title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 33/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน พฤษภาคมพ.ศ. 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 19/91/62 | - | 40,000 | 7 พ.ค. 62 | 9 พ.ค. 62 | 8 ส.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 19/182/62 | - | 45,000 | 7 พ.ค. 62 | 9 พ.ค. 62 | 7 พ.ย. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 20/91/62 | - | 40,000 | 14 พ.ค. 62 | 16 พ.ค. 62 | 15 ส.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 20/182/62 | - | 45,000 | 14 พ.ค. 62 | 16 พ.ค. 62 | 14 พ.ย. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/364/62 | -- | 40,000 | 14 พ.ค. 62 | 16 พ.ค. 62 | 14 พ.ค. 63 | 364 วัน | 364 วัน | | 1/3ปี/2562 | 1.81 | 30,000 | 16 พ.ค. 62 | 21 พ.ค. 62 | 25 มี.ค. 65 | 3 ปี | 2.85 ปี | | 21/91/62 | - | 40,000 | 21 พ.ค. 62 | 23 พ.ค. 62 | 22 ส.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 21/182/62 | - | 45,000 | 21 พ.ค. 62 | 23 พ.ค. 62 | 21 พ.ย. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2562 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 21 พ.ค. 2562 | 30,000 | 23 พ.ค. 62 | 27 พ.ค. 62 | 27 พ.ค. 64 | 2 ปี | 2 ปี | | 22/91/62 | - | 40,000 | 28 พ.ค. 62 | 30 พ.ค. 62 | 29 ส.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 22/182/62 | - | 45,000 | 28 พ.ค. 62 | 30 พ.ค. 62 | 28 พ.ย. 62 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2ปี/2562 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 12 พฤษภาคม 2562 | | การจ่ายดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันจ่ายดอกเบี้ย | วันที่ 27 พฤษภาคม และ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี | | วันจ่ายดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน 2562 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 41/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 41/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 23/91/62 | - | 40,000 | 4 มิ.ย. 62 | 6 มิ.ย. 62 | 5 ก.ย. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 23/183/62 | - | 45,000 | 4 มิ.ย. 62 | 6 มิ.ย. 62 | 6 ธ.ค. 62 | 183 วัน | 183 วัน | | 4/364/62 | - | 45,000 | 4 มิ.ย. 62 | 6 มิ.ย. 62 | 4 มิ.ย. 63 | 364 วัน | 364 วัน | | 1/FRB3ปี/2562 | 3M BIBOR -0.1 เท่ากับ 1.77686 สําหรับงวดเริ่มต้น 26 พฤษภาคม 2562 | 15,000 | 7 มิ.ย. 62 | 11 มิ.ย. 62 | 26 ก.พ. 65 | 3 ปี | 2.72 ปี | | 24/91/62 | - | 40,000 | 11 มิ.ย. 62 | 13 มิ.ย. 62 | 12 ก.ย. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 24/182/62 | 1.84 | 45,000 | 11 มิ.ย. 62 | 13 มิ.ย. 62 | 12 ธ.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2562 | - | 35,000 | 13 มิ.ย. 62 | 17 มิ.ย. 62 | 27 พ.ค. 64 | 2 ปี | 1.95 ปี | | 25/91/62 | - | 40,000 | 18 มิ.ย. 62 | 20 มิ.ย. 62 | 19 ก.ย. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 25/182/62 | 1.81 | 45,000 | 18 มิ.ย. 62 | 20 มิ.ย. 62 | 19 ธ.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | | 26/91/62 | - | 40,000 | 25 มิ.ย. 62 | 27 มิ.ย. 62 | 26 ก.ย. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 26/182/62 | - | 45,000 | 25 มิ.ย. 62 | 27 มิ.ย. 62 | 26 ธ.ค. 62 | 182 วัน | 182 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2562 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 5 มิถุนายน 2562 อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2562 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 47/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 47/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 27/91/62 | - | 35,000 | 2 ก.ค. 62 | 4 ก.ค. 62 | 3 ต.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 27/182/62 | - | 40,000 | 2 ก.ค. 62 | 4 ก.ค. 62 | 2 ม.ค. 63 | 182 วัน | 182 วัน | | 5/364/62 | - | 35,000 | 2 ก.ค. 62 | 4 ก.ค. 62 | 2 ก.ค. 63 | 364 วัน | 364 วัน | | 28/91/62 | - | 35,000 | 9 ก.ค. 62 | 11 ก.ค. 62 | 10 ต.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 28/182/62 | - | 40,000 | 9 ก.ค. 62 | 11 ก.ค. 62 | 9 ม.ค. 63 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2562 | 1.84 | 25,000 | 11 ก.ค. 62 | 15 ก.ค. 62 | 27 พ.ค. 64 | 2 ปี | 1.87 ปี | | 29/91/62 | - | 35,000 | 15 ก.ค. 62 | 18 ก.ค. 62 | 17 ต.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 29/182/62 | - | 40,000 | 15 ก.ค. 62 | 18 ก.ค. 62 | 16 ม.ค. 63 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/3ปี/2562 | 1.81 | 30,000 | 18 ก.ค. 62 | 22 ก.ค. 62 | 25 มี.ค. 65 | 3 ปี | 2.68 ปี | | 30/91/62 | - | 35,000 | 23 ก.ค. 62 | 25 ก.ค. 62 | 24 ต.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 30/182/62 | - | 40,000 | 23 ก.ค. 62 | 25 ก.ค. 62 | 23 ม.ค. 63 | 182 วัน | 182 วัน | | 31/91/61 | - | 35,000 | 30 ก.ค. 62 | 1 ส.ค. 62 | 31 ต.ค. 62 | 91 วัน | 91 วัน | | 31/182/62 | - | 40,000 | 30 ก.ค. 62 | 1 ส.ค. 62 | 30 ม.ค. 63 | 182 วัน | 182 วัน | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2562 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,554
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 70/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 70/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 41/14/61 | 35,000 | 11 ตุลาคม 2561 | 16/10/61 – 30/11/61 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,555
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 71/2561 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 71/2561 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 ----------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 12 ตุลาคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 ในวันที่ 12 ตุลาคม โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 10 ตุลาคม 2561 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.52946 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.59400 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 72/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 72/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 42/13/61 | 35,000 | 19 ตุลาคม 2561 | 24/10/61 – 6/11/61 | 13 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,557
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 73/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 73/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 43/14/61 | 35,000 | 26 ตุลาคม 2561 | 30/10/61 – 13/11/61 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,558
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 75/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 75/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 44/14/61 | 35,000 | 2 พฤศจิกายน 2561 | 6/11/61 – 20/11/61 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,559
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 76/2561 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 76/2561 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 ------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาp เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เท่ากับร้อยละ 1.51478 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ลบร้อยละ 0.1) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใชh ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 77/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 77/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 45/14/61 | 35,000 | 9 พฤศจิกายน 2561 | 13/11/61 – 27/11/61 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 78/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 78/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 46/14/61 | 35,000 | 16 พฤศจิกายน 2561 | 20/11/61 – 4/12/61 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 79/2561 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 79/2561 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน 2561 ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนพฤศจิกายน 2561 (รุ่นที่ 4/2ปี/2561) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 4/2ปี/2561 ที่จะประมูลในวันที่22 พฤศจิกายน 2561 เท่ากับร้อยละ 1.95 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,563
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 47/14/61 | 40,000 | 23 พฤศจิกายน 2561 | 27/11/61 – 11/12/61 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,564
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ ๓ 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 48/14/61 | 40,000 | 30 พฤศจิกายน 2561 | 4/12/61 – 18/12/61 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,565
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 83/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 83/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 49/14/61 | 40,000 | 6 ธันวาคม 2561 | 11/12/61 – 25/12/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,566
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 84/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 84/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 50/15/61 | 40,000 | 14 ธันวาคม 2561 | 18/12/61 – 2/1/62 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,567
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 85/2561 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 85/2561 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 14 ธันวาคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2560 ในวันที่ 14 ธันวาคม โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 12 ธันวาคม 2561 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.56591 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.61203 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,568
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 86/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 86/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 51/14/61 | 40,000 | 21 ธันวาคม 2561 | 25/12/61 – 08/01/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,569
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 87/2561 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 87/2561 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2561 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัตตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 52/13/61 | 30,000 | 27 ธันวาคม 2561 | 2/1/62 – 15/1/62 | 13 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2561 (นางสาววชิรา อารมณ์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,570
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคําขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ. 2565
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคําขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ. 2565 -------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกําหนดค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 77/2559 ลงวันที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2559 เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม แห่งคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 77/2559 ลงวันที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2559 เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในการประชุมครั้งที่ 5-1/2565 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคําขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ กําหนดค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคําขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทั้งในกระบวนการพิจารณาอนุญาตของส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตามบัญชีที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ให้ผู้ยื่นคําขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บ ดังต่อไปนี้ (1) ค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามบัญชีที่แนบท้ายประกาศนี้ ให้แก่โครงการพระราชดําริ หรือโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (2) ค่าใช้จ่ายในการประเมินเอกสารทางวิชาการตามคําขอแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 และคําขอแจ้งข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนแปลงรายการในการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ตามข้อ 1.4 ในบัญชี 2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ ให้แก่วิสาหกิจรายย่อยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ผู้ได้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานวิธีการที่ดีในการผลิตวัตถุอันตราย ซึ่งต้องแก้ไขรายการอันเนื่องมาจากกฎหมาย คําสั่ง หรือการกระทําของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ ได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บทั้งหมดตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ บรรดาคําขอ หรือกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคําขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ให้ถือว่าเป็นคําขอ หรือกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายตามประกาศนี้ในกรณีที่คําขอ หรือกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายใดมีค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคําขอแตกต่างไปจากประกาศนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดําเนินการตามประกาศนี้ในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ยื่นคําขอ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
6,571
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10/2565 เรื่อง ค่าธรรมเนียมและค่าปรับบริการบาทเนต (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10/2565 เรื่อง ค่าธรรมเนียมและค่าปรับบริการบาทเนต (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้นํามาตรฐาน ISO 20022 ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางข้อความการรับส่งข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับระบบบาทเนต เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถการรับส่งข้อมูลทางธุรกิจพร้อมกับการชําระเงินมูลค่าสูง ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการเงินและธุรกรรมการชําระเงิน ทั้งในและระหว่างประเทศ สนับสนุนการทํางานแบบอัตโนมัติ (Straight Through Processing: STP) และการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางการเงินและระบบการชําระเงินโดยรวม โดย ธปท. และผู้ใช้บริการบาทเนตร่วมมือกันพัฒนาระบบงานให้รองรับมาตรฐาน ISO 20022 ซึ่งมีกําหนดใช้งานในปี 2565 เป็นต้นไป การประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 20022 ดังกล่าวส่งผลให้รูปแบบของข้อความที่ส่งผ่านระบบบาทเนตมีการเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับ ธปท. ได้ยกเลิกช่องทางการส่งคําสั่งผานระบบการเชื่อมโยงเพื่อชําระราคาหลักทรัพย์ในช่องทาง SWIFT เหลือเพียงช่องทาง RDL Linkage หรือ EFS ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการให้บริการในปัจจุบัน และลดความซับซ้อนของเงื่อนไขในการคิดค่าธรรมเนียม ธปท. จึงออกประกาศ ธปท. ฉบับนี้ เพื่อปรับปรุงการคิดค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO 20022 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 7 และข้อ 33 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต และข้อ 8 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการส่งคําสั่งฝากถอนธนบัตรด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ - 3. แก้ไข ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2556 เรื่อง ค่าธรรมเนียมและค่าปรับบริการบาทเนต ลงวันที่ 29 มีนาคม 2556 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ใช้บริการบาทเนตตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการบาทเนต อื่นๆ - 5. เนื้อหา ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 2 และข้อ 3 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2556 เรื่อง ค่าธรรมเนียมและค่าปรับบริการบาทเนต ลงวันที่ 29 มีนาคม 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน "ข้อ 2 ค่าธรรมเนียมสําหรับบริการแต่ละประเภทผ่านระบบบาทเนตและคําสั่งต่าง ๆ ผ่านระบบการเชื่อมโยงเพื่อชําระราคาหลักทรัพย์ (หน่วย: บาทต่อรายการ) | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | ประเภทบริการ/คําสั่ง | ใช้บริการผ่านช่องทาง | Zone ที่ 1ช่วงเวลา8.30 ถึง 12.00 น. | Zone ที่ 2ช่วงเวลาหลังจาก12.00 ถึง 16.00 น. | Zone ที่ 3ช่วงเวลาหลังจาก16.00 ถึง 17.30 น. | | (1) คําสั่งโอนเงินระหว่างสถาบัน(รวมคําสั่งโอนเงินระหว่างสถาบันโดยวิธี Cover Message (Interbank Funds Transfer Cover))1/ | SWIFT | 5 | 10 | 2002/ | | EFS | 8 | 16 | 2002/ | | (2) คําสั่งโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม1/ | SWIFT | 5 | 10 | 200 | | EFS | 8 | 16 | 200 | | (3) คําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (MFT)1/ | EFS | 150 | 150 | 150 | | (4) คําสั่งถอนธนบัตร1/ | EFS | 8 | 16 | 200 | | (5) คําสั่งขอชําระราคา1/ | RDL Linkage | 8 | 16 | 200 | | (6) คําสั่งแจ้งผลการขอชําระราคา | RDL Linkage | 3 | 3 | 3 | | (7) คําสั่งขอยกเลิกรายการอัตโนมัติ1/ | RDL Linkage | 12 | 12 | 12 | | (8) คําสั่งแจ้งผลการยกเลิกรายการ | RDL Linkage | 3 | 3 | 3 | | (9) คําสั่งอนุมัติการจ่ายเงิน1/ | EFS | 6 | 6 | 6 | | (10) คําสั่งปฏิเสธการจ่ายเงิน1/ | EFS | 6 | 6 | 6 | | (11) เอกสารยืนยันการเดบิต | SWIFT | 3 | 3 | 3 | | (12) เอกสารยืนยันการเครดิต | SWIFT | 3 | 3 | 3 | | (13) เอกสารปฏิเสธการโอนเงิน | SWIFT/EFS | 6 | 6 | 6 | | (14) ข้อความStatement | SWIFT | 3 | 3 | 3 | | (15) การส่งข้อความขอคืนเงิน | SWIFT/EFS | 6 | 6 | 6 | | (16) การส่งข้อความขอยกเลิกคําสั่ง โอนเงิน | SWIFT/EFS | 6 | 6 | 6 | | (17) การส่งข้อความขอแก้ไขคําสั่งโอนเงิน | SWIFT/EFS | 6 | 6 | 6 | | (18) การส่งข้อความสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการบาทเนต | SWIFT/EFS | 6 | 6 | 6 | | (19) การขอให้ ธปท. ประกาศข้อความ | EFS | 20 | 20 | 20 | 1/คิดคําธรรมเนียมทุกรายการ ทั้งรายการที่มีผลสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ (Error) โดยรายการ Error จะคิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกับรายการที่มีผลสมบูรณ์ เว้นแต่รายการ Error ที่เกิดขั้นใน Zone ที่ 3 จะคิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียม Zone ที่ 2 2/ยกเว้นรายการโอนเงินระหว่างบัญชีของสถาบันเดียวกันและรายการกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันผ่านบาทเนต โดยคิดค่าธรรมเนียมตามอัตราในช่วง Zone ที่ 2 ข้อ 3 ธปท. จะคิดค่าธรรมเนียมและค่าปรับแต่ละประเภทตามจํานวนรายการที่เกิดขึ้นเดือนละครั้ง และให้ส่วนลดร้อยละ 20 ของอัตราที่กําหนดตามข้อ 2 แก่ผู้ใช้บริการบาทเนตที่ส่งรายการผ่าน SWIFT เฉพาะจํานวนรายการที่เกิดขึ้นใน Zone ที่ 2 (ช่วงเวลาหลังจาก 12.00 ถึง 16.00 น.) ส่วนที่เกินตามประเภทรายการและจํานวนรายการ ดังต่อไปนี้ (1) คําสั่งโอนเงินระหว่างสถาบัน ส่วนที่เกิน 200 รายการ (2) คําสั่งโอนเงินเพื่อบุคคลที่สาม ส่วนที่เกิน 1,000 รายการ" อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ธปท. เริ่มให้บริการระบบบาทเนตโดยใช้มาตรฐานข้อความ ISO 20022 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 (นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,572
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรบ. 4/2563 เรื่อง บริการจำหน่ายตราสารหนี้ภายใต้การให้บริการ Bond Platform
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรบ. 4 /2563 เรื่อง บริการจําหน่ายตราสารหนี้ภายใต้การให้บริการ Bond Platform ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อรองรับการให้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ภายใต้ระบบการให้บริการ Bond Platform ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่านตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กระบวนการจําหน่ายตราสารหนี้ โดยเฉพาะการจัดสรรตราสารหนี้ การชําระเงิน การเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ และการฝากตราสารหนี้ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และมั่นคงปลอดภัย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 4.2 (2) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้บริการระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform) ธปท. จึงได้กําหนดให้การบริการจําหน่ายตราสารหนี้เป็นบริการอีกประเภทหนึ่งภายใต้การให้บริการ Bond Platform อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ให้ใช้บังคับกับสมาชิกที่ประสงค์จะใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ภายใต้การให้บริการ Bond Platform ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้บริการระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform) อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 คํานิยาม ในประกาศนี้ "ผู้ใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้" หมายถึง สมาชิกที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้ใช้บริการ Bond Platform ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้บริการระบบและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมตราสารหนี้ (Bond Platform) "ระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้" หมายถึง ระบบงานที่ใช้สําหรับบริการจําหน่ายตราสารหนี้ภายใต้การให้บริการ Bond Platform "ผู้ซื้อ" หมายถึง ผู้ซื้อตราสารหนี้ที่มีสิทธิซื้อตามคุณสมบัติที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด เช่น บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือสถาบันการเงิน เป็นต้น "รายการจําหน่าย" หมายถึง รายการขายตราสารหนี้ที่ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ได้รับคําสั่งซื้อจากผู้ซื้อ และส่งเข้าระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้ "ข้อมูลการจําหน่าย" หมายถึง ข้อมูลของรายการจําหน่ายตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ซื้อและข้อมูลประกอบอื่น ๆ เพื่อใช้สําหรับระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้ "การจัดสรรตราสารหนี้" หมายถึง การที่ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ได้รับสิทธิจองซื้อตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อตามจํานวนเงิน หรือจํานวนหน่วยที่ผู้ออกตราสารหนี้จัดสรรให้แก่ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดการจําหน่ายตราสารหนี้ "การเดบิตบัญชี" หมายถึง การหักบัญชีเงินฝากที่ ธปท. "การฝากตราสารหนี้" หมายถึง การบันทึกจํานวนตราสารหนี้ลงในบัญชีฝากหลักทรัพย์ ที่ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ได้เปิดไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ "บาทเนต" หมายถึง ระบบที่ ธปท. ให้บริการตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต 4.2 การขอใช้บริการ ผู้ใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ต้องยื่นหนังสือแจ้งการขอใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ภายใต้การให้บริการ Bond Platform ต่อ ธปท. ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ 4.3 การจัดสรรตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อ 4.3.1 ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้มีหน้าที่ส่งข้อมูลการจําหน่ายเข้าระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด เพื่อใช้ในการจัดสรรตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อ โดยตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้จะต้องดําเนินการในการรู้จักลูกค้า (Know Your Customer) และการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence) ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4.3.2 เมื่อตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ได้ดําเนินการส่งข้อมูลการจําหน่ายตามข้อ 4.3.1 แล้ว ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้จะได้รับการยืนยันผลการจัดสรรตราสารหนี้ จากระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้ให้กับผู้ซื้อ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด ทั้งนี้ ในการจัดลําดับการจัดสรรตราสารหนี้จะพิจารณาจากวันและเวลาที่ระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้ได้รับข้อมูลการจําหน่ายจากตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ 4.3.3 รายการจําหน่าย จะไม่ได้รับการจัดสรรตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อตามข้อ 4.3.2 ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลการจําหน่ายไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด (2) การจําหน่ายตราสารหนี้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด (3) วงเงินในการจําหน่ายตราสารหนี้ได้ถูกจัดสรรให้แก่ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้เต็มวงเงินที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนดแล้ว (4) มีเหตุสุดวิสัยที่ทําให้ไม่สามารถจัดสรรตราสารหนี้ให้แก่ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ได้ 4.3.4 ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้มีหน้าที่ตรวจสอบและติดตามสถานการณ์จัดสรรตราสารหนี้จากระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้ เพื่อบันทึกผลการจัดสรรตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อตามที่ได้รับจากระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้ตามข้อ 4.3.2 รวมถึงประสานงานและดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 4.3.5 ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้มีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อมูลการจําหน่ายของรายการจําหน่ายที่ได้รับการจัดสรรตราสารหนี้แล้วตามข้อ 4.3.2 4.3.6 ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้จะยกเลิกรายการจําหน่ายที่ได้รับการจัดสรรตราสารหนี้แล้วตามข้อ 4.3.2 ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. หรือผู้ออกตราสารหนี้กําหนด 4.3.7 การกําหนดวันที่จดทะเบียนสําหรับเริ่มต้นคํานวณดอกเบี้ยของรายการจําหน่ายที่ได้รับการจัดสรรตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อตามข้อ 4.3.2 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือธปท. กําหนด 4.3.8 ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการจัดสรรตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ให้ผู้ออกตราสารหนี้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด 4.4 การชําระเงิน 4.4.1 ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบความถูกต้องของรายการจําหน่ายที่ผู้ซื้อต้องชําระเงินให้แก่ผู้ออกตราสารหนี้ ก่อนที่ระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้จะแจ้งข้อมูลการชําระเงินตามวันเวลาที่กําหนด (2) โอนเงินตามข้อมูลการชําระเงินที่ได้รับแจ้งจากระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้ตามข้อ 4.4.1 (1) ให้แก่ รปท. ผ่านระบบบาทเนตภายในวันเวลาที่กําหนด (3) ติดตามผลการโอนเงินตามข้อ 4.4.1 (2) จากผลการเดบิตบัญชีในระบบบาทเนต และแจ้งผลการโอนเงินดังกล่าวให้ ธปท. ทราบ ทั้งนี้ หากตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ไม่ดําเนินการตามข้อ 4.4.1 (1) - (3) ธปท. จะดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด 4.4.2 ธปท. มีหน้าที่ติดตาม และตรวจสอบความถูกต้องของจํานวนเงินทั้งหมดที่ได้รับโอนจากตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ตามข้อ 4 4.1 และโอนเงินที่ได้รับจากตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ออกตราสารหนี้ผ่านระบบบาทเนตภายในวันเวลาที่กําหนด 4.4.3 ผู้ออกตราสารหนี้มีหน้าที่ติดตามและตรวจสอบความถูกต้องของจํานวนเงินทั้งหมดที่ได้รับจาก ธปท. ตามข้อ 4.4.2 4.5 การเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ 4.5.1 ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้มีหน้าที่พิจารณาดําเนินการแจ้งขอเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อที่ได้รับการจัดสรรตราสารหนี้ตามข้อ 4.3.2 รวมทั้งส่งข้อมูลการจําหน่ายที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเข้าระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท.กําหนด 4.5.2 ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อได้รับแจ้งการขอเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์และข้อมูลการจําหน่ายตามข้อ 4.5.1 จากตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนด รวมถึงแจ้งผลการเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ดังกล่าวผ่านระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้เมื่อดําเนินการเสร็จสิ้น 4.5.3 ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้มีหน้าที่ติดตามผลการเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ รวมถึงดําเนินการบันทึกข้อมูลการจําหน่ายที่เกี่ยวข้องกับผู้ซื้อให้ครบถ้วนก่อนศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ดําเนินการฝากตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อ 4.6 การฝากตราสารหนี้ 4.6.1 ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของรายการจําหน่ายที่ได้ชําระเงินแล้วตามข้อ 4.4.2 รวมถึงบันทึกข้อมูลการจําหน่ายให้ครบถ้วนตามที่ ธปท.กําหนด ในกรณีที่พบว่าข้อมูลการจําหน่ายไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้อง ให้ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ดําเนินการบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลการจําหน่ายให้ครบถ้วนถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด 4.6.2 ธปท. จะดําเนินการรวบรวมข้อมูลการจําหน่ายที่ได้รับตามข้อ 4.6.1 และได้ชําระเงินแล้วจากตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้ และนําส่งให้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เพื่อทําการฝากตราสารหนี้ 4.6.3 ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์มีหน้าที่บันทึกการฝากตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อเมื่อได้รับข้อมูลจาก ธปท. ตามข้อ 4.6.2 ตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนด รวมถึงแจ้งผลการฝากตราสารหนี้ดังกล่าวผ่านระบบงานจําหน่ายตราสารหนี้เมื่อดําเนินการเสร็จสิ้น 4.6.4 ตัวแทนจําหน่ายตราสารหนี้มีหน้าที่ติดตามผลการฝากตราสารหนี้ รวมถึงดําเนินการอื่น ๆ เพื่อยืนยันการฝากตราสารหนี้ให้แก่ผู้ซื้อทราบภายในระยะเวลาที่กําหนด 4.7 การระงับการใช้บริการ การใช้บริการระบบบริการจําหน่ายตราสารหนี้จะถูกระงับไปเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) ธปท. อาจพิจารณาให้ผู้ใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ ระงับการใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้เป็นการชั่วคราว เมื่อผู้ใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือมีพฤติการณ์ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้บริการ Bond Platform โดย ธปท. จะแจ้งให้ทราบในเวลาอันควรก่อนระงับการใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ ในกรณีที่มีการระงับการใช้บริการเป็นการชั่วคราว ผู้ใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ต้องทําการแก้ไขข้อบกพร่อง หรือเสนอแผนงานที่ชัดเจนสําหรับการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ภายในระยะเวลา 20 วันทําการ นับจากวันที่ ธปท. ระงับการใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ ทั้งนี้หากผู้ใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ไม่ดําเนินการดังกล่าว ธปท. อาจพิจารณาเพิกถอนการใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ (2) ในกรณีที่ผู้ใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ต้องการระงับการใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ ให้ผู้ใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอระงับการใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ต่อ ธปท. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วันทําการ ก่อนวันที่ผู้ใช้บริการประสงค์ขอระงับการใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ธปท. จะพิจารณาการระงับใช้บริการจําหน่ายตราสารหนี้ตามเหตุผลและความจําเป็น อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,573
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2563 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่น (other services)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8 /2563 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่น (other services) ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารพาณิชย์มีธุรกิจหลักในการรับฝากเงินและการให้สินเชื่อ รวมถึงบริการทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือจําเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ (non-financial services) เพิ่มเติมแก่ลูกค้าทั่วไปได้ โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีการระบุประเภท เงื่อนไขการให้บริการ และกําหนดผู้รับบริการไว้จํากัด หากธนาคารพาณิชย์ต้องการจะประกอบธุรกิจอื่นนอกเหนือจากที่กําหนด ต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี ซึ่งปัจจุบันความต้องการใช้บริการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปและมีบริการรูปแบบใหม่เกิดขึ้น หลักเกณฑ์ข้างต้นจึงเป็นอุปสรรคในการห้บริการแก่ลูกค้าและการดําเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ non-financial services โดยจัดกลุ่มเป็น 2 รูปแบบ คือ (1) ธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน digital banking (Information Technology related services) และ (2) ธุรกิจให้บริการอื่น (other services) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบธุรกิจให้บริการอื่นได้เป็นการทั่วไปภายใต้กรอบหลักการ (guiding principles) ที่กําหนด เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจและสนับสนุนพัฒนาการของบริการทางการเงิน อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ยังต้องมุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจทางการเงินเป็นหลัก โดยต้องกําหนดอัตราส่วนรายได้จาก non-financial services ของธนาคารพาณิชย์ให้เหมาะสและสอดคล้องกับกลยุทธ์การประกอบธุรกิจ รวมถึงต้องให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยง การคุ้มครองผู้รับบริการและคํานึงถึงผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินเป็นสําคัญ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่น (other services) อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก 3.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 5/2554 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่น (Services) แก่ลูกค้าทั่วไป เพิ่มเติมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์บางประการ ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2554 3.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2554 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ รับให้บริการแก่ธุรกิจทางการเงินหรือทางการ (Insourcing) ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "กลุ่มธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วย "บริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน" (1) ในกรณีธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หมายความว่า บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และเฉพาะในกรณีธนาคารพาณิชย์ที่มีต่างชาติถือหุ้นมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ ให้หมายความรวมถึง บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์นั้นด้วย (2) ในกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หมายความว่า สํานักงานใหญ่หรือสาขาที่อยู่ในประเทศอื่น หรือสํานักงานภูมิภาคในต่างประเทศของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ "บริษัทที่มีความเกี่ยวข้อง" หมายความว่า บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของธนาคารพาณิชย์ ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน "ธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุน" หมายความว่า ธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจสนับสนุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน "ธุรกิจการให้บริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือจําเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ (non-financial services)" หมายความว่า ธุรกิจอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องหรือจําเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และธุรกิจให้บริการอื่น (other services) "ธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ" หมายความว่า ธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน digital banking (Information Technology related services) ธุรกิจสถาบันการเงิน "ธุรกิจให้บริการอื่น" หมายความว่า ธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือจําเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ที่นอกเหนือจากธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ "รายได้จาก non-financial services" หมายความว่า รายได้จากการประกอบธุรกิจ IT related services และรายได้จากการประกอบธุรกิจให้บริการอื่น 5.2 ธุรกิจให้บริการอื่นที่อนุญาตเป็นการทั่วไป ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไปให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่นตามที่กําหนด ดังนี้ (ตัวอย่างธุรกิจให้บริการตามเอกสารแนบ) (1) การบริหารจัดการเงิน (cash management) และการจัดทํารายงานที่เกี่ยวข้อง (2) การเป็นตัวแทน หรือที่ปรึกษา หรือการให้คําแนะนํา การให้บริการข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน หรือผลิตภัณฑ์และบริการอื่นที่ธนาคารพาณิชย์มีความชํานาญ ยกเว้น การแนะนําการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ให้บริการได้เฉพาะลูกค้ากลุ่ม wealth เท่านั้น (3) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์หรือการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เหลือใช้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการนําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า (4) การจัดทํารายงานและเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ธนาคารพาณิชย์ให้บริการแก่ลูกค้า (5) การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงิน ที่ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการเพื่อตนเองอยู่แล้ว (6) การให้บริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงิน ที่ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการเพื่อตนเองอยู่แล้วและมีทรัพยากรเหลือ โดยให้บริการได้เฉพาะกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันสถาบันการเงินอื่น บริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันของสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่รับโอนสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรับโอนสินทรัพย์จากผู้ขายสินทรัพย์และออกหลักทรัพย์ขายแก่ผู้ลงทุน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ประเภทธุรกิจที่กําหนดข้างต้นอยู่ภายใต้กรอบหลักการ (guiding principles) ดังต่อไปนี้ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เป็นหลักการพิจารณาอนุญาตการประกอบธุรกิจอื่นเป็นรายกรณีนอกเหนือจากที่อนุญาตเป็นการทั่วไปด้วย (1) เป็นธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและป้องกันการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ (efficiency) รวมถึงเพื่อต่อยอดการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์โดยตรง (2) เป็นธุรกิจที่ธนาคารพาณิชย์มีความเชี่ยวชาญหรือมีทรัพยากรเพียงพอมีความพร้อมทั้งระบบงาน บุคลากรในการให้บริการ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ และสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงตามลักษณะและความซับซ้อนของธุรกิจนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพหรือความเชื่อมั่นของระบบสถาบันการเงิน (financial stability) (3) มีการคุ้มครองผู้รับบริการที่เหมาะสม โดยเฉพาะการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลการแก้ไขปัญหาและจัดการเรื่องร้องเรียน การเปิดเผยค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ให้เพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ทั้งนี้ ผู้รับบริการต้องมีสิทธิในการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้วยตนเอง (4) ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ไม่ผูกขาด ไม่ประกอบธุรกิจในลักษณะที่แข่งขันโดยตรงกับภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) และต้องดูแลไม่ให้เกิดความสับสนว่าธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ประกอบธุรกิจนั้นเอง รวมถึงต้องคํานึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคเศรษฐกิจจริง (5) มีการควบคุมไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) มีกระบวนการดูแล ติดตาม เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อธนาคารพาณิชย์ 5.3 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลการบริหารจัดการความเสี่ยง ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจให้บริการอื่นตามข้อ 5.2 ต้องมีการกํากับดูแลขั้นต่ําดังต่อไปนี้ 5.3.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนดนโยบายการประกอบธุรกิจให้บริการอื่นที่สอดคล้องกับกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจในภาพรวมของธนาคาร โดยธนาคารพาณิชย์ยังต้องมุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจทางการเงินเป็นหลักมากกว่าธุรกิจ non-financial services 5.3.2 ธนาคารพาณิชย์ต้องกําหนด (1) อัตราส่วนรายได้จากการประกอบธุรกิจ non-financial services ต่อรายได้รวมทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์ และ (2) อัตราส่วนรายได้จากการประกอบธุรกิจ non-financial services แก่บุคคลภายนอกกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่อรายได้จากการประกอบธุรกิจ non-financial services ทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ให้สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจ รวมถึงมีการติดตามดูแลรายได้ดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กําหนด 5.3.3 ธนาคารพาณิชย์ต้องควบคุมดูแลให้การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่นอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และสอดคล้องกับการบริหารจัดการความเสี่ยงในภาพรวม 5.3.4 ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดทําสัญญาหรือข้อตกลงการให้บริการที่ชัดเจนและมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย 5.3.5 ในการประกอบธุรกิจให้บริการอื่น ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ว่าจ้างช่วงงานต่อ (subcontract) ต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันในการรับช่วงงานต่อทั้งหมด โดยหากจําเป็นต้องว่าจ้างช่วงงานต่อกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน หรือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (outsourcing) รวมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้บริการจากพันธมิตรทางธุรกิจ (business partner) ของสถาบันการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องรับผิดชอบเสมือนดําเนินการงานนั้นด้วยตนเองและต้องดูแลให้ผู้รับจ้างช่วงงานต่อปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องข้างต้นเพื่อให้ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ หรือส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อร้องขอ 5.4 การยื่นขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยรายกรณี กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการให้บริการอื่นนอกเหนือจากประเภทการให้บริการตามข้อ 5.2 ให้ยื่นคําขออนุญาตโดยแสดงเหตุผลและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องต่อธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาคําขอให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารถูกต้องครบถ้วน 5.5 การกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม สั่งให้แก้ไข ชะลอ หรือระงับการประกอบธุรกิจ กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบพบว่าธนาคารพาณิชย์มีการปฏิบัติที่อาจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด หรือการบริหารจัดการความเสี่ยงมีจุดอ่อนหรือไม่ดูแลให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างเป็นธรรม หรือไม่ให้ความสําคัญกับการประกอบธุรกิจทางการเงินเป็นหลัก หรือเป็นกรณีที่อาจกระทบต่อความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชนหรือระบบการเงินโดยรวม หรือกรณีอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ามีความจําเป็น ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการประกอบธุรกิจ สั่งให้แก้ไข ชะลอ หรือระงับการประกอบธุรกิจให้บริการอื่น บางส่วนหรือทั้งหมด เป็นการทั่วไปหรือเป็นรายกรณี 5.6 บทเฉพาะกาล 5.6.1 กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ประกอบธุรกิจให้บริการอื่นเป็นรายกรณีก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอันเป็นการขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นสามารถดําเนินการดังกล่าวได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบและตามข้อตกลงสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วจนกว่าข้อตกลงหรือสัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดลง 5.6.2 กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 5.3 ในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันเป็นการทั่วไป โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ครบถ้วนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,574
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (ฉบับที่ 2)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9 /2563 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (ฉบับที่ 2) ------------------------------------------------------- 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินสามารถประกอบธุรกิจทางการเงิน และธุรกิจสนับสนุนได้ตามที่กําหนด เพื่อให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประกอบธุรกิจได้ยืดหยุ่นมากขึ้น ตามความต้องการใช้บริการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการให้บริการรูปแบบใหม่โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องมีการควบคุมดูแล บริหารจัดการความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจสนับสนุนในภาพรวม ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น โดยแบ่งประเภทธุรกิจสนับสนุนออกเป็น 2 ลักษณะคือ ธุรกิจสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และธุรกิจสนับสนุนอื่น รวมถึงได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจสนับสนุนบางประเภทของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ให้สามารถให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเพิ่มเติมได้ ดังนี้ (1) การให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน digital banking (IT related services) เพื่อสนับสนุนให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินใช้ทรัพยากรด้าน IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) การเป็นตัวแทนให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจในประเทศเพื่อขยายตลาดไปต่างประเทศผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Cross border e-Commerce facilitator) (3) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์หรือการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เหลือใช้ที่เป็นสถานที่ดําเนินธุรกิจเช่น สถานที่ทําการ ที่จอดรถ ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินยังคงต้องมุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจทางการเงินเป็นหลัก และให้บริษัทแม่ติดตามควบคุมอัตราส่วนการให้บริการธุรกิจสนับสนุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยให้นําหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 58 มาตรา 59 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้สถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ 3. ประกาศที่แก้ไข ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 11 เมษายน 2561 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมทุกแห่งของสถาบันการเงินในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ยกเว้น สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 5. เนื้อหา 5.1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5.3.2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 11 เมษายน 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "5.3.2 ธุรกิจสนับสนุน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ (1) ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นการให้บริการเพื่อสนับสนุนหรือต่อยอดการให้บริการทางการเงิน หรือเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินหรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางเงินให้เกิดประโยชน์ โดยสามารถให้บริการแก่ผู้รับบริการได้เป็นการทั่วไป ได้แก่ (1.1) การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) เช่น Cloud computing (1.2) เทคโนโลยีทางการเงิน ที่สนับสนุนการดําเนินธุรกิจและการจัดการข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือสนับสนุนให้ลูกค้ามีข้อมูลทางการเงินเพื่อการเข้าถึงสินเชื่อกับสถาบันการเงิน (1.3) การให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน digital banking (IT related services) โดยต้องเป็นบริการที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินมีความชํานาญหรือมีทรัพยากรเพียงพอและต้องอยู่ภายใต้กรอบหลักการ (guiding principles) ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุน digital banking (IT related services) ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องมุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจทางการเงินเป็นหลัก และมีการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกิจ ตลอดจนมีการกําหนดอัตราส่วนการลงทุนและอัตราส่วนรายได้ในการประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุน digital banking (IT related services) โดยอนุโลม (2) ธุรกิจสนับสนุนอื่น แบ่งเป็น 4 ประเภท (2.1) การให้บริการงานด้านปฏิบัติการซึ่งสนับสนุนการดําเนินงานของสถาบันการเงิน หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยสามารถให้บริการแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน' หรือบุคคลอื่น ได้แก่ สถาบันการเงินอื่น บริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันของสถาบันการเงินอื่นธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่รับโอนสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรับโอนสินทรัพย์จากผู้ขายสินทรัพย์และออกหลักทรัพย์ขายแก่ผู้ลงทุน บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ และส่วนราชการ (2.2) การให้บริการในธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง หรือใช้ความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้าน ได้แก่ ธุรกิจวิจัยข้อมูล ธุรกิจกฎหมาย ธุรกิจประเมินราคาสินทรัพย์ธุรกิจศูนย์ฝึกอบรม และธุรกิจการให้บริการขนส่งเงิน โดยสามารถให้บริการแก่ผู้รับบริการได้เป็นการทั่วไปทั้งนี้ ร้ายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจนี้ต้องมาจากการให้บริการแก่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเดียวกันและบุคคลอื่นตามที่กําหนดในข้อ (2.1) (2.3) การเป็นตัวแทนให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจในประเทศเพื่อขยายตลาดไปยังต่างประเทศผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Cross border e-Commerce facilitator) เช่น การเป็นตัวแทนในการขายสินค้าผ่าน e-Commerce ในต่างประเทศ การให้บริการจัดทําเอกสารเพื่อการส่งออก การติดต่อหรือจัดหาผู้ให้บริการขนส่งสินค้าในต่างประเทศ แต่ต้องไม่ประกอบธุรกิจในลักษณะเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการด้วยตนเอง เช่น จัดตั้งร้านค้าในรูปแบบ physical store เพื่อจําหน่ายสินค้าหรือบริการ หรือรับผิดชอบคุณภาพสินค้าหรือบริการนั้น ๆ โดยสามารถให้บริการแก่ผู้รับบริการได้เป็นการทั่วไป (2.4) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์หรือการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เหลือใช้โดยสามารถให้บริการแก่ผู้รับบริการได้เป็นการทั่วไป และให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการนําอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่าโดยอนุโลม ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องมุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจทางการเงินเป็นหลักและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการความเสี่ยง และการกําหนดอัตราส่วนรายได้ในการประกอบธุรกิจสนับสนุน ตลอดจนการบริหารการจ้างช่วงงานต่อ (ถ้ามี) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจให้บริการอื่น (other services) โดยอนุโลม เว้นแต่ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สามารถประกอบธุรกิจสนับสนุนได้เฉพาะธุรกิจสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อ 5.3.2 (1.1) และ (1.2) และธุรกิจสนับสนุนอื่น ตามข้อ 5.3.2 (2.1) และ (2.2) เท่านั้น" 5.2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5.4 (5) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลโครงสร้างและขอบเขตธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ลงวันที่ 11 เมษายน 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(5) รายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่อาจกระทบต่อฐานะและชื่อเสียงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เช่น บริษัทแม่ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินไม่ว่าจะมีการประกอบธุรกิจประเภทอื่นเพิ่มเติมหรือเลิกประกอบธุรกิจที่ดําเนินการอยู่ โดยให้บริษัทแม่รายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมายัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว" 6. บทเฉพาะกาล 6.1 กรณีที่บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ประกอบธุรกิจสนับสนุนเป็นรายกรณีก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอันเป็นการขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินนั้นสามารถดําเนินการดังกล่าวได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบและตามข้อตกลงสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วจนกว่าข้อตกลงหรือสัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดลง 6.2 กรณีที่กลุ่มธุรกิจทางการเงินยังไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันเป็นการทั่วไป โดยกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ครบถ้วนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2563 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฝ่ายนโยบายการกํากับสถาบันการเงิน โทรศัพท์ 0 2283 6938, 0 2283 5839 โทรสาร 0 2283 5983 อีเมล [[email protected]](mailto:[email protected])
6,575
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 11/2552 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ (ฉบับที่ 2)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 11 /2552 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ (ฉบับที่ 2) ---------------------------------- 1. เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่ายและไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไรและมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1) และตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Debt Capital Instrument) และตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาว (Subordinated Debt) ที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเอกสารแนบ 2 และ 3 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 88/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ การแก้ไขประกาศในครั้งนี้ ก็เพื่อเพิ่มความคล่องตัวของธนาคารพาณิชย์ในการบริหารเงินกองทุนประเภทดังกล่าว โดยให้สามารถซื้อคืนตราสารดังกล่าวจากผู้ถือในสภาวะที่ราคาตลาดของตราสารเหล่านี้ลดลงจากมูลค่าที่ตราไว้เป็นอันมาก อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะทําการซื้อคืนตราสารดังกล่าว จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาถึงความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ก่อนและหลังการซื้อคืนตราสาร รวมทั้งแผนการทดแทนเงินกองทุนส่วนที่ลดลงอันเนื่องจากการซื้อคืน ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์จะยังมีฐานะเงินกองทุนที่มั่นคงต่อไป และการซื้อคืนจะไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อธนาคารพาณิชย์นั้นๆ 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 29 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์กําหนดองค์ประกอบของเงินกองทุนให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ 3. ขอบเขตการถือปฏิบัติ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร 4. ประกาศหรือหนังสือเวียนที่ยกเลิก เอกสารแนบ 2 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนับตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่ายและไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไรเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1) และเอกสารแนบ 3 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนับตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Debt Capital Instrument) และตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาว (Subordinated Debt) เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ซึ่งแนบท้ายประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 88/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 5. เนื้อหา ให้ใช้เอกสารแนบ 2 และเอกสารแนบ 3 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้แทนของเดิมที่ยกเลิกไป 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,576
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) (ฉบับที่ 2)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) (ฉบับที่ 2) ----------------------------------- 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 91/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นแนวทางในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ในกรณีที่มีการค้ําประกันหรือมีการใช้อนุพันธ์ด้านเครดิต โดยอนุญาตเพิ่มเติมให้ธนาคารพาณิชย์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่เกี่ยวข้องและได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถเลือกใช้วิธีที่ถือเสมือนหนึ่งว่าธนาคารพาณิชย์มีฐานะกับผู้ค้ําประกันหรือ Protection on seller' โดยตรง (วิธี Substitution) หรือวิธีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตโดยคํานึงถึงการที่ลูกหนี้และผู้ค้ําประกันหรือ Protection seller จะผิดนัดชําระหนี้พร้อมกัน (วิธี Double Default2) ได้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี IRB มีทางเลือกในการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตกรณีมีการค้ําประกันหรือมีการใช้อนุพันธ์ด้านเครดิต และเพื่อให้หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตมีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ออกโดย Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ปรับปรุงถ้อยคําในหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธีที่ IRB ส่วนอื่น ๆ ให้มีความสมบูรณ์และชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของคําจํากัดความของการผิดนัดชําระหนี้ และการขออนุญาตกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบบ Internal rating หรือแบบจําลองที่ใช้ในการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานางตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัด สิทธิ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 อันประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) (ฉบับที่ 2) และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก เอกสารแนบ 1 เอกสารแนบ 1.1 เอกสารแนบ 2 เอกสารแนบ 4 เอกสารแนบ 6 เอกสารแนบ 7 และเอกสารแนบ 8 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 91/255I เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings- Based Approach (วิธี IRB) ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 5. เนื้อหา ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามเอกสารแนบ 1 เอกสารแนบ 1.1 เอกสารแนบ 2 เอกสารแนบ 4 เอกสารแนบ 6 เอกสารแนบ 7 และเอกสารแนบ 8 ของประกาศฉบับนี้ แทนเอกสารแนบ 1 เอกสารแนบ 1.1 เอกสารแนบ 2 เอกสารแนบ 4 เอกสารแนบ 6 เอกสารแนบ 7 และเอกสารแนบ 8 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 91/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,577
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2552 เรื่อง การทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.1 /2552 เรื่อง การทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคลของสถาบันการเงิน ---------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เนื่องจากสถาบันการเงินหลายแห่งจะกําหนดข้อสัญญาค้ําประกันให้ผู้ค้ําประกันรับผิดในหนี้ในอนาคตของลูกหนี้ โดยไม่จํากัดจํานวน ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยเห็นร่วมกันว่า วิธีปฏิบัติดังกล่าวเป็นการตัดสิทธิผู้ค้ําประกันที่จะบริหารความเสี่ยงของตนเอง สมควรที่จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติดังกล่าว จึงได้สนับสนุนให้มีการตราพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินอันมีข้อความในมาตรา 39(3) ขึ้น นอกจากนั้น เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ําประกันมากขึ้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เพิ่มเติมบทกฎหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเพิ่มให้สถาบันการเงินแจ้งผู้ค้ําประกันหากสถาบันการเงินไม่สามารถตกลงกับลูกหนี้ที่ผิดนัดชําระหนี้ได้ภายใน 6 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้ําประกันชําระหนี้แทนลูกหนี้อันเป็นลูกหนี้ชั้นต้น ถ้าเกรงว่าดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาซึ่งจะเป็นภาระที่สูงขึ้นแก่ผู้ค้ําประกันในอนาคต ในการปรับปรุงประกาศในครั้งนี้ เพื่อยกเว้นไม่นําหลักเกณฑ์ข้างต้นมาใช้บังคับในกรณีที่บริษัทแม่ทําสัญญาค้ําประกันบริษัทลูกต่อเจ้าหนี้สถาบันการเงิน เนื่องจากบริษัทแม่มีอํานาจควบคุมเหนือบริษัทลูก ดังนั้นในทางปฏิบัติการก่อหนี้เพิ่มขึ้นเกินเพดานเดิมของบริษัทลูกย่อมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบริษัทแม่ ด้วยเหตุเดียวกันกรณีที่ถูกหนี้ตกลงขอผ่อนเวลากับเจ้าหนี้สถาบันการเงินก็ไม่จําเป็นต้องแจ้งให้ผู้ค้ําประกันทราบตามกําหนดเวลาข้างต้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39(3) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้สถาบันการเงินดําเนินการเกี่ยวกับการทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคล อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 78/2551 เรื่อง การทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคลของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ คําจํากัดความของคําว่า "บริษัทแม่" ให้เป็นไปตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ความว่า "บริษัทแม่" หมายความว่า บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการของบริษัทอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีหุ้นในบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (2) มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหนึ่ง (3) มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้มีอํานาจในการจัดการหรือกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดในบริษัทหนึ่ง หรือ (4) มีอํานาจควบคุมกิจการในลักษณะอื่นใดตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด การมีหุ้นในบริษัทหนึ่งตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีอํานาจควบคุมกิจการ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีอํานาจควบคุมกิจการ 5.2 หลักเกณฑ์ 5.2.1 ในการทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคล ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติดังนี้ (1) สัญญาค้ําประกันด้วยบุคคลดังกล่าวต้องมีการระบุวงเงินของต้นเงินในสัญญาให้ชัดเจน หรือมิให้มีการทําข้อตกลงให้ผู้ค้ําประกันทําสัญญาค้ําประกันแบบไม่จํากัดจํานวน (2) ในกรณีที่เป็นการค้ําประกันหนี้ที่มีกําหนดเวลาชําระเงินที่แน่นอนและสถาบันการเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่ไม่สามารถจะตกลงกันได้กายในเวลา 6 เดือนนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ให้สถาบันการเงินแจ้งรายละเอียดดังกล่าวให้ผู้ค้ําประกันทราบเป็นลายลักษณ์อักษร 5.2.2 ความในข้อ 5.2.1 ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่บริษัทแม่ทําสัญญาค้ําประกันบริษัทลูกต่อเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ดังนั้น การค้ําประกันจึงไม่จําเป็นต้องจํากัดวงเงิน และกรณีลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ สถาบันการเงินก็ไม่ต้องแจ้งผู้ค้ําประกันทราบตามกําหนดเวลาข้างต้น อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,578
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1 /2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 5/2551 เรื่องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 19 ธันวาคม 2551 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายสมชาย เสตกรณุกูล 2. นางจันทวรรณ สุจริตกุล 3. นายนิรุธ รักษาเสรี 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นางสร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช 7. นายปราณีต โชติกีรติเวช 8. นายอมร กังวาฬ 9. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 10. นายสุกิจ สหนุกูล 11. นายสัญญา จันทวดี 12. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 13. นายยรรยง ดํารงศิริ 14. นายชลัท มกรารัตต์ 15. นายเอนก อิงวิยะ 16. นายปรีชา เชื้อสุวรรณ 17. นายสุขชัย พูลสินากร 18. นายวีระยุทธ์ เลิศพูนวิไลกุล 19. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 20. นายทนงศักดิ์ วรรณกาญ 21. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 22. นายประสงค์ วิริยะวิภาต 23. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,579
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1 /2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.1/14/52 | 50,000 | 6 มกราคม 2552 | 8/1/52 – 22/1/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม 2552 (นางอัจนา ไวความดี) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,580
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 2/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 2 /2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย --------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 26 มกราคม 2552 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายสมชาย เสตกรณุกูล 2. นางจันทวรรณ สุจริตกุล 3. นายนิรุธ รักษาเสรี 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นางสร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช 7. นายปราณีต โชติกีรติเวช 8. นายอมร กังวาฬ 9. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 10. นายศุภชัย สายวิรัช 11. นายสัญญา จันทวดี 12. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 13. นายยรรยง ดํารงศิริ 14. นายชลัท มกรารัตต์ 15. นายปรีชา เชื้อสุวรรณ 16. นายสุขชัย พูลสินากร 17. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 18. นายทนงศักดิ์ วรรณกาญ 19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,581
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สกง. 2./2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.2/14/52 | 60,000 | 8 มกราคม 2552 | 12/1/52 – 26/1/52 | 14 | | พ.3/14/52 | 70,000 | 9 มกราคม 2552 | 13/1/52 – 27/1/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มกราคม 2552 (นางสุชาคา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,582
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 11/2563 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 11/ 2563 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นหนึ่งในธุรกิจที่อํานวยความสะดวกในการชําระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการในชีวิตประจําวันแทนการชําระด้วยเงินสดจึงเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจํานวนมาก ภาครัฐโดยกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เข้ามากํากับดูแลการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เพื่อดูแลหนี้ครัวเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่ส่งเสริมให้ผู้บริโภคก่อหนี้สินเกินตัวตลอดจนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มีใช่สถาบันการเงินอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ เพื่อกําหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน และกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทแม่ของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจมีหลักธรรมาภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) และเพื่อปรับลดอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บจากลูกหนี้เหลือร้อยละ 16 ต่อปี ตามที่ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจบัตรเครดิต) กําหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ยเบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้ตามความเหมาะสมของภาวะเศษฐกิจ นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รวมหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินไว้ในประกาศฉบับเดียวกัน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย 2.1 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 46 มาตรา 47 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ 2.2 อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 ข้อ 4 ข้อ 7 ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 16 แห่ง ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจบัตรเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก 3.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 12/2560 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2560 3.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 13/2560 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตสําหรับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2560 3.3 หนังสือเวียนที่ ฝนส. (21 ว. 17/2563 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ลงวันที่ 7 มกราคม 2563 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจบัตรเครดิต) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ 5.1.1 "บัตรเครดิต" หมายความว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนด เพื่อใช้ชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดแทนการชําระด้วยเงินสด หรือเพื่อใช้เบิก ถอน โอน หรือทําธุรกรรมอื่นใดที่เกี่ยวกับเงิน และผู้ประกอบธุรกิจจะเรียกให้ผู้บริโภคชําระเงินในภายหลัง ทั้งนี้ ไม่รวมถึง บัตรที่ได้มีการชําระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดไว้ล่วงหน้าและบัตรที่ผู้บริโภคไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ดอกเบี้ย หรือค่าอื่นใด อันเนื่องจากการใช้บัตรดังกล่าวในทุกกรณี 5.1.2 "บัตรอิเล็กทรอนิกส์ " หมายความว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามประมวลกฎหมายอาญา 5.1.3 "บัตรหลัก" หมายความว่า บัตรเครดิตที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคที่เป็นผู้มีรายได้หรือฐานะทางการเงินเพียงพอสําหรับการชําระหนี้ตามบัตรเครดิตได้ 5.1.4 "บัตรเสริม" หมายความว่า บัตรเครดิตที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคที่ผู้ถือบัตรหลักยินยอมให้ใช้จ่ายเงินภายในวงเงินของผู้ถือบัตรหลัก และผู้ถือบัตรหลักจะเป็นผู้รับผิดชอบชําระหนี้อันเกิดจากบัตรเสริมทั้งหมด 5.1.5 "บัตรเครดิตเพื่อธุรกิจ" (Business Card / Corporate Card) หมายความว่า บัตรเครดิตประเภทที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้ตามความประสงค์และคําขอของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการ โดยที่องค์กรหรือกิจการข้างต้นจะเป็นผู้รับผิดชอบชําระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตนั้น 5.1.6 "ผู้บริโภค" หมายความว่า ผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค 5.1.7 "ผู้ประกอบธุรกิจ" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน 5.1.8 "ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน" หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจบัตรเครดิต) 5.2 หลักการ ในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ให้ผู้ประกอบธุรกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลตามกรอบหลักการ (guiding principles) ดังต่อไปนี้ 5.2.1 การออกบัตรเครดิตควรพิจารณาให้แก่ผู้ที่มีแหล่งรายได้หรือมีความสามารถเพียงพอในการชําระหนี้ ไม่กระตุ้นการก่อหนี้ที่ไม่จําเป็น และคํานึงถึงความสามารถในการดํารงชีพของผู้บริโภคภายหลังการอนุมัติธุรกรรมดังกล่าว 5.2.2 การเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายใด ๆ จากผู้บริโภคควรคํานึงถึงต้นทุนที่แท้จริง ในอัตราที่เป็นธรรม ไม่เอาเปรียบผู้บริโภครวมทั้งให้บริการแก่ผู้บริโภคอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม 5.3 คุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจและการยื่นคําขออนุญาตการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน รวมถึงกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทแม่ของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจบัตรเครดิต) ทั้งนี้ ในการยื่นคําขออนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ยื่นผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบยื่นคําขออนุญาตประกอบธุรกิจและจัดส่งตามช่องทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในคู่มือประชาชน 5.4 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ 5.4.1 คุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิต (1) ผู้ถือบัตรหลัก ผู้ประกอบธุรกิจจะออกบัตรหลักให้แก่ผู้บริโภคได้ เมื่อผู้บริโภคมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ (1.1) มีรายได้จากแหล่งที่มาต่าง ๆ รวมกันไม่ต่ํากว่า 15,000 บาท ต่อเดือน หรือไม่ต่ํากว่า 180,000 บาทต่อปี โดยต้องแสดงหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของรายได้ (1.2) มีรายได้หรือเคยมีรายได้จากการทํามาหาได้ของตนเองโดยพิจารณาจากกระแสเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝากซึ่งฝากไว้กับสถาบันการเงินที่สามารถรับฝากเงินจากประชาชนได้ตามกฎหมายย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยอย่างน้อยจะต้องมีกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยไม่ต่ํากว่า 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้มีฐานะทางการเงินเพียงพอที่จะชําระเงินตามบัตรเครดิตได้ (1.3) มีเงินฝากที่ธนาคารพณิชย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นหลักประกันเต็มวงเงินของบัตรเครดิตที่อนุมัติ (1.4) มีเงินฝากประจําที่สถาบันการเงินที่สามารถรับฝากเงินจากประชาชนได้ตามกฎหมายย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ไม่น้อยกว่า 500,000 บาท (1.5) มีเงินฝากประจําที่สหกรณ์ออมทรัพย์ย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท (1.6) มีเงินฝากออมทรัพย์ที่สถาบันการเงินที่สามารถรับฝากเงินจากประชาชนได้ตามกฎหมาย หรือลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือลงทุนในกองทุนรวม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันหรือเมื่อรวมกับเงินฝากประจําที่สถาบันการเงินที่สามารถรับฝากเงินจากประชาชนได้ตามกฎหมายย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท (1.7) มีเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ทั้งนี้ สําหรับผู้ถือบัตรเครดิตก่อนวันที่ 1 เมษายน 2547 ที่มีรายได้จากแหล่งที่มาต่าง ๆ รวมกันต่ํากว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือต่ํากว่า 180,000 บาทต่อปี ผู้ประกอบธุรกิจจะพิจารณาการต่ออายุบัตรเครดิตให้แก่ผู้บริโภคดังกล่าวได้ หากผู้บริโภคดังกล่าวมีประวัติการชําระหนี้ที่ดีต่อเนื่องกัน โดยในรอบ 1 ปีอ้อนหลัง ไม่เคยผิดนัดชําระหนี้เกิน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งไม่เกิน 30 วัน (2) ผู้ถือบัตรเสริม ผู้ประกอบธุรกิจจะออกบัตรเสริมให้กับผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติตามข้อ (1.1) - (1.7) ข้างต้นได้ภายใต้สัญญาที่ทํากับผู้ถือบัตรหลัก โดยวงเงินการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรเสริมต้องอยู่ภายในวงเงินของผู้ถือบัตรหลักเท่านั้น และผู้ถือบัตรหลักจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชําระหนี้อันเกิดจากบัตรเสริมทั้งหมด (3) ผู้ถือบัตรเครดิตเพื่อธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องพิจารณาถึงความมั่นคงและฐานะทางการเงินขององค์กรหรือกิจการ โดยไม่จําเป็นต้องตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลที่เป็นผู้ถือบัตรในนามองค์กรหรือกิจการดังกล่าวเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดูแลมิให้มีการยื่นคําขอมีบัตรเครดิตเพื่อธุรกิจเพื่อเป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์ในเรื่องคุณสมบัติของผู้ถือบัตรเครดิตตามที่กําหนดในข้อ 5.4.1 (1) และการกําหนดวงเงินบัตรเครดิตตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.4.2 (1) 5.4.2 การกําหนดวงเงินบัตรเครดิต (1) บัตรหลัก ให้ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละแห่งสามารถอนุมัติและกําหนดวงเงินบัตรเครดิตให้แก่ผู้บริโภคแต่ละรายได้ไม่เกินอัตราหรือจํานวนดังต่อไปนี้ (1.1) กรณีผู้บริโภคมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขตามข้อ 5.4.1 (1.1) และ (1.2)วงเงินบัตรเครดิตต้องไม่เกินอัตราดังนี้ (1.1.1) 1.5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยต่อเดือนในบัญชีเงินฝาก หากผู้บริโภคมีรายได้เฉลี่ยหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยในบัญชีเงินฝาก ต่ํากว่า 30,000 บาทต่อเดือน (1.1.2) 3 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยต่อเดือนในบัญชีเงินฝาก หากผู้บริโภคมีรายได้เฉลี่ยหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยในบัญชีเงินฝาก ตั้งแต่ 30,000 บาทต่อเดือน แต่ต่ํากว่า 50,000 บาทต่อเดือน (1.1.3) 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยต่อเดือนในบัญชีเงินฝาก หากผู้บริโภคมีรายได้เฉลี่ยหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยในบัญชีเงินฝาก ตั้งแต่ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ทั้งนี้ สําหรับผู้ถือบัตรหรือผู้ที่เคยถือบัตรก่อนวันที่ 1 กันยายน 2560 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถคงวงเงินเดิมหรือพิจารณาให้วงเงินใหม่ได้โดยรวมแล้วต้องไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าเฉลี่ยต่อเดือนในบัญชีเงินฝากเว้นแต่เป็นกรณีการเพิ่มวงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉิน (1.2) กรณีผู้บริโภคมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขตามข้อ 5.4.1 (1.3) วงเงินบัตรเครดิตต้องไม่เกินจํานวนเงินฝากหรือมูลค่าตราสารแสดงสิทธิในหนี้ซึ่งเป็นหลักประกัน (1.3) กรณีผู้บริโภคมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขตามข้อ 5.4.1 (1.4) และ (1.5) วงเงินบัตรเครดิตต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของยอดเงินฝากประจํา (1.4) กรณีผู้บริโภคมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขตามข้อ 5.9.1 (1.6) วงเงินบัตรเครดิตต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของยอดเงินฝากประจํา เงินฝากออมทรัพย์ มูลค่าเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้และกองทุนรวม (1.5) กรณีผู้บริโภคมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขตามข้อ 5.4.1 (1.7) วงเงินบัตรเครดิตต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของยอดมูลค่าเงินลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ให้ผู้บริโภคที่ประสงค์จะขอวงเงินเพิ่ม แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ถือบัตร รายละเอียดบัตรเครดิต และวงเงินที่ได้รับขณะยื่นขอเพิ่มวงเงินที่ครบถ้วนและถูกต้อง โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ผู้บริโภครับทราบเกี่ยวกับความสําคัญของการแจ้งข้อมูลดังกล่าวซึ่งมีผลให้ผู้ประกอบธุรกิจอาจบอกเลิกการถือบัตรได้หากต่อมาตรวจพบว่ามีการแจ้งข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้อง อนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจอาจพิจารณาเพิ่มวงเงินชั่วคราวเกินกว่าวงเงินที่กําหนดไว้ตามข้อ 5.4.2 (1.1) - (1.5) ให้แก่ผู้บริโภคในกรณีฉุกเฉินได้ เมื่อได้พิจารณาความสามารถในการชําระหนี้ของผู้บริโภคแล้ว โดยในส่วนของการชําระหนี้นั้นให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 เรื่องการเรียกให้ชําระหนี้และการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบายการพิจารณาให้วงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีพเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งครอบคลุมถึงลักษณะเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีพ เงื่อนไขของการอนุมัติ เช่น วงเงิน และระยะเวลาในการผ่อนชําระ รวมถึงแนวทางการพิสูจน์การใช้วงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉินดังกล่าวของผู้บริโภค นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการระบุอํานาจและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในการอนุมัติวงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉินดังกล่าว และต้องดูแลมิให้ใช้การพิจารณาเพิ่มวงเงินชั่วคราวดังกล่าวเป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์การกําหนดวงเงินตามข้อ 5.4.2 (1.1) - (1.5) (2) บัตรเครดิตเพื่อธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณากําหนดวงเงินได้ตามความเหมาะสมเช่นเดียวกับการพิจารณาให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ธุรกิจโดยทั่วไป 5.4.3 การเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใด ๆ และค่าใช้จ่ายอื่น (1) ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชําระ หรือดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดชําระหนี้ หรือค่าบริการต่าง ๆ หรือเบี้ยปรับหรือค่าปรับในการชําระหนี้ล่าช้ากว่ากําหนดหรือค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่นใดจากผู้บริโภค เมื่อคํานวณรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 16 ต่อปี (effective rate) โดยผู้ประกอบธุรกิจอาจคํานวณจํานวนวันตั้งแต่วันที่ได้ทดรองจ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค หรือวันที่สรุปยอดรายการ หรือวันที่ผู้บริโภคต้องชําระเงินหรือถูกหักบัญชีตามใบแจ้งหนี้ก็ได้ (2) ในการให้บริการเบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิต ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ รวมกันโดยเพิ่มเติมจากดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าธรรมเนียมและค่าบริการตามข้อ 5.4.3 (1 ได้อีกไม่เกินร้อยละ 3 ของจํานวนเงินสดที่เบิกถอนนั้น (3) นอกจากดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม และค่าบริการตามข้อ 5.4.3 (1) และ (2) แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุได้ ซึ่งต้องเป็นไปตามรายการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามตารางแนบท้ายประกาศ รวมทั้งมีลักษณะของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่นําดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุ ตามข้อ 5.9.3 (1) - (3) และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิตตามข้อ 5.4.3 (2) มารวมกับจํานวนหนี้ที่ค้างชําระเพื่อคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และค่าปรับอีก และต้องดูแลมิให้นําการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในสัญญาบัตรเครดิตเป็นช่องทางในการหลีกเลี้ยงข้อกําหนดเกี่ยวกับดอกเบี้ย เบี้ยปรับค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใด ๆ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตด้วย 5.4.4 การกําหนดนโยบายและแผนงาน ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบายและเผนงานในการดําเนินธุรกิจบัตรเครดิตโดยควรประกอบด้วยทิศทางและแนวทางในการให้บริการบัตรเครดิต เป้าหมายในการให้บริการแก่ผู้บริโภคตามระดับรายได้ รวมถึงแนวทางการดูแลผู้บริโภค และห้ามผู้ประกอบธุรกิจแจกเงิน สิ่งของ หรือบัตรกํานัลใด ๆ ในการรับสมัครผู้บริโภครายใหม่หรือการอนุมัติบัตรให้ผู้บริโภครายใหม่ เว้นแต่จะมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรแล้วอย่างน้อย 1 งวด ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (outsourcing) เพื่อลดต้นทุนการดําเนินงานและเพิ่มความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ให้สามารถใช้บริการได้เฉพาะในส่วนของงานที่ไม่ใช่งานหลักที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic function) โดยให้ถือปฏิบัติตามเอกสารแนบ 2 ด้วย 5.4.5 การบริหารจัดการความเสี่ยง ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงในการให้บริการบัตรเครดิต ดังนี้ (1) ระบบการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นขอบัตรเครดิต เพื่อใช้ในการอนุมัติและกําหนดวงเงินบัตรเครดิตตามระดับความสามารถในการชําระหนี้ (2) ระบบการเรียกเก็บหนี้ เพื่อใช้ในการเตือนให้ทราบเมื่อผู้บริโภคเริ่มมีปัญหาในการชําระหนี้หรือไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามข้อตกลง ตลอดจนาลยุทธ์ในการเรียกเก็บหนี้ในกรณีต่าง ๆ (3) ระบบการติดตามพฤติกรรมในการใช้จ่ายและการชําระหนี้ของผู้บริโภคแต่ละราย เพื่อใช้ในการทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงวงเงินให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและรูปแบบการใช้บัตรของผู้บริโภคแต่ละราย (4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร เพื่อใช้ในการกําหนดและทบทวนนโยบายและแผนงานเกี่ยวกับการให้บริการบัตรเครดิต 5.4.6 การดูแลผู้บริโภค ให้ผู้ประกอบธุรกิจถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) และถือปฏิบัติเพิ่มเติมในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย การเรียกให้ชําระหนี้และการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ การเปลี่ยนประเภทหนี้ การปฏิบัติและการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลของผู้บริโภค และการปฏิบัติเมื่อมีข้อร้องเรียน โดยรายละเอียดให้เป็นไปตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 ทั้งนี้ ห้ามผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิต โดยมิได้รับการร้องขอจากผู้ขอมีบัตรหรือผู้บริโภคก่อน (pre-approved) 5.4.7 การจัดทํา จัดเก็บ และจัดส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินสามารถจัดทํา จัดเก็บและจัดส่งข้อมูลต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้บริโภคเป็นการทั่วไปหรือเปลี่ยนแปลงการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยนําหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทํา จัดเก็บ และจัดส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินมาใช้โดยอนุโลม 5.4.8 การย้ายหรือปีดสํานักงานสาขา ให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินแจ้งการย้ายหรือปิดสํานักงานสาขา' โดยรายงานในรูปแบบและตามระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และให้ประกาศกําหนดการย้ายหรือปิดสํานักงานสาขาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยอย่างน้อยต้องประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขานั้น ๆ และในช่วงเวลาดําเนินการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินต้องกําหนดแนวทางการดําเนินการเพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้บริโภคตามความเหมาะสม 5.5 การรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย 5.5.1 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําและจัดส่งแบบรายงานในรูปแบบและตามระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รวมถึงจัดทําและจัดส่งรายงานและข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเป็นรายกรณีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ 5.5.2 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําแบบรายงานค่าธรรมเนียมบริการทางการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.5.3 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินต้องจัดส่งงบการเงินประจําปีที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินมายังธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 180 วันนับจากวันสิ้นงวดบัญชี 5.6 การขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (outsourcing) และการรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยที่กําหนดในประกาศฉบับนี้เป็นรายกรณีได้ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องขออนุญาตผ่อนผันโดยแสดงเหตุผลและความจําเป็นมายังธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในคู่มือประชาชนและในการพิจารณาผ่อนผันดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมด้วยก็ได้ 5.7 การกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในลักษณะอื่นเป็นการทั่วไป ในกรณีเหตุจําเป็นที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจหรือกระทบต่อการให้บริการตามปกติของผู้ประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการกําหนดวงเงินบัตรเครดิต การผ่อนชําระหนี้ขั้นต่ําในแต่ละงวด การยกเลิกการใช้บัตรและบัญชีเครดิตของผู้บริโภคกรณีเปลี่ยนประเภทหนี้ การปฏิบัติเมื่อมีเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคและการประกาศกําหนดการย้ายหรือปิดสํานักงานสาขาที่กําหนดในประกาศฉบับนี้เป็นการทั่วไปได้โดยในการพิจารณาผ่อนผันดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ 5.8 การกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม สั่งให้แก้ไข ระงับ หรือเพิกถอนการอนุญาต ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้แก้ไข หรือระงับการดําเนิ่นงานในธุรกิจบัตรเครดิตทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวโดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มีใช่สถาบันการเงินปฏิบัติด้วยก็ได้ รวมทั้งอาจเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาเพิกถอนการอนุญาตได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงินส่งคืนใบอนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 15 วัน 5.9 บทเฉพาะกาล สําหรับหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้และมีการกําหนดระยะเวลาการผ่อนชําระไว้อย่างชัดเจน ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเรียกเก็บอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ได้ตามอัตราที่กําหนดตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นได้จนกว่าจะมีการชําระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้น อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,583
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2 / 2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการ การชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ เกิดความน่าเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณชน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 17 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ให้บริการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 ในประกาศฉบับนี้ "ผู้ให้บริการ" หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ประกอบด้วยธุรกิจบริการที่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนให้บริการ (บัญชี ก) ธุรกิจบริการที่ต้องขอขึ้นทะเบียนก่อนให้บริการ (บัญชี ข) และธุรกิจบริการที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนให้บริการ (บัญชี ค) "ธุรกิจบริการที่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนให้บริการ" (บัญชี ก) ได้แก่ การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กําหนดไว้ล่วงหน้า จากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพียงรายเดียว ทั้งนี้ เว้นแต่การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้จํากัดเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคโดยมิได้แสวงหากําไรจากการออกบัตร ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (e-Money บัญชี ก) "ธุรกิจบริการที่ต้องขอขึ้นทะเบียนก่อนให้บริการ" (บัญชี ข) ได้แก่ (1) การให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต (Credit Card Network) (2) การให้บริการเครือข่ายอีดีซี (EDC Network) (3) การให้บริการสวิตช์ชิ่งในการชําระเงินระบบหนึ่งระบบใด (Transaction Switching บัญชี ข) (4) การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้า และหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กําหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจําหน่ายและการให้บริการเดียวกัน (e-Money บัญชี ข) "ธุรกิจบริการที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนให้บริการ" (บัญชี ค) ได้แก่ (1) การให้บริการหักบัญชี (Clearing) (2) การให้บริการชําระดุล (Settlement) (3) การให้บริการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือ (4) การให้บริการสวิตช์ชิ่งในการชําระเงินหลายระบบ (Transaction Switching บัญชี ค) (5) การให้บริการรับชําระเงินแทน (6) การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อสินค้า และหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กําหนดไว้ล่วงหน้า จากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการหลายราย โดยไม่จํากัดสถานที่และไม่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจําหน่ายและการให้บริการเดียวกัน (e-Money บัญชี ค) 4.2 การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) 4.2.1 ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์บัญชี ก บัญชี ข และบัญชี ค ต้องดํารงฐานะทางการเงินและสภาพคล่อง เพื่อให้บริการได้อย่างต่อเนื่องเละไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ 4.2.2 ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์บัญชี ค ต้องกันเงินรับถ่วงหน้าที่ ได้รับจากผู้ใช้บริการแยกไว้ต่างหากจากเงินทุนหมุนเวียนของผู้ให้บริการ และให้ฝากไว้ที่สถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งไม่น้อยกว่ายอดคงค้างของเงินรับล่วงหน้า เว้นแต่ผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันการเงินให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 4.3 การให้บริการชําระดุล (Settlement) ผู้ให้บริการต้องกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับผลสิ้นสุดสมบูรณ์ของการโอนเงิน (Finality) ซึ่งผู้รับสามารถใช้เงินได้ทันที โดยปราศจากเงื่อนไขและไม่สามารถเพิกถอนได้(Irrevocable) พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ 4.4 การให้บริการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือผ่านทางเครือข่าย ผู้ให้บริการต้องออกหลักฐานการชําระเงิน หลักฐานการโอนเงิน หรือหลักฐานอื่นใดที่มีข้อความทํานองเดียวกัน และจัดส่งให้ผู้ใช้บริการตามวิธีการที่ตกลงกับผู้ใช้บริการ 4.5 การให้บริการรับชําระเงินแทน เมื่อได้รับชําระเงินแล้ว ผู้ให้บริการต้องออกหลักฐานเพื่อแสดงว่าได้รับชําระเงินจากผู้ใช้บริการ ในรูปของใบเสร็จรับเงิน ใบรับเงิน ใบรับฝากชําระ หรือหลักฐานอื่นใด ที่มีข้อความทํานองเดียวกันและจัดส่งให้ผู้ใช้บริการตามวิธีการที่ตกลงกับผู้ใช้บริการ โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ 4.5.1 ชื่อผู้ให้บริการ และชื่อเจ้าหนี้ 4.5.2 จํานวนเงินและรายละเอียดของสินค้าหรือบริการที่ชําระ โดยอาจระบุเป็นชื่อย่อหรือรหัสก็ได้ รวมถึงรายละเอียดที่อ้างอิงถึงผู้ใช้บริการ 4.5.3 วัน เดือน ปี และเวลาที่ออกหลักฐานการรับชําระเงิน เมื่อผู้ให้บริการได้ออกหลักฐานการรับชําระเงินแล้ว ให้ถือว่าการชําระเงินของผู้ใช้บริการมีผลเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เว้นแต่การรับชําระเงินด้วยเช็ดให้ถือว่าการชําระเงินเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อเช็คนั้นสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วน 4.6 ในกรณีที่ ธปท. เห็นสมควร อาจกําหนดให้ผู้ให้บริการตามบัญชี ข และบัญชี ค ต้องจัดให้มีการตรวจสอบทางด้านความมั่นคงปลอดภัยโดยผู้ตรวจสอบอิสระตามรายชื่อที่คณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์กําหนดด้วยก็ได้ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นใช้บังคับ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,584
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2555 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2555 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 กําหนดให้วันตรุษจีน (วันที่ 23 มกราคม 2555) เป็นวันหยุดราชการประจําปีเพิ่มเติม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ตามที่ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอ เพื่อให้ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดดังกล่าวได้เฉลิมฉลองในเทศกาลตรุษจีนเช่นเดียวกับชาวไทยพุทธและมุสลิม ซึ่งได้ประกาศวันหยุดตามประเพณีและตามศาสนาไปก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่วันสงกรานต์และวันตรุษอีดิ้ลฟิตริ (วันรายอปอซอ) นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นสมควรกําหนดให้วันที่ 23 มกราคม 2555 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษในจังหวัดดังกล่าว เนื่องจากไม่ขัดต่อหลักประเพณีปฏิบัติและไม่น่าจะส่งผลกระทบในด้านลบต่อระบบสถาบันการเงินและภาคธุรกิจต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐอีกทางหนึ่งด้วย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ข้อกําหนดวันหยุดทําการเป็นกรณีพิเศษ กําหนดให้วันที่ 23 มกราคม 2555 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม 2555 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,585
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3 /2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 -------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.4/14/52 | 70,000 | 15 มกราคม 2552 | 19/1/52 – 2/2/52 | 14 | | พ.5/14/52 | 70,000 | 16 มกราคม 2552 | 20/1/52 – 3/2/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม 2552 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,586
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 3/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 3/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามใน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 4/2551 เรื่องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 19 ธันวาคม 2551 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 2. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 3. นายยรรยง ดํารงศิริ 4. นายชลัท มกรารัตค์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,587
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 4/2552 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 4 /2552 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 กําหนดให้วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม 2552 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อกระตุ้นการจับง่ายใช้สอยและส่งเสริมการท่องเที่ยว นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า การกําหนดวันหยุดพิเศษเพิ่มเติมอีก 1 วัน ทําให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันไม่เกิน 4 วัน ซึ่งไม่ขัดกับหลักประเพณีปฏิบัติที่ผ่านมา และเป็นการสนับสนุน นโยบายภาครัฐอีกทางหนึ่งประกอบกับการประกาศวันหยุดให้ทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลานานพอสมควร น่าจะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถเตรียมการปรับตัวได้ จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศอย่างมีนัยสําคัญจึงเห็นสมควรประกาศกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ข้อกําหนดวันหยุดทําการเป็นกรณีพิเศษ กําหนดให้วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม 2552 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเพิ่มเติมอีก 1 วัน อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,588
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2555 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มกราคม 2555
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1 /2555 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มกราคม 2555 ---------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มกราคม 2555 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 มกราคม 2555 เท่ากับร้อยละ 3.02538 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 11 มกราคม ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม 2555 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,589
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 1/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม ในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฎ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 3. เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางวันทนา เฮงสกุล 2. นางผุสตื หมู่พยัคฆ์ 3. นายยรรยง ดํารงศิริ 4. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล 5. นางสมศรี สมัตาดล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม 2555 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,590
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12/2563 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12 / 2563 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ -------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการทางการเงินที่ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนแทนการใช้เงินกู้นอกระบบเพื่อสนับสนุนการขาดสภาพคล่องชั่วคราวที่จําเป็นต่อการดํารงชีพหรือการประกอบอาชีพ เช่น การซื้อสินค้าและบริการในชีวิตประจําวัน การซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาชีพ จึงเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจํานวนมาก ภาครัฐโดยกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เข้ามากํากับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เพื่อดูแลหนี้ครัวเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่ส่งเสริมให้ผู้บริโภคก่อหนี้สินเกินตัวตลอดจนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจทั้งที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ เพื่อกําหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน และกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทแม่ของผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจมีหลักธรรมาภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) และเพื่อปรับลดอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บจากลูกหนี้เหลือร้อยละ 25 ต่อปี (effective rate) สําหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และร้อยละ 24 ต่อปี (effective rate) สําหรับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ตามที่ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ) กําหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้ตามความเหมาะสมของภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ 6นาคารแห่งประเทศไทยได้รวมหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินไว้ในประกาศฉบับเดียวกัน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย 2. 1 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 46 มาตรา 47 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ 2.2 อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 ข้อ 4 ข้อ 8 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 17 และข้อ 21 แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ) ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก 3.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 1/2562 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับสําหรับสถาบันการเงิน ลงวันที่ 3 มกราคม 2562 3.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 2/2562 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน ลงวันที่ 3 มกราคม 2562 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ 5.1.1 "สินเชื่อส่วนบุคคล" หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด แก่บุคคลธรรมดาโดยมิได้ระบุวัตถุประสงค์หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ และให้รวมถึงสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพ 5.1.2 "สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ" หมายความว่า สินเชื่อส่วนบุคคลเฉพาะที่ไม่มีทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน และเพื่อประโยชน์แห่งประกาศฉบับนี้ ให้รวมถึงสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจมิได้จําหน่ายเป็นทางการค้าปกติยกเว้นในสินค้าประเภทรถและเครื่องจักร และสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันทั้งนี้ ไม่รวมถึง สินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทํางานในต่างประเทศ สินเชื่อเพื่อรักษาพยาบาล สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงาน สินเชื่อที่จัดให้มีการนําเอกสารแสดงสิทธิ์ในที่ดิน หรือสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ สินเชื่อที่ผู้ประกอบธุรกิจให้แก่บุคคลธรรมดาในต่างประเทศ 5.1.3 "สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน" หมายความว่า การให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลที่เป็นเจ้าขอกรรมสิทธิ์ในรถ โดยผู้ประกอบธุรกิจมีการรับสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ หรือจัดให้มีสัญญาเอกสาร หรือหลักฐานอื่นใด เพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถโอนทะเบียนรถไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ หรือจัดให้มีสัญญา เอกสาร หรือหลักฐานอื่นใด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนํารถที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ไปขายหรือดําเนินการอื่นใดเพื่อการชําระหนี้นั้น ทั้งนี้ ลูกหนี้ยังคงสามารถครอบครองรถและใช้ประโยชน์ในฐานะเจ้าของรถได้ตามปกติ 5.1.4 "รถ" หมายความว่า รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก 5.1.5 "สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงาน" หมายความว่า สินเชื่อที่หน่วยงานต้นสังกัดได้มีการทําสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้สินเชื่อสวัสดิการกับพนักงานของตน ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดมีการกําหนดนโยบายสินเชื่อสวัสดิการที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของหน่วยงานต้นสังกัดนั้น 5.1.6 "ผู้บริโภค" หมายความว่า ผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค 5.1.7 "ผู้ประกอบธุรกิจ" หมายความว่า สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน 5.1.8 "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน 5.1.9 "ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน" หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ) 5.2 หลักการ ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ให้ผู้ประกอบธุรกิจถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกํากับดูแลตามกรอบหลักการ (guiding principles) ดังต่อไปนี้ 5.2.1 การให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับควรพิจารณาให้แก่ผู้ที่มีแหล่งรายได้หรือมีความสามารถเพียงพอในการชําระหนี้ ไม่กระตุ้นการก่อหนี้ที่ไม่จําเป็น และคํานึงถึงความสามารถในการดํารงชีพของผู้บริโภคภายหลังการอนุมัติธุรกรรมด้านสินเชื่อ 5.2.2 การเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายใด ๆ จากผู้บริโภคควรคํานึงถึงต้นทุนที่แท้จริง ในอัตราที่เป็นธรรม และไม่เอาเปรียบผู้บริโภครวมทั้งให้บริการแก่ผู้บริโภคอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม 5.3 คุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจและการยื่นคําขออนุญาตการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงิน รวมถึงกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทแม่ของผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ) ทั้งนี้ ในการยื่นคําขออนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ยื่นผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบยื่นคําขออนุญาตประกอบธุรกิจและจัดส่งตามช่องทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในคู่มือประชาชน 5.4 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ 5.4.1 คุณสมบัติของผู้ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ (1) สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (1.1) ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้สินเชื่อดังกล่าวแก่บุคคลธรรมดาได้เมื่อผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้ที่มีฐานะทางการเงินเพียงพอสําหรับการชําระหนี้ โดยพิจารณาจากรายได้จากแหล่งที่มาต่าง ๆ รวมกัน หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝากซึ่งฝากไว้กับสถาบันการเงินที่สามารถรับฝากเงินจากประชาชนได้ตามกฎหมายย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนําปัจจัยอื่นที่สะท้อนความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือมาใช้พิจารณาร่วมกับรายได้หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝากได้ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องมีนโยบายและกระบวนการในการพิจารณาใช้ปัจจัยอื่นดังกล่าวในการพิจารณาความสามารถในการชําระหนี้ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 (1.2) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้สินเชื่อดังกล่าวแก่บุคคลธรรมดาได้เมื่อผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้ที่มีฐานะทางการเงินเพียงพอสําหรับการชําระหนี้ โดยพิจารณาจากรายได้จากแหล่งที่มาต่าง ๆ รวมกัน กระแสเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝากซึ่งฝากไว้กับสถาบันการเงินที่สามารถรับฝากเงินจากประชาชนได้ตามกฎหมายย้อนหลังเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือปัจจัยอื่นที่สะท้อนวามสามารถในการชําระหนี้ของผู้ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องมีนโยบายและกระบวนการในการพิจารณาใช้ปัจจัยอื่นดังกล่าวในการพิจารณาความสามารถในการชําระหนี้ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 (2) สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้สินเชื่อดังกล่าวแก่บุคคลธรรมดาได้ เมื่อผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้มีความสามารถเพียงพอสําหรับการชําระหนี้ รวมทั้งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถและมีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ 5.4.2 การกําหนดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ (1) สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (1.1) ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพ (1.1.1) ผู้บริโภคมีรายได้หรือมีกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าในบัญชีเงินฝากตามข้อ 5.4.1 (1.1) โดยเฉลี่ยน้อยกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับแก่ผู้บริโภคดังกล่าวได้ไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าในบัญชีเงินฝากของผู้บริโภคเฉลี่ยต่อเดือน และจะให้วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับแก่ผู้บริโภคอีกไม่ได้ หากผู้บริโภครายดังกล่าวมีวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับลักษณะดังกล่าวที่ได้รับจากผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นหรือผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลอยู่แล้ว 3 แห่ง ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีกระบวนการดูแลการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับให้สอดคล้องกับข้อกําหนดเกี่ยวกับวงเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยผู้บริโภคที่ประสงค์จะขอสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับหรือขอวงเงินเพิ่มต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื้อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับทั้งที่ผู้บริโภคมีอยู่และที่อยู่ระหว่างการยื่นขอสินเชื่อในช่วงระยะเวลา 2 เดือนก่อนหน้าจนถึงวันที่ยื่นขอสินเชื่อหรือขอเพิ่มวงเงิน โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ผู้บริโภครับทราบเกี่ยวกับความสําคัญของข้อมูลดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ต้องปรับลดวงเงินหรือยกเลิกวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับได้ หากพบภายหลังว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจต้องติดตามและสอบทานการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับอย่างน้อย 3 เดือนนับจากวันที่ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อแล้ว (1.1.2) ผู้บริโภคมีรายได้หรือมีกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าในบัญชีเงินฝากตามข้อ 5.4.1 (1.1) โดยเฉลี่ยตั้งแต่ 30,000 บาทต่อเดือน ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับแก่ผู้บริโภคดังกล่าวได้ไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าในบัญชีเงินฝากของผู้บริโภคเฉลี่ยต่อเดือน ทั้งนี้ สําหรับผู้บริโภคที่มีหรือเคยมีวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับก่อนวันที่ 1 กันยายน 2560 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถคงวงเงินเดิมหรือพิจารณาให้วงเงินใหม่ได้โดยรวมแล้วไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าในบัญชีเงินฝากของผู้บริโภคเฉลี่ยต่อเดือน อนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจอาจพิจารณาเพิ่มวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพของสัญญาที่มีกําหนดระยะเวลาการชําระหนี้ไว้อย่างชัดเจนเป็นการชั่วคราวเกินกว่าวงเงินที่กําหนดไว้ตามข้อ 5.4.2 (1.1.1) หรือ (1.1.2) ให้แก่ผู้บริโภคในกรณีฉุกเฉินได้ เมื่อได้พิจารณาความสามารถในการชําระหนี้ของผู้บริโภคแล้ว ซึ่งเมื่อรวมกับวงเงินที่ให้ตามข้อ 5.4.2 (1.1.1) หรือ (1.1.2) แล้วต้องไม่เกิน 5 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหรือกระแสเงินสดหมุนเวียนเข้าในบัญชีเงินฝากของผู้บริโภคเฉลี่ยต่อเดือน ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบายการพิจารณาให้วงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีพเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งครอบคลุมถึงลักษณะเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีพ เงื่อนไขของการอนุมัติ เช่น วงเงิน และระยะเวลาในการผ่อนชําระ รวมถึงแนวทางการพิสูจน์การใช้วงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉินดังกล่าวของผู้บริโภค นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุอํานาจและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในการอนุมัติวงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉินดังกล่าว และต้องดูแลมิให้ใช้การพิจารณาเพิ่มวงเงินชั่วคราวดังกล่าวเป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์การกําหนดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับตามข้อ 5.4.2 (1.1.1) หรือ (1.1.2) (1.2) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การ กํากับที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพแก่ผู้บริโภคตามความสามารถในการชําระหนี้ของธุรกิจที่ผู้ขอสินเชื่อประสงค์จะนําไปใช้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีนโยบายและกระบวนการในการให้สินเชื่อ ติดตาม และสอบทานการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับดังกล่าวเพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคนําเงินที่ได้รับจากสินเชื่อดังกล่าวไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์การกู้ยืมที่ได้แจ้งกับผู้ประกอบธุรกิจไว้ และไม่ได้ใช้เป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงข้อกําหนดเกี่ยวกับวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับตามข้อ 5.4.2 (1.1) (2) สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดวงเงินสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันแก่ผู้บริโภคที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความสามารถในการชําระหนี้ ซึ่งในการพิจารณาความสามารถในการชําระหนี้นั้น ผู้ประกอบธุรกิจสามารถพิจารณาจากกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากมูลค่ารถที่มีการนําทะเบียนมาเป็นประกันและสภาพคล่องในการจําหน่ายรถดังกล่าว 5.4.3 การเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใด ๆ และค่าใช้จ่ายอื่น (1) ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชําระ หรือดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดชําระหนี้ หรือค่าบริการต่าง ๆ หรือเบี้ยปรับหรือค่าปรับในการชําระหนี้ล่าช้ากว่ากําหนดหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้บริโภค เมื่อคํานวณรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 25 ต่อปี (effective rate) สําหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และไม่เกินร้อยละ 24 ต่อปี (effective rate) สําหรับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน (2) นอกจากดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ตามข้อ 5.4.3 (1) แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุได้ ซึ่งต้องเป็นไปตามรายการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามตารางแนบท้ายประกาศรวมทั้งมีลักษณะของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 ทั้งนี้ สําหรับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใด ๆ สําหรับกรณีผู้บริโภคไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกําหนดทั้งจํานวนหรือบางส่วน อนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่นําดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการค่าธรรมเนียมใด ๆ ตามข้อ 5.9.3 (1) และค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุตามข้อ 5.9.3 (2) มารวมกับจํานวนหนี้ที่ค้างชําระเพื่อคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และค่าปรับอีก และต้องดูแลมิให้นําการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในสัญญาสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับเป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงข้อกําหนดเกี่ยวกับดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใด ๆ และค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุที่เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับด้วย 5.4.4 การกําหนดนโยบายและแผนงาน ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบายและแผนงานในการดําเนินธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ โดยควรประกอบด้วยทิศทางและแนวทางในการให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ เป้าหมายในการให้บริการแก่ผู้บริโภคตามระดับรายได้หรือตามประเภทรถที่นําทะเบียนมาเป็นประกัน แล้วแต่กรณี รวมถึงแนวทางการดูแลผู้บริโภค ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (outsourcing) เพื่อลดต้นทุนการดําเนินงานและเพิ่มความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ให้สามารถใช้บริการได้เฉพาะในส่วนของงานที่ไม่ใช่งานหลักที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic function) โดยให้ถือปฏิบัติตามเอกสารแนบ 3 ด้วย 5.4.5 การบริหารจัดการความเสี่ยง ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงในการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ ดังนี้ (1) ระบบการพิจารณาคุณสมบัติของผู้บริโภคที่ยื่นขอสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ เพื่อใช้ในการอนุมัติและกําหนดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับตามระดับความสามารถในการชําระหนี้ (2) ระบบการเรียกเก็บหนี้ เพื่อใช้ในการเตือนให้ทราบเมื่อผู้บริโภคเริ่มมีปัญหาในการชําระหนี้หรือไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามข้อตกลง ตลอดจนกลยุทธ์ในการเรียกเก็บหนี้ในกรณีต่าง ๆ (3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร เพื่อใช้ในการกําหนดและทบทวนนโยบายและแผนงานเกี่ยวกับการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ 5.4.6 การดูแลผู้บริโภค ให้ผู้ประกอบธุรกิจถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market conduct) และถือปฏิบัติเพิ่มเติมในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย การจัดทําตารางแสดงภาระหนี้ การเรียกให้ชําระหนี้และการติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ การเปลี่ยนประเภทหนี้การปฏิบัติและการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลของผู้บริโภค และการปฏิบัติเมื่อมีข้อร้องเรียน โดยรายละเอียดให้เป็นไปตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 ทั้งนี้ ห้ามผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับโดยมิได้รับการร้องขอจากผู้บริโภคก่อน (pre-approved) 5.4.7 การจัดทํา จัดเก็บ และจัดส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินสามารถจัดทํา จัดเก็บ และจัดส่งข้อมูลต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ แก่ ผู้บริโภคเป็นการทั่วไป หรือเปลี่ยนแปลงการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยนําหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทํา จัดเก็บ และจัดส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินมาใช้โดยอนุโลม 5.4.8 การย้ายหรือปิดสํานักงานสาขา ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินแจ้งการย้ายหรือปีดสํานักงานสาขา' โดยรายงานในรูปแบบและตามระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และให้ประกาศกําหนดการย้ายหรือปีดสํานักงานสาขาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยอย่างน้อยต้องประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานสาขานั้น ๆ และในช่วงเวลาดําเนินการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินต้องกําหนดแนวทางการดําเนินการเพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้บริโภคตามความเหมาะสม 5.5 การรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย 5.5.1 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําและจัดส่งแบบรายงานในรูปแบบและตามระยะเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รวมถึงจัดทําและจัดส่งรายงานและข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเป็นรายกรณีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ 5.5.2 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําแบบรายงานค่าธรรมเนียมบริการทางการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.5.3 ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินต้องจัดส่งงบการเงินประจําปีที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินมายังธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 180 วันนับจากวันสิ้นงวดบัญชี 5.6 การแจ้งความประสงค์ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับประเภทอื่นเพิ่มเติม หากผู้ประกอบธุรกิจมีการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับประเภทใดประเภทหนึ่งอยู่แล้ว และประสงค์จะประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับอีกประเภทหนึ่งตามประกาศฉบับนี้เพิ่มเติม ให้แจ้งความประสงค์ในการประกอบธุรกิจเพิ่มเติมดังกล่าวรวมถึงจัดส่งเอกสารและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องตามที่กําหนดในคู่มือประชาชนมายังธนาคารแห่งประเทศไทยล่วงหน้า 30 วัน ก่อนการเริ่มประกอบธุรกิจดังกล่าว 5.7 การขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (outsourcing) และการรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยที่กําหนดในประกาศฉบับนี้เป็นรายกรณีได้ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องขออนุญาตผ่อนผันโดยแสดงเหตุผลและความจําเป็นมายังธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในคู่มือประชาชนและในการพิจารณาผ่อนผันดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมด้วยก็ได้ 5.8 การกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในลักษณะอื่นเป็นการทั่วไป ในกรณีเหตุจําเป็นที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจหรือกระทบต่อการให้บริการตามปกติของผู้ประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการกําหนดวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ การปฏิบัติเมื่อมีเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคและการประกาศกําหนดการย้ายหรือปีดสํานักงานสาขาที่กําหนดในประกาศฉบับนี้เป็นการทั่วไปได้โดยในการพิจารณาผ่อนผันดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศฉบับนี้สําหรับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับในลักษณะอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเพิ่มเติม เช่น การประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับในลักษณะดิจิทัล โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขนให้ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยก็ได้ 5.9 การกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม สั่งให้แก้ไข ระงับ หรือเพิกถอนการอนุญาต ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้แก้ไข หรือระงับการดําเนินงานในธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินปฏิบัติด้วยก็ได้ รวมทั้งอาจเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาเพิกถอนการอนุญาตได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับที่มิใช่สถาบันการเงินส่งคืนใบอนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 15 วัน 5.10 บทเฉพาะกาล ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้ให้สินเชื่อที่มีลักษณะการจ่ายชําระเป็นงวดและมีการกําหนดระยะเวลาการผ่อนชําระไว้อย่างชัดเจนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ สามารถเรียกเก็บอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ได้ตามอัตราที่กําหนดตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นได้จนกว่าจะมีการชําระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้น อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,591
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4 /2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.6/14/52 | 50,000 | 20 มกราคม 2552 | 22/1/52 – 5/2/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,592
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2555
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2 /2555 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2555 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2555 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วันดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน – วันครบกําหนด | อายุ (วัน) | | พ.2/14/55 | 100,000 | 13 มกราคม 2555 | 17/1/55 – 31/1/55 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม 2555 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,593
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 4/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต 4 /2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามใน พันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 2/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นางสาวนพวรรณ มหามุสิก 2. นางจันทวรรณ สุจริตกุล 3. นายนิรุธ รักษาเสรี 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นายปราณีต โชติกีรติเวช 7. นายอมร กังวาฬ 8. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 9. นายศุภชัย สายวิรัช 10. นายสัญญา จันทวดี 11. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 12. นายยรรยง ดํารงศิริ 13. นายชลัท มกรารัตต์ 14. นายปรีชา เชื้อสุวรรณ 15. ร.ต.ประยุทธ สังขรัตน์ 16. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 17. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 18. นายทนงศักดิ์ วรรณกาญ 19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,594
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2 /2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 3. เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางวันทนา เฮงสกุล 2. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์ 3. นายยรรยง ดํารงศิริ 4. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล 5. นางสมศรี สมัตาดล 6. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ 7. นายบุญชัย กาญจนพิมาย 8. นายภูวดล เหล่าแก้ว 9. นายอนันต์ อิงวิยะ 10. นายพิชิต ภัทรวิมลพร 11. นายธเนศชัย อังวราวงศ์ 12. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 13.นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 14.นางสุภาวดี ปุณศรี 15. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร 16. นางศรีสกุล รังสิกุล 17.นายวีระยุทธ์ เลิศพูนวิไลกุล อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม 2555 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,595
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.7/15/52 | 60,000 | 22 มกราคม 2552 | 26/1/52 – 10/2/52 | 15 | | พ.8/15/52 | 70,000 | 23 มกราคม 2552 | 27/1/52 – 11/2/52 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังดับใช้ ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,596
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14/2563 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (peer to peer lending platform)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14 /2563 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (peer to peer lending platform) --------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงประโยชน์ของการระดมทุนหรือการกู้ยืมผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (peer to peer lending platform) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และรายย่อย รวมถึงความต้องการแสวงหาแหล่งลงทุนใหม่ ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้นของผู้ลงทุน ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทยเล็งเห็นถึงความจําเป็นในการกํากับดูแลผู้ให้บริการตัวกลางดังกล่าว ให้มีระบบงานที่มั่นคง มีเสถียรภาพ และให้ความสําคัญกับการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ดังนั้นโดยอาศัยอํานาจประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล) ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกหลักเกณฑ์เพื่อกํากับดูแลการประกอบธุรกิจ peer to peer lending platform โดยกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถประกอบธุรกิจได้เฉพาะการเป็นช่องทางหรือตัวกลางในการให้สินเชื่อผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ในระยะเริ่มต้นเพื่อให้มั่นใจในรูปแบบการให้บริการ การบริหารจัดการความเสี่ยงและกระบวนการคุ้มครองผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจต้องเข้าร่วมทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นําเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox) ก่อนยื่นขออนุญาต การปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ เพื่อกําหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจและกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทแม่ของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจมีหลักธรรมาภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความใน ข้อ 4 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 16 และข้อ 20 แห่งประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล) ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 4/2562 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล ลงวันที่ 9 เมษายน 2562 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลที่มิใช่สถาบันการเงิน ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล) อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ "ธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล" (peer to peer lending) หมายความว่า การให้สินเชื่อระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ "ระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์" หมายความว่า เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใดในลักษณะทํานองเดียวกัน เพื่อรองรับการทําธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล "ผู้ประกอบธุรกิจ" หมายความว่า ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลเป็นทางการค้าปกติ "ผู้ใช้บริการ" หมายความว่า ผู้กู้ ผู้ให้กู้ หรือผู้ที่ประสงค์จะกู้หรือให้กู้ที่ใช้บริการหรือทําธุรกรรมผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ "ผู้กู้" หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ขอสินเชื่อผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ "ผู้ให้กู้" หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ให้กู้ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่รวมถึง ผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง 5.2 หลักการ เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจเป็นตัวกลางทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยไม่ได้พบเห็นกันต่อหน้า ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องมี ระบบงานรองรับการดําเนินธุรกิจที่น่าเชื่อถือและสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง มีการคัดกรองผู้ให้กู้และผู้กู้ มีการประเมินความเสี่ยงและความสามารถในการชําระหนี้ของผู้กู้อย่างเหมาะสมโดยคํานึงถึงภาระหนี้ครัวเรือนของประเทศและเตือนให้ผู้กู้ตระหนักถึงการก่อภาระหนี้สินที่ไม่เกินความสามารถในการชําระหนี้ของตน มีบุคคลที่สามหรือระบบงานดูแลทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนและมีการดูแลผู้ใช้บริการอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ เพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลและยั่งยืนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ ตลอดจนกรรมการหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทแม่ของผู้ประกอบธุรกิจต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับธรรมาภิบาลตามที่กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3 คุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจและการยื่นคําขออนุญาตประกอบธุรกิจ 5.3.1 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ รวมถึงกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทแม่ของผู้ประกอบธุรกิจ จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล) 5.3.2 การยื่นคําขออนุญาต ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจให้หารือมายังธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีก่อนการยื่นคําขออนุญาต และต้องเข้าร่วมทดสอบใน Regulatory Sandbox' กับธนาคารแห่งประเทศไทยจนประสบความสําเร็จและพร้อมให้บริการในวงกว้างก่อน จึงจะสามารถยื่นคําขออนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยได้ และหากในระยะต่อไปธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจดังกล่าวและการดูแลผู้ใช้บริการแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดให้ผู้ประสงค์จะประกอบธุรกิจปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวโดยไม่ต้องเข้าทดสอบใน Regulatory Sandbox ก็ได้ การยื่นขออนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ยื่นผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบยื่นคําขออนุญาตประกอบธุรกิจและจัดส่งตามช่องทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในคู่มือประชาชน และผู้ประกอบธุรกิจต้องเริ่มประกอบธุรกิจให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยใบอนุญาตมีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต 5.3.3 การต่ออายุการอนุญาต การต่ออายุการอนุญาต ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคําขออนุญาตผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในคู่มือประชาชนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วันทําการก่อนวันครบรอบกําหนดการอนุญาต 5.4 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถประกอบธุรกิจได้เฉพาะการเป็นช่องทางหรือตัวกลางที่ก่อให้เกิดการทําสัญญาการให้สินเชื่อระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นโดยสกุลเงินในการให้สินเชื่อต้องเป็นสกุลเงินบาท ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจต้องการประกอบธุรกิจอื่นเพิ่มเติมเช่น ธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามหนี้ ให้ยื่นคําขออนุญาตมายังธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในคู่มือประชาชนเป็นรายกรณี 5.4.1 คุณสมบัติของผู้ใช้บริการ ประเภทและวงเงินสินเชื่อ (1) คุณสมบัติของผู้กู้ ประเภทและวงเงินสินเชื่อ ผู้กู้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีความสามารถในการชําระหนี้ และไม่เป็นกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจนั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว โดยมีประเภทสินเชื่อและวงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ผู้กู้แต่ละรายสามารถได้รับ ดังนี้ (1.1) สินชื่อที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้ประกอบอาชีพ ให้พิจารณาวงเงินสินเชื่อ การนับจํานวนวงเงิน และรายได้หรือฐานะทางการเงินเพื่อกําหนดวงเงินสินเชื่อ โดยนําแนวทางการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับมาถือปฏิบัติโดยอนุโลม (1.2) สินเชื่อเพื่อนําไปใช้ประกอบอาชีพหรือโครงการธุรกิจ ทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน และสินเชื่ออื่นที่มีประกันหรือหลักประกัน เช่น สินเชื่อแฟ็กเตอริง สามารถให้วงเงินสินเชื่อแก่ผู้กู้ได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท และในกรณีที่มีสินทรัพย์เป็นประกันหรือหลักประกันให้พิจารณาอัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อสินทรัพย์หรือหลักประกัน (loan to value) ที่เหมาะสม โดยวงเงินที่ได้รับอนุมัติต้องเป็นไปตามความสามารถในการชําระหนี้ของผู้กู้ กรณีที่ผู้กู้นําสินเชื่อไปใช้ประกอบอาชีพหรือโครงการธุรกิจที่ได้รับอนุมัติวงเงินกู้บางส่วนจากแหล่งเงินกู้อื่นอยู่แล้วในปัจจุบัน และต้องการวงเงินกู้เพิ่มเติมในส่วนที่ขาด หรือต้องการวงเงินกู้เพิ่มเพื่อขยายธุรกิจ สามารถขอกู้ผ่านผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มได้ โดยผู้กู้ต้องเปิดเผยวงเงินและมูลค่าสินเชื้อทั้งหมดของโครงการที่ได้รับอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องตรวจสอบคุณสมบัติ ประเภทและวงเงินสินเชื่อดังกล่าวตามสมควร เช่น การจัดให้ผู้กู้รับรองตนเอง (self-declaration) ว่าผู้กู้ไม่ได้รับสินเชื่อประเภทเดียวกันหรือโครงการเดียวกันอยู่ก่อนแล้วเกินกว่าที่กําหนด หรืออ้างอิงข้อมูลเครดิตจากบริษัทข้อมูลเครดิต (2) คุณสมบัติของผู้ให้กู้ และวงเงินให้สินเชื่อ ผู้ให้กู้ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการให้สินเชื่อและความเสี่ยงของการให้สินเชื่อผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยต้องผ่านการประเมินความเหมาะสมของผู้ให้กู้(client suitability assessment ก่อนการให้สินเชื่อ ทั้งนี้ ผู้ให้กู้ต้องไม่ใช่ผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง หรือผู้ประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สําหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีผู้ให้กู้เป็นกรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจนั้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว สามารถให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าสินเชื่อรวมในแต่ละสัญญานอกจากนี้ วงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ผู้ให้กู้แต่ละรายสามารถให้ได้ ดังนี้ (2.1) ผู้ให้กู้ซึ่งเป็นผู้ลงทุนสถาบัน กิจการเงินร่วมลงทุน นิติบุคคลร่วมลงทุน หรือผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวค์ฟันดิง สามารถให้สินเชื่อได้โดยไม่จํากัดจํานวน (2.2) ผู้ให้กู้อื่นนอกจากที่กําหนดในข้อ (2.1) ต้องมีมูลค่าการให้สินเชื่อผ่านผู้ประกอบธุรกิจทุกรายรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ในรอบ 12 เดือน (ไม่นับรวมเงินต้นที่ผู้ให้กู้ได้รับชําระคืนแล้ว) โดยผู้ประกอบธุรกิจควรส่งเสริมให้ผู้ให้กู้กระจายความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ ทั้งนี้ผู้ประกอบธุรกิจต้องตรวจสอบคุณสมบัติดังกล่าวตามสมควร เช่น การจัดให้ผู้ให้กู้เป็นผู้รับรองข้อมูลการให้สินเชื่อของตนเอง (self-declaration) อนึ่ง ก่อนการให้สินเชื่อผู้ประกอบธุรกิจต้องแนะนําประเภทสินเชื่อตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ให้กู้ และให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการพิจารณาตัดสินใจให้สินเชื่อแต่ละประเภทด้วย ทั้งนี้ การประเมินความเหมาะสมของผู้ให้กู้จะต้องดําเนินการก่อนวันที่ให้กู้ไม่เกิน 2 ปี 5.4.2 การเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น (1) อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อในสัญญาการให้สินเชื่อระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้ ต้องไม่เกินอัตราตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กําหนด (2) อัตราค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะเรียกเก็บนั้นผู้ประกอบธุรกิจต้องเรียกเก็บโดยคํานึงถึงความเป็นธรรม พอสมควรแก่เหตุ และไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้บริการ 5.4.3 การบริหารจัดการและระบบงาน ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการกระบวนการและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่น การรู้จักผู้ใช้บริการ (know your customer : KYC) การประเมินความน่าเชื่อถือของผู้กู้ (creditworthiness) ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (outsourcing) เพื่อลดต้นทุนการดําเนินงานและเพิ่มความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นให้ถือปฏิบัติตามเอกสารแนบ 2 นอกจากนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการให้บริการหรือระบบงานอย่างมีนัยสําคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนดําเนินการด้วย 5.4.4 การบริหารจัดการความเสี่ยง (1) มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber risk) ตามแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไป เช่น มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการรับส่ง การประมวลผล และการจัดเก็บ เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือไม่ได้รับอนุญาต มีกระบวนการในการทําลายข้อมูลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะข้อมูลของผู้ใช้บริการเมื่อสิ้นสุดสัญญาการใช้บริการหรือเลิกการให้บริการแล้ว (2) มีการทบทวน ปรับปรุงพัฒนาระบบงานและกระบวนการให้บริการอย่างสม่ําเสมอ ให้เหมาะสมต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานและปิดจุดอ่อนของระบบงาน (3) มีการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (business continuity management: BCM) และแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (business continuity plan : BCP) เพื่อรองรับเหตุการณ์ในภาวะไม่ปกติ รวมทั้งมีระบบงานสํารองที่สามารถปฏิบัติงานทดแทนได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและต้องมีการทดสอบและทบทวนแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องและระบบงานสํารองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่ามีความพร้อมและสามารถปฏิบัติได้จริง 5.4.5 การดูแลผู้ใช้บริการ (1) ผู้ประกอบธุรกิจพึงให้บริการแก่ผู้ใช้บริการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลที่ดีรวมทั้งตระหนักถึงสิทธิของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 4 ประการ คือ (1) สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเพียงพอเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ (2) สิทธิที่จะเลือกใช้บริการทางการเงินได้ตามความต้องการ(3) สิทธิที่จะร้องเรียนเมื่อผู้ใช้บริการประสบปัญหา ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจควรจัดให้มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและมาตรการดําเนินการเพื่อบรรเทาความเสียหายหรือแก้ไขเรื่องร้องเรียนดังกล่าว และ (4) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาชดเชยที่พอสมควรแก่เหตุสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น (2) ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ ชัดเจน เป็นปัจจุบันและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์และมีระบบเก็บข้อมูลย้อนหลังเพื่อการตรวจสอบ โดยเฉพาะเมื่อมีประเด็นข้อร้องเรียน พร้อมทั้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ ตลอดจนทําสัญญาอย่างเป็นธรรม เก็บรักษาข้อมูลความลับของผู้ใช้บริการ โฆษณาและส่งเสริมการขายโดยมีเนื้อหาและวิธีการนําเสนอที่เหมาะสมรวมถึงมีแนวทางดําเนินการเมื่อมีข้อร้องเรียน ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 5.4.6 การจัดทํา จัดเก็บ และจัดส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถจัดทํา จัดเก็บ และจัดส่งข้อมูลต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้ใช้บริการเป็นการทั่วไป หรือเปลี่ยนแปลงการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้ใช้บริการ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทํา จัดเก็บ และจัดส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินมาใช้โดยอนุโลม 5.4.7 การย้ายสถานที่ตั้ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะย้ายสถนที่ตั้งสํานักงานใหญ่หรือสถานที่ติดต่อแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในคู่มือประชาชนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันดําเนินการย้ายสถานที่ตั้งดังกล่าว หากไม่ได้รับการทักท้วงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจย้ายสถานที่ตั้งสํานักงานใหญ่หรือสถานที่ติดต่อได้ ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกาศกําหนดการย้ายสถานที่ตั้งสํานักงานใหญ่หรือสถานที่ติดต่อล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยอย่างน้อยต้องเปิดเผยไว้ในระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบธุรกิจ และในช่วงเวลาดําเนินการย้ายสถานที่ตั้งดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดแนวทางดําเนินการเพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการตามความเหมาะสม 5.4.8 การหยุดให้บริการเป็นการชั่วคราว (1) กรณีหยุดให้บริการชั่วคราวที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในคู่มือประชาชน และผู้ใช้บริการทราบก่อนหยุดให้บริการไม่น้อยกว่า 15 วัน เช่น การปิดปรับปรุงระบบงาน (2) กรณีหยุดให้บริการชั่วคราวอันเนื่องมาจากเหตุจําเป็น หรือกรณีเกิดเหตุการณ์ผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการในวงกว้าง (major incident) เช่น ระบบงานขัดข้อง หรือกรณีที่พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงหรือทุจริต หรือสงสัยว่าระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ถูกเจาะข้อมูล ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งเหตุดังกล่าวพร้อมแนวทางการแก้ไขในเบื้องต้นให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทันที โดยต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมงนับจากทราบเหตุหรือควรจะได้ทราบเหตุ พร้อมทั้งแจ้งสาเหตุและการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมภายหลัง และแจ้งผู้ใช้บริการทราบทันทีที่หยุดให้บริการชั่วคราว 5.4.9 การเลิกประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจ ยื่นหนังสือขอเลิกการประกอบธุรกิจล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วันทําการก่อนการเลิกการประกอบธุรกิจ พร้อมทั้งยื่นแผนงานในการเลิกการประกอบธุรกิจ กระบวนการในการดูแลผู้ใช้บริการทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ กระบวนการบริหารจัดการสินเชื่อที่ยังคงค้างชําระหรือคืนให้กับผู้ให้กู้ไม่ครบตามสัญญา กระบวนการจัดการสินทรัพย์หรือหลักประกันต่าง ๆ ตลอดจนกระบวนการหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่สําคัญ มายังธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในคู่มือประชาชน 5.5 การรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่จัดทํารายงานผลประกอบการ และรายงานเรื่องร้องเรียนดังต่อไปนี้ โดยจัดส่งมายังธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในคู่มือประชาชน รวมถึงจัดทําและจัดส่งรายงานและข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเป็นรายกรณีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ (1) งบการเงินประจําปีที่ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอํานาจกระทําการแทนของผู้ประกอบธุรกิจ มายังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 180 วันนับจากวันสิ้นงวดบัญชี (2) รายงานเกี่ยวกับการให้บริการเป็นประจําทุกเดือน เช่น รายงานข้อมูลผู้ให้กู้ข้อมูลผู้กู้ และผลการดําเนินงาน ตามแบบรายงานที่กําหนดมายังธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นเดือน (3) รายงานข้อมูลและสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ และเหตุการณ์ที่สําคัญ เช่น เหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการให้บริการ การฉ้อโกงหรือทุจริต การหยุดให้บริการของระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ให้รายงานเป็นประจําทุกเดือน มายังธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 30 วันนับจากวันสิ้นเดือน 5.6 การขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันเป็นรายกรณีในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องขออนุญาตผ่อนผันโดยแสดงเหตุผลและความจําเป็น และแผนในการปรับปรุงมายังธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่กําหนดในคู่มือประชาชนเป็นรายกรณี ซึ่งในการพิจารณาผ่อนผันธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมด้วยก็ได้ 5.7 การกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม สั่งให้แก้ไข ระงับ หรือเพิกถอนการอนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการแก้ไข ระงับการดําเนินงานทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติด้วยก็ได้ หรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ผู้ประกอบธุรกิจ กรรมการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งคืนใบอนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 15 วัน อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2563 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,597
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝด. 5/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝด. 5/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามใน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 3/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายชาญชัย โยธาวงษ์ 2. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 3. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 4. นายยรรยง ดํารงศิริ 5. นายชลัท มกรารัตต์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,598
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 6/2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 6 /2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ --------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ โดยที่ระบบการทําสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือการทําสัญญาต่างตอบแทนอื่นใดในปัจจุบันต้องอาศัยความน่าเชื่อถือระหว่างคู่สัญญาเป็นหลักในการชําระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และการดําเนินธุรกิจโดยทั่วไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการรับฝากเงินจากผู้ฝากในรูปแบบ Escrow Account ตั้งแต่ปี 2544 เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 ซึ่งบังคับใช้กับกิจการดูแลผลประโยชน์ เพื่อให้มีคนกลางที่มีความน่าเชื่อถือมาทําหน้าที่ดูแลการชําระหนี้ของคู่สัญญาให้เป็นไปตามที่ตกลงกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสามารถประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ตามนัยมาตรา 7 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 ได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์โดยธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด 4.1 ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 "กิจการดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า การทําหน้าที่เป็นคนกลางเพื่อดูแลการชําระหนี้ของคู่สัญญาให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาดูแลผลประโยชน์ โดยกระทําเป็นทางค้าปกติและได้รับค่าตอบแทนหรือค่าบริการ "สัญญาดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างคู่สัญญากับผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตกลงจะดูแลการชําระหนี้ของคู่สัญญาให้เป็นไปตามที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ "คู่สัญญา" หมายความว่า คู่สัญญาตามสัญญาต่างตอบแทนใด ๆ ที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีหนี้ในการโอนหรือส่งมอบทรัพย์สินหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีหนี้ในการชําระเงินตามสัญญา "ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา" หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ตามพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 "บัญชีดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า บัญชีเงินฝากที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเปิดไว้กับสถาบันการเงินในนามของตนเพื่อประโยชน์ของคู่สัญญา 4.2 หลักเกณฑ์การประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประกอบกิจการภายใต้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจดังกล่าวโดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 4.2.1 ขอบเขตในการประกอบธุรกิจ (1) ให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญามีหน้าที่ในการดูแลให้คู่สัญญาปฏิบัติการชําระหนี้ตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาดูแลผลประโยชน์ และดูแลรักษาเงิน ทรัพย์สิน หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ที่คู่สัญญาได้ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของตนพร้อมทั้งดําเนินการส่งมอบเงินและจัดให้มีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สินให้แก่คู่สัญญาได้ภายใต้หลักเกณฑ์ในข้อ 4.2.2 และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 (2) การให้บริการอื่นตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 7 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 ธนาคารพาณิชย์จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนการให้บริการดังกล่าว และในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์ใด ๆ ด้วยก็ได้ รวมทั้งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกํากับการประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ประกาศกําหนดด้วย 4.2.2 คุณสมบัติของธนาคารพาณิชย์ในการประกอบธุรกิจ โดยที่การประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์มีความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเป็นสําคัญ ในการประกอบธุรกิจดังกล่าวธนาคารพาณิชย์ต้องมีการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ดีและมีแผนงานรองรับการประกอบธุรกิจที่เหมาะสมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดคุณสมบัติของธนาคารพาณิชย์ในการประกอบธุรกิจดังนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ที่มีระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจากการตรวจสอบล่าสุดในระดับต่ํา ค่อนข้างต่ําหรือปานกลางสามารถประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ตามข้อ 4.2.1 (1) ได้เป็นการทั่วไปโดยไม่ต้องขออนุญาตแต่ต้องยื่นแผนงานรองรับการประกอบธุรกิจมายังฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทราบก่อนการประกอบธุรกิจเป็นเวลาไม่ต่ํากว่า 30 วัน (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 4.2.2 (1) หากประสงค์จะประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์จะต้องเสนอแผนงานรองรับการประกอบธุรกิจและได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน 4.2.3 เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ ก. ธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดทําแผนงานรองรับการประกอบธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ และเสนอแผนงานดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบก่อนการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อย ดังนี้ (1) นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ การเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ด้วย (2) ระเบียบและวิธีการบริหารความเสี่ยง ระบบควบคุมภายใน ระบบการจัดการและระบบบัญชี เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจดังกล่าว (3) ความพร้อมด้านบุคลากร (4) กระบวนการตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และต้องจัดให้มีระบบการประเมินและสอบทานว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนที่ได้กําหนดไว้ ข. ธนาคารพาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4.2.2 (1) และได้ประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์อยู่แล้ว หากภายหลังธนาคารพาณิชย์นั้นมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กําหนด ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติดังนี้ (1) เมื่อระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจากการตรวจสอบล่าสุดเปลี่ยนเป็นระดับความเสี่ยงที่สูงกว่าปานกลาง ให้ธนาคารพาณิชย์แก้ไขความเสี่ยงด้านปฏิบัติการให้กลับมาอยู่ในระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังสามารถประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์ต่อไปได้ (2) ในการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทยรอบเวลาถัดไป หากธนาคารพาณิชย์ยังไม่สามารถแก้ไขความเสี่ยงด้านปฏิบัติการได้ โดยยังคงมีระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สูงกว่าปานกลาง ให้ธนาคารพาณิชย์ระงับการประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์กับลูกค้าใหม่นับจากวันที่ได้รับแจ้งผลการตรวจสอบ สําหรับลูกค้ารายเดิมนั้นให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าสัญญาดูแลผลประโยชน์สิ้นสุดลง อย่างไรก็ดี หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์กับลูกค้าใหม่จะต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,599
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2556
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1 /2556 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2556 ---------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2556 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.1/14/56 | 35,000 | 4 มกราคม 2556 | 8/1/56 – 22/1/56 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม 2556 (นางจันทวรรณ สุจริตกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,600
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 6/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 6 /2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามใน พันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฎ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 4/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นางสาวนพวรรณ มหามุสิก 2. นางจันทวรรณ สุจริตกุล 3. นายนิรุธ รักษาเสรี 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นายชาญชัย โยธาวงษ์ 7. นายปราณีต โชติกีรติเวช 8. นายอมร กังวาฬ 9. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 10. นายศุภชัย สายวิรัช 11. นายสัญญา จันทวดี 12. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 13. นายยรรยง ดํารงศิริ 14. นายชลัท มกรารัตต์ 15. นายปรีชา เชื้อสุวรรณ 16. ร.ต.ประยุทธ สังขรัตน์ 17. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 18. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 19. นายทนงศักดิ์ วรรณกาญ 20. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,601
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง.7 /2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.9/14/52 | 70,000 | 29 มกราคม 2552 | 2/2/52 – 16/2/52 | 14 | | พ.10/14/52 | 70,000 | 30 มกราคม 2552 | 3/2/52 – 17/2/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2552 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,602
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67/2563 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนกันยายน 2563
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67/2563 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนกันยายน 2563 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนกันยายน 2563 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.38/15/63 | 45,000 | 25 กันยายน 2563 | 29/09/63 - 14/10/63 | 15 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2563 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน 2563 (นางสาววชริรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,603
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 1/2556 เรื่อง การกำหนดอัตราในการนำส่งเงินเพิ่มเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กรณีธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 1 /2556 เรื่อง การกําหนดอัตราในการนําส่งเงินเพิ่มเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กรณีธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบ ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ กําหนดอัตราเงินนําส่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการส่งเงินนําส่งและการนําส่งเงินเพิ่มเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3/2555 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 กําหนดให้สถาบันการเงินที่ไม่นําเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือนําภายในระยะเวลาที่กําหนดต้องเสียเงินเพิ่มตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศฉบับนี้เพื่อกําหนดอัตรา ในการนําส่งเงินเพิ่มเข้าบัญชีสะสมดังกล่าว ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 4.6 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3/2555 เรื่อง การกําหนดอัตรานําส่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการส่งเงินนําส่งและการนําส่งเงินเพิ่มเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 ในประกาศนี้ "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 4.2 สถาบันการเงินใดไม่นําส่งเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือนําส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3/2555 เรื่อง การกําหนดอัตราเงินนําส่ง หลักเกณฑ์และวิธีการในการส่งเงินนําส่งและการนําส่งเงินไม่เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจพบ และแจ้งให้สถาบันการเงินนั้นนําส่งเงินให้ครบถ้วน สถาบันการเงินต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของจํานวนเงินที่ไม่นําส่ง หรือนําส่งไม่ครบ โดยให้คํานวณตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดจนถึงวันที่นําส่งครบถ้วน อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,604
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7/2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนให้บริการรับฝากเงินที่มีเงื่อนไขการเบิกถอนเงินจากบัญชีตามคำสั่งลูกค้า
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7/2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนให้บริการรับฝากเงิน ที่มีเงื่อนไขการเบิกถอนเงินจากบัญชีตามคําสั่งลูกค้า ------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจ Escrow Account มาตั้งแต่ปี 2544 และ 2546 ตามลําดับ ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนจะรับฝากเงินและจ่ายเงินในบัญชีตามคําสั่งที่ลูกค้าแจ้งมา ซึ่งจะมีการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและลูกค้าต้องเสียค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ ในทางปฏิบัติธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนจะทําสัญญากับลูกค้า (เช่น ผู้ซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์) ว่าธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนจะเป็นเพียงผู้ให้บริการรับเงินฝากและจะจ่ายเงินเมื่อลูกค้ามีคําสั่งเข้ามาเท่านั้น ลักษณะของธุรกิจ Escrow Account ดังกล่าวเป็นการให้บริการรักษาเงินตามบัญชีที่มีเงื่อนไขการเบิกถอนเงินซึ่งไม่ใช่การรับฝากเงินอันเป็นปกติธรรมดาและไม่มีลักษณะของการทําหน้าที่เป็นคนกลางตามลักษณะของการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน และไม่ซ้ําซ้อนกับการประกอบกิจการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ซึ่งธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนที่จะประกอบกิจการดังกล่าวต้องได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศฉบับนี้ โดยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนให้บริการรับฝากเงินในรูปแบบดังกล่าวข้างต้นได้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนให้บริการรับฝากเงินที่มีเงื่อนไขการเบิกถอนเงินจากบัญชีตามคําสั่งลูกค้าได้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 21/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนประกอบกิจการดูแลผลประโยชน์เฉพาะการรับฝากและดูแลรักษาเงินในบัญชีดูแลผลประโยชน์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนให้บริการรับฝากเงินที่มีเงื่อนไขการเบิกถอนเงินจากบัญชีแต่ละครั้งตามคําสั่งถูกค้าได้ โดยธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 "บริษัทเงินทุน" หมายความว่า บริษัทเงินทุนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 5.2 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนสามารถรับฝากเงินและจ่ายเงินในบัญชีตามคําสั่งที่ลูกค้าแจ้งมาได้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 5.2.1 ในการเปิดบัญชีเพื่อให้บริการดังกล่าวต้องไม่ใช้ชื่อบัญชีดูแลผลประโยชน์ตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 และต้องระบุอย่างชัดเจนพร้อมชี้แจงให้ลูกค้าทราบว่าเงินในบัญชีดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 แต่จะได้รับการคุ้มครองเหมือนกับเงินฝากธรรมดาตามที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากกําหนด 5.2.2 ในการให้บริการรับฝากเงินที่มีเงื่อนไขการเบิกถอนเงินจากบัญชีตามคําสั่งลูกค้า ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการให้บริการดังกล่าวได้ แต่ต้องกําหนดค่าธรรมเนียมดังกล่าวไว้ในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีอย่างชัดเจน 5.2.3 ประกาศฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึงธุรกิจรับฝาก รับถอนเงินของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนอันเป็นปกติธรรมดา 5.2.4 ในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและที่อยู่ของลูกค้า (2) กําหนดขอบเขตความรับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนในการให้บริการดังกล่าวอย่างชัดเจน ทั้งนี้ จะต้องไม่รวมถึงบริการอื่นนอกเหนือจากการให้บริการรับฝากเงินที่มีเงื่อนไขการเบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว เช่น การตรวจสอบความสําเร็จของสิ่งปลูกสร้าง หรือการตัดสินว่าคู่สัญญาปฏิบัติตามเงื่อนไขการถอนเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีหรือไม่ เป็นต้น (3) หลักเกณฑ์การเปิดบัญชี การฝาก หรือการเบิกถอนเงิน การชําระดอกเบี้ยและการปิดบัญชี (4) รายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมจากการให้บริการดังกล่าว โดยระบุผู้รับภาระค่าธรรมเนียมดังกล่าวอย่างชัดเจน (5) วันเริ่มและสิ้นสุดของบัญชี 5.2.5 ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนกําหนดนโยบายการประกอบธุรกิจรวมถึงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบหน่วยงานที่รับผิดชอบ รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติและวิธีการดําเนินการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ระเบียบปฏิบัติในการเปิดบัญชี ระเบียบปฏิบัติในการรับฝากหรือถอนเงิน หลักเกณฑ์ในการถ่ายดอกเบี้ย การคิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการและระบบการควบคุมภายใน เป็นต้น ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน 5.2.6 ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนจัดให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของลูกค้าต่อเงินฝาก และต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบและเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าวอย่างชัดเจน 5.2.7 ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ 5.2.8 ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดและต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,605
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 68/2563 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนตุลาคม 2563
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 68/2563 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนตุลาคม 2563 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ในเดือนตุลาคม 2563 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 2 สัปดาห์ ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.39/14/63 | 45,000 | 2 ตุลาคม 2563 | 06/10/63 - 20/10/63 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2563 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 (นางสาววชริรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,606
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ----------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ดังนี้ | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 5/28/52 | 7,000 | 3 ก.พ. 52 | 5/2/52 – 5/3/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 1/91/52 | 4,000 | 3 ก.พ. 52 | 5/2/52 – 7/5/52 | 91 วัน | 91 วัน | | 2/364/52 | 50,000 | 3 ก.พ. 52 | 5/2/52 – 4/2/53 | 364 วัน | 364 วัน | | 6/28/52 | 7,000 | 10 ก.พ. 52 | 12/2/52 – 12/3/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 2/91/52 | 4,000 | 10 ก.พ. 52 | 12/2/52 – 14/5/52 | 91 วัน | 91 วัน | | 1/2ปี/2552 | 30,000 | 10 ก.พ. 52 | 12/2/52 – 12/2/54 | 2 ปี | 2 ปี | | 7/28/52 | 7,000 | 17 ก.พ. 52 | 19/2/52 – 19/3/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 2/63/52 | 30,000 | 17 ก.พ. 52 | 19/2/52 – 23/4/52 | 63 วัน | 63 วัน | | 3/91/52 | 4,000 | 17 ก.พ. 52 | 19/2/52 – 21/5/52 | 91 วัน | 91 วัน | | 8/28/52 | 7,000 | 24 ก.พ. 52 | 26/2/52 – 26/3/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 4/91/52 | 4,000 | 24 ก.พ. 52 | 26/2/52 – 28/5/52 | 91 วัน | 91 วัน | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2 ปี/2552 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันพฤหัสบดีที่ 5 ก.พ. 2552 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 12 ก.พ. และ ส.ค. ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 12 ส.ค. 2552 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 12 ก.พ. 2554 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มกราคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,607
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 69/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 69/2558 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ | | 40/91/63 | - | 50,000 | 6 ต.ค. 63 | 8 ต.ค. 63 | 7 ม.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน | | 40/182/63 | - | 40,000 | 6 ต.ค. 63 | 8 ต.ค. 63 | 8 เม.ย. 64 | 182 วัน | 182 วัน | | 10/364/63 | - | 45,000 | 6 ต.ค. 63 | 8 ต.ค. 63 | 7 ต.ค. 64 | 364 วัน | 329 วัน | | 41/91/63 | - | 50,000 | 12 ต.ค. 63 | 15 ต.ค. 63 | 14 ม.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน | | 1/FRB3ปี/2563 | 3 M BIBOR -0.1 (เท่ากับ 0.52903 สําหรับงวดเริ่มต้น วันที่ 18 ส.ค.63) | 10,000 | 16 ต.ค. 63 | 20 ต.ค. 63 | 18 ก.พ. 66 | 3 ปี | 2.33 ปี | | 42/91/63 | - | 50,000 | 20 ต.ค. 63 | 22 ต.ค. 63 | 21 ม.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน | | 41/182/63 | - | 40,000 | 20 ต.ค. 63 | 22 ต.ค. 63 | 22 เม.ย. 64 | 182 วัน | 182 วัน | | 2/2ปี/2563 | 0.61 | 25,000 | 22 ต.ค. 63 | 27 ต.ค. 63 | 25 พ.ค. 65 | 2 ปี | 1.58 ปี | | 43/91/63 | - | 50,000 | 27 ต.ค. 63 | 29 ต.ค. 63 | 28 ม.ค. 64 | 91 วัน | 91 วัน | ทั้งนี้ เพื่อดูแลปริมาณพันธบัตรภาครัฐโดยรวมอยูในระดับที่เหมาะสม ธปท. จึงยกเว้นการประมูลพันธบัตร ธปท. ระยะ 6 เดือนในวันที่ 12 และ 27 ตุลาคม 2563 เนื่องจากมีการประมูลตั๋วเงินคลังที่ระยะเดียวกันในสัปดาห์ดังกล่าว อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 (นางสาววชิรา อารมย์ดี) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,608
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing)และบริการอื่น
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) และบริการอื่น ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น อันเป็นการลดต้นทุนในการดําเนินงาน เพิ่มรายได้ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านบริการของธนาคารพาณิชย์ และเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า โดยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) และการให้บริการอื่นเพิ่มเติมมาเป็นลําดับ การให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการ ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 และต่อมาเมื่อได้มีการออกหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ประการหนึ่ง และหลักเกณฑ์เรื่องการประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 อีกประการหนึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นได้มากขึ้น โดยให้ครอบคลุมถึงหน่วยธุรกิจทุกหน่วยในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ และบริษัทที่รับโอนสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรับโอนสินทรัพย์จากผู้ขายสินทรัพย์และออกหลักทรัพย์ขายแก่ผู้ลงทุน สําหรับการให้บริการเพิ่มเติมอื่นเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ลูกค้า เช่น การเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ การรับจ้างบริหารสินทรัพย์ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเมื่อมีการตรากฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย การทําหน้าที่เป็นตัวแทนง่ายเงินให้แก่ลูกค้านั้นธนาคารแห่งประเทศไทยก็อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ดําเนินการได้เป็นการทั่วไปมาเป็นลําดับเช่นเดียวกัน ในการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 18/2551 เพื่อรองรับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2551 นั้น เป็นการรวบรวมประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องมาไว้ในฉบับเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ใดได้ดําเนินการธุรกิจดังกล่าวอยู่แล้วก็ให้ทําต่อไปได้ การออกประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรขยายขอบเขตการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) และบริการอื่นเพิ่มเติมจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 18/2551 เนื่องจาก เห็นว่ายังมีบริการอื่นอีกหลายประเภทที่ธนาคารพาณิชย์สามารถขยายการบริการ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ลูกค้าและเป็นการใช้ทรัพยากรของธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น ในประกาศนี้ได้ขยายขอบเขตการให้บริการของธนาคารพาณิชย์รวม 2 เรื่อง คือ 1. การให้บริการงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) ซึ่งเป็นงานปฏิบัติการที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานปกติของธนาคารพาณิชย์ (Back office) เช่น งานบัญชีและการเงินงานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานตรวจสอบภายใน (Internal audit) งานด้านกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance) งานบริหารจัดการในธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) โดยเดิมกําหนดผู้รับบริการไว้เพียงสถาบันการเงินอื่น บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ซึ่งการปรับประกาศในครั้งนี้ได้เพิ่มประเภทผู้รับบริการให้รวมถึง "หน่วยงานราชการ" ด้วย 2. บริการอื่น เดิม ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการได้ 14 ประเภท ได้แก่ การให้บริการข่าวสารข้อมูล การจัดจําหน่ายโปรแกรมระบบงาน การให้บริการด้านเอกสารเกี่ยวกับรายการสินค้าหรือบริการแก่ผู้จําหน่ายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าบัตรเครดิต การดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินทั่วไป การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การจัดการออกตราสารหนี้ การเป็นตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ การติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศ การประกอบกิจการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ให้แก่บุคคลใด ๆ การเป็นตัวแทนหรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ การให้บุคคลภายนอกใช้บริการศูนย์ฝึกอบรมของธนาคารพาณิชย์ การให้ผู้ร่วมลงทุนหรือสถาบันการเงินอื่นใช้บุคลากร สถานที่ อุปกรณ์และบริการต่าง ๆ ร่วมกัน และการเป็นตัวแทนจ่ายเงิน ครั้งนี้ ได้เพิ่มประเภทการให้บริการอื่นที่ธนาคารพาณิชย์สามารถทําได้เพิ่มเติมพร้อมกําหนดขอบเขตและหลักเกณฑ์ที่ในการให้บริการที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้ 2.1 การให้บริการงาน Back office ด้านการจัดการกองทุน (Fund administration) 2.2 การเป็นตัวแทนบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด รับคําขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตจากประชาชนที่ประสงค์จะตรวจสอบข้อมูลของตนเอง 2.3 การให้บริการกรอกข้อความในเช็ค การจัดทําเอกสารที่เกี่ยวข้อง การนําส่งและหรือรับเช็ค Cashier order หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องตามคําสั่งของลูกค้า 2.4 การให้บริการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก และแนะนําข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกทั้งในและต่างประเทศ 2.5 การผลิตบัตรและบันทึกข้อมูลลงในบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ 2.6 การให้บริการขนส่งเงินสดหรือเหรียญกษาปณ์ (Money Security and Cash in Transit) 2.7 การให้คําแนะนํา โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการทางการเงินของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม 2.8 การให้บริการแก่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ได้จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มในการต่อทะเบียนและเสียภาษีรถยนต์ 2.9 การใช้เครือข่าย ATM ของธนาคารพาณิชย์เพื่อทําธุรกรรมทางการเงิน ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องมีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการและใช้ความระมัดระวังไม่ให้การให้บริการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือ เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจปกติ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) และบริการอื่นตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 4. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 18/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านงานสนับสนุนและบริการอื่น ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "บุคคลอื่น" หมายความว่า บุคคลอื่นดังต่อไปนี้ (1) สถาบันการเงินอื่น (2) บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์นั้น หรือบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงินอื่น ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินดังกล่าวต้องจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (4) หน่วยงานราชการ (5) ธนาคารแห่งประเทศไทย (6) นิติบุคคลเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่รับโอนสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรับโอนสินทรัพย์จากผู้ขายสินทรัพย์และออกหลักทรัพย์ขายแก่ผู้ลงทุน "บริษัท" หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัดห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น "งานสนับสนุน" หมายความว่า งานปฏิบัติการที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานปกติของธนาคารพาณิชย์ (Back office) เช่น งานบัญชีและการเงิน งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานตรวจสอบภายใน (Internal audit) งานด้านกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance) งานบริหารจัดการในธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) "งานเทคโนโลยีสารสนเทศ" หมายความว่า งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นงานสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน เช่น งานด้านการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาและจําหน่ายระบบงานและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูล และการบํารุงรักษาและการรักษาความปลอดภัยทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ระบบงานและโปรแกรม ระบบเครือข่ายสื่อสาร และข้อมูล เป็นต้น "กิจการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้" หมายความว่า กิจการให้บริการเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชําระหนี้ การจัดทําบัญชี รายงาน เก็บรักษาเอกสาร ชําระภาษี หรือเบี้ยประกันภัยตลอดจนการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บหนี้นั้น 5.2 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ 5.2.1 การให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) จะกระทําได้เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ครบถ้วนแล้ว (1) กําหนดนโยบายการให้บริการด้านงานสนับสนุนอย่างชัดเจนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ โดยคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์อาจมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบด้านงานสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ให้ความเห็นชอบก็ได้ (2) ประเมินศักยภาพและความเพียงพอของทรัพยากรของธนาคารพาณิชย์ในการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องระมัดระวังไม่ให้บริการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานและการให้บริการตามปกติของธนาคาร และไม่ให้ปริมาณของงานให้บริการดังกล่าวมีมากเกินบทบาทของงานด้านธุรกิจธนาคารพาณิชย์ หรือเกินกว่าความสามารถของธนาคารพาณิชย์ในการให้บริการได้ด้วยตนเอง โดยการให้บริการดังกล่าวจะต้องไม่ทําให้ธนาคารพาณิชย์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมารับช่วงให้บริการแทน (3) ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการให้บริการด้านงานสนับสนุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงต่อการดําเนินงาน ภาพลักษณ์ของธนาคารพาณิชย์ และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งกําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจน (4) จัดทําสัญญาที่กําหนดรายละเอียดประเภทของการให้บริการ ขั้นตอนหรือวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการระหว่างกันระบบการควบคุมภายใน และระบบการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์และผู้รับบริการ (5) จัดให้มีการบันทึกบัญชีรายได้จากการให้บริการดังกล่าวให้ถูกต้องทั้งนี้ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการจากการให้บริการดังกล่าวต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม (6) จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมและเพียงพอ มีการจัดทําแผนฉุกเฉิน ทดสอบ และปรับปรุงแผนฉุกเฉินดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ (7) เก็บรักษาเอกสารตาม (1) ถึง (6) ไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา 5.2.2 การให้บริการอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเป็นการทั่วไป ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) การให้บริการข่าวสารข้อมูล เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจและการลงทุนของประชาชน (2) การจัดจําหน่ายโปรแกรมระบบงานที่ธนาคารพาณิชย์ได้นํามาพัฒนาแล้ว รวมถึงการพัฒนาระบบงานด้านคอมพิวเตอร์ ธนาคารพาณิชย์อาจกระทําได้ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (2.1) ต้องมิได้กระทําเป็นทางค้าปกติ (2.2) ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการเงิน (2.3) ต้องมีลักษณะเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้ได้ประโยชน์มากขึ้น (3) การให้บริการด้านเอกสารเกี่ยวกับรายการสินค้าหรือบริการแก่ผู้จําหน่ายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าบัตรเครดิต โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (3.1) จะต้องระบุรายการให้ชัดเจนแยกตามผู้จําหน่าย อย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ หรือสถานที่ติดต่อของผู้จําหน่ายสินค้าหรือบริการ (3.2) จะต้องจดแจ้งแสดงให้ชัดเจนว่าธนาคารพาณิชย์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจําหน่ายสินค้าหรือให้บริการนั้น และในกรณีที่สินค้าหรือบริการที่ให้แก่ลูกค้าชํารุดเสียหายหรือมีข้อบกพร่องใด ๆ ให้ลูกค้าติดต่อกับผู้จําหน่ายหรือผู้ให้บริการโดยตรงตามชื่อหมายเลขโทรศัพท์ หรือสถานที่ของผู้จําหน่ายหรือผู้ให้บริการที่แจ้งไว้ (4) การดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินทั่วไป (Custodian service) มีขอบเขตรวมถึงการรับหรือส่งมอบหลักทรัพย์ การรับหรือการง่ายเงินค่าหลักทรัพย์ การรับเงินปันผล การส่งมอบผลประโยชน์อันเกิดจากหลักทรัพย์นั้น ๆ การรับมอบฉันทะจากลูกค้าในการเข้าประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นและลงคะแนนเสียง การดูแลและเก็บรักษาเอกสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินต่าง ๆ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจําหน่าย จ่ายโอน หรือประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (5) การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินทั่วไป (Financial advisor) คือ การให้คําปรึกษาทางด้านการเงินในด้านต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนทางการเงินของโครงการลงทุน การจัดโครงสร้างเงินทุนของกิจการ การให้บริการจัดทําหรือวิเคราะห์โครงการเพื่อการลงทุน (Feasibility studies) และการวางแผนทางการเงิน เป็นต้น (6) การจัดการออกตราสารหนี้ ได้แก่ การเป็นผู้จัดการให้บริษัทจํากัดและบริษัทมหาชนจํากัด ออกตราสารแห่งหนี้เพื่อการกู้ยืมเงินจากประชาชน และรวมถึงการให้คําปรึกษาและการจัดการค้านเอกสารต่างๆ (7) การเป็นตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ อนุญาตให้ทําได้เฉพาะตราสารแห่งหนี้ภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน (8) การติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า ได้แก่ การเผยแพร่ข้อมูลและบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า และติดต่อชักชวนให้ลูกค้ามาใช้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ เช่น การเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งรวมถึงการแจก รวบรวม และตรวจสอบเอกสารคําขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และเอกสารหลักฐานประกอบการเปิดบัญชี (9) การเป็นผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศ ให้สาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยทําหน้าที่จัดการกองทุน หรือรับบริหารสินทรัพย์ให้แก่บุคคลได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในประเทศนั้น (10) การประกอบกิจการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ให้แก่บุคคลใด ๆ โดยมีค่าตอบแทนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืม หรือหนี้อื่นใด หรือการเป็นตัวแทนรับชําระหนี้ค่าสาธารณูปโภคให้กับหน่วยงานที่ให้บริการด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่เข้ารับความเสี่ยงจากกิจการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ เช่น เข้ามีส่วนรับผิดชอบในภาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์จะต้องดําเนินการดังนี้ (10.1) จัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานของสัญญาอันเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ แยกต่างหากจากกิจการอื่นของธนาคารพาณิชย์ (10.2) จัดทํารายงานในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แต่ละรายออกจากกันตามสัญญาระหว่างธนาคารพาณิชย์กับผู้ว่าข้างแต่ละราย เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์และผู้ว่าจ้างสามารถตรวจสอบและติดตามดูแลผลการดําเนินงานได้ (10.3) ในการเป็นตัวแทนรับชําระหนี้ค่าสาธารณูปโภค ธนาคารพาณิชย์จะต้องให้บริการรับชําระหนี้ค่าสาธารณูปโภคทั้งวิธีหักบัญชีผู้ใช้บริการที่เป็นลูกค้าของธนาคารพาณิชย์และวิธีรับชําระเงินผ่านเคาน์เตอร์ และในกรณีหน่วยงานที่ให้บริการด้านสาธารณูปโภคเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้ใช้บริการ ธนาคารพาณิชย์จะเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้บริการอีกไม่ได้ (11) การเป็นตัวแทนหรือการรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยรับโอนมาตามพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องอันเนื่องมาจากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ตามที่ได้รับมอบหมายจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าการประกอบธุรกิจตัวแทนรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวนั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่ตนรับทําหน้าที่เป็นตัวแทนรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแยกต่างหากจากกิจการอื่นของธนาคารพาณิชย์ (12) การให้บุคคลภายนอกใช้บริการศูนย์ฝึกอบรมของธนาคารพาณิชย์โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (12.1) การกําหนดราคาให้เช่าจะต้องเหมาะสมเป็นทางการค้าปกติ (12.2) การให้เช่าต้องกระทําเป็นครั้งคราว โดยไม่ให้มีการผูกขาดโดยบุคคลหนึ่งบุคคลใด (12.3 ) ในการพิจารณาให้เช่า จะต้องคํานึงถึงประโยชน์เพื่อธนาคารพาณิชย์และหนักงานของธนาคารพาณิชย์ก่อนเป็นอันดับแรก (13) การให้ผู้ร่วมลงทุนหรือสถาบันการเงินอื่นใช้บุคลากร สถานที่ อุปกรณ์และบริการต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่ออํานวยความสะดวกและเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (13.1) จะดําเนินการได้เฉพาะส่วนของงานปฏิบัติการ (Back office) และกับผู้ร่วมลงทุนหรือสถาบันการเงินตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตเท่านั้น ในงานส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรและสถานที่ปฏิบัติงาน ดังนี้ ก. ส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากร ได้แก่ 1) งานสนับสนุน เช่น งานบุคคล การจัดช้างจัดเก็บ การจัดซื้อสถานที่ ธุรการ สวัสดิการ รักษาความปลอดภัย เป็นต้น 2) งานที่ได้รับมอบหมายเฉพาะด้าน เช่น งานบัญชี นายหน้าหรือตัวแทน ประมวลผลข้อมูล ดูแลทรัพย์สิน งานกฎหมาย การจัดเตรียมนิติกรรมสัญญา การพิมพ์ใบแจ้งหนี้ การติดตามหนี้ยกเว้นการรับชําระหนี้ การประเมินราคาทรัพย์สินและหลักประกันโดยธุรกรรมที่กระทําจะต้องดําเนินการผ่านธนาคารพาณิชย์ 3) งานการกํากับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance unit) ทั้งนี้ บุคลากรที่อาจใช้ร่วมกันได้รวมไปถึงกรรมการที่ไม่มีตําแหน่งทางด้านบริหาร โดยต้องไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง ข. ส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) สถานที่ในส่วนสนับสนุนธุรกิจ เช่น สถานที่จอดรถสถานพยาบาล อาคารสันทนาการ ห้องมั่นคง ห้องคอมพิวเตอร์ และคลังสินค้า เป็นต้น 2) สถานที่ในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้งานของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ ผู้ร่วมลงทุนหรือสถาบันการเงินอื่นจะต้องชําระค่าใช้บริการให้แก่ธนาคารพาณิชย์ที่มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ว่าจ้างบุคลากร และ/หรือเฉลี่ยค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานตามสัดส่วนของต้นทุนที่เกิดขึ้น (13.2) จะต้องกําหนดระเบียบพิธีปฏิบัติการรักษาข้อมูลหรือความลับที่ชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสน และนําเสนอระเบียบดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ความเห็นชอบ รวมทั้งต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยเคร่งครัด ระเบียบพิธีปฏิบัติอย่างน้อยจะต้องมีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ ก. จะต้องมีการระบุตัวบุคคลซึ่งทําหน้าที่ ติดตาม และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สามารถปฏิบัติงานโดยร่วมกับเจ้าหนี้รายอื่นได้ ข. จะต้องมีข้อกําหนดในการควบคุมดูแลบุคคลที่ทําหน้าที่ตาม ก. ที่ใช้ร่วมกับเจ้าหนี้รายอื่นและผู้ที่เกี่ยวข่องอื่นไม่ให้มีการนําข้อมูลของลูกหนี้ ทั้งที่เป็นลูกหนี้ของตนเองและของเจ้าหนี้อื่นไปใช้เพื่อประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ และให้มีการติดตามดูแลการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยเคร่งครัด และมีบทกําหนดโทษสําหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนั้น ค. จะต้องควบคุมดูแลบุคคลตาม ก. ที่ใช้ร่วมกับเจ้าหนี้อื่นให้ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ โดยลูกหนี้จะต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจนว่าบุคคลตาม ก. ได้ปฏิบัติงานเพื่อเจ้าหนี้รายใด เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเสียหายแก่ลูกหนี้จากการที่บุคคลตาม ก. นั้นทํางานให้เจ้าหนี้เกินกว่า 1 แห่ง ที่อาจก่อให้เกิดความสับสนแก่ลูกหนี้ รวมทั้งต้องมีข้อกําหนดถึงบุคคลที่ต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายแก่ลูกหนี้ที่ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยที่พึงปฏิบัติแล้วทั้งนี้ บุคคลที่ต้องรับผิดชอบอาจมิใช่เจ้าหนี้ก็ได้ (14) งาน Back office ด้านการจัดการกองทุน (Fund administration) ได้แก่ (14.1) คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value) จํานวนหน่วยมูลค่าต่อหน่วย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (14.2) ติดตามสิทธิประโยชน์ของกองทุน เช่น ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้เงินปันผลจากหุ้นสามัญ และสิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้น (14.3) ติดต่อประสานงานกับผู้ดูแลผลประโยชน์ หรือผู้รับฝากทรัพย์สินและผู้เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ในการตรวจสอบความถูกต้องของการคํานวณราคา (14.4) จัดทําและจัดส่งรายงานตามข้อตกลงการให้บริการ และจัดทํางบการเงินกองทุน (14.5) การให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ ซึ่งไม่ใช่งานการตัดสินใจในการบริหาร การจัดการ รวมทั้งนโยบายการลงทุน (15) การเป็นตัวแทนบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด รับคําขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตจากประชาชนที่ประสงค์จะตรวจสอบข้อมูลตนเอง (16) การให้บริการกรอกข้อความในเช็ค การจัดทําเอกสารที่เกี่ยวข้องการนําส่งและหรือรับเช็ค Cashier order หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องตามคําสั่งของลูกค้า เช่น การพิมพ์ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ลงบนเช็คของลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้ายินยอมให้ตัวอย่างลายเซ็นแก่ธนาคาร ธนาคารพาณิชย์ต้องคํานึงถึงระบบการควบคุมภายใน ระบบความปลอดภัยในการเก็บรักษาสมุดเช็ดที่จัดพิมพ์แล้ว รวมถึงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า และในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มิได้ดําเนินการด้วยตนเอง ธนาคารพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าในความเสียหายจากการให้บริการของบุคคลภายนอกนั้นเสมือนธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ให้บริการเอง และจะต้องเก็บรักษาและควบคุมให้มีการนําลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้าไปใช้อย่างปลอดภัย และตรวจสอบได้ (17) การให้บริการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก และแนะนําข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกทั้งในและต่างประเทศ (18) การผลิตบัตรและบันทึกข้อมูลลงในบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Money) (19) การให้บริการขนส่งเงินสดหรือเหรียญกษาปณ์ (Money Security and Cash in Transit) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการบริหารจัดการเงินสดและเหรียญกษาปณ์ (20) การให้คําแนะนํา โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการทางการเงินของบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม ซึ่งรวมถึงการประสานงาน รวบรวมและจัดส่งเอกสารประกอบการขอใช้ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าให้กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม (21) การให้บริการแก่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่งที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่มในการต่อทะเบียนและเสียภาษีรถยนต์ 5.2.3 การให้บริการอื่นที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) การเป็นตัวแทนจ่ายเงิน (Paying agent) ธนาคารพาณิชย์สามารถทําหน้าที่เป็นตัวแทนง่ายแคชเชียร์เช็คหรือเงินสดให้แก่ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นตามที่ได้รับการแต่งตั้งได้ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งที่เป็นตัวการและตัวแทนดังกล่าวทั้งสองฝ่ายยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย โดยแสดงเหตุผลและข้อมูลตามรายการที่กําหนด และหากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีหนังสือแจ้งทักท้วงหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับหนังสือขออนุญาตครบถ้วนจากทั้งสองฝ่ายแล้ว ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์นั้นดําเนินการไว้ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1.1) กําหนดนโยบาย กระบวนการ และวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการดําเนินการเป็นตัวการและตัวแทนจ่ายเงินซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์หรือผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย เพื่อนําไปถือปฏิบัติเป็นเกณฑ์ภายในซึ่งรวมถึงการจัดตั้งระบบการประเมินความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง ขั้นตอนของการบริการการส่งคําสั่งจ่ายเงินมาให้ธนาคารตัวแทน การควบคุมภายใน การตรวจสอบหลักฐานแสดงตนของผู้รับเงิน การรักษาความปลอดภัย การรักษาความลับของข้อมูล และแผนรองรับกรณีธนาคาร ตัวแทนไม่สามารถให้บริการได้ (1.2) จัดทําสัญญาที่กําหนดรายละเอียดประเภทของการให้บริการขั้นตอนหรือวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ระบบการควบคุมภายใน และระบบการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลของธนาคารพาณิชย์และลูกค้าหรือผู้รับบริการ (1.3) ตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตาม (1.1) และ (1.2) อย่างเคร่งครัดรวมทั้งตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่มีกําหนดไว้ด้วยพร้อมทั้งเก็บรักษาเอกสารการให้บริการไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้เมื่อร้องขอ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ผู้แต่งตั้งตัวแทนง่ายเงินยังคงต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าและบุคคลภายนอกเสมือนตนเป็นผู้ดําเนินการเอง แต่ต้องไม่ปิดกั้นหรือห้ามธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจ่ายเงินทําหน้าที่นี้ให้กับธนาคารพาณิชย์อื่น (2) การใช้เครือข่าย ATM ของธนาคารพาณิชย์เพื่อทําธุรกรรมทางการเงินโดยให้ธนาคารพาณิชย์ยื่นขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนให้บริการแก่ผู้ใช้บริการนั้น ๆ เนื่องจากจะต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ การรักษาความปลอดภัย และความพร้อมใช้งานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคารพาณิชย์ก่อน 5.3 ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (Insourcing) หรือให้บริการอื่นนอกเหนือจากที่ปรากฏในประกาศฉบับนี้ให้ยื่นคําขออนุญาตโดยแสดงเหตุผลและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และให้ประกอบธุรกิจตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะแจ้งให้ทราบต่อไป โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจนั้นตามความเหมาะสมด้วยก็ได้ 5.4 ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อ 5.2 และ 5.3 โดยเคร่งครัด รวมทั้งตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่มีกําหนดไว้ด้วยในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการปฏิบัติไม่เป็นไปตามที่กําหนด ธนาคารแห่ง ประเทศไทยอาจพิจารณากําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นปฏิบัติเพิ่มเติม หรือยกเลิกการให้อนุญาตก็ได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,609
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ. 11/14/52 | 50,000 | 3 กุมภาพันธ์ 2552 | 5/2/52 – 19/2/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,610
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 4/2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 4 /2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามใน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ---------------------------------------------- อื่นๆ - เพื่ออนุวัติตามข้อ 12 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 ธนาคารแห่งประเทศไทยขอแต่งตั้งให้บุคคลดังมีรายนามต่อไปนี้เป็นผู้มีอํานาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นางสร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช 2. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 3. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 4. นายยรรยง ดํารงศิริ 5. นายชลัท มกรารัตต์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,611
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9/2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9/2552 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม -------------------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เดิมธนาคารพาณิชย์มุ่งเน้นประกอบธุรกิจการรับฝากเงินและการให้สินเชื่อเป็นหลักต่อมาการบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และธุรกิจต่าง ๆ มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปจากการกู้ยืมเงิน โดยทั่วไป ธนาคารพาณิชย์และธุรกิจสามารถหาสภาพคล่องจากลูกหนี้เงินให้กู้ยืมซึ่งเป็นสินทรัพย์ของตนได้ (Asset-Based Financing) โดยการขายลูกหนี้เงินให้กู้ยืมดังกล่าวให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือธุรกิจที่มีสภาพคล่องเหลือได้ และเพื่อสนับสนุนให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์และภาคธุรกิจมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งรวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่มีสภาพคล่องเหลือสามารถรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์และของนิติบุคคลอื่นมาเพื่อบริหารต่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นได้ การออกประกาศฉบับนี้เป็นการปรับหลักการและถ้อยคําให้ชัดเจนว่าธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ตลอดจนประชาชนรายย่อย (Retail) ได้ เป็นการขยายขอบเขตเพิ่มเติมจากเดิมที่รับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่เป็น SMEs ได้เท่านั้น ไม่สามารถซื้อลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่เป็นประชาชนรายย่อยได้ ส่วนเนื้อหาสาระสําคัญในส่วนอื่นของประกาศยังคงเหมือนเดิม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมตามข้อกําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 4. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 05/2551 เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม" หมายความว่า ลูกหนี้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจให้กู้ยืมปกติของธนาคารพาณิชย์และนิติบุคคลอื่น ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงลูกหนี้จากการประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่งด้วย "สถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการ" หมายความว่า บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดําเนินกิจการตามคําสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินการได้ "บริษัทแม่" หมายความว่า บริษัทแม่ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน 5.2 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมทั้งที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศได้จากธนาคารพาณิชย์และนิติบุคคลอื่นในประเทศโดยธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในกรณีที่เป็นการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้มาจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์ผู้รับซื้อหรือรับโอนนั้นเป็นบริษัทแม่ของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น ลูกหนี้ดังกล่าวต้องได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วและเป็นสินทรัพย์จัดชั้นปกติหรือสินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงินและที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจสําหรับธนาคารพาณิชย์ยกเว้นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 5.3.1 ธนาคารพาณิชย์สามารถรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและสินทรัพย์อื่นของสถาบันการเงิน 56 แห่งที่ถูกปิดกิจการจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ 5.3.2 การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและสินทรัพย์อื่นต้องกระทําภายใต้ขอบเขตที่ธนาคารพาณิชย์สามารถกระทําได้ตามที่กําหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินเท่านั้น และธนาคารพาณิชย์จะต้องถือปฏิบัติต่อลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่รับซื้อหรือรับโอนตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3.3 การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมนั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกระบวนการวิเคราะห์และพิจารณาอย่างรอบครอบว่าลูกหนี้เงินให้กู้ยืมดังกล่าวจะสามารถก่อให้เกิดรายได้แก่ธนาคารพาณิชย์ในอนาคต 5.3.4 การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและสินทรัพย์อื่นให้ใช้ราคายุติธรรม (fair value) ซึ่งมีความหมายเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี 5.3.5 ธนาคารพาณิชย์ผู้รับซื้อหรือรับโอนต้องกําหนดหลักเกณฑ์ หรือระเบียบปฏิบัติที่ดี เพื่อป้องกันมิให้ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานกระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ อันผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต 5.3.6 การกํากับดูแล (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด (2) ในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์สามารถทําธุรกรรมรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ธนาคารพาณิชย์นับรวมกับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุนต่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือแก่บุคคลหลายคนรวมกันในโครงการหนึ่งโครงการใดหรือเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ซึ่งเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์นั้นตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) (3) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจยับยั้งหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (3.1) ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ (3.2) กรณีอื่น ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน 5.4 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจสําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ในการประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 5.3 เว้นแต่เรื่องขอบเขตในการประกอบธุรกิจ และเรื่องการนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ถือปฏิบัติดังนี้ 5.4.1 ขอบเขตในการประกอบธุรกิจ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) และประชาชนรายย่อยเท่านั้นไม่ว่าผู้ขายจะเป็นใคร ทั้งนี้ ขอบเขตการประกอบธุรกิจต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 30/2551 เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.4.2 การนับลูกหนี้รายใหญ่ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 5.3.6 (2) ในการคํานวณจํานวนเงินสูงสุดที่ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมกับบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยให้นับรวมกับธุรกรรมการให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือการทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อประเภทอื่น เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือโครงการหนึ่งโครงการใด เมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินกว่าที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit) อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,612
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 5/2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกำกับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 5 /2551 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 3. เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 3/2551 เรื่องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 2. แต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายสมชาย เสตกรณุกูล 2. นางจันทวรรณ สุจริตกุล 3. นายนิรุธ รักษาเสรี 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นางสร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช 7. นายปราณีต โชติกีรติเวช 8. นายอมร กังวาฬ 9. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 10. นายสุกิจ สหนุกูล 11. นายสัญญา จันทวดี 12. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 13. นายยรรยง ดํารงศิริ 14. นายชลัท มกรารัตต์ 15. นายอเนก อิงวิยะ 16. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์ 17. นายสุขชัย พูลสินากร 18. นายวีระยุทธ์ เลิศพูนวิไลกุล 19. นายชัชวาล ดียะพาณิชย์ 20. นายทนงศักดิ์ วรรณกาญ 21. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 22. นายประสงค์ วิริยะวิภาต 23. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,613
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 10/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.12/13/52 | 70,000 | 5 กุมภาพันธ์ 2552 | 10/2/52 – 23/2/52 | 13 | | พ.13/13/52 | 70,000 | 6 กุมภาพันธ์ 2552 | 11/2/52 – 24/2/52 | 13 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 (นางสุชาดา กิระกุล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,614
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10/2551 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10 / 2551 เรื่อง การส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ---------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6 / 2551 เรื่องการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 กําหนดให้สถาบันการเงินรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในรูปแบบชุดข้อมูล (Data Set) โดยผ่านวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กําหนดในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 นั้น เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีข้อมูลเพียงพอในการกํากับดูแลความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องดํารงเงินกองทุนตามเกณฑ์ Base! II รวมทั้งมีข้อมูลเพียงพอในการดําเนินนโยบายสถาบันการเงิน และเพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลที่ได้รับจากสถาบันการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศฉบับนี้เพื่อใช้แทนประกาศฉบับดังกล่าวข้างต้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญดังนี้ 1. ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทําชุดข้อมูล (Data Set) เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ Base! II เพิ่มเติมอีกจํานวน 6 ชุดข้อมูล ตามรายละเอียดดังนี้ 1.1 Credit Risk Standardized Approach (DS\_CRS) 1.2 Credit Risk Internal Ratings-Based Approach (DS\_CRI) 1.3 Equity Position (DS\_EQP) 1.4 Provision and Expected Loss (DS\_PEL) 1.5 Contingent Summary (DS\_COS) 1.6 Operational Risk (DS\_OPR) 2. ให้ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวมธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย) จัดทําชุดข้อมูล (Data set) เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของธุรกรรมเงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศจํานวน 4 ชุดข้อมูล แทนรูปแบบเดิมที่เป็น Excel File (ตารางที่ 4 - 6) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 80 / 2551 เรื่องหลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับสําหรับธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 ข้อ 5.10 การจัดทํารายงานบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศตามรายละเอียดดังนี้ 2.1 Interest Rate of Foreign Currency Deposit (DS\_IRF) 2.2 Fee Rate of Foreign Currency Deposit (DS\_FRF) 2.3 Fee Rate of SWIFT (DS\_FRW) 2.4 Other Fee Rate of Foreign Currency Deposit (DS OFF) อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ธนาคารแห่งประเทศไทย กําหนดให้สถาบันการเงินจัดทําและส่งรายงานข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สรข. 6 / 2551 เรื่องการส่งรายงานข้อมูลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ให้สถาบันการเงิน จัดทําและส่งรายงานข้อมูลในรูปแบบชุดข้อมูล (Data Set) ตามรายชื่อชุดข้อมูล (เอกสารแนบ 1) โดยให้จัดส่งข้อมูลให้ ธปท. ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดใน "ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546" ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2546 และที่เก้ไขเพิ่มเติม (เอกสารแนบ 2) 5.2 การจัดส่งรายงานชุดข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ Base! II ดังต่อไปนี้ 5.2.1 Capital Fund (DS\_CAP) 5.2.2 Credit Risk Standardized Approach (DS CRS) 5.2.3 Contingent Summary (DS\_COS) 5.2.4 Operational Risk (DS OPR) เฉพาะในงวดเดือนธันวาคม 2551 ถึงงวดเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้การคํานวณความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยวิธี Standardized Approach (SA) หรือวิธี Simplified Standardized Approach (SSA) หรือวิธี Foundation Internal Ratings-Based Approach (FIRB) จัดส่งรายงานชุดข้อมูลดังกล่าวภายในสิ้นเดือนถัดไปของแต่ละงวดได้ 5.3 ให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับรายงานข้อมูลตามชุดข้อมูล (Data Set) ในวันที่สถาบันการเงินส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลที่ส่งมานั้นมีความถูกต้องโดยผ่านหลักเกณฑ์การตรวจสอบเบื้องต้น (Basic Validation) ของระบบบริหารข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว 5.4 ในกรณีธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้การคํานวณความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยวิธี Standardized Approach (SA) หรือวิธี Simplified Standardized Approach (SSA) หรือวิธี Foundation Internal Ratings-Based Approach (FIRB) ไม่สามารถจัดส่งรายงานเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ Base! II ในรูปแบบ Data Set ตามที่กําหนดได้และประสงค์จะขออนุญาตจัดส่งรายงานในรูปแบบ Excel File ให้มีหนังสือขออนุญาตพร้อมแสดงเหตุผลความจําเป็นมายังฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยภายในวันที่ 15 มกราคม 2552 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเรียกเอกสารที่จําเป็นในการพิจารณาเพิ่มเติมหรืออาจกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติใด ๆ ในการอนุญาตด้วยก็ได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,615
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2552 เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.10/2552 เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย -------------------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่เปิดดําเนินการอยู่และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมยื่นขออนุญาตปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินประเภทต่าง ๆ โดยธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะเน้นการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้เงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามประกาศ เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย การออกประกาศฉบับนี้เพื่อปรับปรุงขอบเขตธุรกิจการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย โดยธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนประชาชนรายย่อยได้โดยไม่จํากัดดูสัญญา ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งประชาชนรายย่อยมีโอกาสได้รับบริการทางการเงินเพิ่มขึ้น สําหรับเนื้อหาสาระสําคัญในส่วนอื่นของประกาศยังคงเหมือนเดิม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และความในเงื่อนไขแนบใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยประกอบธุรกิจเพื่อการให้บริการแก่ลูกค้าและในการทําธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อการป้องกันความเสี่ยงตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 4. ประกาศที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 30/2551 เรื่อง ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย" หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการให้บริการแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีข้อจํากัดการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศตราสารอนุพันธ์ และธุรกรรมอื่นที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด "สถาบันการเงิน" หมายความว่า (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (2) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (3) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (4) ธนาคารพาณิชย์ (5) บริษัทเงินทุน (6) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (7) บริษัทหลักทรัพย์ (8) บริษัทประกันชีวิต (9) สถาบันการเงินต่างประเทศ (10) กองทุนรวม (11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (12) กองทุนส่วนบุคคล (13) กองทุนบําเหน็จบํานาญ (14) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (15) นิติบุคคลอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด "การลงทุนในตราสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้า" หมายความว่า การลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้ ทําให้กิจการถือหลักทรัพย์นั้นไว้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหากําไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของตราสารนั้น "การลงทุนในตราสารที่มีวัตถุประสงค์เผื่อขาย" หมายความว่า การลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดซึ่งไม่ถือเป็นการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้าและในขณะเดียวกันไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนดหรือเงินลงทุนในบริษัทลูกหรือบริษัทร่วม "วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)" หมายความว่า กิจการที่เข้าลักษณะตามคําจํากัดความของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กําหนดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมตามเอกสารแนบ 1 "ผู้เกี่ยวข้อง" หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับอีกบุคคลหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นคู่สมรส (2) เป็นบุตรหรือบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (3) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจในการจัดการ (4) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (5) เป็นบริษัทที่บุคคลนั้นหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ (6) เป็นบริษัทลูกของบริษัทตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) (7) เป็นบริษัทร่วมของบริษัทตาม (3) หรือ (4) หรือ (5) (8) เป็นตัวการ ตัวแทน หรือ (9) บุคคลอื่นที่มีลักษณะตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ในกรณีที่บุคคลใดถือหุ้นในบริษัทใดตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทนั้นเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง 5.2 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจเพื่อการให้บริการแก่ลูกค้าและสามารถทําธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองได้ภายในขอบเขตดังต่อไปนี้ 5.2.1 ธุรกิจเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจพื้นฐานของธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจที่เกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือจําเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์เพื่อการให้บริการลูกค้าภายใต้ขอบเขตดังต่อไปนี้ (1) ธุรกิจพื้นฐาน ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละรายได้ โดยจํากัดวงเงินการให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ละรายตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดในเรื่องว่าด้วย การกําหนดอัตราส่วนจํานวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน ก่อภาระผูกพัน หรือทําธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือ โครงการหนึ่งโครงการใดกับเงินกองทุนและที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ วงเงินการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้แต่ละรายจะต้องนับรวมวงเงินการให้สินเชื่อแก่ผู้เกี่ยวข้องกับลูกหนี้รายนั้น ๆ ส่วนธุรกิจพื้นฐานอื่น เช่น การรับฝากเงินทุกประเภท หรือการโอนเงิน ชําระเงิน ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถดําเนินการได้โดยไม่จํากัดคู่สัญญา (2) ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยเงินต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศได้ ดังนี้ (2.1) ธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยเงินต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศได้ตามที่บุคคลรับอนุญาตกระทําได้ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยเรื่องคําสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่บุคคลรับอนุญาตและที่แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินในเรื่องว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินตราต่างประเทศนี้ไม่รวมการรับฝากเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (2.2) ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถมีบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศที่ต่างประเทศและส่งเงินตราต่างประเทศออกไปสํารองไว้ในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศที่ต่างประเทศนั้นเพื่อปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขในการเข้าเป็นสมาชิกเพื่อการดําเนินธุรกิจด้านบัตรเครดิตได้ อย่างไรก็ดี หากในการประกอบธุรกิจด้านบัตรเครดิตนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเป็นผู้ได้รับชําระเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องนําเงินตราต่างประเทศที่ได้รับกลับเข้ามาในประเทศไทยทันทีที่ได้รับ พร้อมทั้งขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศนั้นกับตัวแทนรับอนุญาตรายอื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยในประเทศไทย ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้มาหรือนําเข้า (3) ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือจําเป็นต่อการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจการเรียกเก็บเงินตามตั๋ว การรับอาวัลตั๋วเงิน การรับรองตั๋วเงิน หรือการค้ําประกัน หรือธุรกิจทํานองเดียวกันด้วยก็ได้ รวมถึงธุรกิจอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตไว้แก่ธนาคารพาณิชย์แล้ว เช่น การเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ การดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์การประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน เป็นต้น ทั้งนี้ ยกเว้นธุรกิจดังต่อไปนี้ (3.1) การให้สาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นผู้จัดการกองทุน เพื่อการลงทุน หรือการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือรับบริหารสินทรัพย์ให้แก่บุคคลในต่างประเทศ (3.2) ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการขายชอร์ต (3.3) ธุรกิจการค้าตราสารแห่งหนี้ (3.4) ธุรกิจการค้าหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (3.5) ธุรกิจการรับประกันการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (3.6) ธุรกิจที่เกี่ยวกับอนุพันธ์ทางการเงิน (3.7) ธุรกิจสัญญาซื้อขายถ่วงหน้า ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจตาม (3) ได้โดยไม่จํากัดคู่สัญญา เว้นแต่ในกรณีธุรกิจจัดจําหน่ายตราสารแห่งหนี้ หรือธุรกิจที่ถือว่าเป็นการให้สินเชื่อ หรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อซึ่งไม่รวมถึงการรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะสามารถให้บริการได้เฉพาะแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเท่านั้น โดยการประกอบธุรกิจตาม (3) ดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในตารางประเภทธุรกิจที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.) ทํา ตามเอกสารแนบ 2 ด้วย 5.2.2 ธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเอง (1) ธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์หนี้สินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเอง (1.1) การกําหนดขอบเขตธุรกรรมตามสกุลเงิน (1.1.1) ธุรกรรมในสกุลเงินบาท ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมในสกุลเงินบาทได้ทุกประเภท ยกเว้นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์ทางการเงินซึ่งสามารถทําได้เฉพาะเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองเท่านั้น อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝงซึ่งมีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวเเปรหรือกลุ่มของตัวเเปรที่มีเงื่อนไขกําหนดให้มีการชําระคืนเงินต้นเต็มจํานวนเฉพาะเพื่อการลงทุน โดยตัวแปรที่ใช้อ้างอิงต้องเข้าข่ายตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมเงินฝากหรือเงินกู้ยืม ที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝง (1.1.2) ธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองได้ เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป (1.2) การกําหนดขอบเขตธุรกรรมด้านสินทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมด้านสินทรัพย์เพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเองได้เฉพาะกับคู่สัญญาที่เป็นประชาชนรายย่อย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันการเงิน บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จํากัด องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และรัฐบาลเท่านั้น สําหรับธุรกรรมการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินห้ามธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินที่ขายโดยนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่กําหนดในวรรคหนึ่ง สําหรับธุรกรรมการลงทุนในตราสารหนี้/ตราสารทุนห้ามธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยลงทุนในตราสารหนี้/ตราสารทุนที่ออกโดยนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่กําหนดในวรรคหนึ่งเว้นแต่การลงทุนในตราสารดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือมีวัตถุประสงค์เผื่อขายที่มีกําหนดระยะเวลาการถือครองไม่เกินกว่า 1 ปี ทั้งนี้ ตราสารที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยถืออยู่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้านั้นต้องไม่มีข้อจํากัดในการซื้อขาย มีการประเมินมูลค่าที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันอย่างสม่ําเสมอและต้องมีการบริหารจัดการที่ดี โดยธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนดว่าด้วยนโยบายการกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน อาทิ กําหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการถือครองฐานะในบัญชีเพื่อค้า กําหนดให้มีกระบวนการที่ใช้ในการประเมินมูลค่าฐานะในบัญชีเพื่อค้าอย่างน้อยทุกวัน และกําหนดให้มีนโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อค้าเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งมีกระบวนการควบคุมภายในและมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารฐานะในบัญชีเพื่อค้าที่ได้กําหนดขึ้น (2) ธุรกรรมเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเอง ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถทําธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเองได้เช่น ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับตราสารอนุพันธ์ประเภทต่าง ๆ และธุรกรรมการซื้อ/ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เป็นต้น ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวต้องเป็นการทําเพื่อป้องกันความเสี่ยง และไม่มีลักษณะของการเก็งกําไร 5.3 ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยจะต้องบันทึกบัญชีรายได้จากการประกอบธุรกิจให้ถูกต้อง 5.4 ในการประกอบธุรกิจและการทําธุรกรรมตามประกาศฉบับนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ หรือหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องด้วย อื่นๆ - 6. เกณฑ์การผ่อนผัน ในกรณีที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้จัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยหรือมีการควบรวมหรือโอนกิจการของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เพื่อจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย หรือกรณีที่ลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยได้เปลี่ยนสถานะจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามคําจํากัดความในประกาศฉบับนี้ไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Large Corporate) มีผลให้การประกอบธุรกิจและการทําธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยไม่เป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 5.2 ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยถือปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการทําธุรกรรม ดังนี้ (1) กรณีสัญญามีกําหนดอายุ (Term loan) ผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหรือทําธุรกรรมตามสัญญาที่ผูกพันไว้แล้วต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุสัญญา (2) กรณีสัญญาที่ไม่มีกําหนดอายุ (Call loan) ผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหรือธุรกรรมได้ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันเปิดดําเนินการของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้น หรือนับจากวันที่ลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยได้เปลี่ยนสถานะจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามคําจํากัดความในประกาศฉบับนี้ ไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Large Corporate) แล้วแต่กรณี หลังจากนั้น จะต้องดําเนินการให้การประกอบธุรกิจและทําธุรกรรมเป็นไปตามขอบเขตที่กําหนด ทั้งนี้ เกณฑ์การผ่อนผันตามข้อ (1) และ (2) มีผลบังคับใช้เฉพาะกรณีสัญญาที่ทําไว้ก่อนวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ดําเนินการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเท่านั้น หรือก่อนวันที่ลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยได้เปลี่ยนสถานะจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามคําจํากัดความในประกาศฉบับนี้ไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Large Corporate) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยในการอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัติด้วยก็ได้ สําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่เคยได้รับการผ่อนผันจากธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหรือทําธุรกรรมในลักษณะตามข้อ (1) และ (2) มาแล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยสามารถประกอบธุรกิจหรือธุรกรรมได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดิมที่เคยได้รับการผ่อนผันและให้ถือว่าได้รับการผ่อนผันตามประกาศฉบับนี้ด้วย อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,616
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 3/2555 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 3 /2555 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ --------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 กําหนดให้วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2555 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนไว้ทุกข์โดยทั่วกันระหว่างวันที่ 8 – 10 เมษายน 2555 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นสมควรกําหนดให้วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2555 เป็นวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษอีก 1 วัน เนื่องจากไม่ขัดกับหลักประเพณีปฏิบัติและเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมถวายความไว้อาลัยและแสดงความจงรักภักดีและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ข้อกําหนดวันหยุดทําการเป็นกรณีพิเศษ กําหนดให้วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2555 เป็นวันหยุดทําหารของสถาบันการเงินเพิ่มเติมอีก 1 วัน อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,617
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2552 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 11/2552 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552 (รุ่นที่ 1/ 2 ปี/2552) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2 ปี/2552 ที่จะประมูลในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 เท่ากับร้อยละ 1.75 ต่อปี อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 (นางสุชาคา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,618
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1/2553 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 1/2553 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามใน พันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ------------------------------- อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฎ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2250 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 12/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลง วันที่ 15 สิงหาคม 2550 อื่นๆ - 3.เนื้อหา 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ฝฝต. 6/2552 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม 2552 2. แต่งตั้งให้พนักงานแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นางสาวนพวรรณ มหามุสิก 2. นางจันทวรรณ สุจริตกุล 3. นายนิรุธ รักษาเสรี 4. นายพิรัชชัย ประกอบทรัพย์ 5. นายประสพสุข พ่วงสาคร 6. นายชาญชัย โยธาวงษ์ 7. นายประณีต โชติกีรติเวช 8. นายอมร กังวาฬ 9. นายสมศักดิ์ แหลมทองสวัสดิ์ 10. นายศุภชัย สายวิรัช 11. นางพรรณพิศ เลขะกุล 12. นายศักดิ์สิทธิ์ สถิตย์พนาพร 13. นายยรรยง ดํารงศิริ 14. นายชลัท มกรารัตต์ 15. นายปรีชา เชื้อสุวรรณ 16. ร.ต.ประยุทธ สังขรัตน์ 17. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 18. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 19. นายภูวดล เหล่าแก้ว 20. นายอนันต์ อิงวิยะ อื่นๆ - 4.เริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม 2553 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,619
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 86/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนสำหรับบริษัทเงินทุน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 86/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนและหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุน สําหรับบริษัทเงินทุน ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ปัจจุบันสถาบันการเงินจําเป็นต้องมีเงินกองทุนให้เพียงพอเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Loss) สถาบันการเงินที่ดํารงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทําไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้บริษัทเงินทุนดํารงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และการะผูกพันที่มีความเสี่ยงทั้งหมดของบริษัทเงินทุน โดยใช้หลักการการดํารงเงินกองทุนตาม The 1998 Basel Capital Accord (Basel I) ซึ่งเงินกองทุนที่คํานวณตามหลักการของ Basel I จะใช้ในการรองรับความเสี่ยงเฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านตลาด เท่านั้น ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับบริษัทเงินทุนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลมากขึ้นโดยเฉพาะรายการที่เดิมเคยให้หักจากเงินกองทุนทั้งสิ้นนั้น ได้มีการเปลี่ยนหลักการเป็นหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 และประกอบกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (International Accounting Standard -IAS 39) เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ แล้วตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีได้มีแนวทางที่จะออกมาตรฐานการบัญชีไทยให้สอดคล้องกับ IAS 39 โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้กับกิจการรวมทั้งสถาบันการเงินในประเทศไทยประมาณปี 2554 และหากกิจการหรือสถาบันการเงินใดพร้อมที่จะนํามาตรฐานการบัญชีดังกล่าวทั้งฉบับมาถือปฏิบัติก่อนกําหนดก็สามารถทําได้ (Early Adoption) ซึ่งมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีการอนุญาตให้กิจการหรือสถาบันการเงินสามารถเลือกที่จะวัดมูลค่าและบันทึกรายการของตราสารทางการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันเริ่มแรก (Fair Value Option) ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้สถาบันการเงินสามารถรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการออกตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงินของสถาบันการเงิน เมื่อตราสารนั้นถูกปรับลดหรือเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อเงินกองทุนของสถาบันการเงิน ดังนั้น การปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับบริษัทเงินทุนที่ประสงค์จะปฏิบัติตามหลักการของ IAS 39 ก่อนที่สภาวิชาชีพบัญชีจะบังคับใช้ด้วย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามรายการในเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา คําจํากัดความ "คณะกรรมการสถาบันการเงิน" หมายความว่า คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหรือบริษัทเงินทุน 5.1 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุน ให้บริษัทเงินทุนดํารงเงินกองทุนทั้งสิ้นเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.0 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 4.0 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น ทั้งนี้ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจํานวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1 อัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งใช้เฉพาะสําหรับบริษัทเงินทุนเท่านั้น ส่วนอัตราส่วนการดํารงเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม 5.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน เงินกองทุนทั้งสิ้นของบริษัทเงินทุน ประกอบด้วย ยอดรวมของเงินกองทุน ชั้นที่ 1 ตาม 5.2.1 และ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ตาม 5.2.2 หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนตามที่กําหนดตาม 5 2.3 ดังนี้ 5.2.1 เงินกองทุนชั้นที่ 1 ประกอบด้วย (1) ทุนชําระแล้ว (ยกเว้นทุนชําระแล้วซึ่งได้จากการออกหุ้นบุริมสิทธิ) ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ํามูลค่าหุ้นที่บริษัทเงินทุนได้รับ และเงินที่บริษัทเงินทุนได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทเงินทุนนั้น (2) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผล (3) ทุนสํารองตามกฎหมาย (4) เงินสํารองที่ได้จัดสรรจากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามข้อบังคับของบริษัทเงินทุน แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับการลดค่าของสินทรัพย์ และเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ (5) กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร 5.2.2 เงินกองทุนชั้นที่ 2 ประกอบด้วย (1) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล (2) เงินที่บริษัทเงินทุนได้รับจากการออกตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Debt Capital instrument) ที่สามารถสะสมเงินปันผลหรือดอกเบี้ยจ่ายได้ และตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาว (Subordinated Debt) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดรายละเอียดตามเอกสารแนบ 2 (3) เงินสํารองจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 3 (4) General Provision (เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติทั้งหมดแต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติส่วนที่นับเป็น Specific Provision แล้ว) โดยเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ บริษัทเงินทุนจะนับ General Provision เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น รายละเอียดของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นปรากฎตาม 5.4 ทั้งนี้ Specific Provision หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยบริษัทเงินทุนต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด รวมถึงส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาดของตราสารหนี้และตราสารทุนที่ถือไว้เพื่อค้าและเผื่อขาย และมูลค่าการด้อยค่าด้วย แต่ไม่รวมเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติที่บริษัทเงินทุนนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว (5) เงินสํารองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยให้บริษัทเงินทุนนับยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกินทุนจากการตีราคาเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกินทุนดังกล่าวของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของบริษัทเงินทุน 5.2.3 รายการหักจากเงินกองทุน (1) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 (1.1) เงินที่บริษัทเงินทุนได้จ่ายไปเพื่อการซื้อหุ้นคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ด้วยวิธีราคาตามมูลค่าตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนของกิจการ (1.2) ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชี (1.3) ค่าความนิยม (Goodwill) ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฏในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (1.4) มูลค่าของสินทรัพย์ประเภทภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่บริษัทเงินทุนใช้วิธีการบันทึกบัญชีภาษีเงินได้รอการตัด (Deferred Tax Accounting) โดยให้หักบัญชีสินทรัพย์ประเภทภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากรายการดังต่อไปนี้ ออกจากกําไรสะสมที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตาม 5.2.1 (5) (1.4.1) ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Unused tax Losses Carryforward) (1.4.2) ผลแตกต่างชั่วคราวระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือหนี้สินในงบดุลกับฐานภาษี หรือผลแตกต่างชั่วคราวในกําไรทางบัญชีและกําไรทางภาษี (Temporary Differences) (1.4.3) เครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Unused Tax Credit Carryforward) (1.5) ผลกําไรที่เกิดจากการเลือกใช้วิธี Fair Value Option ตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (หรือ International Accounting Standard 39 Financial Instruments : Recognition and Measurement) สําหรับกรณีที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ การใช้ Fair Value Option ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 (1.5.1) การลดลงของมูลค่ายุติธรรมของตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงิน เนื่องจากตราสารที่บริษัทเงินทุนออกนั้น ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Downgrade) (1.5.2) การเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือของเงินให้สินเชื่อ หรือ ตราสารการเงิน ทั้งนี้ หากบริษัทเงินทุนเลือกใช้วิธี Fair Value Option แล้วมีผลขาดทุนเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ (ก) การเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมของตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงิน เนื่องจากตราสารที่บริษัทเงินทุนออกนั้น ถูกเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ (Upgrade) (ข) การลดลงของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือของเงินให้สินเชื่อ หรือ ตราสารการเงิน ให้บริษัทเงินทุนนั้น บวกจํานวนผลขาดทุนดังกล่าวกลับเข้าในการคํานวณเงินกองทุนชั้นที่ 1 เสมือนไม่มีรายการดังกล่าวเกิดขึ้น (1.6) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 อนึ่ง หากเงินกองทุนชั้นที่ 2 มีจํานวนไม่เพียงพอ ให้บริษัทเงินทุนหักส่วนที่ขาดจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 จนครบเต็มตามจํานวนที่ขาด (2.1) ภายใต้บังคับตามหลักเกณฑ์ 5.2.3 (2.3) ในกรณีที่บริษัทเงินทุนใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.2 (2) ของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนอื่นให้บริษัทเงินทุนนั้นหักเงินตามตราสารดังกล่าวตามมูลค่าที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุน (2.2) ในกรณีที่บริษัทเงินทุนใดเป็นผู้ขายประกันความเสี่ยงด้านเครดิตตามตราสารประเภท Credit Linked Notes หรือ Credit Default Swaps ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.2 (2) ของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนอื่น ให้บริษัทเงินทุนนั้นหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตามมูลค่าที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุน (2.3) ในกรณีที่บริษัทเงินทุนใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.2 (2) ของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนอื่น และบริษัทเงินทุนนั้นได้ซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (2.3.1) กรณีซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยการออกตราสารประเภท Credit Linked Notes ที่มีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง บริษัทเงินทุนนั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของตราสารประเภท Credit Linked Notes เฉพาะที่เป็นการประกันความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น (2.3.2) กรณีซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตด้วย Credit Default Swaps ที่มีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง บริษัทเงินทุนนั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของ Credit Default Swaps เฉพาะที่เป็นการประกันความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทํากับบริษัทเงินทุนอื่นหรือธนาคารพาณิชย์เท่านั้น (2.4) ในกรณีที่บริษัทเงินทุนใดทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivatives) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทเงินทุนทําธุรกรรม Credit Default Swaps และ Credit Linked Notes (2.5) ในกรณีที่บริษัทเงินทุนใดทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2.6) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (3) รายการหักจากเงินกองทุนทั้งสิ้น (3.1) เงินสํารองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจากการตีราคาเป็นส่วนขาดทุน ให้บริษัทเงินทุนหักส่วนที่ขาดทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของบริษัทเงินทุนนั้น 5.3 งวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุน งวดระยะเวลาในการนับรายการแต่ละประเภทเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนชั้นที่ 2 หรือหักออกจากเงินกองทุน ปรากฏตามเอกสารแนบ 5 5.4 ประเภทของสินทรัพย์เสี่ยง สินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น หมายถึง ยอดรวมของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด (ถ้ามี) แล้วหักด้วยสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตในส่วนที่ซ้ําซ้อนกับสินทรัพย์ที่ได้นําไปคํานวณความเสี่ยงด้านตลาดแล้ว (ถ้ามี) ทั้งนี้ การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับบริษัทเงินทุน การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,620
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2555
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3 /2555 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2555 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2555 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วันดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน – วันครบกําหนด | อายุ (วัน) | | พ.3/14/55 | 100,000 | 20 มกราคม 2555 | 24/1/55 – 7/2/55 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2555 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,621
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2552 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 12/2552 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 --------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.14/14/52 | 70,000 | 12 กุมภาพันธ์ 2552 | 16/2/52 – 2/3/52 | 14 | | พ.15/14/52 | 70,000 | 13 กุมภาพันธ์ 2552 | 17/2/52 – 3/3/52 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 (นางสุชาดา กิระกูล) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการ แทน
6,622
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3/2555 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินนำส่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการส่งเงินนำส่งและการนำส่งเงินเพิ่มเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 3 /2555 เรื่อง การกําหนดอัตราเงินนําส่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการส่งเงินนําส่ง และการนําส่งเงินเพิ่มเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ โดยที่พระราชกําหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 กําหนดให้เงินที่สถาบันการเงินนําส่งตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด เป็นส่วนหนึ่งของเงินที่นําส่งเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศฉบับนี้เพื่อกําหนดอัตราเงินนําส่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการส่งเงินนําส่ง และการนําส่งเงินเพิ่ม เข้าบัญชีสะสมดังกล่าว อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก อื่นๆ - 4. เนื้อหา 4.1 ในประกาศนี้ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก “ยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครอง” หมายความว่า ยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก “ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน” หมายความว่า ยอดเงินที่สถาบันการเงินรับจากประชาชนโดยมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายคืนแก่ประชาชน ดังต่อไปนี้ (1) ยอดเงินฝากทุกประเภทที่เป็นสกุลเงินบาทของทุกสาขาและสํานักงานในประเทศไทย (2) ยอดเงินที่ได้รับจากการออกตั๋วแลกเงิน (3) ยอดเงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ (4) ยอดเงินที่ได้รับจากการกู้ยืม (5) ยอดเงินที่ได้รับจากการทําธุรกรรมขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน และ (6) ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนประเภทอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนตาม (2) (3) (4) และ (5) ให้หมายความถึง ยอดเงินที่เป็นสกุลเงินบาทที่ทุกสาขาและสํานักงานในประเทศไทยได้รับจากธุรกรรมที่ทําตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมยอดเงินดังต่อไปนี้ (ก) ยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครอง (ข) ยอดเงินที่ได้รับจากสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ค) ยอดเงินที่ได้รับจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ง) ยอดเงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ตามจํานวนที่สถาบันการเงินนับเป็นเงินกองทุนโดยไม่นับรวมจํานวนดังกล่าวตลอดอายุของตราสารหนี้นั้นไม่ว่าจะมีการลดการนับเป็นเงินกองทุนในภายหลังหรือไม่ 4.2 ให้สถาบันการเงินนําส่งเงินให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ในอัตราร้อยละ 0.67 ต่อปีของยอดเงินดังต่อไปนี้ (1) ยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครอง และ (2) ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2555 4.3 ให้สถาบันการเงินนําส่งเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปีละสองครั้ง โดยแบ่งปัน งวดที่ 1 เดือนมกราคมถึงมิถุนายน และงวดที่ 2 เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม ทั้งนี้ สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องนําส่งเงินดังกล่าวให้ครบถ้วน สําหรับงวดที่ 1 ภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนกรกฎาคมในปีนั้น และงวดที่ 2 ภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนมกราคมในปีถัดไป 4.4 ให้สถาบันการเงินคํานวณเงินนําส่งจากยอดเงินตาม 4.2 ถัวเฉลี่ยทุกสิ้นวันของรอบระยะเวลา 6 เดือนของงวดที่ต้องนําส่ง โดยเงินนําส่งงวดที่ 1 เดือนมกราคมถึงมิถุนายน ให้คํานวณตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 30 มิถุนายน และงวดที่ 2 เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม ให้คํานวณตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม การนําส่งเงินในงวดที่ 1 ของปี 2555 ให้สถาบันการเงินคํานวณจากยอดเงินตาม 4.2 ถัวเฉลี่ยทุกสิ้นวัน ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2555 4.5 ให้สถาบันการเงินที่เลิกประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน คํานวณเงินนําส่งจากยอดเงินตาม 4.2 ถัวเฉลี่ยจนถึงวันสุดท้ายที่มียอดดังกล่าว และนําส่งเงินดังกล่าวให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับจากวันสุดท้ายที่มียอดเงินดังกล่าว และให้สถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน คํานวณเงินนําส่งจากยอดเงินตาม 4.2 ถัวเฉลี่ยจนถึงวันถูกเพิกถอนใบอนุญาต และนําส่งเงินดังกล่าวให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับจากวันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาติ 4.6 สถาบันการเงินใดไม่นําส่งเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือนําส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กําหนด ต้องเสียเงินเพิ่มตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด แต่ทั้งนี้ ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อเดือนของจํานวนเงินที่ไม่นําส่ง หรือนําส่งไม่ครบ โดยให้คํานวณตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดให้นําส่งเงินจนถึงวันที่นําส่งครบถ้วน ในกรณีที่สถาบันการเงินตรวจพบเองและนําส่งเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยครบถ้วนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ครบกําหนดต้องนําส่งเงิน ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.5 ต่อเดือนของจํานวนเงินที่ไม่นําส่ง หรือนําส่งไม่ครบ โดยให้คํานวณตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดให้นําส่งเงินมาจนถึงวันที่นําส่งครบถ้วน ในกรณีที่สถาบันการเงินตรวจพบเองและนําส่งเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยครบถ้วนภายในสองเดือนนับแต่วันที่ครบกําหนดต้องนําส่งเงิน ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดือนของจํานวนเงินที่ไม่นําส่ง หรือนําส่งไม่ครบ โดยให้คํานวณตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดให้นําส่งเงินจนถึงวันที่นําส่งครบถ้วน ในกรณีที่สถาบันการเงินตรวจพบเองและนําส่งเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยครบถ้วนเมื่อพ้นกําหนดเวลาตามวรรคสามต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของจํานวนเงินที่ไม่นําส่งหรือนําส่งไม่ครบ โดยให้คํานวณตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดให้นําส่งเงินจนถึงวันที่นําส่งครบถ้วน 4.7 ในการนําส่งเงินนําส่งตาม 4.2 และการนําส่งเงินเพิ่มตาม 4.6 ให้สถาบันการเงินดําเนินการและแจ้งการโอนเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามแบบรายงานที่กําหนดท้ายประกาศนี้ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินส่งแบบรายงานดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันที่นําส่งเงิน 5 วันทําการ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากําหนดอัตราเงินนําส่งเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2555 มีผลบังคับใช้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,623
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12/2552 เรื่อง วันหยุดทำการของสถาบันการเงิน ประจำปี พ.ศ. 2553
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 12/2552 เรื่อง วันหยุดทําการของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2553 ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2553 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวันหยุดทําการของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2553 อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. วันหยุดทําการของสถาบันการเงิน ประจําปี พ.ศ. 2553 1. วันศุกร์ 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่ 2. วันจันทร์ 1 มีนาคม ชดเชยวันมาฆบูชา (วันอาทิตย์ 28 กุมภาพันธ์) 3. วันอังคาร 6 เมษายน วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึก มหาจักรีบรมราชวงศ์ 4. วันอังคาร 13 เมษายน วันสงกรานต์ 5. วันพุธ 14 เมษายน วันสงกรานต์ 6. วันพฤหัสบดี 15 เมษายน วันสงกรานต์ 7. วันจันทร์ 3 พฤษภาคม ชดเชยวันแรงงานแห่งชาติ (วันเสาร์ 1 พฤษภาคม) 8. วันพุธ 5 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล 9. วันศุกร์ 28 พฤษภาคม วันวิสาขบูชา 10. วันพฤหัสบดี 1 กรกฎาคม วันหยุดภาคครึ่งปี 11. วันจันทร์ 26 กรกฎาคม วันอาสาฬหบูชา 12. วันพฤหัสบดี 12 สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 13. วันจันทร์ 25 ตุลาคม ชดเชยวันปิยมหาราช (วันเสาร์ 23 ตุลาคม) 14. วันจันทร์ 6 ธันวาคม ชดเชยวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วันอาทิตย์ 5 ธันวาคม) 15. วันศุกร์ 10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ 16. วันศุกร์ 31 ธันวาคม วันสิ้นปี สําหรับสถาบันการเงินในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล ให้หยุดในวันตรุษอีดิ้ลฟิตริ (วันรายอปอซอ) ตามประกาศสํานักจุฬาราชมนตรีอีกหนึ่งวันหากวันตรุษดังกล่าว ไม่ตรงกับวันหยุดตามที่กล่าวข้างต้น หรือวันหยุดประจําสัปดาห์ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,624
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 88/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 88/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ----------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศโดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ International convergence of capital measurement and capital standards - A revised framework (Comprehensive version : June 2006) (หลักเกณฑ์ Basel I) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ซึ่งพัฒนามาจาก The 1988 Basel Capital Accord and the 1998 Amendment to the Capital Accord (หลักเกณฑ์ Basel I) ของ BCBS ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้อ้างอิงในการกํากับดูแลเงินกองทุนตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ซึ่งการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบเงินกองทุนโดยเฉพาะรายการที่เดิมเคยให้หักจากเงินกองทุนทั้งสิ้นนั้น ได้มีการเปลี่ยนหลักการเป็นหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 และประกอบกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (International Accounting Standard - IAS 39) เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ในประเทศต่างๆ แล้วตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีได้มีแนวทางที่จะออกมาตรฐานการบัญชีไทยให้สอดคล้องกับ IAS 39 โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้กับกิจการรวมทั้งสถาบันการเงินในประเทศไทยประมาณปี 2554 และหากกิจการหรือสถาบันการเงินใดพร้อมที่จะนํามาตรฐานการบัญชีดังกล่าวทั้งฉบับมาถือปฏิบัติก่อนกําหนดก็สามารถทําได้ (Early Adoption) ซึ่งมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีการอนุญาตให้กิจการหรือสถาบันการเงินสามารถเลือกที่จะวัดมูลค่าและบันทึกรายการของตราสารทางการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันเริ่มแรก (Fair Value Option) ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้สถาบันการเงินสามารถรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการออกตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงินของสถาบันการเงินเมื่อตราสารนั้นถูกปรับลดหรือเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อเงินกองทุนของสถาบันการเงิน การปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของ Basel II ที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศต้องถือปฏิบัติ และเพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศที่ประสงค์จะปฏิบัติตามหลักการของ IAS 39 ก่อนที่สภาวิชาชีพบัญชีจะบังคับใช้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 29 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์กําหนดองค์ประกอบของเงินกองทุนให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามรายการในเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ "ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ "คณะกรรมการสถาบันการเงิน" หมายความว่า คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหรือบริษัทเงินทุน 5.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน เงินกองทุนทั้งสิ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ประกอบด้วยยอดรวมของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตาม 5.2.1 และ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ตาม 5.2.2 หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนตาม 5.2.3 องค์ประกอบเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งใช้เฉพาะสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศเท่านั้น ส่วนองค์ประกอบของเงินกองทุนของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม 5.2.1 เงินกองทุนชั้นที่ 1 ประกอบด้วย (1) ทุนชําระแล้ว (ยกเว้นทุนชําระแล้วที่ได้จากการออกหุ้นบุริมสิทธิ) ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ํามูลค่าหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับ และเงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้น (2) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผล (3) ทุนสํารองตามกฎหมาย (4) เงินสํารองที่ได้จัดสรรจากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามข้อบังคับของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับการลดค่าของสินทรัพย์ และเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ (5) กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร (6) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2 5.2.2 เงินกองทุนชั้นที่ 2 ประกอบด้วย (1) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล (2) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับจากการออกตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชําระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกําไร (Hybrid Tier 1) ในส่วนที่เหลือจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (3) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้รับจากการออกตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Debt Capital Instrument) ที่สามารถสะสมเงินปันผลหรือดอกเบี้ยจ่ายได้ และตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาว (Subordinated Debt) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 3 (4) เงินสํารองจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดิน อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 4 (5) General Provision (เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติทั้งหมดแต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติส่วนที่นับเป็น Specific Provision แล้ว) โดยเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ Specific Provision หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด รวมถึงส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาดของตราสารหนี้และตราสารทุนที่ถือไว้เพื่อค้าและเผื่อขาย และมูลค่าการด้อยค่าด้วย แต่ไม่รวมเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติที่ธนาคารพาณิชย์นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว (5.1) ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศที่เลือกคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Standardised Approach (วิธี SA) จะนับ General Provision เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 1,.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น (5.2) ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศที่เลือกคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Internal Ratings-Based Approach วิธี IRB) จะนับ General Provision ที่ได้จัดสรรให้แก่พอร์ตสินทรัพย์ที่ใช้วิธี SA เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นหักด้วยสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณโดยวิธี IRB ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย วิธี IRB ทั้งนี้ ยอดสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (6) เงินสํารองส่วนเกิน (Surplus of Provisions) โดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศจะนับเงินสํารองส่วนเกินดังกล่าวเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 0.6 ของสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณโดยวิธี IRB ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยวิธี IRB ทั้งนี้ เงินสํารองส่วนเกิน หมายถึง เงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total Eligible Provisions) เฉพาะส่วนที่มีมูลค่าเกินกว่าค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Loss: EL) (7) เงินสํารองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนับยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกินทุนจากการตีราคาเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกินทุนดังกล่าวของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ 5.2.3 รายการหักจากเงินกองทุน (1) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 (1.1) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศได้จ่ายไปเพื่อการซื้อหุ้นคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ด้วยวิธีราคาตามมูลค่าตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนของกิจการ (1.2) ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชี (1.3) ค่าความนิยม (Goodwill) ที่นับเป็นสินทรัพย์ตามจํานวนที่ปรากฏในงบการเงินซึ่งได้จัดทําตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง (1.4) มูลค่าของสินทรัพย์ประเภทภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใช้วิธีการบันทึกบัญชีภาษีเงินได้รอการตัด (Deferred Tax Accounting โดยให้หักบัญชีสินทรัพย์ประเภทภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากรายการดังต่อไปนี้ ออกจากกําไรสะสมที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตาม 5.2.1 (1.4.1) ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Unused Tax Losses Carryforward) (1.4.2) ผลแตกต่างชั่วคราวระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์หรือหนี้สินในงบดุลกับฐานภาษี หรือผลแตกต่างชั่วคราวในกําไรทางบัญชีและกําไรทางภาษี (Temporary Differences) (1.4.3) เครดิตภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (Unused Tax CreditCarryforward) (1.5) ผลกําไรที่เกิดจากการเลือกใช้วิธี Fair Value Option ตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (หรือ International Accounting Standard 39 Financial Instruments : Recognition and Measurement) สําหรับกรณีที่เกิดขึ้นจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ การใช้วิธี Fair Value Option ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 5 (1.5.1) การลดลงของมูลค่ายุติธรรมของตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงิน เนื่องจากตราสารที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศออกนั้น ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Downgrade) (1.5.2) การเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือของเงินให้สินเชื่อ หรือ ตราสารการเงิน ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศเลือกใช้วิธี Fair Value Option แล้วมีผลขาดทุน เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ (ก) การเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมของตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงิน เนื่องจากตราสารที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศออกนั้น ถูกเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ (Upgrade) (ข) การลดลงของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือของเงินให้สินเชื่อ หรือ ตราสารการเงินให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้น บวกจํานวนผลขาดทุนดังกล่าวกลับเข้าในการคํานวณเงินกองทุนชั้นที่ 1 เมื่อไม่มีรายการดังกล่าวเกิดขึ้น (1.6) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) รายการหักจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 อย่างละร้อยละ 50 อนึ่ง หากเงินกองทุนชั้นที่ 2 มีจํานวนไม่เพียงพอ ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหักส่วนที่ขาดจากเงินกองทุนชั้นที่ 1 จนครบเต็มตามจํานวนที่ขาด (2.1) ภายใต้บังคับหลักเกณฑ์ตาม 5.2.3 (2.3) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.1 (6 5.2.2 (2)และ 5.2.2 (3) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศอื่น ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นหักเงินตามตราสารดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุน (2.2) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดเป็นผู้ขายประกันความเสี่ยงค้านเครดิตตามตราสารประเภท Credit Linked Notes หรือ Credit Default Swaps ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.1 (6) 5.2.2 (2)และ 5.2.2 (3) ของบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศอื่น ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุน (2.3) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม 5.2.1 (6) 5.2.2 (2) และ 5.2.2 (3) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศอื่น และธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นได้ซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (2.3.1) กรณีซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยการออกตราสารประเภท Credit Linked Notes ที่มีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของตราสารประเภท Credit Linked Notes เฉพาะที่เป็นการประกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น (2.3.2) กรณีซื้อประกันความเสี่ยงด้านเครดิตด้วย Credit Default Swaps ที่มีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของ Credit Default Swaps เฉพาะที่เป็นการประกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ'ซึ่งทํากับบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่นเท่านั้น (2.4) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านตราสารหนี้ (Bond Derivatives) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด (2.5) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivatives) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives (2.6) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศใดทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2.7) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศมีฐานะที่เกี่ยวข้องกับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์ (2.8) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศคํานวณฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนโดยวิธี PD/LGD ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหักมูลค่าของฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนดังกล่าว หรือค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (EL) ของฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนนั้น แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยวิธี IRB (2.9) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศมีเงินสํารองส่วนขาด (Shortfall of Provisions) ให้หักเงินกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยวิธี IRB ทั้งนี้ เงินสํารองส่วนขาด หมายถึง เงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total Eligible Provisions) เฉพาะส่วนที่ต่ํากว่ามูลค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (EL) (2.10) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (3) รายการหักจากเงินกองทุนทั้งสิ้น (3.1) เงินสํารองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจากการตีราคาเป็นส่วนขาดทุน ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศหักส่วนที่ขาดทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้น 5.3 งวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุนงวดระยะเวลาในการนับรายการแต่ละประเภทเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 เงินกองทุนชั้นที่ 2 หรือหักออกจากเงินกองทุน ปรากฏตามเอกสารแนบ 6 อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,625
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4 /2555 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ดังนี้ | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 5/28/55 | - | 22,000 | 7 ก.พ. 55 | 9 ก.พ. 55 | 8 มี.ค. 55 | 28 วัน | 28 วัน | | 5/91/55 | - | 20,000 | 7 ก.พ. 55 | 9 ก.พ. 55 | 10 พ.ค. 55 | 91 วัน | 91 วัน | | 5/182/55 | - | 20,000 | 7 ก.พ. 55 | 9 ก.พ. 55 | 9 ส.ค. 55 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/364/55 | - | 50,000 | 7 ก.พ. 55 | 9 ก.พ. 55 | 10 ม.ค. 56 | 364 วัน | 336 วัน | | 1/FRB3ปี/2555 | 6M BIBOR – 0.20 | 10,000 | 9 ก.พ. 55 | 13 ก.พ. 55 | 13 ก.พ. 58 | 3 ปี | 3 ปี | | 6/28/55 | - | 22,000 | 14 ก.พ. 55 | 16 ก.พ. 55 | 15 มี.ค. 55 | 28 วัน | 28 วัน | | 6/91/55 | - | 20,000 | 14 ก.พ. 55 | 16 ก.พ. 55 | 17 พ.ค. 55 | 91 วัน | 91 วัน | | 6/182/55 | - | 20,000 | 14 ก.พ. 55 | 16 ก.พ. 55 | 16 ส.ค. 55 | 182 วัน | 182 วัน | | 3/2ปี/2554 | 3.00% | 50,000 | 16 ก.พ. 55 | 20 ก.พ. 55 | 22 ธ.ค. 56 | 2 ปี | 1.84 ปี | | 7/28/55 | - | 22,000 | 21 ก.พ. 55 | 23 ก.พ. 55 | 22 มี.ค. 55 | 28 วัน | 28 วัน | | 7/91/55 | - | 20,000 | 21 ก.พ. 55 | 23 ก.พ. 55 | 24 พ.ค. 55 | 91 วัน | 91 วัน | | 7/182/55 | - | 20,000 | 21 ก.พ. 55 | 23 ก.พ. 55 | 23 ส.ค. 55 | 182 วัน | 182 วัน | | 8/28/55 | - | 22,000 | 28 ก.พ. 55 | 1 มี.ค. 55 | 29 มี.ค. 55 | 28 วัน | 28 วัน | | 8/91/55 | - | 20,000 | 28 ก.พ. 55 | 1 มี.ค. 55 | 31 พ.ค. 55 | 91 วัน | 91 วัน | | 8/182/55 | - | 20,000 | 28 ก.พ. 55 | 1 มี.ค. 55 | 30 ส.ค. 55 | 182 วัน | 182 วัน | | 1/4ปี/2555 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 24 ก.พ. 2555 | 40,000 | 28 ก.พ. 55 | 1 มี.ค. 55 | 1 มี.ค. 59 | 4 ปี | 4ปี | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่1/FRB3ปี/2555 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันอังคาร 7 กุมภาพันธ์ 2555 | | การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 13 กุมภาพันธ์ และ 13 สิงหาคม ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 13 สิงหาคม 2555 | | วันกําหนดอัตราดอกเบี้ยงวดต่อๆ ไป | 2 วันทําการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่1/4ปี/2555 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 | | การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 1 มีนาคม และ 1 กันยายน ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 1 กันยายน 2555 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 1 มีนาคม 2559 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2555 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,626
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2552 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13 /2552 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน --------------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ผู้นําที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรอบคอบในการบริหารงานและความสามารถในการดูแลและบริหารกิจการ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สําคัญในการส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญในการยกระดับมาตรฐานการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพโปร่งใส และน่าเชื่อถือ อันจะนําไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มมูลค่าในกิจการ และความมั่นคงในระยะยาว ตลอดจนการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจโดยรวม เพื่อให้สถาบันการเงินมีระบบบริหารจัดการและธรรมาภิบาลที่ดี พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ให้อํานาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการประกาศกําหนดให้สถาบันการเงินจัดตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ตลอดจนมีอํานาจกําหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติ และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ และกําหนดให้การแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 60/2551 โดยอ้างอิงกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บัดนี้ สมควรจะทบทวนใน 2 เรื่องที่สําคัญ ได้แก่ 1) หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินและ 2) อํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุดจึงจําเป็นต้องยกเลิกประกาศเดิม และออกประกาศฉบับนี้มาแทน โดยประกาศฉบับนี้จะเป็นประกาศหลักที่เกี่ยวกับธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน ซึ่งสาระสําคัญไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และเชื่อมโยงไปยังประกาศที่แยกออกไป 2 ฉบับ ตามเรื่องที่ทบทวนข้างต้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 (4) ถึงมาตรา 24 (6) มาตรา 24 (7) (ข) มาตรา 24 (8) ถึงมาตรา 24 (10) มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 (2) มาตรา 71 และมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับ 3.1 ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกแห่ง 3.2 สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศทุกธนาคาร ให้ถือปฏิบัติเฉพาะเรื่องดังต่อไปนี้ 3.2.1 คุณสมบัติของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน 3.2.2 การขอความเห็นชอบกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน 3.2.3 การแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ผู้จัดการหรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ กรรมการของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทยไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 4. ประกาศที่ยกเลิก/อ้างถึง 4.1 ประกาศที่ยกเลิก ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 60/2551 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 4.2 ประกาศที่อ้างถึง 4.2.1 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4.2.2 ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15/2552 เรื่อง อํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุด ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ 5.1.1 คําดังต่อไปนี้ให้ใช้นิยามตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (1) สถาบันการเงิน (2) บริษัท (3) บริษัทแม่ (4) บริษัทลูก (5) บริษัทร่วม (6) ผู้ที่เกี่ยวข้อง (7) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5.1.2 "กลุ่มธุรกิจ" หมายความว่า (1) กลุ่มของบริษัทที่ประกอบด้วยบริษัทแม่ บริษัทลูก หรือบริษัทร่วม (2) กลุ่มของบริษัทที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบุคคลเดียวกัน 5.1.3 "กลุ่มธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.1.4 "ผู้มีอํานาจในการจัดการ" หมายความว่า (1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินหรือบริษัท แล้วแต่กรณี หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัททําสัญญาให้มีอํานาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการหรือกรรมการ หรือการจัดการของสถาบันการเงินหรือบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของสถาบันการเงินหรือบริษัท 5.1.5 "กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" หมายความว่า (1) กรรมการที่ทําหน้าที่บริหารงานในตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) กรรมการที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการหรือมีส่วนร่วมในการบริหารงานใด ๆ เยี่ยงผู้บริหาร และให้หมายความรวมถึงบุคคลในคณะกรรมการบริหาร (Executive committee) (3) กรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพัน เว้นแต่เป็นการลงนามผูกพันตามรายการที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติไว้แล้วเป็นรายกรณี และเป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น 5.1.6 "ที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน" หมายความว่า บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่อาจทําหน้าที่เปรียบเสมือนกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เพียงใช้ชื่อว่าเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น รวมไปถึงบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว แต่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่รวมถึงบุคคลที่รับจ้างทํางานให้แก่สถาบันการเงิน โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชีที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาด้านภาษี ที่ปรึกษาด้านภาษา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กร ที่ปรึกษาด้านประกันภัย ที่ปรึกษาด้านแบบจําลองเชิงปริมาณขั้นสูง เป็นต้น 5.2 คุณสมบัติของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินต้องมีคุณสมบัติและความสามารถที่เหมาะสม (Fit and Proper) โดยต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) ถึงมาตรา 24 (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.3 การเป็นกรรมการในบริษัทอื่นของกรรมการ ผู้จัดการ และผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน สามารถเป็นประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หรือกรรมการผู้มีอํานาจลงนาม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในบริษัทอื่นได้อีกไม่เกิน 3 กลุ่มธุรกิจ การเป็นประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หรือกรรมการผู้มีอํานาจลงนาม ในบริษัทตามวรรคหนึ่ง หากเป็นในบริษัทที่มิใช่กลุ่มธุรกิจ ให้นับแต่ละบริษัทเป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจ ทั้งนี้ สําหรับบริษัทที่สถาบันการเงินได้มาจากการปรับโครงสร้างหนี้ ให้นับเป็นกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน โดยถือว่าเป็นหนึ่งกลุ่มแยกต่างหากจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้ หากธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าการเป็นประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หรือกรรมการผู้มีอํานาจลงนามในบริษัทตามวรรคหนึ่งและวรรคสองมีจํานวนมากเกินไป จนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกรรมการ ผู้จัดการ และผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจจะสั่งการเป็นอย่างอื่นก็ได้ 5.4 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานางในการจัดการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 25 และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการกรรมการบริหาร ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 81 (2) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ในการขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.5 ความรับผิดชอบของกรรมการในการบริหารงานสถาบันการเงิน ในการบริหารงานสถาบันการเงิน กรรมการของสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้ 5.5.1 ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จํากัด พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด 5.5.2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์ สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และดําเนินการตามที่ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการอย่างเคร่งครัด 5.5.3 ดูแลให้มีการจัดทําและเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานที่แท้จริงของสถาบันการเงิน โดยต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้นผู้ฝากเงิน และประชาชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ กรรมการต้องมีความรู้ความเข้าใจในการกํากับการจัดทําบัญชีให้ถูกต้องด้วย 5.5.4 ดูแลให้สถาบันการเงินเรียกประชุมผู้ถือหุ้นภายในสี่เดือนนับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือน เมื่อปรากฏว่าสถาบันการเงินนั้นประสบปัญหาการขาดทุนจนทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาหกเดือนตามมาตรา 67 ลดลงเหลือต่ํากว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่ชําระแล้ว และให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้งเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือต่ํากว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนที่ชําระแล้ว เพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของสถาบันการเงินตามความเป็นจริง 5.6 คุณสมบัติของกรรมการอิสระ กรรมการอิสระต้องไม่มีธุรกิจ หรือส่วนร่วมในการบริหารงาน หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินอันอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจโดยอิสระของตนโดยกรรมการอิสระต้องมีคุณสมบัติตามประกาศของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุที่การแต่งตั้งกรรมการอิสระเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดย่อย ทําให้เกิดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล (check and balance) ที่มีประสิทธิภาพ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีความเห็นสอดคล้องกับหลักการของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ว่า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็นไปตามที่กําหนดแล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดําเนินกิจการ โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (collective decision) ได้ 5.7 โครงสร้างคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย 5.7.1 องค์ประกอบ อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (1) องค์ประกอบ คณะกรรมการต้องมีองค์ประกอบตามประกาศของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (2) อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดําเนินกิจการของสถาบันการเงินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และพึงหลีกเลี่ยงปัญหาในเรื่องของความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ขององค์กรโดยรวม โดยไม่จํากัดอยู่แต่เฉพาะผู้ถือหุ้นกลุ่มใดหรือรายใด ทั้งนี้ โดยทั่วไปคณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลสถาบันการเงินในการกําหนดนโยบาย การดูแลให้มีกระบวนการบริหารจัดการที่เหมาะสม และการดูแลให้มีระบบการติดตามตรวจสอบให้ปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนดซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (2.1) กําหนดทิศทางและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในภาพรวมของสถาบันการเงินรวมทั้งพิจารณาอนุมัตินโยบายและทิศทางการดําเนินงานของสถาบันการเงินตามที่ฝ่ายจัดการเสนอ และกํากับควบคุมดูแลให้ฝ่ายจัดการดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้รับการอนุมัติไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อระวังรักษาผลประโยชน์ของสถาบันการเงินและผู้ถือหุ้น (2.2) จัดให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ จริยธรรมทางธุรกิจ จริยธรรมของกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการและพนักงาน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติภายในองค์กร (2.3) ดูแลให้ฝ่ายจัดการของสถาบันการเงินมีการกําหนดนโยบายกระบวนการ และการควบคุมทางด้านการบริหารความเสี่ยงประเภทต่างๆ โดยอย่างน้อยที่สุดจะต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ การตลาดและการลงทุน สภาพคล่อง การปฏิบัติการชื่อเสียง กฎหมาย และกลยุทธ์ ทั้งนี้ คณะกรรมการต้องทําหน้าที่อนุมัตินโยบายดังกล่าว รวมทั้งทบทวนกลยุทธ์การปฏิบัติงานจริง และนโยบายในเรื่องดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ (2.4) ติดตามการดําเนินกิจการของสถาบันการเงินตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่ากรรมการที่เป็นผู้บริหาร และฝ่ายจัดการดําเนินกิจการตามกฎหมายและนโยบายที่วางไว้ (2.5) ดูแลให้เกิดความมั่นใจว่าฝ่ายจัดการมีความสามารถในการจัดการในงานของสถาบันการเงินซึ่งรวมถึงการแต่งตั้งผู้มีอํานาจในการจัดการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม (2.6) ดําเนินการให้สถาบันการเงินมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ (2.7) ดูแลให้ฝ่ายจัดการบอกกล่าวเรื่องที่สําคัญของสถาบันการเงินต่อคณะกรรมการ และมีกระบวนการในการจัดส่งข้อมูลเพื่อให้คณะกรรมการได้รับข้อมูลจากฝ่ายจัดการอย่างเพียงพอที่จะทําให้สามารถปฏิบัติตามอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้อย่างสมบูรณ์ (2.8) ดูแลให้สถาบันการเงินกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการให้สินเชื่อและการลงทุนแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน (2.9) จัดให้มีการถ่วงดุลอํานาจของฝ่ายจัดการ และ/หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยให้ความสําคัญต่อสัดส่วนหรือจํานวนของกรรมการอิสระในคณะกรรมการของสถาบันการเงินด้วย (2.10) พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและความจําเป็นของสถาบันการเงินแต่ละแห่งเพื่อช่วยดูแลระบบบริหารให้เป็นไปตามนโยบายที่กําหนดไว้ เช่น คณะกรรมการบริหาร เป็นต้น (2.11) พิจารณาอนุมัติบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อยที่ได้แต่งตั้งขึ้น (2.12) ดูแลให้มีกระบวนการในการจัดส่งรายงาน (management letter) จากผู้สอบบัญชีภายนอก และข้อคิดเห็นจากฝ่ายจัดการของสถาบันการเงินต่อคณะกรรมการโดยไม่ล่าช้า คณะกรรมการควรได้รับเอกสารดังกล่าวภายใน 4 เดือน หลังจากวันที่ปิดงวดการบัญชีทั้งนี้ หากมีความล่าช้ามาก คณะกรรมการจะต้องขอคําชี้แจงในเรื่องดังกล่าวจากฝ่ายจัดการ (2.13) กําหนดให้กรรมการต้องเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยที่สุดกึ่งหนึ่งของจํานวนครั้งของการประชุมที่จัดขึ้นในแต่ละปี ทั้งนี้ นอกจากอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการโดยทั่วไปตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในระยะยาว ให้กรรมการของสถาบันการเงินถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยอํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุดและที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.7.2 องค์ประกอบ คุณสมบัติ หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อย สถาบันการเงินจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงขึ้นเป็นอย่างน้อย และควรดําเนินการให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนด้วย โดยสถาบันการเงินอากําหนดให้คณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนเป็นชุดเดียวกันได้ (1) คณะกรรมการตรวจสอบ (1.1) องค์ประกอบและคุณสมบัติ คณะกรรมการตรวจสอบต้องมีความเป็นอิสระ มีความรู้ในธุรกิจสถาบันการเงินและประสบการณ์ที่เหมาะสม โดยต้องมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามประกาศของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (1.2) หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ (1.2.1) สอบทานให้สถาบันการเงินมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ (1.2.2) สอบทานและประเมินผลให้สถาบันการเงินมีระบบควบคุมภายใน (internal control) และการตรวจสอบภายใน (internal audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล (1.2.3) สอบทานให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของสถาบันการเงิน (1.2.4) พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงิน (1.2.5) พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงินโดยเฉพาะในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน (1.2.6) จัดทํารายงานการกํากับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจําปีของสถาบันการเงิน (1.2.7) กําหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้นทราบในรายงานประจําปีของสถาบันการเงิน (1.2.8) รายงานต่อคณะกรรมการเพื่อดําเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควรในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทํา ดังต่อไปนี้ - รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ - การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สําคัญในระบบควบคุมภายใน - การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์ ข้อกําหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของสถาบันการเงินและหลักทรัพย์และกฎหมายอื่น ๆ หากคณะกรรมการหรือผู้บริหารไม่ดําเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกําหนด คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องเปิดเผยการกระทําดังกล่าวไว้ในรายงานประจําปี และรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (1.2.9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบควรมีการสอบทานบทบาทหน้าที่และกําหนดวาระการดํารงตําแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบด้วยทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบอาจขอความเห็นทางวิชาชีพจากที่ปรึกษาภายนอกได้ด้วยค่าใช้จ่ายของสถาบันการเงิน (2) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (2.1) องค์ประกอบและคุณสมบัติ (2.1.1) มีจํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน โดยจะต้องได้รับการ (2.1.2) ประกอบด้วยกรรมการ และ/หรือผู้บริหารของสถาบันการเงิน (2.1.3) กรรมการส่วนใหญ่ต้องมีความรู้ ความชํานาญ และความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงโดยรวม (2.2) หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (2.2.1) กําหนดนโยบายเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงโดยรวม ซึ่งต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภทต่างๆ ที่สําคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงจากตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ เป็นต้น (2.2.2) วางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยสามารถ ประเมิน ติดตาม และดูแลปริมาณความเสี่ยงของสถาบันการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (2.2.3) ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยง โดยรวมถึงความมีประสิทธิผลของระบบและการปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนด (2.2.4) รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ําเสมอในสิ่งที่ต้องดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่กําหนด (3) คณะกรรมการสรรหา (3.1) องค์ประกอบและคุณสมบัติ (3.1.1) มีจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คน (3.1.2) เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร โดยจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ (3.1.3) กรรมการจะต้องมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจถึงคุณสมบัติ หน้าที่และความรับผิดชอบของตน ทั้งนี้ ประธานของคณะกรรมการสรรหาควรเป็นกรรมการอิสระเพื่อช่วยเป็นแกนหลักในการผลักดันให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาเป็นไปอย่างอิสระ (3.2) หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหา (3.2.1) กําหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหากรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ และส่งนโยบายดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหากมีการร้องขอ (3.2.2) คัดเลือก และเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ - กรรมการ - กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายอํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงจากคณะกรรมการ - ผู้มีอํานาจในการจัดการ (3.2.3) ดูแลให้คณะกรรมการมีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับองค์กร รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยคณะกรรมการจะต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านต่างๆ (3.2.4) เปิดเผยนโยบายและรายละเอียดของกระบวนการสรรหาในรายงานประจําปีของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาควรมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และอาจขอความเห็นทางวิชาชีพจากที่ปรึกษาภายนอกได้ด้วยค่าใช้จ่ายของสถาบันการเงิน (4) คณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทน (4.1) องค์ประกอบและคุณสมบัติ (4.1.1) มีจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คน (4.1.2) เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินโดยจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ (4.1.3) กรรมการ จะต้องมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจถึงคุณสมบัติ หน้าที่และความรับผิดชอบของตน ทั้งนี้ ประธานของคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนควรเป็นกรรมการอิสระเพื่อช่วยเป็นแกนหลักในการผลักดันให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนให้เป็นไปอย่างอิสระ (4.2) หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทน (4.2.1) กําหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นรวมถึงจํานวนค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นที่ให้แก่กรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการโดยต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ และส่งนโยบายดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหากมีการร้องขอ (4.2.2) ดูแลให้กรรมการ และผู้มีอํานาจในการจัดการได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นควรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายนั้น (4.2.3) กําหนดแนวทางการประเมินผลงานของกรรมการและผู้มีอํานาจในการจัดการ เพื่อพิจารณาปรับผลตอบแทนประจําปี โดยจะต้องคํานึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้ความสําคัญกับการเพิ่มมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นในระยะยาวประกอบการพิจารณาประเมินผลด้วย (4.2.4) เปิดเผยนโยบายเกี่ยวกับการกําหนดค่าตอบแทนและเปิดเผยค่าตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งจัดทํารายงานการกําหนดค่าตอบแทน โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมาย การดําเนินงาน และความเห็นของคณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทน ไว้ในรายงานประจําปีของสถาบันการเงินด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการกําหนดค่าตอบแทนควรมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และอาจขอความเห็นทางวิชาชีพจากที่ปรึกษาภายนอกได้ด้วยค่าใช้จ่ายของสถาบันการเงิน 5.7.3 การจัดส่งรายงานการประชุมคณะกรรมการ สถาบันการเงินต้องส่งสําเนารายงานการประชุมคณะกรรมการของสถาบันการเงิน รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารของสถาบันการเงิน หรือรายงานการประชุมที่กรรมการของสถาบันการเงินประชุมกันเพื่อกําหนดนโยบาย หรือเพื่อการบริหารงานของสถาบันการเงิน ให้สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 7 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการมีมติรับรองรายงานการประชุมแล้ว แต่ต้อง ไม่เกิน 45 วัน นับจากวันที่มีการประชุม 5.8 การเปิดเผยข้อมูลต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจําปี นอกเหนือจากเรื่องที่แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบเป็นปกติแล้ว สถาบันการเงินต้องแจ้งหรือแสดงให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบ ในเรื่องดังต่อไปนี้ 5.8.1 ผลประโยชน์และค่าตอบแทนที่กรรมการได้รับจากสถาบันการเงินโดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) สําหรับกรรมการที่ไม่เป็นลูกจ้าง ให้สถาบันการเงินแจ้งหรือแสดงเป็นรายบุคคล (2) สําหรับกรรมการที่เป็นลูกจ้าง ให้สถาบันการเงินแยกวิธีการแจ้งหรือแสดงเป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้ (2.1) ผลประโยชน์และค่าตอบแทนที่ได้รับในฐานะที่เป็นกรรมการให้สถาบันการเงินแจ้งหรือแสดงเป็นรายบุคคล (2.2) ผลประโยชน์และค่าตอบแทนที่ได้รับในฐานะที่เป็นลูกจ้างให้สถาบันการเงินสามารถแจ้งหรือแสดงเป็นยอดรวมได้ตามที่สถาบันการเงินเห็นสมควร 5.8.2 ผลประโยชน์และค่าตอบแทนที่ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือผู้บริหารอื่น ๆ ที่ไม่เป็นกรรมการได้รับจากสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินแจ้งหรือแสดงเป็นยอดรวมได้ตามที่เห็นสมควร 5.8.3 การเป็นกรรมการในบริษัทอื่นตามข้อ 5.3 อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,627
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 5/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำสำหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Advanced Measurement Approaches (วิธี AMA)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 5 / 2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดย Advanced Measurement Approaches (วิธี AMA) --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการเพื่อนําไปคํานวณรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด และสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต เพื่อประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้วิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการได้แก่ Basic Indicator Approach (วิธี BIA) และ Standardised Approach (วิธี SA-OR) ที่เหมาะสมกับความซับซ้อนของการดําเนินธุรกิจ ระดับความเสี่ยงและระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการนั้น ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการเพิ่มเติม ได้แก่ Advanced Measurement Approaches (วิธี AMA) ซึ่งอ้างอิงแนวทางจากส่วนหนึ่งของ The First Pillar - Minimum Capital Requirements ใน International Convergence of Capital Measurement and Capital Standards - A Revised Framework (Comprehensive Version: June 2006) และ Operational Risk - Supervisory Guidelines for the Advanced Measurement Approaches (June 2011) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) โดยธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะใช้วิธี AMA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์การขออนุญาตใช้วิธี AMA และสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานชั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดได้ และจะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน จึงจะสามารถใช้วิธีดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA หรือโดยวิธี AMA ร่วมกับวิธีอื่น (วิธี BIA หรือวิธี SA-OR หากได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย) ที่คํานวณได้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด เพื่อประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ต่อไป อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดย Advanced Measurement Approaches (วิธี AMA) และให้ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะใช้วิธี AMA ถือปฏิบัติตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ 4.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ “ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk)” หมายความว่า ความเสี่ยงที่จะเกิด ความเสียหายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการภายใน บุคลากร และระบบงานของธนาคารพาณิชย์ หรือจากเหตุการณ์ภายนอกธนาคารพาณิชย์ รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมาย(เช่น ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ถูกดําเนินคดีตามกฎหมาย ถูกทางการเปรียบเทียบปรับ หรือความเสี่ยงจากความเสียหายที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล เป็นต้น) แต่ไม่รวมความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk) และด้านชื่อเสียง (Reputational risk) “ความเสียหายด้านปฏิบัติการ (Operational loss)” หมายความว่า มูลค่าความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความเสียหายด้านปฏิบัติการ (Operational loss event) โดยไม่รวมถึงค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) รายได้ที่พลาดโอกาสได้รับ (Forgone revenue) (เช่นธนาคารพาณิชย์พลาดโอกาสที่จะได้รับรายได้ค่าธรรมเนียมจากการบริการลูกค้า เนื่องจากระบบงาน IT ขัดข้องโดยไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ เป็นต้น) และต้นทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยงเพื่อป้องกันความเสียหายด้านปฏิบัติการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต “Expected loss (EL)” หมายความว่า ค่าความเสียหายด้านปฏิบัติการที่คาดว่าจะเกิดขึ้น “Unexpected loss (UL)” หมายความว่า ค่าความเสียหายด้านปฏิบัติการที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้ “ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA” หมายความว่าระดับเงินกองทุนขั้นต่ําที่คํานวณได้จากการใช้วิธีการและ/หรือแบบจําลองภายใน (Internal model) ของธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อรองรับค่าความเสียหายด้านปฏิบัติการที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss – EL) และค่าความเสียหายด้านปฏิบัติการที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้ (Unexpected loss – UL) “ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ” หมายความว่า ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA รวมกับฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธีอื่น (หากได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ใช้วิธี AMA ร่วมกับวิธีอื่น) “มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ” หมายความว่า ค่าระบุระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อใช้ในการคํานวณรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตและสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดเพื่อหาเงินกองทุนขั้นต่ําที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงตามกฎหมาย “เงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ” หมายความว่า เงินกองทุนขั้นต่ําที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงตามกฎหมายเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งเท่ากับมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการคูณด้วยอัตราส่วนเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ “การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk management)” หมายความว่า การระบุ ประเมิน วัด ติดตาม ควบคุม และจัดการหรือปรับลดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ “กรอบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk management framework)” หมายความว่า นโยบาย กลยุทธ์และกรอบวิธีปฏิบัติที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยการระบุ ประเมิน วัด ติดตาม ควบคุม และจัดการหรือปรับลดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ “ระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk measurement system)” หมายความว่า ระบบ กระบวนการ วิธีการ แบบจําลอง และข้อมูลที่ใช้ในการวัดความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ “ลักษณะความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk profile)” หมายความว่ารายละเอียดและระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการซึ่งใช้เป็นข้อมูลในการบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ เช่น การกระจายตัวของความเสี่ยงด้านปฏิบัติการว่าอยู่ที่สายธุรกิจใดและจัดอยู่ในประเภทเหตุการณ์ความเสียหายใด และผลจากการพิจารณาตัวชี้วัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สําคัญ (Key Risk Indicator – KRI) “ข้อมูล 4 ประเภท (Four element)” หมายความว่า ข้อมูลความหายด้านปฏิบัติการ 4 ประเภทที่ใช้เป็นองค์ประกอบในระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเพื่อคํานวณฐานกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลภายใน (Internal data) ข้อมูลภายนอก (External data) การวิเคราะห์สถานกาณจําลอง (Scenario analysis) และปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการควบคุมภายใน (Business environment and internal control factors) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ โดยในกรณีบริษัทลูกหรือสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อาจหมายถึง ผู้จัดการหรือผู้บริหารสูงสุด โดยอนุโลม “ผู้บริหารระดับสูง” หมายความว่า ผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ระดับผู้อํานวยการฝ่าย(หรือเทียบเท่า) ขึ้นไป 4.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดวิธี AMA สําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีความพร้อมและมีระบบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสามารถขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยใช้วิธีการและ/หรือแบบจําลองภายในในการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการได้ เพื่อให้เงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการสามารถสะท้อนระดับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและความสามารถในการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องมีกรอบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ครอบคลุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการทั้งหมดตามคําจํากัดความในประกาศฉบับนี้มีระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการท่าสามารถสะท้อนความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมซึ่งมีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและแนวคิดหรือวิธีปฏิบัติใหม่ ๆ ในภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์อยู่เสมอ รวมทั้งมีการควบคุมที่ดีเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ อนึ่ง หลักเกณฑ์การดํารงเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA ตามประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ในระดับธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง (Solo basis) เท่านั้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกหลักเกณฑ์ในระดับกลุ่ม (Consolidated basis) ในระยะต่อไป 4.3 การขออนุญาตใช้วิธี AMA ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะใช้วิธี AMA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในการขออนุญาตดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการประเมินตนเองด้วยว่ามีคุณสมบัติสอดคล้องและสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ได้ 4.3.1 คุณสมบัติของผู้ยื่นขออนุญาตใช้วิธี AMA (1) ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะใช้วิธี AMA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการ ต้องมีการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ด้านเครดิต และด้านตลาดในระดับปานกลางหรือดีกว่าตามเกณฑ์การจัดระดับความเสี่ยงรวม (Aggregate rating) จากผลการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทยครั้งล่าสุด (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะใช้วิธี AMA ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี AMA ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ตามที่กําหนดในข้อ 4.5 และที่กําหนดเพิ่มเติมในเอกสารแนบ 1 และเอกสารแนบ 2 (3) ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะใช้วิธี AMA ต้องจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิธี AMA ทั้งหมดเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษไว้ที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดของระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและวิธีการที่ใช้ในการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA ได้ และสามารถแสดงให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและวิธีการที่ใช้ในการคํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการดังกล่าวสามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ได้อย่างเหมาะสม 4.3.2 การยื่นขออนุญาตและกรอบการใช้วิธี AMA ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะใช้วิธี AMA ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในข้อ 4.3.1 และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การยื่นขออนุญาตและกรอบการใช้วิธี AMA ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 อนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศไทยใช้วิธีการจัดสรรเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Allocation mechanism) ที่คํานวณโดยวิธี AMA จากธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมายังธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือสาขาในประเทศไทยเพื่อการดํารงเงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารพาณิชย์นั้น โดยธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจะต้องคํานวณเงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเองโดยใช้วิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้กํากับดูแลที่เกี่ยวข้องอนุญาต 4.3.3 การกลับไปใช้วิธีอื่นที่ซับซ้อนน้อยกว่า ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธี AMA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการแล้ว จะไม่สามารถกลับไปใช้วิธีอื่นที่ซับซ้อนน้อยกว่าได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี โดยจะต้องมีเหตุผลอันสมควรเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์หรือไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี AMA ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดได้หลังจากที่เคยได้รับอนุญาตแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่าสําหรับบางหน่วยงานหรือบางสายธุรกิจ หรือสําหรับทุกหน่วยงานหรือทุกสายธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ได้เป็นการชั่วคราว จนกว่าธนาคารพาณิชย์ได้ปรับปรุงจนมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์และสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี AMA ได้ หรือธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการในลักษณะอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร 4.4 การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธี AMA คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA ด้วยการคูณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA (ได้แก่ ผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีและ/หรือแบบจําลองภายในของธนาคารพาณิชย์) ด้วยค่าคงที่ 12.5 และนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธี AMA ที่ได้ไปรวมกับมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการโดยวิธีอื่น (ถ้ามี เช่น ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ใช้วิธี AMA ร่วมกับวิธีอื่น (Partial use) ตามเอกสารแนบ 3 ข้อ 2) สินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาด เพื่อนําไปคํานวณหาเงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องดํารงต่อไป 4.5 เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี AMA ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี AMA ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านปฏิบัติการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี AMA ดังต่อไปนี้ ซึ่งจะมีความเข้มงวดกว่าแนวทางการบริหารความเสี่ยงและเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี SA-OR 4.5.1 เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําเชิงคุณภาพ ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี AMA ต้องมีกรอบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่มีคุณสมบัติครบถ้วน และปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําเชิงคุณภาพอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ (1) กรอบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk management framework) (1.1) กรอบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ต้องมีหลักการที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือ นํามาบังคับใช้อย่างเที่ยงตรง รวมทั้งสนับสนุนให้การจัดเก็บข้อมูลความเสียหายด้านปฏิบัติการ การประเมินและการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตลอดจนการคํานวณเงินกองทุนขั้นต่ําตามกฎหมายสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ มีความน่าเชื่อถือ เหมาะสม สอดคล้องกับความซับซ้อนในการดําเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ และสามารถตรวจสอบได้ (1.2) ธนาคารพาณิชย์ต้องแสดงให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ามีกระบวนการกําหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และกระบวนการติดตามดูแลให้กรอบดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องคํานึงถึงพัฒนาการของแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาแบบจําลองสําหรับการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในการประเมินแนวปฏิบัติดังกล่าว (1.3) วิธี AMA จะต้องมีบทบาทสําคัญในกระบวนการบริหารความเสี่ยงและกระบวนการตัดสินใจของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องนําระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการภายใต้วิธี AMA ที่มีผลการทดสอบความน่าเชื่อถือเป็นที่น่าพอใจไปใช้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ โดยต้องแสดงให้เห็นว่าข้อมูลที่ใช้และผลลัพธ์จากระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการเป็นส่วนสําคัญในกระบวนการตัดสินใจ ธรรมาภิบาล และการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงกระบวนการติดตามและควบคุมลักษณะความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่น ข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นส่วนประกอบหลักของการรายงานความเสี่ยง การรายงานเพื่อการบริหารจัดการการจัดสรรเงินกองทุนภายใน และการวิเคราะห์ความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น (2) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําเชิงคุณภาพอื่น ๆ ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 1 เช่น หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ งานบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเพียงพอของทรัพยากรสําหรับการใช้วิธี AMA การรายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการการจัดทํากรอบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการไว้เป็นเอกสาร การสอบทานการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ 4.5.2 เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําเชิงปริมาณ ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี AMA ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลความเสียหายด้านปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําเชิงปริมาณดังนี้ (1) ระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ต้องมีหลักการที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือ ครอบคลุมครบถ้วน มีการนําไปใช้อย่างสอดคล้องทั่วถึงและสม่ําเสมอ ตลอดจนมีความโปร่งใสและได้รับการสอบทานและทดสอบความน่าเชื่อถืออย่างเป็นอิสระ (2) ระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ต้องครอบคลุมแหล่งที่มาของความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่มีนัยสําคัญทั้งหมดของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดน้อยแต่มีความเสียหายรุนแรง (3) ระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการอาจมีความหลากหลาย ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องพัฒนาระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่เหมาะสมกับลักษณะและความซับซ้อนในการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์โดยยึดหลักความระมัดระวังในการเลือกวิธีการและ/หรือแบบจําลองและการตั้งสมมติฐาน (4) ธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถแสดงให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณได้จากระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational risk profile) รวมทั้งสามารถชี้แจงเหตุผลต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่คํานวณได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ (5) แหล่งที่มาของข้อมูลและวิธีการที่ใช้คํานวณเงินกองทุนภายใน (Economic capital)สําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ควรสอดคล้องกับระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ใช้คํานวณฐานเงินกองทุนขั้นต่ําสําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดทั้งนี้ หามีความแตกต่างเกิดขึ้น ธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถชี้แจงเหตุผลต่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ (6) เพื่อกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการในการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการภายในองค์กรธนาคารพาณิชย์ควรมีวิธีการในการจัดสรรเงินกองทุนภายใน (Economic capital) สําหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการให้แก่สายงานหลัก (7) เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําเชิงปริมาณอื่น ๆ ตามที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 เช่น การวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ข้อมูล 4 ประเภทที่ใช้ในระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ การตั้งค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การปรับลดความเสี่ยง การทดสอบความน่าเชื่อถือของระบบการวัดความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 (นางประสาร ไตรตรัน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,628
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 14/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ในสภาวะปัจจุบันระบบสถาบันการเงินมีการแข่งขันสูง และธุรกรรมต่างๆ ได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว มีความซับซ้อนและความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินจึงจําเป็นจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมทั้งในด้านจริยธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการและควบคุมการดําเนินงานตลอดจนการกํากับดูแลให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่กําหนดไว้เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของสถาบันการเงินและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholders) ซึ่งเป็นพื้นฐานสําคัญของการมีธรรมาภิบาลที่ดีในระบบสถาบันการเงิน พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 จึงกําหนดให้การแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเข้ารับตําแหน่ง และบุคคลดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตลอดระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่ง ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงปรับปรุงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 (4) ถึงมาตรา 24 (6) มาตรา 24 (7) ข มาตรา 24 (8) ถึงมาตรา 24 (10) และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นตําแหน่งกรรมการของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทยไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 4. ประกาศที่อ้างอิง ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2552 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ 5.1.1 คําดังต่อไปนี้ให้ใช้นิยามตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (1) สถาบันการเงิน (2) บริษัท 5.1.2 "ผู้มีอํานาจในการจัดการ" หมายความว่า (1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินหรือบริษัท แล้วแต่กรณี หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลซึ่งสถาบันการเงินหรือบริษัททําสัญญาให้มีอํานาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการหรือกรรมการ หรือการจัดการของสถาบันการเงินหรือบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของสถาบันการเงินหรือบริษัท 5.1.3 "กรรมการที่เป็นผู้บริหาร" หมายความว่า (1) กรรมการที่ทําหน้าที่บริหารงานในตําแหน่งผู้จัดการ รองผู้จัดการผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) กรรมการที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการหรือมีส่วนร่วมในการบริหารงานใด ๆ เยี่ยงผู้บริหาร และให้หมายความรวมถึงบุคคลในคณะกรรมการบริหาร (Executive committee) (3) กรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพัน เว้นแต่เป็นการลงนามผูกพันตามรายการที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติไว้แล้วเป็นรายกรณี และเป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น 5.1.4 "ที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน" หมายความว่า บุคคลที่เป็นที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่อาจทําหน้าที่เปรียบเสมือนกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ แต่เพียงใช้ชื่อว่าเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น รวมไปถึงบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว แต่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่รวมถึงบุคคลที่รับจ้างทํางานให้แก่สถาบันการเงิน โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิด หรือใช้ความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชีที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาด้านภาษี ที่ปรึกษาด้านภาษา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กร ที่ปรึกษาด้านประกันภัย ที่ปรึกษาด้านแบบจําลองเชิงปริมาณขั้นสูง เป็นต้น 5.1.5 "กลุ่มธุรกิจทางการเงิน" หมายความว่า กลุ่มธุรกิจทางการเงิน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.2 คุณสมบัติของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินต้องมีคุณสมบัติและความสามารถที่เหมาะสม (Fit and Proper) โดยต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) ถึงมาตรา 24 (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (เอกสารแนบ 1) และลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมใน 3 ด้านหลัก ดังต่อไปนี้ 5.2.1 ด้านความซื้อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง (Honesty, Integrity and Reputation) กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวกับประเด็นความซื่อสัตย์ สุจริต และชื่อเสียง ดังต่อไปนี้ (1) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สั่งถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน หรือบริษัทหลักทรัพย์ใดมาก่อน เว้นแต่จะพ้นระยะเวลาที่กําหนดห้ามดํารงตําแหน่งดังกล่าวแล้ว หรือได้รับการยกเว้นจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี (2) เคยถูกธนาคารแห่งประเทศไทยหรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานของรัฐทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่กํากับและควบคุมสถาบันการเงิน กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกําลังถูกดําเนินคดี ในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริต ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของสถาบันการเงินและหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่น ๆ เว้นแต่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด (3) เคยถูกหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากที่ระบุใน (2) กล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือกําลังถูกดําเนินคดี ในความผิดฐานฉ้อโกง หรือทุจริตทางการเงินเว้นแต่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดโดยไม่มีความผิด (4) มีหรือเคยมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือการดําเนินกิจการใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือประชาชน (5) มีหรือเคยมีประวัติส่วนตัวหรือพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนให้เกิดการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (6) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉล หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนให้เกิดการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น ซึ่งรวมถึงการเลือกปฏิบัติ หรือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใดอันอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) (7) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลหรือการปฏิบัติงานที่พึงกระทําตามสมควรเยี่ยงกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ซึ่งทําให้สถาบันการเงินฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ คู่มือการปฏิบัติงานภายใน ตลอดจนมติของคณะกรรมการ หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพิจารณาสินเชื่อ การตัดสินใจลงทุน หรือดําเนินการอื่นใด อันเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสถาบันการเงิน หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินอย่างมีนัยสําคัญ หรือเกิดความเสียหายต่อลูกค้าของธุรกิจสถาบันการเงิน เช่น ทําให้การดํารงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ต่ํากว่าที่กฎหมายกําหนด หรือทําให้ไม่สามารถดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามที่กฎหมายกําหนด เป็นต้น 5.2.2 ด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ (Competence, Capability and Experiences) กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่จําเป็นและเหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบในระดับที่ผู้ประกอบวิชาชีพการเงินการธนาคารพึงมี และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต นอกเหนือจากตําแหน่งที่ระบุไว้ตามมาตรา 24 (8) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ให้รวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยรัฐมนตรี ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 (2) เป็นผู้ที่พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ครบ 1 ปี ในตําแหน่งผู้อํานวยการขึ้นไปหรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของส่วนงานต่าง ๆ หรือในตําแหน่งผู้บริหารส่วนหรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นในส่วนงานที่สามารถล่วงรู้ข้อมูลของกิจการสถาบันการเงินตามอํานาจหน้าที่ (3) มีหรือเคยมีการทํางานที่แสดงถึงการขาดมาตรฐานทางบัญชีมาตรฐานการบริหารความเสี่ยง หรือมาตรฐานทางวิชาชีพอื่น ๆ ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งกําหนดโดยหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานกําหนดมาตรฐานอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การอําพราง ฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริง การจงใจหลีกเถี่ยงการเปิดเผยข้อมูลในประเด็นอันเป็นสาระสําคัญ การถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นต้น 5.2.3 ด้านสถานะทางการเงิน (Financial Soundness) กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสถานะทางการเงิน กล่าวคือ บุคคลดังกล่าวจะต้องไม่มีปัญหาในการชําระเงินต้น หรือดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ให้สินเชื่อหรือเข้าข่ายจัดชั้นเป็นถูกหนี้ชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน ชั้นสงสัย ชั้นสงสัยจะสูญ หรือสูญ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 5.3 การขอความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 สถาบันการเงินต้องขอความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งบุคคลใหม่หรือแต่งตั้งบุคคลเดิมให้ดํารงตําแหน่งต่อไป โดยมีขั้นตอนดังนี้ 5.3.1 สถาบันการเงินต้องตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลที่จะเสนอชื่อให้ดํารงตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) - (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมใน 3 ด้านหลัก ตามข้อ 5.2 ในประกาศฉบับนี้ 5.3.2 ให้สถาบันการเงินมีหนังสือขอความเห็นชอบพร้อมเอกสารประกอบตามเอกสารแนบ 2 ส่งให้ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ หากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีหนังสือแจ้งทักท้วง หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมภายใน 15 วันทําการนับแต่วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับหนังสือขอความเห็นชอบและเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนให้ถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนั้นแล้ว ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องไม่เปิดเผยรายชื่อของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดํารงตําแหน่งต่อสาธารณชนก่อนได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเป็นทางการ สําหรับกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในปัจจุบันหรือได้รับความเห็นชอบก่อนประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปได้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องแน่ใจว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) - (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ในตลอดระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่ง แต่เมื่อหมดวาระลงและจะดํารงตําแหน่งต่อไปอีก ก็ให้ขอความเห็นชอบต่อธนาคารแห่งประเทศไทยตามประกาศฉบับนี้ อนึ่ง หากสถาบันการเงินไม่แน่ใจเกี่ยวกับตําแหน่งที่ต้องขอความเห็นชอบก่อนการแต่งตั้ง ก็สามารถหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณีได้ 5.4 ปัจจัยประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) - (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่กําหนดเพิ่มเติมตามประกาศฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม กรณีที่บุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (4) ถึงมาตรา 24 (6) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ซึ่งให้อํานาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการพิจารณายกเว้นได้ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5.2.1 (1) ถึง (7) ข้อ 5.2.2 (3) และข้อ 5.2.3 ของประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจนําปัจจัยอื่นมาประกอบการพิจารณาตามเหตุผลและความจําเป็นในแต่ละกรณี โดยปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณามีดังต่อไปนี้ 5.4.1 ลักษณะต้องห้ามนั้น มิได้ร้ายแรง หรือมิได้ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินถึงขั้นไม่สมควรได้รับความเห็นชอบ 5.4.2 ระยะเวลาที่ล่วงเลยมานับจากการมีลักษณะต้องห้ามนั้นต้องไม่น้อยกว่า 10 ปี 5.4.3 ลักษณะต้องห้ามนั้น มิได้มีผลกระทบต่อหน้าที่และความรับผิดชอบตามตําแหน่งที่ขอความเห็นชอบ 5.4.4 ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล หรือนัยสําคัญของหลักฐานหรือเหตุการณ์ตลอดจนผลการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีอํานาจตามกฎหมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 5.4.5 ไม่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลที่ดีของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) หรือไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น 5.5 ข้อยกเว้นเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (7) (ข) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดข้อยกเว้นเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (7) (ข) ดังนี้ 5.5.1 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอนุญาตให้ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้นและเป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเดียวกันกับสถาบันการเงิน สามารถเป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินนั้นได้ 5.5.2 โดยที่มีกรณีเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งที่สถาบันการเงินมีความจําเป็นจะต้องส่งกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินของตนเข้าไปกํากับดูแลบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จึงสมควรอนุญาต ให้สถาบันการเงินสามารถส่งกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการ ไปเป็นผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงินนั้นและเป็นบริษัทที่อยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินได้ หรืออีกนัยหนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทที่ได้รับสินเชื่อหรือได้รับการค้ําประกันหรืออาวัลหรือมีภาระผูกพันอยู่กับสถาบันการเงิน ที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากสถาบันการเงิน สามารถเป็นหรือทําหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินนั้นได้ เพราะเหตุแห่งความจําเป็นที่จะต้องกํากับดูแลลูกหนี้ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น 5.6 การเพิกถอนการให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าบุคคลซึ่งได้รับความเห็นชอบไปแล้ว มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 (1) ถึงมาตรา 24 (9) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 หรือลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมใน 3 ด้านหลัก ตามข้อ 5.2 ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเพิกถอนการให้ความเห็นชอบการดํารงตําแหน่งของบุคคลดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ 5.7 การแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ตามมาตรา 81 (2) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ในกรณีที่กรรมการ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน ลาออก เสียชีวิต หรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในตําแหน่งงานระดับเดียวกัน สถาบันการเงินต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นหนังสือให้สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ตามแบบรายงานการเปลี่ยนแปลง (เอกสารแนบ 3) นอกจากนี้ ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สัมพันธ์สถาบันการเงิน(CPC) ของแต่ละสถาบันการเงินทาง E-mail ด้วย อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,629
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 89/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสำหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 89/2551 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศโดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ International convergence of capital measurement and capital standards - A revised framework (Comprehensive version : June 2006) (หลักเกณฑ์ Basel II) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ซึ่งพัฒนามาจาก The 1988 Basel Capital Accord and the 1998 Amendment to the Capital Accord (หลักเกณฑ์ Basel I) ของ BCBS ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ใช้อ้างอิงในการกํากับดูแลเงินกองทุนตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา และประกอบกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (International Accounting Standard -1AS 39) เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงินได้เริ่มมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง ๆ แล้วตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีได้มีแนวทางที่จะออกมาตรฐานการบัญชีไทยให้สอดคล้องกับ IAS 39 โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้กับกิจการรวมทั้งสถาบันการเงินในประเทศไทยประมาณปี 2554 และหากกิจการหรือสถาบันการเงินใดพร้อมที่จะนํามาตรฐานการบัญชีดังกล่าวทั้งฉบับมาถือปฏิบัติก่อนกําหนดก็สามารถทําได้ (Early Adoption) ซึ่งมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีการอนุญาตให้กิจการหรือสถาบันการเงินสามารถเลือกที่จะวัดมูลค่าและบันทึกรายการของตราสารทางการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันเริ่มแรก (Fair Value Option) ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้สถาบันการเงินสามารถรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการออกตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงินของสถาบันการเงิน เมื่อตราสารนั้นถูกปรับลดหรือเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อเงินกองทุนของสถาบันการเงิน การปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของ Basel II ที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องถือปฏิบัติ และเพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ประสงค์จะปฏิบัติตามหลักการของ IAS 39 ก่อนที่สภาวิชาชีพบัญชีจะบังคับใช้ อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 32 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์กําหนดองค์ประกอบของเงินกองทุนให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ตามรายการในเอกสารแนบ 1 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ "สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ" หมายความว่า สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย "คณะกรรมการสถาบันการเงิน" หมายความว่า ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 5.2 องค์ประกอบของเงินกองทุน 5.2.1 เงินกองทุนทั้งสิ้นของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ประกอบด้วย เงินกองทุน หักด้วยรายการหักจากเงินกองทุนตาม 5.2.2 ทั้งนี้ เงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ประกอบด้วย สินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องดํารงตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กล่าวคือ เป็นสินทรัพย์ที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องดํารงไว้ในประเทศไทยหรือมีหลักทรัพย์ในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2 5.2.2 รายการหักจากเงินกองทุน (1) ผลกําไรที่เกิดจากการเลือกใช้วิธี Fair Value Option ตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยการรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (หรือ International Accounting Standard 39 Financial Instruments : Recognition and Measurement) สําหรับกรณีที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ การใช้ Fair Value Option ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในเอกสารแนบ 3 (1.1) การลดลงของมูลค่ายุติธรรมของตราสารที่เป็นหนี้สินทางการเงิน เนื่องจากตราสารที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกนั้นถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Downgrade) (1.2) การเพิ่มขึ้นของมูลค่ายุติธรรมที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือของเงินให้สินเชื่อ หรือ ตราสารการเงิน (2) ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศใดทําธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivatives) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรม Credit Derivatives (3) ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศใดทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitisation) ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกิจการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (4) ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีฐานะที่เกี่ยวข้องกับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment ให้หักเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์ (5) ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศคํานวณฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนโดยวิธี PD/LGD ให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศหักมูลค่าของฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนดังกล่าว หรือ ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (EL) ของฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนนั้น แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี IRB (6) ในกรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีเงินสํารองส่วนขาด (Shortfall of Provisions) ให้หักเงินกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี IRB ทั้งนี้ เงินสํารองส่วนขาด หมายถึง เงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total Eligible Provisions)เฉพาะส่วนที่ต่ํากว่ามูลค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (EL) (7) รายการอื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด 5.3 งวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุน งวดระยะเวลาในการนับรายการแต่ละประเภทเข้าเป็นเงินกองทุน ปรากฎตามเอกสารแนบ 4 อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,630
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2557 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสำหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2557 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ------------------------------------------ 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ Basel III: a global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) ของ Basel Committee on Banking Supervision โดยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 13/2555 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศมีเงินกองทุนที่มีคุณภาพดีและเพียงพอต่อการรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต และเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินโดยรวม ต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับข้อหารือจากสมาคมธนาคารไทยเกี่ยวกับงวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุนซึ่งกําหนดในเอกสารแนบ 7 ของประกาศฉบับข้างต้น โดยเฉพาะรายการกําไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าตราสารในพอร์ตเผื่อขาย ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการอื่นของส่วนของเจ้าของที่ถือเป็นกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสะสม (Accumulated other comprehensive income: OCI) ที่แม้จะให้นับเข้า (หักออก) จากเงินกองทุนทุกงวด 6 เดือน ในทางปฏิบัตินั้น เมื่อมีการขายตราสารออกไประหว่างงวด ธนาคารพาณิชย์จะต้องนํากําไร (ขาดทุน) ของตราสารที่มีการขายออกไปมาปรับกับเงินกองทุนทันที ซึ่งตามแนวปฏิบัติเดิมจะเป็นภาระต่อธนาคารพาณิชย์ในการเก็บรายละเอียดเพื่อนํามาปรับกับเงินกองทุน ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับงวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุนสําหรับรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศจากเดิมที่กําหนดไว้เป็นทุกงวด 3 เดือน หรือทุกงวด 6 เดือน เป็นทุกงวด 1 เดือนแทน เพื่อเป็นการลดภาระของธนาคารพาณิชย์ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทยและทําให้มูลค่าเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์สะท้อนมูลค่าตลาดที่เป็นปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจความในมาตรา 4 มาตรา 29 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์กําหนดองค์ประกอบของเงินกองทุนให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง ยกเว้นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 4. เนื้อหา ให้ยกเลิกเอกสารแนบ 7 เรื่อง งวดระยะเวลาการนับรายการเข้าและหักออกจากเงินกองทุน ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 13/2555 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 และให้ใช้เอกสารแนบ 7 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2557 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,631
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 2/2557 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสำหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 2 /2557 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) --------------------------------------- 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ Basel II! a global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) ของ Basel Committee on Banking Supervision โดยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 14/2555 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 เพื่อให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีเงินทุนที่มีคุณภาพดีและเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต และเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินโดยรวม ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับงวดระยะเวลาการนับเข้าและหักออกจากเงินกองทุนสําหรับรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุนของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเฉพาะรายการหักจากเงินกองทุนจากเดิมที่กําหนดไว้เป็นทุกงวด 3 เดือน หรือทุกงวด 6 เดือน เป็นทุกงวด 1 เดือนแทน ทั้งนี้ เพื่อให้มูลค่าเงินกองทุนของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสะท้อนมูลค่าตลาดที่เป็นปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น และให้งวดระยะเวลาในการนับเข้าและหักออกของรายการดังกล่าวสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 32 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์กําหนดองค์ประกอบของเงินกองทุนให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง 4. เนื้อหา ให้ยกเลิกเอกสารแนบ 6 เรื่อง งวดระยะเวลาการนับเข้าและหักออกสําหรับรายการที่เกี่ยวกับเงินกองทุน ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 14/2555 เรื่อง องค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 และให้ใช้เอกสารแนบ 6 ที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน 5.วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2557 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,632
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2555
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6 /2555 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2555 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการพันบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2555 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3.เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วันดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ (วัน) | | พ.4/14/55 | 100,000 | 27 มกราคม 2555 | 31/1/55 – 14/2/55 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม 2555 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,633
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15/2552 เรื่อง อำนาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 15/2552 เรื่อง อํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุด -------------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ สถาบันการเงินเป็นองค์กรที่มีความสําคัญต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม หากมีสถาบันการเงินใดที่ดําเนินงานในลักษณะที่ไม่เหมาะสม หรือมีฐานะทางการเงินอ่อนแอ ก็อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังความเชื่อมั่นและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินได้ นอกจากนี้ ปัจจุบันสถาบันการเงินมีการแข่งขันสูงขึ้น และธุรกรรมหลายประเภทมีความซับซ้อนและความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น การกํากับดูแลกิจการที่ดี หรือธรรมาภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) จึงเป็นปัจจัยสําคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้า และประชาชน กรรมการซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในฐานะผู้ที่มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลให้สถาบันการเงินมีธรรมาภิบาลที่ดี ปฏิบัติตามกฎหมายและมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of loyalty) และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของสถาบันการเงิน (Duty of care) เป็นที่ตั้ง ภายใต้กรอบหน้าที่และความรับผิดชอบทั่วไป 3 ประการ คือ การกําหนดนโยบาย การดูแลให้สถาบันการเงินมีกระบวนการทํางานและมีทรัพยากรที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามนโยบาย และการดูแลให้มีระบบการติดตามตรวจสอบให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามนโยบายที่กําหนด แม้หน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินในทางปฏิบัติจะมีมากมายหลายด้านตามที่ระบุในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน แต่เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในระยะยาว ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้กรรมการของสถาบันการเงินตระหนักถึงหน้าที่สําคัญ 4 ประการเป็นพิเศษ คือ การดูแลให้สถาบันการเงิน (1) มีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ (2) มีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งสามารถรองรับความเสี่ยงของกิจการทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ (3) มีการดําเนินงานที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของทางการ และ (4) มีระบบธรรมาภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) มีความโปร่งใส เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (stakeholders) ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรกําหนดอํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินในเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุดไว้ในประกาศฉบับนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลกิจการของสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับกฎหมายและแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทําผิดตามกฎหมาย กรรมการของสถาบันการเงินอาจต้องร่วมรับผิดด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีส่วนในการกระทําความผิดนั้น อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุดให้กรรมการของสถาบันการเงินถือปฏิบัติตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคารบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศที่อ้างถึง ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 13/2552 เรื่อง ธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ในประกาศฉบับนี้ "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 5.2 อํานาจหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงินในการกํากับดูแลกิจการของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสําคัญสูงสุด ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 5.2.1 ด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) การบริหารความเสี่ยงเป็นปัจจัยสําคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นคงให้สถาบันการเงินในระยะยาว กรรมการของสถาบันการเงินจึงต้องดูแลให้แน่ใจว่าสถาบันการเงินมีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะปกป้องดูแลผลประโยชน์ของสถาบันการเงินและจํากัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ดังนั้น กรรมการของสถาบันการเงินจึงมีหน้าที่อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) มีความรู้ ความเข้าใจในความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินตลอดจนเครื่องมือที่จะใช้ในการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าสถาบันการเงินมีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพรองรับธุรกิจต่าง ๆ ของสถาบันการเงินได้เป็นอย่างดี (2) ดูแลให้ฝ่ายจัดการควบคุมความเสี่ยงของสถาบันการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและยอมรับได้ (risk tolerance) ตามนโยบายที่คณะกรรมการอนุมัติหรือกําหนดเพื่อจํากัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจให้อยู่ในระดับที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินอย่างมีนัยสําคัญ (3) ดูแลให้สถาบันการเงินมีนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพรองรับความเสี่ยงที่สําคัญและกลยุทธ์ของสถาบันการเงิน รวมทั้งดูแลให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ มีความเป็นมืออาชีพอย่างอิสระ และไม่ถูกครอบงําจากหน่วยงานที่ประกอบธุรกิจ (business units) (4) ดูแลให้สถาบันการเงินมีระบบการรายงานสถานะความเสี่ยง (risk reports) ในทุกด้านที่มีนัยสําคัญอย่างชัดเจน และสม่ําเสมอ เพื่อใช้ประกอบการกําหนดกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจ นโยบายการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ (5) ดูแลให้สถาบันการเงินมีการทบทวนระบบบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ําเสมอ หรือทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สําคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันการเงินอย่างมีนัยสําคัญ เช่น วิกฤติทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์หรือข้อกําหนดของทางการ เป็นต้น (6) ดูแลให้สถาบันการเงินมีนโยบายการทําธุรกรรมด้านสินเชื่อ และการลงทุนที่มีความระมัดระวังและรอบคอบ เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพึงระมัดระวังเป็นพิเศษในการให้สินเชื่อแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ ผู้มีอํานาจในการจัดการหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพื่อป้องกันการเอื้อประโยชน์ที่ไม่เหมาะสม และการมองข้ามความเสี่ยงที่สําคัญไป พร้อมทั้งดูแลให้มีนโยบายในการจัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพหรือการลงทุนที่มีปัญหาตลอดจนการตั้งสํารองหนี้ด้อยคุณภาพให้พอเพียงกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 5.2.2 ด้านการดูแลความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy) เงินกองทุนเป็นสิ่งที่สะท้อนฐานะและความมั่นคงของสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดให้สถาบันการเงินต้องดํารงเงินกองทุนที่เพียงพอและรองรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่มีความสําคัญของสถาบันการเงิน เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ฯลฯ นอกเหนือไปจากการมีเงินกองทุนเพื่อรองรับการดําเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต กรรมการของสถาบันการเงินจึงมีหน้าที่อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) ดูแลให้สถาบันการเงินมีเงินกองทุนในระดับที่มั่นคงและเพียงพอที่จะรองรับการดําเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต และติดตามฐานะเงินกองทุนของสถาบันการเงินอย่างสม่ําเสมอ (2) ดูแลให้สถาบันการเงินมีกระบวนการหรือเครื่องมือที่ใช้ดูแลความเพียงพอของเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่มั่นคง สามารถรองรับความเสี่ยงที่สถาบันการเงินมีอยู่ได้ ซึ่งกระบวนการที่ได้รับการยอมรับในสากล คือ กระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน (Internal Capital Adequacy Assessment Process: ICAAP) ภายใต้ Pillar 2 ตามแนวทางของ Basel II โดยมีองค์ประกอบสําคัญอย่างน้อย 2 เรื่อง คือ (2.1) การทดสอบเงินกองทุนภายใต้ภาวะวิกฤติ (Stress Test) การประเมินเหตุการณ์วิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้หรือการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบด้านลบอย่างรุนแรงต่อฐานะเงินกองทุน และประเมินความสามารถของสถาบันการเงินที่จะอยู่รอดภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น ภาวะการเงินหรือเศรษฐกิจที่ตกต่ําทั่วโลกความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน และปัญหาสภาพคล่องของระบบการเงิน เป็นต้น (2.2) การวางแผนเงินกองทุน (Capital Planning) การประมาณการระดับเงินกองทุนให้สามารถรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของสถาบันการเงินทั้งในปัจจุบันและอนาคตสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน ซึ่งอาจทําให้มีสินทรัพย์เสี่ยงและความเสี่ยงอื่น ๆ เพิ่มขึ้น และอาจกระทบต่อเงินกองทุน จึงต้องวางแผนในการเพิ่มทุนให้เพียงพอ และสอดคล้องกับภาวะตลาดเงินและตลาดทุนในขณะนั้น ๆ 5.2.3 ด้านการกํากับดูแลกิจการให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของทางการ (Compliance Roles) สถาบันการเงินอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย กฎและระเบียบ ข้อบังคับมาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ของทางการหลายด้าน ดังนั้น กรรมการของสถาบันการเงินจึงมีหน้าที่อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) ดูแลให้สถาบันการเงินมีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมธุรกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการเงิน และสามารถสะท้อนข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้แน่ใจว่าสถาบันการเงินได้ดําเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของทางการ รวมทั้งคําสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทย (2) ดูแลให้สถาบันการเงินมีระบบการรายงานการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับภายในของสถาบันการเงินเอง เพื่อให้กรรมการและฝ่ายจัดการสามารถติดตามหรือแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือผลกระทบธุรกิจของสถาบันการเงินอย่างมีนัยสําคัญ 5.2.4 ด้านการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการที่มีธรรมาภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) คณะกรรมการของสถาบันการเงินมีอํานาจและหน้าที่ในการกํากับดูแลสถาบันการเงินในอันที่ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยมีกรรมการเป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างผู้ถือหุ้นและฝ่ายจัดการ ดังนั้น กรรมการจึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งในการสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรนั้น ๆ อันจะสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย(stakeholders) กรรมการของสถาบันการเงินจึงมีบทบาทหน้าที่ตามหลักของการกํากับดูแลกิจการที่ดีดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรง ไม่แสวงหาประโยชน์ส่วนตน ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เล่นพวกเล่นพ้อง และไม่เข้าไปมีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจในธุรกรรมหรือกิจการใด ๆ ที่ตนเองมีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) รวมถึงต้องสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดการแทรกแซงการตัดสินใจใด ๆ อันจะทําให้สถาบันการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น (2) อนุมัติหรือกําหนดนโยบายสําคัญและกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจตลอดจนติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายจัดการให้เป็นไปตามนโยบายเละกลยุทธ์ที่กําหนดไว้ (3) ดูแลให้สถาบันการเงินกําหนดนโยบายเรื่องธรรมาภิบาลที่ดีให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่าย (stakeholders) อย่างเหมาะสม มีความเป็นธรรมในทางธุรกิจโดยไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า และประชาชนไม่ว่าด้านสินเชื่อ เงินฝาก รายการนอกงบดุล หรือในเรื่องอื่น ๆ (4) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุกครั้ง เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นรวมทั้งมีส่วนร่วมในการซักถามและแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการประชุมอย่างเต็มความสามารถ (5) ดูแลให้สถาบันการเงินมีนโยบายการจ่ายผลตอบแทนที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ และดํารงไว้ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ทั้งนี้ไม่ควรกําหนดอัตราผลตอบแทนโดยผูกโยงกับกําไรระยะสั้นมากเกินไป เพื่อไม่ให้กรรมการมีแรงจูงใจในการเพิ่มระดับความเสี่ยงที่สูงเกินกว่าระดับที่สถาบันการเงินยอมรับได้ หรือทําธุรกิจแบบสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน โดยละเลยผลกระทบในระยะยาวเพียงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงในระยะสั้น (6) ดูแลให้สถาบันการเงินมีระบบการแบ่งแยกหน้าที่ (segregation of Duties) ให้ชัดเจน และระบบการตรวจสอบถ่วงดุล (check and balance) ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทําเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง หรือเกิดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์(conflict of interest) ได้ 5.3 การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการของสถาบันการเงิน ในการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ทั้ง 4 ประการข้างต้น คณะกรรมการจะต้องมีความสุจริตและกระทําการด้วยความระมัดระวัง ภายใต้กรอบและแนวทางของหลักการตัดสินใจทางธุรกิจ (Business Judgment Rule) ดังนี้ 5.3.1 กรรมการของสถาบันการเงินจะต้องไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว (no conflict of interest and no self-dealing) หรือไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องที่ต้องตัดสินใจหรือลงมติ ถ้ามีผลประโยชน์เกี่ยวข้องจะมีเหตุให้ถือเป็นเบื้องต้นว่าเป็นการกระทําที่ขาดความสุจริต เว้นแต่มีข้ออธิบายที่สมเหตุสมผลได้ 5.3.2 ต้องเป็นการตัดสินใจหรือลงมติบนพื้นฐานข้อมูลที่เพียงพอ (informed decision) คณะกรรมการพึงมีข้อมูลที่เพียงพอ เพื่อประกอบการตัดสินใจที่สมเหตุสมผลทางธุรกิจในระดับที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการเงินและการธนาคารพึงมี ก่อนการตัดสินใจหรือลงมตินั้น 5.3.3 การตัดสินใจหรือลงมติต้องสมเหตุสมผล (rational decision) ในการตัดสินใจหรือลงมติ คณะกรรมการต้องมีเหตุผลสนับสนุนในระดับที่ผู้มีวิชาชีพด้านการเงินและการธนาคารพึงมี ในการตัดสินใจหรือลงมติแต่ละเรื่องอาจมีทางเลือกหลายทาง (range of decision) ที่ถือว่าสมเหตุสมผลได้ อย่างไรก็ดี การตัดสินใจหรือการลงมติที่ออกนอกขอบเขตของผู้ประกอบวิชาชีพด้านการเงินและการธนาคารโดยสิ้นเชิง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดสินใจหรือลงมติที่สมเหตุสมผลตามข้อนี้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 (นางธาริษา วัฒนเกส) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,634
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 106/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 106 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.131/14/51 | 60,000 | 29 ธันวาคม 2551 | 5/1/52 - 19/1/52 | 14 | | พ.132/14/51 | 60.000 | 30 ธันวาคม 2551 | 6/1/52 - 20/1152 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2551 (นางอัจนา ไวความดี) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,635
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6 /2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม ในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฎ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 อื่นๆ - 3.เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางวันทนา เฮงสกุล 2. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์ 3. นายบรรยง ดํารงศิริ 4. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล 5. นางสมศรี สมัตาดล 6. นายอัครเดช ดาวเงิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2555 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,636
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 107/2551 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 107 /2551 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ดังนี้ | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ | | 1/28/52 | 7,000 | 6 ม.ค. 52 | 8/1/52 - 5/2/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 1/364/52 | 50.000 | 6 ม.ค. 52 | 8/1/52 - 7/1/53 | 364 วัน | 364 วัน | | 2/28/52 | 7,000 | 13 ม.ค. 52 | 15/1/52 - 12/2/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 1/63/52 | 30.000 | 13 ม.ค. 52 | 15/1/52 - 19/3/52 | 63 วัน | 63 วัน | | 3/28/52 | 7,000 | 20 ม.ค. 52 | 22/1/52 - 19/2/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 4/28/52 | 7.000 | 27 ม.ค. 52 | 29/1/52 - 26/2/52 | 28 วัน | 28 วัน | | 1/3ปี/2552 | 20,000 | 27 ม.ค. 52 | 29/1/52 - 29/1/55 | 3 ปี | 3 ปี | โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/3 ปี/2552 มีรายละเอียด ดังนี้ | | | | --- | --- | | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 23 ม.ค. 2552 | | การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน | | วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 29 ม.ค. และ ก.ค. ของทุกปี | | วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 29 ก.ค. 2552 | | วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 29 ม.ค. 2555 เป็นการ ไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการ ไถ่ถอนก่อนกําหนด | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2551 (นางอัจนา ไวความดี) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,637
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7 /2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554 อื่นๆ - 3. เนื้อหา ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้ 1. นางวันทนา เฮงสกุล 2. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์ 3. นายยรรยง ดํารงศิริ 4. นางสาวสุนัน เชี่ยววัฒนะกุล 5. นางสมศรี สมัตาดล 6. นายอัครเดช ดาวเงิน 7. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ 8. นายบุญชัย กาญจนพิมาย 9. นายอนันต์ อิงวิยะ 10. นายภูวดล เหล่าแก้ว 11. นายสัญชัย สุวรรณวงศ์ 12. นายพิชิต ภัทรวิมลพร 13. นายธเนศชัย อังวราวงศ์ 14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ 15. นายชัชวาลย์ ตียะพาณิชย์ 16. นายชนัช เทียมมณีเนตร 17. นางสุภาวดี ปุณศรี 18. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร 19. นางศรีสกุล รังสิกุล 20. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ 21. นายรณรงค์ ไชยสมบัติ อื่นๆ - 4. วันที่เริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2555 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,638
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สถง. 108/2551 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 มกราคม 2552
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สถง. 108 /2551 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 มกราคม 2552 ---------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 มกราคม 2552 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเ อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 2/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 2 มกราคม 2552 เท่ากับร้อยละ 2.82266 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2551 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2551 (นางอัจนา ไวความดี) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,639
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7 /2555 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.5/14/55 | 100,000 | 3 กุมภาพันธ์ 2555 | 7/2/55-21/2/55 | 14 | อื่นๆ - 4. วันที่เริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม 2555 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,640
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7/2555 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 7 /2555 เรื่อง การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องมานานแล้ว และได้มีการปรับปรุงมาในหลายโอกาส ทั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ และมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับการไหลออกของแหล่งเงินจากประชาชนทั้งที่อยู่ในรูปเงินฝากและเงินกู้ยืม โดยเฉพาะแหล่งเงินที่มีลักษณะไหวตัวเร็ว ซึ่งหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องที่ผ่านมาได้กําหนดให้ฐานในการคํานวณสินทรัพย์สภาพคล่องประกอบไปด้วยเงินรับฝากและเงินกู้ยืมบางประเภทเท่านั้นอย่างไรก็ดี ต่อมา เมื่อธนาคารพาณิชย์ต้องนําส่งเงินเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากในปริมาณที่มีนัยสําคัญ ต้นทุนทางการเงินของธนาคารพาณิชย์จึงปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์หันไประดมเงินจากประชาชนผ่านช่องทางอื่นที่มิใช่การรับฝากเงิน เช่น ตั๋วแลกเงิน แต่มีวัตถุประสงค์ในการระดมเงินคล้ายเงินรับฝาก เพื่อเป็นการลดภาระด้านต้นทุน รวมทั้งทําให้สามารถเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าให้แก่ผู้ลงทุนได้ โดยเฉพาะในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ําและมีการแข่งขันสูงในการระดมเงิน ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง และเพื่อให้เหมาะกับพัฒนาการของสภาพแวดล้อมทางการเงินในปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงฐานในการคํานวณอัตราส่วนการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องให้ครอบคลุมการกู้ยืมเงินจากการออกตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินของธนาคารพาณิชย์ แต่ยังไม่รวมการกู้ยืมจากการออกตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงิน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยไม่ได้เน้นใช้แหล่งเงินจากการกู้ยืมประเภทนี้ในการดําเนินธุรกิจ จึงทําให้มีปริมาณไม่มากนัก อย่างไรก็ดี ในอนาคตอันใกล้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านสภาพคล่องให้สามารถสะท้อนลักษณะความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินได้ดียิ่งขึ้น โดยจะคํานึงถึงพัฒนาการและแนวทางการบังคับใช้มาตรฐานสากลด้านสภาพคล่องภายใต้หลักเกณฑ์ Basel III ซึ่งอาจมีการทบทวนและนับรวมการกู้ยืมระหว่างสถาบันการเงินเข้ามาด้วย ทั้งนี้ สําหรับการนับรวมตั๋วสัญญาใช้เงินในฐานการคํานวณสินทรัพย์สภาพคล่องแม้ว่าปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินในการกู้ยืมจากสถาบันการเงินเท่านั้น ในขณะที่ใช้ตั๋วแลกเงินในการระดมเงินจากประชาชน ซึ่งเป็นการใช้เครื่องมือทางการเงินในการแบ่งแยกการระดมเงินในแต่ละตลาดได้อย่างชัดเจนดีแล้ว แต่เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้นับรวมตั๋วแลกเงินในฐานการคํานวณสินทรัพย์สภาพคล่องแล้ว ก็เกรงว่าจะมีพัฒนาการในการนําตั๋วสัญญาใช้เงินมาใช้ในการระดมเงินจากประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนับรวมตั๋วสัญญาใช้เงินในฐานการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องด้วย เพื่อให้มีความสอดคล้องกัน นอกจากนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการนับหลักทรัพย์เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติในปัจจุบัน อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 64 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องและประเภทสินทรัพย์สภาพคล่องตามประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 39/2551 เรื่อง การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 ธนาคารพาณิชย์ต้องดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยแล้วไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6 ของยอดเงินรับฝากและยอดเงินกู้ยืมดังต่อไปนี้ 5.1.1 ยอดรวมเงินรับฝากทุกประเภท 5.1.2 ยอดรวมเงินกู้ยืมจากการออกตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ยกเว้นตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 5.1.3 ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศที่ครบกําหนดใน 1 ปีนับแต่วันกู้และยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศซึ่งอาจชําระคืนหรืออาจถูกเรียกคืนได้ใน 1 ปีนับแต่วันกู้ เว้นแต่เป็นเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 1 5.1.4 ยอดรวมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝง ทั้งนี้ ยอดรวมเงินรับฝากและยอดรวมเงินกู้ยืมข้างต้นให้นับรวมยอดเงินซึ่งโอนเข้ามาในประเทศไทยจากสาขาหรือสํานักงานใหญ่ในต่างประเทศที่แสดงอยู่ในบัญชีระหว่างกันด้วย 5.2 สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารงตามข้อ 5.1 ดังกล่าว ประกอบด้วย 5.2.1 เงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ํากว่าร้อยละ 0.8 5.2.2 เงินฝากประจําที่ธนาคารแห่งประเทศไทย 5.2.3 เงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยแล้วไม่เกินร้อยละ 0.2 และเมื่อนําไปนับรวมกับ 5.2.1 แล้วจะต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 1 5.2.4 เงินสดที่ธนาคารพาณิชย์แต่เมื่อรวมกับเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่ต้องดํารงตาม 5.2.3 แล้ว ให้ถือเป็นสินทรัพทย์สภาพคล่องได้ไม่เกินร้อยละ 2.5 5.2.5 หลักทรัพย์หรือตราสารซึ่งปราศจากภาระผูกพันและสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ (หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 1 ของเอกสารแนบ 1) ดังต่อไปนี้ (1) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (2) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ค้ําประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย (3) หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่สามารถใช้เป็นหลักประกันในการทําธุรกรรมซื้อขายพันธบัตรกับธนาคารแห่งประเทศไทย ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืนและการขายตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยกับไพรมารี ดีลเลอร์ (Primary Dealer) และเกี่ยวกับการขายตราสารหนี้เพื่อบริหารสภาพคล่องโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน (4) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามเอกสารแนบ 2 5.2.6 ตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกเพื่อทําธุรกรรมกับ ธนาคารพาณิชย์ และปราศจากภาระผูกพัน 5.2.7 หลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงิน ที่กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน รับรอง อาวัล หรือค้ําประกันเฉพาะต้นเงินหรือรวมทั้งดอกเบี้ย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน 5.3 สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารงตามประกาศนี้ให้คิดจากส่วนเฉลี่ยรายปักษ์ของทุกสิ้นวันและส่วนเฉลี่ยรายปักษ์ของยอดรวมเงินรับฝากหรือเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณีทุกสิ้นวันในปักษ์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ให้ถือเอาวันพุธเป็นวันเริ่มต้นของปักษ์ และสิ้นสุดในวันอังคารของอีกสองสัปดาห์ถัดมาจากวันดังกล่าว (รวมปักษ์ละ 14 วัน) โดยให้นับวันหยุดทําการรวมคํานวณเข้าด้วย ในกรณีที่ในปักษ์ใดปักษ์หนึ่ง ธนาคารพาณิชย์ดํารงเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยไว้น้อยกว่าร้อยละ 0.8 หรือดํารงเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยไว้น้อยกว่าร้อยละ 1 ให้สามารถโอนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใน 1 ปักษ์ก่อนหน้า หรือเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใน 1 ปักษ์ถัดไป ที่ได้ดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องถูกต้องตามประกาศฉบับนี้และมีการดํารงเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไว้เกินเกณฑ์ขั้นต่ําที่กําหนดไว้ในข้อ 5.2.1 เข้ามารวมในการคํานวณเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในปักษ์ที่ขาดได้ภายใต้ข้อกําหนดดังนี้ 5.3.1 การโอนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยส่วนที่ดํารงไว้เกินในปักษ์ก่อนหน้าเพื่อนําไปใช้สําหรับปักษ์ที่ขาด สามารถทําได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของ (1) หรือ (2) แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า ดังนี้ (1) จํานวนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ธนาคารพาณิชย์ได้ดํารงไว้จริงในข้อ 5.2.1 ของปักษ์ที่โอน หรือ (2) จํานวนที่คํานวณจากร้อยละ 1 ของยอดรวมเงินรับฝากและเงินกู้ยืมตามข้อ 5.1 ของปักษ์ที่โอน 5.3.2 การโอนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในปักษ์ถัดไปเพื่อนําไปใช้สําหรับปักษ์ที่ขาด สามารถทําได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจํานวนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องดํารงตามเกณฑ์ขั้นต่ําที่กําหนดไว้ในข้อ 5.2.1 ของปักษ์ที่ขาด 5.3.3 เงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยส่วนที่โอนไปใช้ในปักษ์ที่ขาดจะต้องถูกหักออกจากจํานวนเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสําหรับการคํานวณสินทรัพย์สภาพคล่องในปักษ์ที่โอนนั้น และการโอนดังกล่าวต้องไม่ทําให้ปักษ์ที่โอนดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องต่ํากว่าอัตราที่ประกาศฉบับนี้กําหนด อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2555 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,641
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2562 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2562 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562 ------------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2562 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2560 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.1/14/62 | 40,000 | 4 มกราคม 2562 | 8/1/62 - 22/1/62 | 14 | อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มกราคม 2562 (นายเมธี สุภาพงษ์) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ผู้ว่าการแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,642
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10 /2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) --------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนตาม Basel II ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 โดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ Basel III: a global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนที่มีคุณภาพดีและเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต และเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินโดยรวม นั้น ในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) เพื่อเป็นการรองรับการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ในประเทศไทย ในส่วนของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (Thai Financial Reporting Standard No 9: Financial Instruments: TFRS 9) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่งวดการบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยมาตรฐานฉบับดังกล่าวมีการปรับปรุงการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน รวมถึงได้เพิ่มข้อกําหนดการด้อยค่าสําหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินทรัพย์และภาระผูกพัน เพื่อให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านเครดิต และรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ทันเวลามากยิ่งขึ้น การปรับปรุงประกาศในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงยึดหลักการเดิมของการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตาม Basel II!โยมีสาระสําคัญในการปรับปรุง คือ การปรับปรุงนิยามรายการเงินสํารองทั่วไป (General provision) และ Specific provision ในส่วนของการพิจารณาความเพียงพอของเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) ของพอร์ตสินทรัพย์ที่คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองตาม TFRS 9 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เยงด้านเครดิตโดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ อื่นๆ - 3. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 16/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร อื่นๆ - 5. เนื้อหา 5.1 คําจํากัดความ ในประกาศฉบับนี้ "Unexpected loss (UL)" หมายความว่า ค่าความเสียหายที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้ "Expected loss (EL)" หมายความว่า ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น "Probability of default (PD)" หมายความว่า ค่าความน่าจะเป็นที่ลูกหนี้จะผิดนัดชําระหนี้ "Loss given default (LGD)" หมายความว่า ร้อยละของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ต่อยอดหนี้ "Exposure at default (EAD)" หมายความว่า ยอดหนี้หรือประมาณการยอดหนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ "Effective maturity (M)" หมายความว่า ระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือของหนี้ที่ใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต "ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation)" หมายความว่า ค่าความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าสินทรัพย์ซึ่งสะท้อนค่า PD ของลูกหนี้แต่ละรายกับปัจจัยความเสี่ยงจากระบบ (Systematic risk factor) "ลูกหนี้" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก และรายการนอกงบดุล รวมถึงข้อผูกพันและสิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้ตามกฎหมายอื่น ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝาก ให้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีด้วย "Specific provision " หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด รวมถึงค่าเผื่อสําหรับส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าของสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน (FVTPL) และสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ( FVTOCI) และค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นซึ่งไม่รวมถึงส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ได้นับเป็นเงินสํารองทั่วไปในเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว "เงินสํารองทั่วไป (General provision)" หมายความว่า เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต ( Performing) และเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต(Under-performing) แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองทั่วไปส่วนที่นับเป็น Specific provision แล้ว โดยเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์และภาระผูกพันในชั้น Performing และ Under-performing ดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน "Dilution risk" หมายความว่า ความเสี่ยงที่ยอดหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อมาอาจมีมูลค่าลดลงได้ เนื่องจากผู้ขายลูกหนี้มีข้อตกลงกับลูกหนี้ เช่น การที่ผู้ขายลูกหนี้ให้ส่วนลดแก่ลูกหนี้หากลูกหนี้จ่ายชําระหนี้ภายในเวลาที่กําหนด หรือการให้ลูกหนี้คืนสินค้าที่ซื้อไปได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดเนื่องจากสินค้ามีคุณภาพไม่ดี หรือผู้ขายลูกหนี้มีภาระหนี้ต่อลูกหนี้ เป็นต้น 5.2 หลักการ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Standardised Approach (วิธี SA) และ Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) เพื่อเป็นทางเลือกสําหรับธนาคารพาณิชย์ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้เหมาะสมกับความซับซ้อนของระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของตนเอง วิธี IRB เป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เครื่องมือภายในของธนาคารพาณิชย์ ในการประมาณค่าความเสียหายจากความเสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งค่าความเสียหายดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามแนวทางการดําเนินการเพื่อรองรับความเสียหาย ดังนี้ (1) ค่าความเสียหายที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้ (Unexpected loss: UL) เป็นส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ควรมีเงินกองทุนรองรับ ซึ่งปริมาณเงินกองทุนขั้นต่ําที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องดํารงเพื่อรองรับ UL จะประเมินจากมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณได้ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ (2) ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss: EL) เป็นส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ควรมีเงินสํารองที่กันไว้รองรับ โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องนําค่า EL ที่คํานวณได้ตามประกาศฉบับนี้ไปเปรียบเทียบกับเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) ซึ่งหากมีส่วนต่างเกิดขึ้นธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในประกาศฉบับนี้ วิธีการประมาณค่าความเสี่ยงข้างต้นนั้นมีหลายวิธี ซึ่งวิธีหลักของการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี เRB คือ การคํานวณโดยใช้สูตร PD/LGD (Risk weight function) ที่มีค่าองค์ประกอบความเสี่ยง (Risk component) 4 ตัวแปร ได้แก่ Probability of default (PD) Loss given default (LGD) Exposure at default (EAD) และ Effective maturity (M) ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ธนาคารพาณิชย์มีทางเลือกในการใช้สูตร PD/LGD (Risk weight function) ดังนี้ (1) Foundation Internal Ratings-Based Approach (วิธี FIRB) คือ วิธีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องประมาณค่า PD เอง แต่ค่าองค์ประกอบความเสี่ยงอื่นให้ใช้ค่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (2) Advanced Internal Ratings-Based Approach (วิธี AIRB) คือ วิธีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยงทั้ง 4 ตัวแปรเอง โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป 5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี IRB ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้ 5.3.1 ประเภทสินทรัพย์ (Asset class) ประเภทสินทรัพย์' (Asset class) ภายใต้วิธี IRB แบ่งออกเป็น 7 ประเภทหลัก และในแต่ละประเภทอาจแบ่งเป็นประเภทย่อย (Sub-asset class)2 ดังนี้ (1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล (2) ลูกหนี้สถาบันการเงิน (3) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชน แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ (3.1) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทั่วไป (3.2) สินเชื่อกลุ่มพิเศษ (4) ลูกหนี้รายย่อย แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ (4.1) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (4.2) วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อรายย่อย (4.3) สินเชื่อรายย่อยอื่น (5) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน (6) ลูกหนี้ที่รับซื้อมา แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ (6.1) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชนที่รับซื้อมา (6.2) ลูกหนี้รายย่อยที่รับซื้อมา (7) สินทรัพย์อื่น 5.3.2 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ 7 ประเภท ตามข้อ 5.3.1 แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดยมีรายละเอียดวิธีการคํานวณและการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยงตามเอกสารแนบ 1 ถึง 5 ซึ่งสามารถสรุปวิธีการคํานวณสําหรับสินทรัพย์แต่ละกลุ่มและรายละเอียดประกอบการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ดังนี้ สรุปวิธีการคํานวณ กลุ่มที่ 1 ลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน และธุรกิจเอกชน สําหรับลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน และธุรกิจเอกชน ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยแบ่งเป็น 2 กรณี (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 1) ดังนี้ (1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน ธุรกิจเอกชนทั่วไป และสินเชื่อกลุ่มพิเศษที่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function) โดยมีทางเลือกระหว่างวิธี FIRB และวิธี AIRB (2) สินเชื่อกลุ่มพิเศษที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธี Supervisory slotting criteria ที่กําหนดให้นําค่า EAD มาคูณด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ซึ่งได้จากการเทียบเคียง Internal rating ของสินเชื่อกลุ่มพิเศษของธนาคารพาณิชย์กับ Rating 5 อันดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้รายย่อย สําหรับลูกหนี้รายย่อย ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้รายย่อย (Retail risk weight function) โดยต้องใช้วิธี AIRB เท่านั้น (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 2) กลุ่มที่ 3 ฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน สําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่สอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงของตนสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนแต่ละพอร์ต (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 3) (1) วิธี Market-based ประกอบด้วย 2 วิธีย่อย ดังนี้ (1.1) วิธี Simple risk weight ให้ธนาคารพาณิชย์นําค่า EAD มาคูณด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (1.2) วิธีแบบจําลองภายใน (Internal models method) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจากแบบจําลอง Value-at-risk (VaR) (2) วิธี PD/LGD ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function) กลุ่มที่ 4 ลูกหนี้ที่รับซื้อมา สําหรับลูกหนี้ที่รับซื้อมา ธนาคารพาณิชย์ต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตเพื่อรองรับความเสี่ยง 2 ประเภท (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4) ได้แก่ (1) ความเสี่ยงจากการที่ยอดหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อมาอาจมีมูลค่าลดลงได้เนื่องจากผู้ขายลูกหนี้มีข้อดกลงที่จะลดยอดหนี้ให้กับลูกหนี้ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดไว้ล่วงหน้า(Dilution risk) ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function) ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับ Dilution risk ทั้งกรณีที่ลูกหนี้ที่รับซื้อมาเป็นลูกหนี้ธุรกิจเอกชนและลูกหนี้รายย่อย (2) ความเสี่ยงจากการที่ลูกหนี้ที่รับซื้อมาไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนด (Default risk) โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับ Default risk แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ (2.1) กรณีลูกหนี้ที่รับซื้อมาเป็นลูกหนี้ธุรกิจเอกชน ให้ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้วิธี Bottom-up หรือวิธี Top-down ได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function) (2.2) กรณีลูกหนี้ที่รับซื้อมาเป็นลูกหนี้รายย่อย ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้รายย่อย (Retail risk weight function) ตามประเภทของลูกหนี้รายย่อยที่รับซื้อมา กลุ่มที่ 5 สินทรัพย์อื่น สําหรับสินทรัพย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นํายอดคงค้างของสินทรัพย์อื่นที่หักด้วย Specific provision มาคูณด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 5) รายละเอียดประกอบการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์กลุ่มที่ 1 ถึง 5 ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ในกลุ่มที่ 1 ถึง 5 ข้างต้น สําหรับฐานะที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์ ฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น ฐานะที่ใช้สูตร PD/LGD ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต หรือฐานะที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยใช้วิธีการ ดังต่อไปนี้ ฐานะที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์ (Derivatives) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ทุกฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคารและบัญชีเพื่อการค้าตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ โดยธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ในบัญชีเพื่อการค้าต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดสําหรับธุรกรรมดังกล่าวด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ยกเว้นฐานะของอนุพันธ์ด้านเครดิต"ที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคารทั้งกรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตและผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) กรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต (Protection seller)/ ให้ธนาคารพณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี SA เรื่อง หลักเกณฑ์การกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงและค่าแปลงสภาพสําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives ในบัญชีเพื่อการธนาคาร (2) กรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต(Protection buyer) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ตามที่กําหนดในการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง LGD กรณีมีการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต ตามประเภทของสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงตามรายละเอียดที่ระบุในเอกสารแนบของประกาศฉบับนี้ ฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsettled transaction) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์ เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์ ฐานะที่ใช้สูตร PD/LGD ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ยกเว้นสูตร PD/LGD กรณีลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์คูณค่า Scaling factor 1.06 ในการคํานวณร้อยละของเงินกองทุน ตามรายละเอียดที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบ 1 และเอกสารแนบ 2 ฐานะที่เป็นเงินตราต่างประเทศ กรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกประเภท ให้ธนาคารพาณิชย์แปลงเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน 5.4 หลักเกณฑ์การพิจารณาความเพียงพอของเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) ต่อความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss) นอกจากคํานวณหาค่า UL เพื่อคํานวณหามูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตแล้วธนาคารพาณิชย์ต้องคํานวณหาผลรวมของค่า EL ของลูกหนี้ทุกประเภทที่คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อนําค่าดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) ซึ่งหากมีความแตกต่างระหว่างค่า EL ที่คํานวณได้กับเงินสํารองที่กันไว้แล้ว ให้ธนาคารพณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด(รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 6) 5.5 เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี IRB (Minimum requirements for IRB approach) ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี IRB ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ํา (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 7) ในเรื่องต่อไปนี้ (1) การออกแบบและพัฒนาระบบ Internal rating (2) วิธีปฏิบัติสําหรับระบบการให้ Internal rating (3) ธรรมาภิบาลและการควบคุม (4) การใช้ระบบ Internal rating (5) การกําหนดค่าความเสี่ยง (6) การทดสอบความถูกต้องของค่าประมาณการ (7) มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับการใช้ค่า LGD และค่า EAD ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (8) เกณฑ์ปฏิบัติสําหรับการให้เช่าแบบลีสซิ่ง (9) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน (10) การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ 5.6 การยื่นขออนุญาตและกรอบการใช้วิธี IRB (Adoption of the IRB approach) ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี RB ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย และต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานชั้นต่ําสําหรับวิธี IRB (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 7) นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามกรอบการใช้วิธี เRB ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 8) ทั้งนี้ การยื่นขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กําหนดในคู่มือประชาชน ธนาคารพาณิชย์สามารถนําส่งหนังสือ (Application) พร้อมเอกสารประกอบการขออนุญาตใช้วิธี IRB ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ 5.7 การจัดทําและจัดเก็บเอกสาร ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดทํา จัดเก็บและจัดส่งข้อมูล รวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการกํากับดูแลได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่งวดการบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ยกเว้นในส่วนที่แก้ไขซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ TFRS 9 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,643
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2555 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8 /2555 เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 เท่ากับร้อยละ 2.94692 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 ลบร้อยละ 0.2) อื่นๆ - 4. วันที่เริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,644
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การออกตั๋วเงินของธนาคารพาณิชย์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 8 / 2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การออกตั๋วเงินของธนาคารพาณิชย์ --------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วแลกเงิน และกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข รวมทั้งระบบการควบคุมภายใน ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติ โดยมิได้กําหนดจํานวนเงินขั้นต่ําของตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการระดมเงินให้กับธนาคารพาณิชย์ โดยในช่วงแรกนั้นยังไม่มีระบบคุ้มครองเงินฝากของประชาชนดังเช่นในปัจจุบัน ซึ่งในระยะเริ่มต้น ธนาคารพาณิชย์ก็จะระดมเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วแลกเงินที่มีมูลค่าหน้าตั๋วอยู่ประมาณ 1 ล้านบาท ในระยะหลังธนาคารพาณิชย์ได้ออกตั๋วแลกเงินระดมเงินจากประชาชนรายย่อยโดยมีมูลค่าหน้าตั๋วที่ลดลงเรื่อย ๆ เช่น ลดลงมาถึง 10,000 บาทต่อฉบับ เสมือนหนึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เงินฝาก แต่เมื่อตั๋วแลกเงินซึ่งประชาชนรายย่อยถือนี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หากเกิดปัญหากับธนาคารพาณิชย์ ประชาชนรายย่อยผู้ถือตั๋วแลกเงินก็จะได้รับความเสียหายแตกต่างจากเงินฝากที่จะได้รับการชดเชยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของลูกค้าและประชาชน เพื่อปกป้องประชาชนรายย่อย คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กํากับดูแลการระดมเงินทุนจากประชาชนนอกเหนือจากการรับฝากเงินได้ออกหลักเกณฑ์เพื่อคุ้มครองในการระดมเงินทุนจากประชาชนด้วยการกําหนดมูลค่าหน้าตั๋วเงินขั้นต่ํา10 ล้านบาท อายุตั๋วเงินไม่เกิน 270 วัน และตั๋วเงินต้องไม่มีอนุพันธ์แฝง จากเหตุผลข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงประกาศฉบับนี้ เพื่อให้การกํากับดูแลการออกตั๋วเงินของธนาคารพาณิชย์มีความสอดคล้องกับประกาศของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และว่าด้วยการขออนุญาตและอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และประกาศของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับปรุงสาระบางส่วนของประกาศฉบับนี้ให้มีความชัดเจนและทันสมัยขึ้น ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึงธุรกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (Interbank Loan) ที่ใช้ตั๋วเงินเป็นหลักฐานในการกู้ยืม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 มาตรา 41 มาตรา 46 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกตั๋วเงินและให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 46/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา ในการออกตั๋วเงิน ธนาคารพาณิชย์ต้องออกตั๋วเงินเฉพาะตั๋วเงินตามความหมายในประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 5.1 ในประกาศนี้ "ตั๋วเงิน" หมายความว่า ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ออกเพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือเพื่อการกู้ยืมเงิน 5.2 ลักษณะและเงื่อนไขของตั๋วเงิน ตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์ออกต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 5.2.1 เป็นตั๋วเงินประเภทระบุชื่อผู้รับเงิน 5.2.2 เป็นตั๋วเงินสกุลเงินบาทเพื่อระดมทุนหรือกู้ยืมเงินจากบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศเป็นการทั่วไป 5.2.3 ธนาคารพาณิชย์สามารถออกตั๋วเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศได้เฉพาะเพื่อกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ที่เป็นนิติบุคคลรับอนุญาตภายใต้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน โดยตั๋วเงินดังกล่าวต้องมีข้อความ "เปลี่ยนมือไม่ได้" หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกันบนด้านหน้าตั๋วเงิน 5.2.4 ในการออกตั๋วเงินตามข้อ 5.2.3 ธนาคารพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศและหนังสือเวียน และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและมาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเคร่งครัดด้วย 5.2.5 การออกตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีลักษณะและเงื่อนไขที่เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการออกและเสนอขายตราสารหนี้ และประกาศของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยเรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ประกาศและหลักเกณฑ์อื่นที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องด้วย 5.2.6 ธนาคารพาณิชย์ต้องมีมาตรการป้องกันการปลอมแปลงและการแก้ไขข้อความบนตั๋วเงิน ทั้งนี้ ตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์ออกต้องเป็นไปตามแบบมาตรฐานขั้นต่ํา ดังต่อไปนี้ (1) ใช้กระดาษสําหรับพิมพ์สิ่งพิมพ์มีค่า (Security Paper) เช่น กระดาษตามมาตรฐาน London Clearing Banks Paper Specification No.1 พร้อมทั้ง มีลายน้ํา (Watermark) ฝังอยู่ในเนื้อกระดาษ (2) มีรายการตามที่กําหนดในมาตรา 909 และมาตรา 983 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (3) มีหมายเลขอ้างอิงของตั๋วเงินที่จัดพิมพ์จากโรงพิมพ์ ซึ่งเป็นหมายเลขที่เรียงลําดับติดต่อกันและต่อเนื่องจากหมายเลขในแบบพิมพ์ลักษณะเดียวกันที่ธนาคารพาณิชย์นั้นสั่งพิมพ์ในครั้งก่อน (4) มีข้อกําหนดในตั๋วเงินว่า "ไม่จําต้องมีคําคัดค้าน" หรือคําอื่นในทํานองเดี๋ยวกัน 5.3 การคุ้มครองลูกค้า เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค ธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตัวเงินต้องให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่เพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน โดยธนาคารพาณิชย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ 5.3.1 ต้องชี้แจงต่อลูกค้าเกี่ยวกับลักษณะธุรกรรมของตั๋วเงินและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เช่น วิธีการโอนตั๋วเงิน ความเสี่ยงกรณีลูกค้าทําตั๋วเงินสูญหาย และความเสี่ยงกรณีที่อาจทําให้ลูกค้าไม่ได้รับเงินต้นหรือดอกเบี้ยครบตามจํานวน เพื่อให้ลูกค้าสามารถประเมินความเสี่ยงในการซื้อตั๋วเงินได้ 5.3.2 ต้องทําความเข้าใจกับลูกค้าว่า ผู้ทรงตั๋วเงินนั้น มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของธนาคารพาณิชย์และตั๋วเงินดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองเงินต้นและดอกเบี้ยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พร้อมทั้งระบุถ้อยคําที่สื่อได้ว่า ตั๋วเงินนี้ไม่ได้รับการคุ้มครองเงินต้นและดอกเบี้ยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 5.3.3 ต้องชี้แจงเงื่อนไขและวิธีการคํานวณ และการจ่ายชําระคืนเงินต้นหรือผลตอบแทนของตั๋วเงิน รวมถึงการคิดค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมในกรณีที่ลูกค้าต้องการไถ่ถอนตั๋วเงินก่อนครบกําหนด (ถ้ามี) ให้ลูกค้าเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนตัดสินใจซื้อตั๋วเงิน 5.3.4 ต้องจัดให้มีหลักฐานแสดงว่าลูกค้าผู้ซื้อตั๋วเงินมีความเข้าใจข้อมูลตามข้อ (5.3.1) - (5.3.3) เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ 5.3.5 หลักเกณฑ์ตามข้อ (5.3.1) - (5.3.3) ข้างต้นไม่ใช้บังคับกับตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์ออกเพื่อกู้ยืมเงินจากผู้ลงทุนสถาบันตามรายชื่อผู้ลงทุนสถาบันที่กําหนดท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 1) และมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น 5.3.6 ต้องยืนยันความถูกต้องและแท้จริงของตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกเมื่อได้รับการร้องขอ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์อาจกําหนดวิธีการและระยะเวลาในการยืนยันความถูกต้องของตั๋วเงินได้ โดยต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า 5.3.7 เพื่อให้ลูกค้ามีสิทธิในการเลือกใช้บริการดูแลและเก็บรักษาตั๋วเงินธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตั๋วเงินสามารถเสนอบริการดูแลและเก็บรักษาตั๋วเงินให้แก่ลูกค้า โดยแยกหน่วยงานที่ดูแลและเก็บรักษาตั๋วเงินดังกล่าวต่างหากจากหน่วยงานที่ออกตั๋วเงินหรือหน่วยงานที่ทําการซื้อขายตั๋วเงินโดยเด็ดขาด โดยธนาคารพาณิชย์อาจทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนการโอนตั๋วเงินซึ่งตนเองออกได้ 5.4 การปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ย ส่วนลด และค่าบริการต่าง ๆ (1) ให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์จะจ่ายสําหรับตั๋วเงิน รวมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกตั๋วเงินและเงื่อนไขต่าง ๆ (ถ้ามี ไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่ให้บริการ ภายในวันเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศหรือเปลี่ยนแปลงประกาศ (2) เผยแพร่ประกาศอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดตามข้อ (1) ไว้ในเว็บไซต์ (Website) ของธนาคารพาณิชย์ก่อนวันที่อัตราที่ประกาศมีผลใช้บังคับ และต้องเผยแพร่ข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้ลูกค้าเรียกดูข้อมูลได้ 5.5 ระบบการควบคุมภายใน ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมในกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมตั๋วเงินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยธนาคารพาณิชย์ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ํา ดังนี้ 5.5.1 การออกตั๋วเงิน (1) ต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางราชการที่แสดงชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อตั๋วเงิน รวมทั้งจัดให้มีสําเนาเอกสารหลักฐานดังกล่าว (2) การออกตั๋วเงินให้เป็นไปตามลําดับของหมายเลขตั๋วเงินที่โรงพิมพ์ได้จัดพิมพ์ไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์อาจพิมพ์เลขที่หรือรหัสอื่นเพิ่มเติมต่างหากจากหมายเลขตั๋วเงินเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงก็ได้ และหากมีการยกเลิกตั๋วเงินฉบับใด ต้องประทับตรา "ยกเลิก" หน้าตั๋วเงินนั้น และให้จัดเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและตรวจสอบต่อไป (3) จัดทําทะเบียนควบคุมการออกตั๋วเงิน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับ วันที่ออก เลขที่อ้างอิงตั๋วเงิน ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อตั๋วเงิน ชื่อผู้รับเงินตามตั๋วเงิน สกุลเงินจํานวนเงินที่ตราไว้ วันครบกําหนด อัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลด และชื่อและที่อยู่ของผู้รับเงินจากการไถ่ถอนตั๋วเงิน (4) จัดให้มีบัญชีคุมยอดคงเหลือของตั๋วเงินที่เป็นปัจจุบัน 5.5.2 การเก็บรักษาแบบพิมพ์ตั๋วเงิน (Blank Form) (1) ให้เก็บรักษาแบบพิมพ์ตั๋วเงินไว้ในห้องนิรภัยหรือตู้นิรภัยภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่จัดไว้โดยเฉพาะ รวมทั้งกําหนดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเบิกแบบพิมพ์ตั๋วเงินให้ชัดเจน และในการเบิกแบบพิมพ์ทุกครั้ง ต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดังกล่าวลงนามไว้เป็นหลักฐานร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บรักษาแบบพิมพ์ (2) ให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบปฏิบัติการและการควบคุมภายในที่เหมาะสมในเรื่องการเก็บรักษาแบบพิมพ์ตั๋วเงิน และการจัดทําทะเบียนควบคุมแบบพิมพ์ให้เป็นปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับวันที่และจํานวนแบบพิมพ์ที่ได้รับจากโรงพิมพ์ วันที่และจํานวนที่เบิกใช้ และยอดคงเหลือ (3) ให้ตรวจนับยอดคงเหลือของแบบพิมพ์ตั๋วเงิน พร้อมทั้ง ตรวจเทียบกับทะเบียนควบคุมแบบพิมพ์อย่างน้อยเดือนละครั้ง 5.6 การจ่ายเงินตามตั๋วเงิน 5.6.1 การจ่ายเงินตามตั๋วเงินเมื่อครบกําหนด หรือการจ่ายเงินตามตั๋วเงินที่ลูกค้าไถ่ถอนก่อนกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประทับตรา "จ่ายแล้ว" หน้าตั๋วเงินดังกล่าว รวมทั้งบันทึกชื่อและที่อยู่ของผู้รับเงินจากการไถ่ถอนตั๋วเงินที่ปรากฎตามหลักฐานทางราชการไว้หน้าตั๋วเงินนั้น 5.6.2 ในกรณีที่วันครบกําหนดชําระเงินตามตั๋วเงินตรงกับวันหยุดทําการของธนาคารพาณิชย์ ให้ถือเอาวันทําการวันแรกต่อจากวันหยุดทําการนั้นเป็นวันครบกําหนดชําระเงิน ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยให้สําหรับวันหยุดทําการนั้นด้วย ตามอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในตั๋วเงินหรือไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่จ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ตามที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกําหนด แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า เว้นแต่ลูกค้าจะมีข้อตกลงกับธนาคารพาณิชย์เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนว่าให้โอนเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากอื่นของลูกค้าตั้งแต่วันครบกําหนดจ่ายคืน 5.7 การจัดเก็บข้อมูลและการรายงาน (1) ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด (2) ธนาคารพาณิชย์ที่ออกตั๋วเงินต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทําธุรกรรมได้แก่ เลขที่อ้างอิงตั๋วเงิน สาขาที่ออก วันที่ออก วันครบกําหนด ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อตั๋วเงิน ชื่อผู้รับเงินตามตั๋วเงิน สกุลเงิน จํานวนเงินที่ตราไว้ วันครบกําหนด อัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลด รวมทั้ง ชื่อและที่อยู่ของผู้รับเงินจากการไถ่ถอนตั๋วเงิน เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบหรือจัดส่งสําเนาให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ (3) ให้ธนาคารพาณิชย์รายงานธุรกรรมการออกตั๋วเงินเป็นเงินกู้ยืมตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดท้ายประกาศนี้ (เอกสารแนบ 2) รวมถึงแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเพิ่มเติมตามความเหมาะสมต่อไป อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2555 (นายเกริก วณิกกุล) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่ากาแทน
6,645
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10/2562 เรื่อง การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 10 /2562 เรื่อง การขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดวิธีปฏิบัติในการขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย และรวบรวมวิธีปฏิบัติการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ที่กําหนดไว้ในประกาศหลายฉบับให้รวมอยู่ในฉบับเดียวกัน เพื่อให้มีความชัดเจนและง่ายต่อการปฏิบัติจึงเห็นสมควรออกประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 2. หลักเกณฑ์ที่อ้างอิง อาศัยอํานาจตามความใน ข้อ 5.2 ข้อ 5.3 และข้อ 5.4 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการธุรกรรมตราสารหนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ขอรับบริการ ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการธุรกรรมตราสารหนี้ อื่นๆ - 4. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กําหนดวิธีปฏิบัติการขอรับบริการธุรกรรมตราสารหนี้ที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนสําหรับประเภทธุรกรรม ดังต่อไปนี้ 4.1 การจัดการมรดกตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร 4.1.1 ผู้ขอรับบริการติดต่อ ธปท. พร้อมเอกสารหลักฐาน และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการ และรูปแบบที่ ธปท. กําหนดไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน 4.1.2 กรณีไม่มีคําสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก และเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายในตราสารหนี้ที่มีเงินต้นตามราคาที่ตราไว้รวมกันไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือมูลค่าดอกเบี้ยรวมกันไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ให้ยื่นเอกสารแสดงตนของผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย ใบมรณะบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์ใบตราสารหนี้ หนังสือพินัยกรรม หรือบัญชีเครือญาติที่มีสิทธิรับมรดกตามแบบที่ ธปท. กําหนด และต้องจัดหาตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสารที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนมาเป็นประกันเต็มจํานวนของเงินต้นตามราคาที่ตราไว้รวมกันไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือตามจํานวนดอกเบี้ยตราสารหนี้รวมกันไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทแล้วแต่กรณี หากตราสารหนี้มีเงินต้นตามราคาที่ตราไว้รวมมูลค่าดอกเบี้ยไม่เกินสองหมื่นบาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายต้องจัดหาตราสารหนี้ที่ ธปท. เป็นนายทะเบียน หรือบุคคลที่เป็นข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์การของรัฐมาค้ําประกัน การประกันตามข้อนี้ กรณีประกันเงินต้นมีกําหนดระยะเวลาสิบปี และกรณีประกันดอกเบี้ยมีกําหนดระยะเวลาห้าปี นับตั้งแต่วันที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ถึงแก่ความตาย 4.2 การใช้หรือการถอนตราสารหนี้เป็นหลักประกัน 4.2.1 ตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร ผู้ให้หลักประกัน หรือผู้รับหลักประกันแจ้งต่อธปท. พร้อมเอกสารหลักฐาน และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่ ธปท. กําหนดไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน 4.2.2 ตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสาร ผู้ให้หลักประกัน หรือผู้รับหลักประกันแจ้งต่อผู้ดูแลหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนด ทั้งนี้ ผู้รับหลักประกันสามารถติดต่อผู้ดูแลหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เพื่อขอหลักฐานยืนยันการใช้ตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสารเป็นหลักประกันได้ 4.2.3 การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือรายละเอียดของการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันกรณีตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกันยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมใบตราสารหนี้ เพื่อที่ ธปท. จะบันทึกข้อความในใบตราสารหนี้ดังกล่าวกรณีตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสาร ผู้ให้หลักประกันหรือผู้รับหลักประกันแจ้งต่อผู้ดูแลหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนด 4.3 การโอนกรรมสิทธิ์ตราสารนี้จากการขายทอดตลาด 4.3.1 ตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร ให้ผู้ซื้อตราสารหนี้จากการขายทอดตลาดแจ้งโอนกรรมสิทธิ์ต่อ ธปท. พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ หนังสือแจ้งผลการประมูลจากการขายทอดตลาดเอกสารแสดงตนของผู้ซื้อตราสารหนี้ ใบตราสารหนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่ ธปท. กําหนด 4.3.2 ตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสาร ผู้ซื้อตราสารหนี้จากการขายทอดตลาดต้องแจ้งโอนกรรมสิทธิ์ต่อผู้ดูแลหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนด 4.4 การอายัดหรือถอนการอายัดตราสารหนี้ 4.9.1 กรณีตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอํานาจตามกฎหมายที่ประสงค์ดําเนินการอายัดหรือถอนการอายัดตราสารหนี้ให้แจ้งต่อ ธปท. พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง หรือดําเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ตกลงกับ ธปท. 4.4.2 กรณีตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอํานาจตามกฎหมายที่ประสงค์ดําเนินการอายัดหรือถอนการอายัดตราสารหนี้ ให้แจ้งต่อผู้ดูแลหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนด 4.5 การฝากใบตราสารหนี้เข้าระบบไร้ใบตราสาร และการถอนตราสารหนี้ออกจากระบบไร้ใบตราสารเพื่อออกใบตราสาร 4.5.1 การฝากใบตราสารหนี้เข้าระบบไร้ใบตราสารของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ผู้ขอรับบริการสามารถติดต่อผู้ดูแลหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ พร้อมคําขอและใบตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนด 4.5.2 การถอนตราสารหนี้ออกจากระบบไร้ใบตราสารเพื่อออกใบตราสาร ผู้ขอรับบริการสามารถติดต่อผู้ดูแลหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ พร้อมคําขอและเอกสารประกอบ ได้แก่ สําเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจํา) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ พร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง และตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามแบบที่ ธปท. กําหนด 4.5.3 การฝากหรือการถอนตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสารและประเภทไร้ใบตราสารของผู้ขอรับบริการที่มีบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. และการขอหนังสือรับรองการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ในบัญชีย่อยตราสารหนี้ดังกล่าว ผู้ขอรับบริการสามารถติดต่อ ธปท.พร้อมคําขอตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่ ธปท. กําหนด 4.6 ผู้ขอรับบริการสามารถติดต่อ ธปท. เพื่อขอรับบริการสําหรับตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร โดยดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบตามที่ ธปท. กําหนดไว้ในคู่มือสําหรับประชาชนในเรื่องดังต่อไปนี้ 4.6.1 การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนประวัติ 4.6.2 การออกใบตราสารหนี้ฉบับใหม่ เพื่อทดแทนฉบับเดิม 4.6.3 การโอนกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ 4.6.4 การออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ หนังสือรับรองสถานะตราสารหนี้ และหนังสือยืนยันยอดตราสารหนี้ 4.6.5 การขอใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ รวมตราสารหนี้ประเภทไร้ใบตราสารด้วย 4.6.6 ธุรกรรมตราสารหนี้อื่นตามที่ ธปท. กําหนดไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน 4.7 ประเภทธุรกรรมตราสารหนี้อื่น ๆ 4.7.1 การวางและถอนการวางสํารองประกันภัย การขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอํานาจตามกฎหมาย ผู้ขอรับบริการแจ้งความประสงค์ต่อ ธปท.พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง หรือดําเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ตกลงกับ ธปท. 4.7.2 การจดแจ้งและถอนการจดแจ้งการดํารงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอรับบริการดําเนินการส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ ธปท. กําหนด 4.7.3 การสมัครใช้บริการข้อมูลพันธบัตรทางอินเทอร์เน็ต ผู้ขอรับบริการต้องลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนพร้อมนําส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องตามที่ ธปท. กําหนด 4.8 การเปลี่ยนแปลงตัวอย่างลายมือชื่อของ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ หรือผู้มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคล หรือการมอบหมายผู้ดูแลหลักทรัพย์ สําหรับตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสาร ผู้ขอรับบริการจะต้องให้ตัวอย่างลายมือชื่อไว้กับ ธปท. เพื่อใช้ในการติดต่อขอรับบริการ โดยดําเนินการ ดังนี้ 4.8.1 กรณีบุคคลธรรมดา ขอเปลี่ยนแปลงตัวอย่างลายมือชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ ต้องจัดทําตัวอย่างลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ธปท. หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจของผู้จําหน่ายตราสารหนี้ 4.8.2 กรณีนิติบุคคล (1) การเปลี่ยนแปลงผู้มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคล ต้องนําส่งหนังสือตัวอย่างลายมือชื่อของผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ตามหนังสือรับรองของนิติบุคคล หรือผู้ทําการแทนนิติบุคคลนั้น แก่ ธปท. พร้อมเอกสารแสดงตนตามรูปแบบที่ ธปท. กําหนด โดยติดต่อโดยตรงที่ ธปท. หรือนําส่งทางไปรษณีย์ หรืออาจยื่นผ่านผู้จําหน่ายตราสารหนี้เพื่อส่งเรื่องต่อให้ ธปท. ดําเนินการตามที่ผู้ออกตราสารหนี้กําหนด (2) การมอบหมายและการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลหลักทรัพย์ ต้องแจ้งความประสงค์ต่อ ธปท. พร้อมหนังสือและเอกสาร ได้แก่ หนังสือมอบอํานาจจากนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้ผู้ดูแลหลักทรัพย์มีอํานาจในการทําธุรกรรมแทน หนังสือมอบอํานาจจากผู้ดูแลหลักทรัพย์มอบให้บุคคลดําเนินการแทน ตัวอย่างลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามของผู้ดูแลหลักทรัพย์ รวมทั้งสําเนาหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการมอบหมายหรือเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลหลักทรัพย์ โดยลงนามรับรองสําเนาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบที่ ธปท. กําหนด 4.9 การยื่นเอกสารแสดงตน ในประกาศนี้ หมายถึง 4.9.1 กรณีบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวข้าราชการ หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง กรณีที่เป็นผู้เยาว์และยังไม่มีบัตรประจําตัวประชาชนให้ยื่นสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์แทนได้ กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ของบุคคลดังกล่าว ต้องแสดงบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวข้าราชการ หรือใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง พร้อมแนบสําเนาคําสั่งศาลแต่งตั้งผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ (ถ้ามี) 4.9.2 กรณีนิติบุคคล นิติบุคคลจะต้องยื่นเอกสารการจัดตั้งนิติบุคคล หรือหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคลที่มีหนังสือรับรองที่ออกโดยกระทรวงพาณิชย์ต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือน) พร้อมบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจลงนามแทนนิติบุคคล โดยจัดทําเป็นสําเนาและลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้อง ทั้งนี้ การติดต่อขอรับบริการด้วยช่องทางไปรษณีย์ผู้ขอรับบริการส่งสําเนา เอกสาร แสดงตนที่รับรองสําเนาถูกต้องได้โดยอนุโลม 4.10 การลงลายมือชื่อในคําขอ 4.10.1 กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้เยาว์ (1) กรณีผู้เยาว์ที่มีอายุต่ํากว่า 15 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ ซึ่งมีชื่อในใบตราสารหนี้นั้น เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอ (2) กรณีผู้เยาว์ที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้เยาว์และผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ซึ่งมีชื่อในใบตราสารหนี้นั้น เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอ 4.10.2 กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นคนไร้ความสามารถ ให้ผู้อนุบาลที่ศาลแต่งตั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอ 4.10.3 กรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้คนเสมือนไร้ความสามารถและผู้พิทักษ์ที่ศาลแต่งตั้ง เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอ เว้นแต่ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอํานาจกระทําการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถได้ ก็ให้ผู้พิทักษ์ลงลายมือชื่อในคําขอ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2562 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,646
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 11/2562 เรื่อง การจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 11 /2562 เรื่อง การจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น ------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้สามารถดําเนินการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมการไถ่ถอนตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสารทั้งแบบที่ต้องคืนใบตราสารและแบบที่ไม่ต้องคืนใบตราสาร รวมทั้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนและวิธีการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น เพื่อให้ผู้ขอรับบริการถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน อื่นๆ - 2. หลักเกณฑ์ที่อ้างอิง อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5.4.3 ข้อ 5.7 ข้อ 5.8 และข้อ 5.9 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยบริการธุรกรรมตราสารหนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ขอรับบริการ ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการธุรกรรมตราสารหนี้ อื่นๆ - 4. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กําหนดวันปิดสมุดทะเบียน และวิธีการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นดังนี้ 4.1 วันปิดสมุดทะเบียน 4.1.1 วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ย คือ วันดังต่อไปนี้ (1) 10 วัน ก่อนวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ย ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้สําหรับตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย (2) 30 วัน ก่อนวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ย ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้สําหรับตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย และเป็นตราสารหนี้ประเภทออมทรัพย์ ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ ทั้งนี้ กําหนดวันปิดสมุดทะเบียน อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ 4.1.2 วันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้น คือวันดังต่อไปนี้ (1) 1 วันทําการ ก่อนวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้สําหรับตราสารหนี้ที่ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ย (2) 10 วัน ก่อนวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ สําหรับตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย (3) 30 วัน ก่อนวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้สําหรับตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย และเป็นตราสารหนี้ประเภทออมทรัพย์ ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ ทั้งนี้ กําหนดวันปิดสมุดทะเบียน อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ 4.1.3 วันกําหนดจ่ายดอกเบี้ยตามข้อ 4.1.1 หรือวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้นตามข้อ 4.1.2 ให้ถือตามวันที่ผู้ออกตราสารหนี้ประกาศกําหนด แม้ว่าวันดังกล่าวจะตรงกับวันหยุดทําการของ ธปท. ก็ไม่มีผลให้วันปีดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ยหรือวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นเปลี่ยนแปลงไป 4.1.4 ธปท. อาจกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายดอกเบี้ย หรือวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นแตกต่างจากที่กําหนดไว้ในข้อ 4.1.1 และ 4.1.2 สําหรับตราสารหนี้รุ่นหนึ่งรุ่นใดเป็นการเฉพาะได้ 4.2 วิธีการจ่ายดอกเบี้ยและการหักภาษี ณ ที่จ่าย 4.2.1 ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว โดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้แจ้งไว้ (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจํา) 4.2.2 กรณีวันกําหนดจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดทําการของ ธปท. การจ่ายดอกเบี้ย ธปท.จะจ่ายในวันทําการถัดไป 4.2.3 หาก ธปท. พบว่าการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 4.2.1 ไม่ครบจํานวนที่ถูกต้อง หรือไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามที่กฎหมายกําหนด ธปท. อาจเรียกเก็บเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามจํานวนเงินที่ต้องนําส่งกรมสรรพากร โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องดําเนินการชําระเงินคืนให้ ธปท. ภายในเวลาที่ ธปท. กําหนด เว้นแต่ ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้แสดงหลักฐานว่าตนได้ชําระภาษีให้กรมสรรพากรครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ กรณีที่ ธปท. หักภาษี ณ ที่จ่าย เกินกว่าจํานวนที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถยื่นขอเงินคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้โดยตรง 4.2.4 กรณีที่ ธปท. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามข้อ 4.2.1 ไม่ได้ เนื่องจากการปิดบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือด้วยเหตุอื่นใด ธปท. จะแจ้งผู้ถือกรรมสิทธิ์ทราบเพื่อให้ดําเนินการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินฝากเพื่อรับเงินให้ถูกต้อง และ ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้แจ้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินฝากดังกล่าวแล้ว 4.2.5 การจ่ายดอกเบี้ยกรณีที่ตราสารหนี้ถูกอายัดโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอํานาจตามกฎหมาย ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยตามที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอํานาจตามกฎหมายแจ้งให้ ธปท.ดําเนินการ 4.3 วิธีการไถ่ถอนตราสารหนี้เมื่อครบกําหนดจ่ายคืนเงินต้น 4.3.1 ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นโดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้แจ้งไว้ (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจํา) 4.3.2 กรณีวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้นตรงกับวันหยุดทําการของ ธปท. การจ่ายคืนเงินต้น ธปท. จะจ่ายคืนในวันทําการถัดไป 4.3.3 การจ่ายคืนเงินต้นงวดสุดท้ายของตราสารหนี้ประเภทมีใบตราสารให้ดําเนินการ ดังนี้ 4.3.3.1 กรณีผู้ออกตราสารหนี้กําหนดให้คืนใบตราสาร ผู้ขอรับบริการต้องยื่นคําขอพร้อมแนบใบตราสารฉบับจริง และเอกสารตามแบบที่ ธปท. กําหนด โดย ธปท.จะจ่ายคืนเงินต้นตามแต่ละกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ตราสารหนี้ที่ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ย ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากในวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้นตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ เมื่อ ธปท. ได้รับคําขอและเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้องก่อนเวลา 12.00 น. ของวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น หรือของวันทําการถัดไปหากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทําการของ ธปท. ในกรณีที่ ธปท. ได้รับคําขอและเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้องภายหลังกําหนดเวลาข้างต้น ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายในวันทําการถัดไป โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน (2) ตราสารหนี้ที่ระบุอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งตราสารหนี้ประเภทออมทรัพย์ตามประกาศของผู้ออกตราสารหนี้ ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากในวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น หรือวันทําการถัดไป หากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทําการของ ธปท. เมื่อ ธปท. ได้รับคําขอและเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้องภายในวันที่ที่ ธปท. กําหนดไว้ในแบบคําขอ ในกรณีที่ ธปท. ได้รับคําขอและเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนถูกต้องภายหลังจากวันที่ที่ ธปท. กําหนดไว้ข้างต้น ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังวันครบกําหนดจ่ายคืนเงินต้นตามวันและวิธีการที่ระบุในคําขอ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการโอนเงินตามวิธีการที่ระบุในแบบคําขอ 4.3.3.2 กรณีผู้ออกตราสารหนี้กําหนดให้ไม่ต้องคืนใบตราสาร ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในวันกําหนดจ่ายคืนเงินต้น หรือวันทําการถัดไปหากวันดังกล่าวตรงกับวันหยุดทําการของ ธปท. โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ต้องยื่นคําขอ เอกสารประกอบคําขอ และใบตราสารเว้นแต่กรณีมีข้อสงสัย หรือกรณีตราสารหนี้ใช้เป็นหลักประกัน ธปท. อาจเรียกดูหรือเรียกให้คืนใบตราสารหนี้ก็ได้ 4.3.4 การจ่ายคืนเงินต้นของตราสารหนี้ ประเภทมีใบตราสาร ที่ได้มีการแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันให้ดําเนินการ ดังนี้ (1) การจ่ายคืนเงินต้นของตราสารหนี้ให้แก่ผู้ให้หลักประกัน ผู้ให้หลักประกันต้องดําเนินการถอนการแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันก่อน (2) การจ่ายคืนเงินต้นของตราสารหนี้ให้แก่ผู้รับหลักประกันตามที่ผู้ให้หลักประกันและผู้รับหลักประกันตกลงกัน ธปท.จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่ผู้รับหลักประกันแจ้งไว้ เว้นแต่ผู้รับหลักประกันจะตกลงให้จ่ายคืนเงินต้นให้กับผู้ให้หลักประกัน 4.3.5 กรณีที่ ธปท. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามข้อ 4.3.1 ไม่ได้ เนื่องจากการปิดบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้รับหลักประกัน หรือด้วยเหตุอื่นใด รปท. จะแจ้งผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้รับหลักประกันทราบ เพื่อให้ดําเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินฝากเพื่อรับเงินให้ถูกต้องและ ธปท. จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้รับหลักประกันได้แจ้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินฝากดังกล่าวแล้ว 4.3.6 การจ่ายคืนเงินต้น กรณีที่ตราสารหนี้ถูกอายัดโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอํานาจตามกฎหมาย ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นตามที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีอํานาจตามกฎหมายแจ้งให้ธปท. ดําเนินการ อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2562 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,647
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 9 /2555 เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 -------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อื่นๆ - 3. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วันดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) | | พ.6/14/55 | 100,000 | 10 กุมภาพันธ์ 2555 | 14/2/55 – 28/2/55 | 14 | อื่นๆ - 4. วันที่เริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 (นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ) ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,648
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 12/2562 เรื่อง ค่าธรรมเนียมบริการธุรกรรมตราสารหนี้
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 12 /2562 เรื่อง ค่าธรรมเนียมบริการธุรกรรมตราสารหนี้ ------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ เพื่อกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมบริการธุรกรรมตราสารหนี้ให้มีความชัดเจน และครอบคลุมการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ทุกประเภท อื่นๆ - 2. หลักเกณฑ์ที่อ้างอิง อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5.6 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยบริการธุรกรรมตราสารหนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ขอรับบริการตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการธุรกรรมตราสารหนี้ อื่นๆ - 4. เนื้อหา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กําหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการธุรกรรมตราสารหนี้ ดังต่อไปนี้ 4.1 การเปลี่ยนแปลงคํานําหน้าชื่อ ชื่อ ชื่อสกุล ชื่อนิติบุคคล แจ้งบรรลุนิติภาวะเปลี่ยนแปลงผู้มีอํานาจจัดการตราสารหนี้ ออกใบตราสารหนี้ใหม่ แบ่งแยกหรือยุบรวม โอนกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ จดแจ้งและถอนการจดแจ้งการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกัน กรณีบันทึกข้อความในใบตราสารหนี้ หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือรายละเอียดของการใช้ตราสารหนี้เป็นหลักประกันกรณีบันทึกข้อความในใบตราสารหนี้ (1) กรณีนิติบุคคล อัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ (2) กรณีบุคคลธรรมดา อัตราค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ 4.2 การจดแจ้งและถอนการจดแจ้งการดํารงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อัตราค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ 4.3 การออกหนังสือรับรองการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้ หรือหนังสือรับรองสถานะตราสารหนี้ (1) กรณีนิติบุคคล อัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อหนังสือรับรอง 1 ฉบับ (2) กรณีบุคคลธรรมดา อัตราค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อหนังสือรับรอง 1 ฉบับ 4.4 การฝากใบตราสารหนี้เข้าระบบไร้ใบตราสาร หรือเข้าบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. อัตราค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อ 1 รายการ 4.5 การถอนตราสารหนี้ออกจากระบบไร้ใบตราสาร หรือจากบัญชีย่อยตราสารหนี้ เพื่อการทําธุรกรรมกับ ธปท. (1) กรณีนิติบุคคล อัตราค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ (2) กรณีบุคคลธรรมดา อัตราค่าธรรมเนียม 20 บาท ต่อใบตราสารหนี้ 1 ฉบับ ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมข้างต้น ไม่รวมถึงอัตราค่าธรรมเนียมของผู้ให้บริการรายอื่นที่เกี่ยวข้อง อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2562 (นายวิรไท สันติประภพ) ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
6,649
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสำหรับบริษัทเงินทุน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสําหรับบริษัทเงินทุน ------------------------------------ อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนสามารถกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน และกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขรวมทั้งระบบการควบคุมภายใน ให้บริษัทเงินทุนถือปฏิบัติ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการระดมเงินให้กับบริษัทเงินทุน โดยในช่วงแรกนั้นยังไม่มีระบบคุ้มครองเงินฝากของประชาชนเหมือนในปัจจุบันแต่เมื่อตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งประชาชนถือนี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หากเกิดปัญหากับบริษัทเงินทุน ประชาชนผู้ถือตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินก็จะได้รับความเสียหายต่างจากเงินฝากที่จะได้รับการชดเชยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของลูกค้าและประชาชน เพื่อปกป้องประชาชนรายย่อย คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กํากับดูแลการระดมเงินจากประชาชนนอกเหนือจากเงินฝากได้ออกหลักเกณฑ์เพื่อคุ้มครองในการระดมเงินจากประชาชนด้วยการกําหนดมูลค่าหน้าตั๋วเงินขั้นต่ํา 10 ล้านบาทอายุตั๋วเงินไม่เกิน 270 วัน และตั๋วเงินต้องไม่มีอนุพันธ์แฝง จากเหตุผลข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงประกาศฉบับนี้ เพื่อให้การกํากับดูแลการออกตั๋วเงินของบริษัทเงินทุนมีความสอดคล้องกับประกาศของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และว่าด้วยการขออนุญาตและอนุญาตให้การออกและเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ และประกาศของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับปรุงสาระบางส่วนของประกาศฉบับนี้ให้มีความชัดเจนและทันสมัยขึ้น ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึงธุรกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (Interbank Loan) ที่ใช้ตั๋วเงินเป็นหลักฐานในการกู้ยืม อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และ มาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกําหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน ตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 49/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสําหรับบริษัทเงินทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา ในการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 5.1 การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน บริษัทเงินทุนสามารถประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ ซึ่งมิใช่การรับฝากหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดยใช้เช็ค ดังต่อไปนี้ 5.1.1 การรับฝากเงินโดยใช้สมุดคู่ฝาก (Passbook) หรือใบรับฝากเงิน (Deposit Receipt) ในการรับฝากเงินโดยใช้สมุดคู่ฝากหรือใบรับฝากเงิน บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินฝากประเภทต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามและประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ของบริษัทเงินทุน (เอกสารแนบ 1) 5.1.2 การรับฝากเงินโดยวิธีการออกบัตรเงินฝาก (Certificate of Deposit) บริษัทเงินทุนสามารถออกบัตรเงินฝากเป็นหลักฐานในการรับฝากเงินและเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตั๋วเงินที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาอันกําหนดไว้ โดยบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับบัตรเงินฝากของบริษัทเงินทุน (เอกสารแนบ 2) 5.1.3 การรับเงินจากประชาชนโดยออกตั๋วเงิน บริษัทเงินทุนต้องออกตั๋วเงินเฉพาะตั๋วเงินตามความหมายในประกาศนี้และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ในประกาศนี้ "ตั๋วเงิน" หมายความว่า ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่บริษัทเงินทุนออกเพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือเพื่อการกู้ยืมเงิน (2) บริษัทเงินทุนสามารถออกตั๋วเงินเป็นหลักฐานในการรับเงินจากประชาชน และเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตั๋วเงินที่จะได้รับเงินคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาอันกําหนดไว้ โดยบริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการรับเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วเงินของบริษัทเงินทุน (เอกสารแนบ 3) (3) ในกรณีที่บริษัทเงินทุนออกตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามประกาศของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยเรื่องการออกและเสนอขายตราสารหนี้ และประกาศของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยเรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ ประกาศและหลักเกณฑ์อื่นที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และประกาศอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย 5.2 การปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ย ส่วนลด และค่าบริการต่าง ๆ บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ยหรือส่วนลด และค่าบริการต่าง ๆ ของเงินฝาก และเงินที่ได้รับจากประชาชน ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ สําหรับบริษัทเงินทุน และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.3 ระบบการควบคุมภายใน บริษัทเงินทุนต้องมีระบบการควบคุมภายในสําหรับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมการรับฝากเงิน และการรับเงินจากประชาชนที่เหมาะสมและได้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยต้องจัดทําระเบียบการควบคุมภายในดังกล่าวให้ครบถ้วนถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ และต้องจัดส่งสําเนาระเบียบการควบคุมภายในให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ ในการออกบัตรเงินฝากและตัวเงิน บริษัทเงินทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกําหนดระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับบัตรเงินฝากและตัวเงินของบริษัทเงินทุน (เอกสารแนบ 4) 5.4 การคุ้มครองลูกค้า เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค บริษัทเงินทุนต้องชี้แจงข้อมูลที่สําคัญให้ลูกค้าได้ทราบและเข้าใจชัดเจนก่อนการรับฝากเงิน หรือการออกตั๋วเงิน เช่น เงื่อนไขการจ่ายชําระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยคิดลด ค่าบริการต่าง ๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ย และหรือการไถ่ถอนเงินฝาก หรือตั๋วเงินก่อนครบกําหนด สิทธิประโยชน์ทางภาษี รายละเอียดการประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากของผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ละประเภทที่บริษัทเงินทุนให้บริการแก่ลูกค้า โดยเฉพาะต้องทําความเข้าใจกับลูกค้าว่า ผู้ทรงตั๋วเงินนั้น มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทเงินทุนและตั๋วเงินดังกล่าวไม่ได้รับการคุ้มครองเงินต้นและดอกเบี้ยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พร้อมทั้งระบบถ้อยคําที่สื่อได้ว่า ตั๋วเงินนี้ไม่ได้รับการคุ้มครองเงินต้นและดอกเบี้ยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก นอกจากนี้ต้องชี้แจงถึง วิธีการโอนตั๋วเงิน ความเสี่ยงกรณีลูกค้าทําตั๋วเงินสูญหาย และความเสี่ยงกรณีที่อาจทําให้ลูกค้าไม่ได้รับเงินต้นหรือดอกเบี้ยครบตามจํานวนเพื่อให้ลูกค้าสามารถประเมินความเสี่ยงในการซื้อตั๋วเงินได้ อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2555 (นายเกริก วณิกกุล) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,650
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสำหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 10 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ----------------------------------------- อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์สามารถรับฝากเงินโดยใช้สมุดคู่ฝากหรือใบรับฝากเงิน รวมทั้งสามารถกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกําหนดระยะเวลาจ่ายคืนไม่ต่ํากว่า 1 ปี โดยต้องมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม ต่อมา คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้มีการพิจารณากําหนดให้ตั๋วเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินซึ่งรวมถึงตั๋วเงินที่ออกโดยบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ด้วย ได้แก่ ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาการใช้เงิน เพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นหลักทรัพย์โดยกําหนดให้ตั๋วเงินดังกล่าวต้องมีมูลค่าหน้าตั๋วไม่ต่ํากว่า 10 ล้านบาท และอายุของตั๋วเงินไม่เกิน 270 วัน และได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์กํากับดูแลการออกและเสนอขายตราสารหนี้ จากเหตุผลข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ โดยให้ยกเลิกการอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกตั๋วสัญญาใช้เงินในการกู้ยืมจากประชาชน เนื่องจากไม่เข้าข่ายเป็นลักษณะของตั๋วเงินภายใต้ประกาศของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยเรื่องการออกและเสนอขายตราสารหนี้ และประกาศของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยเรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์บางส่วนของประกาศฉบับนี้ให้มีความชัดเจนและทันสมัยขึ้นด้วย อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ปฏิบัติเกี่ยวกับการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนตามความในประกาศฉบับนี้ อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 28/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนสําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 อื่นๆ - 5. เนื้อหา ในการรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 5.1 การรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชน ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ได้ ดังนี้ 5.1.1 การรับฝากเงินโดยใช้สมุดคู่ฝาก หรือใบรับฝากเงิน ในการรับฝากเงิน ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (เอกสารแนบ) 5.1.2 ในการกู้ยืมเงินจากประชาชน ให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์กระทําได้โดยออกเอกสารการกู้ยืมเงินหรือตราสารหนี้อื่นที่มิใช่ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน และต้องมีกําหนดระยะเวลาจ่ายคืนไม่ต่ํากว่าหนึ่งปีให้แก่ผู้ให้กู้โดยไม่จ่ายส่วนลด 5.2 การปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ย ส่วนลด และค่าบริการต่าง ๆ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ย ส่วนลด และค่าบริการต่าง ๆ ของเงินฝากและเงินกู้ยืมตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยค่าบริการต่าง ๆ และเบี้ยปรับ สําหรับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.3 ระบบการควบคุมภายใน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องมีระบบการควบคุมภายในสําหรับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมการรับฝากเงินและรับเงินจากประชาชนที่เหมาะสมได้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยต้องจัดทําระเบียบการควบคุมภายในดังกล่าวให้ครบถ้วนถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบได้ และต้องจัดส่งสําเนาระเบียบการควบคุมภายในให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ 5.4 การคุ้มครองลูกค้า เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องชี้แจงข้อมูลที่สําคัญ ให้ลูกค้าได้ทราบและเข้าใจชัดเจนก่อนการรับฝากหรือการรับเงิน เช่น เงื่อนไขการจ่ายชําระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยคิดลด ค่าบริการต่าง ๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยและหรือการไถ่ถอนเงินฝาก สิทธิประโยชน์ทางภาษี รายละเอียดการประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากของผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ละประเภทที่บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้บริการแก่ลูกค้า อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน 255 (นายเกริก วณิกกุล) รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ผู้ว่าการแทน
6,651