title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2553 ----------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.1/14/53 | 55,000 | 7 มกราคม 2553 | 11/1/53 - 25/1/53 | 14 | | พ.2/14/53 | 50,000 | 8 มกราคม 2553 | 12/1/53 - 26/1/53 | 14 | อื่นๆ - 4.เริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,752
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2559 --------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.3/14/59 | 45,000 | 22 มกราคม 2559 | 26/1/59 – 9/2/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,753
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 4/2559 เรื่อง คุณสมบัติและลักษรณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้จัดการผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 4/2559 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ------------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ในสภาวะปัจจุบันระบบสถาบันการเงินมีการแข่งขันสูง และธุรกรรมต่างๆ ได้มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว มีความซับซ้อนและความเสี่ยงมากขึ้น กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งการทําธุรกรรมทางด้านการเงินใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์แต่อาจแตกต่างตามประเภทของสถาบันการเงินเฉพาะนั้น จึงจําเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมทั้งในด้านจริยธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และความรู้ความมารถในการบริหารจัดการและควบคุมการดําเนินงาน ตลอดจนการกํากับดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่กําหนดไว้ เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ด้วยเหตุผลข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศฉบับนี้ เพื่อกําหนดให้บุคคลที่ดํารงตําแหน่งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสม และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นๆ กฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ กฎหมายว่าด้วยการพัฒนากํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดเพิ่มในประกาศฉบับนี้ตลอดระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่ง อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 มาตรา 25 และมาตรา 81 (2) ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ “สถาบันการเงินเฉพาะกิจ” หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย “กรรมการที่เป็นผู้บริหาร” หมายความว่า (1) กรรมการที่ทําหน้าที่บริหารงานในตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) กรรมการที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการหรือมีส่วนร่วมในการบริหารงานใดๆ เยี่ยงผู้บริหาร และให้ความหมายรวมถึงบุคคลในคณะกรรมการบริหาร (Executive committee) (3) กรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพัน เว้นแต่เป็นการลงนามผูกพันตามรายการ ที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติไว้แล้วเป็นรายกรณี และเป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือบุคคลที่อาจทําหน้าที่เปรียบเสมือนกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เพียงใช้ชื่อว่าเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น รวมไปถึงบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว แต่เรียกชื่อเรียกอย่างอื่นด้วย อย่างไรก็ตามไม่รวมถึงบุคคลที่รับจ้างทํางานให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชํานาญเฉพาะกิจ โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชี ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาด้านภาษี ที่ปรึกษาด้านภาษา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กร ที่ปรึกษาด้านประกันภัย ที่ปรึกษาด้านแบบจําลองเชิงปริมาณขั้นสูง เป็นต้น “กรรมการโดยตําแหน่ง” ให้หมายความรวมถึงกรรมการที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานราชการด้วย 4.2 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องมีคุณสมบัติและความสามารถที่เหมาะสม (Fit and proper) โดยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในกฎหมาย ดังต่อไปนี้ (1) กฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง (2) กฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (3) กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ และ (4) กฎหมายและหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ 4.2.1 ลักษณะต้องห้าม (1) เป็นบุคคลล้มละลายหรือพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายมาแล้วไม่ถึงห้าปี (2) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม (3) เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ องค์การ หรือหน่อยงานของรัฐฐานทุจริตต่อหน้าที่ (4) เคยเป็นผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในขณะที่สถาบันการเงินหรือสถาบันเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (5) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยตามมาตรา 89 (3) หรือมาตรา 90 (4) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 หรือเคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (6) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ในเวลาเดียวกันเว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (7) เป็นผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ นอกเหนือจากตําแหน่งกรรมการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 4.3 (8) เป็นข้าราชการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาสมาชิกท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดํารงตําแหน่งการเมืองอื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดในข้อ 4.2.2 (2) (2.1) (9) เป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเป็นผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ครบ 1 ปี ในตําแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไปหรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของส่วนงานต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานใด หรือตําแหน่งผู้อํานวยการอาวุโสหรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสายงานที่มีอํานาจในการตัดสินใจกําหนดนโยบายกํากับดูแลหรือการกํากับตรวจสอบสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2.2 ลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติม ที่กําหนดตามหลักการ 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง (2) ด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ และ (3) ด้านสถานะทางการเงิน ดังต่อไปนี้ (1) ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง (Honesty, integrity and reputation) กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวกับประเด็นความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง ดังต่อไปนี้ (1.1) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้มีอํานาจตามกฎหมายจัดตั้ง สั่งถอดถอนจากการเป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือบริษัทหลักทรัพย์ใดมาก่อน เว้นแต่จะพ้นระยะเวลาที่กําหนดห้ามดํารงตําแหน่งดังกล่าวแล้ว หรือได้รับการยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย (1.2) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้มีอํานาจตามกฎหมายจัดตั้ง หรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งในและต่างประเทศซึ่งมีหน้าที่กํากับและควบคุมสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกําลังถูกดําเนินคดี ในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของสถาบันการเงิน หลักทรัพย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และกฎหมายอื่นๆ เว้นแต่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด (1.3) เคยถูกหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากระบุใน (1.2) กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกําลังถูกดําเนินคดี ในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริตทางการเงินเว้นแต่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด (1.4) มีหรือเคยมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือดําเนินการใดๆที่ผิดกฎหมาย หรือที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือประชาชน (1.5) มีหรือเคยมีประวัติส่วนตัวหรือพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนให้เกิดการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (1.6) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉล หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนให้เกิดการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น ซึ่งรวมถึงการเลือกปฏิบัติการแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใดๆ อันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of interest) (1.7) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลหรือการปฏิบัติงานที่พึงกระทําตามสมควรเยี่ยงกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งทําให้สถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ คู่มือการปฏิบัติงานภายใน ตลอดจนมติของคณะกรรมการ หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพิจารณาสินเชื่อหรือการตัดสินใจลงทุน หรือมีการดําเนินการอื่นใดอันเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญ เช่น ทําให้การดํารงกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ต่ํากว่าที่กฎหมายกําหนด หรือทําให้ไม่สามารถดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งรวมถึงความเสียหายต่อลูกค้าของสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (2) ด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ (Competence, capability and experiences) กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่จําเป็นและเหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบในระดับที่ผู้ประกอบวิชาชีพการเงินการธนาคารพึงมีและต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (2.1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต นอกเหนือจากตําแหน่งที่กําหนดในข้อ 4.2.1 (8) ทั้งนี้ ให้รวมถึงตําแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยรัฐมนตรี ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 (2.2) มีหรือเคยมีการทํางานที่แสดงถึงการขาดมาตรฐานทางบัญชีมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง หรือมาตรฐานทางวิชาชีพอื่นๆ ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งกําหนดโดยหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานกําหนดมาตรฐานอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่นการอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริง การจงใจหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลในประเด็นอันเป็นสาระสําคัญ การถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (3) ด้านสถานทางการเงิน (Financial soundness) กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสถานะทางการเงิน กล่าวคือ ต้องไม่มีปัญหาในการชําระเงินต้น ดอกเบี้ย หรือรายได้ทางการเงินอื่นที่เทียบเท่าดอกเบี้ย หรือเข้าข่ายจัดชั้นเป็นลูกหนี้ชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน ชั้นสงสัย ชั้นสงสัยจะสูญ หรือสูญ กับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือบริษัทที่ให้สินเชื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ 4.3 ข้อยกเว้นเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามที่กําหนดในข้อ 4.2.1 (7) ดังนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดข้อยกเว้นเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4.2.1 (7) ดังนี้ 4.3.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นกรรมการและที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ แต่การดํารงตําแหน่งดังกล่าวต้องไม่ใช่กรรมการที่เป็นผู้บริการ 4.3.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้การค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจและเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น สามารถเป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นได้ 4.3.3 โดยอาจมีกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความจําเป็นจะต้องส่งกรรมการผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ เข้าไปกํากับดูแลบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงสมควรอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถส่งกรรมการ ผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการ ไปเป็นผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการ ของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือผู้มีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นและเป็นบริษัทที่อยู่ในระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ เพราะเหตุแห่งความจําเป็นที่จะต้องกํากับดูแลลูกหนี้ดังกล่าวตามที่กล่าวมาข้างต้น 4.4 การแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในกรณีที่ประธานกรรมการ กรรมการโดยตําแหน่ง กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ้นจากตําแหน่งตามวาระ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ลาออก ตาย หรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในตําแหน่งงานระดับเดียวกัน สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นหนังสือให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ตามแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงตามเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล สําหรับกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในปัจจุบันก่อนประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปได้จนครบวาระ อย่างไรก็ตาม หากปรากฏในภายหลังว่าบุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจ ในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินเฉพาะกิจก็ต้องดําเนินการให้มีการถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากการดํารงตําแหน่ง อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,754
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2553 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2553 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ---------------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10 / 2551 เรื่องการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 กําหนดให้สถาบันการเงินรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยรูปแบบชุดข้อมูล (Data Set) โดยผ่านวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 นั้น เนื่องจากสภาวิชาชีพบัญชี ได้กําหนดให้นิติบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสาธารณะถือปฏิบัติตามมาตรการฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศและมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศทุกฉบับสําหรับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ดังนั้น เพื่อให้ข้อมูลงบการเงินที่สถาบันการเงินรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสอดคล้องกับมาตรฐานที่สภาวิชาชีพบัญชีได้กําหนดไว้ และธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งสาขาเพิ่มเติมและการประกอบกิจการสาขาที่จัดตั้งเพิ่มเติมของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ รวมทั้งได้ยกเลิกการรายงานชุดข้อมูล Fee Rate Summary (DS\_FRS) ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศฉบับนี้เพื่อใช้แทนประกาศฉบับดังกล่าวข้างต้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญดังนี้ 1. ปรับปรุงรายการทางบัญชีของชุดข้อมูล (Data Set) ที่เกี่ยวกับงบการเงินและชุดข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง จํานวน 4 ชุดข้อมูล ตามรายละเอียดดังนี้ 1.1 Balance Sheet (DS\_BLS) 1.2 Profit and Loss (DS\_PNL) 1.3 Interest Rate Risk (DS\_IRR) 1.4 Capital Fund (DS\_CAP) 2. ให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสาขาเพิ่มเติมตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่2 รายงานชุดข้อมูลเพิ่มเติม จํานวน 2 ชุดข้อมูล ตามรายละเอียดดังนี้ 2.1 Branch Summary (DS\_BSM) 2.2 Income and Expense by Branch (DS\_IEB) 3. ยกเลิกการรายงานชุดข้อมูล Fee Rate Summary (DS\_FRS) สําหรับข้อมูลอัตราค่าธรรมเนียมที่สถาบันการเงินประกาศเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดให้สถาบันการเงินจัดทําและส่งรายงานข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับครั้งนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน อื่นๆ - 4.ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 10/2551 เรื่องการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 อื่นๆ - 5.เนื้อหา 5.1 ให้สถาบันการเงินจัดทําและส่งรายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูล (Data Set) ตามรายชื่อชุดข้อมูล (Data Set) ที่กําหนดให้สถาบันการเงินรายงาน (เอกสารแนบ1) และคู่มือการจัดทําข้อมูล (Data Set Manual) โดยให้จัดส่งข้อมูลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ตามกําหนดใน “ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546” ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2546 (เอกสารแนบ2) รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.2 การจัดส่งรายงานชุดข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่ให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ 5.2.1 ชุดข้อมูลที่กําหนดให้รายงานตามงวดการบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป - Balance Sheet (DS\_BLS) - Profit and Loss (DS\_PNL) - Interest Rate Risk (DS\_IRR) 5.2.2 ชุดข้อมูลที่กําหนดให้รายงานงวดแรกสําหรับข้อมูล ณ สิ้นเดือนมกราคม 2554 - Capital Fund (DS\_ CAP) 5.3 ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับรายงานข้อมูลตามชุดข้อมูล (Data Set) ในวันที่สถาบันการเงินส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลที่ส่งมานั้นมีความถูกต้องโดยผ่านหลักเกณฑ์การตรวจสอบเบื้องต้น (Basic Validation) ของระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2553 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,755
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5/2559 เรื่อง ค่าธรรมเนียมการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5 /2559 เรื่อง ค่าธรรมเนียมการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริกรธุรกรรมตราสารหนี้ให้มีความชัดเจน และครอบคลุมการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ทุกประเภท อื่นๆ - 2.หลักเกณฑ์ที่อ้างอิง อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ถือผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ อื่นๆ - 4.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กําหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ ดังต่อไปนี้ (1) การเปลี่ยนแปลงคํานําหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุล ชื่อนิติบุคคล แจ้งบรรลุนิติภาวะเปลี่ยนแปลงผู้มือํานาจจัดการตราสารหนี้ ออกใบตราสารหนี้ใหม่ แบ่งแยกหรือยุบรวม โอนกรรมสิทธิ์ในตราสารนี้ จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน กรณีบันทึกข้อความในใบตราสาหนี้ หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนข หรือรายละเอียดของการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน กรณีบันทึกข้อความในใบตราสารหนี้ - กรณีนิติบุคคล อัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ - กรณีบุคคลธรรมดา อัตราค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ (2) การจดแจ้งและถอนการจดแจ้งการดํารงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ (3) การออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ หรือหนังสือรับรองสถานะตราสารหนี้ - กรณีนิติบุคคล อัตราค่ธรรมเนียม 100 บาท ต่อหนังสือรับรอง 1 ฉบับ - กรณีบุคคลธรรมดา อัตราค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อหนังสือรับรอง 1 ฉบับ (4) การฝากใบตราสารหนี้เข้าระบบไร้ใบตราสาร หรือเข้าบัญชีย่อยเพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. อัตราค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อ 1 รายการ (5) การถอนตราสารหนี้ออกจากระบบไร้ใบตราสาร หรือจากบัญชีย่อยตราสารหนี้ เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. - กรณีนิติบุคคล อัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ - กรณีบุคคลธรรมดา อัตราค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมข้างต้น ไม่รวมถึงอัตราค่าธรมเนียมของผู้ให้บริการรายอื่นที่เกี่ยวข้อง อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,756
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5 /2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 5/90/59 | - | 40,000 | 2 ก.พ. 59 | 4 ก.พ. 59 | 4 พ.ค. 59 | 90 วัน | 90 วัน | | 5/182/59 | - | 40,000 | 2 ก.พ. 59 | 4 ก.พ. 59 | 4 ส.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/371/59 | - | 40,000 | 2 ก.พ. 59 | 4 ก.พ. 59 | 12 ม.ค. 60 | 371 วัน | 343 วัน | | 6/91/59 | - | 40,000 | 9 ก.พ. 59 | 11 ก.พ. 59 | 12 พ.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 6/182/59 | - | 40,000 | 9 ก.พ. 59 | 11 ก.พ. 59 | 11 ส.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 7/91/59 | - | 40,000 | 16 ก.พ. 59 | 18 ก.พ. 59 | 19 พ.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 7/182/59 | - | 40,000 | 16 ก.พ. 59 | 18 ก.พ. 59 | 18 ส.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2ปี/2559 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 16 ก.พ. 59 | 40,000 | 18 ก.พ. 59 | 23 ก.พ. 59 | 23 ก.พ. 61 | 2 ปี | 2 ปี | | 8/91/59 | - | 40,000 | 23 ก.พ. 59 | 25 ก.พ. 59 | 26 พ.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 8/182/59 | - | 40,000 | 23 ก.พ. 59 | 25 ก.พ. 59 | 25 ส.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR – 0.1(สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 ก.พ. 59 จะประกาศในวันที่ 15 ก.พ. 59) | 10,000 | 26 ก.พ. 59 | 1 มี.ค. 59 | 17 ก.พ. 61 | 3 ปี | 1.97 ปี | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2ปี/2559 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 23 กุมภาพันธ์ และ 23 สิงหาคม ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 23 สิงหาคม 2559 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,757
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนเดือนมกราคม ปี 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2553 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนเดือนมกราคม ปี 2553 ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2553 (รุ่นที่ 1/3 ปี/2553) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 8 มกราคม 2553 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่น 1/3 ปี/2553 ที่จะประมูลในวันที่ 12 มกราคม 2553 เท่ากับร้อยละ 2.750 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,758
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 5/2559 เรื่อง อำนาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 5/2559 เรื่อง อํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุด -------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ กรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในฐานะที่มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีธรรมาภิบาลที่ดี ปฏิบัติตามกฎหมายและมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือแนวนโยบายของหน่วยงานที่หน้าที่เจ้าของ จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต (Duty of loyalty) และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Duty of care) เป็นที่ตั้ง ภายใต้กรอบหน้าที่และความรับผิดชอบทั่วไป 3 ประการ คือ การกําหนดนโยบาย การดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกระบวนการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามนโยบาย และการดูแลให้มีระบบการติดตามตรวจสอบให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนด หน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในทางปฏิบัติจะมีหลายด้านตามที่ระบุในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แต่เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในระยะยาว และเพื่อให้แนวทางในการดูแลกิจการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสอดคล้องกับกฎหมายและประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรกําหนดอํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ควรให้ความสําคัญสูงสุดในการดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (1) มีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ (2) มีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งสามารถรองรับความเสี่ยงของกิจการทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ (3) มีการดําเนินงานที่เป็นไปตามพันธกิจและกฎเกณฑ์ของทางการ และ (4) มีธรรมาภิบาลที่ดี (Good corporate governance) อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ “สถาบันการเงินเฉพาะกิจ” หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลอดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.2 อํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการกํากับดูแลกิจการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุด ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 4.2.1 ด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk management) การบริหารความเสี่ยงเป็นปัจจัยสําคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นคงให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจในระยะยาว กรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงต้องดูแลให้แน่ใจว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะปกป้องดูแลผลประโยชน์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและจํากัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ดังนั้นกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงมีหน้าที่อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) มีความรู้ความเข้าใจในความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจตลอดจนเครื่องที่จะใช้ในการบริหารความเสี่ยงต่างๆ อย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับธุรกิจต่างๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้เป็นอย่างดี (2) ดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกระบวนการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมธุรกรรมต่างๆ ของสถาบันการเงินพาะกิจ และสามารถสะท้อนข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้แน่ใจว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ดําเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมายกฎและระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่างๆ ของทางการ รวมทั้งคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทย (3) ดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกระบวนการรายงานการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย กฎและระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่างๆ ของทางการ หรือข้อบังคับภายในของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเอง เพื่อให้กรรมการและฝ่ายจัดการสามารถติดตามหรือแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดผลกระทบต่อธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างมีนัยสําคัญ 4.2.4 ด้านปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการที่มีธรรมาภิบาลที่ดี (Good corporate governance) คณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีอํานาจและหน้าที่ในการดํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอันที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยมีกรรมการเป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างผู้ถือหุ้นหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของและฝ่ายจัดการ ดังนั้น กรรมการจึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งในการสร้างธรรมาภิบาลที่ดี อันที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้นหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของ ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (Stakeholders) ดังนั้น กรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงต้องมีบทบาทหน้าที่ตามหลักของธรรมาภิบาลที่ดีอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรงไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ไม่เลือกปฏิบัติไม่เล่นพวกเล่นพ้อง และไม่เข้าไปมีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจในธุรกรรมหรือกิจการใดๆที่ตนเองมีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of interest) รวมถึงต้องสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดการแทรกแซงการตัดสินใจใดๆ อันจะทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น (2) อนุมัติหรือกําหนดนโยบายสําคัญและกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจ ตลอดจนติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและกลยุทธ์ที่กําหนดไว้ (3) ดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดนโยบายเรื่องธรรมภิบาลที่ดีให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (Stakeholders) อย่างเหมาะสม มีความเป็นธรรมในทางธุรกิจโดยไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า และประชาชนไม่ว่าด้านสินเชื่อเงินฝาก รายการนอกงบดุล หรือในเรื่องอื่นๆ (4) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุกครั้ง เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็น รวมทั้งมีส่วนร่วมในการซักถามและแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการประชุมอย่างเต็มความสามารถ (5) ดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีนโยบายการจ่ายผลตอบแทนที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ และดํารงไว้ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ทั้งนี้ไม่ควรกําหนดอัตราผลตอบแทนโดยผูกโยงกับกําไรระยะสั้นมากเกินไป เพื่อไม่ให้มีแรงจูงใจในการเพิ่มระดับความเสี่ยงที่สูงเกินกว่าระดับที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยอมรับได้ หรือทําธุรกิจแบบสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยละเลยผลกระทบในระยะยาวเพียงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงในระยะสั้น (6) ดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการแบ่งแยกหน้าที่ (Segregation of duties) ให้ชัดเจน และมีการตรวจสอบถ่วงดุล (Check and balance) ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทําเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือเกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of interest) 4.3 การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ทั้ง 4 ประการข้างต้น กรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จะต้องมีความสุจริตและการกระทําการด้วยความระมัดระวัง ภายใต้กรอบและแนวทางของหลักการตัดสินใจทางธุรกิจ (Business judgment rule) ดังนี้ 4.3.1 ต้องไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว (No Conflict of interest and no self-dealing ) หรือไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องที่ต้องตัดสินใจหรือลงมติ หากมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องจะมีเหตุให้ถือเป็นเบื้องต้นว่าเป็นการกระทําที่ขาดความสุจริต เว้นแต่มีข้ออธิบายที่สมเหตุสมผลได้ 4.3.2 ต้องเป็นการตัดสินใจหรือลงมติบนพื้นฐานข้อมูลที่เพียงพอ (Informed decision) โดยพึงมีข้อมูลที่เพียงพอ เพื่อประกอบการตัดสินใจที่สมเหตุสมผลทางธุรกิจในระดับที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเงินและธนาคารพึงมี ก่อนการตัดสินใจหรือลงมตินั้น 4.3.3 ต้องการตัดสินใจหรือลงมติที่มีความสมเหตุสมผล (Rational decision) โดยมีเหตุผลสนับสนุนในระดับที่ผู้มีอาชีพด้านการเงินและการธนาคารพึงมี ซึ่งในการตัดสินใจหรือลงมติแต่ละเรื่องอาจมีทางเลือกหลายทาง (Range of decision) ที่ถือว่าสมเหตุสมผลได้ อย่างไรก็ดี การตัดสินใจหรือการลงมติที่ออกนอกขอบเขตของผู้ประกอบอาชีพด้านการเงินและการธนาคารโดยสิ้นเชิง ย่อมถือไม่ได้ว่าการตัดสินใจหรือลงมติที่สมเหตุสมผลตามข้อนี้ อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,759
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8 /2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นถึงความจําเป็นของสถาบันการเงินในการดําเนินธุรกิจในรูปแบบของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมากขึ้น แต่การดําเนินธุรกิจในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น หากไม่มีการกํากับดูแลอย่างเหมาะสมก็อาจส่งผลให้การดําเนินธุรกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน ดังนั้น ในปี 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีการออกแนวนโยบายการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเริ่มทดลองถือปฏิบัติโดยยังไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายต่อมาเมื่อมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 66/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่ในช่วงแรกได้กําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติในหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพก่อนจากนั้นได้มีการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2553 เพื่อบังคับใช้หลักเกณฑ์อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2553 เป็นต้นมา และได้มีการปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาโดยลําดับทั้งในเรื่องของการปรับปรุงให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel lllเมื่อปี 2555 และการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจสําหรับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบธุรกิจศูนย์ฝึกอบรมซึ่งเป็นธุรกิจสนับสนุนเมื่อปี 2556 ในการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดําเนินธุรกิจในขอบเขตที่เหมาะสมและมีความมั่นคง อันจะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่ระบบสถาบันการเงินโดยรวม และเพื่อให้การกํากับดูแลสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินในประเทศไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ดังนั้น การกํากับดูแลความเสี่ยงในระดับ Solo basis เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และจากการให้การสนับสนุนระหว่างกันภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั้นมีได้หลายรูปแบบ เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk) และความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputation risk) โดยปัญหาที่เกิดขึ้นกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจลุกลามขยายไปยังสถาบันการเงินและบริษัทอื่น ๆ ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้นเป็นบริษัทที่ต้องการความเชื่อมั่นจากตลาด ก็อาจเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดปัญหาสภาพคล่องจนกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงของสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ในที่สุด บริษัทแม่จึงจําเป็นต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงของแต่ละบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและเข้าใจความเสี่ยงโดยรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินใช้เป็นมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารความเสี่ยง โดยให้บริษัทแม่มีหน้าที่ในการดูแลให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินอย่างเหมาะสม รวมถึง จัดให้มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ได้แก่ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการซึ่งในช่วงแรกของการบังคับใช้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในปี 2551 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติเฉพาะหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพเท่านั้น เช่น การบริหารความเสี่ยง การติดตามความเสี่ยง และการควบคุมภายใน เพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีเวลาในการปรับตัวให้ปฏิบัติได้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ต่อมาในปี 2553 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เชิงปริมาณเพิ่มเติม เช่น การดํารงเงินกองทุน การกําหนดปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินหรือบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้แก่กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินในระดับ Solo Consolidation ให้สอดคล้องกับมาตรา 48 (1) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินในระดับ Solo basis เรื่อง การให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้แก่กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เน้นย้ําถึงความสําคัญของการบริหาร์ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินควรมีการดํารงสภาพคล่องอย่างเพียงพอ และควรให้ความสําคัญเพิ่มเติมกับความเพียงพอของกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต รวมถึง ปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีภายนอกให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินในระดับ Solo basis และปรับปรุงถ้อยคําในประกาศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel III พร้อมทั้งตัวอย่างการคํานวณอัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันและทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 31 มาตรา 34 มาตรา 55 มาตรา 57 มาตรา 59 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูกและบริษัทร่วมของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมทุกแห่งของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ยกเว้น สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ "การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน" (Consolidated Supervision) หมายความว่า การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยคํานึงถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยรวมที่มีผลกระทบต่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและสถาบันการเงินนั้น ๆ ไม่ว่าความเสี่ยงนั้นจะปรากฎอยู่ในบัญชีของสถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดําเนินธุรกิจในขอบเขตที่เหมาะสมและมีความมั่นคง "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ก. ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งหมายความรวมถึง ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ แต่ไม่รวมสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ข. บริษัทเงินทุน ค. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ "ธุรกิจทางการเงิน" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน "ธุรกิจสนับสนุน" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน "บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation " ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน "บริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน "เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แล้วแต่กรณี "กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน "ที่ปรึกษา" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation" หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงิน หรือบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation แล้วแต่กรณีเกินร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสถาบันการเงินหรือบริษัทนั้น โดยให้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นบริษัทโฮลดิ้ง บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัย ที่เป็นบริษัทแม่ ให้นับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทโฮลดิ้ง บริษัทหลักทรัพย์บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยดังกล่าว เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ด้วย "กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation" หมายความว่า บริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งสถาบันการเงิน บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation กรรมการของสถาบันการเงิน กรรมการของบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น 4.2 การกํากับดูแลด้านธรรมาภิบาลของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน 4.2.1 คณะกรรมการของบริษัทแม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลด้านธรรมาภิบาลของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยต้องมีการดําเนินการที่ชัดเจนและมีการกําหนดกรอบธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับโครงสร้าง ลักษณะการประกอบธุรกิจ และความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินซึ่งคณะกรรมการของบริษัทแม่ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน 4.2.2 บริษัทแม่ต้องจัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อทําหน้าที่ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ และดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินดําเนินการตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ได้กําหนดไว้ นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังสนับสนุนให้บริษัทแม่จัดให้มี (1) คณะกรรมการตรวจสอบของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้บริษัทแม่สามารถกํากับดูแลและติดตามการปฏิบัติงานของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ถือปฏิบัติตามนโยบายของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ รวมทั้ง สามารถสอบทานรายงานทางการเงินของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ถูกต้องและเพียงพอ (2) คณะกรรมการสรรหาของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อทําหน้าที่กํากับดูแลการสรรหากรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อให้ได้กรรมการและผู้มีอํานาจที่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน (3) คณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อทําหน้าที่กํากับดูแลการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์ดังกล่าวมีความชัดเจน โปร่งใส สอดคล้องและเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานในแต่ละระดับ ทั้งนี้ ประธานของคณะกรรมการสรรหาและประธานของคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนควรเป็นกรรมการอิสระ เพื่อผลักดันให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนเป็นไปอย่างอิสระ ซึ่งบริษัทแม่อาจกําหนดให้คณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนเป็นชุดเดียวกันได้ 4.3 การกํากับดูแลความเสี่ยงในภาพรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน 4.3.1 การบริหารความเสี่ยง บริษัทแม่ต้องเข้าใจและตระหนักถึงความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในภาพรวม และความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้สามารถบริหาร ควบคุม และติดตามความเสี่ยงของทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพโดยบริษัทแม่ต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดทํานโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทแม่ และจัดส่งนโยบายดังกล่าวให้ฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประจําทุกปีและทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สําคัญภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ นโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินควรประกอบด้วย นโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงในการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้ (1.1) นโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ต้องครอบคลุมรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ก. ประเภทความเสี่ยงที่สําคัญของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและของแต่ละบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ข. กระบวนการและวิธีการในการประเมินและการวัดความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ค. การควบคุมและการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น การกําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ การกําหนดขอบเขตการมอบอํานาจในการตัดสินใจของผู้มีอํานาจอย่างชัดเจน ง. การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (business continuity management) ตามแนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BusinessContinuity Management: BCM) และการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BusinessContinuity Plan: BCP) ของสถาบันการเงิน (1.2) นโยบายการบริหารความเสี่ยงในการทําธุรกรรมระหว่างกันภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามที่กําหนดในข้อ 4.4.3 (2) จัดทําแนวทางการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้สอดคล้องกับหนังสือเวียนที่ ธปท.สกส.(03)ว. 227/2548 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 เรื่อง แนวทางที่พึงปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยง และที่แก้ไขเพิ่มเติม นอกจากนี้ บริษัทแม่ควรจัดให้บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ที่มีนัยสําคัญต่อกลุ่มธุรกิจทางการเงิน มีระบบการบริหารความเสี่ยงของตนเอง เพื่อให้สามารถบริหาร ควบคุมและติดตามความเสี่ยงของตนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง มีความเข้าใจและตระหนักถึงทั้งความเสี่ยงของตนที่อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจทางการเงินและความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน 4.3.2 การติดตามความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะลดลง หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีระบบการติดตามความเสี่ยง มีธรรมาภิบาล และมีระบบการควบคุมภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง ธรรมาภิบาล และระบบการควบคุมภายในที่ดีธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้ (1) บริษัทแม่ต้องดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีระบบการควบคุมภายในและระบบการติดตามความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ (2) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ทําหน้าที่ประเมินผลการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการของบริษัทแม่อย่างสม่ําเสมออย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการของบริษัทแม่ได้ติดตามการบริหารงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่อาจทําให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงรายงานต่อคณะกรรมการของบริษัทแม่ในทันที (3) บริษัทแม่ต้องทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามความจําเป็นและเหมาะสมอย่างน้อยปีละครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการของบริษัทแม่ และจัดส่งนโยบายดังกล่าวให้ฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 วันนับจากวันที่คณะกรรมการของบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมได้ หากธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่ดีพอ 4.4 การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิต 4.4.1 การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบ ดูแล และควบคุม ให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารแห่งประเทศไทย และถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงดังกล่าวโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้ (1) กรณีบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ให้บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation นําหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิตทั้งหมด 9 เรื่อง ตามประกาศ หนังสือเวียน แนวปฏิบัติ และแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยเรื่องดังต่อไปนี้ มาบังคับใช้โดยอนุโลม (ตัวอย่างหลักเกณฑ์ตามเอกสารแนบของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน) (1.1) การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของพอร์ตสินเชื่อ (1.2) การให้สินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์เป็นประกัน (1.3) การสอบทานสินเชื่อ (1.4) การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสํารอง (1.5) การประเมินมูลค่าหลักประกัน และอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ (1.6) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (1.7) การรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้ (1.8) การถือครองอสังหาริมทรัพย์รอการขาย ทั้งนี้ บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation (ไม่รวมบริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์รอการขายออกไปภายในระยะเวลาที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยอสังหาริมทรัพย์รอการขาย ยกเว้น อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาก่อนวันที่ 4 สิงหาคม 2551 ให้ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาในวันที่ 4 สิงหาคม 2551 หากบริษัทลูกไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้ตามระยะเวลาที่กําหนด และสถาบันการเงินเข้าเกณฑ์ต้องกันเงินสํารองในช่วงระยะเวลาผ่อนผันการถือครองตามประกาศดังกล่าว บริษัทลูกดังกล่าวต้องกันเงินสํารองในช่วงระยะเวลาผ่อนผันการถือครองตามหลักเกณฑ์ในประกาศดังกล่าวด้วย (1.9) การกํากับดูแลบริษัทบริหารสินทรัพย์ (2) กรณีบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation ให้บริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะกําหนด (ถ้ามี) 4.4.2 การลงทุนของสถาบันการเงินในบริษัทต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันการเงินมุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจสถาบันการเงินมากกว่าการลงทุนเพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่เกินกว่าการสนับสนุนธุรกิจตามปกติ และเพื่อจํากัดความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของการลงทุนภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติ ดังนี้ (1) การลงทุนในบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation สถาบันการเงินสามารถถือหรือมีหุ้นในบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ได้ไม่จํากัดจํานวน ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะลงทุนในบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ในวันที่นําบริษัทดังกล่าวเข้ามาอยู่ในกลุ่ม กล่าวคือ เมื่อสถาบันการเงินนําเงินลงทุนในบริษัทลูกดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินแล้ว สถาบันการเงินยังสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามกฎหมาย (2) การลงทุนในบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation และบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน สถาบันการเงินสามารถถือหรือมีหุ้นในบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation เมื่อนับรวมกับ การถือหรือมีหุ้นในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกบริษัท ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงินแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีโดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ การนับการลงทุนของสถาบันการเงินในบริษัทต่าง ๆ ให้นับการลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม 4.4.3 การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยอาจเกิดขึ้นจากการกระทําของบริษัทแม่โดยตรง หรือจากการกระทําของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือการทําธุรกรรมกับบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น การให้สินเชื่อ การถือหุ้นการซื้อขายทรัพย์สิน การค้ําประกัน การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและการให้บริการระหว่างกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ในหลายรูปแบบดังนั้น บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ดังนี้ (1) ลักษณะของธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (1.1) ธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หมายถึง ธุรกรรมทั้งในและนอกงบดุลทุกประเภทที่ทําขึ้นระหว่างบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งหมายความถึงธุรกรรมระหว่าง (1.1.1) บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation (หมายถึง ธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินกับบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation และธุรกรรมระหว่างบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ด้วยกัน) (1.1.2) บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation กับบริษัทนอกกลุ่ม Solo Consolidation (1.1.3) บริษัทนอกกลุ่ม Solo Consolidation (หมายถึง ธุรกรรมระหว่างบริษัทแม่ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินกับบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation และธุรกรรมระหว่างบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation ด้วยกัน) ทั้งนี้ ในการทําธุรกรรมตามข้อ (1.1.1) และ (1.1.2/) ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และในการทําธุรกรรมตามข้อ (1.1.3) ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพเท่านั้น (1.2) ตัวอย่างของธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น (1.2.1) การให้สินเชื่อหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เช่น ธุรกรรมแฟ็กเตอริง ธุรกรรมการให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลีสซิ่ง (1.2.2) การก่อภาระผูกพัน เช่น การรับรอง การอาวัลหรือการสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน การสลักหลังตั๋วเงินที่ผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย การค้ําประกันการกู้ยืมเงินหรือการค้ําประกันการขาย การขายลดหรือการขายช่วงลดตั๋วเงิน การค้ําประกันการเพิ่มทุนหรือการค้ําประกันในลักษณะอื่นใดเพื่อผลประโยชน์ในการกู้ยืมเงินของบุคคลหนึ่งบุคคลใด การรับประกันการจําหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้แบบรับประกันทั้งจํานวน (firm underwrite) และการทําสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน เช่น อนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน อนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย อนุพันธ์ด้านราคาตราสารทุน และอนุพันธ์ด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (1.2.3) การซื้อหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (1.2.4) การซื้อหรือขายสินทรัพย์ รวมถึงการขายสินทรัพย์โดยมีสัญญาซื้อคืน (1.2.5) การรับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเป็นหลักประกันการให้สินเชื่อ หรือการออกหนังสือค้ําประกันหรือเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (1.2.6) การทําธุรกรรมประเภทอื่น เช่น การให้บริการระหว่างกัน การจ่ายดอกเบี้ย และการจ่ายเงินปันผล รวมถึง การทําธุรกรรมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ทําขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อถ่ายโอนผลประโยชน์ให้กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเช่น การขายทรัพย์สินให้กับบุคคลภายนอกโดยมีเงื่อนไขว่า บุคคลภายนอกนั้นจะต้องนําทรัพย์สินนั้นมาขายต่อให้กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินด้วยราคาที่ต่ํากว่าราคาตลาด (2) การกํากับดูแลเชิงปริมาณสําหรับธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (2.1) ปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ (2.1.1) บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation สามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อระหว่างกันได้ โดยไม่จํากัดปริมาณทั้งต่อรายและโดยรวม (2.1.2) บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation สามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บริษัทนอกกลุ่ม Solo Consolidation ได้โดยไม่จํากัดปริมาณต่อรายแต่จํากัดปริมาณโดยรวม โดยเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนกลุ่ม Solo Consolidation ของสถาบันการเงิน หรือไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุนกลุ่ม Solo Consolidation ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย แล้วแต่กรณี เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (2.2) การนับปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ (2.2.1) การนับปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ไม่นับรวมถึงจํานวนเงินลงทุนในบริษัทลูกในส่วนที่สถาบันการเงินได้หักเงินลงทุนในบริษัทลูกดังกล่าวออกจากเงินกองทุนกลุ่ม Solo Consolidation แล้วตามสัดส่วนของจํานวนที่ต้องหักออกจากเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณี โดยคิดจํานวนที่ถูกหักเงินกองทุนของแต่ละบริษัทตามสัดส่วนเงินลงทุน (pro-rata basis) (ตัวอย่างการคํานวณตามเอกสารแนบ) (2.2.2) การนับรายการใดเป็นการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ และการยกเว้นรายการใดที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) มาใช้บังคับโดยอนุโลม (3) การกํากับดูแลเชิงคุณภาพสําหรับธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (3.1) นโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (3.1.1) บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบการกําหนดนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยมีการทบทวนนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่านโยบายดังกล่าวมีความเพียงพอและเหมาะสมในการบริหารและติดตามดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินซึ่งนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึง ก. ประเภทของธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ข. หลักเกณฑ์และข้อจํากัดในการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รวมถึง ปริมาณการทําธุรกรรมกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งต่อรายและโดยรวม ค. แนวทางในการติดตามการปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนด ง. แนวทางดําเนินการในกรณีที่การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่เป็นไปตามนโยบายที่กําหนด จ. แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประกาศฉบับนี้ ฉ. แนวทางการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อคณะกรรมการบริษัทแม่และบุคคลภายนอก (3.1.2) บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบให้มีกระบวนการในการวัดบริหาร ติดตาม ควบคุม รายงาน และทบทวนความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินในระดับกลุ่มธุรกิจทางการเงินอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยปีละครั้ง หรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญ และมีกระบวนการในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอย่างเพียงพอ (3.1.3) คณะกรรมการบริษัทแม่ต้องให้ความเห็นชอบในนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รวมถึง การเปลี่ยนแปลงในนโยบายดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทแม่ต้องจัดทําหนังสือยืนยันว่าคณะกรรมการของบริษัทแม่ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบนโยบายตามที่กล่าวข้างต้นและได้ทบทวนความเหมาะสมอย่างน้อยเป็นประจําทุกปีแล้ว และจัดส่งหนังสือยืนยันดังกล่าวให้ฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างน้อยปีละครั้ง ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทแม่ (3.2) แนวทางการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (3.2.1) บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามที่กําหนด และถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่กําหนดในข้อ 4.4.3 (3.2.2) บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องปฏิบัติตามนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแม่ และปฏิบัติตามกระบวนการเดียวกันกับการทําธุรกรรมกับบุคคลทั่วไป โดยต้องจัดทําเป็นเอกสารสัญญาที่มีผลบังคับตามกฎหมาย และมีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดที่เป็นปกติเหมือนกับการทําธุรกรรมกับบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน เช่น การซื้อขายสินทรัพย์ควรซื้อขายกันในราคาตลาดโดยมีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดของการซื้อขายเช่นเดียวกับการซื้อขายกับบุคคลภายนอก (3.2.3) ในกรณีที่มีการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินด้วยเงื่อนไข หรือข้อกําหนด หรือกระบวนการ หรือวิธีการพิจารณา ที่แตกต่างไปจากที่ทํากับบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน หรือไม่เป็นไปตามนโยบายที่กําหนด ให้คณะกรรมการของบริษัทที่เป็นผู้ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือทําธุรกรรมอื่นแล้วแต่กรณี เป็นผู้อนุมัติการทําธุรกรรมดังกล่าวก่อนการทําธุรกรรมทุกกรณี และจัดทําเอกสารหลักฐานระบุเหตุผลและความจําเป็นในการทําธุรกรรม และรายงานพร้อมทั้งจัดส่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวให้แก่บริษัทแม่ ทั้งนี้ บริษัทแม่ต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตัวอย่างการทําธุรกรรมที่ถือว่ามีเงื่อนไขหรือข้อกําหนด หรือกระบวนการ หรือวิธีการพิจารณา ที่แตกต่างไปจากที่ทํากับบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน เช่น การให้สินเชื่อหรือลงทุนโดยไม่ได้พิจารณาถึงฐานะและผลการดําเนินงานของธุรกิจหรือการให้สินเชื่อหรือลงทุนในลักษณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ เช่น เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ํากว่าอัตราปกติหรือต่ํากว่าต้นทุนการจัดหาเงิน หรือเสนอราคาที่ต่ํากว่าราคาปกติของบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน (3.2.4) สําหรับกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าบริษัทลูกดังกล่าวมีสถานะเสมือนเป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งของสถาบันการเงินหรือบริษัทแม่และมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด โดยอาจมีการจัดสรรงบประมาณให้บริษัทลูกดังกล่าวเช่นเดียวกับการเป็นหน่วยธุรกิจของสถาบันการเงินหรือบริษัทแม่ สถาบันการเงินหรือบริษัทแม่อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ ก. สถาบันการเงินหรือบริษัทแม่สามารถใช้เงื่อนไข หรือข้อกําหนด หรือกระบวนการ หรือวิธีการพิจารณา สําหรับการให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือทําธุรกรรมอื่น กับบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนที่สถาบันการเงินหรือบริษัทแม่ถือหุ้นทางตรงเกือบทั้งหมด(ตั้งแต่ร้อยละ 99 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น) แตกต่างจากบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกันได้ ข. กรณีการทําธุรกรรมที่สถาบันการเงินหรือบริษัทแม่ใช้เงื่อนไข หรือข้อกําหนด หรือกระบวนการ หรือวิธีการพิจารณา สําหรับการให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือทําธุรกรรมอื่น แตกต่างจากบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน นอกเหนือจากที่กล่าวในข้อ (3.2.4) ก. กับบริษัทลูกที่สถาบันการเงินหรือบริษัทแม่ถือหุ้นทางตรงตั้งแต่ร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นสถาบันการเงินหรือบริษัทแม่อาจขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยทําหนังสือขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน หรืออาจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ (3.2.3) ก็ได้ (3.2.5) ในกรณีที่บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บริษัทนอกกลุ่ม Solo Consolidation ให้คณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ที่เป็นผู้ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ให้สัตยาบันรับรองการทําธุรกรรมในการประชุมครั้งถัดไปในทุกกรณี (3.2.6) การทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกประเภท รวมถึง การซื้อขายสินทรัพย์ การรับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเป็นหลักประกันการให้สินเชื่อ และการทําธุรกรรมใด ( ที่เป็นผลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้รับประโยชน์ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเงื่อนไขของการทําธุรกรรม การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรม การควบคุมภายใน การรายงาน และการเปิดเผยข้อมูล โดยยึดกรอบการกํากับดูแลตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ (3.2.7) ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ใช้บริการงานสนับสนุนจากบริษัทอื่นในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน การใช้บริการนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจหลักของสถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation นั้น ซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ต้องมีการจัดทําแผนรองรับหากบริษัทผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการได้ และต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าหรือบุคคลภายนอกเสมือนเป็นผู้ดําเนินการในเรื่องดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งนี้ ให้บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ที่ใช้บริการงานสนับสนุนจากบุคคลอื่นทั้งในและนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (Outsourcing ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน (3.2.8) ในกรณีการทําธุรกรรมประเภทอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะหรือมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ หรือธนาคารแห่งประเทศไทยมีหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ทําธุรกรรมนั้นถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะนั้นกําหนด หรือถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องนั้นด้วย เช่น การทําธุรกรรมเช่าซื้อระหว่างบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation กับบริษัทนอกกลุ่ม Solo Consolidation ให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม 4.4.4 การทําธุรกรรมกับผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ถือเสมือนเป็นแผนกหนึ่งของสถาบันการเงินและได้รับสินเชื่อโดยไม่จํากัดจํานวนจากสถาบันการเงิน ดังนั้น การกํากับดูแลการทําธุรกรรมกับผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องจึงต้องขยายขอบเขตให้ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจทางการเงินในระดับ Solo Consolidation ด้วย ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การกํากับดูแลในเรื่องนี้ไม่ครอบคลุมถึงการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินด้วยกันซึ่งจะต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4.4.3 สถาบันการเงินที่มีบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การทําธุรกรรมกับผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับสถาบันการเงินและระดับกลุ่ม Solo Consolidation ดังนี้ (1) ประเภทของผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation ผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ ซึ่งไม่รวมถึงบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (1.1) กรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง กรรมการของสถาบันการเงิน หรือกรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ (1.2) ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ (1.3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ (1.4) กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation (2) การกํากับดูแลเชิงปริมาณสําหรับการทําธุรกรรมกับผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation (2.1) กรณีกรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 4.4.4 (1.1) และ 4.4.4 (1.2) นั้น ห้ามมิให้บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ทําธุรกรรมดังต่อไปนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (2.1.1) ให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้แก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่เป็นการให้สินเชื่อในรูปของบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อเป็นสวัสดิการ หรือเป็นการให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ หรือประกันหนี้ภายใต้วงเงินที่ได้รับอนุมัติเดิมก่อนดํารงตําแหน่ง หรือการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เดิมให้แก่บุคคลดังกล่าว โดยให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้สินเชื่อ ทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อหรือประกันหนี้แก่กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม (2.1.2) รับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงินที่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เป็นผู้สั่งจ่ายผู้ออกตั๋ว หรือผู้สลักหลัง (2.1.3) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นแก่กรรมการ ผู้จัดการรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เป็นค่าตอบแทนสําหรับหรือเนื่องจากการกระทําหรือการประกอบธุรกิจใด ๆ ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation นั้น ซึ่งมิใช่บําเหน็จ เงินเดือน รางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ (2.1.4) ขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการและบุคคลอื่นที่กําหนดตามมาตรา 48 (4) หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอความเห็นชอบมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (2.1.5) ให้ผลประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการ ผู้จัดการรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว โดยให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับสถาบันการเงิน (2.2) กรณีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation ตามข้อ 4.4.4 (1.3) และ 4.4.4 (1.4) ให้ถือปฏิบัติดังนี้ (2.2.1) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ (2.2.1.1) ปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation สามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ในแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนกลุ่ม Solo Consolidation หรือไม่เกินร้อยละ 25 ของหนี้สินทั้งหมดของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation รวมผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือของกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation นั้น แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (2.2.1.2) การนับปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ก. ให้คํานวณการก่อภาระผูกพันที่กําหนดในข้อ 4.4.4 (2.2.1.1) ตามวิธีการที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ข. ให้นับการให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation รวมเป็นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation นั้นด้วย ค. ไม่นับรวมถึงเงินลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินในส่วนที่เงินลงทุนในบริษัทนั้นได้ถูกนําไปหักออกจากเงินกองทุนกลุ่ม Solo Consolidation แล้ว ตามสัดส่วนของจํานวนที่ต้องหักออกจากเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณี โดยคิดจํานวนที่ถูกหักเงินกองทุนของแต่ละบริษัทตามสัดส่วนเงินลงทุน (pro-rata basis) ง. ไม่นับรวมถึงการทําธุรกรรมตามที่กําหนดในข้อยกเว้นในการคํานวณอัตราส่วนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) เช่น การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ส่วนราชการ หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จ. ให้บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ได้รับการผ่อนผันการทําธุรกรรมตามข้อ 4.4.4 (2.2.1 โดยให้นําข้อกําหนดในหนังสือเวียนที่ธปท.ฝนส.(21)ว. 1462/2551 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2551 เรื่อง แนวทางการผ่อนผันเป็นการชั่วคราวเกี่ยวกับการดําเนินการตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการผ่อนผันหลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) มาใช้บังคับโดยอนุโลม (2.2.2) การขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ และการรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ ห้ามมิให้บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าวมีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการและบุคคลอื่นที่กําหนดตามมาตรา 48 (4) หรือรับซื้อ หรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลมเว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอความเห็นชอบมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (2.3) ในกรณีที่มีการกระทําที่อาจไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในข้อ 4.4.4 (2.1) และข้อ 4.4.4 (2.2) โดยที่บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังด้วยความรอบคอบในการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ไม่สามารถทราบหรือป้องกันมิให้เกิดการกระทําดังกล่าวได้ ให้ถือว่าบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation มิได้กระทําความผิดตามหลักเกณฑ์นี้ โดยให้นําข้อกําหนดในหนังสือเวียนที่ ธูปท.ฝนส.(21)ว.1413/2551 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินและที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่มาใช้บังคับโดยอนุโลม (3) การกํากับดูแลเชิงคุณภาพสําหรับการทําธุรกรรมกับผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation (3.1) การทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation จะต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดพิเศษผิดไปจากปกติ ตามลักษณะที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (Related Lending) เช่น การให้สินเชื่อโดยไม่ได้พิจารณาถึงฐานะและผลการดําเนินงานของธุรกิจ หรือไม่ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ (3.2) บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ต้องจัดทํานโยบายการทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation ซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation โดยจะต้องมีข้อกําหนดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (3.2.1) ข้อกําหนดตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ (3.2.2) การทําธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation นั้น ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ ให้คณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation นั้น สามารถมอบอํานาจให้คณะกรรมการสินเชื่อหรือคณะกรรมการบริหารเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation นั้นกําหนด และให้นําวงเงินสินเชื่อที่อนุมัติให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation นั้นเข้าขอรับสัตยาบันจากคณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation นั้น ในการประชุมครั้งถัดไปและต้องได้รับมติเอกฉันท์ (3.2.2.1) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ส่วนราชการ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือบริษัทที่ส่วนราชการ หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีอํานาจควบคุมกิจการ หรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการนั้น หรือ (3.2.2.2) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation รายเดิมที่เคยผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation นั้นมาแล้ว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีขอวงเงินเพิ่มเติม หรือขอวงเงินใหม่ก็ตาม หากคณะกรรมการของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation นั้นไม่ให้สัตยาบัน หรือให้สัตยาบันด้วยมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ ให้บริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation ยกเลิกการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าวทันที (3.2.3) ห้ามกรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ เข้าร่วมในการพิจารณาอนุมัติการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อดังกล่าว 4.4.5 การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจกระจุกตัวอยู่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือในภาคธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ซึ่งอาจทําให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างรุนแรงได้ จึงจําเป็นต้องกําหนดปริมาณการทําธุรกรรมเพื่อจํากัดความเสี่ยงในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ให้มากเกินไป ดังนั้น บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ดังนี้ (1) ปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ (1.1) บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (ไม่รวมกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย) สามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด' หรือแก่บุคคลหลายคน รวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใดหรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนกลุ่ม Full Consolidation เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (1.2) บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย สามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อการะผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ รวมกันแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด' หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 11 ของเงินกองทุนกลุ่ม Full Consolidation ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ การกําหนดอัตราส่วนการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยแก่คู่ค้าแต่ละประเภท ให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) มาใช้บังคับโดยอนุโลม (2) การนับปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ (2.1) การนับปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ไม่ต้องนับรวม (2.1.1) ปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อของบริษัทลูก ในส่วนที่เงินลงทุนในบริษัทลูกนั้นได้ถูกนําไปหักออกจากเงินกองทุนกลุ่ม Full Consolidation แล้ว ตามสัดส่วนของจํานวนที่ต้องหักออกจากเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณี โดยคิดจํานวนที่ถูกหักเงินกองทุนของแต่ละบริษัทตามสัดส่วนเงินลงทุน (pro-rata basis) และนําสัดส่วนของการหักเงินกองทุนของแต่ละบริษัทที่คํานวณได้นั้นมาหักออกจากปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่บริษัทนั้นให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคน รวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน (ตัวอย่างการคํานวณตามเอกสารแนบ) (2.1.2) เงินลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินในส่วนที่เงินลงทุนในบริษัทนั้นได้ถูกนําไปหักออกจากเงินกองทุนกลุ่ม Full Consolidation แล้วตามสัดส่วนของจํานวนที่ต้องหักออกจากเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณี โดยคิดจํานวนที่ถูกหักเงินกองทุนของแต่ละบริษัทตามสัดส่วนเงินลงทุน (pro-rata basis) (2.1.3) ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารทุนแบบรับประกันทั้งจํานวน (firm underwrite) นับแต่วันที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทําสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายจนถึงวันปิดการเสนอขาย (2.2) การนับปริมาณการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ให้นําข้อกําหนดในหนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(21). 1462/2551 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 255 1 เรื่อง แนวทางการผ่อนผันเป็นการชั่วคราวเกี่ยวกับการดําเนินการตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับโดยอนุโลม (2.3) การนับรายการใดเป็นการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ และการยกเว้นรายการใดที่ไม่ต้องนํามารวมคํานวณอัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ รวมถึง การเพิ่มอัตราส่วนดังกล่าวให้สูงขึ้นเพื่อรายการหนึ่งรายการใด และการพิจารณาจํานวนเงินที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) มาใช้บังคับโดยอนุโลม (3) ในกรณีที่มีการกระทําที่อาจไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในข้อ 4.4.5 (1) โดยที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้ใช้ความระมัดระวังด้วยความรอบคอบในการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ไม่สามารถทราบหรือป้องกันมิให้เกิดการกระทําดังกล่าวได้ ให้ถือว่าบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมิได้กระทําความผิดตามหลักเกณฑ์นี้ ทั้งนี้ ให้นําข้อกําหนดในหนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(21)ว. 1413/2551 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) มาใช้บังคับโดยอนุโลม (4) สําหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ให้เป็นไปตามที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะนั้นกําหนด แต่ปริมาณธุรกรรมดังกล่าวของทั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินรวมกันต้องไม่เกินอัตราที่กําหนดข้างต้น 4.5 การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด 4.5.1 บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการจัดให้มีนโยบายต่าง ๆ ในการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ทั้งระดับกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ทั้งนี้ บริษัทแม่อาจมอบหมายให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (โดยคณะกรรมการบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน) ทําหน้าที่กําหนดนโยบายของตนเองได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทแม่ 4.5.2 นโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด ต้องครอบคลุมองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ (ii) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (iii) ความเสี่ยงด้านราคาตราสารทุน (3) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและ (iv) ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และต้องสอดคล้องกับประกาศ หนังสือเวียน แนวปฏิบัติและแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ซึ่งจะครอบคลุมประเด็นสําคัญ เช่น นโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้าการควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด (2) การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารซึ่งจะครอบคลุมประเด็นสําคัญ เช่น บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบันการเงินและผู้มีอํานาจในการจัดการ นโยบายการบริหารความเสี่ยงและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม แนวทางการประเมินควบคุม และติดตามความเสี่ยง และการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (3) การดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศสําหรับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย หรือบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณี ซึ่งจะครอบคลุมประเด็นสําคัญ เช่น ฐานะรายสกุลเงิน (individual currency limit) ฐานะรวมทุกสกุลเงิน (aggregate limit) โดยบริษัทแม่ต้องรับผิดชอบดูแลการดํารงฐานะเงินตราต่างประเทศเมื่อสิ้นวันเป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งระดับกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation 4.5.3 สําหรับบริษัทที่เงินลงทุนในบริษัทนั้นได้ถูกนําไปหักออกจากเงินกองทุนกลุ่ม Solo Consolidation หรือเงินกองทุนกลุ่ม Full Consolidation ตามสัดส่วนของจํานวนที่ต้องหักออกจากเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน แล้วแต่กรณีโดยคิดจํานวนที่ถูกหักเงินกองทุนของแต่ละบริษัทตามสัดส่วนเงินลงทุน (pro-rata basis) แล้วให้ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดเฉพาะหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคํานวณการดํารงเงินกองทุน ทั้งนี้ เฉพาะปริมาณธุรกรรมที่คํานวณจากสัดส่วนของเงินลงทุนในบริษัทนั้นที่ได้ถูกนําไปหักออกจากเงินกองทุนแล้ว 4.6 การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง 4.6.1 บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการจัดให้มีนโยบาย แผนงาน และกระบวนการในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ที่สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจและความซับซ้อนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ทั้งระดับกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation 4.6.2 นโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ต้องระบุถึงลักษณะการบริหารสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น แบบรวมศูนย์ (Centralize) หรือ แบบกระจายอํานาจ (Decentralize ) และต้องระบุว่า บริษัทใดในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้บริหารสภาพคล่อง และบริษัทใดที่สถาบันการเงินไม่ได้เป็นผู้บริหารสภาพคล่อง (1) กรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการบริหารสภาพคล่องแบบรวมศูนย์ (Centralize) ให้บริษัทแม่จัดให้มีการทํานโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (2) กรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการบริหารสภาพคล่องแบบกระจายอํานาจ (Decentralize ให้บริษัทแม่จัดให้มีการทํานโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง โดยต้องคํานึงถึงภาระต่าง ๆ ที่อาจมี ซึ่งรวมถึงภาระในการสนับสนุนสภาพคล่องให้กับบริษัทนอกกลุ่ม Solo Consolidation ด้วย 4.6.3 นโยบายและแผนงานการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ต้องสอดคล้องกับประกาศ หนังสือเวียน แนวปฏิบัติ และแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงิน อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ระบบการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ซึ่งต้องสามารถระบุวัด ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและการจัดทํารายงาน ซึ่งต้องมีการปรับพฤติกรรมสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพัน ให้สอดคล้องกับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้ง ต้องมีการจัดทํา scenario test และ stress test ในระดับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามความจําเป็นเพื่อรองรับความผันผวนของตลาดการเงิน (3) แผนรองรับเหตุฉุกเฉิน (contingency plan) ซึ่งควรครอบคลุมถึงแนวทางการจัดหาเงินทุนฉุกเฉิน (contingency funding plan) ที่เหมาะสมกับกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจและความซับซ้อนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อรองรับการขาดสภาพคล่องในภาวะต่าง ๆ ซึ่งจะต้องสะท้อนความแตกต่างของลักษณะธุรกิจแต่ละประเภทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอย่างชัดเจน และกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดทํากระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายของธุรกรรมที่เป็นรายการระหว่างกันด้วย นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินควรมีการดํารงสภาพคล่องอย่างเพียงพอและควรให้ความสําคัญเพิ่มเติมกับความเพียงพอของกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่าย ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต 4.7 การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ 4.7.1 บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการจัดให้มีนโยบายต่าง ๆ ในภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ทั้งระดับกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ทั้งนี้ บริษัทแม่อาจมอบหมายให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน(โดยคณะกรรมการบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน) ทําหน้าที่กําหนดนโยบายของตนเองได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทแม่ 4.7.2 นโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องสอดคล้องกับประกาศ หนังสือเวียน แนวปฏิบัติ และแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงิน อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และการจัดเก็บข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้น (2) การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) (3) การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน และการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน (4) การป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT) (5) อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ กรณีที่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะกําหนดหลักเกณฑ์ในบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ บริษัทแม่ต้องดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย เช่น เรื่อง AML/CFT ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 4.7.3 กรณีบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ประสงค์จะใช้บริการงานสนับสนุนจากบุคคลอื่นซึ่งอาจเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินหรือบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน โดยอนุโลม เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่น หรืออนุญาตเป็นรายกรณี 4.7.4 บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่สําคัญเพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพรวมทั้ง มีการบริหารจัดการและธรรมาภิบาลที่ดี ดังนี้ (1) กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา (1.1) คุณสมบัติกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาให้บริษัทแม่และบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจทางการเงิน นําหลักเกณฑ์ในเรื่องคุณสมบัติกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน มาใช้บังคับโดยอนุโลมเว้นแต่กรณีบริษัทดังกล่าวมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะกําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้ว (1.2) การขอความเห็นชอบและการแจ้งเปลี่ยนกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องการขอความเห็นชอบและการแจ้งเปลี่ยนกรรมการผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน มาใช้บังคับโดยอนุโลม (1.2.1) กรณีบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ ให้ใช้บังคับกับกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาทุกคน (1.2.2) กรณีบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ให้ใช้บังคับเฉพาะผู้มีอํานาจในการจัดการที่มีอํานาจในการตัดสินใจสูงสุด ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึง ผู้บริหารในตําแหน่งสูงสุด (2) ผู้สอบบัญชีภายนอก บริษัทแม่ต้องยื่นขอความเห็นชอบและแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจําปีของตนเอง สถาบันการเงิน และบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation มายังธนาคารแห่งประเทศไทย โดยบริษัทแม่ สถาบันการเงิน และบริษัทลูกดังกล่าว ควรยื่นขอความเห็นชอบหรือแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจําปีมาในคราวเดียวกัน โดยให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ สําหรับบริษัทที่อยู่ในประเทศไทยต้องเป็นผู้สอบบัญชีในสํานักงานเดียวกัน อย่างไรก็ดี หากบริษัทแม่ยังไม่สามารถดําเนินการให้มีผู้สอบบัญชีในสํานักงานเดียวกันได้ หรือกรณีที่จําเป็นและมีเหตุผลอันสมควรให้บริษัทแม่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (3) การใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ แต่ไม่สามารถใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของบริษัทใด ๆ ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินร่วมกันได้ ทั้งนี้ ในการใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงกลุ่มธุรกิจทางการเงินร่วมกันนั้น บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินกําหนดประเภทธุรกิจโครงสร้างการดําเนินธุรกิจ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ และกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกเกิดความเข้าใจผิดในบทบาทหน้าที่ และการประกอบธุรกิจของแต่ละบริษัท (4) การสื่อสารกับบุคคลภายนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอีกบริษัทหนึ่งในการให้บริการหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินแก่บุคคลภายนอกต้องระบุหรือสื่อสารให้บุคคลภายนอกรับทราบอย่างชัดเจนถึง ชื่อและบทบาทหน้าที่ของผู้เสนอบริการหรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินและตัวแทน เพื่อไมให้เกิดความเข้าใจผิดแก่บุคคลภายนอก ทั้งนี้ ตัวแทนดังกล่าวต้องไม่ทําหน้าที่ตัดสินใจแทนเจ้าของผลิตภัณฑ์ทางการเงินในการที่จะให้บริการหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยให้นําข้อกําหนดในแนวนโยบายการกํากับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม 4.7.5 สําหรับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ บริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ หรืออยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยหรือหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะมีหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเป็นการเฉพาะ ให้บริษัทแม่ดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเป็นการเฉพาะนั้นด้วย 4.8 การเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน 4.8.1 บริษัทแม่และบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถเปิดเผยข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ตามขอบเขตดังนี้ (1) ข้อมูลที่บริษัทแม่สามารถเปิดเผยให้แก่บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ได้แก่ข้อมูลยอดคงค้างของรายการต่าง ๆ ที่บริษัทลูกดังกล่าวจําเป็นต้องทราบ เพื่อปฏิบัติตามเกณฑ์กํากับดูแลเชิงปริมาณตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ (2) ข้อมูลที่บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถเปิดเผยให้แก่บริษัทแม่ ได้แก่ ข้อมูลต่าง ๆ ที่บริษัทแม่จําเป็นต้องใช้ในการบริหารและกํากับดูแลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้เป็นไปตามกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือเกณฑ์กํากับดูแลเชิงปริมาณตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดทํารายงานการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อส่งธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด ด้านสภาพคล่องและด้านปฏิบัติการ และข้อมูลยอดคงค้างของรายการต่าง ๆ (3) ข้อมูลอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งนี้ บริษัทแม่และบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะต้องไม่กระทําการใดอันอาจเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต 4.8.2 บริษัทแม่ต้องรับผิดชอบในการเปิดเผยนโยบายการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทําธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินไว้ในรายงานประจําปี (Annual Report) อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล ในกรณีดังต่อไปนี้ หากบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือปฏิบัติตามที่ได้รับผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย (1) กรณีบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation มีจํานวนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บริษัทนอกกลุ่ม Solo Consolidation เกินกว่าอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) กรณีบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation มีจํานวนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในกลุ่ม Solo Consolidation และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือแก่กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Solo Consolidation เกินกว่าอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (3) กรณีบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีจํานวนการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดและผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันเกินกว่าอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2560 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,760
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 2/2553 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 2/2553 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามใน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฎ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 3.เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต.5/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม 2552 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นางวิมลรัตน์ เศารยะ 2. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 3. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 4. นายยรรยง ดํารงศิริ 5. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2553 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,761
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 6/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่งผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 6 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ -------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ในสภาวะปัจจุบันระบบสถาบันการเงินมีการแข่งขันสูง และธุรกรรมต่าง ๆ ได้มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว มีความซับซ้อนและความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งมีการทําธุรกรรมทางด้านการเงินใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ แต่อาจแตกต่างตามประเภทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น จึงจําเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมทั้งในด้านจริยธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและการควบคุมการดําเนินงาน ตลอดจนการกํากับดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกํากับดูแลที่กําหนดไว้ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกําหนด เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุผลข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศฉบับนี้ เพื่อกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งบุคคลใหม่หรือแต่งตั้งบุคคลเดิมให้ดํารงตําแหน่งต่อไป อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 และมาตรา 25 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือบุคคลที่อาจทําหน้าที่เปรียบเสมือนกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เพียงใช้ชื่อว่าเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น รวมไปถึงบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว แต่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย อย่างไรก็ตามไม่รวมถึงบุคคลที่รับจ้างทํางานให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชี ที่ปรึกษากฎหมายที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาด้านภาษี ที่ปรึกษาด้านภาษา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กรที่ปรึกษาด้านประกันภัย ที่ปรึกษาด้านแบบจําลองเชิงปริมาณขั้นสูง เป็นต้น "กรรมการโดยตําแหน่ง" ให้หมายความรวมถึงกรรมการที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานราชการด้วย 4.2 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งบุคคลใหม่หรือแต่งตั้งบุคคลเดิมให้ดํารงตําแหน่งต่อไป โดยให้ดําเนินการดังนี้ 4.2.1 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง กรณีการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน จนกว่ากฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ กฎหมายอื่นหรือหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องในเรื่องการแต่งตั้งกรรมการจะมีผลบังคับใช้ และต้องถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่าบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งดังกล่าว ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเสนอให้ผู้มีอํานาจแต่งตั้งตามกฎหมายถอดถอนกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งดังกล่าว 4.2.2 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (1) การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้จัดการต้องดําเนินการตามขั้นตอนและแนวทางการสรรหาผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นชอบค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างเพื่อเสนอให้ผู้มีอํานาจแต่งตั้งตามกฎหมายต่อไป สําหรับตําแหน่งผู้มีอํานาจในการจัดการอื่น และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเสนอขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งรักษาการในตําแหน่งที่ว่างอยู่ ซึ่งตําแหน่งที่ว่างนั้นเป็นตําแหน่งที่ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการแต่งตั้ง โดยหากต่อมาบุคคลดังกล่าวได้รับการเสนอชื่อให้ดํารงตําแหน่งที่ว่างซึ่งตนเคยรักษาการอยู่ ก็ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยอีก เนื่องจากถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวในตําแหน่งนั้นแล้ว และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบตามแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงตามที่กําหนดในข้อ 4.4 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลที่จะเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในกฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ กฎหมายและหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดกร และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (3) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่งหนังสือขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจพร้อมแบบประวัติบุคคลที่ขอความเห็นชอบและเอกสารประกอบ (เอกสารแนบ 1) ไปยังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะแจ้งผลการพิจารณาให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นทราบภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคําขอและเอกสารที่เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วน หากธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้แจ้งผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนั้นแล้ว อนึ่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่พึงเปิดเผยชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่อสาธารณชนก่อนได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยหากมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับตําแหน่งที่ต้องขอความเห็นชอบก่อนการแต่งตั้ง ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี 4.2.3 ปัจจัยประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อย่างไรก็ตาม กรณีที่บุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 4.2.1 (4) ถึง (6) ข้อ 4.2.2 (1) ข้อ 4.2.2 (2) (2.2) และข้อ 4.2.2 (3) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจนําปัจจัยอื่นมาประกอบการพิจารณาตามเหตุผลและความจําเป็นในแต่ละกรณี โดยปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณามีดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะต้องห้ามนั้น มิได้ร้ายแรง หรือมิได้ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ถึงขั้นไม่สมควรได้รับความเห็นชอบ (2) ระยะเวลาที่ล่วงเลยมานับจากการมีลักษณะต้องห้ามนั้นต้องไม่น้อยกว่า 10 ปี (3) ลักษณะต้องห้ามนั้น มิได้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบตามตําแหน่งที่ขอความเห็นชอบ (4) ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล หรือนัยสําคัญของหลักฐานหรือเหตุการณ์ตลอดจนผลการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีอํานาจตามกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ (5) ไม่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลที่ดีขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลกิจการที่ดี (Good corporate governance) หรือไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น 4.2.4 การเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 4.2.2 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้ว อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล สําหรับกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในปัจจุบันก่อนประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ยังคงดํารงตําแหน่งดังกล่าวต่อไปได้จนครบวาระ อย่างไรก็ตาม หากปรากฏในภายหลังว่าบุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินเฉพาะกิจก็ต้องต่ําเนินการให้มีการถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากการดํารงตําแหน่ง อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,762
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6 /2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2559 -------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 255 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.4/14/59 | 45,000 | 29 มกราคม 2559 | 2/2/59 – 16/2/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,763
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 3/2553 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 3/2553 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ -------------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 19-21 พฤษภาคม 2553 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในขณะนี้ สถานการณ์ภายในประเทศมีความไม่แน่นอนสูง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของพนักงานและทรัพย์สินของสถาบันการเงิน ตลอดจนประชาชนและภาคธุรกิจต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน จึงเห็นควรกําหนดให้วันที่ 20-21 พฤษภาคม 2553 เป็นวันหยุดทําการสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ข้อกําหนดวันหยุดทําการเป็นกรณีพิเศษ กําหนดให้วันที่ 20-21 พฤษภาคม 2553 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษทั่วประเทศ อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,764
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 6/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 6 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ในสภาวะปัจจุบันระบบสถาบันการเงินมีการแข่งขันสูง และธุรกรรมต่าง ๆ ได้มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว มีความซับซ้อนและความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งมีการทําธุรกรรมทางด้านการเงินใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ แต่อาจแตกต่างตามประเภทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น จึงจําเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมทั้งในด้านจริยธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและการควบคุมการดําเนินงาน ตลอดจนการกํากับดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกํากับดูแลที่กําหนดไว้ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกําหนด เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุผลข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศฉบับนี้ เพื่อกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งบุคคลใหม่หรือแต่งตั้งบุคคลเดิมให้ดํารงตําแหน่งต่อไป อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 และมาตรา 25 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือบุคคลที่อาจทําหน้าที่เปรียบเสมือนกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เพียงใช้ชื่อว่าเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น รวมไปถึงบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว แต่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย อย่างไรก็ตามไม่รวมถึงบุคคลที่รับจ้างทํางานให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชี ที่ปรึกษากฎหมายที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาด้านภาษี ที่ปรึกษาด้านภาษา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กรที่ปรึกษาด้านประกันภัย ที่ปรึกษาด้านแบบจําลองเชิงปริมาณขั้นสูง เป็นต้น "กรรมการโดยตําแหน่ง" ให้หมายความรวมถึงกรรมการที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานราชการด้วย 4.2 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งบุคคลใหม่หรือแต่งตั้งบุคคลเดิมให้ดํารงตําแหน่งต่อไป โดยให้ดําเนินการดังนี้ 4.2.1 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง กรณีการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน จนกว่ากฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ กฎหมายอื่นหรือหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องในเรื่องการแต่งตั้งกรรมการจะมีผลบังคับใช้ และต้องถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ปรากฎภายหลังว่าบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งดังกล่าว ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเสนอให้ผู้มีอํานาจแต่งตั้งตามกฎหมายถอดถอนกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งดังกล่าว 4.2.2 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (1) การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้จัดการต้องดําเนินการตามขั้นตอนและแนวทางการสรรหาผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นชอบค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างเพื่อเสนอให้ผู้มีอํานาจแต่งตั้งตามกฎหมายต่อไป สําหรับตําแหน่งผู้มีอํานาจในการจัดการอื่น และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเสนอขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่งรักษาการในตําแหน่งที่ว่างอยู่ ซึ่งตําแหน่งที่ว่างนั้นเป็นตําแหน่งที่ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการแต่งตั้ง โดยหากต่อมาบุคคลดังกล่าวได้รับการเสนอชื่อให้ดํารงตําแหน่งที่ว่างซึ่งตนเคยรักษาการอยู่ ก็ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยอีก เนื่องจากถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวในตําแหน่งนั้นแล้ว และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบตามแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงตามที่กําหนดในข้อ 4.4 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลที่จะเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในกฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ กฎหมายและหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (3) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจส่งหนังสือขอความเห็นชอบบุคคลที่จะเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจพร้อมแบบประวัติบุคคลที่ขอความเห็นชอบและเอกสารประกอบ (เอกสารแนบ 1) ไปยังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะแจ้งผลการพิจารณาให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นทราบภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับคําขอและเอกสารที่เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วน หากธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้แจ้งผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนั้นแล้ว อนึ่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่พึงเปิดเผยชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต่อสาธารณชนก่อนได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยหากมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับตําแหน่งที่ต้องขอความเห็นชอบก่อนการแต่งตั้ง ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี 4.2.3 ปัจจัยประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาจากคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อย่างไรก็ตาม กรณีที่บุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 4.2.1 (4) ถึง (6) ข้อ 4.2.2 (1) ข้อ 4.2.2 (2) (2.2) และข้อ 4.2.2 (3) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจนําปัจจัยอื่นมาประกอบการพิจารณาตามเหตุผลและความจําเป็นในแต่ละกรณี โดยปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณามีดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะต้องห้ามนั้น มิได้ร้ายแรง หรือมิได้ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ถึงขั้นไม่สมควรได้รับความเห็นชอบ (2) ระยะเวลาที่ล่วงเลยมานับจากการมีลักษณะต้องห้ามนั้นต้องไม่น้อยกว่า 10 ปี (3) ลักษณะต้องห้ามนั้น มิได้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบตามตําแหน่งที่ขอความเห็นชอบ (4) ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล หรือนัยสําคัญของหลักฐานหรือเหตุการณ์ตลอดจนผลการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีอํานาจตามกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ (5) ไม่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลที่ดีขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลกิจการที่ดี (Good corporate governance) หรือไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น 4.2.4 การเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว หากปรากฎในภายหลังว่าบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 4.2.2 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้ว อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล สําหรับกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในปัจจุบันก่อนประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ยังคงดํารงตําแหน่งดังกล่าวต่อไปได้จนครบวาระ อย่างไรก็ตาม หากปรากฏในภายหลังว่าบุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินเฉพาะกิจก็ต้องดําเนินการให้มีการถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากการดํารงตําแหน่ง อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โทรศัพท์ 0 2283 5815, 0 2283 5851
6,765
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2559 เรื่อง เกณฑ์การดำรงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) และสัดส่วนในการโอนเงินผ่านบาทเนต
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7 /2559 เรื่อง เกณฑ์การดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) และสัดส่วนในการโอนเงินผ่านบาทเนต ----------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กําหนดเกณฑ์การดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) และสัดส่วนในการโอนเงินผ่านบาทเนต โดยยกเว้นไม่นํามูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตสําหรับธุรกรรมบางประเภทมาคํานวณเกณฑ์การดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) และสัดส่วนในการโอนเงินผ่านบาทเนต ซึ่งรวมถึงธุรกรรมการถอนธนบัตรในระบบคําสั่งฝากถอนธนบัตร (Banknote Ordering System: BOS) ด้วย เพื่อให้เป็นไปในทํานองเดียวกับระบบคําสั่งฝากถอนธนบัตร (BOS) ธปท. เห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์โดยยกเว้นไม่นํามูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตสําหรับธุรกรรมการแลกเปลี่ยนธนบัตรระหว่างธนาคาร (Banknote Exchange System: BES) มาคํานวณการดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) และสัดส่วนในการโอนเงินผ่านบาทเนต อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 71 และ 73 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต อื่นๆ - 3.ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 8/2550 เรื่อง เกณฑ์การดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) และสัดส่วนในการโอนเงินผ่านบาทเนต ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 4.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใข้บังคับกับผู้ใช้บริการบาทเนต อื่นๆ - 5.เนื้อหา ข้อ 1 ตามประกาศฉบับนี้ การนับปักษ์ ให้ถือเอาวันพุธเป็นวันเริ่มต้นของปักษ์และให้ถือเอาวันอังคารของอีกสองสัปดาห์ถัดจากวันดังกล่าวเป็นวันสิ้นสุดของปักษ์เดียวกัน ทั้งนี้ ปักษ์แรกของการคํานวณหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ให้เริ่มตันในวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นตันไป ข้อ 2 ผู้ใช้บริการบาทเนตที่มีมูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตเฉลี่ยในปักษ์ใดเกินกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกปักษ์ดังกล่าวว่า "ปักษ์ฐาน" ผู้ใช้บริการบาทเนตต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 2.1 การดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ผู้ใช้บริการบาทเนตต้องดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ในปักษ์ที่สองนับถัดจากปักษ์ฐาน ตามเกณฑ์ต่อไปนี้ (1) ในแต่ละวันผู้ใช้บริการบาทเนตต้องมีเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของ (ก) มูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตเฉลี่ยในปักษ์ฐาน หรือ (ข) มูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตในวันนั้น แล้วแต่ยอดใดจะต่ํากว่า โดยมูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตเฉลี่ยในปักษ์ฐานตาม (ก) หมายถึงยอดรวมของมูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตในปักษ์ฐานหารด้วยจํานวนวันทําการในปักษ์นั้น ทั้งนี้ มูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตตาม (ก) และ (ข) จะไม่นับรวมธุรกรรม ดังต่อไปนี้ - การโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (Multilateral Funds Transfer: MFT) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย - การโอนเงินระหว่างบัญชีของสถาบันเดียวกัน (Book Transfer) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต - การถอนธนบัตรในระบบคําสั่งฝากถอนธนบัตร (Banknote Ordering System: BOs) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการส่งคําสั่งฝากถอนธนบัตรด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ และ - การแลกเปลี่ยนธนบัตรระหว่างธนาคาร (Banknote Exchange System: BES) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการแลกเปลี่ยนธนบัตรระหว่างธนาคาร (2) เงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ตาม (1) ให้ถือยอดที่ ธปท. รับซื้อตราสารหนี้ทั้งหมด หักด้วยยอดที่สถาบันการเงินซื้อคืนตราสารหนี้ก่อนสิ้นวันและได้ถอนคืนตราสารหนี้นั้น ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการบาทเนตที่ต้องดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ตามเกณฑ์ข้างต้นให้หมายถึง สถาบันการเงินตามระเบียบ ธปท. ว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน 2.2 สัดส่วนในการโอนเงินผ่านบาทเนต ผู้ใช้บริการบาทเนตต้องโอนเงินผ่านบาทเนตในปักษ์ที่สองนับถัดจากปักษ์ฐานในสัดส่วนตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในแต่ละวันของปักษ์ที่สองนับถัดจากปักษ์ฐาน ผู้ใช้บริการบาทเนตต้องดําเนินการโอนเงินผ่านบาทเนตภายในเวลา 12.00 น. เป็นมูลค่าไม่ต่ํากว่าร้อยละ 30 และภายในเวลา 15.00 น. เป็นมูลค่าไม่ต่ํากว่าร้อยละ 70 ของ (ก) มูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตเฉลี่ยในปักษ์ฐาน หรือ (ช) มูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตในวันนั้นแล้วแต่ยอดใดจะต่ํากว่า ทั้งนี้ มูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตตาม (ก) และ (ข) จะไม่นับรวมธุรกรรมที่กําหนดยกเว้นไว้ในข้อ 2.1 (1) เช่นกัน นอกจากนี้เฉพาะมูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตตาม (ข) จะเพิ่มการไม่นับรวม - การกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันผ่านบาทเนตที่เกิดขึ้นตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต และ - ธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรกับไพรมารี ดีลเลอร์ (Primary Dealer) ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืนและการขายตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยกับไพรมารี ดีลเสอร์ (Primary Dealer) (บริการซื้อขายตราสารหนี้และขายตราสารหนี้ ธปท. กับไพรมารี ดีลเลอร์) (2) ในกรณีที่วันใดผู้ใช้บริการบาทเนตมีมูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตไม่เกิน 500 ล้านบาท ในวันนั้นผู้ใช้บริการบาทเนตไม่ต้องโอนเงินผ่านบาทเนตตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 2.2 (1) ข้างต้น ข้อ 3 ให้ถือว่ามูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2550 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2550 เรื่อง เกณฑ์การดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) และสัดส่วนในการโอนงินผ่านบาทเนต และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2559 เป็นมูลค่าการโอนเงินผ่านบาทเนตเพื่อใช้ในการคํานวณการดํารงเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ตามข้อ 2.1 และการคํานวณสัดส่วนในการโอนเงินผ่านบาทเนตตามข้อ 2.2 ด้วย อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,766
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2553 ----------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.3/14/53 | 65,000 | 14 มกราคม 2553 | 18/1/53 - 1/2/53 | 14 | | พ.4/14/53 | 60,000 | 15 มกราคม 2553 | 19/1/53 - 2/2/53 | 14 | อื่นๆ - 4.เริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,767
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7 /2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.5/14/59 | 50,000 | 5 กุมภาพันธ์ 2559 | 9/2/59 – 23/2/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,768
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 7/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 7 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ --------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจตามนโยบายของภาครัฐและเป็นส่วนประกอบที่สําคัญของระบบสถาบันการเงินไทย ดังนั้นเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และมีภูมิต้านทานที่ดี สามารถปฏิบัติตามพันธกิจได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินโดยรวมของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดํารงเงินกองทุนให้เพียงพอสําหรับรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยกํากับดูแลด้านเงินกองทุนโดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกํากับดูแลสถาบันการเงินตามมาตรฐานสากลที่พัฒนาโดย Basel Committee on Banking Supervision ซึ่งได้กําหนดมาตรฐานเกี่ยวกับความเพียงพอของเงินกองทุนโดยพิจารณาจากปริมาณความเสี่ยงที่เกิดจากการดําเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีลักษณะการดําเนินธุรกิจที่ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์แต่มีขอบเขตการทําธุรกิจที่จํากัดและซับซ้อนน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไป ดังนั้น เพื่อให้การกํากับดูแลมีความสอดคล้องกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนําหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการกํากับดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นอกจากนี้ ในการกําหนดหลักเกณฑ์กํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้คํานึงถึงลักษณะธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งที่อาจมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ทั่วไปหรือมีการกระจุกตัวในธุรกิจบางประเภท เช่น ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง เป็นต้น จึงได้มีการกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งที่ทําธุรกรรมดังกล่าว ดํารงอัตราส่วนปริมาณธุรกรรมเทียบเคียงกับเงินกองทุนเพิ่มเติมควบคู่ไปกับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนซึ่งคํานวณจากการประเมินความเสี่ยง ประกาศฉบับนี้กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา รวมทั้งครอบคลุมถึงการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนตามลักษณะความเสี่ยงของตนเอง และการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นการส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 31 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.2 หลักการ หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามประกาศฉบับนี้ มีรายละเอียด ดังนี้ (1) การดํารงเงินกองทุน ประกอบด้วย 3 Pillars ดังนี้ Pillar 1 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement) Pillar 1 เป็นหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงที่สําคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านเครดิต' (Credit risk) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market risk) และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ' (Operational risk) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดรวมทั้งการกําหนดวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริงได้ Pillar 2 การกํากับดูแลโดยทางการ (Supervisory review process) Pillar 2 ระบุให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรมีเงินกองทุนสูงกว่าเงินกองทุนขั้นต่ําตาม Pillar 1 เพื่อรองรับความเสี่ยงที่ไม่ครอบคลุมใน Pillar 1 เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร และความเสี่ยงในการกระจุกตัวของลูกหนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ Pillar 2 ยังกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนโดยคํานึงถึงความเสี่ยงทุกด้านของตนเองและมีการทดสอบภาวะวิกฤตที่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจะตรวจสอบ ติดตาม และประเมินระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง ตลอดจนดําเนินมาตรการกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งอย่างเหมาะสมและทันกาล Pillar 3 การใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Market discipline) Pillar 3 มีวัตถุประสงค์ให้ใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล เพื่อเสริมการกํากับดูแลตาม Pillar 1 และ Pillar 2 โดยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ระดับความเสี่ยงและระบบการบริหารความเสี่ยงของตนเอง เพื่อให้บุคคลภายนอกหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาด เช่น ผู้ลงทุน คู่ค้า และผู้ฝากเงิน เป็นต้น สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งจะเป็นกลไกตลาดที่สําคัญในการผลักดันให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี นอกเหนือจากการควบคุมภายในของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเองและการกํากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย อนึ่ง ในช่วงเวลาที่เริ่มบังคับใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําหรือ Pillar 1 เท่านั้น โดยในอนาคตหากมีความจําเป็นในการบังคับใช้หลักการใน Pillar 2 และ Pillar 3 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดต่อไป (2) การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันจากการรับประกันความเสี่ยง สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทําธุรกรรมหลักเกี่ยวกับการรับประกันความเสี่ยงอาจต้องดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงเพิ่มเติมด้วย เพื่อควบคุมปริมาณการทําธุรกรรมดังกล่าวให้เหมาะสม ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยในเบื้องต้นธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงเพิ่มเติมควบคู่ไปกับอัตราส่วนเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel | ส่วนในกรณีของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หากมีการทําธุรกรรมรับประกันความเสี่ยงนอกเหนือจากโครงการค้ําประกันสินเชื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามนโยบายรัฐบาล (Portfolio Guarantee Scheme: PGS) อย่างมีนัยสําคัญ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนเพิ่มเติมได้ ตามที่จะประกาศกําหนดต่อไป ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้เป็นประกาศหลักในชุดประกาศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะ ซึ่งระบุข้อกําหนดหลักที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องถือปฏิบัติโดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจอ้างอิงรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ในประกาศย่อยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย 4.3 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement) ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําโดยใช้อัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นและสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น โดยเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ อัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นต้องไม่ต่ํากว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่กําหนด ดังนี้ เงินกองทุนทั้งสิ้น ≥ อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ํา สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามข้อ 4.3.1 องค์ประกอบของเงินกองทุนทั้งสิ้นตามข้อ 4.3.2 และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามข้อ 4.3.3 4.3.1 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําทั้งสิ้นเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น (Total capital ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น (Tier 1 ratio) ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.25 ทั้งนี้ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจํานวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการคํานวณอัตราส่วนดังกล่าวให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ยอดรวมของทุกสํานักงานและใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่คํานวณ 4.3.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน ให้เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีองค์ประกอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งกําหนดให้เงินกองทุนทั้งสิ้นประกอบด้วยเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) เงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2) และรายการหักจากเงินกองทุน 4.3.3 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง ให้สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเท่ากับผลรวมของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแต่ละด้าน ดังนี้ (1) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของรายการต่าง ๆ ได้แก่ สินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทุกรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร ธุรกรรมขายโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน/ซื้อโดยมีสัญญาว่าจะขายคืน และธุรกรรมยืม/ให้ยืมหลักทรัพย์ (Repo-style transaction) ธุรกรรมอนุพันธ์ รวมถึงสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทุกรายการในบัญชีเพื่อการค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าอยู่ในระดับที่ไม่มีนัยสําคัญซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังต่อไปนี้ (1.1) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้ 2 วิธี ได้แก่ Standardised Approach (วิธี SA) และ Simplified Standardised Approach (วิธี SSA) ดังนี้ (1.1.1) Standardised Approach (วิธี SA ) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงโดยใช้น้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประเภทของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลรวมทั้งพิจารณาคุณภาพจากอันดับเครดิตที่ได้รับจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกร่วมด้วย นอกจากนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้โดยใช้หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral การหักลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน (On-balance sheet netting) และการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (Guarantee and credit derivatives) ซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในแต่ละเรื่องด้วย (1.1.2) Simplified Standardised Approach (วิธี SSA) สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจเลือกใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตแบบวิธี SSA เป็นทางเลือกเพิ่มเติมได้ โดยวิธี SSA จะมีความซับซ้อนน้อยกว่าวิธี SA คือ ใช้น้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประเภทของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล โดยไม่มีการใช้ข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และอนุญาตให้สามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยใช้หลักประกันทางการเงิน(Financial collateral) และการค้ําประกัน (Guarantee) เท่านั้น (1.2) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ เพื่อสะท้อนความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดต่อไป (2) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามประกาศธนาคารแห่งประทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดในเชิงคุณภาพเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่เหมาะสมและกําหนดวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดด้วยวิธีมาตรฐาน โดยสินทรัพย์เสี่ยงที่คํานวณได้ตามวิธีนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่าของฐานะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครองอยู่และน้ําหนักเงินกองทุนที่แบ่งตามปัจจัยความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (3) การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการได้ 2 วิธี คือ วิธี Basic Indicator Approach (วิธี BIA) หรือ วิธี Standardised Approach (วิธี SA) ดังนี้ (3.1) Basic Indicator Approach (วิธี BIA) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้รายได้จากการดําเนินงาน (Gross income) เป็นค่าตัวแทน (Proxy) ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งจะคํานวณจากค่าเฉลี่ยย้อนหลังของผลคูณค่าคงที่ความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดกับรายได้จากการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (3.2) Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และคํานวณค่าเฉลี่ยย้อนหลังของผลรวมของรายได้จากการดําเนินงานคูณกับค่าคงที่ความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้สําหรับแต่ละสายธุรกิจ โดยมีทางเลือกภายใต้วิธี SA-OR อีกหนึ่งวิธี คือ วิธี ASA ซึ่งอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถเลือกใช้ยอดคงค้างเป็นค่าตัวแทนในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจ Commercial banking และ Retail banking แทนการใช้รายได้จากการดําเนินงาน ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จะเลือกใช้วิธี SA-OR และวิธี ASA จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย 4.4 การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันจากการรับประกันความเสี่ยง ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง ดังนี้ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ≥ 20% ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 และภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามมาตรการของทางการก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เริ่มปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 โดยหากปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้แล้ว มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราขั้นต่ําตามที่กําหนด จะไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จตามที่ทางการกําหนด อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โทรศัพท์ 0 2283 6373, 0 2283 6372
6,769
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 7/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ปี2560)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 7 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจตามนโยบายของภาครัฐและเป็นส่วนประกอบที่สําคัญของระบบสถาบันการเงินไทย ดังนั้นเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และมีภูมิต้านทานที่ดี สามารถปฏิบัติตามพันธกิจได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินโดยรวมของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดํารงเงินกองทุนให้เพียงพอสําหรับรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยกํากับดูแลด้านเงินกองทุนโดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกํากับดูแลสถาบันการเงินตามมาตรฐานสากลที่พัฒนาโดย Basel Committee on Banking Supervision ซึ่งได้กําหนดมาตรฐานเกี่ยวกับความเพียงพอของเงินกองทุนโดยพิจารณาจากปริมาณความเสี่ยงที่เกิดจากการดําเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีลักษณะการดําเนินธุรกิจที่ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์แต่มีขอบเขตการทําธุรกิจที่จํากัดและซับซ้อนน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไป ดังนั้น เพื่อให้การกํากับดูแลมีความสอดคล้องกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนําหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการกํากับดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นอกจากนี้ ในการกําหนดหลักเกณฑ์กํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้คํานึงถึงลักษณะธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งที่อาจมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ทั่วไปหรือมีการกระจุกตัวในธุรกิจบางประเภท เช่น ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง เป็นต้น จึงได้มีการกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งที่ทําธุรกรรมดังกล่าว ดํารงอัตราส่วนปริมาณธุรกรรมเทียบเคียงกับเงินกองทุนเพิ่มเติมควบคู่ไปกับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนซึ่งคํานวณจากการประเมินความเสี่ยง ประกาศฉบับนี้กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา รวมทั้งครอบคลุมถึงการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนตามลักษณะความเสี่ยงของตนเอง และการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นการส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 31 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.2 หลักการ หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามประกาศฉบับนี้ มีรายละเอียด ดังนี้ (1) การดํารงเงินกองทุน ประกอบด้วย 3 Pillars ดังนี้ Pillar 1 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement) Pillar 1 เป็นหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงที่สําคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านเครดิต' (Credit risk) ความเสี่ยงด้านตลาด2 (Market risk และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดรวมทั้งการกําหนดวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริงได้ Pillar 2 การกํากับดูแลโดยทางการ (Supervisory review process) Pillar 2 ระบุให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรมีเงินกองทุนสูงกว่าเงินกองทุนขั้นต่ําตาม Pillar 1 เพื่อรองรับความเสี่ยงที่ไม่ครอบคลุมใน Pilar 1 เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร และความเสี่ยงในการกระจุกตัวของลูกหนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ Pillar 2 ยังกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนโดยคํานึงถึงความเสี่ยงทุกด้านของตนเองและมีการทดสอบภาวะวิกฤตที่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจะตรวจสอบ ติดตาม และประเมินระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง ตลอดจนดําเนินมาตรการกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งอย่างเหมาะสมและทันกาล Pillar 3 การใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Market discipline) Pillar 3 มีวัตถุประสงค์ให้ใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล เพื่อเสริมการกํากับดูแลตาม Pillar 1 และ Pillar 2 โดยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ระดับความเสี่ยงและระบบการบริหารความเสี่ยงของตนเอง เพื่อให้บุคคลภายนอกหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาด เช่น ผู้ลงทุน คู่ค้า และผู้ฝากเงิน เป็นต้น สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งจะเป็นกลไกตลาดที่สําคัญในการผลักดันให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี นอกเหนือจากการควบคุมภายในของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเองและการกํากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย อนึ่ง ในช่วงเวลาที่เริ่มบังคับใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําหรือ Pillar 1 เท่านั้น โดยในอนาคตหากมีความจําเป็นในการบังคับใช้หลักการใน Pillar 2 และ Pillar 3 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดต่อไป (2) การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันจากการรับประกันความเสี่ยง สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทําธุรกรรมหลักเกี่ยวกับการรับประกันความเสี่ยงอาจต้องดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงเพิ่มเติมด้วย เพื่อควบคุมปริมาณการทําธุรกรรมดังกล่าวให้เหมาะสม ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยในเบื้องต้นธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงเพิ่มเติมควบคู่ไปกับอัตราส่วนเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel II ส่วนในกรณีของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หากมีการทําธุรกรรมรับประกันความเสี่ยงนอกเหนือจากโครงการค้ําประกันสินเชื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามนโยบายรัฐบาล (Portfolio Guarantee Scheme: PGS) อย่างมีนัยสําคัญ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนเพิ่มเติมได้ ตามที่จะประกาศกําหนดต่อไป ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้เป็นประกาศหลักในชุดประกาศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งระบุข้อกําหนดหลักที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องถือปฏิบัติ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจอ้างอิงรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ในประกาศย่อยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย 4.3 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement) ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําโดยใช้อัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นและสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น โดยเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ อัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นต้องไม่ต่ํากว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่กําหนด ดังนี้ เงินกองทุนทั้งสิ้น ≥ อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ํา สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามข้อ 4.3.1 องค์ประกอบของเงินกองทุนทั้งสิ้นตามข้อ 4.3.2 และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามข้อ 4.3.3 4.3.1 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําทั้งสิ้นเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น (Total capital ratio ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ ต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น (Tier 1 ratio) ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.25 ทั้งนี้ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจํานวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการคํานวณอัตราส่วนดังกล่าวให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ยอดรวมของทุกสํานักงานและใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่คํานวณ 4.3.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน ให้เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีองค์ประกอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งกําหนดให้เงินกองทุนทั้งสิ้นประกอบด้วยเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) เงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2) และรายการหักจากเงินกองทุน 4.3.3 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง ให้สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเท่ากับผลรวมของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแต่ละด้าน ดังนี้ (1) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของรายการต่าง ๆ ได้แก่ สินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทุกรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร ธุรกรรมขายโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน/ซื้อโดยมีสัญญาว่าจะขายคืน และธุรกรรมยืม/ให้ยืมหลักทรัพย์ (Repo-style transaction) ธุรกรรมอนุพันธ์ รวมถึงสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทุกรายการในบัญชีเพื่อการค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า อยู่ในระดับที่ไม่มีนัยสําคัญซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังต่อไปนี้ (1.1) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้ 2 วิธี ได้แก่ Standardised Approach (วิธี SA) และ Simplified Standardised Approach (วิธี SSA) ดังนี้ (1.1.1) Standardised Approach (วิธี SA) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงโดยใช้น้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประเภทของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลรวมทั้งพิจารณาคุณภาพจากอันดับเครดิตที่ได้รับจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกร่วมด้วย นอกจากนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้โดยใช้หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral กรหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน (On-balance sheet netting) และการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (Guarantee and credit derivatives) ซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในแต่ละเรื่องด้วย (1.1.2) Simplified Standardised Approach (วิธี SSA) สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจเลือกใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตแบบวิธี SSA เป็นทางเลือกเพิ่มเติมได้ โดยวิธี SSA จะมีความซับซ้อนน้อยกว่าวิธี SA คือ ใช้น้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประเภทของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล โดยไม่มีการใช้ข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และอนุญาตให้สามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยใช้หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral) และการค้ําประกัน (Guarantee) เท่านั้น (1.2) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ เพื่อสะท้อนความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดต่อไป (2) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ้งกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดในเชิงคุณภาพเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่เหมาะสมและกําหนดวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดด้วยวิธีมาตรฐาน โดยสินทรัพย์เสี่ยงที่คํานวณได้ตามวิธีนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่าของฐานะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครองอยู่และน้ําหนักเงินกองทุนที่แบ่งตามปัจจัยความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (3) การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ"ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการได้ 2 วิธี คือ วิธี Basic Indicator Approach (วิธี BA) หรือ วิธี Standardised Approach (วิธี SA) ดังนี้ (3.1) Basic Indicator Approach (วิธี BIA) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้รายได้จากการดําเนินงาน (Gross income) เป็นค่าตัวแทน (Proxy ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งจะคํานวณจากค่าเฉลี่ยย้อนหลังของผลคูณค่าคงที่ความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดกับรายได้จากการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (3.2) Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และคํานวณค่าเฉลี่ยย้อนหลังของผลรวมของรายได้จากการดําเนินงานคูณกับค่าคงที่ความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้สําหรับแต่ละสายธุรกิจ โดยมีทางเลือกภายใต้วิธี SA -OR อีกหนึ่งวิธี คือ วิธี ASA ซึ่งอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถเลือกใช้ยอดคงค้างเป็นค่าตัวแทนในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจ Commercial banking และ Retail banking แทนการใช้รายได้จากการดําเนินงาน ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จะเลือกใช้วิธี SA-OR และวิธี ASA จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย 4.4 การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันจากการรับประกันความเสี่ยง ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง ดังนี้ เงินกองทนชั้นที่ 1 ≥12 20% ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 และภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามมาตรการของทางการก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เริ่มปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 โดยหากปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้แล้ว มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราขั้นต่ําตามที่กําหนด จะไม่ถือเป็นการฝ้าฝืนบทบัญญัติของประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จตามที่ทางการกําหนด อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,770
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 3/2553 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 3/2553 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามใน พันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฎ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 3.เนื้อหา 1.ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1/2553 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 25 มกราคม 2553 2.แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายเพิ่มสุข สุทธินุ่น 2. นายสาทร โตโพธิ์ไทย 3 นายปราณีต โชติกีรติเวช 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นางวิมลรัตน์ เศารยะ 7. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร 8. นายอมร กังวาฬ 9. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 10. นายศุภชัย สายวิรัช 11. นางพรรณพิศ เลขะกุล 12. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 13. นายยรรยง ดํารงศิริ 14. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล 15. นายปรีชา เชื้อสุวรรณ 16. ร.ต.ประยุทธ สังขรัตน์ 17. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 18. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 19. นายภูวดล เหล่าแก้ว 20. นายอนันต์ อิงวิยะ อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2553 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,771
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยใด้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ตังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.6/14/59 | 55,000 | 12 กุมภาพันธ์ 2559 | 16/2/59 – 1/3/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,772
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2560 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6 /2560 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 เท่ากับร้อยละ 1.48753 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,773
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือน มกราคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.5/14/53 | 65,000 | 21 มกราคม 2553 | 25/1/53 - 8/2/53 | 14 | | พ.6/14/53 | 60,000 | 22 มกราคม 2553 | 26/1/53 - 9/2/53 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,774
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 8/2559 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ปี 2560)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 8 /2559 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีความมั่นคงแข็งแกร่ง สามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการทางการเงินได้ โดยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่เพียงพอรองรับความเสี่ยงในการดําเนินธุรกิจและสามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เงินกองทุนมีลักษณะที่สามารถใช้รองรับความเสียหายได้อย่างแท้จริง และสอดคล้องกับลักษณะธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้ง จึงสมควรกําหนดลักษณะและองค์ประกอบของเงินกองทุนให้ชัดเจน ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจประกอบด้วย เงินกองทุนชั้นที่ 1 เช่น ทุนที่ได้รับพระราชทาน ทุนประเดิม หรือหุ้นสามัญ กําไรสะสม เงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เป็นต้น และเงินกองทุนชั้นที่ 2 เช่น เงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 มูลค่าส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด เป็นต้น หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนซึ่งเป็นรายการที่ไม่สะท้อนความเป็นทุนที่แท้จริงที่สามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและเพื่อรักษาระดับของเงินกองทุนให้มีความคงที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ระบุถึงคุณสมบัติที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนโดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาในการชําระคืน การจ่ายผลตอบแทน และสิทธิในการได้รับชําระหนี้ของผู้ถือตราสาร เพื่อให้ตราสารดังกล่าวมีลักษณะคล้ายทุนมากขึ้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 29 มาตรา 31 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์องค์ประกอบของเงินกองทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ เงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ซึ่งเงินกองทุนชั้นที่ 1 คือ เงินกองทุนที่มีคุณภาพดีที่สุด เช่น ทุนที่ได้รับพระราชทานหรือทุนประเดิมหรือหุ้นสามัญ กําไรสะสม เงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เป็นต้น ส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 2 เช่นเงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 รวมถึงมูลค่าส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด เป็นต้น และหักด้วยรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4.3 องค์ประกอบของเงินกองทุน เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ประกอบด้วย ยอดรวมของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตาม 4.3.1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตาม 4.3.2 หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนตาม 4.3.3 และปรับด้วยรายการปรับจากเงินกองทุนตาม 4.3.4 4.3.1 เงินกองทุนชั้นที่ 1 ประกอบด้วย (1) ทุนที่ได้รับพระราชทาน (2) ทุนประเดิมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (3) ทุนชําระแล้ว (ยกเว้นทุนชําระแล้วที่ได้จากการออกหุ้นบุริมสิทธิ) ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ํามูลค่าหุ้นที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับ และเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น (4) เงินเพิ่มทุนที่ได้รับจากทางการหรือได้รับการจัดสรรจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือจากแหล่งอื่น (5) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผล (6) ทุนสํารองตามกฎหมาย (7) เงินสํารองที่ได้จัดสรรจากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับการลดค่าของสินทรัพย์ เงินสํารองสําหรับการจ่ายเงินปันผลหรือเงินนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ (8) กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรรตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังสําหรับงวด 6 เดือนหลังของปีบัญชี หรือกําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรรตามข้อบังคับของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังหลังจากหักประมาณการเงินปันผลหรือเงินนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน สําหรับงวด 6 เดือนแรกของปีบัญชี (9) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1 4.3.2 เงินกองทุนชั้นที่ 2 ประกอบด้วย (1) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล (2) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ในส่วนที่เหลือจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (3) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid debt capital instrument) ที่สามารถเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยได้ และตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาว (Subordinated debt) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2 (4) มูลค่าส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาที่ดิน อาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 3 (5) เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ (General provision) ได้แก่ เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติทั้งหมดตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติส่วนที่นับเป็น Specific provision' แล้ว โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ทั้งนี้ ยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (6) กําไรจากการวัดมูลค่าตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของยอดกําไรดังกล่าว 4.3.3 รายการหักจากเงินกองทุน (1) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 (1.1) ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวด 6 เดือนแรก และงวด 6 เดือนหลังของปีบัญชี (1.2) ค่าความนิยม (Goodwill) ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฏในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (1.3) การซื้อคืนตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ตามจํานวนที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้นับตราสารที่ซื้อคืนนั้นเป็นเงินกองทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะซื้อคืนตราสาร Hybrid Tier 1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารแนบ 1 (1.4) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 (2.1) การซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามจํานวนที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้นับตราสารที่ซื้อคืนนั้นเป็นเงินกองทุนทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารแนบ 2 (2.2) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (3) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 อนึ่ง หากเงินกองทุนชั้นที่ 2 มีจํานวนไม่เพียงพอ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหักส่วนที่ขาดจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 จนครบเต็มตามจํานวนที่ขาด (3.1) เงินลงทุนในหุ้นสามัญและตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม2เว้นแต่เป็นการเข้าไปถือหุ้นในกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องแก้ไขฐานะการดําเนินการหรือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (3.2) ธุรกรรมทางการเงินที่ส่งผลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นเป็นผู้รับส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss position) เช่น (1) เป็น Protection buyer ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) ที่ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตมีการกําหนดระดับความเสียหายขั้นต่ําไว้ (Materiality threshold)' (2) เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility ให้แก่ผู้ลงทุนในตราสรธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) หรือลงทุนในตราสาร Securitisation ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss tranche)" (3.3) ร้ายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (4) รายการหักจากเงินกองทุนทั้งสิ้น ผลขาดทุนจากการวัดมูลค่าตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนโดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหักยอดขาดทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้น 4.3.4 รายการปรับจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 กําไร (ขาดทุน) สะสมที่เกิดจากการเลือกใช้วิธี Fair value option ตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (International accounting standard 39 financial instruments: Recognition and measurement หรือที่แก้ไขเพิ่มเติม) ในการคํานวณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ การใช้วิธี Fair value option ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 (ก) ตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงิน - ผลกําไรสะสมที่เกิดจากมูลค่ายุติธรรมลดลงเนื่องจากตราสารที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจออกนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) เพิ่มขึ้น หรือไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามาหักออกจากเงินกองทุน - ผลขาดทุนสะสมที่เกิดจากมูลค่ายุติธรรมเพิ่มขึ้นเนื่องจากตราสารที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจออกนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) ลดลง หรือไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําไปบวกกลับเข้าในเงินกองทุน (ข) เงินให้สินเชื่อ หรือ ตราสารที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน - ผลกําไรสะสมที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามาหักออกจากเงินกองทุน - ผลขาดทุนสะสมที่เกิดจากการลดลงของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําไปบวกกลับเข้าในเงินกองทุน 4.4 งวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุน งวดระยะเวลาในการนับรายการแต่ละประเภทเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุน ชั้นที่ 2 หรือหักออกจากเงินกองทุน ตามที่ปรากฏในเอกสารแนบ 5 4.5 การเปิดเผยข้อมูล สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องเปิดเผยถึงรายละเอียดของเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 รวมถึงคุณลักษณะที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนต่อสาธารณะในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจในหมายเหตุประกอบงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดต่อไป โดยจะต้องแสดงปริมาณและอัตราส่วนของเงินกองทุนแต่ละประเภทด้วย อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ถือครองเงินลงทุนในหุ้นสามัญและตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นไม่ต้องนําเงินลงทุนดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเองตามรายการ 4.3.3 (3.1) อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,775
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 8/2559 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 8 /2559 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ -------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีความมั่นคงแข็งแกร่ง สามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการทางการเงินได้ โดยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่เพียงพอรองรับความเสี่ยงในการดําเนินธุรกิจและสามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เงินกองทุนมีลักษณะที่สามารถใช้รองรับความเสียหายได้อย่างแท้จริง และสอดคล้องกับลักษณะธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้ง จึงสมควรกําหนดลักษณะและองค์ประกอบของเงินกองทุนให้ชัดเจน ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจประกอบด้วย เงินกองทุนชั้นที่ 1 เช่น ทุนที่ได้รับพระราชทาน ทุนประเดิม หรือหุ้นสามัญ กําไรสะสม เงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เป็นต้น และเงินกองทุนชั้นที่ 2 เช่น เงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 มูลค่าส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด เป็นต้น หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนซึ่งเป็นรายการที่ไม่สะท้อนความเป็นทุนที่แท้จริงที่สามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและเพื่อรักษาระดับของเงินกองทุนให้มีความคงที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ระบุถึงคุณสมบัติที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนโดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาในการชําระคืน การจ่ายผลตอบแทน และสิทธิ์ในการได้รับชําระหนี้ของผู้ถือตราสาร เพื่อให้ตราสารดังกล่าวมีลักษณะคล้ายทุนมากขึ้น อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 29 มาตรา 31 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์องค์ประกอบของเงินกองทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ เงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ซึ่งเงินกองทุนชั้นที่ 1 คือ เงินกองทุนที่มีคุณภาพดีที่สุด เช่น ทุนที่ได้รับพระราชทานหรือทุนประเดิมหรือหุ้นสามัญ กําไรสะสม เงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เป็นต้น ส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 2 เช่นเงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 รวมถึงมูลค่าส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด เป็นต้น และหักด้วยรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4.3 องค์ประกอบของเงินกองทุน เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ประกอบด้วย ยอดรวมของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตาม 4.3.1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตาม 4.3.2 หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนตาม 9.3.3 และปรับด้วยรายการปรับจากเงินกองทุนตาม 4.3.4 4.3.1 เงินกองทุนชั้นที่ 1 ประกอบด้วย (1) ทุนที่ได้รับพระราชทาน (2) ทุนประเดิมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (3) ทุนชําระแล้ว (ยกเว้นทุนชําระแล้วที่ได้จากการออกหุ้นบุริมสิทธิ) ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ํามูลค่าหุ้นที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับ และเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น (4) เงินเพิ่มทุนที่ได้รับจากทางการหรือได้รับการจัดสรรจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือจากแหล่งอื่น (5) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผล (6) ทุนสํารองตามกฎหมาย (7) เงินสํารองที่ได้จัดสรรจากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับการลดค่าของสินทรัพย์ เงินสํารองสํารับกรจ่ายเงินปันผลหรือเงินนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ (8) กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรรตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังสําหรับงวด 6 เดือนหลังของปีบัญชี หรือกําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรรตามข้อบังคับของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังหลังจากหักประมาณการเงินปันผลหรือเงินนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน สําหรับงวด 6 เดือนแรกของปีบัญชี (9) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1 4.3.2 เงินกองทุนชั้นที่ 2 ประกอบด้วย (1) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล (2) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ในส่วนที่เหลือจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (3) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid debt capital instrument) ที่สามารถเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยได้ และตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาว (Subordinated debt) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2 (4) มูลค่าส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาที่ดิน อาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 3 (5) เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ (General provision) ได้แก่ เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติทั้งหมดตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติส่วนที่นับเป็น Specific provision' แล้ว โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ทั้งนี้ ยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (6) กําไรจากการวัดมูลค่าตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของยอดกําไรดังกล่าว 4.3.3 รายการหักจากเงินกองทุน (1) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 (1.1) ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวด 6 เดือนแรก และงวด 6 เดือนหลังของปีบัญชี (1.2) ค่าความนิยม (Goodwill! ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฏในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (1.3) การซื้อคืนตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ตามจํานวนที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้นับตราสารที่ซื้อคืนนั้นเป็นเงินกองทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะซื้อคืนตราสาร Hybrid Tier 1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารแนบ 1 (1.4) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 (2.1) การซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามจํานวนที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้นับตราสารที่ซื้อคืนนั้นเป็นเงินกองทุนทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารแนบ 2 (2.2) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (3) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 อนึ่ง หากเงินกองทุนชั้นที่ 2 มีจํานวนไม่เพียงพอ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหักส่วนที่ขาดจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 จนครบเต็มตามจํานวนที่ขาด (3.1) เงินลงทุนในหุ้นสามัญและตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม เว้นแต่เป็นการเข้าไปถือหุ้นในกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องแก้ไขฐานะการดําเนินการหรือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (3.2) ธุรกรรมทางการเงินที่ส่งผลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นเป็นผู้รับส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss position) เช่น (1) เป็น Protection buyer ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) ที่ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตมีการกําหนดระดับความเสียหายขั้นต่ําไว้ (Materiality threshold)' (2) เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) ให้แก่ผู้ลงทุนในตราสารธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) หรือลงทุนในตราสาร Securitisation ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss tranche)" (3.3) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (4) รายการหักจากเงินกองทุนทั้งสิ้น ผลขาดทุนจากการวัดมูลค่าตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนโดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหักยอดขาดทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้น 4.3.4 รายการปรับจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 กําไร (ขาดทุน) สะสมที่เกิดจากการเลือกใช้วิธี Fair value option ตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (International accounting standard 39 financial instruments: Recognition and measurement หรือที่แก้ไขเพิ่มเติม) ในการคํานวณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ การใช้วิธี Fair value option ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 (ก) ตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงิน - ผลกําไรสะสมที่เกิดจากมูลค่ายุติธรรมลดลงเนื่องจากตราสารที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจออกนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) เพิ่มขึ้น หรือไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามาหักออกจากเงินกองทุน - ผลขาดทุนสะสมที่เกิดจากมูลค่ายุติธรรมเพิ่มขึ้นเนื่องจากตราสารที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจออกนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) ลดลง หรือไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําไปบวกกลับเข้าในเงินกองทุน (ข) เงินให้สินเชื่อ หรือ ตราสารที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน - ผลกําไรสะสมที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามาหักออกจากเงินกองทุน - ผลขาดทุนสะสมที่เกิดจากการลดลงของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําไปบวกกลับเข้าในเงินกองทุน 4.4 งวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุน งวดระยะเวลาในการนับรายการแต่ละประเภทเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนชั้นที่ 2 หรือหักออกจากเงินกองทุน ตามที่ปรากฎในเอกสารแนบ 5 4.5 การเปิดเผยข้อมูล สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องเปิดเผยถึงรายละเอียดของเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 รวมถึงคุณลักษณะที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนต่อสาธารณะในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจในหมายเหตุประกอบงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดต่อไป โดยจะต้องแสดงปริมาณและอัตราส่วนของเงินกองทุนแต่ละประเภทด้วย อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ถือครองเงินลงทุนในหุ้นสามัญและตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นไม่ต้องนําเงินลงทุนดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเองตามรายการ 4.3.3 (3.1) อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โทรศัพท์ 0 2283 6373, 0 2283 6372
6,776
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.7/14/53 | 65,000 | 28 มกราคม 2553 | 1/2/53 - 15/2/53 | 14 | | พ.8/14/53 | 60,000 | 29 มกราคม 2553 | 2/2/53 - 16/2/53 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,777
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9/2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลเพื่อการจัดทำสถิติดุลการชำระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9 /2559 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลเพื่อการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ------------------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ภาคเอกชนที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศทําธุรกรรมการลงทุนในต่างประเทศและธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการมีสินทรัพย์และหนี้สินกับผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศได้กว้างขวางมากขึ้น ทําให้ภาคเอกชนมีทางเลือกในการลงทุนในต่างประเทศได้หลากหลายขึ้น สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน และกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงจําเป็นต้องสํารวจข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลการทําธุรกรรมลงทุนระหว่างประเทศ การมีสินทรัพย์และหนี้สินกับต่างประเทศ การกู้ยืมจากต่างประเทศ รวมทั้งการมีสินเชื่อการค้ากับต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีข้อมูลการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศที่ครบถ้วน สามารถนําไปจัดทําและเผยแพร่ข้อมูลสถิติดุลการชําระเงิน และฐานะการลงทุนระหว่างประเทศได้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังสามารถนําข้อมูลมาใช้ประโยชน์แก่ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อใช้ในการประเมินฐานะการเงินของประเทศ วิเคราะห์วางแผน ดูแลเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ และกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงประกาศฉบับนี้ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งปรับปรุงเอกสารแนบประกาศให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน และตัดทอนข้อมูลที่ไม่จําเป็นออกจากแบบสํารวจ อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยพุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้บุคคลซึ่งทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3.ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2554 เรื่อง การจัดส่งข้อมูลเพื่อการจัดทําสถิติดุลการชําระเงินและฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ลงวันที่ 9 มีนาคม 2554 อื่นๆ - 4.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศบับนี้ให้ใช้บังคับกับบุคคลซึ่งทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ ตามที่กําหนตในประกาศนี้ อื่นๆ - 5.เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "บุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ" หมายถึง บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย "นิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ" หมายถึง (1) นิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และให้หมายรวมถึงสาขาหรือสํานักงานตัวแทนที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศด้วย (2) ห้างหุ้นส่วน หรือกิจการร่วมค้า ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย "ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ" หมายถึง (1) บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลําเนาในประเทศอื่นนอกประเทศไทย (2) นิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่นนอกประเทศไทย และให้หมายรวมถึงสาขาหรือสํานักงานตัวแทนที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยด้วย (3) บุคคลอื่นใดที่มิใช่บุคคลธรรมตาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ หรือนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ "การลงทุนในกิจการโดยผู้ลงทุนจากต่างประเทศ" หมายถึง การที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศถือครองหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิที่มีสิทธิออกเสียง หรือร่วมลงทุนในกิจการในประเทศไทย หรือการจัดตั้งสํานักงานสาขาหรือตัวแทนในประเทศไทย "การลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ" หมายถึง การที่บุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ หรือนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศถือครองหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิที่มีสิทธิออกเสียงหรือร่วมลงทุนในกิจการในต่างประเทศ หรือการจัดตั้งสํานักงานสาขาหรือตัวแทนในต่างประเทศ "สินทรัพย์ต่างประเทศ" หมายถึง สินทรัพย์ทางการเงิน เช่น เงินสดและเงินฝากเงินให้กู้ยืมสินเชื่อการค้า ตราสารทุน ตราสารหนี้ สัญญาตราสารอนุพันธ์ สินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องอื่น ที่บุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ หรือนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศมีสิทธิเรียกร้องต่อผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ "หนี้สินต่างประเทศ" หมายถึง ภาระหนี้สินทางการเงิน เช่น เงินรับฝาก เงินกู้ยืมสินเชื่อการค้า ตราสารทุน ตราสารหนี้ สัญญาตราสารอนุพันธ์ หนี้สินหรือภาระผูกพันอื่น ๆ ที่บุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ หรือนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศมีต่อผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ 5.2 ให้บุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศและนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ จัดทําและส่งข้อมูลให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อได้รับแจ้งให้จัดทําและส่งข้อมูล ดังนี้ 5.2.1 ให้บุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศและนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มิใช่ธนาคาร จัดทําและส่งข้อมูลหนี้สินต่างประเทศ ณ วันสิ้นไตรมาส ตาม "แบบสํารวจ 42 : ข้อมูลหนี้สินต่างประเทศของภาคเอกขนที่มิใช่ธนาคาร" รายไตรมาส ที่แนบท้ายประกาศนี้ ภายใน 1 เดือนนับแต่วันสิ้นไตรมาส 5.2.2 ให้บุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศและนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศซึ่งมีการส่งออกหรือนําเข้าสินค้าในช่วงเวลา 1 ปีปฏิทิน จัดทําและส่งข้อมูลการชําระค่าสินค้าและยอดคงค้างสินเชื่อการค้าต่างประเทศ ตาม "แบบสํารวจ 44 : ข้อมูลการชําระค่าสินค้าและยอดคงค้างสินเชื่อการค้าต่างประเทศ" รายปี ที่แนบท้ายประกาศนี้ ภายใน 5 เดือน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน 5.2.3 ให้นิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศซี่งทําธุรกรรมเกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ จัดทําและส่งข้อมูลการลงทุนในกิจการโดยผู้ลงทุ่นจากต่างประเทศ ณ วันสิ้นไตรมาสตาม "แบบสํารวจ 46 : ข้อมูลฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ" รายไตรมาส ที่แนบท้ายประกาศนี้ภายใน 45 วัน นับแต่วันสิ้นไตรมาส 5.2.4 ให้บุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศและนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศซึ่งทําธุรกรรมเกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ จัดทําและส่งข้อมูลการลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศและข้อมูลสินทรัพย์ต่างประเทศ ณ วันสิ้นไตรมาส ตาม "แบบสํารวจ 46 : ข้อมูลฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ" รายไตรมาส ที่แนบท้ายประกาศนี้ ภายใน 45 วัน นับแต่วันสิ้นไตรมาส 5.3 ในกรณีที่บุคคลธรรมดาผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศและนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไม่จัดส่งข้อมูลตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 5.2 โดยบุคคลดังกล่าวมีเหตุจําเป็นอันสมควรและได้ขอผ่อนผันการจัดส่งข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันได้ตามที่เห็นสมควร อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราขกิจจานุเบกษาเป็นตันไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,778
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9 /2559 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ----------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 เท่ากับร้อยละ 1.51675 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,779
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ปี 2560)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ความเสี่ยงด้านเครดิตเป็นความเสี่ยงจากธุรกิจหลักของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งเกิดจากการที่ลูกหนี้หรือคู่สัญญาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ การลงทุน และการก่อภาระผูกพันได้ เช่น ลูกหนี้ไม่สามารถชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ ทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจในฐานะเจ้าหนี้เกิดความเสียหาย เป็นต้น ดังนั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงต้องมีเงินกองทุนเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดจากความเสี่ยงด้านเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจฉบับนี้ เพื่อให้การคํานวณความเสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเทียบเคียงกันได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ประยุกต์หลักการคํานวณมาจากมาตรฐานสากลที่ยอมรับโดยทั่วไปมาใช้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ลูกหนี้" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก และรายการนอกงบดุล รวมถึงข้อผูกพันและสิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้ตามกฎหมายอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝาก ให้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีด้วย "ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ" หมายความว่า ลูกหนี้ที่จัดเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐานสงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ "Specific provision" หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด ทั้งนี้ รวมถึงเงินสํารองที่กันไว้สําหรับส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาดของตราสารหนี้และตราสารทุนที่ถือไว้เพื่อค้าและเผื่อขาย และมูลค่าการด้อยค่าด้วยแต่ไม่รวมเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว 4.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ 2 วิธี ได้แก่ Standardised Approach (วิธี SA) และ Simplified Standardised Approach (วิธี SSA) เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้เป็นทางเลือกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงให้เหมาะสมกับระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของตนเอง การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA เป็นวิธีการคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยน้ําหนักความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล สําหรับวิธี S5A นั้น เป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่มีหลักการคล้ายกับวิธี SA แต่มีการปรับรายละเอียดการคํานวณบางส่วนให้มีความซับซ้อนน้อยลง เช่น การคํานวณที่ไม่อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก และวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตที่อนุญาตเฉพาะวิธีที่มีความซับซ้อนน้อย เป็นต้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อคํานวณอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป 4.3 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้ 4.3.1 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA (1) สินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณหายอดสุทธิของสินทรัพย์โดยหักยอดสินทรัพย์แต่ละรายการด้วย Specific provision ของสินทรัพย์นั้น แล้วนํายอดสุทธิของสินทรัพย์ไปคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง โดยคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4.3.2 (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1) (2) รายการนอกงบดุลที่ไม่ใช่ธุรกรรมอนุพันธ์ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณหายอดสุทธิของรายการนอกงบดุลโดยหักรายการนอกงบดุลแต่ละรายการด้วย Specific provision ของรายการนอกงบดุลนั้น แล้วจึงนํายอดสุทธิของรายการนอกงบดุลไปคูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor: CCF) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2 เพื่อคํานวณหามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินสุทธิ แล้วนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินสุทธิของรายการนอกงบดุลนั้นไปคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4.3.2 (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1) เพื่อคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งนี้ สําหรับรายการนอกงบดุลที่เป็นภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3 (3) รายการนอกงบดุลประเภทธุรกรรมอนุพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ในอนาคต โดยจะประกาศกําหนดต่อไป ทั้งนี้ ยกเว้นฐานะของธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการธนาคารทั้งกรณีสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตและผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 4 อนึ่ง การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ข้างต้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 4.3.4 ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกประเภท ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแปลงเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.3.2 น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล โดยพิจารณาตามประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์ โดยจําแนกเป็น 2 กรณี (เอกสารแนบ 1) ดังนี้ (1) น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพจําแนกเป็น 10 ประเภท ได้แก่ (1.1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล และธนาคารกลาง (1.2) ลูกหนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ (1.3) ลูกหนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (1.4) ลูกหนี้สถาบันการเงิน (1.5) ลูกหนี้บริษัทหลักทรัพย์ (1.6) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (1.7) ลูกหนี้รายย่อย (1.8) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (1.9) เงินลงทุนในตราสารธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) (1.10) สินทรัพย์อื่น ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภท (1.1) ถึง (1.10) นั้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องอ้างอิงหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 สําหรับสินทรัพย์ประเภท (1.1) ถึง (1.6) นั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในข้อ 4.3.3 ด้วย (2) น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ด้อยคุณภาพจําแนกเป็น 3 กรณี ได้แก่ (2.1) กรณีลูกหนี้ด้อยคุณภาพ ในส่วนที่ไม่ได้มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 4.3 .4 (2.2) กรณีลูกหนี้ด้อยคุณภาพในส่วนที่ไม่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 4.3.4 แต่มีหลักประกันประเภท (ก) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Real Estate: CRE) (ข) อสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย (Residential Real Estate: RRE) และ (ค) ลูกหนี้การค้าหรือลูกหนี้การเงินของลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Receivable) เป็นประกันเต็มจํานวน (2.3) กรณีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยตามข้อ 4.3.2 (1.8) ซึ่งได้รับน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 35 หรือร้อยละ 75 และจัดเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพ 4.3.3 อันดับเครดิต (Credit rating) จากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External Credit Assessment Institutions: ECAIs) (1) การใช้ Credit rating จาก ECAIร เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ Credit rating จาก ECAIs ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ โดยให้อ้างอิงรายชื่อและการเทียบเคียง Credit rating จาก ECAI กับ Rating grade ของลูกหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รวมทั้งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 5) (2) การขอความเห็นชอบ ECAIs ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะใช้ Credit rating จาก ECAIs รายอื่นนอกเหนือจากรายชื่อ ECAIs ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารแนบ 5 ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหารือมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน 4.3.4 การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SA (Credit Risk Mitigation: CRM) (1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต (1.1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านกฎหมาย (1.1.1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีเอกสารหรือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งมีผลผูกพันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น (1.1.2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการและระบบในการพิจารณาถึงเงื่อนไขด้านกฎหมาย การติดตามทบทวนว่าเอกสารหรือสัญญาดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง (1.2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการในการควบคุมความเสี่ยงอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการนําวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ เช่น ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านเครดิต เป็นต้น (2) ประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต การปรับลดความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามาใช้ปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA มี 3 ประเภท ดังนี้ (2.1) หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral) สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนํามูลค่าหลักประกันทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตมาปรับลดยอดสินทรัพย์ก่อนนําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงิน (รายละเอียดตามเอกสารแนบ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกวิธีคํานวณการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธี Simple และวิธี Comprehensive (2.2) การหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน (On-balance sheet netting)สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถใช้วิธีหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน ระหว่างสินทรัพย์ (เงินให้กู้) และหนี้สิน (เงินฝาก) ของคู่สัญญารายเดียวกัน เพื่อปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 7) (2.3) การค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (Guarantee and creditderivatives) สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยให้มีการค้ําประกันหรือใช้อนุพันธ์ด้านเครดิต ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการค้ําประกันและธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 8) ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องยื่นแบบประเมินความพร้อมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ในการคํานวณเงินกองทุน (Self-Assessment of Compliance-SAC-CRM) (ร้ายละเอียดตามเอกสารแนบ 9) อย่างน้อย 15 วันก่อนนําการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยนําส่งที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้ยื่นแบบประเมินความพร้อมๆ สําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตก่อนที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ต้องยื่นแบบประเมินความพร้อมฯ อีก (3) ความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา (Maturity mismatch) กรณีที่มีความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา กล่าวคือเมื่ออายุคงเหลือของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตน้อยกว่าอายุคงเหลือของยอดสุทธิของธุรกรรมที่จะปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตกรณีมีความแตกต่างของอายุสัญญาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 10) (4) กรณีมีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภท กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากลูกหนี้รายเดียวกัน เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีทั้งหลักประกันทางการเงินและการค้ําประกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแบ่งยอดลูกหนี้ออกเป็นส่วน ๆ ตามประเภทของการปรับลดความสี่ยงด้านเครดิต และคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงแยกสําหรับแต่ละส่วน กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตจากผู้ขายรายเดียวกัน แต่การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมีอายุสัญญาต่างกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแบ่งยอดลูกหนี้ออกเป็นส่วน ๆ และคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแยกตามอายุของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต (5) การนับช้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับซ้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ดังนั้น สินทรัพย์ที่ใช้ Issue-specific rating ที่ได้มีการสะท้อนการปรับลดความเสี่ยงเข้าไปใน Credit rating เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงสําหรับลูกหนี้แล้ว จะไม่สามารถนํามาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้อีก 4.4 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SSA ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกใช้วิธี SSA เป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ ซึ่งวิธี SSA นั้น เป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่มีหลักการคล้ายกับวิธี SA แต่มีการปรับการคํานวณบางส่วนให้มีความซับซ้อนน้อยกว่า ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเรื่องวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต การกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SSA ตามรายละเอียดในเอกสารแนบ 11 4.5 การแจ้งและการยื่นขออนุญาต ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องการเปลี่ยนวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจากวิธี SSA เป็นวิธี SA ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ ล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ส่วนในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจากวิธี SA เป็นวิธี SSA ให้ยื่นคําขออนุญาตมาที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนการใช้วิธี SSA โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี SA ที่จะเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกรายตามข้อ 4.3.2 (1.6) ให้ยื่นคําขออนุญาตมาที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนการใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกราย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้สําหรับการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตดังต่อไปนี้ ให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบภายในวันที่ 31 มกราคม 2560 (1) วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ ระหว่างวิธี SA กับ วิธี SSA (2) หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี SA และประสงค์จะเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกราย (3) รายชื่อ ECAIร ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเลือกใช้ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงสําหรับลูกหนี้แต่ละประเภท ตามรายชื่อ ECAIร ที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบ 5 (4) วิธีการปรับลดความสี่ยงด้านเครดิตด้วยวิธีหลักประกันทางการเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ ระหว่างวิธี Simple หรือ วิธี Comprehensive ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 6 อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,780
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ความเสี่ยงด้านเครดิตเป็นความเสี่ยงจากธุรกิจหลักของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งเกิดจากการที่ลูกหนี้หรือคู่สัญญาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ การลงทุน และการก่อภาระผูกพันได้ เช่น ลูกหนี้ไม่สามารถชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ ทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจในฐานะเจ้าหนี้เกิดความเสียหาย เป็นต้น ดังนั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงต้องมีเงินกองทุนเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดจากความเสี่ยงด้านเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจฉบับนี้ เพื่อให้การคํานวณความเสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเทียบเคียงกันได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ประยุกต์หลักการคํานวณมาจากมาตรฐานสากลที่ยอมรับโดยทั่วไปมาใช้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ลูกหนี้" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก และรายการนอกงบดุล รวมถึงข้อผูกพันและสิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้ตามกฎหมายอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝาก ให้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีด้วย "ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ" หมายความว่า ลูกหนี้ที่จัดเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐานสงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ "Specific provision " หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด ทั้งนี้ รวมถึงเงินสํารองที่กันไว้สําหรับส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาดของตราสารหนี้และตราสารทุนที่ถือไว้เพื่อค้าและเผื่อขาย และมูลค่าการด้อยค่าด้วยแต่ไม่รวมเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว 4.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับสถาบัน การเงินเฉพาะกิจ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ 2 วิธี ได้แก่ Standardised Approach (วิธี SA) และ Simplified Standardised Approach (วิธี SSA) เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้เป็นทางเลือกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงให้เหมาะสมกับระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของตนเอง การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิโดยวิธี SA เป็นวิธีการคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยน้ําหนักความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล สําหรับวิธี SSA นั้น เป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่มีหลักการคล้ายกับวิธี SA แต่มีการปรับรายละเอียดการคํานวณบางส่วนให้มีความซับซ้อนน้อยลง เช่น การคํานวณที่ไม่อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก และวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตที่อนุญาตเฉพาะวิธีที่มีความซับซ้อนน้อย เป็นต้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อคํานวณอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป 4.3 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้ 4.3.1 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA (1) สินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณหายอดสุทธิของสินทรัพย์โดยหักยอดสินทรัพย์แต่ละรายการด้วย Specific provision ของสินทรัพย์นั้น แล้วนํายอดสุทธิของสินทรัพย์ไปคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง โดยคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4.3.2 (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1) (2) รายการนอกงบดุลที่ไม่ใช่ธุรกรรมอนุพันธ์ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณหายอดสุทธิของรายการนอกงบดุลโดยหักรายการนอกงบดุลแต่ละรายการด้วย Specific provision ของรายการนอกงบดุลนั้น แล้วจึงนํายอดสุทธิของรายการนอกงบดุลไปคูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor: CCF) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2 เพื่อคํานวณหามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินสุทธิ แล้วนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินสุทธิของรายการนอกงบดุลนั้นไปคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4.3.2 (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1) เพื่อคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งนี้ สําหรับรายการนอกงบดุลที่เป็นภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3 (3) รายการนอกงบดุลประเภทธุรกรรมอนุพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ในอนาคต โดยจะประกาศกําหนดต่อไป ทั้งนี้ ยกเว้นฐานะของธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการธนาคารทั้งกรณีสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตและผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 4 อนึ่ง การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ข้างต้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 4.3.4 ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกประเภท ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแปลงเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.3.2 น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล โดยพิจารณาตามประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์ โดยจําแนกเป็น 2 กรณี (เอกสารแนบ 1) ดังนี้ (1) น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพ จําแนกเป็น 10 ประเภท ได้แก่ (1.1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล และธนาคารกลาง (1.2) ลูกหนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ (1.3) ลูกหนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (1.4) ลูกหนี้สถาบันการเงิน (1.5) ลูกหนี้บริษัทหลักทรัพย์ (1.6) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (1.7) ลูกหนี้รายย่อย (1.8) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (1.9) เงินลงทุนในตราสารธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) (1.10) สินทรัพย์อื่น ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภท (1.1) ถึง (1.10) นั้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องอ้างอิงหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 สําหรับสินทรัพย์ประเภท(1.1) ถึง (1.6) นั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในข้อ 4.3.3 ด้วย (2) น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ด้อยคุณภาพจําแนกเป็น 3 กรณี ได้แก่ (2.1) กรณีลูกหนี้ด้อยคุณภาพ ในส่วนที่ไม่ได้มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 4.3.4 (2.2) กรณีลูกหนี้ด้อยคุณภาพในส่วนที่ไม่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 4.3.4 แต่มีหลักประกันประเภท (ก) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Real Estate: CRE) (ข) อสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย(Residential Real Estate: RRE) และ (ค) ลูกหนี้การค้าหรือลูกหนี้การเงินของลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Receivable) เป็นประกันเต็มจํานวน (2.3) กรณีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยตามข้อ 4.3.2 (1.8) ซึ่งได้รับน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 35 หรือร้อยละ 75 และจัดเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพ 4.3.3 อันดับเครดิต (Credit rating) จากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External Credit Assessment Institutions: ECAIs) (1) การใช้ Credit rating จาก ECAIs เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ Credit rating จาก ECAIs ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ โดยให้อ้างอิงรายชื่อและการเทียบเคียง Credit rating จาก ECAIs กับ Rating grade ของลูกหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รวมทั้งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 5) (2) การขอความเห็นชอบ ECAIs ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะใช้ Credit rating จาก ECAIs รายอื่นนอกเหนือจากรายชื่อ ECAIs ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารแนบ 5 ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหารือมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน 4.3.4 การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SA (Credit Risk Mitigation: CRM) (1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต (1.1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านกฎหมาย (1.1.1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีเอกสารหรือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งมีผลผูกพันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น (1.1.2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการและระบบในการพิจารณาถึงเงื่อนไขด้านกฎหมาย การติดตามทบทวนว่าเอกสารหรือสัญญาดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง (1.2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการในการควบคุมความเสี่ยงอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการนําวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ เช่น ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านเครดิต เป็นต้น (2) ประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต การปรับลดความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามาใช้ปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA มี 3 ประเภท ดังนี้ (2.1) หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral) สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนํามูลค่าหลักประกันทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตมาปรับลดยอดสินทรัพย์ก่อนนําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความสี่ยงด้นเครดิตโดยหลักประกันทางการเงิน (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 6 โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกวิธีคํานวณการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธี Simple และวิธี Comprehensive (2.2) การหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน (On-balance sheet netting) สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถใช้วิธีหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน ระหว่างสินทรัพย์ เงินให้กู้ และหนี้สิน (เงินฝาก) ของคู่สัญญารายเดียวกัน เพื่อปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน(รายละเอียดตามเอกสารแนบ 7) (2.3) การค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (Guarantee and credit derivatives) สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยให้มีการค้ําประกันหรือใช้อนุพันธ์ด้านเครดิต ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการค้ําประกันและธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 8) ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องยื่นแบบประเมินความพร้อมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ในการคํานวณเงินกองทุน (Self-Assessment of Compliance-SAC-CRM) (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 9) อย่างน้อย 15 วันก่อนนําการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยนําส่งที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้ยื่นแบบประเมินความพร้อมฯ สําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตก่อนที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ต้องยื่นแบบประเมินความพร้อมฯ อีก (3) ความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา (Maturity mismatch) กรณีที่มีความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา กล่าวคือเมื่ออายุคงเหลือของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตน้อยกว่าอายุคงเหลือของยอดสุทธิของธุรกรรมที่จะปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตกรณีมีความแตกต่างของอายุสัญญาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 10) (4) กรณีมีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภท กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากลูกหนี้รายเดียวกัน เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีทั้งหลักประกันทางการเงินและการค้ําประกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแบ่งยอดลูกหนี้ออกเป็นส่วน ๆ ตามประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต และคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงแยกสําหรับแต่ละส่วน กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตจากผู้ขายรายเดียวกัน แต่การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมีอายุสัญญาต่างกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแบ่งยอดลูกหนี้ออกเป็นส่วน ๆ และคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแยกตามอายุของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต (5) การนับซ้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับช้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ดังนั้น สินทรัพย์ที่ใช้ Issue-specific rating ที่ได้มีการสะท้อนการปรับลดความเสี่ยงเข้าไปใน Credit rating เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงสําหรับลูกหนี้แล้ว จะไม่สามารถนํามาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้อีก 4.4 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SSA ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกใช้วิธี SSA เป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ ซึ่งวิธี SSA นั้น เป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่มีหลักการคล้ายกับวิธี SA แต่มีการปรับการคํานวณบางส่วนให้มีความซับซ้อนน้อยกว่า ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเรื่องวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต การกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และการปรับลดความสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SSA ตามรายละเอียดในเอกสารแนบ 11 4.5 การแจ้งและการยื่นขออนุญาต ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องการเปลี่ยนวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจากวิธี SSA เป็นวิธี SA ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ ล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ส่วนในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจากวิธี SA เป็นวิธี SSA ให้ยื่นคําขออนุญาตมาที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนการใช้วิธี SSA โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี SA ที่จะเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกรายตามข้อ 4.3.2 (1.6) ให้ยื่นคําขออนุญาตมาที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนการใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกราย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้สําหรับการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตดังต่อไปนี้ ให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบภายในวันที่ 31 มกราคม 2560 (1) วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ ระหว่างวิธี SA กับ วิธี SSA (2) หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี SA และประสงค์จะเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกราย (3) รายชื่อ ECAIs ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะเลือกใช้ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงสําหรับลูกหนี้แต่ละประเภท ตามรายชื่อ ECAIS ที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบ 5 (4) วิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยวิธีหลักประกันทางการเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ ระหว่างวิธี Simple หรือ วิธี Comprehensive ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 6 อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โทรศัพท์ 0 2283 6373, 0 2283 6372
6,781
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 --------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ดังนี้ | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | | (ล้านบาท) | | | | 5/28/53 | 12,000 | 2 ก.พ. 53 | 4 ก.พ. 53 | 4 มี.ค. 53 | 28 วัน | | 5/91/53 | 12,000 | 2 ก.พ. 53 | 4 ก.พ. 53 | 6 พ.ค. 53 | 91 วัน | | 5/182/53 | 15,000 | 2 ก.พ. 53 | 4 ก.พ. 53 | 5 ส.ค. 53 | 182 วัน | | 2/364/53 | 60,000 | 2 ก.พ. 53 | 4 ก.พ. 53 | 3 ก.พ. 54 | 364 วัน | | 6/28/53 | 12,000 | 9 ก.พ. 53 | 11 ก.พ. 53 | 11 มี.ค. 53 | 28 วัน | | 6/91/53 | 12,000 | 9 ก.พ. 53 | 11 ก.พ. 53 | 13 พ.ค. 53 | 91 วัน | | 6/186/53 | 15,000 | 9 ก.พ. 53 | 11 ก.พ. 53 | 16 ส.ค. 53 | 186 วัน | | 7/28/53 | 12,000 | 16 ก.พ. 53 | 18 ก.พ. 53 | 18 มี.ค. 53 | 28 วัน | | 7/91/53 | 12,000 | 16 ก.พ. 53 | 18 ก.พ. 53 | 20 พ.ค. 53 | 91 วัน | | 7/182/53 | 15,000 | 16 ก.พ. 53 | 18 ก.พ. 53 | 19 ส.ค. 53 | 182 วัน | | 1/2ปี/2553 | 45,000 | 16 ก.พ. 53 | 18 ก.พ. 53 | 18 ก.พ. 55 | 2 ปี | | 8/28/53 | 12,000 | 23 ก.พ. 53 | 25 ก.พ. 53 | 25 มี.ค. 53 | 28 วัน | | 8/91/53 | 12,000 | 23 ก.พ. 53 | 25 ก.พ. 53 | 27 พ.ค. 53 | 91 วัน | | 8/182/53 | 15,000 | 23 ก.พ. 53 | 25 ก.พ. 53 | 26 ส.ค. 53 | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2 ปี/2553 มีรายละเอียดดังนี้ | | | | | --- | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 12 ก.พ. 2553 | | | | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่าๆ กัน | | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 18 ก.พ. และ 18 ส.ค. ของทุกปี | | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 18 ส.ค. 2553 | | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 18 ก.พ. 2555 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,782
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7/2553 เรื่อง วันหยุดทำการของสถาบันการเงิน ประจำปี พ.ศ. 2554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7/2553 เรื่อง วันหยุดทําการของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2554 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2554 อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4.วันหยุดทําการของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2554 1. วันจันทร์ 3 มกราคม ชดเชยวันขึ้นปีใหม่ (วันเสาร์ที่ 1 มกราคม) 2. วันศุกร์ 18 กุมภาพันธ์ วันมาฆบูชา 3. วันพุธ 6 เมษายน วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึก มหาจักรีบรมราชวงศ์ 4. วันพุธ 13 เมษายน วันสงกรานต์ 5. วันพฤหัสบดี 14 เมษายน วันสงกรานต์ 6. วันศุกร์ 15 เมษายน วันสงกรานต์ 7. วันจันทร์ 2 พฤษภาคม ชดเชยวันแรงงานแห่งชาติ (วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม) 8. พฤหัสบดี 5 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล 9. วันอังคาร 17 พฤษภาคม วันวิสาขบูชา 10. วันศุกร์ 1 กรกฎาคม วันหยุดภาคครึ่งปี 11. วันศุกร์ 15 กรกฎาคม วันอาสาฬหบูชา 12. วันศุกร์ 12 สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ 13. วันจันทร์ 24 ตุลาคม ชดเชยวันปิยมหาราช (วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม) 14. วันจันทร์ 5 ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 15. วันจันทร์ 12 ธันวาคม ชดเชยวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ (วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม) สําหรับสถาบันการเงินในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล ให้หยุดในวันตรุษอีดิ้ลฟิตริ (วันรายอปอซอ) ตามประกาศสํานักจุฬาราชมนตรีอีกหนึ่งวันหากวันตรุษดังกล่าว ไม่ตรงกับวันหยุดตามที่กล่าวข้างต้น หรือวันหยุดประจําสัปดาห์ อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2553 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,783
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10/2559 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10 /2559 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 3.เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศหน้านี้ 1. นางภรวดี ตาปสนันทน์ 2. นางวราภรณ์ ศุภางคเสน 3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นายอัครเดช ดาวเงิน 5. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน 6. นางโสภา อินสุข 7. นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน 8. นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ 9. นายสุเมธ จินดามานพ 10. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์ 11. นายทวัส ทาสุวรรณ 12. นายสมขาย เลิศลาภวศิน 13. นายอดุลย์ ค้ําชู 14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 15. นายชนัช เทียมมณีเนตร 16. นายธีรเมธ พุทธนารัตน์ 17. นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ 18. นางอุษณี ปรีชม 19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายเอนก อิงวิยะ 21. นายประจวบ เกลี้ยงเกิด อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 (นายเพิ่มสุข สุทธินุ่น) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,784
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10 /2559 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559 ------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559 (รุ่นที่ 1/2ปี/2559) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2ปี/2559 ที่จะประมูลในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เท่ากับร้อยละ 1.49 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,785
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม (ฉบับที่ 2)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม (ฉบับที่ 2) ------------------------------------------- 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 19/2559 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม โดยในส่วนของหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) กําหนดให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สามารถให้สินเชื่อ ลงทุนก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ได้ไม่เกิน 200 ล้านบาท โดยพิจารณาแนวทางการคํานวณ วิธีการนับลูกหนี้ในธุรกรรมประเภทต่าง ๆ และข้อยกเว้นในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ตลอดจนการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป นั้น เนื่องจากหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ข้างต้น มีข้อจํากัดต่อการขยายสินเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถดําเนินการแก้ไขปัญหากิจการตามแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและแผนธุรกิจที่วางไว้ได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามให้สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยปรับจํานวนเงินสูงสุดในการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ (Single Lending Limit) ได้ตามรายละเอียดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในประกาศฉบับนี้ 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 และมาตรา 52 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ 3. ประกาศที่แก้ไข ยกเลิกความในข้อ 4.4.1 (2) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 19/2559 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559 และให้ใช้ความในข้อ 5 ของประกาศฉบับนี้ แทน 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 5. เนื้อหา (2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (2.1) การถือปฏิบัติตามประกาศช้างต้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ได้ไม่เกินจํานวนเงินที่กําหนด ดังต่อไปนี้ | | | | --- | --- | | กลุ่มลูกค้า | จํานวนเงินสูงสุด | | 1) กลุ่มลูกค้าเดิมของธนาคาร | 1,000 ล้านบาท | | 2) กลุ่มลูกค้าใหม่ | 500 ล้านบาท | | 3) รัฐวิสาหกิจ | 2,000 ล้านบาท | ทั้งนี้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องพิจารณาถึงความสามารถทางการเงินของลูกหนี้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะการทําธุรกรรมกับลูกค้ารายใหญ่โดยพิจารณาแนวทางการคํานวณวิธีการนับลูกหนี้ในธุรกรรมประเภทต่าง ๆ และข้อยกเว้นในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตลอดจนการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป (2.2) ในกรณีที่กระทรวงการคลังเห็นว่าธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถกลับมาดําเนินการได้ตามปกติตามแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าอัตราที่กฎหมายกําหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการซองศาสนาอิสลาม ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้น แทนจํานวนเงินสูงสุดตามตารางข้างต้น 6. บทเฉพาะกาล 6.1 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ทําสัญญาผูกพันไว้ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2560 ให้ได้รับการผ่อนผันต่อไปตามแนวทางของข้อ 5.2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส.19/2559 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม 6.2 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้รับผ่อนผันเป็นรายกรณีจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สามารถดําเนินการตามที่ได้รับผ่อนผันต่อไปได้ 6.3 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ทําสัญญาผูกพันไว้ตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่กระทรวงการคลังเห็นว่าธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟู และมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามข้อ 4.5 ของประกาศรนาคารแห่งประเทศไทย ที่ 19/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม หากปรากฎว่าจํานวนเงินที่คํานวณจากร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้น ต่ํากว่าจํานวนเงินสูงสุดที่กําหนดตามตารางในข้อ 5 ข้างต้น ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถดําเนินการตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วต่อไปตามประเภทของสินเชื่อ กล่าวคือ ในกรณี เป็นสัญญาที่มีการกําหนดอายุ (Term Loan) หรือกรณีสัญญามีการกําหนดชําระเงินเมื่อทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน (Call Loan) ตามแนวทางการผ่อนผันที่กําหนดในข้อ 5.2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 19/2559 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ ให้จัดเก็บเอกสาร และข้อมูลยอดคงค้างของลูกหนี้หรือลูกค้าทุกรายที่เข้าข่ายได้รับการผ่อนผันไว้ที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถตรวจสอบได้ 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2560 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โทรศัพท์ 0 2283 5815, 0 2356 7716
6,786
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 10/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ปี 2560)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 10 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง ด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยความเสี่ยงด้านตลาด ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาตราสารทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ มีความเสี่ยงที่อาจได้รับความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของรายการสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพัน ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครอง ซึ่งเกิดจากความผันผวนของปัจจัยเสี่ยงด้านตลาดเหล่านั้น ดังนั้น หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครองฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาดเป็นจํานวนมาก จึงควรมีเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจฉบับนี้ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด รวมทั้ง กําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดเพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด รวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่เหมาะสม สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องและสอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อน ของธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ความเสี่ยงด้านตลาด" หมายความว่า ความเสี่ยงที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของฐานะทั้งที่อยู่ในงบแสดงฐานะการเงินและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ "บัญชีเพื่อการค้า" (Trading book) หมายความว่า ฐานะ (Position) ในเครื่องมือทางการเงิน (Financial instrument) และสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ที่มีเจตนาถือไว้เพื่อการค้า (Trading Intent) หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะอื่น ในบัญชีเพื่อการค้า รวมถึงธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภทที่ไม่ได้นําไปใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book) ของตนเอง โดยเครื่องมือทางการเงินที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าต้องไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขายหรือในการป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ฐานะเหล่านั้นต้องมีการประเมินมูลค่าอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการที่ดี "บัญชีเพื่อการธนาคาร" (Banking book) หมายความว่า ฐานะในเครื่องมือทางการเงินหรือธุรกรรมอื่นที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือเครื่องมือทางการเงินที่มีเจตนาตั้งแต่แรกว่าจะถือครองระยะยาวหรือถือจนครบกําหนดอายุ "ฐานะที่มีเจตนาถือไว้เพื่อการค้า" (Trading Intent) หมายความว่า ฐานะต่าง ๆ ที่ถือไว้ในระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อ และ/หรือ เพื่อหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือเพื่อหากําไรจากความแตกต่างของราคาในแต่ละตลาดเปรียบเทียบกัน (Arbitrage) ครอบคลุมทั้งฐานะที่เป็นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเอง ฐานะที่เกิดจากการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้า เช่น การให้บริการเป็นนายหน้าโดยซื้อขายในนามของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Matched principal brokering) และฐานะที่เกิดขึ้นจากการเป็นผู้เสนอราคาซื้อขายในตลาด (Market maker) "ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่า ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ประเมินแล้วอยู่ในระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดในเอกสารแนบ 1 "ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่า ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ประเมินแล้วต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 1 4.2 ขอบเขตของหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดซึ่งครอบคลุมถึงองค์ประกอบความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ราคาของตราสารทุนอัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดแบ่งออกเป็น 5 เรื่อง ดังนี้ 4.2.1 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า 4.2.2 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด 4.2.3 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า 4.2.4 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน 4.2.5 การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง 4.3 การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด โดยต้องมีการประเมินปริมาณการทําธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าก่อนตามข้อ 4.4 เพื่อพิจารณาระดับที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องถือปฏิบัติ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนในการทําธุรกรรม ดังนี้ 4.3.1 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 4.2.1 - 4.2.5 4.3.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 4.2.1 - 4.2.3 โดยหากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีฐานะในสินค้าโภคภัณฑ์ หรืออนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการค้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดสําหรับองค์ประกอบด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หรืออนุพันธ์ด้านเครดิตที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องตามนโยบายในข้อ 4.2.4 - 4.2.5 ด้วย 4.3.3 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ไม่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าและไม่มีความประสงค์ที่จะทําธุรกรรมเพื่อการค้าไม่ต้องถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงนโยบายที่จะไม่ทําธุรกรรมเพื่อการค้าภายในวันที่ 31 มกราคม 2560 และหากในภายหลังสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะทําธุรกรรมเพื่อการค้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มทําธุรกรรมดังกล่าวไม่น้อยกว่า 15 วัน และให้ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาทบทวนระดับที่มีนัยสําคัญของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุก 6 เดือน ทั้งนี้ เมื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญตามข้อ 4.3.1 แล้ว ให้ถือว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าวต้องถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 4.2.1 - 4.2.5 ไปตลอด แม้ว่าภายหลังจากนั้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อขอยกเลิกการปฏิบัติตามนโยบายในเรื่องดังกล่าวได้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีเหตุผลเหมาะสม ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้เป็นรายกรณี เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีนโยบายจะไม่ทําธุรกรรมเพื่อการค้าแล้ว หรือมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าในระดับที่ต่ํามากเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น ซึ่งในการพิจารณาอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขหรือให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามนโยบายในบางเรื่องด้วยก็ได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามข้อ 4.3.2 และ 4.3.3 ต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องสําหรับฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าทุกฐานะตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามประกาศฉบับนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งนําหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้มาบังคับใช้ตามประเภทธุรกรรมที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับอนุญาตตามกฎหมายจัดตั้ง 4.4 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจอ้างอิงปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาว่าเป็นระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) จากหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามเอกสารแนบ 1 และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าเพื่อเปรียบเทียบกับระดับที่มีนัยสําคัญ โดยการประเมินปริมาณธุรกรรมจะคํานวณตามแบบรายงานปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในตัวอย่างตามเอกสารแนบ 1.1 4.5 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด คณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้บริหารระดับสูงต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ระบบการควบคุมภายในดังกล่าวต้องครอบคลุมประเด็นสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 4.5.1 บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้บริหารระดับสูง 4.5.2 แนวทางการวัด ติดตาม และประเมินความเสี่ยง 4.5.3 แนวปฏิบัติในการควบคุมความเสี่ยงและการแบ่งแยกหน้าที่ 4.5.4 แนวทางการเก็บข้อมูลและการสื่อสารภายในองค์กร 4.5.5 ระบบการตรวจสอบภายในและการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น 4.6 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า 4.6.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า (Trading book policy) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เหมาะสมกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 4.6.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดทํานโยบายดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมให้ผู้ตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ และต้องมีรายละเอียดครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ อย่างน้อยตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยเฉพาะเรื่อง นโยบายการจัดกลุ่มตราสารการเงินให้อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า และบัญชีเพื่อการธนาคาร นโยบายการโยกย้ายรายการระหว่างบัญชี การกําหนดระยะเวลาการถือครองฐานะในบัญชีเพื่อการค้า การกําหนดนโยบาย กลยุทธ์ทางการค้า และกระบวนการบริหารฐานะที่ชัดเจน เป็นต้น 4.6.3 คณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นผู้อนุมัตินโยบายดังกล่าวและต้องเผยแพรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและนําไปปฏิบัติโดยทั่วกัน 4.6.4 นโยบายดังกล่าวต้องมีการกําหนดเวลาทบทวนเป็นประจําที่ชัดเจนเพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ หากมีการปรับปรุงในประเด็นที่สําคัญจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมาย 4.6.5 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดให้มีระบบการประเมินมูลค่าฐานะในบัญชีเพื่อการค้าที่เหมาะสม และมีระบบการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ เพื่อให้คณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้บริหารระดับสูงมีความมั่นใจว่าระบบการประเมินมูลค่าฐานะดังกล่าวมีความถูกต้องเหมาะสมและน่าเชื่อถือ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3.2 4.7 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.7.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ คํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามองค์ประกอบตามข้อ (1) ถึงข้อ (4) (1) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า (2) ความเสี่ยงด้านราคาตราสารทุนจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า (3) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและบัญชีเพื่อการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ (4) ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและบัญชีเพื่อการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ 4.7.2 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญคํานวณเงินกองทุน ดังนี้ (1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าให้คํานวณเงินกองทุนตามข้อ 4.7.1 (1) (2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีฐานะในสินค้าโภคภัณฑ์ให้คํานวณเงินกองทุนตามข้อ 4.7.1 (4) ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดในทุกองค์ประกอบหรือองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเพิ่มเติมจากความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าการสั่งการดังกล่าวทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งนั้นมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งกรณีนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการในภายหลัง 4.7.3 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน (Standardised approach) โดยการคํานวณเงินกองทุนตามวิธีมาตรฐานนั้นจะเป็นวิธีการคํานวณเงินกองทุน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้กําหนดน้ําหนักเงินกองทุน (Capital charge) สําหรับปัจจัยความเสี่ยงแต่ละประเภท ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งในแง่ของ Specific risk และ General market risk โดยมีรายละเอียดสรุปได้ตามตารางด้านล่างนี้ | | | | | --- | --- | --- | | ความเสี่ยงด้าน | น้ําหนักเงินกองทุน (Capital charge) เพื่อรองรับความเสี่ยงประเภท | รายละเอียดการคํานวณ | | Specific risk | General market risk | | อัตราดอกเบี้ย(รวมถึงธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต) | 0 -12%ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิงนั้น | 0 -12.5%ขึ้นอยู่กับอายุคงเหลือหรือระยะเวลากําหนดอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของตราสารหนี้นั้น | เอกสารแนบ 4 | | ราคาตราสารทุน | 2, 4และ 8%ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของตราสารทุนนั้น และการกระจายตัวในการลงทุน | 8% | เอกสารแนบ 5 | | อัตราแลกเปลี่ยน | ไม่มี | 8% | เอกสารแนบ 6 | | ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ | ไม่มี | 0.6-15%ขึ้นกับอายุคงเหลือของสัญญา | เอกสารแนบ 7 | | Options | การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของ Options แบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธี Simplified 2) วิธี Delta Plus 3) วิธี Contingent loss | เอกสารแนบ 8 | 4.7.4 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดโดยนําเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณได้ตามวิธีที่ระบุในข้อ 4.7.3 มาคูณด้วย 12.5 เพื่อนําไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป 4.8 การจัดทําข้อมูลแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทําข้อมูลและจัดส่งแบบรายงานที่เกี่ยวข้องกับการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด โดยจัดส่งในรูป Excel file ตามหลักเกณฑ์การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้องที่กําหนดในเอกสารแนบ 9 อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป เว้นแต่หลักเกณฑ์ในข้อ 4.3.3 ที่กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ไม่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าและไม่มีความประสงค์ที่จะทําธุรกรรมเพื่อการค้าแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบภายในวันที่ 31 มกราคม 2560 และหลักเกณฑ์ในข้อ 4.4 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า ให้เริ่มประเมินค่าเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,787
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 10/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 10 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง ด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ -------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยความเสี่ยงด้านตลาด ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาตราสารทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ มีความเสี่ยงที่อาจได้รับความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของรายการสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพัน ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครอง ซึ่งเกิดจากความผันผวนของปัจจัยเสี่ยงด้านตลาดเหล่านั้น ดังนั้น หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครองฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาดเป็นจํานวนมาก จึงควรมีเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจฉบับนี้ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด รวมทั้ง กําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดเพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด รวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่เหมาะสม สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องและสอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อน ของธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ความเสี่ยงด้านตลาด" หมายความว่า ความสี่ยงที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของฐานะทั้งที่อยู่ในงบแสดงฐานะการเงินและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ "บัญชีเพื่อการค้า" (Trading book) หมายความว่า ฐานะ (Position) ในเครื่องมือทางการเงิน (Financial instrument) และสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ที่มีเจตนาถือไว้เพื่อการค้า (Trading Intent) หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะอื่น ๆ ในบัญชีเพื่อการค้า รวมถึงธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภทที่ไม่ได้นําไปใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book) ของตนเอง โดยเครื่องมือทางการเงินที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าต้องไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขายหรือในการป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ฐานะเหล่านั้นต้องมีการประเมินมูลค่าอย่างถูกต้อง และเป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการที่ดี "บัญชีเพื่อการธนาคาร" (Banking book) หมายความว่า ฐานะในเครื่องมือทางการเงินหรือธุรกรรมอื่นที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือเครื่องมือทางการเงินที่มีเจตนาตั้งแต่แรกว่าจะถือครองระยะยาวหรือถือจนครบกําหนดอายุ "ฐานะที่มีเจตนาถือไว้เพื่อการค้า" (Trading Intent) หมายความว่า ฐานะต่าง ๆ ที่ถือไว้ในระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อ และ/หรือ เพื่อหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือเพื่อหากําไรจากความแตกต่างของราคาในแต่ละตลาดเปรียบเทียบกัน (Arbitrage) ครอบคลุมทั้งฐานะที่เป็นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเอง ฐานะที่เกิดจากการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้า เช่น การให้บริการเป็นนายหน้าโดยซื้อขายในนามของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Matched principal brokering) และฐานะที่เกิดขึ้นจากการเป็นผู้เสนอราคาซื้อขายในตลาด (Market maker) "ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่า ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ประเมินแล้วอยู่ในระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดในเอกสารแนบ 1 "ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่า ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ประเมินแล้วต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 1 4.2 ขอบเขตของหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดซึ่งครอบคลุมถึงองค์ประกอบความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ราคาของตราสารทุนอัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดแบ่งออกเป็น 5 เรื่อง ดังนี้ 4.2.1 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า 4.2.2 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด 4.2.3 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า 4.2.4 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน 4.2.5 การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง 4.3 การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด โดยต้องมีการประเมินปริมาณการทําธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าก่อนตามข้อ 4.4 เพื่อพิจารณาระดับที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องถือปฏิบัติ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนในการทําธุรกรรม ดังนี้ 4.3.1 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 4.2.1 - 4.2.5 4.3.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 4.2.1 - 4.2.3 โดยหากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีฐานะในสินค้าโภคภัณฑ์ หรืออนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการค้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดสําหรับองค์ประกอบด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หรืออนุพันธ์ด้านเครดิตที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องตามนโยบายในข้อ 4.2.4 - 4.2.5 ด้วย 4.3.3 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ไม่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าและไม่มีความประสงค์ที่จะทําธุรกรรมเพื่อการค้าไม่ต้องถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงนโยบายที่จะไม่ทําธุรกรรมเพื่อการค้าภายในวันที่ 31 มกราคม 2560 และหากในภายหลังสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะทําธุรกรรมเพื่อการค้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มทําธุรกรรมดังกล่าวไม่น้อยกว่า 15 วัน และให้ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาทบทวนระดับที่มีนัยสําคัญของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุก 6 เดือน ทั้งนี้ เมื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญตามข้อ 4.3.1 แล้ว ให้ถือว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าวต้องถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 4.2.1 - 4.2.5 ไปตลอด แม้ว่าภายหลังจากนั้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อขอยกเลิกการปฏิบัติตามนโยบายในเรื่องดังกล่าวได้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีเหตุผลเหมาะสม ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้เป็นรายกรณี เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีนโยบายจะไม่ทําธุรกรรมเพื่อการค้าแล้ว หรือมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าในระดับที่ต่ํามากเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น ซึ่งในการพิจารณาอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขหรือให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามนโยบายในบางเรื่องด้วยก็ได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามข้อ 4.3.2 และ 4.3.3 ต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องสําหรับฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าทุกฐานะตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามประกาศฉบับนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งนําหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้มาบังคับใช้ตามประเภทธุรกรรมที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับอนุญาตตามกฎหมายจัดตั้ง 4.4 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจอ้างอิงปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาว่าเป็นระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) จากหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามเอกสารแนบ 1 และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าเพื่อเปรียบเทียบกับระดับที่มีนัยสําคัญ โดยการประเมินปริมาณธุรกรรมจะคํานวณตามแบบรายงานปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในตัวอย่างตามเอกสารแนบ 1.1 4.5 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด คณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้บริหารระดับสูงต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ระบบการควบคุมภายในดังกล่าวต้องครอบคลุมประเด็นสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 4.5.1 บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้บริหารระดับสูง 4.5.2 แนวทางการวัด ติดตาม และประเมินความเสี่ยง 4.5.3 แนวปฏิบัติในการควบคุมความเสี่ยงและการแบ่งแยกหน้าที่ 4.5.4 แนวทางการเก็บข้อมูลและการสื่อสารภายในองค์กร 4.5.5 ระบบการตรวจสอบภายในและการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น 4.6 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า 4.6.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า (Trading book policy) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เหมาะสมกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 4.6.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดทํานโยบายดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมให้ผู้ตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ และต้องมีรายละเอียดครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ อย่างน้อยตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยเฉพาะเรื่อง นโยบายการจัดกลุ่มตราสารการเงินให้อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า และบัญชีเพื่อการธนาคาร นโยบายการโยกย้ายรายการระหว่างบัญชี การกําหนดระยะเวลาการถือครองฐานะในบัญชีเพื่อการค้า การกําหนดนโยบาย กลยุทธ์ทางการค้า และกระบวนการบริหารฐานะที่ชัดเจน เป็นต้น 4.6.3 คณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นผู้อนุมัตินโยบายดังกล่าวและต้องเผยแพรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและนําไปปฏิบัติโดยทั่วกัน 4.6.4 นโยบายดังกล่าวต้องมีการกําหนดเวลาทบทวนเป็นประจําที่ชัดเจนเพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ หากมีการปรับปรุงในประเด็นที่สําคัญจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมาย 4.6.5 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดให้มีระบบการประเมินมูลค่าฐานะในบัญชีเพื่อการค้าที่เหมาะสม และมีระบบการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ เพื่อให้คณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้บริหารระดับสูงมีความมั่นใจว่าระบบการประเมินมูลค่าฐานะดังกล่าวมีความถูกต้องเหมาะสมและน่าเชื่อถือ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3.2 4.7 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.7.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ คํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามองค์ประกอบตามข้อ (1) ถึงข้อ (4) (1) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า (2) ความเสี่ยงด้านราคาตราสารทุนจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า (3) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากรานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและบัญชีเพื่อการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ (4) ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและบัญชีเพื่อการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ 4.7.2 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญคํานวณเงินกองทุน ดังนี้ (1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าให้คํานวณเงินกองทุนตามข้อ 4.7.1 (1) (2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีฐานะในสินค้าโภคภัณฑ์ให้คํานวณเงินกองทุนตามข้อ 4.7.1 (4) ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดในทุกองค์ประกอบหรือองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเพิ่มเติมจากความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าการสั่งการดังกล่าวทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งนั้นมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งกรณีนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการในภายหลัง 4.7.3 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน (Standardised approach) โดยการคํานวณเงินกองทุนตามวิธีมาตรฐานนั้นจะเป็นวิธีการคํานวณเงินกองทุน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้กําหนดน้ําหนักเงินกองทุน (Capital charge) สําหรับปัจจัยความเสี่ยงแต่ละประเภท ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งในแง่ของ Specific risk และ General market risk โดยมีรายละเอียดสรุปได้ตามตารางด้านล่างนี้ | | | | | --- | --- | --- | | ความเสี่ยงด้าน | น้ําหนักเงินกองทุน (Capital charge) เพื่อรองรับความเสี่ยงประเภท | รายละเอียดการคํานวณ | | Specific risk | General market risk | | อัตราดอกเบี้ย(รวมถึงธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต) | 0 -12%ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิงนั้น | 0 -12.5%ขึ้นอยู่กับอายุคงเหลือหรือะยะเวลากําหนดอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของตราสารหนี้นั้น | เอกสารแนบ 4 | | ราคาตราสารทุน | 2, 4 และ 8%ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของตราสารทุนนั้น และการกระจายตัวในการลงทุน | 8% | เอกสารแนบ 5 | | อัตราแลกเปลี่ยน | ไม่มี | 8% | เอกสารแนบ 6 | | ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ | ไม่มี | 0.6 -15%ขึ้นกับอายุคงเหลือของสัญญา | เอกสารแนบ 7 | | Options | การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของ Options แบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธี Simplified 2) วิธี Delta Plus 3) วิธี Contingent loss | เอกสารแนบ 8 | 4.7.4 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดโดยนําเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณได้ตามวิธีที่ระบุในข้อ 4.7.3 มาคูณด้วย 12.5 เพื่อนําไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป 4.8 การจัดทําข้อมูลแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทําข้อมูลและจัดส่งแบบรายงานที่เกี่ยวข้องกับการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด โดยจัดส่งในรูป Excel file ตามหลักเกณฑ์การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้องที่กําหนดในเอกสารแนบ 9 อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป เว้นแต่หลักเกณฑ์ ในข้อ 4.3.3 ที่กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ไม่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าและไม่มีความประสงค์ที่จะทําธุรกรรมเพื่อการค้าแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบภายในวันที่ 31 มกราคม 2560 และหลักเกณฑ์ในข้อ 4.4 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า ให้เริ่มประเมินค่าเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โทรศัพท์ 0 2283 6373,0 2283 6364
6,788
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.9/14/53 | 60,000 | 4 กุมภาพันธ์ 2553 | 8/2/53 - 22/2/53 | 14 | | พ.10/14/53 | 60,000 | 5 กุมภาพันธ์ 2553 | 9/2/53 - 23/2/53 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,789
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.7/14/59 | 55,000 | 18 กุมภาพันธ์ 2559 | 23/259 – 8/3/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,790
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 11/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ปี 2560)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 11 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเป็นความเสี่ยงพื้นฐานที่อาจเกิดจากการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความบกพร่องของระบบงาน บุคลากร กระบวนการ รวมทั้งปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้กับทุกหน่วยงาน รวมถึงการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จึงควรมีเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศฉบับนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ประเมินระดับเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการไว้สองทางเลือก ได้แก่ Basic Indicator Approach(วิธี BIA) และ Standardised Approach (วิธี SA-OR) ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk)" หมายความว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการควบคุมภายในบุคลากรและระบบงาน หรือจากเหตุการณ์ภายนอก รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมาย' แต่ไม่รวมความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk) และด้านชื่อเสียง (Reputational risk) "รายได้จากการดําเนินงาน (Gross income)" หมายความว่า รายได้ที่เกิดจากการดําเนินธุรกิจตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ (เอกสารแนบ 1) "ยอดคงค้าง " หมายความว่า เงินให้สินเชื่อรวมดอกเบี้ยค้างรับ และมูลค่าตามบัญชี (Book value) ของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคารก่อนหักเงินสํารองที่กันไว้ ยกเว้นกรณียอดคงค้างที่กันสํารองไว้เต็มจํานวนแล้ว ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นําเงินสํารองที่กันไว้ดังกล่าวมาหักจากยอดคงค้างได้ การคํานวณยอดคงค้างในแต่ละปี ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ค่าเฉลี่ยของยอดคงค้างสําหรับในแต่ละรอบระยะเวลา 6 เดือน จํานวน 2 งวด "ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ" หมายความว่า ค่าที่ใช้ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ทั้งนี้ ค่าฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการไม่เท่ากับเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นค่าที่คํานวณจากอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่ร้อยละ 8 ซึ่งต่างจากอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ "มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ" หมายความว่า ค่าระบุระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อใช้ในการคํานวณรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด เพื่อหาเงินกองทุนขั้นต่ําที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องดํารงตามกฎหมาย ทั้งนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการไม่ได้เกิดจากสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเหมือนความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านตลาด จึงไม่มีสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่แท้จริง แต่เป็นเพียงมูลค่าเทียบเท่าเท่านั้น 4.2 หลักการ หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศฉบับนี้กําหนดให้คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการไว้สองทางเลือก ได้แก่ Basic Indicator Approach (วิธี BIA) และ Standardised Approach (วิธี SA-OR) เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยให้พิจารณาถึงความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ ระดับความเสี่ยง รวมทั้งระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของตนเอง ซึ่งทั้งสองวิธีข้างต้นใช้รายได้จากการดําเนินงานเป็นค่าตัวแทน (Proxy) ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการกล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีรายได้จากการดําเนินงานสูง จะมีความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอยู่ในระดับสูง ดังนั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นจะมีมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการสูงและจะต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการในระดับที่สูงเช่นเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้มีทางเลือกภายใต้วิธี SA-OR อีกหนึ่งวิธี คือ Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ซึ่งอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถเลือกใช้ยอดคงค้างเป็น Proxy ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking แทนการใช้รายได้จากการดําเนินงาน เนื่องจากยอดคงค้างอาจจะเป็น Proxy ที่ดีกว่ารายได้จากการดําเนินงานในสายธุรกิจดังกล่าว ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในข้อ 4.6 ด้วย 4.3 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง 4.3.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) Basic Indicator Approach (วิธี BIA) ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4.4 (2) Standardised Approach วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4.5 ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สอดคล้องกับลักษณะและความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ 4.3.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประสงค์จะใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ต้องยื่นขออนุญาตพร้อมเอกสารแสดงการจัดแบ่งรายได้จากการดําเนินงาน และ/หรือยอดคงค้าง ตามประเภทสายธุรกิจโดยวิธี SA-OR หรือวิธี ASA พร้อมทั้งแบบประเมินความพร้อมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี SA-OR และวิธี ASA (เอกสารแนบ 2) และนําส่งที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งเอกสารสําคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องยื่นขออนุญาตล่วงหน้าก่อนงวดการบัญชีที่จะเริ่มใช้วิธีการคํานวณวิธีใหม่ไม่น้อยกว่า 3 เดือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน60 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารครบถ้วนถูกต้อง 4.3.3 ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีที่เปลี่ยนแปลงจากวิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่าเป็นวิธีที่ซับซ้อนมากกว่าซึ่งได้แก่เปลี่ยนแปลงจากวิธี BIA เป็นวิธี ASA หรือ จากวิธี BIA เป็นวิธี SA-OR หรือ จากวิธี ASA เป็นวิธี SA OR ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4.3.2 ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากวิธี ASA ไปเป็นวิธี SA-OR ให้กรอกข้อมูลตามแบบประเมินความพร้อมฯ เฉพาะข้อ 4 (2) กรณีที่เปลี่ยนแปลงจากวิธีที่ซับซ้อนมากกว่าเป็นวิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่าซึ่งได้แก่ เปลี่ยนแปลงจากวิธี SA-OR เป็นวิธี ASA หรือ จากวิธี SA-OR เป็นวิธี BIA หรือ จากวิธี ASA เป็นวิธี BIA สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีโดยจะต้องมีเหตุผลอันสมควรเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น 4.3.4 สําหรับกรณีพิเศษที่มีผลทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 4.6 เช่น มีเหตุการณ์ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ หรือมีการควบหรือรวมกิจการ (Merger and acquisition) หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างมีนัยสําคัญเป็นต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารครบถ้วนถูกต้อง 4.4 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Basic Indicator Approach (วิธี BIA) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีของผลคูณค่าคงที่ 150 กับรายได้จากการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในกรณีที่รายได้จากการดําเนินงานในปีใดมีค่าติดลบหรือเท่ากับศูนย์ ให้ตัดรายได้ดังกล่าวออกจากตัวเศษ และตัดปีดังกล่าวออกจากจํานวนปีในตัวส่วน โดยหลังจากนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยการนํา 12.5 คูณด้วยฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้ ERWABIA = 12.5 x KBIA KBIA = Ʃ(GI1...n x α) n โดย ERWABIA = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี BIA KBIA = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี BIA GI1...n = รายได้จากการดําเนินงานย้อนหลัง 3 ปี เฉพาะที่มีค่าบวก α = ค่าคงที่ความเสี่ยงตามวิธี BIA มีค่าเท่ากับ 15% n = จํานวนปีที่รายได้จากการดําเนินงานมีค่าเป็นบวก 4.5 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) 4.5.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยวิธี SA-OR ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ (1) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดสรรรายได้ จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด - สายธุรกิจแบ่งตามลักษณะของธุรกรรมออกเป็น 8 ประเภท (เอกสารแนบ 3) โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ (เอกสารแนบ 4) และสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีระบบภายในที่ใช้งานอยู่แล้วในการจัดประเภทสายธุรกิจ สามารถจัดธุรกรรมบางประเภทให้อยู่ในสายธุรกิจที่แตกต่างจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ได้ในกรณีที่สายธุรกิจนั้นมีค่าคงที่ (ค่า B) สูงกว่าหรือเท่ากับสายธุรกิจตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด - ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่กล่าวข้างต้นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนบตัวอย่างการจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานเพื่อให้การจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในแต่ละสายธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกัน (เอกสารแนบ 5) (2) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของแต่ละสายธุรกิจดังกล่าว โดยการนํารายได้จากการดําเนินงานคูณกับค่าคงที่ความเสี่ยง(ค่า 8) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้สําหรับแต่ละสายธุรกิจ (เอกสารแนบ 3) จากนั้นให้นําผลการคํานวณที่ได้ของแต่ละสายธุรกิจมารวมกันจะเป็นฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีนั้น อนึ่ง กรณีที่ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําของสายธุรกิจใดติดลบ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนําฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่ติดลบของสายธุรกิจนั้นมาหักลบกับฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่เป็นบวกของสายธุรกิจอื่น ๆ ในปีเดียวกันได้ (3) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําผลการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่คํานวณได้ตามข้อ (2) ย้อนหลัง 3 ปี มาคํานวณหาค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ หากฐานเงินกองทุนขั้นต่ํารวมของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีใดมีค่าติดลบ ให้ถือว่าฐานเงินกองทุนขั้นต่ําในปีนั้นเป็น 0 โดยที่ตัวหารยังคงเป็น 3 ปีเช่นเดิม (4) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยการนํา 12.5 คูณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณได้ตามข้อ (3) ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธี SA-OR สามารถสรุปเป็นสูตรการคํานวณได้ ดังต่อไปนี้ ERWASA-OR = 12.5 x KSA-OR KSA-OR = Ʃyear1-3 max [Ʃ(GI1-8 x β1-8),0] 3 โดย ERWASA-OR = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี SA-OR KSA-OR = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี SAOR GI1-8 = รายได้จากการดําเนินงานของแต่ละสายธุรกิจ 8 ประเภท β1-8 = ค่าคงที่ความเสี่ยงตามวิธี SA-OR ที่กําหนดแตกต่างกันตามประเภทของสายธุรกิจ 8 ประเภท 4.5.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถเลือกใช้ Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามวิธีต่อไปนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ํา และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามที่กําหนดในวิธี SA-OR ข้อ 4.5.1 (1) - 4.5.1 (4 แต่มีข้อแตกต่างคือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนในแต่ละปีสําหรับสายธุรกิจ Retail banking' และ Commercial ban king" โดยใช้ยอดคงค้างเฉลี่ยของแต่ละปีคูณกับค่าคงที่ "m" ที่กําหนดไว้เท่ากับ 0.035 แล้วนําไปคูณกับค่า βของแต่ละสายธุรกิจ ตามสูตรการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ดังต่อไปนี้ KRB = βRB x m x LARB (กรณี Retail banking) KCB = β CB x m x LACB (กรณี Commercial banking) โดย KRB, KCB = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่ต้องดํารงสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ตามวิธี ASA βRB, β CB = ค่าคงที่ความเสี่ยงของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking LARB, LACB = ยอดคงค้างเฉลี่ยแต่ละปี 3 ปีย้อนหลังของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking m = ค่าคงที่ มีค่าเท่ากับ 0.035 ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี ASA แต่ไม่สามารถจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานหรือยอดคงค้างตามวิธีข้างต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกคํานวณฐานเงินกองทุนของสายธุรกิจหรือกลุ่มสายธุรกิจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ - คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มสายธุรกิจ โดยใช้ยอดรวมของยอดคงค้างของ Retail banking และ Commercial banking คูณด้วยค่า m แล้วจึงนําไปคูณค่า βที่สูงกว่าของ 2 สายธุรกิจนี้ ซึ่งเท่ากับ 15% และใช้ยอดรวมของรายได้จากการดําเนินงานของสายธุรกิจที่เหลือคูณด้วยค่า β สูงสุดของทั้ง 6 สายธุรกิจซึ่งเท่ากับ 18% - คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มสายธุรกิจ หรือสายธุรกิจ โดยใช้ยอดรวมของยอดคงค้างของ Retail banking และ Commercial banking คูณด้วยค่า m แล้ว จึงนําไปคูณค่า βที่สูงกว่าของ 2 สายธุรกิจนี้ ซึ่งเท่ากับ 15% และใช้รายได้จากการดําเนินงานของแต่ละสายธุรกิจที่เหลืออีก 6 สายธุรกิจคูณด้วยค่า β ของแต่ละสายธุรกิจนั้น - คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจหรือกลุ่มสายธุรกิจ โดยใช้ยอดคงค้างของ Retail banking และ Commercial banking คูณด้วยค่า m แล้ว จึงนําไปคูณกับค่า βของแต่ละสายธุรกิจนี้ และใช้ยอดรวมของรายได้จากการดําเนินงานของสายธุรกิจที่เหลืออีก 6 สาย คูณด้วยค่า β สูงสุดของทั้ง 6 สายธุรกิจ ซึ่งเท่ากับ 18% 4.6 แนวทางการบริหารความเสี่ยง และเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับ Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จะเลือกใช้วิธี SA-OR และวิธี ASA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้ (1) คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีส่วนร่วมในการกําหนดกรอบนโยบายและการติดตามดูแลการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ดีมีการนําระบบดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งมีการกําหนดความรับผิดชอบที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานที่ทําหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งควรมีหน้าที่สําคัญดังนี้ (2.1) พัฒนากลยุทธ์ที่จะใช้ในการบ่งชี้ ประเมิน ติดตาม ควบคุม และลดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (2.2) กําหนดนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและควบคุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (2.3) กําหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และนําวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติ และ (2.4) กําหนดรูปแบบการรายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และนํารายงานดังกล่าวไปใช้ (3) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีทรัพยากรเพียงพอสําหรับการใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ในแต่ละสายธุรกิจและในสายงานควบคุมและตรวจสอบกิจการภายใน (4) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีนโยบายและหลักเกณฑ์ในการเชื่อมโยงรายได้จากการดําเนินงานสําหรับแต่ละสายธุรกิจตามวิธี SA-OR หรือยอดคงค้างสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ตามวิธี ASA เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีการทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจหรือมีการทําธุรกิจใหม่ (5) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการในแต่ละสายธุรกิจ ซึ่งต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ และระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการต้องสามารถรวมเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้เป็นอย่างดี เช่น ข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินความเสี่ยงต้องเป็นส่วนสําคัญในรายงานความเสี่ยงที่ส่งให้ผู้บริหารและถูกนําไปใช้ในการวิเคราะห์ ติดตาม และควบคุมความเสี่ยง เป็นต้น (6) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการจัดทํารายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นประจํา ซึ่งในรายงานควรกล่าวถึงการดําเนินการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เหมาะสมต่อข้อมูลความเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้บริหารหน่วยงาน ผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทราบ (7) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดทําเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างครบถ้วน และมีการติดตามการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ การควบคุม และกระบวนการที่เกี่ยวกับระบบบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการดําเนินการเมื่อเกิดกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ (8) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการสอบทานกระบวนการบริหารความเสี่ยงและระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่เป็นอิสระเป็นประจําอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมี การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในการทําธุรกรรม กระบวนการ หรือระบบบริหารความเสี่ยง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องสอบทานทั้งหน่วยงานที่ทําธุรกรรมต่าง ๆ และหน่วยงานบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วย (9) ระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการสอบทานโดยผู้ตรวจสอบภายนอก เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,791
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 11/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 11 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ -------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเป็นความเสี่ยงพื้นฐานที่อาจเกิดจากการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความบกพร่องของระบบงาน บุคลากร กระบวนการ รวมทั้งปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้กับทุกหน่วยงาน รวมถึงการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จึงควรมีเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศฉบับนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ประเมินระดับเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการไว้สองทางเลือก ได้แก่ Basic Indicator Approach (วิธี BIA) และ Standardised Approach (วิธี SA-OR) ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk)" หมายความว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการควบคุมภายในบุคลากรและระบบงาน หรือจากเหตุการณ์ภายนอก รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมาย' แต่ไม่รวมความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk) และด้านชื่อเสียง (Reputational risk) "รายได้จากการดําเนินงาน (Gross income)" หมายความว่า รายได้ที่เกิดจากการดําเนินธุรกิจตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ (เอกสารแนบ 1) "ยอดคงค้าง" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อรวมดอกเบี้ยค้างรับ และมูลค่าตามบัญชี (Book value) ของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคารก่อนหักเงินสํารองที่กันไว้ ยกเว้นกรณียอดคงค้างที่กันสํารองไว้เต็มจํานวนแล้ว ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นําเงินสํารองที่กันไว้ดังกล่าวมาหักจากยอดคงค้างได้ การคํานวณยอดคงค้างในแต่ละปี ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ค่าเฉลี่ยของยอดคงค้างสําหรับในแต่ละรอบระยะเวลา 6 เดือน จํานวน 2 งวด "ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ " หมายความว่า ค่าที่ใช้ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ทั้งนี้ ค่าฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการไม่เท่ากับเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นค่าที่คํานวณจากอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่ร้อยละ 8 ซึ่งต่างจากอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ "มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ" หมายความว่า ค่าระบุระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อใช้ในการคํานวณรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด เพื่อหาเงินกองทุนขั้นต่ําที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องดํารงตามกฎหมาย ทั้งนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการไม่ได้เกิดจากสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเหมือนความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านตลาด จึงไม่มีสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่แท้จริง แต่เป็นเพียงมูลค่าเทียบเท่าเท่านั้น 4.2 หลักการ หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศฉบับนี้กําหนดให้คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการไว้สองทางเลือก ได้แก่ Basic Indicator Approach (วิธี BIA) และ Standardised Approach (วิธี SA-OR) เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยให้พิจารณาถึงความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ ระดับความเสี่ยง รวมทั้งระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของตนเอง ซึ่งทั้งสองวิธีข้างต้นใช้รายได้จากการดําเนินงานเป็นค่าตัวแทน (Proxy) ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการกล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีรายได้จากการดําเนินงานสูง จะมีความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอยู่ในระดับสูง ดังนั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นจะมีมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการสูงและจะต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการในระดับที่สูงเช่นเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้มีทางเลือกภายใต้วิธี SA-OR อีกหนึ่งวิธี คือ Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ซึ่งอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถเลือกใช้ยอดคงค้างเป็น Proxy ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking แทนการใช้รายได้จากการดําเนินงาน เนื่องจากยอดคงค้างอาจจะเป็น Proxy ที่ดีกว่ารายได้จากการดําเนินงานในสายธุรกิจดังกล่าว ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในข้อ 4.6 ด้วย 4.3 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง 4.3.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) Basic Indicator Approach (วิธี BIA) ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4.4 (2) Standardised Approach (วิ SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4,5 ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สอดคล้องกับลักษณะและความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ 4.3.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประสงค์จะใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ต้องยื่นขออนุญาตพร้อมเอกสารแสดงการจัดแบ่งรายได้จากการดําเนินงาน และ/หรือยอดคงค้าง ตามประเภทสายธุรกิจโดยวิธี SA-OR หรือวิธี ASA พร้อมทั้งแบบประเมินความพร้อมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี SA-OR และวิธี ASA (เอกสารแนบ 2) และนําส่งที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งเอกสารสําคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องยื่นขออนุญาตล่วงหน้าก่อนงวดการบัญชีที่จะเริ่มใช้วิธีการคํานวณวิธีใหม่ไม่น้อยกว่า 3 เดือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารครบถ้วนถูกต้อง 4.3.3 ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีที่เปลี่ยนแปลงจากวิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่าเป็นวิธีที่ซับซ้อนมากกว่าซึ่งได้แก่ เปลี่ยนแปลงจากวิธี BA เป็นวิธี ASA หรือ จากวิธี BIA เป็นวิรี SA-OR หรือ จากวิธี ASA เป็นวิธี SA-OR ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4.3.2 ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากวิธี ASA ไปเป็นวิธี SA-OR ให้กรอกข้อมูลตามแบบประเมินความพร้อมฯ เฉพาะข้อ 4 (2) กรณีที่เปลี่ยนแปลงจากวิธีที่ซับซ้อนมากกว่าเป็นวิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่าซึ่งได้แก่ เปลี่ยนแปลงจากวิธี SA-OR เป็นวิธี ASA หรือ จากวิธี SA-OR เป็นวิธี BIA หรือ จากวิธี ASA เป็นวิธี BIA สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีโดยจะต้องมีเหตุผลอันสมควรเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น 4.3.4 สําหรับกรณีพิเศษที่มีผลทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 4.6 เช่น มีเหตุการณ์ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่สินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ หรือมีการควบหรือรวมกิจการ (Merger and acquisition) หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างมีนัยสําคัญเป็นต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารครบถ้วนถูกต้อง 4.4 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Basic Indicator Approach (วิธี BIA) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีของผลคูณค่าคงที่ 15% กับรายได้จากการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในกรณีที่รายได้จากการดําเนินงานในปีใดมีค่าติดลบหรือเท่ากับศูนย์ ให้ตัดรายได้ดังกล่าวออกจากตัวเศษ และตัดปีดังกล่าวออกจากจํานวนปีในตัวส่วน โดยหลังจากนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยการนํา 12.5 คูณด้วยฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้ ERWABIA = 12.5 x KBIA KBIA = Ʃ(GI1...n x α) n โดย ERWABIA = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี BIA KBIA = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี BA GI1...n = รายได้จากการดําเนินงานย้อนหลัง 3 ปี เฉพาะที่มีค่าบวก α = ค่าคงที่ความเสี่ยงตามวิธี BIA มีค่าเท่ากับ 15% n = จํานวนปีที่รายได้จากการดําเนินงานมีค่าเป็นบวก 4.5 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) 4.5.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยวิธี SA-OR ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ (1) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด - สายธุรกิจแบ่งตามลักษณะของธุรกรรมออกเป็น 8 ประเภท (เอกสารแนบ 3) โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ (เอกสารแนบ 4) และสํารับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีระบบภายในที่ใช้งานอยู่แล้วในการจัดประเภทสายธุรกิจ สามารถจัดธุรกรรมบางประเภทให้อยู่ในสายธุรกิจที่แตกต่างจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ได้ในกรณีที่สายธุรกิจนั้นมีค่าคงที่ (ค่า β) สูงกว่าหรือเท่ากับสายธุรกิจตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด - ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่กล่าวข้างต้นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนบตัวอย่างการจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานเพื่อให้การจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในแต่ละสายธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกัน (เอกสารแนบ 5) (2) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของแต่ละสายธุรกิจดังกล่าว โดยการนํารายได้จากการดําเนินงานคูณกับค่าคงที่ความเสี่ยง (ค่า β) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้สําหรับแต่ละสายธุรกิจ (เอกสารแนบ 3) จากนั้นให้นําผลการคํานวณที่ได้ของแต่ละสายธุรกิจมารวมกันจะเป็นฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีนั้น อนึ่ง กรณีที่ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําของสายธุรกิจใดติดลบ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนําฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่ติดลบของสายธุรกิจนั้นมาหักกลบกับฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่เป็นบวกของสายธุรกิจอื่น ๆ ในปีเดียวกันได้ (3) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําผลการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่คํานวณได้ตามข้อ (2) ย้อนหลัง 3 ปี มาคํานวณหาค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ หากฐานเงินกองทุนขั้นต่ํารวมของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีใดมีค่าติดลบ ให้ถือว่าฐานเงินกองทุนขั้นต่ําในปีนั้นเป็น 0 โดยที่ตัวหารยังคงเป็น 3 ปีเช่นเดิม (4) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยการนํา 12.5 คูณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณได้ตามข้อ (3) ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธี SA-OR สามารถสรุปเป็นสูตรการคํานวณได้ ดังต่อไปนี้ ERWASA-OR = 12.5 x KSA-OR KSA-OR = Ʃyear1-3 max[Ʃ (GI1-8 x β1-8),0] 3 โดย ERWASA-OR = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี SA-OR KSA-OR = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี SA-OR GI1-8 =รายได้จากการดําเนินงานของแต่ละสายธุรกิจ 8 ประเภท β1-8 = ค่าคงที่ความเสี่ยงตามวิธี SA-OR ที่กําหนดแตกต่างกันตามประเภทของสายธุรกิจ 8 ประเภท 4.5.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถเลือกใช้ Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามวิธีต่อไปนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ํา และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามที่กําหนดในวิธี SA-OR ข้อ 4.5.1 (1) -4.5.1 (4) แต่มีข้อแตกต่างคือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนในแต่ละปีสําหรับสายธุรกิจ Retail banking' และ Commercial banking" โดยใช้ยอดคงค้างเฉลี่ยของแต่ละปีคูณกับค่าคงที่ "m" ที่กําหนดไว้เท่ากับ 0.035 แล้วนําไปคูณกับค่า B ของแต่ละสายธุรกิจ ตามสูตรการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ดังต่อไปนี้ KRB = βRB x m x LARB (กรณี Retail banking) KCB = βCB x m x LACB (กรณี Commercial banking) โดย KRB , KCB = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่ต้องดํารงสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ตามวิธี ASA βRB, βCB = ค่าคงที่ความเสี่ยงของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking LARB, LACB = ยอดคงค้างเฉลี่ยแต่ละปี 3 ปีย้อนหลังของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking m = ค่าคงที่ มีค่าเท่ากับ 0.035 ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี ASA แต่ไม่สามารถจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานหรือยอดคงค้างตามวิธีข้างต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกคํานวณฐานเงินกองทุนของสายธุรกิจหรือกลุ่มสายธุรกิจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ - คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มสายธุรกิจ โดยใช้ยอดรวมของยอดคงค้างของ Retail banking และ Commercial banking คูณด้วยค่า m แล้วจึงนําไปคูณค่า βที่สูงกว่าของ 2 สายธุรกิจนี้ ซึ่งเท่ากับ 15% และใช้ยอดรวมของรายได้จากการดําเนินงานของสายธุรกิจที่เหลือคูณด้วยค่า βสูงสุดของทั้ง 6 สายธุรกิจซึ่งเท่ากับ 18% - คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มสายธุรกิจ หรือสายธุรกิจ โดยใช้ยอดรวมของยอดคงค้างของ Retail banking และ Commercial banking คูณด้วยค่า m แล้ว จึงนําไปคูณค่า β ที่สูงกว่าของ 2 สายธุรกิจนี้ ซึ่งเท่ากับ 15% และใช้รายได้จากการดําเนินงานของแต่ละสายธุรกิจที่เหลืออีก 6 สายธุรกิจคูณด้วยค่า β ของแต่ละสายธุรกิจนั้น - คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจหรือกลุ่มสายธุรกิจ โดยใช้ยอดคงค้างของ Retail banking และ Commercial banking คูณด้วยค่า m แล้ว จึงนําไปคูณกับค่า βของแต่ละสายธุรกิจนี้ และใช้ยอดรวมของรายได้จากการดําเนินงานของสายธุรกิจที่เหลืออีก 6 สาย คูณด้วยค่า β สูงสุดของทั้ง 6 สายธุรกิจ ซึ่งเท่ากับ 18% 4.6 แนวทางการบริหารความเสี่ยง และเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับ Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จะเลือกใช้วิธี SA-OR และวิธี ASA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้ (1) คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีส่วนร่วมในการกําหนดกรอบนโยบายและการติดตามดูแลการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ดีมีการนําระบบดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งมีการกําหนดความรับผิดชอบที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานที่ทําหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งควรมีหน้าที่สําคัญดังนี้ (2.1) พัฒนากลยุทธ์ที่จะใช้ในการบ่งชี้ ประเมิน ติดตาม ควบคุม และลดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (2.2) กําหนดนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและควบคุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (2.3) กําหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และนําวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติ และ (2.4) กําหนดรูปแบบการรายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และนํารายงานดังกล่าวไปใช้ (3) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีทรัพยากรเพียงพอสําหรับการใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ในแต่ละสายธุรกิจและในสายงานควบคุมและตรวจสอบกิจการภายใน (4) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีนโยบายและหลักเกณฑ์ในการเชื่อมโยงรายได้จากการดําเนินงานสําหรับแต่ละสายธุรกิจตามวิธี SA-0R หรือยอดคงค้างสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ตามวิธี ASA เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีการทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจหรือมีการทําธุรกิจใหม่ (5) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการในแต่ละสายธุรกิจ ซึ่งต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ และระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการต้องสามารถรวมเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้เป็นอย่างดี เช่นข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินความเสี่ยงต้องเป็นส่วนสําคัญในรายงานความเสี่ยงที่ส่งให้ผู้บริหารและถูกนําไปใช้ในการวิเคราะห์ ติดตาม และควบคุมความเสี่ยง เป็นต้น (6) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการจัดทํารายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นประจํา ซึ่งในรายงานควรกล่าวถึงการดําเนินการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เหมาะสมต่อข้อมูลความเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้บริหารหน่วยงาน ผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทราบ (7) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดทําเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างครบถ้วน และมีการติดตามการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ การควบคุม และกระบวนการที่เกี่ยวกับระบบบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการดําเนินการเมื่อเกิดกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ (8) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการสอบทานกระบวนการบริหารความเสี่ยงและระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่เป็นอิสระเป็นประจําอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในการทําธุรกรรม กระบวนการ หรือระบบบริหารความเสี่ยง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องสอบทานทั้งหน่วยงานที่ทําธุรกรรมต่าง ๆ และหน่วยงานบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วย (9) ระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการสอบทานโดยผู้ตรวจสอบภายนอก เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โทรศัพท์ 0 2283 6373, 0 2283 6370
6,792
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน (Banking Agent)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน (Banking Agent) --------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 43/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 โดยกําหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน (Banking Agent) ไว้เป็นส่วนหนึ่งของประกาศฉบับดังกล่าว นั้น ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน (Banking Agent) โดยได้แยกหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน (Banking Agent) ออกจากเกณฑ์การใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติกล่าวคือ การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงินมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มช่องทางในการให้บริการแก่ลูกค้า ในขณะที่การใช้บริการจากบุคคลภายนอกของสถาบันการเงินในกรณีอื่นๆมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินโดยการว่าจ้างผู้ให้บริการภายนอกดําเนินการแทนในบางกลุ่มงานที่โดยปกติสถาบันการเงินต้องดําเนินการเองทั้งหมดหรือบางส่วน และได้ขยายขอบเขตการอนุญาตการแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงินเพิ่มเติมจากเดิม เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภคและระบบสถาบันการเงินในภาพรวม ทั้งนี้ แม้ว่าสถาบันการเงินจะมีตัวแทนเพื่อทําหน้าที่แทนสถาบันการเงินในการให้บริการบางประเภทแก่ลูกค้า สถาบันการเงินยังคงต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าเสมือนหนึ่งสถาบันการเงินเป็นผู้ดําเนินการเอง อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และ มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา36 มาตรา39 มาตรา41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน ตามความในประกาศนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4.ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 43/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5.เนื้อหา 5.1 หลักการ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการแก่ลูกค้าและประชาชนอันเป็นประโยชน์โดยรวมของลูกค้า ประชาชน และระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้สถาบันการเงินแต่งตั้งให้สถาบันการเงินอื่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และผู้ให้บริการด้านการโอนเงิน ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบันการเงิน (Banking Agent) ในการให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าแล้วอดีตโดยได้ออกหลักเกณฑ์ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 ในครั้งนี้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ขยายขอบเขตให้ “สถาบันการเงินเฉพาะกิจ” สามารถเข้ามาเป็นตัวแทนของ “สถาบันการเงิน” ได้ (2) ขยายขอบเขตให้ “ตัวแทนของสถาบันการเงิน” รับชําระเงินค่าสาธารณูปโภคและค่าสินค้าและบริการได้เพิ่มเติมจากเดิมที่รับชําระเงินที่เป็นของสถาบันการเงิน เช่น หนี้จากสินเชื่อ หรือบัตรเครดิต เท่านั้น (3) ปรับปรุงหลักเกณฑ์เดิมให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น 5.2 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ คําว่า “สถาบันการเงิน” “ธนาคารพาณิชย์” “บริษัทเงินทุน” และ “สถาบันการเงินเฉพาะกิจ” ให้มีความหมายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มาตรา 4 และมาตรา 119 ตามแต่กรณี ทั้งนี้ คําว่า “สถาบันการเงิน” ที่ใช้ในประกาศฉบับนี้ ไม่รวมถึง บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ “ตัวแทนของสถาบันการเงิน” (Banking Agent) หมายความว่า นิติบุคคลที่สถาบันการเงินแต่งตั้งขึ้นให้ทําการแทนในการให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้า ภายใต้หลักเกณฑ์ในการอนุญาตและเงื่อนไขตามที่ธนาคารแหงประเทศไทยกําหนด ทั้งนี้ไม่รวมถึง “ตัวแทนบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ” ของสถาบันการเงิน ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน อันเป็นหลักเกณฑ์ต่างหากออกไปจากประกาศฉบับนี้ “ตัวแทนจ่ายเงิน” (Paying Agent) หมายความว่า ตัวแทนของสถาบันการเงินประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ได้แต่งตั้งขึ้นให้ทําการแทนในการจ่ายเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คในทางการค้าหรือบริการตามเงื่อนไขที่กําหนด เช่น จ่ายแคชเชียร์เช็คให้แก่ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์อื่นต่อเมื่อลูกค้าของธนาคารพาณิชย์นั่นยื่นแสดงและส่งมอบเอกสารตามเงื่อนไขที่ธนาคารพาณิชย์ตัวการได้กําหนดไว้ไม่ใช่จ่ายให้เพื่อการเบิกถอนเงินโดยทั่วไป “ตัวแทนรับชําระเงิน” หมายความว่า ตัวแทนของสถาบันการเงินประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ได้แต่งตั้งขึ้นให้ทําการแทนในการรับชําระหนี้จากสินเชื่อ บัตรเครดิต ค่าสาธารณูปโภค และค่าสินค้าและบริการ “บริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด” ให้หมายความรวมถึง บริษัทร่วมทุน (Joint Venture Company) ที่อาจจะจัดตั้งขึ้นในอนาคตระหว่างบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด กับ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารใดธนาคารหนึ่งหรือหลายธนาคาร “การใช้บริการจากบุคคลภายนอก” (Outsourcing) หมายความว่า การที่สถาบันการเงินจ้างผู้บริการภายนอก (Service Providers) ดําเนินการแทนในบางกลุ่มงานที่โดยปกติสถาบันการเงินต้องดําเนินการเองทั้งหมดหรือบางส่วน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดค่าใช้ค่ายหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน “ผู้ให้บริการรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ผู้ให้บริการตามบัญชี ค ท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะผู้ให้บริการรับชําระเงินแทนผ่านทางเคาน์เตอร์ตามบัญชี ค ข้อ (5) ผู้ให้บริการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือผ่านทางเครือข่ายตามบัญชี ค ข้อ (3) และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามบัญชี ค ข้อ (6) ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ หรือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด 5.3 เนื้อหาสาระ หลักเกณฑ์การอนุญาตให้สถาบันการเงินแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงินนี้จะแบ่งประเภทสถาบันการเงินผู้ที่แต่งตั้งตัวแทนออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์กรณีหนึ่ง กับ บริษัทเงินทุนอีกกรณีหนึ่ง (สรุปภาพรวมการอนุญาตการแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน (Banking Agent) ดังเอกสารแนบ 1) ส่วนหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแล ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลนั้น จะกําหนดเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันสําหรับสถาบันการเงินทั้ง 2 ประเภท 5.3.1 กรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้แต่งตั้งตัวแทน ธนาคารพาณิชย์อาจแต่งตั้งตัวแทนได้ 6 ประเภท โดยที่ตัวแทนดังกล่าวจะทําการเปิดบัญชีเงินฝากหรือพิจารณาอนุมัติหรือเบิกจ่ายสินเชื่อไม่ได้ ตัวแทนทั้ง 6 ประเภทดังกล่าว ได้แก่ ก. ตัวแทนรับฝากเงิน ธนาคารพาณิชย์อาจแต่งตั้งได้เฉพาะนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น (2) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และ (3) สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ข. ตัวแทนรับถอนเงิน ธนาคารพาณิชย์อาจแต่งตั้งได้เฉพาะบริษัทไปรษณีย์ จํากัด เท่านั้น ค. ตัวแทนโอนเงิน ธนาคารพาณิชย์อาจแต่งตั้งได้เฉพาะบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด เท่านั้น โดยธนาคารพาณิชย์อาจโอนเงินไปให้บริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด เพื่อไปจ่ายให้บุคคลภายนอก ทั้งนี้ เหตุที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้นิติบุคคลอื่นทําการเป็นตัวแทนโอนเงินนอกจากบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด เพราะหากเปิดกว้างให้แก่นิติบุคคลทั่วไปในการเป็นตัวแทนโอนเงินโดยที่ยังไม่สามารถกําหนดมาตรฐานในด้านความปลอดภัยและความเที่ยงตรงของระบบ อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สาธารณชนได้ ง. ตัวแทนรับชําระเงิน ธนาคารพาณิชย์อาจแต่งตั้งได้เฉพาะนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น (2) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด (3) ผู้ให้บริการรับชําระเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ และ (4) สถาบันการเงินเฉพาะกิจ จ. ตัวแทนจ่ายเงิน (Paying Agent) ธนาคารพาณิชย์อาจแต่งตั้งได้เฉพาะนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น และ (2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจในการรับคําสั่งจ่ายนั้น ตัวแทนจ่ายเงินต้องรับจากลูกค้าต้นทางที่เป็นนิติบุคคล องค์กร หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธุรกิจ SMEs) เท่านั้น ส่วนผู้ที่รับเงินที่จ่ายให้บุคคลใดก็ได้ ทั้งนี้ หากการแต่งตั้งตัวแทนจ่ายเงินเป็นการแต่งตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นนั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) และบริการอื่นด้วย ฉ. ตัวแทนในกรณีอื่น ให้ขออนุญาตมาเป็นรายกรณี 5.3.2 กรณีบริษัทเงินทุนเป็นผู้แต่งตั้งตัวแทน บริษัทเงินทุนอาจแต่งตั้งตัวแทนได้ 3 ประเภท โดยที่ตัวแทนดังกล่าวจะทําการเปิดบัญชีเงินฝากหรือพิจารณาอนุมัติหรือเบิกจ่ายสินเชื่อไม่ได้ ตัวแทนทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวได้แก่ ก. ตัวแทนรับฝากเงิน บริษัทเงินทุนอาจแต่งตั้งได้เฉพาะนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ และ บริษัทเงินทุนแห่งอื่น ข. ตัวแทนรับชําระสินเชื่อ บริษัทเงินทุนอาจแต่งตั้งได้เฉพาะนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด โดยไม่รวมถึง บริษัทร่วมทุน (Joint Venture Company) ที่อาจจะจัดตั้งขึ้นในอนาคตระหว่างบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด กับ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารใดธนาคารหนึ่งหรือหลายธนาคาร และ (3) ผู้ให้บริการรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ค. ตัวแทนในกรณีอื่น ให้ขออนุญาตมาเป็นรายกรณี 5.3.3 หลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาต ในการยื่นขออนุญาตแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงินแต่ละประเภทตามข้อ 5.3.1 และ 5.3.2 ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | ประเภทตัวแทน | ประเภทนิติบุคคล | ไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า | ไม่ต้องขออนุญาตแต่ต้องแจ้งให้ทราบอย่างน้อย 30 วันก่อนตัวแทนดังกล่าวเริ่มให้บริการ | ยื่นขออนุญาต | | การแต่งตั้งตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ | | 1.ตัวแทนรับฝากเงิน | ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น | ü | | | | บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด | | ü | | | สถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ü | | | | 2.ตัวแทนรับถอนเงิน | บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด | | ü | | | 3.ตัวแทนโอนเงิน | บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด | | ü | | | 4.ตัวแทนรับชําระเงิน | ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น | ü | | | | บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด | ü | | | | ผู้ให้บริการรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ | ü | | | | สถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ü | | | | 5.ตัวแทนจ่ายเงิน(Paying Agent) | ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น | | | ü | | สถาบันการเงินเฉพาะกิจ | | | ü | | 6.ตัวแทนในกรณีอื่น | | | ü เป็นรายกรณี | | การแต่งตั้งตัวแทนของบริษัทเงินทุน | | 1.ตัวแทนรับฝากเงิน | ธนาคารพาณิชย์ | ü | | | | บริษัทเงินทุนแห่งอื่น | ü | | | | 2.ตัวแทนรับชําระสินเชื่อ | ธนาคารพาณิชย์ | ü | | | | บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด | ü | | | | ผู้ให้บริการรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ | ü | | | | 3.ตัวแทนในกรณีอื่น | ü เป็นรายกรณี | . ไม่รวมถึงบริษัท บริษัทร่วมทุน (Joint Venture Company) ที่อาจจะจัดตั้งขึ้นในอนาคตระหว่างบริษัท ไปรษณีย์ จํากัด กับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารใดธนาคารหนึ่งหรือหลายธนาคาร ก. การแต่งตั้งตัวแทนรับฝากเงิน รับถอนเงิน หรือโอนเงิน ตามขอบเขตที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปสําหรับสถาบันการเงินแต่ละประเภท (1) ในกรณีที่สถาบันการเงินประสงค์จะแต่งตั้งสถาบันการเงินแห่งอื่นหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นตัวแทนรับฝากเงิน ให้สถาบันการเงินสามารถดําเนินการไปได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้า (2) ในกรณีที่สถาบันการเงินประสงค์จะแต่งตั้งบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด เป็นตัวแทนรับฝากเงิน รับถอนเงิน หรือโอนเงิน ให้สถาบันการเงินดําเนินการไปได้โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน แต่ต้องแจ้งให้ฝ่ายกับกําสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบอย่างน้อย 30 วันก่อนตัวแทนดังกล่าวเริ่มให้บริการ ข. การแต่งตั้งตัวแทนรับชําระเงิน และตัวแทนรับชําระสินเชื่อ ตามขอบเขตที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปสําหรับสถาบันการเงินแต่ละประเภท สถาบันการเงินสามารถดําเนินการไปได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้า ค. การแต่งตั้งตัวแทนจ่ายเงิน (Paying Agent) ตามขอบเขตที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปสําหรับธนาคารพาณิชย์ (1) ในกรณีธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะแต่งตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นเป็นตัวแทนจ่ายเงิน ให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งฝ่ายตัวการและตัวแทนยื่นขออนุญาตต่อฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเพื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ทราบความประสงค์ของทั้งสองฝ่ายให้เป็นที่แน่ชัด (2) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะแต่งตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นตัวแทนจ่ายเงินให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นตัวการยื่นขออนุญาตต่อฝ่ายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย โดยทั้งสองกรณีข้างต้น ธนาคารพาณิชย์จะต้องแสดงเหตุผลและข้อมูลตามรายการดังต่อไปนี้ -นโยบาย กระบวนการ และวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดําเนินการซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย เพื่อนําไปถือปฏิบัติเป็นเกณฑ์ภายใน -ระบบการประเมินความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง ขั้นตอนของการบริการ การส่งคําสั่งจ่ายเงินมาให้ตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ การควบคุมภายในการตรวจสอบหลักฐานแสดงตนของผู้รับเงิน การรักษาความปลอดภัย การรักษาความลับของข้อมูล และแผนรองรับกรณีตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถให้บริการได้ -สัญญาที่กําหนดรายละเอียดประเภทของการให้บริการ ขั้นตอนหรือวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ระบบการควบคุมภายใน และระบบการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ตัวการและลูกค้าหรือผู้รับบริการ ตลอดจนแผนฉุกเฉินที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อรองรับกรณีการให้บริการโดยตัวแทนของธนาคารพาณิชย์มีปัญหาหยุดชะงักลงและไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เช่น กรณีไฟฟ้าดับและระบบไฟฟ้าสํารองไม่ทํางาน เป็นต้น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งผลการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทราบภายใน 30 วันนับจากวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับเอกสารครบถ้วนเว้นแต่ ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งเอกสารหรือชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ง. การแต่งตั้งตัวแทนในกรณีอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นให้สถาบันการเงินยื่นขออนุญาตต่อฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีในการอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามความเหมาะสมด้วยก็ได้ 5.3.4 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลการแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงินในเรื่องต่อไปนี้ ก. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า แม้ว่าสถาบันการเงินจะมีตัวแทนซึ่งทําการแทนสถาบันการเงินในการให้บริการบางประเภทแก่ลูกค้า รวมทั้งในกรณีที่ตัวแทนของสถาบันการเงินมีการมอบหมายหรือว่าจ้างผู้รับจ้างช่วงงานต่อ (Subcontract) สถาบันการเงินยังคงมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าเสมือนหนึ่งสถาบันการเงินเป็นผู้ดําเนินการเอง ทั้งนี้ การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงินจะต้องไม่ทําคุณภาพของบริการที่ลูกค้าได้รับด้อยลงหรือเป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายทั่วไปที่เกิดขึ้นเป็นประจําอยู่แล้วของสถาบันการเงินไปให้แก่ลูกค้า ข. นโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งตัวแทน สถาบันการเงินต้องกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติให้ชัดเจนเกี่ยวกับการแต่งตั้งตัวแทน โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ (1) แนวทางการบริหารความเสี่ยงจากการแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน ระบบการควบคุมภายใน และการประสานงานระหว่างสถาบันการเงินกับตัวแทนเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ในด้านการเก็บรักษาเงินที่จะต้องส่งมอบ การตรวจสอบและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบการให้บริการที่น่าเชื่อถืออย่างสม่ําเสมอ และการกําหนดจํานวนเงินสูงสุดในการให้บริการของตัวแทนเกี่ยวกับการรับฝากเงิน รับถอนเงิน และโอนเงิน เป็นต้น (ตัวอย่างความเสี่ยงจากการแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน ตามเอกสารแนบ 2) (2) วันที่ธุรกรรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์และวันที่เริ่มคิดดอกเบี้ย ซึ่งควรเป็นมาตรฐานเดียวกับการทําธุรกรรมที่สถาบันการเงิน (3) หลักฐานการทําธุรกรรมที่ตัวแทนต้องออกให้แก่ลูกค้า (4) เงื่อนไขสําคัญในสัญญาระหว่างสถาบันการเงินกับตัวแทน ทั้งนี้ นโยบายและการกรอบวิธีปฏิบัติดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของสถาบันการเงิน โดยคณะกรรมการต้องดูแลให้ฝ่ายบริหารดําเนินการตามนโยบายและกรอบวิธีปฏิบัติที่ได้อนุมัติไว้ด้วย ค. การเปิดเผยข้อมูล (1) สถาบันการเงินต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ลูกค้าทราบ (1.1) การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน เช่น รายชื่อของตัวแทนที่สถาบันการเงินแต่งตั้ง ธุรกรรมที่สามารถทําผ่านตัวแทนแต่ละราย เงื่อนไขการให้บริการความรับผิดชอบของสถาบันการเงินต่อลูกค้า และการคุ้มครองครองผู้บริโภค เป็นต้น (1.2) ข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อลูกค้าจากการแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน เช่น ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ หรือการเปลี่ยนแปลงที่อาจทําให้ลูกค้าเสียประโยชน์ เป็นต้น โดยสถาบันการเงินต้องเปิดเผยให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า (2) สถาบันการเงินต้องควบคุมดูแลให้ตัวแทนของสถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ลูกค้าทราบ (2.1) การเป็นตัวแทนให้สถาบันการเงินแห่งอื่น เช่น รายชื่อของสถาบันการเงินแห่งอื่นที่ตัวแทนของสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นตัวแทนให้ ธุรกรรมที่สามารถทําผ่านตัวแทนดังกล่าวได้ เงื่อนไขการให้บริการ ความรับผิดชอบต่อลูกค้า และการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นต้น (2.2) ข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อลูกค้า เช่น ค่าธรรมเนียมหรือบริการ หรือการเปลี่ยนแปลงที่อาจทําให้ลูกค้าเสียผลประโยชน์ เป็นต้น โดยตัวแทนต้องเปิดเผยให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า ง. การคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามและควบคุมดูแลให้ตัวแทนของสถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (1) การถือว่าธุรกรรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์ (1.1) ธุรกรรมการรับฝากเงิน: การฝากเงินของลูกค้าถือว่าเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และถือว่าสถาบันการเงินได้รับเงินฝากดังนี้ (1.1.1) กรณีลูกค้าฝากเงินโดยใช้เงินสด ให้ถือว่าธุรกรรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์และสถาบันการเงินได้รับเงินฝาก เมื่อตัวแทนได้ออกหลักฐานการรับฝากเงินให้แก่ลูกค้า (1.1.2) กรณีลูกค้าฝากเงินโดยใช้เช็ค ให้ถือว่าธุรกรรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์และสถาบันการเงินได้รับเงินฝาก เมื่อตัวแทนได้ออกหลักฐานการรับฝากเงินให้แก่ลูกค้าและสถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ครบถ้วน ทั้งนี้ให้สถาบันการเงินเริ่มคิดดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้านับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินฝาก โดยสถาบันการเงินต้องกําหนดเวลาที่ถือว่าธุรกรรมดังกล่าวเสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในวันที่ลูกค้าฝากเงินผ่านตัวแทน (Cut-Off-Time) ให้เป็นเวลาที่ชัดเจน และต้องแจ้งเงื่อนไขให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ หากลูกค้านําเงินมาฝากภายหลังจากเวลาดังกล่าวให้ถือว่าธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์และสถาบันการเงินได้รับเงินฝากในวันถัดไป (1.2) ธุรกรรมการชําระเงิน: การชําระเงินของลูกค้าถือว่าเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และถือว่าสถาบันการเงินได้รับชําระเงิน ดังนี้ (1.2.1) กรณีลูกค้าชําระเงินโดยใช้เงินสดหรือบัตรเครดิตให้ถือว่าธุรกรรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อตัวแทนได้ออกหลักฐานการรับชําระเงินให้แก่ลูกค้า (1.2.2) กรณีลูกค้าชําระเงินโดยใช้เช็ค ให้ถือว่าธุรกรรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อตัวแทนได้ออกหลักฐานการรับชําระเงินให้แก่ลูกค้าและสถาบันการเงินสามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ครบถ้วน ทั้งนี้ให้สถาบันการเงินเริ่มตัดลดภาระสินเชื่อ ค่าใช้จ่ายตามบัตรเครดิต ค่าสาธารณูปโภค หรือค่าสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้านับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับชําระเงิน โดยสถาบันการเงินต้องกําหนดเวลาที่ถือว่าธุรกรรมดังกล่าวเสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในวันที่ลูกค้าชําระเงินผ่านตัวแทน (Cut-Off-Time) ให้เป็นเวลาที่ชัดเจน และต้องแจ้งเงื่อนไขให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ หากลูกค้านําเงินมาชําระภายหลังจากเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์และสถาบันการเงินได้รับชําระเงินในวันถัดไป (2) การรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้า สถาบันการเงินต้องกําหนดให้ต้องกําหนดให้ตัวแทนของสถาบันการเงินให้บริการแก่ลูกค้าในสถานที่ประกอบ สาขา หรือช่องทางการให้บริการอื่นของตัวแทน หรือสถานที่ของนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นที่มีสัญญาให้ตัวแทนใช้สถานที่เท่านั้น และต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย ณ สถานที่หรือช่องทางการให้บริการเหล่านั้นด้วย จ. การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง (1) สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1.1) หลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจากบุคคลภายนอกด้านงานทั่วไปที่เกี่ยวข้องในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน (1.2) หลักเกณฑ์การใช้บริการจากบุคคลภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (TT Outsourcing) ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด (2) สถาบันการเงินต้องควบคุมดูแลให้ตัวแทนของสถาบันการเงินปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่นแนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง มาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT) เป็นต้น นอกจากกรณีที่สถาบันการเงินประสงค์จะให้ตัวแทนของตนให้บริการสนับสนุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําหน้าที่เป็นตัวแทน นอกเหนือจากที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ ให้สถาบันการเงินซึ่งเป็นตัวการปฏิบัติตามและควบคุมดูแลให้ตัวแทนของตนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น หลักเกณฑ์การใช้บริการจากบุคคลภายนอก (Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) และบริการอื่นๆ และหลักเกณฑ์การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการด้านงานสนับสนุนและบริการอื่นเป็นต้น (3) ในกรณีที่ตัวแทนของสถาบันการเงินมอบหมายหรือว่าจ้างผู้รับจ้างช่วงงานต่อ (Subcontract) ในบางส่วนหรือทั้งหมดของธุรกรรมที่ตัวแทนดําเนินการแทนสถาบันการเงิน ผู้รับจ้างช่วงงานต่อนั้นจะต้องเป็นนิติบุคคลประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินแต่งตั้งเป็นตัวแทนสําหรับธุรกรรมประเภทนั้นๆ และจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ และที่ได้ตกลงไว้กับสถาบันการเงินด้วย ฉ. การเพิกถอนการอนุญาต ภายหลังจากที่ได้รับอนุญาตไปแล้ว หากธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า สถาบันการเงินไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหรือไม่ได้ปฏิบัติจริงตามข้อมูลที่สถาบันการเงินเคยจัดส่งมาให้ ณ ขณะที่ขออนุญาต หรือมีการกระทําที่กระทบต่อความปลอดภัย หรือความผาสุกของประชาชน หรือที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเพิกถอนการอนุญาตเป็นการทั่วไปหรือเป็นรายกรณี หรือสั่งการและ/หรือกําหนดเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติมเป็นรายกรณีได้ตามความจําเป็น 5.3.5 บทเฉพาะกาล ก. กรณีที่สถาบันการเงินได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้แต่งตั้งตัวแทนเป็นรายกรณีก่อนฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่อีกและให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในแต่ละกรณีนั้นๆ ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับประกาศฉบับนี้ และในกรณีที่มีการต่ออายุสัญญาแต่งตั้งตัวแทนฉบับเดิมหรือทําสัญญาแต่งตั้งตัวแทนฉบับใหม่ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงินตามประกาศฉบับนี้ด้วย ทั้งนี้ กรณีที่สถาบันการเงินมีข้อสงสัยให้หารือธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาเป็นรายกรณี ข. กรณีที่สถาบันการเงินใดแต่งตั้งตัวแทนประเภทที่ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้ประกาศฉบับนี้ แต่หลักเกณฑ์เดิมซึ่งมีผลบังคับใช้ขณะมีการแต่งตั้งตัวแทนไม่ได้กําหนดให้ต้องขออนุญาต ก็ให้สถาบันการเงินยื่นขออนุญาตต่อฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นรายกรณีภายใน90 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2553 (นายประสาร ไตรรัตน์) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,793
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรบ. 11/2559 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรบ. 11 /2559 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2559 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 14 มกราคม 2559 กําหนดให้สถาบันการเงินรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในรูปแบบชุดข้อมูล (XML Data Set) โดยผ่านวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2546 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดําเนินการปรับปรุงชุดข้อมูล (XML Data Set) ตามโครงการ DMS Enhancement ประจําปี 2559 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญ ดังนี้ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ปรับปรุงตารางรหัส (Classification) จํานวน 8 ชุดข้อมูล ตามรายละเอียด ดังนี้ 1. Deposit Classified by Type of Depositor (DS\_DCD) 2. Balance Sheet (DS BLS) 3. Financial Position Statement\_Conso (DS FPSC) 4. Profit and Loss (DS PNL) 5. Comprehensive Income Statement\_Conso (DS\_CISC) 6. Partial Comprehensive Income Statement\_Conso (DS\_PCSC) 7. Credit Card Summary (DS\_CCS) 8. Card Usage Summary (DS CUS) กลุ่มบริษัทเงินทุน 1. ปรับปรุงตารางรหัส (Classification) จํานวน 3 ชุดข้อมูล ตามรายละเอียด ดังนี้ 1.1 Deposit Classified by Type of Depositor (DS\_DCD) 1.2 Balance Sheet (DS\_BLS) 1.3 Profit and Loss (DS\_PNL) 2. ปรับปรุงตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุน ด้านสภาพคล่อง และด้านปฏิบัติการ จํานวน 6 ชุดข้อมูล ตามรายละเอียดดังนี้ 2.1 Capital Fund (DS\_CAP) 2.2 Credit Risk Standardized Approach (DS\_CRS) 2.3 Contingent Summary (DS\_COS) 2.4 Operational Risk (DS\_OPR) 2.5 Liquidity Assessment 1 (DS\_LQ1) 2.6 Liquidity Coverage Ratio (DS\_LCR) 3. ยกเลิกการรายงาน จํานวน 1 ชุดข้อมูล คือ Risk Weighted Assets (DS\_ RWA กลุ่มบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 1. ปรับปรุงตารางรหัส (Classification) จํานวน 3 ชุดข้อมูล ตามรายละเอียด ดังนี้ 1.1 Deposit Classified by Type of Depositor (DS\_DCD) 1.2 Balance Sheet (DS BLS) 1.3 Profit and Loss (DS PNL) 2. ปรับปรุงตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุน ด้านสภาพคล่อง และด้านปฏิบัติการ จํานวน 5 ชุดข้อมูล ตามรายละเอียดดังนี้ 2.1 Capital Fund (DS CAP) 2.2 Risk Weighted Assets (DS RWA) 2.3 Operational Risk (DS OPR) 2.4 Liquidity Assessment 1 (DS\_LQ1) 2.5 Liquidity Coverage Ratio (DS\_LCR) อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินจัดทําและส่งรายงานข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด อื่นๆ - 3. ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2559 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 14 มกราคม 2559 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ให้สถาบันการเงินจัดทําและส่งรายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูล (XML Data Set) ตามรายชื่อชุดข้อมูล (XML Data Set) ที่กําหนดให้สถาบันการเงินรายงาน (เอกสารแนบ 1) และคู่มือการจัดทําชุดข้อมูล (XML Data Set Manual โดยให้จัดส่งข้อมูลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดใน "ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2546" ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2546 (เอกสารแนบ 2) รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.2 การจัดส่งรายงานชุดข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่ให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ 5.2.1 ชุดข้อมูลที่ปรับปรุงตารางรหัส (Classification) - ชุดข้อมูลที่มีความถี่เป็นรายเดือน (เอกสารแนบ 1) ให้สถาบันการเงินเริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลงวดสิ้นเดือนมกราคม 2560 เป็นต้นไป - ชุดข้อมูลที่มีความถี่เป็นรายไตรมาส (เอกสารแนบ 1) ให้สถาบันการเงินเริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลงวดสิ้นเดือนมีนาคม 2560 เป็นต้นไป 5.2.2 ชุดข้อมูลที่ปรับปรุงเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและด้านสภาพคล่อง - ชุดข้อมูลที่มีความถี่เป็นรายปักษ์ (เอกสารแนบ 1) ให้สถาบันการเงินเริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลปักษ์สิ้นสุดวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป - ชุดข้อมูลที่มีความถี่เป็นรายเดือน (เอกสารแนบ 1) ให้สถาบันการเงินเริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลงวดสิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป - ชุดข้อมูลที่มีความถี่เป็นราย 6 เดือน (เอกสารแนบ 1) ให้สถาบันการเงินเริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลงวดสิ้นเดือนมิถุนายน 2560 เป็นต้นไป 5.3 ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับรายงานข้อมูลตามชุดข้อมูล (XML Data set) ในวันที่สถาบันการเงินส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลที่ส่งมานั้น มีความถูกต้อง โดยผ่านหลักเกณฑ์การตรวจสอบเบื้องตัน (Basic Validation) ของระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,794
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12 /2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 -------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.8/14/59 | 60,000 | 26 กุมภาพันธ์ 2559 | 1/3/59 – 15/3/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,795
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.11/15/53 | 65,000 | 11 กุมภาพันธ์ 2553 | 15/2/53 - 2/3/53 | 15 | | พ.12/15/53 | 60,000 | 12 กุมภาพันธ์ 2553 | 16/2/53 - 3/3/53 | 15 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,796
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) (ฉบับที่ 3)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดย Standardised Approach (วิธี SA) (ฉบับที่ 3) ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) เป็นแนวทางในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ เพื่อนําไปใช้ในการคํานวณอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยในปัจจุบันหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 90/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 3/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) (ฉบับที่2) ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวโดยออกเป็นประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) (ฉบับที่3) เพื่อกําหนดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value – LTV ratio) สําหรับสินเชื่อเพื่อที่อาศัยที่หลักประกันมีราคาซื้อขายต่ํากว่า 10 ล้านบาทเพิ่มเติม ส่วนเนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงเดิม โดยมีเหตุผลดังนี้ ในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในทวีปอเมริกาและยุโรประหว่างปี 2550-2552 แม้เศรษฐกิจไทยยังดําเนินไปได้ดี แต่ก็ได้รับผลกระทบอยู่บ้างในด้านการส่งออกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทําให้ในปี 2552 ผลิตภัณฑ์มวลของไทยติดลบร้อยละ 2.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดําเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลาย โดยลดน้ําหนักความเสี่ยในการคํานวณเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์สําหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 35 ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีต้นทุนลดลง และสามารถปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ได้อย่างต่อเนื่องประกอบกับรัฐบาลก็ได้ผ่อนปรนการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ลงจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 0.01 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและสนับสนุนการประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งการผ่อนปรนตามมาตรการดังกล่าวได้ยุติลงในเดือนมิถุนายน 2553 ผลจากการดําเนินนโยบายและการพัฒนาระบบการก่อสร้างที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว หรือทาวน์เฮาส์ ทําให้ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในปัจจุบันมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนทางตัวเลขว่ามีปัญหาฟองสบู่เกิดขึ้น และระบบการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็ยังคงดีอยู่ ต่อมาในปี 2553สถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ขณะที่การปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนผู้ซื้อที่อยู่อาศัยโดยทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่กําหนดให้วางเงินดาวน์ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 หรือมี LTV ratio ที่ร้อยละ 90 ซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 70 ของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของระบบธนาคารพาณิชย์ แต่ด้วยการแข่งขันในตลาดที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจผลักดันให้มีพฤติกรรมในการปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น เริ่มกําหนดให้มีการวางเงินดาวน์น้อยลงหรือมี LTV ratio สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ําแต่ก็อาจส่งผลให้เกิดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นได้ในอนาคต ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Standardised Approach (วิธี SA) โดยกําหนดเพดาน LTV ratio เพิ่มเติมสําหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่หลักประกันมีราคาซื้อขายต่ํากว่า 10 ล้านบาท ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ ธปท. กําหนดที่ได้รับน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 35 ดังนี้ 1) ที่อยู่อาศัยแนวสูง (เช่น อาคารชุด หรือคอนโดมิเนียม) กําหนด LTV ratio ไม่เกินกว่าร้อยละ 90 ของราคาซื้อขายที่ตกลงกันจริง โดยมีผลใช้บังคับกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีสัญญาจะซื้อจะขายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป และ 2) ที่อยู่อาศัยแนวราบ (เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์) กําหนด LTV ratio ไม่เกินกว่าร้อยละ 95 ของราคาซื้อขายที่ตกลงกันจริง โดยมีผลใช้บังคับกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีสัญญาจะซื้อจะขายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มี LTV ratio เกินกว่าระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดจะได้รับน้ําหนักความเสี่ยงที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี การกําหนดเพดาน LTV ratio ดังกล่าวข้างต้นไม่บังคับใช้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นสวัสดิการของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นทางค้าปกติของธนาคารพาณิชย์ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต (Preventive Action) และให้มีผลสอดรับกับระบบการปล่อยสินเชื่อที่มีความระมัดระวังและป้องกันมิให้มีการแข่งขันที่มากขึ้นจนทําให้การให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยด้วยการให้ LTV ratio ที่สูงขึ้นเบี่ยงเบนปากระดับที่เหมาะสมจนเป็นเหตุให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งหากรอจนมีสัญญาณบ่งชี้ชัดหรือมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วจึงออกมาตรการก็อาจทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันกาล อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 อันประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Standardised Approach (วิธี SA) (ฉบับที่ 3) และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 4.ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก เอกสารแนบ 1 และเอกสารแนบ 9 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 90/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 3/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มีนาคม 2552 อื่นๆ - 5.เนื้อหา ให้ยกเลิกเอกสารแนบ 1 และเอกสารแนบ 9 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 90/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 3/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มีนาคม 2552 และให้ใช้เอกสารแนบ 1 และเอกสารแนบ 9 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ 6.1 ข้อ 8.1.5 (1.1) และวรรคสองของข้อ 8.1.5 ของเอกสารแนบ 1 ข้อ 1.8.1 (5.1.1) และวรรคสองของข้อ 1.8.1 (5) ของเอกสารแนบ 9 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป 6.2 ข้อ 8.1.5 (1.2) ของเอกสารแนบ 1 ข้อ 1.8.1 (5.1.2) ของเอกสารแนบ 9 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,797
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 86/2560 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 86/2560 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 49/91/60 | - | 30,000 | 4 ธ.ค. 60 | 7 ธ.ค. 60 | 8 มี.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 49/182/60 | - | 30,000 | 4 ธ.ค. 60 | 7 ธ.ค. 60 | 7 มิ.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 4/364/60 | - | 55,000 | 4 ธ.ค. 60 | 7 ธ.ค. 60 | 6 ธ.ค. 61 | 364 วัน | 364 วัน | | 1/FRB3ปี/2560 | 3M BIBOR -0.1 เท่ากับ 1.46636 สําหรับงวดเริ่มต้น7 พ.ย.2560 | 15,000 | 8 ธ.ค. 60 | 13 ธ.ค. 60 | 7 ก.พ. 63 | 3 ปี | 2.15 ปี | | 50/91/60 | - | 30,000 | 12 ธ.ค. 60 | 14 ธ.ค. 60 | 15 มี.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 50/182/60 | - | 30,000 | 12 ธ.ค. 60 | 14 ธ.ค. 60 | 14 มิ.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/60 | 1.49 | 50,000 | 14 ธ.ค. 60 | 18 ธ.ค. 60 | 28 ส.ค. 62 | 2 ปี | 1.69 ปี | | 51/91/60 | - | 30,000 | 19 ธ.ค. 60 | 21 ธ.ค. 60 | 22 มี.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 51/182/60 | - | 30,000 | 19 ธ.ค. 60 | 21 ธ.ค. 60 | 21 มิ.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 52/91/60 | | 30,000 | 26 ธ.ค. 60 | 28 ธ.ค. 60 | 29 มี.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 52/182/60 | | 30,000 | 26 ธ.ค. 60 | 28 ธ.ค. 60 | 28 มิ.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 6 ธันวาคม 2560 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 (นางวชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,798
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2560 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2560 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 3. เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ตังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางภรวดี ตาปสนันทน์ 2. นางวราภรณ์ ศุภางคเสน 3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นายอัครเดช ดาวเงิน 5. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน 6. นางโสภา อินสุข 7. นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน 8. นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ 9. นายสุเมธ จินตามานพ 14. นายธีรพงศ์ อินทรชัย 11. นายทวัส ทาสุวรรณ 12. นายสมชาย เลิศลาภวศิน 10. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ 13. นายอดุลย์ ค้ําชู 15. นายชนัช เทียมมณีเนตร 16. นายธีรเมธ พุทธนารัตน์ 17. นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ 18. นางอุษณี ปรีชม 19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายเอนก อิงวิยะ 21. นายประจวบ เกลี้ยงเกิด อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2560 (นายเพิ่มสุข สุทธินุ่น) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,799
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.1/14/60 | 35,000 | 6 มกราคม 2560 | 10//60 - 24/1/60 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม 2560 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,800
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2552 เรื่อง การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามบัญชี ก ที่ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนให้บริการ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 / 2552 เรื่อง การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามบัญชี ก ที่ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนให้บริการ ---------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดประเภทของการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กําหนดไว้ล่วงหน้า จากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนให้บริการ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงประกาศกําหนดประเภทของการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามบัญชี ก ที่ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนให้บริการ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังดับกับการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ บัญชี ก ตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาว่ด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 4. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยโคยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประกาศกําหนดให้การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กําหนดไว้ล่วงหน้า จากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ใช้จํากัดเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคโดยไม่แสวงหากําไรจากการออกบัตรดังต่อไปนี้ เป็นธุรกิจบริการที่ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนให้บริการ 4.1 เงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อชําระค่าสินค้าหรือบริการเฉพาะอย่างอันเป็นธุรกิจของตนเอง เช่น บัตรโดยสารรถสาธารณะ บัตรโทศัพท์สาธารณะ บัตรชําระค่าผ่านทางสาธารณะ 4.2 เงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เฉพาะชําระค่าอาหารและเครื่องดื่มภายในศูนย์อาหาร อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นใช้บังคับ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังดับนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,801
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2560 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2560 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.2/14/60 | 40,000 | 13 มกราคม 2560 | 17/1/60 - 31/1/60 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม 2560 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,802
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2560 เรื่อง การคำนวณมูลค่าตราสารหนี้กรณีสถาบันการเงินสิ้นสิทธิซื้อคืนตราสารหนี้
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3 /2560 เรื่อง การคํานวณมูลค่าตราสารหนี้กรณีสถาบันการเงินสิ้นสิทธิซื้อคืนตราสารหนี้ -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าตราสารหนี้กรณีสถาบันการเงินสิ้นสิทธิซื้อคืนตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ให้สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการคํานวณมูลค่าตราสารหนี้ของธุรกรรมการบริหารสภาพคล่องของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามมาตรา 44 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยพุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเพื่ออนุวัติตามข้อ 3 (6) (62) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน อื่นๆ - 3. ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 12/2552 เรื่อง การคํานวณมูลค่าตราสารหนี้ กรณีสถาบันการเงินสิ้นสิทธิซื้อคืนตราสารหนี้ ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน อื่นๆ - 5. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทย จะคํานวณมูลค่าตราสารหนี้กรณีสถาบันการเงินสิ้นสิทธิซื้อคืนตราสารหนี้ ตามราคาตลาด ที่ปรับลดด้วยอัตราส่วนลด (Haircut) ตามประเภทตราสารหนี้ และอายุคงเหลือของตราสารหนี้ ดังนี้ | | | | --- | --- | | ประเภทตราสารหนี้ | อัตราส่วนลด (ร้อยละ) ตามอายุคงเหลือ | | 0 – 5 ปี | > 5 ปี – 10 ปี | > 10 ปี – 20 ปี | > 20 ปี | | - ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร ธปท. | 2 | 3.5 | 5 | 6.5 | | - หุ้นกู้ พันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ ธปท. กําหนดที่กระทรวงการคลังค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ยหุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ ธปท. กําหนดที่กระทรวงการคลังไม่ค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ตราสารหนี้ดังกล่าวหรือผู้ออกได้รับการจัดอันดับเครดิตไม่ต่ํากว่า AAA จาก TRISหรืออันดับเครดิตที่เทียบเท่าจากสถาบันจัดอันดับเครดิตที่ ธปท. กําหนด หรือไม่ต่ํากว่าอันดับเครดิตเทียบเท่าอันดับเครดิตของรัฐบาลไทยตามที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตจาก S&P หรือ Moody's- พันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน | 2.5 | 4.5 | 6.5 | 8 | อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2560 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,803
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2560 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2560 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.3/14/60 | 40,000 | 20 มกราคม 2560 | 24/1/60 - 7/2/60 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2560 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,804
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2552 เรื่อง นโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศในการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3 /2552 เรื่อง นโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ในการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อให้มีมาตรฐานในการกําหนดนโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศในการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เป็นแนวทางกําหนดวิรีปฏิบัติในการตรวจสอบและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือ มีความมั่นคงปลอดภัยและสามารถให้บริการ ได้อย่างต่อเนื่อง อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 10 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังดับกับผู้ให้บริการตามพระราชกฤษฎีกาว่ด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 4. เนื้อหา ผู้ให้บริการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานนโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ดังนี้ 4.1 นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ (1) ผู้ให้บริการจะต้องจัดทํานโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนทศเป็นลายลักษณ์อักษร โดยได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหรือผู้บริหารระดับสูงของผู้ให้บริการ ทั้งนี้ ผู้ให้บริการจะต้องเผขแพร่นโยบายดังกล่าว และอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อถือปฏิบัติ รวมทั้งจัดให้มีการทบทวนหรือปรับปรุงน โยบายให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างสม่ําเสมอ (2) นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ อย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (ก) การควบคุมการเข้าถึง และการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้ (ข) การรักษาความลับของข้อมูล และความถูกต้องเชื่อถือ ได้ของระบบสารสนเทศ (ค) การรักษาสภาพความพร้อมใช้งานของการให้บริการ (ง)การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ 4.2 มาตรการการรักษาความมั่นองปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ผู้ให้บริการจะต้องจัดให้มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทร่อนิกส์ให้สอดคล้องกับนโยบายที่ได้กําหนดขึ้น และมาตรการดังกล่าวจะต้องเหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ โคยครอบคลุมถึงการควบคุมการเข้าถึงและการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้ การรักษาดวามลับของข้อมูล การรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบสารสนเทศ การรักษาสภาพความพร้อมใช้งานของการให้บริการ การแก้ไขปัญหาและการรายงาน รวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ผู้ให้บริการจะต้องคําเนินการทบทวนหรือปรับปรุงมาตรการตามระยะเวลาที่กําหนดหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบกับนโยบายและมาตรการที่ ได้กําหนดไว้ ตลอดจนจัดอบรมและให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง อนึ่ง ธปท. ได้ขัดทําแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 29 มกราคม 2552 (เอกสารแนบ) เพื่อเป็นแนวทางในการกําหนดมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศให้น่าเชื่อถือและให้เป็นที่ยอมรับของใช้บริการ ทั้งนี้ การกําหนดมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ให้บริการแต่ละรายอาจแตกต่างจากแนวปฏิบัติดังกล่าวได้ หากผู้ให้บริการเห็นว่าสามารถป้องกันความเสี่ยงทางระบบสารสนทศได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ และอยู่ในมาตรฐานที่ยอมรับได้ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นใช้บังคับ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,805
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2560 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2560 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2560 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.4/14/60 | 40,000 | 27 มกราคม 2560 | 31/1/60 - 14/2/60 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม 2560 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,806
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4/2560 เรื่อง มาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบบาทเนต
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4 /2560 เรื่อง มาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบบาทเนต ----------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Security Risk) ของข้อมูล ระบบ และเครือข่ายที่ใช้ในการให้บริการโอนเงินผ่านระบบบาทเนต ซึ่งเป็นระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญของประเทศ และเห็นว่ามาตรฐาน ISO/EC 27001 เป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นด้านการรักษาและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบสารสนเทศขององค์กรและใช้เป็นแนวทางกําหนดวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ธปท. จึงออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายของระบบบาทเนตผ่านการรับรองตามมาตรฐาน ISO/EC 27001 ซึ่งจะเป็นการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของระบบบาทเนต ให้มีความน่าเชื่อถือและสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องเป็นไปตามมาตรฐานสากล อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 15 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต พ.ศ. 2549 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต อื่นๆ - 4. เนื้อหา ข้อ 1 ในประกาศฉบับนี้ "คอมพิวเตอร์ลูกข่าย" หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการบาทเนตสําหรับการปฏิบัติงานจริงและสําหรับเป็นชุดสํารองที่ใช้เชื่อมโยงกับระบบบาทเนตของ ธปท. ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์สําหรับบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) หรือระบบงานคอมพิวเตอร์อื่นที่เชื่อมโยงเพื่อการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของ ธปท. (Host to Host) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงระบบคอมพิวเตอร์สําหรับการส่งข้อความผ่านสวิฟท์ (SWIFT) "ผู้ตรวจสอบอิสระ" หมายถึง ผู้ตรวจสอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาจเป็นผู้ตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระจากหน่วยงานที่ทําหน้าที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและหน่วยงานที่ทําหน้าที่ด้านบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือผู้ตรวจสอบภายนอกซึ่งสามารถดําเนินการตรวจประเมินระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามมาตรฐาน ISO/EC 27001 (Information Security Management) โดยผ่านการรับรองหรือได้รับใบประกาศนียบัตรด้านความมั่นคงปลอดภัยระดับสากล เช่น Certified Information System Auditor (CISA), Certified Information Security Manager (CISM), Certified Information Security Professional (CISSP) "หน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ (Certification Body)" หมายถึง หน่วยงานที่ทําหน้าที่ตรวจรับรองระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 "การตรวจประเมิน (Assessment)" หมายถึง การตรวจประเมินระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 โดยผู้ตรวจสอบอิสระ "การตรวจรับรอง (Certification)" หมายถึง การตรวจรับรองระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/EC 27001 โดยหน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ ข้อ 2 ผู้ใช้บริการบาทเนตต้องดําเนินการให้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายของตนผ่านการตรวจรับรองตามแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ดังนี้ (1) ผ่านการตรวจรับรองภายในปี 2560 หรือ (2) ผ่านการตรวจประเมินภายในปี 2560 และผ่านการตรวจรับรองภายในปี 2561 กรณีสถาบันที่เข้าเป็นผู้ใช้บริการบาทเนตภายหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้สถาบันนั้นดําเนินการให้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายผ่านการตรวจประเมินภายใน 180 วันนับจากวันที่เป็นผู้ใช้บริการบาทเนตและต้องผ่านการตรวจรับรองภายใน 1 ปีนับจากวันที่ผ่านการตรวจประเมิน ทั้งนี้ เมื่อผู้ใช้บริการบาทเนตได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสองแล้วแต่กรณีแล้วให้จัดส่งเอกสารการตรวจประเมิน หรือการตรวจรับรองที่ได้รับจากการดําเนินการข้างต้น มาที่ ธปท. โดยเร็ว ข้อ 3 ผู้ใช้บริการบาทเนตต้องรักษาสถานภาพการตรวจรับรองระบบบริหารจัตการความมั่นคงปลอดภัยสารสนทศตามมาตรฐาน ISO/EC 27001 ของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของตน โดยหน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศตามข้อ 2 อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ให้จัดส่งเอกสารการตรวจรับรองตามวรรคหนึ่ง มาที่ ธปท. โดยเร็ว ข้อ 4 กรณีผู้ใช้บริการบาทเนตไม่สามารถดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 2 หรือข้อ 3 ข้างต้นได้ ให้ส่งหนังสือขอผ่อนผันพร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็น แนวทางแก้ไข และกําหนดเวลาที่จะดําเนินการให้แล้วเสร็จให้ ธปท. ทราบโดยเร็ว โดย ธปท. อาจพิจารณาขยายระยะเวลาให้หรือไม่ก็ได้ตามที่เห็นสมควร อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,807
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2560 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5 /2560 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 1/FRB3ปี/2560 | 3M BIBOR -0.1 | 15,000 | 3 ก.พ. 60 | 7 ก.พ. 60 | 7 ก.พ. 60 | 3 ปี | 3 ปี | | 6/91/60 | - | 45,000 | 7 ก.พ. 60 | 9 ก.พ. 60 | 11 พ.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน | | 6/182/60 | - | 45,000 | 7 ก.พ. 60 | 9 ก.พ. 60 | 10 ส.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน | | 5/364/60 | - | 40,000 | 7 ก.พ. 60 | 9 ก.พ. 60 | 7 ธ.ค. 60 | 364 วัน | 301 วัน | | 7/91/60 | - | 45,000 | 14 ก.พ. 60 | 16 ก.พ. 60 | 18 พ.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน | | 7/182/60 | - | 45,000 | 14 ก.พ. 60 | 16 ก.พ. 60 | 17 ส.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2ปี/2560 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 14 ก.พ. 60 | 30,000 | 16 ก.พ. 60 | 20 ก.พ. 60 | 20 ก.พ. 62 | 2 ปี | 2 ปี | | 8/91/60 | - | 45,000 | 21 ก.พ. 60 | 23 ก.พ. 60 | 25 พ.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน | | 8/182/60 | - | 45,000 | 21 ก.พ. 60 | 23 ก.พ. 60 | 24 ส.ค. 60 | 182 วีน | 182 วีน | | 9/91/60 | - | 45,000 | 28 ก.พ. 60 | 2 มี.ค. 60 | 1 มิ.ย. 60 | 91 วัน | 91 วัน | | 9/182/60 | - | 45,000 | 28 ก.พ. 60 | 2 มี.ค. 60 | 31 ส.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2560 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้น วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 | | การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 4 งวด | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 7 กุมภาพันธ์, 7 พฤษภาคม, 7 สิงหาคม และ 7 พฤศจิกายน ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 7 พฤษภาคม 2560 | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ยงวดต่อๆไป | 2 วันทําการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2ปี/2560 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 | | การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 20 กุมภาพันธ์, และ 20 สิงหาคม ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 20 สิงหาคม 2560 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม 2560 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,808
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5/2560 เรื่อง มาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5 /2560 เรื่อง มาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค ----------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Security Risk) ของข้อมูล ระบบ และเครือข่ายที่ใช้ในระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค(Imaged Cheque Clearing and Archive System: ICAS) ซึ่งเป็นระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญของประเทศ และเห็นว่ามาตรฐาน ISO/EC 27001 เป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นด้านการรักษาและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบสารสนเทศขององค์กรและใช้เป็นแนวทางกําหนดวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ธปท. จึงออกประกาศฉบับนี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายของระบบ ICAS ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน ISO/EC 27001 ซึ่งจะเป็นการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของระบบ ICAS ให้มีความน่าเชื่อถือและสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องเป็นไปตามมาตรฐานสากล อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2554 ว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดการภาพเช็ค อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารสมาชิกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค อื่นๆ - 4. เนื้อหา ข้อ 1 ในประกาศฉบับนี้ "คอมพิวเตอร์ลูกข่าย" หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์พร้อมติดตั้งอุปกรณ์และโปรแกรมเพื่อใช้งานระบบ ICAS และบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารสมาชิกสําหรับการปฏิบัติงานจริงและสําหรับเป็นชุดสํารองที่ใช้เชื่อมโยงกับระบบ CAS ของ ธปท. ซึ่งประกอบด้วยเครื่องรับส่งข้อมูลและภาพเช็ค (Imaged Cheque Member Gateway: ICMG) และเครื่องเพื่อการใช้งานระบบ ICAS ผ่านบริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) "ผู้ตรวจสอบอิสระ" หมายถึง ผู้ตรวจสอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาจเป็นผู้ตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระจากหน่วยงานที่ทําหน้าที่ปฏิบัติงานต้านเทคโนโลยีสารสนเทศและหน่วยงานที่ทําหน้าที่ด้านบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือผู้ตรวจสอบภายนอกซึ่งสามารถดําเนินการตรวจประเมินระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ตามมาตรฐาน SONEC 27001 (Information Security Management) โดยผ่านการรับรองหรือได้รับใบประกาศนียบัตรด้านความมั่นคงปลอดภัยระดับสากล เช่น Certified Information System Auditor (CISA), Certified Information Security Manager (CISM), Certified Information Security Professional (CISSP) "หน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ (Cortication Body)" หมายถึง หน่วยงานที่ทําหน้าที่ตรวจรับรองระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/EC 27001 "การตรวจประเมิน (Assessment)" หมายถึง การตรวจประเมินระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/EC 27001 โดยผู้ตรวจสอบอิสระ "การตรวจรับรอง (Certification)" หมายถึง การตรวจรับรองระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/EC 27001 โดยหน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ ข้อ 2 ธนาคารสมาชิกต้องดําเนินการให้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายของตนผ่านการตรวจรับรองตามแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ดังนี้ (1) ผ่านการตรวจรับรองภายในปี 2560 หรือ (2) ผ่านการตรวจประเมินภายในปี 2560 และผ่านการตรวจรับรองภายในปี 2561 กรณีธนาคารที่เข้าเป็นสมาชิกของระบบ ICAS ภายหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ธนาคารนั้นดําเนินการให้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายผ่านการตรวจประเมินภายใน 180 วันนับจากวันที่เป็นธนาคารสมาชิก และต้องผ่านการตรวจรับรองภายใน 1 ปีนับจากวันที่ผ่านการตรวจประเมินทั้งนี้ เมื่อธนาคารสมาชิกได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสองแล้วแต่กรณีแล้วให้จัดส่งเอกสารการตรวจประเมิน หรือการตรวจรับรองที่ได้รับจากการดําเนินการข้างต้น มาที่ ธปท.โดยเร็ว ข้อ 3 ธนาคารสมาชิกต้องรักษาสถานภาพการตรวจรับรองระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO/EC 27001 ของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของตน โดยหน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ ตามข้อ 2 ข้างต้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ให้จัดส่งเอกสารการตรวจรับรองตามวรรคหนึ่ง มาที่ ธปท. โดยเร็ว ข้อ 4 กรณีธนาคารสมาชิกไม่สามารถดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 2 หรือข้อ 3 ข้างต้นได้ ให้ส่งหนังสือขอผ่อนผันพร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็น แนวทางแก้ไข และกําหนดเวลาที่จะดําเนินการให้แล้วเสร็จให้ ชปท. ทราบโดยเร็ว โดย ธปท. อาจพิจารณาขยายเวลาให้หรือไม่ก็ได้ตามที่เห็นสมควร อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,809
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ2 ปี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2553 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2553 ----------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2553 (รุ่นที่1/2 ปี/2553) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2 ปี/2553 ที่จะประมูลในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 เท่ากับร้อยละ 2.10 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายการตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,810
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.13/14/53 | 65,000 | 18 กุมภาพันธ์ 2553 | 22/2/53 - 8/3/53 | 14 | | พ.14/14/53 | 60,000 | 19 กุมภาพันธ์ 2553 | 23/2/53 - 9/3/53 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,811
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.15/13/53 | 60,000 | 25 กุมภาพันธ์ 2553 | 2/3/53 - 15/3/53 | 13 | | พ.16/13/53 | 55,000 | 26 กุมภาพันธ์ 2553 | 3/3/53 - 16/3/53 | 13 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,812
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 9/28/53 | - | 12,000 | 2 มี.ค. 53 | 4 มี.ค. 53 | 1 เม.ย. 53 | 28 วัน | 28 วัน | | 9/91/53 | - | 12,000 | 2 มี.ค. 53 | 4 มี.ค. 53 | 3 มิ.ย. 53 | 91 วัน | 91 วัน | | 9/182/53 | - | 12,000 | 2 มี.ค. 53 | 4 มี.ค. 53 | 2 ก.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/364/53 | - | 40,000 | 2 มี.ค. 53 | 4 มี.ค. 53 | 3 มี.ค. 54 | 364 วัน | 364 วัน | | 10/28/53 | - | 12,000 | 9 มี.ค. 53 | 11 มี.ค. 53 | 8 เม.ย 53 | 28 วัน | 28 วัน | | 10/91/53 | - | 12,000 | 9 มี.ค. 53 | 11 มี.ค. 53 | 10 มิ.ย 53 | 91 วัน | 91 วัน | | 10/182/53 | - | 12,000 | 9 มี.ค. 53 | 11 มี.ค. 53 | 9 ก.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2553 | 6M BIBOR 0.20 | 20,000 | 12 มี.ค. 53 | 16 มี.ค. 53 | 16 มี.ค. 56 | 3 ปี (FRB) | 3 ปี (FRB) | | 11/29/53 | - | 12,000 | 16 มี.ค. 53 | 18 มี.ค. 53 | 16 เม.ย. 53 | 29 วัน | 29 วัน | | 11/91/53 | - | 12,000 | 16 มี.ค. 53 | 18 มี.ค. 53 | 17 มิ.ย. 53 | 91 วัน | 91 วัน | | 11/182/53 | - | 12,000 | 16 มี.ค. 53 | 18 มี.ค. 53 | 16 ก.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 12/28/53 | - | 12,000 | 23 มี.ค. 53 | 25 มี.ค. 53 | 22 เม.ย. 53 | 28 วัน | 28 วัน | | 12/91/53 | - | 12,000 | 23 มี.ค. 53 | 25 มี.ค. 53 | 24 มิ.ย. 53 | 91 วัน | 91 วัน | | 12/182/53 | - | 12,000 | 23 มี.ค. 53 | 25 มี.ค. 53 | 23 ก.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2553 | 2.75 | 20,000 | 23 มี.ค. 53 | 25 มี.ค. 53 | 14 ม.ค. 56 | 3 ปี | 2.81 ปี | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 6/2ปี/2553 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 16 มีนาคม และวันที่ 16 กันยายน ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 16 กันยายน 2553 | | อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ 16 มีนาคม 2553 | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันพุธที่ 10 มีนาคม 2553 | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ยงวดต่อๆ ไป | 2 วันทําการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 16 มีนาคม 2556เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,813
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.17/14/53 | 60,000 | 4 มีนาคม 2553 | 8/3/53 - 22/3/53 | 14 | | พ.18/14/53 | 50,000 | 5 มีนาคม 2553 | 9/3/53 - 23/3/53 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,814
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 4/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 4/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแล การประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกํากับดูแลระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนให้มีการคุ้มครองผู้ใช้บริการของระบบอย่างเหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ โดยกําหนดกรอบหลักการในการกํากับดูแลเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจให้ความสําคัญในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (1) ด้านฐานะทางการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงเพียงพอที่จะสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการระบบการชําระเงินได้อย่างต่อเนื่อง (2) ด้านธรรมาภิบาล ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการกิจการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี และดูแลให้มีการควบคุมภายในอย่างเหมาะสม (3) ด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (4) ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการของระบบ ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ รวมถึงอัตราค่าธรรมเนียมแก่ผู้ใช้บริการของระบบอย่างเพียงพอ มีการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการของระบบอย่างปลอดภัย และมีการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม (5) ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้ระบบการชําระเงินมีประสิทธิภาพ มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการของระบบรวมถึงมีการกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้าร่วมและออกจากระบบอย่างเป็นธรรมและเปิดกว้าง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและการนํานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาระบบการชําระเงินในประเทศ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ "ระบบการชําระเงิน" หมายความว่า ระบบหรือกระบวนการจัดการอื่นใดเพื่อการโอนเงิน การหักบัญชี หรือการชําระดุล "ระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ" หมายความว่า ระบบการชําระเงินที่จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี "ผู้ประกอบธุรกิจ" หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน "ผู้ใช้บริการของระบบ" หมายความว่า ผู้ใช้บริการที่เย็นสมาชิกและยินยอมผูกพันตามหลักเกณฑ์ในการใช้บริการระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ "ผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการ" หมายความว่า (1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการหรือกรรมการหรือการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงาน "สินทรัพย์สภาพคล่อง (High-quality liquid assets)" หมายความว่า สินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี มีสภาพคล่องสูง และไม่ติดภาระผูกพัน ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วโดยมูลค่าไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญแม้ในสถานการณ์ด้านสภาพคล่องที่มีความรุนแรง "สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ " หมายความว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น "นิติบุคคลต่างประเทศ" หมายความว่า นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและประกอบธุรกิจหรือให้บริการระบบการชําระเงินในประเทศไทย "อํานาจควบคุมกิจการ" หมายความว่า การมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ (1) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในนิติบุคคลเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น โดยรวมถึงการถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในนิติบุคคลของคู่สมรส บุตร หรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย (2) การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของนิติบุคคล โดยรวมถึงการมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลของคู่สมรส บุตร หรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย "ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4.2 หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแล 4.2.1 ด้านฐานะทางการเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงและเพียงพอที่จะสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่ต่ํากว่าที่กําหนดตามประกาศ ธปท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ (2) มีฐานะทางการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการของระบบ เช่น ฐานะและผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ส่วนของผู้ถือหุ้น (3) ห้ามลดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. (4) การเพิ่มทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว ให้แจ้ง ธปท. ทราบเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเพิ่มทุน (5) จัดทําแผนการดําเนินธุรกิจ ซึ่งรวมถึงแผนการลงทุน รายได้ ค่าใช้จ่ายและงบประมาณประจําปี โดยต้องจัดเตรียมงบประมาณให้เพียงพอรองรับแผนการลงทุนและการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บแผนการดําเนินธุรกิจและแผนการลงทุนดังกล่าวที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการของนิติบุคคลไว้ เพื่อให้พร้อมสําหรับการตรวจสอบของ ธปท. และเมื่อ ธปท. ร้องขอ 4.2.2 ด้านธรรมาภิบาล เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีการบริหารจัดการกิจการ และการควบคุมภายในที่ดีมีโครงสร้างองค์กรที่มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอํานาจ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี มีกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกําหนด มีการกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการ และหน่วยงานต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) การประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาต (1.1) ประกอบธุรกิจโดยปฏิบัติตามแผน นโยบาย มาตรการ และระบบต่าง ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต หรือที่ได้แจ้งไว้กับ ธปท. (1.2) ดูแลและสอบทานให้กรรมการและผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน และประกาศ ธปท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ (1.3) มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมีสัญชาติไทยและมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย ในกรณีมีเหตุให้กรรมการดังกล่าวพ้นจากตําแหน่ง จนเป็นเหตุให้ไม่มีกรรมการที่มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งกรรมการซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวภายใน 45 วันนับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่ง (1.4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคล ให้แจ้ง ธปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติของบุคคลที่เป็นกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคลว่ามีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน และหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนด ตามแบบหนังสือรับรองแนบท้ายประกาศ ธปท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ (2) หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการและผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการ (2.1) ดูแลการประกอบธุรกิจให้มีการกําหนดกลยุทธ์ นโยบาย และแผนการดําเนินธุรกิจ รวมถึงดูแลให้มีการสื่อสารแผนกลยุทธ์และเป้าหมายการดําเนินธุรกิจไปยังพนักงาน (2.2) ดูแลการประกอบธุรกิจให้มีการกําหนดนโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพรองรับความเสี่ยงที่สําคัญ โดยคํานึงถึงรูปแบบ ความซับซ้อน และกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจ รวมถึงมีการทบทวนนโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ําเสมอหรือทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สําคัญหรือมีการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ต้องมีการติดตามและประเมินผลภาพรวมการประเมินความเสี่ยง ผลลัพธ์การดําเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง และสถานะความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงแนวโน้มความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น (2.3) ดูแลการประกอบธุรกิจให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยมีการสอบทานและถ่วงดุลอํานาจอย่างเหมาะสม รวมทั้งดูแลให้มีบุคลากรหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่ปฏิบัติงานบริหารจัดการความเสี่ยงและตรวจสอบอย่างเหมาะสม เพื่อให้การดําเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย กฎ และคําสั่งของ ธปท. และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2.4) ดูแลการประกอบธุรกิจให้มีระบบการรายงานการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และคําสั่งของ ธปท. และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ระเบียบหรือข้อบังคับภายในของกิจการเอง เพื่อให้กรรมการและฝ่ายจัดการสามารถติดตามหรือแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ (2.5) ดูแลให้มีการจัดทําและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานที่แท้จริงของผู้ประกอบธุรกิจ (3) การควบคุมภายใน (3.1) จัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการควบคุมภายในและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกํากับดูแล ควบคุม และตรวจสอบการดําเนินงานที่เหมาะสม รวมถึงมีสายการบังคับบัญชาและการรายงานที่ชัดเจน เพื่อให้มีการสอบทานและถ่วงดุลอํานาจอย่างเหมาะสม (3.2) จัดให้มีกระบวนการและแนวทางปฏิบัติในการควบคุมภายในซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจสอบรายการผิดปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือการทุจริตในการปฏิบัติงาน หรือการบริหารความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสมและรัดกุมเพียงพอ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับภายในของกิจการ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (3.3) จัดให้มีบุคลากรหรือหน่วยงานในการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้วยความเรียบร้อย (3.4) จัดให้มีการตรวจสอบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจัดทํารายงานผลการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการของนิติบุคคลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมทั้งจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบให้ ธปท. เป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดภายใน 45 วันนับแต่วันที่ทําการตรวจสอบแล้วเสร็จ โดยผู้ที่ทําหน้าที่ตรวจสอบดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ และมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานที่ทําหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ในกรณีที่ ธปท. เห็นว่าผลการตรวจสอบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง มีข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือมีข้อความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือในกรณีที่ ธปท. เห็นว่าจําเป็นหรือสมควร ธปท. อาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายนอกดําเนินการตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบให้ ธปท. ทราบ ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจเริ่มดําเนินการตรวจสอบและส่งสําเนาผลการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ข้างต้นในปีถัดไปนับแต่ปีที่ได้รับอนุญาต (4) การเปลี่ยนแปลงอํานาจควบคุมกิจการ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอํานาจควบคุมกิจการ เช่น ผู้ถือหุ้นมีความประสงค์ขายหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจนทําให้มีการถือหุ้นที่ทําให้มีบุคคลอื่นมีสิทธิ์ออกเสียงในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมด เป็นต้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการ ดังนี้ (4.1) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยจะต้องขอความเห็นชอบจาก ธปท. เป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดก่อนดําเนินการ โดยต้องชี้แจงรายละเอียดการดําเนินการ และประเมินผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการดําเนินธุรกิจและการให้บริการระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ พร้อมจัดส่งข้อมูลและเอกสารประกอบ โดย ธปท. จะพิจารณาภายใน 45 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ ธปท. อาจพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ก็ได้ หรืออาจพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้เป็นรายกรณีด้วยก็ได้ หรือสั่งระงับเป็นการชั่วคราว หรือเพิกถอนความเห็นชอบในภายหลังด้วยก็ได้ หากพบว่ามีการดําเนินการที่ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่แจ้งไว้ต่อ ธปท. หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด (4.2) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ให้แจ้ง ธปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงพร้อมทั้งรายละเอียดการดําเนินการ และประเมินผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการดําเนินธุรกิจและการให้บริการระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ 4.2.3 ด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย เพื่อให้ระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับมีความมั่นคงปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการของระบบและสาธารณชน ผู้ประกอบธุรกิจต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับรูปแบบ ขนาด ปริมาณธุรกรรม และความซับซ้อนของธุรกิจ ซึ่งอย่างน้อยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) นโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยง (1.1) กําหนดนโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงการระบุระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ให้ครอบคลุมการบริหารความเสี่ยง ทั้งที่เกิดจากระบบ ผู้ใช้บริการของระบบ และระบบที่มีความเชื่อมโยงกัน (interdependencies) โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของนิติบุคคลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (1.2) กําหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยง เช่น การระบุเหตุการณ์ความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยง เพื่อควบคุมหรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงกําหนดผู้รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยง โดยต้องรายงานผลการติดตามความเสี่ยงและสถานะความเสี่ยงให้คณะกรรมการหรือผู้บริหารที่ได้รับมอบหมายทราบในระยะเวลาที่เหมาะสม (1.3) กําหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) โดยมีการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อการหยุดชะงักของระบบที่ให้บริการ รวมทั้งจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) (1.4) จัดให้มีการทบทวนและทดสอบการปฏิบัติตามแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้ใช้บริการของระบบและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบอย่างมีนัยสําคัญ (2) การบริหารความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ (2.1) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศ ธปท. ว่าด้วยนโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ เพื่อให้ระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับมีมาตรฐานในการบริหารความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ มีความมั่นคงปลอดภัย (security) มีความถูกต้องเชื่อถือได้ (integrity) และมีความพร้อมในการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง (availability) (2.2) จัดให้มีการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศโดยผู้ตรวจสอบภายนอกที่เป็นอิสระ ซึ่งมีความรู้ และประสบการณ์ในการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบให้ ธปท. เป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ทําการตรวจสอบแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจเริ่มดําเนินการตรวจสอบและส่งสําเนาผลการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ข้างต้นในปีถัดไปนับแต่ปีที่ได้รับอนุญาต (3) การใช้บริการจากบุคคลภายนอก กรณีผู้ประกอบธุรกิจให้ผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่น (outsourcing) มาดําเนินการแทนในงานระบบสารสนเทศ รวมถึงงานที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อธุรกิจผู้ประกอบธุรกิจยังคงมีความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการของระบบในการให้บริการที่ต่อเนื่อง ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เสมือนกับเป็นการให้บริการโดยผู้ประกอบธุรกิจเองโดยผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการ ดังนี้ (3.1) จัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งการคัดเลือกติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการให้บริการของผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นอย่างเหมาะสมโดยประเมินความเสี่ยงของการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นอย่างสม่ําเสมอ ทั้งนี้ ในการประเมินความเสี่ยงควรครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความลับและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (data privacy) และผลกระทบต่อระบบงานที่สําคัญของผู้ประกอบธุรกิจ (3.2) จัดให้มีการทําสัญญาการใช้บริการ ซึ่งระบุสิทธิของผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภายนอก และ ธปท. ในการเข้าตรวจสอบการดําเนินงานและการควบคุมภายในของผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับนั้นได้ (3.3) จัดให้มีแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) หรือแผ่นฉุกเฉินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Disaster Recovery Plan: DRP) ที่ครอบคลุมถึงการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่น รวมทั้งต้องมีการทดสอบและทบทวนการปฏิบัติตามแผนอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง (3.4) กรณีที่มีการเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นในต่างประเทศ โดยเฉพาะการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล หรือการดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการในต่างประเทศนั้น เช่นความเสี่ยงจากการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลอันเนื่องมาจากการขัดข้องหรือการปิดกั้นเครือข่ายสื่อสารหรือระบบสื่อสารระหว่างประเทศ (information access risk) และความเสี่ยงด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของต่างประเทศ (cross-border compliance) และจัดให้มีแผนรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (4) การเปลี่ยนแปลงการดําเนินงาน กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงการดําเนินงานไปจากที่ได้รับอนุญาต หรือที่เคยขออนุญาตเพิ่มเติม หรือเคยแจ้งให้ ธปท. ทราบ แล้วแต่กรณี ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการ ดังนี้ (4.1) การเพิ่มบริการใหม่ หรือยกเลิกบริการเดิมที่ได้รับอนุญาตไว้ให้ยื่นขออนุญาตเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ต่อ ธปท. ก่อนเริ่มดําเนินการ พร้อมทั้งจัดส่งข้อมูลและเอกสารประกอบการพิจารณา โดย ธปท. จะใช้เวลาพิจารณาภายใน 30 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ ธปท. อาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรืออาจพิจารณาอนุญาตโดยกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้เป็นรายกรณีด้วยก็ได้ หรือสั่งระงับเป็นการชั่วคราว หรือเพิกถอนการอนุญาตในภายหลังด้วยก็ได้ หากพบว่ามีการดําเนินการที่ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง ที่แจ้งเพื่อขออนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด (4.2) การย้ายสํานักงานใหญ่ ให้ยื่นขออนุญาตเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ต่อ ธปท. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนเริ่มดําเนินการ (4.3) กรณีดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด (4.3.1) ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ กรณีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งแตกต่างจากที่ได้รับอนุญาตไว้ โดยให้ส่งข้อมูลรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการให้บริการดังกล่าว และประเมินผลกระทบด้านระบบสารสนเทศตามแบบประเมินแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ 1) (4.3.2) ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ กรณีการเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศอย่างมีสาระสําคัญ หรือมีผลกระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบให้บริการ ให้แจ้ง ธปท. ทราบ โดยแสดงแผนภาพของระบบสารสนเทศ และระบุส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงสําคัญจากที่เคยได้รับอนุญาตหรือที่ได้แจ้งไว้กับ ธปท. บนแผนภาพให้ชัดเจน และประเมินผลกระทบด้านระบบสารสนเทศตามแบบประเมินแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ 1) (4.3.3) ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนเริ่มดําเนินการ กรณีการเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีตามข้อ (4.3.1) และ (4.3.2) ธปท. อาจให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งข้อมูลเพิ่มเติม หรือทักท้วง หรือกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามความเหมาะสมก่อนเริ่มดําเนินการด้วยก็ได้ โดยในการดําเนินการดังกล่าว ธปท. จะแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบ (4.4) กรณีดังต่อไปนี้ ให้แจ้งผู้ใช้บริการของระบบทราบล่วงหน้า (4.4.1) ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนเริ่มดําเนินการ กรณีการเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคล การแจ้งผู้ใช้บริการของระบบ ให้ดําเนินการอย่างน้อย 2 ช่องทางโดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ (5) การหยุดให้บริการชั่วคราวหรือเกิดปัญหาหรือความบกพร่องในการให้บริการ กรณีหยุดให้บริการชั่วคราว หรือเกิดปัญหาหรือความบกพร่องในการให้บริการระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (5.1) กรณีหยุดให้บริการชั่วคราวอันเกิดจากการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเช่น การปิดปรับปรุงระบบงานสําคัญที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง (5.1.1) แจ้ง ธปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ (5.1.2) แจ้งผู้ใช้บริการของระบบทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนเริ่มดําเนินการ อย่างน้อย 2 ช่องทาง โดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ (5.2) กรณีหยุดให้บริการชั่วคราวซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างที่ไม่ได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า หรือกรณีที่เกิดปัญหาหรือความบกพร่องในการให้บริการระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งผลกระทบต่อการให้บริการ ระบบงาน หรือชื่อเสียงของผู้ประกอบธุรกิจ รวมถึงกรณีเทคโนโลยีสารสนเทศที่สําคัญของผู้ประกอบธุรกิจถูกโจมตีหรือถูกขู่โจมตีจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเป็นปัญหาหรือเหตุการณ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องรายงานต่อผู้บริหารในตําแหน่งสูงสุดของผู้ประกอบธุรกิจทราบ (5.2.1) แจ้งปัญหาหรือเหตุการณ์ดังกล่าวให้ ธปท. ทราบทันทีเมื่อเกิดหรือรับรู้ปัญหาหรือเหตุการณ์นั้น และให้แจ้งสาเหตุและการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมภายหลังเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดโดยเร็ว (5.2.2) แจ้งผู้ใช้บริการของระบบทราบโดยเร็วนับแต่เวลาที่เกิดหรือรับรู้ปัญหาหรือเหตุการณ์นั้น โดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ (6) การหยุดประกอบธุรกิจหรือไม่ประกอบธุรกิจตามปกติ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจหยุดประกอบธุรกิจหรือไม่ดําเนินธุรกิจตามปกติเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี รัฐมนตรีมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตของผู้ประกอบธุรกิจนั้นได้ (7) การรายงานและส่งงบการเงินต่อ ธปท. (7.1) ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทํางบการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงาน และจัดส่งให้ ธปท. นับแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (7.1.1) งวดบัญชีในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีบัญชี ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งงบการเงินงวด 6 เดือนแรกของปีบัญชี ให้ ธปท. ภายใน 45 วันนับแต่วันสิ้นงวด (7.1.2) งวดประจําปีบัญชี ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งงบการเงินประจําปีที่ตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้ ธปท. ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นงวด (7.2) รายงานรายชื่อผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้น 10 อันดับแรกโดยรวมถึงสัญชาติผู้ถือหุ้น ให้ ธปท. พร้อมกับการส่งงบการเงินงวดประจําปีบัญชีสําหรับรัฐวิสาหกิจให้ส่งงบการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานให้ ธปท. ภายใน 45 วันนับแต่วันที่สํานักงานตรวจเงินแผ่นดินเห็นชอบงบการเงินตามข้อ (7.1.1) และ (7.1.2) พร้อมรายงานรายชื่อผู้ถือหุ้นตามข้อ (7.2) 4.2.4 ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการของระบบ เพื่อดูแลให้ผู้ประกอบธุรกิจเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของระบบอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการ มีการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการของระบบ และบริหารจัดการข้อร้องเรียนได้อย่างเหมาะสมผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดและเปิดเผยข้อตกลงในการให้บริการ กําหนดข้อตกลงในการให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเปิดเผยให้ผู้ใช้บริการของระบบทราบอย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1.1) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจและผู้ใช้บริการของระบบ ทั้งในกรณีปกติและกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน (1.2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติในการให้บริการ (1.3) ความเสี่ยงทางการเงิน (financial risk) หรือความเสี่ยงอื่นใดที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการ (ถ้ามี) เพื่อให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการใช้บริการได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ติดตามดูแลให้ผู้ใช้บริการของระบบปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กําหนด โดยจัดให้มีวิธีการดําเนินการกับผู้ใช้บริการของระบบที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนด และในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งทําให้ผู้ใช้บริการของระบบเสียประโยชน์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการของระบบทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ โดยแจ้งข้อมูลรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ (2) การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการของระบบ ต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการของระบบ โดยต้องดําเนินการ ดังนี้ (2.1) กําหนดนโยบายในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการของระบบ การกําหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูล และการระบุตัวบุคคลที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งจัดให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และป้องกันผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าถึงหรือแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษา (2.2) รักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการของระบบ โดยจะไม่เปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นตลอดระยะเวลาการใช้บริการและภายหลังที่เลิกใช้บริการแล้ว เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในกรณีต่อไปนี้ (2.2.1) การเปิดเผยโดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือหรือวิธีการอื่นใดทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดร่วมกับผู้ใช้บริการของระบบ (2.2.2) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวน หรือการพิจารณาคดี (2.2.3) การเปิดเผยแก่ผู้สอบบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจ (2.2.4) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการกําหนดนโยบายและกํากับดูแลระบบการชําระเงินของ ธปท. (2.2.5) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย (3) การเปิดเผยค่าธรรมเนียม ดําเนินการให้มีการเปิดเผยค่าธรรมเนียม ดังนี้ (3.1) เปิดเผยรายละเอียดของค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการของระบบ ซึ่งรวมถึงนโยบายการให้ส่วนลด (discount policies) (ถ้ามี) โดยแจ้งข้อมูลค่าธรรมเนียมดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ ทั้งนี้ ในการกําหนดค่าธรรมเนียม ผู้ประกอบธุรกิจต้องคํานึงถึงความเป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการของระบบด้วย (3.2) กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียม ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการของระบบทราบรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมดังกล่าว ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ โดยในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบเสียประโยชน์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการของระบบทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ (3.3) จัดส่งรายละเอียดค่าธรรมเนียมให้ ธปท. ทราบโดยเร็วด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด นับแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจและทุก ๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง (4) การดําเนินการเมื่อมีข้อร้องเรียน ดําเนินการเมื่อมีการร้องเรียนหรือมีข้อโต้แย้งจากผู้ใช้บริการของระบบรวมทั้งกําหนดกรอบเวลาเพื่อหาข้อยุติ ดังนี้ (4.1) จัดให้มีช่องทางและวิธีการสําหรับการรับข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการของระบบ โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่สํานักงานหรือที่อยู่สําหรับติดต่อทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถติดต่อได้ (4.2) กําหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนการดําเนินการและกรอบระยะเวลาเพื่อหาข้อยุติเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งจัดอบรมวิธีปฏิบัติดังกล่าวให้พนักงานที่เกี่ยวข้องโดยผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการตรวจสอบและแจ้งความคืบหน้า รวมทั้งชี้แจงขั้นตอนการดําเนินการพร้อมทั้งแจ้งกําหนดเวลาในการแก้ไขข้อร้องเรียนให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการร้องเรียน (4.3) ดําเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จและแจ้งผลการดําเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบโดยเร็ว 4.2.5 ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและมีการนํานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชําระเงินอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) การประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (1.1) กําหนดเป้าหมายในการให้บริการที่สามารถประเมินและวัดผลได้ เช่น ระดับความพร้อมใช้งานของระบบ (system availability) รวมถึงจัดให้มีการติดตามและประเมินผลพร้อมทั้งรายงานผลให้คณะกรรมการของนิติบุคคลทราบอย่างสม่ําเสมอ ตลอดจนเปิดเผยผลการดําเนินงานตามเป้าหมายในการให้บริการที่สําคัญให้ผู้ใช้บริการของระบบทราบด้วย (1.2) จัดให้มีการสํารวจและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้บริการของระบบ ในเรื่องเกี่ยวกับการให้บริการที่สําคัญอย่างสม่ําเสมอ เช่น ขอบเขตในการให้บริการ ฟังก์ชั่นในการใช้งานระบบ หรือทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีหรือกระบวนการ เป็นต้น เพื่อพัฒนาและปรับปรุงให้ระบบตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการของระบบ และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 4.3 การยกเว้นหลักเกณฑ์การกํากับดูแลทั่วไป สําหรับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รัฐวิสาหกิจ และนิติบุคคลต่างประเทศ เนื่องจาก มีกฎหมายในการกํากับดูแลเป็นการเฉพาะแล้ว (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรัฐวิสาหกิจให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านฐานะทางการเงิน ตามข้อ 4.2.1 (1) - (5) และหลักเกณฑ์ด้านธรรมาภิบาล ตามข้อ 4.2.2 (1.3) และ (4) (2) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่มีกฎหมายเฉพาะกําหนดหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลต้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยไว้แล้วและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ ธปท. หากได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ดังกล่าวแล้วให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ในเรื่องดังต่อไปนี้ (2.1) การแจ้งเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคลตามข้อ 4.2.2 (1.4) (2.2) การจัดให้มีการตรวจสอบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงและจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบ ตามข้อ 4.2.2 (3.4) (2.3) การจัดให้มีการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศและจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบ ตามข้อ 4.2.3 (2.2) (2.4) การขออนุญาตย้ายสํานักงานใหญ่ ตามข้อ 4.2.3 (4.2) (2.5) การแจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคล ตามข้อ 4.2.3 (4.3.3) และ (4.4.1) (2.6) การแจ้งหยุดให้บริการชั่วคราว ตามข้อ 4.2.3 (5) (2.7) การรายงานและส่งงบการเงิน ตามข้อ 4.2.3 (7) (2.8) การจัดส่งรายละเอียดค่าธรรมเนียม ตามข้อ 4.2.4 (3.3) (3) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (3.1) ด้านฐานะทางเงิน ตามข้อ 4.2.1 (1) - (5) (3.2) ด้านธรรมาภิบาล ตามข้อ 4.2.2 (1.1) (1.3) - (1.4) และ (2) - (3) (3.3) ด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย ตามข้อ 4.2.3 (1.4) (2.2) (3) (4.1) - (4.2) (4.3.1) - (4.3.2) (5.1) และ (7) ทั้งนี้ ให้จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับยกเว้นข้างต้นไว้ให้เป็นปัจจุบันเพื่อให้พร้อมสําหรับการตรวจสอบของ ธปท. และเมื่อ ธปท. ร้องขอ 4.4 การขอขยายระยะเวลาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดําเนินการดังต่อไปนี้ ได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด โดยมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขออนุญาตขยายระยะเวลาพร้อมชี้แจงเหตุผล ความจําเป็น และกําหนดเวลาที่จะดําเนินการแล้วเสร็จต่อ ธปท. เป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดย ธปท. อาจจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรืออาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ (1) การแจ้งการเพิ่มทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว ตามข้อ 4.2.1 (4) (2) การแต่งตั้งกรรมการสัญชาติไทย ตามข้อ 4.2.2 (1.3) (3) การแจ้งเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคล ตามข้อ 4.2.2 (1.4) (4) การจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงตามข้อ 4.2.2 (3.4) (5) การจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศตามข้อ 4.2.3 (2.2) (6) การยื่นขออนุญาตหรือแจ้งให้ ธปท. ทราบการเปลี่ยนแปลงการดําเนินงานตามข้อ 4.2.3 (4.2) - (4.4) (7) การแจ้งหยุดให้บริการชั่วคราว ตามข้อ 4.2.3 (5.1) (8) การรายงานและส่งงบการเงิน ตามข้อ 4.2.3 (7) 4.5 หลักเกณฑ์เฉพาะในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (Inter-institution Fund Transfer System) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะสามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉินและมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องเป็นวงกว้าง (Systemic risk) ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ดังต่อไปนี้ และจัดทํารายงานการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง พร้อมทั้งจัดส่งรายงานดังกล่าวให้ ธปท. ทุกไตรมาส ภายใน 45 วันนับแต่วันสิ้นไตรมาส ตามแบบรายงานแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ 2) (1.1) สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารง ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ณ สิ้นวัน ในแต่ละไตรมาส ไม่ต่ํากว่าผลรวมของค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจในช่วง 6 เดือนก่อนหน้าวันที่ต้องเริ่มดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง 3 เดือนโดยต้องเริ่มดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ ต้นทุนขาย ต้นทุนบริการค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการบริหาร แต่ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายทางบัญชีที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย ตามมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนด (1.2) คุณสมบัติของสินทรัพย์สภาพคล่อง สินทรัพย์สภาพคล่องที่ใช้สําหรับการดํารงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ (1.1) ต้องเป็นสินทรัพย์ประเภท เงินสด เงินฝาก หรือตราสารหนี้ที่ออกหรือค้ําประกันโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลาง ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน (unencumbered) หรือสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพคล่องตามที่ ธปท. ประกาศกําหนด ทั้งนี้ การวัดมูลค่าตราสารหนี้ที่ออกหรือค้ําประกันโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลาง ให้ใช้มูลค่าตามราคาตลาด (mark-to-market price) หรือมูลค่ายุติธรรมตามมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนด ทั้งนี้ สําหรับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรัฐวิสาหกิจให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ตามข้อ 4.5 (1) (2) กําหนดหลักเกณฑ์การเข้าร่วมและออกจากระบบ (access and exit regime) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานระบบการชําระเงินได้อย่างเป็นธรรมซึ่งอย่างน้อยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (2.1) กําหนดวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฏิบัติ และค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมและออกจากระบบไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และเปิดเผยให้ผู้ใช้บริการของระบบและสาธารณชนทราบโดยทั่วถึง เช่น ประกาศทางเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยคํานึงถึงหลักการในการเข้าถึงบริการที่เป็นธรรมและเปิดกว้าง (fair and open access) รวมถึงเปิดให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถเลือกใช้บริการที่ต้องการได้ กรณีผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบมีการเปลี่ยนแปลง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฏิบัติ และค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมและการออกจากระบบ ต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนเริ่มดําเนินการ และเปิดเผยให้ผู้ใช้บริการของระบบและสาธารณชนทราบโดยทั่วถึง เช่น ประกาศทางเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ธปท. อาจให้ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบส่งข้อมูลเพิ่มเติม หรือทักท้วง หรือกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบปฏิบัติตามความเหมาะสมก่อนเริ่มดําเนินการด้วยก็ได้ โดยในการดําเนินการดังกล่าว ธปท. จะแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบทราบ (2.2) จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์ผลกระทบที่เกี่ยวข้องจากการรับผู้ใช้บริการของระบบรายใหม่ที่เข้าร่วมใช้ระบบ ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบกําหนด เช่น ฐานะทางการเงิน และความพร้อมในการเชื่อมต่อและใช้ระบบเพื่อให้มั่นใจว่าการรับผู้ใช้บริการของระบบรายใหม่ จะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและผลกระทบต่อการใช้บริการของผู้ใช้บริการของระบบรายเดิม (2.3) เปิดเผยรายชื่อผู้ใช้บริการของระบบที่เป็นปัจจุบัน ให้ผู้ใช้บริการของระบบและสาธารณชนทราบโดยทั่วถึง เช่น ประกาศทางเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจ (3) จัดให้มีมาตรการจัดการความเสี่ยง เพื่อให้การชําระดุลระหว่างผู้ใช้บริการของระบบสําเร็จลุล่วง โดยมีการชําระเงินตามภาระผูกพันภายในเวลาที่กําหนด เช่น การบริหารจัดการหรือติดตามหนี้สิน การจํากัดการทําธุรกรรมระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ การวางหลักประกันเพื่อรองรับการชําระดุล หรือการรับประกันการชําระดุล เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบควรพิจารณาเลือกใช้มาตรการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับรูปแบบการให้บริการ กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตรการจัดการความเสี่ยงไปจากที่ได้รับอนุญาตไว้ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ และแจ้งให้ผู้ใช้บริการของระบบทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ อย่างน้อย 2 ช่องทางโดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ (4) จัดให้มีกระบวนการและวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อรองรับกรณีที่ผู้ใช้บริการของระบบรายใดรายหนึ่งไม่สามารถชําระดุลได้ ซึ่งครอบคลุมกรณีที่ผู้ใช้บริการของระบบถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือพิพากษาให้ล้มละลาย เช่น การแจ้งผู้ใช้บริการของระบบรายอื่น การหยุดรับส่งรายการและการคํานวณดุลการหักบัญชีใหม่โดยนํารายการของผู้ใช้บริการของระบบที่ไม่สามารถชําระดุลได้ออก (unwind) เป็นต้น และต้องเปิดเผยกระบวนการและวิธีปฏิบัติดังกล่าวให้ผู้ใช้บริการของระบบทราบโดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบมีหน้าที่ต้องติดตามดูแลให้ผู้ใช้บริการของระบบปฏิบัติตามกระบวนการและวิธีปฏิบัติดังกล่าวด้วย กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและวิธีปฏิบัติไปจากที่ได้รับอนุญาตไว้ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ และแจ้งให้ผู้ใช้บริการของระบบทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ อย่างน้อย 2 ช่องทางโดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ (5) ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบต้องแจ้ง ธปท. ทราบด้วยวาจาหรือโดยวิธีการอื่นใดโดยทันทีเมื่อมีเหตุ ดังนี้ (5.1) กรณีที่ผู้ใช้บริการของระบบรายใดรายหนึ่งไม่สามารถชําระดุลได้ด้วยวิธีการปกติและตามเวลาที่กําหนด เช่น ระบบงานของผู้ใช้บริการของระบบขัดข้อง ผู้ใช้บริการของระบบรายใดรายหนึ่งมีเงินไม่เพียงพอสําหรับการชําระดุล โดยต้องใช้มาตรการจัดการความเสี่ยง กระบวนการและวิธีปฏิบัติที่กําหนดเพื่อให้กระบวนการชําระดุลสําเร็จลุล่วง (5.2) กรณีที่ระบบของผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระดุลขัดข้อง ทําให้ไม่สามารถชําระดุลระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ด้วยวิธีการปกติและตามเวลาที่กําหนด ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการชําระดุลในระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญที่ ธปท. ดําเนินการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบต้องจัดทํารายงานปัญหากรณีเกิดเหตุดังกล่าวข้างต้น ตามแบบรายงานที่ ธปท. กําหนดแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 3) ส่งให้ ธปท. ภายในวันทําการถัดจากวันเกิดเหตุ (6) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบมีการระงับการให้บริการกับผู้ใช้บริการของระบบรายใดรายหนึ่งเป็นการชั่วคราว ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการของระบบรายอื่นทราบโดยทันทีและในกรณีที่มีการยกเลิกการให้บริการกับผู้ใช้บริการของระบบรายใดรายหนึ่ง ให้แจ้งผู้ใช้บริการของระบบรายอื่นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน อย่างน้อย 2 ช่องทาง โดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบต้องแจ้ง ธปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีการระงับหรือยกเลิกการให้บริการ แล้วแต่กรณี 4.6 หลักเกณฑ์เฉพาะในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตร (Payment Card Network) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตรมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงคุ้มครองผู้ใช้บริการของระบบและสาธารณชนในประเทศไทยผู้ประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตรต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ให้นําความในข้อ 4.5 (3) - (6) มาใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตรด้วย (2) กรณีผู้ประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตรที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศต้องดําเนินการ ดังนี้ (2.1) จัดให้มีสํานักงานสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในประเทศไทย และแต่งตั้งบุคคลอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการแทนนิติบุคคลในสํานักงานดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานและติดต่อประสานงานกับสํานักงานในต่างประเทศ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการย้ายสํานักงานสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในประเทศไทยจากที่เดิมที่ได้รับอนุญาตไว้ ให้ยื่นขออนุญาตเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ต่อ ธปท. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนเริ่มดําเนินการ (2.2) กรณีหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศมีคําสั่ง หรือมีการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับผู้ประกอบธุรกิจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตร และอาจมีผลกระทบต่อการให้บริการระบบเครือข่ายบัตรในประเทศไทย ต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่หน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลนิติบุคคลตามกฎหมายมีคําสั่งให้ดําเนินการ 4.7 หลักเกณฑ์เฉพาะในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจระบบการชําระดุล (Settlement System) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระดุลมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องเป็นวงกว้าง (systemic risk) ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระดุลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ให้นําความในข้อ 4.5 (6) มาใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระดุลด้วย (2) กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และขั้นตอนการดําเนินการเกี่ยวกับผลสมบูรณ์ของการชําระดุล (finality) โดยกําหนดกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการชําระดุล ระยะเวลาที่ใช้ในการชําระดุลและจุดที่การชําระดุลมีผลสมบูรณ์ (point of finality) ไม่สามารถเพิกถอน กลับรายการ หรือแก้ไขได้ (3) จัดให้มีวิธีการชําระดุลเพื่อปรับฐานะความเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของผู้ใช้บริการของระบบที่เหมาะสม โดยคํานึงถึงความเสี่ยงจากการชําระดุล (settlement risk) ที่อาจทําให้ไม่สามารถชําระดุลได้สําเร็จลุล่วงและส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการของระบบรายอื่น (4) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระดุลไม่สามารถดําเนินการปรับฐานะความเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของผู้ใช้บริการของระบบได้ด้วยวิธีการปกติและตามเวลาที่กําหนด เช่น ผู้ใช้บริการของระบบมีเงินไม่เพียงพอสําหรับการชําระดุล หรือระบบของผู้ประกอบธุรกิจระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ หรือระบบของผู้ประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตรขัดข้องทําให้ไม่สามารถคํานวณยอดเงินแสดงความเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของผู้ใช้บริการของระบบ หรือไม่สามารถส่งข้อมูลดังกล่าวไปเพื่อทําการชําระดุล ให้ผู้ประกอบธุรกิจการชําระดุลแจ้งให้ ธปท. ทราบด้วยวาจา หรือโดยวิธีการอื่นใดโดยทันทีนับแต่เวลาที่เกิดเหตุ และต้องจัดทํารายงานปัญหากรณีเกิดเหตุดังกล่าวตามแบบรายงานที่ ธปท. กําหนดแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 4) ส่งให้ ธปท. ภายในวันทําการถัดจากวันเกิดเหตุ 4.8 การขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้ โดยมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการให้บริการอย่างต่อเนื่องหรือต่อความน่าเชื่อถือของระบบการชําระเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็นต่อ ธปท. เป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดย ธปท. อาจจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรือกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ 4.9 หลักเกณฑ์การเลิกประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีความประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีผ่าน ธปท. ไม่น้อยกว่า 90 วันก่อนวันประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ในการพิจารณาอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับรัฐมนตรีจะแจ้งผลภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและได้รับเอกสารถูกต้องครบถ้วน รัฐมนตรีอาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้บริการของระบบหรือสาธารณชนก่อนเลิกประกอบธุรกิจก็ได้ เมื่อรัฐมนตรีอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจเลิกประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งผู้ใช้บริการของระบบทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันก่อนเลิกประกอบธุรกิจ อย่างน้อย 2 ช่องทางโดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถทราบได้ และให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งคืนใบอนุญาตต่อ ธปท. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบธุรกิจ อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,815
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 6/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกำกับดูแล การประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 6/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแล การประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกํากับดูแลการให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกํากับดูแลให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความน่าเชื่อถือ และคุ้มครองผู้ใช้บริการ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ โดยกําหนดกรอบหลักการในการกํากับดูแลเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจให้ความสําคัญในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านฐานะทางการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงเพียงพอต่อการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง 2) ด้านธรรมาภิบาล ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการกิจการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี และดูแลให้มีการควบคุมภายในอย่างเหมาะสม 3) ด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย ผู้ประกอบธุรกิจต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจได้อย่างเหมาะสม 4) ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลให้ผู้ใช้บริการได้รับความเป็นธรรมในการให้บริการ มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการ เก็บรักษาข้อมูลความลับของผู้ใช้บริการ และมีการบริหารจัดการข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม นอกจากกรอบหลักการในการกํากับดูแลดังกล่าวข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความสําคัญกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่มีความเท่าเทียมกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ สามารถเข้ามาประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับแต่ละประเภทเพิ่มเติมจากการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลตามประกาศฉบับนี้ด้วย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ "ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ" หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน "ผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการ" หมายความว่า (1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการหรือกรรมการหรือการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ "สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ " หมายความว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น “ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4.2 หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแล ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 4.2.1 ด้านฐานะทางการเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมีความน่าเชื่อถือมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงเพียงพอต่อการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉินผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่ต่ํากว่าที่กําหนดตามประกาศ ธปท.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (2) มีฐานะทางการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ เช่น ฐานะและผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ส่วนของผู้ถือหุ้น (3) ห้ามลดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. (4) การเพิ่มทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว ให้แจ้ง ธปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเพิ่มทุน สําหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ขึ้นทะเบียนกับ ธปท. ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ (1) (3) และ (4) 4.2.2 ด้านธรรมาภิบาล เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมีระบบการบริหารจัดการกิจการ และการควบคุมภายในที่ดี มีโครงสร้างองค์กรที่มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอํานาจ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี มีกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกําหนด มีการกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการ และหน่วยงานต่าง ๆ อย่างชัดเจนเหมาะสม (1) ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1.1) ประกอบธุรกิจโดยปฏิบัติตามแผน นโยบาย มาตรการ และระบบต่าง ๆ ตามที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียน แล้วแต่กรณี หรือที่ได้แจ้งไว้กับ ธปท. (1.2) ดูแลและสอบทานให้กรรมการและผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงินและประกาศ ธปท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (1.3) มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมีสัญชาติไทยและมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย ในกรณีมีเหตุให้กรรมการดังกล่าวพันจากตําแหน่ง จนเป็นเหตุให้ไม่มีกรรมการที่มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งกรรมการซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวภายใน 45 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่ง (1.4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคล ให้แจ้ง ธปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติของบุคคลที่เป็นกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคลว่ามีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงินและหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกําหนด ตามแบบหนังสือรับรองแนบท้ายประกาศ ธปท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (1.5) จัดโครงสร้างองค์กรให้มีหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับให้ชัดเจน (2) กรรมการและผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ (2.1) ดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับให้มีนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพรองรับความเสี่ยงที่สําคัญและกลยุทธ์ในการให้บริการ และมีการทบทวนนโยบายและระบบบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ําเสมอหรือทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สําคัญหรือมีการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการอย่างมีนัยสําคัญ (2.2) ดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพครอบคลุมธุรกรรมต่าง ๆ ของการให้บริการการชําระเงินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎ และคําสั่งของ ธปท. และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2.3) ดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับให้มีระบบการรายงานการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และคําสั่งของ ธปท. และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ระเบียบหรือข้อบังคับภายในของกิจการเอง เพื่อให้กรรมการและฝ่ายจัดการสามารถติดตามหรือแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ (2.4) ดูแลให้มีการจัดทําและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานที่แท้จริงของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (3) การควบคุมภายใน ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดีมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องครอบคลุมในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (3.1) จัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการควบคุมภายในและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกํากับดูแล ควบคุม และตรวจสอบการดําเนินงานที่เหมาะสม รวมถึงมีสายการบังคับบัญชาและการรายงานที่ชัดเจน เพื่อให้มีการสอบทานและถ่วงดุลอํานาจอย่างเหมาะสม (3.2) จัดให้มีกระบวนการและแนวทางปฏิบัติในการควบคุมภายในซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจสอบรายการผิดปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผิดพลาดหรือการทุจริตในการปฏิบัติงาน หรือการบริหารความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสมและรัดกุมเพียงพอ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อบังคับภายในของกิจการ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (3.3) จัดให้มีบุคลากรหรือหน่วยงานในการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้วยความเรียบร้อย (3.4) จัดให้มีการตรวจสอบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจัดทํารายงานผลการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมส่งสําเนาผลการตรวจสอบให้ธปท. เป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ทําการตรวจสอบแล้วเสร็จ โดยผู้ที่ทําหน้าที่ตรวจสอบดังกล่าว จะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ และมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานที่ทําหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ ในกรณีที่ ธปท. เห็นว่าผลการตรวจสอบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง มีข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือมีข้อความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือในกรณีที่ ธปท.เห็นว่าจําเป็นหรือสมควร ธปท. อาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายนอกดําเนินการตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบให้ ธปท. ทราบ 4.2.3 ด้านการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับรูปแบบการประกอบธุรกิจ โดยกระบวนการหรือระบบบริหารความเสี่ยงต้องสามารถระบุ ประเมิน ติดตามควบคุมหรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างน้อยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงในการให้บริการการชําระเงินอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจ ขนาด ปริมาณธุรกรรม และความซับซ้อนของการให้บริการ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งต้องมีการกําหนดแนวทาง วิธีการ ผู้รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยง ประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางและวิธีการที่กําหนด และต้องรายงานผลการปฏิบัติดังกล่าวให้คณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการ หรือผู้บริหารที่ได้รับมอบหมายทราบภายในระยะเวลาที่เหมาะสม (2) จัดให้มีแนวทางการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business ContinuityManagement: BCM) และแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) เพื่อรองรับกรณีการเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับประเภทและความซับซ้อนของการประกอบธุรกิจเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (3) จัดให้มีระบบงานที่สามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้ (4) การบริหารความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ (4.1) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศ ธปท. ว่าด้วยนโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ เพื่อให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมีมาตรฐานในการบริหารความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ มีความมั่นคงปลอดภัย (Security) มีความถูกต้องเชื่อถือได้ (Integrity) และมีความพร้อมในการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง (Availability) (4.2) จัดให้มีการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และจัดทํารายงานผลการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมส่งสําเนาผลการตรวจสอบให้ธปท. เป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ทําการตรวจสอบแล้วเสร็จ โดยผู้ที่ทําหน้าที่ตรวจสอบดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ และมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานที่ทําหน้าที่ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ทั้งนี้ ในกรณีที่ ธปท. เห็นว่าผลการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ มีข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือมีข้อความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือในกรณีที่ ธปท. เห็นว่าจําเป็นหรือสมควร ธปท. อาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายนอกดําเนินการตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบให้ ธปท. ทราบ (5) การใช้บริการจากบุคคลภายนอก กรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับให้ผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่น (Outsourcing) มาดําเนินการแทนในงานระบบสารสนเทศ รวมถึงงานที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับยังคงมีความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการในการให้บริการที่ต่อเนื่อง ปลอดภัยน่าเชื่อถือ และความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เสมือนกับเป็นการให้บริการโดยผู้ประกอบธุรกิจเองโดยผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (5.1) จัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งการคัดเลือก ติดตามประเมินผล และตรวจสอบการให้บริการของผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นอย่างเหมาะสม โดยประเมินความเสี่ยงของการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นอย่างสม่ําเสมอ ทั้งนี้ ในการประเมินความเสี่ยง ควรครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความลับและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) และผลกระทบต่อระบบงานที่สําคัญของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (5.2) จัดให้มีการทําสัญญาการใช้บริการ ซึ่งระบุสิทธิของผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภายนอก และ ธปท. ในการเข้าตรวจสอบการดําเนินงานและการควบคุมภายในของผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับนั้นได้ (5.3) จัดให้มีแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan) หรือแผนฉุกเฉินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Disaster Recovery Plan) ที่ครอบคลุมถึงการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่น รวมทั้งต้องมีการทดสอบและทบทวนการปฏิบัติตามแผนอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง (5.4) กรณีที่มีการเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นในต่างประเทศ โดยเฉพาะในด้านการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล หรือการดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับข้อมูล ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการในต่างประเทศนั้น เช่น ความเสี่ยงจากการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลอันเนื่องมาจากการขัดข้องหรือการปิดกั้นเครือข่ายสื่อสารหรือระบบสื่อสารระหว่างประเทศ (Information Access Risk) และความเสี่ยงด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของต่างประเทศ (Cross- border Compliance) และจัดให้มีแผนรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (6) การแต่งตั้งตัวแทน กรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมีการแต่งตั้งตัวแทน (Agent) ให้ดําเนินการแทนในการให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศ รปท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ซึ่งมีหลักการให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการเสมือนกับการให้บริการโดยผู้ประกอบธุรกิจเอง (7) การเปลี่ยนแปลงการดําเนินงาน กรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับได้เปลี่ยนแปลงการดําเนินงานไปจากที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียน หรือที่เคยขออนุญาตเพิ่มเติมหรือเคยแจ้งให้ธปท. ทราบ แล้วแต่กรณี ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับดําเนินการ ดังนี้ (7.1) การย้ายสํานักงานใหญ่ ให้ยื่นขออนุญาตเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดต่อ ปท. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนเริ่มดําเนินการ (7.2) กรณีดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด (7.2.1) ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ กรณีการเพิ่มยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการให้บริการแตกต่างจากที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนไว้แล้วแต่กรณี โดยให้ส่งข้อมูลรายละเอียดของการเพิ่ม ยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และประเมินผลกระทบด้านระบบสารสนเทศตามแบบประเมินแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ 1) (7.2.2) ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ กรณีการเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศอย่างมีสาระสําคัญ หรือมีผลกระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบให้บริการ ให้แจ้ง ธปท. ทราบ โดยแสดงแผนภาพของระบบสารสนเทศ และระบุส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงสําคัญจากที่เคยได้รับอนุญาตบนแผนภาพให้ชัดเจน และประเมินผลกระทบด้านระบบสารสนเทศตามแบบประเมินแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ 1) (7.2.3) ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนเริ่มดําเนินการ กรณีการเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีตามข้อ (7.2.1) และ (7.2.2) ธปท. อาจให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งข้อมูลเพิ่มเติม หรือทักท้วง หรือกําหนดหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับปฏิบัติตามความเหมาะสมก่อนเริ่มดําเนินการด้วยก็ได้ โดยในการดําเนินการดังกล่าว ธปท. จะแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับทราบ (7.3) จัดทําสรุปรายงานการเปิดสํานักงานสาขาแห่งใหม่ การย้าย หรือการปิดสํานักงานสาขาที่ให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับเป็นรายไตรมาส พร้อมส่งให้ ธปท. ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นไตรมาส ตามแบบรายงานแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ 2) ทั้งนี้ สํานักงานสาขาไม่รวมถึงจุดให้บริการชั่วคราว หรือสํานักงานหรือจุดให้บริการของตัวแทนที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับแต่งตั้ง โดยการรายงานให้เริ่มตั้งแต่ใตรมาสแรกที่ได้เริ่มประกอบธุรกิจ (7.4) กรณีดังต่อไปนี้ ให้แจ้งผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า (7.4.1) ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนเริ่มดําเนินการ กรณีการเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคล (7.4.2) ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ กรณีย้าย หรือปิดสํานักงานสาขา การแจ้งผู้ใช้บริการให้ดําเนินการอย่างน้อย 2. ช่องทาง โดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือประกาศทางหนังสือพิมพ์หรือปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทําการหรือจุดให้บริการของตัวแทนแต่ละแห่งที่ให้บริการก็ได้ (8) กรณีหยุดให้บริการชั่วคราว หรือเกิดปัญหาหรือความบกพร่องในการให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (8.1) กรณีหยุดให้บริการชั่วคราวอันเกิดจากการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเช่น การปิดปรับปรุงระบบงนสําคัญที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง การปิดปรับปรุงพื้นที่สํานักงาน (8.1.1) แจ้ง ธปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ (8.1.2) แจ้งผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนเริ่มดําเนินการ อย่างน้อย 2 ช่องทาง โดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทําการหรือจุดให้บริการของตัวแทนแต่ละแห่งที่ให้บริการก็ได้ (8.2) กรณีหยุดให้บริการชั่วคราวซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง ที่ไม่ได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า (8.2.1) แจ้งฝ่ายนโยบายระบบการชําระเงิน ธปท. เป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดโดยเร็วนับแต่เวลาที่หยุดให้บริการชั่วคราว (8.2.2) แจ้งผู้ใช้บริการทราบโดยเร็วนับแต่เวลาที่หยุดให้บริการชั่วคราว โดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทําการหรือจุดให้บริการของตัวแทนแต่ละแห่งที่ให้บริการก็ได้ (8.3) กรณีที่เกิดปัญหา หรือความบกพร่องในการให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้แจ้งให้ รปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดโดยเร็ว (9) การหยุดประกอบธุรกิจหรือไม่ประกอบธุรกิจตามปกติ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับหยุดประกอบธุรกิจหรือไม่ดําเนินธุรกิจตามปกติเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี รัฐมนตรีมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตหรือ ธปท. มีอํานาจเพิกถอนการขึ้นทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับนั้นได้ (10) การรายงานและส่งงบการเงินต่อ ธปท. (10.1) ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องจัดทํางบการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงาน และจัดส่งให้ ธปท. โดยเริ่มตั้งแต่งวดแรกที่ได้เริ่มประกอบธุรกิจ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (10.1.1) งวดบัญชีในรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของมีบัญชีให้จัดส่งงบการเงินงวด 6 เดือนแรกของปีบัญชี ให้ ธปท. ภายใน 45 วันนับแต่วันสิ้นงวด (10.1.2) งวดประจําปีบัญชี ให้จัดส่งงบการเงินประจําปีที่ตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้ ธปท. ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นงวด (10.2) รายงานรายชื่อผู้ถือหุ้นและสัดส่วนการถือหุ้น 10 อันดับแรกโดยรวมถึงสัญชาติผู้ถือหุ้น ให้ ธปท. พร้อมกับการส่งงบการเงินงวดประจําปีบัญชี สําหรับรัฐวิสาหกิจให้ส่งงบการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานให้ บ่ท. ภายใน 45 วันนับแต่วันที่สํานักงานตรวจเงินแผ่นดินเห็นชอบงบการเงินตามข้อ (10.1.1) และ ( 10.1.2) พร้อมรายงานรายชื่อผู้ถือหุ้นตามข้อ (10.2) 4.2.4 ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการ เพื่อดูแลให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการเพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการ เก็บรักษาข้อมูลความลับของผู้ใช้บริการ และบริหารจัดการข้อร้องเรียนได้อย่างเหมาะสมผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดข้อตกลงในการให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเปิดเผยให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างชัดเจน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1.1) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ใช้บริการ ทั้งในกรณีปกติและกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน (1.2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติในการให้บริการ (1.3) ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมีหน้าที่ติดตามดูแลให้ผู้ใช้บริการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กําหนด และกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งทําให้ผู้ใช้บริการเสียประโยชน์ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ โดยประกาศไว้ณ สถานที่ทําการทุกแห่ง หรือด้วยวิธีการอื่นใดให้ผู้ใช้บริการสามารถทราบได้ (2) ต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ โดยต้องดําเนินการ ดังนี้ (2.1) กําหนดนโยบายในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการการกําหนดชั้นความลับในการเข้าถึงข้อมูล และการระบุตัวบุคคลที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้งจัดให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้และป้องกันผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าถึงหรือแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษา (2.2) รักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ โดยจะไม่เปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นตลอดระยะเวลาการใช้บริการและภายหลังที่เลิกใช้บริการแล้ว เว้นแต่เป็นการเปิดเผย ในกรณีดังต่อไปนี้ (2.2.1) การเปิดเผยโดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือหรือวิธีการอื่นใดทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับกําหนดจากผู้ใช้บริการ (2.2.2) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวนหรือการพิจารณาคดี (2.2.3) การเปิดเผยแก่ผู้สอบบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (2.2.4) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย (2.2.5) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลระบบการชําระเงินของ ธปท. (3) ดําเนินการให้มีการเปิดเผยค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ (3.1) เปิดเผยรายละเอียดของค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการโดยประกาศไว้ ณ สถานที่ทําการทุกแห่ง หรือด้วยวิธีการอื่นใดให้ผู้ใช้บริการสามารถหารายได้ ทั้งนี้ ในการกําหนดค่าธรรมเนียม ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องคํานึงถึงความเป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการด้วย (3.2) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียม ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับจะต้องประกาศรายละเอียดไว้ ณ สถานที่ทําการทุกแห่ง หรือด้วยวิธีการอื่นใดให้ผู้ใช้บริการสามารถทราบได้ โดยในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้ผู้ใช้บริการเสียประโยชน์ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ (3.3) จัดส่งประกาศค่าธรรมเนียมให้ ธปท. ทราบโดยเร็วด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดนับแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจและทุก ๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง (4) ดําเนินการเมื่อมีการร้องเรียนหรือมีข้อโต้แย้งจากผู้ใช้บริการ รวมทั้งกําหนดกรอบเวลาเพื่อหาข้อยุติ ดังนี้ (4.1) จัดให้มีช่องทางและวิธีการสําหรับการรับข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่สํานักงานหรือที่อยู่สําหรับติดต่อทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถติดต่อได้ (4.2) กําหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนการดําเนินการและกรอบระยะเวลาเพื่อหาข้อยุติเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งจัดอบรมวิธีปฏิบัติดังกล่าวให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องดําเนินการตรวจสอบและแจ้งความคืบหน้ารวมทั้งขี้แจงขั้นตอนการดําเนินการ พร้อมทั้งแจ้งกําหนดเวลาในการแก้ไขข้อร้องเรียนให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการร้องเรียน (4.3) ดําเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จและแจ้งผลการดําเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบโดยเร็ว 4.2.5 การให้บริการการชําระเงินแก่ผู้ให้บริการจากต่างประเทศ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ หากประสงค์จะให้บริการการชําระเงินหรือการดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับบริการการชําระเงินเพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการการชําระเงินจากต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาให้บริการข้ามพรมแดนในประเทศไทย ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) การให้บริการการชําระเงินแก่ผู้ให้บริการจากต่างประเทศต้องไม่เป็นการดําเนินการใด เพื่อสนับสนุนการหลีกเลี่ยงหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงินของ ธปท. (2) การดําเนินการเพื่อให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับแก่ผู้ให้บริการจากต่างประเทศดังกล่าว ต้องแจ้งให้ รปท. ทราบเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มดําเนินการ โดยส่งข้อมูลรายละเอียดของการให้บริการดังกล่าว และประเมินผลกระทบด้านระบบสารสนเทศตามแบบประเมินแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ 1) ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ขึ้นทะเบียนรับดําเนินการเพื่อให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับแก่ผู้ให้บริการจากต่างประเทศเว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก รปท. เป็นรายกรณี โดย ธปท. จะพิจารณาภายใน 45 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน 4.2.6 การเข้าร่วมทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นําเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox) สําหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ขึ้นทะเบียนให้บริการการชําระเงินโดยนํานวัตกรรมซึ่งนําเทคโนโลยีใหม่มาใช้และอยู่ระหว่างการทดสอบการให้บริการตามหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติที่ ธปท. กําหนดเกี่ยวกับการเข้าร่วมทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นําเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox) ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น เมื่อผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับประสบความสําเร็จจากการทดสอบตามแนวปฏิบัติที่ ธปท. กําหนดตามวรรคหนึ่งแล้ว และมีความประสงค์ที่จะให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามชอบเขตที่แจ้งไว้ขณะทําการทดสอบ หรือได้รับความเห็นชอบจากธปท. ว่ายังคงให้บริการอยู่ในวงจํากัด ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ขึ้นทะเบียน 4.3 การยกเว้นหลักเกณฑ์การกํากับดูแลทั่วไป สําหรับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รัฐวิสาหกิจ และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 เนื่องจากมีกฎหมายในการกํากับดูแลเป็นการเฉพาะแล้ว 4.3.1 ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่เป็นสถาบันการเงินสาถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านฐานะทางการเงิน ตามข้อ 4.2.1 (1) - (4) และหลักเกณฑ์ด้านธรรมาภิบาล ตามข้อ 4.2.2 (1.3) 4.3.2 ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่เป็นสถาบันการเงินสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มีใช่สถาบันการเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ที่มีกฎหมายเฉพาะกําหนดหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแล และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ ธปท. หากได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ดังกล่าวแล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การแจ้งเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคล ตามข้อ 4.2.2 (1.4) (2) การจัดให้มีการตรวจสอบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงและจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบ ตามข้อ 4.2.2 (3.4) (3) การจัดให้มีการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศและจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบ ตามข้อ 4.2.3 (4.2) (4) การขออนุญาตย้ายสํานักงานใหญ่ ตามข้อ 4.2.3 (7.1) (5) การเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคล ตามข้อ 4.2.3 (7.2.3) และ (7.4.1) (6) การร้ายงานเปิดสํานักงานสาขาแห่งใหม่ หรือย้าย หรือปิดสํานักงานสาขา (7) การหยุดให้บริการชั่วคราว ตามข้อ 4.2.3 (8) (8) การรายงานและส่งงบการเงิน ตามข้อ 4.2.3 (10) (9) การจัดส่งประกาศค่าธรรมเนียม ตามข้อ 4.2.4 (3.3) 4.4 การขอขยายระยะเวลาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับไม่สามารถดําเนินการดังต่อไปนี้ ได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด โดยมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับสามารถยื่นขออนุญาตขยายระยะเวลา พร้อมชี้แจงเหตุผล ความจําเป็นและกําหนดเวลาที่จะดําเนินการแล้วเสร็จต่อ รปท. เป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดย ธปท. อาจจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรืออาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ (1) การแจ้งการเพิ่มทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว ตามข้อ 4.2.1 (4) (2) การแต่งตั้งกรรมการสัญชาติไทย ตามข้อ 4.2.2 (1.3) (3) การแจ้งเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคล ตามข้อ 4.2.2(1.4) (4) การจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงตามข้อ 4.2.2(3.4) (5) การจัดส่งสําเนาผลการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศตามข้อ 4.2.3(4.2) (6) การยื่นขออนุญาตหรือแจ้งให้ ธปท. ทราบการเปลี่ยนแปลงการดําเนินงานตามข้อ 4.2.3(7) (7) การแจ้งหยุดให้บริการชั่วคราว ตามข้อ 4.2.3 (8.1) (8) การรายงานและส่งงบการเงิน ตามข้อ 4.2.3 (10) 4.5 การขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้ โดยมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษซึ่งอาจส่งผลกระทบในการให้บริการอย่างต่อเนื่องหรือต่อความน่าเชื่อถือของบริการการชําระเงินผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับสามารถยื่นขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็น ต่อ ธปท. เป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดย ธปท. อาจจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรือกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ 4.6 การเลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับรายใดมีความประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ได้รับอนุญาตหากประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีผ่าน ธปท. ไม่น้อยกว่า 90 วันก่อนวันประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ในการพิจารณาอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ รัฐมนตรีจะแจ้งผลภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและได้รับเอกสารถูกต้องครบถ้วน รัฐมนตรีอาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้บริการก่อนเลิกประกอบธุรกิจก็ได้ (2) กรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ได้รับขึ้นทะเบียนหากประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือต่อ ธปท. ไม่น้อยกว่า 90 วันก่อนวันประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ในการพิจารณาอนุญาตให้เลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ธปท. จะแจ้งผลภายใน 30 วันนับแต่ที่ได้รับแจ้งและได้รับเอกสารถูกต้องครบถ้วน ธปท. อาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้บริการก่อนเลิกประกอบธุรกิจก็ได้ เมื่อรัฐมนตรีหรือ ธปท. อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับเลิกประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับแจ้งผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วันก่อนเลิกประกอบธุรกิจ อย่างน้อย 2 ช่องทาง โดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทําการ หรือวิธีการอื่นใด ที่ทําให้ผู้ใช้บริการสามารถทราบได้ และให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับส่งคืนใบอนุญาตหรือใบขึ้นทะเบียนต่อ ธปท. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เลิกประกอบธุรกิจ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,816
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8 /2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นถึงความจําเป็นของสถาบันการเงินในการดําเนินธุรกิจในรูปแบบของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมากขึ้น แต่การดําเนินธุรกิจในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น หากไม่มีการกํากับดูแลอย่างเหมาะสมก็อาจส่งผลให้การดําเนินธุรกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน ดังนั้น ในปี 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีการออกแนวนโยบายการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเริ่มทดลองถือปฏิบัติโดยยังไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายต่อมาเมื่อมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 66/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่ในช่วงแรกได้กําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติในหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพก่อนจากนั้นได้มีการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2553 เพื่อบังคับใช้หลักเกณฑ์อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2553เป็นต้นมา และได้มีการปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาโดยลําดับทั้งในเรื่องของการปรับปรุงให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel II! เมื่อปี 2555 การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจสําหรับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบธุรกิจศูนย์ฝึกอบรมซึ่งเป็นธุรกิจสนับสนุนเมื่อปี 2556 การขยายขอบเขตธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุนให้ครอบคลุมถึงธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ และธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (Financial Technology : FinTech) รวมถึงขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจสนับสนุนประเภทธุรกิจการให้บริการขนส่งเงิน และการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) เมื่อปี 2560 ในการกํากับดูแลโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยแบ่งระดับการกํากับดูแลออกเป็น 2 ระดับ ตามลักษณะของการประกอบธุรกิจและความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับสถาบันการเงินเพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ระดับ Solo Consolidation ซึ่งจะประกอบด้วย สถาบันการเงิน บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่สถาบันการเงินถือหุ้นโดยตรงตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป ซึ่งสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันกับบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ได้ไม่จํากัด แต่บริษัทลูกดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์กํากับดูแลโดยทั่วไปโดยเฉพาะในเรื่องที่สําคัญเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน (2) ระดับ Full Consolidation ซึ่งจะประกอบด้วย สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูกและบริษัทร่วมทั้งหมดทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งหมดนี้จะต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยทั่วไปตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความสําคัญกับบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจึงกําหนดคุณสมบัติของบริษัทแม่ที่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงินและบทบาทหน้าที่ของบริษัทแม่ โดยให้บริษัทแม่ต้องมีการกําหนดนโยบายการดําเนินธุรกิจ แผนการดําเนินธุรกิจ นโยบายการบริหารความเสี่ยงและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และต้องมีการควบคุมดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด สําหรับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินไทยสามารถขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้ และรองรับการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้สอดรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) โดยอนุญาตให้บริษัทแม่ถือหรือมีหุ้นในสถาบันการเงินในต่างประเทศเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสถาบันการเงินนั้นโดยไม่มีอํานาจควบคุมกิจการได้ โดยให้บริษัทแม่ยื่นคําขออนุญาตมายังธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาจากข้อจํากัดทางกฎหมายในประเทศที่บริษัทแม่จะไปลงทุนซึ่งห้ามมิให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนจนมีอํานาจควบคุมกิจการในสถาบันการเงินท้องถิ่น หรือข้อจํากัดในการต่อรองทางธุรกิจเป็นสําคัญ ทั้งนี้ กรณีที่บริษัทแม่ถือหุ้นจนมีอํานาจควบคุมกิจการ ให้บริษัทแม่นําสถาบันการเงินในต่างประเทศดังกล่าวมารวมเป็นบริษัทลูกในกลุ่ม SoloConsolidation และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจากการขออนุญาตเป็นการรายงาน เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติมากขึ้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 58 มาตรา 59 และมาตรา 7 1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 6/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 27 เมษายน 2560 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมทุกแห่งของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ยกเว้น สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ "การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน" (Consolidated Supervision) หมายความว่า การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยคํานึงถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยรวมที่มีผลกระทบต่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและสถาบันการเงินนั้น ๆ ไม่ว่าความเสี่ยงนั้นจะปรากฎอยู่ในบัญชีของสถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดําเนินธุรกิจในขอบเขตที่เหมาะสมและมีความมั่นคง "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ก. ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งหมายความรวมถึง ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ แต่ไม่รวมสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ข. บริษัทเงินทุน ค. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ "อํานาจควบคุมกิจการ" หมายความว่า อํานาจควบคุมกิจการในบริษัทอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในลักษณะดังต่อไปนี้ ก. มีหุ้นในบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ข. มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหนึ่ง ค. มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้มีอํานาจในการจัดการหรือกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดในบริษัทหนึ่ง หรือ ง. มีอํานาจควบคุมกิจการในลักษณะอื่นใดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด การมีหุ้นในบริษัทหนึ่งตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีอํานาจควบคุมกิจการ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีอํานาจควบคุมกิจการ "สถาบันการเงินไทยที่มีต่างชาติถือหุ้นมากกว่ากึ่งหนึ่ง (Hybrid financial institution)" หมายความว่า สถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีต่างชาติรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมมากกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสถาบันการเงินแห่งนั้น "สถาบันการเงินที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ (Subsidiary)" หมายความว่า สถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีสถาบันการเงินต่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมไม่ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบห้าของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสถาบันการเงินแห่งนั้น "สถาบันการเงินในต่างประเทศ" หมายความว่า บริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินในลักษณะเดียวกันกับที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 "ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (Financial Technology: FinTech)" หมายความว่า ธุรกิจที่มีการนําเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจที่เป็นการสนับสนุนธุรกิจทางการเงิน "ธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ" หมายรวมถึง ธุรกิจการให้เช่าซื้อ ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ และธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ "กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน "ที่ปรึกษา" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน 5.2 โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน กลุ่มธุรกิจทางการเงินประกอบด้วย สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกบริษัทจะประกอบธุรกิจได้แต่เฉพาะธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุนตามที่กําหนดในข้อ 5.3 เท่านั้น จะประกอบการค้าหรือธุรกิจอื่นมิได้ ทั้งนี้ โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ (ตัวอย่างโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามเอกสารแนบ 1) 5.2.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกอบด้วย บริษัทแม่ที่เป็นสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในประเทศไทย และบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน ทั้งในและต่างประเทศ โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินรูปแบบนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท (1) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีสถาบันการเงินซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ (Domestic financial institution) (2) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีสถาบันการเงินซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ และสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในต่างประเทศ (Hybrid financial institution หรือ Subsidiary) (3) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีสถาบันการเงินซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ และสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นบริษัทลูกของบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศซึ่งไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน (Subsidiary of a company, not a financial institution) 5.2.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกอบด้วย บริษัทแม่ที่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน และบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่เป็นสถาบันการเงิน บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงิน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งบริษัทแม่ประเภทนี้ได้แก่ (1) บริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ (Regulated entity) เช่น บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกัน ซึ่งหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวต้องมีมาตรฐานการกํากับดูแลเป็นที่ยอมรับของธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัทดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกํากับดูแลของตนให้เป็นบริษัทแม่ (2) บริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ทําธุรกิจของตนเอง (Non-operating holding company แต่เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทอื่นมากกว่าเพื่อการลงทุนหาผลตอบแทนทั่วไป ทั้งนี้ บริษัทโฮลดิ้งดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและประกอบธุรกิจตามที่กําหนดในข้อ 5.5 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามความเหมาะสมกับโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ โดยเฉพาะในกรณีที่สถาบันการเงินที่จดทะเบียนในต่างประเทศซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในประเทศไทยไม่ได้ถูกกํากับดูแลในลักษณะของการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า หลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ใช้บังคับกับสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในต่างประเทศนั้นยังไม่เพียงพอหรือมีมาตรฐานต่ํากว่ามาตรฐานในเรื่องเดียวกันของธนาคารแห่งประเทศไทย 5.3 ขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกบริษัทสามารถประกอบธุรกิจได้เฉพาะธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน ดังต่อไปนี้ 5.3.1 ธุรกิจทางการเงิน ได้แก่ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจการให้เช่าซื้อ ธุรกิจการให้เช่าแบบสีสซิ่ง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ ธุรกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืม ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ธุรกิจโฮลดิ้งที่ลงทุนในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเอง ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ธุรกิจเกี่ยวกับการชําระเงินและโอนเงิน ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต ธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน ธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่มีลักษณะเป็นธุรกิจทางการเงิน และธุรกิจอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด สําหรับธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่มีลักษณะเป็นธุรกิจทางการเงิน ได้แก่ ธุรกิจที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นการให้บริการที่ก่อให้เกิดการทําธุรกรรมทางการเงิน เช่น การให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นตัวกลางระหว่างผู้ระดมทุนและผู้ลงทุน (Crowd-funding Portal) การให้บริการเกี่ยวกับการโอนเงินและการชําระเงินทั้งในและต่างประเทศ (2) เป็นการให้บริการการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ หลักทรัพย์ หรือประกันภัย รวมถึง การให้บริการข้อมูล การให้คําแนะนํา และการเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่มีลักษณะตามที่กําหนดข้างต้นที่มีกฎหมายเฉพาะหรือมีหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์เฉพาะดังกล่าวด้วย 5.3.2 ธุรกิจสนับสนุน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ธุรกิจที่ให้บริการเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของสถาบันการเงินกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และหน่วยงานราชการ ได้แก่ ธุรกิจที่มีขอบเขตและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1.1) ขอบเขตธุรกิจ: เป็นงานด้านปฏิบัติการซึ่งบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินจะต้องปฏิบัติในการดําเนินธุรกิจปกติ หรือเป็นงานที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินโดยตรง เพื่อให้การดําเนินงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินเป็นไปตามเป้าหมาย (1.2) เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ: เป็นการให้บริการแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเดียวกันหรือบุคคลอื่น ได้แก่ สถาบันการเงินอื่น บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอื่นธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และหน่วยงานราชการ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์รับให้บริการแก่ธุรกิจทางการเงินหรือทางการ (Insourcing) แต่จะให้บริการแก่บุคคลทั่วไปไม่ได้ ยกเว้น (1.2.1) ธุรกิจวิจัยข้อมูล ธุรกิจกฎหมาย ธุรกิจประเมินราคาสินทรัพย์ และธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึง ธุรกิจการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) เช่น เทคโนโลยี Blockchain (1.2.2) ธุรกิจศูนย์ฝึกอบรม โดยการให้บริการต้องเป็นไปตามขอบเขต ประเภทผู้รับบริการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการให้บริการ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่น (Services) แก่ลูกค้าทั่วไปเพิ่มเติมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์บางประการ ซึ่งการให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการใช้บริการศูนย์ฝึกอบรมนั้น ต้องสอดคล้องกับประเภทของธุรกิจหลักที่ธุรกิจสนับสนุนนั้นได้รับอนุญาตให้ดําเนินการตามหนังสืออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยและให้บริการเป็นปกติอยู่แล้ว (1.2.3) ธุรกิจการให้บริการขนส่งเงินที่ให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งเงินรายอื่น เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งเงินรายอื่นนั้นเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ต้องดําเนินการตามแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP)2 ทั้งนี้ รายได้ส่วนใหญ่จากการให้บริการตามข้อ (1.2.1) และ (1.2.2) ที่กล่าวข้างต้น ต้องมาจากการให้บริการแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเดียวกันและบุคคลอื่นตามที่กําหนดข้างต้น (ซึ่งไม่ใช่บุคคลทั่วไป) เมื่อเทียบกับรายได้รวมของบริษัทนั้น (2) ธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่มีลักษณะเป็นการให้บริการเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกิจ หรือเป็นบริการที่ช่วยสนับสนุนให้ลูกค้ามีข้อมูลทางการเงินที่จะช่วยสนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยมีขอบเขตและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (2.1) ขอบเขตธุรกิจ: เป็นการให้บริการเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกิจ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การดําเนินธุรกิจและการจัดการข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นหรือเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้ามีข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ามีข้อมูลทางการเงินที่เพียงพอต่อการเข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน เช่น การให้บริการแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้าและบริการของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้า (e-Market place Platform) การให้บริการเครื่องมือหรือผู้ช่วยทางธุรกิจ (Business tools) เช่น การให้บริการแอปพลิเคชัน (application) ที่เกี่ยวกับการจัดการด้านบัญชีหรือภาษี (2.2) เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ: เป็นการให้บริการแก่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลทั่วไป หรือบุคคลอื่นตามที่กําหนดในข้อ 5.3.2 (1.2) ทั้งนี้ กรณีเป็นธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่ไม่อยู่ในขอบเขตหรือเงื่อนไขที่กําหนดข้างต้น ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน สําหรับธุรกิจสนับสนุนที่มีกฎหมายเฉพาะหรือมีหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ (Regulated entity) ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์นั้น 5.4 หน้าที่ของบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้การประกอบธุรกิจและการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีประสิทธิภาพมีความมั่นคง และสอดคล้องกับนโยบายและหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทแม่ต้องมีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้ (1) กําหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบเป็นประจําทุกปี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญโดยให้บริษัทแม่รายงานนโยบายและแผนกลยุทธ์ดังกล่าวมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ (2) กําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ระบบการควบคุมและติดตามดูแล โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) และการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) ของสถาบันการเงิน (3) ควบคุมและดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามนโยบายที่บริษัทแม่กําหนด รวมถึงหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง (4) ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามสมควรเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือแก้ไขให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีเงินกองทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (5) รายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่อาจกระทบต่อฐานะและชื่อเสียงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น บริษัทแม่ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยให้บริษัทแม่รายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (6) มีและจัดเตรียมข้อมูลของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ทั้งรายบริษัทและภาพรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบได้ เช่น งบการเงิน และข้อมูลทางการเงินที่สําคัญ 5.5 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง 5.5.1 คุณสมบัติของบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง เนื่องจากบริษัทแม่มีบทบาทสําคัญต่อความมั่นคงในการดําเนินธุรกิจ ทั้งในด้านการสนับสนุนทางการเงินและการกําหนดนโยบายการบริหารงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ดังนั้น บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่จึงต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญดังนี้ (1) เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย (2) มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง และมีความสามารถในการระดมเงินทุนเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้อย่างเพียงพอ (3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัทโฮลดิ้งที่แท้จริงต้องเป็นปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินเกินร้อยละ 10 ขึ้นไป ทั้งนี้ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ต้องตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกครั้งก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นหรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น และแจ้งผลการตรวจสอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจัดทําร้ายการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งตามแบบรายงานเช่นเดียวกับกรณีของสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการแจ้งผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน และจัดส่งมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น หรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น (4) มีกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอความเห็นชอบมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน 5.5.2 ขอบเขตธุรกิจของบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่สามารถประกอบธุรกิจได้เฉพาะที่กําหนดดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนและทําธุรกรรมกับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเองทั้งนี้ การลงทุนในบริษัทอื่นใดอันมีผลทําให้บริษัทโฮลดิ้งมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การลงทุนของบริษัทแม่ตามข้อ 5.6.1 ซึ่งการนับการถือหุ้นจะนับทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน รวมทั้ง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และให้นับการถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมกิจการทุกทอด (2) ลงทุนในบริษัทอื่นใดที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเองได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ยกเว้นกรณีลงทุนในสถาบันการเงินในต่างประเทศโดยไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ ตามที่บริษัทโฮลดิ้งได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี ตามที่กําหนดในข้อ 5.6.1 (2.1) ฉ. และรวมกันทุกบริษัทไม่เกินร้อยละ 10 ของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทโฮลดิ้ง ทั้งนั้ ในการนับการลงทุนจะนับเฉพาะการถือหุ้นทางตรงของบริษัทโฮลดิ้งเท่านั้น (3) บริหารเงินเพื่อตนเองหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเอง (4) จัดหาเงินทุนโดยวิธีอื่นใด เพื่อใช้ในการดําเนินธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและของตนเอง รวมถึงการออกหุ้นกู้ ยกเว้น การทําธุรกรรมที่เทียบเคียงได้กับการรับฝากเงิน (5) ประกอบธุรกิจสนับสนุน (6) ประกอบธุรกิจอื่นใดตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย 5.6 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทแม่ 5.6.1 ขอบเขตการลงทุน ห้ามบริษัทแม่ลงทุนในบริษัทใดเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีดังต่อไปนี้ โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตดังกล่าวมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (ตัวอย่างการกํากับดูแลกรณีบริษัทแม่ลงทุนในบริษัทใดเกินร้อยละ 10 ตามเอกสารแนบ 2) ทั้งนี้ ในการอนุญาตดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศอาจกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมด้วยก็ได้ (1) การลงทุนในบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทแม่ต้องลงทุนในบริษัทจนมีอํานาจควบคุมกิจการ และต้องเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1.1) ธุรกิจทางการเงิน ตามที่กําหนดในข้อ 5.3.1 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะอนุญาตให้เฉพาะกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่มีศักยภาพสูงลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุน(Venture Capital เนื่องจากธุรกิจเงินร่วมลงทุนเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ บริษัทแม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับธุรกิจเงินร่วมลงทุนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3 (1.2) ธุรกิจสนับสนุน ตามที่กําหนดในข้อ 5.3.2 ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทแม่ลงทุนในบริษัทที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ บริษัทแม่ต้องตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถดําเนินการจัดส่งข้อมูลของบริษัทนั้นให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตามที่ร้องขอ (2) การลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (2.1) กรณีบริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจะลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นได้ เฉพาะในบริษัทดังต่อไปนี้ ก. บริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ถือหุ้นอยู่ก่อนแล้ว ข. บริษัทที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนเพื่อประโยชน์ในการดําเนินงานของสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงินโดยรวม เช่น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ บริษัท S.W.1.F.T และบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น ค. บริษัทที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การชําระหนี้การบังคับชําระหนี้ หรือการประกันการให้สินเชื่อ ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ง. บริษัทที่อยู่ระหว่างการชําระบัญชี จ. บริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุนที่บริษัทแม่ไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจอื่น ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการลงทุนโดยบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ (Regulated entity) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวอนุญาตให้สามารถลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนของบริษัทลูกดังกล่าวต้องไม่เป็นการหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทแม่ตามประกาศฉบับนี้ เช่น การลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการเข้าไปมีอํานาจในการสั่งการ รวมถึง มีสิทธิในผลตอบแทนที่ผันแปรตามผลการดําเนินงานในธุรกิจนั้น และสามารถใช้อํานาจในการทําให้เกิดผลกระทบต่อผลตอบแทนที่จะได้รับ นอกเหนือไปจากการลงทุนเพื่อผลตอบแทนทั่วไปที่จะได้รับจากเงินปันผลและการเปลี่ยนแปลงในราคาหุ้น ฉ. สถาบันการเงินในต่างประเทศตามที่สถาบันการเงินได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาจากข้อจํากัดทางกฎหมายในประเทศที่สถาบันการเงินจะไปลงทุนซึ่งห้ามมิให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนจนมีอํานาจควบคุมกิจการในสถาบันการเงินท้องถิ่น หรือข้อจํากัดในการต่อรองทางธุรกิจเป็นสําคัญและสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตนั้นต้องถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงินด้วย (2.2) กรณีบริษัทแม่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน ห้ามบริษัทแม่ที่เป็นนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินลงทุนในบริษัทใดเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นโดยไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ เว้นแต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะของบริษัทแม่นั้นอนุญาต หรือเป็นการลงทุนในบริษัทตามที่กําหนดในข้อ 5.6.1 (2.1) ง. 5.6.1 (2.1) จ. และ 5.6.1 (2.1) ฉ. ทั้งนี้ ในกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย การลงทุนในบริษัทลูกถือเป็นธุรกรรมการลงทุนในตราสารทุน ดังนั้น บริษัทแม่ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยด้วย เว้นแต่กรณีบริษัทเม่นั้นมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานดังกล่าวกําหนดในเรื่องนั้น ๆ 5.6.2 การนับการถือหุ้น (1) ในการนับการถือหุ้นของบริษัทแม่ ให้นับการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยนับการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของบริษัทแม่เข้ามารวมกับการถือหุ้นของบริษัทแม่นั้นด้วยนอกจากนี้ ให้นับการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ลงไปทุกทอดที่บริษัทแม่มีอํานาจควบคุมกิจการ แม้บริษัทแม่จะมีการถือหุ้นเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีการถือหุ้นในบริษัทนั้นเลย (2) ในกรณีที่กรรมการ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ไม่รวมผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นกระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือส่วนราชการอื่น) และบุคคลที่ทําหน้าที่เยี่ยงกรรมการของบริษัทแม่ รวมทั้ง ผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าว ถือหุ้นในบริษัทที่บริษัทแม่ถือหุ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า การถือหุ้นของบุคคลเหล่านั้นเป็นการถือหุ้นทางอ้อมของบริษัทแม่ เว้นแต่บริษัทแม่จะพิสูจน์ได้ว่า การถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการกระทําในฐานะตัวแทนของตนหรือไม่ใช่เป็นการถือหุ้นทางอ้อมของตน (3) การถือหุ้นในบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีการเงินตามที่กําหนดในข้อ 5.3.1 (1) - (2) และ 5.3.2 (2) เมื่อรวมกับการถือหุ้นหรือการลงทุนดังต่อไปนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 3 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน (3.1) การลงทุนของบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการเงินโดยตรง ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 (3.2) การลงทุนของบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนใน (1) ธุรกิจเงินร่วมลงทุนอื่นที่ไม่ใช่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือ (2) กองทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust) ที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนหรือ (3) ธุรกิจการร่วมลงทุน (Private Equity) ในรูปแบบอื่น ที่มีการร่วมลงทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีการเงินตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 (3.3) การลงทุนของสถาบันการเงินผ่านกองทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust) ที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนที่มีการร่วมลงทุน (1) ในธุรกิจเทคโนโลยีการเงินโดยตรง หรือ (2 ในธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่ไม่ใช่บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือในธุรกิจการร่วมลงทุน (Private Equity) ในรูปแบบอื่น ที่มีการร่วมลงทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีโดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ซึ่งในการพิจารณาผ่อนผันธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์ให้ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมได้ 5.7 กลุ่มธุรกิจทางการเงินตามลักษณะการกํากับดูแล กลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถแบ่งตามลักษณะการกํากับดูแลออกได้เป็น 2 ระดับ ดังนี้ 5.7.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินระดับ Solo Consolidation ประกอบด้วย สถาบันการเงิน และบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ทุกบริษัท (1) บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation หมายถึง (1.1) บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ซึ่งมีลักษณะทุกข้อดังต่อไปนี้ (1.1.1) สถาบันการเงินถือหุ้นโดยตรงตั้งแต่ร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (1.1.2) การบริหารงานของบริษัทลูกอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสถาบันการเงินโดยตรง (1.1.3) ไม่มีข้อจํากัดในด้านกฎหมายหรือการโอนเงินระหว่างประเทศที่ทําให้ไม่สามารถโอนเงินจากบริษัทลูกในกลุ่มนี้ไปยังสถาบันการเงิน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถเลือกที่จะไม่นําบริษัทที่เข้าลักษณะดังกล่าวข้างต้นเข้ามาเป็นบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ได้ และธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาให้บริษัทใดอยู่ในกลุ่ม Solo Consolidation หรือไม่ก็ได้ (1.2) บริษัทลูกที่เป็นสถาบันการเงินในต่างประเทศ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะลงทุนในบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ในวันที่นําบริษัทดังกล่าวเข้ามาอยู่ในกลุ่ม กล่าวคือ เมื่อสถาบันการเงินนําเงินลงทุนในบริษัทลูกดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินแล้ว สถาบันการเงินยังสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามกฎหมาย (2) ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินใดไม่มีบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ให้ถือว่า สถาบันการเงินคือกลุ่มธุรกิจทางการเงินระดับ Solo Consolidation 5.7.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินระดับ Full Consolidation ประกอบด้วย สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ตามข้อ 5.7.1 (1) และบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation (ซึ่งหมายถึง บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งหมดที่ไม่ใช่บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation) 5.8 การกํากับดูแลการประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เนื่องจากกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจประกอบธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจการให้เช่าซื้อ ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง และธุรกิจแฟ็กเตอริง ผ่านบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation หรือบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติจึงได้กําหนดแนวทางการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในแต่ละระดับ ดังนี้ 5.8.1 การประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ให้ถือปฏิบัติดังนี้ (1) ธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจไว้เป็นการเฉพาะหรือมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะนั้นกําหนด ทั้งด้านขอบเขตการประกอบธุรกิจและหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ และธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (2) ธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่ไม่มีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจไว้เป็นการเฉพาะหรือไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในการอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินนําหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม (2.1) ธุรกิจการให้เช่าซื้อและธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยเรื่องดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี ก. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง ข. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์และการรับโอนซี่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการจําหน่ายสินค้าในกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและการบริโภค หรือ ค. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของบริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทั้งนี้ บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation สามารถให้บริการได้เฉพาะสัญญาเช่าทางการเงิน (Financial lease ) เท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้บริการสัญญาเช่าดําเนินงาน (Operating lease) ซึ่งในกรณีที่บริษัทลูกได้มีการทําสัญญาให้บริการสัญญาเช่าดําเนินงานอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวให้บริการสัญญาเช่าดําเนินงานต่อไปได้จนครบกําหนดระยะเวลาของสัญญาเท่านั้นและห้ามมิให้มีการทําสัญญาเช่าดําเนินงานเพิ่มเติมหรือต่ออายุสัญญาอีก (2.2) ธุรกิจแฟ็กเตอริง ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางของกฎหมายหรือประกาศที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง (Factoring) 5.8.2 การประกอบธุรกิจของบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation บริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation ให้ถือปฏิบัติดังนี้ (1) ธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุนที่มีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจไว้เป็นการเฉพาะหรือมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะนั้นกําหนด ทั้งด้านขอบเขตการประกอบธุรกิจและหลักเกณฑ์การกํากับดูแล เช่น ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจประกันวินาศภัย ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์โดยธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ และธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับกรณีบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ตามที่กําหนดในข้อ 5.8.1 (1) (2) ธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุนที่ไม่มีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจไว้เป็นการเฉพาะหรือไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ เช่น ธุรกิจการให้เช่าซื้อ ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง และธุรกิจแฟ็กเตอริง ให้ประกอบธุรกิจได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในการอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น การให้บริการด้านงานสนับสนุน ทั้งนี้ บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย นอกจากต้องถือปฏิบัติตามข้อ 5.8.1 และ 5.8.2 แล้ว ยังต้องถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยด้วย 5.9 การขออนุญาตจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน 5.9.1 การขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทแม่ต้องดําเนินการขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารประกอบการขออนุญาตตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 มายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะคํานึงถึงความมั่นคงของสถาบันการเงินและประโยชน์ในการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเป็นหลัก 5.9.2 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (1) ในกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามที่เคยได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วให้บริษัทแม่ยื่นคําขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมรายละเอียดดังนี้ (1.1) เหตุผลความจําเป็นของการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (1.2) ข้อมูลของบริษัทที่ต้องการมีอํานาจควบคุมกิจการ เช่น โครงสร้างการถือหุ้น รายชื่อกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน (1.3) แผนดําเนินการในเรื่องดังกล่าว (1.4) เอกสารหรือข้อมูลอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจขอให้ยื่นเพิ่มเติมตามความจําเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน กรณีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินแม้ไม่ได้ทําให้โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเปลี่ยนแปลงก็ตาม ให้บริษัทแม่รายงานมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อทราบข้อมูลการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น (2) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยการถอนบริษัทที่เคยได้รับอนุญาตอยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินออกจากกลุ่มธุรกิจทางการเงินบริษัทแม่ต้องดําเนินการดังนี้ (2.1) กรณีสิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้นแต่บริษัทแม่ยังคงมีอัตราส่วนการถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นให้บริษัทแม่ขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยในการถือหุ้นบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินเกินกว่าร้อยละ 10 โดยให้บริษัทแม่ยื่นคําขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (2.2) กรณีสิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้นแต่บริษัทแม่มีอัตราส่วนการถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นให้บริษัทแม่รายงานมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทแม่ต้องดําเนินการตามข้อ 5.9.2 (2) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้โอนหุ้นออกไปหรือวันที่สิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้น พร้อมส่งผังโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และหนังสือรับทราบการยกเลิกสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะของการเป็นบริษัทลูกภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่วันที่ได้โอนหุ้นออกไปหรือวันที่สิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้น มายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสั่งการเป็นอย่างอื่น อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2561 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,817
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9/2556 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 9 /2556 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 3. เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางภรวดี ตาปสนันทน์ 2. นางวาสนา นิมิตยงสกุล 3. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์ 4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร 5. นายอัครเดช ดาวเงิน 6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน 7. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ 8. นายสัญญา จันทวดี 9. นายอนันต์ อิงวิยะ 10. นายภูวดล เหล่าแก้ว 11. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 12. นายพิชิต ภัทรวิมลพร 13. นายธเนศชัย อังวราวงศ์ 14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 15. นายชนัช เทียมมณีเนตร 16. นายชุติมา ไชยบุตร 17. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร 18. นายชาญชัย บุรถาวร 19. นางศรีสกุล รังสิกุล 20. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ 21. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์ อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2556 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,818
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10 /2556 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 เท่ากับร้อยละ 2.76154 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,819
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนสำหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9 /2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นถึงความจําเป็นของสถาบันการเงินในการดําเนินธุรกิจในรูปแบบของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมากขึ้น แต่การดําเนินธุรกิจในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น หากไม่มีการกํากับดูแลอย่างเหมาะสมก็อาจส่งผลให้การดําเนินธุรกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน ดังนั้น ในปี 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีการออกแนวนโยบายการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเริ่มทดลองถือปฏิบัติโดยยังไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายต่อมาเมื่อมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 255 1 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 66/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่ในช่วงแรกได้กําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติในหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพก่อนจากนั้นได้มีการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2553 เพื่อบังคับใช้หลักเกณฑ์อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2553 เป็นต้นมา และได้มีการปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาโดยลําดับทั้งในเรื่องของการปรับปรุงให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel IIเมื่อปี 2555 การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจสําหรับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบธุรกิจศูนย์ฝึกอบรมซึ่งเป็นธุรกิจสนับสนุนเมื่อปี 2556 การปรับปรุงตัวอย่างการคํานวณเงินกองทุนและถ้อยคําต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel แ! รวมถึงการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน และกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้สอดคล้องและอ้างอิงหลักเกณฑ์ในระดับ Solo basis เมื่อปี 2560 ในการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดําเนินธุรกิจในขอบเขตที่เหมาะสมและมีความมั่นคง อันจะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่ระบบสถาบันการเงินโดยรวม และเพื่อให้การกํากับดูแลสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินในประเทศไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ดังนั้น การกําหนดให้มีเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของสถาบันการเงินตามหลักการ Solo basis เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนําหลักการในเรื่องของการดํารงเงินกองทุนภายใต้หลักการของ Basel มาบังคับใช้กับการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (Consolidated basis) ทั้งในระดับ Solo Consolidation และระดับ Full Consolidation ควบคู่ไปกับการดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงิน (Solo basis) ด้วยทั้งนี้ สําหรับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะอื่น เช่น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลของตนเช่นเดิม อย่างไรก็ดี สืบเนื่องจากบทเรียนจากวิกฤตการเงินโลกและปัญหาของสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในหลายประเทศที่ผ่านมา ประกอบกับกรที่สถาบันการเงินในต่างประเทศมีการดําเนินธุรกิจที่มีความซับซ้อนและมีความเชื่อมโยงต่อระบบการเงินของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากขึ้น ทําให้หลายหน่วยงานในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินได้ทบทวนแนวคิดในการกํากับดูแลระบบการเงินของโลกให้มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งคือการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงินภายใต้หลักการของ Base! III โดยปรับปรุงองค์ประกอบของเงินกองทุนให้มีคุณภาพมากขึ้น และเพียงพอต่อการรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนภายใต้หลักการ Basel II มาเป็น Basel III โดยมีผลบังคับใช้กับสถาบันการเงินในระดับ Solo basis ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 และบังคับใช้กับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นมา เพื่อให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีเงินกองทุนที่มีคุณภาพ สามารถรองรับความเสียหายได้จริงในปริมาณที่สูงขึ้น อันจะส่งผลให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ระบบสถาบันการเงินไทยมีภูมิต้านทานต่อวิกฤตการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นที่ยอมรับและสามารถแข่งขันในเวทีสากลได้ นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการปรับปรุงตัวอย่างการคํานวณเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและถ้อยคําในส่วนอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel III และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ เช่น กรณีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด หรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน และกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้สอดคล้องและอ้างอิงหลักเกณฑ์ในระดับ Solo basis ที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินในครั้งนี้เป็นการเพิ่มเติมข้อยกเว้นรายการหักเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินกรณีที่บริษัทประกันชีวิตในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการถือหรือลงทุนในตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินอื่นหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินอื่น เพื่อลดข้อจํากัดในการลงทุนของบริษัทประกัน ชีวิต อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 31 มาตรา 57 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 255 1 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 27 เมษายน 2560 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมทุกแห่งของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ยกเว้น สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ "การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน" (Consolidated Supervision) หมายความว่า การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยคํานึงถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยรวมที่มีผลกระทบต่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและสถาบันการเงินนั้น ๆ ไม่ว่าความเสี่ยงนั้นจะปรากฎอยู่ในบัญชีของสถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดําเนินธุรกิจในขอบเขตที่เหมาะสมและมีความมั่นคง "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ก. ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งหมายความรวมถึง ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ แต่ไม่รวมสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ข. บริษัทเงินทุน ค. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ "ธุรกิจทางการเงิน" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน "ธุรกิจสนับสนุน" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน "เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ แล้วแต่กรณี "ความเสี่ยงด้านเครดิต" หมายความว่า ความเสี่ยงที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากลูกหนี้หรือคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ การลงทุน และการก่อภาระผูกพัน เช่น ลูกหนี้ไม่สามารถชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ ทําให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินในฐานะเจ้าหนี้เกิดความเสียหาย "ความเสี่ยงด้านตลาด" หมายความว่า ความเสี่ยงที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของฐานะทั้งที่อยู่ในงบดุลและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและราคาตราสารทุนอาจเกิดจากปัจจัยตลาดทั่วไป (General market risk) และ/หรือ ปัจจัยเฉพาะของผู้ออกตราสารนั้น (Specific risk) "ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ" หมายความว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการภายใน บุคลากร และระบบงานของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือจากเหตุการณ์ภายนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รวมถึง ความเสี่ยงด้านกฎหมาย (เช่น ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ถูกดําเนินคดีตามกฎหมาย หรือถูกทางการเปรียบเทียบปรับรวมทั้ง ความเสี่ยงจากความเสียหายที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล)แต่ไม่รวมความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk) และความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputational risk) "บัญชีเพื่อการค้า (Trading book)" หมายความว่า ฐานะ (Position) ของตราสารการเงิน (Financial instruments) และสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ที่มีเจตนาถือครองไว้เพื่อการค้า (Trading intent หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะอื่น ๆ ในบัญชีเพื่อการค้า รวมทั้ง อนุพันธ์ทางการเงินทุกประเภทที่ไม่ได้นําไปใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book) โดยตราสารการเงินที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าต้องไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขายหรือในการป้องกันความเสี่ยงนอกจากนี้ ฐานะเหล่านั้นต้องมีการประเมินมูลค่าอย่างถูกต้องที่เป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการที่ดี "บัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book)" หมายความว่า ฐานะของเครื่องมือทางการเงินหรือธุรกรรมอื่นที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือตราสารทางการเงินที่มีเจตนาตั้งแต่แรกว่าจะถือครองระยะยาวหรือถือจนครบกําหนดอายุ 5.2 การกํากับดูแลความเพียงพอของเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน 5.2.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องดํารงเงินกองทุนตามอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักการ Consolidated basis ใน 2 ระดับคือ เงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation เพิ่มเติมจากการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของสถาบันการเงินตามหลักการ Solo basis 5.2.2 บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะอื่นเช่น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลของตนเช่นเดิม 5.3 การจัดทํางบการเงินรวมตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เนื่องจากการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมดังนั้น กลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งในกรณีที่บริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน และกรณีที่บริษัทแม่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน ต้องจัดทํางบการเงินรวมตามวิธีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้ง 2 ระดับ ได้แก่ 5.3.1 งบการเงินรวมของกลุ่ม Solo Consolidation หมายถึง การจัดทํางบการเงินรวมของสถาบันการเงินกับบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ทุกบริษัท 5.3.2 งบการเงินรวมของกลุ่ม Full Consolidation หมายถึง การจัดทํางบการเงินรวมของบริษัทแม่กับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเฉพาะบริษัทที่บริษัทแม่ถือหุ้นทางตรง และ/หรือทางอ้อม รวมทั้ง การถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ยกเว้น บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยหรือประกันชีวิต ไม่ต้องนํามาจัดทํางบการเงินรวมในทุกกรณี (แม้ว่าบริษัทแม่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปก็ตาม) 5.4 การดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เงินกองทุนทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน คือ เงินกองทุนที่ใช้รองรับความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ เงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation ซึ่งทั้ง 2 ระดับ จะต้องดํารงเงินกองทุนไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งนี้ สําหรับกลุ่ม Solo Consolidation ที่มีเฉพาะสถาบันการเงินให้ใช้ข้อมูลจากงบการเงินของสถาบันการเงินในระดับ Solo basis มาคํานวณเงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation โดยหากสถาบันการเงินนั้นมีเงินลงทุนในบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation เงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือเงินลงทุนในการร่วมค้า ให้จัดทํางบการเงินที่แสดงเงินลงทุนดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสีย? เพื่อนํามาคํานวณเงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation 5.4.1 การดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ ทั้งระดับ Solo Consolidation และระดับ Full Consolidation ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมในประกาศฉบับนี้ และให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในระดับ Solo basis ว่าด้วยเรื่องดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ก. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ข. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ค. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) ง. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) จ. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ ฉ. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบ และธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์ ช. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ช. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ฌ. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ญ. หลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุนซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเพิ่มเติมในภายหลัง 5.4.1.1 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (1) การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งได้แก่ สินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดและมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ดังนี้ ก. อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common equity tier 1 ratio: CET1 ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.5 ข. อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 ratio : T1 ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 ค. อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (Total capital ratio : TC ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 (2) การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital buffer) (2.1) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ เพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําอีกเกินกว่าร้อยละ 2..5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ทยอยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีกมากกว่าร้อยละ 0.625 ในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 จนครบตามที่กําหนดซึ่งมากกว่าร้อยละ 2.5 ในวันที่ 1 มกราคม 2562 เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ทั้งนี้ หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มได้ตามที่กําหนด ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี จะต้องเก็บสะสมเงินกําไรสุทธิบางส่วนหรือทั้งหมดโดยจํากัดการจัดสรรกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยจะยังไม่ถือว่ากลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และหากธนาคารพณิชย์หรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี เก็บสะสมกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้ว แต่กลุ่มธุรกิจทางการเงินยังไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้บริษัทแม่หารือกับฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแผนการดํารงเงินกองทุน และให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามแผนการดํารงเงินกองทุนตามที่หารือต่อไป (2.2) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) อีกร้อยละ 0 ถึง 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง เมื่อมีเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีความจําเป็นที่จะดําเนินมาตรการนี้ 5.4.1.2 การคํานวณเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องคํานวณเงินกองทุนกลุ่ม 2 ระดับคือ เงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณเงินกองทุนตามองค์ประกอบเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ ตามเอกสารแนบ 1 5.4.1.3 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยง (1) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต (1.1) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมี 2 วิธี ดังนี้ ก. การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดย Standardised Approach (วิธี SA) ตามเอกสารแนบ 2 ข. การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ตามเอกสารแนบ 3 (1.2) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ โดยให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach วิธี SA หรือหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลมทั้งนี้ ในการใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการยื่นขออนุญาตตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 หรือเอกสารแนบ 3 แล้วแต่กรณี (1.3) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธี RB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต กลุ่มธุรกิจทางการเงินจะต้องดําเนินการพัฒนาไปใช้วิธี IRB ให้ได้ภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ใช้วิธี IRB เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะอนุญาตเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ในการดําเนินการพัฒนาไปใช้วิธี IRB ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการยื่นขออนุญาตตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 (1.4) ในกรณีที่มีการใช้หรือการเปลี่ยนแปลงรายชื่อสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External credit assessment institutions : ECAIs) วิธีการคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ธุรกิจเอกชน หรือวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงิน ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดําเนินการดังนี้ ก. กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินใช้รายชื่อ ECAIs หรือวิธีในการคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ธุรกิจเอกชนหรือวิธีในการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงินตามที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้บริษัทแม่แจ้งการใช้รายชื่อ ECAIS หรือวิธีการคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ธุรกิจเอกชน หรือแจ้งพร้อมจัดส่งแบบประเมินความพร้อมในกรณีของการเปลี่ยนวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงินมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ข. กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA แต่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ใช้วิธี IRB ให้บริษัทแม่นําหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) มาใช้บังคับโดยอนุโลม (2) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด (2.1) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมี 3 วิธี ดังนี้ ก. วิธีมาตรฐาน (Standardised Approach) ข. วิธีแบบจําลอง (Intemal Model Approach) ค. วิธีผสมระหว่างวิธีมาตรฐานกับวิธีแบบจําลอง (2.2) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ และให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตมายังฝ้ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถใช้วิธีการคํานวณตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ได้ ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องชี้แจงเหตุผลความจําเป็นที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถใช้วิธีตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (2.3) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า (Threshold) ในระดับที่มีนัยสําคัญตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้นคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดทุกองค์ประกอบความเสี่ยงด้านตลาด ได้แก่ องค์ประกอบความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาตราสารทุน ด้านอัตราแลกเปลี่ยน และด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (2.4) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญตามประกาศที่กล่าวในข้อ (2.3) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด เฉพาะองค์ประกอบความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสั่งการเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดเป็นอย่างอื่น (2.5) ในกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินถือตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินอื่นหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินอื่น หรือทําธุรกรรมทางการเงินที่มีตราสารอ้างอิงที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินอื่นหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินอื่น ที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและได้หักออกจากเงินกองทุนแล้ว ไม่ต้องนําเงินลงทุนในตราสารหรือจํานวนเงินตามสัญญาของธุรกรรมดังกล่าวตามมูลค่าที่ได้นําไปหักออกจากเงินกองทุนแล้วมาคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด (2.6) เมื่อคํานวณเงินกองทุนจากปริมาณธุรกรรมรวมตามหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว ให้นําผลลัพธ์ที่ได้มาคํานวณเป็นสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดโดยนําไปคูณกับ 12.5 เพื่อใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดต่อไป (2.7) กลุ่มธุรกิจทางการเงินใดประสงค์จะแยกคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดเป็นรายบริษัท ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นรายกรณี โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาอนุญาตเฉพาะกรณีที่มีความจําเป็นเท่านั้น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (3) หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ (3.1) การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมี 2 วิธี ดังนี้ ก. Basic Indicator Approach (วิธี BIA) ข. Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) (3.2) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ โดยให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธีของธนาคารพาณิชย์ โดยใช้เอกสารแนบ 4 พร้อมจัดส่งแบบประเมินความพร้อมมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (3.3) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยให้นําเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ มาใช้บังคับโดยอนุโลม (3.4) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน มาคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation โดยรายได้ที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องนํามาคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการให้รวมรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทางตรงที่เกิดจากธุรกิจหลักทั้งหมดของแต่ละบริษัท เช่น รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินรอการขาย3 ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (หลังหักค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการขายทรัพย์สินรอการขาย) รายได้ค่านายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (หลังหักค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น ค่าคอมมิชชั่นจ่าย) รายได้ของธุรกิจลีสซิ่ง (หลังหักค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น ดอกเบี้ยจ่ายค่าคอมมิชชั่นจ่าย ) ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะมิได้นํารายได้หรือค่าใช้จ่ายทางตรงประเภทดังกล่าวไปคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ก็ตาม 5.4.2 การดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน ทั้งระดับ Solo Consolidation และระดับ Full Consolidation ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเช่นเดียวกับบริษัทเงินทุนในระดับ Solo basis โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมในประกาศฉบับนี้ และให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุนมาใช้บังคับโดยอนุโลม 5.4.2.1 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (1) การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งได้แก่ สินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดและมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่นเดียวกับบริษัทเงินทุนในระดับ Solo basis ดังนี้ ก. อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common equity tier 1 ratio: CET1 ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.5 ข. อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 ratio : T1 ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 ค. อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (Total capital ratio : TC ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 (2) การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital buffer) (2.1) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ เพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําอีกเกินกว่าร้อยละ 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ทยอยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีกมากกว่าร้อยละ 0.625 ในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 จนครบตามที่กําหนดซึ่งมากกว่าร้อยละ 2.5 ในวันที่ 1 มกราคม 2564 เช่นเดียวกับบริษัทเงินทุนในระดับ Solo basis ดังนี้ หน่วย: ร้อยละ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | อัตราส่วนเงินกองทุน | 1 ม.ค. 2561 | 1 ม.ค. 2562 | 1 ม.ค. 2563 | 1 ม.ค. 2564 | | อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1 ratio) | 5.125 | 5.75 | 6.375 | 7 | | อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 ratio) | 6.625 | 7.25 | 7.875 | 8.5 | | อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (Total capital ratio) | 9.125 | 9.75 | 10.375 | 11 | ทั้งนี้ หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มได้ตามที่กําหนด บริษัทเงินทุนหรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี จะต้องเก็บสะสมเงินกําไรสุทธิบางส่วนหรือทั้งหมดโดยจํากัดการจัดสรรกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน โดยจะยังไม่ถือว่ากลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และหากบริษัทเงินทุนหรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี เก็บสะสมกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้ว แต่กลุ่มธุรกิจทางการเงินยังไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้บริษัทแม่หารือกับฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงินสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแผนการดํารงเงินกองทุน และให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามแผนการดํารงเงินกองทุนตามที่หารือต่อไป (2.2) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) อีกร้อยละ 0 ถึง 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่นเดียวกับบริษัทเงินทุนในระดับ Solo basis เพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง เมื่อมีเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีความจําเป็นที่จะดําเนินมาตรการนี้ 5.4.2.2 การคํานวณเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนต้องคํานวณเงินกองทุนกลุ่ม 2 ระดับคือ เงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณเงินกองทุนตามองค์ประกอบเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุนมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เดียวกับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 5.4.2.3 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยง สําหรับหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนนําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุนมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เดียวกับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ตามที่กําหนดในข้อ 5.4.1.3 5.4.3 การดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเฮร์ ทั้งระดับ Solo Consolidation และระดับ Full Consolidation ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ เพื่อรองรับความเสี่ยงของสินทรัพย์ และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเช่นเดียวกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ในระดับ Solo basis โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมในประกาศฉบับนี้ และให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม 5.4.3.1 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (1) การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงินซึ่งได้แก่ สินทรัพย์ที่ต้องนํามาดํารงเงินกองทุน และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่นเดียวกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ในระดับ Solo basis โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (Total capital ratio : TC ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 (2) การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital buffer) (2.1) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําอีกเกินกว่าร้อยละ 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ทยอยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีกมากกว่าร้อยละ 0.625 ในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 จนครบตามที่กําหนดซึ่งมากกว่าร้อยละ 2.5 ในวันที่ 1 มกราคม 2564 เช่นเดียวกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ในระดับ Solo basis ดังนี้ หน่วย: ร้อยละ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | อัตราส่วนเงินกองทุน | 1 ม.ค. 2561 | 1 ม.ค. 2562 | 1 ม.ค. 2563 | 1 ม.ค. 2564 | | อัตราส่วนเงินกองทุน (Total capital ratio) | 9.125 | 9.75 | 10.375 | 11 | ทั้งนี้ หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มได้ตามที่กําหนด บริษัทเครดิตฟองซิเอร์หรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี จะต้องเก็บสะสมเงินกําไรสุทธิบางส่วนหรือทั้งหมดโดยจํากัดการจัดสรรกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ โดยจะยังไม่ถือว่ากลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และหากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์หรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี เก็บสะสมกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้ว แต่กลุ่มธุรกิจทางการเงินยังไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้บริษัทแม่หารือกับฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแผนการดํารงเงินกองทุนและให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามแผนการดํารงเงินกองทุนตามที่หารือต่อไป (2.2) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนทั้งสิ้นเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) อีกร้อยละ 0 ถึง 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่นเดียวกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ในระดับ Solo basis เพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง เมื่อมีเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีความจําเป็นที่จะดําเนินมาตรการนี้ 5.4.3.2 การคํานวณเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องคํานวณเงินกองทุนกลุ่ม 2 ระดับคือ เงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณเงินกองทุนตามองค์ประกอบเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยให้นําหลักกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามเอกสารแนบ 1 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง 5.4.3.3 การคํานวณสินทรัพย์ที่ต้องนํามาดํารงเงินกองทุนหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยง (1) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์ที่ต้องนํามาดํารงเงินกองทุน ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นําสินทรัพย์จากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณหามูลค่าสินทรัพย์ที่กลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ต้องนํามาดํารงเงินกองทุนโดยให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม (2) หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม 5.5 การยื่นขออนุญาตใช้วิธีคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในกรณีการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาพร้อมกับการยื่นขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ มายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย 5.5.1 กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ (1) หนังสือขออนุญาตการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามเอกสารแนบ 4 (2) แบบประเมินความพร้อมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ในการคํานวณเงินกองทุน (Self-Assessment of Compliance - SAC-CRM) และให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) หรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน มาใช้บังคับโดยอนุโลม 5.5.2 กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ (1) เอกสารทั้งหมดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.5.1 (2) ผลการประเมินความพร้อมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Rating-Based Approach (วิธี IRB) หรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน มาใช้บังคับโดยอนุโลม 5.5.3 กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี SA-OR หรือ ASA ให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดแผนการเตรียมการรองรับการใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ตามที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินเลือกใช้ในการดํารงเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 (2) แบบประเมินความพร้อมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี SA-OR และวิธี ASA (Self-Assessment of Compliance - SAC-OR) ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน มาใช้บังคับโดยอนุโลม (3) เอกสารแสดงการจัดแบ่งรายได้จากการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประเภทสายธุรกิจ (เฉพาะรายได้ของบริษัทที่จัดทํางบการเงินรวมกลุ่มธุรกิจทางการเงิน) 5.5.4 กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดโดยวิธีที่ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตพร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้นําหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน 5.6 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้บริษัทแม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล 6.1 การดํารงเงินกองทุนตาม Basel II! ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติ ดังนี้ 6.1.1 ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์มีตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนได้ตาม Basel I ซึ่งออกก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 และมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ 5 และเอกสารแนบ 6 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้น ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินลดการนับหรือทยอยลดการนับตราสารดังกล่าวเป็นเงินกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ตามรายละเอียดที่กําหนดในเอกสารแนบ 8 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 6.1.2 ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์มีรายการที่เข้าลักษณะเป็นรายการที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของตามข้อ 5.9.1 (1.5) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของในข้อ 5.9.1 (3) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงินในข้อ 5.4.2 (2) และรายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในข้อ 55.4 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศเฉพาะรายการดังต่อไปนี้ ให้นับเพิ่มเงินกองทุนหรือหักเงินกองทุนในอัตราร้อยละ 20 ร้อยละ 40 ร้อยละ 60 ร้อยละ 80 และร้อยละ 100 ต่อปี ตามลําดับ ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 9 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (1) กําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้เผื่อขาย (2) กําไร (ขาดทุน) จากการแปลงค่างบการเงินจากการดําเนินงานในต่างประเทศ (3) กําไร (ขาดทุน) จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมตราสารอนุพันธ์สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ (Hedges of a net investment in a foreign operation) (4) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (5) กําไรจากการทําธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) (6) เงินลงทุนในบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน อย่างไรก็ดี สําหรับรายการ (4) และ (6) นั้น เฉพาะส่วนที่ยังไม่ครบกําหนดต้องหักออกจากเงินกองทุน ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์นําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 11 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach วิธี SA) หรือเอกสารแนบ 9 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณีสําหรับรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินสําหรับรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2561 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,820
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11 /2556 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2556 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2556 (รุ่นที่ 1/2ปี/2556) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2ปี/2556 ที่จะประมูลในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 เท่ากับร้อยละ 2.80 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,821
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 12/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 12 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ การประกอบธุรกิจที่มีลักษณะและความเสี่ยงเฉพาะแตกต่างจากธุรกิจทั่วไปของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น อาทิ การรับประกันการส่งออก (Export credit insurance) การรับประกันความเสี่ยงการลงทุน (Investment insurance) ซึ่งเป็นการดําเนินตามพันธกิจของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ในการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนําเข้าและการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากความเสี่ยงที่รองรับโดยอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติ จึงเห็นสมควรกําหนดเกณฑ์การกํากับดูแลเพิ่มเติม เพื่อให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยมีหลักเกณฑ์รองรับความสี่ยงที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงเป็นการเพิ่มเติมตามรายละเอียดในประกาศฉบับนี้ โดยให้ดํารงอัตราส่วนดังกล่าวควบคู่ไปกับการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย หมายเหตุ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "การรับประกันความเสี่ยง" หมายความว่า การรับประกันความเสี่ยงในการได้รับชําระเงินจากผู้ซื้อหรือธนาคารของผู้ซื้อ และการรับประกันความเสี่ยงในเชิงพาณิชย์ในการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนไทย 4.2 หลักการ เพื่อให้มีการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจรับประกันความเสี่ยงซึ่งเป็นธุรกิจที่มีลักษณะและความเสี่ยงเฉพาะได้อย่างเหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง ดังนี้ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ≥ 20% ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง เงินกองทุนชั้นที่ 1 หมายถึง เงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามที่กําหนดในประกาศว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง หมายถึง ภาระผูกพันที่เกิดจากการประกอบธุรกิจรับประกันความเสี่ยงทุกรายการ หลังหักยอดเงินสํารองที่ได้กันไว้เพื่อชําระค่าสินไหมทดแทนจากรายการภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงแต่ละรายการ ทั้งนี้ ยกเว้นภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรงบประมาณเพื่อชําระหนี้ให้แล้ว ทั้งนี้ ผลรวมของภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละรายจะต้องไม่เกินมูลค่าสูงสุดที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยจะต้องจ่ายให้แก่ลูกค้าร้ายนั้นตามสัญญารับประกันความเสี่ยง ในกรณีที่มีรายการภาระผูกพันอันเกิดจากการรับประกันความเสี่ยงที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้แปลงเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.3 การรายงาน ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยจัดทําข้อมูลและจัดส่งแบบรายงานเกี่ยวกับการคํานวณอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงในรูป Excel file ตามรายละเอียดในเอกสารแนบ อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โทรศัพท์ 0 2283 6373, 0 2283 6372
6,822
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.19/14/53 | 65,000 | 11 มีนาคม 2553 | 15/3/53 - 29/3/53 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,823
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13 /2559 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงและวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.59663 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.61545 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 (นายเมธี สุภาพงษ์) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,824
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 13/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 13 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ------------------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เนื่องจากความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นหนึ่งในความเสี่ยงหลักของธุรกิจสถาบันการเงินแม้ว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีฐานะการเงินที่มั่นคง แต่หากไม่สามารถจ่ายชําระผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ตามภาระผูกพันที่มีอยู่ได้ ก็อาจทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นไม่สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยเหตุนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง โดยใช้ควบคู่กับแนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสินทรัพย์สภาพคล่องที่จะใช้รองรับการไหลออกของเงิน เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ฝากเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และเป็นแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อันจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินและภาคเศรษฐกิจจริงได้ รวมถึงเป็นการช่วยผลักดันให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบการบริหารความสี่ยง และการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่กําหนดมีความสอดคล้องกับแนวทางที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้เพื่อการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องในปัจจุบัน แต่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสภาพแวดล้อมทางการเงินมากขึ้น อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 64 มาตรา 65 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยและธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย "เงินรับฝาก" หมายความว่า เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับจากประชาชนซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลานมีกําหนด และให้หมายความรวมถึงเงินอื่นที่ได้รับจากประชาชน เช่น สลากออมสิน สลากออมทรัพย์ เงินรับฝากสงเคราะห์ชีวิต ทั้งนี้ เงินรับฝากสงเคราะห์ชีวิตหรือที่มีลักษณะเดียวกันแต่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้นับรวมเป็นเงินรับฝากจนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ออกหลักเกณฑ์กํากับเงินรับฝากสงเคราะห์ชีวิตดังกล่าวเป็นการเฉพาะ 4.2 หลักเกณฑ์ 4.2.1 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ณ สิ้นวันสุดท้ายของเดือนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 ของยอดรวมเงินรับฝากทุกประเภท ณ สิ้นวันดังกล่าว 4.2.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1) โดยสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารงตามข้อ 4.2.1 ประกอบด้วย (1) เงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (2) เงินฝากประจําที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (3) เงินสดที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจและเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ ไม่เกินร้อยละ 2.5 ของยอดรวมเงินรับฝากทุกประเภท ตามที่กําหนดในข้อ 4.2.1 (4) หลักทรัพย์หรือตราสารซึ่งปราศจากภาระผูกพันและสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ดังต่อไปนี้ (4.1) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (4.2) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ค้ําประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย (4.3) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่สามารถใช้เป็นหลักประกันในการทําธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืน และการขายตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยกับไพรมารี ดีลเลอร์ (Primary dealer) และเกี่ยวกับการขายตราสารหนี้เพื่อบริหารสภาพคล่องโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน (4.4) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (ร้ายละเอียดตามเอกสารแนบ 2) (5) ตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกเพื่อทําธุรกรรมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น และปราศจากภาระผูกพัน (6) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน ที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รับรอง อาวัล หรือค้ําประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ทั้งนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องข้างต้นให้หมายความรวมถึงตราสารการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่มีลักษณะเทียบเท่าด้วย อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โทรศัพท์ 0 2283 6373, 0 2283 6364
6,825
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.20/14/53 | 60,000 | 12 มีนาคม 2553 | 16/3/53 - 30/3/53 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,826
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.7/14/56 | 30,000 | 15 กุมภาพันธ์ 2556 | 19/2/56 – 5/3/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,827
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14 /2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ----------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 9/91/59 | - | 40,000 | 1 มี.ค. 59 | 3 มี.ค. 59 | 2 มิ.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 9/182/59 | - | 40,000 | 1 มี.ค. 59 | 3 มี.ค. 59 | 1 ก.ย. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/371/59 | - | 45,000 | 1 มี.ค. 59 | 3 มี.ค. 59 | 12 ม.ค. 60 | 371 วัน | 315 วัน | | 10/91/59 | - | 40,000 | 8 มี.ค. 59 | 10 มี.ค. 59 | 9 มิ.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 10/182/59 | - | 40,000 | 8 มี.ค. 59 | 10 มี.ค. 59 | 8 ก.ย. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 11/91/59 | - | 40,000 | 15 มี.ค. 59 | 17 มี.ค. 59 | 16 มิ.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 11/182/59 | - | 40,000 | 15 มี.ค. 59 | 17 มี.ค. 59 | 15 ก.ย. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2559 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 15 มี.ค. 59 | 40,000 | 17 มี.ค. 59 | 21 มี.ค. 59 | 21 ม.ค. 62 | 3 ปี | 3 ปี | | 12/91/59 | - | 40,000 | 22 มี.ค. 59 | 24 มี.ค. 59 | 23 มิ.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 12/182/59 | - | 40,000 | 22 มี.ค. 59 | 24 มี.ค. 59 | 22 ก.ย. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 13/91/59 | - | 40,000 | 29 มี.ค. 59 | 31 มี.ค. 59 | 30 มิ.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 13/182/59 | - | 40,000 | 29 มี.ค. 59 | 31 มี.ค. 59 | 29 ก.ย. 59 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/3ปี/2559 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2559 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 21 มีนาคม และ 21 กันยายน ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 21 กันยายน 2559 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 21 มีนาคม 2562 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | หมายเหตุ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 (นายเมธี สุภาพงษ์) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,828
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 14/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 14 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ การให้สินเชื่อเป็นธุรกรรมหลักของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การมีหลักเกณฑ์การจัดชั้นจึงเป็นเรื่องจําเป็นที่จะใช้เป็นเครื่องมือชี้มูลค่าที่สะท้อนถึงฐานะที่แท้จริงของลูกหนี้ นอกจากนี้ เครื่องมือสําคัญที่สร้างความมั่นคง คือการกันเงินสํารองอย่างเพียงพอและสามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครองอยู่ โดยเฉพาะเงินให้สินเชื่อซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีสาระสําคัญคือ การให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารอง และการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เสียหายหรืออาจเสียหายออกจากบัญชี ไว้อย่างชัดเจนป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองสําหรับผลต่างของยอดหนี้คงค้างกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้หรือผลต่างของยอดหนี้คงค้างกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกัน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจพ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2559 และเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่งได้กําหนดให้ลูกหนี้สามารถนําทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นประกันการชําระหนี้โดยผู้ให้หลักประกันไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแก่ผู้รับหลักประกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้จัดทําหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้ครอบคลุมถึงหลักประกันประเภทกิจการที่มีมูลคําไม่เกิน 50 ล้านบาทและสิทธิเรียกร้องที่ไม่มีตราสารที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนํามาหักลดมูลหนี้ก่อนการกันเงินสํารองได้ อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 60 และมาตรา 61 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "สินทรัพย์ที่เสียหาย" หมายความว่า สินทรัพย์จัดชั้นสูญ "สินทรัพย์ที่อาจเสียหาย" หมายความว่า (ก) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ (ข) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย (ค) สินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน (ง) สินทรัพย์จัดขั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ (จ) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ "เงินสํารอง" หมายความว่า เงินสํารองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญคําเผื่อการลดราคา ค่าเผื่อการด้อยค่า ค่าเผื่อการปรับมูลค่า สําหรับสินทรัพย์ที่อาจเสียหาย รวมถึงสินทรัพย์และภาระผูกพันอื่นที่ไม่เสียหาย ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นแต่ละประเภทตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่ระบุในประกาศฉบับนี้ 4.2 หลักเกณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสํารอง ดังนี้ 4.2.1 การกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารอง และการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เสียหายหรืออาจเสียหายออกจากบัญชีไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ นโยบายและวิธีปฏิบัติดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้อง (2) การพิจารณาปัจจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการจัดชั้นสินทรัพย์ (3) การกําหนดสมมติฐานและวิธีการคํานวณการกันเงินสํารอง (4) การตัดจําหน่ายหนี้สูญและหนี้สูญได้รับคืน (5) ระบบการควบคุมภายในและแนวทางการบันทึกบัญชี (6) การตรวจสอบความถูกต้องในการจัดชั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารอง และการตัดจําหน่ายหนี้สูญ รวมถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลหลักฐานที่นํามาใช้ประกอบ 4.2.2 การจัดชั้นสินทรัพย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดชั้นสินทรัพย์ตามลักษณะสินทรัพย์ดังต่อไปนี้เป็นรายบัญชี อย่างไรก็ดี สําหรับการจัดชั้นเงินให้สินเชื่อประเภทลูกหนี้ธุรกิจ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องคํานึงถึงความเกี่ยวเนื่องของกระแสเงินสดรับของแต่ละบัญชีด้วย ซึ่งหากกระแสเงินสดของลูกหนี้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน ก็อาจต้องจัดชั้นไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดชั้นสินทรัพย์ได้หากพิจารณาเห็นสมควร (1) สินทรัพย์จัดชั้นสูญ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (1.1) สิทธิเรียกร้องซึ่งได้ดําเนินการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชําระหนี้แต่ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้แล้ว โดยให้พิจารณาตามเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1.1.1) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ (1.1.2) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลําดับก่อนเป็นจํานวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ (1.1.3) สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ฟ้องลูกหนี้หรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง และในกรณีนั้นได้มีคําบังคับหรือคําสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ (1.1.4) สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้นได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้ โดยศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลมละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว (1.2) สิทธิเรียกร้องซึ่งตามพฤติการณ์ไม่อาจเรียกให้ชําระหนี้ได้ (1.3) สินทรัพย์อื่นซี่งชํารุด เสียหาย หรือหมดราคา (1.4) ส่วนสูญเสียที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (2.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 12 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญา หรือวันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญแล้วสําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (2.2) (2.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 12 เดือนนับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงินหรือวันที่ครบกําหนดสัญญา แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน (2.3) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการชําระหนี้ หรือซื้อจากการขายทอดตลาด เฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคาไว้ไม่เกิน 12 เดือนหักด้วยประมาณการคําใช้จ่ายในการขาย แต่หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ทําการประเมินราคาหรือตีราคาไว้เกินกว่า 12 เดือน ให้นํามูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคามาใช้ได้เพียงร้อยละ 50 ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือตีราคาอสังหาริมทรัพย์ให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (2.4) สินทรัพย์อื่นเฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม หรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกําหนดมูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชี (2.5) สินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่คาดว่าจะเรียกคืนไม่ได้ทั้งจํานวน (2.6) ส่วนสูญเสียที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2.7) มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นจะเรียกคืนไม่ได้ทั้งจํานวนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่ง (3) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (3.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 6 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญา หรือวันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญหรือสงสัยจะสูญแล้ว สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (3.2) (3.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญา แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน (3.3) ลูกหนี้ที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว (3.4) ลูกหนี้ที่หยุดดําเนินกิจการหรือเลิกกิจการ หรือกิจการของลูกหนี้อยู่ระหว่างชําระบัญชี (3.5) ลูกหนี้ที่ประวิงการชําระหนี้ หรือกระทําการใด ๆ เพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ เช่น ออกไปนอกราชอาณาจักร หรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน (3.6) ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจติดต่อไม่ได้ หรือตามตัวลูกหนี้ไม่พบ หรือลูกหนี้ออกไปจากภูมิลําเนาที่ปรากฏตามสัญญาโดยไม่แจ้งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทราบ (3.7) ลูกหนี้ที่ไม่ปรากฏธุรกิจแน่ชัด หรือไม่ได้ประกอบธุรกิจจริงจังหรือนําเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ (3.8) สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ยื่นคําขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง (3.9) สินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่คาดว่าจะเรียกให้ชําระคืนได้ไม่ครบถ้วน (3.10) มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นคาดว่าจะเรียกคืนได้ไม่ครบถ้วนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่ง (4) สินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (4.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญา หรือวันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญ สงสัยจะสูญ หรือสงสัยแล้ว สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญซีให้จัดชั้นตาม (4.2) (4.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญา แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน (4.3) มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นมีปัญหาในการเรียกให้ชําระคืน หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้ตามปกติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่ง (5) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (5.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 1 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญา หรือวันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญ สงสัยจะสูญ สงสัย หรือต่ํากว่ามาตรฐานแล้ว สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (5.2) (5.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญขีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 1 เดือนนับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญา แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน (6) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (6.1) ลูกหนี้ที่ไม่ผิดนัดชําระ สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (6.2) (6.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ยังใช้ไม่เต็มวงเงิน และยังไม่ถูกยกเลิกวงเงินหรือสัญญายังไม่ครบกําหนด หรือลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ค้างชําระดอกเบี้ยไม่เกิน 1 เดือน (6.3) ลูกหนี้อื่นที่ไม่เข้าข่ายเป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญ สงสัยจะสูญ สงสัย ต่ํากว่ามาตรฐาน หรือกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควรระวังเป็นพิเศษ) (6.4) ลูกหนี้ที่มีหนังสือยืนยันการตรวจรับงานจากหน่วยราชการตามระเบียบของหน่วยราชการนั้นที่มีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันตรวจรับงาน เงินให้สินเชื่อส่วนที่มีหนังสือยืนยันนั้นให้ถือเป็นสินทรัพย์จัดชั้นปกติ 4.2.3 การจัดชั้นกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ตัดส่วนสูญเสียออกจากบัญชีหรือกันเงินสํารอง ดังต่อไปนี้ (1.1) ในกรณีที่สถบันการเงินเฉพาะกิจยินยอมลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยที่ค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือรับชําระหนี้โดยการรับโอนสินทรัพย์ ตราสารการเงิน หรือรับทุนของลูกหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ป็นทุน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจตัดจําหน่ายบัญชีลูกหนี้และบันทึกส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้น พร้อมกับโอนกลับรายการเงินสํารองส่วนเกินที่กันไว้เฉพาะสําหรับลูกหนี้รายนั้นทั้งจํานวนได้ (1.2) ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยินยอมผ่อนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยไม่มีการลดต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งมีผลทําให้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของหนี้ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้คํานวณตามวิธีการที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ต่ํากว่าราคาตามบัญชีเดิมรวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทีกในบัญชีของลูกหนี้ก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกเงินสํารองสําหรับส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นดังกล่าวทั้งจํานวนทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพะกิจสามารถโอนกลับรายการเงินสํารองที่กันไว้แล้วเดิมก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สําหรับลูกหนี้รายนั้นได้เฉพาะจํานวนที่กันไว้แล้วสูงกว่าจํานวนส่วนสูญเสียที่ต้องกันและหากเงินสํารองที่กันไว้แล้วต่ํากว่าจํานวนส่วนสูญเสียที่ต้องกัน ก็ให้กันเงินสํารองเพิ่มขึ้นให้ครบจํานวนส่วนสูญเสียที่ต้องกันดังกล่าว (1.3) ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยินยอมลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยที่ค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือรับชําระหนี้บางส่วนโดยการรับโอนสินทรัพย์ตราสารการเงิน หรือรับทุนของลูกหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน และผ่อนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้ในส่วนที่เหลือให้แก่ลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตาม (1.1) สําหรับกรณีการลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยหรือการรับชําระหนี้ดังกล่าว และปฏิบัติตาม (1.2) ในส่วนการผ่อนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้ (2) ในระหว่างติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้ต้องชําระเงินตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนหรือ 3 งวดการชําระเงิน แล้วแต่ระยะเวลาใดจะนานกว่า ให้ดําเนินการดังนี้ (2.1) ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสงสัยจะสูญหรือสงสัย ให้จัดชั้นเป็นต่ํากว่ามาตรฐาน (2.2) ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นต่ํากว่ามาตรฐานหรือกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควรระวังเป็นพิเศษ) ให้คงจัดชั้นเช่นเดิม ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ตามสถานะการจัดชั้นหลังการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หากเงินสํารองตาม (2) นี้มีจํานวนสูงกว่าเงินสํารองสําหรับส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตาม (1.1) (1.2) และ (1.3) เมื่อลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้โดยชําระเงินตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน หรือ 3 งวดการชําระเงินแล้วให้ถือเป็นลูกหนี้จัดชั้นปกติ กรณีสินเชื่อเกษตรกรที่มีการจ่ายชําระเงินตามฤดูกาลผลิตที่มีระยะเวลายาวกว่าสินเชื่อปกติ ให้ SFLs หารือแนวทางการจัดชั้นของกลุ่มลูกหนี้ดังกล่าวกับ ธปท. ต่อไป ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชําระหนี้ใหม่ ให้นับระยะเวลาการค้างชําระรวมกับระยะเวลาการค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แล้วพิจารณาจัดชั้นตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นเพื่อการกันเงินสํารองตามเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ต่อไป (3) สําหรับลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นลูกหนี้ดังกล่าวเป็นชั้นปกติได้ทันที โดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (3.1) ลูกหนี้ที่สามารถชําระดอกเบี้ยได้ไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด (Market interest rate) โดยไม่มีช่วงปลอดการชําระดอกเบี้ย แต่อาจมีช่วงปลอดการชําระเงินต้นได้ (3.2) ลูกหนี้ที่มีส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 20 ของยอดหนี้ตามบัญชีก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งได้มีการตัดออกจากบัญชีแล้ว หรือได้มีการกันเงินสํารองในอัตราดังกล่าวครบถ้วนแล้ว โดยหนี้ส่วนที่เหลือได้มีการวิเคราะห์ฐานะและกิจการของลูกหนี้ ตลอดจนกระแสเงินสดอย่างมีหลักเกณฑ์ สมเหตุสมผล และมีหลักฐานประกอบจนเชื่อได้แน่นอนว่า ลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ (3.3) ลูกหนี้ในลักษณะ Loan syndication หรือมีเจ้าหนี้หลายรายซึ่งบรรดาเจ้าหนี้ได้ตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวมกันได้ และสามารถแสดงหลักฐานการวิเคราะห์ฐานและกิจการของลูกหนี้ ตลอดจนกระแสเงินสดอย่างมีหลักเกณฑ์ สมเหตุสมผล และมีความเป็นไปได้แน่นอนที่ลูกหนี้จะปฏิบัติตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ (3.4) กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ฟ้องร้องลูกหนี้และต่อมาได้มีการตกลงทําสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้มีคําพิพากษาตามยอมแล้ว และกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ฟ้องร้องลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและศาลได้มีคําสั่งเห็นชอบตามคําขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้แล้ว (4) ในกรณีที่เห็นว่ามีข้อผิดสังเกตในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้มีการแก้ไข หรือให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหาผู้เชี่ยวชาญอิสระมาประเมินหรือทบทวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือสั่งการให้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ในแต่ละรายได้ 4.2.4 การกันเงินสํารองและการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เสียหายหรืออาจเสียหาย สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องตัดจําหน่ายสินทรัพย์และกันเงินสํารองตามลักษณะการจัดชั้นสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้ (1) สินทรัพย์จัดชั้นสูญ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจตัดออกจากบัญชีทั้ง (2) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ จัดชั้นสงสัย หรือจัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน (2.1) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองในอัตราร้อยละ 100 สําหรับส่วนต่างระหว่างยอดหนี้คงค้างตามบัญชีกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกัน โดยใช้วิธีการคํานวณมูลคําปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 1 สําหรับหลักประกันประเภทอื่นนอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่า เครื่องจักร และยานพาหนะ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนํามูลค่าของหลักประกันตามตารางสรุปประเภทของหลักประกันและมูลค่าของหลักประกันที่สามารถนํามาหักออกจาราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดได้ โดยมิต้องคํานวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันดังกล่าว (2.2) กรณีสินเชื่อรายย่อยที่สามารถจัดกลุ่มสินเชื่อที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครติตคล้ายคลึงกันได้อย่างเหมาะสม สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกกันเงินจํานวนสําร้องจามข้อ (2.1) หรือกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อ (Collective approach) โดยใช้วิธีผลขาดทุนจากประสบการณ์ในอดีตตามธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 2 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าสมมติฐานและปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการคํานวณกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกัน หรือผลขาดทุนจากประสบการณ์ในอดีตสําหรับการกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตคล้ายคลึงกันไม่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นกันเงินสํารองเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนวิธีการคํานวณเงินกันสํารองได้ (3) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควรระวังเป็นพิเศษ) หรือจัดชั้นปกติ (3.1) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองโดยใช้ยอดคงค้างของต้นเงินที่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับเป็นฐานในการคํานวณจากอัตราดังต่อไปนี้ (3.1.1) ร้อยละ 2 ของสินทรัพย์จัดขั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควรระวังเป็นพิเศษ) (3.1.2) ร้อยละ 1 ของสินทรัพย์จัดขั้นปกติ (3.2) กรณีสินเชื่อที่สามารถจัดกลุ่มสินเชื่อที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตคล้ายคลึงกันได้อย่างเหมาะสม สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกกันเงินสํารองตามข้อ (3.1) หรือกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อ (Collective approach) โดยใช้วิธีผลขาดทุนจากประสบการณ์ในอดีตตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการคํานวณการกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อตามข้อ (3.2) ไม่เพียงพอ เช่น น้อยกว่า 5 ปี เป็นต้นให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองตามที่คํานวณได้ในข้อ (3.2) หรือ (3.1) แล้วแต่จํานวนใดจะมากกว่า 4.2.5 การกันเงินสํารองสําหรับรายการภาระผูกพัน (รายการนอกงบดุล) (1) รายการนอกงบดุลที่ต้องกันเงินสํารองสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่เข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้ (1.1) ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สงสัยจะสูญ สงสัย และต่ํากว่ามาตรฐาน ตามข้อ 4.2.2 หากภาระผูกพันมีกระแสเงินสดรับที่เกี่ยวเนื่องกับลูกหนี้ (1.2) ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่พึงรับรู้ประมาณการหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สินหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้ (1.2.1) มีภาระผูกพันในปัจจุบันซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีตไม่ว่าภาระผูกพันนั้นจะเป็นภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน (1.2.2) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันดังกล่าว และ (1.2.3) สามารถประมาณมูลคําภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ (1.3) ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตในระดับสูง เช่น การค้ําประกันการกู้ยืม การอาวัล หรือภาระผูกพันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่สามารถยกเลิกได้ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ในการคํานวณเงินกองทุนที่ต้องดํารงเท่ากับ 1 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (2) อัตราส่วนในการกันเงินสํารอง สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่เข้าเงื่อนไขตามข้อ (1) ในอัตราเดียวกันกับอัตราการกันเงินสํารองของลูกหนี้รายเดียวกันที่ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงิน ในกรณีที่ลูกหนี้รายดังกล่าวมีหนี้หลายประเภทและหนี้แต่ละประเภทมีอัตราการกันเงินสํารองแตกต่างกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลโดยใช้อัตราเดียวกันกับการกันเงินสํารองสูงสุดของลูกหนี้รายนั้น เว้นแต่สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถแบ่งแยกที่มาของการชําระเงินของรายการภาระผูกพันนั้นได้ว่าเกี่ยวข้องกับหนี้บัญชีใดของลูกหนี้ ก็ให้สามารถกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันในอัตราเดียวกันกับอัตราการกันเงินสํารองของหนี้บัญชีนั้นได้ และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดเก็บหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกันเงินสํารองดังกล่าวไว้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเองเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 4.2.6 การกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ให้เช่าซื้อ และลูกหนี้ให้เช่าแบบลีสซิ่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องคํานวณเงินสํารองจากยอดลูกหนี้ตามจํานวนเงินให้เช่าซื้อ หรือให้เช่าแบบลีสซิ่งคงค้างซึ่งเป็นยอดสุทธิที่หักยอดคงเหลือจากดอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชีหรือรายได้ทางการเงินรอการรับรู้ออกแล้ว ทั้งนี้ สําหรับการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ในกรณียานพาหนะและเครื่องจักร สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนํามูลค่าของยานพาหนะและเครื่องจักรตามที่กําหนดในข้อ 4.2.8 มาหักออกจากยอดลูกหนี้ตามวรรคหนึ่งก่อนการกันเงินสํารองได้ 4.2.7 การกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ที่มีสัญญาจะซื้อจะขาย ในการคํานวณเงินกันสํารองสําหรับลูกหนี้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสัญญาจะซื้อจะขายให้กับบุคคลภายนอก สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องคํานวณการกันสํารองโดยให้นํามูลค่าตามราคาซื้อขายมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองโดยมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) ต้องมีหนังสือค้ําประกันการซื้อจากสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือผู้ซื้อได้มีการวางเงินเป็นประกันไม่ต่ํากว่าร้อยละ 20 ของราคาซื้อขาย (2) ต้องดําเนินการซื้อขายให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับจากวันทําสัญญาจะซื้อจะขาย 4.2.8 การนํามูลค่าหลักประกันไปใช้ในการกันเงินสํารอง ในการกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นทุกประเภท เว้นแต่สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญตามข้อ 4.2.2 (2.3) (2.4) และ (2.6) ให้นํามูลค่าของหลักประกันซึ่งได้ประเมินราคาตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารอง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกที่จะนําหลักประกันมาหักออกจากบัญชีใดของลูกหนี้ก่อนก็ได้ ทั้งนี้ สําหรับหลักประกันยานพาหนะประเภทเรือที่สามารถนํามูลค่าไปใช้ในการกันเงินสํารองนั้นต้องมีใบอนุญาตการใช้เรือที่ออกโดยกรมเจ้าท่า และมีการตรวจสภาพเรือที่เป็นปัจจุบันและสม่ําเสมอ อนึ่ง มูลค่าของหลักประกันที่นํามาหักได้จะต้องไม่สูงเกินกว่าวงเงินที่ระบุในสัญญาจํานํา สัญญาจํานอง สัญญาค้ําประกัน สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หรือสัญญาหลักประกันอื่นแล้วแต่กรณี และประเภทหลักประกัน มูลค่าที่จะนํามาหักได้ รวมทั้งความถี่ในการประเมินราคาหลักประกันแต่ละประเภทให้เป็นไปตามตารางสรุปประเภทของหลักประกัน และมูลค่าของหลักประกันที่สามารถนํามาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 3 อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพะกิจใดไม่ประสงค์จะนํามูลค่าของหลักประกันมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารอง ก็สามารถกระทําได้ 4.2.9 การนําส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดินและจ่ายเงินปันผล ในระหว่างเวลาที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังไม่ได้ตัดสินทรัพย์ที่เสียหายออกจากบัญชี หรือยังกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่อาจเสียหายและไม่เสียหายไม่ครบทั้งจํานวน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําจํานวนที่ยังกันไม่ครบหักออกจากกําไรก่อนนําส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดิน จ่ายเงินปันผล หรือเงินตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น 4.2.10 การกันเงินสํารองที่เข้มงวดกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะจัดชั้นสินทรัพย์และกันเงินสํารองโดยใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้ ให้สถบันการเงินเฉพาะกิจสามารถกระทําได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีเนื่องจากเห็นว่าไม่สามารถที่จะเรียกชําระหนี้คืนได้ เช่น ได้ดําเนินคดีทางกฎหมายแล้ว ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่จะชําระหนี้ได้ หรือไม่มีบุคคลค้ําประกัน หรือหลักประกันไม่มีค่าแล้ว สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถดําเนินการได้ รวมถึงกรณีการตัดลูกหนี้ออกจากบัญชี สามารถตัดบัญชีใดบัญชีหนึ่งออกก็ได้และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและเพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติในการตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีและการควบคุมภายในให้ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ (2) การตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีจะต้องไม่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่กรรมการผู้บริหารระดับสูง ผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกิจการที่บุคคลดังกล่าวมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง 4.2.11 การสอบทานเงินให้สินเชื่อและภาระผูกพัน สถบันการเงินเฉพาะกิจต้องทําการสอบทานและจัดทํารายงานการสอบทานเงินให้สินเชื่อ เงินให้กู้ยืม ภาระผูกพัน และธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการสอบทนธุรกรรมด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2.12 การจัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้เงินให้สินเชื่อตามธุรกรรมนโยบายรัฐ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นและกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้เงินให้สินเชื่อตามธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,829
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 20/2561 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการบัญชีของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 20/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีของสถาบันการเงิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ โดยปกติแล้วสถาบันการเงินต้องจัดทําบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดเช่นเดียวกับนิติบุคคลประเภทอื่น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธุรกิจของสถาบันการเงินเป็นธุรกิจการเงินที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากธุรกิจโดยทั่วไป ทําให้การทําธุรกรรมบางประเภทอาจไม่มีมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เป็นการเฉพาะกําหนดแนวปฏิบัติต้านบัญชีไว้ หรือมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีอยู่อาจไม่ชัดเจนในสถานการณ์หนึ่ง ๆ ซึ่งต้องอาศัยการตีความและดุลยพินิจในการนําไปใช้ที่หลากหลายหรือมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในบางเรื่องได้ให้ทางเลือกไว้หลายแนวทางในการนําไปปฏิบัติ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวที่เกิดขึ้นอาจทําให้เกิดความไม่ชัดเจนและเกิดความหลากหลายในการนําไปปฏิบัติของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ด้วยเหตุนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นความจําเป็นในการออกหลักเกณฑ์การบัญชีในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติอย่างมีมาตรฐานและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพิ่มเติมจากที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเป็นไปตามหลักการของกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีโดยไม่ขัดแย้งกัน หรือในบางกรณีที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยสภาวิขาชีพบัญชีครอบคลุมถึง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดหลักเกณฑ์การบัญชีและการรายงานทางการเงินให้เป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Accounting Standards - IAS และ International Financial Reporting Standards - IFRS) ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน และยกเลิก (1) คําจํากัดความของตราสารหนี้และตราสารทุน การบันทึกตราสารทุนที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นเงินลงทุนทั่วไปในหมวด 2 (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้ในหมวด 3 (3) ทางเลือกในการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในหมวด 4 และ (4) การระงับการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมในหมวด 5 นอกจากนี้ ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า สําหรับการรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขายในหมวด 1 ด้วย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 20/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2558 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 5. เนื้อหา หมวด 1 การขายทรัพย์สินรอการขาย --------------------------- 1. ในหมวดนี้ "ผู้มีอํานาจในการจัดการ" หมายความว่า (1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินหรือบริษัทแล้วแต่กรณี หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัท ทําสัญญาให้มีอํานาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการ หรือกรรมการหรือการจัดการของสถาบันการเงินหรือบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของสถาบันการเงินหรือบริษัท "กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" หมายความว่า กรรมการที่ทําหน้าที่บริหารงานในสถาบันการเงินหรือบริษัทตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน "กลุ่มธุรกิจทางการเงิน " หมายความว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน 2. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการขายทรัพย์สินรอการขายทุกประเภท ยกเว้นทรัพย์สินรอการขายประเภทตราสารหนี้และตราสารทุน 3. เกณฑ์การรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขาย ให้สถาบันการเงินรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขายใด้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักการรับรู้รายได้ตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ของสภาวิชาชีพบัญชี 4. การบัญชีเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขาย 4.1 การขายทรัพย์สินรอการขายรายการใดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ให้บันทึกบัญชีเป็นการรับเงินมัดจํา 4.2 นอกเหนือจากการขายทรัพย์สินรอการขายในข้อ 4.3 เมื่อการขายทรัพย์สินรอการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว ให้สถาบันการเงินแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี ดังนี้ 4.2.1 การขายทรัพย์สินรอการขายให้กับบุคคลทั่วไป สําหรับรายการที่มียอดขายสูงกว่า 10 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินพิจารณาเป็นรายสัญญาของผู้ซื้อแต่ละราย ซึ่งอาจเป็นการซื้อทรัพย์สินรอการขายรายการเดียวหรือหลายรายการในคราวเดียวกันก็ได้ ให้สถาบันการเงินรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ (1) สถาบันการเงินได้รับชําระเงินสดแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของราคาขาย (2) ผู้ซื้อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะชําระราคาทรัพย์สินได้ครบตามจํานวน สําหรับรายการขายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อ (1) และ (2) ข้างต้น ให้สถาบันการเงินรับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระต่อราคาขาย จนกว่าการขายจะเข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อดังกล่าว จึงจะสามารถรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนได้ เช่น ในกรณีที่สถาบันการเงินได้รับชําระเงินสดน้อยกว่าร้อยละ 20 ในครั้งแรก เนื่องจากให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ซื้อเกินกว่าร้อยละ 80 สถาบันการเงินต้องรับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัตส่วนของเงินสดที่ใด้รับชําระจนกว่าสถาบันการเงินได้รับชําระราคาทรัพย์สินจนถึงร้อยละ 20 แล้ว จึงจะสามารถรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนได้ 4.2.2 การขายทรัพย์สินรอการขายให้กับกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติ ดังนี้ (1) กรณีไม่มีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้น (1.1) กรณีได้รับชําระเงินสดทั้งจํานวน ให้สถาบันการเงินรับรู้กําไร (1.2) กรณีมีการทยอยรับชําระ ให้สถาบันการเงินรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนเมื่อได้รับชําระเงินสดครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (cost recovery method) (2) กรณีมีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินนั้น (2.1) กรณีมีการกู้ยืมเพื่อชําระราคาทรัพย์สินรอการขายทั้งจํานวนให้สถาบันการเงินรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อได้รับชําระเงินกู้ยืมครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (cost recovery method) (2.2) กรณีมีการกู้ยืมเพื่อชําระราคาทรัพย์สินรอการขายไม่เต็มจํานวน (2.2.1) ส่วนที่ได้รับชําระเป็นเงินสด ให้สถาบันการเงินรับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระต่อราคาขาย (2.2.2) ส่วนที่มีการให้กู้ยืมเงิน ให้สถาบันการเงินรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อได้รับชําระเงินกู้ยืมครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (cost recovery method) ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการขายทรัพย์สินรอการขายให้แก่กรรมการผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรา 48 (4) แห่งพระราขบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การขาย ให้ หรือให้เช่าทรัพย์สินใด ๆ แก่กรรมการและบุคคลอื่นที่กําหนดตามมาตรา 48 (4) หรือรับซื้อหรือเช่าทรัพย์สินใด ๆ จากบุคคลดังกล่าว ตัวอย่างวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขายสําหรับกรณีตามข้อ 4.2 แสดงไว้ในเอกสารแนบ 4.3 การขายทรัพย์สินรอการขาย และได้รับชําระเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจํานวน เมื่อการขายทรัพย์สินรอการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติ ดังนี้ 4.3.1 บันทึกบัญชีตั๋วสัญญาใช้เงินที่ได้รับจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นลูกหนี้อื่นและแสดงรายการในหัวข้อสินทรัพย์อื่นในงบการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรมที่คํานวณจากกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า ของสภาวิชาชีพบัญชี เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวถือเป็นการรับชําระหนี้ที่เกิดจากการขายทรัพย์สินรอการขาย ไม่ใช่เงินให้สินเชื่อจากการดําเนินธุรกิจปกติของสถาบันการเงิน 4.3.2 รับรู้กําไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 เนื่องจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจํานวน จะไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการยกเลิกการขาย และความสามารถในการชําระเงิน 4.4 การขายทรัพย์สินรอการขายโดยที่สถาบันการเงินยังมีภาระที่จะต้องดําเนินการและภาระนั้นมีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญต่อกําไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายนั้น เช่น ภาระในการโยกย้ายผู้อยู่อาศัย ภาระในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ในการคํานวณกําไรจากการขายดังกล่าวให้สถาบันการเงินหักประมาณการค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นออกจากกําไรจากการขายนั้นก่อน แล้วจึงรับรู้กําไรตามสัดส่วนเช่นเดียวกับการรับรู้กําไรในแต่ละกรณี ทั้งนี้ การประมาณการค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนตในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สินหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ของสภาวิชาชีพบัญชี 4.5 ในกรณีที่มีรายการขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขาย ให้สถาบันการเงินรับรู้ขาดทุนทั้งจํานวนในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นทันที 5. การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขาย ให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขายในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หมวด 2 เงินลงทุน ------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน 2. การบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน และมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน ของสภาวิซาชีพบัญชี 3. การประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน ให้สถาบันการเงินประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรมของสภาวิชาชีพบัญชี 4. ตราสารทุนที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในกรณีของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หากสถาบันการเงินได้รับชําระหนี้เป็นตราสารทุของลูกหนี้ ซึ่งเกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน และตราสารทุนดังกล่าวมีข้อจํากัดในการถือครองและจําหน่ายให้สถาบันการเงินกําหนดนโยบายในการถือครองอย่างชัดเจนตั้งแต่วันที่ได้รับตราสารทุนนั้นมา ว่าจะถือเป็นเครื่องมือทางการเงิน หรือเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือบริษัทย่อย และบันทึกบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง หมวด 3 การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้ ----------------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน โดยให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ของสภาวิชาชีพบัญชี 2. การประเมินมูลค่ายุติธรรมของลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา ให้สถาบันการเงินประเมินมูลค่ายุติธรรมของลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ของสภาวิชาชีพบัญชี โดยหากกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตมาจากการจําหน่ายหลักประกันด้วย ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและกันสํารองของสถาบันการเงิน และแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการรับชําระหนี้การประกันการให้สินเชื่อ หรือที่ซื้อจากการขายทอดตลาดของสถาบันการเงิน 3. การรับรู้กําไรจากการจัดประเภทรายการใหม่ สถาบันการเงินสามารถจัดประเภทรายการใหม่ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ของสภาวิชาชีพบัญชีอย่างไรก็ดี ในกรณีที่สถาบันการเงินมีกําไรจากการจัดประเภทรายการใหม่ ให้สถาบันการเงินคํานึงถึงความแน่นอนที่จะได้รับเงินในอนาคตประกอบการรับรู้กําไรเป็นรายได้ด้วย 4. หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสําหรับลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา 4.1 การจัดชั้นและการกันเงินสํารอง ให้สถาบันการเงินจัดขั้นและกันเงินสํารองลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน 4.2 การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ให้สถาบันการเงินนับรวมลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมาในการคํานวณลูกหนี้รายใหญ่ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ นอกจากนี้ ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมโดยเคร่งครัด เช่น ข้อห้ามในการให้สินเชื่อแก่กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ตามที่กําหนดในมาตรา 48 (1) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 4.3 การบันทึกบัญชีรายได้ดอกเบี้ย ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีรายได้ดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 5 ของประกาศฉบับนี้ หมวด 4 การแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ----------------------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการแปลงคํารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาท 2. การแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาท 2.1 รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันที (spot position) ให้สถาบันการเงินแปลงค่า (1) รายการในงบการเงินทุกรายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันที (2) งบการเงินของหน่วยงานในต่างประเทศที่จะนํามารวมในการจัดทํางบการเงินของสถาบันการเงิน และ (3) รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันทีในชุดข้อมูลสถาบันการเงิน (ข้อมูล FI: Financial Institution) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยเงินโอน (average buying rates - transfer) และอัตราขายถัวเฉลี่ย (average selling rates)ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th) ณ วันที่โนงบแสดงฐานะการเงินหรือวันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน ทั้งนีh (1) ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลอัตราซื้อถัวเฉลี่ยเงินโอนและอัตราขายถัวเฉลี่ยสําหรับสกุลเงินใด ให้สถาบันการเงินใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายในส่วนของอัตราในตลาดต่างประเทศ ซึ่งได้คํานวณเป็นอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศนั้นต่อสกุลเงินบาทไว้แล้ว ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินหรือวันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน (2) ในกรณีที่สถาบันการเงินทําธุรกรรมด้วยสกุลเงินต่างประเทศอื่น นอกเหนือจากที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สถาบันการเงินแปลงค่ารายการเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา โดยใช้ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนข้ามสกุล (cross rate) โดยตรงจากตลาดต่างประเทศที่เชื่อถือได้ เช่น Thomson Reuters, Bloomberg และ Telerate แล้วจึงแปลงค่าเป็นสกุลเงินบาทด้วยอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยเงินโอนและอัตราขายถัวเฉลี่ยของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ซื้อขายกับลูกค้า ที่เผยแพรในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินหรือวันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องเลือกใช้ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนจากตลาดต่างประเทศดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ และมีหลักฐานให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ 2.2 รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (forward position) ให้สถาบันการเงินแปลงค่ารายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในการปิดบัญชีทุกสิ้นเดือน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับระยะเวลาคงเหลือของฐานะหรือสัญญาดังกล่าว และให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ของสภาวิชาชีพบัญชี 2.3 รายการที่เป็นอนุพันธ์ทางการเงิน รายการที่เป็นอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นที่กล่าวในข้อ 2.2 ให้สถาบันการเงินประเมินมูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ของสภาวิชาชีพบัญชี 3. การรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ของสภาวิชาชีพบัญชี หมวด 5 การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืม -------------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ให้ใช้กับการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืม 2. เกณฑ์การรับรู้รายได้ดอกเบี้ย 2.1 ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้างทุกสิ้นเดือน 2.2 ให้สถาบันการเงินรับรู้รายได้ดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ของสภาวิชาชีพบัญชี โดยสถาบันการเงินต้องคํานึงถึงความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ในการประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยด้วย 2.3 กรณีที่สถาบันการเงินได้รับชําระดอกเบี้ยบางส่วน ให้สถาบันการเงินนําไปตัดรายการดอกเบี้ยค้างรับที่ได้รับรู้เป็นรายได้แล้วในบัญชีก่อน แล้วจึงนําไปตัดดอกเบี้ยค้างรับตามสัญญาที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้ในบัญชี หมวด 6 การซื้อขายตั๋วเงินและธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า ------------------------------------------ 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการซื้อขายตั๋วเงินและธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) ทั้งนี้ "ตั๋วเงิน" หมายความว่า ตัวสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงินที่ออกเพื่อการระดมทุนทั่วไป 2. การบันทึกบัญชีสําหรับการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน และธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า โดยการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดเอกสารตามเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิต ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีเป็นเงินให้กู้ยืมแก่ลูกหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่น 3. การบันทึกบัญชีสําหรับการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน ให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง สําหรับการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน ที่สถาบันการเงินรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดไว้ หมวด 7 หนี้สูญได้รับคืน --------------------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการบันทึกบัญชีรายการหนี้สูญได้รับคืนของลูกหนี้ที่สถาบันการเงินได้ทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในภายหลังจากการตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีไปแล้ว ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดขั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน 2. การบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืน ให้สถาบันการเงินบันทึกหนี้สูญได้รับคืนดังกล่าวข้างต้น ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง โดยให้บันทึกตามจํานวนเท่าที่ได้รับชําระเงินแล้วเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามหลักความระมัดระวัง (conservatism) และเป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินสามารถรับรู้รายการได้ทันทีหากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน ของสภาวิชาชีพบัญชี และได้รับความเห็นขอบจากผู้สอบบัญชี หมวด 8 การจ่ายเงินปันผล ------------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการกําหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลของสถาบันการเงิน 2. การพิจารณาจ่ายเงินปันผล เนื่องจากสถาบันการเงินอาจมีการบันทึกกําไรจากการตีราคาทรัพย์สิน การจัดประเภทรายการใหม่ของสินทรัพย์ทางการเงิน และรายการอื่น " โดยเป็นกําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (unrealized gain)ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และมูลค่ายุติธรรม หรือสถาบันการเงินอาจมีการรับรู้กําไรที่สูงกว่าหรือขาดทุนต่ํากว่ากรณีปกติ ซึ่งกําไรดังกล่าวจะถูกนํามารวมในการคํานวณกําไร (ขาดทุน) สุทธิสําหรับงวดและกําไร (ขาดทุน) สะสม ซึ่งเป็นฐานในการนํามาพิจารณาจ่ายเงินปันผล ดังนั้น เพื่อรองรับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผล ดังนี้ (1) ไม่ให้สถาบันการเงินนํากําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง หรือไม่มีกระแสเงินสดรับจริงมาใช้ในการจ่ายเงินปันผล เช่น กําไรที่เกิดจากการตีราคาหลักทรัพย์ (mark to market) และกําไรที่เกิดจากการจัดประเภทรายการใหม่ของสินทรัพย์ทางการเงิน (2) ไม่ให้สถาบันการเงินนํากําไรที่เกิดจากการขายทรัพย์สินที่มิได้มีการซื้อขายจริงซึ่งมีผลทําให้สถาบันการเงินมีกําไรสูงกว่าหรือขาดทุนต่ํากว่ากรณีปกติ มาใช้ในการจ่ายเงินปันผล เช่น กําไรที่เกิดจากการขายทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินที่มีเงื่อนไขให้สถาบันการเงินสามารถซื้อคืนหรือมีสิทธิซื้อคืนทรัพย์สินนั้นได้ในอนาคต อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,830
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2552 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20/2553 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2553 เท่ากับร้อยละ 1.3 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 15 มีนาคม 2553 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,831
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15 /2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2559 ---------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.9/14/59 | 65,000 | 4 มีนาคม 2559 | 8/3/59 – 22/3/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,832
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.21/14/53 | 60,000 | 18 มีนาคม 2553 | 22/3/53 - 5/4/53 | 14 | | พ.22/15/53 | 55,000 | 19 มีนาคม 2553 | 23/3/53 - 7/4/53 | 15 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,833
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 9/28/56 | - | 25,000 | 5 มี.ค. 56 | 7 มี.ค. 56 | 4 เม.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน | | 9/91/56 | - | 25,000 | 5 มี.ค. 56 | 7 มี.ค. 56 | 6 มิ.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน | | 9/182/56 | - | 25,000 | 5 มี.ค. 56 | 7 มี.ค. 56 | 5 ก.ย. 56 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/364/56 | - | 40,000 | 5 มี.ค. 56 | 7 มี.ค. 56 | 9 ม.ค. 57 | 364 วัน | 308 วัน | | 10/28/56 | - | 25,000 | 12 มี.ค. 56 | 14 มี.ค. 56 | 11 เม.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน | | 10/91/56 | - | 25,000 | 12 มี.ค. 56 | 14 มี.ค. 56 | 13 มิ.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน | | 10/182/56 | - | 25,000 | 12 มี.ค. 56 | 14 มี.ค. 56 | 12 ก.ย. 56 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2556 | 2.95 | 40,000 | 14 มี.ค. 56 | 18 มี.ค. 56 | 14 ม.ค. 59 | 3 ปี | 2.83 ปี | | 11/28/56 | - | 25,000 | 19 มี.ค. 56 | 21 มี.ค. 56 | 18 เม.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน | | 11/91/56 | - | 25,000 | 19 มี.ค. 56 | 21 มี.ค. 56 | 20 มิ.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน | | 11/182/56 | - | 25,000 | 19 มี.ค. 56 | 21 มี.ค. 56 | 19 ก.ย. 56 | 182 วัน | 182 วัน | | 12/28/56 | - | 25,000 | 26 มี.ค. 56 | 28 มี.ค. 56 | 25 เม.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน | | 12/91/56 | - | 25,000 | 26 มี.ค. 56 | 28 มี.ค. 56 | 27 มิ.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน | | 12/182/56 | - | 25,000 | 26 มี.ค. 56 | 28 มี.ค. 56 | 26 ก.ย. 56 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,834
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 15/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 15 / 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ------------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบันบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม มีการให้บริการค้ําประกันความเสี่ยงในลักษณะของกลุ่มลูกหนี้ (Portfolio Guarantee Scheme) ซึ่งแตกต่างจากการค้ําประกันที่เป็นรายลูกหนี้ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee Scheme ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติโดยมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และการจัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับโครงการค้ําประกันความเสี่ยงในลักษณะของกลุ่มลูกหนี้ (Portfolio Guarantee Scheme) ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมที่รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม์ขนาดย่อมทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้ถือเสมือนว่าลูกหนี้ได้รับการค้ําประกันโดยอ้อมจากรัฐบาลไทย ทั้งนี้ หลักเกณฑ์นี้ครอบคลุมถึงโครงกรค้ําประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมในรูปแบบอื่น ซึ่งมีหลักการและรายละเอียดของโครงการในลักษณะเดียวกับโครงการค้ําประกันแบบ Portfolio Guarantee Scheme ด้วย เช่น โครงการค้ําประกันสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อยในลักษณะ Package Guarantee Scheme อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 60 และมาตรา 61 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยและธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย 4.2 กรณีรัฐบาลชดเชยความเสียหายให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ทั้งหมด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและคํานวณการกันเงินสํารอง ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 4.2.1 หลักเกณฑ์การคํานาณสินทรัทย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนําการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมตามโครงการ Portfolio Guarantee Scheme มาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้ภายใต้โครงการดังกล่าวได้เฉพาะในส่วนที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมรับประกันความเสียหาย โดยให้ถือเสมือนว่าลูกหนี้ได้รับการค้ําประกันโดยอ้อมจากรัฐบาลไทย ทั้งนี้ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2.2 หลักเกณฑ์การจัดขั้นและการกันเงินสํารอง ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามูลค่าหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ําประกัน (LG) ที่ออกโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมตามโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ทั้งจํานวนมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองได้ตามสัดส่วนของจํานวนเงินที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมรับประกันความเสียหายให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นเนื่องจากเป็นส่วนที่มีมติคณะรัฐนตรีชดเชยความเสียหายจากโครงการนี้ ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.3 กรณีรัฐบาลชดเชยความเสียหายให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมซึ่งไม่ครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ทั้งหมด ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุโลมให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและคํานวณการกันเงินสํารอง เสมือนว่าส่วนที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมรับประกันความเสียหายได้รับการค้ําประกันโดยอ้อมจากรัฐบาลเช่นเดียวกับข้อ 4.2 เฉพาะกรณีโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 เท่านั้น ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจใดไม่ประสงค์ที่จะคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และคํานวณการกันเงินสํารองตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้ถือว่าการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมในส่วนที่รัฐบาลไม่ชดเชยนั้น เป็นการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมเอง 4.4 แนวทางตามข้อ 4.2 และข้อ 4.3 ข้างต้น ให้ถือปฏิบัติเป็นการทั่วไปสําหรับโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ระยะต่อไปที่รัฐบาลมีการชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยที่หลักการและรายละเอียดของโครงการมิได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ รวมถึงโครงการค้ําประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมในรูปแบบอื่น ซึ่งมีหลักการและรายละเอียดโครงการในลักษณะเดียวกับโครงการ Portfolio Guarantee Scheme เช่น โครงการค้ําประกันสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อยในลักษณะ Package Guarantee Scheme อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,835
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16 /2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2559 --------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.10/14/59 | 65,000 | 11 มีนาคม 2559 | 15/3/59 – 29/3/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,836
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2551สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2553 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปีรุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2553 เท่ากับร้อยละ 1.3 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 16 มีนาคม 2553 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,837
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15 /2556 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2556 โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ย ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 ที่จะประมูลในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ลบร้อยละ 0.1 ต่อปี และกําหนดอัตราดอกเบี้ยสําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เท่ากับร้อยละ 2.76000 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,838
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 16/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 16 / 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ---------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบันสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินในหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในการทําธุรกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการให้บริการทางการเงินดังกล่าว สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องให้ความสําคัญต่อการบริหารความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมดังกล่าว เพื่อให้สามารถรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการกํากับดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อไม่ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการกระจุกตัวของความเสี่ยง (Concentration risk) ในลูกหนี้รายใดรายหนึ่งรวมผู้ที่เกี่ยวข้องมากเกินควร รวมทั้งมีระบบการประเมิน การบริหาร และควบคุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งมีขอบเขตการให้บริการธุรกรรมทางการเงินตามพันธกิจหลักซึ่งแตกต่างกัน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดอัตราการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและการประกอบธุรกิจของกิจการต่าง ๆ ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยจะผ่อนผันเป็นการชั่วคราวสําหรับการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ซึ่งมีผลทําให้อัตราส่วนการกํากับลูกหนี้รายใหญ่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกําหนด อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50 มาตรา 52 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single lending limit) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "เงินกองทุน" หมายความว่า เงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ "ก่อภาระผูกพัน" หมายความว่า ภาระผูกพันที่ระบุตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ "ตั๋วเงินที่มีคุณภาพ" หมายความว่า ตั๋วเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยและบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (2) ได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยสถาบันการเงินในต่างประเทศที่มีหน่วยงานกํากับดูแล หรือสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ โดยสถาบันการเงินดังกล่าวต้องได้รับการจัดอันดับเครดิต (Credit rating) เป็นระดับน่าลงทุน (Investment grade) โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External Credit Assessment Institutions: ECAIs) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ สําหรับสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศที่ไม่มีกรจัดอันดับเครดิตโดยสถบันจัดอันดับเครดิตภายนอก อนุโลมให้ใช้อันดับเครดิตของประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้งแทนได้ (3) ได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (Multilateral Development Banks: MDBs) ที่มีน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 0 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (4) ออกโดยบริษัททั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยบริษัทอื่นทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ "หุ้น" หมายความว่า หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ 4.2 หลักเกณฑ์ 4.2.1 การคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ จํานวนเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินอัตราหรือจํานวนที่กําหนด ดังต่อไปนี้ | | | | --- | --- | | สถาบันการเงินเฉพาะกิจ | อัตราหรือจํานวนที่กําหนด | | (1.1) ธนาคารออมสิน(1.2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(1.3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | ร้อนละ 15 ขอเงินกองทุนทั้งสิ้น | | (1.4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย แห่งประเทศไทย | 500 ล้านบาท | | (1.5) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย(1.6) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย | ร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้น | 4.2.2 วิธีการคํานวณรายการเทียบเท่าสินทรัพย์ของรายการภาระผูกพัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าของภาระผูกพันที่ใช้ในการคํานวณอัตราตามข้อ 4.2.1 โดยนําจํานวนเงินตามสัญญาภาระผูกพัน (Notional amount) ไปคูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit conversion factor) ตามสัญญาภาระผูกพันแต่ละประเภทที่กําหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2.3 ข้อยกเว้นในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามข้อ 4.2.1 ไม่รวมถึงธุรกรรมดังต่อไปนี้ (1) ธุรกรรมตามมาตรา 52 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ภายใต้บังคับข้อ 4.2.3 (2) (3) และ (4) (2) การให้กู้ยืมระหว่างสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (2.1) การให้กู้ยืมประเภทชําระคืนเมื่อทวงถาม (Call loan) หรือให้กู้ยืมเงินประเภทกําหนดชําระคืนไม่เกินหนึ่งวัน (Overnight Loan) แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (2.2) การให้กู้ยืมเงินประเภทมีระยะเวลา (Term loan) ไม่เกิน 12 เดือนเฉพาะสกุลเงินบาท แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (3) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ทีมีความเสี่ยงน้อยที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (3.1) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่กระทรวงการคลัง หรือส่วนราชการอื่นใด หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง (3.2) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ โดยมีเงินฝากที่สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือหลักทรัพย์สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หลักทรัพย์ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง หรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือหลักทรัพย์ที่ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝากเป็นประกัน ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เกินจํานวนเงินฝากที่เป็นประกันหรือราคาหลักทรัพย์ที่ตราไว้ (3.3) การให้สินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลต่างประเทศหรือธนาคารกลางต่างประเทศ ที่มีน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 0 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ค้ําประกันเต็มจํานวน หรือลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว (3.4) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น หรือเงินสดเป็นหลักประกัน (3.5) ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น แบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm underwrite) (3.6) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อภายใต้โครงการนโยบายรัฐตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) และโครงการอื่นที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดให้เป็นโครงการนโยบายรัฐก่อนที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ (4) ภาระผูกพันจากธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายและเทียบเคียงได้กับการออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการค้า เช่น การออก Bank Payment Obligation (BPO) เป็นต้น 4.2.4 แนวทางในการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่กรณีการทําธุรกรรมเพื่อสนับสนุนมาตรการการเงินการคลังของภาครัฐที่ไม่ใช่ธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโนบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความจําเป็นต้องทําธุรกรรมเพื่อสนับสนุนมาตรการการเงินการคลังของภาครัฐที่ไม่ใช่ธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) เกินกว่าอัตราหรือจํานวนที่กําหนดในข้อ 4.2.1 ให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอนุมัติการทําธุรกรรมดังกล่าวและให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นเรื่องขอผ่อนผันในการทําธุรกรรมดังกล่าวต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในกรณีนี้ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาผ่อนผันแล้ว สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ต้องดํารงเงินกองทุนส่วนเทิ่ม (Capital add-on) ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน 4.2.5 แนวทางในการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่แก่กลุ่มธุรกิจที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิตของประเทศในระยะยาว หรือกลุ่มธุรกิจที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความจําเป็นต้องทําธุรกรรมกับลูกหนี้รายใหญ่เกินกว่าอัตราหรือจํานวนที่กําหนดในข้อ 4.2. และพิจารณาได้ว่าเข้าข่ายเป็นธุรกิจที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิตของประเทศในระยะยาว หรือธุรกิจที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอนุมัติธุรกรรมดังกล่วและให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นเรื่องขอผ่อนผันพร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็นในการทําธุรกรรมดังกล่าวอย่างชัดเจนต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital add-on) และถือปฏิบัติตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน 4.2.6 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ตั๋วเงิน (1) กรณีเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพที่ได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยสถาบันการเงินอื่นทั้งในและต่างประเทศ สถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยและบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (MDBs) ให้นับผู้รับรองหรือผู้รับอาวัลเป็นลูกหนี้ (2) กรณีเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพที่ออกหรือได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือตั๋วเงินที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้นับผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วเงิน หรือผู้รับรอง หรือผู้รับอาวัล เป็นลูกหนี้ (3) กรณีเป็นตั๋วเงินที่ไม่มีคุณภาพ ให้นับผู้ทรงซึ่งขายตั๋วเงินและบุคคล ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินที่ไม่มีคุณภาพทุกทอดเป็นลูกหนี้ 4.2.7 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) โดยการรับซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดเอกสารตามเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต (1) ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้าที่ถือปฏิบัติตามแนวทางหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับสากลขององค์กรกลางระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องให้นับบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้าในลําดับแรกเป็นลูกหนี้ ทั้งนี้ กรณีเอกสารไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต (Discrepant document) หรือยังไม่สามารถระบุได้ว่าสอดคล้องกับเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้นับผู้ขายเอกสารตามเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกรรมการรับซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดเอกสารตามเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตทุกทอดเป็นลูกหนี้ (2) ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้าที่ไม่ได้ถือปฏิบัติตามแนวทางหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับสากลขององค์กรกลางระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ให้ถือปฏิบัติตามหลักการการนับลูกหนี้ตั๋วเงินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4.2.6 4.2.8 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้าที่มีการประกันการส่งออก (Export credit insurance) ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ (1) การให้สินเชื่อที่มีการทําประกันการส่งออกที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์หรือเป็นผู้รับโอนสิทธิจากผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยหรือบริษัทประกันภัยที่ให้บริการประกันการส่งออกเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราส่วนหรือจํานวนในการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามข้อ 4.21 ตามมูลค่าที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยหรือบริษัทประกันภัยรับประกัน ทั้งนี้การทําประกันการส่งออกดังกล่าวต้องมีการโอนความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างแท้จริง และบริษัทประกันภัยดังกล่าวต้องมีหน่วยงานกํากับดูแล และได้รับการจัดอันดับเครดิตเป็นระดับที่สามารถลงทุนได้โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (2) ในกรณีที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยหรือบริษัทประกันภัยที่ให้บริการประกันการส่งออกไปทําประกันภัยต่อ (Reinsurance) สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนับบริษัทประกันภัยต่อ (Reinsurer) เป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามข้อ 4.2.1 หากเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ (2.1) มีเอกสารแสดงการโอนสิทธิการรับเงินจากบริษัทประกันภัยต่อมาที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยตรง (2.2) มีการโอนความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างแท้จริง (2.3) บริษัทประกันภัยต่อดังกล่าวมีหน่วยงานกํากับดูแล และได้รับการจัดอันดับเครดิตเป็นระดับที่สามารถลงทุนได้โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2.9 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ที่มีการรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต (ที่ไม่เข้าข่ายธุรกรรม Credit derivatives) (1) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศที่มีหน่วยงานกํากับดูแล หรือสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นทั้งในและต่างประเทศ หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (MDBs) ที่มีน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 0 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นผู้รับประกันความเสี่ยง ให้นับสถาบันการเงินที่เป็นผู้รับประกันความเสี่ยงนั้นเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามข้อ 4.2.1 ทั้งนี้ สถาบันการเงินในต่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศต้องได้รับการจัดอันดับเครดิตเป็นระดับที่สามารถลงทุนได้โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ สําหรับสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศที่ไม่มีการจัดอันดับเครดิตโดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก อนุโลมให้ใช้อันดับเครดิตของประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้งแทนได้ (2) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันจากบริษัทอื่นนอกเหนือจากข้อ 4.2.9 (1) ให้ยังคงนับลูกหนี้รายนั้นเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามข้อ 4.21 โดยไม่นับบริษัทผู้ค้ําประกันเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราดังกล่าว 4.2.10 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ธุรกรรมอื่น ธุรกรรมให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบสีสซิ่ง ธุรกรรมแพ็กเตอริง ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ธุรกรรมหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และการขายชอร์ตธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ธุรกรรมอนุพันธ์ และธุรกรรม Collateralized debt obligation ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตและการกํากับดูแลการทําธุรกรรมในแต่ละเรื่องต่อไป (เมื่อมีการประกาศใช้) อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว รวมกันเกินอัตราหรือจํานวนที่กําหนดในข้อ 4.2.1 ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะให้สินเชื่อลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่บุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวอีกไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและการประกอบธุรกิจของลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการผ่อนผัน ดังนี้ (1) ในกรณีสัญญาที่มีการกําหนดอายุ (Term loan) ผ่อนผันให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะครบกําหนดอายุสัญญาดังกล่าว (2) ในกรณีสัญญามีกําหนดการชําระเงินเมื่อทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน (Call loan) ผ่อนผันให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วก่อนวันที่ประกาคฉบับนี้มีผลใช้บังคับได้ต่อไปอีกไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดเก็บเอกสาร และข้อมูลยอดคงค้างของลูกหนี้หรือลูกค้าทุกรายที่เข้าข่ายได้รับการผ่อนผันไว้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น เพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินสามารถตรวจสอบได้ อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,839
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 23/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดขั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 23 /2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดขั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน -------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์ในการจัดชั้นและการกันเงินสํารองเพื่อให้สถาบันการเงินมีการกันเงินสํารองไว้อย่างเพียงพอที่จะรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินถือครองอยู่ โดยเฉพาะเงินให้สินเชื่อซึ่งเป็นสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงิน เนื่องจากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ซึ่งจะมีผลใช้บังคับกับการจัดทํางบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อให้มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิธีการจัดชั้นการกันเงินสํารอง และการตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชีของสถาบันการเงิน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์กรจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน เพื่อรองรับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับดังกล่าว โดยกําหนดให้สถาบันการเงินมีการจัดชั้นสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) สินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing) (2) สินทรัพย์และการะผูกพันทางการเงินที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) และ (3) สินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (performing) ตลอดจนมีการกันเงินสํารองเพื่อรองรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี ตามที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนด อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 มาตรา 60 และมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 5/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2559 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ "สินทรัพย์ที่เสียหาย" หมายความว่า สินทรัพย์ที่ตัดออกจากบัญชี "สินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่อาจเสียหาย " หมายความว่า สินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่จัดชั้นดังนี้ (1) สินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing) (2) สินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) (3) สินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (performing) ทั้งนี้ ให้รวมถึงสินทรัพย์ทางการเงินและภาระผูกพันทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อเกิดรายการ (purchased or origniated credit-impaired) ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง "เงินสํารอง" หมายความว่า เงินสํารองที่กันไว้เผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและเมื่อการด้อยค่า สําหรับสินทรัพย์และการะผูกพันทางการเงินที่อาจเสียหาย ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะต้องกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินจัดชั้นแต่ละประเภทตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่ระบุในประกาศฉบับนี้ "ภาระผูกพันทางการเงิน" หมายความว่า ภาระผูกพันทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยภาระผูกพันวงเงินสินเชื่อ (loan commitment) และสัญญาค้ําประกันทางการเงิน (financial guarantee contract) ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง หรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเพิ่มเติม "ลูกหนี้ธุรกิจ" หมายความว่า ลูกหนี้ธุรกิจตามที่กําหนดในแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการสอบทานเงินให้สินเชื่อ ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ และภาระผูกพันของธนาคารพาณิชย์และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย หรือบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แล้วแต่กรณี "มาตรฐานการบัญชี" หมายความว่า มาตรฐานการบัญชีที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ และให้หมายรวมถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ด้วย 5.2 การกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดชั้น การกันเงินสํารอง และการตัดออกจากบัญชี สถาบันการเงินต้องกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดชั้นและการกันเงินสํารอง สําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่อาจเสียหาย และการตัดออกจากบัญชีสําหรับสินทรัพย์ที่เสียหายไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงิน ซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ที่เกี่ยวข้อง (2) หลักเกณฑ์ในการจัดชั้นและการกันเงินสํารอง ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมมติฐาน ปัจจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และวิธีการ ที่ใช้ในการจัดชั้นและการกันเงินสํารอง (3) กลไกการควบคุมการจัดทําแบบจําลองเพื่อใช้ในการจัดชั้นและการกันเงินสํารองตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 (4) หลักเกณฑ์ในการตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี (5) ระบบการควบคุมภายในและแนวทางการบันทึกบัญชี (6) การตรวจสอบความถูกต้องในการจัดชั้น การกันเงินสํารอง และการตัดออกจากบัญชี รวมถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลหลักฐานและเอกสารที่นํามาใช้ประกอบ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องทบทวนนโยบายดังกล่าวเป็นประจําอย่างน้อยปีละครั้งและจัดเก็บนโยบายดังกล่าวพร้อมกับเอกสารหลักฐานที่นํามาใช้ประกอบการพิจารณาทบทวนนโยบายไว้ที่สถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินสามารถจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 5.3 หลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงิน สถาบันการเงินต้องจัดชั้นสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินดังต่อไปนี้เป็นรายบัญชีตามลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินนั้น ทั้งนี้ สําหรับการจัดชั้นสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินของลูกหนี้ธุรกิจสถาบันการเงินต้องคํานึงถึงความเกี่ยวเนื่องของกระแสเงินสดรับของแต่ละบัญชีด้วย ซึ่งหากกระแสเงินสดรับของบัญชีของลูกหนี้หรือบัญชีของผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน สถาบันการเงินต้องจัดชั้นสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าวไว้ในชั้นเดียวกัน (1) สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ยกเว้นตราสารทุน) สถาบันการเงินต้องจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ยกเว้นตราสารทุน) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อเกิดรายการ (purchased or originated credit-impaired) โดยแยกออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1.1) สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing) เช่น (1.1.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 90 วันหรือ 3 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญาหรือวันที่สถาบันการเงินทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชี (1.1.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชี กรณีที่ไม่มีวงเงิน หรือกรณีที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือกรณีที่มีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือกรณีที่ครบกําหนดสัญญาแล้วและไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วันหรือ 3 เดือนนับแต่วันที่เบิกเกินบัญชีโดยไม่มีวงเงิน หรือวันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญาแล้วแต่กรณี (1.1.3) ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินเห็นว่า ไม่สามารถเรียกชําระหนี้คืนได้หรือคุณภาพของลูกหนี้มีการเสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสําคัญ (1.1.4) ลูกหนี้ที่ไม่ปรากฏธุรกิจแน่ชัด หรือไม่ได้ประกอบธุรกิจจริงจังหรือนําเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ (1.1.5) ลูกหนี้ที่ประวิงการชําระหนี้ หรือกระทําการใด ๆ เพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ เช่น ออกไปเสียนอกราชอาณาจักร หรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน (1.1.6) ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินติดต่อไม่ได้ หรือตามตัวลูกหนี้ไม่พบหรือลูกหนี้ไปเสียจากภูมิลําเนาที่ปรากฏตามสัญญาโดยไม่แจ้งให้สถาบันการเงินทราบ (1.1.7) ลูกหนี้ที่หยุดดําเนินกิจการหรือเลิกกิจการ หรือกิจการของลูกหนี้อยู่ระหว่างชําระบัญชี (1.1.8) สินทรัพย์ทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (1.1.9) สินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงว่ามีการด้อยค่าด้านเครดิตด้วยเหตุประการอื่น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการ (1.2) สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) เช่น (1.2.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 30 วันหรือ 1 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเรื่อนเวลาตามสัญญาหรือวันที่สถาบันการเงินทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีและสินทรัพย์ทางการเงินอื่นที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ซึ่งเข้าข่ายการจัดชั้นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 5.3 (1.1) ข้างต้น (1.2.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชี กรณีที่ไม่มีวงเงิน หรือกรณีที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือกรณีที่มีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือกรณีที่ครบกําหนดสัญญาแล้วและไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 30 วันหรือ 1 เดือนนับแต่วันที่เบิกเกินบัญชีโดยไม่มีวงเงิน หรือวันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญาแล้วแต่กรณี (1.2.3) สินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญนับตั้งแต่การรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (1.2.4) สินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงว่ามีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญด้วยเหตุประการอื่น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการ (1.3) สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (performing) เช่น (1.3.1) ลูกหนี้ที่ไม่ผิดนัดชําระ ยกเว้นลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชี (1.3.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชี กรณีที่ยังใช้ไม่เต็มวงเงินและยังไม่ถูกยกเลิกวงเงินหรือสัญญายังไม่ครบกําหนด หรือกรณีที่ค้างชําระดอกเบี้ยไม่เกิน 30 วันหรือ 1 เดือนนับแต่วันที่ถึงกําหนดชําระ (1.3.3) สินทรัพย์ทางการเงินอื่นที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ซึ่งไม่เข้าข่ายเป็นการจัดชั้นตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 5.3 (1.1) และ (1.2) ข้างต้น (1.3.4) ลูกหนี้ที่มีหนังสือยืนยันการตรวจรับงานจากส่วนราชการที่มีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันตรวจรับงาน เฉพาะส่วนที่มีหนังสือยืนยัน ทั้งนี้ สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อเกิดรายการ (purchased or originated credit-impaired) ให้สถาบันการเงินจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินตามที่กําหนดในข้อ 5.3 (1.1) - (1.3) และข้อ 5.6 (1) (2) สินทรัพย์นอกเหนือจากสินทรัพย์ทางการเงินตามข้อ 5.3 (1) สถาบันการเงินต้องจัดชั้นสินทรัพย์นอกเหนือจากสินทรัพย์ทางการเงินตามข้อ 5.3 (1) เฉพาะส่วนต่างที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นสินทรัพย์ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing) (2.1) อสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ หรือซื้อจากการขายทอดตลาด เฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาไว้ไม่เกิน 12 เดือน โดยมูลค่าที่กล่าวให้หักด้วยประมาณการค่าใช้จ่ายในการขายก่อนนําไปเปรียบเทียบกับราคาตามบัญชี แต่หากสถาบันการเงินได้ทําการประเมินราคาไว้เกินกว่า 12 เดือน ให้นํามูลค่าที่ได้จากการประเมินราคามาใช้ได้เพียงร้อยละ 50 ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าว ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการรับชําระหนี้ การประกันการให้สินเชื่อ หรือที่ซื้อจากการขายทอดตลาดของสถาบันการเงิน (2.2) สินทรัพย์อื่นที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์รอการขายตามข้อ 5.3 (2.1) เฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ทั้งนี้สถาบันการเงินต้องประเมินมูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (2.3) สินทรัพย์ตามข้อ 5.3 (2.1) และ (2.2) ที่แสดงว่ามีการด้อยค่าด้วยเหตุประการอื่น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการ (3) ภาระผูกพันทางการเงิน (3.1) ในกรณีที่ภาระผูกพันทางการเงินมีกระแสเงินสดรับเกี่ยวเนื่องกันกับสินทรัพย์ทางการเงินหรือการะผูกพันทางการเงินของลูกหนี้หรือของผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินจัดชั้นภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าวไว้ในชั้นเดียวกับการจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินหรือภาระผูกพันทางการเงินของลูกหนี้หรือของผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ที่มีกระแสเงินสดรับเกี่ยวเนื่องกันกับภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าว (3.2) ในกรณีที่ภาระผูกพันทางการเงินไม่มีกระแสเงินสดรับเกี่ยวเนื่องกันกับสินทรัพย์ทางการเงินหรือการะผูกพันทางการเงินของลูกหนี้หรือของผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินจัดชั้นภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าว ตามลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง โดยให้นําหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินที่กําหนดในข้อ 5.3 (1) มาถือปฏิบัติโดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า การจัดชั้นของสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินของสถาบันการเงินไม่เหมาะสม อาจสั่งการให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดชั้นสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินได้ 5.4 หลักเกณฑ์การกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงิน (1) สินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ยกเว้นตราสารทุน) ตามข้อ 5.3 (1) และภาระผูกพันทางการเงินตามข้อ 5.3 (3) สถาบันการเงินต้องกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ยกเว้นตราสารทุน) และภาระผูกพันทางการเงิน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสินทรัพย์ทางการเงินหรือภาระผูกพันทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อเกิดรายการ (purchased or originated credit-impaired) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดดังนี้ (1.1) ให้สถาบันการเงินใช้มูลหนี้ ซึ่งรวมยอดคงค้างของต้นเงิน รายได้ดอกเบี้ยค้างรับ รายได้ดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกําหนดชําระ และรายการอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง หรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน เป็นฐานในการคํานวณเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (ยกเว้นตราสารทุน) หรือภาระผูกพันทางการเงิน แล้วแต่กรณี (1.2) ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองตามลักษณะการจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินและภาระผูกพันทางการเงิน ดังนี้ (1.2.1) สินทรัพย์ทางการเงินและภาระผูกพันทางการเงิน ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing) และสินทรัพย์ทางการเงินและภาระผูกพันทางการเงิน ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 100 ของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุ (lifetime expected credit losses) โดยคํานวณจากผลต่างระหว่างมูลหนี้หรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน ตามที่กําหนดในข้อ (1.1) กับกระแสเงินสดที่สถาบันการเงินคาดว่าจะได้รับซึ่งต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ลูกหนี้จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาตลอดอายุของสินทรัพย์ทางการเงินหรือภาระผูกพันทางการเงินที่สถาบันการเงินได้คาดการณ์ไว้ คิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (1.2.2) สินทรัพย์ทางการเงินและภาระผูกพันทางการเงิน ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (performing) ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 100 ของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า (12-month expected credit losses) โดยคํานวณจากผลต่างระหว่างมูลหนี้หรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน ตามที่กําหนดในข้อ (1.1) กับกระแสเงินสดที่สถาบันการเงินคาดว่าจะได้รับซึ่งต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ลูกหนี้จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 12 เดือนข้างหน้า คิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (1.3) ให้สถาบันการเงินประมาณการกระแสเงินสดที่สถาบันการเงินคาดว่าจะได้รับ ดังนี้ (1.3.1) ให้สถาบันการเงินกําหนดสมมติฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการกระแสเงินสดอย่างเหมาะสมตามสภาวะเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และต้องทบทวนประมาณการกระแสเงินสดดังกล่าวอย่างน้อยทุกงวดการบัญชี (1.3.2) ในกรณีที่สถาบันการเงินคาดว่าจะได้รับกระแสเงินสดจากการจําหน่ายหลักประกัน ให้สถาบันการเงินนํามูลค่าของหลักประกันซึ่งได้ประเมินราคาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการรับชําระหนี้ การประกันการให้สินเชื่อ หรือที่ซื้อจากการขายทอดตลาดของสถาบันการเงิน มาใช้ประกอบการคํานวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันดังกล่าว โดยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันที่คํานวณได้ ต้องไม่สูงกว่าวงเงินที่ระบุในสัญญาจํานํา สัญญา จํานอง สัญญาค้ําประกัน สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หรือสัญญาอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนด (1.4) ในกรณีที่สินทรัพย์ทางการเงินและภาระผูกพันทางการเงินสามารถจัดเป็นกลุ่มที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตที่คล้ายคลึงกัน (homogenous) ได้อย่างเหมาะสม และมีจํานวนเพียงพอที่จะจัดเป็นกลุ่มเพื่อคํานวณเงินสํารองเป็นรายกลุ่ม (collective approach) ได้อย่างน่าเชื่อถือ สถาบันการเงินสามารถจัดสินทรัพย์ทางการเงินและภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าวเป็นกลุ่มบัญชีหรือกลุ่มลูกหนี้เพื่อคํานวณผลขาดทุนด้านเครดิตได้ ทั้งนี้ ในการพิจารณาจัดกลุ่มดังกล่าว ให้สถาบันการเงินพิจารณาปัจจัยอย่างน้อยดังนี้ (1.4.1) ลักษณะเฉพาะของลูกหนี้ เช่น ประเภทลูกหนี้ ลักษณะด้านประชากร (เช่น อายุ) อาชีพหรือกลุ่มอุตสาหกรรมของลูกหนี้ สถานที่ตั้งหรือภูมิภาคของลูกหนี้ (1.4.2) ลักษณะเฉพาะของธุรกรรม เช่น ประเภทผลิตภัณฑ์และหลักประกัน มูลค่าของหลักประกันต่อยอดหนี้และภาระผูกพันทางการเงินรวมของธุรกรรม ระยะเวลาคงเหลือจนถึงวันครบกําหนดของธุรกรรม (1.4.3) สถานะของลูกหนี้ เช่น สถานะการค้างชําระ หรือสถานะการจัดชั้น (1.5) ในกรณีที่สถาบันการเงินมีระบบงานหรือข้อมูลไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถคํานวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันได้อย่างเหมาะสม ให้สถาบันการเงินอ้างอิงมูลค่าของหลักประกันที่สามารถนํามาประกอบการคํานวณผลขาดทุนด้านเครดิตตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 และเอกสารแนบ 3 พร้อมกับจัดทําแผนการดําเนินการด้านระบบงานหรือข้อมูลเพื่อจัดให้มีระบบงานและข้อมูลที่เพียงพอ ตลอดจนสามารถคํานวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันได้อย่างเหมาะสมและน่าเชื่อถือ และจัดเก็บแผนการดําเนินการดังกล่าวไว้ที่สถาบันการเงินเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ (1.6) ในการกําหนดสมมติฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคํานวณผลขาดทุนด้านเครดิตหรือการประมาณการกระแสเงินสดที่สถาบันการเงินคาดว่าจะได้รับตามข้อ 5.4 (1.3) ให้สถาบันการเงินพิจารณาจากข้อมูลแนวโน้มและปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการชําระหนี้อย่างน้อยดังนี้ (1.6.1) นโยบายในการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เช่น นโยบายการให้สินเชื่อ การสอบทานสินเชื่อ การจัดชั้นสินเชื่อ การกันเงินสํารอง การตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลและแนวโน้มการให้สินเชื่อ การกระจุกตัวของสินเชื่อและหลักประกัน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชีรวมถึงกรณีที่ได้รับคืนในภายหลัง (1.6.2) การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนการดําเนินงานของสถาบันการเงินหรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมสรรพากรกรมบังคับคดี กรมที่ดิน (1.6.3) ปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ราคาน้ํามัน อัตราการว่างงาน (1.6.4) ปัจจัยอื่น เช่น สภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมลูกหนี้ความผันผวนของราคาหลักประกัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือภาระผูกพันทางการเงิน ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อเกิดรายการ (purchased or originated credit-impaired) ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์ทางการเงินหรือภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าวตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (2) สินทรัพย์นอกเหนือจากสินทรัพย์ทางการเงินตามข้อ 5.4 (1) สถาบันการเงินต้องกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์นอกเหนือจากสินทรัพย์ทางการเงินตามข้อ 5.4 (1) ในอัตราร้อยละ 100 ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีการจัดชั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing) ตามลักษณะการจัดชั้นในข้อ 5.3 (2) ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า สมมติฐาน ปัจจัย และวิธีการคํานวณการกันเงินสํารองไม่เหมาะสม อาจสั่งการให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองเพิ่มเติม เปลี่ยนสมมติฐาน ปัจจัยหรือวิธีการคํานวณเงินกันสํารอง หรือดําเนินการอื่นใดเพิ่มเติมได้ 5.5 หลักเกณฑ์การตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี (1) สถาบันการเงินต้องตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี ในกรณีที่สถาบันการเงินเห็นว่าจะไม่สามารถได้รับมูลค่าทั้งจํานวนหรือบางส่วนของสินทรัพย์คืนตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงกรณีอย่างน้อยดังนี้ (1.1) สิทธิเรียกร้องซึ่งสถาบันการเงินได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชําระหนี้ แต่ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้แล้ว เนื่องจากเหตุดังนี้ (1.1.1) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ (1.1.2) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลําดับก่อนเป็นจํานวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ (1.1.3) สถาบันการเงินได้ฟ้องลูกหนี้ หรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคําบังคับหรือคําสั่งของศาลแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ (1.1.4) สถาบันการเงินได้ฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้ โดยศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว (1.2) สิทธิเรียกร้องซึ่งตามพฤติการณ์ไม่อาจเรียกให้ชําระหนี้ได้ (1.3) สินทรัพย์อื่นซึ่งชํารุด เสียหาย หรือหมดราคา (2) สถาบันการเงินต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อควบคุมและป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น (2.1) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ หรือวิธีปฏิบัติในการตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี และกําหนดการควบคุมภายในให้ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ (2.2) การตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชีจะต้องไม่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว หรือกิจการที่บุคคลดังกล่าวมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง (2.3) การตัดสินทรัพย์ลูกหนี้ที่เป็นกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บุคคลอื่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ออกจากบัญชี ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า การตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชีของสถาบันการเงินไม่เหมาะสม อาจสั่งการให้สถาบันการเงินตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชีเพิ่มเติมหรือดําเนินการอื่นใดเพิ่มเติมได้ 5.6 หลักเกณฑ์การจัดชั้น การกันเงินสํารอง และการตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชีสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (1) ให้สถาบันการเงินจัดชั้นสินทรัพย์และการะผูกพันทางการเงินที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ดังนี้ (1.1) ในกรณีที่สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้เนื่องจากฐานะทางการเงินของลูกหนี้เสื่อมถอยลงหรือสถาบันการเงินคาดว่าจะได้รับมูลค่าของสินทรัพย์หรือภาระผูกพันทางการเงินคืนไม่ครบถ้วน ให้สถาบันการเงินคงการจัดชั้นเดิมของสินทรัพย์หรือภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าวเป็นชั้นที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing) หรือชั้นที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) จนกว่าจะเข้าเงื่อนไขตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง หรือเข้าเงื่อนไขตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินจัดให้มีระบบในการติดตามดูแลลูกหนี้ที่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (1.2) ในกรณีที่สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้เนื่องจากเหตุผลอื่นที่มิใช่เหตุผลตามข้อ 5.6 (1.1) เช่น เพื่อปรับอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ลดลงเพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ให้สถาบันการเงินจัดชั้นสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินตามลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตตามที่กําหนดในข้อ 5.3 ทั้งนี้ สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจําหน่ายและมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือภาระผูกพันทางการเงิน ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตเมื่อซื้อหรือเมื่อเกิดรายการ (purchased or originated credit-impaired) ที่มีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สถาบันการเงินจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงินหรือภาระผูกพันทางการเงินดังกล่าวตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (2) ให้สถาบันการเงินกันเงินสํารองสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงิน หรือตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีข้อสังเกตในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อาจสั่งการให้สถาบันการเงินแก้ไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จัดหาผู้เชี่ยวชาญอิสระมาประเมินหรือทบทวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เปลี่ยนแปลงการจัดชั้น การกันเงินสํารอง หรือดําเนินการอื่นใดเพิ่มเติมได้ 5.7 การจัดทําและการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน ให้สถาบันการเงินจัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่นํามาใช้ประกอบการพิจารณาการจัดชั้น การกันเงินสํารอง และการตัดออกจากบัญชีไว้ที่สถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินสามารถจัดทําและจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 5.8 การจัดชั้น การกันเงินสํารอง หรือการตัดออกจากบัญชี ที่เข้มงวดกว่าหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด สถาบันการเงินสามารถจัดชั้นหรือกันเงินสํารองสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงิน หรือตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี โดยใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดได้ 5.9 การสอบทานเงินให้สินเชื่อและภาระผูกพัน สถาบันการเงินต้องสอบทานและจัดทํารายงานการสอบทานเงินให้สินเชื่อ เงินให้กู้ยืมภาระผูกพัน และธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการสอบทานเงินให้สินเชื่อ ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ และภาระผูกพัน ของธนาคารพาณิชย์และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย หรือบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี 5.10 การจ่ายเงินปันผล สถาบันการเงินจะจ่ายเงินปันผลหรือเงินตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้นมิได้ หากยังไม่ได้ตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี หรือยังกันเงินสํารองสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินไม่ครบทั้งจํานวน 5.11 ในกรณีที่จํานวนเงินสํารองที่สถาบันการเงินคํานวณได้ตามประกาศฉบับนี้มีจํานวนน้อยกว่าการกันเงินสํารองที่สถาบันการเงินได้กันไว้แล้วตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 5/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2559 ห้ามสถาบันการเงินโอนเงินสํารองส่วนเกินดังกล่าวเป็นรายได้ โดยให้คงเงินสํารองดังกล่าวไว้ในบัญชีต่อไป ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถนําเงินสํารองส่วนเกินดังกล่าวมาใช้กับการกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินตามประกาศฉบับนี้ได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่งวดบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,840
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17 /2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2559 ---------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.11/14/59 | 65,000 | 18 มีนาคม 2559 | 22/3/59 – 5/4/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,841
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.8/14/56 | 30,000 | 21 กุมภาพันธ์ 2556 | 26/2/56 – 12/3/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,842
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.23/14/53 | 55,000 | 25 มีนาคม 2553 | 29/3/53 - 12/4/53 | 14 | | พ.24/13/53 | 40,000 | 26 มีนาคม 2553 | 30/3/53 - 12/4/53 | 13 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,843
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 25/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 25/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน ----------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประทศไทยได้กําหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบและขอบเขตการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน ตลอดจนการยื่นขอความเห็นชอบและการแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนและตรงกันเกี่ยวกับคุณสมบัติและการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีที่พึงประสงค์ ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงกระบวนการพิจารณาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับกระบวนการกํากับดูแลที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อส่งเสริมการรักษาความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีอันจะช่วยยกระดับคุณภาพของงบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยโดยกําหนดให้สถาบันการเงินจัดให้มีการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ International Federation of Accountants (IFAC) โดยในกรณีที่ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานสอบบัญชีให้สถาบันการเงินมาแล้ว 7 รอบปีบัญชีไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ สถาบันการเงินจะสามารถยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายดังกล่าวได้ต่อเมื่อพ้นระยะเวลาการตรวจสอบสถาบันการเงินแห่งนั้นแล้วอย่างน้อย 5 รอบปีบัญชีติดต่อกัน ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดคราวละไม่เกิน 5 ปี และให้สถาบันการเงินแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจําปีภายหลังจากปีที่ได้รับความเห็นชอบแล้วแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นเดิม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 67 มาตรา 69 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 5/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 16 มีนาคม 2558 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คุณสมบัติผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน ผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ 5.1.1 เป็นผู้สอบบัญชีที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ความเห็นชอบเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานการสอบบัญชีของนิติบุคคลใด ๆ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 5.1.2 ไม่เป็นผู้ถือหุ้น กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการหรือตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างของสถาบันการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน' นั้น 5.1.3 ไม่เป็นบุคคลที่มีคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น หรือมีคู่สมรสและบุตรเป็นกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการหรือตัวแทนของสถาบันการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น 5.1.4 ไม่เป็นผู้สอบบัญชีที่ถูกสั่งพัก หรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดยหน่วยงานที่พิจารณาออกใบอนุญาตผู้สอบบัญชี 5.1.5 ไม่เป็นผู้สอบบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมสรรพากร หรือหน่วยงานอื่นของทางการ สั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ไม่รับรองหรือไม่อนุญาตให้ตรวจสอบบัญชีของกิจการที่อยู่ในการกํากับดูแลของหน่วยงานดังกล่าว 5.1.6 ไม่เป็นผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบสถาบันการเงินแห่งเดียวกันเกินกว่าระยะเวลาตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และประกาศแนวปฏิบัติว่าด้วยแนวทางการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในตลาดทุนและการผ่อนผันการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในตลาดทุน รวมถึงหลักเกณฑ์การหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (transitional period) ตามประกาศดังกล่าวด้วย 5.1.7 ไม่เป็นผู้สอบบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าขาดความเหมาะสมในการปฏิบัติงานสอบบัญชีให้สถาบันการเงิน 5.2 การพิจารณาให้ความเห็นชอบ 5.2.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินมีกําหนดระยะเวลาคราวละไม่เกิน 5 ปี โดยผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติตามที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกําหนด ตามข้อ 5.1 5.2.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจแจ้งให้สถาบันการเงินที่ขอความเห็นชอบหรือให้สถาบันการเงินดําเนินการให้ผู้สอบบัญชีที่สถาบันการเงินขอความเห็นชอบ มาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ภายในเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในกรณีที่สถาบันการเงินที่ขอความเห็นชอบ ไม่ดําเนินการตามวรรคแรกภายในระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด จะถือว่าสถาบันการเงินไม่ประสงค์จะยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายนั้น 5.2.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า ผลการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีมีข้อบกพร่องหรือมีพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมขาดความระมัดระวังในฐานะผู้สอบบัญชีพึงปฏิบัติในการตรวจสอบสถาบันการเงิน ละเว้นหรือไม่ปฏิบัติตามแนวการสอบบัญชี (audit program) ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ให้ความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการกํากับและตรวจสอบฐานะและการดําเนินงานของสถาบันการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ หรือไม่ให้ความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 5.2.4 ในกรณีที่สํานักงานสอบบัญชีมิได้ควบคุมดูแลผู้สอบบัญชี หรือไม่ปฏิบัติตามคํารับรองที่ให้ไว้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจไม่ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายอื่นที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชีนั้นด้วย 5.3 การปฏิบัติของผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบ ให้สถาบันการเงินดําเนินการให้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบปฏิบัติ ดังนี้ 5.3.1 จัดส่งแนวการสอบบัญชี (audit program) ที่ใช้ปฏิบัติงานจริง กระดาษทําการ และเอกสารหลักฐานอื่นที่ได้จากการตรวจสอบ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ 5.3.2 จัดส่งหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ และหนังสือแจ้งจุดอ่อนของระบบการควบคุมภายในด้านบัญชีที่มีสาระสําคัญตามมาตรฐานการสอบบัญชี รวมทั้งหนังสือแจ้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนําอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับฐานะการดําเนินงานหรือการบริหารที่ผู้สอบบัญชีส่งให้สถาบันการเงิน (ถ้ามี) ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชีในรอบระยะเวลา 6 เดือนและรอบปีบัญชี 5.3.3 ร่วมประชุม หรือชี้แจงข้อมูล หรือให้ความร่วมมือใด ๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ 5.3.4 ชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือดําเนินการแก้ไข หรือปฏิบัติหรืองดเว้นการกระทํา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพบหรือรับทราบข้อมูลข่าวสารหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 5.3.1 ถึงข้อ 5.3.3 ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินดําเนินการให้ผู้สอบบัญชีนําส่งเอกสารตามข้อ 5.3.1 ถึงข้อ 5.3.4 มายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 5.4 การยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินและการแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินประจําปี 5.4.1 การยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีโดยใช้แบบคําขอความเห็นชอบพร้อมแนบสําเนาหนังสือการให้ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หนังสือรับรองของผู้สอบบัญชี ประวัติและรายละเอียดของผู้สอบบัญชีและหนังสือรับรองของหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2 และให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติดังนี้ 5.4.1.1 กรณียื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีตามรอบปกติ หรือขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมผู้สอบบัญชีจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้วให้สถาบันการเงินยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่อธนาคารแห่งประเทศไทยล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนนําเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น 5.4.1.2 ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีที่สถาบันการเงินยื่นขอความเห็นชอบมา ให้สถาบันการเงินยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายใหม่ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 30 วันนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งให้ทราบ 5.4.1.3 หากปรากฎในภายหลังว่า ผู้สอบบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบไว้แล้วนั้น ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งตามข้อ 5.1 ให้สถาบันการเงินยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายใหม่ต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สถาบันการเงินทราบว่าผู้สอบบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบไว้แล้วนั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งตามข้อ 5.1 ทั้งนี้ สถาบันการเงินอาจขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีมากกว่า 1 คน หรือต่างสํานักงาน เพื่อนําไปเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นก็ได้ และในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรายใดปฏิบัติงานสอบบัญชีให้สถาบันการเงินแห่งเดียวกันมาแล้วตามระยะเวลาที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และประกาศแนวปฏิบัติว่าด้วยแนวทางการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในตลาดทุนและการผ่อนผันการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ให้ถือว่าผู้สอบบัญชีรายนั้นพ้นจากการปฏิบัติงานสอบบัญชีดังกล่าว ซึ่งสถาบันการเงินจะสามารถยื่นขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีรายนั้นได้ใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และประกาศแนวปฏิบัติว่าด้วยแนวทางการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในตลาดทุนและการผ่อนผันการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในตลาดทุน รวมถึงหลักเกณฑ์การหมุนเวียนผู้สอบบัญชีในระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (transitional period) ตามประกาศดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชี 5.4.2 การแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินประจําปี 5.4.2.1 ทุกปีหลังจากปีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินประจําปีล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนนําเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยใช้หนังสือแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินประจําปีตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ตามเอกสารแนบ 3 ทั้งนี้ หากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่แจ้งทักท้วงภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับหนังสือแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินประจําปี ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนั้นแล้ว 5.4.2.2 เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้แต่งตั้งผู้สอบบัญชีรายใดเป็นผู้สอบบัญชีประจําปีนั้นแล้ว ให้สถาบันการเงินแจ้งมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งที่กล่าว ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินยื่นเอกสารประกอบการขอความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน และเอกสารประกอบการแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน ตามข้อ 5.4 มายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 5.5 ในกรณีที่พบว่าผู้สอบบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้วมีคุณสมบัติหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีได้ 5.6 ในกรณีที่สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินใดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ให้ถือว่าสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินนั้น โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่ต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินประจําปีอีกและไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 5.3.1 อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2561 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,844
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 17/2559 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 17 /2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ -------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดทําบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดเช่นเดียวกับนิติบุคคลประเภทอื่น อย่างไรก็ตามเนื่องจากธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นธุรกิจการเงินที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากธุรกิจโดยทั่วไป ทําให้การทําธุรกรรมบางประเภทอาจไม่มีการกําหนดแนวปฏิบัติด้านบัญชีเป็นการเฉพาะไว้ซึ่งต้องอาศัยการตีความและดุลยพินิจในการนําไปใช้ที่หลากหลาย หรือมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในบางเรื่องได้ให้ทางเลือกไว้หลายแนวทางในการนําไปปฏิบัติอาจทําให้เกิดความหลากหลายในการนําไปปฏิบัติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกหลักกณฑ์ทางบัญชีในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกันเพิ่มเติมจากที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีในกรณีปกติ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเป็นไปตามหลักการของกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี โดยไม่ขัดแย้งกัน หรือในบางกรณีที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีครอบคลุมถึง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดหลักเกณฑ์ทางการบัญชีและการรายงานทางการเงินให้เป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Accounting Standards – IAS and International Financial Reporting Standards - IFRS) อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 62 และมาตรา 66 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางการบัญชีและการรายงานทางการเงินในเรื่องที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาตรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย หมวด 1 การขายทรัพย์สินรอการขาย ---------------------------- 1. ในหมวดนี้ "ผู้มีอํานาจในการจัดการ" หมายความว่า 1.1 ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัทแล้วแต่กรณี หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น 1.2 บุคคลซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัท ทําสัญญาให้มีอํานาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ 1.3 บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการ หรือกรรมการหรือการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัท "กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" หมายความว่า กรรมการที่ทําหน้าที่บริหารงานในสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัท ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการขายทรัพย์สินรอการขายทุกประเภทยกเว้นทรัพย์สินรอการขายประเภทตราสารหนี้และตราสารทุน 3. เกณฑ์การรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขาย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขายได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขการรับรู้รายได้ทุกข้อดังต่อไปนี้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 เรื่อง รายได้ ของสภาวิชาชีพบัญชี 3.1 ได้โอนความสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสําคัญของความเป็นเจ้าของใน ทรัพย์สินรอการขายให้กับผู้ซื้อแล้ว 3.2 ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพย์สินรอการขายอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทํา หรือไม่ได้มีการควบคุมทั้งทางตรงและทางอ้อมในทรัพย์สินรอการขายที่ขายไปแล้ว 3.3 สามารถวัดมูลค่าของจํานวนรายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขายได้อย่างน่าเชื่อถือ 3.4 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการขายทรัพย์สินรอการขายนั้น 3.5 สามารถวัดมูลค่าของตันทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการขายทรัพย์สินรอการขายนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ 4. การบัญชีเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขาย 4.1 การขายทรัพย์สินรอการขายรายการใดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ให้บันทึกบัญชีเป็นการรับเงินมัดจํา 4.2 นอกเหนือจากการขายทรัพย์สินรอการขายในข้อ 4.3 เมื่อการขายทรัพย์สินรอการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี ดังนี้ 4.2.1 การขายทรัพย์สินรอการขายให้กับบุคคลทั่วไป สําหรับรายการที่มียอดขายสูงกว่า 10 ล้านบาท ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ (1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระเงินสดแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของราคาขาย (2) ผู้ซื้อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะชําระราคาทรัพย์สินได้ครบตามจํานวน สําหรับรายการขายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อ (1) และ (2) ข้างต้นให้สถบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระต่อราคาขาย จนกว่าการขายจะเข้างื่อนไขทั้งสองข้อดังกล่าว จึงจะสามารถรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนได้ เช่น ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระเงินสดน้อยกว่าร้อยละ 20 ในครั้งแรกเนื่องจากให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ซื้อเกินกว่าร้อยละ 80 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องรับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระจนกว่าสถบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระราคาทรัพย์สินจนถึงร้อยละ 20 แล้ว จึงจะสามารถรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนได้ ทั้งนี้ ในการพิจารณารายการขายทรัพย์สินรอการขายที่มียอดขายสูงกว่า 10 ล้านบาทนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาเป็นรายสัญญาของผู้ซื้อแต่ละราย ซึ่งอาจเป็นการซื้อทรัพย์สินรอการขายรายการเดียวหรือหลายรายการในคราวเดียวกันก็ได้ 4.2.2 การขายทรัพย์สินรอการขายให้กับกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ไม่ใช่กระทรวงการคลังหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติดังนี้ (1) กรณีไม่มีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น (1.1) กรณีได้รับชําระเป็นเงินสดทั้งจํานวน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน (1.2) กรณีมีการทยอยรับชําระ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนเมื่อได้รับชําระเงินสดครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (Cost recovery method) (2) กรณีมีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น (2.1) กรณีมีการกู้ยืมเพื่อชําระราคาทรัพย์สินรอการขายทั้งจํานวนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อได้รับชําระเงินกู้ยืมครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (Cost recovery method) (2.2) กรณีมีการกู้ยืมเพื่อชําระราคาทรัพย์สินรอการขายไม่เต็มจํานวน (2.2.1) ส่วนที่ได้รับชําระเป็นเงินสด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระต่อราคาขาย (2.2.2) ส่วนที่มีการให้กู้ยืมงิน ให้สถบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อได้รับชําระเงินกู้ยืมครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (Cost recovery method) ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการขายทรัพย์สินรอการขายให้แก่กรรมการผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ไม่ใช่กระทรวงการคลัง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ให้เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง (เมื่อมีการประกาศใช้) ตัวอย่างวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขายสําหรับกรณีตามข้อ 4.2 แสดงไว้ในเอกสารแนบ 1 4.3 การขายทรัพย์สินรอการขาย และได้รับชําระเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจํานวน โดยการขายทรัพย์สินรอการขายนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้วให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติ ดังนี้ 4.3.1 บันทึกบัญชีตั๋วสัญญาใช้เงินที่ได้รับจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด เป็นลูกหนี้อื่นในหัวข้อสินทรัพย์อื่นในงบการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรมที่คํานวณจากกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่กําหนดขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 เรื่อง รายได้ ของสภาวิชาชีพบัญชี เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว ถือเป็นการรับชําระหนี้ที่เกิดจากการขายทรัพย์สินรอการขาย ไม่ใช่เงินให้สินเชื่อจากการดําเนินธุรกิจปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเทียบเคียงจาก Yield curve ของพันธบัตรรัฐบาล และหากไม่มีพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุเท่ากับตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้วิธี Interpolate จาก Yield curve ของพันธบัตรรัฐบาล 4.3.2 รับรู้กําไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายเป็นรายได้ทั้งจํานวนเมื่อการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 เนื่องจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์จํากัด มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจํานวน จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการยกเลิกการขาย และความสามารถในการชําระเงิน 4.4 การขายทรัพย์สินรอการขายโดยที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังมีภาระที่จะต้องดําเนินการ และภาระนั้นมีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญต่อกําไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายนั้นเช่น ภาระในการโยกย้ายผู้อยู่อาศัย ภาระในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ในการคํานวณกําไรจากการขายดังกล่าว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหักประมาณการค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นออกจากกําไรจากการขายนั้นก่อน แล้วจึงรับรู้กําไรตามสัดส่วนเช่นเดียวกับการรับรู้กําไรในแต่ละกรณี ทั้งนี้ การประมาณการค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ของสภาวิชาชีพบัญชี 4.5 ในกรณีที่มีรายการขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขาย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้ขาดทุนทั้งจํานวนในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นทันที 5. การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขายในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หมวด 2 เงินลงทุน -------------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยไม่รวมถึงเงินลงทุนในลูกหนี้ 2. การบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ของสภาวิชาชีพบัญชี(เมื่อมีการประกาศใช้) โดย 2.1 ตราสารหนี้ หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่า ผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นให้แก่ผู้ถือตราสาร ตามจํานวนและเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้โดยขัดเจนหรือโดยปริยาย ได้แก่ (1) พันธบัตร (2) ตั๋วเงินคลัง (3) ตราสารอื่นที่ออกโดยรัฐบาลไทย องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นการระดมทุน (4) หุ้นกู้ที่ออกเพื่อการระดมทุน (5) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ เพื่อกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร และเพื่อระดมทุนจากประชาชน ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (6) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุน เพื่อระดมทุนจากประขาชน (7) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธุรกิจอื่น ซึ่งมีลักษณะเป็นการระดมทุนและมีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ (8) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (FloatingRate Note: FRN) หรือบัตรเงินฝากที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Certificate of Deposit: FRCD) ตราสารหนี้อื่นใดที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้หรือคล้ายหุ้นกู้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้เสนอขาย (9) ตราสารหนี้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เช่น Credit linked notes และ Structured notes และ (10) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เพื่อชําระค่าโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เป็นต้น 2.2 ตราสารทุน หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่า ผู้ถือตราสารมีความเป็นเจ้าของในส่วนได้เสียคงเหลือของกิจการที่ไปลงทุน ได้แก่ (1) หุ้นสามัญ และ (2 หุ้นบุริมสิทธิ เป็นต้น และให้หมายความรวมถึงตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อตราสารทุนที่อ้างอิ่ง (Underlying asset) ได้แก่ ใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ เป็นต้น 3. การประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ของสภาวิชาชีพบัญชี 4. ตราสารทุนที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในกรณีของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระหนี้เป็นตราสารทุนของลูกหนี้ ซึ่งเกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน และตราสารทุนดังกล่าวมีข้อจํากัดในการถือครองและจําหนําาย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดนโยบายในการถือครองอย่างชัดเจนตั้งแต่วันที่ได้รับตราสารทุนนั้นมาว่าจะถือไว้เป็นเงินลงทุนทั่วไป หรือเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือบริษัทย่อย และบันทึกบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง หมวด 3 การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้ -------------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2. การประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้ 2.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้โดยใช้วิธีการหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้แต่ละราย โดยอัตราคิดลดอาจคํานวณจากอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ําสําหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (Minimum Loan Rate: MLR) บวก Risk premium ทั้งนี้ ในการคํานวณ Risk premium ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติ ดังนี้ 2.1.1 แสดงวิธีการคํานวณเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้ตรวจการของธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 2.1.2 ให้คํานวณอย่างสมเหตุสมผล และสามารถอ้างอิงได้ เช่น อ้างอิงจากอันดับเครดิต (Credit rating) ของลูกหนี้ ทั้งนี้ MLR บวก Risk premium ที่คํานวณได้จะต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กําหนดให้กับลูกหนี้ปกติทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด 2.1.3 สามารถใช้อัตรา Risk premium เดียวกันสําหรับลูกหนี้ที่มีลักษณะและความเสี่ยงเหมือนกันได้ 2.2 กรณีเงินลงทุนในลูกหนี้ที่ไม่สามารถประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตได้ หรือสามารถประมาณการกระแสเงินสดได้ แต่ไม่สามารถหาอัตราคิดลดที่เหมาะสมได้ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติ ดังนี้ 2.2.1 กรณีที่มีหลักประกัน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีอํานาจตามกฎหมายในการบังคับหลักประกันของลูกหนี้เพื่อชําระหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้มูลค่าหลักประกันของลูกหนี้เป็นมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้ได้ โดยการประเมินราคาหลักประกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ มูลค่าของหลักประกันที่นํามาไช้เป็นมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้จะต้องไม่สูงกว่าเงินต้นคงเหลือตามสัญญาเงินกู้ยืมของลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา 2.2.2 กรณีที่ไม่มีหลักประกัน ให้ถือว่ามูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้เท่ากับศูนย์ 3. การพิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนในลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาการด้อยค่ของเงินลงทุนในลูกหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) ของสภาวิชาชีพบัญชี 4. การรับรู้กําไรจากการโอนเปลี่ยนประเกทระหว่างเงินลงทุนในลูกหนี้และเงินให้สินเชื่อ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถโอนเปลี่ยนประเภทรายการระหว่างเงินลงทุนในลูกหนี้และเงินให้สินเชื่อได้ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกําไรจากการโอนเปลี่ยนประเภทระหว่างเงินลงทุนในลูกหนี้และเงินให้สินเชื่อ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานึงถึงความแน่นอนที่จะได้รับเงินสดในอนาคตประกอบการบันทึกบัญชีรับรู้เป็นรายได้ด้วย 5. หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสําหรับลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา 5.1 การจัดชั้นและการกันเงินสํารอง 5.1.1 ลูกหนี้ที่จัดประเภทรายการเป็นเงินให้สินเชื่อ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นและกันเงินสํารองในลักษณะเดียวกับเงินให้สินเชื่อทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5.1.2 ลูกหนี้ที่จัดประเภทรายการเป็นเงินลงทุน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นและกันเงินสํารองในลักษณะเดียวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5.2 การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ลูกหนี้ทั้งที่จัดประเภทรายการเป็นเงินให้สินเชื่อและเป็นเงินลงทุน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามานับรวมในการคํานวณลูกหนี้รายใหญ่ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นอกจากนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมโดยเคร่งครัด เช่น ข้อห้ามในการให้สินเชื่อแก่กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว (เมื่อมีการประกาศใช้) 5.3 การบันทึกบัญชีรายได้ดอกเบี้ย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีรายได้ดอกเบี้ยของลูกหนี้ทั้งที่จัดประเภทรายการเป็นเงินให้สินเชื่อและเป็นเงินลงทุนในลักษณะเดี่ยวกับเงินให้สินเชื่อทั่วไป ตามหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืม ที่กําหนดในหมวด 5 ของประกาศฉบับนี้ หมวด 4 การแปลงค่ําเงินสกุลต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาท --------------------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาท 2. การแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาท 2.1 รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันที (Spot position) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแปลงค่า (1) รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกรายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันที (Spot position) และ (2) งบการเงินของกิจการในต่างประเทศที่จะนํามารวมในการจัดทํางบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ (3) ข้อมูลในชุดข้อมูลสถาบันการเงิน (ข้อมูล Financial Institution (F)) ที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันทีในการจัดทํารายงานทุกแบบรายงานที่ต้องนําส่งธนาคารแห่งประเทศไทยทุกวันสิ้นเดือน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยเงินโอน (Average buying rates - transfer) และอัตราขายถัวเฉลี่ย (Average selling rates) ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th) ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินหรือวันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลอัตราซื้อถัวเฉลี่ยเงินโอนและอัตราขายถัวเฉลี่ย สําหรับสกุลเงินใด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายในส่วนของอัตราในตลาดต่างประเทศ ซึ่งได้คํานวณเป็นอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศนั้นต่อสกุลเงินบาทไว้แล้วที่เผยแพร่ในเว็บไชต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th) ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินหรือวันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทําธุรกรรมด้วยสกุลเงินต่างประเทศอื่นนอกเหนือจากที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแปลงค่ารายการเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา โดยใช้ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนไขว้ (Cross rate) โดยดรงจากตลาดต่างประเทศที่เชื่อถือได้ เช่น Thomson Reuters, Bloomberg และ Telerate แล้วจึงแปลงค่าเป็นสกุลเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถั่วเฉลี่ยเงินโอนและอัตรขายถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ซื้อขายกับลูกค้า ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินหรือวันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน ทั้งนี้ การใช้ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนจากตลาดต่างประเทศดังกล่าวต้องเลือกใช้อย่างสม่ําเสมอ และมีหลักฐานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ 2.2 รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแปลงค่าฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในการปิดบัญชีทุกสิ้นเดือน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับระยะเวลาคงเหลือของฐานะหรือสัญญาดังกล่าว ซึ่งจะคิดลดเป็นมูลคําปัจจุบันหรือไม่ก็ได้ สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้างต้นในการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีหรือแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนด ดังนี้ 2.2.1 ส่วนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Forward contract) ให้ใช้วิธีการ Premium / Discount amortization 2.2.2 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าใน Banking book ให้ใช้วิธี Spot transaction อย่างไรก็ดี เมื่อมีการประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าว 2.3 รายการที่เป็นตราสารอนุพันธ์ทางการเงินรายการที่เป็นตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศยกเว้นที่กล่าวในข้อ 2.2 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าวตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ของสภาวิชาชีพบัญชี 3. การรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ของสภาวิชาชีพบัญชี หมวด 5 การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมและเงินค่างวดจากการให้เช่าซื้อ ----------------------- 1. เกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมและเงินค่างวดจากการให้เช่าซื้อ 2. หลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีเป็นรายได้ 2.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้างทุกสิ้นเดือน 2.2 กรณีที่ลูกหนี้ค้างชําระดอกเบี้ยหรือเงินค่างวดเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามจํานวนเงินที่ได้รับชําระก็ได้ 2.3 กรณีที่สถบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระดอกเบี้ยบางส่วน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําไปตัดรายการดอกเบี้ยค้างรับที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้เป็นรายได้แล้วในบัญชีแล้วจึงนําไปตัดดอกเบี้ยค้างรับที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ 2.4 กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ระงับการบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามข้อ 4 แล้วสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะสามารถบันทีกบัญชีเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างได้ใหม่ เมื่อลูกหนี้ได้ชําระต้นเงินและดอกเบี้ยที่รับรู้เป็นรายได้แล้ว และที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ หรือเงินค่างวดที่ค้างชําระทั้งหมดแล้ว 3. การบันทึกบัญชีรายได้สําหรับการให้เช่าซื้อ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีรายได้จากการให้เช่าซื้อ โดยคํานวณตามวิธีที่กําหนด ในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง 4. การระงับการบันทึกบัญชีเป็นรายได้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจระงับการบันทึกบัญชีเป็นรายได้ และบันทึกยกเลิกรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืม หรือเงินเบิกเกินบัญชี หรือเงินค่างวดจากการให้เช่าซื้อของลูกหนี้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีเป็นรายได้ไว้แล้วตามข้อ 2 และข้อ 3 ออกจากบัญชี เมื่อลูกหนี้ค้างชําระหรือมีลักษณะดังต่อไปนี้ 4.1 เมื่อลูกหนี้เงินให้กู้ยืม หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน ค้างชําระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ 4.2 เมื่อลูกหนี้เป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน มียอดดอกเบี้ยค้างชําระโดยไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันที่เริ่มค้างชําระดอกเบี้ย หรือมีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระดอกเบี้ยเป็นบางส่วนแต่ดอกเบี้ยคงค้างยังเกินกว่า 3 เดือน 4.3 เมื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ค้างชําระเงินค่างวดเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ 4.4 เมื่อลูกหนี้เงินให้กู้ยืม หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อค้างชําระเงินค่างวด เป็นระยะเวลารวมกันไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระแต่ถูกจัดชั้นเป็นประเภทสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ หรือสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตัวอย่างการนับระยะเวลาการบันทึกรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้และการบันทึกยกเลิกรายการดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ไว้แล้วออกจากบัญชีที่เกี่ยวข้อง แสดงไว้ในเอกสารแนบ 2 หมวด 6 การซื้อขายตั๋วเงิน และ ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) --------------------------------- 1. ในหมวดนี้ "ตั๋วเงิน" หมายความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงินที่ออกเพื่อการระดมทุนทั่วไป ตามที่กําหนดในข้อ 2.1 ของหมวด 2 เงินลงทุน 2. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการซื้อขายตั๋วเงิน และธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) 3. การบันทึกบัญชีสําหรับการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน และธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) โดยการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดเอกสารตามเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีเป็นเงินให้กู้ยืมแก่ลูกหนี้ตามหลักการของมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่น 4. การบันทึกบัญชีสําหรับการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง สําหรับการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดไว้ ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินโดยผู้ซื้อมีสิทธิไล่เบี้ย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเปิดเผยยอดคงค้างจากการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินในส่วนของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า นอกจากนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรคํานึงถึงภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากรายการดังกล่าว และปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ของสภาวิชาชีพบัญชี หมวด 7 หนี้สูญได้รับคืน ------------------------- 1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการบันทึกบัญชีรายการหนี้สูญได้รับคืนของลูกหนี้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในภายหลังจากการตัดจําหน่ายลูกหนี้เป็นสูญไปแล้ว ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2. การบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกหนี้สูญได้รับคืนดังกล่าวข้างต้นเป็นรายได้เท่าที่ได้รับชําระเงินแล้วเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามหลักความระมัดระวัง (Conservatism) และเป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ดี หากผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาว่าหนี้สูญที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วนั้น สามารถรับรู้รายได้ได้ตามหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ ที่กําหนดในกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงินของสภาวิชาชีพบัญชี ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกรายการหนี้สูญได้รับคืนดังกล่าวเป็นรายได้ได้ทันที หมวด 8 การนําส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดิน และการจ่ายเงินปันผล ------------------------------ การนําส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดิน และการจ่ายเงินปันผล ขอให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายจัดตั้งและตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกําหนด อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,845
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปีสำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17 /2556 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เท่ากับร้อยละ 2.86385 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,846
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 18/91/61 | - | 30,000 | 30 เม.ย. 61 | 3 พ.ค. 61 | 2 ส.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 18/182/61 | - | 30,000 | 30 เม.ย. 61 | 3 พ.ค. 61 | 1 พ.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 19/91/61 | - | 30,000 | 8 พ.ค. 61 | 10 พ.ค. 61 | 9 ส.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 19/182/61 | - | 30,000 | 8 พ.ค. 61 | 10 พ.ค. 61 | 8 พ.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/364/61 | - | 50,000 | 8 พ.ค. 61 | 10 พ.ค. 61 | 14 มี.ค. 62 | 364 วัน | 308 วัน | | 20/91/61 | - | 35,000 | 15 พ.ค. 61 | 17 พ.ค. 61 | 16 ส.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 20/182/61 | - | 35,000 | 15 พ.ค. 61 | 17 พ.ค. 61 | 15 พ.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2561 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 15 พ.ค. 2561 | 40,000 | 17 พ.ค. 61 | 21 พ.ค. 61 | 21 พ.ค. 63 | 2 ปี | 2 ปี | | 21/91/61 | - | 35,000 | 22 พ.ค. 61 | 24 พ.ค. 61 | 23 ส.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 21/182/61 | - | 35,000 | 22 พ.ค. 61 | 24 พ.ค. 61 | 22 พ.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2561 | 1.62 | 50,000 | 24 พ.ค. 61 | 28 พ.ค. 61 | 12 มี.ค. 64 | 3 ปี | 2.79 ปี | | 22/91/61 | - | 35,000 | 28 พ.ค. 61 | 31 พ.ค. 61 | 30 ส.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 22/182/61 | - | 35,000 | 28 พ.ค. 61 | 31 พ.ค. 61 | 29 พ.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2ปี/2561 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคาร ที่ 15 พฤษภาคม 2561 | | การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 21 พฤษภาคม และ 21 พฤศจิกายน ของทุกปี | | วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,847
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3ปี/2550สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 มีนาคม 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2553 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 มีนาคม 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปีรุ่นที่ 3/FRB 3ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 มีนาคม 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 มีนาคม 2553 เท่ากับร้อยละ 1.30516 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 23 มีนาคม 2553 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,848
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 1/FRB3ปี/2560 | 3M BIBOR - 0.1 (เท่ากับ 1.47543 สําหรับงวดเริ่มต้น วันที่ 7 พ.ค. 2561) | 15,000 | 1 มิ.ย. 61 | 5 มิ.ย. 61 | 7 ก.พ. 63 | 3 ปี | 1.68 ปี | | 23/91/61 | - | 35,000 | 5 มิ.ย. 61 | 7 มิ.ย. 61 | 6 ก.ย. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 23/182/61 | - | 35,000 | 5 มิ.ย. 61 | 7 มิ.ย. 61 | 6 ธ.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/364/61 | - | 45,000 | 5 มิ.ย. 61 | 7 มิ.ย. 61 | 6 มิ.ย. 62 | 364 วัน | 364 วัน | | 24/91/61 | - | 35,000 | 12 มิ.ย. 61 | 14 มิ.ย. 61 | 13 ก.ย. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 24/182/61 | - | 35,000 | 12 มิ.ย. 61 | 14 มิ.ย. 61 | 13 ธ.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2561 | 1.61 | 30,000 | 14 มิ.ย. 61 | 18 มิ.ย. 61 | 21 พ.ค. 63 | 2 ปี | 1.93 ปี | | 25/91/61 | - | 35,000 | 19 มิ.ย. 61 | 21 มิ.ย. 61 | 20 ก.ย. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 25/182/61 | - | 35,000 | 19 มิ.ย. 61 | 21 มิ.ย. 61 | 20 ธ.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 26/91/61 | - | 35,000 | 26 มิ.ย. 61 | 28 มิ.ย. 61 | 27 ก.ย. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 26/182/61 | - | 35,000 | 26 มิ.ย. 61 | 28 มิ.ย. 61 | 27 ธ.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2560 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2561 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,849
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2556 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.9/14/56 | 30,000 | 1 มีนาคม 2556 | 5/3/56 – 19/3/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,850
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ดังนี้ | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | | (ล้านบาท) | | | | 13/28/53 | 12,000 | 30 มี.ค. 53 | 1 เม.ย. 53 | 29 เม.ย. 53 | 28 วัน | | 13/92/53 | 10,000 | 30 มี.ค. 53 | 1 เม.ย. 53 | 2 ก.ค. 53 | 92 วัน | | 13/182/53 | 10,000 | 30 มี.ค. 53 | 1 เม.ย. 53 | 30 ก.ย. 53 | 182 วัน | | 4/364/53 | 50,000 | 30 มี.ค. 53 | 1 เม.ย. 53 | 31 มี.ค. 54 | 364 วัน | | 14/28/53 | 12,000 | 5 เม.ย. 53 | 8 เม.ย. 53 | 6 พ.ค. 53 | 28 วัน | | 14/91/53 | 10,000 | 5 เม.ย. 53 | 8 เม.ย. 53 | 8 พ.ค. 53 | 91 วัน | | 14/182/53 | 10,000 | 5 เม.ย. 53 | 8 เม.ย. 53 | 7 ต.ค. 53 | 182 วัน | | 15/27/53 | 12,000 | 9 เม.ย. 53 | 16 เม.ย. 53 | 13 พ.ค. 53 | 27 วัน | | 15/90/53 | 10,000 | 9 เม.ย. 53 | 16 เม.ย. 53 | 15 ก.ค. 53 | 90 วัน | | 15/181/53 | 10,000 | 9 เม.ย. 53 | 16 เม.ย. 53 | 14 ต.ค. 53 | 181 วัน | | 16/28/53 | 12,000 | 20 เม.ย. 53 | 22 เม.ย. 53 | 20 พ.ค. 53 | 28 วัน | | 16/91/53 | 12,000 | 20 เม.ย. 53 | 22 เม.ย. 53 | 22 ก.ค. 53 | 91 วัน | | 16/182/53 | 10,000 | 20 เม.ย. 53 | 22 เม.ย. 53 | 21 ต.ค. 53 | 182 วัน | | 17/28/53 | 12,000 | 27 เม.ย 53 | 29 เม.ย. 53 | 27 พ.ค. 53 | 28 วัน | | 17/91/53 | 12,000 | 27 เม.ย 53 | 29 เม.ย 53 | 29 ก.ค. 53 | 91 วัน | | 17/182/53 | 10,000 | 27 เม.ย 53 | 29 เม.ย 53 | 28 ต.ค. 53 | 182 วัน | | 2/2 ปี/2553 | 35,000 | 27 เม.ย 53 | 29 เม.ย 53 | 29 เม.ย 55 | 2 ปี | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2ปี/2553 มีรายละเอียดดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 23 เม.ย. 2553 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2งวด งวดละเท่าๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 29 เม.ย. และ 20 ต.ค. ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 29 ต.ค. 2553 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 29 เม.ย. 55 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | หมายเหตุ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,851