title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2561 ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (3) และ (12) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 และครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2561” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย “คณะกรรมการบริษัท” หมายความว่า คณะกรรมการของบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการบริหารสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยซึ่งต้องมีผู้จัดการสาขาเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม “ผู้รับประกันภัยต่อที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย”หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัยและให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย “ผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ” หมายความว่า ผู้รับประกันภัยต่อที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยจากหน่วยงานกํากับดูแลในต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่สามารถรับประกันภัยต่อได้ตามกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตและกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย “ประกาศ คปภ. ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และควบคุมภายใน”หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันวินาศภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ข้อ ๕ คณะกรรมการบริษัท มีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดนโยบาย และให้ความเห็นชอบกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ (2) กํากับดูแลให้การจัดทําการประกันภัยต่อเป็นไปตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อของบริษัท และหลักเกณฑ์ข้อกําหนดของสานักงาน (3) กําหนดให้มีการควบคุมภายในเพื่อควบคุมการนํากรอบการบริหารการประกันภัยต่อไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม ข้อ ๖ ผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกันภัยต่อของบริษัทต้องมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) กํากับ ดูแล ติดตามให้การดําเนินงานเกี่ยวกับการประกันภัยต่อให้เป็นไปตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท (2) จัดให้มีกระบวนการปฏิบัติงาน และคู่มือการปฏิบัติงานด้านการประกันภัยต่อให้เป็นไปตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อเป็นลายลักษณ์อักษร (3) พิจารณาผลการดําเนินงานของการประกันภัยต่ออย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท (4) จัดให้มีระบบการควบคุมภายใน ระบบการรายงานผลเพื่อติดตามประเมินผลเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ข้อ ๗ บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบดูแลกิจกรรมการประกันภัยต่อ ข้อ ๘ บริษัทต้องจัดให้หน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัททําหน้าที่ติดตามและควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทําประกันภัยต่อว่าเป็นไปตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ และประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานตรวจสอบภายในตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง หน่วยงานตรวจสอบภายในตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และควบคุมภายใน ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดทํากรอบการบริหารการประกันภัยต่อ (reinsurance management framework) เป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท โดยกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ ให้ประกอบด้วย (1) โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการประกันภัยต่อ รวมถึงให้ระบุ ตําแหน่งและหรือ รายชื่อผู้บริหารตามข้อ 6 และหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบตามข้อ 7 (2) นโยบายการประกันภัยต่อโดยให้คํานึงถึงกรอบการบริหารความเสี่ยงและการบริหารเงินทุนของบริษัท รวมถึงระดับความเสี่ยงที่บริษัทต้องการรับเสี่ยงภัยไว้เอง และส่วนที่โอนความเสี่ยงซึ่งสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเป้าหมายเงินกองทุนของบริษัท (3) แนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เกี่ยวกับการประกันภัยต่อ ทั้งนี้ บริษัทต้องมีการทบทวนกรอบการบริหารการประกันภัยต่อเป็นประจําทุกปี ข้อ ๑๐ บริษัทต้องจัดทําสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาและการประกันภัยต่อเฉพาะรายที่เหมาะสมกับการดําเนินธุรกิจของบริษัท สอดคล้องกับกรอบการบริหารการประกันภัยต่อที่กําหนดไว้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความเสี่ยงและเงินกองทุนของบริษัท ข้อ ๑๑ การเอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ให้เป็นไปตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อในสัดส่วนที่เหมาะสม การเอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญา (treaty reinsurance) บริษัทสามารถเอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดไว้ในตาราง ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในตาราง ดังต่อไปนี้ | | | | | --- | --- | --- | | ระดับความเสี่ยง | อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ | สัดส่วนเบี้ยเอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ ทุกรายที่ระดับความเสี่ยงเดียวกันต่อเบี้ยเอาประกันภัยต่อของผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศของสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาทั้งหมด | | | Standard & Poor’s | Moody’s | AM Best | Fitch | | 1 | AAA | Aaa | A++ | AAA | ไม่จํากัด | | 2 | AA+AAAA- | Aa1Aa2Aa3 | A+ | AA+AAAA- | | 3 | A+AA- | A1A2A3 | AA- | A+AA- | | 4 | BBB+BBBBBB- | Baa1Baa2Baa3 | B++B+ | BBB+BBBBBB- | ไม่เกินร้อยละห้าสิบ | (2) กรณีสัญญาประกันภัยต่อเฉพาะราย (facultative reinsurance) บริษัทสามารถเอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดไว้ในตารางตาม (1) ได้ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม ตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ ในกรณีผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าหนึ่งอันดับให้ใช้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสองอันดับที่แตกต่างกัน ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ต่ํากว่า (2) กรณีที่ผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าสองอันดับที่แตกต่างกัน ให้นําอันดับความน่าเชื่อถือสูงที่สุดสองอันดับแรกมาเปรียบเทียบ และใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ต่ํากว่า ในกรณีที่อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับประกันภัยต่อต่างประเทศปรับลดลงจนทําให้การเอาประกันภัยต่อไม่เป็นไปตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในวรรคสอง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณีให้บริษัทดําเนินการเปลี่ยนผู้รับประกันภัยต่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ ๑๒ ห้ามบริษัททําสัญญาประกันภัยต่อทางการเงิน (financial reinsurance) หรือสัญญาประกันภัยต่อแบบจํากัด (finite reinsurance) ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) มีการลงรายการทางการเงิน เบี้ยประกันภัยและค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทและผู้รับประกันภัยต่อโดยไม่มีการชําระเงิน หรือชําระเงินเพียงบางส่วน รวมถึงมีธุรกรรมทางการเงินอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแสดงฐานะการเงินและนําไปสู่การบิดเบือนฐานะการเงินที่แท้จริงของบริษัท (2) ให้ความคุ้มครองย้อนหลัง (retrospective provisions) สําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วและคู่สัญญาไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายทราบความเสียหายแล้ว ซึ่งกําหนดให้คู่สัญญามีสิทธิและภาระผูกพันในอนาคต โดยที่เบี้ยประกันภัยต่อหรือค่าบําเหน็จประกันภัยต่อคํานวณจากระยะเวลาและจํานวนค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นแล้ว (3) ไม่มีการโอนความเสี่ยงจากการรับประกันภัย (insurance risk) ที่มีนัยสําคัญ เช่นความคุ้มครองจากสัญญาประกันภัยต่อไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยอาจพิจารณาจากจํานวนเงินค่าสินไหมทดแทนและระยะเวลาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของผู้รับประกันภัยต่อให้แก่บริษัท ทั้งนี้ บริษัทต้องพิสูจน์ได้ว่า สัญญาประกันภัยต่อของบริษัทไม่ใช่สัญญาประกันภัยต่อทางการเงินหรือสัญญาประกันภัยต่อแบบจํากัด โดยต้องทาการทดสอบด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับ เช่น วิธี 10/10 วิธี expected reinsurer deficit เป็นต้น ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทแก้ไขการทําสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาหรือการประกันภัยต่อเฉพาะรายได้ ข้อ ๑๔ บริษัทจะต้องจัดให้มีการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทําประกันภัยต่อเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ ดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย (1) การควบคุมความเสี่ยงด้านเครดิต (ก) การคัดเลือกผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดทําหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับประกันภัยต่อ โดยควรคํานึงถึงอันดับความน่าเชื่อถือขั้นต่ําที่บริษัทยอมรับได้ การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับที่กากับดูแลผู้รับประกันภัยต่อ ฐานะความมั่นคง ความรู้ความเชี่ยวชาญ ระยะเวลาการจ่ายเงิน การให้บริการอื่น ๆ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ (ข) การลดความเสี่ยงด้านเครดิต บริษัทควรมีเครื่องมือเพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิตอาทิเช่น การกําหนดให้มีการวางหลักทรัพย์ประกันของบริษัทประกันภัยต่อ หรือเงินถือไว้จากการประกันภัยต่อ การกําหนดเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงหรือการยกเลิกสัญญากับผู้รับประกันภัยต่อในกรณีที่ผู้รับประกันภัยต่อถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (ค) การติดตามความมั่นคงและความเหมาะสมของผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการในการติดตามอันดับความน่าเชื่อถือ ฐานะทางการเงิน ความเพียงพอของเงินกองทุนของผู้รับประกันภัยต่อ และความสามารถในการปฏิบัติตามภาระผูกพันให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ (ง) การรับและจ่ายเงินจากการประกันภัยต่อ บริษัทต้องกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินจากการประกันภัยต่อ การรายงานเงินค้างรับและเงินค้างจ่ายจากผู้รับประกันภัยต่อการเรียกเก็บค่าสินไหมทดแทนจากการเอาประกันภัยต่อ ทั้งนี้ บริษัทจะต้องปฏิบัติตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และควบคุมภายใน เป็นอย่างน้อย (จ) การคัดเลือกนายหน้าประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดทําหลักเกณฑ์การคัดเลือกนายหน้าประกันภัยต่อ โดยควรคํานึงถึง ประสบการณ์ การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับที่กํากับดูแลนายหน้าประกันภัยต่อ ความเชี่ยวชาญ และการให้บริการ เป็นต้น (ฉ) การรับและจ่ายเงินของนายหน้าประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดทํากระบวนการติดตามควบคุม และตรวจสอบการรับและจ่ายเงินของนายหน้าประกันภัยต่อ หรืออื่น ๆ ที่บริษัทมอบหมายให้กระทําการแทน (ถ้ามีการใช้บริการ) ทั้งนี้ บริษัทจะต้องปฏิบัติตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการรับเงินการจ่ายเงิน การตรวจสอบ และควบคุมภายใน เป็นอย่างน้อย (2) การควบคุมความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว (ก) ระดับการกระจุกตัวของผู้รับประกันภัยต่อรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งบริษัทต้องจัดให้มีการทําประกันภัยต่อ โดยยึดหลักการให้มีการกระจายความเสี่ยง และคํานึงถึงความเสี่ยงที่มีต่อผู้รับประกันภัยต่อรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ หรือประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง (ข) ระดับความเสี่ยงภัยสะสม บริษัทต้องจัดให้มีการจัดการให้ระดับการรับเสี่ยงภัยไว้เองสูงสุดต่อเหตุการณ์ (maximum event retention: MER) เป็นไปตามที่บริษัทกําหนดไว้ในกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ และในกรณีที่มีความแตกต่างจากที่กําหนดไว้ จะต้องมีกระบวนการแก้ไขเพื่อให้กลับสู่ขีดจํากัด (3) การควบคุมความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (ก) การทําเอกสารสัญญาประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดทาเอกสารสัญญาประกันภัยต่อให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยต้องมั่นใจว่า ข้อกําหนด เงื่อนไขความคุ้มครองของสัญญาประกันภัยต่อมีความชัดเจน ครบถ้วน เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบริษัทในการทําประกันภัยต่อ และจัดให้มีกระบวนการควบคุมและติดตามการจัดทําสัญญาประกันภัยต่อ ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีหลักฐานใด ๆ เพื่อยืนยันการตกลงรับประกันภัยต่อจากผู้รับประกันภัยต่อ หรือสลิปประกันภัยต่อ ก่อนวันที่สัญญาประกันภัยต่อนั้นจะมีผลบังคับ (ข) การจัดทําสัญญาประกันภัยต่อเฉพาะราย บริษัทต้องกําหนดหลักเกณฑ์การจัดทําสัญญาประกันภัยต่อเฉพาะราย และกําหนดผู้มีอํานาจอนุมัติ รวมถึงจัดให้มีกระบวนการติดตามและยืนยันการทําประกันภัยต่อเฉพาะราย กรณีที่บริษัทรับความเสี่ยงภัยซึ่งมีความจําเป็นต้องทําสัญญาประกันภัยต่อเฉพาะรายให้บริษัทจัดหาการเอาประกันภัยต่อเฉพาะรายให้แล้วเสร็จก่อนที่จะรับความเสี่ยงภัยนั้น (ค) การจัดเก็บข้อมูลและการจัดทํารายงานธุรกรรมการประกันภัยต่อและนายหน้าประกันภัยต่อ บริษัทต้องจัดเก็บข้อมูลและจัดทํารายงานธุรกรรมการประกันภัยต่อ และต้องสามารถแสดงรายละเอียดของเจ้าหนี้และลูกหนี้จากการประกันภัยต่อได้ (4) การควบคุมความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการและวิธีการ รวมถึงการติดตามและเร่งรัดการเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในสัญญาประกันภัยต่อโดยเฉพาะกรณีเหตุการณ์ความเสียหายขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ในสัญญาประกันภัยต่อควรกําหนดให้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเรียกคืนทันที (cash call) หลักประกัน (collateral) หรือเงินถือไว้จากการประกันภัยต่อ (deposit accounts) ข้อ ๑๕ บริษัทต้องจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเพื่อรองรับเหตุการณ์ความเสียหายขนาดใหญ่ หรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย การจัดหาเงินทุนการจัดการกระแสเงินสดระยะสั้น การเร่งรัดการเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัยต่อและหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะต้องปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด ข้อ ๑๖ นายทะเบียนอาจกําหนดให้บริษัทจัดทําการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการประกันภัยต่อตามสัญญาและการประกันภัยต่อเฉพาะราย ข้อ ๑๗ ให้บริษัทนําส่งรายงานกรอบการบริหารการประกันภัยต่อ (reinsurance management framework) และการวิเคราะห์ประสิทธิผลของการทําประกันภัยต่อให้สํานักงาน ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รอบระยะเวลาสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญา (reinsurance treaty) ที่เป็นรอบหลักซึ่งเป็นรอบที่มีเบี้ยประกันภัยต่อสูงสุด มีผลบังคับใช้ โดยรายงานจะต้องประกอบด้วย (1) โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการประกันภัยต่อ โดยให้ระบุตําแหน่งและหรือ รายชื่อผู้บริหารตามข้อ 6 และหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบตามข้อ 7 (2) ผลการวิเคราะห์ภาพรวมผลการดําเนินงานการจัดทําสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาและการประกันภัยต่อเฉพาะรายในปีที่ผ่านมา พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ (3) นโยบายการประกันภัยต่อ (4) สรุปการทําสัญญาประกันภัยต่อตามสัญญาของปีปัจจุบัน และผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมที่สอดคล้องกับการดําเนินธุรกิจของบริษัท ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเป้าหมายเงินกองทุนของบริษัท พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ (5) วิธีการควบคุมความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เกี่ยวกับการประกันภัยต่อของบริษัทโดยให้อธิบายอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 14 ข้อ ๑๘ ให้บริษัทส่งรายงานข้อมูล สถิติที่เกี่ยวข้องกับประกันภัยต่อตามแบบ รายการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ข้อ ๑๙ ให้บริษัทส่งสําเนาสัญญาประกันภัยต่อ รวมทั้งส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม และข้อตกลงเพิ่มเติม (side letter) (ถ้ามี) เมื่อนายทะเบียนร้องขอ ข้อ ๒๐ นายทะเบียนอาจกําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามประกาศในส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นแล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,549
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารจัดการ ความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2560 --------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (12) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 13/2559 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และครั้งที่ 3/2560 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2560” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “คณะกรรมการบริษัท” หมายความว่า คณะกรรมการของบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึง คณะกรรมการบริหารสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยซึ่งต้องมีผู้จัดการสาขาเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม “กรอบการบริหารความเสี่ยง” หมายความว่า กรอบการดําเนินงานของบริษัทในการบริหารความเสี่ยง โดยคํานึงถึงองค์ประกอบหลักที่สนับสนุนและส่งเสริมให้บริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมหลักการสําคัญเกี่ยวกับโครงสร้างการกํากับดูแลการบริหารความเสี่ยง รวมถึงบทบาทหน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง นโยบายการบริหารความเสี่ยงขอบเขตการบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง ระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการบริหารความเสี่ยงวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง และการติดตามและประเมินผล “นโยบายการบริหารความเสี่ยง” หมายความว่า นโยบายที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการบริหารความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (key risk indicator) พร้อมรายละเอียดหรือการอธิบายวิธีการในการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากแผนธุรกิจสามปี โดยต้องระบุมาตรการบริหารความเสี่ยงหลักของบริษัทห้าอันดับแรกเป็นอย่างน้อย “วัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง” หมายความว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการทํางานของบุคลากรโดยสร้างความตระหนัก ทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคลากรของบริษัท เกี่ยวกับการเรียนรู้ความเสี่ยง การตัดสินใจทางธุรกิจบนพื้นฐานของความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงภายในบริษัท “ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้” หมายความว่า ระดับความเสี่ยงที่บริษัทสามารถยอมรับได้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของบริษัท ซึ่งอาจกําหนดในเชิงปริมาณ และหรือ เชิงคุณภาพก็ได้โดยอย่างน้อยต้องระบุอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (capital adequacy ratio) “ดัชนีชี้วัดความเสี่ยง” หมายความว่า ตัวชี้วัดที่แสดงให้ทราบถึงสถานะหรือแนวโน้มของความเสี่ยง “รายงานสถานะความเสี่ยง” หมายความว่า รายงานที่แสดงถึงสถานะและการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงรวมของบริษัท โดยต้องระบุสถานะและการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงหลักที่อาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินและความมั่นคงทางการเงินของบริษัทห้าอันดับแรกตามที่ระบุไว้ในทะเบียนความเสี่ยงเป็นอย่างน้อย “รายงานการปฏิบัติตามมาตรการบริหารความเสี่ยง” หมายความว่า รายงานที่แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการดําเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ในการบริหารความเสี่ยงของบริษัท “รายงานผลการบริหารความเสี่ยง” หมายความว่า รายงานที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกรอบการบริหารความเสี่ยง โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายงานสถานะความเสี่ยงและรายงานการปฏิบัติงานตามมาตรการบริหารความเสี่ยง “แผนธุรกิจสามปี” หมายความว่า สรุปแผนสามปีของทิศทางการขยายงานประมาณการอัตราการเจริญเติบโตของบริษัท แผนการรองรับการขยายงานของบริษัท ช่องทางการจําหน่ายประเภทผลิตภัณฑ์ การลงทุน และการประกันภัยต่อ และประมาณการอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน ของปีปัจจุบันและอีกสองปีข้างหน้า “ระบบสารสนเทศ” หมายความว่า การบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงและการรายงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงของบริษัท “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หมวด ๑ บททั่วไป ---------------------- ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม (enterprise risk management) ซึ่งเป็นกระบวนการวางแผน จัดการ และควบคุมความเสี่ยงของบริษัทแบบองค์รวม เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนที่มีต่อการดําเนินธุรกิจให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยคํานึงถึงขนาด ลักษณะ และความซับซ้อนของการดําเนินงานของบริษัท และการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้เป็นอย่างน้อย ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดทํากรอบการบริหารความเสี่ยงเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ข้อ ๗ สํานักงานอาจกําหนดแนวทางในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามประกาศนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว หมวด ๒ วัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง ---------------------- ข้อ ๘ บริษัทต้องให้ความสําคัญกับการสร้างวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรและดําเนินการเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการทํางานของพนักงานทุกคนในองค์กรโดยดําเนินการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) ผู้บริหารต้องกําหนดทิศทาง นโยบาย และแนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยง และสื่อสารวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารความเสี่ยงขององค์กรไปยังพนักงานทุกคนเพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการบริหารความเสี่ยง (2) บริษัทต้องจัดให้มีการอบรมพัฒนาบุคลากรของบริษัท ให้มีความรู้ความเข้าใจความระมัดระวัง และตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อฝ่ายงาน ต่อองค์กรและต่อผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร (3) บริษัทต้องมีการบูรณาการการบริหารความเสี่ยงเข้ากับการตัดสินใจทางธุรกิจ การกํากับดูแลกิจการ และการควบคุมภายในของบริษัท หมวด ๓ โครงสร้างการกํากับดูแลการบริหารความเสี่ยง ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ และมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาอนุมัติ (ก) กรอบการบริหารความเสี่ยง (ข) นโยบายการบริหารความเสี่ยง (ค) แผนธุรกิจสามปี (2) กําหนดกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยงและนโยบายการบริหารความเสี่ยง (3) กํากับดูแลบริษัทในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (ก) การบริหารความเสี่ยงของบริษัทให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (ข) การจัดทํารายงานสรุปสถานะความเสี่ยง และสรุปรายงานการปฏิบัติตามมาตรการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง (ค) การทบทวนกรอบการบริหารความเสี่ยงและนโยบายการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งหรือทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์สําคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ (ง) ฐานะเงินกองทุนของบริษัท ให้อยู่ในระดับที่มั่นคงและเพียงพอที่จะรองรับการดําเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างเหมาะสม (จ) การสนับสนุนการดําเนินงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและหน่วยงานหรือกลุ่มงานบริหารความเสี่ยงให้สามารถปฏิบัติตามหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ และได้รับการจัดสรรทรัพยากรให้อย่างเพียงพอ ข้อ ๑๐ ให้ผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบการดําเนินธุรกิจประจําวันให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจ กรอบการบริหารความเสี่ยง และนโยบายการบริหารความเสี่ยง ข้อ ๑๑ ให้บริษัทมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ เว้นแต่ บริษัทมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 13 ได้อย่างครบถ้วน กรณีสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานภูมิภาคตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกํากับธุรกิจประกันภัยของประเทศนั้นกําหนด ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวสามารถเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของสาขาบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศได้ตามวรรคหนึ่ง โดยต้องแสดงหลักฐานจนเป็นที่พอใจของสํานักงานว่า คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวสามารถกํากับดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ได้ครบถ้วน ให้บริษัทนําส่งมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รายชื่อของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงหนังสือรับรองประวัติของกรรมการบริหารความเสี่ยงตามแบบที่สํานักงานกําหนดต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และจัดส่งกฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับตําแหน่งหรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎบัตรอย่างมีนัยสําคัญ กรณีที่บริษัทมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้จัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ กรณีที่กรรมการบริหารความเสี่ยงลาออก หรือถูกถอดถอนก่อนครบวาระ บริษัทต้องรายงานพร้อมแจ้งเหตุผลต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นสภาพการเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ข้อ ๑๒ บริษัทต้องจัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยห้าคน ให้เหมาะสมกับขนาด ลักษณะ และความซับซ้อนของกิจกรรมของบริษัท ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ได้รับมติแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการบริหารความเสี่ยง (2) กรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริษัท (3) กรรมการบริหารความเสี่ยงรายอื่นต้องเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริษัท หรือเป็นผู้บริหารของบริษัท หรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการดําเนินธุรกิจของบริษัท ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติโดยต้องครอบคลุมความเสี่ยงที่สําคัญ อย่างน้อยตามที่ระบุไว้ในข้อ 19 (2) ประเมินความเพียงพอของมาตรการบริหารความเสี่ยงรวมถึงประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของบริษัท (3) จัดให้มีการประชุมเป็นประจําอย่างน้อยทุกไตรมาสเพื่อติดตามสถานะความเสี่ยง รวมถึงความคืบหน้าในการบริหารความเสี่ยง และให้ข้อเสนอแนะในสิ่งที่ต้องดําเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยงและนโยบายการบริหารความเสี่ยงและกลยุทธ์ที่กําหนดตามความเหมาะสม และรายงานให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่จําเป็น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอาจขอคําปรึกษาจากที่ปรึกษาภายนอกได้ด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท ข้อ ๑๔ บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงานหรือกลุ่มงานบริหารความเสี่ยง โดยมีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) สนับสนุนการทํางานของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและผู้บริหาร ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงของบริษัท (2) ช่วยให้หน่วยงานภายในบริษัทสามารถระบุ ประเมิน และบริหารความเสี่ยงของบริษัทให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมทั้งติดตามสถานะความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และทบทวนมาตรการบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (3) จัดทํารายงานสถานะความเสี่ยง และรายงานการปฏิบัติตามมาตรการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่จําเป็น หน่วยงานบริหารความเสี่ยงอาจขอคําปรึกษาจากที่ปรึกษาภายนอกได้ด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท ข้อ ๑๕ บริษัทต้องจัดให้มีหัวหน้าหน่วยงานหรือกลุ่มงานบริหารความเสี่ยง หรือตําแหน่งอื่นที่ทําหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามที่กําหนดในข้อ 16 โดยบุคคลดังกล่าวต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จําเป็นต่อการบริหารความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจประกันภัยของบริษัทและสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างสมบูรณ์ ให้บริษัทรายงานการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานหรือกลุ่มงานบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และสํานักงาน โดยการรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานให้ดําเนินการภายในสามสิบวันแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือสิ้นสุดการแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการรายงานการสิ้นสุดการแต่งตั้ง ให้บริษัทระบุเหตุแห่งการสิ้นสุดด้วย ข้อ ๑๖ หัวหน้าหน่วยงานหรือกลุ่มงานบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ควบคุมการดําเนินงานของหน่วยงานหรือกลุ่มงานบริหารความเสี่ยง และรับผิดชอบในการจัดให้มีรายงานสถานะความเสี่ยง ตลอดจนรายงานการปฏิบัติตามมาตรการบริหารความเสี่ยงต่อผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง รายงานตามวรรคหนึ่ง ต้องครอบคลุมการไม่สามารถปฏิบัติตามกรอบการบริหารความเสี่ยงนโยบายการบริหารความเสี่ยง หรือขีดจํากัดความเสี่ยง (risk limit) ทั้งนี้ รวมถึงการรายงานความเสียหาย (incidence report) ที่มีผลกระทบต่อการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ และมาตรการที่จะใช้ดําเนินการเพื่อให้บริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ขีดจํากัดความเสี่ยงตามวรรคสอง หมายความว่า ระดับความเสี่ยงที่กําหนดย่อยลงมาจากระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อกําหนดกรอบในการดําเนินงานเพื่อให้ได้ผลตามต้องการ โดยอาจกําหนดย่อยลงมาตามสายธุรกิจ ประเภทความเสี่ยง สายผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรมหลัก ตามความเหมาะสม การรายงานความเสียหายตามวรรคสอง ต้องประกอบด้วยข้อมูล ดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย (1) ประเภท และเหตุการณ์ความเสียหาย (2) สาเหตุ ผลกระทบ และมูลค่าความเสียหาย (3) ระดับความรุนแรงของความเสียหาย (4) หน่วยธุรกิจที่รับผิดชอบ หมวด ๔ นโยบายการบริหารความเสี่ยง ---------------------- ข้อ ๑๗ ให้บริษัทจัดทํานโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท พร้อมทั้งสื่อสารสาระสําคัญของนโยบายการบริหารความเสี่ยงให้ทุกหน่วยงานทราบและนําไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ข้อ ๑๘ ให้บริษัทจัดทําแผนธุรกิจสามปีเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท หมวด ๕ ขอบเขตการบริหารความเสี่ยง ---------------------- ข้อ ๑๙ บริษัทต้องกําหนดขอบเขตการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยงและนโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัท และให้ครอบคลุมประเภทความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ เงินกองทุน ชื่อเสียง หรือการดํารงอยู่ของบริษัท ดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย (1) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (strategic risk) หมายความรวมถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการกําหนดนโยบาย แผนกลยุทธ์ แผนการดําเนินงาน และการนําไปปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยี และความคาดหวังของสาธารณชน (2) ความเสี่ยงด้านการประกันภัย (insurance risk) หมายความรวมถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของความถี่ ความรุนแรง และเวลาที่เกิดความเสียหายที่เบี่ยงเบนจากสมมติฐานที่ใช้ในการกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย การคํานวณสํารองประกันภัย และการพิจารณารับประกันภัย (3) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) หมายความรวมถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่บริษัทไม่สามารถชําระหนี้สินและภาระผูกพันเมื่อถึงกําหนด เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้ หรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ หรือสามารถจัดหาเงินมาชําระได้แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกินกว่าที่จะยอมรับได้ (4) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (operational risk) หมายความรวมถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขาดการกํากับดูแลกิจการที่ดี ขาดธรรมาภิบาลในองค์กร หรือขาดการควบคุมที่ดีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงานภายใน บุคลากร ระบบงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ความปลอดภัยของข้อมูล หรือเหตุการณ์ภายนอก (5) ความเสี่ยงด้านตลาด (market risk) หมายความรวมถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ราคาของสินทรัพย์ที่ลงทุน ราคาตราสารในตลาดเงินตลาดทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (6) ความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) หมายความรวมถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามภาระที่ได้ตกลงไว้กับบริษัท รวมถึงโอกาสที่คู่สัญญาจะถูกปรับลดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิต ข้อ ๒๐ การกําหนดขอบเขตการบริหารความเสี่ยงตามข้อ 19 ต้องครอบคลุมถึงกิจกรรมหลักของบริษัทดังนี้ (1) การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (2) การเก็บเบี้ยประกันภัย (3) การพิจารณารับประกันภัย (4) การจัดการค่าสินไหมทดแทน (5) การประกันภัยต่อ (6) การลงทุนประกอบธุรกิจอื่น (7) การประเมินมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สิน หมวด ๖ กระบวนการบริหารความเสี่ยง ---------------------- ข้อ ๒๑ บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทต้องระบุเหตุการณ์ความเสี่ยงและแหล่งที่มาของความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อบริษัททั้งในทางการเงินและที่มิใช่ทางการเงิน และจัดทําเป็นทะเบียนความเสี่ยง โดยต้องคํานึงถึงทิศทางการขยายงานและแผนรองรับการขยายงานตามที่ระบุไว้ในแผนธุรกิจสามปี และต้องทบทวนเหตุการณ์ความเสี่ยงของบริษัทอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญของสาเหตุความเสี่ยง ทะเบียนความเสี่ยง ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ตารางที่แสดงข้อมูลความเสี่ยงที่บริษัทเผชิญอยู่ อย่างน้อยได้แก่ ความเสี่ยง สาเหตุของความเสี่ยง ประเภทความเสี่ยง เจ้าของความเสี่ยง ดัชนีชี้วัดความเสี่ยง มาตรการจัดการความเสี่ยงที่ใช้ในปัจจุบัน และมาตรการติดตามความเสี่ยง โดยจัดทําเป็นสิบอันดับแรกที่สอดคล้องกับแผนธุรกิจสามปี (2) บริษัทต้องกําหนดวิธีการและดําเนินการประเมินความเสี่ยงและจัดลําดับความเสี่ยงตามความสําคัญ (3) บริษัทต้องมีการตอบสนองความเสี่ยงให้สอดคล้องระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่กําหนดไว้ (4) บริษัทต้องมีการควบคุมและติดตามประเมินผลการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งดําเนินมาตรการในการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ความเสี่ยงของบริษัทอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (5) บริษัทต้องมีระบบการรายงานข้อมูลการบริหารความเสี่ยงและสถานะความเสี่ยงตามประเภทของความเสี่ยง โดยให้คํานึงถึงความเสี่ยงในภาพรวมของบริษัท ซึ่งต้องจัดให้มีการทํารายงาน ดังต่อไปนี้ (ก) สรุปรายงานสถานะความเสี่ยง และสรุปรายงานการปฏิบัติตามมาตรการบริหารความเสี่ยงที่ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง (ข) สรุปรายงานผลการประเมินการตรวจสอบรายปี และเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (ค) รายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนความเพียงพอของกรอบการบริหารความเสี่ยงและนโยบายการบริหารความเสี่ยง (ง) รายงานเหตุการณ์ที่สําคัญอันอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ (ถ้ามี) รายงานตาม (5) บริษัทต้องพร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา หมวด ๗ ระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการบริหารความเสี่ยง ---------------------- ข้อ ๒๒ บริษัทต้องจัดให้มีระบบสารสนเทศที่เชื่อถือได้ และมีรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับขนาด ลักษณะ และความซับซ้อนของธุรกิจ ข้อ ๒๓ ระบบสารสนเทศของบริษัทต้องสามารถสนับสนุน ติดตามดูแล และควบคุมการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการนําข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ข้อ ๒๔ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัย มีการกําหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของบุคลากรเฉพาะที่เกี่ยวข้อง และจัดให้มีระบบสํารองข้อมูลรวมทั้งระบบการกู้คืนข้อมูลในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น รวมทั้งมีการกําหนดมาตรการในการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและระบบสารสนเทศ หมวด ๘ การรายงาน ---------------------- ข้อ ๒๕ บริษัทต้องจัดส่งกรอบการบริหารความเสี่ยงให้สํานักงานภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และภายในหนึ่งเดือนนับจากวันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ ๒๖ บริษัทต้องจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาที่สํานักงานประกาศกําหนด หมวด ๙ การทดสอบภาวะวิกฤต ---------------------- ข้อ ๒๗ หากสํานักงานเห็นสมควรว่ามีเหตุหรือปัจจัยอื่น ๆ อันอาจส่งผลกระทบต่อรายได้เงินกองทุน ชื่อเสียง หรือการดํารงอยู่ของบริษัท ระบบประกันภัย หรือเสถียรภาพของระบบการเงินซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ สํานักงานอาจสั่งเป็นการทั่วไปหรือเป็นรายกรณีให้บริษัทดําเนินการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) เพื่อศึกษาผลกระทบในเรื่องดังกล่าวได้ หมวด ๑๐ การติดตามและประเมินผล ---------------------- ข้อ ๒๘ บริษัทต้องจัดให้หน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัททําหน้าที่ติดตามและประเมินผลการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานภายในว่าเป็นไปตามกรอบการบริหารความเสี่ยงและนโยบายการบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อประเมินผลการบริหารความเสี่ยงของบริษัทโดยรวม และให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารเพื่อกํากับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ข้อ ๒๙ บริษัทต้องจัดให้มีการทบทวนประสิทธิผลของกรอบการบริหารความเสี่ยงและนโยบายการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งหรือทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์สําคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,550
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 138/2527 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการส่ง และรับเงินของกรมบังคับคดี
ค่าสั่งกรมบังคับคดี ที่ 138/2527 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการส่ง และรับเงินของกรมบังคับคดี ------------------ ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 185/2525 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2525 ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และ กรรมการตรวจสอบการเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการรับ - จ่ายเงิน การเก็บรักษาและ การนําส่งและรับเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ ดังนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1.ผู้อํานวยการกอง กองคลัง (นายบุญมาก ปทุมวัน) เป็นกรรมการ 2. หัวหน้างานบัญชีและงบประมาณ (นางจํานงค์ ฉายานนท์) เป็นกรรมการ 3. หัวหน้างานการเงิน (นางนิภา สินธารา) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการก็บรักษาเงิน ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ 1.หัวหน้างานคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ (นางพิสมัย ทองอ่อน) เป็นกรรมการ 2. นักวิชาการเงินและบัญชี 5 (นางสาวทันใจ ศรีวังพล) เป็นกรรมการ 3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการ) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงิน ไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 1.หัวหน้างานการเงิน (นางนิภา สินธารา) เป็นกรรมการ 2.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 4 (นางศุภมาศ เทมไหรณ์ย) เป็นกรรมการ 3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ 4.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 4 (นางสุภา กงสุวรรณ) เป็นกรรมการ 5. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 3 (นางสาวฉันทนา เจริญทรัพย์) เป็นกรรมการ 6. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 3 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ 7.หน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 3 (นางสาวสมบูรณ์ สกุลเมือง) เป็นกรรมการ 8. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 2 (นางสมใจนึก นาครับ) เป็นกรรมการ 9. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 3 (นางจรรยา นิดแสง) เป็นกรรมการ 10.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 3 (นางสาวนฉวีวรรณ ภาคแก้ว) เป็นกรรมการ ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกัน ควบคุมเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือ สถานที่ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกอง กองคลัง หรือหัวหน้างานการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่นอย่างน้อย หนึ่งคนไปช่วยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และกรรมการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2527 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2527 (นายสวัสดิ์ โชติพานิช) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,551
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์การขอรับความเห็นชอบการใช้บริการบุคคลภายนอก และการรับรองระบบสารสนเทศ พ.ศ. 2560
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การขอรับความเห็นชอบการใช้บริการบุคคลภายนอก และการรับรองระบบสารสนเทศ พ.ศ. 2560 -------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 (2) (3) และข้อ 19 (2) (4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การขอรับความเห็นชอบการใช้บริการบุคคลภายนอก และการรับรองระบบสารสนเทศ พ.ศ. 2560” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า นายหน้าประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ไม่รวมถึงธนาคาร “ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “ผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลภายนอก” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีระบบสารสนเทศไว้ให้บริการในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย การออกกรมธรรม์ประกันภัย หรือการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ “ผู้ตรวจสอบอิสระ” หมายความว่า ผู้ตรวจสอบอิสระที่ได้รับประกาศนียบัตร Certified Information System Auditor (CISA), Certified Information Security Manager (CISM), Certified Information System Security Professional (CISSP) หรือ ISO 27001 Information Security Management หรือโดยหน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ (Certified Body) “หน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ” หมายความว่า หน่วยงานที่ทําหน้าที่ตรวจรับรองระบบสารสนเทศตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล ได้แก่ The British Standards Institution (BSI) หรือ Bureau Veritas หรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body) ได้แก่ United Kingdom Accreditation Service (UKAS) ANSI - ASQ National Accreditation Board (ANAB) และสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หรือหน่วยรับรองระบบงานอื่นที่สํานักงานยอมรับ ข้อ ๔ ให้บริษัทที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบ อว. 1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (1) เอกสารแสดงกิจกรรมและรายละเอียดที่ต้องการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (2) แผนผัง (Flow chart) และขั้นตอนของกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) เอกสารแสดงระบบสารสนเทศและวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อรองรับกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (4) แนวนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล (5) หนังสือรับรองการตรวจรับรองการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในระดับเคร่งครัดสําหรับกิจกรรมตาม (1) โดยผู้ตรวจสอบอิสระตามหนังสือรับรองตามแบบ อว. 3 ที่แนบท้ายประกาศนี้ หรือประกาศนียบัตรที่ออกโดยหน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ ทั้งนี้ บริษัทต้องแสดงข้อมูลแก่สํานักงานจนเป็นที่พอใจได้ว่าระบบสารสนเทศที่ได้รับการรับรองตามประกาศนียบัตรดังกล่าวมีความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในระดับเคร่งครัดสําหรับกิจกรรมตาม (1) ข้อ ๕ ให้นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบ อว. 2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (1) เอกสารแสดงกิจกรรมและรายละเอียดที่ต้องการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (2) แผนผัง (Flow chart) และขั้นตอนของกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) เอกสารแสดงระบบสารสนเทศและวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อรองรับกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (4) แนวนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล (5) หนังสือรับรองการตรวจรับรองการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของบริษัท และนายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร ในระดับเคร่งครัดสําหรับกิจกรรมตาม (1) โดยผู้ตรวจสอบอิสระตามหนังสือรับรองตามแบบ อว. 3 ที่แนบท้ายประกาศนี้ หรือประกาศนียบัตรที่ออกโดยหน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ ทั้งนี้ บริษัท และนายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารต้องแสดงข้อมูลแก่สํานักงานจนเป็นที่พอใจได้ว่าระบบสารสนเทศที่ได้รับการรับรองตามประกาศนียบัตรดังกล่าวมีความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในระดับเคร่งครัดสําหรับกิจกรรมตาม (1) ข้อ ๖ ในการขอขึ้นทะเบียนและขอรับความเห็นชอบการใช้บริการบุคคลภายนอกให้บริษัทดําเนินการหรือจัดการให้นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร ดําเนินการยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบ อว. 4 ที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (1) เอกสารแสดงกิจกรรมและรายละเอียดที่ต้องการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (2) แผนผัง (Flow chart) และขั้นตอนของกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) เอกสารแสดงระบบสารสนเทศและวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อรองรับกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (4) หนังสือรับรองการตรวจรับรองการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และของบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารในระดับเคร่งครัดสําหรับกิจกรรมตาม (1) โดยผู้ตรวจสอบอิสระตามหนังสือรับรองตามแบบ อว. 3 ที่แนบท้ายประกาศนี้ หรือประกาศนียบัตรที่ออกโดยหน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ ทั้งนี้ บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร ต้องแสดงข้อมูลแก่สํานักงานจนเป็นที่พอใจได้ว่าระบบสารสนเทศที่ได้รับการรับรองตามประกาศนียบัตรดังกล่าว มีความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในระดับเคร่งครัดสําหรับกิจกรรมตาม (1) (5) เอกสารแสดงเหตุผลและข้อมูลเกี่ยวกับการกําหนดนโยบาย กระบวนการและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน เช่น ระบบการประเมินความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง ขั้นตอนของการบริการ การควบคุมภายในการรักษาความปลอดภัย และแผนรองรับกรณีที่บุคคลภายนอกไม่สามารถให้บริการได้ (6) สําเนาสัญญาใช้บริการระบบสารสนเทศระหว่างผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร แล้วแต่กรณี ซึ่งครอบคลุมเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ข) การป้องกันการใช้หรือเปิดเผยโดยมิชอบ (ค) การรายงานถึงความผิดปกติและการรายงานถึงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (ง) การป้องกันการจ้างช่วง (จ) สิทธิการตรวจสอบโดยบริษัทและสํานักงาน (ฉ) การคืน ทําลาย หรือลบข้อมูลส่วนบุคคล (ช) ผลของการละเมิดเงื่อนไข ข้อ ๗ ในกรณีที่ บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารยื่นคําขอขึ้นทะเบียนหรือคําขอรับความเห็นชอบการใช้บริการบุคคลภายนอก พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอไม่ถูกต้องครบถ้วน สํานักงานจะแจ้งให้บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารดําเนินการแก้ไขหรือยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเพิ่มเติม ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากไม่ดําเนินการแก้ไข หรือยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขอเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาดังกล่าว โดยปราศจากเหตุอันสมควร สํานักงานมีสิทธิปฏิเสธการพิจารณาคําขอดังกล่าวได้ ข้อ ๘ ในการพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียน หรือคําขอรับความเห็นชอบการใช้บริการบุคคลภายนอก สํานักงานจะพิจารณาคําขอให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอพร้อมเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนแล้ว เว้นแต่กรณีจําเป็นหรือมีเหตุอันสมควร สํานักงานอาจขยายระยะเวลาออกไปก็ได้ ทั้งนี้ ไม่เกินสองครั้ง และครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร แล้วแต่กรณี ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามที่ยื่นขอขึ้นทะเบียน หรือขอรับความเห็นชอบไว้ตลอดเวลา ในกรณีมีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เคยได้รับความเห็นชอบ ให้บริษัทนายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร แล้วแต่กรณี ขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ หากเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบสารสนเทศที่ใช้กับกิจกรรม ให้บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนหรือขอรับความเห็นชอบตามแบบ อว. 1 อว. 2 หรือ อว. 4 ฉบับใหม่ พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอด้วย บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารใด ยื่นคําขอขึ้นทะเบียน หรือคําขอรับความเห็นชอบการใช้บริการบุคคลภายนอก พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอกับสํานักงานภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารนั้น สามารถดําเนินการตามที่ได้ยื่นคําขอไปพลางก่อนได้ จนกว่าสํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาเป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมเอกสารประกอบคําขอครบถ้วนแล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,552
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 136/2527 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินคงเหลือประจำวัน และนำเงินส่งคลัง หรือธนาคารเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ กองคลัง กรมบังคับคดี พ.ศ. 2527
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 136/2527 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินคงเหลือประจําวัน และนําเงินส่งคลัง หรือธนาคารเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ กองคลัง กรมบังคับคดี พ.ศ. 2527 ------------------ เพื่อให้การเก็บรักษาเงินคงเหลือประจําวัน และนําเงินส่งคลังหรือธนาคาร เกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ กองคลัง กรมบังคับคดี ได้เป็นไปโดยเหมาะสม รัดกุม และเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติราชการ ตลอดจนอํานวยความสะดวก รวดเร็ว แต่ความและประชาชนผู้มาติดต่อ จึงเห็นสมควรวางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินคงเหลือประจําวัน และนําเงินส่งคลังหรือฝากธนาคาร กองคลัง กรมบังคับคดี ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ สําหรับเงินสด เช็คหรือคราวที่ได้รับจากคดีต่าง ๆ ในวันหนึ่ง ๆ ให้เจ้าหน้าที่การเงิน กองคลัง กรมบังคับคดี นําส่งคลังหรือธนาคาร ตามระเบียบการเก็บ รักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 และคําสั่งของทางราชการ โดยให้มีเงินสดคงเหลือไว้เพื่อสําหรับจะต้องใช้จ่ายในคดีเป็นประจําวัน เป็นจํานวนไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ข้อ ๒ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่การเงิน กองคลัง กรมบังคับคดี ได้รับเงินสด เช็ค หรือคราฟ ภายหลังที่ได้ทําการปิดบัญชีประจําวันแล้ว และไม่สามารถจะนําเงินสด เช็คหรือกราฟ ดังกล่าวนําส่งคลัง หรือธนาคารได้ทันในวันนั้น ให้เจ้าหน้าที่การเงิน รายงานตามลําดับ บังคับบัญชา เสนออธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายทราบทันที โดยแยกตาม ประเภทคดีแพ่ง คดีล้มละลาย วางทรัพย์ ถ้าเป็นเช็คหรือคราฟให้ระบุว่าได้รับจากคดีใด หรือระบุที่มาของเช็คหรือคราฟไว้ด้วย ข้อ ๓ เงินสด เช็คหรือคราฟ ตามข้อ 2. ให้เจ้าหน้าที่การเงิน กองคลัง จัดการนําส่งคลัง หรือธนาคารอย่างช้าในวันรุ่งขึ้น แล้วรายงานตามลําดับขั้นบังคับบัญชา เสนออธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดี อธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อทราบ ข้อ ๔ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่การเงินนําเช็ค หรือคราฟของบุคคลอื่นใดแลกเปลี่ยน กับเงินสด เช็คหรือกราฟที่ได้รับจากคดี ข้อ ๕ ให้ผู้ตรวจสอบภายใน กรมบังคับคดี ทําหน้าที่ตรวจสอบการรับจ่าย การเก็บรักษา และการน่าเงินส่งคลังหรือธนาคาร กองคลัง กรมบังคับคดี อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แล้วรายงานผลการตรวจสอบเสมอธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมาย ทราบทุกครั้ง ข้อ ๖ การปฏิบัติอื่น ๆ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ การเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ตลอดจนคําสั่งอื่นของทางราชการ โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2527 (นายสวัสดิ์ โชติพานิช) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,553
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคำสั่งนายทะเบียนที่ 8/2560 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งกับรถยนต์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคําสั่งนายทะเบียนที่ 8/2560 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ สําหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งกับรถยนต์ ------------------------------------------ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ตามคําสั่งนายทะเบียน เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ สําหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งกับรถยนต์ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงเห็นสมควรออกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคําสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2560 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ สําหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งกับรถยนต์ ลงวันที่ 3 มีนาคม 2560 ตามแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560 สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,554
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 111/2527 เรื่อง การนำทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดมาเก็บรักษา
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 111/2527 เรื่อง การนําทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดมาเก็บรักษา ----------------- อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 117/2523 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2523 วางระเบียบเกี่ยวกับการนําทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดมาเก็บรักษายังกรมบังคับคดีนั้น บัดนี้ กรมบังคับคดีได้ก่อสร้างสถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตั้งอยู่เลขที่ 33/3 ถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี กิโลเมตรที่ 6 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร จึงเห็นสมควรยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 117/2523 ดังกล่าวและมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บรรดาสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดไว้ให้นํามาเก็บ รักษาไว้ ณ สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน กรมบังคับคดี ทั้งสิ้น เว้นแต่ทรัพย์สินซึ่งมีสภาพ หรือลักษณะไม่เหมาะสมที่จะนํามาเก็บรักษา เช่น 1.1 ทรัพย์ที่มีลักษณะอาจทําให้เกิดสกปรกเลอะเทอะหรือมีกลิ่น ซึ่งอาจรบกวนหรือก่อความรําคาญ 1.2 ทรัพย์ประเภทที่มีน้ําหนักมากหรือไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย หรือมีความสูง หรือความกว้างมาก หรือเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษา หรือทรัพย์สินที่จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน 1.3 ทรัพย์ซึ่งโดยสภาพอาจเกิดอันตรายได้ง่าย เช่น สารวัตถุเคมี หรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง 1.4 ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่โดยเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพของตัวทรัพย์ กรณีดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทํารายงานแจ้งให้ผู้อํานวยการกองกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินทราบ ข้อ ๒ ก่อนออกไปทําการยึดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามผู้นํากว่า ได้จัดเตรียมยานพาหนะที่จะขนย้ายทรัพย์เพื่อนํามาเก็บรักษาไว้ ณ สถานรักษาและจําหน่าย ทรัพย์สิน กรมบังคับคดีแล้วหรือไม่ ถ้าผู้นําจืดไม่พร้อมที่จะขนย้ายทรัพย์เพื่อนํามาเก็บรักษาให้ รายงานผู้อํานวยการกอง กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน เพื่อขอคําสั่งปฏิบัติต่อไป ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทําการยึดทรัพย์แล้ว ไม่สามารถขนย้าย ทรัพย์นํามาเก็บรักษา ณ สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินได้ให้รายงาน ในรายงานขออนุมัติอํานวยการกอง กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน หากมีเหตุพ้นวิสัยไม่อาจขออนุมัติผู้อํานวยการกอง กองยึดอายัด และจําหน่ายทรัพย์สินได้ ก็ให้รายงานให้ผู้อํานวยการกอง กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินทราบ ในโอกาสแรกเท่าที่จะกระทําได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2527 (นายสวัสดิ์ โชติพานิช) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,555
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2560
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (6) (11) และมาตรา 65/2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2559 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และครั้งที่ 13/2559 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า นายหน้าประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ไม่รวมถึงธนาคาร “ธนาคาร'' หมายความว่า ธนาคารที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “ผู้มุ่งหวัง” หมายความว่า ผู้ที่ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัยธนาคาร หรือบริษัทชักชวนหรือชี้ช่อง หรือจัดการให้ทําประกันวินาศภัย “การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย” ในกรณีที่กระทําโดยบริษัท หมายความว่า การเชิญชวนให้ผู้มุ่งหวังทําสัญญาประกันภัย ในกรณีที่กระทําโดยตัวแทนประกันวินาศภัย หมายความว่า การชักชวนให้ผู้มุ่งหวังทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท ในกรณีที่กระทําโดยนายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร หมายความว่า การชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้มุ่งหวังทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท “การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การเชิญชวน ชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้มุ่งหวังทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่พึ่งพาพนักงานของบริษัท ตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยบุคคลธรรมดา ในการนําเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัย และให้ผู้มุ่งหวังแสดงเจตนาขอทําสัญญาประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยทางโทรศัพท์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร หมวด ๑ บททั่วไป --------------------------- ข้อ ๔ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย การออกกรมธรรม์ประกันภัย การชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และไม่ขัดหรือแย้งกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกัน ข้อ ๕ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหมวด 2 บริษัทนายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร ต้องปฏิบัติตามหมวด 3 ส่วนที่ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัยและธนาคาร และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อ ๖ การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยตามหมวด 3 บริษัท ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย การชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามหมวด 5 ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย ข้อ ๗ มาตรฐานโครงสร้างข้อมูล มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือการเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือกฎหมายและมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๘ สํานักงานมีอํานาจกําหนดแนวปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคารได้ปฏิบัติตามประกาศในส่วนที่เกี่ยวข้องนี้แล้ว หมวด ๒ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ --------------------------- ข้อ ๙ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ดําเนินการโดยบริษัทนายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร เท่านั้น การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยนายหน้าประกันวินาศภัยหรือธนาคาร ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัท โดยบริษัทมีหน้าที่กํากับดูแลการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ของนายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคารที่ได้รับความยินยอม ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถกํากับดูแลให้นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารปฏิบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ ให้บริษัทยุติการให้ความยินยอมให้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บริษัทตรวจพบหรือรับแจ้งจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทตรวจพบให้แจ้งให้สํานักงานทราบภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๐ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องกระทําตามวิธีการแบบปลอดภัยในระดับที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๑๑ กรมธรรม์ประกันภัยที่เสนอขายผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้เสนอขายผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ่ายผลประโยชน์เบี้ยประกันภัย หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาตัดสินใจทําประกันภัยของผู้มุ่งหวัง ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๑๒ บริษัทต้องปฏิบัติหรือจัดการให้นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร ปฏิบัติเกี่ยวกับการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้ (1) แสดงขั้นตอนการขอทําประกันภัย ช่องทางการติดต่อ วิธีการร้องเรียน และช่องทางการติดต่อในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องกับการให้บริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (2) แสดงใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ในกรณีนายหน้าประกันวินาศภัยหรือธนาคารได้รับอนุญาตจากบริษัทให้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) แสดงวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าต้องการขายประกันภัยให้ผู้มุ่งหวังที่เป็นลูกค้ากลุ่มใด และลูกค้ากลุ่มดังกล่าวจะได้ประโยชน์อะไรจากการตัดสินใจซื้อ หรือแนะนําผู้มุ่งหวังทําประกันวินาศภัยให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและความสามารถในการชําระเบี้ยประกันภัย (suitability requirement) (4) แสดงข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย ดังต่อไปนี้ (ก) สรุปเงื่อนไขทั่วไป ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและข้อยกเว้นความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ที่ผ่านการให้ความเห็นชอบจากบริษัท (ข) จํานวนเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัย และสัญญาเพิ่มเติม (ถ้ามี) ระยะเวลาเอาประกันภัย ระยะเวลาชําระเบี้ยประกันภัย (ค) คําเตือนให้ผู้มุ่งหวังศึกษา อ่าน และทําความเข้าใจ ในข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย (5) จัดให้ผู้มุ่งหวังระบุตัวตน และยืนยันตัวตนก่อนแสดงเจตนาขอทําประกันภัย (6) เมื่อผู้มุ่งหวังแสดงเจตนาขอทําประกันภัย จัดให้ผู้มุ่งหวังระบุระบบข้อมูลในการรับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร แล้วแต่กรณี ต้องนําส่งข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยตาม (4) ให้แก่ผู้มุ่งหวังตามระบบข้อมูลที่ระบุไว้ และจัดให้ผู้มุ่งหวังสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้ตลอดอายุความตามกฎหมาย ในกรณีมีการตกลงรับประกันภัย (7) แจ้งช่องทางการชําระเบี้ยประกันภัย ในกรณีผู้มุ่งหวังชําระเบี้ยประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็นการชําระเบี้ยประกันภัยเข้าบัญชีบริษัทเท่านั้น (8) ออกเลขที่อ้างอิงหรือเอกสารอ้างอิงทางอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งส่งข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย สรุปเงื่อนไขทั่วไป ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและข้อยกเว้นความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้มุ่งหวัง (9) เมื่อมีการชําระเบี้ยประกันภัยแล้ว ต้องออกเอกสารการรับเงินของบริษัทให้แก่ผู้มุ่งหวัง (10) ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่บริษัทส่งกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย บริษัทต้องขอคํายืนยันจากผู้มุ่งหวังอีกครั้ง การขอคํายืนยันสามารถทําโดยการโทรศัพท์ไปหาผู้มุ่งหวัง หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ในการขอคํายืนยัน บริษัทต้องแจ้งให้ผู้มุ่งหวังทราบด้วยว่า หากยังคงยืนยันในการทําสัญญาประกันภัย ผู้มุ่งหวังมีสิทธิขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย (Free Look Period) ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ผู้มุ่งหวังได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัท หรือมากกว่าสิบห้าวัน ทั้งนี้ ขึ้นกับแบบกรมธรรม์ ประกันภัยที่มีการเสนอขาย เว้นแต่ กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยการเดินทางไม่ต้องมีเงื่อนไขขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย ให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัยเต็มจํานวนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น การคืนเบี้ยประกันภัยให้บริษัทดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทได้รับแจ้งการขอใช้สิทธิยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย และแจ้งช่องทางการรับคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้มุ่งหวังทราบ ในกรณีขอคํายืนยันทางโทรศัพท์ เมื่อได้รับอนุญาตให้สนทนา จะต้องขออนุญาตผู้มุ่งหวังในการบันทึกเทปสนทนา โดยต้องบันทึกตั้งแต่ได้รับอนุญาตจนกระทั่งสิ้นสุดจากการสนทนาและให้บริษัทเก็บเทปสนทนาดังกล่าวไว้เป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาของสัญญาประกันภัยนั้น ในการสนทนาต้องมีรายละเอียดดังนี้ (ก) ชื่อ นามสกุลของผู้ทําการติดต่อ (ข) สอบถามผู้มุ่งหวังว่าได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วหรือไม่ (ค) สอบถามผู้มุ่งหวังว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับเงื่อนไข ความคุ้มครอง ข้อยกเว้นใด ๆ หรือไม่หากมีจะต้องมีการอธิบายให้ผู้มุ่งหวังจนสิ้นสงสัย ข้อ ๑๓ ในการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้มุ่งหวัง ต้องส่งไปยังระบบข้อมูลที่ผู้มุ่งหวังระบุไว้เท่านั้น และบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร แล้วแต่กรณี ต้องลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะที่เชื่อถือได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ สํานักงานจะประกาศไว้เป็นอย่างอื่น หมวด ๓ การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย --------------------------- ข้อ ๑๔ ในกรณีที่พนักงานบริษัท ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัยหรือธนาคารเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย โดยที่ผู้มุ่งหวังต้องแสดงเจตนาขอทําประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องกระทําตามวิธีการแบบปลอดภัยในระดับที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้มุ่งหวังต้องส่งไปยังระบบข้อมูลที่ผู้มุ่งหวังระบุไว้เท่านั้นและบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร แล้วแต่กรณี ต้องลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะที่เชื่อถือได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ สํานักงานจะประกาศไว้เป็นอย่างอื่น การเสนอขายกรมธรรม์ประกันวินาศภัยตามวรรคหนึ่งโดยตัวแทนประกันวินาศภัย ต้องใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่บริษัทเห็นชอบเท่านั้น หมวด ๔ การออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ --------------------------- ข้อ ๑๕ เมื่อบริษัทพิจารณาตอบตกลงรับประกันภัยรายใด หากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะให้บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องกระทําตามวิธีการแบบปลอดภัยในระดับที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และบริษัทต้องลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะที่เชื่อถือได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ สํานักงานจะประกาศไว้เป็นอย่างอื่น การออกกรมธรรม์ประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญาให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทจะต้องแนบเอกสารสรุปเงื่อนไขความคุ้มครอง ข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยไปพร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัยนั้น กรณีเป็นการรับประกันภัยกลุ่ม ให้บริษัทส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยและเอกสารสรุปเงื่อนไขความคุ้มครอง ข้อยกเว้นให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย ส่วนผู้ได้รับความคุ้มครองหรือสมาชิก ให้บริษัทออกหนังสือรับรองการประกันภัย พร้อมเอกสารสรุปเงื่อนไข ความคุ้มครองข้อยกเว้น โดยต้องส่งไปยังระบบข้อมูลของบุคคลดังกล่าวที่ได้ระบุไว้เท่านั้น แล้วแต่กรณี เว้นแต่ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยและบริษัทจะตกลงไว้เป็นอย่างอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย การออกกรมธรรม์ประกันภัย หนังสือรับรองการประกันภัย และเอกสารตามวรรคสองและวรรคสาม ต้องส่งไปยังระบบข้อมูลของผู้เอาประกันภัย ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย หรือผู้ได้รับความคุ้มครองหรือสมาชิก แล้วแต่กรณี ที่ได้ระบุไว้เท่านั้น บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการแจ้งเตือนแก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยหรือผู้ได้รับความคุ้มครองหรือสมาชิก แล้วแต่กรณี เมื่อได้ดําเนินการส่งกรมธรรม์ประกันภัยหรือหนังสือรับรอง และเอกสารตามวรรคสองและวรรคสามแล้ว บริษัทต้องจัดให้ผู้เอาประกันภัย ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย ผู้ได้รับความคุ้มครองหรือสมาชิกหรือผู้รับประโยชน์ แล้วแต่กรณี สามารถตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัย หนังสือรับรองการประกันภัยและเอกสารตามวรรคสองและวรรคสาม แล้วแต่กรณี ที่บริษัทส่งให้ได้ตลอดอายุความตามกฎหมายหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหากมีการฟ้องร้องคดี หมวด ๕ การชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ --------------------------- ข้อ ๑๖ การจัดให้มีการเรียกร้องให้ชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (1) แสดงวิธีการเรียกร้องให้ชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และวิธีการส่งเอกสารเกี่ยวกับการเรียกร้องให้ชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (2) การจัดให้ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ เรียกร้องหรือส่งเอกสารเกี่ยวกับการให้บริษัทชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องกระทําตามวิธีการแบบปลอดภัยในระดับที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) จัดให้ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ แล้วแต่กรณี ยืนยันตัวตนก่อนการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (4) การส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ต้องส่งไปยังระบบข้อมูลที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ไว้เท่านั้น และต้องลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะที่เชื่อถือได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ สํานักงานจะประกาศไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๗ หากต้องมีการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนต้องจ่ายเข้าบัญชีของผู้เอาประกันวินาศภัย หรือผู้รับประโยชน์ แล้วแต่กรณี หมวด ๖ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ --------------------------- ข้อ ๑๘ ในกรณีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย การออกกรมธรรม์ประกันภัย หรือการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย หากส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นการกระทําโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และก่อความผูกพันตามกฎหมายขึ้นระหว่างบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัยหรือธนาคาร กับผู้มุ่งหวัง ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 10 ข้อ 14 ข้อ 15 หรือข้อ 16 แล้วแต่กรณี บริษัทต้องดําเนินการหรือจัดการให้นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร ดําเนินการดังนี้ (1) จัดให้มีแนวนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล (2) จัดให้มีการตรวจรับรองระบบสารสนเทศโดยผู้ตรวจสอบอิสระที่ได้รับใบอนุญาต Certified Information System Auditor (CISA), Certified Information Security Manager (CISM), Certified Information System Security Professional (CISSP) หรือ ISO 27001 Information Security Management หรือใบอนุญาตอื่น หรือโดยหน่วยงานรับรองระบบสารสนเทศ (Certified Body) ตามที่สํานักงานประกาศกําหนดเพื่อรับรองการกระทําตามวิธีการแบบปลอดภัยในระดับที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) ขึ้นทะเบียนกับสํานักงานก่อนดําเนินธุรกรรม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สํานักงานประกาศกําหนด พร้อมแสดงหลักฐานการตรวจสอบรับรองระบบสารสนเทศ ตาม (2) ในกรณีที่มีการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยขอขึ้นทะเบียนไว้ ให้บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร แล้วแต่กรณี แจ้งสํานักงานเพื่อขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลทางทะเบียนก่อนดําเนินการ หมวด ๗ การใช้บริการบุคคลภายนอก --------------------------- ข้อ ๑๙ ในกรณีบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร ใช้บริการระบบสารสนเทศของผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย การออกกรมธรรม์ประกันภัยหรือการชดใช้เงินหรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย หากส่วนหนึ่งส่วนใดของการใช้บริการเป็นการกระทําเกี่ยวกับการก่อความผูกพันตามกฎหมายขึ้นระหว่างบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัยหรือธนาคาร กับผู้มุ่งหวัง ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 15 หรือข้อ 16 แล้วแต่กรณี บริษัทต้องดําเนินการหรือจัดการให้นายหน้าประกันวินาศภัยหรือธนาคาร ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการต้องกระทําตามวิธีการแบบปลอดภัยในระดับที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (2) จัดให้มีการตรวจรับรองระบบสารสนเทศ ตามข้อ 18 (2) (3) แสดงเหตุผลและข้อมูลเกี่ยวกับการกําหนดนโยบาย กระบวนการและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน เช่น ระบบการประเมินความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง ขั้นตอนของการบริการ การควบคุมภายในการรักษาความปลอดภัย และแผนรองรับกรณีที่บุคคลภายนอกที่ให้บริการไม่สามารถให้บริการได้ (4) ขอรับความเห็นชอบการใช้บริการของบุคคลภายนอกจากสํานักงาน โดยดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) แจ้งชื่อบุคคลภายนอกที่ให้บริการ (ข) กําหนดในสัญญาที่ทําขึ้นกับบุคคลภายนอกโดยมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 1) มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2) การป้องกันการใช้หรือเปิดเผยโดยมิชอบ 3) การรายงานถึงความผิดปกติและการรายงานถึงการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล 4) การป้องกันการจ้างช่วง 5) สิทธิการตรวจสอบโดยบริษัทและสํานักงาน 6) การคืน ทําลาย ลบ ข้อมูลส่วนบุคคล 7) ผลของการละเมิดเงื่อนไข ข้อ ๒๐ การใช้บริการจากบุคคลภายนอก บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารยังคงมีความรับผิดชอบเสมือนหนึ่งเป็นผู้ดําเนินการเอง หมวด ๘ การแก้ไขการดําเนินการ การเพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ --------------------------- ข้อ ๒๑ ในกรณีที่บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารไม่สามารถดําเนินการตามข้อ 18 หรือข้อ 19 หรือดําเนินการไม่ครบถ้วน สํานักงานมีอํานาจดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) มีคําสั่งให้บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร แก้ไขการดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 18 หรือข้อ 19 แล้วแต่กรณี ให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (2) เพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 18 (3) หรือข้อ 19 (4) ทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่บริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร ไม่ดําเนินการแก้ไขตาม (1) โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือจงใจฝ่าฝืนไม่ดําเนินการตามข้อ 18 หรือข้อ 19 แล้วแต่กรณี ในกรณีที่สํานักงานเพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งสํานักงานมีอํานาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการรับพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนหรือขอความเห็นชอบของบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร ในครั้งต่อไปได้ สํานักงานจะไม่นําเหตุที่สํานักงานเพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอขึ้นทะเบียนหรือการให้ความเห็นชอบ หากบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคาร ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่สํานักงานได้กําหนดไว้ตามวรรคสองแล้ว หมวด ๙ บทเฉพาะกาล --------------------------- ข้อ ๒๒ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย การออกกรมธรรม์ประกันภัย การชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ที่ได้ดําเนินการโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับหากเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถดําเนินการได้ต่อไป แต่บริษัทต้องดําเนินการหรือจัดการให้นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารดําเนินการตามประกาศนี้ให้ครบถ้วนในวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,556
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 57/2527 เรื่อง การเก็บรักษาทรัพย์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 57/2527 เรื่อง การเก็บรักษาทรัพย์ ----------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์ กองยึดอายัดและจําหน่าย - ทรัพย์สิน เป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ : ข้อ ๑ บรรดาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และมิได้มอบให้บุคคลอื่นดูแลรักษา ให้นํามาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ข้อ ๒ การรับและส่งทรัพย์เพื่อทําการเก็บรักษาหรือเพื่อดําเนินการใด ๆ ก็ดี ให้เจ้าหน้าที่ของงานรักษาทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการรับและส่งทรัพย์ ลงชื่อไว้ในบัญชีเป็นหลักฐานทุกครั้ง ข้อ ๓ ให้หัวหน้างานรักษาทรัพย์รายงานการเก็บรักษาทรัพย์พร้อมกับจํานวนทรัพย์ ที่รับเข้า จําหน่ายออก และคงเหลือ เสนอผู้อํานวยการกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน เพื่อรายงานอธิบดีกรมบังคับคดีพร้อมกับรายงานกิจการประจําเดือนของกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ข้อ ๔ ให้มีกรรมการชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ตรวจการบังคับคดี ผู้ตรวจสอบภายใน และหัวหน้างานบัญชีและงบประมาณหรือผู้แทน โดยมีผู้ตรวจการบังคับคดีเป็นประธาน ทําการ - ตรวจสอบทรัพย์ที่เก็บรักษาว่าถูกต้องตามบัญชีหรือไม่ โดยให้เริ่มทําการตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม และรายงานผลการตรวจสอบพร้อมทั้งความเห็นและข้อสังเกตให้อธิบดีกรมบังคับคดีทราบ ภายในวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี และให้กรรมการชุดนี้ทําการตรวจสอบในลักษณะเดียวกัน เมื่อทําการขนย้ายทรัพย์สินที่เก็บรักษาไว้ ไปทําการเก็บรักษาที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน เมื่อเริ่มดําเนินการ และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวหัวหน้างานรักษาทรัพย์ ข้อ ๕ หากมีกรณีที่จะต้องดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นที่สงสัยหรือการอื่นใด ที่มิได้มีระเบียบหรือคําสั่งวางไว้ ให้หัวหน้างานรักษาทรัพย์เสนอรายงานพร้อมทั้งความเห็น - ตามลําดับชั้นเพื่อให้อธิบดีกรมบังคับคดีพิจารณาสั่งการต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2527 (นายสวัสดิ์ โชติพานิช) อธิบดีกรมบังคับ
5,557
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 126/2523 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวกรรมการนำส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 126/2523 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี ------------------------ ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 69/2522 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2522 ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการ ตรวจสอบการเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการรับ-จ่าย การเก็บรักษาและการนําส่งและ รับเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น I บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ขึ้นใหม่ ดังนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1 ผู้อํานวยการกอง กองคลัง (นายวิมล ราชเทวินทร์) เป็นกรรมการ 2. หัวหน้างานบัญชีและงบประมาณ (นางเสาวภา สถิตมีสินทากาศ) เป็นกรรมการ 3. หัวหน้างานการเงิน (นาง พิสมัย ทองอ่อน) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในขอ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการ รักษาเงิน ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ 1.หัวหน้างานคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ (นางนิภา สินธารา) เป็นกรรมการ 2. นักวิชาการเงินและบัญชี 4 (นางสาวทูนใจ ศรีวังพล) เป็นกรรมการ 3. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 1.หัวหน้างานการเงิน (นาง พิสมัย ทองอ่อน) เป็นกรรมการ 2. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางศุภมาศ เหมไหรณย์) เป็นกรรมการ 3. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ 4. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางสาววรรณศิริ ทองวรรณ) เป็นกรรมการ 5. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 (นางจรรยา นิลแสง) เป็นกรรมการ 6. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 (นางสาวฉันทนา เจริญทรัพย์) เป็นกรรมการ 7. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ 8.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 (นางสาวสมบูรณ์ สกุลเมือง) เป็นกรรมการ ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกัน ควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกลหรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกอง กองคลัง หรือหัวหน้างานการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ ตํารวจหรือข้าราชการอื่นอย่างน้อย 1 คน ไปร่วมควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2523 (นายขูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,558
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาการขอผ่อนผันและการผ่อนผันให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ในกรณีเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของบริษัทประกันวินาศภัยหรือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาการขอผ่อนผันและการผ่อนผัน ให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและ จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่ง ของจํานวนกรรมการทั้งหมด ในกรณีเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของบริษัทประกันวินาศภัย หรือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559 ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาการขอผ่อนผันและการผ่อนผันให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ในกรณีเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของบริษัทประกันวินาศภัยหรือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย” หมายความว่า คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อ ๔ บริษัทที่จะยื่นคําขอผ่อนผันให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดต่อรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการตามประกาศนี้ได้ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio : CAR) ไม่ต่ํากว่าอัตราที่กําหนดไว้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการกําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (2) มีแผนการดําเนินธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของบริษัทประกันวินาศภัย และธุรกิจประกันวินาศภัยโดยภาพรวม ข้อ ๕ บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่บริษัทจะขอผ่อนผันให้เข้ามาถือหุ้นในบริษัท ตามข้อ 4 ได้ต้องเป็นบริษัทประกันภัย หรืออยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี (2) มีฐานะการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง โดยบุคคลดังกล่าวหรือบริษัทแม่ของบุคคลดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A จากสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับและมีเครือข่ายการประกอบธุรกิจในระดับสากล (3) มีนโยบายการดําเนินธุรกิจ แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาระบบการบริหารงาน เสริมสร้างศักยภาพในการดําเนินธุรกิจและความสามารถ ในการแข่งขันของบริษัท (4) มีความสามารถที่จะสนับสนุนทางการเงินให้บริษัทสามารถดําเนินการตามแผนการดําเนินธุรกิจที่กําหนดไว้ในข้อ 4 (2) และประกอบธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ ข้อ ๖ ในการขอผ่อนผัน ให้บริษัทยื่นคําขอผ่อนผันต่อรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการโดยยื่นผ่านสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดการคํานวณอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน ณ สิ้นไตรมาส หรือสิ้นปีล่าสุด (2) แผนการดําเนินธุรกิจ ซึ่งมีระยะเวลาอย่างน้อยสามปี ที่แสดงให้เห็นถึงการเสริมสร้างความมั่นคง การพัฒนาระบบการบริหารงาน ธรรมาภิบาล ระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ ระบบเทคโนโลยีรวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี บุคลากรมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยและช่องทางการจัดจําหน่าย เพื่อยกระดับมาตรฐานและศักยภาพในการดําเนินงานและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้เติบโตและมีเสถียรภาพ โดยต้องประกอบด้วยรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) กลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ แนวทางและเป้าหมายหลักในการดําเนินธุรกิจ 2) กลุ่มฐานธุรกิจและผลิตภัณฑ์ประกันภัยหลัก 3) กลุ่มฐานลูกค้าเป้าหมาย 4) กลยุทธ์ในการแข่งขัน และการเข้าถึงลูกค้า (ข) แผนธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย 1) เป้าหมายและการขยายธุรกิจ 2) การรับประกันภัย และการประกันภัยต่อ 3) การบริหารสินทรัพย์หนี้สิน และการลงทุน 4) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย กระบวนการเสนอขาย และช่องทางการจัดจําหน่าย (ค) ธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามกฎหมาย (ง) ระบบปฏิบัติการทางด้านบัญชี การเงิน ฐานข้อมูล การรับประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทน การให้บริการลูกค้า (จ) แผนงานพัฒนาระบบเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ (ฉ) แผนงานทรัพยากรบุคคล โดยการจัดให้มีบุคลากรในสายงานต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติและความเชี่ยวชาญในจํานวนที่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ผู้สอบบัญชี และผู้พิจารณารับประกันภัย รวมถึงแผนในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะของบุคลากรในบริษัท (ช) แผนการบริหารเงินกองทุน และข้อมูลทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วย 1) แผนการบริหารเงินกองทุน รายละเอียดการเพิ่มทุน และระดับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนเป้าหมายซึ่งมีความสัมพันธ์กับผลการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงภายในบริษัท (Own Risk and Solvency Assessment : ORSA) รวมถึงแผนงานในกรณีที่ระดับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ํากว่าระดับเป้าหมาย 2) ประมาณการงบการเงินและประมาณการอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัทอย่างน้อยสามปี พร้อมแสดงรายละเอียดของสมมติฐานในการจัดทําประมาณการดังกล่าว 3) นโยบายการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น (ซ) การวิเคราะห์ภาวะแข่งขัน ซึ่งประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมประกันภัย 2) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการดําเนินธุรกิจ (3) เอกสารที่แสดงว่าบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่บริษัทจะขอผ่อนผันให้เข้ามาถือหุ้น ในบริษัทมีคุณสมบัติและความสามารถเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 5 ซึ่งประกอบด้วยเอกสารอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย เช่น โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจและขององค์กร ความเชี่ยวชาญ ผลการดําเนินงานที่ผ่านมา งบการเงินที่ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีย้อนหลังสามปี เป็นต้น (ข) ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสามปีย้อนหลัง โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือและรายงานผลการจัดอันดับครั้งล่าสุด (ค) หลักฐานแสดงการประกอบธุรกิจของผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 5 เช่น หนังสือรับรองการจัดตั้งบริษัท หรือหนังสือแสดงการเป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจ ที่รับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้นซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือโนตารีพับลิคหรือบุคคลซึ่งมีอํานาจหน้าที่อย่างเดียวกันกับโนตารีพับลิค เป็นต้น ทั้งนี้ กรณีที่บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 5 เป็นผู้อยู่ภายใต้การกํากับของหน่วยงานกํากับในต่างประเทศ ต้องมีเอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศนั้น ๆ จากหน่วยงานกํากับ (ง) หนังสืออนุญาตให้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทตามข้อ 4 เพื่อประกอบธุรกิจหรือหนังสือรับรองการดําเนินงานที่เป็นมาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบของหน่วยงานกํากับของประเทศนั้น ๆ ในกรณีที่บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 5 เป็นผู้อยู่ภายใต้การกํากับของหน่วยงานกํากับในต่างประเทศ (จ) หนังสือรับรองของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 5 หรือหนังสือรับรองของบริษัทแม่ของบุคคลดังกล่าวดังนี้ 1) รับรองว่าจะดูแลและดําเนินการให้บริษัทที่ขอผ่อนผันตามประกาศนี้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และนโยบายของหน่วยงานกํากับในประเทศไทย ทั้งที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีในอนาคต 2) รับรองว่าจะให้การสนับสนุนด้านสภาพคล่องและการเพิ่มทุนในบริษัทที่ขอผ่อนผันตามประกาศนี้อย่างเต็มที่โดยทันทีที่อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนลดลงหรือมีแนวโน้มว่าจะลดลงต่ํากว่าอัตราส่วนเป้าหมายที่บริษัทกําหนดไว้ในแผนการดําเนินธุรกิจ 3) รับรองว่าจะให้ข้อมูลแก่สํานักงานเมื่อร้องขอ (4) โครงสร้างองค์กร ที่เป็นไปตามกรอบธรรมาภิบาล สอดคล้องและเอื้อต่อการดําเนินการตามแผนการดําเนินธุรกิจ (5) โครงสร้างผู้ถือหุ้นในปัจจุบันและภายหลังได้รับการผ่อนผัน (6) ในกรณีที่บริษัทมีความประสงค์จะขอผ่อนผันให้มีกรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด บริษัทต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ (ก) หนังสือรับรองของบริษัทที่แสดงว่าบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่จะเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้งมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบตามที่ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยแนวปฏิบัติโครงสร้าง คุณสมบัติ และข้อพึงปฏิบัติที่ดีของกรรมการบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยกําหนด (ข) เอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสัดส่วนของกรรมการของบริษัทในปัจจุบันและภายหลังได้รับการผ่อนผัน ข้อ ๗ ในการพิจารณาผ่อนผันตามประกาศนี้ สํานักงานอาจให้บริษัทหรือบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่จะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทตามข้อ 5 เข้ามาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการได้ หากบริษัทหรือบุคคลดังกล่าวมิได้ดําเนินการตามที่กําหนด ให้ถือว่าบริษัทไม่มีความประสงค์จะยื่นขอผ่อนผันตามประกาศนี้อีกต่อไป ข้อ ๘ ในการพิจารณาคําขอผ่อนผันตามประกาศนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาและเสนอคําแนะนําต่อรัฐมนตรีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอผ่อนผันพร้อมเอกสารและคําชี้แจงประกอบการพิจารณาถูกต้องครบถ้วน โดยรัฐมนตรีจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัททราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําแนะนําจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ ในการผ่อนผันรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการอาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ข้อ ๙ เมื่อได้รับการผ่อนผันจากรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการตามประกาศนี้แล้ว (1) บริษัทต้องมีเงินกองทุนที่สามารถนํามาใช้ได้ทั้งหมด (total capital available) ไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันล้านบาทตลอดระยะเวลาการดําเนินธุรกิจ (2) การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 บริษัทต้องดําเนินการดังนี้ (ก) การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตั้งแต่ร้อยละห้าขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด บริษัทต้องรายงานให้นายทะเบียนทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง (ข) การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 5 ซึ่งเป็นผลให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยอื่นรายหนึ่งรายใดถือหุ้นในบริษัทตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยอื่นนั้นมิใช่ผู้ที่เคยได้รับการผ่อนผันตามประกาศนี้ บริษัทต้องขอผ่อนผันต่อรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ (3) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 5 และนิติบุคคลหรือบุคคลที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยดังกล่าว ไม่สามารถประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยในรูปแบบสาขาบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ หรือถือหุ้นในบริษัทประกันวินาศภัยอื่น เว้นแต่ มีเหตุอันควรและได้รับการผ่อนผันจากรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ หรือเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมหรือกิจการที่มีลักษณะในทํานองเดียวกันกับกองทุนรวม และไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้น (4) การจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นจะกระทําได้ต่อเมื่อบริษัทได้ดําเนินการตามแผนการดําเนินธุรกิจตามข้อ 6 (2) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการกําหนดครบถ้วน และบริษัทต้องมีกําไรสุทธิต่อเนื่องอย่างน้อยสองปีรวมงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ กําไรสุทธิต้องเป็นกําไรอันเกิดจากการประกอบธุรกิจที่ปรากฏในงบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บริษัทผู้ได้รับการผ่อนผัน มีแผนการรับโอนกิจการทั้งหมดหรือควบรวมกิจการโดยการเข้าไปถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทผู้โอนกิจการ และเป็นผลให้บริษัทผู้โอนกิจการมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ให้ถือว่ารัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการได้ผ่อนผันให้บริษัทผู้โอนกิจการมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด เป็นการชั่วคราว เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามแผนการรับโอนกิจการทั้งหมดหรือควบรวมกิจการของบริษัทผู้ได้รับการผ่อนผัน ข้อ ๑๑ ในกรณีบริษัทไม่ปฏิบัติตามข้อ 9 หรือเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการกําหนด หรือแผนการดําเนินธุรกิจ ตามข้อ 6 (2) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) หรือผู้ให้คํารับรองตามข้อ 6 (3) (จ) ไม่ปฏิบัติตามหนังสือรับรองที่ให้ไว้ ให้สํานักงานสั่งให้บริษัทแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดแต่ไม่เกินเก้าสิบวัน หากบริษัทไม่ดําเนินการให้แล้วเสร็จรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ อาจทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการผ่อนผันได้เมื่อเห็นสมควร ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5,559
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 64/2524 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีศาลมีหมายแจ้งคำสั่งพิทักษ์ พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 64/2524 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีศาลมีหมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ----------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีที่ได้รับหมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์จากศาล กับกรณีที่ลูกหนี้อาจถูกบังคับคดีแพ่งอยู่ก่อนแล้ว เป็นไปด้วยความมีระเบียบเรียบร้อย รวดเร็ว และรัดกุมยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการกรมบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่องานทําความได้รับหมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้จากศาล แล้วให้ดําเนินการตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 6/2518 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 พร้อมกันนี้ ให้งานคําคู่ความจัดส่งสําเนาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้กองคลังทราบในวันเดียวกันนั้น ข้อ ๒ เมื่อได้รับคําสั่งจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ตรวจสอบคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับ คดีล้มละลาย ให้งานคําความตรวจสอบบัญชีสารบบสํานวนคดีแพ่งว่าลูกหนี้ (ในคดีล้มละลาย ถูกบังคับคดีแพ่งไว้ก่อนแล้วหรือไม่ แล้วรีบแจ้งงานเก็บสํานวนและสถิติทราบ เพื่อนําสํานวน คดีแพ่งที่เกี่ยวข้องมาช่วงไว้กับคดีล้มละลาย และให้งานเก็บสํานวนและสถิติบันทึกไว้ในบัญชี สารบบสํานวน และใช้ตรายางประทับไว้ที่หน้าปกสํานวนทุกสํานวนที่เกี่ยวข้องกันด้วย ข้อ ๓ ให้เลขานุการกรมดูแล สอดส่อง การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 4 พฤษภาคม 2524 (นายสวัสดิ์ รอดเจริญ) รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมบังคับคดี
5,560
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดแบบแจ้งการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบแจ้งการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559 -------------------------------- ด้วย ข้อ 29 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 ได้กําหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยต้องจัดให้มีตัวแทน ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายเป็นผู้ติดต่อกับสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และให้บริษัทแจ้งการแต่งตั้งหรือสิ้นสุดการแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวต่อสํานักงาน คปภ. สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศกําหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยใช้แบบแจ้งการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,561
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 201/2523 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและกรรมการนำส่งเงินหรือรับเงินหรือนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงานของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 201/2523 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว และกรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้ง สํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 --------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 63/2522 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2522 ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแหน่ชั่วคราวและกรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงิน ไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 ตามระเบียบการรับ-จ่าย การเก็บรักษา และการนําส่งและรับเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 ขึ้นใหม่ ดังนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1.หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 3. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้คือ 1. เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไปสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 2.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานคือ 1. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ซึ่งเป็นเงินสด มีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงินให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 เป็นผู้พิจารณา จัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนํา เงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 30 กันยายน 2523 (นายสวัสดิ์ รอดเจริญ) รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมบังคับคดี
5,562
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาการขอผ่อนผันและการผ่อนผันให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ในกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาการขอผ่อนผันและการผ่อนผัน ให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง และจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่ง ของจํานวนกรรมการทั้งหมด ในกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยมีฐานะหรือการดําเนินการ อยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน พ.ศ. 2559 -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาการขอผ่อนผันและการผ่อนผันให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ในกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยมีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน พ.ศ. 2559” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย” หมายความว่า คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ข้อ ๔ บริษัทที่จะยื่นคําขอผ่อนผันให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้เกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด หรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดต่อรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการตามประกาศนี้ได้ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทที่มีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ตามกรณีดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีคําสั่งให้บริษัทแก้ไขฐานะหรือการดําเนินการ สั่งให้เพิ่มทุน ลดทุน หรือสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 หรือ (ข) กรณีที่เกิดภัยร้ายแรงกระทบต่อธุรกิจประกันภัยเป็นวงกว้างจนทํา ให้บริษัทมีภาระหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนเพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมากและส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนที่บริษัทต้องดํารงตามกฎหมายอย่างมีนัยสําคัญ (2) ผู้ถือหุ้นเดิมไม่สามารถเพิ่มทุนได้ และ (3) ไม่สามารถหาผู้ลงทุนผู้มีสัญชาติไทยซึ่งจะนําเงินเข้ามาเพิ่มทุนได้จนทําให้บริษัทสามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพในระยะยาวได้ ข้อ ๕ บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่บริษัทจะขอผ่อนผันให้เข้ามาถือหุ้นในบริษัทตามข้อ 4 ได้ต้องเป็นบริษัทประกันภัย หรืออยู่ในกลุ่มธุรกิจประกันภัย หรือธุรกิจการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย ซึ่งมีคุณสมบัติและความสามารถ ดังต่อไปนี้ (1) มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี (2) มีฐานะการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง โดยบุคคลดังกล่าว หรือบริษัทแม่ของบุคคลดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A จากสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ที่ได้รับการยอมรับและมีเครือข่ายการประกอบธุรกิจในระดับสากล (3) มีแผนการดําเนินธุรกิจ แผนการแก้ไขฐานะทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญที่ชัดเจน เพื่อปรับปรุงการบริหารงาน เสริมสร้างศักยภาพในการดําเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันของบริษัท (4) มีความสามารถที่จะนําเงินเข้ามาเพิ่มทุนได้จนทําให้บริษัทตามข้อ 4 สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยเงินที่นํามาเพิ่มทุนนั้นมีจํานวนไม่ต่ํากว่าห้าร้อยล้านบาท และทําให้บริษัทตามข้อ 4 มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนไม่ต่ํากว่าร้อยละสองร้อยห้าสิบ ข้อ ๖ ในการขอผ่อนผัน บริษัทต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) มีแผนการดําเนินธุรกิจ ที่แสดงหลักฐานและรายละเอียดที่เพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ได้ครบถ้วน (ก) มีนโยบายและกลยุทธ์การดํา เนินงานที่ชัดเจนในการแก้ไขฐานะทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท ปรับปรุงการบริหารงาน เสริมสร้างศักยภาพในการดําเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันของบริษัท (ข) มีระบบการบริหารงานซึ่งรวมถึงแผนงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบจัดการความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่สามารถระบุ ประเมิน ควบคุม และติดตามความเสี่ยงโดยรวมของบริษัทได้ (ค) มีระบบการตรวจสอบและการควบคุมภายใน การปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ง) มีแผนการบริหารเงินกองทุนโดยต้องมีการกําหนดระดับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนเป้าหมายซึ่งไม่ต่ํากว่าร้อยละสองร้อยห้าสิบ และแผนงานในกรณีที่ระดับอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ํากว่าระดับเป้าหมาย (2) มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่ชัดเจน และเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด (3) กรณีบริษัทมีความประสงค์จะเพิ่มกรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด กรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้งมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามที่ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยแนวปฏิบัติ โครงสร้าง คุณสมบัติ และข้อพึงปฏิบัติที่ดีของกรรมการบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยกําหนด ข้อ ๗ ให้บริษัทยื่นคําขอผ่อนผันต่อรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ โดยยื่นผ่านสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) หลักฐานแสดงการประกอบธุรกิจของผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 5 เช่น หนังสือรับรองการจัดตั้งบริษัท หรือหนังสือแสดงการเป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจที่รับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้นซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือโนตารีพับลิคหรือบุคคล ซึ่งมีอํานาจหน้าที่อย่างเดียวกันกับโนตารีพับลิค เป็นต้น ทั้งนี้ กรณีที่บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 5 เป็นผู้อยู่ภายใต้การกํากับของหน่วยงานกํากับในต่างประเทศ ต้องมีเอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศนั้น ๆ จากหน่วยงานกํากับ (2) หนังสืออนุญาตให้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทตามข้อ 4 เพื่อประกอบธุรกิจหรือหนังสือรับรองการดําเนินงานที่เป็นมาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบของหน่วยงานกํากับของประเทศนั้น ๆ ในกรณีที่บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 5 เป็นผู้อยู่ภายใต้การกํากับของหน่วยงานกํากับในต่างประเทศ (3) หนังสือรับรองของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย ตามข้อ 5 หรือหนังสือรับรองของบริษัทแม่ของบุคคลดังกล่าวดังนี้ (ก) รับรองว่าจะดูแลและดําเนินการให้บริษัทที่ขอผ่อนผันตามประกาศนี้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และนโยบายของหน่วยงานกํากับในประเทศไทย ทั้งที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีในอนาคต (ข) รับรองว่าจะให้การสนับสนุนด้านสภาพคล่องและการเพิ่มทุนในบริษัทที่ขอผ่อนผันตามประกาศนี้อย่างเต็มที่โดยทันทีที่อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนลดลงหรือมีแนวโน้มว่าจะลดลงต่ํากว่าอัตราส่วนเป้าหมายที่บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยกําหนดไว้ในแผนตามข้อ 6 (1) (ง) (ค) รับรองว่าจะให้ข้อมูลแก่สํานักงานเมื่อร้องขอ (4) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย เช่น แผนผังโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจและขององค์กร ความเชี่ยวชาญ ผลการดําเนินงานที่ผ่านมา งบการเงินที่ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีย้อนหลังสามปี เป็นต้น (5) โครงสร้างผู้ถือหุ้น และรายชื่อกรรมการของบริษัท ในปัจจุบันและภายหลังได้รับการผ่อนผัน (6) แผนการดําเนินธุรกิจ ตามข้อ 6 (1) ซึ่งมีระยะเวลาอย่างน้อยสามปี และต้องประกอบด้วยรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ประมาณการงบการเงินของบริษัทอย่างน้อยสามปี หรือจนกว่าจะคุ้มทุนพร้อมแสดงรายละเอียดของสมมติฐานในการจัดทําประมาณการงบการเงิน (ข) กลยุทธ์การดําเนินธุรกิจ วิสัยทัศน์ แนวทางและเป้าหมายในการดําเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการแข่งขัน และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (ค) แผนธุรกิจที่แสดงถึงสถานะของบริษัทในปัจจุบัน และแนวทางในการแก้ไขฐานะการเงินและการดําเนินงานของบริษัท การถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของบริษัท (ง) การวิเคราะห์ภาวะแข่งขันของธุรกิจประกันภัย รวมถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการดําเนินธุรกิจ (จ) แผนการบริหารเงินกองทุน ประมาณการอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน แนวทางการระดมทุน แหล่งที่มาของเงินทุน (ฉ) แผนงานทรัพยากรบุคคล การจัดให้มีบุคลากรในสายงานต่าง ๆ ในจํานวนและคุณสมบัติความเชี่ยวชาญที่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ผู้สอบบัญชี และผู้พิจารณารับประกันภัย (7) รายละเอียดของโครงสร้างองค์กรภายหลังได้รับการผ่อนผัน (8) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นเดิมไม่ประสงค์จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ข้อ ๘ ในการพิจารณาผ่อนผันตามประกาศนี้ สํานักงานอาจให้บริษัทหรือบุคคล ผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่จะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทตามข้อ 5 เข้ามาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการได้ หากบริษัทหรือบุคคลดังกล่าวมิได้ดําเนินการตามที่กําหนด ให้ถือว่าบริษัทไม่มีความประสงค์จะยื่นขอผ่อนผันตามประกาศนี้อีกต่อไป ข้อ ๙ ในการพิจารณาคําขอผ่อนผันตามประกาศนี้ รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัททราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอคําชี้แจงตามข้อ 8 และเอกสารถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ ในการผ่อนผันรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการอาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ การผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการจะผ่อนผันให้บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้ไม่เกินสามในสี่ของจํานวนกรรมการทั้งหมดและระยะเวลาการผ่อนผันจะไม่เกินสิบปี เมื่อครบกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง บริษัทต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยลงเหลือไม่เกินร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และกรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยลงเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ภายในหนึ่งปี ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับการผ่อนผันจากรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการตามประกาศนี้แล้ว (1) บริษัทต้องจดทะเบียนเพิ่มทุนไม่ต่ํากว่าห้าร้อยล้านบาทและชําระค่าหุ้นให้ครบถ้วน (2) ห้ามบุคคลผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยตามข้อ 5 ขายหรือโอนหุ้นที่ตนถืออยู่ในบริษัทให้แก่บุคคลผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยอื่น (3) ในการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น บริษัทต้องมีกําไรสุทธิต่อเนื่องอย่างน้อยสองปีรวมงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ กําไรสุทธิต้องเป็นกําไรอันเกิดจากการประกอบธุรกิจที่แท้จริงที่ปรากฏในงบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาที่ผ่านการตรวจสอบและรับรองของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กรณีเป็นกําไรสุทธิของงวดบัญชีอื่นต้องผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในการรับรองหรือสอบทานงบการเงินนั้น ข้อ ๑๑ ในกรณีบริษัทไม่ปฏิบัติตามข้อ 6 ข้อ 10 หรือเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการกําหนด หรือผู้ให้คํารับรองตามข้อ 7 (3) ไม่ปฏิบัติตามหนังสือรับรองที่ให้ไว้ให้สํานักงานสั่งให้บริษัทแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน หากบริษัทไม่ดําเนินการให้แล้วเสร็จให้ถือว่าการผ่อนผันสิ้นสุดลง และให้บริษัทลดสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยและกรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยลงเหลือเท่าที่เป็นอยู่ก่อนที่จะได้รับการผ่อนผันหรือไม่เกินที่กฎหมายกําหนด ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้และจะเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการอาจกําหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้นผู้ไม่มีสัญชาติไทยหรือมีกรรมการเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยแตกต่างไปจากที่กําหนดไว้ในข้อ 9 วรรคสองก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5,563
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 190/2523 เรื่อง การแจ้งเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 190/2523 เรื่อง การแจ้งเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน --------------------- เนื่องด้วยการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างงานต่าง ๆ ภายในกองก็ดี หรือระหว่างกอง ซึ่งมีงานที่จะต้องปฏิบัติร่วมกันหรือเกี่ยวเนื่องกันมักจะปฏิบัติงานไม่สัมพันธ์กัน เช่น เมื่อเจ้าพนักงาน บังคับคดี กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินขายที่ดินซึ่งติดจํานองในคดีล้มละลายแล้วอาจจะชําระเงิน ให้ผู้รับจํานองไปได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ต่อมาผู้รับจํานองยื่นคําร้องขอรับเงินที่ต้องจัดการทรัพย์สิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ควรจะต้องแจ้งให้กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินทราบ เพื่อจะได้ดําเนินการ ให้มีการจ่ายเงินไปได้ กลับสั่งในคําร้องให้รอกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ทางกองยึดอายัดและ จําหน่ายทรัพย์สินก็ไม่มีโอกาสทราบว่าผู้รับจํานองมาขอรับเงิน จึงไม่ได้สั่งให้กองคลังคิดคํานวณ เพื่อจ่ายเงินให้ผู้รับจํานองเป็นเหตุให้ล่าช้าและเป็นผลเสียหาย หรือในกรณีที่ศาลแพ่งมีคําสั่งอายัดเงิน มายังกรมบังคับคดีไม่ว่าจะเป็นเงินในงบประมาณหรือเงินในคดีก็ตาม ผู้รับคําสั่งอายัดควรจะต้องแจ้ง ให้งานคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์, งานบัญชีและงบประมาณ งานการเงิน กองคลังทราบด้วย เมื่อมี ผู้มาขอรับเงินจะได้ตรวจสอบได้ทันทีและเป็นการป้องกันมิให้มีการจ่ายเงินไปโดยผิดพลาดเกิดความ เสียหายทั้งนี้เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันและเพื่อเป็นการป้องกัน สั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีเรื่องให้เป็นที่เห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างงานต่าง ๆ ภายในกอง ก็ดี ระหว่างกองก็ดี ให้เจ้าหน้าที่ผู้เป็นต้นเรื่องหรือผู้รับเรื่องไว้พิจารณารีบดําเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบ จะโดยการให้รับทราบในเอกสารในเรื่องนั้น หรือทําบันทึกแจ้งให้ทราบ หรือสําเนาเอกสารส่งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบทันทีหรืออย่างช้าในวันรุ่งขึ้นนับแต่ได้รับเรื่อง ข้อ ๒ เมื่อจะเก็บเรื่องเข้าแฟ้มหรือสํานวน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจสอบให้ถี่ถ้วน ว่าได้ปฏิบัติการตามข้อ 1. แล้วหรือไม่ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป \* ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน 2523 (นายสวัสดิ์ รอดเจริญ) รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมบังคับคดี
5,564
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559 ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (11) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 10/2558 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “สํานักงานใหญ่” หมายความรวมถึง สํานักงานสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเฉพาะประกันภัยต่อ ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๖ บริษัทต้องจัดให้มีระบบงานจัดการการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่มีความพร้อม โดยมีลักษณะอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) มีหน่วยงานรับแจ้งเหตุหรือช่องทางการสื่อสารระหว่างบริษัทกับผู้เอาประกันภัยผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี (2) มีระบบสอบทานความถูกต้องของข้อมูลการรับประกันภัยและข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกร้องการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่ชัดเจนสามารถติดตามตรวจสอบได้ (3) มีระบบการบันทึกข้อมูลการรับแจ้งเหตุและออกเลขรับแจ้งการเรียกร้องการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่เชื่อมโยงข้อมูลการบันทึกรายการกับข้อมูลประมาณการค่าสินไหมทดแทนและข้อมูลการอนุมัติการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย รวมถึงมีระบบการบันทึกการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวทุกครั้ง (4) มีระบบงานสนับสนุน เพื่อสนับสนุนระบบงานจัดการการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยบริษัทต้องแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของระบบงานที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ข้อมูลจากการรับประกันภัยเชื่อมโยงกับระบบงานการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และระบบการรับและจ่ายเงินของบริษัท (5) มีระบบเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสํานักงานใหญ่และสาขาที่ทําให้เชื่อมั่นว่า ข้อมูลที่รับแจ้งและข้อมูลเกี่ยวกับการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยต่าง ๆ ที่สาขาดําเนินการนั้นถูกบันทึกอย่างถูกต้องครบถ้วน ข้อ ๗ บริษัทต้องกําหนดให้ผู้มีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาเพื่ออนุมัติการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และผู้มีอํานาจหน้าที่ในการอนุมัติการจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามหลักการถ่วงดุลอํานาจภายในองค์กร (check and balance) ข้อ ๘ เมื่อบริษัทได้รับแจ้งเหตุ หรือมีการเรียกร้องให้ชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ให้บริษัทดําเนินการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) บันทึกข้อมูลการรับแจ้งเหตุ หรือการเรียกร้อง โดยเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าว ไปบันทึกรายการในสมุดทะเบียนค่าสินไหมทดแทนที่เกี่ยวข้อง และสมุดบัญชีของบริษัท ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้งออกเลขที่ตรวจสอบรายการความเสียหาย และประมาณการค่าสินไหมทดแทนเบื้องต้น ทั้งนี้ (ก) กรณีที่ต้องมีการสํารวจภัย ให้บริษัทแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปสํารวจภัย ณ ที่เกิดเหตุ หรือสถานที่ที่ผู้เอาประกันภัยนัดหมาย และออกเอกสารการรับแจ้งเหตุหรือใบตรวจสอบรายการความเสียหายให้กับผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี ไว้เป็นหลักฐานเพื่อให้นํามาติดต่อกับบริษัทหรือดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป (ข) กรณีที่ไม่ต้องมีการสํารวจภัย ให้บริษัทแจ้งให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี ทราบถึงเอกสารหลักฐานทั้งหมดที่ต้องใช้ประกอบการเรียกร้อง ช่องทางการติดต่อกับบริษัท และระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาและชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงประมาณการค่าสินไหมทดแทนเบื้องต้น ต้องมีการบันทึกทุกครั้งและสามารถตรวจสอบสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงได้ (2) จัดให้มีกระบวนการในการพิจารณาความเสียหาย การประเมินความเสียหาย การทดสอบที่จําเป็นต่าง ๆ เพื่อให้การตีมูลค่ามีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ ตลอดจนสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันกับผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี ที่จะทําให้กระบวนการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยเป็นที่ยอมรับและลดการโต้แย้งจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (3) ดําเนินการพิจารณาและชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่บริษัทกําหนด ทั้งนี้ ไม่เกินระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาประกันภัย หรือที่กฎหมายกําหนด และแจ้งผลการพิจารณาให้แก่ ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี ภายในระยะเวลาข้างต้น (4) บันทึกผลการพิจารณาและการอนุมัติการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยในระบบงาน หรือระบบข้อมูลโดยเร็ว (5) กรณีบริษัทตกลงชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยตาม (3) แล้วให้บริษัทจัดให้มีกระบวนการติดตามให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี มารับเงิน หรือค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ในระหว่างที่สิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนยังไม่ขาดอายุความ ในกรณีที่บริษัทได้ชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยเป็นเช็ค และผู้เอาประกันภัยผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี ยังไม่ได้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจนเลยระยะเวลาที่จะเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ ให้ถือว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย และบริษัทต้องดําเนินกระบวนการติดตามให้บุคคลดังกล่าวมารับเงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่ง (6) ในกรณีที่บริษัทปฏิเสธการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยหรือไม่สามารถตกลงกําหนดจํานวนเงิน หรือค่าสินไหมทดแทนได้ ให้บริษัทแจ้งแก่ผู้เอาประกันภัยผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี เป็นหนังสือ โดยระบุข้อเท็จจริงและเหตุผลของการปฏิเสธ พร้อมข้อกฎหมายหรือเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือชี้แจงเหตุที่ไม่อาจชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจํานวนที่เรียกร้องได้ ทั้งนี้ ในหนังสือที่แจ้งให้ระบุช่องทางและวิธีการติดต่อบริษัทในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการพิจารณาและชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทมีการว่าจ้างบุคคลภายนอกเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามประกาศนี้ บริษัทต้องจัดให้มีสัญญาว่าจ้าง โดยสาระสําคัญในสัญญาต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายดําเนินงาน รายละเอียดค่าใช้จ่ายประกอบการดําเนินงาน ระยะเวลาการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่บริษัท โดยบริษัทต้องควบคุมกํากับให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามสัญญาและมาให้ถ้อยคํา ความเห็น หรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ร้องขอ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีการใช้บริการจากบุคคลภายนอกโดยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ข้อ ๑๐ บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนขึ้นภายในบริษัท เพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียนในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี มีความประสงค์จะให้บริษัทดําเนินการพิจารณา และดําเนินงานภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้บริหารที่มีอํานาจตัดสินใจชี้ขาดเรื่องร้องเรียนเป็นผู้ควบคุมการดําเนินการ และพิจารณาการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย (2) ในกรณีเรื่องร้องเรียนที่มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือมีค่าเสียหายมูลค่าสูง ให้การชี้ขาดเรื่องร้องเรียนดําเนินการในรูปคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารที่มีอํานาจตัดสินใจชี้ขาดเรื่องร้องเรียน ผู้รับผิดชอบหน่วยงานพิจารณาสินไหมทดแทน หน่วยงานรับประกันภัย หน่วยงานกฎหมาย และหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย บริษัทอาจกําหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งแตกต่างไปได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท (3) ให้หน่วยรับเรื่องร้องเรียนพิจารณาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่บริษัทกําหนด แต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนหรือเอกสารเพิ่มเติม (ถ้ามี) (4) กรณีบริษัทตกลงชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ให้บริษัทดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด (5) กรณีที่หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนยืนยันตามความเห็นของเจ้าหน้าที่ตามข้อ 8 (6) ให้แจ้งเป็นหนังสือถึงผู้ร้องเรียน โดยระบุเหตุแห่งการปฏิเสธ พร้อมข้อกฎหมายหรือเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือชี้แจงเหตุที่ไม่อาจชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจํานวนที่เรียกร้องได้ให้แก่ผู้ร้องเรียน (6) ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลการดําเนินการ เพื่อรายงานต่อสํานักงานเมื่อมีการร้องขอ ข้อ ๑๑ บริษัทต้องมีความพร้อมด้านบุคลากรอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ และจัดให้มีคู่มือระบบงานตามข้อ 6 คู่มือการดําเนินงานตามข้อ 8 และคู่มือการดําเนินงานของหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนตามข้อ 10 รวมทั้งคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับเป็นลายลักษณ์อักษร ที่เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับแนวทางการดําเนินธุรกิจของบริษัท และสามารถให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้เมื่อมีการร้องขอ ทั้งนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมคู่มือดังกล่าว รวมถึงระบบงานและกระบวนการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องได้ตามสมควร ข้อ ๑๒ บริษัทต้องเปิดเผยขั้นตอนและกระบวนการในการเรียกร้องให้ชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย สําหรับการประกันภัยแต่ละประเภท ในเว็บไซต์ของบริษัทให้ประชาชนทั่วไปทราบ และให้ระบุเอกสารหลักฐานทั้งหมดที่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่กรณี ต้องใช้ในการเรียกร้องให้ชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และช่องทางการติดต่อกับบริษัท รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาและชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และให้บริษัทนําส่งรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการ เอกสารหลักฐานทั้งหมด ช่องทางการติดต่อกับบริษัท และระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาและชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้สํานักงาน ตามวิธีการที่สํานักงานกําหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และวันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ เว้นแต่ มีเหตุผลอันควร ให้บริษัทขยายระยะเวลาดังกล่าวได้อีก แต่ไม่เกินหกสิบวัน ทั้งนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดดังกล่าวได้ตามสมควร ข้อ ๑๓ กรณีบริษัทมีค่าสินไหมทดแทนล่วงพ้นอายุความที่กฎหมายกําหนด ให้บริษัทนําส่งกองทุนประกันวินาศภัยตามหลักเกณฑ์ที่กองทุนประกันวินาศภัยกําหนด ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559 สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,565
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 151/2523 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คำความหรือเอกสาร (เพิ่มเติมฉบับที่ 2)
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 151/2523 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร (เพิ่มเติมฉบับที่ 2) --------------------- ด้วยตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 188/2522 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2522 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําความหรือเอกสาร มิได้กําหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร ในกรณีที่ภูมิลําเนาของผู้รับอยู่ในห้องที่กันดารหรือทางไกลมากเป็นพิเศษ อันจําเป็นจะต้องใช้ยานพาหนะเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ฉะนั้นเพื่อให้การปฏิบัติในเรื่องค่าใช้จ่าย ในกรณีดังกล่าวเป็นไปโดยเหมาะสม และมีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กรณีที่ภูมิลําเนาของผู้รับหมาย คําความหรือเอกสาร (ไม่ว่าจะอยู่ในเขต อื่นใด) อยู่ในที่กันดารหรือทางไกลมาก จําเป็นต้องใช้ยานพาหนะเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจาก ไม่มีเส้นทางของพาหนะที่สัญจรรับส่งผู้โดยสารผ่านตามปกติ จําเป็นจะต้องจ้างเหมาพาหนะ ไปและกลับเป็นพิเศษ เช่น ภูมิลําเนาที่อยู่ในท้องที่หมู่ 10 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน ให้จ่ายค่าป่วยการ 40.- บาท และค่าพาหนะตามความเป็นจริง ข้อ ๒ กรณีที่ผู้นําส่งเห็นว่าค่าพาหนะในข้อ 1 สูงเกินไป ก็ให้ผู้นําส่งเป็นผู้จัดหาพาหนะเอง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2523 (นายสวัสดิ์ รอดเจริญ) รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมบังคับคดี
5,566
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การขยายระยะเวลาการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การขยายระยะเวลาการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558 ----------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 33 วรรคสอง และมาตรา 37 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การขยายระยะเวลาการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การขยายระยะเวลาการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “อสังหาริมทรัพย์รอการจําหน่าย” หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ที่ตกเป็นของบริษัทตามมาตรา 31 (10) (ก) หรือ (ค) และต้องจําหน่ายไปตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 “มูลค่าที่ประเมินโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า มูลค่าอสังหาริมทรัพย์รอการจําหน่ายที่ประเมินราคาตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย “บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ ข้อ ๕ อสังหาริมทรัพย์รอการจําหน่ายที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในมาตรา 33 (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี และบริษัทร้องขอขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียนก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งเดือน นายทะเบียนอาจขยายระยะเวลาการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์รอการจําหน่ายออกไปได้อีกไม่เกินสองปีนับแต่วันครบกําหนดที่ต้องจําหน่าย ทั้งนี้ นายทะเบียนจะอนุญาตให้บริษัทขยายระยะเวลาได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทต้องมีแผนการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์รอการจําหน่าย และมีเอกสารหลักฐานว่าได้เร่งรัดการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอย่างที่สุดแล้ว (2) บริษัทต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) ติดต่อกันสี่ไตรมาสล่าสุดไม่ต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนอาจกําหนดมาตรการที่จําเป็นในการกํากับดูแลสถานะการเงินของบริษัทได้ตามประกาศว่าด้วยการกําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย และมีอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อย ข้อ ๖ อสังหาริมทรัพย์รอการจําหน่ายที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในมาตรา 33 (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ด้วยเหตุที่อสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ระหว่างฟ้องร้องดําเนินคดีในชั้นศาล หรือมีการยื่นข้อเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา หรือมีการแจ้งความต่อพนักงานเพื่อขอให้ดําเนินคดีแล้ว หรือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาในการรังวัดยังไม่เสร็จหรือไม่ถูกต้อง หรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารสิทธิ หรือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกรอนสิทธิหรือมีภาระผูกพัน ซึ่งบริษัทมีเอกสารหลักฐานอย่างชัดเจนว่าอยู่ในระหว่างการดําเนินงานของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และบริษัทได้เร่งรัดการดําเนินการอย่างที่สุดแล้ว หากบริษัทร้องขอขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียนก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งเดือน ให้นายทะเบียนขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองปีนับแต่วันที่การดําเนินการดังกล่าวแล้วแต่กรณีสิ้นสุดลง ข้อ ๗ อสังหาริมทรัพย์รอการจําหน่ายที่ได้รับการขยายระยะเวลาการถือครองออกไปอีกไม่เกินสองปีนับแต่วันครบกําหนดที่ต้องจําหน่ายตามข้อ 5 ให้บริษัทดําเนินการดังนี้ (1) กรณีบริษัทมีอัตราส่วนอสังหาริมทรัพย์รอการจําหน่ายต่อเงินกองทุน (TCA) ไม่เกินร้อยละสิบไม่ต้องหักค่าเผื่อการด้อยค่าสําหรับอสังหาริมทรัพย์นั้น (2) กรณีบริษัทมีอัตราส่วนอสังหาริมทรัพย์รอการจําหน่ายต่อเงินกองทุน (TCA) เกินร้อยละสิบให้บริษัทหักค่าเผื่อการด้อยค่าสําหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นในระหว่างที่ได้รับการขยายระยะเวลา โดยในปีที่หนึ่ง หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละศูนย์ของมูลค่าที่ประเมินโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ปีที่สอง หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละยี่สิบของมูลค่าที่ประเมินโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาสองปีที่ได้รับการผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาแล้ว หากบริษัทยังมิได้จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์นั้น การประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทมิได้จําหน่ายภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในมาตรา 33 บริษัทต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย โดยให้นับระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อเนื่องเป็นปีที่สาม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,567
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยจากกองทุนประกันวินาศภัย รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยและลักษณะมูลหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย พ.ศ. 2558
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ในการชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชําระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยจาก กองทุนประกันวินาศภัย รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย และลักษณะมูลหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย พ.ศ. 2558 -------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 61/3 วรรคสี่ และมาตรา 80/5 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 8/2558 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ในการชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชําระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยจากกองทุนประกันวินาศภัย รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย และลักษณะมูลหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินจากกองทุนประกันวินาศภัย และมูลหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “เจ้าหนี้” หมายความว่า ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือบุคคลภายนอกที่มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ทั้งนี้ ให้รวมถึงทายาท ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องหรือรับช่วงสิทธิมาจากบุคคลดังกล่าว ข้อ ๕ มูลหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยต้องเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากสัญญาประกันภัยซึ่งมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย หรือสัญญาประนีประนอมยอมความในสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว เช่น การชดใช้เงินค่าซ่อมทรัพย์สิน การสร้างให้ใหม่การจัดหาทรัพย์สินมาทดแทน หรือเป็นสิทธิเรียกร้องขอคืนค่าเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัย และ (2) ไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากสัญญาประกันภัยต่อ หรือสัญญาอื่น เช่น สัญญาจ้างทําของสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาตั้งตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัย ข้อ ๖ ให้ผู้ชําระบัญชีรวบรวมรายชื่อเจ้าหนี้ จํานวนหนี้ จํานวนหนี้ที่ได้รับชําระแล้ว จํานวนหนี้คงเหลือ และรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าหนี้ สําเนาหนังสือรับรองการจ่ายเงินของผู้ชําระบัญชี และหลักฐานประกอบการจ่ายเงินตามแบบที่กองทุนกําหนด โดยให้จัดทําเป็นหนังสือและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วจัดส่งให้นายทะเบียนและกองทุนทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แต่ละราย ข้อ ๗ ให้กองทุนแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าหนี้มายื่นคําขอรับเงินจากกองทุนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กองทุนได้รับแจ้งข้อมูลตามข้อ 6 จากผู้ชําระบัญชี เว้นแต่กรณีที่ต้องตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมหรือมีเหตุสุดวิสัย ให้แจ้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมแล้วเสร็จหรือเหตุสุดวิสัยนั้นสิ้นสุดลง ข้อ ๘ ความในข้อ 6 และข้อ 7 ไม่นํามาใช้บังคับกับกรณีกองทุนเป็นผู้ชําระบัญชี และให้กองทุนนําเงินของกองทุนมาชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามประกาศนี้ ข้อ ๙ ให้กองทุนชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แต่ละรายไม่เกินจํานวนเงินที่กําหนดไว้ในมาตรา 80/5 วรรคหนึ่ง ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) กรณีมีวินาศภัยหรือเหตุที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยเกิดขึ้น ให้กองทุนชําระหนี้ตามมูลหนี้หักด้วยจํานวนหนี้สินใด ๆ ที่ค้างชําระอยู่กับบริษัท หรือ (2) กรณีมีการบอกเลิกสัญญาประกันภัย ให้กองทุนจ่ายคืนเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย หักด้วยจํานวนหนี้สินใด ๆ ที่ค้างชําระอยู่กับบริษัทให้แก่เจ้าหนี้ เว้นแต่บริษัทอื่นตกลงรับโอนกรมธรรม์ประกันภัย โดยความยินยอมของเจ้าหนี้นั้น ให้กองทุนจ่ายคืนเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย หักด้วยจํานวนหนี้สินใด ๆ ที่ค้างชําระอยู่กับบริษัท ให้แก่บริษัทที่รับโอนกรมธรรม์ประกันภัย จํานวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละรายมีสิทธิได้รับชําระหนี้จากกองทุนตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงมูลหนี้เกี่ยวกับภาษีอากร มูลหนี้ที่เกี่ยวกับดอกเบี้ย หรือค่าเสียหายที่เกิดจากการที่บริษัท ชําระหนี้ล่าช้า ข้อ ๑๐ ในกรณีบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยภายหลังการจัดตั้งกองทุนตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และกองทุนยังมิได้ชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชําระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยแทนบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ให้นําความในข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,568
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้ถึงร้อยละสี่สิบเก้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้ถึง ร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และมีกรรมการเป็นบุคคล ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558 ----------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้ถึงร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และมีกรรมการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย” หมายความว่า คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อ ๔ บริษัทอาจยื่นขออนุญาตต่อคณะกรรมการผ่านสํานักงาน ให้มีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นได้ถึงร้อยละสี่สิบเก้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ํากว่าหรือมีแนวโน้มต่ํากว่าระดับที่ใช้ในการกํากับตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย หรือ (2) บริษัทมีแผนที่จะปรับปรุงการบริหารงาน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดําเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน ในการนี้ หากบริษัทมีความประสงค์จะเพิ่มกรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่าหนึ่งในสี่ แต่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ให้บริษัทยื่นคําขออนุญาตต่อคณะกรรมการผ่านสํานักงานมาพร้อมด้วย ข้อ ๕ ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ต้องมีคุณสมบัติและความพร้อม ดังนี้ (1) เป็นบริษัทประกันภัย หรืออยู่ในกลุ่มธุรกิจประกันภัย หรือธุรกิจการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย (2) มีฐานะการเงินและการดําเนินงานที่มั่นคง (3) มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจประกันภัย (4) มีความน่าเชื่อถือและมีเครือข่ายการประกอบธุรกิจในระดับสากล (5) มีแผนการดําเนินธุรกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญที่ชัดเจน เพื่อรองรับการขยายขีดความสามารถ หรือศักยภาพในการดําเนินงานของบริษัท ข้อ ๖ ในการขออนุญาต บริษัทต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) มีแผนการดําเนินธุรกิจ ในระยะเวลาอย่างน้อยสามปี ที่แสดงหลักฐานและรายละเอียดที่เพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ได้ครบถ้วน (ก) มีนโยบายและกลยุทธ์การดําเนินงานที่ชัดเจน ในการแก้ไขฐานะทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท หรือปรับปรุงการบริหารงาน เสริมสร้างศักยภาพในการดําเนินธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันของบริษัท แล้วแต่กรณี (ข) มีระบบการบริหารและจัดการความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่สามารถระบุ ประเมินควบคุม และติดตาม ความเสี่ยงโดยรวมของบริษัทได้ (ค) มีระบบการตรวจสอบและการควบคุมภายใน การปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (2) มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่ชัดเจน และเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด (3) กรณีบริษัทมีความประสงค์จะเพิ่มกรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่าหนึ่งในสี่แต่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด กรรมการที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้งมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบตามที่ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยแนวปฏิบัติโครงสร้าง คุณสมบัติ และข้อพึงปฏิบัติที่ดีของกรรมการบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยกําหนด ข้อ ๗ ให้บริษัทยื่นคําขออนุญาตต่อคณะกรรมการผ่านสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) โครงสร้างผู้ถือหุ้น และรายชื่อกรรมการของบริษัท ในปัจจุบันและที่จะขอรับอนุญาต (2) หลักฐานแสดงการประกอบธุรกิจของผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ออกโดยหน่วยงานกํากับ เช่น หนังสือรับรองการจัดตั้งบริษัท และสําเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจ เป็นต้น (3) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย เช่น แผนผังโครงสร้างองค์กรความเชี่ยวชาญ ผลการดําเนินงานที่ผ่านมา งบการเงินล่าสุด เป็นต้น (4) แผนการดําเนินธุรกิจ ในระยะเวลาอย่างน้อยสามปี โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญให้กับบริษัท หรือการแก้ไขฐานะทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท ข้อ ๘ ในการพิจารณาคําขอ สํานักงานอาจให้บริษัทมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ หากบริษัทมิได้ดําเนินการตามที่กําหนด ให้ถือว่าบริษัทไม่มีความประสงค์จะยื่นขอรับอนุญาต ข้อ ๙ ในการอนุญาตตามประกาศนี้ คณะกรรมการอาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ข้อ ๑๐ ภายหลังได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ หากบริษัทจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทและไม่ใช่ผู้ที่เคยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการให้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ผู้ถือหุ้นดังกล่าวต้องมีลักษณะตามข้อ 5 และบริษัทต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน โดยยื่นคําขออนุญาตเป็นหนังสือพร้อมแสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาตามข้อ 7 ต่อคณะกรรมการผ่านสํานักงาน ข้อ ๑๑ ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือหุ้นในบริษัทต่อไปได้เท่าสัดส่วนที่ถืออยู่เดิม ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าสัดส่วนที่ถืออยู่เดิมได้ในกรณีเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีลักษณะตามข้อ 5 และบริษัทได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน โดยยื่นคําขออนุญาตเป็นหนังสือพร้อมแสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาตามข้อ 7 ต่อคณะกรรมการผ่านสํานักงาน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,569
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุม ภายในของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 ---------------------------------------- ธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นและหลักความสุจริตใจต่อกันเป็นอย่างยิ่งและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีระบบการบริหารจัดการหรือบรรษัทภิบาลที่ดี ส่งเสริมความมั่นคง มีความโปร่งใส และเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้เอาประกันภัยจึงเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทประกันภัยมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการตัดสินใจในการจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันกาล ซึ่งระบบการควบคุมภายในครอบคลุมถึงระบบการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบและการติดตามการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ในการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้ การจัดโครงสร้างองค์กร การมอบหมายอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ระเบียบอํานาจดําเนินการ และการจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมและเพียงพอ ในการนี้บริษัทต้องจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบที่เป็นอิสระ มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อปฏิบัติงานสนับสนุนคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งบริษัทสามารถว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายได้ โดยคณะกรรมการบริษัทยังคงความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายนั้นและต้องจัดให้มีระบบการควบคุมการปฏิบัติงาน การรายงานที่มีประสิทธิภาพ และการดําเนินการปรับปรุงแก้ไขอย่างทันท่วงที อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (10) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “นิติบุคคล” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ หรือตามกฎหมายต่างประเทศแต่ไม่รวมถึงบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “บริษัทใหญ่” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) นิติบุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการของบริษัท (2) นิติบุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการของนิติบุคคลตาม (1) (3) นิติบุคคลที่มีอํานาจควบคุมกิจการของนิติบุคคลตาม (2) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการมีอํานาจควบคุมกิจการของนิติบุคคลตาม (2) “บริษัทย่อย” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) นิติบุคคลที่บริษัทมีอํานาจควบคุมกิจการ (2) นิติบุคคลที่นิติบุคคลตาม (1) มีอํานาจควบคุมกิจการ (3) นิติบุคคลที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของนิติบุคคลตาม (2) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของนิติบุคคลตาม (2) “บริษัทย่อยลําดับเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทย่อยตั้งแต่สองบริษัทย่อยขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เดียวกันไม่ว่าบริษัทย่อยนั้นจะอยู่ในชั้นลําดับใด ๆ “บริษัทร่วม” หมายความว่า นิติบุคคลที่บริษัทหรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของนิติบุคคล แต่ไม่ถึงระดับที่จะมีอํานาจควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า ในกรณีที่บริษัทหรือบริษัทย่อยถือหุ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทหรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่ จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย “อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า การมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือนิติบุคคลเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหรือนิติบุคคลนั้น (2) การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือนิติบุคคลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด (3) การมีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทหรือนิติบุคคลอย่างมีนัยสําคัญไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหรือนิติบุคคล (2) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทหรือนิติบุคคลนั้นได้ (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทหรือนิติบุคคลให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทหรือนิติบุคคล (4) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือนิติบุคคล หรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงกรรมการหรือผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทหรือนิติบุคคลนั้น “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลใดในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว (2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (3) ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน (4) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (5) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดนั้น (6) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) หรือบริษัทตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดนั้น หรือ (7) นิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล “กรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน” หมายความว่า กรรมการที่ดํารงตําแหน่งเป็นผู้บริหารกรรมการที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการดําเนินการใด ๆ เยี่ยงผู้บริหาร และให้หมายความรวมถึงกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพัน เว้นแต่ จะแสดงได้ว่าเป็นการลงนามผูกพันตามรายการที่คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติไว้แล้ว และเป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม “ผู้ถือหุ้นที่มีนัย” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในกิจการใดเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการนั้น และการถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย “คณะกรรมการบริษัท” หมายความว่า คณะกรรมการของบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึง คณะกรรมการบริหารสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยซึ่งต้องมีผู้จัดการสาขาเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย “การตรวจสอบ” หมายความว่า กิจกรรมที่ดําเนินการอย่างเป็นอิสระและเป็นกลางที่บริษัทจัดให้มีขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจและให้คําแนะนําปรึกษาเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการดําเนินงานโดยการตรวจสอบจะช่วยให้บริษัทบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนด โดยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการกํากับดูแลอย่างเป็นระบบและมีระเบียบแบบแผนที่ดี “การควบคุมภายใน” หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่บริษัทจัดให้มีขึ้น และนํามาถือปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่นใจ และเชื่อมั่นได้อย่างมีเหตุผลว่าบริษัทจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจของบริษัทและทําให้รายงานทางการเงินของบริษัทมีความน่าเชื่อถือ โดยการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องรวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หมวด ๑ บททั่วไป --------------------- ข้อ ๔ ให้คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดทําระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และจัดให้มีการตรวจสอบและการควบคุมภายใน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในประกาศนี้ ระเบียบปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทเก็บรักษาไว้ที่บริษัท และต้องนําส่งให้สํานักงานได้ทันทีเมื่อร้องขอ ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดให้มีระบบการรับเงินและการจ่ายเงินที่มีการควบคุมเพียงพอที่จะให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานด้านการรับเงินและการจ่ายเงินมีความถูกต้องครบถ้วน ซึ่งต้องมีระบบการจัดเก็บเอกสารและบันทึกข้อมูลที่พร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ การรักษาความปลอดภัยของเอกสารและข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของจํานวนเงินและการยืนยันการกระทบยอดอย่างสม่ําเสมอ ข้อ ๗ บริษัทต้องจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับตั้งแต่วันที่รับเงินหรือจ่ายเงิน ในกรณีที่ข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่ง เป็นรายการที่บริษัทต้องลงในสมุดทะเบียนหรือสมุดบัญชีที่เกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในสมุดทะเบียนหรือสมุดบัญชีนั้น หรือนับแต่วันที่บริษัทพ้นจากความรับผิดตามรายการที่มีความรับผิดหลังสุด ทั้งนี้ แล้วแต่อย่างใดจะยาวกว่า หากบริษัทประสงค์จะจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยบริษัทต้องจัดให้มีระบบสํารองข้อมูล ข้อ ๘ สํานักงานอาจกําหนดแนวทางในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามประกาศนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว หมวด ๒ การรับเงิน --------------------- ข้อ ๙ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงินตามข้อ 5 ให้บริษัทกําหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานระยะเวลา ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน และผู้สอบทานความถูกต้องครบถ้วน โดยพิจารณาถึงการสอบทาน ซึ่งกันและกัน มีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้จัดทําบัญชีกับผู้มีอํานาจอนุมัติรับประกันภัย และระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ต้องติดต่อกับลูกค้ากับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการด้านงานสนับสนุนอย่างชัดเจน ข้อ ๑๐ ให้บริษัทจัดให้มีระบบการควบคุมการใช้ใบเสร็จรับเงินและการกระทบยอดระหว่างเงินในบัญชีกับยอดใบรับเงินชั่วคราวหรือใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้สามารถตรวจสอบรายการการรับเงินและป้องกันการออกใบเสร็จโดยไม่นําเงินส่งบริษัทหรือไม่มีการบันทึกข้อมูลการรับเงิน ข้อ ๑๑ ให้บริษัทจัดให้มีระบบการควบคุมบัญชีพัก หรือบัญชีอื่นซึ่งมีลักษณะเดียวกันและระบบติดตามหนี้รวมถึงการจัดอายุหนี้ผิดนัด ข้อ ๑๒ ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่สามารถระบุรายละเอียดการรับเงินของบริษัทที่สามารถตรวจสอบได้ โดยข้อมูลดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) วันที่บริษัทรับเงิน (2) ชื่อและข้อมูลการแสดงตนของผู้ที่จ่ายเงินให้แก่บริษัท (3) ประเภทของเงินรับ โดยให้ระบุว่าการรับเงินนั้นเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด (4) จํานวนเงินที่รับ (5) วิธีการรับเงิน (6) ชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีธนาคารของผู้ที่จ่ายเงินให้แก่บริษัทกรณีโอนเงินผ่านธนาคารหรือหมายเลขเช็คกรณีที่จ่ายด้วยเช็ค หรือหลักฐานการรับเงินโดยวิธีอื่น (7) ชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีธนาคารที่บริษัทใช้รับเงิน (8) เลขที่ใบสําคัญรับเงิน ในกรณีการรับเงินค่าเบี้ยประกันภัย ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลโดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากวรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและข้อมูลการแสดงตนผู้เอาประกันภัย (2) เลขที่กรมธรรม์ประกันภัย (3) รายการงวดที่ส่งค่าเบี้ยประกันภัย (4) ปีกรมธรรม์ประกันภัย (5) เลขที่ใบเสร็จรับเงิน ในกรณีการทําประกันภัยต่อ ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลโดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากวรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อผู้เอาประกันภัยต่อ หรือผู้รับประกันภัยต่อ (2) ชื่อหรือเลขที่ของสัญญาประกันภัยต่อ (3) ปีที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตามสัญญาประกันภัยต่อ ในกรณีที่บริษัทแยกจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐาน บริษัทต้องสามารถแสดงข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุในข้อนี้ได้อย่างครบถ้วนพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้และต้องนําส่งรายงานแสดงรายละเอียดการรับเงินให้สํานักงานได้ทันทีเมื่อร้องขอ หมวด ๓ การจ่ายเงิน --------------------- ข้อ ๑๓ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามข้อ 5 ให้บริษัทกําหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาจ่ายเงิน ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน ผู้สอบทานความถูกต้องครบถ้วน และจํานวนเงินที่บริษัทสามารถชําระเป็นเงินสดได้ รวมถึงผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินโดยพิจารณาถึงการสอบทานซึ่งกันและกัน มีการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้จัดทําบัญชีกับผู้มีอํานาจอนุมัติจ่ายเงิน และระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ต้องติดต่อกับลูกค้ากับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการด้านงานสนับสนุนอย่างชัดเจน การจ่ายเงินของบริษัทให้บริษัทจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อม หรือโอนเข้าบัญชีพร้อมระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับเงินให้ชัดเจน เว้นแต่ การจ่ายเงินไม่เกินจํานวนที่บริษัทกําหนดให้สามารถจ่ายเป็นเงินสดได้อย่างไรก็ตาม ในกรณีจําเป็นเร่งด่วน ให้เป็นดุลยพินิจของกรรมการผู้มีอํานาจลงนามของบริษัทที่จะเห็นชอบให้ชําระเป็นเงินสดเกินกว่าจํานวนที่บริษัทกําหนดได้เป็นกรณี ๆ ไป โดยให้จัดทําบันทึกชี้แจงเหตุผลความจําเป็นประกอบด้วย ข้อ ๑๔ ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่สามารถระบุรายละเอียดการจ่ายเงินของบริษัทที่สามารถตรวจสอบได้ โดยข้อมูลดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) วันที่ผู้รับเงินได้รับเงิน หรือวันที่จ่ายเงินตามที่บันทึกในสมุดทะเบียนค่าสินไหมทดแทนโดยอนุโลม (2) ชื่อและข้อมูลการแสดงตนของผู้รับเงิน (3) ประเภทของเงินจ่าย โดยให้ระบุว่าการจ่ายเงินนั้นเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด (4) จํานวนเงินที่จ่าย (5) วิธีการจ่ายเงิน (6) ชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีธนาคารของบริษัทที่ใช้จ่ายเงินกรณีโอนเงินผ่านธนาคาร หรือเลขที่เช็คกรณีจ่ายด้วยเช็ค หรือหลักฐานการจ่ายเงินโดยวิธีอื่น (7) ชื่อธนาคาร และเลขที่บัญชีของผู้รับเงิน กรณีการโอนเงินผ่านธนาคาร (8) เลขที่ใบสําคัญจ่าย ในกรณีการจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลโดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากวรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและข้อมูลการแสดงตนของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยอื่น (2) เลขที่กรมธรรม์ประกันภัย (3) รายการความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย (4) จํานวนทุนประกันภัย ในกรณีการทําประกันภัยต่อ ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลโดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากวรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อผู้เอาประกันภัยต่อ หรือผู้รับประกันภัยต่อ (2) ชื่อหรือเลขที่ของสัญญาประกันภัยต่อ (3) ปีที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตามสัญญาประกันภัยต่อ ในกรณีที่บริษัทแยกจัดเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐาน บริษัทต้องสามารถแสดงข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุในข้อนี้ได้อย่างครบถ้วนพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และต้องนําส่งรายงานแสดงรายละเอียดการจ่ายเงินให้สํานักงานได้ทันทีเมื่อร้องขอ ข้อ ๑๕ ให้บริษัทจัดให้มีระบบติดตามเช็คที่ยังไม่ได้ขึ้นเงิน เพื่อให้สามารถติดตามจํานวนและระยะเวลาที่รอการขึ้นเงิน รวมถึงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตรงตามประเภทบัญชีด้วย หมวด ๔ คณะกรรมการตรวจสอบ หน่วยงานตรวจสอบภายใน และหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย --------------------- ข้อ ๑๖ ให้บริษัทมีคณะกรรมการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ เว้นแต่บริษัทมีคณะกรรมการตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว และคณะกรรมการตรวจสอบนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 21 และข้อ 23 และกํากับดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 24 ข้อ 25 ข้อ 26 ข้อ 27 ข้อ 28 ข้อ 29 และข้อ 30 ได้อย่างครบถ้วน กรณีสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่มีคณะกรรมการตรวจสอบของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานภูมิภาค ตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานกํากับธุรกิจประกันภัยของประเทศนั้นกําหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบนั้น เป็นคณะกรรมการตรวจสอบของสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศได้ โดยต้องแสดงเอกสารหลักฐานจนเป็นที่พอใจของสํานักงานว่าคณะกรรมการตรวจสอบดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่และดําเนินการตามวรรคหนึ่งได้อย่างครบถ้วน ให้บริษัทนําส่งมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อของคณะกรรมการตรวจสอบหนังสือรับรอง และประวัติของกรรมการตรวจสอบตามแบบที่สํานักงานกําหนดต่อสํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และจัดส่งกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับตําแหน่งหรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎบัตรอย่างมีนัยสําคัญ กรณีที่บริษัทมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้จัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ กรณีที่กรรมการตรวจสอบลาออก หรือถูกถอดถอนก่อนครบวาระ บริษัทต้องรายงานพร้อมแจ้งเหตุผลต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่พ้นสภาพการเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อ ๑๗ บริษัทต้องจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยสามคน ให้เหมาะสมกับขนาดลักษณะ และความซับซ้อนของกิจกรรมของบริษัท ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ได้รับมติแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการตรวจสอบ (2) มีกรรมการอิสระเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนกรรมการตรวจสอบทั้งหมด การนําส่งรายละเอียดการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ต่อสํานักงาน ให้นําความในข้อ 16 วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๘ กรรมการตรวจสอบตามข้อ 17 จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทําหน้าที่ในฐานะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ ต้องมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบัญชี หรือการเงินอย่างเพียงพอที่จะสามารถทําหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้ (2) ไม่มีความบกพร่องในด้านความสามารถตามกฎหมาย (3) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือดําเนินคดี โดยสํานักงาน หน่วยงานที่กํากับดูแล หรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (4) ไม่มีประวัติการถูกดําเนินการหรือถูกลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์ (5) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย บริษัท หรือผู้ถือหุ้นโดยรวม ทั้งนี้ ลักษณะของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวให้เป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๙ กรรมการอิสระตามข้อ 17 จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละหนึ่งของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้น ๆ ด้วย (2) ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจํา หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลําดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่ จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่เข้ารับตําแหน่ง ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษาของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือของส่วนราชการที่มีอํานาจควบคุมบริษัท (3) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของกรรมการรายอื่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท หรือบริษัทย่อย (4) ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่ จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่เข้ารับตําแหน่ง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่ง รวมถึงการทํารายการทางการค้าที่กระทําเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการกู้หรือให้กู้ยืม ค้ําประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สินรวมถึงพฤติการณ์อื่นทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชําระต่ออีกฝ่ายหนึ่งตั้งแต่ร้อยละสามของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทหรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า (5) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอํานาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสํานักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทสังกัดอยู่ เว้นแต่ จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่เข้ารับตําแหน่ง (6) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใด ๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอํานาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่ จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่เข้ารับตําแหน่ง (7) ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (8) ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงานลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจํา หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย (9) ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัท ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็นไปตามวรรคหนึ่งแล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ให้ตัดสินใจในการดําเนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลําดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทโดยมีการตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะได้ ความใน (2) (4) (5) และ (6) ในส่วนที่กําหนดให้พิจารณาคุณสมบัติของกรรมการอิสระของบริษัทในช่วงสองปีก่อนวันที่เข้ารับตําแหน่ง ให้ใช้บังคับกับกรรมการอิสระที่เข้ารับตําแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป เพื่อประโยชน์ตาม (5) และ (6) คําว่า “หุ้นส่วน” หมายความรวมถึง บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานสอบบัญชี หรือผู้ให้บริการทางวิชาชีพ ให้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานการสอบบัญชี หรือรายงานการให้บริการทางวิชาชีพ แล้วแต่กรณี ในนามของนิติบุคคลนั้น ข้อ ๒๐ ในกรณีที่บุคคลที่บริษัทแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระเป็นบุคคลที่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าที่กําหนดตามข้อ 19 (4) หรือ (6) ให้บริษัทได้รับการผ่อนผันข้อห้ามการมีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าดังกล่าว เมื่อบริษัทได้จัดให้มีความเห็นคณะกรรมการบริษัทที่แสดงว่าได้พิจารณาแล้วว่าการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้ความเห็นที่อิสระ และจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นในวาระพิจารณาแต่งตั้งกรรมการอิสระด้วย (1) ลักษณะความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพ ที่ทําให้บุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด (2) เหตุผลและความจําเป็นที่ยังคงหรือแต่งตั้งให้บุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการอิสระ (3) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในการเสนอให้มีการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการอิสระ ข้อ ๒๑ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอํานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินที่มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง เชื่อถือได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่สําคัญโดยครบถ้วนและเป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (2) สอบทานและประเมินผลให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน ระบบการตรวจสอบภายในและระบบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม มีประสิทธิผล และรัดกุม ตามกรอบที่ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานสากล รวมถึงกําหนดอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน (3) สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อกําหนดของสํานักงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (4) พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (5) ให้ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายบริหารเพื่อการกํากับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดําเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทํา ดังต่อไปนี้ (ก) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ข) การทุจริต มีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่องที่สําคัญในระบบควบคุมภายใน (ค) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท หากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารไม่ดําเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกําหนด คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องรายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (6) แสดงความเห็นประกอบรายงานผลการประเมินการควบคุมภายในของบริษัทโดยรวมต่อคณะกรรมการบริษัท (7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ ในกรณีที่จําเป็น คณะกรรมการตรวจสอบอาจขอคําปรึกษาจากที่ปรึกษาภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตรวจสอบได้ ด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง และคณะกรรมการบริษัทยังคงมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทต่อบุคคลภายนอก ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้บริษัทแจ้งมติเปลี่ยนแปลงหน้าที่และจัดทํารายชื่อและขอบเขตการดําเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบที่มีการเปลี่ยนแปลงตามแบบที่สํานักงานกําหนดและนําส่งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ข้อ ๒๒ กรรมการตรวจสอบต้องมีวาระการดํารงตําแหน่งไม่เกินสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งในกรณีที่บริษัทกําหนดวาระการดํารงตําแหน่งของกรรมการตรวจสอบไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้กรรมการตรวจสอบดํารงตําแหน่งต่อไปจนครบวาระเดิม แต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง กรรมการตรวจสอบซึ่งพ้นจากตําแหน่งเพราะครบกําหนดวาระตามวรรคหนึ่ง อาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้โดยมติคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มหรือลดจํานวนกรรมการตรวจสอบ ต้องเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในกรณีที่กรรมการตรวจสอบลาออก หรือถูกถอดถอนก่อนครบวาระ บริษัทต้องรายงานพร้อมแจ้งเหตุผลต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่พ้นสภาพการเป็นกรรมการตรวจสอบ การแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบใหม่เข้ามาดํารงตําแหน่งแทนกรรมการตรวจสอบเดิมให้นําความในข้อ 16 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๓ คณะกรรมการตรวจสอบ ต้องจัดให้มีการประชุมเป็นประจําอย่างน้อยทุกไตรมาสเพื่อติดตามการดําเนินงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน และการดําเนินงานของบริษัท ข้อ ๒๔ บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบโดยวัตถุประสงค์ อํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกําหนด โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทหน่วยงานตรวจสอบภายในตามวรรคหนึ่ง บริษัทอาจว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ทําหน้าที่ตรวจสอบ หรือใช้หน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัทก็ได้ โดยต้องรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อ ๒๕ หน่วยงานตรวจสอบภายใน ต้องมีความอิสระในการปฏิบัติงาน สามารถเข้าถึงและตรวจสอบบันทึกรายงานหรือข้อมูลของบริษัทตามที่จําเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบหรือสอบทานได้รายงานข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ ให้ข้อเสนอแนะ และเสนอความเห็นในการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบได้โดยตรง ข้อ ๒๖ หน่วยงานตรวจสอบภายในต้องจัดทําแผนการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษรที่ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ ขอบเขต ความถี่ในการตรวจสอบ ทรัพยากรที่ต้องใช้ และระยะเวลาของการตรวจสอบ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่บริษัทว่าจ้างบุคคลภายนอกเพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบภายในโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท ให้บริษัททําสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกําหนดวัตถุประสงค์ขอบเขตของงาน การเข้าถึงข้อมูลบุคลากร สถานที่ รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ระเบียบปฏิบัติที่ใช้ความเป็นเจ้าของ การเป็นผู้ดูแลรักษากระดาษทําการ และเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่ได้ระหว่างการปฏิบัติงาน บุคคลภายนอกที่รับจ้างทําการตรวจสอบภายในตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ต่อบริษัท และไม่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบงบการเงินประจําปีของบริษัท การว่าจ้างให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ทําหน้าที่ตรวจสอบภายในตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ากระทําโดยบริษัท และอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของบริษัท ข้อ ๒๘ หน่วยงานตรวจสอบภายในมีหน้าที่ อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) สอบทานและรายงานความถูกต้อง ครบถ้วนของการบันทึกบัญชีตามนโยบายการเงินและการบัญชี (2) ตรวจสอบให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพเพื่อบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้และเป็นไปตามกระบวนการกํากับดูแลกิจการที่ดี (3) ตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในบริษัทว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อกําหนดของสํานักงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (4) ตรวจสอบประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของระบบการบริหารความเสี่ยงตามกรอบและนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวมที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท (5) ประเมินวิธีการปกป้องสินทรัพย์ของบริษัทและผู้เอาประกันภัย และตรวจสอบการมีอยู่ของสินทรัพย์ (6) ตรวจสอบทุจริต ข้อผิดพลาด การละเลย และรายการผิดปกติอื่น ๆ (7) ประเมินระบบงานสารสนเทศเพื่อให้มั่นใจว่ามีการควบคุมภายในที่เพียงพอ มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกกิจกรรมที่ใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงมีระบบการสํารองข้อมูลเพื่อรองรับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (8) ประเมินความน่าเชื่อถือของระบบการรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้น รวมถึงการเก็บรักษาความลับกรณีที่พนักงานรายงานการฝ่าฝืนกฎระเบียบ รวมถึงการให้ความคุ้มครองจากการถูกตอบโต้และการติดตามผลตามความเหมาะสม (9) จัดทํารายงานผลการประเมินการควบคุมภายในของบริษัท ซึ่งระบุสิ่งที่ตรวจพบที่สําคัญจากการตรวจสอบ รวมถึงข้อเสนอแนะและการดําเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง เสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการบริษัท (10) ควบคุมและจัดเก็บรายงานผลการตรวจสอบและกระดาษทําการ รวมถึงการเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการตรวจสอบ ข้อ ๒๙ บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือหน่วยงานอื่นที่เทียบเท่า ซึ่งมีความเป็นอิสระ และขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการตรวจสอบทําหน้าที่ดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อกําหนดของสํานักงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทต้องจัดให้มีตัวแทนซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับสํานักงานในนามของบริษัทและให้บริษัทแจ้งการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการตรวจสอบและสํานักงาน ภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือสิ้นสุดการแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการรายงานการสิ้นสุดการแต่งตั้ง ให้บริษัทระบุเหตุแห่งการสิ้นสุดนั้นด้วย ข้อ ๓๐ หน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายมีหน้าที่อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) เป็นศูนย์กลางในการให้คําแนะนํา คําปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงจัดทําคู่มือการปฏิบัติตามกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร และอบรมให้ความรู้พนักงานอย่างสม่ําเสมอ (2) พัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมายโดยระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง กําหนดวิธีจัดการความเสี่ยง ติดตาม รายงานผลการประเมินการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งระบุสาเหตุการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและแนวทางการแก้ไข รวมถึงปัญหาที่ได้รับการแก้ไขแล้ว เสนอต่อผู้บริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการบริษัท (3) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทําและดําเนินแผนการบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมายเป็นประจําทุกปี โดยระบุช่วงเวลาและหน่วยงานรับผิดชอบ รวมถึงการดําเนินการแก้ไขปัญหาที่อาจทําให้ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้ (4) ติดตามให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและรายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายประจําปีต่อคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการตรวจสอบ รวมถึงรายงานการฝ่าฝืนกฎหมายและการสอบสวนผู้บริหารและรายงานการถูกปรับหรือถูกดําเนินการทางกฎหมายใด ๆ โดยสํานักงานหรือหน่วยงานราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง (5) เป็นผู้ประสานงานกับสํานักงานในนามของบริษัท และปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะ อาทิ งานในด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หมวด ๕ การควบคุมภายใน --------------------- ข้อ ๓๑ คณะกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายการควบคุมภายในที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม โดยให้บริษัทมีโครงสร้างองค์กรและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในที่เหมาะสมสําหรับการดําเนินกิจกรรมทางการเงินและกิจกรรมหลักประกอบด้วยกิจกรรมอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยการพิจารณารับประกันภัย การจัดการค่าสินไหมทดแทน การประกันภัยต่อ การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นการรับเงิน และการจ่ายเงิน โดยบริษัทต้องมีระบบการควบคุมภายใน ซึ่งต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท ข้อ ๓๒ ระบบการควบคุมภายในตามข้อ 31 ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) การควบคุมให้ระบบการรับเงินและการจ่ายเงินเป็นตามหมวด 1 หมวด 2 และหมวด 3 ในประกาศนี้ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการบันทึกบัญชี รายงานทางการเงิน และรายงานอื่นที่นําส่งสํานักงาน มีความถูกต้องแม่นยํา เพียงพอ และเป็นปัจจุบัน (2) การเชื่อมโยงกันระหว่างการควบคุมภายในกับระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมความเสี่ยงที่สําคัญ และสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการกําหนดนโยบายและการตัดสินใจทางธุรกิจที่สําคัญ (3) จัดให้บริษัทมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และนโยบายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องครบถ้วน (4) การแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการกํากับดูแล ตรวจสอบ และปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน ออกจากกันอย่างชัดเจน และจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งสื่อสารและอบรมให้พนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานที่มีอํานาจในการทําธุรกรรมหรือมีความรับผิดชอบในระดับสูง หรือเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง รับทราบและเข้าใจในนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในของบริษัท (5) กําหนดอํานาจดําเนินการ วงเงินที่มีอํานาจ และระบบการควบคุมที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมมีการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งในระดับธุรกรรม ระดับระบบงาน ระดับบริษัท และระดับกลุ่มบริษัท (ถ้ามี) (6) การติดตาม ประเมินผล และความเพียงพอของระบบควบคุมภายในอย่างสม่ําเสมอ ข้อ ๓๓ บริษัทต้องจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานสําหรับกระบวนการทํางานของบริษัท พร้อมทั้งกําหนดอํานาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน เป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ ๓๔ บริษัทต้องดําเนินการปรับปรุงแก้ไข หากมีการตรวจพบข้อบกพร่องหรือมีข้อสังเกตที่ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบ หรือสํานักงาน ระบุไว้ในรายงานการตรวจสอบ ข้อ ๓๕ บริษัทต้องมีระบบการตรวจสอบ และติดตามให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างเคร่งครัด ข้อ ๓๖ บริษัทต้องมีการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน และทบทวนความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และรายงานผลการประเมินการควบคุมภายในของบริษัทโดยรวมต่อคณะกรรมการบริษัท โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบแสดงความเห็นประกอบการรายงานทุกครั้ง การรายงานตามวรรคหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง และให้จัดเก็บรายงานผลการประเมินดังกล่าวไว้ที่บริษัท เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบการทุจริต หรือการกระทําใดซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดําเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร หากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารไม่ดําเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบกําหนด ให้กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งรายงานการกระทําดังกล่าวต่อสํานักงาน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557 รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,570
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง มาตรการผ่อนผันสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วม พ.ศ. 2557
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง มาตรการผ่อนผันสําหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม พ.ศ. 2557 ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 มาตรา 27/4 วรรคสอง มาตรา 37 (2) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง มาตรการผ่อนผันสําหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายหรือจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยสําหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากน้ําท่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๔ การคํานวณเงินกองทุน การประเมินมูลค่าสํารองค่าสินไหมทดแทน หรือการฝากเงินธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือประเภทกระแสรายวัน ที่บริษัทจัดสรรไว้สําหรับสินทรัพย์หนุนหลังและมีไว้เพื่อการจ่ายค่าสินไหมทดแทน สําหรับบริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม ที่ได้รับการผ่อนผันจากคณะกรรมการตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศนี้ และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยอื่น ในกรณีที่ประกาศอื่นขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๕ บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมอาจขอให้คณะกรรมการผ่อนผันในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ดังต่อไปนี้ ตามแต่กรณี (1) ให้บริษัทได้รับยกเว้นไม่ต้องนําสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมมาใช้ในการคํานวณเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านการประกันภัย (2) ให้นับเงินกู้ยืมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 และให้นับเป็นเงินกองทุนเกินกว่าจํานวนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ได้ (ก) กําหนดระยะเวลาชําระหนี้ต้องไม่น้อยกว่าสิบปี และห้ามชําระหนี้ก่อนครบกําหนด เว้นแต่ บริษัทเพิ่มทุนแล้วเสร็จตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด (ข) กําหนดให้เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมใช้สิทธิรับชําระหนี้เป็นลําดับสุดท้าย หากบริษัทเลิกกิจการ และ (ค) เงื่อนไข และข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน (3) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําค่าเผื่อความผันผวน ณ ระดับความเชื่อมั่นเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เจ็ดสิบห้ามาใช้ในการประเมินมูลค่าสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมก่อนการเอาประกันภัยต่อ และสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ ทั้งนี้ ให้บริษัทต้องแสดงรายละเอียดการประเมินสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม ไว้ในรายงานประจําปีการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือ (4) ให้มีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือประเภทกระแสรายวันที่บริษัทมีไว้เพื่อการจ่ายค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมและบริหารสภาพคล่องของกิจการของบริษัท มีจํานวนรวมกันเกินร้อยละห้าของจํานวนสินทรัพย์หนุนหลังของบริษัทก็ได้ การยื่นขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง บริษัทต้องยื่นขอต่อคณะกรรมการผ่านสํานักงานภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 ทั้งนี้ คณะกรรมการจะกําหนดระยะเวลาผ่อนผันให้ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๖ บริษัทที่ขอผ่อนผันต่อคณะกรรมการตามข้อ 5 ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมเป็นจํานวนมากกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท (2) จ่ายค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมไปแล้วไม่น้อยกว่าจํานวน ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีการรับประกันภัยตรงไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสินไหมทดแทนน้ําท่วมทั้งหมดที่ผู้เอาประกันภัยเรียกร้อง (ข) กรณีการรับประกันภัยต่อไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสินไหมทดแทนน้ําท่วมทั้งหมดที่ผู้เอาประกันภัยต่อเรียกร้อง และ (3) มีแผนการดําเนินการแก้ไขฐานะการเงินและดําเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 โดยรายงานความคืบหน้าการดําเนินการตามแผนต่อคณะกรรมการผ่านสํานักงานทุกสามเดือน ในกรณีที่บริษัทไม่ดําเนินการหรือดําเนินการไม่เป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้ คณะกรรมการอาจยกเลิกการผ่อนผันตามข้อ 5 ได้ ข้อ ๗ ให้บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมซึ่งได้รับการผ่อนผันจากคณะกรรมการตามข้อ 5 จัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมจากวิกฤตการณ์อุทกภัยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ เป็นรายไตรมาส (เดือนมีนาคม เดือนมิถุนายน และเดือนกันยายน) และรายปี ให้บริษัทยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการผ่านสํานักงานตามเงื่อนไขและระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (1) รายงานรายไตรมาส ให้ยื่นภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส ทั้งนี้ รายงานรายไตรมาส ไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2557 ต้องผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยให้ยื่นภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส (2) รายงานรายปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ให้ยื่นภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,571
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 ----------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 111/2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 9/2555 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “ตัวแทนประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทําการชักชวนให้บุคคลทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทําเพื่อบําเหน็จเนื่องจากการนั้น “นักคณิตศาสตร์ประกันภัย” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “ผู้ประเมินวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานเป็นผู้ประเมินวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “คณะกรรมการเปรียบเทียบ” หมายความว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัท ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ผู้ประเมินวินาศภัยหรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยผู้ใด กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามดังกล่าว โดยระบุรายละเอียดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามรวมทั้งชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ประชาชนทราบ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๖ ให้สํานักงานประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของบริษัทตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ผู้ประเมินวินาศภัย หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในเว็บไซต์ของสํานักงาน และจัดทําเป็นเอกสารข่าวเพื่อเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนในแขนงต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบทั่วกัน ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่บริษัทดํารงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้สํานักงานประกาศหรือโฆษณาโดยระบุชื่อบริษัท จํานวนเงินกองทุนที่บริษัทดํารงไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด และสถานะของบริษัทที่ต้องห้ามมิให้ขยายธุรกิจโดยไม่สามารถรับประกันภัยรายใหม่ได้ (2) กรณีที่บริษัทไม่ยื่นงบการเงิน รายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 47 ไม่แก้ไขรายงานประจําปีตามคําสั่งคณะกรรมการตามมาตรา 48 ไม่ยื่นรายงานทางการเงินตามมาตรา 49 ไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 50/1 ไม่ส่งรายงานประจําปีการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยตามมาตรา 50/2 หรือบริษัทรายงานดังกล่าวข้างต้นไม่ครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง ให้สํานักงานประกาศหรือโฆษณาโดยระบุชื่อบริษัท การกระทําที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (3) กรณีที่นายทะเบียนมีคําสั่งตามมาตรา 52 หรือมาตรา 53 ให้สํานักงานประกาศหรือโฆษณาโดยระบุชื่อบริษัท การกระทําของบริษัท บุคคลที่เกี่ยวข้อง (หากมี) รายละเอียดของการสั่งให้แก้ไขฐานะหรือการดําเนินการ (4) กรณีที่นายทะเบียนมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ผู้ประเมินวินาศภัย หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือมีคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ประเมินวินาศภัย หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ให้สํานักงานประกาศหรือโฆษณาโดยระบุชื่อบุคคลที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือถูกพักใช้ใบอนุญาต การกระทําที่เป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนหรือพักใช้ใบอนุญาต และผลของการถูกเพิกถอนหรือพักใช้ใบอนุญาต ข้อ ๗ ภายใต้บังคับข้อ 6 กรณีที่บริษัท ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ผู้ประเมินวินาศภัย หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นความผิดที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีอํานาจเปรียบเทียบ ให้สํานักงานประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของบริษัทในเว็บไซต์ของสํานักงาน และจัดทําเป็นเอกสารข่าวเพื่อเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนในแขนงต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบทั่วกัน ดังนี้ (1) กรณีชําระค่าปรับตามคําเปรียบเทียบของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ให้สํานักงานประกาศหรือโฆษณาโดยระบุชื่อผู้กระทําความผิด ลักษณะการกระทําความผิด และโทษที่ได้มีการเปรียบเทียบ (2) กรณีไม่ชําระค่าปรับตามคําเปรียบเทียบของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ให้สํานักงานประกาศหรือโฆษณาโดยระบุชื่อผู้กระทําความผิด ลักษณะการกระทําความผิด และโทษที่ได้มีการเปรียบเทียบ และให้ระบุด้วยว่าสํานักงานได้ดําเนินการต่อไปอย่างไร ทั้งให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในประกาศหรือโฆษณาดังกล่าว ตามความคืบหน้าของคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ข้อ ๘ การประกาศหรือโฆษณาในเว็บไซต์ของสํานักงาน ตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้สํานักงานประกาศหรือโฆษณามีกําหนดระยะเวลา ดังนี้ (1) กรณีตามข้อ 6 (1) ให้ประกาศหรือโฆษณาจนกว่าบริษัทแสดงหลักฐานได้แจ้งชัดและผ่านการตรวจสอบจากนายทะเบียนแล้วว่าบริษัทดํารงเงินกองทุนได้ครบถ้วนแล้ว (2) กรณีตามข้อ 6 (2) ให้ประกาศหรือโฆษณาจนกว่าบริษัทได้ดําเนินการตามกฎหมายแล้ว (3) กรณีตามข้อ 6 (3) ให้ประกาศหรือโฆษณาจนกว่าบริษัทแก้ไขฐานะหรือการดําเนินการแล้วเสร็จ (4) กรณีตามข้อ 6 (4) ให้ประกาศหรือโฆษณาการเพิกถอนใบอนุญาตเป็นเวลาหนึ่งปี ส่วนการพักใช้ใบอนุญาตให้ประกาศหรือโฆษณาจนครบกําหนดเวลาพักใช้ใบอนุญาต (5) กรณีตามข้อ 7 (1) และ (2) ให้ประกาศหรือโฆษณาเป็นเวลา (ก) หกเดือน สําหรับกรณีข้อ 7 (1) ซึ่งกฎหมายกําหนดโทษปรับไม่ถึงสามแสนบาท (ข) หนึ่งปี สําหรับกรณีข้อ 7 (1) ซึ่งกฎหมายกําหนดโทษปรับตั้งแต่สามแสนบาทขึ้นไปหรือมีโทษจําคุก (ค) กรณีตามข้อ 7 (2) ให้ประกาศหรือโฆษณาต่อไปอีกหนึ่งปีนับแต่คดีถึงที่สุด ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,572
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดกรณีที่ถือว่ากรรมการ ผู้จัดการ บุคคลซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทประกันวินาศภัยหรือที่ปรึกษาของบริษัทประกันวินาศภัย มีประวัติเสียหายหรือดำเนินกิจการใดที่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ พ.ศ. 2556
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดกรณีที่ถือว่ากรรมการ ผู้จัดการ บุคคลซึ่งมีอํานาจกระทําการแทนบริษัทประกันวินาศภัย หรือที่ปรึกษาของบริษัทประกันวินาศภัย มีประวัติเสียหายหรือดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะที่แสดงถึง การขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ พ.ศ. 2556 -------------------------------------- เพื่อกําหนดกรอบในการพิจารณากรณีที่ถือว่ากรรมการ ผู้จัดการ บุคคลซึ่งมีอํานาจกระทําการแทนบริษัท หรือที่ปรึกษาของบริษัทมีประวัติเสียหายหรือดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ตามความในมาตรา 34 (8) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 9/2555 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดกรณีที่ถือว่ากรรมการ ผู้จัดการ บุคคลซึ่งมีอํานาจกระทําการแทนบริษัทประกันวินาศภัย หรือที่ปรึกษาของบริษัทประกันวินาศภัย มีประวัติเสียหายหรือดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บุคคลซึ่งมีอํานาจกระทําการแทน” หมายความว่า (1) รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลซึ่งบริษัททําสัญญาให้มีอํานาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุมหรือครอบงําผู้จัดการหรือกรรมการ หรือการจัดการของบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของบริษัท “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เปรียบเสมือนกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ รวมไปถึงบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวแต่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่รวมถึงบุคคลที่รับจ้างทํางานให้แก่บริษัท โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชํานาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชี ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ปรึกษาด้านภาษี ที่ปรึกษาด้านภาษา ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารองค์กร “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อ ๔ ให้ถือว่ากรรมการ ผู้จัดการ บุคคลซึ่งมีอํานาจกระทําการแทนบริษัท หรือที่ปรึกษาของบริษัท มีประวัติเสียหายหรือดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จํากัดเฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (1) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ ทั้งนี้ เฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (2) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือดําเนินคดี โดยสํานักงาน หน่วยงานที่กํากับดูแล หรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (3) เป็นผู้ที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกัน (4) เป็นบุคคลที่ถูกกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (5) เป็นผู้ที่หน่วยงานที่กํากับดูแล หรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ พิจารณาว่ามีลักษณะต้องห้ามในการเป็นกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือผู้บริหารองค์กร ที่อยู่ภายใต้การกํากับหรือภายใต้อํานาจของหน่วยงานนั้น ๆ ทั้งนี้ เฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (6) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยพฤติกรรมประพฤติผิดต่อหน้าที่ หรือการให้บริการด้วยความไม่ซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (7) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือการเอาเปรียบผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ ผู้ถือหุ้น หรือประชาชน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (8) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมในการเปิดเผย หรือเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารอันเป็นเท็จที่อาจทําให้สําคัญผิด หรือโดยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ ผู้ถือหุ้น หรือประชาชน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (9) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควร เพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแล (ถ้ามี) กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจประกันภัย หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ การดําเนินธุรกิจ ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ ผู้ถือหุ้น หรือประชาชน (10) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณ หรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจประกันภัย หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการที่สํานักงานแต่งตั้ง ประกอบด้วย ตัวแทนจากภาครัฐและภาคธุรกิจเป็นผู้ทําหน้าที่พิจารณาว่าบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลซึ่งมีอํานาจกระทําการแทนบริษัทและที่ปรึกษาของบริษัทบุคคลใดเป็นผู้ที่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในฐานะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ตามข้อ 4 (6) (7) (8) (9) และ (10) หรือไม่และเสนอความเห็นต่อสํานักงาน กรรมการรายใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาในลักษณะที่อาจมีผลกระทบต่อการให้ความเห็นอย่างเป็นกลาง ให้ผู้นั้นแจ้งการมีส่วนได้เสียนั้น และห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,573
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณา ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (6) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านสื่อโฆษณา ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทําสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัท โดยกระทําการเพื่อบําเหน็จเนื่องจากการนั้น “การโฆษณา” หมายความว่า การกระทําไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น หรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย “สื่อโฆษณา” หมายความว่า สิ่งที่ใช้ในการโฆษณา เช่น หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ไปรษณีย์ หรือป้าย ข้อ ๔ ในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณา ให้บริษัท และนายหน้าประกันวินาศภัยปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ข้อ ๕ ในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณา บริษัท หรือนายหน้าประกันวินาศภัยต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ข้อความที่โฆษณาต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง (2) ข้อความที่โฆษณาต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย และไม่กํากวม (3) ข้อความที่โฆษณาจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยหรือการจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย (4) ในการโฆษณาที่ระบุว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” จะต้องมีการระบุให้ชัดเจนด้วยว่าต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพในใบคําขอเอาประกันภัยด้วยหรือไม่ หากมีการแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ ต้องระบุเพิ่มด้วยว่าการแถลงสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย หรือพิจารณาจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย (5) ในกรณีที่มีการอ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือข้อมูลอื่นใด ต้องระบุแหล่งที่มาให้ชัดเจนต้องไม่ตัดทอนข้อมูลดังกล่าว จนอาจทําให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญ และต้องมีข้อมูลดังกล่าวพร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ (6) กรณีโฆษณาผ่านสื่อโฆษณาที่ใช้ข้อความ หรือภาพ ตัวอักษรของคําเตือนและคําอธิบายรายละเอียดต้องมีความคมชัด และอ่านได้ชัดเจน (7) กรณีโฆษณาผ่านสื่อโฆษณาที่มีเฉพาะการใช้เสียง ต้องจัดให้มีการอ่านออกเสียงคําเตือนและคําอธิบายรายละเอียดที่สามารถฟังเข้าใจได้ (8) ให้มีการระบุคําเตือน โดยใช้ข้อความว่า “ผู้ซื้อควรทําความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทําประกันภัยทุกครั้ง” หรือข้อความอื่นใดที่มีความหมายทํานองเดียวกัน ข้อ ๖ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณาของนายหน้าประกันวินาศภัยนอกจากจะต้องเป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 แล้ว นายหน้าประกันวินาศภัยต้องไม่ทําให้ผู้เอาประกันภัยเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นผู้รับประกันภัย และให้ระบุแจ้งชัดในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณาว่า กรมธรรม์ประกันภัยที่เสนอขายเป็นกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทใด ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,574
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บเบี้ยประกันภัย พ.ศ. 2555
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บเบี้ยประกันภัย พ.ศ. 2555 ----------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บเบี้ยประกันภัย พ.ศ. 2555” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “ประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย” หมายความว่า ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัย ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๔ การเก็บเบี้ยประกันภัยนอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้บริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย ข้อ ๕ ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ให้ขยายระยะเวลาการเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยออกไปอีกสามสิบวันนับแต่วันครบกําหนดเวลาที่บริษัทต้องเรียกเก็บตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 แห่งประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,575
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ขยายระยะเวลาการจัดทำและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ขยายระยะเวลาการจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับ ผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ------------------------------------ ตามที่ได้เกิดเหตุอุทกภัยอันถือเป็นเหตุภัยพิบัติร้ายแรงของประเทศในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณชนทําให้บริษัทไม่สามารถจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทได้ภายในกําหนดเวลา เพื่อให้บริษัทมีเวลาเพียงพอในการจัดทําและยื่นรายงานดังกล่าว โดยอาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 เลขาธิการโดยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมการเห็นควรให้ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ของไตรมาสที่สาม ปี พ.ศ. 2554 ออกไปอีกสามสิบวันนับแต่วันครบกําหนดเดิม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,576
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจําปี การคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50/2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจําปีการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรายงานประจําปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจําปีการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “รายงาน” หมายความว่า รายงานประจําปีการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่รับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยซึ่งแสดงถึงการคํานวณสํารองประกันภัย ตามประกาศว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “นักคณิตศาสตร์ประกันภัย” หมายความว่า นักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงผู้มีสิทธิรับรองรายงานการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท ตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ด้วย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย ข้อ ๕ ให้บริษัทส่งรายงานสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาแล้วต่อคณะกรรมการ โดยส่งผ่านสํานักงานภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดตามแบบและรายการที่แนบท้ายประกาศนี้เป็นอย่างน้อย ข้อ ๖ บริษัทต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนแก่นักคณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อใช้ในการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ ๗ บริษัทต้องแจ้งชื่อนักคณิตศาสตร์ประกันภัยผู้ทําหน้าที่รับรองรายงานการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยประจําปีให้สํานักงานทราบภายในวันที่ 1 ธันวาคมของปีปฏิทินนั้น ในกรณีที่บริษัทเปลี่ยนนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทแจ้งพร้อมแสดงเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ข้อ ๘ การส่งรายงานตามประกาศนี้ ให้บริษัทดําเนินการจัดส่งในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามระบบที่สํานักงานกําหนดไว้ และในรูปกระดาษ (hard copy) ที่บันทึกข้อมูลถูกต้องตรงกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,577
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ขยายระยะเวลาการจัดทำและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ขยายระยะเวลาการจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับ ผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553 ------------------------------------ ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณชนทําให้บริษัทไม่สามารถจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทได้ภายในกําหนดเวลา เพื่อให้บริษัทมีเวลาเพียงพอในการจัดทําและยื่นรายงานดังกล่าว โดยอาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 เลขาธิการโดยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมการเห็นควรให้ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทดังต่อไปนี้ ออกไปอีกสามสิบวันนับแต่วันครบกําหนดเดิม อื่นๆ - (1) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ของไตรมาสที่หนึ่ง ปี พ.ศ. 2553 (2) งบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาแล้วที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วของปี พ.ศ. 2552 (3) รายงานประจําปีแสดงการดําเนินงานของบริษัท ของปี พ.ศ. 2552 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,578
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ขยายระยะเวลาการจัดทำและยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ขยายระยะเวลาการจัดทําและยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงิน และกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553 ----------------------------------- ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณชนทําให้บริษัทไม่สามารถยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทได้ภายในกําหนดเวลา เพื่อให้บริษัทมีเวลาเพียงพอในการจัดทําและยื่นรายงานดังกล่าว โดยอาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 เลขาธิการโดยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมการเห็นควรให้ขยายระยะเวลาการยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท ประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ของบริษัท ออกไปอีกสามสิบวันนับแต่วันครบกําหนดเดิม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,579
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดแบบ ขนาด ตัวอักษร ภาษาที่ใช้ และข้อความของเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทประกันวินาศภัยพ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบ ขนาด ตัวอักษร ภาษาที่ใช้ และข้อความ ของเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 ----------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (8) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 7/2552 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ เอกสารแสดงการรับเงิน ให้ใช้คําว่า “ใบเสร็จรับเงินหรือใบกํากับภาษี” ข้อ ๒ ใบเสร็จรับเงินหรือใบกํากับภาษีที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องลงลายมือชื่อผู้รับเงิน และให้มีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 2.1 คําบอกชื่อว่าเป็นใบเสร็จรับเงินหรือใบกํากับภาษี 2.2 ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัท 2.3 เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร 2.4 เลขที่ใบเสร็จรับเงินหรือใบกํากับภาษี 2.5 วัน เดือน ปี ที่ออกใบเสร็จรับเงินหรือใบกํากับภาษี 2.6 ชื่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขอเอาประกันภัย 2.7 ชื่อตัวแทนหรือผู้รับมอบอํานาจจากบริษัทให้รับเงินเบี้ยประกันภัย 2.8 เลขที่ของกรมธรรม์ประกันภัย 2.9 จํานวนเงินเบี้ยประกันภัยและงวดที่ชําระ ปีที่ของกรมธรรม์ประกันภัยและระยะเวลาเอาประกันภัย ข้อ ๓ ข้อความในเอกสารการรับเงินดังกล่าวข้างต้นต้องใช้แบบตัวอักษรที่เป็นตัวพิมพ์ อ่านง่ายและสุภาพ และข้อความตาม 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 และ 2.9 ต้องมีขนาดไม่ต่ํากว่าสิบสองพอยท์ และมีจํานวนตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว ไม่เกินสิบแปดตัวอักษร ข้อ ๔ ข้อความในเอกสารแสดงการรับเงินเบี้ยประกันภัยที่บริษัทจัดพิมพ์ขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากมีข้อความ แบบอักษร และขนาดอักษรไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 2 และข้อ 3 ให้บริษัทใช้เอกสารดังกล่าวได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ กําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งอาจขยายได้อีกไม่เกินเก้าสิบวัน เมื่อบริษัทร้องขอต่อนายทะเบียน ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นและแสดงเหตุผลอันสมควร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,580
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 ---------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 (17) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “นิติบุคคล” หมายความว่า บริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด หรือนิติบุคคลอื่นซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ แต่ไม่รวมถึงบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “บริษัทแม่” หมายความว่า นิติบุคคล หรือบริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการของนิติบุคคลหรือบริษัทไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) ถือหุ้นในนิติบุคคล หรือบริษัทเกินกว่าร้อยละห้าสิบของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคล หรือบริษัทนั้น (2) มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของนิติบุคคล หรือของบริษัท (3) มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้ง หรือถอดถอนผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดในนิติบุคคล หรือบริษัท (4) ถือหุ้นในนิติบุคคล หรือบริษัท ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีอํานาจควบคุมกิจการ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีอํานาจควบคุมกิจการ “บริษัทลูก” หมายความว่า (1) นิติบุคคล และหรือบริษัท ที่มีนิติบุคคล หรือบริษัท เป็นบริษัทแม่ หรือ (2) บริษัทลูกของนิติบุคคล หรือบริษัทตาม (1) ต่อไปทุกทอด “บริษัทร่วม” หมายความว่า นิติบุคคล หรือบริษัทที่มีบริษัทแม่ร่วมกัน “ผู้มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า (1) กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้บริหารระดับต่ํากว่าลงมาอีกสองระดับ หรือผู้ซึ่งมีตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) บุคคลผู้ซึ่งมีอํานาจในการบริหารงานทั้งหมด หรือบางส่วนของนิติบุคคล หรือบริษัท (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอํานาจควบคุม หรือครอบงําผู้จัดการ หรือกรรมการของนิติบุคคล หรือบริษัท หรือการจัดการของนิติบุคคล หรือบริษัท ให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย หรือการดําเนินงานของนิติบุคคล หรือบริษัท ข้อ ๒ ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัท ซึ่งห้ามมิให้บริษัทขายหรือให้อสังหาริมทรัพย์ใด ๆ หรือสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่ารวมกันสูงกว่าที่นายทะเบียนกําหนดหรือห้ามมิให้บริษัทซื้อทรัพย์สินจากบุคคลดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการบริษัทและความเห็นชอบจากนายทะเบียน 2.1 คู่สมรสของกรรมการบริษัท 2.2 บุตร หรือบุตรบุญธรรมของกรรมการบริษัท 2.3 นิติบุคคล หรือบริษัท ที่กรรมการบริษัท หรือบุคคลตาม 2.1 หรือ 2.2 เป็นผู้มีอํานาจในการจัดการ 2.4 นิติบุคคล หรือบริษัท ที่กรรมการบริษัท หรือบุคคลตาม 2.1 หรือ 2.2 มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 2.5 นิติบุคคล หรือบริษัท ที่กรรมการบริษัท หรือบุคคลตาม 2.1 หรือ 2.2 มีอํานาจในการควบคุมการแต่งตั้ง หรือถอดถอนกรรมการ 2.6 บริษัทแม่ของนิติบุคคล หรือของบริษัท ตาม 2.3 หรือ 2.4 หรือ 2.5 2.7 บริษัทลูกของนิติบุคคล หรือของบริษัท ตาม 2.3 หรือ 2.4 หรือ 2.5 2.8 บริษัทร่วมของนิติบุคคล หรือของบริษัท ตาม 2.3 หรือ 2.4 หรือ 2.5 2.9 ตัวการ ตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ของกรรมการบริษัท ในกรณีที่กรรมการ หรือบุคคลตาม 2.1 หรือ 2.2 ถือหุ้นในนิติบุคคลใด หรือบริษัทใดตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่านิติบุคคล หรือบริษัทนั้นเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,581
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพผู้ประเมินวินาศภัย พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพผู้ประเมินวินาศภัย พ.ศ. 2552 ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35/6 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประเมินวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยจากนายทะเบียนและขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ข้อ ๒ ผู้ประเมินวินาศภัยต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้โดยเคร่งครัด ข้อ ๓ จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพผู้ประเมินวินาศภัยกําหนดไว้ดังนี้ 3.1 มาตรฐานในการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินวินาศภัยต้องปฏิบัติงานเฉพาะที่ตนมีความรู้ความสามารถเท่านั้น ในกรณีงานที่ได้รับว่าจ้างต้องการความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์อย่างอื่นนอกเหนือจากที่ตนเชี่ยวชาญ ผู้ประเมินวินาศภัยต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้างของตนทราบอย่างตรงไปตรงมา ระบุถึงบทบาทหน้าที่ความช่วยเหลือของผู้ประเมินวิชาชีพรายอื่นเหล่านั้นในรายงานการประเมินโดยเปิดเผย และไม่รับทํางานให้แก่คู่กรณีฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับผู้ว่าจ้างรายเดิมในเหตุวินาศภัยเดียวกัน รวมถึงไม่กระทําการใด ๆ อันเข้าข่ายการขัดผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง (Conflict of Interest) 3.2 ความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ผู้ประเมินวินาศภัยต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ปฏิบัติงานที่ได้รับทําอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการของวิชาชีพโดยเคร่งครัดไม่ประพฤติปฏิบัติใด ๆ ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิด 3.3 ความเป็นกลางในการปฏิบัติงานของผู้ประเมินวินาศภัย ต้องปฏิบัติงานการประเมินวินาศภัยด้วยความเป็นอิสระตรงไปตรงมา ไม่ลําเอียง และปราศจากผลประโยชน์ส่วนตัวใด ๆ 3.4 ความรับผิดชอบต่อรายงานการประเมินวินาศภัย เมื่อผู้ประเมินวินาศภัยลงนามรับรองในรายงานการประเมินวินาศภัยแล้ว ให้ถือเป็นความรับผิดชอบโดยสมบูรณ์ของผู้ประเมินวินาศภัยที่มีผลต่อเนื้อหาสาระและความถูกต้องของรายงาน จะกล่าวอ้างว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของรายงานกระทําขึ้นโดยบุคคลอื่นเพื่อให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดในรายงานมิได้ 3.5 พัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพประเมินวินาศภัย และให้ความสําคัญในการช่วยเหลือส่งเสริมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ ให้แก่ผู้ประเมินวินาศภัยในความดูแลของตนเองอย่างจริงจัง 3.6 มารยาทและความร่วมมือ (Courtesy and Cooperation) ผู้ประเมินวินาศภัยต้องปฏิบัติงานโดยรักษามารยาททางวิชาชีพ และให้ความร่วมมือกับบุคคลอื่นตามควรดังต่อไปนี้ 3.6.1 ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องหากได้รับการร้องขอโดยสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 3.6.2 แสดงความคิดเห็นต่อผลงานของผู้ประเมินวินาศภัยรายอื่นอย่างไม่มีอคติด้วยมารยาทและด้วยความเคารพ และตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานมาตรฐานการปฏิบัติงาน 3.7 การโฆษณา (Advertising) ผู้ประเมินวินาศภัยต้องไม่ทําการโฆษณากล่าวอ้างหรือกล่าวเกินความเป็นจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติทางวิชาชีพ หรือความรู้ และประสบการณ์ทางวิชาชีพของตน และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจที่รู้ว่าไม่เป็นความจริงหรืออาจทําให้เข้าใจผิด ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,582
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์ พ.ศ. 2557
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์ พ.ศ. 2557 ----------------------------- โดยเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์ สํานักงาน วางทรัพย์กลาง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 โดยอาศัยอํานาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2556 ข้อ 2 (7) ข้อ 3 การแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี ก.ราชการบริหารส่วนกลาง (11) และข้อ 11 กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ มีอํานาจหน้าที่ (2) ดําเนินการเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์ และปฏิบัติงานในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการในการประเมินราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงาน กองพัฒนาระบบการบังคับคดี และประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานบังคับคดีจังหวัด ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อยอันเป็นประโยชน์ แก่ทางราชการ กระทรวงยุติธรรมเห็นสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการประเมิน ราคาทรัพย์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กระทรวงยุติธรรมจึงได้วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์ พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์ สํานักงาน วางทรัพย์กลาง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 ข้อ ๔ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 37, 38, 39 บรรดาระเบียบ คําสั่ง หรือแนวปฏิบัติอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้ง กับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์” หมายถึง เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดี หรือผู้ได้รับ มอบหมายจากอธิบดีกรมบังคับคดี กําหนดหรือมอบหมาย ให้เป็นเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ ราคาประเมินทรัพย์” หมายถึง ราคาประเมินที่เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ หรือราคาประเมิน ที่คณะกรรมการประเมินราคาทรัพย์พิจารณา โดยดําเนินการประเมินตามหลักวิชา “ราคาตลาด" หมายถึง (1) ราคาที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายส่วนมากยินดีตกลงซื้อขายกัน (2) ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายทั้งสองฝ่าย ทราบข้อมูลในทรัพย์สินที่จะซื้อขายนั้นพอสมควร (3) ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมิได้ถูกบังคับหรือมีแรงจูงใจให้ซื้อขายกัน (4) ราคาตลาดการค้าเสรีที่มีการแข่งขัน ไม่ใช่ราคาจากตลาดผูกขาด โดยผู้ซื้อหรือผู้ชาย หรือราคาขายทอดตลาด หรือราคาในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ํา หรือเงินเฟ้อ "วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด" หมายถึง วิธีการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งกําหนดมูลค่าโดยการพิจารณา และวิเคราะห์ราคาซื้อขายที่เกิดขึ้นจริงของข้อมูลตลาดซึ่งมีลักษณะประเภทและการใช้ประโยชน์ที่เหมือน หรือใกล้เคียงกับทรัพย์สินที่ประเมิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงการพิจารณาวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่สําคัญต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินระหว่างข้อมูลตลาดกับทรัพย์ที่ประเมินด้วย “วิธีรายได้” หมายถึง วิธีการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งกําหนดมูลค่าโดยการพิจารณา และ วิเคราะห์ราคาข้อมูลค่าเช่าตลาดทรัพย์สินที่มีลักษณะ ประเภท หรือการใช้ประโยชน์ที่เหมือนหรือ ใกล้เคียงกับทรัพย์สินที่ประเมิน และวิเคราะห์การประมาณการรายได้ อัตราว่าง ค่าใช้จ่าย อัตราผลตอบแทน จากการลงทุน (Capitalization Rate) อัตราคิดลด (Discounted Rate) และรายการอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์จากข้อมูลค่าเช่าตลาดทรัพย์สินที่มีลักษณะคล้ายคลึง และการใช้ประโยชน์ที่เหมือน หรือใกล้เคียงกับทรัพย์สินที่ประเมิน “วิธีต้นทุน” หมายถึง วิธีการประเมินราคาทรัพย์สินซึ่งกําหนดมูลค่าโดยการพิจารณาต้นทุน ในปัจจุบันที่เกิดจากการจัดซื้อจัดหาทรัพย์สินทดแทนที่มีอรรถประโยชน์เหมือนหรือใกล้เคียงกับทรัพย์สิน ที่ประเมิน ประกอบด้วย มูลค่าตลาดของที่ดินรวมกับต้นทุนค่าก่อสร้างทดแทนใหม่ของอาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างที่คล้ายคลึงกับทรัพย์สินที่ประเมิน หักค่าเสื่อมราคาของอาคารและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นผล จากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สิน “ค่าเสื่อมราคา” หมายถึง มูลค่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ลดลง เนื่องจากการเสื่อมค่า อันเนื่องมาจากอายุการก่อสร้างของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ประโยชน์ใช้สอย เศรษฐกิจ หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อทรัพย์สินที่ประเมิน โดยคิดหักเป็นร้อยละต่อปี ตามประเภทของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง นั้น ๆ “วิธีคํานวณมูลค่าคงเหลือ” หมายถึง วิธีการประเมินที่ประยุกต์ใช้เทคนิคของวิธีการประเมิน ทั้ง 3 วิธีเข้าด้วยกัน คือ วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด วิธีต้นทุน และวิธีรายได้ โดยในด้านสมมติฐาน ประมาณการรายได้และรายจ่าย จะต้องมีการเปรียบเทียบประมาณรายได้และรายจ่ายของทรัพย์สิน ที่ประเมินกับราคาตลาด ใช้วิธีต้นทุนในการประมาณการก่อสร้าง และใช้วิธีรายได้ในการประมาณการ กระแสเงินสด “ค่าใช้จ่าย” หมายถึง ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาทรัพย์ ข้อ ๖ ให้อธิบดีกรมบังคับคดีรักษาการตามระเบียบนี้และมีอํานาจออกค่าสั่ง หรือประกาศ จัดการให้มีทะเบียน บัญชีสารบบ และแบบพิมพ์ขึ้น ตามความจําเป็นเพื่อใช้ในงานประเมินราคาทรัพย์ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ----------------------- ข้อ ๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์ ให้ผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดี และประเมินราคาทรัพย์ ควบคุม กํากับ ดูแลรับผิดชอบงานประเมินราคาทรัพย์ งานธุรการ ในงานประเมินราคาทรัพย์ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ให้ผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ กําหนดขั้นตอนการประเมินราคา ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์ที่ประเมิน รวมถึงวิธีการประเมิน ราคาทรัพย์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เช่น ประเภท ชนิด ราคา ตลอดจนวิธีคํานวณการเสื่อม ราคาทรัพย์ที่จะประเมินไว้เป็นมาตรฐานเท่าที่จะจัดทําได้ เพื่อประโยชน์ในการนี้ให้ (1) จัดทําบัญชีแยกประเภททรัพย์ แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท ชนิด รุ่น จํานวน ขนาด น้ําหนัก สภาพ ดอกผล และข้อสําคัญอื่น อันจําเป็นพร้อมทั้งราคาปานกลางของทรัพย์นั้น ในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ให้จัดทําบัญชีประเมินใหม่ทุก 4 ปี (2) กําหนดการจัดเก็บราคาประเมินของกรมธนารักษ์ และราคาซื้อขายของกรมบังคับคดี ข้อ ๘ ให้ผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ กําหนดตัว เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ เป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินราคาทรัพย์ ตามที่ได้รับแจ้งหรือร้องขอ ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๙ ให้ผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ กําหนด ประเภทของทรัพย์ที่จะทําการประเมินไว้ เพื่อประโยชน์ในการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ ทรัพย์ที่ไม่ได้กําหนดประเภท ชนิดไว้ล่วงหน้าเพื่อการประเมิน อธิบดีกรมบังคับคดี หรือ ผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ อาจสั่งให้เจ้าพนักงานประเมิน ราคาทรัพย์ทําการประเมินราคาได้ ข้อ ๑๐ ทรัพย์ที่ไม่อาจกําหนดราคาประเมินไว้ล่วงหน้า หรือไม่อาจกําหนดไว้ล่วงหน้านาน ๆ ได้ เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์อาจทําการประเมินราคาทรัพย์นั้นได้ และจะแสดงเหตุผลในการประเมิน ราคาไว้เท่าที่มีก็ได้ ข้อ ๑๑ ในการประเมินราคาทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ มีอํานาจในการประเมินราคาทรัพย์ (1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีทรัพย์มีราคาไม่เกินสิบล้านบาท (2) เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ กรณีทรัพย์มีราคาไม่เกินห้าสิบล้านบาท (3) คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2554 ข้อ ๑๒ ในคดีล้มละลายกรณีทรัพย์ที่เจ้าหนี้มีประกันยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 96 (4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งเจ้าพนักงาน ประเมินราคาทรัพย์ ดําเนินการประเมินราคาเพื่อใช้ประกอบการตีราคาทรัพย์ของเจ้าหนี้ ข้อ ๑๓ ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาทรัพย์ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด หมวด ๒ การประเมินราคาทรัพย์ ------------------ ส่วน ๑ ขั้นตอนการประเมิน ------------------- ข้อ ๑๔ เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ มีหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์เมื่อได้รับแจ้ง หรือร้องขอ ให้ประเมินราคาทรัพย์จากบุคคลต่อไปนี้ (1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี (2) ศาล (3) ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (4) ผู้ซึ่งร้องขอและได้รับอนุญาตจากผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ มีฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ในการดําเนินการประเมินราคาทรัพย์ตามอํานาจหน้าที่ ข้อ ๑๕ การแจ้งหรือการร้องขอให้ประเมินราคาทรัพย์ ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีประกาศกําหนด ให้แจ้งหรือร้องขอต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ ทรัพย์ที่อยู่นอกจากพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งหรือร้องขอต่อเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ ในเขตพื้นที่ส่วนภูมิภาคตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีประกาศกําหนด ข้อ ๑๖ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือผู้ใดตามที่กล่าวในข้อ 14 (1) หรือ (4) ที่มีความประสงค์ จะให้ประเมินราคาทรัพย์จะต้องยื่นคําร้องขอตามแบบพิมพ์ของกรมบังคับคดี ต่อเจ้าพนักงานตามที่กล่าว ในข้อ 15 ข้อ ๑๗ ผู้ขอให้ประเมินราคาทรัพย์ เว้นเฉพาะหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงยุติธรรม ที่ไม่อาจจะเบิกค่าใช้จ่ายเพื่อการนี้ได้ จะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาทรัพย์ ค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะต้องส่งหรือวางต่อเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ พร้อมกับหนังสือแจ้ง หรือคําร้องขอเป็นจํานวนที่อธิบดีประกาศกําหนด และผู้ขอให้ประเมินราคาทรัพย์จะต้องวางค่าใช้จ่ายเพิ่ม เท่าที่จําเป็น ตามที่ผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ กําหนดไว้เป็น มาตรฐานเท่าที่จะจัดทําได้เพื่อประโยชน์ ในการนี้ หากมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์แจ้งให้ทราบภายในสิบห้าวัน เว้นแต่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่อาจเบิก ค่าใช้จ่ายได้ จะขอวางค่าใช้จ่ายในภายหลังก็ได้ ในกรณีที่ผู้ขอให้ประเมินราคาทรัพย์ไม่วางเงินค่าใช้จ่ายให้เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ ระงับการประเมินราคาและแจ้งให้ผู้ขอให้ประเมินราคาทรัพย์ทราบ ข้อ ๑๘ เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์อาจทําการสอบสวนและทําบันทึกถ้อยคํา บุคคลใด หรือตรวจหาเอกสารหลักฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินราคาทรัพย์นั้นได้ ในกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือศาลแจ้งให้ประเมินราคาทรัพย์ ตามข้อ 14 (1) หรือ (2) เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์อาจขอให้ผู้แจ้งดําเนินการเรียกหรือส่ง เอกสารหลักฐานใด หรือบุคคลใดมาให้ถ้อยคํา เพื่อการตรวจสอบ และประเมินราคาทรัพย์นั้นได้ ในกรณีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลใดร้องขอให้ประเมินราคาทรัพย์ตามความ ในข้อ 14 (3) หรือ (4) เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์จะสอบปากคําผู้ขอหรือบุคคลอื่นที่เห็นสมควร และให้ผู้ขอนํามา หรือขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานใด ๆ จากผู้ขอหรือบุคคลเหล่านั้นก็ได้ หากผู้ขอ หรือผู้นั้นไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์ อาจงดการประเมินราคาทรัพย์ นั้นเสียได้ ข้อ ๑๙ เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์อาจไปตรวจดูทรัพย์ที่จะประเมิน ณ สถานที่ที่ทรัพย์นั้น ตั้งอยู่ หรือสถานที่ที่เก็บรักษาทรัพย์นั้นได้ตามที่เห็นสมควร และมีอํานาจดําเนินการเท่าที่จําเป็น เพื่อเข้าไปในทรัพย์ที่ต้องประเมินราคา ตามสมควรเพื่อเข้าไปในสถานที่ดังกล่าว สําหรับการประเมิน ตามข้อ 14 (1) และ (2) การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หากเห็นสมควรเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์อาจขอความร่วมมือ เจ้าพนักงานตํารวจให้อยู่ร่วมในการดําเนินการ และอาจแจ้งให้เจ้าพนักงานตํารวจแห่งท้องที่บันทึกไว้ เป็นหลักฐานด้วยก็ได้ ข้อ ๒๐ ให้เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์รีบดําเนินการและแจ้งผลให้ผู้ขอให้ประเมินราคาทรัพย์ ทราบราคาทรัพย์ที่ขอให้ประเมินภายในระยะเวลาที่ผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมิน ราคาทรัพย์ กําหนด พร้อมทั้งส่งคืนเงินค่าใช้จ่ายที่เหลือ หากไม่สามารถประเมินราคาทรัพย์ให้เสร็จภายในเวลาที่กําหนดตามวรรคแรก ผู้อํานวยการ กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์อาจอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปได้ ทั้งนี้ เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ต้องแสดงเหตุจําเป็นอันสมควรในการขอขยายระยะเวลา ข้อ ๒๑ ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ไม่สามารถประเมินราคาทรัพย์ตามที่ได้รับแจ้ง หรือร้องขอไม่ว่ากรณีใด ให้เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์รีบแจ้งให้ผู้ขอให้ประเมินราคาทรัพย์ทราบ พร้อมทั้งเหตุแห่งการนั้น และให้คืนค่าใช้จ่ายที่เหลือทั้งหมดให้แก่ผู้ขอให้ประเมินราคาทรัพย์นั้นด้วย ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ขอให้ประเมินราคาทรัพย์เห็นว่า ราคาที่เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ประเมินสูงหรือต่ําเกินไป หรือมีข้อสงสัยตามสมควรเกี่ยวกับราคาที่ประเมิน ผู้ขอให้ประเมินราคาทรัพย์อาจแจ้งหรือร้องขอให้ทําการประเมินราคาใหม่พร้อมด้วยเหตุผล และผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบ การบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ อาจสั่งให้ทําการประเมินราคาทรัพย์นั้นใหม่ หรือยืนยันราคา ที่ประเมินเดิมได้ ถ้าผู้ขอให้ประเมินไม่พอใจในคําสั่งยืนยันราคาที่ประเมินเดิมของผู้อํานวยการกองพัฒนาระบบ การบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ดังกล่าวในวรรคแรก ผู้ขอให้ประเมินอาจอุทธรณ์คําสั่งนั้น ต่ออธิบดีกรมบังคับคดีภายในเจ็ดวัน นับแต่วันได้รับทราบคําสั่งดังกล่าว คําวินิจฉัยของอธิบดีกรมบังคับคดี ให้ถือเป็นที่สุด ส่วน ๒ วิธีประเมินราคาทรัพย์สิน ---------------------- ข้อ ๒๓ การประเมินราคาที่ดินพึ่งพิจารณาตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ประกอบกัน คือ (1) ราคาซื้อขายกันในท้องตลาดโดยคํานึงถึงสภาพแห่งที่ดินนั้นว่าเป็นที่ดินประเภทใด เช่น ที่อยู่อาศัย ที่โรงงาน ที่ให้บริการหรือค้าขาย ที่สวน ที่นา ที่ไร่ เป็นต้น และที่นั้นอยู่ในทําเลอย่างใด เช่น อยู่ในทําเลค้าขาย ที่ชุมนุมชนอยู่ติดถนนหรือแม่น้ําลําคลองหรือไม่ รถยนต์เข้าถึง หรือไม่ หากเป็นที่ให้เช่ามีผลประโยชน์หรือรายได้มากน้อยเพียงใด (2) ราคาที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีเคย ขายทอดตลาดไปแล้ว (3) ราคาซื้อขาย หรือจํานอง หรือขายฝากครั้งสุดท้ายของที่ดินที่ยึด และที่ดินข้างเคียง (4) ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ข้อ ๒๔ การประเมินราคาทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดิน ให้ประเมินราคาตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ คือ (1) วิธีเปรียบเทียบมูลค่าตลาด โดยอาจเปรียบเทียบกับสภาพทรัพย์ที่คล้ายกัน หรือปัจจัย ที่ส่งผลต่อราคาทรัพย์ ทั้งสภาพแวดล้อมคุณลักษณะทางกายภาพ ประโยชน์ใช้สอย การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ ในอนาคต คุณลักษณะทางกฎหมาย เช่น ภาระผูกพัน การรอนสิทธิ ข้อกําหนดการใช้อาคาร ข้อกําหนด ค้านรายได้และรายจ่าย (2) วิธีต้นทุน โดยการนําการวิเคราะห์ต้นทุนด้วยวิธีการเปรียบเทียบต่อตารางเมตร คํานวณจาก ราคาประเมินค่าก่อสร้างมาตรฐาน หักด้วยค่าเสื่อมราคา (3) วิธีรายได้ โดยการหามูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่ก่อให้เกิดรายได้ พิจารณาอัตราส่วนผลตอบแทน ตลาดหรือที่คาดหวัง เปรียบเทียบกับผลตอบแทนเป็นรายปี เพื่อกําหนดมูลค่า เช่น รายได้จาก การประกอบการ รายได้ที่แท้จริงจากการประกอบการ รายได้จากการดําเนินการสุทธิ เป็นต้น (4) วิธีเปรียบมูลค่าที่เหลืออยู่ โดยการหามูลค่าของทรัพย์ที่ไม่มีลักษณะใกล้เคียงในการเปรียบเทียบ ราคามูลค่าตลาด อาคารสร้างค้าง อาคารอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยคํานึงถึงปัจจัยในการประเมินทั้งคุณลักษณะ ทางกายภาพ ทางกฎหมาย ทางการตลาดและการเงิน ข้อ ๒๕ การใช้ราคาประเมินค่าก่อสร้างมาตรฐานให้เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานบังคับคดี นําบัญชีกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างสํานักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ หรือคณะอนุกรรมการประจําจังหวัด กรมธนารักษ์ มาใช้บังคับ หากกรณีที่บัญชีกําหนดราคาประเมินก่อสร้างอาคารฯ ดังกล่าวไม่ได้กําหนด ราคาสิ่งปลูกสร้างประเภททรัพย์ที่ทําการประเมินนั้น ๆ ไว้ หรือ และเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นสมควร ให้นําบัญชีกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างของสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยมาใช้แทน ในส่วนของค่าเสื่อมราคา ให้นําตารางกําหนดอัตราร้อยละของค่าเสื่อมโรงเรือน และสิ่งปลูกสร้าง ตามระเบียบของคณะกรรมการกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการกําหนด ราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือบัญชีประเมินราคาค่าก่อสร้างอาคารของสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยมาใช้แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๖ ในกรณีทรัพย์สินที่ทําการประเมินราคาบริเวณใดไม่มีการซื้อขาย ให้พิจารณากําหนด ราคาประเมินโดยพิจารณาจากทรัพย์สินใกล้เคียง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันในปัจจัยต่าง ๆ (1) สภาพการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน (2) การคมนาคม สาธารณูปโภค (3) ข้อจํากัดทางกฎหมาย เช่น การผังเมือง หรือที่ดินที่อยู่ในเขตเงินคืน (4) แนวโน้มของการพัฒนาในอนาคต (5) ข้อมูลการตกลงจะซื้อจะขาย (6) ค่าเช่าหรือรายได้ที่ได้รับจากทรัพย์สิน ข้อ ๒๗ การประเมินราคาทรัพย์บางประเภท หากมีความจําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชํานาญการพิเศษ หรือผู้มีความรู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบและประเมินราคาทรัพย์ ให้อธิบดีสั่งให้ดําเนินการได้ ข้อ ๒๘ การรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินราคา ให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ต้องออกไปประเมินราคาทรัพย์ โดยตรวจสภาพทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์เพื่อดูสภาพทรัพย์ที่แท้จริงของทรัพย์ทุกครั้ง (2) การเก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดของสภาพทรัพย์ที่ประเมิน เป็นไปตามแบบพิมพ์ ที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ (3) การใช้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์ที่ประเมิน ซึ่งอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานราชการ หรือเอกชน ให้เจ้าพนักงานประเมินติดต่อประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดเก็บราคา ประเมินทุกปีหรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงราคา หมวด ๓ เบ็ดเตล็ด --------------- ข้อ ๒๙ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนดในระเบียบนี้ หรือมีปัญหาอื่นใดที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อพิจารณาสั่งการเป็น กรณี ๆ ไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5,583
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการเก็บรักษาและทำลายสมุดบัญชี ดวงตรา เอกสาร และสํานวนในกรมบังคับคดี พ.ศ. 2550
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการเก็บรักษาและทําลายสมุดบัญชี ดวงตรา เอกสาร และสํานวนในกรมบังคับคดี พ.ศ. 2550 -------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระบบการจัดเก็บรักษาและทําลายสมุดบัญชี ดวงตรา เอกสาร และสํานวนของกรมบังคับคดี ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 และสภาพความเป็นไปของสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพ กระทรวงยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการเก็บรักษาและทําลายสมุดบัญชีดวงตรา เอกสารและสํานวนในกรมบังคับคดี พ.ศ. 2550 ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับคดีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการเก็บรักษาและทําลายสมุดบัญชี ดวงตรา เอกสารและสํานวนในกรมบังคับคดี พ.ศ. 2546 ข้อ ๔ บรรดา ระเบียบ ข้อบังคับ และคําสั่งอื่นใดที่กําหนดไว้ ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อหนึ่งข้อใด ในระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ สํานวนเกี่ยวกับการบังคับคดี บรรดาสํานวนความเกี่ยวกับการบังคับคดีอันถึงที่สุดหรือพ้นระยะเวลาการบังคับคดี เกินกว่าหนึ่งปี ให้จัดการปลดทําลาย คงเก็บรักษาไว้เฉพาะเอกสารสิทธิ และเอกสารอื่นตามที่อธิบดีกรมบังคับคดี เห็นสมควรกําหนด นอกนั้นให้ทําลายเสีย ข้อ ๖ สํานวนเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย บรรดาสํานวนความเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายอันถึงที่สุดเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่ปิดคดี หรือเนื่องจากการประนอมหนี้สําเร็จ หรือยกเลิกการล้มละลาย หรือรายงานผลการปฏิบัติงานกรณีปลดจาก ล้มละลายให้ศาลทราบ หรือสํานวนสาขาคดีล้มละลายอันถึงที่สุดเกินกว่าหนึ่งปี ให้จัดการปลดทําลาย คงเก็บรักษา ไว้เฉพาะเอกสารสิทธิ และเอกสารอื่นตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นสมควรกําหนด นอกนั้น ให้ทําลายเสีย ข้อ ๗ สํานวนเกี่ยวกับการวางทรัพย์ บรรดาสํานวนความเกี่ยวกับการวางทรัพย์อันถึงที่สุดเกินกว่าหนึ่งปี ให้จัดการปลดทําลาย คงเก็บรักษาไว้เฉพาะเอกสารสิทธิ์ และเอกสารอื่นตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นสมควรกําหนด นอกนั้น ให้ทําลายเสีย ข้อ ๘ สํานวนเกี่ยวกับการชําระบัญชี บรรดาสํานวนความเกี่ยวกับการชําระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลอื่น ตามที่ศาล มีคําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ชําระบัญชีอันถึงที่สุดเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่เสร็จการชําระบัญชี หรือถอนการชําระบัญชี ให้จัดการปลดทําลาย คงเก็บรักษาไว้เฉพาะเอกสารสิทธิ์ และเอกสารอื่นตามที่อธิบดีกรมบังคับคดี เห็นสมควรกําหนด นอกนั้นให้ทําลายเสีย ข้อ ๙ แสตมป์ฤชากร หรืออากรแสตมป์ที่ติดอยู่บนเอกสารที่ต้องทําลาย ให้ทําลายเสียด้วย เมื่อมีอายุเกินสิบปี ให้ทําลายเสีย ข้อ ๑๐ บรรดาสมุดบัญชีนัดความ บัญชีรับ - ส่งสํานวน บัญชีหมาย - ประกาศต่าง ๆ เมื่อมีอายุเกินสิบปี ให้ทําลายเสีย ข้อ ๑๑ ต้นขั้นใบเสร็จรับเงินซึ่งได้ผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินแล้ว เมื่อมีอายุเกินสิบปี ให้ทําลายเสีย ข้อ ๑๒ สมุดบัญชี ดวงตรา และเอกสารที่ยึดได้หรือมีผู้นําส่งในคดี เมื่อมีอายุเกินหนึ่งปี นับแต่คดีเสร็จและไม่มีผู้รับคืน ให้ทําลายเสีย เว้นแต่เอกสารสิทธิ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5,584
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 9/2522 เรื่อง ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 9/2522 เรื่อง ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่าย --------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ นาที่เกี่ยวกับถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นไปโดยเรียบร้อย เหมาะสม อันจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและความในคดี จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการ ในกรมบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ ในกรณีที่โจทก์ยื่นคําร้องขอถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินให้โจทก์หรือจําเลยชําระค่าธรรมเนียมยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่ายก่อน แล้วจึงสั่งถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินดังกล่าว ถ้าคู่ความไม่ยอมชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าว ในกรณีทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดเป็น สังหาริมทรัพย์ให้หัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าของสํานวนไปตรวจสอบ ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ว่ายังคงอยู่หรือไม่ ถ้าไม่อยู่ให้แจ้งความดําเนินคดีอาญาแก่ผู้รับรักษาทรัพย์ หรือผู้รับอายัดทันที ถ้าทรัพย์นั้นยังอยู่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีชนหรือรับมอบทรัพย์สินดังกล่าว มาเก็บรักษาไว้ที่กรมบังคับคดี เว้นแต่ผู้รับรักษาทรัพย์หรือผู้รับอายัดจะให้คํารับรองว่าจะจัดให้มี การชําระค่าธรรมเนียมถอนการยึดหรืออายัดใน 7 วัน ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 มกราคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,585
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2549
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2549 --------------------------- โดยที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงและยุบรวมระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจ ราชการของผู้ตรวจราชการ พ.ศ. 2532 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ สมุดตรวจราชการ พ.ศ. 2542 และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยมาตรฐานทางคุณธรรมและ จริยธรรมของผู้ตรวจราชการ พ.ศ. 2544 เข้าไว้เป็นฉบับเดียวกัน ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 ข้อ 28 วรรคแรก“หน่วยงานของรัฐใดมีระเบียบว่าด้วยการตรวจราชการของหน่วยงานของคนเป็นการเฉพาะและ ไม่สอดคล้องกับระเบียบนี้ ให้ดําเนินการปรับปรุงระเบียบดังกล่าวให้สอดคล้องกับระเบียบนี้” จึงออกระเบียบนี้ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2549” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจการบังคับคดี พ.ศ. 2540 ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับการตรวจราชการของผู้ตรวจการบังคับคดีของกรมบังคับคดี ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า สํานัก กอง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาค สํานักงานบังคับคดีจังหวัด และ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดสาขา “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในสถานภาพอื่นในหน่วยงาน “ผู้ตรวจการบังคับคดี” หมายความว่า ผู้ตรวจราชการของกรมบังคับคดี “ผู้รับการตรวจ” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการและเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงาน “กรม” หมายความว่า กรมบังคับคดี “กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงยุติธรรม “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมบังคับคดี ข้อ ๖ ให้อธิบดีรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ วัตถุประสงค์และขอบเขตของการตรวจราชการ -------------------------------- ข้อ ๗ การตรวจราชการมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อชี้แจง แนะนํา หรือทําความเข้าใจกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับ แนวทางและการปฏิบัติงานหรือการจัดทําภารกิจตามนโยบาย และแผนต่าง ๆ ของกร (2) เพื่อตรวจติดตามว่าหน่วยงานได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคําสั่ง และเป็นไปตามความมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของกรม (3) เพื่อติดตามความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค รวมทั้งประเมิน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าในการปฏิบัติงานหรือการจัดทําภารกิจของกรม (4) เพื่อสดับรับฟังทุกข์สุข ความคิดเห็น และความต้องการของเจ้าหน้าที่และประชาชน (5) เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง และสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ในพื้นที่ (6) เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาซึ่งเกี่ยวกับ การบริหารงานทั่วไปและบริหารงานบุคคล ข้อ ๘ การตรวจราชการตามระเบียบนี้ ให้ดําเนินการตามแผนการตรวจราชการประจําปี หรือตามที่ได้รับคําสั่งจากอธิบดี แผนการตรวจราชการประจําปีตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทําตามรอบปีงบประมาณ โดย ให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายและผู้ตรวจการบังคับคดีร่วมกันจัดทําให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมของปีงบประมาณนั้น แผนการตรวจราชการประจําปีของกรม ต้องสอดคล้องกับแผนการตรวจราชการประจําปีของกระทรวง ภายในเดือนกันยายนของทุกปี ให้ผู้ตรวจการบังคับคดีร่วมประชุมกับผู้ตรวจ ราชการกระทรวงปรึกษาหารือเพื่อจัดทําแผนการตรวจราชการประจําปีให้สอดคล้องโดยไม่ซ้ําซ้อนกันและ เกิดการบูรณาการรวมตลอดทั้งการกําหนดมาตรฐานและเครื่องมือในการตรวจติดตามของผู้ตรวจการ บังคับคดีให้เป็นแนวเดียวกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เมื่อที่ประชุมได้ข้อยุติประการใด ให้ดําเนินการตามข้อยุตินั้น ข้อ ๙ ผู้ตรวจการบังคับคดี รับผิดชอบและมีอํานาจและหน้าที่ในการตรวจราชการเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ เฉพาะในขอบเขตอํานาจและหน้าที่ของกรม ในฐานะผู้สอดส่องดูแลแทนอธิบดี ข้อ ๑๐ ในการตรวจราชการหากมีกรณีที่ต้องตรวจติดตามแผนงาน งาน และโครงการ ในเรื่องเดียวกัน ให้ผู้ตรวจการบังคับคดีประสานงาน หรือร่วมกันดําเนินการกับผู้ตรวจราชการสํานักนายก รัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวง เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และความคุ้มค่าในเชิง ภารกิจและประโยชน์สุขของประชาชน ข้อ ๑๑ การตรวจราชการประจําปีต้องมีสาระสําคัญในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การตรวจราชการเพื่อชี้แจง แนะนํา หรือทําความเข้าใจกับหน่วยงาน และ เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับแนวทางและการปฏิบัติงานหรือการจัดทําภารกิจตามนโยบาย และแผนต่างๆ ของกรม (2) การตรวจการบังคับคดี เพื่อตรวจ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานในการ บังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย การวางทรัพย์ และการประเมินราคาทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบและคําสั่งกรม (3) การตรวจการบริหารงานทั่วไปและตรวจการบริหารงานบุคคลเพื่อทราบปัญหา ของหน่วยงาน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ทั้งผู้บริหารสํานักงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านสุขภาพ ความรู้ ความสามารถ การวางตัว การให้บริการแก่ประชาชน การรักษาวินัย เพื่อนํามาเสนอประกอบการพิจารณา ตามข้อ 2 (6) (4) การตรวจสถานที่ราชการและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน เพื่อทราบสภาพ ความเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๒ การแบ่งพื้นที่การตรวจราชการและแบ่งความรับผิดชอบของผู้ตรวจการบังคับคดี ให้เป็นไปตามแผนการตรวจราชการประจําปีของกรม เว้นแต่อธิบดีจะกําหนดเป็นอย่างอื่น หมวด ๒ อํานาจและหน้าที่ของผู้ตรวจการบังคับคดี -------------------------------- ข้อ ๑๓ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตรวจราชการตามข้อ 7 ให้ผู้ตรวจการ บังคับคดีมีอํานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) ซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้รับการตรวจปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคําสั่งของกรม (2) สั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้รับการตรวจปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติ ในเรื่องใดๆ ในระหว่างการตรวจราชการไว้ก่อน หากเห็นว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือ ประโยชน์ของประชาชนอย่างร้ายแรง และเมื่อได้สั่งการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบ หรือพิจารณาโดยด่วน (3) สั่งให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ชี้แจง ให้ถ้อยคํา หรือส่งเอกสารและหลักฐาน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อประกอบการพิจารณา (4) สอบข้อเท็จจริง สืบสวนสอบสวน หรือสดับตรับฟังเหตุการณ์ เมื่อได้รับ การร้องเรียน หรือมีเหตุอันสมควร โดยประสานการดําเนินงานกับหน่วยงานตรวจสอบอื่นๆ เพื่อแก้ไข ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนหรือปัญหาอุปสรรคของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ (5) ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้รับการตรวจ และรายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบ (6) เรียกประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจง แนะนํา หรือปรึกษาหารือร่วมกัน ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ตรวจการบังคับคดีสั่งตาม ข้อ 13 (2) ให้ผู้รับการตรวจปฏิบัติตาม คําสั่งนั้นโดยพลัน ในกรณีที่ผู้รับการตรวจไม่สามารถปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าวได้ ให้ผู้รับการตรวจชี้แจง ข้อขัดข้องพร้อมเหตุผลให้ผู้ตรวจการบังคับคดีทราบ และให้ผู้ตรวจการบังคับคดีรายงานอธิบดีเพื่อพิจารณา สั่งการต่อไป ข้อ ๑๕ ในการตรวจราชการ ให้ผู้ตรวจการบังคับคดีถือและปฏิบัติตามระเบียบและ ธรรมเนียมของทางราชการ และมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่และจริยธรรมของผู้ตรวจการบังคับคดีตามหมวด 4 ข้อ ๑๖ เพื่อให้การตรวจราชการ เป็นไปอย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ ให้มีหัวหน้า ผู้ตรวจการบังคับคดี โดยอธิบดีแต่งตั้งผู้ตรวจการบังคับคดีคนใดคนหนึ่งเป็นหัวหน้าผู้ตรวจการบังคับคดี และจะให้มีรองหัวหน้าผู้ตรวจราชการด้วยก็ได้ ให้หัวหน้าผู้ตรวจการบังคับคดีมีอํานาจและหน้าที่ให้คําปรึกษาแนะนําแก่ผู้ตรวจการบังคับคดี เพื่อให้การปฏิบัติราชการของผู้ตรวจการบังคับคดีเป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๗ ผู้รับการตรวจมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) อํานวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ตรวจการบังคับคดีในการเข้าไป ในสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์ในการตรวจราชการ (2) จัดเตรียมบุคคล เอกสาร หรือหลักฐานในการปฏิบัติงาน ให้ครบถ้วน และ พร้อมที่จะให้ผู้ตรวจการบังคับคดีตรวจสอบได้ (3) ชี้แจงและตอบข้อซักถามต่างๆ พร้อมทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้ตรวจการบังคับคดี (4) ปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติงานใด ๆ ผู้ตรวจการบังคับคดีได้สั่งการ ในระหว่างตรวจราชการไว้ก่อน หากไม่สามารถดําเนินการได้ตามที่ผู้ตรวจการบังคับคดีสั่งการ ให้ชี้แจง ข้อขัดข้องพร้อมเหตุผลให้ผู้ตรวจการบังคับคดีทราบโดยเร็ว (5) ดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ในการตรวจราชการ หมวด ๓ การรายงานและการค้าเนินการตามผลการตรวจราชการ ------------------------- ข้อ ๑๘ ภายใต้บังคับข้อ 19 เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจราชการในแต่ละคราว ให้ผู้ตรวจการบังคับคดีรายงานผลการตรวจราชการ ถึงอธิบดี และในกรณีที่อธิบดี เห็นว่ามีปัญหาสําคัญ ให้สรุป รายงานเสนอหัวหน้ากลุ่มภารกิจเพื่อทราบหรือพิจารณาสั่งการต่อไป ในกรณีที่ไม่มีหัวหน้ากลุ่มภารกิจ ให้รายงานปลัดกระทรวง การรายงานผลการตรวจราชการของผู้ตรวจการบังคับคดีต่ออธิบดี ในกรณีที ผู้ตรวจการบังคับคดีรายงานถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่จําเป็นต้องได้รับการแก้ไขหรือปรับปรุง ของผู้ตรวจการบังคับคดีซึ่งจัดทํารายงานที่คอยติดตามผลการดําเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าพ้นหกสิบวันแล้วยังมิได้มีการดําเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงอย่างหนึ่งอย่างใด และ ให้รายงานอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป สําหรับการรายงานผลการตรวจราชการตามชัย 10 ให้ผู้ตรวจการบังคับคดี พิจารณา ประมวลผล วิเคราะห์ และจัดลําดับความสําคัญเร่งด่วนของปัญหา และนํารายงานเสนอแนะอธิบดี หรือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อทราบหรือพิจารสั่งการ แล้วแต่กรณี ตอน ๑๙ ในการตรวจราชการแต่ละครั้ง ถ้าผู้ตรวจการบังคับคดีพบเห็นปัญหา อุปสรรค หรือแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติราชการ หรือต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ หรือแผนงาน ให้รีบจัดทํารายงาน โดยสรุปพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อหัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น เพื่อ ดําเนินการแก้ไขให้ลุล่วง โดยเร็ว แล้วแจ้งให้ผู้ตรวจการบังคับคดีทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ รายงานจากผู้ตรวจการบังคับคดี เมื่อครบกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้ตรวจการบังคับคดียังมิได้รับแจ้งผล การดําเนินการ หรือได้รับแจ้งว่าปัญหาหรืออุปสรรคดังกล่าวอยู่นอกเหนืออํานาจของหน่วยงานนั้น ให้ผู้ตรวจการบังคับคดีรายงานอธิบดีทราบ ข้อ ๒๐ ในการตรวจราชการ หากมีความจําเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรายงานหรือจะต้อง ขอคําวินิจฉัยสั่งการจากผู้มีอํานาจ ให้ผู้ตรวจการบังคับคดีดําเนินการโดยพลันโดยทางโทรศัพท์ หรือ เครื่องบินสื่อสารอื่น และให้บันทึกการค่าเนินการดังกล่าวไว้ในรายงานผลการตรวจราชการด้วย ข้อ ๒๑ การรายงานผลการตรวจราชการให้จัดทําโดยสรุปให้เห็นถึงสภาพตามวัตถุประสงค์ ของการตรวจราชการ พร้อมทั้งปัญหาหรืออุปสรรค โดยจะเสนอแนะแนวทางแก้ไขด้วยก็ได้ ในกรณีที่ได้แนะนําหรือสั่งการด้วยวาจาไว้ให้สรุปคําแนะนําและการสั่งการนั้นไว้ในรายงานด้วย ข้อ ๒๒ เมื่ออธิบดีได้สั่งการหรือมีความเห็นในรายงานผลการตรวจราชการประการใดแล้ว ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแกะที่เกี่ยวข้องรับไปดําเนินการติดตามให้มีการดําเนินการตามที่อธิบดีได้สั่งการ หรือมีความเห็นต่อไป หมวด ๔ มาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่และจริยธรรมของผู้ตรวจการบังคับคดี ------------------------- ข้อ ๒๓ ผู้ตรวจการบังคับคดีจึงรวบรวมข้อมูลและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องที่จะตรวจ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และทําหน้าที่สอดส่องดูแลงานราชการทั้งที่เป็นของหน่วยงานต้นสังกัดของตนและ ราชการของหน่วยงานอื่น ตรวจติดตามงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาวินิจฉัยสั่งการในการแก้ไขปัญหาได้ อย่างชัดเจนและถูกต้อง ในกรณีที่พบเห็นปัญหาหรืออุปสรรคใดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในความรับผิดชอบ ของหน่วยงานที่ตนสังกัดหรือไม่ ให้เป็นหน้าที่ที่จะต้องรายงานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในกิจการนั้น ได้ทราบโดยทันทีด้วย และให้ความในข้อ 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๔ ผู้ตรวจการบังคับคดีต้องร่วมมือและประสานงานระหว่างกันทุกระดับการตรวจราชการรวมทั้งประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานตรวจสอบหรือติดตามประเมินผลของส่วนราชการ ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ ๒๕ ผู้ตรวจการบังคับคดีต้องไม่รับสิ่งของมีค่าหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้รับ การตรวจหรือผู้เกี่ยวข้อง หมวด ๕ สมุดตรวจราชการ ------------------------- ข้อ ๒๖ ให้หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคจัดให้มีสมุดตรวจราชการไว้ประจํา ณ สํานักงานหรือที่ทําการ สมุดตรวจราชการอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่ตรวจ (2) กิจกรรมหรือวัตถุประสงค์ที่ตรวจ โดยจะระบุเกี่ยวกับสถานที่ งาน หรือโครงการที่ตรวจไว้ด้วยก็ได้ (3) ข้อเสนอแนะหรือการสั่งการของผู้ตรวจการบังคับคดีที่จําเป็นต้องดําเนินการ และได้แนะนําหรือสั่งการไว้ด้วยวาจาแล้ว โดยรีบด่วน (4) การดําเนินการของผู้รับการตรวจ ข้อ ๒๗ เมื่อผู้ตรวจการบังคับคดีไปตรวจราชการที่สํานักงานหรือที่ทําการของหน่วยงาน ให้ผู้ตรวจการบังคับคดีบันทึกการตรวจราชการองในสมุดตรวจราชการ พร้อมทั้งลงลายมือชื่อ ตําแหน่ง และวัน เดือน ปี ที่ตรวจไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๒๘ ให้ผู้รับการตรวจดําเนินการตามที่ผู้ตรวจการบังคับคดีบันทึกไว้ในข้อ 23 ในกรณีที่สามารถดําเนินการได้โดยทันที ให้รีบดําเนินการโดยไม่ชักช้า แล้วบันทึกไว้ในสมุดตรวจราชการ ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการตามที่ผู้ตรวจการบังคับคดีบันทึกได้ทันทีหรือไม่สามารถดําเนินการได้ ให้ บันทึกชี้แจงข้อขัดข้อง พร้อมทั้งเหตุผลไว้ในสมุดตรวจราชการ ข้อ ๒๙ ภายในห้าวันทําการนับแต่ที่ผู้ตรวจการบังคับคดีได้บันทึกการตรวจราชการในสมุด ตรวจราชการตามข้อ 27 ให้ผู้รับการตรวจจัดทําสําเนาการตรวจราชการของผู้ตรวจการบังคับคดีในสมุด และผลการดําเนินการของผู้รับการตรวจเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับและผู้ว่า ตรวจราชการ ราชการจังหวัดทราบด้วย หมวด ๖ เบ็ดเตล็ด -------------------- ข้อ ๓๐ ในการกํากับและติดตามการตรวจราชการของผู้ตรวจการบังคับคดีให้เป็นไปตาม ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการกํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 โดยอนุโลม ข้อ ๓๑ ในการตรวจราชการ อธิบดีจะสั่งให้ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลืองานผู้ตรวจการ บังคับคดีด้วยก็ได้ตามที่เห็นสมควร การกําหนดจํานวนผู้ช่วยเหลืองานผู้ตรวจการบังคับคดีและจํานวนวัน ที่ทําการตรวจให้พิจารณาจากปริมาณงานตามข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิ.ย. 2549 (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,586
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 117/2523 เรื่อง การนำทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดมาเก็บยังกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 117/2523 เรื่อง การนําทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดมาเก็บยังกรมบังคับคดี ----------------- เนื่องจากบัดนี้กรมบังคับคดีมีสถานที่สําหรับเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ เพื่อรอการขายทอดตลาด เป็นส่วนตัวแล้ว ฉะนั้นจึงให้นําทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดมาเก็บรักษาไว้ยังกรมบังคับคดีเท่าที่สถานที่จะอํานวย ได้ เว้นแต่ทรัพย์สินซึ่งมีสภาพหรือลักษณะดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ทรัพย์ที่มีลักษณะอาจทําให้เกิดสกปรกเลอะเทอะหรือมีกลิ่นซึ่งอาจรบกวน หรือ ก่อความรําคาญ ข้อ ๒ ทรัพย์ประเภทที่มีน้ําหนักมากหรือไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย หรือมีความสูง หรือ ความกว้างมาก เป็นเวลานาน หรือเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษาหรือทรัพย์สินที่จะต้องเก็บรักษาไว้ ข้อ ๓ ทรัพย์ซึ่งโดยสภาพอาจเกิดอันตรายได้ง่าย เช่น สารวัตถุเคมีหรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง ข้อ ๔ ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่โดยเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพของตัวทรัพย์ ข้อ ๕ ทรัพย์นอกจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นราย ๆ ไปว่าสมควร นํามาเก็บรักษาไว้ยังกรมบังคับคดีหรือไม่ ทั้งนี้ให้คํานึงถึงความเหมาะสมในทุก ๆ ด้าน ตลอดจนผลได้ผลเสียอันจะเกิดต่อคู่กรณี และบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ด้วยและหากเป็น ปัญหาก็ให้ปรึกษาผู้อํานวยการกอง อธิบดี หรือรองอธิบดี เพื่อพิจารณาก่อน ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 26 พฤษภาคม 2523 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,587
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 285/2522 เรื่อง การโอนทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดในคดีแพ่งมาไว้ในคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 285/2522 เรื่อง การโอนทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดในคดีแพ่งมาไว้ในคดีล้มละลาย ----------------------- ด้วยปรากฏว่าในคดีล้มละลายเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี โอนการยึดหรืออายัดทรัพย์ในคดีแพ่งมาไว้ในคดีล้มละลาย แต่โจทก์ในคดีแพ่งไม่ยอมไปทําการโอนทรัพย์หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายหรือบ่ายเบี่ยงการรับมอบทรัพย์ที่ยึดหรืออายัด ในคดีแพ่งทําให้เกิดการขัดข้องแก่การดําเนินการบังคับคดีล้มละลาย ฉะนั้น เพื่อให้การบังคับคดีล้มละลายเสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็ว จึงมีคําสั่งให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรมบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้โอนทรัพย์ที่ยึด หรืออายัดในคดีแพ่งมาไว้ในคดีล้มละลาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายนัดเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ใน คดีล้มละลาย และโจทก์ในคดีแพ่งมาทําการมอบและรับมอบทรัพย์สินมาไว้ในคดีล้มละลาย ข้อ ๒ หากโจทก์ในคดีแพ่งไม่ไปทําการมอบทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดและปรากฏว่า ทรัพย์ที่ยึด หรืออายัดเป็นสังหาริมทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปตรวจสอบทรัพย์สินพร้อมเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายเพื่อโอนมายึดหรืออายัดไว้ในคดีล้มละลาย ถ้าเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายไม่ไปรับมอบทรัพย์หรือไม่ยอมรับมอบทรัพย์หรือ บ่ายเบี่ยงการรับมอบทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดในคดีแพ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อเรียกประชุมเจ้าหนี้พิจารณาเกี่ยวกับการโอนทรัพย์ในคดีแพ่ง หากปรากฏว่าไม่มีเจ้าหนี้รายใด ในคดีล้มละลายยินยอมรับมอบทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดมาไว้ในคดีล้มละลาย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ข้อ ๓ ในกรณีทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดในคดีแพ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ทําการโอนทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดมายึดหรืออายัดไว้ในคดีล้มละลายได้ทันทีโดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 1. ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,588
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ------------------------ ตามที่มีระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม ความในข้อ 18 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไข เพิ่มเติม กําหนดให้มีวิธีจัดหาพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลัง กําหนด นั้น โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547 วันที่ 6 ธันวาคม 2548 และวันที่ 27 ธันวาคม 2548 เห็นสมควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐดําเนินการ จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และให้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ และแนวทาง การปฏิบัติที่เกี่ยวกับการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถนําวิธีการดังกล่าวมาใช้ได้ โดยกว้างขวางแพร่หลาย โปร่งใส มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ประหยัดงบประมาณของแผ่นดิน บังเกิดความคุ้มค่า ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และความรับผิดชอบต่อผลสําเร็จของงาน เป็นประโยชน์แก่ทางราชการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534. นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2549 จึงวางระเบียบไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2549” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การจัดหาพัสดุตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วยวิธีการซื้อหรือการจ้าง แต่ไม่รวมถึงการจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษและวิธี กรณีพิเศษที่สามารถทําได้ตามระเบียบอื่น โดยกําหนดให้ผู้เสนอราคาได้เสนอราคาแข่งขันกันเองด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในระยะเวลา และ ณ สถานที่ที่กําหนดโดยไม่เปิดเผยตัวเลขที่มีการเสนอราคา (Sealed Bid Auction) “ราคาสูงสุด” หมายความว่า ราคากลาง วงเงินงบประมาณที่มีอยู่ หรือราคาสูงสุดที่ทางราชการ จะพึงรับได้ตามหลักเกณฑ์ กวพ.อ. กําหนด ข้อ ๔ การใช้บังคับ ให้การจัดหาพัสดุของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่อยู่ในสังกัด การบังคับบัญชา หรือการกํากับดูแลของฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน หรือกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าว ที่กิจกรรม โครงการ หรือการก่อสร้างมีมูลค่า ตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป ดําเนินการตามระเบียบนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการว่าด้วย การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้จัดหาด้วยวิธีการอื่นได้ การจัดหาพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้อยู่ในอํานาจของกระทรวงมหาดไทยพิจารณาดําเนินการ ข้อ ๕ ความสัมพันธ์กับระเบียบอื่น นอกจากที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้การพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดําเนินการ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ หรือระเบียบอื่นของหน่วยงานนั้น ๆ ควบคู่ไปด้วย ข้อ 5 คณะกรรมการ เว้นแต่คณะกรรมการการพัสดุว่าด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จะกําหนดหรือวินิจฉัยเป็นประการอื่น ข้อ ๖ คณะกรรมการ ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เรียกโดยย่อว่า “กวพ.อ. ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเป็นรองประธานกรรมการ อัยการสูงสุด ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ คณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผู้แทนกรม สอบสวนคดีพิเศษ ผู้แทนสํานักงานกํากับและบริหารโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลัง ภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย เป็นกรรมการ และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมบัญชีกลางอาจมอบหมายให้ข้าราชการในกรมบัญชีกลางเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ได้ตามความจําเป็น บทบัญญัติข้อใดเป็นอํานาจหน้าที่ของอธิบดีกรมบัญชีกลาง ให้มีการมอบอํานาจได้ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ ๗ อํานาจหน้าที่คณะกรรมการ กวพ.อ. มีอํานาจหน้าที่ดังนี้ (1) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ (2) พิจารณาอนุมัติยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ (3) พิจารณาอุทธรณ์และคําร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้และความไม่เป็นธรรมอื่น ๆ (4) พิจารณาอนุมัติการดําเนินการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการอื่น (5) กําหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดการปฏิบัติในกระบวนการเสนอราคาด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ (6) เสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงระเบียบนี้ต่อคณะรัฐมนตรี (7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดําเนินการต่าง ๆ ตามระเบียบนี้ หรือตามที่ กวพ.อ. มอบหมาย แล้วเสนอให้ กวพ.อ. พิจารณา เว้นแต่ กวพ.อ. จะมีมติมอบหมายให้ดําเนินการแทน กวพ.อ. ไปได้ ข้อ ๘ การเตรียมดําเนินการ (1) ให้หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุตามข้อ 4 แต่งตั้งคณะกรรมการกําหนดร่างขอบเขต ของงาน (Terms of Reference : TOR) และร่างเอกสารการประกวดราคาก่อนเริ่มการจัดหาพัสดุตามระเบียบนี้ เมื่อขอบเขตของงานดังกล่าวได้รับอนุมัติแล้ว ให้นําสาระสําคัญที่สามารถเผยแพร่ได้ประกาศ ทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน และส่งให้กรมบัญชีกลางเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง (www.gprocurement.go.th) เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามวัน เพื่อให้สาธารณชนเสนอแนะ วิจารณ์ หรือมีความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทางเว็บไซต์ มายังหน่วยงาน โดยเปิดเผยตัว เมื่อคณะกรรมการ ตามข้อนี้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงขอบเขตของงานตามนั้นและดําเนินการเสร็จแล้ว ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อขอความเห็นชอบแล้วนําลงประกาศทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและ กรมบัญชีกลางอีกครั้งหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามวัน ทั้งนี้ จะประกาศทางสื่อมวลชนอื่นเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ (2) ในระหว่างดําเนินการตาม (1) ให้หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุแจ้งอธิบดีกรมบัญชีกลาง เพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ (ระบุชื่อตามความเหมาะสม) โดยจะเสนอ รายชื่อกรรมการบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้ และขอให้คัดเลือก ผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์จากทะเบียนที่มีอยู่ เพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดการประมูลด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนขอให้กําหนดวัน เวลาและสถานที่เสนอราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้คณะกรรมการ ดําเนินการต่อไป ค่าใช้จ่ายในการจัดการประมูลสําหรับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในความรับผิดชอบ ของผู้ได้รับการแจ้งตามข้อ 9 ว่าเป็นผู้มีสิทธิเสนอราคา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กวพ.อ. ประกาศกําหนด (3) ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคนจากบุคลากรในหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า สามคนและไม่มากกว่าห้าคน ในจํานวนนี้ให้แต่งตั้งจากบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือ เงินเดือนประจําอย่างน้อยหนึ่งคน ทั้งนี้จะแต่งตั้งตามข้อเสนอของหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ โดยให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นในหน่วยงานนั้นเป็นกรรมการ และเลขานุการ และเจ้าหน้าที่พัสดุในหน่วยงานนั้นเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะกรรมการประกวดราคาดังกล่าวนําสาระสําคัญของเอกสารประกาศเชิญชวน เอกสาร การประกวดราคา และเอกสารเบื้องต้นอื่น ๆ ที่สามารถเผยแพร่ได้ลงประกาศทางเว็บไซต์ของ หน่วยงานและกรมบัญชีกลางเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามวัน โดยกําหนดให้มีการจัดทําซองข้อเสนอ ด้านเทคนิค การวางหลักประกันซอง วัน เวลาและสถานที่ที่ให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค เงื่อนไข เงื่อนเวลาและสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จะแจกจ่ายหรือจําหน่ายเอกสารดังกล่าวก็ได้ ข้อ ๙ การยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค (1) ให้ผู้ประสงค์จะเสนอราคายื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคต่อคณะกรรมการประกวดราคา ตามข้อ 8 (3) ผ่านทางหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการประกวดราคากําหนด โดยต้องให้เวลาไม่น้อยกว่าสามวันนับแต่วันสุดท้ายของการแจกจ่ายหรือจําหน่ายเอกสารตามข้อ 8 (3) แต่ต้องเป็นระยะเวลาภายใน 30 วันนับแต่วันแรกที่กําหนดให้ยื่นซองดังกล่าว การรับซองข้อเสนอด้านเทคนิคตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ หรือระเบียบอื่นของหน่วยงานนั้น ๆ เว้นแต่ กวพ.อ. จะกําหนดเป็นอย่างอื่น (2) เมื่อสิ้นกําหนดเวลาตาม (1) แล้ว ให้คณะกรรมการประกวดราคาดําเนินการคัดเลือก เบื้องต้นเพื่อหาผู้มีสิทธิเสนอราคา โดยพิจารณาว่า ก. คุณสมบัติของผู้ประสงค์จะเสนอราคาครบถ้วนหรือไม่ และยื่นเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วนหรือไม่ ข. ข้อเสนอด้านเทคนิค (Prequalification) มีความเหมาะสมหรือไม่ ค.เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันเสร็จแล้วตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ค. ว่าด้วยการพัสดุหรือไม่ ทั้งนี้ ต้องให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่คณะกรรมการประกวดราคากําหนด เมื่อคณะกรรมการ ประกวดราคาดําเนินการคัดเลือกเบื้องต้นเพื่อเป็นผู้มีสิทธิเสนอราคาเสร็จแล้ว กล่าวคือเป็นผู้มีคุณสมบัติ ครบถ้วน ข้อเสนอด้านเทคนิคมีความเหมาะสม และไม่เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ให้แจ้ง ผู้ประสงค์จะเสนอราคาแต่ละรายทราบผลการพิจารณาเฉพาะของตน โดยไม่เปิดเผยรายชื่อดังกล่าว ต่อสาธารณชน (3) หากผู้ประสงค์จะเสนอราคาที่ไม่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นตาม (2) ประสงค์จะคัดค้าน ผลการพิจารณา ก็ให้อุทธรณ์ต่อหัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุได้ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาให้เสร็จภายในเจ็ดวัน ทั้งนี้ในระหว่างการพิจารณาจะดําเนินการ ขั้นตอนต่อไปมิได้ ทั้งนี้ หัวหน้าหน่วยงานจะต้องแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้านแต่ละรายทราบ หากหัวหน้าหน่วยงานไม่อาจแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านทราบภายในเวลาที่กําหนด ให้ถือว่า คําอุทธรณ์นั้นฟังขึ้น คําวินิจฉัยของหัวหน้าหน่วยงานให้เป็นอันถึงที่สุดในชั้นของฝ่ายบริหาร (4) ในกรณีที่ปรากฏว่ามีผู้มีสิทธิเสนอราคาเพียงรายเดียว ให้หน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุยกเลิกการดําเนินการทั้งหมด แล้วเริ่มดําเนินการใหม่หรือจะขออนุมัติจาก กวพ.อ. ดําเนินการจัดหา ด้วยวิธีการอื่นก็ได้ ข้อ ๑๐ การเสนอราคา เมื่อพิจารณาคัดเลือกเบื้องต้นตามข้อ 9 และ ได้รับแจ้งวัน เวลาและสถานที่เสนอราคา จากอธิบดีกรมบัญชีกลางแล้ว ให้หน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุแจ้งวัน เวลาและสถานที่เสนอราคาให้ผู้มีสิทธิ เสนอราคาทุกรายทราบ เพื่อดําเนินการเข้าสู่กระบวนการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ (1) ให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาแต่ละรายส่งผู้แทน ไม่เกินรายละสามคนเข้าสู่กระบวนการ เสนอราคาก่อนเวลาเริ่มการเสนอราคา โดยให้แจ้งชื่อตามแบบที่ กวพ.อ. กําหนดในวันเสนอราคาและให้เข้าประจําในสถานที่ตามที่คณะกรรมการประกวดราคาจัดไว้ โดยแยกจากผู้มีสิทธิเสนอราคา รายอื่น และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่คณะกรรมการประกวดราคามอบหมายอีกหนึ่งคนเข้าประจํา ห้ามมี การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อถึงเวลาเริ่มการเสนอราคาแล้ว ผู้มีสิทธิเสนอราคา จะเปลี่ยนหรือเพิ่มผู้แทนมิได้ แต่อาจขอถอนผู้แทนบางคนออกเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งได้ หากผู้มีสิทธิ เสนอราคารายใดไม่ส่งผู้แทนมาตามวัน เวลาและสถานที่ที่กําหนด ให้ประธานคณะกรรมการประกวดราคา ประกาศเป็นผู้หมดสิทธิเสนอราคา แล้วแจ้งผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาที่เหลืออยู่ทุกรายเพื่อเข้าสู่ กระบวนการเสนอราคา แต่ถ้ามีผู้มีสิทธิเสนอราคาเพียงรายเดียวเมื่อถึงเวลาเริ่มการเสนอราคา ให้นําความในข้อ 9 (4) มาใช้โดยอนุโลม (2) ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นผู้กําหนดวัน เวลาและสถานที่เสนอราคาด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสถานที่เสนอราคาอาจต่างจากที่ตั้งของหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุก็ได้ เว้นแต่ กวพ.อ. จะมีมติเป็นประการอื่น วันที่กําหนดให้มีการเสนอราคาต้องเป็นวันราชการ และให้เริ่ม กระบวนการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในเวลาราชการ แต่จะสิ้นสุดลงนอกเวลาราชการก็ได้ ทั้งนี้ กระบวนการเสนอราคาให้กระทําภายในเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบนาทีและไม่เกินกว่าหกสิบนาที โดยประธานคณะกรรมการประกวดราคาประกาศกําหนดเวลาแน่นอนที่จะใช้ในกระบวนการเสนอราคา ให้ทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มกระบวนการเสนอราคา (3) เมื่อเริ่มกระบวนการเสนอราคา ให้ผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาเริ่มการเสนอราคาด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคณะกรรมการประกวดราคาจะตรวจสอบควบคุมอยู่ ณ สถานที่ตามที่คณะกรรมการ ประกวดราคาจัดไว้ การเสนอราคากระทําได้หลายครั้ง จนถึงเวลาที่ประธานคณะกรรมการประกวดราคา แจ้งเตือนว่าเป็นช่วงเวลาสามถึงห้านาทีสุดท้าย ในช่วงเวลาดังกล่าว ระบบจะไม่แสดงว่าราคาของผู้ใด มีสถานะใด เมื่อหมดเวลาแล้วให้ประธานแจ้งสิ้นสุดกระบวนการเสนอราคา เมื่อสิ้นสุดเวลาตามที่กําหนดใน (2) แล้ว หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาต่ําสุดเท่ากันหลายราย จนไม่อาจชี้ขาดได้ ให้คณะกรรมการประกวดราคาขยายเวลาออกไปอีกสามนาทีโดยนําความในวรรคก่อน มาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายมีสิทธิ์เข้าเสนอราคาในช่วงเวลาที่ขยายนั้น และเมื่อครบกําหนดเวลาแล้ว หากยังไม่อาจชี้ขาดได้ ให้ขยายเวลาออกไปอีกครั้งละสามนาทีจนได้ผู้เสนอราคา ต่ําสุดเพียงรายเดียวในช่วงเวลาที่ขยายเวลาออกไป จึงให้แจ้งสิ้นสุดกระบวนการเสนอราคา (4) คณะกรรมการประกวดราคาจะประชุมพิจารณาทันทีที่กระบวนการเสนอราคาสิ้นสุดลง เพื่อมีมติว่าสมควรรับการเสนอราคาของผู้มีสิทธิเสนอราคารายใด มตินั้นต้องแสดงเหตุผลประกอบการพิจารณาแล้วรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุพิจารณาภายในวันทําการถัดไป หากหัวหน้า หน่วยงานเห็นชอบกับมติของคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคา ทุกรายทราบ แต่หากหัวหน้าหน่วยงานไม่เห็นชอบกับมติของคณะกรรมการ ให้แจ้งเหตุผลให้คณะกรรมการ ทราบเพื่อชี้แจงภายในสามวัน เมื่อได้รับคําชี้แจงแล้ว หากหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาเห็นชอบ ตามมติของคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ แต่หากหัวหน้าหน่วยงานยังคงไม่เห็นชอบตามมติคณะกรรมการภายในสามวัน ให้หัวหน้า กวพ.อ. ทราบ หน่วยงานสั่งยกเลิกการประกวดราคาและแจ้งให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายและรายงานให้ การแจ้งผลการพิจารณาของหัวหน้าหน่วยงานให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ ให้ดําเนินการภายใน สามวันนับแต่วันที่หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาให้ความเห็น และให้ประกาศทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน และกรมบัญชีกลางด้วยอย่างน้อยสามวัน (5) ในกรณีผู้มีสิทธิเสนอราคาที่เข้าสู่กระบวนการเสนอราคาไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณา ของหัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ หรือเห็นว่ามีเหตุอื่นใดอันควรร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม ให้อุทธรณ์หรือร้องเรียนต่อ กวพ.อ. ภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ทั้งนี้ ให้ กวพ.อ. พิจารณา อุทธรณ์หรือคําร้องเรียนให้เสร็จภายในสามสิบวัน โดยในระหว่างนี้ให้ กวพ.อ. แจ้งหน่วยงานเพื่อ ระงับการดําเนินการขั้นตอนต่อไป มติ กวพ.อ. ให้เป็นอันถึงที่สุดในชั้นของฝ่ายบริหาร ในกรณีที่ กวพ.อ. เห็นว่าอุทธรณ์ฟังขึ้นหรือคําร้องเรียนมีผล ให้สั่งให้หน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุดําเนินกระบวนการ เสนอราคาใหม่ โดยเริ่มจากขั้นตอนใดก็ได้ตามแต่จะมีคําสั่ง ในกรณีที่ กวพ.อ. เห็นว่าอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น หรือคําร้องเรียนไม่มีผล หรือฟังขึ้นแต่ไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงผลการพิจารณาที่ได้แจ้งไปแล้ว ก็ให้แจ้ง หน่วยงานเพื่อดําเนินการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุหรือระเบียบอื่นของหน่วยงาน นั้น ๆ ต่อไป (6) นับแต่เวลาที่เริ่มการเสนอราคาจนถึงเวลาที่สิ้นสุดการเสนอราคา ให้คณะกรรมการ ประกวดราคาอย่างน้อยกึ่งหนึ่งอยู่ประจําในสถานที่ที่กําหนด เพื่อตรวจสอบควบคุมการเสนอราคา ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ทั้งนี้ กวพ.อ. อาจมีข้อกําหนดให้บันทึกภาพและ/หรือเสียงในเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเสนอราคาเพื่อเป็นหลักฐานด้วยก็ได้ ข้อ ๑๑ มาตรการรักษาความเป็นธรรม และผลประโยชน์ของรัฐ (1) ห้ามผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาแต่ละราย ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นหรือออกจากสถานที่ ตามที่คณะกรรมการประกวดราคาจัดไว้ ตั้งแต่เวลาที่เริ่มกระบวนการเสนอราคาจนถึงเวลาที่สิ้นสุด กระบวนการเสนอราคา (2) ให้คณะกรรมการประกวดราคาแจ้งราคาสูงสุดให้ผู้เสนอราคาทุกรายทราบล่วงหน้า เพื่อให้เป็นฐานในการเสนอราคา การเสนอราคาแต่ละครั้งต้องต่ํากว่าราคาสูงสุดและราคาที่ตนเคยเสนอ ไว้ก่อนแล้ว การเสนอราคาเพิ่มขึ้นจะกระทํามิได้ (3) การแสดงผลการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามขั้นตอนข้อ 10 (1) (2) และ (3) ให้กระทําโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน แต่ต้องไม่กระทบต่อการเสนอราคาของผู้แทนผู้มีสิทธิ เสนอราคาแต่ละรายในสถานที่ตามที่คณะกรรมการประกวดราคาจัดไว้ ทั้งนี้ หากคณะกรรมการ ประกวดราคาเห็นสมควร โดยความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดหาพัสดุ อาจให้มีการถ่ายทอด โทรทัศน์ทางวงจรปิดหรือเป็นการทั่วไปให้สาธารณชนทราบก็ได้ และต้องอนุญาตให้สื่อมวลชนและ บุคคลภายนอกเข้าชมหรือรับทราบผลการเสนอราคาตามขั้นตอนดังกล่าวได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ รักษาความสงบเรียบร้อยที่คณะกรรมการประกวดราคากําหนด (4) ในกรณีที่ กวพ.อ. เห็นเองหรือจากการพิจารณาอุทธรณ์หรือคําร้องเรียนตามข้อ 10 (5) ว่ากรรมการ เจ้าหน้าที่ ผู้มีสิทธิเสนอราคา หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุผู้ใดมิได้ปฏิบัติ ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือมีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้มีสิทธิเสนอราคาหรือทางราชการ ไม่ว่าจะก่อให้เกิดผลเสียหายแล้วหรือไม่ กวพ.อ. อาจแจ้งให้ผู้มีอํานาจดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องก็ได้ หรือหากเข้าข่าย ความผิดทางวินัย ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นดําเนินการทางวินัยด้วย (5) คณะกรรมการประกวดราคามีหน้าที่ดูแลการเสนอราคาทุกขั้นตอนที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ ของตนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุจริต เป็นธรรม และต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตและ การสมยอมในด้านราคา ไม่ว่าของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้มีสิทธิเสนอราคา ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ (6) ในกรณีที่ปรากฏว่ากระบวนการเสนอราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ประสบข้อขัดข้องจนไม่อาจ ดําเนินต่อไปให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กําหนดได้ ให้คณะกรรมการประกวดราคาสั่งพักกระบวนการ เสนอราคา โดยมิให้ผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาพบปะหรือติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น เมื่อแก้ไข ข้อขัดข้องแล้ว จึงให้ดําเนินกระบวนการเสนอราคาต่อไปจากขั้นตอนที่ค้างอยู่ ภายในเวลาของการเสนอราคา ที่ยังเหลือก่อนจะสั่งพักกระบวนการเสนอราคา แต่ต้องสิ้นสุดกระบวนการเสนอราคาภายในวันเดียวกันเว้นแต่คณะกรรมการเห็นว่ากระบวนการเสนอราคาจะไม่แล้วเสร็จได้โดยง่าย หรือข้อขัดข้องไม่อาจแก้ไขได้ ก็ให้ประธานคณะกรรมการประกวดราคาสั่งยกเลิกกระบวนการเสนอราคา และกําหนดวัน เวลาและ สถานที่เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเสนอราคาใหม่ และแจ้งให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายที่อยู่ในสถานที่นั้นทราบ (7) กวพ.อ. อาจกําหนดมาตรการอื่นใดเพื่อรักษาความเป็นธรรมและผลประโยชน์ของรัฐ เพิ่มเติมอีกก็ได้ ข้อ ๑๒ บทเฉพาะกาล การดําเนินการใด ๆ ที่กระทําก่อนหน้าวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับเป็นอันสมบูรณ์และให้มีผล ต่อไปตามข้อกําหนดเดิมที่ประกาศไว้แล้ว แต่การจัดหาพัสดุที่มีมูลค่าตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป หากยังมิได้เริ่มต้นเสนอราคา แม้มีการประกาศเชิญชวนไปแล้วหรือตรวจสอบคุณสมบัติและข้อเสนอ ทางเทคนิคแล้ว ให้ดําเนินการต่อไปตามระเบียบนี้เท่าที่จะทําได้โดยไม่ขัดต่อข้อกําหนดเดิมที่ประกาศไว้แล้ว ข้อ ๑๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2549 พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
5,589
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการณ์ในหน่วยงานส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี พ.ศ. 2544
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการณ์ในหน่วยงานส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี พ.ศ. 2544 --------------------- โดยที่ได้มีหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0506/ว 107 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2542 ปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ประจําสถานที่ราชการ ดังนั้น เพื่อให้การจัดเวรรักษาการณ์ในหน่วยงานของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการดูแลป้องกันความเสียหายอันจะบังเกิดแก่สถานที่ราชการหรือหน่วยงานจากกรณีต่างๆ กรมบังคับคดีเห็นสมควรปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการณ์ในหน่วยราชการต่างๆ ของกรมบังคับคดี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) เสียใหม่ กรมบังคับคดีจึงวางระเบียบเกี่ยวกับการอยู่เวรรักษาการณ์ ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการณ์ในหน่วยงาน ส่วนภูมิภาคของกรมบังคับคดี พ.ศ. 2544” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการณ์ในหน่วยราชการต่างๆ ของกรมบังคับคดี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) ข้อ ๔ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นใดที่มีกําหนดไว้แล้ว หรือซึ่งขัดหรือแย้ง กับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “เวรรักษาการณ์” หมายถึง เวรเฝ้าดูแลเหตุการณ์ประจําสถานที่นั้นๆ โดยมีอํานาจหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชากําหนด “ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร” หมายถึง ผู้อยู่เวรรักษาการณ์นอกเวลาทําการ “หัวหน้าเวร” หมายถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรที่เป็นผู้ควบคุมพิจารณาตัดสินใจกรณีต่างๆในการปฏิบัติหน้าที่เวร “ผู้ตรวจเวร” หมายถึง ผู้ตรวจตราดูแลการปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ของผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร ข้อ ๖ ให้จัดเวรรักษาการณ์ประจําหน่วยงานนอกเวลาราชการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 18.00 – 07.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น และในวันหยุดราชการตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ข้อ ๗ การจัดผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรในแต่ละผลัดให้มีหัวหน้าเวร 1 คน และผู้อยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่เวร อีก 1 คน หากหน่วยงานแห่งใดมีจํานวนผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรน้อยไม่สะดวกแก่การปฏิบัติให้ลดจํานวน ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรได้ตามความจําเป็น โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้น ข้อ ๘ ในแต่ละผลัดของการจัดเวรรักษาการณ์ให้มีผู้ตรวจเวร 1 คน โดยให้ผู้ตรวจเวร ต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร ข้อ ๙ การกําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งระดับใดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ หรือผู้ตรวจเวร ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นจะกําหนดตามความเหมาะสม ข้อ ๑๐ ให้จัดทําหลักฐานการจัดผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรและผู้ตรวจเวร โดยกําหนดวัน เวลา และตัวบุคคลไว้ให้แน่นอน ข้อ ๑๑ การจัดผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรและผู้ตรวจเวรของสตรีให้จัดให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะ ในเวลากลางวันของวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ข้อ ๑๒ หน้าที่ของผู้อยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่เวร (1) การเข้าและออกเวรรักษาการณ์ต้องลงชื่อและเวลาในบัญชีอยู่เวรรักษาการณ์ ที่หน่วยงานได้เตรียมไว้ เฉพาะวันหยุดราชการให้ผู้ที่จะออกเวรส่งมอบเวรให้แก่ผู้ที่จะเข้าเวรต่อไปด้วย (2) อยู่เวรรักษาการณ์ตลอดเวลาที่กําหนดไว้ และให้อยู่ในบังคับบัญชาของหัวหน้าเวร ถ้ามีกิจจําเป็นจะออกไปนอกสถานที่ที่อยู่เวรต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าเวรก่อน แต่ห้ามออกไป นอกสถานที่เกินกว่าเวลา 20.00 นาฬิกา หากผู้ตรวจเวรมาตรวจไม่พบผู้อยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่เวร ถือว่าไม่มาปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรรักษาการณ์ (3) ขณะอยู่เวรรักษาการณ์ถือว่าอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ต้องประพฤติตน ให้เรียบร้อยและอยู่ในระเบียบวินัยข้าราชการโดยเคร่งครัด (4) สอดส่องดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ระมัดระวัง ป้องกันและระงับเหตุร้าย อันอาจจะเกิดขึ้นภายในหน่วยงานซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ (5) ถ้ามีเหตุร้ายหรืออัคคีภัยเกิดขึ้น จะต้องช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ และหากมี ผู้ที่อยู่ในบริเวณหน่วยงานและบริเวณใกล้เคียงให้ขอความร่วมมือช่วยเหลือจากบุคคลดังกล่าวโดยมิชักช้าเช่นกัน (6) ขณะที่อยู่เวรรักษาการณ์ให้ช่วยกันรักษาความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆในการอยู่เวรรักษาการณ์ และเมื่อจะพ้นหน้าที่ให้เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ในการอยู่เวรรักษาการณ์ให้เรียบร้อย ข้อ ๑๓ หน้าที่ของหัวหน้าเวร (1) มีหน้าที่ควบคุม ตรวจตรา สอดส่องให้มีการปฏิบัติหน้าที่ให้ครบถ้วน และเรียบร้อย และให้เดินตรวจความเรียบร้อยภายในบริเวณสถานที่รักษาการณ์โดยบันทึกในบัญชีอยู่เวร รักษาการณ์ให้ทราบด้วย ถ้ามีกิจจําเป็นจะออกไปนอกสถานที่จะต้องมอบหมายให้ผู้อยู่ร่วมปฏิบัติหน้าที่เวร อีกคนหนึ่งรักษาหน้าที่แทน แต่ห้ามออกไปนอกสถานที่เกินกว่าเวลา 20.00 นาฬิกา หากผู้ตรวจเวรมาตรวจไม่พบหัวหน้าเวรถือว่าไม่มาปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรรักษาการณ์ (2) ให้บันทึกเหตุการณ์ประจําวันและรายงานผู้ตรวจเวรทราบ ถ้าผู้ตรวจเวรไม่มาตรวจเวรก็ให้บันทึกไว้ด้วย (3) ขณะอยู่เวรรักษาการณ์ถือว่าอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ต้องประพฤติตน ให้เรียบร้อยและอยู่ในระเบียบวินัยข้าราชการโดยเคร่งครัด (4) สั่งการเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นตามแต่จะเห็นสมควร เพื่อระงับหรือแก้ไข เหตุการณ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และเมื่อมีเหตุร้ายหรืออัคคีภัยเกิดขึ้นให้จัดการระงับเหตุการณ์ พร้อมโทรศัพท์ติดต่อแจ้งเหตุไปยังสถานีตํารวจ ถ้าติดต่อไม่ได้ให้ใช้รถยนต์ของทางราชการไปติดต่อ แจ้งเหตุยังสถานีตํารวจโดยตรง หลังจากติดต่อแจ้งเหตุแล้วให้รีบรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบทางโทรศัพท์และฟังคําสั่งต่อไป (5) เมื่อมีคําสั่งทางราชการแจ้งมาก็ให้ผู้อยู่เวรปฏิบัติทันทีโดยมิชักช้าถ้าผู้อยู่เวรไม่เข้าใจหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องก็ให้รายงานให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบทางโทรศัพท์และฟังคําสั่ง ถ้ารายงานทางโทรศัพท์ไม่ได้ก็ให้นําไปเสนอที่บ้านของหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้รถยนต์ของทางราชการ (6) ให้ตรวจตราดูแลให้มีการจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ในการอยู่เวรให้เรียบร้อยและครบถ้วนตามบัญชี (7) ให้หัวหน้าเวรมีหน้าที่รายงาน กรณี ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 139/2523 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2523 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ ของข้าราชการกรมบังคับคดีโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๔ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์จัดการรับหนังสือที่ส่งมานอกเวลาราชการ โดยลงบัญชีที่หน่วยงานจัดไว้ให้เรียบร้อยและปฏิบัติตามระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการรับส่งหนังสือราชการ และการรับแจ้งเรื่องราชการทางโทรศัพท์นอกเวลาราชการ พ.ศ. 2523 ข้อ ๑๕ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์กลางวันร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ ในข้อ 12, ข้อ 13 และข้อ 14 ในระหว่างอยู่เวรรักษาการณ์โดยอนุโลม ข้อ ๑๖ เมื่อมีงานในหน้าที่ของผู้ที่จะต้องอยู่เวรรักษาการณ์ค้างปฏิบัติอยู่ก็ให้หัวหน้าหน่วยงาน พิจารณาจัดให้ผู้นั้นทําในขณะที่อยู่เวรรักษาการณ์ให้สําเร็จลุล่วงไปโดยมิชักช้า โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบ ของหัวหน้าหน่วยงานที่ได้มอบหมายงานให้จัดทํา ข้อ ๑๗ หน้าที่ของผู้ตรวจเวร (1) ตรวจตราให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร และหัวหน้าเวร ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้ โดยเคร่งครัด และให้เดินตรวจความเรียบร้อยภายในบริเวณซึ่งอยู่เวรรักษาสถานที่ราชการด้วย (2) ผู้ตรวจเวรไม่จําต้องอยู่เวรประจํา แต่ต้องมาตรวจเวรอย่างน้อยวันละครั้ง โดยต้องมาตรวจเวรกลางคืนในช่วงเวลา 20.00 - 24.00 นาฬิกา ของวันที่มีหน้าที่ตรวจเวร และเมื่อได้ตรวจเวรแล้วให้บันทึกไว้ในบัญชีเวรด้วยว่า ตรวจเวลาเท่าใด กลับเมื่อใด และมีผู้ปฏิบัติหน้าที่ เวรรักษาการณ์ครบถ้วนหรือไม่ ข้อ ๑๘ หากผู้ต้องมีหน้าที่อยู่เวรรักษาการณ์ในวันใด ไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่อยู่เวร รักษาการณ์ในวันดังกล่าวได้ให้แจ้งหัวหน้าหน่วยงานทราบเพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป ข้อ ๑๙ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงาน บังคับคดีจังหวัด เป็นผู้จัดทําบัญชีข้าราชการและลูกจ้างที่อยู่ในความรับผิดชอบอยู่เวรรักษาการณ์ ตามความเหมาะสมและตามที่เห็นสมควรโดยคํานึงถึงจํานวนข้าราชการและลูกจ้างที่อยู่ในความรับผิดชอบด้วย ข้อ ๒๐ ถ้าปรากฏว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่เวร หรือผู้ตรวจเวร จงใจละทิ้งหน้าที่ให้ถือว่า กระทําผิดวินัยและให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดหรือความร้ายแรงแก่กรณี ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หน่วยงานใดมีหน่วยรักษาความปลอดภัยประจําหน่วยงาน หรือมีการจ้างเอกชนให้บริการดูแลรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย หน่วยงานนั้นจะไม่จัด ให้มีเวรรักษาการณ์และผู้ตรวจเวรก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องรายงานให้กรมบังคับคดีทราบเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบก่อน ข้อ ๒๒ กรณีที่หน่วยงานใดมีความจําเป็นไม่อาจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ให้ผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจในการที่จะสั่งการการอยู่เวรรักษาการณ์ตามความเหมาะสมได้โดยไม่ให้เกิดผลเสียหายกับงานและทรัพย์สินของราชการหรือหน่วยงาน แล้วรายงานให้กรมบังคับคดีทราบเพื่อพิจารณาต่อไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,590
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 171/2522 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรับคำขอรับชำระหนี้ การมอบอำนาจ และการจ่ายเงิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 171/2522 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรับคําขอรับชําระหนี้ การมอบอํานาจ และการจ่ายเงิน ------------------ เนื่องจากมีการกล่าวอ้างว่าได้มีการปลอมหนังสือมอบอํานาจให้มารับเงินส่วนแบ่ง โดยวิธีปลอมลายมือชื่อผู้ขอรับชําระหนี้และบางกรณีมีการปลอมลายมือชื่อผู้ขอรับชําระหนี้ตั้งแต่ชั้น ยื่นคําขอรับชําระหนี้ ฉะนั้นเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการขอรับชําระหนี้และการจ่ายเงินในกรณีต่าง ๆ เป็นไปโดยรัดกุมไม่เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการกรมบังคับคดีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีที่ผู้ขอรับชําระหนี้ทําหนังสือมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมายื่นคําขอรับชําระหนี้ ในคดีล้มละลายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคําคู่ความดังกล่าวตรวจสอบดูบัตรประชาชนหรือบัตรอื่น ๆ หรือ หลักฐานใด ๆ ซึ่งทางราชการรับรองทั้งของผู้มอบอํานาจและของผู้รับมอบอํานาจ บัตรประชาชนหรือบัตรอื่น ๆ หรือหลักฐานใด ๆ ซึ่งทางราชการรับรองดังกล่าว ข้างต้นของผู้มอบอํานาจหรือของผู้รับมอบอํานาจ หากยังไม่อาจนํามาแสดงหรือมาให้ตรวจสอบ หรือยังไม่สมบูรณ์ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้จนเป็นที่พอใจในวันยื่นคําขอรับชําระหนี้เจ้าหน้าที่อาจ ทําบันทึกเป็นข้อตกลงให้นํามาแสดงภายในกําหนดเวลาในภายหลังก็ได้ ข้อ ๒ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอํานาจหรือยกเลิกการมอบอํานาจหรือแก้ไข เพิ่มเติมหนังสือมอบอํานาจหรือเปลี่ยนแปลงภูมิลําเนาก็ดี เมื่อเจ้าของสํานวนมีคําสั่งแล้วให้นําเข้าเก็บไว้ในสํานวนพร้อมกับแก้ไขในสารบบให้ถูกต้องก่อนที่จะทําการแบ่งหรือจ่ายเงินหรือก่อน จะส่งไปยังกองคลังเพื่อดําเนินการ ข้อ ๓ ในกรณีที่มีการมอบอํานาจหรือมอบฉันทะให้รับเงินในคดีล้มละลายหรือคดีแพ่ง หรือในกรณีอื่น ๆ ให้ถือปฏิบัติตามข้อ 1 โดยอนุโลม ข้อ ๔ เฉพาะในส่วนกลาง ก่อนมีการจ่ายเงินไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้หัวหน้างานคํานวณ และเฉลี่ยทรัพย์ กองคลัง กรมบังคับคดี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนจึงส่งไปทําการจ่ายเงินได้ ข้อ ๕ คําสั่งฉบับนี้ไม่ใช้บังคับในกรณีที่ทนายความเป็นผู้รับมอบอํานาจหรือผู้รับมอบฉันทะ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2522 (ลงชื่อ) (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,591
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 266/2522 เรื่อง ให้รายงานสำนวนค้นหาไม่พบ หรือหาย หรือขาดอายุความ
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 266/2522 เรื่อง ให้รายงานสํานวนค้นหาไม่พบ หรือหาย หรือขาดอายุความ ---------------------------- ด้วยปรากฏว่ามีสํานวนต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานบังคับคดีค้างดําเนินการอยู่เป็นจํานวนมาก และสํานวนบางสํานวนค้นหาไม่พบ หรือหาย ทําให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความล่าช้า เพื่อเป็นการเร่งรัดการปฏิบัติงานของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ได้ผลสมความมุ่งหมายของทางราชการ จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการในกรมบังคับคดีตรวจสอบสํานวนที่ตนได้รับมอบหมายว่ามีสํานวนใด ค้นหาไม่พบ หรือหายไป หรือสํานวนใดขาดอายุความแล้ว ให้รายงานให้อธิบดีกรมบังคับคดีทราบ โดยด่วน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,592
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการปกครองและการปฏิบัติราชการของ สำนักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2544
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการปกครองและการปฏิบัติราชการของ สํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2544 ------------------- โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 275 กําหนดให้ศาลยุติธรรมมีหน่วยงาน ธุรการของศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มิได้กําหนดให้กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรม กรมบังคับคดีจึงอยู่ในความรับผิดชอบ ของกระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร ประกอบกับได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง และพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 กระทรวงยุติธรรมจึงเห็นสมควรปรับปรุงระเบียบ กระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการปกครองและการปฏิบัติราชการของสํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2540 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กระทรวงยุติธรรมจึงได้วางระเบียบไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการปกครองและการปฏิบัติราชการ ของสํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2544 ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการปกครองและการปฏิบัติราชการของสํานักงาน บังคับคดีในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2540 ข้อ ๔ การปกครองบังคับบัญชา 4.1 ให้ข้าราชการและลูกจ้างในสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดฟังการบังคับบัญชาจากหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดและผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไป ตามลําดับ 4.2 ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคและหัวหน้าสํานักงานบังคับคดี จังหวัด ควบคุมดูแลให้ข้าราชการและลูกจ้างในความปกครองบังคับบัญชาปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย ข้าราชการ ข้อ ๕ การมาทํางานและการลา 5.1 ให้ข้าราชการและลูกจ้างในสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคและสํานักงาน บังคับคดีจังหวัด ลงชื่อไว้ในบัญชีลงนามมาทํางานของข้าราชการและลูกจ้าง ณ สํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาค หรือ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดที่ตนปฏิบัติราชการอยู่ 5.2 ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และหัวหน้าสํานักงาน บังคับคดีจังหวัด เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ข้าราชการและลูกจ้างลาได้ตามระเบียบว่าด้วยการลา 5.3 ในกรณีที่อนุญาตให้ลาต่อเนื่องกันเกินกว่า 30 วัน ให้ผู้มีอํานาจสั่งอนุญาตรายงานให้ อธิบดีกรมบังคับคดีทราบด้วย ข้อ ๖ การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรของข้าราชการและลูกจ้างในสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุมัติ ให้เดินทางไปราชการ และจัดการประชุมของทางราชการ พ.ศ. 2524 และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการนี้ ข้อ ๗ การรายงานความดีความชอบประจําปี 7.1 ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดเสนอรายงานความดีความชอบประจําปีของข้าราชการและลูกจ้างในสํานักงานบังคับคดีจังหวัดนั้น รวมทั้งผลงานของตนต่อผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ภายในวันที่ 10 กรกฎาคม ของทุกปี 7.2 ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคเสนอรายงานความดีความชอบ ประจําปีของข้าราชการและลูกจ้างในสํานักงานบังคับคดีในความรับผิดชอบ รวมทั้งผลงานของตนต่อ อธิบดีกรมบังคับคดีภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ของทุกปี ข้อ ๘ การรายงานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา 8.1 ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดเสนอรายงานการขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลของข้าราชการและลูกจ้างในสํานักงานบังคับคดีจังหวัดนั้นห่อผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี 8.2 ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคเสนอรายงานการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาของข้าราชการและลูกจ้างในสํานักงานบังคับคดีในความรับผิดชอบ ออธิบดีกรมบังคับคดี ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม ของทุกปี ข้อ ๙ การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี 9.1 การปฏิบัติงานในสํานวนคดีล้มละลาย ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดมี เขตอํานาจดําเนินการตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด 9.2 เมื่อศาลมีคําสั่งตั้งเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีเป็นผู้ชําระบัญชี และคดีอยู่ใน เขตอํานาจของสํานักงานบังคับคดีจังหวัดใด ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดนั้นมีเขตอํานาจดําเนินการ ตามคําสั่งศาลได้ทุกท้องที่ในเขตจังหวัด หรือตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด 9.3 ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคมีอํานาจควบคุมดูแลสั่งการ ในสํานวนการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชีในเขตอํานาจ การปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้นําระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชีมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๐ การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง 10.1 เมื่อสํานักงานบังคับคดีจังหวัดได้รับหมายบังคับคดีของศาลแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีสํานักงานดังกล่าวดําเนินการตามหมายบังคับคดีนั้น ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดมีเขตอํานาจดําเนินการตามหมายบังคับคดีได้ทุกท้องที่ในเขตจังหวัดนั้น 10.2 ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคมีอํานาจควบคุมดูแลสั่งการในสํานวนการบังคับคดีแพ่งในเขตอํานาจ การปฏิบัติการตามหมายบังคับคดี ให้นําระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี ของเจ้าพนักงานบังคับคดี มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการวางทรัพย์ 11.1 ในกรณีที่มีผู้วางทรัพย์ในเขตจังหวัดที่มีสํานักงานบังคับคดีจังหวัดตั้งอยู่ ให้เป็นหน้าที่ ของเจ้าพนักงานประจําสํานักงานดังกล่าวเป็นผู้ดําเนินการ 11.2 ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคมีอํานาจควบคุมดูแลสั่งการในสํานวนวางทรัพย์ในเขตอํานาจ การปฏิบัติการของเจ้าพนักงาน ให้นําระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการวางทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี มาใช้บังคับโดยอนุโลม 11.3 การวางทรัพย์หรือเงินที่มีทุนทรัพย์สูงตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด ให้รายงานให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคทราบทันที ถ้าเป็นทรัพย์อื่นนอกจากตัวเงินให้ รายงานวิธีเก็บรักษา และเมื่อได้จําหน่ายคืนทรัพย์ดังกล่าวไปประการใดให้รายงานให้ผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคทราบ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่สํานักงานบังคับคดีจังหวัดใดมีปริมาณงานในความรับผิดชอบสูง หรือการเดินทางไปปฏิบัติราชการ ณ ท้องที่บางแห่งที่ห่างไกล เป็นการไม่สะดวกและเป็นเหตุ ล่าช้า เสียเวลาแก่การปฏิบัติราชการ ให้มีสํานักงานสาขาของสํานักงานบังคับคดีจังหวัดนั้นประจํา ณ ท้องที่ตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด จังหวัดใดที่สํานักงานบังคับคดียังไม่เปิดทําการ ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด ดําเนินการตาม ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 13 ไปพลางก่อน ข้อ 13. ไปพลางก่อน ข้อ ๑๓ การรับและจ่ายเงินในคดีล้มละลาย การชําระบัญชี คดีแพ่ง และการวางทรัพย์ การรับและจ่ายเงินในคดีล้มละลาย การชําระบัญชี คดีแพ่ง และการวางทรัพย์ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการนี้ ข้อ ๑๔ การรายงานวันทําการและรายงานการเงิน 14.1 ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดส่งรายงานวันทําการของข้าราชการและ ลูกจ้างจํานวน 3 ชุด ไปยังผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคส่งรายงานวันทําการของ ข้าราชการและลูกจ้างของ สํานักงานในความรับผิดชอบ จํานวนแห่งละ 2 ชุดไปยังอธิบดีกรมบังคับคดี ภายในวันที่ 10 ของเดือน ถัดไป 14.2 ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดส่งรายงานการเงินประจําเดือนของสํานักงาน จํานวน 2 ชุด ไปยังผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคส่งรายงานการเงินประจําเดือนของสํานักงานในความรับผิดชอบ จํานวนแห่งละ 1 ชุด ไปยังอธิบดีกรมบังคับคดี ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๕ การรายงานผลการปฏิบัติงาน 15.1 ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด รายงานผลการปฏิบัติงานประจําเดือน รายงานคดีประจําปี ตามแบบที่กําหนดไว้ไปยังผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค สําหรับ รายงานผลการปฏิบัติงานประจําเดือนให้ส่งถึงภายในเวลาที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด ส่วนรายงานคดีประจําปีให้ส่งถึงภายในวันที่ 10 มกราคม ของปีถัดไป ทั้งรายงานกิจการอื่น ๆ ให้จัดทําตามที่ได้รับ แจ้งจากกรมบังคับคดี 15.2 ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจําเดือน รายงานคดีประจําปีของสํานักงานในความรับผิดชอบตามแบบที่กําหนดไว้ไปยังอธิบดี กรมบังคับคดี สําหรับรายงานผลการปฏิบัติงานประจําเดือนให้ส่งถึงภายในเวลาที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด ส่วนรายงานคดีประจําปีให้ส่งถึงภายในวันที่ 20 มกราคม ของปีถัดไป ทั้งรายการกิจการอื่น ๆ ให้จัดทํา ตามที่ได้รับแจ้งจากกรมบังคับคดี ข้อ ๑๖ เบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เงินเดือน ค่าจ้าง และเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสํานักงาน บังคับคดีในส่วนภูมิภาค ให้เบิกจ่ายจากคลังจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งของสํานักงานนั้น ในกรณีที่สํานักงานบังคับคดีใดมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน หากกรมบังคับคดี เห็นสมควรก็ให้เบิกจ่ายเงินจากกรมบังคับคดีไปพลางก่อน ข้อ ๑๗ ให้อธิบดีกรมบังคับคดีรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัย ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม 2544 (ลงชื่อ) สุทัศน์ เงินหมื่น (นายสุทัศน์ เงินหมื่น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5,593
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 250/2522 เรื่อง ขอให้ตรวจทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 250/2522 เรื่อง ขอให้ตรวจทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด ------------------- เนื่องด้วยปรากฏว่าทรัพย์สินที่โจทก์นํายึดไว้และรับเป็นผู้รักษา หรือมอบให้จําเลย หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รักษาได้สูญหายไป ทําให้เกิดข้อขัดข้องแก่การดําเนินการบังคับทั้งคดีแพ่ง และคดีล้มละลาย ฉะนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน และเพื่อให้การบังคับคดีได้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าของสํานวนออกไปทําการตรวจสอบทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด และมอบให้โจทก์ จําเลย หรือผู้แทน หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รับรักษาว่ายังอยู่ครบถ้วนหรือไม่ ข้อ ๒ ถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินในสํานวนเรื่องใดสูญหาย ให้เจ้าของสํานวนทําการสอบ ข้อเท็จจริงว่าสูญหายไปเพราะเหตุใด ใครเป็นผู้รับผิดชอบ แล้วรายงานเสนอความเห็นต่ออธิบดี ผ่านผู้บังคับบัญชาภายใน 7 วัน ว่าควรจะดําเนินการแก่ผู้รับรักษาอย่างไร ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทําการตรวจสอบทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด แล้วมอบให้ โจทก์ จําเลย หรือผู้แทน หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รับรักษา ว่ายังอยู่ครบถ้วนหรือไม่ทุก 6 เดือน ถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินในสํานวนเรื่องใดสูญหาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตามข้อ 2 ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - วันที่ 26 ตุลาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,594
ระเบียบเกี่ยวกับการเงิน ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับและจ่ายเงินสำนักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาคและสำนักงานบังคับคดีจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
ระเบียบเกี่ยวกับการเงิน ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับและจ่ายเงินสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาคและสํานักงานบังคับคดีจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 ------------------------ โดยที่เป็นการสมควรจัดวางระเบียบเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินของสํานักงานบังคับคดี ในส่วนภูมิภาค เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว เรียบร้อย รัดกุม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับและจ่ายเงินของสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4. แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับและจ่ายเงิน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 ทั้งหมด ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 5. แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับและจ่ายเงิน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 5. สํานวนบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การชําระบัญชีตามคําสั่งศาลและการ วางทรัพย์ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับและจ่ายเงินส่วนจํานวนเงินที่รับไว้นั้น ในวันหนึ่งๆ ให้นําฝากคลัง ตามระเบียบหรือฝากธนาคารตามที่กําหนด โดยกระทรวงการคลัง ซึ่งสํานักงานนั้นได้เปิดบัญชีไว้ ในกรณีที่ นําฝากคลังให้มีสมุดคู่สอบ (พาสบุ๊ค) ระหว่างสํานักงานนั้นกับคลังหนึ่งเล่ม โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ ดําเนินการในเรื่องนั้นเป็นผู้ทํา การรับเงิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้นเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงิน และลงลายมือชื่อร่วมกับหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณี การจ่ายเงิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้นรวบรวมหลักฐานการ จ่ายและสมุดสอบ (พาสบุ๊ค) รายงานหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด เพื่อขออนุมัติเบิกเงินจากคลัง มาเท่าจํานวนที่จําเป็นจะต้องจ่าย การถอนเงินจากธนาคาร ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดเป็นผู้อนุมัติใน – ใบสั่งจ่ายและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น การเขียนเช็คสั่งจ่าย ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น มีหน้าที่เขียนเช็ค สั่งจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับเงินในวันที่มาขอรับเงิน และการจ่ายเงินให้แก่ผู้มารับเงินทุกรายการจะต้องมี การบันทึกรายการจ่ายเงินไว้ในบัญชีเงินสด หรือบัญชีเงินฝากธนาคาร แล้วแต่กรณี ในวันที่จ่ายเงินนั้น การออกใบเสร็จรับเงิน และการลงบัญชีการเงิน ในสํานวนบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย ชําระบัญชี และวางทรัพย์ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้นดําเนินการดังนี้ ก. แยกใบเสร็จรับเงิน และบัญชีการเงินเฉพาะสํานวนบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลายชําระบัญชีและวางทรัพย์ ออกเป็นคนละเล่มต่างหากจากกันและลงบัญชีของแต่ละเรื่องโดยงบยอดเงินคงเหลือติดต่อกัน ข. ใบเสร็จรับเงินให้จัดทําสําเนา 3 ฉบับ มอบต้นฉบับให้ผู้ชําระเงิน ส่วน สําเนา เก็บไว้ในสํานวนของสํานักงานบังคับคดีจังหวัดที่เกี่ยวข้องฉบับหนึ่ง ฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว ค. ให้หมายเหตุอักษรย่อไว้ในเล่มที่ และเลขที่ของใบเสร็จรับเงิน เพื่อสะดวกใน การลงบัญชีดังนี้ บังคับคดีแพ่ง ใช้อักษรย่อ “พ” บังคับคดีล้มละลาย ใช้อักษรย่อ “ล” ชําระบัญชี ใช้อักษรย่อ “ช” วางทรัพย์ ใช้อักษรย่อ “ว” ฟื้นฟูกิจการ ใช้อักษรย่อ “ฟ” เมื่อสิ้นเวลารับ-จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้นรวบรวมหลักฐาน การรับและจ่ายเงินรวมทั้งสมุดสอบ (พาสบุ๊ค) สมุดคู่ฝากบัญชีธนาคาร รายงานหัวหน้าสํานักงานบังคับคดี จังหวัดเพื่อทราบและตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมทั้งลงลายมือชื่อกํากับยอดเงินคงเหลือไว้ด้วย” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 6. แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับและจ่ายเงิน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคและสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 ทั้งหมด ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 7. แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับและจ่ายเงิน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคและสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 ทั้งหมด ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 8. แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับและจ่ายเงิน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคและสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 และให้ใช้ ต่อไปนี้แทน ข้อ ๘ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคมีอํานาจควบคุม ตรวจสอบการรับเงิน ฝากเงิน ถอนเงิน และจ่ายเงิน ให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวมทั้งให้มีอํานาจสั่งให้ทําคํา ชี้แจงได้ตามที่เห็นสมควร” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม 2544 (ลงชื่อ) สุทัศน์ เงินหมื่น (นายสุทัศน์ เงินหมื่น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5,595
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พ.ศ. 2541
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พ.ศ. 2541 ------------------------- โดยที่ได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งบัญญัติให้อํานาจหน้าที่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในหลายส่วนที่จะต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว แต่ยังไม่มีระเบียบ ปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้โดยเฉพาะ กระทรวงยุติธรรมจึงได้วางระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พ.ศ. 2541” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้อธิบดีกรมบังคับคดี รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจ ออกระเบียบ คําสั่ง หรือข้อกําหนด วิธีการปฏิบัติงาน กับทั้งจัดให้มีแบบพิมพ์ขึ้น ตามความจําเป็นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ การใดที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นําระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๑ การประกาศโฆษณา ------------------------------- ข้อ ๕ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รับแจ้งคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ให้ออกประกาศโดย 5.1 ส่งไปโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา 5.2 ส่งไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลาย อย่างน้อยสองฉบับ 5.3 ปิดไว้ ณ สํานักงานหนึ่งฉบับ 5.4 ส่งไปโฆษณาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเมื่อเห็นสมควร ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แจ้งคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามข้อ 5 ไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท หรือนายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง และธนาคาร แห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัย หรือหน่วยงานของรัฐที่มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลการประกอบกิจการ ของลูกหนี้ แล้วแต่กรณีโดยด่วน ข้อ ๗ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รับแจ้งคําสั่งตั้งผู้ทําแผนหรือผู้ทําแผน คนใหม่ให้ออกประกาศโฆษณา และแจ้งคําสั่งตามข้อ 5 และข้อ 6 โดยอนุโลม และแจ้งไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายตามบัญชีรายชื่อที่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสนอต่อศาล และ เจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบ ในการประกาศโฆษณาและแจ้งคําสั่งตั้งผู้ทําแผน ให้แจ้ง กําหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการด้วย ข้อ ๘ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รับแจ้งคําสั่งเห็นชอบด้วยแผน ฟื้นฟูกิจการหรือเห็นชอบด้วยการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ ให้ออกประกาศโฆษณา และแจ้งคําสั่งตามข้อ 5 และข้อ 6 โดยอนุโลม ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รับแจ้งคําสั่งอนุญาตให้ทําข้อบังคับ ของลูกหนี้ขึ้นใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความ ในหนังสือบริคณห์สนธิ ของลูกหนี้ตามแนวทางที่กําหนดในแผนหรือแผนที่แก้ไข ให้ออกประกาศโฆษณา และแจ้งคําสั่งตามข้อ 5 และข้อ 6 โดยอนุโลม ข้อ ๑๐ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รับแจ้งคําสั่งตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่ หรือตั้งผู้บริหารแผนชั่วคราว ให้ออกประกาศโฆษณาและแจ้งคําสั่งตามข้อ 5 และ ข้อ 6 โดยอนุโลม ข้อ ๑๑ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รับแจ้งคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟู กิจการหรือมีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว ให้ออกประกาศโฆษณาและแจ้งคําสั่ง ตามข้อ 5 และข้อ 6 โดยอนุโลม หมวด ๒ การประชุมเจ้าหนี้ ----------------------------- อื่นๆ ๑ การประชุมตั้งผู้ทําแผน ข้อ ๑๒ ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาตั้งผู้ทําแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้โดยเร็วที่สุด โดย 12.1 ส่งไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลาย อย่างน้อย หนึ่งฉบับล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน 12.2 ปิดไว้ ณ สํานักงานหนึ่งฉบับ 12.3 ส่งไปยังลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายตามบัญชีรายชื่อที่ลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้เสนอต่อศาลและเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบ ในการส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งแบบแสดง ความประสงค์เข้าร่วมประชุมให้แก่เจ้าหนี้ พร้อมระบุให้ส่งสําเนาหลักฐานแห่งหนึ่ง ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนวันประชุม ข้อ ๑๓ เมื่อศาลมีคําสั่งไม่เห็นชอบด้วยกับมติเลือกผู้ทําแผนได้ หรือศาล เห็นสมควรให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการออกประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ตาม อีกครั้ง ข้อ 12 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม ข้อ ๑๔ ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน หากที่ประชุม เจ้าหนี้มีมติเลือกผู้ทําแผนได้ หรือไม่อาจมีมติเลือกผู้ทําแผนได้ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานผลการประชุมเจ้าหนี้ที่พิจารณาเลือกผู้ทําแผนทุกครั้งต่อศาล ภายในสามวันนับแต่วันที่เสร็จการประชุม เพื่อให้ศาลพิจารณาและมีคําสั่ง ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ต้องมีการตั้งผู้ทําแผนคนใหม่แทนคนเดิม ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการประชุมเจ้าหนี้และรายงานผลการประชุมให้ศาลทราบ หากที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติไม่ให้ตั้งหรือไม่อาจมีมติ หรือศาลมีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ มีการตั้งผู้ทําแผนคนใหม่ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ รายงานขอให้ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยเร็ว อื่นๆ ๒ การประชุมพิจารณาแผน ---------------------------- ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับแผนพร้อมสําเนาจากผู้ทําแผน หรือผู้ทําแผนคนใหม่แล้ว ให้ออกประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียง เพื่อพิจารณาแผนโดยเร็วที่สุด โดย 16.1 ส่งไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลาย อย่างน้อยหนึ่งฉบับล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าสิบวัน 16.2 ปิดไว้ ณ สํานักงานหนึ่งฉบับ 16.3 ส่งไปยังเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียง ลูกหนี้ และผู้ทําแผน พร้อมสําเนาแผนฟื้นฟูล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน ข้อ ๑๗ ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน หากที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มี มติพิเศษยอมรับแผนหรือไม่ลงมติประการใด หรือไม่มีเจ้าหนี้มาประชุม ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานผลการประชุมเจ้าหนี้ต่อศาลโดยเร็ว ข้อ ๑๘ ถ้าที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติยอมรับแผน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เห็นสมควรให้เสนอที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาตั้งคณะกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อสอดส่อง ดูแลการปฏิบัติงานตามแผนและรายงานมติของที่ประชุมเจ้าหนี้พร้อมทําคําชี้แจงเป็น หนังสือยื่นต่อศาลโดยเร็ว ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเสนอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาตั้ง คณะกรรมการเจ้าหนี้ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดเป็นหัวข้อ การประชุมเจ้าหนี้ไว้ด้วย ข้อ ๑๙ เมื่อศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ถ้าผู้บริหารแผนเสนอขอ แก้ไขแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้ โดยดําเนินการตามข้อ 16 โดยอนุโลม ข้อ ๒๐ เมื่อผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งและมีกิจการตามแผนที่ต้อง ดําเนินการต่อไป ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่โดยดําเนินการตามข้อ 16 โดยอนุโลม ถ้าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษ เลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานผลการประชุม เจ้าหนี้ต่อศาลโดยเร็ว ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ตามวรรคหนึ่ง ถ้าที่ประชุม เจ้าหนี้ไม่อาจมีมติพิเศษเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่อีกครั้งหนึ่ง แล้วรายงาน ผลการประชุมเจ้าหนี้ต่อศาลโดยเร็ว หมวด ๓ การขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ---------------------- ข้อ ๒๑ เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ต้องทําคําขอและ บัญชีแสดงรายละเอียดแห่งทรัพย์สินพร้อมสําเนายื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งรับคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการออกใบรับ ให้แก่เจ้าหนี้ไว้เป็นหลักฐาน และส่งสําเนาคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและ บัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินแก่ผู้ทําแผนโดยเร็ว ข้อ ๒๒ คําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการที่ไม่มีการโต้แย้ง ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งอนุญาตให้รับชําระหนี้ได้ เว้นแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เห็นสมควรสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการที่มีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคําสั่งโดยเร็ว ข้อ ๒๓ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคําสั่ง ฟื้นฟูกิจการแล้ว คําขอรับชําระหนี้ในการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคําสั่งแก่ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยเร็ว หมวด ๔ การจัดกิจการและการกํากับดูแล ----------------------------- อื่นๆ ๑ การจัดกิจการ ข้อ ๒๔ เมื่อศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแต่มิได้มีการตั้งผู้ทําแผน หรือ ผู้บริหารชั่วคราว หรือผู้บริหารชั่วคราวพ้นจากอํานาจหน้าที่ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ชั่วคราว และให้เรียกผู้บริหารของลูกหนี้ หรือ ผู้บริหารชั่วคราว หรือผู้ครอบครองส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และ เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน และกิจการของลูกหนี้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเร็ว ข้อ ๒๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดกิจการและทรัพย์สิน ของลูกหนี้ชั่วคราว เมื่อศาลมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทําคําชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อผู้ทําแผนโดยเร็ว ข้อ ๒๖ ถ้าบุคคลใดรับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้ หรือรับว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ใน ความครอบครอง แต่ไม่ชําระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ยื่นคําขอต่อศาลให้บังคับบุคคลนั้นชําระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร และถ้าบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตาม คําบังคับ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี เสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา ข้อ ๒๗ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับแจ้งจากผู้ทําแผน หรือผู้บริหารแผน ว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดชําระหนี้ หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ ให้แจ้งความเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว ให้ชําระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และให้แจ้งไปด้วยว่า ถ้าจะปฏิเสธให้แสดงเหตุผลประกอบ ข้อปฏิเสธเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสิบวัน นับแต่วันได้รับแจ้งความ มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นหนี้ลูกหนี้ตามที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด ข้อ ๒๘ ถ้าบุคคลที่ได้รับแจ้งความตามข้อ 27 ปฏิเสธหนี้ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วทําความเห็น เมื่อเห็นว่าบุคคลนั้นไม่ได้เป็นหนี้ก็ให้ จําหน่ายชื่อออกเสียจากบัญชีลูกหนี้และให้แจ้งต่อผู้ทําแผน หรือผู้บริหารแผนและ บุคคลนั้นทราบ แต่ถ้าเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นหนี้เท่าใดก็ให้แจ้งจํานวนเป็นหนังสือ ยืนยันไปยังบุคคลที่จะต้องรับผิดชอบนั้น และให้แจ้งไปด้วยว่า ถ้าจะคัดค้านประการใด ให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายในกําหนดเวลาสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งความยืนยัน ข้อ ๒๙ ถ้าบุคคลที่ได้รับแจ้งความมิได้ปฏิเสธต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในกําหนดเวลาสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งความ หรือในกรณีที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แจ้งความยืนยันให้ชําระหนี้แล้ว บุคคลนั้นมิได้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน กําหนดเวลาสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งความยืนยัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มี คําขอต่อศาลให้บังคับบุคคลนั้นชําระหนี้ ภายในกําหนดเวลาที่ศาลเห็นสมควร ถ้าบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามคําบังคับของศาล ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีคําขอต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี เสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตาม ค่าพิพากษา ข้อ ๓๐ กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าทําหน้าที่เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว และการฟื้นฟูกิจการได้ดําเนินการเป็นผลสําเร็จตามแผนแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขอให้ศาลมีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการโดยเร็ว เมื่อศาลมีคําสั่งยกเลิก การฟื้นฟูกิจการแต่ผู้บริหารของลูกหนี้ยังไม่ได้เข้าจัดการกิจการและทรัพย์สินของ ลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการตามสมควรแก่พฤติการณ์จนกว่า ผู้บริหารของลูกหนี้จะเข้าจัดการได้ หากระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุดลง แต่การฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็น ผลสําเร็จตามแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานให้ศาลทราบภายในสิบสี่วัน นับแต่ระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุดลง และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปเท่าที่จําเป็นจนกว่าศาลจะมีคําสั่ง ข้อ ๓๑ เมื่อศาลมีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการและตําแหน่งผู้บริหารของ ลูกหนี้ว่างอยู่จนไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไปได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรียกประชุมผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ หรือดําเนินการตามกฎหมายเพื่อให้มีการแต่งตั้ง ผู้บริหารของลูกหนี้โดยเร็วที่สุด ข้อ ๓๒ เมื่อศาลมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือมีคําสั่งยกเลิก การฟื้นฟูกิจการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของลูกหนี้ซึ่งอยู่ในความครอบครองแก่ ผู้บริหารของลูกหนี้โดยเร็วที่สุด อื่นๆ ๒ การกํากับดูแล ข้อ ๓๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กํากับดูแลการจัดการกิจการและทรัพย์สิน ของผู้บริหารชั่วคราว รวมทั้งกําหนดอํานาจหน้าที่และสั่งให้ผู้บริหารชั่วคราวทําคําชี้แจงในเรื่องบัญชีการเงินและเรื่องใดๆ เกี่ยวกับการจัดการกิจการและทรัพย์สิน หรือจะสั่งให้กระทําหรือมิให้กระทําการใดๆ ตามที่เห็นสมควรจนกว่าจะมีการตั้ง ผู้ทําแผน ข้อ ๓๔ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แจ้งให้ผู้บริหารแผนจัดทํารายงาน การปฏิบัติงานตามแผน ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกรอบสามเดือน นับแต่วันที่ ศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยแผน เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้บริหารแผน ข้อ ๓๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาล เพื่อขอให้มีคําสั่งให้ ผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งหรือมีคําสั่งตามที่เห็นสมควร ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้บริหารแผนไม่ดําเนินการตามแผน (2) ผู้บริหารแผนปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต (3) ผู้บริหารแผนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ (4) ผู้บริหารแผนขาดคุณสมบัติของผู้บริหารแผนตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง (5) มีเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้เป็นผู้บริหารแผนต่อไป หมวด ๕ การดําเนินการภายหลังศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ------------------------ ข้อ ๓๖ ภายใต้บังคับข้อ 37 และข้อ 38 เมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการตามระเบียบกระทรวง ยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 ข้อ ๓๗ กรณีเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ได้ชําระค่า ธรรมเนียมคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการไว้แล้ว ยื่นคําขอรับชําระหนี้ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งรับคําขอรับชําระหนี้นั้น ออกใบรับให้แก่เจ้าหนี้ไว้เป็น หลักฐาน โดยไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอีก ข้อ ๓๘ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดหัวข้อประชุมเพื่อประชุม เพื่อพิจารณาแต่งตั้งเจ้าหนี้คนหนึ่งหรือหลายคน ทําหน้าที่เป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไว้ ในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกด้วย หมวด ๖ เบ็ดเตล็ด -------------------- ข้อ ๓๙ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําขอให้ศาลโอนเงินที่ผู้ร้องขอได้วาง ประกันไว้ต่อศาลขณะยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการตามที่เห็นสมควรมาให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หากเงินที่ได้รับจากศาลตามวรรคหนึ่ง ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์มีคําขอให้ศาลโอนเงินมาเพิ่มให้อีก ข้อ ๔๐ เมื่อศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่ผู้ร้องขอไม่ยอมวางเงินประกันค่าใช้จ่าย เพิ่มเติมตามที่ศาลมีคําสั่ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกประกาศนัดประชุม เจ้าหนี้ทั้งหลายเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้ร้องขอแทนโดยเร็วที่สุด โดย 40.1 ปิดไว้ ณ สํานักงานหนึ่งฉบับ 40.2 ส่งไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย ลูกหนี้ และธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมการประกันภัยหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้ แล้วแต่กรณีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานผลประชุมเจ้าหนี้ต่อศาลโดยเร็ว ข้อ ๔๑ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับแจ้งกําหนดวันนัดพิจารณาของ ศาลในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กําหนดวันนัดพิจารณาแผน หรือพิจารณารายงานของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการประชุมเจ้าหนี้ในการพิจารณาแผนหรือการแก้ไขแผน (2) กําหนดวันนัดพิจารณารายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่ขอให้ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด (3) กําหนดวันนัดพิจารณารายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในกรณีที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติพิเศษเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ได้ (4) กําหนดวันนัดพิจารณารายงานการฟื้นฟูกิจการ ในกรณีที่ระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุดลง แต่การฟื้นฟูกิจการยังไม่เป็นผลสําเร็จตามแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งวันนัดพิจารณาให้ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ทั้งหลาย ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน สําหรับกรณีตาม (1) ให้แจ้งกําหนดวันนัด ดังกล่าวให้ผู้ทําแผนทราบด้วย ข้อ ๔๒ ในการประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สังเกต พฤติการณ์ของเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง และทําคําชี้แจงเพื่อให้ศาล ใช้ประกอบในการพิจารณาในแต่ละกรณีด้วย ข้อ ๔๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ เมื่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เห็นสมควรจะจ้าง หรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือหลายคน ปฏิบัติการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541 สุทัศน์ เงินหมื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5,596
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการรับและจ่ายเงินของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการรับและจ่ายเงินของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 -------------------- โดยเป็นการสมควรจัดวางระเบียบเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินของ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค สํานักงานบังคับคดีจังหวัด และศาลซึ่งไม่มี สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคและสํานักงานบังคับคดีจังหวัดตั้งอยู่ในเขตศาลนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว เรียบร้อย รัดกุม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับ และจ่ายเงินของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคและสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการรับและจ่ายเงิน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค พ.ศ. 2527 กับให้ยกเลิกระเบียบอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในระเบียบ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบ และให้ใช้ระเบียบ นี้แทน ข้อ ๔ สํานวนบังคับคดีล้มละลาย การชําระบัญชีตามคําสั่งศาล และ การวางทรัพย์ในศาลที่ไม่มีสํานักงานบังคับคดีจังหวัดตั้งอยู่ในเขตศาลนั้น ให้ศาล เป็นผู้รับและจ่ายเงินแทนสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจส่วน จํานวนเงินที่รับไว้นั้น ในวันหนึ่ง ๆ ให้นําฝากศาลเพื่อนฝากคลัง ตามระเบียบหรือ นฝากธนาคารใดตามที่กําหนดโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจได้เปิดบัญชีไว้ในการนี้ให้มีสมุดคู่ชอบ (พาสบุ๊ค) ระหว่างสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจกับศาลหนึ่งเล่ม โดยให้จําศาลเป็นผู้นําและ แจ้งให้สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจทราบทุกครั้งที่มีการ เปลี่ยนแปลงยอดเงินในสมุดคู่สอน เพื่อให้ตรวจสอบยอดเงินในคดีให้ถูกต้องตรงกับ บัญชีของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจด้วย การรับเงิน ให้จ่าศาลกรอกข้อความและลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน แล้วนําใบเสร็จรับเงินและสมุดสอบเสนอผู้พิพากษาเพื่อลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงินนั้น การจ่ายเงินทุกครั้ง ให้จําศาลขอเบิกเงินจากศาลเท่าจํานวนที่จําเป็นจะต้องจ่าย ส่วนการถอนเงินจากธนาคารที่สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจ ได้เปิดบัญชีไว้ ให้จ่าศาลรายงานขออนุมัติผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้อนุมัติในใบสั่งจ่าย และลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คร่วมกับผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายด้วย การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงิน ให้จ่าศาลมีหน้าที่เขียนเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ รับเงินในวันที่มาขอรับเงิน และการจ่ายให้แก่ผู้รับเงินทุกรายการจะต้องมีการบันทึก รายการจ่ายเงินไว้ในบัญชีเงินสด หรือบัญชีเงินฝากธนาคาร แล้วแต่กรณี ในวันที่จ่าย เงินนั้น ทุกครั้งที่มีการรับเงิน ฝากเงิน ถอนเงิน และจ่ายเงิน ให้จ่าศาลรายงานให้ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบ และให้ท่านน่ารวมไว้ในสํานวนของ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจด้วย การออกใบเสร็จรับเงินและลงบัญชีการเงินในสํานวนบังคับคดีล้มละลาย ชําระบัญชีและวางทรัพย์ของศาล ให้ศาลดําเนินการดังนี้ ก. แยกใบเสร็จรับเงินและบัญชีการเงินเฉพาะสํานวนบังคับคดีล้มละลาย ชําระบัญชีและวางทรัพย์ ไว้อีกเล่มหนึ่งต่างหากจากคดีอื่นๆ ของศาล และลงบัญชีของชําระบัญชีและแต่ละเรื่องโดยงบยอดเงินคงเหลือติดต่อกัน ข. ใบเสร็จรับเงินให้จัดทําสําเนา 3 ฉบับ มอบต้นฉบับให้ผู้ชําระเงิน ส่วนสําเนาคําศาลเก็บไว้ในสํานวนของศาลฉบับหนึ่ง มอบให้สํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจเก็บไว้ในสํานวนของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว ค. ให้หมายเหตุอักษรย่อไว้ในเล่มที่และเลขที่ของใบเสร็จรับเงิน เพื่อสะดวกในการลงบัญชีดังนี้ บังคับคดีล้มละลาย ใช้อักษรย่อ “ล” ชําระบัญชี ใช้อักษรย่อ “ช” วางทรัพย์ ใช้อักษรย่อ “ว” ข้อ ๕ สํานวนบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การชําระบัญชีตามคําสั่งศาล และการวางทรัพย์ ซึ่งมีสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคหรือสํานักงานบังคับคดี จังหวัดตั้งอยู่ในเขตศาลนั้น ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับและจ่ายเงิน ส่วนจํานวนเงินที่รับไว้นั้น ในวันหนึ่ง ๆ ให้นําฝากคลังตามระเบียบ หรือนําฝากธนาคารตามที่กําหนดโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งสํานักงานนั้นได้เปิดบัญชีไว้ ในกรณีที่นําฝากคลังให้มีสมุดคู่สอบ (พาสบุ๊ค) ระหว่างสํานักงานนั้นกับคลังหนึ่งเล่ม โดยให้พนักงานบัญชีเป็นผู้ทํา การรับเงิน ให้พนักงานบัญชีกรอกข้อความในใบเสร็จรับเงิน และให้ ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ที่ได้รับ มอบหมาย แล้วแต่กรณี ลงลายมือชื่อร่วมกับพนักงานบัญชีผู้ออกใบเสร็จรับเงินนั้น การจ่ายเงิน ให้พนักงานบัญชีรวบรวมหลักฐานการจ่ายและสมุดคู่สอบ (พาสบุ๊ค) รายงานผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อขออนุมัติเบิกเงินจากคลังมาเท่าจํานวนที่จําเป็นจะต้องจ่าย การถอนเงินจากธนาคารที่สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดได้เปิดบัญชีไว้ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด แล้วแต่กรณี เป็นผู้อนุมัติ ในใบสั่งจ่าย และลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คร่วมกับพนักงานบัญชี การเขียนเช็คสั่งจ่าย ให้พนักงานบัญชีมีหน้าที่เขียนเช็คสั่งจ่ายให้แก่ ผู้มีสิทธิรับเงินในวันที่มาขอรับเงิน และการจ่ายเงินให้แก่ผู้มารับเงินทุกรายการ จะต้องมีการบันทึกรายการจ่ายเงินไว้ในบัญชีเงินสด หรือบัญชีเงินฝากธนาคาร แล้วแต่กรณี ในวันที่จ่ายเงินนั้น การออกใบเสร็จรับเงินและการลงบัญชีการเงินในสํานวนบังคับคดีแพ่ง คนละลาย ชําระบัญชีและวางทรัพย์ ให้พนักงานบัญชี เป็นการดังนี้ ก. แยกใบเสร็จรับเงิน และบัญชีการเงินเฉพาะจํานวนบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย ชําระบัญชีและวางทรัพย์ ออกเป็นคนละเล่มต่างหากจากกันและลงบัญชี ของแต่ละเรื่องโดยงบยอดเงินคงเหลือ ติดต่อกัน ข. ใบเสร็จรับเงิน ให้จัดทํา 3 ฉบับ มอบต้นฉบับให้ผู้ชําระ เงิน ส่วนสําเนาเก็บไว้ในสํานวนของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดที่เกี่ยวข้องฉบับหนึ่ง ส่งเก็บไว้ในสํานวนศาลฉบับหนึ่งอีกแบบหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว ค. ให้หมายเหตุอักษรย่อไว้ในเล่มที่และเลขที่ของใบเสร็จรับเงิน เพื่อสะดวกในการลงบัญชีดังนี้ บังคับคดีแพ่ง ใช้อักษรย่อ “พ” บังคับคดีล้มละลาย ใช้อักษรย่อ “ล” ชําระบัญชี ใช้อักษรย่อ “ช” วางทรัพย์ ใช้อักษรย่อ “ว” เมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงินให้พนักงานบัญชีรวบรวมหลักฐานการรับและจ่ายเงิน รวมทั้งสมุดคู่สอบ (พาสบุ๊ค) สมุดคู่ฝากบัญชีธนาคาร รายงานให้ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดแล้วแต่กรณี เพื่อทราบ และตรวจสอบความถูกต้องพร้อมทั้งลงลายมือชื่อกํากับยอดเงินคงเหลือไว้ด้วย ทุกครั้งที่มีการรับเงิน ฝากเงิน ถอนเงิน และจ่ายเงิน ให้ผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ที่ได้รับมอบหมาย รายงานให้ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบ และให้ทําสําเนารวมไว้ในสํานวนของศาลด้วย ข้อ ๖ เมื่อจําศาล ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดที่เกี่ยวข้องเห็นสมควร อาจรับเงินเป็นเช็ค ได้ และให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลาย และชําระบัญชี ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการวางทรัพย์ สํานักงานงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี โดยอนุโลมแล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานวางทรัพย์ ในสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่มีเขตอํานาจไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในศาลไม่มีสํานักงานบังคับคดีจังหวัดตั้งอยู่ หากมีกรณีที่จะต้องดําเนินการเกี่ยวกับ การรับและจ่ายเงินในศาลนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานวางทรัพย์ ผู้ไปปฏิบัติในที่ราชการในศาลนั้น จัดทํารายงานการรับเงินและจ่ายเงินเสนอว่าศาล เพื่อให้ว่าศาลเป็นผู้ดําเนินการตามข้อ 4 แห่งระเบียบ ข้อ ๘ ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคมีอํานาจควบคุม ตรวจสอบการรับเงิน ฝากเงิน ถอนเงิน และจ่ายเงินให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวมทั้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมีอํานาจ สั่งให้จําศาล ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หัวหน้าสํานักงาน บังคับคดีจังหวัด เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือพนักงานบัญชี คําชี้แจงได้ตามที่เห็นสมควร ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2540 (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5,597
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการวางทรัพย์สำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดี พ.ศ. 2518
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การวางทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี พ.ศ. 2518 ----------------------- โดยที่ได้รับพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2518 จัดตั้งสํานักงานวางทรัพย์กลางขึ้นใหม่ มีหน้าที่ส่วนหนึ่งเกี่ยวกับการวางทรัพย์ ตามกฎหมาย แต่ยังไม่มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้โดยเฉพาะ จึงได้วางระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ การวางทรัพย์ ข้อ ๑ การวางทรัพย์ต่อสํานักงานวางทรัพย์กลาง ต้องกระทํา ณ สํานักงานวาง ทรัพย์ซึ่งมีอํานาจตามกฎหมายและทรัพย์ที่วางอาจเป็นตัวเงินหรือทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้อย่าง ใดอย่างหนึ่ง เว้นแต่โดยสภาพของทรัพย์เป็นสิ่งที่ไม่ควรแก่การวาง ข้อ ๒ ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกอาจวางทรัพย์ต่อสํานักงานวางทรัพย์ได้ในกรณีต่อไปนี้ (1) เมื่อเจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชําระหนี้ (2) เมื่อเจ้าหนี้ไม่สามารถจะรับชําระหนี้ (3) เมื่อบุคคลผู้ชําระหนี้ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิของเจ้าหนี้ หรือไม่รู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอน โดยมิใช่เป็นความผิดของตน (4) กรณีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติ ให้วางทรัพย์ ณ สํานักงานวางทรัพย์ได้ เช่น มาตรา 232, 302, 631, 679, 754, 772 และ 947 เป็นต้น (5) กรณีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น (6) กรณีตามคําสั่งศาลภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ข้อ ๓ ผู้วางทรัพย์นั้นจะเป็นตัวลูกหนี้เองก็ดี หรือบุคคลภายนอกก็ดี ต้องยื่นคําร้องขอวางทรัพย์ตามแบบพิมพ์ที่สํานักงานวางทรัพย์กําหนด โดยแสดงเหตุที่ต้องวางทรัพย์พร้อม ทั้งแสดงเอกสารหลักฐานแห่งหนี้ (ถ้าหากมี) เจ้าพนักงานอาจสั่งให้ผู้วางทรัพย์คัดสําเนาเอกสารหลักฐานแห่งหนี้ ส่งประกอบคําร้องด้วยก็ได้ ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคําร้องขอวางทรัพย์ให้เสนอเรื่องต่อหัวหน้าสํานักงาน วางทรัพย์ เพื่อพิจารณาสั่งรับหรือไม่รับวางทรัพย์ หรือรับโดยมีเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ขอวางทรัพย์ไม่พอใจคําสั่งดังกล่าวในวรรคก่อน อาจอุทธรณ์คําสั่งนั้นต่อ อธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เพื่อขอรับคําวินิจฉัยได้ภายใน 15 วัน คําวินิจฉัยของ อธิบดีกรมบังคับคดีให้ถือเป็นที่สุด ข้อ ๕ เมื่อมีคําสั่งให้รับวางทรัพย์แล้ว ให้สํานักงานวางทรัพย์ลงทะเบียนการ วางทรัพย์และบัญชีแยกประเภท รับมอบทรัพย์ที่วาง และออกใบรับหรือหลักฐานการรับวาง ทรัพย์ให้แก่ผู้วางทรัพย์ ถ้าทรัพย์ที่วางเป็นเงินให้ปฏิบัติตามข้อ 13, 14 และ 14 แห่งระเบียบ ด้วย ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานแจ้งแก่ผู้วางทรัพย์ เพื่อบอกกล่าวแก่เจ้าหนี้ให้ทราบถึง การที่ได้วางทรัพย์นั้นโดยพลัน การวางทรัพย์หรือวางเงินเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีทะเบียนกรรมสิทธิ์ ทะเบียนนิติกรรม หรือทะเบียนควบคุมการใช้สอย เจ้าพนักงานจะได้แจ้งการวางทรัพย์หรือวางเงินนั้นไปยังนายทะเบียนนั้น ๆ ด้วย แต่การแจ้งอายัดทรัพย์เป็นหน้าที่ของลูกหนี้หรือผู้วางทรัพย์ที่จะพึงปฏิบัติเอง ข้อ ๗ ให้ผู้วางทรัพย์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมตามที่สํานักงานวางทรัพย์ เห็นสมควร ค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว ผู้วางทรัพย์มีสิทธิรับคืนภายหลัง ทั้งนี้ภายใต้บังคับบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 338 ประกอบด้วยมาตรา 331 หมวด ๒ การถอนทรัพย์ที่วาง ข้อ ๘ ลูกหนี้ผู้วางทรัพย์มีสิทธิถอนทรัพย์ที่วางนั้นได้ โดยยื่นคําร้องขอตาม แบบพิมพ์ที่สํานักงานวางทรัพย์กําหนด ถ้าลูกหนี้ถอนทรัพย์นั้นให้ถือเสมือนว่ามิได้วางทรัพย์ไว้เลย สิทธิถอนทรัพย์เป็นอันขาดในกรณีต่อไปนี้ (1) ถ้าลูกหนี้แสดงต่อสํานักงานวางทรัพย์ว่า ตนยอมสละสิทธิที่จะถอน เว้นแต่เป็นการถอนทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 399 วรรคท้าย (2) ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อสํานักงานวางทรัพย์ว่า จะรับเอาทรัพย์นั้น (3) ถ้าการวางทรัพย์นั้นได้เป็นไปโดยคําสั่ง หรืออนุมัติของศาล และได้ บอกกล่าวความนั้นแก่สํานักงานวางทรัพย์ (4) ในระหว่างการพิจารณาคดีล้มละลายเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ข้อ ๙ ภายใต้บังคับข้อ 8 แห่งระเบียบนี้ การวางทรัพย์โดยบุคคลภายนอก บุคคลภายนอกนั้นจะถอนทรัพย์ที่วางได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของลูกหนี้แล้ว ข้อ ๑๐ เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคําร้องขอถอนทรัพย์ที่วางไว้นั้น ให้เสนอเรื่องต่อ หัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์ เพื่อพิจารณาสั่ง ถ้าผู้ขอถอนทรัพย์ไม่พอใจคําสั่งดังกล่าว ให้นําข้อ 4 วรรคสองแห่งระเบียบนี้มา ใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๓ การขายทรัพย์ที่วาง ข้อ ๑๑ ให้ลูกหนี้หรือผู้วางทรัพย์ให้ความยินยอม และมอบอํานาจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าสํานักงานวางทรัพย์เห็นว่า ทรัพย์ที่วางอยู่ในสภาพที่ควรนําออกขายเพื่อเอาเงินที่ได้แต่การ ขายวางแทนทรัพย์ ก็ให้สํานักงานวางทรัพย์มีอํานาจดําเนินการขออนุญาตต่อศาล เพื่อขายทอด ตลาดทรัพย์นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 336 และมาตรา 337 หมวด ๔ การรับจ่ายเงินและทรัพย์สิน ข้อ ๑๒ การรับเงินค่าขายทรัพย์ที่ขายนอกที่ทําการสํานักงานวางทรัพย์ เมื่อได้ รับเงินแล้วให้เจ้าพนักงานขายทรัพย์ออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ซื้อและเมื่อเสร็จการขายวันหนึ่ง ๆ ให้ทําบัญชีรายการขายทรัพย์ส่งหัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์ พร้อมทั้งจํานวนเงินและสําเนาใบเสร็จ รับเงิน แล้วนําเงินส่งกองคลัง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ข้อ ๑๓ การรับเงินนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ 12 แห่งระเบียบ ให้สํานักงานวาง ทรัพย์จดบันทึกเป็นรายงานโดยแสดงให้ปรากฏถึงรายละเอียดแห่งการรับเงิน แล้วให้นําผู้ชําระ เงินกับรายงานการรับเงินนั้นไปส่งที่กองคลัง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เมื่อเจ้าหน้าที่ กองคลังรับเงินแล้วให้ลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงินร่วมกับผู้อํานวยการกองคลัง ใบรับเงิน นั้นให้มีสําเนา 1 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระเงิน ส่วนสําเนากองคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่ง คืน สํานักงานวางทรัพย์ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว ข้อ ๑๔ เมื่อหัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์เห็นสมควร อาจรับเงินเป็นเช็คก็ได้ให้ กรณีเช่นนี้ให้จดหมายเลขเช็คลงในใบเสร็จรับเงินด้วย การวางทรัพย์หรือชําระเงินด้วยเช็ค เมื่อเรียกเก็บเงินไม่ได้ ให้สํานักงานวาง ทรัพย์จําหน่ายเช็คจากบัญชีรายวัน และบัญชีแยกประเภท กรณีวางทรัพย์ให้ถือว่า ไม่มีการวาง ทรัพย์ไว้เลย ถ้าเป็นกรณีชําระเงินค่าซื้อทรัพย์ ให้จัดการให้ผู้ซื้อชําระเงินตามเช็คนั้นต่อไป หรือ ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ข้อ ๑๕ เมื่อสํานักงานวางทรัพย์ได้รับสําเนาใบเสร็จรับเงินจากกองคลังแล้ว ให้ ลงรับในบัญชีรายวันและบัญชีแยกประเภท แล้วเก็บสําเนาใบเสร็จรับเงินติดสํานวนไว้ ข้อ ๑๖ เมื่อสิ้นสัปดาห์หนึ่ง ๆ ให้หัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์ตรวจสอบจํานวน เงินในบัญชีของสํานักงานวางทรัพย์กับบัญชีของกองคลัง ข้อ ๑๗ เมื่อเจ้าพนักงานจัดการจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้เสร็จ ให้ทําบัญชี รับจ่ายแสดงจํานวนเงินที่ได้จากการจําหน่ายทรัพย์สิน แล้วหักค่าฤชาธรรมเนียม เหลือจํานวน เงินสุทธิเท่าใด จึงให้เจ้าพนักงานจัดการตามกฎหมายหรือคําสั่งศาล ข้อ ๑๘ ขณะเมื่อทรัพย์ที่วางยังอยู่ที่สํานักงานวางทรัพย์ หรือเมื่อสํานักงานวาง ทรัพย์ได้จําหน่ายทรัพย์สินนั้นแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งมอบทรัพย์หรือจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิ ถ้าได้รับแจ้งความว่า ได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย และศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้ว ให้สํานักงานวางทรัพย์คิดหักไว้เป็นค่าฤชาธรรมเนียม เหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การส่งเงินหรือมอบทรัพย์สินดังกล่าว จะงดรอไว้ในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และจะส่งต่อเมื่อมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วก็ได้ ข้อ ๑๙ ถ้ามีผู้คัดค้านการขอรับทรัพย์ที่วาง หรือเงินที่จําหน่ายได้ ในกรณีว่าง ทรัพย์ตามคําสั่งศาล ให้สํานักงานวางทรัพย์เลื่อนการส่งมอบทรัพย์ หรือการจ่ายเงินในส่วนที่ เกี่ยวกับการคัดค้าน ไว้รอคําวินิจฉัยของศาล ในกรณีอื่นให้หัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์เป็นผู้ วินิจฉัยสั่ง ถ้าคู่กรณีไม่พอใจคําสั่งหัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์ ให้นําข้อ 4 วรรคสอง แห่ง ระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๐ การขอรับทรัพย์หรือเงิน ให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิยื่นคําร้องขอตามแบบ พิมพ์ที่สํานักงานวางทรัพย์กําหนด เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคําร้องขอให้เสนอเรื่องต่อหัวหน้า สํานักงานวางทรัพย์เพื่อพิจารณาสั่ง ถ้าหัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์ไม่มีเหตุอันสมควร สงสัยว่า จะไม่ใช่ตัวเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิอันแท้จริงแล้ว ก็ให้มอบทรัพย์แก่ผู้นั้น หรือออกใบสั่งจ่ายให้ผู้นั้น ไปขอรับเงินจากกองคลัง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม แล้วหมายเหตุไว้ในบัญชีแสดงว่า มอบทรัพย์หรือจ่ายเงินให้ไปแต่วัน เดือน ปี ใด แล้วเก็บใบรับและใบมอบฉันทะ (ถ้าหากมี) ไว้ ในสํานวนและจําหน่ายจากทะเบียนการวางทรัพย์บัญชีรายวันและบัญชีแยกประเภท ถ้ามีเหตุสงสัยว่า ผู้ขอรับไม่ใช่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิอันแท้จริง เจ้าพนักงานอาจสั่ง ให้ผู้ยื่นคําร้องขอหาผู้รับรองหรือผู้ค้ําประกันมาจนเป็นที่พอใจก่อนก็ได้ และถ้าเป็นการมอบฉันทะให้ตัวแทนมารับ อาจสั่งให้ตัวการมารับเองก็ได้ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่เจ้าพนักงานมอบทรัพย์หรือจ่ายเงินให้แก่ผู้เยาว์ ให้ผู้แทนโดย ชอบธรรมลงนามในใบรับ และถ้าสามารถจะทําได้ก็ให้ผู้เยาว์ลงนามด้วย ข้อ ๒๒ ในกรณีมอบทรัพย์หรือจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิตามคําสั่งศาล ให้เจ้าพนักงานรายงานต่อศาลเป็นคราว ๆ ไป หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๒๓ ในการยื่นหรือส่งคําคู่ความหรือเอกสารอื่นใด ต่อสํานักงานวางทรัพย์ผู้ ยื่นหรือผู้ส่งจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์ตามที่สํานักงานวางทรัพย์ได้จัดไว้ โดยปิดอากรแสตมป์ ตามกฎหมาย เมื่อสํานักงานวางทรัพย์สั่งอย่างใด ให้ผู้มีหน้าที่รับทราบคําสั่งลงลายมือชื่อไว้ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้ หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้เจ้าพนักงานทํารายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อเช่นนั้นไว้ ข้อ ๒๔ เอกสารที่มีผู้อื่นหรือส่งมายังสํานักงานวางทรัพย์ และเอกสารที่สํานัก งานวางทรัพย์ส่งไปที่อื่น ให้เจ้าพนักงานลงสมุดรับส่งหนังสือไว้ทุกครั้ง แล้วให้นําเอกสารที่รับ เสนอหัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์ ข้อ ๒๕ หนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น โฉนด เมื่อรับไว้ให้เจ้าพนักงานลงบัญชีแล้ว ใส่ของหมายเลข ลําดับที่เก็บ และจดรายการที่หน้าของ พร้อมทั้งชื่อผู้เกี่ยวข้องหรือชื่อโจทก์ จําเลย เลขคดี แล้วเก็บไว้ในที่อันปลอดภัย ถ้าได้จ่ายหนังสือสําคัญแก่ผู้ใด ก็ให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อ รับไว้ในบัญชีเป็นหลักฐาน ข้อ ๒๖ เมื่อหัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์ได้มีคําสั่งในเรื่องใดแล้ว ให้จ่ายเรื่องนั้น ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติตามคําสั่งทุกครั้ง ข้อ ๒๗ การวางเงินหรือทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป เมื่อมีคําสั่งให้ วางทรัพย์แล้ว ให้หัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์รายงานให้อธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ทราบทันทีถ้าเป็นทรัพย์อื่น นอกจากตัวเงินให้รายงานถึงวิธีเก็บรักษาด้วย ข้อ ๒๘ การเก็บรักษาทรัพย์ ให้เจ้าหน้าที่ทําบัญชีรายการ และปิดเลขหมาย ไว้แล้วเก็บรักษา ณ สถานที่ที่หัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์จะเห็นสมควร หรือตามที่อธิบดี กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม จะได้สั่งต่อไปและให้หมั่นตรวจดูอย่าให้เกิดความเสียหาย ขึ้น การจําหน่าย หรือคืนทรัพย์สิ่งใดให้ลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน และถ้าเป็นเงินหรือทรัพย์ ที่มีราคาตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป ให้หัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์รายงานให้อธิบดีกรมบังคับ คดี กระทรวงยุติธรรม ทราบทันที ข้อ ๒๙ เมื่อสิ้นปีหนึ่ง ๆ ให้สํานักงานวางทรัพย์ทํารายงานแสดงกิจการ ได้กระทํามาตลอด ส่งอธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ข้อ ๓๐ ให้สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ปฏิบัติตามระเบียบนี้โดย อนุโลมด้วยเฉพาะการรับและจ่ายเงินให้อนุโลมปฏิบัติตามระเบียบราชการกองบังคับคดีล้มละลายข้อ 28 ไปพลางก่อน ข้อ ๓๑ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2518 (ลงชื่อ) ประภาศน์ อวยชัย (นายประภาศน์ อวยชัย) ปลัดกระทรวงยุติธรรม
5,598
ระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2562
ระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2562 ----------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการภายในกรมบังคับคดี และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน มีความทันสมัย สะดวกต่อการบริหารจัดการ และเพื่อให้ การจัดสวัสดิการภายในกรมบังคับคดีมีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น อันมีผลเป็นการเสริมสร้างขวัญและ กําลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมบังคับคดี อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 (2) ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547 คณะกรรมการสวัสดิการจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2562” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบดังต่อไปนี้ (1) ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในกรมบังคับคดี พ.ศ. 2549 (2) ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 (3) ระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดีว่าด้วยการสงเคราะห์สมาชิกสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2549 (4) ระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดีว่าด้วยการสงเคราะห์สมาชิกสวัสดิการกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 (5) ระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดีว่าด้วยการสงเคราะห์สมาชิกสวัสดิการกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 (6) ระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดีว่าด้วยการเงินและการบัญชีของกองทุนสวัสดิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 (7) ระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดีว่าด้วยการให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการ กู้ยืมเงิน พ.ศ. 2554 บรรดา กฎ ข้อบังคับ คําสั่ง ระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติอื่นใด ในส่วนที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือขัด หรือแย้ง กับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสวัสดิการกรมบังคับคดี “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสวัสดิการต่างๆ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการสวัสดิการ เพื่อรับผิดชอบในการจัดสวัสดิการและหรือดําเนินการจัดสวัสดิการภายในกรมบังคับคดี ตามที่คณะกรรมการสวัสดิการมอบหมาย “ประธานกรรมการ” หมายถึง ประธานคณะกรรมการสวัสดิการกรมบังคับคดี “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสวัสดิการตามระเบียบนี้ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการหรือลูกจ้างหรือพนักงานราชการของกรมบังคับคดีที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานสวัสดิการกรมบังคับคดีและให้หมายความรวมถึงลูกจ้างของสวัสดิการกรมบังคับคดี “กองทุนสวัสดิการ” หมายความว่า กองทุนสวัสดิการกรมบังคับคดี รวมถึงกองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินกองทุนสวัสดิการ “ผู้บริหาร” หมายถึง อธิบดีและรองอธิบดีกรมบังคับคดี หมวด ๑ ความทั่วไป ------------------------------- ข้อ ๕ สวัสดิการกรมบังคับคดีมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) ให้สวัสดิการแก่สมาชิกเพิ่มเติมหรือนอกเหนือไปจากสวัสดิการของทางราชการ (2) ให้บริการหรือจัดกิจกรรมอื่นใดอันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิก (3) จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความสามัคคี สัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิก (4) ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือในด้านการเงินแก่สมาชิกกรณีประสบความเดือดร้อนตามความจําเป็น การฝึกอาชีพ (5) ให้การส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกในด้านการกีฬา สุขภาพ นันทนาการ การศึกษา เพื่อเสริมรายได้หรือลดรายจ่าย และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ (6) เพื่อให้ยืมทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ราชการกรมบังคับคดี (7) เพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกรมบังคับคดี ในกรณีที่รายจ่ายนั้นไม่สามารถเบิกจากจากเงินงบประมาณ หรือกิจการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่กรมบังคับคดี ค่ารับรองผู้บริหาร หรือเงินช่วยงานต่างๆ ของผู้บริหารตามที่คณะกรรมการกําหนด (8) ดําเนินการอื่นใดอันเป็นการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ข้อ ๖ ประเภทของสวัสดิการ ได้แก่ (1) การให้กู้เงิน (2) การกีฬา สุขภาพ และนันทนาการ (3) การให้บริการของร้านค้าสวัสดิการ (4) การฝึกอาชีพเพื่อเสริมรายได้หรือลดรายจ่ายให้แก่สมาชิก (5) การสงเคราะห์สมาชิกในด้านอื่นๆ เช่น เงินช่วยค่าอาหาร เงินช่วยค่าเดินทาง เงินช่วยค่าเครื่องแบบหรือเครื่องแต่งกาย เงินทุนการศึกษา หรือเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัย เป็นต้น (6) กิจกรรม บริการ หรือสวัสดิการประเภทอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ข้อ ๗ ให้อธิบดีกรมบังคับคดีแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานด้านสวัสดิการภายในกรมบังคับคดี ทําหน้าที่บริหารงานสวัสดิการภายในส่วนราชการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการสวัสดิการและ ระเบียบนี้ และให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (1) จัดทําแผนงาน โครงการ และงบประมาณประจําปีเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ (2) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการในการออกระเบียบและวิธีปฏิบัติต่างๆ เพื่อใช้ในการดําเนินการสวัสดิการภายในกรมบังคับ (3) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการให้มีการจัดบริการหรือกิจกรรมสวัสดิการต่างๆ ตามความเหมาะสม (4) ให้คําปรึกษา แนะนํา และประสานงานกับผู้รับผิดชอบในการจัดการหรือดําเนินการ จัดสวัสดิการภายในกรมบังคับคดี ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการและระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดี (5) ดําเนินการทางธุรการในการบรรจุ แต่งตั้ง บังคับบัญชา และประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างสวัสดิการกรมบังคับคดี (6) เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ (7) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการสวัสดิการมอบหมาย ข้อ ๘ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามระเบียบนี้ ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการ หมวด ๒ สมาชิกสวัสดิการ ---------------------------- ข้อ ๙ สมาชิกสวัสดิการกรมบังคับคดี มี 3 ประเภท คือ (1) สมาชิกสามัญ ได้แก่ ข้าราชการและลูกจ้างประจํา (2) สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว และลูกจ้างเหมาบริการ (3) สมาชิกสมทบ ได้แก่ สมาชิกสามัญที่พ้นจากการปฏิบัติงานกรมบังคับคดีเฉพาะ ที่เกษียณอายุราชการหรือเป็นผู้ที่ได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกําหนด หมวด ๓ คณะกรรมการสวัสดิการ ------------------------- ข้อ ๑๐ คณะกรรมการสวัสดิการกรมบังคับคดี ประกอบด้วย (1) อธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ (2) ข้าราชการในสังกัดกรมบังคับคดีซึ่งอธิบดีกรมบังคับคดีแต่งตั้งไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการโดยกรรมการอย่างน้อยคนหนึ่งต้องมีคุณวุฒิหรือมีประสบการณ์ทางด้านการเงินและบัญชี (3) ผู้แทนสมาชิกซึ่งคัดเลือกกันเองไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการ การคัดเลือกให้เป็นไปตามวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด (4) ผู้รับผิดชอบงานด้านสวัสดิการภายในกรมบังคับคดี เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการคนหนึ่งที่มีคุณวุฒิหรือมีประสบการณ์ทางด้านการเงินและ บัญชี เป็นเหรัญญิก มีหน้าที่ดําเนินการเกี่ยวกับการเงินและการบัญชีของกองทุนสวัสดิการ ให้อธิบดีกรมบังคับคดีแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกรมบังคับคดีเป็นผู้ช่วยเลขานุการจํานวนสองคน ข้อ ๑๑ กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาชิกตามข้อ 10 (3) มีวาระการดํารงตําแหน่งสองปี ผู้ที่พ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับการคัดเลือกอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อเกินสองวาระไม่ได้ กรณีที่กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาชิกพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระให้ดําเนินการคัดเลือกกรรมการแทน เว้นแต่วาระของกรรมการดังกล่าวเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่คัดเลือกกรรมการแทนก็ได้ ในระหว่างนั้นให้ถือว่าคณะกรรมการมีจํานวนเท่าที่เหลืออยู่ ข้อ ๑๒ กรณีกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาชิกตามข้อ 10 (3) พ้นจากตําแหน่งตามวาระและ ยังไม่สามารถคัดเลือกกรรมการใหม่แทน ให้กรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการคัดเลือกกรรมการ ข้อ ๑๓ กรรมการพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ (1) พ้นจากราชการ (2) พ้นตามวาระ (3) ลาออก (4) ตาย (5) คณะกรรมการให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง การลาออกของกรรมการสวัสดิการตาม (3) ให้ยืนเป็นหนังสือต่อเลขานุการคณะกรรมการ สวัสดิการ และให้ถือว่าพ้นจากตําแหน่งเมื่อคณะกรรมการอนุมัติให้ออก กรณีที่ตําแหน่งประธานกรรมการว่างลง ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งคนใด ทําหน้าที่แทนประธานกรรมการเป็นการชั่วคราวเพื่อดําเนินการต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งประธานกรรมการ ข้อ ๑๔ คณะกรรมการ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดนโยบายการจัดสวัสดิการประเภทต่างๆภายในกรมบังคับคดีให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิก (2) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ เกี่ยวกับสวัสดิการ กรมบังคับคดี รวมทั้งระเบียบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินตลอดจนกําหนดอํานาจหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงิน นอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ (3) อนุมัติให้มีการจัดและยุบเลิกการจัดสวัสดิการประเภทต่างๆ ในกรมบังคับคดี (4) แต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือคณะอนุกรรมการที่เป็นข้าราชการหรือผู้ที่มิใช่ข้าราชการ เพื่อดําเนินการจัดสวัสดิการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดสวัสดิการภายในกรมบังคับคดีตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (5) ควบคุม ดูแล การจัดสวัสดิการภายในกรมบังคับคดีให้เป็นไปตามระเบียบที่กําหนดและ อํานวยการจัดสวัสดิการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิกของกรมบังคับคดี (6) จัดการประชุมใหญ่สามัญประจําปีและการประชุมใหญ่วิสามัญของผู้เป็นสมาชิก (7) กําหนดอัตราค่าบริการในการใช้บริการสวัสดิการภายในที่กรมบังคับคดีจัดขึ้น (8) กําหนดค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่สวัสดิการ และผู้สอบบัญชีตามที่เห็นสมควร (9) อนุมัติการจ้างลูกจ้างของสวัสดิการของกรมบังคับคดี กําหนดค่าตอบแทน จัดแบ่งงานกําหนดระเบียบและวิธีปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดระบบการบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง (10) อนุมัติหรือมอบอํานาจให้กรรมการคนหนึ่งคนใดเป็นผู้ดําเนินการก่อหนี้ผูกพัน หรือ ลงนามในเอกสารต่างๆ แทนคณะกรรมการ และจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการร่วมกับเหรัญญิกตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการประกาศกําหนด (11) ควบคุมการรับเงินและใช้จ่ายเงินของกองทุนสวัสดิการ (12) ปฏิบัติการอื่นใดที่จําเป็นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการภายในกรมบังคับคดี หรือตามที่ คณะกรรมการสวัสดิการข้าราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547 หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือเอกสารใดมีข้อความจํากัดอํานาจของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทํานิติกรรมในเรื่องใดแทนคณะกรรมการ ให้ประกาศไว้โดยเปิดเผยให้สมาชิกและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องทราบ โดยทั่วกัน ข้อ ๑๕ การจัดสวัสดิการหรือกิจกรรมภายในกรมบังคับคดีเรื่องใดที่มีความสําคัญและมี ลักษณะเฉพาะซึ่งสมควรแยกบริหารจัดการ คณะกรรมการสวัสดิการจะจัดดําเนินการโดยมีประกาศหรือ ข้อกําหนดการจัดสวัสดิการเป็นการเฉพาะ ตลอดจนกําหนดให้มีกองทุนสวัสดิการและการจัดทําบัญชี รับจ่ายเงินในเรื่องนั้นๆ แยกจากกองทุนสวัสดิการของกรมบังคับคดีได้ ข้อ ๑๖ การประชุมคณะกรรมการให้มีการจัดประชุมอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ในการประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการผู้ที่ ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการทําหน้าที่ประธานในที่ประชุม ข้อ ๑๗ มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงขาด หมวด ๔ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ -------------------- ข้อ ๑๘ ให้มี “กองทุนสวัสดิการกรมบังคับคดี” เพื่อสะสมทุนและใช้จ่ายในการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการจัดสวัสดิการ ข้อ ๑๙ กองทุนสวัสดิการอาจมีรายได้ ดังนี้ (1) เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกตามอัตราและระยะเวลาจ่ายที่คณะกรรมการกําหนด 2) เงินรายรับจากการจัดกิจกรรมหรือจัดบริการของสวัสดิการ (3) เงินบริจาคเพื่อการจัดสวัสดิการ (4) เงินอุดหนุนหรือรายได้อื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้ (5) รายได้อื่นๆ หรือเงินที่ได้รับมาเพื่อประโยชน์เดิมของข้าราชการกรมบังคับคดีเป็นส่วนรวม (6) ดอกผลของเงินรายได้ตาม (1) - (5) ข้อ ๒๐ บรรดาทรัพย์สินและหนี้สินหมุนเวียน และลูกหนี้เงินทดรองจ่ายของเงินกองทุนสวัสดิการที่มีอยู่เดิมให้โอนเป็นของกองทุนสวัสดิการตามระเบียบนี ข้อ ๒๑ ให้ผู้ตรวจสอบภายในของกรมบังคับคดี เป็นผู้สอบบัญชีกองทุนสวัสดิการ ข้อ ๒๒ การนําเงินกองทุนสวัสดิการไปจัดหารายได้หรือผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด ในกรณีที่คณะกรรมการ อนุมัติให้ข้าราชการนําเงินกองทุนสวัสดิการไปเป็นทุนจัดหาประโยชน์ในกิจการใดๆ ให้ข้าราชการผู้ซึ่งได้รับมอบหมายนําเงินรายได้จากกิจการนั้น ส่งต่อเหรัญญิกโดยเร็ว สําหรับเงินกองทุนสวัสดิการที่ได้รับอนุมัติให้นําไปเป็นทุนในการดําเนินการให้รีบส่งคืน กองทุนสวัสดิการภายใน 30 วัน พร้อมบัญชีรับจ่ายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เมื่อเสร็จภารกิจหรือเมื่อเลิกดําเนิน กิจการนั้นแล้ว ข้อ ๒๓ ให้กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายจัดทํา รายงานผลการดําเนินงานในปีที่ผ่านมาเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณา ข้อ ๒๔ ให้เหรัญญิกเป็นผู้รับผิดชอบการเงินทั้งปวงของเงินกองทุนสวัสดิการ รวมทั้งจะต้องจัดทําและเก็บรักษาบัญชีรายรับ-รายจ่าย บัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน ตลอดจนบัญชีอย่างอื่น ที่จําเป็นเพื่อแสดง ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของสวัสดิการกรมบังคับคดี ข้อ ๒๕ ให้เปิดบัญชีฝากเงินกองทุนสวัสดิการไว้กับธนาคารพาณิชย์ หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ กระทรวงยุติธรรม ตามที่คณะกรรมการกําหนด โดยให้มีบัญชีเงินฝากประจําไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทด้วย เพื่อการออมทรัพย์ให้เกิดดอกผลเป็นรายได้ของกองทุนสวัสดิการ ข้อ ๒๖ การรับเงินหรือทรัพย์สิน ต้องออกใบเสร็จรับเงินหรือใบรับให้เป็นหลักฐานทุกครั้ง และให้ผู้รับเงินหรือทรัพย์สินบันทึกจํานวนเงินหรือรายการทรัพย์สินที่รับไว้ในใบสําคัญการรับด้วย ข้อ ๒๗ การรับเงินเป็นเงินสด เช็ค คราฟหรือตราสารอื่นใดที่ได้รับในแต่ละวัน ให้นําฝากธนาคารในวันนั้น เว้นแต่ได้รับหลังจากเวลาปิดบัญชีของสวัสดิการกรมบังคับคดี ให้นําฝากในวันทําการถัดไป ข้อ ๒๘ การจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสวัสดิการกรมบังคับคดีและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกําหนด หรือตามมติของคณะกรรมการ ข้อ ๒๙ การจ่ายเงิน ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายมีอํานาจอนุมัติจ่าย เงินกองทุนสวัสดิการได้คราวละไม่เกิน 500,000 บาท หากเกินกว่าจํานวนดังกล่าวต้องให้คณะกรรมการเห็นชอบ ข้อ ๓๐ การจ่ายเงินทุกรายการจะต้องมีเอกสารใบสําคัญจ่าย หรือหลักฐานการจ่ายประกอบรายการ ข้อ ๓๑ การสั่งจ่ายเงินหรือเช็คจากบัญชีเงินฝากเงินกองทุนสวัสดิการให้ประธานกรรมการ หรือกรรมการที่คณะกรรมการมอบหมายฝ่ายหนึ่งลงนามร่วมกับผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือเหรัญญิกอีกฝ่ายหนึ่งลงลายมือชื่อร่วมกัน 2 คน ข้อ ๓๒ ให้เหรัญญิกเก็บรักษาเงินสดไว้ได้ภายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนที่เกิน ให้นําฝากสถาบันการเงินตามข้อ 25 เว้นแต่เงินสดหรือเช็คที่ได้รับภายหลังจากเวลาที่สถาบันการเงินปิดทําการแล้ว หรือเงินสดที่เบิกมาเพื่อสํารองจ่ายก็ให้เก็บรักษาไว้ได้ แต่จะต้องนําฝากก่อนปิดบัญชีในวันทําการถัดไป ข้อ ๓๓ สมุดบัญชี เอกสารหลักฐาน และใบสําคัญทางการเงินทุกฉบับที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบ และรับรองเรียบร้อยแล้ว จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะทําลายได้ ข้อ ๓๔ ให้จัดทําบัญชีของกองทุนสวัสดิการและรักษาไว้ซึ่งระบบบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการ สวัสดิการ โดยแยกตามประเภทงาน ลงรายการรับและจ่ายเงิน สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นอยู่จริงตามประเภทกิจกรรม พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการดังกล่าว ข้อ ๓๕ ให้มีการจัดทํารายงานการเงินประจําเดือนเสนอคณะกรรมการสวัสดิการเพื่อทราบ และจัดส่งผู้ตรวจสอบภายในของกรมบังคับคดีภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป และการปิดบัญชีประจําปีปฏิทิน ให้จัดทํางบการเงินส่งให้ผู้สอบบัญชีที่คณะกรรมการแต่งตั้งตรวจสอบภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้ผู้สอบบัญชีทําการตรวจสอบและรับรองบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานการเงิน และเสนอคณะกรรมการเพื่ออนุมัติรายงานการเงิน แล้วให้คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทราบโดยทั่วกัน ตามที่คณะกรรมการกําหนด ข้อ ๓๖ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบเงินกองทุนสวัสดิการนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ดําเนินการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547 ข้อ ๓๗ กรณีที่มีปัญหาหรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับระเบียบนี้ ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาด คําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือเป็นที่สุด หมวด ๕ บทเฉพาะกาล --------------------- ข้อ ๓๘ การใด มติ ข้อกําหนด ข้อบังคับ ระเบียบคําสั่ง หรือประกาศใดๆ ที่ได้ดําเนินการหรือ ออกเพื่อการจัดสวัสดิการกรมบังคับคดีก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้คงดําเนินการและใช้บังคับต่อไป โดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้จนกว่าจะดําเนินการออกประกาศคณะกรรมการสวัสดิการกรมบังคับคดี ทั้งนี้ ให้ดําเนินการภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี ประธานกรรมการสวัสดิการกรมบังคับคดี
5,599
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2558
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2558 ---------------------------------------- โดยที่กรมบังคับคดีได้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั่วประเทศเพื่อเป็นทางเลือกในการ ระงับข้อพิพาท ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การดําเนินคดีหรือการบังคับคดีแพ่งเสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเป็นผลให้ข้อพิพาทยุติลงด้วยความพึงพอใจของคู่ความช่วยรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคม รวมทั้งช่วยลดปริมาณการบังคับคดี และเพื่อให้กระบวนการไกล่เกลี่ยของกรมบังคับคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ชัดเจน เหมาะสม เป็นมาตรฐาน จึงจําเป็นต้องออกระเบียบนี้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น "ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” หมายความว่า ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี และศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจําหน่วยงานในสังกัดกรมบังคับคดี "ผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า บุคคลซึ่งกรมบังคับคดีมีคําสั่งแต่งตั้งให้ทําหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยไม่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาท “เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานประจําศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท “คู่ความ" หมายความว่า ผู้ร้องขอไกล่เกลี่ย คู่กรณีในข้อพิพาท รวมถึงผู้แทนหรือผู้รับมอบอํานาจของบุคคลหรือหน่วยงานนั้น "คณะกรรมการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย หมายความว่า คณะบุคคลที่ทําหน้าที่ดําเนินกระบวนการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย ข้อ ๔ ให้อธิบดีกรมบังคับคดีรักษาการตามระเบียบนี้และมีอํานาจออกคําสั่งหรือจัดการให้มีทะเบียนบัญชีสารบบและแบบพิมพ์ขึ้นตามความจําเป็นเพื่อใช้ในงานไกล่เกลี่ย เพื่อให้การปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ คุณสมบัติ การแต่งตั้ง และการพ้นจากหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย -------------------------------------- ส่วน ๑ คุณสมบัติ -------------------------------------- ข้อ ๕ บุคคลซึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติ (1) มีสัญชาติไทย (2) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันสมัคร (3) เป็นผู้สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านนิติศาสตร์ (4) เป็นบุคคลผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างน้อย 1 ปี หรือเคยผ่าน การอบรมหลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของสถาบันภาครัฐหรือเอกชน อาทิ กรมบังคับคดี สํานักงานศาลยุติธรรม หรือหลักสูตรที่จัดโดยหน่วยงานภาคการศึกษา ข. ลักษณะต้องห้าม (1) เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คนไร้ความสามารถ คนเสมือน ไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (2) เป็นผู้เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําผิดอาญา เว้นแต่เป็นโทษ สําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (3) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรค การเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (4) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ หรือเว้นจากการประกอบวิชาชีพทนายความมาแล้วต่ํากว่า 5 ปี ส่วน ๒ การแต่งตั้ง -------------------------------- ข้อ ๖ ผู้ประสงค์สมัครเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ให้ยื่นใบสมัครพร้อมแนบเอกสารหลักฐานตามระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อดําเนินการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบังคับคดีกําหนด ข้อ ๘ ผู้ไกล่เกลี่ยที่ได้รับการแต่งตั้ง มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ทําการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ดําเนินการให้คู่กรณีตกลงยินยอมผ่อนผันให้แก่กัน โดยอาจให้คู่กรณีเสนอทางเลือก หรือเป็นผู้เสนอทางเลือกให้แก่คู่กรณีพิจารณาเพื่อยุติข้อพิพาท แต่ห้ามมิให้ ผู้ไกล่เกลี่ยชี้ขาดข้อพิพาท (2) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามที่ส่วนราชการมอบหมาย ข้อ ๙ ให้หัวหน้าหน่วยงานที่ผู้ไกล่เกลี่ยไปปฏิบัติหน้าที่ จัดให้มีการประเมินผู้ไกล่เกลี่ยประจําปีงบประมาณตามแบบที่กรมบังคับคดีกําหนด ส่วน ๓ การพ้นจากหน้าที่ ---------------------------------- ข้อ ๑๐ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยพ้นจากหน้าที่ (1) ตาย (2) ลาออก (3) มิได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อเมื่อครบกําหนดระยะเวลาตามคําสั่งแต่งตั้ง (4) บกพร่องต่อหน้าที่หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ (5) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 (5) กระทําผิดหรือฝ่าฝืนจริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ยตามข้อ 24 อย่างร้ายแรง ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงตาม ข้อ 10 (1) และ (2) ให้หัวหน้าศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทํารายงานเสนอต่ออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อมีคําสั่งให้พ้นจากหน้าที่ต่อไป ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงตาม ข้อ 10 (4) (5) และ (6) ให้หัวหน้าศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรับฟังคําชี้แจงของผู้ไกล่เกลี่ยที่เกี่ยวข้อง เสร็จแล้วให้ทํารายงานเสนอพร้อมความเห็น ต่ออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อมีคําสั่ง หรืออธิบดีกรมบังคับคดีเห็นสมควรนําเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ บริหาร งานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี เพื่อพิจารณาให้ความเห็น ก่อนอธิบดีกรมบังคับคดีมีคําสั่ง ในกรณีที่อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการกระทําผิดหรือฝ่าฝืนจริยธรรมของ ผู้ไกล่เกลี่ยอย่างไม่ร้ายแรงหรือมีเหตุอื่นใดอันสมควร อาจให้ตักเตือนผู้ไกล่เกลี่ยนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร หมวด ๒ เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท -------------------------------- ข้อ ๑๒ ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททุกแห่ง โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) รับแจ้งข้อมูล คัดกรอง บันทึกรายละเอียด พิจารณาแนวทางการให้คําแนะนําความช่วยเหลือส่งต่อ รวมถึงประสานการดําเนินงานกับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม (2) ประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กร อื่นของรัฐ องค์การเอกชน สมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มหรือหมู่คณะภาคประชาชน ในการแก้ไขปัญหาข้อร้องทุกข์ เพื่อให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย (3) ให้ข้อมูลค่าแนะนําเรื่องการไกล่เกลี่ยแก่ประชาชน (4) รวบรวมสถิติคดีไกล่เกลี่ย จัดหมวดหมู่ ประมวลผลเป็นฐานข้อมูลในการดําเนินการหรือเพื่อเป็น แนวทางในการดําเนินการต่อไป (5) จัดทํารายงานการไกล่เกลี่ย และรายงานเจ้าหน้าที่ (6) จัดทําสํานวนไกล่เกลี่ย (7) จัดทําสารบบงานไกล่เกลี่ย (8) ติดต่อประสานกับคู่ความ ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย แจ้งวัน เวลา และสถานที่ไกล่เกลี่ย ให้ทราบ (9) จัดทําหนังสือเชิญคู่ความมาทําการไกล่เกลี่ยตามวันเวลาที่กําหนด (10) จัดทําสถิติการไกล่เกลี่ยรายเดือน (11) ดําเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนของผู้ไกล่เกลี่ยที่กรมบังคับคดีมีคําสั่งแต่งตั้ง (12) ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ลงรับคําร้อง คําขอ จัดทําบัญชีนัดไกล่เกลี่ย อํานวย ความสะดวกระหว่างการไกล่เกลี่ย ลงนัดไกล่เกลี่ย ฯลฯ (13) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๓ หากไม่มีเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ให้เป็น ดุลพินิจของผู้อํานวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกรมบังคับคดีในการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติหน้าที่ หมวด ๓ การดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ------------------------------- ส่วน ๑ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท -------------------------------- ข้อ ๑๔ ผู้ประสงค์ให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สามารถยื่นคําร้องต่อศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ กรมบังคับคดีและสํานักงานบังคับคดีทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยตรง หรือทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ ข้อ ๑๕ ให้เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจัดทําสํานวนไกล่เกลี่ยแยกต่างหากจากสํานวนบังคับคดี และทําการติดต่อประสานความ แจ้งกําหนดนัดไกล่เกลี่ยให้คู่ความและผู้เกี่ยวข้องทราบ ล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร ข้อ ๑๖ กรณีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นไม่มีผู้ไกล่เกลี่ยที่กรมบังคับคดีแต่งตั้งประจําอยู่ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี หรือนิติกรที่ผ่านการอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของกรมบังคับคดีแล้ว เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ข้อ ๑๗ คู่ความอาจคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ยได้ หากมีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางของ ผู้ไกล่เกลี่ย โดยผู้ประสงค์คัดค้านต้องแสดงเหตุแห่งการคัดค้านให้ผู้อํานวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกรมบังคับคดีทราบก่อนเริ่มกระบวนการไกล่เกลี่ย หรือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุ แห่งการคัดค้านแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ต้องกระทําก่อนกระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงตามข้อ 23 การที่ผู้ไกล่เกลี่ยถอนตัว ไม่ถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่คู่ความยกขึ้นคัดค้าน กรณีที่มีการคัดค้าน ให้ผู้อํานวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกรมบังคับคดีเป็นผู้พิจารณา สั่งตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๘ ก่อนเริ่มกระบวนการไกล่เกลี่ย ให้ผู้ไกล่เกลี่ยชี้แจงขั้นตอนวิธีการไกล่เกลี่ยให้คู่ความทราบ ไกล่เกลี่ยได้ และอาจหารือร่วมกันกับคู่ความเพื่อพิจารณากําหนดขั้นตอนหรือแนวทางในการดําเนินการไกล่เกลี่ยก็ได้ ข้อ ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยอาจให้คู่ความเสนอข้อเท็จจริงหรือข้อมูลเบื้องต้นแห่งข้อพิพาท ตลอดจนข้อเสนอในการระงับข้อพิพาทต่อผู้ไกล่เกลี่ย หรืออาจเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวระหว่างความก็ได้ ข้อ ๒๐ เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยหรือผู้ไกล่เกลี่ยเห็นว่ามีความจําเป็น อาจให้ประชุมร่วมกันหรือแยกการประชุมแต่ละฝ่ายก็ได้ กรณีที่คู่ความทุกฝ่ายมาร่วมประชุม การตกลงต้องกระทําต่อหน้าคู่ความทุกฝ่าย ข้อ ๒๑ การไกล่เกลี่ยทุกครั้ง ให้ผู้ไกล่เกลี่ยดําเนินการให้คู่ความเจรจาตกลงกัน โดยช่วยเหลือ เสนอแนะแนวทาง เพื่อให้หาทางออกของข้อพิพาทร่วมกันได้ แต่ห้ามมิให้ชี้ขาดข้อพิพาท ข้อ ๒๒ เมื่อดําเนินการไกล่เกลี่ยแล้วเสร็จ ให้เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจัดทํารายงานการไกล่เกลี่ย ให้ผู้ไกล่เกลี่ยและความลงนาม และจัดทํารายงานเจ้าหน้าที่เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อมีคําสั่งต่อไป ส่วน ๒ การสิ้นสุดกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ----------------------------------- ข้อ ๒๓ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้ถือว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง (1) คู่ความสามารถตกลงยุติข้อพิพาทกันได้เป็นผลสําเร็จ ไม่ว่าบางประเด็นหรือทุกประเด็น (2) คู่ความไม่สามารถตกลงยุติข้อพิพาทได้ (3) คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์ทําการไกล่เกลี่ย (4) มีเหตุอื่นใดที่ทําให้กระบวนการไกล่เกลี่ยไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ เช่น ไม่สามารถติดต่อ คู่ความได้ ขาดข้อมูลที่จําเป็นในการไกล่เกลี่ย เป็นต้น หมวด ๔ จริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ย --------------------------------- ข้อ ๒๔ ผู้ไกล่เกลี่ยต้องถือปฏิบัติตามจริยธรรม ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ไกล่เกลี่ยต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง อิสระ ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ยินยอมให้บุคคลภายนอกใช้อิทธิพลใดๆ อันอาจทําให้เสียความเป็นกลาง (2) ผู้ไกล่เกลี่ยพึ่งช่วยเหลือ สนับสนุนให้คู่ความตัดสินใจด้วยตนเองบนพื้นฐานข้อมูลที่เพียงพอ ในการตกลงระงับข้อพิพาทด้วยความสมัครใจ โดยผู้ไกล่เกลี่ยต้องละเว้นไม่ออกคําสั่ง ตัดสินใจ หรือขาด ข้อพิพาทใดๆ และไม่พยายามเกลี้ยกล่อมหรือบังคับคู่ความเพื่อให้ยอมรับตามความเห็นของตน (3) ผู้ไกล่เกลี่ยต้องเปิดเผยความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นของผู้ไกล่เกลี่ย ไม่ว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยจะดําเนินไปแล้วเพียงใด เช่น ความสัมพันธ์กับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ว่าทางครอบครัว สังคม ธุรกิจ การงาน การเงิน อันอาจทําให้เกิดอคติ หรือผลประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ดําเนินการ ไกล่เกลี่ย ฯลฯ หากผู้ไกล่เกลี่ยมีความขัดแย้งในผลประโยชน์กับข้อพิพาทที่ทําการไกล่เกลี่ย ให้ถอนตัวจากการ ไกล่เกลี่ย ยกเว้นคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทําหน้าที่ต่อไป (4) ผู้ไกล่เกลี่ยต้องรักษาความลับที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องเปิดเผยตามกฎหมายกําหนด หรือคู่ความจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น (5) ผู้ไกล่เกลี่ยต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใดในการปฏิบัติหน้าที่จากคู่ความหรือบุคคลอื่น เว้นเสียแต่ค่าตอบแทนนั้นเป็นกรณีที่มี กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกําหนดให้กระทําได้ (6) ผู้ไกล่เกลี่ยจักต้องไม่ให้ หรือตกลงว่าจะให้ค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้แนะนําหรือผู้ส่ง ข้อพิพาทให้คนดําเนินการไกล่เกลี่ย (7) ผู้ไกล่เกลี่ยต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแจ้งทุกครั้ง ยกเว้นมีเหตุผลความจําเป็นโดยแจ้งให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า และต้องปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาอันสมควร ไม่ล่าช้า โดยใช้ทักษะ ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ของคู่ความ (8) ผู้ไกล่เกลี่ยจึงมีความสุภาพเรียบร้อยระหว่างปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ย ทั้งการใช้วาจากิริยา มารยาท และแต่งกายอย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะ (9) ผู้ไกล่เกลี่ยพึงพัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติมและพึ่งเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสมประโยชน์แก่ราชการและประชาชน หมวด ๕ ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่าย ---------------------------- ข้อ ๒๕ ผู้ไกล่เกลี่ยที่กรมบังคับคดีมีคําสั่งแต่งตั้ง มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายตาม หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด หมวด ๖ บทเบ็ดเตล็ด ---------------------------------- ข้อ ๒๖ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกําหนด หรือมีปัญหาอื่นใดที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดี เพื่อพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นางสาว นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,600
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยเครือข่ายบังคับคดีและวิทยาการตัวคูณ พ.ศ. 2561
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยเครือข่ายบังคับคดีและวิทยาการตัวคูณ พ.ศ. 2561 ---------------------------------------- ด้วยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน โดยส่วนราชการจะต้องดําเนินการโดยถือว่า ประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ มีการปฏิบัติภารกิจเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้และมีการรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อให้มี การปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสมประกอบกับนโยบายรัฐบาลส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมกับ การดําเนินงานของภาครัฐ และตามแผนยุทธศาสตร์กรมบังคับคดี ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี พ.ศ. 2560 – 2564 กรมบังคับคดีกําหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร และยกระดับธรรมาภิบาล เพื่อให้มีภาพลักษณ์องค์กรที่น่าเชื่อถือโปร่งใส เป็นธรรม เสมอภาค และทันสมัย และมีระบบการบังคับคดีที่มีประสิทธิภาพ โดยเชื่อมโยงบูรณาการกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนในการพัฒนา กระบวนการบังคับคดีและการสื่อสาร สร้างการรับรู้ของประชาชน รวมทั้งการเสริมสร้างความเชื่อมั่น และความโปร่งใสขององค์กร ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการเกี่ยวกับเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณของ กรมบังคับคดีมีความชัดเจน เหมาะสม และเป็นมาตรฐาน จึงจําเป็นต้องออกระเบียบนี้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ พ.ศ. 2561” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคุณ” หมายถึง บุคคลที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งแต่งตั้งให้ทําหน้าที่เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคุณ “สํานักงานบังคับคดี” หมายถึง สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร สํานักงานบังคับคดีจังหวัดสํานักงานบังคับคดีจังหวัดสาขา “อธิบดี” หมายถึง อธิบดีกรมบังคับคดี “บัตรประจําตัว” หมายถึง บัตรประจําตัวเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคุณ “กรม” หมายถึง กรมบังคับคดี หมวด ๑ คุณสมบัติและการแต่งตั้ง ---------------------------- ข้อ ๔ บุคคลที่สามารถได้รับการพิจารณาให้เข้ารับการอบรมเป็นเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีอายุตั้งแต่ 30 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (2) มีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ (3) สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ ในด้านชุมชน เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นําชุมชน (4) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความเสียสละอย่างสูงพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือการดําเนินงานของกรมบังคับคดีด้วยความเต็มใจ (5) ประกอบอาชีพโดยสุจริต (6) เป็นผู้มีความประพฤติดี (7) ไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ (8) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน (9) ไม่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถ (10) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (11) ไม่เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง ข้อ ๕ การแต่งตั้งเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ ต้องเป็นผู้ผ่านการอบรมตามหลักสูตร ที่กรมบังคับคดีกําหนด ข้อ ๖ กรณีเป็นเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณแล้ว หากมีการย้ายภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ อาศัย สามารถไปเป็นวิทยากรตัวคูณในจังหวัดที่ย้ายไปอยู่ได้โดยให้สํานักงานบังคับคดีเดิมแจ้งข้อมูลเครือข่ายให้ สํานักงานบังคับคดีแห่งใหม่ทราบด้วย ในการนี้ขอให้สํานักงานบังคับคดีจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ด้วย ตามบัญชีแนบท้าย ข้อ ๗ ให้อธิบดีเป็นผู้ออกบัตรประจําตัวให้เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ โดยบัตรนี้ให้มีรูปถ่าย และลายมือชื่อของเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคุณ ข้อ ๘ บัตรประจําตัวมีระยะเวลาการใช้คราวละ 5 ปี กรณีบัตรหมดอายุให้ยื่นความจํานงขอมีบัตร ประจําตัวใหม่กับกรมบังคับคดี ผ่านทางสํานักงานบังคับคดีที่เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณดําเนินงานอยู่ ข้อ ๙ กรณีบัตรประจําตัวชํารุด หรือกรณีสูญหาย (1) กรณีบัตรประจําตัวชํารุดให้เครือข่ายบังคับคดีหรือวิทยากรตัวคูณยื่นความจํานงขอมีบัตร ประจําตัวใหม่ โดยผ่านสํานักงานบังคับคดี ภายใน 30 วัน (2) กรณีบัตรประจําตัวสูญหาย ให้เครือข่ายบังคับคดีหรือวิทยากรตัวคูณยื่นความจํานงขอมีบัตร ประจําตัวใหม่ โดยนําหลักฐานการลงบันทึกประจําวันมาแสดงผ่านสํานักงานบังคับคดี ภายใน 30 วัน ข้อ ๑๐ การใช้บัตรประจําตัว ให้ใช้เมื่อมีการปฏิบัติหน้าที่ หรือติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ หรือตามที่เจ้าหน้าที่ของรัฐร้องขอ ข้อ ๑๑ รูปแบบของบัตรประจําตัว เป็นไปตามแนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๒ เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคุณจะสิ้นสภาพตามเงื่อนไขดังนี้ (1) ถึงแก่กรรม (2) ลาออก (3) การถูกถอดถอนเนื่องจากความประพฤติไม่เหมาะสม (4) ขาดคุณสมบัติในการคัดเลือกตามข้อ 4 หมวด ๒ บทบาทและหน้าที่ --------------------------------- ข้อ ๑๓ กําหนดให้เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ มีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้ (1) เผยแพร่ภารกิจของกรมบังคับคดี และให้คําแนะนําขั้นตอนการบังคับคดีในเบื้องต้น ในพื้นที่ของสํานักงานบังคับคดี (2) เป็นผู้ประสานงานในการช่วยเหลือดูแลให้คําแนะนํา และแก้ปัญหาในเบื้องต้น และเป็นตัวแทนภาคประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการทํางานให้โปร่งใส สุจริตและตรวจสอบได้ (3) เป็นผู้สังเกตการณ์และให้คําแนะนํา การให้บริการของสํานักงานบังคับคดี อาทิเช่น การขายทอดตลาด เป็นต้น เพื่อความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของกรมบังคับคดี (4) เป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการ การให้บริการตามภารกิจต่างๆ ของสํานักงานบังคับคดี ต่อผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี (5) ให้รวบรวมการบันทึกการปฏิบัติงานของตนและรายงานผลการปฏิบัติงานมายังสํานักงาน บังคับคดีเป็นรายไตรมาส โดยให้สํานักงานบังคับคดีนําส่งกองบริหารทรัพยากรบุคคล ข้อ ๑๔ เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ จะดําเนินการภายใต้บทบาทหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละและไม่เรียกรับผลประโยชน์ตอบแทน ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและผู้อื่นในบทบาทหน้าที่ ที่รับผิดชอบ ข้อ ๑๕ เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณจะต้องยึดมั่นในคุณธรรม เมตตาธรรมและรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีข้อร้องเรียนจากการกระทําผิดจริยธรรมและจรรยา ให้สํานักงานบังคับคดีของเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณค่าเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงานผลต่อกรมบังคับคดีเพื่อพิจารณาดําเนินการตามความเหมาะสมต่อไป ข้อ ๑๗ เครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ จะได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมบังคับคดีกําหนด ดังนี้ (1) คัดเลือกให้เข้ารับการอบรม และได้รับใบประกาศนียบัตรผู้ผ่านหลักสูตรการอบรม (2) จะได้รับการเสนอเพื่อรับใบเชิดชูเกียรติ (3) จะได้รับการเสนอเพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (4) ประโยชน์อื่นใดตามที่กรม หรือกระทรวงยุติธรรมกําหนด หรือตามที่ได้ทําความตกลงกับหน่วยงานอื่นๆ ข้อ ๑๘ ให้กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมบังคับคดี เป็นหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลและกําหนดให้มี คณะกรรมการกํากับดูแลการดําเนินงานตามระเบียบนี้ โดยให้มีคณะกรรมการ 1 คณะ ประกอบด้วย (1) อธิบดี กรมบังคับคดี (2) รองอธิบดีกรมบังคับคดี (3) หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม (4) เลขานุการกรม (5) ผู้อํานวยการ กองบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นเลขานุการคณะกรรมการ และ(6) เจ้าหน้าที่จากกองบริหารทรัพยากรบุคคลที่ ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ รวมทั้งการจัดทํา รวบรวมผลและ งานอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องให้กองบริหารทรัพยากรบุคคลรับผิดชอบ ข้อ ๑๙ บุคคลที่ได้รับคัดเลือกเป็นเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณอยู่ก่อนระเบียบนี้ มีผลใช้บังคับ ให้บุคคลนั้นเป็นเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณตามระเบียบนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,601
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการออกบัตรประจำตัวลูกจ้างชั่วคราว พ.ศ. 2562
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการออกบัตรประจําตัวลูกจ้างชั่วคราว พ.ศ. 2562 ---------------------------------------------------- โดยที่เห็นเป็นการสมควรให้ลูกจ้างชั่วคราวมีบัตรประจําตัวไว้เป็นประโยชน์ในการประสานงานกับ ส่วนราชการต่าง ๆ และใช้แสดงตนในการออกไปปฏิบัติราชการนอกที่ทําการ เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราชการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงวางระเบียบไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการออกบัตรประจําตัวลูกจ้างชั่วคราว พ.ศ. 2562” ข้อ ๒ ในระเบียบนี้ “กรม” หมายถึง กรมบังคับคดี “อธิบดี” หมายถึง อธิบดีกรมบังคับคดี “ลูกจ้างชั่วคราว” หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราวเพื่อปฏิบัติงานตามที่กรมบังคับคดีมอบหมายที่มีลักษณะชั่วคราวและมีกําหนดระยะเวลาจ้าง แต่ทั้งนี้กําหนดระยะเวลาจ้างต้องไม่เกินปีงบประมาณ “บัตร” หมายถึง บัตรประจําตัวลูกจ้างชั่วคราวของกรมบังคับคดี “ผู้ออกบัตร” หมายถึง กรมบังคับคดี โดยอธิบดีกรมบังคับคดีเป็นผู้ลงนามในบัตร “คําขอมีบัตร” หมายถึง ลูกจ้างชั่วคราวผู้มีความประสงค์ให้กรมบังคับคดีออกบัตรประจําตัวลูกจ้างชั่วคราวให้โดยระบุรายละเอียดในคําขอมีบัตรพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ตามที่กรมบังคับคดีกําหนด ข้อ ๓ ให้อธิบดีเป็นผู้ออกบัตรประจําตัวลูกจ้างชั่วคราว ข้อ ๔ ขนาด สี และลักษณะของบัตรให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้ลูกจ้างชั่วคราวในสังกัดกรมบังคับคดี ทําคําขอมีบัตรพร้อมแนบรูปถ่าย ซึ่งถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ก่อนวันยื่นคําขอมีบัตร ขนาด 2.5X3 เซนติเมตร ครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดํา โดยสวมเครื่องแบบข้าราชการสีกากี จํานวน 2 รูป ยื่นผ่านผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้น ไปยังกองบริหาร ทรัพยากรบุคคล เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้วเสนออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อพิจารณา ข้อ ๖ คําขอมีบัตรให้เป็นไปตามแบบคําขอแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ บัตรมีอายุการใช้งาน 1 ปี การนับอายุบัตรให้นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของแต่ละปีเป็นต้นไปเป็นวันออกบัตรและให้วันที่ 30 กันยายน ปีถัดไปเป็นวันที่บัตรนั้นหมดอายุ ข้อ ๘ ในกรณีบัตรสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ผู้ถือบัตรต้องยื่นคําขอมีบัตรเพื่อขอเปลี่ยนบัตรใหม่กับเจ้าหน้าที่ออกบัตร ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บัตรนั้นสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุด ในกรณีที่ผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล ผู้ถือบัตรต้องยื่นคําขอเปลี่ยน บัตรใหม่กับเจ้าหน้าที่ออกบัตร ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัว และชื่อสกุล แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ผู้ถือบัตรต้องไม่นําบัตรหรือยินยอมให้บุคคลอื่นนําบัตรของตนไปใช้ในทางทุจริต หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อ ๑๐ ในกรณีต่อไปนี้ถือว่าบัตรนั้นสิ้นสุด และผู้ถือบัตรไม่อาจใช้บัตรเพื่อประโยชน์ใด ๆ กับบุคคลภายนอกหรือกับทางกรมบังคับคดีได้อีกต่อไป 10.1 บัตรหมดอายุ 10.2 ตาย 10.3 ลาออก 10.4 เลิกจ้าง ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับบัตรประจําตัวตามระเบียบนี้พ้นจากการเป็นลูกจ้างชั่วคราว ของกรมบังคับคดี เป็นอันหมดสิทธิที่จะใช้บัตรประจําตัวนั้นต่อไป ให้ส่งคืนบัตรประจําตัวลูกจ้างชั่วคราว ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปทันที และให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวส่งคืนบัตรประจําตัวให้กองบริหารทรัพยากร บุคคล ภายใน 30 วัน นับแต่วันพ้นจากการเป็นลูกจ้างชั่วคราวของกรมบังคับคดี ข้อ ๑๒ ให้อธิบดีกรมบังคับคดีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดในกรณี ที่เกิดปัญหาจากการใช้ระเบียบนี้ ข้อ ๑๓ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี
5,602
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการกำหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจออกคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ พ.ศ. 2558
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการกําหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอํานาจออกคําสั่งเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้ พ.ศ. 2558 ----------------------------------------------- โดยที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 กําหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอํานาจออกระเบียบกําหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอํานาจออกคําสั่งเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้ เพื่อให้การพิจารณาและมีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้เป็นไปด้วยความโปร่งใส มีอิสระ มีความเป็นกลางและดําเนินไปด้วยความเรียบร้อยอันเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและประชาชน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 139 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงได้วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการกําหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอํานาจออกคําสั่งเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้ พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับ บรรดาระเบียบ คําสั่ง หรือแนวปฏิบัติอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ คุณสมบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอํานาจพิจารณาและมีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ --------------------------------------- ข้อ ๓ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอํานาจพิจารณาและมีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ ต้องเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และมีประสบการณ์ในด้านการบังคับคดีล้มละลายไม่น้อยกว่า 2 ปี หมวด ๒ องค์คณะในการพิจารณาและมีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ ------------------------------------------ ข้อ ๔ ในการพิจารณาและมีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ ต้องมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจ และหนึ่งในองค์คณะต้องเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่ระดับชํานาญการพิเศษขึ้นไป ข้อ ๕ คําขอรับชําระหนี้ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินยี่สิบล้านบาท ต้องมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับชํานาญการพิเศษเป็นองค์คณะ ข้อ ๖ คําขอรับชําระหนี้ที่มีทุนทรัพย์เกินกว่ายี่สิบล้านบาทแต่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาทต้องมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้อํานวยการกองเป็นองค์คณะ ข้อ ๗ คําขอรับชําระหนี้ที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทแต่ไม่เกินห้าร้อยล้านบาทต้องมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้อํานวยการกองและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์คณะ ข้อ ๘ คําขอรับชําระหนี้ที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าร้อยล้านบาท ต้องมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้อํานวยการกองและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์คณะ โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558 พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5,603
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 188/2522 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คำคู่ความหรือเอกสาร
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 188/2522 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร ------------------- โดยที่เห็นเป็นการสมควรที่จะได้กําหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความ หรือเอกสารสําหรับพนักงานเดินหมาย กรมบังคับคดีให้เหมาะสมและรัดกุมยิ่งขึ้น โดยวิธีการแบ่งเขต และเหมาจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะ (เว้นแต่ในที่กันดารหรือทางไกลมากเป็นพิเศษ อันจําเป็น ต้องใช้ยานพาหนะเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย) ดังปรากฏตามรายการแบ่งเขตแนบท้ายคําสั่งนี้ ทั้งนี้โดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ดังนี้ ข้อ ๑ หมาย คําคู่ความหรือเอกสารที่คู่ความต้องนําส่ง 1.1 เขตชั้นใน ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 30 บาท 1.2 เขตชั้นกลาง ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 50 บาท 1.3 เขตชั้นนอก ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 80 บาท ข้อ ๒ หมาย คําคู่ความหรือเอกสารที่ความไม่ต้องนําส่ง 2.1 ในกรณีที่อาจเกิดจากเงินค่าใช้จ่ายในคดี ให้เหมาจ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะรวมเป็นเงินไม่สูงกว่ากึ่งหนึ่งของอัตราในข้อ 1 2.2 ในกรณีที่ไม่อาจจะเบิกจากเงินค่าใช้จ่ายในคดี ให้พนักงานเป็นหมาย ซึ่งเป็นผู้ส่งในเรื่องนั้นมาก่อนโดยมีผู้นําหรือมีสิทธิเบิกในคดีเป็นผู้รับผิดชอบในการส่ง ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 47/2521 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2521 ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2522 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคดี
5,604
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 180/2522 เรื่อง การส่งหรือปิดหมายตามคำสั่งศาลในคดีอาญา
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 180/2522 เรื่อง การส่งหรือปิดหมายตามคําสั่งศาลในคดีอาญา --------------------- ตามที่กรมบังคับคดีได้ทําความตกลงกับศาลอาญาให้ถือปฏิบัติว่า ในกรณีศาลอาญา มีคําสั่งให้ส่งหมายนัดและสําเนาคําฟ้องคดีอาญา ถ้าไม่พบจําเลยและไม่มีผู้ใดยอมรับไว้แทน ให้ทําการปิดหมาย เว้นแต่จะปรากฏหลักฐานจากทะเบียนสํามะโนครัวที่นํามาแสดงว่าจําเลย ไม่มีภูมิลําเนาอยู่ ณ ที่นั้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายบางคนยังปฏิบัติไม่ถูกต้องและสับสน เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเดินหมายเป็นไปโดยถูกต้องและรวดเร็ว สมความมุ่งหมาย ของทางราชการ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กรณีศาลมีคําสั่งให้ส่งหรือปิดหมายนัดและสําเนาคําฟ้อง ณ ภูมิลําเนาของจําเลย ถ้าไม่พบจําเลยและผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่ดังกล่าวไม่ยอมรับหมายไว้แทน โดยอ้างว่าจําเลยไม่ได้อยู่ ณ สถานที่นั้น พร้อมทั้งนําสําเนาทะเบียนบ้านมาแสดงเป็นหลักฐาน ให้พนักงานเดินหมายรายงาน ผลการส่งหมายคืนศาลตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ แต่ถ้าศาลมีคําสั่งยืนยันให้ส่งหรือปิดหมายไว้ ณ สถานที่ดังกล่าวอีก ให้พนักงานเดินหมายปฏิบัติตามคําสั่งศาล ข้อ ๒ กรณีศาลมีคําสั่งให้ส่งหรือปิดหมายนัดและสําเนาคําฟ้อง ณ สํานักหาการงาน ของจําเลย 2.1 ถ้าสํานักทําการงานนั้นเป็นของเอกชน เช่น ห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือโรงงาน เป็นต้น ให้พนักงานเดินหมายปฏิบัติตามคําสั่งศาล โดยไม่ต้องคํานึงถึงหลักฐานสําเนาสํามะโนครัว 2.2 ถ้าสํานักทําการงานนั้นเป็นสถานที่ราชการ ถ้าไม่พบจําเลยและผู้ที่ทํางานอยู่ ในสถานที่ราชการนั้นแจ้งว่า จําเลยไม่ได้รับราชการอยู่ในส่วนราชการนั้นหรือจําเลยย้ายไปแล้ว ให้พนักงานเดินหมายสอบถามชื่อ นามสกุล และตําแหน่งของผู้ที่บอกกล่าวเช่นนั้น และให้รายงาน ผลการส่งหมายค้นศาลตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 9 สิงหาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,605
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 69/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนำส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 69/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่ง และรับเงินของกรมบังคับคดี ------------ ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 70/2520 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบการเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการรับ - จ่าย การเก็บรักษา และการนําส่งและรับเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทน - ชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ขึ้นใหม่ ดังนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1. ผู้อํานวยการกอง กองคลัง (นายวิมล ราชเทวินทร์) เป็นกรรมการ 2. หัวหน้างานการบัญชีและงบประมาณ (นางเสาวภา สถิตมีลินทากาศ) เป็นกรรมการ 3. หัวหน้างานการเงิน (นางพิสมัย ทองอ่อน) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ข.กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ 1. หัวหน้างานคํานวณและเฉลี่ยหนี้ (นายนิภา สินธารา) เป็นกรรมการ 2. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางศุภมาศ เหมไหรมย์) เป็นกรรมการ 3. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3. (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 1.หัวหน้างานการเงิน (นางพิสมัย ทองอ่อน) เป็นกรรมการ 2.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางศุภมาศ เหมไหรณ์) เป็นกรรมการ 3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ 4.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสาววรรณศิริ ทองวรรณ) เป็นกรรมการ 5.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 (นางสาวฉันทนา เจริญทรัพย์) เป็นกรรมการ 6. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 (นางสาววรรณี ธีรพลวาณิชกุล) เป็นกรรมการ 7. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 (นางสาวสมบูรณ์ สกุลเมือง) เป็นกรรมการ ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นคนใดคนหนึ่ง และข้าราชการอื่นอย่างน้อย 1 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสด มีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกลหรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกอง กองคลัง หรือหัวหน้างานการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํา ควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 มีนาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,606
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 59/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการนำส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงาน ของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 59/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 -------------------------------- โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคต่าง ๆ ของกรมบังคับคดีทําการเบิกจ่ายเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณโดยตรงต่อคลังจังหวัดแล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 กรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งให้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการนําส่งหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1. หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 (นายสวัสดิ์ ศรีวิภาค) 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายไชยยง บุญเรืองศักดิ์) 3.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายเรืองวิทย์ เตชะอินทร์) อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บเก็บรักษารักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (นางจุรีพร มณีวรรณ) อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่าย นอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 1.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสด จํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 เป็นผู้ พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการ นําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 มีนาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,607
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 61/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการนำส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงาน ของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 2
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 61/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 2 --------------- โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคต่าง ๆ ของกรมบังคับคดีทําการเบิกจ่ายเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณโดยตรงต่อคลังจังหวัดแล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงิน และนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 กรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งให้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว และกรรมการนําส่งหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคที่ 2 ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1. หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 2. (นายพนม จิระเสวี) 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (นางสาวนวลสวาท ชูยงค์) อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 1.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสด จํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 2 เป็นผู้ พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการ นําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,608
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 64/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงาน ของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 64/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 -------------------- โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคต่าง ๆ ของ กรมบังคับคดีทําการเบิกจ่ายเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณโดยตรงต่อคลังจังหวัดแล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ วางทรัพย์ พ.ศ. 2520 กรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งให้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการนําส่งหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - ก.กรรมการเก็บรักษาเงิน 1. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายสมควร วิเชียรวรรณ) 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายสมสันต์ ศุภศาสตร์สิน) 3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (น.ส.จรรยา จรรยพงษ์) อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่าย นอกที่ตั้งสานักงาน คือ 1.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 เป็นผู้ พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการ นําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,609
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 66/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวและ กรรมการส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงาน ของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 8
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 66/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวและ กรรมการส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 8 ------------------- โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคต่าง ๆ ของ กรมบังคับคดี หาการเบิกจ่ายเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณโดยตรงต่อคลังจังหวัดแล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 กรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งให้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว และกรรมการนําส่งหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคที่ 8 ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1.หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 8 (นายสมชาย พาณิชย์เจริญ) 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 3. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (นางสาวมรรยาท มิตรกุล) อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอก ตั้งสํานักงาน คือ 1. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสด จํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 เป็นผู้ พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการ นําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,610
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 67/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงาน ของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 9
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 67/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 9 --------------------------- โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้สํานักงานบังคับคดีและรางทรัพย์ภูมิภาคต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี ทําการเบิกจ่ายเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณโดยตรงต่อคลังจังหวัดแล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 กรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งให้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว และกรรมการนําส่งหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคที่ 9ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1. หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 (นายเฉลิม อรรถานนท์) 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายประสาท ศุภมาตร์) 3. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายอนุพันธ์ เกตุสมบูรณ์) อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 1. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ถ้ากรณีการนําส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสด จํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 9 เป็นผู้ พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการ นําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2560 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,611
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 65/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและกรรมการนำส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงานของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 7
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 65/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 7 --------------------- โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคต่าง ๆ ของกรมบังคับคดีทําการเบิกจ่ายเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณโดยตรงต่อคลังจังหวัดแล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 กรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งให้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว และกรรมการนําส่งหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคที่ 7 ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1. หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 7 (นายวิเชียร จันทร์ทอง) 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายมนัส แจ่มจรรยา) 3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (น.ส.กรรณิกา วังน้อย) อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่าย นอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 1. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสด จํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 2 เป็นผู้ พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการ นําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,612
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 63/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและกรรมการนำส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงานของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 63/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 ------------------------- โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี ทําการเบิกจ่ายเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณโดยตรงต่อคลังจังหวัดแล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2522 กรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งให้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว และกรรมการนําส่งหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1 หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 (นายนิพนธ์ บุษบงค์) 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายชลิต อินทรวิมลเมธา) 3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (น.ส.กาญจนา ศรีแสนยงค์) อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทบชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ 1. เจ้าหน้าที่ธุรการสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 (นายทองคํา บุญวิเศษ) 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายรมย์ บุญมี) อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 1. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสด จํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 4 เป็นผู้ พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการ นําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2560 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2522 (นายชูเชิด รักคะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,613
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 62/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการนำส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงาน ของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 3
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 62/2522 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวและ กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 3 ------------------------ โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี การเบิกจ่ายเงินในงบประมาณและเงินนอกงบประมาณโดยตรงต่อคลังจังหวัดแล้ว ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 กรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งให้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 3 ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน 1. หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 3 (นายสิรวัต จันทรัฐ) 2. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายรุ่งโรจน์ ลิ้มวงษ์ทอง) 3. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชย) อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (นายอุดม วงษ์ทับทิม) อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ 1. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสด จํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 3 เป็นผู้ พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการ นําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2522 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,614
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 321/2547 เรื่อง การอายัดทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 321/2547 เรื่อง การอายัดทรัพย์สิน ----------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สินอันเป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาต่อบุคคลภายนอกให้ชําระเป็นเงินดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว เป็นแนวทางเดียวกัน และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 271/2546 เรื่อง การอายัดทรัพย์สิน ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2546 ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําขออายัดเงินหรือสิทธิเรียกร้องซึ่งลูกหนี้ตามคําพิพากษามีต่อบุคคลภายนอก ให้ผู้ยื่นคําขอแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่จะขออายัด จํานวนเงินชื่อที่อยู่ของบุคคลภายนอกที่จะรับอายัดให้ชัดเจน ข้อ ๓ กรณีขออายัดบัญชีเงินฝากจากสถาบันการเงิน ให้แถลงรายละเอียดว่าต้องการอายัดเงินจากสถาบันการเงินใดพร้อมทั้งระบุสาขาที่แน่ชัด ประเภทบัญชี จํานวนเงิน และหากเป็นการอายัดเงินเป็นคราว ๆ ให้ระบุระยะเวลาที่แน่ชัด ข้อ ๔ การขออายัดสิทธิเรียกร้องใด ๆ ให้ผู้ขออายัดส่งเอกสาร ดังต่อไปนี้ 4.1 กรณีอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่น ๆ ในลักษณะเดียวกับเงินเดือน หรือขออายัดเงินตามข้อ 3 ให้ส่งสําเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ของเงินนั้น 4.2 กรณีอายัดเงินตามสัญญา หรือตามสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ให้ส่งสําเนาหนังสือสัญญาหรือเอกสารหลักฐานแห่งหนี้ที่ระบุว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิได้รับเงินนั้น ๆ ข้อ ๕ กรณีอายัดเงินเดือนค่าจ้าง หรือรายได้อื่น ๆ ในลักษณะเดียวกันให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งอายัดให้ โดยคํานึงถึงพฤติการณ์แห่งการดํารงชีพของลูกหนี้ประกอบ และห้ามมิให้อายัดซ้ํา ข้อ ๖ กรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่สามารถนําส่งเอกสารประกอบคําขออายัดตามข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ได้ ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแสดงเหตุแห่งการนั้นมาในคําขออายัดและแถลงยืนยันถึงความมีอยู่แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาและเสนอความเห็นว่าสมควรมีคําสั่งอายัดให้หรือไม่เสนอต่อผู้อํานวยการกองหรือผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดสาขาเพื่อมีคําสั่งต่อไป ข้อ ๗ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องที่จะมีมาภายหน้า ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสิทธิเรียกร้องประเภทใด ข้อ ๘ เมื่อผู้ขออายัดส่งเอกสารครบถ้วนและเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาว่าสมควรมีคําสั่งอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหนังสืออายัดภายในวันที่มีคําสั่งหรืออย่างช้าภายในวันถัดไป ข้อ ๙ การขออายัดทรัพย์สินไปยังจังหวัดอื่น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งรับคําขออายัดแล้วให้มีหนังสือแจ้งอายัดไปยังบุคคลภายนอกผู้รับอายัดในทันที โดยระบุในหนังสือโดยแจ้งชัดให้ส่งมอบเงินนั้น ๆ ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ออกหนังสืออายัด ข้อ ๑๐ กรณีอายัดเงินเป็นคราว ๆ เมื่อมีการส่งเงินมายังเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสํานวนทุก 3 เดือน หากเงินที่รวบรวมได้มีจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ให้ส่งสํานวนให้นักบัญชีดําเนินการทําบัญชีรับ – จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้ทันที ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ไกรสร บารมีอวยชัย อธิบดีกรมบังคับคดี
5,615
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 171/2521 เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดี สำหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี (ฉบับที่ 4)
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 171/2521 เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดี สําหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี (ฉบับที่ 4) ---------- เนื่องจากคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 195/2520 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2560 เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี (ฉบับที่3) ยังไม่สะดวกและรวดเร็วเท่าที่ควร จึงเห็นเป็นการสมควรแก้ไขคําสั่งดังกล่าวเสียใหม่ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ให้ยกเลิกความในข้อ 2.2, 212 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 10/2518 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 195/2560 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “2.2 งานบังคับคดีที่เกี่ยวกับกองพิทักษ์ทรัพย์ ให้ผู้อํานวยการกอง กองพิทักษ์ทรัพย์ เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่สั่งจ่ายเงิน และให้รองอธิบดีเป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน ในกรณีจํานวนเงินที่สั่งจ่ายไม่เกินหนึ่งคนหนึ่งพันบาท ให้ผู้อํานวยการกอง กองคลัง มีอํานาจลงชื่อในใบสั่งจ่ายได้ 2.3 ส่วนงานกองอื่น ๆ ให้ผู้อํานวยการกอง หรือหัวหน้ากองผู้มีหน้าที่ดําเนินการ ในเรื่องนั้น ๆ เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ สั่งจ่ายเงิน และให้รองอธิบดีเป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ลงชื่อ ในใบสั่งจ่ายเงิน ในกรณี จํานวนเงินที่สั่งจ่ายไม่เกินหนึ่งพันบาท ให้ผู้อํานวยการกอง กองคลัง มีอํานาจลงชื่อในใบสั่งจ่ายได้” ข้อ 2 ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2521 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,616
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 157/2521 เรื่อง การปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเดินหมาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 157/2521 เรื่อง การปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเดินหมาย ------------------- ด้วยปรากฏจากคําร้องเรียนของคู่ความและทนายความในเรื่องการส่งหมาย คําคู่ความ หรือเอกสารว่า ในบางครั้งไปส่งแต่งกายสวมเสื้อเชิ้ตปล่อยชาย เมื่อพิจารณาถึงการแต่งกาย และอายุของผู้สูงซึ่งอยู่ในวัยรุ่นแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นพนักงานเดินหมายของกรมบังคับคดี ประกอบกับ ได้พบหลักฐานว่า มีผู้ลักลอบนําหมาย คําคู่ความและเอกสารของศาลจังหวัดที่ส่งมายังศาลแห่ง เพื่อขอให้กรมบังคับคดีจัดส่งให้แก่ผู้รับที่มีภูมิลําเนาอยู่ในกรุงเท เทพมหานคร ไปส่งโดยมิได้ผ่านกรมบังคับคดี ฉะนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเดินหมาย กรมบังคับคดี เป็นไปโดยถูกต้องรัดกุม และเป็นที่เชื่อถือ ยําเกรงแก่ผู้รับหรือผู้พบเห็น ทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้มีกรณีดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นได้อีก จึงมีคําสั่งให้พนักงานเดินหมาย ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พนักงานเดินหมายที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ส่งหมาย คําคู่ความ และเอกสารนอกสถานที่ แต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการโดยถูกต้อง ข้อ ๒ ห้ามมิให้พนักงานเดินหมาย นําหมาย คําคู่ความ หรือเอกสารที่ตนได้รับมอบหมาย ให้เป็นผู้ส่ง ไปจ้าง วาน หรือขอร้องให้บุคคลอื่นไปส่งแทนเป็นอันขาด ยกเว้นในกรณีจําเป็นอาจจะขอให้ พนักงานเดินหมายคนอื่นปฏิบัติหน้าที่แทน แต่ทั้งนี้จะต้องรายงานเหตุจําเป็นและได้รับอนุญาตจากหัวหน้า งานเดินหมายและประกาศเสียก่อน ข้อ ๓ พนักงานเดินหมายผู้ที่มีหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ไปส่งหมาย คําคู่ความ หรือเอกสาร ตามข้อ 2 จะต้องเป็นผู้เขียนรายงานการส่งหมายดังกล่าวด้วยตนเอง ห้ามมิให้พนักงานเดินหมายคนอื่น หรือบุคคลภายนอกเขียนรายงานการส่งหมายแทน ส่วนตนเองเพียงแต่ลงชื่อเท่านั้น เป็นอันขาด ในกรณีที่ปรากฏว่า บุคคลภายนอกเป็นผู้เขียนรายงาน และพนักงานเดินหมายลงชื่อ กรมบังคับคดีจะถือว่า พนักงานเดินหมายผู้นั้นมิได้ส่งหมายเอง ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2521 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,617
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 154/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับพนักงานเป็นหมาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 154/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับพนักงานเป็นหมาย ----------------- เนื่องด้วยปรากฏในขณะนี้ว่า ยังมีพนักงานเดินหมาย กรมบังคับคดี บางนายไม่ได้ ไปส่งหมายให้แก่ผู้รับ กลับรายงานว่า ไปส่งแต่ส่งไม่ได้ โดยอ้างเหตุว่าหาที่อยู่ไม่พบ ซึ่งการกระทําดังกล่าวนอกจากเป็นการกระทําความผิดฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาแล้ว ยังอาจ เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและความในคดีด้วย ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่และการดําเนินงานของกรมบังคับคดี ได้เป็นไปโดยเรียบร้อย รวดเร็ว จึงให้ผู้อํานวยการกอง หัวหน้ากอง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้รับผิดชอบในสํานวนการบังคับคดีล้มละลาย การบังคับคดีแพ่ง ได้ตรวจพิจารณารายงานการส่งหมายโดยละเอียด หากเห็นว่า ภูมิลําเนาที่อยู่ในหมายนั้นชัดเจน ควรที่จะหาที่อยู่ได้ แต่พนักงานส่งหมายกลับรายงานว่าหาที่อยู่ไม่พบ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งหมายโดยมิชอบด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ให้ทําบันทึกรายงานเสนอ อธิบดีกรมบังคับคดีทราบทุกราย นอกจากนั้น ให้หัวหน้างานเป็นหมายและประกาศ สํานักงานเลขานุการกรม ได้สอดส่องการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเป็นหมายในเรื่องนี้เป็นพิเศษด้วย ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 3 ตุลาคม 2521 (นายเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,618
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 137/2521 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างของสำนักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาค
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 137/2521 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างของสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาค ---------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง และการสั่งซื้อ สั่งข้างของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคได้เป็นไปโดยเหมาะสม และมีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน และเพื่อให้สอดคล้องชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จึงให้ข้าราชการในสํานักงานบังคับคดีและ - วางทรัพย์ภูมิภาคที่ 2 ถึงภูมิภาคที่ 9 ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การเบิกจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางของข้าราชการในสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาค ซึ่งได้รายงานขออนุญาตอธิบดีผู้พิพากษาภาค เพื่อเดินทางไปปฏิบัติราชการ ตามระเบียบ ให้ข้าราชการผู้นั้นรายงานขออนุมัติอธิบดีผู้พิพากษาภาคในการเบิกจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยง เดินทางนั้นด้วย โดยให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคเป็นผู้ตรวจสอบเสนอ ข้อ ๒ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างในสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ให้หัวหน้า - สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาครายงานเสนออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ตามระเบียบของสํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2498 เว้นแต่อธิบดีกรมบังคับคดีจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน 2521 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,619
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 114/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ปิดใบรับเงิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 114/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ปิดใบรับเงิน ------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการคิดค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีล้มละลาย รวมทั้งค่าอากรแสตมป์ปิดใบรับเงินได้เป็นไปโดยเรียบร้อย ถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการ กรมบังคับคดี ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนี้ดังต่อไปนี้ อื่นๆ ๑ 1.การคิดค่าธรรมเนียม สําหรับค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน ในคดีล้มละลาย ตามมาตรา 174แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในกรณีผู้รับจํานองขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 96 (3) นั้น เนื่องจากตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153 บัญญัติว่า ฝ่ายแพ้คดีเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งรวมทั้งค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย ฉะนั้น จึงให้คิดตามธรรมเนียมดังกล่าวจากจําเลย อื่นๆ ๒ 2.ค่าอากรแสตมป์ปิดใบรับเงิน สําหรับการออกใบรับเงินที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร พุทธศักราช 2483 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ข้อ 14 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 28 (ข) และ (ค) นั้น หมายถึง ใบรับเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีออกให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาด ใบรับเงินที่ผู้มีสิทธิขอรับเงินออกให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี หาใช่ใบรับเงินสําหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย หรือใบรับในการขายยานพาหนะ ซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายไม่ จึงให้ปิดอากรแสตมป์ที่ใบรับเงินซึ่งออกให้แก่ผู้ซื้อฉบับที่เก็บไว้ใน สํานวน โดยให้หักเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นค่าอากรแสตมป์ เมื่อทําบัญชีแสดงการ รับ - จ่ายเงินในคดีแพ่ง หรือบัญชีส่วนแบ่งในคดีล้มละลาย ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2521 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,620
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 94/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดทรัพย์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 94/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือจําเลย ตามหมายบังคับคดี ของศาล หรือคําขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้เป็นไปโดยเรียบร้อย เหมาะสม อันจะเป็น ประโยชน์แก่ทางราชการและความในคดี และเพื่อมิให้เกิดข้อครหาอันจะทําให้เสียชื่อเสียง แก่ข้าราชการและทางราชการขึ้นได้ จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการกรมบังคับคดี ปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในการยึดทรัพย์สินได้ดําเนินการโดยสุภาพ และระมัดระวัง อย่าให้เกิดความเสียหายเกินกว่าที่จําเป็น หรือมีการกลั่นแกล้งด้วยประการใด ๆ ข้อ ๒ กรณียึดหรืออายัดทรัพย์สินซึ่งมีราคาตั้งแต่ 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) ขึ้นไป หรือยึดอายัดทรัพย์สินของบุคคลสําคัญ หรือบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์เสร็จแล้ว ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดี ผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบโดยมีชักชา ข้อ ๓ ให้หัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบ ได้ควบคุม ตรวจตราและดูแลการปฏิบัติหน้าที่ ของข้าราชการในบังคับบัญชา ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัดด้วย ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 29 มิถุนายน 2521 (นายเช็ค รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,621
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 39/2521 เรื่อง การเก็บรักษาระหัส, กุญแจตู้เซฟ ตู้นิรภัย และกุญแจรถยนต์ทางราชการ
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 39/2521 เรื่อง การเก็บรักษาระหัส, กุญแจตู้เซฟ ตู้นิรภัย และกุญแจรถยนต์ทางราชการ ------------------ โดยที่เห็นเป็นการสมควรที่จะได้วางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บรักษาระหัส, กุญแจตู้เซฟ ตู้นิรภัย และกุญแจรถยนต์ของทางราชการ เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและรัดกุม อันจะเป็นผลดีแก่ทาง ราชการยิ่งขึ้น ฉะนั้น จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการ กรมบังคับคดี ผู้มีหน้าที่ดําเนินการดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้รับมอบตู้เซฟ หรือนิรภัย จะได้รับมอบกุญแจไว้ 1 ชุด และจะต้องทําหนังสือรับมอบตู้ พร้อมกุญแจ 1 ชุด ให้หัวหน้างานพัสดุ กองคลัง กรมบังคับคดีเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๒ หนังสือรับมอบและกุญแจ 1 ชุด ตามข้อ 1 ให้มีข้อความด้วยว่า ในกรณีที่ผู้รับมอบ ทํากุญแจตู้เซฟหรือนิรภัยหาย ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ออกเงินค่าทํากุญแจ รวมทั้งค่าเปิดนั้นด้วย ข้อ ๓ ส่วนกุญแจตู้เซฟหรือนิรภัยอีกชุดหนึ่ง พร้อมทั้งระหัส ให้ผู้รับมอบนํากุญแจและระหัส ดังกล่าวบรรจุซองมอบให้หัวหน้างานพัสดุ กองคลัง กรมบังคับคดีเป็นผู้เก็บรักษาไว้ โดยให้ผู้รับมอบ และหัวหน้างานพัสดุ ลงลายมือชื่อกํากับไว้บนรอยผนึกของ แล้วใช้สก๊อตเทปปิดทับบนลายมือชื่ออีกชั้นหนึ่ง และให้ทําบันทึกไว้ที่หน้าของนั้นด้วยว่า เป็นลูกกุญแจตู้เซฟหรือตู้นิรภัยหมายเลขที่เท่าใด ใช้อยู่ที่หน่วยงาน อะไร ใครเป็นผู้รับมอบให้ใช้นั้น ข้อ ๔ ในกรณีที่กุญแจสําหรับตู้เซฟ หรือนิรภัยหาย ผู้รับมอบให้ใช้นั้นจะต้องเป็นผู้ออกเงินส่วนตัว เป็นค่าทํากุญแจใหม่พร้อมทั้งค่าเปิดนั้นด้วย ข้อ ๕ กรณีที่มีการส่งมอบงานในหน้าที่ของผู้รับมอบให้ใช้ ให้รายงานการรับมอบตู้เซฟหรือนิรภัย ระหัส และกุญแจสําหรับไว้ในบันทึกการส่งมอบงานระหว่างผู้รับมอบและส่งมอบงานตามระเบียบของ ทางราชการ และให้ทําบันทึกพร้อมกับเปลี่ยนลายมือชื่อไว้ที่ของบรรจุกุญแจและระหัสมอบให้หัวหน้างานพัสดุ กองคลัง กรมบังคับคดี เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานด้วย ข้อ ๖ ระเบียบนี้ให้ใช้สําหรับการเก็บรักษากุญแจรถยนต์ทางราชการที่ได้ใช้ประจําตําแหน่งหรือประจําตัวข้าราชการในกรมบังคับคดีด้วย ข้อ ๗ การเก็บรักษากุญแจห้องนิรภัย ของกองคลัง กรมบังคับคดี ซึ่งกระทรวงการคลังได้ วางระเบียบไว้แล้วนั้น มิให้นําระเบียบนี้มาใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ส่วนข้าราชการผู้ใดที่มีผู้เซฟ หรือนิรภัย และรถยนต์ของทางราชการไว้ใช้ก่อนคําสั่งฉบับนี้ก็ให้ดําเนินการตามระเบียบนี้แล้วรายงาน อธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อทราบด้วย ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มีนาคม 2521 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,622
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 40/2521 เรื่อง การปิดหมาย คำคู่ความหรือเอกสาร
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 40/2521 เรื่อง การปิดหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร ---------------- เนื่องด้วยระเบียบราชการกองหมาย ข้อ 126 ได้วางระเบียบในกรณีที่ศาลมีคําสั่ง ให้ปิดหมาย คําคู่ความหรือเอกสารไว้มีใจความเป็นเชิงแนะนําว่า การปิดควรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครองที่มีอํานาจหรือเจ้าพนักงานตํารวจมารู้เห็นเป็นพยานด้วย แต่ในทางปฏิบัติเมื่อศาล มีคําสั่งให้ปิดหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร พนักงานเดินหมายได้ถือปฏิบัติโดยการขอให้เจ้าพนักงานตํารวจร่วมไปเป็นพยานในการปิดหมายด้วยทุกรายและเสียค่าป่วยการแก่เจ้าพนักงานตํารวจ ครั้งละ 20 บาท แต่ผลของการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวปรากฏว่า เจ้าพนักงานตํารวจซึ่งอยู่ใน บริเวณใกล้เคียงมักจะไม่เต็มใจ เกี่ยงให้พนักงานเดินหมายไปขอเจ้าพนักงานตํารวจจากสถานีตํารวจ ทําให้พนักงานเดินหมายต้องเสียเวลาและค่าพาหนะในการเดินทางย้อนไปสถานีตํารวจ ในที่สุดเมื่อ ได้รับอนุมัติจากนายร้อยเวรหรือสารวัตร และลงประจําวันแล้ว เจ้าพนักงานตํารวจก็ไม่รู้จะเต็มใจ ไปปฏิบัติหน้าที่ และเป็นที่รู้กันว่าในทางปฏิบัติส่วนมากเจ้าพนักงานตํารวจมิได้ร่วมไปเป็นพยาน เป็นแต่ลงชื่อรับรองในรายงานว่าได้ร่วมไปเป็นพยานในการปิดหมายด้วย และอาจเป็นได้ว่าบางกรณี พนักงานเดินหมายก็อาจลงชื่อเป็นเจ้าพนักงานตํารวจเสียเอง ดังนั้นการปฏิบัติตามระเบียบราชการ กองหมายดังกล่าวกลับจะทําให้เสียเวลาและเป็นเหตุให้คู่ความ ความต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จําเป็น โดยที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ก็มิได้บัญญัติบังคับไว้ว่า การปิดหมายจะต้องมีเจ้าพนักงานตํารวจไปเป็นพยานด้วยเหมือนการวางหมาย ทั้งระเบียบราชการ กองหมาย ข้อ 126 กําหนดเป็นแต่เพียงแนะแนวทางว่า ควรให้เจ้าพนักงานตํารวจไปเป็นพยานด้วยเท่านั้น ดังนั้น เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของความโดยไม่จําเป็น จึงให้ถือเป็นระเบียบปฏิบัติว่า ในกรณีที่มีคําสั่งให้ปิดหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร ให้พนักงานเดินหมาย ทําการปิดหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร ได้โดยมิต้องให้เจ้าพนักงานตํารวจไปเป็นพยานด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มีนาคม 2521 (นาย ชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,623
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 27/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับคำคู่ความในกองยึดอายัดและจำหน่ายทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 27/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับคําคู่ความในกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ------------------ เพื่อให้การรับคําร้อง คําขอ หรือความต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของ กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน กรมบังคับคดี เป็นไปโดยเรียบร้อย และมีความคล่องตัวในการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ อันจะเกิดประโยชน์ให้การดําเนินการในหน้าที่ของกรมบังคับคดีได้รวดเร็วเป็นผลดี แก่ทางราชการ และความในคดี ฉะนั้น จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการในกรมบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อเจ้าหน้าที่งานคําความ สํานักงานเลขานุการกรม ได้รับคําร้อง คําขอ หรือ คําคู่ความต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ ผู้นั้นตรวจรับ และประทับตราวันเดือนปรับความและลงสมุดรับคําคู่ความ ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหน้าที่งานความปฏิบัติการตามข้อ 1 เสร็จแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้น แจ้งเจ้าหน้าที่งานเก็บสํานวนและสถิติลงชื่อทราบในสมุดรับคําดูความนั้นด้วย เพื่อจะได้ค้นหาสํานวน เว้นแต่ปรากฏว่าสํานวนดังกล่าวได้เก็บอยู่ที่กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน เสร็จแล้วให้รีบ นําคําคู่ความพร้อมตัวผู้ยื่นคําคู่ความและสํานวนดังกล่าว ไปส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ในงานที่เกี่ยวข้อง ในกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน เพื่อลงชื่อรับไว้ในบัญชีนั้น ข้อ ๓ ให้กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินจัดเจ้าหน้าที่ของแต่ละงานที่รับผิดชอบ "J 1 BA เพื่อทําหน้าที่รับคําร้อง คําขอ หรือคําคู่ความ กับสํานวนที่สํานักงานเลขานุการกรมจัดส่งมาเพื่อนําเสนอ ผู้มีหน้าที่สั่งการต่อไป ข้อ ๔ ให้หัวหน้างาน, เลขานุการกรม และผู้อํานวยการกอง ในสํานักงานเลขานุการกรม และกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน สอดส่อง ควบคุมและดูแลการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้เรียบร้อย รวดเร็ว โดยมีรักษาด้วย ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2521 (นายชูเชิด รักตะบุตร์) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,624
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 139/2523 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 139/2523 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการกรมบังคับคดี -------------------- ด้วยปรากฏว่าในวันหยุดราชการได้มีข้าราชการและลูกจ้างกรมบังคับคดีมาใช้สถานที่ทําการกรมบังคับคดีปฏิบัติราชการและประกอบกิจส่วนตัว และบางครั้งยังได้นําบุคคลภายนอกเข้ามา ภายในบริเวณหรือห้องทํางานของกรมบังคับคดี ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นการยากแก่ การรักษาดูแลความปลอดภัยสถานที่ราชการ ดังนั้นเพื่อความเรียบร้อยและป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย อันอาจมีขึ้นดังกล่าว จึงมีคําสั่งดังนี้ ข้อ ๑ ในวันหยุดราชการห้ามมิให้ข้าราชการหรือลูกจ้างเข้าไปใช้สถานที่ในห้องทํางาน เว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 2. หัวหน้างานพัสดุหรือเจ้าหน้าที่พัสดุที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๒ ในส่วนกลาง หน่วยงานใดมีความจําเป็นจะต้องปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการ ให้หัวหน้างานทํารายงานพร้อมทั้งแจ้งรายชื่อผู้ที่จะมาปฏิบัติราชการเสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาไป ตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดี เมื่อได้รับอนุญาตตามความในวรรคแรกแล้ว ให้หน่วยงานนั้นแจ้งให้หัวหน้างานพัสดุทราบ เพื่อจัดเจ้าหน้าที่ได้อํานวยความสะดวก และเมื่อปฏิบัติงานเสร็จแล้วให้ผู้ที่มาปฏิบัติราชการแจ้งให้ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวทราบเพื่อปิดห้องทํางานก่อนที่จะออกไปจากสถานที่ปฏิบัติราชการ ข้อ ๓ ในส่วนภูมิภาค เมื่อมีความจําเป็นจะต้องปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการ ให้เสนอขออนุญาตต่อหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคนั้น ๆ และให้นําความในข้อ 2. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๔ ในวันเปิดราชการเมื่อหมดเวลาปฏิบัติราชการแล้ว ห้ามข้าราชการหรือลูกจ้าง ของกรม ฯ นําบุคคลภายนอกเข้าไปในห้องทํางาน สําหรับข้าราชการหรือลูกจ้างถ้าไม่มีความจําเป็น ที่จะอยู่ในห้องทํางานก็ควรออกจากห้องทํางานเพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ทําการปิดห้องทํางานได้ภายในเวลาอันสมควร ข้อ ๕ ให้ผู้มีหน้าที่อยู่เวรปฏิบัติตามระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยเรื่องการอยู่เวรรักษา ราชการในหน่วยราชการต่าง ๆ ในบริเวณกรมบังคับคดี พ.ศ. 2523 โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะ ในรอ 4 (2) และ 5 (1) ข้อ ๖ ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่มีหน้าที่อยู่เวรในตอนกลางวันอยู่ประจํา ณ สถานที่กําหนดให้ในห้องประชาสัมพันธ์ ส่วนเวรกลางคืนจะต้องอยู่ประจํา ณ ห้องประชาสัมพันธ์ อย่างน้อย 1 คน เพื่อพร้อมที่จะรับการติดต่อทางโทรศัพท์ เมื่อมีกรณีจําเป็น ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2523 (นายสวัสดิ์ รอดเจริญ) รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมบังคับคดี
5,625
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัยนายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16 วรรคสอง มาตรา 37 (6) (8) มาตรา 49 มาตรา 65 วรรคสอง มาตรา 65/2 และมาตรา 68 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัยหรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “สํานักงานใหญ่” หมายความรวมถึงสํานักงานสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “สาขา” หมายความว่า สาขาของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ออกตามความในมาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 “เครื่องจําหน่ายอัตโนมัติ” หมายความว่า เครื่องจําหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ติดตั้งตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 “ตัวแทนประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทําการชักชวนให้บุคคลทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทําเพื่อบําเหน็จเนื่องจากการนั้น “กรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันภัยที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบซึ่งมีการระบุคําว่า “กรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)” ไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หรือหนังสือรับรองการประกันภัย “กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันภัยที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ ๔ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศนี้ และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยอื่น ในกรณีที่ประกาศอื่นขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๕ กรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ให้เสนอขายได้โดย (1) พนักงานของบริษัทซึ่งทําการเสนอขาย ณ สํานักงานใหญ่ หรือที่ทําการสาขา (2) บริษัทโดยผ่านเครื่องจําหน่ายอัตโนมัติ (3) นายหน้าประกันวินาศภัย (4) ตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัยประเภทสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย (5) ตัวแทนประกันวินาศภัยประเภทประกันภัยความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งบริษัทได้จัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) แล้ว ข้อ ๖ กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้เสนอขายได้โดย (1) พนักงานของบริษัทซึ่งทําการเสนอขาย ณ สํานักงานใหญ่ หรือที่ทําการสาขา (2) บริษัทโดยผ่านเครื่องจําหน่ายอัตโนมัติ (3) นายหน้าประกันวินาศภัย (4) ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือตัวแทนประกันวินาศภัยประเภทประกันภัยความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (5) ตัวแทนประกันวินาศภัยประเภทสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย ซึ่งบริษัทได้จัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว ข้อ ๗ การเสนอขายของนายหน้าประกันวินาศภัยตามข้อ 5 (3) และข้อ 6 (3) ให้นําความในข้อ 6 วรรคสอง และข้อ 12 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘ ในการทําประกันภัย บริษัทต้องจัดให้ผู้เสนอขายร้องขอข้อมูลที่จําเป็นต่อการรับประกันภัยจากผู้ขอเอาประกันภัยให้แก่ผู้เสนอขายตามข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณี เมื่อได้รับข้อมูลครบถ้วน และได้รับชําระเงินค่าเบี้ยประกันภัยแล้ว ผู้เสนอขายตามข้อ 5 ต้องดําเนินการให้มีการออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัท และหนังสือรับรองการประกันภัย กรณีผู้เสนอขายตามข้อ 6 ต้องดําเนินการให้มีการออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทและกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทต้องออกกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ตามคําร้องขอของผู้เอาประกันภัย เอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทอย่างน้อยต้องมี ชื่อบริษัท ชื่อผู้เอาประกันภัย และเลขประจําตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย หนังสือรับรองตามวรรคสอง และกรมธรรม์ประกันภัยตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนกําหนด ข้อ ๙ ให้บริษัทรายงานการรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ต่อสํานักงานตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,626
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัยนายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16 วรรคสอง มาตรา 37 (6) (8) มาตรา 49 มาตรา 65 วรรคสอง มาตรา 65/2 และมาตรา 68 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัยหรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “สํานักงานใหญ่” หมายความรวมถึงสํานักงานสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “สาขา” หมายความว่า สาขาของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ออกตามความในมาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 “เครื่องจําหน่ายอัตโนมัติ” หมายความว่า เครื่องจําหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ติดตั้งตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 “ตัวแทนประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทําการชักชวนให้บุคคลทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทําเพื่อบําเหน็จเนื่องจากการนั้น “กรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)”[2] หมายความว่า กรมธรรม์ประกันภัยที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบซึ่งมีการระบุคําว่า “กรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)” ไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หรือหนังสือรับรองการประกันภัย และหมายความรวมถึงกรมธรรม์ประกันภัยสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) อื่น ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด ที่นายทะเบียนประกาศกําหนดให้สามารถเสนอขายได้ตามประกาศนี้ “กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันภัยที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ ๔ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศนี้ และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยอื่น ในกรณีที่ประกาศอื่นขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ ๕ กรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ให้เสนอขายได้โดย (1) พนักงานของบริษัทซึ่งทําการเสนอขาย ณ สํานักงานใหญ่ หรือที่ทําการสาขา (2) บริษัทโดยผ่านเครื่องจําหน่ายอัตโนมัติ (3) นายหน้าประกันวินาศภัย (4) ตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัยประเภทสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย (5) ตัวแทนประกันวินาศภัยประเภทประกันภัยความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งบริษัทได้จัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) แล้ว ข้อ ๖ กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้เสนอขายได้โดย (1) พนักงานของบริษัทซึ่งทําการเสนอขาย ณ สํานักงานใหญ่ หรือที่ทําการสาขา (2) บริษัทโดยผ่านเครื่องจําหน่ายอัตโนมัติ (3) นายหน้าประกันวินาศภัย (4) ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือตัวแทนประกันวินาศภัยประเภทประกันภัยความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (5) ตัวแทนประกันวินาศภัยประเภทสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย ซึ่งบริษัทได้จัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว ข้อ ๗ การเสนอขายของนายหน้าประกันวินาศภัยตามข้อ 5 (3) และข้อ 6 (3) ให้นําความในข้อ 6 วรรคสอง และข้อ 12 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘ ในการทําประกันภัย บริษัทต้องจัดให้ผู้เสนอขายร้องขอข้อมูลที่จําเป็นต่อการรับประกันภัยจากผู้ขอเอาประกันภัยให้แก่ผู้เสนอขายตามข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณี เมื่อได้รับข้อมูลครบถ้วน และได้รับชําระเงินค่าเบี้ยประกันภัยแล้ว ผู้เสนอขายตามข้อ 5 ต้องดําเนินการให้มีการออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัท และหนังสือรับรองการประกันภัย กรณีผู้เสนอขายตามข้อ 6 ต้องดําเนินการให้มีการออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทและกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทต้องออกกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ตามคําร้องขอของผู้เอาประกันภัย เอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทอย่างน้อยต้องมี ชื่อบริษัท ชื่อผู้เอาประกันภัย และเลขประจําตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย หนังสือรับรองตามวรรคสอง และกรมธรรม์ประกันภัยตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนกําหนด ข้อ ๙ ให้บริษัทรายงานการรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ต่อสํานักงานตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,627
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนและเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่น ของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายหรือจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยสําหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากน้ําท่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๔ ในระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555 การจัดสรรเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมสุทธิ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,628
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนและเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่น ของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23 วรรคสอง และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555” ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายหรือจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยสําหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากน้ําท่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 “เงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากบริษัทรับประกันภัยต่อ” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมส่วนที่บริษัทได้จ่ายให้ผู้เอาประกันภัยเรียบร้อยแล้วและอยู่ในระหว่างเรียกคืนจากบริษัทรับประกันภัยต่อ ข้อ ๔ ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 (1) การจัดสรรเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนนํ้าท่วม ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมสุทธิ (2) ให้นําเบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรง และเงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากบริษัทรับประกันภัยต่อ มาใช้ในการจัดสรรเงินสํารองตามข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ของบริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม โดยอนุโลม ข้อ ๕ ให้บริษัทแสดงรายการเบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรง และเงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากบริษัทรับประกันภัยต่อตามข้อ 4 (2) โดยระบุไว้ในช่องหมายเหตุที่ปรากฏในรายงานสินทรัพย์ลงทุนและสินทรัพย์จัดสรรที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,629
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนและเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23 วรรคสอง และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและให้หมายความรวมถึง สาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายหรือจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยสําหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากน้ําท่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 “เงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากผู้รับประกันภัยต่อ” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมส่วนที่บริษัทได้จ่ายให้ผู้เอาประกันภัยเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างเรียกคืนจากผู้รับประกันภัยต่อ ข้อ ๓ ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 ให้บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมนําเบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรง และเงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากผู้รับประกันภัยต่อ มาใช้ในการจัดสรรเงินสํารองตามข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ของบริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม โดยอนุโลม ข้อ ๔ ให้บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมแสดงรายการเบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรงและเงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากผู้รับประกันภัยต่อตามข้อ 3 โดยระบุไว้ในช่องหมายเหตุที่ปรากฏในรายงานสินทรัพย์ลงทุนและสินทรัพย์จัดสรรที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,630
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 453/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 453/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน -------------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาและคดีนายประกันเป็นไปโดยเรียบร้อยเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงให้มีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 262/2548 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ข้อ ๒ ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เป็นไปตามที่กรมบังคับคดีกําหนด ข้อ ๓ การประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งทรัพย์ตามประกาศขายมีราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป หรือคาดหมายว่าจะขายได้ราคาตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป หรือเป็นทรัพย์สินของบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน ให้รายงานพร้อมเสนอประกาศขายทอดตลาดให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ ข้อ ๔ การประกาศขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดไว้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอราคาต้องนําเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค หรือหนังสือค้ําประกันของธนาคารโดยไม่มีเงื่อนไขมาวางเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจํานวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ทุกรายการ เว้นแต่ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาทให้ ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาใช้ดุลพินิจกําหนดหลักประกันตามที่เห็นสมควร หากเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอราคาวางหลักประกันนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้เสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณากําหนด เงินสด หรือแคชเชียร์เช็คดังกล่าว ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาในกรณีที่ผู้วางเป็นผู้ซื้อได้ ส่วนหนังสือค้ําประกันของธนาคารจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาเมื่อเรียกเก็บเงินได้แล้ว การชําระราคาส่วนที่เหลือให้ชําระภายใน 15 วัน นับแต่ซื้อทอดตลาดหลักทรัพย์ ความในวรรคก่อน มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประสงค์เสนอราคาเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 79 (2) คู่สมรสที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว ข้อ ๕ การขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เป็นไปตามกฎหมาย และตามที่กรมบังคับคดีกําหนด ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กําหนดนัดขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ก่อนถึงวันนัดไม่น้อยกว่า 20 วัน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าของสํานวนตรวจสอบสํานวนคดีดังกล่าว ว่าได้มีการจัดส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่ และรายงานผลการตรวจสอบตามแบบต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ก่อนทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้สนใจเข้าสู้ราคาซึ่งจะเข้าสู้ราคาในนามของบุคคลอื่นแสดงใบมอบอํานาจก่อนเข้าสู้ราคา และแจ้งด้วยว่าหากผู้เข้าสู้ราคาผู้ใดเข้าสู้ราคาแทนบุคคลอื่นโดยมิได้แสดงใบมอบอํานาจก่อนจะถือว่าผู้เข้าสู้ราคาผู้นั้นกระทําการในนามของตนเอง และในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ผู้เข้าสู้ราคาผู้นั้นจะขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ซื้อโดยอ้างว่าตนเป็นเพียงตัวแทนมิได้ ข้อ ๘ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินทุกครั้ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศกําหนดราคาสมควรขายแล้ว ให้ประกาศกําหนดจํานวนเงินขั้นต่ําที่ผู้เข้าสู้ราคาอาจเสนอเพิ่มให้สูงกว่าราคาที่มีผู้เสนอก่อนตนได้ดังนี้ ราคาสมควรขาย เพิ่มราคาไม่น้อยกว่าครั้งละ ต่ํากว่า 50,000 บาท 1,000 บาท ตั้งแต่ 50,000 – 100,000 บาท 2,000 บาท เกิน 100,000 – 300,000 บาท 5,000 บาท เกิน 300,000 – 500,000 บาท 10,000 บาท เกิน 500,000 – 700,000 บาท 20,000 บาท เกิน 700,000 – 1,000,000 บาท 30,000 บาท เกิน 1,000,000 – 5,000,000 บาท 50,000 บาท เกิน 5,000,000 – 20,000,000 บาท 100,000 บาท เกิน 20,000,000 – 50,000,000 บาท 200,000 บาท เกิน 50,000,000 – 80,000,000 บาท 500,000 บาท เกิน 80,000,000 บาท ขึ้นไป 1,000,000 บาท อัตราการเพิ่มราคาที่กําหนดดังกล่าวให้ใช้ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินแต่ละรายโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้นไม่ว่าจะมีการเสนอราคาสูงขึ้นเพียงใดก็ตาม ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับกับการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาประเมินต่ํากว่า 50,000 บาท ข้อ ๙ ในการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่มีผู้เสนอราคาสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรขายให้รายงานผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี เพื่อขออนุมัติก่อนเคาะไม้ขาย ถ้าเป็นทรัพย์ที่มีผู้เสนอราคาสูงสุดเกินกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรขายให้รายงานตามลําดับชั้นเพื่อขออนุมัติอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายก่อนเคาะไม้ขาย ทั้งนี้ การรายงานในส่วนภูมิภาคให้ใช้วิธีโทรสาร ส่วนการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ที่ออกไปทําการขายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติและเคาะไม้ขาย ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคําร้องขอขยายระยะเวลาในการชําระราคาทรัพย์ส่วนที่ค้างชําระ ซึ่งมิใช่กรณีที่เป็นผลมาจากการยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือศาลมีคําสั่งให้งดการบังคับคดีโดยมีหนังสือขอขยายระยะเวลาการพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินมาแสดงหรือมีเหตุอื่นอันสมควร ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานข้อเท็จจริงตลอดจนพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของผู้ร้องว่าผู้ร้องได้ยื่นคําร้องโดยสุจริตหรือไม่แล้วเสนอผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี พิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชําระราคาได้อีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันครบกําหนดชําระราคา 15 วัน และไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่ให้มีการขยายระยะเวลาชําระอีก ข้อ ๑๑ เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ชําระเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทําหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นหรืออย่างช้าในวันทําการถัดไป หนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามและแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ทราบว่าตามสัญญาผู้ซื้อทรัพย์ต้องขอรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ และมีสิทธินําใบเสร็จรับเงินที่มีรายการชําระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มาขอรับคืนภาษีภายใน 20 วัน นับแต่วันชําระราคาครบถ้วนแล้ว หากไม่มารับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ หรือขอรับคืนภาษีภายในกําหนดข้างต้น จะถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับคืนภาษีดังกล่าว กรณีดังต่อไปนี้ผู้ซื้อไม่มีสิทธิขอรับเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืน (1) การขายโดยวิธีจํานองติดไป หรือการขายทอดตลาดห้องชุดที่มีค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชําระเกินกว่าราคาสมควรขาย (2) การขายในราคาที่ต่ํากว่าร้อยละ 50 ของราคาประเมินตามนโยบายขายทอดตลาดทรัพย์สิน กรณีหักส่วนได้ใช้แทนให้ถือวันที่ผู้ซื้อวางเงินค่าซื้อทรัพย์เพิ่มเป็นวันชําระเงินครบถ้วน หากไม่ต้องวางเงินเพิ่มให้ถือวันที่ครบกําหนดตามหมายแจ้งให้มารับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อพ้นกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี ให้ส่งสํานวนให้นักบัญชีแสดงบัญชีรับ – จ่ายต่อไป ข้อ ๑๒ กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดแล้ว ต่อมาผู้ซื้อไม่ชําระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งริบเงินมัดจําทันทีในวันทําการถัดไปนับจากวันครบกําหนด และให้นําทรัพย์ดังกล่าวออกทําการขายใหม่ ในการประกาศขายทอดตลาดใหม่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดเงื่อนไขในการวางเงินประกันการเข้าสู้ราคาเป็นจํานวนเงินในอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่เคยมีผู้เสนอสูงสุด (หากมีเศษให้ปัดขึ้นเป็นเรือนหมื่น) หากเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไขการวางเงินประกันการเข้าสู้ราคาสูงกว่าอัตราร้อยละ 5 ให้เสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณากําหนด ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทําการขายทอดตลาดทรัพย์ได้แต่เพียงบางส่วน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทําบัญชีเพื่อจ่ายเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าวให้เจ้าหนี้โดยกันเงินไว้สําหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะมีในการบังคับคดีต่อไป ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากผู้ซื้อประสงค์ที่จะได้รับเงินคืน และผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี มีคําสั่งให้คืนเงินให้ผู้ซื้อ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อโดยเหลือไว้ร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อขาย ข้อ ๑๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม คําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2548 ไกรสร บารมีอวยชัย อธิบดีกรมบังคับคดี
5,631
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 454/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 454/2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ------------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเหมาะสม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและดําเนินไปในทิศทางเดียวกัน จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 263/2548 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายื่นคําขอตั้งเรื่องบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีและประสงค์จะบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการทันทีในวันนั้น หากมีเหตุขัดข้องหรือความจําเป็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่อาจดําเนินการบังคับคดีภายในวันดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดวันเวลานัดกับเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อดําเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันยื่นคําขอตั้งเรื่องบังคับคดี ทั้งนี้ โดยพิจารณาด้วยว่ากําหนดนัดดังกล่าว จะมีผลกระทบหรือเกิดความเสียหายในคดีหรือไม่เพียงใด ในกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตั้งเรื่องบังคับคดีไว้แต่ยังไม่ประสงค์บังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีลงนัดไว้ 6 เดือน นับแต่วันตั้งเรื่องบังคับคดี เมื่อครบนัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมายนัดเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาสอบถามความประสงค์ในการบังคับคดีพร้อมทั้งแจ้งไปด้วยว่าหากไม่มารับเงินค่าใช้จ่ายคืนภายในกําหนดเจ้าพนักงานบังคับคดีจะนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เมื่อครบกําหนดนัดหากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่แถลงความประสงค์ในการบังคับคดีหรือขอรับเงินค่าใช้จ่ายคงเหลือคืนให้นําสํานวนลงสารบบส่งเก็บ พร้อมลงนัดไว้ 5 ปี เพื่อนําส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาประสงค์จะของดการบังคับคดีจักต้องนําส่งหนังสือแสดงความยินยอมของลูกหนี้ตามคําพิพากษาตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อพิจารณาประกอบการของดการบังคับคดีและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ในแต่ละกรณีดังนี้ 3.1 ของดการบังคับคดีโดยมีหรือไม่มีกําหนดระยะเวลา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีตามกําหนดเวลาที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลง ทั้งนี้ ไม่เกิน 2 เดือน 3.2 ของดการบังคับคดีโดยเหตุที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาขอปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา หรือมีข้อตกลงเป็นหนังสือในการผ่อนชําระหนี้ระหว่างกัน ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาส่งเอกสารหลักฐานการปรับโครงสร้างหนี้หรือการผ่อนชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อพิจารณาและหากเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาแล้วฟังได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นตามนั้น ให้มีคําสั่งงดการบังคับคดีภายในกําหนดเวลาที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 1 ปี โดยให้เสนอขออนุญาตต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณี ข้อ ๔ เมื่อครบกําหนดนัดตามข้อ 3 ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาประสงค์จะงดการบังคับคดีต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามข้อ 3.1 หรือ 3.2 แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ กรณีครบกําหนดนัดตามข้อ 3 หรือข้อ 4 แล้ว เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยไม่มาแถลงความประสงค์ในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายนัดแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงความประสงค์ในการบังคับคดีภายในวันเวลาที่กําหนด พร้อมระบุในหมายนัดด้วยว่า หากไม่มาแถลงความประสงค์ในการบังคับคดีภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะรายงานศาลเพื่อขอให้มีคําสั่งถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวิ เมื่อครบกําหนดนัดแล้วเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายนัดพร้อมระบุข้อความดังกล่าวข้างต้นอีกครั้ง หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายังคงเพิกเฉยอีก ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานศาลเพื่อขอให้มีคําสั่งถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวิ ต่อไป ข้อ ๖ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้เพิกถอนกระบวนการบังคับคดีหรือการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเจ้าของเรื่องรายงานคําสั่งศาลพร้อมสําเนาคําสั่งเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นเพื่อเสนอต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายภายใน 15 วันนับแต่มีคําสั่ง ข้อ ๗ การรับ – ส่งมอบทรัพย์สินเพื่อเก็บรักษาหรือเพื่อดําเนินการใด ๆ ให้เจ้าหน้าที่งานรักษาทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องลงลายมือชื่อในบัญชีรับ - ส่งไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง และให้หัวหน้างานรักษาทรัพย์หรือผู้มีหน้าที่ดังกล่าวรายงานการเก็บรักษาจํานวนทรัพย์สินที่เข้าออกและคงเหลือต่อผู้อํานวยการสํานักงานวางทรัพย์กลางหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี ทุกวันที่ 30 ของเดือน ให้ผู้อํานวยการสํานักงานวางทรัพย์กลางแจ้งผลการตรวจสอบทรัพย์สินต่อผู้อํานวยการกองยึดทรัพย์สินและผู้อํานวยการกองจําหน่ายทรัพย์สิน ข้อ ๘ การแก้ไขคําผิดและตกเติมข้อความในคําคู่ความหรือเอกสารใด ๆ ถ้ามีผิดตกที่ใดห้ามมิให้ขูดลบออกหรือใช้น้ํายาลบคําผิด แต่ให้ขีดฆ่าเสียแล้วเขียนลงใหม่ และผู้เขียนต้องลงลายมือชื่อกํากับไว้ที่ริมกระดาษ ถ้ามีข้อความตกเติมให้ผู้ตกเติมลงลายมือชื่อหรือลงชื่อย่อไว้ ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2548 ไกรสร บารมีอวยชัย อธิบดีกรมบังคับคดี
5,632
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 457/2548 เรื่อง การกำหนดราคาทรัพย์ของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 457/2548 เรื่อง การกําหนดราคาทรัพย์ของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ------------------------------------------------- เพื่อให้การขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพและมีหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่คู่ความในคดี จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 266/2548 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2548 เรื่อง การกําหนดราคาทรัพย์ของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ข้อ ๒ ทรัพย์สินที่มีราคาประเมินขณะยึด หรือราคาประเมินของสํานักงานวางทรัพย์กลางตั้งแต่ 50,000,000 บาท (ห้าสิบล้านบาท) ขึ้นไป หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ทําการกําหนดราคาใหม่ ให้เสนอคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์พิจารณาก่อนที่จะทําการประกาศขายทอดตลาดในครั้งแรก ข้อ ๓ ในการขายทอดตลาดตั้งแต่ครั้งที่สองเป็นต้นไป ถ้าไม่มีผู้ใดเสนอราคา เมื่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี เห็นสมควรให้ทําการกําหนดราคาใหม่ก่อนทําการประกาศขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้รายงานเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาว่าสมควรให้เสนอคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์เพื่อพิจารณากําหนดราคาใหม่หรือไม่ ข้อ ๔ ในการกําหนดราคาทรัพย์สินให้คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์พิจารณาหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ประกอบด้วย (1) ราคาประเมินของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการประเมินราคาที่ดินหรือผู้เชี่ยวชาญในการประเมินราคาทรัพย์สินประเภทนั้นๆ (2) ราคาประเมินของพนักงานประเมิน สํานักงานวางทรัพย์กลาง (3) สภาพของทรัพย์ที่จะขาย (4) สภาพเศรษฐกิจและสภาวะตลาดในขณะทําการขาย ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2548 ไกรสร บารมีอวยชัย อธิบดีกรมบังคับคดี
5,633
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 452/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 452/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ --------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาและคดีนายประกันเป็นไปโดยเรียบร้อยเหมาะสม มีประสิทธิภาพและเป็นแนวทางเดียวกันจึงให้มีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 261/2548 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตั้งเรื่องบังคับคดีให้วางเงินทดรองค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีดังนี้ 2.1 ยึดอสังหาริมทรัพย์สํานวนละ 2,500 บาท 2.2 ยึดสังหาริมทรัพย์ บังคับคดีขับไล่ รื้อถอน สํานวนละ 1,500 บาท 2.3 ขอให้บังคับคดีแทนไปยังศาลอื่น สํานวนละ 1,000 บาท ในระหว่างการบังคับคดีหากค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอ เช่น ค่าใช้จ่ายในการส่งหมายในถิ่นทุรกันดาร ฯลฯ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมายแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามจํานวนที่เห็นสมควร ข้อ ๓ การยึดอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด ให้ดําเนินการยึด ณ ที่ทําการ โดยไม่ต้องออกไปดําเนินการยึด ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ เว้นแต่ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขามีคําสั่งอนุญาตเนื่องจากสภาพทรัพย์มีรายละเอียดมาก มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น โรงแรม โรงงาน ฯลฯ เป็นต้น หรือมีราคาประเมินตั้งแต่ 20 ล้านบาท 3.1 ให้ผู้นํายึดนําส่งเอกสารประกอบการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการ ดังต่อไปนี้ 3.1.1 เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3/น.ส. 3 ก.) หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือเอกสารสําคัญที่ดินอื่น ๆ หรือในกรณีไม่มีต้นฉบับเอกสารสิทธิอยู่ในความครอบครองให้คัดสําเนาที่เป็นปัจจุบันซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (หากมี) เช่น หนังสือสัญญาจํานอง สัญญาเช่า เป็นต้น 3.1.2 สําเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทายาท คู่สมรส ผู้รับจํานอง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ยึดที่เป็นปัจจุบันซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน 3.1.3 หนังสือสําคัญการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน 3.1.4 แผนที่การไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสําเนา 3.1.5 ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึดพร้อมแถลงรายละเอียดของทรัพย์ที่ยึด เช่น บ้านเลขที่ หมู่ที่ หมู่บ้าน ซอย ถนน ตําบล/แขวง อําเภอ/เขต สถานที่สําคัญซึ่งอยู่ใกล้เคียง 3.2 เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์ ณ ที่ทําการครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบันทึกรายละเอียดแห่งทรัพย์สิน และข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับคดีนั้น ๆ ลงในระบบสารสนเทศให้ครบถ้วน โดยให้จัดทํารายงานการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการประกาศยึดทรัพย์ หมายแจ้งการยึดพร้อมราคาประเมินและสําเนาหมายบังคับคดีให้แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ผู้มีส่วนได้เสียทราบและแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโดยให้ขอราคาประเมินไปในคราวเดียวกัน หรือแจ้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด พร้อมสอบถามภาระหนี้สินของห้องชุดที่ยึดไว้ว่ามีภาระหนี้สินค้างชําระหรือไม่จํานวนเท่าใด ภาระหนี้สินต่อเดือนเดือนละเท่าใดโดยให้แจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ หากไม่ได้รับแจ้งภายในกําหนดให้ผู้นํายึดเป็นผู้ตรวจสอบภาระหนี้สินดังกล่าว และนําส่งพร้อมรับรองก่อนการขายทอดตลาด 3.3 การยึดทรัพย์สินซึ่งติดจํานองบุคคลภายนอก ในการแจ้งการยึดให้ผู้รับจํานองทราบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุในหนังสือแจ้งการยึดด้วยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวโดยปลอดการจํานอง หากผู้รับจํานองจะคัดค้านให้ยื่นคําคัดค้านเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 1 เดือน นับแต่วันรับหนังสือแจ้งการยึด มิฉะนั้นจะถือว่าไม่คัดค้านและเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดโดยปลอดการจํานองและกันเงินในส่วนบุริมสิทธิของผู้รับจํานองไว้เมื่อขายทอดตลาดได้ ในกรณีที่ผู้รับจํานองยื่นหนังสือคัดค้านวิธีการขายทอดตลาดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งไปนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอความเห็นพร้อมคําสั่งต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาเพื่อมีคําสั่งต่อไป 3.4 การยึดตามสําเนาเอกสารสิทธิที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้นําส่งในกรณีที่เอกสารสิทธิไม่อยู่ในความครอบครอง ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีจะรายงานศาลขออนุญาตขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้ผู้ที่ยึดถือเอกสารสิทธิส่งมอบเอกสารสิทธิดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อตรวจสอบสารบัญการจดทะเบียนของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดเพื่อทราบถึงสิทธิโดยชอบของลูกหนี้ตามคําพิพากษาในอันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการบังคับคดีตามอํานาจหน้าที่ต่อไป หากเรียกเอกสารสิทธิจากผู้ยึดถือหรือครอบครองไม่ได้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานศาล ขอให้มีคําสั่งเรียกเอกสารสิทธิจากผู้ที่ยึดถือและหากไม่ได้มาให้ขอศาลอนุญาตขายตามสําเนาเอกสารสิทธิดังกล่าวไปในคราวเดียวกัน ข้อ ๔ ในกรณียึดสังหาริมทรัพย์ บังคับคดีขับไล่ รื้อถอน ให้ผู้นํายึดนําส่งเอกสารประกอบการยึดสังหาริมทรัพย์ให้ครบถ้วน เช่น สําเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ตามคําพิพากษาที่เป็นปัจจุบันซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน เป็นต้น ข้อ ๕ ก่อนออกไปทําการยึดสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งผู้นํายึดให้จัดเตรียมยานพาหนะที่จะขนย้ายทรัพย์ด้วยและบรรดาสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ให้นํามาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินของกรมบังคับคดีหรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี เว้นแต่ 5.1 ทรัพย์ซึ่งมีลักษณะอาจทําให้เกิดสกปรกเลอะเทอะหรือมีกลิ่น ซึ่งอาจรบกวนหรือก่อความรําคาญ 5.2 ทรัพย์ซึ่งมีน้ําหนักมากหรือไม่สะดวกที่จะเคลื่อนย้ายหรือมีความสูงหรือมีความกว้างมาก หรือเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษา 5.3 ทรัพย์ซึ่งโดยสภาพอาจเกิดอันตรายได้ง่าย เช่น สารวัตถุเคมี หรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง 5.4 ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่โดยเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพของตัวทรัพย์ 5.5 ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน เช่น ทรัพย์ที่ถูกยึดตามคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา 5.6 ทรัพย์ซึ่งมีสภาพชํารุดทรุดโทรมใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในความสนใจของบุคคลที่จะซื้อ เช่น เครื่องจักรที่ใช้การไม่ได้โดยสภาพ หรือเครื่องจักรที่เมื่อขนย้ายแล้วจะทําให้ใช้การไม่ได้ รถยนต์ที่มีสภาพชํารุดทรุดโทรมไม่สามารถขับเคลื่อนได้ โต๊ะ เก้าอี้ ที่มีสภาพชํารุด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสภาพใช้การไม่ได้ หรือเครื่องนุ่งห่มหลับนอนที่ผ่านการใช้มาแล้ว เป็นต้น 5.7 ทรัพย์ซึ่งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีความประสงค์หรือยินยอมมิให้นํามาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา 5.8 เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรว่าไม่ควรนํามาเก็บรักษาที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินของกรมบังคับคดี หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาโดยความเห็นชอบของผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ การยึดทรัพย์สินมีค่า เช่น อัญมณีต่าง ๆ ทองรูปพรรณ หรือทรัพย์มีค่าอื่น ๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนํามาเก็บรักษาไว้ในห้องมั่นคงของกรมบังคับคดีหรือตู้นิรภัยของหน่วยงานนั้น ๆ ข้อ ๗ ในส่วนกลางหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเก็บรักษาทรัพย์ระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาทรัพย์ให้เสนออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายชี้ขาด ข้อ ๘ ในกรณีทรัพย์ที่ยึดนั้นสูญหาย หรือเสียหายซึ่งเกิดจากมีผู้กระทําความผิดอาญา ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาเสนอรายงานการตรวจสอบพร้อมกับเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อดําเนินการ ดังต่อไปนี้ 8.1 ในกรณีรู้ตัวผู้กระทําผิดให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดําเนินคดีแก่ผู้กระทําผิดต่อไป 8.2 ในกรณีไม่รู้ตัวผู้กระทําผิดให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทําผิดต่อไป การเสนอรายงานความเห็นข้างต้นให้เสนอหนังสือร้องทุกข์เพื่อให้อธิบดีกรมบังคับคดีลงนามไปพร้อมด้วย ข้อ ๙ การเสนอรายงานการยึดทรัพย์ 9.1 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทําการยึดทรัพย์แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบดําเนินการแจ้งการยึดเพื่อให้การยึดมีผลตามกฎหมาย แล้วจึงเสนอรายงานการยึดทรัพย์ต่อหัวหน้ากลุ่ม ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาในวันนั้นหรือในวันทําการถัดไป หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นไม่อาจเสนอได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้รายงานเหตุขัดข้องไปพร้อมด้วย 9.2 ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งมีราคาตั้งแต่ 20,000,000 บาท ขึ้นไป หรือยึดทรัพย์ของบุคคลสําคัญ หรือบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการยึดทรัพย์เสร็จแล้ว ให้รายงานอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ 9.3 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีติดตามผลการแจ้งการยึดให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง หรือดําเนินการเรียกต้นฉบับเอกสารสิทธิ์หรือการอื่นใดเพื่อให้การยึดมีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 303 และมาตรา 304 แล้วให้จัดทําแบบรายงานการตรวจสอบผลการยึดทรัพย์สิน เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาตรวจสอบว่าดําเนินการถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบหรือคําสั่งแล้วหรือไม่ หากไม่ถูกต้องให้มีคําสั่งแก้ไขแล้วให้ลงนามผลการตรวจสอบไว้ จากนั้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานการยึดพร้อมขอให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตขายทรัพย์ที่ยึดนั้นต่อไป ข้อ ๑๐ เมื่อดําเนินการยึดทรัพย์แล้วมีกรณีที่จะต้องแก้ไขราคาประเมินขณะยึดใหม่ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งราคาประเมินใหม่ดังกล่าวแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีโดยระบุในหมายแจ้งด้วยว่าหากไม่เห็นชอบด้วยกับราคาประเมินดังกล่าวให้โต้แย้งคัดค้านภายในกําหนด 8 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้ง มิเช่นนั้นจะถือว่าผู้รับแจ้งเห็นชอบด้วยกับราคาประเมิน และเจ้าพนักงานบังคับคดีจะถือราคาประเมินดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจําหน่าย ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือปฏิบัติโดยอนุโลม คําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2548 ไกรสร บารมีอวยชัย อธิบดีกรมบังคับคดี
5,634
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17 /2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับ ใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17 /2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับ ใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ----------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 222 ประกอบกับ มาตรา 206 และมาตรา 207 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ "สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ บุคคลใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อดณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน ผู้ยื่นคําขอตามวรรดหนึ่งต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นใดนอกจากประเภทการจัดการกองทุนรวม ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโคยเฉพาะตามประเภทที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) มีหน่วยงานหรือแสดงได้ว่าจะจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์แยกต่างหากจากหน่วยงานอื่น และมีระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหลักทรัพย์ ข้อ ๔ การยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 ให้ยื่นพร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับระบบเก็บรักษา รวบรวม และประมวลข้อมูลในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (2) รายชื่อหลักทรัพย์ที่ผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเคยให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (3) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๕ คําขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต (2) ชื่อ และสถานที่ตั้งของผู้ขอรับใบอนุญาต (3) ชื่อ ประวัติการทํางาน และคุณสมบัติของบุคคลที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะแต่งตั้งให้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ขอรับใบอนุญาตในฐานะเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างนายทะเบียนหลักทรัพย์และผู้ออกหลักทรัพย์ (5) ตําแหน่ง จํานวน และอํานาจหน้าที่ของพนักงานที่จะปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิคชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (6) แผนผังการจัดองค์กรของหน่วยงานที่จะทําหน้าที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (7) อัตราและวิธีการเรียกเก็บดําธรรมเนียม หรือเงินตอบแทนอื่นใดที่จะเรียกเก็บจากผู้ออกหลักทรัพย์ ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฎหลักฐานต่อสํานักงานว่านายทะเบียนหลักทรัพย์ใดไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่ได้แสดงไว้ในการขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3(2) ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นั้นดําเนินการแก้ไขในเรื่องคังกล่าวให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๗ นายทะเบียนหลักทรัพย์ใด (1) ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 6 (2) ไม่ชําระค่าธรรมเนียมหรือค่ารรรมเนียมเพิ่มตามที่กําหนดไว้ในข้อ 9 หรือ (3) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกําหนดเกี่ยวกับการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันแสดงถึงการขาคความรับผิดชอบในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์(ถ้ามี) คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้โดยสํานักงานจะแจ้งการเพิกถอนใบอนุญาตคังกล่าวให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนทราบเป็นหนังสือทั้งนี้ ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตแจ้งการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวให้ผู้ออกหลักทรัพย์ทราบเป็นหนังสือและให้จัดการส่งมอบหลักทรัพย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์รายใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์โดยเร็ว ข้อ ๘ นายทะเบียนหลักทรัพย์ใดประสงค์จะเลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้ยื่นขออนุญาตต่อกณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน ในการอนุญาตคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะกําหนดเงื่อนไขใค ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ เมื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ใดเลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามวรรคห หนึ่งแล้ว สํานักงานจะแจ้งการยกเลิกใบอนุญาตให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ดังกล่าวทราบเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นั้นแจ้งการเลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ทราบเป็นหนังสือและให้จัดการส่งมอบหลักทรัพย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์รายใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์โดยเร็ว ข้อ ๙ ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้เป็นดังนี้ 1. คําขอรับใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ คําขอละ 500 บาท 1. ใบอนุญาตการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตาม (2) ให้ชําระล่วงหน้าเป็นรายปีตามปีปฏิทินโดยต้องชําระก่อนวันเริ่มปีปฏิทินนั้น เว้นแต่ในปีแรกให้ชําระเมื่อได้รับใบอนุญาต และให้คิดค่าธรรมเนียมเฉลี่ยตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ในปีปฏิทินที่ได้รับใบอนุญาต นายทะเบียนหลักทรัพย์ใดไม่ชําระค่าธรรมเนียมหรือชําระค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาตามที่กําหนดในวรรคสอง ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าธรรมเนียมที่ค้างชําระ เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ จนกว่าจะได้ชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนแล้ว ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (นายบดี จุณณานนท์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
5,635
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับ ใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 222 ประกอบกับ มาตรา 206 และมาตรา 207 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒/๑ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการขอรับและการออกใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ที่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ตามประกาศอื่นอยู่แล้ว ข้อ ๓ บุคคลใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน ผู้ยื่นคําขอตามวรรคหนึ่งต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ธนาคารพาณิชย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) แสดงได้ว่าจะจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์แยกต่างหากจากหน่วยงานอื่น (3) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ โดยพิจารณาจากระบบงานเกี่ยวกับการจัดทํา การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และการจัดทํารายงาน ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (4) แสดงได้ว่าจะมีระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหลักทรัพย์ ข้อ ๔ การยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 ให้ยื่นพร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับระบบการจัดทํา การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และการจัดทํารายงาน ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ รวมทั้งระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบ (2) รายชื่อหลักทรัพย์ที่ผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเคยให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ถ้ามี) (3) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๕ คําขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต (2) ชื่อ และสถานที่ตั้งของผู้ขอรับใบอนุญาต (3) ชื่อ ประวัติการทํางาน และคุณสมบัติของบุคคลที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะแต่งตั้ง ให้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ขอรับใบอนุญาตในฐานะเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างนายทะเบียนหลักทรัพย์และ ผู้ออกหลักทรัพย์ (5) ตําแหน่ง จํานวน และอํานาจหน้าที่ของพนักงานที่จะปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (6) แผนผังการจัดองค์กรของหน่วยงานที่จะทําหน้าที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (7) อัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือเงินตอบแทนอื่นใดที่จะเรียกเก็บจาก ผู้ออกหลักทรัพย์ ข้อ ๕/๑ ในกรณีที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนด ให้สํานักงานเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุญาตและคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๖ นายทะเบียนหลักทรัพย์ใดไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่ได้แสดงไว้ในการขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3(2) (3) และ (4) ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นั้นดําเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๗ นายทะเบียนหลักทรัพย์ใด (1) ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 6 (2) ไม่ชําระค่าธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กําหนดไว้ในข้อ 9 หรือ (3) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดเกี่ยวกับการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้โดยสํานักงานจะแจ้งการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนทราบเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตแจ้งการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวให้ผู้ออกหลักทรัพย์ทราบเป็นหนังสือและให้จัดการส่งมอบหลักทรัพย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์รายใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์โดยเร็ว ข้อ ๘ นายทะเบียนหลักทรัพย์ใดประสงค์จะเลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แจ้งการเลิกการให้บริการให้ผู้ออกหลักทรัพย์ทราบเป็นหนังสือและให้จัดการส่งมอบหลักทรัพย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์รายใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์และให้มีหนังสือแจ้งการดําเนินการดังกล่าวพร้อมทั้งส่งคืนใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน และให้ถือว่านายทะเบียนหลักทรัพย์ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้เลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๙ ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้เป็นดังนี้ (1) คําขอรับใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ คําขอละ 500 บาท (2) ใบอนุญาตการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ 10,000 บาท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในวันที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2539 อื่นๆ - (นายบดี จุณณานนท์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
5,636
หลักเกณฑ์และแนวทางการติดตามและการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการ
หลักเกณฑ์และแนวทางการติดตามและการประเมินผล โครงการพัฒนาและโครงการ ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19 แห่งระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561 และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ (คนน.) สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จึงกําหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการติดตามและการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หน่วยงานเจ้าของโครงการ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินโครงการพัฒนาหรือโครงการ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒ สบน. จะจัดทําแผนการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อเสนอต่อ คนน. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ต้องเป็นโครงการพัฒนาและโครงการที่อยู่ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ สบน. จะกํากับติดตามโครงการพัฒนาหรือโครงการที่อยู่ระหว่างดําเนินงาน สําหรับการประเมินผลโครงการพัฒนาหรือโครงการที่ได้ดําเนินการแล้วเสร็จ นั้น สบน. จะพิจารณาคัดเลือกโครงการพัฒนาหรือโครงการเพื่อประเมินผลตามแนวทางที่ สบน. กําหนด ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการ สบน. จะเสนอ คนน. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ข้อ ๓ สบน. จะกํากับติดตามการใช้จ่ายเงินกู้และการบริหารโครงการพัฒนาหรือโครงการที่อยู่ระหว่างดําเนินงาน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และแผนงานที่กําหนดไว้ พร้อมทั้งจัดทําสรุปผลการกํากับติดตามให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันหลังจากสิ้นเดือนมีนาคมและเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อเสนอ คนน. ทราบ ข้อ ๔ สบน. จะดําเนินการประเมินผลโครงการพัฒนาที่ได้ดําเนินงานแล้วเสร็จตามข้อ 2 และจัดทํารายงานการประเมินผลดังกล่าวภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อเสนอ คนน. ทราบ โดยมีหลักเกณฑ์การประเมินผล ดังต่อไปนี้ (1) ด้านความสอดคล้อง โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ หรือนโยบายรัฐบาลที่สําคัญ (2) ด้านประสิทธิผล โดยพิจารณาความสําเร็จของโครงการพัฒนาว่าเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ (3) ด้านประสิทธิภาพ โดยพิจารณาเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างผลผลิตเทียบกับแผนงานการใช้งบประมาณและระยะเวลาตรงตามแผนที่กําหนดไว้ (4) ด้านผลกระทบ โดยพิจารณาถึงผลกระทบทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้นในเชิงบวกหรือเชิงลบจากการดําเนินโครงการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมด้วย (5) ด้านความยั่งยืน โดยพิจารณาถึงความยั่งยืน ความมั่นคงทางการเงิน บุคลากรหรือองค์กรที่รับผิดชอบของโครงการพัฒนาที่ชัดเจน และมีเงินงบประมาณเพียงพอในการบํารุงรักษาที่จะทาให้โครงการพัฒนาสามารถดําเนินการได้ในระยะยาว ข้อ ๕ สบน. จะนาหลักเกณฑ์การประเมินผลโครงการพัฒนาตามข้อ 4 มาใช้บังคับกับการประเมินผลโครงการโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่มีกฎหมายหรือมีคําสั่งกําหนดให้คณะกรรมการชุดใดเป็นผู้มีหน้าที่ในการกํากับติดตามและประเมินผลโครงการไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ สบน. ใช้รายงานการติดตามและประเมินผลของคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อรายงานผลการดําเนินโครงการนั้นต่อ คนน. เพื่อทราบ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการกํากับติดตามและประเมินผล ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินการ ดังนี้ (1) จัดทํารายละเอียดข้อมูลโครงการพัฒนา ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนา แผนการดําเนินงานของโครงการพัฒนา และตัวชี้วัดผลสําเร็จของโครงการพัฒนา ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และจัดทํารายงานความก้าวหน้าการดําเนินงานเป็นรายเดือน ภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป โดยให้บันทึกผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศหรือจัดส่งเอกสารตามแบบที่ สบน. กําหนด (2) โครงการพัฒนาใดที่ดําเนินการแล้วเสร็จ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทํารายงานผลสําเร็จของโครงการพัฒนาส่งให้ สบน. ภายในหกสิบวันนับแต่ได้ดําเนินการแล้วเสร็จ ยกเว้นโครงการพัฒนาของหน่วยงานเจ้าของโครงการที่มีรายชื่อตามที่กําหนดไว้ในบัญชีเอกสารแนบท้ายหลักเกณฑ์นี้ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวต้องแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประโยชน์ที่ได้รับ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และความยั่งยืน โดยให้บันทึกผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศหรือจัดส่งเอกสารตามแบบที่ สบน. กําหนด ให้นําความในวรรคหนึ่ง (1) และ (2) มาใช้บังคับกับการดําเนินงานของโครงการโดยอนุโลม อื่นๆ - บัญชีเอกสารแนบท้ายหลักเกณฑ์และแนวทางการติดตามและการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการ I. ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการส่งรายงานผลสําเร็จของโครงการพัฒนาและโครงการดังต่อไปนี้ ภายในเดือนพฤษภาคม 2562 1. การประปาส่วนภูมิภาค จํานวน 2 โครงการ 1) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาเชียงใหม่ ส่วนที่ 1 จ.เชียงใหม่ 2) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี 2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จํานวน 2 โครงการ 1) โครงการก่อสร้างระบบจําหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้าไปยังเกาะที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะล้าน และเกาะสีชัง จ.ชลบุรี) 2) โครงการเร่งรัดขยายระบบจําหน่ายไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ 3. การรถไฟแห่งประเทศไทย จํานวน 2 โครงการ 1) โครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 2) โครงการจัดซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้าและเครื่องอะไหล่น้ําหนักกดเพลา 20ตัน/เพลา จํานวน 20 คัน 4. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จํานวน 1 โครงการ โครงการทางพิเศษรามอินทรา – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ 5. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จํานวน 1 โครงการ โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยโดยธนาคารออมสิน II. ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการส่งรายงานผลสําเร็จของโครงการพัฒนาดังต่อไปนี้ ภายในเดือนกรกฎาคม 2562 1. การประปาส่วนภูมิภาค จํานวน 15 โครงการ 1) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาแหลมฉบัง จ.ชลบุรี 2) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาพัทยา จ.ชลบุรี 3) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาโชคชัย จ.นครราชสีมา 4) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาปากท่อ จ.ราชบุรี 5) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาอรัญประเทศ จ.สระแก้ว 6) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด 7) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาอุดรธานี (ระยะที่ 2) จ.อุดรธานี 8) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา 9) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี 10) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ 11) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาขอนแก่น (ระยะที่ 3) จ.ขอนแก่น 12) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาสามพราน จ.นครปฐม 13) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาพัทยา (มาบยางพร - ปลวกแดง) จ.ชลบุรี – ระยอง 14) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาภูเก็ต จ.ภูเก็ต 15) โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้าระยะเร่งด่วน ประจําปีงบประมาณ 2558 (เพิ่มเติม) 2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จํานวน 10 โครงการ 1) โครงการขยายเขตไฟฟ้าให้ราษฎรในชนบท ระยะที่ 3 (เพิ่มเติม) 2) โครงการก่อสร้างระบบจําหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้าไปยังเกาะที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะลิบง เกาะสุกร และเกาะมุกต์ จ.ตรัง) 3) โครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เกาะต่าง ๆ (เกาะศรีบอยา เกาะปู และเกาะพีพีดอน จ.กระบี่) 4) โครงการก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจําหน่าย ระยะที่ 6 5) โครงการติดตั้งศูนย์สั่งการจ่ายไฟ ระยะที่ 2 6) โครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ระยะที่ 2 7) โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 6 ส่วนที่ 2 8) โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 7 ส่วนที่ 1 9) โครงการก่อสร้างระบบจําหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้าไปยังเกาะต่าง ๆ (เกาะกูด เกาะหมาก จ.ตราด) 10) โครงการก่อสร้างสายเคเบิลใต้น้าไปยังเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี 3. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จํานวน 9 โครงการ 1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลา (โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะ) 2) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 3 3) โครงการสายส่ง 500 เควี เพื่อการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้าเขื่อนน้าเทิน 2 4) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ชุดที่ 5 5) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 1 6) โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 11 7) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมวังน้อย ชุดที่ 4 (ค่าก่อสร้าง) จ.อยุธยา 8) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะ ชุดที่ 2 (งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า) จ.สงขลา 9) โครงการระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้าเขื่อนน้ํางึม 3 และน้ําเทิน 1 4. การรถไฟแห่งประเทศไทย จํานวน 5 โครงการ 1) โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า จํานวน 112 คัน 2) โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3) โครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทางเดินเชื่อมสถานีเพชรบุรี) 4) โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า จํานวน 308 คัน 5) โครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ สําหรับเชิงพาณิชย์ จํานวน 115 คัน 5. การเคหะแห่งชาติ จํานวน 2 โครงการ 1) โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะ 4 2) โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุดที่ 1 ปี 2557 6. การประปานครหลวง จํานวน 2 โครงการ 1) โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 7/1 2) โครงการปรับปรุงระบบประปาเพื่อลดน้าสูญเสีย 7. การไฟฟ้านครหลวง จํานวน 2 โครงการ 1) แผนงานเปลี่ยนระบบสายอากาศเป็นสายใต้ดิน ปี 2547 - 2552 2) แผนปรับปรุงและขยายระบบจําหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 ปี 2547 - 2550 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) 8. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จํานวน 1 โครงการ โครงการทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี
5,637
หลักเกณฑ์การวิเคราะห์แหล่งเงินลงทุนและแนวทางการระดมทุนสำหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการ
หลักเกณฑ์การวิเคราะห์แหล่งเงินลงทุนและแนวทางการระดมทุน สําหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการ ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 แห่งระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561 และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะจึงออกหลักเกณฑ์การวิเคราะห์แหล่งเงินลงทุนและแนวทางการระดมทุนสําหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการเพื่อประโยชน์ในการเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแหล่งเงินลงทุนสําหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หน่วยงานเจ้าของโครงการ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินโครงการพัฒนาหรือโครงการ แล้วแต่กรณี “การรับภาระการลงทุน” หมายความว่า การรับภาระการลงทุนของรัฐบาลในการดําเนินโครงการพัฒนาหรือโครงการ โดยรัฐบาลเป็นผู้ชําระหนี้เงินต้น ดอกเบี้ย หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับการกู้เงิน ข้อ ๒ การเสนอและการวิเคราะห์โครงการพัฒนา ให้ หน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางการวิเคราะห์โครงการพัฒนาของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การเสนอและการวิเคราะห์โครงการ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการนาหลักเกณฑ์และแนวทางการวิเคราะห์โครงการพัฒนาของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาใช้บังคับกับโครงการโดยอนุโลม ข้อ ๓ ในขั้นตอนการเสนอและการขออนุมัติดําเนินโครงการพัฒนาหรือโครงการ หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐและกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ รวมทั้งกฎหมายและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๔ การพิจารณาความเหมาะสมของโครงการพัฒนา ให้พิจารณาประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (1) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) ควรมีผลตอบแทนไม่ต่ํากว่าร้อยละเก้า แล้วแต่ลักษณะของโครงการพัฒนา ทั้งนี้ เว้นแต่โครงการพัฒนาที่มีความจําเป็นต้องดําเนินการและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล อาจพิจารณาให้การสนับสนุนได้ เช่น ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น เป็นต้น (2) ผลตอบแทนทางการเงิน ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกําหนด รวมถึงการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน (Value For Money: VfM) เพื่อนํามาใช้ในการกําหนดแนวทางการรับภาระการลงทุน แหล่งเงินลงทุน และแนวทางการระดมทุนที่เหมาะสม (3) ความสามารถในการชําระหนี้ของหน่วยงานเจ้าของโครงการ โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องมีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ (Debt Service Coverage Ratio: DSCR) ในอัตราไม่ต่ํากว่าหนึ่ง (4) ความพร้อมของโครงการพัฒนา ให้พิจารณาประเด็นต่าง ๆ เช่น รายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการพัฒนา แบบรายละเอียดการก่อสร้าง (Detailed Design) ความพร้อมในการเข้าใช้พื้นที่ เป็นต้น สําหรับการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๕ การวิเคราะห์แนวทางการรับภาระการลงทุนโครงการพัฒนาหรือโครงการที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ให้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ (1) กรณีที่รัฐบาลควรรับภาระการลงทุน (ก) เป็นโครงการพัฒนาที่จัดทําบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง และมีผลตอบแทนทางการเงินต่ํา โดยรัฐบาลอาจพิจารณารับภาระการลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน เฉพาะค่าใช้จ่ายสําหรับโครงสร้างพื้นฐานก็ได้ (ข) เป็นโครงการที่ให้บริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รัฐบาลรับภาระ (2) กรณีที่รัฐบาลไม่ควรรับภาระการลงทุน (ก) เป็นโครงการพัฒนาหรือโครงการของหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและผลตอบแทนทางการเงินสูง (ข) เป็นโครงการพัฒนาหรือโครงการที่หน่วยงานเจ้าของโครงการมีฐานะทางการเงินดี มีความสามารถในการชําระหนี้ และมีความสามารถในการหารายได้ ข้อ ๖ การพิจารณาแหล่งเงินลงทุนและแนวทางการระดมทุน ให้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ (1) เงินงบประมาณ ควรใช้สําหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการที่รัฐบาลควรรับภาระการลงทุน ตามข้อ 5 (1) เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าเวนคืนที่ดิน ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทําการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ค่าจ้างสํารวจออกแบบเบื้องต้น ค่าจ้างออกแบบรายละเอียด ค่าจ้างที่ปรึกษาประกวดราคา ค่าใช้จ่ายเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อดําเนินโครงการตามนโยบายรัฐบาลที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นต้น (2) เงินกู้ ควรใช้สําหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการ ดังต่อไปนี้ (ก) โครงการพัฒนาหรือโครงการ ที่รัฐบาลควรรับภาระตามข้อ 5 (1) ที่ไม่อาจใช้จ่ายจากเงินงบประมาณได้ (ข) โครงการพัฒนาหรือโครงการ ที่รัฐบาลไม่ควรรับภาระการลงทุนตามข้อ 5 (2) (ค) โครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) เงินรายได้ของหน่วยงานเจ้าของโครงการ ควรใช้สําหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการที่รัฐบาล ไม่ควรรับภาระการลงทุน ตามข้อ 5 (2) (ข) โดยควรมีสัดส่วนของรายได้ไม่ต่ํากว่าร้อยละยี่สิบห้าของวงเงินลงทุนของโครงการพัฒนาหรือโครงการ ทั้งนี้ การพิจารณาสัดส่วนการใช้รายได้ให้พิจารณาฐานะการเงินของหน่วยงานเจ้าของโครงการประกอบด้วย (4) การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ควรใช้สําหรับโครงการพัฒนาที่มีผลตอบแทน ทางการเงินสูง โดยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนและความคุ้มค่าทางการเงินแล้ว การให้เอกชนร่วมลงทุนจะมีความคุ้มค่าทางการเงินมากกว่าภาครัฐเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด
5,638
แนวทางการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงในการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ
แนวทางการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงในการบริหารหนี้ ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561 และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สํานักงานจึงกําหนดแนวทางการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงในการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการกํากับติดตามและประเมินความเสี่ยงของหนี้สาธารณะไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐที่มีหนี้คงค้าง ดําเนินการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงในการบริหารหนี้ตามตัวชี้วัด ดังต่อไปนี้ (1) ตัวชี้วัดด้านต้นทุน (Cost indicator) ประกอบด้วย 1) ต้นทุนเฉลี่ย (Average cost) 2) ภาระดอกเบี้ยที่ครบกําหนดของหนี้ปัจจุบันใน 5 ปีข้างหน้า (Interest payment profile) (2) ตัวชี้วัดความเสี่ยง (Risk indicators) ประกอบด้วย 1) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) 2) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) 3) ความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้ (Refinancing Risk) ทั้งนี้ การวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงในการบริหารหนี้ข้างต้น ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานกําหนดแนบท้ายนี้ ข้อ ๒ ให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐรายงานผลการวิเคราะห์ตามข้อ 1 ต่อสํานักงานเป็นรายไตรมาส โดยให้บันทึกผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศหรือจัดส่งเอกสารตามแบบที่สํานักงานกําหนด ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นสุดของแต่ละไตรมาส ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการกํากับติดตามและประเมินความเสี่ยงของหนี้สาธารณะในภาพรวม สํานักงานอาจกําหนดให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ ดําเนินการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงในการบริหารหนี้นอกเหนือจากตัวชี้วัดที่กําหนดในข้อ 1 รวมทั้งนําส่งข้อมูลหรือจัดทํารายงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมก็ได้ ทั้งนี้ วิธีการรายงานและกําหนดเวลาในการจัดส่งข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๓ ให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐเริ่มรายงานผลการวิเคราะห์แนวทางที่กําหนดนี้ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2562 เป็นต้นไป อื่นๆ - หลักเกณฑ์และวิธีการในการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงในการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ ก. วิธีการวิเคราะห์และข้อมูลที่ต้องรายงาน 1. การวิเคราะห์ตัวชี้วัดด้านต้นทุน (Cost indicator) | | | | | --- | --- | --- | | ตัวชี้วัดที่ต้องวิเคราะห์ | วิธีการคํานวณ/การรายงาน | คําอธิบาย/หมายเหตุ | | 1.1 ต้นทุนเฉลี่ย (Average cost) (ร้อยละต่อปี) | ภาระดอกเบี้ยทั้งหมด\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ x 100หนี้คงค้างทั้งหมด | | | 1.2 ภาระดอกเบี้ยที่ครบกําหนดของหนี้ปัจจุบัน ใน 5 ปีข้างหน้า (Interest payment profile) (ล้านบาท) | | เป็นการรายงานภาระดอกเบี้ยที่ครบกําหนดในแต่ละปีงบประมาณ (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป) ใน 5 ปีข้างหน้า | 2. การวิเคราะห์ตัวชี้วัดความเสี่ยง (Risk indicators) | | | | | --- | --- | --- | | ตัวชี้วัดที่ต้องวิเคราะห์ | วิธีการคํานวณ/การรายงาน | คําอธิบาย/หมายเหตุ | | 2.1 ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate Risk) (เฉพาะหน่วยงานที่มีหนี้เงินกู้ต่างประเทศ) | | (1) สัดส่วนหนี้ต่างประเทศ (External debt to total debt ratio) (ร้อยละของหนี้ทั้งหมด) | หนี้ต่างประเทศ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ x 100หนี้คงค้างทั้งหมด | “หนี้ต่างประเทศ” หมายถึง เงินกู้/หนี้ต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ เยน ยูโร เป็นต้น ทั้งที่ได้ดําเนินการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและไม่ได้บริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน | | (2) สัดส่วนหนี้ต่างประเทศที่ยังไม่ได้บริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedged external debt to total debt ratio) (ร้อยละของหนี้ทั้งหมด) | หนี้ต่างประเทศที่ยังไม่ได้บริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ x 100หนี้คงค้างทั้งหมด | การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนสามารถทาได้หลายวิธี เช่น การดําเนินธุรกรรม Cross-Currency Swap (CCS) ธุรกรรมชําระหนี้ก่อนกําหนด (Prepayment) เป็นต้น | | (3) มูลค่าหนี้ต่างประเทศที่บริหารความเสี่ยง ด้านอัตราแลกเปลี่ยนแล้วด้วยวิธี Natural Hedged (Natural Hedged external debt) (ล้านบาท) | | การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วยวิธี Natural hedge สามารถทาได้โดยการบริหารสัดส่วนสกุลเงินของรายได้และรายจ่ายให้มีความสอดคล้อง สมดุลกัน | | 2.2 ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) | | (1) สัดส่วนหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate debt to total debt ratio) (ร้อยละของหนี้ทั้งหมด) | หนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ x100หนี้คงค้างทั้งหมด | | | (2) สัดส่วนหนี้ที่ต้องปรับอัตราดอกเบี้ย ใน 1 ปี (Debt re-fixing in 1 year ratio) (ร้อยละของหนี้ทั้งหมด) | หนี้ที่ต้องปรับอัตราดอกเบี้ย ใน 1 ปี\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ x100ปีหนี้คงค้างทั้งหมด | “หนี้ที่ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยใน 1 ปี” หมายถึง หนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งครบกําหนดใน 1 ปีและหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว | | 2.3 ความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้ (Refinancing Risk) | | (1) อายุเฉลี่ยของหนี้ (Average time to maturity : ATM) (ปี) | อายุหนี้คงเหลือ 1 x หนี้คงค้าง1 อายุหนี้คงเหลือ2 x หนี้คงค้าง2\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_+\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_+ +n หนี้คงเหลือทั้งหมด หนี้คงค้างทั้งหมด | “n” หมายถึง จํานวนสัญญาหนี้คงค้าง “อายุหนี้คงเหลือ” หมายถึง จํานวนปีของสัญญาหนี้คงค้างแต่ละรายการนับตั้งแต่วันที่รายงานอายุเฉลี่ยหนี้ถึงวันที่ครบกําหนดสัญญา | | (2) สัดส่วนหนี้ที่ครบกําหนดชําระใน 1 ปี (Debt maturing in 1 year) (ร้อยละของหนี้ทั้งหมด) | ภาระหนี้ที่ครบกําหนดใน 1 ปี\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_หนี้คงค้างทั้งหมด | “ภาระหนี้ที่ครบกําหนดใน 1 ปี” หมายถึง เงินต้นที่ครบกําหนดชําระใน 1 ปี (นับใน 1 ปีข้างหน้าจากวันที่รายงาน) | | (3) สัดส่วนหนี้ที่ครบกําหนดชําระใน 3 ปี (Debt maturing in 3 year) (ร้อยละของหนี้ทั้งหมด) | ภาระหนี้ที่ครบกําหนดใน 3 ปี\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_หนี้คงค้างทั้งหมด | “ภาระหนี้ที่ครบกําหนดใน 3 ปี” หมายถึง *เงินต้น*ที่ครบกําหนดชําระใน 3 ปี (นับใน 3 ปีข้างหน้าจากวันที่รายงาน) | | (4) ภาระหนี้ที่ครบกําหนดในปีงบประมาณ (Redemption Profile) (ล้านบาท) | | เป็นการรายงานภาระเงินต้นของหนี้ที่ครบกําหนด ในแต่ละปีงบประมาณ (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีหนึ่ง ถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป) | ข. รูปแบบในการจัดทํารายงานและการนําส่งรายงาน จัดทําข้อมูลผลการวิเคราะห์ในรูปของไฟล์ EXCEL ตามแบบฟอร์มที่สํานักงานกําหนด โดยหน่วยงานสามารถดาวน์โหลดได้จาก QR Code นี้ พร้อมทั้งให้ความเห็นประกอบและ/หรือแนวทางการบริหารความเสี่ยงในด้านต่างๆ (หากมี) และจัดส่งให้สํานักงาน ทาง E-mail: [email protected] \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ - : หากมีข้อสงสัยในการจัดทําข้อมูลหรือการนําส่งรายงาน สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ตามช่องทางดังนี้ โทรศัพท์ 02-2658050 ต่อ 5519 (วัชรี) หรือ E-mail : [email protected]
5,639
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ นย. 2/2547 เรื่อง แนวทางในการพิจารณาการประกอบการที่ถือเป็นตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ นย. 2/2547 เรื่อง แนวทางในการพิจารณาการประกอบการที่ถือเป็น ตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ อื่นๆ - **ที่มา** 1. โดยที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้เป็นแหล่งระดมทุนที่สําคัญสําหรับภาครัฐและเอกชนตลอดจนให้เกิดการเชื่อมโยงกันระหว่างตลาดตราสารหนี้ในระดับ ภูมิภาค การดําเนินนโยบายให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้นจําเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ๆ ที่จะเอื้ออํานวยให้เกิดการซื้อขายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีข้อมูลที่เพียงพอสําหรับผู้ลงทุน ทั้งนี้ ระบบการซื้อขายตราสารหนี้ที่มีประสิทธิภาพก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นประการหนึ่ง 2. โดยทั่วไปการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นการซื้อขายระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้และผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีมูลค่าต่อธุรกรรมสูง จึงต้องอาศัย การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ราคาซื้อขายที่ดีที่สุด ลักษณะการซื้อขายดังกล่าวจึงไม่เหมาะกับระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ (exchange) ที่ทําการจับคู่คําเสนอซื้อเสนอขายให้ ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาได้มีวิวัฒนาการของการให้บริการเพื่อการซื้อขายตราสารหนี้ในต่างประเทศที่เรียกโดยทั่วไปว่า ระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ (electronic trading platform หรือ ETP) ซึ่งเป็นระบบที่จัดช่องทางการสื่อสารระหว่างคู่ค้าเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อรองซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างกันได้ รวมทั้งให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ แต่จะไม่มีการจับคู่คําเสนอซื้อเสนอขายหลักทรัพย์ให้ หรือจัดให้มีระบบซึ่งกําหนดเกี่ยวกับวิธีการในการซื้อขายหลักทรัพย์ไว้เป็นการล่วงหน้าช่วยให้ผู้ร่วมตลาดได้รับข้อมูลการซื้อขายที่เป็นปัจจุบันและทําให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนที่ดีขึ้น 3. ตามแนวทางที่เป็นสากล การประกอบการที่จะถือเป็นตลาดหลักทรัพย์ (exchange) จะต้องมีองค์ประกอบสําคัญสองประการ คือ มีการรวบรวมคําเสนอซื้อเสนอขายจากผู้เสนอซื้อและผู้เสนอขายหลายราย และมีการกําหนดหลักเกณฑ์หรือจัดให้มีระบบซึ่งกําหนดเกี่ยวกับวิธีการในการซื้อขายหลักทรัพย์ไว้เป็นการล่วงหน้าโดยผู้ให้บริการไม่อาจใช้ดุลยพินิจในการจัดการซื้อขายเป็นประการอื่น ดังนั้น การให้บริการระบบ ETP ในหลายประเทศจึงมิได้ถูกกํากับดูแลในลักษณะเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ การกํากับดูแลระบบ ETP ในทํานองเดียวกับตลาดหลักทรัพย์จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในรูปแบบใหม่ ๆ อีกด้วย 4. เนื่องจากมาตรา 155 และมาตรา 209 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือกิจการ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนอกจากตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และห้ามมิให้บุคคลใดให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนอกจากศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังนั้น หากการให้บริการระบบ ETP เป็นการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติข้างต้น จึงมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าการให้บริการในลักษณะใดจะถือเป็นการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือการให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อื่นๆ - **แนวทางการกํากับดูแลของสํานักงาน** 1. หลักการ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มิได้กําหนดความหมายของคําว่า การประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือการให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไว้ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการประกอบการที่จะถือเป็นการประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์หรือการให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไว้ โดยยึดถือหลักการดังต่อไปนี้เป็นสําคัญ (1) การสนับสนุนให้เกิดระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งตราสารหนี้และ ตราสารทุนที่หลากหลายอันจะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานของตลาดทุนไทยมีความสมบูรณ์และ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล (2) การสร้างความสมดุลระหว่างการดํารงไว้ซึ่งเสถียรภาพของตลาดหลักทรัพย์และศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ การสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ในรูปแบบใหม่ และการคุ้มครองผู้ลงทุน 2. แนวทางการพิจารณา จากหลักการข้างต้นประกอบกับแนวทางในการกําหนดความหมายของตลาดหลักทรัพย์ (exchange) ที่เป็นสากล สํานักงานจึงเห็นว่า การประกอบการที่จะถือเป็นการประกอบกิจการเป็นตลาดหลักทรัพย์หรือการให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ได้แก่ศูนย์กลางหรือเครือข่ายใด ๆ ที่จัดให้มีขึ้น เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีการรวบรวมคําเสนอซื้อเสนอขายหลักทรัพย์จากผู้เสนอซื้อหลายรายและผู้เสนอขายหลายราย และ (2) มีการกําหนดหลักเกณฑ์หรือจัดให้มีระบบ ซึ่งกําหนดเกี่ยวกับวิธีการในการซื้อขายหลักทรัพย์ไว้เป็นการล่วงหน้า โดยผู้ให้บริการไม่อาจใช้ดุลยพินิจในการจัดการซื้อขายเป็นประการอื่น และผู้เสนอซื้อเสนอขายยินยอมที่จะผูกพันตามหลักเกณฑ์หรือระบบนั้น อื่นๆ - สํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547 อื่นๆ - (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
5,640
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สํานักงานได้จัดให้มีกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ขึ้นเพิ่มเติมจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่มีอยู่เดิม จึงจําเป็นต้องปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงานให้สามารถรองรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์และข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานมีความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่ผู้ลงทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 25/2544 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 22/2545 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 7/2547 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ผู้ถูกร้อง” หมายความว่า (1) บริษัทหลักทรัพย์ (2) ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ (3) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล (5) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ร้อง” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทําของผู้ถูกร้อง รวมทั้งบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายจากผู้เสียหายดังกล่าว “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ การดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการนอกจากที่ได้ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ ๕ ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ สํานักงานจะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของสํานักงานเป็นเจ้าหน้าที่ในงานธุรการให้กับอนุญาโตตุลาการ หมวด ๒ การเสนอข้อพิพาท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ ข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะเสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกร้องไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว (2) เป็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องแต่ละรายเรียกร้องค่าเสียหายไม่เกินห้าล้านบาท (3) ในกรณีเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการให้บริการทางด้านหลักทรัพย์ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกฎเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะเสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (ก) เป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ตกลงใช้บริการ หรือเข้าทําสัญญา กับผู้ถูกร้องเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือธุรกิจหลักทรัพย์ หรือเป็นข้อพิพาทระหว่างสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกับผู้ถูกร้อง โดยผู้ร้องต้องแสดงหลักฐานเป็นหนังสือหรือข้อสัญญาที่แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกร้องตกลงยินยอมให้มีการเสนอข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (ข) เป็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องได้ยื่นข้อร้องเรียนผ่านระบบการรับข้อร้องเรียนตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับการรับข้อร้องเรียนของลูกค้า แล้วแต่กรณี และปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. ผู้ร้องไม่ได้รับการติดต่อจากผู้ถูกร้องตามที่ประกาศดังกล่าวกําหนดภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน 2. ผู้ร้องไม่ได้รับการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน 3. ผู้ร้องเห็นว่าการแก้ไขข้อร้องเรียนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม และแสดงได้ว่าได้มีการสงวนสิทธิว่าอาจนําเสนอข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (ค) เป็นข้อพิพาทที่เสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการภายในหกเดือนนับแต่กําหนดระยะเวลาในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ข้อพิพาทดังกล่าวต้องเกิดขึ้นมาแล้วไม่เกินสองปีนับแต่เกิดเหตุที่ใช้เป็นข้ออ้างในการเรียกร้องสิทธิ เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรแต่ต้องไม่เกินกําหนดอายุความฟ้องคดีตามกฎหมาย 1. เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน ในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้รับการติดต่อจากผู้ถูกร้อง 2. เมื่อพ้นกําหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน ในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้รับการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จ 3. เมื่อพ้นกําหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน ในกรณีที่ผู้ร้องเห็นว่าการแก้ไขข้อร้องเรียนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม ข้อ ๗ ในการเสนอข้อพิพาทต่อสํานักงาน ให้ผู้ร้องยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามแบบ อญ. 1 ที่สํานักงานกําหนด พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบตามที่ระบุในแบบดังกล่าว และสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทในจํานวนที่เพียงพอเพื่อส่งให้ผู้ถูกร้อง ข้อ ๘ ผู้ร้องหลายรายที่มีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ถูกร้องเป็นแบบเดียวกันอันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเดียวกัน และมีการเรียกร้องค่าเสียหายแต่ละรายไม่เกินห้าล้านบาท ผู้ร้องเหล่านั้นอาจร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทต่อสํานักงานได้ โดยทําเป็นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนเพื่อดําเนินกระบวนการพิจารณาตามแบบ อญ. 2 ที่สํานักงานกําหนด เพื่อดําเนินการใด ๆ ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการแทนผู้ร้องทุกราย พร้อมทั้งระบุจํานวนอนุญาโตตุลาการกรณีที่เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการมาพร้อมกับการยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทด้วย ข้อ ๙ เมื่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานตรวจคําร้องเสนอข้อพิพาทแล้วเห็นว่า (1) ผู้ร้องได้ยื่นคําร้องถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 7 และได้วางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 32 และค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามข้อ 34 ครบถ้วนแล้ว สํานักงานจะลงทะเบียนรับคําร้องเสนอข้อพิพาทและส่งสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทดังกล่าวไปยังผู้ถูกร้อง ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในคําร้องเสนอข้อพิพาทโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ (2) คําร้องเสนอข้อพิพาทไม่เป็นไปตามลักษณะในข้อ 6 สํานักงานจะแจ้งการไม่รับคําร้องและคืนคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้นไปยังผู้ร้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําร้องดังกล่าว (3) คําร้องเสนอข้อพิพาทไม่ครบถ้วนหรือไม่ชัดเจน ให้ผู้ร้องแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน ทั้งนี้ หากผู้ร้องไม่ดําเนินการภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินการต่อไปและสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น ข้อ ๑๐ เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทแล้ว อาจยื่นคําคัดค้านข้อพิพาทตามแบบ อญ. 3 ที่สํานักงานกําหนด ต่อสํานักงานพร้อมแนบสําเนาคําคัดค้านข้อพิพาทในจํานวนที่เพียงพอที่จะส่งให้แก่ผู้ร้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาท โดยให้ผู้ถูกร้องวางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 32 และค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามข้อ 34 มาพร้อมกับการยื่นคําคัดค้าน หรือภายในวันสุดท้ายที่ยื่นคําคัดค้านได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานได้รับคําคัดค้านตามวรรคหนึ่งแล้วให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้ถูกร้องได้ยื่นคําคัดค้านข้อพิพาทถูกต้องครบถ้วนตามแบบ อญ. 3 และได้วางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 32 และค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามข้อ 34 ครบถ้วนแล้ว สํานักงานจะลงทะเบียนรับคําคัดค้านข้อพิพาท และส่งสําเนาคําคัดค้านข้อพิพาทดังกล่าวไปยังผู้ร้องตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในคําร้องเสนอข้อพิพาทโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ (2) ในกรณีที่คําคัดค้านข้อพิพาทไม่เป็นไปตามแบบ อญ. 3 หรือไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน ให้ผู้ถูกร้องแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน ข้อ ๑๑ ในกรณีที่คู่กรณีประสงค์จะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนในการดําเนินการใด ๆ ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ หรือประสงค์จะแต่งตั้งบุคคลใดเพื่อช่วยเหลือในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ให้แจ้งชื่อและที่อยู่ของบุคคลดังกล่าวเป็นหนังสือและยื่นต่อสํานักงาน หมวด ๓ ยกเลิก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๔ การตั้งและการคัดค้านอนุญาโตตุลาการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ ในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ให้มีอนุญาโตตุลาการจํานวนหนึ่งคนเป็นผู้ชี้ขาด โดยให้คู่กรณีเลือกรายชื่ออนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ เว้นแต่กรณีที่มีผู้ร้องหลายรายร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาท ผู้ร้องอาจดําเนินการตามข้อ 15 ก็ได้ (1) ให้ผู้ร้องเลือกรายชื่ออนุญาโตตุลาการโดยเรียงลําดับตามความพอใจสามลําดับ และแจ้งรายชื่อดังกล่าวให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาท หากผู้ร้องไม่แจ้งรายชื่อภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไปและสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร (2) เมื่อสํานักงานจัดส่งรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่ผู้ร้องเลือกไว้สามชื่อให้แก่ผู้ถูกร้องแล้ว ให้ผู้ถูกร้องเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่อดังกล่าวโดยให้จัดลําดับรายชื่อตามความพอใจสามลําดับและแจ้งต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับรายชื่อนั้นโดยให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะตั้งอนุญาโตตุลาการในรายชื่อลําดับที่หนึ่งเป็นอนุญาโตตุลาการ ทั้งนี้ หากผู้ถูกร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะตั้งอนุญาโตตุลาการตามลําดับรายชื่อที่ผู้ร้องเลือกไว้ (3) ในกรณีที่ผู้ถูกร้องประสงค์จะคัดค้านรายชื่อทั้งสามที่ผู้ร้องเลือกไว้เนื่องจากมีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นอิสระหรือความเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการนั้น ให้ผู้ถูกร้องยื่นหนังสือคัดค้านการตั้งอนุญาโตตุลาการพร้อมด้วยเหตุผลของการคัดค้านตามแบบ อญ. 6 ที่สํานักงานกําหนดต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับรายชื่อนั้น และให้สํานักงานดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าการคัดค้านดังกล่าวมีเหตุที่อาจกล่าวอ้างได้ให้สํานักงานดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) โดยอนุโลมจนกว่าจะไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานได้ (ข) ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าการคัดค้านดังกล่าวไม่มีเหตุที่อาจกล่าวอ้างได้ให้แจ้งให้ผู้ถูกร้องจัดลําดับรายชื่ออนุญาโตตุลาการตามความพอใจจากลําดับรายชื่อที่ผู้ร้องเลือกไว้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการไม่มีเหตุคัดค้านให้ผู้ถูกร้องทราบ และหากผู้ถูกร้องไม่แจ้งผลการจัดลําดับรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะตั้งอนุญาโตตุลาการตามลําดับรายชื่อที่ผู้ร้องเลือกไว้ (4) ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีได้เลือกไว้แล้วไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ถือว่าคู่กรณีประสงค์จะตั้งอนุญาโตตุลาการตามลําดับรายชื่อที่ผู้ถูกร้องจัดลําดับไว้ถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีได้เลือกไว้ทั้งสามลําดับไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) อีกครั้งจนกว่าจะไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานได้ ในกรณีที่คู่กรณีไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานได้ หรือไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําร้องเสนอข้อพิพาทที่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การรับข้อพิพาท ให้ถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป และสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีผู้ร้องหลายรายร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามข้อ 8 และมีการเรียกร้องค่าเสียหายรวมกันเกินกว่าห้าล้านบาท ผู้ร้องอาจแสดงความประสงค์ให้มีคณะอนุญาโตตุลาการที่ประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคนได้ โดยให้แสดงความประสงค์เช่นนั้นมาในคําร้องเสนอข้อพิพาท และผู้ถูกร้องอาจแสดงเจตนาว่าตกลงจะมีอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคนหรือไม่ มาในคําคัดค้านตามข้อ 10 ในกรณีที่คู่กรณีตกลงกันให้มีคณะอนุญาโตตุลาการที่ประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคน ให้คู่กรณีเลือกอนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้ร้องเลือกอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนโดยแจ้งรายชื่อให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคําคัดค้านของผู้ถูกร้อง หากผู้ร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป และสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร (2) ให้ผู้ถูกร้องเลือกอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนโดยแจ้งรายชื่อให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคําคัดค้าน หากผู้ถูกร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว สํานักงานจะเป็นผู้เลือกอนุญาโตตุลาการให้ผู้ถูกร้องแทน (3) ให้อนุญาโตตุลาการที่ได้รับเลือกตามวรรคสอง (1) และ (2) ร่วมกันเลือกอนุญาโตตุลาการอีกหนึ่งคนเพื่อทําหน้าที่เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ หากผู้ถูกร้องปฏิเสธการมีอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคน หรือผู้ถูกร้องไม่แสดงเจตนาว่าตกลงจะมีอนุญาโตตุลาการสามคนหรือไม่ภายในกําหนดเวลา ให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะมีอนุญาโตตุลาการจํานวนหนึ่งคน และให้ผู้ร้องเลือกรายชื่ออนุญาโตตุลาการโดยเรียงลําดับตามความพอใจสามลําดับ และแจ้งรายชื่อดังกล่าวให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งให้ผู้ร้องทราบถึงการปฏิเสธ หรือการไม่แสดงเจตนาของผู้ถูกร้อง หากผู้ร้องไม่แจ้งรายชื่อภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป และสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการที่ได้รับเลือกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้นําความในข้อ 14 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๖ เมื่อมีการเลือกอนุญาโตตุลาการตามข้อ 14 หรือข้อ 15 แล้ว ให้คู่กรณีตั้งอนุญาโตตุลาการตามแบบ อญ. 5 หรือแบบ อญ. 5-1 ที่สํานักงานกําหนด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ อนุญาโตตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งต้องเปิดเผยให้คู่กรณีทราบถึงข้อเท็จจริงที่อาจเป็นเหตุสงสัยในความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ (ถ้ามี) เมื่อได้รับการแต่งตั้งและตลอดระยะเวลาที่ทําหน้าที่ ข้อ ๑๘ หากปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยในความเป็นอิสระหรือความเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งรายใด คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นหนังสือคัดค้านการตั้งอนุญาโตตุลาการรายนั้นพร้อมด้วยเหตุผลของการคัดค้านตามแบบ อญ.6 ที่สํานักงานกําหนด ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุนั้น ทั้งนี้ ต้องกระทําก่อนวันที่อนุญาโตตุลาการสั่งปิดการพิจารณาข้อพิพาท หากสํานักงานเห็นชอบกับการคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการเลือกอนุญาโตตุลาการใหม่โดยนําความในข้อ 14 หรือข้อ 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ดําเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการใหม่หากข้อพิพาทนั้นมีอนุญาโตตุลาการเพียงคนเดียวหรือมีการคัดค้านอนุญาโตตุลาการทั้งคณะแต่หากการคัดค้านไม่เป็นผลให้ดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การที่อนุญาโตตุลาการถูกคัดค้านหรืออนุญาโตตุลาการขอถอนตัว มิได้หมายถึงการยอมรับถึงความถูกต้องแห่งเหตุคัดค้าน หมวด ๕ กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๙ กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการให้กระทําเป็นภาษาไทย ข้อ ๒๐ ไม่ว่าการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการจะได้ดําเนินไปแล้วเพียงใดหากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควร อนุญาโตตุลาการอาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นก็ได้ ข้อ ๒๑ การสืบพยานจะต้องดําเนินกระบวนพิจารณาโดยลับ เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงเป็นอย่างอื่น และให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้กําหนดว่าจะสืบพยานหรือฟังคําแถลงการณ์ด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ หรือจะดําเนินกระบวนพิจารณาโดยรับฟังเพียงพยานเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นใดก็ได้ ข้อ ๒๒ หากอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจําเป็นและสมควร อาจขอความเห็นเกี่ยวกับข้อพิพาทจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรืออาจขอความเห็นชอบจากคู่กรณีให้มีผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องในข้อพิพาทได้ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญต้องมีความเป็นอิสระ และไม่มีส่วนได้เสียกับคู่กรณีอันอาจทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นได้อย่างเป็นกลาง และยุติธรรม ให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้กําหนดค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินคนละ ห้าหมื่นบาทต่อข้อพิพาท และค่าตอบแทนดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 36 ข้อ ๒๓ ถ้าผู้ร้องไม่มาตามกําหนดนัดพิจารณานัดแรก และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเริ่มพิจารณา อนุญาโตตุลาการอาจสั่งจําหน่ายคําร้องเสนอข้อพิพาทเสีย หรือหากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจดําเนินกระบวนพิจารณาไปแต่ฝ่ายเดียวก็ได้ ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาตามกําหนดนัดพิจารณานัดอื่นใดที่มิใช่กําหนดนัดพิจารณานัดแรก และมิได้ยื่นคําร้องขอเลื่อนกระบวนพิจารณาหรือมิได้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเริ่มพิจารณา หากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรก็ให้ดําเนินกระบวนพิจารณาไปแต่ฝ่ายเดียว กรณีผู้ถูกร้องขอเลื่อนกําหนดนัดพิจารณาและอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรให้เลื่อนกระบวนพิจารณาได้แต่ไม่เกินสองนัด โดยอนุญาโตตุลาการอาจคิดค่าใช้จ่ายจากผู้ถูกร้องตามความเป็นจริง (ถ้ามี) เพื่อจ่ายให้กับผู้ร้องก็ได้ โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวมิให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามข้อ 36 ข้อ ๒๔ ถ้าคู่กรณีไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาเสนอต่ออนุญาโตตุลาการอีกให้อนุญาโตตุลาการสั่งปิดการพิจารณา หมวด ๖ คําชี้ขาด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๕ การทําคําชี้ขาดต้องให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตั้งอนุญาโตตุลาการ เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและสมควรให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายระยะเวลาออกไปได้อีกแต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตั้งอนุญาโตตุลาการหรือคู่กรณีจะตกลงขยายระยะเวลาเป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๖ ในกรณีที่เป็นข้อพิพาทที่มีอนุญาโตตุลาการสามคนเป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการมีคะแนนเสียงคนละหนึ่งเสียง และการทําคําชี้ขาดให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถทําคําชี้ขาดเนื่องจากไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ ให้ประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ทําคําชี้ขาดเพียงผู้เดียว ข้อ ๒๗ คําชี้ขาดจะต้องทําตามแบบ อญ.7 ที่สํานักงานกําหนด โดยสํานักงานจะส่งสําเนาคําชี้ขาดไปยังคู่กรณีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการมีคําชี้ขาด ข้อ ๒๘ สํานักงานอาจเปิดเผยคําชี้ขาดต่อสาธารณชนโดยไม่เปิดเผยชื่อจริงของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณียินยอม ข้อ ๒๙ ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อความในคําชี้ขาดคู่กรณีฝ่ายนั้นอาจยื่นคําร้องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้อนุญาโตตุลาการตีความข้อความดังกล่าว โดยยื่นผ่านสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คู่กรณีฝ่ายนั้นได้รับสําเนาคําชี้ขาด ทั้งนี้ ให้ถือว่าการตีความเป็นส่วนหนึ่งของคําชี้ขาดดังกล่าว ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามสมควร ข้อ ๓๐ ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการมิได้ชี้ขาดในประเด็นที่เป็นสาระสําคัญใดคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคําร้องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้อนุญาโตตุลาการทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมในประเด็นนั้น โดยยื่นผ่านสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คู่กรณีฝ่ายนั้นได้รับสําเนาคําชี้ขาด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามสมควร ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการเห็นว่าประเด็นนั้นเป็นสาระสําคัญและยังมิได้ชี้ขาดไว้ให้ทําคําชี้ขาดในประเด็นนั้นให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้อง หากอนุญาโตตุลาการเห็นว่าการทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมนั้นไม่อาจกระทําได้นอกจากจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงนั้นเพิ่มเติม อนุญาโตตุลาการอาจสั่งให้คู่กรณีนําพยานหลักฐานมาสืบได้ ทั้งนี้ อนุญาโตตุลาการจะต้องทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้อง เว้นแต่มีเหตุจําเป็นให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายเวลาออกไปได้อีกตามสมควร ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้อง ข้อ ๓๑ ให้อนุญาโตตุลาการส่งมอบสํานวนความและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้สํานักงานจัดเก็บ หมวด ๗ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการให้คิดในอัตราร้อยละสองของค่าเสียหายที่เรียกร้อง ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ํากว่าหนึ่งหมื่นบาท โดยอนุญาโตตุลาการจะกําหนดผู้มีหน้าที่ในการชําระค่าป่วยการดังกล่าว ในกรณีการร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามข้อ 8 ให้คิดค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามอัตราในวรรคหนึ่งจากค่าเสียหายที่เรียกร้องรวมกันทั้งหมด แต่ค่าป่วยการดังกล่าวไม่เกินห้าแสนบาทต่อข้อพิพาท และในกรณีที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการสามคนให้คิดค่าป่วยการตามอัตราดังกล่าว และอนุญาโตตุลาการแต่ละรายจะได้รับค่าป่วยการไม่เกินห้าแสนบาทต่อข้อพิพาท ข้อ ๓๓ หากผู้ร้องไม่วางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการและค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามที่กําหนดในข้อ 9(1) ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป ข้อ ๓๔ อนุญาโตตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคู่กรณีให้เป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทหนึ่งหมื่นบาทต่อข้อพิพาท โดยให้คู่กรณีรับภาระฝ่ายละกึ่งหนึ่ง ข้อ ๓๕ ในกรณีที่มีการยุติกระบวนการอนุญาโตตุลาการไม่ว่ากรณีใด หากอนุญาโตตุลาการมีคําสั่งให้คู่กรณีฝ่ายใดเป็นผู้มีหน้าที่ชําระค่าป่วยการ อนุญาโตตุลาการจะคืนเงินประกันค่าป่วยการโดยไม่มีดอกเบี้ยให้แก่คู่กรณีตามจํานวนที่คู่กรณีไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าป่วยการ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการมีคําสั่งเช่นว่านั้น ข้อ ๓๖ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ให้คู่กรณีรับภาระฝ่ายละกึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้ สํานักงานจะรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของผู้ร้องตามที่สํานักงานเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการคํานวณค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่ากระบวนการอนุญาโตตุลาการเริ่มตั้งแต่วันแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ หมวด ๘ การผ่อนผันระยะเวลา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๗ ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรที่ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องไม่อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องยื่นคําร้องขอขยายเวลาต่อสํานักงานก่อนสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว และให้สํานักงานมีคําสั่งให้ขยายระยะเวลาได้ตามสมควร (1) การแก้ไขเพิ่มเติมคําร้องเสนอข้อพิพาทตามข้อ 9(3) หรือคําคัดค้านข้อพิพาทตามข้อ 10 วรรคสอง (2) ก่อนการเริ่มกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการตามหมวด 5 (2) การยื่นคําคัดค้านข้อพิพาทตามข้อ 10 (3) การแจ้งและการคัดค้านรายชื่ออนุญาโตตุลาการ และการเลือกอนุญาโตตุลาการตามข้อ 14 และข้อ 15 (4) การคัดค้านการตั้งอนุญาโตตุลาการตามข้อ 18 อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 อื่นๆ - (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
5,641
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สํานักงานได้จัดให้มีกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ขึ้นเพิ่มเติมจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่มีอยู่เดิม จึงจําเป็นต้องปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงานให้สามารถรองรับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์และข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานมีความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่ผู้ลงทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 25/2544 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 22/2545 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อน. 7/2547 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ผู้ถูกร้อง” หมายความว่า (1) บริษัทหลักทรัพย์ (2) ตัวแทนจําหน่ายหุ้นในประเทศ (3) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล (5) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ร้อง” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทําของผู้ถูกร้อง รวมทั้งบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายจากผู้เสียหายดังกล่าว “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ การดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการนอกจากที่ได้ระบุไว้ในประกาศนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ ๕ ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ สํานักงานจะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของสํานักงานเป็นเจ้าหน้าที่ในงานธุรการให้กับอนุญาโตตุลาการ หมวด ๒ การเสนอข้อพิพาท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ ข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะเสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกร้องไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎเกณฑ์ที่ออกโดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงาน คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ (2) เป็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องแต่ละรายเรียกร้องค่าเสียหายไม่เกินหนึ่งล้านบาท และ (3) ในกรณีเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการให้บริการทางด้านหลักทรัพย์ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อพิพาทดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (ก) เป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ผู้ร้องรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งข้อพิพาทนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันเกิดเหตุที่ใช้เป็นข้ออ้างในการเรียกร้องสิทธิเว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร (ข) เป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ตกลงรับ เข้ารับหรือใช้บริการ หรือเข้าทําสัญญา กับผู้ถูกร้องเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือธุรกิจหลักทรัพย์ หรือเป็นข้อพิพาทระหว่างสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกับผู้ถูกร้อง โดยผู้ร้องต้องแสดงหลักฐานเป็นหนังสือหรือข้อสัญญาที่แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกร้องตกลงยินยอมให้มีการเสนอข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน (ค) เป็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องได้ยื่นข้อร้องเรียนผ่านระบบการรับข้อร้องเรียนตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับการรับข้อร้องเรียนของลูกค้า แล้วแต่กรณีแล้ว และปรากฏว่า 1. ผู้ร้องไม่ได้รับการติดต่อจากผู้มีหน้าที่แก้ไขข้อร้องเรียนตามที่ประกาศดังกล่าวกําหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน 2. ผู้ร้องไม่ได้รับการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน เว้นแต่ผู้ร้องตกลงขยายระยะเวลาดังกล่าว หรือ 3. ผู้ร้องไม่ได้รับการแก้ไขข้อร้องเรียนให้เป็นที่พอใจ ข้อ ๗ ในการเสนอข้อพิพาทต่อสํานักงาน ให้ผู้ร้องยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามแบบ อญ. 1 ที่สํานักงานกําหนด พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบตามที่ระบุในแบบดังกล่าว และสําเนา คําร้องเสนอข้อพิพาทในจํานวนที่เพียงพอเพื่อส่งให้ผู้ถูกร้อง ทั้งนี้ ผู้ร้องอาจแสดงความประสงค์ขอให้สํานักงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการมาพร้อมกับการยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ร้องหลายรายที่มีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ถูกร้องเป็นแบบเดียวกันอันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเดียวกัน และมีการเรียกร้องค่าเสียหายแต่ละรายไม่เกินหนึ่งล้านบาทผู้ร้องเหล่านั้นอาจร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทต่อสํานักงานได้ โดยทําเป็นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนเพื่อดําเนินกระบวนการพิจารณาตามแบบ อญ. 2 ที่สํานักงานกําหนด เพื่อดําเนินการใด ๆ ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการแทนผู้ร้องทุกราย พร้อมทั้งระบุจํานวนอนุญาโตตุลาการกรณีที่เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการมาพร้อมกับการยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทด้วย ข้อ ๙ เมื่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานตรวจคําร้องเสนอข้อพิพาทแล้วเห็นว่า (1) ผู้ร้องได้ยื่นคําร้องถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 7 และได้วางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการครบถ้วนตามข้อ 32 แล้ว สํานักงานจะลงทะเบียนรับคําร้องเสนอข้อพิพาทและส่งสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทดังกล่าวไปยังผู้ถูกร้องตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในคําร้องเสนอข้อพิพาทโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ (2) คําร้องเสนอข้อพิพาทไม่เป็นไปตามลักษณะในข้อ 6 สํานักงานจะแจ้งการไม่รับคําร้องและคืนคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้นไปยังผู้ร้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําร้องดังกล่าว (3) คําร้องเสนอข้อพิพาทไม่ครบถ้วนหรือไม่ชัดเจน ให้ผู้ร้องแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน ทั้งนี้ หากผู้ร้องไม่ดําเนินการภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินการต่อไปและสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับ คําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น ข้อ ๑๐ เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทแล้ว อาจยื่นคําคัดค้านข้อพิพาทตามแบบ อญ. 3 ที่สํานักงานกําหนด ต่อสํานักงานพร้อมแนบสําเนาคําคัดค้านข้อพิพาทในจํานวนที่เพียงพอที่จะส่งให้แก่ผู้ร้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาท โดยให้ผู้ถูกร้องวางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 32 มาพร้อมกับการยื่นคําคัดค้าน หรือภายในวันสุดท้ายที่อาจยื่นคําคัดค้านได้ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่คู่กรณีประสงค์จะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนในการดําเนินการใด ๆ ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ หรือประสงค์จะแต่งตั้งบุคคลใดเพื่อช่วยเหลือในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ให้แจ้งชื่อและที่อยู่ของบุคคลดังกล่าวเป็นหนังสือและยื่นต่อสํานักงาน หมวด ๓ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ร้องแสดงความประสงค์ขอให้สํานักงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการ สํานักงานจะแจ้งให้ผู้ถูกร้องทราบความประสงค์ดังกล่าวไปพร้อมกับการส่งสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทให้ผู้ถูกร้อง เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทที่ผู้ร้องประสงค์จะไกล่เกลี่ยให้ผู้ถูกร้องแจ้งให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือว่าประสงค์จะไกล่เกลี่ยหรือไม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาท และหากผู้ถูกร้องไม่แจ้งภายในเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ถูกร้องไม่ประสงค์จะไกล่เกลี่ย ทั้งนี้ ผู้ถูกร้องอาจยื่นคําคัดค้านข้อพิพาทมาพร้อมกับหนังสือแจ้งความประสงค์เรื่องการไกล่เกลี่ยข้างต้นได้ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นผลสําเร็จ ให้คู่กรณีทําสัญญาประนีประนอมตามแบบ อญ. 4 ที่สํานักงานกําหนด หากการไกล่เกลี่ยไม่สําเร็จ ไม่ว่าจะเกิดจากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้หรือสํานักงานเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะไกล่เกลี่ยต่อไป ให้คู่กรณีแจ้งต่อสํานักงานเพื่อขอยุติการไกล่เกลี่ย หรือสํานักงานสั่งให้ยุติการไกล่เกลี่ยดังกล่าว แล้วแต่กรณีและเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานต่อไป หมวด ๔ การตั้งและการคัดค้านอนุญาโตตุลาการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ ในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ให้มีอนุญาโตตุลาการจํานวนหนึ่งคนเป็นผู้ชี้ขาด เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 15 โดยให้คู่กรณีเลือกรายชื่ออนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้ร้องเลือกรายชื่ออนุญาโตตุลาการโดยเรียงลําดับตามความพอใจสามลําดับ และแจ้งรายชื่อดังกล่าวให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาท หรือวันที่สิ้นสุดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเนื่องจากการไกล่เกลี่ยไม่เป็นผลสําเร็จ แล้วแต่กรณีหากผู้ร้องไม่แจ้งรายชื่อภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไปและสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร (2) เมื่อสํานักงานจัดส่งรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่ผู้ร้องเลือกไว้สามชื่อให้แก่ผู้ถูกร้องแล้ว ให้ผู้ถูกร้องเลือกอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนจากรายชื่อทั้งสาม และแจ้งต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับรายชื่อนั้น หากผู้ถูกร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่ตนเลือกไว้หนึ่งรายชื่อภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะตั้งอนุญาโตตุลาการตามรายชื่อลําดับที่หนึ่งที่ผู้ร้องเลือกไว้ (3) ในกรณีที่ผู้ถูกร้องประสงค์จะคัดค้านรายชื่อทั้งสามที่ผู้ร้องเลือกไว้เนื่องจากมีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นอิสระหรือความเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการนั้น ให้ผู้ถูกร้องยื่นหนังสือคัดค้านการตั้งอนุญาโตตุลาการพร้อมด้วยเหตุผลของการคัดค้านตามแบบ อญ. 6 ที่สํานักงานกําหนด ต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับรายชื่อนั้น หากสํานักงาน เห็นว่าการคัดค้านดังกล่าวมีเหตุที่อาจกล่าวอ้างเพื่อคัดค้านอนุญาโตตุลาการได้ ให้ดําเนินการตาม (1) และ (2) โดยอนุโลมจนกว่าจะไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานได้ แต่ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าไม่มีเหตุในการคัดค้านอนุญาโตตุลาการ สํานักงานจะแจ้งให้ผู้ถูกร้องเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่อที่ผู้ร้องเลือกไว้สามรายชื่อดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการไม่มีเหตุคัดค้านให้ผู้ถูกร้องทราบ และหากผู้ถูกร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่ตนเลือกไว้หนึ่งรายชื่อภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์ จะตั้งอนุญาโตตุลาการตามรายชื่อลําดับที่หนึ่งที่ผู้ร้องเลือกไว้ (4) หากคู่กรณีไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานได้ หรือไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําร้องเสนอข้อพิพาทที่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การรับข้อพิพาท หรือวันที่สิ้นสุด การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเนื่องจากการไกล่เกลี่ยไม่เป็นผลสําเร็จ ให้ถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป และสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอ ข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีผู้ร้องหลายรายร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามข้อ 8 และมีการเรียกร้องค่าเสียหายรวมกันเกินกว่าหนึ่งล้านบาท ผู้ร้องอาจแสดงความประสงค์ให้มีคณะอนุญาโตตุลาการที่ประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคนได้ โดยให้แสดงความประสงค์เช่นนั้นมาในคําร้องเสนอข้อพิพาท และผู้ถูกร้องอาจแสดงเจตนาว่าตกลงจะมีอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคนหรือไม่มาในคําคัดค้านตามข้อ 10 ในกรณีที่คู่กรณีตกลงกันให้มีคณะอนุญาโตตุลาการที่ประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคน ให้คู่กรณีเลือกอนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้ร้องเลือกอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนโดยแจ้งรายชื่อให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคําคัดค้านของผู้ถูกร้องหรือวันที่สิ้นสุดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเนื่องจากการไกล่เกลี่ยไม่เป็นผลสําเร็จ แล้วแต่กรณี หากผู้ร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไปและสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร (2) ให้ผู้ถูกร้องเลือกอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนโดยแจ้งรายชื่อให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคําคัดค้านหรือวันที่สิ้นสุดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเนื่องจากการไกล่เกลี่ยไม่เป็นผลสําเร็จ หากผู้ถูกร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว สํานักงานจะเป็นผู้เลือกอนุญาโตตุลาการให้ผู้ถูกร้องแทน (3) ให้อนุญาโตตุลาการที่ได้รับเลือกตาม (1) และ (2) ร่วมกันเลือกอนุญาโตตุลาการอีกหนึ่งคนเพื่อทําหน้าที่เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ หากผู้ถูกร้องปฏิเสธการมีอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคน หรือผู้ถูกร้องไม่แสดงเจตนาว่าตกลงจะมีอนุญาโตตุลาการสามคนหรือไม่ภายในกําหนดเวลา ให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะมีอนุญาโตตุลาการจํานวนหนึ่งคน และให้ผู้ร้องเลือกรายชื่ออนุญาโตตุลาการโดยเรียงลําดับตาม ความพอใจสามลําดับ และแจ้งรายชื่อดังกล่าวให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งให้ผู้ร้องทราบถึงการปฏิเสธหรือการไม่แสดงเจตนาของผู้ถูกร้อง หากผู้ร้องไม่แจ้งรายชื่อภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป และสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่า มีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 14 (2) (3) และ (4) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๖ เมื่อมีการเลือกอนุญาโตตุลาการตามข้อ 14 หรือข้อ 15 แล้ว ให้คู่กรณีตั้งอนุญาโตตุลาการตามแบบ อญ. 5 หรือแบบ อญ. 5-1 ที่สํานักงานกําหนด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ อนุญาโตตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งต้องเปิดเผยให้คู่กรณีทราบถึงข้อเท็จจริงที่อาจเป็นเหตุสงสัยในความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ (ถ้ามี) เมื่อได้รับการแต่งตั้งและตลอดระยะเวลาที่ทําหน้าที่ ข้อ ๑๘ หากปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยในความเป็นอิสระหรือความเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งรายใด คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นหนังสือคัดค้านการตั้งอนุญาโตตุลาการรายนั้นพร้อมด้วยเหตุผลของการคัดค้านตามแบบ อญ.6 ที่สํานักงานกําหนด ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุนั้น ทั้งนี้ ต้องกระทําก่อนวันที่อนุญาโตตุลาการสั่งปิดการพิจารณาข้อพิพาท หากสํานักงานเห็นชอบกับการคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการเลือกอนุญาโตตุลาการใหม่โดยนําความในข้อ 14 หรือข้อ 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ดําเนินกระบวนพิจารณา อนุญาโตตุลาการใหม่หากข้อพิพาทนั้นมีอนุญาโตตุลาการเพียงคนเดียวหรือมีการคัดค้านอนุญาโตตุลาการทั้งคณะ แต่หากการคัดค้านไม่เป็นผลให้ดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การที่อนุญาโตตุลาการถูกคัดค้านหรืออนุญาโตตุลาการขอถอนตัว มิได้หมายถึงการยอมรับถึงความถูกต้องแห่งเหตุคัดค้าน หมวด ๕ กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๙ กระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการให้กระทําเป็นภาษาไทย ข้อ ๒๐ ไม่ว่าการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการจะได้ดําเนินไปแล้วเพียงใด หากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควร อนุญาโตตุลาการอาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นก็ได้ ข้อ ๒๑ การสืบพยานจะต้องดําเนินกระบวนพิจารณาโดยลับ เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงเป็นอย่างอื่น และให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้กําหนดว่าจะสืบพยานหรือฟังคําแถลงการณ์ด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ หรือจะดําเนินกระบวนพิจารณาโดยรับฟังเพียงพยานเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นใดก็ได้ ข้อ ๒๒ หากอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจําเป็นและสมควร อาจขอความเห็นเกี่ยวกับข้อพิพาทจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรืออาจขอความเห็นชอบจากคู่กรณีให้มีผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องในข้อพิพาทได้ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญต้องมีความเป็นอิสระ และไม่มีส่วนได้เสียกับคู่กรณีอันอาจทําให้ไม่สามารถให้ความเห็นได้อย่างเป็นกลาง และยุติธรรม ให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้กําหนดค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินคนละห้าหมื่นบาทต่อข้อพิพาท และค่าตอบแทนดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 36 ข้อ ๒๓ ถ้าผู้ร้องไม่มาตามกําหนดนัดพิจารณานัดแรก และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเริ่มพิจารณา อนุญาโตตุลาการอาจสั่งจําหน่ายคําร้องเสนอข้อพิพาทเสีย หรือหากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจดําเนินกระบวนพิจารณาไปแต่ฝ่ายเดียวก็ได้ ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาตามกําหนดนัดพิจารณานัดอื่นใดที่มิใช่กําหนดนัดพิจารณานัดแรก และมิได้ยื่นคําร้องขอเลื่อนกระบวนพิจารณาหรือมิได้แจ้งเหตุขัดข้องเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเริ่มพิจารณา หากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรก็ให้ดําเนินกระบวนพิจารณาไปแต่ฝ่ายเดียว กรณีผู้ถูกร้องขอเลื่อนกําหนดนัดพิจารณาและอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรให้เลื่อนกระบวนพิจารณาได้แต่ไม่เกินสองนัด โดยอนุญาโตตุลาการอาจคิดค่าใช้จ่ายจากผู้ถูกร้องตามความเป็นจริง (ถ้ามี) เพื่อจ่ายให้กับผู้ร้องก็ได้ โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวมิให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามข้อ 36 ข้อ ๒๔ ถ้าคู่กรณีไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาเสนอต่ออนุญาโตตุลาการอีกให้อนุญาโตตุลาการสั่งปิดการพิจารณา หมวด ๖ คําชี้ขาด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๕ การทําคําชี้ขาดต้องให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตั้งอนุญาโตตุลาการ เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและสมควรให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายระยะเวลาออกไปได้อีกแต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตั้งอนุญาโตตุลาการหรือคู่กรณีจะตกลงขยายระยะเวลาเป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๖ ในกรณีที่เป็นข้อพิพาทที่มีอนุญาโตตุลาการสามคนเป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการมีคะแนนเสียงคนละหนึ่งเสียง และการทําคําชี้ขาดให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถทําคําชี้ขาดเนื่องจากไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ ให้ประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ทําคําชี้ขาดเพียงผู้เดียว ข้อ ๒๗ คําชี้ขาดจะต้องทําตามแบบ อญ.7 ที่สํานักงานกําหนด โดยสํานักงานจะส่ง สําเนาคําชี้ขาดไปยังคู่กรณีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการมีคําชี้ขาด ข้อ ๒๘ สํานักงานอาจเปิดเผยคําชี้ขาดต่อสาธารณชนโดยไม่เปิดเผยชื่อจริงของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณียินยอม ข้อ ๒๙ ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อความในคําชี้ขาด คู่กรณีฝ่ายนั้นอาจยื่นคําร้องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้อนุญาโตตุลาการตีความข้อความดังกล่าว โดยยื่นผ่านสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คู่กรณีฝ่ายนั้นได้รับสําเนาคําชี้ขาด ทั้งนี้ ให้ถือว่าการตีความเป็นส่วนหนึ่งของคําชี้ขาดดังกล่าว ข้อ ๓๐ ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการมิได้ชี้ขาดในประเด็นที่เป็นสาระสําคัญใด คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคําร้องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้อนุญาโตตุลาการทําคําชี้ขาดเพิ่มเติม ในประเด็นนั้น โดยยื่นผ่านสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คู่กรณีฝ่ายนั้นได้รับสําเนาคําชี้ขาด ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการเห็นว่าประเด็นนั้นเป็นสาระสําคัญและยังมิได้ชี้ขาดไว้ ให้ทําคําชี้ขาดในประเด็นนั้นให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้อง หากอนุญาโตตุลาการเห็นว่าการทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมนั้นไม่อาจกระทําได้นอกจากจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงนั้นเพิ่มเติม อนุญาโตตุลาการอาจสั่งให้คู่กรณีนําพยานหลักฐานมาสืบได้ ทั้งนี้ อนุญาโตตุลาการจะต้องทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับคําร้อง เว้นแต่มีเหตุจําเป็นให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายเวลาออกไปได้อีก ตามสมควร ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้อง ข้อ ๓๑ ให้อนุญาโตตุลาการส่งมอบสํานวนความและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้สํานักงานจัดเก็บ หมวด ๗ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการให้คิดในอัตราร้อยละสองของค่าเสียหายที่เรียกร้อง ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ํากว่าห้าพันบาท โดยอนุญาโตตุลาการจะกําหนดผู้มีหน้าที่ในการชําระ ค่าป่วยการดังกล่าว ในกรณีการร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามข้อ 8 ให้คิดค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามอัตราในวรรคหนึ่งจากค่าเสียหายที่เรียกร้องรวมกันทั้งหมด แต่ค่าป่วยการดังกล่าวไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อข้อพิพาท และในกรณีที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการสามคนให้คิดค่าป่วยการตามอัตราดังกล่าว และอนุญาโตตุลาการแต่ละรายจะได้รับค่าป่วยการไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อข้อพิพาท ข้อ ๓๓ หากผู้ร้องไม่วางเงินประกันค่าป่วยการตามที่กําหนดในข้อ 9(1) ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป ข้อ ๓๔ อนุญาโตตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคู่กรณีให้เป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากสํานักงานในการพิจารณาข้อพิพาทครั้งละสองพันบาท แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองหมื่นบาทในแต่ละข้อพิพาท ข้อ ๓๕ ในกรณีที่มีการยุติกระบวนการอนุญาโตตุลาการไม่ว่ากรณีใด หากอนุญาโตตุลาการมีคําสั่งให้คู่กรณีฝ่ายใดเป็นผู้มีหน้าที่ชําระค่าป่วยการ อนุญาโตตุลาการจะคืนเงินประกันค่าป่วยการโดยไม่มีดอกเบี้ยให้แก่คู่กรณีตามจํานวนที่คู่กรณีไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าป่วยการ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการมีคําสั่งเช่นว่านั้น ข้อ ๓๖ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการสําหรับข้อพิพาทเกี่ยวกับการให้บริการทางด้านหลักทรัพย์ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพให้คู่กรณีรับภาระฝ่ายละกึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้ สํานักงานจะรับภาระค่าใช้จ่าย ในส่วนของผู้ร้องตามที่สํานักงานเห็นสมควร ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการสําหรับข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักงานจะรับภาระค่าใช้จ่ายเหล่านั้นทั้งหมด เพื่อประโยชน์ในการคํานวณค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง สํานักงานจะถือว่ากระบวนการอนุญาโตตุลาการเริ่มตั้งแต่วันแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
5,642
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 8 /2556 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 8 /2556 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงานให้สะดวก รวดเร็ว และมีความสอดคล้องกับทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้นสํานักงานจึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 และข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะเสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกร้องไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎเกณฑ์ที่ออกโดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) เป็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องแต่ละรายเรียกร้องค่าเสียหายไม่เกินหนึ่งล้านบาท (3) ในกรณีเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการให้บริการทางด้านหลักทรัพย์ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกฎเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะเสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (ก) เป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ผู้ร้องรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งข้อพิพาทนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันเกิดเหตุที่ใช้เป็นข้ออ้างในการเรียกร้องสิทธิเว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร (ข) เป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ตกลงรับ เข้ารับ หรือใช้บริการ หรือเข้าทําสัญญา กับผู้ถูกร้องเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือธุรกิจหลักทรัพย์ หรือเป็นข้อพิพาทระหว่างสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกับผู้ถูกร้อง โดยผู้ร้องต้องแสดงหลักฐานเป็นหนังสือหรือข้อสัญญาที่แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกร้องตกลงยินยอมให้มีการเสนอข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน (ค) เป็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องได้ยื่นข้อร้องเรียนผ่านระบบการรับข้อร้องเรียนตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับการรับข้อร้องเรียนของลูกค้า แล้วแต่กรณีแล้ว และปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. ผู้ร้องไม่ได้รับการติดต่อจากผู้มีหน้าที่แก้ไขข้อร้องเรียนตามที่ประกาศดังกล่าวกําหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน 2. ผู้ร้องไม่ได้รับการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน เว้นแต่ผู้ร้องตกลงขยายระยะเวลาดังกล่าว 3. ผู้ร้องเห็นว่าการแก้ไขข้อร้องเรียนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม และแสดงได้ว่าได้มีการสงวนสิทธิว่าอาจนําเสนอข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ข้อ 7 ในการเสนอข้อพิพาทต่อสํานักงาน ให้ผู้ร้องยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามแบบ อญ. 1 ที่สํานักงานกําหนด พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบตามที่ระบุในแบบดังกล่าว และสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทในจํานวนที่เพียงพอเพื่อส่งให้ผู้ถูกร้อง” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ผู้ร้องได้ยื่นคําร้องถูกต้องครบถ้วนตามข้อ 7 และได้วางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 32 และค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามข้อ 34 ครบถ้วนแล้ว สํานักงานจะลงทะเบียนรับคําร้องเสนอข้อพิพาทและส่งสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทดังกล่าวไปยังผู้ถูกร้อง ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในคําร้องเสนอข้อพิพาทโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาทแล้ว อาจยื่นคําคัดค้านข้อพิพาทตามแบบ อญ. 3 ที่สํานักงานกําหนด ต่อสํานักงานพร้อมแนบสําเนาคําคัดค้านข้อพิพาทในจํานวนที่เพียงพอที่จะส่งให้แก่ผู้ร้องภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสําเนาคําร้องเสนอข้อพิพาท โดยให้ผู้ถูกร้องวางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 32 และค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามข้อ 34 มาพร้อมกับการยื่นคําคัดค้าน หรือภายในวันสุดท้ายที่ยื่นคําคัดค้านได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานได้รับคําคัดค้านตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้ถูกร้องได้ยื่นคําคัดค้านข้อพิพาทถูกต้องครบถ้วนตามแบบ อญ. 3 และได้วางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 32 และค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามข้อ 34 ครบถ้วนแล้ว สํานักงานจะลงทะเบียนรับคําคัดค้านข้อพิพาท และส่งสําเนาคําคัดค้านข้อพิพาทดังกล่าวไปยังผู้ร้องตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในคําร้องเสนอข้อพิพาทโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ (2) ในกรณีที่คําคัดค้านข้อพิพาทไม่เป็นไปตามแบบ อญ. 3 หรือไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน ให้ผู้ถูกร้องแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกหมวด 3 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ข้อ 12 และข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 14 และข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 ในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ให้มีอนุญาโตตุลาการจํานวนหนึ่งคนเป็นผู้ชี้ขาด โดยให้คู่กรณีเลือกรายชื่ออนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ เว้นแต่กรณีที่มีผู้ร้องหลายรายร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาท ผู้ร้องอาจดําเนินการตามข้อ 15 ก็ได้ (1) ให้ผู้ร้องเลือกรายชื่ออนุญาโตตุลาการโดยเรียงลําดับตามความพอใจสามลําดับ และแจ้งรายชื่อดังกล่าวให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทหากผู้ร้องไม่แจ้งรายชื่อภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไปและสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร (2) เมื่อสํานักงานจัดส่งรายชื่ออนุญาโตตุลาการที่ผู้ร้องเลือกไว้สามชื่อให้แก่ผู้ถูกร้องแล้ว ให้ผู้ถูกร้องเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่อดังกล่าวโดยให้จัดลําดับรายชื่อตามความพอใจสามลําดับและแจ้งต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับรายชื่อนั้นโดยให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะตั้งอนุญาโตตุลาการในรายชื่อลําดับที่หนึ่งเป็นอนุญาโตตุลาการ ทั้งนี้ หากผู้ถูกร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะตั้อนุญาโตตุลาการตามลําดับรายชื่อที่ผู้ร้องเลือกไว้ (3) ในกรณีที่ผู้ถูกร้องประสงค์จะคัดค้านรายชื่อทั้งสามที่ผู้ร้องเลือกไว้เนื่องจากมีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นอิสระหรือความเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการนั้น ให้ผู้ถูกร้องยื่นหนังสือคัดค้านการตั้งอนุญาโตตุลาการพร้อมด้วยเหตุผลของการคัดค้านตามแบบ อญ. 6 ที่สํานักงานกําหนดต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับรายชื่อนั้น และให้สํานักงานดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าการคัดค้านดังกล่าวมีเหตุที่อาจกล่าวอ้างได้ให้สํานักงานดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) โดยอนุโลมจนกว่าจะไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานได้ (ข) ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าการคัดค้านดังกล่าวไม่มีเหตุที่อาจกล่าวอ้างได้ให้แจ้งให้ผู้ถูกร้องจัดลําดับรายชื่ออนุญาโตตุลาการตามความพอใจจากลําดับรายชื่อที่ผู้ร้องเลือกไว้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการไม่มีเหตุคัดค้านให้ผู้ถูกร้องทราบ และหากผู้ถูกร้องไม่แจ้งผลการจัดลําดับรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะตั้งอนุญาโตตุลาการตามลําดับรายชื่อที่ผู้ร้องเลือกไว้ (4) ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีได้เลือกไว้แล้วไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ถือว่าคู่กรณีประสงค์จะตั้งอนุญาโตตุลาการตามลําดับรายชื่อที่ผู้ถูกร้องจัดลําดับไว้ถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีได้เลือกไว้ทั้งสามลําดับไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) อีกครั้งจนกว่าจะไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานได้ ในกรณีที่คู่กรณีไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานได้ หรือไม่สามารถเลือกอนุญาโตตุลาการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําร้องเสนอข้อพิพาทที่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การรับข้อพิพาท ให้ถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป และสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร ข้อ 15 ในกรณีที่มีผู้ร้องหลายรายร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามข้อ 8 และมีการเรียกร้องค่าเสียหายรวมกันเกินกว่าหนึ่งล้านบาท ผู้ร้องอาจแสดงความประสงค์ให้มีคณะอนุญาโตตุลาการที่ประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคนได้ โดยให้แสดงความประสงค์เช่นนั้นมาในคําร้องเสนอข้อพิพาท และผู้ถูกร้องอาจแสดงเจตนาว่าตกลงจะมีอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคนหรือไม่ มาในคําคัดค้านตามข้อ 10 ในกรณีที่คู่กรณีตกลงกันให้มีคณะอนุญาโตตุลาการที่ประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคน ให้คู่กรณีเลือกอนุญาโตตุลาการจากทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสํานักงานด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้ร้องเลือกอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนโดยแจ้งรายชื่อให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคําคัดค้านของผู้ถูกร้อง หากผู้ร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป และสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร (2) ให้ผู้ถูกร้องเลือกอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนโดยแจ้งรายชื่อให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคําคัดค้าน หากผู้ถูกร้องไม่แจ้งรายชื่ออนุญาโตตุลาการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว สํานักงานจะเป็นผู้เลือกอนุญาโตตุลาการให้ผู้ถูกร้องแทน (3) ให้อนุญาโตตุลาการที่ได้รับเลือกตามวรรคสอง (1) และ (2) ร่วมกันเลือกอนุญาโตตุลาการอีกหนึ่งคนเพื่อทําหน้าที่เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ หากผู้ถูกร้องปฏิเสธการมีอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคน หรือผู้ถูกร้องไม่แสดงเจตนาว่าตกลงจะมีอนุญาโตตุลาการสามคนหรือไม่ภายในกําหนดเวลา ให้ถือว่าผู้ถูกร้องประสงค์จะมีอนุญาโตตุลาการจํานวนหนึ่งคน และให้ผู้ร้องเลือกรายชื่ออนุญาโตตุลาการโดยเรียงลําดับตามความพอใจสามลําดับ และแจ้งรายชื่อดังกล่าวให้สํานักงานทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งให้ผู้ร้องทราบถึงการปฏิเสธ หรือการไม่แสดงเจตนาของผู้ถูกร้อง หากผู้ร้องไม่แจ้งรายชื่อภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป และสํานักงานจะยุติการดําเนินการสําหรับคําร้องเสนอข้อพิพาทนั้น เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการที่ได้รับเลือกไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้นําความในข้อ 14 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 29 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 “ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามสมควร” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 30 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 30 ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการมิได้ชี้ขาดในประเด็นที่เป็นสาระสําคัญใดคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคําร้องต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อให้อนุญาโตตุลาการทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมในประเด็นนั้น โดยยื่นผ่านสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คู่กรณีฝ่ายนั้นได้รับสําเนาคําชี้ขาดทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามสมควร” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 32 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 32 ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการให้คิดในอัตราร้อยละสองของค่าเสียหายที่เรียกร้อง ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ํากว่าหนึ่งหมื่นบาท โดยอนุญาโตตุลาการจะกําหนดผู้มีหน้าที่ในการชําระค่าป่วยการดังกล่าว” ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 33 และข้อ 34 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 33 หากผู้ร้องไม่วางเงินประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการและค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามที่กําหนดในข้อ 9(1) ให้ถือว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป ข้อ 34 อนุญาโตตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคู่กรณีให้เป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทหนึ่งหมื่นบาทต่อข้อพิพาท โดยให้คู่กรณีรับภาระฝ่ายละกึ่งหนึ่ง” ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 36 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 36 ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ให้คู่กรณีรับภาระฝ่ายละกึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้ สํานักงานจะรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของผู้ร้องตามที่สํานักงานเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการคํานวณค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่ากระบวนการอนุญาโตตุลาการเริ่มตั้งแต่วันแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ” ข้อ ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 8 การผ่อนผันระยะเวลา และข้อ 37 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 “หมวด 8 การผ่อนผันระยะเวลา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 37 ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรที่ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องไม่อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องยื่นคําร้องขอขยายเวลาต่อสํานักงานก่อนสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว และให้สํานักงานมีคําสั่งให้ขยายระยะเวลาได้ตามสมควร (1) การแก้ไขเพิ่มเติมคําร้องเสนอข้อพิพาทตามข้อ 9(3) หรือคําคัดค้านข้อพิพาทตามข้อ 10 วรรคสอง (2) ก่อนการเริ่มกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการตามหมวด 5 (2) การยื่นคําคัดค้านข้อพิพาทตามข้อ 10 (3) การแจ้งและการคัดค้านรายชื่ออนุญาโตตุลาการ และการเลือกอนุญาโตตุลาการตามข้อ 14 และข้อ 15 (4) การคัดค้านการตั้งอนุญาโตตุลาการตามข้อ 18” ข้อ ๑๓ ค่าตอบแทนในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการสําหรับข้อพิพาทที่ผู้ร้องได้ยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทต่อสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ สํานักงานจะยังคงรับภาระค่าตอบแทนและ ค่าใช้จ่ายในส่วนของผู้ร้องและผู้ถูกร้องตั้งแต่เริ่มกระบวนการอนุญาโตตุลาการจนกระทั่งกระบวนการอนุญาโตตุลาการสิ้นสุดลงเมื่อมีคําชี้ขาดเสร็จเด็ดขาด หรืออนุญาโตตุลาการมีคําสั่งให้ยุติกระบวนพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ ๑๔ สําหรับข้อพิพาทที่ผู้ร้องได้ยื่นข้อร้องเรียนผ่านระบบการรับข้อร้องเรียนตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการรับข้อร้องเรียนของลูกค้า แล้วแต่กรณีแล้วและปรากฏว่าผู้ร้องไม่ได้รับการแก้ไขข้อร้องเรียนให้เป็นที่พอใจ ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ใช้ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะเงื่อนไขของข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะเสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานได้ ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับต่อไปได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดที่ได้แก้ไขตามข้อ 2 ของประกาศนี้ ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
5,643
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สค. 39/2559 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สค. 39/2559 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจํานวนทุนทรัพย์และกําหนดระยะเวลาในการเสนอข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานโดยได้นําหลักการตามความร่วมมือระหว่างตลาดทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมุ่งคุ้มครองผู้ลงทุนมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 8/2556 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะเสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงานต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกร้องไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือกฎเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว (2) เป็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องแต่ละรายเรียกร้องค่าเสียหายไม่เกินห้าล้านบาท (3) ในกรณีเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการให้บริการทางด้านหลักทรัพย์ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือกฎเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะเสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (ก) เป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ตกลงใช้บริการ หรือเข้าทําสัญญา กับผู้ถูกร้องเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือธุรกิจหลักทรัพย์ หรือเป็นข้อพิพาทระหว่างสมาชิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพกับผู้ถูกร้อง โดยผู้ร้องต้องแสดงหลักฐานเป็นหนังสือหรือข้อสัญญาที่แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกร้องตกลงยินยอมให้มีการเสนอข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (ข) เป็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องได้ยื่นข้อร้องเรียนผ่านระบบการรับข้อร้องเรียนตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับการรับข้อร้องเรียนของลูกค้า แล้วแต่กรณี และปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. ผู้ร้องไม่ได้รับการติดต่อจากผู้ถูกร้องตามที่ประกาศดังกล่าวกําหนดภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน 2. ผู้ร้องไม่ได้รับการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน 3. ผู้ร้องเห็นว่าการแก้ไขข้อร้องเรียนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม และแสดงได้ว่าได้มีการสงวนสิทธิว่าอาจนําเสนอข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (ค) เป็นข้อพิพาทที่เสนอเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการภายในหกเดือนนับแต่กําหนดระยะเวลาในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ข้อพิพาทดังกล่าวต้องเกิดขึ้นมาแล้วไม่เกินสองปีนับแต่เกิดเหตุที่ใช้เป็นข้ออ้างในการเรียกร้องสิทธิ เว้นแต่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรแต่ต้องไม่เกินกําหนดอายุความฟ้องคดีตามกฎหมาย 1. เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน ในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้รับการติดต่อจากผู้ถูกร้อง 2. เมื่อพ้นกําหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน ในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้รับการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จ 3. เมื่อพ้นกําหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นข้อร้องเรียน ในกรณีที่ผู้ร้องเห็นว่าการแก้ไขข้อร้องเรียนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ผู้ร้องหลายรายที่มีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ถูกร้องเป็นแบบเดียวกันอันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเดียวกัน และมีการเรียกร้องค่าเสียหายแต่ละรายไม่เกินห้าล้านบาท ผู้ร้องเหล่านั้นอาจร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทต่อสํานักงานได้ โดยทําเป็นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนเพื่อดําเนินกระบวนการพิจารณาตามแบบ อญ. 2 ที่สํานักงานกําหนด เพื่อดําเนินการใด ๆ ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการแทนผู้ร้องทุกราย พร้อมทั้งระบุจํานวนอนุญาโตตุลาการกรณีที่เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการมาพร้อมกับการยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทด้วย” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สอ. 8/2556 เรื่อง กระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่มีผู้ร้องหลายรายร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามข้อ 8 และมีการเรียกร้องค่าเสียหายรวมกันเกินกว่าห้าล้านบาท ผู้ร้องอาจแสดงความประสงค์ให้มีคณะอนุญาโตตุลาการที่ประกอบด้วยอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคนได้ โดยให้แสดงความประสงค์เช่นนั้นมาในคําร้องเสนอข้อพิพาท และผู้ถูกร้องอาจแสดงเจตนาว่าตกลงจะมีอนุญาโตตุลาการจํานวนสามคนหรือไม่ มาในคําคัดค้านตามข้อ 10” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 32 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีการร่วมกันยื่นคําร้องเสนอข้อพิพาทตามข้อ 8 ให้คิดค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการตามอัตราในวรรคหนึ่งจากค่าเสียหายที่เรียกร้องรวมกันทั้งหมด แต่ค่าป่วยการดังกล่าวไม่เกินห้าแสนบาทต่อข้อพิพาท และในกรณีที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการสามคนให้คิดค่าป่วยการตามอัตราดังกล่าว และอนุญาโตตุลาการแต่ละรายจะได้รับค่าป่วยการไม่เกินห้าแสนบาทต่อข้อพิพาท” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
5,644
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 277)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 277) ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ. 2559 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (5) (21) (22) (48) (195) และ (296) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (690) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 “(690) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สาขา 00019)” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป เว้นแต่กรณีตามข้อ 2 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565 ลวรณ แสงสนิท (นายลวรณ แสงสนิท) อธิบดีกรมสรรพากร
5,645
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 278)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 278) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 598) พ.ศ. 2559 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นคําขอเป็นผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (136) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(136) Innovation บริษัท เอสซีจี เคมีคอลส์ จํากัด (มหาชน)” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (691) (692) (693) (694) (695) (696) (697) (698) (699) (700) (701) (702) (703) (704) และ (705) ของข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง รายชื่อผู้รับทําการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 “(691) ฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท โกลคอนดา เอเชีย จํากัด (692) บริษัท ซีเอส ทาปิโอก้า วิจัยและนวัตกรรม จํากัด (693) แผนกงานวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัท อธิธารา คอนซัลแตนท์ จํากัด (694) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท มาย แพลตฟอร์ม จํากัด (695) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท แชท มี จํากัด (696) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท ดี โซลูชั่น ดอท คอม จํากัด (697) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท ดาต้า เน็กซ์ จํากัด (698) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม บริษัท มิวซ์ อินโนเวชั่น จํากัด (699) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท วัน เซ็นทริค จํากัด (700) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท ไทย โซลาร์เวย์ จํากัด (701) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท แมเนจ เอไอ โซลูชั่น จํากัด (702) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท ดิจิตอล เฮลท์ อินฟอร์เมติคส์ จํากัด (703) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท เอทรอน อินโนเวชั่น จํากัด (704) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท วัน มาร์เก็ตติ้ง จํากัด (705) ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท เน็กซ์พาย จํากัด” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับกรณีดังต่อไปนี้ (136) ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (691) ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป (692) ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป (693) ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (694) ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (695) ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (696) ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (697) ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (698) ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป (699) ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (700) ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (701) ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (702) ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (703) ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (704) ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (705) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ลวรณ แสงสนิท (นายลวรณ แสงสนิท) อธิบดีกรมสรรพากร
5,646
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 348/2565 เรื่อง มอบหมายการสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรกรณีการนำเข้า
คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 348/2565 เรื่อง มอบหมายการสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรกรณีการนําเข้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เพื่อให้การสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกตามความในมาตรา 89 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 11 ของคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 120/2545 เรื่อง มอบหมายการสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรกรณีการนําเข้า ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 มอบหมายให้เจ้าพนักงานประเมินสั่งงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีดังต่อไปนี้ โดยไม่ต้องมีคําร้องของผู้นําเข้า เฉพาะกรณีที่ผู้นําเข้าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนด้วยดี (1) ในกรณีที่ผู้นําเข้าได้รับการงดค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือกรณีที่ไม่อาจดําเนินการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรได้ภายในห้าปีนับแต่วันนําเข้าให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (2) ในกรณีที่มีการเรียกค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรน้อยกว่าหนึ่งเท่าของเงินอากรที่ขาด ให้ลดเบี้ยปรับลงคงเสียตามอัตราส่วนของค่าปรับที่เรียกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร (3) ในกรณีที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร แต่เจ้าพนักงานตรวจพบว่า ผู้นําเข้ายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทําให้จํานวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป ให้ลดเบี้ยปรับลงคงให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ (4) ในกรณีที่ผู้นําเข้าต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับเต็มอัตราตามกฎหมายมีจํานวนไม่เกิน 1,000 บาท ให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคําสั่งนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ลวรณ แสงสนิท (นายลวรณ แสงสนิท) อธิบดีกรมสรรพากร
5,647
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง และมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 43 และ มาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (2) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับ 2) พ.ศ. 2543ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2543 (3) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (4) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (5) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2556 ลงวันที 10 เมษายน พ.ศ. 2546 (6) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (7) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ลงวันที 26 มกราคม พ.ศ. 2549 (8) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 (9) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (10) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 (11) ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ข้อ ๒ ให้ระบุชื่อวัตถุอันตรายหรือที่มีชื่ออื่น แต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกันและ วัตถุที่มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายท้ายประกาศนี้ เป็นวัตถุอันตราย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมี ความเข้มข้นเพียงใดหรือนําไปใช้เพื่อการใด เว้นแต่จะมีการระบุความเข้มข้นหรือเงื่อนไขไว้เป็นการเฉพาะ ข้อ ๓ ให้แบ่งวัตถุอันตรายตามข้อ 2 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 และชนิดที่ 4 ข้อ ๔ ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตราย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555 (1) กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายตามบัญชี 1 ท้ายประกาศนี้ (2) กรมประมงรับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายตามบัญชี 2 ท้ายประกาศนี้ (3) กรมปศุสัตว์รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายตามบัญชี 3 ท้ายประกาศนี้ (4) สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายตามบัญชี 4 ท้ายประกาศนี้ (5) กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายตามบัญชี 5 ท้ายประกาศนี้ (6) กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายตามบัญชี 5 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายตามข้อ 2 ที่ได้ ดําเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ แจ้งการดําเนินการสําหรับ วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือยื่นคําขออนุญาตสําหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ภายในกําหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ และถ้าวัตถุอันตรายใดจะต้องขึ้นทะเบียน ก็ให้ยื่นคําขอ ขึ้นทะเบียนภายในกําหนดเวลาดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ ให้ใบสําคัญการขึ้นทะเบียน ใบรับแจ้ง ใบอนุญาต และการดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับ วัตถุอันตรายชนิดเดียวกันนั้น ที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไป ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึงสนธิสัญญาและข้อผูกพันระหว่างประเทศประกอบด้วย ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
5,648