title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2556 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยใด้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.10/14/56 | 30,000 | 8 มีนาคม 2556 | 12/3/56 – 26/3/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม 2556 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,852
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 46/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 46 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 27/91/61 | - | 35,000 | 3 ก.ค. 61 | 5 ก.ค. 61 | 4 ต.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 27/182/61 | - | 35,000 | 3 ก.ค. 61 | 5 ก.ค. 61 | 3 ม.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/364/61 | - | 45,000 | 3 ก.ค. 61 | 5 ก.ค. 61 | 6 มิ.ย. 62 | 364 วัน | 336 วัน | | 28/91/61 | - | 35,000 | 10 ก.ค. 61 | 12 ก.ค. 61 | 11 ต.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 28/182/61 | - | 35,000 | 10 ก.ค. 61 | 12 ก.ค. 61 | 10 ม.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2561 | 1.61 | 30,000 | 12 ก.ค. 61 | 16 ก.ค. 61 | 21 พ.ค. 63 | 2 ปี | 1.85 ปี | | 29/91/61 | - | 35,000 | 17 ก.ค. 61 | 19 ก.ค. 61 | 18 ต.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 29/182/61 | - | 35,000 | 17 ก.ค. 61 | 19 ก.ค. 61 | 17 ม.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2561 | 1.62 | 45,000 | 19 ก.ค. 61 | 23 ก.ค. 61 | 12 มี.ค. 64 | 3 ปี | 2.64 ปี | | 30/91/61 | - | 35,000 | 24 ก.ค. 61 | 26 ก.ค. 61 | 25 ต.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 30/182/61 | - | 35,000 | 24 ก.ค. 61 | 26 ก.ค. 61 | 24 ม.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 31/91/61 | - | 35,000 | 31 ก.ค. 61 | 2 ส.ค. 61 | 1 พ.ย. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 31/182/61 | - | 35,000 | 31 ก.ค. 61 | 2 ส.ค. 61 | 31 ม.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,853
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2556 ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.11/14/56 | 30,000 | 15 มีนาคม 2556 | 19/3/56 – 2/4/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,854
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 26/2552 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 26/2552 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ ----------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 กําหนดให้วันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2553 และวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2553 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นสมควรกําหนดให้วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2553 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติม 1 วัน เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ประกอบกับไม่ขัดกับหลักประเพณีปฏิบัติ ซึ่งสถาบันการเงินไม่ควรหยุดติดต่อกันเกิน 4 วัน อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4.ข้อกําหนดวันหยุดทําการเป็นกรณีพิเศษ กําหนดให้วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2553 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเพิ่มเติม อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,855
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2556 ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.12/14/56 | 30,000 | 22 มีนาคม 2556 | 26/3/56 – 9/4/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,856
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนมีนาคม ปี 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18 /2559 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมีนาคม ปี 2559 ------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมีนาคม ปี 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมีนาคม ปี 2559 (รุ่นที่ 1/3ปี/2559) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 15 มีนาคม 2559 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/3ปี/2559 ที่จะประมูลในวันที่ 17 มีนาคม 2559 เท่ากับร้อยละ 1.50 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,857
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 18/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ(Public Service Account: PSA)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 18 /2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) -------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ด้วยสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีพันธกิจในการเป็นกลไกของภาครัฐเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือกลุ่มประชาชนและกลุ่มธุรกิจที่มีเป้าหมายเฉพาะ เช่น ประชาชนหรือธุรกิจที่อาจได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่าง ๆ ประชาชนหรือธุรกิจรายย่อยที่ต้องการแหล่งเงินทุนสําหรับการประกอบอาชีพซึ่งการดําเนินโครงการเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอาจมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรนกว่าการดําเนินธุรกรรมตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเกี่ยวกับการดําเนินธุรกรรมนโยบายรัฐ แยกจากการดําเนินธุรกรรมตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อให้เกิดความโปร่งใสในการกํากับดูแล การตรวจสอบและการประเมินผลการปฏิบัติงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกํากับดูแลของภาครัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้การทําหน้าที่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) สามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 50 มาตรา 52 มาตรา 60 มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 66 มาตรา 67 และมาตรา 71 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ธุรกรรมนโยบายรัฐ" หมายความว่า โครงการนโยบายรัฐที่ดําเนินการโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐนตรี โดยโครงการดังกล่าวอาจมีรูปแบบการให้บริการที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน และมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย การก่อวินาศกรรม การฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจ การเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ หรือการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและภาคธุรกิจ ทั้งนี้ จะต้องเป็นโครงการนโยบายรัฐที่ดําเนินการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหลังวันที่ 5 สิงหาคม 2552 เท่านั้น ในการดําเนินธุรกรรมนโยบายรัฐของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจจําเป็นต้องผ่อนปรนเงื่อนไขในการให้บริการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องประกอบกันเช่น (1) อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และค่าเบี้ยประกัน เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ํากว่าตลาด หรือมีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และค่าเบี้ยประกัน เป็นต้น (2) การผ่อนปรนเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ เช่น ไม่มีหลักประกัน หรือหลักประกันต่ํากว่าสินเชื่อที่ให้แก่ลูกค้าเป็นอย่างมาก เป็นต้น (3) ระยะเวลา เช่น มีระยะเวลาการชําระคืนเงินกู้ หรือระยะเวลาปลอดการชําระหนี้มากกว่าระยะเวลาที่สถาบันการเงินทั่วไปพีงยึดถือปฏิบัติ เป็นต้น "ลูกหนี้บุคคล" หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ได้รับสินเชื่อตามธุรกรรมนโยบายรัฐ "ลูกหนี้รอการชดเชยจากรัฐบาลตามธุรกรรมนโยบายรัฐ" หมายความว่า สิทธิที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะได้รับการชดเชยความเสียหายจากรัฐบาลตามที่ระบุไว้ในมติคณะรัฐมนตรีหรือหนังสือสั่งการจากรัฐบาลเป็นลายลักษณ์อักษร จากการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นได้ดําเนินธุรกรรมนโยบายรัฐ 4.2 หลักเกณฑ์ 4.2.1 กระบวนการด้านสินเชื่อ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดนโยบายหรือแนวทางการพิจารณาสินเชื่อและกระบวนการด้านสินเชื่อสําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐ โดยถือปฏิบัติให้สอดคล้องกับคุณสมบัติหรือประเภทของผู้ที่จะเข้าร่วมธุรกรรมนโยบายรัฐตามที่ระบุในมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ กระบวนการด้านสินเชื่อ หมายร่วมถึงการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อและการสอบทานธุรกรรมด้านสินเชื่อ 4.2.2 การจัดขั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารอง และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นสินทรัพย์และกันเงินสํารอง รวมทั้งคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐ ดังนี้ 4.2.2.1 ส่วนที่ไม่มีการชดเชยความเสียหายตามมติคณะรัฐมนตรี (1) การจัดชั้นและกันเงินสํารอง: ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ จัดชั้นและกันเงินสํารองลูกหนี้บุคคลตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (2) การคํานาณสินทรัพย์เสี่ยง : ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2.2.2 ส่วนที่มีการชดเชยความเสียหายตามมติคณะรัฐมนตรี (1) การจัดขั้นและกันเงินสํารอง : ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นลูกหนี้บุคคลหรือลูกหนี้รอการชดเชยจากรัฐบาลเป็นปกติ โดยไม่ต้องกันเงินสํารอง เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยความเสียหายให้ (2) การคํานาณสินทรัพย์เสี่ยง : ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงตามประกาศธนาคารแห่งประทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยถือว่าเป็นลูกหนี้ที่ได้รับการค้ําประกันโดยรัฐบาลหรือลูกหนี้รัฐบาลแล้วแต่กรณี 4.2.3 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้สําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐ โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2.4 การประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้สําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐ โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ยกเว้นกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีประเภทหลักประกันแตกต่างจากที่กําหนดในแนวนโยบายดังกล่าว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี 4.2.5 สินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม ขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ให้สถบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme สําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐโดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2.6 หลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ต้องนําธุรกรรมการให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อภายใต้ธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศฉบับนี้มาร่วมคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.2.7 การบันทึกบัญชี ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐแยกจากบัญชีการดําเนินธุรกรรมตามปกติ โดยให้ปฏิบัติตามหลักการของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี รวมทั้งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง หากไม่มีมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินใดกําหนดแนวปฏิบัติไว้ให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการายงานทางการเงินระหว่างประเทศหรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติ 4.2.8 การจัดทําและการประกาศงบการเงิน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทําและการประกาศงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแสดงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมนโยบายรัฐไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น โดยต้องเปิดเผยรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐไว้เป็นรายการแยกต่างหากในหมายเหตุประกอบงบการเงินตามที่ระบุในประกาศฉบับดังกล่าว อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล ธุรกรรมนโยบายรัฐที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจดําเนินการก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ โดยเป็นโครงการนโยบายรัฐตามแนวปฏิบัติของกระทรวงการคลัง เรื่อง การแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งจะรวมถึงโครงการนโยบายรัฐที่ดําเนินการผ่านสถบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหลังวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ด้วย ให้ถือเป็นโครงการนโยบายรัฐตามประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,858
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 13/28/56 | - | 25,000 | 2 เม.ย. 56 | 4 เม.ย. 56 | 2 พ.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน | | 13/91/56 | - | 25,000 | 2 เม.ย. 56 | 4 เม.ย. 56 | 4 ก.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน | | 13/182/56 | - | 25,000 | 2 เม.ย. 56 | 4 เม.ย. 56 | 3 ต.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน | | 14/28/56 | - | 25,000 | 9 เม.ย. 56 | 11 เม.ย. 56 | 9 พ.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน | | 14/91/56 | - | 25,000 | 9 เม.ย. 56 | 11 เม.ย. 56 | 11 ก.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน | | 14/182/56 | - | 25,000 | 9 เม.ย. 56 | 11 เม.ย. 56 | 10 ต.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/364/56 | - | 35,000 | 9 เม.ย. 56 | 11 เม.ย. 56 | 10 เม.ย. 57 | 364 วัน | 364 วัน | | 15/28/56 | - | 25,000 | 12 เม.ย. 56 | 18 เม.ย. 56 | 16 พ.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน | | 15/91/56 | - | 25,000 | 12 เม.ย. 56 | 18 เม.ย. 56 | 18 ก.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน | | 15/182/56 | - | 25,000 | 12 เม.ย. 56 | 18 เม.ย. 56 | 17 ต.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2ปี/2556 | 2.80 | 35,000 | 18 เม.ย. 56 | 22 เม.ย. 56 | 18 ก.พ. 58 | 2 ปี | 1.83 ปี | | 16/28/56 | - | 25,000 | 23 เม.ย. 56 | 25 เม.ย. 56 | 23 พ.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน | | 16/91/56 | - | 25,000 | 23 เม.ย. 56 | 25 เม.ย. 56 | 25 ก.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน | | 16/182/56 | - | 25,000 | 23 เม.ย. 56 | 25 เม.ย. 56 | 24 ต.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2556 | 3M BIBOR - 0.1 (เท่ากับ 2.76000สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 ก.พ. 56) | 12,000 | 26 เม.ย. 56 | 30 เม.ย. 56 | 26 ก.พ. 59 | 3 ปี | 2.83 ปี | | 17/28/56 | - | 25,000 | 29 เม.ย. 56 | 2 พ.ค. 56 | 30 พ.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน | | 17/91/56 | - | 25,000 | 29 เม.ย. 56 | 2 พ.ค. 56 | 1 ส.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน | | 17/182/56 | - | 25,000 | 29 เม.ย. 56 | 2 พ.ค. 56 | 31 ต.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/364/56 | - | 40,000 | 29 เม.ย. 56 | 2 พ.ค. 56 | 10 เม.ย. 57 | 364 วัน | 343 วัน | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2556 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 24 เมษายน 2556 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,859
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 36/91/61 | - | 40,000 | 4 ก.ย. 61 | 6 ก.ย. 61 | 6 ธ.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 36/182/61 | - | 40,000 | 4 ก.ย. 61 | 6 ก.ย. 61 | 7 มี.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/364/61 | - | 40,000 | 4 ก.ย. 61 | 6 ก.ย. 61 | 5 ก.ย. 62 | 364 วัน | 364 วัน | | 37/91/61 | - | 40,000 | 11 ก.ย. 61 | 13 ก.ย. 61 | 13 ธ.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 37/182/61 | - | 40,000 | 11 ก.ย. 61 | 13 ก.ย. 61 | 14 มี.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/2ปี/2561 | 1.82 | 25,000 | 13 ก.ย. 61 | 17 ก.ย. 61 | 27 ส.ค. 63 | 2 ปี | 1.95 ปี | | 38/91/61 | - | 40,000 | 18 ก.ย. 61 | 20 ก.ย. 61 | 20 ธ.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 38/182/61 | - | 40,000 | 18 ก.ย. 61 | 20 ก.ย. 61 | 21 มี.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/3ปี/2561 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 18 ก.ย. 2561 | 30,000 | 20 ก.ย. 61 | 24 ก.ย. 61 | 24 ก.ย. 64 | 3 ปี | 3 ปี | | 39/91/61 | - | 40,000 | 25 ก.ย. 61 | 27 ก.ย. 61 | 27 ธ.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 39/182/61 | - | 40,000 | 25 ก.ย. 61 | 27 ก.ย. 61 | 28 มี.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/3ปี/2561 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 18 กันยายน 2561 | | การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 24 มีนาคม และ 24 กันยายน ของทุกปี | | วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 24 มีนาคม 2562 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 24 กันยายน 2564 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,860
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2559 --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.12/14/59 | 70,000 | 25 มีนาคม 2559 | 29/3/59 – 12/4/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,861
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 19/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 19 / 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม --------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีการประกอบธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันดอกเบี้ยและประกอบกิจการอื่น โดยยึดหลักการการค้าและการร่วมลงทุนเป็นหลักตามหลักการของศาสนาอิสลามเช่น หลักการซื้อขาย (Murabahah) หลักการร่วมลงทุนที่เน้นการร่วมบริหาร (Musharakah) หลักการร่วมทุน (Mudarabah) และหลักการเช่า (ljarah) เป็นต้น ซึ่งจัดได้ว่าเป็นธุรกิจทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่มีการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ฝากเงิน ผู้ขอสินเชื่อผู้ลงทุน และคู่ค้าตามหลักการของศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ดี เนื่องจากกรให้บริการทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามมีลักษณะธุรกรรมที่แตกต่างจากการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปที่ผูกพันกับดอกเบี้ยธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรออกประกาศเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันกับดอกเบี้ยและประกอบกิจการอื่นตามหลักการของศาสนาอิสลามเป็นการเฉพาะ โดยยึดหลักการในการกํากับดูแลเช่นเดียวกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป และกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมบางประการ เช่น ด้านธรรมาภิบาล เพื่อให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามอันจะเป็นการส่งเสริมให้มีการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส มีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนมีความสอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและเสริมสร้างความมีเสถียรภาพในการดําเนินธุรกิจซึ่งนําไปสู่ความมั่นคงในระยะยาว และความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจโดยรวม อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 50 มาตรา 52 มาตรา 60 มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 64 มาตรา 65 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 71 มาตรา 81 (2) และมาตรา 84 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจเฉพาะธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันกับดอกเบี้ยและประกอบกิจการอื่นตามหลักการของศาสนาอิสลามให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 4.เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป " หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย "ธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม" หมายความว่า ธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันกับดอกเบี้ยและการประกอบธุรกิจอื่นตามหลักการของศาสนาอิสลาม 4.2 หลักการกํากับดูแล ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจเฉพาะธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม เพื่อใช้บังคับกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยโดยยึดหลักการการกํากับดูแลให้สอดคล้องกับแนวทางการกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป แต่มีการกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมบางประการเพื่อให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม 4.3 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านธรรมาภิบาล 4.3.1 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องจัดให้มีระบบบริหารจัดการและธรรมาภิบาลที่ดีเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป โดยให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม (1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้นให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1.1) องค์ประกอบของคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมายว่ด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ กฎหมายอื่น หรือหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (1.2) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้รวมถึงการกําหนดนโยบาย และมีความรับผิดชอบการดูแลให้มีกระบวนการ บริหารจัดการ และระบบการติดตามตรวจสอบที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าการประกอบธุรกิจเป็นไปตามหลักการของศาสนาอิสลาม (1.3) ให้มีคณะกรรมการชุดย่อยเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป และควรจัดให้มีคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ หน้าที่และความรับผิดชอบ ตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ควรพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือ มีประสบการณ์เกี่ยวกับหลักการด้านศาสนาอิสลาม หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม (1.4) บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ควรรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย (1.4.1) ให้คําปรึกษา แนะนํา หรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งรวมถึงนโยบาย ระเบียบ คู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงน ตลอดจนรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่าการประกอบธุรกิจจะไม่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม (1.4.2) เสนอแนะให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีระบบการกํากับดูแลกิจการและการตรวจสอบการปฎิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการของศาสนาอิสลามที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล (1.4.3) ในกรณีที่พบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทําที่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม ให้รายงานต่อคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทราบเพื่อแจ้งให้ฝ่ายจัดการดําเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทั้งนี้ หากคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือฝ่ายจัดการไม่ดําเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขตามที่คณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเสนอรายงาน ให้คณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเปิดเผยการกระทําดังกล่าวไว้ในรายงานประจําปี และแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ (1.4.4) ควรจัดทํารายงานการกํากับดูแลกิจการตามหลักการของศาสนาอิสลาม เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจตามหลักการของศาสนาอิสลามรวมถึงเปิดเผยรายการหรือการกระทําที่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลามที่มีนัยสําคัญไว้ในรายงานประจําปีของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (1.5) ต้องจัดให้มีการสอบทานระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพิจารณาสอบทานระบบควบคุมภายในการตรวจสอบภายใน และการปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ คู่มือ และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม ตลอดจนข้อเสนอแนะของคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้แจ้งผลการสอบทาน การตรวจสอบ และการปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลามต่อคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทราบด้วยกําหนด (2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยอํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุด (4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4.4 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านการบริหารความเสี่ยง 4.4.1 การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องจัดให้มีกระบวนการพิจารณาสินเชื่อก่อภาระผูกพัน และธุรกรรมคล้ายสินเชื่อ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่เหมาะสม เช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปโดยให้นําประกาศและแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม (1) แนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามแนวนโยบายข้างต้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยควรพิจารณากําหนดประเภทของสินเชื่อที่พึ่งระมัดระวังในการพิจารณาให้สินเชื่อ โดยเฉพาะการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจหรือมีรูปแบบการให้สินเชื่อที่อาจขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม ตลอดจนการให้สินเชื่อในธุรกิจที่ไม่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิตของประเทศระยะยาว เช่น ธุรกิจที่มีลักษณะเก็งกําไรธุรกิจนําเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย ธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี และควรพิจารณาแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป รวมทั้งควรกําหนดให้มีผู้รับผิดชอบหรือตรวจสอบความถูกต้องของการปฏิบัติภายหลังการอนุมัติการทําธุรรรมด้านสินเชื่อนั้น (2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ได้ไม่เกิน 200 ล้านบาท โดยพิจารณาแนวทางการคํานวณ วิธีการนับลูกหนี้ธุรกรรมประเภทต่าง ๆ และข้อยกเว้นในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ตลอดจนการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป (3) แนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการสอบทานธุรกรรมด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามแนวนโยบายข้างต้น ในการพิจารณาอัตราสอบทานลูกหนี้ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยนั้น ให้ลูกหนี้ธุรกิจวงเงินสูงหมายถึงลูกหนี้ธุรกิจที่มีวงเงินหรือยอดหนี้คงค้างสูงตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป และลูกหนี้ธุรกิจวงเงินต่ําหมายถึงลูกหนี้ธุรกิจที่มีวงเงินหรือยอดหนี้คงค้างต่ํากว่า 20 ล้านบาท (4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องจัดชั้น กันสํารอง และตัดจําหน่ายหนี้สูญ โดยพิจารณาจากการค้างชําระเงินให้สินเชื่อในส่วนของต้นเงินหรือรายได้ทางการเงินที่พึ่งได้รับจากการให้สินเชื่อนั้น เช่น ผลกําไรจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ (5) แนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามแนวนโยบายข้างต้น ในการทําธุรกรรมทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยประเมินราคาสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันเพื่อประกอบการให้กู้ยืม การทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ หรือการให้บริการทางการเงินในรูปแบบอื่นตามหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงได้กับหลักประกัน (6) แนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามแนวนโยบายข้างต้น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ให้หมายความรวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั่วไปและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา เพื่อให้มีโอกาสได้รับชําระหนี้คืนสูงสุด หรือเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดําเนินกิจการต่อไป ทั้งของลูกหนี้และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการชําระหนี้เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ แต่ยังมีแนวโน้มที่จะดําเนินธุรกิจต่อไปได้โดยจะต้องระมัดระวังมิให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหลีกเสี่ยงการจัดชั้นลูกหนี้และการกันเงินสํารอง หรือหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์การระงับรับรู้รายได้ทางการเงินค้างรับเป็นรายได้โดยให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามที่กําหนดในเอกสารแนบด้วย (7) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (8) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน และธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ รวมทั้งการจัดชั้นและการกันเงินสํารอง การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ธุรกรรมด้านสินเชื่อ ให้หมายความรวมถึงการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ การให้กู้ยืมตามหลักการของศาสนาอิสลาม การเบิกถอนเงินสด (เงินเบิกเกินบัญชี) และสินเชื่อทางการค้า รวมถึงบริการทางการเงินในรูปแบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมและการให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 4.4.2 การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (1) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเช่นดียวกับสถบันการเงินเฉพะกิจทั่วไป โดยให้นําประกศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น สินทรัพย์สภาพคล่อง ให้หมายความรวมถึงตราสารการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่มีลักษณะเทียบเท่ากับตราสารการเงินที่สามารถนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ตราสารศุกูก (2) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยควรมีการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับการชําระคืนหนี้สินและภาระผูกพันต่าง ๆ เมื่อครบกําหนดหรือถูกเรียกคืน ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต พร้อมทั้งจัดส่งแบบรายงานความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป โดยให้นําแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม 4.4.3 การบริหารความเสี่ยงด้านอื่น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ความเสี่ยงด้านตลาด และความสี่ยงด้านปฏิบัติการ และควรมีการบริหารความเสี่ยงด้านอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่อาจกระทบต่อฐานะ ผลการดําเนินงานตลอดจนภาพลักษณ์และความน่าเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เช่น ความเสี่ยงด้านอัตรารายได้ทางการเงิน (Rate of return risk) ที่เหมาะสม โดยอาจอ้างอิงจากหลักการมาตรฐานสากลที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น Islamic Financial Services Boardโดยอนุโลม อนึ่ง ในการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ให้หมายความรวมถึงการบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่ง ๆ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ภายใน เช่น ความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการ บุคลากร และระบบงานของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือจากเหตุกรณ์ภายนอก รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมายและ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลาม เช่น ความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลามด้วย 4.5 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเพียงพอของการดํารงเงินกองทุน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป โดยให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม (1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น องค์ประกอบของเงินกองทุนของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ให้หมายความรวมถึงเงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่มีลักษณะเทียบเท่ากับตราสารทางการเงินที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปได้ (3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น การพิจารณาคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พิจารณาความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อและการให้บริการทางการเงินอื่นในรูปแบบต่าง ๆ ตามหลักการของศาสนาอิสลามเพิ่มด้วย (4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น การพิจารณาคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พิจารณาความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อและการให้บริการทางการเงินอื่นในรูปแบบต่าง ๆ ตามหลักการของศาสนาอิสลามเพิ่มด้วย เช่น การให้สินเชื่อในลักษณะซื้อมาขายไปที่อาจทําให้มีสินทรัพย์อยู่ในบัญชีของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งอันอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านตลาดจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์นั้นได้ (5) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (6) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุน 4.6 หลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีและการจัดทํางบการเงิน ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยบันทึกบัญชี จัดทําและประกาศงบการเงินเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป โดยให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม (1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องบันทึกบัญชีรายได้ทางการเงิน หรือค่างวดจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อตามเกณฑ์คงค้างทุกสิ้นเดือนและถือปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีรายได้ทางการเงินจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ ดังนี้ (1.1) กรณีที่ลูกหนี้ค้างชําระรายได้ทางการเงิน หรือเงินค่างวดเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจะบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามจํานวนเงินที่ได้รับชําระก็ได้ (1.2) กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้รับชําระรายได้ทางการเงินบางส่วน ให้นําไปตัดรายการรายได้ทางการเงินค้างรับที่รับรู้เป็นรายได้แล้วในบัญชี แล้วจึงนําไปตัดรายได้ทางการเงินค้างรับที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ (1.3) ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยระงับการบันทึกบัญชีรายได้ทางการเงินหรือค่างวดเป็นรายได้ และบันทึกยกเลิกรายได้ทางการเงินหรือค่างวดจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อที่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ไว้แล้วออกจากบัญชี โดยอ้างอิงตัวอย่างการนับระยะเวลาการบันทึกรับรู้รายได้ทางการเงินตามเอกสารแนบ 2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เมื่อมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1.3.1) เมื่อลูกหนี้เงินให้สินเชื่อ ลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน ค้างชําระรายได้ทางการเงินเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ (1.3.2) เมื่อลูกหนี้เงินเบิกถอนเงินสด (เงินเบิกเกินบัญชี) ที่ไม่มีวงเงินหรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน มียอดรายได้ทางการเงินค้างชําระโดยไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระรายได้ทางการเงินเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันที่เริ่มค้างชําระ หรือมีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระรายได้ทางการเงินเป็นบางส่วนแต่รายได้ทางการเงินคงค้างยังเกินกว่า 3 เดือน (1.3.3) เมื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อค้างชําระเงินค่างวดเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ (1.3.4) เมื่อลูกหนี้เงินให้สินเชื่อ ลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการรับรองรับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน หรือลูกหนี้เงินเบิกถอนเงินสด (เงินเบิกเกินบัญชี) ค้างชําระรายได้ทางการเงินหรือลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อค้างชําระเงินค่างวด เป็นระยะเวลารวมกันไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ แต่ถูกจัดชั้นเป็นประเภทสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ หรือสินทรัพย์จัดชั้นสงสัย ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4.4.1 (4) (1.4) กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ระงับการบันทึกบัญชีรายได้ทางการเงินหรือค่างวดเป็นรายได้แล้ว ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจะสามารถบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างได้ใหม่ เมื่อลูกหนี้ได้ชําระต้นเงินและรายได้ทางการเงินที่รับรู้เป็นรายได้แล้วและที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ หรือเงินค่างวดที่ค้างชําระทั้งหมดแล้ว (2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทําและการประกาศงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชีและการจัดทํางบการเงิน การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยบันทึกบัญชีและจัดทํางบการเงินตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ นอกเหนือจากรูปแบบทางกฎหมายตามกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนด และปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชีตามหลักการของศาสนาอิสลามที่สภาวิชาชีพบัญชีให้ความเห็นชอบ (ถ้ามี) โดยในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางกรเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีหรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยครอบคลุมถึง ให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศหรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติได้ อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล 5.1 บทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านธรรมาภิบาล 5.1.1 กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในปัจจุบันก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปได้จนครบวาระ อย่างไร้ก็ตาม หากปรากฏในภายหลังว่าบุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยก็ต้องดําเนินการให้มีการถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากการดํารงตําแหน่ง 5.1.2 คณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้สามารถทําหน้าที่ต่อไปได้จนครบวาระการดํารงตําแหน่ง 5.1.3 ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยใช้คําจํากัดความของกรรมการอิสระตามเกณฑ์ภายในของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจนกว่ากฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องคําจํากัดความของกรรมการอิสระของรัฐวิสาหกิจจะมีผลบังคับใช้ 5.2 บทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านการบริหารความเสี่ยง กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งปประเทศไทยให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว รวมกันเกินอัตราหรือจํานวนที่กําหนดในข้อ 4.4.1 (2) ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจะให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่บุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวอีกไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยและการประกอบธุรกิจของลูกค้าของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการผ่อนผัน ดังนี้ (1) ในกรณีที่สัญญามีการกําหนดอายุ (Term loan) ผ่อนผันให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะครบกําหนดอายุสัญญาดังกล่าว (2) ในกรณีที่สัญญามีการกําหนดการชําระเงินเมื่อทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน (Call loan) ผ่อนผันให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับได้ต่อไปอีกไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจัดเก็บเอกสาร และข้อมูลยอดคงค้างของลูกหนี้หรือลูกค้าทุกรายที่เข้าข่ายได้รับการผ่อนผันไว้ที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินสามารถตรวจสอบได้ 5.3 บทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลความเพียงพอของการดํารงเงินกองทุน 5.3.1 กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามมาตรการของทางการก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเริ่มปฏิบัติตามข้อ 4.5 ของประกาศฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป โดยหากปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้แล้วมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราขั้นต่ําตามที่กําหนด ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของประกาศฉบับนี้จนกว่าจะดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จตามที่ทางการกําหนด 5.3.2 กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยถือครองเงินลงทุนในหุ้นสามัญและตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ ให้ธนาครอิสลามแห่งประเทศไทยไม่ต้องนําเงินลงทุนดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนตามที่กําหนดในข้อ 4.3.3 (3.1) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติม 5.4 บทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐธุรกรรมนโยบายรัฐที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดําเนินการก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ โดยเป็นโครงการนโยบายรัฐตามแนวปฏิบัติของกระทรวงการคลัง เรื่อง การแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ซึ่งจะรวมถึงโครงการนโยบายรัฐที่ดําเนินการผ่านธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหลังวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ด้วย ให้ถือเป็นธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,862
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมีนาคม 2556 ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.13/15/56 | 30,000 | 29 มีนาคม 2556 | 2/4/56 – 17/4/56 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,863
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 40/91/61 | - | 40,000 | 2 ต.ค. 61 | 4 ต.ค. 61 | 3 ม.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 40/182/61 | - | 40,000 | 2 ต.ค. 61 | 4 ต.ค. 61 | 4 เม.ย. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 41/91/61 | - | 40,000 | 9 ต.ค. 61 | 11 ต.ค. 61 | 10 ม.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 41/182/61 | - | 40,000 | 9 ต.ค. 61 | 11 ต.ค. 61 | 11 เม.ย. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2560 | 3M BIBOR - 0.1(เท่ากับ 1.48539สําหรับงวดเริ่มต้น7 สิงหาคม 2561) | 15,000 | 12 ต.ค. 61 | 17 ต.ค. 61 | 7 ก.พ. 63 | 3 ปี | 1.31 ปี | | 42/91/61 | - | 40,000 | 16 ต.ค. 61 | 18 ต.ค. 61 | 17 ม.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 42/182/61 | - | 40,000 | 16 ต.ค. 61 | 18 ต.ค. 61 | 18 เม.ย. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/364/61 | - | 35,000 | 16 ต.ค. 61 | 18 ต.ค. 61 | 5 ก.ย. 62 | 364 วัน | 322 วัน | | 43/91/61 | - | 40,000 | 22 ต.ค. 61 | 25 ต.ค. 61 | 24 ม.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 43/182/61 | - | 40,000 | 22 ต.ค. 61 | 25 ต.ค. 61 | 25 เม.ย. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/2ปี/2561 | 1.82 | 20,000 | 25 ต.ค. 61 | 29 ต.ค. 61 | 27 ส.ค. 63 | 2 ปี | 1.83 ปี | | 44/91/61 | | 40,000 | 30 ต.ค. 61 | 1 พ.ย. 61 | 31 ม.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 44/182/61 | | 40,000 | 30 ต.ค. 61 | 1 พ.ย. 61 | 2 พ.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2560 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 10 ตุลาคม 2561 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,864
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือน เมษายน 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.25/14/53 | 60,000 | 1 เมษายน 2553 | 5/4/53 - 19/4/53 | 14 | | พ.26/13/53 | 55,000 | 2 เมษายน 2553 | 7/4/53 - 20/4/53 | 13 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,865
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 74/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 74 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 45/91/61 | - | 40,000 | 6 พ.ย. 61 | 8 พ.ย. 61 | 7 ก.พ. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 45/182/61 | - | 30,000 | 6 พ.ย. 61 | 8 พ.ย. 61 | 9 พ.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/364/61 | - | 25,000 | 6 พ.ย. 61 | 8 พ.ย. 61 | 5 ก.ย. 62 | 364 วัน | 301 วัน | | 2/3ปี/2561 | 2.09 | 20,000 | 8 พ.ย. 61 | 12 พ.ย. 61 | 24 ก.ย. 64 | 3 ปี | 2.87 ปี | | 46/91/61 | - | 40,000 | 13 พ.ย. 61 | 15 พ.ย. 61 | 14 ก.พ. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 46/182/61 | - | 30,000 | 13 พ.ย. 61 | 15 พ.ย. 61 | 16 พ.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 47/91/61 | - | 40,000 | 20 พ.ย. 61 | 22 พ.ย. 61 | 21 ก.พ. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 47/182/61 | - | 30,000 | 20 พ.ย. 61 | 22 พ.ย. 61 | 23 พ.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 4/2ปี/2561 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 20 พ.ย. 2561 | 20,000 | 22 พ.ย. 61 | 26 พ.ย. 61 | 26 พ.ย. 63 | 2 ปี | 2 ปี | | 48/91/61 | - | 40,000 | 27 พ.ย. 61 | 29 พ.ย. 61 | 28 ก.พ. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 48/182/61 | - | 30,000 | 27 พ.ย. 61 | 29 พ.ย. 61 | 30 พ.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/2ปี/2561 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2561 | | การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 26 พฤษภาคม และ 26 พฤศจิกายน ของทุกปี | | วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 26 พฤษภาคม 2562 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,866
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 88/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 88 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 1/90/62 | - | 45,000 | 2 ม.ค. 62 | 4 ม.ค. 62 | 4 เม.ย. 62 | 90 วัน | 90 วัน | | 1/181/62 | - | 35,000 | 2 ม.ค. 62 | 4 ม.ค. 62 | 4 ก.ค. 62 | 181 วัน | 181 วัน | | 2/91/62 | - | 45,000 | 8 ม.ค. 62 | 10 ม.ค. 62 | 11 เม.ย. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 2/182/62 | - | 35,000 | 8 ม.ค. 62 | 10 ม.ค. 62 | 11 ก.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 4/2ปี/2561 | 1.95 | 25,000 | 10 ม.ค. 62 | 14 ม.ค. 62 | 26 พ.ย. 63 | 2 ปี | 1.87 ปี | | 3/91/62 | - | 45,000 | 15 ม.ค. 62 | 17 ม.ค. 62 | 18 เม.ย. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 3/182/62 | - | 35,000 | 15 ม.ค. 62 | 17 ม.ค. 62 | 18 ก.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 4/365/61 | - | 35,000 | 15 ม.ค. 62 | 17 ม.ค. 62 | 6 ธ.ค. 62 | 365 วัน | 323 วัน | | 4/91/62 | - | 45,000 | 22 ม.ค. 62 | 24 ม.ค. 62 | 25 เม.ย. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 4/182/62 | - | 35,000 | 22 ม.ค. 62 | 24 ม.ค. 62 | 25 ก.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/3ปี/2561 | 2.09 | 25,000 | 24 ม.ค. 62 | 28 ม.ค. 62 | 24 ก.ย. 64 | 3 ปี | 2.66 ปี | | 5/91/62 | - | 45,000 | 29 ม.ค. 62 | 31 ม.ค. 62 | 2 พ.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 5/182/62 | - | 35,000 | 29 ม.ค. 62 | 31 ม.ค. 62 | 1 ส.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,867
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ---------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 14/91/61 | - | 30,000 | 3 เม.ย. 61 | 5 เม.ย. 61 | 5 ก.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 14/182/61 | - | 30,000 | 3 เม.ย. 61 | 5 เม.ย. 61 | 4 ต.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/364/61 | - | 60,000 | 3 เม.ย. 61 | 5 เม.ย. 61 | 14 มี.ค. 62 | 364 วัน | 343 วัน | | 15/91/61 | - | 30,000 | 10 เม.ย. 61 | 12 เม.ย. 61 | 12 ก.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 15/182/61 | - | 30,000 | 10 เม.ย. 61 | 12 เม.ย. 61 | 11 ต.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 16/91/61 | - | 30,000 | 17 เม.ย. 61 | 19 เม.ย. 61 | 19 ก.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 16/182/61 | - | 30,000 | 17 เม.ย. 61 | 19 เม.ย. 61 | 18 ต.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2 ปี/2561 | 1.34 | 40,000 | 19 เม.ย. 61 | 23 เม.ย. 61 | 26 ก.พ. 63 | 2 ปี | 1.85 ปี | | 1/FRB3ปี/2560 | 3M BIBOR - 0.1 (เท่ากับ 1.47583 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 ก.พ. 61) | 15,000 | 20 เม.ย. 61 | 24 เม.ย. 61 | 7 ก.พ. 63 | 3 ปี | 1.79 ปี | | 17/91/61 | - | 30,000 | 24 เม.ย. 61 | 26 เม.ย. 61 | 26 ก.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 17/182/61 | - | 30,000 | 24 เม.ย. 61 | 26 เม.ย. 61 | 25 ต.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2560 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 18 เมษายน 2561 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,868
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 20 /2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ------------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 14/91/59 | - | 40,000 | 4 เม.ย. 59 | 7 เม.ย 59 | 7 ก.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 14/182/54 | - | 40,000 | 4 เม.ย. 59 | 7 เม.ย 59 | 6 ต.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/363/59 | - | 60,000 | 4 เม.ย. 59 | 7 เม.ย 59 | 5 เม.ย. 60 | 363 วัน | 363 วัน | | 15/93/59 | - | 40,000 | 8 เม.ย. 59 | 12 เม.ย 59 | 14 ก.ค. 59 | 93 วัน | 93 วัน | | 15/184/59 | - | 40,000 | 8 เม.ย. 59 | 12 เม.ย 59 | 13 ต.ค 59 | 184 วัน | 184 วัน | | 16/91/59 | - | 40,000 | 19 เม.ย. 59 | 21 เม.ย 59 | 21 ก.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 16/182/59 | - | 40,000 | 19 เม.ย. 59 | 21 เม.ย 59 | 20 ต.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2ปี/2559 | 1.49 | 40,000 | 21 เม.ย. 59 | 25 เม.ย 59 | 23 ก.พ. 61 | 2 ปี | 1.83 ปี | | 17/91/59 | - | 40,000 | 29 เม.ย. 59 | 28 เม.ย 59 | 28 ก.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 17/182/59 | - | 40,000 | 29 เม.ย. 59 | 28 เม.ย 59 | 27 ต.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR – 0.1 (เท่ากับ 1.51675 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 ก.พ. 59) | 15,000 | 29 เม.ย. 59 | 4 พ.ค. 59 | 17 ก.พ. 61 | 3 ปี | 1.79 ปี | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) วันพุธที่ 27 เมษายน 2559 อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,869
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.13/14/59 | 65,000 | 1 เมษายน 2559 | 5/4/59 – 19/4/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,870
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21/2561 เรื่อง การจัดทำและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21/2561 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ----------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.21/2558 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2558 กําหนดรูปแบบการจัดทํางบการเงินซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี และการประกาศงบการเงินดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งการนําส่งงบการเงินให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกแห่งถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันและสามารถเปรียบเทียบกันได้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการกํากับดูแลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจนั้น เนื่องจากสภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน จํานวน 5 ฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้กับการจัดทํางบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศและมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ (1) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (2) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน (3) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน (4) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง การป้องกันความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ (5) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 19 เรื่อง การชําระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน โดยมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ทําให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถใช้งบการเงินในรูปแบบเดิมที่กําหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส.21/2558 ได้อีกต่อไป ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงรูปแบบงบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลและคําอธิบายความหมายของรายการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่กล่าวข้างต้น เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจัดทํางบการเงินในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเปรียบเทียบกันได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 68 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ถือปฏิบัติในเรื่องรูปแบบงบการเงินตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 21/2558 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2558 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 5. เนื้อหา การจัดทํางบการเงิน 1. ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจัดทํางบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน รวมทั้งจัดทํางบการเงินเปรียบเทียบกับงวดก่อนด้วย ทั้งนี้ ให้มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยตามรายการที่กําหนด 2. การจัดทํางบการเงินดังกล่าวตามข้อ 1 ให้เป็นไปโดยครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง และเป็นไปตามคําอธิบายความหมายของรายการตามแนบ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีครอบคลุมถึงให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติ โดยให้เปิดเผยถึงที่มาของหลักการบัญชีที่นํามาใช้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินในส่วนของนโยบายการบัญชี ทั้งนี้ การนํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติ ไม่ให้นํามาใช้เฉพาะบางส่วน แต่จะต้องนํามาใช้ทั้งฉบับ เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดอื่น ๆ ของสภาวิชาชีพบัญชีหรือธนาคารแห่งประเทศไทย 3. หมายเลขกํากับรายการที่ปรากฏในแบบงบการเงิน มีไว้เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ต้องแสดงในการจัดทํางบการเงิน 4. ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแสดงรายการในงบการเงินตามแบบที่กําหนดไว้ หากไม่มีรายการใดไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าวทั้งนี้ หากมีความจําเป็นที่จะใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในแบบงบการเงินที่กําหนดก็สามารถกระทําได้ แต่การใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้สาระสําคัญของรายการแตกต่างไปจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือหากมีรายการที่ต้องการนําเสนอนอกเหนือจากแบบที่กําหนดไว้ให้แสดงรายการนั้นได้ตามความจําเป็นและเหมาะสมแก่กรณี เช่น ตามแบบงบการเงินกําหนดให้แสดงรายการใดเพียงรายการเดียว แต่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องการแสดงรายละเอียดภายใต้รายการนั้นก็สามารถกระทําได้ แต่ต้องแสดงรายการให้ถูกต้องตามประเภทและลักษณะของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ หรือค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้มีการแสดงรายการใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในแบบงบการเงิน หรือในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นผลให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการแสดงรายการจากที่กําหนดในแบบงบการเงิน ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแสดงรายการนั้นเพิ่มเติมตามที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนด 5. สําหรับรอบบัญชีแรกที่จัดทํางบการเงินตามประกาศฉบับนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจัดประเภทรายการหรือรูปแบบงบการเงินที่จะนํามาเปรียบเทียบให้สอดคล้องกับประกาศฉบับนี้ด้วย เว้นแต่มาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดเป็นอย่างอื่น หรือในทางปฏิบัติไม่สามารถจัดทําได้และได้หารือกับผู้สอบบัญชีด้วยแล้ว การกําหนดจํานวนหน่วยในการจัดทํางบการเงิน 6. การจัดทํางบการเงินกําหนดให้จัดทําเป็นสกุลเงินบาท โดยให้แสดงเป็นหน่วยของหลักพันบาท (ไม่ต้องมีทศนิยม) เว้นแต่การจัดทําหมายเหตุประกอบงบการเงิน สามารถเลือกแสดงหน่วยในสกุลเงินบาทตามที่ต้องการได้ โดยต้องระบุหน่วยในสกุลเงินบาทที่ใช้ในแต่ละที่ให้ชัดเจนและสามารถกระทบยอดกับรายการที่ปรากฏในงบการเงินได้ ระยะเวลาในการจัดทํางบการเงิน 7. ให้ธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จัดทํางบการเงินทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน และรอบระยะเวลา 12 เดือน อันเป็นรอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์นั้นสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้จัดทํางบการเงินทุกรอบระยะเวลา 12 เดือน อันเป็นรอบปีบัญชีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น การจัดทํางบการเงินรวม 8. ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีบริษัทย่อย ให้จัดทํางบการเงินรวมเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ คํานิยามของบริษัทย่อยและการแสดงรายการเพิ่มเติมสําหรับการจัดทํางบการเงินรวม ให้ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม รวมถึงมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่การจัดทํางบการเงินรวมของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่ได้นําบริษัทย่อยใดมารวม ให้แสดงเหตุผลของการไม่นําบริษัทย่อยดังกล่าวมารวม และเปิดเผยผลกระทบรวมทั้งเปิดเผยงบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย การประกาศงบการเงิน 9. ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินประกาศงบการเงิน ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ 9.1 ธนาคารพาณิชย์ ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ให้ประกาศงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของธนาคารพาณิชย์ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์นั้น (สามารถเปิดเผยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้) และให้เผยแพร่ไว้ในเว็บไชต์ (website) ของธนาคารพาณิชย์ หรืออาจลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันเพิ่มเติมรวมทั้งให้ส่งมายังฝ่ายตรวจสอบ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย ทั้งนี้การประกาศงบการเงินตามสื่อต่าง ๆ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด จะต้องเป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ในกรณีการจัดทํางบการเงินรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบปีบัญชี ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นงวดบัญชี ส่วนงบการเงินรอบระยะเวลา 12 เดือน ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 21 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินแล้ว แต่ต้องไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น 9.2 สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 9.2.1 ให้ประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (ซึ่งได้จัดทําตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น) ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (สํานักงานใหญ่) ประกาศงบการเงิน โดยให้ประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้น (สามารถเปิดเผยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้) ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินดังกล่าวให้หมายถึง รายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่จัดทําขึ้นตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศนั้น ทั้งนี้ หากงบการเงินของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมิได้จัดทําเป็นภาษาอังกฤษ ให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจัดทํางบการเงินดังกล่าวเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ และให้ผู้จัดการสาขาหรือผู้ได้รับมอบหมายลงนามรับรองในงบการเงินดังกล่าวก่อนนําไปประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้น 9.2.2 ให้ประกาศงบการเงินของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยผู้จัดการสาขา ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้น (สามารถเปิดเผยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้) และให้เผยแพรไว้ในเว็บไซต์ (website) ของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หรืออาจลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันเพิ่มเติม รวมทั้งให้ส่งมายังฝ่ายตรวจสอบ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย การดําเนินการดังกล่าวต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินตามสื่อต่าง ๆ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด จะต้องเป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย 9.3 บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้เสนองบการเงินของบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่จัดทําตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อฝ่ายตรวจสอบ สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น โดยไม่ต้องประกาศงบการเงินไว้ ณ สํานักงานของบริษัท และไม่ต้องเผยแพร่งบการเงินในสื่ออื่น ๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ การเสนองบการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดจะต้องเป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย 10. การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขา และการลงพิมพ์งบการเงินในหนังสือพิมพ์รายวัน ตามที่กําหนดในข้อ 9.1 และข้อ 9.2.2 ให้หมายถึงเฉพาะรายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หากรายงานของผู้สอบบัญชีมีการอ้างถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดโดยไม่ระบุจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องในรายงานผู้สอบบัญชี ให้แสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีอ้างถึงนั้นไว้ด้วย สําหรับการเผยแพร่งบการเงินในเว็บไซต์ (website) และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กําหนดในข้อ 9.1 ข้อ 9.2.2 และข้อ 9.3 ให้หมายถึงรายงานของผู้สอบบัญชีงบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินทั้งหมด 11. การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขารวมถึงการเผยแพร่งบการเงินในเว็บไซต์ (website) ตามที่กําหนดในข้อ 9.1 และข้อ 9.2 อย่างน้อยให้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีปัจจุบันไว้จนกว่าจะได้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีถัดไปอย่างไรก็ตาม การประกาศงบการเงินไว้หลายงวดบัญชีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งบการเงินในการใช้เปรียบเทียบงบการเงินได้ดียิ่งขึ้น 12. ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการจัดทํางบการเงินรวม การดําเนินการตามข้อ 9.1 ข้อ 9.2.2 และข้อ 9.3 ให้หมายความรวมถึงงบการเงินรวมด้วย อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,871
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559 อื่นๆ -- 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.14/14/59 | 75,000 | 8 เมษายน 2559 | 12/4/59 – 26/4/59 | 14 | | พ.15/14/59 | 70,000 | 12 เมษายน 2559 | 19/4/59 – 3/5/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,872
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2553 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2553 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2553 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.27/14/53 | 80,000 | 8 เมษายน 2553 | 12/4/53 - 26/4/53 | 14 | | พ.28/15/53 | 50,000 | 12 เมษายน 2553 | 19/4/53 - 4/5/53 | 15 | | พ.29/14/53 | 45,000 | 16 เมษายน 2553 | 20/4/53 – 4/5/53 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน 2553 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,873
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 22/2561 เรื่อง การจัดทำและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 22/2561 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.22/2558 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2558 กําหนดรูปแบบการจัดทํางบการเงินซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี และการประกาศงบการเงินดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งการนําส่งงบการเงินแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ทุกแห่งถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันและสามารถเปรียบเทียบกันได้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการกํากับดูแลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจนั้น เนื่องจากสภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน จํานวน 5 ฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้กับการจัดทํางบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศและมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ (1) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (2) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน (3) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน (4) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง การป้องกันความเสี่ยงของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ (5) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 19 เรื่อง การชําระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน โดยมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ทําให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไม่สามารถใช้งบการเงินในรูปแบบเดิมที่กําหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 22/2558 ได้อีกต่อไป ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงรูปแบบงบการเงิน การเปิดเผยข้อมูลและคําอธิบายความหมายของรายการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่กล่าวข้างต้น เพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จัดทํางบการเงินในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเปรียบเทียบกันได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 66 มาตรา 67 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ถือปฏิบัติในเรื่องรูปแบบงบการเงินตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 22/2558 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2558 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 5. เนื้อหา การจัดทํางบการเงิน 1. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จัดทํางบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของงบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน รวมทั้งจัดทํางบการเงินเปรียบเทียบกับงวดก่อนด้วยทั้งนี้ รูปแบบและรายละเอียดในการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ให้ถือปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ยกเว้นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของเงินกองทุนและอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนตามที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้ หากบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ยังไม่มีการทําธุรกรรมใด หรือไม่มีรายการใดที่ปรากฏในแบบงบการเงินที่กําหนดเนื่องจากข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจ เช่น หนี้สินทางการเงินที่กําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม ตราสารอนุพันธ์เพื่อค้า และกําไร (ขาดทุน) สุทธิจากหนี้สินที่กําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม เป็นต้น ให้ยกเว้นไม่ต้องแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว 2. การจัดทํางบการเงินดังกล่าวตามข้อ 1 ให้เป็นไปโดยครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริงและเป็นไปตามคําอธิบายความหมายของรายการตามแนบ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีครอบคลุมถึง ให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติ โดยให้เปิดเผยถึงที่มาของหลักการบัญชีที่นํามาใช้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินในส่วนของนโยบายการบัญชี ทั้งนี้ การนํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติไม่ให้นํามาใช้เฉพาะบางส่วน แต่จะต้องนํามาใช้ทั้งฉบับ เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดอื่น ๆ ของสภาวิชาชีพบัญชีหรือธนาคารแห่งประเทศไทย 3. หมายเลขกํากับรายการที่ปรากฏในแบบงบการเงิน มีไว้เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ต้องแสดงในการจัดทํางบการเงิน 4.ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แสดงรายการในงบการเงินตามแบบที่กําหนดไว้หากไม่มีรายการใดก็ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นที่จะใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในแบบงบการเงินที่กําหนดก็สามารถกระทําได้ แต่การใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้สาระสําคัญของรายการแตกต่างไปจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือหากมีรายการที่ต้องการนําเสนอนอกเหนือจากแบบที่กําหนดไว้ ให้แสดงรายการนั้นได้ตามความจําเป็นและเหมาะสมแก่กรณี เช่น ตามแบบงบการเงินกําหนดให้แสดงรายการใดเพียงรายการเดียว แต่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องการแสดงรายละเอียดภายใต้รายการนั้นก็สามารถกระทําได้ แต่ต้องแสดงรายการให้ถูกต้องตามประเภทและลักษณะของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้หรือค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้มีการแสดงรายการใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในแบบงบการเงิน หรือในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นผลให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการแสดงรายการจากที่กําหนดในแบบงบการเงิน ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์แสดงรายการนั้นเพิ่มเติมตามที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนด 5. สําหรับรอบบัญชีแรกที่จัดทํางบการเงินตามประกาศฉบับนี้ ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์จัดประเภทรายการหรีอรูปแบบงบการเงินที่จะนํามาเปรียบเทียบให้สอดคล้องกับประกาศฉบับนี้ด้วย เว้นแต่มาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดเป็นอย่างอื่น หรือในทางปฏิบัติไม่สามารถจัดทําได้และได้หารือกับผู้สอบบัญชีด้วยแล้ว การกําหนดจํานวนหน่วยในการจัดทํางบการเงิน 6. การจัดทํางบการเงินกําหนดให้จัดทําเป็นสกุลเงินบาท โดยให้แสดงเป็นหน่วยของหลักบาท (ไม่ต้องมีทศนิยม) เว้นแต่การจัดทําหมายเหตุประกอบงบการเงิน สามารถเลือกแสดงหน่วยในสกุลเงินบาทตามที่ต้องการได้ โดยต้องระบุหน่วยในสกุลเงินบาทที่ใช้ในแต่ละที่ให้ชัดเจนและสามารถกระทบยอดกับรายการที่ปรากฏในงบการเงินได้ ระยะเวลาในการจัดทํางบการเงิน 7. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์จัดทํางบการเงินทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนและรอบระยะเวลา 12 เดือน อันเป็นรอบบัญชีของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองชิเอร์นั้น การจัดทํางบการเงินรวม 8. ในกรณีที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีบริษัทย่อย ให้จัดทํางบการเงินรวมเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ คํานิยามของบริษัทย่อยและการแสดงรายการเพิ่มเติมสําหรับการจัดทํางบการเงินรวมให้ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม รวมถึงมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่การจัดทํางบการเงินรวมของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไม่ได้นําบริษัทย่อยใดมารวม ให้แสดงเหตุผลของการไม่นําบริษัทย่อยดังกล่าวมารวม และเปิดเผยผลกระทบรวมทั้งเปิดเผยงบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย การประกาศงบการเงิน 9. ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกาศงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นั้น (สามารถเปิดเผยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้) และให้เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ (website) หรืออาจลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันเพิ่มเติม รวมทั้งให้เสนอต่อฝ่ายตรวจสอบ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินตามสื่อต่าง ๆ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด จะต้องเป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ในกรณีการจัดทํางบการเงินรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบปีบัญชี ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นงวดบัญชี ส่วนงบการเงินรอบระยะเวลา 12 เดือน ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 21 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินแล้ว แต่ต้องไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชีนั้น 10.การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขา และการลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวัน ให้หมายถึงเฉพาะรายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน และงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากรายงานของผู้สอบบัญชีมีการอ้างถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดโดยไม่ระบุจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องในรายงานผู้สอบบัญชี ให้แสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีอ้างถึงนั้นไว้ด้วย สําหรับการเผยแพร่งบการเงินในเว็บไซต์ (website) และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ให้หมายถึงรายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินทั้งหมด 11. การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขารวมถึงการเผยแพร่งบการเงินในเว็บไซต์ (website) อย่างน้อยให้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีปัจจุบันไว้จนกว่าจะได้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีถัดไป อย่างไรก็ตาม การประกาศงบการเงินไว้หลายงวดบัญชีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งบการเงินในการใช้เปรียบเทียบงบการเงินได้ดียิ่งขึ้น 12. ในกรณีที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีการจัดทํางบการเงินรวมการดําเนินการตามข้อ 9 ให้หมายความรวมถึงงบการเงินรวมด้วย อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,874
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.16/14/59 | 60,000 | 22 เมษายน 2559 | 26/4/59 – 10/5/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2559 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,875
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 55/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 55/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.60/14/52 | 65,000 | 16 มิถุนายน 2552 | 18/6/52 – 2/7/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,876
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 18/92/59 | - | 40,000 | 29 เม.ย. 59 | 4 พ.ค. 59 | 4 ส.ค. 59 | 92 วัน | 92 วัน | | 18/183/59 | - | 40,000 | 29 เม.ย. 59 | 4 พ.ค. 59 | 3 พ.ย. 59 | 183 วัน | 183 วัน | | 19/91/59 | - | 40,000 | 10 พ.ค. 59 | 12 พ.ค. 59 | 11 ส.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 19/182/59 | - | 40,000 | 10 พ.ค. 59 | 12 พ.ค. 59 | 10 พ.ย. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 20/91/59 | - | 40,000 | 17 พ.ค. 59 | 19 พ.ค. 59 | 18 ส.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 20/182/59 | - | 40,000 | 17 พ.ค. 59 | 19 พ.ค. 59 | 17 พ.ย. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/363/59 | - | 45,000 | 17 พ.ค. 59 | 19 พ.ค. 59 | 5 เม.ย. 60 | 363 วัน | 363 วัน | | 21/91/59 | - | 40,000 | 24 พ.ค. 59 | 26 พ.ค. 59 | 25 ส.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 21/182/59 | - | 40,000 | 24 พ.ค. 59 | 26 พ.ค. 59 | 24 พ.ย. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2559 | - | 35,000 | 26 พ.ค. 59 | 30 พ.ค. 59 | 21 มี.ค. 62 | 3 ปี | 2.81 ปี | | 22/91/59 | - | 40,000 | 31 พ.ค. 59 | 2 มิ.ย. 59 | 1 ก.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 22/182/59 | 1.50 | 40,000 | 31 พ.ค. 59 | 2 มิ.ย. 59 | 1 ธ.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,877
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 56/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 56/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.61/15/52 | 75,000 | 19 มิถุนายน 2552 | 23/6/52 – 8/7/52 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,878
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 7/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 7/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เนื่องจากการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะเป็นการรับเงินรับล่วงหน้ามาจากผู้ใช้บริการเพื่อนําไปชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดแทนการชําระด้วยเงินสด ดังนั้น การกํากับดูแลการให้บริการดังกล่าวจําเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลเงินรับล่วงหน้าเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีฐานะทางการเงินที่น่าเชื่อถือ มีการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยด้านระบบสารสนเทศในการประกอบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ และมีการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ถือปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากการปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ "เงินอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้ใช้บริการซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม โดยมีการชําระเงินให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจไว้ล่วงหน้าเพื่อนําไปใช้ชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดแทนการชําระด้วยเงินสด และได้มีการบันทึกมูลค่าหรือจํานวนเงินที่ชําระไว้ล่วงหน้า "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามประมวลกฎหมายอาญา "ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน "สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ " หมายความว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น "อํานาจควบคุมกิจการ" หมายความว่า การมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ 1) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น โดยรวมถึงการถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทของคู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย 2) การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทโดยรวมถึงการมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทของคู่สมรสบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย "ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4.2 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 4.2.1 การให้บริการต้องไม่มีลักษณะเป็นการให้สินเชื่อ 4.2.2 การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ต้องบันทึกมูลค่าเป็นเงินสกุลบาท หรือเงินสกุลต่างประเทศ 4.2.3 จัดทําบัญชีเงินรับล่วงหน้าที่ได้รับจากผู้ใช้บริการแยกไว้ต่างหากจากบัญชีอื่นของผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ และจัดทําข้อมูลให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ โดยต้องจัดทําบัญชีเงินรับล่วงหน้าที่ได้รับจากผู้ใช้บริการแยกแต่ละราย รวมทั้งแสดงบัญชีเงินรับล่วงหน้าไว้ในงบการเงินต่างหากให้ชัดเจน หรือแสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินให้ชัดเจนก็ได้ 4.2.4 การเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าที่ได้รับจากผู้ใช้บริการต้องแยกไว้ต่างหากจากเงินทุนหมุนเวียนอื่นของผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ และให้ฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่น้อยกว่ายอดคงค้างของเงินรับล่วงหน้า โดยเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารแยกต่างหากจากบัญชีเงินฝากอื่น ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งต้องปราศจากภาระผูกพัน และใช้สําหรับการชําระบัญชีอันเนื่องมาจากการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น นอกจากนี้ การเปิดบัญชีเงินฝากสําหรับใช้ในการเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าข้างต้นนั้น ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องระบุชื่อบัญชีเงินฝากให้ชัดเจนว่าเป็นบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้เพื่อเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเงินรับล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน กรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อาจเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าไว้ที่สถาบันตนเองก็ได้ โดยแยกออกจากทรัพย์สินของตน และไม่อาจนําไปใช้เพื่อการอื่นใดได้ 4.2.5 ส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่าทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามที่กฎหมายกําหนด โดยให้คํานวณ ณ วันสิ้นไตรมาส พร้อมจัดทํารายงานส่ง ธปท. ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นไตรมาส ตามหลักเกณฑ์วิธีการคํานวณและเงื่อนไขที่ ธบ่ท. กําหนดตามแบบรายงานแนบท้ายประกาศนี้ กรณีส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามที่กฎหมายกําหนด ธปท. จะพิจารณาลงโทษปรับ และหรือจะสั่งการเป็นรายกรณี เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและสาธารณชน หรือเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับปรุงหรือแก้ไขฐานะทางการเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ นอกจากนี้ เพื่อดูแลฐานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีความมั่นคงน่าเชื่อถือ รวมถึงป้องกันผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ ธปท. เห็นควรกําหนดมาตรการในการกํากับดูแลกรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามที่กฎหมายกําหนด ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) เมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามที่กฎหมายกําหนด ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีหนังสือชี้แจงเหตุผลต่อ ธปท. ถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไขภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นไตรมาส ทั้งนี้ ธปท. อาจสั่งการให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์จัดทําแผนการปรับปรุงหรือแก้ไขฐานะและผลการดําเนินงาน พร้อมกําหนดเงื่อนไขอื่นด้วยก็ได้ (2) เมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามที่กฎหมายกําหนด ธปท. จะพิจารณาสั่งการให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์จัดทําแผนการปรับปรุงหรือแก้ไขฐานะและผลการดําเนินงานภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นไตรมาส พร้อมเสนอแผนการดังกล่าวต่อ ธปท. เพื่อให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ธปท. อาจพิจารณาสั่งการเพิ่มเติมหรือกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ไม่จัดทําแผนแก้ไขฐานะ หรือแผนไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ธปท. หรือไม่สามารถดําเนินการตามแผนหรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด ธปท. จะพิจารณาสั่งการให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควร ภายในระยะเวลาที่กําหนด (3) เมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามที่กฎหมายกําหนด ธปท. อาจพิจารณาสั่งระงับการให้บริการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวในกรณีที่ ธปท. พิจารณาเห็นว่าผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีฐานะทางการเงินหรือมีการดําเนินงานที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือระบบการชําระเงินโดยรวมของประเทศ ธปท. จะเสนอรัฐมนตรีพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต สําหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ขึ้นทะเบียน ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อนี้ 4.2.6 กําหนดมูลค่าสูงสุดของเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ได้ต่อบัตรหรือต่อบัญชี โดยต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ใช้บริการและต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี 4.2.7 จัดให้มีระบบ กระบวนการหรือเครื่องมือการลงทะเบียนหรือวิธีการอื่นใดในการใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดูแลผู้ใช้บริการและจํากัดความเสียหายขั้นสูงของมูลค่าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หากเกิดกรณีบัตรสูญหายหรือถูกขโมย เมื่อผู้ใช้บริการร้องขอ โดยผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ต้องชี้แจงระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าวให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า 4.2.8 เปิดเผยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอแลกเงินคืนให้ผู้ใช้บริการทราบ และหากการขอแลกเงินคืนเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องจัดให้มีการคืนเงินภายใน 15 วันนับแต่วันที่ผู้ใช้บริการได้ดําเนินการขอแลกเงินคืน 4.2.9 จัดให้มีวิธีการที่ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ วันหมดอายุและแจ้งวิธีการดังกล่าวให้ผู้ใช้บริการทราบ 4.2.10 จัดให้มีระบบงานที่สามารถป้องกันไม่ให้ผู้ใช้บริการโอนเงินระหว่างกันโดยไม่ผ่านระบบของผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ 4.2.11 การประกอบธุรกิจอื่นเพิ่มเติม นอกเหนือจากการประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทําได้เฉพาะธุรกิจดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) ธุรกิจที่บางส่วนหรือทั้งหมดเกี่ยวกับหรือเนื่องจากการบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยหากธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจระบบการชําระเงินหรือบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับประเภทอื่น ให้ดําเนินการขอขึ้นทะเบียนหรือขออนุญาต แล้วแต่กรณี (2) ธุรกิจอื่นที่สนับสนุนธุรกิจระบบหรือบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตราบเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอันจะกระทบต่อการดําเนินธุรกิจหลัก และเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ประสงค์จะประกอบธุรกิจตามข้อ (1) และหรือข้อ (2) ต้องขออนุญาตเป็นรายกรณี โดยชี้แจงหลักการ เหตุผล และการประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดส่งข้อมูลและเอกสารประกอบการพิจารณาให้ ธปท. โดย ธปท. จะพิจารณาภายใน 45 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วนอย่างไรก็ตาม ธปท. อาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรืออาจพิจารณาอนุญาตโดยกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้เป็นรายกรณีด้วยก็ได้ หรือสั่งระงับเป็นการชั่วคราว หรือเพิกถอนการอนุญาตในภายหลังด้วยก็ได้หากพบว่ามีการดําเนินการที่ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่แจ้งเพื่อขออนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด สําหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ขึ้นทะเบียน ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อนี้ 4.2.12 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์จะมีการเปลี่ยนแปลงอํานาจควบคุมกิจการ เช่น ผู้ถือหุ้นมีความประสงค์ขายหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจนทําให้มีการถือหุ้นที่ทําให้มีบุคคลอื่นมีสิทธิออกเสียงในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดเป็นต้น ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องขอความเห็นชอบจาก ธปท. ก่อนดําเนินการเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดยต้องชี้แจงรายละเอียดการประเมินผลกระทบ และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมจัดส่งข้อมูลและเอกสารประกอบ โดย ธปท. จะพิจารณาภายใน 45 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ ธปท. อาจพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ก็ได้ หรืออาจพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้เป็นรายกรณีด้วยก็ได้ หรือสั่งระงับเป็นการชั่วคราว หรือเพิกถอนความเห็นชอบในภายหลังด้วยก็ได้ หากพบว่ามีการดําเนินการที่ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่แจ้งไว้ต่อ ธปท. หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด สําหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ขึ้นทะเบียน ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อนี้ 4.3 การยกเว้นหลักเกณฑ์เฉพาะในการกํากับดูแล สําหรับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากมีกฎหมายในการกํากับดูแลเป็นการเฉพาะแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) การมีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่าทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามที่กฎหมายกําหนด ตามข้อ 4.2.5 (2) การประกอบธุรกิจอื่นเพิ่มเติม นอกเหนือจากการประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อ 4.2.11 (3) การเปลี่ยนแปลงอํานาจควบคุมกิจการ ตามข้อ 4.2.12 4.4 การผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้ โดยมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการให้บริการอย่างต่อเนื่องหรือต่อความน่าเชื่อถือของบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์สามารถยืนขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็นต่อ ธปท. เป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดย ธปท.อาจจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรือกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล ผู้ซึ่งประกอบกิจการบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับหากมีส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามที่กฎหมายกําหนดตามข้อ 4.2.5 ให้ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,879
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.17/14/59 | 50,000 | 28 เมษายน 2559 | 3/5/59 – 17/5/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,880
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนมิถุนายน ปี 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2552 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนมิถุนายน ปี 2552 ----------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนมิถุนายน ปี 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนมิถุนายน ปี 2552 (รุ่นที่ 3/ 2ปี/2552) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 19 มิถุนายน 2552 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 32 ปี/2552 ที่จะประมูลในวันที่ 23 มิถุนายน 2552 เท่ากับร้อยละ 2.25 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,881
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.18/14/59 | 60,000 | 4 พฤษภาคม 2559 | 10/5/59 – 24/5/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,882
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 58/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 58/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.62/14/52 | 55,000 | 24 มิถุนายน 2552 | 26/6/52 – 10/7/52 | 14 | | พ.63/14/52 | 65,000 | 25 มิถุนายน 2552 | 29/6/52 – 13/7/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,883
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบันการให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้ทั้งจากผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน รวมทั้งสามารถให้บริการโอนเงินได้ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ดังนั้น ในการกํากับดูแลการให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบธุรกิจโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง มีระบบให้บริการที่ปลอดภัยน่าเชื่อถือแล้ว ยังต้องมีการดูแลให้มีการคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสมโดยเฉพาะการเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าและการจัดการเงินรับล่วงหน้า ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ถือปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากการปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ "ผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่าผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "การให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า การให้บริการที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับเงินมาจากผู้ใช้บริการเพื่อโอนเงินต่อไปยังผู้รับโอนเงิน "เงินรับล่วงหน้า" หมายความว่า ยอดคงค้างของจํานวนเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้รับมาจากผู้ใช้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์รายอื่น ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทําธุรกรรมการโอนเงินให้กับผู้ใช้บริการไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในสิ้นวันถัดจากวันที่ทําธุรกรรม (T+1) 4.2 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องออกเอกสารหลักฐานในการโอนเงิน เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิสูจน์ธุรกรรมการโอนเงิน และจัดส่งให้ผู้ใช้บริการตามวิธีที่ตกลงกับผู้ใช้บริการ โดยควรมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ (1.1) ชื่อผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (1.2) จํานวนเงินที่โอน รายละเอียดที่อ้างอิงถึงผู้ใช้บริการ เช่น ชื่อผู้โอนและผู้รับโอน (1.3) วัน เดือน ปี และเวลาที่ออกหลักฐานการโอนเงิน (1.4) ข้อความแสดงผลหรือรหัสการทํารายการโอนเงิน เช่น สําเร็จหรือไม่สําเร็จ (2) การโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ได้รับเงินหรือได้รับเครดิตบัญชีครบถ้วนตามจํานวนเงินที่โอนเข้าบัญชีของผู้รับโอน (3) จัดทําบัญชีเงินที่ได้รับจากการให้บริการโอนเงินแยกไว้ต่างหากจากบัญชีอื่นของผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และจัดทําข้อมูลให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ โดยต้องจัดทําบัญชีเงินรับล่วงหน้าที่ได้รับจากผู้ใช้บริการแยกแต่ละราย รวมทั้งแสดงบัญชีเงินรับล่วงหน้าไว้ในงบการเงินต่างหากให้ชัดเจน หรือแสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินให้ชัดเจนก็ได้ (4) จัดทํานโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเงินรับล่วงหน้า ในเรื่องการเก็บรักษาการจัดการ และการคํานวณยอดคงค้างของเงินรับล่วงหน้า โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท รวมทั้งจัดให้มีการทบทวนหรือปรับปรุงนโยบายและแนวปฏิบัติดังกล่าวให้เหมาะสมอยู่เสมอ (5) จัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการนําเงินรับล่วงหน้าไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การฉ้อโกง การทุจริต การกระทําความผิดต่าง ๆ หรือการละเลยในการเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้า (6) การเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าต้องแยกไว้ต่างหากจากเงินทุนหมุนเวียนอื่นของผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และให้ฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่น้อยกว่ายอดคงค้างของเงินรับล่วงหน้า โดยเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารแยกต่างหากจากบัญชีเงินฝากอื่น ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งต้องปราศจากภาระผูกพัน และใช้สําหรับการชําระบัญชีอันเนื่องมาจากการให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น นอกจากนี้ การเปิดบัญชีเงินฝากสําหรับใช้ในการเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าข้างต้นนั้น ผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องระบุชื่อบัญชีเงินฝากธนาคารให้ชัดเจนว่าเป็นบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้เพื่อเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าของผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองเงินรับล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน กรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อาจเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าไว้ที่สถาบันตนเองก็ได้ โดยแยกออกจากทรัพย์สินของตน และไม่อาจนําไปใช้เพื่อการอื่นใดได้ 4.3 การผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้ โดยมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการให้บริการอย่างต่อเนื่องหรือต่อความน่าเชื่อถือของบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถยื่นขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็น ต่อ ธปท. เป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดย ธปท. อาจจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรือกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล ผู้ซึ่งประกอบกิจการบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากไม่สามารถจัดทํานโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเงินรับล่วงหน้า ในเรื่องการเก็บรักษา การจัดการ และการคํานวณยอดคงค้างของเงินรับล่วงหน้า โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท ตามข้อ 4.2 (4) ให้ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนแล้วแต่กรณี อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,884
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 59/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 59/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ดังนี้ | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 27/28/52 | 12,000 | 3 ก.ค. 52 | 9/7/52-6/8/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 14/91/52 | 7,000 | 3 ก.ค. 52 | 9/7/52-8/10/52 | 91 วัน | 91 วัน | | 1/182/52 | 4,000 | 3 ก.ค. 52 | 9/7/52-7/1/53 | 182 วัน | 182 วัน | | 6/364/52(CB10617A) | 30,000 | 3 ก.ค. 52 | 9/7/52-17/6/53 | 364 วัน | 343 วัน | | 28/28/52 | 12,000 | 14 ก.ค. 52 | 16/7/52-13/8/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 15/91/52 | 7,000 | 14 ก.ค. 52 | 16/7/52 -15/10/52 | 91 วัน | 91 วัน | | 2/182/52 | 4,000 | 14 ก.ค. 52 | 16/7/52 -14/1/53 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/3ปี/2552 | 20,000 | 14 ก.ค. 52 | 16/7/52 - 16/7/55 | 3 ปี | 3 ปี | | 29/28/52 | 12,000 | 21 ก.ค. 52 | 23/7/52 - 20/8/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 7/63/52 | 16,000 | 21 ก.ค. 52 | 23/7/52-24/9/52 | 63 วัน | 63 วัน | | 16/91/52 | 7,000 | 21 ก.ค. 52 | 23/7/52 -22/10/52 | 91 วัน | 91 วัน | | 3/182/52 | 4,000 | 21 ก.ค. 52 | 23/7/52-21/1/53 | 182 วัน | 182 วัน | | 30/28/52 | 12,000 | 28 ก.ค. 52 | 30/7/52-27/8/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 17/91/52 | 7,000 | 28 ก.ค. 52 | 30/7/52 -29/10/52 | 91 วัน | 91 วัน | | 4/182/52 | 4,000 | 28 ก.ค. 52 | 30/7/52 -28/1/53 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/3ปี/2552 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 10 ก.ค.2552 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 16 ม.ค. และ 16 ก.ค. ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 16 ม.ค. 2553 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 16 ม.ค. 2555 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการ ไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,885
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 28/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 28/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.19/14/59 | 60,000 | 13 พฤษภาคม 2559 | 17/5/59 – 31/5/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,886
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.64/14/52 | 50,000 | 26 มิถุนายน 2552 | 30/6/52 – 14/7/52 | 14 | | พ.65/15/52 | 55,000 | 29 มิถุนายน 2552 | 2/7/52 – 17/7/52 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,887
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 9/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการรับชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 9/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ การให้บริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ ให้สามารถเข้าถึงบริการได้สะดวกยิ่งขึ้น ประกอบกับการให้บริการดังกล่าวได้รับความนิยมกว้างขวางแพร่หลายมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การกํากับดูแลการให้บริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ อันได้แก่ 1) การให้บริการแก่ผู้รับบัตร 2) การให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร และ 3) การให้บริการรับชําระเงินแทน มีความมั่นคงปลอดภัย สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และคุ้มครองผู้ใช้บริการได้อย่างเหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ถือปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากการปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ "ผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่าผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน 4.2 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการหรือเจ้าหนี้ที่ตนมีสัญญารับชําระเงินแทนและหน้าที่และความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผู้ใช้บริการ รวมถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แต่งตั้งด้วย (หากมี) (2) กําหนดวิธีปฏิบัติในการส่งข้อมูลรายการรับชําระเงินให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการหรือเจ้าหนี้ (3) ต้องบันทึกบัญชีเงินที่ได้รับจากการรับชําระเงินไว้ต่างหากจากบัญชีเงินทุนหมุนเวียนอื่นของผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และต้องจัดทําข้อมูลให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (4) เมื่อได้รับชําระเงินแล้ว ต้องออกหลักฐานการรับชําระเงินเพื่อแสดงว่าได้รับชําระเงินจากผู้ใช้บริการ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบรับเงิน ใบรับฝากชําระ หรือหลักฐานอื่นใดที่มีข้อความทํานองเดียวกันและจัดส่งให้ผู้ใช้บริการตามวิธีที่ตกลงกับผู้ใช้บริการ โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (4.1) ชื่อผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และชื่อผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการหรือเจ้าหนี้ (4.2) จํานวนเงินและรายละเอียดของสินค้าหรือบริการที่ชําระ โดยอาจระบุเป็นชื่อย่อหรือรหัสก็ได้ รวมถึงรายละเอียดที่อ้างอิงถึงผู้ใช้บริการ (4.3) วัน เดือน ปี และเวลาที่ออกหลักฐานการรับชําระเงิน (5) เมื่อผู้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ออกหลักฐานการรับชําระเงินแล้ว ให้ถือว่าการชําระเงินของผู้ใช้บริการมีผลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เว้นแต่การรับชําระเงินด้วยเช็คให้ถือว่าการชําระเงินเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อเช็คนั้นสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วน อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,888
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2559 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 ----------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2559 เท่ากับร้อยละ 1.49658 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2559 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,889
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 63/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 63/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.67/14/52 | 50,000 | 8 กรกฎาคม 2552 | 10/7/52 – 24/7/52 | 14 | | พ.68/14/52 | 55,000 | 9 กรกฎาคม 2552 | 13/7/52 – 27/7/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,890
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 64/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 64/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.69/14/52 | 50,000 | 10 กรกฎาคม 2552 | 14/7/52 – 28/7/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,891
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 14/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลด้านการชำระเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 14/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลด้านการชําระเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลด้านการชําระเงินให้สอดคล้องกับรูปแบบการประกอบธุรกิจและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อนํามาใช้ในการกําหนดนโยบายด้านระบบการชําระเงิน และสนับสนุนการกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจด้านการชําระเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในมิติต่าง ๆ จึงได้ออกหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบการรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยให้มีความละเอียดมากขึ้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ.2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลด้านการชําระเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "ผู้ประกอบธุรกิจ " หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน "สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน" หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 4.2 การรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย 4.2.1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําและจัดส่งรายงานข้อมูลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งประกอบด้วยไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบ Excel file และ Text file ตามชื่อแบบรายงานและรายละเอียดที่กําหนดท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 1) ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งรายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะถือว่าได้รับรายงานข้อมูลในวันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลที่ส่งมานั้นมีความถูกต้อง โดยผ่านหลักเกณฑ์การตรวจสอบเบื้องต้น (Basic Validation) ของระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว 4.2.2 ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่เป็นสถาบันการเงินสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน จัดทํารายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูล (XML Data Set) ตามชื่อแบบรายงานและรายละเอียดที่กําหนด (เอกสารแนบ 2) ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินจัดส่งรายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้จัดส่งรายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยผ่านสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ของสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะถือว่าได้รับรายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่งในวันที่สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ได้ส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลที่ส่งมานั้นมีความถูกต้อง โดยผ่านหลักเกณฑ์การตรวจสอบเบื้องต้น (Basic Validation) ของระบบบริหารข้อมูลของรนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว 4.3 การขอขยายระยะเวลาและการขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษทําให้ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขออนุญาตขยายระยะเวลาหรือยื่นขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่กําหนด โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรือกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,892
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.70/14/52 | 35,000 | 16 กรกฎาคม 2552 | 20/7/52 – 3/8/52 | 14 | | พ.71/14/52 | 55,000 | 17 กรกฎาคม 2552 | 21/7/52 – 4/8/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,893
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 68/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 68/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.72/10/52 | 35,000 | 22 กรกฎาคม 2552 | 24/7/52 – 3/8/52 | 10 | | พ.73/14/52 | 60,000 | 23 กรกฎาคม 2552 | 27/7/52 – 10/8/52 | 14 | | พ.74/14/52 | 55,000 | 24 กรกฎาคม 2552 | 28/7/52 – 11/8/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,894
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 10/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 10/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อให้การแต่งตั้งตัวแทนและตัวแทนช่วงของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมีความน่าเชื่อถือและเป็นไปในแนวทางที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชนจากการให้บริการของตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการติดต่อและการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ และประชาชนอันเป็นประโยชน์โดยรวมของผู้ใช้บริการ ประชาชน และระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 (2) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงินที่มิใช่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน สําหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ให้ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ไปจนกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีผลใช้บังคับ อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ "ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ" หมายความว่าผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน "ตัวแทน" หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ แต่งตั้งให้ดําเนินการแทนในการให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับแก่ผู้ใช้บริการ "ตัวแทนช่วง" หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งตัวแทนแต่งตั้งให้ดําเนินการ มอบหมายหรือว่าจ้างให้รับช่วงงานต่อจากตัวแทน รวมถึงผู้ที่เข้าทําสัญญาช่วงเพื่อดําเนินการแทนดังกล่าวในทุกทอด "ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย 4.2 หลักเกณฑ์การกํากับดูแล การแต่งตั้งตัวแทนและตัวแทนช่วงเป็นการเพิ่มช่องทางการติดต่อและให้บริการการชําระเงินของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตัวแทน และตัวแทนช่วงต้องไม่ดําเนินการที่เป็นการหลีกเลี่ยงการขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียน แล้วแต่กรณี หรือการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน ทั้งนี้ ในการกํากับดูแลตัวแทนและตัวแทนช่วง ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 4.2.1 นโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งตัวแทนและตัวแทนช่วงที่มีความน่าเชื่อถือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติให้ชัดเจนเกี่ยวกับการแต่งตั้งตัวแทนและตัวแทนช่วงโดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ (1) แนวทางการแต่งตั้งตัวแทนและตัวแทนช่วงที่มีความน่าเชื่อถือตัวแทนหรือตัวแทนช่วงที่จะได้รับการแต่งตั้งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ทั้งนี้ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ (1.1) บุคคลธรรมดา (ก) มีอายุไม่ต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์ (ข) มีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (ค) ไม่อยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายและยังไม่พ้นกําหนด 2 ปีนับแต่วันที่มีคําสั่งยกเลิกการล้มละลายหรือปลดจากการล้มละลาย (ง) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (จ) ไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอกหรือรับของโจร ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม หรือไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉ) ไม่เป็นกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคลที่เคยถูกสั่งระงับการดําเนินการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน และยังไม่พ้นกําหนด 5 ปีนับถึงวันที่แต่งตั้งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนช่วง (1.2) นิติบุคคล (ก) เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ข) กรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ (1.1) (ค) ไม่เคยถูกสั่งระงับการดําเนินการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือไม่เคยถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน และยังไม่พ้นกําหนด 5 ปีนับถึงวันที่แต่งตั้งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนช่วง ทั้งนี้ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตามข้อ (1.1) ข้อ (1.2) และกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการของนิติบุคคล จะต้องไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือไม่เคยเป็นบุคคลที่ถูกกําหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทําอันเป็นการก่อการร้าย หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง กรณีผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องการแต่งตั้งตัวแทนหรือมีตัวแทนช่วงที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากที่กําหนดข้างต้น ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องขออนุญาตจาก ธปท. เป็นรายกรณี โดย ธปท. อาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ พร้อมกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับปฏิบัติตามความเหมาะสมด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ธปท. จะพิจารณาภายใน 45 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (2) แนวทางการบริหารความเสี่ยงจากการแต่งตั้งตัวแทนและตัวแทนช่วงระบบการควบคุมภายใน และการประสานงานระหว่างผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับกับตัวแทนและตัวแทนช่วงเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ในด้านการเก็บรักษาเงินที่จะต้องส่งมอบ การตรวจสอบและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบการให้บริการที่น่าเชื่อถืออย่างสม่ําเสมอ และการกําหนดจํานวนเงินสูงสุดในการให้บริการของตัวแทนและตัวแทนช่วงการออกหนังสือค้ําประกันจากธนาคาร การให้นําเงินมาวางเป็นประกัน รวมถึงแนวทางป้องกันไม่ให้ตัวแทนและตัวแทนช่วงนําระบบไปเชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงระบบการให้บริการการชําระเงินของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือถูกนําไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความเชื่อมั่นในการใช้บริการการชําระเงินของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายให้การกํากับอาจมีแนวทางป้องกัน เช่น จัดให้มีระบบการติดตามดูแลปริมาณการทําธุรกรรมที่มีจํานวนมากผิดปกติ หรือกําหนดจํานวนการทําธุรกรรมสูงสุดต่อวันต่อคนให้เหมาะสม (3) ผลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ของธุรกรรม ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกับการทําธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับเอง (4) หลักฐานการทําธุรกรรมที่ตัวแทนและตัวแทนช่วงต้องออกให้แก่ผู้ใช้บริการ (5) ต้องมีสัญญาการแต่งตั้งตัวแทนที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีเงื่อนไขสําคัญที่ระบุขอบเขตการให้บริการและสิทธิหน้าที่ตัวแทนให้ชัดเจน รวมถึงการกําหนดอายุสัญญาข้อกําหนดและเงื่อนไขการยกเลิกสัญญา และรายละเอียดเกี่ยวกับตัวแทน โดยในกรณีที่มีข้อตกลงให้ตัวแทนสามารถแต่งตั้งตัวแทนช่วง มอบหมายหรือว่าจ้างผู้รับช่วงงานต่อได้ ต้องมีข้อกําหนดให้ตัวแทนหรือตัวแทนช่วงในทุกทอดที่จะแต่งตั้ง มอบหมายหรือว่าจ้างต่อ จะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับก่อน พร้อมจัดส่งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวแทนช่วงดังกล่าวก่อนการแต่งตั้ง มอบหมายหรือว่าจ้าง (6) ติดตามดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนและตัวแทนช่วงอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้ตัวแทนและตัวแทนช่วงปฏิบัติตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย เช่น ดูแลมิให้นําระบบไปเชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงระบบการให้บริการการชําระเงินของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือนําไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม อันอาจเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน 4.2.2 ความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการ (1) ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายได้การกํากับต้องควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของตัวแทนและตัวแทนช่วง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน และประกาศ ธปท. ที่เกี่ยวข้อง (2) ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับยังคงมีความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการในการดําเนินการของตัวแทนและตัวแทนช่วง เสมือนหนึ่งผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับเป็นผู้ดําเนินการเอง 4.2.3 การเปิดเผยข้อมูล (1) ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้ผู้ใช้บริการทราบ (1.1) รายละเอียดเกี่ยวกับการแต่งตั้งตัวแทนและตัวแทนช่วง เช่น รายชื่อและสถานที่ให้บริการ ธุรกรรมที่สามารถทําผ่านตัวแทนและตัวแทนช่วงแต่ละแห่ง เงื่อนไขการให้บริการ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต่อผู้ใช้บริการและการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้ระบุวันที่ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันด้วย (1.2) ข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอันเนื่องมาจากการแต่งตั้งตัวแทนหรือตัวแทนช่วง เช่น ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ หรือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการให้บริการใด ๆ ที่อาจทําให้ผู้ใช้บริการเสียประโยชน์ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า (2) ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องควบคุมดูแลให้ตัวแทนและตัวแทนช่วงเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ให้ผู้ใช้บริการทราบ โดยผ่านช่องทางการให้บริการต่าง ๆ ของตัวแทนและตัวแทนช่วง เช่น ผ่านช่องทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (2.1) ธุรกรรมที่สามารถทําผ่านตัวแทนและตัวแทนช่วง เงื่อนไขการให้บริการ ความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการ และการคุ้มครองผู้บริโภค (2.2) ข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ เช่น ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ หรือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการให้บริการใด ๆ ที่อาจทําให้ผู้ใช้บริการเสียประโยชน์โดยตัวแทนและตัวแทนช่วงต้องเปิดเผยให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า 4.2.4 การคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องอื่น ๆ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องปฏิบัติตามและควบคุมดูแลให้ตัวแทนและตัวแทนช่วงปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องอื่น ๆ อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ผลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ของธุรกรรม เมื่อตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ออกหลักฐานการชําระเงิน หลักฐานการโอนเงิน หรือหลักฐานอื่นใดที่มีข้อความทํานองเดียวกัน และจัดส่งให้ผู้ใช้บริการตามวิธีการที่ตกลงกับผู้ใช้บริการแล้ว ให้ถือว่าการชําระเงินหรือการโอนเงินของผู้ใช้บริการมีผลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เว้นแต่การรับชําระเงินหรือโอนเงินด้วยเช็คให้ถือว่าการชําระเงินหรือโอนเงินเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อเช็คนั้นสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วน (2) การรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงการรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ (2.1) ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องกําหนดให้ตัวแทนและตัวแทนช่วงให้บริการแก่ผู้ใช้บริการในสถานที่ประกอบการ สาขา หรือช่องทางการให้บริการอื่นของตัวแทนหรือตัวแทนช่วง หรือสถานที่ของนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นที่มีสัญญาให้ตัวแทนหรือตัวแทนช่วงใช้สถานที่เท่านั้น มีการกําหนดวันและเวลาในการให้บริการ และมีชื่อป้ายแสดงหรือสัญลักษณ์ของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ชัดเจนในสถานที่ให้บริการ นอกจากนั้นตัวแทนและตัวแทนช่วงควรกําหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย ณ สถานที่หรือช่องทางการให้บริการเหล่านั้นเพิ่มเติม (2.2) ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องกําหนดให้ตัวแทนและตัวแทนช่วงมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยและความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย (3) ช่องทางการรับข้อร้องเรียน ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องจัดให้มีช่องทางการรับข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการที่สะดวกและชัดเจน โดยอย่างน้อยต้องมีหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่สํานักงานหรือที่อยู่สําหรับติดต่อทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถติดต่อได้ (4) การรายงานต่อ ธปท. ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องจัดทําสรุปข้อมูลรายชื่อตัวแทนและตัวแทนช่วงให้เป็นปัจจุบัน และจัดส่งให้ ธปท. ทุกงวด 6 เดือน ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นงวด ตามวิธีการ เงื่อนไข และแบบรายงานที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ธปท. อาจขอข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมได้เป็นรายกรณีตามความจําเป็นและเห็นสมควร 4.2.5 การผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้ โดยมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษซึ่งอาจส่งผลกระทบในการให้บริการอย่างต่อเนื่องหรือต่อความน่าเชื่อถือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับสามารถยื่นขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็นต่อ ธปท. เป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดย ธปท. อาจจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรือกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล ผู้ซึ่งประกอบกิจการบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ซึ่งประกอบธุรกิจและได้มีการแต่งตั้งตัวแทนและตัวแทนช่วงอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หากไม่สามารถจัดทําสัญญาการแต่งตั้งตัวแทน ซึ่งมีเงื่อนไขสําคัญตามข้อ 4.2.1 (5) ให้ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียน แล้วแต่กรณี อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,895
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.20/14/59 | 65,000 | 19 พฤษภาคม 2559 | 24/5/59 – 7/6/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,896
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 69/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 69/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.75/14/52 | 60,000 | 30 กรกฎาคม 2552 | 3/8/52 – 17/8/52 | 14 | | พ.76/14/52 | 55,000 | 31 กรกฎาคม 2552 | 4/8/52 – 18/8/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,897
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 70/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 70/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ---------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 31/28/52 | - | 12,000 | 4 ส.ค. 52 | 6 ส.ค. 52 | 3 ก.ย. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 18/91/52 | - | 10,000 | 4 ส.ค. 52 | 6 ส.ค. 52 | 5 พ.ย. 52 | 91 วัน | 91 วัน | | 5/182/52 | - | 7,000 | 4 ส.ค. 52 | 6 ส.ค. 52 | 4 ก.พ. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 7/364/52 | - | 50,000 | 4 ส.ค. 52 | 6 ส.ค. 52 | 5 ส.ค. 53 | 364 วัน | 364 วัน | | 32/28/52 | - | 12,000 | 10 ส.ค. 52 | 13 ส.ค. 52 | 10 ก.ย. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 19/91/52 | - | 10,000 | 10 ส.ค. 52 | 13 ส.ค. 52 | 12 พ.ย. 52 | 91 วัน | 91 วัน | | 6/182/52 | - | 7,000 | 10 ส.ค. 52 | 13 ส.ค. 52 | 11 ก.พ. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2552 | 6M BIBOR-0.20(=1.69375% สําหรับงวดเริ่มต้น 17 มี.ค. 52 | 8,000 | 14 ส.ค. 52 | 18 ส.ค. 52 | 17 มี.ค. 55 | 3 ปี | 2.58 ปี | | 33/28/52 | - | 12,000 | 18 ส.ค. 52 | 20 ส.ค. 52 | 17 ก.ย. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 20/91/52 | - | 10,000 | 18 ส.ค. 52 | 20 ส.ค. 52 | 19 พ.ย. 52 | 91 วัน | 91 วัน | | 7/182/52 | - | 10,000 | 18 ส.ค. 52 | 20 ส.ค. 52 | 18 ก.พ. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 4/2ปี/2552 | - | 30,000 | 18 ส.ค. 52 | 20 ส.ค. 52 | 20 ส.ค. 54 | 2 ปี | 2 ปี | | 34/28/52 | - | 12,000 | 25 ส.ค. 52 | 27 ส.ค. 52 | 24 ก.ย. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 21/91/52 | - | 10,000 | 25 ส.ค. 52 | 27 ส.ค. 52 | 26 พ.ย. 52 | 91 วัน | 91 วัน | | 8/182/52 | - | 10,000 | 25 ส.ค. 52 | 27 ส.ค. 52 | 25 ก.พ. 53 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/2 ปี/2552 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 14 ส.ค.2552 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 20 ก.พ. และ 20 ส.ค. ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 20 ก.พ. 2553 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 20 ส.ค. 2554 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการ ไถ่ถอนก่อนกําหนด | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 ธปท. จะประกาศกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2552 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,898
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.21/14/59 | 45,000 | 27 พฤษภาคม 2559 | 31/5/59 – 14/6/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,899
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 11/2561 เรื่อง นโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 11/2561 เรื่อง นโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อให้มีมาตรฐานในการกําหนดนโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ สําหรับการให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ ระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ และบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน และเพื่อใช้เป็นแนวทางกําหนดวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ ระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ และบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้มีความน่าเชื่อถือ มีความมั่นคงปลอดภัย และสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดกรอบนโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย 1) การควบคุมการเข้าถึง และการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้2) การรักษาความลับของข้อมูล และความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบสารสนเทศ 3) การรักษาสภาพความพร้อมใช้งานของการให้บริการ 4) การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ ระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ และบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ เพื่อให้ครอบคลุมและป้องกันความเสี่ยงทางระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ และผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินและบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องพิจารณาปรับใช้และกําหนดรายละเอียดของมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศของผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจให้เหมาะสมกับประเภทและความชับซ้อนของบริการตนเองด้วย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดนโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศให้ผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ และผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ และผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ "ผู้ให้บริการ" หมายความว่า ผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน "ผู้ประกอบธุรกิจ " หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ และผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน "สมาชิก" หมายความว่า ผู้ใช้บริการที่ยินยอมผูกพันตามหลักเกณฑ์ในการใช้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ "ผู้ใช้บริการ" หมายความว่า ผู้ใช้บริการจากผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน 4.2 นโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ และผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ต้องถือปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ดังนี้ 4.2.1 นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ (1) ผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจจะต้องจัดทํานโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศเป็นลายลักษณ์อักษร โดยได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ ผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเผยแพร่นโยบายดังกล่าว และอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อถือปฏิบัติ รวมทั้งจัดให้มีการทบทวนหรือปรับปรุงนโยบายให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างสม่ําเสมอ (2) นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ การให้บริการระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ และการให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ แล้วแต่กรณี อย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (2.1) การควบคุมการเข้าถึง และการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้ (2.2) การรักษาความลับของข้อมูล และความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบสารสนเทศ (2.3) การรักษาสภาพความพร้อมใช้งานของการให้บริการ (2.4) การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ 4.2.2 มาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ ระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ และบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ แล้วแต่กรณี ให้สอดคล้องกับนโยบายที่ได้กําหนดขึ้น และมาตรการดังกล่าวจะต้องเหมาะสมกับลักษณะของการให้บริการ โดยครอบคลุมถึงการควบคุมการเข้าถึงและการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้ การรักษาความลับของข้อมูล การรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบสารสนเทศ การรักษาสภาพความพร้อมใช้งานของการให้บริการ มีการแก้ไขปัญหาและการรายงาน รวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตลอดจนจัดให้มีกระบวนการดูแลโดยคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการที่กําหนด ทั้งนี้ การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศของผู้ให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้วย นอกจากนี้ ผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการทบทวนหรือปรับปรุงมาตรการตามระยะเวลาที่กําหนดหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบกับนโยบายและมาตรการที่ได้กําหนดไว้ ตลอดจนจัดอบรมและให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ธปท. ได้จัดทําแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศเพื่อเป็นแนวทางในการกําหนดมาตรการการรักษาความมั่นคงบ่ลอดภัยทางระบบสารสนเทศให้น่าเชื่อถือและให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ โดยการกําหนดมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายอาจแตกต่างกันได้ เพื่อให้ครอบคลุมและป้องกันความเสี่ยงทางระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานสากล อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล ผู้ซึ่งให้บริการระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ หรือผู้ซึ่งประกอบกิจการระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ หรือผู้ซึ่งประกอบกิจการบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากไม่สามารถเสนอนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ ตามข้อ 4.2.1 (1) ให้ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียน แล้วแต่กรณี อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,900
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 71/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 71/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.77/14/52 | 50,000 | 6 สิงหาคม 2552 | 10/8/52 – 24/8/52 | 14 | | พ.78/14/52 | 50,000 | 7 สิงหาคม 2552 | 11/8/52 – 25/8/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,901
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 72/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 72/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.79/14/52 | 60,000 | 13 สิงหาคม 2552 | 17/8/52 – 31/8/52 | 14 | | พ.80/14/52 | 55,000 | 14 สิงหาคม 2552 | 18/8/52 – 1/9/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,902
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 12/2561 เรื่อง การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 12/2561 เรื่อง การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ บัตรเดบิตเป็นบริการการชําระเงินหนึ่งที่มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยโดยมีผู้ใช้บริการเป็นจํานวนมากและมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในชีวิตประจําวันของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งการใช้เพื่อชําระค่าสินค้าและบริการแทนการใช้เงินสด การโอนและถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการให้บริการบัตรเดบิต และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้งานร่วมกันของผู้ให้บริการ รวมถึงส่งเสริมการแข่งขันในการให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีการออกและใช้บัตรเดบิตอย่างแพร่หลายแทนการใช้เงินสด ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อดูแลการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศในประเด็นสําคัญ ได้แก่ การใช้มาตรฐานชิปการ์ดกลาง การใช้บริการระบบเครือข่ายบัตรเดบิตในประเทศ (Local Card Brand) และการกําหนดเงื่อนไขการให้บริการบัตรเดบิตที่ออกและใช้ภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและลดภาระต้นทุนในการให้บริการและการใช้บริการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจและผู้ใช้บริการ ตลอดจนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ "ผู้ประกอบธุรกิจ" หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับที่มีลักษณะหรือประเภทดังต่อไปนี้ (1) ผู้ออกบัตร (Issuer) (2) ผู้ให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquirer) (3) ผู้ให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator) (4) ผู้ให้บริการระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (Inter-institution Fund Transfer System Operator) (5) ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายบัตร (Payment Card Network Operator) (6) ผู้ให้บริการระบบการชําระดุล (Settlement System Operator) "ผู้ออกบัตร" (Issuer) หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการบัตรเดบิตและตกลงออกบัตรเดบิตให้แก่บุคคลที่ยินยอมผูกพันตนตามสัญญาบัตรเดบิต "บัตรเดบิต" หมายความว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้ใช้บริการเพื่อใช้ชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใด แทนการชําระด้วยเงินสด หรือเพื่อใช้เบิก ถอนโอน หรือทําธุรกรรมอื่นใดที่เกี่ยวกับเงิน ตามมูลค่าของเงินที่ผู้ใช้บริการได้ฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจ "ผู้ให้บริการแก่ผู้รับบัตร" (Acquirer) หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการรับชําระเงินด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ โดยการรับส่งข้อมูลการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้ประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตรเพื่อส่งข้อมูลต่อไปยังผู้ออกบัตร และจะจ่ายเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ หรือผู้ประกอบธุรกิจสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร ซึ่งมีสัญญาระหว่างกันว่าจะรับชําระราคาสินค้าหรือบริการด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน "ผู้ให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร" (Payment Facilitator) หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการรับชําระเงินด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ โดยการรับส่งข้อมูลการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้ประกอบธุรกิจบริการแก่ผู้รับบัตร หรือผู้ประกอบธุรกิจสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตรรายอื่น แล้วแต่กรณี และจะจ่ายเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ หรือผู้ประกอบธุรกิจสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตรรายอื่นซึ่งมีสัญญาระหว่างกันว่าจะรับชําระราคาสินค้าหรือบริการด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน "ผู้ให้บริการระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ" (Inter-institution Fund Transfer System Operator) หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการระบบการชําระเงินที่เป็นศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลรายการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ หรือทําหน้าที่ให้บริการการหักบัญชี เพื่อให้ผู้ใช้บริการของระบบสามารถให้บริการฝาก ถอน โอน และการชําระเงินแก่ลูกค้า "ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายบัตร" (Payment Card Network Operator) หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการระบบเครือข่ายบัตรเครดิต บัตรเดบิต เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด โดยเป็นระบบที่เป็นศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลรายการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ ให้บริการการหักบัญชี และให้บริการด้านการตลาดภายใต้ชื่อทางธุรกิจของตน เพื่อให้ผู้ใช้บริการของระบบซึ่งเป็นผู้ออกบัตรและผู้ให้บริการแก่ผู้รับบัตรในประเทศไทย สามารถให้บริการการชําระเงินจากบัตรดังกล่าว "ผู้ให้บริการระบบการชําระดุล" (Settlement System Operator) หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการการชําระดุลแก่ผู้ใช้บริการของระบบ โดยทําการหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการของระบบซึ่งมีฐานะเป็นลูกหนี้ หรือรับชําระหนี้โดยวิธีอื่นใดตามที่ตกลงกันแล้วปรับบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการของระบบซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ หรือชําระเงินด้วยวิธีอื่นใด เพื่อให้หนี้ดังกล่าวระงับไป "มาตรฐานชิปการ์ดกลาง" หมายความว่า มาตรฐานชิปการ์ดที่ ธปท. ประกาศกําหนด โดยได้หารือกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสภาสถาบันการเงินของรัฐเพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางในการออกบัตรเดบิตของผู้ออกบัตร "การหักบัญชี" (Clearing) หมายความว่า การรับส่ง ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลตามคําสั่งการชําระเงินสําหรับนําไปคํานวณหายอดเงินแสดงความเป็นเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้เพื่อใช้ข้อมูลดังกล่าวไปทําการชําระดุลระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ "การชําระดุล" (Settlement) หมายความว่า การชําระเงินที่มีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าเพื่อปรับฐานะความเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ด้วยการปรับบัญชีเงินฝากโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการหักบัญชี เพื่อให้หนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนระงับไป 4.2 ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติในการให้บริการ ดังต่อไปนี้ 4.2.1 ผู้ออกบัตร (Issuer) (1) ต้องใช้มาตรฐานชิปการ์ตกลาง (2) ต้องออกบัตรให้ใช้บริการระบบเครือข่ายบัตรเดบิตในประเทศ เว้นแต่ผู้ออกบัตร (Issuer) ใช้ระบบการรับส่งข้อมูลภายในของตนเอง (3) ในกรณีที่ออกบัตรเดบิตที่ใช้บริการระบบเครือข่ายบัตรเดบิตตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปในบัตรเดบิตเตียวกัน (Multi-Brand) ต้องปฏิบัติในเรื่องตราสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนบัตรเดบิตให้เป็นไปตามข้อตกลงและคํานึงถึงหลักความเท่าเทียมกัน (4) ต้องให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของบัตรเดบิตแต่ละประเภทแก่ผู้ใช้บริการอย่างเพียงพอ ชัดเจน และถูกต้อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์การใช้จ่ายของตนเอง ในกรณีที่ผู้ออกบัตรจะออกบัตรเดบิตที่ใช้บริการระบบเครือข่ายบัตรเดบิตตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปในบัตรเดบิตเดียวกัน (Multi-Brand) การออกบัตรดังกล่าวจะต้องใช้ระบบเครือข่ายบัตรเดบิตในประเทศอย่างน้อย 1 ราย 4.2.2 ผู้ให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquirer) และผู้ให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator) (1) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์และระบบที่สามารถรองรับบัตรเดบิตที่ใช้มาตรฐานชิปการ์ดกลาง (2) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์และระบบที่สามารถรองรับบัตรเดบิตที่ใช้บริการระบบเครือข่ายบัตรเดบิตในประเทศได้ทุกเครือข่าย เว้นแต่ (2.1) ผู้ให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquirer) ที่ให้บริการ และได้แจ้งต่อ ธปท. ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับว่าเป็นการให้บริการรับบัตรเดบิตที่ใช้ระบบเครือข่ายบัตรเดบิดในประเทศรายใดรายหนึ่งเพียงรายเดียวเท่านั้น ให้สามารถดําเนินการตามขอบเขตที่ได้แจ้งไว้ต่อไปได้ หรือ (2.2) ผู้ให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator) (3) ต้องไม่จํากัดสิทธิผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการในการเลือกใช้ระบบเครือข่ายบัตรเดบิต (4) ต้องให้ข้อมูลค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการในการใช้บริการอย่างเพียงพอ ชัดเจน และถูกต้อง 4.2.3 ผู้ให้บริการระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (Inter- institution Fund Transfer System Operator) ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายบัตร (Payment Card Network Operator) และผู้ให้บริการระบบการชําระดุล (Settlement System Operator) ต้องไม่ดําเนินการใด ๆ อันเป็นการจํากัดสิทธิในการเลือกระบบเครือข่ายบัตรเดบิตอื่นของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ และผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ 4.3 ในกรณีที่ออกบัตรเดบิตที่ใช้บริการระบบเครือข่ายบัตรเดบิตตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปในบัตรเดบิตเดียวกัน (Muti-Brand) เมื่อผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการเลือกใช้บริการระบบเครือข่ายบัตรเดบิตรายใดรายหนึ่งในการทําธุรกรรมแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจะคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติมได้เฉพาะระบบเครือข่ายบัตรเดบิตที่ใช้เท่านั้น 4.4 ในการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการเหล่านี้ภายในประเทศเท่านั้น 4.4.1 การรับส่งข้อมูลการใช้บัตรเดบิตระหว่างผู้ออกบัตร (Issuer) กับผู้ให้บริการระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (Inter-institution Fund Transfer System Operator หรือผู้ให้บริการระบบเครือข่ายบัตร (Payment Card Network Operator) ซึ่งทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลรายการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (Transaction Switching) หรือทําหน้าที่ให้บริการการหักบัญชี (Clearing) 4.4.2 การรับส่งข้อมูลการใช้บัตรเดบิตระหว่างผู้ให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquirer) กับผู้ให้บริการระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (Inter-institution Fund Transfer System Operator) หรือผู้ให้บริการระบบเครือข่ายบัตร (Payment Card Network Operator) ซึ่งทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลรายการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (Transaction Switching) หรือทําหน้าที่ให้บริการการหักบัญชี (Clearing) 4.4.3 การรับส่งข้อมูลการใช้บัตรเดบิตระหว่างผู้ให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator) กับผู้ให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquirer) และการรับส่งข้อมูลการใช้บัตรเดบิตระหว่างผู้ให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator) 4.4.4 การทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลรายการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ (Transaction Switching) 4.4.5 การหักบัญชี (Clearing) 4.4.6 การชําระดุล (Settlement) 4.5 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ตามข้อ 4.4.1 - 4.4.6 ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขออนุญาตต่อ ธปท. เป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็น ทั้งนี้ ธปท. จะพิจารณาภายใน 45 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน การยื่นขออนุญาตตามวรรคหนึ่งให้กระทําได้เฉพาะการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ในประเทศ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจอาจขออนุญาตใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศในต่างประเทศได้ (1) การรับส่งข้อมูลตามข้อ 4.4.3 หรือ (2) การรับส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการข้อมูลภายในของผู้ออกบัตร (Issuer) ผู้ให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquirer) และผู้ให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator) ในกรณีที่ผู้ออกบัตร (Issuer) ผู้ให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquirer) หรือผู้ให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitator) เป็นสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินและได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นหรือบุคคลอื่นด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวแล้วให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง 4.6 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศฉบับนี้ โดยมีเหตุจําเป็นหรือพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งอาจส่งผลกระทบในการให้บริการอย่างต่อเนื่องหรือต่อความน่าเชื่อถือของการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว พร้อมชี้แจงเหตุผลและความจําเป็น ต่อ ธปท. เป็นหนังสือหรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนด โดย ธปท. อาจจะพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ได้ หรือกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล บัตรเดบิตที่ได้ออกและใช้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้สามารถใช้ต่อไปได้โดยผู้ออกบัตรจะต้องดําเนินการเปลี่ยนบัตรเดบิตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4.2 เมื่อบัตรดังกล่าวสิ้นอายุบัตรหรือเมื่อผู้ใช้บริการขอออกบัตรใหม่ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,903
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 73/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 73 /2552 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 ที่จะประมูลในวันที่ 14 สิงหาคม 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 ในวันที่ 14 สิงหาคม 2552 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 11 สิงหาคม 2552 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.28668 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.5 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,904
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 23/91/59 | - | 40,000 | 7 มิ.ย. 59 | 9 มิ.ย. 59 | 8 ก.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 23/182/59 | - | 30,000 | 7 มิ.ย. 59 | 9 มิ.ย. 59 | 8 ธ.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR -0.1 (เท่ากับ 1.49658 สําหรับงวดเริ่มวันที่ 17 พ.ค. 59) | 15,000 | 10 มิ.ย. 59 | 14 มิ.ย. 59 | 17 ก.พ. 61 | 3 ปี | 1.68 ปี | | 24/91/59 | - | 40,000 | 14 มิ.ย. 59 | 16 มิ.ย. 59 | 15 ก.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 24/182/59 | - | 30,000 | 14 มิ.ย. 59 | 16 มิ.ย. 59 | 15 ธ.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2ปี/2559 | 1.49 | 35,000 | 16 มิ.ย. 59 | 20 มิ.ย. 59 | 23 ก.พ. 61 | 2 ปี | 1.68 ปี | | 25/91/59 | - | 40,000 | 21 มิ.ย. 59 | 23 มิ.ย. 59 | 22 ก.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 25/182/59 | - | 30,000 | 21 มิ.ย. 59 | 23 มิ.ย. 59 | 22 ธ.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 26/91/59 | - | 40,000 | 28 มิ.ย. 59 | 30 มิ.ย. 59 | 29 ก.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 26/182/59 | - | 30,000 | 28 มิ.ย. 59 | 30 มิ.ย. 59 | 29 ธ.ค. 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/363/59 | - | 45,000 | 28 มิ.ย. 59 | 30 มิ.ย. 59 | 5 เม.ย. 60 | 363 วัน | 279 วัน | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2559 อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,905
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 74/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนสิงหาคม ปี 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 74/2552 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2552 -------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2552 (รุ่นที่ 4/ 2 ปี/2552) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 14 สิงหาคม 2552 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/2 ปี/2552 ที่จะประมูลในวันที่ 18 สิงหาคม 2552 เท่ากับร้อยละ 1.88 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,906
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.22/14/59 | 45,000 | 3 มิถุนายน 2559 | 7/6/59 – 21/6/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,907
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 13/2561 เรื่อง มาตรฐานชิปการ์ดกลางสำหรับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 13/2561 เรื่อง มาตรฐานชิปการ์ดกลางสําหรับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ --------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินและระบบการชําระเงินของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หารือกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสภาสถาบันการเงินของรัฐแล้ว จึงกําหนดให้บัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศต้องใช้มาตรฐานชิปการ์ดกลาง เพื่อให้มีความปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับธุรกิจการชําระเงินของไทย สนับสนุนการทําธุรกรรมด้วยบัตรเดบิตให้มีความมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ และรองรับการให้บริการที่ข้ามเครือข่ายกันได้ (Interoperability) อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบการชําระเงินของประเทศและเศรษฐกิจโดยรวมและส่งเสริมความเชื่อมั่นในการทําธุรกรรมการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ของรัฐบาล โดยการประกาศกําหนดมาตรฐานชิปการ์ดกลางนี้จะไม่เป็นการกีดกันหรือสร้างอุปสรรคในการแช่งขันหรือมีข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดมาตรฐานชิปการ์ดกลางสําหรับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 ธปท. กําหนดให้มาตรฐานไทยชิปการ์ด เป็นมาตรฐานชิปการ์ดกลางสําหรับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการออกบัตรเดบิตของผู้ออกบัตร ทั้งนี้ การกําหนดมาตรฐานดังกล่าวได้ผ่านการหารือกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสภาสถาบันการเงินของรัฐแล้ว 4.2 เพื่อให้มาตรฐานชิปการ์ดกลางสําหรับบัตรเดบิตที่ออกและมีการใช้จ่ายภายในประเทศเป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและเหมาะสมกับธุรกิจการชําระเงินของไทย ธปท. อาจกําหนดเพิ่มเติม แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ตามที่เห็นสมควร อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,908
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 75/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 75/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.81/14/52 | 60,000 | 20 สิงหาคม 2552 | 24/8/52 – 7/9/52 | 14 | | พ.82/14/52 | 55,000 | 21 สิงหาคม 2552 | 25/8/52 – 8/9/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,909
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.23/14/59 | 50,000 | 10 มิถุนายน 2559 | 14/6/59 – 28/6/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,910
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 10/91/61 | - | 30,000 | 6 มี.ค. 61 | 8 มี.ค. 61 | 7 มิ.ย. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 10/182/61 | - | 30,000 | 6 มี.ค. 61 | 8 มี.ค. 61 | 6 ก.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2561 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 6 มี.ค. 2561 | 60,000 | 8 มี.ค. 61 | 12 มี.ค. 61 | 12 มี.ค. 64 | 3 ปี | 3 ปี | | 11/91/61 | - | 30,000 | 13 มี.ค. 61 | 15 มี.ค. 61 | 14 มิ.ย. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 11/182/61 | - | 30,000 | 13 มี.ค. 61 | 15 มี.ค. 61 | 13 ก.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/364/61 | - | 60,000 | 13 มี.ค. 61 | 15 มี.ค. 61 | 14 มี.ค. 62 | 364 วัน | 364 วัน | | 1/2ปี/2561 | 1.34 | 40,000 | 15 มี.ค. 61 | 19 มี.ค. 61 | 26 ก.พ. 63 | 2 ปี | 1.94 ปี | | 12/91/61 | - | 30,000 | 20 มี.ค. 61 | 22 มี.ค. 61 | 21 มิ.ย. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 12/182/61 | - | 30,000 | 20 มี.ค. 61 | 22 มี.ค. 61 | 20 ก.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 13/91/61 | - | 30,000 | 27 มี.ค. 61 | 29 มี.ค. 61 | 28 มิ.ย. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 13/182/61 | - | 30,000 | 27 มี.ค. 61 | 29 มี.ค. 61 | 27 ก.ย. 61 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2561 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 | | การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่าๆ กัน | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 12 มีนาคม และ 12 กันยายน ของทุกปี | | วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 12 กันยายน 2561 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 12 มีนาคม 2564 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 (นางวชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,911
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 76/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 76/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 --------------------------- อื่นๆ - เพื่ออนุวัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) ได้กําหนดแผนการออกจําหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 โดยมีรายละเอียดดังนี้ | | | | | --- | --- | --- | | 1. อายุพันธบัตร | 4 ปี | 7 ปี | | 2. อัตราดอกเบี้ย | ร้อยละ 3.5 ต่อปี | ปีที่ 1-2 ร้อยละ 3 ต่อปีปีที่ 3-4 ร้อยละ 4 ต่อปีปีที่ 5-6 ร้อยละ 5 ต่อปีปีที่ 7 ร้อยละ 6 ต่อปี | | 3. วงเงินรวม | 50,000 ล้านบาท | | 4. วงเงินซื้อขั้นต่ํา | 50,000 บาทต่อราย และซื้อเพิ่มเป็นจํานวนเท่าของ 10,000 บาท | | 5. วันเปิดจําหน่าย | วันที่ 3 – 4 และ 7 กันยายน 2552 | | 6. กําหนดชําระเงิน | วันที่ 3 - 4 ก.ย. 2552 ชําระด้วยเงินสด, หักบัญชีเงินฝาก ภายในเวลา 15.00 น.หรือ ชําระด้วยแคชเชียร์เช็ค, เช็คส่วนตัว (เฉพาะเช็คในเขตสํานักหักบัญชีเดียวกัน) ภายในเวลา 12.00 น. โดยเช็คลงวันที่เดียวกับวันเสนอขอซื้อพันธบัตร | | วันที่ 7 ก.ย. 2552 ชําระด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝากภายในเวลา 15.00 น. | | 7. วันที่ลงในพันธบัตร(วันที่เริ่มคิดดอกเบี้ย) | กรณีชําระเงินด้วยเงินสดหรือหักบัญชีเงินฝาก - วันเสนอขอซื้อพันธบัตรกรณีชําระด้วยแคชเชียร์เช็ด, เช็คส่วนตัว - วันทําการถัดไปจากวันเสนอขอซื้อพันธบัตร | | 8. กําหนดชําระคืนต้นเงิน | วันที่ 3 กันยายน 2556 | วันที่ 3 กันยายน 2559 | | 9.ผู้มีสิทธิซื้อในตลาดแรก | - บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย- สหกรณ์ มูลนิธิ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และบุคคลหรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ไม่มีสิทธิซื้อผู้ไม่มีสิทธิซื้อธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหาร โดยสถาบันการเงิน คณะบุคคล กองทุนรวมบรรษัท สํานักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน ธุรกิจ นิติบุคคลที่แสวงหากําไร นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชนและสถานศึกษาเอกชน | | 10. ธนาคารตัวแทนจําหน่าย | 1. ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน)2. ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน)3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน)4. ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน)5. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จํากัด (มหาชน)6. ธนาคารทหารไทย จํากัด (มหาชน)7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน)8. ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน)9. ธนาคารนครหลวงไทย จํากัด (มหาชน)10. ธนาคารยูโอบี จํากัด (มหาชน) | | 11. การจ่ายดอกเบี้ย | - ปีละ 2 งวด คือในวันที่ 3 มีนาคม และ 3 กันยายน ของทุกปี เป็นจํานวนเงินงวดละเท่าๆ กัน จนกว่าพันธบัตรจะครบกําหนด ยกเว้นงวดแรกและงวดที่ 2 จะคํานวณดอกเบี้ยจากจํานวนวันที่เกิดขึ้นจริง และถือว่า 1 ปีมี 365 วัน เศษของ 1 สตางค์ให้ปิดทิ้ง- ธปท. จะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจํา) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ธนาคารใดก็ได้ ตามที่แจ้งไว้ในใบคําเสนอขอซื้อพันธบัตร ซึ่งธนาคารอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากเจ้าของบัญชีเงินฝากตามระเบียบของแต่ละธนาคาร- ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวดให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทําการงานวันแรกแห่งระยะเวลา 30 วัน ก่อนถึงกําหนดชําระ- หากวันจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดทําการธนาคาร จะชําระดอกเบี้ยในวันทําการถัดไป- สําหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชําระพร้อมต้นเงินในวันที่ครบกําหนดไถ่ถอนหากวันที่ครบกําหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดทําการธนาคาร จะชําระในวันทําการถัดไป | | 12. การหักภาษี ณ ที่จ่าย | ธปท. จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามอัตราที่ประกาศในประมวลรัษฎากรทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ย และสําหรับบุคคลธรรมดาสามารถเลือกได้ว่าจะนําไปรวมคํานวณภาษี ณ สิ้นปีหรือไม่ | | 13. การขายก่อน วันครบกําหนดไถ่ถอน | ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถขายพันธบัตรก่อนครบกําหนดได้ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2553เป็นต้นไป ให้กับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ตามราคาที่จะตกลงกัน | | 14. การไถ่ถอนต้นเงินเมื่อครบกําหนด | - ธปท. จะปิดพักทะเบียนไถ่ถอน 30 วัน ก่อนวันที่ครบกําหนดชําระคืนต้นเงิน- ธปท. จะส่งใบคําขอรับคืนต้นเงินให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ก่อนวันที่ครบกําหนดชําระคืนต้นเงิน เพื่อให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์แจ้งหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการให้นําต้นเงินเข้าบัญชี และดําเนินการอื่น ๆ ตามรายละเอียดที่กําหนด- ธปท. จะโอนต้นเงินเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจํา) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ธนาคารใดก็ได้ ตามที่แจ้งไว้ในใบคําขอรับคืนต้นเงิน หากวันที่ครบกําหนดชําระคืนต้นเงินตรงกับวันหยุดทําการธนาคาร ธปท. จะชําระคืนต้นเงินในวันเปิดทําการถัดไป โดยไม่มีการคํานวณดอกเบี้ยชดเชยให้ ซึ่งการโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากเจ้าของบัญชีเงินฝากตามระเบียบของแต่ละธนาคาร | | 15. การใช้พันธบัตรเป็นหลักประกัน | ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระเบียบและเงื่อนไขของผู้รับพันธบัตรเป็นหลักประกันแต่ละรายด้วย | | 16. การโอนกรรมสิทธิ์ | - กระทําได้ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป- การโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกัน หรือโอนทางมรดก หรือการแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือล้มละลาย หรือการชําระบัญชี ให้กระทําได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว- การโอนกรรมสิทธิ์จะกระทําในระหว่างระยะเวลา 30 วันก่อนวันที่ครบกําหนดชําระคืนต้นเงินมิได้ | | 17. การให้บริการแก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ | - ผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถแจ้งความจํานงทําธุรกรรมต่างๆ ได้แก่ การขอแยกหน่วยพันธบัตรเป็นใบพันธบัตรหลายฉบับ (การขอแตกพันธบัตร) การโอนกรรมสิทธิ์การจํานําและการถอนจํานํา การขอแก้ไขชื่อจดทะเบียนเจ้าของกรรมสิทธิ์ การขอออกใบพันธบัตรใหม่กรณีสูญหาย การยื่นไถ่ถอนต้นเงินพันธบัตรเมื่อครบกําหนด ได้โดยตรงที่ ธปท. สํานักงานใหญ่ สํานักงานภาค หรือธนาคารตัวแทน- หากท่านติดต่อโดยตรงที่ ธปท. สํานักงานใหญ่ สํานักงานภาค ตามที่ท่านขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ไว้ ธปท. จะดําเนินการให้ทันที แต่หากท่านติดต่อผ่านธนาคารตัวแทน ธปท. จะดําเนินการให้ทันทีเมื่อได้รับเรื่องจากธนาคารตัวแทน- ทั้งนี้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องชําระค่าธรรมเนียมในการทําธุรกรรมดังกล่าว ในอัตราสําหรับบุคคลธรรมดา ฉบับละ 20 บาท และสําหรับผู้ถือกรรมสิทธิ์ประเภทอื่นๆฉบับละ 100 บาท หรือตามที่ ธปท. จะกําหนดภายหลัง และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกฉบับละ 10 บาท สําหรับเป็นค่าใช้ง่ายของธนาคาร ในกรณีที่ดําเนินการผ่านธนาคารตัวแทน | ธปท. ขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนการจําหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ตามกําหนดการข้างต้นตามความจําเป็นและเหมาะสม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,912
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2559 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 10 มิถุนายน 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2559 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 ในวันที่ 10 มิถุนายน 2559 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 8 มิถุนายน 2559 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.56425 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.60086 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,913
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 77/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 77/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.83/14/52 | 50,000 | 27 สิงหาคม 2552 | 31/8/52 – 14/9/52 | 14 | | พ.84/14/52 | 50,000 | 28 สิงหาคม 2552 | 1/9/52 – 15/9/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,914
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 2)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 16/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต การประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2561 เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลระบบการชําระเงินให้มีความมั่นคงปลอดภัยมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน รวมถึงดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ตลอดจนให้มีการคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม นั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการกําหนดคุณสมบัติของผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ กรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับดังกล่าว 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ตามความในประกาศฉบับนี้ 3. ประกาศที่แก้ไข 3.1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4.2 (1) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับลงวันที่ 16 เมษายน 2561 และให้ใช้ข้อความในข้อ 5 ของประกาศฉบับนี้แทน 3.2 ให้ยกเลิกแบบการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ (เอกสารแนบ 1) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 3/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2561และให้ใช้แบบการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ (เอกสารแนบ 1) ของประกาศฉบับนี้แทน 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้ การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน 5. เนื้อหา "4.2 หลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับ (1) ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1.1) เป็นนิติบุคคลประเภท (1.1.1) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยและมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจระบบการชําระเงิน หรือ (1.1.2) สถาบันการเงิน หรือ (1.1.3) ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสาขาเพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และจะประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินโดยสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าวซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ (1.1.4) สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือ (1.1.5) รัฐวิสาหกิจ หรือ (1.1.6) นิติบุคคลต่างประเทศ เฉพาะผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตร (1.2) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว ในแต่ละประเภทธุรกิจ ดังนี้ (1.2.1) การให้บริการระบบโอนงินรายย่อยระหว่างผู้ใช้บริการของระบบ(Inter-institution Fund Transfer System) ไม่ต่ํากว่า 50 ล้านบาท (1.2.2) การให้บริการระบบเครือข่ายบัตร (Payment Card Network) ไม่ต่ํากว่า 50 ล้านบาท (1.2.3) การให้บริการระบบการชําระดุล (Settiement System)ไม่ต่ํากว่า 200 ล้านบาท ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบการชําระเงินภายใต้การกํากับมากกว่า 1 ประเภทธุรกิจ ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่ต่ํากว่าจํานวนทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของประเภทธุรกิจการให้บริการที่กําหนดไว้สูงสุด (1.3 มีฐานะทางการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการของระบบและสาธารณชน เช่น ฐานะและผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ส่วนของผู้ถือหุ้นและแหล่งที่มาของเงินทุน (1.4) ต้องไม่เคยถูกสั่งระงับการดําเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือไม่เคยถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน (1.5) ต้องไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือไม่เคยเป็นบุคคลที่ถูกกําหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทําอันเป็นการก่อการร้าย หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง (1.6) มีกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการซึ่งมีลักษณะดังนี้ (1.6.1) มีอายุไม่ต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์ (1.6.2) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 (1.7) มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมีสัญชาติไทยและมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย (1.8) ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตรที่เป็นนิติบุคคล ต่างประเทศ ต้องมีสํานักงานสาขาหรือสํานักงานผู้แทนในประเทศไทย และแต่งตั้งบุคคลอย่างน้อย 1 คนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการแทนนิติบุคคลในสํานักงานดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานและติดต่อประสานงานกับสํานักงานในต่างประเทศ เว้นแต่ได้รับยกเว้นจาก ธปท. สําหรับนิติบุคคลตามข้อ (1.1.2) - (1.1.6) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ (1.2) และข้อ (1.7)" 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,915
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2559 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 ------------------------------ อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 29 เมษายน 2559 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ในวันที่ 29 เมษายน 2559 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 27 เมษายน 2559 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.52415 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.59724 ต่อปี อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,916
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 78/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 78/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 35/28/52 | | 12,000 | 1 ก.ย. 52 | 3 ก.ย. 52 | 1 ต.ค. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 22/91/52 | | 8,000 | 1 ก.ย. 52 | 3 ก.ย. 52 | 3 ธ.ค. 52 | 91 วัน | 91 วัน | | 9/182/52 | | 8,000 | 1 ก.ย. 52 | 3 ก.ย. 52 | 4 มี.ค. 52 | 182 วัน | 182 วัน | | 36/28/52 | | 12,000 | 8 ก.ย. 52 | 10 ก.ย. 52 | 8 ต.ค. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 23/92/52 | | 8,000 | 8 ก.ย. 52 | 10 ก.ย. 52 | 11 ธ.ค. 52 | 92 วัน | 92 วัน | | 10/182/52 | | 8,000 | 8 ก.ย. 52 | 10 ก.ย. 52 | 11 มี.ค. 52 | 182 วัน | 182 วัน | | 37/28/52 | | 12,000 | 15 ก.ย. 52 | 17 ก.ย. 52 | 15 ต.ค. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 24/91/52 | | 10,000 | 15 ก.ย. 52 | 17 ก.ย. 52 | 17 ธ.ค. 52 | 91 วัน | 91 วัน | | 11/182/52 | | 10,000 | 15 ก.ย. 52 | 17 ก.ย. 52 | 18 มี.ค. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 8/364/52 | | 30,000 | 15 ก.ย. 52 | 17 ก.ย. 52 | 16 ก.ย. 53 | 364 วัน | 364 วัน | | 38/28/52 | | 12,000 | 22 ก.ย. 52 | 24 ก.ย. 52 | 22 ต.ค. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 25/91/52 | | 10,000 | 22 ก.ย. 52 | 24 ก.ย. 52 | 24 ธ.ค. 52 | 91 วัน | 91 วัน | | 12/182/52 | | 10,000 | 22 ก.ย. 52 | 24 ก.ย. 52 | 24 ธ.ค. 52 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/3ปี/2552(BOT127A) | 2.475 | 10,000 | 22 ก.ย. 52 | 24 ก.ย. 52 | 16 ก.ค. 55 | 3 ปี | 2.81 ปี | | 39/28/52 | | 12,000 | 29 ก.ย. 52 | 1 ต.ค. 52 | 29 ต.ค. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 26/95/52 | | 10,000 | 29 ก.ย. 52 | 1 ต.ค. 52 | 4 ม.ค. 53 | 95 วัน | 95 วัน | | 13/182/52 | | 10,000 | 29 ก.ย. 52 | 1 ต.ค. 52 | 1 เม.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,917
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 79/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 79/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.85/14/52 | 45,000 | 3 กันยายน 2552 | 7/9/52 – 21/9/52 | 14 | | พ.86/14/52 | 40,000 | 4 กันยายน 2552 | 8/9/52 – 22/9/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,918
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.24/14/59 | 50,000 | 17 มิถุนายน 2559 | 21/6/59 – 5/7/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,919
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.87/14/52 | 45,000 | 10 กันยายน 2552 | 14/9/52 – 28/9/52 | 14 | | พ.88/14/52 | 45,000 | 11 กันยายน 2552 | 15/9/52 – 29/9/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,920
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กันยายน 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2552 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กันยายน 2552 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กันยายน 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กันยายน 2552 เท่ากับร้อยละ 1.30 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 10 กันยายน 2552 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,921
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2556 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.14/14/56 | 30,000 | 4 เมษายน 2556 | 9/4/56 – 23/4/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,922
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 87/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 87/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.89/14/52 | 40,000 | 17 กันยายน 2552 | 21/9/52 – 5/10/52 | 14 | | พ.90/14/52 | 35,000 | 18 กันยายน 2552 | 22/9/52 – 6/10/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,923
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 88/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กันยายน 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 88/2552 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กันยายน 2552 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กันยายน 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กันยายน 2552 เท่ากับร้อยละ 1.30 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 15 กันยายน 2552 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,924
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 89/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 89/2552 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2552 ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2552 เท่ากับร้อยละ 1.30 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 16 กันยายน 2552 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน 2552 (นางอัจนา ไวความดี) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,925
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 94/2552 เรื่อง การปรับเพิ่มวงเงินพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 94/2552 เรื่อง การปรับเพิ่มวงเงินพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 ------------------------------------- อื่นๆ - ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 76/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2552 แจ้งรายละเอียดการออกพันธบัตรดังกล่าว นั้น เพื่ออนุวัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยขอประกาศปรับเพิ่มวงเงินออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552 ครั้งที่ 1 จากวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท เป็นวงเงินรวม 130,685.47 ล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรุ่นอายุ 4 ปี จํานวน 49,411.12 ล้านบาท และพันธบัตรรุ่นอายุ 7 ปี จํานวน 81,274.35 ล้านบาท ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 95/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 95/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.91/14/52 | 40,000 | 24 กันยายน 2552 | 28/9/52 – 12/10/52 | 14 | | พ.92/14/52 | 40,000 | 25 กันยายน 2552 | 29/9/52 – 13/10/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม -- ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,927
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 17/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ (ฉบับที่ 2)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 17 /2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียน การประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (ฉบับที่ 2) ----------------------------------------------- 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนช. 5/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2561 เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลบริการการชําระเงินให้มีความมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพโดยกําหนดรูปแบบการกํากับดูแลบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) การให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ที่ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทย และ 2) การให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ที่ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากธนาคารแห่งประเทศไทย นั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการกําหนดคุณสมบัติของผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ กรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับดังกล่าว 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามความในประกาศฉบับนี้ 3. ประกาศที่แก้ไข ให้ยกเลิกความในข้อ 4.2.1 (1) และข้อ 4.2.2 (1) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนช. 5/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียน การประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ลงวันที่ 16 เมษายน 2561 และให้ใช้ข้อความในข้อ 5.1 และข้อ 5.2 ตามลําดับของประกาศฉบับนี้แทน 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน 5. เนื้อหา 5.1 แก้ไขหลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ "4.2.1 หลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (1) ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1.1) เป็นนิติบุคคลประเภท (1.1.1) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยและมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงิน หรือ (1.1.2) สถาบันการเงิน หรือ (1.1.3) ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสาขาเพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และจะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินโดยสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าวซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ (1.1.4) สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือ (1.1.5) รัฐวิสาหกิจ (1.2) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว ในแต่ละประเภทธุรกิจ ดังนี้ (1.2.1) การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต่ํากว่า 100 ล้านบาท (1.2.2) การให้บริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ (ก) การให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquiring) ไม่ต่ํากว่า50 ล้านบาท (ข) การให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitating) ไม่ต่ํากว่า 10 ล้านบาท (ค) การให้บริการรับชําระเงินแทน ไม่ต่ํากว่า 10 ล้านบาท (1.2.3) การให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต่ํากว่า 10 ล้านบาท ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมากกว่า 1 ประเภทธุรกิจการให้บริการ ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่ต่ํากว่าจํานวนทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของประเภทธุรกิจการให้บริการที่กําหนดไว้สูงสุด (1.3) มีฐานะทางการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ เช่น ฐานะและผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ส่วนของผู้ถือหุ้น แหล่งที่มาของเงินทุน และแผนการประกอบธุรกิจสําหรับระยะเวลา 3 ปี ซึ่งมีรายละเอียดที่รวมถึงประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่ายและงบลงทุน (1.4) ต้องไม่เคยถูกสั่งระงับการดําเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือไม่เคยถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน (1.5) ต้องไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือไม่เคยเป็นบุคคลที่ถูกกําหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทําอันเป็นการก่อการร้าย หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง (1.6) มีกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการซึ่งมีลักษณะดังนี้ (1.6.1) มีอายุไม่ต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์ (1.6.2) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 18 ประกอบกับมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 (1.7) มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมีสัญชาติไทยและมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย สําหรับนิติบุคคลตามข้อ (1.1.2) - (1.1.5) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ (1.2) ข้อ (1.3) และข้อ (1.7)" 5.2 แก้ไขหลักเกณฑ์การยื่นขอขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ "4.2.2 หลักเกณฑ์การยื่นขอขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (1) ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1.1) เป็นนิติบุคคลประเภท (1.1.1) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยและมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงิน หรือ (1.1.2) สถาบันการเงิน หรือ (1.1.3) ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสาขาเพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และจะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินโดยสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดังกล่าวซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือ (1.1.4) สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือ (1.1.5) รัฐวิสาหกิจ (1.2) มีฐานะทางการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ เช่น ฐานะและผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ส่วนของผู้ถือหุ้น แหล่งที่มาของเงินทุน และแผนการประกอบธุรกิจสําหรับระยะเวลา 3 ปี ซึ่งมีรายละเอียดที่รวมถึงประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่ายและงบลงทุน (1.3) ต้องไม่เคยถูกสั่งระงับการดําเนินกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือไม่เคยถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน (1.4) ต้องไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือไม่เคยเป็นบุคคลที่ถูกกําหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทําอันเป็นการก่อการร้าย หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง (1.5) มีกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการซึ่งมีลักษณะดังนี้ (1.5.1) มีอายุไม่ต่ํากว่า 20 ปีบริบูรณ์ (1.5.2) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 18 ประกอบกับมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 (1.6) มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมีสัญชาติไทยและมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย สําหรับนิติบุคคลตามข้อ (1.1.2) - (1.1.5) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ (1.2) และ ข้อ (1.6)" 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,928
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 96/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 กันยายน 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 96/2552 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 กันยายน 2552 ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 กันยายน 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 กันยายน 2552 เท่ากับร้อยละ 1.30 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 23 กันยายน 2552 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,929
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 97/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 97/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.93/14/52 | 45,000 | 1 ตุลาคม 2552 | 5/10/52 – 19/10/52 | 14 | | พ.94/14/52 | 40,000 | 2 ตุลาคม 2552 | 6/10/52 – 20/10/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,930
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.25/14/59 | 50,000 | 24 มิถุนายน 2559 | 28/6/59 – 12/7/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,931
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 98/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 98/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 -------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ดังนี้ | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 40/28/52 | 15,000 | 6 ต.ค. 52 | 8 ต.ค. 52 | 5 พ.ย. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 27/91/52 | 10,000 | 6 ต.ค. 52 | 8 ต.ค. 52 | 7 ม.ค. 53 | 91 วัน | 91 วัน | | 14/182/52 | 10,000 | 6 ต.ค. 52 | 8 ต.ค. 52 | 8 เม.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 9/364/52 | 30,000 | 6 ต.ค. 52 | 8 ต.ค. 52 | 7 ต.ค. 53 | 364 วัน | 364 วัน | | 41/28/52 | 15,000 | 13 ต.ค. 52 | 15 ต.ค. 52 | 12 พ.ย. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 28/91/52 | 10,000 | 13 ต.ค. 52 | 15 ต.ค. 52 | 14 ม.ค. 53 | 91 วัน | 91 วัน | | 15/183/52 | 10,000 | 13 ต.ค. 52 | 15 ต.ค. 52 | 16 เม.ย. 53 | 183 วัน | 183 วัน | | 42/28/52 | 15,000 | 20 ต.ค. 52 | 22 ต.ค. 52 | 19 พ.ย. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 29/91/52 | 10,000 | 20 ต.ค. 52 | 22 ต.ค. 52 | 21 ม.ค. 53 | 91 วัน | 91 วัน | | 16/182/52 | 10,000 | 20 ต.ค. 52 | 22 ต.ค. 52 | 22 เม.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน | | 5/2ปี/2552 | 30,000 | 20 ต.ค. 52 | 22 ต.ค. 52 | 22 ต.ค. 54 | 2 ปี | 2 ปี | | 43/28/52 | 15,000 | 27 ต.ค. 52 | 29 ต.ค. 52 | 26 พ.ย. 52 | 28 วัน | 28 วัน | | 30/91/52 | 10,000 | 27 ต.ค. 52 | 29 ต.ค. 52 | 28 ม.ค. 53 | 91 วัน | 91 วัน | | 17/182/52 | 10,000 | 27 ต.ค. 52 | 29 ต.ค. 52 | 29 เม.ย. 53 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 5/2 ปี/2552 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 16 ต.ค. 2552 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 22 เม.ย. และ 22 ต.ค. ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 22 เม.ย. 2553 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 22 ต.ค. 2554 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,932
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.4/14/61 | 20,000 | 26 มกราคม 2561 | 30/1/61 – 13/2/61 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,933
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.26/15/59 | 40,000 | 30 มิถุนายน 2559 | 5/7/59 – 20/7/59 | 15 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,934
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 100/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 100/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.95/14/52 | 45,000 | 8 ตุลาคม 2552 | 12/10/52 – 26/10/52 | 14 | | พ.96/14/52 | 45,000 | 9 ตุลาคม 2552 | 13/10/52 – 27/10/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,935
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 5/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนช. 5 /2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียน การประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลบริการการชําระเงินให้มีความมั่นคงปลอดภัยน่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ โดยกําหนดรูปแบบการกํากับดูแลบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) การให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ที่ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยคําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทย และ 2) การให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ที่ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมสําหรับผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจที่ยื่นขอใบอนุญาตตั้งแต่ปี 2562 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะดําเนินการประกาศกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บต่อไป อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับและผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 นิยาม ในประกาศฉบับนี้ "ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ" หมายความว่าผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน "สถาบันการเงิน" หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "สถาบันการเงินเฉพาะกิจ " หมายความว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน "รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น "ผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการ" หมายความว่า (1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการหรือกรรมการหรือการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ "ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4.2 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้ (1) การให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของ ธปท. (2) การให้บริการการชําระเงินภายใต้การกํากับที่ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก ธปท. ทั้งนี้ การยื่นขออนุญาตหรือขอขึ้นทะเบียน มีหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 4.2.1 หลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (1) ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1.1) เป็นนิติบุคคลประเภท (1.1.1) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยและมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงิน หรือ (1.1.2) สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รัฐวิสาหกิจ (1.2) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว ในแต่ละประเภทธุรกิจ ดังนี้ (1.2.1) การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต่ํากว่า 100 ล้านบาท (1.2.2) การให้บริการรับชําระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ (ก) การให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquiring) ไม่ต่ํากว่า 50 ล้านบาท (ข) การให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitating) ไม่ต่ํากว่า 10 ล้านบาท (ค) การให้บริการรับชําระเงินแทน ไม่ต่ํากว่า 10 ล้านบาท (1.2.3) การให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต่ํากว่า 10 ล้านบาท ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมากกว่า 1 ประเภทธุรกิจการให้บริการ ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่ต่ํากว่าจํานวนทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของประเภทธุรกิจการให้บริการที่กําหนดไว้สูงสุด (1.3) มีฐานะทางการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ เช่น ฐานะและผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ส่วนของผู้ถือหุ้น แหล่งที่มาของเงินทุน และแผนการประกอบธุรกิจสําหรับระยะเวลา 3 ปี ซึ่งมีรายละเอียดที่รวมถึงประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่ายและงบลงทุน (1.4) ต้องไม่เคยถูกสั่งระงับการดําเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือไม่เคยถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน (1.5) ต้องไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือไม่เคยเป็นบุคคลที่ถูกกําหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทําอันเป็นการก่อการร้าย หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง (1.6) มีกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการซึ่งมีลักษณะดังนี้ (1.6.1) มีอายุไม่ต่ํากว่า 20 บีบริบูรณ์ (1.6.2) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 18 ประกอบกับมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 (1.7) มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมีสัญชาติไทยและมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย สําหรับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรัฐวิสาหกิจให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ (1.2) ข้อ (1.3) และข้อ (1.7) (2) ให้ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับยื่นแบบการขออนุญาต พร้อมเอกสารหลักฐาน ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 1) ต่อ ธปท. ทั้งนี้ กรณีที่ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมากกว่า 1 ประเภทธุรกิจ สามารถยื่นแบบการขออนุญาต พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดในคราวเดียวกันได้ 4.2.2 หลักเกณฑ์การยื่นขอขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับ (1) ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1.1) เป็นนิติบุคคลประเภท (1.1.1) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยและมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบริการการชําระเงิน หรือ (1.1.2) สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รัฐวิสาหกิจ (1.2) มีฐานะทางการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถดําเนินธุรกิจและให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ เช่น ฐานะและผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ส่วนของผู้ถือหุ้น แหล่งที่มาของเงินทุน และแผนการประกอบธุรกิจสําหรับระยะเวลา 3 ปี ซึ่งมีรายละเอียดที่รวมถึงประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่ายและงบลงทุน (1.3) ต้องไม่เคยถูกสั่งระงับการดําเนินกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรือไม่เคยถูกเพิกถอนการอนุญาตหรือการขี้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน (1.4) ต้องไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือไม่เคยเป็นบุคคลที่ถูกกําหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทําอันเป็นการก่อการร้าย หรือไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง (1.5) มีกรรมการหรือผู้ซึ่งมีอํานาจจัดการซึ่งมีลักษณะดังนี้ (1.5.1) มีอายุไม่ต่ํากว่า 20 บีบริบูรณ์ (1.5.2) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 18 ประกอบกับมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติระบบการชําระเงิน พ.ศ. 2560 (1.6) มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมีสัญชาติไทยและมีภูมิสําเนาอยู่ในประเทศไทย สําหรับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรัฐวิสาหกิจให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ (1.2) และ ข้อ (1.6) (2) ให้ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับยื่นแบบการขอขึ้นทะเบียน พร้อมเอกสารหลักฐาน ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 2) ต่อ ธปท. ทั้งนี้ กรณีที่ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับมากกว่า 1 ประเภทธุรกิจ สามารถยื่นแบบการขอขึ้นทะเบียน พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดในคราวเดียวกันได้ 4.3 การพิจารณาคําขออนุญาตหรือคําขอขึ้นทะเบียน (1) ธปท. จะพิจารณาคําขออนุญาตหรือคําขอขึ้นทะเบียนและจะเสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายใน 60 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน หรือ ธปท. จะพิจารณาออกใบขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ธปท. มีอํานาจพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดบัญหาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ และมีอํานาจเรียกหลักฐานและเอกสารใด ๆ จากผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจเพิ่มเติมจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้เพื่อประกอบการพิจารณาได้ (2) รัฐมนตรี หรือ ธปท. จะกําหนดเงื่อนไขอื่นใดเพิ่มเติมประกอบการอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ (3) หาก ธปท. ตรวจสอบภายหลังพบว่า ข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจได้ยื่นไว้ในการขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้ในการอนุญาตหรือขึ้นทะเบียน ธปท. อาจสั่งให้แก้ไขหรือสั่งระงับการดําเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว หรืออาจเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาเพิกถอนการอนุญาต หรือ ธปท. อาจมีคําสั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียน แล้วแต่กรณี 4.4 กรณีใบอนุญาตหรือใบขึ้นทะเบียนสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดเสียหายในสาระสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับต้องยื่นคําขอรับใบแทนพร้อมเอกสารหลักฐานตามแบบที่ ธปท. กําหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 3) ต่อ ธปท. ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย การถูกทําลาย หรือการชํารุดเสียหายแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ธปท. จะพิจารณาเสนอรัฐมนตรีเพื่อออกใบแทนใบอนุญาตหรือ ธปท. จะออกใบแทนใบขึ้นทะเบียน แล้วแต่กรณี โดยจะดําเนินการออกใบแทนภายใน 45 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล ผู้ซึ่งประกอบกิจการบริการการชําระเงินภายใต้การกํากับอยู่ในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4.2.1 (1.2) หรือในกรณีมีเหตุจําเป็นซึ่งไม่สามารถดําเนินการให้มีกรรมการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4.2.1 (1.7) หรือข้อ 4.2.2 (1.6) ได้ในวันที่ยื่นคําขออนุญาตหรือขอขึ้นทะเบียน รัฐมนตรี หรือ ธปท. อาจพิจารณาอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนให้ได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ผู้ซึ่งประกอบกิจการดังกล่าวต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้ 5.1 หากทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วต่ํากว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 4.2.1 (1.2) ให้ดําเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้ว ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตโดยให้ยื่นแผนการเพิ่มทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตด้วย 5.2 ในกรณีมีเหตุจําเป็นซึ่งทําให้ผู้ซึ่งประกอบกิจการไม่สามารถดําเนินการให้มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ซึ่งมีสัญชาติไทยและมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทยตามข้อ 4.2.1 (1.7) หรือข้อ 4.2.2 (1.6) แล้วแต่กรณี ให้ดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียน แล้วแต่กรณี อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2561 (นางฤชุกร สิริโยธิน) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,936
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 39/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 39/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 1/28/59 | - | 7,000 | 5 ก.ค. 59 | 7 ก.ค. 59 | 4 ส.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน | | 27/91/59 | - | 30,000 | 5 ก.ค. 59 | 7 ก.ค. 59 | 6 ต.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 27/182/59 | - | 35,000 | 5 ก.ค. 59 | 7 ก.ค. 59 | 5 ม.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/28/59 | - | 7,000 | 12 ก.ค. 59 | 14 ก.ค. 59 | 11 ส.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน | | 28/91/59 | - | 30,000 | 12 ก.ค. 59 | 14 ก.ค. 59 | 13 ต.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 28/182/59 | - | 35,000 | 12 ก.ค. 59 | 14 ก.ค. 59 | 12 ม.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/364/59 | - | 35,000 | 12 ก.ค. 59 | 14 ก.ค. 59 | 13 ก.ค. 60 | 364 วัน | 364 วัน | | 3/28/59 | - | 7,000 | 15 ก.ค. 59 | 21 ก.ค. 59 | 18 ส.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน | | 29/91/59 | - | 30,000 | 15 ก.ค. 59 | 21 ก.ค. 59 | 20 ต.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 29/182/59 | - | 35,000 | 15 ก.ค. 59 | 21 ก.ค. 59 | 19 ม.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2559 | 1.50 | 35,000 | 21 ก.ค. 59 | 25 ก.ค. 59 | 25 ก.ค. 59 | 3 ปี | 2.65 ปี | | 4/28/59 | - | 7,000 | 26 ก.ค. 59 | 28 ก.ค. 59 | 25 ส.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน | | 30/91/59 | - | 30,000 | 26 ก.ค. 59 | 28 ก.ค. 59 | 27 ต.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 30/182/59 | | 35,000 | 26 ก.ค. 59 | 28 ก.ค. 59 | 26 ม.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,937
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 103/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 103/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.97/14/52 | 45,000 | 15 ตุลาคม 2552 | 19/10/52 – 2/11/52 | 14 | | พ.98/14/52 | 40,000 | 16 ตุลาคม 2552 | 20/10/52 – 3/11/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,938
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 104/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนตุลาคม ปี 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สกง. 104/2552 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนตุลาคม ปี 2552 ---------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนตุลาคม ปี 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาการแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนตุลาคม ปี 2552 (รุ่นที่ 5/ 2 ปี/2552) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 16 ตุลาคม 2552 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 5/2 ปี2552 ที่จะประมูลในวันที่ 20 ตุลาคม 2552 เท่ากับร้อยละ 2.15 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,939
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 40/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 40/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.27/14/59 | 45,000 | 8 กรกฎาคม 2559 | 12/7/59 – 26/7/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,940
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5 /2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ดังนี้ | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | 6/91/61 | - | 30,000 | 6 ก.พ. 61 | 8 ก.พ. 61 | 10 พ.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 6/182/61 | - | 30,000 | 6 ก.พ. 61 | 8 ก.พ. 61 | 9 ส.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2560 | 3M BIBOR -0.1(สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 ก.พ. 61 จะประกาศในวันที่ 5 ก.พ. 61) | 15,000 | 9 ก.พ. 61 | 13 ก.พ. 61 | 7 ก.พ. 63 | 3 ปี | 1.98 ปี | | 7/91/61 | - | 30,000 | 13 ก.พ. 61 | 15 ก.พ. 61 | 17 พ.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 7/182/61 | - | 30,000 | 13 ก.พ. 61 | 15 ก.พ. 61 | 16 ส.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 4/364/60 | - | 60,000 | 13 ก.พ. 61 | 15 ก.พ. 61 | 6 ธ.ค. 61 | 364 วัน | 294 วัน | | 8/91/61 | - | 30,000 | 20 ก.พ. 61 | 22 ก.พ. 61 | 24 พ.ค. 61 | 91 วัน | 91 วัน | | 8/182/61 | - | 30,000 | 20 ก.พ. 61 | 22 ก.พ. 61 | 23 ส.ค. 61 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/2ปี/2561 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 20 ก พ. 61 | 40,000 | 22 ก.พ. 61 | 26 ก.พ. 61 | 26 ก.พ. 63 | 2 ปี | 2 ปี | | 9/90/61 | - | 30,000 | 27 ก.พ. 61 | 2 มี.ค. 61 | 31 พ.ค. 61 | 90 วัน | 90 วัน | | 9/181/61 | - | 30,000 | 27 ก.พ. 61 | 2 มี.ค. 61 | 30 ส.ค. 61 | 181 วัน | 181 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2ปี/2561 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 | | การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 26 กุมภาพันธ์ และ 26 สิงหาคม ของทุกปี | | วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 26 สิงหาคม 2561 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2560 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,941
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2556 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.15/13/56 | 30,000 | 11 เมษายน 2556 | 17/4/56 – 30/4/56 | 13 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,942
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 105/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 105/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.99/14/52 | 40,000 | 21 ตุลาคม 2552 | 26/10/52 – 9/11/52 | 14 | | พ.100/14/52 | 35,000 | 22 ตุลาคม 2552 | 27/10/52 – 10/11/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,943
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 41/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 41/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.28/13/59 | 45,000 | 14 กรกฎาคม 2559 | 20/7/59 – 2/8/59 | 13 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,944
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5/2561 เรื่อง วิธีการดำรงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิ พร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5 /2561 เรื่อง วิธีการดํารงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิ พร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ----------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อให้การดํารงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต สามารถรองรับและสะท้อนความเสี่ยงของธุรกรรมการชําระดุลของระบบการชําระเงินรายย่อยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 1 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 12 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต อื่นๆ - 3. แก้ไข ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2557 เรื่อง วิธีการดํารงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2557 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและสถาบันผู้ให้หลักประกันตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต อื่นๆ - 5. เนื้อหา ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2557 เรื่องวิธีการดํารงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 2 ธปท. จะกําหนดฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเป็นงวดรายเดือน โดย ธปท.จะแจ้งให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันแรกของเดือนที่ต้องเริ่มดํารงตราสารหนี้ผ่านบริการ EFS ทั้งนี้ ในแต่ละงวดเดือนให้เริ่มตั้งแต่วันทําการแรกไปจนถึงวันทําการสุดท้ายของเดือนนั้น เว้นแต่การดํารงตราสารหนี้ครั้งแรก ให้ดํารงตั้งแต่วันที่ตกลงกับ ธปท. ไปจนถึงวันทําการสุดท้ายของงวดเดือนนั้น" อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,945
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 เมษายน 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27 /2556 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 เมษายน 2556 ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 เมษายน 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 เมษายน 2556 เท่ากับร้อยละ 2.65462 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 11 เมษายน 2556 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,946
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 42/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 42/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.29/14/59 | 45,000 | 22 กรกฎาคม 2559 | 26/7/59 – 9/8/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,947
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 43/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 43/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 5/28/59 | - | 10,000 | 2 ส.ค. 59 | 4 ส.ค. 59 | 1 ก.ย. 59 | 28 วัน | 28 วัน | | 31/91/59 | - | 35,000 | 2 ส.ค. 59 | 4 ส.ค. 59 | 3 พ.ย. 60 | 91 วัน | 91 วัน | | 31/182/59 | - | 35,000 | 2 ส.ค. 59 | 4 ส.ค. 59 | 2 ก.พ 59 | 182 วัน | 182 วัน | | 6/28/59 | - | 10,000 | 9 ส.ค. 59 | 11 ส.ค. 59 | 8 ก.ย. 59 | 28 วัน | 28 วัน | | 32/91/59 | - | 35,000 | 9 ส.ค. 59 | 11 ส.ค. 59 | 10 พ.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 32/182/59 | - | 35,000 | 9 ส.ค. 59 | 11 ส.ค. 59 | 9 ก.พ. 60 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/364/59 | - | 35,000 | 9 ส.ค. 59 | 11 ส.ค. 59 | 13 ก.ค. 60 | 364 วัน | 364 วัน | | 7/28/59 | - | 10,000 | 16 ส.ค. 59 | 18 ส.ค. 59 | 15 ก.ย. 59 | 28 วัน | 28 วัน | | 33/91/59 | - | 35,000 | 16 ส.ค. 59 | 18 ส.ค. 59 | 17 พ.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 33/182/59 | - | 35,000 | 16 ส.ค. 59 | 18 ส.ค. 59 | 16 ก.พ. 60 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR -0.1(สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 ส.ค. 59) | 10,000 | 19 ส.ค. 59 | 23 ส.ค. 59 | 17 ก.พ. 61 | 3 ปี | 1.49 ปี | | 8/28/59 | - | 10,000 | 23 ส.ค. 59 | 23 ส.ค. 59 | 22 ก.ย. 59 | 28 วัน | 28 วัน | | 34/91/59 | - | 35,000 | 23 ส.ค. 59 | 23 ส.ค. 59 | 24 พ.ย. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 34/182/59 | - | 35,000 | 23 ส.ค. 59 | 23 ส.ค. 59 | 23 ก.พ. 60 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2559 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 23 ส.ค. 59 | 35,000 | 25 ส.ค. 59 | 25 ส.ค. 59 | 29 ส.ค. 60 | 2 ปี | 2 ปี | | 9/28/59 | - | 10,000 | 30 ส.ค. 59 | 30 ส.ค. 59 | 29 ก.ย. 60 | 28 วัน | 28 วัน | | 35/91/59 | - | 35,000 | 30 ส.ค. 59 | 30 ส.ค. 59 | 1 ธ.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน | | 35/182/59 | - | 35,000 | 30 ส.ค. 59 | 30 ส.ค. 59 | 2 มี.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2559 สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2ปี/2559 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2554 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 28 กุมภาพันธ์ และ 29 สิงหาคม ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 29 สิงหาคม 2561 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,948
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2556 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.16/14/56 | 30,000 | 19 เมษายน 2556 | 23/4/56 – 7/5/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,949
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 44/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 44/2559 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2559 ---------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม2559 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ | | (ล้านบาท) | (วัน) | | พ.30/14/59 | 50,000 | 29 กรกฎาคม 2559 | 2/8/59 – 16/8/59 | 14 | อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,950
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนเมษายน 2556 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนเมษายน 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.17/14/56 | 30,000 | 26 เมษายน 2556 | 30/4/56 – 14/5/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,951