title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 281/2530 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คำคู่ความหรือเอกสาร | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 281/2530
เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร
------------------------
ด้วยเห็นเป็นการสมควรให้กําหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร สําหรับพนักงานเดินหมาย กรมบังคับคดี ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยวิธีการแบ่งเขตและเหมาจ่ายค่าป่วยการ และค่าพาหนะ (เว้นแต่ในที่กันดารหรือทางไกลมากเป็นพิเศษ อันจําเป็นต้องใช้ยานพาหนะเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะราย) ทั้งนี้ โดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2502) ออกตามความใน พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ดังนี้
ข้อ ๑ หมาย คําคู่ความหรือเอกสารที่คู่ความต้องนําส่ง
1.1 เขตชั้นใน ให้จ่ายลาป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 40 บาท
1.2 เขตชั้นกลาง ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 60 บาท
1.3 เขตชั้นนอก ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 100 บาท
ข้อ ๒ หมาย คําคู่ความหรือเอกสารที่คู่ความไม่ต้องนําส่ง
2.1 ในกรณีที่อาจเบิกจากเงินค่าใช้จ่ายในคดี ให้เหมาจ่ายค่าป่วยการ และค่าพาหนะรวมเป็นเงินไม่สูงกว่ากึ่งหนึ่งของอัตราในข้อ 1
2.2 ในกรณีที่ไม่อาจจะเบิกจากเงินค่าใช้จ่ายในคดี ให้พนักงานเดินหมาย ซึ่งเป็นผู้ส่งในเรื่องนั้นมาก่อนโดยมีผู้นําหรือมีสิทธิเบิกในคดีเป็นผู้รับผิดชอบในการส่ง
ข้อ ๓ การแบ่งเขตพื้นที่สําหรับการส่งหมายในกรุงเทพมหานคร ปรากฏรายละเอียดตามบัญชี แนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 188/2522 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2522
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2531 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2530
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,449 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 274/2530 เรื่อง การเบิก - จ่ายค่านำหมายในคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 274/2530
เรื่อง การเบิก - จ่ายค่านําหมายในคดีล้มละลาย
-----------------
เพื่อให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานการเบิกเงินค่านําหมายในคดีล้มละลาย และการตรวจสอบการรับ - จ่ายเงินในสํานวนคดีล้มละลายสอดคล้องกัน โดยสามารถตรวจสอบเอกสารในสํานวน พร้อมทั้งการบันทึกบัญชีว่ามีการดําเนินการครบถ้วนแล้ว ตลอดจนให้มีการจัดเก็บเอกสารไว้ในสํานวน ให้ถูกต้อง จึงมีคําสั่งดังนี้
ข้อ ๑ ให้งานเดินหมายและประกาศเขียนรายละเอียดลงในใบเบิกว่าเป็นหมายของกองไหน พร้อมทั้งเรียงตามตัวอักษรตามชื่อจําเลยและตามกองส่งไปให้ฝ่ายบัญชีตรวจสอบว่ามีเงินในบัญชีขอเบิก จ่ายหรือไม่
ข้อ ๒ เมื่อได้รับแจ้งจากฝ่ายบัญชีว่ามีเงินเบิก - จ่ายได้ ให้จัดทําใบสรุปรายละเอียด การเบิก และเอกสารใบเบิกที่ได้เรียงตามตัวอักษรและตามกองที่ได้จัดทําไว้แต่ต้นส่งให้ฝ่ายบัญชี
ข้อ ๓ ฝ่ายบัญชีเมื่อตรวจสอบแล้ว เขียนใบสั่งจ่ายและประทับตราจายแล้วลงในใบเบิก แล้วส่งให้ฝ่ายการเงินเพื่อจ่าย
ข้อ ๔ ฝ่ายการเงินเมื่อจ่ายเงินแล้ว ให้ส่งเอกสารใบเบิกของแต่ละกองให้งานธุรการ ของแต่ละกองเพื่อทําให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าสํานวนต่อไป สําหรับใบสรุปให้ส่งให้ฝ่ายบัญชีเก็บรักษาไว้
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,450 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 267/2530 เรื่อง วิธีปฏิบัติในการยึดทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 267 2530
เรื่อง วิธีปฏิบัติในการยึดทรัพย์
--------------------
ตามที่กองบังคับคดีแพ่งได้กําหนดการออกยึดทรัพย์โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์ จะนํามือมาลงชื่อในสมุดที่จัดไว้ให้แต่ละวัน เพื่อจะออกไปทําการยึดให้แก่ผู้ที่มาลงชื่อตามลําดับ ก่อนหลัง นั่น
ปรากฏว่าวิธีการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา หรือผู้แทนที่ต้องรีบมาลงซื้อตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา และยังเปิดโอกาสให้มีการลงชื่อแทนกันได้จึงให้ยกเลิกวิธีปฏิบัติดังกล่าวและให้ดําเนินการใหม่ดังนี้
ข้อ ๑ ให้จัดทําสมุดลงบัญชีแสดงความประสงค์ขอนํายึดดังเช่นที่เคยปฏิบัติ แต่ให้ ปิดบัญชีเมื่อถึงเวลา 8.30 น. แล้วให้ตรวจดูว่ามีผู้มาขอยึดกี่ราย มีเจ้าพนักงานบังคับคดี เพียงพอที่จะออกไปยึดให้ทุกรายหรือไม่ หากมีเพียงพอก็ให้จัดเจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปยึด ให้ตามจํานวนนั้น
ข้อ ๒ กองใดมีเจ้าพนักงานบังคับคดีของกองไม่เพียงพอที่จะออกไปทําการยึดให้ได้ ทั้งหมดในเช้าวันนั้น ให้รีบแจ้งให้กองบังคับคดีแพ่งกองอื่นทราบ เพื่อให้จัดเจ้าพนักงานบังคับคดี ออกทําการยึดให้ในส่วนที่เหลือ
ข้อ ๓ หากทุกกองต่างก็มีเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เพียงพอที่จะทําการยึดให้ได้ทั้งหมด ตามที่กล่าวในข้อ 1 และ 2 ก็ให้จัดอันดับผู้มาขอนํายึดโดยการจับฉลาก ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ที่กองนั้นมีอยู่ออกทําการยึดให้แก่ผู้จับฉลากได้อันดับต้นตามจํานวนเจ้าพนักงาน และให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีที่กองอื่นจัดมาเสริมออกทําการยึดให้แก่ผู้จับฉลากได้ในอันดับถัดไป สําหรับผู้ขอนําปิดที่ จับฉลากได้อันดับท้าย ๆ ให้พยายามจัดเจ้าพนักงานออกไปทําการยึดให้ได้ทั้งหมดภายในวันนั้น หากไม่สามารถกระทําได้หรือผู้ขอนํายึดไม่อาจรอได้ ก็ให้นัดหมายมานํายึดในวันทําการรุ่งขึ้น โดยต้องมาแสดงตนก่อน 4.30 น. และให้มีสิทธิพิเศษเหนือผู้อื่นโดยไม่ต้องทําการจับฉลากอีก หากผู้ขอนํายึดรายใดแจ้งว่าไม่อาจมานยึดได้ในวันทําการรุ่งขึ้น หรือไม่ตกลงนัดหมาย หรือ ไม่มาตามนัดภายใน 4.30 น. ของวันทําการรุ่งขึ้น ให้ตัดสิทธิพิเศษนั้นเสีย
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแสดงความประสงค์ขอนยืดภายหลัง 8.00 น. ให้จัดเจ้าพนักงานบังคับคดีที่มีเหลืออยู่ไปทําการยึดให้ หากไม่สามารถจัดให้ได้ ก็ให้แนะนําให้มาแสดงความประสงค์ขอยึดก่อน 8.30 น. ของวันทําการถัดไป โดยไม่มีสิทธิ พิเศษใด ๆ
ข้อ ๕ ให้กองบังคับคดีแพ่งใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ย่างเต็มที่ในการจัดเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เพียงพอแก่การออกไปยึดทรัพย์ในแต่ละวัน โดยให้มีงานเหลือตกค้างไปวันถัดไปเฉพาะในกรณี จําเป็นจริง ๆ และต้องเร่งรัดให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว
ข้อ ๖ เจ้าพนักงานบังคับ บังคับคดีที่ออกไปทําการยึดในคดีของกองอื่นตามคําร้องขอในข้อ 2 จะเป็นผู้ที่ได้คะแนนและเงินค่าป่วยการสําหรับงานที่ทํา และเมื่อปฏิบัติงานเสร็จขั้นตอนแล้ว ให้ส่งสํานวนคืนให้แก่กองเจ้าของจํานวนเพื่อแจ้งการยึดแก่ผู้เกี่ยวข้องและดําเนินการต่อไป
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,451 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 219/2530 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการทําสง และรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 219/2530
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการนําส่ง และรับเงินของกรมบังคับคดี
------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 138/2527 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2527 ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแมนชั่วคราว กรรมการส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบ การเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการรับ-จ่ายเงิน การเก็บรักษาและการนําส่งและรับเงินของ ส่วนราชการ พ.ศ. 2560 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. ผู้อํานวยการกองคลัง (นางนิภา สินารา) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีและงบประมาณ (นางจํานงค์ ฉายานนท์) เป็นกรรมการ
3.หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางปรียา มาลีเวชรพงศ์) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1.หัวหน้างานพัสดุ (นางสาวพัชรี กฤษณะจูฑะ) เป็นกรรมการ
2. นักวิชาการเงินและบัญชี 5 (นางสาวทนใจ ศรีวังพล) เป็นกรรมการ
3.เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (นางศุภมาศ เหมไทรอย) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
1.หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางปรียา มาลีเวชรพง) เป็นกรรมการ
2.เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (บางนาศ เหมไทรอย) เป็นกรรมการ
3.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสุภรา กงสุวรรณ) เป็นกรรมการ
4.เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 5 (นางนงลักษณ์ เหงี่ยมวิทวัส) เป็นกรรมการ
5.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการ) เป็นกรรมการ
6. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 4 (นางสาววรรณี โนรีวงศ์) เป็นกรรมการ
7.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสาวฉันทนา เจริญทรัพย์) เป็นกรรมการ
8.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
9.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสมใจนึก นาครับ) เป็นกรรมการ
10. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางจรรยา นิลแสง) เป็นกรรมการ
11.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสาวฉวีวรรณ ภาคีแก้ว) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกัน ควบคุมเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลัง หรือหัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่น อย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2530 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2530
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,452 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 136/2530 เรื่อง การขอตรวจ คัดสำเนา หรือถ่ายภาพเอกสารในสำนวนคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 136/2530
เรื่อง การขอตรวจ คัดสําเนา หรือถ่ายภาพเอกสารในสํานวนคดีล้มละลาย
--------------------
ด้วยปรากฏว่าความ พยานหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบในคดีล้มละลาย ได้ร้องขอตรวจ คัดสําเนาหรือถ่ายภาพเอกสารในสํานวนคดีล้มละลายอยู่เสมอ เพื่อให้การส่งคําร้อง ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานเดียวกันและสมประโยชน์แก่ราชการกรมบังคับคดี จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ 1
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 106/2530 เรื่อง การขอตรวจ คัดสําเนาหรือ ถ่ายภาพคําให้การพยานหรือเอกสารอื่นใดในสํานวนคดีล้มละลาย ลงวันที่ 27 เมษายน 2530
ข้อ ๒ การขอตรวจ คัดสําเนาหรือถ่ายภาพเอกสารในสํานวนคดีล้มละลายนอกจาก ที่กําหนดไว้ในข้อ 1. ให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 54 มาใช้บังคับโดย อนุโลม แต่การสั่งไม่อนุญาตโดยเหตุผลนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย สําหรับในส่วนภูมิภาคให้อยู่ในดุลพินิจของ ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ประจําศาลแล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ การอนุญาตให้ตรวจ คัดสําเนาหรือถ่ายภาพคําให้การของผู้ถูกเพิกถอนการโอน ถูกทวงหนี้ ผู้ร้องขัดทรัพย์หรือผู้ร้องขอปฏิบัติตามสัญญา จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบ จากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย สําหรับในส่วนภูมิภาคให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ การตรวจ คัดสําเนาหรือถ่ายภาพเอกสารดังกล่าวข้างต้น ให้กระทําภายใน บริเวณกรมบังคับคดีหรือสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ประจําศาล ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบอย่างใกล้ชิด โดยคํานึงถึง ความปลอดภัยของเอกสารนั้น ๆ เป็นสําคัญ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2530
(นายสวน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,453 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 123/2530 เรื่อง การแจ้งการลาออกของลูกจ้างชั่วคราว | คําสั่งกรมบังคับ
ที่ 123/2530
เรื่อง การแจ้งการลาออกของลูกจ้างชั่วคราว
--------------------
เพื่อให้การดําเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างชั่วคราว สําหรับในกรณี ที่ลูกจ้างชั่วคราวผู้นั้นได้ลาออกจากราชการ ได้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รัดกุมและถูกต้อง
จึงมีคําสั่งให้หน่วยงานระดับกองถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อได้รับแจ้งการลาออกของลูกจ้างชั่วคราวให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานระดับกอง รีบแจ้งให้ฝ่ายบัญชีและงบประมาณ กองคลังทราบทันที โดยทางโทรศัพท์หรือโดยวิธีอื่นที่รวดเร็ว
ข้อ ๒ ทันทีที่ได้รับแจ้งตามข้อ 1. ให้หัวหน้าฝ่ายบัญชีและงบประมาณรายงานผู้อํานวยการ กองคลังสั่งระงับการจ่ายเงินค่าจ้างของลูกจ้างชั่วคราวผู้นั้นไว้ก่อน ถ้าเป็นกรณีจ่ายค่าจ้างผ่านเครื่อง เอ ที เอ็ม ให้แจ้งระงับการจ่ายเงินไปยังธนาคาร แล้วตรวจสอบปรับปรุงจํานวนเงินค่าจ้างนั้นเสียใหม่ ให้พร้อมที่จะจ่ายได้เท่าที่ลูกจ้างชั่วคราวผู้ลาออกมีสิทธิได้รับ
ข้อ ๓ เมื่อมีคําสั่งให้ลูกจ้างชั่วคราวลาออกได้แล้วให้สํานักงานเลขานุการกรมแจ้งคําสั่งให้ กองคลังทราบโด
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2530
(นายสวิน อักษรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,454 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 88/2530 เรื่อง การอายัดเงินในคดีของศาลต่างจังหวัด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 88/2530
เรื่อง การอายัดเงินในคดีของศาลต่างจังหวัด
---------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานของกรมบังคับคดีด้านการอายัดเงินในคดีของศาลต่างจังหวัด เป็นไปโดยถูกต้อง เรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินและสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาคต่าง ๆ ที่ได้รับแจ้งจากศาลให้ทําการอายัดแทนศาลต่างจังหวัด กวดขันดูแลให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้ทําการอายัดและรวบรวมเงินสุทธิส่งไปยังศาลนั้น ๆ โดยเร็ว ตามระยะเวลาที่ศาลนั้น ๆ กําหนดมา หรือทุกครั้งที่ได้รับเงินมาตามอายัด
ข้อ ๒ ห้ามมิให้รอเรื่องไว้ให้ความมาติดต่อขอรับเงินเสียก่อนจึงจะดําเนินการ หรือรอให้ศาลนั้น ๆ แจ้งเตือนมา หรือรอไว้หลาย ๆ งวดจึงรวมส่งไปเป็นคราวเดียว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน 2530
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,455 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 322/2531 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คำคู่ความ หรือเอกสาร | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 322/2531
เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความ หรือเอกสาร
-----------------------------
ด้วยเห็นสมควรทําการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความ หรือเอกสาร สําหรับพนักงานเป็นหมายในกรณีที่เกิดจากเงินค่าใช้จ่ายในคดีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงให้ยกเลิกความในข้อ 2.1 ของคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 281/2550 เรื่อง ค่าใช้จ่าย ในการส่งหมาย ความ หรือเอกสาร ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2530 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“2.1. ในกรณีที่อาจเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในคดี ให้เหมาจ่ายค่าป่วยการ และค่าพาหนะ รวมเป็นเงินไม่สูงกว่าอัตราในข้อ 1
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติกับการเบิกจ่ายค่าส่งหมาย คําคู่ความ หรือเอกสาร ที่ทําการเบิกจ่าย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2531
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,456 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 305/2531 เรื่อง ค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าพนักงานที่ดินในการยึดทรัพย์นายประกัน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 305/2531
เรื่อง ค่าใช้จ่ายสําหรับเจ้าพนักงานที่ดินในการยึดทรัพย์นายประกัน
--------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการที่เกี่ยวกับการบังคับคดีแก่นายประกันในคดีอาญา ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ดําเนินไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีความจําเป็นต้องขอความร่วมมือให้เจ้าพนักงานที่ดิน ไปดําเนินการชี้แนวเขตที่ดิน เพื่อยึดทรัพย์สินประเภทที่ดินของนายประกันในคดีอาญา การสั่งจ่าย ค่าพาหนะและค่าป่วยการให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี นอกจากจะให้สั่งจ่ายได้ตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 199/2522 เรื่อง การจ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการต่าง ๆ ในกรมบังคับคดี ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2522 และคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 93/2530 เรื่อง ให้ใช้บัญชีค่าพาหนะและค่าป่วยการในการยึดหรือขายทรัพย์ ในส่วนภูมิภาค ลงวันที่ 14 เมษายน 2530 แล้ว ให้สั่งจ่ายค่าใช้จ่ายสําหรับเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้ทดรองจ่ายไปตามจํานวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท สําหรับการ ชี้แนวเขตที่ดินในแต่ละวัน ถ้าได้ปฏิบัติการหลายสํานวนในวันเดียวกัน ให้เฉลี่ยภาระค่าใช้จ่ายไปตกอยู่ แก่ทุกสํานวนเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,457 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 306/2531 เรื่อง การปฏิบัติเมื่อผู้วางทรัพย์วางเงินประกันการชาธรรมเนียม | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 306/2531
เรื่อง การปฏิบัติเมื่อผู้วางทรัพย์วางเงินประกันการชาธรรมเนียม
---------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการ งานวางทรัพย์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคดําเนินไป ด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคําร้องขอวางทรัพย์และผู้วางทรัพย์จะต้องวางเงินประกัน ค่าฤชาธรรมเนียม ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการวางทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี พ.ศ. 2518 แล้ว ให้เจ้าพนักงานทําความตกลงกับผู้วางทรัพย์เป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่เจ้าหนีใดมารับทรัพย์ที่วางไว้ไปและเจ้าพนักงานจะต้องคืนเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม ให้แก่ผู้วางทรัพย์นั้น ผู้วางทรัพย์จะมารับเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมที่วางไว้คืนไปภายในกําหนด 10 นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้มารับทรัพย์ที่วางไป มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้วางทรัพย์สละสิทธิในเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม ที่วางไว้และยอมให้เงินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
ข้อ ๒ ถ้าผู้วางทรัพย์ไม่ยอมตกลงตาม 1. ให้เจ้าพนักงานบันทึกในคําร้องขอวางทรัพย์ เสนอหัวหน้าสํานักงานวางทรัพย์ เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งรับหรือไม่รับวางทรัพย์
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,458 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 65/2531 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยึดอายัดและจำหน่ายทรัพย์สินในคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 65/2531
เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับการยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
---------------------
เพื่อให้การดําเนินการเกี่ยวกับการยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ของส่วนกลางกรมบังคับคดีเป็นไปโดยเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและขจัดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ร้อน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินในคดีล้มละลายให้อยู่ในความรับผิดชอบดําเนินการ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าของสํานวนคดีล้มละลาย โดยไม่ต้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการให้
ข้อ ๒ การดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายที่เจ้าพนักงานบังคับคดี กองบังคับคดีแพ่งรับผิดชอบอยู่แต่ทรัพย์สินนั้นได้ตกอยู่ในอํานาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เช่น ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกระทําการยึดในคดีล้มละลายตามคําขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ในคดีแห่งแต่ได้ทําการโอนมาไว้ในคดีล้มละลายเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับไปดําเนินการต่อไปทันที
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับโอนสํานวนแล้ว ให้นําสํานวนที่รับโอนมาผูกพ่วง ไว้กับสํานวนจัดกิจการและทรัพย์สิน แล้วให้ตั้งสํานวนขึ้นใหม่ต่างหากเรียกชื่อว่า "สํานวนดําเนินการ ต่อจากเจ้าพนักงานบังคับคดี” โดยให้นําสรรพเอกสารที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการ หรือจําหน่ายทรัพย์สิน นั้นที่มีขึ้นภายหลังมากลัดรวมไว้ในสํานวนที่ตั้งใหม่
บรรดารายรับ รายจ่ายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับไว้ หรือสั่งจ่ายไปนับแต่วัน ที่ได้รับโอนสํานวน (ซึ่งจะปรากฏหลักฐานอยู่ในสํานวนที่ตั้งใหม่) ไม่ว่าจะเป็นรายรับหรือรายจ่ายที่เป็น ผลจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือไม่ ให้ถือว่าเป็นรายรับรายจ่ายในคดีล้มละลาย ทั้งสิ้น และการทําบัญชีเพื่อโอนเงินในคดีแพ่งเข้าสู่คดีล้มละลายให้กระทําไปพร้อมกับการทําบัญชีเพื่อ จ่ายเงินให้เจ้าหนี้มีประกันหรือบัญชีส่วนแบ่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ การโอนสํานวนในข้อ 2 ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะ ตรวจสอบสํานวนจัดกิจการและทรัพย์สิน แล้วเรียกโอนสํานวนมา นอกจากนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ยังต้องรับโอนสํานวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีโดนมาให้โดยไม่ได้เรียกอีกด้วย
ข้อ ๔ ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างที่การบังคับคดีแพ่งยังไม่สําเร็จบริบูรณ์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งรายการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในอํานาจหรือความยึดถือของตนให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการจําหน่ายทรัพย์สินนั้นต่อไปจนเสร็จสิ้น ได้เงินเท่าใดให้คอหักเป็นค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานบังคับคดี และค่าธรรมเนียมโจทก์ในขั้นบังคับคดี เหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย พร้อมด้วยทรัพย์ รายการอื่นที่เป็นตัวเงินอยู่แล้ว (ถ้ามี)
ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําสั่งศาลในระหว่าง พิจารณาคดีแพ่งหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการให้โอนทรัพย์สินที่ยึดไว้ตามหมายบังคับคดีแพ่ง มาไว้ในคดีล้มละลายจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ได้มากกว่า ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์สั่งโอนมาได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดี หรือ รองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดสิทธิเรียกร้องไว้ด้วย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกอายัดนั้นแก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นสืบต่อจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกข้อ 11 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 223/2529 เรื่อง การปฏิบัติราชการ กรมบังคับคดี ลงวันที่ 10 กันยายน 2529
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2531
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,459 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 44/2531 เรื่อง การแก้ไขคำผิดและตกเติมข้อความในเอกสารสำนวนความ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 44/2531
เรื่อง การแก้ไขคําผิดและตกเติมข้อความในเอกสารสํานวนความ
-----------------------
ด้วยปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีจํานวนมาก ยังคงนิยมใช้ยางลบหรือหมึกขาวลบคําผิดในการแก้ไขข้อความในเอกสารในสํานวนความ และการตกเพิ่มข้อความที่ไม่ลงชื่อกํากับ ซึ่งเป็นกรณีต้องห้ามตามมาตรา 46 แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ฉะนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีที่นิยมปฏิบัติฝ่าฝืน กฎหมายดังกล่าวข้างต้น แก้ไขวิธีปฏิบัติเสียใหม่ กล่าวคือ เอกสารในสํานวนความที่ทําขึ้นนั้น ถ้ามีผิดตกที่ใดห้ามมิให้ขูดลบออก แต่ไม่ขีดฆ่าเสียแล้วเขียนลงใหม่ และผู้เขียนต้องลงชื่อ กํากับไว้ริมกระดาษ ถ้ามีข้อความตกเต็มให้แตกเต็มลงลายมือชื่อ หรือลงชื่อย่อไว้เป็นสําคัญ และให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับระมัดระวังและกวดขันไม่ให้มีการกระทําที่ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว ข้างต้นอีกต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2531
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,460 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 43/2531 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับ
ที่ 43/2531
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์
--------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เกี่ยวกับ การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคําพิพากษาหรือลูกหนี้ผู้ล้มละลาย ได้เป็นไปโดยเรียบร้อยเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 94/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2541
ข้อ ๒ ให้ผู้ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในการยึดทรัพย์สินได้ดําเนินการโดยสุภาพ และระมัดระวังอย่าให้ เกิดความเสียหายเกินกว่าที่จําเป็น หรือมีการกลั่นแกล้งด้วยประการใด
ข้อ ๓ กรณียึดหรืออายัดทรัพย์สินซึ่งมีราคาตั้งแต่ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ขึ้นไป หรือ ยึดอายัดทรัพย์สินของบุคคลสําคัญ หรือบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์เสร็จแล้ว ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดี ผู้ที่ได้รับ มอบหมายทราบโดยมิชักช้า
ข้อ ๔ ให้หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทําการควบคุม ตรวจตราและดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ ข้าราชการในบังคับบัญชา ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,461 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 9/2558 เรื่อง ตรวจสอบผลการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 9/2558
เรื่อง ตรวจสอบผลการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
--------------------------------
เพื่อให้การดําเนินการบังคับคดีแห่งและคดีล้มละลายของเจ้าพนักงานบังคับคดีและ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินไปโดยมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ถูกขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่งกรมบังคับคดี มิให้เป็นเหตุให้ศาลต้องเพิกถอนการบังคับคดีไป เช่น แจ้งการยึดอายัด หรือส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ครบถ้วน ประกาศขายทอดตลาดไม่ระบุรายละเอียดให้ชัดแจ้ง หรือไม่ปิดประกาศขายทอดตลาด ณ ที่ทรัพย์ ตั้งอยู่ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในส่วน ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไป
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 365/2533 เรื่อง ตรวจสอบผลการยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2553
ข้อ ๒ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน 3 รายใดและได้ดําเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 303 หรือ 304 แล้ว ให้รีบทําบันทึกตามแบบรายงานการตรวจสอบผลการยึดหรืออายัดทรัพย์สินท้ายคําสั่งนี้ เสนอต่อ ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล ตรวจสอบว่าการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น ได้ดําเนินไปโดยชอบด้วยระเบียบหรือคําสั่งกรมบังคับคดีหรือไม่ ถ้าดําเนินการไม่ชอบให้มีคําสั่งแก้ไข ให้ถูกต้อง หากดําเนินการไปชอบแล้ว ให้ลงนามและวันที่ที่ทําการตรวจสอบไว้
ข้อ ๓ ให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล มีหน้าที่ตรวจประกาศ ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําขึ้นในแต่ละครั้ง ว่าชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบหรือคําสั่งกรมบังคับคดี เช่น มีรายละเอียดที่แสดงถึงลักษณะ สภาพของทรัพย์สิน และในกรณีทรัพย์สินที่จะขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ระบุที่ตั้งและ คงและแบบ แสดงทิศทางที่จะไปยังทรัพย์สินดังกล่าวไว้ถูกต้องแล้วหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องให้มีคําสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง หากถูกต้องแล้วให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาลแล้วแต่กรณี ลงนามในฐานะเป็นเจ้าพนักงาน ตามประกาศนั้นต่อไป
ข้อ ๔ ก่อนถึงกําหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์สินตามที่ประกาศไว้ในแต่ละคดี ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบผลการลงประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินว่า ได้มี การส่งและปิดประกาศโดยชอบแล้วหรือไม่ เช่น ได้ส่งให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียหรือปิดประกาศไว้ ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ แล้วหรือไม่ แล้วให้ทําบันทึกการตรวจสอบตามแบบรายงานการตรวจสอบผลการ ลงประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินหายคําสั่งนี้ เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ประจําศาลตรวจสอบและมีคําสั่ง หากการส่งประกาศขายทอดตลาดมิชอบให้มีคําสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง หากชอบแล้วก็ให้ดําเนินการขายทอดตลาดต่อไป
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2538
(นายประมาณ ติยะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,462 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 5/2538 เรื่อง การอายัดเงินในคดีของศาลต่างจังหวัด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 5/2538
เรื่อง การอายัดเงินในคดีของศาลต่างจังหวัด
----------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานของกรมบังคับคดีด้านการอายัดเงินในคดีของศาลต่างจังหวัดเป็นไป โดยถูกต้อง เรียบร้อย และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 88/2530 เรื่อง การอายัดเงินในคดีของศาลต่างจังหวัด ลงวันที่ 9 เมษายน 2560
ข้อ ๒ ให้กองบังคับคดีแพ่ง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ประจําศาลจังหวัดที่ได้รับแจ้งจากศาลให้ทําการอายัดแทนศาลต่างจังหวัด กวดขันดูแลให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้ทําการอายัดและรวบรวมเงินสุทธิส่งไปยังศาลนั้น ๆ โดยเร็วตามระยะเวลาที่ศาลนั้น ๆ กําหนดมา หรือทุกครั้งที่ได้รับเงินมาตามอายัด หรือตามระยะ ๆ เวลาที่เหนีตามคําพิพากษา ตกลงกับเจ้าพนักงานบังคับคดี
ข้อ ๓ ห้ามมิให้รอเรื่องไว้ให้ความมาติดต่อขอรับเงินเสียก่อนจึงจะดําเนินการ หรือรอให้ศาลนั้น ๆ แจ้งเตือนมา หรือรอไว้หลาย ๆ งวด จึงรวมส่งไปเป็นคราวเดียว เว้นแต่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะขอเปลี่ยนแปลงกําหนดระยะเวลาการส่งเงินในภายหลัง
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ถึง วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2538
(นายประมาณ ติยะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,463 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 41/2534 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวกรรมการนำส่ง และรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 41/2534
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการนําส่ง และรับเงินของกรมบังคับคดี
-------------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 219/2530 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2530 ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบ การเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการรับ-จ่ายเงิน การเก็บรักษาและการนําส่งและรับเงินของ ส่วนราชการ พ.ศ. 2520
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. ผู้อํานวยการกองคลัง (นางนิภา สินธารา) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีและงบประมาณ (นางสาวทูนใจ ศรีวังพล) เป็นกรรมการ
3. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางปรียา มาลีเวชรพงศ์) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก.ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1.หัวหน้างานพัสดุ (นางนงลักษณ์ ยุติธาดา) เป็นกรรมการ
2. นักวิชาการเงินและบัญชี (นางสุดาวัลย์ โลกโบว์) เป็นกรรมการ
3. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (นางศุภมาศ เหมไหรณย์) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําส่งเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน ให้ราราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกตั้งสํานักงาน คือ
1. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางปรียา มาลีเวชรพงศ์) เป็นกรรมการ
2. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (นางศุภมาก เหมไทรอย) เป็นกรรมการ
3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสุภา กงสวรรณ) เป็นกรรมการ
4. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ
5. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสิรีรัตน์ เกษร) เป็นกรรมการ
6. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
7. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางศิริพร โรชยาภรณ์) เป็นกรรมการ
8. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางฉวีวรรณ สุวรรณสัมพันธ์) เป็นกรรมการ
9. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 3 (นางสาวอนงค์ เที่ยงตรง) เป็นกรรมการ
10. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (จ่าโทหญิงกัลยา ดวงใจบุญ) เป็นกรรมการ
11. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางประชุมพร ทองนิล) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกัน ควบคุมเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลัง หรือหัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่น อย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยหนึ่งคนไปช่วยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และกรรมการ นําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2534
(นายสมชัย ศิริบุตร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,464 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 162/2532 เรื่อง การเก็บรักษาทรัพย์มีค่าที่ยึด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 162/2532
เรื่อง การเก็บรักษาทรัพย์มีค่าที่ยึด
-------------------
เนื่องจากกรมบังคับคดีได้มอบอาคารที่ทําการของสถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน ให้เป็นสถานที่ทําการของศาลแขวงตลิ่งชัน เป็นเหตุให้กรมบังคับคดีไม่มีห้องมั่นคงสําหรับเก็บรักษาทรัพย์ มีค่าที่ยึดมา ณ สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินอีกต่อไป
ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษาทรัพย์มีคํา จึงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งทําการยึดทรัพย์มีค่าอันได้แก่อัญมณีต่าง ๆ เช่น เครื่องเพชร ทอง เป็นต้น นําทรัพย์เหล่านั้นมาเก็บรักษาในห้องมันคง ณ อาคารที่ทําการกรมบังคับคดี ส่วนทรัพย์มีค่าที่เก็บรักษา ไว้ในห้องมั่นคงของสถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินมาแต่เดิม ให้นําไปเก็บรักษาไว้ในที่ที่ปลอดภัย ณ โกดัง 1 สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2532
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,465 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 87/2532 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสำหรับราชการส่วนกลาง | คําสั่งกรมบังจับคดี
ที่ 87/2532
เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลาง
-------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการที่เกี่ยวกับการรับชําระเงินด้วยเช็กลงวันที่ล่วงหน้าสําหรับราชการ ส่วนกลางกรมบังคับคดี ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย จึงมีคําสั่งให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้ลงในคําสั่ง กรมบังคับคดี ที่ 5/2518 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน ในคดีสําหรับราชการส่วนกลาง
“1.2 ทวิ ในกรณีที่ผู้นําเงินมาชําระหรือนําส่งในคดีตามข้อ 1.2 ด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ฉบับเดียวหรือหลายฉบับในคราวเดียวกันให้ผู้อํานวยการกองผู้มีหน้าที่หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ใช้ รับมอบหมายให้ดําเนินการเรื่องนั้น จดรายงานการรับเช็คนั้นโดยละเอียดว่าเป็นเช็ดของธนาคารได้ เลขที่เท่าไร ลงวันที่อะไร จํานวนเงินเท่าไร รับไว้เป็นเงินประเภทใด ในคดีใดของผู้ใด และมีเงื่อนไข อย่างใดหรือไม่ แล้วให้ส่งเช็คพร้อมต้นฉบับและสําเนารายงานดังกล่าวไปให้กองคลัง
1.2 ตรี ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินผู้ได้รับมอบหมายลงชื่อรับเช็คพร้อมสําเนารายงานตามข้อ 1.2 ทวิ ลงในต้นฉบับรายงานแล้วมอบต้นฉบับรายงานนั้นคืนไป เมื่อเด็ก ฉบับใดถึงกําหนดชาระให้กองคลังไปเรียกเก็บเงินแล้วรีบแจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คดังกล่าว ว่าได้หรือไม่ ไปให้ผู้อํานวยการกองเรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามข้อ 1.2 ทวี ทราบภายในกําหนด 7 วัน นับจากวันที่เรียกเก็บเงินได้ หรือนับจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วแต่กรณี และในกรณีที่เรียกเก็บ เงินตามเช็คได้ ให้กองคลังออกใบรับเงินส่งไปให้ด้วย เพื่อผู้อํานวยการกองหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังกล่าวจะได้มอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงินต่อไป"
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2532
(นายสวิน อักษรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,466 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 268/2535 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว กรรมการส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 268/2535
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว
กรรมการส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี
----------------------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 41/2535 ลงวันที่ 24 มกราคม 2554 ทั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบ การเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการรับ-จ่ายเงิน การเก็บรักษาและการนําส่งและรับเงินของ ส่วนราชการ พ.ศ.2520 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวกรรมการนําส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี 41/2534 ลงวันที่ 24 มกราคม 2534 จึงแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทน ชั่วคราว กรรมการส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก.กรรมการเก็บรักษาเงิน
1.ผู้อํานวยการกองคลัง (นางนิภา สินธารา) เป็นกรรมการ
2.หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดี (นางสุดาวัลย์ โลกโบว์) เป็นกรรมการ
3.หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางปรียา มาลีเวชรพงศ์) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว 04
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1.หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางสาวเพ็ญปี วานิชพงศ์) เป็นกรรมการ
2.หัวหน้าฝ่ายบัญชีและงบประมาณ (ม.ล.ภาพรรณ สันติกุญชร) เป็นกรรมการ
3.เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (บางศุภมาศ เหมไทรย์) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
1.หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางปรียา มาสเวชรพงศ์) เป็นกรรมการ
2.เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (นางศุภมาศ เหมไหรณย์) เป็นกรรมการ
3.เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 5 (นางสุภรา คงสุวรรณ) เป็นกรรมการ
4.เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 5 (นางพจนีย์ ระบบกิจการ) เป็นกรรมการ
5. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 4(นางสาวอนงค์ เที่ยงตรง) เป็นกรรมการ
6.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4(นางสาวสุดารัตน์ สุภาพบูลย์) เป็นกรรมการ
7. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสิริรัตน์ เกษร) เป็นกรรมการ
8. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
9.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางจรรยา นิลแสง) เป็นกรรมการ
10.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางปิยภรณ์ นิ่มนวล) เป็นกรรมการ
11.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางสาวสมัย พ่วงเภตรา) เป็นกรรมการ
12.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางประชุมพร ทองนิล) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกัน ควบคุมเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือ สถานที่ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ ผู้อํานวยการกองคลัง หรือหัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่น อย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และ กรรมการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2560 ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2535
(นายจีระ บุญพจนสุนทร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,467 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 227/2535 เรื่อง ตั้งกรรมการการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการนำส่งเงินหรือรับเงิน หรือนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงานของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจำศาล | คําสั่งกรมบังคับ
ที่ 227/2535
เรื่อง ตั้งกรรมการการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล
---------------------------
เพื่อให้การเก็บรักษาเงิน การนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ประจําศาลเป็นไปด้วยความสะดวก เรียบร้อย และถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ อาศัยอํานาจ ตามความในข้อ 53 แห่งระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 จึงมีคําสั่งแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรรมการเก็บรักษาเงิน
ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงิน คือ
1.1 หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล
1.2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี อาวุโสรองจากหัวหน้าสํานักงาน
1.3 เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
ข้อ ๒ กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินตามข้อ 1 ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการ
เก็บรักษาเงินได้ ให้ข้าราชการ ผู้ดํารงตําแหน่งต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ คือ
2.1 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี
2.2 เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
กรณีสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาลใดมีข้าราชการไม่เพียงพอที่จะมอบหมาย ให้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินหรือกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ประจําศาลรายงานผู้พิพากษาหัวหน้าศาลนั้น เพื่อขอให้มีคําสั่งมอบหมายให้ข้าราชการธุรการของศาลเข้าร่วม เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินหรือกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ทั้งนี้ ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีทราบด้วย
ข้อ ๓ กรรมการส่งเงินหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
3.1 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี
3.2 เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี หรือเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
กรณีการนําส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสดจํานวนมากหรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือมีกรณีอื่นใด จะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาลเป็นผู้พิจารณาจัดให้เจ้าพนักงาน ตํารวจคอยควบคุมความปลอดภัยด้วย
ข้อ ๔ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนําเงิน ส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด และให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล มอบหมายให้ข้าราชการ ผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวปฏิบัติตามคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2535
(นายศิวะ บุญ จนสุนทร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,468 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 186/2535 เรื่อง ข้อกำหนดและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2527 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 186/2535
เรื่อง ข้อกําหนดและวิธีดําเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2527
-------------------------
เพื่อให้การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 29/2527 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2527 เรื่อง ข้อกําหนดและวิธีดําเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2527 เหมาะสมแก่สภาวะ เศรษฐกิจในปัจจุบันยิ่งขึ้น จึงให้ยกเลิกความใน 2 (2.1) แห่งคําสั่งดังกล่าวแล้วให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
2.1 สําหรับการถึงแก่กรรมของข้าราชการและลูกจ้าง, คู่สมรส, บุพการีหรือบุตร ของข้าราชการและลูกจ้าง จ่ายรายละ 1,000 บาท เว้นแต่ อธิบดีกรมบังคับคดีหรือประธานคณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นสมควรเป็นอย่างอื่นๆ
นอกจากที่ยกเลิกนี้ให้เป็นไปตามคําสั่งเดิมทุกประการ
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,469 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 415/2536 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแดนชั่วคราวกรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 415/2536
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแดนชั่วคราว
กรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
---------------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 268/2555 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2535 ทั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตาม ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2550 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี 268/2535 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2555 จึงแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทน ชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. ผู้อํานวยการกองคลัง (นางจํานงค์ ฉายานนท์) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดี (นางสุดาวัลย์ โลกโบว์) เป็นกรรมการ
3. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางปรียา มาลีเวชรพงศ์) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ซึ่งไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1. หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางนงลักษณ์ ยุติธาดา) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีและงบประมาณ (ม.ล.ผกาพรรณ สันติกุญชร) เป็นกรรมการ
3. นักวิชาการเงินและบัญชี 7 (นางสาวสุเพ็ญมี วานิชพงศ์) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่าย นอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
1. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางปรียา มาลีเวชรพงศ์) เป็นกรรมการ
2. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (นางศุภมาศ เหมไทรย์) เป็นกรรมการ
3. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 5 (นางสุภรา กงสุวรรณ) เป็นกรรมการ
4. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 5 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ
5. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 4 (นางสาวอนงค์ เที่ยงตรง) เป็นกรรมการ
6. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางสาวสุดารัตน์ สุภาพวิบูลย์) เป็นกรรมการ
7. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
8. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางสาวสมัย ห่วงเภตรา) เป็นกรรมการ
9. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางประชุมพร ทองนิล) เป็นกรรมการ
10. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางนงนุช ฉัตรวิริยะเลิศ) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงิน ไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลัง หรือหัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วย ควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงิน ส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2536
(นายประมาณ ตียะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,470 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 393/2536 เรื่อง การยกเลิกคำสั่งกรมบังคับคดี เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 393/2536
เรื่อง การยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี
------------------------
ตามที่คณะกรรมการสวัสดิการกรมบังคับคดี ได้ประกาศใช้ระเบียบสวัสดิการกรมบังคับคดี ว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้าง พ.ศ. 2536 และกรมบังคับคดีได้ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยการ ให้กู้ยืมเงินสวัสดิการของมูลนิธิประมาณ ขันชื่อ เพื่อสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 แล้วนั้น จึงให้ยกเลิกคําสั่งเกี่ยวกับเงินสวัสดิการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 75/2525 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2525 เรื่อง ระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2525
ข้อ ๒ คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 29/2527 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2527 เรื่อง ข้อกําหนดและวิธีดําเนินการ เกี่ยวกับเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2529
ข้อ ๓ คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 85/2525 ลงวันที่ 9 เมษายน 2529 เรื่อง ข้อกําหนดและวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2529
ข้อ ๔ คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 186/2535 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2535 เรื่อง ข้อกําหนดและวิธี ดําเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2527
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
(นายประมาณ ตียะไพบูลย์อื่น)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,471 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2538
----------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ในเรื่องของวงเงินวิธีการดําเนินการ และอํานาจในการสั่งการ ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้การซื้อ การจ้างของ ส่วนราชการต่าง ๆ มีความสะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 19 ข้อ 20 และข้อ 21 แห่งระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 19 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้าง ครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 100,000 บาท
ข้อ 20 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้าง ครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
ข้อ 21 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้าง ครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 23 และข้อ 24 แห่งระเบียบสํานักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 23 การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ให้กระทําได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยส่วนราชการ หน่วยงาน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมาย บัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ
(2) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ
(3) เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
(4) เป็นพัสดุที่จําเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศหรือดําเนินการ โดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
(5) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจํากัดทางเทคนิค ที่จําเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความรวมถึงอะไหล่ รถประจําตําแหน่ง หรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามข้อ 60
(6) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจําเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
(7) เป็นพัสดุที่ได้ดําเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
ข้อ 24 การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ให้กระทําได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชํานาญเป็นพิเศษ
(2) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จําเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชํารุด เสียหายเสียก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
(3) เป็นงานที่ต้องกระทําโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ
(4) เป็นงานที่ต้องปกปิดเป็นความลับของทางราชการ
(5) เป็นงานที่ได้ดําเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 65 และข้อ 66 แห่งระเบียบสํานักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 65 การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งหนึ่ง นอกจากวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษให้เป็นอํานาจของผู้ดํารงตําแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(1) หัวหน้าส่วนราชการไม่เกิน 50,000,000 บาท
(2) ปลัดกระทรวงเกิน 50,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 1000,000,000 บาท
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเกิน 100,000,000 บาท
ข้อ 66 การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีพิเศษครั้งหนึ่ง ให้เป็นอํานาจของผู้ดํารง ตําแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(1) หัวหน้าส่วนราชการไม่เกิน 25,000,000 บาท
(2) ปลัดกระทรวงเกิน 25,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000,000 บาท
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเกิน 50,000,000 บาท”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 91 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 91 การสั่งจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอํานาจของผู้ดํารงตําแหน่ง และภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(1) หัวหน้าส่วนราชการไม่เกิน 50,000,000 บาท
(2) ปลัดกระทรวงเกิน 50,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000,000 บาท
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเกิน 100,000,000 บาท
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความ “ผู้มีอํานาจสั่งจ้าง” และความในข้อ 114แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “อํานาจในการสั่งจ้างออกแบบและควบคุมงาน
ข้อ 114 การสั่งจ้างออกแบบและควบคุมงานครั้งหนึ่ง ให้เป็นอํานาจของ ผู้ดํารงตําแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้
(1) หัวหน้าส่วนราชการไม่เกิน 10,000,000 บาท
(2) ปลัดกระทรวงเกิน 10,000,000 บาท”
ข้อ ๘ การพัสดุใดที่อยู่ในระหว่างดําเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ ระเบียบฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ดําเนินการต่อไปตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่า จะดําเนินการแล้วเสร็จหรือจนกว่าจะดําเนินการตามระเบียบนี้ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2538
บรรหาร ศิลปะอาชา
นายกรัฐมนตรี | 5,472 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2542
--------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบ คุณภาพ” ในข้อ 5 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ” หมายความว่า โรงงานที่ได้รับ การรับรองระบบคุณภาพ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 9001 หรือ มอก. 9002ในกิจการและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองจากสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอ เอส โอ หรือหน่วยงานที่กระทรวงอุตสาหกรรม ให้การรับรองระบบงาน (accreditation)”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2542
พิชัย รัตตกุล
รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน
นายกรัฐมนตรี | 5,473 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545
----------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ และที่แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติปรับปรุง พ.ศ. 2535 กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 10 และมาตรา 47 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 มาตรา 12 และมาตรา 161 คณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน ข้อ 4 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 11 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11 ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ เรียกโดยย่อว่า “กวพ. ประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทน สํานักงาน ป.ป.ช. ผู้แทนสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนสํานักงานบริหาร หนี้สาธารณะ ผู้แทนสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินห้าคน เป็นกรรมการ และให้เจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้ กวพ. แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสองปี ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้”
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ในข้อ 18 แห่งระเบียบสํานักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“(6) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลัง กําหนด”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2545
พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี | 5,474 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2552 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2552
---------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับการกําหนดตําแหน่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 32 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 32 ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก ผู้มีคุณสมบัติ เบื้องต้น ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอย่างน้อยห้าคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่และความ รับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ และในจํานวนนี้ต้องมีผู้ชํานาญการในเรื่องที่จัดซื้อหรือ จัดจ้างนั้นอย่างน้อยหนึ่งคน”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 35 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 35 คณะกรรมการตามข้อ 34 แต่ละคณะ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ ในกรณีจําเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการจะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการ ด้วยก็ได้”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 80 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 80 คณะกรรมการตามข้อ 25 ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่น อย่างน้อยสี่คน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ ในกรณีจําเป็นหรือ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ให้แต่งตั้งผู้แทนจากส่วนราชการอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ชํานาญการ ในงานที่จะจ้างที่ปรึกษาอีกไม่เกินสองคนเป็นกรรมการด้วย และในกรณีการจ้างที่ปรึกษาที่ดําเนินการ ด้วยเงินกู้ ให้มีผู้แทนจากสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะด้วยหนึ่งคน”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 98 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 98 ในการดําเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีตกลงแต่ละครั้ง ให้หัวหน้า ส่วนราชการแต่งตั้งกรรมการดําเนินการจ้างโดยวิธีตกลงขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ และอาจมีผู้ชํานาญการในกิจการนี้อีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วย คณะกรรมการดังกล่าวต้องมี จํานวนไม่ต่ํากว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนทั้งหมด จึงจะดําเนินการตามที่กําหนดไว้ได้”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 101 แห่งระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คณะกรรมการรับซองเสนองาน ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอย่างน้อย สองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ
คณะกรรมการดําเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่น อย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงาน ของรัฐ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ และอาจมี ผู้ชํานาญการในการนี้อีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วย”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 116 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่น อย่างน้อยสองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงาน ของรัฐ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ และอาจมี ผู้ชํานาญการในกิจการนี้อีกไม่เกินสองคนร่วมเป็นกรรมการด้วย”
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะแล้วเสร็จ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี | 5,475 |
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชำระบัญชี (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2543 | ระเบียบกระทรวงยุติธรรม
ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2543
----------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี ล้มละลายและการชําระบัญชีเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กระทรวงยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี ล้มละลายและการชําระบัญชี (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 43 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 43 บุคคลล้มละลายผู้ใดประสงค์จะขอให้ศาลมีคําสั่งปลดจาก ล้มละลายต้องวางเงินเพื่อเป็นประกันค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ไม่เกินห้าพันบาท”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 83 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 83 คดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลาง ให้กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นผู้รับจ่ายและรักษาเงิน เว้นแต่อธิบดีกรมบังคับคดีมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 88 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 88 บรรดาคําร้องและคําขอที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ใช้ i กระดาษแบบพิมพ์ตามที่กรมบังคับคดีได้จัดไว้โดยปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่รับคําคู่ความและเอกสารตรวจดูว่าได้เสียค่าธรรมเนียมครบถ้วน แล้วจึงรับไว้
เมื่อมีกรณีต้องใช้แบบพิมพ์ตามวรรคหนึ่ง คู่ความอาจจัดทําเอกสารตามรูปแบบ แห่งแบบพิมพ์นั้นด้วยวิธีการใดๆ โดยไม่จําเป็นต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์ตามที่ กรมบังคับคดีจัดไว้ให้ก็ได้”
ข้อ ๖ ความในข้อ 3 ให้ใช้บังคับแก่คดีล้มละลายที่ยื่นฟ้องต่อศาลตั้งแต่ วันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย
ข้อ ๗ ความในข้อ 4 ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีล้มละลายที่ยังไม่ถึงที่สุด ในวันเปิดทําการของศาลล้มละลายกลางซึ่งไม่ได้โอนมาพิจารณาในศาลล้มละลายกลาง หรือคดีที่อยู่ระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันเปิดทําการของ ศาลล้มละลายกลาง และให้ใช้ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลาย และการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นมาใช้บังคับแก่คดีดังกล่าว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
สุทัศน์ เงินหมื่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | 5,476 |
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชำระบัญชี (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2544 | ระเบียบกระทรวงยุติธรรม
ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี (ฉบับที่ 6)
พ.ศ. 2544
-----------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรแก้ไขระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดี ล้มละลายและการชําระบัญชีเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2542 และการแยกศาลออกจากกระทรวงยุติธรรมตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 กระทรวงยุติธรรม จึงวางระเบียบ ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดี ล้มละลายและการชําระบัญชี (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 1.4 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“1.4 ส่งไปโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียง หรือโดยวิธีอื่น เมื่อ เห็นสมควร
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 3 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และสํานักงานวางทรัพย์กลางทราบ ตามแบบ ล. 3 และแจ้งให้ส่วนราชการตามที่เห็นสมควรทราบด้วย
อนึ่ง ถ้าหากผู้ต้องพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล ก็ให้แจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ทราบด้วยอีกแห่งหนึ่ง”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 เมื่อโจทก์วางเงินประกันค่าธรรมเนียมและเงินค่าใช้จ่ายแล้ว และมีความประสงค์จะยึดทรัพย์ของลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ หรือขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดทรัพย์ของลูกหนี้แทน โดย โจทก์เป็นผู้นํายึด”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 เมื่อศาลมีคําสั่งถอนการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวแล้ว ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์ หรือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์ตามแบบ ล. 6 แล้วแต่กรณี และแจ้งคําสั่งศาล ให้สํานักงานวางทรัพย์กลาง และส่วนราชการตามที่เห็นสมควรทราบตามแบบ ล. 7 ด้วย
อนึ่ง ถ้าหากผู้ต้องพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล ก็ให้แจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ทราบด้วยอีกแห่งหนึ่ง”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 35 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 35 เมื่อศาลได้มีคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้แล้ว ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกประกาศตามแบบ ล. 19 โฆษณาคําสั่งตามระเบียบ ข้อ 1 ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งเห็นชอบ และแจ้งให้สํานักงานวางทรัพย์กลาง และส่วนราชการตามที่เห็นสมควรทราบ ตามแบบ ค. 20 ด้วยโดยอนุโลม
อนึ่ง ถ้าหากผู้ต้องพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล ก็ให้แจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ทราบด้วยอีกแห่งหนึ่ง”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 41 วรรคสอง แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 ทั้งหมด
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ 53 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 53 เมื่อศาลได้มีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้แล้ว ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แจ้งคําสั่งศาลให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้โต้แย้งทราบโดยไม่ชักช้า”
ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 54 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 54 ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ได้ยึดมานั้นให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นใด โดยปฏิบัติตามมาตรา 123 แห่งพระราช บัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หรือให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดแทน ตามแบบ ล. 32 ก็ได้”
ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 56 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 56 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะโอนกรรมสิทธิ์ หรือ ทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดินของผู้ล้มละลายนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง เจ้าพนักงานที่ดินจัดการโอน
ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 58 ถ้าบุคคลที่ได้รับแจ้งความตามข้อ 57 ปฏิเสธหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและทําความเห็น เมื่อเห็นว่าบุคคลนั้นไม่ได้เป็นหนี้ ก็ให้จําหน่ายชื่อออกเสียจากบัญชีลูกหนี้และแจ้งให้บุคคลนั้นทราบตามแบบ ล. 25 แต่ถ้าเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นหนี้เท่าใด ก็ให้แจ้งจํานวนหนี้เป็นหนังสือยืนยันไปยังบุคคล ที่จะต้องรับผิดนั้นตามแบบ ส. 36
ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 68 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 68 เมื่อพ้นระยะเวลาสิบวันนับแต่วันได้ทราบคําสั่งของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่มีผู้ใดยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งนั้น ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการขายทรัพย์ที่งดไว้ หรือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการ ขายทรัพย์ที่งดไว้ หรือถอนการยึดมอบทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของต่อไป แล้วแต่กรณี”
ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 75 วรรคสอง แห่งระเบียบกระทรวง ยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 ทั้งหมด
ข้อ ๑๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 76 วรรคสอง แห่งระเบียบกระทรวง ยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 ทั้งหมด
ข้อ ๑๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 83 วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ และ วรรคห้า แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระ บัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระ หรือนําส่งในคดี จะเป็นเงินสด เช็ค ดร๊าฟท์ หรือตั๋วเงินก็ดี ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการ ในเรื่องนั้น จดรายงานการรับเงินนั้น โดยละเอียดว่าเป็นเงินประเภทใด ในคดีใด ของผู้ใด จํานวนเงินเท่าใด และมีเงื่อนไขอย่างไรหรือไม่ แล้วนําผู้ชําระหรือผู้นํา ส่งเงินพร้อมกับสํานวนและรายงานดังกล่าวไปส่งที่กองคลัง เพื่อที่กองคลังจะได้รับเงิน และออกใบรับเงินให้ โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงนามในใบรับเงิน ตามแบบ ล. 47 ร่วมกับผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินให้มีสําเนา สามฉบับต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือนําส่งเงิน ส่วนสําเนากองคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว
เมื่อผู้อํานวยการกองคลังเห็นสมควรรับเงินเป็นเช็ค ให้จดเลขหมายเช็คในใบรับเงินด้วย
ในกรณีจะต้องตอบรับเงินจากผู้ส่งเงิน ให้ผู้อํานวยการกองคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตอบรับเงินพร้อมกับส่งใบรับเงิน
ในการจ่ายเงินนั้น ให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอรับเงินต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น เมื่อได้รับคําสั่งให้จ่ายเงินได้แล้ว ให้ ผู้นั้นทําใบรับเงินตามแบบ ล. 48 ที่กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ และให้กองคลัง จัดทําใบสั่งจ่ายเงิน ตามแบบ ล. 42 แล้วจ่ายเงินให้แก่ผู้ขอรับเงินนั้น ถ้ามีเหตุสงสัยว่าผู้ขอรับเงินมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียอันแท้จริง ผู้อํานวยการกองคลัง อาจสั่งให้ผู้ขอรับเงินหาผู้มารับรองจนเป็นที่พอใจก่อนก็ได้ และถ้าเป็นการมอบฉันทะ หรือมอบอํานาจให้ตัวแทนมารับเงินแล้ว อาจสั่งให้ตัวการมารับเองก็ได้”
ข้อ ๑๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 85.3 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน
“85.3 ปิดไว้ ณ สํานักงานหนึ่งฉบับ”
ข้อ ๑๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 88 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบกระทรวง ยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 88 บรรดาคําร้องและคําขอ ที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ใช้กระดาษแบบพิมพ์ตามที่กรมบังคับคดีได้จัดไว้ ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่รับคํา คู่ความและเอกสารตรวจดูว่าได้เสียค่าธรรมเนียมครบถ้วนแล้วจึงรับไว้
ข้อ ๑๙ ให้ยกเลิกความในข้อ 91 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 91 การส่งคําคู่ความ หรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับคดีล้มละลายตามปกติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้พนักงานเดินหมาย กรมบังคับคดี เป็นผู้ส่ง แต่ในกรณีรีบด่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในกอง ของตนเองเป็นผู้ส่งก็ได้ ในกรณีผู้รับมิได้อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้สํานักงาน บังคับคดีจังหวัดเป็นผู้ส่งหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้ แล้วแต่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเห็นสมควร”
ข้อ ๒๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 92 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 92 ในกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ยึดหรืออายัด หรือขายทรัพย์เองให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของ เจ้าพนักงานบังคับคดี พุทธศักราช 2522 โดยอนุโลม ค่าป่วยการและค่าพาหนะ ในการนี้ให้เบิกจ่ายจากเงินในคดีล้มละลายเรื่องนั้นๆ โดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พุทธศักราช 2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. 2477”
ข้อ ๒๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 43 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 ทั้งหมด
ข้อ ๒๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 56 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบกระทรวง ยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 96 เมื่ออธิบดีกรมบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น มีสํานักงาน ใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดของตนได้รับหมายศาลตั้งให้เป็นผู้ชําระบัญชีห้างหุ้นส่วนหรือ บริษัท ให้ผู้ชําระบัญชีสั่งให้ผู้ขอหมายวางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ตามแต่จะเห็นสมควร และภายในสิบสี่วัน นับแต่วันได้รับคําสั่งศาล”
ข้อ ๒๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 120 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 120 การแบ่งหน้าที่ระหว่างส่วนราชการภายในของกรม บังคับคดีเกี่ยวด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัทให้อยู่ ในอํานาจของอธิบดีกรมบังคับคดี ที่จะพิจารณาสั่งหรือวางระเบียบปฏิบัติเป็นการภายใน ทั้งนี้ ต้องอยู่ในขอบเขตแห่งกฎหมาย ตลอดจนให้มีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อขัดข้อง หรือข้อขัดแย้ง”
ข้อ ๒๔ ความในข้อ 14 และข้อ 15 ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีล้มละลาย ที่ยังไม่ถึงที่สุดในวันเปิดทําการของศาลล้มละลายกลาง ซึ่งไม่ได้โอนมาพิจารณา ในศาลล้มละลายกลาง หรือคดีที่อยู่ระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในวันเปิดทําการของศาลล้มละลายกลาง และให้ใช้ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วย การบังคับคดีล้มละลาย และการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นมาใช้ บังคับแก่คดีดังกล่าว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544
สุทัศน์ เงินหมื่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | 5,477 |
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชำระบัญชี (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2548 | ระเบียบกระทรวงยุติธรรม
ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2548
---------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและ การชําระบัญชี เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 กระทรวง ยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและ การชําระบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้ เป็นข้อ 49/1 ข้อ 49/2 และข้อ 49/2 ในหมวดที่ 2 บทที่ 8 การปลดจากล้มละลาย แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและ การชําระบัญชี พ.ศ. 2520
“ข้อ 49/1 ในกรณีที่บุคคลล้มละลายได้รับการปลดจากล้มละลาย เมื่อพ้นระยะเวลาตาม กฎหมาย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกประกาศตามแบบ ล. 25/1 และ โฆษณาการปลดจาก ล้มละลายตามข้อ 1
หากปรากฏว่ายังมีทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จและจัดแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ หรือในกรณีไม่ปรากฏทรัพย์สินให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานผลการปฏิบัติงานต่อศาล
ข้อ 49/2 ถ้าปรากฏว่าบุคคลล้มละลายคนใดมิได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการรวบรวมทรัพย์สินโดยไม่มีเหตุอันควร ก่อนพ้นระยะเวลาสามปีนับแต่ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคําขอต่อศาลให้หยุดนับระยะเวลาปลดจากล้มละลาย
ข้อ 49/3 เมื่อศาลมีคําสั่งให้หยุดนับระยะเวลาไว้แล้ว ต่อมาบุคคลล้มละลายได้ยื่นคําขอ ต่อศาลให้ยกเลิกเปลี่ยนแปลงคําสั่งดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับหมายกําหนดวันนัดไต่สวนของศาลแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกําหนดนัดดังกล่าวให้เจ้าหนี้ทั้งหลายทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2548
พลตํารวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | 5,478 |
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการในหน่วยราชการต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี พ.ศ. 2540 | ระเบียบกรมบังคับคดี
ว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการในหน่วยราชการต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี พ.ศ. 2540
---------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงการจัดเวรรักษาการณ์ในหน่วยราชการต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กรมบังคับคดีจึงวางระเบียบเกี่ยวกับการอยู่เวร รักษาการณ์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการณ์ในหน่วย ราชการต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี พ.ศ. 2540”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการอยู่เวรรักษาราชการในหน่วยราชการต่าง ๆ ในบริเวณกรมบังคับคด พ.ศ. 2523
(2) ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการอยู่เวรรักษาราชการในหน่วยราชการต่าง ในบริเวณกรมบังคับคดี(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523
(3) ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการอยู่เวรรักษาราชการในหน่วยราชการต่าง ๆ ในบริเวณกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2524
(4) ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการอยู่เวรรักษาราชการในหน่วยราชการต่าง ๆ ในบริเวณกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2527
(5) ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการอยู่เวรรักษาราชการในหน่วยราชการต่าง ๆ ในบริเวณกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2529
ข้อ ๔ บรรดากฎ ข้อบังคับ และระเบียบอื่นใดที่มีกําหนดไว้แล้ว หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับ ระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ในวันทําการนอกเวลาราชการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ถึง 7.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น และวันหยุดราชการ ให้จัดเวรรักษาการณ์ประจํา ดังนี้
(1) เสมียนเวร
เวรกลางวัน วันหยุดราชการให้จัดข้าราชการธุรการสตรี ตั้งแต่ระดับ 1ถึงระดับ 2 หรือลูกจ้างสตรี อยู่เวรรักษาการณ์วันละ 4 คน แบ่งออกเป็น 2 ผลัด ๆ ละ 2 คน ผลัดที่ 1 เริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 นาฬิกา ถึงเวลา 12.00 นาฬิกา ผลัดที่ 2 เริ่มตั้งแต่เวลา 12.00 นาฬิกา ถึงเวลา 18.00 นาฬิกา
เวรกลางคืน ให้จัดข้าราชการธุรการชาย ตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 2 และลูกจ้างชาย (ยกเว้นพนักงานขับรถยนต์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ขับรถหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ขับรถ) อยู่เวรรักษาการณ์เวรละ 2 คน ตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ถึงเวลา 07.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น
(2) หัวหน้าเวร
เวรกลางวัน ให้จัดข้าราชการธุรการสตรี ตั้งแต่ระดับ 3 ถึงระดับ 4 หรือ ลูกจ้างประจําสตรีตั้งแต่หมวดฝีมือขึ้นไป ซึ่งได้รับค่าจ้างเทียบได้ไม่ต่ํากว่าขั้นต่ําของระดับ 3 ขึ้นไปเป็นหัวหน้าเวรผลิตละ 1 คน
เวรกลางคืน ให้จัดข้าราชการธุรการขาย ระดับ 3 หรือลูกจ้างประจําชาย ตั้งแต่หมวดฝีมือขึ้นไป ซึ่งได้รับค่าจ้างเทียบได้ไม่ต่ํากว่าขั้นต่ําของระดับ 3 ขึ้นไป ยกเว้นตําแหน่งพนักงานขับรถยนต์เป็นหัวหน้าเวร เวรละ 1 คน
(3) ผู้ตรวจเวร ให้จัดข้าราชการธุรการชาย ตั้งแต่ระดับ 4 ถึงระดับ 5 เป็นผู้ตรวจเวร เวรละ 1 คน
ข้อ ๖ เมื่อเสมียนเวรและหัวหน้าเวรซึ่งอยู่เวรรักษาการณ์ระหว่างเวลา 18.00 นาฬิกา ถึง 7.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นพ้นหน้าที่แล้ว ให้หยุดราชการชดเชยได้ในวันรุ่งขึ้น 1 วัน หากวัน รุ่งขึ้นเป็นวันหยุดราชการให้งดการหยุดชดเชย
ข้อ ๗ หน้าที่เสมียนเวร
(1) การเข้าและออกเวรรักษาการณ์ต้องลงชื่อและเวลาในบัญชีอยู่เวรรักษาการณ์ที่ได้เตรียมไว้ เฉพาะวันหยุดราชการให้ผู้ที่จะออกเวรส่งมอบเวรให้แก่ผู้ที่จะเข้าเวรต่อไปด้วย
(2) อยู่เวรรักษาการณ์ตลอดเวลาที่กําหนดไว้ และให้อยู่ในบังคับบัญชาของหัวหน้าเวร "ถ้ามีกิจจําเป็นจะออกไปนอกสถานที่ที่อยู่เวรต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าเวรก่อน แต่ห้ามออกไปนอก สถานที่เกินกว่าเวลา 20.00 นาฬิกา หากผู้ตรวจเวรมาตรวจไม่พบผู้อยู่เวรถือว่าไม่มาปฏิบัติหน้าที่ อยู่เวรรักษาการณ์
(3) ขณะอยู่เวรรักษาการณ์ถือว่าอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ต้องประพฤติตน ให้เรียบร้อยและอยู่ในระเบียบวินัยข้าราชการ โดยเคร่งครัด ถ้าปรากฏว่าผู้อยู่เวรรักษาการและทั้งหน้าที่ กว่ากระทําผิดวินัย
(4) สอดส่องดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและร่วมมือกับบานรักษาการณ์ หรือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตรวจตรา ระมัดระวังป้องกันและระงับเหตุร้ายอันอาจจะเกิดขึ้นภายใน บริเวณกรมบังคับคดีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ
(5) ถ้ามีเหตุร้ายหรืออัคคีภัยเกิดขึ้น จะต้องช่วยกันปฏิบัติหน้าที่และให้มีอํานาจ เรียกยามรักษาการณ์หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ซึ่งขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ช่วยเหลือโดยมิชักช้า และหากมีผู้ที่อยู่ในบริเวณกรมบังคับคดีและบริเวณใกล้เคียงให้ขอความร่วมมือช่วยเหลือจากบุคคล ดังกล่าวโดยชักช้าเช่นกัน
(6) ขณะที่อยู่เวรรักษาการให้ช่วยกันรักษาความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการอยู่ เวรรักษาการณ์ และเมื่อจะพ้นหน้าที่ให้เก็บเสียง มุ่ง หมอน ตลอดจนเครื่องอุปกรณ์ในการอยู่เวร รักษาการณ์ให้เรียบร้อย
ข้อ ๘ หน้าที่หัวหน้าเวร
(1) มีหน้าที่ควบคุม ตรวจตรา สอดส่องให้เสมียนเวรและยามรักษาการณ์หรือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยปฏิบัติหน้าที่ให้ครบถ้วนและเรียบร้อย และให้เดินตรวจความเรียบร้อย ภายในบริเวณสถานที่รักษาการณ์โดยบันทึกในบัญชีอยู่เวรรักษาการณ์ให้ทราบด้วย ถ้ามีกิจจําเป็น จะไปนอกสถานที่จะต้องมอบหมายให้เสมียนเวรรักษาหน้าที่แทน แต่ห้ามออกไปนอกสถานที่เกินกว่า เวลา 20.00 นาฬิกา หากผู้ตรวจเวรมาตรวจไม่พบผู้อยู่เวรถือว่าไม่มาปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรรักษาการณ์
(2) ให้บันทึกเหตุการณ์ประจําวันและรายงานผู้ตรวจเวรทราบ ถ้าผู้ตรวจเวรไม่มา ตรวจเวรก็ให้บันทึกไว้ด้วย
(3) ขณะอยู่เวรรักษาการณ์ถือว่าอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ต้องประพฤติตน ให้เรียบร้อยและอยู่ในระเบียบวินัยข้าราชการโดยเคร่งครัด ถ้าปรากฏว่าผู้อยู่เวรรักษาการและทิ้ง หน้าที่ให้ถือว่ากระทําผิดวินัย
(4) สั่งการเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นตามแต่จะเห็นสมควร เพื่อระงับหรือแก้ไข เหตุการณ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และเมื่อมีเหตุร้ายหรืออัคคีภัยเกิดขึ้นให้จัดการระงับเหตุการณ์ พร้อมโทรศัพท์ติดต่อแจ้งเหตุไปยัง
- สถานีตํารวจนครบาลบางกอกน้อย หมายเลขโทรศัพท์ 4113035-6, 4113038
- สถานีตํารวจนครบาลตลิ่งชัน หมายเลขโทรศัพท์ 4240880
- สถานีตํารวจนครบาลบางขุนนนท์ หมายเลขโทรศัพท์ 4113408-10
- กองบังคับการตํารวจดังเพลง 199
- รถวิทยุตํารวจนครบาล 191, 282012-6
ถ้าติดต่อไม่ได้ให้รถยนต์ของทางราชการนาเสมียนเวรไปติดต่อแจ้งเหตุ ยังสถานีตํารวจโดยตรงหลังจากติดต่อแจ้งเหตุแล้วให้รีบรายงานให้อธิบดีกรมบังคับคดี รองอธิบดีกรมบังคับคดี และเลขานุการกรมทราบทางโทรศัพท์และฟังคําสั่งต่อไป
(5) เมื่อมีคําสั่งทางราชการแจ้งมาให้ผู้อยู่เวรปฏิบัติทันทีโดยมีกว่า ถ้าผู้อยู่เวร ไม่เข้าใจหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก็ให้รายงานให้อธิบดีกรมบังคับคดีทราบทางโทรศัพท์และฟังคําสั่ง ถ้ารายงานทางโทรศัพท์ไม่ได้ก็ให้นําไปเสนอที่บ้านของอธิบดีกรมบังคับคดี โดยใช้รถยนต์ของทาง ราชการ พร้อมกับรายงานให้เลขานุการกรมทราบด้วย
(6) ให้ตรวจตราดูแลให้เสมียนเวรจัดเก็บอุปกรณ์ในการอยู่เวรให้เรียบร้อยและ ครบถ้วนตามบัญชี
(7) ให้หัวหน้าเรามีหน้าที่รายงาน กรณี ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติ ตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 139/2523 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2523 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของ ข้าราชการกรมบังคับคดีโดยเคร่งครัด
ข้อ ๙ ให้ผู้อยู่เวรรักษาการณ์จัดการรับหนังสือที่ส่งมานอกเวลาราชการ โดยลงบัญชี ที่จัดไว้ให้เรียบร้อยและปฏิบัติตามระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการรับส่งหนังสือราชการและการรับ แจ้งเรื่องราชการทางโทรศัพท์นอกเวลาราชการ พ.ศ. 2523
ข้อ ๑๐ ให้ผู้อยู่เวรรักษาการณ์กลางวันร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 7 ข้อ 8 และ ข้อ 9 ในระหว่างอยู่เวรรักษาการณ์โดยอนุโลม
ข้อ ๑๑ เมื่อมีงานในหน้าที่ของผู้ที่จะต้องอยู่เวรรักษาการณ์ค้างปฏิบัติอยู่ก็ให้หัวหน้าหน่วย นั้น ๆ พิจารณาจัดให้ผู้อยู่เวรรักษาการณ์นั้นทําในขณะที่อยู่เวรรักษาการณ์ให้สําเร็จลุล่วงไปโดยมี รักช้า โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยแต่ละหน่วยที่ได้มอบหมายงานให้จัดทํา
ข้อ ๑๒ หน้าที่ผู้ตรวจเวร
(1) ตรวจตราให้ยามรักษาการณ์หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เสมียนเวร และหัวหน้าเวร ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้โดยเคร่งครัด และให้เดินตรวจความเรียบร้อยภายในบริเวณ ซึ่งอยู่เวรรักษาสถานที่ราชการด้วย
ข้อ ๑๖ ให้ผู้อํานวยการกองคลังจัดเครื่องมือเครื่องใช้ในการอยู่เวรรักษาการณ์ เช่น ที่นอน หมอน มุ้ง ตลอดจนเครื่องอุปกรณ์ในการใช้ดับเพลิงและอื่น ๆ ที่จําเป็นให้เป็นที่เรียบร้อย และใช้การได้ ทันท่วงที
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2540
(ลงชื่อ) วัฒนชัย โชติชูตระกูล
(นายวันชัย โชติตระกูล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,479 |
ระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการในหน่วยราชการต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 | ระเบียบกรมบังคับ
ว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการในหน่วยราชการต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2541
------------------------
โดยที่เห็นสมควรแก้ไขระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการณ์ในหน่วยราชการ ต่าง ๆของกรมบังคับคดีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กรมบังคับคดีจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการณ์ในหน่วยราชการ ต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 ของระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการอยู่เวรรักษาการณ์ใน หน่วยราชการต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี พ.ศ. 2540 โดยให้ใช้ความต่อไปนี้แทน.
“ข้อ 12 หน้าที่ตรวจเวร
(1) ตรวจตราให้ยามรักษาการณ์หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เสมียนเจรและหัวหน้าเวร ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้โดยเคร่งครัด และให้เดินตรวจความเรียบร้อยภายในบริเวณซึ่งอยู่เวร รักษาสถานที่ราชการด้วย
(2) ผู้ตรวจเวร ไม่จําต้องอยู่เวรประจํา แต่ต้องมาตรวจเวรอย่างน้อยวันละครั้ง ในกรณี ผู้ตรวจเวรกลางคืนต้องมาตรวจเวรในช่วงเวลา 20.00 - 24.00 นาฬิกา ของวันที่มีหน้าที่ตรวจเวร และ เมื่อได้ตรวจเวรแล้วให้บันทึกไว้ในบัญชีเวรด้วยว่าตรวจเวลาเท่าใด กลับเมื่อใด และมีผู้อยู่เวรรักษาการณ์ครบถ้วนหรือไม่”
ข้อ ๓ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2541
(ลงชื่อ) วัฒนชัย โชติชูตระกูล
(นายวัฒนชัย โชติชูตระกูล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,480 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา ในการจัดทำและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา
ในการจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2552
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทต่อคณะกรรมการ โดยผ่านสํานักงาน ดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว
(2) งบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาแล้วที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
(3) รายงานประจําปีแสดงการดําเนินงานของบริษัท
ข้อ ๔ การจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทําบัญชีและงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีและผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
ข้อ ๕ การจัดทํารายงานประจําปีให้ใช้เกณฑ์การรับรู้และวัดมูลค่าตามนัยแห่งกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
ข้อ ๖ การยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัท ให้เป็นไปตามแบบและระยะเวลา ดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้บริษัทยื่นภายในกําหนดเวลา ดังต่อไปนี้
(ก) หกสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส สําหรับงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ปี พ.ศ. 2553 และปี พ.ศ. 2554
(ข) สี่สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส สําหรับงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
(2) งบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว ให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้บริษัทยื่นภายในกําหนดเวลา ดังต่อไปนี้
(ก) ห้าเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีปฏิทินแต่ละรอบ สําหรับงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว ปี พ.ศ. 2552 และปี พ.ศ. 2553
(ข) สี่เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีปฏิทินแต่ละรอบ สําหรับงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
(3) รายงานประจําปีแสดงการดําเนินงานของบริษัท ให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยให้บริษัทยื่นภายในกําหนดเวลา ดังต่อไปนี้
(ก) ห้าเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีปฏิทินแต่ละรอบ สําหรับรายงานประจําปีแสดงการดําเนินงานของบริษัท ปี พ.ศ. 2552 และปี พ.ศ. 2553
(ข) สี่เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีปฏิทินแต่ละรอบ สําหรับรายงานประจําปีแสดงการดําเนินงานของบริษัท ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนเนื่องจากประเทศประสบภัยพิบัติร้ายแรง หรือมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณชน ทําให้บริษัทไม่สามารถยื่นงบการเงินหรือรายงานประจําปีได้ภายในกําหนดเวลาตาม (1) (2) (3) ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมการมีอํานาจขยายระยะเวลาได้ตามความจําเป็นแล้วให้รายงานคณะกรรมการทราบ
ข้อ ๗ การยื่นงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาแล้วของบริษัทตามประกาศฉบับนี้ทุกงวด ให้ยื่นในรูปกระดาษ (Hard copy) และไฟล์บันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในดิสเกตต์ (Diskette) หรือในรูปกระดาษ (Hard copy) และไฟล์บันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แผ่นซีดี (Compact disc : CD)
การยื่นรายงานประจําปีแสดงการดําเนินงานของบริษัทตามประกาศฉบับนี้ทุกงวด ให้ยื่นตามคู่มือการจัดทําข้อมูลทางการเงินประจําปีในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้พัฒนาโดยสํานักงาน ทั้งนี้ หากข้อมูลดังกล่าวไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ที่กําหนดไว้ตามคู่มือการจัดทําข้อมูลทางการเงินประจําปี ให้ถือว่าบริษัทยังไม่ได้ยื่นรายงานตามความในประกาศนี้
ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถยื่นรายงานในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้พัฒนาโดยสํานักงานตามวรรคสองได้ บริษัทอาจร้องขอขยายเวลาต่อนายทะเบียนก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นรายงานครั้งนั้นได้ โดยต้องระบุเหตุผลและความจําเป็นด้วย หากนายทะเบียนเห็นสมควร จะอนุญาตขยายระยะเวลาก็ได้ ทั้งนี้ บริษัทต้องยื่นรายงานในรูปกระดาษ (Hard copy) จํานวน 2 ชุด มาพร้อมกับการร้องขอขยายระยะเวลาด้วย
ข้อ ๘ การยื่นงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาแล้วของบริษัทตามข้อ 7 วรรคแรก รายงานในรูปกระดาษต้องมีข้อความถูกต้องตรงกับรายงานในรูปไฟล์บันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในดิสเกตต์ (Diskette) หรือในแผ่นซีดี (Compact disc : CD) และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผลการดําเนินงานตามงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จประจําปีของบริษัทเปลี่ยนแปลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนเกินร้อยละยี่สิบ ให้บริษัทจัดทํารายงานชี้แจงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและยื่นต่อคณะกรรมการ โดยผ่านสํานักงาน พร้อมกับงบการเงินที่บริษัทต้องยื่นส่งตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,481 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย
และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร
พ.ศ. 2552
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (6) และมาตรา 65/2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
หมวด ๑ ความทั่วไป
-------------------------------------
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“ตัวแทนประกันวินาศภัย” หมายความว่า ตัวแทนประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า นายหน้าประกันวินาศภัยตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“ผู้มุ่งหวัง” หมายความว่า ผู้ที่ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยชักชวนหรือชี้ช่อง หรือจัดการให้ทําประกันวินาศภัย
“การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย” ในกรณีบริษัท หมายความว่า การเชิญชวนให้ผู้มุ่งหวังทําประกันภัย ในกรณีที่กระทําโดยตัวแทนประกันวินาศภัย หมายความว่า การชักชวนผู้มุ่งหวังให้ทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท ในกรณีที่กระทําโดยนายหน้าประกันวินาศภัยและธนาคาร หมายความว่าการชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้มุ่งหวังทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท
ข้อ ๔ ในการออกและเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย ให้บริษัทปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๕ การปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดให้ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยต้องปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติภายใต้การจัดการของบริษัทในประกาศนี้
ข้อ ๖ ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้อาจเป็นเหตุให้นายทะเบียนมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณีตามความในมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
หมวด ๒ การออกกรมธรรม์ประกันภัย
------------------------------------
ข้อ ๗ เมื่อบริษัทพิจารณาตอบตกลงรับประกันภัยรายใด ให้บริษัทส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญาให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทจะต้องแนบเอกสารสรุปเงื่อนไขความคุ้มครอง ข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยไปพร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัยนั้น
กรณีเป็นการรับประกันภัยกลุ่ม ให้บริษัทส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย ส่วนผู้ได้รับความคุ้มครองหรือสมาชิกผู้เอาประกันภัย ให้บริษัทออกหนังสือรับรองการประกันภัย พร้อมเอกสารสรุปเงื่อนไข ความคุ้มครอง ข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้ได้รับความคุ้มครอง หรือสมาชิกผู้เอาประกันภัยแต่ละราย
หมวด ๓ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย
--------------------------------
ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดการให้ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคารทําการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๙ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยให้บริษัทสามารถกระทําได้ ดังนี้
9.1 การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย
9.2 การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์
9.3 การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านไปรษณีย์ (Direct mail)
9.4 การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านธนาคาร (Bancassurance)
9.5 การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยโดยวิธีอื่น นอกเหนือจาก 9.1, 9.2, 9.3 และ 9.4
ส่วน ๑ ข้อกําหนดที่ใช้กับการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านตัวแทนประกันวินาศภัย
นายหน้าประกันวินาศภัย
หรือผ่านทางโทรศัพท์ ไปรษณีย์ ธนาคาร หรือโดยวิธีอื่น
--------------------------------
ข้อ ๑๐ ในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยตาม 9.1, 9.2, 9.3, 9.4 และ 9.5 นอกจากบริษัทจะต้องจัดการให้ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 ส่วนที่ 4 และส่วนที่ 5 ตามแต่กรณีแล้วบริษัทยังต้องจัดการให้ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือธนาคารปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ด้วย
10.1 ห้ามชักชวนให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยอื่น เพื่อมาซื้อกรมธรรม์ประกันภัยใหม่
10.2 ห้ามให้ข้อความที่เป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งเพื่อมุ่งหวังให้มีการประกันภัย
10.3 ห้ามมิให้คําแนะนําซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือละเว้นการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ส่วน ๒ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย
--------------------------------
ข้อ ๑๑ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย บริษัทจะต้องจัดการให้ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย ดังนี้
11.1 แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล บริษัทที่ตนสังกัด (ถ้ามี) พร้อมทั้งแสดงใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย
11.2 แจ้งวัตถุประสงค์ในการติดต่อกับผู้มุ่งหวัง ซึ่งต้องแสดงให้ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น
11.3 หากผู้มุ่งหวังแสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่าไม่ประสงค์จะซื้อ ไม่ว่าการแสดงเจตนานั้นจะเกิดขึ้นในขั้นตอนใดให้ยุติการขายทันที
11.4 เมื่อได้รับอนุญาตให้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยจากผู้มุ่งหวัง ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย จะต้องอธิบายเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยที่เสนอขายโดยใช้เอกสารประกอบการเสนอขายที่ได้รับความเห็นชอบจากบริษัทเท่านั้น
11.5 แนะนํา ให้ผู้มุ่งหวังทําประกันวินาศภัย ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและความสามารถในการชําระเบี้ยประกันภัย (Suitability Requirement)
11.6 เมื่อได้รับชําระเบี้ยประกันภัย ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยจะต้องออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทประกันวินาศภัยทุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามบริษัทและส่งมอบเอกสารประกอบการเสนอขายที่ลงรายการครบถ้วนให้แก่ผู้มุ่งหวัง
นอกจากจะต้องออกเอกสารแสดงการรับเงินและเอกสารประกอบการเสนอขายตามวรรคหนึ่งแล้ว นายหน้าประกันวินาศภัยต้องแสดงหนังสือมอบอํานาจให้รับชําระเบี้ยประกันภัยจากบริษัทด้วย
11.7 ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย จะต้องส่งเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้มุ่งหวังไปยังบริษัทภายในระยะเวลาที่ประกาศวิธีการเก็บเบี้ยประกันภัยกําหนดให้บริษัทต้องเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยให้แล้วเสร็จ
ข้อ ๑๒ เอกสารประกอบการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยต่าง ๆ ที่บริษัทให้ความเห็นชอบ ต้องมีรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
12.1 ชื่อและที่อยู่ที่ติดต่อได้ของบริษัท
12.2 ชื่อตัว ชื่อสกุลผู้เอาประกันภัย
12.3 ชื่อตัว ชื่อสกุลตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยพร้อมช่องลายมือชื่อ
12.4 วัน เวลาที่มีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย
12.5 สรุปเงื่อนไขทั่วไป ข้อตกลงคุ้มครอง ข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัย
12.6 จํานวนเบี้ยประกันภัย ระยะเวลาเอาประกันภัย ระยะเวลาชําระเบี้ยประกันภัย
12.7 คําเตือนให้ผู้เอาประกันภัยศึกษา อ่าน และทําความเข้าใจในเอกสารเสนอขาย
ส่วน ๓ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์
--------------------------------
ข้อ ๑๓ บริษัทจะจัดให้มีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ได้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
13.1 กรมธรรม์ประกันภัยที่เสนอขายจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก นายทะเบียนให้เสนอขายผ่านทางโทรศัพท์เท่านั้น โดยกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจะต้องมีการระบุเงื่อนไขสิทธิการขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย (Free Look Period) เป็นเวลา 30 วัน หรือมากกว่า 30 วันไว้ด้วย ยกเว้นกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์อัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยแบบประหยัด
13.2 ผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ที่ได้รับอนุญาตจากบริษัทให้เสนอขายผ่านทางโทรศัพท์เท่านั้น
ในการนี้บริษัทจะต้องแจ้งชื่อตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ให้สํานักงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากบริษัท
13.3 การเสนอขายให้กระทําได้ในวันจันทร์ถึงวันเสาร์ ระหว่างเวลา 8.30 - 19.00 น. เว้นแต่มีการนัดหมายล่วงหน้าว่าจะมีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย โดยความยินยอมของผู้มุ่งหวังที่ได้รับการนัดหมาย
13.4 ห้ามเสนอขายกับผู้มุ่งหวังที่แจ้งว่าไม่ประสงค์จะให้บริษัทเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว หรือผู้มุ่งหวังที่สํานักงานแจ้งให้บริษัททราบว่า เป็นผู้ไม่ประสงค์จะได้รับการติดต่อ เว้นแต่เวลาล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่มีการปฏิเสธ หรือนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายชื่อจากสํานักงาน แล้วแต่กรณี
เพื่อประโยชน์ในการนี้ บริษัทต้องดําเนินการให้ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย แจ้งรายชื่อบุคคล วัน เวลาที่มีการปฏิเสธการเสนอขายให้บริษัททราบทันที และบริษัทต้องจัดทําบัญชีดังกล่าวไว้รวมกับบัญชีรายชื่อที่บริษัทได้รับแจ้งจากสํานักงาน
ข้อ ๑๔ วิธีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย บริษัทจะต้องจัดการให้ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ ดังนี้
14.1 เมื่อมีการโทรศัพท์ไปยังผู้มุ่งหวัง ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย จะต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุลของตน เลขที่ใบอนุญาต ชื่อบริษัทประกันวินาศภัยที่กําลังเสนอขาย หลังจากนั้นต้องแจ้งทันทีว่า ตนประสงค์จะเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย
14.2 หากผู้มุ่งหวังไม่ประสงค์จะทําประกันภัย ไม่ต้องการรับการติดต่อตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ต้องยุติการสนทนาทันที แต่หากผู้มุ่งหวังต้องการทราบการได้มาซึ่งข้อมูลของตนเอง ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ต้องแจ้งให้ทราบว่าตนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผู้มุ่งหวังมาได้อย่างไรก่อน จึงจะยุติการสนทนาได้
14.3 เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้มุ่งหวังให้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย จะต้องแจ้งขออนุญาตการบันทึกเสียงก่อน หากได้รับอนุญาตให้เริ่มบันทึกเสียงและขอคํายืนยันการอนุญาตให้บันทึกเสียงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นให้บันทึกเสียงต่อไปจนกระทั่งสิ้นสุดการสนทนา และให้เก็บหลักฐานการบันทึกเสียงนั้นเฉพาะกรณีที่ผู้มุ่งหวังแจ้งขอเอาประกันภัยไว้ตลอดระยะเวลาประกันภัย และเก็บต่อไปอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาประกันภัย
14.4 ในการอธิบายเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยที่เสนอขาย ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัยจะต้องอธิบายในเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
14.4.1 ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของบริษัท
14.4.2 สรุปผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและข้อยกเว้นความคุ้มครอง
14.4.3 จํานวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชําระ ระยะเวลาเอาประกันภัย ระยะเวลาชําระเบี้ยประกันภัย
14.4.4 แจ้งวิธีชําระเบี้ยประกันภัย และให้เริ่มต้นความคุ้มครองตามวันที่ผู้มุ่งหวังกําหนด หากไม่กําหนดให้คุ้มครองทันที
14.4.5 แจ้งสิทธิการขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย (Free Look Period) โดยระบุด้วยว่าการใช้สิทธินี้ให้ใช้สิทธิได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัท หรือมากกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ขึ้นกับแบบกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการเสนอขายโดยผู้มุ่งหวังจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนเต็มจํานวน
14.4.6 เมื่อมีการตอบตกลงทําประกันภัย ให้บันทึกชื่อ นามสกุลพร้อมเลขประจําตัวประชาชนของบุคคลนั้น
14.5 เมื่อผู้มุ่งหวังตอบตกลงที่จะทําประกันภัย ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัยจะต้องแจ้งการทําประกันภัย ไปยังบริษัทในโอกาสแรกที่กระทําได้ แต่ไม่เกินวันทําการถัดไป
14.6 ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย จะต้องแจ้งให้ผู้มุ่งหวังทราบระยะเวลา ซึ่งผู้มุ่งหวังจะได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัท หรือได้รับการติดต่อจากบริษัทเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย
14.7 ภายใน 7 วันนับแต่วันที่บริษัทส่งกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย บริษัทจะต้องโทรศัพท์ไปขอคํายืนยันจากผู้มุ่งหวังอีกครั้งหนึ่ง (Confirmation Call) เมื่อได้รับอนุญาตให้สนทนา จะต้องขออนุญาตผู้มุ่งหวังในการบันทึกเทปสนทนา หากได้รับอนุญาตให้เริ่มบันทึกเสียงและขอคํายืนยันการอนุญาตให้บันทึกเสียงอีกครั้ง หลังจากนั้นให้บันทึกเสียงต่อไปจนกระทั่งสิ้นสุดการสนทนา และให้บริษัทเก็บเทปสนทนาดังกล่าวไว้ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย และเก็บต่อไปอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาประกันภัย
ในการสนทนาต้องมีรายละเอียด ดังนี้
14.7.1 ชื่อ นามสกุลของผู้ทําการติดต่อ
14.7.2 สอบถามผู้มุ่งหวังว่าได้รับกรมธรรม์ประกันภัย แล้วหรือไม่
14.7.3 ให้สอบถามผู้มุ่งหวังว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับเงื่อนไข ความคุ้มครอง ข้อยกเว้นใด ๆ หรือไม่ หากมีจะต้องมีการอธิบายให้ผู้มุ่งหวังสิ้นสงสัย
14.7.4 หากผู้มุ่งหวังไม่มีข้อสงสัย ให้สอบถามว่า ผู้มุ่งหวังยังคงยืนยันที่จะทําประกันภัย หรือไม่ หากยังคงยืนยันในการทําประกันภัยให้แจ้งสิทธิการขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย (Free Look Period) ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ผู้มุ่งหวังได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัท หรือมากกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ขึ้นกับแบบกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการเสนอขาย
หากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะยกเลิกการประกันภัย ให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัยเต็มจํานวน โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
การคืนเบี้ยประกันภัยให้บริษัทดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับแจ้งการขอใช้สิทธิยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
ส่วน ๔ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านไปรษณีย์ (Direct mail)
--------------------------------
ข้อ ๑๕ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านไปรษณีย์ (Direct mail) ให้บริษัทเป็นผู้ดําเนินการเองเท่านั้น
ข้อ ๑๖ เอกสารที่บริษัทจะส่งให้แก่ผู้รับการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย ต้องมีรายการอย่างน้อย ดังนี้
16.1 ชื่อและที่อยู่ที่ติดต่อได้ของบริษัทประกันวินาศภัย
16.2 เงื่อนไขทั่วไป และผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อยกเว้นความคุ้มครอง และระยะเวลาการใช้สิทธิยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
16.3 จํานวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชําระ ระยะเวลาเอาประกันภัย ระยะเวลาชําระเบี้ยประกันภัย
16.4 วิธีชําระเบี้ยประกันภัย และวันเริ่มต้นความคุ้มครอง
16.5 ระยะเวลาในการออกกรมธรรม์ประกันภัยหรือหนังสือรับรองการประกันภัย แล้วแต่กรณี
ส่วน ๕ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านธนาคาร (Bancassurance)
--------------------------------
ข้อ ๑๗ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านธนาคาร บริษัทจะต้องจัดการให้ธนาคารปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ ดังนี้
17.1 ผู้ที่ทําหน้าที่ในการเสนอขายต้องเป็นพนักงานของธนาคารที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยเท่านั้น เว้นแต่ กรณีที่มีโครงการโอนหรือรับโอนกิจการ หรือควบกันของธนาคาร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบให้ดําเนินการตามโครงการโอนหรือรับโอนกิจการ หรือควบกัน ผู้ที่ทําหน้าที่ในการเสนอขายอาจเป็นพนักงานที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยของธนาคารที่เป็นคู่สัญญาตามโครงการโอนหรือรับโอนกิจการ หรือควบกันที่ได้รับความเห็นชอบก็ได้
17.2 ผู้ที่ทําหน้าที่ในการเสนอขายต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล พร้อมทั้งแสดงใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย
17.3 ผู้ที่ทําหน้าที่ในการเสนอขายต้องแสดงให้ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย
17.4 การทําประกันภัยของลูกค้าธนาคารต้องเป็นไปโดยความสมัครใจ ห้ามมิให้มีการบังคับ หรือใช้เป็นเงื่อนไขในการต่อรองการให้สินเชื่อ หรือธุรกรรมอื่นใดของธนาคาร
17.5 ธนาคารจะต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับนายหน้าประกันวินาศภัย ดังที่กล่าวไว้ในหมวด 3 ส่วนที่ 2
ส่วน ๖ การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยโดยวิธีอื่นตาม 9.5
--------------------------------
ข้อ ๑๘ การเสนอขายโดยวิธีอื่น นอกจากวิธีตาม 9.1, 9.2, 9.3 และ 9.4 ที่เป็นการเสนอขายแก่ผู้มุ่งหวังเป็นการทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง และเพื่อให้ผู้มุ่งหวังติดต่อแจ้งทําประกันภัยไปยังบริษัทด้วยตนเอง ให้เสนอขายได้แต่เฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยแบบพื้นฐาน และกระทําได้โดยตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยเท่านั้น ทั้งนี้ ให้นําความในส่วนที่ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,482 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่
ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2554
-----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (6) และมาตรา 65/2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน 17.1 ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และธนาคาร พ.ศ. 2552 และใช้ความต่อไปนี้แทน
“17.1 ผู้ที่ทําหน้าที่ในการเสนอขายต้องเป็นพนักงานของธนาคารที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยเท่านั้น เว้นแต่ กรณีที่มีโครงการโอนหรือรับโอนกิจการ หรือควบกันของธนาคาร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบให้ดําเนินการตามโครงการโอนหรือรับโอนกิจการ หรือควบกัน ผู้ที่ทําหน้าที่ในการเสนอขายอาจเป็นพนักงานที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยของธนาคารที่เป็นคู่สัญญาตามโครงการโอนหรือรับโอนกิจการ หรือควบกันที่ได้รับความเห็นชอบก็ได้”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,483 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การขึ้นทะเบียน และการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัยที่ต้องดำเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การขึ้นทะเบียน
และการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัย
ที่ต้องดําเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย
พ.ศ. 2552
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35/1 มาตรา 35/2 และมาตรา 35/4 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประเมินวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยจากนายทะเบียนและขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
หมวด ๑ การขอรับใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินวินาศภัย และการขอต่ออายุใบอนุญาต
เป็นผู้ประเมินวินาศภัย
-------------------------------------
ข้อ ๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
2.1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (แล้วแต่กรณี) และต้องมีประสบการณ์ทางด้านการประเมินความเสียหายต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่าสามปี
2.2 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรืออนุปริญญา หรือปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และต้องมีประสบการณ์ทางด้านการประเมินความเสียหายต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่าห้าปี
2.3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า และต้องมีประสบการณ์ทางด้านการประเมินความเสียหายต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่าเจ็ดปี
ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
3.1 เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
3.2 เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์หรือความผิดตามมาตรา 90/1 หรือมาตรา 90/2 เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
3.3 เป็นพนักงาน ลูกจ้าง หรือที่ปรึกษาของบริษัท
3.4 อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย
3.5 เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยในระยะเวลาห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
ข้อ ๔ ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 2 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ซึ่งประสงค์จะขอรับใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต้องผ่านการอบรมจากสํานักงานหรือสถาบันที่สํานักงานรับรอง โดยให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาอนุญาต และขึ้นทะเบียนต่อสํานักงาน ตามแบบคําขอรับใบอนุญาตพร้อมหลักฐานที่นายทะเบียนกําหนด
ข้อ ๕ ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกําหนด และให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย ที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบที่นายทะเบียนกําหนดต่อนายทะเบียนภายในกําหนดสองเดือนก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ โดยผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตต้องมีหนังสือรับรองว่าผ่านการฝึกอบรมเพิ่มเติมจากสํานักงานหรือสถาบันที่สํานักงานรับรอง
หมวด ๒ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจสอบ
และประเมินวินาศภัยที่ต้องดําเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย
-------------------------
ข้อ ๗ เมื่อมีความสูญเสียหรือความเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนอันเกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายทางกายภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยซึ่งมีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ห้าสิบล้านบาทขึ้นไป การตรวจสอบและการประเมินวินาศภัยให้ดําเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กําหนดในหมวดนี้
กรณีความสูญเสียหรือเสียหายตามวรรคแรก มีมูลค่าไม่เกินหนึ่งล้านบาท หากบริษัทและผู้เอาประกันภัยสามารถตกลงกันได้ จะดําเนินการโดยไม่ใช้ผู้ประเมินวินาศภัยก็ได้
ข้อ ๘ เมื่อมีกรณีตามข้อ 7 บริษัทต้องแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบทันที เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยและบริษัทร่วมกันเลือกผู้ประเมินวินาศภัยที่ขึ้นทะเบียนไว้ ณ สํานักงานจํานวนหนึ่งคนให้แล้วเสร็จภายในสิบสี่วัน และให้บริษัทเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการประเมินวินาศภัย
กรณีที่บริษัทและผู้เอาประกันภัยไม่สามารถตกลงเลือกผู้ประเมินวินาศภัยได้ ให้ใช้ผู้ประเมินวินาศภัยฝ่ายที่บริษัทเลือกทําการตรวจสอบและประเมินวินาศภัย โดยบริษัทเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิฝ่ายผู้เอาประกันภัยจะมอบหมายให้ผู้ประเมินวินาศภัยของตนทําการตรวจสอบและประเมินวินาศภัยโดยผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ข้อ ๙ ผู้ประเมินวินาศภัยต้องจัดทํารายงานเพื่อยื่นต่อบริษัทและผู้เอาประกันภัยตามแบบและรายการที่นายทะเบียนกําหนด ให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับการเลือกเป็นผู้ประเมินวินาศภัย หากเหตุวินาศภัยรายนั้นเป็นภัยที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จตามกําหนดและมีเหตุผลอันสมควรตามความจําเป็น ให้ยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียนได้อีกไม่เกินสี่สิบห้าวัน
ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการตามวรรคแรกและมิใช่ความผิดของผู้ประเมินวินาศภัยหรือบริษัท เมื่อได้รับการร้องขอนายทะเบียนอาจอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปตามพฤติการณ์แห่งกรณี
ข้อ ๑๐ กรณีที่ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยสิ้นอายุ หรือผู้ประเมินวินาศภัยถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตไม่กระทบต่อความสมบูรณ์ของรายงานหรือเอกสารที่ผู้ประเมินวินาศภัยส่งไปให้แก่บริษัท หรือผู้เอาประกันภัยก่อนหน้านั้น
ข้อ ๑๑ ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งมีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ห้าสิบล้านบาทขึ้นไป อันเกิดจากอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 บริษัทโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยอาจมอบหมายให้บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เป็นผู้กระทําการประเมินความเสียหายก็ได้ โดยให้ถือว่าเป็นการดําเนินการตามข้อ 7 แห่งประกาศนี้แล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,484 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การขึ้นทะเบียน และการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัยที่ต้องดำเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย พ.ศ. 2552 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การขึ้นทะเบียน
และการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัย
ที่ต้องดําเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย
พ.ศ. 2552
------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35/1 มาตรา 35/2 และมาตรา 35/4 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 6/2552 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประเมินวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยจากนายทะเบียนและขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
หมวด ๑ การขอรับใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินวินาศภัย และการขอต่ออายุใบอนุญาต
เป็นผู้ประเมินวินาศภัย
-------------------------
ข้อ ๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
2.1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (แล้วแต่กรณี) และต้องมีประสบการณ์ทางด้านการประเมินความเสียหายต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่าสามปี
2.2 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรืออนุปริญญา หรือปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และต้องมีประสบการณ์ทางด้านการประเมินความเสียหายต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่าห้าปี
2.3 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า และต้องมีประสบการณ์ทางด้านการประเมินความเสียหายต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่าเจ็ดปี
ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
3.1 เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
3.2 เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์หรือความผิดตามมาตรา 90/1 หรือมาตรา 90/2 เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
3.3 เป็นพนักงาน ลูกจ้าง หรือที่ปรึกษาของบริษัท
3.4 อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย
3.5 เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยในระยะเวลาห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
ข้อ ๔ ผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 2 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ซึ่งประสงค์จะขอรับใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต้องผ่านการอบรมจากสํานักงานหรือสถาบันที่สํานักงานรับรอง โดยให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาอนุญาต และขึ้นทะเบียนต่อสํานักงาน ตามแบบคําขอรับใบอนุญาตพร้อมหลักฐานที่นายทะเบียนกําหนด
ข้อ ๕ ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกําหนด และให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย ที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบที่นายทะเบียนกําหนดต่อนายทะเบียนภายในกําหนดสองเดือนก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ โดยผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตต้องมีหนังสือรับรองว่าผ่านการฝึกอบรมเพิ่มเติมจากสํานักงานหรือสถาบันที่สํานักงานรับรอง
หมวด ๒ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจสอบ
และประเมินวินาศภัยที่ต้องดําเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย
-------------------------
ข้อ ๗ เมื่อมีความสูญเสียหรือความเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนอันเกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายทางกายภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยซึ่งมีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ห้าสิบล้านบาทขึ้นไป การตรวจสอบและการประเมินวินาศภัยให้ดําเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กําหนดในหมวดนี้
กรณีความสูญเสียหรือเสียหายตามวรรคแรก มีมูลค่าไม่เกินหนึ่งล้านบาท หากบริษัทและผู้เอาประกันภัยสามารถตกลงกันได้ จะดําเนินการโดยไม่ใช้ผู้ประเมินวินาศภัยก็ได้
ข้อ ๘ เมื่อมีกรณีตามข้อ 7 บริษัทต้องแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบทันที เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยและบริษัทร่วมกันเลือกผู้ประเมินวินาศภัยที่ขึ้นทะเบียนไว้ ณ สํานักงานจํานวนหนึ่งคนให้แล้วเสร็จภายในสิบสี่วัน และให้บริษัทเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการประเมินวินาศภัย
กรณีที่บริษัทและผู้เอาประกันภัยไม่สามารถตกลงเลือกผู้ประเมินวินาศภัยได้ ให้ใช้ผู้ประเมินวินาศภัยฝ่ายที่บริษัทเลือกทําการตรวจสอบและประเมินวินาศภัย โดยบริษัทเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิฝ่ายผู้เอาประกันภัยจะมอบหมายให้ผู้ประเมินวินาศภัยของตนทําการตรวจสอบและประเมินวินาศภัยโดยผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ข้อ ๙ ผู้ประเมินวินาศภัยต้องจัดทํารายงานเพื่อยื่นต่อบริษัทและผู้เอาประกันภัยตามแบบและรายการที่นายทะเบียนกําหนด ให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับการเลือกเป็นผู้ประเมินวินาศภัย หากเหตุวินาศภัยรายนั้นเป็นภัยที่ไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จตามกําหนดและมีเหตุผลอันสมควรตามความจําเป็น ให้ยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียนได้อีกไม่เกินสี่สิบห้าวัน
ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการตามวรรคแรกและมิใช่ความผิดของผู้ประเมินวินาศภัยหรือบริษัท เมื่อได้รับการร้องขอนายทะเบียนอาจอนุญาตให้ขยายเวลาออกไปตามพฤติการณ์แห่งกรณี
ข้อ ๑๐ กรณีที่ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัยสิ้นอายุ หรือผู้ประเมินวินาศภัยถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตไม่กระทบต่อความสมบูรณ์ของรายงานหรือเอกสารที่ผู้ประเมินวินาศภัยส่งไปให้แก่บริษัท หรือผู้เอาประกันภัยก่อนหน้านั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,485 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การขึ้นทะเบียน และการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัยที่ต้องดำเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การขึ้นทะเบียนและการขอ
ต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัยที่ต้องดําเนินการโดย
ผู้ประเมินวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35/1 มาตรา 35/2 และมาตรา 35/4 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 11/2554 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การขึ้นทะเบียนและการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัยที่ต้องดําเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การขึ้นทะเบียนและการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย การตรวจสอบและประเมินวินาศภัยที่ต้องดําเนินการโดยผู้ประเมินวินาศภัย พ.ศ. 2552
“ข้อ 11 ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งมีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ห้าสิบล้านบาทขึ้นไป อันเกิดจากอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 บริษัทโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยอาจมอบหมายให้บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เป็นผู้กระทําการประเมินความเสียหายก็ได้ โดยให้ถือว่าเป็นการดําเนินการตามข้อ 7 แห่งประกาศนี้แล้ว”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,486 |
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัยสำหรับปี 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขการจัดตั้งบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด
เพื่อประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัย สําหรับปี 2538
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 6 และมาตรา 7 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี กําหนดเงื่อนไขการจัดตั้งบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัย สําหรับปี 2538 ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ รายการในคําขอรับใบอนุญาต
คําขอรับใบอนุญาตประกันธุรกิจประกันชีวิตหรือธุรกิจประกันวินาศภัยอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
1.1 วัน เดือน ปี ที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต
1.2 ชื่อบริษัท
1.3 สถานที่ตั้งสํานักงานใหญ่ของบริษัทและการได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินและสํานักงานใหญ่นั้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการนี้ทั้งหมด (เพื่อให้มีสถานที่ตั้งเป็นสัดส่วนของตนเอง ไม่ปะปนกับผู้อื่น และสามารถประเมินราคามูลค่าทรัพย์สินได้ทรัพย์สินนั้นจะต้องไม่ตีราคาสูงจนเกินสมควร อันเป็นเหตุให้จํานวนทุนเพื่อใช้ในการดําเนินงานมีจํานวนน้อยเกินไป)
1.4 ทุน จํานวนหุ้น และมูลค่าหุ้นทุกประเภท (ต้องเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อ มูลค่าหุ้นละไม่เกิน 100 บาท)
1.5 ชื่อ และประวัติของผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท
1.6 แนวนโยบายและแผนงานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือธุรกิจประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี ที่จะขอรับใบอนุญาตระยะสั้นและระยะยาวไม่น้อยกว่า 5 ปีข้างหน้า เกี่ยวกับ
(1) แผนการรับประกันภัย รวมทั้งการรับเสี่ยงภัยไว้เอง และการประกันภัยต่อ
(2) แผนการขยายสาขาทั้งในกรุงเทพมหานคร และภูมิภาค
(3) แผนด้านการเงิน
(4) แผนด้านบุคลากร รวมทั้งการสร้างบุคลากร (เพื่อพิจารณาถึงแนวทางการประกอบธุรกิจอันจะแสดงเจตนาในการดําเนินธุรกิจอย่างแท้จริง)
(5) แผนการบริหารงานด้านการร่วมทุนกับต่างประเทศ (ถ้ามี)
1.7 ชื่อ ประวัติการงาน และคุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (แสดงความเหมาะสมของคุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ามาบริหารในแต่ละหน้าที่)
1.8 ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ที่คาดว่าจะต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัทและการตระเตรียมการจนถึงขั้นที่สามารถจะดําเนินการได้ทันทีหากได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัย พร้อมทั้งรายละเอียดประกอบ (แสดงถึงการตระเตรียมความพร้อมที่จะเข้ามาดําเนินธุรกิจ)
1.9 เบี้ยประกันภัยที่คาดว่าจะได้รับในระยะแรกรวมทั้งแหล่งที่มา
ข้อ ๒ เงื่อนไขการจัดตั้งบริษัทประกันภัย
2.1 ต้องเป็นบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด
2.2 เงินทุน
2.2.1 ทุนจดทะเบียนและเรียกชําระแล้วไม่ต่ํากว่า 500 ล้านบาท สําหรับธุรกิจประกันชีวิต
2.2.2 ทุนจดทะเบียนและเรียกชําระแล้วไม่ต่ํากว่า 300 ล้านบาท สําหรับธุรกิจประกันวินาศภัย
2.3 บริษัทประกันภัยที่ตั้งใหม่ จะต้องไม่มีความสัมพันธ์ในเชิงการถือหุ้นกรรมการ และการบริหารกับบริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยที่มีอยู่เดิมเว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
2.4 บริษัทประกันภัยที่จดทะเบียนในส่วนภูมิภาค ให้ได้รับการพิจารณาในลําดับแรก
2.5 หุ้นและผู้ถือหุ้น
2.5.1 การกําหนดมูลค่าหุ้นต้องไม่สูงกว่าหุ้นละ 100 บาท
2.5.2 หุ้นที่ออกทั้งปวงต้องเป็นหุ้นสามัญ ชนิดระบุชื่อ และต้องส่งใช้มูลค่าหุ้นด้วยตัวเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น
ทรัพย์สินที่ส่งใช้เป็นมูลค่าของหุ้นตามวรรคหนึ่งต้องเป็นที่ดินหรืออาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจ หรือสําหรับใช้เพื่อสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้างของบริษัทตามสมควร ส่วนราคาของทรัพย์สินที่ส่งใช้เป็นมูลค่าของหุ้นนั้น ให้ถือราคาตามประกาศประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ซึ่งนายทะเบียนประกาศตามมาตรา 38 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และมาตรา 37 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
2.5.3 ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัย ต้องมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหุ้นที่ได้จําหน่ายแล้วทั้งหมด
นิติบุคคลดังต่อไปนี้ไม่ถือว่ามีสัญชาติไทย
ก) บริษัทจํากัดที่มีหุ้นชนิดระบุชื่อ เป็นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ถึงร้อยละ 51 ของจํานวนหุ้นทั้งหมด หรือมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ถึงร้อยละ 51 ของจํานวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด
ข) ห้างหุ้นส่วนจํากัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน บรรดาที่มีทุนเป็นของนิติบุคคลสัญชาติไทยไม่ถึงร้อยละ 51 หรือมีผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ถึงร้อยละ 51 ของจํานวนผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด หรือมีหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นคนต่างด้าว
นิติบุคคลจะถือหุ้นตามมูลค่าหุ้นของบริษัทได้ไม่เกินจํานวนเงินทุน หรือทุนที่ชําระแล้วของนิติบุคคลนั้น
2.6 คณะกรรมการและผู้จัดการ
2.6.1 คณะกรรมการของบริษัทต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 7 คน และมีกรรมการเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่ต่ํากว่าสามในสี่ของจํานวนกรรมการทั้งหมด
2.6.2 กรรมการผู้มีอํานาจลงนามแทนบริษัทจะต้องลงนามร่วมกันไม่น้อยกว่า 2 คน และต้องเป็นกรรมการสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการที่มีอํานาจลงนาม พร้อมประทับตราสําคัญของบริษัท
2.6.3 จะแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นกรรมการ หรือผู้จัดการ พนักงานบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของบริษัทไม่ได้
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต
(3) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทในช่วงเวลาที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
(4) เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทอื่นที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
(5) ถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัท ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หรือ มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
(6) เป็นข้าราชการการเมือง
(7) เป็นข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทเว้นแต่เป็นกรณีของบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือการดําเนินงานของบริษัท หรือเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
2.7 การดําเนินการของบริษัท
การดําเนินการของบริษัทต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
2.7.1 แม้บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะยอมให้บริษัทมีข้อบังคับเป็นอย่างอื่นต่างไปจากที่กําหนดไว้ในเรื่องการออกเสียงลงคะแนนของที่ประชุมกรรมการ อนุกรรการ หรือผู้ถือหุ้นนั้นก็ตาม บริษัทจะใช้บทบัญญัติเช่นว่านั้นกําหนดข้อบังคับเป็นอย่างอื่นมิได้
2.7.2 เมื่อจะมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามแทนบริษัท แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นให้นายทะเบียนทราบเป็นหนังสือก่อนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
2.7.3 ผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท จะต้องถือหุ้นในบริษัทรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของเงินทุนจดทะเบียน และจะโอนหุ้นของตนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือธุรกิจประกันวินาศภัย เว้นแต่หุ้นที่จะโอนนั้นเป็นการโอนเพื่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของบริษัท ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของจํานวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท หรือเป็นการโอนทางมรดก
2.7.4 การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทหรือการย้ายสํานักงานแห่งใหญ่ หรือสาขาของบริษัทจะกระทําได้ต่อเมื่อรับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน
2.7.5 เมื่อยื่นคําขอรับอนุญาต บริษัทจะต้องมีเงินวางประกันหรือธนาคารค้ําประกันในวงเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทุนจดทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกันว่าบริษัทจะต้องดําเนินการจดทะเบียนเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดและยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัยพร้อมทั้งเปิดดําเนินการประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัยภายในระยะเวลาที่กําหนด มิฉะนั้นจะถูกยึดเงินประกันที่วางไว้กับนายทะเบียน และการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัย นั้นสิ้นผลบังคับทันที
2.7.6 บริษัทจะต้องแจ้งไว้กับธนาคารที่บริษัทมีเงินฝากอยู่ว่าให้นายทะเบียนมีอํานาจสอบถามยอดเงินฝากของบริษัทได้โดยตรงทุกโอกาส
2.7.7 ต้องกระจายการรับประกันภัยประเภทต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัทจะต้องกําหนดให้มีการรับประกันภัยตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ตอน ๓ การจดทะเบียน
เมื่อได้รับความเห็นชอบในคําขอแล้ว ให้ดําเนินการจดทะเบียนเป็นบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด ให้แล้วเสร็จภายในเวลาเก้าสิบวัน นับแต่วันได้รับแจ้งความเห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทได้
ข้อ ๔ การขอรับใบอนุญาต
ให้บริษัทแสดงหลักฐานว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนดไว้ในประกาศนี้และที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 โดยแนบเอกสารแสดงรายการต่างๆ ตามที่ประกาศกําหนด
4.1 สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท รับรองโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
4.2 หนังสือรับรองจากนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเกี่ยวกับ
4.2.1 ชื่อบริษัท
4.2.2 รายชื่อกรรมการบริษัทและอํานาจของกรรมการ
4.2.3 จํานวนทุนที่เรียกชําระแล้ว
4.2.4 ที่ตั้งสํานักงานใหญ่
4.2.5 สําเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
4.2.6 สําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
4.3 เอกสารแสดงฐานะการเงิน
4.4 แบบและข้อความแห่งกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยที่บริษัทจะยื่นขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียน เพื่อประกอบการในครั้งแรก
ข้อ ๕ การยื่นคําขอตามประกาศนี้
ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอตั้งบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัย สําหรับปี 2538 ยื่นคําขอพร้อมทั้งวางเงินประกันตามที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ ภายใน 3 เดือน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2538
อุทัย พิมพ์ใจชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | 5,487 |
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทและเงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง การจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท
และเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันวินาศภัย
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 รัฐมนตีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท และเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนรวมทั้งทรัพย์สินอย่างอื่นที่บริษัทต้องจัดสรรไว้ ลงวันที่ 2 กันยายน 2542
ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นราชได้ของบริษัทจากเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ (Net Premium Written) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้
(2.1) การประกันภัยการขนส่งเฉพาะเที่ยว ให้จัดสรรไว้เต็มจํานวนในรอบสามสิบวันนับย้อนหลังจากวันจัดสรร
(2.2) การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทาง ให้จัดสรรไว้เต็มจํานวนในรอบสามสิบวันนับย้อนหลังจากวันจัดสรร
(2.3) การประกันภัยประเภทอื่นนอกจาก (2.1) และ (2.2) ให้จัดสรรไว้ไม่น้อยกว่าจํานวนที่คํานวณโดยวิธีเศษหนึ่งส่วนยี่สิบสี่ (1/24 th System)
ข้อ ๓ การจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทตามข้อ 2 ในกรณีที่มีการเอาประกันภัยต่อกับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศให้จัดสรรไว้โดยหักจากเบี้ยประกันภัยต่อตามหลักเกณฑ์และวิธีการใน (2.1) (2.2) หรือ (2.3) แล้วแต่กรณี เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(3.1) การเอาประกันภัยต่อโดยวิธีทําสัญญาล่วงหน้าประเภทกําหนดสัดส่วนแน่นอน (Proportional Reinsurance Treaty)
(3.1.1) การประกันภัยการขนส่งเฉพาะเที่ยวให้จัดสรรไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของเบี้ยประกันภัยต่อก่อนหักค่าใช้จ่าย
(3.1.2) การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางให้จัดสรรไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของเบี้ยประกันภัยต่อก่อนหักค่าใช้จ่าย
(3.1.3) การประกันภัยประเภทอื่นนอกจาก (3.1.1) และ (3.1.2) ให้จัดสรรไว้ไม่น้อยกว่าจํานวนที่ได้กําหนดไว้ในสัญญาประกันภัยต่อของบริษัท แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละสี่สิบของเบี้ยประกันภัยต่อก่อนหักค่าใช้จ่าย
(3.2) การเอาประกันภัยต่อโดยวิธีทําสัญญาล่วงหน้าประเภทไม่กําหนดสัดส่วนแน่นอน (Non-Proportional Reinsurance Treaty) ทุกประเภทของการประกันภัย ให้จัดสรรเงินสํารองตาม (2.1) (2.2) หรือ (2.3) แล้วแต่กรณี โดยไม่หักจากเบี้ยประกันภัยต่อ
(3.3) การเอาประกันภัยต่อโดยวิธีเฉพาะราย (Facultative Reinsurance)
ในการเอาประกันภัยต่อโดยวิธีเฉพาะรายทุกประเภทของการประกันภัย บริษัทจะจัดสรรโดยหักจากเบี้ยประกันภัยต่อหรือไม่ก็ได้
การจัดสรรตามวรรคแรก หากยังไม่ครบตามจํานวนที่กําหนดไว้ใน (2.1) (2.2) หรือ (2.3) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทรับภาระในส่วนที่ขาดเพื่อให้ครบตามจํานวนที่กําหนด
ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(4.1) ในกรณีที่ได้ตกลงจํานวนค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว ให้จัดสรรไว้ไม่น้อยกว่าจํานวนค่าสินไหมทดแทนที่ได้ตกลงไว้แล้วนั้น
(4.2) ในกรณีที่ยังไม่ได้ตกลงจํานวนค่าสินไหมทดแทนให้จัดสรรไว้ไม่น้อยกว่าจํานวนค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทประเมินไว้ แต่ไม่เกินจํานวนเงินจํากัดความรับผิดตามสัญญาประกันภัย
(4.3) นอกจากการจัดสรรตาม (4.1) และ (4.2) แล้วทุกสิ้นเดือน ให้จัดสรรไว้อีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.5 ของเบี้ยประกันภัยรับสุทธิย้อนหลังสิบสองเดือน สําหรับค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่ได้มีการรายงานให้บริษัททราบ (Incurred but not reported claims)
การจัดสรรเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนเฉพาะการประกันภัยรถตาม (4.1) (4.2) และ (4.3) เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของเงินสํารองที่ต้องจัดสรรตาม (2.3)
ข้อ ๕ ทรัพย์สินที่บริษัทจัดสรรไว้เป็นเงินสํารองตามประกาศนี้ให้ดํารงไว้ในประเทศ เว้นแต่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยต่อกับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศ
ข้อ ๖ ทรัพย์สินที่บริษัทจัดสรรไว้เป็นเงินสํารองตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4นอกจากจะเป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยแล้ว บริษัทอาจจัดสรรเป็นทรัพย์สินดังต่อไปนี้ก็ได้ คือ
(6.1) ทรัพย์สินของบริษัทที่ลงทุนประกอบธุรกิจอื่นตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท ซึ่งออกตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
(6.2) เงินค้างรับจากการประกันภัยต่อ
(6.3) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรง
(6.4) รายได้จากการลงทุนค้างรับ
(6.5) อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท
(6.6) เงินสมทบค้างรับตามมาตรา 10 ทวิ วรรค 7 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
(6.7) ลูกหนี้เงินทดรองจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 10 ทวิ วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ทรัพย์สินตาม (6.1) (6.2) (6.3) (6.4) (6.5) (6.6) และ (6.7) ให้ถือราคาตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ซึ่งออกตามความในมาตรา 37 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
ข้อ ๗ การจัดสรรเงินสํารองที่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรเป็นอย่างอื่นอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้จัดสรรตามที่ได้รับอนุญาตได้จนสิ้นสุดระยะเวลาที่กําหนดไว้
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไปเว้นแต่การจัดสรรเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนตาม (4.3) ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกทรัพย์สินตาม (6.5) ของข้อ 6 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2543
ศุภชัย พานิชภักดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | 5,488 |
ประกาศกรมการประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกรมการประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจ
ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
----------------------------------
ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2536 และตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2536 ได้กําหนดให้บริษัทจะให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกันการกู้ยืม ราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นให้ถือเอาราคาประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือราคาประเมินของนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจประเมินราคาตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด นั้น
กรมการประกันภัย จึงกําหนดหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
"อสังหาริมทรัพย์" หมายถึง ที่ดิน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง
"ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์" หมายถึง นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าปกติ
“ผู้ประเมินราคาหลัก” หมายถึง บุคคลที่ลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องเป็นสมาชิกสามัญของสมาคม
"สมาคม" หมายถึง สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
"ลูกค้า" หมายถึง ผู้ว่าจ้างให้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการจํานองเป็นประกันการกู้ยืมเงินจากบริษัทประกันภัย
"บริษัทประกันภัย" หมายถึง บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หรือธุรกิจประกันวินาศภัย ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ที่ประสงค์จะให้กู้ยืมเงินโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกัน
"ผู้บริหาร" หมายถึง กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปรวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวด้วย
ข้อ ๒ ให้นิติบุคคลที่ประสงค์จะเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ยื่นขอความเห็นชอบจากกรมการประกันภัย ตามแบบคําขอที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ นิติบุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามข้อ 2 เพื่อประกอบธุรกิจประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) เป็นบริษัทจํากัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจํากัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด
(2) ต้องมีผู้ประเมินราคาหลักเป็นผู้ทําการแทนนิติบุคคลจํานวนไม่น้อยกว่า 2 คน และอย่างน้อยคนหนึ่งต้องดํารงตําแหน่งกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลนั้นตลอดเวลาที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
(3) ไม่มีประวัติการขาดความรับผิดชอบ หรือขาดจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพเยี่ยงผู้มีวิชาชีพจะพึงกระทําในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
(4) มีผู้บริหารและผู้ประเมินราคาหลักที่มีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจที่จะดําเนินการ มีความซื่อสัตย์ มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) มีประวัติเคยถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือต้องคดีเนื่องจากกระทําโดยทุจริต
(ข) มีประวัติการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต
(ค) มีประวัติการบริหารงาน หรือการกระทําอื่นใดอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทําความผิดร้ายแรง อันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ หรือความรอบคอบในการบริหารงานหรือมีประวัติการดําเนินงานอื่นที่ทําให้กรมการประกันภัยพิจารณาได้ว่า มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการเป็นผู้บริหาร หรือผู้ลงลายมือชื่อในการรายงานการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
(5) มีประสบการณ์ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่า 2 ปี
ข้อ ๔ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ กรมการประกันภัยอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติม ภายในระยะเวลาที่กําหนด
ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่กําหนด กรมการประกันภัยจะถือว่าผู้ขอความเห็นชอบไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๕ การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลที่ยื่นขอเป็นผู้ประกอบธุรกิจประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่นายทะเบียนประกาศกําหนดตามประกาศนี้ มีกําหนดระยะเวลาคราวละ 3 ปีนับแต่วันที่กรมการประกันภัยประกาศกําหนดรายชื่อนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
ข้อ ๖ ห้ามมิให้ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์รับประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่กรมการประกันภัยจะกําหนดให้เป็นอย่างอื่น
(1) ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทประกันภัย ลูกค้า รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์การถือหุ้นซึ่งกันและกัน เกินร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
(2) ผู้บริหารของผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หรือบุคคลที่ลงลายมือชื่อในรายงานประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ เป็นผู้บริหาร พนักงาน กรรมการ ของลูกค้าหรือบริษัทประกันภัย
(3) ผู้บริหารของบริษัทประกันภัยหรือลูกค้า เป็นผู้บริหาร พนักงาน กรรมการของผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๗ หากปรากฏว่า ผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์รายใดไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 หรือปฏิบัติหน้าที่บกพร่องไม่เหมาะสมหรือไม่ครบถ้วนหรือฝ่าฝืนข้อกําหนดตามประกาศนี้ กรมการประกันภัยอาจดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้มาชี้แจงหรือส่งเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(2) สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลาที่กําหนด
ข้อ ๘ ประกาศอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ซึ่งได้ออกไว้ก่อนแล้วให้เป็นอันยกเลิกและให้ใช้ประกาศนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
พิพรรธน์ อินทรศัพท์
อธิบดีกรมการประกันภัย | 5,489 |
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สิน
ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 25 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกําหนดให้บริษัทปฏิบัติการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2523
ข้อ ๒ ให้บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ณ วันสิ้นปีปฏิทินหรือวันครบรอบปีบัญชีของบริษัท หรือวันที่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท
ข้อ ๓ ทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณค่าหรือราคาของทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเงินตราไทย ตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
ข้อ ๔ การประเมินราคาทรัพย์สิน
4.1 ทรัพย์สินที่ได้รับการประเมินราคา
ทรัพย์สินที่ได้รับการประเมินราคาทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
4.1.1 มีอยู่ในประเทศไทย เว้นแต่ทรัพย์สินที่ได้รับอนุญาตเพื่อการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศ หรือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบธุรกิจประกันต่อกับต่างประเทศ หรือที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศได้ตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510
4.1.2 บริษัทมีกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมาย
4.1.3 บริษัทได้มาหรือมีอยู่โดยไม่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันภัยวินาศภัย พ.ศ. 2510 กฎกระทรวง เงื่อนไข ประกาศหรือคําสั่งที่ออกหรือกําหนดตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510
4.2 ราคาประเมิน
ทรัพย์สินตาม 4.1 ให้ประเมินราคาดังนี้
4.2.1 พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจํากัด ตามรายชื่อที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดให้ประเมินราคาตามราคาซื้อหลังจากปรับราคาส่วนเกินหรือส่วนลดจากราคาที่ตั้งไว้
4.2.2 หุ้นบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หุ้นบริษัทจํากัด หุ้นบริษัทมหาชนจํากัด หุ้นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจประกันชีวิตในต่างประเทศ หรือหน่วยลงทุนในโครงการจัดการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนจากกระทรวงการคลัง ให้ประเมินราคาดังนี้
(1) หุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ประเมินราคาตาม ราคาปิดเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยย้อนหลังหนึ่งเดือนนับแต่วันประเมินราคา'
(2) หุ้นที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามมูลค่าตามบัญชีที่แท้จริง (Book Value) ของหุ้น ตามบัญชีงบดุลของผู้ออกหุ้น ณ สิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย แต่ไม่เกินราคาซื้อ
(3) หน่วยลงทุนในโครงการจัดการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุนจากระทรวงการคลัง ให้ประเมินราคาตามราคาซื้อ หรือประเมินราคาตามราคาที่นายทะเบียนกําหนดเมื่อบริษัทร้องขอ
4.2.3 หุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หุ้นกู้ของบริษัทจํากัด หรือหุ้นกู้ของบริษัทมหาชนจํากัด ให้ประเมินราคาตามราคาซื้อหลังจากปรับราคาส่วนเกินหรือส่วนลดจากราคาที่ตั้งไว้
4.2.4 ตั๋วเงิน ให้ประเมินราคาดังนี้
(1) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ตั้งไว้ เว้นแต่ไม่ได้นําตั๋วเงินนั้นไปขึ้นเงินภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ตั๋วเงินนั้นครบกําหนด ส่วนตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กําหนดจ่ายเงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ตั้งไว้
(2) เช็คที่กําหนดจ่ายเงินเมื่อทวงถามและได้ยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในสามวันทําการนับแต่วันที่บริษัทได้รับเช็คนั้น ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ตั้งไว้เว้นแต่เช็คนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงินและไม่ได้รับเงินตามเช็คนั้นภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่เช็คนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน
ตั๋วเงินตาม (1) เมื่อนําไปขึ้นเงินแล้วแต่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินและได้มีการดําเนินคดีทางศาลเพื่อเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินนั้น ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ตั้งไว้ เมื่อคดีถึงที่สุด และบริษัทมีสิทธิได้รับชําระหนี้ตามคําพิพากษา ให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาต่อไปได้อีกไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่บริษัทมีสิทธิบังคับคดี เว้นแต่จะได้ดําเนินการบังคับคดี หรือได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเมื่อบริษัทร้องขอ
4.2.5 เงินฝากธนาคาร ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ฝากไว้
4.2.6 เงินสด หรือเงินตราต่างประเทศที่เก็บไว้ที่สํานักงานของบริษัทให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่มีอยู่
4.2.7 ธนาณัติ การรับจ่ายและโอนเงิน (อ.ร.จ.) ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ระบุไว้
4.2.8 เงินให้กู้ยืม ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระ แต่เงินต้นและดอกเบี้ยนั้นต้องค้างชําระไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ครบกําหนดชําระตามสัญญา นอกจากมีการดําเนินคดีทางศาล เมื่อคดีถึงที่สุดและบริษัทมีสิทธิได้รับชําระหนี้ตามคําพิพากษาให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาต่อไปอีกได้ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่บริษัทมีสิทธิบังคับคดี เว้นแต่จะได้ดําเนินการบังคับคดีหรือได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเมื่อบริษัทร้องขอ
4.2.9 ดอกเบี้ยค้างรับจากพันธบัตร เงินฝากประจําธนาคารและหุ้นกู้ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ
4.2.10 ดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) ดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กําหนดเวลาจ่ายเงินไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ออกตั๋วเงิน และมิได้นําตั๋วเงินไปขึ้นเงินภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ตั๋วเงินนั้นครบกําหนด
(2) ดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กําหนดจ่ายเงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น และมิได้นําตั๋วเงินไปขึ้นเงินก่อนวันที่ตั๋วเงินนั้นครบหนึ่งปี
(3) ดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่นําไปขึ้นเงิน แต่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม
4.2.11 ดอกเบี้ยค้างรับนอกจาก 4.2.9 และ 4.2.10 ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ครบกําหนดชําระ และค้างรับไม่เกินหกเดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ
4.2.12 เงินปันผลทีประกาศจ่ายและยังค้างรับอยู่ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ
4.2.13 เบี้ยประกันภัยค้างรับดังต่อไปนี้ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ
(1) เบี้ยประกันภัยค้างรับตามสัญญาคุ้มครองชั่วคราว
(2) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การระหว่างประเทศ
(3) เบี้ยประกันค้างรับจากการประกันภัยทางทะเล
(4) เบี้ยประกันค้างรับนอกจาก (1) (2) และ (3) ที่ค้างรับไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันที่สัญญาประกันภัยเริ่มต้นให้ความคุ้มครอง หรือนับแต่วันที่ถึงกําหนดชําระในงวดต่อ ๆ ไป ในกรณีที่สัญญาประกันภัยนั้นมีการชําระเป็นรายงวด หรือภายในเวลากว่านั้น ตามที่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยวิธีเก็บเบี้ยประกันภัย
4.2.14 เงินค้างรับตามสัญญาประกันต่อ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ
4.2.15 เงินที่วางไว้ตามสัญญาประกันต่อ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ได้วางไว้
4.2.16 อสังหาริมทรัพย์
(1) ที่ดิน ให้ประเมินราคาตามราคาประเมินของกรมที่ดินครั้งสุดท้าย หรือราคาตามบัญชี แต่ไม่เกินราคาประเมินของกรมที่ดินครั้งสุดท้าย หรือประเมินราคาตามราคาที่นายทะเบียนกําหนด เมื่อบริษัทร้องขอ
(2) ที่ดิน ที่อยู่ระหว่างการเช่าซื้อเพื่อใช้ประกอบธุรกิจของบริษัท ให้ประเมินราคาตามจํานวนที่ชําระไปจริง
(3) อสังหาริมทรัพย์นอกจากที่ดินตาม (1) ให้ประเมินราคาตามราคาบัญชีที่ได้หักค่าเสื่อมราคาแล้วโดยถือหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนที่ดินของบริษัท ให้หักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุดตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย
(ข) อสังหาริมทรัพย์ของบริษัทที่ตั้งอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่น ให้หักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุดตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้ายหรือในอัตราตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาการเช่าตามที่กําหนดไว้ในหนังสือสัญญาเช่าที่ดินนั้น แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า
(4) อสังหาริมทรัพย์นอกจากที่ดินตาม (2) ที่อยู่ระหว่างการเช่าซื้อเพื่อใช้ประกอบธุรกิจของบริษัท ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ชําระไปจริง โดยหักค่าเสื่อมราคา ดังนี้
(ก) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนที่ดินของบริษัท ให้หักค่าเสื่อมราคาตามราคาเช่าซื้อในอัตราสูงสุดตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย
(ข) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่น ให้หักค่าเสื่อมราคาตามราคาเช่าซื้อในอัตราสูงสุดตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย หรือระยะเวลาการเช่าตามที่กําหนดไว้ในหนังสือสัญญาเช่าที่ดินนั้น แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า
4.2.17 สังหาริมทรัพย์ในการดําเนินงาน
(1) สังหาริมทรัพย์ของบริษัทเพื่อใช้ในการดําเนินงาน ให้ประเมินราคาตามราคาบัญชีที่ได้หักค่าเสื่อมราคาแล้ว ในอัตราสูงสุดตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย
(2) สังหาริมทรัพย์ที่บริษัทเช่าซื้อเพื่อใช้ในการดําเนินงานของบริษัท ให้ประเมินราคาตามราคาเช่าซื้อที่ได้หักค่าเสื่อมราคาแล้ว ในอัตราสูงสุดตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย
สังหาริมทรัพย์ตาม (1) และ (2) นอกจากเครื่องสมองกล ให้ประเมินราคารวมกันได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์รวมของบริษัทที่ได้รับการประเมินราคาครั้งสุดท้าย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน เมื่อบริษัทร้องขอ
4.2.18 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้จ่ายล่วงหน้าหรือภาษีที่ได้ชําระเกิน ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่บริษัทสามารถถือเป็นเครดิตในการคํานวณภาษีเงินได้ในปีนั้น ๆ หรือมีสิทธิเรียกคืนได้ตามกฎหมายแล้วแต่กรณี
4.2.19 เงินมัดจํา ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่บริษัทมีสิทธิจะเรียกคืนได้ตามกฎหมาย
4.2.20 เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพของบริษัทซึ่งได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ให้ประเมินราคาเต็มจํานวน
4.2.21 ทรัพย์สินอื่นซึ่งมิใช่ประเภทที่กําหนดไว้ในข้อ 4.2.1 ถึง 4.2.20 จะประเมินราคาให้ได้ต่อเมื่อบริษัทร้องขอ และได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ประเมินราคาตามราคาที่นายทะเบียนกําหนด
ข้อ ๕ บรรดาหนี้สินทั้งปวงที่บริษัทต้องชําระ หรือมีความผูกพันที่จะต้องชําระหรือคาดว่าต้องชําระ รวมทั้งเงินสํารองที่บริษัทต้องจัดสรรไว้ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2510 หรือเงินสํารองอื่นให้ประเมินราคาเต็มจํานวน เว้นแต่ค่านายหน้าค้างจ่ายจากเบี้ย ประกันภัยค้างรับที่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดไว้ ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยวิธีเก็บเบี้ย ประกันภัยยังมิให้ถือเป็นหนี้สินที่บริษัทมีความผูกพันที่จะต้องชําระ
ข้อ ๖ การแก้ไขความไม่ถูกต้องในการประเมินราคา
การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนสมบูรณ์ ภายในเวลาที่นายทะเบียนกําหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2530
มนตรี พงษ์พานิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | 5,490 |
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย
--------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(2) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545
(3) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(4) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2546
(5) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“หุ้น” หมายความรวมถึง ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ (DR) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์อื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“หุ้นกู้”[1] หมายความรวมถึง หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นกู้ (DR) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์อื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุน หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ตั๋วเงิน” หมายความว่า ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“อนุพันธ์” หมายความว่า อนุพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
“ฐานะอนุพันธ์” หมายความว่า ภาระหรือสิทธิ อันเนื่องมาจากการซื้อขายอนุพันธ์ หรือเข้าผูกพันตามอนุพันธ์
“ภาระผูกพัน” หมายความว่า จํานวนเงินที่ต้องรับผิดชอบตามตั๋วเงิน (ในฐานะผู้สั่งจ่าย ผู้ออก ผู้รับรอง หรือผู้อาวัลตั๋วเงินนั้น) จํานวนเงินกู้ยืม (ในฐานะผู้กู้ยืม) และจํานวนเงินค้ําประกันการกู้ยืม หรือจํานําเป็นประกันการกู้ยืม (ในฐานะผู้ค้ําประกัน หรือเป็นผู้ออกพันธบัตร หุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน ที่มีผู้นํามาจํานําเป็นประกัน)
“ราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ราคาประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือราคาประเมินของนิติบุคคลที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบให้เป็นผู้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด หรือราคาที่ได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน
“ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง” หมายความว่า การให้เช่าทรัพย์สินที่บริษัทจัดหามาจากผู้ผลิต หรือผู้จําหน่าย หรือทรัพย์สินซึ่งยึดได้จากผู้เช่ารายอื่นเพื่อให้ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์ในกิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการบริการอย่างอื่นเป็นทางค้าปกติ โดยผู้เช่ามีหน้าที่ต้องบํารุงรักษา และซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า ทั้งนี้ ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาก่อนครบกําหนดเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะซื้อหรือเช่าทรัพย์สินนั้นต่อไป ในราคาหรือค่าเช่าที่ได้ตกลงกัน
“งานสนับสนุน” หมายความว่า งานปฏิบัติการด้านการประกันภัย เช่น การจัดตั้งการบริหารกลุ่มรับเสี่ยงภัย (pool) การให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น งานบัญชีการเงิน งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานตรวจสอบภายใน งานกํากับ ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (compliance) และงานอื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“อันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบ หรือได้รับการยอมรับจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ”[2] หมายความว่า องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลซึ่งมีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล เป็นต้น หรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจํากัด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“บริษัทจํากัด” หมายความว่า บริษัทจํากัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจํากัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึง บรรษัทเงินทุน และบรรษัทอื่น ๆ ที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“บรรษัทเงินทุน” หมายความว่า บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
“ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ รวมถึงธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ที่ประกอบธุรกิจภายในราชอาณาจักร
“บริษัทจัดการกองทุน” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“องค์กรระหว่างประเทศ” หมายความว่า World Bank หรือ Asian Development Bank (ADB) หรือ International Finance Corporation (IFC) หรือองค์กร หรือนิติบุคคล ตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ธนาคารต่างประเทศ” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร
“สินทรัพย์ของบริษัท” หมายความว่า สินทรัพย์ของบริษัทตามราคาประเมินที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย หรือในงบการเงินระหว่างกาลครั้งสุดท้าย
“เงินกองทุนส่วนเกิน” หมายความว่า เงินกองทุนส่วนที่เกินจากจํานวนที่บริษัทต้องดํารงไว้ ตามมาตรา 27 ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย หรือในงบการเงินระหว่างกาลครั้งสุดท้าย
“งบการเงินระหว่างกาล” หมายความว่า งบการเงินตามราคาประเมินที่จัดทําขึ้นตามแบบและรายการที่นายทะเบียนกําหนด สําหรับงวดเวลาสิ้นสุด ณ วันใดวันหนึ่งระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่เสนอรายงานทางการเงินตามปกติ และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้รับรอง
“ราคาประเมิน” หมายความว่า ราคาประเมินทรัพย์สินของบริษัทตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัยที่ออกตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
หมวด ๑ ประเภทการลงทุน
----------------------------
ส่วน ๑ ประเภทการลงทุนในราชอาณาจักร
----------------------------
ข้อ ๓ บริษัทจะลงทุนประกอบธุรกิจอื่นในราชอาณาจักรได้ ดังต่อไปนี้
(1) ฝากเงินไว้กับธนาคาร หรือซื้อบัตรเงินฝากของธนาคาร
(2) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตั๋วเงินคลัง
(3) ซื้อบัตรภาษีของกระทรวงการคลัง
(4) ซื้อพันธบัตร หรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ
(5) ซื้อหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุน
(6) ซื้อบัตรเงินฝากของบริษัทเงินทุน
(7) ซื้อตั๋วเงิน
(8) ซื้อหุ้น หุ้นกู้ ของบริษัทจํากัด หรือหน่วยลงทุน
(9) ให้กู้ยืมโดยมีกระทรวงการคลังค้ําประกัน
(10) ให้กู้ยืมโดยมีพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตร หรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุนจํานําเป็นประกัน
(11) ให้กู้ยืมโดยมีธนาคารหรือองค์กรระหว่างประเทศค้ําประกัน
(12) ให้กู้ยืมโดยมีบรรษัทเงินทุนค้ําประกัน
(13) ให้กู้ยืมโดยมีหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน จํานําเป็นประกัน
(14) ให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกัน
(15) ให้กู้ยืมโดยมีเครื่องจักรจํานองเป็นประกัน
(16) ให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
(17) ให้กู้ยืมแก่สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จํากัด
(18) ให้กู้ยืมแก่เกษตรกร
(19) ซื้อสลากออมทรัพย์
(20) ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (Leasing)
(21) ให้เช่าซื้อรถ
(22) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(23) เป็นผู้จัดการกองทุนรวม ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(24) ซื้อขายหรือมีฐานะอนุพันธ์
(25) เป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(26) เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(27) ทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน
(28) ทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(29) ประกอบกิจการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (back office)
ส่วน ๒ ประเภทการลงทุนนอกราชอาณาจักร
----------------------------
ข้อ ๔ บริษัทจะลงทุนประกอบธุรกิจอื่นนอกราชอาณาจักรได้ ดังต่อไปนี้
(1) ซื้อหุ้น หรือหุ้นกู้ของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) หรือของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (ESCAP) เพื่อประกอบธุรกิจเฉพาะการประกันต่อ
(2) ซื้อหุ้นของนิติบุคคลในต่างประเทศ นอกจาก (1)
(3) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรหรือหุ้นกู้ขององค์การ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการจําหน่ายนอกราชอาณาจักร
(4) ซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ซึ่งออกหรือค้ําประกันโดยองค์กรระหว่างประเทศ
(5)[5] ซื้อพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินซึ่งออกโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ
(6) ซื้อบัตรเงินฝากหรือหุ้นกู้ของธนาคาร หรือหุ้นกู้ของบริษัทจํากัดที่ออกจําหน่ายนอกราชอาณาจักร
(7) ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
(8) ซื้อหุ้นกู้ซึ่งออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้นั้นในประเทศไทย
หมวด ๒ เงื่อนไขการลงทุน
----------------------------
ส่วน ๑ เงื่อนไขทั่วไป
----------------------------
ข้อ ๕ การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท บริษัทจะต้องกระทําด้วยความสุจริต ไม่กระทําการหรืองดเว้นการที่ต้องกระทําใด ๆ อันเป็นผลให้บริษัทต้องจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นมากกว่าจํานวนที่พึงจ่าย หรือให้บริษัทได้รับผลประโยชน์ใด ๆ น้อยกว่าจํานวนที่พึงได้รับโดยไม่สุจริต
สินทรัพย์ที่บริษัทได้มาหรือมีอยู่จากการลงทุนตามประกาศนี้ จะต้องปราศจากภาระหนี้ตลอดเวลา เช่น การจํานอง การจํานํา เพื่อค้ําประกันหนี้สินใด ๆ เป็นต้น เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๖ ห้ามบริษัทให้กู้ยืม ตามข้อ 3 (10) (13) (14) (15) ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ตามข้อ 3 (20) หรือให้เช่าซื้อรถ ตามข้อ 3 (21) แก่นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลนั้นรายหนึ่งหรือหลายรายถือหุ้นในบริษัท หรือผู้ถือหุ้นในบริษัทรายหนึ่งหรือหลายรายถือหุ้นในนิติบุคคลนั้น มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของทุนทั้งหมด
(2) นิติบุคคลนั้นถือหุ้นในบริษัท หรือบริษัทถือหุ้นในนิติบุคคลนั้น ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของทุนทั้งหมด
การถือหุ้นตาม (1) และ (2) ข้างต้น ให้นับการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และให้นับรวมการถือหุ้นโดยบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นในลักษณะที่ระบุไว้ในข้อ 7 (1) ถึง (6) ด้วย
ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท หรือกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานในฐานะผู้แทนของบริษัทเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในนิติบุคคลนั้น ให้บริษัทรายงานต่อนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ทั้งนี้ ผู้บริหาร หมายถึง ผู้จัดการ และผู้บริหารระดับต่ํากว่าผู้จัดการลงมาอีก 2 ระดับ
ข้อ ๗ ห้ามบริษัทให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถแก่กรรมการ หรือค้ําประกันหนี้ใด ๆ ของกรรมการ หรือซื้อ สลักหลัง รับรอง หรือรับอาวัลตั๋วเงินที่กรรมการเป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออก
การให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถ หรือการประกันหนี้ใด ๆ ของบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนดังต่อไปนี้ หรือการซื้อ การสลักหลัง การรับรอง หรือการรับอาวัลตั๋วเงิน ที่บุคคลหรือห้างหุ้นส่วน ดังต่อไปนี้ เป็นผู้สั่งจ่าย หรือเป็นผู้ออก ให้ถือว่าเป็นการให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ หรือค้ําประกันแก่กรรมการหรือเป็นการซื้อ สลักหลัง รับรอง หรือรับอาวัลตั๋วเงินที่กรรมการเป็นผู้สั่งจ่าย หรือเป็นผู้ออก ตามวรรคหนึ่งด้วย คือ
(1) คู่สมรสของกรรมการ
(2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการ
(3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่กรรมการหรือบุคคล ตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน
(4) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่กรรมการหรือบุคคล ตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดรวมกันเกินร้อยละสามสิบของทุนทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้น
(5) บริษัทจํากัดที่กรรมการหรือบุคคล ตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วน ตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น
(6) บริษัทจํากัดที่กรรมการหรือบุคคล ตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วน ตาม (3) และ (4) หรือบริษัทจํากัด ตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น
ข้อ ๘ การลงทุนซื้อหุ้น หุ้นกู้ของบริษัทจํากัด หรือหน่วยลงทุนที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุนรายใดรายหนึ่ง ตามข้อ 3 (8) การให้กู้ยืม ตามข้อ 3 (13) ถึง (18) การให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ตามข้อ 3 (20) และการให้เช่าซื้อรถ ตามข้อ 3 (21) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อรวมกันแล้วให้บริษัทลงทุนแก่บุคคลนั้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ของบริษัท เว้นแต่
(1) การซื้อหุ้นของบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย ตามข้อ 18 (1.1) ถึง (1.3) หรือการซื้อหุ้นของบริษัทจํากัดที่ประกอบกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจประกันชีวิตหรือธุรกิจประกันวินาศภัยโดยส่วนรวม ตามข้อ 18 (2.1) หรือการซื้อหุ้นของบริษัทจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตเฉพาะการประกันภัยต่อ ตามข้อ 18 (2.2) หรือการซื้อหุ้นกู้ของบริษัทจํากัด ภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่นํารายได้ทั้งจํานวนไปใช้ในโครงการของราชการ ตามข้อ 18 (3.1)
(2) การซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 18 (4.1)
(3) การซื้อหุ้น หุ้นกู้ของบริษัทจํากัด หรือหน่วยลงทุน โดยใช้เงินกองทุนส่วนเกิน ตามส่วนที่ 18
ข้อ ๙ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัท ให้ใช้ราคาทุนของการได้ทรัพย์สินแต่ละประเภท สําหรับการให้กู้ยืมให้ใช้ยอดเงินต้นคงค้าง
ข้อ ๑๐ การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามประกาศนี้ บริษัทต้องจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ออกระเบียบวิธีปฏิบัติหรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลง
ระเบียบวิธีปฏิบัติดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด และในกรณีที่นายทะเบียนเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด
นอกจากการจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติแล้ว ให้บริษัทจัดให้มีระบบการตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทในการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทและในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด และในกรณีที่นายทะเบียนเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงระบบการตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัท ให้บริษัทดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล นายทะเบียนมีอํานาจกําหนดให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด เป็นผู้ประเมินระบบการควบคุมภายใน และระเบียบวิธีปฏิบัติในด้านการลงทุนและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด และให้ส่งรายงานดังกล่าว แก่นายทะเบียนภายในเดือนมีนาคมของทุกปี หรือตามที่นายทะเบียนกําหนดเพิ่มเติม เว้นแต่บริษัทที่ผ่านการประเมินด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและการดํารงสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับหนี้สินและภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยจากนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
ข้อ ๑๑ การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามประกาศนี้ ในกรณีที่บริษัทว่าจ้างหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นดําเนินการลงทุนแทนบริษัททั้งหมดหรือบางส่วน บริษัทจะดําเนินการได้โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๑๒ การรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินนอกจากอสังหาริมทรัพย์ บริษัทสามารถดําเนินการได้โดยคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีทรัพย์สินที่ได้มานั้นมีราคาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของประกาศนี้ ให้บริษัทใช้เงินกองทุนส่วนเกิน ตามข้อ 41 แต่หากบริษัทไม่มีเงินกองทุนส่วนเกินเพียงพอ ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(2) กรณีทรัพย์สินที่ได้มานั้น หากทําให้สัดส่วนการลงทุนของบริษัทไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของประกาศนี้ บริษัทต้องจําหน่ายทรัพย์สินส่วนที่เกินออกไปภายในสามปีนับแต่วันที่ได้มา และห้ามซื้อทรัพย์สินประเภทดังกล่าวเพิ่มเติมอีก หากบริษัทได้มาก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้จําหน่ายออกไปภายในสามปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(3) กรณีทรัพย์สินที่ได้มานั้น เป็นทรัพย์สินที่มิใช่ทรัพย์สินที่บริษัทสามารถลงทุนได้ตามประกาศนี้ ให้ถือว่าเป็นการได้มาโดยใช้เงินกองทุนส่วนเกิน ตามข้อ 41 และบริษัทต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวออกไปภายในสามปีนับแต่วันที่ได้มา และหากบริษัทได้มาก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้จําหน่ายออกไปภายในสามปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
หมวด ๑๓ การซื้อหุ้นของบริษัทจํากัด ตามข้อ 3 (8) บริษัทจะซื้อได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้ซื้อได้โดยวิธีจับคู่คําสั่งซื้อขายอัตโนมัติ (automatic order matching)
(2) หุ้นที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้บริษัทซื้อได้ในราคาที่มีการเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป (public offering) หรือที่มีการเสนอขายแก่นักลงทุนประเภทสถาบันเป็นการทั่วไป โดยมิได้เจาะจงสถาบันใดสถาบันหนึ่ง
(3) การซื้อหุ้น นอกจาก (1) และ (2) ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๒ เงื่อนไขการซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตั๋วเงินคลัง
----------------------------
ข้อ ๑๔ การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยหรือตั๋วเงินคลัง ตามข้อ 3 (2) บริษัทจะซื้อได้โดยไม่จํากัดจํานวน
ส่วน ๓ เงื่อนไขการซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการซื้อหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุน
----------------------------
ข้อ ๑๕ การซื้อพันธบัตร หรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 3 (4) หรือการซื้อหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุน ตามข้อ 3 (5) บริษัทจะซื้อได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) กรณีพันธบัตรหรือหุ้นกู้ขององค์การ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุนที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันการชําระเงินต้นและดอกเบี้ย บริษัทจะซื้อได้โดยไม่จํากัดจํานวน
(2) กรณีพันธบัตรหรือหุ้นกู้ขององค์การ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุนที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน บริษัทจะซื้อได้รายละไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ของบริษัท และเมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละสี่สิบของสินทรัพย์ของบริษัท
ส่วน ๔ เงื่อนไขการซื้อบัตรเงินฝากหรือตั๋วเงิน
----------------------------
ข้อ ๑๖ การซื้อบัตรเงินฝากของบริษัทเงินทุน ตามข้อ 3 (6) และการซื้อตั๋วเงิน ตามข้อ 3 (7) ที่มีบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้สั่งจ่าย เป็นผู้ออก เป็นผู้รับรอง หรือรับอาวัล โดยไม่มีข้อจํากัดความรับผิด บริษัทจะซื้อได้เมื่อรวมจํานวนเงินภาระผูกพันในข้อนี้ ข้อ 19 และข้อ 20 ของนิติบุคคลใดนิติบุคคลหนึ่งเข้าด้วยกันแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท และเมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ของบริษัท ทั้งนี้ ระยะเวลาการใช้เงินตามบัตรเงินฝาก หรือตั๋วเงินต้องไม่เกินห้าปี
ข้อ ๑๗ การซื้อตั๋วเงิน ตามข้อ 3 (7) นอกจากที่กําหนดในข้อ 16 บริษัทจะซื้อได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตั๋วเงินนั้นต้องเป็นตั๋วเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (issue rating) ซึ่งออกโดยบริษัทจํากัด หรือเป็นตั๋วเงินที่มีธนาคาร บรรษัทเงินทุน องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ บริษัทประกันชีวิต บริษัทจํากัดที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (issuer rating) เป็นผู้สั่งจ่าย เป็นผู้ออก เป็นผู้รับรอง เป็นผู้รับอาวัล หรือเป็นผู้ค้ําประกัน โดยไม่มีข้อจํากัดความรับผิด หรือเป็นตั๋วเงินที่มีธนาคารต่างประเทศเป็นผู้รับอาวัล หรือเป็นผู้ค้ําประกัน โดยไม่มีข้อจํากัดความรับผิด
ทั้งนี้ ตั๋วเงิน หรือบริษัทจํากัดที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น ต้องได้รับอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า BBB หรือเทียบเท่า สําหรับธนาคารต่างประเทศ ต้องได้รับอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A หรือเทียบเท่า
(2) บริษัทจะซื้อได้ เมื่อรวมจํานวนเงินภาระผูกพันในข้อนี้ ข้อ 19 และข้อ 20 ของนิติบุคคลใดนิติบุคคลหนึ่ง ตาม (1) เข้าด้วยกันแล้ว ต้องไม่เกินภาระผูกพันที่นิติบุคคลแต่ละนิติบุคคลนั้นมีต่อบริษัทตามจํานวน ดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคาร ร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ของบริษัท
(ข) บรรษัทเงินทุน ร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท
(ค) องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ร้อยละห้าของสินทรัพย์ของบริษัท
(ง) บริษัทประกันชีวิต ร้อยละห้าของสินทรัพย์ของบริษัท
(จ) บริษัทจํากัด ตาม (1) ร้อยละห้าของสินทรัพย์ของบริษัท
(ฉ) ธนาคารต่างประเทศ ตาม (1) ร้อยละห้าของสินทรัพย์ของบริษัท
(3) (ยกเลิก)
ส่วน ๕ เงื่อนไขการซื้อหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน
----------------------------
ข้อ ๑๘ การซื้อหุ้น หุ้นกู้ของบริษัทจํากัด หรือหน่วยลงทุน ตามข้อ 3 (8) บริษัทจะซื้อได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) การซื้อหุ้นของบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย บริษัทจะซื้อได้ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่ออกจําหน่ายทั้งหมด และเมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท เว้นแต่
(1.1) การซื้อหุ้นของบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขฐานะหรือการดําเนินการของบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยนั้น โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนโดยอนุมัติรัฐมนตรี และบริษัทจะต้องจําหน่ายหุ้นส่วนที่เกินภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปี นับแต่วันที่ซื้อ
(1.2) การซื้อหุ้นของบริษัทประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อกิจการ โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน โดยอนุมัติรัฐมนตรีในการให้ความเห็นชอบ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ การซื้อหุ้นส่วนที่เกินให้ใช้เงินกองทุนส่วนเกินตามข้อ 42
(1.3) การซื้อหุ้นของบริษัทประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรวมกิจการหรือรับโอนกิจการที่ทําให้จํานวนบริษัทประกันวินาศภัยลดลง โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน โดยอนุมัติรัฐมนตรีในการให้ความเห็นชอบ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(2) การซื้อหุ้นของบริษัทจํากัด นอกจาก (1) บริษัทจะซื้อได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนหุ้นที่ออกจําหน่ายทั้งหมด และเมื่อรวมกันทุกบริษัทจํากัดแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ของบริษัท เว้นแต่
(2.1) การซื้อหุ้นของบริษัทจํากัดที่ประกอบกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจประกันชีวิตหรือธุรกิจประกันวินาศภัยโดยส่วนรวม โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียนในการให้ความเห็นชอบ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ การซื้อหุ้นส่วนที่เกิน ให้ใช้เงินกองทุนส่วนเกินตามข้อ 42
(2.2) บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เฉพาะการประกันภัยต่อจะซื้อหุ้นของบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต เฉพาะการประกันภัยต่อเกินกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(3) การซื้อหุ้นกู้ของบริษัทจํากัด บริษัทจะซื้อได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(3.1) การซื้อหุ้นกู้ของบริษัทจํากัด ภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่นํารายได้ทั้งจํานวนไปใช้ในโครงการของราชการ องค์การ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทจะซื้อได้โดยไม่จํากัดจํานวน ทั้งนี้ หุ้นกู้นั้นต้องได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ (issue rating) ไม่ต่ํากว่า A หรือเทียบเท่า
(3.2) การซื้อหุ้นกู้ของบริษัทจํากัด นอกจาก (3.1) บริษัทจะซื้อได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าหุ้นกู้ที่ได้ออกจําหน่ายทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น ทั้งนี้ หุ้นกู้หรือผู้ออกหุ้นกู้นั้นต้องได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ (issue or issuer rating) ไม่ต่ํากว่า BBB- หรือเทียบเท่า กรณีหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด ที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าระดับที่กําหนดข้างต้น หุ้นกู้นั้นต้องกําหนดให้ผู้ทรงหุ้นกู้มีสิทธิในการรับชําระหนี้ไม่ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
การซื้อหุ้นกู้ตาม (3.2) นี้ และการซื้อตั๋วเงินของบริษัทจํากัดตามข้อ 17 เมื่อรวมกันทุกบริษัทจํากัดแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ของบริษัท
(4) การซื้อหน่วยลงทุน บริษัทจะซื้อได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(4.1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ตั๋วเงินคลัง ตราสารที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งจํานวนพันธบัตรหรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรหรือหุ้นกู้ซึ่งออกหรือค้ําประกันโดยองค์กรระหว่างประเทศ หรือออก โดยรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังให้เสนอขายในประเทศไทย เงินฝากธนาคาร รวมกันไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม บริษัทจะซื้อได้ โดยไม่จํากัดจํานวน
(4.2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม บริษัทจะซื้อได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของแต่ละกองทุนรวม
(4.3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่กําหนดนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ไม่ต่ํากว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม บริษัทจะซื้อได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของแต่ละกองทุนรวม
(4.4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม นอกจาก (4.1) (4.2) และ (4.3) บริษัทจะซื้อได้ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของแต่ละกองทุนรวม
การซื้อหน่วยลงทุนตาม (4.2) (4.3) หรือ (4.4) เมื่อรวมทุกบริษัทจัดการกองทุนแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ของบริษัท
ส่วน ๖ เงื่อนไขการให้กู้ยืม
----------------------------
ข้อ ๑๙ การให้กู้ยืมโดยมีพันธบัตร หรือหุ้นกู้ขององค์การ หรือรัฐวิสาหกิจหรือหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุนจํานําเป็นประกัน ตามข้อ 3 (10) การให้กู้ยืมโดยมีธนาคารค้ําประกัน ตามข้อ 3 (11) และการให้กู้ยืมโดยมีบรรษัทเงินทุนค้ําประกัน ตามข้อ 3 (12) นั้น ในกรณีที่นิติบุคคล ตามข้อ 16 หรือข้อ 17 (2) เป็นผู้กู้ยืม เป็นผู้ค้ําประกัน หรือเป็นผู้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่มีผู้นํามาจํานําเป็นประกันเมื่อรวมภาระผูกพันของนิติบุคคลนั้นแล้ว ต้องไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อ 16 หรือข้อ 17 (2) ดังกล่าว
ข้อ ๒๐ การให้กู้ยืมโดยมีหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน จํานําเป็นประกันตามข้อ 3 (13) บริษัทจะให้กู้ยืมได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน ที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และจะรับจํานําแต่ละประเภทได้ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของบริษัทจํากัดหรือกองทุนรวมนั้น
(2) จํานวนเงินให้กู้ยืม รายละไม่เกินห้าล้านบาท และต้องไม่เกินร้อยละหกสิบของราคาปิดของหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุนนั้น ในตลาดหลักทรัพย์ครั้งหลังสุดที่มีอยู่ภายในเจ็ดวันก่อนให้กู้ยืมและเมื่อรวมกันทุกรายแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท
(3) กําหนดระยะเวลาการชําระเงินต้นคืน พร้อมดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าปีละครั้ง
(4) สัญญากู้ยืมต้องมีระยะเวลาไม่เกินห้าปี
ในกรณีที่นิติบุคคลตามข้อ 16 หรือข้อ 17 (2) เป็นผู้กู้ยืม หรือเป็นผู้ออกหุ้น หรือหุ้นกู้ที่นํามาจํานําเป็นประกัน เมื่อรวมภาระผูกพันของนิติบุคคลนั้นแล้วต้องไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อ 16 หรือข้อ 17 (2) ดังกล่าว
ข้อ ๒๑ การให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกันการกู้ยืม ตามข้อ 3 (14) บริษัทจะให้กู้ยืมได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) การให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย บริษัทจะให้กู้ยืมได้เฉพาะบุคคลธรรมดาแต่ละรายไม่เกินยี่สิบล้านบาท เมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของสินทรัพย์ของบริษัท ระยะเวลาการให้กู้ยืมไม่เกินสามสิบปี
(1.1) ถ้าจํานวนเงินกู้ยืมไม่เกินสิบล้านบาท บริษัทจะให้กู้ยืมได้เมื่อรวมกับเจ้าหนี้อื่น (ถ้ามี) แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่จํานองเป็นประกันการกู้ยืม หรือราคาซื้อขายของโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย
(1.2) ถ้าจํานวนเงินกู้ยืมเกินกว่าสิบล้านบาท แต่ไม่เกินยี่สิบล้านบาท บริษัทจะให้กู้ยืมได้ เมื่อรวมกับเจ้าหนี้อื่น (ถ้ามี) แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่จํานองเป็นประกันการกู้ยืมหรือราคาซื้อขายของโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย
(2) การให้กู้ยืมนอกจาก (1) บริษัทจะให้กู้ยืมได้เมื่อรวมกับเจ้าหนี้อื่น (ถ้ามี) แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่จํานองเป็นประกันการกู้ยืมจํานวนเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละรายไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ของบริษัท และเมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ของบริษัท ระยะเวลาการให้กู้ยืมไม่เกินยี่สิบปี
ทั้งนี้ การให้กู้ยืมตาม (1) และ (2) รวมกันแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของสินทรัพย์ของบริษัท และต้องชําระดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าปีละครั้ง ถ้ามีระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นคืน ต้องไม่เกินหนึ่งในสี่ของระยะเวลาให้กู้ยืม เมื่อพ้นระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นคืน หรือกรณีไม่มีระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นคืน จะต้องชําระเงินต้นคืนไม่น้อยกว่าปีละครั้ง อสังหาริมทรัพย์ที่จํานองเป็นประกันการกู้ยืมต้องจํานองเป็นประกันลําดับหนึ่ง หรือร่วมจํานองพร้อมกับเจ้าหนี้อื่นเป็นลําดับหนึ่ง สําหรับการให้กู้ยืมตาม (1) ห้ามมีระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นคืน
ถ้าเป็นการจํานองที่ดินที่มีอาคารเป็นส่วนควบ หรือเป็นการจํานองเฉพาะอาคาร อาคารนั้นจะต้องมีการประกันวินาศภัย และให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดระยะเวลาตามสัญญากู้ยืม
ข้อ ๒๒ การให้กู้ยืม โดยมีเครื่องจักรจํานองเป็นประกันการกู้ยืม ตามข้อ 3 (15) บริษัทจะให้กู้ยืมได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เครื่องจักรนั้นต้องไม่มีการจํานองกับผู้อื่นติดพันอยู่
(2) บริษัทจะให้กู้ยืมได้แต่ละรายไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาเครื่องจักรที่จํานองเป็นประกันการกู้ยืมตามราคาซื้อขายในตลาด โดยไม่รวมค่าติดตั้งและค่าขนส่ง
(3) ต้องชําระดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าปีละครั้ง ถ้ามีระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นคืนต้องไม่เกินสองปี เมื่อพ้นระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นคืน หรือกรณีไม่มีระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นคืน จะต้องชําระเงินต้นคืนไม่น้อยกว่าปีละครั้ง
(4) สัญญากู้ยืมต้องมีระยะเวลาไม่เกินสิบปี
ข้อ ๒๓ การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทตามข้อ 3 (16) บริษัทจะให้กู้ยืมได้ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) จํานวนเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละรายไม่เกินหนึ่งล้านบาท และเมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ของบริษัท
(2) มีพนักงานบริษัทเดียวกัน คนเดียวหรือหลายคน ซึ่งมีเงินเดือนรวมกันสูงกว่าเงินเดือนของผู้กู้ยืมเป็นผู้ค้ําประกัน พนักงานคนหนึ่งให้ค้ําประกันได้ไม่เกินหนึ่งราย หรือมีข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ค้ําประกัน
(3) กําหนดระยะเวลาชําระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวด งวดละเท่าๆ กัน ไม่น้อยกว่าปีละครั้ง
(4) สัญญากู้ยืม มีระยะเวลาไม่เกินสิบปี
ข้อ ๒๔ การให้กู้ยืมแก่สหกรณ์การเกษตร หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จํากัด ตามข้อ 3 (17) บริษัทจะให้กู้ยืมได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) จํานวนเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละรายไม่เกินร้อยละสองของสินทรัพย์ของบริษัท และเมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท
(2) สัญญากู้ยืมต้องมีระยะเวลาไม่เกินห้าปี สําหรับการให้กู้ยืมแก่สหกรณ์การเกษตร และไม่เกินสิบปี สําหรับการให้กู้ยืมแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จํากัด
ข้อ ๒๕ การให้กู้ยืมแก่เกษตรกร ตามข้อ 3 (18) บริษัทจะให้กู้ยืมได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) จํานวนเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละรายไม่เกินหนึ่งแสนบาท และเมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท
(2) มีเกษตรกรที่อยู่ในตําบลเดียวกัน ไม่น้อยกว่าสองคนเป็นผู้ค้ําประกัน และผู้ค้ําประกันต้องไม่มีหนี้สิน หรือได้ค้ําประกันผู้อื่นอยู่แล้วในวันที่ค้ําประกัน
(3) สัญญากู้ยืมต้องมีระยะเวลาไม่เกินสามปี
ส่วน ๗ เงื่อนไขการซื้อสลากออมทรัพย์
----------------------------
ข้อ ๒๖ [ การซื้อสลากออมทรัพย์ ตามข้อ 3 (19) บริษัทจะซื้อได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) “สลากออมทรัพย์” หมายความว่า สลากระดมเงินออมที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น มีการจ่ายผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยเมื่อครบกําหนด และมีสิทธิได้รับเงินรางวัลเป็นงวด ๆ
(2) การรับผลประโยชน์หรือเงินรางวัลจากสลากออมทรัพย์ ให้บริษัทจดแจ้งกับธนาคารผู้ออกสลากเพื่อรับผลประโยชน์หรือเงินรางวัลในนามบริษัทเท่านั้น
(3) บริษัทสามารถซื้อสลากออมทรัพย์ได้รวมทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละหนึ่งของสินทรัพย์ของบริษัท
ส่วน ๘ เงื่อนไขการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง
----------------------------
ข้อ ๒๗ ในส่วนนี้
“ให้เช่า” หรือ “เช่า” หมายความว่า ให้เช่าหรือเช่าในธุรกิจลิสซิ่ง
“เงินลงทุน” หมายความว่า ผลรวมของราคาทรัพย์สินที่ให้เช่าที่พึงซื้อขายกันได้ในท้องตลาดด้วยเงินสดในวันทําสัญญาเช่า และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่บริษัทต้องชําระเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษีอากร และค่าเบี้ยประกันภัย เป็นต้น
“เงินดาวน์” หมายความว่า เงินที่ผู้เช่าต้องชําระครั้งแรกเมื่อทําสัญญา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของราคาค่าเช่าตามสัญญาต่างหากจากค่าเช่ารายงวด
ข้อ ๒๘ การลงทุนประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ตามข้อ 3 (20) บริษัทจะลงทุนประกอบการได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
เมื่อบริษัทได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้ว บริษัทจะให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจะใช้เงินลงทุนให้เช่าได้ และเมื่อรวมกันทุกรายแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท หรือไม่เกินห้าเท่าของเงินกองทุน แล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า
(2) ให้เช่าทรัพย์สินแก่นิติบุคคลเท่านั้น และห้ามให้เช่าแก่ผู้เช่าที่มีหนี้สินสูงเกินกว่าทรัพย์สินของผู้เช่า เว้นแต่จะมีหลักทรัพย์เป็นประกันการเช่านั้น
(3) สัญญาเช่าต้องทําเป็นหนังสือ และมีข้อกําหนดว่าผู้เช่าเพียงฝ่ายเดียวจะบอกเลิกสัญญาก่อนครบกําหนดไม่ได้
(4) ทรัพย์สินที่ให้เช่า ต้องเป็นทรัพย์สินประเภททุน เฉพาะเครื่องจักรหรือเครื่องมือ และต้องเป็นทรัพย์สินใหม่ที่ไม่ผ่านการใช้งานมาก่อน มีราคาซื้อขายแน่นอน สามารถสอบทานได้ เว้นแต่จะเป็นทรัพย์สินที่ยึด หรือรับคืนมาจากผู้เช่ารายอื่นของบริษัท หรือเป็นทรัพย์สินที่ให้เช่า อันเนื่องจากการต่ออายุสัญญาเช่าและต้องไม่ใช่ทรัพย์สินที่โดยสภาพไม่สามารถให้ผู้อื่นเช่าได้อีก
(5) ต้องจัดให้ผู้เช่าชําระเงินดาวน์ทันทีที่ทําสัญญาเช่า เป็นจํานวนเงินไม่ต่ํากว่าร้อยละยี่สิบห้าของเงินลงทุนในทรัพย์สิน ต่างหากจากการชําระเงินค่าเช่าในงวดต่อ ๆ ไป การชําระเงินดาวน์ดังกล่าว บริษัทจะให้ผู้เช่าชําระแก่ผู้จําหน่ายทรัพย์สินนั้นโดยตรงก็ได้ แต่บริษัทต้องมีหลักฐานแสดงการชําระเงิน หรือสําเนาหลักฐานดังกล่าวไว้
(6) ระยะเวลาให้เช่าไม่เกินอายุการใช้งานของทรัพย์สินตามที่ผู้ผลิตรับรองหรือกําหนด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินห้าปี
(7) ต้องจัดให้มีการประกันภัยทรัพย์สินที่ให้เช่านั้น โดยให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดอายุสัญญาเช่า
(8) ห้ามบริษัทจัดหาทรัพย์สิน โดยที่ยังไม่ได้ตกลงทําสัญญาให้เช่าทรัพย์สินนั้นกับผู้ใด หรือจัดหาทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด หรือสูงกว่าราคาต่ําสุดที่พึงจัดหาได้
ส่วน ๙ เงื่อนไขการลงทุนให้เช่าซื้อรถ
----------------------------
ข้อ ๒๙ “รถ” หมายความว่า รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ข้อ ๓๐ การลงทุนให้เช่าซื้อรถ ตามข้อ 3 (21) บริษัทจะให้เช่าซื้อได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจะให้เช่าซื้อได้เมื่อรวมกันทุกรายแล้ว ต้องไม่เกินสองเท่าของเงินกองทุนของบริษัท
(2)[ บริษัทจะให้เช่าซื้อได้แต่ละรายเป็นจํานวนเงินไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาตลาดของรถนั้น
(3) สัญญาเช่าซื้อ มีระยะเวลาไม่เกินเจ็ดปี
(4) รถที่ให้เช่าซื้อต้องจัดให้มีการประกันภัย โดยให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดระยะเวลาการเช่าซื้อ
(5) บริษัทจะให้เช่าซื้อได้เฉพาะแก่ผู้เช่าซื้อที่มีภูมิลําเนา หรือถิ่นที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในกรณีที่บริษัทจะขยายเขตการลงทุนออกไปยังจังหวัดอื่น ๆ นอกจากเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๑๐ เงื่อนไขการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
----------------------------
ข้อ ๓๑ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ตามข้อ 3 (22) บริษัทจะดําเนินการได้ดังนี้
(1) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ทําการของบริษัท ตามมาตรา 31 (10) (ก) ในส่วนที่ยังมิได้ใช้สอย หรืออสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทต้องจําหน่าย ตามมาตรา 33
(1.1) บริษัทอาจปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ได้ตามความจําเป็น แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงไม่เกินแห่งละหนึ่งล้านบาท เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(1.2) ระยะเวลาการให้เช่าครั้งละไม่เกินสามปี
(1.3) เมื่อบริษัทนําอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจําหน่าย ตามมาตรา 33 ออกให้เช่าแล้ว ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการจําหน่ายตามที่กฎหมายกําหนด
(1.4) ต้องคิดค่าเช่าและผลประโยชน์ที่เหมาะสมเป็นทางค้าปกติ
(2) การจัดจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ ที่บริษัทต้องจําหน่าย ตามมาตรา 33 บริษัทสามารถดําเนินการเท่าที่จําเป็นเพื่อการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์นั้น ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดโดยจํานวนเงินที่ใช้ในการดําเนินการต้องไม่เกินแห่งละหนึ่งล้านบาท
(3) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทต้องจําหน่าย ตามมาตรา 33 บริษัทสามารถที่จะขออนุญาตมีไว้เพื่อใช้สําหรับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่น ตามมาตรา 31 (10) (ข) โดยจัดทําเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการจําหน่ายหรือให้เช่า โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(3.1) โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน และในการให้ความเห็นชอบ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(3.2) โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด เว้นแต่โครงการที่มีเงินลงทุนทั้งหมดไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ก่อนการพัฒนา ซึ่งนายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ในการอนุญาตไว้ด้วยก็ได้
(3.3) โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทยื่นขอรับความเห็นชอบต้องเป็นโครงการลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) อาคารสํานักงาน
(ข) อาคารเพื่อการพาณิชย์
(ค) อาคารโรงงาน
(ง) อาคารเก็บสินค้า
(จ) อาคารที่พักอาศัย
(ฉ) อสังหาริมทรัพย์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(3.4) จํานวนเงินลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แต่ละโครงการ ต้องไม่เกินร้อยละห้า ของสินทรัพย์ของบริษัท เมื่อรวมทุกโครงการแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท
(3.5) บริษัทต้องจัดสรรกําไรสะสมไว้เป็นเงินสํารองเพื่อความเสี่ยง อันเกิดจากการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของมูลค่าการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รวมทุกโครงการ
(3.6) นายทะเบียนอาจยกเลิกการให้ความเห็นชอบโครงการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ หากปรากฏว่าบริษัทไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนด
นายทะเบียนอาจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทําโครงการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้บริษัทปฏิบัติตามก็ได้
ส่วน ๑๑ เงื่อนไขการเป็นผู้จัดการกองทุนรวม
ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
----------------------------
ข้อ ๓๒ การเป็นผู้จัดการกองทุนรวม ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามข้อ 3 (23) บริษัทสามารถดําเนินการได้โดยจะต้องแยกรายได้และรายจ่ายของธุรกิจการเป็นผู้จัดการกองทุนรวมออกจากธุรกิจประกันวินาศภัย
ส่วน ๑๒ เงื่อนไขการซื้อขายหรือมีฐานะอนุพันธ์
----------------------------
ข้อ ๓๓ การซื้อขายหรือมีฐานะอนุพันธ์ ตามข้อ 3 (24) บริษัทสามารถกระทําได้โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๑๓ เงื่อนไขการเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
หรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
----------------------------
ข้อ ๓๔ การเป็นตัวแทนสนับสนุนการขาย หรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามข้อ 3 (25) หรือการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามข้อ 3 (26) บริษัทสามารถดําเนินการได้โดยจะต้องแยกรายได้และรายจ่ายของธุรกิจนั้น ๆ ออกจากธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท
ส่วน ๑๔ เงื่อนไขการทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์
โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน
----------------------------
ข้อ ๓๕ การทําธุรกรรมซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามข้อ 3 (27) บริษัทสามารถทําได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทสามารถทําธุรกรรมดังกล่าวได้เฉพาะกับสถาบันการเงิน หรือผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ดังนี้
(ก) ธนาคาร
(ข) บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(ค) บริษัทประกันภัย
(ง) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(จ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ฉ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ช) กองทุนบําเหน็จ บํานาญ
(ซ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฌ) กองทุนรวม
(ญ) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ฎ) ส่วนราชการหรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนข้างต้นรวมถึง ผู้ลงทุนต่างประเทศที่จัดอยู่ในประเภท หรือเข้าลักษณะผู้ลงทุน ตาม (ก) ถึง (ฎ) ด้วย
(2) หลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมดังกล่าว อาจเป็นตราสารอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(ก) พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตั๋วเงินคลัง
(ข) พันธบัตร หรือหุ้นกู้องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน
(ค) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่ออยู่ใน SET 50 INDEX
(ง) ทรัพย์สินอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ทั้งชนิด ประเภท มูลค่าและวิธีการทําธุรกรรมนี้
(3) ต้องทําสัญญาขายหรือซื้อคืน (repurchase agreement) เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยต้องเป็นสัญญาที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ยอมรับ ทั้งนี้ อาจมีเอกสารแนบท้ายสัญญา (annex) ได้ จะทําธุรกรรมดังกล่าวได้เฉพาะสกุลเงินบาทและมีระยะเวลาการขายและซื้อคืนไม่เกินหนึ่งปี
(4) การทําธุรกรรมดังกล่าว บริษัทจะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก) กรณีหลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมเป็นพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตั๋วเงินคลัง มูลค่าหลักทรัพย์ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยสามของราคาซื้อ
(ข) กรณีหลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมเป็นพันธบัตร หรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน มูลค่าหลักทรัพย์ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยห้า ของราคาซื้อ
(ค) กรณีหลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมเป็นหุ้นที่มีรายชื่ออยู่ใน SET 50 INDEX มูลค่าหลักทรัพย์ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยสี่สิบของราคาซื้อ
(5) ในระหว่างสัญญาขายหรือซื้อคืนมีผลบังคับ บริษัทต้องดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ตาม (4) ณ สิ้นวัน ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) ดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ ตาม (4) (ก) ข้างต้น ไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยเอ็ดของมูลค่าธุรกรรม
(ข) ดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ ตาม (4) (ข) ข้างต้น ไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยสองของมูลค่าธุรกรรม
(ค) ดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ ตาม (4) (ค) ข้างต้น ไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยยี่สิบของมูลค่าธุรกรรม
ในกรณีที่มูลค่าหลักทรัพย์ดังกล่าวน้อยกว่าอัตราส่วนที่ระบุข้างต้น บริษัทจะต้องดําเนินการให้มูลค่าหลักทรัพย์เป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าว ภายในวันทําการถัดจากวันที่การดํารงอัตราส่วนดังกล่าวน้อยกว่าอัตราที่กําหนด โดยให้มีการโอนเงินหรือหลักทรัพย์ชนิดที่สอดคล้องกัน ตาม (2) ข้างต้น
(6) การคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมดังกล่าว ให้ใช้หลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก) กรณีตั๋วเงินคลัง ให้ใช้ราคาตรา
(ข) กรณีพันธบัตร หรือหุ้นกู้ ให้ใช้ราคาขายครั้งหลังสุดรวมดอกเบี้ยค้างรับจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ (dirty price) ตามที่บริษัทจะต้องดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ใน (5) ข้างต้นที่เผยแพร่โดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)
(ค) กรณีหุ้นที่มีรายชื่อใน SET 50 INDEX ให้ใช้ราคาปิดครั้งหลังสุด
(7) บริษัทจะทําธุรกรรมดังกล่าวรวมทุกสัญญา มีมูลค่ายอดคงค้างรวมกันได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ของบริษัท
(8) ห้ามนําหลักทรัพย์ส่วนที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในการทําธุรกรรมนี้ไปโอน หรือขายต่อ เว้นแต่เป็นการขายต่อตามสัญญาขายหรือซื้อคืนอื่น
(9) หากบริษัทฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้นี้ นายทะเบียนมีอํานาจสั่งห้ามมิให้บริษัททําธุรกรรมนี้ได้ตามระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด
ส่วน ๑๕ เงื่อนไขการทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
----------------------------
ข้อ ๓๖ การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ตามข้อ 3 (28) บริษัทสามารถทําได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาของการทําธุรกรรม จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(2) ต้องทําสัญญายืมและให้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีลักษณะและสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับเรื่อง ดังต่อไปนี้
(ก) วัตถุประสงค์ของการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(ข) หลักทรัพย์ที่ให้ยืมและหลักประกันในการยืม
(ค) การปรับจํานวนหรือมูลค่าหลักทรัพย์ หรือหลักประกันที่ต้องคืน
(ง) การชดเชยสิทธิประโยชน์ให้แก่คู่สัญญา
(จ) ข้อกําหนดในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัด หรือมีเหตุการณ์ที่ทําให้หนี้ถึงกําหนดชําระโดยพลัน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด หากหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีข้อกําหนดให้เลือกจะปฏิบัติได้หลายแนวทาง ให้ใช้แนวทางที่คุ้มครองเจ้าหนี้สูงสุด
(3) หลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืม อาจเป็นตราสารอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(ก) พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตั๋วเงินคลัง
(ข) พันธบัตร หรือหุ้นกู้ขององค์การ หรือรัฐวิสาหกิจ
(ค) หุ้น หุ้นกู้ ของบริษัทจํากัด
(4) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้า (custodian) หากต้องการยืมหลักทรัพย์จากบริษัท หรือต้องการนําหลักทรัพย์ของบริษัทไปให้บุคคลอื่นยืม ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร
(5) บริษัทจะทําธุรกรรมดังกล่าว รวมทุกสัญญามีมูลค่ายอดคงค้างรวมกันได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท
การคํานวณมูลค่าธุรกรรมให้คํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืม ณ วันเริ่มของแต่ละสัญญา
ส่วน ๑๖ เงื่อนไขการประกอบกิจการให้บริการ
ด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (back office)
----------------------------
ข้อ ๓๗ การประกอบกิจการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น (back office) ตามข้อ 3 (29) บริษัทสามารถทําได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการประกอบกิจการ เพื่อทําให้บริษัทสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งลดภาระต้นทุนประกอบกิจการของบริษัท
(2) บริษัทต้องจัดทํานโยบายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบกิจการให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น รวมทั้งขอบเขตความรับผิดชอบ การควบคุมภายใน ระบบรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และบริษัทต้องจัดให้มีการตรวจสอบ ดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติดังกล่าวโดยเคร่งครัด
(3) แยกรายได้และรายจ่ายของการให้บริการออกจากธุรกิจประกันวินาศภัย
ในกรณีที่บริษัทใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทปรับปรุงการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือสั่งระงับการประกอบกิจการนี้เป็นการชั่วคราว หรือสั่งยกเลิกการประกอบกิจการนี้ได้ ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๑๗ เงื่อนไขการลงทุนนอกราชอาณาจักร
----------------------------
ข้อ ๓๘ การลงทุนซื้อหุ้น หรือหุ้นกู้ ตามข้อ 4 (1) บริษัทจะลงทุนได้เมื่อรวมกับการซื้อหุ้น ตามข้อ 39 แล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท
ข้อ ๓๙ การลงทุนซื้อหุ้น ตามข้อ 4 (2) บริษัทจะซื้อได้โดยการใช้เงินกองทุนส่วนเกิน ตามข้อ 42 และต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ และเมื่อรวมกับการซื้อหุ้น หรือหุ้นกู้ ตามข้อ 38 แล้ว ต้องไม่เกินกว่าร้อยละสิบของสินทรัพย์ของบริษัท
ข้อ ๔๐ การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตร หรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือหุ้นกู้ของบรรษัทเงินทุน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการจําหน่ายนอกราชอาณาจักร ตามข้อ 4 (3) การซื้อพันธบัตร หรือหุ้นกู้ซึ่งออกหรือค้ําประกันโดยองค์กรระหว่างประเทศ ตามข้อ 4 (4) การซื้อพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินซึ่งออกโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ตามข้อ 4 (5) การซื้อบัตรเงินฝาก หรือหุ้นกู้ของธนาคาร หรือหุ้นกู้ของบริษัทจํากัด ที่ออกจําหน่ายนอกราชอาณาจักรตามข้อ 4 (6) การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนในต่างประเทศตามข้อ 4 (7) การซื้อหุ้นกู้ซึ่งออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้นั้นในประเทศไทย ตามข้อ 4 (8) บริษัทจะซื้อได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(1) พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน ซึ่งออกโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ตามข้อ 4 (5) นั้น ต้องได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ (issue rating) ไม่ต่ํากว่า BBB หรือเทียบเท่า เว้นแต่พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินนั้นได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง ให้เสนอขายในประเทศไทย
(2) บัตรเงินฝากหรือหุ้นกู้ของธนาคาร หรือหุ้นกู้ของบริษัทจํากัด ตามข้อ 4 (6) ต้องได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ (issue rating) หรือธนาคาร หรือบริษัทจํากัด ที่ออกบัตรเงินฝาก หรือหุ้นกู้ นั้น ต้องได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ (issuer rating) ไม่ต่ํากว่า BBB หรือเทียบเท่า
(3) หุ้นกู้ซึ่งออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้นั้นในประเทศไทย ตามข้อ 4 (8) ต้องได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ (issue rating) ไม่ต่ํากว่า BBB หรือเทียบเท่า
ส่วน ๑๘ เงื่อนไขการลงทุนด้วยเงินกองทุนส่วนเกิน
----------------------------
ข้อ ๔๑ ในกรณีที่บริษัทมีเงินกองทุนส่วนเกิน และประสงค์จะใช้เงินกองทุนส่วนเกินดังกล่าว ลงทุนประกอบธุรกิจ ตามประเภทที่กําหนดไว้ในข้อ 3 (4) ถึง (8) ข้อ 3 (10) ถึง (12) และข้อ 3 (22) ให้บริษัทใช้เงินกองทุนส่วนเกินจํานวนไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินกองทุนส่วนเกินนั้น ลงทุนตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในหมวด 2 ส่วนที่ 1 ข้อ 8 (3) ส่วนที่ 3 ถึงส่วนที่ 5 ส่วนที่ 6 ข้อ 19 และส่วนที่ 10 ข้อ 31 (3.4) ตามแต่กรณีได้อีก โดยเพิ่มจํานวนเงินลงทุนแต่ละราย และจํานวนรวมได้อีกหนึ่งเท่าของจํานวนเดิมตามเงื่อนไข
ข้อ ๔๒ การลงทุนซื้อหุ้นตามข้อ 4 (2) บริษัทจะซื้อได้โดยใช้เงินกองทุนส่วนเกินจํานวนไม่เกินร้อยละสิบของเงินกองทุนส่วนเกิน โดยเมื่อรวมกับข้อ 18 (1.2) (2.1) และข้อ 41 แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของเงินกองทุนส่วนเกินนั้น
ส่วน ๑๙ เงื่อนไขเกี่ยวกับดอกเบี้ยและผลประโยชน์
----------------------------
ข้อ ๔๓ การซื้อบัตรเงินฝาก ตามข้อ 3 (6) การซื้อตั๋วเงิน ตามข้อ 3 (7) การให้กู้ยืม ตามข้อ 3 (9) ถึง (18) และการให้เช่าซื้อรถ ตามข้อ 3 (21) บริษัทต้องได้รับดอกเบี้ยไม่ต่ํากว่าอัตราดอกเบี้ยที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
ข้อ ๔๔ การให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ตามข้อ 3 (20) ต้องได้รับผลประโยชน์ไม่ต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
----------------------------
ข้อ ๔๕ ให้ถือว่าการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ที่ระบุไว้ในข้อ 1 และเป็นประเภทการลงทุนที่ประกาศฉบับนี้ยังได้กําหนดให้ลงทุนได้ เป็นการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามประกาศนี้
ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ถ้าบริษัทใดลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้บริษัทดําเนินการต่อไปได้เพียงสิ้นภาระ หรือสิ้นระยะเวลาที่ผูกพันไว้ในสัญญา หรือข้อตกลงนั้น
ข้อ ๔๖ บรรดาประกาศนายทะเบียน เงื่อนไขการอนุญาตที่ออกหรือกําหนด ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศนายทะเบียนหรือเงื่อนไขการอนุญาตที่ออก หรือกําหนดตามประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๔๗ การลงทุนโดยใช้เงินกองทุนส่วนเกิน ตามกฎกระทรวงซึ่งออกตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 ให้ถือเป็นการลงทุน โดยใช้เงินกองทุนส่วนเกิน ตามข้อ 41
ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
วัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | 5,491 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสำหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม
การประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย
สําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2556
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 และมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“ตัวแทนประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทําการชักชวนให้บุคคลทําสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัท
“นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทําสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัทโดยกระทําเพื่อบําเหน็จเนื่องจากการนั้น
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“หน่วยงานที่จัดอบรม” หมายความว่า สถาบันประกันภัยไทย สถาบันอุดมศึกษา สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย บริษัทประกันวินาศภัย รวมทั้งสถาบันหรือองค์กรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
“สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
หมวด ๑ หลักสูตรการอบรม
---------------------------
ส่วน ๑ หลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับ หรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย
---------------------------
ข้อ ๕ ผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ดังนี้
5.1 การขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) ภาพรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยและสรุปสาระสําคัญของการประกันวินาศภัย (2 ชั่วโมง)
(3) แนวทางปฏิบัติในการขาย การรู้จักลูกค้าและการให้คําแนะนําด้านการประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง 30 นาที)
(4) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง 30 นาที)
5.2 การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ครั้งที่ 1 อายุใบอนุญาต 1 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ในวิชา ดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) การจัดการพิจารณารับประกันภัย (1 ชั่วโมง)
(3) การจัดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสําหรับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(4) การบริหารความเสี่ยง (1 ชั่วโมง)
(5) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(6) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง)
5.3 การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ครั้งที่ 2 อายุใบอนุญาต 1 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ในวิชา ดังต่อไปนี้
(1) การให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า (1 ชั่วโมง)
(2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ (1 ชั่วโมง)
(4) สถานการณ์ธุรกิจประกันวินาศภัยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต (1 ชั่วโมง)
(5) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(6) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง)
5.4 การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ครั้งที่ 3 อายุใบอนุญาต 5 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) การจัดการพิจารณารับประกันภัยและการกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (2 ชั่วโมง)
(3) การจัดการค่าสินไหมทดแทนประกันภัย (1 ชั่วโมง)
(4) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(5) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการ (1 ชั่วโมง)
ทั้งนี้ ผู้ขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยตาม 5.1 5.2 5.3 หรือ 5.4 ต้องผ่านการอบรมวิชาที่กําหนดให้ครบถ้วน ก่อนวันยื่นขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยไม่เกิน 1 ปี
ส่วน ๒ หลักสูตรการอบรมเพื่อขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย
---------------------------
ข้อ ๖ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ดังนี้
6.1 การต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 1 อายุใบอนุญาต 1 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง 30 นาที)
(2) ภาพรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยและผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (4 ชั่วโมง)
(3) แนวทางปฏิบัติในการขาย การรู้จักลูกค้า การให้คําแนะนําด้านการประกันวินาศภัยและการจัดการค่าสินไหมทดแทน (3 ชั่วโมง)
(4) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง 30 นาที)
6.2 การต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 2 อายุใบอนุญาต 1 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (3 ชั่วโมง)
(3) สถานการณ์ธุรกิจประกันวินาศภัยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต (1 ชั่วโมง)
(4) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ (1 ชั่วโมง)
(5) การพิจารณารับประกันภัย และการบริหารความเสี่ยงภัย (2 ชั่วโมง 30 นาที)
(6) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง 30 นาที)
6.3 การต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 3 อายุใบอนุญาต 5 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) มาตรฐานการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย (Insurance Core Principles) กําหนดโดยสมาคมผู้ควบคุมธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors : IAIS) และการเป็นนายหน้าประกันภัยนิติบุคคลบทบาทของนายหน้าประกันภัยต่อสังคมจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (2 ชั่วโมง)
(3) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (3 ชั่วโมง)
(4) การจัดการพิจารณารับประกันภัยและการกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (1 ชั่วโมง)
(5) การจัดการประกันภัยต่อ (1 ชั่วโมง)
(6) การวิเคราะห์ฐานะการเงินของบริษัทประกันวินาศภัย (2 ชั่วโมง)
ทั้งนี้ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตาม 6.1 6.2 หรือ 6.3 ต้องผ่านการอบรมวิชาที่กําหนดให้ครบถ้วน ก่อนวันยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยไม่เกิน 1 ปี
ส่วน ๓ หลักสูตรการอบรมเพื่อขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย
นายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป
---------------------------
ข้อ ๗ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป อายุใบอนุญาต 5 ปี จะต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรด้านการประกันภัย หรือความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ซึ่งกําหนดและจัดโดยสถาบัน สมาคม หรือองค์กรตามข้อ 8 ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง กรณีตัวแทนประกันวินาศภัย และไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง กรณีนายหน้าประกันวินาศภัย
การเข้ารับการสัมมนาในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ภายในระยะเวลา 5 ปี ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุให้นับเป็นจํานวนชั่วโมงการอบรมตามวรรคหนึ่งได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15 ชั่วโมง กรณีตัวแทนประกันวินาศภัย และไม่เกิน 25 ชั่วโมง กรณีนายหน้าประกันวินาศภัย ทั้งนี้ ผู้จัดสัมมนาต้องแจ้งแผนการจัดสัมมนา และรายละเอียดหัวข้อการสัมมนาให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนการจัดสัมมนา เพื่อให้สํานักงานให้ความเห็นชอบก่อน หากสํานักงานไม่มีการทักท้วงภายใน 10 วันทําการ ซึ่งนับจากวันที่สํานักงานได้ประทับตราลงรับจากสารบรรณกลางและได้รับเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วนแล้ว ให้ถือว่าหน่วยงานได้รับความเห็นชอบแผนการจัดสัมมนาและหัวข้อสัมมนาแล้ว[3]
ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้จํานวนชั่วโมงการอบรมตามวรรคหนึ่ง ลดลงเหลือ 15 ชั่วโมง กรณีตัวแทนประกันวินาศภัย และ 25 ชั่วโมง กรณีนายหน้าประกันวินาศภัย
(1) สอบผ่านคุณวุฒิที่ใช้ในการประกอบอาชีพประกันวินาศภัย ที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(2) สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาโทขึ้นไปทุกสาขา จากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง
(3) เป็นหรือเคยเป็นวิทยากร ผู้บรรยายความรู้ หรือเป็นอาจารย์ประจํา หรืออาจารย์พิเศษในสถาบัน สมาคม หรือองค์กร และในหลักสูตรการอบรมที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามข้อ 8 ภายในระยะเวลา 5 ปี ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
การใช้สิทธิตามข้อ 7 (1) หรือ (2) หรือ (3) ไม่สามารถนํามารวมกันหรือขอลดจํานวนชั่วโมงการอบรมในคราวเดียวกันได้
ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยตามวรรคหนึ่งต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่กําหนดให้ครบถ้วน ก่อนวันยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยไม่เกิน 5 ปี
หมวด ๒ สถาบัน สมาคม หรือองค์กร ที่จัดอบรม และวิธีการอบรม
---------------------------
ข้อ ๘ การจัดอบรมตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ให้กระทําได้โดยสถาบัน สมาคม หรือองค์กร ดังต่อไปนี้
(1) สํานักงาน
(2) สถาบันประกันภัยไทย
(3) สถาบันอุดมศึกษา
(4) สมาคมประกันวินาศภัยไทย
(5) สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย
(6) บริษัทประกันวินาศภัย
(7) สถาบันหรือองค์กรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
ให้สถาบัน สมาคม หรือองค์กร (2) (3) (4) (5) (6) และ (7) ที่จะจัดอบรมตามข้อ 5 ข้อ 6 หรือข้อ 7 แจ้งแผนการจัดอบรม และรายละเอียดหลักสูตรการอบรมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนการจัดอบรมเพื่อให้สํานักงานให้ความเห็นชอบก่อน
การจัดอบรมที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสอง ผู้เข้ารับการอบรมไม่ถือเป็นผู้ผ่านการอบรมตามหลักสูตร และวิธีการตามประกาศนี้
ข้อ ๙ ให้สถาบัน สมาคม หรือองค์กรตามข้อ 8 ออกหนังสือรับรองว่าผ่านการอบรมตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ให้แก่ผู้ผ่านการอบรม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวนํามายื่นต่อนายทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ ให้หน่วยงานที่จัดอบรม ปฏิบัติตามระเบียบ ดังต่อไปนี้
10.1 ประกาศกําหนดการรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมในที่ที่เปิดเผยหรือผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ช่องทางต่าง ๆ หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดอบรม
10.2 รับสมัครการอบรมโดยให้ผู้สมัครเข้ารับการอบรมกรอกใบสมัครพร้อมระบุหลักสูตร และแนบสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย (กรณีต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย/นายหน้าประกันวินาศภัย) แล้วแต่กรณี
10.3 ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรมและหลักสูตรการอบรมให้ถูกต้องและครบถ้วนตามคุณสมบัติและหลักสูตรที่กําหนดในการขอรับใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี โดยตรวจสอบผ่านทางเว็บไซต์สํานักงาน
10.4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการอบรมในที่เปิดเผยหรือในเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดอบรม ก่อนทําการอบรมอย่างน้อย 3 วัน
10.5 ส่งข้อมูลผู้สมัครเข้ารับการอบรมทั้งหมดก่อนทําการอบรมอย่างน้อย 1 วัน และข้อมูลผู้ผ่านการอบรมทั้งหมดภายใน 7 วันนับแต่สิ้นสุดวันอบรมให้สํานักงานทางระบบเครือข่ายเสมือน (VPN) ตามแบบที่สํานักงานกําหนด
10.6 หน่วยงานที่จัดอบรมต้องดําเนินการอบรมตามหลักสูตรที่กําหนดและกํากับควบคุมให้ผู้เข้ารับการอบรม อบรมตามวัน เวลา และสถานที่ที่กําหนด โดยจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมลงลายมือชื่อในใบลงทะเบียนการอบรม 2 ครั้งต่อวัน ครั้งแรกสําหรับการอบรมช่วงเช้าครั้งที่สองสําหรับการอบรมช่วงบ่าย และต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง หากผู้เข้ารับการอบรมเข้ารับการอบรมช้ากว่ากําหนดเกินกว่า 30 นาที ให้ผู้สมัครเข้ารับการอบรมไม่มีสิทธิเข้าห้องอบรม
10.7 วิทยากรที่อบรมต้องเป็นวิทยากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามรายชื่อและหัวข้อการอบรมที่ระบุไว้ในแผนการจัดอบรม
10.8 ต้องจัดให้มีเอกสารประกอบการอบรมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม
10.9 ต้องจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมกรอกแบบประเมินผลการอบรม เมื่อสิ้นสุดการอบรมตามหลักสูตร
10.10 ในกรณีที่หน่วยงานที่จัดอบรมรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมตามกําหนดในแผนการอบรมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และยกเลิกหรือเลื่อนการอบรมในภายหลังให้หน่วยงานที่จัดอบรมจัดหาหน่วยงานที่จัดอบรมอื่นให้แก่ผู้สมัครเข้ารับการอบรมดังกล่าว
ข้อ ๑๑ จัดเก็บหลักฐานใบสมัครเข้ารับการอบรม การจัดอบรม ข้อมูลของผู้เข้ารับการอบรมและแบบประเมินผลการอบรม พร้อมทั้งสรุปผลการประเมินการอบรมภายในระยะเวลา 2 ปี เพื่อแสดงต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานร้องขอ
ข้อ ๑๒ สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นหน่วยงานที่จัดอบรมเมื่อปรากฏแก่สํานักงานว่า หน่วยงานที่จัดอบรม
(1) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการกําหนดหลักสูตรและวิธีการการอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย สําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(2) ออกหนังสือรับรองการอบรมโดยมิชอบ
หมวด ๓ หนังสือรับรองการอบรม
---------------------------
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ตัวแทนประกันวินาศภัยย้ายบริษัทประกันวินาศภัยต้นสังกัดและใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัยยังไม่สิ้นอายุ อนุโลมให้นําหนังสือรับรองการอบรมครั้งสุดท้ายที่ยังมีผลใช้บังคับมาใช้ประกอบการยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทประกันวินาศภัยใหม่ได้
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ตัวแทนประกันวินาศภัยขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยมากกว่าหนึ่งบริษัท อนุโลมให้นําหนังสือรับรองการอบรมเดิมที่ใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยมาใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทอื่น ๆ ได้
ในกรณีตัวแทนประกันวินาศภัยเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยมากกว่าหนึ่งบริษัท ในการขอต่ออายุใบอนุญาต อนุโลมให้นําหนังสือรับรองการอบรมเดิมที่ใช้ประกอบการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยมาใช้ประกอบการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทอื่น ๆ ในครั้งเดียวกันได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,492 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสำหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม
การประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย
สําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2556
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 และมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“ตัวแทนประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทําการชักชวนให้บุคคลทําสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัท
“นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทําสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัทโดยกระทําเพื่อบําเหน็จเนื่องจากการนั้น
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“หน่วยงานที่จัดอบรม” หมายความว่า สถาบันประกันภัยไทย สถาบันอุดมศึกษา สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย บริษัทประกันวินาศภัย รวมทั้งสถาบันหรือองค์กรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
“สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
หมวด ๑ หลักสูตรการอบรม
----------------------------
ส่วน ๑ หลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับ หรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย
----------------------------
ข้อ ๕ ผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ดังนี้
5.1 การขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) ภาพรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยและสรุปสาระสําคัญของการประกันวินาศภัย (2 ชั่วโมง)
(3) แนวทางปฏิบัติในการขาย การรู้จักลูกค้าและการให้คําแนะนําด้านการประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง 30 นาที)
(4) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง 30 นาที)
5.2 การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ครั้งที่ 1 อายุใบอนุญาต 1 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ในวิชา ดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) การจัดการพิจารณารับประกันภัย (1 ชั่วโมง)
(3) การจัดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสําหรับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(4) การบริหารความเสี่ยง (1 ชั่วโมง)
(5) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(6) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง)
5.3 การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ครั้งที่ 2 อายุใบอนุญาต 1 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ในวิชา ดังต่อไปนี้
(1) การให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า (1 ชั่วโมง)
(2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ (1 ชั่วโมง)
(4) สถานการณ์ธุรกิจประกันวินาศภัยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต (1 ชั่วโมง)
(5) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(6) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง)
5.4 การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ครั้งที่ 3 อายุใบอนุญาต 5 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 11 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) การให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า (1 ชั่วโมง)
(2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(3) การจัดการพิจารณารับประกันภัยและการกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (2 ชั่วโมง)
(4) การจัดการค่าสินไหมทดแทนประกันภัย (1 ชั่วโมง)
(5) การจัดการลงทุนของบริษัทประกันภัย (1 ชั่วโมง)
(6) การจัดการประกันภัยต่อ (1 ชั่วโมง)
(7) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(8) มาตรฐานการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย (Insurance core principles) กําหนดโดยสมาคมผู้ควบคุมธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors : IAIS) (1 ชั่วโมง)
(9) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการ (1 ชั่วโมง)
(10) การประมวลความรู้ (1 ชั่วโมง)
ทั้งนี้ ผู้ขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยตาม 5.1 5.2 5.3 หรือ 5.4 ต้องผ่านการอบรมวิชาที่กําหนดให้ครบถ้วน ก่อนวันยื่นขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยไม่เกิน 1 ปี
ส่วน ๒ หลักสูตรการอบรมเพื่อขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย
----------------------------
ข้อ ๖ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ดังนี้
6.1 การต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 1 อายุใบอนุญาต 1 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง 30 นาที)
(2) ภาพรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยและผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (4 ชั่วโมง)
(3) แนวทางปฏิบัติในการขาย การรู้จักลูกค้า การให้คําแนะนําด้านการประกันวินาศภัยและการจัดการค่าสินไหมทดแทน (3 ชั่วโมง)
(4) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง 30 นาที)
6.2 การต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 2 อายุใบอนุญาต 1 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (3 ชั่วโมง)
(3) สถานการณ์ธุรกิจประกันวินาศภัยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต (1 ชั่วโมง)
(4) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ (1 ชั่วโมง)
(5) การพิจารณารับประกันภัย และการบริหารความเสี่ยงภัย (2 ชั่วโมง 30 นาที)
(6) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (1 ชั่วโมง 30 นาที)
6.3 การต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 3 อายุใบอนุญาต 5 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) มาตรฐานการกํากับดูแลธุรกิจประกันภัย (Insurance Core Principles) กําหนดโดยสมาคมผู้ควบคุมธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (International Association of Insurance Supervisors : IAIS) และการเป็นนายหน้าประกันภัยนิติบุคคลบทบาทของนายหน้าประกันภัยต่อสังคมจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมทั้งกรณีศึกษา (2 ชั่วโมง)
(3) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (3 ชั่วโมง)
(4) การจัดการพิจารณารับประกันภัยและการกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (1 ชั่วโมง)
(5) การจัดการประกันภัยต่อ (1 ชั่วโมง)
(6) การวิเคราะห์ฐานะการเงินของบริษัทประกันวินาศภัย (2 ชั่วโมง)
ทั้งนี้ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตาม 6.1 6.2 หรือ 6.3 ต้องผ่านการอบรมวิชาที่กําหนดให้ครบถ้วน ก่อนวันยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยไม่เกิน 1 ปี
ส่วน ๓ หลักสูตรการอบรมเพื่อขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย
นายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป
----------------------------
ข้อ ๗ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป อายุใบอนุญาต 5 ปี จะต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรด้านการประกันภัย หรือความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ซึ่งกําหนดและจัดโดยสถาบัน สมาคม หรือองค์กรตามข้อ 8 ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง กรณีตัวแทนประกันวินาศภัย และไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง กรณีนายหน้าประกันวินาศภัย
การเข้ารับการสัมมนาในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ภายในระยะเวลา 5 ปี ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุให้นับเป็นจํานวนชั่วโมงการอบรมตามวรรคหนึ่งได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15 ชั่วโมง กรณีตัวแทนประกันวินาศภัย และไม่เกิน 25 ชั่วโมง กรณีนายหน้าประกันวินาศภัย ทั้งนี้ ผู้จัดสัมมนาต้องแจ้งแผนการจัดสัมมนา และรายละเอียดหัวข้อการสัมมนาให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนการจัดสัมมนา เพื่อให้สํานักงานให้ความเห็นชอบก่อน
ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้จํานวนชั่วโมงการอบรมตามวรรคหนึ่ง ลดลงเหลือ 15 ชั่วโมง กรณีตัวแทนประกันวินาศภัย และ 25 ชั่วโมง กรณีนายหน้าประกันวินาศภัย
(1) สอบผ่านคุณวุฒิที่ใช้ในการประกอบอาชีพประกันวินาศภัย ที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(2) สําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาโทขึ้นไปทุกสาขา จากสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนรับรอง
(3) เป็นหรือเคยเป็นวิทยากร ผู้บรรยายความรู้ หรือเป็นอาจารย์ประจํา หรืออาจารย์พิเศษในสถาบัน สมาคม หรือองค์กร และในหลักสูตรการอบรมที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามข้อ 8 ภายในระยะเวลา 5 ปี ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
การใช้สิทธิตามข้อ 7 (1) หรือ (2) หรือ (3) ไม่สามารถนํามารวมกันหรือขอลดจํานวนชั่วโมงการอบรมในคราวเดียวกันได้
ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยตามวรรคหนึ่งต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่กําหนดให้ครบถ้วน ก่อนวันยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยไม่เกิน 5 ปี
หมวด ๒ สถาบัน สมาคม หรือองค์กร ที่จัดอบรม และวิธีการอบรม
----------------------------
ข้อ ๘ การจัดอบรมตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ให้กระทําได้โดยสถาบัน สมาคม หรือองค์กร ดังต่อไปนี้
(1) สํานักงาน
(2) สถาบันประกันภัยไทย
(3) สถาบันอุดมศึกษา
(4) สมาคมประกันวินาศภัยไทย
(5) สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย
(6) บริษัทประกันวินาศภัย
(7) สถาบันหรือองค์กรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
ให้สถาบัน สมาคม หรือองค์กร (2) (3) (4) (5) (6) และ (7) ที่จะจัดอบรมตามข้อ 5 ข้อ 6 หรือข้อ 7 แจ้งแผนการจัดอบรม และรายละเอียดหลักสูตรการอบรมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนการจัดอบรมเพื่อให้สํานักงานให้ความเห็นชอบก่อน
การจัดอบรมที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสอง ผู้เข้ารับการอบรมไม่ถือเป็นผู้ผ่านการอบรมตามหลักสูตร และวิธีการตามประกาศนี้
ข้อ ๙ ให้สถาบัน สมาคม หรือองค์กรตามข้อ 8 ออกหนังสือรับรองว่าผ่านการอบรมตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ให้แก่ผู้ผ่านการอบรม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวนํามายื่นต่อนายทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ ให้หน่วยงานที่จัดอบรม ปฏิบัติตามระเบียบ ดังต่อไปนี้
10.1 ประกาศกําหนดการรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมในที่ที่เปิดเผยหรือผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ช่องทางต่าง ๆ หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดอบรม
10.2 รับสมัครการอบรมโดยให้ผู้สมัครเข้ารับการอบรมกรอกใบสมัครพร้อมระบุหลักสูตร และแนบสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย (กรณีต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย/นายหน้าประกันวินาศภัย) แล้วแต่กรณี
10.3 ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรมและหลักสูตรการอบรมให้ถูกต้องและครบถ้วนตามคุณสมบัติและหลักสูตรที่กําหนดในการขอรับใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี โดยตรวจสอบผ่านทางเว็บไซต์สํานักงาน
10.4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการอบรมในที่เปิดเผยหรือในเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดอบรม ก่อนทําการอบรมอย่างน้อย 3 วัน
10.5 ส่งข้อมูลผู้สมัครเข้ารับการอบรมทั้งหมดก่อนทําการอบรมอย่างน้อย 1 วัน และข้อมูลผู้ผ่านการอบรมทั้งหมดภายใน 7 วันนับแต่สิ้นสุดวันอบรมให้สํานักงานทางระบบเครือข่ายเสมือน (VPN) ตามแบบที่สํานักงานกําหนด
10.6 หน่วยงานที่จัดอบรมต้องดําเนินการอบรมตามหลักสูตรที่กําหนดและกํากับควบคุมให้ผู้เข้ารับการอบรม อบรมตามวัน เวลา และสถานที่ที่กําหนด โดยจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมลงลายมือชื่อในใบลงทะเบียนการอบรม 2 ครั้งต่อวัน ครั้งแรกสําหรับการอบรมช่วงเช้าครั้งที่สองสําหรับการอบรมช่วงบ่าย และต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง หากผู้เข้ารับการอบรมเข้ารับการอบรมช้ากว่ากําหนดเกินกว่า 30 นาที ให้ผู้สมัครเข้ารับการอบรมไม่มีสิทธิเข้าห้องอบรม
10.7 วิทยากรที่อบรมต้องเป็นวิทยากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามรายชื่อและหัวข้อการอบรมที่ระบุไว้ในแผนการจัดอบรม
10.8 ต้องจัดให้มีเอกสารประกอบการอบรมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม
10.9 ต้องจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมกรอกแบบประเมินผลการอบรม เมื่อสิ้นสุดการอบรมตามหลักสูตร
10.10 ในกรณีที่หน่วยงานที่จัดอบรมรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมตามกําหนดในแผนการอบรมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และยกเลิกหรือเลื่อนการอบรมในภายหลังให้หน่วยงานที่จัดอบรมจัดหาหน่วยงานที่จัดอบรมอื่นให้แก่ผู้สมัครเข้ารับการอบรมดังกล่าว
ข้อ ๑๑ จัดเก็บหลักฐานใบสมัครเข้ารับการอบรม การจัดอบรม ข้อมูลของผู้เข้ารับการอบรมและแบบประเมินผลการอบรม พร้อมทั้งสรุปผลการประเมินการอบรมภายในระยะเวลา 2 ปี เพื่อแสดงต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานร้องขอ
ข้อ ๑๒ สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นหน่วยงานที่จัดอบรมเมื่อปรากฏแก่สํานักงานว่า หน่วยงานที่จัดอบรม
(1) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการกําหนดหลักสูตรและวิธีการการอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย สําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย ที่สํานักงานประกาศกําหนด
(2) ออกหนังสือรับรองการอบรมโดยมิชอบ
หมวด ๓ หนังสือรับรองการอบรม
----------------------------
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ตัวแทนประกันวินาศภัยย้ายบริษัทประกันวินาศภัยต้นสังกัดและใบอนุญาตตัวแทนประกันวินาศภัยยังไม่สิ้นอายุ อนุโลมให้นําหนังสือรับรองการอบรมครั้งสุดท้ายที่ยังมีผลใช้บังคับมาใช้ประกอบการยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทประกันวินาศภัยใหม่ได้
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ตัวแทนประกันวินาศภัยขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยมากกว่าหนึ่งบริษัท อนุโลมให้นําหนังสือรับรองการอบรมเดิมที่ใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยมาใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทอื่น ๆ ได้
ในกรณีตัวแทนประกันวินาศภัยเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยมากกว่าหนึ่งบริษัท ในการขอต่ออายุใบอนุญาต อนุโลมให้นําหนังสือรับรองการอบรมเดิมที่ใช้ประกอบการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยมาใช้ประกอบการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยของบริษัทอื่น ๆ ในครั้งเดียวกันได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,493 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสำหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม
การประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย
สําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2557
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 65 และมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5.4 ของข้อ 5 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“5.4 การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ครั้งที่ 3 อายุใบอนุญาต 5 ปี ต้องผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ในวิชาดังต่อไปนี้
(1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(2) การจัดการพิจารณารับประกันภัยและการกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (2 ชั่วโมง)
(3) การจัดการค่าสินไหมทดแทนประกันภัย (1 ชั่วโมง)
(4) ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย (1 ชั่วโมง)
(5) จรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการ (1 ชั่วโมง)”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย สําหรับผู้ขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การเข้ารับการสัมมนาในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ภายในระยะเวลา 5 ปี ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุให้นับเป็นจํานวนชั่วโมงการอบรมตามวรรคหนึ่งได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15 ชั่วโมง กรณีตัวแทนประกันวินาศภัย และไม่เกิน 25 ชั่วโมง กรณีนายหน้าประกันวินาศภัย ทั้งนี้ ผู้จัดสัมมนาต้องแจ้งแผนการจัดสัมมนา และรายละเอียดหัวข้อการสัมมนาให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนการจัดสัมมนา เพื่อให้สํานักงานให้ความเห็นชอบก่อน หากสํานักงานไม่มีการทักท้วงภายใน 10 วันทําการ ซึ่งนับจากวันที่สํานักงานได้ประทับตราลงรับจากสารบรรณกลางและได้รับเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วนแล้ว ให้ถือว่าหน่วยงานได้รับความเห็นชอบแผนการจัดสัมมนาและหัวข้อสัมมนาแล้ว”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,494 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2558
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 11/2557 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทย่อยที่กําหนดไว้ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปของสภาวิชาชีพบัญชี
“บริษัทร่วม” หมายความว่า บริษัทร่วมที่กําหนดไว้ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปของสภาวิชาชีพบัญชี
ข้อ ๕ มูลค่าทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ให้ประเมินตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
ข้อ ๖ เงินกองทุนที่บริษัทต้องดํารงตามกฎหมายต้องไม่ต่ํากว่าผลรวมของเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงทุกด้านตามข้อ 8 แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ํากว่าสามสิบล้านบาท โดยพิจารณาจากอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน ซึ่งคํานวณจากจํานวนเงินกองทุนตามข้อ 7 หารด้วยจํานวนเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงตามข้อ 8 และอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อย
ในกรณีที่บริษัทใดมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราร้อยละหนึ่งร้อยสี่สิบนายทะเบียนอาจกําหนดมาตรการที่จําเป็นในการกํากับดูแลสถานะการเงินของบริษัทนั้นได้
ข้อ ๗ เงินกองทุนของบริษัทต้องประกอบด้วยผลรวมของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามข้อ 9 และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามข้อ 10 ลบด้วยรายการหักจากเงินกองทุนตามข้อ 11
ข้อ ๘ บริษัทต้องคํานวณเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยง ดังต่อไปนี้
(1) ด้านประกันภัย
(2) ด้านตลาด
(3) ด้านเครดิต
(4) ด้านการกระจุกตัว
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงแต่ละด้านตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามเอกสารแนบ 1 เอกสารแนบ 2 เอกสารแนบ 3 และเอกสารแนบ 4 ท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ บริษัทไม่ต้องคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงสําหรับมูลค่าทรัพย์สินที่ ไม่สามารถนับเป็นเงินกองทุนได้
ข้อ ๙ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ประกอบด้วย
(1) เงินทุนชําระแล้วจากการออกหุ้นสามัญหรือเงินทุนที่ได้รับจากสํานักงานใหญ่ กรณีเป็นสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ
(2) ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (ส่วนต่ํากว่ามูลค่าหุ้นให้แสดงค่าติดลบ)
(3) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่สามารถไถ่ถอนได้ ชนิดไม่สะสมเงินปันผล
(4) กําไรสะสม (ขาดทุนสะสมให้แสดงค่าติดลบ)
(5) มูลค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง (มูลค่าที่ลดลงให้แสดงค่าติดลบ) เมื่อเทียบราคาตามข้อ 5 กับราคาทุนของทรัพย์สินลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย แต่ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินดําเนินงาน
(6) สํารองอื่นในส่วนของผู้ถือหุ้น
ข้อ ๑๐ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ประกอบด้วย
(1) เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่สามารถไถ่ถอนได้ ชนิดสะสมเงินปันผล
(2) มูลค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง (มูลค่าที่ลดลงให้แสดงค่าติดลบ) เมื่อเทียบราคาตามข้อ 5 กับราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินดําเนินงาน
ทั้งนี้ จํานวนเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่นับเป็นเงินกองทุนต้องไม่เกินจํานวนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามข้อ 9
ข้อ ๑๑ รายการหักจากเงินกองทุน ประกอบด้วย
(1) เงินที่บริษัทได้จ่ายไปเพื่อการซื้อหุ้นคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด
(2) ค่าความนิยมที่นับเป็นสินทรัพย์ที่ปรากฏอยู่ในงบการเงิน
(3) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ยกเว้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บริษัทมีกรรมสิทธิ์)
(4) สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีสุทธิ
(5) สินทรัพย์ที่ติดภาระผูกพัน ยกเว้นหลักทรัพย์ประกันที่บริษัทนํามาวางไว้กับ นายทะเบียนและสินทรัพย์ที่บริษัทจัดสรรไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
(6) มูลค่าทรัพย์สินที่ได้มาหรือมีอยู่โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย เว้นแต่อสังหาริมทรัพย์ที่หักค่าเผื่อการด้อยค่าแล้ว
(7) มูลค่าของตราสารทุนที่ลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
นับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 รายการหักจากเงินกองทุนตามข้อ 11 (7) ไม่รวมถึงมูลค่าของตราสารทุนที่ลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ซึ่งบริษัทได้ลงทุนอยู่ก่อนวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558
รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,495 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว ตามเอกสารแนบ 4 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวตามแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558
สมชัย สัจจพงษ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,496 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย
ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่น
ของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2554
------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 8/2554 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสํารองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ และเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย
ข้อ ๕ การคํานวณมูลค่าสํารองประกันภัยตามข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 14 ให้คํานวณตามวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เป็นจํานวนไม่น้อยกว่ามูลค่าสํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้สุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ
ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน เป็นจํานวนไม่น้อยกว่ามูลค่าสํารองค่าสินไหมทดแทนสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ
ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองเพื่อการอื่นตามที่กําหนดไว้ในข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 14
ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าผลต่างของมูลค่าสํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อกับมูลค่าสํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้สุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ ในกรณีมูลค่าสํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้สุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อน้อยกว่ามูลค่าสํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ
ข้อ ๑๐ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรง การประกันภัยอุบัติเหตุ หรือการประกันสุขภาพเป็นจํานวนไม่น้อยกว่ามูลค่าสํารองประกันภัยสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อที่คํานวณโดยวิธีแบบเบี้ยประกันภัยรวม ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มีระยะเวลาของสัญญาเกินกว่าหนึ่งปีหรือมีการรับรองการต่ออายุอัตโนมัติ และ
(2) บริษัทไม่สามารถบอกเลิกสัญญา ไม่สามารถปรับเบี้ยประกันภัย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ใด ๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยตลอดอายุสัญญาได้ และ
(3) มีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยรับของกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมากกว่าร้อยละห้าของเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งหมดของบริษัท
ข้อ ๑๑ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยต่อจากเบี้ยประกันภัยต่อ ในกรณีที่บริษัทเอาประกันภัยต่อโดยวิธีการทําสัญญาล่วงหน้าประเภทกําหนดสัดส่วนแน่นอน (proportional treaty reinsurance) เป็นจํานวนไม่น้อยกว่าจํานวนที่ได้กําหนดไว้ในสัญญาประกันภัยต่อของบริษัท และให้ปรับปรุง ณ สิ้นปีปฏิทินหรือสิ้นปีสัญญาประกันภัยต่อ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) การประกันภัยขนส่งเฉพาะเที่ยว การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางที่มีระยะเวลาความคุ้มครองสูงสุดไม่เกินหกเดือน ให้คํานวณจากร้อยละร้อยของเบี้ยประกันภัยต่อ นับแต่วันเริ่มคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่บริษัทยังคงให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยหักด้วยค่าบําเหน็จการประกันภัยต่อตามอัตราที่บริษัทได้รับแต่ต้องไม่เกินอัตราค่าบําเหน็จสําหรับตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัยที่ใช้ในการหักจากเบี้ยประกันภัยรับตรง
(2) การประกันภัยอิสรภาพ ให้คํานวณจากร้อยละเจ็ดสิบของเบี้ยประกันภัยต่อนับแต่วันเริ่มคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่บริษัทยังคงให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัย หักด้วยค่าบําเหน็จการประกันภัยต่อตามอัตราที่บริษัทได้รับแต่ต้องไม่เกินอัตราค่าบําเหน็จสําหรับตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัยที่ใช้ในการหักจากเบี้ยประกันภัยรับตรง
(3) การประกันภัยประเภทอื่น นอกจาก (1) และ (2) ให้คํานวณจากเบี้ยประกันภัยต่อตามระยะเวลาคุ้มครองด้วยวิธีเฉลี่ยรายเดือน (วิธี 1/24th system) หรือวิธีเฉลี่ยรายวัน (วิธี 1/365th system)
ข้อ ๑๒ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยต่อจากเบี้ยประกันภัยต่อ ในกรณีที่บริษัทเอาประกันภัยต่อกับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศ สําหรับการเอาประกันภัยต่อเฉพาะราย (facultative reinsurance) ประเภทกลุ่มธุรกิจการบินพาณิชย์ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี กลุ่มธุรกิจพลังงาน โครงการขนาดใหญ่ที่ได้สัมปทานจากรัฐ กลุ่มธุรกิจการเกษตร ภัยก่อการร้าย ที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อตั้งแต่สี่ร้อยล้านบาทขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) เบี้ยประกันภัยต่อในส่วนของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อน้อยกว่าสี่ร้อยล้านบาท ให้จัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 11 (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี
(2) เบี้ยประกันภัยต่อในส่วนของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อตั้งแต่สี่ร้อยล้านบาทขึ้นไป ให้จัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(ก) เบี้ยประกันภัยต่อในส่วนของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อกับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศ ที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ AAA หรือเทียบเท่า ให้จัดสรรไว้ร้อยละหกของจํานวนที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 11 (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี
(ข) เบี้ยประกันภัยต่อในส่วนของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อกับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศ ที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ AA+ AA AA- หรือเทียบเท่า ให้จัดสรรไว้ร้อยละเจ็ดของจํานวนที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 11 (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี
(ค) เบี้ยประกันภัยต่อในส่วนของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อกับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ A+ A A- หรือเทียบเท่า ให้จัดสรรไว้ร้อยละแปดของจํานวนที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 11 (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี
(ง) เบี้ยประกันภัยต่อในส่วนของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อกับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่า A- หรือไม่ได้รับการจัดอันดับ ให้จัดสรรไว้เต็มจํานวนที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 11 (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีการกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยต่อวางเงินหลักประกันไว้ในสัญญาประกันภัยต่อ ให้หักจํานวนเงินหลักประกันออกจากจํานวนเงินสํารองที่ต้องจัดสรรตามวรรคหนึ่งได้
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่ง ต้องกระทําโดย Standard & Poor’s, Moody’s, AM Best, Fitch หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยยอมรับ ในกรณีที่มีอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าหนึ่งอันดับให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่สูงที่สุดลําดับที่สอง
ข้อ ๑๓ ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยต่อ ในกรณีที่บริษัทเอาประกันภัยต่อกับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศ สําหรับการเอาประกันภัยต่อเฉพาะรายทุกประเภท ที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อน้อยกว่าสี่ร้อยล้านบาท หรือการเอาประกันภัยต่อเฉพาะรายประเภทอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ 12 ที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อตั้งแต่สี่ร้อยล้านบาทขึ้นไป ให้จัดสรรไว้ไม่น้อยกว่าจํานวนที่คํานวณได้จากเบี้ยประกันภัยต่อตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 11 (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีการกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยต่อวางเงินหลักประกันไว้ในสัญญาประกันภัยต่อ ให้หักจํานวนเงินหลักประกันออกจากจํานวนเงินสํารองที่ต้องจัดสรรตามวรรคหนึ่งได้
ข้อ ๑๔ นอกจากเงินสํารองตามข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13 ให้บริษัทจัดสรรเงินสํารองสําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยอื่นไว้เต็มจํานวน
ข้อ ๑๕ ประเภทของทรัพย์สินที่บริษัทใช้จัดสรรเป็นเงินสํารองตามประกาศนี้ ต้องเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทย เงินฝากกระแสรายวัน รายได้จากการลงทุนค้างรับ รายได้ค้างรับจากการขายหลักทรัพย์ไม่เกินห้าวันนับจากวันที่ขาย หรือสินทรัพย์ลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ซึ่งบริษัทต้องดํารงไว้ตลอดเวลาและต้องปราศจากภาระผูกพัน เว้นแต่ภาระผูกพัน ดังต่อไปนี้
(1) การซื้อขายหรือมีฐานะอนุพันธ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
(2) การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
(3) การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือสัญญาซื้อคืน
กรณีตาม (2) และ (3) ให้นับเฉพาะส่วนที่บันทึกเป็นสินทรัพย์ของบริษัทตามมาตรฐานการบัญชีเท่านั้น การประเมินราคาทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้ถือราคาประเมินทรัพย์สินและหนี้สินตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย และให้ใช้จํานวนที่มีอยู่ ณ วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน
ข้อ ๑๖ สินทรัพย์ที่ใช้ในการจัดสรรเป็นเงินสํารองของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด บริษัทอาจนําเงินสมทบค้างรับและลูกหนี้เงินทดรองจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มาใช้ในการจัดสรรก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,497 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2554
-------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (2) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
หมวด ๑ นิยามศัพท์
-----------------------------
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
“ตราสารหนี้” หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ให้แก่ผู้ถือตราสารตามจํานวนและเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย ได้แก่ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน ตราสารหนี้ที่มีอนุพันธ์แฝง หรือตราสารหนี้ประเภทอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ตราสารทุน” หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่าผู้ถือตราสารมีความเป็นเจ้าของในส่วนได้เสียคงเหลือของกิจการที่ไปลงทุน ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ (DR) หน่วยลงทุน หรือตราสารทุนประเภทอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ตราสารอนุพันธ์” หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่มูลค่าของตราสารและผลตอบแทนขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าอ้างอิง และหมายความรวมถึง สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สลากออมทรัพย์” หมายความว่า สลากระดมเงินออมที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น มีการจ่ายผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยเมื่อครบกําหนด และมีสิทธิได้รับรางวัลเป็นงวด
“ตลาดตราสารหนี้” หมายความว่า ตลาดตราสารหนี้ภายใต้การกํากับดูแลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” หมายความรวมถึงตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
“ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานการกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE)
“สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยซึ่งได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน” หมายความว่า บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ
“ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพบัญชี
“มาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป” หมายความว่า มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และแนวปฏิบัติทางบัญชี ที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกําหนด
“ระยะเวลาเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของตราสารหนี้ (duration)” หมายความว่า จํานวนปีที่ผู้ถือจะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นคืน โดยถ่วงน้ําหนักด้วยสัดส่วนของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละงวด
ข้อ ๕ ความหมายหรือคํานิยามของรายการสินทรัพย์และหนี้สิน นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้ในหมวดนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และในกรณีที่มาตรฐานการบัญชีไม่ได้กําหนดคํานิยามดังกล่าวไว้ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย
หมวด ๒ การประเมินราคาทรัพย์สิน
-----------------------------
ข้อ ๖ ตราสารหนี้ ให้ประเมินราคาตามวิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสภาพคล่องสูง (high liquidity) ให้ใช้ราคา ณ สิ้นวันประเมินที่เผยแพร่โดยหน่วยงาน ดังต่อไปนี้
(ก) ตราสารหนี้จดทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ให้ใช้ราคาที่ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ (clean price) ที่เผยแพร่โดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือหน่วยงานที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์รับรอง
(ข) ตราสารหนี้จดทะเบียนในตลาดตราสารหนี้ให้ใช้ราคาเสนอซื้อล่าสุด (current bid price) ที่เผยแพร่โดยตลาดตราสารหนี้
กรณีตราสารหนี้จดทะเบียนตาม (ก) และ (ข) ให้ใช้ราคาตาม (ก)
(2) ตราสารหนี้จดทะเบียนในประเทศไทยที่ไม่มีการซื้อขายในช่วงระยะเวลาสิบห้าวันทําการย้อนหลัง ให้ใช้เทคนิคการประเมินมูลค่ายุติธรรมโดยใช้แบบจําลอง (pricing model) ดังต่อไปนี้
(ก) ให้คิดลดด้วยอัตราที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ โดยใช้หลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ อย่างสม่ําเสมอ
1) ประมาณมูลค่าโดยใช้วิธีการเทียบเคียงกับอัตราผลตอบแทนจากการซื้อขายในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยหรือในตลาดตราสารหนี้ หรืออัตราผลตอบแทนซื้อจากบริษัทผู้เสนอซื้อขายในระยะเวลาประเมินครั้งล่าสุดไม่เกินสิบห้าวันทําการ สําหรับตราสารหนี้ที่มีประเภทอันดับเครดิตหรือระยะเวลาเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของตราสารหนี้ ที่เท่ากันหรือคล้ายคลึงกัน กับตราสารหนี้ที่จะประเมินมูลค่ายุติธรรม (comparative bond method) ทั้งนี้ โดยต้องคํานึงถึงสภาพคล่องของตราสารหนี้ดังกล่าวด้วย หรือ
2) ประมาณมูลค่าโดยใช้วิธีการเทียบเคียงกับอัตราผลตอบแทนอ้างอิง (reference yield curve method) ที่เผยแพร่โดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ที่มีระยะเวลาเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของตราสารหนี้ ที่เท่ากันหรือคล้ายคลึงกันกับตราสารหนี้ที่จะประเมินมูลค่ายุติธรรม หรือ
3) ประมาณมูลค่าโดยใช้อัตราคิดลดเป็นอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ไม่มีดอกเบี้ย (zero coupon yield) ที่เผยแพร่โดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยโดยบวกค่าชดเชยความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk premium) ที่เหมาะสม
บริษัทจะเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานที่แสดงให้สํานักงานเชื่อได้ว่ามูลค่าที่ประมาณได้จากหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่เดิมไม่เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของมูลค่ายุติธรรมของตราสารหนี้นั้น
(ข) ตราสารหนี้ที่มีหรืออาจมีปัญหาในด้านฐานะการเงิน รวมถึงตราสารหนี้ที่หยุดชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นการชั่วคราวหรือปรับโครงสร้างหนี้ ให้ประมาณมูลค่ายุติธรรมโดยใช้วิธีประมาณค่าทางบัญชีที่ปรับปรุงให้สะท้อนราคาตลาดของสินทรัพย์และหนี้สิน (adjusted book value method) หรือมูลค่าชําระบัญชี (liquidation value)
(ค) ห้ามมิให้ประเมินราคาตราสารหนี้ที่ครบกําหนดชําระเงินต้น และถูกปฏิเสธการจ่ายเงินต้น หรือผู้ออกเลิกกิจการหรือถูกสั่งปิด
(3) ตราสารหนี้จดทะเบียนในตลาดต่างประเทศให้ใช้ราคา ที่เผยแพร่โดย Bloomberg Reuters, Telerate หรือ Euroclear
(4) ตราสารหนี้นอกจาก (1) (2) และ (3) ให้ใช้ราคาที่ประเมินด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ อย่างสม่ําเสมอ
(ก) เทคนิคประเมินมูลค่ายุติธรรมโดยใช้แบบจําลอง ตาม (2) หรือ
(ข) ราคาทุนตัดจําหน่ายโดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (effective interest rate) หักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่า
ทั้งนี้ หากตราสารหนี้ดังกล่าวมีระยะเวลาครบกําหนดไม่เกินหนึ่งปีนับจากวันที่ออก ให้ประเมินราคาด้วยราคาทุนโดยอนุโลม
ข้อ ๗ ตราสารทุน ให้ประเมินราคาตามวิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีการซื้อขาย ณ วันประเมินราคา ให้ใช้ราคาเสนอซื้อ (bid price) ณ สิ้นวันประเมิน ที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) ตราสารทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งไม่มีการซื้อขาย ณ วันประเมินราคา ให้ใช้ราคาเสนอซื้อล่าสุด แต่ไม่เกินสิบห้าวันทําการย้อนหลัง
(3) ตราสารทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งไม่มีการซื้อขายภายในสิบห้าวันทําการย้อนหลัง ให้ใช้เทคนิคการประเมินมูลค่ายุติธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ อย่างสม่ําเสมอ
(ก) วิธีการคิดลดกระแสเงินสด โดยประมาณการกระแสเงินสดจากมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจากการจําหน่ายตราสารทุน หรือจากเงินปันผล หรือผลตอบแทนอื่นที่คาดว่าผู้ถือหุ้นจะได้รับ และให้ใช้อัตราคิดลดจากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ไม่มีดอกเบี้ยที่เผยแพร่โดยสมาคมตราสารหนี้ไทย โดยบวกค่าชดเชยความเสี่ยง (risk premium) ที่เหมาะสม หรือ
(ข) วิธีการเทียบเคียงอัตราส่วนตราสารทุนที่มี ชนิด ประเภท และลักษณะสําคัญ (feature) เป็นอย่างเดียวกัน ดังต่อไปนี้
1) อัตราส่วนราคาต่อกําไรสุทธิต่อหุ้น (price/earning ratio) หรือ
2) อัตราส่วนมูลค่าบริษัทต่อกําไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (enterprise value/earnings before interest, tax, depreciation and amortization ratio) หรือ
3) อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (price/book value ratio) หรือ
4) อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น (price/net asset value ratio)
(ค) ใช้ราคาเฉลี่ยของราคาเสนอซื้อล่าสุด ณ วันประเมินราคาที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทหลักทรัพย์ไม่ต่ํากว่าสามราย หรือ
(ง) วิธีการเทียบเคียงกับการเปลี่ยนแปลงของราคาในช่วงเวลาเดียวกันของตราสารทุนที่มีชนิด ประเภท และลักษณะสําคัญ เป็นอย่างเดียวกันที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกับดัชนีราคาหมวดอุตสาหกรรมเดียวกันของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทจะเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานที่แสดงให้สํานักงานเชื่อได้ว่ามูลค่าที่ประมาณได้จากวิธีการที่ใช้อยู่เดิมไม่เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนนั้น
(4) ตราสารทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว แต่อยู่ในระหว่างการขอจดทะเบียนการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาที่เสนอขายต่อบุคคลทั่วไป (initial public offering : IPO)
(5) ตราสารทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ใช้ราคาเสนอซื้อ ณ สิ้นวันประเมินที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(6) ตราสารทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ไม่มีการซื้อขายภายในสิบห้าวันทําการย้อนหลัง ให้ใช้เทคนิคการประเมินมูลค่ายุติธรรมตาม (3) โดยอนุโลม
(7) ตราสารทุนที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ใช้เทคนิคการประเมินมูลค่ายุติธรรมตาม (3) โดยอนุโลม เว้นแต่
(ก) ตราสารทุนประเภทหน่วยลงทุน ให้ประเมินราคาโดยใช้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย (NAV) ของกองทุนรวม ณ สิ้นวันประเมินราคา กรณีไม่มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย ณ สิ้นวันประเมินราคา ให้ใช้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย ล่าสุดก่อนวันประเมินราคา
(ข) ตราสารทุนประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิ (warrant) ที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาโดยใช้วิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ อย่างสม่ําเสมอ
1) ใช้ราคาหลักทรัพย์ที่จะได้รับจากการใช้สิทธิตามหลักเกณฑ์การประเมินที่กําหนดไว้ใน (1) (2) (3) (4) (5) (6) และ (7) หักด้วย ราคาในการใช้สิทธิ (strike price) ทั้งนี้ ราคาของใบสําคัญแสดงสิทธิที่คํานวณด้วยวิธีดังกล่าวจะต้องไม่ต่ํากว่าศูนย์ หรือ
2) ใช้เทคนิคการประเมินมูลค่ายุติธรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาด ซึ่งได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคนิคที่ให้ราคาที่เชื่อถือได้โดยมีการซื้อขายกันจริงในตลาด และสํานักงานยอมรับ
(ค) ตราสารทุนประเภทหุ้นสามัญของ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ประเมินราคาโดยใช้มูลค่าทางบัญชีโดยอนุโลม
ข้อ ๘ สลากออมทรัพย์ ให้ประเมินราคาด้วยเทคนิคการประเมินมูลค่าโดยการคิดลดกระแสเงินสดโดยไม่ให้คํานึงถึงส่วนประกอบของเงินรางวัลที่ไม่แน่นอนว่าจะได้รับในอนาคต หรือให้ใช้ราคาตรา (face value) โดยอนุโลม
ข้อ ๙ เงินให้กู้ยืม เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ เงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งประเภทสัญญาเช่าการเงิน เบี้ยประกันภัยค้างรับ รายได้จากการลงทุนค้างรับ และลูกหนี้อื่น ให้ประเมินราคา ดังต่อไปนี้
(1) เงินให้กู้ยืม ให้ใช้ราคาทุนตัดจําหน่ายโดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่า หรือใช้เทคนิคการประเมินมูลค่ายุติธรรมโดยการคิดลดกระแสเงินสด (discounted cash flow) ซึ่งเมื่อเลือกใช้วิธีใดแล้วให้ใช้วิธีนั้นอย่างสม่ําเสมอ
(2) เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ เงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งประเภทสัญญาเช่าการเงิน เบี้ยประกันภัยค้างรับ รายได้จากการลงทุนค้างรับ และลูกหนี้อื่น ให้ใช้ราคาที่ประเมินตามวิธีการวัดมูลค่าที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป หักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่า
(3) ค่าเผื่อการด้อยค่าตาม (1) และ (2) ให้พิจารณาตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
(ก) รายการหรือกลุ่มของรายการเงินให้กู้ยืม เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ เงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งประเภทสัญญาเช่าการเงิน เบี้ยประกันภัยค้างรับ รายได้จากการลงทุนค้างรับ และลูกหนี้อื่น จะมีการด้อยค่าและเกิดขาดทุนจากการด้อยค่า เมื่อมีหลักฐานว่ามีการลดลงในประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตของรายการหรือกลุ่มของรายการดังกล่าว ซึ่งสามารถประมาณการได้อย่างน่าเชื่อถือ
(ข) หากเป็นรายการที่มีนัยสําคัญให้พิจารณาการด้อยค่าของแต่ละรายการ หากเป็นรายการที่ไม่มีนัยสําคัญ อาจพิจารณาการด้อยค่าของแต่ละรายการหรือเป็นกลุ่มก็ได้
(ค) หากบริษัทพิจารณารายการทั้งที่มีนัยสําคัญและไม่มีนัยสําคัญแต่ละรายการแล้วเห็นว่าไม่มีการลดลงในประมาณการกระแสเงินสดในอนาคต ให้ประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์เป็นรายกลุ่ม โดยรวมรายการที่มีลักษณะความเสี่ยงด้านเครดิตที่เหมือนกันเพื่อนํามาประเมินการด้อยค่าโดยรวมอีกครั้ง
(ง) รายการเงินให้กู้ยืม เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ เงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งประเภทสัญญาเช่าการเงิน เบี้ยประกันภัยค้างรับ รายได้จากการลงทุนค้างรับ และลูกหนี้อื่นซึ่งถูกประเมินด้อยค่าเป็นแต่ละรายการและรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าแล้ว รายการนั้นจะไม่ถูกรวมอยู่ในการประเมินการด้อยค่าเป็นกลุ่ม
(จ) ภายหลังจากการพิจารณาการด้อยค่าตามวิธีการใน (ก) (ข) (ค) และ (ง) แล้ว รายการตาม (1) และ (2) ต้องมีมูลค่าไม่เกินกําหนด ดังต่อไปนี้
1) เงินให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกัน
ก) ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามข้อกําหนดในสัญญากู้ยืมเป็นระยะเวลาเกินสามเดือนแต่ไม่เกินหกเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ให้ประเมินมูลค่าเงินให้กู้ยืมคงค้างรวมดอกเบี้ยค้างชําระทั้งหมด หลังหักค่าเผื่อการด้อยค่า ได้ไม่เกินร้อยละแปดสิบของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ทั้งนี้ต้องไม่เกินมูลค่าเงินให้กู้ยืมคงค้างรวมดอกเบี้ยค้างชําระ
ข) ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามข้อกําหนดในสัญญากู้ยืมเป็นระยะเวลาเกินหกเดือนขึ้นไปนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ให้ประเมินมูลค่าเงินให้กู้ยืมคงค้างรวมดอกเบี้ยค้างชําระทั้งหมด หลังหักค่าเผื่อการด้อยค่า ได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ทั้งนี้ต้องไม่เกินมูลค่าเงินให้กู้ยืมคงค้างรวมดอกเบี้ยค้างชําระ
ค) ในกรณีที่มีการทําข้อตกลงประนอมหนี้และลูกหนี้ได้ชําระเงินครบถ้วนตามข้อตกลงประนอมหนี้ติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหกงวด หรือรวมเป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระตามข้อตกลงประนอมหนี้ ให้พิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าตามวิธีการใน (ก) (ข) (ค) และ (ง) หากลูกหนี้ไม่ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงประนอมหนี้เป็นระยะเวลาเกินสองเดือนขึ้นไปนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ให้ประเมินมูลค่าเงินให้กู้ยืมรวมดอกเบี้ยค้างชําระตาม 1) ข)
ง) ราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตาม 1) ก), 1) ข) หรือ 1) ค) ให้ใช้มูลค่าที่ประเมินโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินที่ทําการประเมินไม่เกินสามสิบหกเดือนหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม และหักค่าเผื่อการด้อยค่า ซึ่งบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินดังกล่าวต้องไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทในลักษณะเดียวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัท หากไม่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าไม่มีราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน
2) เงินให้กู้ยืมโดยมีหลักทรัพย์เป็นประกัน
ก) ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย ตามข้อกําหนดในสัญญากู้ยืมเป็นระยะเวลาเกินสามเดือน แต่ไม่เกินสิบสองเดือน นับแต่วันถึงกําหนดชําระ ให้ประเมินมูลค่าเงินให้กู้ยืมคงค้างรวมดอกเบี้ยค้างชําระทั้งหมด หลังหักค่าเผื่อการด้อยค่า ได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของมูลค่าหลักทรัพย์ ณ วันที่ทําการประเมินราคาซึ่งประเมินตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6 หรือข้อ 7 ตามประเภทของหลักทรัพย์ ทั้งนี้ต้องไม่เกินมูลค่าเงินให้กู้ยืมคงค้างรวมดอกเบี้ยค้างชําระ
ข) ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามข้อกําหนดในสัญญากู้ยืมเป็นระยะเวลาเกินสิบสองเดือนขึ้นไป นับแต่วันถึงกําหนดชําระ ให้ด้อยค่ามูลค่าเงินให้กู้ยืมรวมดอกเบี้ยค้างชําระทั้งหมดเต็มจํานวน
3) เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ และเงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งประเภทสัญญาเช่าการเงิน
ก) ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อหรือผู้เช่าผิดสัญญาเป็นระยะเวลาเกินสามเดือน แต่ไม่เกินหกเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ให้ประเมินมูลค่าเงินลงทุนดังกล่าวหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่าได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของมูลค่าเงินลงทุนคงค้าง
ข) ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อหรือผู้เช่าผิดสัญญาเป็นระยะเวลาเกินหกเดือนขึ้นไปนับแต่วันถึงกําหนดชําระ ให้ด้อยค่าเต็มจํานวน
4) เงินให้กู้ยืมนอกจาก 1) 2) และ 3) ที่ลูกหนี้ไม่ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามข้อกําหนดในสัญญากู้ยืมเป็นระยะเวลาเกินสามเดือน นับแต่วันถึงกําหนดชําระ ให้ด้อยค่าเต็มจํานวน
5) ดอกเบี้ยค้างรับจากพันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ด้อยค่าเต็มจํานวนเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ก) ค้างชําระดอกเบี้ยเกินสามเดือนขึ้นไปนับแต่วันที่ถึงกําหนดชําระ
ข) ครบกําหนดชําระเงินต้นและถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน
ค) ผู้ออกเลิกกิจการหรือถูกสั่งปิดกิจการ
6) ดอกเบี้ยค้างรับอื่นนอกจาก 5) และรายได้จากการลงทุนค้างรับอื่นที่ค้างรับเกินสามเดือนนับแต่วันครบกําหนดชําระ ให้ด้อยค่าเต็มจํานวน
7) ลูกหนี้จากการขายตราสารหนี้ ตราสารทุน และสลากออมทรัพย์ที่ไม่ได้รับชําระภายในวันครบกําหนดชําระ ให้ด้อยค่าเต็มจํานวน
8) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากการประกันภัยรถยนต์
ก) ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถเก็บเบี้ยประกันภัยเกินสามสิบวัน แต่ไม่เกินหกสิบวัน นับแต่วันครบกําหนดชําระตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยรถยนต์ ให้ประเมินเบี้ยประกันภัยค้างรับคงเหลือหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่าได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของเบี้ยประกันภัยค้างรับก่อนหักค่าเผื่อการด้อยค่า
ข) ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถเก็บเบี้ยประกันภัยเกินหกสิบวัน แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันครบกําหนดชําระตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยรถยนต์ ให้ประเมินเบี้ยประกันภัยค้างรับคงเหลือหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่าได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเบี้ยประกันภัยค้างรับก่อนหักค่าเผื่อการด้อยค่า
ค) ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถเก็บเบี้ยประกันภัยเกินเก้าสิบวันขึ้นไปนับแต่วันครบกําหนดชําระตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยรถยนต์ให้ด้อยค่าเต็มจํานวน
9) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากการประกันภัยประเภทอื่นนอกเหนือจากการประกันภัยรถยนต์ ยกเว้นการประกันภัยทางทะเล และการทําสัญญาประกันภัยกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การระหว่างประเทศ
ก) ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถเก็บเบี้ยประกันภัยเกินสามสิบวัน แต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันครบกําหนดชําระตามประกาศนายทะเบียน ว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย ให้ประเมินเบี้ยประกันภัยค้างรับคงเหลือหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่าได้ไม่เกินร้อยละแปดสิบของเบี้ยประกันภัยค้างรับก่อนหักค่าเผื่อการด้อยค่า
ข) ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถเก็บเบี้ยประกันภัยเกินหกสิบวัน แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันครบกําหนดชําระตามประกาศนายทะเบียน ว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย ให้ประเมินเบี้ยประกันภัยค้างรับคงเหลือหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่าได้ไม่เกินร้อยละหกสิบของเบี้ยประกันภัยค้างรับก่อนหักค่าเผื่อการด้อยค่า
ค) ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถเก็บเบี้ยประกันภัยเกินเก้าสิบวันขึ้นไปนับแต่วันครบกําหนดชําระตามประกาศนายทะเบียน ว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย ให้ประเมินเบี้ยประกันภัยค้างรับคงเหลือหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่าได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของเบี้ยประกันภัยค้างรับก่อนหักค่าเผื่อการด้อยค่า
ข้อ ๑๐ ตราสารอนุพันธ์รวมถึงตราสารอนุพันธ์ที่แฝงอยู่ในตราสารหนี้หรือตราสารทุนให้ประเมินราคาด้วยมูลค่ายุติธรรมตามราคาตลาด ในกรณีที่ไม่มีราคาตลาดให้กําหนดมูลค่ายุติธรรมโดยใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดซึ่งได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเทคนิคที่ให้ราคาที่เชื่อถือได้โดยมีการซื้อขายกันจริงในตลาด และสํานักงานยอมรับ
ข้อ ๑๑ เงินสด เงินฝากสถาบันการเงิน ใบรับฝากเงิน และบัตรเงินฝาก (negotiable certificate of deposit)
(1) เงินสด ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่มีอยู่
(2) เงินฝากสถาบันการเงิน และใบรับฝากเงินให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ฝากไว้ และบัตรเงินฝากให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย
ข้อ ๑๒ ที่ดิน อาคาร และอาคารชุดที่ใช้เป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รอการขาย รวมถึงเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินราคาด้วยมูลค่าที่ประเมินโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินที่ทําการประเมินไม่เกินสามสิบหกเดือน หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม และหักค่าเผื่อการด้อยค่า และบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินดังกล่าวต้องไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทในลักษณะเดียวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัท หากไม่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าไม่มีราคาประเมิน
ข้อ ๑๓ อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทมิได้จําหน่ายภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในมาตรา 33 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้ประเมินราคาด้วยมูลค่าที่ประเมินโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินที่ทําการประเมินไม่เกินสามสิบหกเดือน หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม และหักค่าเผื่อการด้อยค่า และบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินดังกล่าวต้องไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทในลักษณะเดียวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัท หากไม่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าไม่มีราคาประเมิน
ทั้งนี้ ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าตามวรรคหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้จนพ้นกําหนดหนึ่งปี แต่ไม่เกินสองปี นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาที่นายทะเบียนผ่อนผันตามมาตรา 33 วรรคสอง ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละยี่สิบของมูลค่าจากการประเมินในข้อ 13 หลังหักค่าเสื่อมราคาสะสม
(2) กรณีที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้จนพ้นกําหนดสองปี แต่ไม่เกินสามปี นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาที่นายทะเบียนผ่อนผันตามมาตรา 33 วรรคสอง ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละสี่สิบของมูลค่าจากการประเมินในข้อ 13 หลังหักค่าเสื่อมราคาสะสม
(3) กรณีที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้จนพ้นกําหนดสามปี แต่ไม่เกินสี่ปี นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาที่นายทะเบียนผ่อนผันตามมาตรา 33 วรรคสอง ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละห้าสิบห้าของมูลค่าจากการประเมินในข้อ 13 หลังหักค่าเสื่อมราคาสะสม
(4) กรณีที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้จนพ้นกําหนดสี่ปีขึ้นไป นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาที่นายทะเบียนผ่อนผันตามมาตรา 33 วรรคสอง ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละเจ็ดสิบของมูลค่าจากการประเมินในข้อ 13 หลังหักค่าเสื่อมราคาสะสม
ข้อ ๑๔ อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทได้มาหรือมีอยู่โดยไม่เป็นไปตาม มาตรา 31 (10) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้ประเมินราคาด้วยมูลค่าที่ประเมินโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินที่ทําการประเมินไม่เกินสามสิบหกเดือน หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม และหักค่าเผื่อการด้อยค่า และบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินดังกล่าวต้องไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทในลักษณะเดียวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัท หากไม่เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าไม่มีราคาประเมิน
ทั้งนี้ ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าตามวรรคแรก ดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้จนพ้นกําหนดหนึ่งปี แต่ไม่เกินสองปี นับแต่วันได้มา ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละยี่สิบของมูลค่าจากการประเมิน ในข้อ 14 ก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม
(2) กรณีที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้จนพ้นกําหนดสองปี แต่ไม่เกินสามปี นับแต่วันได้มา ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละสี่สิบของมูลค่าจากการประเมิน ในข้อ 14 ก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม
(3) กรณีที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้จนพ้นกําหนดสามปี แต่ไม่เกินสี่ปี นับแต่วันได้มา ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละห้าสิบห้าของมูลค่าจากการประเมิน ในข้อ 14 ก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม
(4) กรณีที่บริษัทไม่สามารถจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ได้จนพ้นกําหนดสี่ปีขึ้นไป นับแต่วันได้มา ให้หักค่าเผื่อการด้อยค่าร้อยละเจ็ดสิบของมูลค่าจากการประเมินในข้อ 14 ก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม
ข้อ ๑๕ สินทรัพย์จากการประกันภัยต่อ ให้ประเมินราคาด้วยมูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) สํารองประกันภัยส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อ ให้ประเมินราคาด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในหมวด 3 การประเมินราคาหนี้สิน
(2) สินทรัพย์จากการประกันภัยต่อนอกจาก (1) ให้ประเมินราคาด้วยมูลค่าตามสัญญาประกันภัยต่อหักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่า
(3) ค่าเผื่อการด้อยค่าตาม (2) ให้พิจารณาจาก
(ก) หลักฐานที่ปรากฏอย่างชัดเจน ที่ทําให้บริษัทอาจไม่ได้รับจํานวนเงินทั้งหมดตามเงื่อนไขของสัญญา และ
(ข) ผลกระทบที่สามารถวัดเป็นจํานวนเงินได้อย่างน่าเชื่อถือ
ข้อ ๑๖ ทรัพย์สินใดที่ไม่ได้กําหนดวิธีการประเมินราคาไว้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินดังกล่าวตามวิธีการรับรู้และวัดมูลค่าตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป เว้นแต่
(1) สินทรัพย์ที่ใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการที่ผู้ยืมไม่สามารถส่งมอบหลักทรัพย์คืนได้อันเกิดขึ้นจากธุรกรรมการยืมหลักทรัพย์เฉพาะในกรณีที่บริษัทเป็นผู้ให้ยืม ยังมิให้ประเมินเป็นสินทรัพย์ของบริษัท
(2) สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (deferred tax asset) ยังมิให้ประเมินเป็นสินทรัพย์ของบริษัท
(3) สิทธิเรียกร้องค่าเบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับโอนจากผู้เอาประกันภัยที่ทําประกันภัยไว้กับบริษัทที่ล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยให้ประเมินราคาตามจํานวนเบี้ยประกันภัยที่บริษัทในฐานะผู้รับโอนมีสิทธิได้รับจากผู้ชําระบัญชี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือกองทุนประกันวินาศภัย แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อผู้เอาประกันภัยแต่ละราย
หมวด ๓ การประเมินราคาหนี้สิน
----------------
ข้อ ๑๗ การประเมินราคาหนี้สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวดนี้
ข้อ ๑๘ การประเมินมูลค่าสํารองประกันภัยสําหรับการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรง การประกันภัยอุบัติเหตุ หรือการประกันสุขภาพ ที่มีระยะเวลาของสัญญาเกินกว่าหนึ่งปี หรือสัญญาที่มีการรับรองการต่ออายุอัตโนมัติ (guarantee automatic renewal) ซึ่งบริษัทไม่สามารถบอกเลิกสัญญา และไม่สามารถปรับเพิ่มหรือลดเบี้ยประกันภัย รวมถึงเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ใด ๆ ตลอดอายุสัญญา โดยกรมธรรม์ประกันภัยที่มีลักษณะดังกล่าวมีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยรับมากกว่าร้อยละห้าของเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งหมดของบริษัท ณ วันประเมิน ให้นําหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินมูลค่าสํารองประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันชีวิตมาใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๙ การประเมินมูลค่าสํารองสําหรับการประกันภัยประเภทอื่นนอกจากข้อ 18 ให้เป็นไปตามข้อ 20 ข้อ 21 ข้อ 22 ข้อ 23 ข้อ 24 ข้อ 25 และข้อ 26 แห่งประกาศนี้
ข้อ ๒๐ สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ก่อนการเอาประกันภัยต่อ (gross unearned premium reserve) ให้บริษัทประเมินราคาตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ก่อนการเอาประกันภัยต่อ สําหรับการประกันภัยขนส่งเฉพาะเที่ยว การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางที่มีระยะเวลาคุ้มครองไม่เกินหกเดือน ให้คํานวณจากร้อยละร้อยของเบี้ยประกันภัยรับ ตั้งแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มมีผลคุ้มครอง ตลอดระยะเวลาที่บริษัทยังคงให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัย หักด้วยค่าบําเหน็จสําหรับตัวแทนและนายหน้าตามอัตราที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนด
(2) สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ก่อนการเอาประกันภัยต่อ สําหรับการประกันภัยอิสรภาพ ให้คํานวณจากร้อยละเจ็ดสิบของเบี้ยประกันภัยรับ ตั้งแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มมีผลคุ้มครอง ตลอดระยะเวลาที่บริษัทยังคงให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัย หักด้วยค่าบําเหน็จสําหรับตัวแทนและนายหน้าตามอัตราที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนด
(3) สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ก่อนการเอาประกันภัยต่อ สําหรับการประกันภัยประเภทอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้คํานวณจากเบี้ยประกันภัยรับตามระยะเวลาคุ้มครองด้วยวิธีเฉลี่ยรายเดือน (วิธี 1/24th system) หรือวิธีเฉลี่ยรายวัน (วิธี 1/365th system) หักด้วยค่าบําเหน็จสําหรับตัวแทนและนายหน้าตามอัตราที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกําหนด
ข้อ ๒๑ สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อ ให้บริษัทประเมินราคาตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อ สําหรับการประกันภัยขนส่งเฉพาะเที่ยว การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางที่มีระยะเวลาคุ้มครองไม่เกินหกเดือน ให้คํานวณจากร้อยละร้อยของเบี้ยประกันภัยต่อนับแต่วันเริ่มคุ้มครอง ตลอดระยะเวลาที่บริษัทยังคงให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัย หักด้วยค่าบําเหน็จการประกันภัยต่อตามอัตราที่บริษัทได้รับแต่ต้องไม่เกินอัตราค่าบําเหน็จสําหรับตัวแทนและนายหน้าที่ใช้ในการคํานวณตามข้อ 20 (1)
(2) สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อ สําหรับการประกันภัยอิสรภาพ ให้คํานวณจากร้อยละเจ็ดสิบของเบี้ยประกันภัยต่อนับแต่วันเริ่มคุ้มครอง ตลอดระยะเวลาที่บริษัทยังคงให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัย หักด้วยค่าบําเหน็จการประกันภัยต่อตามอัตราที่บริษัทได้รับแต่ต้องไม่เกินอัตราค่าบําเหน็จสําหรับตัวแทนและนายหน้าที่ใช้ในการคํานวณตามข้อ 20 (2)
(3) สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อ สําหรับการประกันภัยประเภทอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้คํานวณจากเบี้ยประกันภัยต่อตามระยะเวลาคุ้มครองด้วยวิธีเฉลี่ยรายเดือน (วิธี 1/24th system) หรือวิธีเฉลี่ยรายวัน (วิธี 1/365th system) หักด้วยค่าบําเหน็จการประกันภัยต่อตามอัตราที่บริษัทได้รับแต่ต้องไม่เกินอัตราค่าบําเหน็จสําหรับตัวแทนและนายหน้าที่ใช้ในการคํานวณตามข้อ 20 (3)
ข้อ ๒๒ สํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้สุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ (net unearned premium reserve) ให้ประเมินราคาโดยคํานวณจากสํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ก่อนการเอาประกันภัยต่อ หักด้วยสํารองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อ ที่คํานวณได้ตามข้อ 20 และข้อ 21
ข้อ ๒๓ สํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดก่อนการเอาประกันภัยต่อ (gross unexpired risk reserve) และสํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ (net unexpired risk reserve) ให้ประเมินราคาด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยพิจารณาจาก
(1) ค่าประมาณการที่ดีที่สุดของค่าสินไหมทดแทนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเอาประกันภัยที่เหลืออยู่นับจากวันประเมิน ทั้งนี้ให้รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการบริหารจัดการกรมธรรม์ประกันภัยและจากการจัดการค่าสินไหมทดแทนนั้น และ
(2) ค่าเผื่อความผันผวน (provision for adverse deviation : PAD) สําหรับสํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุด ตามค่าเผื่อความผันผวน ณ ระดับความเชื่อมั่นเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เจ็ดสิบห้า ที่กําหนดในข้อ 27
ข้อ ๒๔ สํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อให้ประเมินราคา โดยคํานวณจากสํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดก่อนการเอาประกันภัยต่อ หักด้วยสํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ ที่คํานวณได้ตามข้อ 23
ข้อ ๒๕ สํารองค่าสินไหมทดแทน (claim liability reserve) ให้ประเมินราคาโดยคํานวณจากสํารองค่าสินไหมทดแทนก่อนการเอาประกันภัยต่อ (gross claim liability reserve) และสํารองค่าสินไหมทดแทนสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ (net claim liability reserve) ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัย เช่น วิธี Chain Ladder วิธี Bornhuetter – Ferguson เป็นต้น โดยพิจารณาจาก
(1) ค่าประมาณการที่ดีที่สุดของค่าสินไหมทดแทนที่คาดว่าจะจ่ายแก่ผู้เอาประกันภัยในอนาคต สําหรับรายการความสูญเสียที่เกิดขึ้นแล้วก่อนหรือ ณ วันประเมิน (ไม่รวมค่าสินไหมทดแทนที่ได้จ่ายไปแล้วก่อนหน้าวันประเมิน) ทั้งจากรายการความสูญเสียที่บริษัทได้รับรายงานแล้วและยังไม่ได้รับรายงาน ทั้งนี้ให้รวมถึงค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจัดการค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วย และ
(2) ค่าเผื่อความผันผวน สําหรับสํารองค่าสินไหมทดแทน ตามค่าเผื่อความผันผวน ณ ระดับความเชื่อมั่นเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เจ็ดสิบห้า ที่กําหนดในข้อ 27
ข้อ ๒๖ สํารองค่าสินไหมทดแทนส่วนที่เรียกคืนจากการประกันภัยต่อ ให้ประเมินราคาโดยคํานวณจากสํารองค่าสินไหมทดแทนก่อนการเอาประกันภัยต่อ หักด้วยสํารองค่าสินไหมทดแทนสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ ที่คํานวณได้ตามข้อ 25
ข้อ ๒๗ ค่าเผื่อความผันผวน ณ ระดับความเชื่อมั่นเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เจ็ดสิบห้า สําหรับสํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดและสําหรับสํารองค่าสินไหมทดแทนคิดเป็นร้อยละของค่าประมาณการที่ดีที่สุดของสํารองสําหรับความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดและสํารองค่าสินไหมทดแทนซึ่งกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
| ประเภทการประกันภัย | ค่าเผื่อความผันผวน ณ ระดับความเชื่อมั่นเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เจ็ดสิบห้า |
| --- | --- |
| อัคคีภัย | ร้อยละยี่สิบห้า |
| การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง | ตัวเรือ | ร้อยละสามสิบ |
| สินค้า | ร้อยละยี่สิบ |
| การประกันภัยรถยนต์ | ภาคบังคับ (รถยนต์) | ร้อยละสิบห้า |
| ภาคบังคับ (รถจักรยานยนต์) | ร้อยละแปด |
| ภาคสมัครใจ | ร้อยละแปด |
| การประกันภัยเบ็ดเตล็ด | ความเสี่ยงภัยทุกชนิด (IAR) | ร้อยละยี่สิบห้า |
| ความรับผิด | ร้อยละสามสิบ |
| วิศวกรรม | ร้อยละยี่สิบ |
| การบิน | ร้อยละสามสิบ |
| อุบัติเหตุส่วนบุคคล และสุขภาพ | ร้อยละสิบห้า |
| ทรัพย์สิน (property) | ร้อยละยี่สิบ |
| การเงิน | ร้อยละสามสิบ |
| การเดินทาง | ร้อยละสิบห้า |
| อื่น ๆ | ร้อยละสามสิบ |
| การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรง การประกันภัยอุบัติเหตุ หรือการประกันสุขภาพ ที่มีระยะเวลาของสัญญาเกินกว่าหนึ่งปีหรือสัญญาที่มีการรับรองการต่ออายุอัตโนมัติซึ่งบริษัทประกันภัยไม่สามารถบอกเลิกสัญญา และไม่สามารถปรับเบี้ยประกันภัย รวมถึงเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ใด ๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยตลอดอายุสัญญาได้ โดยกรมธรรม์ประกันภัยที่มีลักษณะดังกล่าว มีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยรับน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละห้าของเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งหมดของบริษัท ณ วันประเมิน | ร้อยละสิบ |
ข้อ ๒๘ หนี้สินใดที่ไม่ได้กําหนดวิธีการประเมินราคาไว้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทประเมินราคาหนี้สินดังกล่าวตามวิธีการรับรู้และวัดมูลค่าตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป เว้นแต่
(1) ค่านายหน้าค้างจ่ายจากเบี้ยประกันภัยค้างรับที่ไม่ประเมินให้ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ยังมิให้ประเมินเป็นหนี้สินของบริษัทในสัดส่วนที่เท่ากัน
(2) หนี้สินที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมการยืมหลักทรัพย์เฉพาะในกรณีที่บริษัทเป็นผู้ให้ยืม ยังมิให้ประเมินเป็นหนี้สินของบริษัท
(3) หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (deferred tax liability) ยังมิให้ประเมินเป็นหนี้สินของบริษัท
หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด
---------------------
ข้อ ๒๙ กรณีที่บริษัทใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน บริษัทจะต้องนําส่งวิธีการหามูลค่าที่บริษัทใช้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินนั้น ๆ พร้อมข้อมูลและสมมุติฐานประกอบการคํานวณซึ่งต้องสามารถแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลได้ โดยนําส่งทุกครั้งเมื่อมีการอ้างอิงถึงมูลค่ายุติธรรมด้วยเทคนิคการประเมินของทรัพย์สินนั้น ๆ
ข้อ ๓๐ กรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าบริษัทประเมินมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินใหม่ โดยอาจกําหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงสมมุติฐานหรืออาจให้เปลี่ยนบริษัทผู้ประเมินได้ และส่งผลการประเมินภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด
ข้อ ๓๑ การประเมินมูลค่าสํารองประกันภัย ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทนําส่งรายงานการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องตามแบบและระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด
ข้อ ๓๒ กรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าบริษัทประเมินมูลค่าสํารองประกันภัยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทประเมินมูลค่าสํารองประกันภัยใหม่ หรือให้บริษัทประเมินมูลค่าสํารองใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงสมมุติฐานหรือเปลี่ยนนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเป็นผู้รับรองผลการประเมินได้ และส่งผลการประเมินภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด
ข้อ ๓๓ กรณีที่มีเหตุการณ์การผันผวนอันอาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสํารองประกันภัยอย่างรุนแรงจนกระทบฐานะการเงินของบริษัท ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทประเมินมูลค่าสํารองประกันภัยใหม่โดยเปลี่ยนแปลงสมมุติฐานตามที่นายทะเบียนกําหนดเป็นการเฉพาะ
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนด หรือเงื่อนไขใด ๆ ตามประกาศฉบับนี้ ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัท แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนสมบูรณ์ หรือประเมินมูลค่าทรัพย์สิน หรือหนี้สินตามที่นายทะเบียนกําหนด
หมวด ๕ บทเฉพาะกาล
---------------------
ข้อ ๓๕ เงินให้กู้ยืมตามข้อ 9 (1) ที่บริษัทให้กู้ก่อนวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินต้นที่ค้างชําระหักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่าตามข้อ 9 (3) โดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม ๓ ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,498 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2555
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 37 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร
“ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายหรือจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยสําหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากน้ําท่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๔ ในระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 การประเมินมูลค่าสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม ให้บริษัทได้รับยกเว้นไม่ต้องนําค่าเผื่อความผันผวน ณ ระดับความเชื่อมั่นเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เจ็ดสิบห้ามาใช้ในการประเมินมูลค่าสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมก่อนการเอาประกันภัยต่อ และสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ
บริษัทต้องแสดงรายละเอียดการประเมินสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมตามวรรคหนึ่งไว้ในรายงานประจําปีการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการส่งรายงานประจําปีการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,499 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2556
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (2) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร
“ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายหรือจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยสําหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากน้ําท่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๓ ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 การประเมินมูลค่าสํารองค่าสินไหมทดแทนนํ้าท่วม ให้บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมได้รับยกเว้นไม่ต้องนําค่าเผื่อความผันผวน ณ ระดับความเชื่อมั่นเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เจ็ดสิบห้ามาใช้ในการประเมินมูลค่าสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมก่อนการเอาประกันภัยต่อ และสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมสุทธิหลังการเอาประกันภัยต่อ
ข้อ ๔ ให้บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมแสดงรายละเอียดการประเมินสํารอง ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมตามข้อ 3 ไว้ในรายงานประจําปีการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาการส่งรายงานประจําปีการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,500 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย
และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2555
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/4 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร
“ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายหรือจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยสําหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยอันเกิดจากน้ําท่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๔ ในระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555 การจัดสรรสินทรัพย์สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมให้บริษัทจัดสรรสินทรัพย์หนุนหลังไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมสุทธิ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,501 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย
และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2555
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/4 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม มาตรา 23 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร
“ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายหรือจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยสําหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากนํ้าท่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
“เงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากบริษัทรับประกันภัยต่อ” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมส่วนที่บริษัทได้จ่ายให้ผู้เอาประกันภัยเรียบร้อยแล้วและอยู่ในระหว่างเรียกคืนจากบริษัทรับประกันภัยต่อ
ข้อ ๔ ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
(1) การจัดสรรสินทรัพย์สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม ให้บริษัทจัดสรรสินทรัพย์หนุนหลังไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของสํารองค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมสุทธิ
(2) ให้นําเบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรง และเงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากบริษัทรับประกันภัยต่อ มาใช้ในการจัดสรรสินทรัพย์หนุนหลังตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ของบริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม โดยอนุโลม
(3) บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมจะไม่ฝากเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือประเภทกระแสรายวันที่บริษัทจัดสรรไว้สําหรับสินทรัพย์หนุนหลังและมีไว้เพื่อการจ่ายค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมและบริหารสภาพคล่องของกิจการไว้กับสถาบันการเงิน ตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ก็ได้
ข้อ ๕ ให้บริษัทแสดงรายการเบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรง และเงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากบริษัทรับประกันภัยต่อตามข้อ 4 (2) โดยระบุไว้ในช่องหมายเหตุที่ปรากฏในรายงานสินทรัพย์ลงทุนและสินทรัพย์จัดสรรที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,502 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย
และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2556
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/4 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม มาตรา 23 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและให้หมายความรวมถึง สาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร
“ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจ่ายหรือจะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยสําหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากน้ําท่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
“เงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากผู้รับประกันภัยต่อ” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมส่วนที่บริษัทได้จ่ายให้ผู้เอาประกันภัยเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างเรียกคืนจากผู้รับประกันภัยต่อ
“ประกาศ คปภ.” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย และการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๓ ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
(1) ให้บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมนําเบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรงและเงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากผู้รับประกันภัยต่อ มาใช้ในการจัดสรรสินทรัพย์หนุนหลังตามประกาศ คปภ. โดยอนุโลม
(2) บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมจะไม่ฝากเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือประเภทกระแสรายวันที่บริษัทจัดสรรไว้สําหรับสินทรัพย์หนุนหลังและมีไว้เพื่อการจ่ายค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมและบริหารสภาพคล่องของกิจการไว้กับสถาบันการเงิน ตามข้อ 5 แห่งประกาศ คปภ. ก็ได้
ข้อ ๔ ให้บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมแสดงรายการเบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรง และเงินค้างรับเฉพาะส่วนของค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่เรียกคืนจากผู้รับประกันภัยต่อตามข้อ 3 (1) โดยระบุไว้ในช่องหมายเหตุที่ปรากฏในรายงานสินทรัพย์ลงทุนและสินทรัพย์จัดสรรที่แนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,503 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่บริษัทต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กําหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่บริษัทต้องนําส่งเงินเข้า
กองทุนประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2556
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 80/3 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการกําหนดอัตราเงินที่บริษัทต้องนําส่งเงินเข้ากองทุนประกันวินาศภัย คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่บริษัทต้องนําส่งเงินเข้ากองทุนประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคํา ว่า “เบี้ยประกันภัย” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่บริษัทต้องนําส่งเงินเข้ากองทุนประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““เบี้ยประกันภัย” กรณีการรับประกันภัยพิบัติภายใต้พระราชกําหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 หมายความว่า เบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับจากผู้เอาประกันภัยหักด้วยเบี้ยประกันภัยต่อที่นําส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ และกรณีการรับประกันภัยอื่น หมายความว่า เบี้ยประกันภัยที่บริษัทได้รับจากผู้เอาประกันภัย แต่ไม่รวมถึงเบี้ยประกันภัยรับจากการประกันภัยต่อ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,504 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บเบี้ยประกันภัย
สําหรับการประกันภัยรถยนต์ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2555
------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2554 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร
ข้อ ๔ ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ให้บริษัทเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภายในหกสิบวันนับแต่วันทําสัญญาประกันภัย หรือวันที่สัญญาประกันภัยเริ่มต้นให้ความคุ้มครอง โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องนําความในข้อ 9 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยรถยนต์ พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,505 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 16/2548 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 16/2548
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
---------------------------------------
ตามที่ได้มีคําสั่งนายทะเบียนที่ 6/2548 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่แก้ไขปรับปรุง แทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 ไปแล้ว นั้น
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เอาประกันภัยเกี่ยวกับการกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อบังคับทั่วไป ข้อ 10.1 ของพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 6/2548 ข้างต้น และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“10.1 การประกันภัยกลุ่ม หมายถึง
10.1.1 การที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ตั้งแต่ 3 คันขึ้นไปจะได้รับส่วนลดจํานวน 10% ของเบี้ยประกันภัยในรถแต่ละคัน หลังจากที่หักส่วนลดเบี้ยประกันภัยสําหรับความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบเองแล้ว โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
ก) ต้องมีประกันภัยพร้อมกัน 3 คันขึ้นไป ถ้าประกันภัยไม่พร้อมกันให้ส่วนลดเฉพาะ 3 และคันต่อ ๆ ไป
ข) รถยนต์เช่าซื้อจะให้ส่วนลดกลุ่มไม่ได้ นอกจากผู้เช่าซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกัน และได้เอาประกันภัยรถยนต์ 3 คันขึ้นไป
ค) รถจักรยานยนต์ให้ส่วนลดกลุ่มได้ตามจํานวนคันของรถจักรยานยนต์เท่านั้นห้ามนับรวมจักรยานยนต์กับรถยนต์อื่น ๆ เข้าเป็นกลุ่ม
10.1.2 การที่ผู้เอาประกันภัยเป็นพนักงาน ลูกจ้าง ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนหน่วยงานเดียวกัน ทําประกันภัยกับบริษัท ตั้งแต่ 20 คันขึ้นไป จะได้รับส่วนลดจํานวน 10% ของเบี้ยประกันภัยในรถแต่ละคัน หลังจากที่หักส่วนลดเบี้ยประกันภัยสําหรับความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบเองแล้ว โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
ก) รถจักรยานยนต์ให้ส่วนลดกลุ่มได้ตามจํานวนคันของรถจักรยานยนต์เท่านั้นห้ามนับรวมจักรยานยนต์กับรถยนต์อื่น ๆ เข้าเป็นกลุ่ม
ข) การต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยจะแยกพิจารณาตามประวัติแต่ละคันโดยการให้ส่วนลดประวัติดีให้คํานวณตาม ก) ของ 10.2 ข้างท้ายนี้ โดยอนุโลม
10.1.3 การที่ผู้เอาประกันภัย คู่สมรส บิดา มารดา บุตร หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันของผู้เอาประกันภัย มีรถยนต์เอาประกันภัยไว้กับบริษัทรวมกันตั้งแต่ 3 คันขึ้นไปบริษัทอาจให้ส่วนลดได้ไม่เกิน 10% ของเบี้ยประกันภัยในรถแต่ละคัน หลังจากที่หักส่วนลดเบี้ยประกันภัยสําหรับความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยรับผิดชอบเองแล้ว โดยมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับ 10.1.2”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มยี่ห้อรถ CHEVROLET รุ่นรถ OPTRA ในกลุ่ม 4 ของตารางแบ่งกลุ่มรถยนต์ (เฉพาะรถยนต์นั่ง รหัส 110 120 เท่านั้น)
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2548
พจนีย์ ธนวรานิช
อธิบดีกรมการประกันภัย
นายทะเบียน | 5,506 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2548 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 7/2548
เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว
-----------------------------------
ด้วยปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท พาณิชย์การประกันภัย จํากัด มีการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จึงให้บริษัท พาณิชย์การประกันภัย จํากัด หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548
พจนีย์ ธนวรานิช
อธิบดีกรมการประกันภัย
นายทะเบียน | 5,507 |
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 | ระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 ประกอบกับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ข้อ ๔ ให้สํานักงานกําหนดตารางเวลาการจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และดําเนินการต่าง ๆ ดังนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ภาวะตลาดการเงิน ตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ นวัตกรรมทางการเงินและประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และฐานะการเงินการคลังของประเทศเพื่อเสนอแนะนโยบายและแนวทางในการบริหารหนี้สาธารณะ ให้เหมาะสมภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
(2) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรวบรวมคําขอและจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณ ส่งให้สํานักงานพิจารณากลั่นกรองการบริหารหนี้สาธารณะภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ แผนดังกล่าวต้องครอบคลุมถึงการกู้เงิน การค้ําประกัน การให้กู้ต่อ การปรับโครงสร้างหนี้และการดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหนี้ทั้งจากแหล่งในประเทศและต่างประเทศ
(3) เสนอคณะกรรมการพิจารณาแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี เพื่อนําเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี รายละเอียดของแผนที่จะนําเสนออย่างน้อยต้องประกอบด้วย หน่วยงานผู้ขอกู้ แหล่งเงินที่คาดว่าจะกู้ วงเงินกู้ เงินบาทสมทบ และกําหนดการกู้เงินโดยต้องแสดงให้เห็นว่าวงเงินกู้ตามแผน เมื่อรวมกับวงเงินที่คาดว่าจะกู้ในช่วงห้าปีถัดไปแล้ว สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และภาระหนี้ต่องบประมาณจะต้องอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง สําหรับสัดส่วนภาระหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการต้องมีอัตราโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละเก้า
ข้อ ๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณตามข้อ 4 แล้วห้ามมิให้มีการก่อหนี้นอกเหนือจากที่ได้รับอนุมัติตามแผน เว้นแต่กรณีมีความจําเป็นโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
ในกรณีที่มีการปรับปรุงแผน ให้นําแผนที่ปรับปรุงแล้วเสนอคณะกรรมการพิจารณาหากแผนดังกล่าวเกินกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ จะต้องตัดวงเงินกู้ที่มีอยู่ในแผนออก เพื่อมิให้มีการก่อหนี้เกินกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติตามแผน
ข้อ ๖ ในกรณีที่จําเป็นต้องก่อหนี้หรือปรับปรุงแผนเกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามข้อ 5 ให้สํานักงานพิจารณาความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 8 และกรอบความยั่งยืนและการรักษาวินัยทางการคลัง แล้วนําเสนอคณะกรรมการพิจารณาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามลําดับ
ข้อ ๗ ให้สํานักงานรายงานผลการดําเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ พร้อมทั้งสถานะหนี้สาธารณะของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน
ข้อ ๘ ในการจัดทําแผนบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้สํานักงานรวบรวมและจัดทําแผน โดยพิจารณาความจําเป็นของการกู้เงิน การค้ําประกัน การให้กู้ต่อหรือการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโครงการที่สอดคล้องกับทิศทาง ยุทธศาสตร์ นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
(2) เป็นโครงการที่มีรายงานศึกษาความเหมาะสมด้านเทคนิค เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเงิน
(3) เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว หรือสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นชอบแล้ว หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถทําการกู้เงินได้ในปีงบประมาณนั้น
(4) เป็นการลงทุนที่จะได้รับรายได้ตอบแทนเป็นเงินตราต่างประเทศหรือสามารถประหยัดเงินตราต่างประเทศ หรือมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างคุ้มค่า โดยคํานึงถึงผลกระทบของความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
(5) รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐที่จะก่อหนี้ต้องมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงหรือมีความสามารถในการชําระหนี้คืนได้ โดยมีสัดส่วนความสามารถในการทํารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการนับแต่มีการก่อหนี้ ในอัตราไม่ต่ํากว่าหนึ่งจุดห้า
(6) หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐจะต้องมีความสามารถในการดําเนินโครงการและแผนงานเงินกู้ได้ตามที่เสนอ โดยมีความพร้อมทางด้านบุคลากรและงบประมาณสมทบ
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐมีความจําเป็นต้องก่อหนี้ แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่งได้ ให้สํานักงานเสนอคณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณี
ข้อ ๙ โครงการลงทุนภาครัฐที่จะดําเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอันจะมีผลเป็นการก่อหนี้สาธารณะ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐจัดทําโครงการเสนอต่อสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์โครงการ
เพื่อประโยชน์ในการกําหนดกรอบการบริหารหนี้สาธารณะของประเทศ ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาจัดลําดับความสําคัญของโครงการลงทุนภาครัฐและจัดทําแผนความต้องการเงินกู้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐในระยะสามถึงห้าปีถัดไป รวมทั้งจัดลําดับความสําคัญของโครงการที่จะขอใช้เงินกู้ตามแผนดังกล่าวในแต่ละปีงบประมาณ
การดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํา นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกําหนด
ข้อ ๑๐ สํานักงานอาจขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทําและรายงานหนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารและธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร รวมทั้งประมาณการสภาพคล่องของตลาดการเงินในประเทศเพื่อประกอบการพิจารณาการบริหารจัดการหนี้สาธารณะของคณะกรรมการได้ตามที่จําเป็น
ข้อ ๑๑ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งแผนการบริหารหนี้สาธารณะให้สํานักงานทราบตามตารางเวลาการจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และให้จัดทํารายงานผลการก่อหนี้ใหม่ รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินกู้การปรับโครงสร้างหนี้ โดยระบุเงื่อนไขที่เป็นสาระสําคัญภายในสิบห้าวันหลังจากดําเนินการ พร้อมทั้งจัดทํารายงานสถานะหนี้สาธารณะ
ข้อ ๑๒ ให้สํานักงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดส่งข้อมูล ดังต่อไปนี้
(1) การก่อหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ที่ไม่ใช่หนี้สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 หลังจากที่ได้มีการผูกพันในสัญญา ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ วงเงิน สกุลเงิน ระยะเวลาในการชําระหนี้ อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องและเงื่อนไขการเบิกจ่าย
(2) การทําธุรกรรมอื่นนอกเหนือจากการก่อหนี้แต่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภาระผูกพันที่จัดเป็นหนี้สาธารณะ เช่น การแปลงหนี้ (SWAP) การขยายเวลา การชําระหนี้ หลังจากที่ได้มีการทําธุรกรรมนั้น
ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทํารายงานสถานะหนี้สาธารณะ ประกอบด้วย การเบิกจ่ายเงินกู้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และความก้าวหน้าของโครงการหรือแผนงานแต่ละเดือน เสนอสํานักงานตามแบบที่กําหนดภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
ข้อ ๑๔ ในการบริหารหนี้สาธารณะ ให้สํานักงานมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการจัดหาเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม
(2) กําหนดรูปแบบ วิธีการ เงื่อนไขการกู้เงิน และการออกตราสารหนี้
(3) กําหนดค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน การออกและจัดการตราสารหนี้ ให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของแหล่งเงินกู้
(4) ดําเนินการให้มีการลงนามผูกพันในสัญญากู้เงิน สัญญาค้ําประกัน การให้กู้ต่อ และการปรับโครงสร้างหนี้ และการดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหนี้
(5) กํากับ ติดตามให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญากู้เงิน สัญญาค้ําประกัน และสัญญาให้กู้ต่อให้เป็นไปตามข้อผูกพันและกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
(6) ติดตามการบริหารโครงการหรือแผนงาน และจัดทํารายงานเสนอต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับความคืบหน้าผลการดําเนินงาน การเบิกจ่าย ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข รวมทั้งพิจารณาปรับวงเงินค่าใช้จ่าย และระยะเวลาดําเนินโครงการหรือแผนงานได้ตามความจําเป็น เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
(7) จัดทํารายงานการกู้เงินและการค้ําประกันที่กระทําในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อเสนอรัฐสภาทราบตามมาตรา 17 และจัดทํารายงานสถานะของหนี้สาธารณะเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 35 (1)
(8) บริหารงบชําระหนี้ให้สอดคล้องกับภาระหนี้ที่ครบกําหนด และแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณ
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ ไม่ปฏิบัติตามกรอบที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ หรือไม่มีศักยภาพในการบริหารจัดการโครงการหรือแผนงาน โดยดําเนินงานล่าช้ากว่ากรอบเวลาที่กําหนดมาก หรือขัดกับข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติของทางราชการ ให้สํานักงานทักท้วงไปยังหน่วยงานดังกล่าว เพื่อให้ดําเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว และหากไม่ดําเนินการแก้ไขให้สํานักงานรายงานคณะกรรมการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาระงับการใช้เงินกู้นั้น
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่โครงการหรือแผนงานใดได้ดําเนินการแล้วเสร็จ ให้สํานักงานติดตามประเมินผล และจัดทํารายงานผลสําเร็จของโครงการนั้น ประกอบด้วย ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบของโครงการ และความยั่งยืนของโครงการเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังพร้อมกับรายงานการกู้เงินและการค้ําประกันตามข้อ 14 (7)
ข้อ ๑๗ ให้สํานักงานเป็นผู้ดําเนินการเจรจาและลงนามขอรับความช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการที่ไม่มีดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากแหล่งเงินกู้ เช่น ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย
ข้อ ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,508 |
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2559
-------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ ในการประชุมครั้งที่ 2/2558 ที่เห็นชอบให้ไม่ต้องนําหลักเกณฑ์การคํานวณสัดส่วนความสามารถในการทํารายได้เทียบกับภาระหนี้มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินภาครัฐ อาศัยอํานาจตามมาตรา 5 ประกอบกับมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 (5) ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐที่จะก่อหนี้ต้องมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง หรือมีความสามารถในการชําระคืนหนี้ได้ ทั้งนี้ ในกรณีของรัฐวิสาหกิจจะต้องมีสัดส่วนความสามารถในการทํารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการนับแต่มีการก่อหนี้ ในอัตราไม่ต่ํากว่าหนึ่งจุดห้าด้วย”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,509 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 44/2540 เรื่อง แก้ไขเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ปี 2540 | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 44/2540
เรื่อง แก้ไขเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ปี 2540
---------------------------------------------
ด้วยนายทะเบียนเห็นสมควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงหน้าตารางกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและลําดับชั้นของสิ่งปลูกสร้าง ที่กําหนดไว้ในพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 41/2540 เรื่อง แก้ไขเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ข้อรับรองพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยพิเศษการประกันภัย การเสี่ยงภัยทุกชนิด ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2540 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในทางปฏิบัติแก่ภาคธุรกิจ และสอดรับกับอัตราเบี้ยประกันภัยที่กําหนดและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรค 2 และมาตรา 30 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหน้าตารางกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและลําดับชั้นของสิ่งปลูกสร้างเสียใหม่ ดังปราฎรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายคําสั่งนี้
คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่เริ่มให้ความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2540
พิพรรธน์ อินทรศัพท์
อธิบดีกรมการประกันภัย
นายทะเบียน | 5,510 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2563
-------------------------------------
เพื่อให้การดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 เป็นไปอย่างรัดกุม มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และ เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 8 (5) แห่งพระราชกําหนด ห ให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับ ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้จึงมีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563 วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงาน หรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบ
“พระราชกําหนด” หมายความว่า พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
“โครงการ” หมายความว่า แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ตามแผนงาน หรือ โครงการที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
“แผนงานหรือโครงการที่ 1” หมายความว่า แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
“แผนงานหรือโครงการที่ 2” หมายความว่า แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด “แผนงานหรือโครงการที่ 3” หมายความว่า แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
“เงินกู้” หมายความว่า เงินที่กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี กู้ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยตามพระราชกําหนด
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ตามพระราชกําหนด “หน่วยงานเจ้าของโครงการ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหรือมอบหมายให้ดําเนินโครงการ
ข้อ ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ บททั่วไป
-----------------------------
ข้อ ๕ การดําเนินโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอโครงการ การจัดสรรเงินกู้ การเบิกจ่ายเงินกู้ และการรายงานผลการดําเนินโครงการ ให้ดําเนินการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้มีการจัดส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อ ๖ ให้สํานักงบประมาณจัดสรรเงินกู้ตามวงเงินกู้ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๗ ให้กรมบัญชีกลางรับฝากเงินกู้ไว้ในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง และจัดทําระบบบัญชีระบบการเบิกจ่ายเงินกู้สําหรับโครงการ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์ หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๘ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะจัดหาเงินกู้และดําเนินการกู้เงินสําหรับโครงการเปิดบัญชีและนําฝากเงินกู้ไว้ในบัญชี จัดทําระบบบริหารเงินสด และรายงานสถานะเงินกู้ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๙ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุม
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เสนอคณะรัฐมนตรีวินิจฉัย และเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเป็นประการใดแล้วให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการให้เป็นไปตามนั้น
หมวด ๒ การเสนอ การพิจารณากลั่นกรอง และการอนุมัติโครงการ
---------------------------------
ข้อ ๑๑ ในการเสนอโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ 1และแผนงานหรือโครงการที่ 2 ให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นโครงการที่ขอใช้จ่ายเงินภายใต้วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ 1 ให้หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจัดทํารายละเอียดโครงการเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรวบรวมและจัดทําความเห็น ก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณา
(2) กรณีเป็นโครงการที่ขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ 2 ให้หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจัดทํารายละเอียดโครงการเสนอต่อกระทรวงการคลัง เพื่อรวบรวมและจัดทําความเห็น ก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณา
ในการจัดทําความเห็นตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้กระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงการคลัง แล้วแต่กรณี พิจารณาความสอดคล้องของโครงการตามวัตถุประสงค์ของแผนงานหรือโครงการที่ 1 หรือแผนงานหรือโครงการที่ 2 แล้วแต่กรณี และให้กระทรวงสาธารณสุขหรือกระทรวงการคลังนําส่งความเห็นพร้อมทั้งรายละเอียดโครงการของหน่วยงานของรัฐ เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีรายละเอียดข้อมูลครบถ้วน ทั้งนี้ หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่ากระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงการคลังเห็นชอบกับโครงการของหน่วยงานของรัฐ และให้หน่วยงานของรัฐ เสนอคณะกรรมการพิจารณาต่อไป
ข้อ ๑๒ ในการเสนอโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ 3 ให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทํากรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่าง ๆ เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และนําเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งแล้ว ในการเสนอโครงการ เพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้ วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ 3 ให้หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจัดทํารายละเอียดโครงการที่มีความสอดคล้องกับกรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเสนอสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรวบรวมและจัดทําความเห็น แล้วเสนอคณะกรรมการพิจารณาภายใน 10 นับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอจากหน่วยงานของรัฐซึ่งรายระเอียดข้อมูลครบถ้วน ทั้งนี้ หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าว ให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอโครงการต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
ข้อ ๑๓ โครงการที่หน่วยงานของรัฐเสนอให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการ ตามข้อ 11 และข้อ 12 ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
(2) เป็นโครงการที่มีความจําเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันโดยเร็วแต่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ หรือได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้วแต่มีจํานวนไม่เพียงพอ
(3) เป็นโครงการที่มีความพร้อม สามารถดําเนินการได้ทันทีภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี
(4) เป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการดําเนินงานและก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือ สังคมตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
(5) ลักษณะอื่นใดตามที่คณะกรรมการกําหนด
ทั้งนี้ การจัดทํารายละเอียดโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๔ ในการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการพิจารณากําหนดวงเงินโครงการที่เหมาะสมที่จะใช้จ่ายจากเงินกู้ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
ให้ดําเนินโครงการเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดําเนินโครงการแล้ว ในกรณีที่ โครงการใดต้องดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบใด ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินการ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๓ การดําเนินโครงการ
-------------------------
ข้อ ๑๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดําเนินโครงการแล้ว ให้
(1) สํานักงบประมาณจัดสรรเงินกู้ตามวงเงินกู้ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
(2) สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะดําเนินการกู้เงินเพื่อใช้จ่ายสําหรับโครงการ
(3) หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดส่งประมาณการการเบิกจ่ายเงินกู้เป็นรายเดือนให้แก่ สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อประกอบการจัดหาเงินกู้
ข้อ ๑๖ การดําเนินโครงการในส่วนที่เกี่ยวกับการพัสดุ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ หรือตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของหน่วยงานเจ้าของโครงการ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถเริ่มดําเนินโครงการในส่วนที่เกี่ยวกับการพัสดุ ได้ทันทีหลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดําเนินโครงการ แต่จะใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ต่อเมื่อได้รับ การจัดสรรเงินกู้จากสํานักงบประมาณแล้ว
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการประสงค์จะขอโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เสนอคําขอการโอน หรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ พร้อมเหตุผลความจําเป็น ต่อคณะกรรมการพิจารณา ก่อนเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๙ เมื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการได้ดําเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่สามารถดําเนิน โครงการได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงาน เงินกู้เหลือจ่ายให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะทราบ และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการส่งคืนเงินเหลือจ่าย เข้าบัญชีตามข้อ 20
หมวด ๔ การเก็บรักษาเงินกู้และการเบิกจ่ายเงินกู้
---------------------------------------
ข้อ ๒๐ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนําเงินกู้ฝากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังชื่อบัญชี “เงินกู้ตามพระราชกําหนดกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา COVID-19”
เมื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินโครงการเสร็จสิ้นครบทุกโครงการแล้ว หรือไม่มีความจําเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนําเงินกู้ ที่เหลือในบัญชี ตามวรรคหนึ่งส่งคืนคลังและปิดบัญชีดังกล่าว
ข้อ ๒๑ การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติ ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของทางราชการ และหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติ ที่กระทรวงการคลังกําหนด
หมวด ๕ การติดตามประเมินผล และการรายงานผลการใช้จ่ายเงินกู้
---------------------------------
ข้อ ๒๒ การติดตามประเมินผลการดําเนินโครงการ และการรายงานผลการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
หมวด ๖ การใช้วงเงินกู้สําหรับรายการเงินสํารองจ่าย
------------------------------
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการมีความจําเป็นต้องใช้เงินกู้ ในรายการเงินสํารองจ่าย ตามที่คณะกรรมการได้กําหนดวงเงินไว้ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี เจ้าสังกัด เสนอคําขอใช้เงินกู้พร้อมแสดงเหตุผลความจําเป็น ต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรอง และเสนอความเห็น ก่อนเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 5,511 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564
----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 8 (5) แห่งพระราชกําหนด ให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้จึงมีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 วางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงาน หรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 7 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563
“ในกรณีที่เป็นโครงการที่ต้องใช้เงินกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ มีหน้าที่และอํานาจจัดทําระบบการเบิกจ่ายเงินกู้ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา 2019 และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนําเงินกู้ฝากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “เงินกู้ตามพระราชกําหนดกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา COVID-19”
ในกรณีที่กระทรวงการคลังกู้เงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ และหน่วยงานเจ้าของโครงการมีความจําเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้เพื่อดําเนินโครงการเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ นําเงินกู้ฝากบัญชีสําหรับใช้ในโครงการดังกล่าวกับสถาบันการเงินตามที่กระทรวงการคลังกําหนดโดยใช้ชื่อบัญชี “เงินกู้สกุลเงินตราต่างประเทศตาม พ.ร.ก. COMID-19 2563”
เมื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินโครงการเสร็จสิ้นครบทุกโครงการแล้ว หรือไม่มีความจําเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนําเงินที่เหลือในบัญชีตามวรรคหนึ่ง และวรรคสองส่งคืนคลังและปิดบัญชีดังกล่าว”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 5,512 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 95/2541 เรื่อง ให้เพิ่มเติมเงื่อนไขการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภททั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 95/2541
เรื่อง ให้เพิ่มเติมเงื่อนไขการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
ในกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภททั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
---------------------------------------------
ด้วยกรมการประกันภัยได้ประกาศใช้ข้อบังคับกรมการประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ จึงเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไข การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภททั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทกําหนดเงื่อนไขการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภททั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ยกเว้น Marine Hull Policy และ Marine Cargo Policy โดยมีข้อความดังนี้
“การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
ในกรณีที่มีข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใด ๆ ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ ระหว่างผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยกับบริษัท และหากผู้มีสิทธิเรียกร้องประสงค์และเห็นควรยุติข้อพิพาทนั้น โดยวิธีการอนุญาโตตุลาการ บริษัทตกลงยินยอมและให้ทําการวินิจฉัยชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับกรมการประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ”
ข้อ ๒ สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทได้ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยก่อนวันที่มีคําสั่งนี้ และยังคงมีผลใช้บังคับ หากไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการไว้ให้ถือเสมือนว่ามีเงื่อนไข “การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ” นี้อยู่ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือหากกําหนดไว้แตกต่างจากเงื่อนไขตามความที่กําหนดในข้อ 1 ให้ใช้เงื่อนไข “การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ” นี้ แทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
บรรพต หงษ์ทอง
อธิบดีกรมการประกันภัย
นายทะเบียน | 5,513 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 600/2537 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวกรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 600/2537
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว
กรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 415/2536 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2536 ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว กรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตาม ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทบชั่วคราว กรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 115/2556 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2556 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทน ชั่วคราว กรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. ผู้อํานวยการกองคลัง (บางจํานงค์ ฉายานนท์) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดี (นางสุดาวัลย์ โลกโบว์) เป็นกรรมการ
3. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางสุภาวดี พวงสมบัติ) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1. หัวหน้าฝ่ายบัญชีและงบประมาณ (ม.ล.ผกาพรรณ สันติกุญชร) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางนงลักษณ์ ยุติธาดา) เป็นกรรมการ
3. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (นางศุภมาศ เหมไทรย์) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่าย นอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
1. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางสุภาวดี พวงสมบัติ) เป็นกรรมการ
2. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (นางศุภมาศ เหมไทร) เป็นกรรมการ
3. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 5 (นางสุภรา กงสุวรรณ) เป็นกรรมการ
4. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 5 (นางพจนีย์ ระบบกิจการ) เป็นกรรมการ
5. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 4 (นางสาวอนงค์ เที่ยงตรง) เป็นกรรมการ
6. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี : (นางสาวสุดารัตน์ สุภาพวิบูลย์) เป็นกรรมการ
7. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
8. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางสาวสมัย ห่วงเภตรา) เป็นกรรมการ
9. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางประชุมพร ทองนิล) เป็นกรรมการ
10. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 (นางนงนุช ฉัตรวิริยะเลิศ) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงิน ไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลัง หรือ หัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุม รักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงิน ส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2537
(นายประมาณ ติยะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,514 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 541/2537 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์ และการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 541/2537
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์ และการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์
------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการยึด หรืออายัดทรัพย์สิน และการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือลูกหนี้ผู้ล้มละลาย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้เป็นไปโดยเรียบร้อยเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่ง สั่งกรมบังคับคดี ที่ 240/2537 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึด หรืออายัดทรัพย์ และการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2537
ข้อ ๒ ให้ผู้ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในการยึดทรัพย์สินได้ดําเนินการโดยสุภาพ และระมัดระวัง อย่าให้เกิดความเสียหายเกินกว่าที่จําเป็น หรือมีการกลั่นแกล้งด้วยประการใด ๆ
ข้อ ๓ กรณียึดหรืออายัดทรัพย์สินซึ่งมีราคาตั้งแต่ 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท) ขึ้นไป หรือยึดอายัดทรัพย์สินของบุคคลสําคัญ หรือบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์เสร็จแล้ว ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีผู้ที่ได้รับมอบหมาย โดยมีชักช้า
สําหรับการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ในส่วนภูมิภาคซึ่งทรัพย์ตามประกาศขายมีราคา ประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่ 5,000,000 บาท ขึ้นไป หรือคาดหมายว่าจะขายได้ในราคาตั้งแต่ 5,000,000 บาท ขึ้นไป ให้รายงานให้อธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมา ได้รับมอบหมายทราบพร้อมส่งประกาศขายทอดตลาดไปลงพิมพ์เผยแพร่ในประกาศ ของกรมบังคับคดีใหนเวลากําหนด
ข้อ ๔ ให้หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทําการควบคุม ตรวจตราและดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในบังคับบัญชา ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2537
(นายประมาณ ตียะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,515 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 433/2537 เรื่อง การแจ้งการของลูกต่อผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 433/2537
เรื่อง การแจ้งการของลูกต่อผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด
--------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการยึดและการจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือลูกหนี้ผู้ล้มละลายในคดีแพ่งและคดีล้มละลายทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคดําเนินไปโดยเรียบร้อย รัดกุม เหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
การยึดห้องชุดในนิติบุคคลอาคารชุด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แจ้งการยึดให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดทราบ พร้อมทั้งสอบถามผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดด้วยว่า ห้องชุดที่ยึดดังกล่าวมีภาระหนี้สินที่จะต้องรับผิดชอบหรือไม่ จํานวนเท่าใด เพื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ระบุแจ้งไว้ในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ เพื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้จะต้อง ชําระก่อนจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ ตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุดพ.ศ. 2522 มาตรา 18, 29 และ 41
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537
(นายประมาณ ตียะไรบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,516 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 240/2537 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์ และการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 240/2537
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์ และการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์
-------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับ การยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือลูกหนี้ ผู้ล้มละลาย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้เป็นไปโดยเรียบร้อยเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 43/2531 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดหรือ อายัดทรัพย์
ข้อ ๒ ให้ผู้ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในการยึดทรัพย์สินได้ดําเนินการโดยสุภาพ และระมัดระวัง อย่าให้เกิดความเสียหายเกินกว่าที่จําเป็น หรือมีการกลั่นแกล้งด้วยประการใด ๆ
ข้อ ๓ กรณียึดหรืออายัดทรัพย์สินซึ่งมีราคาตั้งแต่ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ขึ้นไป หรือยึดอายัดทรัพย์สินของบุคคลสําคัญ หรือบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์เสร็จแล้ว ให้รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีผู้ที่ได้รับ มอบหมายโดยมิชักช้า
สําหรับการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ในส่วนภูมิภาคซึ่งทรัพย์ตามประกาศขาย มีราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่ 1,000,000 บาท ขึ้นไป หรือคาดหมายว่าจะขายได้ในราคาตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป ให้รายงานให้อธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมอบหมายทราบพร้อมส่งประกาศขายทอดตลาดไปลงพิมพ์เผยแพ เผยแพร่ในประกาศ ของกรมบังคับคดีให้ทันเวลากําหนด
ข้อ ๔ ให้หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบ การควบคุม ตรวจตราและดูแลการปฏิบัติหน้าที่ ของข้าราชการในบังคับบัญชา ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
(นายประมาณ ติยะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,517 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 380/2533 เรื่อง เร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 380/2533
เรื่อง เร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
------------------------
ด้วยปรากฏว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ขอให้งดการบังคับคดีไว้ หรือเพิกเฉยไม่ดําเนินการบังคับคดีโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้สํานวน การบังคับคดีแพ่งต้องดําเนินไปโดยล่าช้าไม่อาจเสร็จสิ้นไปในระยะเวลาอันควร ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีดังกล่าวดําเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาขอตั้งเรื่องการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อขอให้ยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือขอให้รื้อถอนหรือขับไล่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ออกไปจากรายการตามคําพิพากษา ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีไปในวันนั้นหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีมีเหตุขัดข้องไม่อาจดําเนินการในวันนั้นได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องกําหนดวัน เวลานัดเพื่อดําเนินการบังคับคดีต่อไปอย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาขอตั้งเรื่องการบังคับคดี
ข้อ ๒ ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดี ไม่ว่าจะเป็นการขอให้งดการยึดอายัดหรือการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือ งดการรื้อถอนหรือขับไล่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาให้ออกไปจากทรัพย์พิพาท ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดวันเวลานัด เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแถลงว่าจะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการต่อไปอย่างไร ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน
ข้อ ๓ เมื่อถึงกําหนดตามขอ 1. หรือ 2. แล้ว เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแถลงขอเลื่อน การบังคับคดี หรือขอให้งดการบังคับคดีต่อไปอีกโดยมีเหตุอันสมควรกรณีหนึ่ง หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดีตามนัดอีกกรณีหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดวัน เวลานัดเพื่อให้เจ้าหนี้ ตามคําพิพากษามาแถลงเรื่องการบังคับคดีต่อไป หรือออกหมายนัดให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแถลงเรื่องการบังคับคดีต่อไปแล้วแต่กรณีภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ทั้งนี้ ให้กําชับหรือแจ้งไปด้วยว่าถ้า เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่มาตามนัดจะถือว่าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยไม่ดําเนินการบังคับคดี ภายในเวลากําหนด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขอให้ศาลมีคําสั่งถอนการบังคับคดีหรือดําเนินการตามที่เห็น สมควรต่อไป
ข้อ ๔ เมื่อถึงกําหนดนัดตามข้อ 3. ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแถลงขอเลื่อนการบังคับคดี หรือขอให้งดการบังคับคดีต่อไปอีกโดยมีเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตามข้อ 3. โดยอนุโลม ถ้าการขอเลื่อนการบังคับคดีหรือขอให้งดการบังคับคดีต่อไปไม่มีเหตุอันสมควรหรือเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดีตามกําหนดนัด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลมีคําสั่ง ถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255 หวี หรือดําเนินการตามที่ เห็นสมควรต่อไป
ข้อ ๕ ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล จัดเจ้าหน้าที่ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการนําสํานวน การบังคับคดีแพ่งที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กําหนดวัน เวลานัดตามข้อ 1. ถึงข้อ 4. มาลงนัดในบัญชีนัก คดีความ เสร็จแล้วให้คืนสํานวนแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีและให้คัดลอกบัญชีนัดดังกล่าวเสนอผู้อํานวยการกองผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาลก่อนถึงวันนัดทุกครั้งเพื่อเรียกสํานวนตามบัญชีนัดมาตรวจสอบและกําชับเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด
ข้อ ๖ ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล ลงนามและวันที่ทําการตรวจสํานวนตามข้อ 4. ไว้ใน บัญชีนัดที่เจ้าหน้าที่คัดลอกเสนอมานั้น และให้รวบรวมบัญชีนักดังกล่าวเสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2533
(นายสมชัย ศิริบุตร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,518 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 265/2533 เรื่อง ตรวจสอบผลการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 265/2533
เรื่อง ตรวจสอบผลการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
--------------------
ด้วยปรากฏว่าการดําเนินการบังคับคดีแพ่งและคอมละลายของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บางสํานวน เจ้าพนักงานยังดําเนินการไม่ถูกขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่งของกรมบังคับคดี เป็นเหตุให้ศาลต้องเพิกถอนการบังคับคดีไป เช่น แจ้งการยึดอายัดหรือส่ง ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ครบถ้วน ประกาศขายทอดตลาดไม่ระบุรายละเอียด ให้ชัดแจ้ง หรือไม่ปิดประกาศขายทอดตลาด ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน บังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทําการยึดหรืออายัดทรัพย์สินรายใดมาแล้ว ให้เสนอสํานวนต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล ตรวจสอบว่าการยึด หรืออายัดทรัพย์สินครั้งนั้นดําเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่งของกรมบังคับคดีหรือไม่ เช่น ได้มีการแจ้งการยึดหรืออายัดให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องครบถ้วนแล้วหรือไม่ ถ้าดําเนินการไปไม่ชอบ ให้มีคําสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง หากดําเนินการไปชอบแล้ว ให้ทําบันทึกการตรวจสอบตามแบบรายงานการตรวจสอบผลการยึดหรืออายัดทรัพย์สินทายคําสั่งนี้ พร้อมกับลงนามผู้ตรวจสอบและวันที่ที่ทําการตรวจสอบไว้ด้วย
ข้อ ๒ ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้า สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล มีหน้าที่ตรวจประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําขึ้นในแต่ละครั้ง ว่าชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่งของกรมบังคับคดี เช่น มีรายละเอียดที่แสดงถึงลักษณะ สภาพของทรัพย์สิน และในกรณีทรัพย์สินที่จะขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ระบุที่ตั้งและแผนที่ซึ่งแสดงทิศทางที่จะไปยังทรัพย์สินดังกล่าวไว้ถูกต้องแล้วหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องให้มีคําสั่ง ให้แก้ไขให้ถูกต้อง หากถูกต้องแล้วให้ลงนามในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประกาศนั้นต่อไป
ข้อ ๓ ก่อนถึงกําหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์สินตามที่ประกาศไว้ในแต่ละที ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล เรียกสํานวนที่จะทําการขายทอดตลาดมาตรวจสอบผลการลงประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินว่าได้มีการส่ง และปิดประกาศโดยชอบแล้วหรือไม่ เช่น ได้ส่งให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียหรือปิดประกาศไว้ ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ แล้วหรือไม่ ถ้าไม่ชอบให้มีคําสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง หากชอบแล้วให้ทําบันทึกการตรวจสอบตามแบบรายงาน บ การตรวจสอบผลการส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินท้ายคําสั่งนี้พร้อมกับลงนามผู้ตรวจสอบและวันที่ ที่ทําการตรวจสอบไว้ด้วย
ข้อ ๔ บันทึกการตรวจสอบตามข้อ 1 และข้อ 3 ให้เก็บรวมไวในจํานวนที่ตรวจสอบนั้น
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2533
(นายสมชัย ศิริบุตร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,519 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 339/2533 เรื่อง การตรวจทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 339/2533
เรื่อง การตรวจทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด
------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินทั้งในคดีแพ่งและ คดีล้มละลายดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 250/2522 เรื่อง ขอให้ตรวจทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด ลงวัน25 ตุลาคม 2522
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าของสํานวนออกไปทําการตรวจสอบทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เก็บรักษาไว้เอง หรือมิได้นําไปเก็บรักษาไว้ ณ สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน กรมบังคับคดี ว่ายังอยู่ครบถ้วน หรือไม่ ทุก ๆ เดือน นับแต่วันยึดหรืออายัดจนกว่าทรัพย์สินดังกล่าวจะได้ถูกจําหน่ายหรือถอนการบังคับคดีไป
ข้อ ๓ ให้หัวหน้างานธุรการกองบังคับคดีแพ่ง กองบังคับคดีล้มละลาย สํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคและเจ้าหน้าที่ธุรการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล จัดทําสมุดคุมการตรวจสอบทรัพย์สินเพื่อใช้ในการลงนัดและตรวจสอบสํานวนที่จะต้องทําการตรวจสอบทรัพย์สินต่อไป
ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานซึ่งออกไปตรวจสอบทรัพย์สินตามข้อ 2. ทํารายงานผลการตรวจสอบ เสนอให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาลทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ออกไปตรวจสอบ
ข้อ ๕ ถ้าผลการตรวจสอบปรากฏว่าทรัพย์สินดังกล่าวเสียหายหรือสูญหายไป ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล I ตามข้อ 4. มีคําสั่งให้เจ้าพนักงานเจ้าของสํานวนดังกล่าวดําเนินการบังคับให้ผู้รักษาทรัพย์รับผิดตามสัญญา รักษาทรัพย์ เพื่อดําเนินการบังคับคดีให้เสร็จสิ้นต่อไป พร้อมกับกําชับให้โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา รืออายัดช่วยเหลือให้การบังคับคดีดําเนินไปด้วยความรวดเร็ว จนกว่าการบังคับคดีจะเสร็จสิ้นลง ผู้นํายึดหรืออาย หรือโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ขอถอนการบังคับคดีและชําระค่าธรรมเนียมในการถอนการบังคับคดี เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ให้รายงานผลการดําเนินการดังกล่าวต่ออธิบดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายทุก ๆ 3 เดือน
ข้อ ๖ ในกรณีที่การสูญหายหรือเสียหายของทรัพย์สินดังกล่าวเกิดจากมีผู้กระทําความผิดอาญา นอกจากจะต้องดําเนินการตามข้อ 5. แล้ว ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาลจะต้องเสนอรายงานการตรวจสอบ พร้อมกับความเห็นต่ออธิบดีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานออกไปทําการตรวจสอบเพื่อดําเนินการดังต่อไปนี้
6.1 ในกรณีตัวผู้กระทําความผิดให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดําเนินคดีแก่ผู้ กระทําความผิดต่อไป
6.2 ในกรณีไม่รู้ตัวผู้กระทําความผิดให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ทําการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทําความผิดมาดําเนินคดีต่อไป
การเสนอรายงานและความเห็นตามข้อ 6.1 และ 6.2 ให้เสนอหนังสือร้องทุกข์ เพื่อให้อธิบดีลงนามไปพร้อมด้วย 1
ข้อ ๗ ในทุก ๆ 6 เดือน ให้หัวหน้างานรักษาทรัพย์ สํานักงานเลขานุการกรม ตรวจสอบทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน และมิได้มีการประกาศขาย ทอดตลาดมาเป็นเวลาเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไป ว่ามีคดีใดบ้าง แล้วเสนอผลการตรวจสอบให้ผู้อํานวยการกอง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทราบภายในวันที่ 15 มกราคม และ 15 กรกฎาคม ของทุกปี
ข้อ ๘ ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคหรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล ซึ่งได้รับรายงานการตรวจสอบทรัพย์ตามข้อ 4. เร่งรัด กํากับดูแลให้เจ้าพนักงานเจ้าของสํานวนดําเนินการจําหน่ายหรือประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดหรืออายัด โดยเร็วต่อไป
ข้อ ๙ ให้ผู้อํานวยการกอง ซึ่งได้รับรายงานรายงานการตรวจสอบตามข้อ 7. เร่งรัดกํากับดูแลให้ เจ้าพนักงานเจ้าของสํานวนดําเนินการจําหน่ายหรือประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดโดยเร็วต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2533
(นายสมชัย ศิริบุตร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,520 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 284/2533 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยึดอายัดและจำหน่ายทรัพย์สินในคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 284/2533
เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับการยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
----------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรแก้ไขคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 65/2531 เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับ การยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ลงวันที่ 9 มีนาคม 2531 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงให้ยกเลิก ความในข้อ 4 และแก้ไขเพิ่มเติมข้อความของคําสั่งคําสั่งดังกล่าว ดังต่อไปนี้
“4. ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในระหว่างที่การบังคับคดีแพ่งยังไม่สําเร็จบริบูรณ์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งรายการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในอํานาจหรือความยึดถือของตนให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการ จําหน่ายทรัพย์สินนั้นต่อไปจนเสร็จสิ้น ได้เงินเท่าใดให้คิดหักเป็นค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานบังคับคดี และค่าธรรมเนียมโจทก์ในชั้นบังคับคดี เหลือเท่าใดให้สูงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย พร้อมด้วยทรัพย์ รายการอื่นที่เป็นตัวเงินอยู่แล้ว (ถ้ามี)
ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําสั่งศาลในระหว่าง พิจารณาคดีแพ่งหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการให้โอนทรัพย์สินที่ยึดไว้ตามหมายบังคับคดีแพ่ง มาไว้ในคดีล้มละลายจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ได้มากกว่า ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์สั่งโอนมาได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดี หรือ รองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดสิทธิเรียกร้องไว้ด้วย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกอายัดนั้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และในเทพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นสืบต่อจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
ความในข้อนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่เจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิในการบังคับคดีแกทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แต่ทั้งนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกําหนดวัน เวลา และสถานที่ขาย หรือจําหน่ายทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าไปดูแล การขายทอดตลาดตลอดจนคัดค้านราคาในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ส่งเงินสุทธิที่เหลือจากการจ่ายให้แก่เจ้าหนี้มีประกันเข้าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่ในกรณีที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าอาจเพิกถอนการโอนหรือการกระทําที่ก่อให้เกิดหนี้มีประกันนั้นได้ ก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้วรีบยื่นคําร้องต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการโอนหรือ การกระทําดังกล่าวก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้มีประกันโดยไม่จําต้องรอให้สํานวน การสอบสวนเสร็จก่อนกับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําขอต่อศาลเพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครอง ประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาโดยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรอการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้มีประกันนั้น ไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ถ้าเจ้าหนี้มีประกันในวรรคที่มีพฤติการณ์ในลักษณะไม่บังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน อย่างจริงจัง และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการให้โอนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นมาไว้ใน คดีล้มละลาย จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ได้มากกว่า ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สั่งโอนมาได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2533
(นายสมชัย ศิริบุตร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,521 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 247/2533 เรื่อง วิธีปฏิบัติในการอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 247/2533
เรื่อง วิธีปฏิบัติในการอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาในคดีแพ่ง
-------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาในคดีแพ่ง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นไปโดยเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงภูมิลําเนาหรือส่งสําเนา ทะเบียนบ้านของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ซึ่งนายทะเบียนท้องถิ่นรับรองไม่เกิน 1 เดือน เพื่อแจ้งการอายัด แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกคําสั่งอายัดส่งแก่บุคคลซึ่งจะต้องรับผิดเพื่อการชําระเงิน หรือส่งมอบสิ่งของที่อายัดและแจ้งการอายัดแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาในคราวเดียวกัน หากเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาไม่สามารถแถลงภูมิลําเนาหรือส่งสําเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้ตามคําพิพากษาตามข้อ 1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงภูมิลําเนาหรือส่งสําเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้ ตามคําพิพากษาตามข้อ 1 ภายใน 7 วัน เมื่อได้รับคําแถลงหรือสําเนาเอกสารดังกล่าวแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกคําสั่งอายัดโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๓ ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงภูมิลําเนาของลูกหนี้ตามคําพิพากษาโดยไม่ส่ง สําเนาทะเบียนบ้าน แต่ปรากฏว่าไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งการอายัดแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ตาม ภูมิลําเนาที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาส่งสําเนา ทะเบียนบ้านของลูกหนี้ตามคําพิพากษาซึ่งนายทะเบียนท้องถิ่นรับรองไม่เกิน 1 เดือนมาภายใน 7 วัน แล้วแจ้งการอายัดแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๔ หากลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่มีภูมิลําเนาตามข้อ 1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้ง การอายัดแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาโดยวิธีการประกาศ หนังสือพิมพ์แทนการส่งหนังสือแจ้งการอายัด โดยเรียกค่าใช้จ่ายทดรองจากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาและให้ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
ข้อ ๕ คําสั่งอายัดไปยังบุคคลภายนอกและหนังสือแจ้งการอายัดแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกโดยมีข้อความตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 วรรคสาม
ข้อ ๖ ในกรณีการอายัดแทนศาลอื่น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งเงินหรือทรัพย์สิน ที่อายัดคืนศาลออกหมายบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีที่บังคับคดีแทนระบุโดยชัดแจ้งในหนังสือ นําส่งเงินหรือทรัพย์สินที่อายัดว่า ได้แจ้งการอายัดให้แก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาแล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2533
(นายสมชัย ศิริบุตร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,522 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 50/2533 เรื่อง การทำความเห็นหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเทพนักงานบังคับคดีในกรณีขัดแย้งกัน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 50/2533
เรื่อง การทําความเห็นหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
และเทพนักงานบังคับคดีในกรณีขัดแย้งกัน
-----------------
ด้วยปรากฏว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานบังคับคดี ในส่วนราชการต่าง ๆ ของกรมบังคับคดี ในบางกรณีนั้น การทําความเห็นหรือคําสั่งของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานบังคับคดีในสํานวนคดีเดียวกันหรือที่เกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกันขัดแย้งกัน เช่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เจ้าพนักงาน บังคับคดีไม่เห็นชอบด้วย หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กองหนึ่งยื่นคําขอรับชําระหนี้แทนลูกหนี้ (เลย) เข้าไปในคดีล้มละลายของอีกกองหนึ่ง แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่พิจารณาคําขอรับชําระหนี้มีความเห็น ควรให้ยกคําขอรับชําระหนี้หรือให้ได้รับชําระหนี้น้อยกว่าที่ขอมา เป็นต้น อันก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะต้องนําข้อขัดแย้งดังกล่าวไปดําเนินคดีกันเองต่อไป ในชั้นศาล
ฉะนั้น เพื่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติดังกล่าว ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี มีความเห็นหรือคําสั่งขัดแย้งกันในการปฏิบัติหน้าที่ในสํานวนคดีเดียวกัน หรือที่เกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ที่มีความเห็น หรือคําสั่งที่เป็นการขัดแย้งกับความเห็นหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี เสนอความเห็นหรือคําสั่งพร้อมกับรายงานขอขัดแย้งของความเห็นหรือคําสั่งดังกล่าวอธิบดี หรือรองอธิบดี ที่ใดรับมอบหมายพิจารณาวินิจฉัยเสียก่อน
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
(นายสมชัย ศิริบุตร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,523 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 19/2533 เรื่อง การเสนอรายงานการยึดทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 19/2533
เรื่อง การเสนอรายงานการยึดทรัพย์
-------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอรายงานการยึดทรัพย์ ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทําการยึดทรัพย์มาแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรับเสนอ รายงานการยึดทรัพย์และบัญชีทรัพย์ต่อหัวหน้าฝ่าย ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล อย่างช้าภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ ออกไปยึดทรัพย์นั้น หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นไม่อาจเสนอได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้รายงานเหตุขัดข้อง ไปราบด้วย
ข้อ ๒ เมื่อหัวหน้าฝ่าย ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล พิจารณารายงานการยึดทรัพย์และบัญชีทรัพย์ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอมาตามข้อ 1 แล้ว เห็นว่าถูกต้องและสามารถประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ได้ทันที ให้มีคําสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบส่งรายงานการยึดทรัพย์และบัญชีทรัพย์ดังกล่าวต่อศาล และขอให้ ศาลสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดนั้น พร้อมกับกําหนดวันขายทอดตลาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีลงนัดไว้ด้วย
ข้อ ๓ ให้หัวหน้าฝ่าย ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และหัวหน้าสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล จัดทําสมุดบัญชีควบคุมการจ่ายสํานวนบังคับคดีแพ่งที่ได้มอบหมายให้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใต้บังคับบัญชาของตน เพื่อใช้ในการตรวจสอบและควบคุมให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดังกล่าวปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัดต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553
(นายสมชัย ศิริบุตร)
รองอธิบดีพิพากษาศาลแพ่ง
ทํางานธุรการในตําแหน่ง
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,524 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 15/2533 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ราชการของงานทำความ งานเดินหมายและประกาศ และงานเก็บจำนวนและสถิติ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 15/2533
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ราชการของงานทําความ งานเดินหมายและประกาศ และงานเก็บจํานวนและสถิติ
------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการของงานคําคู่ความ งานเดินหมายและประกาศ และงานเก็บ ต่อไปนี้สํานวนและสถิติ ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้งานเดินหมายและประกาศ ลงรับในสมุดสารบบบัญชี คําคู่ความ หมาย หรือเอกสารอื่นใด ซึ่งงานเดินหมายและประกาศได้รับมาจากศาล และให้มอบคําคู่ความ หมายหรือเอกสารดังกล่าวให้แก่ พนักงานเดินหมายเพื่อนําไปส่งให้แก่ผู้รับที่มีชื่อปรากฏในคําคู่ความ หมายหรือเอกสารนั้นให้เสร็จสิ้นภายใน วันที่งานเดินหมายและประกาศได้รับความ หมายหรือเอกสารดังกล่าว
ข้อ ๒ ในกรณีที่คําคู่ความ หมายหรือเอกสารตามข้อ 1. ส่งมาถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ให้งดการบังคับคดี ให้ถอนการบังคับคดี หรือให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้งานเดินหมายและประกาศลงรับในสมุดสารบบบัญชีคู่ความ หมายหรือเอกสารอื่นใดที่จัดแยกไว้ต่างหากและให้รีบดําเนินการตามข้อ 1.
ข้อ ๓ ให้พนักงานเดินหมายที่ได้รับคําคู่ความ หมายหรือเอกสารตามข้อ 1 จัดการส่งให้แก่ ผู้รับโดยเร็ว อย่างช้าภายในวันถัดไปจากวันได้รับคําคู่ความ หมายหรือเอกสารนั้น เว้นแต่เป็นคําคู่ความ หมายหรือเอกสารนั้น เว้นแต่เป็นคําคู่ความหมายหรือเอกสารตามข้อ 2. ให้พนักงานเดินหมายจัดการส่งให้แก่ผู้รับโดยเร็วภายในวันที่ได้รับคําคู่ความ หมายหรือเอกสารนั้น
ข้อ ๔ ให้หัวหน้างานเดินหมายและประกาศจัดเจ้าหน้าที่และพนักงานเดินหมายเพื่อดําเนินการ ตามข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3. ตลอดจนควบคุมดูแลให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด หากเจ้าหน้าที่ที่จัดไว้ไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ให้หัวหน้างานเดินหมาย และประกาศจัดเจ้าหน้าที่อื่นเข้าดําเนินการแทนต่อไปทันที
ข้อ ๕ เมื่องานทําความได้รับคําคู่ความ หมายหรือเอกสารอื่นใดที่ส่งมาถึงข้าราชการหรือลูกจ้าง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ที่กรมบังคับคดี โดยระบุชื่อผู้รับหรือระบุตําแหน่งของข้าราชการหรือลูกจ้างดังกล่าวไม่ว่าจะเกี่ยวกับราชการของกรมบังคับคดีหรือไม่ ให้รีบจัดส่งให้แก่ผู้รับทันที หากผู้รับไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ให้มอบให้ งานธุรการซึ่งผู้รับนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ลงนามรับไว้แทน เพื่อส่งให้แก่ผู้รับต่อไป
ข้อ ๖ ให้งานเป็นจํานวนและสถิติจัดส่งสํานวนบังคับคดีล้มละลายหรือบังคับคดีแพ่งให้แก่เจ้าของ สํานวนที่รับผิดชอบหรือหน่วยงานที่เจ้าของสํานวนดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่อยู่โดยเร็ว หรือภายในระยะเวลา ไม่เกินกว่า 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอหรือทราบว่ามีหน้าที่จะต้องดําเนินการดังกล่าว
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องซึ่ง ทําให้งาน ความดี งานเดินหมายและประกาศก็ดี หรือ งานเก็บจํานวนและสถิติก็ดี ไม่สามารถปฏิบัติตามคําสั่งนี้ได้ ให้หัวหน้างานทําความ หัวหน้างานเดินหมาย และประกาศ หรือหัวหน้างานเก็บสํานวนและสถิติแล้วแต่กรณี รับรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวให้เลขานุการกรม เพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไปทันที
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2533
(นายสมชัย ศิริบุตร)
รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแห่ง
ทํางานธุรการในตําแหน่ง
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,525 |
ประกาศคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เรื่อง กำหนดประเภทของตราสารหนี้ | ประกาศคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ
เรื่อง กําหนดประเภทของตราสารหนี้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เพื่อให้ขอบเขตของการลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้าง หนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศมีความชัดเจน ครอบคลุม และสอดคล้อง กับมาตรา 36/8 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 ประกอบมาตรา 35 (6) แห่งพระราชบัญญัติการบริหาร หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะจึงออกประกาศเพื่อกําหนดประเภท ตราสารหนี้อื่นไว้ดังต่อไปนี้
อื่นๆ - (1) ตั๋วเงินคลังและตั๋วเงินอื่นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(2) ตั๋วสัญญาใช้เงินตามกฎหมายของต่างประเทศ
(3) ตั๋วแลกเงิน
(4) หุ้นกู้
ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในมาตรา 36/4
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
นายกรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ | 5,526 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง แนวทางการบริหารเงินให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2553 | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง แนวทางการบริหารเงินให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง
พ.ศ. 2553
--------------------------------------
เพื่อให้มีแนวทางในการปฏิบัติสําหรับการบริหารเงินให้กู้ต่อของกระทรวงการคลังที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 6 ของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ “ผู้กู้ต่อ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ
ข้อ ๒ เมื่อโครงการหรือแผนงานของผู้กู้ต่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้กู้เงินต่อจากกระทรวงการคลังแล้ว ให้ผู้กู้ต่อเสนอแผนการดําเนินงานและแผนการเบิกจ่ายต่อสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เพื่อพิจารณาจัดหาเงินกู้ โดยดําเนินการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓ เมื่อสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะจัดหาเงินกู้จากแหล่งเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว ให้ดําเนินการจัดทําสัญญาให้กู้ยืมเงินต่อกับผู้กู้ต่อตามสัญญามาตรฐานของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๔ กรณีกระทรวงการคลังกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศเพื่อนํามาให้กู้ต่อ
(1) ให้ผู้กู้ต่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของหน่วยงานผู้กู้ต่อหากไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบราชการโดยอนุโลม
(2) การเบิกจ่ายเงินกู้ กระทรวงการคลังจะกําหนดให้ผู้กู้ต่อดําเนินการเบิกจ่ายเงินจากแหล่งเงินกู้โดยตรงก็ได้ โดยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้ผู้กู้ต่อเป็นผู้รับผิดชอบในการใช้จ่ายและการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และขอบเขตงานของโครงการหรือแผนงานที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีภายใต้กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของหน่วยงานผู้กู้ต่อ
ข้อ ๕ กรณีที่กระทรวงการคลังกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่างประเทศเพื่อนํามาให้กู้ต่อในโครงการใดโครงการหนึ่งหรือแผนงานใดแผนงานหนึ่งโดยเฉพาะของผู้กู้ต่อ และแหล่งเงินกู้ต่างประเทศกําหนดให้ใช้หลักเกณฑ์และระเบียบในการดําเนินงาน การจัดซื้อจัดจ้าง การเบิกจ่ายเงินกู้ของแหล่งเงินกู้ต่างประเทศนั้น ให้ผู้กู้ต่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และระเบียบของแหล่งเงินกู้ต่างประเทศนั้นได้
ข้อ ๖ ให้ผู้กู้ต่อจัดทํารายงานผลการดําเนินงานตามโครงการหรือแผนงานที่ใช้เงินกู้ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะทราบเป็นรายเดือน ทุกวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
ข้อ ๗ การปฏิบัติอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเงินให้กู้ต่อของกระทรวงการคลังซึ่งไม่ได้กําหนดไว้ในหลักเกณฑ์นี้ ให้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาให้กู้ยืมเงินต่อระหว่างกระทรวงการคลังและผู้กู้ต่อ
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,527 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการค้ำประกันการชำระหนี้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการค้ําประกันการชําระหนี้
ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐใดได้ก่อหนี้ตามข้อ 2 ประสงค์จะขอให้กระทรวงการคลังค้ําประกันการชําระหนี้ ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐนั้นจัดทําคําขอเสนอต่อสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อพิจารณา
ข้อ ๒ หนี้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ ดังต่อไปนี้ เป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังอาจค้ําประกันการชําระหนี้ได้
(1) หนี้อันเนื่องมาจากการกู้เงินเพื่อโครงการหรือแผนงานในด้านสาธารณูปโภคหรือสาธารณูปการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม โครงการหรือแผนงานที่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมสูงแต่มีผลตอบแทนทางการเงินต่ํา หรือโครงการหรือแผนงานที่ราคาสินค้าหรือบริการอยู่ภายใต้การควบคุมตามนโยบายของรัฐบาล
(2) หนี้อันเนื่องมาจากการกู้เงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบในการค้ําประกันการชําระหนี้ตามเงื่อนไขการกู้เงินดังกล่าว
(3) หนี้อันเนื่องมาจากการกู้เงินในขณะที่สภาวะตลาดการเงินไม่เอื้ออํานวย หากกระทรวงการคลังไม่ค้ําประกันเงินกู้ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ
(4) หนี้อันเนื่องมาจากการกู้เงินซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้รัฐบาลรับภาระทั้งหมดหรือบางส่วน
(5) หนี้อันเนื่องมาจากการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่กระทรวงการคลังเคยค้ําประกัน และกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นสมควรให้มีการค้ําประกันหนี้ดังกล่าวต่อไป
(6) หนี้อันเนื่องมาจากการกู้เงินเพื่อดําเนินโครงการหรือแผนงานที่มีความจําเป็นและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
(7) หนี้อันเนื่องมาจากการกู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐที่ราคาสินค้าและบริการอยู่ภายใต้การควบคุมตามนโยบายของรัฐบาล หรือเพื่อดําเนินการตามนโยบายของรัฐบาล
(8) หนี้อันเนื่องมาจากการกู้เงินเพื่อโครงการหรือแผนงาน หรือเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งหากกระทรวงการคลังค้ําประกันจะเป็นการประหยัด ลดต้นทุน และทําให้การบริหารหนี้สาธารณะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ในกรณีมีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของประเทศ กระทรวงการคลังอาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ําประกันเงินกู้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากกรณีตามวรรคหนึ่งได้
ข้อ ๓ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการค้ําประกันแล้ว ให้กระทรวงการคลังดําเนินการค้ําประกันตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายอื่น
ข้อ ๔ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ําประกันหรือค่าธรรมเนียมอื่นใดตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดอัตราและเงื่อนไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ําประกันของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
กิตติรัตน์ ณ ระนอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,528 |
ประกาศสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินระดับความน่าเชื่อถือของรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐ | ประกาศสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินระดับความน่าเชื่อถือ
ของรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐ
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดอัตราและเงื่อนไข การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ําประกันของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2551 และข้อ 3 วรรคสอง แห่ง กฎกระทรวงกําหนดอัตราและเงื่อนไขการเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการให้กู้ต่อของ กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2551 สํานักงานบริหารหนี สาธารณะออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ สํานักงานบริหารหนี สาธารณะจะใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ระดับความน่าเชื่อถือ ดังต่อไปนี้
(ก) ข้อมูลทางการเงิน เช่น งบดุล 3 ปีย้อนหลัง งบกําไรขาดทุน 3 ปีย้อนหลัง งบ กระแสเงินสด 3 ปีย้อนหลัง ประมาณการกระแสเงินสด รายได้ รายจ่าย ข้อมูลภาระหนี และข้อมูลอื่น ใดที่เกี่ยวข้อง
(ข) ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลบริการเชิงสังคมของรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐ รวมถึงข้อมูลอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เพิ่มเติม ได้แก่ รายงานการศึกษาและวิเคราะห์ อุตสาหกรรม ที่ทําขึ้นโดยนักวิเคราะห์ของสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทวิเคราะห์ หลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงทางเครดิตของสถาบันจัด อันดับความน่าเชื่อถือด้วย
ทั้งนี้ ให้รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐจัดส่งงบการเงินให้สํานักงานบริหารหนี สาธารณะภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและแสดงความเห็น แล้ว อนึ่ง สํานักงานบริหารหนี สาธารณะอาจกําหนดให้รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐจัดส่ง ข้อมูลตามข้อ 1 (ก) (ข) หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นใดตามวิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่สํานักงาน บริหารหนี สาธารณะแจ้งให้ทราบ
ข้อ ๒ สํานักงานบริหารหนี สาธารณะจะใช้ระบบการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit scoring) ซึ่งจะวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงทางเครดิตทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพทุกปีโดย อาศัยข้อมูลตามข้อ 1 โดยเน้นการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงทางด้านอุตสาหกรรม ความเสี่ยง ด้านธุรกิจ ความเสี่ยงด้านการเงิน และสํานักงานบริหารหนี สาธารณะจะใช้การวิเคราะห์ความ เคลื่อนไหวของส่วนต่าง (spread) จากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อประกอบการพิจารณา
ทั้งนี้การวิเคราะห์จะใช้หลักเกณฑ์อ้างอิงกับเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมสําหรับใช้ในการประเมินความ เสี่ยงทางเครดิต และเกณฑ์มาตรฐานการวิเคราะห์เครดิตที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ใช้ เช่น บริษัท Thai Rating and Information Service (TRIS) และบริษัทจัดอันดับเครดิต Standard and Poor's (S&P's) เป็นอัตราอ้างอิงในการประเมิน
ข้อ ๓ สํานักงานบริหารหนี สาธารณะจะคิดค่าธรรมเนียมการค้ําประกันหรือการให้กู้ต่อ ตามระดับความน่าเชื่อถือที่ได้ประเมิน โดยระดับความน่าเชื่อถือแบ่งออกเป็นระดับ 1 - 8 สําหรับ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐที่ประเมินได้ระดับ 1 หมายถึง ระดับที่มีความเสี่ยงต่ําสุด เรียงลําดับจนถึงระดับ 8 หมายถึง ระดับที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด ทั้งนี้ เป็นไปตามบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวงกําหนดอัตราและเงื่อนไขการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ําประกันของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2551 และกฎกระทรวงกําหนดอัตราและเงื่อนไขการเรียกเก็บดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการ ให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2551
ข้อ ๔ ในกรณีที่สํานักงานบริหารหนี สาธารณะประเมินระดับความน่าเชื่อถือเพื่อใช้ ประโยชน์ในการคิดค่าธรรมเนียมการค้ําประกันหรือการให้กู้ต่อ สํานักงานบริหารหนี สาธารณะอาจใช้ผล การประเมินระดับความน่าเชื่อถือนั้นสําหรับการคิดค่าธรรมเนียมการให้กู้ต่อหรือการค้ําประกันก็ได้ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ สํานักงานบริหารหนี สาธารณะจะแจ้งผลการประเมินระดับความน่าเชื่อถือและ อัตราค่าธรรมเนียมการค้ําประกันหรือการให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐที่ กระทรวงการคลังค้ําประกันหรือให้กู้ต่อทราบโดยตรง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์
ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี สาธารณะ | 5,529 |
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการชาระค่าบริหารจัดการเกี่ยวกับการดาเนินการชาระหนี้เงินกู้ | ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการชําระค่าบริหารจัดการเกี่ยวกับการดําเนินการชําระหนี้เงินกู้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการชําระค่าบริหารจัดการเกี่ยวกับการดําเนินการชําระ หนี้เงินกู้จาก “บัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา ระบบสถาบันการเงิน” ที่ชัดเจนและเหมาะสม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 (3) แห่งพระราชกําหนด ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
“ผู้จัดการกองทุน” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
“หนี้เงินกู้” หมายความว่า หนี้เงินกู้ตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และ พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 ที่ยังคงมีอยู่ และให้หมายความรวมถึงหนี้ที่เกิดจาก การปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย
“บัญชีสะสม” หมายความว่า บัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลัง กู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2555
ข้อ ๒ ค่าบริหารจัดการเกี่ยวกับการดําเนินการชําระหนี้เงินกู้ตามรายการดังต่อไปนี้ ให้สามารถเบิกจ่ายจากบัญชีสะสมได้
(1) ค่าธรรมเนียมนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน
(2) ค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้
(3) ค่าธรรมเนียมการจัดจําหน่ายตราสารหนี้
(4) ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนตราสารหนี้
(5) ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์และโฆษณาประชาสัมพันธ์การจําหน่ายตราสารหนี้
(6) ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งตราสารหนี้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
(7) ค่าธรรมเนียมการโอนจ่ายเงินผ่านระบบบาทเนต (BAHTNET) หรือ ค่าธรรมเนียมธนาคารเกี่ยวกับการทําธุรกรรมทางการเงินอื่นใดของกองทุน
(8) ค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกิดขึ้นและจําเป็นต่อการดําเนินการชําระหนี้เงินกู้
ข้อ ๓ ให้กองทุนแจ้งจํานวนเงินและกําหนดเวลาในการชําระค่าบริหารจัดการตามข้อ 2 ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อสั่งจ่ายเงินจากบัญชีสะสมให้แก่กองทุน และให้กองทุนดําเนินการชําระ ค่าบริหารจัดการตามจํานวนและภายในกําหนดเวลาต่อไป
ข้อ ๔ การส่งใบแจ้งหนี้ การชําระค่าบริหารจัดการ และการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง กับการชําระหนี้เงินกู้ ระหว่างสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะและกองทุน ให้ดําเนินการตามขั้นตอนและ วิธีปฏิบัติที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน และต้องมีรายงานผลการจ่ายเงิน และหลักฐานการจ่ายเงินหรือเอกสาร ประกอบรายการจ่ายเงินทุกรายการ
ข้อ ๕ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการกองทุนกํากับดูแลการ เบิกจ่ายค่าบริหารจัดการเกี่ยวกับการดําเนินการชําระหนี้เงินกู้ ให้เป็นไปตามประกาศนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน มีอํานาจพิจารณาและวินิจฉัยหรือสั่งการ
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,530 |
ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561 | ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ
พ.ศ. 2561
--------------------------------------------
โดยที่ในการบริหารหนี้สาธารณะจําเป็นต้องมีกรอบและหลักเกณฑ์เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมาตรา 35 (3) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้กําหนดให้คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอํานาจในการกําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ นอกจากนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะและการดําเนินการที่เกี่ยวข้อง มีความจําเป็นที่ต้องกําหนดให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐ จัดทําและส่งข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะมายังสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“โครงการพัฒนา” หมายความว่า โครงการพัฒนาตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
“โครงการ” หมายความว่า โครงการอื่นนอกเหนือจากโครงการพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย มีระยะเวลาการดําเนินการที่ชัดเจน ซึ่งกระทําโดยหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ และให้หมายความรวมถึงโครงการลงทุนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ต่อจากกระทรวงการคลังด้วย
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑ กรอบวินัยการคลังในการบริหารหนี้สาธารณะ
---------------------------------------
ข้อ ๕ การบริหารหนี้สาธารณะต้องมีความสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ
ข้อ ๖ ให้สํานักงานจัดทํากลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลาง 5 ปี และจัดทํากรอบการบริหารหนี้ (Portfolio Benchmark) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงในการบริหารหนี้ของรัฐบาลและหนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณ โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ด้านอัตราดอกเบี้ย และด้านการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้มีการพิจารณาทบทวนกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลางและกรอบการบริหารหนี้ (Portfolio Benchmark) เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาทุกปี
ข้อ ๗ ให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐดําเนินการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงในการบริหารหนี้ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและให้หน่วยงานดังกล่าวรายงานผลการวิเคราะห์ต้นทุนและความเสี่ยงดังกล่าวต่อสํานักงานเพื่อรายงานให้คณะกรรมการทราบ
ข้อ ๘ ให้สํานักงานจัดทําหลักเกณฑ์การวิเคราะห์แหล่งเงินลงทุนและแนวทางการระดมทุนสําหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อประโยชน์ในการเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแหล่งเงินลงทุนสําหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการ
ข้อ ๙ ห้ามกระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐและรัฐวิสาหกิจ กู้เงินเพื่อนํามาชําระคืนดอกเบี้ยจ่ายที่ครบกําหนด เพื่อเป็นการรักษาวินัยการเงินการคลังของประเทศ
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจไม่มีความสามารถในการชําระคืนดอกเบี้ยจ่ายที่ครบกําหนด ให้หน่วยงานนั้นเสนอเหตุผลความจําเป็น แนวทางการแก้ไขปัญหา และแผนการบริหารหนี้ที่ชัดเจนต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
หมวด ๒ การจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
---------------------------------
ข้อ ๑๐ ให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐส่งแผนความต้องการเงินกู้สําหรับโครงการพัฒนาหรือโครงการที่จะมีผลเป็นการก่อหนี้สาธารณะในระยะ 5 ปีถัดไปให้สํานักงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแบบที่สํานักงานกําหนดภายในเดือนมีนาคมของทุกปี เพื่อใช้ในการประมาณการความต้องการการกู้เงินและการบริหารหนี้สาธารณะของประเทศในระยะปานกลาง 5 ปี
ให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติวิเคราะห์โครงการพัฒนาที่จะใช้เงินกู้และจัดส่งให้สํานักงานเพื่อใช้ในการกําหนดกรอบการบริหารหนี้สาธารณะให้สํานักงานจัดทําแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง และจัดลําดับความสําคัญของโครงการพัฒนาที่จะใช้เงินกู้เสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบพร้อมกับการเสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณ และให้พิจารณาทบทวนแผนความต้องการเงินกู้ดังกล่าวทุกปี
ข้อ ๑๑ การจัดทําแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลางและแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณ ให้สํานักงานพิจารณาแหล่งเงินลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 8
การจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณ ให้สํานักงานพิจารณาการกู้เงินการค้ําประกัน การให้กู้ต่อ หรือดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับหนี้สาธารณะของกระทรวงการคลังหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) การกู้เงิน
(ก) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ให้กระทรวงการคลังดําเนินการ โดยคํานึงถึงประมาณการรายได้และแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในปีงบประมาณนั้นด้วย
(ข) การกู้เงินเพื่อนํามาใช้ในการดําเนินโครงการพัฒนา ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1) มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2) มีรายงานการศึกษาความเหมาะสมด้านเทคนิค เศรษฐกิจ สังคม การเงินหรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3) คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดําเนินโครงการพัฒนา หรือผ่านการพิจารณาจากสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4) มีความพร้อมในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาและแผนการกู้เงินที่เสนอไว้
(ค) การกู้เงินเพื่อนํามาใช้ในการดําเนินโครงการ ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1) คณะรัฐมนตรีหรือผู้มีอํานาจอนุมัติตามกฎหมายจัดตั้งได้อนุมัติให้ดําเนินโครงการ
2) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคสอง (1) (ข) 1) 2) และ 4)
(ง) การกู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินกิจการทั่วไป หรือปรับโครงสร้างหนี้ให้สํานักงานพิจารณาตามความจําเป็นเหมาะสม และสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
(2) การค้ําประกันของกระทรวงการคลัง ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการค้ําประกันการชําระหนี้ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐ
(3) การให้กู้ต่อแก่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการให้กู้ต่อของกระทรวงการคลัง
(4) กรอบวงเงินการค้ําประกันและการให้กู้ต่อของกระทรวงการคลังตาม (2) และ (3) ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยหลักเกณฑ์และกรอบวงเงินการค้ําประกันและการให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐ
ข้อ ๑๒ ในการจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณ ให้สํานักงานพิจารณาหลักเกณฑ์การกู้เงินของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้ทาธุรกิจให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์หรือธุรกิจประกันสินเชื่อ โดยต้องมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง หรือมีความสามารถในการชําระหนี้ได้ซึ่งต้องมีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการนับแต่มีการก่อหนี้ในอัตราไม่ต่ํากว่าหนึ่ง
รัฐวิสาหกิจตามวรรคหนึ่งที่มีความจําเป็นต้องกู้เงินแต่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ให้รัฐวิสาหกิจนั้นเสนอเหตุผลความจําเป็น แนวทางการแก้ไขปัญหา และแผนการบริหารหนี้ที่ชัดเจนต่อคณะกรรมการเพื่อเสนอความเห็นประกอบการขออนุมัติการกู้เงินต่อคณะรัฐมนตรี
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานเสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณ อย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ การกู้เงินและการค้ําประกัน การชําระหนี้การบริหารหนี้คงค้าง หรือการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับหนี้สาธารณะ
เพื่อประโยชน์ในการจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้สํานักงานประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐ เพื่อรวบรวมแผนการกู้เงินและการบริหารหนี้ที่จะกระทําในปีงบประมาณนั้นตามแบบที่สํานักงานกําหนดภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
(2) ให้สํานักงานศึกษาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะตลาดการเงินทั้งในและต่างประเทศฐานะการเงินการคลังของประเทศ เพื่อกําหนดกรอบการบริหารหนี้สาธารณะตามที่กําหนดไว้ในหมวด 1 กรอบวินัยการคลังในการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ
(3) ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดส่งรายงานสถานะและภาระหนี้ต่างประเทศ ข้อมูลประมาณการความต้องการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐและให้สินเชื่อภาครัฐ และมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการให้สํานักงานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ
หมวด ๓ การดําเนินการและการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
-------------------------------------
ข้อ ๑๔ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณแล้วให้สํานักงานดําเนินการกู้เงินและบริหารหนี้สาธารณะให้เป็นไปตามหลักวินัยการคลังตามที่กําหนดไว้ในหมวด 1 กรอบวินัยการคลังในการบริหารหนี้สาธารณะ และสอดคล้องกับกรอบการบริหารหนี้ (Portfolio Benchmark) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ รวมถึงกํากับติดตามให้หน่วยงานของรัฐหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐปฏิบัติตามข้อผูกพันและกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้
ข้อ ๑๕ กรณีที่มีความจําเป็นต้องปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะระหว่างปีให้สํานักงานพิจารณาความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 การจัดทําแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีไม่เกินกรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้เป็นอํานาจของคณะกรรมการและรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ
(2) กรณีเกินกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เสนอคณะกรรมการเพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
(3) กรณีโครงการพัฒนาหรือโครงการที่ไม่ได้บรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะให้เสนอคณะกรรมการเพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
ข้อ ๑๖ ภายใต้บังคับข้อ 15 เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณแล้ว ห้ามไม่ให้ก่อหนี้นอกเหนือจากที่ได้รับอนุมัติตามแผน เว้นแต่กรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนต้องกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ ให้หน่วยงานนั้นแจ้งต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ดําเนินการดังกล่าวเพื่อให้สํานักงานรายงานคณะกรรมการทราบ และรายงานต่อคณะรัฐมนตรี
หมวด ๔ การกํากับติดตามและการประเมินผล
และการรายงานผลการบริหารหนี้สาธารณะ
-----------------------------
ส่วน ๑ การกํากับติดตามและการประเมินผล
-------------------------
ข้อ ๑๗ เพื่อให้การดําเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้สํานักงานกํากับ ติดตามการใช้จ่ายเงินกู้และการบริหารโครงการพัฒนาหรือโครงการ เพื่อรายงานความคืบหน้า ผลการดําเนินงานการเบิกจ่ายเงินกู้ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
ข้อ ๑๘ ให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินภาครัฐ จัดส่งข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน
(1) รายงานผลการกู้เงิน การเบิกจ่ายเงินกู้ และความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาหรือโครงการ รวมทั้งรายงานผลการบริหารหนี้เงินกู้ ตามแบบที่สํานักงานกําหนดภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป
(2) ในกรณีที่โครงการพัฒนาหรือโครงการใดดําเนินการแล้วเสร็จ ให้จัดทํารายงานผลสําเร็จของโครงการดังกล่าว โดยแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลประโยชน์ที่ได้รับ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามแบบที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๙ ให้สํานักงานจัดทําหลักเกณฑ์และแนวทางการติดตามและการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการ รวมทั้งแผนการติดตามและการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการประจําปีงบประมาณ เสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความ เห็นชอบ และรายงานผลการติดตามและการประเมินผลดังกล่าวให้คณะกรรมการทราบ
ข้อ ๒๐ ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณ หากหน่วยงานของรัฐหน่วยงานในกํากับดูแลของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดไม่ใช้จ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ไม่ปฏิบัติตามกรอบที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ ปฏิบัติขัดกับข้อกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติของทางราชการ หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญให้สํานักงานทักท้วงไปยังหน่วยงานนั้นเพื่อให้ดําเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่กําหนดและหากหน่วยงานนั้นไม่แก้ไขให้สํานักงานรายงานคณะกรรมการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาระงับการใช้เงินกู้นั้น
ข้อ ๒๑ เพื่อประโยชน์ในการกํากับติดตามการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทาธุรกิจให้กู้ยืมเงินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ หรือธุรกิจประกันสินเชื่อ โดยกระทรวงการคลังไม่ได้ค้ําประกัน ให้หน่วยงานนั้นจัดส่งข้อมูลหนี้เงินกู้ให้สํานักงานตามแบบและระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
ส่วน ๒ การรายงานผลการบริหารหนี้สาธารณะ
----------------------------
ข้อ ๒๒ ให้สํานักงานรายงานสถานะหนี้สาธารณะประจําเดือนต่อประธานกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อทราบ และเผยแพร่รายงานดังกล่าวไว้ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของสํานักงานภายในสิ้นเดือนถัดไป
ข้อ ๒๓ ให้สํานักงานรายงานสถานะหนี้สาธารณะต่อคณะกรรมการเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 35 (1) ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ | 5,531 |
ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2561 | ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2561
-------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 (3) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
“รายได้” หมายความว่า ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม รายได้จากทรัพย์สิน รายได้จากการพาณิชย์รายได้จากกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ตลอดจนเงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้ แต่ไม่รวมถึงเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
“ภาระชําระหนี้” หมายความว่า ผลรวมของเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องชําระหนี้เงินกู้คืนในแต่ละปี รวมถึงกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องชําระหนี้เงินกู้คืนเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนจังหวัด เงินทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล เงินทุนส่งเสริมกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ตลอดจนเงินชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
“โครงการลงทุน” หมายความว่า โครงการที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายตลอดจนระยะเวลาการดําเนินงานที่แน่ชัดซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ หรืออาจใช้ประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งปีขึ้นไป
“แผนพัฒนาท้องถิ่น” หมายความว่า แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แผนพัฒนาเทศบาลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร แผนพัฒนาเมืองพัทยา หรือแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
ข้อ ๔ ระเบียบนี้ใช้บังคับกับการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยกเว้นการกู้เงินจากเงินทุนส่งเสริมกิจการองค์การบริหารส่วนจังหวัด เงินทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล เงินทุนส่งเสริมกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น หรือกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
------------------------------------------
ข้อ ๖ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องกระทําโดยความรอบคอบและคํานึงถึงความคุ้มค่า ความยั่งยืนทางการคลัง ความสามารถในการจัดหารายได้ การชําระหนี้ การกระจายภาระการชําระหนี้ เสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลัง ทั้งนี้ ให้มีการติดตามประเมินผลการรายงานการใช้จ่ายเงินกู้ และการเปิดเผยต่อประชาชนในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
ข้อ ๗ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้เงินได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) การดําเนินโครงการลงทุน
(2) การปรับโครงสร้างหนี้
(3) ทุนหมุนเวียน
บรรดาเงินที่ได้รับจากการกู้เงินตามวรรคหนึ่ง ให้นําไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการกู้เงิน
ข้อ ๘ โครงการลงทุนที่จะดําเนินการกู้เงินตามข้อ 7 (1) ต้องมีลักษณะเป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต ส่งเสริมการประกอบอาชีพหรือสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเป็นโครงการที่จัดทําขึ้นเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโครงการตามอํานาจหน้าที่และภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2) เป็นโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนาท้องถิ่น
(3) ไม่เป็นโครงการที่ดําเนินการแข่งขันกับเอกชน
(4) ไม่เป็นโครงการเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย ทัศนศึกษาดูงาน หรือการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม
(5) ไม่เป็นโครงการที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
การจัดทําโครงการลงทุนเพื่อขอความเห็นชอบหรืออนุมัติการกู้เงินดังกล่าวตามที่กฎหมายกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเทคนิค และแสดงให้เห็นถึงรายได้หรือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจหรือสังคม พร้อมทั้งรายละเอียดและวงเงินกู้ของโครงการ รวมถึงแผนการชําระหนี้เงินกู้จากผลตอบแทนของโครงการ
หากโครงการลงทุนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอขอกู้เงินตามวรรคหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสําคัญ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและเปิดเผยต่อสาธารณชน และต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๙ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามข้อ 7 (2) ให้กระทําได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) เฉพาะเพื่อเป็นการประหยัด ลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน หรือกระจายภาระการชําระหนี้
(2) กู้ได้ไม่เกินจํานวนเงินต้นที่ค้างชําระ และหากเป็นการกู้เงินรายใหม่เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ที่เป็นเงินบาทให้กู้เป็นเงินบาทเท่านั้น
(3) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ใช้เพื่อการลงทุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ได้ไม่เกินอายุโครงการลงทุนที่เหลืออยู่
ข้อ ๑๐ การกู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนตามข้อ 7 (3) ให้กระทําได้เฉพาะเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดําเนินกิจการสถานธนานุบาล ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
ข้อ ๑๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกู้เงินตามข้อ 7 (1) ได้เมื่อการกู้นั้นไม่ก่อให้เกิดภาระชําระหนี้เกินกว่าร้อยละสิบต่อรายได้เฉลี่ย
รายได้เฉลี่ยตามวรรคหนึ่งให้คํานวณจากประมาณการรายได้ตามเอกสารงบประมาณท้องถิ่นในปีที่กู้เงิน และรายได้ย้อนหลังสองปี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจกู้เงินเมื่อมีภาระชําระหนี้เกินกว่าอัตราที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสามารถในการชําระหนี้โดยไม่กระทบต่อรายจ่ายประจํา ทั้งนี้ให้ดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 22
ข้อ ๑๒ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นเงินตราต่างประเทศหรือเป็นสกุลเงินบาทให้กระทําได้โดยทําเป็นสัญญาหรือโดยการออกพันธบัตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกู้เงินจากหรือผ่านบุคคลอื่นใดที่มิใช่เป็นผู้ให้กู้โดยตรงไม่ได้ เว้นแต่เป็นการกู้ต่อจากกระทรวงการคลัง หรือการกู้เงินโดยการออกพันธบัตรซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจําหน่ายพันธบัตรนั้นผ่านผู้จัดจําหน่ายก็ได้
ข้อ ๑๓ การกู้เงินโดยทําเป็นสัญญา อย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(1) วัตถุประสงค์ของการกู้เงิน
(2) วงเงินกู้
(3) ระยะเวลาในการชําระหนี้
(4) อัตราดอกเบี้ย
(5) การชําระเงินต้นและดอกเบี้ย
(6) ค่าธรรมเนียม
(7) ผู้มีอํานาจลงนามในการกู้เงิน
(8) ผู้ค้ําประกัน (ถ้ามี)
ข้อ ๑๔ การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๑๕ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีผลผูกพันให้ผู้ให้กู้มีสิทธิบังคับชําระหนี้จากรัฐบาล และห้ามมิให้มีข้อกําหนดในสัญญาหรือพันธบัตรในเรื่องการผิดนัดชําระหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ให้ถือว่ารัฐบาลผิดนัดชําระหนี้
หมวด ๒ การบริหารหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
----------------------------------
ส่วน ๑ การค้ําประกัน และการชําระหนี้
------------------------------------
ข้อ ๑๖ ในการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาลจะไม่ค้ําประกัน รวมทั้งไม่รับผิดชอบหรือตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชําระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยดังกล่าว
ข้อ ๑๗ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องชําระหนี้เงินกู้ตามกําหนดเวลาโดยเคร่งครัด
ข้อ ๑๘ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีการกํากับดูแลการชําระหนี้ โดยกระจายภาระการชําระหนี้ และคํานึงถึงต้นทุนในการชําระหนี้เพื่อไม่ให้กระทบกับความสามารถในการดําเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๑๙ การตั้งงบประมาณเพื่อชําระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องตั้งให้เพียงพอตามความจําเป็นในการชําระหนี้ในปีนั้น ๆ โดยสภาท้องถิ่นจะแปรญัตติเพื่อลดหรือตัดทอนไม่ได้
ส่วน ๒ การปรับโครงสร้างหนี้
--------------------------------
ข้อ ๒๐ การปรับโครงสร้างหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดําเนินการได้โดยการกู้เงินรายใหม่เพื่อชําระหนี้เดิม แปลงหนี้ ชําระหนี้ก่อนถึงกําหนดชําระ ขยายหรือย่นระยะเวลาการชําระหนี้ต่ออายุ ซื้อคืน หรือไถ่ถอนพันธบัตร หรือทําธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับโครงสร้างหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้นํากฎกระทรวงว่าด้วยการทําธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะซึ่งออกตามมาตรา 14 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๓ การกํากับดูแล และการรายงาน
--------------------------------
ข้อ ๒๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดําเนินการกู้เงินตามหมวด 1 ต้องจัดให้มีการดําเนินการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) จัดทําแผนการเงินประจําปีที่แสดงถึงที่มาของรายได้และรายจ่าย โดยต้องมีการวิเคราะห์ถึงประโยชน์และผลกระทบของประชาชนในท้องถิ่นที่จะได้รับทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนแสดงถึงที่มาของแหล่งเงินทุนที่จะนํามาชําระหนี้ให้ชัดเจน และการได้รับอนุมัติจากผู้ซึ่งมีอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
(2) จัดให้มีระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐานตามที่กฎหมายกําหนด
(3) จัดให้มีระบบควบคุมภายใน ระบบบริหารการเงิน และการชําระหนี้
ข้อ ๒๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกู้เงินก่อนการกู้เงินเพื่อดําเนินโครงการลงทุนตามข้อ 7 (1) และการกู้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ตามข้อ 7 (2) แก่ประชาชนในท้องถิ่นเพื่อรับฟังความคิดเห็นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนเสนอต่อผู้มีอํานาจพิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติตามกฎหมาย
นอกจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่เป็นการกู้เงินตามข้อ 11 วรรคสาม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอข้อมูลก่อนการกู้เงินต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอความเห็นชอบหรืออนุมัติ
ให้ผู้ซึ่งมีอํานาจพิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนําผลการรับฟังความคิดเห็นตามวรรคหนึ่งประกอบการพิจารณา
ข้อ ๒๓ ข้อมูลก่อนการกู้เงินตามข้อ 22 อย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(1) เหตุผลความจําเป็นในการกู้เงิน
(2) รายละเอียดของการกู้เงิน โดยให้นําข้อ 13 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(3) ผลการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน อายุโครงการลงทุน โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ทางการเงินและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนผลประโยชน์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในท้องถิ่นจะได้รับและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินการนั้น
(4) ภาระชําระหนี้ในปีงบประมาณก่อนการกู้เงิน และประมาณการภาระชําระหนี้หลังการกู้เงิน
(5) รายงานการเงินที่เกิดขึ้นจริงในช่วงสามปีที่ผ่านมาโดยแยกประเภทงบดําเนินการ งบชําระหนี้และงบลงทุนให้ชัดเจน
(6) ยอดหนี้คงค้างก่อนการกู้เงิน
(7) ผลกระทบต่อเพดานการก่อหนี้และความสามารถในการก่อหนี้ในอนาคต
ข้อ ๒๔ ภายในสิบห้าวันนับจากวันลงนามในสัญญากู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนตามข้อ 7 (3) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานข้อมูลการกู้เงินให้กระทรวงมหาดไทยทราบ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวแก่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
ข้อ ๒๕ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย การก่อหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ ยอดหนี้คงค้าง ภาระหนี้ วัตถุประสงค์การกู้เงินวงเงิน อัตราดอกเบี้ย อายุเงินกู้ การเบิกจ่ายเงินกู้ สัดส่วนยอดหนี้คงค้างต่อรายได้ และสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ รวมทั้งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้แก่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นรายไตรมาสตามแบบที่สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะกําหนด
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะและแจ้งกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
บทเฉพาะกาล - -----------------------------
ข้อ ๒๗ การกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ดําเนินการไปแล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ หรือการกู้เงินที่อยู่ในระหว่างดําเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ถือว่าการดําเนินการนั้นเป็นการดําเนินการตามระเบียบนี้
ให้นําความในหมวด 3 การกํากับดูแล และการรายงาน มาใช้บังคับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการดําเนินการตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดส่งข้อมูลตามข้อ 25 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
บรรดาประกาศ หลักเกณฑ์ หรือวิธีปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ จนกว่าจะได้มีการจัดทําประกาศ หลักเกณฑ์ หรือวิธีปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ | 5,532 |
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2546 | ระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหาย
ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
พ.ศ. 2546
-----------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบการบริหารกองทุนเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคสี่ แห่งพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา ระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอนุมัติ คณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อ การชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2543
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหาย ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการชําระ คืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
“หัวหน้ากลุ่มภารกิจ” หมายความว่า หัวหน้ากลุ่มภารกิจซึ่งปลัดกระทรวงการคลัง มอบหมายให้รับผิดชอบราชการของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
“ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ คณะกรรมการ
---------------------------
ข้อ ๖ ให้มีคณะกรรมการกองทุนคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหาร กองทุนเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน” ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มภารกิจเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย เป็นกรรมการ และผู้อํานวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๗ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการในการชําระคืนต้นเงินกู้
(2) ควบคุม กํากับ และบริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในข้อ 9
(3) กําหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการ ใช้จ่ายเงินด้านบริหารกองทุน
(4) พิจารณาประมาณการรายรับและรายจ่ายประจําปีของกองทุนเพื่อเสนอกระทรวงการคลังพิจารณา
(5) รายงานผลการดําเนินงานต่อรัฐมนตรี
(6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควร
(7) ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในข้อ 9
ข้อ ๘ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุม เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้น อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
หมวด ๒ กองทุน
-----------------------
ข้อ ๙ กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อชําระคืนต้นเงินกู้ตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541
ข้อ ๑๐ กองทุนประกอบด้วย
(1) เงินกําไรสุทธิที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนําส่งเป็นรายได้ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยในแต่ละปีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบ
(2) เงินรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในจํานวนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่รัฐมนตรีกําหนด โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
(3) ดอกผลของกองทุน
ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะมีหน้าที่รับผิดชอบการดําเนินงานกองทุนและมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ
(2) ประสานงานกับหน่วยราชการอื่นหรือบุคคลใดๆ
(3) เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน ดําเนินการเบิกจ่ายเงินของกองทุนตลอดจนจัดทําบัญชีของกองทุน
(4) ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
หมวด ๓ การเงิน
--------------------------
ข้อ ๑๒ ก่อนการดําเนินงานของกองทุนในแต่ละปีงบประมาณ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะจัดทําประมาณการรายรับและรายจ่ายประจําปี เสนอคณะกรรมการพิจารณาเพื่อนําเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา
ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนและประมาณการรายรับและรายจ่ายยังไม่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลัง ให้ใช้รายจ่ายของประมาณการรายจ่ายที่กระทรวงการคลังอนุมัติในปีที่ล่วงแล้วก่อนได้โดยอนุมัติคณะกรรมการ แล้วเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่กระทรวงการคลังชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน”
เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานกองทุน ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดบัญชีไว้กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๔ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการดังต่อไปนี้
(1) เพื่อชําระคืนต้นเงินกู้ตามวัตถุประสงค์ในข้อ 9
(2) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอันจําเป็นในการบริหารงานและการจัดการเกี่ยวกับ หรือเกี่ยวเนื่องกับกองทุน
การใช้จ่ายเงินตาม (1) และ (2) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ อัตราค่าใช้จ่ายที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๕ การจ่ายเงินกองทุนให้เป็นอํานาจของผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้
(1) หัวหน้ากลุ่มภารกิจ เพื่อชําระคืนต้นเงินกู้ตามข้อ 14 (1)
(2) ผู้อํานวยการ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานกองทุนตามข้อ 14 (2)
ข้อ ๑๖ การสั่งจ่ายเงินเพื่อชําระคืนต้นเงินกู้ให้สั่งจ่ายเป็นเช็คหรือโดยวิธีการ โอนเงินระหว่างบัญชี (ระบบธนาคาร)
การออกเช็คสั่งจ่าย ให้ผู้อํานวยการหรือผู้ซึ่งผู้อํานวยการมอบหมายลงชื่อร่วมกับ ข้าราชการสังกัดสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะซึ่งผู้อํานวยการแต่งตั้งโดยเฉพาะเพื่อการนี้
หมวด ๔ การบัญชี
----------------------------
ข้อ ๑๗ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะจัดทําระบบบัญชีกองทุนตามที่ได้รับ ความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
การปิดบัญชีให้กระทําปีละหนึ่งครั้งตามรอบปีงบประมาณ และให้จัดทํางบการเงินส่งให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้น ปีงบประมาณ เมื่อสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเสนองบการเงินดังกล่าวพร้อมความเห็นของ สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อรัฐมนตรีเพื่อทราบ
ภายในกําหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้รัฐมนตรีประกาศรายงานการรับและการจ่ายของกองทุนในราชกิจจานุเบกษา
หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด
------------------------
ข้อ ๑๘ วิธีปฏิบัติอื่นที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบ ของทางราชการโดยอนุโลม
ในกรณีไม่มีระเบียบของทางราชการกําหนดไว้หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการได้ ให้ขออนุมัติจากคณะกรรมการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,533 |
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 | ระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจ
และสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
พ.ศ. 2564
-------------------------------------
เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“พระราชกําหนด” หมายความว่า พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
“โครงการ” หมายความว่า โครงการหรือแผนงาน บรรดาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหรือมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือแผนงานโดยใช้เงินกู้ตามพระราชกําหนด
“หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหรือมอบหมายให้ดําเนินโครงการโดยใช้เงินกู้ตามพระราชกําหนด
“คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้” หมายความว่า คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนด
“คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนด
ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการประเมินผลประกอบด้วย
(1) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการ
(2) ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เป็นกรรมการ
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้ข้าราชการสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมายคนหนึ่ง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะรับผิดชอบงานวิชาการและธุรการของคณะกรรมการประเมินผล
ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการประเมินผลมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางในการประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
(2) กําหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามโครงการ ส่งข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือให้ส่งผู้แทนมาชี้แจง ประกอบการติดตามและประเมินผลโครงการ หรือให้ดําเนินการอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลโครงการ
(3) จัดให้มีการประเมินผลโครงการ และจัดทํารายงานการประเมินผลโครงการ เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบทุกหกเดือน
(4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่มอบหมายหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางในการประเมินผลตาม (1) คณะกรรมการประเมินผลจะกําหนดให้แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเงินกู้ในแต่ละโครงการก็ได้ และให้เผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลของโครงการ สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะจะเสนอคณะกรรมการประเมินผลเพื่อกําหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามโครงการ ส่งข้อมูล เอกสารหรือหลักฐาน โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
รายงานผลการประเมินโครงการตาม (3) นั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีรับทราบแล้ว ให้เผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะด้วย
ข้อ ๖ การประชุมของคณะกรรมการประเมินผลและคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประเมินผลกําหนด
ให้คณะกรรมการประเมินผลและคณะอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้หรือคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของหน่วยงานเจ้าของโครงการกํากับดูแล และให้หัวหน้าหน่วยงานรับผิดชอบการดําเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ทั้งนี้ ให้ใช้ผลการดําเนินการดังกล่าว เป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานเจ้าของโครงการด้วย
ข้อ ๘ หน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานตามโครงการมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือส่งผู้แทนมาชี้แจง ให้แก่คณะกรรมการประเมินผลตามที่คณะกรรมการประเมินผลกําหนด
ข้อ ๙ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับตั้งแต่วันสิ้นสุดโครงการสุดท้ายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหรือมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการหรือแผนงานโดยใช้เงินกู้ตามพระราชกําหนดให้คณะกรรมการประเมินผลจัดทํารายงานการประเมินผลโครงการในภาพรวม รวมทั้งรายงานการประเมินผลลัพธ์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,534 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พศ.2564 พ.ศ. 2564 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พศ.2564
พ.ศ. 2564
--------------------------------------
เพื่อให้การดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เป็นไปอย่างรัดกุม มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ประกอบกับมาตรา 8 (5) แห่งพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ จึงมีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงาน หรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“พระราชกําหนด” หมายความว่า พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
“โครงการ” หมายความว่า แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ตามแผนงานหรือโครงการ ที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
“แผนงานหรือโครงการที่ 1” หมายความว่า แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
“แผนงานหรือโครงการที่ 2” หมายความว่า แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
“แผนงานหรือโครงการที่ 3” หมายความว่า แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กําหนดไว้ ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
“เงินกู้” หมายความว่า เงินที่กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ในนามรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยตามพระราชกําหนด
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามมาตรา 7
“หน่วยงานเจ้าของโครงการ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหรือมอบหมายให้ดําเนินโครงการ
ข้อ ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ บททั่วไป
-----------------------
ข้อ ๕ การดําเนินโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอโครงการ การจัดสรรเงิน การเบิกจ่ายเงินกู้ และการรายงานผลการดําเนินโครงการ ให้ดําเนินการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ ให้มีการจัดส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อ ๖ ให้สํานักงบประมาณจัดสรรเงินกู้ตามวงเงินกู้ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ รวมทั้งกําหนด หลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๗ ให้กรมบัญชีกลางรับฝากเงินกู้ไว้ในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง และจัดทําระบบบัญชีระบบการเบิกจ่ายเงินกู้สําหรับโครงการ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่เป็นโครงการที่ต้องใช้เงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะมีหน้าที่และอํานาจจัดทําระบบการเบิกจ่ายเงินกู้ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๘ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะจัดหาเงินกู้และดําเนินการกู้เงินสําหรับโครงการเปิดบัญชีและนําฝากเงินกู้ไว้ในบัญชี จัดทําระบบบริหารเงินสด และรายงานสถานะเงินกู้ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๙ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงจะถือว่า เป็นองค์ประชุม
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เสนอคณะรัฐมนตรีวินิจฉัย และเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเป็นประการใดแล้วให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการให้เป็นไปตามนั้น
หมวด ๒ การเสนอ การพิจารณากลั่นกรอง และการอนุมัติโครงการ
----------------------------
ข้อ ๑๑ ในการเสนอโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ 1 และแผนงานหรือโครงการที่ 2 ให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นโครงการที่ขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ ให้หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจัดทํารายละเอียดโครงการเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรวบรวมและจัดทําความเห็นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณา
(2) กรณีเป็นโครงการที่ขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ 2 ให้หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจัดทํารายละเอียดโครงการเสนอต่อกระทรวงการคลัง เพื่อรวบรวมและจัดทําความเห็นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณา
ในการจัดทําความเห็นตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือ กระทรวงการคลัง แล้วแต่กรณี พิจารณาความสอดคล้องของโครงการตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน หรือโครงการที่ 1 หรือแผนงานหรือโครงการที่ 2 แล้วแต่กรณี และให้กระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงการคลังนําส่งความเห็นพร้อมทั้งรายละเอียดโครงการของหน่วยงานของรัฐ เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอจากหน่วยงานของรัฐที่มีรายละเอียดข้อมูลครบถ้วน ทั้งนี้ หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่ากระทรวงสาธารณสุขหรือกระทรวงการคลัง เห็นชอบกับโครงการของหน่วยงานของรัฐ และให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งข้อมูลรายละเอียดโครงการ ให้สํานักงานสภาพพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
ข้อ ๑๒ ในการเสนอโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ 3 ให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทํากรอบแผนงานหรือโครงการภายใต้ แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และนําเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งแล้ว ในการเสนอโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้วงเงินในแผนงานหรือโครงการที่ 3 ให้หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจัดทํารายละเอียดโครงการที่มีความสอดคล้องกับกรอบแผนงานหรือโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เสนอสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรวบรวมและจัดทําความเห็น แล้วเสนอคณะกรรมการพิจารณาภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอจากหน่วยงานของรัฐซึ่งมีรายละเอียดข้อมูลครบถ้วน ทั้งนี้ หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าว ให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอโครงการต่อ คณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
ข้อ ๑๓ โครงการที่หน่วยงานของรัฐเสนอให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการตามข้อ 11 และข้อ 12 ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
(2) เป็นโครงการที่มีความจําเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันโดยเร็วแต่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ หรือได้รับจัดสรรงบประมาณไว้แล้วแต่มีจํานวนไม่เพียงพอ
(3) เป็นโครงการที่มีความพร้อม สามารถดําเนินการได้ทันทีภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรีรวมถึงต้องเป็นโครงการที่สามารถดําเนินการและเบิกจ่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
(4) เป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการดําเนินงานและก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือสังคมตามวัตถุประสงค์ในบัญชีท้ายพระราชกําหนด
(5) มีลักษณะอื่นใดตามที่คณะกรรมการกําหนด
ทั้งนี้ การจัดทํารายละเอียดโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๔ ในการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการพิจารณา กําหนดวงเงินโครงการที่เหมาะสมที่จะใช้จ่ายจากเงินกู้ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
ให้ดําเนินโครงการเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดําเนินโครงการแล้ว ในกรณีที่โครงการใด ต้องดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบใด ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินการ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๓ การดําเนินโครงการ
----------------------
ข้อ ๑๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดําเนินโครงการแล้ว ให้
(1) ส่วน สํานักงบประมาณจัดสรรเงินกู้ตามวงเงินกู้ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
(2) สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะดําเนินการกู้เงินเพื่อใช้จ่ายสําหรับโครงการ
(3) หน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินการ
1) จัดทําประมาณการการเบิกจ่ายเงินกู้ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อประกอบการพิจารณาจัดหาเงินกู้ และปรับปรุงข้อมูลรายละเอียดโครงการในระบบติดตาม และประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
2) รายงานความก้าวหน้าในการดําเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงปัญหาอุปสรรคในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และจัดส่งให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกําหนด ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
3) รายงานผลประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการ เพื่อสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะจะได้ใช้ประกอบการพิจารณาขีดความสามารถในการชําระหนี้ของรัฐบาล
ข้อ ๑๖ การดําเนินโครงการในส่วนที่เกี่ยวกับการพัสดุ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ หรือตามกฎหมายระเบียบหรือข้อบังคับของหน่วยงานเจ้าของโครงการ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถเริ่มดําเนินโครงการในส่วนที่เกี่ยวกับการพัสดุได้ทันทีหลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดําเนินโครงการ แต่จะใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ต่อเมื่อได้รับการจัดสรรเงินกู้จากสํานักงบประมาณแล้ว
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการประสงค์จะขอโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการที่ไม่กระทบต่อสาระสําคัญของโครงการ ได้แก่ ข้อผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์หรือใช้ถ้อยคําไม่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงประเภทงบประมาณ ให้ถูกต้องตามหลักการจําแนกประเภทรายจ่าย หรือการปรับแผนการดําเนินงานหรือแผนเบิกจ่ายภายใต้ กรอบระยะเวลาดําเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการแจ้งข้อมูล เป็นลายลักษณ์อักษรต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการทราบ โดยในช่วงระหว่างดําเนินการข้างต้นให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินโครงการต่อเนื่องไปได้
(2) การขอโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการนอกเหนือจากกรณีตาม (1) ที่กระทบต่อสาระสําคัญของโครงการ อาทิ วงเงินของโครงการ ระยะเวลาดําเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายของโครงการ กิจกรรมของโครงการ วัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดําเนินโครงการ หน่วยงานดําเนินการและหน่วยงานรับงบประมาณ รวมถึงพื้นที่ดําเนินการ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เสนอคําขอการโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ พร้อมเหตุผลความจําเป็นต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างดําเนินการข้างต้นให้หน่วยงานเจ้าของโครงการชะลอการดําเนินโครงการจนกว่าจะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องการยกเลิกหรือยุติกิจกรรม โครงการย่อย หรือโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเสนอคําขอดังกล่าว พร้อมเหตุผลความจําเป็นและผลการดําเนินงานและการเบิกจ่าย โครงการที่ผ่านมาต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าหน่วยงานเจ้าของโครงการไม่อาจดําเนินการตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงการตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอาจเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานเจ้าของโครงการยุติการดําเนินโครงการดังกล่าวได้
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการตามข้อ 18 หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกหรือยุติกิจกรรม โครงการย่อย หรือโครงการตามข้อ 19 หรือข้อ 20 แล้วแต่กรณี ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปรับปรุงข้อมูลรายละเอียดโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ให้ถูกต้อง หรือเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี โดยเร็ว
ข้อ ๒๒ เมื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการได้ดําเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่สามารถดําเนินโครงการได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ หากมีเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะทราบ และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีตามข้อ 23
หมวด ๔ การเก็บรักษาเงินกู้และการเบิกจ่ายเงินกู้
----------------------------
ข้อ ๒๓ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนําเงินกู้ฝากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังชื่อบัญชี “เงินกู้ตาม พ.ร.ก. COVID-19 2564”
ในกรณีที่กระทรวงการคลังกู้เงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ และหน่วยงานเจ้าของโครงการมีความจําเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้เพื่อดําเนินโครงการเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนําเงินกู้ฝากบัญชีสําหรับใช้ในโครงการดังกล่าวกับสถาบันการเงินตามที่กระทรวงการคลังกําหนด โดยใช้ชื่อบัญชี “เงินกู้สกุลเงินตราต่างประเทศตาม พ.ร.ก. COVID-19 2564”
เมื่อหน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินโครงการเสร็จสิ้นครบทุกโครงการแล้ว หรือไม่มีความจําเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนําเงินที่เหลือในบัญชีตามวรรคหนึ่ง และวรรคสองส่งคืนคลังและปิดบัญชีดังกล่าว
ข้อ ๒๔ การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของทางราชการ และหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติ ที่กระทรวงการคลังกําหนด
หมวด ๕ การติดตามประเมินผล และการรายงานผลการใช้จ่ายเงินกู้
---------------------------
ข้อ ๒๕ การติดตามประเมินผลการดําเนินโครงการ และการรายงานผลการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนดให้ดําเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการประเมินผลการใช้เงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
หมวด ๖ การใช้วงเงินกู้สําหรับรายการเงินสํารองจ่าย
-------------------------
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการมีความจําเป็นต้องใช้เงินกู้ ในรายการเงินสํารองจ่ายตามที่คณะกรรมการได้กําหนดวงเงินไว้ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เสนอคําขอใช้เงินกู้พร้อมแสดงเหตุผลความจําเป็น ต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็นเพื่อเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 5,535 |
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 | ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้
เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ
พ.ศ. 2555
-----------------------------------
เพื่อให้การบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินที่กู้มาเพื่อนําไปใช้จ่ายในการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 เป็นไปอย่างรัดกุม มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูประเทศอย่างยั่งยืน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ
“หน่วยงานเจ้าของโครงการ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุมัติหรือได้รับมอบหมายให้ดําเนินการตามโครงการ
“โครงการ” หมายความว่า โครงการตามแผนปฏิบัติการบริหารจัดการน้ํา การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยแห่งชาติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยแห่งชาติพ.ศ. 2555 หรือโครงการอื่นใดที่ กนอช. หรือ กบอ. เห็นว่าเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการน้ําหรืออุทกภัย หรือโครงการตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศตามที่ กยอ. กําหนดแล้วแต่กรณี และให้หมายความรวมถึงแผนงานหรือการดําเนินการใด ๆ ที่ถูกกําหนดให้อยู่ในแผนปฏิบัติการหรือแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวด้วย
“เงินกู้” หมายความว่า เงินที่กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีกู้ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555
“กนอช.” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายน้ําและอุทกภัยแห่งชาติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555
“กบอ.” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555
“กยอ.” หมายความว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2554
“สบอช.” หมายความว่า สํานักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยแห่งชาติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555
ข้อ ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ บททั่วไป
------------------------------
ข้อ ๕ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะแก่โครงการที่ต้องดําเนินการโดยใช้จ่ายเงินจากเงินกู้
ในกรณีที่โครงการใดดําเนินการโดยได้รับการจัดสรรทั้งงบประมาณรายจ่ายและเงินกู้ การดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณรายจ่าย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ในกรณีที่โครงการใดดําเนินการโดยใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่าย ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานให้ กบอ. ทราบด้วย
ข้อ ๖ โครงการใดเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีไว้แล้วแต่ประสงค์จะดําเนินการโครงการนั้นต่อโดยใช้จ่ายจากเงินกู้แทน ให้ดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้
โครงการใดเป็นโครงการที่ได้มีการใช้จ่ายเงินจากเงินกู้ แต่ในระยะเวลาต่อมาการดําเนินโครงการมีความจําเป็นต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี โดยดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๗ การบริหารโครงการไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรเงินกู้ การเบิกจ่ายเงินกู้ และการรายงานผลการดําเนินโครงการ ให้ดําเนินการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการ และให้กระทรวงการคลังจัดส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อ ๘ ให้สํานักงบประมาณพิจารณาจัดสรรวงเงินกู้ พิจารณาคําขอโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดซึ่งไม่ใช่สาระสําคัญที่กําหนดในโครงการ และพิจารณาคําขอใช้เงินเหลือจ่ายเพื่อชดเชยค่างานก่อสร้าง รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๙ ให้กรมบัญชีกลางรับฝากเงินกู้ไว้ในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง และจัดทําระบบบัญชีและระบบการเบิกจ่ายเงินสําหรับโครงการ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะพิจารณาจัดหาเงินกู้ ดําเนินการเปิดบัญชีและนําฝากเงินกู้ไว้ในบัญชี จัดทําระบบบริหารเงินสดและบริหารจัดการเงินกู้ และรายงานสถานะเงินกู้รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่โครงการใดต้องดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบใดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความตามระเบียบนี้หรือมีความจําเป็นต้องปฏิบัตินอกจากที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาวินิจฉัยหรือกําหนดวิธีปฏิบัติเป็นการเฉพาะเรื่อง
หมวด ๒ การอนุมัติโครงการ
--------------------------------
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับแผนปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 แล้ว ให้ กบอ.แจ้งหน่วยงานเจ้าของโครงการ เพื่อจัดทํารายละเอียดของโครงการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว พร้อมกับวงเงินการใช้จ่ายที่ขอรับการจัดสรรจากเงินกู้เสนอต่อ กบอ. ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาที่ กบอ. กําหนด
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีโครงการใดที่จัดทําขึ้นก่อนแผนปฏิบัติการตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ และได้แจ้งให้ กบอ. ทราบ หรือได้รับอนุมัติจาก กบอ. แล้วแต่กรณี ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารจัดการน้ําและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 แล้วและหน่วยงานของรัฐนั้นประสงค์จะให้ดําเนินการโดยใช้จ่ายจากเงินกู้ ให้จัดทํารายละเอียดของโครงการดังกล่าวพร้อมกับวงเงินการใช้จ่ายที่ขอรับการจัดสรรจากเงินกู้ เสนอต่อ กบอ.
ในกรณีที่ กบอ. พิจารณากลั่นกรองรายละเอียดของโครงการที่หน่วยงานของรัฐเสนอตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้เสนอความเห็นต่อ กนอช. ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป เว้นแต่โครงการในลักษณะใดที่ กนอช. มีมติเห็นชอบในหลักการให้ดําเนินการได้ไว้แล้ว ให้ กบอ. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติได้โดยตรง
ให้นําความในข้อนี้มาใช้บังคับกับโครงการอื่นใดที่ กนอช. หรือ กบอ. เห็นว่าเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการน้ําหรืออุทกภัยด้วย
ข้อ ๑๔ โครงการใดเป็นโครงการตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศตามที่ กยอ. กําหนด ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เสนอรายละเอียดของโครงการและวงเงินการใช้จ่ายที่ขอรับจัดสรรจากเงินกู้ต่อ กยอ. ภายในระยะเวลาที่ กยอ. กําหนดเพื่อพิจารณากลั่นกรอง แล้วเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
หมวด ๓ การดําเนินโครงการ
-----------------------------------
ข้อ ๑๕ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการแล้ว ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการส่งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินกู้ต่อสํานักงบประมาณเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และจัดสรรวงเงินกู้ตามที่ได้รับอนุมัติ
(2) ให้กระทรวงการคลังโดยสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะพิจารณาจัดหาเงินกู้ให้แก่หน่วยงานเจ้าของโครงการตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ โดยให้สํานักงบประมาณส่งข้อมูลตาม (1) ให้แก่สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อประกอบการพิจารณาจัดหาเงินกู้
(3) ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดส่งประมาณการการเบิกจ่ายเงินกู้เป็นรายเดือนให้แก่สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อประกอบการพิจารณาเบิกจ่าย
(4) ในกรณีที่มีการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อใช้ในโครงการใดโครงการหนึ่งโดยเฉพาะและแหล่งเงินกู้กําหนดให้ใช้หลักเกณฑ์และระเบียบในการดําเนินงานและการจัดซื้อจัดจ้างของแหล่งเงินกู้นั้นให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และระเบียบของแหล่งเงินกู้นั้น โดยไม่ต้องนําข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 19 วรรคสอง ข้อ 20 วรรคสอง ข้อ 26 ข้อ 27 และข้อ 28 มาใช้บังคับกับการดําเนินโครงการดังกล่าว
ข้อ ๑๖ การจัดหาพัสดุในการดําเนินโครงการ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 หรือระเบียบหรือข้อบังคับของหน่วยงานเจ้าของโครงการ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เมื่อได้รับอนุมัติโครงการแล้วให้หน่วยงานดําเนินการจัดหาพัสดุได้ทันทีแต่จะลงนามในสัญญาได้ก็ต่อเมื่อได้รับการจัดสรรวงเงินกู้แล้ว
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่หน่วยงานเจ้าของโครงการประสงค์จะขอโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่การขอโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเป็นสาระสําคัญของโครงการและกระทบต่อกรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติด้วย ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคําขอดังกล่าวพร้อมเหตุผลความจําเป็นต่อ สบอช. หรือสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อนําเสนอต่อ กบอ. หรือ กยอ. แล้วแต่กรณี เพื่อทําความเห็นประกอบการพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
(2) ในกรณีที่การขอโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเป็นสาระสํา คัญของโครงการแต่ไม่กระทบต่อกรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติโครงการ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคําขอดังกล่าวพร้อมเหตุผลความจําเป็นต่อ สบอช. หรือสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อนําเสนอต่อ กบอ. หรือ กยอ. พิจารณาอนุมัติ แล้วแต่กรณี
(3) ในกรณีที่การขอโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการไม่ใช่สาระสําคัญของโครงการและไม่กระทบต่อกรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคําขอดังกล่าวต่อสํานักงบประมาณ และเมื่อสํานักงบประมาณพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้รายงานต่อ กบอ. หรือ กยอ.เพื่อทราบ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๘ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดกํากับดูแลการดําเนินโครงการของหน่วยงานเจ้าของโครงการและให้หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของโครงการเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ ทั้งนี้ ให้ถือเป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานเจ้าของโครงการที่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจด้วย
หมวด ๔ การบริหารและจัดการการกู้เงิน และการเบิกจ่ายเงินกู้
----------------------------------------
ข้อ ๑๙ การบริหารและจัดการการกู้เงิน ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะมีหน้าที่จัดหาเงินกู้และดําเนินการกู้เงินตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555
ให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนําเงินกู้ตามวรรคหนึ่งฝากกระทรวงการคลังในบัญชีเงินนอกงบประมาณที่กรมบัญชีกลาง โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “บัญชีเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ”
ข้อ ๒๐ การใช้จ่ายเงินกู้ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการกู้เงินตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555
การเบิกจ่ายเงินกู้จากบัญชีเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของทางราชการและหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกําหนด
ข้อ ๒๑ นกรณีที่มีการกู้เงินเพื่อใช้ในโครงการใดโครงการหนึ่งโดยเฉพาะ สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะอาจกําหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งเงินกู้โดยตรงก็ได้โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการของแหล่งเงินกู้
ข้อ ๒๒ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการเงินกู้ กระทรวงการคลังอาจกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะดําเนินการก็ได้
ข้อ ๒๓ ให้สํานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของโครงการเพื่อเร่งรัดการดําเนินงานให้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติรวมทั้งติดตามความก้าวหน้าในการเบิกจ่ายเงินกู้ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของหน่วยงานเจ้าของโครงการในส่วนที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินกู้ต่อ กบอ. หรือ กยอ. แล้วแต่กรณี
หมวด ๕ การติดตาม การประเมินผล และการรายงานผลการดําเนินงาน
----------------------------------------
ข้อ ๒๔ เพื่อให้การติดตามและประเมินผลการดําเนินโครงการบรรลุผลสําเร็จอย่างมีประสิทธิภาพให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้สํานักงานปลัดกระทรวงการคลังดําเนินการวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการเพื่อสนับสนุนการติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินโครงการ การเบิกจ่ายเงิน และการประเมินผลโครงการ
(2) ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานความก้าวหน้าในการดําเนินโครงการและการใช้จ่ายเงินกู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโครงการตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กระทรวงการคลังกําหนด
(3) ให้ สบอช. และสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของโครงการเพื่อเร่งรัดการดําเนินงานให้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติรวมทั้งติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินงาน และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานต่อ กบอ. หรือ กยอ. แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๕ ให้ สบอช. และสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดให้มีการประเมินผลการดําเนินโครงการ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์และผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของโครงการ เพื่อเสนอต่อ กบอ. หรือ กยอ. แล้วแต่กรณี
หมวด ๖ การใช้เงินเหลือจ่าย
------------------------------
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่มีวงเงินเหลือจ่ายจากโครงการที่ได้รับอนุมัติ หาก กบอ. หรือ กยอ.แล้วแต่กรณี พิจารณาแล้วเห็นว่า มีความจําเป็นจะต้องจัดสรรเงินเหลือจ่ายดังกล่าวให้แก่โครงการอื่นหรือมีความจําเป็นต้องใช้เงินเหลือจ่ายดังกล่าว เนื่องจากต้องให้มีการดําเนินโครงการขึ้นใหม่หรือมีหน่วยงานเจ้าของโครงการประสงค์จะเสนอโครงการเพิ่มเติม ให้นําความในหมวด 2 การอนุมัติโครงการและหมวด 3 การดําเนินโครงการ มาใช้บังคับโดยอนุโลมการขออนุมัติใช้เงินเหลือจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้ภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ข้อ ๒๗ ในกรณีหน่วยงานเจ้าของโครงการได้รับการจัดสรรเงินกู้และทําสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) หากหน่วยงานเจ้าของโครงการประสงค์จะชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ให้เสนอขออนุมัติต่อสํานักงบประมาณ และให้สํานักงบประมาณพิจารณาจัดสรรจํานวนเงินจากวงเงินเหลือจ่ายของโครงการนั้นหรือภายใต้วงเงินเหลือจ่ายทั้งหมดตามที่กระทรวงการคลังแจ้ง
ข้อ ๒๘ เมื่อการดํา เนินโครงการและการเบิกจ่ายเงินแล้วเสร็จครบทุกโครงการแล้วให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะปิด “บัญชีเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ําและสร้างอนาคตประเทศ”และนําเงินที่เหลือในบัญชีส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี | 5,536 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 64/2525 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรับคำขอรับชำระหนี้การมอบอำนาจและการจ่ายเงิน (ฉบับที่ 2) | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 64/2525
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรับคําขอรับชําระหนี้
การมอบอํานาจและการจ่ายเงิน (ฉบับที่ 2)
-----------------------
โดยที่เห็นสมควรแก้ไขคําสั่งกรมบังคับคดี เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรับ คําขอรับชําระหนี้ การมอบอํานาจและการจ่ายเงิน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ฉะนั้น จึงให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 171/2522 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับการรับคําขอรับชําระหนี้ การมอบอํานาจและการจ่ายเงิน ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2522 เฉพาะข้อ 5
ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 24 มีนาคม 2529
(ลงชื่อ)
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,537 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 171/2525 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว กรรมการมาส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 171/2525
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว
กรรมการมาส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี
----------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 126/2523 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2523 ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบการเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการรับ-จ่ายเงิน การเก็บรักษาและการนําส่งและรับเงิน ของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1.ผู้อํานวยการกอง กองคลัง (นายบุญมาก ปทุมวัน) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้างานบัญชีและงบประมาณ (นางจํานงค์ ฉายานนท์) เป็นกรรมการ
3.หัวหน้างานการเงิน (นางพิสมัย ทองอ่อน) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1.หัวหน้างานคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ (นางนิภา สินธารา) เป็นกรรมการ
2. นักวิชาการเงินและบัญชี (นางสาวทันใจ ศรีวังพล) เป็นกรรมการ
3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงิน ไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
1.หัวหน้างานการเงิน (นางพิสมัย ทองอ่อน) เป็นกรรมการ
2.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 4 (นางศุภมาศ เหมไหรณย์)เป็นกรรมการ
3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ
4.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 4 (นางสาววรรณศิริ ทองวรรณ) เป็นกรรมการ
5.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 3 (นางสาวฉันทนา เจริญทรัพย์) เป็นกรรมการ
6.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 3 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
7.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 2 (นางสาวสมบูรณ์ สกุลเมือง) เป็นกรรมการ
8.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 2 (นางสมใจนึก นาคทับ) เป็นกรรมการ
9.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 2 (นางจรรยา นิลแสง) เป็นกรรมการ
10.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 2 (นางสาวฉวีวรรณ ภาษีแก้ว) เป็นกรรมการ
ในข้าราชการดังกล่าวข้างต้น จํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกัน ควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือ สถานที่ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกอง กองคลัง หรือหัวหน้างานการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่นอย่างน้อย 1 คน ไปช่วยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และ I กรรมการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2525
(นายสวัสดิ์ โชติพานิช)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,538 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 31/2525 เรื่อง ระเบียบเกี่ยวกับการทำการนอกเวลาราชการ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 31/2525
เรื่อง ระเบียบเกี่ยวกับการทําการนอกเวลาราชการ
------------------
เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการรายงานขออนุมัติให้ข้าราชการอยู่ปฏิบัติราชการ บอกเวลาราชการปกติ และการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าอาหารทําการนอกเวลาได้เป็นไป โดยเรียบร้อย รัดกุม และประหยัด อันจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการกรมบังคับคดีถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การรายงานขออนุมัติอยู่ปฏิบัติราชการนอกเวลาปกติ
1.1 ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้บังคับบัญชาเสนอตามลําดับชั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1.1 ปริมาณงานที่ต้องปฏิบัติเป็นประจํา
1.1.2 อัตรากําลังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามข้อ 1.1.1
1.1.3 มีงานค้างที่จะต้องปฏิบัตินอกเวลาราชการเพียงใด
1.1.4 งานที่ค้างปฏิบัติจะต้องใช้ระยะเวลาปฏิบัตินานเท่าใด
1.1.5 เป็นงานที่มีความจําเป็นต้องปฏิบัติโดยเร่งด่วนเป็นพิเศษ
ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัตินอกเวลาราชการตามปกติจะเกิดผลเสียหาย
แก่ราชการหรือไม่
1.1.6 เจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการนอกเวลามีตําแหน่งและทําหน้าที่อะไร
1.2 การรายงานขออนุมัติให้กระทําได้เป็นครั้งคราวตามความจําเป็นแต่ละครั้ง ๆ ละไม่เกิน 6 เดือน
สําหรับในส่วนกลาง ให้หัวหน้าหน่วยงานรายงานเสนอตามลําดับชั้น เพื่ออธิบดีหรือ รองอธิบดี ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
สําหรับในสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 1 - 9 ในหัวหน้าสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาค รายงานเสนอธิบดี หรือรองอธิบดี ผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
ข้อ ๒ รายงานขออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าอาหารทําการนอกเวลา ให้ดําเนินการต่อเมื่อ ได้รับอนุมัติตามข้อ 1แล้ว และให้ถือปฏิบัติตามนัยแห่งระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินค่าอาหาร - ทําการนอกเวลา พ.ศ. 2519
สําหรับในส่วนกลางและสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 1 ให้หัวหน้าหน่วยงานตามลําดับ โดยให้ทางกองคลังตรวจสอบวงเงินงบประมาณและเงินประจํางวด แล้วเสนอ อธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดี ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
สําหรับในสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 2 - 9 ให้เจ้าหน้าที่รายงานเสนอ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคพิจารณาอนุมัติจ่าย ภายในวงเงินประจํางวด หรือ เงินจัดสรรที่ได้รับ แล้วรายงานให้กรมบังคับคดีทราบด้วย
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ 17 มีนาคม 2525
(นายสวัสดิ์ โชติพานิช)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,539 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 136/2525 เรื่อง การประกาศและแจ้งคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 136/2525
เรื่อง การประกาศและแจ้งคําสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย
------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการประกาศและแจ้งคําสั่งของศาลในกรณีศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ชั่วคราว หรือเด็ดขาด, เห็นชอบประนอมหนี้, พิพากษาล้มละลาย, ยกเลิกการล้มละลาย และปลดจากการล้มละลาย แล้วแต่กรณีได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบและคําสั่งของทางราชการ รวมทั้ง ตามที่ได้มีส่วนราชการต่าง ๆ ขอความอนุเคราะห์ให้ดําเนินการเพื่อประโยชน์ทางราชการ โดยให้ถือ ปฏิบัติอย่างเดียวกันทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ดังนั้น จึงเห็นควรให้ข้าราชการ กรมบังคับคดี ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เกี่ยวกับการประกาศและแจ้งคําสั่ง
1.คดีล้มละลายในส่วนกลาง
ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สํานวนกลาง กองพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการประกาศและแจ้ง คําสั่งศาลดังกล่าวข้างต้น ไปยังส่วนราชการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 การส่งประกาศ ไปยังส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้
- หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ในกรมบังคับคดี (อธิบดี, รองอธิบดี, ผู้ตรวจการ บังคับคดี, เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกอง, หัวหน้ากอง และหัวหน้า – สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 1-9 )
- ปลัดกระทรวงการคลัง
- อธิบดีกรมศุลกากร
- อธิบดีกรมสรรพากร
- อธิบดีกรมสรรพสามิต
- อธิบดีกรมป่าไม้
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- หัวหน้ากองกฎหมายการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- วิทยาลัยการพาณิชย์ของหอการค้าไทย
- กองตํารวจสันติบาล
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กองตรวจคนเข้าเมือง
-.หอการค้าแห่งประเทศไทย
- สรรพากรกรุงเทพมหานคร
- สํานักงาน ก.พ.
- ที่ว่าการเขต หรืออําเภอที่ลูกหนี้ (จําเลย) มีภูมิลําเนาอยู่
- นายทะเบียนทุนส่วนบริษัทกลาง (กรณีจําเลยเป็นห้างหุ้นส่วนบริษัท
- การสื่อสารแห่งประเทศไทย
- องค์การตลาดกลางเพื่อการเกษตรกร
-.อื่น ๆ
1.2 การแจ้งคําสั่งและคําพิพากษา ไปยังส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1 ทําบันทึกแจ้งผู้อํานวยการกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน และกองจัดการทรัพย์สิน เพื่อทราบ
1.2.2 ทําหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1.2.3 ทําหนังสือแจ้งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอธิบดีกรมตํารวจ เพื่อขอให้แจ้งไปยังหน่วยงานในสังกัดซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ เดินทางไปต่างประเทศว่าลูกหนี้ (จําเลย) หรือล้มละลาย จะออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และถ้าต่อมาภายหลังเมื่อศาล มีคําสั่งเห็นชอบประนอมหนี้หรือยกเลิกการล้มละลายหรือปลดจาก ล้มละลายแล้วก็ให้แจ้งคําสั่งดังกล่าวไปเพื่อทราบด้วย
1.2.4 ทําหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนท้องถิ่น หรือนายอําเภอที่ลูกหนี้ (จําเลย) มีภูมิลําเนาอยู่ พร้อมทั้งขอความร่วมมือว่า ถ้าหาก - ลูกหนี้ (จําเลย) ย้ายที่อยู่ใหม่ขอให้แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทราบกวย (และถาดอมาภายหลังเ ภายหลังเมื่อศาลมีคําสั่งเห็นชอบประนอมหนี้ หรือยกเลิกการล้มละลายหรือปลดจากล้มละลายแล้ว ก็ให้แจ้งคําสั่ง ดังกล่าวไปเพื่อทราบด้วย)
2. คดีล้มละลายในส่วนภูมิภาค
2.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือประจําการ ดําเนินการประกาศและแจ้งคําสั่งศาลโดยอนุโลมเช่นเดียวกับคดีล้มละลายในส่วนกลาง เฉพาะที่ส่วนราชการและลูกหนี้ (จําเลย) มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตภาค หรือศาลนั้นแล้วแต่กรณี
2.2 ให้งานสารบรรณ สํานักงานเลขานุการกรม มีหน้าที่จัดการส่งประกาศ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อลงในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวัน แล้วสําเนาประกาศอื่นยัง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์นั้น พร้อมกับหมายเหตุไปให้ทราบด้วยว่าได้พึงประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด และลงหนังสือพิมพ์ฉบับลงวันที่เท่าใด และส่งสําเนาประกาศไปยังส่วนราชการ ต่าง ๆ ตามข้อ 1.1 ด้วย
ข้อ ๒ เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติเมื่อได้รับประกาศและแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์
1.ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประจํากองต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาคได้ตรวจสอบดูว่า ลูกหนี้ (จําเลย) ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าว ได้มีชื่อเกี่ยวข้องกับคดี หรือในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบดําเนินงานตามหน้าที่ของตนประการใด เพื่อจะได้ดําเนินการ ในเรื่องนี้ ตามที่มีกําหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่งของทางราชการต่อไป
2.ให้งานคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม ทําหน้าที่ตรวจสอบดูว่า ลูกหนี้ (จําเลย) ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้น ได้เคยถูกพิทักษ์ทรัพย์มาก่อนแล้วในเรื่องใด ของศาลใด ตั้งแต่ เมื่อใด (ถ้ามี) แล้วแจ้งให้กองพิทักษ์ทรัพย์ และกองจัดการทรัพย์สิน หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือประจําศาลที่เกี่ยวข้องได้ทราบ เพื่อจะได้ ดําเนินการต่อไป
3.ให้กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ตรวจสอบดูว่า ลูกหนี้ (จําเลย) ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้น ได้เคยถูกยึดทรัพย์ในคดีเรื่องใด ของศาลใด ตั้งแต่เมื่อใด (ถ้ามี) แล้วแจ้งให้ กองพิทักษ์ทรัพย์ และกองจัดการทรัพย์สินทราบเพื่อจะได้ดําเนินการต่อไป (ถ้าไม่มีก็แจ้งให้ทราบด้วย
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 6 กันยายน 2525
(นายสวัสดิ์ โชติพานิช)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,540 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 125/2525 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการส่งเงินหรือรับเงิน หรือการนำเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสำนักงานของสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาค | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่125/2525
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการส่งเงิน
หรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์
ภูมิภาค
---------------------------
ตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 59,61-67/2522 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2522 และคําสั่ง กรมบังคับคดีที่ 201/2523 ลงวันที่ 30 กันยายน 2523 ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการ เก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว และกรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้ง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 2 - 9 ตามนัยแห่งระเบียบการรับ - จ่าย การเก็บ รักษาเงิน และการนําเงินส่งและรับเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาคขึ้นใหม่ ดังนี้
ข้อ ๑ กรรมการเก็บรักษาเงิน
ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงิน คือ
1.1 หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค
1.2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดี อาวุโส รองจากหัวหน้าสํานักงา
1.3 เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี หรือ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
ข้อ ๒ กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีกรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ 1. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้
ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ตามจํานวนกรรมการ รักษาเงิน ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
2.1 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดี
2.2 เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี หรือ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
ข้อ ๓ กรรมการนําส่งเงิน หรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่ง หรือรับ หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
3.1 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดี
3.2 เทรนักงานการเงินและบัญชี หรือ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
ข้อ ๔ ถ้ากรณีการนําส่งเงินหรือรับ หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานซึ่งเป็นเงินสด จํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะนําเงินไปส่ง หรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใดจะไม่ปลอดภัยแก่เงิน ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคเป็นผู้พิจารณา จัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจคอยควบคุมความปลอดภัยด้วย
ข้อ ๕ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด และให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาคมอบหมายให้ข้าราชการที่ดํารงตําแห ดํารงตําแหน่งดังกล่าวได้ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้แทน
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีจัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ และให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2525 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2525
(นายสวัสดิ์ โชติพานิช)
อธิดีกรมบังคับคดี | 5,541 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 93/2525 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับรายงานการส่งหมาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 93/2525
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับรายงานการส่งหมาย
-----------------
เพื่อเร่งรัดการปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเป็นหมาย ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น กระบวนพิจารณาของศาลและการดําเนินงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี ได้เป็นไป อันจะเอื้ออํานวย เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้รวดเร็ว
ฉะนั้น จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการกรมบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อได้รับหมายจากศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณีแล้ว ให้เจ้าหน้าที่งานเดินหมายและประกาศ สํานักงานเลขานุการกรม ผู้รับหมายนั้น เพื่อลงทะเบียนและบัญชีการส่งหมายตรวจดูเสียก่อนว่า ภูมิลําเนาของผู้มีชื่อในหมาย อาทิ เลขที่บ้าน หมู่ที่ ถนน ตรอก ซอย หรือสถานที่ใกล้เคียง (ถ้าหากมี) นั้นชัดเจนเพียงพอที่จะหาที่อยู่ ได้หรือไม่ หากปรากฏว่าภูมิลําเนาในหมายนั้นไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะหาที่อยู่ได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้น รีบรายงานหัวหน้างานเป็นหมายและประกาศทราบทันที เพื่อเสนอเลขานุการกรมทํารายงานส่งหมาย ฉบับดังกล่าวคืนศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่กรณี พร้อมด้วยเหตุ ขัดข้องให้ทราบด้วย
ข้อ ๒ กรณีส่งหมายไม่ได้
เมื่อพนักงานเดินหมายรายงานการส่งหมายไม่ได้เสนอหัวหน้างานเดินหมายและประกาศแล้ว ก่อนที่จะเสนอรายงานการส่งหมายดังกล่าวส่งคืนศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี ให้เลขานุการกรมดําเนินการดังต่อไปนี้
2.1 กรณีเป็นหมายของศาล ให้พิจารณาตรวจสอบรายงานการส่งหมายไม่ได้นั้น โดยละเอียด เพื่อให้ปราศจากข้อสงสัยและเชื่อแน่ได้ว่าได้มีการส่งหมายดังกล่าวจริง หากมีกรณี เป็นที่สงสัยให้สอบถามไปยังตัวบุคคลผู้มีชื่อในหมายนั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่จะต้องส่งหมายให้แก่ผู้รับ ณ สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์การหรือรัฐวิสาหกิจของรัฐ บริษัทห้างร้านหรือสํานักงาน ทนายความ หรือบุคคลสําคัญ ให้เลขานุการกรมสอบถามไปยังบุคคลที่จะรับหมายก่อน
2.2 กรณีเป็นหมายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี ให้พิจารณาและดําเนินการเช่นเดียวกับ 2.1 และให้ตรวจดูในสํานวนของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อทราบว่าได้เคยมีการส่งหมายดังกล่าวมาก ดังกล่าวมาก่อนแล้วหรือไม่และผลการส่งหมายในครั้งก่อนเป็นอย่างไรประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๓ กรณีปิดหมาย
เมื่อพนักงานเดินหมายรายงานการสงหมายโดยวิธิปิดหมายเสนองานเดินหมายและประกาศแล้ว ก่อนที่จะเสนอรายงานการส่งหมายดังกล่าวต่อศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี ให้เลขานุการกรมพิจารณา ตรวจสอบรายงานการปิดหมายดังกล่าวว่าเป็นการปิดหมายตามคําสั่งของศาล เจ้าพนักงาน - พิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี และการปิดหมายนั้นชอบด้วยกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการหรือไม่
ข้อ ๔ ให้พนักงานเดินหมายทุกคนปฏิบัติหน้าที่ในการส่งหมายตามระเบียบกระทรวง ยุติธรรมว่าด้วยการส่งคําคู่ความ เอกสารและสํานวนความ พ.ศ. 2522 ตลอดจนคําสั่งของ กรมบังคับคดีที่เกี่ยวกับการโดยเคร่งครัด
หากมีกรณีปรากฏว่า พนักงานเดินหมายใดรายงานการส่งหมายโดยไม่ เป็นความจริง อันเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ตลอดจนการส่งหมายล่าช้า หรือ รายงานการส่งหมายล่าช้าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการและ ความในคดีได้แล้ว พนักงานเดินหมายผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษสถานหนักทันที
ข้อ ๕ ให้เลขานุการกรม รายงานผลการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นหมาย งานเดินหมายและประกาศ สํานักงานเลขานุการกรม เสนออธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่ ได้รับมอบหมาย ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไปทุกเดือน เพื่อทราบสถิติการส่งหมายไม่ได้ และรายชื่อของพนักงานเดินหมายที่ยังไม่ได้เป็นรายบุคคล กับจํานวนหมายและประเภทของ หมาย และเหตุที่ส่งหมายไม่ได้ดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2525
(นายสวัสดิ์ โชติพานิช)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,542 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 75/2525 เรื่อง ระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2525 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 75/2525
เรื่อง ระเบียบว่าด้วยเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2525
-------------------
เนื่องด้วยกรมบังคับคดีมีเงินบางประเภทที่มิใช่เงินของทางราชการ และไม่ตกอยู่ ภายใต้ข้อบังคับที่จะต้องนําส่งคลังตามระเบียบของทางราชการ ซึ่งกรมบังคับคดีได้นํามาใช้จ่าย ด้านสวัสดิการกรมบังคับคดี ในการช่วยเหลืออนุเคราะห์บรรเทาความเดือดร้อน และอํานวย - ประโยชน์ให้แก่ข้าราชการกรมบังคับคดี ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อเป็นการทุนบํารุงขวัญ และกําลังใจให้ข้าราชการได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์แก่ทาง - ราชการ แต่กรมบังคับคดียังมิได้มีระเบียบในเรื่องนี้
ดังนั้น เพื่อให้การรับ การเก็บรักษา การจัดการและการใช้จ่ายเงินสวัสดิการ ดําเนินไปอย่างรัดกุมสมประโยชน์ข้าราชการกรมบังคับคดีโดยส่วนรวม จึงวางระเบียบเกี่ยวกับ เงินสวัสดิการกรมบังคับคดีเพื่อให้ข้าราชการกรมบังคับคดีได้ถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยเงินสวัสดิการกรมบังคับคดีพ.ศ. 2525”
ข้อ ๒ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2525 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาเงินหรือทรัพย์สินและดอกผลอันเกิดจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งไม่ตกอยู่ ภายใต้บังคับที่จะต้องนําส่งคลัง ระเบียบของทางราชการที่กรมบังคับคดีมีอยู่แล้ว ก่อนวันที่ ระเบียบนี้ใช้บังคับหรือที่ได้รับตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้จัดเป็นเงินสวัสดิการกรมบังคับคดีตามระเบียบนี้ทั้งสิ้น
ข้อ ๔ ให้อธิบดีกรมบังคับคดีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี ประกอบด้วยข้าราชการกรมบังคับคดีซึ่งดํารงตําแหน่ง ดังต่อไปนี้
4.1 รองอธิบดี ฝ่ายบริหาร เป็นประธาน
4.2 ผู้อํานวยการกอง อาวุโส ท่าน เป็นรองประธาน
4.3 ผู้อํานวยการกองทุกกองในกรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
4.4 หัวหน้ากองทุกกองในกรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
4.5 เลขานุการกรม กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
4.6 ผู้ตรวจการบังคับคดี เป็นกรรมการ
4.7 ผู้ตรวจสอบภายใน การบังคับคดี เป็นกรรมการ
4.8 หัวหน้างานบัญชีและงบประมาณ กองคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ
4.9 หัวหน้างานพัสดุ กองคลัง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาบุการ
4.10 หัวหน้างานการเงิน กองคลัง เป็นกรรมการและเหรัญญิก
4.11 ข้าราชการอื่น คามที่อธิบดีจะเห็นสมควร เป็นกรรมการ
ข้อ ๕ คณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการ ฯ ให้อยู่ในตําแหน่งไปจนกว่าจะพ้นจากตําแหน่งในหน้าที่ราชการ หรือหุ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการในกรมบังคับคดี หรือจนกว่าอธิบดีกรมบังคับคดีจะสั่งให้พ้นจากตําแหน่ง ตามข้อเสนอของประธานคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการ ฯ
ให้คณะกรรมการดําเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการกรมบังคับคดีที่ได้รับแต่งตั้งโดยคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 153/2524 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2524 เป็นคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการกรมบังคับคดีต่อไปตามระเบียบนี้
ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี เก็บเงินไว้ได้ตามจํานวนที่จําเป็นแต่ต้องไม่เกิน 5,000 - บาท (ห้าพันบาทถ้วน) นอกนั้นให้นําฝากธนาคารในนามของ "เงินสวัสดิการกรมบังคับคดี" และจะถอบเงินฝากได้โดยประธาน หรือรองประธานคณะกรรมการ ฯ หรือผู้อํานวยการกอง กองคลัง คนใดคนหนึ่ง ร่วมกับเหรัญญิก เป็นผู้ลงนามในเอกสารการถอน
ข้อ ๗ การรับเงินสรัสดิการกรมบังคับคดี มีดังต่อไปนี้ -
7.1 ค่าส่วนลดหนังสือพิมพ์
7.2 ค่าส่วนลดอากรแสตมป์
7.3 ค่าส่วนลดโทรศัพท์สาธารณะ
7.4 รายได้จากร้านค้าสวัสดิการของกรม
7.5 ค่ารักษาความสะอาดดูแลร้านอาหาร
7.6 ค่าถ่ายเอกสาร
7.7 ค่าดอกผลจากธนาคาร
7.8 ค่าจัดบริการประกาศโฆษณาการขายทอดตลาด
7.9 เงินอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดี
ข้อ ๘ การใช้จ่ายเงินสวัสดิการกรมบังคับคดีให้ดําเนินการดังนี้ -
8.1 เพื่อประโยชน์ของกรมบังคับคดี หรือข้าราชการกรมบังคับคดีโดยส่วนรวม
8.2 เพื่อช่วยเหลือกิจการตามประเพณีของข้าราชการกรมบังคับคดีเฉพาะบุคคลตามควรแก่ฐานะและความเหมาะสมในสังคม
8.3 เพื่อดําเนินกิจการร้านค้าสวัสดิการของกรม
8.4 เพื่อกิจการอื่นใดตามที่อธิบดีกรมบังคับคดี หรือประธาน หรือรองประธาน หรือคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการ ฯ เห็นสมควร
ข้อ ๙ ให้ผู้อํานวยการกอง กองคลัง และเลขานุการคณะกรรมการ ฯ มีอํานาจอนุมัติ จ่ายเงินสวัสดิการกรมบังคับคดีได้ไม่เกินจํานวนเงิน ดังต่อไปนี้
9.1 ผู้อํานวยการกอง กองคลัง จํานวนเงิน 5,000.- บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
9.2 เลขานุการคณะกรรมการ ฯ จํานวนเงิน 5,000.- บาท (สองพันบาทถ้วน)
หากเกิน 5,000,000 บาท หรือ 2,000.00 บาท ใช้จ่ายได้โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมบังคับคดีหรือ ประธาน หรือรองประธานคณะกรรมการฯ
ทั้งนี้ โดยมีหลักฐานแสดงการใช้จ่ายในกรณีอาจมีหลักฐานแสดงการใช้จ่ายได้
ข้อ ๑๐ ให้ผู้อํานวยการกอง กองคลัง ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการ ฯ และให้ผู้ตรวจสอบภายใน กรมบังคับคดี เป็นผู้รับผิดชอบจัดทําบัญชีเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี โดยแสดงรายละเอียด รายรับ-รายจ่าย จํานวนเงินคงเหลือ และทํารายงานสถานภาพทางการเงิน ประจําเดือน เสนอผู้อํานวยการกอง กองคลัง ตรวจสอบเพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการ กรมบังคับคดี ภายในวันที่ 10 ของเดือนต่อไป แล้วแจ้งให้หน่วยงานต่าง ๆ ในกรมบังคับคดีทราบด้วย
ข้อ ๑๑ ให้หัวหน้างานพัสดุ กองคลัง ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการร้านค้าสวัสดิการของกรม โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการ ฯ พิจารณาออกข้อกําหนด หรือ วิธี ดําเนินการเกี่ยวกับการช่วยเหลือข้าราชการ หรือการให้ข้าราชการกู้ยืมเงิน ตลอดจน การดําเนินงานในร้านค้าสวัสดิการของกรม และเรื่องอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร
ข้อกําหนดและวิธีดําเนินการ ของคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการ ฯ ให้มีผลใช้ได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบของอธิบดีกรมบังคับคดีแล้ว
ข้อ ๑๓ ถ้ามีปัญหาใด ที่มิได้มีระบุไว้ในระเบียบนี้ หรือในการดําเนินงานของ คณะกรรมการฯ ให้คณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี ร่วมกันพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วนําเสนออธิบดีกรมบังคับคดีให้ความเห็นชอบ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2525
(นายสวัสดิ์ โชติพานิช)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,543 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 60/2525 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวกรรมการน่าสงแวะรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 60/2525
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว
กรรมการน่าส่งและรับเงินของกรมบังคับคดี
----------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 126/2523 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2523 ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบการเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการรับ-จ่ายเงิน การเก็บรักษาและการนําส่งและรับเงิน ของสวนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแผนชั่วคราวกรรมการนําส่ง และรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ทั้งนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1.ผู้อํานวยการกอง กองคลัง (นายบุญมาก ปทุมวัน) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้างานบัญชีและงบประมาณ (นางเสาวภา สถิตมิลินทากาศ) เป็นกรรมการ
3. หัวหน้างานการเงิน (นางพิสมัย ทองอ่อน) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1.หัวหน้างานคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ (นางนิภา สินธารา) เป็นกรรมการ
2. นักวิชาการเงินและบัญชี 4 (นางสาวทนใจ ศรีวังพล) เป็นกรรมการ
3.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการส่งเงินหรือรับเงินหรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
1.หัวหน้างานการเงิน (นางพิสมัย ทองอ่อน) เป็นกรรมการ
2.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 4 (นางศุภมาศ เหมไหรนย์) เป็นกรรมการ
3. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 4 (นางพจนีย์ ระบบกิจการดี) เป็นกรรมการ
4. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 3 (นางสาวฉันทนา เจริญทรัพย์) เป็นกรรมการ
5.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 3 (นางสาววรรณี พลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
6.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 2 (นางสาวสมบูรณ์ สกุลเมือง) เป็นกรรมการ
7. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 2 (นางสมใจนึก นาคทับ) เป็นกรรมการ
8. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 2 (นางจรรยา นิลแสง) เป็นกรรมการ
9.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีระดับ 2 (นางสาวฉวีวรรณ ภาคีแก้ว) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้น จํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกัน ควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือ สถานที่ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีอื่นใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกอง กองคลัง หรือหัวหน้างานการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่นอย่างน้อย 2 คน ไปช่วยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และ กรรมการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2525
(ลงชื่อ) นายสวัสดิ์ โชติพานิช
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,544 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 125/2535 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คำคู่ความหรือเอกสาร | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 125/2535
เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร
--------------------
ด้วยเห็นเป็นการสมควรให้กําหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสารสําหรับพนักงานเดินหมายกรมบังคับคดีเสียใหม่ให้เหมาะสม
จึงให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 251/2530 เรื่อง ค่าใช้จ่าย ในการส่งหมาย คําคู่ความ 23 พฤศจิกายน 2530 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“1. หมาย คําคู่ความ หรือเอกสารที่ความต้องนําส่ง
1.1 เขตชั้นใน ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 60 บาท
1.2 เขตชั้นกลาง ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 80 บาท
1.3 เขตชั้นนอก ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 150 บาท
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 เมษายน 2535
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,545 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 107/2528 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหมายบังคับคดี หมายแจ้งคำสั่ง คำพิพากษาเกี่ยวกับการบังคับคดี ล้มละลาย การทั้งผู้ชำระบัญชี การวางทรัพย์ ประเมินราคาทรัพย์ และขอตั้งอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2528 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 107/2528
เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหมายบังคับคดี หมายแจ้งคําสั่ง คําพิพากษาเกี่ยวกับการบังคับคดี ล้มละลาย การทั้งผู้ชําระบัญชี การวางทรัพย์ ประเมินราคาทรัพย์ และขอตั้งอนุญาโต –
ตุลาการ พ.ศ. 2528
-------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับหมายบังคับคดี หมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ คําสั่งและคําพิพากษาของศาลเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย หมายหรือหนังสือแจ้งคําสั่งศาล ตั้งผู้ชําระบัญชี รวมทั้งการรับวางทรัพย์ ประเมินราคาทรัพย์ และขอตั้งอนุญาโตตุลาการของ กรมบังคับคดี ได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบและคําสั่งของทางราชการ และ เพื่ออํานวยความสะดวก รวดเร็วแก่ความ ประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ตลอดจนส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง จึงวางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 6/2518 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 , 64/2524 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2524 และ 136/2525 ลงวันที่ 6 กันยายน 2525
บรรดาระเบียบ หรือข้อบังคับอื่นใดในส่วนที่ได้มีอยู่แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
หมวด ๑ วิธีปฏิบัติสําหรับราชการส่วนกลาง
ส่วน ๑ หมายบังคับคดี หมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์และหมายหรือหนังสือแจ้งคําสั่งศาลตั้งผู้ชําระบัญชี
ข้อ ๒ ให้เป็นหน้าที่ของงานทําความ สํานักงานเลขานุการกรม เป็นผู้รับหมาย บังคับคดี หมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และหมายหรือหนังสือแจ้งคําสั่งศาลองผู้ชําระบัญชีเข้าปกสํานวน แล้วให้ส่งสํานวนนั้นไปให้งานเก็บสํานวนและสถิติ เพื่อดําเนินการตามขอ 3
ในกรณีที่เป็นหมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้งานทําความ สํานักงานเลขานุการกรม ทําหน้าที่ตรวจสอบดูว่าลูกหนี้ (จําเลย) ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้น ได้เคยถูกพิทักษ์ทรัพย์มาก่อนแล้ว ในเรื่องใด ของศาลใด ตั้งแต่เมื่อใด (ถ้ามี) แล้วแจ้งให้กองพิทักษ์ทรัพย์ และกองจัดการทรัพย์สิน หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือเจ้าพนักงาน - พิทักษ์ทรัพย์ ประจําศาลที่เกี่ยวข้องได้ทราบ เพื่อดําเนินการต่อไป
ข้อ ๓ เมื่องานเต็มจํานวนและสถิติได้รับสํานวนตามข้อ 2. แล้ว ให้ลงบัญชีสารบบ สํานวนบังคับคดีตามลําดับตัวอักษร บัญชีสารบบสํานวนคดีตามลําดับเลขคดีสําหรับคดีแพ่ง บัญชีสารบบ ความสําหรับคอมละลาย และชําระบัญชี
ข้อ ๔ สําหรับหมายบังคับคดีแพ่ง เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา หรือผู้ที่ได้รับมอบ อํานาจให้กระทําการแทนได้มายื่นคําร้องขอต่องานทําความ เพื่อขอให้ดําเนินการตามหมายบังคับคดี หรือหมายอายัดแล้ว ให้งานคําความส่งคําร้องขอนั้นให้งานเก็บจํานวนและสถิติจัดหาสํานวนแล้ว ส่งสํานวนไปให้กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน โดยให้ผู้อํานวยการกอง กองยึดอายัดและจําหน่าย ทรัพย์สินดําเนินการตามหมายบังคับคดี หรือหมายอายัดต่อไป
ข้อ ๕ สําหรับหมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่องานเก็บสํานวนและสถิติได้ดําเนินการ ตามข้อ 3. แล้ว ให้นําชนวนพร้อมกับบัญชีจ่ายสํานวนเสนอผู้อํานวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อมีคําสั่ง จ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับผิดชอบดําเนินการ แล้วให้งานเก็บสํานวนและสถิติส่งสํานวน พร้อมกับบัญชีจ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงชื่อรับสํานวนนั้นไว้เพื่อดําเนินการต่อไป
ข้อ ๖ สําหรับหมายหรือหนังสือแจ้งคําสั่งศาลตั้งผู้ชําระบัญชี เมื่องานเก็บสํานวน และสถิติได้ดําเนินการตามข้อ 3. แล้ว ให้นําสํานวนดังกล่าวเสนอเลขานุการกรม เพื่อเสนออธิบดี หรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายพิจารณามีคําสั่ง แล้วดําเนินการตามข้อ 5
ส่วน ๒ คําสั่งและคําพิพากษาของศาลเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สํานวนกลาง กองพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการประกาศ คําสั่งของศาลในกรณีศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว หรือเด็ดขาด เห็นชอบประนอมหนี้ พิพากษาล้มละลาย ยกเลิกการล้มละลายและปลดจากล้มละลาย คําสั่งและคําพิพากษาอื่น ๆ ของศาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (นอกจากการนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย หรือการนัดอื่น ๆ) แล้วส่งไปยัง ส่วนราชการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
7.1 หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ในกรมบังคับคดี (อธิบดี, รองอธิบดี ผู้ตรวจการบังคับคดี, เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกอง, ผู้อํานวยการสํานักงาน และหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 1 – 9)
7.2 ปลัดกระทรวงการคลัง
7.3 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
7.4 อธิบดีกรมศุลกากร
7.5 อธิบดีกรมสรรพากร
7.6 อธิบดีกรมสรรพสามิต
7.7 อธิบดีกรมป่าไม้
7.8 อธิบดีกรมแรงงาน
7.9 หัวหน้ากองกฎหมายการท่าเรือแห่งประเทศไทย
7.10 วิทยาลัยการพาณิชย์ของหอการค้าไทย
7.11 กองบังคับการตํารวจสันติบาล
7.12 ธนาคารแห่งประเทศไทย
7.13. กระทรวงการต่างประเทศ
7.14 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง
7.15 หอการค้าแห่งประเทศไทย
7.16 สรรพากร กรุงเทพมหานคร
7.17 สํานักงาน ก.พ.
7.18 ที่ว่าการเขต หรืออําเภอที่ลูกหนี้ (จําเลย) มีภูมิลําเนาอยู่
7.19 นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง (กรณีจําเลยเป็นห้างหุ้นส่วนบริษัท)
7.20 การสื่อสารแห่งประเทศไทย
7.21 องค์การตลาดกลางเพื่อการเกษตรกร
7.22 อื่นๆและให้แจ้งคําสั่งและคําพิพากษาของศาลดังกล่าวข้างต้นดังต่อไปนี้ PHI
7.23 ทําบันทึกแจงผู้อํานวยการกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน และกองจัดการทรัพย์สิน เพื่อทราบ
7.24 ทําหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7.25 ทําหนังสือแจ้งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอธิบดีกรมตํารวจ เพื่อขอให้แจ้งไปยังหน่วยงานในสังกัด ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ เดินทางไปต่างประเทศว่าลูกหนี้ (จําเลย) หรือผู้ล้มละลายจะออก ไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (และถ้าต่อมาภายหลังเมื่อศาลมีคําสั่งเห็นชอบประนอมหนี้ หรือยกเลิกการล้มละลาย หรือปลดจากล้มละลาย แล้ว ก็ให้แจ้งคําสั่งดังกล่าวไปเพื่อทราบด้วย
7.26 ทําหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนท้องถิ่น หรือนายอําเภอที่ลูกหนี้ (จําเลย) มีภูมิลําเนาอยู่ พร้อมทั้งขอความร่วมมือว่า ถ้าหากลูกหนี้ (จําเลย) ย้ายที่อยู่ใหม่ขอให้แจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบด้วย (และถ้าต่อมาภายหลังเมื่อศาลมีคําสั่งเห็นชอบประนอมหนี้ หรือ ยกเลิกการล้มละลาย หรือปลดจากล้มละลายแล้ว ก็ให้แจ้งคําสั่งดังกล่าวไปเพื่อทราบด้วย)
ข้อ ๘ ให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจํากองต่าง ๆ (ยกเว้นกองยึดอายัดและ จําหน่ายทรัพย์สิน) ได้ตรวจสอบดูว่า ลูกหนี้ (เลย) ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าว ได้มีชื่อ เกี่ยวข้องกับคดี หรือในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบดําเนินงานตามหน้าที่ของตนประการใด เพื่อดําเนินการในเรื่องนี้ ตามที่มีกําหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่งของทางราชการ ต่อไป
ข้อ ๙ ให้กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ตรวจสอบดูว่า ลูกหนี้ (จําเลย) ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้น ได้เคยถูกยึดทรัพย์ในคดีเรื่องใด ของศาลใด ตั้งแต่เมื่อใด (ถ้ามี) แล้วแจ้ง ให้กองพิทักษ์ทรัพย์ และกองจัดการทรัพย์สินทราบเพื่อดําเนินการต่อไป (ถ้าไม่มีก็แจ้งให้ทราบด้วย)
ในการตรวจสอบดังกล่าวข้างต้น กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินอาจสั่งให้ งานเก็บสํานวนและสถิติ สํานักงานเลขานุการกรม รวบรวมสํานวนคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับคดีล้มละลาย นั้น ให้ได้
ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคําสั่งจากเจ้าพนักงานบังคับให้ตรวจสอบคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับคดีล้มละลายแล้วให้งานเก็บสํานวนและสถิติตรวจสอบบัญชีสารบบสํานวนคดีแพ่งแล้วแจ้งให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ หากตรวจพบว่าลูกหนี้ (ในคดีล้มละลาย) ถูกบังคับคดีแพ่งไว้ให้งานเก็บ สํานวนและสถิตินําสํานวนคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องมาพ่วงไว้กับคดีล้มละลายแล้วบันทึกไว้ในบัญชีสารบบสํานวนและใช้ตรายางประทับไว้ที่หน้าปกสํานวนทุกจํานวนที่เกี่ยวข้องกันด้วย
ข้อ ๑๑ ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งถอนการยึดทรัพย์ไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะส่งสํานวนไปให้กองคลัง เพื่อแสดงรายการจ่าย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามงานทําความ เพื่อทําการตรวจสอบก่อนว่าความในคดีแพ่งเรื่องนั้น ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไว้หรือไม่ เมื่อได้รับคําตอบแล้วจึงให้พิจารณาดําเนินการต่อไป
ส่วน ๒ การวางทรัพย์ ประเมินราคาทรัพย์และขอตั้งอนุญาโตตุลาการ
ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับเรื่องขอวางทรัพย์ ประเมินราคาทรัพย์ และขอตั้งอนุญาโตตุลาการ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ธุรการ สํานักงานวางทรัพย์กลาง นําลงสารบบวางทรัพย์ บัญชีแยกประเภททรัพย์ บัญชีประเมินราคาทรัพย์ และขอตั้งอนุญาโตตุลาการ และเข้าปกสํานวนแล้วนําเสนอผู้อํานวยการ สํานักงานวางทรัพย์กลาง เพื่อสั่งจ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงานดําเนินการต่อไป
หมวด ๒ หมวดที่ วิธีปฏิบัติสําหรับราชการส่วนภูมิภาค
หมวด ๑ หมายบังคับแพ่ง
ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับหมายบังคับคดีจากศาล แล้วให้เจ้าหน้าที่ธุรการจดแจ้งลงในสมุดรับ 30 . หมายบังคับคดี นําหมายเข้าปกสํานวนแล้วลงสารบบสํานวนบังคับคดีตามลําดับตัวอักษรชื่อโจทก์จําเลยทุกคน
ข้อ ๑๔ ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจให้กระทําการแทน ยังไม่มาขอให้ดําเนินการตามหมาย ให้เก็บสํานวนเข้าแฟ้มตามลําดับเลขที่ที่รับหมายบังคับคดีไว้ เมื่อมีคําร้องขอให้ดําเนินการตามหมายบังคับคดี ให้เจ้าหน้าที่ธุรการจัดหาสํานวนแล้วนําสํานวน เสนอหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค เพื่อ เพื่อสั่งจ่ายเจ้าพนักงานบังคับคดีรับผิดชอบ ดําเนินการต่อไป
ข้อ ๑๕ ในกรณีหมายบังคับคดียึดทรัพย์นายประกันให้ปฏิบัติตามข้อ 13. โดยเพิ่มชื่อ นายประกันในสารบบ เมื่อศาลส่งเงินค่าใช้จ่ายและหลักประกันมาแล้วให้นําสํานวนเสนอหัวหน้า - สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค เพื่อสั่งจ่ายเจ้าพนักงานบังคับคดีรับผิดชอบดําเนินการต่อไป
ส่วน ๒ หมายแจ้งคําสั่งศาลเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย และตั้งผู้ชําระบัญชี
ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับหมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และหมายหรือหนังสือตั้งผู้ชําระบัญชี จากศาลต่าง ๆ ที่อยู่เขตอํานาจแล้วให้เจ้าหน้าที่ธุรการนําลงในบัญชีสารบบความสําหรับคดีล้มละลาย และชําระบัญชีโดยเรียงชื่อโจทก์ จําเลย ตามตัวอักษรที่มีชื่อปรากฏในหมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แล้วเข้าปกสํานวนโดยใส่สารบาญบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้และลงสมุดเรียงตามลําดับเรื่องที่รับเสร็จ แล้วนําเสนอหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค เพื่อสั่งจ่ายให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการต่อไป
ข้อ ๑๗ เมื่อปรากฏในทางสอบสวนว่าลูกหนี้ (จําเลย) มีทรัพย์สินหรือการดําเนิน จัดกิจการต่าง ๆ ของลูกหนี้ (จําเลย) ให้เจ้าหน้าที่ธุรการเข้าปกสํานวนแยกออกจากสํานวนกลาง เรียกว่าจํานวนจัดกิจการทรัพย์สิน โดยผูกรวมไว้กับสํานวนกลางของเรื่องนั้น ๆ แล้วนําเสนอหัวหน้า สํานักงานเพื่อสั่งจ่ายให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการต่อไป
ข้อ ๑๘ เมื่อได้รับคําขอรับชําระหนี้จากเจ้าหนี้ให้เจ้าหน้าที่ธุรการลงสารบบคําขอ รับชําระหนี้และบัญชีเจ้าหนี้ในสํานวนกลางแล้วเข้าปกสํานวนและนําเสนอหัวหน้าสํานักงาน เพื่อมีคําสั่ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการและรวบรวมไว้ในแฟ้มสํานวนกลางของเรื่องนั้น ๆ
เมื่อศาลมีคําสั่งเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้ดังกล่าวอย่างใดให้เจ้าหน้าที่ธุรการ ลงสารบบคําขอรับชําระหนี้และบัญชีเจ้าหนี้ในสํานวนกลางจนคดีถึงที่สุด
ข้อ ๑๙ เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ (จําเลย) มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลใดชําระเงินหรือ ส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ (เลย) ให้เจ้าหน้าที่ธุรการเข้าปกสํานวนหวงหนองสารบบทวงหนี้ และบัญชีลูกหนี้ในสํานวนกลางแล้วนําเสนอหัวหน้าสํานักงานสั่งจ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการและนํารวมไว้ในแฟ้มสํานวนกลางของเรื่องนั้น ๆ
ข้อ ๒๐ เมื่อปรากฏว่ามีกรณีที่ต้องดําเนินคดีแพ่ง การเพิกถอนการโอนร้องขัดทรัพย์ และสาขาคดีอื่น ๆ ให้เจ้าหน้าที่ธุรการเข้าปกสํานวนลงสารบบ สาขาคดีแล้วนําเสนอหัวหน้า สํานักงานเพื่อสั่งจ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการ และนํารวมไว้ในแฟ้มสํานวนกลาง ของเรื่องนั้น 7
ข้อ ๒๑ ให้เจ้าหน้าที่ธุรการตรวจสอบดูว่า ลูกหนี้ (จําเลย) ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ได้มีชื่อเกี่ยวข้องกับคดี หรือเคยถูกยึดทรัพย์ในคดีเรื่องใด ของศาลใด ตั้งแต่เมื่อใด แล้วเสนอ หัวหน้าสํานักงานเพื่อแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือกองที่เกี่ยวข้องดําเนินการต่อไป ถ้าตรวจแล้วไม่มีก็แจ้งให้หัวหน้าสํานักงานทราบด้วย
ข้อ ๒๒ นอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ 24 แห่งระเบียบนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประจําสํานักงาน - บังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล ดําเนินการประกาศและแจ้งคําสั่งศาลเช่นเดียวกับคดีล้มละลาย ในส่วนกลาง ตามที่กล่าวไว้ใน 3.23, 3, 25, 2.26 และให้แจ้งส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในเขตภาค หรือศาลนั้นรวมทั้งส่วนราชการที่ลูกหนี้มีภูมิลําเนาอยู่ด้วย
หมวด ๓ การวางทรัพย์ ประเมินราคาทรัพย์ และขอตั้งอนุญาโตตุลาการ
ข้อ ๒๓ เมื่อได้รับเรื่องขอวางทรัพย์ ประเมินราคาทรัพย์ และขอตั้งอนุญาโตตุลาการ จากผู้ขอหรือจากศาลที่ส่งมาแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ธุรการนําส่งสารบบวางทรัพย์ บัญชีแยกประเภททรัพย์ ที่วาง บัญชี ประเมินราคาทรัพย์ และบัญชีขอตั้งอนุญาโตตุลาการ และเข้าปกสํานวนแล้วนําเสนอ - หัวหน้าสํานักงานเพื่อสั่งจ่ายให้เจ้าพนักงานดําเนินการต่อไป
หมวด ๓ การลงประกาศของสํานักงานเลขานุการกรม
ข้อ ๒๔ ให้งานสารบรรณ สํานักงานเลขานุการกรม มีหน้าที่จัดส่งประกาศ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อลงในราชกิจจานุเบกษา และ หนังสือพิมพ์รายวัน รวมทั้งส่งไปยังส่วนราชการต่าง ๆ แล้วส่งสําเนาประกาศคืนยังกอง - พิทักษ์ทรัพย์ หรือสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ แล้วแต่กรณี พร้อมกับหมายเหตุไปให้ทราบ และลงหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่เท่าใดด้วย VIVE ด้วยว่าได้ส่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2528
(นายสวัสดิ์ โชติพานิช)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,546 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 168/2526 เรื่อง ข้อปฏิบัติระหว่างกรมที่ดินและกรมบังคับคดี เกี่ยวกับการตำแหน่งที่ดินเพื่อทำการยึดทรัพย์ นายประกันตามคำสั่งศาล พ.ศ. 2526 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 168/2526
เรื่อง ข้อปฏิบัติระหว่างกรมที่ดินและกรมบังคับคดี เกี่ยวกับการตําแหน่งที่ดินเพื่อทําการยึดทรัพย์
นายประกันตามคําสั่งศาล พ.ศ. 2526
---------------
ด้วยกรมที่ดินและกรมบังคับคดี ได้ร่วมกันวางข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการตําแหน่งที่ดิน เพื่อทําการยึดทรัพย์นายประกันตามคําสั่งศาลไว้แล้ว ฉะนั้น จึงมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ถือปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ ระหว่างกรมที่ดินและกรมบังคับคดี เกี่ยวกับการตําแหน่งที่ดินเพื่อทําการยึดทรัพย์นายประกัน ! ตามคําสั่งศาล พ.ศ. 2526 ที่ได้แนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2526
(นายสวัสดิ์ โชติพานิช)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,547 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 131/2526 เรื่อง กำหนดค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการ ค่าพาหนะ ยาน พร้อมด้วยค่ารายอื่น ๆ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 131/2526
เรื่อง กําหนดค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการ ค่าพาหนะ ยาน พร้อมด้วยค่ารายอื่น ๆ
------------------
เนื่องจากกระทรวงยุติธรรมได้มีระเบียบว่าด้วยงานอนุญาโตตุลาการ สํานักงานวางทรัพย์ กลาง กรมบังคับคดี พ.ศ. 2525 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2535 โดยที่ระเบียบกระทรวง ยุติธรรมว่าด้วยงานอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ยังมิได้กําหนดค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการ ค่าพาหนะพยานพร้อมด้วยค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไว้เป็นการแน่นอน
เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการกําหนดค่าธรรมเนียม อนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการ ค่าพาหนะพยาน พร้อมด้วยค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นไปโดยเรียบร้อยเหมาะสม และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คู่ความหรือคู่กรณีแต่ละฝ่ายเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการแก่อนุญาโตตุลาการ ฝ่ายของตน ในกรณีที่ขอให้เจ้าพนักงานเป็นผู้กําหนดให้ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังต่อไปนี้
1.1 คดีหรือข้อพิพาทที่มีทุนทรัพย์
1.1.1 ทุนทรัพย์ที่เรียกร้องไม่เกิน 50,000.- บาท คิดอัตราไม่เกินร้อยละ 6 ของจํานวนเงินที่เรียกร้องหรือมูลค่าที่พิพาท แต่ต้องไม่ต่ํากว่า 1,000.- บาท
1.1.2 ทุนทรัพย์ที่เรียกร้องส่วนที่เกิน 50,000.- บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดอัตราไม่เกินร้อยละ 3
1.1.3 ทุนทรัพย์ที่เรียกร้องส่วนที่เกิน 100,000.- บาท แต่ไม่เกินคิดอัตราไม่เกินร้อยละ 1
1.1.4 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้คิดค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการไม่เกิน 200,000 บาท
1.2 คดีหรือข้อพิพาทที่ไม่มีทุนทรัพย์ ให้คิดค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการไม่ต่ํากว่า ให้คิด 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ทั้งนี้การคิดค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ให้คํานึงถึง สภาพแห่งคดีหรือข้อพิพาท ความยากง่ายของงานที่ทํา และระยะเวลาที่ต้องเสียไปในการทํางานของ อนุญาโตตุลาการ
ข้อ ๒ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาด ความหรือคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเป็น เสียค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการฝ่ายละครึ่ง เว้นแต่ความหรือกรณีจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น ส่วนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคิดค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้นําข้อ 1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๓ ค่าป่วยการพยานให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้กําหนด แต่ไม่เกินวันละ boo ส่วนค่าพาหนะเดินทางของพยานให้จ่ายตามที่พยานจ่ายไปจริงโดย ริงโดยให้ความหรือกรณีฝ่ายที่อ้าง เป็นผู้เสีย ในกรณีที่ความหรือกรณีทั้งสองฝ่ายอ้างพยานร่วมกัน ให้เสียฝ่ายละครึ่ง
ข้อ ๔ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้กําหนดตามสมควร
ข้อ ๕ ค่าอากรแสตมป์ที่ปิดในคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปตามประมวลรัษฎากร
ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 24 สิงหาคม 2526
(นายสวัสดิ์ โชติพานิช)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,548 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.