title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 31 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556
--------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ที่จะประมูลในวันที่ 26 เมษายน 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ในวันที่ 26 เมษายน2556 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 24 เมษายน 2556 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 2.78125 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 2.85308 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม -
ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,952 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 45/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 45/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.31/14/59 | 50,000 | 5 สิงหาคม 2559 | 9/8/59 – 23/8/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,953 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 32 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ดังนี้
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| 18/28/56 | - | 25,000 | 7 พ.ค. 56 | 9 พ.ค. 56 | 6 มิ.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 18/91/56 | - | 25,000 | 7 พ.ค. 56 | 9 พ.ค. 56 | 8 ส.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 18/182/56 | - | 28,000 | 7 พ.ค. 56 | 9 พ.ค. 56 | 7 พ.ย. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
| 19/28/56 | - | 25,000 | 14 พ.ค. 56 | 16 พ.ค. 56 | 13 มิ.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 19/91/56 | - | 25,000 | 14 พ.ค. 56 | 16 พ.ค. 56 | 15 ส.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 19/182/56 | - | 28,000 | 14 พ.ค. 56 | 16 พ.ค. 56 | 14 พ.ย. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/3ปี/2556 | 2.95 | 40,000 | 16 พ.ค. 56 | 20 พ.ค. 56 | 14 ม.ค. 59 | 3 ปี | 2.65 ปี |
| 20/28/56 | - | 25,000 | 21 พ.ค. 56 | 23 พ.ค. 56 | 20 มิ.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 20/91/56 | - | 25,000 | 21 พ.ค. 56 | 23 พ.ค. 56 | 22 ส.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 20/182/56 | - | 28,000 | 21 พ.ค. 56 | 23 พ.ค. 56 | 21 พ.ย. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
| 21/28/56 | - | 25,000 | 28 พ.ค. 56 | 30 พ.ค. 56 | 27 มิ.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 21/91/56 | - | 25,000 | 28 พ.ค. 56 | 30 พ.ค. 56 | 29 ส.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 21/182/56 | - | 28,000 | 28 พ.ค. 56 | 30 พ.ค. 56 | 28 พ.ย. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,954 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 33 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤษภาคม 2556
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.18/14/56 | 30,000 | 2 พฤษภาคม 2556 | 7/5/56 – 21/5/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,955 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 1/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลผู้ให้บริการระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนช. 1 /2561
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ
--------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศโดยเป็นระบบการชําระเงินที่รองรับการโอนเงินมูลค่าสูง หรือที่ใช้สําหรับการหักบัญชีหรือการชําระดุลที่เชื่อมโยงระหว่างธนาคารกลางกับผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินต่าง ๆ ซึ่งเป็นสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ รวมถึงมีความเชื่อมโยง (interdependencies) กับระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการทําธุรกรรมทางการเงินให้สามารถดําเนินการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ (financial stability) ซึ่งหากระบบหยุดชะงักอาจส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ความเชื่อมั่นของสาธารณชน หรือเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบการชําระเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ โดยนําหลักการตามมาตรฐานสากลมาใช้ มีการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผลสมบูรณ์ของการชําระเงิน (payment finality) และการดําเนินการรองรับกรณีที่สมาชิกถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือพิพากษาให้ล้มละลาย เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการชําระเงินในระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญที่ได้ดําเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว รวมถึงกํากับดูแลในด้านธรรมาภิบาล ด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย ด้านการคุ้มครองสมาชิกและสาธารณชน และด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมให้ระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญมีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย มีการบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม และสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉินรวมถึงลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องเป็นวงกว้าง (systemic risk) ซึ่งนําไปสู่การมีเสถียรภาพของระบบชําระเงินและระบบการเงินโดยรวม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
4.1 นิยาม
ในประกาศฉบับนี้
"ระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ" หมายความว่า ระบบการชําระเงินที่ ธปท. จัดตั้งและดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือระบบการชําระเงินอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของ ธปท. ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน
"ผู้ให้บริการ" หมายความว่า ผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ
"สมาชิก" หมายความว่า ผู้ใช้บริการที่ยินยอมผูกพันตามหลักเกณฑ์ในการใช้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ
"ธบ่ท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการระบบการชําระเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการของผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
4.2 หลักเกณฑ์การกํากับดูแล
ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
4.2.1 การคุ้มครองผลสมบูรณ์ของการชําระเงิน (payment finality)
ให้รายการโอนเงินหรือชําระดุลที่ส่งเข้าระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญมีผลสมบูรณ์ เมื่อผู้ให้บริการได้หักเงินจากบัญชีของสมาชิกผู้โอนและนําเข้าบัญชีของสมาชิกผู้รับโอนตามหลักเกณฑ์ของระบบที่ผู้ให้บริการกําหนด โดยผู้ให้บริการ สมาชิก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะเพิกถอนกลับรายการ หรือแก้ไขรายการมิได้
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการต้องกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และขั้นตอนการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินหรือการชําระดุลเกี่ยวกับผลสมบูรณ์ของการโอนเงินหรือการชําระดุล โดยกําหนดกระบวนการ ระยะเวลาในการชําระเงิน และจุดที่การโอนเงินหรือการชําระดุลมีผลสมบูรณ์ (point of finality) ตลอดจนมีแนวปฏิบัติเพื่อรองรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างชัดเจน
4.2.2 การดําเนินการรองรับกรณีที่สมาชิกถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือพิพากษาให้ล้มละลาย
(1) กําหนดกระบวนการและพิธีปฏิบัติรองรับกรณีที่สมาชิกถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือพิพากษาให้ล้มละลาย รวมถึงแนวทางการประสานงานระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้กํากับดูแลและผู้ให้บริการระบบที่มีความเชื่อมโยงกัน เพื่อให้สามารถดําเนินการระงับการให้บริการชั่วคราวหรือเพิกถอนการให้บริการแก่สมาชิกรายดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายและปัญหาด้านสภาพคล่องที่อาจเกิดขึ้น
(2) จัดให้มีการทดสอบการปฏิบัติตามกระบวนการและพิธีปฏิบัติร่วมกับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทบทวนกระบวนการและพิธีปฏิบัติ รองรับกรณีสมาชิกถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบกับกระบวนการและพิธีปฏิบัติที่ได้กําหนดไว้อย่างมีนัยสําคัญ
4.2.3 ด้านธรรมาภิบาล
(1) การควบคุมภายใน
(1.1) จัดให้มีโครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ซึ่งสอดคล้องตามหลักการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ 3 ระดับ (three lines of defence) โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ สายการบังคับบัญชา และการรายงานอย่างชัดเจนระหว่างการทําหน้าที่ (1) ดําเนินการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ (2) บริหารความเสี่ยง และ (3) ตรวจสอบ รวมถึงต้องจัดให้มีการถ่วงดุลอํานาจกันอย่างอิสระ โดยเฉพาะการทําหน้าที่ตรวจสอบต้องมีความเป็นอิสระจากการทําหน้าที่ดําเนินการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ และการทําหน้าที่บริหารความเสี่ยง
(1.2) จัดให้มีกระบวนการควบคุมภายใน ซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจสอบรายการผิดปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือการทุจริตในการปฏิบัติงาน หรือการบริหารความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสมและรัดกุมเพียงพอ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับภายในของผู้ให้บริการ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) การรายงานการดําเนินงานและแผนงานที่สําคัญ
ให้รายงานการดําเนินงานและแผนงานที่สําคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญแก่คณะกรรมการโดยสม่ําเสมอ เพื่อติดตามการดําเนินงาน เช่น แผนการปรับเปลี่ยนระบบงานที่สําคัญ การปรับปรุงแก้ไขประเด็นความเสี่ยงที่สําคัญ การกําหนดเป้าหมายในการให้บริการ และการรายงานระดับความพร้อมใช้งานของระบบ (system availability)
4.2.4 ด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย
ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศ ธปท. ว่าด้วยนโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ และต้องปฏิบัติเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) นโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยง
กําหนดนโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงต้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงต้านปฏิบัติการซึ่งรวมถึงความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมทั้งมีการระบุระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ทั้งที่เกิดจากระบบของผู้ให้บริการ สมาชิก และระบบที่มีความเชื่อมโยงกัน (interdependencies)
ทั้งนี้ นโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และต้องจัดให้มีการทบทวนนโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(2) นโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ
ต้องจัดให้มีการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศโดยผู้ตรวจสอบภายนอกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบให้ ธปท. เป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ทําการตรวจสอบแล้วเสร็จซึ่งขอบเขตในการตรวจสอบต้องรวมถึงการประเมินช่องโหว่ของระบU (vulnerability assessment) และจัดให้มีการทดสอบเจาะระบบ (penetration test) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ทั้งนี้ ในการตรวจสอบระบบสารสนเทศ ผู้ให้บริการต้องเลือกใช้ผู้ตรวจสอบภายนอกที่เป็นอิสระ มีความรู้ และประสบการณ์ในการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้
ในกรณีมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษที่ทําให้ผู้ให้บริการไม่สามารถดําเนินการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดได้ ผู้ให้บริการสามารถยื่นขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็นต่อ ธปท. เป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดย ธปท. อาจพิจารณาขยายระยะเวลาหรือไม่ก็ได้ หรือกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้
(3) การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP)
(3.1) กําหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยมีการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อการหยุดชะงักของระบบที่ให้บริการ รวมทั้งจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
(3.2) จัดให้มีการทดสอบและทบทวนการปฏิบัติตามแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องร่วมกับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบอย่างมีนัยสําคัญ
(4) การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก
หากมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก เพื่อดําเนินการแทนในงานระบบสารสนเทศและงานอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการให้บริการระบบอย่างมีนัยสําคัญ (critical service provider) ผู้ให้บริการต้องดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
(4.1) กําหนดนโยบายการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก โดยครอบคลุมถึงการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก การรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบและข้อมูล การรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบและข้อมูลและการรักษาความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศที่ใช้บริการ
(4.2) จัดให้มีการประเมินและการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้ครอบคลุมถึงการรักษาความลับและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (interdependency risk) จนอาจทําให้การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการใช้บริการทําได้ยาก (vendor lock-in) รวมถึงความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของทรัพยากรที่สําคัญ (concentration risk) โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกมีการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการหลายราย
(4.3) จัดให้มีแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) ที่ครอบคลุมถึงการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก เพื่อรองรับกรณีการเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกและเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
4.2.5 ด้านการคุ้มครองสมาชิกและสาธารณชน
(1) การกําหนดและเปิดเผยข้อตกลงการให้บริการ
กําหนดข้อตกลงในการให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเปิดเผยให้สมาชิกทราบอย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(1.1) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ให้บริการและสมาชิก ทั้งในกรณีปกติและกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
(1.2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติในการให้บริการ
(1.3) ความเสี่ยงทางการเงิน (financial risk) หรือความเสี่ยงอื่นใดที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการ (ถ้ามี) เพื่อให้สมาชิกสามารถประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการใช้บริการได้
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ติดตามดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กําหนด โดยจัดให้มีวิธีการดําเนินการกับสมาชิกที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนด และในกรณีที่ผู้ให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งทําให้สมาชิกเสียประโยชน์ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับโดยแจ้งข้อมูลรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อให้สมาชิกสามารถทราบได้
(2) การแจ้งข้อมูลให้สมาชิกรายอื่นทราบกรณีมีการระงับการให้บริการหรือการเพิกถอนการให้บริการกับสมาชิกรายใดรายหนึ่ง
(2.1) กรณีการระงับเป็นการชั่วคราวหรือเพิกถอนการให้บริการกับสมาชิกรายใดรายหนึ่ง ผู้ให้บริการต้องแจ้งให้สมาชิกรายอื่นทราบโดยทันที
(2.2) กรณีสมาชิกขอลาออกจากระบบ ผู้ให้บริการต้องแจ้งให้สมาซิกรายอื่นทราบล่วงหน้า 15 วัน ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อให้สมาชิกสามารถทราบได้
(3) การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิก
(3.1) กําหนดนโยบายในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกการกําหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูล และการระบุตัวบุคคลที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้งจัดให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และป้องกันผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าถึงหรือแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษา
(3.2) รักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิก โดยจะไม่เปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นตลอดระยะเวลาการใช้บริการและภายหลังที่เลิกใช้บริการแล้วเว้นแต่กรณีต่อไปนี้
(3.2.1) การเปิดเผยโดยได้รับความยินยอมจากสมาชิกเป็นหนังสือหรือด้วยวิธีการอื่นใดทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ผู้ให้บริการกําหนด
(3.2.2) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวน หรือการพิจารณาคดี
(3.2.3) การเปิดเผยแก่ผู้สอบบัญชีของผู้ให้บริการ
(3.2.4) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการกําหนดนโยบายและกํากับดูแลระบบการชําระเงินของ ธปท.
(3.2.5) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย
(4) การเปิดเผยค่าธรรมเนียม
(4.1) เปิดเผยรายละเอียดของค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากสมาซิกซึ่งรวมถึงนโยบายการให้ส่วนลด (discount policies) (ถ้ามี) ให้สมาชิกและสาธารณชนทราบโดยทั่วถึง
ทั้งนี้ ในการกําหนดค่าธรรมเนียม ผู้ให้บริการต้องคํานึงถึงความเป็นธรรมต่อสมาชิกด้วย
(4.2) กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียม ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ โดยแจ้งข้อมูลรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อให้สมาชิกสามารถทราบได้
4.2.6 ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพ
(1) การเข้าร่วมและการออกจากระบบ (access and exit regime)
(1.1) กําหนดวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฏิบัติ และค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมและการออกจากระบบของสมาชิกไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยคํานึงถึงหลักการในการเข้าถึงบริการที่เป็นธรรมและเปิดกว้าง (fair and open access) และเปิดเผยให้สมาชิกและสาธารณชนทราบโดยทั่วถึง
(1.2) จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์ผลกระทบที่เกี่ยวข้องจากการรับสมาชิกรายใหม่ที่เข้าร่วมใช้ระบบ เช่น ฐานะทางการเงิน ความพร้อมในการเชื่อมต่อและใช้ระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าการรับสมาชิกรายใหม่จะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและผลกระทบต่อการใช้บริการของสมาชิกรายเดิม
(1.3) เปิดเผยรายชื่อสมาชิกที่เป็นปัจจุบัน ให้สมาชิกและสาธารณชนทราบโดยทั่วถึง เช่น ประกาศทางเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ
(2) การให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(2.1) กําหนดเป้าหมายในการให้บริการที่สามารถประเมินและวัดผลได้ เช่น ระดับความพร้อมใช้งานของระบบ (system availability) รวมถึงจัดให้มีการติดตามและประเมินผล พร้อมทั้งรายงานผลให้คณะกรรมการทราบอย่างสม่ําเสมอ ตลอดจนเปิดเผยผลการดําเนินงานตามเป้าหมายในการให้บริการที่สําคัญให้สมาชิกทราบด้วย
(2.2) จัดให้มีการสํารวจและรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในเรื่องเกี่ยวกับการให้บริการที่สําคัญอย่างสม่ําเสมอ เช่น ขอบเขตในการให้บริการ ฟังก์ชั่นในการใช้งานระบบหรือทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีหรือกระบวนการ เป็นต้น เพื่อพัฒนาและปรับปรุงให้ระบบตอบสนองความต้องการของสมาชิก และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561
(นางฤชุกร สิริโยธิน)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,956 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 47/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 47/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ
ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.32/14/59 | 60,000 | 11 สิงหาคม 2559 | 16/8/59 – 30/8/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,957 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 1/2561 เรื่อง การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 1 /2561
เรื่อง การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct)
-------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญและส่งเสริมให้ผู้ให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนมีการจัดการด้านการให้บริการลูกค้าอย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม โดยมุ่งหมายให้ (1) ลูกค้าเชื่อมั่นได้ว่าผู้ให้บริการมุ่งเน้นการให้บริการอย่างเป็นธรรม บริการลูกค้าอย่างจริงใจ ไม่เอาเปรียบ (2) ลูกค้าได้รับคําแนะนําที่เหมาะสมและชัดเจน (3) ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นธรรมทั้งด้านราคาและเงื่อนไข (4) ลูกค้าสามารถใช้บริการได้สะดวกและได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม และ (5) ผู้ให้บริการช่วยให้ลูกค้าเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเอง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา จากการให้บริการทางการเงินที่ซับซ้อนขึ้นของสถาบันการเงินรวมถึงพัฒนาการด้านเทคโนโลยี และการพึ่งพารายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้น ส่งผลให้การให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินยังมีข้อบกพร่องในหลายด้านและมีการร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเสนอขายที่ไม่เป็นธรรม การบังคับขาย การนําเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่ชัดเจนจนอาจทําให้เกิดความเข้าใจผิด การเสนอขายที่อาจรบกวนสิทธิส่วนบุคคล การกําหนดเงื่อนไข ราคา และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าโดยที่ลูกค้าไม่ยินยอม
ประกาศฉบับนี้เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่งของการสนับสนุนให้ผู้ให้บริการสามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมเป็นธรรมเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อความปลอดภัยและความผาสุกของประชาชน และเพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแล จึงจําเป็นต้องมีการพัฒนาทั้งในด้าน (1) การกํากับดูแลที่เข้มแข็ง ซึ่งครอบคลุมทั้งการกําหนดกรอบกติกาที่เน้นการยกระดับการบริหารจัดการของผู้ให้บริการเพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการในระยะยาว มีความชัดเจน สามารถนําไปปฏิบัติได้จริงโดยไม่เป็นภาระจนเกินควร เป็นองค์รวม ไม่กระจายอยู่ในหลักเกณฑ์หลายฉบับ และมีอํานาจในการดําเนินการทางกฎหมาย รวมถึงการติดตามนํากรอบกติกาไปบังคับใช้ให้เห็นผล เปิดเผยโปร่งใส ดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานกํากับอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ (2) การสนับสนุนให้ผู้ให้บริการตระหนักและให้ความสําคัญต่อการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรมซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้รายได้ของผู้ให้บริการมีการเติบโตอย่างยั่งยืน และ (3) การสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการมีข้อมูลทั้งที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และคุณภาพการให้บริการเพื่อให้สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความประสงค์และเป็นธรรม และมีช่องทางขอความช่วยเหลือในกรณีประสบปัญหา
การยกระดับการบริหารจัดการตามประกาศฉบับนี้ได้กําหนดหลักการ มาตรฐานขั้นต่ํารวมถึงตัวอย่างพฤติกรรมที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติสําหรับผู้ให้บริการทั้งธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและผู้ให้บริการที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ครอบคลุมระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ลูกค้าตั้งแต่ต้นจนจบ (end-to-end process) ทั้งหมด 9 ระบบ ได้แก่ (1) คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม กําหนดให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร และมีผู้รับผิดชอบชัดเจน (2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องเหมาะสมกับลูกค้า ความสามารถของพนักงานขาย ช่องทางการขาย ระบบงานและการควบคุม และมีเงื่อนไขที่เป็นธรรม (3) การจ่ายค่าตอบแทนและมาตรการลงโทษต้องไม่ผลักดันให้เกิดการขายที่ไม่เหมาะสม (4) กระบวนการขายให้ข้อมูลครบถ้วนชัดเจน ไม่บิดเบือน และไม่รบกวนลูกค้า (5) การสื่อสารและให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับการให้บริการอย่างเป็นธรรมเป็นไปอย่างทั่วถึง (6) การดูแลข้อมูลลูกค้ามีความปลอดภัยและคํานึงถึงความเป็นส่วนตัว (7) การดูแลลูกค้าหลังการขายมีความเป็นธรรม (8) การควบคุม กํากับ และตรวจสอบมีความรัดกุม และ (9) ระบบการปฏิบัติงานและแผนฉุกเฉินมีประสิทธิภาพ ให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ประกาศกําหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์และคุณภาพการให้บริการเพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลและสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างเหมาะสม และในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ําได้อย่างมีนัยสําคัญ ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ผู้ให้บริการปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อลูกค้าในวงกว้าง ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ได้กําหนดหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการขายและให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหน่วยลงทุนและตราสารหนี้เพื่อลดภาระแก่ผู้ให้บริการโดยให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกันสําหรับทุกผลิตภัณฑ์
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 56 มาตรา 58 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม สําหรับสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามประกาศฉบับนี้
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 และข้อ 8 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม สําหรับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ตามประกาศฉบับนี้
อาศัยอํานาจตามความใน ข้อ 5 และข้อ 8 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม สําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน ตามประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. แนวนโยบายและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ให้ยกเลิกแนวนโยบายดังต่อไปนี้
3.1 แนวนโยบาย เรื่อง การนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (banking products) ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2556
3.2 แนวนโยบาย เรื่อง การกํากับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555
3.3 หนังสือเวียน ที่ ธปท.ฝนส.(23) ว. 201/2558 เรื่อง ขอความร่วมมือในการแจ้งข้อมูลให้ผู้ใช้บริการทางการเงินทราบกรณีมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการให้บริการ ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558
3.4 หนังสือเวียน ที่ ธปท.ฝนส.(23) ว. 202/2558 เรื่อง ขอความร่วมมือในการแจ้งข้อมูลให้ผู้ใช้บริการทางการเงินทราบกรณีมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการให้บริการ ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับ
4.1 สถาบันการเงินทุกแห่งตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4.2 บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินและที่เกี่ยวข้องทุกแห่ง โดยไม่รวมถึงธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ ธุรกิจให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) บริษัทบริหารสินทรัพย์ และบริษัทที่ประกอบเฉพาะธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกํากับของหน่วยงานกํากับดูแลอื่น เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต
4.3 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมิได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินและที่เกี่ยวข้องทุกแห่ง
4.4 ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมิได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินและที่เกี่ยวข้องทุกแห่ง
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
"กลุ่มธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินและที่เกี่ยวข้อง
"ผู้ให้บริการ" หมายความว่า สถาบันการเงินและบริษัทดังต่อไปนี้ที่ทําหน้าที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือเป็นผู้แนะนําหรือผู้ขายผลิตภัณฑ์ ได้แก่
(1) สถาบันการเงิน
(2) บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยไม่รวมถึง ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ ธุรกิจให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) บริษัทบริหารสินทรัพย์ และบริษัทที่ประกอบเฉพาะธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกํากับของหน่วยงานกํากับดูแลอื่น เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต
(3) ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมิได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินและที่เกี่ยวข้อง
(4) ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ) ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและมิได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินและที่เกี่ยวข้อง
"ผลิตภัณฑ์" หมายความว่า ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินทุกประเภทที่ผู้ให้บริการเป็นผู้ออก ผู้แนะนํา หรือผู้ขาย ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การกํากับของหน่วยงานอื่น เช่น ตราสารหนี้กองทุนรวม ประกันวินาศภัย และประกันชีวิต
"ลูกค้า" หมายความว่า บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์อยู่ในปัจจุบันและให้หมายความรวมถึงผู้ติดต่อสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ ผู้ที่รับทราบผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อต่าง ๆ และผู้ที่ได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ให้บริการเพื่อให้ซื้อผลิตภัณฑ์
"ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง" หมายความว่า ลูกค้าซึ่งผู้ให้บริการต้องใช้ความระมัดระวังในการติดต่อและให้บริการเป็นพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีความรู้ทางการเงินอย่างจํากัดหรือไม่มีประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์ ผู้ที่มีข้อจํากัดในการสื่อสารหรือตัดสินใจ อาทิ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหรือการมองเห็น หรือมีภาวะบกพร่องทางสุขภาพ
5.2 หลักการ
หลักการสําคัญของประกาศฉบับนี้ เพื่อมุ่งหมายให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างเป็นธรรมเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคและเพื่อความปลอดภัยและความผาสุกของประชาชน กล่าวคือ
5.2.1 ลูกค้าเชื่อมั่นได้ว่าผู้ให้บริการมุ่งเน้นการให้บริการอย่างเป็นธรรม บริการลูกค้าอย่างจริงใจและไม่เอาเปรียบ สําหรับผู้ให้บริการที่ให้บริการลูกค้ารายย่อย ควรมีบริการและผลิตภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึงในราคาที่เหมาะสม
5.2.2 ลูกค้าได้รับคําแนะนําที่ตรงกับความประสงค์ ความสามารถทางการเงิน และความสามารถในการทําความเข้าใจของลูกค้า โดยไม่รบกวนลูกค้า และได้รับข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วนเพียงพอในการตัดสินใจด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการขาย รวมถึงสามารถเปรียบเทียบข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริการระหว่างผู้ให้บริการได้อย่างสะดวก
5.2.3 ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นธรรม ทั้งด้านราคาและเงื่อนไข ตรงกับความประสงค์และความสามารถของลูกค้า และเป็นไปตามความคาดหวังของลูกค้า รวมถึงข้อมูลและสินทรัพย์ของลูกค้าได้รับการดูแลไม่ให้นําไปใช้ในทางไม่เหมาะสม
5.2.4 ลูกค้าสามารถดําเนินการต่าง ๆ ภายหลังการขายได้อย่างสะดวกและได้รับความเป็นธรรม เช่น เปลี่ยนผลิตภัณฑ์และบริการ เปลี่ยนผู้ให้บริการ แจ้งปัญหา ยื่นเรื่องร้องเรียนได้รับการชดเชยเยียวยา
5.2.5 ลูกค้ามีความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของตนเกี่ยวกับการใช้บริการทางการเงินโดยผู้ให้บริการมีส่วนสําคัญในการช่วยส่งเสริมความรู้ทางการเงิน
5.3 หลักเกณฑ์
หลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรมประกอบด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ลูกค้า 9 ระบบ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการและผลิตภัณฑ์ และการกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ชะลอ หรือระงับการให้บริการ ทั้งนี้ ในกรณีผู้ให้บริการมอบหมายงานบางส่วนให้ผู้ให้บริการภายนอก (outsourcing) หรือตัวแทนของผู้ให้บริการ (agent) ผู้ให้บริการต้องรับผิดชอบเสมือนเป็นผู้ดําเนินการเอง
5.3.1 การบริหารจัดการระบบงาน ในการให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อยหรือลูกค้าธุรกิจขนาดเล็กที่มีโอกาสได้รับบริการอย่างไม่เป็นธรรม ผู้ให้บริการต้องมีการบริหารจัดการการให้บริการตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการที่มีมาตรฐานขั้นต่ําใน 9 ระบบ (เอกสารแนบ 1 - 9) สรุปสาระสําคัญและผลลัพธ์ที่คาดหวังได้ดังนี้
(1) วัฒนธรรมองค์กร และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง (Corporate culture and roles and responsibilities of board of directors and senior management) คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของผู้ให้บริการรับผิดชอบการผลักดันการให้บริการที่เป็นธรรมอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิผล การให้บริการอย่างเป็นธรรมเป็นหัวใจของวัฒนธรรมองค์กร (รายละเอียดในเอกสารแนบ 1)
(2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดกลุ่มลูกค้า (Product development and client segmentation) ผู้ให้บริการมีผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความประสงค์ ความสามารถทางการเงิน และความสามารถในการทําความเข้าใจของลูกค้าเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เหมาะสมกับความสามารถในการขายของพนักงาน และเหมาะสมกับระบบงาน รวมถึงความสามารถในการควบคุมดูแลคุณภาพการขายให้เป็นธรรมกับลูกค้า ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นธรรมทั้งราคาและเงื่อนไข (รายละเอียดในเอกสารแนบ 2)
(3) การจ่ายค่าตอบแทน (Remuneration scheme) ผู้ให้บริการกําหนดค่าตอบแทนและมาตรการลงโทษที่คํานึงถึงคุณภาพการให้บริการอย่างมีนัยสําคัญสําหรับพนักงานทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ลูกค้า รวมถึงผู้บริหารที่มีหน้าที่ควบคุมดูแล เพื่อผลักดันให้เกิดการให้บริการที่เป็นธรรม (รายละเอียดในเอกสารแนบ 3)
(4) กระบวนการขาย (Sales process) ลูกค้าได้รับการเสนอขายที่ไม่รบกวนความเป็นส่วนตัว ได้รับข้อมูลสําคัญครบถ้วน ไม่เกินจริง ไม่บิดเบือน เพียงพอต่อการตัดสินใจด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพียงพอต่อการใช้บริการต่อไป ได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะกับความประสงค์ ความสามารถทางการเงิน และความสามารถในการทําความเข้าใจของลูกค้า (รายละเอียดในเอกสารแนบ 4)
(5) การสื่อสารและการให้ความรู้แก่พนักงาน (Communication and training) พนักงานทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ลูกค้า ได้รับการสื่อสารที่ช่วยให้ตระหนักถึงความสําคัญของการให้บริการอย่างเป็นธรรม มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการให้บริการอย่างเป็นธรรมและนําไปปฏิบัติจริง (รายละเอียดในเอกสารแนบ 5)
(6) การดูแลข้อมูลของลูกค้า (Data privacy) ข้อมูลของลูกค้าได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย มีการคํานึงถึงความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและการรักษาความลับ การส่งข้อมูลลูกค้าต่อให้ผู้อื่นต้องไม่กระทบความเป็นส่วนตัวของลูกค้า (รายละเอียดในเอกสารแนบ 6)
(7) การแก้ไขปัญหาและจัดการเรื่องร้องเรียน (Problem and complaint handling) การแก้ไขปัญหา การจัดการเรื่องร้องเรียน และการชดเชยเยียวยาของผู้ให้บริการ มีความชัดเจนรวดเร็ว เป็นอิสระ มีประสิทธิภาพ และยุติธรรม (รายละเอียดในเอกสารแนบ 7)
(8) การควบคุม กํากับ และตรวจสอบ (3 Lines of defense) การบริหารจัดการเกี่ยวกับการให้บริการแก่ลูกค้ามีกระบวนการ ระบบควบคุม และการตรวจสอบการปฏิบัติงานที่คํานึงถึงการให้บริการอย่างเป็นธรรมและรัดกุม ตรวจจับความเสี่ยงและความผิดปกติเพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (รายละเอียดในเอกสารแนบ 8)
(9) การปฏิบัติงานและแผนรองรับการปฏิบัติงาน (Operation and business continuity) การบริหารจัดการเกี่ยวกับการให้บริการแก่ลูกค้ามีระบบปฏิบัติการการบริหารความเสี่ยง และแผนรองรับการปฏิบัติงาน ทั้งกรณีปกติและกรณีเหตุฉุกเฉินที่เชื่อมั่นได้ว่าคําสั่งหรือความประสงค์ของลูกค้าได้รับการดําเนินการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา ลูกค้าได้รับบริการอย่างต่อเนื่องและเป็นธรรม (รายละเอียดในเอกสารแนบ 9)
สําหรับลูกค้ากลุ่มอื่น เช่น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ผู้ให้บริการต้องนําหลักเกณฑ์ไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับโอกาสที่จะได้รับบริการอย่างไม่เป็นธรรมของลูกค้าแต่ละกลุ่มซึ่งอาจแตกต่างกันตามกลุ่มลูกค้าและผลิตภัณฑ์ โดยกําหนดนโยบายและกระบวนการภายใน รวมถึงจัดให้มีการควบคุมการนําไปปฏิบัติ และมีการทบทวนความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
5.3.2 การเปิดเผยข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค และเพื่อความปลอดภัยและความผาสุกของประชาชน ผู้ให้บริการต้องเปิดเผยข้อมูล ดังนี้
(1) ข้อมูลการถูกเปรียบเทียบปรับหรือถูกกล่าวโทษ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันการเงินตามข้อ 4.1 หรือผู้ให้บริการที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามข้อ 4.2 ให้ปฏิบัติ ดังนี้
(1.1) กรณีผู้ให้บริการดังกล่าวถูกเปรียบเทียบปรับโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบหรือถูกกล่าวโทษโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการต้องเปิดเผยข้อมูลข้างต้นบนเว็บไซต์ความผาสุกของประชาชนของผู้ให้บริการภายใน 3 วันทําการนับจากวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผย โดยต้องมีข้อมูลเช่นเดียวกับข้อมูลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผย และต้องมีจุดเชื่อมโยงจากหน้าเว็บไซต์หลักที่เห็นได้ชัดเจนและเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
(1.2) กรณีผู้ให้บริการดังกล่าวถูกเปรียบเทียบปรับหรือถูกดําเนินคดีโดยพนักงานสอบสวนหรือศาล อันเนื่องมาจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดําเนินการกล่าวโทษตามข้อ 5.3.2 (1.1) ผู้ให้บริการต้องเปิดเผยข้อมูลข้างต้นบนเว็บไซต์ของผู้ให้บริการภายใน 5 วันทําการนับจากวันที่ทราบผลการถูกเปรียบเทียบปรับหรือผลการดําเนินคดีของหนักงานสอบสวน ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาแล้วแต่กรณี ด้วยถ้อยคําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบแล้ว
ทั้งนี้ สําหรับผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตตามข้อ 4.3 หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับตามข้อ 4.4 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ให้บริการดังกล่าวเปิดเผยข้อมูลต่อไป
(2) ข้อมูลคุณภาพการให้บริการและข้อมูลผลิตภัณฑ์ ให้ผู้ให้บริการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการจําแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์และลักษณะปัญหาที่จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายและเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะลักษณะ เงื่อนไข และข้อจํากัดสําคัญ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ได้ง่าย ตามแนวทางและรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดต่อไป
5.3.3 การกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ชะลอ หรือระงับ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณากําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ชะลอ หรือระงับการให้บริการบางส่วนหรือทั้งหมด ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ให้บริการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้
(2) กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกําหนดให้อํานาจธนาคารแห่งประเทศไทยดําเนินการในเรื่องดังกล่าว
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม 2561
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,958 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 48/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 สิงหาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 48/2559
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 สิงหาคม 2559
-----------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 สิงหาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เท่ากับร้อยละ 1.48947 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2559 ลบร้อยละ 0.1)
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,959 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 49/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 49/2559
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558
------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 19 สิงหาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ในวันที่ 19 สิงหาคม 2559 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.58382 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.59142 ต่อปี
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,960 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2561 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 1 /2561
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2561
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2561
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.1/14/61 | 20,000 | 5 มกราคม 2561 | 9/1/61 – 23/1/61 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มกราคม 2561
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,961 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 50/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 50/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.33/14/59 | 60,000 | 19 สิงหาคม 2559 | 28/8/59 – 6/9/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,962 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2561 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 1 /2561
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 13 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 มีนาคม 2560 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางวาสนา นิมิตยงสกุล 2. นางวราภรณ์ ศุภางคเสน
3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4.นายอัครเดช ดาวเงิน
5. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน 6. นางโสภา อินสุข
7.นางนวอร เดชสุวรรณ์ 8. นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ
9. นายสุเมธ จินดามานพ 10. น.ส.สมิตานันช์ พรหมพินิจ
11. นายทวัส ทาสุวรรณ 12. นายสมชาย เลิศลาภวศิน
13. นายอดุลย์ ค้ําชู 14. นายถนอม จันทเพชร
15. นายสุวัฒน์ วิเชียรศิริ 16. นางรัญจวน ช่อสัมฤทธิ์
17. นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ 18. นางอุษณี ปรีชม
19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายเอนก อิงวิยะ
21. นายภูวดล เหล่าแก้ว
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน 2561
(นายเพิ่มสุข สุทธินุ่น)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,963 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 51/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 51/2559
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2559
-----------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2559 (รุ่นที่ 2/2ปี/2559) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2559 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2ปี/2559 ที่จะประมูลในวันที่ 25 สิงหาคม 2559 เท่ากับร้อยละ 1.58 ต่อปี
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,964 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2561 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 2 /2561
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2561
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2561
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.2/14/61 | 20,000 | 12 มกราคม 2561 | 16/1/61 – 30/1/61 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม 2561
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,965 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 2/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสมาชิกของระบบการชำระเงินที่มีความสำคัญ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนช. 2/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศโดยเป็นระบบการชําระเงินที่รองรับการโอนเงินมูลค่าสูง หรือที่ใช้สําหรับการหักบัญชีหรือการชําระดุลที่เชื่อมโยงระหว่างธนาคารกลางกับผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินต่าง ๆ ซึ่งเป็นสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญรวมถึงมีความเชื่อมโยง (interdependencies) กับระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการทําธุรกรรมทางการเงินให้สามารถดําเนินการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ (financial stability) ซึ่งหากระบบหยุดชะงักหรือสมาชิกในระบบเกิดปัญหาหรือข้อขัดข้อง อาจส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ความเชื่อมั่นของสาธารณชน หรือเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบการชําระเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ ซึ่งมีการเชื่อมโยงเพื่อทําธุรกรรมและรับส่งข้อมูลในระบบ โดยนําหลักการตามมาตรฐานสากลมาใช้ มีการกําหนดหลักเกณฑ์ในด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยและการดําเนินการรองรับในกรณีที่สมาชิกของระบบขอฟื้นฟูกิจการหรือถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย เพื่อให้สมาชิกมีการบริหารความเสี่ยงและมีการรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมและรับส่งข้อมูลในระบบอย่างเหมาะสม รวมถึงมีการเตรียมการรองรับกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องเป็นวงกว้าง (systemic risk) และนําไปสู่การมีเสถียรภาพของระบบชําระเงินและระบบการเงินโดยรวม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
4.1 นิยาม
ในประกาศฉบับนี้
"ระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ" หมายความว่า ระบบการชําระเงินที่ ธปท. จัดตั้งและดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือระบบการชําระเงินอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของ ธปท. ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน
"ผู้ให้บริการ" หมายความว่า ผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ
"สมาชิก" หมายความว่า ผู้ใช้บริการที่ยินยอมผูกพันตามหลักเกณฑ์ในการใช้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ
"ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4.2 หลักเกณฑ์การกํากับดูแล
สมาชิกต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
4.2.1 การบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย
(1) จัดให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศสําหรับเชื่อมโยงเพื่อทําธุรกรรมและรับส่งข้อมูลกับระบบของผู้ให้บริการ รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศตามที่ผู้ให้บริการกําหนด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบในวงกว้าง
(2) จัดให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและรักษาความลับซึ่งกระบวนการและข้อมูลของระบบ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และการดําเนินการที่ผู้ให้บริการกําหนด
(3) ปฏิบัติตามมาตรการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบตามที่ผู้ให้บริการกําหนด เพื่อป้องกันการเกิดความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องเป็นวงกว้าง (systemic risk) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนภาคธุรกิจและประชาชน
(4) จัดให้มีแผนรองรับกรณีการเกิดเหตุการณ์ผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักหรือเกิดความเสียหายต่อระบบ (แผนฉุกเฉิน) และทดสอบการปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินที่ผู้ให้บริการกําหนด
4.2.2 การแจ้งผู้ให้บริการ และ ธปท. ทราบ กรณีสมาชิกขอฟื้นฟูกิจการหรือถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย
ในกรณีที่สมาชิกยื่นคําร้องหรือถูกร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ หรือถูกฟ้องล้มละลาย หรือถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้สมาชิกปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) แจ้งผู้ให้บริการทราบโดยทันทีด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ให้บริการกําหนด
(2) แจ้ง ธปท. ทราบโดยทันทีด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด และจัดส่งรายงานภายในวันทําการถัดจากวันที่เกิดกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กําหนดแนบท้ายประกาศนี้
อนึ่ง ในกรณีที่ ธปท. เป็นผู้ให้บริการระบบ ให้สมาชิกดําเนินการเฉพาะตาม (1)
อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561
(นางฤชุกร สิริโยธิน)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,966 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต การประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนช. 3/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต
การประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ
--------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลระบบการชําระเงินให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน รวมถึงดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ตลอดจนให้มีการคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมสําหรับผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจที่ยื่นขอใบอนุญาตตั้งแต่ปี 2562 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะดําเนินการประกาศกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บต่อไป
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
4.1 นิยาม
ในประกาศฉบับนี้
"ผู้ประกอบธุรกิจ" หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน
"ผู้ใช้บริการของระบบ" หมายความว่า ผู้ใช้บริการที่เป็นสมาชิกและยินยอมผูกพันตามหลักเกณฑ์ในการใช้บริการระบบการชําระเงิน
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
"รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
"นิติบุคคลต่างประเทศ" หมายความว่า นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและประกอบธุรกิจหรือให้บริการระบบการชําระเงินในประเทศไทย
"ผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการ" หมายความว่า
(1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
(2) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการ หรือกรรมการ หรือการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ
"ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4.2 หลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ
(1) ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1.1) เป็นนิติบุคคลประเภท
(1.1.1) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยและมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงิน หรือ
(1.1.2) สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รัฐวิสาหกิจ หรือ
(1.1.3) นิติบุคคลต่างประเทศ เฉพาะผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตร
(1.2) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว ในแต่ละประเภทธุรกิจ ดังนี้
(1.2.1) การให้บริการระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (Inter-institution Fund Transfer System) ไม่ต่ํากว่า 50 ล้านบาท
(1.2.2) การให้บริการระบบเครือข่ายบัตร (Payment Card Network) ไม่ต่ํากว่า 50 ล้านบาท
(1.2.3) การให้บริการระบบการชําระดุล (Settlement System) ไม่ต่ํากว่า 200 ล้านบาท
ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับมากกว่า 1 ประเภทธุรกิจ ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่ต่ํากว่าจํานวนทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของประเภทธุรกิจการให้บริการที่กําหนดไว้สูงสุด
(1.3) มีฐานะทางการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการของระบบและสาธารณชน เช่น ฐานะและผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ส่วนของผู้ถือหุ้นและแหล่งที่มาของเงินทุน
(1.4) ต้องไม่เคยถูกสั่งระงับการดําเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือไม่เคยถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน
(1.5) ต้องไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือไม่เคยเป็นบุคคลที่ถูกกําหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทําอันเป็นการก่อการร้าย หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง
(1.6) มีกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการซึ่งมีลักษณะดังนี้
(1.6.1) มีอายุไม่ต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์
(1.6.2) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560
(1.7) มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมีสัญชาติไทยและมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย
(1.8) ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตรที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ต้องมีสํานักงานสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในประเทศไทย และแต่งตั้งบุคคลอย่างน้อย 1 คนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการแทนนิติบุคคลในสํานักงานดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานและติดต่อประสานงานกับสํานักงานในต่างประเทศ เว้นแต่ได้รับยกเว้นจาก ธปท.
สําหรับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รัฐวิสาหกิจ และผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตรที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ (1.2) และข้อ (1.7)
(2) ให้ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับยื่นแบบการขออนุญาต พร้อมเอกสารหลักฐานตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 1) ต่อ ธปท.
ทั้งนี้ กรณีที่ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับมากกว่า 1 ประเภทธุรกิจ สามารถยื่นแบบการขออนุญาต พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดในคราวเดียวกันได้
4.3 การพิจารณาคําขออนุญาต
(1) ธปท. จะพิจารณาคําขออนุญาตและจะเสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายใน 60 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนทั้งนี้ ธปท. มีอํานาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ และมีอํานาจเรียกหลักฐานและเอกสารใด ๆ จากผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจเพิ่มเติมจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้เพื่อประกอบการพิจารณาได้
(2) รัฐมนตรีจะกําหนดเงื่อนไขอื่นใดเพิ่มเติมประกอบการอนุญาตตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้
(3) หาก ธปท. ตรวจสอบภายหลังพบว่า ข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจได้ยื่นไว้ในการขออนุญาตไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้ในการอนุญาต ธปท. อาจสั่งให้แก้ไขหรือสั่งระงับการดําเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรืออาจเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาเพิกถอนการอนุญาต แล้วแต่กรณี
4.4 กรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดเสียหายในสาระสําคัญ
ผู้ประกอบธุรกิจต้องยื่นคําขอรับใบแทน พร้อมเอกสารหลักฐานตามแบบที่ ธปท. กําหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 2) ต่อ ธปท. ภายในกําหนด 30 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย การถูกทําลาย หรือการชํารุดเสียหาย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ธปท. จะพิจารณาเสนอรัฐมนตรีเพื่อออกใบแทนใบอนุญาต โดยจะดําเนินการออกใบแทนภายใน 45 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561
(นางฤชุกร สิริโยธิน)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,967 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2561 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 3 /2561
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2561
----------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2561
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.3/14/61 | 20,000 | 19 มกราคม 2561 | 23/1/61 – 6/2/61 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2561
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม 2561
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,968 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2561 เรื่อง การดำเนินการกรณีธนาคารสมาชิกในระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค และระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ICAS) เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 3 /2561
เรื่อง การดําเนินการกรณีธนาคารสมาชิกในระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็ค
และระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (ICAS) เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
--------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการในการดําเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารสมาชิกในกรณีที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ธนาคารสมาชิกระบบ ICAS ให้เป็นไปโดยราบรื่นและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 4 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดําเนินการกรณีสมาชิกของระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือกระบวนการล้มละลาย
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารสมาชิกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
เมื่อธนาคารสมาชิกรายใดรายหนึ่งเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ธปท. จะดําเนินการดังนี้
ข้อ 1 กรณีศาลนัดพิจารณาคดีล้มละลาย ธปท. จะระงับการให้บริการชั่วคราวแก่ธนาคารสมาชิกรายดังกล่าว และให้ธนาคารสมาชิกหยุดการส่งรายการ Out-Clearing ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารสมาชิกรายนั้น ตั้งแต่เวลาที่ศาลนัดไปจนกว่าศาลจะมีคําสั่งเสร็จสิ้น
ข้อ 2 กรณีศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งในคดีล้มละลายของธนาคารสมาชิกรายดังกล่าวแล้ว ธปท.จะดําเนินการ ดังนี้
2.1 กรณีศาลมีคําพิพากษายกฟ้อง หรือมีคําสั่งใด ๆ ที่ไม่ใช่คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ธปท. จะยกเลิกการระงับการให้บริการชั่วคราวแก่ธนาคารสมาชิกรายนั้น และให้ธนาคารสมาชิกส่งรายการ Out Clearing ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารสมาชิกรายนั้นเข้าสู่ระบบ ICAS ได้ตามปกติ
2.2 กรณีที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ธนาคารสมาชิกรายดังกล่าว ธปท. จะระงับการให้บริการชั่วคราวแก่ธนาคารสมาชิกรายนั้นต่อไปจนกว่าศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น โดยจะดําเนินการดังนี้
(1) ให้ดุลการหักบัญชีสุทธิซึ่งยังไม่ได้ชําระดุลแล้วเสร็จเป็นโมฆะ และคํานวณดุลการหักบัญชีสุทธิใหม่เพื่อการชําระดุลต่อไป
(2) ให้ธนาคารสมาชิกระงับการส่งรายการ Out-clearing ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารสมาชิกที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนกว่าศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรายการ Out-clearing ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธนาคารสมาชิกที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้ธนาคารสมาชิกส่งรายการเข้าระบบ ICAS ตามปกติ
(3) ให้ดุลการหักบัญชีในส่วนของรายการที่ได้ส่งเข้าระบบ ICAS ก่อนที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์และยังไม่ได้ชําระดุลแล้วเสร็จเป็นโมฆะ และจะคํานวณดุลการหักบัญชีสุทธิใหม่โดยไม่นํารายการซึ่งธนาคารสมาชิกที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้นส่งและรับผ่านระบบ ICAS มาคํานวณด้วยรวมทั้งแจ้งดุลการหักบัญชีสุทธิที่คํานวณใหม่ดังกล่าวและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ธนาคารสมาชิกทราบเพื่อให้ธนาคารสมาชิกตรวจสอบและบริหารเงินสําหรับชําระดุลหักบัญชีสุทธิใหม่ตามเวลาที่ ธปท. กําหนด ทั้งนี้ สําหรับดุลการหักบัญชีที่ยังไม่ได้ชําระดุลแล้วเสร็จที่เป็นโมฆะดังกล่าว แบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้
(3.1) กรณีศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ธนาคารสมาชิกก่อนการดําเนินการชําระดุลหักบัญชีรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ (Same-day Settlement) แล้วเสร็จ ให้ถือว่าการหักบัญชีรอบ Same-day Settlement เป็นโมฆะ
(3.2) กรณีศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ธนาคารสมาชิกก่อนการดําเนินการชําระดุลหักบัญชีรอบการชําระดุลหักบัญชีในวันทําการถัดไป (Next-day Settlement) แล้วเสร็จ ให้ถือว่าการหักบัญชีรอบ Next-day Settlement เป็นโมฆะ
(4) ให้ธนาคารผู้จ่าย จัดทําข้อมูลเช็คที่ส่งคืนในส่วนของข้อมูลเช็คเรียกเก็บซึ่งเกี่ยวข้องกับธนาคารสมาชิกที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่ได้รวมคํานวณในดุลการหักบัญชีสุทธิใหม่ตามข้อ (3.1) หรือ (3.2) ตามรูปแบบและช่องทางที่กําหนดในพิธีปฏิบัติแผนฉุกเฉิน MB-03 ของระบบ ICAS หรือผ่านทางช่องทางอื่นใดที่ ธปท. กําหนด โดยให้ระบุเหตุผลการคืนเช็ค เป็น ข้อ 23 : ธนาคารสมาชิกถูกพิทักษ์ทรัพย์ (Member bank was placed under receivership) และปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดโดยสมาคมธนาคารไทยตามหนังสือของสมาคมธนาคารไทย ที่ ส 356/2561 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2561 ซึ่งแนบท้ายพิธีปฏิบัตินี้
นอกจากนี้ ให้จัดทําข้อมูลเช็คคืนในส่วนของข้อมูลเช็คเรียกเก็บที่เกี่ยวข้องกับธนาคารสมาชิกที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้ชําระดุลการหักบัญชีรอบ Same-day Settlement เสร็จสิ้นแล้ว ส่งให้ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ ตามรูปแบบและช่องทางที่กําหนดในพิธีปฏิบัติแผนฉุกเฉิน MB-03 ของระบบ CAS หรือผ่านทางช่องทางอื่นใดที่ ธปท. กําหนด โดยให้ระบุเหตุผลการคืนเช็คด้วยข้อคืนตามปกติ เนื่องจากถือว่าข้อมูลเช็คเรียกเก็บดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ในขั้นตอนการส่งเรียกเก็บระหว่างธนาคารตามกฎหมายก่อนที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(5) ให้ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ นําส่งเช็คคืนตามข้อมูลเช็คคืนข้อ (4) ให้แก่ลูกค้าผู้นําฝากเช็คตามแนวปฏิบัติของระบบ ICAS เพื่อให้ผู้นําฝากเช็คพิจารณาดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรต่อไป
(6) ให้ธนาคารผู้จ่ายปรับปรุงข้อมูลเช็คคืนตามที่กล่าวในข้อ (4) วรรคสองในระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (IAS) ของ ธปท. ให้มีเหตุผลการคืนเช็คที่ถูกต้องตามจริง
ทั้งนี้ ธนาคารผู้จ่ายไม่ต้องปรับปรุงข้อมูลเช็คคืนตามที่กล่าวในข้อ (4) วรรคหนึ่งในระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (IAS) ของ ธปท. เนื่องจากถือว่าข้อมูลเช็คดังกล่าวไม่มีผลสมบูรณ์ในขั้นตอนการส่งเรียกเก็บระหว่างธนาคาร
2.3 กรณีศาลมีคําสั่งอันเป็นเหตุให้ธนาคารสมาชิกรายใดหลุดพ้นจากการพิทักษ์ทรัพย์ เช่น ศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ธปท. จะยกเลิกการระงับการให้บริการชั่วคราวแก่ธนาคารสมาชิกรายนั้น
2.4 กรณีศาลมีคําพิพากษาให้ธนาคารสมาชิกล้มละลาย ธปท. จะเพิกถอนการใช้บริการระบบ ICAS แก่ธนาคารสมาชิกรายนั้น
2.5 กรณีที่ศาลเห็นชอบด้วยกับการขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แต่ต่อมาธนาคารสมาชิกรายใดไม่สามารถปฏิบัติตามคําขอประนอมหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อธนาคารสมาชิกทราบวันที่ศาลนัดฟังคําพิพากษาให้ธนาคารสมาชิกแจ้งวันและเวลาที่ศาลนัดให้ ธปท. ทราบทันทีโดย ธปท. จะระงับการให้บริการชั่วคราวแก่ธนาคารสมาชิกรายดังกล่าวตั้งแต่เวลาที่ศาลนัดจนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาเสร็จสิ้น
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง หากศาลมีคําพิพากษาให้ธนาคารสมาชิกล้มละลาย ธปท. จะเพิกถอนการให้บริการแก่ธนาคารสมาชิกรายนั้น และดําเนินการตามข้อ 2.2
อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 เมษายน 2561
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,969 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 34 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤษภาคม 2556
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.19/14/56 | 30,000 | 10 พฤษภาคม 2556 | 14/5/56 – 28/5/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,970 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 35 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤษภาคม 2556
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.20/14/56 | 30,000 | 17 พฤษภาคม 2556 | 21/5/56 – 4/6/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,971 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 36 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤษภาคม 2556
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.21/14/56 | 30,000 | 23 พฤษภาคม 2556 | 28/5/56 – 11/6/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,972 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 37 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2556
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.71231 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2556 ลบร้อยละ 0.1)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,973 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 48/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 48 /2554
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกรกฎาคม 2554
-----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.55/14/54 | 65,000 | 13 กรกฎาคม 2554 | 18/7/54 – 1/8/54 | 14 |
| พ.56/14/54 | 60,000 | 14 กรกฎาคม 2554 | 19/7/54 – 2/8/54 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2554
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,974 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 38 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2556
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พฤษภาคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.81231 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2556)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,975 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 49/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฏาคม 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 49/2554
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกรกฏาคม 2554
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.57/14/54 | 60,000 | 21 กรกฎาคม 2554 | 25/7/54 – 8/8/54 | 14 |
| พ.58/14/54 | 55,000 | 22 กรกฎาคม 2554 | 26/7/54 – 9/8/54 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2554
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,976 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 106/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 106/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.131/14/52 | 60,000 | 29 ธันวาคม 2552 | 5/1/52 – 19/1/52 | 14 |
| พ.132/14/52 | 60,000 | 30 ธันวาคม 2552 | 6/1/52 – 20/1/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2552
(นางอัจนา ไวความดี)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,977 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 50/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 50/2554
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 22 กรกฎาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2554 ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนตอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกบี้ถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 3.35040 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 3.44375 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2554
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,978 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 106/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 106/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.101/14/52 | 40,000 | 29 ตุลาคม 2552 | 2/11/52 – 16/11/52 | 14 |
| พ.102/14/52 | 40,000 | 30 ตุลาคม 2552 | 3/11/52 – 17/11/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,979 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 107/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 107/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาการแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 44/28/52 | - | 15,000 | 3 พ.ย. 52 | 5 พ.ย. 52 | 3 ธ.ค. 52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 31/91/52 | - | 10,000 | 3 พ.ย. 52 | 5 พ.ย. 52 | 4 ก.พ. 52 | 91 วัน | 91 วัน |
| 18/182/52 | - | 10,000 | 3 พ.ย. 52 | 5 พ.ย. 52 | 6 พ.ค. 52 | 182 วัน | 182 วัน |
| 9/364/52 | - | 40,000 | 3 พ.ย. 52 | 5 พ.ย. 52 | 7 ต.ค. 52 | 364 วัน | 364 วัน |
| 45/29/52 | - | 15,000 | 10 พ.ย. 52 | 12 พ.ย. 52 | 11 ธ.ค. 52 | 29 วัน | 29 วัน |
| 32/91/52 | - | 10,000 | 10 พ.ย. 52 | 12 พ.ย. 52 | 11 ก.พ. 53 | 91 วัน | 91 วัน |
| 19/182/52 | - | 10,000 | 10 พ.ย. 52 | 12 พ.ย. 52 | 13 พ.ค. 53 | 182 วัน | 182 วัน |
| 46/28/52 | - | 15,000 | 17 พ.ย. 52 | 19 พ.ย. 52 | 17 ธ.ค. 52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 33/91/52 | - | 10,000 | 17 พ.ย. 52 | 19 พ.ย. 52 | 18 ก.พ. 53 | 91 วัน | 91 วัน |
| 20/182/52 | - | 10,000 | 17 พ.ย. 52 | 19 พ.ย. 52 | 20 พ.ค. 53 | 182 วัน | 182 วัน |
| 47/28/52 | - | 15,000 | 24 พ.ย. 52 | 26 พ.ย. 52 | 24 ธ.ค. 52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 34/91/52 | - | 10,000 | 24 พ.ย. 52 | 26 พ.ย. 52 | 25 ก.พ. 52 | 91 วัน | 91 วัน |
| 21/182/52 | - | 10,000 | 24 พ.ย. 52 | 26 พ.ย. 52 | 27 พ.ค. 53 | 182 วัน | 182 วัน |
| 3/3ปี/2552 | 2.475 | 30,000 | 24 พ.ย. 52 | 26 พ.ย. 52 | 16 ก.ค. 55 | 3 ปี | 2.64 ปี |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2552
(นายบัณฑิต นิจถาวร)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,980 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 51/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 51/2554
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกรกฎาคม 2554
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.59/14/54 | 70,000 | 28 กรกฎาคม 2554 | 1/8/54 – 15/8/54 | 14 |
| พ.60/14/54 | 65,000 | 29 กรกฎาคม 2554 | 2/8/54 – 16/8/54 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2554
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,981 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 39/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 39 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ดังนี้
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| 22/28/56 | - | 25,000 | 4 มิ.ย. 56 | 6 มิ.ย. 56 | 4 ก.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 22/91/56 | - | 25,000 | 4 มิ.ย. 56 | 6 มิ.ย. 56 | 5 ก.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 22/183/56 | - | 25,000 | 4 มิ.ย. 56 | 6 มิ.ย. 56 | 6 ธ.ค. 56 | 183 วัน | 183 วัน |
| 2/364/56 | - | 35,000 | 4 มิ.ย. 56 | 6 มิ.ย. 56 | 10 เม.ย. 57 | 364 วัน | 308 วัน |
| 23/28/56 | - | 25,000 | 11 มิ.ย. 56 | 13 มิ.ย. 56 | 11 ก.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 23/91/56 | - | 25,000 | 11 มิ.ย. 56 | 13 มิ.ย. 56 | 12 ก.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 23/182/56 | - | 25,000 | 11 มิ.ย. 56 | 13 มิ.ย. 56 | 12 ธ.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/2ปี/2556 | 2.80 | 35,000 | 13 มิ.ย. 56 | 17 มิ.ย. 56 | 18 ก.พ. 58 | 2 ปี | 1.67 ปี |
| 24/28/56 | - | 25,000 | 18 มิ.ย. 56 | 20 มิ.ย. 56 | 18 ก.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 24/91/56 | - | 25,000 | 18 มิ.ย. 56 | 20 มิ.ย. 56 | 19 ก.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 24/182/56 | - | 25,000 | 18 มิ.ย. 56 | 20 มิ.ย. 56 | 19 ธ.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/FRB3ปี/2556 | 3M BIBOR – 0.1(เท่ากับ 2.71231 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 พ.ค. 56) | 12,000 | 21 มิ.ย. 56 | 25 มิ.ย. 56 | 26 ก.พ. 59 | 3 ปี | 2.67 ปี |
| 25/28/56 | - | 25,000 | 25 มิ.ย. 56 | 27 มิ.ย. 56 | 25 ก.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 25/91/56 | - | 25,000 | 25 มิ.ย. 56 | 27 มิ.ย. 56 | 26 ก.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 25/182/56 | - | 25,000 | 25 มิ.ย. 56 | 27 มิ.ย. 56 | 26 ธ.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2556 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2556
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,982 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 115/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 115/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.103/14/52 | 40,000 | 5 พฤศจิกายน 2552 | 9/11/52 – 23/11/52 | 14 |
| พ.104/14/52 | 40,000 | 6 พฤศจิกายน 2552 | 10/11/52 – 24/11/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,983 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 52/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 52/2554
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554
-------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 31/28/54 | - | 15,000 | 2 ส.ค. 54 | 4 ส.ค. 54 | 1 ก.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน |
| 31/91/54 | - | 18,000 | 2 ส.ค. 54 | 4 ส.ค. 54 | 3 พ.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน |
| 31/182/54 | - | 15,000 | 2 ส.ค. 54 | 4 ส.ค. 54 | 2 ก.พ. 54 | 182 วัน | 182 วัน |
| 5/365/54 | - | 35,000 | 2 ส.ค. 54 | 4 ส.ค. 54 | 3 ส.ค. 54 | 365 วัน | 365 วัน |
| 32/28/54 | - | 15,000 | 9 ส.ค. 54 | 11 ส.ค. 54 | 8 ก.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน |
| 32/91/54 | - | 18,000 | 9 ส.ค. 54 | 11 ส.ค. 54 | 10 พ.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน |
| 32/182/54 | - | 15,000 | 9 ส.ค. 54 | 11 ส.ค. 54 | 9 ก.พ. 54 | 182 วัน | 182 วัน |
| 33/28/54 | - | 15,000 | 16 ส.ค. 54 | 18 ส.ค. 54 | 15 ก.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน |
| 33/91/54 | - | 18,000 | 16 ส.ค. 54 | 18 ส.ค. 54 | 17 พ.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน |
| 33/182/54 | - | 15,000 | 16 ส.ค. 54 | 18 ส.ค. 54 | 16 ก.พ. 55 | 182 วัน | 182 วัน |
| 2/2ปี/2554 | จะกําหนดและประกาศในวันที่11 ส.ค. 2554 | 35,000 | 16 ส.ค. 54 | 18 ส.ค. 54 | 18 ส.ค. 56 | 2 ปี | 2 ปี |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 1/FRB3ปี/2554 | 6M BIBOR – 0.20 | 10,000 | 19 ส.ค. 54 | 23 ส.ค. 54 | 15 ก.พ. 57 | 3 ปี | 2.48 ปี |
| 34/28/54 | - | 15,000 | 23 ส.ค. 54 | 25 ส.ค. 54 | 22 ก.ย. 54 | 28 วัน | 28 วัน |
| 34/91/54 | - | 18,000 | 23 ส.ค. 54 | 25 ส.ค. 54 | 24 พ.ย. 54 | 91 วัน | 91 วัน |
| 34/182/54 | - | 15,000 | 23 ส.ค. 54 | 25 ส.ค. 54 | 23 ก.พ. 55 | 182 วัน | 182 วัน |
| 35/28/54 | - | 15,000 | 30 ส.ค. 54 | 1 ก.ย. 54 | 29 ก.ย 54 | 28 วัน | 28 วัน |
| 35/91/54 | - | 18,000 | 30 ส.ค. 54 | 1 ก.ย. 54 | 1 ธ.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน |
| 35/182/54 | - | 15,000 | 30 ส.ค. 54 | 1 ก.ย. 54 | 1 มี.ค. 55 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/4ปี/2554 | - | 15,000 | 30 ส.ค. 54 | 1 ก.ย. 54 | 24 ก.พ. 58 | 4 ปี | 3.48 ปี |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่2/2ปี/2554 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2554 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 18 กุมภาพันธ์ และ 18 สิงหาคม ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 18 สิงหาคม 2556 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2554 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2554 โดยอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วสําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 สิงหาคม 2554 จะกําหนดและประกาศในวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2554
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,984 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 117/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 117/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.105/14/52 | 45,000 | 12 พฤศจิกายน 2552 | 16/11/52 – 30/11/52 | 14 |
| พ.106/14/52 | 40,000 | 17 พฤศจิกายน 2552 | 17/11/52 – 1/12/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,985 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 29/2553
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนเมษายน 2553
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.30/14/53 | 80,000 | 22 เมษายน 2553 | 26/4/53 - 10/5/53 | 14 |
| พ.31/14/53 | 60,000 | 23 เมษายน 2553 | 27/4/53 - 11/5/53 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,986 |
เรื่อง แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ | ประกาศคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
----------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 และมาตรา 39 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงกําหนดแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ใช้แบบบัญชีดังกล่าวเป็นแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ใช้ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
โอภาส อรุณินท์
ประธานกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 6,987 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
-----------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 และมาตรา 39 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ฉบับดังกล่าว และให้ใช้แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามแบบแนบท้ายประกาศนี้แทน
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ใช้แบบบัญชีดังกล่าวเป็นแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ใช้ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้ยื่นบัญชีและเอกสารประกอบจํานวน 2 ชุด (อีกชุดหนึ่งเป็นสําเนา)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 6,988 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
----------------------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ลงวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 และมาตรา 39 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติฉบับดังกล่าว และให้ใช้แบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 ใช้แบบบัญชีดังกล่าวเป็นแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ใช้ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้ยื่นบัญชีและเอกสารประกอบ จํานวน 2 ชุด (ต้นฉบับ 1 ชุด และสําเนา 1 ชุด)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 6,989 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 118/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 118/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.107/15/52 | 45,000 | 19 พฤศจิกายน 2552 | 23/11/52 – 8/12/52 | 14 |
| พ.108/15/52 | 40,000 | 20 พฤศจิกายน 2552 | 24/11/52 – 9/12/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,990 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 53/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 53 /2554
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2554
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.61/14/54 | 65,000 | 4 สิงหาคม 2554 | 8/8/54 – 22/8/54 | 14 |
| พ.62/14/54 | 60,000 | 5 สิงหาคม 2554 | 9/8/54 – 23/8/54 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2554
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,991 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 119/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 119/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.109/14/52 | 50,000 | 26 พฤศจิกายน 2552 | 30/11/52 – 14/12/52 | 14 |
| พ.110/14/52 | 45,000 | 27 พฤศจิกายน 2552 | 1/12/52 – 15/12/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,992 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 120/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 120/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 48/27/52 | - | 12,000 | 1 ธ.ค. 52 | 3 ธ.ค. 52 | 30 ธ.ค. 52 | 27 วัน | 27 วัน |
| 35/91/52 | - | 10,000 | 1 ธ.ค. 52 | 3 ธ.ค. 52 | 4 มี.ค. 53 | 91 วัน | 91 วัน |
| 22/182/52 | - | 10,000 | 1 ธ.ค. 52 | 3 ธ.ค. 52 | 3 มิ.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน |
| 5/2ปี/2552 | 2.15 | 20,000 | 1 ธ.ค. 52 | 3 ธ.ค. 52 | 22 ต.ค. 54 | 2 ปี | 1.88 ปี |
| 49/27/52 | - | 12,000 | 8 ธ.ค. 52 | 11 ธ.ค. 52 | 7 ม.ค. 53 | 27 วัน | 27 วัน |
| 36/90/52 | - | 10,000 | 8 ธ.ค. 52 | 11 ธ.ค. 52 | 11 มี.ค. 53 | 90 วัน | 90 วัน |
| 23/181/52 | - | 10,000 | 8 ธ.ค. 52 | 11 ธ.ค. 52 | 10 มิ.ย. 53 | 181 วัน | 181 วัน |
| 50/28/52 | - | 12,000 | 15 ธ.ค. 52 | 17 ธ.ค. 52 | 14 ม.ค. 53 | 28 วัน | 28 วัน |
| 37/91/52 | - | 10,000 | 15 ธ.ค. 52 | 17 ธ.ค. 52 | 18 มี.ค. 53 | 91 วัน | 91 วัน |
| 24/182/52 | - | 10,000 | 15 ธ.ค. 52 | 17 ธ.ค. 52 | 17 มิ.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน |
| 10/364/52 | - | 30,000 | 15 ธ.ค. 52 | 17 ธ.ค. 52 | 16 ธ.ค. 53 | 364 วัน | 364 วัน |
| 1/FRB3ปี/2552 | 6M BIBOR – 0.20 (=1.3% สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 ก.ย. 52 | 12,000 | 18 ธ.ค. 52 | 22 ธ.ค. 52 | 17 มี.ค. 55 | 3 ปี | 2.24 ปี |
| 51/28/52 | - | 12,000 | 22 ธ.ค. 52 | 24 ธ.ค. 52 | 21 ม.ค. 53 | 28 วัน | 28 วัน |
| 38/91/52 | - | 10,000 | 22 ธ.ค. 52 | 24 ธ.ค. 52 | 25 มี.ค. 53 | 91 วัน | 91 วัน |
| 25/182/52 | - | 10,000 | 22 ธ.ค. 52 | 24 ธ.ค. 52 | 24 มิ.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน |
สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 ธปท. จะประกาศกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2552
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,993 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนเดือนเมษายน ปี 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 30/2553
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนเดือนเมษายน ปี 2553
----------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนเมษายน ปี2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประเดือนเมษายน ปี2553 (รุ่นที่ 2/2 ปี/2553) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 23 เมษายน 2553 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่น 2/2 ปี/2553 ที่จะประมูลในวันที่ 27 เมษายน2553 เท่ากับร้อยละ 2.25 ต่อปี
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 เมษายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,994 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 54/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 54 /2554
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2554
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.63/14/54 | 70,000 | 10 สิงหาคม 2554 | 15/8/54 – 29/8/54 | 14 |
| พ.64/14/54 | 65,000 | 11 สิงหาคม 2554 | 16/8/54 – 30/8/54 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2554
(นางอัจนา ไวความดี)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,995 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการ
ที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. 2554
-------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการ ที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 103/7 วรรคสอง และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
"คู่สัญญา" หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
"บัญชีแสดงรายรับรายจ่าย" หมายความว่า บัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินของโครงการตามสัญญาที่บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต้องจัดทําและยื่นต่อกรมสรรพากร
"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประกาศกําหนด
"สัญญา" หมายความว่า สัญญาทุกประเภทที่ทําขึ้นเพื่อดําเนินการตามโครงการในการจัดหาพัสดุหรือการพัสดุและบริการไม่ว่าด้วยวิธีการจัดซื้อหรือการจัดจ้างหรือให้ทุนสนับสนุนหรือวิธีอื่นใดของหน่วยงานของรัฐ และให้หมายความรวมถึงบันทึกข้อตกลงหรือบันทึกแนบท้ายสัญญาซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสําคัญด้วย
"รายรับ" หมายความว่า จํานวนเงินที่คู่สัญญาได้รับจากหน่วยงานของรัฐ อันเนื่องจากการได้ปฏิบัติตามสัญญาหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญา หรือรายรับอื่น ๆ ที่กําหนดไว้ให้คู่สัญญาได้รับ
"รายจ่าย" หมายความว่า จํานวนเงินที่คู่สัญญาได้จ่ายไปทั้งสิ้นเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญา
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้ และให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ประกาศนี้
หมวด ๑ บททั่วไป
--------------------------
ข้อ ๕ ให้คู่สัญญาตามสัญญาซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไปจัดทําบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายและยื่นต่อกรมสรรพากรตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
การเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง ให้นับแต่วันที่มีการลงนามในสัญญาหรือถือว่าได้มีสัญญาเกิดขึ้นแล้ว
ข้อ ๖ กรณีที่คู่สัญญาไม่อาจปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ เนื่องจากเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่มีตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศ แต่มีการส่งมอบหรือให้บริการในประเทศ และหน่วยงานของรัฐได้ชําระเงินตามสัญญาให้แก่คู่สัญญาออกไปต่างประเทศโดยตรงคณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้คู่สัญญาปฏิบัติก็ได้
ข้อ ๗ ให้สํานักงาน ป.ป.ช. จัดให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลตามประกาศนี้ระหว่างกรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร และสํานักงาน ป.ป.ช.
หมวด ๒ การจัดทําบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย
-----------------------
ข้อ ๘ ในการบันทึกรายรับรายจ่ายเพื่อจัดทําและแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากรตามประกาศนี้ ให้คู่สัญญาบันทึกรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือรอบปีภาษีนั้น แล้วแต่กรณี โดยแยกเป็นรายโครงการตามสัญญา
ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบตามข้อ 13 นอกจากคู่สัญญาต้องจัดทําและแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากรตามแบบแนบท้ายประกาศนี้แล้ว ให้คู่สัญญาบันทึกบัญชีเป็นรายโครงการตามสัญญา โดยให้เก็บและรักษาเอกสารหลักฐานประกอบไว้ ณ สถานประกอบการหรือที่อยู่อาศัยของคู่สัญญาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาสัญญาหรือจนกว่าการดําเนินการตามข้อ 13 เสร็จสิ้น
หมวด ๓ วิธีการยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย
--------------------------------
ข้อ ๑๐ ให้คู่สัญญายื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากร โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามกําหนดระยะเวลา ดังต่อไปนี้
(1) กรณีบุคคลธรรมดาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
(ก) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในปีภาษีเดียวกัน ให้ยื่นพร้อมกับการยื่นชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษีนั้น
(ข) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดมิได้เสร็จสิ้นภายในปีภาษีเดียวกัน ให้ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายซึ่งประกอบด้วยรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละปีภาษีพร้อมกับการยื่นชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษีนั้น
(2) กรณีนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
(ก) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน ให้ยื่นเมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีพร้อมกับการยื่นชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(ข) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดมิได้เสร็จสิ้นภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน ให้ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายซึ่งประกอบด้วยรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีพร้อมกับการยื่นชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ให้คู่สัญญายื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากรตาม (1) และ (2) จนกว่าจะสิ้นสุดภาระผูกพันตามสัญญา
หมวด ๔ การตรวจสอบบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย
---------------------------
ข้อ ๑๑ กรณีที่คู่สัญญาได้ยื่นบัญชีงบดุลประจําปีหรือยื่นชําระภาษีเงินได้ของบุคคลหรือนิติบุคคล แล้วแต่กรณี ให้กรมสรรพากรตรวจสอบว่าคู่สัญญาได้ยื่นบัญชีแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายด้วยหรือไม่
กรณีที่กรมสรรพากรตรวจพบว่าคู่สัญญารายใดไม่ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย ให้รายงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ เพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
ข้อ ๑๒ กรมสรรพากรอาจนําบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายของโครงการไปพิจารณาประกอบการตรวจสอบบัญชีงบดุลประจําปีของนิติบุคคลหรือตรวจภาษีเงินได้ของบุคคลหรือนิติบุคคลแล้วแต่กรณี ตามที่เห็นสมควรก็ได้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ปรากฏจากการตรวจสอบหรือการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าคู่สัญญาใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญ หรือกรณีมีความจําเป็นที่จะต้องตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินหรือการชําระภาษีเงินได้ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประสานงานและสั่งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับเรื่องดังกล่าวไปดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้วให้หน่วยงานของรัฐนั้นรายงานผลการดําเนินการให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป หรือในกรณีจําเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานหรือสถาบันการเงินให้นําระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานหรือสถาบันการเงินมาใช้บังคับ
หมวด ๕ มาตรการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ
----------------------------
ข้อ ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในการดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งคู่สัญญาตามข้อ 5 ให้หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามความในหมวดนี้
ข้อ ๑๕ ให้หน่วยงานของรัฐกําหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาและกําหนดให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติดังนี้
(1) บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาต้องไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ไม่แสดงบัญชีรายรับรายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญ
(2) บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐซึ่งได้ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP) ตามข้อ 16 ต้องลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
(3) คู่สัญญาต้องรับจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เว้นแต่การรับจ่ายเงินแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามหมื่นบาทคู่สัญญาอาจรับจ่ายเป็นเงินสดก็ได้
ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP) ของกรมบัญชีกลาง บันทึกข้อมูลของคู่สัญญาที่ต้องแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายในระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวด้วย
หน่วยงานของรัฐใดที่มิได้ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง (e-Government Procurement : e-GP) ให้รายงานข้อมูลของคู่สัญญาที่ต้องแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และกรมสรรพากร
ข้อ ๑๗ ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐก่อนิติสัมพันธ์กับบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้มีการระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อว่าเป็นคู่สัญญาที่ไม่ได้แสดงบัญชีรายรับรายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญ เว้นแต่บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นจะได้แสดงบัญชีรายรับรายจ่ายตามประกาศนี้ หรือได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง และมีการสั่งเพิกถอนรายชื่อจากบัญชีดังกล่าวแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 6,996 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการ
ที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. 2554
----------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการ ที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 103/7 วรรคสอง และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
"คู่สัญญา" หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
"บัญชีแสดงรายรับรายจ่าย" หมายความว่า บัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินของโครงการตามสัญญาที่บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต้องจัดทําและยื่นต่อกรมสรรพากร
"หน่วยงานของรัฐ" " หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานธุรการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นใดที่ดําเนินกิจการของรัฐตามกฎหมายและได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินหรือทรัพย์สินลงทุนจากรัฐ
"สัญญา"\* หมายความว่า สัญญาใด ๆ ที่ทําขึ้นเพื่อดําเนินการตามโครงการในการจัดหาพัสดุหรือการพัสดุ ไม่ว่าด้วยวิธีการซื้อหรือการจ้างหรือวิธีอื่นใดของหน่วยงานของรัฐตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุหรือระเบียบ ข้อกําหนด กฎ หรือข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ สัญญาสัมปทาน และสัญญาให้ทุนสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐเพื่อการวิจัยหรือเพื่อดําเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง และให้หมายความรวมถึงบันทึกข้อตกลงหรือบันทึกแนบท้ายสัญญาซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสําคัญด้วย
"รายรับ" หมายความว่า จํานวนเงินที่คู่สัญญาได้รับจากหน่วยงานของรัฐ อันเนื่องจากการได้ปฏิบัติตามสัญญาหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญา หรือรายรับอื่น ๆ ที่กําหนดไว้ให้คู่สัญญาได้รับ
"รายจ่าย" หมายความว่า จํานวนเงินที่คู่สัญญาได้จ่ายไปทั้งสิ้นเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญา
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้ และให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ประกาศนี้
หมวด ๑ บททั่วไป
--------------------------
ข้อ ๕ ให้คู่สัญญาตามสัญญาซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไปจัดทําบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายและยื่นต่อกรมสรรพากรตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
การเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่ง ให้นับแต่วันที่มีการลงนามในสัญญาหรือถือว่าได้มีสัญญาเกิดขึ้นแล้ว
ข้อ ๖ ความในข้อ 5 มิให้ใช้บังคับในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) คู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่มีตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศ แต่มีการส่งมอบหรือให้บริการในประเทศ และหน่วยงานของรัฐได้ชําระเงินตามสัญญาให้แก่คู่สัญญาออกไปต่างประเทศโดยตรง
กรณีตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้คู่สัญญาปฏิบัติก็ได้
ข้อ ๗ ให้สํานักงาน ป.ป.ช. จัดให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลตามประกาศนี้ระหว่างกรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร และสํานักงาน ป.ป.ช.
หมวด ๒ การจัดทําบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย
-----------------------
ข้อ ๘ ในการบันทึกรายรับรายจ่ายเพื่อจัดทําและแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากรตามประกาศนี้ ให้คู่สัญญาบันทึกรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือรอบปีภาษีนั้น แล้วแต่กรณี โดยแยกเป็นรายโครงการตามสัญญา
ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบตามข้อ 13 นอกจากคู่สัญญาต้องจัดทําและแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากรตามแบบแนบท้ายประกาศนี้แล้ว ให้คู่สัญญาบันทึกบัญชีเป็นรายโครงการตามสัญญา โดยให้เก็บและรักษาเอกสารหลักฐานประกอบไว้ ณ สถานประกอบการหรือที่อยู่อาศัยของคู่สัญญาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาสัญญาหรือจนกว่าการดําเนินการตามข้อ 13 เสร็จสิ้น
หมวด ๓ วิธีการยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย
-------------------------------
ข้อ ๑๐ " ให้คู่สัญญายื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากร โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามกําหนดระยะเวลา ดังต่อไปนี้ สํานักงานคณะกรรมการ
(1) กรณีบุคคลธรรมดาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
(ก) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในปีภาษีเดียวกัน ให้ยื่นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษีนั้น
(ข) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดมิได้เสร็จสิ้นภายในปีภาษีเดียวกัน ให้ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายซึ่งประกอบด้วยรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละปีภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษีนั้น
(2) กรณีนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
(ก) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน ให้ยื่นเมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(ข) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดมิได้เสร็จสิ้นภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน ให้ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายซึ่งประกอบด้วยรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ให้คู่สัญญายื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากรตาม (1) และ (2) จนกว่าจะสิ้นสุดภาระผูกพันตามสัญญา
กรณีคู่สัญญาเป็นบุคคลต่างด้าวหรือเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งไม่มีตัวแทนตามประมวลรัษฎากรให้ใช้ปีปฏิทินเป็นปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่กรณี
หมวด ๔ การตรวจสอบบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย
------------------------
ข้อ ๑๑ กรณีที่คู่สัญญาได้ยื่นบัญชีงบดุลประจําปีหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล แล้วแต่กรณี ให้กรมสรรพากรตรวจสอบว่าคู่สัญญาได้ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายด้วยหรือไม่
กรณีที่กรมสรรพากรตรวจพบว่าคู่สัญญารายใดไม่ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย ให้รายงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ เพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
ข้อ ๑๒ กรมสรรพากรอาจนําบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายของโครงการไปพิจารณาประกอบการตรวจสอบบัญชีงบดุลประจําปีของนิติบุคคลหรือตรวจภาษีเงินได้ของบุคคลหรือนิติบุคคลแล้วแต่กรณี ตามที่เห็นสมควรก็ได้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ปรากฏจากการตรวจสอบหรือการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าคู่สัญญาใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญ หรือกรณีมีความจําเป็นที่จะต้องตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินหรือการชําระภาษีเงินได้ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ประสานงานและสั่งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับเรื่องดังกล่าวไปดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้วให้หน่วยงานของรัฐนั้นรายงานผลการดําเนินการให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป หรือในกรณีจําเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานหรือสถาบันการเงินให้นําระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานหรือสถาบันการเงินมาใช้บังคับ
หมวด ๕ มาตรการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ
-----------------------
ข้อ ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในการดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งคู่สัญญาตามข้อ 5 ให้หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามความในหมวดนี้
ข้อ ๑๕ ให้หน่วยงานของรัฐกําหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาและกําหนดให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาต้องไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ไม่แสดงบัญชีรายรับรายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญ
(2) บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐซึ่งได้ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (c-Government Procurement : c-GP) ตามข้อ 16 ต้องลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
(3) คู่สัญญาต้องรับและจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคาร เว้นแต่การจ่ายเงินแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามหมื่นบาทคู่สัญญาอาจจ่ายเป็นเงินสดก็ได้
ความใน (3) มิให้นํามาใช้บังคับกับการรับเงินของคู่สัญญาในสัญญาสัมปทาน
ข้อ 15/1 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ กรณีที่หน่วยงานของรัฐได้คัดเลือกบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาแล้ว หากบุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลต่างด้าวหรือเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งมิได้รับยกเว้นการจัดทําบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายและยื่นต่อกรมสรรพากร ตามข้อ 6 (2) และยังมิได้มีเลขป ระจําตัวผู้เสียภาษีอากรตามกฎหมายไทย ให้หน่วยงานของรัฐจัดทําคําร้องต่อกรมสรรพากร เพื่อจัดให้มีการออกเลขประจําตัวของบุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าวแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กรมสรรพากรกําหนด
ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement: e-GP) ของกรมบัญชีกลาง บันทึกข้อมูลของคู่สัญญาที่ต้องแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายในระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวด้วย
หน่วยงานของรัฐใดที่มิได้ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง (e-Government Procurement : e-GP) ให้รายงานข้อมูลของคู่สัญญาที่ต้องแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และกรมสรรพากร
ข้อ ๑๗ ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐก่อนิติสัมพันธ์กับบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้มีการระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อว่าเป็นคู่สัญญาที่ไม่ได้แสดงบัญชีรายรับรายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญ เว้นแต่บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นจะได้แสดงบัญชีรายรับรายจ่ายตามประกาศนี้ หรือได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง และมีการสั่งเพิกถอนรายชื่อจากบัญชีดังกล่าวแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 6,997 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการ
ที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2554
------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และมาตรา 103/7 วรรคสอง และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป"
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า "หน่วยงานของรัฐ" และ "สัญญา" ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
""หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานธุรการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นใดที่ดําเนินกิจการของรัฐตามกฎหมายและได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินหรือทรัพย์สินลงทุนจากรัฐ
"สัญญา" หมายความว่า สัญญาใด ๆ ที่ทําขึ้นเพื่อดําเนินการตามโครงการในการจัดหาพัสดุหรือการพัสดุ ไม่ว่าด้วยวิธีการซื้อหรือการจ้างหรือวิธีอื่นใดของหน่วยงานของรัฐตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุหรือระเบียบ ข้อกําหนด กฎ หรือข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ สัญญาสัมปทาน และสัญญาให้ทุนสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐเพื่อการวิจัยหรือเพื่อดําเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง และให้หมายความรวมถึงบันทึกข้อตกลงหรือบันทึกแนบท้ายสัญญาซึ่งมีผลเป็นการแก้ไขสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสําคัญด้วย"
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 ความในข้อ 5 มิให้ใช้บังคับในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล
(2) คู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่มีตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศ แต่มีการส่งมอบหรือให้บริการในประเทศ และหน่วยงานของรัฐได้ชําระเงินตามสัญญาให้แก่คู่สัญญาออกไปต่างประเทศโดยตรง
กรณีตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้คู่สัญญาปฏิบัติก็ได้"
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 10 ให้คู่สัญญายื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากร โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามกําหนดระยะเวลา ดังต่อไปนี้ สํานักงานคณะกรรมการ
(1) กรณีบุคคลธรรมดาเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
(ก) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในปีภาษีเดียวกัน ให้ยื่นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษีนั้น
(ข) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดมิได้เสร็จสิ้นภายในปีภาษีเดียวกัน ให้ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายซึ่งประกอบด้วยรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละปีภาชีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษีนั้น
(2) กรณีนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
(ก) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดเสร็จสิ้นภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน ให้ยื่นเมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(ข) หากการรับจ่ายเงินตามสัญญาทั้งหมดมิได้เสร็จสิ้นภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน ให้ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายซึ่งประกอบด้วยรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ให้คู่สัญญายื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากรตาม (1) และ (2) จนกว่าจะสิ้นสุดภาระผูกพันตามสัญญา"
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11 กรณีที่คู่สัญญาได้ยื่นบัญชีงบดุลประจําปีหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล แล้วแต่กรณี ให้กรมสรรพากรตรวจสอบว่าคู่สัญญาได้ยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายด้วยหรือไม่”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกแบบแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และให้ใช้แบบแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการที่แนบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๘ ในระหว่างที่ข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 ยังไม่ใช้บังคับ ให้คู่สัญญาตามสัญญาซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไปจัดทําบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายและยื่นต่อกรมสรรพากรตามแบบแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙ ในระหว่างที่การจัดทําระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 ยังไม่แล้วเสร็จ ให้คู่สัญญายื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายตามข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 เป็นเอกสารต่อกรมสรรพากร
ข้อ ๑๐ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 6,998 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการ
ที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2555
----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นสัญญากับหน่วยงานของรัฐ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และมาตรา 103/7 วรรคสอง และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) คู่สัญญาต้องรับและจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคาร เว้นแต่การจ่ายเงินแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามหมื่นบาทคู่สัญญาอาจจ่ายเป็นเงินสดก็ได้”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสองของข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554
“ความใน (3) มีให้นํามาใช้บังคับกับการรับเงินของคู่สัญญาในสัญญาสัมปทาน”
ข้อ ๕ การใด ๆ ที่คู่สัญญาหรือหน่วยงานของรัฐได้กระทําไปตามบทบัญญัติแห่งประกาศนี้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 6,999 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการ
ที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2556
----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และมาตรา 103/7 วรรคสอง และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป"
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสามของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
“กรณีคู่สัญญาเป็นบุคคลต่างด้าวหรือเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งไม่มีตัวแทนตามประมวลรัษฎากรให้ใช้ปีปฏิทินเป็นปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่กรณี”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นข้อ 15/1 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554
“ข้อ 15/ 1 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ กรณีที่หน่วยงานของรัฐได้คัดเลือกบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาแล้ว หากบุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลต่างด้าวหรือเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งมิได้รับยกเว้นการจัดทําบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายและยื่นต่อกรมสรรพากร ตามข้อ 6 (2) และยังมิได้มีเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรตามกฎหมายไทย ให้หน่วยงานของรัฐจัดทําคําร้องต่อกรมสรรพากร เพื่อจัดให้มีการออกเลขประจําตัวของบุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กรมสรรพากรกําหนด”
ข้อ ๕ ในระหว่างที่ข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 ยังไม่ใช้บังคับ ให้คู่สัญญาตามสัญญาซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไปจัดทําบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายและยื่นต่อกรมสรรพากรตามแบบที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,000 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2557 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการ
ที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2557
----------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และมาตรา 103/7 วรรคสอง และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้คู่สัญญาตามสัญญาซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไปจัดทําบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายและยื่นต่อกรมสรรพากรตามแบบแนบท้ายประกาศนี้”
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,001 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 121/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 121/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.111/13/52 | 45,000 | 3 ธันวาคม 2552 | 8/12/52 – 21/12/52 | 13 |
| พ.112/13/52 | 35,000 | 4 ธันวาคม 2552 | 9/12/52 – 22/12/52 | 13 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 7,002 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าผู้อำนวยการกองที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดำเนินการ พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง กําหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูง
หรือข้าราชการในระดับต่ํากว่าผู้อํานวยการกองที่คณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดําเนินการ
พ.ศ. 2554
-------------------------------
โดยที่มาตรา 19 (4) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการในระดับต่ํากว่าผู้อํานวยการกอง ที่กระทําความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดําเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กําหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการในระดับต่ํากว่าผู้อํานวยการกองที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดําเนินการ พ.ศ. 2554"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้การกระทําความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการในระดับต่ํากว่าผู้อํานวยการกอง ดังต่อไปนี้ เป็นการกระทําในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นสมควรดําเนินการไต่สวนและวินิจฉัย
(ก) การกระทําความผิดฐานร่ํารวยผิดปกติ
(ข) การกระทําความผิด ตามหมวด 9 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ในมาตรา 100 มาตรา 101 มาตรา 102 มาตรา 103 และมาตรา 103/1 ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ค) การกระทําความผิด ตามหมวด 11 ในมาตรา 123 และมาตรา 123/1 ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ง) การกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รักษาการตามประกาศนี้ และให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอํานาจตีความวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,003 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าผู้อำนวยการกองที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดำเนินการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง กําหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูง
หรือข้าราชการในระดับต่ํากว่าผู้อํานวยการกองที่คณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดําเนินการ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2555
--------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กําหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการในระดับต่ํากว่าผู้อํานวยการกองที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดําเนินการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และมาตรา 19 (4) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กําหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการในระดับต่ํากว่าผู้อํานวยการกองที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดําเนินการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของข้อ แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กําหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการในระดับต่ํากว่าผู้อํานวยการกองที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรดําเนินการ พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,004 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 122/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 122/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.113/14/52 | 45,000 | 9 ธันวาคม 2552 | 14/12/52 – 28/12/52 | 14 |
| พ.114/14/52 | 35,000 | 11 ธันวาคม 2552 | 15/12/52 – 29/12/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 7,005 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 40/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 40 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤษภาคม 2556
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.22/14/56 | 30,000 | 31 พฤษภาคม 2556 | 4/6/56 – 18/6/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,006 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง กําหนดตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ. 2554
----------------------------------
โดยที่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 บัญญัติให้ผู้อํานวยการกองหมายความว่า ข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กําหนดตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ตําแหน่งข้าราชการพลเรือน ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล เมืองพัทยา ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการทหาร ตามประกาศนี้ เป็นตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
ข้อ ๔ ตําแหน่งข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้แก่
(ก) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ
(ข) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) หัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด
(ง) หัวหน้าสํานักงานจังหวัด
(จ) หัวหน้าส่วนราชการที่ประจําในต่างประเทศ ที่ปรากฏในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกําหนดให้มีฐานะเป็นกอง หรือเทียบเท่ากอง หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการโครงสร้างบุคลากรของไทยที่ประจําการในต่างประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศในระดับชาติ
(ฉ) นายอําเภอ
(ช) ตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าสํานักงานรัฐมนตรี (ฝ่ายข้าราชการประจํา) และตําแหน่งหัวหน้าหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ ตําแหน่งผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ผู้ปกครองสถานแรกรับเด็ก ผู้ปกครองสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ผู้อํานวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ผู้อํานวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ผู้อํานวยการศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีและผู้อํานวยการศูนย์พัฒนาสังคม ในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ซ) ผู้อํานวยการโครงการชลประทาน ผู้อํานวยการโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาผู้อํานวยการโครงการก่อสร้างในกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ฌ) ผู้อํานวยการแขวงการทางในกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
(ญ) หัวหน้าสํานักงานที่ดินจังหวัด (สาขา) ในกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
(ฎ) ผู้อํานวยการวิทยาลัยการสาธารณสุข ตําแหน่งผู้อํานวยการวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
ข้อ ๕ ตําแหน่งข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตําบลเทศบาลและเมืองพัทยา ได้แก่
(ก) ตําแหน่งประเภทบริหารที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการ ที่เป็นผู้อํานวยการกอง
(ข) ผู้อํานวยการสํานัก
(ค) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะตั้งแต่ระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
(ง) ผู้อํานวยการสถานศึกษา
ข้อ ๖ ตําแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(ก) ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น ได้แก่ หัวหน้าสํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือเทียบเท่า ในสํานักปลัดกรุงเทพมหานครสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และสํานักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสํานัก ผู้ตรวจราชการประเภทอํานวยการระดับต้น ตําแหน่งอื่นที่ ก.ก. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น
(ข) ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง ได้แก่ เลขานุการสภากรุงเทพมหานครผู้อํานวยการเขต หัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากองในสํานักปลัดกรุงเทพมหานคร สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และสํานักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นสํานักผู้ตรวจราชการประเภทอํานวยการระดับสูงตําแหน่งอื่นที่ ก.ก. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง
ข้อ ๗ ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐานการจําแนกตําแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่
(ก) ตําแหน่งประเภทผู้บริหารที่เป็นอํานวยการระดับต้น ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เทียบเท่าคณะ ผู้อํานวยการสํานักงานอธิการบดี หรือผู้อํานวยการสํานักงานวิทยาเขต ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง และมีตําแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ ระดับ 8 หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8
(ข) ตําแหน่งประเภทผู้บริหารที่เป็นผู้อํานวยการระดับต้น ได้แก่ ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองและมีตําแหน่งทางวิชาการในระดับรองศาสตราจารย์ระดับ 9 ศาสตราจารย์ระดับ 10 หรือศาสตราจารย์ระดับ 11
(ค) ตําแหน่งประเภทผู้บริหารที่เป็นอํานวยการระดับสูง ได้แก่ รองอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เทียบเท่าคณะ ผู้อํานวยการสํานักงานอธิการบดีหรือผู้อํานวยการสํานักงานวิทยาเขตและมีตําแหน่งทางวิชาการในระดับรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ระดับ 10 หรือระดับ 11
(ง) ตําแหน่งประเภทอํานวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
ข้อ ๘ ตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(ก) ผู้อํานวยการสถานศึกษา ชํานาญการพิเศษ
(ข) ผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนอําเภอ ชํานาญการพิเศษ
(ค) ผู้อํานวยการสถานศึกษา เชี่ยวชาญ และผู้อํานวยการสถานศึกษา เชี่ยวชาญพิเศษ
(ง) ผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนอําเภอ เชี่ยวชาญ
(จ) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(ฉ) ผู้อํานวยการสํานักงาน กศน. จังหวัด และผู้อํานวยการสํานักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร
(ช) ผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
ข้อ ๙ ตําแหน่งข้าราชการตํารวจตามกฎหมายว่าด้วยตํารวจแห่งชาติและตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการกําหนดชื่อตําแหน่งข้าราชการตํารวจที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตําแหน่งข้าราชการตํารวจที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตําแหน่งข้าราชการตํารวจ ได้แก่
(ก) ผู้กํากับการหรือพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นไป
(ข) ตําแหน่งข้าราชการตํารวจที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เทียบกับตําแหน่งที่กําหนดไว้ใน (ก)
ข้อ ๑๐ ตําแหน่งข้าราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหารประกอบพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการทหาร ได้แก่ ข้าราชการทหารที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง ตามกฎหมายว่าด้วยการได้รับเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการทหารในตําแหน่งชั้นยศ พันเอก นาวาเอก หรือนาวาอากาศเอก ที่มีฐานะและหน้าที่ในการบริหาร ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดทหารบก กรม กองพัน กอง หมวดเรือ กองบินศูนย์ สํานักงาน สํานัก สถานี ป้อม สถาบัน สถานศึกษา สถานพยาบาล โรงงาน หรือเทียบเท่า
ข้อ 10/1" นอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ ตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หน่วยงานที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครอง ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ได้แก่
(ก) ผู้ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ผู้อํานวยการกอง ผู้ตรวจการ ผู้อํานวยการส่วนหรือหัวหน้ากองขึ้นไป
(ข) ตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นเทียบเท่าตําแหน่งที่กําหนดไว้ใน (ก)
ข้อ ๑๑ กรณีใดที่ไม่อาจเทียบตําแหน่งข้าราชการตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้เสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นรายกรณี
ข้อ ๑๒ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รักษาการตามประกาศนี้และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจตีความวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,007 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง กําหนดตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ. 2554
---------------------------------------
โดยที่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 บัญญัติให้ผู้อํานวยการกอง หมายความว่า ข้าราชการซึ่งดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กําหนดตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2554"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ตําแหน่งข้าราชการพลเรือน ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล เมืองพัทยา ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการทหาร ตามประกาศนี้ เป็นตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
ข้อ ๔ ตําแหน่งข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้แก่
(ก) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ
(ข) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ค) หัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด
(ง) หัวหน้าสํานักงานจังหวัด
(จ) หัวหน้าส่วนราชการที่ประจําในต่างประเทศ ที่ปรากฏในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกําหนดให้มีฐานะเป็นกอง หรือเทียบเท่ากอง หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการโครงสร้างบุคลากรของไทยที่ประจําการในต่างประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศในระดับชาติ
(ฉ) นายอําเภอ
(ช) ตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าสํานักงานรัฐมนตรี (ฝ่ายข้าราชการประจํา และตําแหน่งหัวหน้าหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ ตําแหน่งผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ผู้ปกครองสถานแรกรับเด็ก ผู้ปกครองสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ผู้อํานวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ผู้อํานวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ผู้อํานวยการศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรีและผู้อํานวยการศูนย์พัฒนาสังคม ในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ซ) ผู้อํานวยการโครงการชลประทาน ผู้อํานวยการโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาผู้อํานวยการโครงการก่อสร้างในกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ฌ) ผู้อํานวยการแขวงการทางในกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
(ญ) หัวหน้าสํานักงานที่ดินจังหวัด (สาขา) ในกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
(ฎ) ผู้อํานวยการวิทยาลัยการสาธารณสุข ตําแหน่งผู้อํานวยการวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
ข้อ ๕ ตําแหน่งข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตําบลเทศบาลและเมืองพัทยา ได้แก่
(ก) ตําแหน่งประเภทบริหารที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการ ที่เป็นผู้อํานวยการกอง
(ข) ผู้อํานวยการสํานัก
(ค) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะตั้งแต่ระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
(ง) ผู้อํานวยการสถานศึกษา
ข้อ ๖ ตําแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(ก) ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น ได้แก่ หัวหน้าสํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือเทียบเท่า ในสํานักปลัดกรุงเทพมหานคร สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และสํานักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสํานัก ผู้ตรวจราชการประเภทอํานวยการระดับต้น ตําแหน่งอื่นที่ ก.ก. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น
(ข) ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง ได้แก่ เลขานุการสภากรุงเทพมหานครผู้อํานวยการเขต หัวหน้าส่วนราชการที่สูงกว่ากองในสํานักปลัดกรุงเทพมหานคร สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และสํานักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นสํานักผู้ตรวจราชการประเภทอํานวยการระดับสูงตําแหน่งอื่นที่ ก.ก. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง
ข้อ ๗ ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการจําแนกตําแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่
(ก) ตําแหน่งประเภทผู้บริหารที่เป็นอํานวยการระดับต้น ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เทียบเท่าคณะ ผู้อํานวยการสํานักงานอธิการบดี หรือผู้อํานวยการสํานักงานวิทยาเขต ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง และมีตําแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ ระดับ 8 หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8
(ข) ตําแหน่งประเภทผู้บริหารที่เป็นผู้อํานวยการระดับต้น ได้แก่ ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองและมีตําแหน่งทางวิชาการในระดับรองศาสตราจารย์ระดับ 9 ศาสตราจารย์ระดับ 10 หรือศาสตราจารย์ระดับ 11
(ค) ตําแหน่งประเภทผู้บริหารที่เป็นอํานวยการระดับสูง ได้แก่ รองอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เทียบเท่าคณะ ผู้อํานวยการสํานักงานอธิการบดีหรือผู้อํานวยการสํานักงานวิทยาเขตและมีตําแหน่งทางวิชาการในระดับรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ระดับ 10 หรือระดับ 11
(ง) ตําแหน่งประเภทอํานวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
ข้อ ๘ ตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่
(ก) ผู้อํานวยการสถานศึกษา ชํานาญการพิเศษ
(ข) ผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนอําเภอ ชํานาญการพิเศษ
(ค) ผู้อํานวยการสถานศึกษา เชี่ยวชาญ และผู้อํานวยการสถานศึกษา เชี่ยวชาญพิเศษ
(ง) ผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนอําเภอ เชี่ยวชาญ
(จ) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(ฉ) ผู้อํานวยการสํานักงาน กศน. จังหวัด และผู้อํานวยการสํานักงาน กศน. กรุงเทพมหานคร
(ช) ผู้อํานวยการสํานักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
ข้อ ๙ ตําแหน่งข้าราชการตํารวจตามกฎหมายว่าด้วยตํารวจแห่งชาติและตามกฎก.ตร. ว่าด้วยการกําหนดชื่อตําแหน่งข้าราชการตํารวจที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตําแหน่งข้าราชการตํารวจที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตําแหน่งข้าราชการตํารวจ ได้แก่
(ก) ผู้กํากับการหรือพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นไป
(ข) ตําแหน่งข้าราชการตํารวจที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เทียบกับตําแหน่งที่กําหนดไว้ใน (ก)
ข้อ ๑๐ ตําแหน่งข้าราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหารประกอบพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการทหาร ได้แก่ ข้าราชการทหารที่ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง ตามกฎหมายว่าด้วยการได้รับเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการทหารในตําแหน่งชั้นยศ พันเอก นาวาเอก หรือนาวาอากาศเอก ที่มีฐานะและหน้าที่ในการบริหาร ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดทหารบก กรม กองพัน กอง หมวดเรือ กองบินศูนย์ สํานักงาน สํานัก สถานี ป้อม สถาบัน สถานศึกษา สถานพยาบาล โรงงาน หรือเทียบเท่า
ข้อ ๑๑ กรณีใดที่ไม่อาจเทียบตําแหน่งข้าราชการตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้เสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นรายกรณี
ข้อ ๑๒ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รักษาการตามประกาศนี้และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจตีความวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,008 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง กําหนดตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2555
---------------------------------
โดยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หน่วยงานที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครอง ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ร่ํารวยผิดปกติ กระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการไต่สวนและวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กําหนดตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กําหนดตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2554
"ข้อ 10/1 นอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 3 ตําแหน่งผู้อํานวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หน่วยงานที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครอง ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ได้แก่
(ก) ผู้ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ผู้อํานวยการกอง ผู้ตรวจการ ผู้อํานวยการส่วนหรือหัวหน้ากองขึ้นไป
(ข) ตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นเทียบเท่าตําแหน่งที่กําหนดไว้ใน (ก)"
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจตีความวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,009 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 124/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 ธันวาคม 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 124 /2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 ธันวาคม 2552
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 ธันวาคม 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อาย 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 ธันวาคม 2552 เท่ากับร้อยละ 1.3 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2552 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2552
(นายบัณฑิต นิจถาวร)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 7,010 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 55/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 สิงหาคม 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 55 /2554
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 สิงหาคม 2554
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 สิงหาคม 2554 เท่ากับร้อยละ 3.49000 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2554 ลบร้อยละ 0
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2554
(นางอัจนา ไวความดี)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,011 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2552 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง
พ.ศ. 2552
------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 มาตรา 110 และมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงกําหนดให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในการให้ได้รับเงินเดือนของข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ให้นํากฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๔ ตําแหน่งข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ตําแหน่งใดจะเป็นตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกําหนด
ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทใด สายงานใด และระดับใด ที่จะมีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งตามบัญชีเงินประจําตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกําหนด
ข้อ ๕ ให้ตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในอัตราเท่ากับปลัดกระทรวง ตําแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในอัตราเท่ากับรองปลัดกระทรวง ตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภาค ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น และตําแหน่งผู้อํานวยการได้รับเงินประจําตําแหน่งเท่ากับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง
ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้มีอํานาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ หรืออันเนื่องมาจากประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,012 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง
พ.ศ. 2552
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 มาตรา 110 และมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงกําหนดให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ.2552”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในการให้ได้รับเงินเดือนของข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ให้นํากฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๔ ตําแหน่งข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ตําแหน่งใดจะเป็นตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกําหนด
ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทใด สายงานใด และระดับใด ที่จะมีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งตามบัญชีเงินประจําตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกําหนด
ข้อ ๕ ให้ตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในอัตราเท่ากับปลัดกระทรวง ตําแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในอัตราเท่ากับรองปลัดกระทรวง ตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และตําแหน่งผู้อํานวยการให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งเท่ากับตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง
ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้มีอํานาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ หรืออันเนื่องมาจากประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,013 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558
----------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2552
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 มาตรา 110 และมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงกําหนดให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้ตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในอัตราเท่ากับปลัดกระทรวง ตําแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในอัตราเท่ากับรองปลัดกระทรวง ตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ด้านการตรวจราชการ) ได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น และตําแหน่งผู้อํานวยการให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งเท่ากับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง”
ข้อ ๔ การใดซึ่งได้ดําเนินการไปแล้วตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2552 ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับให้มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,014 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง
(ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2560
---------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 มาตรา 110 และมาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงกําหนดให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้ตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในอัตราเท่ากับปลัดกระทรวง ตําแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในอัตราเท่ากับรองปลัดกระทรวง ตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภาคได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น และตําแหน่งผู้อํานวยการได้รับเงินประจําตําแหน่งเท่ากับตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับสูง”
ข้อ ๔ การอันใดซึ่งได้ดําเนินการไปแล้วตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งสําหรับตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ด้านการตรวจราชการ) ที่ยังไม่แล้วเสร็จให้ดําเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ และให้มีผลใช้บังคับได้โดยให้ถือเป็นการดําเนินการสําหรับตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภาค เว้นแต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560
พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,015 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 125/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 125/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.115/14/52 | 45,000 | 17 ธันวาคม 2552 | 21/12/52 – 4/1/53 | 14 |
| พ.116/14/52 | 35,000 | 18 ธันวาคม 2552 | 22/12/52 – 5/1/53 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 7,016 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณ
สําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.
พ.ศ. 2555
-----------------------------
โดยที่มาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคล คําว่า "ก.พ." ให้หมายถึง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคําว่า "ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี" ให้หมายถึง สํานักงาน ป.ป.ช.
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 107 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ให้กําหนดกลุ่มวงเงินการเลื่อนเงินเดือนออกเป็น 5 กลุ่ม และให้ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้เป็นผู้บริหารวงเงินการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ในแต่ละกลุ่มตําแหน่งของแต่ละรอบการประเมิน ดังนี้
(ก) กลุ่มที่ 1 ประธานกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(ข) กลุ่มที่ 2 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม และสาขาตําแหน่งทั่วไป ตําแหน่งประเภทวิชาการ ซึ่งเป็นตําแหน่งที่ได้กําหนดให้มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทวิชาการในระดับเชี่ยวชาญ หรือในระดับทรงคุณวุฒิ
(ค) กลุ่มที่ 3 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(ง) กลุ่มที่ 4 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการสถาบัน ผู้อํานวยการศูนย์ ผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดเขตพื้นที่ และผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด
(จ) กลุ่มที่ 5 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งข้าราชการในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม และสาขาตําแหน่งทั่วไป ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และในสาขาตําแหน่งทั่วไปตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับอาวุโส ในสํานัก สถาบัน ศูนย์ สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดเขตพื้นที่หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด นั้น
ข้อ ๔ ในการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้แล้ว ให้นําหลักเกณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว 28 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2552 เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 20 ลงวันที่ 3 กันยายน 2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้กับการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.. และที่อาจจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่นของหลักเกณฑ์ดังกล่าวในเรื่องนี้
ข้อ ๕ ในกรณีที่สํานักงาน ป.ป.ช. ยังไม่สามารถดําเนินการคัดเลือกข้าราชการ ให้เป็นข้าราชการในสาขากระบวนการยุติธรรม ประเภทวิชาการยุติธรรม แยกจากข้าราชการในสาขาตําแหน่งทั่วไประดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ตามข้อ 3 (จ) ได้ ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งข้าราชการ ในสํานัก สถาบัน ศูนย์ สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดเขตพื้นที่ หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด ตามหลักเกณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ ในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ตามข้อ 4
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รักษาการตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,017 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณ
สําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.
พ.ศ. 2555
----------------------------------
โดยที่มาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคล คําว่า "ก.พ." ให้หมายถึง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคําว่า "ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี" ให้หมายถึง สํานักงาน ป.ป.ช.
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 107 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 35 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ให้กําหนดกลุ่มวงเงินการเลื่อนเงินเดือนออกเป็น 5 กลุ่ม และให้ผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้เป็นผู้บริหารวงเงินการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ในแต่ละกลุ่มตําแหน่งของแต่ละรอบการประเมินดังนี้
(ก) กลุ่มที่ 1 ประธานกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(ข) กลุ่มที่ 2 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม และสาขาตําแหน่งทั่วไป ตําแหน่งประเภทวิชาการ ซึ่งเป็นตําแหน่งที่ได้กําหนดให้มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งประเภทวิชาการในระดับเชี่ยวชาญ หรือในระดับทรงคุณวุฒิ
(ค) กลุ่มที่ 3 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค
(ง) กลุ่มที่ 4 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการสถาบัน ผู้อํานวยการศูนย์ และผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด
(จ) กลุ่มที่ 5 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งข้าราชการในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม และสาขาตําแหน่งทั่วไป ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และในสาขาตําแหน่งทั่วไปตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ในสํานัก สถาบัน ศูนย์สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด นั้น
ข้อ ๔ ในการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้แล้ว ให้นําหลักเกณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว 28 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2552 เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 20 ลงวันที่ 3 กันยายน 2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้กับการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. และที่อาจจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่นของหลักเกณฑ์ดังกล่าวในเรื่องนี้
ข้อ ๕ ในกรณีที่สํานักงาน ป.ป.ช. ยังไม่สามารถดําเนินการคัดเลือกข้าราชการให้เป็นข้าราชการในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม แยกจากข้าราชการในสาขาตําแหน่งทั่วไป ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญตามข้อ 3 (จ) ได้ ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งข้าราชการในสํานัก สถาบัน ศูนย์ สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด ตามหลักเกณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ตามข้อ 4
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รักษาการตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,018 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณ
สําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558
-----------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 107 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ค) กลุ่มที่ 3 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. (ด้านการตรวจราชการ)”
ข้อ ๔ การอันใดซึ่งได้ดําเนินการไปแล้วตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,019 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณ
สําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.
(ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2558
--------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 107 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ง) และ (จ) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(ง) กลุ่มที่ 4 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการสถาบัน ผู้อํานวยการศูนย์ และผู้อํานวยการสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด
(จ) กลุ่มที่ 5 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งข้าราชการในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม และสาขาตําแหน่งทั่วไป ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และในสาขาตําแหน่งทั่วไปตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ในสํานัก สถาบัน ศูนย์หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด นั้น"
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในกรณีที่สํานักงาน ป.ป.ช. ยังไม่สามารถดําเนินการคัดเลือกข้าราชการให้เป็นข้าราชการในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม แยกจากข้าราชการในสาขาตําแหน่งทั่วไป ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ตามข้อ3 (จ) ได้ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งข้าราชการในสํานัก สถาบัน ศูนย์ หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัดตามหลักเกณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ตามข้อ 4”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,020 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณ
สําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.
(ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2560
----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 107 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(ค) กลุ่มที่ 3 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค"
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (จ) ของข้อ แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(จ) กลุ่มที่ 5 เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งข้าราชการในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม และสาขาตําแหน่งทั่วไป ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และในสาขาตําแหน่งทั่วไปตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส ในสํานัก สถาบัน ศูนย์สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด นั้น”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ในกรณีที่สํานักงาน ป.ป.ช. ยังไม่สามารถดําเนินการคัดเลือกข้าราชการให้เป็นข้าราชการในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรม แยกจากข้าราชการในสาขาตําแหน่งทั่วไป ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญตามข้อ 3 (จ) ได้ ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. บริหารวงเงินสําหรับตําแหน่งข้าราชการในสํานัก สถาบัน ศูนย์ สํานักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด ตามหลักเกณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ในหนังสือสํานักงาน ก.พ. ตามข้อ 4”
ข้อ ๖ การอันใดซึ่งได้ดําเนินการไปแล้วตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารวงเงินงบประมาณสําหรับการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. สําหรับตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. (ด้านการตรวจราชการ) ที่ยังไม่แล้วเสร็จให้ดําเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ และให้มีผลใช้บังคับได้โดยให้ถือเป็นการดําเนินการสําหรับตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาคเว้นแต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560
พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,021 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 41/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 41 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมิถุนายน 2556
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเตือนมิถุนายน 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.23/14/56 | 30,000 | 7 มิถุนายน 2556 | 11/6/56 – 25/6/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,022 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 126/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 126/2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552
----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราคอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 ที่จะประมูลในวันที่ 18 ธันวาคม 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาการแห่งประเทศไทย ประจําเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2552 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 ในวันที่ 18 ธันวาคม 2552 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 16 ธันวาคม 2552 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.35251 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.5 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 7,023 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 56/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนสิงหาคม ปี 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 56 /2554
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2554
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2554 (รุ่นที่ 2/2ปี/2554) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 11 สิงหาคม 2554 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 16 สิงหาคม 2554 เท่ากับร้อยละ 3.42 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2554
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,024 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.
เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
พ.ศ. 2556
-------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 16 ของระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 498 - 63/2556 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2556 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมตามประกาศฉบับนี้ หมายถึง ตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมที่กําหนดไว้ในข้อ 9 ของระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555
ข้อ ๔ การคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม แบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้
(1) กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารงานยุติธรรม
(2) กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม
(3) กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้และให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้
หมวด ๑ คุณสมบัติของข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่เข้ารับการคัดเลือก
------------------------------
ข้อ ๖ ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่จะเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
(2) มีประสบการณ์ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายโดยได้รับการรับรองจากผู้บังคับบัญชาที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในระดับไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการ ว่าเป็นผู้มีความรู้ ความชํานาญ หรือความเชี่ยวชาญ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนด
ข้อ ๗ ประสบการณ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 6 (2) ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) งานด้านการไต่สวน ได้แก่ งานทําสํานวนการไต่สวน สํานวนการสอบสวนหรือสํานวนการสืบสวน การรับเรื่องร้องเรียนหรือเรื่องร้องทุกข์ การตรวจสอบหรือไต่สวน การสืบสวนและการสอบสวนที่ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่กฎหมายระดับพระราชบัญญัติได้บัญญัติไว้
(2) งานด้านวินิจฉัยคดี ได้แก่ การดําเนินคดีอาญา ซึ่งเป็นงานที่ผู้ปฏิบัติต้องดําเนินการแทนรัฐและหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นโจทก์และจําเลยในคดีอาญา โดยเป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย พยานหลักฐานเพื่อดําเนินคดีเองหรือเพื่อประสานงานกับพนักงานอัยการการดําเนินคดีแพ่งที่ได้รับมอบหมายให้มีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินคดีในศาลแทนรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นโจทก์หรือจําเลยเนื่องจากกระทําไปตามอํานาจหน้าที่ หรือเป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย พยานหลักฐาน เพื่อทําคําฟ้อง คําให้การ คําอุทธรณ์ หรือฎีกาเองหรือเพื่อประสานงานกับพนักงานอัยการหรือทนายความเพื่อดําเนินการดังกล่าว และหมายรวมถึงการดําเนินคดีปกครองในศาลปกครองคดีในศาลรัฐธรรมนูญ และศาลอื่นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความของศาลนั้น ๆ
(3) งานด้านการให้ความเห็นทางกฎหมาย ได้แก่ งานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องดําเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อเท็จจริง วินิจฉัยข้อกฎหมายเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับการตรากฎหมาย การตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การยกร่าง ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย หรือการอื่นใดในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการด้านกฎหมาย มีความสําคัญต่อการปฏิบัติราชการ และมีผลกระทบต่อสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน รวมถึงงานสรุป วิเคราะห์และเสนอความเห็นทางกฎหมายหรือความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย กฎ ประกาศระเบียบ ข้อบังคับ สนธิสัญญา ข้อตกลง หรือความร่วมมือระหว่างประเทศต่อคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการ หรือผู้มีอํานาจตัดสินใจหรือวินิจฉัยชี้ขาดทางกฎหมาย
(4) งานอย่างอื่นที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาเป็นรายกรณีแล้วเห็นว่าเป็นงานลักษณะเดียวกับ (1) (2) หรือ (3)
หมวด ๒ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก
-----------------------------
ส่วน ๑ การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารงานยุติธรรม
-----------------------------
ข้อ ๘ ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดําเนินการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารงานยุติธรรม
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการคัดเลือกดําเนินการ ดังนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ให้เหมาะสมกับตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง โดยหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินข้าราชการดังกล่าวต้องประกาศให้ทราบทั่วกันก่อนการดําเนินการคัดเลือก ทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินให้พิจารณาถึงคุณลักษณะที่จําเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานในตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง และให้คํานึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
(ก) ความรู้เกี่ยวกับระบบกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จําเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ข) ความรู้ทางทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับหลักการดําเนินคดีอาญา ระบบไต่สวน การให้ความเห็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการไต่สวนข้อเท็จจริง การชั่งน้ําหนักพยานหลักฐาน การดําเนินคดีในศาล การตีความกฎหมาย และระบบการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ค) ความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน
(ง) ความสามารถและทักษะในด้านกฎหมาย การไต่สวน และวินิจฉัยคดี
(จ) ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการไต่สวนและการสรุปสํานวน พร้อมทั้งความเห็นประกอบเหตุผลในสํานวน
(ฉ) ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในศาลแทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการว่าความและดําเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาล
(2) คัดเลือกและประเมินข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่งโดยพิจารณาเทียบข้อมูลบุคคลของผู้เข้ารับการคัดเลือกทุกคน เช่น คุณสมบัติ ผลงานสมรรถนะทางการบริหาร ความประพฤติ ประวัติการรับราชการของแต่ละคนกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความรู้ความสามารถที่ต้องการของตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง และอาจกําหนดให้มีวิธีการอื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกด้วยก็ได้ เช่น การสัมภาษณ์ การประเมินผลงาน หรือข้อเสนอวิสัยทัศน์ในการพัฒนางาน เป็นต้น รวมทั้งอาจตั้งกรรมการหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ตามความจําเป็น สํานักงานคณะกรรมการ
(3) เสนอผลการคัดเลือกพร้อมทั้งเหตุผลในการพิจารณาต่อคณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อรับทราบและให้ความเห็นประกอบ จากนั้น เสนอผลการคัดเลือกดังกล่าวต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
(4) การพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้ง ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาความเห็นของคณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย หากเห็นว่ายังมีเหตุผลหรือข้อมูลอื่นที่คณะกรรมการคัดเลือกควรพิจารณาอีก ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องกลับไปให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยผลการคัดเลือกครั้งใหม่ให้ดําเนินการตาม (3)
ข้อ ๑๐ กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารงานยุติธรรมที่ว่างลง ให้คณะกรรมการคัดเลือกดําเนินการตามข้อ 9
ส่วน ๒ การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม
--------------------------------
ข้อ ๑๑ ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดําเนินการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการคัดเลือกดําเนินการ ดังนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินข้าราชการให้เหมาะสมกับตําแหน่งที่จะแต่งตั้งโดยหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินดังกล่าวต้องประกาศให้ทราบทั่วกันก่อนการดําเนินการคัดเลือก ทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินให้พิจารณาถึงคุณลักษณะที่จําเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานในตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง และให้คํานึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
(ก) ความรู้เกี่ยวกับระบบกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จําเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ข) ความรู้ทางทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับหลักการดําเนินคดีอาญา ระบบไต่สวนการให้ความเห็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการไต่สวนข้อเท็จจริง การชั่งน้ําหนักพยานหลักฐาน การดําเนินคดีในศาล การตีความกฎหมาย และระบบการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ค) ความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน
(ง) ความสามารถและทักษะในด้านกฎหมาย การไต่สวน และวินิจฉัยคดี
(จ) ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการไต่สวนและการสรุปสํานวน พร้อมทั้งความเห็นประกอบเหตุผลในสํานวน
(ฉ) ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในศาลแทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการว่าความและดําเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาล
(2) คัดเลือกและประเมินข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่งโดยพิจารณาเทียบข้อมูลบุคคลของผู้เข้ารับการคัดเลือกทุกคน เช่น คุณสมบัติ ผลงานสมรรถนะทางการบริหาร ความประพฤติ ประวัติการรับราชการของแต่ละคนกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความรู้ความสามารถที่ต้องการของตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง และอาจกําหนดให้มีวิธีการอื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกด้วยก็ได้ เช่น การสัมภาษณ์ การประเมินผลงาน หรือข้อเสนอ วิสัยทัศน์ในการพัฒนางาน เป็นต้น รวมทั้งอาจตั้งกรรมการหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ตามความจําเป็น
(3) เสนอผลการคัดเลือกพร้อมทั้งเหตุผลในการพิจารณาต่อคณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อรับทราบและให้ความเห็นประกอบ จากนั้น เสนอผลการคัดเลือกดังกล่าวต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
(4) การพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้ง ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาความเห็นของคณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย หากเห็นว่ายังมีเหตุผลหรือข้อมูลอื่นที่คณะกรรมการคัดเลือกควรพิจารณาอีก ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องกลับไปให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยผลการคัดเลือกครั้งใหม่ให้ดําเนินการตามข้อ (3)
ข้อ ๑๓ กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรมที่ว่างลง ให้คณะกรรมการคัดเลือกดําเนินการตามข้อ 12
ส่วน ๓ การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
------------------------
ข้อ ๑๔ ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดําเนินการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
ข้อ ๑๕ ให้คณะกรรมการคัดเลือก ดําเนินการ ดังนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกโดยต้องประกาศให้ทราบทั่วกันก่อนการดําเนินการคัดเลือก การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้กําหนดให้เหมาะสมกับตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง เช่น วิธีการทดสอบความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจกฎหมาย ขอบเขตเนื้อหาวิชาที่สอบลักษณะของข้อสอบ จํานวนข้อสอบ เกณฑ์การผ่านและไม่ผ่าน กรรมการออกข้อสอบ กรรมการตรวจคะแนนกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ดําเนินการในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง วางแผนการดําเนินการคัดเลือกรวมทั้งการให้คําปรึกษาแนะนําและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการดําเนินการดังกล่าว และดําเนินการใด ๆ เพื่อให้การดําเนินการคัดเลือกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และตรงตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด
(2) คัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่ง โดยการทดสอบความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจกฎหมายตามลักษณะงานและหน้าที่ความรับผิดชอบที่กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ด้วยวิธีการสอบข้อเขียน การอบรมและการทดสอบความรู้ในหลักสูตรการศึกษาสําหรับตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม และอาจกําหนดให้มีวิธีการอื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกด้วยก็ได้ เช่น การสัมภาษณ์ การทดสอบการปฏิบัติงาน เป็นต้น ทั้งนี้ การทดสอบดังกล่าวต้องคํานึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
(ก) ความรู้เกี่ยวกับระบบกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จําเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ข) ความรู้ทางทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับหลักการดําเนินคดีอาญา ระบบไต่สวน การให้ความเห็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการไต่สวนข้อเท็จจริง การชั่งน้ําหนักพยานหลักฐาน การดําเนินคดีในศาล การตีความกฎหมาย และระบบการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ค) ความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน
(ง) ความสามารถและทักษะในด้านกฎหมาย การไต่สวนและวินิจฉัยคดี
(จ) ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการไต่สวนและการสรุปสํานวนพร้อมทั้งความเห็นประกอบเหตุผลในสํานวน
(ฉ) ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในศาลแทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการว่าความและดําเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาล
(3) คณะกรรมการคัดเลือกเสนอผลการทดสอบต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
ข้อ ๑๖ กรณีที่มีตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมว่าง ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้พิจารณาวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมที่ว่างอยู่ดังกล่าว โดยกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการแยกตามวิธีการสรรหาได้ ดังนี้
(1) การคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมที่ว่างลงนั้น ให้คณะกรรมการคัดเลือกดําเนินการตามข้อ 15 โดยให้คณะกรรมการคัดเลือกประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลําดับที่ที่ได้รับการคัดเลือก และให้ถือประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นการขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก โดยบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวให้ใช้ได้ไม่เกินสี่ปีนับจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือกกําหนด
(2) การสรรหาบุคคลซึ่งมิใช่ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมที่ว่างลงจะกระทํามิได้ เว้นแต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
หมวด ๓ การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
ตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารงานยุติธรรม ตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม
และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
-----------------------------
ข้อ ๑๗ การแต่งตั้งข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารงานยุติธรรม ตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม จําแนกเป็น 4 กรณี ดังนี้
(1) กรณีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารงานยุติธรรม ตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมตามที่ได้รับการคัดเลือกได้
(2) กรณีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม ให้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ดังนี้
(ก) ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ตําแหน่งระดับปฏิบัติการ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยพนักงานไต่สวน ในสายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือตําแหน่งผู้ช่วยพนักงานไต่สวน สายงานปราบปรามการทุจริต หรือตําแหน่งผู้ช่วยพนักงานไต่สวน สายงานนิติการตามที่ได้รับการคัดเลือก
(ข) ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ตําแหน่งตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับเดิม ในตําแหน่งพนักงานไต่สวน สายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือตําแหน่งพนักงานไต่สวน สายงานปราบปรามการทุจริต หรือตําแหน่งพนักงานไต่สวน สายงานนิติการตามที่ได้รับการคัดเลือก
(3) กรณีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งทั่วไปในสายงานเดิมไปพลางก่อน หากมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดภายในระยะเวลาสี่ปีนับจากวันที่ได้รับการคัดเลือกให้เสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมโดยให้แต่งตั้งได้ไม่ก่อนวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดและวันที่ได้รับการคัดเลือกแต่หากครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังมีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและผลการสอบนั้นเป็นอันยกเลิก และให้เข้าสู่กระบวนการคัดเลือกตามข้อ 4 อีกครั้ง
(4) กรณีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมตามข้อ 16 (1) การแต่งตั้งจะพิจารณาจากบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงไปตามลําดับที่ที่ขึ้นบัญชีไว้ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข้อ ๑๘ กรณีที่มีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมมากกว่าจํานวนตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง และภายหลังมีตําแหน่งว่างเพิ่มขึ้นอีกก็อาจบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกตามข้อ 19 (4) หรือจะดําเนินการคัดเลือกใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. กําหนด
หมวด ๔ การคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารง
ตําแหน่งพนักงานไต่สวน สายงานพนักงานไต่สวน
----------------------------
ข้อ ๑๙ การคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งพนักงานไต่สวนสายงานพนักงานไต่สวน รวมถึงวันที่มีผลในการแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกําหนด
บทเฉพาะกาล - -------------------
ข้อ ๒๐ ข้อยกเว้นสําหรับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการ และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการ ในสายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สายงานปราบปรามการทุจริต และสายงานนิติการที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมได้ แต่การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวจะกระทําได้เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนด ทั้งนี้ ภายในสี่ปีนับจากวันที่ได้รับการคัดเลือก
ข้อ ๒๑ สําหรับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการ และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการ ในสายงานอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในข้อ 20 ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมได้
ข้อ ๒๒ ข้อยกเว้นสําหรับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในการเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหาร ตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการ และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการสําหรับสายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สายงานปราบปรามการทุจริตและสายงานนิติการ หากไม่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมให้ผู้นั้นยังคงดํารงตําแหน่งทั่วไปในสายงานเดิมจนกว่าจะได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมหรือพ้นจากตําแหน่ง
ข้อ ๒๓ การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมด้วยวิธีการอบรมและการทดสอบความรู้ในหลักสูตรการศึกษาสําหรับตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ตามข้อ 15 (2) มิให้ใช้บังคับกับการดําเนินการตามประกาศนี้ในครั้งแรก ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ารับการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,025 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.
เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
พ.ศ. 2556
--------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 16 ของระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 498 - 63/2556 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2556 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมตามประกาศฉบับนี้ หมายถึง ตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมที่กําหนดไว้ในข้อ 9 ของระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555
ข้อ ๔ การคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
(1) กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม
(2) กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรักษาการตามประกาศนี้และให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้
หมวด ๑ คุณสมบัติของข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่เข้ารับการคัดเลือก
-------------------------------
ข้อ ๖ ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่จะเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่จะแต่งตั้งตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
(2) มีประสบการณ์ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายโดยได้รับการรับรองจากผู้บังคับบัญชาที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในระดับไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการ ว่าเป็นผู้มีความรู้ ความชํานาญ หรือความเชี่ยวชาญ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนด
ข้อ ๗ ประสบการณ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 6 (2) ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) งานด้านการไต่สวน ได้แก่ งานทําสํานวนการไต่สวน สํานวนการสอบสวนหรือสํานวนการสืบสวน การรับเรื่องร้องเรียนหรือเรื่องร้องทุกข์ การตรวจสอบหรือไต่สวน การสืบสวนและการสอบสวนที่ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่กฎหมายระดับพระราชบัญญัติได้บัญญัติไว้
(2) งานด้านวินิจฉัยคดี ได้แก่ การดําเนินคดีอาญา ซึ่งเป็นงานที่ผู้ปฏิบัติต้องดําเนินการแทนรัฐและหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นโจทก์และจําเลยในคดีอาญา โดยเป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย พยานหลักฐานเพื่อดําเนินคดีเองหรือเพื่อประสานงานกับพนักงานอัยการการดําเนินคดีแพ่งที่ได้รับมอบหมายให้มีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินคดีในศาลแทนรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นโจทก์หรือจําเลยเนื่องจากกระทําไปตามอํานาจหน้าที่ หรือเป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย พยานหลักฐาน เพื่อทําคําฟ้อง คําให้การ คําอุทธรณ์ หรือฎีกาเองหรือเพื่อประสานงานกับพนักงานอัยการหรือทนายความเพื่อดําเนินการดังกล่าว และหมายรวมถึงการดําเนินคดีปกครองในศาลปกครองคดีในศาลรัฐธรรมนูญ และศาลอื่นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความของศาลนั้น ๆ
(3) งานด้านการให้ความเห็นทางกฎหมาย ได้แก่ งานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องดําเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อเท็จจริง วินิจฉัยข้อกฎหมายเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับการตรากฎหมาย การตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การยกร่าง ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย หรือการอื่นใดในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการด้านกฎหมาย มีความสําคัญต่อการปฏิบัติราชการ และมีผลกระทบต่อสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน รวมถึงงานสรุป วิเคราะห์และเสนอความเห็นทางกฎหมายหรือความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย กฎ ประกาศระเบียบ ข้อบังคับ สนธิสัญญา ข้อตกลง หรือความร่วมมือระหว่างประเทศต่อคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการ หรือผู้มีอํานาจตัดสินใจหรือวินิจฉัยชี้ขาดทางกฎหมาย
(4) งานอย่างอื่นที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาเป็นรายกรณีแล้วเห็นว่าเป็นงานลักษณะเดียวกับ (1) (2) หรือ (3)
หมวด ๒ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก
-------------------------
ส่วน ๑ การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารงานยุติธรรม
---------------------------
ข้อ ๘ (ยกเลิก)
ข้อ ๙ (ยกเลิก)
ข้อ ๑๐ (ยกเลิก)
ส่วน ๒ การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม
----------------------------
ข้อ ๑๑ ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดําเนินการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการคัดเลือกดําเนินการ ดังนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินข้าราชการให้เหมาะสมกับตําแหน่งที่จะแต่งตั้งโดยหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินดังกล่าวต้องประกาศให้ทราบทั่วกันก่อนการดําเนินการคัดเลือก ทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินให้พิจารณาถึงคุณลักษณะที่จําเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานในตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง และให้คํานึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
(ก) ความรู้เกี่ยวกับระบบกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จําเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ข) ความรู้ทางทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับหลักการดําเนินคดีอาญา ระบบไต่สวนการให้ความเห็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการไต่สวนข้อเท็จจริง การชั่งน้ําหนักพยานหลักฐาน การดําเนินคดีในศาล การตีความกฎหมาย และระบบการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ค) ความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(ง) ความสามารถและทักษะในด้านกฎหมาย การไต่สวน และวินิจฉัยคดี
(จ) ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการไต่สวนและการสรุปสํานวน พร้อมทั้งความเห็นประกอบเหตุผลในสํานวน
(ฉ) ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในศาลแทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการว่าความและดําเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาล
(2) คัดเลือกและประเมินข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่งโดยพิจารณาเทียบข้อมูลบุคคลของผู้เข้ารับการคัดเลือกทุกคน เช่น คุณสมบัติ ผลงานสมรรถนะทางการบริหาร ความประพฤติ ประวัติการรับราชการของแต่ละคนกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความรู้ความสามารถที่ต้องการของตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง และอาจกําหนดให้มีวิธีการอื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกด้วยก็ได้ เช่น การสัมภาษณ์ การประเมินผลงาน หรือข้อเสนอ วิสัยทัศน์ในการพัฒนางาน เป็นต้น รวมทั้งอาจตั้งกรรมการหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ตามความจําเป็น
(3) เสนอผลการคัดเลือกพร้อมทั้งเหตุผลในการพิจารณาต่อคณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อรับทราบและให้ความเห็นประกอบ จากนั้น เสนอผลการคัดเลือกดังกล่าวต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
(4) การพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้ง ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาความเห็นของคณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย หากเห็นว่ายังมีเหตุผลหรือข้อมูลอื่นที่คณะกรรมการคัดเลือกควรพิจารณาอีก ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องกลับไปให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยผลการคัดเลือกครั้งใหม่ให้ดําเนินการตามข้อ (3)
ข้อ ๑๓ กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรมที่ว่างลง ให้คณะกรรมการคัดเลือกดําเนินการตามข้อ 12
ส่วน ๓ การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
-------------------------------------
ข้อ ๑๔ ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อดําเนินการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
ข้อ ๑๕ ให้คณะกรรมการคัดเลือก ดําเนินการ ดังนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกโดยต้องประกาศให้ทราบทั่วกันก่อนการดําเนินการคัดเลือก การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้กําหนดให้เหมาะสมกับตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง เช่น วิธีการทดสอบความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจกฎหมาย ขอบเขตเนื้อหาวิชาที่สอบลักษณะของข้อสอบ จํานวนข้อสอบ เกณฑ์การผ่านและไม่ผ่าน กรรมการออกข้อสอบ กรรมการตรวจคะแนนกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ดําเนินการในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง วางแผนการดําเนินการคัดเลือกรวมทั้งการให้คําปรึกษาแนะนําและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการดําเนินการดังกล่าว และดําเนินการใด ๆ เพื่อให้การดําเนินการคัดเลือกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และตรงตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด
(2) คัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่มีความเหมาะสมกับตําแหน่ง โดยการทดสอบความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจกฎหมายตามลักษณะงานและหน้าที่ความรับผิดชอบที่กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ด้วยวิธีการสอบข้อเขียน การอบรมและการทดสอบความรู้ในหลักสูตรการศึกษาสําหรับตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม และอาจกําหนดให้มีวิธีการอื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกด้วยก็ได้ เช่น การสัมภาษณ์ การทดสอบการปฏิบัติงานเป็นต้น ทั้งนี้ การทดสอบดังกล่าวต้องคํานึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
(ก) ความรู้เกี่ยวกับระบบกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จําเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ข) ความรู้ทางทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับหลักการดําเนินคดีอาญา ระบบไต่สวน การให้ความเห็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการไต่สวนข้อเท็จจริง การชั่งน้ําหนักพยานหลักฐาน การดําเนินคดีในศาล การตีความกฎหมาย และระบบการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
(ค) ความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน
(ง) ความสามารถและทักษะในด้านกฎหมาย การไต่สวนและวินิจฉัยคดี
(จ) ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการไต่สวนและการสรุปสํานวนพร้อมทั้งความเห็นประกอบเหตุผลในสํานวน
(ฉ) ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในศาลแทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการว่าความและดําเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาล
(3) คณะกรรมการคัดเลือกเสนอผลการทดสอบต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
ข้อ ๑๖ กรณีที่มีตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมว่าง ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้พิจารณาวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมที่ว่างอยู่ดังกล่าว โดยกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการแยกตามวิธีการสรรหาได้ ดังนี้
(1) การคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมที่ว่างลงนั้น ให้คณะกรรมการคัดเลือกดําเนินการตามข้อ 15 โดยให้คณะกรรมการคัดเลือกประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลําดับที่ที่ได้รับการคัดเลือก และให้ถือประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นการขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือก โดยบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวให้ใช้ได้ไม่เกินสี่ปีนับจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือกกําหนด
(2) การสรรหาบุคคลซึ่งมิใช่ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมที่ว่างลงจะกระทํามิได้ เว้นแต่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
หมวด ๓ การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
ตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม
-------------------------------------
ข้อ ๑๗ การแต่งตั้งข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม จําแนกเป็น 4 กรณี ดังนี้
(1) กรณีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมตามที่ได้รับการคัดเลือกได้
(2) กรณีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม ให้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ดังนี้
(ก) ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ตําแหน่งระดับปฏิบัติการ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยพนักงานไต่สวน ในสายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือตําแหน่งผู้ช่วยพนักงานไต่สวน สายงานปราบปรามการทุจริต หรือตําแหน่งผู้ช่วยพนักงานไต่สวน สายงานนิติการตามที่ได้รับการคัดเลือก
(ข) ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ตําแหน่งตั้งแต่ระดับชํานาญการขึ้นไป แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับเดิม ในตําแหน่งพนักงานไต่สวน สายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือตําแหน่งพนักงานไต่สวน สายงานปราบปรามการทุจริต หรือตําแหน่งพนักงานไต่สวน สายงานนิติการตามที่ได้รับการคัดเลือก
(3) กรณีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งทั่วไปในสายงานเดิมไปพลางก่อน หากมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดภายในระยะเวลาสี่ปีนับจากวันที่ได้รับการคัดเลือกให้เสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมโดยให้แต่งตั้งได้ไม่ก่อนวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดและวันที่ได้รับการคัดเลือกแต่หากครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังมีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ถือว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและผลการสอบนั้นเป็นอันยกเลิก และให้เข้าสู่กระบวนการคัดเลือกตามข้อ 4 อีกครั้ง
(4) กรณีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมตามข้อ 16 (1) การแต่งตั้งจะพิจารณาจากบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงไปตามลําดับที่ที่ขึ้นบัญชีไว้
ข้อ ๑๘ กรณีที่มีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมมากกว่าจํานวนตําแหน่งที่จะแต่งตั้ง และภายหลังมีตําแหน่งว่างเพิ่มขึ้นอีกก็อาจบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือกตามข้อ 37 (4) หรือจะดําเนินการคัดเลือกใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. กําหนด
หมวด ๔ การคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารง
ตําแหน่งพนักงานไต่สวน สายงานพนักงานไต่สวน
-------------------------------------
ข้อ ๑๙ การคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งพนักงานไต่สวนสายงานพนักงานไต่สวน รวมถึงวันที่มีผลในการแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกําหนด
บทเฉพาะกาล - ----------------------
ข้อ ๒๐ ข้อยกเว้นสําหรับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการ และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการ ในสายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สายงานปราบปรามการทุจริต และสายงานนิติการ ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมได้ แต่การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว จะกระทําได้เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนด ทั้งนี้ ภายในสี่ปีนับจากวันที่ได้รับการคัดเลือก
ข้อ ๒๑ สําหรับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการ และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการ ในสายงานอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในข้อ 20 ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมได้
ข้อ ๒๒ ข้อยกเว้นสําหรับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในการเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการ และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการ สําหรับสายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สายงานปราบปรามการทุจริต และสายงานนิติการ หากไม่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ให้ผู้นั้นยังคงดํารงตําแหน่งทั่วไปในสายงานเดิมจนกว่าจะได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมหรือพ้นจากตําแหน่ง
ข้อ ๒๓ การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรมด้วยวิธีการอบรมและการทดสอบความรู้ในหลักสูตรการศึกษาสําหรับตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ตามข้อ 15 (2) มิให้ใช้บังคับกับการดําเนินการตามประกาศนี้ในครั้งแรก ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ารับการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,026 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช.
เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558
-----------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 16 ของระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 617 - 85/2557 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 4 การคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
(1) กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม
(2) กรณีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม"
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกส่วนที่ 1 การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งบริหารงานยุติธรรม ของหมวดที่ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกชื่อหมวด 3 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"หมวด 3 การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม"
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 วรรคหนึ่ง และข้อ 17 (1) ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 17" การแต่งตั้งข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการยุติธรรม จําแนกเป็น 4 กรณี ดังนี้
(1) กรณีข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการยุติธรรม ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมตามที่ได้รับการคัดเลือกได้"
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 20 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 20 ข้อยกเว้นสําหรับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการ และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการ ในสายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สายงานปราบปรามการทุจริต และสายงานนิติการ ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้เป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมได้ แต่การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว จะกระทําได้เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กําหนด ทั้งนี้ ภายในสี่ปีนับจากวันที่ได้รับการคัดเลือก"
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 22 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 22 ข้อยกเว้นสําหรับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในการเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทตําแหน่งอํานวยการ และตําแหน่งประเภทตําแหน่งวิชาการ สําหรับสายงานนักกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สายงานปราบปรามการทุจริต และสายงานนิติการ หากไม่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรม ให้ผู้นั้นยังคงดํารงตําแหน่งทั่วไปในสายงานเดิมจนกว่าจะได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในสาขากระบวนการยุติธรรมหรือพ้นจากตําแหน่ง”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,027 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. 2553
-----------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามภารกิจต่าง ๆ ของสํานักงาน ป.ป.ช. ดําเนินไปอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องกําหนดหลักเกณฑ์ให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่อื่นที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว ที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ สามารถรับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปี เพื่อเป็นการสร้างและรักษาทรัพยากรบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกฎ ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2552 จึงออกประกาศในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไปไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป..ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิรับราชการต่อไป ซึ่งจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณใด เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์จะต้องเป็นกรณี ดังนี้
(1) มีเหตุผลและความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางการ
(2) ตําแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดดังต่อไปนี้ คือนักกฎหมาย ป.ป.ช. เจ้าพนักงานปราบปรามการทุจริต นักวิชาการคอมพิวเตอร์ หรือตําแหน่งอื่นที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่าเป็นตําแหน่งที่มีความขาดแคลนบุคลากร
(3) ตําแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตําแหน่งที่ผู้นั้นครองอยู่เดิม
ข้อ ๔ กําหนดเวลาที่จะให้รับราชการต่อไปตามประกาศนี้ ให้กระทําได้ตามความจําเป็นโดยในครั้งแรกให้สั่งให้รับราชการต่อไปได้ไม่เกินสี่ปี และถ้ายังมีเหตุผลและความจําเป็นจะให้รับราชการต่อไปอีกได้ครั้งละไม่เกินสามปี แต่เมื่อรวมกันแล้วระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินสิบปี
เมื่อครบกําหนดเวลาที่สั่งให้รับราชการต่อไปตามวรรคหนึ่ง ให้สั่งให้ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แต่ถ้าความจําเป็นที่ให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปหมดลงก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว จะสั่งให้ผู้นั้นพันจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
ข้อ ๕ ส่วนราชการใดในสํานักงาน ป.ป.ช. มีความจําเป็นที่จะให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทําข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้
(1) แผนงาน โครงการ ตลอดจนภารกิจที่มีความจําเป็นจะให้ผู้นั้นปฏิบัติ จําแนกเป็นรายปี
(2) สภาวะการขาดแคลนบุคลากรในภาพรวมของสํานักงาน ป.ป.ช. ความสามารถในทางวิชาการ หรือความสามารถเฉพาะตัวของผู้นั้น และความยากในการหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม มาปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้น
(3) เหตุผลและความจําเป็นที่จําต้องให้ผู้นั้นปฏิบัติภารกิจ ตาม (1)
(4) ระยะเวลาที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
(5) ข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้นั้น
ข้อ ๖ ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว ที่จะให้รับราชการต่อไปได้ตามข้อ ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปต่อเนื่องกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสิ้นปีงบประมาณ ยกเว้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ให้นับระยะเวลาต่อเนื่องสําหรับข้อนี้ ไม่น้อยกว่าเก้าเดือน
(2) มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ และประสบการณ์ และมีผลงานหรือผลการปฏิบัติงานในตําแหน่งดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งนั้นต่อไปได้
(3) ไม่อยู่ในระหว่างการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(4) ผ่านการตรวจสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ข้อ ๗ การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้ใดซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิตามข้อ 3 (2) ได้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและการพัฒนาองค์กรเป็นผู้พิจารณา
ข้อ ๘ ให้ส่วนราชการดําเนินการตามข้อ 7 ภายในเดือนมีนาคมของปีงบประมาณที่ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และให้คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและการพัฒนาองค์กรพิจารณาข้อเสนอของส่วนราชการ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณนั้น
ข้อ ๙ ในกรณีที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและการพัฒนาองค์กรเห็นชอบให้ข้าราชการ ป.ป.ช. ผู้ใดรับราชการต่อไปได้เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.. มีคําสั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป และส่งสําเนาคําสั่งให้กรมบัญชีกลางทราบ เพื่อดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๑๐ การสั่งให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. รับราชการต่อไปเป็นครั้งแรกนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้มีคําสั่งภายในวันที่ 30 กันยายน ของปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ในกรณีที่ครบกําหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปแล้ว ถ้าได้รับความเห็นชอบให้รับราชการต่อไปอีก ให้มีคําสั่งก่อนวันครบกําหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปในครั้งก่อน
ข้อ ๑๑ ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งได้รับราชการต่อไปตามประกาศนี้ จะต้องดํารงตําแหน่งและปฏิบัติหน้าที่เฉพาะตําแหน่งที่ได้รับราชการต่อไปเท่านั้น และจะย้าย โอน หรือเลื่อนไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอํานวยการ หรือตําแหน่งอื่น หรือจะรักษาราชการแทนรักษาการในตําแหน่ง รับมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทน ไปช่วยราชการ หรือไปช่วยทํางานชั่วคราวในตําแหน่งอื่นไม่ได้
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ หรืออันเนื่องมาจากประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,028 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
พ.ศ. 2553
--------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการตามภารกิจต่าง ๆ ของสํานักงาน ป.ป.ช. ดําเนินไปอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการ จึงมีความจําเป็นที่จะต้องกําหนดหลักเกณฑ์ให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่อื่นที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว ที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ สามารถรับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปี เพื่อเป็นการสร้างและรักษาทรัพยากรบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2552 จึงออกประกาศในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไปไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้ใดซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณใดและดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรมในสาขากระบวนการยุติธรรมหรือประเภทวิชาการในสาขาตําแหน่งทั่วไปและดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ จะต้องเป็นกรณีที่
(1) มีเหตุผลและความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
(2) ตําแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตําแหน่งที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคล กําหนดให้เป็นตําแหน่งที่มีความขาดแคลนบุคลากรในเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพและหาผู้อื่นปฏิบัติงานแทนได้ยากเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการสํานักงานคณะกรรม หรือหน้าที่ที่จะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว และ
(3) ตําแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตําแหน่งที่ผู้นั้นครองอยู่เดิม
ข้อ ๔ กําหนดเวลาที่จะให้รับราชการต่อไปตามประกาศนี้ ให้กระทําได้ตามความจําเป็นโดยในครั้งแรกให้สั่งให้รับราชการต่อไปได้ไม่เกินสี่ปี และถ้ายังมีเหตุผลและความจําเป็นจะให้รับราชการต่อไปอีกได้ครั้งละไม่เกินสามปี แต่เมื่อรวมกันแล้วระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินสิบปี
เมื่อครบกําหนดเวลาที่สั่งให้รับราชการต่อไปตามวรรคหนึ่ง ให้สั่งให้ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แต่ถ้าความจําเป็นที่ให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปหมดลงก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว จะสั่งให้ผู้นั้นพันจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
ข้อ ๕ ส่วนราชการใดในสํานักงาน ป.ป.ช. มีความจําเป็นที่จะให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น ให้ส่วนราชการนั้นจัดทําข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้
(1) แผนงาน โครงการ ตลอดจนภารกิจที่มีความจําเป็นจะให้ผู้นั้นปฏิบัติ จําแนกเป็นรายปี
(2) สภาวะการขาดแคลนบุคลากรในภาพรวมของสํานักงาน ป.ป.ช. ความสามารถในทางวิชาการ หรือความสามารถเฉพาะตัวของผู้นั้น และความยากในการหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม มาปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้น
(3) เหตุผลและความจําเป็นที่จําต้องให้ผู้นั้นปฏิบัติภารกิจ ตาม (1)
(4) ระยะเวลาที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
(5) ข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้นั้น
ข้อ ๖ ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว ที่จะให้รับราชการต่อไปได้ตามข้อ 3 ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรมในสาขากระบวนการยุติธรรม หรือประเภทวิชาการในสาขาตําแหน่งทั่วไปและดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป แล้วแต่กรณีต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันลิ้นปีงบประมาณนั้น
(2) มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ และประสบการณ์ และมีผลงานหรือผลการปฏิบัติงานในตําแหน่งดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งนั้นต่อไปได้
(3) ไม่อยู่ในระหว่างการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(4) ผ่านการตรวจสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลกําหนด
ข้อ ๗ การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป... ผู้ใดซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรมในสาขากระบวนการยุติธรรม หรือประเภทวิชาการในสาขาตําแหน่งทั่วไปและดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิตามข้อ 3 (2 ได้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้พิจารณา
ข้อ ๘ ให้ส่วนราชการดําเนินการตามข้อ 7 ภายในเดือนมีนาคมของปีงบประมาณที่ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พิจารณาข้อเสนอของส่วนราชการ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณนั้น
ข้อ ๙ ในกรณีที่คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เห็นชอบให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้ใดรับราชการต่อไปได้เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคําสั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป และส่งสําเนาคําสั่งให้กรมบัญชีกลางทราบเพื่อดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๑๐ การสั่งให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. รับราชการต่อไปเป็นครั้งแรกนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้มีคําสั่งภายในวันที่ 30 กันยายน ของปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ในกรณีที่ครบกําหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปแล้ว ถ้าได้รับความเห็นชอบให้รับราชการต่อไปอีก ให้มีคําสั่งก่อนวันครบกําหนดเวลาที่ให้รับราชการต่อไปในครั้งก่อน
ข้อ ๑๑ ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งได้รับราชการต่อไปตามประกาศนี้ จะต้องดํารงตําแหน่งและปฏิบัติหน้าที่เฉพาะตําแหน่งที่ได้รับราชการต่อไปเท่านั้น และจะย้าย โอน หรือเลื่อนไปดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอํานวยการ หรือตําแหน่งอื่น หรือจะรักษาราชการแทนรักษาการในตําแหน่ง รับมอบอํานาจให้ปฏิบัติราชการแทน ไปช่วยราชการ หรือไปช่วยทํางานชั่วคราวในตําแหน่งอื่นไม่ได้
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ หรืออันเนื่องมาจากประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,029 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558
--------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553 เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานบุคคลและการกําหนดตําแหน่งของข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสํานักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 107 มาตรา 110 และมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 3 การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้ใดซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณใดและดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรมในสาขากระบวนการยุติธรรมหรือประเภทวิชาการในสาขาตําแหน่งทั่วไปและดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ จะต้องเป็นกรณีที่
(1) มีเหตุผลและความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
(2) ตําแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตําแหน่งที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคล กําหนดให้เป็นตําแหน่งที่มีความขาดแคลนบุคลากรในเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ และหาผู้อื่นปฏิบัติงานแทนได้ยากเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการ หรือหน้าที่ที่จะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว และ
(3) ตําแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปต้องเป็นตําแหน่งที่ผู้นั้นครองอยู่เดิม"
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 (1) และข้อ 6 (4) ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(1) ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรมในสาขากระบวนการยุติธรรม หรือประเภทวิชาการในสาขาตําแหน่งทั่วไปและดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป แล้วแต่กรณีต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันสิ้นปีงบประมาณนั้น
(4) ผ่านการตรวจสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลกําหนด"
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้ใดซึ่งดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการยุติธรรมในสาขากระบวนการยุติธรรม หรือประเภทวิชาการในสาขาตําแหน่งทั่วไปและดํารงตําแหน่งระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิตามข้อ 3 (2 ได้รับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้พิจารณา”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ให้ส่วนราชการดําเนินการตามข้อ 7 ภายในเดือนมีนาคมของปีงบประมาณที่ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้นั้นจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พิจารณาข้อเสนอของส่วนราชการ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณนั้น”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ในกรณีที่คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. เห็นชอบให้ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ผู้ใดรับราชการต่อไปได้เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคําสั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป และส่งสําเนาคําสั่งให้กรมบัญชีกลางทราบเพื่อดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | 7,030 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 127/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 127/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.117/14/52 | 50,000 | 24 ธันวาคม 2552 | 28/12/52 – 11/1/53 | 14 |
| พ.118/14/52 | 40,000 | 25 ธันวาคม 2552 | 29/12/52 – 12/1/53 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2552
(นายบัณฑิต นิจถาวร)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 7,031 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 128/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 128/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2553
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2553
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ดังนี้
| | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ |
| 1/28/53 | 12,000 | 5 ม.ค. 53 | 7 ม.ค. 53 | 4 ก.พ. 53 | 28 วัน |
| 1/91/53 | 12,000 | 5 ม.ค. 53 | 7 ม.ค. 53 | 8 เม.ย. 53 | 91 วัน |
| 1/182/53 | 12,000 | 5 ม.ค. 53 | 7 ม.ค. 53 | 8 ก.ค. 53 | 182 วัน |
| 1/364/53 | 50,000 | 5 ม.ค. 53 | 7 ม.ค. 53 | 6 ม.ค. 54 | 364 วัน |
| 2/28/53 | 12,000 | 12 ม.ค. 53 | 14 ม.ค. 53 | 11 ก.พ. 53 | 28 วัน |
| 2/92/53 | 12,000 | 12 ม.ค. 53 | 14 ม.ค. 53 | 16 เม.ย. 53 | 92 วัน |
| 2/182/53 | 12,000 | 12 ม.ค. 53 | 14 ม.ค. 53 | 15 ก.ค. 53 | 182 วัน |
| 1/3ปี/2553 | 20,000 | 12 ม.ค. 53 | 14 ม.ค. 53 | 14 ม.ค. 56 | 3 ปี |
| 3/28/53 | 12,000 | 19 ม.ค. 53 | 21 ม.ค. 53 | 18 ก.พ. 53 | 28 วัน |
| 3/91/53 | 12,000 | 19 ม.ค. 53 | 21 ม.ค. 53 | 22 เม.ย. 53 | 91 วัน |
| 3/182/53 | 12,000 | 19 ม.ค. 53 | 21 ม.ค. 53 | 22 ก.ค. 53 | 182 วัน |
| 4/28/53 | 12,000 | 26 ม.ค. 53 | 28 ม.ค. 53 | 25 ก.พ. 53 | 28 วัน |
| 4/91/53 | 12,000 | 26 ม.ค. 53 | 28 ม.ค. 53 | 29 เม.ย. 53 | 91 วัน |
| 4/182/53 | 12,000 | 26 ม.ค. 53 | 28 ม.ค. 53 | 29 ก.ค. 53 | 182 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/3 ปี/2553 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 8 ม.ค. 2553 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 14 ม.ค. และ 14 ก.ค. ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 14 ก.ค. 2553 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 14 ม.ค. 2556 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2552
อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2552
(นายบัณฑิต นิจถาวร)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 7,032 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 42/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 42 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมิถุนายน 2556
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.24/14/56 | 30,000 | 14 มิถุนายน 2556 | 18/6/56 – 2/7/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,033 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 58/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 58/2554
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2554
---------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.65/14/54 | 60,000 | 18 สิงหาคม 2554 | 22/8/54 – 5/9/54 | 14 |
| พ.66/14/54 | 50,000 | 19 สิงหาคม 2554 | 23/8/54 – 6/9/54 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ระกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2554
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ | 7,034 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 130/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 มกราคม 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 130 /2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 มกราคม 2553
-------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 มกราคม 2553
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 มกราคม 2553 เท่ากับร้อยละ 1.3 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2552 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552
(นายบัณฑิต นิจถาวร)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 7,035 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 59/2554 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 59 /2554
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2554
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FR83ปี/2554 ที่จะประมูลในวันที่ 19 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2554 ในวันที่ 19 สิงหาคม 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 17 สิงหาคม 2554 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 3.64902 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 3.66000 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2554
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,036 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 45/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 45 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมิถุนายน 2556
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.25/14/56 | 30,000 | 21 มิถุนายน 2556 | 25/6/56 – 9/7/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,037 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 31/2553
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนเมษายน 2553
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.32/13/53 | 85,000 | 29 เมษายน 2553 | 4/5/53 - 17/5/53 | 13 |
| พ.33/12/53 | 40,000 | 30 เมษายน 2553 | 6/5/53 - 18/5/53 | 12 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,038 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2554 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 60/2554
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2554
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.67/14/54 | 70,000 | 25 สิงหาคม 2554 | 29/8/54 – 12/9/54 | 14 |
| พ.68/14/54 | 65,000 | 26 สิงหาคม 2554 | 30/8/54 – 13/9/54 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2554
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,039 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ. 2527 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามหนังสือที่ กค. 0502/1986 ลงวันที่ 15 มกราคม 2528 จึงประกาศกําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด ดังนี้
1. เฮโรอีน กรัมละ 10 บาท
2. มอร์ฟืน กรัมละ 4 บาท
3. ฝิ่น ฝิ่นยา (มอร์ฟีน) กรัมละ 4 บาท
4. กัญชา กรัมละ 0.02 บาท
5. ยางกัญชา หรือกัญชาน้ํา กรัมละ 10 บาท
(เตตราไฮโดรแคนนาบินอล)
6. อะซิติคแอนไฮไดรด์ กิโลกรัมละ 10 บาท
7. อะซิติกคลอไรด์ กิโลกรัมละ 1O บาท
8. อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม กิโลกรัมละ 3 บาท
9. ยาเสพติดอย่างอื่น กรัมละ 3 บาท
(ยกเว้นพืชกระท่อม)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี | 7,040 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด
(ฉบับที่ (2)
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลคดียาเสพคิด พ.ศ. 2537 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือที่ กค 0526.5 /11660 ลงวันที่ 3 เมษายน 2539 จึงประกาศขยายระยะเวลาการบังคับใช้อัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด สําหรับรายการที่ 9 ต่อไปอีก 2 ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2539 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี | 7,041 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด (ฉบับที่ 3) | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบน เงินรางวัลคดียาเสพติด
(ฉบับที่ 3)
----------------------------
ด้วยกําหนดระยะเวลาบังคับใช้อัตราการจ่ายเงินสินบน เงินรางวัลคดียาเสพติดรายการที่ 9 ประเภทแอมเฟตามีน หรือเมทแอมเฟตามีน ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบน เงินรางวัลคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2539 จะครบกําหนดระยะเวลาบังคับใช้ในวันที่ 10 สิงหาคม 2541
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายสินบน เงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ. 2537 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0526.5/8761 ลงวันที่ 17 เมษายน 2541 จึงประกาศขยายระยะเวลาการบังคับใช้อัตราการจ่ายเงินสินบน เงินรางวัลคดียาเสพติด สําหรับรายการที่ 9 ต่อไปอีก โดยไม่มีกําหนดระยะเวลา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2541 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี | 7,042 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 46/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 46 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ที่จะประมูลในวันที่ 21 มิถุนายน 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ในวันที่ 21 มิถุนายน 2556 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 19 มิถุนายน 2556 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 2.56077 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 2.60000 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,043 |
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา | ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา
---------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 11 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลฎีกา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้จัดตั้งแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา และมีอํานาจในคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ3 ลักษณะ 5 ลักษณะ 19 ลักษณะ 20 และลักษณะ 22 และคดีตามพระราชบัญญัติที่วางระเบียบควบคุมทางเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์กฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า กฎหมายเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งคดีอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันตามที่ประธานศาลฎีกาจะได้กําหนด
ข้อ ๔ ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
ข้อ ๕ ให้แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
ข้อ ๖ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
อรรถนิติ ดิษฐอํานาจ
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม | 7,044 |
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 2)
-------------------------
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่องการจัดตั้งแผนกในศาลฎีกาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลฎีกา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่องการจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 2)"
ข้อ 2 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกยาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้จัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา และมีอํานาจในคดีของศาลฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคดีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันตามที่ประธานศาลฎีกาจะได้กําหนด
ข้อ 4 ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนก
หนึ่งคน
ข้อ 5 ให้แผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไป
ข้อ 6 ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
ศุภชัย ภู่งาม
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม | 7,045 |
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 3)
---------------------
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลฎีกา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 3)"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้จัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา และมีอํานาจในคดีของศาลฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายผู้บริโภค รวมทั้งคดีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันตามที่ประธานศาลฎีกาจะได้กําหนด
ให้มีประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
ข้อ 4 ให้แผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป
ข้อ 5 ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ปัญญา ถนอมรอด
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม | 7,046 |
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 4)
---------------------------
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลฎีกา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 4)"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้จัดตั้งแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา และมีอํานาจในคดีของศาลฎีกาเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง รวมทั้งคดีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันตามที่ประธานศาลฎีกาจะได้กําหนด
ให้มีประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
ข้อ 4 ให้แผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
ข้อ 5 ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม | 7,047 |
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 5)
----------------------
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลฎีกา ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลฎีกา (ฉบับที่ 5)"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้จัดตั้งแผนกคดีคําสั่งคําร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา และมีอํานาจพิจารณาคําร้องทั่วไป คําร้องขออนุญาตฎีกาคดียาเสพติด คําร้องขออนุญาตฎีกาคดีค้ามนุษย์ คําร้องขออนุญาตฎีกาคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ และคําร้องขออนุญาตฎีกาที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของแผนกคดีในศาลฎีกา รวมทั้งคําร้องอื่น ๆ ตามที่ประธานศาลฎีกาจะได้กําหนด
ให้มีประธานแผนกคดีคําสั่งคําร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
ข้อ 4 ให้แผนกคดีคําสั่งคําร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไป
ข้อ 5 ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561
ชีพ จุลมนต์
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม | 7,048 |
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค | ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้ จัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้จัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และมีอํานาจในคดีของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งคดีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันตามที่ประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาคจะได้กําหนดให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
ข้อ ๔ ให้จัดตั้งแผนคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์ และมีอํานาจในคดีของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับกฎหมายยาเสพติด รวมทั้งคดีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันตามที่ประธานศาลอุทธรณ์จะได้กําหนดให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์เป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
ข้อ ๕ ให้จัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ และมีอํานาจในคดีของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับกฎหมายผู้บริโภค รวมทั้งคดีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันตามที่ประธานศาลอุทธรณ์จะได้กําหนดให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์เป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
ข้อ ๖ ให้แผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค แผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์ และแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไป
ข้อ ๗ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2549
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม | 7,049 |
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 2)
------------------------
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์ภาค ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 2)"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้จัดตั้งแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค และมีอํานาจในคดีของศาลอุทธรณ์กาคเกี่ยวกับกฎหมายผู้บริโภค รวมทั้งคดีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันตามที่ประธานศาลอุทธรณ์ภาคจะได้กําหนด
ให้มีประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาคเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
ข้อ 4 ให้แผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550
ข้อ 5 ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ปัญญา ถนอมรอด
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม | 7,050 |
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 3)
----------------------------
โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้ จัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 3)"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้จัดตั้งแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และมีอํานาจในคดีของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง รวมทั้งคดีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันตามที่ประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาคจะได้กําหนด
ให้มีประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน
ข้อ 4 ให้แผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค เริ่มทําการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
ข้อ 5 ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วิรัช ลิ้มวิชัย
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม | 7,051 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.