title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 103/2554 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2555 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 103 /2554
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2555
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเตือนมกราคม 2555
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไท
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.1/14/55 | 120,000 | 6 มกราคม 2555 | 10/1/55 – 24/1/55 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2554
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,153 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 88/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 88/2553
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนตุลาคม 2553
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.80/14/53 | 80,000 | 14 ตุลาคม 2553 | 18/10/53 – 1/11/53 | 14 |
| พ.81/14/53 | 80,000 | 15 ตุลาคม 2553 | 19/10/53 – 2/11/53 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,154 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 78/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2552สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กันยายน 2553
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 78/2553
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2552
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กันยายน 2553
--------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กันยายน 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2552 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กันยายน 2553 เท่ากับร้อยละ 1.79625 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 15 กันยายน 2553 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,155 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 86/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 86/2553
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2553
--------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2553 ที่จะประมูลในวันที่ 8 ตุลาคม 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2553 ในวันที่ 8 ตุลาคม 2553 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 6 ตุลาคม 2553นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.97778 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 2.00000 ต่อปี
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,156 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 79/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2551สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2553
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 79/2553
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2551
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2553
--------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2551 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 18 กันยายน 2553 เท่ากับร้อยละ 1.79875 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 16 กันยายน 2553 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,157 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 85/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 85/2553
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนตุลาคม 2553
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.78/15/53 | 75,000 | 7 ตุลาคม 2553 | 11/10/53 – 26/10/53 | 15 |
| พ.79/15/53 | 75,000 | 8 ตุลาคม 2553 | 12/10/53 – 27/10/53 | 15 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,158 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 84/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 84/2553
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| 40/28/53 | - | 25,000 | 5 ต.ค. 53 | 7 ต.ค. 53 | 4 พ.ย. 53 | 28 วัน | 28 วัน |
| 40/91/53 | - | 18,000 | 5 ต.ค. 53 | 7 ต.ค. 53 | 6 ม.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน |
| 40/182/53 | - | 18,000 | 5 ต.ค. 53 | 7 ต.ค. 53 | 7 เม.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน |
| 10/364/53 | - | 60,000 | 5 ต.ค. 53 | 7 ต.ค. 53 | 6 ต.ค. 54 | 364 วัน | 364 วัน |
| 1/FRB3ปี/2553 | 6M BIBOR-0.20(= 1.79625% สําหรับงวดเริ่มต้น 16 ก.ย. 53) | 20,000 | 08 ต.ค. 53 | 12 ต.ค. 53 | 16 มี.ค. 56 | 3 ปี | 2.43 ปี |
| 41/28/53 | - | 25,000 | 12 ต.ค.53 | 14 ต.ค.53 | 11 พ.ย. 53 | 28 วัน | 28 วัน |
| 41/91/53 | - | 18,000 | 12 ต.ค.53 | 14 ต.ค.53 | 13 ม.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน |
| 41/186/53 | - | 18,000 | 12 ต.ค.53 | 14 ต.ค.53 | 18 เม.ย. 54 | 186 วัน | 186 วัน |
| 42/28/53 | - | 25,000 | 19 ต.ค.53 | 21 ต.ค.53 | 18 พ.ย. 53 | 28 วัน | 28 วัน |
| 42/91/53 | - | 18,000 | 19 ต.ค.53 | 21 ต.ค.53 | 20 ม.ค. 54 | 91 วัน | 91 วัน |
| 42/91/53 | - | 18,000 | 19 ต.ค.53 | 21 ต.ค.53 | 21 เม.ย. 54 | 182 วัน | 182 วัน |
| 5/2ปี/2553 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 15 ต.ค. 2553 | 50,000 | 19 ต.ค.53 | 21 ต.ค.53 | 21 ต.ค.55 | 2 ปี | 2 ปี |
| 43/28/53 | - | 25,000 | 26 ต.ค.53 | 28 ต.ค.53 | 25 พ.ย.55 | 28 วัน | 28 วัน |
| 43/91/53 | - | 18,000 | 26 ต.ค.53 | 28 ต.ค.53 | 27 ม.ค.55 | 91 วัน | 91 วัน |
| 43/182/53 | - | 18,000 | 26 ต.ค.53 | 28 ต.ค.53 | 28 เม.ย.55 | 182 วัน | 182 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 5/2ปี/2553 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธปท. จะกําหนดและประกาศในวันศุกร์ที่ 15 ต.ค. 2553 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่าๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 21 เม.ย. และ 21 ต.ค. ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 21 เม.ย. 2554 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 21 ตุลาคม 2555 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2553 ธปท. จะประกาศกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,159 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2553 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนกันยายน ปี 2553
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 80/2553
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนกันยายน ปี 2553
--------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนกันยายน ปี 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนกันยายน ปี 2553 (รุ่นที่ 3/3 ปี/2553) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 17 กันยายน 2553 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 3/3 ปี/2553 ที่จะประมูลในวันที่ 21 กันยายน 2553 เท่ากับร้อยละ 2.60 ต่อปี
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,160 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 83/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายนและตุลาคม 2553 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 83/2553
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกันยายนและตุลาคม 2553
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือน กันยายนและตุลาคม 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.76/14/53 | 70,000 | 30 กันยายน 2553 | 4/10/53 – 18/10/53 | 14 |
| พ.77/14/53 | 80,000 | 1 ตุลาคม 2553 | 5/10/53 – 19/10/53 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,161 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2553 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2553
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 81/2553
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกันยายน 2553
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือน กันยายน 2553
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.74/14/53 | 70,000 | 23 กันยายน 2553 | 27/9/53 – 11/10/53 | 14 |
| พ.75/14/53 | 80,000 | 24 กันยายน 2553 | 28/9/53 – 12/10/53 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน 2553
(นางสุชาดา กิระกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,162 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 16/2555 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 16 /2555
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางผุสดี หมู่พยัคฆ์
2. นางภรวดี ตาปสนันทน์
3. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน
6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน
7. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์
8. นายบุญชัย กาญจนพิมาย
9. นายอนันต์ อิงวิยะ
10. นายภูวดล เหล่าแก้ว
11. นายสัญชัย สุวรรณวงศ์
12. นายพิชิต ภัทรวิมลพร
13. นายธเนศชัย อังวราวงศ์
14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
15. นายชนัช เทียมมณีเนตร
16. นายชุติมา ไชยบุตร
17. นางสุภาวดี ปุณศรี
18. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร
19. นางศรีสกุล รังสิกุล
20. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ
21. นายรณรงค์ ไชยสมบัติ
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,163 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 52/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 52/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.34/14/59 | 50,000 | 26 สิงหาคม 2559 | 30/8/59 – 13/9/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,164 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 53/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 53/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 10/28/59 | - | 10,000 | 6 ก.ย. 59 | 8 ก.ย. 59 | 6 ต.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 36/91/59 | - | 35,000 | 6 ก.ย. 59 | 8 ก.ย. 59 | 8 ธ.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน |
| 36/182/59 | - | 40,000 | 6 ก.ย. 59 | 8 ก.ย. 59 | 9 มี.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 2/3ปี/2559 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 6 ก.ย. 59 | 45,000 | 8 ก.ย. 59 | 12 ก.ย. 59 | 12 ก.ย. 59 | 3 ปี | 3 ปี |
| 11/28/59 | - | 10,000 | 13 ก.ย. 59 | 15 ก.ย. 59 | 13 ต.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 37/91/59 | - | 35,000 | 13 ก.ย. 59 | 15 ก.ย. 59 | 15 ธ.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน |
| 37/182/59 | - | 40,000 | 13 ก.ย. 59 | 15 ก.ย. 59 | 16 มี.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 12/28/59 | - | 10,000 | 20 ก.ย. 59 | 22 ก.ย. 59 | 20 ต.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 38/91/59 | - | 35,000 | 20 ก.ย. 59 | 22 ก.ย. 59 | 22 ธ.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน |
| 38/182/59 | - | 40,000 | 20 ก.ย. 59 | 22 ก.ย. 59 | 23 มี.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 3/364/59 | - | 45,000 | 20 ก.ย. 59 | 22 ก.ย. 59 | 13 ก.ค. 60 | 364 วัน | 294 วัน |
| 13/28/59 | - | 10,000 | 27 ก.ย. 59 | 29 ก.ย. 59 | 27 ต.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 39/91/59 | - | 35,000 | 27 ก.ย. 59 | 29 ก.ย. 59 | 29 ธ.ค. 59 | 91 วัน | 91 วัน |
| 39/182/59 | - | 40,000 | 27 ก.ย. 59 | 29 ก.ย. 59 | 30 มี.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/3ปี/2559 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 6 กันยายน 2554 |
| การคํานวณดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 12 มีนาคม และ 12 กันยายน ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 12 มีนาคม 2560 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 12 มีนาคม 2562 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,165 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 54/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 54/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกันยายน 2559
------------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.35/14/59 | 55,000 | 2 กันยายน 2559 | 6/9/59 – 20/9/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ทีมตลาดเงินและตลาดพันธบัตร
โทรศัพท์ 0 2356 7757-8 | 7,166 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดแบบรายงานคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด
เรื่อง กําหนดแบบรายงานคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
-------------------------------
อื่นๆ - ด้วยระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2527 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับคดียาเสพติดทั้งหมดตั้งแต่การสืบสวนจับกุมจนถึงการลงโทษผู้กระทําผิดตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องสําหรับใช้เป็นหลักฐานในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้ดียิ่งขึ้น และให้สํานักงาน ป.ป.ส. กําหนดแบบรายงานตามระเบียบดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 และข้อ 20 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2527 สํานักงาน ป.ป.ส. จึงกําหนดแบบรายงานคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดไว้ดังต่อไปนี้
1. แบบ ป.ป.ส. 6 - 41 แบบรายงานการจับกุมรายคดี ใช้ในการรายงานการจับกุมคดียาเสพติดตามที่กําหนดไว้ในข้อ 10 วรรคแรก ซึ่งต้องรายงานโดยเร็วและต้องไม่เกิน 3 วัน นับแต่วันจับกุม เพื่อประกอบการพิจารณาของเลขาธิการ ป.ป.ส. เรื่อง การส่งเจ้าพนักงานป.ป.ส. เข้าฟังการสอบสวน
2. แบบ ป.ป.ส. 6 - 42 แบบรายงานการจับกุมรายเดือน ใช้ในการรายงานการจับกุมคดียาเสพติด ซึ่งต้องรายงานเป็นประจําทุกเดือน เพื่อจัดทําสถิติการจับกุมคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร การรายงานตามแบบ ป.ป.ส. 6 - 42 นี้ จึงต้องรายงานทุกคดี รวมทั้งคดีที่ได้รายงานตามแบบ ป.ป.ส. 6 - 41 ด้วย
3. แบบ ป.ป.ส. 6 - 43 แบบรายงานการรับตัวนักโทษ ใช้ในการรายงานการรับตัวนักโทษคดียาเสพติด ซึ่งต้องรายงานเป็นประจําทุกเดือน เพื่อจัดทําสถิติจํานวนและกําหนดเวลาต้องโทษ ของนักโทษคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร
4. แบบ ป.ป.ส. 6-4 4 แบบรายงานการปล่อยตัวนักโทษ ใช้ในการรายงานการปล่อยตัวนักโทษคดียาเสพติดเมื่อพ้นจากการต้องโทษแล้ว ซึ่งต้องรายงานเป็นประจําทุกเดือน เพื่อจัดทําสถิติการรับโทษ และวันพ้นโทษของนักโทษคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2527
พลตํารวจตรี ชวลิต ยอดมณี
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด | 7,167 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดแบบรายงานคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด (ปี2537) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด
เรื่อง กําหนดแบบรายงานคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
-----------------------
อื่นๆ - ด้วยระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2537 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับคดียาเสพติดทั้งหมดตั้งแต่การสืบสวนจับกุมจนถึงการลงโทษผู้กระทําผิดตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง สําหรับใช้เป็นหลักฐานในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้ดียิ่งขึ้น และให้สํานักงาน ป.ป.ส. กําหนดแบบรายงานตามระเบียบดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 ข้อ 19 ข้อ 21 และข้อ 22 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2537 สํานักงาน ป.ป.ส. จึงกําหนดแบบรายงานคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดไว้ ดังต่อไปนี้
1. แบบ ป.ป.ส. 6 - 41 แบบรายงานการจับกุมคดีใช้ในการรายงานการจับกุมคดียาเสพติดตามที่กําหนดไว้ใน ข้อ 11 วรรคแรก ซึ่งต้องรายงานโดยเร็วและต้องไม่เกิน 3 วัน นับแต่วันจับกุม เพื่อประกอบการพิจารณาของเลขาธิการ ป.ป.ส. เรื่องการส่งเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เข้าฟังการสอบสวน
2. แบบ ป.ป.ส. 6 - 42 แบบรายงานการจับกุมรายเดือน ใช้ในการรายงานการจับกุมคดียาเสพติด ซึ่งต้องรายงานเป็นประจําทุกเดือน เพื่อจัดทําสถิติการจับกุมคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร การรายงานตามแบบ ป.ป.ส. 6 - 62 นี้ จึงต้องรายงานทุกคดีรวมทั้งคดีที่ได้รายงานตามแบบ ป.ป.ส. 6 - 41 ด้วย
3. แบบ ป.ป.ส. 6 - 43 แบบรายงานการรับตัวนักโทษ ใช้ในการรายงานการรับตัวนักโทษคดียาเสพติด ซึ่งต้องรายงานเป็นประจําเดือน เพื่อจัดทําสถิติจํานวนและกําหนดเวลาต้องโทษของนักโทษคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร
4. แบบ ป.ป.ส. 6 - 44 แบบรายงานการปล่อยตัวนักโทษ ใช้ในการรายงานการปล่อยตัวนักโทษคดียาเสพติดเมื่อพ้นจากการต้องโทษแล้ว ซึ่งต้องรายงานเป็นประจําทุกเดือน เพื่อจัดทําสถิติการรับโทษ และวันพ้นโทษของนักโทษคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร
5. แบบ ป.ป.ส. 6 - 45 แบบแจ้งรายละเอียดคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดใช้ในการรายงานการดําเนินคดียาเสพติด ซึ่งต้องรายงานเป็นประจําทุกเดือน เพื่อจัดทําสถิติการดําเนินคดียาเสพติด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
พลตํารวจเอก ชวลิต ยอดมณี
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด | 7,168 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 16/2555 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2555 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 16 /2555
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2555
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2555
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 4 ปี ประจําเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2555 (รุ่นที่ 1/4 ปี/2555) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1⁄4 ปี/2555 ที่จะประมูลในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 เท่ากับร้อยละ 3.22 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,169 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 55/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 3 ปี ประจำเดือนกันยายน ปี 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 55/2559
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 3 ปี ประจําเดือนกันยายน ปี 2559
-----------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 3ปี ประจําเดือนกันยายน ปี 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3ปี ประจําเดือนกันยายน ปี 2559 (รุ่นที่ 2/3ปี/2559) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 6 กันยายน 2559 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/3ปี/2559 ที่จะประมูลในวันที่ 8 กันยายน 2559 เท่ากับร้อยละ 1.65 ต่อปี
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน 2559
(นายเมธี สุภาพงษ์)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,170 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 16/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 16 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์
โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ Basel III: A global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) ของ Basel Committee on Banking Supervision เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนที่มีคุณภาพดีและเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต และเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินโดยรวม ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารพาณิชย์ได้ดีขึ้น
ในประกาศฉบับนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในเรื่ององค์ประกอบเงินกองทุนที่มีการปรับปรุงใหม่โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงหลักการเดิมของวิธี RB และนอกจากนี้ จากวิกฤตทางการเงินที่ผ่านมาได้ปรากฎว่าคุณภาพด้านเครดิตของลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจทางการเงินมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของระบบมากกว่าลูกหนี้ประเภทอื่น ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงสูตรการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตบางประการให้สะท้อนลักษณะความเสี่ยงที่แท้จริงของลูกหนี้ประเภทนี้ด้วย
สําหรับรายการอื่น ๆ ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามแนวทางเดิมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดไว้
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 91/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 และ
2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 21/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2552
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"Unexpected loss (UL)" หมายความว่า ค่าความเสียหายที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้
"Expected loss (EL)" หมายความว่า ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
"Probability of default (PD)" หมายความว่า ค่าความน่าจะเป็นที่ลูกหนี้จะผิดนัดชําระหนี้
"Loss given default (LGD)" หมายความว่า ร้อยละของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ต่อยอดหนี้
"Exposure at default (EAD)" หมายความว่า ยอดหนี้หรือประมาณการยอดหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้
"Effective maturity (M)" หมายความว่า ระยะเวลาครบกําหนดคงเหลือของหนี้ที่ใช้ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
"ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation)" หมายความว่า ค่าความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าสินทรัพย์ซึ่งสะท้อนค่า PD ของลูกหนี้แต่ละรายกับปัจจัยความเสี่ยงจากระบบ (Systematic risk factor)
"ลูกหนี้" หมายความว่า เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝาก และรายการนอกงบดุล รวมถึงข้อผูกพันและสิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้ตามกฎหมายอื่น ๆ ของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ กรณีที่เป็นเงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝาก ให้รวมดอกเบี้ยค้างรับที่บันทึกบัญชีด้วย
"Specific provision " หมายความว่า เงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลทั้งหมด โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถระบุได้ว่าเป็นเงินสํารองที่ได้กันไว้สําหรับสินทรัพย์หรือรายการนอกงบดุลใด ทั้งนี้ รวมถึงส่วนที่ลดลงจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาดของตราสารหนี้และตราสารทุนที่ถือไว้เพื่อค้าและเผื่อขาย และมูลค่าการด้อยค่าด้วย แต่ไม่รวมเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติที่ธนาคารพาณิชย์นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 แล้ว
"General provision" หมายความว่า เงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติทั้งหมด แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติส่วนที่นับเป็น Specific provision แล้ว
"Dilution risk" หมายความว่า ความเสี่ยงที่ยอดหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อมาอาจมีมูลค่าลดลงได้ เนื่องจากผู้ขายลูกหนี้มีข้อตกลงกับลูกหนี้ เช่น การที่ผู้ขายลูกหนี้ให้ส่วนลดแก่ลูกหนี้ หากลูกหนี้จ่ายชําระหนี้ภายในเวลาที่กําหนด หรือการให้ลูกหนี้คืนสินค้าที่ซื้อไปได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดเนื่องจากสินค้ามีคุณภาพไม่ดี หรือผู้ขายลูกหนี้มีภาระหนี้ต่อลูกหนี้ เป็นต้น
5.2 หลักการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดย Standardised Approach (วิธี SA) และ Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) เพื่อเป็นทางเลือกสําหรับธนาคารพาณิชย์ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้เหมาะสมกับความซับซ้อนของระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตของตนเอง
วิธี IRB เป็นวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เครื่องมือภายในของธนาคารพาณิชย์ ในการประมาณค่าความเสียหายจากความเสี่ยงด้านเครดิตซึ่งค่าความเสียหายดังกล่าวแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามแนวทางการดําเนินการเพื่อรองรับความเสียหายดังนี้
(1) ค่าความเสียหายที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้ (Unexpected loss: UL) เป็นส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ควรมีเงินกองทุนรองรับ ซึ่งปริมาณเงินกองทุนขั้นต่ําที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องดํารงเพื่อรองรับ UL จะประเมินจากมูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณได้ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้
(2) ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss: EL) เป็นส่วนที่ธนาคารพาณิชย์ควรมีเงินสํารองที่กันไว้รองรับ โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องนําค่า EL ที่คํานวณได้ตามประกาศฉบับนี้ไปเปรียบเทียบกับเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) ซึ่งหากมีส่วนต่างเกิดขึ้น ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในประกาศฉบับนี้
วิธีการประมาณค่าความเสี่ยงข้างต้นนั้นมีหลายวิธี ซึ่งวิธีหลักของการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB คือ การคํานวณโดยใช้สูตร PD/LGD (Risk weight function) ที่มีค่าองค์ประกอบความเสี่ยง (Risk component 4 ตัวแปร ได้แก่ Probability of default (PD) Loss given default (LGD) Exposure at default (EAD) และ Effective maturity (M)
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ธนาคารพาณิชย์มีทางเลือกในการใช้สูตร PD/LGD (Risk weight function) ดังนี้
(1) Foundation Internal Ratings-Based Approach (วิธี FIRB) คือวิธีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องประมาณค่า PD เอง แต่ค่าองค์ประกอบความเสี่ยงอื่นให้ใช้ค่าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(2) Advanced Internal Ratings-Based Approach (วิธี AIRB) คือ วิธีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยงทั้ง 4 ตัวแปรเอง
โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องนําปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์เพื่อหาอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดต่อไป
5.3 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี IRB ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ดังนี้
5.3.1 ประเภทสินทรัพย์ (Asset class)
ประเภทสินทรัพย์' (Asset class) ภายใต้วิธี IRB แบ่งออกเป็น 7 ประเภทหลักและในแต่ละประเภทอาจแบ่งเป็นประเภทย่อย (Sub-asset class) ดังนี้
(1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล
(2) ลูกหนี้สถาบันการเงิน
(3) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชน แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
(3.1) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชนทั่วไป
(3.2) สินเชื่อกลุ่มพิเศษ
(4) ลูกหนี้รายย่อย แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ
(4.1) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
(4.2) วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อรายย่อย
(4.3) สินเชื่อรายย่อยอื่น
(5) ฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน
(6) ลูกหนี้ที่รับซื้อมา แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
(6.1) ลูกหนี้ธุรกิจเอกชนที่รับซื้อมา
(6.2) ลูกหนี้รายย่อยที่รับซื้อมา
(7) สินทรัพย์อื่น
5.3.2 วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB
วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ 7 ประเภท ตามข้อ 5.3.1 แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดยมีรายละเอียดวิธีการคํานวณและการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยงตามเอกสารแนบ 1 ถึง 5 ซึ่งสามารถสรุปวิธีการคํานวณสําหรับสินทรัพย์แต่ละกลุ่มและรายละเอียดประกอบการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ดังนี้
สรุปวิธีการคํานวณ
กลุ่มที่ 1 ลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน และธุรกิจเอกชน
สําหรับลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน และธุรกิจเอกชน ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยแบ่งเป็น 2 กรณี (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 1) ดังนี้
(1) ลูกหนี้ภาครัฐบาล สถาบันการเงิน ธุรกิจเอกชนทั่วไป และสินเชื่อกลุ่มพิเศษที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function) โดยมีทางเลือกระหว่างวิธี FIRB และวิธี AIRB
(2) สินเชื่อกลุ่มพิเศษที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําด้านการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธี Supervisory slotting criteria ที่กําหนดให้นําค่า EAD มาคูณด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ซึ่งได้จากการเทียบเคียง Internal rating ของสินเชื่อกลุ่มพิเศษของธนาคารพาณิชย์กับ Rating 5 อันดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้รายย่อย
สําหรับลูกหนี้รายย่อย ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้รายย่อย (Retail risk weight function) โดยต้องใช้วิธี AIRB เท่านั้น (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 2)
กลุ่มที่ 3 ฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน
สําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้วิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่สอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงของตนสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนแต่ละพอร์ต (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 3)
(1) วิธี Market-based ประกอบด้วย 2 วิธีย่อย ดังนี้
(1.1) วิธี Simple risk weight ให้ธนาคารพาณิชย์นําค่า EAD มาคูณด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(1.2) วิธีแบบจําลองภายใน (Internal models method) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตจากแบบจําลอง Value-at-risk (VaR)
(2) วิธี PD/LGD ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function)
กลุ่มที่ 4 ลูกหนี้ที่รับซื้อมา
สําหรับลูกหนี้ที่รับซื้อมา ธนาคารพาณิชย์ต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตเพื่อรองรับความเสี่ยง 2 ประเภท (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 4) ได้แก่
(1) ความเสี่ยงจากการที่ยอดหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อมาอาจมีมูลค่าลดลงได้เนื่องจากผู้ขายลูกหนี้มีข้อตกลงที่จะลดยอดหนี้ให้กับลูกหนี้ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนดไว้ล่วงหน้า (Dilution risk) ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function) ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับ Dilution risk ทั้งกรณีที่ลูกหนี้ที่รับซื้อมาเป็นลูกหนี้ธุรกิจเอกชนและลูกหนี้รายย่อย
(2) ความเสี่ยงจากการที่ลูกหนี้ที่รับซื้อมาไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนด (Default risk) โดยการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับ Default risk แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
(2.1) กรณีลูกหนี้ที่รับซื้อมาเป็นลูกหนี้ธุรกิจเอกชน
ให้ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้วิธี Bottom-up หรือวิธี Top-down ได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด และให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้ธุรกิจเอกชน (Corporate risk weight function)
(2.2) กรณีลูกหนี้ที่รับซื้อมาเป็นลูกหนี้รายย่อย
ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD สําหรับลูกหนี้รายย่อย(Retail risk weight function) ตามประเภทของลูกหนี้รายย่อยที่รับซื้อมา
กลุ่มที่ 5 สินทรัพย์อื่น
สําหรับสินทรัพย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นํายอดคงค้างของสินทรัพย์อื่นที่หักด้วย Specific provision มาคูณด้วยน้ําหนักความเสี่ยงตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 5)
รายละเอียดประกอบการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ กลุ่มที่ 1 ถึง 5
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ในกลุ่มที่ 1 ถึง 5 ข้างต้น สําหรับฐานะที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์ ฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น ฐานะที่ใช้สูตร PD/LGD ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต หรือฐานะที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยใช้วิธีการ ดังต่อไปนี้
ฐานะที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์ (Derivatives)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ทุกฐานะที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคารและบัญชีเพื่อการค้าตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ โดยธนาคารพาณิชย์ที่ทําธุรกรรมอนุพันธ์ในบัญชีเพื่อการค้าต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดสําหรับธุรกรรมดังกล่าวด้วยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาดของสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ยกเว้นฐานะของอนุพันธ์ด้านเครดิต ที่อยู่ในบัญชีเพื่อการธนาคารทั้งกรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตและผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) กรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต(Protection seller) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดยวิธี SA เรื่อง หลักเกณฑ์การกําหนดน้ําหนักความเสี่ยงและค่าแปลงสภาพสําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives ในบัญชีเพื่อการธนาคาร
(2) กรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต (Protection Buyer) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ตามที่กําหนดในการประมาณค่าองค์ประกอบความเสี่ยง LGD กรณีมีการค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิตตามประเภทของสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงตามรายละเอียดที่ระบุในเอกสารแนบของประกาศฉบับนี้
ฐานะที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคาและการส่งมอบที่ยังไม่เสร็จสิ้น (Unsettled transaction)
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับการผิดนัดชําระราคาและการส่งมอบและธุรกรรม Non-delivery versus payment (Non-DvP) สําหรับธนาคารพาณิชย์
ฐานะที่ใช้สูตร PD/LGD ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้สูตร PD/LGD ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ยกเว้นสูตร PD/LGD กรณีลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์คูณค่า Scaling factor 1.06 ในการคํานวณร้อยละของเงินกองทุน ตามรายละเอียดที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบ 1 และเอกสารแนบ 2
ฐานะที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
กรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีสินทรัพย์และรายการนอกงบดุลที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกประเภท ให้ธนาคารพาณิชย์แปลงเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน
5.4 หลักเกณฑ์การพิจารณาความเพียงพอของเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) ต่อความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss)
นอกจากคํานวณหาค่า UL เพื่อคํานวณหามูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตแล้วธนาคารพาณิชย์ต้องคํานวณหาผลรวมของค่า EL ของลูกหนี้ทุกประเภทที่คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี IRB ตามวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อนําค่าดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับเงินสํารองที่กันไว้แล้ว (Total eligible provisions) ซึ่งหากมีความแตกต่างระหว่างค่า EL ที่คํานวณได้กับเงินสํารองที่กันไว้แล้ว ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 6)
5.5 เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี IRB (Minimum requirements for IRB approach)
ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี IRB ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ํา(รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 7) ในเรื่องต่อไปนี้
(1) การออกแบบและพัฒนาระบบ Internal rating
(2) วิธีปฏิบัติสําหรับระบบการให้ Internal rating
(3) ธรรมาภิบาลและการควบคุม
(4) การใช้ระบบ Internal rating
(5) การกําหนดค่าความเสี่ยง
(6) การทดสอบความถูกต้องของค่าประมาณการ
(7) มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับการใช้ค่า LGD และค่า EAD ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(8) เกณฑ์ปฏิบัติสําหรับการให้เช่าแบบลีสซิ่ง
(9) การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน
(10) การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
5.6 การยื่นขออนุญาตและกรอบการใช้วิธี IRB (Adoption of the IRB approach)
ธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี RB ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยและต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําสําหรับวิธี IRB (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 7) นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามกรอบการใช้วิธี IRB ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 8)
อื่นๆ - 6. บทเฉพาะกาล
ตามบทเฉพาะกาลของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยองค์ประกอบของเงินกองทุนสําหรับสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ซึ่งกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์หักรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และเงินลงทุนในบริษัทที่ทําธุรกิจทางการเงินและธุรกิจสนับสนุน (ยกเว้นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน Full Consolidation ที่ต้องจัดทํางบการเงินรวมของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และบริษัทที่ทําธุรกิจสนับสนุนระบบสถาบันการเงินหรือธุรกิจที่ปรับโครงสร้างหนี้) ออกจากเงินกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 จนถึง 1 มกราคม 2561 ในอัตราร้อยละ 20 ร้อยละ 40 ร้อยละ 60 ร้อยละ 80 และร้อยละ 100 ต่อปีนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์นํารายการดังกล่าวในส่วนที่ยังไม่ได้หักออกจากเงินกองทุนไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้หรือประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี (รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ 9)
อื่นๆ - 7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,171 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 56/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 56/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกันยายน 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.36/14/59 | 55,000 | 9 กันยายน 2559 | 13/9/59 – 27/9/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,172 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดแบบเอกสารการขอรับเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด
เรื่อง กําหนดแบบเอกสารการขอรับเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในข้อ 30 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ. 2527 เลขาธิการ ป.ป.ส. จึงกําหนดแบบเอกสารเพื่อใช้ในการขอรับเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด ดังต่อไปนี้
1. ป.ป.ส. 6 - 21 แบบรับแจ้งความนําจับคดียาเสพติด เพื่อใช้ในการรับแจ้งความนําจับคดียาเสพติด ตามระเบียบฯ ข้อ 23 (2) และข้อ 24 (2)
2. ป.ป.ส. 6 – 22 แบบขอรับเงินสินบนคดียาเสพติด เพื่อใช้ในการขอรับเงินสินบนคดียาเสพติด ตามระเบียบฯ ข้อ 23 (1) และข้อ 24 (1)
3. ป.ป.ส. 6 - 23 แบบขอรับเงินรางวัลคดียาเสพติด เพื่อใช้ในการขอรับเงินรางวัลคดียาเสพติด ตามระเบียบฯ ข้อ 23 (1) และข้อ 24 (1)
4. ป.ป.ส. 6 - 24 แบบแจ้งคําสั่งฟ้องของพนักงานอัยการหรือแจ้งผลคดีตามคําพิพากษาเพื่อใช้ในการแจ้งคําสั่งฟ้องของพนักงานอัยการหรือแจ้งผลคดีตามคําพิพากษา ตามระเบียบฯ ข้อ 23 (3) และข้อ 24 (6) (7)
5. ป.ป.ส. 6 - 25 แบบคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชั่งน้ําหนักกัญชาแห้งเพื่อใช้ในการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชั่งน้ําหนักกัญชาแห้งตามระเบียบฯ ข้อ 25 (1)
6. ป.ป.ส. 6 - 26 แบบรายงานผลการตรวจสอบชั่งน้ําหนักกัญชาแห้งเพื่อใช้ในการรายงานผลการตรวจสอบชั่งน้ําหนักกัญชาแห้ง ตามระเบียบฯ ข้อ 25 (2)
7. ป.ป.ส. 6 - 27 แบบหนังสือมอบฉันทะรับเงินสินบนคดียาเสพติดเพื่อใช้ในการมอบฉันทะรับเงินสินบนคดียาเสพติด ตามระเบียบฯ ข้อ 24 (4)
8. ป.ป.ส. 6 - 28 แบบหนังสือมอบฉันทะรับเงินรางวัลคดียาเสพติดเพื่อใช้ในการมอบฉันทะรับเงินรางวัลคดียาเสพติด ตามระเบียบฯ ข้อ 24 (4)
9. ป.ป.ส. 6 - 29 แบบแนบหนังสือมอบฉันทะรับเงินรางวัลคดียาเสพติด เพื่อใช้ในการมอบฉันทะรับเงินรางวัลคดียาเสพติด ตามระเบียบฯ ข้อ 24 (4)
ให้ผู้แจ้งความนําจับและเจ้าพนักงานผู้จับกุมที่ประสงค์จะขอรับเงินสินบนเงินรางวัลปฏิบัติตามแบบท้ายประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2527
พลตํารวจตรี ชวลิต ยอดมณี
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด | 7,173 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2530) เรื่อง กำหนดให้วัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติด ตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2530)
เรื่อง กําหนดให้วัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติด
ตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519
---------------------------
อื่นๆ - ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดให้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 และ 2 เป็นยาเสพติด ตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2521 กําหนดให้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 และ 2 เป็นยาเสพติดนั้น ปรากฏว่าได้มีการใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 และ 4 ในลักษณะเป็นยาเสพติดด้วย เนื่องจากวัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทอาจมีการใช้เป็นยาเสพติดได้เช่นเดียวกัน จึงจําเป็นต้องกําหนดให้วัตถุออกฤทธิ์ทุกประเภทเป็นยาเสพติด
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 จึงให้ยกเลิกประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวข้างต้นและกําหนดให้วัตถุออกฤทธิ์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เป็นยาเสพติด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2530
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี | 7,174 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 57/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกันยายน 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.37/14/59 | 55,000 | 16 กันยายน 2559 | 20/9/59 – 4/10/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,175 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 17/2555 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2555 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 17 /2555
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมีนาคม 2555
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมีนาคม 2555
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.9/14/55 | 80,000 | 2 มีนาคม 2555 | 6/3/55 - 20/3/55 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,176 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2542) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดระบบการข่าว | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
(พ.ศ.2542)
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดระบบการข่าว
-------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. 2542 นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
1. ให้หน่วยงานตามที่กําหนดในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. 2542 และที่ประกาศกําหนดเพิ่มเติม จัดระบบการข่าว และศูนย์รับแจ้งข่าวเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2. หน่วยงานใดที่มีภารกิจในการสืบสวน ปราบปราม ให้ดําเนินการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร พฤติการณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยให้มีระบบการรายงานข่าวสารและให้การสนับสนุนการสืบสวนเพิ่มเติมกรณีมีการร้องขอจากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยของคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารฯ
3. ให้หน่วยงานจัดระบบการข่าว กําหนดบุคลากรรับผิดชอบงานการข่าวเพื่อทําหน้าที่ในการรวบรวมข่าวสาร การตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร การประมวลวิเคราะห์และการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
4. ในการรวบรวมรายงานข่าวสารจากการร้องเรียนและการสืบสวนเจ้าหน้าที่ของรัฐมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หากเห็นว่าข่าวสารดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารฯ หน่วยงานนั้นสามารถจัดส่งให้กับสํานักงาน ป.ป.ส. เพื่อดําเนินการตามระบบการกลั่นกรองและวินิจฉัยของคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารฯ ตามระเบียบได้
5. ให้กําหนดช่องทางการประสานงานการข่าวระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันโดยให้สํานักงาน ป.ป.ส. เป็นหน่วยงานกลางในการจัดระบบงาน เพื่อให้สามารถสนับสนุนการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและในภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. ในการบริหารจัดการระบบการข่าวของหน่วยงาน ให้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของหน่วยงานและเป็นดุลยพินิจของแต่ละหน่วยงานในการดําเนินการและการกําหนดให้มีหน่วยงานรองรับผิดชอบต่อไป
7. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2542
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี | 7,177 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 58/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 58/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกันยายน 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.38/14/59 | 45,000 | 23 กันยายน 2559 | 27/9/59 – 11/10/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,178 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสำหรับธุรกรรมอนุพันธ์ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 17 /2555
เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ โดยอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ Basel II!: A global regulatory framework for more resilient banks and banking systems (Revised version: June 2011) ของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนที่มีคุณภาพดีและเพียงพอรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต และเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินโดยรวม ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงวิธีการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของธนาคารพาณิชย์
ได้ดีขึ้น
ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ Basel III โดยปรับเพิ่มระยะเวลาถือครองขั้นต่ํา (Minimum holding period) ในการคํานวณค่าปรับลด (Haircut) มูลค่าหลักประกันตามวิธี Comprehensive สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์นอกตลาดบางประเภท เช่น ธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันที่ไม่มีสภาพคล่อง เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในภาวะวิกฤตที่ธนาคารพาณิชย์มีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่สามารถปิดฐานะธุรกรรมอนุพันธ์เหล่านี้ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ปรับปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล (Credit equivalent amount: CEA) สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์บางประเภท โดยฌฉพาะธุระกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อน (Structured derivative) เพื่อให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีความชัดเจนยิ่งขึ้นเนื่องจากประกาศฉบับเดิมไม่ได้ระบุวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน และเพื่อให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีความเหมาะสมในทางปฏิบัติ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกธนาคาร
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 92/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับสัญญาอนุพันธ์นอกตลาด ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้ คําจํากัดความให้เป็นไปตามเอกสารแนบ 1
5.2 หลักการ
ประกาศฉบับนี้ครอบคลุมหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับฐานะที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภท ซึ่งรวมถึงฐานะในมูลค่าหลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์วางไว้กับคู่สัญญา เพื่อใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการผิดนัดชําระหนี้ของคู่สัญญา (Default risk โดยให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลตาม Original exposure method (วิธี OEM) หรือ Current exposure method (วิธี CEM) และนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลดังกล่าวไปคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงของคู่สัญญาเพื่อคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาต่อไป
ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์นํามูลค่าสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาที่คํานวณได้ตามประกาศนี้ไปรวมกับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตที่คํานวณได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) และ/หรือ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) แล้วแต่กรณี เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการคํานวณอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital adequacy ratio) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลเงินกองทุนสําหรับธนาคารพาณิชย์ต่อไป
5.3 ฐานะที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์ที่ต้องนํามาคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับฐานะที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์ทุกประเภท ซึ่งรวมถึงฐานะในมูลค่าหลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์วางไว้กับคู่สัญญา ยกเว้นฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์ ต่อไปนี้
5.3.1 ฐานะในอนุพันธ์ด้านเครดิตในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking book) ทั้งในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง (Protection seller) และผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยง (Protection buyer) ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) แล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ต้องนําฐานะดังกล่าวไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตตามแนวทางที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้นแล้วแต่กรณี
5.3.2 ฐานะในอนุพันธ์ด้านเครดิตประเภท Funded credit derivative ในบัญชีเพื่อการค้า (Trading book) ในกรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงอย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ต้องนําฐานะดังกล่าวไปคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามแนวทางการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านตลาดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับดูแลความเสี่ยงด้านตลาดและการดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านตลาด
5.3.3 ฐานะในอนุพันธ์ด้านเครดิตประเภท Funded credit derivative ในบัญชีเพื่อการค้า (Trading book) ในกรณีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงโดยธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่มีเงินสดมาวางเป็นประกันแล้ว
5.3.4 ฐานะในสัญญา Options sold ที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับค่าธรรมเนียม (Premium) เต็มจํานวน
5.3.5 ฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์อื่น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกําหนด
5.4 การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์
5.4.1 ฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์ในตลาด
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงโดยกําหนดให้น้ําหนักความเสี่ยงของคู่สัญญาเท่ากับ 0 จนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
5.4.2 ฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์นอกตลาด
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาตามข้อ 5.5
5.5 หลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับความเสี่ยงจากการผิดนัดชําระหนี้ของคู่สัญญา (Default risk)
5.5.1 สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี SA ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับความเสี่ยงจากการผิดนัดชําระหนี้ของคู่สัญญาแต่ละรายตามวิธี SA ดังนี้
(1) คํานวณหามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์ (รวมทุก Netting set ที่ทํากับคู่สัญญารายเดียวกัน) ตามที่กําหนดในข้อ 5.6
(2) นํามูลค่าตามข้อ 5.5.1 (1) มาหักด้วย Specific provision ของธุรกรรมอนุพันธ์นั้น
(3) คํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยง โดยนํามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสุทธิตามข้อ 5.5.1 (2) ข้างต้น หลังพิจารณาการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามข้อ 5.12 (หากมี) ไปคูณกับน้ําหนักความเสี่ยงของคู่สัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA)
5.5.2 สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่เลือกใช้วิธี IRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับค่าความเสียหายที่เกินกว่าระดับที่คาดไว้ (Unexpected loss: UL) รวมถึงคํานวณค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected loss: EL) ตามวิธี IRB ดังนี้
(1) คํานวณหามูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์ (รวมของทุก Netting set ที่ทํากับคู่สัญญารายเดียวกัน) ตามที่กําหนดในข้อ 5.6
(2) กําหนดมูลค่าตามข้อ 5.5.2 (1) เป็นยอดหนี้หรือประมาณการยอดหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ (EAD) เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการคํานวณหาสินทรัพย์เสี่ยงสําหรับค่า UL และค่า EL ต่อไป ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) รวมถึงธนาคารพาณิชย์สามารถพิจารณาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามข้อ 5.12 ได้
5.6 หลักเกณฑ์การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์
ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของคู่สัญญาแต่ละรายซึ่งเท่ากับผลรวมของมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลจากฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์กรณีที่ไม่มี Netting agreement ฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์กรณีที่มี Netting agreement และฐานะในมูลค่าหลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์วางไว้กับคู่สัญญา
โดยการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์กรณีที่ไม่มี Netting agreement และกรณีที่มี Netting agreement ให้ธนาคารพาณิชย์เลือกใช้วิธีการคํานวณตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําในการเลือกใช้วิธีในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลข้อ 5.7 ซึ่งแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ วิธี OEM ตามข้อ 5.8 และวิธี CEM ตามข้อ 5.9 นอกจากนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลข้อ 5.10 ด้วย
สําหรับวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับฐานะในมูลค่าหลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์วางไว้กับคู่สัญญา ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงหลักเกณฑ์ข้อ 5.11
5.7 เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําในการเลือกใช้วิธีในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล
5.7.1 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาดคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยใช้วิธี CEM กับคู่สัญญาทุกราย
5.7.2 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ต้องดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาดและเลือกใช้วิธี SA ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสามารถเลือกใช้วิธี OEM หรือวิธี CEM ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลกับคู่สัญญาแต่ละรายได้ ยกเว้นในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการทําธุรกรรมอนุพันธ์อื่นที่นอกเหนือจากอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยกับคู่สัญญารายใด ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยใช้วิธี CEM กับทุกธุรกรรมที่ทํากับคู่สัญญารายนั้นทันที
5.7.3 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ต้องดํารงเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาดและเลือกใช้วิธี IRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยจําแนกเป็นพอร์ตสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้วิธี OEM หรือวิธี CEM ในการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลกับคู่สัญญาแต่ละรายในพอร์ตสินทรัพย์ที่ใช้วิธี SA (พอร์ตสินทรัพย์ที่ไม่มีนัยสําคัญ ยกเว้นในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการทําธุรกรรมอนุพันธ์อื่นที่นอกเหนือจากอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยกับคู่สัญญารายใด ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยใช้วิธี CEM กับทุกธุรกรรมที่ทํากับคู่สัญญารายนั้นทันที
(2) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยใช้วิธี CEM กับคู่สัญญาทุกรายในพอร์ตสินทรัพย์ที่ใช้วิธี IRB
5.8 Original exposure method (วิธี OEM)
วิธี OEM เป็นวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ โดยการคูณจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit conversion factor: CCF) ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
5.8.1 กรณีที่ไม่มี Netting agreement
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไม่มีการลงนามใน Netting agreement (ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเอกสารแนบ 2) กับคู่สัญญารายใด หรือมีการลงนามใน Netting agreement แล้ว แต่มีสัญญาบางส่วนที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันที่จะไม่รวมอยู่ใน Netting agreement ในกรณีเช่นนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์จําแนกธุรกรรมอนุพันธ์ที่ไม่รวมอยู่ใน Netting agreement ดังกล่าวแล้วให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลในกรณีที่ไม่มี Netting agreement โดยคูณจํานวนเงินตามสัญญาด้วยค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
CEAกรณีที่ไม่มี Netting = Ʃni=1 (Notional amounti x CCFi, กรณีไม่มี Netting)
โดย
CEAกรณีที่ไม่มี Net = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลกรณีที่ไม่มี Netting agreement
Notional amounti = จํานวนเงินตามสัญญาสําหรับธุรกรรม “i”
CCFi, กรณีไม่มี Netting = ค่าแปลงสภาพสําหรับวิธี OEM กรณีที่ไม่มี Netting agreement สําหรับ
ธุรกรรม 'i' (เอกสารแนบ 3 ตารางที่ 1)
n = จํานวนธุรกรรมอนุพันธ์ที่ทํากับคู่สัญญาแต่ละราย
5.8.2 กรณีที่มี Netting agreement
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีการลงนามใน Netting agreement (ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเอกสารแนบ 2) กับคู่สัญญารายใด แล้วธุรกรรมอนุพันธ์ทุกสัญญาที่ทํากับคู่สัญญารายดังกล่าว ถูกกําหนดให้นํามาหักกลบลบหนี้เพื่อชําระราคาเป็นยอดเดียวในกรณีที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลในกรณีที่มีNetting agreement โดยคูณจํานวนเงินตามสัญญาด้วยค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
CEAกรณีที่มี Netting = Ʃni=1 (Notional amounti x CCFi, กรณีมี Netting)
โดย
CEAกรณีที่มี Netting = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลกรณีที่มี Netting agreement
Notional amounti = จํานวนเงินตามสัญญาสําหรับธุรกรรม “i”
CCFi, กรณีมี Netting = ค่าแปลงสภาพสําหรับวิธี OEM กรณีที่มี Netting agreement สําหรับ
ธุรกรรม “i” (เอกสารแนบ 3 ตารางที่ 2)
n = จํานวนธุรกรรมอนุพันธ์ที่ทํากับคู่สัญญาแต่ละราย
ทั้งนี้ หากใน Netting agreement ธนาคารพาณิชย์และคู่สัญญามีการทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Foreign exchange forward contract) หรือสัญญาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีจํานวนเงินตามสัญญาเท่ากับกระแสเงินสดที่ต้องรับและจ่ายกันจริง ธนาคารพาณิชย์สามารถนําสัญญาที่เป็นรายการตรงกันข้ามกัน (เช่น ฐานะด้านซื้อและฐานะด้านขาย) มีวันครบกําหนดวันเดียวกัน (Same maturity date) และสกุลเงินเดียวกัน (Same currency pair) มาหักกลบลบกันได้ (Offset) โดยมีวิธีการคํานวณดังต่อไปนี้
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์คูณจํานวนเงินตามสัญญาทั้งด้านซื้อและต้านขายที่ครบกําหนดวันเดียวกัน ด้วยค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดในเอกสารแนบ 3 ตารางที่ 1 และ 2
(2) ให้ธนาคารพาณิชย์นําค่าที่คํานวณได้ตามข้อ 5.8.2 (1) มาหักกลบลบกันและให้นับส่วนต่างที่คํานวณได้เป็นมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของคู่สัญญารายนั้น
5.9 Current exposure method (วิธี CEM)
วิธี CEM เป็นวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับการทําธุรกรรมอนุพันธ์ โดยพิจารณาจาก Replacement cost (RC) ซึ่งมีค่าเท่ากับมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน (Mark to-market value) ของธุรกรรมที่มีค่าเป็นบวก และมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Add-on) ซึ่งคํานวณโดยการคูณจํานวนเงินตามสัญญาด้วยค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
5.9.1 กรณีที่ไม่มี Netting agreement
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณผลรวมของ RC ของธุรกรรมอนุพันธ์ที่ธนาคารพาณิชย์ทํากับคู่สัญญา (Gross replacement cost: RCGos) ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
RCGross = Ʃni=1 RCi ; RCi > 0
โดย
RCGross = ผลรวมของ RC ของธุรกรรมอนุพันธ์ที่ธนาคารพาณิชย์ทํากับคู่สัญญา
RCi = มูลค่าที่ได้จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันสําหรับธุรกรรม '"' ที่มีค่าเป็นบวก
n = จํานวนธุรกรรมอนุพันธ์ที่ทํากับคู่สัญญาแต่ละราย
(2) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Gross add-on: AGross) โดยหายอดรวมของผลคูณระหว่างจํานวนเงินตามสัญญาของธุรกรรมอนุพันธ์ที่ทํากับคู่สัญญาแต่ละรายกับค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
A Gross = Ʃni=1 (Notional amounti x CCFi)
โดย
A Gross = ผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตกรณีที่ไม่มี Netting
agreement
Notional amounti = จํานวนเงินตามสัญญาสําหรับธุรกรรม 'i'
CCFi = ค่าแปลงสภาพสําหรับวิธี CEM สําหรับธุรกรรม '/' (เอกสารแนบ 3 ตารางที่
3 และ 4)
n = จํานวนธุรกรรมอนุพันธ์ที่ทํากับคู่สัญญาแต่ละราย
(3) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล โดยหายอดรวมของค่า RC Goss ที่คํานวณได้ตามข้อ 5.9.1 (1) และค่า A Gross ที่คํานวณได้ตามข้อ 5.9.1 (2) ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
CEAกรณีที่ไม่มี Netting = RC Gross + A Gross
5.9.2 กรณีที่มี Netting agreement
กลุ่มธุรกรรมอนุพันธ์ที่อยู่ภายใต้ Netting set เดียวกัน ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับกลุ่มธุรกรรมอนุพันธ์ดังกล่าว ดังนี้
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณผลรวมสุทธิที่ได้จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน (Net replacement cost: RCVer) ของธุรกรรมอนุพันธ์ที่ธนาคารพาณิชย์ทํากับคู่สัญญาแต่ละราย โดยหายอดรวมสุทธิของกําไรและขาดทุนที่ได้จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมของทุกสัญญาที่อยู่ภายใต้ Netting set เดียวกัน ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
RC Net = max(0; Ʃni=1 MTM i)
โดย
RC Net = ค่าที่สูงกว่าระหว่าง 0 กับผลรวมสุทธิที่ได้จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบัน
ของธุรกรรมอนุพันธ์ทุกสัญญาที่อยู่ภายใต้ Netting set เดียวกัน
MTM i = มูลค่าที่ได้จากการประเมินมูลค่ายุติธรรม (Mark-to-market value) ในปัจจุบันของ
ธุรกรรม 'i' ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งค่าบวกและลบ
n = จํานวนธุรกรรมอนุพันธ์ที่ทํากับคู่สัญญาแต่ละราย ที่อยู่ภายใต้ Netting set เดียวกัน
(2) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Net add-on: Aver) ของธุรกรรมอนุพันธ์ทุกสัญญาที่อยู่ภายใต้ Netting agreement เดียวกัน ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
A Net = (0.4 x A Gross) + (0.6 x NGR X A Gross)
โดย
A Net = ผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต กรณีที่มี Netting agreement
A Gross = ผลรวมของมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต กรณีที่ไม่มี Netting agreement
NGR = Net-to-gross ratio ซึ่งคํานวณโดยการนําค่า RC Vet มาหารด้วยค่า RC Gross (รายละเอียดตาม
ข้อ 5.9.2 (3)
(3) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณหาค่า NGR โดยสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง ได้แก่ วิธีการคํานวณค่า NGR สําหรับคู่สัญญาแต่ละราย (Individual approach) และวิธีการคํานวณค่า NGR สําหรับคู่สัญญาทุกราย (Aggregate approach) ซึ่งเมื่อธนาคารพาณิชย์เลือกใช้วิธีใดแล้วให้ใช้วิธีนั้นอย่างสม่ําเสมอ ดังนี้
(3.1) วิธีการคํานวณค่า NGR สําหรับคู่สัญญาแต่ละราย ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ค่า RC Netและค่า RC Goss ที่คํานวณจากธุรกรรมอนุพันธ์ทุกสัญญาที่อยู่ภายใต้ Netting agreement เดียวกัน ที่ธนาคารพาณิชย์ทํากับคู่สัญญารายนั้น ๆ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีหลาย Netting set กับคู่สัญญารายดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์นําค่า RC Net และค่า RC Goss ของแต่ละ Netting set มาบวกกันก่อน แล้วจึงนําค่าดังกล่าวมาคํานวณหาค่า NGR ต่อไป
(3.2) วิธีการคํานวณค่า NGR สําหรับคู่สัญญาทุกราย ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ค่า RC Netและค่า RC Goss ที่คํานวณจากผลรวมของค่า RC Net และค่า RC Goss ตามวิธี Individual approach ของคู่สัญญาทุกรายที่ธนาคารพาณิชย์มี Netting agreement โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องใช้ค่า NGR ที่คํานวณได้ตามวิธีการนี้ในการคํานวณค่า A Net สําหรับคู่สัญญาทุกราย
(4) ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลโดยหาผลรวมระหว่างค่า RC Net ที่คํานวณได้ตามข้อ 5.9.2 (1) และค่า A Net ที่คํานวณได้ตามข้อ 5.9.2 (2) ตามสูตรการคํานวณต่อไปนี้
CEAกรณีที่มี Netting = RC Net + A Net
(5) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์และคู่สัญญามี Netting agreement มากกว่า 1 สัญญา (หรือมีมากกว่า 1 Netting set ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของแต่ละ Netting set แล้วนําค่าดังกล่าวมารวมกันเพื่อให้ได้มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลรวม
(6) หากใน Netting agreement ธนาคารพาณิชย์และคู่สัญญามีการทําสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Foreign exchange forward contract) หรือสัญญาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีจํานวนเงินตามสัญญาเท่ากับกระแสเงินสดที่ต้องรับและจ่ายกันจริง ธนาคารพาณิชย์สามารถนําสัญญาที่เป็นรายการตรงกันข้ามกัน (เช่น ฐานะด้านซื้อและฐานะด้านขาย) มีวันครบกําหนดวันเดียวกัน (Same maturity date) และสกุลเงินเดียวกัน (Same currency pair มาหักกลบลบกันได้ (Offset) โดยมีวิธีการคํานวณดังต่อไปนี้
(6.1) การคํานวณค่า RC Gross และค่า RC Net
ให้ธนาคารพาณิชย์นํามูลค่ายุติธรรมของสัญญาที่สามารถหักกลบลบกันได้มาหักกลบกัน จากนั้นให้ธนาคารพาณิชย์นําค่าส่วนต่างดังกล่าว ไปคํานวณรวมกับค่า RC Goss และค่า RC Netของสัญญาอื่น ๆ ที่เหลือเพื่อให้ได้ยอดรวมของค่า RC Goss และค่า RC Net ของทุกสัญญาที่ทํากับคู่สัญญารายนั้น
(6.2) การคํานวณค่า A Gross และค่า A Net
ให้ธนาคารพาณิชย์คูณจํานวนเงินตามสัญญาทั้งด้านซื้อและด้านขายที่ครบกําหนดวันเดียวกันด้วยค่าแปลงสภาพที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 3 ตารางที่ 3 และ 4) แล้วนําค่าดังกล่าวมาหักกลบกัน โดยส่วนต่างที่ได้ของสัญญาที่หักกลบลบกันได้ แล้วให้นําค่า A Gross ที่ได้นี้ไปรวมกับค่า A Gross ของสัญญาอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมดเพื่อให้ได้ยอดรวมของค่า AGss ของคู่สัญญารายนั้น
สําหรับค่า A Net ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 5.9.2 (2)
5.10 ข้อกําหนดเพิ่มเติมสําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล
5.10.1 ธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีการ Leverage จํานวนเงินตามสัญญา หรือถูกกําหนดโครงสร้างในลักษณะที่เป็นการเพิ่มผลตอบแทนให้กับคู่สัญญา ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้จํานวนเงินตามสัญญาที่แท้จริง (Effective notional amount) แทนจํานวนเงินตามสัญญา (Notional amount) ของธุรกรรมอนุพันธ์ สําหรับการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลตามวิธี OEM หรือวิธี CEM
สําหรับสัญญาอนุพันธ์ที่มีการแลกเปลี่ยนจํานวนเงินตามสัญญาหลายครั้ง เช่น Commodity swap จํานวนเงินตามสัญญาที่แท้จริงจะมีค่าเท่ากับจํานวนเงินตามสัญญาคูณด้วยจํานวนครั้งที่เหลือในการแลกเปลี่ยนจํานวนเงินตามสัญญาดังกล่าว
5.10.2 ธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อน (Structured derivative) ที่สามารถแยกองค์ประกอบย่อยได้เป็นอนุพันธ์ประเภทต่าง ๆ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาดให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อน ดังนี้
(1) กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธี OEM ให้คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของอนุพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบย่อยของธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนดังกล่าว โดยใช้ค่า CCF แบบกรณีที่มี Netting agreement จากนั้นให้นําค่าที่ได้มารวมกันเพื่อเป็นมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลของธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนนั้น
(2) กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธี CEM ให้คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลเสมือนว่าอนุพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบย่อยของธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนดังกล่าวอยู่ใน Netting set เดียวกัน และให้ใช้สูตรการคํานวณกรณีที่มี Netting agreement ดังนี้
(2.1) ให้คํานวณค่า RC Netโดยกําหนดให้เท่ากับค่าที่สูงกว่าระหว่าง 0 กับ มูลค่าที่ได้จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนดังกล่าว
(2.2) ให้คํานวณค่า A Grossโดยนํามูลค่าตามสัญญาของอนุพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบย่อยของธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนดังกล่าว มาคูณด้วยค่า CCF ที่เกี่ยวข้อง
(2.3) ให้คํานวณค่า NGR สําหรับคู่สัญญาตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5.9.2 (3)
(2.4) ให้คํานวณค่า A Netโดยนําค่า A Goss ที่ได้จากข้อ 5.10.2 (2.2) และค่า NGR ที่ได้จากข้อ 5.10.2 (2.3) มาแทนค่าในสูตรการคํานวณที่กําหนดไว้ในข้อ 5.9.2 (2)
(2.5) ให้คํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลเท่ากับผลรวมระหว่างค่า RC Net และค่า A Net ที่คํานวณได้ตามข้อ 5.10.2 (2.1) และ 5.10.2 (2.4) ตามลําดับ
(3) มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างชับซ้อน กําหนดให้มีค่าไม่เกินผลตอบแทนสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์จะได้รับจากคู่สัญญา (Maximum payoff)
5.10.3 สําหรับธุรกรรมอนุพันธ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนที่ไม่สามารถแยกองค์ประกอบย่อยได้เป็นอนุพันธ์ประเภทต่าง ๆ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทําธุรกรรมอนุพันธ์ที่อ้างอิงตัวแปรด้านตลาด และธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถนําวิธีการคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลทั้ง วิธี OEM และวิธี CEM มาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม ให้ธนาคารพาณิชย์หารือธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อกําหนดวิธีการคํานวณที่เหมาะสมต่อไป
5.10.4 มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับธุรกรรม Interest rate swap ที่คู่สัญญาตกลงแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวประเภทหนึ่งกับอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอีกประเภทหนึ่งของสกุลเงินเดียวกัน (Single currency floating/floating interest rate swap) ที่คํานวณโดยวิธี CEM นั้น กําหนดให้มีค่าเท่ากับ Replacement cost (ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องคํานวณค่า Add-on สําหรับธุรกรรมนี้)
5.10.5 มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับ Digital option ที่คํานวณโดยวิธี OEM และวิธี CEM กําหนดให้มีค่าไม่เกินผลตอบแทน (Payoff) ของสัญญา Digital option นั้น
5.10.6 ค่า A Gossของธุรกรรม Options sold ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่ได้รับค่าธรรมเนียม (Premium) เต็มจํานวนนั้น กําหนดให้มีค่าเท่ากับค่าธรรมเนียมที่ยังไม่รับ (Unpaid premium) จากผู้ซื้อ
5.10.7 สําหรับการคํานวณค่า A Goss สําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตภายใต้วิธี CEM ให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงแนวทางการคํานวณตามแนวทางที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบ 4 รวมถึงค่าแปลงสภาพที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบ 3 ตารางที่ 4 โดยให้จํานวนเงินตามสัญญาของอนุพันธ์ด้านเครดิตมีความหมายเดียวกับ
(1) "มูลค่าที่ตราไว้" หรือ "จํานวนเงินสูงสุดที่จะได้รับชดเชย" แล้วแต่กรณี สําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตประเภท Credit default swap (CDS) First to default swap (FTDS) และ Proportionate CDS
(2) "มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์อ้างอิง ณ วันเริ่มข้อตกลง Total rate of return swap (TRORS)" หรือ "มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์อ้างอิงจากการชําระราคาครั้งก่อนหน้า" แล้วแต่กรณี สําหรับอนุพันธ์ด้านเครดิตประเภท TRORS
5.11 การคํานวณมูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับฐานะในมูลค่าหลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์วางไว้กับคู่สัญญา
(1) สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี SA และ Foundation Internal Ratings-Based Approach (วิธี FIRB) ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณโดยใช้สูตรการคํานวณ ดังนี
CEA Collateral = max(0; C(1 +H c + H fx) + MTM loss)
โดย
CEA Collateral = มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุลสําหรับฐานะในมูลค่าหลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์
วางไว้กับคู่สัญญา
C = มูลค่าหลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์ไปวางไว้กับคู่สัญญา
H c = ค่าปรับลด (Haircut) สําหรับประเภทหลักประกันตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้าน
เครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA)
H fx = ค่าปรับลด (Haircut) สําหรับความแตกต่างด้านสกุลเงินตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้าน
เครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA)
MTM loss = ผลขาดทุนสุทธิที่ได้จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของธุรกรรมอนุพันธ์ (ค่าน้อยกว่า 0)
ทั้งนี้ สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี Simple ในการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงิน กําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ค่าปรับลด H c และค่า H fx เท่ากับ 0
(2) สําหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี Advanced Internal Ratings-Based Approach (วิธี AIRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ให้ธนาคารพาณิชย์คํานวณโดยกําหนดให้ค่า EAD มีค่าเท่ากับส่วนเกินมูลค่าหลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์วางไว้กับคู่สัญญาเกินกว่าผลขาดทุนสุทธิที่ได้จากการประเมินมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของธุรกรรมอนุพันธ์ (Mark-to-market loss)
5.12 การปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์
5.12.1 การปรับลดความเสี่ยงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์นํามาใช้ปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตสําหรับฐานะที่เกิดจากธุรกรรมอนุพันธ์มี 2 ประเภทหลักได้แก่ หลักประกันทางการเงิน (Financial collateral) และ การค้ําประกันและอนุพันธ์ด้านเครดิต(Guarantee and credit derivative โดยให้ธนาคารพาณิชย์อ้างอิงแนวทางการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตตามแนวทางที่กําหนดไว้ในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Standardised Approach (วิธี SA) และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสําหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB)
5.12.2 สําหรับการเลือกวิธีในการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงิน ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติ ดังนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี SA ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสามารถเลือกวิธีคํานวณการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิตด้วยหลักประกันทางการเงินได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธี Simple หรือวิธี Comprehen sive อย่างไรก็ดี สําหรับฐานะในธุรกรรมอนุพันธ์ที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธี Comprehensive เท่านั้น
(2) ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี FIRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตต้องใช้วิธี Comprehensive เท่านั้น
(3) ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธี AIRB ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตให้ใช้ค่า Loss given default (LGD ที่ธนาคารพาณิชย์ประมาณขึ้นเอง
5.12.3 ในการคํานวณค่าปรับลด (Haircut) สําหรับหลักประกันของธุรกรรมอนุพันธ์ตามวิธี Comprehensive จะต้องเป็นค่าปรับลดที่สอดคล้องกับระยะเวลาถือครองขั้นต่ํา (Minimum holding period) และเงื่อนไขในเรื่องความถี่ในการ Remargin ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด โดยในแต่ละ Netting set กําหนดให้ระยะเวลาถือครองขั้นต่ําเท่ากับ 10 วันทําการ และมีความถี่ในการ Remargin ทุกวัน ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
(1) สําหรับ Netting set ที่มีจํานวนสัญญาอนุพันธ์มากกว่า 5,000 สัญญา ณ ช่วงเวลาใด ๆ ในหนึ่งไตรมาสก่อนหน้า กําหนดให้ระยะเวลาถือครองขั้นต่ําของไตรมาสถัดไปมีค่าเท่ากับ 20 วันทําการ
(2) สําหรับ Netting set ที่มีธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันที่ไม่มีสภาพคล่อง (Illiquid collateral) หรือมีธุรกรรมอนุพันธ์ซึ่งหาธุรกรรมอื่นมาแทนที่ได้ยากกําหนดให้ระยะเวลาถือครองขั้นต่ําเท่ากับ 20 วันทําการ ทั้งนี้ คําจํากัดความของ "หลักประกันที่ไม่มีสภาพคล่อง" และ "ธุรกรรมอนุพันธ์ซึ่งหาธุรกรรมอื่นมาแทนที่ได้ยาก " ให้พิจารณาภายใต้สถานการณ์ที่ตลาดอยู่ในภาวะวิกฤต (Stressed market condition) ซึ่งเป็นภาวะตลาดที่ไม่มีการซื้อขายอย่างคล่องตัว กล่าวคือ ภาวะตลาดที่ผู้เล่นในตลาด (Market participant) ไม่สามารถหาราคาเสนอซื้อหรือราคาเสนอขายที่เหมาะสมได้จากในตลาดมากกว่า 1 แหล่ง (Multiple price quotes) ภายใน 2 วันทําการ ทั้งนี้ ราคาที่เหมาะสมดังกล่าวต้องไม่เป็นราคาที่ทําให้ตลาดเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติ โดยในกรณีเป็นหลักประกันทางการเงิน ราคาดังกล่าวต้องไม่ใช่ราคาที่เกิดจากการมีส่วนลดจากราคาตลาด (Market discount) และในกรณีเป็นธุรกรรมอนุพันธ์ ราคาดังกล่าวต้องไม่ใช่ราคาที่เกิดจากการมีส่วนเพิ่มจากราคาตลาด (Market premium)
(3) สําหรับ Netting set ที่เคยมีข้อโต้แย้งจากคู่สัญญาเกี่ยวกับการเรียกมาร์จิ้นของธนาคารพาณิชย์ (Margin call dispute) มากกว่า 2 ครั้ง ภายใน 2 ไตรมาสก่อนหน้า กําหนดให้ค่าระยะเวลาถือครองขั้นต่ําของ 2 ไตรมาสถัดไปสําหรับ Netting set ดังกล่าวเท่ากับ 20 วันทําการ
(4) ธนาคารพาณิชย์ต้องพิจารณาว่าธุรกรรมอนุพันธ์หรือหลักทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์ถือไว้เป็นหลักประกันนั้น กระจุกตัวอยู่กับคู่สัญญารายใดรายหนึ่งหรือไม่ รวมถึงต้องพิจารณาว่าหากคู่สัญญารายดังกล่าวออกจากตลาดอย่างฉับพลัน ธนาคารพาณิชย์จะสามารถหาธุรกรรมอนุพันธ์อื่นมาแทนที่ได้หรือไม่ ซึ่งหากธนาคารพาณิชย์พิจารณาแล้วพบว่ามีการกระจุกตัวกับคู่สัญญารายใดรายหนึ่ง หรือไม่สามารถหาธุรกรรมอนุพันธ์อื่นมาแทนที่ได้ ให้ธนาคารพาณิชย์กําหนดระยะเวลาถือครองขั้นต่ําให้ยาวขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถชี้แจงถึงเหตุผลในการปรับเพิ่มระยะเวลาถือครองขั้นต่ําดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เมื่อมีการร้องขอ
5.13 อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการแปลงธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลต่างประเทศ
ในการคํานวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา มูลค่าเทียบเท่าสินทรัพย์ในงบดุล และการรายงานข้อมูลแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารพาณิชย์แปลงจํานวนเงินตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลต่างประเทศเป็นเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันในวันที่รายงานตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีของสถาบันการเงิน โดยวิธีดังนี้
5.13.1 กรณีธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลต่างประเทศสกุลเดียวให้ธนาคารพาณิชย์ใช้จํานวนเงินสกุลต่างประเทศตามสัญญาคูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ณ วันที่รายงาน
5.13.2 กรณีธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลต่างประเทศมากกว่า 1 สกุลให้ธนาคารพาณิชย์ใช้จํานวนเงินสกุลต่างประเทศตามสัญญาด้านซื้อคูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ณ วันที่รายงาน
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,179 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 59/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 59/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกันยายน 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกันยายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ
ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.39/14/59 | 50,000 | 30 กันยายน 2559 | 4/10/59 – 18/10/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,180 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจ หรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ | ประกาศคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจ
หรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด
มีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่
-------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"การตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด " หมายความว่า การตรวจหรือทดสอบหาระดับหรือปริมาณของสารเสพติดอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
"ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ " หมายความว่า ผู้รับการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด
ข้อ ๒ การตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด ให้ตรวจหรือทดสอบจากปัสสาวะโดยให้ปฏิบัติตามวิธีการตรวจหรือทดสอบของชุดน้ํายาตรวจสอบหรือเครื่องมือแต่ละชนิด
ข้อ ๓ การเตรียมการในการตรวจหรือทดสอบให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีบริเวณสําหรับตัวผู้เข้ารับการตรวจหรือทดสอบ เพื่อดําเนินการตรวจหรือทดสอบหรือเก็บปัสสาวะภายในระยะเวลาเท่าที่จําเป็นแห่งกรณี เพื่อให้การตรวจหรือทดสอบหรือเก็บปัสสาวะเสร็จสิ้นไปโดยเรียบร้อยและเก็บไว้ในสถานที่มิดชิดจากบุคคลภายนอก
(2) จัดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการตรวจหรือทดสอบเพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและทันเหตุการณ์ โดยอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าพนักงาน
(3) จัดให้มีอุปกรณ์ในการเก็บปัสสาวะ โดยให้ใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกปากกว้างพร้อมฝาปิด ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร โดยขวดที่นํามาใช้ต้องสะอาดและแห้งและให้มีฉลากและกระดาษกาวเพื่อใช้สําหรับปิดผนึกขวดตัวอย่างปัสสาวะด้วย
ข้อ ๔ วิธีเก็บปัสสาวะให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีผู้ควบคุมการถ่ายปัสสาวะ ของผู้รับการตรวจหรือทดสอบทุกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทําใด ๆ ที่ทําให้ปัสสาวะเกิดการเจือจาง หรือสับเปลี่ยนตัวอย่าง
(2) ให้บันทึกหมายเลขประจําขวด และชื่อ นามสกุล ของผู้รับการตรวจหรือทดสอบบนฉลาก ปิดขวดเก็บปัสสาวะ
(3) ให้ขวดแก่ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ นําไปถ่ายปัสสาวะจํานวนประมาณ 30 มิลลิลิตร
ข้อ ๕ วิธีการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเบื้องต้น ให้ถือปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือหรือชุดน้ํายาตรวจสอบดังต่อไปนี้
(1) ชุดน้ํายาตรวจหรือทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยให้ถือปฏิบัติตามคู่มือวิธีการตรวจสอบของชุดน้ํายาตรวจสอบของหน่วยงานนั้น
(2) ชุดตรวจหรือเครื่องมือตรวจสอบโดยวิธี Immunoassay โดยให้ถือปฏิบัติตามคู่มือวิธีการตรวจสอบของชุดตรวจหรือเครื่องมือแต่ละชนิด
ข้อ ๖ ในกรณีที่ตรวจหรือทดสอบในเบื้องต้นตามข้อ 5 พบว่าบุคคลนั้นอาจเป็นผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ให้เจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จดบันทึกข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ภูมิลําเนา หรือสถานที่อยู่ที่สามารถจะเรียกตัวหรือออกหมายเรียกมาเพื่อดําเนินคดีได้เมื่อมีการตรวจสอบยืนยันผลตามข้อ 8 แล้วพบว่าเป็นผู้มีสารเสพติดในร่างกาย
ข้อ ๗ ในการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเบื้องต้นนั้น เมื่ออ่านผลแล้วปรากฎว่าให้ผลบวกตามคู่มือวิธีการตรวจตามเครื่องมือหรือชุดน้ํายาตรวจสอบในข้อ 5 ให้ปิดเป็นความลับและให้เจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าพนักงานที่ทําการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด นําขวดปัสสาวะของผู้รับการตรวจหรือทดสอบนั้นปิดให้สนิท พร้อมทั้งผนึกปากขวดด้วยแถบกาวโดยมีลายมือชื่อของผู้ทําการตรวจหรือทดสอบกํากับไว้และเมื่อดําเนินการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ทําการตรวจหรือทดสอบรีบส่งตัวอย่างปัสสาวะไปยังสถานตรวจพิสูจน์ตามคําสั่งของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กําหนดสถานตรวจพิสูจน์หรือโรงพยาบาลหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ เพื่อตรวจยืนยันผล
ข้อ ๘ เมื่อสถานตรวจพิสูจน์ โรงพยาบาลหรือมหาวิทยาลัยของรัฐได้รับขวดปัสสาวะตามข้อ 7 และได้ดําเนินการตรวจยืนยันแล้ว ให้ถือเกณฑ์การตัดสินผลการตรวจพิสูจน์ว่าเป็นผู้มีสารเสพติดอยู่ในร่างกาย ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamines) และกลุ่ม MDMA (ยาอี) เมื่อตรวจพบว่ามีสารดังกล่าวอยู่ในปัสสาวะตั้งแต่ 1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป
(2) กลุ่มโอปีเอตส์ (Opiates) ได้แก่ เฮโรอีน มอร์ฟิน และฝิ่น เมื่อตรวจพบว่ามีสารมอร์ฟีนอยู่ในปัสสาวะตั้งแต่ 300 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป
(3) กลุ่มกัญชา เมื่อตรวจพบว่ามีสารออกฤทธิ์หรือกัญชา (Cannabinoids) อยู่ในปัสสาวะตั้งแต่ 50 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป
(4) กลุ่มโคเคน เมื่อตรวจพบว่ามีสารหรือเมตาบอไลต์ของโคเคน (Cocaine metabolites) อยู่ปัสสาวะตั้งแต่ 300 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป
ข้อ ๙ ในกรณีจําเป็นและเพื่อประโยชน์ต่อการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด ให้เจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเสพยาเสพติดไปรับการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาและสถานที่ที่เจ้าพนักงานกําหนดในคําสั่ง
ให้นําความในข้อ 8 (1) - (4 มาใช้บังคับในการตัดสินผลการตรวจพิสูจน์โดยอนุโลม
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
บัญญัติ บรรทัดฐาน
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด | 7,181 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 60/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 14/28/59 | - | 10,000 | 4 ต.ค. 59 | 6 ต.ค. 59 | 3 พ.ย. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 40/91/59 | - | 35,000 | 4 ต.ค. 59 | 6 ต.ค. 59 | 5 ม.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 40/183/59 | - | 45,000 | 4 ต.ค. 59 | 6 ต.ค. 59 | 7 เม.ย 60 | 183 วัน | 183 วัน |
| 15/28/59 | - | 10,000 | 11 ต.ค. 59 | 13 ต.ค. 59 | 10 พ.ย. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR -0.1 (เท่ากับ1.48947 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 ส.ค. 59) | 15,000 | 7 ต.ค. 59 | 11 ต.ค. 59 | 17 ก.พ. 61 | 3ปี | 1.35 ปี |
| 41/91/59 | - | 35,000 | 11 ต.ค. 59 | 13 ต.ค. 59 | 12 ม.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 41/186/59 | - | 45,000 | 11 ต.ค. 59 | 13 ต.ค. 59 | 17 เม.ย. 60 | 186 วัน | 186 วัน |
| 2/2ปี/2559 | 1.58 | 40,000 | 13 ต.ค. 59 | 17 ต.ค. 59 | 29 ส.ค. 61 | 2ปี | 2ปี |
| 16/28/59 | - | 10,000 | 18 ต.ค. 59 | 20 ต.ค. 59 | 17 พ.ย. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 42/91/59 | - | 35,000 | 18 ต.ค. 59 | 20 ต.ค. 59 | 19 ม.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 42/182/59 | - | 45,000 | 18 ต.ค. 59 | 20 ต.ค. 59 | 20 เม.ย. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 17/28/59 | - | 10,000 | 25 ต.ค. 59 | 27 ต.ค. 59 | 24 พ.ย. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 43/91/59 | - | 35,000 | 25 ต.ค. 59 | 27 ต.ค. 59 | 26 ม.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 43/182/59 | - | 45,000 | 25 ต.ค. 59 | 27 ต.ค. 59 | 27 เม.ย. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 4/364/59 | - | 45,000 | 25 ต.ค. 59 | 27 ต.ค. 59 | 26 ต.ค. 60 | 364 วัน | 364 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2559
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,182 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 61/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 61/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนตุลาคม 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.40/14/59 | 45,000 | 7 ตุลาคม 2559 | 11/10/59 – 25/10/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,183 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 62/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 62/2559
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558
------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 7 ตุลาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ในวันที่ 7 ตุลาคม 2559 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 5 ตุลาคม 2559 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตร ดังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1.5411 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.59211 ต่อปี
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,184 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2542) เรื่อง กำหนดผู้แทนหน่วยงานเพิ่มเติมในคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
(พ.ศ. 2542)
เรื่อง กําหนดผู้แทนหน่วยงานเพิ่มเติมในคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล
หรือข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
---------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. 2542 นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) จึงออกประกาศกําหนดผู้แทนหน่วยงานเป็นกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดังนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประจํากรุงเทพมหานคร
(1) ผู้แทนกรุงเทพมหานคร
(2) ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(3) ผู้แทนกองทัพบก
2. คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประจําภาคกลาง
(1) ผู้แทนตํารวจภูธรภาค อีก 2 ราย
(2) ผู้แทนกองบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดน
3. คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประจําภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(1) ผู้แทนตํารวจภูธรภาค อีก 1 ราย
(2) ผู้แทนกองบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดน
(3) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
4. คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประจําภาคเหนือ
(1) ผู้แทนตํารวจภูธรภาค อีก 1 ราย
(2) ผู้แทนกองบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดน
(3) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
5. คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประจําภาคใต้
(1) ผู้แทนตํารวจภูธรภาค อีก 1 ราย
(2) ผู้แทนกองบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดน
(3) ผู้แทนศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
6. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2542
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี | 7,185 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 63/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 63/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนตุลาคม 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.41/14/59 | 45,000 | 14 ตุลาคม 2559 | 18/10/59 – 1/11/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,186 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2542) เรื่อง กำหนดหน่วยงานเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการจัดให้มีระบบการข่าวและศูนย์รับแจ้งข่าวเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
(พ.ศ. 2542)
เรื่อง กําหนดหน่วยงานเพิ่มเติมเพื่อดําเนินการจัดให้มีระบบการข่าว
และศูนย์รับแจ้งข่าวเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไป
เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. 2542 นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) จึงออกประกาศดังต่อไปนี้
1. กําหนดหน่วยงานเพิ่มเติมเพื่อดําเนินการจัดให้มีระบบการข่าวและศูนย์ รับแจ้งข่าวเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดังนี้
(1) ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศ.ปส.จ.)
(2) ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศ.ปส.ก.)
(3) กองบัญชาการตํารวจปราบปรามยาเสพติด
(4) กองบัญชาการตํารวจนครบาล
2. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2542
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี | 7,187 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 65/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 65/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนตุลาคม 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.42/14/59 | 45,000 | 20 ตุลาคม 2559 | 25/10/59 – 8/11/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,188 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2542) เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
(พ.ศ.2542)
เรื่อง กําหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล
หรือข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
---------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. 2542 นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
1. กําหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทําที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประจํากรุงเทพมหานคร ประจําภาคกลาง ประจําภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจําภาคเหนือ และประจําภาคใต้ ตามบัญชีท้ายประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีฉบับนี้
2. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2542
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี | 7,189 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 66/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 66/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนตุลาคม 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนตุลาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน-วันครบกําหนด | อายุ |
| (ล้านบาท) | (วัน) |
| พ.43/14/59 | 45,000 | 28 ตุลาคม 2559 | 1/11/59 – 15/11/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,190 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 51/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 51 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กรกฎาคม 2556
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กรกฎาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 2 ปี รุ่นที่ 1/FRB 2 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.40154 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,191 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 67/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 67/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559
----------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 18/28/59 | - | 10,000 | 1 พ.ย. 59 | 3 พ.ย. 59 | 1 ธ.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 44/91/59 | - | 40,000 | 1 พ.ย. 59 | 3 พ.ย. 59 | 2 ก.พ. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 44/182/59 | - | 40,000 | 1 พ.ย. 59 | 3 พ.ย. 59 | 4 พ.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 19/28/59 | - | 10,000 | 8 พ.ย. 59 | 10 พ.ย. 59 | 8 ธ.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 45/91/59 | - | 40,000 | 8 พ.ย. 59 | 10 พ.ย. 59 | 9 ก.พ. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 45/182/59 | - | 40,000 | 8 พ.ย. 59 | 10 พ.ย. 59 | 11 พ.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 4/364/59 | - | 40,000 | 8 พ.ย. 59 | 10 พ.ย. 59 | 26 ต.ค. 60 | 364 วัน | 364 วัน |
| 20/28/59 | - | 10,000 | 15 พ.ย. 59 | 17 พ.ย. 59 | 15 ธ.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 46/91/59 | - | 40,000 | 15 พ.ย. 59 | 17 พ.ย. 59 | 16 ก.พ. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 46/182/59 | - | 40,000 | 15 พ.ย. 59 | 17 พ.ย. 59 | 18 พ.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 21/28/59 | - | 10,000 | 22 พ.ย. 59 | 24 พ.ย. 59 | 22 ธ.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 47/91/59 | - | 40,000 | 22 พ.ย. 59 | 24 พ.ย. 59 | 23 ก.พ. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 47/182/59 | - | 40,000 | 22 พ.ย. 59 | 24 พ.ย. 59 | 25 พ.ค. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 2/3ปี/2559 | 1.65 | 30,000 | 24 พ.ย. 59 | 28 พ.ย. 59 | 12 ก.ย. 62 | 3 ปี | 2.79 ปี |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 22/28/59 | - | 10,000 | 29 พ.ย. 59 | 1 ธ.ค. 59 | 29 ธ.ค. 59 | 28 วัน | 28 วัน |
| 48/91/59 | - | 40,000 | 29 พ.ย. 59 | 1 ธ.ค. 59 | 2 มี.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 48/182/59 | - | 40,000 | 29 พ.ย. 59 | 1 ธ.ค. 59 | 1 มิ.ย. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,192 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ (ฉบับอัพเดทล่าสุด) | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543)
เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิด
เกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
--------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"สถานประกอบการ" หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจใดๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2543) เรื่อง กําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
"พนักงาน" หมายความว่า บุคคลซึ่งทํางานในสถานประกอบการไม่ว่าจะในลักษณะประจําหรือชั่วคราว ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานด้วย
ข้อ ๒ ให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ควบคุม สองส่อง และดูแล ไม่ให้พนักงานของสถานประกอบการหรือบุคคลภายนอกกระทําการหรือมั่วสุมกันกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในหรือบริเวณสถานประกอบการ
(2) พิจารณาคัดเลือกบุคลากรที่ไม่มีพฤติการณ์ในการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าเป็นพนักงาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้เสพยาเสพติดซึ่งได้รับการบําบัดการติดยาเสพติดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้กลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และจัดอบรมพนักงานของตนให้มีความเข้าใจในการป้องกันการใช้ยาเสพติดอย่างสม่ําเสมอ
(3) จัดทําบันทึกประวัติของพนักงานไว้ประจําสถานประกอบการ โดยบันทึกประวัตินี้อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและนามสกุล เลขบัตรประจําตัวประชาชน ที่อยู่และภูมิลําเนาของพนักงาน
(4) ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจในการแจ้งเมื่อพบว่ามีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือให้ข้อมูล ข่าวสาร หรือพฤติการณ์ต่างๆ ของบุคคลซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยหรือควรเชื่อได้ว่าจะกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการของตน และอํานวยความสะดวกในการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ข้อ ๓ ให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการจัดให้มีป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดตามวรรคสองและวรรคสาม
ป้ายหรือประกาศตามวรรคหนึ่งจะต้องมีความชัดเจน เห็นได้ง่าย และมีข้อความเป็นภาษาไทยเตือนเกี่ยวกับพิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดประกอบกับข้อความที่แสดงว่าสถานประกอบการที่ติดป้ายหรือประกาศนั้นอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ข้อความตามวรรคสองจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยก็ได้ แต่ข้อความภาษาอื่นนั้นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทยและมีขนาดไม่ใหญ่กว่าข้อความภาษาไทย
ลักษณะ ขนาด และรายละเอียดของข้อความให้เป็นไปตามที่กําหนดในท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานตรวจพบว่าเจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการมิได้ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือข้อ ๆ ให้เจ้าพนักงานนั้นรายงานเลขาธิการเพื่อมีหนังสือตักเตือนให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการปฏิบัติตามและหากภายหลังมีการตรวจพบว่าเจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการนั้นยังมิได้ปฏิบัติตาม จึงให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้
ข้อ ๕ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี | 7,193 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543)
เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิด
เกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
--------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 1 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"สถานประกอบการ" หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจใดๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2543) เรื่อง กําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
"พนักงาน" หมายความว่า บุคคลซึ่งทํางานในสถานประกอบการไม่ว่าจะในลักษณะประจําหรือชั่วคราว ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานด้วย
ข้อ ๒ ให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ควบคุม สอดส่อง และดูแล ไม่ให้พนักงานของสถานประกอบการหรือบุคคลภายนอกกระทําการหรือมั่วสุมกันกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในหรือบริเวณสถานประกอบการ
(2) พิจารณาคัดเลือกบุคลากรที่ไม่มีพฤติการณ์ในการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าเป็นพนักงาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้เสพยาเสพติดซึ่งได้รับการบําบัดการติดยาเสพติดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้กลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และจัดอบรมพนักงานของตนให้มีความเข้าใจในการป้องกันการใช้ยาเสพติดอย่างสม่ําเสมอ
(3) จัดทําบันทึกประวัติของพนักงานไว้ประจําสถานประกอบการ โดยบันทึกประวัตินี้อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและนามสกุล เลขบัตรประจําตัวประชาชน ที่อยู่และภูมิลําเนาของพนักงาน
(4) ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจในการแจ้งเมื่อพบว่ามีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือให้ข้อมูล ข่าวสาร หรือพฤติการณ์ต่างๆ ของบุคคลซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยหรือควรเชื่อได้ว่าจะกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการของตน และอํานวยความสะดวกในการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ข้อ 2/1" ให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการตามข้อ 1 (7) แห่งประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2543) เรื่อง กําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2558) เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมการกําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) เมื่อรับมอบสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์จากผู้ส่งหรือผู้ฝาก แล้วแต่กรณี ให้จัดทําบันทึกรายละเอียดชื่อ นามสกุล เลขประจําตัวประชาชนหรือเลขหนังสือเดินทางของผู้ส่งหรือผู้ฝากนั้นรวมทั้งบันทึกรายละเอียดของผู้รับสิ่งของหรือผู้รับแทนในทํานองเดียวกันด้วยเมื่อได้มีการส่งมอบสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์นั้น การบันทึกอาจจัดทําเป็นเอกสารหรือข้อมูลในระบบสารสนเทศ หรือวิธีการอื่นใดที่สามารถให้ข้อมูลพิสูจน์ตัวบุคคลได้ ในกรณีได้จัดทําใบกํากับของหรือใบตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ถือเป็นสาระสําคัญส่วนหนึ่งของบันทึกดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ให้จัดเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้จัดทําบันทึก
(2) ในกรณีพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนในสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ตาม (1) ในหรือบริเวณสถานประกอบการซึ่งอยู่ในความดูแล ให้แจ้งเหตุโดยเร็วที่สุดและหากพบยาเสพติดให้จัดส่งบันทึกตามที่กําหนดไว้ใน (1) ต่อเจ้าพนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่ได้ทราบถึงเหตุนั้น
ข้อ ๓ ให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการจัดให้มีป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดตามวรรคสองและวรรคสาม
ป้ายหรือประกาศตามวรรคหนึ่งจะต้องมีความชัดเจน เห็นได้ง่าย และมีข้อความเป็นภาษาไทยเตือนเกี่ยวกับพิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดประกอบกับข้อความที่แสดงว่าสถานประกอบการที่ติดป้ายหรือประกาศนั้นอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ข้อความตามวรรคสองจะมีภาษาอื่นนอกจากภาษาไทยก็ได้ แต่ข้อความภาษาอื่นนั้นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทยและมีขนาดไม่ใหญ่กว่าข้อความภาษาไทย
ลักษณะ ขนาด และรายละเอียดของข้อความให้เป็นไปตามที่กําหนดในท้ายประกาศนี้
ข้อ 3/ 1" ให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการตามข้อ 2/1 ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทําป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดตามข้อ 3 แต่ให้แจ้งข้อความให้ผู้ส่งหรือผู้ฝากสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์และผู้รับสิ่งของดังกล่าวทราบว่ายาเสพติดเป็นสิ่งของผิดกฎหมายและต้องห้ามในการขนส่งโดยเด็ดขาด สิ่งของที่เกี่ยวข้องอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดําเนินคดีตามกฎหมายได้ โดยปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ปิดประกาศซึ่งข้อความดังกล่าวในบริเวณสถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ หรือ
(2) พิมพ์หรือประทับข้อความดังกล่าวบนใบกํากับของหรือใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานได้ตรวจพบว่าเจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการมิได้ปฏิบัติตามข้อ 2 ข้อ 2/1 ข้อ หรือข้อ 7/ 1 ให้เจ้าพนักงานนั้นรายงานเลขาธิการเพื่อมีหนังสือตักเตือนให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการปฏิบัติตาม และหากภายหลังตรวจพบว่าเจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการดังกล่าวนั้นยังมิได้ปฏิบัติตาม จึงให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้
ข้อ ๕ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพันกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี | 7,194 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2558
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 1/2558
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2558
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2558
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.1/14/58 | 20,000 | 16 มกราคม 2558 | 20/1/58 - 3/2/58 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม 2558
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,195 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 69/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 69/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2559
---------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.44/14/59 | 40,000 | 4 พฤศจิกายน 2559 | 8/11/59 - 22/11/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,196 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 52/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 52 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกรกฎาคม 2556
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.29/14/56 | 30,000 | 18 กรกฎาคม 2556 | 23/7/56 – 6/8/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,197 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2543) เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับ ของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2543)
เรื่อง กําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับ
ของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับ
ยาเสพติดในสถานประกอบการ
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจใดๆ ดังต่อไปนี้เป็นสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
(1) สถานีบริการน้ํามันชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงและให้รวมถึงสถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการต่างๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุม ดูแล หรืออาศัยสิทธิของเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิงด้วย
(2) สถานีบริการที่บรรจุก๊าซให้แก่ยานพาหนะทั้งทางบกและทางน้ํา ตามกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(3) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
(4) ที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภทหอพัก อาคารชุดหรือเกสเฮ้าส์ (Guest House) ที่ให้ผู้อื่นเช่า
(5) สถานที่ที่ได้จัดให้มีการเล่นบิลเลียด สนุกเกอร์ ซึ่งเก็บค่าบริการจากผู้เล่น
(6) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี | 7,198 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 70/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 70/2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤศจิกายน 2559
----------------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.45/14/59 | 40,000 | 11 พฤศจิกายน 2559 | 15/11/59 - 29/11/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,199 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดแบบเอกสารการขอเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด
เรื่อง กําหนดแบบเอกสารการขอเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
--------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 และข้อ 8 แห่งระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการได้มา การใช้ประโยชน์และการเก็บรักษาข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2555 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจึงกําหนดแบบเอกสารเพื่อใช้ในการขอเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ขอใช้ประโยชน์และการรายงานไว้ ดังต่อไปนี้
1. การขออนุมัติเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตามข้อ 9 ให้ใช้แบบคําขออนุมัติเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตามแบบ ป.ป.ส. 8 - 621
2. การแจ้งคําสั่งอนุมัติเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตามข้อ 10 ให้ใช้แบบหนังสือแจ้งคําสั่งอนุมัติเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตามแบบ ป.ป.ส. 8 - 622
3. การแจ้งขอความร่วมมือไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามข้อ 13 ให้ใช้แบบการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตามแบบ ป.ป.ส. 8 - 623
4. การรายงานและการส่งรายงานบันทึกข้อมูลข่าวสาร สิ่งที่บันทึกข้อมูลข่าวสารและบันทึกถ้อยคําที่ทําเป็นลายลักษณ์อักษร ตามข้อ 14 และข้อ 15 ให้ใช้แบบรายงานผลการดําเนินการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตามแบบ ป.ป.ส. 8 - 624
5. การขอใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร ตามข้อ 20 ให้ใช้แบบคําขอใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร ตามแบบ ป.ป.ส. 8 – 625
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2546
กิตติ ลิ้มชัยกิจ
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด | 7,200 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2558 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนมกราคม ปี 2558
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 2 /2558
เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
----------------------------------------
1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1/2542 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 4 มกราคม 2542
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน ตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามความในคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541
4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 4/2555 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555
5. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และตามความในคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1/2542 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 4 มกราคม 2542 จํานวน 367 คน ดังนี้
1. นางทองอุไร ลิ้มปิติ 7. นางบุษกร ธีระปัญญาชัย
2. นายรณดล นุ่มนนท์ 8. นายบุญทอง พฤกษมหาศาล
3. นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา 9. นางสาวสุนัดดา ปริปุณณะ
4. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 10. นายยงศักดิ์ เชี่ยงหลอ
5. นายอานุภาพ คูวินิชกุล 11. นายศุภชัย งามประภาวัฒน์
6. นางวิเรขา สันตะพันธุ์ 12. นายจิตเกษม พรประพันธ์
13. นางวรางคณา ธํารงรัตน์ 46. นางชาดา ลิมป์กิตติสิน
14. นายกมล จุฬาพงษ์วนิช 47. นายชาติชาย อเนกธนทรัพย์
15. นางกรอุมา ธีรวิวัฒน์วงศ์ 48. นายชูชัย ประภารวีวรรณ
16. นางสาวกัญญา แซ่เตียว 49. นายชูพันธุ์ ภัทรเธียรชัย
17. นายกัณชรัฐ เล็กมณี 50. นายฐะนัติ แสงมณีทอง
18. นางสาวกัลยาณี รัตนสิงห์ 51. นายณรงค์ เปลี่ยนสกุล
19. นายกิตติ อุดมวงษ์กุล 52. นายณัฐรัฐ สิริจงรัศมี
20. นางเกสา ตั้งเพียรวัฒนา 53. นายณัฐสมพล ศีละสะนา
21. นางขวัญจิตร ธนรรฆากร 54. นายณัติพงศ์ สอวิเศษ
22. นายขวัญชัย ร่มฉัตร์ 55. นางดวงจันทร์ ปิยวงศ์สิริ
23. นางสาวขวัญลดา สมิติเมธา 56. นางดวงเดือน ลี้ศิริวัฒนกุล
24. นางงามเพ็ญ บังเกิดลาภ 57. นางดวงรัตน์ วรยศโกวิท
25. นางสาวจงลักษณ์ บํารุงไทยชัยชาญ 58. นางดารณี จันทราสุริยารัตน์
26. นายจักรพันธ์ พงษ์เภตรา 59. นางดาราณี กิติสารศักดิ์
27. นายจักรี สงวนสุข 60. นายดํารง ปโยราติสกุล
28. นางสาวจันทร์เพ็ญ รัตนาภินันท์ 61. นายดิสพงษ์ ศิโรรัตนกุล
29. นายจาดูรพงศ์ ธารีลาภ 62. นายต่อศักดิ์ ธนชยานนท์
30. นางสาวจามรี ชื่นสุรัตน์ 63. นายต่อศักดิ์ ชัยวัฒน์
31. นางสาวจิตรายุส์ สกุลมีฤทธิ์ 64. นายถนอม โพธิ์ทอง
32. นางสาวจิตสุภา วิระยะวานิช 65. นายทะนงศักดิ์ ประเจิดชัยวงศ์
33. นางสาวจินดารัตน์ เหล่านริศอารี 66. นายทรงวุฒิ อินสว่าง
34. นางจินตนา พุทธสุภะ 67. นายทวีชัย สหนุกูล
35. นายจิรคม อัครสมพงศ์ 68. นายทัดลาภ เผ่าเหลืองทอง
36. นายจิรวัชร์ เชาวลิต 69. นายทัศนัย เพชรรุ่งรัศมี
37. นางจิราวัฒน์ วินิจชีวิต 70. นางสาวทัศนีย์ เดชอิทธิกุล
38. นายจุมพล สอนพงศ์ 71. นางทิพย์ประภา บุ้งศรีทอง
39. นายเจริญ กรุงแก้ว 72. นายทิพย์พล กิติอาภา
40. นายชนะเลิศ เลิศทองไพบูลย์ 73. นางเทพเทพิน ประศาสน์สารกิจ
41. นางสาวชนัตถา เลขะวัฒนพงษ์ 74. นายธงชัย ปิยนรเศรษฐ์
42. นางชวนันท์ ชื่นสุข 75. นายธนทัต แสงคํา
43. นางซัชชไม มากกมลธรรม 76. นายธนธัช หัตถกิจธาตรี
44. นายชัยสิทธิ์ พุทธิขจร 77. นายธนวัฒน์ โสตถิโยธิน
45. นายชาญยุทธ สิทธิถาวรทรัพย์ 78. นายธนะชัย องค์ธนะสุข
79. นายธนะพูฒ องค์ธนะสุข 112. นางปิยะรัตน์ พาหิระ
80. นายธนะสิทธิ์ สรรพโชติวัฒน์ 113. นายพงศ์คณิต คุณัมพรานนท์
81. นายธวัชชัย หนุนภักดี 114. นายพรชัย เจริญใจ
82. นายธํารง อุ่นสินมั่น 115. นายพลวิชญ์ กิจนิธิบารมี
83. นายธีรศักดิ์ สูงลอย 116. นายพันธ์ทิพย์ จันทร์แจ่มแสง
84. นางนงนุช โกสลาทิพย์ 117. นายพันธ์วริศ วัฒนวิจิตร
85. นายนนทพัทธ์ อัศวบุญญาเลิศ 118. นายพิพัฒน์ ลอระพงษ์
86. นางสาวนพรัตน์ ย่งเส็ง 119. นางพิมพ์ชนก ใจกล้า
87. นางนวรัตน์ ตันติจินดา 120. นายไพโรจน์ แดงเจริญ
88. นางสาวนันทพันธ์ วศวรรณวัฒน์ 121. นายมงคล ด่านวรรณพงศ์
89. นางสาวนิรมล กอสงวนมิตร 122. นางสาวมณีรัตน์ กฤตยาประทานพร
90. นายนิวัติ พงษ์สุขเวชกุล 123. นายมนตรี อินทร์สุริวงค์
91. ร้อยโท นุกูล เนียมถนอม 124. นายมัณฆ์นิชิษฐ์ อมราอุไร
92. นางนุชน้อย กิตติจารุภา 125. นางสาวมัณฑนา ภู่พานิชเจริญกูล
93. นายบวร วงษ์จันทเจริญ 126. นางมัธนา หวังจิตรารักษ์
94. นายบุญชัย จินตกรีวัฒน์ 127. นางสาวมัลลิกา กิจกร
95. นายบุญเที่ยง ภูมี 128. นายมาณพ เอกฤทธิไกร
96. นางเบญจพร วุฒิวิภัยการ 129. นายมาโนช โมพี
97. นางเบญจมา ชิงพยัคฆ์มัณฑ์ 130. นายมิตรนเรนทร์ อํามฤคขจร
98. นางเบญจวรรณ ธรรมกุล 131. นายยงยุทธ์ คุณธรรมดี
99. นายประจวบ ร่ํารวยธรรม 132. นายยอดยิ่ง วีระพงศ์
100. นายประจักษ์ อุดมเดชชัยรัตน์ 133. นางสาวยินดี ทักษิณนุกุลวงศ์
101. นายประดิษฐ์ พงษ์ไทย 134. นายยุทธนา อัชชวัฒนา
102. นางประภา ศรีวงษ์ 135. นางสาวยุพิน อธิเลิศปัญญา
103. นายประวิตร วงษ์จันทเจริญ 136. นางเยาวดี เทพอํานวยสุข
104. นายปรัชญา อัศวเดชกําจร 137. นางรวมพร เรณุมาน
105 นางประณีต อดิศัยปัญญา 138. นางระวีวรรณ คุณานุกูล
106. นายปรีชา มิ่งมาลัยรักษ์ 139. นางรัตนาภรณ์ ชินพัฒน์
107. นายปฤณัต ศักดิ์พานิช 140. นายรามรุจิโรจน์ จุลละบุษปะ
108. นายปวิตร ต้นเจริญ 141. นางรุ่งนภา อภิรติกุล
109. นายปัญญา บุญงามชัยรัตน์ 142. นางสาวรุ่งนภา แจ้งสรรพกิจ
110. นางปิยธิดา กิตติการุญจิต 143. นางรุ่งรัตน์ ตัถยาธิคม
111. นางปียมล ตุงควิจิตรวัฒน์ 144. นายเริงชัย แช่โล๊ก
145. นางสาวละเอียด เที่ยงสกุล 178. นายศิวัฑฒ์ ปิยพิทักษ์
146. นายลิขิต ทองกึ่ง 179. นายศุภรัตน์ วรพันธ์
147. นายวรโยชน์ มนชน 180. นายสกนธ์ เสนะวัต
148 นางสาววรรณา ลิมป์พัฒนสิน 181. นางสาวสมใจ ประสิทธิ์ชัยพันธ์
149. นางวรรณี งามประภาวัฒน์ 182. นายสมชัย ลิขสิทธิพันธุ์
150 นางสาววรารักษ์ วงษ์ภู่ 183. นายสมชาย ชนกิจโกศล
151. นางสาววรินทร์ จังกอบพัฒนา 184. นายสมชาย รุ่งขจรไพศาล
152. นายวัชรินทร์ ธรรมนิยม 185. นายสมบัติ ชื่นสุข
153. นายวัฒนา วัธนานุกิจ 186. นายสมบัติ ตั้งประสุพทรัพย์
154. นางสาววันดี แซ่เอ็ง 187. นายสมพจน์ เพ็ชรสม
155. นางสาววันดี โพธิ์ไพรทอง 188. นายสรพล เริงวรรณ
156. นางสาววันทนีย์ บุญบานเย็น 189. นายสราวุธ ศิริปักมานนท์
157. นายวารินทร์ เจียมปัญญา 190 นายสําราญ ฮีเกษม
158. นายวิชัย ทองทวี 191. นายสิทธินาท ดวงรัตน์
159. นายวิชา มหาเดชสุรชัย 192. นางสาวสิรินิตย์ รัตนปิณฑะ
160. นายวิชิต คงอํานวยศักดิ์ 193. นายสืบศักดิ์ ทองศรีคํา
161 นายวิชิต อังกูรสุรารักษ์ 194. นางสุจารี มนชน
162. นายวิทยา ตันติยุทธ 195. นายสุชาติ นาคศรีเจริญ
163. นายวิบูลย์ มิ่งมงคลชัย 196. นายสุชาติ สะเทือนวงษา
164. นายวิบูลย์ เฉลิมศิริกุล 197. นางสุดปรีดา ลอออรรถพงศ์
165. นางสาววิภา กังสดาล 198. นายสุทธินันท์ เจริญโภคราช
166. นางวิมลรัตน์ ปียสถาพรพงศ์ 199. นายสุทัศน์ ไกรวงศ์
167. นางวิมลรัตน์ รุจิรากรสกุล 200. นางสุธาวดี ทองศิริ
168. นายวิสุทธิ์ พีรพัฒนโภคิน 201. นางสุนทรี สุขสุเมฆ
169. นายวิสุทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ 202. นางสุนันท์ หอไพฑูรย์
170. นายวีรไชย เล็กประเสริฐ 203. นางสุนารี อนันตกุลนธี
171. นายวีระยุทธ ภูริวรานนท์ 204. นางสาวสุนีย์ รัตนจงกล
172. นายวีระศักดิ์ จันทรจีรวงศ์ 205. นางสุนีย์ สมสุขสวัสดิ์กุล
173. นายเวชยันต์ ประสาทเสรี 206. นางสาวสุภัค พันธุ์ไทย
174. นายศรัณย์ มาสิทธิ์ 207. นางสาวสุภัตรา ก่อกวิน
175 นางสาวศศิวรรณ ทศานนท์ 208. นางสาวสุภัทรา เพิ่มมณีนิล
176. นายศิริมงคล ศรีสุโข 209. นางสุภาวรรณ ชัยสังฆะ
177. นางศิริรัตน์ พฤกษ์ไพศาล 210. นางสาวสุมาลี ศีละสะนา
211. นางสุมาลี วิทยถาวรวงศ์ 244. นางฤชุกร สิริโยธิน
212. นายสุเมธ สมบัติวิชาธร 245. นายจาตุรงค์ จันทรังษ์
213. นายสุรชัย กิจกมลวัฒน์ 246. นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม
214. นายสุรชัย ปิยะปกรณ์ 247. นางนิศารัตน์ ไตรรัตน์วรกุล
215. นายสุรชา ศุภารักษ์สีบวงศ์ 248. นายสมชาย เลิศลาภวศิน
216. นายสุรเชษฐ์ ศรีเดือน 249. นางสาวยุพิน เรืองฤทธิ์
217. นายสุรพร ฉัตรศิขรินทร 250. นางสาวจามรี สุทธิพงษ์ชัย
218. นายสุรพันธ์ วงศ์พันธ์ 251. นายบัญชา มนูญกุลชัย
219. นายสุรวุฒิ พฤกษ์บํารุง 252. นางสาวกนกวรรณ เมฆโสภาวรรณกุล
220. นางสุรีย์พร ภูมี 253. นางสาวเขมวันต์ ศรีสวัสดิ์
221. นางสาวสุวิชา สัจจานิตย์ 254. นางสาวชัญญา พันธจารุนิธิ
222. นายสุวิทย์ ตุงควิจิตรวัฒน์ 255. นางชุติมา ตรีวิบูลย์วณิชย์
223. นางสาวเสมอใจ กิตติดุษฎีกุล 256. นายณพงศ์ธวัช โพธิกิจ
224. นายเสรี ธารชมพู 257. นายณรงค์ เลาหพิสิฐพาณิชย์
225. นางสาวโสภิตา สารศรี 258. นายณรงค์ ภาณุเดชทิพย์
226. นายองอาจ ตรีจรูญ 259. นายณัฐวุฒิ อติรัตน์
227. นายอดิศักดิ์ เสริฐศรี 260. นางณิชนาฏ ภูลสนอง
228. นางสาวอรทัย ธีรชัยธํารงกุล 261. นางสาวดาวินา คุณวิภูศิลกุล
229. นายอร่าม ภูลสนอง 262. นางทศชนก ลีลาวรรณกุลศิริ
230 นางสาวอโรรา อุนนะนันทน์ 263. นางธัญทิพย์ สรรพโชติวัฒน์
231. นายอัคนี ตั้งจิตเพิ่มความดี 264. นางสาวนันทวัลดิ์ ถิรธนาพงศ์
232. นางอังสนา ก่อเกียรติตระกูล 265. นางสาวเปรมจิต สมรัตนชัย
233. นางอัมพร แก้วประเสริฐ 266. นางสาวพนิตา ปิยะอุย
234. นางสาวอัมพร สุวิภานนท์ 267. นางพรสิริ รุ่งสิริโอภาส
235. นางสาวอัษฎาพร มัจฉวานิช 268. นางสาวเมธนี เหมริด
236. นางอุดมศรี ภาคโพธิ์ 269. นายรณภูมิ ไชยคุณา
237. นางอุบลศรี บุณยรัตพันธุ์ 270. นายรณรงค์ ขุนภาษี
238. นางอุไรวรรณ ศรีสุวรรณ 271. นางสาวรวิวรรณ์ ศิริเกษมทรัพย์
239. นางอุษา ภักดิ์วีไลเกียรติ 272. นางสาวรุ่งพร เริงพิทยา
240. นายเอกชัย เกตุแก้วมณีรัตน์ 273. นายวงศ์ทวี ธนานันท์
241. นายเอกวิทย์ ทศพลดําเกิง 274 นางสาววริศรา มั่นสกุล
242. นายเอกศิษฐ์ รังวัฒณเศรษฐ์ 275. นายวัชรกูร จิวากานนท์
243. นายโอภาส พิมพ์สวัสดิ์ 276. นางวันทนา บุญสร้อย
277. นางสาววารุณี กุลบ่าง 310. นางสาวอโนชา รอดชมภู
278. นางวิภาสา โฆสิตไพบูลย์ 311. นางสาวอริศรา ตั้งเทียมยา
279. นายวีรพล โสธรบุญ 312. นางสาวอัญชุลี ห่อสมบัติ
280. นางสาวศศินันท์ พันธุนะ 313. นางอัมพร สุนทรภูษิต
281. นางสาวสวิสา อริยปรัชญา 314. นายอัสรี หะยีมะสาและ
282. นางสาวสุกันยา สุพรรณขันธ์ 315. นางวรรณี พรสมบูรณ์ศิรี
283. นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ 316. นางสาวกุลเขมสรณ์ เจริญสุวรรณ
284. นางสุวัฒนา รักศิลธรรม 317. นางสาวกุลิสรา คุณธรรมดี
285. นายสุวิทย์ ต้นรุ่งเรือง 318. นายคงฤทธิ์ สงวนศักดิ์
286. นางเสาวลักษณ์ ตรีพจนีย์ 319. นางสาวจณัญญา เฉลิมวิวัฒน์กิจ
287. นางอรมนต์ จันทพันธ์ 320. นายจักรกริศน์ เหล่าจันอัน
288. นายอัครเดช ใช้ศรีทอง 321. นายชาตรี มณีสวัสดิ์
289. นางอัจฉรา ทรัพย์เมลือง 322. จ่าเอก เชิดชัย พุดน้อย
290. นายโอรส เพชรเจริญ 323. ว่าที่ร้อยตรี ดํารงศักดิ์ ณ ระนอง
291. นายกฤษดา ตรีเกษมมาศ 324. นางสาวดุจจินดา ชาญเดช
292. นางสาวเกศยา กมลสุขยืนยง 325 นางสาวนพมาศ นนท์พิสิฐ
293. นางสาวขจิตพรรณ สุขแสง 326. นางสาวนิธินทรา ดีประดับ
294. นางจารุวรรณ วิสารทานนท์ 327. นางสาวปณัฐวดี ยันตรกิจโกศล
295. นางซลธิซา พิระชัย 328. นายปัทมพงศ์ โล่ห์สุวรัตน์
296. นายชัชวิน คงเจริญ 329. นางสาวพนาพร ศุภรัชตการ
297. นางสาวทิพวรรณ ตีรถานนท์ 330. นางพัชรี สุนทรพินิจกิจ
298. นางนริศรา รวมศิริวัฒนกุล 331. นางสาวเพ็ญพิมล อรุณสุรัตน์
299. นางสาวปรณีย์ เต็มไตรเพท 332. นายไพโรจน์ รักเที่ยงธรรม
300. นายประภัศร์ ทีรฆฐิติ 333. นางภัสรา อัคคะสาระกุล
301. นางสาวพจมาน กังวานไกรไพศาล 334. นายมานิตย์ บุญเนรมิตร
302. นายพรศักดิ์ ผ่องศรีงามชัย 335. นางสาวยอดขวัญ เรือนแป้น
303. นางพัชรี คงโกมลสกุล 336. นางยุวนุช มหาเอก
304. นายพิภพ ภู่เพ็ง 337. นางสาวรดานุช โถสุวรรณจินดา
305. นายรุจิกุล อัคคะสาระกุล 338. ว่าที่ร้อยโท รุ่งเรือง โคกขุนทด
306. นายวิชัย จิตตปาลกุล 339. นางสาวศิริรัตน์ รัศมีทินกรกุล
307. นายวีรวัฒน์ อินทรประคอง 340. นางสาวศิวพร วงศ์สุนทร
308. นางสาวศันสนีย์ แก้วพรสวรรค์ 341. นายเศกสรร บัวทรัพย์
309. นางสาวสิร์ดาภัทร สุขอร่าม 342. นางสาวสมิตานันช์ พรหมพินิจ
343. นายสิทธิพัฒน์ ไตรพงษ์ 356. สิบโท นพดล แสงประเสริฐ
344. นายสิทธิศักดิ์ ภูรินทนาวุธ 357. นายนิคม เอื้อเกียรติกุล
345. นายสิริวัฒน์ แสงสุวรรณโต 358. นายพัชราวุฒ พรหมเอื้อ
346. นายอรุโณทัย วงศ์ศิริ 359. พันตํารวจตรี เมธา โคตร์สันเทียะ
347. นายอัคคพล ไทยจรรยา 360. นางสาวร่มเกล้า คําสงค์
348. นายอัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล 361. นางวันเพ็ญ ไชยผดุง
349. นางสาวอุดมการณ์ ชุมรุม 362. นางสลักเนตร ชาญอุไร
350 นางสาวอุบลวรรณ ยงรัตนกิจ 363. พันตํารวจตรี อานนท์ แก้วเขียว
351. นายกริชทอง เดชะปัญญา 364. นายเอกสิทธิ์ สุดแก้ว
352. นายจีระพงศ์ ตีระแพทย์ 365. นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน
353. นาวาตรี ชาญวิทย์ ประชาศรี 366. นายชาญชัย บุรถาวร
354. นายณัฐพล พิพิธรัตน์ 367 นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร
355. นายธีระชัย อินรุณ
6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2558
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,201 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2558 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนมกราคม ปี 2558 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 2 /2558
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2558
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2558
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2558 (รุ่นที่ 1/3ปี/2558) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 20 มกราคม 2558 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/3ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 22 มกราคม 2558 เท่ากับร้อยละ 2.20 ต่อ
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2558
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,202 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 53/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนกรกฎาคม ปี 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 53 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนกรกฎาคม ปี 2556
-------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนกรกฎาคม ปี 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนกรกฎาคม ปี 2556 (รุ่นที่ 2/3ปี/2556) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/3ปี/2556 ที่จะประมูลในวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 เท่ากับร้อยละ 3.05 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,203 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 75/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 75 /2559
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤสจิกายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มตันวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 เท่ากับร้อยละ 1.494 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 ลบ ร้อยละ 0.1)
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,204 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 76/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 76 /2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤศจิกายน 2559
-----------------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.46/14/59 | 40,000 | 18 พฤศจิกายน 2559 | 22/11/59 - 6/12/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,205 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 54/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกรกฎาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 54 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกรกฎาคม 2556
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกรกฎาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.30/14/56 | 30,000 | 26 กรกฎาคม 2556 | 30/7/56 – 13/8/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,206 |
ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ. 2556 | ประกาศกระทรวงยุติธรรม
เรื่อง กําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด
พ.ศ. 2556
--------------------
อื่นๆ - โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ. 2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2549
2. ให้กําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนคดียาเสพติด โดยคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ในยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ดังนี้
2.1 เฮโรอีน กรัมละ 100 บาท
2.2 ฝิ่น (มอร์ฟิน) กรัมละ 20 บาท
2.3 โคคาอีน กรัมละ 20 บาท
2.4 คีตามีน กรัมละ 10 บาท
2.5 ซูโดอีเฟดรีน อีเฟดรีน กรัมละ 3 บาท
3. ให้กําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนคดียาเสพติด สําหรับแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์ของแอมเฟตามีน ดังนี้
3.1 ชนิดเม็ด คํานวณ ดังนี้
(1) ไม่เกิน 10 เม็ด จ่าย 360 บาท
(2) ตั้งแต่เม็ดที่ 11 ถึง 500 เม็ด จ่ายเม็ดละ 10 บาท
(3) ส่วนที่เกิน 500 เม็ด และมีปริมาณสารบริสุทธิ์ของแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์ของแอมเฟตามีนในของกลางทั้งหมด ในอัตราดังนี้
ก. ปริมาณสารบริสุทธิ์น้อยกว่า 10% จ่ายเม็ดละ 1 บาท
ข. ปริมาณสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 10 % ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 20%
จ่ายเม็ดละ 2 บาท
ค. ปริมาณสารบริสุทธิ์เกิน 20 % ขึ้นไป จ่ายเม็ดละ 3 บาท
3.2 ชนิดผงคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ กรัมละ 100 บาท
4. ให้กําหนดอัตราการจ่ายเงินสินบนคดียาเสพติด คํานวณตามน้ําหนักยาเสพติดดังนี้
4.1 กัญชา กรัมละ 0.10 บาท กรัมละ 0.10 บาท
4.2 ยางกัญชา กัญชาน้ํา กรัมละ 20 บาท
4.3 อะซิติคแอนไฮไดรด์ อะซิติลคลอไรด์ กิโลกรัมละ 10 บาท
4.4 อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม กิโลกรัมละ 3 บาท
4.5 ซาฟรอล ไอโซซาฟรอล กิโลกรัมละ 3 บาท
4.6 พืชกระท่อม กรัมละ 0.10 บาท
4.7 ยาเสพติดอื่น (ยกเว้นกาเฟอีน กาเฟอีนไฮเดรต และกาเฟอีนชิเครต) กรัมละ 3 บาท
5. การจ่ายเงินสินบนตามปริมาณสารบริสุทธิ์ หรือจํานวนยาเสพติดทุกชนิด ตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ ในคดีเดียวกัน เมื่อพิจารณารวมกันแล้ว ให้จ่ายคดีละไม่เกิน 2,000,000. บาท
6. อัตราการจ่ายเงินรางวัล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ. 2537
7. อัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติดตามประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้ใช้บังคับแก่กรณีบรรดาสิทธิการขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัลที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556
พลตํารวจเอก ประชา พรหมนอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | 7,207 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 77/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 77 /2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนพฤศจิกายน 2559
-----------------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.47/14/59 | 40,000 | 25 พฤศจิกายน 2559 | 29/11/59 - 13/12/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,208 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 78/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 78 /2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนธันวาคม 2559
--------------------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.48/14/59 | 35,000 | 1 ธันวาคม 2559 | 6/12/59 - 20/12/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,209 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 55/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 55 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ดังนี้
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| 31/28/56 | - | 28,000 | 6 ส.ค. 56 | 8 ส.ค. 56 | 5 ก.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 31/91/56 | - | 28,000 | 6 ส.ค. 56 | 8 ส.ค. 56 | 7 พ.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 31/182/56 | - | 28,000 | 6 ส.ค. 56 | 8 ส.ค. 56 | 6 ก.พ. 57 | 182 วัน | 182 วัน |
| 32/28/56 | - | 28,000 | 13 ส.ค. 56 | 15 ส.ค. 56 | 12 ก.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 32/91/56 | - | 28,000 | 13 ส.ค. 56 | 15 ส.ค. 56 | 14 พ.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 32/182/56 | - | 28,000 | 13 ส.ค. 56 | 15 ส.ค. 56 | 13 ก.พ. 57 | 182 วัน | 182 วัน |
| 2/2ปี/2556 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 13 ส.ค. 56 | 40,000 | 15 ส.ค. 56 | 19 ส.ค. 56 | 19 ส.ค. 58 | 2 ปี | 2 ปี |
| 33/28/56 | - | 28,000 | 20 ส.ค. 56 | 22 ส.ค. 56 | 19 ก.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 33/91/56 | - | 28,000 | 20 ส.ค. 56 | 22 ส.ค. 56 | 21 พ.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 33/182/56 | - | 28,000 | 20 ส.ค. 56 | 22 ส.ค. 56 | 20 ก.พ. 57 | 182 วัน | 182 วัน |
| 34/28/56 | - | 28,000 | 27 ส.ค. 56 | 29 ส.ค. 56 | 26 ก.ย. 56 | 28 วัน | 28 วัน |
| 34/91/56 | - | 28,000 | 27 ส.ค. 56 | 29 ส.ค. 56 | 28 พ.ย. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 34/182/56 | - | 28,000 | 27 ส.ค. 56 | 29 ส.ค. 56 | 27 ก.พ. 57 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/FRB3ปี/2556 | 3M BIBOR - 0.1(สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 ส.ค. 56 จะกําหนดและประกาศในวันที่ 22 ส.ค. 56) | 12,000 | 30 ส.ค. 56 | 3 ก.ย. 56 | 26 ก.พ. 59 | 3 ปี | 2.48 ปี |
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2ปี/2556 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2556 |
| การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 19 สิงหาคม และ 19 กุมภาพันธ์ ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 19 สิงหาคม 2558 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2556 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 28 สิงหาคม 2556
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,210 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 79/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 79 /2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559
-------------------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 23/29/59 | - | 10,000 | 6 ธ.ค. 59 | 8 ธ.ค. 59 | 6 ม.ค. 60 | 29 วัน | 29 วัน |
| 49/91/59 | - | 35,000 | 6 ธ.ค. 59 | 8 ธ.ค. 59 | 9 ม.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 49/182/59 | - | 45,000 | 6 ธ.ค. 59 | 8 ธ.ค. 59 | 8 มิ.ย. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 5/364/59 | - | 40,000 | 6 ธ.ค. 59 | 8 ธ.ค. 59 | 7 ธ.ค. 60 | 364 วัน | 364 วัน |
| 24/28/59 | - | 10,000 | 13 ธ.ค. 59 | 15 ธ.ค. 59 | 12 ม.ค. 60 | 28 วัน | 28 วัน |
| 50/91/59 | - | 35,000 | 13 ธ.ค. 59 | 15 ธ.ค. 59 | 16 มี.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 50/182/59 | - | 45,000 | 13 ธ.ค. 59 | 15 ธ.ค. 59 | 15 มิ.ย. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR - 0.10(เท่ากับ 1.494 สําหรับงวดเริ่มต้น วันที่ 17 พ.ย. 59) | 10,000 | 16 ธ.ค. 59 | 20 ธ.ค. 59 | 17 ก.พ. 61 | 3 ปี | 1.16 ปี |
| 25/28/59 | - | 10,000 | 20 ธ.ค. 59 | 22 ธ.ค. 59 | 19 ม.ค. 60 | 28 วัน | 28 วัน |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 51/91/59 | - | 35,000 | 20 ธ.ค. 59 | 22 ธ.ค. 59 | 23 มี.ค. 60 | 91 วัน | 91 วัน |
| 51/182/59 | - | 45,000 | 20 ธ.ค. 59 | 22 ธ.ค. 59 | 22 มิ.ย. 60 | 182 วัน | 182 วัน |
| 2/2ปี/2559 | 1.58 | 35,000 | 22 ธ.ค. 59 | 26 ธ.ค. 59 | 29 ส.ค. 61 | 2 ปี | 1.67 ปี |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB3ปี/2558 ธปท. จะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาสําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) ในวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,211 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2558) เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2558)
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมการกําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกัน
และปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
--------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2543) เรื่อง กําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2543
“(7) สถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์”
ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นตันไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 7,212 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 80/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 80 /2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนธันวาคม 2559
----------------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.49/14/59 | 35,000 | 8 ธันวาคม 2559 | 13/12/59 - 27/12/59 | 14 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการ แทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,213 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2558) เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2558)
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิด
เกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
-----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2543
"ข้อ 2/1 ให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการตามข้อ 1 (7) แห่งประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2543) เรื่อง กําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2558) เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมการกําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) เมื่อรับมอบสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์จากผู้ส่งหรือผู้ฝาก แล้วแต่กรณี ให้จัดทําบันทึกรายละเอียดชื่อ นามสกุล เลขประจําตัวประชาชนหรือเลขหนังสือเดินทางของผู้ส่งหรือผู้ฝากนั้นรวมทั้งบันทึกรายละเอียดของผู้รับสิ่งของหรือผู้รับแทนในทํานองเดียวกันด้วยเมื่อได้มีการส่งมอบสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์นั้น การบันทึกอาจจัดทําเป็นเอกสารหรือข้อมูลในระบบสารสนเทศ หรือวิธีการอื่นใดที่สามารถให้ข้อมูลพิสูจน์ตัวบุคคลได้ ในกรณีได้จัดทําใบกํากับของหรือใบตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ถือเป็นสาระสําคัญส่วนหนึ่งของบันทึกดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ให้จัดเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้จัดทําบันทึก
(2) ในกรณีพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนในสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ตาม (1) ในหรือบริเวณสถานประกอบการซึ่งอยู่ในความดูแล ให้แจ้งเหตุโดยเร็วที่สุดและหากพบยาเสพติดให้จัดส่งบันทึกตามที่กําหนดไว้ใน (1) ต่อเจ้าพนักงานภายในสิบห้าวันนับแต่ได้ทราบถึงเหตุนั้น"
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2543
"ข้อ 3/1 ให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการตามข้อ 2/1 ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทําป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดตามข้อ 3 แต่ให้แจ้งข้อความให้ผู้ส่งหรือผู้ฝากสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์และผู้รับสิ่งของดังกล่าวทราบว่ายาเสพติดเป็นสิ่งของผิดกฎหมายและต้องห้ามในการขนส่งโดยเด็ดขาด สิ่งของที่เกี่ยวข้องอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดําเนินคดีตามกฎหมายได้ โดยปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ปิดประกาศซึ่งข้อความดังกล่าวในบริเวณสถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ หรือ
(2) พิมพ์หรือประทับข้อความดังกล่าวบนใบกํากับของหรือใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง"
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ < แห่งประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2543) เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 4 ในกรณีที่เจ้าพนักงานได้ตรวจพบว่าเจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการมิได้ปฏิบัติตามข้อ 2 ข้อ 2/1 ข้อ 3 หรือข้อ 9/1 ให้เจ้าพนักงานนั้นรายงานเลขาธิการเพื่อมีหนังสือตักเตือนให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการปฏิบัติตาม และหากภายหลังตรวจพบว่าเจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการดังกล่าวนั้นยังมิได้ปฏิบัติตาม จึงให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้"
ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 7,214 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 56/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 56 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2556
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.31/14/56 | 30,000 | 2 สิงหาคม 2556 | 6/8/56 – 20/8/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,215 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 81/2559 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการคำนวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 81 /2559
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558
-----------------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคา สําหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ที่จะประมูลในวันที่ 16 ธันวาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามกําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559 ที่จะเปิดประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 ในวันที่ 16 ธันวาคม 2559 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคํานวณราคาพันธบัตรดังกล่าว ในวันที่ 14 ธันวาคม 2559 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยในการคํานวณราคาพันธบัตรตังกล่าวเพื่อใช้สําหรับช่วงวันชําระเงินถึงวันจ่ายดอกเบี้ยถัดไป (I1) เท่ากับร้อยละ 1. 55356 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (I2) เท่ากับร้อยละ 1.59634 ต่อปี
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,216 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2543) เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี(พ.ศ. 2543)
เรื่อง กําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับ
ของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับ
ยาเสพติดในสถานประกอบการ
-----------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และ มาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สถานที่ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจใดๆ ดังต่อไปนี้เป็นสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
(1) สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงและให้รวมถึงสถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการต่างๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุม ดูแล หรืออาศัยสิทธิของเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิงด้วย
(2) สถานีบริการที่บรรจุก๊าซให้แก่ยานพาหนะทั้งทางบกและทางน้ํา ตามกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(3) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
(4) ที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภทหอพัก อาคารชุดหรือเกสเฮ้าส์ (Guest House) ที่ให้ผู้อื่นเช่า
(5) สถานที่ที่ได้จัดให้มีการเล่นบิลเลียด สนุกเกอร์ ซึ่งเก็บค่าบริการจากผู้เล่น
(6) โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
(7) สถานที่หรือที่เก็บสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งใช้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าหรือพัสดุภัณฑ์
ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2543
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี | 7,217 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 82/2559 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2559 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 82 /2559
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนธันวาคม 2559
--------------------------------------------
อื่นๆ - 1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนธันวาคม 2559
อื่นๆ - 2.อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3.เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.50/15/59 | 35,000 | 16 ธันวาคม 2559 | 20/12/59 - 4/1/60 | 15 |
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2559
(นางสาววชิรา อารมย์ดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,218 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 57 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2556
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.32/14/56 | 40,000 | 8 สิงหาคม 2556 | 13/8/56 – 27/8/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,219 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 58/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 สิงหาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 58 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 สิงหาคม 2556
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 สิงหาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2555 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 13 สิงหาคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.46769 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2556 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,220 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 59/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 สิงหาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 59 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 สิงหาคม 2556
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 สิงหาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2554 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 15 สิงหาคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.47077 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 6 เดือน ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2556 ลบร้อยละ 0.2)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,221 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 60/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจำเดือนสิงหาคม ปี 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 60 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2556
-----------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 2 ปี ประจําเดือนสิงหาคม ปี 2556 (รุ่นที่ 2/2ปี/2556) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 13 สิงหาคม 2556 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 2/2ปี/2556 ที่จะประมูลในวันที่ 15 สิงหาคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.85 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,222 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 2/2558 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 2 /2558
เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1/2542 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 4 มกราคม 2542
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน ตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามความในคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541
อื่นๆ - 4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 4/2555 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และตามความในคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1/2542 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 4 มกราคม 2542 จํานวน 367 คน ดังนี้
1. นางทองอุไร ลิ้มปิติ 7. นางบุษกร ธีระปัญญาชัย
2. นายรณดล นุ่มนนท์ 8. นายบุญทอง พฤกษมหาศาล
3. นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา 9. นางสาวสุนัดดา ปริปุณณะ
4. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 10. นายยงศักดิ์ เชี่ยงหลอ
5. นายอานุภาพ คูวินิชกุล 11. นายศุภชัย งามประภาวัฒน์
6. นางวิเรขา สันตะพันธุ์ 12. นายจิตเกษม พรประพันธ์
13. นางวรางคณา ธํารงรัตน์ 46. นางชาดา ลิมป์กิตติสิน
14. นายกมล จุฬาพงษ์วนิช 47. นายชาติชาย อเนกธนทรัพย์
15. นางกรอุมา ธีรวิวัฒน์วงศ์ 48. นายชูชัย ประภารวีวรรณ
16. นางสาวกัญญา แซ่เตียว 49. นายชูพันธุ์ ภัทรเธียรชัย
17. นายกัณชรัฐ เล็กมณี 50. นายฐะนัติ แสงมณีทอง
18. นางสาวกัลยาณี รัตนสิงห์ 51. นายณรงค์ เปลี่ยนสกุล
19. นายกิตติ อุดมวงษ์กุล 52. นายณัฐรัฐ สิริจงรัศมี
20. นางเกสา ตั้งเพียรวัฒนา 53. นายณัฐสมพล ศีละสะนา
21. นางขวัญจิตร ธนรรฆากร 54. นายณัติพงศ์ สอวิเศษ
22. นายขวัญชัย ร่มฉัตร์ 55. นางดวงจันทร์ ปิยวงศ์สิริ
23. นางสาวขวัญลดา สมิติเมธา 56. นางดวงเดือน ลี้ศิริวัฒนกุล
24. นางงามเพ็ญ บังเกิดลาภ 57. นางดวงรัตน์ วรยศโกวิท
25. นางสาวจงลักษณ์ บํารุงไทยชัยชาญ 58. นางดารณี จันทราสุริยารัตน์
26. นายจักรพันธ์ พงษ์เภตรา 59. นางดาราณี กิติสารศักดิ์
27. นายจักรี สงวนสุข 60. นายดํารง ปโยราติสกุล
28. นางสาวจันทร์เพ็ญ รัตนาภินันท์ 61. นายดิสพงษ์ ศิโรรัตนกุล
29. นายจาดูรพงศ์ ธารีลาภ 62. นายต่อศักดิ์ ธนชยานนท์
30. นางสาวจามรี ชื่นสุรัตน์ 63. นายต่อศักดิ์ ชัยวัฒน์
31. นางสาวจิตรายุส์ สกุลมีฤทธิ์ 64. นายถนอม โพธิ์ทอง
32. นางสาวจิตสุภา วิระยะวานิช 65. นายทะนงศักดิ์ ประเจิดชัยวงศ์
33. นางสาวจินดารัตน์ เหล่านริศอารี 66. นายทรงวุฒิ อินสว่าง
34. นางจินตนา พุทธสุภะ 67. นายทวีชัย สหนุกูล
35. นายจิรคม อัครสมพงศ์ 68. นายทัดลาภ เผ่าเหลืองทอง
36. นายจิรวัชร์ เชาวลิต 69. นายทัศนัย เพชรรุ่งรัศมี
37. นางจิราวัฒน์ วินิจชีวิต 70. นางสาวทัศนีย์ เดชอิทธิกุล
38. นายจุมพล สอนพงศ์ 71. นางทิพย์ประภา บุ้งศรีทอง
39. นายเจริญ กรุงแก้ว 72. นายทิพย์พล กิติอาภา
40. นายชนะเลิศ เลิศทองไพบูลย์ 73. นางเทพเทพิน ประศาสน์สารกิจ
41. นางสาวชนัตถา เลขะวัฒนพงษ์ 74. นายธงชัย ปิยนรเศรษฐ์
42. นางชวนันท์ ชื่นสุข 75. นายธนทัต แสงคํา
43. นางซัชชไม มากกมลธรรม 76. นายธนธัช หัตถกิจธาตรี
44. นายชัยสิทธิ์ พุทธิขจร 77. นายธนวัฒน์ โสตถิโยธิน
45. นายชาญยุทธ สิทธิถาวรทรัพย์ 78. นายธนะชัย องค์ธนะสุข
79. นายธนะพูฒ องค์ธนะสุข 112. นางปิยะรัตน์ พาหิระ
80. นายธนะสิทธิ์ สรรพโชติวัฒน์ 113. นายพงศ์คณิต คุณัมพรานนท์
81. นายธวัชชัย หนุนภักดี 114. นายพรชัย เจริญใจ
82. นายธํารง อุ่นสินมั่น 115. นายพลวิชญ์ กิจนิธิบารมี
83. นายธีรศักดิ์ สูงลอย 116. นายพันธ์ทิพย์ จันทร์แจ่มแสง
84. นางนงนุช โกสลาทิพย์ 117. นายพันธ์วริศ วัฒนวิจิตร
85. นายนนทพัทธ์ อัศวบุญญาเลิศ 118. นายพิพัฒน์ ลอระพงษ์
86. นางสาวนพรัตน์ ย่งเส็ง 119. นางพิมพ์ชนก ใจกล้า
87. นางนวรัตน์ ตันติจินดา 120. นายไพโรจน์ แดงเจริญ
88. นางสาวนันทพันธ์ วศวรรณวัฒน์ 121. นายมงคล ด่านวรรณพงศ์
89. นางสาวนิรมล กอสงวนมิตร 122. นางสาวมณีรัตน์ กฤตยาประทานพร
90. นายนิวัติ พงษ์สุขเวชกุล 123. นายมนตรี อินทร์สุริวงค์
91. ร้อยโท นุกูล เนียมถนอม 124. นายมัณฆ์นิชิษฐ์ อมราอุไร
92. นางนุชน้อย กิตติจารุภา 125. นางสาวมัณฑนา ภู่พานิชเจริญกูล
93. นายบวร วงษ์จันทเจริญ 126. นางมัธนา หวังจิตรารักษ์
94. นายบุญชัย จินตกรีวัฒน์ 127. นางสาวมัลลิกา กิจกร
95. นายบุญเที่ยง ภูมี 128. นายมาณพ เอกฤทธิไกร
96. นางเบญจพร วุฒิวิภัยการ 129. นายมาโนช โมพี
97. นางเบญจมา ชิงพยัคฆ์มัณฑ์ 130. นายมิตรนเรนทร์ อํามฤคขจร
98. นางเบญจวรรณ ธรรมกุล 131. นายยงยุทธ์ คุณธรรมดี
99. นายประจวบ ร่ํารวยธรรม 132. นายยอดยิ่ง วีระพงศ์
100. นายประจักษ์ อุดมเดชชัยรัตน์ 133. นางสาวยินดี ทักษิณนุกุลวงศ์
101. นายประดิษฐ์ พงษ์ไทย 134. นายยุทธนา อัชชวัฒนา
102. นางประภา ศรีวงษ์ 135. นางสาวยุพิน อธิเลิศปัญญา
103. นายประวิตร วงษ์จันทเจริญ 136. นางเยาวดี เทพอํานวยสุข
104. นายปรัชญา อัศวเดชกําจร 137. นางรวมพร เรณุมาน
105 นางประณีต อดิศัยปัญญา 138. นางระวีวรรณ คุณานุกูล
106. นายปรีชา มิ่งมาลัยรักษ์ 139. นางรัตนาภรณ์ ชินพัฒน์
107. นายปฤณัต ศักดิ์พานิช 140. นายรามรุจิโรจน์ จุลละบุษปะ
108. นายปวิตร ต้นเจริญ 141. นางรุ่งนภา อภิรติกุล
109. นายปัญญา บุญงามชัยรัตน์ 142. นางสาวรุ่งนภา แจ้งสรรพกิจ
110. นางปิยธิดา กิตติการุญจิต 143. นางรุ่งรัตน์ ตัถยาธิคม
111. นางปียมล ตุงควิจิตรวัฒน์ 144. นายเริงชัย แช่โล๊ก
145. นางสาวละเอียด เที่ยงสกุล 178. นายศิวัฑฒ์ ปิยพิทักษ์
146. นายลิขิต ทองกึ่ง 179. นายศุภรัตน์ วรพันธ์
147. นายวรโยชน์ มนชน 180. นายสกนธ์ เสนะวัต
148 นางสาววรรณา ลิมป์พัฒนสิน 181. นางสาวสมใจ ประสิทธิ์ชัยพันธ์
149. นางวรรณี งามประภาวัฒน์ 182. นายสมชัย ลิขสิทธิพันธุ์
150 นางสาววรารักษ์ วงษ์ภู่ 183. นายสมชาย ชนกิจโกศล
151. นางสาววรินทร์ จังกอบพัฒนา 184. นายสมชาย รุ่งขจรไพศาล
152. นายวัชรินทร์ ธรรมนิยม 185. นายสมบัติ ชื่นสุข
153. นายวัฒนา วัธนานุกิจ 186. นายสมบัติ ตั้งประสุพทรัพย์
154. นางสาววันดี แซ่เอ็ง 187. นายสมพจน์ เพ็ชรสม
155. นางสาววันดี โพธิ์ไพรทอง 188. นายสรพล เริงวรรณ
156. นางสาววันทนีย์ บุญบานเย็น 189. นายสราวุธ ศิริปักมานนท์
157. นายวารินทร์ เจียมปัญญา 190 นายสําราญ ฮีเกษม
158. นายวิชัย ทองทวี 191. นายสิทธินาท ดวงรัตน์
159. นายวิชา มหาเดชสุรชัย 192. นางสาวสิรินิตย์ รัตนปิณฑะ
160. นายวิชิต คงอํานวยศักดิ์ 193. นายสืบศักดิ์ ทองศรีคํา
161 นายวิชิต อังกูรสุรารักษ์ 194. นางสุจารี มนชน
162. นายวิทยา ตันติยุทธ 195. นายสุชาติ นาคศรีเจริญ
163. นายวิบูลย์ มิ่งมงคลชัย 196. นายสุชาติ สะเทือนวงษา
164. นายวิบูลย์ เฉลิมศิริกุล 197. นางสุดปรีดา ลอออรรถพงศ์
165. นางสาววิภา กังสดาล 198. นายสุทธินันท์ เจริญโภคราช
166. นางวิมลรัตน์ ปียสถาพรพงศ์ 199. นายสุทัศน์ ไกรวงศ์
167. นางวิมลรัตน์ รุจิรากรสกุล 200. นางสุธาวดี ทองศิริ
168. นายวิสุทธิ์ พีรพัฒนโภคิน 201. นางสุนทรี สุขสุเมฆ
169. นายวิสุทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ 202. นางสุนันท์ หอไพฑูรย์
170. นายวีรไชย เล็กประเสริฐ 203. นางสุนารี อนันตกุลนธี
171. นายวีระยุทธ ภูริวรานนท์ 204. นางสาวสุนีย์ รัตนจงกล
172. นายวีระศักดิ์ จันทรจีรวงศ์ 205. นางสุนีย์ สมสุขสวัสดิ์กุล
173. นายเวชยันต์ ประสาทเสรี 206. นางสาวสุภัค พันธุ์ไทย
174. นายศรัณย์ มาสิทธิ์ 207. นางสาวสุภัตรา ก่อกวิน
175 นางสาวศศิวรรณ ทศานนท์ 208. นางสาวสุภัทรา เพิ่มมณีนิล
176. นายศิริมงคล ศรีสุโข 209. นางสุภาวรรณ ชัยสังฆะ
177. นางศิริรัตน์ พฤกษ์ไพศาล 210. นางสาวสุมาลี ศีละสะนา
211. นางสุมาลี วิทยถาวรวงศ์ 244. นางฤชุกร สิริโยธิน
212. นายสุเมธ สมบัติวิชาธร 245. นายจาตุรงค์ จันทรังษ์
213. นายสุรชัย กิจกมลวัฒน์ 246. นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม
214. นายสุรชัย ปิยะปกรณ์ 247. นางนิศารัตน์ ไตรรัตน์วรกุล
215. นายสุรชา ศุภารักษ์สีบวงศ์ 248. นายสมชาย เลิศลาภวศิน
216. นายสุรเชษฐ์ ศรีเดือน 249. นางสาวยุพิน เรืองฤทธิ์
217. นายสุรพร ฉัตรศิขรินทร 250. นางสาวจามรี สุทธิพงษ์ชัย
218. นายสุรพันธ์ วงศ์พันธ์ 251. นายบัญชา มนูญกุลชัย
219. นายสุรวุฒิ พฤกษ์บํารุง 252. นางสาวกนกวรรณ เมฆโสภาวรรณกุล
220. นางสุรีย์พร ภูมี 253. นางสาวเขมวันต์ ศรีสวัสดิ์
221. นางสาวสุวิชา สัจจานิตย์ 254. นางสาวชัญญา พันธจารุนิธิ
222. นายสุวิทย์ ตุงควิจิตรวัฒน์ 255. นางชุติมา ตรีวิบูลย์วณิชย์
223. นางสาวเสมอใจ กิตติดุษฎีกุล 256. นายณพงศ์ธวัช โพธิกิจ
224. นายเสรี ธารชมพู 257. นายณรงค์ เลาหพิสิฐพาณิชย์
225. นางสาวโสภิตา สารศรี 258. นายณรงค์ ภาณุเดชทิพย์
226. นายองอาจ ตรีจรูญ 259. นายณัฐวุฒิ อติรัตน์
227. นายอดิศักดิ์ เสริฐศรี 260. นางณิชนาฏ ภูลสนอง
228. นางสาวอรทัย ธีรชัยธํารงกุล 261. นางสาวดาวินา คุณวิภูศิลกุล
229. นายอร่าม ภูลสนอง 262. นางทศชนก ลีลาวรรณกุลศิริ
230 นางสาวอโรรา อุนนะนันทน์ 263. นางธัญทิพย์ สรรพโชติวัฒน์
231. นายอัคนี ตั้งจิตเพิ่มความดี 264. นางสาวนันทวัลดิ์ ถิรธนาพงศ์
232. นางอังสนา ก่อเกียรติตระกูล 265. นางสาวเปรมจิต สมรัตนชัย
233. นางอัมพร แก้วประเสริฐ 266. นางสาวพนิตา ปิยะอุย
234. นางสาวอัมพร สุวิภานนท์ 267. นางพรสิริ รุ่งสิริโอภาส
235. นางสาวอัษฎาพร มัจฉวานิช 268. นางสาวเมธนี เหมริด
236. นางอุดมศรี ภาคโพธิ์ 269. นายรณภูมิ ไชยคุณา
237. นางอุบลศรี บุณยรัตพันธุ์ 270. นายรณรงค์ ขุนภาษี
238. นางอุไรวรรณ ศรีสุวรรณ 271. นางสาวรวิวรรณ์ ศิริเกษมทรัพย์
239. นางอุษา ภักดิ์วีไลเกียรติ 272. นางสาวรุ่งพร เริงพิทยา
240. นายเอกชัย เกตุแก้วมณีรัตน์ 273. นายวงศ์ทวี ธนานันท์
241. นายเอกวิทย์ ทศพลดําเกิง 274 นางสาววริศรา มั่นสกุล
242. นายเอกศิษฐ์ รังวัฒณเศรษฐ์ 275. นายวัชรกูร จิวากานนท์
243. นายโอภาส พิมพ์สวัสดิ์ 276. นางวันทนา บุญสร้อย
277. นางสาววารุณี กุลบ่าง 310. นางสาวอโนชา รอดชมภู
278. นางวิภาสา โฆสิตไพบูลย์ 311. นางสาวอริศรา ตั้งเทียมยา
279. นายวีรพล โสธรบุญ 312. นางสาวอัญชุลี ห่อสมบัติ
280. นางสาวศศินันท์ พันธุนะ 313. นางอัมพร สุนทรภูษิต
281. นางสาวสวิสา อริยปรัชญา 314. นายอัสรี หะยีมะสาและ
282. นางสาวสุกันยา สุพรรณขันธ์ 315. นางวรรณี พรสมบูรณ์ศิรี
283. นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ 316. นางสาวกุลเขมสรณ์ เจริญสุวรรณ
284. นางสุวัฒนา รักศิลธรรม 317. นางสาวกุลิสรา คุณธรรมดี
285. นายสุวิทย์ ต้นรุ่งเรือง 318. นายคงฤทธิ์ สงวนศักดิ์
286. นางเสาวลักษณ์ ตรีพจนีย์ 319. นางสาวจณัญญา เฉลิมวิวัฒน์กิจ
287. นางอรมนต์ จันทพันธ์ 320. นายจักรกริศน์ เหล่าจันอัน
288. นายอัครเดช ใช้ศรีทอง 321. นายชาตรี มณีสวัสดิ์
289. นางอัจฉรา ทรัพย์เมลือง 322. จ่าเอก เชิดชัย พุดน้อย
290. นายโอรส เพชรเจริญ 323. ว่าที่ร้อยตรี ดํารงศักดิ์ ณ ระนอง
291. นายกฤษดา ตรีเกษมมาศ 324. นางสาวดุจจินดา ชาญเดช
292. นางสาวเกศยา กมลสุขยืนยง 325 นางสาวนพมาศ นนท์พิสิฐ
293. นางสาวขจิตพรรณ สุขแสง 326. นางสาวนิธินทรา ดีประดับ
294. นางจารุวรรณ วิสารทานนท์ 327. นางสาวปณัฐวดี ยันตรกิจโกศล
295. นางซลธิซา พิระชัย 328. นายปัทมพงศ์ โล่ห์สุวรัตน์
296. นายชัชวิน คงเจริญ 329. นางสาวพนาพร ศุภรัชตการ
297. นางสาวทิพวรรณ ตีรถานนท์ 330. นางพัชรี สุนทรพินิจกิจ
298. นางนริศรา รวมศิริวัฒนกุล 331. นางสาวเพ็ญพิมล อรุณสุรัตน์
299. นางสาวปรณีย์ เต็มไตรเพท 332. นายไพโรจน์ รักเที่ยงธรรม
300. นายประภัศร์ ทีรฆฐิติ 333. นางภัสรา อัคคะสาระกุล
301. นางสาวพจมาน กังวานไกรไพศาล 334. นายมานิตย์ บุญเนรมิตร
302. นายพรศักดิ์ ผ่องศรีงามชัย 335. นางสาวยอดขวัญ เรือนแป้น
303. นางพัชรี คงโกมลสกุล 336. นางยุวนุช มหาเอก
304. นายพิภพ ภู่เพ็ง 337. นางสาวรดานุช โถสุวรรณจินดา
305. นายรุจิกุล อัคคะสาระกุล 338. ว่าที่ร้อยโท รุ่งเรือง โคกขุนทด
306. นายวิชัย จิตตปาลกุล 339. นางสาวศิริรัตน์ รัศมีทินกรกุล
307. นายวีรวัฒน์ อินทรประคอง 340. นางสาวศิวพร วงศ์สุนทร
308. นางสาวศันสนีย์ แก้วพรสวรรค์ 341. นายเศกสรร บัวทรัพย์
309. นางสาวสิร์ดาภัทร สุขอร่าม 342. นางสาวสมิตานันช์ พรหมพินิจ
343. นายสิทธิพัฒน์ ไตรพงษ์ 356. สิบโท นพดล แสงประเสริฐ
344. นายสิทธิศักดิ์ ภูรินทนาวุธ 357. นายนิคม เอื้อเกียรติกุล
345. นายสิริวัฒน์ แสงสุวรรณโต 358. นายพัชราวุฒ พรหมเอื้อ
346. นายอรุโณทัย วงศ์ศิริ 359. พันตํารวจตรี เมธา โคตร์สันเทียะ
347. นายอัคคพล ไทยจรรยา 360. นางสาวร่มเกล้า คําสงค์
348. นายอัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล 361. นางวันเพ็ญ ไชยผดุง
349. นางสาวอุดมการณ์ ชุมรุม 362. นางสลักเนตร ชาญอุไร
350 นางสาวอุบลวรรณ ยงรัตนกิจ 363. พันตํารวจตรี อานนท์ แก้วเขียว
351. นายกริชทอง เดชะปัญญา 364. นายเอกสิทธิ์ สุดแก้ว
352. นายจีระพงศ์ ตีระแพทย์ 365. นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน
353. นาวาตรี ชาญวิทย์ ประชาศรี 366. นายชาญชัย บุรถาวร
354. นายณัฐพล พิพิธรัตน์ 367 นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร
355. นายธีระชัย อินรุณ
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2558
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,223 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 2/2558 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกส. 2 /2558
เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
----------------------------------------
1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1/2542 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 4 มกราคม 2542
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงิน ตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามความในคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541
4. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก
1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 4/2555 เรื่อง แต่งตั้งผู้ตรวจการสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555
5. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงินตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และตามความในคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 147/2541 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 และคําสั่งกระทรวงการคลังที่ 1/2542 เรื่อง การกํากับโดยทั่วไปซึ่งสถาบันเฉพาะกิจ ลงวันที่ 4 มกราคม 2542 จํานวน 367 คน ดังนี้
1. นางทองอุไร ลิ้มปิติ 7. นางบุษกร ธีระปัญญาชัย
2. นายรณดล นุ่มนนท์ 8. นายบุญทอง พฤกษมหาศาล
3. นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา 9. นางสาวสุนัดดา ปริปุณณะ
4. นางนวอร เดชสุวรรณ์ 10. นายยงศักดิ์ เชี่ยงหลอ
5. นายอานุภาพ คูวินิชกุล 11. นายศุภชัย งามประภาวัฒน์
6. นางวิเรขา สันตะพันธุ์ 12. นายจิตเกษม พรประพันธ์
13. นางวรางคณา ธํารงรัตน์ 46. นางชาดา ลิมป์กิตติสิน
14. นายกมล จุฬาพงษ์วนิช 47. นายชาติชาย อเนกธนทรัพย์
15. นางกรอุมา ธีรวิวัฒน์วงศ์ 48. นายชูชัย ประภารวีวรรณ
16. นางสาวกัญญา แซ่เตียว 49. นายชูพันธุ์ ภัทรเธียรชัย
17. นายกัณชรัฐ เล็กมณี 50. นายฐะนัติ แสงมณีทอง
18. นางสาวกัลยาณี รัตนสิงห์ 51. นายณรงค์ เปลี่ยนสกุล
19. นายกิตติ อุดมวงษ์กุล 52. นายณัฐรัฐ สิริจงรัศมี
20. นางเกสา ตั้งเพียรวัฒนา 53. นายณัฐสมพล ศีละสะนา
21. นางขวัญจิตร ธนรรฆากร 54. นายณัติพงศ์ สอวิเศษ
22. นายขวัญชัย ร่มฉัตร์ 55. นางดวงจันทร์ ปิยวงศ์สิริ
23. นางสาวขวัญลดา สมิติเมธา 56. นางดวงเดือน ลี้ศิริวัฒนกุล
24. นางงามเพ็ญ บังเกิดลาภ 57. นางดวงรัตน์ วรยศโกวิท
25. นางสาวจงลักษณ์ บํารุงไทยชัยชาญ 58. นางดารณี จันทราสุริยารัตน์
26. นายจักรพันธ์ พงษ์เภตรา 59. นางดาราณี กิติสารศักดิ์
27. นายจักรี สงวนสุข 60. นายดํารง ปโยราติสกุล
28. นางสาวจันทร์เพ็ญ รัตนาภินันท์ 61. นายดิสพงษ์ ศิโรรัตนกุล
29. นายจาดูรพงศ์ ธารีลาภ 62. นายต่อศักดิ์ ธนชยานนท์
30. นางสาวจามรี ชื่นสุรัตน์ 63. นายต่อศักดิ์ ชัยวัฒน์
31. นางสาวจิตรายุส์ สกุลมีฤทธิ์ 64. นายถนอม โพธิ์ทอง
32. นางสาวจิตสุภา วิระยะวานิช 65. นายทะนงศักดิ์ ประเจิดชัยวงศ์
33. นางสาวจินดารัตน์ เหล่านริศอารี 66. นายทรงวุฒิ อินสว่าง
34. นางจินตนา พุทธสุภะ 67. นายทวีชัย สหนุกูล
35. นายจิรคม อัครสมพงศ์ 68. นายทัดลาภ เผ่าเหลืองทอง
36. นายจิรวัชร์ เชาวลิต 69. นายทัศนัย เพชรรุ่งรัศมี
37. นางจิราวัฒน์ วินิจชีวิต 70. นางสาวทัศนีย์ เดชอิทธิกุล
38. นายจุมพล สอนพงศ์ 71. นางทิพย์ประภา บุ้งศรีทอง
39. นายเจริญ กรุงแก้ว 72. นายทิพย์พล กิติอาภา
40. นายชนะเลิศ เลิศทองไพบูลย์ 73. นางเทพเทพิน ประศาสน์สารกิจ
41. นางสาวชนัตถา เลขะวัฒนพงษ์ 74. นายธงชัย ปิยนรเศรษฐ์
42. นางชวนันท์ ชื่นสุข 75. นายธนทัต แสงคํา
43. นางซัชชไม มากกมลธรรม 76. นายธนธัช หัตถกิจธาตรี
44. นายชัยสิทธิ์ พุทธิขจร 77. นายธนวัฒน์ โสตถิโยธิน
45. นายชาญยุทธ สิทธิถาวรทรัพย์ 78. นายธนะชัย องค์ธนะสุข
79. นายธนะพูฒ องค์ธนะสุข 112. นางปิยะรัตน์ พาหิระ
80. นายธนะสิทธิ์ สรรพโชติวัฒน์ 113. นายพงศ์คณิต คุณัมพรานนท์
81. นายธวัชชัย หนุนภักดี 114. นายพรชัย เจริญใจ
82. นายธํารง อุ่นสินมั่น 115. นายพลวิชญ์ กิจนิธิบารมี
83. นายธีรศักดิ์ สูงลอย 116. นายพันธ์ทิพย์ จันทร์แจ่มแสง
84. นางนงนุช โกสลาทิพย์ 117. นายพันธ์วริศ วัฒนวิจิตร
85. นายนนทพัทธ์ อัศวบุญญาเลิศ 118. นายพิพัฒน์ ลอระพงษ์
86. นางสาวนพรัตน์ ย่งเส็ง 119. นางพิมพ์ชนก ใจกล้า
87. นางนวรัตน์ ตันติจินดา 120. นายไพโรจน์ แดงเจริญ
88. นางสาวนันทพันธ์ วศวรรณวัฒน์ 121. นายมงคล ด่านวรรณพงศ์
89. นางสาวนิรมล กอสงวนมิตร 122. นางสาวมณีรัตน์ กฤตยาประทานพร
90. นายนิวัติ พงษ์สุขเวชกุล 123. นายมนตรี อินทร์สุริวงค์
91. ร้อยโท นุกูล เนียมถนอม 124. นายมัณฆ์นิชิษฐ์ อมราอุไร
92. นางนุชน้อย กิตติจารุภา 125. นางสาวมัณฑนา ภู่พานิชเจริญกูล
93. นายบวร วงษ์จันทเจริญ 126. นางมัธนา หวังจิตรารักษ์
94. นายบุญชัย จินตกรีวัฒน์ 127. นางสาวมัลลิกา กิจกร
95. นายบุญเที่ยง ภูมี 128. นายมาณพ เอกฤทธิไกร
96. นางเบญจพร วุฒิวิภัยการ 129. นายมาโนช โมพี
97. นางเบญจมา ชิงพยัคฆ์มัณฑ์ 130. นายมิตรนเรนทร์ อํามฤคขจร
98. นางเบญจวรรณ ธรรมกุล 131. นายยงยุทธ์ คุณธรรมดี
99. นายประจวบ ร่ํารวยธรรม 132. นายยอดยิ่ง วีระพงศ์
100. นายประจักษ์ อุดมเดชชัยรัตน์ 133. นางสาวยินดี ทักษิณนุกุลวงศ์
101. นายประดิษฐ์ พงษ์ไทย 134. นายยุทธนา อัชชวัฒนา
102. นางประภา ศรีวงษ์ 135. นางสาวยุพิน อธิเลิศปัญญา
103. นายประวิตร วงษ์จันทเจริญ 136. นางเยาวดี เทพอํานวยสุข
104. นายปรัชญา อัศวเดชกําจร 137. นางรวมพร เรณุมาน
105 นางประณีต อดิศัยปัญญา 138. นางระวีวรรณ คุณานุกูล
106. นายปรีชา มิ่งมาลัยรักษ์ 139. นางรัตนาภรณ์ ชินพัฒน์
107. นายปฤณัต ศักดิ์พานิช 140. นายรามรุจิโรจน์ จุลละบุษปะ
108. นายปวิตร ต้นเจริญ 141. นางรุ่งนภา อภิรติกุล
109. นายปัญญา บุญงามชัยรัตน์ 142. นางสาวรุ่งนภา แจ้งสรรพกิจ
110. นางปิยธิดา กิตติการุญจิต 143. นางรุ่งรัตน์ ตัถยาธิคม
111. นางปียมล ตุงควิจิตรวัฒน์ 144. นายเริงชัย แช่โล๊ก
145. นางสาวละเอียด เที่ยงสกุล 178. นายศิวัฑฒ์ ปิยพิทักษ์
146. นายลิขิต ทองกึ่ง 179. นายศุภรัตน์ วรพันธ์
147. นายวรโยชน์ มนชน 180. นายสกนธ์ เสนะวัต
148 นางสาววรรณา ลิมป์พัฒนสิน 181. นางสาวสมใจ ประสิทธิ์ชัยพันธ์
149. นางวรรณี งามประภาวัฒน์ 182. นายสมชัย ลิขสิทธิพันธุ์
150 นางสาววรารักษ์ วงษ์ภู่ 183. นายสมชาย ชนกิจโกศล
151. นางสาววรินทร์ จังกอบพัฒนา 184. นายสมชาย รุ่งขจรไพศาล
152. นายวัชรินทร์ ธรรมนิยม 185. นายสมบัติ ชื่นสุข
153. นายวัฒนา วัธนานุกิจ 186. นายสมบัติ ตั้งประสุพทรัพย์
154. นางสาววันดี แซ่เอ็ง 187. นายสมพจน์ เพ็ชรสม
155. นางสาววันดี โพธิ์ไพรทอง 188. นายสรพล เริงวรรณ
156. นางสาววันทนีย์ บุญบานเย็น 189. นายสราวุธ ศิริปักมานนท์
157. นายวารินทร์ เจียมปัญญา 190 นายสําราญ ฮีเกษม
158. นายวิชัย ทองทวี 191. นายสิทธินาท ดวงรัตน์
159. นายวิชา มหาเดชสุรชัย 192. นางสาวสิรินิตย์ รัตนปิณฑะ
160. นายวิชิต คงอํานวยศักดิ์ 193. นายสืบศักดิ์ ทองศรีคํา
161 นายวิชิต อังกูรสุรารักษ์ 194. นางสุจารี มนชน
162. นายวิทยา ตันติยุทธ 195. นายสุชาติ นาคศรีเจริญ
163. นายวิบูลย์ มิ่งมงคลชัย 196. นายสุชาติ สะเทือนวงษา
164. นายวิบูลย์ เฉลิมศิริกุล 197. นางสุดปรีดา ลอออรรถพงศ์
165. นางสาววิภา กังสดาล 198. นายสุทธินันท์ เจริญโภคราช
166. นางวิมลรัตน์ ปียสถาพรพงศ์ 199. นายสุทัศน์ ไกรวงศ์
167. นางวิมลรัตน์ รุจิรากรสกุล 200. นางสุธาวดี ทองศิริ
168. นายวิสุทธิ์ พีรพัฒนโภคิน 201. นางสุนทรี สุขสุเมฆ
169. นายวิสุทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์ 202. นางสุนันท์ หอไพฑูรย์
170. นายวีรไชย เล็กประเสริฐ 203. นางสุนารี อนันตกุลนธี
171. นายวีระยุทธ ภูริวรานนท์ 204. นางสาวสุนีย์ รัตนจงกล
172. นายวีระศักดิ์ จันทรจีรวงศ์ 205. นางสุนีย์ สมสุขสวัสดิ์กุล
173. นายเวชยันต์ ประสาทเสรี 206. นางสาวสุภัค พันธุ์ไทย
174. นายศรัณย์ มาสิทธิ์ 207. นางสาวสุภัตรา ก่อกวิน
175 นางสาวศศิวรรณ ทศานนท์ 208. นางสาวสุภัทรา เพิ่มมณีนิล
176. นายศิริมงคล ศรีสุโข 209. นางสุภาวรรณ ชัยสังฆะ
177. นางศิริรัตน์ พฤกษ์ไพศาล 210. นางสาวสุมาลี ศีละสะนา
211. นางสุมาลี วิทยถาวรวงศ์ 244. นางฤชุกร สิริโยธิน
212. นายสุเมธ สมบัติวิชาธร 245. นายจาตุรงค์ จันทรังษ์
213. นายสุรชัย กิจกมลวัฒน์ 246. นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม
214. นายสุรชัย ปิยะปกรณ์ 247. นางนิศารัตน์ ไตรรัตน์วรกุล
215. นายสุรชา ศุภารักษ์สีบวงศ์ 248. นายสมชาย เลิศลาภวศิน
216. นายสุรเชษฐ์ ศรีเดือน 249. นางสาวยุพิน เรืองฤทธิ์
217. นายสุรพร ฉัตรศิขรินทร 250. นางสาวจามรี สุทธิพงษ์ชัย
218. นายสุรพันธ์ วงศ์พันธ์ 251. นายบัญชา มนูญกุลชัย
219. นายสุรวุฒิ พฤกษ์บํารุง 252. นางสาวกนกวรรณ เมฆโสภาวรรณกุล
220. นางสุรีย์พร ภูมี 253. นางสาวเขมวันต์ ศรีสวัสดิ์
221. นางสาวสุวิชา สัจจานิตย์ 254. นางสาวชัญญา พันธจารุนิธิ
222. นายสุวิทย์ ตุงควิจิตรวัฒน์ 255. นางชุติมา ตรีวิบูลย์วณิชย์
223. นางสาวเสมอใจ กิตติดุษฎีกุล 256. นายณพงศ์ธวัช โพธิกิจ
224. นายเสรี ธารชมพู 257. นายณรงค์ เลาหพิสิฐพาณิชย์
225. นางสาวโสภิตา สารศรี 258. นายณรงค์ ภาณุเดชทิพย์
226. นายองอาจ ตรีจรูญ 259. นายณัฐวุฒิ อติรัตน์
227. นายอดิศักดิ์ เสริฐศรี 260. นางณิชนาฏ ภูลสนอง
228. นางสาวอรทัย ธีรชัยธํารงกุล 261. นางสาวดาวินา คุณวิภูศิลกุล
229. นายอร่าม ภูลสนอง 262. นางทศชนก ลีลาวรรณกุลศิริ
230 นางสาวอโรรา อุนนะนันทน์ 263. นางธัญทิพย์ สรรพโชติวัฒน์
231. นายอัคนี ตั้งจิตเพิ่มความดี 264. นางสาวนันทวัลดิ์ ถิรธนาพงศ์
232. นางอังสนา ก่อเกียรติตระกูล 265. นางสาวเปรมจิต สมรัตนชัย
233. นางอัมพร แก้วประเสริฐ 266. นางสาวพนิตา ปิยะอุย
234. นางสาวอัมพร สุวิภานนท์ 267. นางพรสิริ รุ่งสิริโอภาส
235. นางสาวอัษฎาพร มัจฉวานิช 268. นางสาวเมธนี เหมริด
236. นางอุดมศรี ภาคโพธิ์ 269. นายรณภูมิ ไชยคุณา
237. นางอุบลศรี บุณยรัตพันธุ์ 270. นายรณรงค์ ขุนภาษี
238. นางอุไรวรรณ ศรีสุวรรณ 271. นางสาวรวิวรรณ์ ศิริเกษมทรัพย์
239. นางอุษา ภักดิ์วีไลเกียรติ 272. นางสาวรุ่งพร เริงพิทยา
240. นายเอกชัย เกตุแก้วมณีรัตน์ 273. นายวงศ์ทวี ธนานันท์
241. นายเอกวิทย์ ทศพลดําเกิง 274 นางสาววริศรา มั่นสกุล
242. นายเอกศิษฐ์ รังวัฒณเศรษฐ์ 275. นายวัชรกูร จิวากานนท์
243. นายโอภาส พิมพ์สวัสดิ์ 276. นางวันทนา บุญสร้อย
277. นางสาววารุณี กุลบ่าง 310. นางสาวอโนชา รอดชมภู
278. นางวิภาสา โฆสิตไพบูลย์ 311. นางสาวอริศรา ตั้งเทียมยา
279. นายวีรพล โสธรบุญ 312. นางสาวอัญชุลี ห่อสมบัติ
280. นางสาวศศินันท์ พันธุนะ 313. นางอัมพร สุนทรภูษิต
281. นางสาวสวิสา อริยปรัชญา 314. นายอัสรี หะยีมะสาและ
282. นางสาวสุกันยา สุพรรณขันธ์ 315. นางวรรณี พรสมบูรณ์ศิรี
283. นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ 316. นางสาวกุลเขมสรณ์ เจริญสุวรรณ
284. นางสุวัฒนา รักศิลธรรม 317. นางสาวกุลิสรา คุณธรรมดี
285. นายสุวิทย์ ต้นรุ่งเรือง 318. นายคงฤทธิ์ สงวนศักดิ์
286. นางเสาวลักษณ์ ตรีพจนีย์ 319. นางสาวจณัญญา เฉลิมวิวัฒน์กิจ
287. นางอรมนต์ จันทพันธ์ 320. นายจักรกริศน์ เหล่าจันอัน
288. นายอัครเดช ใช้ศรีทอง 321. นายชาตรี มณีสวัสดิ์
289. นางอัจฉรา ทรัพย์เมลือง 322. จ่าเอก เชิดชัย พุดน้อย
290. นายโอรส เพชรเจริญ 323. ว่าที่ร้อยตรี ดํารงศักดิ์ ณ ระนอง
291. นายกฤษดา ตรีเกษมมาศ 324. นางสาวดุจจินดา ชาญเดช
292. นางสาวเกศยา กมลสุขยืนยง 325 นางสาวนพมาศ นนท์พิสิฐ
293. นางสาวขจิตพรรณ สุขแสง 326. นางสาวนิธินทรา ดีประดับ
294. นางจารุวรรณ วิสารทานนท์ 327. นางสาวปณัฐวดี ยันตรกิจโกศล
295. นางซลธิซา พิระชัย 328. นายปัทมพงศ์ โล่ห์สุวรัตน์
296. นายชัชวิน คงเจริญ 329. นางสาวพนาพร ศุภรัชตการ
297. นางสาวทิพวรรณ ตีรถานนท์ 330. นางพัชรี สุนทรพินิจกิจ
298. นางนริศรา รวมศิริวัฒนกุล 331. นางสาวเพ็ญพิมล อรุณสุรัตน์
299. นางสาวปรณีย์ เต็มไตรเพท 332. นายไพโรจน์ รักเที่ยงธรรม
300. นายประภัศร์ ทีรฆฐิติ 333. นางภัสรา อัคคะสาระกุล
301. นางสาวพจมาน กังวานไกรไพศาล 334. นายมานิตย์ บุญเนรมิตร
302. นายพรศักดิ์ ผ่องศรีงามชัย 335. นางสาวยอดขวัญ เรือนแป้น
303. นางพัชรี คงโกมลสกุล 336. นางยุวนุช มหาเอก
304. นายพิภพ ภู่เพ็ง 337. นางสาวรดานุช โถสุวรรณจินดา
305. นายรุจิกุล อัคคะสาระกุล 338. ว่าที่ร้อยโท รุ่งเรือง โคกขุนทด
306. นายวิชัย จิตตปาลกุล 339. นางสาวศิริรัตน์ รัศมีทินกรกุล
307. นายวีรวัฒน์ อินทรประคอง 340. นางสาวศิวพร วงศ์สุนทร
308. นางสาวศันสนีย์ แก้วพรสวรรค์ 341. นายเศกสรร บัวทรัพย์
309. นางสาวสิร์ดาภัทร สุขอร่าม 342. นางสาวสมิตานันช์ พรหมพินิจ
343. นายสิทธิพัฒน์ ไตรพงษ์ 356. สิบโท นพดล แสงประเสริฐ
344. นายสิทธิศักดิ์ ภูรินทนาวุธ 357. นายนิคม เอื้อเกียรติกุล
345. นายสิริวัฒน์ แสงสุวรรณโต 358. นายพัชราวุฒ พรหมเอื้อ
346. นายอรุโณทัย วงศ์ศิริ 359. พันตํารวจตรี เมธา โคตร์สันเทียะ
347. นายอัคคพล ไทยจรรยา 360. นางสาวร่มเกล้า คําสงค์
348. นายอัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล 361. นางวันเพ็ญ ไชยผดุง
349. นางสาวอุดมการณ์ ชุมรุม 362. นางสลักเนตร ชาญอุไร
350 นางสาวอุบลวรรณ ยงรัตนกิจ 363. พันตํารวจตรี อานนท์ แก้วเขียว
351. นายกริชทอง เดชะปัญญา 364. นายเอกสิทธิ์ สุดแก้ว
352. นายจีระพงศ์ ตีระแพทย์ 365. นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน
353. นาวาตรี ชาญวิทย์ ประชาศรี 366. นายชาญชัย บุรถาวร
354. นายณัฐพล พิพิธรัตน์ 367 นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร
355. นายธีระชัย อินรุณ
6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2558
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,224 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2558
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 3/2558
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2558
-------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2558
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.2/14/58 | 20,000 | 23 มกราคม 2558 | 27/1/58 - 10/2/58 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม 2558
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,225 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4 /2558
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ดังนี้
| | | | | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุ คงเหลือ |
| 5/91/58 | - | 32,000 | 3 ก.พ. 58 | 5 ก.พ. 58 | 7 พ.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน |
| 5/182/58 | - | 32,000 | 3 ก.พ. 58 | 5 ก.พ. 58 | 6 ส.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/364/58 | - | 45,000 | 3 ก.พ. 58 | 5 ก.พ. 58 | 7 ม.ค. 59 | 364 วัน | 364 วัน |
| 6/91/58 | - | 32,000 | 10 ก.พ. 58 | 12 ก.พ. 58 | 14 พ.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน |
| 6/182/58 | - | 32,000 | 13 ก.พ. 58 | 12 ก.พ. 58 | 13 ส.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/FRB3ปี/2558 | 3M BIBOR - 0.10 | 10,000 | 17 ก.พ. 58 | 17 ก.พ. 58 | 17 ก.พ. 61 | 3 ปี | 3 ปี |
| 7/91/58 | - | 32,000 | 17 ก.พ. 58 | 19 ก.พ. 58 | 21 พ.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน |
| 7/182/58 | - | 32,000 | 19 ก.พ. 58 | 19 ก.พ. 58 | 20 ส.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน |
| 1/2ปี/2558 | จะกําหนดและประกาศในวันที่ 17 ก.พ. 58 | 40,000 | 24 ก.พ. 58 | 23 ก.พ. 58 | 23 ก.พ. 60 | 2 ปี | 2 ปี |
| 8/91/58 | - | 32,000 | 24 ก.พ. 58 | 26 ก.พ. 58 | 28 พ.ค. 58 | 91 วัน | 91 วัน |
| 8/182/58 | - | 32,000 | 3 ก.พ. 58 | 26 ก.พ. 58 | 27 ส.ค. 58 | 182 วัน | 182 วัน |
โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/FRB 3ปี/2558 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยงวดเริ่มต้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2558 | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 |
| การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 4 งวด |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 17 พฤษภาคม 17 สิงหาคม และ 17 พฤศจิกายน ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 |
| วันกําหนดอัตราดอกเบี้ยงวดต่อๆ ไป | 2 วันทําการก่อนเริ่มงวดการจ่ายดอกเบี้ย |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/2ปี/2558 มีรายละเอียด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(Coupon Rate) | ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกําหนดและประกาศในวันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 |
| การชําระดอกเบี้ย | แบ่งเป็นปีละ 2 งวด งวดละเท่า ๆ กัน |
| วันชําระดอกเบี้ย | วันที่ 23 กุมภาพันธ์ และ 23 สิงหาคม ของทุกปี |
| วันชําระดอกเบี้ยงวดแรก | วันที่ 23 สิงหาคม 2558 |
| วันครบกําหนดไถ่ถอน | วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นการไถ่ถอนครั้งเดียวเต็มตามจํานวนที่ออกและจะไม่มีการไถ่ถอนก่อนกําหนด |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม 2558
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,226 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 4/2558 เรื่อง ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2552 เรื่อง การทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลของสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 4 /2558
เรื่อง ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2552
เรื่อง การทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคลของสถาบันการเงิน
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
ตามที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2552 เรื่อง การทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคลของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 27 มกราคม 2552 มีสาระสําคัญเพื่อคุ้มครองสิทธิและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ําประกัน โดยกําหนดให้สถาบันการเงินต้องมีการระบุวงเงินของต้นเงินในสัญญาให้ชัดเจน หรือมิให้มีการทําข้อตกลงให้ผู้ค้ําประกันทําสัญญาค้ําประกันแบบไม่จํากัดจํานวน และเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ให้สถาบันการเงินมีหน้าที่ในการแจ้งให้ผู้ค้ําประกันทราบเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้ําประกันชําระหนี้แทนลูกหนี้นั้น เนื่องจากปัจจุบันได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับค้ําประกัน โดยมีหลักการและเจตนารมณ์เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ําประกัน ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเห็นสมควรยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 (3) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 1/2552 เรื่อง การทําสัญญาค้ําประกันด้วยบุคคลของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 27 มกราคม 2552
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,227 |
ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสั่งปิดชั่วคราวหรือการพักใช้ใบอนุญาตประกอบการของสถานประกอบการที่มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงยุติธรรม
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสั่งปิดชั่วคราวหรือการพักใช้ใบอนุญาตประกอบการ
ของสถานประกอบการที่มีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พ.ศ. 2558
---------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสั่งปิดชั่วคราวหรือการพักใช้ใบอนุญาตประกอบการของสถานประกอบการที่มีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 ตรี วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2543) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสั่งปิดชั่วคราวหรือการพักใช้ใบอนุญาตประกอบการของสถานประกอบการที่มีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
"สถานประกอบการ" หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจใด ๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2543) เรื่อง กําหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ
"คณะอนุกรรมการ" หมายความว่า คณะอนุกรรมการกลั่นกรองการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครหรือเขตจังหวัด แล้วแต่กรณีซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามประกาศนี้
ข้อ ๓ ในกรณีที่เจ้าพนักงานตรวจพบว่ามีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการใด ให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจัดทําบันทึกรายงานพร้อมความเห็นเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาภายในห้าวันนับแต่วันที่ตรวจพบ เว้นแต่ในกรณีจําเป็นเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานจัดทําบันทีกรายงานพร้อมความเห็นเสนอต่อเลขาธิการเพื่อพิจารณาภายในสามวันนับแต่วันที่ตรวจพบ
ข้อ ๔ เมื่อคณะอนุกรรมการได้รับบันทึกรายงานตามข้อ 3 ว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ หากคณะอนุกรรมการโดยมติเสียงข้างมากเห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ ให้คณะอนุกรรมการทํารายงานและความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาว่าควรมีคําสั่งปิดชั่วคราวหรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการของสถานประกอบการนั้นหรือไม่
ในกรณีที่คณะอนุกรรมการเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ให้คณะอนุกรรมการเรียกเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือหลักฐานอื่นใดเพื่อประกอบการพิจารณาอีกก็ได้
ในกรณีที่คณะอนุกรรมการได้ดําเนินการตามวรรคสองแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ให้คณะอนุกรรมการรายงานพร้อมความเห็นต่อเลขาธิการ ในการนี้ ถ้าเลขาธิการไม่เห็นด้วยกับคณะอนุกรรมการดังกล่าวแล้ว ให้เลขาธิการทํารายงานและความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาก็ได้
ข้อ ๕ เมื่อเลขาธิการได้รับรายงานและความเห็นตามข้อ ๆ หรือคณะกรรมการได้รับรายงานและความเห็นตามข้อ 4 แล้ว ให้คณะกรรมการหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี มีหนังสือเรียกให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการมาชี้แจงหรือพิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีโดยให้ส่งหนังสือดังกล่าวแก่เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการเป็นระยะเวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ทั้งนี้ เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการอาจมอบหมายเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นมาชี้แจงหรือพิสูจน์แทนก็ได้
การชี้แจงหรือพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําเป็นการลับเพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อสถานประกอบการหรือบุคคลภายนอก
ข้อ ๖ ในกรณีที่คณะกรรมการหรือเลขาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่าควรสั่งปิดชั่วคราวหรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการ ให้คณะกรรมการหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี ทําคําสั่งเป็นหนังสือ และแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการนั้นทราบโดยเร็ว
ในการแจ้งคําสั่งปิดชั่วคราวหรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการของคณะกรรมการหรือเลขาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานอนุกรรมการหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี เป็นผู้แจ้งคําสั่งสําหรับสถานประกอบการที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือเขตจังหวัดนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ ในการแจ้งคําสั่งปิดชั่วคราว หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการแก่เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการตามข้อ - วรรคสอง ให้ส่งหรือมอบแก่เจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับทราบคําสั่งนั้นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ เพราะเหตุที่ไม่พบเจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการหรือบุคคลดังกล่าวไม่ยอมรับคําสั่ง ให้ปิดคําสั่งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการ โดยให้เจ้าพนักงานพร้อมด้วยพยานอย่างน้อยสองคนปิดคําสั่งต่อหน้าเจ้าพนักงานตํารวจท้องที่ที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่และให้ทําบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการได้ทราบคําสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคําสั่ง
ข้อ ๘ ให้เลขาธิการแจ้งให้หน่วยงานที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถานประกอบการตามกฎหมายอื่นทราบภายในสามวันนับแต่วันที่คณะกรรมการหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี มีคําสั่งให้ปิดชั่วคราวหรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการ
เมื่อหน่วยงานที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถานประกอบการตามกฎหมายอื่นได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้หน่วยงานนั้นติดตามและตรวจสอบว่าเจ้าของหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบการได้ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการหรือเลขาธิการหรือไม่ หากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามให้หน่วยงานดังกล่าวแจ้งให้คณะกรรมการหรือเลขาธิการแล้วแต่กรณีทราบโดยเร็ว
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | 7,228 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 61/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 61 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2556
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนสิงหาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.33/14/56 | 40,000 | 16 สิงหาคม 2556 | 20/8/56 – 3/9/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,229 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดแบบเอกสารการขอรับเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
เรื่อง กําหนดแบบเอกสารการขอรับเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด
---------------------------------------
อื่นๆ - อาศัยอํานาจตามความในข้อ 32 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ. 2537 เลขาธิการ ป.ป.ส. จึงกําหนดแบบเอกสารเพื่อใช้ในการขอรับเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด ดังต่อไปนี้
1. ป.ป.ส. 6 - 21 แบบรับแจ้งความนําจับคดียาเสพติด เพื่อใช้ในการรับแจ้งความนําจับคดียาเสพติด ตามระเบียบ ฯ ข้อ 26 (2) และข้อ 27 (2)
2. ป.ป.ส. 6 - 22 แบบขอรับเงินสินบนคดียาเสพติด เพื่อใช้ในการขอรับเงินสินบนคดียาเสพติด ตามระเบียบ ฯ ข้อ 27 (4)
3. ป.ป.ส. 6 - 23 แบบขอรับเงินรางวัลคดียาเสพติด เพื่อใช้ในการขอรับเงินรางวัลคดียาเสพติด ตามระเบียบ ฯ ข้อ 26 (1) และข้อ 27 (1)
4. ป.ป.ส. 6 - 24 แบบแจ้งคําสั่งฟ้องของพนักงานอัยการหรือแจ้งผลคดีตามคําพิพากษา เพื่อใช้ในการแจ้งคําสั่งของพนักงานอัยการหรือแจ้งผลคดีตามคําพิพากษา ตามระเบียบ ฯ ข้อ 26 (3) และข้อ 27 (7)
5. ป.ป.ส. 6 - 25 แบบคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชั่งน้ําหนักยาเสพติดของกลาง เพื่อใช้ในการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบชั่งน้ําหนักยาเสพติดของกลาง ตามระเบียบ ฯ ข้อ 23 ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการ
6. ป.ป.ส. 5 - 26 แบบรายงานผลการตรวจสอบชั่งน้ําหนักยาเสพติดของกลาง เพื่อใช้ในการรายงานผลการตรวจสอบชั่งน้ําหนักยาเสพติดของกลางตามระเบียบ ฯ ข้อ 23 ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการ
7. ป.ป.ส. 6 - 27 แบบหนังสือมอบฉันทะรับเงินสินบนคดียาเสพติดเพื่อใช้ในการมอบฉันทะรับเงินสินบนคดียาเสพติด ตามระเบียบ ฯ ข้อ 27 (4)
8. ป.ป.ส. 6 - 28 แบบหนังสือมอบฉันทะรับเงินรางวัลคดียาเสพติดเพื่อใช้ในการมอบฉันทะรับเงินรางวัลคดียาเสพติด ตามระเบียบ ฯ ข้อ 27 (5)
9. ป.ป.ส. 6 - 29 แบบแนบหนังสือมอบฉันทะรับเงินรางวัลคดียาเสพติดเพื่อใช้ในการมอบฉันทะรับเงินรางวัลคดียาเสพติด ตามระเบียบ ฯ ข้อ 27 (4)
ให้ผู้แจ้งความนําจับและเจ้าพนักงานผู้จับกุมที่ประสงค์จะขอรับเงินสินบนเงินรางวัลปฏิบัติตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ตั้งแต่วันถัดจากระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ.2537 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
พลตํารวจเอก ชวลิต ยอดมณี
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด | 7,230 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2558
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 5 /2558
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2558
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2558
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.3/14/58 | 20,000 | 30 มกราคม 2558 | 3/2/58-17/2/58 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2558
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,231 |
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด มีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ | ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด
มีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่
-------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเพิ่มเติมวิธีการตรวจหาสารเสพติดจากเส้นผมในกรณีที่มีเหตุจําเป็น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและการนําตัวผู้เสพหรือผู้ติดเข้ารับการบําบัดรักษาอย่างเหมาะสม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
หมวด ๑ บททั่วไป
-------------
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
"การตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด " หมายความว่า การตรวจหรือทดสอบหาระดับหรือปริมาณของสารเสพติดอันเกิดจากการเสพยาเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
"ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ " หมายความว่า ผู้รับการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด
ข้อ ๔ การตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด ให้ตรวจหรือทดสอบจากปัสสาวะ หรือในกรณีจําเป็นเพื่อการตรวจสอบประวัติการเสพสารเสพติดย้อนหลังให้ตรวจหรือทดสอบจากเส้นผมโดยให้ปฏิบัติตามวิธีการตรวจหรือทดสอบของชุดน้ํายาตรวจสอบ อุปกรณ์หรือเครื่องมือแต่ละชนิดสําหรับการตรวจหรือทดสอบ แล้วแต่กรณี
เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด เจ้าพนักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเสพยาเสพติดเข้ารับการตรวจ หรือสั่งให้ไปรับการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าพนักงาน ภายในระยะเวลาและสถานที่ที่เจ้าพนักงานกําหนด
หมวด ๒ การตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ
---------------------------
ข้อ ๕ การเตรียมการในการตรวจหรือทดสอบให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีบริเวณสําหรับตัวผู้เข้ารับการตรวจหรือทดสอบ เพื่อดําเนินการตรวจหรือทดสอบหรือเก็บปัสสาวะภายในระยะเวลาเท่าที่จําเป็นแห่งกรณี เพื่อให้การตรวจหรือทดสอบหรือเก็บปัสสาวะเสร็จสิ้นไปโดยเรียบร้อยและเก็บไว้ในสถานที่มิดชิดจากบุคคลภายนอก
(2) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการตรวจหรือทดสอบเพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและทันเหตุกรณ์ โดยอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าพนักงาน
(3) จัดให้มีอุปกรณ์ในการเก็บปัสสาวะ โดยให้ใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกพร้อมฝาปิดขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร โดยขวดที่นํามาใช้ต้องสะอาดและแห้ง และให้มีฉลากและกระดาษกาว เพื่อใช้สําหรับปิดผนึกขวดตัวอย่างปัสสาวะด้วย
ข้อ ๖ วิธีเก็บปัสสาวะให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีผู้ควบคุมการถ่ายปัสสาวะของผู้รับการตรวจหรือทดสอบทุกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทําใด ๆ ที่ทําให้ปัสสาวะเกิดการเจือจาง เติมสารเพื่อปลอมปน หรือสับเปลี่ยนตัวอย่าง
(2) ให้บันทึกหมายเลขประจําขวด และชื่อ นามสกุล ของผู้รับการตรวจหรือทดสอบบนฉลากปิดขวดเก็บปัสสาวะ
(3) ให้ขวดแก่ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ นําไปถ่ายปัสสาวะจํานวนประมาณ 30 มิลลิลิตร
ข้อ ๗ วิธีการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเบื้องต้น ให้ถือปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือหรือชุดน้ํายาตรวจสอบ ดังต่อไปนี้
(1) ชุดน้ํายาตรวจหรือทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยให้ถือปฏิบัติตามคู่มือวิธีการตรวจสอบของชุดน้ํายาตรวจสอบของหน่วยงานนั้น
(2) ชุดตรวจหรือเครื่องมือตรวจสอบโดยวิธี immunoassay โดยให้ถือปฏิบัติตามคู่มือวิธีการตรวจสอบของชุดตรวจหรือเครื่องมือแต่ละชนิด
ข้อ ๘ ในกรณีที่ตรวจหรือทดสอบในเบื้องต้นตามข้อ 7 แล้วให้ผลบวก บุคคลนั้นอาจเป็นผู้เสพยาเสพติด ให้เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ จดบันทึกข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อนามสกุล ภูมิลําเนา หรือสถานที่อยู่ของผู้รับการตรวจหรือทดสอบที่สามารถจะเรียกตัวหรือออกหมายเรียกมาเพื่อดําเนินคดีได้เมื่อมีการตรวจสอบยืนยันผลตามข้อ 10 แล้วพบว่าเป็นผู้มีสารเสพติดในร่างกาย
ข้อ ๙ ในการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเบื้องต้นนั้น เมื่ออ่านผลแล้วปรากฎว่าให้ผลบวก ตามคู่มือวิธีการตรวจตามเครื่องมือหรือชุดน้ํายาตรวจสอบในข้อ 7 ให้ปิดเป็นความลับและให้เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าพนักงานที่ทําการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติด นําขวดปัสสาวะของผู้รับการตรวจหรือทดสอบนั้นปิดให้สนิท พร้อมทั้งผนึกปากขวดด้วยแถบกาวโดยมีลายมือชื่อของผู้ทําการตรวจหรือทดสอบกํากับไว้ และเมื่อดําเนินการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ผู้ทําการตรวจหรือทดสอบรีบส่งตัวอย่างปัสสาวะไปยังสถานตรวจพิสูจน์ตามคําสั่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กําหนดสถานตรวจพิสูจน์ โรงพยาบาลหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ เพื่อตรวจยืนยันผล
ข้อ ๑๐ เมื่อสถานตรวจพิสูจน์ โรงพยาบาลหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้รับขวดปัสสาวะตามข้อ 9 และได้ดําเนินการตรวจยืนยันแล้ว ให้ถือเกณฑ์การตัดสินผลการตรวจพิสูจน์ว่าเป็นผู้มีสารเสพติดอยู่ในร่างกาย ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamines) และกลุ่มเอ็กซ์ตาซี (Ecstasy- Group Substances) เมื่อตรวจพบว่ามีสารหรือเมตาบอไลต์ของสารในกลุ่มดังกล่าว อยู่ในปัสสาวะตั้งแต่ 1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป
(2) กลุ่มโอปิเอต (Opiates) ได้แก่ เฮโรอีน มอร์ฟิน และฝิ่น เมื่อตรวจพบว่ามีสารหรือเมตาบอไลต์ของสารในกลุ่มดังกล่าว อยู่ในปัสสาวะตั้งแต่ 300 นาโนกรัม/มิลลิลิตรขึ้นไป
(3) กลุ่มกัญชา (Cannabis)เมื่อตรวจพบว่ามีสารออกฤทธิ์หรือกัญชา (Cannabinoids) หรือเมตาบอไลต์ของกัญชาอยู่ในปัสสาวะ ตั้งแต่ 5- นโนกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป
(4) กลุ่มโคคาอีน (Cocaine)เมื่อตรวจพบว่ามีสารหรือเมตาบอไลต์ของโคคาอีน อยู่ในปัสสาวะตั้งแต่ 300 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป
(5) คีตามีน (Ketamine)เมื่อตรวจพบว่ามีสารและเมตาบอไลต์ของคีตามีนรวมกันอยู่ในปัสสาวะตั้งแต่ 1 ไมโครกรัม/มิลลิตร ขึ้นไป
หมวด ๓ การตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเส้นผม
----------------------
ข้อ ๑๑ ในกรณีมีการตรวจสอบประวัติเกี่ยวกับการเสพสารเสพติดย้อนหลังของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเสพยาเสพติด โดยเป็นกรณีจําเป็นและไม่อาจใช้กระบวนการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะได้ เพื่อความเป็นธรรมและประโยชน์ของกระบวนการยุติธรรม ให้เจ้าพนักงานสั่งให้ตรวจหาสารเสพติดในเส้นผม โดยให้ดําเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ หรือเจ้าหน้าที่จากสถานตรวจพิสูจน์ ซึ่งผ่านการอบรมการดําเนินการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเส้นผม
ข้อ ๑๒ การเตรียมการในการตรวจหรือทดสอบให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีบริเวณสําหรับตัวผู้เข้ารับการตรวจหรือทดสอบ เพื่อดําเนินการตรวจหรือทดสอบหรือเก็บเส้นผมภายในระยะเวลาเท่ที่จําเป็นแห่งกรณี เพื่อให้การเก็บตัวอย่างเส้นผมเสร็จสิ้นไปโดยเรียบร้อยและเก็บไว้ในสถานที่มิดชิดจากบุคคลภายนอก
(2) จัดให้มีเจ้าพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ หรือเจ้าหน้าที่จากสถานตรวจพิสูจน์ เป็นผู้ดําเนินการตัดและเก็บตัวอย่างเส้นผม และอาจกําหนดให้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการเก็บตัวอย่างเส้นผมเพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและทันเหตุการณ์โดยอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของเจ้าพนักงาน
(3) จัดให้มีอุปกรณ์สําหรับการตัดเส้นผม อุปกรณ์สําหรับการเก็บและรักษาเส้นผม และชองสําหรับการบรรจุตัวอย่างเส้นผม โดยอุปกรณ์ดังกล่าวต้องมีความสะอาด ถูกหลักอนามัย ปราศจากเชื้อโรคติดต่อ และใช้ซองบรรจุตัวอย่างเส้นผมซึ่งมีสัญลักษณ์หน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีแบบฟอร์มสําหรับกรอกข้อมูลหน้าซองบรรจุตัวอย่างเส้นผม
ข้อ ๑๓ วิธีเก็บเส้นผมให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีเจ้าพนักงานควบคุมการตัดเส้นผมของผู้รับการตรวจหรือทดสอบทุกครั้ง โดยให้เจ้าพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ หรือเจ้าหน้าที่จากสถานตรวจพิสูจน์เป็นผู้ตัดส้นผมในปริมาณและความยาวเท่าที่จําเป็นสําหรับการตรวจหาสารเสพติดในเส้นผม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมีให้มีการกระทําอันละเมิดสิทธิของประชาชน หรือที่อาจทําให้เกิดการสับเปลี่ยนตัวอย่างเส้นผม
(2) ให้เจ้าพนักงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ หรือเจ้าหน้าที่จากสถานตรวจพิสูจน์จดบันทึกหมายเลขตัวอย่างบนแบบฟอร์มหน้าซองบรรจุตัวอย่างเส้นผม และจดบันทึก ชื่อ นามสกุลภูมิลําเนา หรือสถานที่อยู่ของผู้รับการตรวจหรือทดสอบที่สามารถเรียกตัวได้บนซองบรรจุตัวอย่างเส้นผม
(3) เมื่อตัดตัวอย่างเส้นผมแล้ว ให้เจ้าพนักงานร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์หรือเจ้าหน้าที่จากสถานตรวจพิสูจน์ เป็นผู้เก็บตัวอย่างเส้นผมบรรจุใส่ซองบรรจุ และปิดผนึกซองด้วยเทปกาว ผนึกซองให้มิดชิด ลงลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมดําเนินการ และให้เจ้าพนักงานที่กํากับดูแลบันทึกบนหน้าซองเก็บตัวอย่างเส้นผมว่าเป็นการตรวจในพื้นที่ใด และนําตัวอย่างเส้นผมดังกล่าวส่งไปตรวจพิสูจน์ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ หรือสถานตรวจพิสูจน์ตามคําสั่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือโรงพยาบาลหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ ต่อไป
ข้อ ๑๔ วิธีการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเส้นผม ให้ถือปฏิบัติตามคู่มือวิธีการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเส้นผมของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ หรือคู่มือวิธีการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเส้นผมของสถานตรวจพิสูจน์ หรือคู่มือวิธีการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในเส้นผมของโรงพยาบาลหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์สําหรับการตรวจหรือทดสอบสารเสพติดในเส้นผม เพื่อตรวจพิสูจน์ว่าเป็นผู้มีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่
ข้อ ๑๕ เมื่อสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ หรือสถานตรวจพิสูจน์ หรือโรงพยาบาลหรือมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้ดําเนินการตรวจพิสูจน์และออกรายงานผลการตรวจพิสูจน์จากห้องปฏิบัติการแล้วให้ถือเกณฑ์การตัดสินผลการตรวจพิสูจน์ว่าเป็นผู้มีสารเสพติดในร่างกาย ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamines) และกลุ่มเอ็กซ์ตาซี (Ecstasy – Group Substances) เมื่อตรวจพบว่ามีสารหรือเมตาบอไลต์ของสารในกลุ่มดังกล่าวอยู่ในเส้ นผมตั้งแต่ 0.2 นาโนกรัม/มิลลิกรัม ขึ้นไป
(2) กลุ่มโอปีเอต (Opiates) ได้แก่ เฮโรอีน มอร์ฟิน และฝิ่น เมื่อตรวจพบว่ามีสารหรือเมตาบอไลต์ของสารในกลุ่มดังกล่าวอยู่ในเส้นผมตั้งแต่ .2 นาโนกรัม/มิลลิกรัม ขึ้นไป
(3) กัญชา (Cannabis) เมื่อตรวจพบว่ามีสารเตตรา ไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydro-cannabinol (THC) อยู่ในเส้นผม ตั้งแต่ 0..5 นาโนกรัม/มิลลิกรัม ขึ้นไป และตรวจพบว่ามีสารเมตาบอไลต์ของกัญชา ได้แก่ 11-นอร์-เดลต้า-เตตรา-ไฮโดรแคนนาบินอล คาร์บอกชิลิคแอชิด (11-Nor--THC-COOH) อยู่ในเส้นผมตั้งแต่ 0.0002 นาโนกรัม/มิลลิกรัม ขึ้นไป
(4) กลุ่มโคคาอีน (Cocaine) เมื่อตรวจพบว่ามีโคคาอีน อยู่ในเส้นผมตั้งแต่ 0.5 นาโนกรัม/มิลลิกรัม ขึ้นไป หรือเมตาบอไลต์ของโคคาอีน อยู่ในเส้นผมตั้งแต่ 0.05 นาโนกรัม/มิลลิกรัม ขึ้นไป
(5) คีตามีน (Ketamine) เมื่อตรวจพบว่ามีคีตามีนอยู่ในเส้นผมตั้งแต่ 0.5 นาโนกรัม/มิลลิกรัม หรือเมตาบอไลต์ของคีตามีน อยู่ในเส้นผมตั้งแต่ 0.1 นาโนกรัม/มิลลิกรัม ขึ้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด | 7,232 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 5/2558 เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3)
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 5 /2558
เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3)
-----------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อรองรับการให้สถาบันผู้ส่งคําสั่งสามารถส่งคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายได้ล่วงหน้าและรองรับการส่งคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายในกรณีเกิดเหตุขัดข้องที่ทําให้สถาบันผู้ส่งคําสั่งไม่สามารถส่งคําสั่งดังกล่าวเข้าระบบชําระดุลกลางได้ตามปกติ
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 1 (8) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต
อื่นๆ - 3. แก้ไข
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2551 เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย ลงวันที่ 12 กันยายน 2551 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2556 เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายผ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 29 มีนาคม 2556
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ให้ใช้บังคับกับผู้ใช้บริการบาทเนตที่เป็นสถาบันผู้ส่งคําสั่ง และสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2551 เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย ลงวันที่ 12 กันยายน 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2551 เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย ลงวันที่ 12 กันยายน 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 10 สถาบันผู้ส่งคําสั่งต้องส่งคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ตามรูปแบบและกําหนดเวลาที่แจ้งในหนังสือแจ้งรายละเอียดธุรกรรมการชําระเงินตามข้อ 4 (3)
(2) สามารถส่งคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายมาไว้ในระบบชําระดุลกลางได้ล่วงหน้า โดยอยู่ในช่วงเวลาตามที่ ธปท. กําหนด
(3) ในกรณีเกิดเหตุขัดข้องซึ่งทําให้ไม่สามารถส่งคําสั่งโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายเข้าระบบชําระดุลกลางได้ ให้ส่งคําสั่งดังกล่าวให้ รปท. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ธปท. กําหนด"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบหนังสือมอบอํานาจการใช้บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายที่แนบท้ายประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2556 เรื่อง บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 29 มีนาคม 2556 และให้ใช้แบบหนังสือมอบอํานาจการใช้บริการโอนเงินพร้อมกันหลายฝ่ายที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2558
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,233 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 62/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 62 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนสิงหาคม 2556
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนสิงหาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน (ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.34/14/56 | 40,000 | 23 สิงหาคม 2556 | 27/8/56 – 10/9/56 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,234 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 6 /2558
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558
------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือน กุมภาพันธ์ 2558
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ (วัน) |
| พ.4/14/58 | 25,000 | 6 กุมภาพันธ์ 2558 | 10/2/58 - 24/2/58 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,235 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 63/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 63/2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2556
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 อายุ 3 ปี สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.59769 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2556)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,236 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 1/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2557 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 1/2557
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2557
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2557
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.1/14/57 | 30,000 | 10 มกราคม 2557 | 14/1/57 – 28/1/57 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2557
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม 2557
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,237 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6/2558 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนาม ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 6 /2558
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550 และตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในใบพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางภรวดี ตาปสนันทน์ 2. นางสาวประภาภรณ์ ถนอมวงศ์ทัย
3. นางวิภา ผดุงชีวิต 4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน 6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน
7. นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน 8. นางสุธาศินี นิมิตกุล
9. นางศรีสกุล รังสิกุล 10. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ
11. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์ 12. นายชาญชัย บุรถาวร
13. นายสมชาย เลิศลาภวศิน 14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
15. นายชนัช เทียมมณีเนตร 16. นายธีรเมธ พุทธนารัตน์
17. นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ 18. นายสัญญา จันทวดี
19. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา 20. นายเอนก อิงวิยะ
21. นายประจวบ เกลี้ยงเกิด
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2558
(นายวิรไท สันติประภพ)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,238 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 64/2556 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 64 /2556
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2556
---------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2556 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 26 สิงหาคม 2556 เท่ากับร้อยละ 2.49769 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2556 ลบร้อยละ 0.1)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,239 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 65/2556 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 65 /2556
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2556
-----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2556
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประจําเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ดังนี้
| รุ่นที่ | อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว(ร้อยละต่อปี) | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน | วันครบกําหนด | ประเภทอายุ | อายุคงเหลือ |
| --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- |
| 35/92/56 | - | 28,000 | 3 ก.ย. 56 | 5 ก.ย. 56 | 6 ธ.ค. 56 | 92 วัน | 92 วัน |
| 35/182/56 | - | 28,000 | 3 ก.ย. 56 | 5 ก.ย. 56 | 6 มี.ค. 57 | 182 วัน | 182 วัน |
| 36/91/56 | - | 28,000 | 10 ก.ย. 56 | 12 ก.ย. 56 | 12 ธ.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 36/182/56 | - | 28,000 | 10 ก.ย. 56 | 12 ก.ย. 56 | 13 มี.ค. 57 | 182 วัน | 182 วัน |
| 3/364/56 | - | 35,000 | 10 ก.ย. 56 | 12 ก.ย. 56 | 3 ก.ค. 57 | 364 วัน | 294 วัน |
| 37/91/56 | - | 28,000 | 17 ก.ย. 56 | 19 ก.ย. 56 | 19 ธ.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 37/182/56 | - | 28,000 | 17 ก.ย. 56 | 19 ก.ย. 56 | 20 มี.ค. 57 | 182 วัน | 182 วัน |
| 2/3ปี/2556 | 3.05 | 30,000 | 19 ก.ย. 56 | 23 ก.ย. 56 | 23 ก.ค. 59 | 3 ปี | 2.83 ปี |
| 38/91/56 | - | 28,000 | 24 ก.ย. 56 | 26 ก.ย. 56 | 26 ธ.ค. 56 | 91 วัน | 91 วัน |
| 38/182/56 | - | 28,000 | 24 ก.ย. 56 | 26 ก.ย. 56 | 27 มี.ค. 57 | 182 วัน | 182 วัน |
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 ธปท. จะยกเลิกการประมูลพันธบัตร ธปท. อายุ 1 เดือนเพื่อให้สอดรับกับการที่กระทรวงการคลังจะเริ่มประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 1 เดือนในเดือนกันยายน 2556 เป็นต้นไป
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2556
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2556
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,240 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 2/2557 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 2 /2557
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
-------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางภรวดี ตาปสนันทน์
2. นางสาวประภาภรณ์ ถนอมวงศ์ทัย
3. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน
6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน
7. นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์
8. นายสัญญา จันทวดี
9. นายอนันต์ อิงวิยะ
10. นายภูวดล เหล่าแก้ว
11. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา
12. นายพิชิต ภัทรวิมลพร
13. นายธเนศชัย อังวราวงศ์
14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
15. นายชนัช เทียมมณีเนตร
16. นายชุติมา ไชยบุตร
17. นายสมศักดิ์ วงศ์ปัญญาถาวร
18. นายชาญชัย บุรถาวร
19. นางศรีสกุล รังสิกุล
20. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ
21. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์
อื่นๆ - 4.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม 2557
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,241 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7/2558 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558สำหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 7 /2558
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558
สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี รุ่นที่ 1/FRB 3 ปี/2558 สําหรับงวดเริ่มต้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 เท่ากับร้อยละ 2.07500 ต่อปี (เท่ากับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ (BIBOR) ระยะ 3 เดือน ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ลบร้อยละ 0.1)
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,242 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 3/2557 เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจำเดือนมกราคม ปี 2557 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 3 /2557
เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2557
---------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2557
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 5.2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ อายุ 3 ปี ประจําเดือนมกราคม ปี 2557 (รุ่นที่ 1/3ปี/2557) โดยจะกําหนดและประกาศอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในวันที่ 14 มกราคม 2557 นั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1/3ปี/2557 ที่จะประมูลในวันที่ 16 มกราคม 2557 เท่ากับร้อยละ 2.80 ต่อปี
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2557
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม 2557
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน | 7,243 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 3/2557 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 3 /2557
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 14 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 14 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2550
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางภรวดี ตาปสนันทน์
2. นางสาวประภาภรณ์ ถนอนวงศ์ทัย
3. นางสาวอัญชลี รัตนรังสรรค์
4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน
6. นางแก้วกัลยา อุทัยธีระโกเมน
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม 2557
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,244 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 4/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2557 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 4/2557
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2557
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2557
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.2/14/57 | 30,000 | 17 มกราคม 2557 | 21/1/57 – 4/2/57 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2557
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม 2557
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,245 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 4/2557 เรื่อง บริการการเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS เพื่อการชำระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 4 /2557
เรื่อง บริการการเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS
เพื่อการชําระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
----------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อรองรับบริการการเชื่อมโยงระหว่างระบบบาทเนตของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กับระบบ USD CHATS ของธนาคารกลางฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority : HKMA) ซึ่งพัฒนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินรองรับการชําระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Settlement) ที่เป็นสกุลเงินบาท (THB) และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD) ให้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน (Payment versus Payment : PVP) ซึ่งจะลดความเสี่ยงของการชําระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Settlement Risk) ที่เกิดจากการได้รับชําระสกุลเงินที่ทําการซื้อขายในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
โดยที่บริการดังกล่าวเป็นบริการอีกประเภทหนึ่งของระบบบาทเนต ประกาศฉบับนี้ จึงเป็นการกําหนดรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่ระบุไว้ในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 1 (8) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต ธปท. ได้กําหนดให้บริการการเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS (PvP USD CHATS) เป็นบริการอีกประเภทหนึ่งของระบบบาทเนต
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ใช้บริการบาทเนตที่ประสงค์จะใช้บริการการเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS เพื่อการชําระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
อื่นๆ - 4. นิยาม
ในประกาศนี้
"ธปท." หมายถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย
"ดอลลาร์" หมายถึง เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
"CCPMP" (Cross Currency Payment Matching Processor) หมายถึง ซอฟต์แวร์ของธนาคารกลางฮ่องกง ที่ทําการจับคู่คําสั่งโอนเงิน PVP USD CI IATS สกุลเงินบาทกับคําสั่งโอนเงิน PVP USD CHATS สกุลเงินดอลลาร์
"ระบบ USD CHATS" (US Dollar Clearing House Automated Transfer System) หมายถึง ระบบการชําระเงินของธนาคารกลางฮ่องกง ที่มีการโอนเงินและรับเงินเป็นเงินสกุลดอลลาร์ แบบ Real Time Gross Settlement (RTGS)
"PVP USD CHATS" หมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS เพื่อให้การชําระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินบาทและสกุลเงินดอลลาร์ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน (PvP) ด้วยการดําเนินการผ่าน CCPMP
"สถาบันผู้สั่งโอนเงินบาท" หมายถึง ผู้ใช้บริการบาทเนตที่สั่งโอนหรือจ่ายเงินบาทในระบบบาทเนต เพื่อธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือบริการอื่นตามที่ ธปท. กําหนด
"สถาบันผู้รับโอนเงินบาท" หมายถึง ผู้ใช้บริการบาทเนตที่รับโอนเงินบาทในระบบบาทเนต เพื่อธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศหรือบริการอื่นตามที่ ธปท. กําหนด
"ธนาคารตัวแทนต่างประเทศ" (Correspondent Bank หมายถึง ธนาคารในต่างประเทศที่ผู้ใช้บริการบาทเนตแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการรับหรือจ่ายเงินสกุลต่างประเทศสําหรับธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ หรือบริการอื่นตามที่ตกลง
"สถาบันผู้สั่งโอนเงินดอลลาร์" หมายถึง ธนาคารตัวแทนต่างประเทศที่เป็นสมาชิกในระบบ USD CHATS ประเภท Direct Participants (DP) ของสถาบันผู้รับโอนเงินบาทซึ่งจะโอนหรือจ่ายเงินดอลลาร์ในระบบ USD CHATS ตามคําสั่งที่ได้รับแจ้งจากสถาบันผู้รับโอนเงินบาท ตามวิธีการและรายละเอียดที่ตกลงกันระหว่างสถาบัน
"สถาบันผู้รับโอนเงินดอลลาร์" หมายถึง ธนาคารตัวแทนต่างประเทศที่เป็นสมาชิกในระบบ USD CHATS ประเภท Direct Participants (DP) ของสถาบันผู้สั่งโอนเงินบาท ซึ่งจะรับโอนเงินดอลลาร์ในระบบ USD CHATS แทนสถาบันผู้สั่งโอนเงินบาท ตามวิธีการและรายละเอียดที่ตกลงกันระหว่างสถาบัน
"คําสั่งโอนเงิน PVP USD CHATS สกุลเงินบาท" หมายถึง คําสั่งโอนเงินในระบบบาทเนต
สําหรับธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ที่สถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทสั่งโอนหรือ จ่ายเงินบาทให้กับสถาบันผู้รับโอนเงินบาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธปท. กําหนด
"คําสั่งโอนเงิน PVP USD CHATS สกุลเงินดอลลาร์" หมายถึง คําสั่งโอนเงินในระบบ USD CHATS สําหรับธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่สถาบันผู้สั่งโอนเงินดอลลาร์สั่งโอนหรือจ่ายเงินดอลลาร์ให้กับสถาบันผู้รับโอนเงินดอลลาร์
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 ผู้ใช้บริการบาทเนตที่ประสงค์จะใช้บริการ PVP USD CHATS ต้องดําเนินการ ดังนี้
5.1.1 แต่งตั้งธนาคารตัวแทนต่างประเทศที่เป็นสมาชิกในระบบ USD CHATS ประเภท Direct Participants (DP) เพื่อทําหน้าที่เป็นตัวแทนในการรับหรือจ่ายเงินดอลลาร์ในฮ่องกง รวมถึงดําเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ตกลงกับธนาคารตัวแทนต่างประเทศ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝาก เป็นต้น
5.1.2 มีหนังสือแจ้งการใช้บริการ มาที่ ชปท. ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้พร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคารตัวแทนต่างประเทศที่แต่งตั้งเรียบร้อยแล้ว ตามข้อ 5.1.1 รวมถึงแจ้งให้ ธูปท. ทราบหากมีการเปลี่ยนแปลงธนาคารตัวแทนต่างประเทศ
5.2 เมื่อสถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทส่งคําสั่งโอนเงิน PvP USD CHATS สกุลเงินบาทผ่านระบบบาทเนตแล้ว ขั้นตอนการดําเนินการต่อไปมีดังนี้
5.2.1 ระบบบาทเนตตรวจสอบความสมบูรณ์ของคําสั่งโอนเงิน PVP USD CHATS สกุลเงินบาท ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และภายในเวลาที่ ธปท. กําหนด
5.2.2 CCPMP จับคู่คําสั่งโอนเงิน PvP USD CHATS สกุลเงินบาทกับคําสั่งโอนเงิน PvP USD CHATS สกุลเงินดอลลาร์ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนด
5.2.3 เมื่อ CCPMP สามารถจับคู่คําสั่งตามข้อ 5.2.2 ได้แล้ว หากเงินในบัญชีที่เกี่ยวข้องมีเพียงพอตามจํานวนที่ระบุไว้ในคําสั่งโอนเงิน ระบบบาทเนตจะกันเงินสกุลบาทและระบบ USD CHATS จะกันเงินสกุลดอลลาร์
สําหรับคําสั่งโอนเงินที่ส่งมาล่วงหน้า (Forward Transaction) เมื่อ CCPMP จับคู่คําสั่งได้แล้วจะทําการบันทึกไว้ในระบบ และจะกันเงินในวันที่รายการมีผล (Value Date)
5.2.4 เมื่อกันเงินตามข้อ 5.2.3 ได้สําเร็จแล้วระบบจะดําเนินการ ดังต่อไปนี้
ก. ระบบบาทเนตจะหักเงินบาทจากบัญชีของสถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทและนําเงินบาทเข้าบัญชีของสถาบันผู้รับโอนเงินบาท และ
ข. ระบบ USD CHATS จะหักเงินดอลลาร์จากบัญชีของสถาบันผู้สั่งโอนเงินระบบดอลลาร์ และนําเงินดอลลาร์เข้าบัญชีของสถาบันผู้รับโอนเงินดอลลาร์
เมื่อดําเนินการดังกล่าวข้างต้นสําเร็จแล้ว ให้ถือว่าคําสั่งโอนเงิน PvP USD CHATS สกุลเงินบาท มีผลสมบูรณ์ สถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทและสถาบันผู้รับโอนเงินบาทจะเพิกถอนการโอนเงินไม่ได้
สถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทจะได้รับเอกสารการเดบิตบัญชีและสถาบันผู้รับโอนเงินบาทจะได้รับเอกสารการเครดิตบัญชีโดยวิธีตามข้อ 37 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริการบาทเนต
5.3 คําสั่งโอนเงิน PvP USD CHATS สกุลเงินบาทที่ระบบยังไม่สามารถกันเงินได้ทั้งสองสกุล สถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทสามารถขอยกเลิกคําสั่งโอนเงินดังกล่าวได้ หากได้รับความยินยอมจากสถาบันผู้รับโอนเงินบาท โดยสามารถดําเนินการตามวิธีการที่ระบุไว้ในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต
5.4 คําสั่งโอนเงิน PVP USD CHATS สกุลเงินบาทไม่สมบูรณ์ เมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
5.4.1 เป็นคําสั่งโอนเงิน PvP USD CHATS สกุลเงินบาทที่มีลักษณะดังนี้
ก. ไม่สามารถจับคู่คําสั่งได้ หรือ
ข. จับคู่คําสั่งได้แต่มีเงินในบัญชีไม่เพียงพอ หรือ
ค. สามารถกันเงินของสถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทได้ แต่ไม่ได้รับคําสั่งแจ้งการกันเงินของสถาบันผู้สั่งโอนเงินดอลลาร์สําเร็จจากระบบ USD CHATS
คําสั่งที่ไม่สมบูรณ์ข้างต้นจะถูกบันทึกไว้ในระบบบาทเนต เพื่อรอดําเนินการเมื่อมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขครบถ้วน ตามที่ ธปท. กําหนด
5.1.2 ธปท. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของคําสั่งโอนเงิน PYP USD CHATS สกุลเงินบาท แล้วพบว่าไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและเวลาที่ ธปท. กําหนด
5.4.3 ระบบบาทเนตได้รับคําสั่งปฏิเสธการโอนเงินจากระบบ USU CHAIS
5.4.4 มีเหตุอื่นที่ทําให้ไม่สามารถโอนเงินได้
คําสั่งที่มีเหตุตามข้อ 5.4.2 - 5.4.4 สถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทจะได้รับเอกสารปฏิเสธการโอนเงินจากระบบหรือเรียกดูข้อมูลการปฏิเสธได้ ตามวิธีการที่ระบุในข้อ 37 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต
5.5 ในวันที่รายการมีผล (Value Date) คําสั่งโอนเงิน PVP USD CHATS สกุลเงินบาทที่มีสถานะไม่สมบูรณ์ และคงค้างอยู่ในระบบจนถึงเวลาปิดการเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS สถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทจะได้รับเอกสารปฏิเสธการโอนเงินหรือเรียกดูข้อมูลการปฏิเสธได้ตามวิธีการที่ระบุในข้อ 37 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต
5.6 สถาบันผู้สั่งโอนเงินบาท และสถาบันผู้รับโอนเงินบาทมีหน้าที่ตรวจสอบและติดตามสถานะรายการของคําสั่งโอนเงิน PVP USD CHATS สกุลเงินบาท และคําสั่งโอนเงิน PVP USD CHATS สกุลเงินดอลลาร์ โดยสถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทจะต้องดําเนินการให้มีเงินบาทในบัญชีเพียงพอ และสถาบันผู้รับโอนเงินบาทจะต้องติดตามการจ่ายเงินดอลลาร์ให้สามารถดําเนินการตามเวลาที่กําหนด รวมถึงจัดการและประสานงานให้คําสั่งดังกล่าวสามารถดําเนินการได้จนสําเร็จลุล่วง
5.7 ในช่วงต้นวันหรือระหว่างวัน หากมีเหตุขัดข้องที่ทําให้ ธปท. ไม่สามารถให้บริการ PVP USD CHATS ได้ จนถึงเวลา 14.00 น. ธปท. จะปิดการเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS สําหรับวันนั้น โดยสถาบันผู้สั่งโอนเงินบาทและสถาบันผู้รับโอนเงินบาทสามารถตรวจสอบและติดตามสถานะคําสั่งตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กําหนดในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริการบาทเนต
5.8 ธปท.กําหนดเวลาการให้บริการการเชื่อมโยงระบบบาทเนตกับระบบ USD CHATS ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| เวลา | การดําเนินงานในระบบบาทเนต |
| 9.00 น. | เปิดการเชื่อมโยงกับระบบ USD CHATS และเปิดรับคําสั่งโอนเงิน PVP USD CHATS |
| 16.00 น. | ปิดรับคําสั่งโอนเงิน PvP USD CHATS |
| 16.30 น. | ปิดการเชื่อมโยงกับระบบ USD CHATS |
อื่นๆ - 6. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2557
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,246 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 7/2557 เรื่อง วิธีการดำรงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชำระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 7 /2557
เรื่อง วิธีการดํารงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิ
พร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต
-----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดํารงตราสารหนี้ตามมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 1 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 12 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและสถาบันผู้ให้หลักประกันตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
ข้อ 1 การคํานวณฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินแต่ละสถาบัน ให้ใช้หลักการของวิธีช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 99 ซึ่งคํานวณจากค่าเฉลี่ยลบด้วย 2.6 คูณด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีสูตรการคํานวณ คือ ฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น = μ - 2.6 x σ
ค่าเฉลี่ย (μ) หมายความว่า ค่าเฉลี่ยของดุลสุทธิรายวันในช่วง 12 เดือนก่อนหน้าวันที่ต้องเริ่มดํารง 1 เดือน
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) หมายความว่า ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของดุลสุทธิรายวันในช่วง 12 เดือนก่อนหน้าวันที่ต้องเริ่มดํารง 1 เดือน
ในกรณีที่ฐานะขาดดุลสูงสุดที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีค่ามากกว่ายอดขาดดุลสุทธิรายวันที่สูงที่สุดในช่วง 12 เดือนสําหรับการคํานวณนั้น ธปท. จะใช้ยอดขาดดุลสุทธิรายวันที่สูงที่สุดดังกล่าวเป็นฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินแทนค่าที่ได้จากการคํานวณ
ในกรณีสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินไม่มีข้อมูลดุลสุทธิรายวันในช่วง 12 เดือนก่อนหน้าวันที่ต้องเริ่มดํารง 1 เดือน ให้สถาบันดังกล่าวประเมินฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นของตนเองและเสนอ ธปท. พิจารณากําหนดเป็นฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นของสถาบันนั้น ทั้งนี้ หากปรากฎในภายหลังว่ายอดขาดดุลของดุลสุทธิรายวันสูงกว่าฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดังกล่าว ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะปรับเพิ่มฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินนั้น ตามที่เห็นสมควร
ข้อ 2 ธปท. จะกําหนดฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเป็นงวดรายครึ่งปี โดย ธปท. จะแจ้งให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันแรกของงวดครึ่งปีที่ต้องเริ่มดํารงตราสารหนี้ผ่านบริการ EFS
ทั้งนี้ งวดครึ่งปีแรกให้เริ่มตั้งแต่วันทําการแรกของเดือนมกราคมไปจนถึงวันทําการสุดท้ายของเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน ส่วนงวดครึ่งปีหลังให้เริ่มตั้งแต่วันทําการแรกของเดือนกรกฎาคมไปจนถึงวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน เว้นแต่การดํารงตราสารหนี้ครั้งแรก ให้ดํารงตั้งแต่วันที่ตกลงกับ ธปท. ไปจนถึงวันทําการสุดท้ายของงวดครึ่งปีแรกหรืองวดครึ่งปีหลังแล้วแต่กรณี
ข้อ 3 ธปท. จะคํานวณมูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินดํารง โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยราคาตราสารหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อในการซื้อขายตราสารหนี้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน ซึ่งออกตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตราสารหนี้โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน
ข้อ 4 ธปท. กําหนดเกณฑ์ขั้นต่ําในการดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิเพื่อตนเองของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินตามข้อ 8 และของสถาบันผู้ให้หลักประกันตามข้อ 9 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต เท่ากับร้อยละ 50 ของฐานะขาดดุลสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้น
ข้อ 5 ให้สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินซึ่งใช้บริการจากสถาบันผู้ให้หลักประกัน แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการดังกล่าวให้ ธปท. ทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือและลงนามโดยผู้มีอํานาจลงนามตามหนังสือมอบอํานาจไม่น้อยกว่า 5 วันทําการก่อนวันที่เริ่มใช้บริการหรือก่อนวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเว้นแต่จะมีเหตุที่ ธปท. เห็นสมควรให้ต้องเริ่มวันที่มีผลก่อนวันที่กล่าวข้างต้น โดยข้อมูลและเอกสารที่ต้องแจ้งและนําส่ง ธปท. ประกอบด้วย
(1) ชื่อสถาบันผู้ให้หลักประกัน
(2) มูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่สถาบันผู้ให้
(3) สําเนาสัญญาข้อตกลงใช้บริการ และระยะเวลาที่ใช้บริการ
(4) ข้อตกลงอื่น ๆ ระหว่างสถาบันของตนกับสถาบันผู้ให้หลักประกัน
อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2557
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,247 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรบ. 5/2557 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจลงนามในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรบ. 5/2557
เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้มีอํานาจลงนาม
ในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย
----------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อแต่งตั้งพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามที่ปรากฏ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 10 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 57/2554 ว่าด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2554
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ประกาศแต่งตั้งให้พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ดังรายนามต่อไปนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกํากับในพันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ทดแทนประกาศที่ได้เคยประกาศก่อนหน้านี้
1. นางภรวดี ตาปสนันทน์
2. นางสาวประภาภรณ์ ถนอมวงศ์ทัย
3. นางวิภา ผดุงชีวิต
4. นางพรวิมล เหรียญมหาสาร
5. นายอัครเดช ดาวเงิน
6. นางแก้วกัลยา อุท้ยธีระโกเมน
7. นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร
8. นายสัญญา จันทวดี
9. นายอนันต์ อิงวิยะ
10. นายภูวดล เหล่าแก้ว
11. นายวีระวุฒิ โภคาวัฒนา
12. นายชาญชัย บุรถาวร
13. นายธเนศชัย อังวราวงศ์
14. นางทัศนีย์ ตั้งพัฒนาศิริ
15. นายชนัช เทียมมณีเนตร
16. นายสิงห์ชัย บุณยโยธิน
17. นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์
18. นางศรีสกุล รังสิกุล
19. นางประไพพรรณ เชื้อสุวรรณ
20. นายองอาจ สุขุมาลวรรณ์
21. นายธีรเมธ พุทธนารัตน์
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ลําดับที่ 1 – 20 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557
ลําดับที่ 21 ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2557
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2557
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,248 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 8/2558 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนกุมภาพันธ์ 2558
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 8 /2558
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558
---------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือน กุมภาพันธ์ 2558
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.5/14/58 | 35,000 | 13 กุมภาพันธ์ 2558 | 17/2/58-3/3/58 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,249 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 5/2557 เรื่อง กำหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วันในเดือนมกราคม 2557 | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สกง. 5/2557
เรื่อง กําหนดการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน
ในเดือนมกราคม 2557
------------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ในเดือนมกราคม 2557
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 2 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกง. 2/2550 ว่าด้วยการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
อื่นๆ - 3. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแผนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
| | | | | |
| --- | --- | --- | --- | --- |
| รุ่นที่ | วงเงิน(ล้านบาท) | ประมูลวันที่ | วันที่ชําระเงิน - วันครบกําหนด | อายุ(วัน) |
| พ.3/14/57 | 30,000 | 24 มกราคม 2557 | 28/1/57 – 11/2/57 | 14 |
อื่นๆ - 4. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2557
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม 2557
(นางจันทวรรณ สุจริตกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,250 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. 8/2557 เรื่อง การติดตาม การตรวจสอบการดำรงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระดุลสุทธิและการคิดค่าปรับ
| ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สรข. 8 /2557
เรื่อง การติดตาม การตรวจสอบการดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ
และการคิดค่าปรับ
---------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการติดตามและตรวจสอบการดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ รวมทั้งการคิดค่าปรับในกรณีที่สถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและสถาบันผู้ให้หลักประกันดํารงตราสารหนี้ดังกล่าวไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กําหนด
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
เพื่ออนุวัติตามข้อ 10 ข้อ 25 และข้อ 26 แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต
อื่นๆ - 3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและสถาบันผู้ให้หลักประกันตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต
อื่นๆ - 4. เนื้อหา
ข้อ 1 ธปท. จะติดตามและตรวจสอบการดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและสถาบันผู้ให้หลักประกันแต่ละรายภายในเวลา 17.30 น. หลังจากที่ ธปท. รับซื้อคืนตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิ
ในการตรวจสอบการดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณจากผลรวมของมูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันสําหรับการชําระดุลสุทธิในแต่ละวัน ดังนี้
(1) มูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่คงเหลือในบัญชีย่อยตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินและสถาบันผู้ให้หลักประกัน
(2) มูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่ขายให้ ธปท. เพื่อการชําระดุลระหว่างวันตามข้อ 17 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต
(3) มูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่ ธปท. กันเพื่อการชําระดุลของธุรกรรม Bulk Payment Credit Next Day
(4) มูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิที่ใช้จํานําเป็นหลักประกันในการขอใช้ยอดได้ดุลการหักบัญชีเช็คจากการชําระดุลเช็ครอบการชําระดุลหักบัญชีในวันที่ส่งเรียกเก็บ (Same-day Settlement)
ข้อ 2 หาก ธปท. ตรวจสอบตราสารหนี้ตามข้อ 1 แล้ว พบว่าสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันใดไม่สามารถดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ของระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการชําระดุลสุทธิพร้อมกันหลายฝ่ายในระบบบาทเนต ธปท. จะคิดค่าปรับจากสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันนั้นทุกวันจนกว่าจะสามารถดํารงตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิได้ตามหลักเกณฑ์ โดยมีวิธีคํานวณค่าปรับ ดังนี้
มูลค่าตราสารหนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการชําระดุลสุทธิในส่วนที่ไม่สามารถดํารงได้ x (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย + ร้อยละ 0.5 ต่อปี) x 1/365 วัน
ข้อ 3 ธปท. จะหักเงินในบัญชีเงินฝากของสถาบันผู้โอน/รับโอนเงินหรือสถาบันผู้ให้หลักประกันที่ ธปท. เพื่อชําระค่าปรับตามประกาศนี้เป็นรายเดือน ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
อื่นๆ - 5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2557
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,251 |
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 6/2557 เรื่อง การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน | ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ สนส. 6/2557
เรื่อง การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing)
ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
--------------------------------------
อื่นๆ - 1. เหตุผลในการออกประกาศ
เดิมธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินสามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ในทุกระบบงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการดําเนินงานและการบริหารต้นทุน และเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาการให้บริการทางการเงินให้ทันต่อเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยได้กําหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ บนพื้นฐานของการรักษาประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ ดังนั้น แม้ว่าสถาบันการเงินจะใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่สถาบันการเงินยังคงต้องมีความรับผิดชอบต่อการให้บริการอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน ต้องคงความน่าเชื่อถือของการให้บริการเช่นเดียวกับที่สถาบันการเงินพึงจะมีเสมือนกับที่สถาบันการเงินเป็นผู้ดําเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยตนเอง และต้องคํานึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากการดําเนินงานปกติที่ดําเนินการโดยสถาบันการเงินเอง เช่น ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (operational risk) จากการดําเนินงานของผู้ให้บริการภายนอก ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (strategic risk) ในการวางแผนการดําเนินธุรกิจ ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (reputational risk) และความเสี่ยงด้านกฎหมาย (legal risk) โดยเฉพาะเรื่องการรักษาความลับของข้อมูลของผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้กําหนดให้สถาบันการเงินต้องประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ และแจ้งรายละเอียดการใช้บริการมายังธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทราบก่อนเริ่มหรือก่อนเปลี่ยนแปลงการใช้บริการ
เนื่องจากการดําเนินธุรกิจและการแข่งขันของสถาบันการเงินในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตมีความต้องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความซับซ้อนและทันสมัยมากขึ้นเพื่อการให้บริการมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินอาจมีข้อจํากัด สถาบันการเงินจึงมีแนวโน้มที่จะมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่หลักเกณฑ์ปัจจุบันมีข้อกําหนดที่ยังไม่คล่องตัวและอาจไม่สอดคล้องกับแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถาบันการเงินและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของสถาบันการเงิน โดยกําหนดหลักเกณฑ์ในลักษณะที่เป็นหลักการ (principle based) มากขึ้นแต่ยังคงให้ความสําคัญกับการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการเช่นเดิม คือ สถาบันการเงินยังคงต้องมีความรับผิดชอบต่อการให้บริการอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน และต้องคงความน่าเชื่อถือของการให้บริการเช่นเดียวกับที่สถาบันการเงินพึงจะมีเสมือนกับที่สถาบันการเงินเป็นผู้ดําเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยตนเอง และมุ่งเน้นให้สถาบันการเงินให้ความสําคัญกับการบริหารความเสี่ยงจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้กรอบหลักการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สําคัญ 3 ประการ คือ การรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูล (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity) และความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability) และให้สถาบันการเงินมีการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม โดยสถาบันการเงินต้องมีการประเมินตนเอง (self assessment)
ควบคุม และจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ มีการกํากับดูแลโดยคณะกรรมการของสถาบันการเงิน (board oversight) และมีการพิจารณาถึงความสอดคล้องกับกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจและความสําคัญต่อการลงทุนในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน (competitiveness) โดยเฉพาะสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินและระบบการเงิน ดังนั้น นอกจากสถาบันการเงินต้องมีการกํากับดูแลผู้ให้บริการภายนอกอย่างใกล้ชิดแล้ว ยังต้องดําเนินการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ตรวจสอบภายนอก หรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่นได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการและสามารถตรวจสอบผู้ให้บริการดังกล่าวได้
การปรับปรุงประกาศในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงคําจํากัดความของงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น และแบ่งประเภทการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินออกเป็น 2 ประเภท คือ การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงิน (Critical IT Outsourcing) และการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น (Other IT Outsourcing) พร้อมทั้ง กําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแลให้สอดคล้องกับประเภทการใช้บริการนั้น นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้สถาบันการเงินแจ้งการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนเริ่มใช้บริการหรือก่อนเปลี่ยนแปลงการใช้บริการ เฉพาะกรณีการใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงินจากผู้ให้บริการภายนอกที่ไม่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันเท่านั้น และได้กําหนดให้สถาบันการเงินส่งรายงานดังนี้มายัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (1) รายงานการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยให้ส่งเป็นประจําทุกปี และ (2) รายงานปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่มีผลกระทบต่อการให้บริการการเงินพื้นฐานของสถาบันการเงิน โดยให้ส่งโดยเร็วและไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง
อื่นๆ - 2. อํานาจตามกฎหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงินพ.ศ. 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกหลักเกณฑ์การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามความในประกาศนี้
อื่นๆ - 3. ประกาศที่ยกเลิก
ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 29/2551 เรื่อง การใช้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ให้บริการรายอื่น (IT Outsourcing) ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2551
อื่นๆ - 4. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง
อื่นๆ - 5. เนื้อหา
5.1 คําจํากัดความ
ในประกาศฉบับนี้
"การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ" (IT Outsourcing) หมายความว่า การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (service provider) ในการดําเนินการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่สถาบันการเงิน ซึ่งโดยปกติแล้วสถาบันการเงินต้องดําเนินการเอง
"ผู้ให้บริการภายนอก" (service provider) หมายความว่า บุคคลภายนอกทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง บริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน ซึ่งเข้าทําสัญญาหรือทําข้อตกลงในการให้บริการงานให้กับสถาบันการเงิน อันมีลักษณะที่โดยปกติแล้วสถาบันการเงินต้องดําเนินการเอง
"บริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน"
(1) กรณีธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ หมายความว่า บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม
(2) กรณีธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย แต่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินในต่างประเทศ หมายความว่า บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การกํากับแบบรวมกลุ่ม รวมถึง บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย แต่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินในต่างประเทศนั้น
(3) กรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ หมายความว่า สํานักงานใหญ่สาขาที่อยู่ในประเทศอื่น สํานักงานภูมิภาคในต่างประเทศของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ รวมถึงบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศนั้น
"บริษัทที่มีความเกี่ยวข้อง" หมายความว่า บริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมโดยให้ใช้คําจํากัดความตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยอนุโลม
"งานเทคโนโลยีสารสนเทศ" (information technology - IT) หมายความว่า งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ครอบคลุมถึง ระบบงาน (application) ข้อมูล (information) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (infrastructure) และบุคลากรและกระบวนการที่จัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (people and process)
"คณะกรรมการของสถาบันการเงิน" หมายความว่า คณะกรรมการของสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
5.2 การอนุญาตให้สถาบันการเงินใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้สถาบันการเงินใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing) ในการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินได้ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ อย่างไรก็ดี สถาบันการเงิน โดยเฉพาะสถาบันการเงินไทยต้องพิจารณาถึงความสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจ และควรให้ความสําคัญต่อการลงทุนในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน (competitiveness) ด้วย
ทั้งนี้ หลักการสําคัญของการอนุญาตให้สถาบันการเงินใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ
(1) สถาบันการเงินต้องรับผิดชอบต่อการให้บริการอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน ต้องคงความน่าเชื่อถือของการให้บริการเช่นเดียวกับที่สถาบันการเงินพึงจะมีเสมือนกับที่สถาบันการเงินเป็นผู้ดําเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยตนเอง และต้องคํานึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากการดําเนินงานปกติที่กระทําโดยสถาบันการเงินเอง
ในกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกมีการให้ผู้ให้บริการภายนอกรายอื่นรับช่วงจัดการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการแก่สถาบันการเงินต่อ (sub-contract) สถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกจะรับผิดชอบต่อการให้บริการด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศแก่สถาบันการเงินเสมือนกับที่ผู้ให้บริการภายนอกเป็นผู้ให้บริการด้วยตนเอง
(2) สถาบันการเงินต้องมีแนวทางบริหารความเสี่ยงจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ภายใต้กรอบหลักการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สําคัญ 3 ประการ คือ การรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูล (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity) และความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability)
(3) สถาบันการเงินต้องมีการกํากับดูแลความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม โดยต้องมีการประเมินตนเอง (self assessment) ควบคุม และจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการของสถาบันการเงิน (board oversight)
5.3 การแบ่งประเภทการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันการเงินต้องพิจารณาประเภทการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
5.3.1 การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงิน (Critical IT Outsourcing)
การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงิน หมายถึง การใช้บริการในงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่อาจก่อให้เกิด
(1) ความเสี่ยงและผลกระทบต่อสถาบันการเงินในวงกว้าง (bank wide impact) เช่น การหยุดชะงักของการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินและประชาชนทั่วไปในวงกว้าง หรือ
(2) ความเสี่ยงและผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงิน หรือธุรกิจอื่นในวงกว้าง (banking system wide impact) เช่น การหยุดชะงักของระบบงานที่เชื่อมต่อกับระบบการชําระเงิน หรือ
(3) ความเสียหายหรือเหตุการณ์อื่น เช่น การทุจริตทั้งทางตรงและทางอ้อมในวงกว้างหรือร้ายแรง ภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอก และเหตุการณ์อื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจกําหนดเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ตัวอย่างการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงิน เช่น การใช้บริการระบบประมวลผลกลาง (core banking) ศูนย์คอมพิวเตอร์ (data center) และระบบเครือข่ายสื่อสาร (network)
5.3.2 การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น (Other IT Outsourcing)
การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น หมายถึง การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่เข้าข่ายเป็นการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงินตามข้อ 5.3.1
ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการพิจารณาประเภทการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สถาบันการเงินหารือมาที่ ฝ่ายตรวจสอบความเสี่ยงและเทคโนโลยีสารสนเทศ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ก่อนดําเนินการ
5.4 แนวทางการกํากับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแนวทางการกํากับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามประเภทของการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อ 5.3 ดังนี้
5.4.1 สถาบันการเงินที่ใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงิน (Critical IT Outsourcing) ต้องปฏิบัติตามทั้งหลักเกณฑ์การควบคุมทั่วไป (general control) และหลักเกณฑ์การควบคุมเฉพาะสําหรับงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง (specific control) โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมกับขนาดปริมาณธุรกรรม ความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการ
5.4.2 สถาบันการเงินที่ใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น (Other IT Outsourcing) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การควบคุมทั่วไป (general control) โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมกับขนาด ปริมาณธุรกรรม ความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการ
5.5 หลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับของทางการ หรือมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ รวมถึง หลักเกณฑ์การกํากับดูแลการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
5.5.1 หลักเกณฑ์การควบคุมทั่วไป (general control)
สถาบันการเงินที่มีการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสองประเภทตามข้อ 5.3 ต้องให้ความสําคัญในเรื่องการกําหนดนโยบาย การบริหารความเสี่ยงการบริหารจัดการผู้ให้บริการภายนอก (service provider management) การรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูล (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity) ความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability) และการคุ้มครองผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน (consumer protection) โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมกับขนาด ปริมาณธุรกรรมความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการ ดังนี้
(1) นโยบายการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
(1.1) สถาบันการเงินต้องกําหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนสําหรับการตัดสินใจใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เหตุผลความจําเป็นทางธุรกิจ รวมถึงประโยชน์และต้นทุน ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับของทางการของประเทศไทยและประเทศของผู้ให้บริการภายนอกในกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกประกอบธุรกิจในต่างประเทศ ไม่ก่อให้เกิดช่องโหว่ที่นําไปสู่การเกิดการทุจริตที่ร้ายแรงหรือก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอก จนอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างร้ายแรง และไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และระบบการเงินของประเทศไทยอย่างร้ายแรง
(1.2) สถาบันการเงินต้องกําหนดนโยบายการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องสอดคล้องกับนโยบายในการใช้บริการจากบุคคลภายนอก (outsourcing policy) และต้องคํานึงถึงความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ นโยบายการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศควรครอบคลุมเรื่อง การแบ่งประเภทของการใช้บริการ การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้บริการการบริหารจัดการผู้ให้บริการภายนอก การรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูลการรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล การรักษาความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ การคุ้มครองผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน การกํากับดูแลเพิ่มเติมกรณีการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงิน (Critical IT Outsourcing) และการรายงานและการตรวจสอบ เป็นต้น
(1.3) สถาบันการเงินต้องมีการทบทวนนโยบายการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของสถาบันการเงินที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
(2) การบริหารความเสี่ยง
(2.1) สถาบันการเงินต้องกําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของสถาบันการเงิน รวมถึง ขนาด ปริมาณธุรกรรมความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งต้องมีการกําหนดแนวทาง วิธีการ และผู้รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางและวิธีการที่กําหนดอย่างสม่ําเสมอ และต้องมีการรายงานผลการปฏิบัติดังกล่าวให้คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายหรือผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมายทราบในระยะเวลาที่เหมาะสม
(2.2) สถาบันการเงินต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกตามสมควร ต้องสามารถประเมินระดับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และต้องจัดให้มีระบบการประเมิน ควบคุมและบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่สําคัญที่อาจเกิดขึ้น (เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการความเสี่ยงด้านกฎหมาย และความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยควรสอดคล้องกับขนาด ปริมาณธุรกรรมความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการ
(2.3) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีแนวทางในการติดตามประสิทธิภาพในการให้บริการของผู้ให้บริการภายนอกอย่างต่อเนื่อง แนวทางในการรับทราบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการภายนอก รวมถึง แนวทางในการรายงานเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการให้บริการของผู้ให้บริการภายนอก (day-to-day incident) อย่างสม่ําเสมอ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขเหตุการณ์ผิดปกติ หากสถาบันการเงินประเมินว่า เหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นอาจกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินอย่างมีนัยสําคัญ นอกจากนี้ สถาบันการเงินต้องมีการทบทวนและประเมินประสิทธิภาพในการให้บริการของผู้ให้บริการภายนอกอย่างสม่ําเสมอ และมีการรายงานผลการประเมินดังกล่าวให้คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายหรือผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมายทราบในระยะเวลาที่เหมาะสม
(2.4) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีแผนรองรับการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (business continuity plan) ที่ครอบคลุมถึงการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยควรสอดคล้องกับขนาด ปริมาณธุรกรรม ความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการ รวมถึงผลกระทบของการใช้บริการที่มีต่อการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน และต้องจัดให้มีแผนฉุกเฉินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (disaster recovery plan) เพื่อรองรับกรณีการเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกและเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยสถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า สถาบันการเงินจะมีข้อมูลพร้อมใช้ภายในประเทศสําหรับการดําเนินธุรกิจและการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ต้องมีการทบทวนและทดสอบการปฏิบัติตามแผนรองรับการดําเนินธุรกิจและแผนฉุกเฉินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ําเสมอเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง รวมทั้ง ต้องจัดให้มีกระบวนการในการบริหารจัดการปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดจากการใช้บริการ และมีการรายงานปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติและการจัดการปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติดังกล่าว ให้คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายหรือผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมายทราบในระยะเวลาที่เหมาะสม
(3) การบริหารจัดการผู้ให้บริการภายนอก (service provider management)
(3.1) สถาบันการเงินต้องกําหนดกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้บริการภายนอกที่ชัดเจน และมีการตรวจสอบความพร้อมและพิจารณาความเหมาะสมของผู้ให้บริการภายนอกเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกจะสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถตอบสนองความต้องการของสถาบันการเงินได้ โดยควรคํานึงถึงปัจจัยที่สําคัญ เช่น ความรู้ในเทคโนโลยี ประสบการณ์ระบบการบริหารงานภายใน ศักยภาพและความสามารถในการให้บริการทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกนั้นมีการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการหลายราย (concentration risk)
(3.2) สถาบันการเงินต้องมีการจัดทําสัญญาการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีการจัดทําข้อตกลงการให้บริการ (service level agreement) เป็นลายลักษณ์อักษรกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันและต้องระบุบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ เงื่อนไขการให้บริการของผู้ให้บริการภายนอก และความรับผิดต่อความเสียหายอย่างใด ๆ ในกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้บริการ ไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงให้บริการให้ชัดเจน ส่วนเนื้อหาของสัญญาและข้อตกลงการให้บริการควรครอบคลุมประเด็นสําคัญเช่น ขอบเขตงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการและเงื่อนไขในการให้บริการของผู้ให้บริการภายนอก มาตรฐานของการปฏิบัติงานขั้นต่ําที่ต้องการจากผู้ให้บริการภายนอก (เช่น มาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยและความลับของข้อมูล ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล และความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ) ระบบการควบคุมภายในของผู้ให้บริการภายนอก การจัดทําแผนฉุกเฉินสําหรับการให้บริการของผู้ให้บริการภายนอกที่ควรสอดคล้องกับแผนฉุกเฉินของสถาบันการเงิน การรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการภายนอกซึ่งครอบคลุมถึงการรายงานปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดจากการให้บริการ ความรับผิดชอบของสถาบันการเงินและผู้ให้บริการภายนอก ภาระผูกพันในกรณีที่เกิดปัญหาในการให้บริการ เงื่อนไขหรือแนวทางในการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัญญา รวมถึงสิทธิของสถาบันการเงินผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภายนอก หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ในการเรียกดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการตรวจสอบการดําเนินงานและการควบคุมภายในของผู้ให้บริการภายนอกทั้งในกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกประกอบธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ สถาบันการเงินต้องมีการเก็บสัญญาหรือข้อตกลงการให้บริการไว้ที่สถาบันการเงินเพื่อให้พร้อมสําหรับการตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการภายนอกประกอบธุรกิจในต่างประเทศและหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้นมีข้อจํากัดเกี่ยวกับการเข้าตรวจสอบการดําเนินงานของผู้ให้บริการภายนอกดังกล่าว หรือมีข้อกฎหมาย หรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่แตกต่างจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด ซึ่งทําให้สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกําหนด หรือหลักเกณฑ์การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้นด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทยขอสงวนสิทธิในการพิจารณากําหนดหลักเกณฑ์การกํากับดูแล และ/หรือ เงื่อนไขอื่น เป็นรายกรณีตามความเหมาะสม
(4) การรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูล (security)
(4.1) สถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกมีแนวทางหรือมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูล ทั้งข้อมูลของผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินและข้อมูลของสถาบันการเงิน โดยควรมีความสอดคล้องกับขนาด ปริมาณธุรกรรมความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการ ทั้งนี้ สถาบันการเงินอาจกําหนดให้ผู้ให้บริการภายนอกมีการประยุกต์ใช้แนวทางการควบคุมด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี เป็นมาตรฐานสากล และได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ตามความเหมาะสม
(4.2) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีกระบวนการ ขั้นตอน หรือ ระบบในการติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกสามารถดําเนินการได้ตามแนวทางหรือมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูลที่ได้ตกลงไว้กับสถาบันการเงิน
(4.3) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีกระบวนการ ขั้นตอน หรือ ระบบในการดําเนินการนําข้อมูลของผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินและข้อมูลของสถาบันการเงินทั้งหมดกลับมาจากผู้ให้บริการภายนอก และสถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกมีกระบวนการ ขั้นตอน หรือ ระบบในการดําเนินการทําลายข้อมูลของผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินและข้อมูลของสถาบันการเงินทั้งหมดเมื่อมีการสิ้นสุดหรือยกเลิกการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก
(5) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity)
(5.1) สถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกมีแนวทางหรือมาตรฐานในการรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล ซึ่งครอบคลุมทั้งระบบประมวลผลข้อมูลที่อยู่ระหว่างการรับส่ง และระบบการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้ง มีการดําเนินการให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการสามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องเชื่อถือได้ โดยควรมีความสอดคล้องกับขนาด ปริมาณธุรกรรม ความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการ ทั้งนี้ สถาบันการเงินอาจกําหนดให้ผู้ให้บริการภายนอกมีการประยุกต์ใช้แนวทางการควบคุมด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี เป็นมาตรฐานสากล และได้รับการยอมรับโดยทั่วไปตามความเหมาะสม
(5.2) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีกระบวนการ ขั้นตอน หรือ ระบบในการติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกสามารถดําเนินการได้ตามแนวทางหรือมาตรฐานด้านความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูลที่ได้ตกลงไว้กับสถาบันการเงิน
(6) ความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability)
(6.1) สถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกมีแนวทางหรือมาตรฐานในการทําให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการแก่สถาบันการเงินพร้อมในการใช้งานอย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติ โดยควรมีความสอดคล้องกับขนาด ปริมาณธุรกรรม ความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการ ทั้งนี้ สถาบันการเงินอาจกําหนดให้ผู้ให้บริการภายนอกมีการประยุกต์ใช้แนวทางการควบคุมด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีเป็นมาตรฐานสากล และได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ตามความเหมาะสม
(6.2) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีกระบวนการ ขั้นตอน หรือ ระบบในการติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกสามารถดําเนินการได้ตามแนวทางหรือมาตรฐานด้านความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการที่ได้ตกลงไว้กับสถาบันการเงิน
(7) การคุ้มครองผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน (consumer protection)
(7.1) สถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกมีแนวทางหรือมาตรฐานในการดูแลและป้องกันข้อมูลสําคัญของผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน โดยควรสอดคล้องกับกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของทางการ และมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น
(7.2) สถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกจะไม่นําข้อมูลของผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินหรือข้อมูลของสถาบันการเงินไปเปิดเผยให้กับบุคคลอื่นใด โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสถาบันการเงิน เว้นแต่กรณีที่เป็นไปตามกฎหมายหรือข้อบังคับของทางการที่เกี่ยวข้อง
(7.3) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีกระบวนการ ขั้นตอน หรือ ระบบในการติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกสามารถดําเนินการได้ตามแนวทางหรือมาตรฐานด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินที่ได้ตกลงไว้กับสถาบันการเงิน
(7.4) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีระบบการดูแลและจัดการเรื่องร้องเรียนให้แก่ผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินอย่างเพียงพอและเหมาะสม และมีการรายงานการจัดการเรื่องร้องเรียนดังกล่าวให้คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายหรือผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมายทราบในระยะเวลาที่เหมาะสม
5.5.2 หลักเกณฑ์การควบคุมเฉพาะสําหรับงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง (specific control)
สถาบันการเงินที่มีการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงิน เช่น การใช้บริการระบบประมวลผลกลาง (core banking) ศูนย์คอมพิวเตอร์ (data center) และระบบเครือข่ายสื่อสาร (network) นอกจากจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การควบคุมทั่วไปตามข้อ 5.5.1 แล้ว สถาบันการเงินยังต้องจัดให้มีการกํากับดูแลเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับแนวทางการควบคุมด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี เป็นมาตรฐานสากล และได้รับการยอมรับโดยทั่วไป โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมกับขนาด ปริมาณธุรกรรม ความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการ รวมทั้ง ต้องมีระบบการกํากับดูแลที่เหมาะสมภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการของสถาบันการเงิน (board oversight) ดังนี้
(1) การกํากับดูแลเพิ่มเติม (specific risk control)
(1.1) สถาบันการเงินต้องมั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกมีกระบวนการขั้นตอน การประเมิน และการควบคุมความเสี่ยง อย่างน้อยตามกรอบหลักการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สําคัญ 3 ประการ คือ การรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูล (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity) และความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability) ที่สอดคล้องตามหลักมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจพิจารณาประยุกต์ให้เหมาะสมกับขนาด ปริมาณธุรกรรม ความซับซ้อนของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการ และความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการ เช่น
(1.1.1) กรณีการรักษาความปลอดภัยของระบบประมวลผลกลาง (core banking) ผู้ให้บริการภายนอกอาจพิจารณานํามาตรฐานของ International Organization for Standardization (ISO ซึ่งปัจจุบัน คือ ISO-27001) มาใช้เป็นแนวทางในการควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
(1.1.2) กรณีการประเมินและควบคุมความเสี่ยงของศูนย์คอมพิวเตอร์ (da ta center) ผู้ให้บริการภายนอกอาจพิจารณาประยุกต์ใช้มาตรฐานของ Telecommunications Industry Association (TIA ซึ่งปัจจุบัน คือ TIA-942) ตามระดับ (level) ที่เหมาะสม
(1.1.3) กรณีการรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ internet banking ผู้ให้บริการภายนอกอาจพิจารณานํามาตรฐาน ISO ที่เกี่ยวข้องหรือมาตรฐานสากลอื่นที่ดีมาใช้เป็นแนวทางในการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม
(1.2) สถาบันการเงินต้องจัดให้มีกระบวนการ ขั้นตอน หรือ ระบบในการติดตามประเมินผล และตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ให้บริการภายนอกสามารถดําเนินการได้ตามแนวทางหรือมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องที่ได้ตกลงไว้กับสถาบันการเงิน และต้องจัดให้มีการทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่า การใช้บริการจากบุคคลภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงิน จะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงตามกรอบหลักการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สําคัญ 3 ประการ คือ การรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูล (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity) และความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability)! จนนํามาสู่ช่องโหว่ที่ร้ายแรงต่อการทุจริต และ/หรือ ภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างร้ายแรง หรือก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อการให้บริการทางการเงินที่สําคัญของสถาบันการเงิน เช่น ต้องจัดให้มีการทดสอบแผนฉุกเฉินด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการทดสอบระบบการรักษาความปลอดภัยเชิงลึก (penetration test) สําหรับการใช้บริการระบบ internet banking
(2) ระบบการกํากับดูแลที่เหมาะสม (oversight)
(2.1) สถาบันการเงินต้องนําเสนอรายละเอียดของการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงินพร้อมผลการประเมินความเสี่ยงโดยละเอียดให้กับคณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงินทั้งก่อนเริ่มใช้บริการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้บริการอย่างมีนัยสําคัญตามที่สถาบันการเงินกําหนด หรือมีการต่ออายุสัญญา
(2.2) สถาบันการเงินต้องมีการรายงานให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายทราบในระยะเวลาที่เหมาะสมเกี่ยวกับ ผลการประเมินประสิทธิภาพ การติดตาม และการตรวจสอบการดําเนินการของผู้ให้บริการภายนอก โดยอาจพิจารณาตามกรอบหลักการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สําคัญ 3 ประการ คือ การรักษาความปลอดภัยและความลับของระบบงานและข้อมูล (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (integrity) และความพร้อมใช้ของงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability) รวมถึง ปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติและเรื่องร้องเรียนที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการ
5.6 แนวปฏิบัติสําหรับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดแนวปฏิบัติสําหรับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามประเภทของการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
5.6.1 การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงิน (Critical IT Outsourcing)
(1) ในกรณีที่เป็นการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน ให้สถาบันการเงินสามารถดําเนินการได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบก่อนเริ่มใช้บริการหรือก่อนเปลี่ยนแปลงการใช้บริการ
(2) ในกรณีที่เป็นการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่ไม่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน ให้สถาบันการเงินแจ้งให้ ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนเริ่มใช้บริการหรือก่อนเปลี่ยนแปลงการใช้บริการ โดยให้ระบุถึงเหตุผล รายละเอียดการใช้บริการ และผลการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้ว
5.6.2 การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น (Other IT Outsourcing) ให้สถาบันการเงินสามารถดําเนินการได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบก่อนเริ่มใช้บริการหรือก่อนเปลี่ยนแปลงการใช้บริการ
5.7 การรายงานและการตรวจสอบ
การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งผู้ใช้บริการของสถาบันการเงิน สถาบันการเงิน ระบบการเงิน และธุรกิจอื่นดังนั้น สถาบันการเงินต้องมีการกํากับดูแลผู้ให้บริการภายนอกอย่างใกล้ชิดและต้องดําเนินการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ตรวจสอบภายนอก หรือหน่วยงานกํากับดูแลน ได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการและสามารถตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอกดังกล่าวได้ ดังนี้
5.7.1 การรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) สถาบันการเงินต้องจัดทํารายงานการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศทุกประเภท ให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และส่งมายัง ฝ่ายตรวจสอบความเสี่ยงและเทคโนโลยีสารสนเทศ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประจําทุกปี ภายใน 30 วันนับจากวันที่ 31 ธันวาคม และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยร้องขอ โดยต้องมีเนื้อหาอย่างน้อย ดังนี้
(1.1) ชื่องานเทคโนโลยีสารสนเทศและขอบเขตในการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก
(1.2) ชื่อผู้ให้บริการภายนอก
(1.3) วันที่เริ่มใช้บริการและวันที่สิ้นสุดสัญญาหรือข้อตกลงการให้บริการ
(1.4) ปัญหาและอุปสรรคจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก
(1.5) เอกสารการรับรองที่เกี่ยวข้องกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการ (certificate) ของผู้ให้บริการภายนอก ที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์หลักและศูนย์คอมพิวเตอร์สํารองที่รองรับงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ให้บริการภายนอกให้บริการแก่สถาบันการเงิน ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่สถาบันการเงินใช้บริการ
(2) สถาบันการเงินต้องจัดทํารายงานปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่มีผลกระทบต่อการให้บริการของสถาบันการเงิน อันเป็นเหตุให้สถาบันการเงินไม่สามารถให้บริการการเงินพื้นฐานแก่ผู้ใช้บริการของสถาบันการเงินได้ในวงกว้าง พร้อมระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติดังกล่าว และส่งมายัง ฝ่ายตรวจสอบความเสี่ยงและเทคโนโลยีสารสนเทศ สายกํากับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทราบเมื่อมีการเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติขึ้นโดยเร็ว ทั้งนี้ ไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง
5.7.2 การตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอกของสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินต้องจัดให้มีการตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอกอย่างสม่ําเสมอโดยผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้ตรวจสอบภายนอก และจัดทํารายงานผลการตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอกดังกล่าวและเก็บไว้ที่สถาบันการเงิน พร้อมไว้สําหรับการตรวจสอบและเมื่อร้องขอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
ในกรณีที่สถาบันการเงินใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันที่อยู่ในต่างประเทศ สถาบันการเงินสามารถใช้ผลการตรวจสอบของบริษัทแม่ที่ได้รับการรับรองจากผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้ตรวจสอบภายนอกที่มีความเป็นอิสระ และรับทราบโดยคณะกรรมการของสถาบันการเงินหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้วได้
5.7.3 การตรวจสอบโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ตรวจสอบภายนอก หรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่น
สถาบันการเงินต้องดําเนินการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ตรวจสอบภายนอกหรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่น สามารถเรียกดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของผู้ให้บริการภายนอกและเข้าตรวจสอบผู้ให้บริการภายนอกดังกล่าวได้
5.8 อํานาจในการพิจารณา สั่งการ เพิกถอน หรือผ่อนผัน
5.8.1 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณากําหนดหลักเกณฑ์อื่นเพิ่มเติมได้ตามความเสี่ยงสําคัญที่อาจเกิดขึ้น โดยจะพิจารณาความเหมาะสมร่วมกับสถาบันการเงินเป็นรายกรณี
5.8.2 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาสั่งการ และ/หรือ กําหนดเงื่อนไขให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี หรือสั่งเพิกถอนการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งก่อนและหลังจากที่สถาบันการเงินใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกหากพบว่า การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
5.8.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาผ่อนผันเป็นรายกรณี ในกรณีที่สถาบันการเงินไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กําหนด โดยให้สถาบันการเงินที่มีความจําเป็นดังกล่าวหารือ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและความจําเป็นมาที่ ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย
5.9 บทเฉพาะกาล
5.9.1 สถาบันการเงินที่ได้แจ้งการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่ไม่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกันด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสถาบันการเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยอีก จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้บริการ หรือต่ออายุหรือจัดทําสัญญาหรือข้อตกลงการใช้บริการใหม่
5.9.2 สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเพิ่มเติมในกรณีที่สถาบันการเงินได้แจ้งการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศมายังธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว เท่าที่ไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้
(1) สําหรับสัญญาหรือข้อตกลงการให้บริการเดิมที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้สถาบันการเงินดําเนินการปรับปรุงให้สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ภายในเวลา 1 ปี นับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
(2) สําหรับกรณีที่มีการต่ออายุสัญญาหรือข้อตกลงการใช้บริการซึ่งรวมถึงกรณีการต่ออายุอัตโนมัติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงการใช้บริการหรือมีการทําสัญญาหรือข้อตกลงการใช้บริการใหม่ ให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ นับจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
หากสถาบันการเงินใดไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศฉบับนี้หรือเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้สถาบันการเงินหารือ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและความจําเป็นมาที่ ฝ่ายกํากับสถาบันการเงิน สายกํากับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณี
อื่นๆ - 6.วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2557
(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย | 7,252 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.