ค่าบริการต่าง ๆ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน นอกจากดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนได้รับจากลูกค้าเนื่องจากการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุน ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่า ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดก็ตาม แต่ไม่รวมถึงเบี้ยปรับที่อาจเรียกได้ ตามมาตรา 46 (7) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. 2551
"เงินให้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ (Commercial loan)" หมายความว่าเงินให้สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบธุรกิจ
"เงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer loan)" หมายความว่าเงินให้สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมคาที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งรวมถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Housing loan) และสินเชื่อส่วนบุคคล (Personal loan)
"การโฆษณา" หมายความว่า การโฆษณากิจการของบริษัทเงินทุนไม่ว่าจะกระทําด้วยการใช้ถ้อยคํา ตัวอักษร ตัวเลข ภาพ หรือผัง หรือด้วยวิธีอื่นใด โดยทางหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อื่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ป้ายโฆษณา จดหมาย หรือโดยทางอื่นใด
5.2 การกําหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการให้สินเชื่อ
5.2.1 บริษัทเงินทุนต้องกําหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การจ่ายดอกเบี้ยหรือส่วนลด เงินฝาก และเงินที่ได้รับจากประชาชนให้แก่ลูกค้า
(2) การเรียกเก็บดอกเบี้ย หรือส่วนลดเงินให้สินเชื่อ และค่าบริการต่างๆ รวมถึงเบี้ยปรับจากลูกค้า
(3) การรับข้อร้องเรียนจากลูกค้าในเรื่องการจ่ายดอกเบี้ยหรือส่วนลดการเรียกเก็บดอกเบี้ยหรือส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางในการรับข้อร้องเรียน กระบวนการพิจารณาตรวจสอบ ระยะเวลาในการดําเนินการ การแจ้งผลการดําเนินการ และกระบวนการพิจารณาการชดเชยสําหรับความเสียหายใด ๆ ที่ลูกค้าได้รับอันเกิดจากความผิดพลาดของบริษัทเงินทุน
5.2.2 บริษัทเงินทุนต้องจัดให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานลาขา หรือสํานักงานอํานวยสินเชื่อของบริษัทเงินทุนแต่ละแห่งที่ให้บริการ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดสัญญาหรือข้อตกลงที่เป็นรูปแบบมาตรฐานสําหรับลูกค้าทั่วไป เงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญาหรือข้อตกลง อัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ เบี้ยปรับรวมถึงสูตรและวิธีการคํานวณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้รวมถึงกรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวด้วย และต้องตามารถมอบให้ลูกค้าผู้ใช้บริการได้ตามสมควรเมื่อมีการร้องขอ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการ
5.2.3 ในการทําสัญญาใหม่กับลูกค้า บริษัทเงินทุนต้องมอบหรือส่งสําเนาสัญญาหรือข้อตกลงการให้บริการให้แก่ลูกค้า ซึ่งต้องระบุถึงอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดหรือค่าบริการต่าง ๆ หรือเบี้ยปรับ และต้องชี้แจงให้ลูกค้าทราบถึงภาระ สิทธิ และประโยชน์ในการทําสัญญาดังกล่าวด้วย
5.3 ดอกเบี้ยเงินฝาก หรือเงินที่ได้รับจากประชาชน
บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยเงินฝากและเงินที่ได้รับจากประชาชน ดังต่อไปนี้
5.3.1 ประกาศอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดที่จะจ่ายสําหรับเงินฝาก หรือเงินที่ได้รับจากประชาชนของลูกค้าแต่ละประเภท รวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ (ถ้ามี) โดยคํานึงถึงความชัดเจน โปร่งใสและเท่าเทียมกันสําหรับเงินฝาก หรือเงินที่ได้รับจากประชาชนของลูกค้าประเภทเดียวกัน และให้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) อัตราดอกเบี้ยสําหรับเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่ไม่ใช้เช็คในการถอน เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา และเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้โดยการออกบัตรเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดตามตั๋วแลกเงิน
(2) เงื่อนไขต่าง ๆ ในการจ่ายดอกเบี้ยหรือส่วนลด เช่น อัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าถอนก่อนครบกําหนดระยะเวลา แต่จะต้องไม่เกินอัตราที่กําหนดตามข้อ (1) วิธีการคํานวณดอกเบี้ยจ่ายหรือส่วนลด ความถี่ในการจ่าย และจํานวนวันต่อปีที่ใช้ในการคิดดอกเบี้ยหรือส่วนลดเป็นต้น
(3) เงื่อนไขอื่น ๆ ที่สําคัญ เช่น รายละเอียดการประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝากของผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ละประเภทที่บริษัทเงินทุนให้บริการแก่ลูกค้า เป็นต้น
(4) คุณสมบัติของกลุ่มลูกค้าที่บริษัทเงินทุนจะจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกค้าทุกรายในอัตราเดียวกันตามวงเงินรวมของกลุ่มลูกค้า (ถ้ามี) ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนจะต้องมีสมุดทะเบียนคุมรายชื่อลูกค้าแยกแต่ละกลุ่มด้วย
(3) เงื่อนไขและประเภทลูกค้าที่บริษัทเงินทุนจะจ่ายดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นรายเดือน (ถ้ามี)
(6) ค่าธรรมเนียมการรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนออกในการรับเงินจากลูกค้าและมีธนาคารพาณิชย์รับอาวัล ตามที่ได้ตกลงไว้กับธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง (ถ้ามี)
5.3.2 จ่ายดอกเบี้ยหรือส่วนลด ตามอัตราที่ประกาศกําหนดสําหรับเงินฝากหรือเงินที่ได้รับจากประชาชนและลูกค้าแต่ละประเภทตามข้อ 5.3.1
5.3.3 กรณีที่วันครบกําหนดจ่ายคืนเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้ หรือวันครบกําหนดชําระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตั๋วแลกเงินตรงกับวันหยุดทําการของบริษัทเงินทุน ให้ถือเอาวันทําการวันแรกต่อจากวันหยุดทําการนั้นเป็นวันครบกําหนดจ่ายคืนเงินฝากหรือวันครบกําหนดชําระเงินตามตั๋ว โดยบริษัทเงินทุนต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ลูกค้าสําหรับวันหยุดทําการนั้นด้วย ทั้งนี้ สําหรับบัตรเงินฝาก และตั๋วแลกเงินที่ไม่กําหนดอัตราดอกเบี้ยให้จ่ายไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยเงินที่ได้รับจากประชาชนที่จ่ายคืนเมื่อทวงถามตามที่บริษัทเงินทุนประกาศกําหนด เว้นแต่ลูกค้าจะมีข้อตกลงกับบริษัทเงินทุนเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนว่าให้โอนเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากอื่นของลูกค้าตั้งแต่วันครบกําหนดจ่ายคืน
5.3.4 ในกรณีที่ตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันออกตั๋วล่วงหน้า บริษัทเงินทุนอาจใช้อัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับอยู่ในวันเจรจากับลูกค้าก็ได้ โดยช่วงห่างระหว่างวันเจรจากับวันออกตั๋วจะต้องไม่เกิน 4 วันทําการ และมีหลักฐานการอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยในวันเจรจาแนบสําเนาตั๋วไว้ด้วย
5.3.5 บริษัทเงินทุนอาจจ่ายอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดแตกต่างจากที่ประกาศตามข้อ 5.3.1 ได้หากเป็นเงินฝากหรือเงินที่ได้รับจากประชาชน ดังต่อไปนี้
(1) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ใช้เป็นประกันเงินให้สินเชื่อเต็มจํานวน (back to back)
(2) เงินฝากหรือเงินที่ได้รับจากประชาชนที่บริษัทเงินทุนยินยอมจ่ายคืนก่อนครบกําหนดเวลา หากบริษัทเงินทุนใดไม่อาจดําเนินกิจการได้ตามปกติ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจผ่อนผันให้จ่ายดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้เกินกว่าอัตราที่บริษัทเงินทุนประกาศตามข้อ 5.3.1 ได้ และในการผ่อนผันนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
5.3.6 ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สนับสนุนให้บริษัทเงินทุนแจกเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดนอกจากดอกเบี้ยโดยการจัดรายการชิงโชคหรือจับฉลากให้แก่ลูกค้าอีก เว้นแต่เป็นการให้ของกํานัลแก่ลูกค้าในโอกาสอันเป็นประเพณีนิยมที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป
5.4. ค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝาก
บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติในเรื่องค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝากดังต่อไปนี้
5.4.1 กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหว มียอดเงินฝากคงเหลือน้อยกว่าที่บริษัทเงินทุนกําหนด และบริษัทเงินทุนมีความจําเป็นที่จะต้องเรียกเก็บหรือหักบัญชีเป็นค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก ให้บริษัทเงินทุนดําเนินการดังนี้
(1) กําหนดค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก เท่าที่จําเป็นเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการบริหารบัญชีดังกล่าว โดยคํานึงถึงรายได้ที่บริษัทเงินทุนได้รับจากการนําเงินฝากของลูกค้าไปหาผลประโยชน์ประกอบด้วย พร้อมทั้งกําหนดเงื่อนไขในการเรียกเก็บให้ชัดเจน
(2) ในขณะที่ลูกค้าเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ บริษัทเงินทุนต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากและเงื่อนไขในการเรียกเก็บที่ชัดเจน
(3) แจ้งเป็นหนังสือให้ลูกค้าแต่ละรายทราบถ่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนที่จะเรียกเก็บหรือหักบัญชีเป็นค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก โดยให้ชําระยอดเงินฝากคงเหลือค่าบริการที่เรียกเก็บ และเงื่อนไขในการเรียกเก็บให้ชัดเจน
ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนจะทําข้อตกลงเรียกเก็บหรือหักบัญชีเป็นค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากเกินกว่ายอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีไม่ได้
5.4.2 กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวแต่ไม่อยู่ในข่ายที่ถูกเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากตามข้อ 5.4.1 และเป็นบัญชีของบุคคลธรรมดาประเภทออมทรัพย์ รวมถึงบัญชีเงินฝากประจําซึ่งโดยทั่วไปจะทําสัญญาแบบฝากต่อเนื่องเมื่อครบกําหนด (Roll over) แต่ลูกค้าไม่มีการติดต่อเป็นเวลานาน บริษัทเงินทุนต้องแจ้งยอดเงินฝากคงเหลือเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับรองให้ลูกค้าทราบ และหากลูกค้าหรือทายาทยังไม่ติดต่อมายังบริษัทเงินทุน เพื่อขอปิดบัญชีหรือทํารายการเพื่อให้บัญชีมีการเคลื่อนไหว ให้บริษัทเงินทุนแจ้งเป็นจดหมายอีก 2 ครั้ง โดยมีระยะเวลาห่างกันคราวละ 1 ปี โดยในครั้งสุดท้าย ให้ระบุว่าบริษัทเงินทุนจะหยุดการแจ้งเป็นหนังสือ
5.5 ดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ
บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ดังต่อไปนี้
5.5.1 ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่จะเรียกเก็บจากลูกค้าแต่ละประเภท ดังนี้
(1) อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง พร้อมทั้งคําจํากัดความของลูกค้าที่บริษัทเงินทุนจะเรียกเก็บดอกเบี้ยและส่วนลดโดยอ้างอิงกับอัตราดังกล่าว เช่น อัตราดอกเบี้ยสําหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate หรือ MLR) และอัตราดอกเบี้ยสําหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate หรือ MRR) เป็นต้น
(2) เพดานอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจเรียกเก็บได้สูงสุดและเพดานอัตราดอกเบี้ยสําหรับเงินที่บริษัทเงินทุนได้จ่ายไปตามภาระผูกพันเพื่อลูกค้า (ถ้ามี) โดยจําแนกตามกลุ่มเป็นเงินให้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ (Commercial loan) และเงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer loan) ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนอาจประกาศจําแนกปลีกย่อยตามประเภทเงินให้สินเชื่อและอาจแยกประกาศเพดานอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดกรณีผิดนัดชําระหนี้ออกจากเพดานอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดกรณีปกติด้วยก็ได้
5.5.2 ไม่ว่ากรณีใด ๆ บริษัทเงินทุนจะเรียกเก็บดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินเพดานอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดสูงสุดที่บริษัทเงินทุนประกาศไว้สําหรับเงินให้สินเชื่อและลูกค้าแต่ละกลุ่มและประเภทตามข้อ 5.5.1 (2) ยกเว้นสินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยที่ได้ทําสัญญาผูกพันกันไว้ก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2535 บริษัทเงินทุนเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดสําหรับลูกค้าทั่วไปหักด้วยอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
5.6 ค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินให้สินเชื่อ
ค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยหรือส่วนลด เว้นแต่ค่าบริการต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังต่อไปนี้ ให้เรียกเก็บต่างหากจากดอกเบี้ยได้
5.6.1 กรณีเงินให้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ (Commercial loan) หากบริษัทเงินทุนประกาศประเภท จํานวน หรืออัตราของค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อไว้อย่างชัดเจน บริษัทเงินทุนอาจเรียกค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อที่บริษัทเงินทุนจะเรียกเก็บได้ต่างหากโดยไม่ถือเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลดก็ได้
5.6.2 กรณีเงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer loan) บริษัทเงินทุนอาจเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุได้ต่างหากโดยไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ แต่ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้
(1) ค่าใช้จ่ายที่บริษัทเงินทุนต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ
(2) ค่าใช้จ่ายที่บริษัทเงินทุนต้องจ่ายให้แก่บุคคลอื่นหรือหน่วยงานภายนอกโดยมีหลักฐานการชําระเงินที่สามารถตรวจสอบได้ตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังตารางที่ 3 แนบท้ายประกาศนี้
(3) ค่าใช้จ่ายที่ทําให้ต้นทุนในการดําเนินงานของบริษัทเงินทุนเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการแก่ลูกค้าหรือการผิดนัดชําระหนี้ของลูกค้าแล้วแต่กรณีเฉพาะรายตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังตารางที่ 3 แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนจะเรียกเก็บคําใช้จ่ายประเภทเดียวกันตามที่ระบุไว้ในข้อ (2) และ (3) ซ้ําซ้อนกันไม่ได้
5.7 ค่าบริการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อ
ค่าบริการใด ๆ ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการให้สินเชื่อ เช่น ค่าบริการการใช้เช็คหรือการโอนเงินนั้น บริษัทเงินทุนอาจเรียกเก็บได้อยู่แล้ว แต่ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กําหนดไว้โดยเฉพาะในเรื่องนั้นๆ
5.8 เบี้ยปรับที่เกี่ยวเนื่องกับเงินให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย
บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติในเรื่องเบี้ยปรับเงินให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
5.8.1 กรณีที่ลูกค้าเลือกทําสัญญาเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตั้งแต่แรกและประสงค์จะไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกําหนดทั้งจํานวน บริษัทเงินทุนสามารถคิดเบี้ยปรับดังกล่าวได้เฉพาะกรณีลูกค้าไถ่ถอนสินเชื่อเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่นภายในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทําสัญญา
5.8.2 กรณีที่ลูกค้าทําสัญญาเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยคงที่และประสงค์จะไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบรอบสัญญา ซึ่งเป็นสัญญาที่บริษัทเงินทุนกําหนดให้มีการคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เปลี่ยนทุกรอบ 3 ปี หรือ ปี เพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น หรือกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะขอเปลี่ยนไปใช้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวก่อนครบรอบสัญญาที่กล่าวให้บริษัทเงินทุนสามารถคิดเบี้ยปรับได้
5.9 การเปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ
5.9.1 การประกาศกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลดค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ปิดประกาศตารางที่ 1 - 3 แนบท้ายประกาศนี้ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขา หรือสํานักงานอํานวยสินเชื่อของบริษัทเงินทุนแต่ละแห่งที่ให้บริการ ภายในวันเดียวกับที่บริษัทเงินทุนออกประกาศหรือเปลี่ยนแปลงประกาศ
(2) เผยแพร่ตารางที่ 1 - 3 แนบท้ายประกาศนี้ไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของบริษัทเงินทุน ก่อนวันที่อัตราที่ประกาศมีผลใช้บังคับ และต้องเผยแพร่ข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้ลูกค้าเรียกดูข้อมูลได้
(3) แจ้งเป็นหนังสือให้แก่ลูกค้าภายในเวลาอันควร หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer loan) ซึ่งทําให้ลูกค้าเสียประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว
5.9.2 การประกาศกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงค่าบริการต่าง ๆ เบี้ยปรับ สูตรและวิธีการคํานวณ ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญาหรือข้อตกลง ซึ่งทําให้ลูกค้าผู้ใช้บริการเสียประโยชน์ บริษัทเงินทุนต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อน เว้นแต่ลูกค้าเลือกที่จะให้บริษัทเงินทุนดําเนินการเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีการตกลงใด ๆ ไว้ บริษัทเงินทุนต้องปิดประกาศกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขา หรือสํานักงานอํานวยสินเชื่อของบริษัทเงินทุนแต่ละแห่งที่ให้บริการ เพื่อให้ลูกค้าทราบถ่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนจะมีผลใช้บังคับ และต้องเผยแพร่ในเว็บไซต์ (Website) (ถ้ามี) ของบริษัทเงินทุนไปในคราวเดียวกันด้วย ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ข้อนี้ไม่ใช้บังคับกับสัญญาที่เป็นการเฉพาะรายกับลูกค้ารายใหญ่
5.9.3 บริษัทเงินทุนต้องจัดเก็บต้นฉบับของตารางที่ 1 - 3 แนบท้ายประกาศนี้ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสาร หรือสื่อบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือในรูปแบบใด ๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีนับแต่วันที่อัตราที่ประกาศมีผลใช้บังคับ เพื่อจัดให้ลูกค้า ศาล หรือหน่วยงานของรัฐตามที่ร้องขอ
5.10 การโฆษณากิจการ
การโฆษณากิจการของบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
5.10.1 การโฆษณากิจการของบริษัทเงินทุนต้องกระทําให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ในกรณีที่อ้างถึงตัวเลข ข้อมูล หรือรายงานสถิติ จะต้องระบุแหล่งที่มาของตัวเลข ข้อมูลหรือรายงานสถิตินั้นด้วย
5.10.2 บริษัทเงินทุนต้องไม่กระทําการโฆษณาข้อความใดหรือละเว้นการโฆษณาข้อความใดที่อาจทําให้ประชาชนเข้าใจผิดในฐานะการดําเนินงาน หรือการให้บริการของบริษัทเงินทุน รวมทั้งไม่ใช้ข้อความในเชิงโอ้อวดกิจการของบริษัทเงินทุน
ทั้งนี้ การโฆษณาถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับและการคิดค่าบริการต่างๆที่ลูกค้าจะต้องชําระนั้น บริษัทเงินทุนต้องแสดงรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการดังกล่าวให้ชัดเจน
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,006 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 81/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| 5/28/51 | 15,000 | 4 พ.ย. 51 | 6/11/51 – 4/12/51 | 28 วัน |
| 9/364/51 | 40,000 | 4 พ.ย. 51 | 6/11/51 - 5/11/52 | 364 วัน |
| 6/28/51 | 12,000 | 11 พ.ย. 51 | 13/11/51 – 11/12/51 | 28 วัน |
| 4/3ปี/2551 | 20,000 | 11 พ.ย. 51 | 13/11/51 – 13/11/54 | 3 ปี |
| 7/28/51 | 12,000 | 18 พ.ย. 51 | 20/11/51 – 18/12/51 | 28 วัน |
| 8/28/51 | 12,000 | 25 พ.ย. 51 | 27/11/51 – 25/12/51 | 28 วัน |
| 7/63/51 | 20,000 | 25 พ.ย. 51 | 27/11/51 – 29/01/52 | 63 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/3ปี/2551 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 7 พ.ย. 2551 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่าๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 13 พ.ย. และ พ.ค. ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 13 พ.ค. 2552 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 13 พ.ย. 2554 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,007 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 82/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับสำหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 82 / 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อให้มีความชัดเจนและ โปร่งใสในการจ่ายและเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับ ที่เกี่ยวเนื่องกับการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน และเงินให้กู้ยืมของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการเปรียบเทียบข้อมูลสําหรับเลือกใช้บริการจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกหลักเกณฑ์ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเพิ่มหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงิน และการเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝาก เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ฝากเงิน นอกจากนี้เป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย และเบี้ยปรับของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 46 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ฯ และเบี้ยปรับ ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง แต่ไม่ใช้บังกับกับกรณีการรับฝากเงิน การกู้ยืมเงิน หรือรับเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินและจากสถาบันการเงินต่างประเทศ
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก เอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"ดอกเบี้ย หรือค่าบริการ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน ซึ่งผู้ฝากเงินหรือบุคคลใดได้รับจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เนื่องจากการรับฝากเงิน กู้ยืมเงิน หรือรับเงิน หรือที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้นได้รับเนื่องจากการประกอบธุรกิจของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
"ค่าบริการต่าง ๆ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน นอกจากดอกเบี้ยที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้รับจากลูกค้าเนื่องจากการประกอบธุรกิจของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่า ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดก็ตาม แต่ไม่รวมถึงเบี้ยปรับที่อาจเรียกได้ตามมาตรา 46 (7) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
"การโฆษณา" หมายความว่า การโฆษณากิจการของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไม่ว่าจะกระทําด้วยการใช้ถ้อยคํา ตัวอักษร ตัวเลข ภาพ หรือผัง หรือด้วยวิธีอื่นใด โดยทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น วิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ ป้ายโฆษณา จดหมาย หรือโดยทางอื่นใด
5.2 การกําหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงิน
5.2.1 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องกําหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้แก่ลูกค้า
(2) การเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝากจากลูกค้า
(3) การรับข้อร้องเรียนจากถูกค้าในเรื่องการจ่ายดอกเบี้ย และการเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝาก โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางในการรับข้อร้องเรียน กระบวนการพิจารณาตรวจสอบ ระยะเวลาในการดําเนินการ การแจ้งผลการดําเนินการ และกระบวนการพิจารณาการชดเชยสําหรับความเสียหายใด ๆ ที่ลูกค้าได้รับอันเกิดจากความผิดพลาดของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
5.2.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องจัดให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดสัญญาหรือข้อตกลงที่เป็นรูปแบบมาตรฐานสําหรับลูกค้าทั่วไป เงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญาหรือข้อตกลง อัตราดอกเบี้ยค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝาก รวมถึงสูตรและวิธีการคํานวณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้รวมถึงกรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวด้วย และต้องสามารถมอบให้ถูกค้าผู้ใช้บริการได้ตามสมควรเมื่อมีการร้องขอ เพื่อให้ถูกค้าตามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการ
5.2.3 ในการทําสัญญาใหม่กับลูกค้า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องมอบหรือส่งสําเนาสัญญาหรือข้อตกลงการให้บริการให้แก่ลูกค้า ซึ่งต้องระบุถึงอัตราดอกเบี้ยหรือค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝาก และต้องชี้แจงให้ลูกค้าทราบถึงภาระ สิทธิ และประโยชน์ในการทําสัญญาดังกล่าวด้วย
5.3 ดอกเบี้ยเงินฝาก หรือเงินที่ได้รับจากประชาชน
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยเงินฝากและเงินที่ได้รับจากประชาชน ดังต่อไปนี้
5.3.1 ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่จะจ่ายสําหรับเงินฝาก หรือเงินที่ได้รับจากประชาชนของลูกค้าแต่ละประเภท รวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ (ถ้ามี) โดยคํานึงถึงความชัดเจน โปร่งใสและเท่าเทียมกันสําหรับเงินฝากหรือเงินที่ได้รับจากประชาชนของลูกค้าประเภทเดียวกัน และให้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) อัตราดอกเบี้ยสําหรับเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา และอัตราดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามจํานวนเงินและระยะเวลาการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน
(2) เงื่อนไขต่าง ๆ ในการจ่ายดอกเบี้ย เช่น อัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าถอนก่อนครบกําหนดระยะเวลา แต่จะต้องไม่เกินอัตราที่กําหนดตามข้อ (1) วิธีการคํานวณดอกเบี้ยจ่ายความถี่ในการจ่าย และจํานวนวันต่อปีที่ใช้ในการคิดดอกเบี้ย เป็นต้น
(3) เงื่อนไขอื่น ๆ ที่สําคัญ เช่น รายละเอียดการประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝากของผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ละประเภทที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการแก่ลูกค้า เป็นต้น
5.3.2 จ่ายดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราที่ประกาศกําหนดสําหรับเงินฝากหรือเงินที่ได้รับจากประชาชน และลูกค้าแต่ละประเภทตามข้อ 5.3.1
5.3.3 กรณีที่วันครบกําหนดจ่ายคืนเงินฝากที่ต้องง่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กําหนดไว้ หรือวันครบกําหนดชําระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินตรงกับวันหยุดทําการของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ให้ถือเอาวันทําการวันแรกต่อจากวันหยุดทําการนั้นเป็นวันครบกําหนดจ่ายคืนเงินฝากหรือวันครบกําหนดชําระเงินตามตั๋ว โดยบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ถูกค้าสําหรับวันหยุดทําการนั้นด้วย ตามอัตราดอกเบี้ยที่กําหนดไว้ในข้อ 5.3.1 เว้นแต่ลูกค้าจะมีข้อตกลงกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนว่าให้โอนเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากอื่นของลูกค้าตั้งแต่วันครบกําหนดจ่ายคืน
5.4 ค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝาก
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติในเรื่องค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝากดังต่อไปนี้
5.4.1 กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหว มียอดเงินฝากคงเหลือน้อยกว่าที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์กําหนด และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีความจําเป็นที่จะต้องเรียกเก็บหรือหักบัญชีเป็นค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดําเนินการดังนี้
(1) กําหนดค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก เท่าที่จําเป็นเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการบริหารบัญชีดังกล่าว โดยคํานึงถึงรายได้ที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้รับจากการนําเงินฝากของถูกค้าไปหาผลประโยชน์ประกอบด้วย พร้อมทั้งกําหนดเงื่อนไขในการเรียกเก็บให้ชัดเจน
(2) ในขณะที่ลูกค้าเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากและเงื่อนไขในการเรียกเก็บที่ชัดเจน
(3) แจ้งเป็นหนังสือให้ลูกค้าแต่ละรายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนที่จะเรียกเก็บหรือหักบัญชีเป็นค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝาก โดยให้ระบุยอดเงินฝากคงเหลือค่าบริการที่เรียกเก็บ และเงื่อนไขในการเรียกเก็บให้ชัดเจน
ทั้งนี้ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะทําข้อตกลงเรียกเก็บหรือหักบัญชีเป็นค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากเกินกว่ายอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีไม่ได้
5.4.2 กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวแต่ไม่อยู่ในข่ายที่ถูกเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากตามข้อ 5.4.1 และเป็นบัญชีของบุคคลธรรมดาประเภทเงินฝากประจําซึ่งโดยทั่วไปจะทําสัญญาแบบฝากต่อเนื่องเมื่อครบกําหนด (Roll over) แต่ลูกค้าไม่มีการติดต่อเป็นเวลานาน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องแจ้งยอดเงินฝากคงเหลือเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับรองให้ลูกค้าทราบ และหากลูกค้าหรือทายาทยังไม่ติดต่อมายังบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เพื่อขอปิดบัญชีหรือทํารายการเพื่อให้บัญชีมีการเคลื่อนไหว ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์แจ้งเป็นจดหมายอีก 2 ครั้งโดยมีระยะเวลาห่างกันคราวละ 1 ปี โดยในครั้งสุดท้าย ให้ระบุว่าบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะหยุดการแจ้งเป็นหนังสือ
5.5 ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ดังต่อไปนี้
5.5.1 ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่จะเรียกเก็บจากลูกค้าแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้
(1) เพดานอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์อาจเรียกเก็บได้สูงสุดและอาจแยกประกาศเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดกรณีผิดนัดชําระหนี้ออกจากเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดกรณีปกติด้วยก็ได้ และอัตราดอกเบี้ยที่เรียกจากลูกค้าชั้นดี
(2) อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (ถ้ามี พร้อมทั้งคําจํากัดความของลูกค้าที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยโดยอ้างอิงกับอัตราดังกล่าว เช่น อัตราดอกเบี้ยสําหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวล1 (Minimum Loan Rate หรือ MLR) และอัตราดอกเบี้ยสําหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate หรือ MRR) เป็นต้น
5.5.2 ไม่ว่ากรณีใด ๆ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินเพดานอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกาศกําหนดตามข้อ 5.5.1 (1) ยกเว้นการให้กู้ยืมเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยที่ได้ทําสัญญาผูกพันกันไว้ก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2535 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์เรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ประกาศกําหนดตามข้อ 5.5.1 (1) หักด้วยอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
5.6 เบี้ยปรับที่เกี่ยวเนื่องกับเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติในเรื่องเบี้ยปรับเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยดังต่อไปนี้
5.6.1 กรณีที่ลูกค้าเลือกทําสัญญาเป็นเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตั้งแต่แรกและประสงค์จะไถ่ถอนเงินกู้ยืมก่อนกําหนดทั้งจํานวน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถคิดเบี้ยปรับดังกล่าวได้เฉพาะกรณีลูกค้าไถ่ถอนเงินกู้ยืมเพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่นภายในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทําสัญญา
5.6.2 กรณีที่ลูกค้าทําสัญญาเป็นเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยอัตราดอกเบี้ยคงที่และประสงค์จะ ไถ่ถอนเงินกู้ยืมก่อนครบรอบสัญญา ซึ่งเป็นสัญญาที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์กําหนดให้มีการคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เปลี่ยนทุกรอบ 3 ปี หรือ ปี เพื่อไปใช้บริการกับสถาบันการเงินอื่น หรือกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะขอเปลี่ยนไปใช้เงินกู้ยืมอัตราดอกเบี้ยลอยตัวก่อนครบรอบสัญญาที่กล่าวให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถคิดเบี้ยปรับได้
5.7 การเปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือเงินที่ได้รับจากประชาชนเงินให้กู้ยืม ค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝาก และเบี้ยปรับเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปิดประกาศการกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือเงินที่ได้รับจากประชาชน เงินให้กู้ยืม ค่าบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินฝากและเบี้ยปรับเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ภายในวันเดียวกับที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกประกาศหรือเปลี่ยนแปลงประกาศ และต้องส่งประกาศดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกประกาศหรือเปลี่ยนแปลงประกาศ
5.8 การโฆษณากิจการ
การโฆษณากิจการของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
5.8.1 การโฆษณากิจการของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องกระทําให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ในกรณีที่อ้างถึงตัวเลข ข้อมูล หรือรายงานสถิติ จะต้องระบุแหล่งที่มาของตัวเลขข้อมูล หรือรายงานสถิตินั้นด้วย
5.8.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องไม่กระทําการโฆษณาข้อความใดหรือละเว้นการโฆษณาข้อความใดที่อาจทําให้ประชาชนเข้าใจผิดในฐานะการดําเนินงาน หรือการให้บริการของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ รวมทั้งไม่ใช้ข้อความในเชิงโอ้อวดกิจการของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทั้งนี้ การโฆษณาถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับและการคิดค่าบริการต่างๆ ที่ลูกค้าจะต้องชําระนั้น บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องแสดงรายละเอียดและเงื่อนไขเกี่ยวกับการดังกล่าวให้ชัดเจน
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,008 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3668 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ - วิธีวิเคราะห์สารตกค้างของสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสโดยวิธีก๊าซโครมาโทกราฟ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3668 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อาหารสัตว์ - วิธีวิเคราะห์สารตกค้างของสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส
โดยวิธีก๊าซโครมาโทกราฟ
----------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ - วิธีวิเคราะห์สารตกค้างของสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสโดยวิธีก๊าซโครมาโทกราฟ มาตรฐานเลขที่ มอก. 2323 - 2549 ไว้ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,009 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 82/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 82/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.110/15/51 | 50,000 | 4 พฤศจิกายน 2551 | 6/11/51 – 21/11/51 | 15 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,010 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3670 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวิธีวิเคราะห์และทดสอบผงซักฟอก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3670 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
วิธีวิเคราะห์และทดสอบผงซักฟอก
--------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวิธีวิเคราะห์และทดสอบผงซักฟอก มาตรฐานเลขที่ มอก. 578 - 2540
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2298 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวิธีวิเคราะห์และทดสอบผงซักฟอก ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวิธีวิเคราะห์และทดสอบผงซักฟอก มาตรฐานเลขที่ มอก. 578 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกําหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผงซักฟอกต้องเป็นไปตาม มาตรฐานเลขที่ มอก. 78 - 2549 ใช้บังคับเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,011 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 83/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่สถาบันการเงิน อาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 83 /2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่สถาบันการเงิน
อาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ
----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใสในการเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับ ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับของสถาบันการเงินส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการเปรียบเทียบข้อมูลสําหรับเลือกใช้บริการจากสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกข้อกําหนดเกี่ยวกับดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่สถาบันการเงินอาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจต่อไป
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่สถาบันการเงินอาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับให้อยู่ในฉบับเดียวกันโดยสาระสําคัญไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากหลักเกณฑ์เดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 มาตรา 40 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่สถาบันการเงินอาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
"สินเชื่อส่วนบุคคล" หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน รับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการและไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบธุรกิจของตนเอง
"สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ" หมายความว่า สินเชื่อส่วนบุคคลเฉพาะที่ไม่มีทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน และเพื่อประโยชน์แห่งประกาศฉบับนี้ ให้รวมถึงสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจมิได้จําหน่ายเป็นทางการค้าปกติยกเว้นในสินค้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึง สินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทํางานในต่างประเทศ สินเชื่อเพื่อรักษาพยาบาล สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงานที่หน่วยงานต้นสังกัดได้มีการทําสัญญากับสถาบันการเงิน และสินเชื่อตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
"ดอกเบี้ยหรือค่าบริการ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน ซึ่งผู้ฝากเงินหรือบุคคลใดได้รับจากสถาบันการเงิน พนักงานหรือลูกจ้างของสถาบันการเงิน เนื่องจากการรับฝากเงิน กู้ยืมเงิน หรือรับเงินหรือที่สถาบันการเงิน พนักงานหรือลูกจ้างของสถาบันการเงินนั้นได้รับเนื่องจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
"ค่าบริการต่าง ๆ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน นอกเหนือจากดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินได้รับจากลูกค้าเนื่องจากการให้สินเชื่อไม่ว่าจะเรียกชื่อว่า ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดก็ตาม แต่ไม่รวมถึงเบี้ยปรับที่อาจเรียกได้ ตามมาตรา 46 (7) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
5.2 ดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ
5.2.1 สถาบันการเงินต้องปฏิบัติในเรื่องการเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายในการกํากับ ดังต่อไปนี้
(1) สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชําระ หรือดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดชําระหนี้ หรือค่าบริการต่าง ๆ หรือเบี้ยปรับในการชําระหนี้ล่าช้ากว่ากําหนดจากผู้บริโภค ทั้งนี้ เมื่อคํานวณรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective Rate)
(2) นอกจากดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ ตามข้อ 5.2.1 (1) แล้ว สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุได้ตามรายการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังตารางแนบท้ายประกาศฉบับนี้เฉพาะเรื่องดังต่อไปนี้
(2.1) ค่าใช้จ่ายที่สถาบันการเงินต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ
(2.2) ค่าใช้จ่ายที่สถาบันการเงินต้องจ่ายให้แก่บุคคลอื่น หรือหน่วยงานภายนอก โดยมีหลักฐานการชําระเงินที่สามารถตรวจสอบได้ตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังตารางแนบท้ายประกาศนี้
(2.3) ค่าใช้จ่ายที่ทําให้ต้นทุนในการดําเนินงานของสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการแก่ลูกค้า หรือการผิดนัดชําระหนี้ของลูกค้าแล้วแต่กรณีเฉพาะรายตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดั่งตารางแนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายประเภทเดียวกันตามที่ ระบุไว้ใน 5.2.1 (2.2) และ 5.2.1 (2.3) ซ้ําซ้อนกันไม่ได้
(3) สถาบันการเงินต้องไม่นําดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับตามข้อ 5.2.1 (1) และค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุตามข้อ 5.2.1 (2) มารวมกับจํานวนหนี้ที่ค้างชําระเพื่อคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับอีก
(4) การเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ จากลูกค้านอกเหนือจากรายการตามตารางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 5.2.1 (2) สถาบันการเงินต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน
5.3 การเปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ
5.3.1 สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการประกาศเผยแพร่อัตราดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ดังต่อไปนี้
(1) ปิดประกาศตารางแนบท้ายประกาศนี้ ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานทุกแห่งในวันเดียวกับที่สถาบันการเงินออกประกาศหรือเปลี่ยนแปลงประกาศ
(2) เผยแพร่ตารางแนบท้ายประกาศนี้ไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของสถาบันการเงินก่อนวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ
(3) จัดเก็บต้นฉบับของรายละเอียดตามข้อ 5.3.1 (1) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสาร หรือสื่อบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือในรูปแบบใด ๆ เป็นเวลาไม่ต่ํากว่า 10 ปีนับแต่วันที่อัตราดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ ที่ประกาศมีผลใช้บังคับ เพื่อจัดให้ลูกค้าศาล หรือหน่วยงานของรัฐ ตามที่ร้องขอ
(4) แจ้งรายละเอียดตามข้อ 5.3.1 (1) ให้แก่ผู้บริโภคหรือผู้ประสงค์จะขอสินเชื่อทราบ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการขอสินเชื่อ
(5) กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับตามข้อ 5.2.1 (1) ซึ่งทําให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ สถาบันการเงินต้องแจ้งเป็นหนังสือแก่ผู้บริโภคภายในเวลาอันควรด้วย
(6) นอกจากเกณฑ์ที่กล่าวมา หากมีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุตามข้อ 5.2.1 (2) รวมทั้งเงื่อนไขที่เกี่ยวเนื่องกับค่าใช้จ่าย ซึ่งทําให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ สถาบันการเงินต้องได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคเสียก่อน เว้นแต่ผู้บริโภคเลือกที่จะให้สิทธิสถาบันการเงินดําเนินการเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีการตกลงใด ๆ ไว้ ต้องปิดประกาศกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานทุกแห่งเพื่อให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ
5.4 การจัดทําตารางแสดงภาระหนี้และใบเสร็จรับเงิน
5.4.1 เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจน สถาบันการเงินต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) จัดทําตารางแสดงภาระหนี้สําหรับผู้บริโภคแต่ละราย โดยให้แสดงรายละเอียดของข้อมูลเป็นรายงวด ซึ่งอย่างน้อยข้อมูลแต่ละงวดต้องประกอบด้วยจํานวนเงินที่ผู้บริโภคต้องชําระ โดยยกเป็นเงินต้นและดอกเบี้ย และจํานวนเงินต้นคงค้าง เพื่อมอบให้แก่ผู้บริโภคเมื่อมีการทําสัญญาขอสินเชื่อหรือเมื่อมีการอนุมัติสินเชื่อ ทั้งนี้ สําหรับผู้บริโภคที่ขอกู้เงินประเภทวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน (Revolving credit) ให้มอบตารางแสดงภาระหนี้ที่จัดทําขึ้นเป็นตัวอย่างแทนได้
(2) จัดทําใบเสร็จรับเงินที่แสดงรายละเอียดการชําระหนี้ โดยแยกเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเก็บไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องแสดงยอดหนี้ทั้งในส่วนที่ค้างชําระและที่ยังไม่ถึงกําหนดชําระ โดยแยกเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้ในใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จรับเงินด้วย
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดทําตัวอย่างตารางแสดงภาระหนี้ตามข้อ 5.4.1 (1) และตัวอย่างใบเสร็จรับเงินตามข้อ 5.4.1 (2) แนบไว้ท้ายประกาศนี้แล้ว สถาบันการเงินอาจจัดทํานอกเหนือจากนี้ได้ เพียงแต่จะต้องมีรายการสําคัญตามที่กล่าวไว้ข้างต้นครบถ้วนเท่านั้น
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,012 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3671 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ : น้ำองุ่น | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3671 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
น้ําผลไม้ : น้ําองุ่น
----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําองุ่น มาตรฐานเลขที่ มอก. 101 - 2517
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 114 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ห.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําองุ่น ลงวันที่ 20 พฤศจิกาขน พ.ศ. 2517 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ําผลไม้ : น้ําองุ่น มาตรฐานเลขที่ มอก. 101 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,013 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 84/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่ธนาคารพาณิชย์ อาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 84 /2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่ธนาคารพาณิชย์
อาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใสในการเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ฯ และเบี้ยปรับที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ และเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการเปรียบเทียบข้อมูลสําหรับเลือกใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นแนวทางให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจต่อไป
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตมาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 มาตรา 40 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยค่าบริการต่างๆ และเบี้ยปรับที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"ดอกเบี้ยหรือค่าบริการ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน ซึ่งผู้ฝากเงินหรือบุคคลใดได้รับจากธนาคารพาณิชย์ พนักงานหรือถูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากการรับฝากเงิน กู้ยืมเงิน หรือรับเงินหรือที่ธนาคารพาณิชย์ พนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั้นได้รับเนื่องจากการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
"ค่าบริการต่าง ๆ" หมายความว่า บรรดาเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่นที่อาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน นอกเหนือจากดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากลูกค้าเนื่องจากการให้สินเชื่อไม่ว่าจะเรียกชื่อว่า ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดก็ตาม แต่ไม่รวมถึงเบี้ยปรับที่อาจเรียกได้ ตามมาตรา 46 (7) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
5.2 ดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับที่เกี่ยวเนื่องกับบัตรเครดิต
5.2.1 ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชําระ หรือดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดชําระหนี้ หรือค่าบริการต่าง ๆ หรือเบี้ยปรับในการชําระหนี้ล่าช้ากว่ากําหนดจากผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคได้ แต่ทั้งนี้ เมื่อคํานวณรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี และธนาคารพาณิชย์อาจคํานวณจํานวนวันตั้งแต่วันที่ได้ทดรองจ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภค หรือวันที่สรุปยอดรายการ หรือวันที่ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคต้องชําระเงินหรือถูกหักบัญชีตามใบแจ้งหนี้ก็ได้
5.2.2 ในการให้บริการเบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิต ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ รวมกันโดยเพิ่มเติมจากดอกเบี้ย ค่าบริการ และเบี้ยปรับตาม 5.2.1 ได้อีกไม่เกินร้อยละ 3 ของจํานวนเงินสดที่เบิกถอนนั้น
5.2.3 นอกจากดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ ตาม 5.2.1 และ 5.2.2 แล้ว ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุได้แต่ต้องเป็นไปตามรายการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังตารางแนบท้ายประกาศฉบับนี้และต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นค่าใช้จ่ายที่ทําให้ต้นทุนในการดําเนินงานของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นในส่วนของค่าบริการในการใช้บัตรเครดิตเพื่อชําระภายีอากรและค่าธรรมเนียมให้แก่หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมของทางราชการ ซึ่งหน่วยงานราชการนั้น ๆ ไม่สามารถชําระค่าบริการให้แก่ธนาคารพณิชย์เหมือนอย่างร้านค้าทั่วไปได้ในกรณีนี้ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติดังนี้
(1.1) ดําเนินการเพื่อให้ได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนว่าลูกค้ายินดีจะจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรเครดิตแทนหน่วยราชการ
(1.2) ค่าบริการที่ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บต้องอยู่ในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ของจํานวนเงินภามีอากรและค่าธรรมเนียมที่ชําระผ่านบัตรเครดิต
(2) เป็นค่าใช้จ่ายที่ทําให้ต้นทุนในการดําเนินงานของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการแก่ลูกค้า หรือการติดตามทวงถามลูกหนี้ที่ผิดนัดชําระหนี้แต่ละรายเฉพาะเจาะจง
(3) เป็นค่าใช้จ่ายที่ธนาคารพาณิชย์ต้องจ่ายให้แก่บุคคลอื่น หรือหน่วยงานภายนอก โดยมีหลักฐานการชําระเงินที่สามารถตรวจสอบได้และเป็นจํานวนที่พอสมควรแก่เหตุ โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกิดขึ้นเป็นประจําอยู่แล้วของกิจการ เช่น ค่าใช้จ่ายระบบติดตามหนี้อัตโนมัติ ค่าน้ําค่าไฟ หรือเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บค่าบริการรายการเดียวกันจากค่าใช้จ่ายทั้งสองประเภทตาม 5.2.3 (2) และ 5.2.3 (3) ซ้ําซ้อนกันไม่ได้
5.2.4 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ จากผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคนอกเหนือจากรายการตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตาม 5.2.3 ธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน
5.3 การเปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ
5.3.1 ในเรื่องการประกาศกําหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย และค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ปิดประกาศตารางแนบท้ายประกาศนี้ ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานทุกแห่ง ภายในวันเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศหรือเปลี่ยนแปลงประกาศ
(2) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าว หรือเงื่อนไขใด ๆ ต้องแจ้งให้ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคทราบล่วงหน้าก่อนวันที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 30 วัน
5.3.2 แจ้งรายละเอียดตาม 5.3.1 (1) ให้ผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคที่ประสงค์จะขอมีบัตรเครดิตทราบ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาขอมีบัตรเครดิต
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,014 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 85/2551 เรื่อง การผ่อนผันหลักเกณฑ์การกำกับการทำธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 85/2551
เรื่อง การผ่อนผันหลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่
หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending)
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ด้วยขณะนี้ยังเป็นช่วงเปลี่ยนต่อระหว่างพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 กับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กรอบและข้อจํากัดในเรื่องธุรกรรมของสถาบันการเงินกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) และในเรื่องหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ได้เปลี่ยนแปลงไป ทําให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติต่อระบบสถาบันการเงินอยู่บ้าง ในส่วนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้นเดิมตั้งแต่ปี 2540 (ตามหนังสือที่ ธปท.งก. 32/2540 เรื่อง การผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ ลงวันที่ 6 มกราคม 2540) ได้เปิดให้สามารถให้สินเชื่อกับสถาบันการเงินด้วยกันได้ถึงร้อยละ 60 ของเงินกองทุนด้วยเหตุที่จะเปิดโอกาสให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามารถให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงินไทยได้มากขึ้น และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเองก็จะได้สามารถปิดความเสี่ยงของตนเองกับธนาคารพาณิชย์แม่หรือสถาบันการเงินอื่นในต่างประเทศได้ซึ่งเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงออกไปจากระบบในประเทศไทยได้ระดับหนึ่งอีกทั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเองก็ไม่ได้รับฝากเงินจากประชาชนคนไทยในอัตราส่วนที่สูง เพราะได้รับอนุญาตให้มีสาขาเพียงสาขาเดียวในประเทศไทย แหล่งที่มาของเงินทุนจึงมาจากการกู้ยืมธนาคารพาณิชย์แม่หรือเงินฝากของบริษัทที่เป็นลูกของบริษัทต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่มาบัดนี้ มีการตรากฎหมายฉบับใหม่ขึ้นใช้บังคับซึ่งมีกรอบเปลี่ยนไปแต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายเดิมที่มีอยู่ จึงมีความจําเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนกรอบและข้อจํากัดเกี่ยวกับเรื่องนี้
ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น ก็จะมีประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติในรูปลักษณะอื่นโดยเหตุที่ว่ากฎเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) กําลังอยู่ในระหว่างเริ่มต้นใช้บังคับ กรอบและข้อจํากัดสําหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องตลอดจนกรอบและข้อจํากัดสําหรับลูกหนี้รายใหญ่แม้จะมีประเด็นปัญหาอยู่บ้างแต่ก็ไม่เหมือนกับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นประเด็นปลีกย่อยจึงกําหนดเกณฑ์ที่เปิดไว้ให้ธนาคารพาณิชย์ไทยแต่ละแห่งมาขอผ่อนผันเป็นรายกรณีเป็นหลัก นอกจากนี้เกณฑ์ดังกล่าวยังได้ครอบคลุมถึงสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเละธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Subsidiary) อีกด้วย
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 และ 50 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการผ่อนผันหลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending)
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
4.1 ในประกาศฉบับนี้
4.1.1 คําจํากัดความของนิยามดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามมาตรา 4 และมาตรา 49 วรรค 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ตามเอกสารแนบ 1
(1) การให้สินเชื่อ
(2) ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ
(3) สถาบันการเงิน
(4) บริษัท
(5) บริษัทแม่
(6) บริษัทลูก
(7) บริษัทร่วม
(8) ผู้มีอํานาจในการจัดการ
(9) ผู้ที่เกี่ยวข้อง
(10) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
(11) กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
4.1.2 "เงินกองทุน" หมายถึง เงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ สําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สําหรับบริษัทเงินทุน หรือสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี
4.2 หลักเกณฑ์
ด้วยกรณีมีเหตุสมควรดังกล่าวมาข้างต้น จึงกําหนดอัตราขั้นสูงในการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องให้เกินกว่าร้อยละ 5 ของเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 วรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) กรณีของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (Subsidiary)
(1.1) กรณีที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถึงหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผล ประโยชน์เกี่ยวข้องเป็นสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดอัตราขั้นสูงในการที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องทุกรายรวมกันอยู่ภายในอัตราส่วนดังต่อไปนี้แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า
(1.1.1) ไม่เกินร้อยละ 60 ของเงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ แล้วแต่กรณีสําหรับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Parties) ทุกรายรวมกัน โดยสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องมีการทําธุรกรรมดังกล่าวกับ Related Parties ที่เป็นสถาบันการเงินด้วย ซึ่งในจํานวนนี้หากมีการทําธุรกรรมกับ Related Parties ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องมีปริมาณธุรกรรมที่ทํากับ Related Parties ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินทุกรายรวมกันไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
(1.1.2) ไม่เกินร้อยละ 25 ของหนี้สินทั้งหมดของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
(1.2) กรณีที่ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องเป็นสถาบันการเงิน
(1.2.1) ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สําหรับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องทุกรายรวมกัน
(1.2.2) ไม่เกินร้อยละ 25 ของหนี้สินทั้งหมดของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใดตาม (1.1) หรือ (1.2) ให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกรรมที่เกินกว่าอัตราที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) ดังกล่าวให้สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบตามแบบรายงานในเอกสารแนบ 2 ทุกสิ้นไตรมาสที่มีรายการ
(2) กรณีของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
หากมีข้อติดขัดในการดําเนินธุรกิจด้วยเหตุจากกรอบและข้อจํากัดในเรื่องการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) และในเรื่องหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) โดยมีเหตุผลอันสมควร สถาบันการเงินอาจขอผ่อนผันมายังธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาผ่อนผันตามความจําเป็นและเหมาะสม เช่น
(2.1) ในกรณีที่เดิมสถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้หลายรายซึ่งแต่ละรายไม่เกินกรอบและข้อจํากัด แต่ต่อมาลูกหนี้ได้ควบรวมกัน และเมื่อนับสินเชื่อรวมกันแล้วเกินกรอบและข้อจํากัดที่มีอยู่ตามแต่กรณี
(2.2) การให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 36/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 ข้อ 5.2.2(5) วรรคสอง
(2.3) การบริหารความเสี่ยงโดยการถ่ายโอนความเสี่ยงไปยังสถาบันการเงินแม่รวมถึงบริษัทที่อยู่ในเครือเดียวกันในต่างประเทศ
(2.4) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสถาบันการเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่เป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยรวมซึ่งมีฐานะใกล้เคียงกับส่วนราชการ ไม่ใช่องค์กรที่มุ่งแสวงหากําไรเป็นหลัก และไม่ใช่องค์กรที่มีเจ้าของเป็นเอกชนเพื่อการค้า เช่น สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขให้สถาบันการเงินต้องปฏิบัติประกอบการผ่อนผันด้วยก็ได้
อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,015 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3672 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินสเตียเรต | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3672 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อิริโทรไมซินสเตียเรต
-----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินสเตียเรต มาตรฐานเลขที่ มอก. 1206 - 2536
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1945 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินสเตียเรต ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินสเตียเรต มาตรฐานเลขที่ มอก. 1206 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,016 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 86/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 86/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.111/14/51 | 70,000 | 6 พฤศจิกายน 2551 | 10/11/51 – 24/11/51 | 14 |
| พ.112/14/51 | 70,000 | 7 พฤศจิกายน 2551 | 11/11/51 – 25/11/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,017 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 87/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 87/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
---------------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สําคัญของระบบสถาบันการเงินจะต้องมีความมั่นคง รวมถึงสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ และ ผู้ลงทุน โดยต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีและเหมาะสมกับความซับซ้อนและระดับความเสี่ยงของตนเอง ภายใต้ระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี ธนาคารพาณิชย์จะต้องดํารงเงินกองทุนมากเพียงพอที่จะรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งเกินกว่าระดับที่คาดไว้ (Unexpected loss)
ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี รวมถึงกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าวธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับนี้ รวมถึงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ International Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive Version : June 2006) (หลักเกณฑ์ Basel II) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ซึ่งพัฒนามาจาก The 1988 Basel Capital Accord and the 1998 Amendment to the Capital Accord (หลักเกณฑ์ Basel I) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้อ้างอิงในการกํากับดูแลเงินกองทุนตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา
ประกาศฉบับนี้กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามวิธีการประเมินระดับความเสี่ยงที่ซับซ้อนขึ้น สามารถสะท้อนความเสี่ยงได้ดีขึ้น และครอบคลุมความเสี่ยงมากขึ้นกว่าหลักเกณฑ์ Basel I รวมทั้งกําหนดแนวทางการให้ธนาคารพาณิชย์ประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนตามลักษณะความเสี่ยงของตนเอง นอกจากนี้ ยังกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของตนเองเพื่อให้มีความโปร่งใสและส่งเสริมธรรมาภิบาลในการกํากับดูแล
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ให้ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
-
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
"ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
"สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ" หมายความว่า สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
5.2 หลักการ
หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ตามประกาศฉบับนี้ประกอบด้วย 3 หลักการตามหลักเกณฑ์ Basel II ดังนี้
หลักการที่1 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Pilar 1: Minimum Capital Requirement)
หลักการที่ 1 เป็นหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงมาจากหลักเกณฑ์ Basel I โดยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงที่สําคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market risk) และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk) ซึ่งเป็นความเสี่ยงประเภทใหม่ที่กําหนดเพิ่มเติมให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํารองรับ
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ Basel II ได้ปรับปรุงวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านต่าง ๆ ให้มีความซับซ้อนขึ้นและสามารถสะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริงได้ดีขึ้น รวมทั้งมีทางเลือกสําหรับวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านต่าง ๆ ให้ธนาคารพาณิชย์เลือกตามความเหมาะสมโดยพิจารณาจากความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ ระดับความเสี่ยง รวมทั้งระบบการบริหารความเสี่ยงของตนเอง
หลักการที่ 2 การกํากับดูแลโดยทางการ (Pillar 2: Supervisory Review Process)
หลักการที่ 2 ระบุให้ธนาคารพาณิชย์ควรมีเงินกองทุนสูงกว่าเงินกองทุนขั้นต่ําตามหลักการที่ 1 เพื่อรองรับความเสี่ยงที่ไม่ครอบคลุมในหลักการที่ 1 เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร และความเสี่ยงในการกระจุกตัวของลูกหนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ หลักการที่ 2 ยังกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนโดยคํานึงถึงความเสี่ยงทุกด้านของตนเองและมีการทดสอบภาวะวิกฤตที่เหมาะสม
ในด้านของผู้กํากับดูแล หลักการที่ 2 ระบุว่าผู้กํากับดูแลมีหน้าที่ต้องตรวจสอบติดตาม และประเมินระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง ตลอดจนต้องดําเนินมาตรการกับธนาคารพาณิชย์ที่มีปัญหาอย่างเหมาะสมและทันกาล
หลักการที่ 3 การใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Pillar 3: Market Discipline)
หลักการที่ 3 มีวัตถุประสงค์ให้ใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล เพื่อเสริมการกํากับดูแลตามหลักการที่ 1 และ 2 โดยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ระดับความเสี่ยงและระบบการบริหารความเสี่ยงของตนเอง เพื่อให้บุคคลภายนอกหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาด เช่น ผู้ลงทุน คู่ค้า และผู้ฝากเงิน เป็นต้น สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นกลไกตลาดที่สําคัญในการผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี นอกเหนือจากการควบคุมภายในของธนาคารพาณิชย์เองและการกํากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้เป็นประกาศหลักในชุดประกาศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel II ซึ่งระบุข้อกําหนดหลักที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องถือปฏิบัติและในการปฏิบัติตามข้อกําหนดหลักต่าง ๆ นั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องอ้างอิงรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ในประกาศย่อย ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardized Approach (วิธี SA)
4. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
5. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
6. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด
7. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์
8. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
9. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
10. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
11. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกํากับดูแลเงินกองทุน โดยทางการ
12. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
5.3 หลักการที่ 1 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Pillar 1: Minimum Capital Requirement)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําโดยใช้อัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นและสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น โดยเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ อัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นต้องไม่ต่ํากว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่กําหนด ดังนี้
เงินกองทุนทั้งสิ้น
≥อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ํา
สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําตามข้อ 5.3.1 องค์ประกอบของเงินกองทุนทั้งสิ้นตามข้อ 5.3.2 และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ซึ่งประกอบด้วย สินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามข้อ 5.3.3
5.3.1 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา
(1) ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําทั้งสิ้นเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.25 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ทั้งนี้เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจํานวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการคํานวณอัตราส่วนดังกล่าวให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใช้ยอดรวมของทุกสํานักงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ และใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่คํานวณ
อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามวรรคหนึ่งใช้เฉพาะสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศเท่านั้น ส่วนอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม
(2) สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําทั้งสิ้นเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5
5.3.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน
(1) ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ให้เงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศมีองค์ประกอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งกําหนดให้เงินกองทุนทั้งสิ้นประกอบด้วยเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) เงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2) และรายการหักจากเงินกองทุน
(2) สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ให้เงินกองทุนทั้งสิ้นของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีองค์ประกอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ซึ่งกําหนดให้เงินกองทุนประกอบด้วยสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องดํารงตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และรายการหักจากเงินกองทุน
5.3.3 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง
ให้สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์เท่ากับผลรวมของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยอ้างอิงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแต่ละด้าน ดังนี้
(1) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตทั้งสิ้นตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตทั้งสิ้นจะครอบคลุมทั้งความเสี่ยงด้านเครดิตรวมถึงความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา (Counterparty credit risk) ของฐานะต่างๆตามรายการดังต่อไปนี้
ก. สินทรัพย์และรายการนอกงบดุล'ทุกรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book) ยกเว้นรายการที่ได้หักออกจากเงินกองทุนแล้ว
ข. รายการนอกงบดุลประเภทสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด (OTC derivatives) อนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) และ Repo-style transaction สําหรับรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า (Trading book) ซึ่งต้องนํามาคํานวณความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา(Counterparty credit risk)
ค. ฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsettled transaction)
ง. สินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทุกรายการในบัญชีเพื่อการค้าที่อยู่ในระดับที่ไม่มีนัยสําคัญตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องนํามาคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
จ. ฐานะที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization)
ฉ. รายการอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดต่อไป
(1.1) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับรายการต่าง ๆ ยกเว้นฐานะที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation)
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ 2 วิธี ได้แก่ Standardised Approach (วิธี SA) และ Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
(1.1.1) Standardised Approach วิธี SA)
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี SA ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA)
การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA มีวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงเหมือนกับหลักเกณฑ์ Basel I กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์จะต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงโดยใช้น้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประเภทของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล อย่างไรก็ตาม วิธี SA จะกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงที่ละเอียดมากขึ้นกว่าหลักเกณฑ์ Basel I โดยนอกจากจะพิจารณาน้ําหนักความเสี่ยงตามประเภทสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลแล้ว ยังพิจารณาคุณภาพจากอันดับเครดิตที่ได้รับจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกอีกด้วย ทําให้วิธี SA สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารพาณิชย์ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้โดยใช้หลักประกันทางการเงิน(Financial collateral) การหักกลบหนี้ในงบดุล (On-balance sheet netting) และการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (Guarantee and credit derivatives) ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในแต่ละเรื่องด้วย
ทั้งนี้ สําหรับรายการนอกงบดุลประเภทสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา (Counterparty credit risk-weighted asset) โดยปฏิบัติตามวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด ซึ่งสามารถสรุปหลักการที่สําคัญได้ตามข้อ 5.3.3 (1.1.3)
นอกจากนี้ ภายใต้การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ธนาคารพาณิชย์จะต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครคิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsuited transaction) ด้วย โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสามารถสรุปหลักการที่สําคัญได้ตามข้อ 5.3.3 (1.14)
อนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถเลือกใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเดรดิตแบบ Simplified Standardized Approach วิธี SSA) เป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการคํานวณเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านเครดิตได้ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยมีขอบเขตการทําธุรกรรมที่จํากัดและซับซ้อนน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
(1.1.2) Internal Ratings-Based Approach วิธี IRB)
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี IRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) โดยธนาคารพาณิชย์สามารถใช้วิธี SA กับฐานะที่ไม่มีนัยสําคัญได้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในประกาศฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี IRB จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน รวมถึงจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย
การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB เป็นวิธีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสะท้อนความเสี่ยงได้ดีกว่าวิธี SA โดยวิธี IRB นี้กําหนด ธนาคารพาณิชย์ใช้ข้อมูลจากระบบ Internal rating ของตนเองเป็นหลักในการคํานวณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง (Risk component) 4 ตัวแปร ได้แก่ Probability of default: PD (ค่าความน่าจะเป็นที่ลูกหนี้จะผิดนัดชําระหนี้) Loss given default: LGD (ร้อยละของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ต่อยอดหนี้) Exposure at default: EAD (ยอดหนี้หรือประมาณการยอดหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ และ Effective maturity: M (ระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือของหนี้ จากนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์แทนค่าองค์ประกอบความเสี่ยงทั้ง 4 ตัวแปรนี้ลงในสูตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อคํานวณหา (1) ค่าความเสียหายที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้ (Unexpected loss: UL) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําค่า UL ที่คํานวณได้มาคํานวณหามูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และ (2) ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss: EL) โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อนําค่า EL ที่คํานวณได้ไปเปรียบเทียบกับเงินสํารองทั้งหมดที่ธนาคารพาณิชย์กันไว้ (Total eligible provision) ซึ่งหากมีส่วนต่างเกิดขึ้น ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
วิธี IRB แบ่งออกเป็น 2 วิธีย่อย สําหรับให้ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้ ได้แก่
ก. Foundation Internal Ratings-Based Approach วิธีFRB) คือ วิธีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องประมาณค่า PD เอง แต่ค่าองค์ประกอบความเสี่ยงอื่นให้ใช้ค่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ข. Advanced Internal Ratings-Based Approach (วิธี AIRB) คือ วิธีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยงทั้ง 4 ตัวแปรเอง
ทั้งนี้ สําหรับรายการนอกงบดุลประเภทสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา (Counterparty credit risk-weighted asse:) โดยปฏิบัติตามวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด ซึ่งสามารถสรุปหลักการที่สําคัญได้ตามข้อ 5.3.3 (1.1.3)
นอกจากนี้ ภายใต้การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ธนาคารพาณิชย์จะต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsuited transaction) ด้วย โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสามารถสรุปหลักการที่สําคัญได้ตามข้อ 5.3.3 (1.1.4)
(1.1.3) หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับรายการนอกงบดุลประเภทสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด (OT C derivatives)
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับรายการนอกงบดุลประเภทสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด (OIC derivatives) ได้ 2 วิธี คือ
ก. Original exposure method (วิธี OEM) เป็นวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยนําจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) หรือ Effective notional amount คูณด้วยค่าแปลงสภาพที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยพิจารณาตามประเภทและอายุของสัญญา แต่ไม่ได้พิจารณาถึงมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันหรือมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
ข. Current exposure method (วิธี CEM) เป็นวิธีการ คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยพิจารณาจากมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันและมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมด้วย
(1.1.4) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsuited transaction)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับการทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน และสินค้าโภคภัณฑ์ที่การชําระราคาหรือการส่งมอบยังไม่เสร็จสิ้น โดยวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตขึ้นอยู่กับวิธีการชําระราคาและการส่งมอบของธุรกรรมนั้น ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ก. ธุรกรรมที่มีการชําระราคาและการส่งมอบผ่านระบบ Delivery versus payment (ธุรกรรม DVP) ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะมีความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาจากส่วนต่างของมูลค่าธุรกรรมที่ได้ตกลงไว้เพื่อชําระราคาและส่งมอบ กับมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (Positive current exposure: PCE)
ข. ธุรกรรมที่ไม่มีการชําระราคาและการส่งมอบผ่านระบบ DvP (ธุรกรรม Non-DvP) ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะมีความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาจากจํานวนของเงินสด หรือหลักทรัพย์ที่ได้ส่งมอบไปแล้ว
(1.2) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securisation) ตามหลักเกณฑ์ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(2) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ซึ่งกําหนดวิธีการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด โดยธนาคพาณิชย์ต้องนําจํานวนเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณได้นั้นคูณด้วย 12.5 เพื่อให้ได้ผลลัพธ์กลับมาเป็นสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และเพื่อให้สามารถนําไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ในการคิดอัตราส่วน
เงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นต่อไป
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด คือ ธนาคารพาณิชย์ที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้านี้ หมายถึง ฐานะในบัญชีเพื่อการค้าที่อยู่ในงบดุล ฐานะอนุพันธ์ทางการเงินในบัญชีเพื่อการค้า และฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับ
ก. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า
ข. ความเสี่ยงด้านราดาตราสารทุนจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า
ค. ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากฐานะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ
ง. ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากฐานะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาดสําหรับฐานะในข้อ ง. และฐานะ Credit derivatives ที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า รวมทั้งต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะทุกฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าด้วย
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดได้ 3 วิธี ได้แก่
(2.1) วิธีมาตรฐาน
เงินกองทุนที่ต้องดํารงตามวิธีนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่าของฐานะที่ธนาคารพาณิชย์ถือครองอยู่และน้ําหนักเงินกองทุนที่แบ่งตามปัจจัยความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กําหนดน้ําหนักเงินกองทุน (Capital charge) เพื่อรองรับความเสี่ยงแต่ละประเภทแยกกันทั้งในส่วนของ General market risk และ Specific risk โดยไม่มีการพิจารณาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างปัจจัยความเสี่ยง
(2.2) วิธีแบบจําลอง
เงินกองทุนที่ต้องดํารงตามวิธีนี้จะเป็นอัตราส่วนกับค่า VaR ที่ธนาคารพาณิชย์คํานวณขึ้นจากฐานะที่ธนาคารพาณิชย์ถือครองอยู่ โดยใช้แบบจําลองที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยสําหรับใช้ในการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณตามแนวทางที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(2.3) วิธีผสมระหว่างวิธีมาตรฐานและวิธีแบบจําลอง
ธนาคารพาณิชย์สามารถคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีผสมระหว่างวิธีมาตรฐานกับวิธีแบบจําลองได้ สําหรับความเสี่ยงด้านตลาดในแต่ละองค์ประกอบ
(3) การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการได้ 2 วิธี ได้แก่ Basic Indicator Approach (วิธี BIA) และ Standardized Approach (วิธี SA-OR)
การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี BIA และวิธี SA-OR มีดังนี้
(3.1) Basic Indicator Approach (วิธี BIA)
วิธี BIA เป็นวิธีง่ายที่สุดในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยใช้รายได้จากการดําเนินงานรวมของธนาคารพาณิชย์ (Gross income) ซึ่งรวมทั้งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ เป็น Proxy ในการคํานวณ
(3.2) Standardized Approach วิธี SA-OR)
วิธี SA-OR กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการจาก Proxy เช่นเดียวกับวิธี BIA แต่จะสะท้อนความเสี่ยงได้ดีกว่าเนื่องจากธนาคารพาณิชย์จะต้องประเมินระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วย Proxy แยกตามสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้ Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ซึ่งเป็นทางเลือกภายใต้วิธี SA-OR ได้ โดยธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้ ยอดคงค้างเป็น Proxy ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจ Commercial banking และ Retail banking แทนการใช้รายได้จากการดําเนินงานเนื่องจากยอดคงค้างอาจเป็น Proxy ที่ดีกว่ารายได้จากการดําเนินงานในสายธุรกิจดังกล่าว
5.3.4 การรายงานข้อมูลการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา
ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําและจัดส่งข้อมูลการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามรูปแบบและรายละเอียดที่กําหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
5.4 หลักการที่ 2 การกํากับดูแลโดยทางการ (Pillar 2: Supervisory Review Process)
ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกํากับดูแลเงินกองทุนโดยทางการ (Pillar 2)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์จัดให้มีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี มีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน (Internal Capital Adequacy Assessment Process -ICAAP) ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงที่มีนัยสําคัญทุกด้านซึ่งได้แก่ ความเสี่ยงตามที่กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามหลักการที่ 1 และความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามหลักการที่ 1 ยังครอบคลุมไปไม่ถึง รวมทั้งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราขั้นต่ําตามกฎหมาย และเพียงพอที่จะรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นภายใต้ภาวะวิกฤต (Stress test) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะตรวจสอบความถูกต้องในการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนขั้นต่ําตามหลักการที่ 1 ตลอดจนประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงและกระบวนการ ICAAP ของธนาคารพาณิชย์
หากธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ใดมีข้อบกพร่องในการบริหารความเสี่ยง มีกระบวนการ ICAAP ไม่เหมาะสม หรือมีเงินกองทุนต่ํากว่าที่พึงมีเพื่อรองรับความเสี่ยงทั้งหมด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์นั้น ปรับปรุงระบบการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่มีอยู่ภายในเวลาที่เหมาะสม และในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจใช้อํานาจตามมาตรา 30 วรรคสองของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 สั่งการให้ธนาคารพาณิชย์นั้น ดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรเพื่อลดระดับความเสี่ยงลง หรือให้ดํารงเงินกองทุนสูงกว่าหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนขั้นต่ําตามหลักการที่ 1
5.5 หลักการที่ 3 การใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Pillar 3: Market Discipline)
ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลเงินกองทุนทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งได้แก่ เงินกองทุน ระดับความเสี่ยงกระบวนการประเมินความเสี่ยง และความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเปิดเผยข้อมูล การกําหนดช่องทางการเปิดเผยข้อมูล การเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญ ข้อมูลลับทางธุรกิจของธนาคารพาณิชย์และความลับของลูกค้า ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําของข้อมูลที่ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,018 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3673 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินเอสโทเลต | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3673 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อิริโทรไมซินเอสโทเลต
-----------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินเอสโทเลต มาตรฐานเลขที่ มอก. 1207 - 2536
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1946 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินเอสโทเลต ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซินเอสโทเลต มาตรฐานเลขที่ มอก. 1207 - 2549 ขึ้นใหม่ ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,019 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 42/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนสิงหาคม 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 42/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนสิงหาคม 2551
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.76/14/51 | 75,000 | 31 กรกฎาคม 2551 | 1/8/51 – 18/8/51 | 14 |
| พ.77/10/51 | 75,000 | 1 สิงหาคม 2551 | 5/8/51 – 19/8/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,020 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 43/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 43 /2551
เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing)
ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ปัจจุบันสถาบันการเงินมีความต้องการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินงาน และใช้ทรัพยากรของสถาบันการเงินที่มีอยู่จํากัดในงานหลักที่สําคัญ รวมทั้งเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของผู้ให้บริการภายนอกเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ขยายขอบเขตการอนุญาตให้สถาบันการเงินใช้บริการจากบุคคลภายนอกเพิ่มเติมจากเดิมมากขึ้นเพื่อเอื้ออํานวยให้สถาบันการเงินดําเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดประโยชน์ต่อระบบสถาบันการเงิน และผู้บริโภคโดยรวม อย่างไรก็ตามในการใช้บริการจากบุคคลภายนอก สถาบันการเงินจะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า และบุคคลภายนอกเสมือนสถาบันการเงินเป็นผู้ดําเนินการเอง
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน มารวมให้อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากหลักเกณฑ์เดิม เพียงแต่ขยายประเด็นสําคัญให้ชัดเจนขึ้น เช่น บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน การคัดเลือกผู้ให้บริการ สัญญาและข้อตกลง การประเมินและควบคุมความเสี่ยง และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นต้น
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 มาตรา 41 และ มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากบุคคลภายนอกในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นกรณีที่สถาบันการเงินประสงค์จะว่าจ้างผู้ให้บริการภายนอกทําหน้าที่ให้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing ให้เป็นไปตามประกาศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing)
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
5.1.1 "การใช้บริการจากบุคคลภายนอกของสถาบันการเงิน" (Outsourcing in Financial Services) หมายความว่า การที่สถาบันการเงินจ้างผู้ให้บริการภายนอก (Service Provider) ที่เป็นนิติบุคคลอื่นดําเนินการแทนในบางกลุ่มงานที่สถาบันการเงินต้องดําเนินการเองทั้งที่ดําเนินการอยู่ในปัจจุบันและที่จะดําเนินการในอนาคต โดยที่ผู้ให้บริการอาจอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ รวมถึงกรณีเป็นบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน สํานักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศด้วย
5.1.2 "กลุ่มงานหลักที่มีความสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน" (Material Outsourcing Activity) หมายความว่า กลุ่มงานที่มีความสําคัญและมีผลกระทบโดยตรงต่อทิศทางการดําเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ด้านการเงิน ด้านชื่อเสียง ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการจัดการภายใน หรือต้านอื่น ๆ หากงานดังกล่าวมีการหยุดชะงักลงหรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องจะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน (แนวทางการพิจารณากลุ่มงานหลักที่มีความสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน ตามเอกสารแนบ 2) เช่น งานรับฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงินรับชําระหนี้ งานอนุมัติสินเชื่อ หรืองานหลักที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว เป็นต้น (ตัวอย่างกลุ่มงานหลักที่มีความสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน ตามเอกสารแนบ 3)
5.1.3 "กลุ่มงานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงิน" (Non-Material Outsourcing Activity) หมายความว่า กลุ่มงานที่ปฏิบัติการสนับสนุนธุรกิจหลักของสถาบันการเงินหรือเอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานปกติของสถาบันการเงิน เช่น งานลูกค้าสัมพันธ์ งานบริหารบุคลากร (ตัวอย่างกลุ่มงานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงิน ตามเอกสารแนบ 4)
5.1.4 "กลุ่มงานที่ไม่ถือเป็นการใช้บริการจากบุคคลภายนอก" (Non Outsourcing Activity) หมายความว่า กลุ่มงานที่โดยปกติบุคคลภายนอกเป็นผู้ดําเนินการให้อยู่แล้วซึ่งไม่เข้าข่ายเป็นการใช้บริการจากบุคคลภายนอก รวมไปถึงกลุ่มงานบริการอํานวยความสะดวกทั่วไปที่มีความเสี่ยงต่ํา เช่น สาธารณูปโภคพื้นฐาน บริการข้อมูลตลาดการเงิน เช่น Bloomberg (ตัวอย่างกลุ่มงานที่ไม่ถือเป็นการใช้บริการจากบุคคลภายนอก ตามเอกสารแนบ 5)
5.2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากบุคคลภายนอก
5.2.1 กลุ่มงานหลักที่มีความสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินต้องจัดการดําเนินงานสําหรับกลุ่มงานหลักเอง ยกเว้นกลุ่มงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์เป็นการทั่วไปดังต่อไปนี้ โยนให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลการใช้บริการจากบุคคลภายนอกตามข้อ 5.3 และหลักเกณฑ์เฉพาะเรื่องดังนี้
(1) สําหรับธนาคารพาณิชย์
(1.1) หลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนรับฝากเงินและถอนเงินของธนาคารพาณิชย์ (ตามเอกสารแนบ 6)
(1.2) หลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนรับชําระสินเชื่อ รับชําระค่าใช้จ่ายตามบัตรเครดิต และการแต่งตั้งตัวแทนบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารพาณิชย์ (ตามเอกสารแนบ 7)
(1.3) หลักเกณฑ์การแต่งตั้งธนาคารพาณิชย์อื่นเป็นตัวแทนจ่ายเงิน (Paying Agents) ของธนาคารพาณิชย์ (ตามเอกสารแนบ 8)
(2) สําหรับบริษัทเงินทุน
(2.1) หลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนรับฝากเงิน การแต่งตั้งตัวแทนรับชําระสินเชื่อ และการแต่งตั้งตัวแทนบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบริษัทเงินทุน (ตามเอกสารแนบ 9)
(3) สําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(3.1) หลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (ตามเอกสารแนบ 10)
ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินต้องการใช้บริการบุคคลภายนอกสําหรับกลุ่มงานหลักนอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้อ 5.2.1 (1) 5.2.1 (2) และ 5.2.1 (3) ให้ขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมตามความเหมาะสมด้วยก็ได้
ยกเว้น กรณีที่สถาบันการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ใช้บริการจากบุคคลภายนอกในกลุ่มงานใดเป็นรายกรณีก่อนประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ดําเนินการต่อไปใด้โดยไม่ต้องยื่นขอความเห็นชอบใหม่อีกครั้งและให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในแต่ละกรณีนั้น ๆ รวมทั้งเมื่อต่ออายุสัญญาเก่าหรือทําสัญญาใหม่ขอให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลการใช้บริการจากบุคคลภายนอกตามข้อ 5.3 ด้วย
5.2.2 กลุ่มงานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินสามารถดําเนินการว่าจ้างบุคคลภายนอกสําหรับกลุ่มงานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงินได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลการใช้บริการจากบุคคลภายนอกตามข้อ 5.3
5.2.3 กลุ่มงานที่ไม่ถือเป็นการใช้บริการจากบุคคลภายนอก
สถาบันการเงินสามารถว่าจ้างหรือใช้บริการจากบุคคลภายนอกสําหรับกลุ่มงานที่ไม่ถือเป็นการใช้บริการจากบุคคลภายนอกได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน และไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลการใช้บริการจากบุคคลภายนอกตามข้อ 5.3 ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องกําหนดหลักเกณฑ์สําหรับดูแลผู้ให้บริการภายนอกในกลุ่มงานนี้เอง
(รูปภาพตามไฟล์แนบ)
5.3 หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (General Guideline on Outsourcing)
5.3.1 บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน
คณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย ต้องกําหนดนโยบายการใช้บริการจากบุคคลภายนอกที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนรวมถึงการทบทวนความมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมของนโยบายดังกล่าวเป็นระยะ ๆ และต้องดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องจัดทําโดยพิจารณาให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญในการใช้บริการจากบุคคลภายนอกทั้งกระบวนการ อาทิ
(1) ขอบเขตและลักษณะของงานที่จะใช้บริการจากบุคคลภายนอก
(2) หลักเกณฑ์การคัดเลือก คุณสมบัติขั้นต่ําของผู้ให้บริการ และกระบวนการว่าจ้าง
(3) การบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
(4) การควบคุมภายใน
(5) การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของสถาบันการเงินและข้อมูลของลูกค้า
(6) การกําหนดแผนฉุกเฉินของสถาบันการเงิน เพื่อรองรับกรณีงานที่ใช้บริการจากบุคคลภายนอกมีปัญหาหยุดชะงักลงและไม่สามารถให้บริการ ได้อย่างต่อเนื่อง
(7) การบริหารจัดการในช่วงการเปลี่ยนแปลงจากการดําเนินการเองมาเป็นการใช้บริการจากบุคคลภายนอก รวมทั้งกรณีที่จะเลิกใช้บริการจากผู้ให้บริการนั้น
(8) ขอบเขตความรับผิดชอบของฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง
5.3.2 ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
สถาบันการเงินพึงตระหนักเสมอว่า การใช้บริการจากบุคคลภายนอกเป็นเพียงการเปลี่ยนตัวผู้ดําเนินการเท่านั้น สถาบันการเงินยังคงมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าเสมือนหนึ่งสถาบันการเงินเป็นผู้ดําเนินการเอง การใช้บริการจากบุคคลภายนอกจะต้องไม่ทําให้คุณภาพของบริการที่ลูกค้าได้รับด้อยลงหรือผลักภาระค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกิดขึ้นเป็นประจําอยู่แล้วของสถาบันการเงินไปให้แก่ลูกค้า ตลอดจนการใช้บริการดังกล่าวต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทางการ
5.3.3 การคัดเลือกผู้ให้บริการ
การคัดเลือกผู้ให้บริการ ก่อนที่จะทําสัญญาใหม่หรือทบทวนสัญญาเก่าสถาบันการเงินจะต้องกําหนดแนวทางการคัดเลือกผู้ให้บริการอย่างเหมาะสม โดยต้องพิจารณาให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ความสามารถทางด้านเทคนิค ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการดําเนินการ
(2) สถานะความมั่นคงทางการเงิน
(3) ชื่อเสียงทางธุรกิจ ประวัติการถูกร้องเรียนหรือถูกฟ้องร้องคดี
(4) วัฒนธรรมองค์กรและนโยบายการให้บริการที่มีความเหมาะสมกับสถาบันการเงิน
(5) ความสามารถในการปรับตัวตอบสนองพัฒนาการใหม่ ๆ
(6) ความเสี่ยงในกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกให้บริการแก่หลายสถาบันการเงิน (Concentration Risk)
(7) กําหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการพิจารณาการใช้บริการจากบุคคลภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง
(8) ทําการทบทวนผู้ให้บริการเป็นระยะตามความเหมาะสมของกลุ่มงาน
5.3.4 สัญญาและข้อตกลง
สถาบันการเงินต้องทําสัญญาและข้อตกลงกับผู้ให้บริการจากบุคคลภายนอกที่เป็นลายลักษณ์อักษร โคยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยต่อไปนี้
(1) กําหนดรายละเอียดประเภทของการใช้บริการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การบริหารความเสี่ยง ระบบควบคุมภายใน ระบบรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและทรัพย์สินของสถาบันการเงิน
(2) ข้อตกลงการให้บริการ (Service Level Agreement) เพื่อกําหนดเป็นมาตรฐานการให้บริการขั้นต่ําที่ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติ
(3) แผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan) ของผู้ให้บริการ เพื่อรองรับกรณีงานที่ใช้บริการจากบุคคลภายนอกมีปัญหาหยุดชะงักลง และไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
(4) ขั้นตอนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการ
(5) การกําหนดค่าบริการระหว่างคู่สัญญา
(6) ข้อกําหนด และเงื่อนไขการยกเลิกสัญญา
(7) ขอบเขตความรับผิดชอบของคู่สัญญาในกรณีการให้บริการเกิดปัญหาขัดข้อง เช่น การบริการล่าช้า และความผิดพลาดในการให้บริการ เป็นต้น ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หรือการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
(8) การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความลับ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าและข้อมูลสถาบันการเงิน รวมถึงสิทธิการเข้าถึง และความเป็นเจ้าของข้อมูล
(9) เงื่อนไขอื่น ๆ เช่น การทําสัญญาช่วง (Subcontract) ให้กับผู้ให้บริการรายอื่น การประกันภัย และการใช้บริการจากผู้ให้บริการที่อยู่ในต่างประเทศ เป็นต้น
(10) ต้องไม่ปิดกั้นหรือห้ามผู้ให้บริการทําหน้าที่นี้ให้กับสถาบันการเงินอื่น
(11) ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของทางการที่เกี่ยวข้อง
(12) การให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก และเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายอื่น รวมทั้งการยินยอมให้เข้าตรวจสอบเอกสาร และข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการ ณ ที่ทําการของผู้ให้บริการ
5.3.5 การประเมินและควบคุมความเสี่ยง (Evaluation of Risks)
สถาบันการเงินต้องกําหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้บริการจากบุคคลภายนอกอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร ให้เหมาะสมกับความสําคัญของงานที่ใช้บริการ และสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวม รวมทั้งสื่อสารให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจและปฏิบัติตามแนวดังกล่าวอย่างเคร่งครัด (ตัวอย่างความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้บริการบุคคลภายนอก ตามเอกสารแนบ 11)
5.3.6 การรักษาความปลอดภัยและความลับของข้อมูล (Information Security and Confidentiality)
เนื่องจากการใช้บริการจากบุคคลภายนอกอาจต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลของลูกค้าหรือสถาบันการเงินเอง ซึ่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีข้อกําหนดให้สถาบันการเงินมีระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เหมาะสม เช่น
(1) ระบุในสัญญาว่าจ้างถึงการห้ามผู้ให้บริการรวมทั้งพนักงานของผู้ให้บริการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าและข้อมูลสถาบันการเงิน
(2) บทลงโทษในกรณีมีการแบ่งแยกข้อมูลลูกค้าของสถาบันการเงินออกจากข้อมูลของผู้ให้บริการและข้อมูลถูกค้ารายอื่นของผู้ให้บริการ
(3) การกําหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานผู้ให้บริการ (Data Access Control)
(4) ในกรณีการสิ้นสุดหรือยกเลิกสัญญาว่าจ้างบุคคลภายนอกไม่ว่าด้วยสาเหตุใด สถาบันการเงินต้องทําลายหรือนําข้อมูลทั้งหมดของลูกค้ากลับมาจากผู้ให้บริการรายนั้น
5.3.7 การใช้บริการจากผู้ให้บริการในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน
สถาบันการเงินสามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกันได้ เช่น บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน สํานักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ โดยควรอ้างอิงมาตรฐานต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ให้บริการภายนอกรายอื่น ๆ
5.3.8 การใช้บริการจากผู้ให้บริการในต่างประเทศ
สถาบันการเงินที่ประสงค์จะใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกประเทศจะต้องคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นโยบายการต่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ โดยควรจัดทําแนวทางในการดูแลความเสี่ยงไว้ด้วยถ้าเห็นว่ามีความจําเป็น
5.3.9 การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) ของผู้ให้บริการ
สถาบันการเงินต้องระบุความสําคัญของกลุ่มงานที่ใช้บริการจากบุคคลภายนอก โดยประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของงานนั้นและกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan) พร้อมทั้งจัดสรรทรัพยากรรองรับการดําเนินงานอย่างเพียงพอ โดยอ้างอิงจากแนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย เรื่อง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) ของสถาบันการเงิน ในระดับที่สามารถที่จะกําหนดแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของสถาบันการเงินเองให้สอดคล้องกันได้
5.3.10 การตรวจสอบและรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) สถาบันการเงินต้องจัดทําสรุปรายงานการใช้บริการจากบุคคลภายนอก ทั้งกลุ่มงานหลักและกลุ่มงานสนับสนุนให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน พร้อมไว้สําหรับการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(2) หากธนาคารแห่งประเทศไทยพบหรือทราบว่าการปฏิบัติของสถาบันการเงินไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ อันอาจสร้างความเสียหายให้แก่สถาบันการเงินเองหรือลูกค้าประชาชนได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้สถาบันการเงินชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงของเรื่องดังกล่าว หากธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นสมควรอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขใด ๆ ให้สถาบันการเงินนั้นปฏิบัติ หรือยกเลิกการอนุญาตก็ได้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,021 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3674 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซิน | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3674 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกและกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อิริโทรไมซิน
----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซิน มาตรฐานเลขที่ มอก. 1161-2536
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1907 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซิน ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2536 และออกประกาศกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอิริโทรไมซิน มาตรฐานเลขที่ มอก. 1161 - 2549 ดังมีรายการละเอียดต่อท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,022 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 43/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนสิงหาคม 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 43/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนสิงหาคม 2551
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอายุ 2 เดือน 1 ปี และ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ดังนี้
| | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 7/364/51 | 25,000 | 5 สิงหาคม 2551 | 7/8/51 – 6/8/52 | 364 วัน | 364 วัน |
| 4/63/51 | 25,000 | 11 สิงหาคม 2551 | 14/8/51 – 16/10/51 | 63 วัน | 63 วัน |
| 3/2ปี/2551 | 25,000 | 19 สิงหาคม 2551 | 21/8/51 – 21/8/53 | 2 ปี | 2 ปี |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/2ปี/2551 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 15 ส.ค. 2551 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่าๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 21 ส.ค. และ ก.พ. ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 21 ก.พ. 2552 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 21 ส.ค. 2553 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,023 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 44/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นสถานที่สำหรับประกอบธุรกิจ หรือสำหรับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 44 /2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจ หรือ
สําหรับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
การที่สถาบันการเงินถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจแล้ว เป็นการใช้เงินทุนที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงซึ่งมีผลกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินจึงห้ามมิให้สถาบันการเงินซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่เพื่อใช้เป็นสถานที่สําหรับการประกอบธุรกิจ หรือเป็นที่พัก หรือเพื่อสวัสดิการของพนักงานและถูกจ้างของสถาบันการเงินนั้นตามสมควร โดยต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ในการออกประกาศฉบับนี้เป็นการอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 80 (2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจ หรือสําหรับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศ หนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 หลักเกณฑ์ในการให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นสถานที่สําหรับดําเนินธุรกิจ หรือเป็นที่พัก หรือเพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ มีดังต่อไปนี้
(1) การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นที่ทําการสํานักงานใหญ่หรือศูนย์ฝึกอบรมพนักงาน หรือบ้านพักรับรอง ให้ธนาคารพาณิชย์ยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนดําเนินการ
(2) อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจฯ นอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในข้อ (1) ได้โดยมีเงื่อนไขให้ธนาคารพาณิชย์กําหนดนโยบายและขั้นตอนในการจัดซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น และให้คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์เป็นผู้อนุมัตินโยบายนั้น โดยนโยบายดังกล่าวจะต้องระบุหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพิจารณาในเรื่องขนาดและราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อ รวมทั้งจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในกรณีเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ด้วย
อนึ่ง ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะเก็งกําไร หรือไม่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติเพิ่มเติมก็ได้
5.2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเดิมใช้เป็นสถานที่สําหรับดําเนินธุรกิจหรือสําหรับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ และปัจจุบันมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว เนื่องจากการย้าย ระงับหรือยกเลิกการเปิด หรือปิดสํานักงานสาขา หรือเลิกใช้ประโยชน์ในสถานที่สําหรับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์ มีดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้ย้าย ระงับหรือยกเลิกการเปิด หรือปิดสํานักงานสาขาหรือเลิกใช้ประโยชน์ในสถานที่สําหรับพนักงานและลูกจ้าง ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2547 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยผ่อนผันเวลาการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้ถึงสิ้นปี 2549 โดยธนาคารพาณิชย์ต้องกันเงินสํารองร้อยละ 50 ของมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองภายในสิ้นปี 2549 นั้น หากธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถจําหน่ายได้ตามกําหนดเวลา ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพณิชย์ถือครองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปอีก 2 ปี เฉพาะรายที่สามารถกันเงินสํารองสําหรับอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นในอัตราร้อยละ 75 และร้อยละ 100 ของมูลค่ายุติธรรม ภายในปี 2550 และ ปี 2551 ตามลําดับ แต่ทั้งนี้ การกันสํารองดังกล่าวต้องไม่เกินมูลค่าตามบัญชีสุทธิคงเหลือของอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครอง
(2) กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้ย้าย ระงับหรือยกเลิกการเปิด หรือปิดสํานักงานสาขา หรือเลิกใช้ประโยชน์ในสถานที่สําหรับพนักงานและลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป ธนาคารพาณิชย์ต้องจําหน่ายหรือยกเลิกการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ถือครองไร้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ย้ายไปเปิดดําเนินการ ณ สํานักงานสาขาแห่งใหม่ หรือสํานักงานสาขาถาวร วันที่แจ้งยกเลิกการเปิดสาขา หรือวันที่ครบกําหนดระยะเวลาการเปิดสาขาตามที่ได้รับอนุญาต วันที่ปิดดําเนินการสํานักงานสาขา หรือวันที่เลิกใช้ประโยชน์ในสถานที่สําหรับพนักงานหรือลูกจ้าง แล้วแต่กรณี
เมื่อครบกําหนดระยะเวลา 1 ปีข้างต้น หากธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์ถือครองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวต่อไปอีก 4 ปี เฉพาะรายที่สามารถกันเงินสํารองสําหรับอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นในอัตราร้อยละ 25 ร้อยละ 50 ร้อยละ 75 และร้อยละ 100 ของมูลค่ายุติธรรม ภายในปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 ตามลําดับ แต่ทั้งนี้ การกันสํารองดังกล่าวต้องไม่เกินมูลค่าตามบัญชีสุทธิคงเหลือของอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครอง
(3) เมื่อพ้นระยะเวลาผ่อนผันการถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ (1) และข้อ (2) แล้ว หากธนาคารพณิชย์ไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้หมด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะดําเนินการเปรียบเทียบปรับหรือดําเนินการอื่นใคตามกฎหมายต่อไป
(4) ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําและเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับการจําหน่ายหรือการยกเลิกการเช่า และข้อมูลการกันเงินสํารองเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ
5.3 กรณีธนาคารพาณิชย์เช่าสถานที่เพื่อเก็บรักษาเอกสาร หรือสื่อบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือใช้เป็นสถานที่จอดรถโดยไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครอง ให้ดําเนินการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งนี้ หากมีการใช้บริการจัดเก็บและดูแลอกสาร หรือเก็บรักษาสื่อบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์จากบุคคลภายนอก ให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,024 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3675 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไนทริกสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรดทั้งหมด - วิธีไททริเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3675 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กรดไนทริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรดทั้งหมด -
วิธีไททริเมทริก
---------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไนทริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรดทั้งหมด - วิธีไททริเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1587 - 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2615 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรดไนทริกสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณความเป็นกรดทั้งหมด - วิธีไททริเมทริก ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,025 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 45/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นสถานที่สำหรับประกอบธุรกิจหรือสำหรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 45 / 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจ
หรือสําหรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ห้ามมิให้สถาบันการเงินซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่เพื่อใช้เป็นสถานที่สําหรับการประกอบธุรกิจ หรือเป็นที่พักหรือเพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างของสถาบันการเงินนั้น โดยต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย และการที่สถาบันการเงินยังคงถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการเป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจแล้ว เป็นการใช้เงินทุนที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงซึ่งมีผลกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกหลักเกณฑ์ในการซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติ
ในการออกประกาศฉบับนี้เป็นการอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 80 (2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจ หรือสําหรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
4.1 หนังสือเวียนที่ ธปท.งฟ.(ว) 2196/2537 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2537 เรื่อง การอนุญาตให้ซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อหรือสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์
4.2 หนังสือเวียนที่ ธปท.งฟ.(ว) 2261/2537 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2537 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 หลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นสถานที่สําหรับดําเนินธุรกิจ มีดังต่อไปนี้
(1) เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อหรือมีไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อ หรือสํานักงานสาขาในเขตพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
(2) ขนาดที่ดินที่บริษัทเงินทุนจะซื้อหรือมีไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งสํานักงานอํานวยสินเชื่อ หรือสํานักงานสาขา รวมทั้งเป็นที่พักของพนักงานและลูกจ้าง มีเนื้อที่รวมกันไม่เกินสํานักงานละ 400 ตารางวา
สําหรับขนาดพื้นที่ปฏิบัติงานในอาคารที่จะปลูกสร้างใหม่ หรือซื้ออาคารพร้อมที่ดิน หรือเช่าพื้นที่ในอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดไม่เกินสํานักงานละ 500 ตารางเมตร และต้องเป็นสัดส่วนเฉพาะสํานักงานแยกต่างหากจากกิจการอื่นโดยชัดเจน
(3) จํานวนเงินลงทุนในการซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือปลูกสร้างอาคารสํานักงานใหม่หรือซื้อพื้นที่ในอาคารหรือห้องชุดในอาการชุด และรวมทั้งเป็นที่พักพนักงาน เมื่อรวมค่าตกแต่งมีมูลค่ารวมกันไม่เกินสํานักงานละ 20 ล้านบาท
ให้บริษัทเงินทุนแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยทราบพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทําสัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่าดังกล่าว
สําหรับการซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ 5.1 (1) (2) และ (3) บริษัทเงินทุนต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนดําเนินการเป็นรายกรณี
5.2 การขยายสถานที่ทําการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การเช่าเพื่อขยายพื้นที่ทําการภายในอาคารเดียวกันหรือในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารที่ทําการสํานักงานใหญ่ที่อยู่ในรัศมีไม่เกิน 200 เมตร
(2) การเช่าพื้นที่ปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ไม่ต้องติดต่อกับประชาชน
(3) การเช่าพื้นที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บเอกสาร หรือที่จอดรถโดยมีสิทธิครอบครองสถานที่นั้น
ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีหนังสือขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมเหตุผลและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีหนังสือทักท้วงภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับหนังสือขออนุญาตจากบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้บริษัทนั้นทําสัญญาเช่าสถานที่ได้ และเมื่อบริษัทได้ดําเนินการแล้วให้จัดส่งเอกสารหลักฐานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทําสัญญาเช่าดังกล่าว
5.3 กรณีบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เช่าสถานที่เพื่อเก็บรักษาเอกสารหรือสื่อบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือใช้เป็นสถานที่จอดรถโดยไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครองให้ดําเนินการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งนี้ หากมีการใช้บริการจัดเก็บและดูแลเอกสาร หรือเก็บรักษาสื่อบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์จากบุคคลภายนอก ให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,026 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 45/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนสิงหาคม 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 45/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนสิงหาคม 2551
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.78/14/51 | 80,000 | 5 สิงหาคม 2551 | 7/8/51 – 21/8/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,027 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3676 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฮาโลเจเนเทดไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของเหลวสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาความเป็นกรด - วิธีไททริเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3676 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ฮาโลเจเนเทดไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของเหลวสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาความเป็นกรด -
วิธีไททริเมทริก
-----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฮาโลเจเนเทดไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของเหลวสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาความเป็นกรด - วิธีไททริเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1808 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3029 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฮาโลเจเนเทดไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของเหลวสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาความเป็นกรด - วิธีไททริเมทริก ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,028 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สกง. 88/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนพฤศอิกายน ปี 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่สกง. 88/2551
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนพฤศอิกายน ปี 2551
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน ปี 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน ปี 2551 (รุ่นที่ 4/ 3 ปี/2551) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/3 ปี/2551 ที่จะประมูลในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 เท่ากับร้อยละ 3.4 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2551
(นางสุชาคา กิระกูล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,029 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 46/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 46 / 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ในอดีตธนาคารแห่งประเทศไทยได้เพิ่มช่องทางการระดมเงินของธนาคารพาณิชย์และเพิ่มทางเลือกในการออมเงินให้กับประชาชน โดยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ออกตั๋วแลกเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินจากประชาชนได้ และกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในเรื่องการออกตั๋วแลกเงินให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติ
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 มาตรา 41 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการออกตั๋วแลกเงินเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชนให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ออกตั๋วแลกเงินเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชน ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2549 (หนังสือเวียนที่ ฝนส. (21) ว. 115/2549 ลงวันที่ 6 กันยายน 2549)
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในการกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วแลกเงิน ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้
ทั้งนี้ ตั๋วแลกเงินที่มีการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับตัวแปรหรือมีอนุพันธ์ทางการเงินแฝงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับนี้ แต่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงและที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง จึงให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย
5.2 หลักเกณฑ์ในการกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยออกตั๋วแลกเงิน
5.2.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องออกตั๋วแลกเงินประเภทระบุชื่อผู้รับเงิน
5.2.2 ธนาคารพาณิชย์สามารถออกตั๋วแลกเงินเป็นสกุลเงินบาทเพื่อกู้ยืมเงินจากบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการทั่วไป
5.2.3 ธนาคารพาณิชย์สามารถออกตั๋วแลกเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศได้เฉพาะเพื่อกู้ยืมเงินจากบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศไทย (Non-resident)
(2) สถาบันการเงินในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485
5.2.4 การออกตั๋วแลกเงินตามข้อ 5.2.2 และ 5.2.3 จะต้องไม่ขัดกับกฎหมายประกาศ และหนังสือเวียนที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเคร่งครัด
5.2.5 ธนาคารพาณิชย์ต้องมีมาตรการป้องกันการปลอมแปลงและการแก้ไขข้อความบนตั๋วแลกเงิน ทั้งนี้ ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์ออกต้องเป็นไปตามแบบมาตรฐาน ดังนี้
(1) ใช้กระดาษสําหรับพิมพ์สิ่งพิมพ์มีค่า (Security Paper) เช่น กระดาษตามมาตรฐาน London Clearing Banks Paper Specification No.1 พร้อมทั้ง มีลายน้ํา (Watermark) ฝังอยู่ในเนื้อกระดาษ
(2) มีรายการตามที่กําหนดในมาตรา 909 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(3) มีหมายเลขอ้างอิงของตั๋วแลกเงินที่จัดพิมพ์จากโรงพิมพ์ ซึ่งเป็นหมายเลขที่เรียงลําดับติดต่อกันและต่อเนื่องจากหมายเลขในแบบพิมพ์ลักษณะเดียวกันที่ธนาคารพาณิชย์นั้นสั่งพิมพ์ในครั้งก่อน
(4) มีข้อกําหนดในตั๋วแลกเงินว่า "ไม่จําต้องมีคําคัดค้าน" หรือสํานวนอื่นในทํานองเดียวกัน
5.2.6 ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมในกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกตั๋วแลกเงิน โดยให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) การออกตั๋วแลกเงิน
(1.1) ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางราชการที่แสดงชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อตั๋วแลกเงิน รวมทั้งจัดให้มีสําเนาเอกสารหลักฐานดังกล่าว
(1.2) การออกตั๋วแลกเงินให้เป็นไปตามลําดับของหมายเลขตั๋วแลกเงินที่โรงพิมพ์ได้จัดพิมพ์ไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์อาจพิมพ์เลขที่หรือรหัสอื่นเพิ่มเติมต่างหากจากหมายเลขตั๋วแลกเงินเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงก็ได้ และหากมีการยกเลิกตั๋วแลกเงินฉบับใด ต้องประทับตรา "ยกเลิก" หน้าตั๋วแลกเงินนั้น และให้จัดเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและตรวจสอบต่อไป
(1.3) จัดทําทะเบียนควบคุมการออกตั๋วแลกเงิน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับ วันที่ออก เลขที่อ้างอิงตั๋วแลกเงิน ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อตั๋วแลกเงิน ชื่อผู้รับเงินตามตั๋วเลกเงิน สกุลเงิน จํานวนเงินที่ตราไว้ วันครบกําหนด อัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลด และ ชื่อและที่อยู่ของผู้รับเงินจากการไถ่ถอนตั๋วแลกเงิน
(1.4) จัดให้มีบัญชีคุมยอดคงเหลือของตั๋วแลกเงินที่เป็นปัจจุบัน
(2) การเก็บรักษาแบบพิมพ์ตั๋วแลกเงิน (Blank Form)
(2.1) ให้เก็บรักษาแบบพิมพ์ตั๋วแลกเงินไว้ในห้องนิรภัยหรือตู้นิรภัยภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่จัดไว้โดยเฉพาะ รวมทั้งกําหนดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเบิกแบบพิมพ์ตั๋วแลกเงินให้ชัดเจน และในการเบิกแบบพิมพ์ทุกครั้งต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดังกล่าวลงนามไว้เป็นหลักฐานร่วมกับเข้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บรักษาแบบพิมพ์
(2.2) ให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบปฏิบัติการและการควบคุมภายในที่เหมาะสมในเรื่องการเก็บรักษาแบบพิมพ์ตั๋วแลกเงิน และการจัดทําทะเบียนควบคุมแบบพิมพ์ให้เป็นปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับวันที่และจํานวนแบบพิมพ์ที่ได้รับจากโรงพิมพ์ วันที่และจํานวนที่เบิกใช้ และยอดคงเหลือ
(2.3) ให้ตรวจนับยอดคงเหลือของแบบพิมพ์ตั๋วแลกเงิน พร้อมทั้งตรวจเทียบกับทะเบียนควบคุมแบบพิมพ์อย่างน้อยเดือนละครั้ง
(3) การเปิดเผยข้อมูล
(3.1) ให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์จะจ่ายสําหรับตั๋วแลกเงินแต่ละประเภทตามอายุตั๋วแลกเงิน วงเงิน และประเภทลูกค้า รวมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกตั๋วแลกเงิน และเงื่อนไขต่าง ๆ (ถ้ามี) ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่ให้บริการ ภายในวันเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศหรือเปลี่ยนแปลงประกาศ
สาขาของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งอาจกําหนดวงเงินในการออกตั๋วแลกเงินที่แตกต่างกันเพื่อการจ่ายดอกเบี้ยหรือส่วนลดในอัตราเดียวกันกับที่สํานักงานใหญ่ประกาศสําหรับลูกค้าประเภทเดียวกัน (ถ้ามี) โดยให้สาขาของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งเป็นผู้ประกาศเอง
(3.2) เผยแพร่ประกาศอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดตามข้อ (3.1) ไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของธนาคารพาณิชย์ก่อนวันที่อัตราที่ประกาศมีผลใช้บังคับ และต้องเผยแพร่ข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้ลูกค้าเรียกดูข้อมูลได้
(3.3) ธนาคารพาณิชย์ต้องชี้แจงต่อลูกค้าเกี่ยวกับลักษณะธุรกรรมของตั๋วแลกเงินและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เช่น วิธีการโอนตั๋วแลกเงิน ความเสี่ยงกรณีลูกค้าทําตั๋วแลกเงินสูญหาย และความเสี่ยงกรณีอื่นที่อาจทําให้ลูกค้าไม่ได้รับเงินต้นหรือดอกเบี้ยครบตามจํานวน เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถประเมินความเสี่ยงในการซื้อตั๋วแลกเงินได้ รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ต้องทําความเข้าใจกับลูกค้าว่า ผู้ถือตั๋วแลกเงินนั้นมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของธนาคารพาณิชย์และตั๋วแลกเงินดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองเงินต้นและดอกเบี้ยจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
(3.4) ธนาคารพาณิชย์ต้องชี้แจงเงื่อนไขและวิธีการคํานวณและการจ่ายชําระคืนเงินต้นหรือผลตอบแทนของตั๋วแลกเงิน รวมถึง การคิดค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมในกรณีที่ลูกค้าต้องการ ไถ่ถอนตั๋วแลกเงินก่อนครบกําหนดสัญญา (ถ้ามี) ให้ลูกค้าเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนการซื้อตั๋วแลกเงิน
(3.5) ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีหลักฐานแสดงว่าลูกค้าผู้ซื้อตั๋วแลกเงินมีความเข้าใจข้อมูลตามข้อ (3.3) และ (3.4) เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้
(3.6) หลักเกณฑ์ตามข้อ (3.3) - (3.5) ข้างต้นไม่ใช้บังคับกับตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์ออกเพื่อกู้ยืมเงินจากผู้ลงทุนสถาบันที่กําหนดท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 1) และมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น
(3.7) ธนาคารพาณิชย์ต้องยืนยันความถูกต้องและแท้จริงของตั๋วแลกเงินที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกเมื่อได้รับการร้องขอ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์อาจกําหนดวิธีการและระยะเวลาในการยืนยันความถูกต้องตั๋วแลกเงินได้ โดยต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบถ่วงหน้า
(4) การจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน
(4.1) การจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินเมื่อครบกําหนด หรือการจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินที่ลูกค้าไถ่ถอนก่อนกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประทับตรา "จ่ายแล้ว" หน้าตั๋วแลกเงินดังกล่าว รวมทั้งบันทึกชื่อและที่อยู่ของผู้รับเงินจากการไถ่ถอนตั๋วแลกเงินที่ปรากฏตามหลักฐานทางราชการไว้หน้าตั๋วแลกเงินนั้น
(4.2) ในกรณีที่วันครบกําหนดชําระเงินตามตั๋วแลกเงินตรงกับวันหยุดทําการของธนาคารพาณิชย์ ให้ถือเอาวันทําการวันแรกต่อจากวันหยุดทําการนั้นเป็นวันครบกําหนดชําระเงิน ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยให้สําหรับวันหยุดทําการนั้นด้วย ตามอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงิน หรือไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่จ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ตามที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกําหนด แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า เว้นแต่ลูกค้าจะมีข้อตกลงกับธนาคารพาณิชย์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนว่าให้โอนเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากอื่นของลูกค้าตั้งแต่วันครบกําหนดจ่ายคืน
5.2.7 ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตั๋วแลกเงินต้องเสนอบริการดูแลและเก็บรักษาตั๋วแลกเงินให้กับลูกค้า โดยแยกหน่วยงานที่ดูแลและเก็บรักษาตั๋วแลกเงินดังกล่าวต่างหากจากหน่วยงานที่ออกตั๋วแลกเงินหรือหน่วยงานที่ทําการซื้อขายตั๋วแลกเงิน โดยเด็ดขาด โดยธนาคารพาณิชย์อาจทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนการโอนเปลี่ยนมือตั๋วแลกเงินซึ่งตนเองออกได้
5.2.8 ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
5.2.9 การจัดเก็บข้อมูลและการรายงาน
(1) ธนาคารพาณิชย์ที่ออกตั๋วแลกเงินต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรม ได้แก่ เลขที่อ้างอิงตั๋วแลกเงิน สาขาที่ออก วันที่ออก วันครบกําหนด ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อตั๋วแลกเงิน ชื่อผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงิน สกุลเงิน จํานวนเงินที่ตราไว้ วันครบกําหนด อัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลด รวมทั้ง ชื่อและที่อยู่ของผู้รับเงินจากการไถ่ถอนตั๋วแลกเงิน เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบหรือจัดส่งสําเนาให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ
(2) ให้ธนาคารพาณิชย์รายงานธุรกรรมการออกตั๋วแลกเงินเป็นเงินกู้ยืมในแบบรายงานทุกรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และตามแบบรายงานในเอกสารแนบ 2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ รวมถึงแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเพิ่มเติมตามความเหมาะสมต่อไป
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,030 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 89/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 89/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.114/14/51 | 70,000 | 14 พฤศจิกายน 2551 | 18/11/51 – 2/12/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,031 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 46/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนสิงหาคม 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 46/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนสิงหาคม 2551
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.79/15/51 | 75,000 | 7 สิงหาคม 2551 | 11/8/51 – 26/8/51 | 15 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,032 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 47/2551 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเรื่องบัตรเงินฝาก | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 47/2551
เรื่อง การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเรื่องบัตรเงินฝาก
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารพาณิชย์สามารถระดมเงินจากประชาชนได้หลายรูปแบบ การออกบัตรเงินฝากเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงินฝากถือเป็นการเพิ่มทางเลือกในการออมเงินให้กับประชาชนอีกทางหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการบริการทางการเงินในปัจจุบัน โดยยกเลิกข้อจํากัดต่าง ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการแก่ลูกค้าประชาชน ทําให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับปรุงการให้บริการได้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ฝากเงินมากยิ่งขึ้น
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 41 และ มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเรื่องบัตรเงินฝากตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติในเรื่องบัตรเงินฝาก ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 (หนังสือเวียนที่ ฝนส. (21) ว. 187/2549 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2549)
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ให้ธนาคารพาณิชย์ออกบัตรเงินฝาก เพื่อเป็นหลักฐานการรับฝากเงินและเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาอันกําหนดไว้ได้และให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์อื่นหรือบริษัทเงินทุนใด ๆ หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นผู้ออกเองด้วยก็ได้
ทั้งนี้ บัตรเงินฝากที่มีการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับตัวแปรหรือมีอนุพันธ์ทางการเงินแฝง ไม่ยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับนี้ แต่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงและที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง จึงให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย
5.2 ธนาคารพาณิชย์สามารถออกบัตรเงินฝากเป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินตราต่างประเทศได้ ในกรณีที่ออกเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposits) กฎหมาย ประกาศ และหนังสือเวียนที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเคร่งครัด
5.3 ธนาคารพาณิชย์ต้องมีมาตรการป้องกันการปลอมแปลงและการแก้ไขข้อความบนบัตรเงินฝาก ทั้งนี้ บัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ออกต้องเป็นไปตามแบบมาตรฐานขั้นต่ํา คือใช้กระดาษสําหรับพิมพ์สิ่งพิมพ์มีค่า (Security Paper) เช่น กระดาบตามมาตรฐาน London Clearing Banks Paper Specification No.1 พร้อมทั้ง มีลายน้ํา (Watermark) ฝังอยู่ในเนื้อกระดาษ
5.4 ระบบควบคุมภายใน
ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบการควบคุมภายในสําหรับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมบัตรเงินฝากที่เหมาะสมได้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยต้องจัดทําระเบียบการควบคุมภายในดังกล่าวให้ครบถ้วนถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ ได้ หรือต้องจัดส่งสําเนาระเบียบการควบคุมภายในให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ โดยระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องครอบคลุมวิธีการควบคุมภายใน ดังต่อไปนี้
(1) การแบ่งส่วนงานและอํานาจหน้าที่พนักงานแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องกับบัตรเงินฝาก
(2) วิธีการในการจัดพิมพ์บัตรเงินฝากและการตรวจรับ
(3) การเก็บรักษาบัตรเงินฝากที่ยังมิได้เบิกใช้ รวมทั้งที่ชํารุดและที่ขีดฆ่าหรือยกเลิกการใช้
(4) การเบิกใช้บัตรเงินฝาก
(5) การออกบัตรเงินฝาก
(6) การเก็บรักษาสําเนาบัตรเงินฝากแต่ละสําเนา
(7) การไถ่ถอนบัตรเงินฝาก
(8) การซื้อขายบัตรเงินฝากของธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นและการเก็บรักษาบัตรเงินฝากที่รับซื้อ
(9) การตรวจสอบภายในเกี่ยวกับบัตรเงินฝาก
5.5 การออกบัตรเงินฝาก
ธนาคารพาณิชย์ต้องดําเนินการ ดังนี้
(1) จดแจ้งชื่อและที่อยู่ที่แท้จริงของผู้ฝากเงินและผู้ไถ่ถอนบัตรเงินฝากไว้ในทะเบียนบัตรเงินฝาก โดยให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกําหนดให้สถาบันการเงินปฏิบัติในเรื่องการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(2) จัดทําทะเบียนบัตรเงินฝากที่ออก และ/หรือที่ซื้อขายให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้ออกบัตรเงินฝาก วันที่ออกบัตรเงินฝาก วันที่ครบกําหนดสกุลเงิน จํานวนเงินที่ตราไว้ อัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลด เงื่อนไขในการจ่ายดอกเบี้ย ชื่อและที่อยู่ของผู้ฝากเงิน ผู้ไถ่ถอน และ/หรือของผู้ซื้อผู้ขายบัตรเงินฝาก
5.6 ธนาคารพาณิชย์ต้องยืนยันความถูกต้องและแท้จริงของบัตรเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกเมื่อได้รับการร้องขอ
5.7 การเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้า
ธนาคารพาณิชย์ต้องให้ข้อมูลแก่ลูกค้า ดังนี้
(1) ในส่วนของการประกาศและการจ่ายดอกเบี้ยของบัตรเงินฝาก ให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ สําหรับธนาคารพาณิชย์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(2) ชี้แจงข้อมูลอื่นที่สําคัญให้ลูกค้าได้ทราบและเข้าใจชัดเจนก่อนรับฝากเงิน เช่น เงื่อนไขการง่ายชําระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยคิดลด ค่าใช้ง่ายอื่นของบัตรเงินฝากเป็นต้น รวมถึง เงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ย และ/หรือการไถ่ถอนบัตรเงินฝากก่อนครบกําหนด
5.8 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกบัตรเงินฝากจัดให้มีธนาคารพาณิชย์อื่นบริษัทเงินทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์รับซื้อขายบัตรเงินฝากที่ตนเป็นผู้ออก ให้ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกแจ้งชื่อสถาบันดังกล่าวให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งต้องกําหนดเงื่อนไขให้สถาบันดังกล่าวประกาศราคารับซื้อขายและรับซื้อขายตามราคาที่ประกาศนั้นเป็นทางค้าปกติ
5.9 ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการบันทึกบัญชีบัตรเงินฝากที่ออกและที่ซื้อขายให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,033 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 90/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 90/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.115/13/51 | 70,000 | 19 พฤศจิกายน 2551 | 21/11/51 – 4/12/51 | 13 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,034 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 90/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์ โดย Standardised Approach วิธี SA) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 90/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์
โดย Standardised Approach วิธี SA)
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการไม่ต่ํากว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) ฉบับนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นทางเลือกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้เหมาะสมกับความซับซ้อนของระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของตนเอง ทั้งนี้ วิธี SA ถือเป็นวิธีคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) โดยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี SA ฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อ้างอิงแนวทางจากส่วนหนึ่งของ The First Pillar – Minimum Capital Requirements ใน International Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive Version : June 2006) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS)
ธนาคารพาณิชย์จะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และ มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Standardised Approach (วิธี SA) และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
หนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(22)ว.421/2549 เรื่อง นําส่งร่างหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนตาม Basel I หลักการที่ 1 เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Final Draft) ลงวันที่ 27 มีนาคม 2549
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"ลูกหนี้" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก และรายการนอกงบดุล รวมถึงข้อผูกพันและสิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้ตามกฎหมายอื่น ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝาก ให้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีด้วย
"Specific provision" หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด ทั้งนี้ รวมถึงเงินสํารองที่กันไว้สําหรับส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาดของตราสารหนี้และตราสารทุนที่ถือไว้เพื่อค้าและเผื่อขาย และมูลค่าการด้อยค่าด้วย แต่ไม่รวมเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติที่ธนาคารพาณิชย์นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว
"ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ" หมายความว่า ลูกหนี้ที่จัดเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน
5.2 หลักการ
วิธี SA เป็นวิธีการคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ ใช้น้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งได้ปรับปรุงมาจากหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตฉบับเดิม แต่มีการแบ่งน้ําหนักความเสี่ยงที่ละเอียดมากขึ้น โดยน้ําหนักความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 1 และเอกสารแนบ 2)
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี SA ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้
5.3.1 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA
(1) สินทรัพย์ในงบดุล
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณหายอดสุทธิของสินทรัพย์โดยหักยอดสินทรัพย์แต่ละรายการด้วย Specific provision ของสินทรัพย์นั้น แล้วนํายอดสุทธิของสินทรัพย์ไปคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง โดยคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5.3.2
(2) รายการนอกงบดุลประเภทสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด (OTC derivatives)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณหามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสุทธิของรายการนอกงบดุลประเภทสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด โดยคํานวณหามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในข้อ 5.3.3 (1) จากนั้นจึงหักด้วย Specific provision ของรายการนอกงบดุลนั้น แล้วคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงโดยนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสุทธิของรายการนอกงบดุล คูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5.3.2
ทั้งนี้ สําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดประเภทอนุพันธ์ด้านเครดิตให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3
(3) รายการนอกงบดุลที่ไม่ใช่สัญญาอนุพันธ์นอกตลาด
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณหายอดสุทธิของรายการนอกงบดุล โดยหักราชการนอกงบดุลแต่ละรายการด้วย Specific provision ของรายการนอกงบดุลนั้น แล้วจึงนํายอดสุทธิของรายการนอกงบดุลไปคูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit conversion factor: CCE) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในข้อ 5.3.3 (2) เพื่อคํานวณหามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสุทธิ แล้วนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสุทธิของรายการนอกงบดุลนั้นไปคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5.3.2 เพื่อคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง
(4) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsettled transaction)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์
ในกรณีที่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SA (Credit risk mitigation : CRM) ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในข้อ 5.3.5
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกประเภท ให้ธนาคารพาณิชย์แปลงเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน
5.3.2 น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์
ให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาจัดสินทรัพย์ตามประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยจําแนกเป็น 2 กรณี (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 1) ดังนี้
(1) กรณีสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพ จําแนกเป็น 9 ประเภท ได้แก่
(1.1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล และธนาคารกลาง
(1.2) ลูกหนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
(1.3) ลูกหนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
(1.4) ลูกหนี้สถาบันการเงิน
(1.5) ลูกหนี้บริษัทหลักทรัพย์
(1.6) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชน
(1.7) ลูกหนี้รายย่อย
(1.8) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
(1.9) สินทรัพย์อื่น
ทั้งนี้ ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภท (1.1) ถึง (1.6) ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในข้อ 5.3.4
(2) กรณีลูกหนี้ด้อยคุณภาพ จําแนกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
(2.1) ลูกหนี้ด้อยคุณภาพในส่วนที่ไม่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในหลักเกณฑ์เรื่องการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 5.3.5
(2.2) ลูกหนี้ด้อยคุณภาพในส่วนที่มีหลักประกันประเภท (ก) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial real estate: CRE) (ข) อสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย (Residential real estate : RRE) และ (ค) ลูกหนี้การค้าหรือลูกหนี้การเงินของลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ (Receivable) ซึ่งไม่เข้าข่ายประเภทหลักประกันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในหลักเกณฑ์เรื่องการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 5.3.5 เป็นประกันเต็มจํานวน
(2.3) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยตามข้อ 5.3.2 (1.8) ซึ่งได้รับน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 35 และจัดเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพ
5.3.3 การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับรายการนอกงบดุล
ให้ธนาคารพาณิชย์แปลงรายการนอกงบดุลทุกรายการให้มีมูลค่าเทียบเท่าทรัพย์ในงบดุลตามวิธีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยจําแนกออกเป็น 2 ประเภท
(1) รายการนอกงบดุลประเภทสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด
ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด
(2) รายการนอกงบดุลที่ไม่ใช่สัญญาอนุพันธ์นอกตลาด
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยคูณรายการนอกงบดุลนั้นด้วยค่าเปลงสภาพ (Credit conversion factor : CCF) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2
5.3.4 อันดับเครดิต (Rating) จากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External credit assessment institutions : ECAIs)
(1) การใช้ Rating จาก E CAI เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้
ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ Rating จาก ECAIs ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ โดยให้อ้างอิงรายชื่อและการเทียบเคียง Rating จาก ECAIs กับ Rating เกรดของลูกหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดรวมทั้งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4)
(2) หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบ ECAIs และกระบวนการเทียบเคียงระหว่าง Rating และน้ําหนักความเสี่ยง (Mapping process)
ให้ธนาคารพาณิชย์และ ECAI ที่ประสงค์จะยื่นคําขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ ECAIs อ้างอิงหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบและ Mapping process ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ตามหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External credit assessment institutions: ECAIs) ตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านเครดิต โดย Standardised Approach (วิธี SA) ลงวันที่ 30 เมษายน 2550 และที่จะแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
5.3.5 การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SA
(1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
(1.1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านกฎหมาย
(1.1.1) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีเอกสารหรือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งมีผลผูกพันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น
(1.1.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการและระบบในการพิจารณาถึงเงื่อนไขด้านกฎหมาย การติดตามทบทวนว่าเอกสารหรือสัญญาดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
(1.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการในการควบคุมความเสี่ยงอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการนําวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ เช่น ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงที่เกิดจากการกักตัวของความเสี่ยงด้านเครดิต เป็นต้น
ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์ไม่ได้มีการควบคุมความเสี่ยงอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นจากการนําวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณากําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติม หรือดําเนินมาตรการต่าง ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกํากับดูแลเงินกองทุน โดยทางการ
(1.3) ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลในเรื่องการปรับลดความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
(2) ประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
การปรับลดความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์นํามาใช้ปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA มี 3 ประเภทหลัก ดังนี้
(2.1) หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral)
ธนาคารพาณิชย์สามารถนํามูลค่าหลักประกันทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตมาปรับลดยอดสินทรัพย์ก่อนนําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงิน(รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 5) โดยธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกวิธีคํานวณการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธี Simple และวิธี Comprehensive สําหรับวิธี Comprehensive ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้วิธีคํานวณค่าปรับลดได้ 2 วิธี ได้แก่ (1) ใช้ค่าปรับลดมาตรฐานที่กําหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (Standard supervisory haircut) และ (2) ใช้ค่าปรับลดที่ธนาคารพาณิชย์ประมาณค่าเอง (Own estimates for haircut)
(2.2) การหักกลบหนี้ในงบดุล (On-balance sheet netting)
ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้วิธีหักกลบหนี้ในงบดุล ระหว่างสินทรัพย์ (เงินให้กู้ และหนี้สิน (เงินฝาก) ของคู่สัญญารายเดียวกัน เพื่อปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการหักกลบหนี้ในงบดุล (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 6)
(2.3) การค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (Guarantee and credit derivatives)
ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิตได้ ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 7)
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องยื่นแบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างน้อย 15 วันก่อนนําการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยนําส่งที่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ได้ยื่นแบบประเมินความพร้อมฯ สําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตก่อนที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องยื่นแบบประเมินความพร้อมฯ อีก
(3) ความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา (Maturity mismatch)
กรณีที่มีความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา กล่าวคือเมื่ออายุคงเหลือของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตน้อยกว่าอายุคงเหลือของยอดสุทธิของธุรกรรมที่จะปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 8)
(4) กรณีมีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภท
กรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากลูกหนี้รายเดียวกัน เช่น ธนาคารพาณิชย์มีทั้งหลักประกันทางการเงินและการค้ําประกัน ให้ธนาคารพาณิชย์แบ่งยอดสินทรัพย์ออกเป็นส่วน ๆ ตามประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต และคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงแยกสําหรับแต่ละส่วน
กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตจากผู้ขายรายเดียวกัน แต่การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมีอายุต่างกัน ให้ธนาคารพาณิชย์แบ่งยอดสินทรัพย์ออกเป็นส่วน ๆ และคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแยกตามอายุของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
(5) การนับช้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์นับซ้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ดังนั้น สินทรัพย์ที่ใช้ Issue-specific rating ที่ได้มีการสะท้อนการปรับลดความเสี่ยงเข้าไปใน Rating เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงสําหรับลูกหนี้แล้ว จะไม่สามารถนํามาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้อีก
5.4 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงโดย Simplified Standardised Approach (วิธี SSA)
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้เฉพาะธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถเลือกใช้วิธี SSA ซึ่งเป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยมีขอบเขตการทําธุรกรรมที่จํากัดและซับซ้อนน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 9)
5.5 การยื่นขออนุญาตในการใช้วิธี SA
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกรายตามข้อ 5.3.2 (1.6) และธนาคารพาณิชย์ที่จะเลือกใช้วิธีปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินโดยวิธี Comprehensive และใช้ค่าปรับลดที่ธนาคารพาณิชย์ประมาณค่าเอง ยื่นขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนการใช้น้ําความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกราย และอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนการใช้ค่าปรับลงที่ธนาคารพาณิชย์ประมาณดําเอง โดยให้ชื่นคําขออนุญาตมาที่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงินสายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกราย และ/หรือได้รับความเห็นชอบให้ใช้วิธีปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินโดยวิธี Comprehensive และใช้ค่าปรับลดที่ธนาคารพาณิชย์ประมาณค่าเอง ก่อนที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ให้ถือว่าธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธีดังกล่าวตามประกาศฉบับนี้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,035 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 47/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนสิงหาคม 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 47/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนสิงหาคม 2551
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.80/14/51 | 75,000 | 11 สิงหาคม 2551 | 14/8/51 – 28/8/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,036 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 48/2551 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายตั๋วเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 48 /2551
เรื่อง การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายตั๋วเงิน
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
การประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนในการซื้อขายตั๋วเงินที่บุคคลอื่นเป็นผู้ออกแล้วจําหน่ายต่อให้แก่ประชาชน อาจทําให้ประชาชนผู้ซื้อตั๋วเงินเข้าใจว่าตั๋วเงินดังกล่าวนั้นเป็นตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออกเอง ทําให้ประชาชนไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงที่แท้จริง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกข้อกําหนดในการซื้อขายตั๋วเงิน รวมทั้งในการจัดการออกตั๋วเงิน (Arranger) เป็นแนวทางให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนถือปฏิบัติเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ซื้อตั๋วเงิน
ในการออกประกาศฉบับนี้เป็นการอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายตั๋วเงิน ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"ตั๋วเงิน" หมายความว่า ตั๋วแลกเงิน และตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงินค่าสินค้านําเข้าหรือส่งออก
5.2 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ซื้อ หรือเป็นตัวกลางในการจัดการออกตั๋วเงิน ควรแนะนําให้ผู้ออกตั๋วเงินปฏิบัติตามมาตรฐานของตั๋วเงิน ดังต่อไปนี้
(1) ใช้กระดาษสําหรับพิมพ์สิ่งพิมพ์มีค่า (Security Paper) เช่น กระดาษตามมาตรฐาน London Clearing Banks Paper Specification No.1 พร้อมทั้ง มีลายน้ํา (Watermark) ฝังอยู่ในเนื้อกระดาษ
(2) มีรายการตามที่กําหนดในมาตรา 909 หรือมาตรา 983 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(3) มีข้อกําหนดในตั๋วเงินว่า "ไม่จําต้องมีคําคัดค้าน" หรือสํานวนอื่นในทํานองเดียวกัน
5.3 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนซื้อขายตั๋วเงิน หรือเป็นตัวกลางในการจัดการออกตั๋วเงิน ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนต้องจัดให้ผู้ซื้อผู้ขายเปิดเผยชื่อจริงที่อยู่จริงที่ชัดเจนทุกกรณี
5.4 ในการขายตั๋วเงิน ให้ผู้ซื้อต้องชําระราคาเป็นเช็คขีดคร่อมเข้าบัญชีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนผู้ขาย (Account Payee Only) หรือขีดคร่อม "& Co" และขีดฆ่าคําว่า "ผู้ถือ" ออกหรือหักบัญชีเงินฝากของผู้ซื้อตั๋วเงินเข้าบัญชีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนผู้ขาย หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนผู้ขายโดยผ่านบริการบาทเนตของธนาคารแห่งประเทศไทย
5.5 กรณีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเป็นตัวกลางในการจัดการออกตั๋วเงินก็ต้องให้ผู้ซื้อสั่งจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมหรือโอนเข้าบัญชีของผู้ออกตั๋วในลักษณะเดียวกัน
5.6 ในการขายตั๋วเงิน ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่สามารถสอบยันได้ว่าธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนได้รับชําระเงินในวันที่ขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินนั้นจริง
5.7 ในการขายตั๋วเงินหรือการจัดให้มีการออกตั๋วเงินที่ ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หากเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินแบบผู้ซื้อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนผู้ขาย (without recourse) ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนต้องทําหนังสือระบุให้ชัดเจนว่า ผู้ซื้อตั๋วเงินต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงของการลงทุนในตั๋วเงินนั้นเอง โดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนผู้ขายหรือจัดการออกจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แล้วให้ผู้ซื้อลงลายมือชื่อรับรองความเข้าใจ ข้อปฏิบัติที่กล่าวมีไว้สําหรับบุคคลที่ซื้อขายตั๋วเงินกับธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนนั้นเป็นครั้งแรก ส่วนในการขายหรือจัดการออกตั๋วเงินครั้งต่อ ๆ ไปกับผู้ซื้อรายเดิมธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนเพียงแต่จัดทําข้อความเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบตั๋วเงินทุกฉบับให้ผู้ซื้อรับทราบ
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนขายตั๋วเงินแบบผู้ซื้อมีสิทธิไส่เบี้ยเอาจากธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนผู้ขาย (with recourse) หรือรับรอง อาวัลตั๋วเงินนั้น ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนจะต้องนับการสลักหลังแบบ with recourse หรือการรับรอง อาวัล ที่กล่าวเป็นภาระผูกพัน ซึ่งต้องนับรวมเข้าเป็นสินทรัพย์เสี่ยงในการคํานวณอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นด้วย
5.8 ให้ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนที่ทําหน้าที่เป็นผู้รับฝากตั๋วเงินแยกหน่วยงานที่ดูแลและเก็บรักษาตราสารดังกล่าวออกจากหน่วยงานที่ทําการซื้อขายโดยเด็ดขาด
5.9 เพื่อป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการทุจริตหรือปลอมแปลงเอกสารธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนควรจัดให้ตั๋วเงินที่ซื้อขายมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้มากที่สุด และควรเป็นผู้อื่นค้นความถูกต้องและแท้จริงของตั๋วเงินที่จําหน่ายทุกฉบับ โดยกําหนดผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อรับรองไว้ให้ชัดเจน รวมทั้งมีตัวอย่างลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงนามแสดงให้ผู้ซื้อตั๋วดูด้วย
5.10 ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนจะทําธุรกิจเป็นตัวกลางในตลาดรองเพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายทําการซื้อขายกันโดยตรงนั้นไม่ได้ กรณีเช่นนี้ ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนจะต้องเป็นผู้รับซื้อตั๋วเงินนั้นไว้เองก่อนแล้วค่อยขายออกไปภายหลัง
5.11 ระเบียบปฏิบัติในการทําธุรกรรมเกี่ยวกับตั๋วเงิน
ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนต้องกัดทําระเบียบปฏิบัติในการทําธุรกรรมเกี่ยวกับตั๋วเงิน โดยอย่างน้อยต้องมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
(1) ต้องมีการกําหนดวงเงินสูงสุดในการกู้ยืมหรือลงทุนโดยการรับซื้อ ซื้อลด และรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน หรือก่อภาระผูกพันไว้ล่วงหน้าเป็นวงเงินต่อรายบุคคลที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้น ไม่ว่าผู้ออกตั๋วเงินหรือผู้สั่งจ่าย ผู้จ่ายเงินตามตั๋วเงิน รวมทั้งผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สลักหลัง โดยแยกต่างหากจากวงเงินอื่น ทั้งนี้ การทําธุรกรรมที่เกินวงเงินต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน
(2) ต้องมีการกําหนดวงเงินสูงสุดของผู้มีอํานาจอนุมัติในแต่ละระดับไว้อย่างเหมาะสมและชัดเจน ทั้งวงเงินในการรับซื้อตั๋วเงิน วงเงินในการรับรอง รับอาวัล สอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน หรือวงเงินในการสลักหลังแบบผู้ซื้อมีสิทธิไถ่เบี้ย (with recourse)
(3) การกําหนดวงเงินเพื่อซื้อ หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันในตั๋วเงินตามข้อ (1) ต้องทําการวิเคราะห์ถึงฐานะการเงิน และความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นทุกราย ซึ่งในรายงานวิเคราะห์ต้องมีการรวบรวมข้อมูลในทํานองเดียวกันกับการกู้ยืมตามปกติ
(4) ในการรับซื้อหรือลงทุนในตั๋วเงิน ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนต้องมีระบบการตรวจสอบให้แน่ชัดถึงความถูกต้องและสมบูรณ์ของตั๋วเงิน รวมทั้งความรับผิดของผู้จ่ายเงินตามตั๋วเงินเมื่อถึงกําหนดชําระ
(5) ต้องมีระบบเพื่อตรวจสอบวงเงินคงค้างของผู้ที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินทุกรายเป็นประจํา
เปรียบเทียบกับวงเงินที่กําหนดไว้และมีระบบรายงานให้ผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนทราบถึงการทําธุรกรรมเกี่ยวกับตั๋วเงินเป็นประจําอย่างน้อยเดือนละครั้ง
(6) มีการทบหวนฐานะและความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ที่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินทุกรายรวมทั้งทบทวนวงเงินอนุมัติ และรายงานให้คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนทราบเป็นประจําอย่างน้อยปีละครั้ง
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,037 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 48/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 48 /2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551
--------------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.81/14/51 | 75,000 | 14 สิงหาคม 2551 | 18/8/51 – 1/9/51 | 14 |
| พ.82/14/51 | 75,000 | 15 สิงหาคม 2551 | 19/8/51 – 2/9/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกูล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,038 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3677 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโทลูอีน - การวิเคราะห์หาปริมาณไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสารเจือปน – วิธีแก๊สโครมาโทกราฟิก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3677 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
โทลูอีน - การวิเคราะห์หาปริมาณไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสารเจือปน – วิธีแก๊สโครมาโทกราฟิก
------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโทลูอีน - การวิเคราะห์หาปริมาณไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสารเจือปน - วิธีแก๊สโครมาโทกราฟิก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1687 - 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3211 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโทลูอีน - การวิเคราะห์หาปริมาณไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสารเจือปน - วิธีแก๊สโครมาโทกราฟิก ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,039 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 49/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสำหรับบริษัทเงินทุน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 49 / 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสําหรับบริษัทเงินทุน
--------------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนเป็นธุรกิจหลักของบริษัทเงินทุน ซึ่งสามารถระดมเงินได้หลายรูปแบบ เช่น การรับฝากเงินในบัญชีประเภทออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจําบัตรเงินฝาก หรือการกู้ยืมเงินโดยการออกตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นต้น ในการทําธุรกรรมดังกล่าวหากบริษัทเงินทุนไม่มีการบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในที่ดีพออาจส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของบริษัทเงินทุนนั้น รวมถึงระบบสถาบันการเงิน โดยรวม และยังอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของลูกค้าและประชาชนอีกด้วย
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหลักเกณฑ์ให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ แต่มิใช่บัญชีที่จะเบิกถอน โดยใช้เช็ค และกําหนดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินธุรกิจและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของลูกค้าและประชาชน
ในการออกประกาศฉบับนี้ได้ยกเลิกข้อจํากัดต่าง ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการรับฝากเงินโดยการออกบัตรเงินฝากของบริษัทเงินทุน และเป็นการรวบรวมประกาศที่เกี่ยวข้องมาอยู่ในฉบับเดียวกัน ซึ่งอ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 41 มาตรา 44 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน
บริษัทเงินทุนสามารถประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดยใช้เช็ค ดังต่อไปนี้
5.1.1 การรับฝากเงินโดยใช้สมุดคู่ฝาก (Passbook) หรือใบรับฝากเงิน (Deposit Receipt)
ในการรับฝากเงินโดยใช้สมุดคู่ฝากหรือใบรับฝากเงิน บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินฝากประเภทต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามและประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ของบริษัทเงินทุน (เอกสารแนบ 2)
5.1.2 การรับฝากเงินโดยวิธีการออกบัตรเงินฝาก (Certificate of Deposit)
บริษัทเงินทุนสามารถออกบัตรเงินฝากเป็นหลักฐานในการรับฝากเงินและเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาอันกําหนดไว้โดยบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับบัตรเงินฝากของบริษัทเงินทุน (เอกสารแนบ 3)
5.1.3 การรับเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วเเลกเงิน (Bills of Exchange) หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Notes)
บริษัทเงินทุนสามารถออกตั๋วแลกเงิน (Bills of Exchange) หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Notes) เป็นหลักฐานในการรับเงินจากประชาชน และเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาอันกําหนดไว้ ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการกู้ยืมหรือรับเงินจากประชาชนของบริษัทเงินทุน (เอกสารแนบ 4)
5.2 การปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ย ส่วนลด และค่าบริการต่างๆ
บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ยหรือส่วนลด และค่าบริการต่างๆ ของเงินฝาก และเงินที่ได้รับจากประชาชน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ สําหรับบริษัทเงินทุน และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5.3 ระบบการควบคุมภายใน
บริษัทเงินทุนต้องมีระบบการควบคุมภายในสําหรับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมการรับฝากเงิน และการรับเงินจากประชาชนที่เหมาะสมได้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยต้องจัดทําระเบียบการควบคุมภายในดังกล่าวให้ครบถ้วนถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ และต้องจัดส่งสําเนาระเบียบการควบคุมภายในให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ ในการออกตั๋วเงินและบัตรเงินฝากบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกําหนดระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับตั๋วเงินและบัตรเงินฝากของบริษัทเงินทุน (เอกสารแนบ 5)
5.4 การเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้า
บริษัทเงินทุนต้องชี้แจงข้อมูลที่สําคัญ ๆ ให้ลูกค้าได้ทราบและเข้าใจชัดเจนก่อนการรับฝากเงิน หรือการรับเงิน เช่น เงื่อนไขการจ่ายชําระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยคิดลดค่าบริการต่าง ๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ย และ/หรือการไถ่ถอนเงินฝาก หรือตั๋วเงินก่อนครบกําหนด สิทธิประโยชน์ทางภาษี รายละเอียดการประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝากของผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ละประเภทที่บริษัทเงินทุนให้บริการแก่ลูกค้า
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,040 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 49/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 49 /2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551
------------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.83/14/51 | 80,000 | 19 สิงหาคม 2551 | 21/8/51 – 4/9/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกูล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,041 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 50/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 50/2551
เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุน
สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ปัจจุบัน สถาบันการเงินจําเป็นต้องมีเงินกองทุนให้เพียงพอเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Loss) สถาบันการเงินที่ดํารงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทําไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงกําหนดให้สถาบันการเงินดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่มีความเสี่ยงทั้งหมดของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักการการดํารงเงินกองทุนตาม The 1998 Basel Capital Accord (Basel I) นั้น เงินกองทุนจะใช้ในการรองรับความเสี่ยงเฉพาะด้านเครดิตและด้านตลาดเท่านั้น และเพื่อให้สามารถสะท้อนความเสี่ยงได้ดีขึ้นตามหลักเกณฑ์ Basel II (2004) จึงได้เพิ่มการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วย
ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยสาระสําคัญขององค์ประกอบของเงินกองทุน หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุน และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงไม่มีการเปลี่ยนแปลงและยังคงเป็นหลักเกณฑ์ที่อ้างอิงการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel Iในโอกาสนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องมาประมวลไว้ในคราวเดียวกัน โดยแยกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยออกเป็นฉบับหลัก ดังนี้
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาการพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ 1 ฉบับ และว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 1 ฉบับ ทั้งนี้ ได้แยกเปืน 2 ฉบับดังกล่าวเนื่องจากองค์ประกอบของเงินกองทุนและอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศกับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีหลักการที่ต่างกัน โดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศจะต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 ขณะที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องดํารงเงินกองทุนดังกล่าวไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5
2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะใช้ฉบับเดียวกันเนื่องจากมีหลักการเหมือนกัน โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจะเป็นการคํานวณมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรากฏอยู่ในและนอกงบดุลที่เกิดจากลูกหนี้หรือคู่สัญญาของสถาบันการเงินไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญา
3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ซึ่งครอบคลุมวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดสําหรับสถาบันการเงินทุกประเภทที่ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดจะเป็นการคํานวณมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรากฏอยู่ในและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาตลาดต่าง ๆ โดยความเสี่ยงด้านตลาดประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนราคาตราสารทุนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ในการแยกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเป็นรายฉบับดังกล่าวก็เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่สถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นประโยชน์ในการเตรียมพร้อมสําหรับการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel II ต่อไป สําหรับสถาบันการเงินใดที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนตามที่กฎหมายฉบับเดิมกําหนด ให้สถาบันการเงินนั้นสามารถดํารงเงินกองทุนนั้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์องค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ถูกยกเลิก
ตามรายการในเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
ในประกาศฉบับนี้
"ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ" หมายความว่า ธนาการพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นสาขาของธนาการพาณิชย์ต่างประเทศ
5.1 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุน
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดํารงเงินกองทุนทั้งสิ้นเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.25 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ทั้งนี้ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจํานวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1
อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งใช้เฉพาะสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศเท่านั้น ส่วนอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม
5.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน
ให้เงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ประกอบด้วยยอดรวมของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตาม 5.2.1 และ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ตาม 5.2.2 หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนตาม 5.2.3 ดังนี้
5.2.1 เงินกองทุนชั้นที่ 1 ประกอบด้วย
(1) ทุนชําระแล้ว (ยกเว้นทุนชําระแล้วที่ได้จากการออกหุ้นบุริมสิทธิ) ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ํามูลค่าหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับ และเงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้น
(2) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผล
(3) ทุนสํารองตามกฎหมาย
(4) เงินสํารองที่ได้จัดสรรจากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามข้อบังกับของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับการลดค่าของสินทรัพย์ และเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้
(5) กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร
(6) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีสิทธิด้อยกว่าผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้สามัญ และเจ้าหนี้ด้อยสิทธิทุกประเภทประเภทตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2
5.2.2 เงินกองทุนชั้นที่ 2 ประกอบด้วย
(1) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล
(2) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีสิทธิด้อยกว่าผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้สามัญ และเจ้าหนี้ด้อยสิทธิทุกประเภทประเภทตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะถมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ในส่วนที่เหลือจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1
(3) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีสิทธิอยกว่าผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้สามัญ ประเภทตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Debt Capital Instrument) ที่สามารถสะสมเงินปันผลหรือดอกเบี้ยจ่ายได้ และตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาว (Subordinated Debt) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 3
(4) เงินสํารองจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 4
(5) เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ ซึ่งได้กันไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศจะนับเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น รายละเอียดของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นปรากฏตาม 5.3
(6) เงินสํารองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนับยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกินทุนจากการตีราคาเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกินทุนดังกล่าว
5.2.3 รายการหักจากเงินกองทุน
(1) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1
(1.1) มูลค่าของหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้ซื้อคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ด้วยวิธีราคาตามมูลค่าตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนของกิจการ
(1.2) ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชี
(1.3) ค่าความนิยม (Goodwill) ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฏในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
(1.4) มูลค่าของสินทรัพย์ประเภทภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใช้วิธีการบันทึกบัญชีภาษีเงินได้รอการตัด (Deferred Tax Accounting โดยให้หักบัญชีสินทรัพย์ประเภทภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากรายการดังต่อไปนี้ ออกจากกําไรสะสมที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตาม 5.2.1 (5)
(1.4.1) ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Unused Tax Losses Carryforward)
(1.4.2) ผลแตกต่างชั่วคราวระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือหนี้สินในงบดุลกับฐานภาษี หรือผลแตกต่างชั่วคราวในกําไรทางบัญชีและกําไรทางภาษี (Temporary Differences)
(1.4.3) เครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Unused Tax Credit Carryforward)
(2) รายการหักจากเงินกองทุนทั้งสิ้น
(2.1) เงินสํารองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจากการตีราคาเป็นส่วนขาดทุน ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหักส่วนที่ขาดทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้น
(2.2) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.1 (6 5.2.2 (2) และ 5.2.2 (3) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศอื่น ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นหักเงินตามตราสารดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุน
(2.3) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดเป็นผู้ขายประกันความเสี่ยงด้านเครดิตตามตราสารประเภท Credit Linked Notes หรือ Credit Default Swaps ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.1 (6) 5.2.2 (2) และ 5.2.2 (3) ของบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศอื่น ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุน
(2.4) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.1 (6) 5.2.2 (2) และ 5.2.2 (3) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศอื่น และธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นได้ซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(2.4.1) กรณีซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยการออกตราสารประเภท Credit Linked Notes ที่มีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของตราสารประเภท Credit Linked Notes เฉพาะที่เป็นการประกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น
(2.4.2) กรณีซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตด้วย Credit Default Swaps ที่มีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของ Credit Default Swaps เฉพาะที่เป็นการประกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทํากับบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่นเท่านั้น
(2.5) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตราสารหนี้ (Bond Derivatives ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด
(2.6) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivatives) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives
(2.7) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ทั้งนี้ งวดระยะเวลาในการนับรายการแต่ละประเภทเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนชั้นที่ 2 หรือหักออกจากเงินกองทุน ปรากฏตามเอกสารแนบ 5
5.3 ประเภทของสินทรัพย์เสี่ยง
สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น หมายถึง ยอดรวมของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด (ถ้ามี) แล้วหักด้วยสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตในส่วนที่ซ้ําซ้อนกับสินทรัพย์ที่ได้นําไปคํานวณความเสี่ยงด้านตลาดแล้ว (ถ้ามี)
ทั้งนี้ การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารพาณิชย์
การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดให้เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ซึ่งครอบคลุมการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญที่กําหนดในหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินดังกล่าวข้างต้น แต่มีการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้าน
เครดิตในบัญชีเพื่อการค้าให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดเฉพาะสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการค้า โดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2551
นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,042 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 91/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 91/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.116/14/51 | 70,000 | 20 พฤศจิกายน 2551 | 24/11/51 – 8/12/51 | 14 |
| พ.117/14/51 | 70,000 | 21 พฤศจิกายน 2551 | 25/11/51 – 9/12/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,043 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 50/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนสิงหาคม ปี 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 50 /2551
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2551
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2551 (รุ่นที่ 3/ 2 ปี/2551) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 15 สิงหาคม 2551 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/2 ปี2551 ที่จะประมูลในวันที่ 19 สิงหาคม 2551 เท่ากับร้อยละ 4.0625 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551
(นางสุชาดา กิระกูล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,044 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 91/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์ โดย Internal Ratings-Based Approach วิธี IRB) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 91/ 2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์
โดย Internal Ratings-Based Approach วิธี IRB)
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการไม่ต่ํากว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ฉบับนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นทางเลือกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้เหมาะสมกับความซับซ้อนของระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของตนเอง ทั้งนี้ วิธี RB ถือเป็นวิธีคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่มีความซับซ้อนและสามารถสะท้อนความเสี่ยงได้ดีกว่าการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach วิธี SA) โดยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี RB ฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อ้างอิงแนวทางจากส่วนหนึ่งของ The First Pillar - Minimum Capital Requirements ในInternational Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive version : June 2006) ของ Basel Committee on Banking Supervision
ธนาคารพาณิชย์จะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
หนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(22)ว.421/2549 เรื่อง นําส่งร่างหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนตาม Basel II หลักการที่ 1 เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Final Drat) ลงวันที่ 27 มีนาคม 2549
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"Unexpected 1oss (UL)" หมายความว่า ค่าความเสียหายที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้
"Expected loss (EL)" หมายความว่า ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
"Probability of default (PD)" หมายความว่า ค่าความน่าจะเป็นที่ลูกหนี้จะผิดนัดชําระหนี้
"Loss given default (LGD)" หมายความว่า ร้อยละของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ต่อยอดหนี้
"Exposure at default (EAD)" หมายความว่า ยอดหนี้หรือประมาณการยอดหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้
"Effective maturity (M)" หมายความว่า ระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือของหนี้ที่ใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง
"ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation)" หมายความว่า ค่าความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าสินทรัพย์ซึ่งสะท้อนค่า PD ของลูกหนี้แต่ละรายกับปัจจัยความเสี่ยงจากระบบ (Systematic risk factor)
"ลูกหนี้" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก และรายการนอกงบดุล รวมถึงข้อผูกพันและสิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้ตามกฎหมายอื่น ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝาก ให้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีด้วย
"Specific provision" หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด ทั้งนี้ รวมถึงส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาดของตราสารหนี้และตราสารทุนที่ถือไว้เพื่อค้าและเผื่อขาย และมูลค่าการด้อยค่าด้วย แต่ไม่รวมเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติที่ธนาคารพาณิชย์นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว
"General provision" หมายความว่า เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติทั้งหมด แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติส่วนที่นับเป็น Specific provision แล้ว
"Dilution risk" หมายความว่า ความเสี่ยงที่ยอดหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อมาอาจมีมูลค่าลดลงได้ เนื่องจากผู้ขายลูกหนี้มีข้อตกลงกับลูกหนี้ เช่น การที่ผู้ขายลูกหนี้ให้ส่วนลดหากลูกหนี้จ่ายชําระหนี้ภายในเวลาที่กําหนด หรือการให้ลูกหนี้คืนสินค้าที่ซื้อไปได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดเนื่องจากสินค้ามีคุณภาพไม่ดี หรือผู้ขายลูกหนี้มีภาระหนี้ต่อลูกหนี้ เป็นต้น
5.2 หลักการ
วิธี IRB เป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เครื่องมือภายในของธนาคารพาณิชย์ ในการประมาณค่าความเสียหายจากความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งค่าความเสียหายดังกล่าวแบ่งเป็นสองประเภท ตามแนวทางการดําเนินการเพื่อรองรับความเสียหาย ดังนี้
(1) ค่าความเสียหายที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้ (Unexpected loss: UL) เป็นส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ควรมีเงินกองทุนรองรับ ซึ่งปริมาณเงินกองทุนขั้นต่ําที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องดํารงเพื่อรองรับ UL จะประเมินจากมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณได้ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
(2) ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss: EL) เป็นส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ควรมีเงินสํารองที่กันไว้รองรับ โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องนําค่า EL ที่คํานวณได้ตามประกาศฉบับนี้ไปเปรียบเทียบกับเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) ซึ่งหากมีส่วนต่างเกิดขึ้น ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
วิธีการประมาณค่าความเสี่ยงข้างต้นนั้นมีหลายวิธี ซึ่งวิธีหลักของการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB คือ การคํานวณโดยใช้สูตร PD/LGD (Risk weight function) ที่มีค่าองค์ประกอบความเสี่ยง (Risk component) 4 ตัวแปร ได้แก่ Probability of default (PD) Loss given default (LGD) Exposure at default (EAD) และ Effective maturity (M)
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ธนาคารพาณิชย์มีทางเลือกในการใช้สูตร PD/LGD (Risk weight function) ดังนี้
(1) Foundation Internal Ratings-Based Approach (วิธี FIRB) คือ วิธีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องประมาณค่า PD เอง แต่ค่าองค์ประกอบความเสี่ยงอื่นให้ใช้ค่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(2) Advanced Internal Ratings-Based Approach (วิธี AIRB) คือ วิธีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยงทั้ง 4 ตัวแปรเอง
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRE
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี IRB ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้
5.3.1 ประเภทสินทรัพย์ (Asset class)
ประเภทสินทรัพย์ (Asset class)' ภายใต้วิธี IRB แบ่งออกเป็น 7 ประเภทหลัก และในแต่ละประเภทอาจแบ่งเป็นประเภทย่อย (Sub-asset class) ดังนี้
(1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล
(2) ลูกหนี้สถาบันการเงิน
(3) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชน แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
(3.1) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทั่วไป
(3.2) สินเชื่อกลุ่มพิเศษ
(4) ลูกหนี้รายย่อย แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ
(4.1) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
(4.2) วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อรายย่อย
(4.3) สินเชื่อรายย่อยอื่น
(5) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน
(6) ลูกหนี้ที่รับซื้อมา แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
(6.1) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชนที่รับซื้อมา
(6.2) ลูกหนี้รายย่อยที่รับซื้อมา
(7) สินทรัพย์อื่น
5.3.2 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB
การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB แบ่งวิธีการคํานวณออกเป็น 5 กลุ่มตามประเภทของสินทรัพย์ที่มีสูตรและวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงที่คล้ายคลึงกันซึ่งเนื้อหาของเอกสารแนบอธิบายวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับสินทรัพย์แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้
(1) คําจํากัดความของสินทรัพย์
(2) วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง
(3) การประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง
การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับสินทรัพย์แต่ละประเภท รวมถึงการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดประเภทอนุพันธ์ด้านเครดิต และฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsettled transaction) สามารถสรุปได้ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน และธุรกิจเอกชน
สําหรับลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน และธุรกิจเอกชน ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยแบ่งเป็น 2 กรณี (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 1)
(1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน ธุรกิจเอกชนทั่วไป และสินเชื่อกลุ่มพิเศษที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function) โดยมีทางเลือกระหว่างวิธี FIRB และวิธี AIRB
(2) สินเชื่อกลุ่มพิเศษที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธี Supervisory slotting criteria ที่กําหนดให้นําค่า EAD มาคูณด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ซึ่งได้จากการเทียบเคียง Internal rating ของสินเชื่อกลุ่มพิเศษของธนาคารพาณิชย์กับ Rating 5 อันดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้รายย่อย
ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้รายย่อย (Retail risk weight function) โดยต้องใช้วิธี AIRB เท่านั้น (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2)
กลุ่มที่ 3 ฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน
สําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงดังต่อไปนี้ ตามความเหมาะสมของฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนแต่ละพอร์ต (ร้ายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3)
(1) วิธี Market-based ประกอบด้วย 2 วิธีย่อย ดังนี้
(1.1) วิธี Simple risk weight ให้ธนาคารพาณิชย์นําค่า EAD มาคูณด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(1.2) วิธีแบบจําลองภายใน (Internal models method) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงจากแบบจําลอง Value-at-risk (VaR)
(2) วิธี PD/LGD ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/ILGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function)
กลุ่มที่ 4 ลูกหนี้ที่รับซื้อมา
สําหรับลูกหนี้ที่รับซื้อมา ธนาคารพาณิชย์ต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อรองรับความเสี่ยง 2 ประเภท (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4) ได้แก่
(1) ความเสี่ยงจากการที่ยอดหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อมาอาจมีมูลค่าลดลงได้ เนื่องจากผู้ขายลูกหนี้มีข้อตกลงกับลูกหนี้ (Dilution risk) ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function) ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับ Dilution risk ทั้งกรณีที่ลูกหนี้ที่รับซื้อมาเป็นลูกหนี้ธุรกิจเอกชนและลูกหนี้รายย่อย
(2) ความเสี่ยงจากการที่ลูกหนี้ที่รับซื้อมาไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนด (Default risk) โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับ Default risk แบ่งออกเป็น 2 กรณี
(2.1) กรณีลูกหนี้ที่รับซื้อมาเป็นลูกหนี้ธุรกิจเอกชน
ให้ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้วิธี Bottom-up หรือวิธี Top-downได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function)
(2.2) กรณีลูกหนี้ที่รับซื้อมาเป็นลูกหนี้รายย่อย
ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้รายย่อย (Retail risk weight function) ตามประเภทของลูกหนี้รายย่อยที่รับซื้อมา'
กลุ่มที่ 5 สินทรัพย์อื่น
ให้ธนาคารพาณิชย์นํายอดคงค้างของสินทรัพย์อื่นที่หักด้วย Specific provision มาคูณด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 5)
สัญญาอนุพันธ์นอกตลาดประเภทอนุพันธ์ด้านเครดิต
(1) อนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการธนาคาร
กรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี SA เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิต
กรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ตามที่กําหนดในการประมาณดําองค์ประกอบความเสี่ยง LGD กรณีมีการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิตตามประเภทของสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงตามรายละเอียดที่ระบุในเอกสารแนบของประกาศฉบับนี้
(2) อนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการค้า
ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการค้าตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด และคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงตามประเภทของคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ของสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ในประกาศฉบับนี้
ฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการต่างมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsettled transaction)
ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์
การปรับค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้วยค่า Scaling factor
ทั้งนี้ กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง ให้ธนาคารพาณิชย์นําค่าร้อยละของเงินกองทุนที่คํานวณได้มาปรับค่าขึ้นด้วยค่า Scaling factor 1.06 ตามรายละเอียดที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบ 1 และเอกสารแนบ 2
5.4 หลักเกณฑ์สําหรับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss) และเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions)
นอกจากคํานวณหาค่า UL เพื่อคํานวณหามูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงแล้ว ธนาคารพาณิชย์ต้องคํานวณหาผลรวมของค่า EL ของลูกหนี้ทุกประเภทที่คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี RB ตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อนําค่าดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) ซึ่งหากมีความแตกต่างระหว่างค่า EL ที่คํานวณได้กับเงินสํารองที่กันไว้แล้ว ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 6)
5.5 เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี IRB Minimum requirements for IRB approach)
ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี IRB ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ํา (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1) ในเรื่องต่อไปนี้
(1) การออกแบบและพัฒนาระบบ Internal rating
(2) วิธีปฏิบัติสําหรับระบบการให้ Internal rating
(3) ธรรมาภิบาลและการควบคุม
(4) การใช้ Internal rating
(5) การกําหนดค่าความเสี่ยง
(6) การทดสอบความถูกต้องของค่าประมาณการ
(7) มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับการใช้ค่า LGD และค่า EAD ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(8) เกณฑ์ปฏิบัติสําหรับธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่ง
(9) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน
(10) การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ที่เริ่มใช้วิธี FIRB ภายในสิ้นปี 2553 ได้รับการผ่อนผันการถือปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านข้อมูลสําหรับลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน ธุรกิจเอกชน และฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน รวมถึงด้านการใช้ระบบ Internal rating ในการบริหารจัดการภายใน นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ที่เริ่มใช้วิธี FIRB และวิธี AIRB ภายในสิ้นปี 2553 ได้รับการผ่อนผันการถือปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านข้อมูลสําหรับพอร์ตลูกหนี้รายย่อย (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 7.1)
5.6 การยื่นขออนุญาตและกรอบการใช้วิธี RB (Adoption of the IRB approach)
ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี IRB ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยและต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี IRB (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 7) นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามกรอบการใช้วิธี RB ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 8)
ธนาคารพาณิชย์ที่ขออนุญาตใช้วิธี IRB และได้ยื่นเอกสารการขออนุญาตใช้วิธี RB ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแล้วไม่ต้องยื่นเอกสารขออนุญาตใหม่กับธนาคารแห่งประเทศไทยอีก เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยขอข้อมูลเพิ่มเติมจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธี IRB ได้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี AIRB ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,045 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 92/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 92/2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.118/13/51 | 50,000 | 26 พฤศจิกายน 2551 | 28/11/51 – 11/12/51 | 13 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,046 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 92/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสำหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 92/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกําหนดให้ดังธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการไม่ต่ํากว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดตามประกาศฉบับนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาที่เกิดจากสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด และใช้เป็นหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล โดยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อ้างอิงแนวทางจากส่วนหนึ่งของ Annex 4 - Treatment of Counterparty Credit Risk and Cross-Product Netting ในInternational Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive version: June 2006) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS)
ธนาคารพาณิชย์จะต้องนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลที่คํานวณได้ตามประกาศฉบับนี้ไปใช้ประกอบการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้ ซึ่งมีวิธีการคํานวณและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไปนี้ (1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) และ (2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"ความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา (Counterparty credit risk)" หมายความว่าความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กําหนดไว้ในสัญญา เช่น ไม่ส่งมอบตราสารทางการเงินหรือไม่ชดเชยความเสียหายตามที่ได้ตกลงกันไว้ เป็นต้นทั้งนี้ ความเสียหายจากความเสี่ยงประเภทนี้มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายที่อาจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงที่กําหนดไว้ในสัญญาได้ ซึ่งแตกต่างจากความเสี่ยงด้านเครดิตโดยทั่วไปที่ความเสียหายจะมีโอกาสเกิดขึ้นกับคู่สัญญาฝ่ายเดียว เช่น ผู้ให้สินเชื่อจะได้รับความเสียหายหากลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้เท่านั้น โดยลูกหนี้จะไม่ได้รับความเสียหายหากผู้ให้สินเชื่อมีปัญหา เป็นต้น
"มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล (Credit equivalent amount)" หมายความว่า มูลค่าที่คํานวณได้จากการแปลงจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด (ซึ่งจัดเป็นรายการนอกงบดุล) ตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้
"สัญญาอนุพันธ์นอกตลาด (OTC derivatives)" หมายความว่า สัญญาอนุพันธ์ที่คู่สัญญาตกลงซื้อขายนอกตลาดที่ได้รับการรับรอง (Exchange)'
"สัญญายินยอมให้หักกลบลบหนี้ระหว่างกันที่มีเงื่อนไขครบถ้วน (Netting agreement)" หมายความว่า สัญญาที่เกิดจากข้อตกลงร่วมกันของคู่สัญญาที่อนุญาตให้มีการหักกลบลบหนี้ภายในกลุ่มของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่อยู่ภายใต้คู่สัญญาเดียวกันและชําระราคาเป็นยอดสุทธิยอดเดียวในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา โดย Netting agreement นี้จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในเอกสารแนบ 1
"จํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount)" หมายความว่า จํานวนเงินตามสัญญาของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด ทั้งนี้ สําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดซึ่งมีการพัฒนาจากสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดพื้นฐานย่อย ๆ หรือมีการ Leverage จํานวนเงินตามสัญญาหรือมีการแลกเปลี่ยนจํานวนเงินตามสัญญาหลายครั้ง (Structured product) ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ Effective notional amount แทนจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดสําหรับคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล อนึ่ง จํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ของสัญญา Digital option เมื่อคูณกับค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องแล้ว จะไม่เกินค่า Payoff ของสัญญา Digital option นั้น ในกรณีที่ใช้วิธี OEM และจะไม่เกินค่า Payoff ของสัญญา Digital option นั้นหักด้วยมูลค่าจากการวัดมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ในกรณีที่ใช้วิธี CEM
"Effective notional amount” หมายความว่า ยอดรวมของจํานวนเงินตามสัญญาสําหรับทุกธุรกรรมย่อยที่ธนาคารพาณิชย์ทํากับคู่สัญญา ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นประโยชน์กับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
5.2 หลักการ
ธนาคารพาณิชย์ที่มีฐานะในสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดจะมีความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา (Counterparty credit risk exposure) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่คู่สัญญาของธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ดังนั้น เพื่อให้มีเงินกองทุนเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงประเภทนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลตามวิธีการที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ เพื่อนําไปคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่เกิดจากคู่สัญญา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดไว้ 2 วิธี ได้แก่ (1) Original exposure method (วิธี OEM) และ (2) Current exposure method (วิธี CEM) ทั้งนี้ วิธี OEM และวิธี CEM มีพื้นฐานการคํานวณที่คล้ายกัน กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์ต้องคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลจากจํานวนเงินตามสัญญา (Notional! amount) ของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด โดยปฏิบัติตามขั้นตอนและใช้ค่าแปลงสุภาพที่แต่ละวิธีกําหนดไว้ อย่างไรก็ดี วิธี CEM เป็นวิธีที่สะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาได้ดีกว่า เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องพิจารณาความเสี่ยงจากการผันแปรของมูลค่าธุรกรรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งเป็นผลจากปัจจัยทางด้านตลาดจากมุมมองของตลาดในปัจจุบันร่วมด้วย
5.3 สัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่ต้องนํามาคํานวณมูลค่าเทียบท่าสินทรัพย์ในงบดุล
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลตามประกาศฉบับนี้สําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงธุรกรรมประเภท Repo-style transaction"
5.4 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง
5.4.1 การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับการทําสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดกับคู่สัญญาแต่ละราย แบ่งได้ 2 วิธี คือ
(1) Original exposure method (วิธี OEM) เป็นวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับการทําสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด โดยการคูณจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ด้วยค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องโดยตรง (วิธีการคํานวณตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.5)
(2) Current exposure method (วิธี CEM) เป็นวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับการทําสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด โดยพิจารณาจากมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน (Replacement cost : RC) และมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Add-ons) ทั้งนี้ มูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดเป็นมูลค่าจากการ Mark to market ส่วนมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น เป็นมูลค่าจากการประมาณการซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตลอดอายุสัญญาที่เหลือ (วิธีการคํานวณตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.6)
อนึ่ง ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตสําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในเอกสารแนบ 3' โดยให้จํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ของอนุพันธ์ด้านเครดิตมีความหมายเดียวกับ
(2.1) "มูลค่าที่ตราไว้" หรือ "จํานวนเงินสูงสุดที่จะได้รับชดเชย" แล้วแต่กรณี สําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตประเภท Credit default swaps (CDS) First to default swaps (FTDS) และ Proportionate CDS หรือ
(2.2) "มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์อ้างอิง ณ วันเริ่มข้อตกลง Total rate of return swaps (TRORS)" หรือ "มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์อ้างอิงจากการชําระราคาครั้งก่อนหน้า" แล้วแต่กรณี สําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตประเกท TRORS
ในกรณีของธุรกรรมซับซ้อนที่ไม่สามารถนําวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลทั้ง 2 วิธี ดังกล่าวมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม ให้ธนาคารพาณิชย์หารือธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อกําหนดวิธีการคํานวณที่เหมาะสมต่อไป
5.4.2 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาดคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยใช้วิธี CEM กับคู่สัญญาทุกราย
5.4.3 ภายใต้บังคับหลักเกณฑ์ข้อ 5.4.2 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ต้องดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาด และเลือกใช้ Standardised Approach (วิธี SA) ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต เลือกใช้วิธี OEM หรือวิธี CEM ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล กับคู่สัญญาแต่ละราย ยกเว้น ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการทําสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่นอกเหนือจากอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยกับคู่สัญญารายใดให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยใช้วิธี CEM กับคู่สัญญารายนั้นทันที
5.4.4 ภายใต้บังคับหลักเกณฑ์ข้อ 5.4.2 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ต้องดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาด และเลือกใช้ Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครคิต คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล โดยจําแนกเป็นพอร์ตสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(1) พอร์ตสินทรัพย์ที่ใช้วิธี SA (พอร์ตสินทรัพย์ที่ไม่มีนัยสําคัญ) ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้วิธี OEM หรือวิธี CEM ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล กับคู่สัญญาแต่ละราย ยกเว้น ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการทําสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่นอกเหนือจากอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยกับคู่สัญญารายใด ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยใช้วิธี CEM กับคู่สัญญารายนั้นทันที
(2) พอร์ตสินทรัพย์ที่ใช้วิธี IRB ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยใช้วิธี CEM กับคู่สัญญาทุกราย
5.4.5 ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลและการรายงานข้อมูลแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารพาณิชย์แปลงจํานวนเงินตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลต่างประเทศ โดยวิธีดังนี้
(1) กรณีสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลต่างประเทศสกุลเดียว ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้จํานวนเงินสกุลต่างประเทศตามสัญญาคูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ณ วันที่รายงาน
(2) กรณีสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลต่างประเทศมากกว่า 1 สกุล ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้จํานวนเงินสกุลต่างประเทศตามสัญญาด้านซื้อ คูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ณ วันที่รายงาน
ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับบัญชีของสถาบันการเงิน
5.5 Original exposure method วิธี OEM)
5.5.1 โดยปกติหากมีการลงนามใน Netting agreement กับคู่สัญญารายใดสัญญาอนุพันธ์ทุกสัญญาที่ทํากับคู่สัญญารายดังกล่าวก็จะถูกนํามาหักกลบลบหนี้เพื่อชําระราคาเป็นยอดเจียวในกรณีที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ซึ่งในกรณีเช่นนี้ให้ใช้วิธี OEM กรณีที่มี Netting ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของรายการสัญญาอนุพันธ์ดังกล่าว อย่างไรก็ดีมีบางกรณีที่แม้ลงนามใน Netting agreement แล้ว แต่มีสัญญาบางส่วนที่ดคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันที่จะไม่รวมอยู่ใน Netting agreement ในกรณีเช่นนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์จําแนกสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่ทํากับคู่สัญญาแต่ละรายออกเป็นสองกรณี ได้แก่ (1) กรณีที่ไม่มี Netting agreement และ (2) กรณีที่มี Netting agreement
5.5.2 ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลในกรณีที่ไม่มี Netting agreement ละกรณีที่มี Netting agreement โดยคูณจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ด้วยค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 4 ตารางที่ 1 และ 2 ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้

โดย  = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล
**CCFi** = ค่าแปลงสภาพสําหรับวิธี OEM (เอกสารแนบ 4 ตารางที่ 1และ 2)
5.5.3 ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของคู่สัญญาแต่ละรายโดยหายอดรวมของมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลกรณีที่ไม่มี Netting agreement และกรณีที่มี Netting agreement ที่ตํานวมได้ตามข้อ 5.5.2 ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
CEAของคู่สัญญาแต่ละราย = CEAกรณีที่ไม่มี Netting agreement + CEAกรณีที่มี Netting agreement
โดย CEA = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล
5.6 Current exposure method วิธี CEM)
5.6.1 โดยปกติหากมีการลงนามใน Netting agreement กับคู่สัญญารายใดสัญญาอนุพันธ์ทุกสัญญาที่ทํากับคู่สัญญารายดังกล่าวก็จะถูกนํามาหักกลบลบหนี้เพื่อชําระราคาเป็นยอดเคียวในกรณีที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ซึ่งในกรณีเช่นนี้ให้ใช้วิธี CEM กรณีที่มี Netting ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของรายการสัญญาอนุพันธ์ดังกล่าว อย่างไรก็ดีมีบางกรณีที่แม้ลงนามใน Netting agreement แล้ว แต่มีสัญญาบางส่วนที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันที่จะไม่รวมอยู่ใน Netting agreement ในกรณีเช่นนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์จําแนกสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่ทํากับคู่สัญญาแต่ละรายออกเป็นสองกรณี ได้แก่ (1) กรณีที่ไม่มี Netting agreement และ (2) กรณีที่มี Netting agreement
5.6.2 ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลแต่ละกรณีโดยมีขั้นตอนการคํานวณดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ไม่มี Netting agreement
(1.1) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณผลรวมด้านกําไรที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน (Gross replacement cost : RC Gross) ของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่ธนาคารพาณิชย์ทํากับคู่สัญญา ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
โดย RC Gross = ผลรวมด้านกําไรที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน
RC j = มูลค่าที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันที่มีค่าเป็นบวก
(1.2) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Gross add-ons: A Gross) โดยหายอดรวมของผลคูณของจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่ทํากับคู่สัญญาแต่ละรายกับค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 4 ตารางที่ 3 และ 4 ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
โดย A Gross = ผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (กรณีที่ไม่มี Netting
agreement)
CCF j = ค่าแปลงสภาพสําหรับวิธี CEM (เอกสารแนบ 4 ตารางที่ 3 และ 4)
(1.3) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยหายอดรวมของมูลค่าผลรวมด้านกําไรที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรม (RC Gross) ที่คํานวณ ได้ตามข้อ (1.1) และผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (A Gross)ที่คํานวณได้ตามข้อ (1.2) ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
CEAกรณีที่ไม่มี Netting agreement = RC Gross + A Gross
โดย CEA = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล
RC Gross = ผลรวมด้านกําไรที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน
A Gross = ผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (กรณีที่ไม่มี Netting agreement)
(2) กรณีที่มี Netting agreement
ในแต่ละ Netting set หรือกลุ่มสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่อยู่ภายใต้Netting agreement เดียวกัน ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับกลุ่มสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด ดังนี้
(2.1) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณผลรวมสุทธิที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน (Net replacement cost: RC.) ของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดที่ ธนาคารพาณิชย์ทํากับคู่สัญญาแต่ละราย โดยหายอดรวมสุทธิของกําไรและขาดทุนที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมของทุกสัญญาที่อยู่ภายใต้ Netting agreement เดียวกัน ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
โดย RC Net = ผลรวมสุทธิที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน ทั้งนี้กรณีที่ RC Net มีค่าเป็นบวก
ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ค่าที่คํานวณได้ดังกล่าว และกรณีที่ RC Net มีค่าเป็นศูนย์หรือลบ
ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ค่าศูนย์แทน
RC i = มูลค่าสุทธิที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน
(2.2) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณหาค่า Net to gross ratio (NGR) ซึ่งเท่ากับอัตราส่วนระหว่าง RC Net และ RC Gross (หรือ RC Net / RC Gross) โดยธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกคํานวณ NGR ได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธีการคํานวณค่า NGR สําหรับคู่สัญญาแต่ละราย (Individual approach) และวิธีการคํานวณค่า NGR สําหรับคู่สัญญาทุกราย (Aggregate approach) ซึ่งเมื่อธนาคารพาณิชย์เลือกใช้วิธีใดแล้วให้ใช้วิธีนั้นอย่างสม่ําเสมอ ดังนี้
(2.2.1) วิธีการคํานวณค่า NGR สําหรับคู่สัญญาแต่ละราย (Individual approach) ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ค่า RC Net และ RC Gross ที่คํานวณจากสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดทุกสัญญาที่มี Netting agreement เดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์ทํากับคู่สัญญารายนั้น ๆ
(2.2.2) วิธีการคํานวณค่า NGR สําหรับคู่สัญญาทุกราย (Aggregate approach) ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ค่า RC Net และ RC Gross ที่คํานวณจากผลรวมของ RC Net และ RC Gross ตามวิธี Individual approach ของคู่สัญญาทุกรายที่ธนาคารพาณิชย์มี Netting agreement โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องใช้ค่า NGR ที่คํานวณได้ตามวิธีการนี้ในการคํานวณ A Net สําหรับคู่สัญญาทุกราย
(2.3) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Net add-ons; A Net ) ของสัญญาอนุพันธ์นอกตลาดทุกสัญญาที่อยู่ภายใต้ Netting agreement เดียวกัน ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
A Net = 0.4 X A Gross + 0.6 X NGR X A Gross
โดย A Net = ผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (กรณีที่มี Netting agreement)
NGR = RC Net/RC Gross
A Gross = ผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยถือเสมือนไม่มี Netting agreement ซึ่งคํานวณตามวิธีการในข้อ (1.2)
(2.4) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยหายอดรวมของมูลค่าผลรวมสุทธิที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน (RC Net) ที่คํานวณ ได้ตามข้อ (2.1) และผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (A Net) ที่คํานวณได้ตามข้อ (2.3) ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
CEAกรณีที่มี Netting agreement = RC Net + A Net
โดย A Net = ผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (กรณีที่มี Netting agreement)
RC Net = ผลรวมสุทธิที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน
ทั้งนี้ กรณีที่ธนาคารพาณิชย์และคู่สัญญามี Netting agreement มากกว่า 1 สัญญา (หรือมีมากกว่า 1 Netting sets) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของแต่ละ Netting set แล้วนําค่าดังกล่าวมารวมกันเพื่อให้ได้มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลรวม
5.6.3 ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณผลรวมของมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของคู่สัญญาแต่ละราย โดยหายอดรวมของมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลกรณีที่ ไม่มี Netting agreement ที่คํานวณได้ตามข้อ 5.6.2 (1) และกรณีที่มี Netting agreement ที่คํานวณได้ตามข้อ 5.6.2 (2) ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
CEAของคู่สัญญาแต่ละราย = CEAกรณีที่ไม่มี Netting Agreement+ CEAกรณีที่มี Netting Agreement
โดย CEA = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล
5.7 การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลกรณีการหักกลบลบกันของสัญญา (กรณี Offsetting)
กรณีที่ธนาคารพาณิชย์และคู่สัญญาทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Foreign exchange forward contracts) หรือสัญญาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) เท่ากับกระแสเงินสดที่ต้องรับและจ่ายกันจริง ทั้งด้านซื้อและด้านขาย และได้ทําสัญญาที่ชําระให้สามารถหักกลบลบหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนาคารพาณิชย์สามารถนําสัญญาที่เป็นรายการตรงกันข้ามกัน มีวันครบกําหนดวันเดียวกัน (Same maturity date) และสกุลเงินเดียวกัน (Same currency pair) มาหักกลบลบกัน ได้ (Offset) โดยมีวิธีการคํานวณดังต่อไปนี้
5.7.1 กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธี OEM
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์คูณจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ทั้งด้านซื้อและด้านขายที่ครบกําหนดวันเดียวกัน ด้วยค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4 ตารางที่ 1 และ 2)
(2) ให้ธนาคารพาณิชย์นําค่าที่คํานวณได้ตามข้อ (1) มาหักกลบลบกันและให้นับส่วนต่างที่คํานวณได้เป็นมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของคู่สัญญารายนั้น
5.7.2 กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธี CEM
(1) การคํานวณค่า RC Gross และ ค่า RC Net
(1.1) ให้ธนาคารพาณิชย์นํามูลค่ายุติธรรมของสัญญาที่สามารถหักกลบลบกันได้มาหักกลบกัน
(1.2) ให้ธนาคารพาณิชย์นําค่าส่วนต่างที่คํานวณได้ตามข้อ (1.1) ไปคํานวณรวมกับค่า RC Gross และ RC Net ของสัญญาอื่น ๆ ที่เหลือเพื่อให้ได้ยอดรวมของ RC Gross และ RC Net ของทุกสัญญาที่ทํากับคู่สัญญารายนั้น
(2) การคํานวณค่า RC Gross และ ค่า A Net
(2.1) ให้ธนาคารพาณิชย์คูณจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ทั้งด้านซื้อและด้านขายที่ครบกําหนดวันเดียวกันด้วยค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4 ตารางที่ 3 และ 4)
(2.2) ให้ธนาคารพาณิชย์นําผลคูณที่คํานวณได้ตามข้อ (2.1) มาหักกลบกัน โดยส่วนต่างที่ได้คือ A Gross ของสัญญาที่หักกลบลบกันได้ แล้วให้นําค่า A Gross ที่ได้นี้ไปรวมกับค่า A Gross ของสัญญาอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมดเพื่อให้ได้ยอดรวมของค่า A Gross ของคู่สัญญารายนั้น
(2.3) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณค่า 4M. ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 5.6.2 (2)
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,047 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3678 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแอมโมเนียมซัลเฟตสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณทองแดง -วิธีซิงก์ไดเบนซิลไดไทโอคาร์บาเมตโฟโตเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3678 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
แอมโมเนียมซัลเฟตสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณทองแดง -
วิธีซิงก์ไดเบนซิลไดไทโอคาร์บาเมตโฟโตเมทริก
----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแอมโมเนียมซัลเฟตสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณทองแดง – วิธีซิงก์ไดเบนซิลไดไทโอคาร์บาเมตโฟโตเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1772 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3198 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแอมโมเนียมซัลเฟตสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณทองแดง - วิธีซิงก์ไดเบนซิลไดไทโอการ์บาเมตโฟโตเมทริก ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2542
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,048 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3679 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวทำละลายแอซีเทตสำหรับอุตสาหกรรม – วิธีทดสอบ | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3679 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตัวทําละลายแอซีเทตสําหรับอุตสาหกรรม – วิธีทดสอบ
----------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวทําละลายแอซีเทตสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1963 - 2543
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2808 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวทําละลายแอซีเทตสําหรับอุตสาหกรรม - วิธีทดสอบ ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,049 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 93/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 93/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.119/13/51 | 70,000 | 28 พฤศจิกายน 2551 | 21/12/51 – 16/12/51 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,050 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 93/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับการผิดนัดชำระราคาและการส่งมอบ และธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สำหรับธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 93/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบ
และธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการไม่ต่ํากว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธุรกรรมที่การชําระราคาและการส่งมอบยังไม่เสร็จสิ้น ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Nor-delivery versus payment (Non-DvP) ฉบับนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับการทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน และสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ผิดนัดชําระราคาหรือส่งมอบรวมทั้งการทําธุรกรรมที่มีการชําระราคาและการส่งมอบแบบ Non-delivery versus payment (Non-DvP) โดยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์ ฉบับนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อ้างอิงจาก Annex 3 - Capital Treatment for Failed Trades and Non-DvP Transactions ใน International Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive version : June 2006) ของ Basel Committee on Banking Supervision
ธนาคารพาณิชย์จะต้องนับปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี Standardised Approach (วิธี SA) หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี Internal Ratings-Based Approach วิธี IRB) ขึ้นอยู่กับวิธีที่ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และ มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"ธุรกรรม DvP" หมายความว่า ธุรกรรมที่มีการชําระราคาและการส่งมอบผ่านระบบ Delivery versus payment system (DvP)' ซึ่งระบบนี้กําหนดให้การส่งมอบหลักทรัพย์เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign exchange instrument)' หรือสินค้าโภคภัณฑ์ และการชําระราคาเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันเท่านั้น
"ธุรกรรม Non-DvP" หมายความว่า ธุรกรรมที่มีการชําระราคาและการส่งมอบในลักษณะ Non-delivery versus payment (Non-DvP) ซึ่งการส่งมอบหลักทรัพย์ เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ และการชําระราคาอาจเกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน เช่น การกําหนดให้คู่สัญญาชําระราคาก่อนได้รับหลักทรัพย์ เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ หรือการกําหนดให้คู่สัญญาส่งมอบหลักทรัพย์ เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ ก่อนได้รับการชําระราคา (Free-delivery)
5.2 หลักการ
เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนขั้นต่ํารองรับความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน และสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ผิดนัดชําระราคาหรือส่งมอบ รวมทั้งธุรกรรมที่มีการชําระราคาและการส่งมอบแบบ Non-DvP ประกอบกับสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาตั้งแต่ Trade date โดยให้ธนาคารพาณิชย์พัฒนาให้มีกระบวนการการติดตามการผิดนัดชําระราคาหรือการส่งมอบของธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน และสินค้าโภคภัณฑ์ ตั้งแต่วันแรกที่มีการผิดนัดชําระราคาหรือผิดนัดส่งมอบ
ประกาศฉบับนี้ครอบคลุมการทําธุรกรรมทุกประเภทที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตจากการชําระราคาหรือการส่งมอบ เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน และสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงการทําธุรกรรมกับสํานักหักบัญชีที่เป็นที่ยอมรับ (Recognised clearing house) ที่มีการทํา Mark-to-market และชําระ Variation margin ทุกวัน ซึ่งอาจมีความเสี่ยงจาก Mismatched trade อย่างไรก็ดี ไม่รวมถึงธุรกรรม Repo-style transaction ที่มีการชําระราคาหรือการส่งมอบล่าช้ากว่ากําหนด
การชําระราคาและส่งมอบแบ่งเป็นสองประเภทหลัก ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาแตกต่างกัน ดังนี้
(1) ธุรกรรม DvP: ธนาคารพาณิชย์จะมีความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาจากส่วนต่างของมูลค่าธุรกรรมที่ได้ตกลงไว้เพื่อชําระราคาและส่งมอบ กับมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (Positive current exposure: PCE)
(2) ธุรกรรม Non-DvP: ธนาคารพาณิชย์จะมีความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาจากมูลค่าเต็มจํานวนของเงินสด หรือหลักทรัพย์ที่ได้ส่งมอบไปแล้ว
ทั้งนี้ ในกรณีที่ระบบการชําระราคาและการส่งมอบ หรือระบบหักบัญชีล้มเหลวทั้งระบบ ธปท. อาจพิจารณาผ่อนผันการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับการไม่มีการชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-DvP จนกระทั่งเหตุการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธุรกรรม DvP ธุรกรรม Non-DvP โดยนับปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตดังกล่าวเป็นส่วนสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี Standardised Approach (วิธี SA) หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ขึ้นอยู่กับวิธีที่ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ดังนี้
5.3.1 ธุรกรรม DvP
ในกรณีที่การชําระราคาและการส่งมอบยังไม่เกิดขึ้นภายใน 5 วันทําการภายหลัง Settlement date ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบ เท่ากับผลคูณระหว่างค่า PCE กับน้ําหนักความเสี่ยงในตาราง น้ําหนักความเสี่ยงสําหรับธุรกรรม DvP
ตาราง น้ําหนักความเสี่ยงสําหรับธุรกรรม DvP
| | |
| --- | --- |
| จํานวนวันทําการภายหลังวันชําระราคาหรือวันส่งมอบที่ได้ตกลงไว้ | น้ําหนักความเสี่ยง (%) |
| ตั้งแต่ 5 ถึง 15 วัน | 100 |
| ตั้งแต่ 16 ถึง 30 วัน | 625 |
| ตั้งแต่ 31 ถึง 45 วัน | 937.5 |
| ตั้งแต่ 46 วันเป็นต้นไป | 100/8.5% |
5.3.2 ธุรกรรม Non-DvP
(1) กรณีธนาคารพาณิชย์ส่งมอบขาแรก และการรับมอบขาที่สองยังไม่เกิดขึ้นภายในสิ้นวัน' แต่ยังไม่ถึง 5 วันทําการ นับจากวันที่ควรมีการชําระราคาหรือการส่งมอบขาที่สองตามที่ตกลงไว้
(1.1) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการให้สินเชื่อแก่คู่สัญญาที่ ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้ (วิธี SA หรือวิธี IRB) โดยให้ยอดสินทรัพย์ (หรือค่า Exposure at default: EAD) เท่ากับมูลค่าที่จะได้รับตามสัญญา ทั้งนี้ ในกรณีที่ธุรกรรม Non-DvP ดังกล่าวไม่มีนัยสําคัญ ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 ได้ เพื่อไม่ให้ธนาคารพาณิชย์มีภาระในการพิจารณาความเสี่ยงด้านเครดิตมากเกินไป
(1.2) สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี IRB กับธุรกรรม Non-DvP ดังกล่าว สามารถกําหนดค่า Probability of default (PD) สําหรับคู่สัญญาที่ธนาคารพาณิชย์ไม่มีฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book) โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Rating ภายนอก'ได้ และสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี Advanced IRB (AIRB) สามารถกําหนดค่า Loss given default(LGD) เท่ากับร้อยละ 45 ได้ ถ้าใช้ค่าดังกล่าวกับธุรกรรม Non-DvP ที่ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้วิธี AIRB ทั้งพอร์ต
(2) กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ส่งมอบขาแรก และการรับมอบขาที่สองยังไม่เกิดขึ้นภายใน 5 วันทําการ นับจากวันที่ควรมีการส่งมอบขาที่สองตามที่ตกลงไว้
ให้ธนาคารพาณิชย์หักมูลค่าที่ได้ส่งมอบไปแล้วทั้งหมด บวกกับค่า PCE (ถ้ามี) ออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 จนกระทั่งได้รับมอบขาที่สอง ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์หักมูลค่าที่ได้ส่งมอบไปแล้วทั้งหมดทันที และสําหรับค่า PCE (ถ้ามี) ให้หักทุกงวด 6 เดือน
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,051 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3680 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฮาโลเจเนเทคไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของเหลวสำหรับอุตสาหกรรม – การวิเคราะห์หาจุดขุ่น | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3680 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ฮาโลเจเนเทคไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของเหลวสําหรับอุตสาหกรรม – การวิเคราะห์หาจุดขุ่น
-------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฮาโลเจเนเทดไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของเหลวสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาจุดขุ่น มาตรฐานเลขที่ มอก. 1809 - 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3030 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฮาโลเจเนเทคไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของเหลวสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาจุดขุ่น ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,052 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 94/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 94/2551
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ดังนี้
| | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราเบี้ยหน้าตั๋ว | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน – วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ(วัน) |
| 9/29/51 | - | 5,000 | 2 ธ.ค. 51 | 4/12/51-2/1/52 | 29 วัน | 29 วัน |
| 10/28/51 | - | 5,000 | 8 ธ.ค. 51 | 11/12/51-8/1/52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 2/FRB 3 ปี/2551 | 6M BIBOR-0.20(= 3.63797% สําหรับงวดเริ่มต้น 2 ก.ต. 51) | 6,000 | 12 ธ.ค. 51 | 16/12/51-2/7/54 | 3 ปี (FRB) | 2.54 ปี |
| 11/28/51 | - | 5,000 | 16 ธ.ค. 51 | 18/12/51-15/1/52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 8/63/51 | - | 30,000 | 16 ธ.ค. 51 | 18/12/51 - 19/2/52 | 63 วัน | 63 วัน |
| 10/364/51 | - | 20,000 | 16 ธ.ค. 51 | 18/12/51 -17/12/52 | 364 วัน | 364 วัน |
| 12/28/51 | - | 5,000 | 23 ธ.ค. 51 | 25/12/51- 22/01/52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 4/2ปี/2551 | - | 20,000 | 23 ธ.ค. 51 | 25/12/51 -25/12/53 | 2 ปี | 2 ปี |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/2ปี/2551 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 19 ธ.ค. 2551 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่าๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 25 ธ.ค.และ มิ.ย. ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 25 มิ.ย. 2552 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 25 ธ.ค. 2553 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 ธปท. จะประกาศกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันง่ายดอกเบี้ยถัดไป (II) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (12) ในวันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2551
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 8,053 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 94/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดำรงเงินกองทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 94/2551
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุน
เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียหายต่อสถาบันการเงินอันเนื่องมาจากความผันผวนทางด้านราคาหรือมูลค่าของฐานะ อันได้แก่ สินทรัพย์หนี้สิน และภาระผูกพันที่สถาบันการเงินมีอยู่ โดยปัจจัยด้านตลาดที่จะส่งผลกระทบต่อราคาหรือมูลค่าดังกล่าวได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาของตราสารทุนและสินค้าโภคภัณฑ์ การถือครองตราสารหรือการมีฐานะที่เกี่ยวข้องความเสี่ยงด้านตลาดจํานวนมากอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสถาบันการเงินทั้งในด้านรายได้และความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน หากราคาตลาดของฐานะดังกล่าวมีความผันผวนสูง ซึ่งผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดด้วย 2 สาเหตุ คือ (1) ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อทั้งระบบในทิศทางเดียวกัน เรียกว่า General market risk (2) การเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาที่เป็นผลมาจากผู้ออกตราสารเอง หรือเรียกว่า Specific risk ซึ่งจะเกิดขึ้นกับตราสารหนี้และตราสารทุนดังนั้น สถาบันการเงินจึงต้องมีเงินกองทุนที่เพียงพอเพื่อรองรับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าซึ่งจะได้รับผลกระทบในระยะสั้น นอกจากนี้ สถาบันการเงินควรต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงและมีเครื่องมือในการวัด ติดตามและควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมกับปริมาณและความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงิน
เพื่อให้การกํากับดูแลการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเป็นไปตามมาตรฐานสากล และสามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้งเพื่อให้สถาบันการเงินมีการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน โดยกําหนดให้สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าในระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดสําหรับ 1) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยและราคาตราสารทุนเฉพาะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า และ 2) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดของสถาบันการเงินทั้งในบัญชีเพื่อการค้าและบัญชีเพื่อการธนาคาร โดยมีวิธีในการคํานวณเงินกองทุน 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธีมาตรฐาน 2) วิธีแบบจําลอง และ 3) วิธีผสม ซึ่งหากสถาบันการเงินใดประสงค์จะใช้วิธีการคํานวณแบบจําลองหรือวิธีแบบผสม สถาบันการเงินนั้นต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน นอกจากนี้ สถาบันการเงินควรมีระบบการบริหารความเสี่ยงและมีเครื่องมือในการวัด ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงิน รวมถึงการมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมด้วย
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเป็นการรวบรวมหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินมาไว้ในฉบับเดียวกัน โดยสถาบันการเงินใดที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้แบบจําลองในการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดด้วยวิธีแบบจําลอง วิธีผสม หรือวิธีการใดวิธีการหนึ่งจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีแล้ว ให้สถาบันการเงินนั้นสามารถดําเนินการต่อไปได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกครั้ง
ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการปรับปรุงประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตาม Basel I (2006 โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวข้องกับการกําหนดน้ําหนักเงินกองทุนเพิ่มเติมสําหรับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยประเภท Specific risk ตามวิธีมาตรฐาน และการกําหนดขอบเขต และการจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้าโดยกําหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าฐานะในบัญชีเพื่อการค้า (Prudential Valuation Guidance)เพิ่มเติมเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 3. ชอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
อื่นๆ - 4. ประกาศหรือหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ตามรายการในเอกสารแนบ 1
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ในประกาศฉบับนี้
"ความเสี่ยงด้านตลาด" หมายความว่า ความเสี่ยงที่สถาบันการเงินอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของฐานะทั้งที่อยู่ในงบดุลและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและราคาตราสารทุนอาจเกิดจากปัจจัยตลาดทั่วไป (Genera Market Risk) และ/หรือ ปัจจัยเฉพาะของผู้ออกตราสารนั้น (Specific Risk)
"บัญชีเพื่อการค้า" (Trading Book) หมายความว่า ฐานะ (Position) ของตราสารการเงิน (Financial instruments) และสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ที่มีเจตนาถือครองไว้เพื่อการค้า (Trading Intent) หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะอื่นๆ ในบัญชีเพื่อการค้า รวมทั้งอนุพันธ์ทางการเงินทุกประเภทที่ไม่ได้นําไปใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking Book) โดยตราสารการเงินที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าต้อง ไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขายหรือในการป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ฐานะเหล่านั้นต้องมีการประเมินมูลค่าอย่างถูกต้องที่เป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
"บัญชีเพื่อการธนาคาร" (Banking Book) หมายความว่า ฐานะของเครื่องมือทางการเงินหรือธุรกรรมอื่นที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือตราสารทางการเงินที่มีเจตนาตั้งแต่แรกว่าจะถือครองระยะขาวหรือถือจนครบกําหนดอายุ
"ฐานะที่มีเจตนาถือไว้เพื่อการค้า" (Trading Intent) หมายความว่า ฐานะต่างๆ ที่ถือไว้ในระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อ และ/หรือ เพื่อหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือเพื่อหากําไรจากความแตกต่างของราคาในแต่ละตลาดเปรียบเทียบกัน (Arbitrage) ครอบคลุมทั้งฐานะที่เป็นของสถาบันการเงินเอง ฐานะที่เกิดจากการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้าโดยสถาบันการเงิน เช่น การให้บริการเป็นนายหน้าโดยซื้อขายในนามของสถาบันการเงิน (Matched Principal Brokering และฐานะที่เกิดขึ้นจากการเป็นผู้เสนอราคาซื้อขายในตลาด (Market Makers)
"เงินกองทุน" หมายความว่า
(1) เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ให้ใช้ความหมายเดียวกับเงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
(2) เงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้ใช้ความหมายเดียวกับเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
(3) เงินกองทุนของบริษัทเงินทุน ให้ใช้ตามความหมายเดียวกับเงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัทเงินทุน
"ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่าปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินได้ประเมินแล้วอยู่ในระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (เอกสารแนบ 2)
"ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่า ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินได้ประเมินแล้วต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ(Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (เอกสารแนบ 2)
"สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด" หมายความว่า สินทรัพย์เสี่ยงที่คํานวณโดยการนําเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้ คูณด้วย 12.5
"คณะกรรมการสถาบันการเงิน" หมายความว่า คณะกรรมการของสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในประเทศ หรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
5.2 ขอบเขตของหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด
ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดซึ่งครอบคลุมถึงองค์ประกอบความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ราคาของตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดแบ่งออกเป็น 5 เรื่อง ดังนี้
5.2.1 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า
5.2.2 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด
5.2.3 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า
5.2.4 การดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาด
(1) การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน
(2) การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีแบบจําลอง
(3) การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีผสม
5.2.5 การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง
5.3 การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด
ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดโดยต้องมีการประเมินปริมาณการทําธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าก่อนตามข้อ 5.4 เพื่อพิจารณาระดับที่สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณและความซับซ้อนในการทําธุรกรรม ดังนี้
5.3.1 สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 5.2.1 -- 5.2.5
5.3.2 สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 5.2.1 - 5.23 และให้ประเมินความเสี่ยงด้านตลาดเพื่อดํารงเงินกองทุนเฉพาะองค์ประกอบด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องตามนโยบายในข้อ 5.2.4 - 5.2.5 ด้วย
5.4 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า
5.4.1 ให้สถาบันการเงินอ้างอิงปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาว่า เป็นระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) จากหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาทบทวนระดับที่มีนัยสําคัญของปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าเป็นครั้งคราว เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาดการเงินและมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
5.4.2 ให้สถาบันการเงินทุกแห่ง ประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าเพื่อเปรียบเทียบกับระดับที่มีนัยสําคัญ โดยการประเมินปริมาณธุรกรรมจะคํานวณตามแบบรายงานปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระบบบริหารข้อมูล (Data Management System.) ที่สถาบันการเงินต้องรายงานเป็นประจําทุกเดือน (ตัวอย่างตามเอกสารแนบ 2.1) ทั้งนี้
(1) สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายในข้อ 5.3.1. ไปตลอด โดยสถาบันการเงินอาจพิจารณาขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อขอยกเลิกการปฏิบัติตามแนวนโยบายในข้อดังกล่าวได้ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้เป็นรายกรณี หากสถาบันการเงินมีเหตุผลที่สําคัญ เช่น มีนโยบายยกเลิกการทําธุรกรรมเพื่อการค้าหรือมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าในระดับที่ต่ํามากเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น
(2) สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายในข้อ 5.3.2 รวมทั้งต้องติดตามฐานะของสถาบันการเงินอย่างสม่ําเสมอโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาทบทวนระดับที่มีนัยสําคัญของสถาบันการเงินทุก 6 เดือน
5.5 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด
คณะกรรมการของสถาบันการเงินและผู้บริหารระดับสูงต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3 ทั้งนี้ ระบบการควบคุมภายในดังกล่าวต้องครอบคลุมประเด็นสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
5.5.1 บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการของสถาบันการเงินและผู้บริหารระดับสูง
5.5.2 แนวทางการวัดติดตาม และประเมินความเสี่ยง
5.5.3 แนวปฏิบัติในการควบคุมความเสี่ยงและการแบ่งแยกหน้าที่
5.5.4 แนวทางการเก็บข้อมูลและการสื่อสารภายในองค์กร
5.5.5. ระบบการตรวจสอบภายในและการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
5.6 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า
ให้สถาบันการเงินจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า (Trading Book Policy) ของสถาบันการเงินที่เหมาะสมกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4 ดังนี้
5.6.1 ฐานะในบัญชีเพื่อการค้า (Trading Book) จะประกอบด้วยฐานะในตราสารการเงิน เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน ที่สถาบันการเงินถือครองไว้โดยมีเจตนาเพื่อการค้า หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะอื่น ๆ ในบัญชีเพื่อการค้า รวมทั้งอนุพันธ์ทางการเงินทุกประเภทที่ไม่ได้นําไปใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร(Banking Book) ทั้งนี้ ตราสารการเงินในบัญชีเพื่อการค้าต้องไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขาย รวมทั้งมีการประเมินมูลค่าของฐานะที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอ และต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
5.6.2 สถาบันการเงินต้องจัดทํานโยบายดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมให้ผู้ตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ และต้องมีรายละเอียดครอบคลุมในประเด็นต่างๆ อย่างน้อยตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยเฉพาะเรื่องนโยบายการจัดกลุ่มตราสารการเงินให้อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า และบัญชีเพื่อการธนาคาร นโยบายการโยกย้ายรายการระหว่างบัญชี การกําหนดระยะเวลาการถือครองฐานะในบัญชีเพื่อการค้าการกําหนดนโยบาย กลยุทธ์ทางการค้า และกระบวนการบริหารฐานะที่ชัดเจน เป็นต้น
5.6.3 คณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นผู้อนุมัตินโยบายดังกล่าวและต้องเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและนําไปปฏิบัติโดยทั่วกัน
5.6.4 นโยบายดังกล่าวต้องมีการกําหนดเวลาทบทวนเป็นประจําที่ชัดเจนเพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ หากมีการปรับปรุงในประเด็นที่สําคัญ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมาย
5.6.5 สถาบันการเงินต้องจัดให้มีระบบการประเมินมูลค่าฐานะในบัญชีเพื่อการค้าที่เหมาะสม และมีระบบการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ เพื่อให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินและผู้บริหารระดับสูงมีความมั่นใจว่าระบบการประเมินมูลค่าฐานะดังกล่าวมีความถูกต้องเหมาะสมและน่าเชื่อถือ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4.2)
5.7 การดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด
5.7.1 ให้สถาบันการเงินที่มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาดดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงดังกล่าวให้เพียงพอกับระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
5.7.2 ให้สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ ดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามองค์ประกอบตามข้อ (1) ถึงข้อ (4) สําหรับสถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญให้ดํารงเงินกองทุนเฉพาะในข้อ (4) เท่านั้น
(1) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า
(2) ความเสี่ยงด้านราคาตราสารทุนจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า
(3) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากฐานะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ
(4) ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากฐานะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องสําหรับฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าทุกฐานะ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัท
นอกจากนี้ สถาบันการเงินต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับ Credit Derivatives ที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้า ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives
5.7.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการให้สถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดในทุกองค์ประกอบหรือองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเพิ่มเติมจากความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตามข้อ 5.7.2 (4) และ Credit Derivatives ที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าการสั่งการดังกล่าวทําให้สถาบันการเงินแห่งนั้นมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งกรณีนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการในภายหลัง
5.7.4. ให้สถาบันการเงินคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด
สําหรับประเภทของความเสี่ยงด้านตลาดที่กําหนดในข้อ 5.1.2 ซึ่งคํานวณตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
(1) วิธีมาตรฐาน (Standardised Approach) หรือ
(2) วิธีแบบจําลอง (Internal Model Approach) หรือ
(3) วิธีผสมระหว่างวิธีมาตรฐานกับวิธีแบบจําลอง
5.7.5 ให้สถาบันการเงินนําเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณได้ตามวิธีที่ระบุในข้อ 5.7.4 มาคูณด้วย 12.5 เป็นสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด เพื่อนํามาใช้ในการดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัทเงินทุน
ทั้งนี้ สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น หมายถึง ยอดรวมของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดและสินทรัพย์เสี่ยงด้านการปฏิบัติการ โดยสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตคํานวณตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับบริษัทเงินทุน(ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับสถาบันการเงินที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ ให้ยกเว้น ตราสารที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้า แต่ยังคงรวมความเสี่ยงของคู่ค้า (Counterparty Risk) จากอนุพันธ์ทางการเงินประเภท OTC (Over the Counter) ที่ จัดอยู่ในทุกบัญชี) และสินทรัพย์เสี่ยงด้านการปฏิบัติการคํานวณตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
5.8 การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน
5.8.1 สถาบันการเงินสามารถเลือกคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดด้วยวิธีมาตรฐานได้ โดยเงินกองทุนที่จะต้องดํารงขึ้นอยู่กับมูลค่าของฐานะที่สถาบันการเงินถือครองเละน้ําหนักเงินกองทุนที่แบ่งตามปัจจัยความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กําหนดน้ําหนักเงินกองทุน (Capital Charge) เพื่อรองรับความเสี่ยงแต่ละประเภท โดยที่น้ําหนักเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง General Market Risk ประมาณการจากความอ่อน ไหว (Sensitivity) ของมูลค่าฐานะต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยความเสี่ยงแต่ละประเภทดังกล่าวโดยไม่มีการพิจารณาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างปัจจัยความเสี่ยง
ทั้งนี้ การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน แบ่งตามประเภทของความเสี่ยงด้านต่างๆ ดังนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| ความเสี่ยงด้าน | น้ําหนักเงินกองทุน (Capital Charge) เพื่อรองรับความเสี่ยงประเภท | รายละเอียดการคํานวณตาม |
| Specific Risk | General Market Risk |
| อัตราดอกเบี้ย (รวมถึง Credit Derivatives) | ร้อยละ 0 – 12 ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้นั้น | ร้อยละ 0 – 12.5 ขึ้นอยู่กับอายุคงเหลือหรือระยะเวลากําหนดอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของตราสารหนี้นั้น | เอกสารแนบ 5 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives |
| ราคาตราสารทุน | ร้อยละ 2,4 และ 8 ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของตราสารทุนนั้น และการกระจายตัวในการลงทุน | ร้อยละ 8 | เอกสารแนบ 6 |
| | | |
| --- | --- | --- |
| ความเสี่ยงด้าน | น้ําหนักเงินกองทุน (Capital Charge) เพื่อรองรับความเสี่ยงประเภท | รายละเอียดการคํานวณตาม |
| Specific Risk | General Market Risk |
| อัตราแลกเปลี่ยน | ไม่มี | ร้อยละ 8 | เอกสารแนบ 7 |
| ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ | ไม่มี | ร้อยละ 0.6 – 15ขึ้นกับอายุคงเหลือของสัญญา | เอกสารแนบ8 |
| Options | การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของ Options แบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธี Simplified 2) วิธี Delta Plus และ 3) วิธี Contingent Loss | เอกสารแนบ 9 |
5.9 การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีแบบจําลอง
สถาบันการเงินสามารถเลือกคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีแบบจําลองได้ ภายหลังจากที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วในการประเมินความเสี่ยงด้วยวิธีนี้ สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 10 ดังนี้
5.9.1 หลักเกณฑ์เชิงคุณภาพ (Qualitative Standards)
5.9.2 ข้อกําหนดของปัจจัยความเสี่ยงด้านตลาดต่างๆ (Specification of Market Risk Factors
5.9.3 หลักเกณฑ์เชิงปริมาณ (Quantitative Standards)
5.9.4 หลักเกณฑ์การจัดทํา Stress Testing
5.9.5 หลักเกณฑ์การจัดทํา Back Testing และการกําหนดค่า Pius Factor
5.9.6 หลักเกณฑ์การใช้แบบจําลองในการประเมินความเสี่ยง Specific Risk
5.10 การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีผสม
5.10.1 สถาบันการเงินสามารถเลือกคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีผสมระหว่างวิธีมาตรฐานกับวิธีแบบจําลองเพื่อดํารงเงินกองทุนได้สําหรับความเสี่ยงด้านตลาดในแต่ละองค์ประกอบ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้สถาบันการเงินคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาคในองค์ประกอบเดียวกันโดยใช้ 2 วิธี เช่น คํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยสําหรับตราสารต่างชนิดกันโดยใช้ทั้งวิธีมาตรฐานและวิธีแบบจําลอง ยกเว้นการประเมินความเสี่ยงของ Optionsหรือฐานะที่ประเมินความเสี่ยงได้ยากและได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว
5.10.2 หากสถาบันการเงินใช้แบบจําลองในการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดในองค์ประกอบใดแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้สถาบันการเงินกลับมาใช้วิธีมาตรฐานในการประเมินความเสี่ยงในองค์ประกอบดังกล่าวได้อีกยกเว้นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณายกเลิกการอนุญาตให้ใช้วิธีแบบจําลองในการประเมินความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่จํากัดเวลาที่สถาบันการเงินคํานวณเงินกองทุนโดยวิธีแบบจําลองร่วมกับวิธีมาตรฐานในช่วงที่กําลังพัฒนาแบบจําลองให้สามารถประเมินความเสี่ยงด้านตลาดในทุกองค์ประกอบได้
ทั้งนี้ สําหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีผสมให้สถาบันการเงินอ้างอิง รายละเอียดตามเอกสารแนบ 11
5.11 การจัดทําข้อมูลแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง
ให้สถาบันการเงินจัดทําข้อมูลและจัดส่งแบบรายงานการประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระบบบริหารข้อมูล (Data Management System) ชุด Total Trading Book Position (DS\_TBP) และแบบรายงานที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ซึ่งปัจจุบันจัดส่งในรูป Excel File ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดตามเอกสารแนบ 12
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 8,054 |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3681 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกลีเซอรีนสำหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณกลีเซอรอล – วิธีไททริเมทริก | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 3681 (พ.ศ. 2550)
ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511
เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กลีเซอรีนสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณกลีเซอรอล – วิธีไททริเมทริก
----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกลีเซอรีนสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณกลีเซอรอล - วิธีไททริเมทริก มาตรฐานเลขที่ มอก. 1593 - 2541
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2621 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกลีเซอรีนสําหรับอุตสาหกรรม - การวิเคราะห์หาปริมาณกลีเซอรอล - วิธีไททริเมทริก ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 8,055 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.