title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 13/2562 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้จัดการผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 13/2562
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ
ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
----------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ในสภาวะปัจจุบันระบบสถาบันการเงินมีการแข่งขันสูง และธุรกรรมต่าง ๆ ได้มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว มีความซับซ้อนและความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งมีการทําธุรกรรมทางด้านการเงินใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์แต่อาจแตกต่างตามประเภทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น จึงจําเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมทั้งในด้านจริยธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและควบคุมการดําเนินงาน ตลอดจนการกํากับดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่กําหนดไว้ เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders)
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม ซึ่งกําหนดให้บุคคลที่ดํารงตําแหน่งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสม และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ตามกฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น ๆ กฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดเพิ่มในประกาศฉบับนี้ตลอดระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่ง
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 4/2559 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" หมายความว่า
(1) กรรมการที่ทําหน้าที่บริหารงานในตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการหรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
(2) กรรมการที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการหรือมีส่วนร่วมในการบริหารงานใด ๆ เยี่ยงผู้บริหาร และให้หมายความรวมถึงกรรมการที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหาร(Executive Committee)1
(3) กรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพัน เว้นแต่เป็นการลงนามผูกพันตามรายการที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติไว้แล้วเป็นรายกรณี และเป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น
"ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือบุคคลที่อาจทําหน้าที่เปรียบเสมือนกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เพียงใช้ชื่อว่าเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น รวมไปถึงบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว แต่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย อย่างไรก็ตามไม่รวมถึงบุคคลที่รับจ้างทํางานให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชี ที่ปรึกษากฎหมายที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาด้านภาษี ที่ปรึกษาด้านภาษา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กรที่ปรึกษาด้านประกันภัย ที่ปรึกษาด้านแบบจําลองเชิงปริมาณขั้นสูง เป็นต้น
"กรรมการโดยตําแหน่ง" หมายความว่า กรรมการที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานตามที่กฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งกําหนด และให้หมายความรวมถึงกรรมการที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานราชการด้วย
5.2 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องมีคุณสมบัติและความสามารถที่เหมาะสม (Fit and Proper) โดยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในกฎหมาย ดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง
(2) กฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
(3) กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ และ
(4) กฎหมายและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
5.2.1 ลักษณะต้องห้ามทั่วไป
(1) เป็นบุคคลล้มละลายหรือพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายมาแล้วไม่ถึงห้าปี
(2) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม
(3) เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐฐานทุจริตต่อหน้าที่
(4) เคยเป็นผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในขณะที่สถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(5) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 89 (3) หรือมาตรา 90 (4) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 หรือเคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือบริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(6) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยในเวลาเดียวกัน เว้นแต่ได้รับยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(7) เป็นผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ นอกเหนือจากตําแหน่งกรรมการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 5.3
(8) เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดในข้อ 5.2.2 (2) (2.1)
(9) เป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเป็นผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ครบ 1 ปี ในตําแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไปหรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของส่วนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในสายงานใด หรือในตําแหน่งผู้อํานวยการอาวุโสหรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสายงานที่มีอํานาจในการตัดสินใจกําหนดนโยบายกํากับดูแลหรือการกํากับตรวจสอบสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2.2 ลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติม ที่กําหนดตามหลักการ 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง (2) ด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ และ (3) ด้านสถานะทางการเงิน ดังต่อไปนี้
(1) ด้านความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง (Honesty, Integrity and Reputation)
กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวกับประเด็นความซื่อสัตย์สุจริต และชื่อเสียง ดังต่อไปนี้
(1.1) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้มีอํานาจตามกฎหมายจัดตั้ง สั่งถอดถอนจากการเป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือบริษัทหลักทรัพย์ใดมาก่อน เว้นแต่จะพ้นระยะเวลาที่กําหนดห้ามดํารงตําแหน่งดังกล่าวแล้ว หรือได้รับการยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(1.2) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้มีอํานาจตามกฎหมายจัดตั้ง หรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่กํากับและควบคุมสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกําลังถูกดําเนินคดี ในความผิดฐานฉ้อโกงหรือทุจริต ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของสถาบันการเงิน หลักทรัพย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และกฎหมายอื่น ๆ เว้นแต่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด
(1.3) เคยถูกหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากที่ระบุใน (1.2) กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกําลังถูกดําเนินคดี ในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริตทางการเงินเว้นแต่ปรากฎว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด
(1.4) มีหรือเคยมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือการดําเนินการใด ๆที่ผิดกฎหมาย หรือที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือประชาชน
(1.5) มีหรือเคยมีประวัติส่วนตัวหรือพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนให้เกิดการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น
(1.6) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉล หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนให้เกิดการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น ซึ่งรวมถึงการเลือกปฏิบัติการแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใด ๆ อันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
(1.7) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลหรือการปฏิบัติงานที่พึงกระทําตามสมควรเยี่ยงกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งทําให้สถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ฝ่าฝืนกฎหมายกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ คู่มือการปฏิบัติงานภายใน ตลอดจนมติของคณะกรรมการ หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพิจารณาสินเชื่อหรือการตัดสินใจลงทุน หรือมีการดําเนินการอื่นใดอันเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสําคัญ เช่น ทําให้การดํารงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ( BIS Ratio ต่ํากว่าที่กฎหมายกําหนด หรือทําให้ไม่สามารถดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งรวมถึงความเสียหายต่อลูกค้าของสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสําคัญ
(2) ด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ (Competence, Capability and Experiences)
กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่จําเป็นและเหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบในระดับที่ผู้ประกอบวิชาชีพการเงินการธนาคารพึงมีและต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(2.1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต นอกเหนือจากตําแหน่งที่กําหนดในข้อ 5.2.1 (8) ทั้งนี้ ให้รวมถึงตําแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยรัฐมนตรี ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
(2.2) มีหรือเคยมีการทํางานที่แสดงถึงการขาดมาตรฐานทางบัญชีมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง หรือมาตรฐานทางวิชาชีพอื่น ๆ ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งกําหนดโดยหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานกําหนดมาตรฐานอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริง การจงใจหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลในประเด็นอันเป็นสาระสําคัญ การถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
(3) ด้านสถานะทางการเงิน (Financial Soundness)
กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสถานะทางการเงิน กล่าวคือ ต้องไม่มีปัญหาในการชําระเงินต้น ดอกเบี้ย หรือรายได้ทางการเงินอื่นที่เทียบเท่าดอกเบี้ย หรือเข้าข่ายจัดชั้นเป็นลูกหนี้ชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน ชั้นสงสัย ชั้นสงสัยจะสูญ หรือสูญ กับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือบริษัทที่ให้สินเชื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5.3 ข้อยกเว้นเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 5.2.1 (7)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดข้อยกเว้นเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5.2.1 (7) ดังนี้
5.3.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพ้นอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นกรรมการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ แต่การดํารงตําแหน่งดังกล่าวต้องไม่ใช่กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
5.3.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพ้นอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และเป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น หรือบริษัทที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือหุ้นเพื่อการดําเนินการตามวัตถุประสงค์ตามพันธกิจ สามารถเป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นได้
5.3.3 โดยอาจมีกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความจําเป็นจะต้องส่งกรรมการผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ เข้าไปกํากับดูแลบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงสมควรอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถส่งกรรมการ ผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการ ไปเป็นผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการ ของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นและเป็นบริษัทที่อยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ เพราะเหตุแห่งความจําเป็นที่จะต้องกํากับดูแลลูกหนี้ดังกล่าวตามที่กล่าวมาข้างต้น
5.4 การแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ในกรณีที่ประธานกรรมการ กรรมการโดยตําแหน่ง กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ้นจากตําแหน่งตามวาระ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ลาออก ตาย หรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในตําแหน่งงานระดับเดียวกัน สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นหนังสือให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ตามแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงตามเอกสารแนบ
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
สําหรับกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในปัจจุบันก่อนวันที่ 1 มกราคม 2560 ให้ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปได้จนครบวาระ อย่างไรก็ตาม หากปรากฎในภายหลังว่าบุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้บุคคลดังกล่าวรายงานต่อประธานกรรมการ หน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของ และธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทราบ และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดําเนินการถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตําแหน่ง
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,652 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14/2562 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลการดำรงเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 14 /2562
เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2)
------------------------------------------------
1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมการใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Market Discipline) โดยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีความโปร่งใสในด้านข้อมูลการดํารงเงินกองทุนและข้อมูลความเสี่ยงของตนเอง และให้ผู้มีส่วนได้เสียในตลาดสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการประเมินความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกลไกตลาดที่สําคัญในการผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี นอกเหนือจากการควบคุมภายในของธนาคารพาณิชย์และการกํากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทยโดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้อ้างอิงแนวทางจาก The Third Pillar - Market Discipline ใน International Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive version: June 2006) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) และต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับการเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Base I!! โดยอ้างอิงแนวทางจาก Basel II: A global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) และ Composition of capital disclosure requirements (June 2012) ของ BCBS นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์องค์ประกอบของเงินกองทุนเพื่อให้รองรับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน(Thai Financial Reporting Standard No.9: Financial Instruments: TFRS 9) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่งวดการบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกทยอยรับรู้ผลกระทบต่อเงินกองทุนจากการกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เพิ่มขึ้นในครั้งแรก และปรับปรุงนิยามรายการเงินสํารองทั่วไป (General provision) ที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 2
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์องค์ประกอบของเงินกองทุนดังกล่าว เพื่อให้สะท้อนการดํารงเงินกองทุนและความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียในตลาดเข้าใจและสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง
ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับปรุงเนื้อหาที่สําคัญ ดังนี้
1. เพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ (Key prudential metrics) ทั้งด้านเงินกองทุนและสภาพคล่อง โดยด้านเงินกองทุนกําหนดให้เปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนที่สะท้อนถึงผลกระทบทั้งจํานวนจากการกันเงินสํารองตาม TFR 9 เพิ่มเติมจากกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เลือกทยอยรับรู้ผลกระทบดังกล่าว ซึ่งอ้างอิงแนวทางจาก Pillar 3 disclosure requirements - consolidated and enhanced framework (March 2017) ของ BCBS
2. ปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิตในส่วนของฐานะความเสี่ยงและการกันเงินสํารองตาม TFRS 9 ที่เกี่ยวข้องกับ General provision ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 โดยอ้างอิงแนวทางจาก Pillar 3 disclosure requirements – regulatory treatment of accounting provisions (August 2018) ของ BCBS
นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงชื่อรายการในการเปิดเผยมูลค่าฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคารให้สอดคล้องกับรูปแบบการแสดงรายการในงบการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป และปรับปรุงการเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel II! (Transitional period) ให้เป็นปัจจุบัน
2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุน ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
3. ประกาศที่แก้ไข
3.1 ยกเลิกความในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 4/2556 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้ของประกาศนี้แทน ดังนี้
(1) ยกเลิกความใน ข้อ 5.1 และให้ใช้ความในข้อ 5.1 ของประกาศนี้แทน
(2) ยกเลิกความใน ข้อ 5.7.1 และให้ใช้ความในข้อ 5.2 ของประกาศนี้แทน
(3) ยกเลิกความใน ข้อ 5.7.2 และให้ใช้ความในข้อ 5.3 ของประกาศนี้แทน
(4) ยกเลิกความใน หัวข้อ 1: ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิตของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ในเอกสารแนบ 1 และให้ใช้ความในหัวข้อ 1: ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศนี้แทน
(5) ยกเลิกความใน หัวข้อ 6: ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ในเอกสารแนบ 1 และให้ใช้ความในหัวข้อ 6: ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศนี้แทน
(6) ยกเลิกความใน หัวข้อ 2: การเปีดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel I!! ของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ในเอกสารแนบ 1 และให้ใช้ความในหัวข้อ 2: การเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel II! ของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS (เฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ) ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศนี้แทน
(7) ยกเลิกความใน หัวข้อ 1: ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิตของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ในเอกสารแนบ 2 และให้ใช้ความในหัวข้อ 1: ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ในเอกสารแนบ 2 ของประกาศนี้แทน
(8) ยกเลิกความใน หัวข้อ 6: ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร ของหมวด คะ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ในเอกสารแนบ 2 และให้ใช้ความในหัวข้อ 6: ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคารของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ในเอกสารแนบ 2 ของประกาศนี้แทน
(9) ยกเลิกความใน หัวข้อ 2: การเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel II! ของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ในเอกสารแนบ 4 และให้ใช้ความในหัวข้อ 2: การเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel II! ของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS (เฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ) ในเอกสารแนบ 4 ของประกาศนี้แทน
3.2 เพิ่มความต่อไปนี้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 4/2556 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 ดังนี้
(1) เพิ่มเติม หมวด กก: ตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศนี้ ก่อนหมวด ข: เงินกองทุน ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 4/2556
(2) เพิ่มเติม หมวด กก: ตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ ในเอกสารแนบ 2 ของประกาศนี้ ก่อนหมวด ข: เงินกองทุน ในเอกสารแนบ 2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 4/2556
4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
5. เนื้อหา
5.1"5.1 คําจํากัดความ
"ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
"คณะผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี
"เงินสํารอง" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดขั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน
"เงินสํารองทั่วไป" (General provision) ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศรนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
"Specific provision" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดย Standardised Approach (วิธี SA)"
5.2 "5.7.1 ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําของข้อมูลที่ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย โดยแบ่งเป็น 5 หมวดสําคัญ ได้แก่ หมวด ก: ขอบเขตการบังคับใช้หมวด กก: ตัวขชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ หมวด ข: เงินกองทุน หมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์ และหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS' โดยในแต่ละหมวดประกอบด้วยข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 1) ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ตัวอย่างตารางการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณในแต่ละหมวด เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เข้าใจถึงเนื้อหาของข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2) อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์อาจพิจารณาใช้รูปแบบอื่นในการเปิดเผยข้อมูลได้ตามความเหมาะสม หากเนื้อหาของข้อมูลที่เปิดเผยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศเปิดเผยข้อมูลในหมวด ง โดยเป็นข้อมูลเงินกองทุนที่ต้องเปิดเผยเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ซึ่งได้แก่
(1) ข้อมูลคุณสมบัติที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุน (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3)
(2) การเบิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel III (Transitional Period) โดยให้เปิดเผยยอดรวมมูลค่าของเงินกองทุนที่ต้องทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Base! I! ในช่วงการทยอยหักเงินกองทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ (1) ของบทเฉพาะกาลของประกาศรนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ โดยแสดงเป็นยอดรวมสําหรับแต่ละรายการแยกเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงิน และเงินกองทุนชั้นที่ 2 สําหรับจํานวนที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนได้ และจํานวนที่ไม่สามารถนับเป็นเงินกองทุนได้ (ร้ายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 4)"
5.3 "5.7.2 ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลตามข้อ 5.7.1 โดยมีความถี่ในการเปิดเผยข้อมูล ดังนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| หมวด | ข้อมูลที่ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย | ความถี่ |
| กกกขคง | ขอบเขตการบังคับใช้หลักเกณฑ์ตาม Basel II (Scope of application)ตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ (Key prudential metrics)เงินกองทุน (Capital) หัวข้อ 1 โครงสร้างเงินกองทุน (Capital structure) หัวข้อ 2 ความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital adequacy)ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคารพาณิชย์(Risk exposure and assessment)I. ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยทั่วไป สําหรับทุกประเภทความเสี่ยงII. ข้อมูลในแต่ละประเภทความเสี่ยง ซึ่งแบ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ความเสี่ยงด้านเครดิต (ไม่รวมฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน) หัวข้อ 1 ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต หัวข้อ 2 ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต 2.1 โดยวิธี SA 2.2 โดยวิธี IRB หัวข้อ 3 ข้อมูลการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต 3.1 โดยวิธี SA 3.2 โดยวิธี IRB ความเสี่ยงด้านตลาด หัวข้อ 4 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาด 4.1 โดยวิธีมาตรฐาน 4.2 โดยวิธีแบบจําลอง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หัวข้อ 5 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน หัวข้อ 6 ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร หัวข้อ 7 ข้อมูลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารการเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS (เฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ) หัวข้อ 1 ข้อมูลคุณสมบัติสที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุน หัวข้อ 2 การเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตาม หลักเกณฑ์ Basel III | รายปีรายครึ่งปีรายครึ่งปีรายปีรายปีรายครึ่งปีรายปีรายปีรายปีรายครึ่งปี |
ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดภายในระยะเวลา 4 เดือนหลังจากวันสิ้นงวด
6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับงวดที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฝ่ายนโยบายการกํากับสถาบันการเงิน
โทรศัพท์ 0 2283 5313, 0 2283 5303 | 6,653 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15/2562 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลการดำรงเงินกองทุนสำหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (ฉบับที่ 2) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 15 /2562
เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (ฉบับที่ 2)
---------------------------------------
1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อส่งเสริมการใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Market Discipline) เช่นเดียวกับกรณีของธนาคารพาณิชย์ โดยกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องมีความโปร่งใสในด้านข้อมูลการดํารงเงินกองทุนและข้อมูลความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตน ซึ่งเป็นกลไกตลาดที่สําคัญในการผลักดันให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี นอกเหนือจากการควบคุมภายในของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและการกํากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้อ้างอิงแนวทางจาก The Third Pillar - Market Discipline ใน International Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive version: June 2006) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) และต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับการเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel II! โดยอ้างอิงแนวทางจาก Basel I1: A global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) และ Composition of capital disclosure requirements (June 2012) ของ BCBS นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อให้รองรับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (Thai Financial Reporting Standard No.9: Financial Instruments: TFRS 9) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่งวดการบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถเลือกทยอยรับรู้ผลกระทบต่อเงินกองทุนจากการกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เพิ่มขึ้นในครั้งแรก และปรับปรุงนิยามรายการเงินสํารองทั่วไป (General provision) ที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้สอดคล้องกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินดังกล่าว เพื่อให้สะท้อนการดํารงเงินกองทุนและความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียในตลาดเข้าใจและสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง
ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับปรุงเนื้อหาที่สําคัญ ดังนี้
1. เพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ (Key prudential metrics) โดยให้สะท้อนถึงผลกระทบทั้งจํานวนจากการกันเงินสํารองตาม TFRS 9 เพิ่มเติมจากกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินเลือกทยอยรับรู้ผลกระทบดังกล่าว โดยอ้างอิงแนวทางจาก Pillar 3 disclosure requirements - consolidated and enhanced framework (March 2017) ของ BCBS
2. ปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิตในส่วนของฐานะความเสี่ยงและการกันเงินสํารองตาม TFRS 9 ที่เกี่ยวข้องกับ General provision ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 โดยอ้างอิงแนวจาก Pillar 3 disclosure requirements - regulatorytreatment of accounting provisions (August 2018) ของ BCBS
นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงชื่อรายการในการเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนให้สอดคล้องกับรูปแบบการแสดงรายการในงบการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ (1) มูลค่าฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร และ (2) การกระทบยอดรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุน(Reconciliation) รวมทั้งปรับปรุงการเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel II! (Transitional period) ให้เป็นปัจจุบัน
ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง 1 สําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยส่วนใหญ่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยยังคงกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินเปิดเผยการกระทบยอดรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุน (Reconciliation) ที่ปรากฏในงบการเงินที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ งบการเงินตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลของทางการและข้อมูลเงินกองทุนภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของทางการ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียในตลาดทราบและสามารถเปรียบเทียบรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุนได้ เพิ่มเติมจากกรณีของธนาคารพาณิชย์เช่นเดิม
2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
3. ประกาศที่แก้ไข
3.1 ยกเลิกความในประกาศรนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 5/2556 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้ของประกาศนี้แทน ดังนี้
(1) ยกเลิกความใน ข้อ 5.1 และให้ใช้ความในข้อ 5.1 ของประกาศนี้แทน
(2) ยกเลิกความใน ข้อ 5.7.1 และให้ใช้ความในข้อ 5.2 ของประกาศนี้แทน
(3) ยกเลิกความใน ข้อ 5.7.2 และให้ใช้ความในข้อ 5.3 ของประกาศนี้แทน
(4) ยกเลิกความใน หัวข้อ 1: ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต ของ
หมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในเอกสารแนบ 1 และให้ใช้ความในหัวข้อ 1: ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศนี้แทน
(5) ยกเลิกความใน หัวข้อ ร: ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร ของ
หมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในเอกสารแนบ 1 และให้ใช้ความในหัวข้อ : ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศนี้แทน
(6) ยกเลิกความใน หัวข้อ 3: การเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel II! ของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ในเอกสารแนบ 1 และให้ใช้ความในหัวข้อ 3: การเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel II! ของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศนี้แทน
(7) ยกเลิกความใน หัวข้อ 1: ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในเอกสารแนบ 2 และให้ใช้ความในหัวข้อ 1: ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในเอกสารแนบ 2 ของประกาศนี้แทน
(8) ยกเลิกความใน หัวข้อ 6: ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในเอกสารแนบ 2 และให้ใช้ความในหัวข้อ 6: ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร ของหมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ในเอกสารแนบ 2 ของประกาศนี้แทน
(9) ยกเลิกความใน หัวข้อ 2: การกระทบยอดรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุนของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ในเอกสารแนบ 4 และให้ใช้ความในหัวข้อ 2: การกระทบยอดรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุน ของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ในเอกสารแนบ 4 ของประกาศนี้แทน
(10) ยกเลิกความใน หัวข้อ 3: การเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel II! ของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ในเอกสารแนบ 5 และให้ใช้ความในหัวข้อ 3: การเปิดเผยมูลค่าเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel II! ของหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูล
เงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ในเอกสารแนบ 5 ของประกาศนี้แทน
3.2 เพิ่มความต่อไปนี้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 5/2556 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 ดังนี้
(1) เพิ่มเติม หมวด กก: ตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศนี้ ก่อนหมวด ข: เงินกองทุน ในเอกสารแนบ 1 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) เพิ่มเติม หมวด กก: ตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ ในเอกสารแนบ 2 ของประกาศนี้ ก่อนหมวด ข: เงินกองทุน ในเอกสารแนบ 2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 5/2556
4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วม ทุกแห่งของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ยกเว้น สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
5. เนื้อหา
5.1 "5.1 คําจํากัดความ
"กลุ่มธุรกิจทางการเงิน " หมายความว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงินตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
"คณะผู้บริหารของบริษัทแม่" หมายความว่า กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งผู้บริหารสูงสุดที่กํากับดูแลสายงานบัญชีของบริษัทแม่
"เงินสํารอง" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน
"เงินสํารองทั่วไป" (General provision) ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
"Specific provision" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA)"
5.2 "5.7.1 ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําของข้อมูลที่ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินเปิดเผย โดยแบ่งเป็น 5 หมวดสําคัญ ได้แก่ หมวด ก: ขอบเขตการบังคับใช้หมวด กกะ ตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ หมวด ข: เงินกองทุน หมวด ค: ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และหมวด ง: การเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS โดยในแต่ละหมวดประกอบด้วยข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 1) ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ตัวอย่างตารางการเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณในแต่ละหมวด เพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินเข้าใจถึงเนื้อหาของข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 2) อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจพิจารณาใช้รูปแบบอื่นในการเปิดเผยข้อมูลได้ตามความเหมาะสม หากเนื้อหาของข้อมูลที่เปิดเผยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ทั้งนี้ ข้อมูลในหมวด ง. เป็นข้อมูลเงินกองทุนที่ต้องเปิดเผยเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS ซึ่งได้แก่
(1) ข้อมูลคุณสมบัติที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุน (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3)
(2) การกระทบยอดรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุนที่ปรากฏในงบการเงินที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ งบการเงินตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยและข้อมูลเงินกองทุนภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 4)
(3) การเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel III (Transitional period โดยให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนที่ต้องทยอยหักตามหลักเกณฑ์ Basel แl ในช่วงการทยอยหักเงินกองทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6.1 ของบทเฉพาะกาลของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยแสดงแต่ละรายการแยกเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงิน และเงินกองทุนชั้นที่ 2 สําหรับจํานวนที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนได้ และจํานวนที่ไม่สามารถนับเป็นเงินกองทุนได้ (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 5)"
5.3 "5.7.2 ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินเปิดเผยข้อมูลตามข้อ 5.7.1 โดยมีความถี่ในการเปิดเผยข้อมูล ดังนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| หมวด | ข้อมูลที่ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย | ความถี่ |
| กกกขค | ขอบเขตการบังคับใช้หลักเกณฑ์ตาม Basel III (Scope of application)ตัวชี้วัดความเสี่ยงที่สําคัญ (Key prudential metrics)เงินกองทุน (Capital) หัวข้อ 1 โครงสร้างเงินกองทุน (Capital structure) หัวข้อ 2 ความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital adequacy)ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน(Risk exposure and assessment)I. ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยทั่วไป สําหรับทุกประเภทความเสี่ยงII. ข้อมูลในแต่ละประเภทความเสี่ยง ซึ่งแบ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ | รายปีรายครึ่งปีรายครึ่งปีรายปี |
| | | |
| --- | --- | --- |
| หมวด | ข้อมูลที่ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย | ความถี่ |
| ง | ความเสี่ยงด้านเครดิต (ไม่รวมฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน) หัวข้อ 1 ข้อมูลทั่วไปของฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต หัวข้อ 2 ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านเครดิต 2.1 โดยวิธี SA 2.2 โดยวิธี IRB หัวข้อ 3 ข้อมูลการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต 3.1 โดยวิธี SA 3.2 โดยวิธี IRB ความเสี่ยงด้านตลาด หัวข้อ 4 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาด 4.1 โดยวิธีมาตรฐาน 4.2 โดยวิธีแบบจําลอง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หัวข้อ 5 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน หัวข้อ 6 ข้อมูลฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคาร ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร หัวข้อ 7 ข้อมูลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารการเปิดเผยข้อมูลเงินกองทุนเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ BCBS หัวข้อ 1 ข้อมูลคุณสมบัติสที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุน หัวข้อ 2 การกระทบยอดรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุน หัวข้อ 3 การเปิดเผยมูลค่าของเงินกองทุนในช่วงการทยอยนับเข้าหรือทยอยหักตาม หลักเกณฑ์ Basel III | รายปีรายครึ่งปีรายปีรายปีรายปีรายครึ่งปี |
ทั้งนี้ ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดภายในระยะเวลา 4 เดือนหลังจากวันสิ้นงวด
6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับงวดที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฝ่ายนโยบายการกํากับสถาบันการเงิน
โทรศัพท์ 0 2283 5313, 0 2283 5303 | 6,654 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 15/2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจตามนโยบายของภาครัฐและเป็นส่วนสําคัญของระบบสถาบันการเงินไทย ดังนั้นเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความมั่นคงแข็งแกร่ง และมีภูมิต้านทานที่ดี สามารถปฏิบัติตามพันธกิจได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินโดยรวมของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดํารงเงินกองทุนให้เพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยกํากับดูแลด้านเงินกองทุนโดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกํากับดูแลสถาบันการเงินตามมาตรฐานสากลที่พัฒนาโดย Basel Committee on Banking Supervision ซึ่งได้กําหนดมาตรฐานเกี่ยวกับความเพียงพอของเงินกองทุนโดยพิจารณาจากปริมาณความเสี่ยงที่เกิดจากการดําเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีลักษณะการดําเนินธุรกิจที่ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์แต่มีขอบเขตการทําธุรกิจที่จํากัดและซับซ้อนน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไป ดังนั้น เพื่อให้การกํากับดูแลมีความสอดคล้องกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนําหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการกํากับดูแลความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
นอกจากนี้ ในการกําหนดหลักเกณฑ์กํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้คํานึงถึงลักษณะธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งที่อาจมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ทั่วไปหรือมีการกระจุกตัวในธุรกิจบางประเภท เช่น ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง เป็นต้น จึงได้กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งที่ทําธุรกรรมดังกล่าว ดํารงอัตราส่วนปริมาณธุรกรรมเทียบเคียงกับเงินกองทุนเพิ่มเติมควบคู่ไปกับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนซึ่งคํานวณจากการประเมินความเสี่ยง
ในการออกประกาศฉบับนี้ เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม โดยยังคงกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา รวมทั้งครอบคลุมถึงการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนตามลักษณะความเสี่ยงของตนเองและการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 7/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
5.2 หลักการ
หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามประกาศฉบับนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
(1) การดํารงเงินกองทุน ประกอบด้วย 3 Pillars ดังนี้
Pillar 1 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement)
Pillar 1 เป็นหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงที่สําคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านเครดิต' (Credit risk) ความเสี่ยงด้านตลาด(Market risk) และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดรวมทั้งการกําหนดวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริงได้
Pillar 2 การกํากับดูแลโดยทางการ (Supervisory review process)
Pillar 2 ระบุให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรมีเงินกองทุนสูงกว่าเงินกองทุนขั้นต่ําตาม Pillar 1 เพื่อรองรับความเสี่ยงที่ไม่ครอบคลุมใน Pillar 1 เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร และความสี่ยงในการกระจุกตัวของลูกหนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ Pillar 2 ยังกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนโดยคํานึงถึงความเสี่ยงทุกด้านของตนเองและมีการทดสอบภาวะวิกฤตที่เหมาะสม
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะตรวจสอบ ติดตาม และประเมินระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง ตลอดจนดําเนินมาตรการกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งอย่างเหมาะสมและทันกาล
Pillar 3 การใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Market discipline)
Pillar 3 มีวัตถุประสงค์ให้ใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล เพื่อเสริมการกํากับดูแลตาม Pillar 1 และ Pillar 2 โดยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ระดับความเสี่ยงและระบบการบริหารความเสี่ยงของตนเอง เพื่อให้บุคคลภายนอกหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาด เช่น ผู้ลงทุน คู่ค้า และผู้ฝากเงิน เป็นต้น สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งจะเป็นกลไกตลาดที่สําคัญในการผลักดันให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี นอกเหนือจากการควบคุมภายในของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเองและการกํากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
อนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา หรือ Pillar 1 เท่านั้น โดยในอนาคตหากมีความจําเป็นในการบังคับใช้หลักการใน Pillar 2 และ Pillar 3 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดต่อไป
(2) การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันจากการรับประกันความเสี่ยง
สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทําธุรกรรมหลักเกี่ยวกับการรับประกันความเสี่ยงอาจต้องดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงเพิ่มเติมด้วย เพื่อควบคุมปริมาณการทําธุรกรรมดังกล่าวให้เหมาะสม ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยในเบื้องต้นธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงเพิ่มเติมควบคู่ไปกับอัตราส่วนเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel II ส่วนในกรณีของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หากมีการทําธุรกรรมรับประกันความเสี่ยงนอกเหนือจากโครงการค้ําประกันสินเชื่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามนโยบายรัฐบาล (Portfolio Guarantee Scheme: PGS) อย่างมีนัยสําคัญ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนเพิ่มเติมได้ ตามที่จะประกาศกําหนดต่อไป
ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้เป็นประกาศหลักในชุดประกาศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งระบุข้อกําหนดหลักที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องถือปฏิบัติโดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจอ้างอิงรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ในประกาศย่อยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
4. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
5.3 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําโดยใช้อัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นและสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น โดยเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ อัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นต้องไม่ต่ํากว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่กําหนด ดังนี้
เงินกองทุนทั้งสิ้น ≥ อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ํา
สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามข้อ 5.3.1 องค์ประกอบของเงินกองทุนทั้งสิ้นตามข้อ 5.3.2 และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามข้อ 5.3.3
5.3.1 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําทั้งสิ้นเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น (Total capital ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น (Tier 1 ratio) ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.25 ทั้งนี้ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจํานวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการคํานวณอัตราส่วนดังกล่าวให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ยอดรวมของทุกสํานักงานและใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่คํานวณ
5.3.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน
ให้เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีองค์ประกอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งกําหนดให้เงินกองทุนทั้งสิ้นประกอบด้วยเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) เงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2) และรายการหักจากเงินกองทุน
5.3.3 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง
ให้สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเท่ากับผลรวมของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแต่ละด้าน ดังนี้
(1) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของรายการต่าง ๆ ได้แก่ สินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทุกรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร ธุรกรรมขายโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน/ซื้อโดยมีสัญญาว่าจะขายคืน และธุรกรรมยืม/ให้ยืมหลักทรัพย์ (Repo-style transaction) ธุรกรรมอนุพันธ์ รวมถึงสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทุกรายการในบัญชีเพื่อการค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า อยู่ในระดับที่ไม่มีนัยสําคัญซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังต่อไปนี้
(1.1) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้ 2 วิธี คือ Standardised Approach (วิธี SA) หรือ Simplifed Standardised Approach (วิธี SSA) ดังนี้
(1.1.1) Standardised Approach (วิธี SA)
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงโดยใช้น้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประเภทของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลรวมทั้งพิจารณาคุณภาพจากอันดับเครดิตที่ได้รับจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกร่วมด้วย นอกจากนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้โดยใช้หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral) การหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน (On-balance sheet netting) และการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (Guarantee and credit derivatives) ซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในแต่ละเรื่องด้วย
(1.1.2) Simplified Standardised Approach (วิธี SSA)
สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจเลือกใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตแบบวิธี SSA เป็นทางเลือกเพิ่มเติมได้ โดยวิธี SSA จะมีความซับซ้อนน้อยกว่าวิธี SA คือ ใช้น้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประเภทของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล โดยไม่มีการใช้ข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และอนุญาตให้สามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยใช้หลักประกันทางการเงิน(Financial collateral) และการค้ําประกัน (Guarantee) เท่านั้น
(1.2) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ เพื่อสะท้อนความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดต่อไป
(2) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดในเชิงคุณภาพเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่เหมาะสมและกําหนดวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดด้วยวิธีมาตรฐาน โดยสินทรัพย์เสี่ยงที่คํานวณได้ตามวิธีนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่าของฐานะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครองอยู่และน้ําหนักเงินกองทุนที่แบ่งตามปัจจัยความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์
(3) การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการได้ 2 วิธี คือ วิธี Basic Indicator Approach (วิธี BIA) หรือ วิธี Standardised Approach (วิธี SA-OR) ดังนี้
(3.1) Basic Indicator Approach (วิธี BIA)
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้รายได้จากการดําเนินงาน (Gross income) เป็นค่าตัวแทน (Proxy) ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งจะคํานวณจากค่าเฉลี่ยย้อนหลังของผลคูณค่าคงที่ความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดกับรายได้จากการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(3.2) Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA)
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และคํานวณค่าเฉลี่ยย้อนหลังของผลรวมของรายได้จากการดําเนินงานคูณกับค่าคงที่ความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้สําหรับแต่ละสายธุรกิจ โดยมีทางเลือกภายใต้วิธี SA OR อีกหนึ่งวิธี คือ วิธี ASA ซึ่งอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถเลือกใช้ยอดคงค้างเป็นค่าตัวแทนในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจ Commercial banking และ Retail banking แทนการใช้รายได้จากการดําเนินงาน ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จะเลือกใช้วิธี SA-OR และวิธี ASA จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย
5.4 การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันจากการรับประกันความเสี่ยง
ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง ดังนี้
เงินกองทนชั้นที่ ≥ 120%
ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง
โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 และภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามมาตรการของทางการก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ โดยหากปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้แล้ว มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราขั้นต่ําตามที่กําหนด จะไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จตามที่ทางการกําหนด
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,655 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2555 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 10 /2555
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 เท่ากับร้อยละ 2.94692 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันที่เริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,656 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 10 /2555
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางวันทนา เฮงสกุล
2. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์
3. นายยรรยง ดํารงศิริ
4. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล
5. นางสมศรี สมัตาดล
6. นายอัครเดช ดาวเงิน
7. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์
8. นายบุญชัย กาญจนพิมาย
9. นายอนันต์ อิงวิยะ
10. นายภูวดล เหล่าแก้ว
11. นายสัญชัย สุวรรณวงศ์
12. นายพิชิต ภัทรวิมลพร
13. นายธเนศชัย อังวราวงศ์
14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
15. นายชนัช เทียมมณีเนตร
16. นายชุติมา ไชยบุตร
17. นางสุภาวดี ปุณศรี
18. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร
19. นางศรีสกุล รังสิกุล
20. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ
21. นายรณรงค์ ไชยสมบัติ
อื่นๆ - 4. วันที่เริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,657 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 11 /2555
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.7/14/55 | 80,000 | 17 กุมภาพันธ์ 2555 | 21/2/55 - 6/3/55 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันที่เริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,658 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 11/2555 เรื่อง วันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจำปี พ.ศ. 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 11 /2555
เรื่อง วันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2556
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดวันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2556
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. วันหยุดตามประเพณีของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2556
1. วันอังคาร 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
2. วันจันทร์ 25 กุมภาพันธ์ วันมาฆบูชา
3. วันจันทร์ 8 เมษายน ชดเชยวันพระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึก
มหาจักรีบรมราชวงศ์
(วันเสาร์ที่ 6 เมษายน)
4. วันจันทร์ 15 เมษายน วันสงการณ์
5. วันอังคาร 16 เมษายน ชดเชยวันสงกรานต์
(วันเสาร์ที่ 13 เมษายน และ
วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน)
6. วันพุธ 1 พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ
7. วันจันทร์ 6 พฤษภาคม ชดเชยวันฉัตรมงคล
(วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม)
8. วันศุกร์ 24 พฤษภาคม วันวิสาขบูชา
9. วันจันทร์ 1 กรกฎาคม วันหยุดภาคครึ่งปี
10. วันจันทร์ 22 กรกฎาคม วันอาสาฬหบูชา
11. วันจันทร์ 12 สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
12. วันพุธ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช
13. วันพฤหัสบดี 5 ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
14. วันอังคาร 10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ
15. วันอังคาร 31 ธันวาคม วันสิ้นปี
สําหรับสถาบันการเงินในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสตูลให้หยุดในวันตรุษอีดิ้ลฟิตริ (วันรายอปอซอ) ตามประกาศสํานักจุฬาราชมนตรีอีกหนึ่งวัน หากวันตรุษดังกล่าว ไม่ตรงกับวันหยุดตามที่กล่าวข้างต้น หรือวันหยุดประจําสัปดาห์
อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,659 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 12/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 12 /2555
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามต่อไปนี้
1. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์
2. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
3. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล
4. นางสมศรี สมัตาดล
5. นายอัครเดช ดาวเงิน
เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 และแต่งตั้งนางพรวิมล เหรียญมหาสาร แทน นางสมศรี สมัตาดล (ลําดับที่ 4) ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป โดยให้ประกาศฉบับนี้ทดแทนฉบับที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,660 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 16/2562 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 16 /2562
เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีความมั่นคงแข็งแกร่ง สามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการทางการเงินได้ โดยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่เพียงพอรองรับความเสี่ยงในการดําเนินธุรกิจและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เงินกองทุนมีลักษณะที่สามารถใช้รองรับความเสียหายได้อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับลักษณะธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้ง จึงสมควรกําหนดลักษณะและองค์ประกอบของเงินกองทุนให้ชัดเจน
การออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม โดยกําหนดให้องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจประกอบด้วย เงินกองทุนชั้นที่ 1 เช่น ทุนที่ได้รับพระราชทาน ทุนประเดิม หรือหุ้นสามัญกําไรสะสม เงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เป็นต้น และเงินกองทุนชั้นที่ 2 เช่น เงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 มูลค่าส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด เป็นต้น หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนซึ่งเป็นรายการที่ไม่สะท้อนความเป็นทุนที่แท้จริงที่สามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและเพื่อรักษาระดับของเงินกองทุนให้มีความคงที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้ระบุถึงคุณสมบัติที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนโดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาในการชําระคืน การจ่ายผลตอบแทน และสิทธิในการได้รับชําระหนี้ของผู้ถือตราสาร เพื่อให้ตราสารดังกล่าวมีลักษณะคล้ายทุนมากขึ้น
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์องค์ประกอบของเงินกองทุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 8/2559 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
5.2 หลักการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ เงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ซึ่งเงินกองทุนชั้นที่ 1 คือ เงินกองทุนที่มีคุณภาพดีที่สุด เช่น ทุนที่ได้รับพระราชทาน หรือทุนประเดิม หรือหุ้นสามัญ กําไรสะสม เงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เป็นต้น ส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 2 เช่นเงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 รวมถึงมูลค่าส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด เป็นต้น และหักด้วยรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.3 องค์ประกอบของเงินกองทุน
เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ประกอบด้วย ยอดรวมของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามข้อ 5.3.1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามข้อ 5. 3.2 หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนตามข้อ 5.3.3 และปรับด้วยรายการปรับจากเงินกองทุนตามข้อ 5.3.4
5.3.1 เงินกองทุนชั้นที่ 1 ประกอบด้วย
(1) ทุนที่ได้รับพระราชทาน
(2) ทุนประเดิมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(3) ทุนชําระแล้ว (ยกเว้นทุนชําระแล้วที่ได้จากการออกหุ้นบุริมสิทธิ) ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ํามูลค่าหุ้นที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับ และเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น
(4) เงินเพิ่มทุนที่ได้รับจากทางการหรือได้รับการจัดสรรจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือจากแหล่งอื่น
(5) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผล
(6) ทุนสํารองตามกฎหมาย
(7) เงินสํารองที่ได้จัดสรรจากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับการลดค่าของสินทรัพย์ เงินสํารองสําหรับการจ่ายเงินนผลหรือเงินนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้
(8) กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรรตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังสําหรับงวด 6 เดือนหลังของปีบัญชี หรือกําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรรตามข้อบังคับของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังหลังจากหักประมาณการเงินปันผลหรือเงินนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน สําหรับงวด 6 เดือนแรกของปีบัญชี
(9) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1
5.3.2 เงินกองทุนชั้นที่ 2 ประกอบด้วย
(1) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล
(2) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ในส่วนที่เหลือจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1
(3) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid debt capital instrument) ที่สามารถเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยได้ และตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาว (Subordinated debt) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2
(4) มูลค่าส่วนที่เพิ่มจากการตีราคาที่ดิน อาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 3
(5) เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ (General provision) ได้แก่ เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติทั้งหมดตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติส่วนที่นับเป็น Specific provision' แล้ว โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(6) กําไรจากการวัดมูลค่าตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของยอดกําไรดังกล่าว
5.3.3 รายการหักจากเงินกองทุน
(1) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1
(1.1) ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวด 6 เดือนแรก และงวด 6 เดือนหลังของปีบัญชี
(1.2) ค่าความนิยม (Goodwill! ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฏในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
(1.3) การซื้อคืนตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ตามจํานวนที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้นับตราสารที่ซื้อคืนนั้นเป็นเงินกองทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะซื้อคืนตราสาร Hybrid Tier 1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารแนบ 1
(1.4) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(2) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 2
(2.1) การซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามจํานวนที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้นับตราสารที่ซื้อคืนนั้นเป็นเงินกองทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารแนบ 2
(2.2) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(3) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 อนึ่ง หากเงินกองทุนชั้นที่ 2 มีจํานวนไม่เพียงพอ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหักส่วนที่ขาดจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 จนครบเต็มตามจํานวนที่ขาด
(3.1) เงินลงทุนในหุ้นสามัญและตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม2 เว้นแต่เป็นการเข้าไปถือหุ้นในกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องแก้ไขฐานะการดําเนินการหรือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(3.2) ธุรกรรมทางการเงินที่ส่งผลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นเป็นผู้รับส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss position) เช่น (1) เป็น Protection buyer ในการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) ที่ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตมีการกําหนดระดับความเสียหายขั้นต่ําไว้ (Materiality threshold)' (2) เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก(First loss facility) ให้แก่ผู้ลงทุนในตราสารธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) หรือลงทุนในตราสาร Securitisation ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss tranche)"
(3.3) ร้ายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(4) รายการหักจากเงินกองทุนทั้งสิ้น
ผลขาดทุนจากการวัดมูลค่าตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารนี้และตราสารทุนโดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหักยอดขาดทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้น
5.3.4 รายการปรับจากเงินกองทุนชั้นที่ 1
กําไร (ขาดทุน) สะสมที่เกิดจากการเลือกใช้วิธี Fair value option ตามมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในการคํานวณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ การใช้วิธี Fair value option ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 4
(ก) ตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงิน
- ผลกําไรสะสมที่เกิดจากมูลค่ายุติธรรมลดลงเนื่องจากตราสารที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจออกนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) เพิ่มขึ้น หรือไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามาหักออกจากเงินกองทุน
- ผลขาดทุนสะสมที่เกิดจากมูลค่ายุติธรรมเพิ่มขึ้นเนื่องจากตราสารที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจออกนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) ลดลง หรือไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําไปบวกกลับเข้าในเงินกองทุน
(ข) เงินให้สินเชื่อ หรือตราสารที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน
- ผลกําไรสะสมที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามาหักออกจากเงินกองทุน
- ผลขาดทุนสะสมที่เกิดจากการลดลงของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําไปบวกกลับเข้าในเงินกองทุน
5.4 งวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุน
งวดระยะเวลาในการนับรายการแต่ละประเภทเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนชั้นที่ 2 หรือหักออกจากเงินกองทุน ตามที่ปรากฎในเอกสารแนบ 5
5.5 การเปิดเผยข้อมูล
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องเปิดเผยถึงรายละเอียดของเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 รวมถึงคุณลักษณะที่สําคัญของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนต่อสาธารณะในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจในหมายเหตุประกอบงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนดต่อไป โดยจะต้องแสดงปริมาณและอัตราส่วนของเงินกองทุนแต่ละประเภทด้วย
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ถือครองเงินลงทุนในหุ้นสามัญและตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมถึงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นไม่ต้องนําเงินลงทุนดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเองตามรายการในข้อ 5.3.3 (3.1)
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,661 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 12/2555
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
บทเรียนจากวิกฤตการเงินโลกและปัญหาของสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในช่วงปี 2550-2551 ที่ผ่านมา ประกอบกับการที่สถาบันการเงินในต่างประเทศมีการดําเนินธุรกิจที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและความเชื่อมโยงทางการเงินและการค้าที่เพิ่มขึ้นตามกระแสโลกาภิวัตน์ ชี้ให้เห็นถึงความจําเป็นในการทบทวนแนวคิดการกํากับดูแลระบบการเงินของโลก ซึ่งส่วนหนึ่งคือการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงิน (Basel III) เพื่อให้สถาบันการเงินมีเงินกองทุนที่มีคุณภาพดีขึ้นและมีปริมาณสูงขึ้น เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้สถาบันการเงินมีความมั่นคงและแข็งแกร่ง สามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤตได้
ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวิธีการกํากับดูแลความเพียงพอของเงินกองทุนตามหลักการของ Basel II ซึ่งก็ช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ในไทยมีความแข็งแกร่งโดยวิกฤตการเงินของโลกที่ผ่านมา แม้จะมีผลต่อระบบสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาและลุกลามไปยังหลายประเทศในสหภาพยุโรป แต่ระบบสถาบันการเงินของไทยก็ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า การนําหลักการ Basel III มาใช้กับธนาคารพาณิชย์ไทยมีความสอดคล้องกับหลักการสําคัญที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการกํากับดูแลธนาคารพาณิชย์ กล่าวคือ การให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนที่มีคุณภาพในระดับที่สูงเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงแข็งแกร่งและระบบสถาบันการเงินมีเสถียรภาพ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ระบบสถาบันการเงินไทยมีภูมิต้านทานต่อวิกฤตการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์เป็นที่ยอมรับและสามารถแข่งขันในเวทีสากลได้นอกจากนี้ ภายใต้ Basel III ยังมีมาตรการที่ให้ความสําคัญกับความเสี่ยงเชิงระบบ (Systemic risk) ที่ธนาคารพาณิชย์อาจได้รับผลกระทบจากธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยสําคัญสูงในระบบ ตลอดจนการคํานึงถึงความเชื่อมโยงของระบบสถาบันการเงินกับเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งเป็นพลวัตทําให้วัฏจักรเศรษฐกิจอาจทวีความผันผวนรุนแรงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ศึกษาหลักเกณฑ์ที่เข้มขึ้นตามแนวทาง Basel III และเห็นความสําคัญที่จะนําหลักการดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยรวมถึงได้วิเคราะห์ผลกระทบของการนําหลักเกณฑ์ด้านเงินกองทุนมาใช้ในประเทศไทยแล้ว พบว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะส่งผลดีต่อระบบสถาบันการเงินไทยและภาคเศรษฐกิจในระยะยาว
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับนี้ รวมถึงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องโดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ Basel II!: A global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ซึ่งพัฒนามาจากหลักเกณฑ์ Basel II: International Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive version: June 2006) ซึ่งประกอบด้วยการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Pilar 1) การกํากับดูแลโดยทางการ (Pillar 2) และการใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Pillar 3)
อนึ่ง โครงสร้างของประกาศฉบับนี้ประกอบด้วยสาระสําคัญ 2 ส่วนหลัก ดังนี้
- การกําหนดหลักการสําคัญของการกํากับดูแลเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ประกอบด้วย 3 Pillars ได้แก่ การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา การกํากับดูแลโดยทางการ และการใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล ซึ่งยังคงเป็นไปตามหลักการที่สําคัญตามแนวทาง Basel II
- การกําหนดกรอบหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์โดยกําหนดอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําและอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารง ทั้งนี้ วิธีการคํานวณเงินกองทุนและสินทรัพย์เสี่ยง ร่วมถึงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Pillar 2 และ Pillar 3 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยจํานวน 13 ฉบับ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 32 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ให้ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 87/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
"ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
"สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ" หมายความว่า สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
5.2 หลักการ
หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ตามประกาศฉบับนี้ประกอบด้วย 3 Pillars ที่ได้พัฒนาจากหลักเกณฑ์ Basel II ซึ่งหลักเกณฑ์ Basel III ได้มีการปรับแนวทางการดํารงเงินกองทุนของ Pillar 1 ดังนี้
Pillar 1 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําและเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Minimum capital requirement and capital buffer)
Pillar 1 เป็นหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงที่สําคัญ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market risk) และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk) โดยได้ปรับปรุงแนวทางการดํารงเงินกองทุนทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและแข็งแกร่งมากขึ้น กล่าวคือ ในเชิงคุณภาพกําหนดให้องค์ประกอบเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ต้องเป็นเงินกองทุนที่มีคุณภาพดีที่สุดเป็นหลัก คือ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common equity tier 1: CET 1) และในเชิงปริมาณนั้น กําหนดให้เพิ่มอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 จากเดิมกําหนดไว้ต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.25 เปลี่ยนเป็นไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 แทน นอกจากนี้ได้ปรับปรุงวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของธุรกรรมที่มีความซับซ้อนให้สามารถสะท้อนความเสี่ยงได้ดีขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม 2 ประเภทนอกเหนือจากการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา ได้แก่ (1) การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมในช่วงภาวะเศรษฐกิจปกติเผื่อไว้นําไปใช้ในภาวะที่ธนาคารพาณิชย์ประสบผลขาดทุนหรืออยู่ในช่วงภาวะวิกฤต อีกทั้งช่วยลดโอกาสที่ระดับอัตราส่วนเงินกองทุนจะต่ํากว่าเกณฑ์ขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดด้วย และ (2) การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนในลักษณะที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่จะก่อตัวเป็นความเสียหายกับระบบโดยรวม (System-wide risk) เช่น ในยามที่เศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตสินเชื่อมากในระดับร้อนแรง (Excessive credit growth) เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์จากเหตุดังกล่าว เป็นต้น อนึ่ง ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่พบข้อบ่งชี้ว่าอัตราการเติบโตของสินเชื่อสูงในระดับร้อนแรง ดังนั้น จึงยังไม่มีความจําเป็นที่จะกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่ม Countercyclical buffer ในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ดี หากมีความจําเป็นในการบังคับใช้เกณฑ์ในเรื่องนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะแจ้งให้ธนาคารพาณิชย์ทราบต่อไป
Pillar 2 การกํากับดูแลโดยทางการ (Supervisory review process)
Pillar 2 เป็นหลักเกณฑ์ที่กําหนดบทบาทของธนาคารพาณิชย์และผู้กํากับดูแลโดยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี โดยต้องมีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนโดยคํานึงถึงความเสี่ยงทุกด้านของตนเองและมีการทดสอบภาวะวิกฤตที่เหมาะสม นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ควรมีเงินกองทุนสูงกว่าเงินกองทุนตาม Pillar 1 เพื่อรองรับความเสี่ยงที่ไม่ครอบคลุมใน Pillar 1 เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร และความเสี่ยงในการกระจุกตัวของลูกหนี้ เป็นต้น
สําหรับบทบาทของผู้กํากับดูแลนั้น กําหนดให้ผู้กํากับดูแลมีหน้าที่ต้องตรวจสอบติดตาม และประเมินระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง ตลอดจนต้องดําเนินมาตรการกับธนาคารพาณิชย์ที่มีปัญหาอย่างเหมาะสมและทันกาล
Pillar 3 การใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Market discipline)
Pillar 3 เป็นหลักเกณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแลและผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีนอกเหนือจากการควบคุมภายในของธนาคารพาณิชย์เองและการกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ระดับความเสี่ยงและระบบการบริหารความเสี่ยงของตนเอง เพื่อให้บุคคลภายนอกหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาด เช่น ผู้ลงทุน คู่ค้า และผู้ฝากเงิน เป็นต้น สามารถใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้เป็นประกาศหลักในชุดประกาศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ของ BCBS ซึ่งระบุข้อกําหนดหลักที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องถือปฏิบัติ และในการปฏิบัติตามข้อกําหนดหลักต่าง ๆ นั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องอ้างอิงรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ในประกาศย่อย' ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 13 ฉบับ โดยสําหรับหลักเกณฑ์ Base II! ได้มีการปรับปรุงประกาศย่อยจํานวน 6 ฉบับ ตามข้อ 1 ถึง ข้อ 6 ดังนี้
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ ที่จดทะเบียนในประเทศ
2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA)
4. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
5. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์
6. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์
สําหรับประกาศในฉบับที่ 7-13 นั้น ยังคงใช้ประกาศฉบับเดิม ดังนี้
7. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
8. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
9. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
10. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Advanced Measurement Approaches (วิธี AMA)
11. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
12. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนโดยทางการ (Pillar 2)
13. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
5.3 รายละเอียดของหลักเกณฑ์
5.3.1 Pillar 1 การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําและเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Minimum capital requirement and capital buffer)
(1) การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําโดยใช้อัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นและสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ดังนี้
เงินกองทุนทั้งสิ้น ≥ อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ํา
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเป็นอัตราส่วน ณ สิ้นวันหนึ่ง ๆ ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราส่วนเงินกองทุน | (ร้อยละ) |
| ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ |
| อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ(Common equity tier 1 ratio: CET1 ratio) | 4.5 |
| อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 ratio) | 6.0 |
| อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (Total capital ratio) | 8.5 |
| สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ |
| อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (Total capital ratio) | 8.5 |
ทั้งนี้ ในการคํานวณอัตราส่วนดังกล่าวของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศให้ใช้ยอดรวมของทุกสํานักงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ และใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่คํานวณ
(2) การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital buffer)
(2.1) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer)
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําอีกเกินกว่าร้อยละ 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น สําหรับกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศให้ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มนี้จากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นเช่นเดียวกันทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ทยอยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีกมากกว่าร้อยละ 0.625 ในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559\* จนครบซึ่งมากกว่าร้อยละ 2.5 ในวันที่ 1 มกราคม 2562 ดังนั้น เมื่อนําอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ํารวมกับอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤตแล้ว ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงอัตราส่วนระหว่างเงินกองทุนทั้งสิ้นและสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นสรุปได้ตามตาราง ดังนี้
หน่วย: ร้อยละ
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| อัตราส่วนเงินกองทุน | 1 ม.ค. 2559 | 1 ม.ค. 2560 | 1 ม.ค. 2561 | 1 ม.ค. 2562 |
| ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ |
| อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1 ratio) | 5.125 | 5.75 | 6.375 | 7 |
| อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1(Tier 1 ratio) | 6.625 | 7.25 | 7.875 | 8.5 |
| อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น(Total capital ratio) | 9.125 | 9.75 | 10.375 | 11 |
| สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ |
| อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น(Total capital ratio) | 9.125 | 9.75 | 10.375 | 11 |
ทั้งนี้ ในการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มข้างต้นนั้นหากธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ธนาคารพาณิชย์เก็บสะสมเงินกําไรสุทธิบางส่วนหรือทั้งหมดตามสัดส่วนที่กําหนดในเอกสารแนบ โดยจํากัดวิธีการจัดสรรกําไรสุทธิ์ ของธนาคารพาณิชย์ (Earning distribution) ได้แก่ การจ่ายเงินปันผล การจ่ายโบนัสพนักงาน' การจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ถือตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการซื้อหุ้นคืน ซึ่งธนาคารพาณิชย์อาจเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งข้างต้นหรือทั้งหมดได้ เพื่อให้สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มได้ครบตามที่กําหนดจึงจะสามารถจัดสรรกําไรสุทธิได้
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่ม Conservation buffer ได้ จะยังไม่ถือว่าธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 เว้นแต่ธนาคารพาณิชย์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการจํากัดการจัดสรรกําไรสุทธิตามสัดส่วนที่กําหนดในเอกสารแนบ จึงจะถือว่าธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ได้ แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์สามารถเก็บสะสมกําไรสุทธิตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด แต่ยังไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ธนาคารพาณิชย์หารือกับฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแผนการดํารงเงินกองทุนต่อไป
(2.2) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer)
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดํารงเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) ดังกล่าวใน 5.3.1 (2.1) อีกร้อยละ 0 ถึง 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง เมื่อมีเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีความจําเป็นที่จะดําเนินมาตรการด้านนี้ เช่น ช่วงที่เงินให้สินเชื่อในระบบการเงินมีอัตราการเติบโตมากในระดับร้อนแรง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะก่อตัวเป็นความเสียหายกับระบบโดยรวม (System-wide risk) เป็นต้น สําหรับกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดให้ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มนี้จากเงินกองทุนทั้งสิ้นในลักษณะเดียวกัน
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเครื่องชี้วัด วิธีการประเมินวัฏจักรเศรษฐกิจและสินเชื่อ และติดตามข้อมูลดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ในการสั่งการให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมเพื่อวัตถุประสงค์นี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะนํามาตรการอื่นที่เป็นเครื่องมือด้าน Macroprudential เช่น การกําหนดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to value ratio: LTV ratio) การกันเงินสํารองส่วนเพิ่ม เป็นต้น มาประกอบการพิจารณาด้วย และธนาคารแห่งประเทศไทยจะแจ้งให้ธนาคารพาณิชย์ทราบล่วงหน้าถึงรายละเอียดและปัจจัยในการพิจารณากําหนดการดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง และระดับเงินกองทุนส่วนเพิ่มที่ต้องดํารงในช่วงเวลาดังกล่าวก่อนการบังคับใช้จริง ซึ่งรวมถึงแนวทางการพิจารณายกเลิกการบังคับใช้การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม Countercyclical buffer ด้วยในโอกาสต่อไป
(3) องค์ประกอบของเงินกองทุน
(3.1) ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ให้เงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศมีองค์ประกอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งกําหนดให้เงินกองทุนทั้งสิ้นประกอบด้วยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนชั้นที่ 2 และรายการหักจากเงินกองทุน
(3.2) สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ให้เงินกองทุนทั้งสิ้นของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีองค์ประกอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ซึ่งกําหนดให้เงินกองทุนทั้งสิ้น ประกอบด้วยสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องดํารงตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และรายการหักจากเงินกองทุน
(4) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง
ให้สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์เท่ากับผลรวมของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยอ้างอิงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแต่ละด้าน ดังนี้
(4.1) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของรายการต่างๆ ได้แก่ สินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทุกรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร Repo-style transaction ธุรกรรมอนุพันธ์ รวมถึงสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทุกรายการในบัญชีเพื่อการค้าที่อยู่ในระดับที่ไม่มีนัยสําคัญซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยมีรายละเอียดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
(4.1.1) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ 2 วิธี ได้แก่ Standardised Approach (วิธี SA) และInternal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
(ก) Standardised Approach (วิธี SA)
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี SA ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารพาณิชย์ได้ดีขึ้นและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel III เช่น ปรับบางรายการที่เดิมให้หักเงินกองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 เปลี่ยนเป็นคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแทน หรือ ผ่อนคลายคุณสมบัติของผู้ค้ําประกันหรือ Protection seller สําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิต เป็นต้น
(ข) Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี IRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) โดยธนาคารพาณิชย์สามารถใช้วิธี SA กับฐานะที่ไม่มีนัยสําคัญได้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในประกาศฉบับดังกล่าว โดยหลักเกณฑ์ Basel III กําหนดให้ปรับเพิ่มค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนที่สูงขึ้นในการรองรับความเสี่ยงด้านเครดิตจากลูกหนี้หรือคู่สัญญาที่เข้าข่ายเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินและมีลักษณะตามที่กําหนด รวมถึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์บางรายการให้สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารพาณิชย์ได้ดีขึ้นเช่นเดียวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ของธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี SA
ทั้งนี้ ภายใต้การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA และ วิธี IRB ธนาคารพาณิชย์จะต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ (Counterparty credit risk-weighted asset! โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ และคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsettled transaction) โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์ ด้วย ซึ่งสรุปสาระสําคัญตามข้อ 5.3.1 (4.1.2) และ (4.1.3) ตามลําดับ
(4.1.2) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์โดยปฏิบัติตามวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ โดยหลักเกณฑ์ Basel III ได้มีการปรับปรุงแนวทางการคํานวณเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา (Counterparty credit risk) ให้สะท้อนความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
(4.1.3) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsettled transaction)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น โดยปฏิบัติตามวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์โดยธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel II โดยปรับธุรกรรมที่เดิมกําหนดให้หักเงินกองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 เปลี่ยนเป็นคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแทน
(4.1.4) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ตามหลักเกณฑ์ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ยกเว้นฐานะที่เกิดจากธุรกรรม Securitisation คือในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ทําหน้าที่เป็นผู้รับประกันส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss facility) ให้แก่ผู้ลงทุนในตราสาร Securitisation หรือกรณีธนาคารพาณิชย์ลงทุนในตราสาร Securitisation ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องรับผิดชอบส่วนสูญเสียในลําดับแรก (First loss tranche) ให้ธนาคารพาณิชย์นําฐานะดังกล่าวมาคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงโดยกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละของ 100 หารด้วยร้อยละ 8.5 (100/8.5%) หรือเท่ากับร้อยละ 1176.5 แทนหลักเกณฑ์เดิมที่กําหนดให้หักออกจากเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
(4.2) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ซึ่งกําหนดวิธีการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด โดยธนาคารพาณิชย์ต้องนําจํานวนเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณได้นั้นคูณด้วย 12.5 เพื่อให้ได้ผลลัพธ์กลับมาเป็นสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และเพื่อให้สามารถนําไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ในการคิดอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นต่อไป ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดได้ 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธีมาตรฐาน 2) วิธีแบบจําลองและ 3) วิธีผสมระหว่างวิธีมาตรฐานและวิธีแบบจําลอง
(4.3) การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Advanced Measurement Approaches (วิธี AMA โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการได้ 3 วิธี ได้แก่ 1) Basic Indicator Approach (วิธี BIA) 2) Standardised Approach (วิธี SA-OR) และ 3) Advanced Measurement Approaches (วิธี AMA)
(5) การรายงานข้อมูลการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา
ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําและจัดส่งข้อมูลการดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามรูปแบบและรายละเอียดที่กําหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
5.3.2 Pillar 2 การกํากับดูแลโดยทางการ (Supervisory review process)
ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนโดยทางการ (Pillar 2)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์จัดให้มีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี มีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน (Internal Capital Adequacy Assessment Process - ICAAP) ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงที่มีนัยสําคัญทุกด้านซึ่งได้แก่ความเสี่ยงตามที่กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําและเงินกองทุนส่วนเพิ่มตาม Pillar 1 และความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําและเงินกองทุนส่วนเพิ่มตาม Pillar 1 ยังครอบคลุมไปไม่ถึง รวมทั้งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีเงินกองทุนสูงกว่าอัตราขั้นต่ําตามกฎหมาย และเพียงพอที่จะรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจภายใต้ภาวะปกติและภาวะวิกฤต (Stress test) โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะตรวจสอบความถูกต้องในการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนตาม Pillar 1 ตลอดจนประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงและกระบวนการ CAAP ของธนาคารพาณิชย์
หากธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าธนาคารพาณิชย์มีข้อบกพร่องในการบริหารความเสี่ยง มีกระบวนการ ICAAP ไม่เหมาะสม หรือมีเงินกองทุนต่ํากว่าที่พึงมีเพื่อรองรับความเสี่ยงทั้งหมด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะดําเนินมาตรการให้ธนาคารพาณิชย์นั้น ปรับปรุงระบบการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่มีอยู่ภายในเวลาที่เหมาะสม และในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจใช้อํานาจตามมาตรา 30 วรรคสองของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 สั่งการให้ธนาคารพาณิชย์นั้น ดําเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรเพื่อลดระดับความเสี่ยงลง หรือให้ดํารงเงินกองทุนสูงกว่าหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนตาม Pillar 1
5.3.3 Pillar 3 การใช้กลไกตลาดในการกํากับดูแล (Market discipline)
ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลเงินกองทุนทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งได้แก่ เงินกองทุน ระดับความเสี่ยง กระบวนการประเมินความเสี่ยง และความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเปิดเผยข้อมูล การกําหนดช่องทางการเปิดเผยข้อมูล การเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญ ข้อมูลลับทางธุรกิจของธนาคารพาณิชย์และความลับของลูกค้า ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําของข้อมูลที่ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผย
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,662 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 17/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 17 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
-------------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ความเสี่ยงด้านเครดิตเป็นความเสี่ยงจากธุรกิจหลักของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งเกิดจากการที่ลูกหนี้หรือคู่สัญญาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้สิ้นเชื่อ การลงทุน และการก่อภาระผูกพันได้ เช่น ลูกหนี้ไม่สามารถชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ ทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจในฐานะเจ้าหนี้เกิดความเสียหาย เป็นต้น ดังนั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงต้องมีเงินกองทุนเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดจากความเสี่ยงด้านเครดิต
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม โดยกําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจฉบับนี้ เพื่อให้การคํานวณความเสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเทียบเคียงกันได้ ธนาคารแห่งประเทศไทย
จึงได้ประยุกต์หลักการคํานวณมาจากมาตรฐานสากลที่ยอมรับโดยทั่วไปมาใช้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"ลูกหนี้" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก และรายการนอกงบดุล รวมถึงข้อผูกพันและสิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้ตามกฎหมายอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝาก ให้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีด้วย
"ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ" หมายความว่า ลูกหนี้ที่จัดเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐานสงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
"Specific provision" หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด ทั้งนี้ รวมถึงเงินสํารองที่กันไว้สําหรับส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาดของตราสารหนี้และตราสารทุนที่ถือไว้เพื่อค้าและเผื่อขาย และมูลค่าการด้อยค่าด้วยแต่ไม่รวมเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว
5.2 หลักการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ 2 วิธี ได้แก่ Standardised Approach (วิธี SA) และ Simplified Standardised Approach (วิธี SSA) เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้เป็นทางเลือกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงให้เหมาะสมกับระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของตนเอง
การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA เป็นวิธีการคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยน้ําหนักความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล สําหรับวิธี S5A นั้น เป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่มีหลักการคล้ายกับวิธี SA แต่มีการปรับรายละเอียดการคํานวณบางส่วนให้มีความซับซ้อนน้อยลง เช่น การคํานวณที่ไม่อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก และวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตที่อนุญาตเฉพาะวิธีที่มีความซับซ้อนน้อย เป็นต้น
สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อคํานวณอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้
5.3.1 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA
(1) สินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณหายอดสุทธิของสินทรัพย์โดยหักยอดสินทรัพย์แต่ละรายการด้วย Specific provision ของสินทรัพย์นั้น แล้วนํายอดสุทธิของสินทรัพย์ไปคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง โดยคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5.3.2 (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1)
(2) รายการนอกงบดุลที่ไม่ใช่ธุรกรรมอนุพันธ์
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณหายอดสุทธิของรายการนอกงบดุลโดยหักรายการนอกงบดุลแต่ละรายการด้วย Specific provision ของรายการนอกงบดุลนั้น แล้วจึงนํายอดสุทธิของรายการนอกงบดุลไปคูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor: CCF) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2 เพื่อคํานวณหามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินสุทธิ แล้วนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินสุทธิของรายการนอกงบดุลนั้นไปคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5.3.2 (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1) เพื่อคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง
ทั้งนี้ สําหรับรายการนอกงบดุลที่เป็นภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3
(3) รายการนอกงบดุลประเภทธุรกรรมอนุพันธ์
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ในอนาคต โดยจะประกาศกําหนดต่อไป
ทั้งนี้ ยกเว้นฐานะของธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการธนาคารทั้งกรณีสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตและผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 4
อนึ่ง การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ข้างต้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 5.3.4
ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกประเภท ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแปลงเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.3.2 น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล โดยพิจารณาตามประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์ โดยจําแนกเป็น 2 กรณี (เอกสารแนบ 1) ดังนี้
(1) น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพจําแนกเป็น 10 ประเภท ได้แก่
(1.1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล และธนาคารกลาง
(1.2) ลูกหนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
(1.3) ลูกหนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
(1.4) ลูกหนี้สถาบันการเงิน
(1.5) ลูกหนี้บริษัทหลักทรัพย์
(1.6) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชน
(1.7) ลูกหนี้รายย่อย
(1.8) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
(1.9) เงินลงทุนในตราสารธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation)
(1.10) สินทรัพย์อื่น
ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภท (1.1) ถึง (1.10 นั้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องอ้างอิงหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 สําหรับสินทรัพย์ประเภท (1.1) ถึง (1.6) นั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในข้อ 5.3.3 ด้วย
(2) น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ด้อยคุณภาพจําแนกเป็น 3 กรณี ได้แก่
(2.1) กรณีลูกหนี้ด้อยคุณภาพ ในส่วนที่ไม่ได้มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 5.3 .4
(2.2) กรณีลูกหนี้ด้อยคุณภาพในส่วนที่ไม่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 5.3.4 แต่มีหลักประกันประเภท (ก) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Real Estate: CRE) (ข) อสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย (Residential Real Estate: RRE และ (ค) ลูกหนี้การค้าหรือลูกหนี้การเงินของลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Receivable) เป็นประกันเต็มจํานวน
(2.3) กรณีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยตามข้อ 5.3.2 (1.8) ซึ่งได้รับน้ําหนักความเสี่ยร้อยละ 35 หรือร้อยละ 75 และจัดเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพ
5.3.3 อันดับเครดิต (Credit rating) จากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External Credit Assessment Institutions: ECAIs)
(1) การใช้ Credit rating จาก ECAIs เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ Credit rating จาก ECAIs ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ โดยให้อ้างอิงรายชื่อและการเทียบเคียง Credit rating จาก ECAIS กับ Rating grade ของลูกหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รวมทั้งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 5)
(2) การขอความเห็นชอบ ECAIs
ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะใช้ Credit rating จาก ECAIs รายอื่นนอกเหนือจากรายชื่อ ECAIs ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามเอกสารแนบ 5 ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหารือมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
5.3.4 การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SA (Credit Risk Mitigation: CRM)
(1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
(1.1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านกฎหมาย
(1.1.1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีเอกสารหรือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งมีผลผูกพันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น
(1.1.2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการและระบบในการพิจารณาถึงเงื่อนไขด้านกฎหมาย การติดตามทบทวนว่าเอกสารหรือสัญญาดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
(1.2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการในการควบคุมความเสี่ยงอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการนําวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ เช่น ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านเครดิต เป็นต้น
(2) ประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตการปรับลดความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามาใช้ปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA มี 3 ประเภท ดังนี้
(2.1) หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral)
สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนํามูลค่าหลักประกันทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตมาปรับลดยอดสินทรัพย์ก่อนนําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงิน (รายละเอียดตามเอกสารแนบ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกวิธีคํานวณการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธี Simple และวิธี Comprehensive
(2.2) การหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน (On-balance sheet netting)
สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถใช้วิธีหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน ระหว่างสินทรัพย์ (เงินให้กู้) และหนี้สิน (เงินฝาก) ของคู่สัญญารายเดียวกัน เพื่อปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการหักกลบหนี้ในงบแสดงฐานะการเงิน (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 7)
(2.3) การค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (Guarantee and credit derivatives)
สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยให้มีการค้ําประกันหรือใช้อนุพันธ์ด้านเครดิต ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการค้ําประกันและธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 8)
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องยื่นแบบประเมินความพร้อมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ในการคํานวณเงินกองทุน (Self-Assessment of Compliance-SAC-CRM) (ร้ายละเอียดตามเอกสารแนบ 9) อย่างน้อย 15 วันก่อนนําการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยนําส่งที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา (Maturity mismatch)
กรณีที่มีความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา กล่าวคือเมื่ออายุคงเหลือของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตน้อยกว่าอายุคงเหลือของยอดสุทธิของธุรกรรมที่จะปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตกรณีมีความแตกต่างของอายุสัญญาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 10)
(4) กรณีมีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภท
กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากลูกหนี้รายเดียวกัน เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีทั้งหลักประกันทางการเงินและการค้ําประกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแบ่งยอดลูกหนี้ออกเป็นส่วน ๆ ตามประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต และคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงแยกสําหรับแต่ละส่วน
กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตจากผู้ขายรายเดียวกัน แต่การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมีอายุสัญญาต่างกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแบ่งยอดลูกหนี้ออกเป็นส่วน ๆ และคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแยกตามอายุของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
(5) การนับซ้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับซ้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ดังนั้น สินทรัพย์ที่ใช้ Issue-specific rating ที่ได้มีการสะท้อนการปรับลดความเสี่ยงเข้าไปใน Credit rating เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงสําหรับลูกหนี้แล้ว จะไม่สามารถนํามาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้อีก
5.4 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SSA
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกใช้วิธี SSA เป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ ซึ่งวิธี SSA นั้น เป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่มีหลักการคล้ายกับวิธี SA แต่มีการปรับการคํานวณบางส่วนให้มีความซับซ้อนน้อยกว่า
ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเรื่องวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต การกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SSA ตามรายละเอียดในเอกสารแนบ 11
5.5 การแจ้งและการยื่นขออนุญาต
ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องการเปลี่ยนวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจากวิธี SSA เป็นวิธี SA ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ ล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ส่วนในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจากวิธี SA เป็นวิธี SSA ให้ยื่นคําขออนุญาตมาที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนการใช้วิธี SSA โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี SA ที่จะเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกรายตามข้อ 5.3.2 (1.6) ให้ยื่นคําขออนุญาตมาที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนการใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกราย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,663 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 18/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยง ด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 18 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง
ด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยความเสี่ยงด้านตลาด ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาตราสารทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ มีความเสี่ยงที่อาจได้รับความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของรายการสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพัน ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครอง ซึ่งเกิดจากความผันผวนของปัจจัยสี่ยงด้านตลาดเหล่านั้น ดังนั้น หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครองฐานะที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาดเป็นจํานวนมาก จึงควรมีเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงดังกล่าว
ธนาคารแห่งประทศไทยจึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจฉบับนี้ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด รวมทั้ง กําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดเพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด รวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดที่เหมาะสม สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องและสอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความชับซ้อน ของธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง โดยการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยมีการปรับปรุงสาระสําคัญของหลักเกณฑ์คือ ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในส่วนของการกําหนดน้ําหนักเงินกองทุนด้านอัตราดอกเบี้ยประเภทSpecific risk สําหรับตราสารหนี้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ให้ชัดเจนขึ้น โดยให้รวมถึงตราสารที่มี Credit rating ที่ดีกว่า BB+ ด้วย
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 10/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"ความเสี่ยงด้านตลาด" หมายความว่า ความเสี่ยงที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของฐานะทั้งที่อยู่ในงบแสดงฐานะการเงินและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์
"บัญชีเพื่อการค้า" (Trading book) หมายความว่า ฐานะ (Position) ในเครื่องมือทางการเงิน (Financial instrument) และสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ที่มีเจตนาถือไว้เพื่อการค้า(Trading intent หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะอื่น ๆ ในบัญชีเพื่อการค้า รวมถึงธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภทที่ไม่ได้นําไปใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book) ของตนเอง โดยเครื่องมือทางการเงินที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าต้องไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขายหรือในการป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ฐานะเหล่านั้นต้องมีการประเมินมูลค่าอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
"บัญชีเพื่อการธนาคาร" (Banking book หมายความว่า ฐานะในเครื่องมือทางการเงินหรือธุรกรรมอื่นที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือเครื่องมือทางการเงินที่มีเจตนาตั้งแต่แรกว่าจะถือครองระยะยาวหรือถือจนครบกําหนดอายุ
"ฐานะที่มีเจตนาถือไว้เพื่อการค้า" (Trading intent หมายความว่า ฐานะต่าง ๆ ที่ถือไว้ในระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อ และ/หรือ เพื่อหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือเพื่อหากําไรจากความแตกต่างของราคาในแต่ละตลาดเปรียบเทียบกัน (Arbitrage) ครอบคลุมทั้งฐานะที่เป็นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเอง ฐานะที่เกิดจากการทําธุรกรรมเพื่อลูกค้า เช่น การให้บริการเป็นนายหน้าโดยซื้อขายในนามของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Matched principal brokering) และฐานะที่เกิดขึ้นจากการเป็นผู้เสนอราคาซื้อขายในตลาด (Market maker)
"ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่า ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ประเมินแล้วอยู่ในระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดในเอกสารแนบ 1
"ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ" หมายความว่า ปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ประเมินแล้วต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดในเอกสารแนบ 1
5.2 ขอบเขตของหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดซึ่งครอบคลุมถึงองค์ประกอบความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ราคาของตราสารทุนอัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดแบ่งออกเป็น 5 เรื่อง ดังนี้
5.2.1 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า
5.2.2 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด
5.2.3 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า
5.2.4 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน
5.2.5 การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง
5.3 การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด โดยต้องมีการประเมินปริมาณการทําธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าก่อนตามข้อ 5.4 เพื่อพิจารณาระดับที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องถือปฏิบัติ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนในการทําธุรกรรม ดังนี้
5.3.1 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 5.2.1 - 5.2.5
5.3.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 5.2.1 - 5.2.3 โดยหากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีฐานะในสินค้าโภคภัณฑ์ หรืออนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการค้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดสําหรับองค์ประกอบด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หรืออนุพันธ์ด้านเครดิตที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องตามนโยบายในข้อ 5.2.4 - 5.2.5 ด้วย
5.3.3 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ไม่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าและไม่มีความประสงค์ที่จะทําธุรกรรมเพื่อการค้าไม่ต้องถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ แต่หากในภายหลังสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะทําธุรกรรมเพื่อการค้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มทําธุรกรรมดังกล่าวไม่น้อยกว่า 15 วัน และให้ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ด้วย
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาทบทวนระดับที่มีนัยสําคัญของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุก 6 เดือน ทั้งนี้ เมื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญตามข้อ 5.3.1 แล้ว ให้ถือว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าวต้องถือปฏิบัติตามนโยบายในข้อ 5.2.1 - 5.2.5 ไปตลอด แม้ว่าภายหลังจากนั้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อขอยกเลิกการปฏิบัติตามนโยบายในเรื่องดังกล่าวได้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีเหตุผลเหมาะสม ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้เป็นรายกรณี เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีนโยบายจะไม่ทําธุรกรรมเพื่อการค้าแล้ว หรือมีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าในระดับที่ต่ํามากเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น ซึ่งในการพิจารณาอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขหรือให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามนโยบายในบางเรื่องด้วยก็ได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามข้อ 5.3.2 และ 5.3.3 ต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องสําหรับฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าทุกฐานะตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามประกาศฉบับนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งนําหลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้มาบังคับใช้ตามประเภทธุรกรรมที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับอนุญาตตามกฎหมายจัดตั้ง
5.4 การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจอ้างอิงปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาว่าเป็นระดับที่มีนัยสําคัญ (Threshold) จากหลักเกณฑ์การประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามเอกสารแนบ 1 และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าเพื่อเปรียบเทียบกับระดับที่มีนัยสําคัญ โดยการประเมินปริมาณธุรกรรมจะคํานวณตามแบบรายงานปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในตัวอย่างตามเอกสารแนบ 1.1
5.5 การควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด
คณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้บริหารระดับสูงต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในสําหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ระบบการควบคุมภายในดังกล่าวต้องครอบคลุมประเด็นสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้
5.5.1 บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้บริหารระดับสูง
5.5.2 แนวทางการวัด ติดตาม และประเมินความเสี่ยง
5.5.3 แนวปฏิบัติในการควบคุมความเสี่ยงและการแบ่งแยกหน้าที่
5.5.4 แนวทางการเก็บข้อมูลและการสื่อสารภายในองค์กร
5.5.5 ระบบกรตรวจสอบภายในและการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
5.6 การจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า
5.6.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทํานโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า (Trading book policy) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เหมาะสมกับลักษณะ ปริมาณ และความซับซ้อนของธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 3
5.6.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดทํานโยบายดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมให้ผู้ตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ และต้องมีรายละเอียดครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ อย่างน้อยตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยเฉพาะเรื่องนโยบายการจัดกลุ่มตราสารการเงินให้อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและบัญชีเพื่อการธนาคาร นโยบายการโยกย้ายรายการระหว่างบัญชี การกําหนดระยะเวลาการถือครองฐานะในบัญชีเพื่อการค้า การกําหนดนโยบาย กลยุทธ์ทางการค้า และกระบวนการบริหารฐานะที่ชัดเจน เป็นต้น
5.6.3 คณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมายต้องเป็นผู้อนุมัตินโยบายดังกล่าวและต้องเผยแพรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและนําไปปฏิบัติโดยทั่วกัน
5.6.4 นโยบายดังกล่าวต้องมีการกําหนดเวลาทบทวนเป็นประจําที่ชัดเจนเพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ หากมีการปรับปรุงในประเด็นที่สําคัญจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือคณะกรรมการอื่นที่ได้รับมอบหมาย
5.6.5 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดให้มีระบบการประเมินมูลค่าฐานะในบัญชีเพื่อการค้าที่เหมาะสม และมีระบบการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ เพื่อให้คณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้บริหารระดับสูงมีความมั่นใจว่าระบบการประเมินมูลค่าฐานะดังกล่าวมีความถูกต้องเหมาะสมและน่าเชื่อถือ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3.2
5.7 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.7.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าตั้งแต่ระดับที่มีนัยสําคัญ คํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามองค์ประกอบตามข้อ (1) ถึงข้อ (4)
(1) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า
(2) ความเสี่ยงด้านราคาตราสารทุนจากฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า
(3) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและบัญชีเพื่อการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ
(4) ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและบัญชีเพื่อการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์
5.7.2 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญคํานวณเงินกองทุน ดังนี้
(1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าให้คํานวณเงินกองทุนตามข้อ 5.7.1 (1)
(2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีฐานะในสินค้าโภคภัณฑ์ให้คํานวณเงินกองทุนตามข้อ 5.7.1 (4)
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญ ต้องคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดในทุกองค์ประกอบหรือองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเพิ่มเติมจากความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าการสั่งการดังกล่าวทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งนั้นมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งกรณีนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการในภายหลัง
5.7.3 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดตามวิธีมาตรฐาน (Standardised approach) โดยการคํานวณเงินกองทุนตามวิธีมาตรฐานนั้นจะเป็นวิธีการคํานวณเงินกองทุน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้กําหนดน้ําหนักเงินกองทุน (Capital charge) สําหรับปัจจัยความเสี่ยงแต่ละประเภท ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งในแง่ของ Specific risk และ General market risk โดยมีรายละเอียดสรุปได้ตามตารางด้านล่างนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| ความเสี่ยงด้าน | น้ําหนักเงินกองทุน (Capital charge) เพื่อรองรับความเสี่ยงประเภท | รายละเอียดการคํานวณ |
| Specific risk | General market risk |
| อัตราดอกเบี้ย(รวมถึงธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต) | 0 -12% 0-12.5%ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ออกสินทรัพย์อ้างอิงนั้น | ขึ้นอยู่กับอายุคงเหลือหรือระยะเวลากําหนดอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของตราสารหนี้นั้น | เอกสารแนบ 4 |
| ราคาตราสารทุน | 2, 4 และ 8%ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของตราสารทุนนั้น และการกระจายตัวในการลงทุน | 8% | เอกสารแนบ 5 |
| อัตราแลกเปลี่ยน | ไม่มี | 8% | เอกสารแนบ 6 |
| ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ | ไม่มี | 0.6 -15%ขึ้นกับอายุคงเหลือของสัญญา | เอกสารแนบ 7 |
| Options | การคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของOptions แบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่ 1) วิธี Simplified2) วิธี Delta-plus 3) วิธี Contingent loss | เอกสารแนบ 8 |
5.7.4 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดโดยนําเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดที่คํานวณได้ตามวิธีที่ระบุในข้อ 5.7.3 มาคูณด้วย 12.5 เพื่อนําไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป
5.8 การจัดทําข้อมูลแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทําข้อมูลและจัดส่งแบบรายงานที่เกี่ยวข้องกับการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด โดยจัดส่งในรูป Excel fรle ตามหลักเกณฑ์การจัดทําข้อมูลและแบบรายงานที่เกี่ยวข้องที่กําหนดในเอกสารแนบ 9
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,664 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนมกราคม ปี 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 2 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2556
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2556 (รุ่นที่ 1/3ปี/2556) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 8 มกราคม 2556 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/3ปี/2556 ที่จะประมูลในวันที่ 10 มกราคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.95 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,665 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 13/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 13 /2555
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์
2. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
3. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
4. นายอัครเดช ดาวเงิน
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,666 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 13/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 13 /2555
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.8/14/55 | 80,000 | 24 กุมภาพันธ์ 2555 | 28/2/55 - 13/3/55 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,667 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 19/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 19 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ
ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
-------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเป็นความเสี่ยงพื้นฐานที่อาจเกิดจากการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความบกพร่องของระบบงาน บุคลากร กระบวนการ รวมทั้งปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้กับทุกหน่วยงาน รวมถึงการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จึงควรมีเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศฉบับนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ประเมินระดับเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการไว้สองทางเลือก ได้แก่ Basic Indicator Approach (วิธี BIA) และ Standardised Approach (วิธี SA-OR)
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องนําปริมาณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 11/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ " หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk)" หมายความว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการควบคุมภายในบุคลากรและระบบงาน หรือจากเหตุการณ์ภายนอก รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมาย' แต่ไม่รวมความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk) และด้านชื่อเสียง (Reputational risk)
"รายได้จากการดําเนินงาน (Gross income)" หมายความว่า รายได้ที่เกิดจากการดําเนินธุรกิจตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิ (เอกสารแนบ 1)
"ยอดคงค้าง" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อรวมดอกเบี้ยค้างรับ และมูลค่าตามบัญชี (Book value) ของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนในบัญชีเพื่อการธนาคารก่อนหักเงินสํารองที่กันไว้ ยกเว้นกรณียอดคงค้างที่กันสํารองไว้เต็มจํานวนแล้ว ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นําเงินสํารองที่กันไว้ดังกล่าวมาหักจากยอดคงค้างได้ การคํานวณยอดคงค้างในแต่ละปี ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ค่าเฉลี่ยของยอดคงค้างสําหรับในแต่ละรอบระยะเวลา 6 เดือน จํานวน 2 งวด
"ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ" หมายความว่า ค่าที่ใช้ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ทั้งนี้ ค่าฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการไม่เท่ากับเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นค่าที่คํานวณจากอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําที่ร้อยละ 8 ซึ่งต่างจากอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
"มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ" หมายความว่า ค่าระบุระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อใช้ในการคํานวณรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด เพื่อหาเงินกองทุนขั้นต่ําที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องดํารงตามกฎหมาย ทั้งนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการไม่ได้เกิดจากสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเหมือนความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านตลาด จึงไม่มีสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่แท้จริง แต่เป็นเพียงมูลค่าเทียบเท่าเท่านั้น
5.2 หลักการ
หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศฉบับนี้กําหนดให้คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการไว้สองทางเลือก ได้แก่ Basic Indicator Approach (วิธี BIA) และ Standardised Approach (วิธี SA-OR) เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยให้พิจารณาถึงความชับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ ระดับความเสี่ยง รวมทั้งระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของตนเอง ซึ่งทั้งสองวิธีข้างต้นใช้รายได้จากการดําเนินงานเป็นค่าตัวแทน (Proxy ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการกล่าวคือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีรายได้จากการดําเนินงานสูง จะมีความเสียงด้านปฏิบัติการอยู่ในระดับสูง ดังนั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นจะมีมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการสูงและจะต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการในระดับที่สูงเช่นเดียวกัน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้มีทางเลือกภายใต้วิธี SA-OR อีกหนึ่งวิธี คือ Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ซึ่งอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถเลือกใช้ยอดคงค้างเป็น Proxy ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking แทนการใช้รายได้จากการดําเนินงาน เนื่องจากยอดคงค้างอาจจะเป็น Proxy ที่ดีกว่ารายได้จากการดําเนินงานในสายธุรกิจดังกล่าว
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในข้อ 5.6 ด้วย
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง
5.3.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) Basic Indicator Approach (วิธี BIA) ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.4
(2) Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative StandardisedApproach (วิธี ASA) ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.5
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สอดคล้องกับลักษณะและความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ
5.3.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประสงค์จะใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ต้องยื่นขออนุญาตพร้อมเอกสารแสดงการจัดแบ่งรายได้จากการดําเนินงาน และ/หรือยอดคงค้าง ตามประเภทสายธุรกิจโดยวิธี SA-0R หรือวิธี ASA พร้อมทั้งแบบประเมินความพร้อมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี SA-OR และวิธี ASA (เอกสารแนบ 2) และนําส่งที่ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งเอกสารสําคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องยื่นขออนุญาตล่วงหน้าก่อนงวดการบัญชีที่จะเริ่มใช้วิธีการคํานวณวิธีใหม่ไม่น้อยกว่า 3 เดือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารครบถ้วนถูกต้อง
5.3.3 ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ดําเนินการดังนี้
(1) กรณีที่เปลี่ยนแปลงจากวิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่าเป็นวิธีที่ซับซ้อนมากกว่า ซึ่งได้แก่ เปลี่ยนแปลงจากวิธี BIA เป็นวิธี ASA หรือ จากวิธี BIA เป็นวิธี SA-OR หรือ จากวิธี ASA เป็นวิธี SA0R ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.3.2 ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากวิธี ASA ไปเป็นวิธี SA-OR ให้กรอกข้อมูลตามแบบประเมินความพร้อมฯ เฉพาะข้อ 4
(2) กรณีที่เปลี่ยนแปลงจากวิธีที่ซับซ้อนมากกว่าเป็นวิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่า ซึ่งได้แก่ เปลี่ยนแปลงจากวิธี SA-OR เป็นวิธี ASA หรือ จากวิธี SA-OR เป็นวิธี BIA หรือ จากวิธี ASA เป็นวิธี BIA สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีโดยจะต้องมีเหตุผลอันสมควรเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารครบถ้วนถูกต้อง
5.3.4 สําหรับกรณีพิเศษที่มีผลทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามข้อ 5.6 เช่น มีเหตุการณ์ที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ หรือมีการควบหรือรวมกิจการ (Merger and acquisition) หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างมีนัยสําคัญ เป็นต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารครบถ้วนถูกต้อง5.4 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Basic Indicator Approach (วิธี BIA)
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีของผลคูณค่าคงที่ 15% กับรายได้จากการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในกรณีที่รายได้จากการดําเนินงานในปีใดมีค่าติดลบหรือเท่ากับศูนย์ ให้ตัดรายได้ดังกล่าวออกจากตัวเศษ และตัดปีดังกล่าวออกจากจํานวนปีในตัวส่วน โดยหลังจากนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยการนํา 12.5 คูณด้วยฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
ERWABIA = 12.5 X KBIA
KBIA = Ʃ(GI1..n X α)
ո
โดย ERWABIA = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี BIA
KBIA = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี BIA
GI1..n = รายได้จากการดําเนินงานย้อนหลัง 3 ปี เฉพาะที่มีค่าบวก
α = ค่าคงที่ความเสี่ยงตามวิธี BA มีค่าเท่ากับ 15%
ո = จํานวนปีที่รายได้จากการดําเนินงานมีค่าเป็นบวก
5.5 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA)
5.5.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยวิธี SA-OR ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
- สายธุรกิจแบ่งตามลักษณะของธุรกรรมออกเป็น 8 ประเภท (เอกสารแนบ 3) โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดประเภทสายธุรกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ (เอกสารแนบ 4) และสําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีระบบภายในที่ใช้งานอยู่แล้วในการจัดประเภทสายธุรกิจ สามารถจัดธุรกรรมบางประเภทให้อยู่ในสายธุรกิจที่แตกต่างจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ได้ในกรณีที่สายธุรกิจนั้นมีค่าคงที่ (ค่า 3) สูงกว่าหรือเท่ากับสายธุรกิจตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
- ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในประเภทสายธุรกิจที่กล่าวข้างต้นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนบตัวอย่างการจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานเพื่อให้การจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานลงในแต่ละสายธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกัน (เอกสารแนบ 5)
(2) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของแต่ละสายธุรกิจดังกล่าว โดยการนํารายได้จากการดําเนินงานคูณกับค่าคงที่ความเสี่ยง (ค่า 8) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้สําหรับแต่ละสายธุรกิจ (เอกสารแนบ 3) จากนั้นให้นําผลการคํานวณที่ได้ของแต่ละสายธุรกิจมารวมกันจะเป็นฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีนั้น อนึ่ง กรณีที่ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําของสายธุรกิจใดติดลบ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนําฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่ติดลบของสายธุรกิจนั้นมาหักกลบกับฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่เป็นบวกของสายธุรกิจอื่น ๆ ในปีเดียวกันได้
(3) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําผลการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่คํานวณได้ตามข้อ (2) ย้อนหลัง 3 ปี มาคํานวณหาค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ หากฐานเงินกองทุนขั้นต่ํารวมของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีใดมีค่าติดลบ ให้ถือว่าฐานเงินกองทุนขั้นต่ําในปีนั้นเป็น 0 โดยที่ตัวหารยังคงเป็น 3 ปีเช่นเดิม
(4) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วยการนํา 12.5 คูณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณได้ตามข้อ (3)
ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธี SA-OR สามารถสรุปเป็นสูตรการคํานวณได้ ดังต่อไปนี้
ERWA SA-OR = 12.5 X KSA-OR
KSA-OR = Ʃyear 1-3 max [Ʃ (GI1-8 X β1-8],0]
โดย ERWA SA-OR = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี SA-OR
KSA-OR = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามวิธี SA-OR
GI1-8 = รายได้จากการดําเนินงานของแต่ละสายธุรกิจ 8 ประเภท
β1-8 = ค่าคงที่ความเสี่ยงตามวิธี SA-OR ที่กําหนดแตกต่างกันตามประเภทของสายธุรกิจ 8 ประเภท
5.5.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถเลือกใช้Alternative Standardised Approach (วิธี ASA) ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามวิธีต่อไปนี้
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ํา และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของทั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามที่กําหนดในวิธี SA-OR ข้อ 5.5.1 (1) - 5.5.1 (4) แต่มีข้อแตกต่างคือ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณฐานเงินกองทุนในแต่ละปีสําหรับสายธุรกิจ Retail banking' และ Commercial banking โดยใช้ยอดคงค้างเฉลี่ยของแต่ละปีคูณกับค่าคงที่ "m" ที่กําหนดไว้เท่ากับ 0.035 แล้วนําไปคูณกับค่า βของแต่ละสายธุรกิจ ตามสูตรการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ดังต่อไปนี้
KRB = βRB X m X LARB (กรณี Retail banking)
KCB = βCB X m x LACB (กรณี Commercial banking)
โดย KRB, KCB = ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําที่ต้องดํารงสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ตามวิธี ASA
βRB’ βCB = ค่าคงที่ความเสี่ยงของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking
LARB, LACB = ยอดคงค้างเฉลี่ยแต่ละปี 3 ปีย้อนหลังของสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking
m = ค่าคงที่ มีค่าเท่ากับ 0.035
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เลือกใช้วิธี ASA แต่ไม่สามารถจัดสรรรายได้จากการดําเนินงานหรือยอดคงค้างตามวิธีข้างต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเลือกคํานวณฐานเงินกองทุนของสายธุรกิจหรือกลุ่มสายธุรกิจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
- คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มสายธุรกิจ โดยใช้ยอดรวมของยอดคงค้างของ Retail banking และ Commercial banking คูณด้วย ค่า m แล้วจึงนําไปคูณค่า βที่สูงกว่าของ 2 สายธุรกิจนี้ ซึ่งเท่ากับ 15% และใช้ยอดรวมของรายได้จากการดําเนินงานของสายธุรกิจที่เหลือคูณด้วยค่า β สูงสุดของทั้ง 6 สายธุรกิจซึ่งเท่ากับ 18%
- คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มสายธุรกิจ หรือสายธุรกิจ โดยใช้ยอดรวมของยอดคงค้างของ Retail banking และ Commercial banking คูณด้วยค่า m แล้ว จึงนําไปคูณค่า βที่สูงกว่าของ 2 สายธุรกิจนี้ ซึ่งเท่ากับ 15% และใช้รายได้จากการดําเนินงานของแต่ละสายธุรกิจที่เหลืออีก 6 สายธุรกิจคูณด้วยค่า β ของแต่ละสายธุรกิจนั้น
- คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสายธุรกิจหรือกลุ่มสายธุรกิจ โดยใช้ยอดคงค้างของ Retail banking และ Commercial banking คูณด้วย ค่า m แล้ว จึงนําไปคูณกับค่า βของแต่ละสายธุรกิจนี้ และใช้ยอดรวมของรายได้จากการดําเนินงานของสายธุรกิจที่เหลืออีก 6 สาย คูณด้วยค่า β สูงสุดของทั้ง 6 สายธุรกิจ ซึ่งเท่ากับ 18%
5.6 แนวทางการบริหารความเสี่ยง และเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับ Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA)
สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จะเลือกใช้วิธี SA-OR และวิธี ASA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้
(1) คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีส่วนร่วมในการกําหนดกรอบนโยบายและการติดตามดูแลการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
(2) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ดีมีการนําระบบดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งมีการกําหนดความรับผิดชอบที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานที่ทําหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งควรมีหน้าที่สําคัญดังนี้
(2.1) พัฒนากลยุทธ์ที่จะใช้ในการบ่งชี้ ประเมิน ติดตาม ควบคุม และลดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
(2.2) กําหนดนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและควบคุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
(2.3) กําหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และนําวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติ และ
(2.4) กําหนดรูปแบบการรายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และนํารายงานดังกล่าวไปใช้
(3) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีทรัพยากรเพียงพอสําหรับการใช้วิธี SA-OR หรือ วิธี ASA ในแต่ละสายธุรกิจและในสายงานควบคุมและตรวจสอบกิจการภายใน
(4) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีนยบายและหลักเกณฑ์ในการเชื่อมโยงรายได้จากการดําเนินงานสําหรับแต่ละสายธุรกิจตามวิธี SA-0R หรือยอดคงค้างสําหรับสายธุรกิจ Retail banking และ Commercial banking ตามวิธี ASA เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีการทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจหรือมีการทําธุรกิจใหม่
(5) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการในแต่ละสายธุรกิจ ซึ่งต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้ และระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการต้องสามารถรวมเข้ากับกระบวนการบริหารความสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้เป็นอย่างดี เช่น ข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินความเสี่ยงต้องเป็นส่วนสําคัญในรายงานความเสี่ยงที่ส่งให้ผู้บริหารและถูกนําไปใช้ในการวิเคราะห์ ติดตาม และควบคุมความเสี่ยง เป็นต้น
(6) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการจัดทํารายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นประจํา ซึ่งในรายงานควรกล่าวถึงการดําเนินการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เหมาะสมต่อข้อมูลความเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้บริหารหน่วยงาน ผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทราบ
(7) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดทําเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอย่างครบถ้วน และมีการติดตามการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ การควบคุม และกระบวนการที่เกี่ยวกับระบบบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการดําเนินการเมื่อเกิดกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้
(8) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการสอบทานกระบวนการบริหารความเสี่ยงและระบบประเมินความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่เป็นอิสระเป็นประจําอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในการทําธุรกรรม กระบวนการ หรือระบบบริหารความเสี่ยง โดยสถาบันการเงินฉพาะกิจต้องสอบทานทั้งหน่วยงานที่ทําธุรกรรมต่าง ๆ และหน่วยงานบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วย
(9) ระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการสอบทานโดยผู้ตรวจสอบภายนอก เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,668 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 1 /2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2559
-------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2559
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.1/14/59 | 30,000 | 8 มกราคม 2559 | 12/1/59 – 26/1/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มกราคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าการแทน | 6,669 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2555 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 13 /2555
เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ Basel III : a global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนที่มีคุณภาพดีและเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต และเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินโดยรวม
ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงองค์ประกอบเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ Basel III โดยกําหนดให้องค์ประกอบเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ต้องเป็นเงินกองทุนที่มีคุณภาพดีที่สุดเป็นหลัก คือเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1) ซึ่งประกอบด้วย หุ้นสามัญ กําไรสะสม เป็นต้น เพื่อให้เงินกองทุนที่แท้จริงที่ต้องใช้รองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นนั้น มาจากส่วนของผู้ถือหุ้นและมีปริมาณที่มากเพียงพอ โดยต้องเป็นองค์ประกอบหลักของเงินกองทุนโดยรวม นอกจากนี้ ยังได้ปรับคุณสมบัติของตราสารทางการเงินที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ให้มีลักษณะคล้ายทุนมากขึ้นกล่าวคือ ไม่อนุญาตให้มีเงื่อนไขที่เป็นแรงจูงใจให้ไถ่ถอนตราสารก่อนกําหนดเพื่อให้ตราสารดังกล่าวมีลักษณะเป็นทุนที่มีระยะยาว และต้องสามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การแปลงตราสารเป็นหุ้นสามัญหรือตัดหนี้สูญทั้งจํานวนภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดล่วงหน้าอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ยังได้กําหนดวิธีและเงื่อนไขการทยอยลดนับตราสารเงินกองทุนที่มีคุณสมบัติไม่ครบตามหลักเกณฑ์ใหม่ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางในหนังสือเวียนที่ ธปท. ฝนส. (21) ว.299/2555 เรื่อง คุณสมบัติของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนและวิธีการทยอยลดนับตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel III ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ได้แจ้งให้ธนาคารพาณิชย์ทราบไปก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ องค์ประกอบของเงินกองทุนต้องไม่รวมรายการที่ไม่สะท้อนความเป็นทุนที่แท้จริง ตลอดจนการถือตราสารทุนไขว้กันระหว่างธนาคารพาณิชย์กับบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน เพื่อป้องกันการนับเป็นเงินกองทุนซ้ําซ้อนกัน (Double gearing) ด้วย
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 29 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์กําหนดองค์ประกอบของเงินกองทุนให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
4.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 88/255 1 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
4.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 11/2552 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2552
4.3 หนังสือเวียนที่ ธปท. ฝนส. (21) ว.299/2555 เรื่อง คุณสมบัติของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนและวิธีการทยอยลดนับตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel II! ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
5.2 หลักการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้องค์ประกอบของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ เงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ซึ่งหลักเกณฑ์ Basel III ได้ปรับองค์ประกอบของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ โดยกําหนดให้องค์ประกอบหลักของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์คือ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common equity tier 1: CET 1) ซึ่งประกอบด้วยหุ้นสามัญและกําไรสะสมเป็นสําคัญ และให้ธนาคารพาณิชย์สามารถนํารายการอื่นในส่วนของเจ้าของมานับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของได้ รวมทั้งปรับคุณสมบัติของตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional tier 1) และตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้มีคุณภาพดีขึ้นกว่าหลักเกณฑ์เดิม กล่าวคือ ไม่อนุญาตให้มีเงื่อนไขที่เป็นแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ไถ่ถอนก่อนครบกําหนดและต้องรองรับผลขาดทุนได้เมื่อทางการเข้าแทรกแซงหรือเข้าช่วยเหลือกิจการของธนาคารพาณิชย์
5.3 องค์ประกอบของเงินกองทุน
เงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ เงินกองทุนชั้นที่ 1 และ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ดังนี้
(1) เงินกองทุนชั้นที่ 1 ได้แก่ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common equity tier 1: CET1) และตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Additional tier 1) หักด้วยรายการหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.4
(2) เงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้แก่ ตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ (General provision) และเงินสํารองส่วนเกิน (Surplus of provision) หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.5
5.4 เงินกองทุนชั้นที่ 1
5.4.1 เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common equity tier 1: CET1) ได้แก่ รายการที่สามารถนับเป็น CET1 ได้ ภายหลังรายการปรับและรายการหักต่าง ๆ ดังนี้
(1) รายการที่สามารถนับเป็น CET1 ได้แก่
(1.1) ทุนชําระแล้ว (ยกเว้นทุนชําระแล้วที่ได้จากการออกหุ้นบุริมสิทธิ) ซึ่งรวมทั้งส่วนเกิน (ต่ํากว่า มูลค่าหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับ และเงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของธนาคารพาณิชย์นั้น โดยต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเอกสารแนบ 1
(1.2) ทุนสํารองตามกฎหมาย
(1.3) เงินสํารองที่ได้จัดสรรจากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือตามข้อบังคับของธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับการลดค่าของสินทรัพย์ เงินสํารองสําหรับการจ่ายเงินปันผล และเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้
(1.4) กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรรตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือตามข้อบังคับของธนาคารพาณิชย์
(1.5) รายการอื่นของส่วนของเจ้าของ ได้แก่
(1.5.1) ส่วนที่ถือเป็นกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสะสม (Accumulated other comprehensive income) ซึ่งต้องเป็นมูลค่าสุทธิภายหลังการปรับปรุงภาษีเงินได้เกี่ยวกับองค์ประกอบของกําไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่นแล้ว ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงในส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน อาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุด ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดรายละเอียดตามเอกสารแนบ 2
- กําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขายของตราสารหนี้และตราสารทุนตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
- กําไร (ขาดทุน) จากการแปลงค่างบการเงินจากการดําเนินงานในต่างประเทศ
- กําไร (ขาดทุน) จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมตราสารอนุพันธ์สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด (Cash flow hedge reserve)
- กําไร (ขาดทุน) จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมตราสารอนุพันธ์สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ (Hedges of a net investment in a foreign operation)
สําหรับรายการกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่เกิดจากการปรับปรุงประมาณการหนี้สินตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยสําหรับโครงการผลประโยชน์พนักงานตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์ของพนักงาน (เฉพาะกรณีที่เลือกรับรู้รายการเข้างบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นํารายการดังกล่าวภายหลังการปรับปรุงภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องแล้วมาคํานวณมูลค่าสุทธิกับรายการปรับปรุงทางการบัญชีอื่น ๆ ที่มาตรฐานการบัญชีกําหนดให้ปรับปรุงกับกําไรสะสม โดยให้แสดงไว้ในข้อ (1.4) หากผลสุทธิเป็นกําไร
(1.5.2) รายการอื่นของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากผู้เป็นเจ้าของ (Owner changes) ได้แก่ ส่วนเกิน (ต่ํากว่า) ทุนจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน
(2) รายการปรับต่าง ๆ คือรายการทางการบัญชีซึ่งในการคํานวณเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้น ไม่อนุญาตให้มีผลกระทบต่อมูลค่าของเงินกองทุน ซึ่งได้แก่รายการดังนี้
(2.1) การเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของตราสารอนุพันธ์สําหรับธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด (Cash flow hedge reserve) ที่เกี่ยวข้องกับรายการในงบแสดงฐานะทางการเงินซึ่งไม่ได้แสดงมูลค่าตามราคาตลาด โดยหากมูลค่ายุติธรรมของตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น (กําไร) ให้ธนาคารพาณิชย์นําไปหักออกจากเงินกองทุน แต่หากมูลค่ายุติธรรมของตราสารอนุพันธ์ลดลง (ขาดทุน) ให้ธนาคารพาณิชย์นําไปบวกกลับเข้าในเงินกองทุนเสมือนไม่มีรายการดังกล่าวเกิดขึ้น
(2.2) กําไร (ขาดทุน) สะสมที่เกิดจากการเลือกใช้วิธี Fair value option ตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (International accounting standard 39 financial instruments: Recognition and measurement หรือที่แก้ไขเพิ่มเติม) ในการคํานวณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ การใช้วิธี Fair value option ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 3
(ก) ตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงิน
- ผลกําไรสะสมที่เกิดจากมูลค่ายุติธรรมลดลงเนื่องจากตราสารที่ธนาคารพาณิชย์ออกนั้นมีความเสี่ยงทางด้านเครดิต (Credit spread) เพิ่มขึ้น หรือ ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้ธนาคารพาณิชย์นํามาหักออกจากเงินกองทุน
- ผลขาดทุนสะสมที่เกิดจากมูลค่ายุติธรรมเพิ่มขึ้นเนื่องจากตราสารที่ธนาคารพาณิชย์ออกนั้นมีความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit spread) ลดลง หรือไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้นําไปบวกกลับเข้าในเงินกองทุน
(ข) เงินให้สินเชื่อ หรือ ตราสารที่เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน
- ผลกําไรสะสมที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้ธนาคารพาณิชย์นํามาหักออกจากเงินกองทุน
- ผลขาดทุนสะสมที่เกิดจากการลดลงของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้นําไปบวกกลับเข้าในเงินกองทุน
(2.3) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(3) รายการหักจาก CET1 ได้แก่รายการดังต่อไปนี้
(3.1) ผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชี ให้หักทันที ณ วันสิ้นงวดการบัญชีนั้น
(3.2) ค่าความนิยม (Goodwill! ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฏในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งรวมถึงค่าความนิยมที่แฝงอยู่ในเงินลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน' ที่จัดประเภทเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือบริษัทย่อยตามมาตรฐานการบัญชีด้วย ทั้งนี้ ต้องเป็นมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายหลังหักกลบด้วยหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับค่าความนิยมดังกล่าวแล้ว
(3.3) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน' (Intangible asset) อื่นที่นอกเหนือจากค่าความนิยม ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฎในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งนี้ ต้องเป็นมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายหลังหักกลบด้วยหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนดังกล่าวแล้ว
(3.4) สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (Deferred tax asset: DTA) ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฎในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งนี้ ต้องเป็นมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายหลังหักกลบด้วยหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (Deferred tax liability: DTL) ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่รายการต่อไปนี้
(ก) ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Unused tax losses carryforward) และ
(ข) ผลแตกต่างชั่วคราวระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือหนี้สินในงบดุลกับฐานภาษี หรือผลแตกต่างชั่วคราวในกําไรทางบัญชีและกําไรทางภาษี (Temporary differences) เช่น สํารองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น
(ค) เครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Unused tax credit carryforward)
ทั้งนี้ DTL ที่นํามาหักออกจาก DTA ในข้อ 5.4.1 (3.4) นั้น ต้องไม่รวม DTL ที่ธนาคารพาณิชย์ได้นําไปหักออกจากค่าความนิยมและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแล้ว
(3.5) สํารองส่วนขาด (Shortfall of provision) เฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี IRB
ทั้งนี้ เงินสํารองส่วนขาด หมายถึง ผลต่างระหว่างมูลค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss: EL) และเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) เฉพาะในกรณีที่เงินสํารองที่กันไว้แล้วน้อยกว่าค่า EL
(3.6) กําไรจากการทําธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์(Securitisation) ซึ่งมีผลให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการทําหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม Securitisation และคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนกลับมาในอนาคต (Expected future margin income) เป็นต้น
(3.7) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้จ่ายไปเพื่อการซื้อหุ้นคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ด้วยวิธีราคาตามมูลค่าตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนของกิจการ
(3.8) การถือตราสารทุนไขว้กันระหว่างธนาคารพาณิชย์กับบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน' ที่มีเจตนาเพื่อต้องการเพิ่มเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ให้ธนาคารพาณิชย์นํามูลค่าเงินลงทุนในตราสารทุนเฉพาะส่วนที่ถือไขว้กันในบริษัทดังกล่าวหักจากเงินกองทุนทั้งจํานวน ทั้งนี้ รวมถึงการลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทดังกล่าวด้วย
(3.9) เงินลงทุนในตราสารทุน" รวมถึงเงินลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
(3.10) เงินลงทุนในตราสารทุน รวมถึงเงินลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน' ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน Full consolidation ที่ต้องจัดทํางบการเงินรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและบริษัทที่ทําธุรกิจสนับสนุนระบบสถาบันการเงินหรือที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาสัดส่วนการถือหุ้นที่กําหนดดังต่อไปนี้ เพื่อคํานวณมูลค่าเงินลงทุนที่ต้องนําไปหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ
(ก) กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของแต่ละบริษัทนั้น มีวิธีการคํานวณดังนี้
- ให้ธนาคารพาณิชย์นําผลรวมของเงินลงทุน ในตราสารทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 และตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของบริษัทในข้อ 5.4.1 (3.10) (ก) ทั้งทางตรงและทางอ้อม' มาเปรียบเทียบกับร้อยละ 10 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของสุทธิ (Net common equity tier 1)' โดยให้ธนาคารพาณิชย์นําผลรวมของเงินลงทุนดังกล่าวทั้งหมดเฉพาะส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 10 ของ Net common equity tier 1 ไปหักออกจากเงินกองทุนแต่ละประเภทของธนาคารพาณิชย์ตามสัดส่วนของประเภทเงินลงทุน (Pro-rata basis) ตามตัวอย่างที่ 1 ในเอกสารแนบ 4
- ทั้งนี้ สําหรับผลรวมของเงินลงทุนดังกล่าวทั้งหมดในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของ Net common equity tier 1 ให้ธนาคารพาณิชย์นําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงตามสัดส่วนของประเภทของเงินลงทุน (Pro-rata basis) (ตามตัวอย่างที่ 1 ในเอกสารแนบ 4) โดยในกรณีเป็นเงินลงทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร ให้ใช้วิธีที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach วิธี IRB) และในกรณีเป็นเงินลงทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า ให้ใช้วิธีที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
(ข) กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น
- ให้ธนาคารพาณิชย์นําผลรวมของเงินลงทุน ในตราสารทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทในข้อ 5.4.1 (3.10)(ข) ทั้งทางตรงและทางอ้อมมาเปรียบเทียบกับร้อยละ 10 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของสุทธิ (Net common equity tier 1) โดยให้ธนาคารพาณิชย์นําเงินลงทุนดังกล่าวเฉพาะส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 10 ของ Net common equity tier 1 ไปหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของตามสัดส่วนของเงินลงทุนในแต่ละบริษัท (Pro-rata basis) ดังตัวอย่างที่ 2 ในเอกสารแนบ 4
- ทั้งนี้ สําหรับผลรวมของเงินลงทุนดังกล่าวทั้งหมดในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของ Net common equity tier 110 ให้ธนาคารพาณิชย์นําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงตามสัดส่วนของเงินลงทุนในแต่ละบริษัท (Pro-rata basis) (ดังตัวอย่างที่ 2 ในเอกสารแนบ 4) โดยในกรณีเป็นเงินลงทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร ให้ใช้วิธีที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) และในกรณีเป็นเงินลงทุนที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า ให้ใช้วิธีที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ หากน้ําหนักความเสี่ยงตามประกาศดังกล่าวข้างต้น" ต่ํากว่าร้อยละ 250 ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้น้ําหนักความเสี่ยงที่ร้อยละ 250 แทน
(3.11) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(3.12) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงินในส่วนที่เหลือ ในกรณีที่เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงินมีจํานวนไม่เพียงพอให้หักจนครบเต็มจํานวน
5.4.2 เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงิน (Additional tier 1) ได้แก่ รายการที่นับเป็น Additional tier 1 ภายหลังรายการหักต่าง ๆ ดังนี้
(1) รายการที่สามารถนับเป็น Additional tier 1 ประกอบด้วย
(1.1) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผลและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นบุริมสิทธิดังกล่าว
(1.2) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีสิทธิด้อยกว่าผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้สามัญ และเจ้าหนี้ด้อยสิทธิทุกประเภท ซึ่งรวมถึงผู้ถือตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2
(1.3) ส่วนเกิน (ต่ํากว่า มูลค่าตราสารตาม (1.1) และ (1.2) ที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับ
ทั้งนี้ ตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเอกสารแนบ 5 และธนาคารพาณิชย์จะต้องยื่นคําขอต่อฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุมัตินับเงินที่ได้รับจากการออกตราสารดังกล่าวเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงินด้วย
(2) รายการหักจาก Additional tier 1 ได้ แก่รายการดังต่อไปนี้
(2.1) การซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์จะซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารแนบ 5
(2.2) การถือตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ไขว้กันระหว่างธนาคารพาณิชย์กับบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน ที่มีเจตนาเพื่อต้องการเพิ่มเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ให้ธนาคารพาณิชย์นํามูลค่าเงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของบริษัทดังกล่าวหักออกจากเงินกองทุน
(2.3) เงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนอื่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม'
(2.4) เงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน' ทั้งทางตรงและทางอ้อม' ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน Full consolidation ที่ต้องจัดทํางบการเงินรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและบริษัทที่ทําธุรกิจสนับสนุนระบบสถาบันการเงินหรือที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ต้องนํามาหักตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 5.4.1(3.10) (ก)
(2.5) เงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน' ทั้งทางตรงและทางอ้อม' ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน Full consolidation ที่ต้องจัดทํางบการเงินรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและบริษัทที่ทําธุรกิจสนับสนุนระบบสถาบันการเงินหรือที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์นํามูลค่าเงินลงทุนดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงินทั้งจํานวน
(2.6) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(2.7) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในส่วนที่เหลือ ในกรณีที่เงินกองทุนชั้นที่ 2 มีจํานวนไม่เพียงพอให้หักจนครบเต็มจํานวน
5.5 เงินกองทุนชั้นที่ 2
เงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้แก่ ตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ และเงินสํารองส่วนเกิน ภายหลังรายการหักต่าง ๆ ดังนี้
5.5.1 ตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้แก่
(1) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผลและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นบุริมสิทธิดังกล่าว
(2) เงินที่ได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีสิทธิด้อยกว่าผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้สามัญ
(3) ส่วนเกิน (ต่ํากว่า) มูลค่าตราสารตาม (1) และ (2) ที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับ
ทั้งนี้ ตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเอกสารแนบ 6 และธนาคารพาณิชย์จะต้องยื่นคําขอต่อฝ่ายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุมัตินับเงินที่ได้รับจากการออกตราสารดังกล่าวเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ด้วย
5.5.2 เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ (General provision)
เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ ได้แก่ เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติทั้งหมด แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติส่วนที่นับเป็น Specific provision" แล้ว โดยเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินและให้นับเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ดังนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Standardised Approach (วิธี SA) จะนับ General provision เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
(2) ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) จะนับ General provision ที่ได้จัดสรรให้แก่พอร์ตสินทรัพย์ที่ใช้วิธี SA เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณโดยวิธี SA ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย วิธี IRB
ทั้งนี้ ยอดสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์
5.5.3 เงินสํารองส่วนเกิน (Surplus of provision)
ธนาคารพาณิชย์จะนับเงินสํารองส่วนเกินดังกล่าวเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 0.6 ของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณโดยวิธี IRB ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี IRB
ทั้งนี้ เงินสํารองส่วนเกิน หมายถึง เงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) เฉพาะส่วนที่มีมูลค่าเกินกว่าค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss: EL)
5.5.4 รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้แก่ รายการดังต่อไปนี้
(1) การซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์จะซื้อคืนตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารแนบ 6
(2) การถือตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ไขว้กันระหว่างธนาคารพาณิชย์กับบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน' ที่มีเจตนาเพื่อต้องการเพิ่มเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ให้ธนาคารพาณิชย์นํามูลค่าเงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของบริษัทดังกล่าวหักออกจากเงินกองทุน
(3) เงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนอื่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
(4) เงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม' ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน Full consolidation ที่ต้องจัดทํางบการเงินรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและบริษัทที่ทําธุรกิจสนับสนุนระบบสถาบันการเงินหรือที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วของบริษัทนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ต้องนํามาหักตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 5.4.1 (3.10) (ก)
(5) เงินลงทุนในตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน' ทั้งทางตรงและทางอ้อม' ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน Full consolidation ที่ต้องจัดทํางบการเงินรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและบริษัทที่ทําธุรกิจสนับสนุนระบบสถาบันการเงินหรือที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วของบริษัทนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์นํามูลค่าเงินลงทุนดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ทั้งจํานวน
(6) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
5.6 งวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุน
งวดระยะเวลาในการนับรายการแต่ละประเภทเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนชั้นที่ 2 หรือหักออกจากเงินกองทุน ปรากฏตามเอกสารแนบ 7
5.7 บทเฉพาะกาล
(1) สําหรับตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนได้ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ออกก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้และมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ 5 และเอกสารแนบ 6 นั้น ให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีตราสารทางการเงินดังกล่าวต้องลดการนับหรือทยอยลดการนับตราสารดังกล่าวเป็นเงินกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ตามรายละเอียดที่กําหนดในเอกสารแนบ 8
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องนําส่งข้อมูลตารางแสดงการทยอยลดนับตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนเดิมที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเอกสารแนบ 5 และเอกสารแนบ 6 ของประกาศฉบับนี้แก่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนจะนับเป็นเงินกองทุนได้ต่อไป
(2) ธนาคารพาณิชย์ที่ยื่นคําขอนับส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ไม่ถึง 3 ปี นับถึงวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ หากประสงค์จะนับส่วนเกินทุนดังกล่าวเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ ให้ยื่นคําขอมายังฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
สําหรับกรณีของธนาคารพาณิชย์ที่ยื่นคําขอดังกล่าวมาเกินกว่า 3 ปีนับถึงวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ หากจะนับส่วนเกินทุนดังกล่าวเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของเพิ่มเติม ต้องปฏิบัติตามเอกสารแนบ 2 ของประกาศฉบับนี้
(3) ให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนตามองค์ประกอบของเงินกองทุนที่กําหนดในข้อ 5.3 ของประกาศฉบับนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ สําหรับรายการที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของในข้อ 5.4.1 (1.5) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของในข้อ 5.4.1 (3) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงินในข้อ 5.4.2 (2) และรายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในข้อ 5.5.4 นั้น เฉพาะรายการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดดังต่อไปนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์นับเพิ่มเงินกองทุนหรือหักเงินกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไปโดยในระยะเวลา 5 ปีแรก ให้เพิ่มเงินกองทุนหรือหักเงินกองทุนในอัตราร้อยละ 20 ร้อยละ 40 ร้อยละ 60 ร้อยละ 80 และร้อยละ 100 ต่อปี ตามลําดับ (ร้ายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 9)
(3.1) กําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้เผื่อขาย
(3.2) กําไร (ขาดทุน) จากการแปลงค่างบการเงินจากการดําเนินงานในต่างประเทศ
(3.3) กําไร (ขาดทุน) จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมตราสารอนุพันธ์สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ (Hedges of a net investment in a foreign operation)
(3.4) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
(3.5) กําไรจากการทําธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation)
(3.6) เงินลงทุนในบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุนตามข้อ 5.4.1 (3.10) (ก) และ (ข) ข้อ 5.4.2 (2.4) และ (2.5) รวมทั้งข้อ 5.5.4 (4) และ (5)
อย่างไรก็ดี สําหรับรายการ (3.4) และ (3.6) นั้น เฉพาะส่วนที่ยังไม่ครบกําหนดต้องหักออกจากเงินกองทุน ให้ธนาคารพาณิชย์นําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) หรือหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) สําหรับรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน สําหรับรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,670 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 20/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 20 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง
ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
การประกอบธุรกิจที่มีลักษณะและความเสี่ยงเฉพาะแตกต่างจากธุรกิจทั่วไปของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น อาทิ การรับประกันการส่งออก (Export credit insurance) การรับประกันความเสี่ยงการลงทุน (Investment insurance) ซึ่งเป็นการดําเนินตามพันธกิจของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ในการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนําเข้า และการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากความเสี่ยงที่รองรับโดยอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติ จึงเห็นสมควรกําหนดเกณฑ์การกํากับดูแลเพิ่มเติม เพื่อให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยมีหลักเกณฑ์รองรับความเสี่ยงที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงดังกล่าวเป็นการเฉพาะ
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงเป็นการเพิ่มเติมตามรายละเอียดในประกาศฉบับนี้ โดยให้ดํารงอัตราส่วนดังกล่าวควบคู่ไปกับการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยมีการปรับปรุงสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ คือการเพิ่มเติมนิยามของการรับประกันความเสี่ยงให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536 ที่กําหนดให้การรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยรวมถึงการรับประกันภัยต่อด้วย
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 12/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"การรับประกันความเสี่ยง" หมายความว่า การรับประกันความเสี่ยงในการได้รับชําระเงินจากผู้ซื้อหรือธนาคารของผู้ซื้อ และการรับประกันความเสี่ยงในการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนไทย ทั้งนี้ รวมถึงกรณีที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) ด้วย
5.2 หลักการ
เพื่อให้มีการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจรับประกันความเสี่ยงซึ่งเป็นธุรกิจที่มีลักษณะและความเสี่ยงเฉพะได้อย่างเหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง ดังนี้
เงินกองทุนชั้นที่ 1 ≥ 20%
ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง
เงินกองทุนชั้นที่ 1 หมายถึง เงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยง หมายถึง ภาระผูกพันที่เกิดจากการประกอบธุรกิจรับประกันความเสี่ยงทุกรายการ หลังหักยอดเงินสํารองที่ได้กันไว้เพื่อชําระค่าสินไหมทดแทนจากรายการภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงแต่ละรายการ ทั้งนี้ ยกเว้นภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรงบประมาณเพื่อชําระหนี้ให้แล้ว
ทั้งนี้ ผลรวมของภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละรายจะต้องไม่เกินมูลค่าสูงสุดที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยจะต้องจ่ายให้แก่ลูกค้ารายนั้นตามสัญญารับประกันความเสี่ยง
ในกรณีที่มีรายการภาระผูกพันอันเกิดจากการรับประกันความเสี่ยงที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้แปลงเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.3 การรายงาน
ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยจัดทําข้อมูลและจัดส่งแบบรายงานเกี่ยวกับการคํานวณอัตราส่วนเงินกองทุนต่อภาระผูกพันที่เกิดจากการรับประกันความเสี่ยงในรูป Excel file ตามรายละเอียดในเอกสารแนบ
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,671 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 21/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 21 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เนื่องจากความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นหนึ่งในความเสี่ยงหลักของธุรกิจสถาบันการเงินแม้ว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีฐานะการเงินที่มั่นคง แต่หากไม่สามารถจ่ายชําระผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ตามภาระผูกพันที่มีอยู่ได้ ก็อาจทําให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นไม่สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยเหตุนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง โดยใช้ควบคู่กับแนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาระกิจมีสินทรัพย์สภาพคล่องที่จะใช้รองรับการไหลออกของเงิน เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ฝากเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และเป็นแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อันจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงินและภาคเศรษฐกิจจริงได้ รวมถึงเป็นการช่วยผลักดันให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบการบริหารความสี่ยง และการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่กําหนดมีความสอดคล้องกับแนวทางที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้เพื่อการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องในปัจจุบัน แต่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสภาพแวดล้อมทางการเงินมากขึ้น
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 13/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยและธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
"เงินรับฝาก " หมายความว่า เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับจากประชาชนซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันมีกําหนด และให้หมายความรวมถึงเงินอื่นที่ได้รับจากประชาชน เช่น สลากออมสิน สลากออมทรัพย์ เงินรับฝากสงเคราะห์ชีวิต
ทั้งนี้ เงินรับฝากสงเคราะห์ชีวิตหรือที่มีลักษณะเดียวกันแต่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้นับรวมเป็นเงินรับฝากจนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ออกหลักเกณฑ์กํากับดูแลเงินรับฝากสงเคราะห์ชีวิตดังกล่าวเป็นการเฉพาะ
5.2 หลักเกณฑ์
5.2.1 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ณ สิ้นวันสุดท้ายของเดือนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 ของยอดรวมเงินรับฝากทุกประเภท ณ สิ้นวันดังกล่าว
5.2.2 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1) โดยสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารงตามข้อ 5.2.1 ประกอบด้วย
(1) เงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) เงินฝากประจําที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) เงินสดที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจและเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ ไม่เกินร้อยละ 2.5 ของยอดรวมเงินรับฝากทุกประเภท ตามที่กําหนดในข้อ 5.2.1
(4) หลักทรัพย์หรือตราสารซึ่งปราศจากภาระผูกพันและสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ดังต่อไปนี้
(4.1) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(4.2) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ค้ําประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย
(4.3) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่สามารถใช้เป็นหลักประกันในการทําธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืน และการขายตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยกับไพรมารี ดีลเลอร์ (Primary dealer) และเกี่ยวกับการขายตราสารหนี้เพื่อบริหารสภาพคล่องโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน
(4.4) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2)
(5) ตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกเพื่อทําธุรกรรมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น และปราศจากภาระผูกพัน
(6) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน ที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รับรอง อาวัล หรือค้ําประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน
ทั้งนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องข้างต้นให้หมายความรวมถึงตราสารการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่มีลักษณะเทียบเท่าด้วย
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,672 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 14/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 14 /2555
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์
2. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
3. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
4. นายอัครเดช ดาวเงิน
5. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์
6. นายบุญชัย กาญจนพิมาย
7. นายอนันต์ อิงวิยะ
8. นายภูวดล เหล่าแก้ว
9. นายสัญชัย สุวรรณวงศ์
10. นายพิชิต ภัทรวิมลพร
11. นายธเนศชัย อังวราวงศ์
12. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
13. นายชนัช เทียมมณีเนตร
14. นายชุติมา ไชยบุตร
15. นางสุภาวดี ปุณศรี
16. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร
17. นางศรีสกุล รังสิกุล
18. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ
19. นายรณรงค์ ไชยสมบัติ
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,673 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 22 /2562
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2562
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2562
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 14/91/62 | - | 40,000 | 2 เม.ย. 62 | 4 เม.ย. 62 | 4 ก.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน |
| 14/182/62 | - | 40,000 | 2 เม.ย. 62 | 4 เม.ย. 62 | 3 ต.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน |
| 15/91/62 | - | 40,000 | 9 เม.ย. 62 | 11 เม.ย. 62 | 11 ก.ค. 62 | 91 วัน | 329 วัน |
| 15/182/62 | - | 40,000 | 9 เม.ย. 62 | 11 เม.ย. 62 | 10 ต.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน |
| 16/91/62 | - | 45,000 | 12 เม.ย. 62 | 18 เม.ย. 62 | 18 ก.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน |
| 16/182/62 | - | 45,000 | 12 เม.ย. 62 | 18 เม.ย. 62 | 17 ต.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/2ปี/2562 | 1.75 | 30,000 | 18 เม.ย. 62 | 22 เม.ย. 62 | 18 ก.พ. 64 | 2 ปี | 1.83 ปี |
| 17/91/62 | - | 45,000 | 23 เม.ย. 62 | 25 เม.ย. 62 | 25 ก.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน |
| 17/182/62 | - | 45,000 | 23 เม.ย. 62 | 25 เม.ย. 62 | 24 ต.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน |
| 2/364/62 | - | 40,000 | 23 เม.ย. 62 | 25 เม.ย. 62 | 23 เม.ย. 63 | 364 วัน | 364 วัน |
| 1/FRB3ปี/2558 | 3 M BIBOR -0.1 (เท่ากับ 1.77092 สําหรับงวดเริ่มต้น วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562) | 15,000 | 26 เม.ย. 62 | 30 เม.ย. 62 | 26 ก.พ. 65 | 3 ปี | 2.83 ปี |
| 18/91/62 | - | 45,000 | 29 เม.ย. 62 | 2 พ.ค. 62 | 1 ส.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน |
| 18/182/62 | - | 45,000 | 29 เม.ย. 62 | 2 พ.ค. 62 | 31 ต.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2562 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 24 เมษายน 2562
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม 2562
(นายเมธี สุภาพงษ์)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,674 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 14/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 14 /2555
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 9/28/55 | - | 30,000 | 5 มี.ค. 55 | 8 มี.ค. 55 | 5 เม.ย. 55 | 28 วัน | 28 วัน |
| 9/91/55 | - | 25,000 | 5 มี.ค. 55 | 8 มี.ค. 55 | 7 มิ.ย. 55 | 91 วัน | 91 วัน |
| 9/182/55 | - | 25,000 | 5 มี.ค. 55 | 8 มี.ค. 55 | 6 ก.ย. 55 | 182 วัน | 182 วัน |
| 2/364/55 | - | 50,000 | 5 มี.ค. 55 | 8 มี.ค. 55 | 7 มี.ค. 56 | 364 วัน | 364 วัน |
| 10/28/55 | - | 30,000 | 13 มี.ค. 55 | 15 มี.ค. 55 | 12 เม.ย. 55 | 28 วัน | 28 วัน |
| 10/91/55 | - | 25,000 | 13 มี.ค. 55 | 15 มี.ค. 55 | 14 มิ.ย. 55 | 91 วัน | 91 วัน |
| 10/182/55 | - | 25,000 | 13 มี.ค. 55 | 15 มี.ค. 55 | 13 ก.ย. 55 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/3ปี/2555 | 3.05 | 50,000 | 15 มี.ค. 55 | 19 มี.ค. 55 | 30 ม.ค. 58 | 3 ปี | 3 ปี |
| 11/28/55 | - | 30,000 | 20 มี.ค. 55 | 22 มี.ค. 55 | 19 เม.ย. 55 | 28 วัน | 28 วัน |
| 11/91/55 | - | 25,000 | 20 มี.ค. 55 | 22 มี.ค. 55 | 21 มิ.ย. 55 | 91 วัน | 91 วัน |
| 11/182/55 | - | 25,000 | 20 มี.ค. 55 | 22 มี.ค. 55 | 20 ก.ย. 55 | 182 วัน | 182 วัน |
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 1/FRB2ปี/2555 | 3M BIBOR – 0.20(=3.02538 สําหรับงวดเริ่มต้น 17 ม.ค. 55) | 10,000 | 23 มี.ค. 55 | 27 มี.ค. 55 | 17 ม.ค. 57 | 2 ปี | 1.81 ปี |
| 12/28/55 | - | 30,000 | 27 มี.ค. 55 | 29 มี.ค. 55 | 26 เม.ย. 55 | 28 วัน | 28 วัน |
| 12/91/55 | - | 25,000 | 27 มี.ค. 55 | 29 มี.ค. 55 | 29 มี.ค. 55 | 91 วัน | 91 วัน |
| 12/182/55 | - | 25,000 | 27 มี.ค. 55 | 29 มี.ค. 55 | 27 ก.ย. 55 | 182 วัน | 182 วัน |
สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB2ปี/2555 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 21 มีนาคม 2555
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,675 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2559 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 1 /2559
เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2557 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 16 มกราคม 2557 กําหนดให้สถาบันการเงินรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในรูปแบบชุดข้อมูล (XML Data Set) โดยผ่านวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2546 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดําเนินการปรับปรุงชุดข้อมูล (XML Data Set) ตามโครงการ DMS Enhancement ประจําปี 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและมาตรฐานการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งได้เปลี่ยนรูปแบบรายงานการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องภายใต้สถานการณ์ที่มีความรุนแรง (Liquidity Coverage Ratio : LCR) จากปัจจุบันที่กําหนดให้รายงานในรูปแบบ Excel File เป็นชุดข้อมูล (XML Data Set) เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลที่ใด้รับจากสถาบันการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญดังนี้
1. ปรับปรุงตารางรหัส (Classification) เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมาตรฐานการบัญชี จํานวน 4 ชุดข้อมูล ตามรายละเอียดตังนี้
1.1 Profit and Loss (DS PNL)
1.2 Comprehensive Income Statement Conso (DS CISC)
1.3 Partial Comprehensive Income Statement\_Conso (DS\_ PCSC)
1.4 Liquidity Assessment 1 (DS LQ1)
2. เปลี่ยนรูปแบบรายงานการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องภายใต้สถานการณ์ที่มีความรุนแรง (Liquidity Coverage Ratio : LCR) จากปัจจุบันที่กําหนดให้รายงานในรูปแบบ Excel File เป็นชุดข้อมูล (XML Data Set) จํานวน 1 ชุดข้อมูล คือ Liquidity Coverage Ratio (DS LCR)
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดให้สถาบันการเงินจัดทําและส่งรายงานข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
อื่นๆ - 3. ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 1/2557 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 16 มกราคม 2557
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ให้สถาบันการเงินจัดทําและส่งรายงานข้อมูลในรูปแบบขุดข้อมูล (XML Data Set) ตามรายชื่อชุดข้อมูล (XML Data set) ที่กําหนดให้สถาบันการเงินรายงาน (เอกสารแนบ 1) และคู่มือการจัดทําชุดข้อมูล (XML Data Set Manual โดยให้จัดส่งข้อมูลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดใน "ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546" ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2546 (เอกสารแนบ 2) รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม
5.2 การจัดส่งรายงานชุดข้อมูลที่ปรับปรุงใหมให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
5.2.1 ชุดข้อมูลเติมที่ปรับปรุงตารางรหัส (Classification)
- ชุดข้อมูล Profit and Loss (DS\_ PNL) ให้ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครติตฟองชิเอร์ เริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลงวดสิ้นเตือนธันวาคม 2558 เป็นต้นไป
- ชุดข้อมูล Comprehensive Income Statement\_Conso (DS \_ CISC)และ Partial Comprehensive Income Statement\_Conso (DS\_ PCSC) ให้ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ เริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลงวดสิ้นเดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นไป ส่วนบริษัทเงินทุนให้รายงานตามรูปแบบ Excel File เหมือนเดิม
- ชุดข้อมูล Liquidity Assessment 1 (DS\_ LQ1) ให้ธนาคารพาณิซย์จดทะเบียนในประเทศและสาขาธนาคารพาณิซย์ต่างประเทศ เริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลปักษ์สิ้นสุดวันที่ 19 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
5.2.2 ซุดข้อมูล Liquidity Coverage Ratio (DS\_LCR) ให้ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ เริ่มรายงานตั้งแต่ข้อมูลงวตสิ้นเดือนมกราคม 2559 เป็นต้นไป
5.3 ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับรายงานข้อมูลตามชุดข้อมูล (XML Data Set) ในวันที่สถาบันการเงินส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลที่ส่งมานั้น มีความถูกต้องโดยผ่านหลักเกณฑ์การตรวจสอบเบื้องตัน (Basic Validation) ของระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว
อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2559
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,676 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 22/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 22 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่อ
อุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ปัจจุบันบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม มีการให้บริการค้ําประกันความเสี่ยงในลักษณะของกลุ่มลูกหนี้ (Portfolio Guarantee Scheme) ซึ่งแตกต่างจากการค้ําประกันที่เป็นรายลูกหนี้
ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee Scheme ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติโดยมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และการจัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับโครงการค้ําประกันความเสี่ยงในลักษณะของกลุ่มลูกหนี้ (Portfolio Guarantee Scheme) ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมที่รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้ถือเสมือนว่าลูกหนี้ได้รับการค้ําประกันโดยอ้อมจากรัฐบาลไทย
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์นี้ครอบคลุมถึงโครงการค้ําประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมในรูปแบบอื่น ซึ่งมีหลักการและรายละเอียดของโครงการในลักษณะเดียวกับโครงการค้ําประกันแบบ Portfolio Guarantee Scheme ด้วย เช่น โครงการค้ําประกันสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อยในลักษณะ Package Guarantee Scheme ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 15/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยและธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย
5.2 กรณีรัฐบาลชดเชยความเสียหายให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ทั้งหมดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและคํานวณการกันเงินสํารอง ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
5.2.1 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนําการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมตามโครงการ Portfolio Guarantee Scheme มาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้ภายใต้โครงการดังกล่าวได้เฉพาะในส่วนที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมรับประกันความเสียหาย โดยให้ถือเสมือนว่าลูกหนี้ได้รับการค้ําประกันโดยอ้อมจากรัฐบาลไทย ทั้งนี้ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2.2 หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารอง
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามูลค่าหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ําประกัน (LG) ที่ออกโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมตามโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ทั้งจํานวนมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองได้ตามสัดส่วนของจํานวนเงินที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมรับประกันความเสียหายให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นเนื่องจากเป็นส่วนที่มีมติคณะรัฐมนตรีชดเชยความเสียหายจากโครงการนี้ ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.3 กรณีรัฐบาลชดเชยความเสียหายให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมซึ่งไม่ครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ทั้งหมด ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุโลมให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและคํานวณการกันเงินสํารอง เสมือนว่าส่วนที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมรับประกันความเสียหายได้รับการค้ําประกันโดยอ้อมจากรัฐบาลเช่นเดียวกับข้อ 5.2
ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจใดไม่ประสงค์ที่จะคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและคํานวณการกันเงินสํารองตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้ถือว่าการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมในส่วนที่รัฐบาลไม่ชดเชยนั้น เป็นการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมเอง
5.4 แนวทางตามข้อ 5.2 และข้อ 5.3 ข้างต้น ให้ถือปฏิบัติเป็นการทั่วไปสําหรับโครงการ Portfolio Guarantee Scheme ระยะต่อไปที่รัฐบาลมีการชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการให้แก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยที่หลักการและรายละเอียดของโครงการมิได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ รวมถึงโครงการค้ําประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมในรูปแบบอื่น ซึ่งมีหลักการและรายละเอียดโครงการในลักษณะเดียวกับโครงการ Portfolio Guarantee Scheme เช่น โครงการค้ําประกันสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อยในลักษณะ Package Guarantee Scheme
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,677 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 15/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 15 /2555
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์
2. นางภรวดี ตาปสนันทน์
3. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน
6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,678 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 23/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 23 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
--------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
การให้สินเชื่อเป็นธุรกรรมหลักของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การมีหลักเกณฑ์การจัดชั้นจึงเป็นเรื่องจําเป็นที่จะใช้เป็นเครื่องมือชี้มูลค่าที่สะท้อนถึงฐานะที่แท้จริงของลูกหนี้ นอกจากนี้ เครื่องมือสําคัญที่สร้างความมั่นคง คือการกันเงินสํารองอย่างเพียงพอและสามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือครองอยู่ โดยเฉพาะเงินให้สินเชื่อซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีสาระสําคัญคือ การให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดขั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารอง และการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เสียหายหรืออาจเสียหายออกจากบัญชี ไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองสําหรับผลต่างของยอดหนี้คงค้างกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือผลต่างของยอดหนี้คงค้างกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกัน
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2559 และเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่งได้กําหนดให้ลูกหนี้สามารถนําทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นประกันการชําระหนี้โดยผู้ให้หลักประกันไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแก่ผู้รับหลักประกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้จัดทําหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้ครอบคลุมถึงหลักประกันประเภทกิจการที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท และสิทธิเรียกร้องที่ไม่มีตราสารที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนํามาหักลดมูลหนี้ก่อนการ กันเงินสํารองได้
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม และปรับปรุงให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถจัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่นํามาใช้ประกอบการพิจารณาการจัดชั้น การกันเงินสํารองและการตัดรายการออกจากบัญชีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 14/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"สินทรัพย์ที่เสียหาย" หมายความว่า สินทรัพย์จัดชั้นสูญ
"สินทรัพย์ที่อาจเสียหาย" หมายความว่า
(ก) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ
(ข) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย
(ค) สินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน
(ง) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ
(จ) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ
"เงินสํารอง" หมายความว่า เงินสํารองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญค่าเผื่อการลดราคา ค่าเผื่อการด้อยค่า ค่าเผื่อการปรับมูลค่า สําหรับสินทรัพย์ที่อาจเสียหาย รวมถึงสินทรัพย์และภาระผูกพันอื่นที่ไม่เสียหาย ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นแต่ละประเภทตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่ระบุในประกาศฉบับนี้
5.2 หลักเกณฑ์
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสํารอง ดังนี้
5.2.1 การกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกําหนดโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดชั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารอง และการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เสียหายหรืออาจเสียหายออกจากบัญชีไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ นโยบายและวิธีปฏิบัติดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การกําหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้อง
(2) การพิจารณาปัจจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการจัดชั้นสินทรัพย์
(3) การกําหนดสมมติฐานและวิธีการคํานวณการกันเงินสํารอง
(4) การตัดจําหน่ายหนี้สูญและหนี้สูญได้รับคืน
(5) ระบบการควบคุมภายในและแนวทางการบันทึกบัญชี
(6) การตรวจสอบความถูกต้องในการจัดชั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารอง และการตัดจําหน่ายหนี้สูญ รวมถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลหลักฐานที่นํามาใช้ประกอบ
5.2.2 การจัดชั้นสินทรัพย์
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดชั้นสินทรัพย์ตามลักษณะสินทรัพย์ดังต่อไปนี้เป็นรายบัญชี อย่างไรก็ดี สําหรับการจัดชั้นเงินให้สินเชื่อประเภทลูกหนี้ธุรกิจ' สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องคํานึงถึงความเกี่ยวเนื่องของกระแสเงินสดรับของแต่ละบัญชีด้วย ซึ่งหากกระแสเงินสดของลูกหนี้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน ก็อาจต้องจัดชั้นไว้ด้วยกันทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดชั้นสินทรัพย์ได้หากพิจารณาเห็นสมควร
(1) สินทรัพย์จัดชั้นสูญ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
(1.1) สิทธิเรียกร้องซึ่งได้ดําเนินการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชําระหนี้แต่ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้แล้ว โดยให้พิจารณาตามเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1.1.1) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้
(1.1.2) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลําดับก่อนเป็นจํานวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้
(1.1.3) สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ฟ้องลูกหนี้หรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง และในกรณีนั้นได้มีคําบังคับหรือคําสั่งของศาลแล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้
(1.1.4) สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้นได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้ โดยศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว
(1.2) สิทธิเรียกร้องซึ่งตามพฤติการณ์ไม่อาจเรียกให้ชําระหนี้ได้
(1.3) สินทรัพย์อื่นซึ่งชํารุด เสียหาย หรือหมดราคา
(1.4) ส่วนสูญเสียที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(2) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(2.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 12 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญา หรือวันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญแล้วสําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (2.2)
(2.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 12 เดือนนับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงินหรือวันที่ครบกําหนดสัญญา แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
(2.3) อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการชําระหนี้ หรือซื้อจากการขายทอดตลาด เฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคาไว้ไม่เกิน 12 เดือนหักด้วยประมาณการค่าใช้จ่ายในการขาย แต่หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ทําการประเมินราคาหรือตีราคาไว้เกินกว่า 12 เดือน ให้นํามูลค่าที่ได้จากการประเมินราคาหรือตีราคามาใช้ได้เพียงร้อยละ 50
ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือตีราคาอสังหาริมทรัพย์ให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการรับชําระหนี้ การประกันการให้สินเชื่อ หรือที่ซื้อจากการขายทอดตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(2.4) สินทรัพย์อื่นเฉพาะส่วนที่เป็นผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม หรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกําหนดมูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนตามข้อกําหนดที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
(2.5) สินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่คาดว่าจะเรียกคืนไม่ได้ทั้งจํานวน
(2.6) ส่วนสูญเสียที่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(2.7) มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นจะเรียกคืนไม่ได้ทั้งจํานวนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่ง
(3) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
(3.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า6 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญา หรือวันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญหรือสงสัยจะสูญแล้ว สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (3.2)
(3.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญา แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
(3.3) ลูกหนี้ที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
(3.4) ลูกหนี้ที่หยุดดําเนินกิจการหรือเลิกกิจการ หรือกิจการของลูกหนี้อยู่ระหว่างชําระบัญชี
(3.5) ลูกหนี้ที่ประวิงการชําระหนี้ หรือกระทําการใด ๆ เพื่อมีให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ เช่น ออกไปนอกราชอาณาจักร หรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน
(3.6) ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจติดต่อไม่ได้ หรือตามตัวลูกหนี้ไม่พบ หรือลูกหนี้ออกไปจากภูมิลําเนาที่ปรากฏตามสัญญาโดยไม่แจ้งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทราบ
(3.7) ลูกหนี้ที่ไม่ปรากฏธุรกิจแน่ชัด หรือไม่ได้ประกอบธุรกิจจริงจังหรือนําเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
(3.8) สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ยื่นคําขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนีรายอื่นฟ้อง
(3.9) สินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องที่คาดว่าจะเรียกให้ชําระคืนได้ไม่ครบถ้วน
(3.10) มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นคาดว่าจะเรียกคืนได้ไม่ครบถ้วนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่ง
(4) สินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(4.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญา หรือวันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญสงสัยจะสูญ หรือสงสัยแล้ว สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (4.2)
(4.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญา แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
(4.3) มีเหตุประการอื่นที่แสดงว่าสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องนั้นมีปัญหาในการเรียกให้ชําระคืน หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้ตามปกติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่ง
(5) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(5.1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 1 เดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ไม่ว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามสัญญา หรือวันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญสงสัยจะสูญ สงสัย หรือต่ํากว่ามาตรฐานแล้ว สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (5.2)
(5.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกําหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 1 เดือนนับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือวันที่ครบกําหนดสัญญา แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน
(6) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ หมายถึง สินทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
(6.1) ลูกหนี้ที่ไม่ผิดนัดชําระ สําหรับกรณีลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีให้จัดชั้นตาม (6.2)
(6.2) ลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ยังใช้ไม่เต็มวงเงิน และยังไม่ถูกยกเลิกวงเงินหรือสัญญายังไม่ครบกําหนด หรือลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ค้างชําระดอกเบี้ยไม่เกิน 1 เดือน
(6.3) ลูกหนี้อื่นที่ไม่เข้าข่ายเป็นลูกหนี้จัดชั้นสูญ สงสัยจะสูญ สงสัยต่ํากว่ามาตรฐาน หรือกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควรระวังเป็นพิเศษ)
(6.4) ลูกหนี้ที่มีหนังสือยืนยันการตรวจรับงานจากหน่วยราชการตามระเบียบของหน่วยราชการนั้นที่มีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันตรวจรับงาน เงินให้สินเชื่อส่วนที่มีหนังสือยืนยันนั้นให้ถือเป็นสินทรัพย์จัดชั้นปกติ
5.2.3 การจัดชั้นกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ตัดส่วนสูญเสียออกจากบัญชีหรือกันเงินสํารอง ดังต่อไปนี้
(1.1) ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยินยอมลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยที่ค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือรับชําระหนี้โดยการรับโอนสินทรัพย์ ตราสารการเงิน หรือรับทุนของลูกหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจตัดจําหน่ายบัญชีลูกหนี้และบันทึกส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้น พร้อมกับโอนกลับรายการเงินสํารองส่วนเกินที่กันไว้เฉพาะสําหรับลูกหนี้รายนั้นทั้งจํานวนได้
(1.2) ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยินยอมผ่อนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยไม่มีการลดต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งมีผลทําให้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของหนี้ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้คํานวณตามวิธีการที่กําหนดไว้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ต่ํากว่าราคาตามบัญชีเดิมรวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกในบัญชีของลูกหนี้ก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกเงินสํารองสําหรับส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นดังกล่าวทั้งจํานวน ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถโอนกลับรายการเงินสํารองที่กันไว้แล้วเดิมก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สําหรับลูกหนี้รายนั้นได้เฉพาะจํานวนที่กันไว้แล้วสูงกว่าจํานวนส่วนสูญเสียที่ต้องกันและหากเงินสํารองที่กันไว้แล้วต่ํากว่าจํานวนส่วนสูญเสียที่ต้องกัน ก็ให้กันเงินสํารองเพิ่มขึ้นให้ครบจํานวนส่วนสูญเสียที่ต้องกันดังกล่าว
(1.3) ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยินยอมลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยที่ค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือรับชําระหนี้บางส่วนโดยการรับโอนสินทรัพย์ตราสารการเงิน หรือรับทุนของลูกหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน และผ่อนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้ในส่วนที่เหลือให้แก่ลูกหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตาม (1.1) สําหรับกรณีการลดต้นเงินหรือดอกเบี้ยหรือการรับชําระหนี้ดังกล่าว และปฏิบัติตาม (1.2) ในส่วนการผ่อนปรนเงื่อนไขในการชําระหนี้
(2) ในระหว่างติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้ต้องชําระเงินตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน หรือ 3 งวดการชําระเงิน แล้วแต่ระยะเวลาใดจะนานกว่า ให้ดําเนินการดังนี้
(2.1) ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสงสัยจะสูญหรือสงสัย ให้จัดชั้นเป็นต่ํากว่ามาตรฐาน
(2.2) ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นต่ํากว่ามาตรฐานหรือกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควรระวังเป็นพิเศษ) ให้คงจัดชั้นเช่นเดิม
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ตามสถานะการจัดชั้นหลังการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หากเงินสํารองตาม (2) นี้มีจํานวนสูงกว่าเงินสํารองสําหรับส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตาม (1.1) (1.2) และ (1.3)
เมื่อลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้โดยชําระเงินตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน หรือ 3 งวดการชําระเงินแล้วให้ถือเป็นลูกหนี้จัดชั้นปกติ กรณีสินเชื่อเกษตรกรที่มีการจ่ายชําระเงินตามฤดูกาลผลิตที่มีระยะเวลายาวกว่าสินเชื่อปกติ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหารือแนวทางการจัดชั้นของกลุ่มลูกหนี้ดังกล่าวกับธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป
ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชําระหนี้ใหม่ ให้นับระยะเวลาการค้างชําระรวมกับระยะเวลาการค้างชําระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แล้วพิจารณาจัดชั้นตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นเพื่อการกันเงินสํารองตามเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ต่อไป
(3) สําหรับลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นลูกหนี้ดังกล่าวเป็นชั้นปกติได้ทันที โดยไม่ต้องรอติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(3.1) ลูกหนี้ที่สามารถชําระดอกเบี้ยได้ไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด (Market interest rate โดยไม่มีช่วงปลอดการชําระดอกเบี้ย แต่อาจมีช่วงปลอดการชําระเงินต้นได้
(3.2) ลูกหนี้ที่มีส่วนสูญเสียจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 20 ของยอดหนี้ตามบัญชีก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งได้มีการตัดออกจากบัญชีแล้ว หรือได้มีการกันเงินสํารองในอัตราดังกล่าวครบถ้วนแล้ว โดยหนี้ส่วนที่เหลือได้มีการวิเคราะห์ฐานะและกิจการของลูกหนี้ ตลอดจนกระแสเงินสดอย่างมีหลักเกณฑ์ สมเหตุสมผล และมีหลักฐานประกอบจนเชื่อได้แน่นอนว่า ลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้
(3.3) ลูกหนี้ในลักษณะ Loan syndication หรือมีเจ้าหนี้หลายรายซึ่งบรรดาเจ้าหนี้ได้ตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ร่วมกันได้ และสามารถแสดงหลักฐานการวิเคราะห์ฐานะและกิจการของลูกหนี้ ตลอดจนกระแสเงินสดอย่างมีหลักเกณฑ์ สมเหตุสมผล และมีความเป็นไปได้แน่นอนที่ลูกหนี้จะปฏิบัติตามสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้
(3.4) กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ฟ้องร้องลูกหนี้และต่อมาได้มีการตกลงทําสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้มีคําพิพากษาตามยอมแล้ว และกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ฟ้องร้องลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและศาลได้มีคําสั่งเห็นชอบตามคําขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว
(4) ในกรณีที่เห็นว่ามีข้อผิดสังเกตในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้มีการแก้ไข หรือให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหาผู้เชี่ยวชาญอิสระ มาประเมินหรือทบทวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือสั่งการให้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ในแต่ละรายได้
5.2.4 การกันเงินสํารองและการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ที่เสียหายหรืออาจเสียหายสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องตัดจําหน่ายสินทรัพย์และกันเงินสํารองตามลักษณะการจัดชั้นสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(1) สินทรัพย์จัดชั้นสูญ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจตัดออกจากบัญชีทั้งจํานวน
(2) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ จัดชั้นสงสัย หรือจัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน
(2.1) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองในอัตราร้อยละ 100 สําหรับส่วนต่างระหว่างยอดหนี้คงค้างตามบัญชีกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกัน โดยใช้วิธีการคํานวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 1
สําหรับหลักประกันประเภทอื่นนอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่า เครื่องจักร และยานพาหนะ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนํามูลค่าของหลักประกันตามตารางสรุปประเภทของหลักประกันและมูลค่าของหลักประกันที่สามารถนํามาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดได้ โดยมิต้องคํานวณมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกันดังกล่าว
(2.2) กรณีสินเชื่อรายย่อยที่สามารถจัดกลุ่มสินเชื่อที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตคล้ายคลึงกันได้อย่างเหมาะสม สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกกันเงินสํารองตามข้อ (2.1)หรือกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อ (Collective approach) โดยใช้วิธีผลขาดทุนจากประสบการณ์ในอดีตตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 2
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าสมมติฐานและปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการคํานวณกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายหลักประกัน หรือผลขาดทุนจากประสบการณ์ในอดีตสําหรับการกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตคล้ายคลึงกันไม่เหมาะสม ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นกันเงินสํารองเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนวิธีการคํานวณเงินกันสํารองได้
(3) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควรระวังเป็นพิเศษ) หรือ จัดชั้นปกติ
(3.1) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองโดยใช้ยอดคงค้างของต้นเงินที่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับเป็นฐานในการคํานวณจากอัตราดังต่อไปนี้
(3.1.1) ร้อยละ 2 ของสินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (หรือควระวังเป็นพิเศษ)
(3.1.2) ร้อยละ 1 ของสินทรัพย์จัดชั้นปกติ
(3.2) กรณีสินเชื่อที่สามารถจัดกลุ่มสินเชื่อที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตคล้ายคลึงกันได้อย่างเหมาะสม สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกกันเงินสํารองตามข้อ (3.1) หรือกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อ (Collective approach) โดยใช้วิธีผลขาดทุนจากประสบการณ์ในอุดีตตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 2
ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการคํานวณการกันเงินสํารองแบบกลุ่มสินเชื่อตามข้อ (3.2) ไม่เพียงพอ เช่น น้อยกว่า 5 ปี เป็นต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองตามที่คํานวณได้ในข้อ (3.2) หรือ (3.1) แล้วแต่จํานวนใดจะมากกว่า
5.2.5 การกันเงินสํารองสําหรับรายการภาระผูกพัน (รายการนอกงบดุล)
(1) ร้ายการนอกงบดุลที่ต้องกันเงินสํารอง
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่เข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
(1.1) ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สงสัยจะสูญ สงสัย และต่ํากว่ามาตรฐาน ตามข้อ 5.2.2 หากภาระผูกพันมีกระแสเงินสดรับที่เกี่ยวเนื่องกับลูกหนี้
(1.2) ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่พึงรับรู้ประมาณการหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน ตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการร้ายงานทางการเงินว่าด้วยประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้
(1.2.1) มีภาระผูกพันในปัจจุบันซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีตไม่ว่าภาระผูกพันนั้นจะเป็นภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมาน
(1.2.2) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการเพื่อจ่ายชําระภาระผูกพันดังกล่าว และ
(1.2.3) สามารถประมาณมูลค่าภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ
(1.3) ภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตในระดับสูง เช่น การค้ําประกันการกู้ยืม การอาวัล หรือภาระผูกพันที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่สามารถยกเลิกได้ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ในการคํานวณเงินกองทุนที่ต้องดํารงท่ากับ 1 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วย หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(2) อัตราส่วนในการกันเงินสํารอง
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลที่เข้าเงื่อนไขตามข้อ (1) ในอัตราเดียวกันกับอัตราการกันเงินสํารองของลูกหนี้รายเดียวกันที่ปรากฎในงบแสดงฐานะการเงิน
ในกรณีที่ลูกหนี้รายดังกล่าวมีหนี้หลายประเภทและหนี้แต่ละประเภทมีอัตราการกันเงินสํารองแตกต่างกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่เป็นรายการนอกงบดุลโดยใช้อัตราเดียวกันกับการกันเงินสํารองสูงสุดของลูกหนี้รายนั้น เว้นแต่สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถแบ่งแยกที่มาของการชําระเงินของรายการภาระผูกพันนั้นได้ว่าเกี่ยวข้องกับหนี้บัญชีใดของลูกหนี้ ก็ให้สามารถกันเงินสํารองสําหรับภาระผูกพันในอัตราเดียวกันกับอัตราการกันเงินสํารองของหนี้บัญชีนั้นได้ และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดเก็บหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกันเงินสํารองดังกล่าวไว้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเองเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้
5.2.6 การกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ให้เช่าซื้อ และลูกหนี้ให้เช่าแบบลีสซิ่ง
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องคํานวณเงินสํารองจากยอดลูกหนี้ตามจํานวนเงินให้เช่าซื้อ หรือให้เช่าแบบสีสซิ่งคงค้างซึ่งเป็นยอดสุทธิที่หักยอดคงเหลือจากดอกผลเช่าซื้อรอการตัดบัญชีหรือรายได้ทางการเงินรอการรับรู้ออกแล้ว
ทั้งนี้ สําหรับการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบสซิ่ง ในกรณียานพาหนะและเครื่องจักร สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนํามูลค่าของยานพาหนะและเครื่องจักรตามที่กําหนดในข้อ 5.2.8 มาหักออกจากยอดลูกหนี้ตามวรรคหนึ่งก่อนการกันเงินสํารองได้
5.2.7 การกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้ที่มีสัญญาจะซื้อจะขาย
ในการคํานวณเงินกันสํารองสําหรับลูกหนี้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีสัญญาจะซื้อจะขายให้กับบุคคลภายนอก สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องคํานวณการกันสํารองโดยให้นํามูลค่าตามราคาซื้อขายมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองโดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องมีหนังสือค้ําประกันการซื้อจากสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือผู้ซื้อได้มีการวางเงินเป็นประกันไม่ต่ํากว่าร้อยละ 20 ของราคาซื้อขาย
(2) ต้องดําเนินการซื้อขายให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับจากวันทําสัญญาจะซื้อจะขาย
5.2.8 การนํามูลค่าหลักประกันไปใช้ในการกันเงินสํารอง
ในการกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นทุกประเภท เว้นแต่สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญตามข้อ 5.2.2 (2.3) (2.4) และ (2.6 ให้นํามูลค่าของหลักประกันซึ่งได้ประเมินราคาตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการรับชําระหนี้ การประกันการให้สินเชื่อ หรือที่ซื้อจากการขายทอดตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารอง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเลือกที่จะนําหลักประกันมาหักออกจากบัญชีใดของลูกหนี้ก่อนก็ได้ ทั้งนี้ สําหรับหลักประกันยานพาหนะประเภทเรือที่สามารถนํามูลค่าไปใช้ในการกันเงินสํารองนั้น ต้องมีใบอนุญาตการใช้เรือที่ออกโดยกรมเจ้าท่า และมีการตรวจสภาพเรือที่เป็นปัจจุบันและสม่ําเสมอ
อนึ่ง มูลค่าของหลักประกันที่นํามาหักได้จะต้องไม่สูงเกินกว่าวงเงินที่ระบุในสัญญาจํานํา สัญญาจํานอง สัญญาค้ําประกัน สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หรือสัญญาหลักประกันอื่นแล้วแต่กรณี และประเภทหลักประกัน มูลค่าที่จะนํามาหักได้ รวมทั้งความถี่ในการประเมินราคาหลักประกันแต่ละประเภทให้เป็นไปตามตารางสรุปประเภทของหลักประกัน และมูลค่าของหลักประกันที่สามารถนํามาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารองตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 3
อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจใดไม่ประสงค์จะนํามูลค่าของหลักประกันมาหักออกจากราคาตามบัญชีของลูกหนี้ก่อนการกันเงินสํารอง ก็สามารถกระทําได้
5.2.9 การนําส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดินและจ่ายเงินปันผล
ในระหว่างเวลาที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังไม่ได้ตัดสินทรัพย์ที่เสียหายออกจากบัญชี หรือยังกันเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่อาจเสียหายและไม่เสียหายไม่ครบทั้งจํานวน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําจํานวนที่ยังกันไม่ครบหักออกจากกําไรก่อนนําส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดิน จ่ายเงินปันผล หรือเงินตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น
5.2.10 การกันเงินสํารองที่เข้มงวดกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะจัดชั้นสินทรัพย์และกันเงินสํารองโดยใช้เกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถกระทําได้
ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์จะตัดลูกหนี้ออกจากบัญชี เนื่องจากเห็นว่าไม่สามารถที่จะเรียกชําระหนี้คืนได้ เช่น ได้ดําเนินคดีทางกฎหมายแล้ว ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่จะชําระหนี้ได้ หรือไม่มีบุคคลค้ําประกัน หรือหลักประกันไม่มีค่าแล้ว สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถดําเนินการได้ รวมถึงกรณีการตัดลูกหนี้ออกจากบัญชี สามารถตัดบัญชีใดบัญชีหนึ่งออกก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและเพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติในการตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีและการควบคุมภายในให้ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้
(2) การตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีจะต้องไม่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่กรรมการผู้บริหารระดับสูง ผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือกิจการที่บุคคลดังกล่าวมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
5.2.11 การสอบทานเงินให้สินเชื่อและภาระผูกพัน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องทําการสอบทานและจัดทํารายงานการสอบทานเงินให้สินเชื่อ เงินให้กู้ยืม ภาระผูกพัน และธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการสอบทานธุรกรรมด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2.12 การจัดชั้นและการกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้เงินให้สินเชื่อตามธุรกรรมนโยบายรัฐ
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นและกันเงินสํารองสําหรับลูกหนี้เงินให้สินเชื่อตามธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศรนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA)
5.2.13 การจัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐาน
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถจัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่นํามาใช้ประกอบการพิจารณาการจัดชั้น การกันเงินสํารอง และการตัดรายการออกจากบัญชีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,679 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 15/2555 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 15 /2555
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 เท่ากับร้อยละ 3.07923 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,680 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 15 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์
โดย Standardised Approach (วิธี SA)
-----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ Basel III: A global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) ของ Basel Committee on Banking Supervision เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนที่มีคุณภาพดีและเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต และเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินโดยรวม ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารพาณิชย์ได้ดีขึ้น
ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในเรื่ององค์ประกอบของเงินกองทุนที่มีการปรับปรุงใหม่สําหรับบางรายการที่เดิมกําหนดให้หักจากเงินกองทุนได้เปลี่ยนแปลงเป็นให้นําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตแทน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงหลักการเดิมของวิธี SA
สําหรับรายการอื่น ๆ ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามแนวทางเดิมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดไว้
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และ มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Standardised Approach (วิธี SA) และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 54/2551 เรื่องหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551
2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 90/2551 เรื่องหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
3. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 10/2553 เรื่องหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"ลูกหนี้" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก และรายการนอกงบดุล รวมถึงข้อผูกพันและสิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้ตามกฎหมายอื่น ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝาก ให้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีด้วย
"ลูกหนี้ด้อยคุณภาพ" หมายความว่า ลูกหนี้ที่จัดเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน
"Specific provision" หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด ทั้งนี้ รวมถึงเงินสํารองที่กันไว้สําหรับส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาดของตราสารหนี้และตราสารทุนที่ถือไว้เพื่อค้าและเผื่อขาย และมูลค่าการด้อยค่าด้วย แต่ไม่รวมเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติที่ธนาคารพาณิชย์นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว
5.2 หลักการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Standardised Approach (วิธี SA) และ Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB เพื่อเป็นทางเลือกสําหรับธนาคารพาณิชย์ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้เหมาะสมกับความซับซ้อนของระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของตนเอง
วิธี SA เป็นวิธีการคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยน้ําหนักความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งนี้ วิธี SA ถือเป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าวิธี IRB ที่กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ข้อมูลจากระบบการประเมินอันดับเครดิตภายในของตนเอง (Internal rating ในการคํานวณหาค่าองค์ประกอบความเสี่ยง เพื่อนําไปใช้ในการคํานวณ
หาสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามสูตรการคํานวณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี SA ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้
5.3.1 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดนวิธี SA
(1) สินทรัพย์ในงบดุล
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณหายอดสุทธิของสินทรัพย์โดยหักยอดสินทรัพย์แต่ละรายการด้วย Specific provision ของสินทรัพย์นั้น แล้วนํายอดสุทธิของสินทรัพย์ไปคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง โดยคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5.3.2
(2) รายการนอกงบดุลที่ไม่ใช่สัญญาอนุพันธ์
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณหายอดสุทธิของรายการนอกงบดุลโดยหักรายการนอกงบดุลแต่ละรายการด้วย Specific provision ของรายการนอกงบดุลนั้น แล้วจึงนํายอดสุทธิของรายการนอกงบดุลไปคูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit conversion factor: CCF) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2 เพื่อคํานวณหามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสุทธิ แล้วนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสุทธิของรายการนอกงบดุลนั้นไปคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5.3.2 เพื่อคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง
(3) รายการนอกงบดุลประเภทสัญญาอนุพันธ์ (Derivatives)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ทุกฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคารและบัญชีเพื่อการค้า ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ โดยธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ในบัญชีเพื่อการค้าต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดสําหรับธุรกรรมดังกล่าวด้วยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ยกเว้นฐานะของธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร ทั้งกรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตและผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3
(4) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsettled transaction)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์
ในกรณีที่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SA (Credit risk mitigation: CRM) ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกประเภท ให้ธนาคารพาณิชย์แปลงเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน
5.3.2 น้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล
ให้ธนาคารพาณิชย์กําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์และรายการนอกงบดุล' โดยพิจารณาตามประเภทและคุณภาพของสินทรัพย์ โดยจําแนกเป็น 2 กรณี (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 1) ดังนี้
(1) กรณีสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่ไม่ด้อยคุณภาพ จําแนกเป็น 9 ประเภท ได้แก่
(1.1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล และธนาคารกลาง
(1.2) ลูกหนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
(1.3) ลูกหนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
(1.4) ลูกหนี้สถาบันการเงิน
(1.5) ลูกหนี้บริษัทหลักทรัพย์
(1.6) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชน
(1.7) ลูกหนี้ร้ายย่อย
(1.8) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
(1.9) สินทรัพย์อื่น
ในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภท (1.1) ถึง(1.9) นั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องอ้างอิงหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 โดยสําหรับสินทรัพย์ประเภท (1.1) ถึง (1.6) นั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกในข้อ 5.3.3 ด้วย
(2) กรณีลูกหนี้ด้อยคุณภาพ จําแนกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
(2.1) ลูกหนี้ด้อยคุณภาพในส่วนที่ไม่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์เรื่องการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 5.3.4
(2.2) ลูกหนี้ด้อยคุณภาพในส่วนที่ไม่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามประเภทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักเกณฑ์เรื่องการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตในข้อ 5.3.4 แต่มีหลักประกันประเภท (ก) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial real estate: CRE) (ข) อสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย (Residential real estate: RRE) และ (ค) ลูกหนี้การค้าหรือลูกหนี้การเงินของลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ (Receivable) เป็นประกันเต็มจํานวน
(2.3) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยตามข้อ 5.3.2 (1.8) ซึ่งได้รับน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 35 หรือร้อยละ 75 และจัดเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพ
5.3.3 อันดับเครดิต (Rating) จากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External credit assessment institutions: ECAls)
(1) การใช้ Rating จาก ECAIร เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้
ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ Rating จาก ECAIs ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ โดยให้อ้างอิงรายชื่อและการเทียบเคียง Rating จาก ECAIs กับ Rating เกรดของลูกหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดรวมทั้งปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้อันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 4)
(2) หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบ ECAls และกระบวนการเทียบเคียงระหว่าง Rating และน้ําหนักความเสี่ยง (Mapping process)
ให้ธนาคารพาณิชย์และ ECAIs ที่ประสงค์จะยื่นคําขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ ECAIs อ้างอิงหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบและ Mapping process ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ตามหนังสือเวียนว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External credit assessment institutions: ECAIs) ตามหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านเครดิต โดย Standardised Approach (วิธี SA) โดยให้ธนาคารพาณิชย์และ ECAIs นําส่งคําขอพร้อมข้อมูลประกอบการพิจารณามาที่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
5.3.4 การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับวิธี SA (Credit risk mitigation: CRM)
(1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
(1.1) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านกฎหมาย
(1.1.1) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีเอกสารหรือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งมีผลผูกพันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น
(1.1.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการและระบบในการพิจารณาถึงเงื่อนไขด้านกฎหมาย การติดตามทบทวนว่าเอกสารหรือสัญญาดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
(1.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการในการควบคุมความเสี่ยงอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการนําวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ เช่น ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านเครดิต เป็นต้น
ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์ไม่ได้มีการควบคุมความเสี่ยงอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นจากการนําวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณากําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติม หรือดําเนินมาตรการต่าง ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนโดยทางการ (Pillar 2)
(1.3) ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลในเรื่องการปรับลดความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
(2) ประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
การปรับลดความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์นํามาใช้ปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA มี 3 ประเภทหลัก ดังนี้
(2.1) หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral)
ธนาคารพาณิชย์สามารถนํามูลค่าหลักประกันทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตมาปรับลดยอดสินทรัพย์ก่อนนําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงิน (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 5 โดยธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกวิธีคํานวณการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธี Simple และวิธี Comprehensive
สําหรับวิธี Comprehensive ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้วิธีคํานวณค่าปรับลดได้ 2 วิธี ได้แก่ (1) ใช้ค่าปรับลดมาตรฐานที่กําหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (Standard supervisory haircut) และ (2) ใช้ค่าปรับลดที่ธนาคารพาณิชย์ประมาณค่าเอง (Own estimates for haircut)
(2.2) การหักกลบหนี้ในงบดุล (On-balance sheet netting)
ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้วิธีหักกลบหนี้ให้งบดุล ระหว่างสินทรัพย์ (เงินให้กู้ และหนี้สิน (เงินฝาก ของคู่สัญญารายเดียวกัน เพื่อปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการหักกลบหนี้ในงบดุล (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 6)
(2.3) การค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต (Guarantee and credit derivatives)
ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิตได้ ตามหลักเกณฑ์การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต(รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 7)
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องยื่นแบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต(รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 8) อย่างน้อย 15 วันก่อนนําการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมาใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต โดยนําส่งที่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ได้ยื่นแบบประเมินความพร้อมฯ สําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตก่อรที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องยื่นแบบประเมินความพร้อมอีกฯ อีก
(3) ความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา (Maturity mismatch)
กรณีที่มีความแตกต่างระหว่างอายุสัญญา กล่าวคือเมื่ออายุคงเหลือของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตน้อยกว่าอายุคงเหลือของยอดสุทธิของธุรกรรมที่จะปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด(รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 9)
(4) กรณีมีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภท
กรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากลูกหนี้รายเดียวกัน เช่น ธนาคารพาณิชย์มีทั้งหลักประกันทางการเงินและการค้ําประกัน ให้ธนาคารพาณิชย์แบ่งยอกสินทรัพย์ออกเป็นส่วน ๆ ตามประเภทของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต และคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงแยกสําหรับแต่ละส่วน
กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตจากผู้ขายรายเดียวกัน แต่การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตมีอายุสัญญาต่างกัน ให้ธนาคารพาณิชย์แบ่งยอดสินทรัพย์ออกเป็นส่วน ๆ และคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงแยกตามอายุของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
(5) การนับช้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต
ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์นับซ้ําผลของการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต ดังนั้น สินทรัพย์ที่ใช้ Issue-specific rating ที่ได้มีการสะท้อนการปรับลดความเสี่ยงเข้าไปใน Rating เพื่อกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงสําหรับลูกหนี้แล้ว จะไม่สามารถนํามาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตได้อีก
5.4 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงโดย Simplified Standardised Approach (วิธี SSA)
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้เฉพาะธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถเลือกใช้วิธี SSA ซึ่งเป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตได้ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยมีขอบเขตการทําธุรกรรมที่จํากัดและซับซ้อนน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 10)
5.5 การยื่นขออนุญาตในการใช้วิธี SA
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะเลือกใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกรายตามข้อ 5.3.2 (1.6) และธนาคารพาณิชย์ที่จะเลือกใช้วิธีปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินโดยวิธี Comprehensive และค่าใช้จ่ายปรับลดที่ธนาคารพาณิชย์ประมาณค่าเองตามข้อ 5.3.4 (2.1 ยื่นขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย 3 เดือนก่อนการใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกราย และอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการใช้ค่าปรับลดที่ธนาคารพาณิชย์ประมาณค่าเอง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ยื่นคําขออนุญาตมาที่ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ใช้น้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 100 สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทุกราย และ/หรือได้รับความเห็นชอบให้ใช้วิธีปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินโดยวิธี Comprehensive และใช้ค่าปรับลดที่ธนาคารพาณิชย์ประมาณค่าเองก่อนที่ประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ให้ถือว่าธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธีดังกล่าวตามประกาศฉบับนี้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
ตามบทเฉพาะกาลของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์นํารายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และเงินลงทุนในบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน (ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน Full consolidation ที่ต้องจัดทํางบการเงินรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และบริษัทที่ทําธุรกิจสนับสนุนระบบสถาบันการเงินหรือที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มาหักออกจากเงินกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป โดยในระยะเวลา 5 ปีแรก ให้หักเงินกองทุนในอัตราร้อยละ 20 ร้อยละ 40 ร้อยละ 60 ร้อยละ 80 และร้อยละ 100 ต่อปี ตามลําดับ นั้น ให้ธนาคารพาณิชย์นํารายการดังกล่าวในส่วนที่ยังไม่ครบกําหนดต้องหักออกจากเงินกองทุนไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้หรือประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 11)
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,681 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 16/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.19/14/52 | 70,000 | 26 กุมภาพันธ์ 2552 | 2/3/52 – 16/3/52 | 14 |
| พ.20/14/52 | 70,000 | 27 กุมภาพันธ์ 2552 | 3/3/52 – 17/3/52 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552
(นางสุชาคา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,682 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 12 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เท่ากับร้อยละ 2.75769 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,683 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 17/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ดังนี้
| | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน –วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 9/28/52 | | 12,000 | 3 มี.ค. 52 | 5/3/52 - 2/4/52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 3/364/52 | | 40,000 | 3 มี.ค. 52 | 5/3/52-4/3/53 | 364 วัน | 364 วัน |
| 10/28/52 | | 12,000 | 10 มี.ค. 52 | 12/3/52-9/4/52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 1/FRB 3 ปี/2552 | 6M BIBOR-0.20 | 5,000 | 13 มี.ค. 52 | 17/3/52 - 17/3/55 | 3 ปี (FRE) | 3 ปี |
| 11/28/52 | | 12,000 | 17 มี.ค. 52 | 19/3/52 - 16/4/52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 3/63/52 | | 30,000 | 17 มี.ค. 52 | 19/3/52-21/5/52 | 63 วัน | 63 วัน |
| 12/28/52 | | 12,000 | 24 มี.ค. 52 | 26/3/52 - 23/4/52 | 28 วัน | 28 วัน |
| 1/3ปี/2552 | 2.05 | 10,000 | 24 มี.ค. 52 | 26/3/52 - 29/1/55 | 3 ปี | 2.85 ปี |
| 13/28/52 | | 12,000 | 31 มี.ค. 52 | 2/4/52-30/4/52 | 28 วัน | 28 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 17 มีนาคม และวันที่ 17 กันยายน ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 17 กันยายน 2552 |
| อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2552 | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันพุธที่ 11 มีนาคม 2552 |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ยงวดต่อๆ ไป | 2. วันทําการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 17 มีนาคม 2555 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,684 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 18/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 18/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาการแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.21/14/52 | 50,000 | 3 มีนาคม 2552 | 5/3/52-19/3/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552
(นางสุชาดา กิระกูล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,685 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 19/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 19/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาการแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.22/14/52 | 70,000 | 5 มีนาคม 2552 | 9/3/52-23/3/52 | 14 |
| พ.23/14/52 | 60,000 | 6 มีนาคม 2552 | 10/3/52-24/3/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกูล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,686 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 3 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2556
-----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.2/14/56 | 40,000 | 11 มกราคม 2556 | 15/1/56 – 29/1/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,687 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 19/2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 19 /2552
เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo)
----------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่กระทรวงการคลังได้พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสําคัญของภาคธุรกิจนอกเหนือจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน รวมทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางในการบริหารสภาพคล่องของสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ที่มีรูปแบบการให้กู้ยืมและกู้ยืมกันเองแบบมีหลักประกันเพื่อลดความเสี่ยงเป็นมาตรการสําคัญประการหนึ่งในการสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดตราสารหนี้ของไทย และส่งผลดีต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนที่จะสะท้อนตามความเป็นจริงมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรม Private Repo ได้มาเป็นลําดับตั้งแต่ปี 2543
การปรับปรุงประกาศในครั้งนี้เป็นการอนุญาตเพิ่มเติมให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) สําหรับการให้กู้ยืมและการกู้ยืมเป็นสกุลเงินต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศเป็นหลักประกันกับผู้ลงทุนสถาบัน 8 ประเภทที่ได้รับอนุญาตเพิ่มเติมตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารในต่างประเทศ และอนุพันธ์ ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2552 จากเดิมที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมดังกล่าวได้เฉพาะกับสถาบันการเงินในประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศและผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) เท่านั้น
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน(Private Repo) ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
4.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 22/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกรรม
5.1.1 ในประกาศฉบับนี้
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
"ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
"ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน" หมายความว่า การประกอบธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืน เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน หรือกู้ยืมเงินตามแต่กรณีโดยมีหลักประกันเป็นตราสาร ทั้งนี้ กําหนดให้ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) เป็นธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ประเภทหนึ่ง
"กองทุน" หมายความว่า กองทุนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกองทุนส่วนบุคคล และกองทุนประเภทอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์เละตลาดหลักทรัพย์จะกําหนดขึ้นในอนาคต
5.1.2 คู่สัญญาในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน
(1) การให้กู้ยืมเงิน
(1.1) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้กู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลทุกประเภทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(1.2) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้กู้ยืมเป็นสกุลเงินต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารในต่างประเทศ และอนุพันธ์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (Non-resident)
(1.3) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้กู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศ หรือให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนกับสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(2) การกู้ยืมเงิน
(2.1) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับนิติบุคคลทุกประเภทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย กองทุน สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ออกตราสารหนี้สกุลเงินบาทตามที่กระทรวงการคลังกําหนด และรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศที่ออกตราสารหนี้สกุลเงินบาทตามที่กระทรวงการคลังกําหนด
(2.2) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมเป็นสกุลเงินต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้เฉพาะกับสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารในต่างประเทศ และอนุพันธ์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (Non-resident)
(2.3) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศ หรือกู้ยืมเงินตราต่างประเทศโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนกับสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485
ทั้งนี้ ในการทําธุรกรรมการให้กู้ยืมหรือการกู้ยืมกับนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบในเรื่องมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทที่เกี่ยวข้องด้วย
5.1.3 หลักทรัพย์ที่ใช้ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน
(1) ให้ตราสารหนี้ที่เป็นเงินบาทดังต่อไปนี้ เป็นตราสารที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน
(1.1) ตราสารหนี้ภาครัฐที่มีความเสี่ยงต่ําและมีราตามตลาดที่อ้างอิงได้อย่างโปร่งใส ได้แก่
(1.1.1) ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล
(1.1.2) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(1.1.3) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจและหุ้นกู้ที่รัฐบาลค้ําประกัน
(1.1.4) พันธบัตรและตราสารการเงินอื่นใดที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ
(1.2) ตราสารหนี้ที่เป็นเงินบาทที่ออกในประเทศไทย ได้แก่
(1.2.1) ตราสารหนี้ที่เป็นเงินบาทที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศตามที่กระทรวงการคลังกําหนด
(1.2.2) ตราสารหนี้ที่เป็นเงินบาทที่ออกโดยรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศตามที่กระทรวงการคลังกําหนด
(1.2.3) ตราสารหนี้สกุลเงินบาทที่ได้รับการจัดอันดับในระดับที่สูงกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ 1 ระดับ กล่าวคือ ได้รับการจัดอันดับสูงกว่า BBB หรือเทียบเท่าขึ้นไปจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(2) ให้ตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศดังต่อไปนี้ เป็นตราสารที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน
(2.1) พันธบัตรรัฐบาลไทยสกุลเงินตราต่างประเทศ
(2.2) พันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศสกุลเงินตราต่างประเทศ
(2.3) ตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกโดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศหรือจดทะเบียนในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการจัดอันดับในระดับที่สูงกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ 1 ระดับ กล่าวคือ ได้รับการจัดอันดับสูงกว่า BBB หรือเทียบเท่าขึ้นไป จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เช่น Fitch Ratings Standard & Poor's และ Moody's เป็นต้น
(2.4) ตราสารในต่างประเทศตามที่กําหนดในประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารในต่างประเทศ และอนุพันธ์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(2.5) หลักทรัพย์อื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
5.1.4 นิติกรรมสัญญา
ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สัญญาเดียวกับที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ให้มีเอกสารแนบท้ายสัญญา (Annex) ได้โดยต้องไม่ทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแก่คู่สัญญา
5.2 หลักเกณฑ์การกํากับดูแล
5.2.1 ระบบการควบคุมภายใน
ให้ธนาคารพาณิชย์กําหนดให้มีระบบการควบคุมภายในขั้นต่ํา ในเรื่องต่อไปนี้
(1) นโยบายและระเบียบปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ
(2) นโยบายการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและการกําหนดวงเงินคู่สัญญา
(3) ระเบียบและวิธีการบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายใน เช่น
(3.1) หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและการกําหนดวงเงินคู่สัญญาก่อนการทําธุรกรรม และการทบทวนความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาภายหลังการทําธุรกรรมระยะหนึ่ง ทํานองเดียวกับการให้สินเชื่อ/ให้กู้ยืมโดยทั่วไป
(3.2) การบริหารความเสี่ยง
(3.3) การกําหนดคู่มือการปฏิบัติงาน
(3.4) การแยกหน้าที่ของ Dealer และ Back Office ออกจากกันโดยเฉพาะการแยกหน้าที่เรื่องการทบทวนความน่าเชื่อถือของคู่ค้า และการประเมินราคาหลักทรัพย์/หลักประกัน (Mark to Market) ออกจากหน้าที่ของ Dealer
(3.5) การจัดทําทะเบียนคุมหลักทรัพย์/หลักประกันที่ได้จากการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน
5.2.2 การดํารงเงินกองทุน
ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หรือสําหรับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศแล้วแต่กรณี และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์
5.2.3 การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ในการทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ให้ธนาคารพาณิชย์ผู้ให้กู้ยืมเงิน (ผู้ซื้อตราสาร) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตราสาร ณ สิ้นวันใดวันหนึ่ง สามารถนับตราสารตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตั้งแต่วันที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตราสาร (Settlement date) ในขณะเดียวกันผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ขายตราสาร) ซึ่งเป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์ต้องไม่นับตราสารนั้นเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องในวันเดียวกัน และเมื่อถึงวันครบกําหนดสัญญา Private Repo ผู้ให้กู้ยืมเงินต้องตัดตราสารดังกล่าวออกจากการนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องและผู้กู้ยืมเงินซึ่งรับคืนตราสารสามารถนับตราสารนั้นเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ในวันเดียวกัน
5.2.4 การนับลูกหนี้รายใหญ่
ให้ธนาคารพาณิชย์นับธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนรวมกับธุรกรรมปกติของลูกหนี้รายนั้น ตามความในมาตรา 50 และมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ดังนี้
(1) ให้ผู้ให้กู้ยืมเงิน (ผู้ซื้อตราสาร) นับจํานวนเงินที่ให้กู้ยืมดังกล่าวในการคํานวณการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายใหญ่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยให้ธนาคารพาณิชย์นับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้น
ทั้งนี้ หากตราสารที่รับโอนมาได้รับยกเว้นตามมาตรา 52 ให้ธนาคารพาณิชย์ผู้รับโอนตราสารได้รับยกเว้น ไม่ต้องนับเงินให้กู้ยืมในส่วนที่มีตราสารวางเป็นประกันดังกล่าวในการคํานวณข้างต้น
(2) ให้ผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ขายตราสาร) นับมูลค่าของตราสารที่ โอนไปให้ผู้ให้กู้ยืมเงินในส่วนที่เกินกว่าเงินกู้ยืมที่ได้รับมาในการคํานวณตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กล่าวคือให้ธนาคารพาณิชย์นับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใด หรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้น
(3) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ผู้กู้ยืมเงิน (ผู้ขายตราสาร) ได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อ 5.2.4 (2) แล้ว ต่อมาถ้ามูลค่าตราสารที่ธนาคารพาณิชย์โอนเป็นหลักประกันเปลี่ยนแปลงจนมีผลทําให้อัตราส่วนดังกล่าวตามข้อ 5.2.4 (2) เกินกว่าที่กําหนด ธนาคารพาณิชย์จะประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนกับคู่สัญญาดังกล่าวเพิ่มอีกไม่ได้ ส่วนการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนที่เกิดขึ้นก่อนแล้ว มีผลผูกพันต่อไปตามสัญญาที่ทําไว้
(4) ในการคํานวณอัตราส่วนตามข้อ 5.2.4 (1) และ 5.2.4 (2) สําหรับช่วงเวลาที่ประกอบธุรกรรมอยู่นั้นจะต้องมีการตีมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกันให้มีมูลค่าตามราคาตลาด (Mark to market) ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์จึงต้องถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
(4.1) ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าลดลง ถ้าธนาคารพาณิชย์
ผู้กู้ยืมเงินถูกเรียกมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับลดยอดเงินกู้ยืมลงเท่าจํานวนเงินมาร์จินที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าถูกเรียกมาร์จินเป็นตราสาร ให้ปรับมูลค่าของตราสารที่ โอนเป็นหลักประกันโดยรวมตราสารที่เป็นมาร์จินเพิ่มขึ้นด้วย
(4.2) ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถ้าธนาคารพาณิชย์ผู้กู้ยืมเงินได้รับคืนมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับเพิ่มยอดเงินกู้ยืมขึ้นเท่าจํานวนเงินที่ได้รับนั้น แต่ถ้าได้รับคืนมาร์จินเป็นตราสาร ให้ลดจํานวนตราสารที่เป็นหลักประกันลงตามจํานวนตราสารที่ได้รับคืน
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างของมาร์จิน (Exposure) ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ตามมูลค่าของตลาดในช่วงเวลาก่อนที่จะมีการเรียกมาร์จินหรือหลักประกันเพิ่มนั้น ในการคํานวณอัตราส่วนของลูกหนี้รายใหญ่ (Total Exposure) ในข้อ 5.2.4 (1) และ 5.2.4 (2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องนํามูลค่าส่วนต่างของมาร์จินที่กําหนดไว้ตอนเริ่มทําสัญญามาใช้ในการคํานวณอัตราส่วนของลูกหนี้รายใหญ่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่างของมาร์จินตลอดเวลาอันเนื่องจากการตีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดแต่ในการคํานวณจะไม่นําส่วนต่างของมาร์จินที่เกิดขึ้นจริงมาใช้ในการคํานวณ แต่จะให้นํามูลค่าของส่วนต่างของมาร์จินเดิมตอนเริ่มทําสัญญามาใช้ในการคํานวณ
5.2.5 การบันทึกบัญชี
ให้ธนาคารพาณิชย์บันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีหรือแนวปฏิบัติของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยหรือสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยแล้วแต่กรณี และให้จัดทําทะเบียนเกี่ยวกับการซื้อหรือขายธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนเพื่อประโยชน์ในการติดตามและควบคุมความถูกต้องของการทําธุรกรรม โดยในทะเบียนควรมีข้อมูลขั้นต่ําดังนี้ วันที่ทําสัญญา วันครบกําหนดสัญญา วันส่งมอบหลักทรัพย์ จํานวนเงินที่ทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน การดํารงมาร์จิน รายละเอียดตราสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เลขที่ตราสาร ชื่อผู้ออกจํานวนเงิน เป็นต้น
5.2.6 การรายงาน
การรายงานธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนในแบบรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้แสดงไว้ภายใต้รายการเงินให้สินเชื่อ เงินกู้ยืม รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน สินทรัพย์อื่นหรือหนี้สินอื่น แล้วแต่กรณีจนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ทําการปรับปรุงแก้ไขแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง และประกาศใช้ต่อไป
5.2.7 การยับยั้งหรือสั่งเพิกถอน
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจยับยั้งหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้ ในกรณีต่อไปนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(2) กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน
5.3 หลักเกณฑ์ที่ในการประกอบธุรกรรมสําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
ในการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 51.1 - 5.2 เว้นแต่เรื่องขอบเขตในการประกอบธุรกรรม และเรื่องการนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติ ดังนี้
5.3. 1 ขอบเขตในการประกอบธุรกรรม
(1) การให้กู้ยืมเงิน
ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถให้กู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับคู่สัญญาตามขอบเขตที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
(2) การกู้ยืมเงิน
ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถกู้ยืมเงินบาทโดยใช้ตราสารหนี้สกุลเงินบาทในรูปแบบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนได้กับนิติบุคคลทุกประเภทที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยกองทุน สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ออกตราสารหนี้สกุลเงินบาทตามที่กระทรวงการคลังกําหนดและรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศที่ออกตราสารหนี้สกุลเงินบาทตามที่กระทรวงการคลังกําหนด
5.3.2 การนัดลูกหนี้รายใหญ่
ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 5.2.4 ในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือโครงการหนึ่งโครงการใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินกว่าที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําได้ตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2552
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,688 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มกราคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 4 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มกราคม 2556
--------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มกราคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มกราคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.66692 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 15 มกราคม 2556 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม 2556
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,689 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 23/2562 เรื่อง การจัดทำและการเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 23 /2562
เรื่อง การจัดทําและการเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์
--------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน โดยกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําและเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินทุกสิ้นเดือนเนื่องจากเป็นข้อมูลสําคัญที่แสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย และการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงินเช่น นักลงทุน ผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ของธนาคารพาณิชย์ ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น
เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงรูปแบบการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน รวมทั้งคําอธิบายความหมายของรายการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับข้อกําหนดของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกลุ่มเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้ โดยให้มีผลบังคับกับการจัดทํางบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงรูปแบบรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินและคําอธิบายความหมายของรายการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามที่กล่าวข้างต้น เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถใช้รูปแบบรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 มาตรา 39 (5) และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดทําและการเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์ตามที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 23/2558 เรื่อง การจัดทําและการเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และนี้สินของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2558
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 การจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน
ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือนให้ครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง และเป็นไปตามรูปแบบและคําอธิบายความหมายของรายการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามแนบ ดังนี้
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ ธ.พ. 1.1 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 1 โดยรวมสินทรัพย์และหนี้สินของทุกสํานักงาน
(2) ให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามแบบ ธ.พ. 1.2 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2 โดยรวมสินทรัพย์และหนี้สินของทุกสํานักงานในประเทศ
ทั้งนี้ ในการจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงจากคําอธิบายความหมายของรายการ และรายการของชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Dataset) ในระบบ DMS ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3 และ 4 ตามลําดับ
5.2 การกําหนดจํานวนหน่วยในการจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน
ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเป็นสกุลเงินบาทโดยให้แสดงเป็นหน่วยของหลักพันบาท (ไม่ต้องมีทศนิยม)
5.3 การเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน
ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่รับรองความถูกต้องและลงนามอย่างน้อย 2 คน ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ และผู้อํานวยการฝ่ายบัญชี หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าในทํานองเดียวกันที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยให้แสดงชื่อและชื่อสกุลในเครื่องหมายวงเล็บ พร้อมด้วยตําแหน่งใต้ลายมือชื่อ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นที่มีอํานาจลงนามแทน ให้ระบุคําว่า "แทน" หน้าตําแหน่งนั้นด้วยและในกรณีที่ข้อมูลในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้ธนาคารพาณิชย์ระบุข้อความว่า "ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต" ในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินด้วย
ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าวภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ดังนี้
(1) ให้ประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ (ไม่รวมถึงสํานักงานใหญ่ในต่างประเทศของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ) และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์นั้นทุกแห่ง โดยอาจประกาศรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินลงในหนังสือพิมพ์รายวันเพิ่มเติม เฉพาะรายไตรมาสก็ได้
(2) ให้เผยแพร่รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินในเว็บไซต์ (website) ของธนาคารพาณิชยนั้น
5.4 การจัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน
5.4.1 ให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามรูปแบบการจัดส่ง ดังนี้
(1) รูปแบบ Excel File ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยให้ส่งผ่านช่องทางการรับส่งข้อมูลของระบบ DMS Data Acquisition ภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ หากวันที่ครบกําหนดส่งตรงกับวันหยุด ให้ส่งข้อมูลภายในวันทําการถัดจากวันหยุดดังกล่าว แต่ก่อนหน้าวันเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามข้อ 5.3
(2) รูปแบบเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จํานวน 1 ชุด ต่อสํานักจัดการข้อมูล ฝ่ายบริหารจัดการข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ หากวันที่ครบกําหนดส่งตรงกับวันหยุด ให้ส่งข้อมูลภายในวันทําการถัดจากวันหยุดดังกล่าว
5.4.2 ให้ธนาคารพาณิชย์จัดส่งรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินในรูปแบบเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จํานวน 1 ชุดต่อสํานักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงินสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง หรือไปยัง e-mail address ที่ [[email protected]](mailto:[email protected]) ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ หากวันครบกําหนดส่งตรงกับวันหยุด ให้ส่งข้อมูลภายในวันทําการถัดจากวันหยุดดังกล่าว
5.5 การปรับปรุงข้อมูลในรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ซึ่งทําให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการปรับปรุงรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน หลังจากที่ได้มีการเปิดเผยตามข้อ 5.3 หรือจัดส่งตามข้อ 5.4 แล้ว ให้ธนาคารพาณิชย์เปิดเผยและจัดส่งร้ายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่ได้ปรับปรุงตามช่องทางที่กําหนดในข้อ 5.3 และข้อ 5.4 ทั้งนี้ ให้ระบุข้อความ "ฉบับปรับปรุง" ไว้ตรงกลางด้านบนสุดของร้ายการย่อฉบับที่ปรับปรุงด้วย
ทั้งนี้ รายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่เปิดเผยและจัดส่งตามข้อ 5.3 ข้อ 5.4 และข้อ 5.5 ต้องเป็นรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย เว้นแต่กรณีการประกาศลงในหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศ สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามารถเลือกจัดทํารายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเป็นภาษาอังกฤษได้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ถือปฏิบัติกับการจัดทําและการเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินพร้อมกับการถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21/2561 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,690 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สคง. 20/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สคง. 20/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
-----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาการแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.24/14/52 | 75,000 | 12 มีนาคม 2552 | 16/3/52-30/3/52 | 14 |
| พ.25/14/52 | 70,000 | 13 มีนาคม 2552 | 17/3/52-31/3/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,691 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 20/2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 20/2552
เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
-----------------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ปัจจุบันคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกิจหลักทรัพย์ได้มากขึ้นมาเป็นลําดับ และยังเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์สามารถถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมได้ร้อยละ 100 เพื่อเพิ่มช่องทางการประกอบธุรกิจและบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ถึงบัดนี้ธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้เกือบทุกประเภท ยกเว้นการเป็นนายหน้าซื้อขายการจัดจําหน่ายและการค้าตราสารทุน ทั้งนี้ การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์นี้ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดขอบเขตธุรกิจให้สอดคล้องกับสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
การปรับปรุงประกาศในครั้งนี้ เป็นการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต่างประเทศกับผู้ลงทุนสถาบันได้เพิ่มเติมตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารในต่างประเทศและอนุพันธ์ ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2552 ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่ได้รับการอนุญาตเพิ่มเติมประกอบด้วยผู้ลงทุนสถาบัน 8 ประเภท ได้แก่ (1) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (2) กองทุนประกันสังคม (3) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (4) กองทุนรวม (5) บริษัทหลักทรัพย์ (6) บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย (7) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง และ (8) นิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ตามงบดุลตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท ซึ่งมีธุรกิจหลักเป็นผู้ผลิต หรือประกอบธุรกิจการค้าหรือบริการ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ขอบเขตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้โดยธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับใบอนุญาต ขึ้นทะเบียน หรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อย่างไรก็ดี ธุรกิจบางประเภทธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
สําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
| | | |
| --- | --- | --- |
| ที่ | ประเภทธุรกิจ | หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ |
| เกณฑ์ ก.ล.ต. | เกณฑ์ ธปท. (เพิ่มเติม) |
| 1 | ธุรกิจนายหน้า ค้าและจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ |
| 1.1 | การค้าและการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ | P | P(เอกสารแนบ 1) |
| 1.2 | การเป็นนายหน้า ค้า จัดจําหน่าย หน่วยลงทุน | P | P(เอกสารแนบ 2) |
| 2 | ธุรกิจแนะนําการลงทุน |
| 2.1 | การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน | P | - |
| 2.2 | การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ด้านหลักทรัพย์) | P | - |
| 3 | ธุรกิจจัดการลงทุน |
| 3.1 | การจัดการกองทุนส่วนบุคคล | P | - |
| 3.2 | การจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ | P | - |
| 4 | ธุรกิจหลักทรัพย์อื่น |
| 4.1 | การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และการขายชอร์ต | P | P(เอกสารแนบ 3) |
| ที่ | ประเภทธุรกิจ | หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ |
| เกณฑ์ ก.ล.ต. | เกณฑ์ ธปท. (เพิ่มเติม) |
| 4.2 | การเป็นตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ | P | - |
| 4.3 | การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ | P | - |
| 4.4 | การเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม | P | - |
| 4.5 | การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ | P | - |
| 4.6 | การเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน | P | - |
5.2 เกณฑ์การกํากับทั่วไป
5.2.1 ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวข้างต้นต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงที่สามารถประเมิน ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมโดยคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดกลยุทธ์ อนุมัตินโยบาย แผนงาน ระเบียบ และหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงระบบงานเพื่อรองรับธุรกิจตามมาตรฐานที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด เช่น ระบบการแยกทรัพย์สินของลูกค้าและธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
5.2.2 ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ หรือเป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงเกณฑ์อัตราส่วนการถือหรือมีหุ้นหรือมีหน่วยลงทุน และหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ
5.3 การพักหรือเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจพักหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้
5.3.1 ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และข้อกําหนดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
5.3.2 กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2552
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,692 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 5 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2556
------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ (วัน) |
| พ.3/14/56 | 45,000 | 18 มกราคม 2556 | 22/1/56 – 5/2/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,693 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 21/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 21 /2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2552
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ประจําไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 โดยกําหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6เดือน ลบร้อยละ 0.2 ต่อปี ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยสําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2552 ในวันที่ 11 มีนาคม 2552 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มีนาคม 2552 เท่ากับร้อยละ 1.69375 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,694 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 22/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 มีนาคม 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 22/2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 มีนาคม 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 มีนาคม 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 มีนาคม 2552 เท่ากับร้อยละ 1.6937 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 11 มีนาคม 2552 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2552
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,695 |
ประกาศนายทะเบียน ที่ ฝชพ. 5/2556 เรื่อง ประเภทตราสารหนี้ที่รับลงทะเบียน ผู้มีสิทธิใช้บริการและวิธีการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน | ประกาศนายทะเบียน
ที่ ฝชพ. 5 /2556
เรื่อง ประเภทตราสารหนี้ที่รับลงทะเบียน ผู้มีสิทธิใช้บริการ
และวิธีการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดประเภทตราสารหนี้ที่รับลงทะเบียน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มีสิทธิใช้บริการและวิธีการรับลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน ตามข้อ 1 และข้อ 3 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2556 ว่าด้วยการให้บริการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 และ ข้อ 3 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1 /2556 ว่าด้วยการให้บริการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กําหนด ประเภทตราสารหนี้ที่รับลงทะเบียนผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มีสิทธิใช้บริการ และวิธีการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ประเภทตราสารหนี้ที่รับลงทะเบียน ได้แก่ พันธบัตรออมทรัพย์ ตามรุ่นที่ระบุในหนังสือแจ้งผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือตามที่นายทะเบียนพิจารณาเห็นสมควร
ข้อ 2. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มีสิทธิใช้บริการ ได้แก่ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่เป็นบุคคลธรรมดา
ข้อ 3. วิธีการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน
3.1 เอกสารประกอบการรับลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน
3.1.1 คําขอลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน (กรอกรายละเอียดและลงนาม)
3.1.2 ใบตราสารหนี้ (ฉบับจริง)
3.1.3 สําเนาบัตรประชาชน (ลงนามรับรองสําเนาถูกต้อง)
3.2 วิธีการยื่นเอกสาร
3.2.1 ยื่นโดยตรงที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
3.2.2 ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556
(นางผุสดี หมู่พยัคฆ์)
นายทะเบียน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,696 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 23/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 23/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.26/14/52 | 50,000 | 17 มีนาคม 2552 | 19/3/52 - 2/4/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,697 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2556 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 6 /2556
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์
2. นางภรวดี ตาปสนันทน์
3. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน
6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน
7. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์
8. นายบุญชัย กาญจนพิมาย
9. นายอนันต์ อิงวิยะ
10. นายภูวดล เหล่าแก้ว
11. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา
12. นายพิชิต ภัทรวิมลพร
13. นายธเนศชัย อังวราวงศ์
14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
15. นายชนัช เทียมมณีเนตร
16. นายชุติมา ไชยบุตร
17. นางสุภาวดี ปุณศรี
18. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร
19. นางศรีสกุล รังสิกุล
20. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ
21. นายรณรงค์ ไชยสมบัติ
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2556
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,698 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 24/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 24/2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2552
-----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 มีนาคม 2552 เท่ากับร้อยละ 1.69063 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 16 มีนาคม 2552 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มีนาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,699 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 24/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 24 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)
ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ปัจจุบันสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินในหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในการทําธุรกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการให้บริการทางการเงินดังกล่าว สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องให้ความสําคัญต่อการบริหารความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมดังกล่าว เพื่อให้สามารถรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการกํากับดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อไม่ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการกระจุกตัวของความเสี่ยง (Concentration risk) ในลูกหนี้รายใดรายหนึ่งรวมผู้ที่เกี่ยวข้องมากเกินควร รวมทั้งมีระบบการประเมิน การบริหาร และควบคุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งมีขอบเขตการให้บริการธุรกรรมทางการเงินตามพันธกิจหลักซึ่งแตกต่างกัน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดอัตราการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม และมีการปรับปรุงสาระสําคัญของหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับฐานะเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ปรับปรุงเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ธุรกรรมประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade credit insurance) เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนําไปปฏิบัติ ทั้งด้านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นผู้รับบริการและสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นผู้ให้บริการ และเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ที่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต โดยการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) เพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single lending limit) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 16/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"เงินกองทุน" หมายความว่า เงินกองทุนทั้งสิ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
"ก่อภาระผูกพัน" หมายความว่า ภาระผูกพันที่ระบุตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
"ตั๋วเงินที่มีคุณภาพ" หมายความว่า ตั๋วเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยและบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
(2) ได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยสถาบันการเงินในต่างประเทศที่มีหน่วยงานกํากับดูแล หรือสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ โดยสถาบันการเงินดังกล่าวต้องได้รับการจัดอันดับเครดิต (Credit rating) เป็นระดับน่าลงทุน (Investment grade) โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External Credit Assessment Institutions: ECAIs) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ สําหรับสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศที่ไม่มีการจัดอันดับเครดิตโดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก อนุโลมให้ใช้อันดับเครดิตของประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้งแทนได้
(3) ได้รับการรับรองหรือรับอาวัโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ(Multilateral Development Banks: MDBs) ที่มีน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 0 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(4) ออกโดยบริษัททั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยบริษัทอื่นทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
"หุ้น" หมายความว่า หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ
"ธุรกรรมประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade credit insurance)" หมายความว่าบริการประกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชําระค่าสินค้าจากผู้ซื้อ/ ผู้ซื้อสินค้า/ ธนาคารผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยผู้ให้บริการต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่ผู้ขายได้ส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อ/ ผู้ซื้อสินค้า/ ธนาคารผู้ซื้อแล้ว แต่ไม่ได้รับชําระเงินค่าสินค้า
5.2 หลักเกณฑ์
5.2.1 การคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่
จํานวนเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินอัตราหรือจํานวนที่กําหนด ดังต่อไปนี้
| | |
| --- | --- |
| สถาบันการเงินเฉพาะกิจ | อัตราหรือจํานวนที่กําหนด |
| (1.1) ธนาคารออมสิน(1.2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(1.3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์(1.4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย | ร้อยละ 15 ของเงินกองทุนทั้งสิ้น |
| (1.5) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (1.6) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย | ร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้น |
5.2.2 วิธีการคํานวณรายการเทียบเท่าสินทรัพย์ของรายการภาระผูกพัน
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณมูลค่าของภาระผูกพันที่ใช้ในการคํานวณอัตราตามข้อ 5.2.1 โดยนําจํานวนเงินตามสัญญาภาระผูกพัน (Notional amount) ไปคูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit conversion factor) ตามสัญญาภาระผูกพันแต่ละประเภทที่กําหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2.3 ข้อยกเว้นในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่
การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อตามข้อ 5.2.1 ไม่รวมถึงธุรกรรมดังต่อไปนี้
(1) ธุรกรรมตามมาตรา 52 ของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ภายใต้บังคับข้อ 5.2.3 (2) (3) และ (4)
(2) การให้กู้ยืมระหว่างสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้
(2.1) การให้กู้ยืมประเภทชําระคืนเมื่อทวงถาม (Call loan) หรือให้กู้ยืมเงินประเภทกําหนดชําระคืนไม่เกินหนึ่งวัน (Overnight loan) แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
(2.2) การให้กู้ยืมเงินประเภทมีระยะเวลา (Term loan) ไม่เกิน 12 เดือนเฉพาะสกุลเงินบาท แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
(3) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ที่มีความเสี่ยงน้อยที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้
(3.1) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่กระทรวงการคลัง หรือส่วนราชการอื่นใด หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง
(3.2) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ โดยมีเงินฝากที่สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย' หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือหลักทรัพย์สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หลักทรัพย์ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง หรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือหลักทรัพย์ที่ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือสถาบันคุ้มครองเงินฝากเป็นประกัน ทั้งนี้ เท่าที่ไม่เกินจํานวนเงินฝากที่เป็นประกันหรือราคาหลักทรัพย์ที่ตราไว้
(3.3) การให้สินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลต่างประเทศหรือธนาคารกลางต่างประเทศ ที่มีน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 0 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ค้ําประกันเต็มจํานวน หรือลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว
(3.4) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น หรือเงินสดเป็นหลักประกัน
(3.5) ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการ์เงิน สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น แบบรับประกันทั้งจํานวน (Firm underwrite)
(3.6) การให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อภายใต้โครงการนโยบายรัฐตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) และโครงการอื่นที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดให้เป็นโครงการนโยบายรัฐก่อนที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้
(4) ภาระผูกพันจากธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายและเทียบเคียงได้กับการออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อการค้า เช่น การออก Bank Payment Obligation (BPO) เป็นต้น
5.2.4 แนวทางในการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่กรณีการทําธุรกรรมเพื่อสนับสนุนมาตรการการเงินการคลังของภาครัฐที่ไม่ใช่ธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA)
ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความจําเป็นต้องทําธุรกรรมเพื่อสนับสนุนมาตรการการเงินการคลังของภาครัฐที่ไม่ใช่ธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) เกินกว่าอัตราหรือจํานวนที่กําหนดในข้อ 5.2.1 ให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอนุมัติการทําธุรกรรมดังกล่าวและให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นเรื่องขอผ่อนผันในการทําธุรกรรมดังกล่าวต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในกรณีนี้ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาผ่อนผันแล้ว สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ต้องดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital add-on) ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
5.2.5 แนวทางในการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่แก่กลุ่มธุรกิจที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิตของประเทศในระยะยาว หรือกลุ่มธุรกิจที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความจําเป็นต้องทําธุรกรรมกับลูกหนี้รายใหญ่เกินกว่าอัตราหรือจํานวนที่กําหนดในข้อ 5.2.1 และพิจารณาได้ว่าเข้าขายเป็นธุรกิจที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิตของประเทศในระยะยาว หรือธุรกิจที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอนุมัติธุรกรรมดังกล่าว และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นเรื่องขอผ่อนผันพร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็นในการทําธุรกรรมดังกล่าวอย่างชัดเจนต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital add-on) และถือปฏิบัติตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
5.2.6 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ตั๋วเงิน
(1) กรณีเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพที่ได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยสถาบันการเงินอื่นทั้งในและต่างประเทศ สถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น รวมทั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยและบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (MDBs) ให้นับผู้รับรองหรือผู้รับอาวัลเป็นลูกหนี้
(2) กรณีเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพที่ออกหรือได้รับการรับรองหรือรับอาวัลโดยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือตั๋วเงินที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้นับผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วเงิน หรือผู้รับรอง หรือผู้รับอาวัลเป็นลูกหนี้
(3) กรณีเป็นตั๋วเงินที่ไม่มีคุณภาพ ให้นับผู้ทรงซึ่งขายตั๋วเงินและบุคคล ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินที่ไม่มีคุณภาพทุกทอดเป็นลูกหนี้
5.2.7 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) โดยการรับซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดเอกสารตามเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต
(1) ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้าที่ถือปฏิบัติตามแนวทางหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับสากลขององค์กรกลางระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องให้นับบุคคลซึ่งต้องรับผิดตามธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้าในลําดับแรกเป็นลูกหนี้
ทั้งนี้ กรณีเอกสารไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต(Discrepant document) หรือยังไม่สามารถระบุได้ว่าสอดคล้องกับเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้นับผู้ขายเอกสารตามเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกรรมการรับซื้อซื้อลด รับช่วงซื้อลดเอกสารตามเงื่อนไขของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตทุกทอดเป็นลูกหนี้
(2) ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้าที่ไม่ได้ถือปฏิบัติตามแนวทางหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับสากลขององค์กรกลางระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ให้ถือปฏิบัติตามหลักการการนับลูกหนี้ตั๋วเงินตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.2.6
5.2.8 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้าที่มีการประกันการส่งออก (Export credit insurance) และธุรกรรมการให้บริการประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade credit insurance)
การนับลูกหนี้ในการคํานวณอัตราส่วนหรือจํานวนในการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามข้อ 5.2.1 กรณีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีการให้สินเชื่อที่มีการทําประกันการส่งออกหรือกรณีของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้ให้บริการธุรกรรมการให้บริการประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade credit insurance) ให้พิจารณา ดังนี้
(1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นผู้ให้สินเชื่อที่มีการประกันการส่งออกและมีหลักฐานการรับโอนสิทธิจากผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ให้นับธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยหรือบริษัทประกันภัยที่ให้บริการประกันการส่งออกเป็นลูกหนี้ ตามมูลค่าที่มีการรับประกัน
(2) สําหรับธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้ให้บริการธุรกรรมการให้บริการประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade credit insurance) ให้นับผู้ซื้อ/ ผู้ซื้อสินค้า ธนาคารผู้ซื้อ เป็นลูกหนี้ อย่างไรก็ดี หากธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทยมีการทําประกันภัยต่อ (Reinsurance) และมีหลักฐานเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ให้นับบริษัทประกันภัยต่อ (Reinsurer) เป็นลูกหนี้แทนผู้ซื้อ/ ผู้ซื้อสินค้า/ ธนาคารผู้ซื้อ
ทั้งนี้ การทําประกันการส่งออกทั้ง 2 กรณีดังกล่าว ต้องมีการโอนความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างแท้จริง' และบริษัทประกันภัยดังกล่าวต้องมีหน่วยงานกํากับดูแล และได้รับการจัดอันดับเครดิตเป็นระดับที่สามารถลงทุนได้โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกที่ได้รับการกํากับดูแลโดยหน่วยงานกํากับดูแลในต่างประเทศ
5.2.9 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ที่มีการรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต (ที่ไม่เข้าข่ายธุรกรรม Credit derivatives)
(1) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศที่มีหน่วยงานกํากับดูแล หรือสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นทั้งในและต่างประเทศ หรือธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (MDBs) ที่มีน้ําหนักความเสี่ยงร้อยละ 0 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นผู้รับประกันความเสี่ยง ให้นับสถาบันการเงินที่เป็นผู้รับประกันความเสี่ยงนั้นเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามข้อ 5.2.1
ทั้งนี้ สถาบันการเงินในต่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศต้องได้รับการจัดอันดับเครดิตเป็นระดับที่สามารถลงทุนได้โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ สําหรับสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศที่ไม่มีการจัดอันดับเครดิตโดยสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก อนุโลมให้ใช้อันดับเครดิตของประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้งแทนได้
(2) การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันจากบริษัทอื่นนอกเหนือจากข้อ 5 2.9 (1) ให้ยังคงนับลูกหนี้รายนั้นเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามข้อ 5.2.1 โดยไม่นับบริษัทผู้ค้ําประกันเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราดังกล่าว
5.2.10 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ที่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต โดยการทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives)
ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิตตามขอบเขตของพันธกิจที่กําหนดในกฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น ๆ และสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านปฏิบัติการตาม ข้อ 1.1 และข้อ 1.3 ในเอกสารแนบ 8 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งถือว่าเป็นอนุพันธ์ด้านเครดิตที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการประกันความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนําอนุพันธ์ด้านเครดิต
ดังกล่าวมาปรับลดความเสี่ยงได้ โดยนับผู้รับโอนความเสี่ยงเป็นลูกหนี้ในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามข้อ 5.2.1 และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงตามประเภทอนุพันธ์ด้านเครดิตและสัดส่วนการรับประกันความเสี่ยงของสัญญาอนุพันธ์นั้น ๆ
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่มีการกําหนดหลักเกณฑ์การทําธุรกรรม Credit derivatives เป็นการเฉพาะ ดังนั้น ในครั้งแรกหากสถาบันการเงินเฉพาะกิจใดประสงค์จะทําธุรกรรมดังกล่าวและนํามาใช้ในการปรับลดความเสี่ยง ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหารือวิธีการนับลูกหนี้ ในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงกับธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน โดยให้ยึดถือแนวทางปฏิบัติดังกล่าวไปจนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
5.2.11 หลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ธุรกรรมอื่น
ธุรกรรมให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบสีสซิ่ง ธุรกรรมแฟ็กเตอริง ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ธุรกรรมหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ และการขายชอร์ต ธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ธุรกรรมอนุพันธ์ และธุรกรรม Collateralized debt obligation ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตและการกํากับดูแลการทําธุรกรรมในแต่ละเรื่องต่อไป (เมื่อมีการประกาศใช้)
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว รวมกันเกินอัตราหรือจํานวนที่กําหนดในข้อ 5.2.1 ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2560 สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่บุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวอีกไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและการประกอบธุรกิจของลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผัน ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| ประเภทของสัญญา | ระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน |
| สัญญาที่มีการกําหนดอายุ (Term loan) ที่ ผูกพ้นไว้แล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม 2560 | จนครบอายุสัญญา |
| สัญญาที่ได้รับการผ่อนผันเป็นรายกรณีจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย | จนครบระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน |
ทั้ั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถจัดเก็บเอกสาร และข้อมูลยอดคงค้างของลูกหนี้หรือลูกค้าทุกรายที่เข้าข่ายได้รับการ่ผ่อนผันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นเพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินสามารถตรวจสอบได้
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,700 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 25/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 25 /2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.27/15/52 | 65,000 | 19 มีนาคม 2552 | 23/3/52-7/4/52 | 15 |
| พ.28/15/52 | 60,000 | 20 มีนาคม 2552 | 24/3/52-8/4/52 | 15 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,701 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 26/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 มีนาคม 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 26/2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 มีนาคม 2552
-----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 มีนาคม 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 3/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 25 มีนาคม 2552 เท่ากับร้อยละ 1.64844 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 23 มีนาคม 2552 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2552
(นางอัจนา ไวความดี)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,702 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 27/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 27/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.29/10/52 | 65,000 | 26 มีนาคม 2552 | 30/3/52-9/4/52 | 10 |
| พ.30/10/52 | 60,000 | 27 มีนาคม 2552 | 31/3/52-10/4/52 | 10 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2552
(นางอัจนา ไวความดี)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,703 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 28/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 28/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | ประเภทอายุ |
| 4/364/52 | 50,000 | 31 มี. ค 52 | 2/4/52 – 1/4/53 | 364 วัน |
| 14/28/52 | 15,000 | 7 เม.ย 52 | 9/4/52 – 7/5/52 | 28 วัน |
| 15/28/52 | 15,000 | 9 เม.ย 52 | 16/4/52 – 14/5/52 | 28 วัน |
| 2/2ปี/2552 | 30,000 | 9 เม.ย 52 | 16/4/52 – 16/4/54 | 2 ปี |
| 16/28/52 | 15,000 | 21 เม.ย 52 | 23/4/52 – 21/5/52 | 28 วัน |
| 4/63/52 | 30,000 | 21 เม.ย 52 | 23/4/52 – 25/6/52 | 63 วัน |
| 17/28/52 | 15,000 | 28 เม.ย 52 | 30/4/52 – 28/5/52 | 28 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2 ปี/2552 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 7 เม.ย. 2552 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 16 เม.ย. และ 16 ต.ค. ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 16 ต.ค. 2552 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 16 เม. ย. 2554 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการ ไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,704 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 6 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2556
----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.4/14/56 | 45,000 | 25 มกราคม 2556 | 29/1/56 – 12/2/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,705 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 25/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 25 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีการประกอบธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันดอกเบี้ยและประกอบกิจการอื่น โดยยึดหลักการการค้าและการร่วมลงทุนเป็นหลักตามหลักการของศาสนาอิสลาม เช่น หลักการซื้อขาย (Murabahah) หลักการร่วมลงทุนที่เน้นการร่วมบริหาร (Musharakah) หลักการร่วมทุน (Mudarabah) และหลักการเช่า (Ijarah) เป็นต้น ซึ่งจัดได้ว่าเป็นธุรกิจทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่มีการเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ฝากเงิน ผู้ขอสินเชื่อผู้ลงทุน และคู่ค้าตามหลักการของศาสนาอิสลาม
อย่างไรก็ดี เนื่องจากการให้บริการทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามมีลักษณะธุรกรรมที่แตกต่างจากการให้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปที่ผูกพันกับดอกเบี้ยธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรออกประกาศเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันกับดอกเบี้ยและประกอบกิจการอื่นตามหลักการของศาสนาอิสลามเป็นการเฉพาะ โดยยึดหลักการในการกํากับดูแลเช่นเดียวกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป และกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมบางประการ เช่น ด้านธรรมาภิบาล เพื่อให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามนจะเป็นการส่งเสริมให้มีการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส มีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนมีความสอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและเสริมสร้างความมีเสถียรภาพในการดําเนินธุรกิจซึ่งนําไปสู่ความมั่นคงในระยะยาว และความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจโดยรวม
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยมีการปรับปรุงสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ได้แก่ การเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเกี่ยวกับช่องทางการให้บริการทางการเงินหลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือการรับเงินจากประชาชน การรวมหลักเกณฑ์ว่าด้วยธรรมาภิบาลและอํานาจหน้าที่ของกรรมการ และการรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส. 19/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9/2560เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2560 มาประมวลให้อยู่ในฉบับเดียวกัน
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจเฉพาะธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันกับดอกเบี้ยและประกอบกิจการอื่นตามหลักการของศาสนาอิสลามให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยถือปฏิบัติตามที่กําหนดในป ระกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 19/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 9/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2560
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป " หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"ธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม" หมายความว่า ธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันกับดอกเบี้ยและการประกอบธุรกิจอื่นตามหลักการของศาสนาอิสลาม
5.2 หลักการกํากับดูแล
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจเฉพาะธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม เพื่อใช้บังคับกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยโดยยึดหลักการการกํากับดูแลให้สอดคล้องกับแนวทางการกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป แต่มีการกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมบางประการเพื่อให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม
5.3 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านธรรมาภิบาล
5.3.1 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องจัดให้มีระบบบริหารจัดการและธรรมาภิบาลที่ดีเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป โดยให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจการถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้นให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1.1) องค์ประกอบของคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ กฎหมายอื่น หรือหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(1.2) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้รวมถึงการกําหนดนโยบาย และมีความรับผิดชอบการดูแลให้มีกระบวนการบริหารจัดการ และระบบการติดตามตรวจสอบที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าการประกอบธุรกิจเป็นไปตามหลักการของศาสนาอิสลาม
(1.3) ให้มีคณะกรรมการชุดย่อยเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป และควรจัดให้มีคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ หน้าที่และความรับผิดชอบ ตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ควรพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับหลักการด้านศาสนาอิสลาม หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม
(1.4) บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ควรรวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
(1.4.1) ให้คําปรึกษา แนะนํา หรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งรวมถึงนโยบาย ระเบียบ คู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตลอดจนรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่าการประกอบธุรกิจจะไม่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม
(1.4.2) เสนอแนะให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีระบบการกํากับดูแลกิจการและการตรวจสอบการปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องกับหลักการของศาสนาอิสลามที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล
(1.4.3) ในกรณีที่พบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทําที่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม ให้รายงานต่อคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทราบเพื่อแจ้งให้ฝ่ายจัดการดําเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยกําหนด
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือฝ่ายจัดการไม่ดําเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขตามที่คณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเสนอรายงาน ให้คณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเปิดเผยการกระทําดังกล่าวไว้ในรายงานประจําปี และแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ
(1.4.4) ควรจัดทําร้ายงานการกํากับดูแลกิจการตามหลักการของศาสนาอิสลาม เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจตามหลักการของศาสนาอิสลามรวมถึงเปิดเผยรายการหรือการกระทําที่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลามที่มีนัยสําคัญไว้ในรายงานประจําปีของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
(1.5) ต้องจัดให้มีการสอบทานระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพิจารณาสอบทานระบบควบคุมภายในการตรวจสอบภายใน และการปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ คู่มือ และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม ตลอดจนข้อเสนอแนะของคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้แจ้งผลการสอบทาน การตรวจสอบ และการปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลามต่อคณะที่ปรึกษาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทราบด้วย
(2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.4 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านการบริหารความเสี่ยง
5.4.1 การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องจัดให้มีกระบวนการพิจารณาสินเชื่อก่อภาระผูกพัน และธุรกรรมคล้ายสินเชื่อ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่เหมาะสม เช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปโดยให้นําประกาศและแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(1) แนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามแนวนโยบายข้างต้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยควรพิจารณากําหนดประเภทของสินเชื่อที่พึงระมัดระวังในการพิจารณาให้สินเชื่อ โดยเฉพาะการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจหรือมีรูปแบบการให้สินเชื่อที่อาจขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม ตลอดจนการให้สินเชื่อในธุรกิจที่ไม่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิตของประเทศระยะยาว เช่น ธุรกิจที่มีลักษณะเก็งกําไรธุรกิจนําเข้าสินค้าฟูมเฟือย ธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี และควรพิจารณาแบ่งแยกอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป รวมทั้งควรกําหนดให้มีผู้รับผิดชอบหรือตรวจสอบความถูกต้องของการปฏิบัติภายหลังการอนุมัติการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อนั้น
(2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(2.1) การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ได้ไม่เกินจํานวนเงินที่กําหนด ดังต่อไปนี้
| | |
| --- | --- |
| กลุ่มลูกค้า | จํานวนเงินสูงสุด |
| 1) กลุ่มลูกค้าเดิมของธนาคาร | 1,000 ล้านบาท |
| 2) กลุ่มลูกค้าใหม่ | 500 ล้านบาท |
| 3) รัฐวิสาหกิจ | 2,000 ล้านบาท |
ทั้งนี้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องพิจารณาถึงความสามารถทางการเงินของลูกหนี้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะการทําธุรกรรมกับลูกค้ารายใหญ่ โดยพิจารณาแนวทางการคํานวณ วิธีการนับลูกหนี้ในธุรกรรมประเภทต่าง ๆ และข้อยกเว้นในการคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ตลอดจนการพิจารณาผ่อนผันการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป
(2.2) ในกรณีที่กระทรวงการคลังเห็นว่าธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถกลับมาดําเนินการได้ตามปกติตามแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าอัตราที่กฎหมายกําหนดตามข้อ 5.5 ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้น แทนจํานวนเงินสูงสุดตามตารางข้างต้น
(3) แนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการสอบทานธุรกรรมด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามแนวนโยบายข้างต้น ในการพิจารณาอัตราสอบทานลูกหนี้ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยนั้น ให้ลูกหนี้ธุรกิจวงเงินสูงหมายถึงลูกหนี้ธุรกิจที่มีวงเงินหรือยอดหนี้คงค้างสูงตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป และลูกหนี้ธุรกิจวงเงินต่ําหมายถึงลูกหนี้ธุรกิจที่มีวงเงินหรือยอดหนี้คงค้างต่ํากว่า 20 ล้านบาท
(4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องจัดชั้น กันสํารอง และตัดจําหน่ายหนี้สูญ โดยพิจารณาจากการค้างชําระเงินให้สินเชื่อในส่วนของต้นเงินหรือรายได้ทางการเงินที่พึงได้รับจากการให้สินเชื่อนั้น เช่น ผลกําไรจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ
(5) แนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการรับชําระหนี้ การประกันการให้สินเชื่อ หรือที่ซื้อจากการขายทอดตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามแนวนโยบายข้างต้น ในการทําธุรกรรมทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยประเมินราคาสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันเพื่อประกอบการให้กู้ยืม การทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ หรือการให้บริการทางการเงินในรูปแบบอื่นตามหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงได้กับหลักประกัน
(6) แนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามแนวนโยบายข้างต้น ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่กําหนดในเอกสารแนบ
(7) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(8) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพัน และธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ รวมทั้งการจัดชั้นและการกันเงินสํารองการถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ธุรกรรมด้านสินเชื่อ ให้หมายความรวมถึง การให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ การให้กู้ยืมตามหลักการของศาสนาอิสลาม การเบิกถอนเงินสด (เงินเบิกเกินบัญชี) และสินเชื่อทางการค้า รวมถึงบริการทางการเงินในรูปแบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมและการให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
(9) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ในการทําธุรกรรมทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม โดยพิจารณาแนวทางการคํานวณอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน ตลอดจนการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตเพื่อการดํารงเงินกองทุนสําหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง
5.4.2 การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
(1) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป โดยให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น สินทรัพย์สภาพคล่อง ให้หมายความรวมถึงตราสารการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่มีลักษณะเทียบเท่ากับตราสารการเงินที่สามารถนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ตราสารศุกูก
(2) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยควรมีการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับการชําระคืนหนี้สินและภาระผูกพันต่าง ๆ เมื่อครบกําหนดหรือถูกเรียกคืน ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต พร้อมทั้งจัดส่งแบบรายงานความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป โดยให้นําแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
5.4.3 การบริหารความเสี่ยงด้านอื่น
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ความเสี่ยงด้านตลาด และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และควรมีการบริหารความเสี่ยงด้านอื่นที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่อาจกระทบต่อฐานะ ผลการดําเนินงานตลอดจนภาพลักษณ์และความน่าเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เช่น ความเสี่ยงด้าน อัตรารายได้ทางการเงิน (Rate of return risk) ที่เหมาะสม โดยอาจอ้างอิงจากหลักการมาตรฐานสากลที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น Islamic Financial Services Board โดยอนุโลม
อนึ่ง ในการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้หมายความรวมถึงการบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ภายในเช่น ความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการ บุคลากร และระบบงานของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือจากเหตุการณ์ภายนอก รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมายและความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลาม เช่น ความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลามด้วย
5.5 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเพียงพอของการดํารงเงินกองทุน
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป โดยให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น องค์ประกอบของเงินกองทุนของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ให้หมายความรวมถึงเงินที่ได้รับจากการออกตราสารทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่มีลักษณะเทียบเท่ากับตราสารทางการเงินที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปได้
(3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น การพิจารณาคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พิจารณาความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อและการให้บริการทางการเงินอื่นในรูปแบบต่าง ๆ ตามหลักการของศาสนาอิสลามเพิ่มด้วย
(4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น การพิจารณาคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พิจารณาความเสี่ยงจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อและการให้บริการทางการเงินอื่นในรูปแบบต่าง ๆ ตามหลักการของศาสนาอิสลามเพิ่มด้วย เช่น การให้สินเชื่อในลักษณะซื้อมาขายไปที่อาจทําให้มีสินทรัพย์อยู่ในบัญชีของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งอันอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านตลาดจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์นั้นได้
(5) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(6) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง
5.6 หลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีและการจัดทํางบการเงิน
ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยบันทึกบัญชี จัดทําและประกาศงบการเงิน เช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไป โดยให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องบันทึกบัญชีรายได้ทางการเงิน หรือค่างวดจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อตามเกณฑ์คงค้างทุกสิ้นเดือนและถือปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีรายได้ทางการเงินจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ ดังนี้
(1.1) กรณีที่ลูกหนี้ค้างชําระรายได้ทางการเงิน หรือเงินค่างวดเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจะบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามจํานวนเงินที่ได้รับชําระก็ได้
(1.2) กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้รับชําระรายได้ทางการเงินบางส่วน ให้นําไปตัดรายการรายได้ทางการเงินค้างรับที่รับรู้เป็นรายได้แล้วในบัญชี แล้วจึงนําไปตัดรายได้ทางการเงินค้างรับที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้
(1.3) ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยระงับการบันทึกบัญชีรายได้ทางการเงินหรือค่างวดเป็นรายได้ และบันทึกยกเลิกรายได้ทางการเงินหรือค่างวดจากการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อที่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ไว้แล้วออกจากบัญชี โดยอ้างอิงตัวอย่างการนับระยะเวลาการบันทึกรับรู้รายได้ทางการเงินตามเอกสารแนบ 2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เมื่อมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1.3.1) เมื่อลูกหนี้เงินให้สินเชื่อ ลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน ค้างชําระรายได้ทางการเงินเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ
(1.3.2) เมื่อลูกหนี้เงินเบิกถอนเงินสด (เงินเบิกเกินบัญชี) ที่ไม่มีวงเงินหรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน มียอดรายได้ทางการเงินค้างชําระโดยไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระรายได้ทางการเงินเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันที่เริ่มค้างชําระ หรือมีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระรายได้ทางการเงินเป็นบางส่วนแต่รายได้ทางการเงินคงค้างยังเกินกว่า 3 เดือน
(1.3.3) เมื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อค้างชําระเงินค่างวดเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ
(1.3.4) เมื่อลูกหนี้เงินให้สินเชื่อ ลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการรับรองรับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน หรือลูกหนี้เงินเบิกถอนเงินสด (เงินเบิกเกินบัญชี) ค้างชําระรายได้ทางการเงินหรือลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อค้างชําระเงินค่างวด เป็นระยะเวลารวมกันไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ แต่ถูกจัดชั้นเป็นประเภทสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ หรือสินทรัพย์จัดชั้นสงสัย ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5.9.1 (4)
(1.4) กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ระงับการบันทึกบัญชีรายได้ทางการเงินหรือค่างวดเป็นรายได้แล้ว ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจะสามารถบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างได้ใหม่ เมื่อลูกหนี้ได้ชําระต้นเงินและรายได้ทางการเงินที่รับรู้เป็นรายได้แล้ว และที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ หรือเงินค่างวดที่ค้างชําระทั้งหมดแล้ว
(2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทําและการประกาศงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชีและการจัดทํางบการเงิน
การถือปฏิบัติตามประกาศข้างต้น ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยบันทึกบัญชีและจัดทํางบการเงินตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจ นอกเหนือจากรูปแบบทางกฎหมายตามกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนด และปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชีตามหลักการของศาสนาอิสลามที่สภาวิชาชีพบัญชีให้ความเห็นชอบ (ถ้ามี โดยในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีหรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยครอบคลุมถึง ให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศหรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติได้
5.7 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเกี่ยวกับช่องทางการให้บริการทางการเงิน
ในการประกอบกิจการสาขาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจจากผู้ให้บริการภายนอก เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของกลุ่มลูกค้าตามพันธกิจให้มีความสะดวกและทั่วถึงยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อเพิ่มความสามารถในการดําเนินงานให้ดีขึ้นนั้น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการที่รัดกุมและเป็นธรรม โดยให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
(1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้บริการจากผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ (Business Facilitator) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.8 หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือการรับเงินจากประชาชน
ในการเปิดบัญชีเพื่อรับฝากเงินหรือการรับเงินจากประชาชนตามขอบเขตการประกอบธุรกิจตามที่กําหนดในกฎหมายจัดตั้ง ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีกระบวนการในการรู้จักลูกค้า (Know Your Customer: KYC) ที่สามารถระบุตัวตน (Identification) และพิสูจน์ตัวตน (Verification) ของลูกค้าได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิผล โดยให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือการรับเงินจากประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
6.1 บทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านธรรมาภิบาล
6.1.1 กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในปัจจุบันก่อนวันที่ 1 มกราคม 2560 ให้ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปได้จนครบวาระ อย่างไรก็ตาม หากปรากฎในภายหลังว่าบุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้บุคคลดังกล่าวรายงานต่อประธานกรรมการ หน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของ และธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทราบ และให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดําเนินการให้มีการถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากการดํารงตําแหน่ง
6.1.2 การกําหนดให้คณะกรรมการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 คนที่มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อ 5.5.1 (2) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น ให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 1 ปี นับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ โดยหากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้ได้ ให้หารือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี
6.1.3 การกําหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดย่อยตามข้อ 5.6 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น หากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีข้อกําหนดในกฎหมายจัดตั้งหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จนส่งผลให้มีข้อจํากัดเกี่ยวกับจํานวนกรรมการอิสระ สามารถขอผ่อนผันไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี
6.1.4 การกําหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกํากับความเสี่ยงตามข้อ 5.6 (2) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น ให้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 1 ปี นับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ โดยในระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการกํากับความเสี่ยง ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส. 3/2559 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน
6.1.5 การกําหนดให้มีนโยบายและกระบวนการดําเนินธุรกิจ (Risk-Taking Policies and Processes) ตามข้อ 5.7.2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจัดทํานโยบายและกระบวนการดําเนินธุรกิจให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ หากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมีความพร้อม สามารถจัดทํานโยบายและกระบวนการดังกล่าว รวมทั้ง นํามาปฏิบัติใช้ได้ก่อน
6.1.6 การกําหนดให้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะตามข้อ 5.10.2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น ให้เปิดเผยข้อมูลครั้งแรกสําหรับข้อมูลของงวดปี 2562
6.2 บทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านการบริหารความเสี่ยง
กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวรวมกันเกินอัตราหรือจํานวนที่กําหนดในข้อ 5.4.1 (2) ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจะให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่บุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวอีกไม่ได้ อย่างไรก็ตามเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยและการประกอบธุรกิจของลูกค้าของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดแนวทางการผ่อนผัน ดังนี้
6.2.1 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้รับผ่อนผันเป็นรายกรณีจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สามารถดําเนินการตามที่ได้รับผ่อนผันต่อไปได้
6.2.2 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ทําสัญญาผูกพันไว้ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2560 ในกรณีที่สัญญามีการกําหนดอายุ (Term loan) ให้ได้รับการผ่อนผันต่อไปจนกว่าจะครบกําหนดอายุสัญญาดังกล่าว ตามบทเฉพาะกาลของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส. 9/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2560
6.2.3 การให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ทําสัญญาผูกพันไว้แล้วก่อนวันที่กระทรวงการคลังเห็นว่าธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามข้อ 5.5 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเพียงพอของการดํารงเงินกองทุนหากจํานวนเงินที่คํานวณจากร้อยละ 25 ของเงินกองทุนทั้งสิ้น ต่ํากว่าจํานวนเงินสูงสุดที่กําหนดตามตารางในข้อ 5.4.1 (2.1) ข้างต้น ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถดําเนินการตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วต่อไปตามประเภทของสินเชื่อ กล่าวคือ ในกรณี เป็นสัญญาที่มีการกําหนดอายุ (Term Loan) ผ่อนผันให้ตามสัญญาที่ผูกพ้นไว้แล้วจนกว่าจะครบกําหนดอายุสัญญา หรือกรณีสัญญามีการกําหนดชําระเงินเมื่อทวงถามหรือเรียกให้ชําระคืน (Call Loan) ผ่อนผันให้ตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วต่อไปอีกไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่ได้ดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จตามที่ทางการกําหนด ทั้งนี้ ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถจัดเก็บเอกสาร และข้อมูลยอดคงค้างของลูกหนี้หรือลูกค้าทุกรายที่เข้าข่ายได้รับการผ่อนผันไว้ที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินสามารถตรวจสอบได้
6.3 บทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลความเพียงพอของการดํารงเงินกองทุน
6.3.1 กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามมาตรการของทางการก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หากปฏิบัติตามข้อ 5.5 ของประกาศฉบับนี้แล้ว มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราขั้นต่ําตามที่กําหนด ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของประกาศฉบับนี้ จนกว่าจะดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จตามที่ทางการกําหนด
6.3.2 กรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยถือครองเงินลงทุนในหุ้นสามัญและตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั่วไปก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยไม่ต้องนําเงินลงทุนดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนตามที่กําหนดในข้อ 5.3.3 (3.1) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติม
6.4 บทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ
ธุรกรรมนโยบายรัฐที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดําเนินการก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ โดยเป็นโครงการนโยบายรัฐตามแนวปฏิบัติของกระทรวงการคลัง เรื่อง การแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (public Service Account: PSA) ซึ่งจะรวมถึงโครงการนโยบายรัฐที่ดําเนินการผ่านธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหลังวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ด้วยให้ถือเป็นธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA)
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,706 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 29/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 29/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.31/14/52 | 50,000 | 31 มีนาคม 2552 | 2/4/52 – 16/4/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,707 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 6/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งสาขาและการประกอบกิจการสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 6 /2556
เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งสาขาและการประกอบกิจการ
สาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่
-------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 2 (2553-2557) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้พิจารณานโยบายอนุญาตให้มีธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเปิดเสรีในภูมิภาค โดยธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่จะต้องจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยในรูปแบบธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสาขาได้ไม่เกิน 20 สาขา และสาขาอิเล็กทรอนิกส์ประเภทเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) นอกสํานักงานไม่เกิน 20 เครื่องโดยไม่จํากัดสถานที่จัดตั้ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่ ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2556 โดยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่ระบุในประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวสามารถยื่นคําขอจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศได้ โดยข้อ 3 ของประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าวได้กําหนดให้กระบวนการในการขออนุญาตจัดตั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามวรรคหนึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศไทย
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 มาตรา 37 มาตรา 71 และมาตรา 80(2)(ก) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 อันประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งสาขาและการประกอบกิจการสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่ ตามความในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่ ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2556
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
4.1 ในประกาศฉบับนี้ ให้คําว่า "สาขาทั่วไป" และ "สาขาอิเล็กทรอนิกส์ประเภทเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากถอนเงินอัตโนมัติ" มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาของธนาคารพาณิชย์ 4.2 การขออนุญาตจัดตั้งสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่ ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรายใหม่ ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2556 สามารถขออนุญาตจัดตั้งสาขาทั่วไปรวมทั้งหมดได้ไม่เกิน 20 แห่ง และสาขาอิเล็กทรอนิกส์ประเภทเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) นอกสถานที่ รวมทั้งหมดได้ไม่เกิน 20 แห่ง 4.3 ประเภทสาขาและการประกอบกิจการสาขา ให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์ใช้บังคับกับการประกอบกิจการสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามข้อ 4.2 โดยอนุโลม
อื่นๆ ๕ 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2556
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,708 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 30/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 30/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.32/13/52 | 55,000 | 2 เมษายน 2552 | 7/4/52 – 20/4/52 | 13 |
| พ.33/13/52 | 50,000 | 3 เมษายน 2552 | 8/4/52 – 21/4/52 | 13 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,709 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 31/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 31/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.34/14/52 | 50,000 | 7 เมษายน 2552 | 9/4/52 – 23/4/52 | 14 |
| พ.35/7/52 | 50,000 | 8 เมษายน 2552 | 10/4/52 – 17/4/52 | 7 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,710 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 32/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนเมษายน ปี 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 32/2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนเมษายน ปี 2552
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 2 ปี ประจําเดือนเมษายน ปี 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนเมษายน ปี 2552 (รุ่นที่ 2/2 ปี/2552) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 7 เมษายน 2552 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2ปี/2552 ที่จะประมูลในวันที่ 9 เมษายน 2552 เท่ากับร้อยละ 1.27 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,711 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 33/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.36/14/52 | 30,000 | 9 เมษายน 2552 | 16/4/52 – 30/4/52 | 14 |
| พ.37/11/52 | 50,000 | 10 เมษายน 2552 | 17/4/52 – 28/4/52 | 11 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,712 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 7 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ดังนี้
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| 5/28/56 | - | 25,000 | 5 ก.พ. 56 | 7 ก.พ. 56 | 7 มี.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 5/91/56 | - | 30,000 | 5 ก.พ. 56 | 7 ก.พ. 56 | 9 พ.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 5/182/56 | - | 25,000 | 5 ก.พ. 56 | 7 ก.พ. 56 | 8 ส.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/364/56 | - | 40,000 | 5 ก.พ. 56 | 7 ก.พ. 56 | 9 ม.ค. 57 | 364 วัน | 336 วัน |
| 6/28/56 | - | 25,000 | 12 ก.พ. 56 | 14 ก.พ. 56 | 14 มี.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 6/91/56 | - | 30,000 | 12 ก.พ. 56 | 14 ก.พ. 56 | 16 พ.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 6/182/56 | - | 25,000 | 12 ก.พ. 56 | 14 ก.พ. 56 | 15 ส.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/2ปี/2556 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 12 ก.พ. 56 | 40,000 | 14 ก.พ. 56 | 18 ก.พ. 56 | 18 ก.พ. 58 | 2 ปี | 2 ปี |
| 7/28/56 | - | 25,000 | 19 ก.พ. 56 | 21 ก.พ. 56 | 21 มี.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 7/91/56 | - | 30,000 | 19 ก.พ. 56 | 21 ก.พ. 56 | 23 พ.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 7/182/56 | - | 25,000 | 19 ก.พ. 56 | 21 ก.พ. 56 | 22 ส.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/FRB3ปี/2556 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 19 ก.พ. 56 | 10,000 | 21 ก.พ. 56 | 26 ก.พ. 56 | 26 ก.พ. 59 | 3 ปี | 3 ปี |
| 8/28/56 | - | 25,000 | 26 ก.พ. 56 | 28 ก.พ. 56 | 28 มี.ค. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 8/91/56 | - | 30,000 | 26 ก.พ. 56 | 28 ก.พ. 56 | 30 พ.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 8/182/56 | - | 25,000 | 26 ก.พ. 56 | 28 ก.พ. 56 | 29 ส.ค. 56 | 182 วัน | 182 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2ปี/2556 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 |
| การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 18 กุมภาพันธ์ และ 18 สิงหาคม ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 18 สิงหาคม 2556 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2556 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 |
| การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 4 งวด |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 26 พฤษภาคม 26 สิงหาคมและ 26 พฤศจิกายน ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 26 พฤษภาคม 2556 |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ยงวดต่อๆ ไป | 2 วันทําการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,713 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 26/2562 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 26 /2562
เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดทําบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดเช่นเดียวกับนิติบุคคลประเภทอื่น อย่างไรก็ตามเนื่องจากธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นธุรกิจการเงินที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากธุรกิจโดยทั่วไป ทําให้การทําธุรกรรมบางประเภทอาจไม่มีการกําหนดแนวปฏิบัติด้านบัญชีเป็นการเฉพาะไว้ซึ่งต้องอาศัยการตีความและดุลยพินิจในการนําไปใช้ที่หลากหลาย หรือมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในบางเรื่องได้ให้ทางเลือกไว้หลายแนวทางในการนําไปปฏิบัติอาจทําให้เกิดความหลากหลายในการนําไปปฏิบัติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกหลักเกณฑ์ทางบัญชีในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกันเพิ่มเติมจากที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีในกรณีปกติ
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเป็นไปตามหลักการของกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี โดยไม่ขัดแย้งกัน หรือในบางกรณีที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีครอบคลุมถึง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดหลักเกณฑ์ทางการบัญชีและการรายงานทางการเงินให้เป็นไปตามหลักการของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Accounting Standards – IAS and International Financial Reporting Standards - IFRS)
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางการบัญชีและการรายงานทางการเงินในเรื่องที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 17/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
หมวด 1
การขายทรัพย์สินรอการขาย
----------------------------------------
1. ในหมวดนี้
"ผู้มีอํานาจในการจัดการ" หมายความว่า
1.1 ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัทแล้วแต่กรณี หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
1.2 บุคคลซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัท ทําสัญญาให้มีอํานาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
1.3 บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการ หรือกรรมการหรือการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัท
"กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" หมายความว่า กรรมการที่ทําหน้าที่บริหารงานในสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบริษัท ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
2. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการขายทรัพย์สินรอการขายทุกประเภทยกเว้นทรัพย์สินรอการขายประเภทตราสารหนี้และตราสารทุน
3. เกณฑ์การรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขาย
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้รายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขายได้ ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขการรับรู้รายได้ทุกข้อดังต่อไปนี้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรายได้ ของสภาวิชาชีพบัญชี
3.1 ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสําคัญของความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินรอการขายให้กับผู้ซื้อแล้ว
3.2 ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพย์สินรอการขายอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทํา หรือไม่ได้มีการควบคุมทั้งทางตรงและทางอ้อมในทรัพย์สินรอการขายที่ขายไปแล้ว
3.3 สามารถวัดมูลค่าของจํานวนรายได้จากการขายทรัพย์สินรอการขายได้อย่างน่าเชื่อถือ
3.4 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการขายทรัพย์สินรอการขายนั้น
3.5 สามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการขายทรัพย์สินรอการขายนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
4. การบัญชีเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขาย
4.1 การขายทรัพย์สินรอการขายรายการใดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 ให้บันทึกบัญชีเป็นการรับเงินมัดจํา
4.2 นอกเหนือจากการขายทรัพย์สินรอการขายในข้อ 4.3 เมื่อการขายทรัพย์สินรอการขาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี ดังนี้
4.2.1 การขายทรัพย์สินรอการขายให้กับบุคคลทั่วไป สําหรับรายการที่มียอดขายสูงกว่า 10 ล้านบาท ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
(1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระเงินสดแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของราคาขาย
(2) ผู้ซื้อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะชําระราคาทรัพย์สินได้ครบตามจํานวน
สําหรับรายการขายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อ (1) และ (2) ข้างต้นให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระต่อราคาขาย จนกว่าการขายจะเข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อดังกล่าว จึงจะสามารถรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนได้ เช่น ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระเงินสดน้อยกว่าร้อยละ 20 ในครั้งแรกเนื่องจากให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ซื้อเกินกว่าร้อยละ 80 สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องรับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระจนกว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระราคาทรัพย์สินจนถึงร้อยละ 20 แล้ว จึงจะสามารถรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนได้
ทั้งนี้ ในการพิจารณารายการขายทรัพย์สินรอการขายที่มียอดขายสูงกว่า 10 ล้านบาทนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาเป็นรายสัญญาของผู้ซื้อแต่ละราย ซึ่งอาจเป็นการซื้อทรัพย์สินรอการขายรายการเดียวหรือหลายรายการในคราวเดียวกันก็ได้
4.2.2 การขายทรัพย์สินรอการขายให้กับกิจการที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ไม่ใช่กระทรวงการคลังหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติดังนี้
(1) กรณีไม่มีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น
(1.1) กรณีได้รับชําระเป็นเงินสดทั้งจํานวน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน
(1.2) กรณีมีการทยอยรับชําระ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวนเมื่อได้รับชําระเงินสดครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (Cost recovery method)
(2) กรณีมีการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น
(2.1) กรณีมีการกู้ยืมเพื่อชําระราคาทรัพย์สินรอการขายทั้งจํานวนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อได้รับชําระเงินกู้ยืมครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (Cost recovery method)
(2.2) กรณีมีการกู้ยืมเพื่อชําระราคาทรัพย์สินรอการขายไม่เต็มจํานวน
(2.2.1) ส่วนที่ได้รับชําระเป็นเงินสด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ตามสัดส่วนของเงินสดที่ได้รับชําระต่อราคาขาย
(2.2.2) ส่วนที่มีการให้กู้ยืมเงิน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้กําไรเป็นรายได้ทั้งจํานวน เมื่อได้รับชําระเงินกู้ยืมครบถ้วนตามสัญญาแล้ว (Cost recovery method)
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการขายทรัพย์สินรอการขายให้แก่กรรมการผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ไม่ใช่กระทรวงการคลัง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ให้เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง (เมื่อมีการประกาศใช้)
ตัวอย่างวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขายสําหรับกรณีตามข้อ 4.2 แสดงไว้ในเอกสารแนบ 1
4.3 การขายทรัพย์สินรอการขาย และได้รับชําระเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือกระทรวงการคลังถือหุ้นเต็มจํานวน โดยการขายทรัพย์สินรอการขายนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้วให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติ ดังนี้
4.3.1 บันทึกบัญชีตั๋วสัญญาใช้เงินที่ได้รับจากบริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นลูกหนี้อื่นในหัวข้อสินทรัพย์อื่นในงบการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรมที่คํานวณจากกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่กําหนดขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรายได้ ของสภาวิชาชีพบัญชี เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว ถือเป็นการรับชําระหนี้ที่เกิดจากการขายทรัพย์สินรอการขาย ไม่ใช่เงินให้สินเชื่อจากการดําเนินธุรกิจปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเทียบเคียงจาก Yield curve ของพันธบัตรรัฐบาล และหากไม่มีพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุเท่ากับตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้วิธี Interpolate จาก Yield curve ของพันธบัตรรัฐบาล
4.3.2 รับรู้กําไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายเป็นรายได้ทั้งจํานวนเมื่อการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 เนื่องจากบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือกระทรวงการคลังถือหุ้นเต็มจํานวน จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการยกเลิกการขาย และความสามารถในการชําระเงิน
4.4 การขายทรัพย์สินรอการขายโดยที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังมีภาระที่จะต้องดําเนินการ และภาระนั้นมีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญต่อกําไรจากการขายทรัพย์สินรอการขายนั้นเช่น ภาระในการโยกย้ายผู้อยู่อาศัย ภาระในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ในการคํานวณกําไรจากการขายดังกล่าว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหักประมาณการค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นออกจากกําไรจากการขายนั้นก่อน แล้วจึงรับรู้กําไรตามสัดส่วนเช่นเดียวกับการรับรู้กําไรในแต่ละกรณี ทั้งนี้ การประมาณการค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นของสภาวิชาชีพบัญชี
4.5 ในกรณีที่มีรายการขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขาย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้ขาดทุนทั้งจํานวนในงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นทันที
5. การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขาย
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินรอการขายในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
หมวด 2
เงินลงทุน
---------------------------
1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยไม่รวมถึงเงินลงทุนในลูกหนี้
2. การบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ของสภาวิชาชีพบัญชี โดย
2.1 ตราสารหนี้ หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่า ผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นให้แก่ผู้ถือตราสาร ตามจํานวนและเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย ได้แก่ (1) พันธบัตร (2) ตั๋วเงินคลัง (3) ตราสารอื่นที่ออกโดยรัฐบาลไทย องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นการระดมทุน (4) หุ้นกู้ที่ออกเพื่อการระดมทุน (5) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ เพื่อกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร และเพื่อระดมทุนจากประชาชน ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (6) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุน เพื่อระดมทุนจากประชาชน (7 ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธุรกิจอื่น ซึ่งมีลักษณะเป็นการระดมทุนและมีลักษณะคล้ายหุ้นกู้ (8) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (FloatingRate Note: FRN) หรือบัตรเงินฝากที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Certificate of Deposit: FRCD) ตราสารหนี้อื่นใดที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้หรือคล้ายหุ้นกู้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้เสนอขาย (9) ตราสารหนี้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เช่น Credit linked notes และ Structured notes และ (10) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือกระทรวงการคลังถือหุ้นเต็มจํานวน เพื่อชําระค่าโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เป็นต้น
2.2 ตราสารทุน หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่า ผู้ถือตราสารมีความเป็นเจ้าของในส่วนได้เสียคงเหลือของกิจการที่ไปลงทุน ได้แก่ (1) หุ้นสามัญ และ (2) หุ้นบุริมสิทธิ เป็นต้น และให้หมายความรวมถึงตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อตราสารทุนที่อ้างอิง (Underlying asset) ได้แก่ ใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ เป็นต้น
3. การประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการวัดมูลค่ายุติธรรม ของสภาวิชาชีพบัญชี
4. ตราสารทุนที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ในกรณีของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระหนี้เป็นตราสารทุนของลูกหนี้ ซึ่งเกิดจากการแปลงหนี้เป็นทุน และตราสารทุนดังกล่าวมีข้อจํากัดในการถือครองและจําหน่าย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดนโยบายในการถือครองอย่างชัดเจนตั้งแต่วันที่ได้รับตราสารทุนนั้นมาว่าจะถือไว้เป็นเงินลงทุนทั่วไป หรือเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือบริษัทย่อย และบันทึกบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
หมวด 3
การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้
-----------------------
1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
2. การประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้
2.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้โดยใช้วิธีการหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้แต่ละราย โดยอัตราคิดลดอาจคํานวณจากอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ําสําหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (Minimum Loan Rate: MLR) uวก Risk premium ทั้งนี้ ในการคํานวณ Risk premium ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติ อังนี้
2.1.1 แสดงวิธีการคํานวณเนลายลักษณ์อักษร ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถตรวจสอบได้
2.1.2 ให้คํานวณอย่างสมเหตุสมผล และสามารถอ้างอิงได้ เช่น อ้างอิงจากอันดับเครดิต (Credit rating) ของลูกหนี้ ทั้งนี้ MLR บวก Risk premium ที่คํานวณได้จะต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กําหนดให้กับลูกหนี้ปกติทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด
2.1.3 สามารถใช้อัตรา Risk premium เดียวกันสําหรับลูกหนี้ที่มีลักษณะและความเสี่ยงเหมือนกันได้
2.2 กรณีเงินลงทุนในลูกหนี้ที่ไม่สามารถประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตได้ หรือสามารถประมาณการกระแสเงินสดได้ แต่ไม่สามารถหาอัตราคิดลดที่เหมาะสมได้ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติ ดังนี้
2.2.1 กรณีที่มีหลักประกัน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีอํานาจตามกฎหมายในการบังคับหลักประกันของลูกหนี้เพื่อชําระหนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้มูลค่าหลักประกันของลูกหนี้เป็นมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้ได้ โดยการประเมินราคาหลักประกัน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และแนวนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการรับชําระหนี้การประกันการให้สินเชื่อ หรือที่ซื้อจากการขายทอดตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ทั้งนี้ มูลค่าของหลักประกันที่นํามาใช้เป็นมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้จะต้องไม่สูงกว่าเงินต้นคงเหลือตามสัญญาเงินกู้ยืมของลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา
2.2.2 กรณีที่ไม่มีหลักประกัน ให้ถือว่ามูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในลูกหนี้เท่ากับศูนย์
3. การพิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนในลูกหนี้
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาการด้อยค่าของเงินลงทุนในลูกหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ของสภาวิชาชีพบัญชี
4. การรับรู้กําไรจากการโอนเปลี่ยนประเภทระหว่างเงินลงทุนในลูกหนี้และเงินให้สินเชื่อ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถโอนเปลี่ยนประเภทรายการระหว่างเงินลงทุนในลูกหนี้และเงินให้สินเชื่อได้ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกําไรจากการโอนเปลี่ยนประเภทระหว่างเงินลงทุนในลูกหนี้และเงินให้สินเชื่อ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานึงถึงความแน่นอนที่จะได้รับเงินสดในอนาคตประกอบการบันทึกบัญชีรับรู้เป็นรายได้ด้วย
5. หลักเกณฑ์การกํากับดูแลสําหรับลูกหนี้ที่รับซื้อหรือรับโอนมา
5.1 การจัดชั้นและการกันเงินสํารอง
5.1.1 ลูกหนี้ที่จัดประเภทรายการเป็นเงินให้สินเชื่อ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นและกันเงินสํารองในลักษณะเดียวกับเงินให้สินเชื่อทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.1.2 ลูกหนี้ที่จัดประเภทรายการเป็นเงินลงทุน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นและกันเงินสํารองในลักษณะเดียวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2 การกํากับลูกหนี้รายใหญ่
ลูกหนี้ทั้งที่จัดประเภทรายการเป็นเงินให้สินเชื่อและเป็นเงินลงทุน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนํามานับรวมในการคํานวณลูกหนี้รายใหญ่ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
นอกจากนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมโดยเคร่งครัด เช่น ข้อห้ามในการให้สินเชื่อแก่กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว (เมื่อมีการประกาศใช้)
5.3 การบันทึกบัญชีรายได้ดอกเบี้ย
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีรายได้ดอกเบี้ยของลูกหนี้ทั้งที่จัดประเภทรายการเป็นเงินให้สินเชื่อและเป็นเงินลงทุนในลักษณะเดียวกับเงินให้สินเชื่อทั่วไป ตามหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืม ที่กําหนดในหมวด 5 ของประกาศฉบับนี้
หมวด 4
การแปลงค่าเงินสกุลต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาท
---------------------------------------------
1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาท
2. การแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกสกุลให้เป็นสกุลเงินบาท
2.1 รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันที (Spot position)
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแปลงค่า (1) ร้ายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกรายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันที (Spot position) และ (2) งบการเงินของกิจการในต่างประเทศที่จะนํามารวมในการจัดทํางบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ (3) ข้อมูลในชุดข้อมูลสถาบันการเงิน (ข้อมูล Financial Institution (FI) ที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศทันทีในการจัดทํารายงานทุกแบบรายงานที่ต้องนําส่งธนาคารแห่งประเทศไทยทุกวันสิ้นเดือน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยเงินโอน (Average buying rates - transfer) และอัตราขายถัวเฉลี่ย (Average selling rates) ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ([www.bot.or.th](http://www.bot.or.th)) ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินหรือวันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน ทั้งนี้
ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลอัตราซื้อถัวเฉลี่ยเงินโอนและอัตราขายถัวเฉลี่ย สําหรับสกุลเงินใด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายในส่วนของอัตราในตลาดต่างประเทศ ซึ่งได้คํานวณเป็นอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศนั้นต่อสกุลเงินบาทไว้แล้วที่เผยแพรในเว็บไชต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ([www.bot.or.th](http://www.bot.or.th)) ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินหรือวันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน
ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทําธุรกรรมด้วยสกุลเงินต่างประเทศอื่นนอกเหนือจากที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแปลงค่ารายการเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา โดยใช้ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนไขว้ (Cross rate) โดยตรงจากตลาดต่างประเทศที่เชื่อถือได้ เช่น Thomson Reuters, Bloomberg และ Telerate แล้วจึงแปลงค่าเป็นสกุลเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยเงินโอนและอัตราขายถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ซื้อขายกับลูกค้า ที่เผยแพรในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินหรือวันสิ้นเดือนที่จัดทําแบบรายงาน
ทั้งนี้ การใช้ข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนจากตลาดต่างประเทศดังกล่าวต้องเลือกใช้อย่างสม่ําเสมอ และมีหลักฐานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้
2.2 รายการที่เป็นฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแปลงค่าฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในการปิดบัญชีทุกสิ้นเดือน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับระยะเวลาคงเหลือของฐานะหรือสัญญาดังกล่าว ซึ่งจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันหรือไม่ก็ได้
สําหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นในการคํานวณฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีหรือแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนด ดังนี้
2.2.1 ส่วนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Forward contract) ให้ใช้วิธีการ Premium / Discount amortization
2.2.2 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าใน Banking book ให้ใช้วิธี Spot transaction
2.3 รายการที่เป็นตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน
รายการที่เป็นตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศยกเว้นที่กล่าวในข้อ 2.2 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารดังกล่าวตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการวัดมูลค่ายุติธรรม ของสภาวิชาชีพบัญชี
3. การรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ของสภาวิชาชีพบัญชี
หมวด 5
การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมและเงินค่างวดจากการให้เช่าซื้อ
--------------------------------------
1. เกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืม และเงินค่างวด
2. หลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีเป็นรายได้
2.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้างทุกสิ้นเดือน
2.2 กรณีที่ลูกหนี้ค้างชําระดอกเบี้ยหรือเงินค่างวดเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามจํานวนเงินที่ได้รับชําระก็ได้
2.3 กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้รับชําระดอกเบี้ยบางส่วน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนําไปตัดรายการดอกเบี้ยค้างรับที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับรู้เป็นรายได้แล้วในบัญชีแล้วจึงนําไปตัดดอกเบี้ยค้างรับที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้
2.4 กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ระงับการบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามข้อ 4 แล้วสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะสามารถบันทึกบัญชีเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างได้ใหม่ เมื่อลูกหนี้ได้ชําระต้นเงินและดอกเบี้ยที่รับรู้เป็นรายได้แล้ว และที่ยังไม่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ หรือเงินค่างวดที่ค้างชําระทั้งหมดแล้ว
3. การบันทึกบัญชีรายได้สําหรับการให้เช่าซื้อ
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีรายได้จากการให้เช่าซื้อ โดยคํานวณตามวิธีที่กําหนด ในมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
4. การระงับการบันทึกบัญชีเป็นรายได้
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจระงับการบันทึกบัญชีเป็นรายได้ และบันทึกยกเลิกรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืม หรือเงินเบิกเกินบัญชี หรือเงินค่างวดจากการให้เช่าซื้อของลูกหนี้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีเป็นรายได้ไว้แล้วตามข้อ 2 และข้อ 3 ออกจากบัญชี เมื่อลูกหนี้ค้างชําระหรือมีลักษณะดังต่อไปนี้
4.1 เมื่อลูกหนี้เงินให้กู้ยืม หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน ค้างชําระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ
4.2 เมื่อลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีที่ไม่มีวงเงิน หรือถูกยกเลิกวงเงิน หรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน มียอดดอกเบี้ยค้างชําระโดยไม่มีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันที่เริ่มค้างชําระดอกเบี้ย หรือมีเม็ดเงินนําเข้าบัญชีเพื่อชําระดอกเบี้ยเป็นบางส่วน แต่ดอกเบี้ยคงค้างยังเกินกว่า 3 เดือน
4.3 เมื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ค้างชําระเงินค่างวดเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ
4.4 เมื่อลูกหนี้เงินให้กู้ยืม หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการค้ําประกัน หรือลูกหนี้ที่เกิดจากการรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน หรือลูกหนี้เงินเบิกเกินบัญชีค้างชําระดอกเบี้ย หรือลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อค้างชําระเงินค่างวด เป็นระยะเวลารวมกันไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระแต่ถูกจัดชั้นเป็นประเภทสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ หรือสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ตัวอย่างการนับระยะเวลาการบันทึกรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้และการบันทึกยกเลิกรายการดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีเป็นรายได้ไว้แล้วออกจากบัญชีที่เกี่ยวข้อง แสดงไว้ในเอกสารแนบ 2
หมวด 6
การซื้อขายตั๋วเงิน และ ธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance)
---------------------------------------
1. ในหมวดนี้
"ตั๋วเงิน" หมายความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงิน แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงินที่ออกเพื่อการระดมทุนทั่วไป ตามที่กําหนดในข้อ 2.1 ของหมวด 2 เงินลงทุน
2. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการซื้อขายตั๋วเงิน และธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance)
3. การบันทึกบัญชีสําหรับการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน และธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance โดยการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดเอกสารตามเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิต
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีเป็นเงินให้กู้ยืมแก่ลูกหนี้ตามหลักการของมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเป็นอย่างอื่น
4. การบันทึกบัญชีสําหรับการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง สําหรับการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดไว้
ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินโดยผู้ซื้อมีสิทธิไล่เบี้ย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเปิดเผยยอดคงค้างจากการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินดังกล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินในส่วนของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า นอกจากนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรคํานึงถึงภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากรายการดังกล่าว และปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับประมาณการหนี้สินหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ของสภาวิชาชีพบัญชี
หมวด 7
หนี้สูญได้รับคืน
-------------------------------------------------
1. หลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ให้ใช้กับการบันทึกบัญชีรายการหนี้สูญได้รับคืนของลูกหนี้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ทําสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในภายหลังจากการตัดจําหน่ายลูกหนี้เป็นสูญไปแล้ว ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
2. การบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืน
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกหนี้สูญได้รับคืนดังกล่าวข้างต้นเป็นรายได้เท่าที่ได้รับชําระเงินแล้วเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามหลักความระมัดระวัง (Conservatism) และเป็นมาตรฐานเดียวกัน
อย่างไรก็ดี หากผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาว่าหนี้สูญที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วนั้น สามารถรับรู้รายได้ได้ตามหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ ที่กําหนดในกรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงินของสภาวิชาชีพบัญชี ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกรายการหนี้สูญได้รับคืนดังกล่าวเป็นรายได้ได้ทันที
หมวด 8
การนําส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดิน และการจ่ายเงินปันผล
------------------------------------
การนําส่งเงินเป็นรายได้ของแผ่นดิน และการจ่ายเงินปันผล ขอให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายจัดตั้งและตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกําหนด
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,714 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 34/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 34/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.38/14/52 | 55,000 | 16 เมษายน 2552 | 20/4/52 – 4/5/52 | 14 |
| พ.39/15/52 | 50,000 | 17 เมษายน 2552 | 21/4/52 – 6/5/52 | 15 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,715 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 35/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 35/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.40/14/52 | 60,000 | 21 เมษายน 2552 | 23/4/52 – 7/5/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,716 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 36/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 36/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.41/14/52 | 60,000 | 24 เมษายน 2552 | 28/4/52 – 12/5/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,717 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 37/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 37/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.41/14/52 | 40,000 | 28 เมษายน 2552 | 30/4/52 – 14/5/52 | 14 |
| พ.43/14/52 | 55,000 | 29 เมษายน 2552 | 4/5/52 – 18/5/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,718 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2556 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 7 /2556
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์
2. นางภรวดี ตาปสนันทน์
3. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน
6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน
7. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์
8. นายบุญชัย กาญจนพิมาย
9. นายอนันต์ อิงวิยะ
10. นายภูวดล เหล่าแก้ว
11. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา
12. นายพิชิต ภัทรวิมลพร
13. นายธเนศชัย อังวราวงศ์
14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
15. นายชนัช เทียมมณีเนตร
16. นายชุติมา ไชยบุตร
17. นางสุภาวดี ปุณศรี
18. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร
19. นางศรีสกุล รังสิกุล
20. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ
21. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2556
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,719 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 38/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 38/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.44/13/52 | 55,000 | 30 เมษายน 2552 | 6/5/52 – 19/5/52 | 13 |
| พ.45/14/52 | 55,000 | 4 พฤษภาคม 2552 | 7/5/52 – 21/5/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,720 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 39/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 39/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | ประเภทอายุ |
| 18/28/52 | 15,000 | 4 พ.ค. 52 | 7/5/52 - 4/6/52 | 28 วัน |
| 5/91/52 | 6,000 | 4 พ.ค. 52 | 7/5/52 - 6/8/52 | 91 วัน |
| 5/364/52 | 50,000 | 4 พ.ค. 52 | 7/5/52 - 6/5/53 | 364 วัน |
| 19/28/52 | 15,000 | 12 พ.ค. 52 | 14/5/52 - 11/6/52 | 28 วัน |
| 6/91/52 | 6,000 | 12 พ.ค. 52 | 14/5/52 - 13/8/52 | 91 วัน |
| 20/28/52 | 15,000 | 19 พ.ค. 52 | 21/5/52 - 18/6/52 | 28 วัน |
| 5/63/52 | 25,000 | 19 พ.ค. 52 | 21/5/52 - 23/7/52 | 63 วัน |
| 7/91/52 | 6,000 | 19 พ.ค. 52 | 21/5/52 - 20/8/52 | 91 วัน |
| 2/3ปี/2552 | 20,000 | 19 พ.ค. 52 | 21/5/52 - 21/5/55 | 3 ปี |
| 21/28/52 | 15,000 | 26 พ.ค. 52 | 28/5/52 - 25/6/52 | 28 วัน |
| 8/9/52 | 6,000 | 26 พ.ค. 52 | 28/5/52 - 27/8/52 | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/3 ปี/2552 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 15 พ.ค.2552 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 21 พ.ค. และ 21 พ.ย. ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 21 พ.ย. 2552 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 21 พ.ค. 2555 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการ ไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,721 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 40/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 40/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.46/14/52 | 65,000 | 7 พฤษภาคม 2552 | 12/5/52 – 26/5/52 | 14 |
| พ.47/14/52 | 40,000 | 29 พฤษภาคม 2552 | 14/5/52 – 28/5/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,722 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 41/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 41/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.48/14/52 | 65,000 | 14 พฤษภาคม 2552 | 18/5/52 – 1/6/52 | 14 |
| พ.49/14/52 | 65,000 | 15 พฤษภาคม 2552 | 19/5/52 – 2/6/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,723 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 27/2562 เรื่อง การจัดทำและการประกาศงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 27 /2562
เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
งบการเงินเป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินที่สําคัญเพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ หน่วยงานกํากับดูแลและสาธารณชนทั่วไปโดยหากมีการแสดงรายการและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินที่แตกต่างกัน อาจมีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากงบการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กําหนดรูปแบบงบการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งใช้รูปแบบงบการเงินที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเปรียบเทียบกันได้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการกํากับดูแลและการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงิน
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยมีการปรับปรุงสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ได้แก่ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดทําหมายเหตุประกอบงบการเงินรายไตรมาสให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนําไปปฏิบัติ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การจัดทําและการประกาศงบการเงิน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส. 1/2559 เรื่อง การจัดทําและการประกาศงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"ธุรกรรมนโยบายรัฐ" หมายความว่า ธุรกรรมนโยบายรัฐตามที่กําหนดในแนวปฏิบัติของสํานักงานเศรษฐกิจการคลังว่าด้วยการแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2 หลักเกณฑ์
5.2.1 การจัดทํางบการเงิน
(1) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทํางบการเงิน ประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของงบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน รวมทั้งจัดทํางบการเงินเปรียบเทียบกับงวดก่อนด้วยทั้งนี้ ให้มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยตามรายการที่กําหนด
(2) การจัดทํางบการเงินดังกล่าวตามข้อ (1) ให้เป็นไปโดยครบถ้วนถูกต้องตามความเป็นจริง และเป็นไปตามคําอธิบายความหมายของรายการตามเอกสารแนบ 1 (กรณีธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ให้ดําเนินการตามข้อ 5.2.6 ประกอบด้วย โดยให้ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ในกรณีที่การจัดทําบัญชีในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ครอบคลุมถึงให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติ โดยให้เปิดเผยถึงที่มาของหลักการบัญชีที่นํามาใช้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินในส่วนของนโยบายการบัญชี ทั้งนี้ การนํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชีที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติไม่ให้นํามาใช้เฉพาะบางส่วน แต่จะต้องนํามาใช้ทั้งฉบับ เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อกําหนดอื่น ๆ ของสภาวิชาชีพบัญชีหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
ในการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน สําหรับการจัดทํางบการเงินและเพื่อการปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้ถือปฏิบัติตามนโยบายที่กระทรวงการคลังกําหนด
(3) หมายเลขกํากับรายการที่ปรากฎในแบบงบการเงิน มีไว้เพื่อสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ต้องแสดงในการจัดทํางบการเงิน
(4) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแสดงรายการในงบการเงินตามแบบที่กําหนดไว้ หากไม่มีรายการใดก็ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นที่จะใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในแบบงบการเงินที่กําหนดก็สามารถกระทําได้ แต่การใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้สาระสําคัญของรายการแตกต่างไปจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือหากมีรายการที่ต้องการนําเสนอนอกเหนือจากแบบที่กําหนดไว้ ให้แสดงรายการนั้นได้ตามความจําเป็นและเหมาะสมแก่กรณี เช่น ตามแบบงบการเงินกําหนดให้แสดงรายการใดเพียงรายการเดียว แต่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องการแสดงรายละเอียดภายใต้รายการนั้นก็สามารถกระทําได้ แต่ต้องแสดงรายการให้ถูกต้องตามประเภทและลักษณะของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้หรือค่าใช้จ่ายนอกจากนี้ ในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดให้มีการแสดงรายการใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในแบบงบการเงิน หรือในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขซึ่งเป็นผลให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการแสดงรายการจากที่กําหนดในแบบงบการเงิน ให้แสดงรายการนั้นเพิ่มเติมตามที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนด
ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจประสงค์ที่จะนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน มาถือปฏิบัติใช้ก่อนที่กระทรวงการคลังกําหนด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหารือรูปแบบงบการเงินกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีต่อไป
(5) สําหรับรอบบัญชีแรกที่จัดทํางบการเงินตามประกาศฉบับนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดประเภทรายการหรือรูปแบบงบการเงินที่จะนํามาเปรียบเทียบให้สอดคล้องกับประกาศฉบับนี้ด้วย เว้นแต่ในทางปฏิบัติจะไม่สามารถทําได้และได้หารือกับผู้สอบบัญชีแล้ว
5.2.2 การกําหนดจํานวนหน่วยในการจัดทํางบการเงิน
การกําหนดหน่วยในสกุลเงินบาท ให้แสดงเป็นหน่วยของหลักพันบาท (ไม่ต้องมีทศนิยม) ในการจัดทํางบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสด สําหรับการจัดทําหมายเหตุประกอบงบการเงิน ให้สามารถเลือกแสดงหน่วยในสกุลเงินบาทตามที่ต้องการได้ โดยต้องระบุหน่วยในสกุลเงินบาทที่ใช้ในแต่ละที่ให้ชัดเจนและสามารถกระทบยอดกับรายการที่ปรากฏในงบการเงินได้
5.2.3 ระยะเวลาในการจัดทํางบการเงิน
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทํางบการเงินรายไตรมาส และงบการเงินประจําปีทุกรอบระยะเวลา 12 เดือน อันเป็นรอบปีบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น
5.2.4 การจัดทํางบการเงินรวม
ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีบริษัทย่อย ให้จัดทํางบการเงินรวมเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ คํานิยามของบริษัทย่อยและการแสดงรายการเพิ่มเติมสําหรับการจัดทํางบการเงินรวมให้ถือปฏิบัติตามที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินว่าด้วยงบการเงินรวม รวมถึงมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกําหนด และหาสถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ได้นําบริษัทย่อยใดมารวมในงบการเงินรวม ให้แจ้งเหตุผลถึงการไม่นํามารวม พร้อมทั้งเปิดเผยผลกระทบและเปิดเผยงบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย
5.2.5 การประกาศงบการเงิน
(1) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประกาศงบการเงิน ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1.1) งบการเงินรายไตรมาส
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประกาศงบการเงินรายไตรมาสที่ผ่านการสอบทานของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น และเสนอต่อฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยจะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับจากวันสิ้นสุดไตรมาสนั้น
(1.2) งบการเงินประจําปี
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประกาศงบการเงินประจําปีที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งให้เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และเสนอต่อฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน นับจากวันสิ้นปีบัญชีนั้น
ทั้งนี้ การประกาศงบการเงินตามสื่อต่าง ๆ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด จะต้องเป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย
(2) การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามที่กําหนดในข้อ (1.2 ให้หมายถึงเฉพาะรายงานของผู้สอบบัญชีงบแสดงฐานะการเงิน และงบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากรายงานของผู้สอบบัญชีมีการอ้างถึงหมายเหตุประกอบงบการเงินใดโดยไม่ระบุจํานวนเงินที่เกี่ยวข้องในรายงานผู้สอบบัญชี ให้แสดงหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีอ้างถึงนั้นไว้ด้วย สําหรับการประกาศงบการเงินในเว็บไซต์ (Website) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และการเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในข้อ (1) ให้หมายถึงรายงานของผู้สอบบัญชี งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินทั้งหมด
(3) การประกาศงบการเงินไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ สํานักงานสาขา รวมถึงการประกาศงบการเงินในเว็บไซต์ (Website) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามที่กําหนดในข้อ (1) อย่างน้อยให้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีปัจจุบันไว้จนกว่าจะได้ประกาศงบการเงินสําหรับงวดบัญชีถัดไป อย่างไรก็ตาม การประกาศงบการเงินไว้หลายงวดบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบกันได้ของงบการเงิน จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินได้ดียิ่งขึ้น
(4) ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการจัดทํางบการเงินรวมการดําเนินการตามข้อ (1) ให้หมายความรวมถึงงบการเงินรวมด้วย
5.2.6 การจัดทํางบการเงินของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
สําหรับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบธุรกิจทางการเงินตามหลักการของศาสนาอิสลาม ในการจัดทํางบการเงิน เฉพาะรายการดังต่อไปนี้ ให้แสดงตามแบบงบการเงินที่กําหนดในเอกสารแนบ 2
(1) งบแสดงฐานะทางการเงิน
(2) งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
(3) งบกระแสเงินสด
(4) หมายเหตุประกอบงบการเงิน หัวข้อ 5.4 ข้อมูลเพิ่มเติมเฉพาะในหัวข้อ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ (สินทรัพย์)
ข้อ 2 ตราสารอนุพันธ์ เฉพาะข้อ 2.1 ตราสารอนุพันธ์เพื่อค้า ข้อ 2.2 ตราสารอนุพันธ์เพื่อการป้องกันความเสี่ยง ตารางที่ 1 การป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม และตารางที่ 2 การป้องกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด
ข้อ 5 เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และรายได้ทางการเงินค้างรับสุทธิเฉพาะตารางที่ 5.1 เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และรายได้ทางการเงินค้างรับสุทธิ จําแนกตามประเภทสินเชื่อตารางที่ 5.4 เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และรายได้ทางการเงินค้างรับสุทธิ จําแนกตามการจัดชั้น
ข้อ 16 ตราสารหนี้ที่ออกและเงินกู้ยืม
ข้อ 29 ฐานะและผลการดําเนินงานที่สําคัญจําแนกตามธุรกรรมในประเทศและต่างประเทศ เฉพาะตาราง ที่ 29.1 ฐานะจําแนกตามประเภทธุรกรรม และ ตาราง 29.2 ผลการดําเนินงานจําแนกตามประเภทธุรกรรม
ข้อ 30 รายได้ทางการเงิน
ข้อ 31 ค่าใช้จ่ายทางการเงิน
ข้อ 33 กําไร (ขาดทุน) สุทธิจากธุรกรรมเพื่อค้าและปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
ข้อ 34 กําไร (ขาดทุน) สุทธิจากหนี้สินทางการเงินที่กําหนดให้แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม
ข้อ 37 ธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) เฉพาะตารางที่ 37.1 ข้อมูลสรุปสําหรับการดําเนินธุรกรรมนโยบายรัฐ ตารางที่ 37.6 รายได้จากธุรกรรมนโยบายรัฐ และ ตารางที่ 37.7 ค่าใช้จ่ายจากธุรกรรมนโยบายรัฐ
ในกรณีที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยไม่มีรายการตามแบบงบการเงินรายการใด ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าว ทั้งนี้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปจากแบบงบการเงินที่ระบุไว้ได้หากมีความจําเป็นโดยการใช้ถ้อยคําที่แตกต่างไปดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้สาระสําคัญของรายการแตกต่างไปจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือหากมีรายการที่ต้องการนําเสนอนอกเหนือจากแบบที่กําหนดไว้ให้แสดงรายการนั้นได้ตามความจําเป็นและเหมาะสมแก่กรณี
ทั้งนี้ ในกรณีที่รายการใดที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยสามารถพิจารณาเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินงวดไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติบระภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,724 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 42/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 42/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.50/14/52 | 65,000 | 19 พฤษภาคม 2552 | 21/5/52 – 4/6/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,725 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 43/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนพฤษภาคม ปี 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 43/2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม ปี 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 3 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม ปี 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนพฤษภาคม ปี 2552 (รุ่นที่ 2/ 3 ปี/2552) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/3 ปี /2552 ที่จะประมูลในวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 เท่ากับร้อยละ 1.65 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,726 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 44/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 44/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.51/14/52 | 70,000 | 22 พฤษภาคม 2552 | 26/5/52 – 9/6/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,727 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 45/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 45/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.52/14/52 | 50,000 | 26 พฤษภาคม 2552 | 28/5/52 – 11/6/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,728 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 47/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 47/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.53/14/52 | 60,000 | 28 พฤษภาคม 2552 | 1/6/52 – 15/6/52 | 14 |
| พ.54/14/52 | 60,000 | 29 พฤษภาคม 2552 | 2/6/52 – 16/6/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,729 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 28/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 28 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ
(Public Service Account: PSA)
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ด้วยสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีพันธกิจในการเป็นกลไกของภาครัฐเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือกลุ่มประชาชนและกลุ่มธุรกิจที่มีเป้าหมายเฉพาะ เช่น ประชาชนหรือธุรกิจที่อาจได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่าง ๆ ประชาชนหรือธุรกิจรายย่อยที่ต้องการแหล่งเงินทุนสําหรับการประกอบอาชีพซึ่งการดําเนินโครงการเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอาจมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรนกว่าการดําเนินธุรกรรมตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเกี่ยวกับการดําเนินธุรกรรมนโยบายรัฐ แยกจากการดําเนินธุรกรรมตามปกติของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อให้เกิดความโปร่งใสในการกํากับดูแล การตรวจสอบและการประเมินผลการปฏิบัติงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกํากับดูแลของภาครัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้การทําหน้าที่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) สามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการออกประกาศฉบับนี้เพื่ออ้างอิงอํานาจตามกฎหมายให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยสาระสําคัญของหลักเกณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักเกณฑ์เดิม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 18/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลธุรกรรมนโยบายรัฐ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"ธุรกรรมนโยบายรัฐ" หมายความว่า ธุรกรรมนโยบายรัฐตามที่กําหนดในแนวปฏิบัติของสํานักงานเศรษฐกิจการคลังว่าด้วยการแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
"ลูกหนี้บุคคล" หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ได้รับสินเชื่อตามธุรกรรมนโยบายรัฐ
"ลูกหนี้รอการชดเชยจากรัฐบาลตามธุรกรรมนโยบายรัฐ" หมายความว่า สิทธิที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะได้รับการชดเชยความเสียหายจากรัฐบาลตามที่ระบุไว้ในมติคณะรัฐมนตรีหรือหนังสือสั่งการจากรัฐบาลเป็นลายลักษณ์อักษร จากการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นได้ดําเนินธุรกรรมนโยบายรัฐ
5.2 หลักเกณฑ์
5.2.1 กระบวนการด้านสินเชื่อ
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดนโยบายหรือแนวทางการพิจารณาสินเชื่อและกระบนการด้านสินเชื่อสําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐ โดยถือปฏิบัติให้สอดคล้องกับคุณสมบัติหรือประเภทของผู้ที่จะเข้าร่วมธุรกรรมนโยบายรัฐตามที่ระบุในมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ กระบวนการด้านสินเชื่อหมายรวมถึงการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อและการสอบทานธุรกรรมด้านสินเชื่อ
5.2.2 การจัดชั้นสินทรัพย์ การกันเงินสํารอง และการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นสินทรัพย์และกันเงินสํารอง รวมทั้งคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐ ดังนี้
5.2.2.1 ส่วนที่ไม่มีการชดเชยความเสียหายตามมติคณะรัฐมนตรี
(1) การจัดชั้นและกันเงินสํารอง: ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นและกันเงินสํารองลูกหนี้บุคคลตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(2) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง: ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2.2.2 ส่วนที่มีการชดเชยความเสียหายตามมติคณะรัฐมนตรี
(1) การจัดชั้นและกันเงินสํารอง: ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดชั้นลูกหนี้บุคคลหรือลูกหนี้รอการชดเชยจากรัฐบาลเป็นปกติ โดยไม่ต้องกันเงินสํารอง เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยความเสียหายให้
(2) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยง: ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยถือว่าเป็นลูกหนี้ที่ได้รับการค้ําประกันโดยรัฐบาลหรือลูกหนี้รัฐบาลแล้วแต่กรณี
5.2.3 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้สําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐ โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2.4 การประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้สําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐ โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายการประเมินราคาหลักประกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ยกเว้นกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีประเภทหลักประกันแตกต่างจากที่กําหนดในแนวนโยบายดังกล่าว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี
5.2.5 สินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจพิจารณาสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme สําหรับธุรกรรมนโยบายรัฐโดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสินเชื่อที่ได้รับการค้ําประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแบบ Portfolio Guarantee Scheme ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2.6 หลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ต้องนําธุรกรรมการให้สินเชื่อ ก่อภาระผูกพันหรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อภายใต้ธุรกรรมนโยบายรัฐตามประกาศฉบับนี้มารวมคํานวณอัตราการกํากับลูกหนี้รายใหญ่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2.7 การบันทึกบัญชี
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบันทึกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐแยกจากบัญชีการดําเนินธุรกรรมตามปกติ โดยให้ปฏิบัติตามหลักการของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี รวมทั้งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง หากไม่มีมาตรฐานการบัญชีหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินใดกําหนดแนวปฏิบัติไว้ให้นํามาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศหรือมาตรฐานการบัญชีเป็นที่ยอมรับทั่วไปมาถือปฏิบัติ
5.2.8 การจัดทําและการประกาศงบการเงิน
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทําและการประกาศงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแสดงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมนโยบายรัฐไว้เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น โดยต้องเปิดเผยรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐไว้เป็นรายการแยกต่างหากในหมายเหตุประกอบงบการเงินตามที่ระบุในประกาศฉบับดังกล่าว
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
ธุรกรรมนโยบายรัฐที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจดําเนินการก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ โดยเป็นโครงการนโยบายรัฐตามแนวปฏิบัติของกระทรวงการคลัง เรื่อง การแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งจะรวมถึงโครงการนโยบายรัฐที่ดําเนินการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหลังวันที่ 5 สิงหาคม 2552 ด้วย ให้ถือเป็นโครงการนโยบายรัฐตามประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,730 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 8 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.5/14/56 | 30,000 | 1 กุมภาพันธ์ 2556 | 5/2/56 – 19/2/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,731 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 48/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 48/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ดังนี้
| | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | ประเภทอายุ |
| 22/28/52 | - | 12,000 | 2 มิ.ย 52 | 4/6/52-2/7/52 | 28 วัน |
| 9/91/52 | - | 6,000 | 2 มิ.ย 52 | 4/6/52 --3/9/52 | 91 |
| 23/28/52 | - | 12,000 | 9 มิ.ย 52 | 11/6/52-9/7/52 | 28 วัน |
| 10/91/52 | - | 6,000 | 9 มิ.ย 52 | 11/6/52-10/9/52 | 91 วัน |
| 1/FRB3ปี/2552 | 6M BIBOR-0.20(= 1.69375%สําหรับงวดเริ่มต้น 17 มี.ค .52 | 5,000 | 12 มิ.ย 52 | 16/6/52-17/3/55 | 2.75 ปี |
| 24/28/52 | - | 12,000 | 16 มิ.ย 52 | 18/6/52-16/7/52 | 28 วัน |
| 11/91/52 | - | 6,000 | 16 มิ.ย 52 | 18/6/52-17/9/52 | 91 วัน |
| 6/364/52 | - | 50,000 | 16 มิ.ย 52 | 18/6/52 - 17/6/53 | 364 วัน |
| 25/28/52 | - | 12,000 | 23 มิ.ย 52 | 25/6/52 - 23/7152 | 28 วัน |
| 6/63/52 | - | 25,000 | 23 มิ.ย 52 | 25/6/52 -27/8/52 | 63 วัน |
| 12/91/52 | - | 6,000 | 23 มิ.ย 52 | 25/6/52 -24/9/52 | 91 วัน |
| 3/2ปี/2552 | - | 20,000 | 23 มิ.ย 52 | 25/6/52-25/6/54 | 2 ปี |
| 26/28/52 | - | 12,000 | 29 มิ.ย 52 | 2/7/52 -30/7152 | 28 วัน |
| 13/91/52 | - | 6,000 | 29 มิ.ย 52 | 2/7/52 - 1/10/52 | 91 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/2 ปี/2552 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 19 มิ.ย.2552 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 25 มิ.ย และ 25 ธ.ค. ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 25 ธ.ค. 2552 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 25 มิ.ย 2554 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการ ไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,732 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2556 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 8 /2556
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางภรวดี ตาปสนันทน์
2. นางวาสนา นิมิตยงสกุล
3. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน
6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2556
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,733 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 49/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 49/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.55/14/52 | 65,000 | 2 มิถุนายน 2552 | 4/6/52 – 18/6/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,734 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 29/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ (Business Facilitator) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 29 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ
(Business Facilitator) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เนื่องด้วยรูปแบบการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้นําเทคโนโลยีใหม่มาใช้และใช้บริการจากผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ (Business Facilitator) เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกและทั่วถึงยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนดําเนินการ เพิ่มความคล่องตัวในการดําเนินธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้ดีขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงประโยชน์ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะได้รับจากการใช้บริการจาก Business Facilitator จึงกําหนดหลักเกณฑ์กํากับดูแลการใช้บริการจาก Business Facilitator ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นระบบและสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจ ตลอดจนมีแนวทางการคุ้มครองผู้ใช้บริการที่ชัดเจน
อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเสมือนหนึ่งเป็นผู้ดําเนินการเอง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจควรมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมดูแล Business Facilitator ในเรื่องสําคัญ 3 ด้าน ได้แก่ (1) การประเมินและการบริหารความเสี่ยงจากการใช้บริการจาก Business Facilitator (Risk management) (2) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและการให้บริการแก่ลูกค้า (Business continuity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีแผนการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business continuity plan) รองรับกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติและ (3) การคุ้มครองผู้ใช้บริการ (Consumer protection โดยเน้นให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยและความลับของข้อมูลของผู้ใช้บริการ รวมทั้งการดูแลเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาแก่ผู้ใช้บริการด้วย
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การใช้บริการจาก Business Facilitator ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
4.1 หลักการ
เพื่อให้การทําหน้าที่ตามพันธกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจควรส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกและทั่วถึงยิ่งขึ้น และสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถบริหารจัดการต้นทุนดําเนินการได้อย่างเหมาะสม โดยการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจต้องเป็นไปตามขอบเขตธุรกิจที่กฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งกําหนดไว้ รวมทั้งหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจาก Business Facilitator ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดขึ้นซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการบริหารจัดการและการควบคุมดูแลที่ดี โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ในการพิจารณา อนุมัติ และติดตามดูแลการดําเนินการตามนโยบายและแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ ซึ่งรวมถึงนโยบายบริหารความเสี่ยง และการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้มีความเหมาะสม รัดกุม และเป็นธรรม
แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจได้ อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังต้องดําเนินการเองในงานที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เว้นแต่มีเหตุผลและความจําเป็นที่ต้องใช้บริการจาก Business Facilitator หรือหากประสงค์จะใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจในกลุ่มงานอื่นที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตตามที่หลักเกณฑ์ฉบับนี้กําหนด ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นรายกรณีหรือรายรูปแบบธุรกรรมได้ พร้อมส่งรายละเอียดรูปแบบธุรกรรมหรือแผนงานที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องการจะดําเนินการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาภายใต้หลักการ 3 ด้าน ได้แก่ (1) การประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบด้านและแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าว (2) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจและการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ โดยมีแผนรองรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และ (3) การคุ้มครองผู้ใช้บริการ
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการเสมือนสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ดําเนินการเอง โดยเฉพาะธุรกรรมที่มีผลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ (Finality) ซึ่งต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันกับการที่ผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทําธุรกรรมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจเอง นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้กําหนดคุณสมบัติของ Business Facilitator และหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองผู้ใช้บริการเพิ่มเติมในการให้บริการดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้บริการจะได้รับการดูแลและความเป็นธรรมจากการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ
4.2 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"ผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ (Business Facilitator)" หมายความว่าบุคคลอื่นที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทําสัญญาว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้งเพื่อดําเนินการแทนทั้งหมดหรือบางส่วนในงานที่ปกติสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดําเนินการเอง ซึ่งหมายรวมถึงผู้รับจ้างช่วงงานต่อ (Subcontract) และบุคคลธรรมดาที่ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจภายใต้ข้อกําหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย
"การใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ" หมายความว่า การที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้งผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจดําเนินการแทนทั้งหมดหรือบางส่วนในงานที่ปติสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดําเนินการเอง
"งานสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) งานหลักที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เช่น งานที่เกี่ยวกับการตัดสินใจหรือการทําธุรกรรม งานวิเคราะห์เชิงลึก งานที่เกี่ยวกับการติดตาม การตรวจสอบ และการสอบทานในขั้นตอนสุดท้ายก่อนการตัดสินใจทําธุรกรรมและภายหลังการอนุมัติหรือการทําธุรกรรม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อฐานะดําเนินงาน และความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงงานที่หลักเกณฑ์ทางการกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องดําเนินการเองเท่านั้น
(2) งานบริการทางการเงิน ได้แก่ การรับฝากเงิน การรับถอนเงิน การจ่ายเงินสําหรับผู้ใช้บริการรายย่อย การจ่ายเงินสําหรับผู้ใช้บริการรายใหญ่ การรับชําระเงิน โดยมีลักษณะการให้บริการ ดังนี้
"การรับฝากเงิน" หมายความว่า การให้บริการรับฝากเงินสดเข้าบัญชีเงินฝากแทนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อนําเข้าบัญชีเงินฝากของลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เปิดไว้แล้ว
"การรับถอนเงิน" หมายความว่า ให้บริการรับถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เปิดไว้แล้ว แทนสถาบันการเงินเฉพาะกิจสําหรับรายการที่มีจํานวนเงินไม่สูงมากนัก (Petty cash)
"การจ่ายเงินสําหรับผู้ใช้บริการรายย่อย" หมายความว่า การให้บริการจ่ายเงินให้แก่บุคคลตามคําสั่งและเงื่อนไขที่ได้รับจากสถาบันการเฉพาะกิจที่เป็นผู้แต่งตั้ง สําหรับรายการที่มีจํานวนเงินไม่สูงมากนัก (Petty cash)
"การจ่ายเงินสําหรับผู้ใช้บริการรายใหญ่" หมายความว่า การให้บริการจ่ายเงินหรือแคชเชียร์เช็คให้แก่บุคคลตามคําสั่งและเงื่อนไขที่ได้รับจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นผู้แต่งตั้งเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกิจหรือการค้าของผู้ใช้บริการที่เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นผู้แต่งตั้ง ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการดังกล่าวจะต้องเป็นนิติบุคคล องค์กร หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธุรกิจ SMEs) เท่านั้น ส่วนผู้รับเงินจะเป็นบุคคลใดก็ได้
"การรับชําระเงิน" หมายความว่า การให้บริการรับชําระหนี้สินเชื่อ บัตรเครดิตค่าสาธารณูปโภค ค่าสินค้าและบริการ หรือการเติมมูลค่าเงินอิเล็กทรอนิกส์แทนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
"งานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงิน" หมายความว่า งานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดําเนินธุรกิจสถาบันการเงิน (Banking business) ซึ่งไม่ใช่งานสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน เช่น งานจัดหาหรีอวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจ งานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลผู้ใช้บริการ ข้อมูลและสินทรัพย์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางการ
"งานสนับสนุนทั่วไป" หมายความว่า งานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดําเนินธุรกิจสถาบันการเงิน (Non-banking business) เช่น งานอํานวยความสะดวกทั่วไปและงานด้านธุรการ เป็นต้นและงานที่มีความเสี่ยงต่ําอื่น ๆ ตามที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบ 1 ซึ่งไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้
"คณะกรรมการ " หมายความว่า คณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
4.3 หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้บริการจาก Business Facilitator และ Subcontract
สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้ง Business Facilitator และ Subcontract เพื่อให้ดําเนินการในงานสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน และงานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงินได้ แล้วแต่กรณี ตามตัวอย่างงานในเอกสารแนบ 2 โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ รวมทั้งควบคุมดูแลให้ Business Facilitator และ Subcontract ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ด้วย (ภาพรวมรายละเอียดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจาก Business Facilitator และ Subcontract ตามเอกสารแนบ 3)
ทั้งนี้ ในกรณีที่ Business Facilitator ว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้ง Subcontract เพื่อให้ดําเนินการในบางส่วนหรือทั้งหมดของบริการ ต้องมีข้อกําหนดให้ Subcontract ในทุกทอดได้รับความเห็นชอบจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนดําเนินการด้วย
อนึ่ง หากงานที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจประสงค์จะใช้บริการจาก Business Facilitator เข้าข่ายมีหลายกลุ่มงานประกอบกัน สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องพิจารณาจัดกลุ่มงานโดยยึดหลักการที่เข้มงวดกว่า
4.3.1 งานสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน
(1) งานหลักที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเป็นงานที่มีความสําคัญต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ดําเนินการเองอย่างไรก็ดี กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีเหตุผลและความจําเป็นที่จะต้องใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจในกลุ่มงานนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถว่าจ้างมอบหมาย หรือแต่งตั้ง Business Facilitator และ Subcontract เฉพาะที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้นโดยให้ยื่นขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยชี้แจงเหตุผลและความจําเป็น พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามเอกสารแนบ 4
(2) งานบริการทางการเงิน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินตามกรอบพันธกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถใช้บริการจาก Business Facilitator และ Subcontract ในการให้บริการทางการเงินแทนได้ โดยมีหลักการสําคัญคือ ธุรกรรมที่ทําโดย Business Facilitator และ Subcontract ต้องมีผลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ (Finality) ของธุรกรรมที่เหมือนกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นผู้ให้บริการเอง ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่จะใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจในกลุ่มงานนี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเพิ่มเติมตามเอกสารแนบ 5
นอกจากนี้ หาก Business Facilitator และ Subcontract มีการให้บริการทางการเงินนอกสถานที่ทําการของตน สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องควบคุมดูแลให้ Business Facilitator และ Subcontract ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในส่วนของการประกอบการนอกสถานที่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอย่างอื่น
หลักเกณฑ์การอนุญาตเพื่อใช้บริการ Business Facilitator และ Subcontract
และเงื่อนไขในการให้บริการงานบริการทางการเงิน
| | | |
| --- | --- | --- |
| บริการ | บุคคลที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้งให้เป็นBusiness Facilitator และ Subcontract | เงื่อนไขการให้บริการ |
| ธนาคารพาณิชย์/สถาบันการเงินเฉพาะกิจ | บริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด | ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้กฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน | นิติบุคคล | บุคคลธรรมดา | อื่น ๆ |
| การรับฝากเงิน | ü | ü | ขออนุญาตเป็นรายกรณี | | - |
| การรับถอนเงิน | ü | ü | ยอดเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการและไม่เกิน 20,000 บาทต่อวันต่อรายผู้ใช้บริการ |
| การจ่ายเงินสําหรับผู้ใช้บริการรายย่อย | ü | ü |
| การจ่ายเงินสําหรับผู้ใช้บริการรายใหญ่ | ü | | - |
| การรับชําระเงิน | ü | ü | ü | ü | ü | กรณีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาต้องเป็นตัวแทนภายใต้กฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน หากมิใช่ตัวแทนตามกฎหมายดังกล่าว ให้ขออนุญาตเป็นรายกรณี |
| อื่น ๆ | ขออนุญาตเป็นรายกรณี | |
หมายเหตุ: ü หมายถึง ดําเนินการได้เป็นการทั่วไป โดยไม่ต้องขออนุญาต
4.3.2 งานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจสําหรับงานบางประเภทตามที่ระบุในเอกสารแนบ 2 โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้
4.3.3 การขออนุญาตเพื่อใช้บริการจาก Business Facilitator และ Subcontract ในกรณีอื่น
หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจประสงค์จะว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้ง Business Facilitator และ Subcontract ซึ่งต่างจากบุคคลที่กําหนดในข้างต้น หรือมีคุณสมบัติที่ต่างจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือเข้าข่ายต้องขออนุญาตก่อนดําเนินการตามข้อ 4.3.1 และข้อ 4.3.2 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยให้ชี้แจงเหตุผลและความจําเป็น พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามเอกสารแนบ 4
ทั้งนี้ ในการขออนุญาตข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาคําขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขออนุญาตและเอกสารถูกต้องครบถ้วน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ก็ได้
4.4 หลักเกณฑ์กํากับดูแลการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ
4.4.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
(1) อนุมัตินโยบายการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับพันธกิจ แผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และความเสี่ยง (Risk appetite) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้ง ติดตามดูแลให้มีการนํานโยบายดังกล่าวไปกําหนดกระบวนการและวิธีปฏิบัติในการให้บริการ การบริหารความเสี่ยง และการดูแลผู้ใช้บริการและวิธีปฏิบัติ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะงานที่มีการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ
(2) ดูแลให้คณะกรรมการชุดอื่นหรือคณะผู้บริหารระดับสูงกําหนดกระบวนการและวิธีปฏิบัติให้เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ ต้องกําหนดให้มีผู้บริหารและพนักงานที่รับผิดชอบในการดําเนินการตามนโยบาย กระบวนการ และวิธีปฏิบัติที่วางไว้ รวมทั้งมีการสื่อสารให้ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบเกี่ยวกับนโยบาย กระบวนการ และวิธีปฏิบัติดังกล่าวอย่างทั่วถึงและชัดเจน เช่น จัดให้มีคู่มือหรือแนวปฏิบัติที่ดีในการดําเนินงาน เป็นต้น นอกจากนี้คณะกรรมการต้องดูแลให้ฝ่ายบริหารดําเนินการตามนโยบาย กระบวนการ และวิธีปฏิบัติที่ได้อนุมัติไว้ด้วย
(3) ทบทวนและประเมินประสิทธิภาพของนโยบาย กระบวนการ และวิธีปฏิบัติที่กําหนดข้างตันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลกระทบต่อการให้บริการของ Business Facilitator อย่างมีนัยสําคัญ เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ใช้ในการให้บริการ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ เป็นต้น
(4) ดูแลให้มีการกําหนดกระบวนการทํางานและวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับพันธกิจ แผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และความเสี่ยง (Risk appetite) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(5) ดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามประกาศ แนวนโยบายแนวปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
4.4.2 การกําหนดนโยบายการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกําหนดนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังนี้
(1) ขอบเขตและลักษณะงานที่ใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจแนวทางการคัดเลือกและคุณสมบัติของ Business Facilitator และ Subcontract รวมถึงการติดตามประเมินผล และตรวจสอบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ Business Facilitator และ Subcontract ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบ 6
(2) ขอบเขตความรับผิดชอบของฝ่ายงานที่มีหน้าที่พิจารณาตัดสินใจในการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ รวมถึงจัดทํานโยบายรองรับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโดยอย่างน้อยต้องมีแผนการบริหารจัดการในช่วงการเปลี่ยนแปลงจากการดําเนินการเองมาเป็นการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ หรือกรณีเลิกใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ และต้องมีแผนที่รองรับผลกระทบการปรับอัตรากําลัง การเลิกจ้าง หรือกรณีมีการต่อต้านจากพนักงานที่อาจได้รับผลกระทบ
(3) แนวทางการบริหารความเสี่ยงจากการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ ซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดให้มีแนวทางดังกล่าวที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวมขององค์กร และควรครอบคลุมถึงเรื่องการระบุ ประเมิน ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและครบถ้วน อีกทั้ง ยังต้องปฏิบัติตามรายละเอียดในข้อ 4.4.3 ด้วย โดยตัวอย่างความเสี่ยงที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรคํานึงถึง ได้แก่
(3.1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
(3.2) ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง
(3.3) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งหมายรวมถึง ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ความเสี่ยงด้านข้อสัญญาและข้อตกลง ความเสี่ยงด้านการเข้าถึงข้อมูล ความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัว และผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงินโดยรวม
ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการใช้บริการจาก Business Facilitator ในต่างประเทศ จะต้องมีแนวทางในการบริหารความสี่ยงสําหรับความเสี่ยงจากสภาวะแวดล้อมในต่างประเทศนั้นด้วย เช่น การเมือง สังคม กฎหมาย เป็นต้น
(3.4) ความสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(4) การควบคุมภายใน สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีระบบและกระบวนการควบคุมภายในที่เหมาะสมกับนโยบายและกลยุทธ์ โดยต้องมีการสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง รวมทั้งติดตามการปฏิบัติตามระบบและกระบวนการดังกล่าวตลอดจนรายงานให้คณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องทราบถึงข้อบกพร่องของระบบและกระบวนการควบคุมภายใน เพื่อให้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
(5) ความปลอดภัยในการให้บริการ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดให้มีแนวทางและมาตรการรักษาความปลอดภัยในการให้บริการได้อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันเหตุร้ายหรือความเสียหายที่อาจเกิดกับระบบงาน ข้อมูล ช่องทาง สถานที่ให้บริการ รวมถึงทรัพย์สินของผู้ใช้บริการและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(6) ความพร้อม และความต่อเนื่องในการให้บริการ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีมาตรการดูแลและควบคุมให้ Business Facilitator และ Subcontract มีความพร้อมในการให้บริการต่าง ๆ โดยสําหรับเฉพาะงานที่สําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน หรืองานที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการในวงกว้าง สถาบันการเงินเฉพาะกิจ Business Facilitator และ Subcontract จะต้องจัดให้มีแผนรองรับสําหรับกรณีการหยุดชะงักของการให้บริการ และการเตรียมการที่จําเป็นเพื่อสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
(7) การคุ้มครองผู้ใช้บริการ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีนโยบายหรือแนวทางดูแลคุ้มครองผู้ใช้บริการ และกระบวนการในการรับและแก้ไขข้อร้องเรียนให้กับผู้ใช้บริการที่ชัดเจน โดยต้องครอบคลุมรายละเอียดที่กําหนดตามข้อ 4.4.4 ทั้งนี้ ควรมีการรายงานข้อมูลข้อร้องเรียนดังกล่าวให้คณะกรรมการและ/หรือผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทราบเป็นระยะ โดยเรียงตามระดับความสําคัญของข้อมูลร้องเรียน
(8) หลักเกณฑ์สําหรับใช้ในการทบทวนและการเปลี่ยน Business Facilitator และ Subcontract
4.4.3 การบริหารความเสี่ยง
(1) มีการประเมินความเสี่ยงในการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยกําหนดแนวทางการคัดเลือก และคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น Business Facilitator และ Subcontract ขั้นตอนและกระบวนการให้บริการ การควบคุมภายในและการประสานงานระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจกับ Business Facilitator เพื่อดูแลและป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยให้รวมถึงการส่งคําสั่งต่าง ๆ การเก็บรักษาเงินที่จะต้องส่งมอบและการตรวจสอบหลักฐานแสดงตนของผู้ใช้บริการ เช่น ในการยื่นขอสินเชื่อ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องกําหนดกระบวนการในการตรวจสอบหรือพิสูจน์ความถูกต้องและแท้จริงของเอกสารและตัวตนลูกค้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือข้อผิดพลาดในกระบวนการพิจารณาสินเชื่อ
(2) การรักษาความปลอดภัย ณ สถานที่หรือช่องทางการให้บริการ รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความลับ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของผู้ใช้บริการ และข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงและความเป็นเจ้าของข้อมูล เช่น วิธีการรับส่งข้อมูลและวิธีการเก็บรักษาข้อมูล เป็นต้น ตลอดจนมีการกําหนดบทลงโทษอย่างชัดเจน หากมีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้บริการและ/หรือข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือเป็นการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย นอกจากนี้ ยังต้องควบคุม Business Facilitator และ Subcontract ให้มีการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการให้บริการตามขอบเขตงานที่ตกลงกันในสัญญาเท่านั้น
นอกจากนี้ หากมีการใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล Business Facilitator และ Subcontract ควรแยกฐานข้อมูลผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจออกจากข้อมูลของ Business Facilitator และ Subcontract หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการรายอื่นของ Business Facilitator และ Subcontract ด้วย
(3) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกําหนดให้ Business Facilitator และ Subcontract จัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business continuity plan) เฉพาะกรณีที่เกิดการหยุดชะงักของงานสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน หรืองานที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการในวงกว้าง (Wide impact พร้อมทั้งจัดสรรทรัพยากรรองรับการดําเนินงานอย่างเพียงพอโดยอ้างอิงจากแนวปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง(Business Continuity Plan: BCP) ของสถาบันการเงินโดยอนุโลม ในระดับที่สามารถที่จะกําหนดแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเองให้สอดคล้องกันได้
ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดให้มีการทดสอบแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องร่วมกับ Business Facilitator หลัก และ Subcontract อย่างสม่ําเสมอรวมทั้งต้องมีการบันทึกข้อมูลผลการทดสอบไว้เป็นเอกสารหรือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้
4.4.4 การคุ้มครองผู้ใช้บริการ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้อง
(1) รับผิดชอบการดําเนินการและการให้บริการของ Business Facilitator รวมทั้งในกรณีที่ Business Facilitator มีการว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้ง Subcontract เสมือนเป็นผู้ดําเนินการเอง
(2) ควบคุมดูแลไม่ให้คุณภาพการให้บริการด้อยลงจากการใช้ Business Facilitator และ Subcontract
(3) แจ้งข้อมูลที่จําเป็นหรืออาจทําให้ผู้ใช้บริการเสียประโยชน์ เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ และผลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ของธุรกรรม (Finality) จากการใช้บริการ Business Facilitator และ Subcontract ให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าอย่างชัดเจน และควบคุมดูแลให้ Business Facilitator และ Subcontract แจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าด้วย
(4) ดูแลข้อมูลของผู้ใช้บริการ โดยคํานึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการและการรักษาความลับ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการก่อน และต้องให้สิทธิผู้ใช้บริการในการยกเลิกความยินยอมได้อย่างสะดวก รวมถึงมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการที่รัดกุม ตลอดจนมีการตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการให้เป็นไปตามนโยบายของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(5) จัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียนที่สะดวกและชัดเจน เพื่อรับข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่สํานักงาน หรือที่อยู่สําหรับติดต่อทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถติดต่อได้
นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันจนกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) มีผลบังคับใช้ รวมถึงควบคุมดูแลให้ Business Facilitator และ Subcontract ปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ข้างต้นด้วย
4.4.5 สัญญาว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการจัดทําสัญญาและข้อตกลงกับ Business Facilitator เป็นลายลักษณ์อักษร โดยพิจารณาให้ครอบคลุมประเด็นสําคัญ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดประเภทของการใช้บริการ การบริหารความเสี่ยง ระบบควบคุมภายใน ระบบรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการ รวมถึงข้อมูลและทรัพย์สินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นอกจากนี้ สําหรับธุรกรรมงานบริการทางการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกําหนดวันที่ธุรกรรมมีผลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ หลักฐานการทําธุรกรรมที่ Business Facilitator และ Subcontract ออกให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งควรเป็นมาตรฐานเดียวกับการทําธุรกรรมที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(2) ขอบเขตความรับผิดชอบของคู่สัญญาในกรณีเกิดปัญหาขัดข้องในการให้บริการ เช่น การบริการล่าช้า และความผิดพลาดในการให้บริการ เป็นต้น ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หรือการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
(3) เงื่อนไขในการอนุญาตให้ Business Facilitator ว่าจ้าง มอบหมายหรือแต่งตั้ง Subcontract ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกําหนดเงื่อนไขและดูแลให้ Subcontract มีคุณสมบัติสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเกี่ยวกับตัวแทนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในข้อ 1 ของเอกสารแนบ 5 ตามประกาศฉบับนี้ รวมทั้งควบคุมการให้บริการของ Subcontract ให้เป็นปตามข้อตกลงระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจและ Business Facilitator ซึ่ง Business Facilitator ยังคงต้องรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการและสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามขอบเขตและเงื่อนไขในสัญญาซึ่ง Business Facilitator ได้ตกลงไว้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(4) การกําหนดค่าบริการระหว่างคู่สัญญา ต้องมีความสมเหตุสมผลอ้างอิงจากต้นทุนหรืออัตราที่เรียกเก็บกันในตลาดทั่วไป โดยต้องไม่เป็นการเอื้อประโยชน์จนเกินสมควรแก่เหตุให้แก่บุคคลอื่น
(5) อายุสัญญา ข้อกําหนด และเงื่อนไขการยกเลิกสัญญา ซึ่งรวมถึงสิทธิของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและต่ออายุสัญญา ทั้งนี้ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการปรับปรุงการให้บริการหากจําเป็น รวมทั้งเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอนาคต
(6) ข้อตกลงการให้บริการ (Service level agreement) เพื่อกําหนดเป็นมาตรฐานการให้บริการขั้นต่ําที่ Business Facilitator และ Subcontract ต้องปฏิบัติ ทั้งภายใต้สถานการณ์ปกติและไม่ปกติ
(7) แผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business continuity plan) ของ Business Facilitator และ Subcontract เฉพาะงานสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน หรืองานที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการในวงกว้าง เพื่อรองรับกรณีงานที่ใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจมีปัญหาหยุดชะงักลง และไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
(8) ขั้นตอนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ Business Facilitator และ Subcontract
(9) มาตรการที่เหมาะสมกรณีที่ Business Facilitator และ Subcontract ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา ที่อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของ Business Facilitator และ Subcontract ก็ตาม
(10) ข้อความหรือถ้อยคําที่แสดงว่าไม่ปิดกั้นหรือห้าม Business Facilitator ให้บริการในลักษณะเดียวกันต่อสถาบันการเงิน หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นหรือผู้ให้บริการประเภทอื่น
(11) การกําหนดให้ Business Facilitator ถือปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
(12) การกําหนดสิทธิให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินเฉพาะกิจผู้ตรวจสอบภายนอก หรือหน่วยงานของทางการอื่น ในการเข้าตรวจสอบการดําเนินงาน ระบบการควบคุมภายในต่าง ๆ รวมทั้งการเรียกดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องจาก Business Facilitator และ Subcontract (ถ้ามี) ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่ให้บริการนั้น ๆ ทั้งนี้ หากการเข้าตรวจสอบต้องได้รับความยินยอมจากหน่วยงานที่กํากับดูแล Business Facilitator นั้น สถาบันการเงินเฉพาะกิจและ Business Facilitator ต้องดําเนินการให้สามารถเข้าตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง
4.4.6 การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติและหลักเกณฑ์ทางการ เช่น แนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Risk Management Implementation Guideline) และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี (Information Technology Risk! ที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยระบบการชําระเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT) เป็นต้น
นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องควบคุมดูแลให้ Business Facilitator และ Subcontract ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
4.4.7 การจัดเก็บข้อมูล
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้ง Business Facilitator เช่น สัญญาหรือข้อตกลงการจ้าง Business Facilitator เอกสารการเปลี่ยนแปลงขอบเขตหรือเงื่อนไขการว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้ง Business Facilitator หรือเอกสารการให้ความเห็นชอบการว่าจ้าง มอบหมาย หรือแต่งตั้ง Subcontract ของ Business Facilitator ไว้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้พร้อมสําหรับการตรวจสอบโดยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
4.4.8 การรายงานข้อมูล
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดทํารายงานข้อมูลการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ ตามที่กําหนดในแบบรายงานภาพรวมการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจซึ่งปรากฎในเอกสารแนบ 7 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรายงานข้อมูลเพิ่มเติมนอกจากที่กําหนดในรายงานดังกล่าวก็ได้"
ทั้งนี้ การรายงานข้อมูลดังกล่าว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ให้รายงานข้อมูลครั้งแรก โดยใช้ข้อมูลการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ ณ วันสิ้นไตรมาสถัดไปนับจากวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ โดยให้จัดส่งรายงานมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 1 เดือนนับจากวันสิ้นไตรมาสดังกล่าว
(2) ให้จัดทํารายงานข้างต้นเป็นรายปี โดยใช้ข้อมูลการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ ณ วันที่ 1 มกราคมของทุกปี โดยให้เก็บไว้ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้พร้อมสําหรับการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ
อนึ่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรติดตามข้อมูลการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจอย่างสม่ําเสมอ เพื่อนําข้อมูลมาวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการใช้บริการดังกล่าวและกําหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมต่อไป
4.5 การชะลอ ระงับ หรือการเพิกถอนการอนุญาตการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ
หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจาก Business Facilitator ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ หรือไม่ได้ปฏิบัติจริงตามข้อมูลที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้จัดส่งตามคําขออนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาให้ชะลอ ระงับ หรือเพิกถอนการอนุญาตการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด รวมทั้งอาจกําหนดเงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติมเป็นรายกรณีได้ตามความจําเป็น
4.6 บทเฉพาะกาล
4.6.1 สถาบันการเงินเฉพาะกิจซึ่งมีการใช้บริการจาก Business Facilitator ที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ต้องยื่นขออนุญาตใช้บริการดังกล่าวต่อฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 4.3.1 และ 9.3.3 ภายใน 90 วันนับจากประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการให้บริการดังกล่าวก่อนหน้านี้แล้ว
4.6.2 งานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจดังกล่าวต่อไปได้
อย่างไรก็ดี หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการใช้บริการจาก Business Facilitator ก่อนประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ทั้งในงานสําคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน และงานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กํากับดูแลการใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจตามข้อ 4.3 ข้อ 4.4 โดยยกเว้นข้อ 4.4.2 (1) เฉพาะเรื่องแนวทางการคัดเลือกและคุณสมบัติของ Business Facilitator ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อ 2 ของเอกสารแนบ 6 และข้อ 4.4.5 ไปจนกว่าจะมีการทําสัญญาว่าจ้างฉบับใหม่หรือต่ออายุสัญญาว่าจ้าง ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจาก Business Facilitator ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องใดที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ได้ทันที ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรขยายระยะเวลาเพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีเวลาเตรียมการ โดยขอให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทบทวนแนวทางการดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายใน 120 วันนับจากวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้
อื่นๆ - 5. วันเริ่มบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,735 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 50/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 50/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.56/14/52 | 75,000 | 5 มิถุนายน 2552 | 9/6/52 – 23/6/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,736 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 9 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.6/14/56 | 30,000 | 8 กุมภาพันธ์ 2556 | 12/2/56 – 26/2/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,737 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 51/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 51/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.57/15/52 | 55,000 | 9 มิถุนายน 2552 | 11/6/52 – 26/6/52 | 15 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,738 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 52/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 52/2552
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.58/14/52 | 65,000 | 11 มิถุนายน 2552 | 15/6/52 – 29/6/52 | 14 |
| พ.59/14/52 | 65,000 | 12 มิถุนายน 2552 | 16/6/52 – 30/6/52 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,739 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 53/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 มิถุนายน 2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 53/2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 มิถุนายน 2552
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 มิถุนายน 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ ร.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2550 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 มิถุนายน 2552 เท่ากับร้อยละ 1.29484 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2552 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,740 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 54/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 54/2552
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 ที่จะประมูลในวันที่ 12 มิถุนายน 2552
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2552 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 ในวันที่ 12 มิถุนายน 2552 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 10 มิถุนายน 2552 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.39950 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.49484 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2552
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2552
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน | 6,741 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 30/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 30 /2562
เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เนื่องด้วยบทบาทหน้าที่และพันธกิจที่สําคัญของสถาบันการเงินเฉพาะกิจมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินพื้นฐานได้อย่างสะดวกและทั่วถึงปัจจุบันสถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงได้ขยายช่องทางการให้บริการ ตลอดจนพัฒนารูปแบบการให้บริการทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการดําเนินการตามพันธกิจ และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสําคัญในการประกอบกิจการสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เนื่องจากเป็นช่องทางที่สําคัญในการให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามพันธกิจอย่างไรก็ดี การประกอบกิจการสาขามีความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน ทั้งด้านพนักงาน กระบวนการระบบงานต่าง ๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกหลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการให้บริการกิจการสาขาในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้ขอบเขตตามกฎหมายจัดตั้งและที่กระทรวงการคลังกําหนดได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการที่รัดกุมและเป็นธรรม
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 120/1 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกหลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 4. หลักการ
การประกอบกิจการสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของกลุ่มลูกค้าตามพันธกิจ ซึ่งเป็นการดําเนินการภายใต้ขอบเขตธุรกรรมตามกฎหมายจัดตั้งและภายใต้การพิจารณาของกระทรวงการคลัง ดังนั้น หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้กํากับดูแลความเสี่ยงกําหนด จึงไม่ครอบคลุมการจัดตั้ง ขอบเขตธุรกรรมของสาขาทั่วไปสาขาอิเล็กทรอนิกส์ สํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน และการประกอบการนอกสถานที่ รวมถึงการย้ายสถานที่ตั้งการหยุดทําการชั่วคราว และการยกเลิกสาขา ซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง
อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยคํานึงถึงความสําคัญของการบริหารความเสี่ยงและการดูแลผู้ใช้บริการทางการเงิน จึงกําหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีกระบวนการในการบริหารความเสี่ยง และการดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการที่เหมาะสม
นอกจากนี้ แม้ว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีการพัฒนาช่องทางการให้บริการเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยมีการประกอบการนอกสถานที่ซึ่งเป็นการดําเนินการตามกรอบพันธกิจเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของกลุ่มผู้ใช้บริการได้ แต่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องยึดหลักการของการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ของธุรกรรม (Finality) เช่นเดียวกับการทําธุรกรรมที่สาขาเป็นสําคัญ เพื่อให้การทําธุรกรรมนอกสถานที่ดังกล่าวมีผลเท่าเทียมกับการทําธุรกรรมที่สาขา
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สาขาทั่วไป" หมายความว่า สาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีสถานที่ทําการที่แน่นอนและให้บริการโดยพนักงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งอาจมีการให้บริการด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์บริเวณภายในหรือหน้าช่องทางการให้บริการดังกล่าวด้วยก็ได้
"สาขาอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า สาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีสถานที่ทําการที่แน่นอนและให้บริการด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่ได้ให้บริการบริเวณภายในหรือหน้าสาขาทั่วไป โดยใช้บริการดําเนินการด้วยตนเองผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดไว้แต่สถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจจัดให้มีพนักงานคอยให้คําแนะนําหรือช่วยเหลือผู้ใช้บริการในการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เช่น เครื่องถอนเงินสดอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine: ATM) หรือ เครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ (Cash Deposit Machine: CDM) เป็นต้น
"สํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน" หมายความว่า สํานักงานที่ให้บริการเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศ โดยอาจเป็นการให้บริกรโดยพนักงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือให้บริการด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการให้บริการดังกล่าวภายในบริเวณหรือหน้าสถานที่ทําการของสาขาทั่วไป
"การประกอบการนอกสถานที่" หมายความว่า การให้บริการโดยพนักงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือให้บริการด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์นอกสถานที่ทําการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
5.2 เงื่อนไขในการให้บริการสําหรับการประกอบการนอกสถานที่
สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการโดยให้บริการนอกสถานที่ เพื่อสนับสนุนการดําเนินการตามพันธกิจ อย่างไรก็ดี เนื่องจากการประกอบการนอกสถานที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดเงื่อนไขในการให้บริการเพิ่มเติม ดังนี้
5.2.1 การให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทั่วไป สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้บริการนอกสถานที่ตามเงื่อนไขการให้บริการ ดังนี้
(1) การออกบูธ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถให้บริการได้โดยไม่จํากัดกลุ่มผู้ใช้บริการ ระยะเวลาในการให้บริการ และสถานที่ที่ให้บริการ ทั้งตามสถานที่การจัดงานกิจกรรมทั่วไป เช่น งานแสดงที่เกี่ยวกับธุรกิจสถาบันการเงิน งานประชุม งานแสดงสินค้า งานเทศกาลต่าง ๆ และสถานที่เฉพาะเจาะจง เช่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา บริษัท โรงงาน อย่างไรก็ดีการออกบูธต้องมีลักษณะชั่วคราวเพียงช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีแผนงานรองรับที่ชัดเจน
(2) การให้บริการโดยยานพาหนะเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์ เรือ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถให้บริการได้ทั้งในลักษณะที่จอดให้บริการเป็นหลักแหล่ง และในลักษณะที่มีการระบุเส้นทางการให้บริการที่ชัดเจน โดยไม่จํากัดกลุ่มผู้ใช้บริการและระยะเวลาในการให้บริการ
5.2.2 การให้บริการแก่ผู้ใช้บริการเป็นการเฉพาะ สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้บริการนอกสถานที่ตามขอบเขตและเงื่อนไขสําหรับผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม ดังนี้
(1) การให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการรายอยหรือกลุ่มผู้ใช้บริการฐานราก
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องยื่นขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายรูปแบบธุรกิจก่อนดําเนินการทั้งการให้บริการที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับเงินสด โดยการให้บริการนอกสถานที่แก่กลุ่มผู้ใช้บริการดังกล่าวต้องเป็นประเภทธุรกรรมเดียวกันกับการให้บริการที่สาขาทั่วไป และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการเข้าถึงบริการทางการเงินตามกรอบพันธกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเท่านั้น เช่น การออกไปรับเงินฝาก การรับชําระหนี้สินเชื่อ หรือการรับชําระค่าสินค้าและบริการจากแม่ค้าในตลาดหรือเกษตรกรรายย่อย เป็นต้น
(2) การให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการที่เป็นนิติบุคคล
สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถให้พนักงานออกไปให้บริการเฉพาะธุรกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอํานวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าตามกรอบพันธกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเท่านั้น เช่น การออกไปแนะนําผลิตภัณฑ์ การเปิดบัญชีรับฝากเงินโดยไม่มีการรับเงินสด กรรับเอกสารต่าง ๆ จากลูกค้าผู้ประกอบการ เป็นต้น
สําหรับประเภทบริการที่ให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการข้อ 5.2.2 ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดําเนินธุรกิจสถาบันการเงิน (Non-banking business) เช่น การแจกแผ่นพับสําหรับโฆษณา หนังสือชี้ชวน หรือเอกสารแนะนําผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ (Business Facilitator) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความประสงค์ที่จะประกอบการนอกสถานที่ในรูปแบบตามข้อ 5.22 (1) หรือมีความประสงค์จะให้บริการในรูปแบบอื่นที่แตกต่างจากเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 5.2 ข้างต้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายรูปแบบธุรกิจก่อนดําเนินการ โดยในการขออนุญาตนั้น ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจยื่นแผนงาน การประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง แนวทางในการบริหารความเสี่ยง และกระบวนการควบคุมภายในมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาคําขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับจากวันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วนซึ่งในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามความเหมาะสมด้วยก็ได้
นอกจากนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการเปลี่ยนแปลงการให้บริการจากที่เคยได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเริ่มให้บริการ
5.3 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลการประกอบกิจการสาขา
สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการประกอบกิจการสาขาตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้
5.3.1 การกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการประกอบกิจการสาขาและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ
(1) การกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการประกอบกิจการสาขา
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดให้มีนโยบายเกี่ยวกับการประกอบกิจการสาขาที่เหมาะสม ชัดเจน และสอดคล้องกับการให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามพันธกิจซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ โดยอย่างน้อยจะต้องครอบคลุมรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้
(1.1) หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการของกิจการสาขา
(1.2) แนวทางการบริหารความเสี่ยงในการให้บริการของกิจการสาขาทั้งนี้ แนวทางการบริหารความเสี่ยงจะต้องเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 5.3.2 และจะต้องสอดคล้องกับนโยบายบริหารความเสี่ยงโดยรวมขององค์กร
(1.3) แนวทางการดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการในการให้บริการของกิจการสาขา ทั้งนี้ แนวทางการดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการจะต้องเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 5.3.3 และจะต้องสอดคล้องกับนโยบายด้านการให้บริการอย่างเป็นธรรมโดยรวมขององค์กร
(1.4) แนวทางการติดตามดูแลการให้บริการของกิจการสาขาให้เป็นไปตามนโยบายเกี่ยวกับการประกอบกิจการสาขาที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ รวมถึงกระบวนการในการให้บริการ การบริหารความเสี่ยง และการดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการตามที่ได้กําหนดไว้
(1.5) แนวทางการรายงานผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการต่อคณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ คณะกรรมการชุดย่อย หรือผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย เช่น การรายงานประสิทธิภาพในการให้บริการของกิจการสาขา และเหตุการณ์ผิดปกติจากการให้บริการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและผู้ใช้บริการ เป็นต้น
(2) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการมีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ในการกํากับดูแลการประกอบกิจการสาขา ดังนี้
(2.1) อนุมัตินโยบายและกลยุทธ์การประกอบกิจการสาขาและติดตามดูแลให้มีการนํานโยบายดังกล่าวไปกําหนดกระบวนการในการให้บริการ การบริหารความเสี่ยง และการดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ คณะกรรมการจะต้องกําหนดให้มีผู้บริหารและพนักงานที่รับผิดชอบในการดําเนินการตามนโยบายและกระบวนการที่วางไว้ และมีการสื่อสารให้ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบเกี่ยวกับนโยบายและกระบวนการดังกล่าวอย่างทั่วถึง เช่น จัดให้มีคู่มือหรือแนวปฏิบัติที่ดีในการให้บริการผ่านกิจการสาขา เป็นต้น
(2.2) ทบทวนและประเมินประสิทธิภาพของนโยบายและกระบวนการที่กําหนดข้างต้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลกระทบต่อการให้บริการของกิจการสาขาอย่างมีนัยสําคัญ เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ใช้ในการให้บริการ หรือเมื่อเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการสาขา เป็นต้น
5.3.2 การบริหารความเสี่ยง
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลในการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
(1) หลักเกณฑ์การกํากับดูแลทั่วไป
(1.1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีความรู้และความเข้าใจในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการของกิจการสาขา ภายใต้ประกาศฉบับนี้
(1.2) กระบวนการ วิธีปฏิบัติ และระบบงานที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดขึ้นจะต้องสามารถระบุ ประเมิน ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม รวมถึงครอบคลุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่น ความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของระบบงานจากความผิดพลาดในการปฏิบัติงานหรือจากการทุจริตทั้งภายในและ ภายนอก เป็นต้น รวมทั้งความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และความเสี่ยงด้านชื่อเสียงที่เกี่ยวข้อง สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องมีการติดตามความเสี่ยงเป็นประจําและนําเอาประเด็นหรือปัญหาที่พบจากการให้บริการมาพัฒนากระบวนการรวมทั้งปรับปรุงระบบและกระบวนการควบคุมอย่างเหมาะสม
(1.3) แนวทางการบริหารความเสี่ยงที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจกําหนดขึ้นอย่างน้อยจะต้องครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อย่างน้อย ดังนี้
(1.3.1) การควบคุมภายใน
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีระบบและกระบวนการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการสาขาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์การประกอบกิจการสาขาที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ และสามารถลดความเสี่ยงที่เกิดจากการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีการสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง รวมทั้งติดตามการปฏิบัติตามระบบและกระบวนการดังกล่าวและรายงานให้คณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องทราบถึงข้อบกพร่องของระบบและกระบวนการควบคุมภายใน เพื่อให้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
(1.3.2) ความปลอดภัยในการให้บริการ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีแนวทางและมาตรการรักษาความปลอดภัยในการให้บริการ ทั้งในด้านความปลอดภัยของสถานที่ ระบบงาน และข้อมูลลูกค้าที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางการบริหารความเสี่ยงในการให้บริการของกิจการสาขา เพื่อป้องกันเหตุร้ายหรือความเสียหายที่จะมีต่อผู้ใช้บริการ ข้อมูลของผู้ใช้บริการ รวมทั้งทรัพย์สินของผู้ใช้บริการและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(1.3.3) ความพร้อมและความต่อเนื่องในการให้บริการ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีมาตรการดูแลและควบคุมความพร้อมของการให้บริการผ่านกิจการสาขา โดยต้องจัดให้มีแผนรองรับสําหรับการให้บริการเพื่อให้การให้บริการเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีแนวทางและการเตรียมการที่จําเป็น หากการให้บริการหยุดชะงักหรือไม่สามารถให้บริการได้ตามช่วงวันและเวลาให้บริการที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ตกลงไว้กับผู้ใช้บริการ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและแผนรองรับความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM และ Business Continuity Plan: BCP) ของสถาบันการเงินโดยอนุโลม
(1.3.4) การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีมาตรการดูแลและควบคุมให้การให้บริการผ่านกิจการสาขา มีความสอดคล้องและมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเคร่งครัด เช่น หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือการรับเงินจากประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติของหน่วยงานกํากับดูแลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
(2) หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเพิ่มเติม
เนื่องจากการให้บริการในแต่ละช่องทางมีลักษณะและรูปแบบเฉพาะซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงในการให้บริการที่แตกต่างกัน ดังนั้น นอกเหนือจากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลทั่วไปในการบริหารความเสี่ยงตามข้อ 5.3.2 (1) แล้ว สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเพิ่มเติมในการบริหารความเสี่ยงสําหรับช่องทางต่าง ๆ ตามรายละเอียดที่ปรากฏในเอกสารแนบ 1 และ 2
5.3.3 การดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการ ดังนี้
(1) หลักเกณฑ์การกํากับดูแลทั่วไป
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีการปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการอย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม โดยต้องมีแนวทางการดูแลผู้ใช้บริการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการประกอบกิจการสาขาที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและนํามาใช้ในทางปฏิบัติ ซึ่งแนวทางการดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างน้อยจะต้องครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
(1.1) การกําหนดวันและเวลาทําการ
(1.1.1) กรณีสาขาทั่วไป สาขาอิเล็กทรอนิกส์ และสํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถกําหนดวันและเวลาทําการของสาขาทั่วไป สาขาอิเล็กทรอนิกส์ และสํานักงานแลกเปลี่ยนเงิน ได้ตามความเหมาะสม โดยให้คํานึงถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้บริการ การให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างครบถ้วน เพียงพอ ทั่วถึงเป็นสําคัญและสอดคล้องกับสถานที่ตั้ง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องประกาศวันและเวลาทําการและหยุดทําการไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทําการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งด้วย
ทั้งนี้ กรณีการเปิดและปิดทําการของสาขาทั่วไปสถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจพิจารณากําหนดวันและเวลาเปิดทําการและหยุดทําการตามวันและเวลา ดังนี้ (ก) วันและเวลาเปิดทําการ ได้แก่ วันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 8.30 น. ถึง 15.30 น. (ข) วันหยุดทําการได้แก่ วันเสาร์และวันอาทิตย์ รวมถึงวันหยุดตามประเพณีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถกําหนดเวลาเปิดและปิดทําการตามเวลาที่สอดคล้องกับสถานที่ตั้ง เช่น ห้างสรรพสินค้า ศูนย์ราชการ เป็นต้นได้ตามความเหมาะสม
(1.1.2) กรณีการประกอบการนอกสถานที่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องกําหนดและเปิดเผยสถานที่ วันและเวลาในการให้บริการให้ผู้ใช้บริการได้ทราบอย่างชัดเจนโดยหากมีการใช้ยานพาหนะเคลื่อนที่ในการให้บริการ สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะต้องกําหนดจุดให้บริการหรือแจ้งเส้นทางการให้บริการที่ชัดเจนและแน่นอน
(1.2) การให้ความรู้และคําแนะนําในการใช้บริการ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีแนวทางการให้ความรู้และแนะนําการใช้บริการของกิจการสาขา เพื่อสร้างความเข้าใจที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ
(1.3) การเสนอขายผลิตภัณฑ์และให้บริการ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีระบบการบริหารจัดการเพื่อให้มีการปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการอย่างรับผิดชอบและผู้ใช้บริการได้รับบริการที่เป็นธรรม โดยมุ่งเน้นให้ผู้ใช้บริการได้รับ (ก) ความเชื่อมั่น (ข) คําแนะนําที่ตรงกับความต้องการและความสามารถของผู้ใช้บริการ รวมถึงข้อมูลที่ชัดเจนครบถ้วน และเพียงพอในการตัดสินใจ (ค) ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นธรรมที่ตรงกับความต้องการและความสามารถของผู้ใช้บริการ รวมถึงการดูแลข้อมูลและสินทรัพย์ของผู้ใช้บริการไม่ให้นําไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม (ง) ความสะดวกและความเป็นธรรมภายหลังการขาย และ (จ) ความเข้าใจสิทธิในการใช้บริการ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถนําหลักกรของการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันไปปรับใช้ได้จนกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ลูกค้าตั้งแต่ต้นจนจบ (End-to-End Process) จะมีผลบังคับใช้
(2) หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเพิ่มเติม
เนื่องจากการให้บริการในแต่ละช่องทางมีลักษณะและรูปแบบเฉพาะซึ่งก่อให้เกิดความสี่ยงในการให้บริการที่แตกต่างกัน ดังนั้น นอกเหนือจากที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลทั่วไปในการดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการ ตามข้อ 5.3.3 (1) แล้วสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเพิ่มเติมในการดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการสําหรับช่องทางต่าง ๆ ตามรายละเอียดที่ปรากฏในเอกสารแนบ 1 และ 2
5.4 การรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรายงานข้อมูลดังต่อไปนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย
5.4.1 แผนการเปิดปิดสาขาทั่วไป สาขาอิเล็กทรอนิกส์ และสํานักงานแลกเปลี่ยนประจําปี โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรายงานมายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 31 มกราคม ของทุกปี (ถ้ามี)
5.4.2 รายงานการดําเนินการของสาขาทั่วไป และจํานวนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการของสาขาทั่วไปและจํานวนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ตามความถี่และกําหนดการตามที่กําหนดในตาราง โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถดาวน์โหลดแบบรายงานและข้อกําหนดเกี่ยวกับการรายงานดังกล่าวได้จากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทแบบรายงาน | การรายงานครั้งแรก | การรายงานครั้งต่อไป |
| ข้อมูลการรายงาน | กําหนดการ | ความถี่ในการรายงาน | กําหนดการจากวันสิ้นเดือน |
| สาขาทั่วไป | ใช้ข้อมูล ณ สิ้นเดือนของสิ้นไตรมาสถัดจากไตรมาสของวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ | ภายใน 7 วัน นับจากวันสิ้นไตรมาส | รายเดือนให้รายงานข้อมูลเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง โดยให้รายงานเฉพาะข้อมูลสาขาที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น | ภายใน 7 วัน นับจากวันสิ้นเดือน |
| จํานวนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ | ภายใน 1 เดือน นับจากวันสิ้นไตรมาส | ทุกไตรมาสให้รายงานจํานวนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด อนึ่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ไม่มีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (รายงานข้อมูลครั้งแรกเป็น 0) ให้รายงานตามแบบรายงานฉบับนี้เมื่อเริ่มมีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ให้บริการแล้ว | ภายใน 1 เดือนนับจากวันสิ้นไตรมาส |
5.5 การชะลอ ระงับ หรือเพิกถอนการให้บริการ
หากพบว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาให้ชะลอ ระงับ หรือสั่งเพิกถอนการให้บริการบางส่วนหรือทั้งหมด ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดําเนินการเป็นรายกรณีตามความจําเป็นก็ได้
5.6 บทเฉพาะกาล
5.6.1 กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการให้บริการนอกสถานที่กับกลุ่มลูกค้ารายย่อยหรือกลุ่มลูกค้าฐานรากตามข้อ 5.2.2 (1) หรือมีการให้บริการนอกสถานที่ในรูปแบบที่แตกต่างจากที่กําหนดในข้อ 5.2 อยู่แล้วก่อนประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องยื่นขออนุญาตการให้บริการดังกล่าว พร้อมการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง แนวทางในการบริหารความเสี่ยงและกระบวนการควบคุมภายใน มายังฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 90 วัน นับจากประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ เว้นแต่จะเคยได้หารือธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งตอบไม่ขัดข้อง หรือได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการให้บริการดังกล่าวก่อนหน้านี้แล้ว
5.6.2 กรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กํากับดูแลการประกอบกิจการสาขาในข้อ 5.3 ได้ทันที ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรขยายเวลาในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กํากับดูแลในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีเวลาในการเตรียมการอย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทบทวนแนวทางการดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์กํากับดูแลการประกอบกิจการสาขาภายใน 120 วันนับจากประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2562
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,742 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 2 /2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2559
------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.2/14/59 | 30,000 | 15 มกราคม 2559 | 19/1/59 – 2/2/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,743 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2559 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 2 /2559
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
-------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือซื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธ์บัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือซื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางภรวดี ตาปสนันทน์ 2. นางสาวประภาภรณ์ ถนอมวงศ์ทัย
3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน 6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน
7. นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน 8. นางสุธาศินี นิมิตกุล
9. นางศรีสกุล รังสิกุล 10. นายทวัส ทาสุวรรณ
11. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์ 12. นายชาญชัย บุรถาวร
13. นายสมชาย เลิศลาภวศิน 14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
15. นายชนัช เทียมมณีเนตร 16. นายธีรเมธ พุทธนารัตน์
17. นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ 18. นายสัญญา จันทวดี
19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายเอนก อิงวิยะ
21. นายประจวบ เกลี้ยงเกิด
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
(นายเพิ่มสุข สุทธินุ่น)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,744 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2559 เรื่อง คำขอและเอกสารประกอบคำขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ และช่องทางการขอรับบริการ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 3 /2559
เรื่อง คําขอและเอกสารประกอบคําขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ และช่องทางการขอรับบริการ
-------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อให้การให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้สามารถดําเนินการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงกําหนดคําขอและเอกสารประกอบคําขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้และช่องทางการขอรับบริการให้ผู้ขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน
อื่นๆ - 2.หลักเกณฑ์ที่อ้างอิง
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 (1) (2) และ (3) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้
อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้
อื่นๆ - 4.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กําหนดคําขอและเอกสารประกอบคําขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้และช่องทางการขอรับบริการ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร ผู้ขอรับบริการต้องยื่นคําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนดหรือหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมเอกสารประกอบคําขอตามแต่ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ที่ขอรับบริการตามช่องทางที่กําหนด โดย ธปท. จะดําเนินการให้หลังจากตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารแล้ว
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| (1) เป็นแปลงข้อมูลในทะเบียนประวัติ |
| (1.1) เปลี่ยนแปลง คํานําหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุลบุคคล ธรรมดา และชื่อ นิติบุคคล รวมทั้ง การแจ้งบรรลุนิติ ภาวะ | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง(3) หลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการ ที่ทางราชการออกให้พร้อมสําเนา ที่รับรองถูกต้องโดยผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงคํานําหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุล และชื่อนิติบุคคล(4) ตัวอย่างลายมือชื่อของ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามแบบที่ ธปท. กําหนด(5) ใบตราสารหนี้ | เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ |
| (1.2) เปลี่ยนแปลง ผู้มีอํานาจจัดการ ตราสารหนี้ | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง(3) เอกสารแสดงตนของผู้มีอํานาจ จัดการตราสารหนี้เดิม (ถ้ามี) พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง และในกรณีที่มีผู้มีอํานาจจัดการ ตราสารหนี้เดิมถึงแก่กรรม ให้ใช้ใบมรณบัตร พร้อมสําเนา ที่รับรองถูกต้องแทน(4) เอกสารแสดงตนของผู้มีอํานาจ จัดการตราสารหนี้ใหม่ พร้อมสําเนา ที่รับรองถูกต้อง(5) คําสั่งศาลแต่งตั้งผู้ปกครองของ ผู้เยาว์ หรือคําสั่งศาลแต่งตั้ง ผู้อนุบาล หรือคําสั่งศาลแต่งตั้ง ผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีพร้อมสําเนา ที่รับรองถูกต้อง (ถ้ามี) | เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ |
| ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| | (6) ตัวอย่างลายมือชื่อของผู้มีอํานาจ จัดการตราสารหนี้ตามแบบที่ ธปท. กําหนด(7) ใบตราสารหนี้หมายเหตุกรณีการเปลี่ยนชื่อบุคคลที่มีชื่อเป็นผู้จัดการในใบตราสารหนี้ที่มีชื่อผู้เยาว์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้น สามารถกระทําได้ใน 2 กรณี ดังนี้1. เปลี่ยนจากบุคคลที่มีชื่อเป็น ผู้จัดการเป็นบิดาหรือมารดา ซึ่งในกรณีที่บิดาและมารดา ยังมีชีวิตอยู่ ทั้งคู่ต้องมาแสดงตน ต่อเจ้าหน้าที่ ธปท. พร้อมแนบ เอกสารแสดงตนของทั้งบิดาและ มารดา2. เปลี่ยนจากบุคคลที่มีชื่อเป็น ผู้จัดการเป็นผู้ปกครองที่ศาลแต่งตั้ง | |
| (1.3) เปลี่ยนแปลงบัญชี ที่รับดอกเบี้ย | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง(3) สําเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ พิเศษและบัญชีเงินฝากประจํา) พร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| (1.4) เปลี่ยนแปลง สถานที่ติดต่อ | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| (1.5) เปลี่ยนแปลง ผู้ดูแลหลักทรัพย์ | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ และผู้ดูแลหลักทรัพย์พร้อมสําเนา ที่รับรองถูกต้อง(3) สําเนาหนังสือมอบอํานาจ ที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์มอบอํานาจ ให้ผู้ดูแลหลักทรัพย์มีอํานาจ ในการทําธุรกรรมแทนพร้อม รับรองสําเนาถูกต้อง(4) ตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ดูแล หลักทรัพย์ตามแบบที่ ธปท. กําหนด | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| (1.6) เปลี่ยนแปลงชื่อ หรือรายละเอียด ของผู้ดูแล หลักทรัพย์ | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์(2) เอกสารแสดงตนของผู้ดูแล หลักทรัพย์พร้อมสําเนาที่รับรอง ถูกต้อง(3) สําเนาหบักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการ เปลี่ยนแปลงชื่อหรือรายละเอียด ของผู้ดูแลหลักทรัพย์ที่ทางราชการ ออกให้พร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง(4) ตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ดูแล หลักทรัพย์ตามแบบที่ ธปท. กําหนด | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| (2) ออกใบตราสารหนี้ ฉบับใหม่เพื่อ ทดแทนฉบับเดิม | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งคสามประสงค์(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง(3) ใบตราสารหนี้ฉบับเดิม สําหรับในกรณีใบตราสารหนี้ สูญหาย ให้ใช้ใบแจ้งความ หรือสําเนาที่รับรองถูกต้อง โดยพนักงานสอบสวน ซึ่งต้องมี รายละเอียดของชื่อตราสารหนี้ ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ จํานวนเงินที่ระบุในใบตราสารหนี้แทน | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| | (4) สําเนาใบตราสารหนี้ พร้อมรับรอง สําเนาถูกต้องกรณีผู้รับหลักประกันประสงค์บันทึกข้อความในใบตราสารหนี้ให้ยื่นหนังสือให้ความยินยอมถอนหลักประกันในตราสารหนี้ตามแบบที่ธปท. กําหนด (เฉพาะกรณีถอนการจดแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันโดยผู้ให้หลักประกัน) และใยตราสารหนี้เพิ่มเติม | |
| (5) เปลี่ยนแปลง เงื่อนไข หรือ รายละเอียด ของการใช้ตรา สารหนี้เป็น หลักประกัน | กรณีผู้รับหลักประกันไม่ประสงค์บันทึกข้อความในใบตราสารหนี้(1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์(2) สําเนาใบตราสารหนี้ พร้อมรับรอง สําเนาถูกต้องกรณีผู้รับหลักประกันประสงค์บันทึกข้อความในใบตราสารหนี้ให้ยื่นใบตราสารหนี้เพิ่มเติม | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| (6) จดแจ้งและถอน การจดแจ้ง การอายัดสิทธิ ในตราสารหนี้ | หนังสือแจ้งความประสงค์จัดทําโดยผู้มีอํานาจตามกฎหมาย | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| (7) จดแจ้งและ ถอนการจดแจ้ง การวางสํารอง ประกันภัย | หนังสือแจ้งความประสงค์จัดทําโดยผู้มีอํานาจตามกฎหมาย | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทยริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| (8) จดแจ้งและถอนการ จดแจ้งการดํารง สินทรัพย์ของสาขา ธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศ ตาม พระราชบัญญัติ ธุรกิจสถาบัน การเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม | (1) สําเนาหนังสือธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีข้อความระบุการจดแจ้ง และ/หรือเพิกถอนการจดแจ้ง เพี่อการดํารงสินทรัพย์(2) ใบตราสารหนี้ | เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(โดยผู้ขอรับบริการต้องติดต่อหน่วยงานภายใน ธปท. ที่ทําหน้าที่กําหับสถาบันการเงินก่อน) |
| (9) ลงทะเบียนหรือถอนการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอนและการถึถอนตราสารหนี้ |
| (9.1) ลงทะเบียน หรือถอนการ ลงทะเบียน ตราสารหนี้ เพื่อการไถ่ถอน | (1) คําขอ ตามแบบที่ ธปท. กําหนด(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง(3) ใบตราสารหนี้กรณีถอนการลงทะเบียน ต้องส่งคืนใบรับการลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอนด้วยหมายเหตุ การลงทะเบียนตราสารหนี้เพื่อการไถ่ถอน สามารถดําเนินการได้หลังจากวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ยงวดแรกจนถึงวันทําการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นงวดสุดท้าย เฉพาะรุ่นที่ ธปท. แจ้งผู้ถือกรรมสิทธิ์ | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| (9.2) ไถ่ถอน ตราสารหนี้ | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง(3) สําเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ พิเศษและบัญชีเงินฝากประจํา) พร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง(4) ใบตราสารหนี้ | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| | หมายเหตุ การไถ่ถอนตราสารหนี้ที่ได้จดแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันสามารถดําเนินการ ดังนี้(ก) ไถ่ถอนในนามผู้ให้หบักประกัน ผู้ให้หลักประกันต้องดําเนินการ ถอนการจดแจ้งการใช้ตราสารหนี้ เป็นหลักประกันก่อน(ข) ไถ่ถอนในนามผู้รับหลักประกัน ต้องระบุบัญชีเงินฝาก (ยกเว้น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและ บัญชีเงินฝากประจําฉ ตามที่มีการ ตกลงระหว่างผู้ให้หลักประกันและ ผู้รับหลักประกันตามที่ได้แจ้งไว้ กับ ธปท. | |
| (10) ออกหนังสือ รับรองการเป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในตราสารหนี้ หนังสือรับรอง สถานะตราสารหนี้ หรือใบแทน หนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่าย | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| | | | |
ข้อ 2 การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสาร ผู้ขอรับบริการต้องยื่นคําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์ พร้อมเอกสารประกอบคําขอตามแต่ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ที่ขอรับบริการ ตามช่องทางที่กําหนด โดย ธปท. จะดําเนินการให้หลังจากตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารแล้ว
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| (1) ฝากใบตราสารหนี้เข้าและถอนตราสารหนี้ออกจากระบบไร้ใบตราสารหนี้เพื่อออกใบตราสารหนี้ |
| (1.1) ฝากใบตราสารหนี้ เข้าระบบ ไร้ใบตราสารของ ศูนย์รับฝาก | ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องติดต่อสมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝาก พร้อมยื่นเอกสาร ดังต่อไปนี้(1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง(3) ใบตราสารหนี้สมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหรือศูนย์รับฝาก ต้องยื่นเอกสาร ดังต่อไปนี้(1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง(3) ใบตราสารหนี้(4) ใบรับ (SLIP) ของศูนย์รับฝาก (ถ้ามี)สมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝาก ได้แก่(1) ธนาคารแห่งประเทศไทย(2) บริษัทหลักทรัพย์(3) สถาบันการเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน(4) บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัท ประกันวินาศภัยตามกฎหมาย ว่าด้วยประกันชีวิตหรือประกัน วินาศภัย(5) นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเป็น ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุน รวม ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ดูแล | เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ |
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| | และเก็บรักษาหลักทรัพย์ ผู้ออกใบแสดงสิทธิ์ในผลประโยชน์ที่ เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง(6) นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเป็น ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ทั้งในและต่างประเทศ(7) นิติบุคคลที่ประกอบการ เป็นสํานักหักบัญชี ทั้งในและต่างประเทศ(8) นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจธนาคาร ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ และไม่มีสํานักงานสาขา หรือ ตัวแทนในประเทศ(9) นิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์ ที่อ้างอิงบนหลักทรัพย์อื่น และ เก็บรักษาหลักทรัพย์ที่ตนออก และหลักทรัพย์อ้างอิง(10)นิติบุคคลที่มีข้อตกลงจะดําเนิน ดังต่อไปนี้(10.1) ขาย จําหน่าย จ่าย โอน หรือ แลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ ให้แก่ บุคคลที่รับซื้อหรือรับโอน ที่มีความเกี่ยวพันกับนิติบุคคล ดังกล่าว ในฐานะเป็นพนักงาน ลูกจ้าง ผู้ถือหลักทรัพย์ของ นิติบุคคลนั้น หรือบุคคลอื่น ที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน และนิติบุคคลนั้นได้รับ มอบหมายให้เป็นผู้ดูแลและ เก็บรักษาหลักทรัพย์ของผู้รับ ซื้อหรือผู้รับโอนตามเงื่อนไข อย่างใดอย่างหนึ่งที่ศูนย์รับฝาก เห็นสมควรให้มีการใช้บริการ ของศูนย์รับฝาก | |
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| | (10.2) ให้สินเชื่อแก่ผู้รับซื้อหรือผู้รับ โอนเพื่อการรับซื้อหรือรับโอน หลักทรัพย์ตาม (10.1)(11) นิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น โดยเฉพาะ(12) นิติบุคคลอื่นที่ศูนย์รับฝากกําหนด | |
| (1.2) ถอนตราสารหนี้ ออกจากระบบ ไร้ใบตราสารของ ศูนย์รับฝาก | ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องติดต่อสมาชิกผู้ฝากของศูนย์รับฝาก พร้อมยื่นเอกสารดังต่อไปนี้(1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง(3) สําเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ พิเศษและบัญชีเงินฝากประจํา) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมรับรอง สําเนาถูกต้อง(4) ตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ถือ กรรมสิทธิ์ตามแบบที่ ธปท. กําหนดศูนย์รับฝาก ต้องยื่นเอกสาร ดังต่อไปนี้(1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือ กรรมสิทธิ์พร้อมสําเนาที่รับรอง ถูกต้อง(3) สําเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ พิเศษและบัญชีเงินฝากประจํา) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมรับรอง สําเนาถูกต้อง(4) ใบรับ (SLIP) ของศูนย์รับฝาก(5) ตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ถือ กรรมสิทธิ์ตามแบบที่ ธปท. กําหนด | เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ |
| | | |
| --- | --- | --- |
| ประเภทบริการธุรกรรมตราสารหนี้ | คําขอและเอกสารประกอบคําขอ | ช่องทางการขอรับบริการ |
| (2) ฝากใบตราสารหนี้เข้าและถอนตราสารหนี้ออกจากบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. |
| (2.1) ฝากใบตราสาร หนี้เข้าบัญชีย่อย ตราสารหนี้เพื่อ การทําธุรกรรม กับ ธปท. | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือ กรรมสิทธิ์พร้อมสําเนาที่รับรอง ถูกต้อง(3) ใบตราสารหนี้ | เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ |
| (2.2) ถอนตราสารหนี้ ออกจากบัญชีย่อย ตราสารหนี้ การทําธุรกรรม กับ ธปท. | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือ กรรมสิทธิ์พร้อมสําเนาที่รับรอง ถูกต้อง | เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ |
| (3) ออกหนังสือ รับรองการเป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในตราสารหนี้ ในบัญชีย่อย ตราสารหนี้เพื่อ การทําธุรกรรม กับ ธปท. | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
| (4) ออกใบแทน หนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่าย | (1) คําขอตามแบบที่ ธปท. กําหนด หรือหนังสือแจ้งความประสงค์(2) เอกสารแสดงตนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมสําเนาที่รับรองถูกต้อง | (1) เคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการ(2) ส่งทางไปรษณีย์ |
ข้อ 3 การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ที่ ธปท. ให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตผู้ขอรับบริการจะต้องดําเนินการลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนพร้อมนําส่งเอกสารประกอบการยืนยันตัวตนตามที่ ธปท. กําหนดในครั้งแรกของการขอรับบริการตามแต่ละประเภทบริการทางอินเทอร์เน็ตที่เปิดให้บริการ โดย ธปท. จะดําเนินการให้สิทธิในการเข้าใช้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ทางอินเทอร์เน็ตเมื่อ ธปท. ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารเรียบร้อยแล้ว
ข้อ 4 เอกสารแสดงตนตามข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศนี้ ให้หมายถึง
(1) เอกสารแสดงตนกรณีบุคคลธรรมดา
บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวข้าราชการ หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าวหรือหนังสือเดินทาง กรณีที่เป็นผู้เยาว์และยังไม่มีบัตรประจําตัวประชาชนให้ยื่นสูติบัตรหรือสําเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์แทนได้
กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ของบุคคลดังกล่าว ต้องแสดงบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรประจําตัวข้าราชการ หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าวหรือหนังสือเดินทาง พร้อมแนบสําเนาคําสั่งศาลแต่งตั้งผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ (ถ้ามี)
(2) เอกสารแสดงตนกรณีนิติบุคคล
นิติบุคคลจะต้องยื่นเอกสารการจัดตั้งนิติบุคคลและเอกสารประกอบการแสดงตน (ถ้ามี) พร้อมแนบสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจลงนามที่ลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้อง
| | | | |
| --- | --- | --- | --- |
| ประเภทนิติบุคคล | เอกสารการจัดตั้งนิติบุคคล | เอกสารประกอบการแสดงตน | |
| (1) บริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด | หนังสือรับรองที่ออกโดยกระทรวงพาณิชย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน | | |
| (2) สหกรณ์ | ใบสําคัญรับจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ | (1) ข้อบังคับของสหกรณ์ที่กําหนด ผู้มีอํานาจลงนามในการทําธุรกรรม(2) รายชื่อคณะกรรมการสหกรณ์(3) รายงานการประชุม | |
| (3) มูลนิธิ | ใบอนุญาตจัดตั้งมูลนิธิ และ/หรือบัญชีมูลนิธิหรือหนังสือให้อํานาจจัดตั้ง เปลี่ยนแปลงมูลนิธิ | (1) ใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้ง กรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด/ การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ/ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ หรือบัญชีมูลนิธิ หรือหนังสือให้อํานาจ จัดตั้งเปลี่ยนแปลงมูลนิธิ(2) ข้อบังคับของมูลนิธิ ที่กําหนด ผู้มีอํานาจลงนามในการทําธุรกรรม ทางการเงิน(3) รายงานการประชุม | |
| (4) สมาคม | ใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมและองค์การ หรือทะเบียนสมาคม | (1) ใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้ง กรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของ สมาคม(2) ข้อบังคับของสมาคม ที่กําหนด ผู้มีอํานาจลงนามในการทําธุรกรรม ทางการเงิน(3) รายงานการประชุม | |
| ประเภทนิติบุคคล | เอกสารการจัดตั้งนิติบุคคล | เอกสารประกอบการแสดงตน |
| (5) วัด | ใบประกาศจัดตั้งวัด หรือหนังสือรับรองสภาพวัดสําหรับวัดที่จัดตั้งก่อน พ.ศ. 2484 | (1) ตราตั้งเจ้าอาวาส(2) หนังสือสุทธิ หรือเอกสารแสดงตนของ เจ้าอาวาส |
| (6) สภากาชาดไทย | ใบอนุญาตจัดตั้ง | (1) ข้อบังคับหรือระเบียบกําหนดผู้มีอํานาจ ลงนามในการทําธุรกรรมทางการเงิน(2) รายชื่อคณะกรรมการ |
| (7) สถานศึกษา | ใบอนุญาตจัดตั้ง | (1) ประกาศหรือคําสั่งแต่งตั้งอธิการบดี หรืออาจารย์ใหญ่ หรือคําสั่งแต่งตั้งผู้มี อํานาจ(2) ข้อบังคับ หรือระเบียบกําหนดผู้มี อํานาจลงนามในการทําธุรกรรม ทางการเงิน |
| (8) โรงพยาบาล | หนังสือจัดตั้ง | (1) คําสั่งแต่งตั้งผู้มีอํานาจลงนามหรือ ผู้อํานวยการ หรือประธานกรรมการ(2) ข้อบังคับหรือระเบียบกําหนดผู้มีอํานาจ ลงนามในการทําธุรกรรมทางการเงิน |
ทั้งนี้ การติดต่อขอรับบริการด้วยช่องทางการส่งทางไปรษณีย์นั้น ให้ผู้ขอรับบริการส่งสําเนาเอกสารแสดงตนที่รับรองถูกต้องได้โดยอนุโลม
ข้อ 5 การลงลายมือชื่อในคําขอและการรับรองสําเนาเอกสาร
5.1 กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้เยาว์
(1) กรณีผู้เยาว์ที่มีอายุต่ํากว่า 15 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ซึ่งมีชื่อในใบตราสารหนี้นั้น เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอและรับรองสําเนาถูกต้องในสําเนาเอกสารประกอบคําขอตามที่กําหนด
(2) กรณีผู้เยาว์ที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้เยาว์และผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ซึ่งมีชื่อในใบตราสารหนี้นั้น เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอและรับรองสําเนาถูกต้องในสําเนาเอกสารประกอบคําขอตามที่กําหนดร่วมกัน
5.2 กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นคนไร้ความสามารถ ให้ผู้อนุบาลที่ศาลแต่งตั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอและรับร้องสําเนาถูกต้องในสําเนาเอกสารประกอบคําขอตามที่กําหนด
5.3 กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้คนเสมือนไร้ความสามารถและผู้พิทักษ์ที่ศาลแต่งตั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอและรับรองสําเนาถูกต้องในลําเนาเอกสารประกอบคําขอตามที่กําหนดร่วมกัน
ข้อ 6 ผู้ขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้จะต้องให้ตัวอย่างลายมือชื่อไว้กับ ธปท. เพื่อใช้ในการติดต่อขอรับบริการ
กรณีผู้ขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ยังมิเคยให้ตัวอย่างลายมือชื่อแก่ ธปท. หรือมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างลายมือชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ หรือเปลี่ยนแปลงผู้มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคล สามารถดําเนินการได้ ดังนี้
6.1 กรณีบุคคลธรรมดา จะต้องจัดทําตัวอย่างลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ธปท. หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของผู้แทนจัดจําหน่ายตราสารหนี้
6.2 กรณีนิติบุคคล จะต้องนําส่งหนังสือตัวอย่างลายมือชื่อของผู้มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคลนั้น แก่ ธปท. พร้อมเอกสารแสดงตน โดยสามารถยื่นผ่านเคาน์เตอร์ ธปท. ที่ให้บริการหรือผู้แทนจัดจําหน่ายตราสารหนี้ หรือนําส่งให้ ธปท. ทางไปรษณีย์
ข้อ 7 การติดต่อขอรับบริกรธุรกรรมตราสารหนี้ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 และการให้ตัวอย่างลายมือชื่อตามข้อ 6 ผู้ขอรับบริการอาจติดต่อขอรับบริการผ่านช่องทางผู้แทนจัดจําหน่ายตราสารหนี้เพื่อส่งเรื่องต่อให้ ธปท. ดําเนินการได้ ทั้งนี้ ตามที่ผู้ออกตราสารหนี้ได้กําหนดไว้
อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,745 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 6/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 6 /2560
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นถึงความจําเป็นของสถาบันการเงินในการดําเนินธุรกิจในรูปแบบของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมากขึ้น แต่การดําเนินธุรกิจในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น หากไม่มีการกํากับดูแลอย่างเหมาะสมก็อาจส่งผลให้การดําเนินธุรกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน ดังนั้น ในปี 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีการออกแนวนโยบายการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเริ่มทดลองถือปฏิบัติโดยยังไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายต่อมาเมื่อมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 66/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่ในช่วงแรกได้กําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติในหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพก่อนจากนั้นได้มีการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2553 เพื่อบังคับใช้หลักเกณฑ์อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2553 เป็นต้นมา และได้มีการปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาโดยลําตับทั้งในเรื่องของการปรับปรุงให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Base! III เมื่อปี 2555 และการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจสําหรับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบธุรกิจศูนย์ฝึกอบรมซึ่งเป็นธุรกิจสนับสนุนเมื่อปี 2556
ในการกํากับดูแลโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยแบ่งระดับการกํากับดูแลออกเป็น 2 ระดับ ตามลักษณะของการประกอบธุรกิจและความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับสถาบันการเงินเพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ระดับ Solo Consolidation ซึ่งจะประกอบด้วย สถาบันการเงิน และบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่สถาบันการเงินถือหุ้นโดยตรงตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป ซึ่งสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันกับบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ได้ไม่จํากัด แต่บริษัทลูกดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์กํากับดูแลโดยทั่วไปโดยเฉพาะในเรื่องที่สําคัญเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน
(2) ระดับ Full Consolidation ซึ่งจะประกอบด้วย สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูกและบริษัทร่วมทั้งหมดทุกบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งหมดนี้จะต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยทั่วไปตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความสําคัญกับบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินจึงกําหนดคุณสมบัติของบริษัทแม่ที่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงินและบทบาทหน้าที่ของบริษัทแม่ โดยให้บริษัทแม่ต้องมีการกําหนดนโยบายการดําเนินธุรกิจ แผนการดําเนินธุรกิจ นโยบายการบริหารความเสี่ยงและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และต้องมีการควบคุมดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในครั้งนี้ มีสาระสําคัญ 3 เรื่อง ดังนี้
(1) ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน
(1.1) ขยายขอบเขตธุรกิจทางการเงินให้รวมถึงธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการรายย่อยและกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
(1.2) ขยายขอบเขตธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน ให้ครอบคลุมถึงธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (Financial Technology : FinTech) เพื่อให้การลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการเงินของสถาบันการเงินมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งการประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องดําเนินการตามขอบเขตที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
(1.3) ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจสนับสนุนประเภทธุรกิจการให้บริการขนส่งเงิน เพื่อให้สามารถให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งเงินรายอื่นได้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งเงินรายอื่นนั้นเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ต้องดําเนินการตามแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP)
(2) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital)
กําหนดให้บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน สามารถร่วมลงทุนได้เฉพาะในกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMES) ตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (Financial Technology : FinTech) หรือเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุนอื่นที่ไม่ใช่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน กองทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust) ที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนหรือธุรกิจการร่วมลงทุน (Private Equity) ในรูปแบบอื่น ที่มีการร่วมลงทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน รวมถึง ขยายระยะเวลาการร่วมลงทุนในกิจการของธุรกิจเงินร่วมลงทุน จากเดิมที่กําหนดไว้ไม่เกิน 7 ปี เป็นไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่เข้าร่วมลงทุนในกิจการ
(3) กําหนดอัตราส่วนการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (FinTech Limit)
กําหนดให้การลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการเงินของสถาบันการเงิน ทั้งที่เป็นการลงทุนในบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และการร่วมลงทุนผ่านบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน และการลงทุนผ่านกองทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนของสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงิน ต้องไม่เกินอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 58 มาตรา 59 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมทุกแห่งของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ยกเว้น สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
4.1 คําจํากัดความ
"การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน" (Consolidated Supervision) หมายความว่า การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยคํานึงถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยรวมที่มีผลกระทบต่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและสถาบันการเงินนั้น ๆ ไม่ว่าความเสี่ยงนั้นจะปรากฏอยู่ในบัญชีของสถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดําเนินธุรกิจในขอบเขตที่เหมาะสมและมีความมั่นคง
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า
ก. ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งหมายความรวมถึง ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ แต่ไม่รวมสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ข. บริษัทเงินทุน
ค. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
"อํานาจควบคุมกิจการ" หมายความว่า อํานาจควบคุมกิจการในบริษัทอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในลักษณะดังต่อไปนี้
ก. มีหุ้นในบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ข. มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหนึ่ง
ค. มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้มีอํานาจในการจัดการหรือกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดในบริษัทหนึ่ง หรือ
ง. มีอํานาจควบคุมกิจการในลักษณะอื่นใดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
การมีหุ้นในบริษัทหนึ่งตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีอํานาจควบคุมกิจการ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีอํานาจควบคุมกิจการ
"สถาบันการเงินไทยที่มีต่างชาติถือหุ้นมากกว่ากึ่งหนึ่ง (Hybrid financial institution)" หมายความว่า สถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีต่างชาติรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมมากกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสถาบันการเงินแห่งนั้น
"สถาบันการเงินที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ (Subsidiary)" หมายความว่า สถาบันการเงินจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีสถาบันการเงินต่างประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมไม่ต่ํากว่าร้อยละเก้าสิบห้าของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสถาบันการเงินแห่งนั้น
"ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน (Financial Technology: FinTech)" หมายความว่า ธุรกิจที่มีการนําเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจที่เป็นการสนับสนุนธุรกิจทางการเงิน
"ธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ" หมายรวมถึง ธุรกิจการให้เช่าซื้อ ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ และธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์
"กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน
"ที่ปรึกษา" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน
4.2 โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
กลุ่มธุรกิจทางการเงินประกอบด้วย สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกบริษัทจะประกอบธุรกิจได้แต่เฉพาะธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุนตามที่กําหนดในข้อ 4.3 เท่านั้น จะประกอบการค้าหรือธุรกิจอื่นมิได้ ทั้งนี้ โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ (ตัวอย่างโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามเอกสารแนบ 1)
4.2.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน
บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกอบด้วย บริษัทแม่ที่เป็นสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในประเทศไทย และบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน ทั้งในและต่างประเทศ โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินรูปแบบนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
(1) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีสถาบันการเงินซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ (Domestic financial institution)
(2) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีสถาบันการเงินซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ และสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นบริษัทถูกของสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในต่างประเทศ (Hybrid financial institution หรือ Subsidiary)
(3) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่มีสถาบันการเงินซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเป็นบริษัทแม่ และสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นบริษัทลูกของบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศซึ่งไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน (Subsidiary of a company, not a financial institution)
4.2.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน
บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ประกอบด้วย บริษัทแม่ที่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน และบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่เป็นสถาบันการเงิน บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงิน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งบริษัทแม่ประเภทนี้ได้แก่
(1) บริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ (Regulated entity) เช่น บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกัน ซึ่งหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวต้องมีมาตรฐานการกํากับดูแลเป็นที่ยอมรับของธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัทดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกํากับดูแลของตนให้เป็นบริษัทแม่
(2) บริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ทําธุรกิจของตนเอง (Non - operating holding company) แต่เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทอื่นมากกว่าเพื่อการลงทุนหาผลตอบแทนทั่วไป ทั้งนี้ บริษัทโฮลดิ้งดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและประกอบธุรกิจตามที่กําหนดในข้อ 4.5
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามความเหมาะสมกับโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ โดยเฉพาะในกรณีที่สถาบันการเงินที่จดทะเบียนในต่างประเทศซึ่งเป็นบริษัทแม่ของสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในประเทศไทยไม่ได้ถูกกํากับดูแลในลักษณะของการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า หลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ใช้บังคับกับสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในต่างประเทศนั้นยังไม่เพียงพอหรือมีมาตรฐานต่ํากว่ามาตรฐานในเรื่องเดียวกันของธนาคารแห่งประเทศไทย
4.3 ขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทุกบริษัทสามารถประกอบธุรกิจได้เฉพาะธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน ดังต่อไปนี้
4.3.1 ธุรกิจทางการเงิน ได้แก่ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจการให้เช่าซื้อ ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ธุรกิจแฟ็กเตอริง ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ ธุรกิจเกี่ยวกับการให้กู้ยืม ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ธุรกิจโฮลดิ้ง ที่ลงทุนในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเอง ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ธุรกิจเกี่ยวกับการชําระเงินและโอนเงิน ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต ธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจทรัสตีตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน ธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่มีลักษณะเป็นธุรกิจทางการเงิน และธุรกิจอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด
สําหรับธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่มีลักษณะเป็นธุรกิจทางการเงิน ได้แก่ ธุรกิจที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการให้บริการที่ก่อให้เกิดการทําธุรกรรมทางการเงิน เช่น การเป็นผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นตัวกลางระหว่างผู้ระดมทุนและผู้ลงทุน (Crowd-funding Portal การให้บริการเกี่ยวกับการโอนเงินและการชําระเงินทั้งในและต่างประเทศ
(2) เป็นการให้บริการการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ หลักทรัพย์ หรือประกันภัย รวมถึง การให้บริการข้อมูล การให้คําแนะนํา และการเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน
ธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่มีลักษณะตามที่กําหนดข้างต้นที่มีกฎหมายเฉพาะหรือมีหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์เฉพาะดังกล่าวด้วย
4.3.2 ธุรกิจสนับสนุน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) ธุรกิจที่ให้บริการเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของสถาบันการเงินกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และหน่วยงานราชการ ได้แก่ ธุรกิจที่มีขอบเขตและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้
(1.1) ขอบเขตธุรกิจ: เป็นงานด้านปฏิบัติการซึ่งบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินจะต้องปฏิบัติในการดําเนินธุรกิจปกติ หรือเป็นงานที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินโดยตรง เพื่อให้การดําเนินงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินเป็นไปตามเป้าหมาย
(1.2) เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ: เป็นการให้บริการแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเดียวกันหรือบุคคลอื่น ได้แก่ สถาบันการเงินอื่น บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และหน่วยงานราชการ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์รับให้บริการแก่ธุรกิจทางการเงินหรือทางการ (Insourcing) แต่จะให้บริการแก่บุคคลทั่วไปไม่ได้ ยกเว้น
(1.2.1) ธุรกิจวิจัยข้อมูล ธุรกิจกฎหมาย ธุรกิจประเมินราคาสินทรัพย์ และธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึง ธุรกิจการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) เช่น เทคโนโลยี Blockchain
(1.2.2) ธุรกิจศูนย์ฝึกอบรม โดยการให้บริการต้องเป็นไปตามขอบเขต ประเภทผู้รับบริการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนขการให้บริการ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่น (Services) แก่ลูกค้าทั่วไปเพิ่มเติมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์บางประการ ซึ่งการให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการใช้บริการศูนย์ฝึกอบรมนั้น ต้องสอดคล้องกับประเภทของธุรกิจหลักที่ธุรกิจสนับสนุนนั้นได้รับอนุญาตให้ดําเนินการตามหนังสืออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยและให้บริการเป็นปกติอยู่แล้ว
(1.2.3) ธุรกิจการให้บริการขนส่งเงินที่ให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งเงินรายอื่น เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งเงินรายอื่นนั้นเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ต้องดําเนินการตามแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP)2
ทั้งนี้ รายได้ส่วนใหญ่จากการให้บริการตามข้อ (1.2.1) และ (1.2.2) ที่กล่าวข้างต้น ต้องมาจากการให้บริการแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเดียวกันและบุคคลอื่นตามที่กําหนดข้างต้น (ซึ่งไม่ใช่บุคคลทั่วไป) เมื่อเทียบกับรายได้รวมของบริษัทนั้น
(2) ธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่มีลักษณะเป็นการให้บริการเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกิจ หรือเป็นบริการที่ช่วยสนับสนุนให้ลูกค้ามีข้อมูลทางการเงินที่จะช่วยสนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยมีขอบเขตและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้
(2.1) ขอบเขตธุรกิจ: เป็นการให้บริการเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกิจ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การดําเนินธุรกิจและการจัดการข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้ามีข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ามีข้อมูลทางการเงินที่เพียงพอต่อการเข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน เช่น การให้บริการแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้าและบริการของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ชายสินค้า (e-Marketplace Platform) การให้บริการเครื่องมือหรือผู้ช่วยทางธุรกิจ (Business tools) เช่น การให้บริการแอปพลิเคชัน (application) ที่เกี่ยวกับการจัดการด้านบัญชีหรือภาษี
(2.2) เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ: เป็นการให้บริการแก่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลทั่วไป หรือบุคคลอื่นตามที่กําหนดในข้อ 4.3.2 (1.2)
ทั้งนี้ กรณีเป็นธุรกิจเทคโนโลยีการเงินที่ไม่อยู่ในขอบเขตหรือเงื่อนไขที่กําหนดข้างต้น ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
สําหรับธุรกิจสนับสนุนที่มีกฎหมายเฉพาะหรือมีหลักเกณฑ์ที่กําหนดโดยหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ (Regulated entity) ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์นั้น
4.4 หน้าที่ของบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
เพื่อให้การประกอบธุรกิจและการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีประสิทธิภาพมีความมั่นคง และสอดคล้องกับนโยบายและหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทแม่ต้องมีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินและรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบเป็นประจําทุกปี และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญโดยให้บริษัทแม่รายงานนโยบายและแผนกลยุทธ์ดังกล่าวมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแม่ให้ความเห็นชอบ
(2) กําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ระบบการควบคุมและติตตามดูแล โดยให้ถือปฏิบัติตามแนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) และการจัดทําแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) ของสถาบันการเงิน
(3) ควบคุมและดูแลให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามนโยบายที่บริษัทแม่กําหนด รวมถึงหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง
(4) ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามสมควรเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือแก้ไขให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีเงินกองทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(5) รายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่อาจกระทบต่อฐานะและชื่อเสียงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น บริษัทแม่ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยให้บริษัทแม่รายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
(6) มีและจัดเตรียมข้อมูลของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ทั้งรายบริษัทและภาพรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าตรวจสอบได้ เช่น งบการเงิน และข้อมูลทางการเงินที่สําคัญ
4.5 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง
4.5.1 คุณสมบัติของบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง
เนื่องจากบริษัทแม่มีบทบาทสําคัญต่อความมั่นคงในการดําเนินธุรกิจ ทั้งในด้านการสนับสนุนทางการเงินและการกําหนดนโยบายการบริหารงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ดังนั้น บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่จึงต้องมีคุณสมบัติที่สําคัญดังนี้
(1) เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย
(2) มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง และมีความสามารถในการระดมเงินทุนเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้อย่างเพียงพอ
(3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอํานาจควบคุมกิจการบริษัทโฮลดิ้งที่แท้จริงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การรายงานการถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินหรือบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ถือหุ้นหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของสถาบันการเงินเกินร้อยละ 10 ขึ้นไป
ทั้งนี้ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ต้องตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นทุกครั้งก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นหรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น และแจ้งผลการตรวจสอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจัดทํารายการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทโฮลดิ้งตามแบบรายงานเช่นเดียวกับกรณีของสถาบันการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการแจ้งผลการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นของสถาบันการเงิน และจัดส่งมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการตรวจสอบทะเบียนผู้ถือหุ้นก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น หรือก่อนจ่ายเงินปันผลหรือผลตอบแทนอื่นใดแก่ผู้ถือหุ้น
(4) มีกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอความเห็นชอบมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ นาคารแห่งประทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
4.5.2 ขอบเขตธุรกิจของบริษัทแม่ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง
บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่สามารถประกอบธุรกิจได้เฉพาะที่กําหนดดังต่อไปนี้
(1) ลงทุนและทําธุรกรรมกับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเอง
ทั้งนี้ การลงทุนในบริษัทอื่นใดอันมีผลทําให้บริษัทโฮลดิ้งมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การลงทุนของบริษัทแม่ตามข้อ 4.6.1 ซึ่งการนับการถือหุ้นจะนับทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน รวมทั้ง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และให้นับการถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมกิจการทุกทอด
(2) ลงทุนในบริษัทอื่นใดที่ไม่ใต้อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเองได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และรวมกันทุกบริษัทไม่เกินร้อยละ 10 ของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทโฮลดิ้ง ทั้งนี้ ในการนับการลงทุนจะนับเฉพาะการถือหุ้นทางตรงของบริษัทโฮลดิ้งเท่านั้น
(3) บริหารเงินเพื่อตนเองหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินของตนเอง
(4) จัดหาเงินทุนโดยวิธีอื่นใด เพื่อใช้ในการดําเนินธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและของตนเอง รวมถึงการออกหุ้นกู้ ยกเว้น การทําธุรกรรมที่เทียบเคียงได้กับการรับฝากเงิน
(5) ประกอบธุรกิจสนับสนุน
(6) ประกอบธุรกิจอื่นใดตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
4.6 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทแม่
4.6.1 ขอบเขตการลงทุน
ห้ามบริษัทแม่ลงทุนในบริษัทใดเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีดังต่อไปนี้ โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตดังกล่าวมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน (ตัวอย่างการกํากับดูแลกรณีบริษัทแม่ลงทุนในบริษัทใดเกินร้อยละ 10 ตามเอกสารแนบ 2)
(1) การลงทุนในบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทแม่ต้องลงทุนในบริษัทจนมีอํานาจควบคุมกิจการ และต้องเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้
(1.1) ธุรกิจทางการเงิน ตามที่กําหนดในข้อ 4.3.1 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะอนุญาตให้เฉพาะกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่มีศักยภาพสูงลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture Capital) เนื่องจากธุรกิจเงินร่วมลงทุนเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ บริษัทแม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับธุรกิจเงินร่วมลงทุนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 3
(1.2) ธุรกิจสนับสนุน ตามที่กําหนดในข้อ 4.3.2
ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทแม่ลงทุนในบริษัทที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ บริษัทแม่ต้องตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถดําเนินการจัดส่งข้อมูลของบริษัทนั้นให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตามที่ร้องขอ
(2) การลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(2.1) กรณีบริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินจะลงทุนในบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นได้ เฉพาะในบริษัทดังต่อไปนี้
ก. บริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่บริษัทแม่ไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ถือหุ้นอยู่ก่อนแล้ว
ข. บริษัทที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนเพื่อประโยชน์ในการดําเนินงานของสถาบันการเงินและระบบสถาบันการเงินโดยรวม เช่น บริษัท ข้อมูลเครติตแห่งชาติ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ็กซ์ บริษัท S.W.I.F.T และบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น
ค. บริษัทที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การชําระหนี้ การบังคับชําระหนี้ หรือการประกันการให้สินชื่อ ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ง. บริษัทที่อยู่ระหว่างการชําระบัญชี
จ. บริษัทที่ประกอบธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุนที่บริษัทแม่ไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจอื่น ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการลงทุนโดยบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจทางการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ (Regulated entity) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวอนุญาตให้สามารถลงทุนได้
อย่างไรก็ตาม การลงทุนของบริษัทลูกดังกล่าวต้องไม่เป็นการหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทแม่ตามประกาศฉบับนี้ เช่น การลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการเข้าไปมีอํานาจในการสั่งการ รวมถึง มีสิทธิในผลตอบแทนที่ผันแปรตามผลการดําเนินงานในธุรกิจนั้น และสามารถใช้อํานาจในการทําให้เกิดผลกระทบต่อผลตอบแทนที่จะได้รับ นอกเหนือไปจากการลงทุนเพื่อผลตอบแทนทั่วไปที่จะได้รับจากเงินปันผลและการเปลี่ยนแปลง
(2.2) กรณีบริษัทแม่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน
ห้ามบริษัทแม่ที่เป็นนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงินลงทุนในบริษัทใดเกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นโดยไม่มีอํานาจควบคุมกิจการ เว้นแต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะของบริษัทแม่นั้นอนุญาต หรือเป็นการลงทุนในบริษัทตามที่กําหนดในข้อ 4.6.1 (2.1) ง. และ 4.6.1 (2.1) จ.
ทั้งนี้ ในกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย การลงทุนในบริษัทถูกถือเป็นธุรกรรมการลงทุนในตราสารทุน ดังนั้น บริษัทแม่ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยด้วย เว้นแต่กรณีบริษัทแม่นั้นมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานดังกล่าวกําหนดในเรื่องนั้น ๆ
4.6.2 การนับการถือหุ้น
(1) ในการนับการถือหุ้นของบริษัทแม่ ให้นับการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยนับการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของบริษัทแม่เข้ามารวมกับการถือหุ้นของบริษัทแม่นั้นด้วยนอกจากนี้ ให้นับการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ลงไปทุกทอดที่บริษัทแม่มีอํานาจควบคุมกิจการ แม้บริษัทแม่จะมีการถือหุ้นเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีการถือหุ้นในบริษัทนั้นเลย
(2) ในกรณีที่กรรมการ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ไม่รวมผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นกระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือส่วนราชการอื่น) และบุคคลที่ทําหน้าที่เยี่ยงกรรมการของบริษัทแม่ รวมทั้ง ผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าว ถือหุ้นในบริษัทที่บริษัทแม่ถือหุ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า การถือหุ้นของบุคคลเหล่านั้นเป็นการถือหุ้นทางอ้อมของบริษัทแม่ เว้นแต่บริษัทแม่จะพิสูจน์ได้ว่า การถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการกระทําในฐานะตัวแทนของตนหรือไม่ใช่เป็นการถือหุ้นทางอ้อมของตนในราคาหุ้น
(3) การถือหุ้นในบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีการเงินตามที่กําหนดในข้อ 4.3.1 (1) - (2) และ 4.3.2 (2) เมื่อรวมกับการถือหุ้นหรือการลงทุนดังต่อไปนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ 3 ของเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน
(3.1) การลงทุนของบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการเงินโดยตรง ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3
(3.2) การลงทุนของบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนใน (1) ธุรกิจเงินร่วมลงทุนอื่นที่ไม่ใช่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือ (2) กองทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust) ที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน หรือ (3) ธุรกิจการร่วมลงทุน (Private Equity) ในรูปแบบอื่น ที่มีการร่วมลงทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีการเงินตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3
(3.3) การลงทุนของสถาบันการเงินผ่านกองทรัสต์เพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust) ที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุนที่มีการร่วมลงทุน (1) ในธุรกิจเทคโนโลยีการเงินโดยตรง หรือ (2) ในธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่ไม่ใช่บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือในธุรกิจการร่วมลงทุน (Private Equity) ในรูปแบบอื่น ที่มีการร่วมลงทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนของสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ซึ่งในการพิจารณาผ่อนผันธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์ให้ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมได้
4.7 กลุ่มธุรกิจทางการเงินตามลักษณะการกํากับดูแล
กลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถแบ่งตามลักษณะการกํากับดูแลออกได้เป็น 2 ระดับ ดังนี้
4.7.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินระดับ Solo Consolidation ประกอบด้วย สถาบันการเงิน และบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ทุกบริษัท
(1) บริษัทถูกในกลุ่ม Solo Consolidation หมายถึง บริษัทถูกที่ประกอบธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ ซึ่งมีลักษณะทุกข้อดังต่อไปนี้
(1.1) สถาบันการเงินถือหุ้นโดยตรงตั้งแต่ร้อยละ 75 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(1.2) การบริหารงานของบริษัทลูกอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสถาบันการเงินโดยตรง
(1.3) ไม่มีข้อจํากัดในด้านกฎหมายหรือการโอนเงินระหว่างประเทศที่ทําให้ไม่สามารถโอนเงินจากบริษัทลูกในกลุ่มนี้ไปยังสถาบันการเงิน เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขอผ่อนผันมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะลงทุนในบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ในวันที่นําบริษัทดังกล่าวเข้ามาอยู่ในกลุ่ม กล่าวคือ เมื่อสถาบันการเงินนําเงินลงทุนในบริษัทลูกดังกล่าวมาหักออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงินแล้ว สถาบันการเงินยังสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามกฎหมาย
นอกจากนี้ สถาบันการเงินสามารถเลือกที่จะไม่นําบริษัทที่เข้าลักษณะการเป็นบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation เข้ามาเป็นบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ได้ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาให้บริษัทใดอยู่ในกลุ่ม Solo Consolidation หรือไม่ก็ได้
(2) ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินใตไม่มีบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ให้ถือว่า สถาบันการเงินคือกลุ่มธุรกิจทางการเงินระดับ Solo Consolidation
4.7.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินระดับ Full Consolidation ประกอบด้วย สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ตามข้อ 4.7.1 (1) และบริษัทลูกนอกกลุ่ม solo Consolidation (ซึ่งหมายถึง บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งหมดที่ไม่ใช่บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation)
4.8 การกํากับดูแลการประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
เนื่องจากกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจประกอบธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจการให้เช่าซื้อ ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง และธุรกิจแฟ็กเตอริง ผ่านบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation หรือบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติจึงได้กําหนดแนวทางการกํากับดูแลการประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในแต่ละระดับ ดังนี้
4.8.1 การประกอบธุรกิจของบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation
บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่มีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจไว้เป็นการเฉพาะหรือมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะนั้นกําหนด ทั้งด้านขอบเขตการประกอบธุรกิจและหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ และธุรกิจบริหารสินทรัพย์
(2) ธุรกิจการให้สินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อที่ไม่มีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจไว้เป็นการเฉพาะหรือไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในการอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินนําหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2.1) ธุรกิจการให้เช่าซื้อและธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยเรื่องดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี
ก. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง
ข. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และการรับโอนซี่งสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการจําหน่ายสินค้าในกิจการเงินทุนเพื่อการจําหน่ายและการบริโภค หรือ
ค. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของบริษัทเงินทุนประเภทกิจการเงินทุนเพื่อการเคหะและของบริษัทเครติตฟองซิเอร์
ทั้งนี้ บริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation สามารถให้บริการได้เฉพาะสัญญาเช่าทางการเงิน (Financial lease) เท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้บริการสัญญาเช่าดําเนินงาน (Operating lease) ซึ่งในกรณีที่บริษัทลูกได้มีการทําสัญญาให้บริการสัญญาเช่าดําเนินงานอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวให้บริการสัญญาเช่าดําเนินงานต่อไปได้จนครบกําหนดระยะเวลาของสัญญาเท่านั้นและห้ามมิให้มีการทําสัญญาเช่าดําเนินงานเพิ่มเติมหรือต่ออายุสัญญาอีก
(2.2) ธุรกิจแฟ็กเตอริงให้ถือปฏิบัติตามแนวทางของกฎหมายหรือประกาศที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง (Factoring)
4.8.2 การประกอบธุรกิจของบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation
บริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ธุรกิจทางการเงินที่มีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจไว้เป็นการเฉพาะหรือมีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะนั้นกําหนด ทั้งด้านขอบเขตการประกอบธุรกิจและหลักเกณฑ์การกํากับดูแล เช่น ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจประกันวินาศภัย ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ โดยธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกํากับและธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับกรณีบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ตามที่กําหนดในข้อ 4.8.1 (1)
(2) ธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุนที่ไม่มีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจไว้เป็นการเฉพาะหรือไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะ เช่น ธุรกิจการให้เช่าซื้อ ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง และธุรกิจแฟ็กเตอริงให้ประกอบธุรกิจได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในการอนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น การให้บริการด้านงานสนับสนุน
ทั้งนี้ บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย นอกจากต้องถือปฏิบัติตามข้อ 4.8.1 และ 4.8.2 แล้ว ยังต้องถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยด้วย
4.9 การขออนุญาตจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
4.9.1 การขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน บริษัทแม่ต้องดําเนินการขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารประกอบการขออนุญาตตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 มายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะคํานึงถึงความมั่นคงของสถาบันการเงินและประโยชน์ในการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเป็นหลัก
4.9.2 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(1) ในกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามที่เคยได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วรวมทั้ง การเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน แม้ไม่ได้ทําให้โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเปลี่ยนแปลงก็ตาม ให้บริษัทแม่ยื่นคําขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมรายละเอียดดังนี้
(1.1) เหตุผลความจําเป็นของการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(1.2) ข้อมูลของบริษัทที่ต้องการมีอํานาจควบคุมกิจการ เช่น โครงสร้างการถือหุ้น รายชื่อกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน
(1.3) แผนดําเนินการในเรื่องดังกล่าว
(1.4) เอกสารหรือข้อมูลอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจขอให้ยื่นเพิ่มเติมตามความจําเป็นรายกรณี
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
(2) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยการถอนบริษัทที่เคยได้รับอนุญาตอยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินออกจากกลุ่มธุรกิจทางการเงินบริษัทแม่ต้องดําเนินการดังนี้
(2.1) กรณีสิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้น แต่บริษัทแม่ยังคงมีอัตราส่วนการถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นให้บริษัทแม่ขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยในการถือหุ้นบริษัทนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินเกินกว่าร้อยละ 10 โดยให้บริษัทแม่ยื่นคําขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
(2.2) กรณีสิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้นแต่บริษัทแม่มีอัตราส่วนการถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้นให้บริษัทแม่รายงานมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
บริษัทแม่ต้องดําเนินการตามข้อ 9.9.2 (2) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้โอนหุ้นออกไปหรือวันที่สิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้น พร้อมส่งผังโครงสร้างการถือหุ้นใหม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และหนังสือรับทราบการยกเลิกสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะของการเป็นบริษัทลูกภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่วันที่ได้โอนหุ้นออกไปหรือวันที่สิ้นสุดการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทนั้น มายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสั่งการเป็นอย่างอื่น
อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล
บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีการร่วมลงทุนในกิจการใด ๆ อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุนสามารถร่วมลงทุนในกิจการดังกล่าวต่อไปได้จนครบระยะเวลาในการร่วมลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 3
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2560
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,746 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3/2559 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 3 /2559
เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
-----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
ธรรมาภิบาลในองค์กรเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญในการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและน่าเชื่อถือ อันจะนําไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ความมั่นคงในระยะยาว และการเพิ่มมูลค่าในกิจการ ตลอดจนการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ องค์ประกอบที่สําคัญในการส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในสถาบันการเงิน คือ กรรมการและผู้บริหารที่มีความรอบคอบในการบริหารงาน มีคุณธรรมจริยธรรม และความสามารถในการดูแลและบริหารกิจการ
ด้วยเหตุผลข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศฉบับนี้ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่อง องค์ประกอบ คุณสมบัติ และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงคณะกรรมการชุดย่อย โดยมุ่งหวังให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีโครงสร้างการถ่วงดุลและกระจายอํานาจที่เหมาะสมและมีการบริหารจัดการที่มีระบบ มีธรรมาภิบาลที่ดีมีความโปร่งใส และไม่เกิดความขัดแย้งด้านผลประโยชน์
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 มาตรา 71 มาตรา 81 (2) และมาตรา 84 ประกอบมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อื่นๆ - 4.เนื้อหา
4.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"สถาบันการเงินเฉพาะกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
"กลุ่มธุรกิจ" หมายความว่า
(1) กลุ่มของบริษัทที่ประกอบด้วยบริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วม
(2) กลุ่มของบริษัทที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบุคคลเดียวกัน
"กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" หมายความว่า
(1) กรรมการที่ทําหน้าที่บริหารงานในตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น
(2) กรรมการที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการหรือมีส่วนร่วมในการบริหารงานใด ๆ เยี่ยงผู้บริหาร และให้หมายความรวมถึงบุคคลในคณะกรรมการบริหาร (Executive committee)
(3) กรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพัน เว้นแต่เป็นการลงนามผูกพันตามรายการที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติไว้แล้วเป็นรายกรณี และเป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น
"ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือบุคคลที่อาจทําหน้าที่เปรียบเสมือนกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เพียงใช้ชื่อว่าเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น รวมไปถึงบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว แต่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย อย่างไรก็ตามไม่รวมถึงบุคคลที่รับจ้างทํางานให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชี ที่ปรึกษากฎหมายที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาด้านภาษี ที่ปรึกษาด้านภาษา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กรที่ปรึกษาด้านประกันภัย ที่ปรึกษาด้านแบบจําลองเชิงปริมาณขั้นสูง เป็นต้น
"กรรมการโดยตําแหน่ง" ให้หมายความรวมถึงกรรมการที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานราชการด้วย
4.2 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องมีคุณสมบัติและความสามารถที่เหมาะสม (Fit and proper) โดยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในกฎหมาย ดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง
(2) กฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
(3) กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ
(4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ
(5) กฎหมายและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
4.3 การเป็นกรรมการในบริษัทอื่นของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่งผู้จัดการ และผู้มีอํานาจใน การจัดการ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ และผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สามารถเป็นประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หรือกรรมการผู้มีอํานาจลงนาม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในบริษัทอื่นได้อีกไม่เกิน 3 กลุ่มธุรกิจ ทั้งนี้ ให้นับรวม การดํารงตําแหน่งในรัฐวิสาหกิจอื่นด้วย
การเป็นประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หรือกรรมการผู้มีอํานาจลงนามในบริษัทตามวรรคหนึ่ง หากเป็นบริษัทที่มิได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน ให้นับแต่ละบริษัทเป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจ ทั้งนี้ สําหรับบริษัทที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้มาจากการปรับโครงสร้างหนี้ ให้ถือว่าเป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจ
ทั้งนี้ หากธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่า การเป็นประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หรือกรรมการผู้มีอํานาจลงนาม ในบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจตามวรรคหนึ่ง และบริษัทตามวรรคสองมีจํานวนมากเกินไป จนอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ และผู้มีอํานาจในการจัดการ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการหรือเสนอให้เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
4.4 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ในการขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ในการแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ และที่ปรึกษา ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
4.5 ความรับผิดชอบของกรรมการในการบริหารงนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ในการบริหารงานสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
4.5.1 ปฏิบัติตามกฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
4.5.2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริตปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือแนวนโยบายของหน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของ รวมถึงดําเนินการตามที่ผู้ตรวจการสถาบันการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการอย่างเคร่งครัด ตลอดจนการปฏิบัติตามพันธกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและตามนโยบายของหน่วยงานกํากับด้านนโยบาย
4.5.3 ดูแลให้มีการจัดทําและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่แท้จริง โดยต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้น หน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของผู้ฝากเงิน และประชาชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ กรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมดูแลการจัดทําบัญชีให้ถูกต้องด้วย
4.5.4 กรณีสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีทุนเป็นทุนเรือนหุ้น ให้ดูแลให้มีการแจ้งผู้ถือหุ้นภายในสี่เดือนนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นประสบปัญหาการขาดทุนจนทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือน ลดลงเหลือต่ํากว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่ชําระแล้ว และให้แจ้งผู้ถือหุ้นอีกครั้งเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือต่ํากว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนที่ชําระแล้ว เพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามความเป็นจริง
กรณีสถบันการเงินเฉพาะกิจที่ไม่มีทุนเป็นทุนเรือนหุ้น ให้ดูแลให้มีการแจ้งหน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของ เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นประสบปัญหาการขาดทุนจนทําให้ส่วนของเจ้าของเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือน ลดลงเหลือต่ํากว่าร้อยละห้าสิบของส่วนของเจ้าของเพียงสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนก่อนหน้า และให้แจ้งหน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของอีกครั้งเมื่อส่วนของเจ้าของลดลงเหลือต่ํากว่าร้อยละยี่สิบห้าของส่วนของเจ้าของเพียงสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนก่อนหน้าเพื่อให้หน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของทราบถึงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามความเป็นจริง
4.6 โครงสร้างคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย
4.6.1 องค์ประกอบ และหน้าที่ของคณะกรรมการ
(1) องค์ประกอบ
องค์ประกอบของคณะกรรมการให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมาย ดังต่อไปนี้
(1.1) กฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น และ
(1.2) กฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และ
(1.3) กฎหมายหรือหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(2) หน้าที่ของคณะกรรมการ
คณะกรรมการต้องดําเนินกิจการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และพึงหลีกเลี่ยงปัญหาในเรื่องของความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ขององค์กรโดยรวม ทั้งนี้ โดยทั่วไปคณะกรรมการมีหน้าที่กํากับดูแลการกําหนดนโยบาย การดูแลให้มีกระบวนการบริหารจัดการที่เหมาะสม และการดูแลให้มีระบบการติดตามตรวจสอบให้ปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนด ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(2.1) การกําหนดนโยบาย
(2.1.1) กําหนดทิศทางและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในภาพรวมรวมทั้งพิจารณาอนุมัตินโยบายและทิศทางการดําเนินงานตามที่ฝ่ายจัดการเสนอ และกํากับควบคุมดูแลให้ฝ่ายจัดการดําเนินการให้เป็นไปตามนโบายที่ได้รับการอนุมัติไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อระวังรักษาผลประโยชน์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และพันธกิจของการจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น
(2.1.2) ดูแลให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจจริยธรรมทางธุรกิจ จริยธรรมของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและพนักงาน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติภายในองค์กร
(2.2) การดูแลให้มีกระบวนการบริหารจัดการที่เหมาะสม
(2.2.1) พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและความจําเป็นของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง เพื่อช่วยดูแลระบบบริหารให้เป็นไปตามนโยบายที่กําหนดไว้ และพิจารณาอนุมัติบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยนั้นตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อยที่ได้แต่งตั้งขึ้น
(2.2.2) ดูแลให้เกิดความมั่นใจว่า ฝ่ายจัดการมีความสามารถในการจัดการในงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยแต่งตั้งผู้มีอํานาจในการจัดการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
(2.2.3) ดูแลให้ฝ่ายจัดการมีการกําหนดนโยบาย กระบวนการและการควบคุมทางด้านการบริหารความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ ทั้งนี้ คณะกรรมการต้องทําหน้าที่อนุมัตินโยบายดังกล่าว รวมทั้งทบทวนการปฏิบัติตามกลยุทธ์ และนโยบายในเรื่องดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ
(2.2.4) ดูแลให้มีการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ และการลงทุนแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(2.3) การดูแลให้มีระบบการติดตามตรวจสอบ
(2.3.1) ดูแลให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ
(2.3.2) ดูแลให้มีการถ่วงดุลอํานาจของฝ่ายจัดการ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
(2.3.3) ติดตามการดําเนินกิจการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสม่ําเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่ากรรมการที่เป็นผู้บริหาร และฝ่ายจัดการดําเนินกิจการตามกฎหมายและนโยบายที่วางไว้
(2.3.4) ดูแลให้ฝ่ายจัดการเสนอเรื่องที่สําคัญต่อคณะกรรมการและมีกระบวนการในการจัดส่งข้อมูลเพื่อให้คณะกรรมการ ได้รับข้อมูลจากฝ่ายจัดการอย่างเพียงพอที่จะทําให้คณะกรรมการสามารถปฏิบัติตามอํานาจ หน้าที่และความรับผิดชอบได้อย่างสมบูรณ์
(2.3.5) ดูแลให้มีกระบวนการในการจัดส่งรายงาน (Management letter) จากผู้สอบบัญชี และข้อคิดเห็นจากฝ่ายจัดการต่อคณะกรรมการโดยไม่ล่าข้าโดยคณะกรรมการต้องได้รับเอกสารดังกล่าวภายใน 4 เดือน หลังจากวันที่ปิดงวดการบัญชี ทั้งนี้ หากมีความล่าช้ามาก คณะกรรมการจะต้องขอคําชี้แจงในเรื่องดังกล่าวจากฝ่ายจัดการ
(2.3.6) ต้องเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจํานวนครั้งของการประชุมที่จัดขึ้นในแต่ละปี
ทั้งนี้ นอกจากอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการโดยทั่วไปตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในระยะยาวให้คณะกรรมการถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยอํานาจหน้าที่ของกรรมการสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุด
4.6.2 องค์ประกอบ คุณสมบัติ หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อย
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงขึ้น และควรดําเนินการให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนด้วย โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจอาจกําหนดให้คณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนเป็นชุดเดียวกันได้
(1) คณะกรรมการตรวจสอบ
(1.1) องค์ประกอบและคุณสมบัติ
(1.1.1) มีจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คน
(1.1.2) เป็นกรรมการอิสระ และต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ
(1.1.3) ต้องมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนมีความเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของตน ทั้งนี้ กรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนต้องมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทําหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้
(1.2) หน้าที่และความรับผิดชอบ
(1.2.1) สอบทานให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
(1.2.2) สอบทานให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีระบบควบคุมภายใน (Internal control และการตรวจสอบภายใน (Internal audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
(1.2.3) สอบทานให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(1.2.4) พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(1.2.5) พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยเฉพาะในกรณีที่เกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์รวมถึงธุรกรรมนโยบายรัฐ (public Service Account) ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
(1.2.6) จัดทํารายงานการกํากับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจําปีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(1.2.7) กําหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ และต้องเปิดเผยในรายงานประจําปีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(1.2.8) รายงานต่อคณะกรรมการเพื่อดําเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควรในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทํา ดังต่อไปนี้
- รายการที่เกิดหรืออาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สําคัญในระบบควบคุมภายใน
- การฝ่าฝืนกฎหมายจัดตั้งของสถาบันการเงินเฉพาะกิจข้อกําหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจและกฎหมายอื่น ๆ หากคณะกรรมการหรือฝ่ายจัดการไม่ดําเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกําหนด คณะกรรมการตรวจสอบต้องเปิดเผยการกระทําดังกล่าวไว้ในรายงานประจําปี และรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
(1.2.9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบควรมีการสอบทานบทบาทหน้าที่และกําหนดวาระการดํารงตําแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบด้วย และคณะกรรมกรตรวจสอบอาจขอความเห็นทางวิชาชีพจากที่ปรึกษาภายนอกได้
ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปฏิบัติให้สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยตรวจสอบภายในของรัฐวิสาหกิจด้วย
(2) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
(2.1) องค์ประกอบและคุณสมบัติ
(2.1.1) มีจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คน
(2.1.2) เป็นกรรมการ และ/หรือผู้บริหาร และต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ
(2.1.3) ต้องมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนมีความเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของตน และกรรมการส่วนใหญ่ต้องมีความรู้ความชํานาญ และความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงโดยรวม
(2.2) หน้าที่และความรับผิดชอบ
(2.2.1) กําหนดนโยบายเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงโดยรวม ซึ่งต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่สําคัญเช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ
(2.2.2) กําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับกลยุทธ์โดยให้ครอบคลุมถึงการประเมิน ติดตาม และดูแลปริมาณความเสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
(2.2.3) ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและกระบวนการการบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงความมีประสิทธิผลของกระบวนการและการปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนด
(2.2.4) รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ําเสมอในสิ่งที่ต้องดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่กําหนด
(3) คณะกรรมการสรรหา
(3.1) องค์ประกอบและคุณสมบัติ
(3.1.1) มีจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คน
(3.1.2) เป็นกรรมการที่ไม่เป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ
(3.1.3) ต้องมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนมีความเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของตน
ทั้งนี้ ประธานของคณะกรรมการสรรหาควรเป็นกรรมการอิสระเพื่อช่วยผลักดันให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาเป็นไปอย่างอิสระ
(3.2) หน้าที่และความรับผิดชอบ
(3.2.1) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหารองผู้จัดการ และผู้ช่วยผู้จัดการ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ
(3.2.2) คัดเลือก และเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
- กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายอํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบจากคณะกรรมการ
- รองผู้จัดการ และผู้ช่วยผู้จัดการ
(3.2.3) เปิดเผยนโยบายและรายละเอียดของกระบวนการสรรหาในรายงานประจําปี
ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาควรมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และอาจขอความเห็นทางวิชาชีพจากที่ปรึกษาภายนอกได้
สําหรับคณะกรรมการสรรหา กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตําแหน่ง ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งดํารงตําแหน่งผู้บริหารสูงสุดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี
(4) คณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทน
(4.1) องค์ประกอบและคุณสมบัติ
(4.1.1) มีจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คน
(4.1.2) เป็นกรรมการที่ไม่เป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ
(4.1.3) ต้องมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนมีความเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของตน
ทั้งนี้ ประธานของคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนควรเป็นกรรมการอิสระเพื่อช่วยผลักดันให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนให้เป็นไปอย่างอิสระ
(4.2) หน้าที่และความรับผิดชอบ
(4.2.1) กําหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นรวมถึงจํานวนค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นที่ให้แก่กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ รองผู้จัดการ และผู้ช่วยผู้จัดการ โดยต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ
(4.2.2) ดูแลให้กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ รองผู้จัดการ และผู้ช่วยผู้จัดการได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นควรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายนั้น
(4.2.3) กําหนดแนวทางการประเมินผลงานของกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ รองผู้จัดการ และผู้ช่วยผู้จัดการ เพื่อพิจารณาปรับผลตอบแทนประจําปีโดยจะต้องคํานึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
(4.2.4) เปิดเผยนโยบายเกี่ยวกับการกําหนดคําตอบแทนและเปิดเผยคําตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งจัดทํารายงานการกําหนดค่าตอบแทน โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมาย การดําเนินงาน และความเห็นของคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนไว้ในรายงานประจําปีของสถาบันการเงินเฉพาะกิจด้วย
ทั้งนี้ คณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนควรมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และอาจขอความเห็นทางวิชาชีพจากที่ปรึกษาภายนอกได้
สําหรับการกําหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น รวมทั้งการประเมินผลงานของผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งดํารงตําแหน่งผู้บริหารสูงสุดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
4.6.3 การจัดส่งรายงานการประชุมคณะกรรมการ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องส่งสําเนารายงานการประชุมคณะกรรมการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ให้ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการมีมติรับรองรายงานการประชุมแล้ว แต่ต้องไม่เกิน 45 วันนับแต่วันที่มีการประชุม
4.7 การแจ้งข้อมูลต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องแจ้งในที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่เจ้าของ ทราบในเรื่องดังต่อไปนี้
4.7.1 ผลประโยชน์และคําตอบแทนที่กรรมการได้รับจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแจ้งหรือแสดงเป็นรายบุคคล
4.7.2 ผลประโยชน์และคําตอบแทนที่ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือฝ่ายจัดการที่ไม่เป็นกรรมการได้รับจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้แจ้งหรือแสดงเป็นยอดรวมได้ตามที่เห็นสมควร
4.7.3 การเป็นกรรมการในบริษัทอื่นหรือรัฐวิสาหกิจอื่นตามข้อ 4.3
อื่นๆ - 5.บทเฉพาะกาล
5.1 ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจใช้คําจํากัดความของกรรมการอิสระตามเกณฑ์ภายในของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น ๆ จนกว่า กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องคําจํากัดความของกรรมการอิสระของรัฐวิสาหกิจจะมีผลบังคับใช้
5.2 คณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้สามารถทําหน้าที่ต่อไปได้จนครบวาระการต่ํารงตําแหน่ง
อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2559
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,747 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 56/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมิถุนายน 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 56/2553
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมิถุนายน 2553
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือน มิถุนายน 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.48/14/53 | 80,000 | 24 มิถุนายน 2553 | 28/6/53 - 12/7/53 | 14 |
| พ.49/14/53 | 70,000 | 25 มิถุนายน 2553 | 29/6/53 – 13/7/53 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 6,748 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนสำหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 7 /2560
เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นถึงความจําเป็นของสถาบันการเงินในการดําเนินธุรกิจในรูปแบบของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมากขึ้น แต่การดําเนินธุรกิจในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น หากไม่มีการกํากับดูแลอย่างเหมาะสมก็อาจส่งผลให้การดําเนินธุรกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน ดังนั้น ในปี 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีการออกแนวนโยบายการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเริ่มทดลองถือปฏิบัติโดยยังไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายต่อมาเมื่อมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 66/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่ในช่วงแรกได้กําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติในหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพก่อนจากนั้นได้มีการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2553 เพื่อบังคับใช้หลักเกณฑ์อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2553 เป็นต้นมา และได้มีการปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาโดยลําดับทั้งในเรื่องของการปรับปรุงให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel IIเ เมื่อปี 2555 และการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจสําหรับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ประกอบธุรกิจศูนย์ฝึกอบรมซึ่งเป็นธุรกิจสนับสนุนเมื่อปี 2556
ในการกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดําเนินธุรกิจในขอบเขตที่เหมาะสมและมีความมั่นคง อันจะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่ระบบสถาบันการเงินโดยรวม และเพื่อให้การกํากับดูแลสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินในประเทศไทยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ดังนั้น การกําหนดให้มีเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของสถาบันการเงินตามหลักการ Solo basis เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจาการดําเนินธุรกิจในลักษณะกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนําหลักการในเรื่องของการดํารงเงินกองทุนภายใต้หลักการของ Basel มาบังคับใช้กับการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (Consolidated basis ทั้งในระดับ Solo Consolidation และระดับ Full Consolidation ควบคู่ไปกับการดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงิน (Solo basis) ด้วย ทั้งนี้ สําหรับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะอื่น เช่น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลของตนเช่นเดิม
อย่างไรก็ดี สืบเนื่องจากบทเรียนจากวิกฤตการเงินโลกและปัญหาของสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในหลายประเทศที่ผ่านมา ประกอบกับการที่สถาบันการเงินในต่างประเทศมีการดําเนินธุรกิจที่มีความซับซ้อนและมีความเชื่อมโยงต่อระบบการเงินของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากขึ้น ทําให้หลายหน่วยงานในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินได้ทบทวนแนวคิดในการกํากับดูแลระบบการเงินของโลกให้มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งคือการปรับปรุงหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงินภายใต้หลักการของ Basel III โดยปรับปรุงองค์ประกอบของเงินกองทุนให้มีคุณภาพมากขึ้น และเพียงพอต่อการรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนภายใต้หลักการ Basel II มาเป็น Basel III โดยมีผลบังคับใช้กับสถาบันการเงินในระดับ Solo basis ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 และบังคับใช้กับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นมา เพื่อให้สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีเงินกองทุนที่มีคุณภาพ สามารถรองรับความเสียหายได้จริงในปริมาณที่สูงขึ้น อันจะส่งผลให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง แข็งแกร่ง และมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ระบบสถาบันการเงินไทยมีภูมิต้านทานต่อวิกฤตการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นที่ยอมรับและสามารถแข่งขันในเวทีสากลได้
เนื่องจากในการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 19/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2555 เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ให้สอดคล้องกับหลักการของ Basel III โดยยังไม่ได้ปรับปรุงเนื้อหาส่วนอื่นของประกาศให้สอดคล้องกับหลักการที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงสาระสําคัญส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเช่น ตัวอย่างการคํานวณเงินกองทุน รวมถึง ถ้อยคําในส่วนอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel III และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ เช่น กรณีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งโดยหลักการแล้วกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดและมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธีที่สถาบันการเงินในระดับ Solo basis เลือกใช้ โดยนําหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในระดับ Solo basis มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินใช้วิธีการคํานวณที่แตกต่างจากวิธีที่สถาบันการเงินในระดับ Solo basis เลือกใช้ จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน และหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ในระดับ Solo basis โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป ดังนั้น การปรับปรุงประกาศในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน และกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้สอดคล้องและอ้างอิงหลักเกณฑ์ในระดับ Solo basis ที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีผลบังคับใช้กับระดับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 31 มาตรา 57 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมทุกแห่งของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ยกเว้น สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
4.1 คําจํากัดความ
"การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน" (Consolidated Supervision) หมายความว่า การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยคํานึงถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยรวมที่มีผลกระทบต่อบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและสถาบันการเงินนั้น ไม่ว่าความเสี่ยงนั้นจะปรากฎอยู่ในบัญชีของสถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินมีการดําเนินธุรกิจในขอบเขตที่เหมาะสมและมีความมั่นคง
"สถาบันการเงิน" หมายความว่า
ก. ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งหมายความรวมถึง ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ แต่ไม่รวมสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ข. บริษัทเงินทุน
ค. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
"ธุรกิจทางการเงิน" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
"ธุรกิจสนับสนุน" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
"เงินกองทุนทั้งสิ้นของสถาบันการเงิน" ให้มีความหมายตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์แล้วแต่กรณี
"ความเสี่ยงด้านเครดิต" หมายความว่า ความเสี่ยงที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากลูกหนี้หรือคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ การลงทุน และการก่อภาระผูกพัน เช่น ลูกหนี้ไม่สามารถชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้ ทําให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินในฐานะเจ้าหนี้เกิดความเสียหาย
"ความเสี่ยงด้านตลาด" หมายความว่า ความเสี่ยงที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของฐานะทั้งที่อยู่ในงบดุลและนอกงบดุลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและราคาตราสารทุนอาจเกิดจากปัจจัยตลาดทั่วไป (General market risk) และ/หรือ ปัจจัยเฉพาะของผู้ออกตราสารนั้น (Specific risk)
"ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ" หมายความว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการภายใน บุคลากร และระบบงานของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน หรือจากเหตุการณ์ภายนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รวมถึง ความเสี่ยงด้านกฎหมาย (เช่น ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ถูกดําเนินคดีตามกฎหมาย หรือถูกทางการเปรียบเทียบปรับรวมทั้ง ความเสี่ยงจากความเสียหายที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล) แต่ไม่รวมความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk) และความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputational risk)
"บัญชีเพื่อการค้า (Trading book)" หมายความว่า ฐานะ (Position) ของตราสารการเงิน (Financial instruments) และสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ที่มีเจตนาถือครองไว้เพื่อการค้า (Trading intent หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะอื่น ๆ ในบัญชีเพื่อการค้า รวมทั้งอนุพันธ์ทางการเงินทุกประเกทที่ไม่ได้นําไปใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฐานะในบัญชีเพื่อการธนาคาร(Ban king book) โดยตราสารการเงินที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าต้องไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขายหรือในการป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ฐานะเหล่านั้นต้องมีการประเมินมูลคําอย่างถูกต้องที่เป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
"บัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book) " หมายความว่า ฐานะของเครื่องมือทางการเงินหรือธุรกรรมอื่นที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือตราสารทางการเงินที่มีเจตนาตั้งแต่แรกว่าจะถือครองระยะยาวหรือถือจนครบกําหนดอายุ
4.2 การกํากับดูแลความเพียงพอของเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
4.2.1 กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องดํารงเงินกองทุนตามอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามหลักการ Consolidated basis ใน 2 ระดับคือ เงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation เพิ่มเติมจากการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของสถาบันการเงินตามหลักการ Solo basis
4.2.2 บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกํากับดูแลเฉพาะอื่น เช่น สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลของตนเช่นเดิม
4.3 การจัดทํางบการเงินรวมตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
เนื่องจากการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวม ดังนั้น กลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้งในกรณีที่บริษัทแม่เป็นสถาบันการเงิน และกรณีที่บริษัทแม่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงิน ต้องจัดทํางบการเงินรวมตามวิธีที่มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินกําหนดสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินทั้ง 2 ระดับ ได้แก่
4.3.1 งบการเงินรวมของกลุ่ม Solo Consolidation หมายถึง การจัดทํางบการเงินรวมของสถาบันการเงินกับบริษัทลูกในกลุ่ม Solo Consolidation ทุกบริษัท
4.3.2 งบการเงินรวมของกลุ่ม Full Consolidation หมายถึง การจัดทํางบการเงินรวมของบริษัทแม่กับบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเฉพาะบริษัทที่บริษัทแม่ถือหุ้นทางตรง และ/หรือทางอ้อม รวมทั้ง การถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ยกเว้น บริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยหรือประกันชีวิต ไม่ต้องนํามาจัดทํางบการเงินรวมในทุกกรณี (แม้ว่าบริษัทแม่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปก็ตาม)
4.4 การดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
เงินกองทุนทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน คือ เงินกองทุนที่ใช้รองรับความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ เงินกองทุนกลุ่มระดับSolo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation ซึ่งทั้ง 2 ระดับ จะต้องดํารงเงินกองทุนไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ทั้งนี้ สําหรับกลุ่ม Solo Consolidation ที่มีเฉพาะสถาบันการเงินให้ใช้ข้อมูลจากงบการเงินของสถาบันการเงินในระดับ Solo basis มาคํานวณเงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation โดยหากสถาบันการเงินนั้นมีเงินลงทุนในบริษัทลูกนอกกลุ่ม Solo Consolidation เงินลงทุนในบริษัทร่วมหรือเงินลงทุนในการร่วมค้า ให้จัดทํางบการเงินที่แสดงเงินลงทุนดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสีย' เพื่อนํามาคํานวณเงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation
4.4.1 การดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์
กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ ทั้งระดับ Solo Consolidation และระดับ Full Consolidation ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมในประกาศฉบับนี้ และให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในระดับ Solo basis ว่าด้วยเรื่องดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ก. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์
ข. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ค. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA)
ง. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
จ. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์
ฉ. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบ และธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์
ช. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ช. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
ฌ. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
ญ. หลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุนซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเพิ่มเติมในภายหลัง
4.4.1.1 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง
(1) การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งได้แก่ สินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต สินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดและมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ดังนี้
ก. อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common equity tier 1 ratio : CET1 ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.5
ข. อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 ratio : T1 ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6
ค. อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (Total capital ratio : TC ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5
(2) การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital buffer)
(2.1) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ เพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําอีกเกินกว่าร้อยละ 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ทยอยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีกมากกว่าร้อยละ 0.625 ในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 จนครบตามที่กําหนดซึ่งมากกว่าร้อยละ 2.5 ในวันที่ 1 มกราคม 2562 เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis
ทั้งนี้ หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มได้ตามที่กําหนด ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี จะต้องเก็บสะสมเงินกําไรสุทธิบางส่วนหรือทั้งหมดโดยจํากัดการจัดสรรกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยจะยังไม่ถือว่ากลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และหากธนาคารพณิชย์หรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี เก็บสะสมกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้ว แต่กลุ่มธุรกิจทางการเงินยังไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้บริษัทแม่หรือกับฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแผนการดํารงเงินกองทุน และให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามแผนการดํารงเงินกองทุนตามที่หารือต่อไป
(2.2) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) อีกร้อยละ 0 ถึง 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง เมื่อมีเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีความจําเป็นที่จะดําเนินมาตรการนี้
4.4.1.2 การคํานวณเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องคํานวณเงินกองทุนกลุ่ม 2 ระดับคือ เงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณเงินกองทุนตามองค์ประกอบเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ ตามเอกสารแนบ 1
4.4.1.3 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยง
(1) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
(1.1) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมี 2 วิธี ดังนี้
ก. การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดย Standardised Approach (วิธี SA) ตามเอกสารแนบ 2
ข. การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ตามเอกสารแนบ 3
(1.2) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ โดยให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA หรือหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ในการใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการยื่นขออนุญาตตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 หรือเอกสารแนบ 3 แล้วแต่กรณี
(1.3) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธี IRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต กลุ่มธุรกิจทางการเงินจะต้องดําเนินการพัฒนาไปใช้วิธี IRB ให้ได้ภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ใช้วิธี IRB เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะอนุญาตเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ในการดําเนินการพัฒนาไปใช้วิธี IRB ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการยื่นขออนุญาตตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3
(1.4) ในกรณีที่มีการใช้หรือการเปลี่ยนแปลงรายชื่อสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก (External credit assessment institutions : ECAIs) วิธีการคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ธุรกิจเอกชน หรือวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงิน ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดําเนินการดังนี้
ก. กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินใช้รายชื่อ ECAI หรือวิธีในการคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ธุรกิจเอกชนหรือวิธีในการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงินตามที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ ให้บริษัทแม่แจ้งการใช้รายชื่อ ECAIs หรือวิธีการคํานวณน้ําหนักความเสี่ยงของลูกหนี้ธุรกิจเอกชน หรือแจ้งพร้อมจัดส่งแบบประเมินความพร้อมในกรณีของการเปลี่ยนวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยหลักประกันทางการเงินมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข. กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA แต่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ใช้วิธี IRB ให้บริษัทแม่นําหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด
(2.1) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมี 3 วิธี ดังนี้
ก. วิธีมาตรฐาน (Standardised Approach)
ข. วิธีแบบจําลอง (Internal Model Approach)
ค. วิธีผสมระหว่างวิธีมาตรฐานกับวิธีแบบจําลอง
(2.2) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดของกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ และให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถใช้วิธีการคํานวณตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ได้ ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องชี้แจงเหตุผลความจําเป็นที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถใช้วิธีตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเป็นรายกรณี
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
(2.3) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้า (Threshold) ในระดับที่มีนัยสําคัญตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้นคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดทุกองค์ประกอบความเสี่ยงด้านตลาด ได้แก่ องค์ประกอบความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาตราสารทุน ด้านอัตราแลกเปลี่ยน และด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์
(2.4) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis มีปริมาณธุรกรรมในบัญชีเพื่อการค้าต่ํากว่าระดับที่มีนัยสําคัญตามประกาศที่กล่าวในข้อ (2.3) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด เฉพาะองค์ประกอบความเสี่ยงด้านราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (ถ้ามี)
ทั้งนี้ เว้นแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะสั่งการเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดเป็นอย่างอื่น
(2.5) ในกรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินถือตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินอื่นหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินอื่น หรือทําธุรกรรมทางการเงินที่มีตราสารอ้างอิงที่นับเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินอื่นหรือกลุ่มธุรกิจทางการเงินอื่น ที่จัดอยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและได้หักออกจากเงินกองทุนแล้ว ไม่ต้องนําเงินลงทุนในตราสารหรือจํานวนเงินตามสัญญาของธุรกรรมดังกล่าวตามมูลค่าที่ได้นําไปหักออกจากเงินกองทุนแล้วมาคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด
(2.6) เมื่อคํานวณเงินกองทุนจากปริมาณธุรกรรมรวมตามหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว ให้นําผลลัพธ์ที่ได้มาคํานวณเป็นสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดโดยนําไปคูณกับ 12.5 เพื่อใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินกองทุนขั้นต่ําเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดต่อไป
(2.7) กลุ่มธุรกิจทางการเงินใดประสงค์จะแยกคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดเป็นรายบริษัท ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นรายกรณีโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาอนุญาตเฉพาะกรณีที่มีความจําเป็นเท่านั้น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
(3) หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ
(3.1) การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจทางการเงินมี 2 วิธี ดังนี้
ก. Basic Indicator Approach (วิธี BIA)
ข. Standardised Approach (วิธี SA-OR) รวมถึง Alternative Standardised Approach (วิธี ASA)
(3.2) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ตามวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis เลือกใช้ โดยให้นําหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธี SA-0R หรือวิธี ASA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการตามวิธีของธนาคารพาณิชย์ โดยใช้เอกสารแนบ 4 พร้อมจัดส่งแบบประเมินความพร้อมมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
(3.3) กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ใช้วิธี SA OR หรือวิธี ASA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยให้นําเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(3.4) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงิน มาคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation โดยรายได้ที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องนํามาคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการให้รวมรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทางตรงที่เกิดจากธุรกิจหลักทั้งหมดของแต่ละบริษัท เช่น รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินรอการขาย3 ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (หลังหักค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการขายทรัพย์สินรอการขาย) รายได้ค่านายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (หลังหักค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น ค่าคอมมิชชั่นจ่าย รายได้ของธุรกิจลีสซิ่ง (หลังหักค่าใช้จ่ายทางตรง เช่น ดอกเบี้ยจ่ายค่าคอมมิชชั่นจ่าย) ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะมิได้นํารายได้หรือค่าใช้จ่ายทางตรงประเภทดังกล่าวไปคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ในระดับ Solo basis ก็ตาม
4.4.2 การดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน
กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน ทั้งระดับ Solo Consolidationและระดับ Full Consolidation ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเช่นเดียวกับบริษัทเงินทุนในระดับ Solo basis โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมในประกาศฉบับนี้ และให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
4.4.2.1 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง
(1) การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งได้แก่ สินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่นเดียวกับบริษัทเงินทุนในระดับ Solo basis ดังนี้
ก. อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common equity tier 1 ratio : CET1 ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.5
ข. อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 ratio : T1 ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6
ค. อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (Total capital ratio : TC ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5
(2) การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital buffer)
(2.1) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ เพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําอีกเกินกว่าร้อยละ 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ทยอยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีกมากกว่าร้อยละ 0.625 ในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 จนครบตามที่กําหนดซึ่งมากกว่าร้อยละ 2.5 ในวันที่ 1 มกราคม 2564 เช่นเดียวกับบริษัทเงินทุนในระดับ Solo basis ดังนี้
หน่วย: ร้อยละ
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| อัตราส่วนเงินกองทุน | 1 ม.ค. 2561 | 1 ม.ค. 2562 | 1 ม.ค. 2563 | 1 ม.ค. 2564 |
| อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1 ratio) | 5.125 | 5.75 | 6.375 | 7 |
| อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1(Tier 1 ratio) | 6.625 | 7.25 | 7.875 | 8.5 |
| อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น(Total capital ratio) | 9.125 | 9.75 | 10.375 | 11 |
ทั้งนี้ หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มได้ตามที่กําหนด บริษัทเงินทุนหรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี จะต้องเก็บสะสมเงินกําไรสุทธิบางส่วนหรือทั้งหมดโดยจํากัดการจัดสรรกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน โดยจะยังไม่ถือว่ากลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และหากบริษัทเงินทุนหรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี เก็บสะสมกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้ว แต่กลุ่มธุรกิจทางการเงินยังไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้บริษัทแม่หารือกับฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแผนการดํารงเงินกองทุนและให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามแผนการดํารงเงินกองทุนตามที่หารือต่อไป
(2.2) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่ม เพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) อีกร้อยละ 0 ถึง 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่นเดียวกับบริษัทเงินทุนในระดับ Solo basis เพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง เมื่อมีเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีความจําเป็นที่จะดําเนินมาตรการนี้
4.4.2.2 การคํานวณเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนต้องคํานวณเงินกองทุนกลุ่ม 2 ระดับคือ เงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณเงินกองทุนตามองค์ประกอบเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุน โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุนมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เดียวกับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1
4.4.2.3 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยง
สําหรับหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และหลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนนําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุนมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เดียวกับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ตามที่กําหนดในข้อ 4.4.1.3
4.4.3 การดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทั้งระดับ Solo Consolidation และระดับ Full Consolidation ต้องดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เพื่อรองรับความเสี่ยงของสินทรัพย์ และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเช่นเดียวกับบริษัทเครดิตฟองชิเอร์ในระดับ solo basis โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมในประกาศฉบับนี้ และให้นําประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
4.4.3.1 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง
(1) การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ํา (Minimum capital requirement) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงินซึ่งได้แก่ สินทรัพย์ที่ต้องนํามาดํารงเงินกองทุน และมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่นเดียวกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ในะดับ Solo basis โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น (Total capital ratio : TC ratio) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5
(2) การดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Capital buffer)
(2.1) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ําอีกเกินกว่าร้อยละ 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้ทยอยดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีกมากกว่าร้อยละ 0.625 ในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 จนครบตามที่กําหนดซึ่งมากกว่าร้อยละ 2.5 ในวันที่ 1 มกราคม 2564 เช่นเดียวกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ในระดับ Solo basis ดังนี้
หน่วย: ร้อยละ
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| อัตราส่วนเงินกองทุน | 1 ม.ค. 2561 | 1 ม.ค. 2562 | 1 ม.ค. 2563 | 1 ม.ค. 2564 |
| อัตราส่วนเงินกองทุน(Total capital ratio) | 9.125 | 9.75 | 10.375 | 11 |
ทั้งนี้ หากกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มได้ตามที่กําหนด บริษัทเครดิตฟองซิเอร์หรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณีจะต้องเก็บสะสมเงินกําไรสุทธิบางส่วนหรือทั้งหมดโดยจํากัดการจัดสรรกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยจะยังไม่ถือว่ากลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และหากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์หรือบริษัทแม่แล้วแต่กรณี เก็บสะสมกําไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดแล้วแต่กลุ่มธุรกิจทางการเงินยังไม่สามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้บริษัทแม่หรือกับฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแผนการดํารงเงินกองทุน และให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินปฏิบัติตามแผนการดํารงเงินกองทุนตามที่หารือต่อไป
(2.2) อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง (Countercyclical buffer) ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินดํารงเงินกองทุนทั้งสิ้นเพิ่มเติมจากการดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต (Conservation buffer) อีกร้อยละ 0 ถึง 2.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่นเดียวกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ในระดับ solo basis เพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง เมื่อมีเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีความจําเป็นที่จะดําเนินมาตรการนี้
4.4.3.2 การคํานวณเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องคํานวณเงินกองทุนกลุ่ม 2 ระดับคือ เงินกองทุนกลุ่มระดับ Solo Consolidation และเงินกองทุนกลุ่มระดับ Full Consolidation โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณเงินกองทุนตามองค์ประกอบเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเพิ่มเติมสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามเอกสารแนบ 1 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4.4.3.3 การคํานวณสินทรัพย์ที่ต้องนํามาดํารงเงินกองทุนหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยง
(1) หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์ที่ต้องนํามาดํารงเงินกองทุน
ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์นําสินทรัพย์จากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณหามูลค่าสินทรัพย์ที่กลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation ต้องนํามาดํารงเงินกองทุนโดยให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ
ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ใช้ข้อมูลจากงบการเงินรวมที่จัดทําตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่ม Solo Consolidation และกลุ่ม Full Consolidation โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
4.5 การยื่นขออนุญาตใช้วิธีคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ในกรณีการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินมาพร้อมกับการยื่นขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงินโดยให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ มายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย
4.5.1 กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA ให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้
(1) หนังสือขออนุญาตการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามเอกสารแนบ 4
(2) แบบประเมินความพร้อมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ในการคํานวณเงินกองทุน (Self-Assessment of Compliance - SAC-CRM) และให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) หรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน มาใช้บังคับโดยอนุโลมให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้
4.5.2 กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี RB ให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้
(1) เอกสารทั้งหมดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4.5.1
(2) ผลการประเมีนความพร้อมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Rating-Based Approach (วิธี IRB) หรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
4.5.3 กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี SA-OR หรือ ASA ให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้
(1) รายละเอียดแผนการเตรียมการรองรับการใช้วิธี SA-OR หรือวิธี ASA ตามที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินเลือกใช้ในการดํารงเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 4
(2) แบบประเมินความพร้อมของกลุ่มธุรกิจทางการเงินในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี SA-0R และวิธี ASA (Self-Assessment of Compliance - SAC-OR) ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลด้านเงินกองทุนและการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องสําหรับบริษัทเงินทุน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(3) เอกสารแสดงการจัดแบ่งรายได้จากการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประเภทสายธุรกิจ (เฉพาะรายได้ของบริษัทที่จัดทํางบการเงินรวมกลุ่มธุรกิจทางการเงิน)
4.5.4 กรณีกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดโดยวิธีที่ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ให้บริษัทแม่ทําหนังสือขออนุญาตพร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมายังฝ่ายกํากับธุรกิจสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้นําหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
4.6 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
ให้บริษัทแม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
อื่นๆ - 5. บทเฉพาะกาล
5.1 การดํารงเงินกองทุนตาม Basel I!! ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติ ดังนี้
5.1.1 ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์มีตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนได้ตาม Basel II ซึ่งออกก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 และมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ 5 และเอกสารแนบ 6 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้น ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินลดการนับหรือทยอยลดการนับตราสารดังกล่าวเป็นเงินกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ตามรายละเอียดที่กําหนดในเอกสารแนบ 8 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5.1.2 ในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพณิชย์มีรายการที่เข้าลักษณะเป็นรายการที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของตามข้อ 5.4.1 (1.5) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของในข้อ 5.4.1 (3) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นตราสารทางการเงินในข้อ 5.4.2 (2) และรายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในข้อ 5.5.4 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศเฉพาะรายการดังต่อไปนี้ ให้นับเพิ่มเงินกองทุนหรือหักเงินกองทุนในอัตราร้อยละ 20 ร้อยละ 40 ร้อยละ 60 ร้อยละ 80 และร้อยละ 100 ต่อปี ตามลําดับ ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 9 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(1) กําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้เผื่อขาย
(2) กําไร (ขาดทุน) จากการแปลงค่างบการเงินจากการดําเนินงานในต่างประเทศ
(3) กําไร (ขาดทุน) จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมตราสารอนุพันธ์ สําหรับการป้องกันความเสี่ยงในเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ (Hedges of a net investment in a foreign operation)
(4) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
(5) กําไรจากการทําธุรกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation)
(6) เงินลงทุนในบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน
อย่างไรก็ดี สําหรับรายการ (4) และ (6) นั้น เฉพาะส่วนที่ยังไม่ครบกําหนดต้องหักออกจากเงินกองทุน ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์นําไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 11 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) หรือเอกสารแนบ 9 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณีสําหรับรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคาร และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน สําหรับรายการที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้า
5.2 กลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธีใดในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงหรือมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือในกรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินใช้วิธีในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดเช่นเดียวกับสถาบันการเงินในระดับ solo basis อยู่ก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับนี้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตใหม่
5.3 การดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนตามที่กําหนดในข้อ 4.4.2 ของประกาศฉบับนี้ และการดํารงเงินกองทุนสําหรับกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามที่กําหนดในข้อ 4.4.3 ของประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป
ในระหว่างที่หลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนและกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในข้อ 29.2 และให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในข้อ 29.3 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มลงวันที่ 18 มิถุนายน 2553
(2) ให้กลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนและกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 9.1 ข้อ (1) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 19/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2555
ทั้งนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2560
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2560
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,749 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3/2553 เรื่อง การกำหนดแบบรายงานการตรวจสอบสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 3/2553
เรื่อง การกําหนดแบบรายงานการตรวจสอบสถาบันการเงิน
----------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแบบรายงานการตรวจสอบทั้งแบบการตรวจสอบทั้งแบบการตรวจสอบเป็นการทั่วไปและเป็นการเฉพาะสําหรับรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยยกเลิกหน้าสรุปผลการตรวจสอบและความเห็นของผู้ตรวจการ พร้อมทั้งเพิ่มหน้าประเด็นอื่นที่ควรแก้ไขและหน้าภาคผนวก เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามในมาตรา 85 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 3. ขอบเขตในการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยหรือบุคคลบุคคลภายนอกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงิน
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส. 6/2551 เรื่อง การกําหนดแบบรายงานตรวจสอบสถาบันการเงิน ลงวันที่3 สิงหาคม 2551
อื่นๆ - 5.เนื้อหา
ข้อ 1 ในประกาศนี้
“การตรวจสอบเป็นการทั่วไป” หมายถึง การตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วม และบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตลอดจนลูกหนี้และผู้เกี่ยวข้องของสถาบันการเงินนั้น
“การตรวจสอบเป็นการเฉพาะ” หมายถึง การตรวจสอบที่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเพื่อตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์ และหนี้สินของสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วม และบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตลอดจนลูกหนี้และผู้เกี่ยวข้องของสถาบันการเงินนั้น เป็นเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบเฉพาะด้านหรือเฉพาะราย
“ผู้ตรวจการ” หมายถึง ผู้ตรวจสอบสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
“บริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน” หมายถึง บริษัทของกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
ข้อ 2 ให้ผู้ตรวจการรายงานการตรวจสอบเป็นการทั่วไป หรือเป็นการเฉพาะ โดยมีหัวข้อครอบคลุมเนื้อหา ดังต่อไปนี้
(1) ประเด็นสําคัญที่ต้องการให้แก้ไข
(2) ประเด็นอื่นที่ควรแก้ไข
(3) การปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย / การปฏิบัติที่อาจเข้าข่ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) ผลการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง
(5) ผลการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(6) ผลการตรวจสอบบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน
(7) เรื่องอื่นๆ
(8) ภาคผนวก
ข้อ 3 ให้ผู้ตรวจการรายงานการตรวจสอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามแบบที่ที่แนบท้ายประกาศนี้
อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2553
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,750 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4/2559 เรื่อง วันปิดสมุดทะเบียนและวิธีการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 4 /2559
เรื่อง วันปิดสมุดทะเบียนและวิธีการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น
---------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อให้การให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้สามารถดําเนินการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนและวิธีการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น ให้ผู้ขอรับบริการ ธุรกรรมตราสารหนี้ถือปฎิบัติในมาตรฐานเดียวกัน
อื่นๆ - 2.หลักเกณฑ์ที่อ้างอิง
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 (4) ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้
อื่นๆ - 3.ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้
อื่นๆ - 4.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กําหนดวันปิดสมุดทะเบียน และวิธีการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นดังนี้
ข้อ 1 วันปิดสมุดทะเบียน
(1) วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ย คือ วันดังต่อไปนี้
(ก) 10 วัน ก่อนวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ย ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้สําหรับตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย
(ข) 30 วัน ก่อนวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ยตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้สําหรับตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย และเป็นตราสารหนี้ประเภทออมทรัพย์ ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้
(2) วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้น คือ วันดังต่อไปนี้
(ก) 1 วันทําการ ก่อนวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ สําหรับตราสารหนี้ที่ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ย
(ข) 10 วัน ก่อนวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้สําหรับตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย
(ค) 30 วัน ก่อนวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้สําหรับตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย และเป็นตราสารหนี้ประเภทออมทรัพย์ ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้
(3) วันกําหนดจ่ายดอกเบี้ยตามข้อ (1) หรือวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้นตามข้อ (2) ให้ถือตามวันที่ได้ระบุไว้ในประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ แม้ว่าวันดังกล่าวจะตรงกับวันหยุดทําการ ธปท. ก็ไม่มีผลให้วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ยหรือวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นเปลี่ยนแปลงไป
(4) ธปท. อาจกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ยหรือวันปิดสมุดทะเบียน เพื่อจ่ายคืนเงินต้นแตกต่างจากที่กําหนดไว้ในข้อ (1) และ (2) สําหรับตราสารหนี้รุ่นหนึ่งรุ่นใดเป็นการเฉพาะได้
ข้อ 2 วิธีการจ่ายดอกเบี้ย
(1) ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยโดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้แจ้งไว้ (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจํา)
(2) กรณีวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดทําการ ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยในวันทําการถัดไป
ข้อ 3 วิธีการจ่ายคืนเงินต้น
(1) ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นโดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้แจ้งไว้ (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจํา)
(2) กรณีวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้นตรงกับวันหยุดทําการ ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นในวันทําการถัดไป
(3) การจ่ายคืนเงินต้นของตราสารหนี้ ประเภทมีใบตราสารและผู้ออกตราสารหนี้กําหนดให้คืนใบตราสารหนี้ ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นงวดสุดท้ายตามแต่ละกรณี ดังต่อไปนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ย
ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากในวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้นตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ เมื่อ ธปท. ได้รับคําขอและเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้อง ก่อนเวลา 12.00 น. ของวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น หรือของวันทําการถัดไปกรณีที่วันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทําการ ธปท.
ในกรณีที่ ธปท. ได้รับคําขอและเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้องภายหลังกําหนดเวลาข้างต้น ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายในวันทําการถัดไป
ทั้งนี้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน
(ข) ตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งตราสารหนี้ประเภทออมทรัพย์ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้
ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากในวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น หรือวันทําการถัดไป กรณีที่วันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทําการ ธปท. เมื่อ ธปท. ได้รับคําขอและเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้องภายในวันที่ที่ ธปท. กําหนดไว้ในแบบคําขอ
ในกรณีที่ ธปท. ได้รับคําขอและเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้องภายหลังจากวันที่ที่ ธปท. กําหนดไว้ข้างต้น ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝาก โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการโอนเงินตามวิธีการที่ระบุในแบบคําขอ
อื่นๆ - 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 6,751 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.