title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 489/2544 เรื่อง การกำหนดราคาทรัพย์ของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 489/2544
เรื่อง การกําหนดราคาทรัพย์ของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์
---------------------------
เพื่อให้การประเมินราคาทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สอดคล้องกับความเป็นจริงตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ สมควรปรับปรุงมาตรการในการประเมิน ราคาทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาด ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อให้ การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวดําเนินไปด้วยความรวดเร็ว เรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 404/2541 เรื่องการกําหนดราคาทรัพย์ของคณะกรรมการ กําหนดราคาทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2541
ข้อ ๒ ทรัพย์สินที่มีราคาประเมินขณะยึด หรือราคาประเมินของสํานักงานวางทรัพย์กลาง ตั้งแต่ 50,000,000 บาท (ห้าสิบล้านบาท) ขึ้นไป หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาแล้วเห็น สมควรให้ทําการกําหนดราคาใหม่ ให้เสนอคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์พิจารณาเสียก่อนที่จะทํา การประกาศขายทอดตลาด หรือจําหน่ายโดยวิธีอื่นในครั้งแรก
ข้อ ๓ ในการขายทอดตลาดทรัพย์ตั้งแต่ครั้งที่สองเป็นต้นไป ถ้าไม่มีผู้ใดเสนอราคาหรือมีผู้เสนอ ราคาต่ํากว่าราคาเริ่มต้นของเจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด แล้วแต่กรณีเห็นสมควรให้ทําการกําหนด ราคาใหม่ก่อนทําการประกาศขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้รายงานเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณาว่าเห็นสมควรให้เสนอคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์เพื่อพิจารณา กําหนดราคาใหม่หรือไม่
ข้อ ๔ ในการกําหนดราคาทรัพย์สินให้คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ พิจารณาหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ประกอบด้วย
(1) ราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) ราคาประเมินของเจ้าพนักงานสํานักงานวางทรัพย์กลาง
(3) สภาพของทรัพย์ ขาย
(4) สภาพเศรษฐกิจและสภาวะตลาดในขณะทําการขาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,349 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 488/2544 เรื่อง การขายทอดตลาดห้องชุด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 488/2544
เรื่อง การขายทอดตลาดห้องชุด
-------------------
เพื่อให้การขายทอดตลาดห้องชุดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดําเนินไปด้วยความรวดเร็ว เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จึงมี คําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 433/2537 เรื่องการแจ้งการยึดห้องชุดต่อผู้จัดการ นิติบุคคลอาคารชุด ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2537
ข้อ ๒ การยึดห้องชุดในนิติบุคคลอาคารชุด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แจ้งการยึดให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดทราบ พร้อมทั้งสอบถามผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ด้วยว่าห้องชุดที่ยึดดังกล่าวมีภาระหนี้สินที่จะต้องรับผิดชอบหรือไม่ จํานวนเท่าใด เพื่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ระบุแจ้งไว้ในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ เพื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้ จะต้องชําระก่อนจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ ตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18, มาตรา 29 และมาตรา 41
ข้อ ๓ ก่อนทําการประกาศขายห้องชุด หากเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ได้รับแจ้งภาระหนี้สินที่จะต้องรับผิดชอบตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ แจ้งผู้นํายึดให้ตรวจสอบและแจ้งภาระหนี้สินอันรับรองต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อประกอบการขาย
ข้อ ๔ การขายทอดตลาดห้องชุด ซึ่งนิติบุคคลอาคารชุดมิได้ขอรับชําระหนี้บุริมสิทธิในภาระ หนี้สินเหนือห้องชุดนั้นต่อศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นําภาระ หนี้สินเหนือห้องชุดที่จะขายมาประกอบการพิจารณา โดยให้ถือว่าภาระหนี้สินดังกล่าวเป็น ส่วนหนึ่งของราคาที่สมควรขายด้วย ทํานองเดียวกับการขายโดยปลอดจํานองซึ่งยังผลให้ผู้ซื้อได้ ไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินดังกล่าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,350 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 453/2544 เรื่อง การประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 453/2544
เรื่อง การประกาศขายทอดตลาดทรัพย์
-----------------
เพื่อให้การขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งเกี่ยวกับการกําหนด วันขายทอดตลาดดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 283/2544 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2544 เรื่องการกําหนดวันขาย 3 นัด ในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ฉบับเดียวกัน
ข้อ ๒ การประกาศกําหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์ในแต่ละครั้ง ให้กําหนดวันขายทอดตลาด 3 นัด ในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ฉบับเดียวกัน โดยมีระยะเวลาห่างกันในแต่ละนัดไม่เกิน 1 เดือน แล้วแต่ ความจําเป็นของแต่ละหน่วยงานที่ทําการขาย และให้ระบุว่าเป็นการประกาศขายครั้งที่.......... ท้ายกําหนดวันขายทอดตลาด ชื่อหมู่บ้าน (ถ้ามี)........................... สถานที่.....................เลขที่.........................ถนน.....................ตําบล..............................อําเภอ...........................จังหวัด................................เวลา........................นาฬิกาโดยให้กําหนดข้อความว่า “หากในการขายแต่ละครั้งไม่มีการขายหรือขายไม่ได้ หรือขายได้ไม่ครบทุกรายการ จะทําการขายครั้งต่อไปตามกําหนดนัดดังกล่าว
กรณีมีความจําเป็นทําให้ต้องกําหนดวันขายทอดตลาดต่างไปจากที่กําหนดไว้ในข้อ 2 ในส่วนกลางให้รายงานขอความเห็นชอบจากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย ส่วนภูมิภาคให้รายงาน ขอความเห็นชอบจากผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคในเขตรับผิดชอบ
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีร่างประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ เสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น เพื่อส่งพิมพ์ประกาศภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทราบคําสั่งศาล ในกรณีที่เป็นการประกาศขาย อสังหาริมทรัพย์ให้จัดส่งภาพถ่ายทรัพย์ที่ยึดและแผนที่การไปด้วยทุกครั้ง
สําหรับส่วนภูมิภาคการส่งพิมพ์ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ให้กําหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์ 3 นัดแรกไปด้วย ส่วนครั้งต่อ ๆ ไป เมื่อโจทก์วางเงินค่าประกาศขายทอดตลาดแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ภายใน 45 วัน พร้อมแจ้งกําหนดวันขายทอดตลาดและประกาศ ขายครั้งที่............. ให้ศูนย์สารสนเทศทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือน
คําสั่งนี้ไม่กระทบถึงประกาศขายทอดตลาดที่ได้ประกาศขายไปก่อนหน้านี้แล้ว และให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,351 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 414/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 414/2544
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดี
--------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดี เกี่ยวกับ การสั่งคําร้องขอขยายระยะเวลาในการชําระราคาทรัพย์ หรือคําร้องขอคืนราคาทรัพย์ในการขายหรือ จําหน่ายทรัพย์ ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 117/2533 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดี ลงวันที่ 30 มีนาคม 2533 และบันทึกข้อความที่ ยธ 0321/160 ลงวันที่ 18 มกราคม 2533 เรื่อง ขอให้แจ้งคําสั่งท่านอธิบดีเพื่อถือปฏิบัติ
ข้อ ๒ เมื่อได้รับคําร้องขอขยายระยะเวลาในการชําระราคาทรัพย์ หรือคําร้องขอคืนราคาทรัพย์ ซึ่งมิใช่กรณีที่เป็นผลมาจากการยกเลิกหรือเพิกถอนการขายหรือจําหน่ายทรัพย์ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานข้อเท็จจริงตลอดจนพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของ ผู้ร้องว่าผู้ร้องได้ยื่นคําร้องโดยสุจริตหรือไม่ กรณีที่มีการร้องขอให้ศาลยกเลิกหรือเพิกถอนการขาย คําร้องนั้นมีมูลหรือไม่เพียงใด ให้เสนอความเห็นว่าควรมีคําสั่งยกคําร้องหรืออนุญาตตามคําร้องทั้งหมด หรือเพียงบางส่วน โดยให้เสนอความเห็นพร้อมสํานวนไปตามลําดับชั้นเพื่อขออนุมัติจากอธิบดีหรือ รองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,352 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 344/2544 เรื่อง การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 344/ 2544
เรื่อง การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการ
-------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของกรมบังคับคดี เรื่องการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพในแนวทางเดียวกัน และเป็นประโยชน์ แก่คู่ความในการใช้บริการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการ จึงมีคําสั่งดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 151/2544 ลงวันที่ 11 เมษายน 2544 เรื่องการยึด อสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการ
ข้อ ๒ ในกรณียืดอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด ให้ดําเนินการยึด ณ ที่ทําการ โดยไม่ต้องออกไปดําเนินการยึด ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ เว้นแต่ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้า สํานักงานบังคับคดีจังหวัดมีคําสั่งอนุญาตเนื่องจากสภาพทรัพย์มีรายละเอียดมาก มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น โรงแรม โรงงาน ฯลฯ เป็นต้น หรือมีราคาประเมินเกินกว่า 20 ล้านบาท
ข้อ ๓ ให้ผู้นํายึดวางเงินทดรองค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีสํานวนละ 2,500 บาท และนําส่งเอกสารประกอบการยืดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการยึด ดังต่อไปนี้
3.1. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส.3/น.ส.3 ก.) หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดหรือเอกสารสําคัญที่ดินอื่น ๆ หรือสําเนาที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน รับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (หากมี) เช่น หนังสือสัญญาจํานอง เป็นต้น
3.2. สําเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ และ/หรือหนังสือ รับรองนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นปัจจุบันซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
3.3. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่จะยึด พร้อมสําเนา
3.4. ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึดโดยระบุขนาดกว้างยาว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,353 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 336/2544 เรื่อง การส่งหมาย ประกาศหนังสือหรือเอกสารอื่นใดโดยทางไปรษณีย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 336/2544
เรื่อง การส่งหมาย ประกาศหนังสือหรือเอกสารอื่นใดโดยทางไปรษณีย์
---------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการส่งหมาย ประกาศ หนังสือ หรือเอกสารอื่นใดเป็นไป โดยถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่งของทางราชการ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งเป็นการลด ภาระค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี จึงมีคําสั่งให้ถือปฏิบัติในการส่งหมาย ประกาศ หนังสือหรือเอกสารอื่นใด ซึ่งต้องส่งให้แก่คู่ความ ผู้มีส่วนได้เสีย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ข้อ ๑ เอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งดังต่อไปนี้ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
- หมายแจ้งผู้แทนโจทก์ หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาให้มารับหนังสือบังคับคดีแทน,ให้แถลงกรณีต่าง ๆ หรือให้วางค่าใช้จ่ายเพิ่ม ๆ
- หมายแจ้งหรือหนังสือแจ้งผู้รับจํานองให้ส่งโฉนด, สัญญาจํานองและแจ้งวิธีการขาย (เฉพาะผู้รับจํานองที่เป็นสถาบันการเงิน)
- การส่งประกาศขายให้สํานักงานเขตหรือสํานักงานที่ดิน ปิดประกาศ ณ สํานักงาน
- หมายแจ้งถอนการยึดทรัพย์ให้จําเลยหรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาทราบ
- หนังสือตอบรับเงินต่าง ๆ
- หนังสือแจ้งคู่ความให้มาตรวจสอบบัญชีรับ - จ่าย
- หมายแจ้งคู่ความให้มารับค่าใช้จ่ายที่เหลือคืน หรือรับเงิน
- การแจ้งผลการอายัด หรือเหตุขัดข้องในการอายัดให้โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาทราบ
ในกรณีที่ไม่สามารถจัดส่งเอกสารดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ หรือกรณี มีความจําเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้อํานวยการหรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดี มีอํานาจกําหนดวิธีการ ส่งตามที่เห็นสมควรได้ ทั้งนี้ให้ระบุเหตุผลและความจําเป็นไว้ด้วย
ข้อ ๒ เอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย
2.1) เอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายดังต่อไปนี้ ให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
สํานวนกลาง
- หมายนัดเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์วางเงินค่าใช้จ่าย
- หมายนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้
- หมายนัดเจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียตรวจบัญชีส่วนแบ่ง
สํานวนกิจการ
- หมายนัดเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ยึด
- หมายนัดสอบถาม
สํานวนคําขอรับชําระหนี้ สํานวนคําขอตามมาตรา 95 จํานวนเพิกถอน สํานวน ร้องขัดทรัพย์ สํานวนขอปฏิบัติตามสัญญา สํานวนหักกลบลบหนี และสํานวนร้องขอกันส่วน
- หมายนัดเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นํายึด
- หมายนัดสอบสวน หมายแจ้งคําสั่ง
สํานวนทวงหนี้
- หมายนัดสอบสวน
สํานวนชําระบัญชี
- หมายนัดผู้ร้องหรือโจทก์วางเงินค่าใช้จ่าย
- ส่งคําบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้
- หมายนัดสอบสวนผู้ร้อง โจทก์ จําเลย ผู้เกี่ยวข้อง
- หมายแจ้งคําสั่งทวงหนี้
- การแจ้งนัดประชุมใหญ่บรรดาผู้เป็นหุ้นส่วน/ผู้ถือหุ้น
2.2) เอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายดังต่อไปนี้ให้ส่งทางไปรษณีย์
สํานวนกลาง
- หนังสือแจ้งนายทะเบียนท้องถิ่น
- หนังสือแจ้งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
- หนังสือแจ้งกระทรวงการต่างประเทศ
- หนังสือแจ้งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
- หนังสือรายงานผลการประชุมเจ้าหนี้ต่อศาล
- ประกาศค่าพิพากษาล้มละลายถึงนายทะเบียนท้องถิ่น
- ประกาศค่าพิพากษาล้มละลายถึงสํานักงานตรวจแห่งชาติ
- ประกาศคําพิพากษาล้มละลายถึงกระทรวงการต่างประเทศ
- ประกาศคําพิพากษาล้มละลายถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนหรือบริษัท
- ประกาศคําสั่งศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงนายทะเบียนท้องถิ่น
- ประกาศคําสั่งศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
- ประกาศคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ งกระทรวงการต่างประเทศ
- ประกาศคําสั่งศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนหรือ บริษัท
- ประกาศคําสั่งศาลยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายถึงนาย ทะเบียนท้องถิ่น
- ประกาศคําสั่งศาลยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายถึงสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
- ประกาศคําสั่งศาลยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายถึงกระทรวงการต่างประเทศ
- ประกาศคําสั่งศาลยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนหรือบริษัท
- ประกาศคําสั่งยกเลิกการล้มละลายถึงนายทะเบียนท้องถิ่น
- ประกาศคําสั่งยกเลิกการล้มละลายถึงสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
- ประกาศคําสั่งยกเลิกการล้มละลายถึงกระทรวงการต่างประเทศ
- ประกาศคําสั่งยกเลิกการล้มละลายถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนหรือบริษัท
- หนังสือรายงานศาลขอปิดหรือเปิดคดี
- หนังสือรายงานศาลกรณีอื่น
- ประกาศส่งส่วนราชการต่าง ๆ
สํานวนชําระบัญชี
- หนังสือถึงนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ในกรณีที่ไม่สามารถจัดส่งเอกสารดังกล่าวทางไปรษณีย์หรือไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ หรือกรณีมีความจําเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้อํานวยการหรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดี มีอํานาจ กําหนดวิธีการส่งตามที่เห็นสมควรได้ ทั้งนี้ให้ระบุเหตุผลและความจําเป็นไว้ด้วย
ข้อ ๓ เอกสารเกี่ยวกับการวางทรัพย์และประเมินราคาทรัพย์ที่จะส่งให้เจ้าหนี้ นาย ทะเบียนต่าง ๆ ผู้วางทรัพย์หรือผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับทั้งหมด เว้นแต่ เอกสารใดไม่สามารถส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ หรือกรณีมีความจําเป็น และมีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้อํานวยการหรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดี มีอํานาจกําหนดวิธีการส่งตามที่เห็นสมควรได้ ทั้งนี้ให้ระบุ เหตุผลและความจําเป็นไว้ด้วย
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
( นายไกรสร บารมีอวยชัย )
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,354 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 314/2544 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 314/2544
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
-----------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการประกาศคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การตรวจรับคําขอรับชําระหนี้ การตรวจคําร้องหรือคําขอหรือคําแถลงหรือหมายต่างๆ ในคดีล้มละลายสามารถดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กองบังคับคดีล้มละลาย 1 ถึงกองบังคับคดีล้มละลาย 5 รับผิดชอบเป็นเวรสั่งใน วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตามลําดับ โดยจัดหัวหน้ากลุ่มงาน 1 คนและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 1 คนทําหน้าที่เวรสั่ง ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทําหน้าที่เวรสั่งไปปฏิบัติหน้าที่ที่ฝ่ายคําคู่ความในวันที่แต่ละกองต้องรับผิดชอบ
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรสั่ง มีหน้าที่ดังนี้
2.1 เมื่อได้รับแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้ดําเนินการประกาศคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ กําหนด วันนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ หมายเรียก หมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพื่อเรียกลูกหนี้ (จําเลย) มาให้การ สอบสวนพร้อมแจ้งหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายในวันนั้น
2.2 กําหนดหรือหมายนัดให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์วางเงินประกันค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งแถลง เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ (จําเลย)
2.3 ตรวจและมีคําสั่งในคําขอรับชําระหนี้ที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ว่าดําเนินการโดยถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หรือไม่ หากเจ้าหนี้ไม่ส่งเอกสารหลักฐานประกอบหนี้ หรือส่งเอกสารหลักฐานประกอบหนี้ไม่ครบถ้วนในวัน ดังกล่าวด้วย ยื่นคําขอรับชําระหนี้ให้มีคําสั่งให้เจ้าหนี้นําส่งอย่างช้าภายในวันนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ พร้อมทั้งแจ้งด้วย ว่าหากประสงค์จะยื่นบันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงประกอบให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลา
2.4 ตรวจคําร้องหรือคําขอหรือคําแถลงหรือหมายต่าง ๆ ที่ยืนในคดีล้มละลาย
ข้อ ๓ การจัดทําประกาศตามข้อ 2.1 เมื่อดําเนินการแล้วเสร็จให้รวบรวมส่งกองบังคับคดี ล้มละลายที่รับผิดชอบสั่งจ่ายสํานวนและดําเนินการตามระเบียบต่อไป
ข้อ ๔ ในกรณีที่สํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาครับคําขอรับชําระหนี้ที่เจ้าหนี้ขอยื่นคําขอ รับชําระหนี้ในคดีล้มละลายของลูกหนี้ (จําเลย) ไว้แทน ให้สํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาคปฏิบัติตาม ข้อ 2.3 ด้วย
ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สํานักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาคปฏิบัติตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ด้วย
ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,355 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 283/2544 เรื่อง การกำหนดวันชาย 3 นัด ในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ฉบับเดียวกัน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 283/2544
เรื่อง การกําหนดวันชาย 3 นัด ในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ฉบับเดียวกัน
--------------------------
เพื่อให้การขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้ง ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่ง เกี่ยวกับการกําหนดวันขายทอดตลาดดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 19/2542 ลงวันที่ 25 มกราคม 2542 เรื่องการกําหนดวันขาย 2 นัด ในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ฉบับเดียวกัน
ข้อ ๒ การประกาศกําหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์ในแต่ละครั้ง ให้กําหนดวันชาย 3 นัด ในประกาศ ขายทอดตลาดทรัพย์ฉบับเดียวกัน โดยมีระยะเวลาห่างกันในแต่ละนัดไม่เกิน 1 เดือน แล้วแต่ความจําเป็นของแต่ละหน่วยงานที่ทําการขาย และให้ระบุสถานที่.................... เลขที่..........................ถนน..............................ตําบล..........................อําเภอ.......................จังหวัด.............................เวลา...............................นาฬิกา โดยให้กําหนดข้อความว่า "หากในการขายแต่ละครั้งไม่มีการขายหรือขายไม่ได้หรือขายได้ไม่ครบทุกรายการจะทําการขายครั้งต่อไปตามกําหนดนัดดังกล่าว
ข้อ ๓ กรณีมีความจําเป็นทําให้ต้องกําหนดวันขายทอดตลาดต่างไปจากที่กําหนดไว้แล้วในข้อ 2 ให้ดําเนินการดังนี้
ส่วนกลางให้รายงานขอความเห็นชอบจากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายก่อน
ส่วนภูมิภาคให้รายงานขอความเห็นชอบจากผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคในเขตรับผิดชอบก่อน
คําสั่งนี้ไม่กระทบถึงประกาศขายทอดตลาดที่ได้ประกาศขายไปก่อนหน้านี้แล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,356 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 277/2544 เรื่อง การพักอาศัยในแฟลตที่พักอาศัยสำนักงานหรือสถานที่เก็บรักษาทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 277/2544
เรื่อง การพักอาศัยในแฟลตที่พักอาศัยสํานักงานหรือสถานที่เก็บรักษาทรัพย์
----------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้อนุเคราะห์ให้ข้าราชการและลูกจ้างกรมบังคับคดีเข้าพักอาศัยในแฟลต ที่พักอาศัยและสถานที่ที่กรมบังคับคดีได้เช่าเป็นที่ทําการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค สํานักงาน บังคับคดีจังหวัด และสํานักงานบังคับคดีจังหวัดสาขา ตั้งแต่ได้เริ่มมีการเปิดสํานักงานตลอดมานั้น เพื่อให้การ เข้าพักอาศัยในสถานที่ดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสงบสุขของผู้พักอาศัยด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ผู้พักอาศัยดังกล่าว ได้รักษาวินัยของทางราชการอย่างเคร่งครัดด้วย จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ห้ามข้าราชการและลูกจ้างที่เข้าพักอาศัยในสถานที่ที่กรมบังคับคดีได้อนุเคราะห์ให้เข้าพักอาศัยดังกล่าว นําสุราหรือของมึนเมาเข้ามาดื่มหรือเสพในสถานที่ดังกล่าว
ข้อ ๒ ให้ข้าราชการและลูกจ้างตามข้อ 1 ระมัดระวังในการรักษาระเบียบวินัยของทางราชการ โดยเฉพาะการรักษาระเบียบวินัยเกี่ยวกับเวลา ในการปฏิบัติราชการ การมาสาย การลา เป็นต้น
ข้อ ๓ ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้าสํานักงาน และผู้อํานวยการ สอดส่องดูแลให้การเป็นไป ตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด หากมีกรณีการฝ่าฝืนต่อคําสั่งนี้ให้รีบรายงานให้กรมบังคับคดีพิจารณาโดยเร็ว มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการปกปิดการกระทําความผิดของผู้ใต้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,357 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 224/2544 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการวางทรัพย์และวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 224/2544
เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการวางทรัพย์และวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม
---------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการงานวางทรัพย์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคดําเนินไปด้วย ความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 306/2531 เรื่อง การปฏิบัติเมื่อผู้วางทรัพย์วางเงินประกัน ค่าฤชาธรรมเนียม ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2531
ข้อ ๒ เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคําร้องขอวางทรัพย์และผู้วางทรัพย์จะต้องวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการวางทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี พ.ศ. 2518 แล้ว
2.1 ในกรณีที่เจ้าหนี้ได้มารับทรัพย์ที่วางไว้ไปและเจ้าพนักงานจะต้องคืนเงินประกัน ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่ผู้วางทรัพย์นั้น ให้เจ้าพนักงานแจ้งผู้วางทรัพย์มารับเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม ที่วางไว้คืนไปภายในกําหนด 1 เดือน หากไม่มารับภายในกําหนดเวลาดังกล่าวให้ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
2.2 ในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่มารับทรัพย์ที่วางไว้ไปภายในกําหนด และพ้นระยะเวลา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 339 แล้ว ให้เจ้าพนักงานแจ้งผู้วางทรัพย์มารับทรัพย์ที่วางไว้ พร้อมเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมคืนไปภายในกําหนด 1 เดือน หากไม่มารับภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
รักษาราชการแทน อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,358 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 411/2543 เรื่อง เร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 411/2543
เรื่อง เร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
-----------------------------
ด้วยปรากฏว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ขอให้งดการบังคับคดีไว้ หรือเพิกเฉยไม่ดําเนินการบังคับคดีโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้สํานวน การบังคับคดีแพ่งต้องดําเนินไปโดยล่าช้าไม่อาจเสร็จสิ้นไปในระยะเวลาอันสมควร ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีดังกล่าวดําเนินไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 380/2533 เรื่อง เร่งรัดการปฏิบัติงานของ เจ้าพนักงานบังคับคดี ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2553
ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา มาขอตั้งเรื่องการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อขอให้บังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีในวันนั้น หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีมีเหตุขัดข้องไม่อาจดําเนินการในวันนั้นได้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดวัน เวลานัด เพื่อดําเนินการบังคับคดีต่อไปอย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา มาขอตั้งเรื่องการบังคับคดี เว้นแต่มีวันว่างไม่ตรงกัน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดได้ภายในระยะเวลา ไม่เกิน 2 เดือน หากจําเป็นต้องกําหนดนัดเกินกว่าระยะเวลาดังกล่าวให้เสนอผู้อํานวยการกอง หรือ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดพิจารณาอนุญาต
เมื่อถึงกําหนดนัดตามวรรคหนึ่ง ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามิได้มานําเจ้าพนักงาน บังคับคดีไปดําเนินการบังคับคดี ให้จัดทําบัญชีค่าใช้จ่าย หากมีเงินเหลือให้คืนเจ้าหนี้ตามคําพิพากษารับไป และให้แจ้งด้วยว่าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษายังสามารถดําเนินการบังคับคดีได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เว้นแต่จะมีการขอเลื่อนการบังคับคดีก็ให้ดําเนินตามข้อ 3
ข้อ ๓ ในกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีโดย
(1) กรณีขอให้งดการบังคับคดีโดยไม่มีกําหนดระยะเวลาไว้ในสํานวนคดี ซึ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ดําเนินการถึงขนาดจะต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณางดการบังคับคดี และจัดทําบัญชีค่าใช้จ่าย หากมีเงินเหลือให้คืนเจ้าหนี้ตามคําพิพากษารับไป และให้แจ้งด้วยว่าเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษายังสามารถดําเนินการบังคับคดีได้ภายในระยะเวลาตามมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(2) กรณีขอให้งดการบังคับคดี โดยไม่กําหนดระยะเวลาไว้ในสํานวนที่ดําเนินการบังคับคดีไว้แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดวัน เวลานัด เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแถลง ความประสงค์ในการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน
(3) กรณีของการบังคับคดี โดยกําหนดระยะเวลาไว้ในสํานวนที่ดําเนินการ บังคับคดีไว้แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดวัน เวลานัด เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแถลงความ ประสงค์ในการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน
ข้อ ๔ เมื่อถึงกําหนดนัดตามข้อ 3 (2) หรือ ข้อ 3 (3)
(1) กรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้งดการบังคับคดีต่อไปอีกให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีกําหนดวัน เวลานัด เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแถลงความประสงค์ในการบังคับคดีต่อไป
(2) กรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดีตามนัด ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายนัดให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามาแถลงความประสงค์ในการบังคับคดีต่อไป ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน ทั้งนี้ ให้กําชับหรือแจ้งไปด้วยว่า ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่มาตามนัด จะถือว่าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกเฉยไม่ดําเนินการบังคับคดี ภายในเวลากําหนด เจ้าพนักงานบังคับคดี จะขอให้ศาลมีคําสั่งถอนการบังคับคดีหรือดําเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป
เมื่อถึงกําหนดนัดตาม (2) ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่มาพบเจ้าพนักงาน บังคับคดีตามกําหนดนัด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลมีคําสั่งถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวิ
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543
(นายมานิตย์ สุภาพร)
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,359 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 94/2543 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานวางทรัพย์ในการบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 94/2543
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานวางทรัพย์ในการบังคับคดีแพ่ง
และการวางทรัพย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
---------------------------------
โดยที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 ได้เพิ่มหมวด 3/1 กระบวนพิจารณา เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งเมื่อมีการยื่นคําร้องขอ ให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และศาลได้มีคําสั่งให้รับคําร้องขอไว้พิจารณา จะเกิดผลทางกฎหมายจํากัดสิทธิ ที่เรียกว่า “สภาวะการหักบังคับชําระหนี้” นอกจากนี้เมื่อศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้วจะมีผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงอํานาจในการบริหารของกิจการของลูกหนี้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับ การบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ ซึ่งอาจคาบเกี่ยวกับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทั้งในส่วนกลางและ ในส่วนภูมิภาคเป็นไปด้วยความถูกต้องตามกฎหมายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นผู้รับผิดชอบจัดเก็บรวบรวมข้อมูลคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้หน่วยราชการต่าง ๆ ในสังกัดกรมบังคับคดีไว้ตรวจสอบ
ข้อ ๒ เมื่อสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้แจ้งคําสั่งศาลในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้หน่วย ราชการต่าง ๆ ในสังกัดกรมบังคับคดีทราบตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 198/2541 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2541 เรื่อง ขั้นตอนการรายงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้เจ้าหน้าที่ธุรการของหน่วยราชการนั้น ลงทะเบียนรับ และนําเสนอต่อผู้บังคับบัญชาภายในวันที่ได้รับหนังสือ หรือรับโทรสาร หรืออย่างช้าภายในเช้าวันทําการถัดไป
ข้อ ๓ เมื่อได้รับแจ้งความว่า ศาลได้มีคําสั่งรับคําร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณาแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานวางทรัพย์ตรวจสอบว่า ลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เกี่ยวข้อง เป็นคู่ความ หรือผู้มีส่วนได้เสียในสํานวนบังคับคดีแพ่ง หรือสํานวนวางทรัพย์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบหรือไม่ หากมีให้แจ้งรายละเอียดแห่งคดีพร้อมส่งเอกสารที่จําเป็นและเกี่ยวข้องให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทราบ โดยเร็วที่สุด โดยให้ส่งทางโทรสารก่อน และให้ปฏิบัติตามคําขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สํานักฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้
ข้อ ๔ ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานวางทรัพย์จะออกไปทําการยึดทรัพย์สินของ ลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือจ่ายเงิน ให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา เจ้าหนี้ ผู้วางทรัพย์ หรือผู้มีส่วนได้เสีย ในคดี แล้วแต่กรณี นอกจากจะต้องตรวจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่แล้วให้ตรวจดูด้วยว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือไม่ด้วย หากมี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือ เจ้าพนักงานวางทรัพย์ปฏิบัติตามข้อ 3
ข้อ ๕ ให้หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 1 - 9 และผู้อํานวยการกองของหน่วยราชการตามข้อ 1 ควบคุมดูแลให้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
(นายมานิตย์ สุธาพร)
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,360 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 278/2543 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการน่าสงหรือรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 278/2543
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการน่าสงหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
----------------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 317/2541 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2541 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนําส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่ง หรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 317/2541 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2541 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการน่าส่งหรือรับเงินของ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก.กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. อํานวยการกองคลัง (นางจํานงค์ ฉายานนท์) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดี (นางวิไล เพชรประดับฟ้า) เป็นกรรมการ
3. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางศุภมาศ เหมไหรณ ) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1. หัวหน้าฝ่ายบัญชีและงบประมาณ (นางสาวรัตนา วิมุกตานนท์) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางนงลักษณ์ ยุติธาดา) เป็นกรรมการ
3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสาววรรณี ชีพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการ ส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานคือ
1. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางศุภมาศ เหมไหรณย์) เป็นกรรมการ
2. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 4 (นางสาวอนงค์ เที่ยงตรง) เป็นกรรมการ
4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 4 (นางสาวทศพ เจริญสุข) เป็นกรรมการ
5. เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 (นางประชุมพร ทองนิล) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือน่าเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการน่าส่งเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่จะ นําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใด ซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลัง หรือหัวหน้าฝ่าย การเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่ง คลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2543
(นายมานิตย์ สุธาพร)
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,361 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 117/2543 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เป็นผู้อนุมัติการเดินทางไปราชการ ในราชอาณาจักรของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 117/2543
เรื่อง มอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เป็นผู้อนุมัติการเดินทางไปราชการ
ในราชอาณาจักรของข้าราชการและลูกจ้างในสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
-----------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างในสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ในกรณี ซึ่งมีความจําเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาคโดยเร่งด่วน เพื่อมิให้เกิดความเสียหาย แก่ราชการ เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทาง ไปราชการและการจัดการประชุมของทางราชการ พ.ศ. 2524 ข้อ 11 และ ข้อ 12 และระเบียบ กระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการในราชอาณาจักรของข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2535 ข้อ 4 จึงมอบอํานาจให้ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นผู้อนุมัติการเดินทาง ไปราชการในราชอาณาจักรของข้าราชการและลูกจ้างทุกตําแหน่งในสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เมื่อได้มีการอนุมัติการเดินทางไปราชการแล้วให้รายงานกรมบังคับคดีทราบด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
( นายมานิตย์ สุธาพร )
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,362 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 533/2542 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในสำนวนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 533/2542
เรื่อง ค่าใช้จ่ายในสํานวนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
-----------------------------
เพื่อให้การสั่งจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในคดีฟื้นฟูกิจการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการไปด้วยความเหมาะสมกับสภาวะการณ์ปัจจุบันและเป็นธรรม จึงสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ ในการสั่งจ่ายเงินดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ค่าใช้จ่ายในคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้ดําเนินการไปเกี่ยวเนื่องกับ การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จนถึงวันที่ศาล มีคําสั่งให้ยกคําร้องขอ หรือจําหน่ายคดี หรือยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดการประชุมเจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายในการประกาศ โฆษณาคําสั่ง เป็นต้น ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถเบิกจากเงินในคดีได้
ข้อ ๒ ค่าใช้จ่ายตามข้อ 1. ให้ใช้จ่ายโดยคํานึงถึงเหตุจําเป็นและเหมาะสมตามภาวะ การณ์ และให้ผู้อํานวยการสํานัก หรือผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาสั่งจ่ายได้ตามควรแก่กรณี
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542
(นายมานิตย์ สุธาพร)
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,363 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 19/2542 เรื่อง การกำหนดวันขาย 2 นัด ในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ฉบับเดียวกัน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 19 /2542
เรื่อง การกําหนดวันขาย 2 นัด ในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ฉบับเดียวกัน
-------------------------
เพื่อให้การขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่ง เกี่ยวกับการกําหนดวันขายทอดตลาดดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การออกประกาศกําหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์ในแต่ละครั้ง ให้กําหนดวันขาย 2 นัด ในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ฉบับเดียวกัน โดยมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน แล้วแต่ความจําเป็นของแต่ละหน่วยงานที่ทําการขาย
ในกรณีทรัพย์ที่จะขายมีจํานวน 1 รายการ ให้กําหนดข้อความต่อท้ายกําหนดนัดแรกให้ได้ ความว่า “หากไม่มีการขายหรือขายไม่ได้ จะทําการขายครั้งต่อไป ณ สถานที่.............................................................. วันที่..................เดือน.......................พ.ศ. ............... เวลา ............... นาฬิกา
ในกรณีทรัพย์ที่จะขายมีจํานวนมากกว่า 1 รายการ ให้กําหนดข้อความต่อท้ายกําหนดนัดแรก ให้ได้ความว่า “ หากไม่มีการขายหรือขายไม่ได้หรือขายได้ไม่ครบทุกรายการ จะทําการขายครั้งต่อไป ณ สถานที่ ...............................วันที่..................เดือน.................พ.ศ. ..............เวลา.......................................นาฬิกา
ข้อ ๒ การกําหนดหมายเหตุ ให้กําหนดหมายเหตุไว้ในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ต่อท้าย หัวข้อทรัพย์ที่จะขาย ให้ได้ความว่า “หากผู้มีส่วนได้เสียบุคคลใดไม่ไปดูแลการขาย ถือว่าบุคคลนั้นทราบ ผลการขายแล้วนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ และกรณีที่มีการเลื่อนการขายในนัดแรกก็ถือว่าบุคคล นั้นทราบกําหนดนัดและสถานที่ขายในนัดหลังแล้วด้วย
ข้อ ๓ การกําหนดเงื่อนไขการเข้าสู้ราคา ให้ถือว่าเงื่อนไขการเข้าสู้ราคาใช้ได้ทั้ง 2 นัด ถึงแม้ว่า ในการขายนัดแรกจะมีผู้ให้ราคาไว้ซึ่งราคาประมูลเริ่มต้นอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตาม
ข้อ ๔ กรณีมีความจําเป็นทําให้ต้องกําหนดวันขายทอดตลาดต่างไปจากที่กําหนดไว้แล้วในข้อ 1ให้ดําเนินการดังนี้
ส่วนกลางให้รายงานขอความเห็นชอบจากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายก่อน
ส่วนภูมิภาคให้รายงานขอความเห็นชอบจากผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคในเขตรับผิดชอบก่อน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2542
(นายวัฒนชัย โชติชูตระกูล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,364 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 198/2641 เรื่อง ขั้นตอนการรายงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 198/2641
เรื่อง ขั้นตอนการรายงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
------------------------
เนื่องด้วยได้มีการจัดตั้งสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ขึ้นภายในกรมบังคับคดี โดยมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการเกี่ยวกับ คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ดังนั้นเพื่อให้การรวบรวมและการแจ้งข้อมูลของคดีดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจ ตามความในข้อ 3 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พ.ศ.2541 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 143/2541 เรื่อง การรายงานการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลงวันที่ 29 เมษายน 2541 และให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๒ เมื่อสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ได้รับแจ้งว่าศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณา หรือยกคําร้อง ขอ หรือจําหน่ายคดี หรือยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือคําสั่งอื่นที่มีผลยกเลิกข้อจํากัดสิทธิตาม ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้รับรายงานคําสั่งของศาลนั้นให้อธิบดีกรมบังคับคดีทราบภายในวันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง ของศาลหรือโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งแจ้งให้กองบังคับคดีแพ่ง 1-3 กองบังคับคดีล้มละลาย 1-5 สํานักงานวางทรัพย์กลางและ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคทราบ และให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ดําเนินการจัดทําข้อมูลและประสานงานส่งข้อ กฎหมาย มูลดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทั่วราชอาณาจักรทราบโดยวิธีการส่งข้อมูลให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กระทรวงยุติธรรมแจ้งทางวิทยุติดตาม ตัวโดยด่วน
ข้อ ๓ เมื่อสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคได้รับแจ้งคําสั่งของศาลในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม ข้อ 2 แล้ว ให้บันทึกลงในระบบข้อมูลของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และแจ้งคําสั่งดังกล่าวโดยทางโทรสารไปยังสํานัก งานบังคับคดีจังหวัดภายในเขตรับผิดชอบทราบภายในวันที่ได้รับแจ้ง หรือโดยเร็วที่สุด
ข้อ ๔ เมื่อสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ได้รับแจ้งคําสั่งตาม ข้อ 3 แล้ว ให้บันทึกลงสารบบไว้เพื่อตรวจสอบการบังคับ คดีแพ่ง หรือการบังคับคดีล้มละลายที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้
ข้อ ๕ ในกรณีที่กองบังคับคดีแพ่ง 1 - 3 หรือกองบังคับคดีล้มละลาย 1 - 5 หรือสํานักงานวางทรัพย์กลางหรือ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคได้รับข้อมูลคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีความเกี่ยว ข้องกับลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้แล้วแต่กรณี ให้กองบังคับคดีแพ่ง 1 - 3 หรือ กองบังคับคดีล้มละลาย 1 – 5 หรือสํานักงาน วางทรัพย์กลางหรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแจ้งข้อมูลดังกล่าวไปยังสํานัก ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทราบโดยเร็วที่สุด โดยทางโทรสาร หากเป็นกรณีของสํานักงานบังคับคดีจังหวัดให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดแจ้งสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคทราบด้วย
ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2541
(นายวัฒนชัย โชติชูตระกูล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,365 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 143/2541 เรื่อง การรายงานการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 143/2541
เรื่อง การรายงานการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
--------------------------
ด้วยกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มีอยู่หลายขั้นตอนที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีต้องรับผิดชอบปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้การ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งสามารถป้องกันและ แก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพจึงมี คําสั่งดังต่อไปนี้
เมื่อสํานักงานบังคับคดีจังหวัด สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือสํานัก ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ได้รับแจ้งคําสั่งของศาลในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะต้องดําเนินการให้เป็นไปตามคําสั่งของศาลดังกล่าว หรือจะต้องดําเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมาย ต่อไป ให้หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือ ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้วแต่กรณี รีบรายงานให้อธิบดีกรมบังคับคดีทราบภายใน วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งของศาลดังกล่าว
ทั้งนี้ให้ปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2541
(นายวัฒนชัย โชติชูตระกูล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,366 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 495/2540 เรื่อง การรายงานคดีที่ค้างดำเนินการ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 495/2540
เรื่อง การรายงานคดีที่ค้างดําเนินการ
---------------------------
ด้วยปรากฏว่ามีคดีที่อยู่ในระหว่างการดําเนินการของเจ้าพนักงานบังคับคดีและ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคค้างดําเนินการเกินกว่า 10 ปี อยู่หลาย คดี ซึ่งข้อขัดข้องที่ทําให้คดีค้างนั้นอาจประกอบด้วยเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่กรมบังคับคดีมีความ ประสงค์จะได้รับทราบ เพื่อจะได้หาทางปรับปรุงแก้ไข ขจัดข้อขัดข้องดังกล่าวให้หมดสิ้นไป ยังผล ให้คดีดําเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามนโยบายของกรมบังคับคดี และเป็นการ สนองความต้องการของคู่ความและประชาชนที่เกี่ยวข้อง จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด รายงานคดีที่อยู่ในระหว่างการดําเนินการของเจ้าพนักงานบังคับ คดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาแล้วแต่กรณี ซึ่งค้างดําเนินการเป็น เวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ตามแบบพิมพ์ท้ายคําสั่งนี้ ไปให้กรมบังคับคดีทราบภายในวันที่ 31 มีนาคม และวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี
ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540
(นายวัฒนชัย โชติชูตระกูล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,367 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 102/2540 เรื่อง การเสนอรายงานการยึดทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 102/2540
เรื่อง การเสนอรายงานการยึดทรัพย์
-----------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จึงให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 497/2539 เรื่อง การเสนอรายงานการยึดทรัพย์ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2539 และให้ใช้ความใหม่ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทําการยึดทรัพย์มาแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบเสนอ รายงานการยึดทรัพย์และบัญชียึดทรัพย์ต่อหัวหน้ากลุ่ม ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ในวันที่ออกไปยึดทรัพย์นั้นหรืออย่างช้าในวันรุ่งขึ้น หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นไม่อาจเสนอได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวให้รายงานเหตุขัดข้องไปพร้อมด้วย หลังจาก ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีคําสั่งในรายงานการยึดทรัพย์แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบดําเนินการแจ้งการยึดเพื่อให้ การยึดมีผลตามกฎหมายในวันที่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีคําสั่งหรืออย่างช้าในวันรุ่งขึ้น
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีติดตามผลการดาเนินงานแจ้งการ ตามข้อ 1 และดําเนินการ ต่าง ๆ เช่น จัดการให้ได้มาซึ่งเอกสารสิทธิ์ หรือสําเนาเอกสารสิทธิดังกล่าว หรือการอื่นใดเพื่อให้การยึดมีผล ตามกฎหมายทุก ๆ ระยะเวลา 7 วัน เมื่อการยึดมีผลตามกฎหมายแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบดําเนินการ รายงานการยึดทรัพย์และบัญชียึดทรัพย์ดังกล่าว พร้อมกับขอให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดนั้น ภายใน 5 วัน เว้นแต่มีความจําเป็นไม่อาจดําเนินการได้ภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวให้รายงานความจําเป็น นั้นตามลําดับชั้นไปยังอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีภายใน 3 วัน นับจากวันที่มีความจําเป็น ดังกล่าว
ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่ม ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ควบคุมดูแลให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 2โดยเคร่งครัดและให้จัดทําสมุดบัญชีควบคุมการจ่ายสํานวนบังคับคดีแพ่งที่ได้รับมอบหมายให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใต้บังคับบัญชาของตน เพื่อใช้ในการตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2540
(นายวัฒนชัย โชติชูตระกูล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,368 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 122/2540 เรื่อง การนำทรัพย์มาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 122/2540
เรื่อง การนําทรัพย์มาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน
------------------------
ด้วยปรากฏว่ามีทรัพย์ที่เก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินหลายรายการเป็นภาระแก่ สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานไม่อาจจําหน่ายออกไปได้ เป็นเหตุให้สถาน รักษาและจําหน่ายทรัพย์สินไม่อาจจะรับเก็บรักษาทรัพย์อื่นในโอกาสต่อไปได้อีก จึงเห็นสมควรมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 111/2527 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การนําทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดมาเก็บรักษา
ข้อ ๒ บรรดาสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดไว้ให้นํามาเก็บรักษาไว้ที่สถาน รักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน เว้นแต่
2.1 ทรัพย์ซึ่งมีลักษณะอาจทําให้เกิดสกปรกเลอะเทอะหรือมีกลิ่น ซึ่งอาจรบกวนหรือก่อความรําคาญ
2.2 ทรัพย์ซึ่งมีน้ําหนักมากหรือไม่สะดวกที่จะเคลื่อนย้ายหรือมีความสูง หรือความกว้างมาก หรือเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษา
2.3 ทรัพย์ซึ่งโดยสภาพอาจเกิดอันตรายได้ง่าย เช่น สารวัตถุเคมี หรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง
2.4 ทรัพย์ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่โดยเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพของตัวทรัพย์
2.5 ทรัพย์ซึ่งจะต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน เช่น ทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามคําสั่ง คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา
2.6 ทรัพย์ซึ่งมีสภาพชํารุด ทรุดโทรม ใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในความสนใจของ บุคคลที่จะซื้อ เช่น เครื่องจักรที่ใช้การไม่ได้โดยสภาพ หรือเครื่องจักรที่เมื่อขนย้ายแล้วจะทําให้ใช้การไม่ได้ รถยนต์ที่มีสภาพชํารุด ทรุดโทรม ไม่สามารถขับเคลื่อนได้ โต๊ะ เก้าอี้ ที่มีสภาพชํารุด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ การไม่ได้ หรือเครื่องนุ่งห่มหลับนอนที่ผ่านการใช้มาแล้ว เป็นต้น
2.7 ทรัพย์ซึ่งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีความประสงค์หรือยินยอมให้นํามาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน
ข้อ ๓ ก่อนออกไปทําการยึดทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามผู้นําชัดว่า ได้จัดเตรียมงานพาหนะที่จะขนย้ายทรัพย์เพื่อนํามาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน กรมบังคับคดีแล้วหรือไม่ ถ้าผู้นําคิดไม่พร้อมที่จะขนย้ายทรัพย์เพื่อนํามาเก็บรักษา ให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นไปยังผู้อํานวยการ กลง เพื่อขอคําสั่งปฏิบัติต่อไป
ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทําการยึดทรัพย์แล้ว ไม่สามารถขนย้ายทรัพย์นํามาเก็บ รักษาที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินได้ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นเพื่อขออนุมัติผู้อํานวยการ กอง หากมีเหตุในวิสัยไม่อาจขออนุมัติผู้อํานวยการกอง ก็ให้รายงานให้ผู้อํานวยการกองทราบในโอกาสแรก เท่าที่จะกระทําได้
ข้อ ๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือพนักงานวางทรัพย์จะนําทรัพย์มาเก็บรักษาไว้ที่สถาน รักษาและจําหน่ายทรัพย์สิน ให้ถือปฏิบัติตามข้อ 2 โดยอนุโลม
ข้อ ๖ ให้หัวหน้าฝ่ายรักษาทรัพย์ตรวจดูทรัพย์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะนํามาเก็บรักษาไว้ที่สถาน รักษาและจําหน่ายทรัพย์สินตามข้อ 2 และข้อ 5 ถ้าเห็นว่าทรัพย์ดังกล่าวมีลักษณะต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 2 ห้ามมิให้หัวหน้าฝ่ายรักษาทรัพย์สินอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่นําทรัพย์ดังกล่าวเข้าเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษา และจําหน่ายทรัพย์สิน แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ดัง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นไปยังผู้อํานวยการกอง เพื่อขอคําสั่งปฏิบัติต่อไป ดังกล่าวมีความเห็นว่าทรัพย์นั้นไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว
ข้อ ๗ คําสั่งนี้ให้ใช้ปฏิบัติต่อการนําทรัพย์มาเก็บรักษาไว้ที่สถานรักษาและจําหน่ายทรัพย์สินของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดด้วยโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2540
(นายวัฒนชัย โชติชตระกูล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,369 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 27/2552 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 27/2552
เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
--------------------------------------------
เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สอดคล้องกับจํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้มีการกําหนดขึ้นใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 และข้อ 5 แห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใต้บังคับข้อ 6 บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับการร้องขอ โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นดังต่อไปนี้
4.1 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยตามจํานวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อหนึ่งคน
4.2 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจํานวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
(ก) ตาบอด
(ข) หูหนวก
(ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
(ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
(จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
(ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
(ช) จิตพิการอย่างติดตัว
(ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร
4.3 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพของผู้ประสบภัยตามจํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
4.4 จํานวนตาม 4.1 และ 4.2 รวมกัน หรือจํานวน 4.1 และ 4.3 รวมกัน แต่หากผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายตามข้อ 4.1 4.2 และ 4.3 หรือได้รับความเสียหายตามข้อ 4.2 และ 4.3 ให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกินจํานวน 50,000 บาท
4.5 กรณีรถตั้งแต่สองคันขึ้นไป ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตาม 4.1 4.2 4.3 หรือ 4.4 แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยมิใช่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวข้างต้น บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ความเสียหายเบื้องต้นทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3
ข้อ 5 การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นต่อบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น และต้องมีหลักฐานดังนี้
5.1 ความเสียหายต่อร่างกาย
5.1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
5.1.2 สําเนาบัตรประจําตัว หรือสําเนาใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หรือสําเนาหนังสือเดินทางหรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 4.2 นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม 5.1.1 และ 5.1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งได้รับความเสียหายต่อร่างกายดังกล่าว พร้อมทั้งสําเนาบันทึกประจําวันของพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ เพิ่มเติมด้วย
5.2 ความเสียหายต่อชีวิต
5.2.1 สําเนามรณบัตร หรือหลักฐานอื่นใดที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
5.2.2 สําเนาบันทึกประจําวันในคดีของพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ
5.2.3 การร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตาม 5.1 และ 5.2 รวมกันให้มีหลักฐานตาม 5.1 และ 5.2”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 และข้อ 3 ของหมวดการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ค่าเสียหายเบื้องต้น
ภายใต้บังคับข้อ 4 บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับการร้องขอ โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นดังต่อไปนี้
2.1 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยตามจํานวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อหนึ่งคน
2.2 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจํานวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
(ก) ตาบอด
(ข) หูหนวก
(ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
(ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
(จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
(ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
(ช) จิตพิการอย่างติดตัว
(ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร
2.3 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพของผู้ประสบภัยตามจํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
2.4 จํานวนตาม 2.1 และ 2.2 รวมกัน หรือจํานวน 2.1 และ 2.3 แต่หากผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายตามข้อ 2.1 2.2 และ 2.3 หรือได้รับความเสียหายตามข้อ 2.2 และ 2.3 ให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกินจํานวน 50,000 บาท
2.5 กรณีรถตั้งแต่สองคันขึ้นไป ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตาม 2.1 2.2 2.3 หรือ 2.4 แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยมิใช่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวข้างต้น บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ความเสียหายเบื้องต้นทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 1
ข้อ ๓ การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นต่อบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น และต้องมีหลักฐานดังนี้
3.1 ความเสียหายต่อร่างกาย
3.1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
3.1.2 สําเนาบัตรประจําตัว หรือสําเนาใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หรือสําเนาหนังสือเดินทางหรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 2.2 นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม 3.1.1 และ 3.1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์หรือความเห็นแพทย์หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งได้รับความเสียหายต่อร่างกายดังกล่าว พร้อมทั้งสําเนาบันทึกประจําวันของพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ เพิ่มเติมด้วย
3.2 ความเสียหายต่อชีวิต
3.2.1 สําเนามรณบัตร หรือหลักฐานอื่นใดที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
3.2.2 สําเนาบันทึกประจําวันในคดีของพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ
3.2.3 การร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตาม 3.1 และ 3.2 รวมกันให้มีหลักฐานตาม 3.1 และ 3.2”
ข้อ 3 ในกรณีที่บริษัทยังไม่สามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยแนบท้ายคําสั่งนี้ได้ ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยเดิมออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปพลางก่อนได้ แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 แต่บริษัทต้องยึดถือตามแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการแก้ไขตามคําสั่งนี้
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงกําหนดความเสียหายที่จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นมีผลบังคับเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,370 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 123/2540 เรื่อง การคำนวณหรือทำบัญชีแสดงรายการจ่าย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 123/2540
เรื่อง การคํานวณหรือทําบัญชีแสดงรายการจ่าย
---------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการคํานวณหรือทําบัญชีแสดงรายการจ่าย (บัญชีรับจ่ายหรือบัญชี ส่วนแบ่งในคดีล้มละลาย บัญชีรายละเอียดแสดงจํานวนเงินทั้งหมดหรือบัญชีส่วนเฉลี่ยในคดีแพ่ง) ทั้งในส่วน กลางและส่วนภูมิภาคดําเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการคํานวณหรือทําบัญชีแสดงรายการจ่ายได้รับมอบ หมายสํานวนให้ทําการคํานวณหรือทําบัญชีแสดงรายการจ่ายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเร่งรัดดําเนินการ ให้เสร็จเรียบร้อยภายในกําหนดเวลานับแต่วันที่ได้รับมอบหมายจํานวน ดังต่อไปนี้
1.1 การคํานวณและทําบัญชีแสดงรายการจ่าย (บัญชีรับจ่ายหรือบัญชีส่วนแบ่ง) ในคดีล้มละลาย
1.1.1 การคํานวณจํานวนหนี้สํานวนคําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลาย กรณีมีหนี้ 3 อันดับเดียวให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน กรณีมีหนี้หลายอันดับให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน
1.1.2 การคํานวณจํานวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้ (จําเลย) ในคดีล้มละลาย ต้องวางชําระตามคําขอประนอมหนี้หรือวางชําระหนี้ทั้งหมด กรณี คดีที่คํานวณมีเจ้าหนี้ไม่เกิน 10 ราย ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน กรณี มีเจ้าหนี้เกินกว่า 10 ราย ให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน
1.1.3 การทําบัญชีรับจ่ายในคดีล้มละลายเพื่อรายงานขอให้ศาลมีคําสั่งปิดคดีไม่มีแบ่งให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน
1.1.4 การทําบัญชีรับจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน
1.1.5 การทําบัญชีส่วนแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
1.2 การคํานวณและทําบัญชีแสดงรายการจ่าย (บัญชีรายละเอียดแสดงจํานวนเงินทั้งหมด หรือบัญชีส่วนเฉลี่ย) ในคดีแพ่ง
1.2.1 การคํานวณจํานวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมที่จําเลยหรือลูกหนี้ตามคําพิพากษา ต้องชําระให้แก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการ
1.2.2 การทําบัญชีรายละเอียดแสดงจํานวนเงินที่อายัดเพื่อจ่ายเงินให้แก่โจทก์ หรือเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา กรณี ไม่มีเจ้าหนี้อื่นขอเฉลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน กรณี มีเจ้าหนี้อื่นขอเฉลี่ย ใช้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน
1.2.3 การทําบัญชีส่วนเฉลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน
ข้อ ๒ ให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการหรือหัวหน้าสํานักงานของพนักงาน เจ้าหนี้ตามข้อ 1. ดําเนินการตรวจสอบการคํานวณหรือการทําบัญชีตามข้อ 1. ให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน เว้นแต่การตรวจสอบการทําบัญชีตามข้อ 1.1.5 ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน
ข้อ ๓ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการคํานวณหรือทําบัญชีตามข้อ 1. เสร็จแล้ว หรือผู้บังคับ บัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 1. ในแต่ละลําดับชั้นได้ดําเนินการตรวจสอบตามข้อ 2. เสร็จแล้ว ถ้าจะต้องเสนอสํานวนที่ดําเนินการนั้นต่อผู้บังคับบัญชาลําดับเหนือคนขึ้นไป ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับ บัญชาดังกล่าวรีบเสนอสํานวนที่ดําเนินการนั้นต่อผู้บังคับบัญชานั้นเสียภายในวันที่ได้ดําเนินการแล้วเสร็จ
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีความจําเป็นไม่อาจปฏิบัติตามข้อ 1 ข้อ 2 หรือข้อ 3 ได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาผู้ที่ไม่อาจปฏิบัติดังกล่าวรายงานความจําเป็นนั้นตามลําดับชั้นไปยังอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ที่ได้ รับมอบหมายจากอธิบดีภายใน 3 วัน นับจากวันที่มีความจําเป็นดังกล่าว
ข้อ ๕ ในการดําเนินการคํานวณหรือทําบัญชีตามข้อ 1 และการตรวจสอบการคํานวณหรือการ ทําบัญชีตามข้อ 2 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชาตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้วแต่กรณี พยามดําเนินการ ดังกล่าวต่อสํานวนที่ได้รับมอบหมายเรียงตามลําดับก่อนหลังของวันเวลาที่ได้รับมอบหมายจํานวนดังกล่าว
ข้อ ๖ ให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการหรือหัวหน้าสํานักงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 1 รับผิดชอบในการควบคุมดูแลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัดต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2540
(นายวัฒนชัย โชติชตระกูล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,371 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 11/2552 เรื่อง ให้ใช้คู่มือตีความกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้แก้ไขข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 11/2552
เรื่อง ให้ใช้คู่มือตีความกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
คู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวม
การคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้แก้ไขข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า คําสั่งนายทะเบียน ที่ 11/2552 เรื่อง ให้ใช้คู่มือตีความกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ คู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้แก้ไขข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์และคู่มือตีความกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่ใช้อยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ
ข้อ ๔ ให้กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีความหมายและเจตนารมณ์ตามที่ปรากฏในคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่แนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 หมวดเงื่อนไขทั่วไป ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 การยกเว้นทั่วไป
กรมธรรม์ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายหรือความรับผิดอันเกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมจาก
3.1 สงคราม การรุกราน การกระทําของชาติศัตรู การสู้รบ หรือการปฏิบัติการที่มีลักษณะเป็นการทําสงคราม (จะได้ประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม)
3.2 สงครามกลางเมือง การแข็งข้อของทหาร การกบฏ การปฏิวัติ การต่อต้านรัฐบาล การยึดอํานาจการปกครองโดยกําลังทหารหรือโดยประการอื่น ประชาชนก่อความ วุ่นวาย ถึงขนาดหรือเท่ากับการลุกฮือต่อต้านรัฐบาล
3.3 วัตถุอาวุธปรมาณู
3.4 การแตกตัวของประจุ การแผ่รังสี การกระทบกับกัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงปรมาณู หรือจากกากปรมาณูอันเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงปรมาณูและหรับจุดประสงค์ของข้อสัญญานี้การเผาไหม้นั้นรวมถึงกรรมวิธีใด ๆ แห่งการแตกแยกปรมาณู ซึ่งดําเนินติดต่อกันไปด้วยตัวของมันเอง”
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
นายทะเบียน | 5,372 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 497/2539 เรื่อง การเสนอรายงานการยึดทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 497/2539
เรื่อง การเสนอรายงานการยึดทรัพย์
---------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นไปด้วยความ เรียบร้อยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จึงให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 19/2533 เรื่อง การเสนอรายงานการยึดทรัพย์ ลงวันที่ 16 มกราคม 2533 และให้ใช้ความใหม่ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทําการยึดทรัพย์มาแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบเสนอรายงาน การยึดทรัพย์และบัญชียึดทรัพย์ต่อหัวหน้ากลุ่ม ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ภูมิภาค หรือ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ในวันที่ออกไปยึดทรัพย์นั้นหรืออย่างช้าในวันรุ่งขึ้น หากมี เหตุขัดข้องจําเป็นไม่อาจเสนอได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าวให้รายงานเหตุขัดข้องไปพร้อมด้วย และหลังจากผู้ บังคับบัญชาดังกล่าวมีคําสั่งในรายงานการยึดทรัพย์แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบดําเนินการแจ้งการยึดเพื่อให้ การยึดมีผลตามกฎหมายในวันที่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีคําสั่งหรืออย่างช้าในวันรุ่งขึ้นเพื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จะได้ดําเนินการตามข้อ 2 ต่อไป
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดําเนินการรายงานการยึดทรัพย์และบัญชียึดทรัพย์ดังกล่าวต่อศาลและขอให้ ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดนั้น โดยให้ดําเนินการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ออกไปยึดทรัพย์ หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นไม่อาจดําเนินการได้ภายในกําหนดการระยะเวลาดังกล่าวให้รายงานเหตุขัดข้องให้อธิบดี หรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายทราบ
ข้อ ๓ ให้หัวหน้ากลุ่ม ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัด จัดทําสมุดบัญชีควบคุมการจ่ายสํานวนบังคับคดีแพ่งที่ได้รับมอบหมายให้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใต้บังคับบัญชาของตน เพื่อใช้ในการตรวจสอบและควบคุมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดัง กล่าวปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัดต่อไป
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539
(นายประมาณ ติยะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,373 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 18/2552 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจสำหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 18/2552
เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
สําหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่ง ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 18/2552 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สําหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2553
ข้อ ๓ ให้บริษัทประกันภัยตามรายชื่อแนบท้ายคําสั่งนี้ให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัย ในการรับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจทุกประเภทเป็นส่วนลดอื่นในอัตราร้อยละ 10 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิสําหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (Natural Gas Vehicle : NGV) ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยต้องแสดงหลักฐานการติดตั้งจากสถานบริการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานรัฐ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
นายทะเบียน | 5,374 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 456/2539 เรื่อง การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการวางทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 456/2539
เรื่อง การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการวางทรัพย์
-----------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการวางทรัพย์ทั้งของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคดําเนินไป ด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งต่อไปนี้
ในกรณีที่สํานักงานวางทรัพย์กลาง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดมีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีผลเป็นการไม่รับวางทรัพย์ของผู้วางทรัพย์ให้ สํานักงานวางทรัพย์กลาง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัด แล้วแต่กรณี เสนอคําสั่งพร้อมกับส่งสํานวนวางทรัพย์นั้นไปให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้ความเห็นชอบก่อน
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2539
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,375 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 25/2553 เรื่อง กำหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 25/2553
เรื่อง กําหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย
---------------------------------------------
ตามที่นายทะเบียนได้มีคําสั่งที่ 23/2553 เรื่อง กําหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ สําหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง (มอเตอร์ไซค์ยิ้ม) สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย ไปแล้วนั้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการขายกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงกําหนดให้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสําหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง (มอเตอร์ไซค์ยิ้ม) สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย เป็นกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,376 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 102/2539 เรื่อง การบังคับคดีแก่อสังหาริมทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 102 /2539
เรื่อง การบังคับคดีแก่อสังหาริมทรัพย์
--------------------------------
เพื่อให้การบังคับคดีแก่อสังหาริมทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีและ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึด อสังหาริมทรัพย์ที่มีหนังสือสําคัญแต่ไม่สามารถนําหนังสือสําคัญมาแสดงได้ ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษานําสําเนาหนังสือสําคัญฉบับของทางราชการสําหรับ อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ที่เจ้าพนักงานรับรองตามหน้าที่ในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน มาแสดงก่อนจึงจะดําเนินการยึดอสังหาริมทรัพย์ตามสําเนาหนังสือสําคัญดังกล่าวให้
ข้อ ๒ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดอสังหาริมทรัพย์ตามสําเนาหนังสือสําคัญ ตามข้อ 1 แล้ว ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขออนุญาตศาลขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีเรียกให้ผู้ที่ยึดถือหนังสือสําคัญสําหรับอสังหาริมทรัพย์นั้น ส่งมอบหนังสือสําคัญดังกล่าว ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี หากเรียกไม่ได้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดให้ได้มาซึ่งสําเนา หนังสือสําคัญฉบับของทางราชการที่เจ้าพนักงานรับรองตามหน้าที่ภายหลังจากการยึด ผลสมบูรณ์ การจัดให้ได้มาซึ่งสําเนาหนังสือสําคัญดังกล่าวเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขอมา จากทางราชการ หรือสั่งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจัดหามาให้ก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร
ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหนังสือสําคัญหรือสําเนาหนังสือสําคัญ สําหรับอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบสารบัญการจดทะเบียน ของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดเพื่อทราบถึงสิทธิโดยชอบของลูกหนี้ตามคําพิพากษาในวันที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดําเนินการบังคับคดีตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3โดยอนุโลม
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
(นายประมาณ ตียะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,377 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 23/2553 เรื่อง กำหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง (มอเตอร์ไซค์ยิ้ม) สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 23/2553
เรื่อง กําหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ
สําหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง (มอเตอร์ไซค์ยิ้ม) สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย
------------------------------------------------
เพื่อให้ประชาชนผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง สามารถเข้าถึงระบบการประกันภัยอันเป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคง และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเมื่อประสบอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงกําหนดแบบ ข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสําหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง (มอเตอร์ไซค์ยิ้ม) ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ และให้บริษัทใช้ได้เมื่อมีการชําระค่าธรรมเนียมการขออนุญาตเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ชําเลือง ชาติสุวรรณ
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการนายทะเบียน | 5,378 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2553 เรื่อง กำหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 21/2553
เรื่อง กําหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย
(ไมโครอินชัวรันส์) สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย
---------------------------------------------
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการประกันได้อย่างทั่วถึง อันเป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้แก่ประชาชน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงกําหนดแบบ ข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ให้บริษัทใช้เป็นกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ได้เมื่อมีการชําระค่าธรรมเนียมการขออนุญาตเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ชําเรือง ชาติสุวรรณ
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการ
นายทะเบียน | 5,379 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 27/2554 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 27/2554
เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 ข้อตกลงคุ้มครอง
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญเสีย หรือความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่บุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากรถยนต์ที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถยนต์นั้น ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ในนามผู้เอาประกันภัยดังนี้
1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ของบุคคลภายนอก ตามความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกนั้น
กรณีบุคคลภายนอกเสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคน แต่หากการเสียชีวิตนั้นทําให้มีผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อการเสียชีวิตของบุคคลภายนอกนั้นไม่น้อยกว่า 300,000 บาทต่อคน
กรณีบุคคลภายนอกทุพพลภาพถาวร บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่น้อยกว่า 300,000 บาทต่อคน
ในกรณีที่บุคคลภายนอกนั้นมีสิทธิได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มากกว่า 1 กรมธรรม์ประกันภัย บริษัทจะร่วมเฉลี่ยจ่ายเท่า ๆ กัน อย่างไรก็ตาม ความรับผิดของบริษัทต่อคนจะมีไม่เกินจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อคนที่ระบุไว้ในตาราง และความรับผิดของบริษัทต่อครั้งในกรณีมากกว่าหนึ่งคน จะมีไม่เกินจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อครั้งที่ระบุไว้ในตาราง
ทุพพลภาพถาวร ในที่นี้หมายถึง ทุพพลภาพถึงขนาดไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานใด ๆ ในอาชีพประจํา และอาชีพอื่น ๆ ได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป
บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองตาม 1.1 นี้ ไม่รวมถึงผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตลอดจนลูกจ้างในทางการที่จ้าง คู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่นั้น”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ข้อบังคับทั่วไป ข้อ 2.2 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“2.2 ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury : TPBI) หมายถึงความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกและความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ําที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 300,000 บาทต่อหนึ่งคน และ 10,000,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ จํานวนเงินจํากัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ”
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้บังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ในกรณีที่บริษัทยังไม่สามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยที่แก้ไขนี้ได้ ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยเดิมออกให้ผู้เอาประกันภัยไปพลางก่อนได้ ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 แต่บริษัทต้องยึดถือรายละเอียดตามแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,380 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2554 เรื่อง กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 28/2554
เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย
------------------------------------------------
เพื่อเป็นการรณรงค์ส่งเสริมและจูงใจให้ประชาชนได้ทําประกันภัยเพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ตนเองและครอบครัวมากขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังนี้
ข้อ ๑ บริษัทอาจกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้ได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของจํานวนเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภท ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการทําสัญญาประกันภัยกับบริษัทในช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554
(2) ผู้เอาประกันภัยต้องชําระเบี้ยประกันภัยเป็นเงินสดหรือชําระผ่านบัตรเครดิต และ
(3) วันเริ่มต้นคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๒ อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อ 1 ให้เป็นไปตามคําสั่งนายทะเบียน ที่ 3/2544 เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัท ลงวันที่ 22 มกราคม 2544
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
นายทะเบียน | 5,381 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 123/2538 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คำคู่ความหรือเอกสาร | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 123/2538
เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร
-----------------------------
ด้วยเห็นเป็นการสมควรให้กําหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือ เอกสารสําหรับพนักงานเดินหมายกรมบังคับคดีเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพใน ปัจจุบัน
จึงให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งค่าสั่งกรมบังคับคดีที่ 125/2535 เรื่อง ค่าใช้จ่าย ในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร ลงวันที่ 15 เมษายน 2535 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“1. หมาย คําคู่ความ หรือเอกสารที่คู่ความต้องนําส่ง
1.1 เขตชั้นใน ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 80 บาท
1.2 เขตชั้นกลาง ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 100 บาท
1.3 เขตชั้นนอก ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 170 บาท”
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2538
(นายประมาณ ติยะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,382 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 44/2538 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 44/2538
เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
---------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการกรมบังคับคดีปฏิบัติดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 283/2529 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2529
ข้อ ๒ การเดินทางไปปฏิบัติราชการ ณ ศาลหรือในเขตศาลที่ตั้งอยู่นอกจังหวัดซึ่งสถานที่ ทําการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งอยู่ และเป็นคดีของศาลที่ไปปฏิบัติราชการ ให้เบิกค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการจากเงินในงบประมาณ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ข้อ ๓ การเดินทางไปปฏิบัติราชการ ณ ศาลหรือในเขตศาลที่ตั้ง ตั้งอยู่นอกเขตจังหวัดซึ่ง สถานที่ทําการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งอยู่ และมีโชคดีของศาลที่ องศาลที่ไปปฏิบัติราชการ ให้เบิก ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักทรัพย์ จากเงินในคดีตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการโดยอนุโลม
ในกรณีที่เงินในคดีไม่มี หรือมีแต่ไม่เพียงพอ ให้เบิกจ่ายตามข้อ 2
ข้อ ๔ ให้ผู้ที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติราชการร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 141 I มีสิทธิเบิกจ่ายไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ2 และ 3
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีคําสั่งนี้เป็นต้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2538
(นายประมาณ ติยะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,383 |
คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 709/2554 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย | คําสั่งกระทรวงการคลัง
ที่ 709/2554
เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
---------------------------------------------------------
เนื่องด้วยบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด ดํารงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนดตามความในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 นายทะเบียนจึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สั่งให้บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด ส่งโครงการเพื่อแก้ไขฐานะเงินกองทุนให้มีเงินกองทุนครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด ได้ส่งโครงการเพื่อแก้ไขเงินกองทุน โดยแจ้งว่า จะดําเนินการแก้ไขฐานะการเงินให้มีเงินกองทุนครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนดภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 แต่บริษัทไม่สามารถแก้ไขฐานะการเงินได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด บริษัทมีฐานะหรือการดําเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สั่งเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 และวันที่ 31 มีนาคม 2553 ให้บริษัทแก้ไขฐานะหรือการดําเนินการเพื่อให้มีเงินกองทุนครบถ้วนตามที่กฎหมายภายในวันที่ 9 เมษายน 2553 และวันที่ 29 เมษายน 2553 ตามลําดับ แต่บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด ไม่สามารถแก้ไขฐานะหรือการดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด นอกจากนั้นบริษัทยังฝ่าฝืนกฎหมายหลายประการ เช่น รับประกันวินาศภัยในระหว่างการห้ามขยายธุรกิจ จัดสรรทรัพย์สินตามประเภทที่กําหนดไม่เพียงพอต่อเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทและเงินสํารองค่าสินไหมทดแทน และจัดสรรสินทรัพย์ไม่เพียงพอสําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ออกตามความในมาตรา 23 มาตรา 27/4 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
ต่อมานายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงมีคําสั่งตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สั่งให้บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 ทั้งนี้ เพื่อจํากัดความเสียหายที่อาจจะเกิดแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนมิให้ขยายวงกว้าง รวมทั้งเปิดโอกาสให้บริษัทจัดการแก้ไขฐานะการเงินเพื่อให้มีเงินกองทุนครบถ้วนตามกฎหมาย และแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งต่อมาเมื่อบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด ได้ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนใหญ่ของบริษัทด้วยมูลค่ายุติธรรม ซึ่งปรากฏว่าทรัพย์สินของบริษัทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทําให้ฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553 บริษัทมีเงินกองทุนครบถ้วนตามกฎหมายแต่บริษัทยังคงขาดสภาพคล่องจํานวนมาก และไม่สามารถชําระหนี้สินที่มีต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน โดยในระหว่างที่บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด ถูกสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2553 เป็นต้นมา บริษัทยังคงค้างจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นจํานวนมาก และประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งสํานักงาน คปภ. ได้รับเรื่องร้องเรียนการจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากผู้เอาประกันภัยและประชาชนที่ยังไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 จํานวน 921 ราย เป็นเงิน 64.91 ล้านบาท บริษัทฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และได้ให้โอกาสบริษัทในการดําเนินการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่บริษัทรับประกันภัยไว้เป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวของบริษัทไม่มีความคืบหน้า บริษัทยังคงมีค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายเป็นจํานวนมากและขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงโดยบริษัทมีค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย จํานวน 232.05 ล้านบาท หากบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด ประกอบธุรกิจต่อไปจะทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัดไม่สามารถดําเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่บริษัทรับประกันภัยไว้ได้ ประวิงการชําระค่าสินไหมทดแทน ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย หากบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัดประกอบธุรกิจต่อไปจะทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
ดังนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงมีคําสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
อนึ่ง หากบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จํากัด ประสงค์จะยื่นคําฟ้อง กรณีการออกคําสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครอง ให้ยื่นคําฟ้องภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,384 |
คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 708/2554 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย | คําสั่งกระทรวงการคลัง
ที่ 708/2554
เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
-----------------------------------------
ด้วยปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัดมีพฤติกรรมในการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นที่เป็นการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด มีพฤติกรรมในการบริหารงานไม่โปร่งใส รายงานข้อมูลอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียน ฝ่าฝืนคําสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ จําหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของบริษัทให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิชอบ ทําธุรกรรมทางการเงินที่ตามปกติวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจไม่พึงกระทํา ซึ่งส่งผลให้สินทรัพย์ของบริษัทได้รับความเสียหายและไม่ได้รับการประเมินราคา มีผลให้บริษัทดํารงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน จัดสรรสินทรัพย์ไม่เพียงพอกับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย ทั้งจัดสรรทรัพย์สินไม่เพียงพอกับเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทและเงินสํารองสําหรับค่าสินไหมทดแทน นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 สั่งให้บริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัด หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2554 และให้บริษัทส่งแผนการแก้ไขปัญหาฐานะการเงิน
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554 และวันที่ 11 มีนาคม 2554 บริษัทได้ส่งแผนการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินต่อนายทะเบียน ประกอบกับบริษัทได้ให้คํามั่นในบันทึกถ้อยคําลงวันที่ 16 มีนาคม 2554 ว่าบริษัทจะนําเงินที่เกิดจากการจําหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของบริษัทให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิชอบ และการลงทุนให้เช่าซื้อรถที่ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จํานวน 116.86 ล้านบาทกลับคืนเข้าสู่บริษัททั้งจํานวน ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2554 แต่เมื่อถึงกําหนดตามที่บริษัทได้ระบุในแผนการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินและบันทึกถ้อยคําดังกล่าว บริษัทก็ไม่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด นอกจากนี้ บริษัทมีฐานะการเงินไม่มั่นคงดํารงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย ดังนั้น หากบริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัด ประกอบธุรกิจต่อไปจะทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงมีคําสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัด และหากบริษัทมีความประสงค์จะยื่นคําฟ้องกรณีการออกคําสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครอง ให้ยื่นคําฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,385 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 18/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยตัวเรือ และกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล แบบอัตโนมัติ (File and Use) | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 18/2554
เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย
ตัวเรือ และกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล แบบอัตโนมัติ (File and Use)
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 18/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยตัวเรือ และกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล แบบอัตโนมัติ (File and Use)”
ข้อ ๒ เอกสารแนบท้าย Sanction Limitation and Exclusion Clause (JH2010/008) เอกสารแนบท้าย Sanction Limitation and Exclusion Clause (JH2010/009) สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยตัวเรือ และเอกสารแนบท้าย Sanction Limitation and Exclusion Clause (JC2010/014) สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล ที่บริษัทยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียนหากเป็นไปตามที่ปรากฏท้ายคําสั่งนี้ ให้ถือว่าเอกสารแนบท้ายได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน นับแต่วันที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประทับตรารับเรื่องคําขอรับความเห็นชอบเอกสารแนบท้ายดังกล่าว
ข้อ ๓ เอกสารแนบท้ายอื่นซึ่งแตกต่างไปจากที่กําหนดไว้ในข้อ 1 ให้บริษัทยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียน และจะนํามาใช้กับผู้เอาประกันภัยได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนแล้วเท่านั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,386 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 10/2554 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันภัยสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 10/2554
เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันภัยสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศ
ฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษ
-------------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัยสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ ให้เป็นไปตามที่แนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าที่ขนส่งภายในประเทศ ฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษ ที่เริ่มให้ความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,387 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 9/2554 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลและอัตราเบี้ยประกันภัยตัวเรือ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 9/2554
เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล
และอัตราเบี้ยประกันภัยตัวเรือ
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัย การขนส่งสินค้าทางทะเล และอัตราเบี้ยประกันภัยตัวเรือ ให้เป็นไปตามที่แนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลและกรมธรรม์ประกันภัยตัวเรือ ที่เริ่มให้ความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,388 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 4/2554 เรื่อง กำหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยชดเชยรายได้ระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล สำหรับโครงการสินเชื่อแท็กซี่ไทยเข้มแข็ง | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 4/2554
เรื่อง กําหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยชดเชยรายได้
ระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล สําหรับโครงการสินเชื่อแท็กซี่ไทยเข้มแข็ง
----------------------------------------------------
เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่โครงการสินเชื่อ “แท็กซี่ไทยเข้มแข็ง” และเพื่อให้ประชาชนผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่สามารถเข้าถึงระบบการประกันภัยอันเป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคง และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเมื่อประสบภัยจากการประกอบอาชีพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงกําหนดแบบ ข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยชดเชยรายได้ระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล สําหรับโครงการสินเชื่อแท็กซี่ไทยเข้มแข็ง ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ และให้บริษัทใช้ได้เมื่อมีการชําระค่าธรรมเนียมการขออนุญาตเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,389 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2554 เรื่อง ให้แก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์และตารางอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจสำหรับรถยนต์ลากจูง (รหัส 420) | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 2/2554
เรื่อง ให้แก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์
และตารางอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจสําหรับรถยนต์ลากจูง (รหัส 420)
-------------------------------------------------------------------
เพื่อให้พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ สําหรับรถยนต์ลากจูง (รหัส 420) มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับความเสี่ยงภัยที่แท้จริง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (7) ในส่วนของตารางที่ 2 อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย ตามข้อ 9 อัตราเบี้ยประกันภัย ข้อบังคับทั่วไป ของพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“อุปกรณ์เพิ่มพิเศษใช้สําหรับรถรหัส 320 รหัส 340 รหัส 420 รหัส 520 และรหัส 540”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกตารางอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ตารางที่ 1 เบี้ยประกันภัยพื้นฐานสําหรับรถยนต์ลากจูง (รหัส 420) ของพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ตามคําสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2548 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 และให้ใช้ตารางอัตราเบี้ยประกันภัยพื้นฐานดังต่อไปนี้แทน
| | | | |
| --- | --- | --- | --- |
| | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 2 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 3 |
| เบี้ยประกันภัยพื้นฐานขั้นสูง | 31,000 | 21,000 | 17,500 |
| เบี้ยประกันภัยพื้นฐานขั้นต่ํา | 23,000 | 14,000 | 10,000 |
ข้อ ๓ ให้เพิ่มตารางอุปกรณ์เพิ่มพิเศษดังต่อไปนี้เป็นตารางอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ในตารางที่ 2 อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย สําหรับรถยนต์ลากจูง (รหัส 420) ของพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 6/2548 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2548
| | | | |
| --- | --- | --- | --- |
| | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 2 | กรมธรรม์ประกันภัยประเภท 3 |
| อุปกรณ์เพิ่มพิเศษ | 110% | 115% | 120% |
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้บังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,390 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 35/2555 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานข้อมูลการรับประกันภัยพิบัติ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 35/2555
เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานข้อมูลการรับประกันภัยพิบัติ
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 51 (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 35/2555 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานข้อมูลการรับประกันภัยพิบัติ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่มีคําสั่งเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในคําสั่งนี้
“นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ข้อ ๔ ให้บริษัทที่รับประกันภัยพิบัติภายใต้พระราชกําหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 จัดทําและยื่นรายงานข้อมูลการรับประกันภัยพิบัติเป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือนถัดไปตามแบบที่แนบท้ายคําสั่งนี้
สําหรับการรับประกันภัยพิบัติภายใต้พระราชกําหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 ในเดือนมีนาคม 2555 ถึงเดือนสิงหาคม 2555 ให้บริษัทจัดทําและยื่นรายงานการรับประกันภัยพิบัติตามวรรคหนึ่งภายในสองเดือนนับแต่วันที่ในคําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๕ ให้บริษัทยื่นรายงานตามข้อ 4 ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อนายทะเบียนตามระบบที่สํานักงานกําหนดไว้ หากข้อมูลไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ตามที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าบริษัทมิได้ยื่นรายงานดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถยื่นรายงานตามข้อ 4 ได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้บริษัทยื่นคําขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียนก่อนสิ้นสุดระยะเวลานั้นได้ โดยต้องระบุเหตุผลและความจําเป็นมาด้วย หากนายทะเบียนเห็นสมควร จะอนุญาตขยายระยะเวลาก็ได้
ในกรณีที่รายงานตามข้อ 4 ที่ยื่นมาไม่ถูกต้องหรือไม่มีรายการครบถ้วน นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,391 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 32/2555 เรื่อง กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 32/2555
เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย
---------------------------------------------
เพื่อเป็นการรณรงค์ส่งเสริมและจูงใจให้ประชาชนได้ทําประกันภัยเพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ตนเองและครอบครัวมากขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑ บริษัทอาจกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัท ต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้ได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของจํานวนเบี้ยประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภท ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นการทําสัญญาประกันภัยกับบริษัทในช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555 และ
(2) วันเริ่มต้นคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ข้อ ๒ อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ข้อ 1 ให้เป็นไปตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 3/2544 เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัท ลงวันที่ 22 มกราคม 2544
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,392 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 18/2555 เรื่อง กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล แบบอัตโนมัติ (File and Use) | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 18/2555
เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล
แบบอัตโนมัติ (File and Use)
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนออกคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้ เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล แบบอัตโนมัติ (File and Use)”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล แบบอัตโนมัติ (File and Use) ที่บริษัทยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียน หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ปรากฏท้ายคําสั่งนี้ ให้ถือว่าอัตราเบี้ยประกันภัยนั้นได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนนับแต่วันที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประทับตรารับเรื่องขอรับความเห็นชอบอัตราเบี้ยประกันภัยดังกล่าว
ข้อ ๔ อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล ที่แตกต่างไปจากกําหนดไว้ในข้อ 3 ให้บริษัทยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียน พร้อมทั้งเอกสารประกอบดังต่อไปนี้ และเมื่อนายทะเบียนให้ความเห็นชอบแล้ว บริษัทจึงนําออกไปใช้ได้
(1) คําขอรับความเห็นชอบการกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย จํานวนหนึ่งชุด
(2) ใบอัตราเบี้ยประกันภัย จํานวนสามชุด และเอกสารแสดงวิธีการคํานวณอัตราเบี้ยประกันภัย จํานวนหนึ่งชุด
(3) สําเนาใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมอัตราเบี้ยประกันภัย จํานวนหนึ่งชุด
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,393 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 26/2556 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่น | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 26/2556
เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่น
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 51 (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้ เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 26/2556 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่น”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ออกคําสั่งเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในคําสั่งนี้
“นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดทําและยื่นรายงานเกี่ยวกับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นซึ่งประกอบด้วยรายงานการคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์ (product limit) และรายงานแสดงรายชื่อผู้ออกสินทรัพย์และคู่สัญญาของบริษัทในการลงทุน (master file) ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้
ข้อ ๕ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์ และการแสดงรายชื่อผู้ออกสินทรัพย์และคู่สัญญาของบริษัทในการลงทุน ในรายงานตามคําสั่งนี้ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย
ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดทํารายงานการคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์ ตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้เป็นรายเดือน และยื่นต่อนายทะเบียนภายในสิ้นเดือนถัดไป เว้นแต่ เดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม ให้ยื่นต่อนายทะเบียนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือน
การยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทยื่นต่อนายทะเบียนสําหรับรอบเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดทํารายงานแสดงรายชื่อผู้ออกสินทรัพย์และคู่สัญญาของบริษัทในการลงทุนตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้ และยื่นต่อนายทะเบียนภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญาของบริษัทในการลงทุนในเดือนใด ให้บริษัทยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งที่มีการปรับปรุงแก้ไขต่อนายทะเบียนพร้อมกับการยื่นรายงานการคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์ตามข้อ 6
ข้อ ๘ ให้บริษัทยื่นรายงานเกี่ยวกับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) รายงานการคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์ ให้ยื่นในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (excel file) ตามระบบที่สํานักงานกําหนดไว้ พร้อมทั้งยื่นรายงานในรูปกระดาษ (hard copy) ที่บันทึกข้อมูลถูกต้องตรงกัน
(2) รายงานแสดงรายชื่อผู้ออกสินทรัพย์และคู่สัญญาของบริษัทในการลงทุนให้ยื่นในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (excel file) ตามระบบที่สํานักงานกําหนดไว้
การยื่นรายงานในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง หากข้อมูลไม่ผ่านการตรวจสอบตามระบบที่สํานักงานกําหนดไว้ ให้ถือว่าบริษัทมิได้ยื่นรายงาน
ข้อ ๙ ในกรณีที่รายงานเกี่ยวกับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นที่บริษัทยื่นมาไม่ถูกต้องหรือมีรายการไม่ครบถ้วน นายทะเบียนอาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดได้ หรือในกรณีที่เห็นสมควรนายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติด้วยก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,394 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 16/2556 เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 16/2556
เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชน
ที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จํากัด
----------------------------------------------
เพื่อรองรับโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จํากัด อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ บริษัทที่รับประกันภัย ตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําประกันภัยไว้กับบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จํากัด โดยมีระยะเวลาประกันภัยหนึ่งปี ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนไว้แล้ว โดยบริษัทจะขยายระยะเวลาคุ้มครองเพิ่มเติมเท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่กับบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จํากัด หรือจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเท่ากับจํานวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับคืนจากบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จํากัด ตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาประกันภัยที่เหลือก็ได้
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จํากัด จํานวน 22 บริษัท ดังมีรายชื่อแนบท้ายคําสั่งนี้เท่านั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,395 |
คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 576/2556 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย | คําสั่งกระทรวงการคลัง
ที่ 576/2556
เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย
-------------------------------------
ด้วยปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จํากัด ไม่ส่งงบการเงินตามระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด และผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินในรอบปีที่ผ่านมาทําให้งบการเงินของบริษัทขาดความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ไม่ทราบฐานะการเงินที่แท้จริง อีกทั้งบริษัทไม่มีระบบควบคุมกรมธรรม์ประกันภัย การจําหน่ายกรมธรรม์ประกันภัย ไม่บันทึกรายการรับประกันภัยตามระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด ส่งผลให้ไม่สามารถทราบได้ถึงภาระและความผูกพันตามสัญญาประกันภัยที่แท้จริง นอกจากนี้บริษัทไม่สามารถแสดงหลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายที่มีจํานวนสูงจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ และอาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินที่แท้จริงของบริษัท
นายทะเบียนได้ให้โอกาสและเวลาในการดําเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับฐานะและการดําเนินการแก่บริษัทตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างครบถ้วนแล้วทุกประการ แต่บริษัทก็มิได้ดําเนินการอย่างจริงจัง อีกทั้งเจตนาเพิกเฉยละเลยและฝ่าฝืนคําสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา อันเป็นอุปสรรคต่อการตรวจสอบและประเมินผลการแก้ไขปัญหา ซึ่งพฤติกรรมและการดําเนินการในลักษณะดังกล่าวนอกจากจะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายที่กําหนดโทษเป็นการเฉพาะแล้ว หากให้บริษัทประกอบธุรกิจประกันภัยวินาศภัยต่อไปจะเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
ดังนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 (2) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีคําสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท ส่งเสริมประกันภัย จํากัด และหากบริษัทไม่เห็นด้วยกับคําสั่งดังกล่าว มีสิทธิเสนอคําฟ้องยื่นต่อศาลปกครองกลางภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคําสั่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
กิตติรัตน์ ณ ระนอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 5,396 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 11/2556 เรื่อง กำหนดแบบและข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และอัตราเบี้ยประกันภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 11/2556
เรื่อง กําหนดแบบและข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และอัตราเบี้ยประกันภัย
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 11/2556 เรื่อง กําหนดแบบและข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และอัตราเบี้ยประกันภัย”
ข้อ ๒ กําหนดแบบและข้อความเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ และอัตราเบี้ยประกันภัย ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ดังต่อไปนี้ และให้บริษัทใช้ได้เมื่อมีการชําระค่าธรรมเนียมการขออนุญาตเรียบร้อยแล้ว
2.1 เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ปลอดแอลกอฮอล์ (ให้บริษัทใช้สําหรับเป็นเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ทุกประเภท และต้องให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยในการรับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจทุกประเภทเป็นส่วนลดอื่นในอัตราร้อยละ 10 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิ)
2.2 เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองภัยน้ําท่วม และอัตราเบี้ยประกันภัย (ให้บริษัทใช้สําหรับเป็นเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 หรือประเภท 3 หรือกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย)
2.3 เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองภัยธรรมชาติ และอัตราเบี้ยประกันภัย (ให้บริษัทใช้สําหรับเป็นเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 หรือประเภท 3 หรือกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย)
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,397 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 10/2556 เรื่อง การใช้ข้อความหรือภาพตราสัญลักษณ์ระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim)เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 10/2556
เรื่อง การใช้ข้อความหรือภาพตราสัญลักษณ์ระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim)
เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 10/2556 เรื่อง การใช้ข้อความหรือภาพตราสัญลักษณ์ระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่มีคําสั่งเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้บริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณสมบัติการรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) พ.ศ. 2556 ใช้ข้อความหรือภาพตราสัญลักษณ์ระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim)
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,398 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2556 เรื่อง ให้นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับผลของการประกอบธุรกิจ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 7/2556
เรื่อง ให้นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย
ยื่นรายงานเกี่ยวกับผลของการประกอบธุรกิจ
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2556 เรื่อง ให้นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับผลของการประกอบธุรกิจ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ออกคําสั่งเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียน ที่ 25/2551 เรื่อง ให้นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับผลของการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๔ ให้นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับผลของการประกอบธุรกิจซึ่งประกอบด้วย รายงานการจัดให้มีการประกันภัยโดยตรง และรายงานการจัดให้มีการประกันภัยต่อ งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี รายงานผลของการประกอบธุรกิจและเงินกองทุนเฉพาะธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้
ข้อ ๕ ให้นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยยื่นรายงานดังต่อไปนี้ต่อนายทะเบียนเป็นรายไตรมาสภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นแต่ละไตรมาส (มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม) ตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้
(1) รายงานการจัดให้มีการประกันภัยโดยตรง ตามแบบ นปว. 1
(2) รายงานการจัดให้มีการประกันภัยต่อ ตามแบบ นปว. 2 สําหรับนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทที่ทําการชี้ช่องหรือจัดการให้มีการประกันภัยต่อ
ข้อ ๖ ให้นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยยื่นรายงานดังต่อไปนี้ต่อนายทะเบียนภายในห้าเดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
(1) นิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย
(ก) งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด พร้อมทั้งให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลลงนามรับรองความถูกต้อง
(ข) รายงานผลของการประกอบธุรกิจและเงินกองทุนเฉพาะธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยตามแบบ รปว. แนบท้ายประกาศนี้
(2) นิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย
(ก) งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีตามที่กฎหมายเฉพาะนั้นกําหนด พร้อมทั้งให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลลงนามรับรองความถูกต้อง
(ข) รายงานผลของการประกอบธุรกิจและเงินกองทุนเฉพาะธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยตามแบบ รปว. แนบท้ายประกาศนี้
(3) นิติบุคคลอื่นที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยนอกจาก (1) และ (2)
(ก) งบการเงินและรายงานการสอบบัญชีตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี พร้อมทั้งให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลลงนามรับรองความถูกต้อง
(ข) รายงานผลของการประกอบธุรกิจและเงินกองทุนเฉพาะธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยตามแบบ รปว. แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๗ ให้นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับผลของการประกอบธุรกิจตามข้อ 5 และข้อ 6 ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อนายทะเบียนตามระบบคอมพิวเตอร์ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยกําหนด หากข้อมูลไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ตามที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าบริษัทมิได้ยื่นรายงานดังกล่าว
ในกรณีที่รายงานตามข้อ 5 และข้อ 6 ที่ยื่นมาไม่ถูกต้องหรือไม่มีรายการครบถ้วนนายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,399 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 44/2557 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 44/2557
เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย
และอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมาย
อันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง
-------------------------------------
เพื่อให้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ หรือเอกสารแนบท้ายและอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง สอดคล้องกับประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภัย อันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 44/2557 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกคําสั่งเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนที่ 11/2550 เรื่อง ให้แก้ไข เพิ่มเติม แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ข้อ ๔ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัย ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ดังต่อไปนี้
(1) กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง ส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการควบคุมน้ํามัน และอัตราเบี้ยประกันภัย
(2) กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง ส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการควบคุมก๊าซธรรมชาติ และอัตราเบี้ยประกันภัย
(3) กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการควบคุมก๊าซ ปิโตรเลียมเหลว และอัตราเบี้ยประกันภัย
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,400 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 25/2557 เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 25/2557
เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชน
ที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จํากัด (มหาชน)
--------------------------------------
เพื่อรองรับโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จํากัด (มหาชน) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ บริษัทที่รับประกันภัย ตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําประกันภัยไว้กับบริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จํากัด (มหาชน) โดยมีระยะเวลาประกันภัยหนึ่งปี ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัย ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนไว้แล้ว โดยบริษัทจะขยายระยะเวลาคุ้มครองเพิ่มเติมเท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่กับบริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จํากัด (มหาชน) หรือจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเท่ากับจํานวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับคืนจากบริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จํากัด (มหาชน) ตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาประกันภัยที่เหลือก็ได้
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย จํากัด (มหาชน) จํานวน 24 บริษัท ดังมีรายชื่อแนบท้ายคําสั่งนี้เท่านั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สรศักดิ์ ทันตสุวรรณ
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการ | 5,401 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 26/2557 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยทดลองส่งงบการเงินที่จัดทำตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 เรื่อง สัญญาประกันภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 26/2557
เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยทดลองส่งงบการเงิน
ที่จัดทําตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 เรื่อง สัญญาประกันภัย
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 51 (3) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 26/2557 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยทดลองส่งงบการเงินที่จัดทําตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 เรื่อง สัญญาประกันภัย”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ออกคําสั่งเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในคําสั่งนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
ข้อ ๔ ให้บริษัททดลองส่งงบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ที่จัดทําขึ้นตามแบบแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการจัดทํา และยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัยภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ งบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินดังกล่าว ไม่ต้องเปรียบเทียบกับรอบบัญชีที่แล้ว และไม่ต้องผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ข้อ ๕ การส่งงบการเงินตามข้อ 4 ให้บริษัทนําส่งในรูปกระดาษ (hard copy) จํานวน 1 ชุด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,402 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 9/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันภัยเฉพาะราย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 9/2557
เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย
เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยเฉพาะราย
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียน จึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 9/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยเฉพาะราย”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกคําสั่งเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในกรณีที่บริษัทยื่นขอรับความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยเฉพาะรายที่เป็นไปตามคําสั่งนี้ นายทะเบียนจะพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนประทับตรารับเรื่องขอรับความเห็นชอบ และบริษัทชําระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว หากนายทะเบียนมิได้มีหนังสือทักท้วงไปยังบริษัท หรือมีหนังสือเรียกให้บริษัทมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับเรื่องคําขอ ให้ถือว่าแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัยดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนในวันถัดจากวันครบกําหนดสามสิบวัน
ข้อ ๔ แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ และเอกสารแนบท้ายที่บริษัทขอรับความเห็นชอบ เป็นการประกันภัยประเภทหนึ่งประเภทใด ดังต่อไปนี้
(1) การประกันภัยทรัพย์สินซึ่งมีลักษณะความคุ้มครองแบบความเสี่ยงภัยทุกชนิด สําหรับธุรกิจทั่วไปหรืออุตสาหกรรม ซึ่งอาจรวมถึงความคุ้มครองอื่น ๆ เช่น ความคุ้มครองธุรกิจหยุดชะงัก ความคุ้มครองหม้อกําเนิดไอน้ําและถังอัดความดัน ความคุ้มครองการหยุดชะงักของเครื่องจักร หรือ
(2) การประกันภัยความเสี่ยงภัยทางด้านวิศวกรรม เช่น การประกันภัยงานก่อสร้าง การประกันภัยงานติดตั้งระบบและเครื่องจักร การประกันภัยเครื่องจักร รวมถึงการประกันภัยการธุรกิจหยุดชะงัก หรือ
(3) การประกันภัยเครื่องบิน
ข้อ ๕ ผู้เอาประกันภัย มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) นิติบุคคลที่มีทรัพย์สินเพื่อการทําประกันภัยตั้งแต่สองพันล้านบาทขึ้นไป ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่ากรมธรรม์ประกันภัยฉบับมาตรฐาน เพื่อใช้กับสาธารณชนทั่วไปไม่เหมาะสมกับความเสี่ยงภัยขององค์กร นั้น ๆ เนื่องจากความเสี่ยงภัยสูงกว่าปกติและมีลักษณะภัยเฉพาะ เช่น โรงกลั่นน้ํามัน โรงไฟฟ้า อากาศยาน
(2) นิติบุคคลผู้ประกอบการธุรกิจข้ามชาติที่มาประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งมีข้อบังคับจากสํานักงานใหญ่ของบริษัทผู้ประกอบการในต่างประเทศ ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยที่มีเงื่อนไขเหมือนกันทั่วโลก
(3) ผู้เอาประกันภัยที่ไม่เข้าข่ายตาม (1) และ (2) หรือบุคคลธรรมดา ที่มีความต้องการกรมธรรม์ประกันภัยที่จัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะสําหรับธุรกิจ เนื่องจากมีความเสี่ยงภัยที่พิเศษ ซึ่งบริษัทไม่สามารถรับความเสี่ยงไว้ในประเทศไทยได้ทั้งหมด หรือเหตุผลความจําเป็นอื่น ๆ ที่นายทะเบียนเห็นสมควรและปัจจุบันไม่มีกรมธรรม์ประกันภัยฉบับมาตรฐานเพื่อใช้กับธุรกิจดังกล่าว
ข้อ ๖ บริษัทต้องแสดงหนังสือแสดงความยินยอมใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ และเอกสารแนบท้าย ตามที่บริษัทยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียนของผู้เอาประกันภัย ตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๗ บริษัทต้องแสดงสัดส่วนการรับเสี่ยงภัยไว้เอง การจัดสรรการประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมอันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับประกันภัยต่อ ซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย
ข้อ ๘ บริษัทต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนไม่ต่ํากว่าอัตราที่กําหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการกําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย
ข้อ ๙ ในการยื่นขอรับความเห็นชอบ บริษัทจะต้องนําส่งเอกสารต่อนายทะเบียน ดังต่อไปนี้
(1) ใบคําขอรับความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยลงนามโดยกรรมการผู้มีอํานาจ และประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
(2) สําเนาใบเสร็จชําระค่าธรรมเนียม
(3) หนังสือแสดงความยินยอมของผู้เอาประกันภัยตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้
(4) หนังสือแสดงสัดส่วนการรับเสี่ยงภัยไว้เอง การจัดสรรการประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมอันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับประกันภัยต่อ
(5) หนังสือรับรองอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน
(6) แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่ขอรับความเห็นชอบ (ระบุชื่อผู้เอาประกันภัย) และอัตราเบี้ยประกันภัยโดยใช้หัวกระดาษบริษัท จํานวนสองชุด
(7) เอกสารสรุปสาระสําคัญ เงื่อนไขทั่วไป ความคุ้มครอง และข้อยกเว้น เป็นภาษาไทย
(8) ที่มาของอัตราเบี้ยประกันภัย
ข้อ ๑๐ แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบต้องไม่ขัดกับบรรดากฎกระทรวง ประกาศ เงื่อนไขหรือคําสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัย ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนมีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ให้ไว้แล้วได้ ทั้งนี้ ไม่เป็นเหตุให้บริษัทพ้นหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศ เงื่อนไข ดังกล่าว หรือพ้นความรับผิดจากการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศ เงื่อนไข ดังกล่าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,403 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2558 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยและเอกสารแนบท้าย (ฉบับ Update ล่าสุด) | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 2/2558
เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย
และเอกสารแนบท้าย
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียน จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 2/2558 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย และเอกสารแนบท้าย”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัยที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ดังต่อไปนี้
(1) กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย และอัตราเบี้ยประกันภัย
(2) เอกสารแนบท้ายว่าด้วยการขยายจํานวนเงินจํากัดความรับผิดของภัยธรรมชาติ สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย (รายปี) (แบบ อค. 1.35) และอัตราเบี้ยประกันภัย
(3) เอกสารแนบท้ายว่าด้วยการขยายจํานวนเงินจํากัดความรับผิดของภัยธรรมชาติ สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย (ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย) (แบบ อค. 1.36) และอัตราเบี้ยประกันภัย
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,404 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2558 เรื่อง ให้แก้ไขแบบข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 1/2558
เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
------------------------------------------------
ด้วยกฎกระทรวงกําหนดความเสียหายที่จะให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นการร้องขอรับและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 มีการปรับปรุงจํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัยมีสิทธิได้รับเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถสอดคล้องกับกฎกระทรวงดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2558 เรื่อง ให้แก้ไขแบบข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามคําสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2552 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
(2) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามคําสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2557 ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ข้อ ๔ ให้ใช้ตารางกรมธรรม์ประกันภัยที่แนบท้ายคําสั่งดังต่อไปนี้
(1) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามแบบแนบท้าย 1 แทนแบบที่ถูกยกเลิกตามข้อ 3 (1)
(2) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามแบบแนบท้าย 2 แทนแบบที่ถูกยกเลิกตามข้อ 3 (2)
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียน ที่ 27/2552 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใต้บังคับข้อ 6 บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับการร้องขอ โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
4.1 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยตามจํานวนที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อหนึ่งคน
4.2 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจํานวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(ก) ตาบอด
(ข) หูหนวก
(ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
(ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
(จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
(ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
(ช) จิตพิการอย่างติดตัว
(ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร
4.3 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพของผู้ประสบภัยตามจํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
4.4 จํานวนตาม 4.1 และ 4.2 รวมกัน หรือจํานวน 4.1 และ 4.3 รวมกัน แต่หากผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายตามข้อ 4.1 4.2 และ 4.3 หรือได้รับความเสียหายตามข้อ 4.2 และ 4.3 ให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกินจํานวน 65,000 บาท
4.5 กรณีรถตั้งแต่สองคันขึ้นไป ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตาม 4.1 4.2 4.3 หรือ 4.4 แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยมิใช่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวข้างต้น บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ความเสียหายเบื้องต้นทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 3”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของหมวดการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามคําสั่งนายทะเบียน ที่ 27/2552 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 ค่าเสียหายเบื้องต้น
ภายใต้บังคับข้อ 4 บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับการร้องขอโดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นดังต่อไปนี้
2.1 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยตามจํานวนที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อหนึ่งคน
2.2 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจํานวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
(ก) ตาบอด
(ข) หูหนวก
(ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
(ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
(จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
(ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
(ช) จิตพิการอย่างติดตัว
(ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร
2.3 กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพของผู้ประสบภัยตามจํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
2.4 จํานวนตาม 2.1 และ 2.2 รวมกัน หรือจํานวน 2.1 และ 2.3 แต่หากผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายตามข้อ 2.1 2.2 และ 2.3 หรือได้รับความเสียหายตามข้อ 2.2 และ 2.3 ให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกินจํานวน 65,000 บาท
2.5 กรณีรถตั้งแต่สองคันขึ้นไป ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยบริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตาม 2.1 2.2 2.3 หรือ 2.4 แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท แต่ถ้าผู้ประสบภัยมิใช่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวข้างต้น บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ความเสียหายเบื้องต้นทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 1”
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทยังไม่สามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยให้เป็นไปตามคําสั่งนี้ได้ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยเดิมออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปพลางก่อนได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558 แต่บริษัทต้องยึดถือตามแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการแก้ไขตามคําสั่งนี้
ข้อ ๘ ตารางกรมธรรม์ประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยก่อนวันที่มีคําสั่งนี้และสัญญายังคงมีผลใช้บังคับอยู่ ให้ถือว่าตารางกรมธรรม์ประกันภัย และกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นแบบและข้อความตามที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,405 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 36/2558 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 36/2558
เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 36/2558 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้ก่อนที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๔ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่ถูกยกเลิกตามข้อ 3
ข้อ ๕ กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยก่อนวันที่มี คําสั่งนี้ และสัญญายังคงมีผลใช้บังคับอยู่ ให้กรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปจนถึงวันที่กรมธรรม์ ประกันภัยนั้นสิ้นผลบังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,406 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2558 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยและเอกสารแนบท้าย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 2/2558
เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย
และเอกสารแนบท้าย
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียน จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 2/2558 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย และเอกสารแนบท้าย”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัยที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ดังต่อไปนี้
(1) กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย และอัตราเบี้ยประกันภัย
(2) เอกสารแนบท้ายว่าด้วยการขยายจํานวนเงินจํากัดความรับผิดของภัยธรรมชาติ สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย (รายปี) (แบบ อค. 1.35) และอัตราเบี้ยประกันภัย
(3) เอกสารแนบท้ายว่าด้วยการขยายจํานวนเงินจํากัดความรับผิดของภัยธรรมชาติ สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย (ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย) (แบบ อค. 1.36) และอัตราเบี้ยประกันภัย
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,407 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 38/2557 เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จำกัด (มหาชน) | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 38/2557
เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชน
ที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จํากัด (มหาชน)
---------------------------------------------
เพื่อรองรับโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จํากัด (มหาชน) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ บริษัทที่รับประกันภัย ตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําประกันภัยไว้กับบริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จํากัด (มหาชน) โดยมีระยะเวลาประกันภัยหนึ่งปี ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนไว้แล้ว โดยบริษัทจะขยายระยะเวลาคุ้มครองเพิ่มเติมเท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่กับบริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จํากัด (มหาชน) หรือจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเท่ากับจํานวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับคืนจากบริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จํากัด (มหาชน) ตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาประกันภัยที่เหลือก็ได้
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท ศูนย์สุขภาพประเทศไทย จํากัด (มหาชน) จํานวน 25 บริษัท ดังมีรายชื่อแนบท้ายคําสั่งนี้เท่านั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,408 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 57/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุพิเศษเพื่อมวลชน และอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 57/2559
เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุพิเศษเพื่อมวลชน และอัตราเบี้ยประกันภัย
สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย
--------------------------------------
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงระบบประกันภัยและใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและครอบครัวของตนเองได้อย่างเหมาะสม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 57/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุพิเศษเพื่อมวลชน และอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย”
ข้อ ๒ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุพิเศษเพื่อมวลชน ที่แนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๓ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุพิเศษเพื่อมวลชนที่แนบท้ายคําสั่งนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,409 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 50/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และอัตราเบี้ยประกันภัย สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 50/2559
เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสําหรับรายย่อย
(ไมโครอินชัวรันส์) และอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย
-------------------------------------------
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้พิการ ได้มีโอกาสเข้าถึงระบบประกันภัยและใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและครอบครัวของตนเองได้อย่างเหมาะสม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 50/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับบริษัทประกันวินาศภัย”
ข้อ ๒ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ที่แนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๓ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ที่แนบท้ายคําสั่งนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,410 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 9/2535 เรื่อง ตรวจสอบผลการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 9/2535
เรื่อง ตรวจสอบผลการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
----------------------
เพื่อให้การดําเนินการบังคับคดีแห่งและคดีล้มละลายของเจ้าพนักงานบังคับคดีและ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินไปโดยมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ถูกขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่งกรมบังคับคดี มิให้เป็นเหตุให้ศาลต้องเพิกถอนการบังคับคดีไป เช่น แจงการยึดอายัด หรือส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ ประกาศขายทอดตลาดไม่ระบุรายละเอียดให้ชัดแจ้ง หรือไม่ปิดประกาศขายทอดตลาด ที่ทรัพย์ ตั้งอยู่ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในส่วน ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมี คําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 365/2533 เรื่อง ตรวจสอบผลการยึดอายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2553
ข้อ ๒ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการยึดหรืออายัดทรัพยสินรายใดและได้ดําเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 303 หรือ 304 แล้ว ให้รีบทําบันทึกตามแบบรายงานการตรวจสอบผลการยึดหรืออายัดทรัพย์สินท้ายคําสั่งนี้ เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคหรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล ตรวจสอบว่าการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น ได้ดําเนินไปโดยชอบด้วยระเบียบหรือคําสั่งกรมบังคับคดีหรือไม่ ถ้าดําเนินการไม่ชอบให้มีคําสั่งแก้ไข ให้ถูกต้อง หากดําเนินการไปชอบแล้ว ให้ลงนามและวันที่ที่ทําการตรวจสอบได้
ข้อ ๓ ให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาล มีหน้าที่ตรวจประกาศ ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําขึ้นในแต่ละครั้ง ว่าชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบหรือคําสั่งกรมบังคับคดี เช่น มีรายละเอียดที่แสดงถึงลักษณะ สภาพของทรัพย์สิน และในกรณีทรัพย์สินที่จะขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ระบุที่ตั้งและแผนที่ซึ่งแสดงทิศทางที่จะไปยังทรัพย์สินดังกล่าวไว้ถูกต้องแล้วหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องให้มีคําสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง หากถูกต้องแล้วให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือ หัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจําศาลแล้วแต่กรณี ลงนามในฐานะเป็นเจ้าพนักงาน ตามประกาศ ต่อไป
ข้อ ๔ ก่อนถึงกําหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์สินตามที่ประกาศไว้ในแต่ละคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบผลการลงประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินมา ได้มี การส่งและปิดประกาศโดยชอบแล้วหรือไม่ เช่น ได้ส่งให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียหรือปิดประกาศไว้ ณ ทรัพย์ตั้งอยู่ แล้วหรือไม่ แล้วให้ทําบันทึกการตรวจสอบตามแบบรายงานการตรวจสอบผลการ ลงประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินหายคําสั่งนี้ เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ประจําศาลตรวจสอบและมีคําสั่ง หากการส่งประกาศขายทอดตลาดมิชอบให้มีคําสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้อง หากชอบแล้วก็ให้ดําเนินการขายทอดตลาดต่อไป
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2538
(นายประมาณ ติยะไพบูลย์สิน)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,411 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 6/2518 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหมายบังคับคดี หมายแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือหมายอื่น ๆ และสำนวนความในคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 6/2518
ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหมายบังคับคดี หมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือหมายอื่น ๆ และสํานวนความในคดี
—---------------
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติราชการและเพื่ออํานวยความสะดวกรวดเร็วแก่คู่ความและประชาชนผู้มาติดต่อในราชการของกรมบังคับคดี จึงเห็นสมควรวางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับ วิธีดําเนินการตามหมายบังคับคดี หมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และหมายอื่น ๆ ของศาล กับสํานวนความในคดีสําหรับราชการส่วนกลางของกรมบังคับคดีไว้ดังต่อไปนี้
อื่นๆ - 1. หมายบังคับคดีและหมายอื่น ๆ
1.1 ให้เป็นหน้าที่ของงานคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม เป็นผู้รับหมายบังคับคดีแพ่งหมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์คดีล้มละลาย หรือหมายอื่น ๆ ทํานองเดียวกันนั้น แล้วเข้าปกสํานวน เสร็จแล้วให้ส่งสํานวนนั้นไปให้งานเก็บสํานวนและสถิติ
1.2 เมื่องานเก็บสํานวนและสถิติได้รับสํานวนแล้ว ให้ลงบัญชีสารบบสํานวนบังคับคดีตามลําดับอักษร (บัญชีที่กองบังคับคดีแพ่งปฏิบัติอยู่เดิม) บัญชีสารบบสํานวนคดีตามลําดับเลขคดีสําหรับคดีแพ่ง และบัญชีสารบบความสําหรับคดีล้มละลาย
1.3 สําหรับหมายบังคับคดีแพ่งเมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา หรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจให้กระทําการแทนได้มายื่นคําร้องขอต่องานคําคู่ความ เพื่อขอให้ดําเนินการตามหมายบังคับคดีหรือหมายอายัดแล้วให้งานคําคู่ความส่งคําร้องขอนั้นให้งานเก็บสํานวนและสถิติจัดหาสํานวน แล้วส่งสํานวนไปให้กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน โดยให้หัวหน้ากองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินดําเนินการตามหมายบังคับคดี หรือหมายอายัดต่อไป แล้วแต่กรณีภายในขอบเขตอํานาจหน้าที่
1.4 สําหรับหมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่องานเก็บสํานวนและสถิติได้ดําเนินการตามข้อ 1.2 แล้ว ให้นําสํานวนพร้อมกับบัญชีจ่ายสํานวนเสนอหัวหน้ากองพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อมีคําสั่งจ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับผิดชอบดําเนินการ แล้วให้งานเก็บสํานวนและสถิติส่งสํานวนพร้อมกับบัญชีจ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงชื่อรับสํานวนนั้นไว้เพื่อดําเนินการต่อไปภายในขอบเขตอํานาจหน้าที่
อื่นๆ - 2. สํานวนความ
2.1 การรับและส่งสํานวนระหว่างกอง ให้มีเจ้าหน้าที่ของแต่ละกองลงชื่อรับมอบสํานวนไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อกองที่ได้รับสํานวนไปได้ทํางานเสร็จในช่วงใดแล้ว ให้รีบส่งสํานวนคืนงานเก็บสํานวนและสถิติทันที ห้ามเก็บรักษาสํานวนไว้นานเกินความจําเป็น
2.2 ให้เจ้าหน้าที่ของกองซึ่งนําสํานวนไปปฏิบัติการต่าง ๆ กลัดเอกสารเข้าไว้ในสํานวนพร้อมกับลงรายการในสารบาญหน้าสํานวนให้เรียบร้อยก่อนที่จะนําสํานวนส่งคืนงานเก็บสํานวนและสถิติ
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2518
(ลงชื่อ) ชลูตม์ สวัสดิทัต
(นายชลูตม์ สวัสดิทัต)
ผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดี | 5,412 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 13/2518 เรื่อง ระเบียบการจ่ายเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในคดีแพ่ง | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 13/2518
เรื่อง ระเบียบการจ่ายเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในคดีแพ่ง
—---------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรที่จะได้มีการวางระเบียบการจ่ายเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในคดีแพ่งแก่เจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีในการไปปฏิบัติราชการนอกที่ทําการ จึงวางระเบียบปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ค่าพาหนะและค่าป่วยการเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีสําหรับการนําเอกสารไปส่งเกี่ยวด้วยการรับเงิน, ส่งเงินหรืออื่น ๆ ในคดีแพ่งเรื่องใด ให้เบิกจ่ายได้จากเงินในคดีเรื่องนั้น ๆ ทั้งนี้โดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ดังนี้
1.1 ค่าป่วยการข้าราชการชั้นจัตวาในอัตรา 10 บาทต่อวัน ชั้นตรีในอัตรา 15 บาทต่อวัน ชั้นโท - เอก ในอัตรา 20 บาทต่อวัน
1.2 ค่าพาหนะเดินทางตามที่จ่ายจริงตามสมควร
ข้อ ๒ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2518
(ลงชื่อ) ชลูตม์ สวัสดิทัต
นายชลูตม์ สวัสดิทัต
ผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดี | 5,413 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 5/2518 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสำหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 5 /2518
เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี
—----------
เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ฯ จัดแบ่งส่วนราชการในกระทรวงยุติธรรมตั้งกรมบังคับคดีขึ้น และได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดีเฉพาะในส่วนกลาง ออกเป็น 7 กอง คือ. -
1. สํานักงานเลขานุการกรม
2. กองคลัง
3. กองพิทักษ์ทรัพย์
4. กองพิทักษ์ทรัพย์
5. กองจัดการทรัพย์สิน
6. กองดําเนินคดีแพ่งและคดีอาญา
7. สํานักงานวางทรัพย์กลาง
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติราชการ และเพื่ออํานวยความสะดวกรวดเร็วแก่คู่ความและประชาชนผู้มาติดต่อต่อ กับเพื่อเป็นการประสานงานระหว่างกองคลังกับกองต่าง ๆ จึงเห็นสมควรวางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางของกรมบังคับคดีไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การรับเงิน
เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือนําส่งในคดี ในหน้าที่ของส่วนราชการกองใดกองหนึ่ง จะเป็นเงินสด เช็ค ดร๊าฟหรือตั๋วเงินก็ดี ให้หัวหน้ากองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการในเรื่องนั้นจดรายงานการรับเงินนั้นโดยละเอียดว่า เป็นเงินประเภทใด ในคดีใด ของผู้ใด จํานวนเงินเท่าใดและมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้วนําผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงินพร้อมกับสํานวนและรายงานดังกล่าวไปส่งที่กองคลัง เพื่อกองคลังจะได้รับเงินและออกใบรับเงินให้โดยให้หัวหน้ากอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีลงนามในใบรับเงินนั้นร่วมกับหัวหน้ากองคลังด้วย ใบรับเงินนั้นให้มีสําเนา 3 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระเงิน ส่วนสําเนากองคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว
ในกรณีจะต้องตอบรับเงินจากผู้ส่งเงิน ให้หัวหน้ากองคลังเป็นผู้ตอบรับเงิน พร้อมส่งใบเสร็จรับเงิน
ข้อ ๒ การจ่ายเงิน
เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในคดี ให้ผู้นั้นยื่นคําขอรับเงินต่อหัวหน้ากองผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้นเมื่อได้รับคําสั่งให้จ่ายเงินได้แล้ว ให้ผู้นั้นทําใบรับเงินที่กองคลัง โดยให้กองคลังจัดทําใบสั่งจ่ายให้แก่ผู้รับเงินนั้น ส่วนผู้มีอํานาจและหน้าที่สั่งจ่ายเงินให้เป็นดังนี้
2.1 งานบังคับคดีแพ่ง ให้หัวหน้ากองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่สั่งจ่ายเงินและลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน
2.2 งานบังคับคดีล้มละลายที่เกี่ยวข้องกับกองพิทักษ์ทรัพย์ ให้หัวหน้ากองพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่สั่งจ่ายเงินและลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน
2.3 ส่วนงานกองอื่น ๆ ให้หัวหน้ากองผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่สั่งจ่ายเงินและลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน
กรณีการสั่งจ่ายเงินจํานวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ให้กองคลังจ่ายเงินโดยเช็คธนาคารแห่งประเทศไทย ให้แก่ผู้รับเงินนั้นถ้าจํานวนเงินต่ํากว่า 1,000 บาท กองคลังจะจ่ายเงินสดหรือเช็คให้ก็ได้
การลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินปกติให้หัวหน้ากองคลังฝ่ายหนึ่งลงชื่อร่วมกับรองอธิบดีอีกฝ่ายหนึ่งถ้าหัวหน้ากองคลังหรือรองอธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้หัวหน้างานการเงินลงชื่อแทนหัวหน้ากองคลังหรืออธิบดีลงชื่อแทนรองอธิบดีแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่จะต้องส่งเงินไปให้ผู้รับเงินโดยมีหนังสือนําส่ง เมื่อหัวหน้ากองผู้มีหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน แล้วให้หัวหน้ากองคลังจัดการส่งเงินจํานวนนั้นโดยเงินสด เช็ค ธนาณัติหรือดร๊าฟ ไปชําระโดยให้รองอธิบดีลงชื่อในหนังสือนําส่งเงิน หากจะต้องเบิกเงินจากธนาคารให้ปฏิบัติตามข้อ 2 วรรคสาม โดยระบุชื่อหัวหน้ากองคลังหรือผู้ที่หัวหน้ากองคลังมอบหมายเป็นผู้รับเงินตามเช็คเว้นแต่จํานวนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ให้ระบุชื่อหัวหน้ากองคลัง
ข้อ ๓ การส่งสํานวนให้กองคลังคํานวณเงินต่าง ๆ
3.1 เมื่อหัวหน้ากองผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบเสร็จสิ้นทั้งหมดหรือบางส่วน พอที่จะให้กองคลังดําเนินการได้เกี่ยวกับบัญชีส่วนแบ่ง บัญชีส่วนเฉลี่ย บัญชีแสดงการรับ - จ่ายเป็นต้น ให้หัวหน้ากองดังกล่าวแจ้งให้หัวหน้ากองคลังทราบ
3.2 การส่งเรื่องให้กองคลังคํานวณเงินส่วนเฉลี่ยทรัพย์ในคดีแพ่งหรือเงินส่วนแบ่งในคดีล้มละลาย หรือบัญชีแสดงการรับ - จ่ายเงิน เป็นต้น ให้หัวหน้ากองที่ส่งเรื่องมายังกองคลังแจ้งผลของการดําเนินคดีนั้นให้กองคลังทราบด้วยว่า ได้ดําเนินคดีเสร็จแล้ว หรือมีงานค้างปฏิบัติอย่างใดบ้างรวมทั้งให้จดแจ้งการรับ การจ่ายเงินระหว่างดําเนินการตามหน้าที่ลงในบัญชีรับจ่ายหน้าสํานวนให้ครบถ้วนเพื่อให้กองคลังดําเนินการต่อไป
ข้อ ๔ ผู้ลงชื่อในบัญชีส่วนเฉลี่ยนหรือบัญชีส่วนแบ่ง ฯลฯ
4.1 เมื่อกองคลังดําเนินการทําบัญชีส่วนเฉลี่ย บัญชีส่วนแบ่ง หรือบัญชีแสดงรายรับจ่ายเสร็จแล้วให้หัวหน้ากองคลังแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องมารับรองบัญชีต่อหัวหน้ากองคลังตามกฎหมายต่อไป และขณะเดียวกันให้ส่งบัญชีดังกล่าวพร้อมสํานวนไปให้หัวหน้ากองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน หรือหัวหน้ากองพิทักษ์ทรัพย์ตรวจลงชื่อตามข้อ 4.2 และ 4.3 ต่อไปแล้วแต่กรณีให้แล้วเสร็จก่อนวันนัดรับรองบัญชี หากเห็นว่าบัญชีไม่ถูกต้องหรือมีข้อขัดแย้งประการใดให้เสนอเรื่องขอรับคําวินิจฉัยจากอธิบดีโดยไม่ชักช้า
4.2 กรณีการแบ่งเงินส่วนเฉลี่ยในคดีแพ่ง ให้หัวหน้ากองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินเป็นผู้ลงชื่อในบัญชีส่วนเฉลี่ย หรือบัญชีแสดงการรับจ่ายร่วมกับหัวหน้ากองคลังและพนักงานบัญชี
4.3 กรณีการแบ่งเงินทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ให้หัวหน้ากองพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ลงชื่อในบัญชีส่วนแบ่งทรัพย์สิน และบัญชีจํานวนเงินส่วนแบ่งเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายร่วมกับหัวหน้ากองคลังและพนักงานบัญชี
ข้อ ๕ เบ็ดเตล็ด
5.1 ระเบียบนี้ไม่ใช้บังคับแก่สํานักงานวางทรัพย์กลาง ซึ่งมีระเบียบวางไว้โดยเฉพาะแล้ว
5.2 ระเบียบราชการกองหมายและระเบียบราชการกองบังคับคดีล้มละลายในส่วนที่เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินให้ลงใช้อยู่ต่อไป นอกจากที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2518
(ลงชื่อ) ชลูตม์ สวัสดิทัต
(นายชลูตม์ สวัสดิทัต)
ผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดี | 5,414 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 8/2518 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนำส่งและรับเงินและกรรมการตรวจสอบการเงินของคลัง กรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 8 /2518
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน
และกรรมการตรวจสอบการเงินของคลัง กรมบังคับคดี
—--------
โดยที่ได้มีพระราชบัญญัติ ฯ แบ่งส่วนราชการกระทรวงยุติธรรมจัดตั้งกรมบังคับคดีขึ้นโอนอํานาจหน้าที่กิจการ ทรัพย์สิน หนี้ ข้าราชการ ลูกหนี้ และเงินงบประมาณของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกองบังคับคดีล้มละลายและกองบังคับคดีแพ่งไปเป็นของกรมบังคับคดี
ฉะนั้น จึงตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบการเงินของกองคลัง กรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. หัวหน้ากองพิทักษ์ทรัพย์
2. หัวหน้ากองจัดการทรัพย์สิน
3. หัวหน้ากองคลัง
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บเงินรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้เรียงตามลําดับคือ
1. หัวหน้างานพิทักษ์ทรัพย์คดีนิติบุคคล
2. หัวหน้างานจัดกิจการ
3. หัวหน้างานคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์
อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งและรับเงิน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ร่วมกันอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งและรับเงิน โดยมีเจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยคือ
1.หัวหน้างานการเงิน
2. หัวหน้างานการบัญชีและงบประมาณ
3. หัวหน้างานพัสดุ
อื่นๆ - ง. กรรมการตรวจสอบการเงิน
1. รองอธิบดี
2. หัวหน้ากองสํานักงานวางทรัพย์กลาง
3. เลขานุการกรม
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในระเบียบการรับ - จ่ายการเก็บรักษา และการนําส่งเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2516 โดยเคร่งครัด
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2518
(ลงชื่อ) ชลูตม์ สวัสดิทัต
นายชลูตม์ สวัสดิทัต)
ผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดี | 5,415 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 10/2518 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสำหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2) | ( สําเนา )
คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 10 /2518
เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2)
—--------
เนื่องจากคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 5/2518 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 เรื่องระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางนั้น ยังไม่อํานวยความสะดวกแก่คู่ความผู้มาติดต่อขอรับเงินในงานบังคับคดีแพ่ง จึงเห็นเป็นการสมควรแก้ไขคําสั่งดังกล่าว เพื่อให้งานบังคับคดีแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินดําเนินไปโดยรวดเร็วเป็นการอํานวยความสะดวกแก่คู่ความ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบดังกล่าวต่อไปนี้
ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 5/2518 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 “ข้อ 2 การจ่ายเงิน” และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ 2. การจ่ายเงิน
เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในคดี ให้ผู้นั้นยื่นคําขอรับเงินต่อหัวหน้ากองผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น เมื่อได้รับคําสั่งจ่ายเงินได้แล้ว ให้ผู้นั้นทําใบรับเงินที่กองคลัง โดยให้กองคลังจัดทําใบสั่งจ่ายให้แก่ผู้รับเงินนั้น ส่วนผู้มีอํานาจและหน้าที่สั่งจ่ายเงินและลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงินให้เป็นดังนี้
2.1 งานบังคับคดีแพ่ง ให้หัวหน้ากองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่สั่งจ่ายเงิน และให้รองอธิบดีเป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน
2.2 งานบังคับคดีล้มละลายที่เกี่ยวกับกองพิทักษ์ทรัพย์ ให้หัวหน้ากองพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่สั่งจ่ายเงินและลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน
2.3 ส่วนงานกองอื่น ๆ ให้หัวหน้ากองผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้นเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่สั่งจ่ายเงินและลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน
กรณีการสั่งจ่ายเงินจํานวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ให้กองคลังจ่ายเงินโดยเช็คธนาคารแห่งประเทศไทย ให้แก่ผู้รับเงินนั้น ถ้าจํานวนเงินต่ํากว่า 1,000 บาท กองคลังจะจ่ายเงินสดหรือเช็คให้ก็ได้
การลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินปกติให้หัวหน้ากองคลังฝ่ายหนึ่งลงชื่อร่วมกับรองอธิบดีอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าหัวหน้ากองคลังหรือรองอธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้หัวหน้างานการเงินลงชื่อแทนหัวหน้ากองคลังหรืออธิบดีลงชื่อแทนรองอธิบดีแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่จะต้องส่งเงินไปให้ผู้รับเงินโดยมีหนังสือนําส่ง เมื่อหัวหน้ากองหรือรองอธิบดีผู้มีหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน แล้วให้หัวหน้ากองคลังจัดการส่งเงินจํานวนนั้นโดยเงินสด เช็ค ธนาณัติหรือดร๊าฟ ไปชําระโดยให้รองอธิบดีลงชื่อในหนังสือนําส่งเงิน หากจะต้องเบิกเงินจากธนาคารให้ปฏิบัติตามข้อ 2 วรรคสาม โดยระบุชื่อหัวหน้ากองคลัง หรือผู้ที่หัวหน้ากองคลังมอบหมายเป็นผู้รับเงินตามเช็ค เว้นแต่จํานวนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ให้ระบุชื่อหัวหน้ากองคลัง”
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2518
(ลงชื่อ) ชลูตม์ สวัสดิทัต
(นายชลูตม์ สวัสดิทัต)
ผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดี | 5,416 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 130/2519 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนำส่งและรับเงินและกรรมการตรวจสอบการเงิน ของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 130 /2519
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน
และกรรมการตรวจสอบการเงิน ของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
—--------
อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 8/2518 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบการเงิน ตามระเบียบการรับ - จ่าย การเก็บรักษา และการนําส่งเงินของส่วนราชการ พ.ศ.2516 ข้อ 40,42,55 และข้อ 56 นั้น บัดนี้เห็นสมควรเปลี่ยนแปลงกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบการเงินดังกล่าวเสียใหม่
ฉะนั้น จึงตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบการเงิน ของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังต่อไปนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. ผู้อํานวยการกอง กองพิทักษ์ทรัพย์ เป็นกรรมการ
2. หัวหน้ากองจัดการทรัพย์สิน เป็นกรรมการ
3. หัวหน้ากองคลัง เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้เรียงตามลําดับ คือ
1.นายจิระ บุญพจนสุนทร หัวหน้ากองดําเนินคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นกรรมการ
2. นายพิเชฏฐ์ ประถมบูรณ์ นิติกร 6 กองดําเนินคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นกรรมการ
3. นางนิภา สินธารา หัวหน้างานคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์กองคลัง เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งและรับเงิน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ ร่วมกันอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งและรับเงิน โดยมีเจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วย คือ
1. นางพิสมัย ทองอ่อน หัวหน้างานกองเงิน กองคลัง เป็นกรรมการ
2. นางเสาวภา สถิตมิลินทากาศ หัวหน้างานบัญชีและงบประมาณกองคลัง เป็นกรรมการ
3. นายวันชัย แสงบัว เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 งานการเงิน กองคลัง เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ง. กรรมการตรวจสอบการเงิน
1. รองอธิบดีกรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
2. หัวหน้ากองสํานักงานวางทรัพย์กลาง เป็นกรรมการ
3. เลขานุการกรม เป็นกรรมการ
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในระเบียบ การรับ - จ่ายการเก็บรักษา และการนําส่งเงินของส่วนราชการ พ.ศ. 2516 โดยเคร่งครัด
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2518
(นายพิศิษฏ์ เทศะบํารุง)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,417 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 25/2521 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับพนักงานเดินหมาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 25 /2521
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับพนักงานเดินหมาย
—----------------
เนื่องด้วยพนักงานเดินหมาย สํานักงานเลขานุการกรม กรมบังคับคดี นอกจากทําหน้าที่เกี่ยวกับการส่งหมาย ประกาศ หนังสือและสํานวนต่าง ๆ ของกรมบังคับคดีแล้ว ยังมีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานบังคับคดี กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ในการไปยึดทรัพย์หรือขายทอดตลาดทรัพย์รวมทั้งการอยู่เวรประจําห้องทํางานต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายด้วย การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว หากปรากฏว่าพนักงานเดินหมายผู้ใดเพิกเฉย ละเลย ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ย่อมเป็นเหตุทําให้การดําเนินงานต่าง ๆ ของกรมบังคับคดีเกิดความขัดข้อง ล่าช้า อันอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการและคู่ความได้ และนอกจากนั้น หากปรากฏว่าการส่งหมายประกาศ และหนังสือในครั้งแรกส่งไม่ได้ หรือส่งล่าช้า หรือรายงานการส่งล่าช้า ย่อมเป็นเหตุทําให้การดําเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องล่าช้าไปด้วยอันอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการและคู่ความในคดีได้ ทั้งจะเกิดข้อครหานินทาในทางเสียหายว่าการส่งหมายครั้งแรกพนักงานเดินหมายผู้ส่งมักจะส่งไม่ได้ หรือไม่ได้ไปส่งจริง อันเป็นการเสียหายแก่ชื่อเสียงของข้าราชการกรมบังคับคดีด้วย
ดังนั้น เพื่อเป็นการเร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเดินหมายให้ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะทําให้การดําเนินงานต่าง ๆ ของกรมบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสมความมุ่งหมายของทางราชการ ทั้งเพื่อป้องกัน และแก้ไขข้อกล่าวหาหรือความเข้าใจในสิ่งไม่ดีแก่ข้าราชการดังกล่าว จึงให้ข้าราชการและพนักงานเดินหมาย สํานักงานเลขานุการกรม กรมบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การปฏิบัติหน้าที่ตามบัญชีการปฏิบัติงานของพนักงานเดินหมาย
1.1 ให้หัวหน้างานเดินหมายและประกาศ สํานักงานเลขานุการกรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจัดทําบัญชีการปฏิบัติงานของพนักงานเดินหมายเป็นรายวัน แล้วแจ้งให้พนักงานเดินหมายได้ทรายเพื่อปฏิบัติหน้าที่
1.2 ให้พนักงานเดินหมายผู้มีรายชื่อตามบัญชีการปฏิบัติงานดังกล่าว ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายโดยเคร่งครัด หากผู้ใดมีความจําเป็นไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้นั้นรายงานเหตุจําเป็นโดยลายลักษณ์อักษรต่อหัวหน้างานเดินหมายฯ เพื่อเสนอเลขานุการกรมทราบล่วงหน้าก่อนกําหนดวันที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อหัวหน้างานเดินหมายฯ หรือเลขานุการกรม จะได้พิจารณาดําเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป
1.3 หากพนักงานเดินหมายผู้ใดละเลย ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและไม่รายงานเหตุจําเป็นตามข้อ 1.2 ถือว่าผู้นั้นได้ละทิ้ง หรือทอดทิ้งต่อหน้าที่ราชการ อันเป็นความผิดอาจได้รับโทษทางวินัยของข้าราชการด้วย
1.4 ให้หัวหน้างานเดินหมาย ฯ ควบคุม ดูแลการปฏิบัติหน้าที่ตามบัญชีการปฏิบัติงานของพนักงานเดินหมายให้เป็นไปโดยเรียบร้อย อย่าให้มีการบกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวและหากปรากฏว่าพนักงานเดินหมายผู้ใด ละทิ้งหรือละเลย ทอดทิ้งต่อหน้าที่ราชการ ให้หัวหน้างานเดินหมายรายงานเลขานุการกรม เพื่อเสนออธิบดีกรมบังคับคดี พิจารณามีคําสั่งลงโทษ หรือเลิกจ้างพนักงานเดินหมายผู้นั้น ตามที่เห็นสมควรต่อไป
ข้อ ๒ การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งหมายประกาศและหนังสือ
2.1 ให้หัวหน้างานเดินหมายและประกาศ สํานักงานเลขานุการกรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจ่ายหมาย ประกาศ และหนังสือต่าง ๆ ให้พนักงานเดินหมายรับไปส่ง โดยเฉลี่ยตามจํานวนคนและจํานวนหมายประกาศและหนังสือที่กองต่าง ๆ ได้ส่งมาให้ดําเนินการในแต่ละวัน และกําหนดให้รายงานผลการส่งหมายภายใน 3 วัน ส่งประกาศภายใน 5 วัน
2.2 เมื่อพนักงานเดินหมาย ได้รับหมายประกาศและหนังสือต่าง ๆ จากหัวหน้างานเดินหมาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไปแล้ว ให้พนักงานเดินหมายผู้นั้นนําหมาย ประกาศและหนังสืออะไรไปเดินบ้างรับวันที่เท่าไร ครบกําหนดรายงานเมื่อใด และเมื่อส่งหมายแล้ว ก็ให้ลงในบัญชีหมาย ฯ นั้นด้วยว่าได้ส่งวันที่เท่าไร ส่งรายงานคืนเมื่อไร และรายงานในช่องหมายเหตุโดยสังเขปว่า ส่งได้ หรือส่งไม่ได้หรือปิดหมาย หรือใครรับแทนด้วย
2.3 การส่งหมาย ฯ ให้พนักงานเดินหมายปฏิบัติหน้าที่ในการส่งหมาย ฯ ตามที่มีบัญญัติไว้ ในกฎหมายและระเบียบของทางราชการในเรื่องนี้โดยเคร่งครัด และการออกไปส่งหมายทุกครั้งให้พนักงานเดินหมายลงชื่อในสมุดประจําวันส่งหมาย เพื่อทรายเวลาไปและเวลากลับ และเมื่อกลับมาแล้วก็ให้ลงชื่อในสมุดนั้นด้วย
2.4 การรายงานการส่ง หมาย ให้พนักงานเดินหมาย รายงานการส่ง หมายให้ชัดเจนด้วยว่า ได้ส่งไปที่บ้านเลขที่เท่าไร ตรอกซอย ถนน แขวง เขต และสถานที่ใกล้เคียงให้ชัดเจน
2.5 กรณีที่ส่งหมายไม่ได้ ให้พนักงานเดินหมายรายงานการส่งโดยละเอียดถึงสภาพของสถานที่ไปส่งนั้นให้ชัดเจนด้วยว่า มีลักษณะอย่างไร เช่น บ้านไม้ชั้นเดียว หรือสองชั้น ทาสีอะไร อยู่ใกล้เคียงสถานที่ใดบ้าง ตลอดจนสถานที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากถนน หรือปากซอยเข้าไปอย่างไรเพื่อแสดงว่าได้ไปส่งหมายที่บ้านนั้นจริง มิใช่เขียนขึ้นลอย ๆ และให้หมายเหตุในสมุดพนักงานเดินหมายด้วยว่า หมายฉบับนั้นส่งครั้งที่เท่าใด โดยเขียนข้อความว่า “ครั้งที่ 1” หรือ “ครั้งที่ 2” ฯ เพื่อหัวหน้างานเดินหมายจะได้ตรวจสอบ
2.6 ให้หัวหน้างานเดินหมาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จัดทําบัญชีการส่งหมาย เฉพาะกรณีส่งหมายไม่ได้ ส่งหมายล่าช้า หรือรายงานการส่งหมายล่าช้า เพื่อรวมไว้พิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเดินหมายผู้นั้นด้วย และให้บันทึกไว้ในรายงานการเดินหมายทุกครั้งด้วยว่า “ลงในบัญชีแล้ว” พร้อมกับลงชื่อและวันเดือนปีกํากับไว้ด้วย
2.7 ให้หัวหน้างานเดินหมาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตรวจงานของพนักงานเดินหมาย แต่ละคนทุกวัน หากปรากฏว่าพนักงานเดินหมายผู้ใดบกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ ให้รายานเลขานุการกรมทราบ เพื่อเสนออธิบดีกรมบังคับคดีพิจารณามีคําสั่งลงโทษ หรือเลิกจ้างพนักงานเดินหมายผู้นั้นตามที่เห็นสมควรต่อไป
ข้อ ๓ การรายงานและจ่ายค่าส่งหมาย ฯ
3.1 เมื่อพนักงานเดินหมายได้นําหมาย ประกาศและหนังสือไปจัดการส่ง และเขียนรายงานการส่งหมายเรียบร้อยแล้ว ให้พนักงานเดินหมายผู้นั้นนํารายงานการส่งหมายดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่งานเดินหมายเพื่อลงบัญชีสมุดประจําวันก่อนเสนอหัวหน้างานเดินหมายเพื่อสั่งจ่ายเงินทุกครั้ง
3.2 เมื่อเจ้าหน้าที่งานเดินหมายได้ลงบัญชีผลการส่งหมายของพนักงานเดินหมายผู้นั้นเสร็จแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นลงชื่อและวันเดือนปีกํากับไว้ที่มุมขวามือด้านล่างในรายงานการส่งหมายไว้ด้วย
3.3 ให้หัวหน้างานเดินหมาย ฯ พิจารณาสั่งจ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการส่งหมายฉบับนั้นต่อเมื่อได้ตรวจดูว่า รายงานฉบับนั้นได้มีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่งานเดินหมายและวันเดือนปีกํากับไว้เรียบร้อย และห้ามมิให้สั่งจ่ายเงินไปโดยรายงานฉบับนั้นยังมิได้มีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่งานเดินหมายและวันเดือนปีกํากับไว้
ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2521
(นายชูเชิด รักตะบุตร์)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,418 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 195/2520 เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสำหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 3) | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 195 /2520
เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี
(ฉบับที่ 3)
—----------
เนื่องจากคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 5/2518 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 เรื่องระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลาง และคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 10/2518 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2518 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2) ยังไม่อํานวยความสะดวกแก่คู่ความผู้มาติดต่อขอรับเงินในงานบังคับคดีแพ่งและในงานบังคับคดีล้มละลายเท่าที่ควร ตลอดจนการปฏิบัติราชการระหว่างหน่วยงานบางหน่วยยังขาดความคล่องตัว จึงเห็นเป็นการสมควรแก้ไขคําสั่งดังกล่าวเพื่อให้งานบังคับคดีแพ่งและงานบังคับคดีล้มละลายในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินให้ดําเนินไปโดยรวดเร็ว เป็นการอํานวยความสะดวกแก่คู่ความ ทั้งเพื่อให้การปฏิบัติราชการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ คล่องตัวขึ้น จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบที่กล่าวแล้วดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 5/2518 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ 3 การส่งสํานวนให้กองคลังคํานวนเงินต่าง ๆ
3.1 เมื่อหัวหน้ากองผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบเสร็จสิ้นทั้งหมดหรือบางส่วน พอที่จะให้กองคลังดําเนินการได้เกี่ยวกับบัญชีส่วนแบ่ง บัญชีส่วนเฉลี่ยบัญชีแสดงการรับ - จ่าย หรือตรวจสอบหรือคํานวณเงินอื่น ๆ เป็นต้น ให้หัวหน้ากองดังกล่าวหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งให้หัวหน้ากองคลังทราบ
3.2 การส่งเรื่องให้กองคลังคํานวณเงินเฉลี่ยในคดีแพ่ง หรือเงินส่วนแบ่งในดคีล้มละลาย หรือบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย หรือตรวจสอบหรือคํานวณเงินอื่น ๆ นั้นให้หัวหน้ากองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่ส่งเรื่องไปยังกองคลังแจ้งผลของการดําเนินคดีนั้นให้กองคลังทราบด้วยว่า ได้ดําเนินการเสร็จแล้ว ไม่มีงานใด ๆ ค้างเกี่ยว หรือมีงานอย่างใดในคดีที่ค้างปฏิบัติบ้าง รวมทั้งให้จัดทําสารบาญสํานวนต่าง ๆ ทั้งหมดให้ครบถ้วนเสียก่อน แล้วจึงส่งให้กองคลังเพื่อดําเนินการต่อไป
3.3 การทําบัญชีส่วนแบ่ง บัญชีแสดงการรับ - จ่ายในคดีล้มละลายให้กองคลังสอบถามไปยังโจทก์ และกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินที่ว่า มีงานหรือค่าใช้จ่ายอย่างใดเกี่ยวค้างบ้างหรือไม่
ส่วนกองจัดการทรัพย์สิน กองดําเนินคดีแพ่งและคดีอาญาให้เป็นหน้าที่ของกองพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้สอบถาม แล้วแจ้งให้กองคลังทราบ
3.4 การยืมสํานวนจากศาลเพื่อประกอบการดําเนินการของงานคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์และการส่งคืนนั้น ให้เป็นหน้าที่ของกองคลังโดยตรงมิต้องผ่านงานคําคู่ความ “
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 5/2518 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ 4. ผู้ลงชื่อในบัญชีส่วนเฉลี่ยหรือบัญชีส่วนแบ่ง ฯลฯ
4.1 เมื่อกองคลังดําเนินการทําบัญชีส่วนเฉลี่ย บัญชีส่วนแบ่งหรือบัญชีแสดงการรับจ่ายเสร็จแล้ว ให้หัวหน้ากองคลังแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องมารับรองบัญชีดังกล่าวต่อหัวหน้ากองคลังตามกฎหมาย
4.2 กรณีการแบ่งเงินส่วนเฉลี่ยในคดีแพ่ง ให้หัวหน้ากองคลัง, พนักงานบัญชีและผู้ตรวจสอบ เป็นผู้ลงชื่อในบัญชีส่วนเฉลี่ย หรือบัญชีแสดงการรับ - จ่าย
4.3 กรณีการแบ่งเงินทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ให้หัวหน้ากองคลัง, พนักงานบัญชีและผู้ตรวจสอบ เป็นผู้ลงชื่อในบัญชีแสดงการรับ - จ่าย บัญชีส่วนแบ่งและบัญชีจํานวนเงินส่วนแบ่งเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย
4.4 ในกรณีที่มีผู้คัดค้านบัญชี ให้หัวหน้ากองคลังเสนอเรื่องแก่ผู้อํานวยการกองกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน หรือ ผู้อํานวยการกอง กองพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณีดําเนินการตามกฎหมายต่อไป
4.5 การรายงานศาลทั้งในคดีแพ่งและคดีล้มละลาย เมื่องานคํานวนและเฉลี่ยทรัพย์ได้จัดทําบัญชีต่าง ๆ เสร็จแล้ว ให้หัวหน้ากองคลังมีหน้าที่รายงานและลงนามในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณี”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 2.2, 2.3 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 10/2518 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2518 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ 2.2 งานบังคับคดีที่เกี่ยวกับกองพิทักษ์ทรัพย์ ให้ผู้อํานวยการกอง กองพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่สั่งจ่ายเงิน และให้รองอธิบดีเป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน
2.3 ส่วนงานกองอื่น ๆ ให้หัวหน้ากองผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น ๆ เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่สั่งจ่ายเงินและให้รองอธิบดีเป็นผู้มีอํานาจและหน้าที่ลงชื่อในใบสั่งจ่ายเงิน”
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2520
(นายชูเชิด รักตะบุตร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,419 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 31/2520 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ในสำนวนเกี่ยวกับการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในคดีแพ่ง | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 31 / 2520
เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ในสํานวนเกี่ยวกับการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในคดีแพ่ง
—---------
โดยที่ปรากฏว่าการปฏิบัติหน้าที่ในสํานวนเกี่ยวกับการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในคดีแพ่ง ในขณะนี้ยังมิได้แยกเก็บไว้เป็นหมวดหมู่โดยเฉพาะเจาะจง ทําให้เกิดความขัดข้องและยุ่งยากในการค้นหาสํานวนเพื่อเสนอรายงานการส่งหมาย ซึ่งทําให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเกิดความเสียหายแก่คู่ความในคดีได้
ดังนั้นเพื่อให้การเร่งรัดการส่งหมายให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ตลอดจนการค้นหาสํานวนได้เป็นไปโดยสะดวกและมีระเบียบเรียบร้อย กับมีความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่ราชการยิ่งขึ้น จึงได้เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกอง กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน และหัวหน้ากองคลังสั่งให้ข้าราชการในความรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ราชการดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การออกหมาย ประกาศ และหนังสือต่าง ๆ
1.1 ให้กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือไปยังงานเดินหมายและประกาศ สํานักงานเลขานุการกรม โดยบัญชีรายการส่งหมาย 2 ฉบับมีข้อความตรงกัน แล้วมอบให้เจ้าหน้าที่งานเดินหมายและประกาศลงชื่อรับไว้หนึ่งฉบับเพื่อเป็นหลักฐานทุกครั้ง
1.2 ให้งานเดินหมายและประกาศทําบัญชีรับจ่ายหมาย ประกาศ และส่งหนังสือเพื่อเฉลี่ยจ่ายให้พนักงานเดินหมายรับไปส่งเป็นประจําทุกวัน โดยกําหนดให้รายงานผลการส่งหมายต่อหัวหน้างานเดินหมายและประกาศ ภายในเวลา 3 วัน และส่งประกาศภายใน 5 วัน
1.3 สําหรับสํานวนที่ได้ออกหมาย ประกาศ และหนังสือตามข้อ 1.1 เมื่อทางกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินไม่มีกิจจําเป็นที่จะต้องใช้สํานวนนั้นปฏิบัติการใด ๆ แล้วให้กองอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินรีบส่งสํานวนนั้นไปยังงานเก็บสํานวนและสถิติ สํานักงานเลขานุการกรม โดยทําบัญชีรายการส่งสํานวน 2 ฉบับ แล้วมอบให้เจ้าหน้าที่เก็บสํานวนและสถิติลงชื่อรับไว้ 1 ฉบับ เพื่อเป็นหลักฐานทุกครั้ง
1.4 ให้งานเก็บสํานวนและสถิติจัดเก็บส่งหมายแยกไว้โดยเฉพาะตามบัญชีการส่งหมายของแต่ละวัน อย่าให้สับสนปนกัน เพื่อจะได้จ่ายสํานวนได้ทันทีตามที่มีผู้ขอเบิกมา
ข้อ ๒ การรายงานการส่งหมายและการส่งสํานวนคืน
2.1 ให้พนักงานเดินหมายรายงานการส่งหมาย เสนอหัวหน้างานเดินหมายและประกาศตรวจเพื่อเสนอเลขานุการกรม มีคําสั่งจ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการแก่พนักงานเดินหมาย แล้วให้เจ้าหน้าที่งานเดินหมายส่งรายงานดังกล่าว ไปยังงานเก็บสํานวนและสถิติเพื่อติดสํานวนเสนอกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน โดยทําบัญชีรายการส่งสํานวนให้เจ้าหน้าที่กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินลงชื่อรับไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
2.2 ให้กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ส่งสํานวนที่มีรายงานการเดินหมายแล้วไปยังกองคลัง เพื่อเบิกจ่ายเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการส่งหมายดังกล่าว โดยทําบัญชีรายการส่งสํานวนให้เจ้าหน้าที่กองคลังลงชื่อรบไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
2.3 สํานวนใดที่ไม่มีการใดจะต้องปฏิบัติต่อไป เมื่อกองคลังได้จัดการเบิกจ่ายเงินตามข้อ 2.2 เสร็จแล้ว ให้เจ้าหน้าที่กองคลังส่งสํานวนดังกล่าวไปยังงานเก็บสํานวนและสถิติสํานักงานเลขานุการกรม โดยทําบัญชีรายการส่งสํานวนให้เจ้าหน้าที่งานเก็บสํานวนและสถิติ ลงชื่อรับไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง
ส่วนสํานวนใดที่ทางกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สินจะต้องดําเนินการต่อไปก็ให้เจ้าหน้าที่กองคลังส่งสํานวนดังกล่าว ไปยังกองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน โดยทําบัญชีรายการส่งสํานวนให้เจ้าหน้าที่กองยึดอายัดและจําหน่ายทรัพย์สิน ลงชื่อรับไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งเช่นเดียวกันด้วย
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2520
(นายพิศิษฏ์ เทศะบํารุง)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,420 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 32/2520 เรื่อง ระเบียบการจ่ายค่าส่งหมายสำหรับการบังคับคดีแพ่งและการบังคับคดีล้มละลาย (ฉบับ Update ล่าสุด) | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 32 /2520
เรื่อง ระเบียบการจ่ายค่าส่งหมายสําหรับการบังคับคดีแพ่งและการบังคับคดีล้มละลาย
—--------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรที่จะได้กําหนดอัตราค่าส่งหมาย สําหรับการบังคับคดีแพ่งและการบังคับคดีล้มละลาย ที่จะเบิกจ่ายให้แก่พนักงานเดินหมายกรมบังคับคดีในอัตราเดียวกันั เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงให้จ่ายค่าส่งหมายทั้งในคดีแพ่งและคดีล้มละลายโดยการเหมาจ่าย รวมทั้งค่าพาหนะและค่าป่วยการด้วย (เว้นแต่ในที่ทุรกันดารหรือห่างไกลมากเป็นพิเศษอันจําเป็นต้องใช้ยานพาหนะเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย) ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เขตชั้นใน จ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการรวม 15 บาท ได้แก่
1.1 พระนคร
1.2 ป้อมปราม
1.3 สัมพันธวงค์
ข้อ ๒ เขตชั้นกลาง จ่ายค่าพาหนะและค่ายป่วยการรวม 20 บาท ได้แก่
2.1 ปทุมวัน 2.5 บางกอกน้อย
2.2 บางรัก 2.6 บางกอกใหญ่
2.3 ดุสิต 2.7 ธนบุรี
2.4 พญาไท 2.8 คลองสาน
ข้อ ๓ เขตชั้นนอก จ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการรวม 25 บาท ได้แก่
3.1 ยานนาวา 3.6 ภาษีเจริญ
3.2 พระโขนง 3.7 บางขุนเทียน
3.3 บางกะปิ 3.8 หนองแขม
3.4 ตลิ่งชัน 3.9 ห้วยขวาง
3.5 ราษฎร์บูรณะ 3.10 บางเขน
กรณีปิดหมาย เพิ่มค่าป่วยการตํารวจ 10 บาท และค่าพาหนะอีก 10 บาท รวม 20 บาท
ทั้งนี้ให้ใช้ระเบียบนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2520
(นายพิศิษฏ์ เทศะบํารุง)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,421 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 32/2520 เรื่อง ระเบียบการจ่ายค่าส่งหมายสำหรับการบังคับคดีแพ่งและการบังคับคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 32 /2520
เรื่อง ระเบียบการจ่ายค่าส่งหมายสําหรับการบังคับคดีแพ่งและการบังคับคดีล้มละลาย
—--------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรที่จะได้กําหนดอัตราค่าส่งหมาย สําหรับการบังคับคดีแพ่งและการบังคับคดีล้มละลาย ที่จะเบิกจ่ายให้แก่พนักงานเดินหมายกรมบังคับคดีในอัตราเดียวกัน เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงให้จ่ายค่าส่งหมายทั้งในคดีแพ่งและคดีล้มละลายโดยการเหมาจ่าย รวมทั้งค่าพาหนะและค่าป่วยการด้วย (เว้นแต่ในที่ทุรกันดารหรือห่างไกลมากเป็นพิเศษอันจําเป็นต้องใช้ยานพาหนะเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย) ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เขตชั้นใน จ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการรวม 15 บาท ได้แก่
1.1 พระนคร
1.2 ป้อมปราม
1.3 สัมพันธวงค์
ข้อ ๒ เขตชั้นกลาง จ่ายค่าพาหนะและค่ายป่วยการรวม 20 บาท ได้แก่
2.1 ปทุมวัน 2.5 บางกอกน้อย
2.2 บางรัก 2.6 บางกอกใหญ่
2.3 ดุสิต 2.7 ธนบุรี
2.4 พญาไท 2.8 คลองสาน
ข้อ ๓ เขตชั้นนอก จ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการรวม 25 บาท ได้แก่
3.1 ยานนาวา 3.6 ภาษีเจริญ
3.2 พระโขนง 3.7 บางขุนเทียน
3.3 บางกะปิ 3.8 หนองแขม
3.4 ตลิ่งชัน 3.9 ห้วยขวาง
3.5 ราษฎร์บูรณะ 3.10 บางเขน
กรณีปิดหมาย เพิ่มค่าป่วยการตํารวจ 10 บาท และค่าพาหนะอีก 10 บาท รวม 20 บาท
ทั้งนี้ให้ใช้ระเบียบนี้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2520
(นายพิศิษฏ์ เทศะบํารุง)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,422 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 70/2520 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนำเงินส่งและรับเงินและผู้ตรวจสอบภายใน ของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 70 /2520
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําเงินส่ง
และรับเงินและผู้ตรวจสอบภายใน ของกรมบังคับคดี
—---------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 130/2519 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 1519 ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งและรับเงิน และกรรมการตรวจสอบการเงิน ของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการรับ จ่าย การเก็บรักษา และการนําส่งเงินของส่วนราชการ พงศ. 2516 นั้น บัดนี้กระทรวงการคลังได้วางระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ขึ้นใหม่โดยให้ยกเลิกระเบียบเดิม
ฉะนั้น เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าว ข้อ 53,55,68 และ 69 จึงตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําเงินส่งและรับเงิน และผู้ตรวจสอบภายในของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. หัวหน้ากองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
2. นางเสาวภา สถิตมิลินทากาศ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 งานบัญชีและงบประมาณกองคลัง
กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
3. นางพิสมัย ทองอ่อน เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 งานการเงิน
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว ตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินผู้ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้เรียงตามลําดับคือ
1. นางจํานงค์ ฉายานนท์ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 งานคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์
กองคลังกรมบังคับคดี กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
2. นางสาวพัชรี กฤษณะจูฑะ เจ้าหน้าที่ธุรการ 3 งานพัสดุ
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
3. นางศุภมาศ เหมไหรณย์ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 งานการเงิน
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค.กรรมการนําส่งและรับเงิน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ร่วมกันอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งและรับเงิน โดยมีเจ้าหน้าที่ตํารวจควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้คือ
1. นางพิสมัย ทองอ่อน เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 3 งานการเงิน
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
2. นายวันชัย แสงบัว เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 งานการเงิน
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
3. นางศุภมาศ เหมไหรณย์ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 งานการเงิน
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
4. นางพจนีย์ ระบบกิจการดี เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 งานการเงิน
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
5. นายกิตติ พูลทวี เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 งานคํานวนและเฉลี่ยทรัพย์
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
6. นายสังเวียน โชคอํานวยกุล เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 2 งานคํานวนและเฉลี่ยทรัพย์
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
7. นายทรงพล อัมพุนันท์ เจ้าหน้าที่ธุรการ 2 งานพัสดุ
กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ผู้ตรวจสอบภายใน
ให้นางนิภา สินธารา เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 4 กองคลัง กรมบังคับคดี เป็นผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ กรมบังคับคดี
ทั้งนี้ให้กรรมการและผู้ตรวจสอบภายในดังกล่าวปฏิบัติการตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 โดยเคร่งครัด
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2520
(นายพิศิษฏ์ เทศะบํารุง)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,423 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012.2/ว 18 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | ที่ นร 1012.2/ว 18
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
20 ตุลาคม 2565
เรื่อง แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทํางานวิถีใหม่
เรียน (กระทรวง กรม จังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทํางานวิถีใหม่ พร้อมคู่มือ
อื่นๆ - ด้วยคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 มีมติเห็นชอบ “แนวทาง การปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทํางานวิถีใหม่” พร้อมคู่มือ ตามที่สํานักงาน ก.พ. เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐพิจารณานําไปปรับใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการตามความเหมาะสม
สํานักงาน ก.พ. จึงขอแจ้งแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทํางานวิถีใหม่ พร้อมคู่มือ ซึ่งได้มีการปรับถ้อยคําให้สอดคล้องกับระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติงาน นอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ พ.ศ. 2565 และความเห็นจากส่วนราชการต่าง ๆ ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ตาม QR Code ท้ายหนังสือฉบับนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 8832 (เสาวลักษณ์), 8820 (อาภาภรณ์)
โทรสาร 0 2547 1868 | 5,424 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1012.1/ว 16 เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางสำหรับให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติราชการในช่วงการแพร่ระบาทของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | ที่ นร 1012.1/ว 16
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
16 กันยายน 2565
เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางสําหรับให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติราชการในช่วงการแพร่ระบาทของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
เรียน (กระทรวง กรม จังหวัด)
อ้างถึง 1. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1007.4/326 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2563
2. หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1022/ว 6 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2564
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 สํานักงาน ก.พ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานภายในที่พักตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี สําหรับเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เดินทางกลับมาจาก หรือเดินทางผ่าน หรือมีเส้นทางแวะผ่านประเทศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และจําเป็นต้องสังเกตอาการ อยู่ปฏิบัติงานภายในที่พักเป็นเวลา 14 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา และตามหนังสือที่อ้างถึง 2 สํานักงาน ก.พ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์และแนวทางสําหรับให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติราชการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม เพื่อให้ส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้เริ่มคลี่คลายลงตามลําดับ มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 มีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ศบค.) ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมีการปรับแนวทางการจัดการผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง และมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) เตรียมพร้อมเข้าสู่ระยะผ่อนคลายมาตรการป้องกันควบคุมโรคและประชาชนใช้ชีวิตได้ปกติ (Post-pandemic) ดังนั้น เพื่อให้ส่วนราชการมีแนวทางปฏิบัติ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สํานักงาน ก.พ. จึงขอแจ้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ และแนวทางการปฏิบัติราชการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และแนวทางตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 และให้ใช้หลักเกณฑ์และแนวทางดังต่อไปนี้
1. การมอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติราชการในและนอกสถานที่ตั้ง ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ให้ส่วนราชการพิจารณามอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติราชการในและนอกสถานที่ตั้ง ตามความจําเป็น และบริบทการทํางานของส่วนราชการ โดยให้คํานึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของผู้มาปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริหารราชการและการให้บริการประชาชนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับมาตรการของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) (ศบค.) ด้วย
2. กรณีส่วนราชการพิจารณาเห็นว่า อาจมีข้าราชการในสังกัดเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด ของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2.1 หากส่วนราชการเห็นว่า ข้าราชการในสังกัดรายใดมีเหตุสงสัยว่าอาจเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้ส่วนราชการพิจารณาดําเนินการ ตามแนวทางการจัดการผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ตามนิยามและแนวปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคสําหรับ ผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมควบคุมโรค โดยอนุโลม โดยให้ข้าราชการ มาปฏิบัติราชการในสถานที่ตั้งและให้สังเกตอาการตนเอง (ไม่ต้องกักตัว) รายละเอียดนิยามและแนวปฏิบัติฯ ปรากฏตาม QR Code ท้ายหนังสือฉบับนี้
2.2 ในกรณีที่ส่วนราชการพิจารณามอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติราชการภายในที่พัก เพื่อสังเกตอาการ ให้ข้าราชการดําเนินการตามแนวทางการจัดการผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ตามนิยามและแนวปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคสําหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมควบคุมโรค โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นคอยติดตาม กํากับ ดูแล คุณภาพงานและคุณภาพชีวิตของข้าราชการอย่างสม่ําเสมอ เมื่อสิ้นสุดช่วงระยะเวลาการสังเกตอาการ และไม่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ข้าราชการรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการพร้อมกับส่งมอบหรือรายงานผลการปฏิบัติราชการระหว่าง การปฏิบัติราชการภายในที่พักต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นในโอกาสแรก
2.3 หากในช่วงระยะเวลาตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ปรากฏว่า ข้าราชการตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ดําเนินการตามข้อ 3
3. กรณีข้าราชการเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
3.1 เมื่อตรวจพบเชื้อโดยชุดตรวจเพื่อตรวจหาสารหรือโปรตีนของเชื้อไวรัส (Antigen Test Kit, ATK) หรือวิธี Real-time polymerase chain reaction (RT-PCR) ขึ้นอยู่กับว่าตรวจพบด้วยวิธีใดก่อน ให้ข้าราชการแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นในทันที
3.2 เมื่อข้าราชการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล สถานที่ที่รัฐจัดให้เป็นสถานพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hotel Isolation, Hospitel) แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) แยกกักตัวในศูนย์แยกโรคชุมชน (Community Isolation) หรือรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักกันตนเอง (Outpatient with Self Isolation) ให้ส่วนราชการพิจารณาดําเนินการ ดังนี้
3.2.1 กรณีข้าราชการประสงค์จะลาป่วย ให้จัดส่งใบลาเป็นระยะเวลาตามที่ระบุ ในใบรับรองแพทย์ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 หรือ
3.2.2 กรณีข้าราชการประสงค์จะปฏิบัติราชการในช่วงระหว่างการรักษาตัวในสถานที่ตามข้อ 3.2 ให้แจ้งต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อพิจารณามอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติราชการนอกสถานที่ตั้ง โดยไม่ต้องจัดส่งใบลา
3.3 เมื่อข้าราชการได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว ให้ข้าราชการรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นในโอกาสแรก
4. การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือน
4.1 ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการในข้อ 2 และข้อ 3 ตามผลการปฏิบัติราชการจริง
4.2 การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการในข้อ 3.2.1 ให้เป็นอํานาจ ของผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจสั่งเลื่อนเงินเดือนที่จะพิจารณาการลาของข้าราชการดังกล่าวเป็นกรณีลาป่วย ตามข้อ 8 (9) (ค) ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 โดยผู้บังคับบัญชาผู้มีอํานาจสั่งเลื่อนเงินเดือนอาจนําผลการวินิจฉัยของแพทย์ ระยะเวลาในการรักษาตัว และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของข้าราชการไปประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร รวมทั้งให้นําผลการประเมินการปฏิบัติราชการ พฤติกรรมการมาทํางานและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาด้วย
5. การรายงานของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
เมื่อมีกรณีตามข้อ 2 และข้อ 3 ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นที่จะต้องรายงาน ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป รวมทั้งหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการด้วย และขอให้ส่วนราชการ แจ้งข้อมูลข้าราชการซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือประสานกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการตามมาตรการทางสาธารณสุขหรือข้อกฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง หรือประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ การใดที่อยู่ระหว่างดําเนินการก่อนวันที่หลักเกณฑ์และแนวทางฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางตามที่กําหนดไว้เดิมต่อไปจนสิ้นสุด
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 8832, 8820
โทรสาร 0 2547 1868 | 5,425 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร (กมจ) 1019/ว 13 เรื่อง แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ | ที่ นร (กมจ) 1019/ว 13
คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
4 กรกฎาคม 2565
เรื่อง แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ
เรียน องค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรที่มีหน้าที่จัดทําประมวลจริยธรรม และหน่วยงานของรัฐ
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565 - 2570)
2. แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริม จริยธรรมภาครัฐ
อื่นๆ - ด้วยคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 มีมติเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565 - 2570) เพื่อเป็นกรอบ แนวทางการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ให้กับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีการรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกําหนดจริยธรรม รายละเอียดปรากฏตาม สิ่งที่ส่งมาด้วย 1
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการกําหนดนโยบาย วางแผน และดําเนินกิจกรรม/โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 และยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ ก.ม.จ. จึงกําหนดแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรม และการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐเพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. 2565 - 2570) และแนวทาง การส่งเสริมจริยธรรมตามยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐได้จาก QR Code ที่ปรากฏท้ายหนังสือฉบับนี้
อนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรม เมื่อปรากฏกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม และประมวลจริยธรรม สําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดําเนินการเมื่อปรากฏกรณีดังกล่าว ไปยัง สํานักงาน ก.พ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.จ. กําหนดด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์)
เลขาธิการ ก.พ.
กรรมการและเลขานุการ
อื่นๆ - ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 6871 - 2, 6874, 6875, 6877, 6896
โทรสาร 0 2547 1727, 0 2547 2021 | 5,426 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1010/ว 12 เรื่อง ระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม พ.ศ. 2565 | ที่ นร 1010/ว 12
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
21 มิถุนายน 2565
เรื่อง ระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์ หรือดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม พ.ศ. 2565
เรียน (เวียนกระทรวง กรม จังหวัด)
สิ่งที่ส่งมาด้วย ระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์ หรือดําเนินการอื่นใด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม พ.ศ. 2565
อื่นๆ - ด้วย ก.พ.ค ได้ออกระเบียบ ก.พ.ค ว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์ หรือดําเนินการอื่นใด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม พ.ศ. 2565 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 139 ตอนพิเศษ 77 ง วันที่ 1 เมษายน 2565 แล้ว รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ซึ่งส่วนราชการสามารถดาวน์โหลดได้จาก QR Code ที่ปรากฏท้ายหนังสือฉบับนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์)
เลขาธิการ ก.พ.
เลขานุการ ก.พ.ค.
อื่นๆ - สํานักพิทักษ์ระบบคุณธรรม
โทร. 0 2547 1844
โทรสาร 0 2547 2004-5 | 5,427 |
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่ นร 1008/ว 10 เรื่อง การปรับปรุงมาตรฐานกำหนดตำแหน่งสายงานปฏิบัติงานช่างโลหะ ระดับอาวุโส | ที่ นร 1008/ว 10
สํานักงาน ก.พ.
ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000
27 เมษายน 2565
เรื่อง การปรับปรุงมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงานปฏิบัติงานช่างโลหะ ระดับอาวุโส
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 10 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
สิ่งที่ส่งมาด้วย มาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงานปฏิบัติงานช่างโลหะ ตําแหน่งนายช่างโลหะ
อื่นๆ - ตามหนังสือที่อ้างถึง ก.พ. ได้แจ้งมาตรฐานกําหนดตําแหน่งตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 จํานวน 245 สายงาน มาเพื่อส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
บัดนี้ ก.พ. ได้มีมติให้ปรับปรุงมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสายงานปฏิบัติงานช่างโลหะ ตําแหน่งนายช่างโลหะ ระดับอาวุโส โดยกําหนดให้ได้รับเงินเดือนถึงอัตราขั้นสูงของบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2565 เป็นต้นไป รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยส่วนราชการสามารถดาวน์โหลดได้จาก QR Code ที่ปรากฏ ท้ายหนังสือฉบับนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งกรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ขอแสดงความนับถือ
(นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์)
เลขาธิการ ก.พ.
อื่นๆ - สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน
โทร. 0 2547 1000 ต่อ 6614 6630 6603
โทรสาร 0 2547 1437 | 5,428 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) | ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน
ที่ ทธ. 32/2559
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการ
เป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และ
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(ฉบับประมวล)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 223/3 และมาตรา 228 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ส่วน ๑
วัตถุประสงค์ในการกํากับดูแลสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และ
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
ข้อ ๒ โดยที่ระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์เป็นระบบพื้นฐานที่สําคัญและมีความเชื่อมโยงกับระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นระบบที่มีความจําเป็นต่อองค์กรในการดําเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ ดังนั้น การกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกํากับดูแลสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว (IT Governance)
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมโดยคณะกรรมการและผู้บริหารให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลด้านตลาดทุนกําหนดขึ้น และนําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น จึงมีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่ง หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้จึงกําหนดขึ้น เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่สํานักหักบัญชี
ส่วน ๒
หลักการสําคัญในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์
และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
ข้อ ๓ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน (financial market infrastructures) ที่สําคัญ มีระบบงานรวมถึงระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งให้บริการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม โดยมีการดําเนินงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานที่องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแลด้านตลาดทุนกําหนดขึ้น สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องประกอบการภายใต้หลักการที่สําคัญดังต่อไปนี้
(1) การบริหารกิจการที่ดีและการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีความชัดเจนและโปร่งใส
(2) การบริหารจัดการความเสี่ยง (risk management) ที่ดีเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านกฎหมาย (legal) ด้านเครดิต (credit) ด้านสภาพคล่อง (liquidity) ด้านการดําเนินการ (operation) และความเสี่ยงด้านอื่น ๆ โดยมีมาตรการในการติดตาม ควบคุม และจัดการความเสี่ยงในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการดังกล่าวสามารถรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
(3) การมีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอ มีระบบและกฎเกณฑ์ในการรับและกํากับดูแลสมาชิกที่เหมาะสม และรองรับวิธีปฏิบัติที่ทําให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องมีกระบวนการในการจัดการกรณีที่มีการผิดนัดชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ด้วย
(4) การบริหารความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ (business continuity management)
โดยมีมาตรการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อันเป็นการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความพร้อมในการใช้งานของระบบงานที่สําคัญของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ให้สามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
(5) การเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจน โปร่งใสและเพียงพอเพื่อให้สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้น ๆ สามารถเข้าใจผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
(6) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ต้องมีระบบและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการให้บริการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าจะมีการเก็บรักษาหลักทรัพย์ไว้อย่างปลอดภัย และสามารถนําไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - (นายรพี สุจริตกุล)
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับตลาดทุน | 5,429 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 67/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้พักในหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 67/2559
เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้พักในหอพัก
ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
-------------------------------------------
เพื่อรองรับกฎหมายว่าด้วยหอพักที่ประสงค์ให้ผู้ประกอบกิจการหอพักจัดทําประกันภัยเพื่อคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ของผู้พักในหอพัก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 67/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความ และอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้พักในหอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้พักในหอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ตามที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ดังต่อไปนี้
(1) กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้พักในหอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
(2) ใบคําขอเอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้พักในหอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
(3) อัตราเบี้ยประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้พักในหอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,430 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 60/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความเอกสารแนบท้ายและอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยและกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 60/2559
เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความเอกสารแนบท้ายและอัตราเบี้ยประกันภัย
สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย
และกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
-----------------------------------------
เพื่อให้เอกสารแนบท้ายสําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย และกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติยุบเลิกกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 60/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความเอกสารแนบท้ายและอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq
ข้อ ๒ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 60/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความเอกสารแนบท้ายและอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) คําสั่งนายทะเบียนที่ 6/2555 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและภัยพิบัติสําหรับที่อยู่อาศัย และอัตราเบี้ยประกันภัย ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555
(2) คําสั่งนายทะเบียนที่ 16/2555 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัย ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
(3) คําสั่งนายทะเบียนที่ 17/2555 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและภัยพิบัติสําหรับที่อยู่อาศัย และอัตราเบี้ยประกันภัย (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
(4) คําสั่งนายทะเบียนที่ 171/2555 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความเอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย และกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่มีอัตราเบี้ยประกันภัยต่ํากว่ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติกําหนดตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(5) คําสั่งนายทะเบียนที่ 29/2557 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555
(6) แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก เนื่องจากภัยที่เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองทรัพย์สินจากภัยธรรมชาติทั่วไป และภัยพิบัติส่วนเกินกองทุน และกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ ที่ให้ความคุ้มครองภัยพิบัติ ที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้ก่อนที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๔ ให้ใช้แบบและข้อความเอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัย ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ดังต่อไปนี้
(1) เอกสารแนบท้ายขยายความคุ้มครองภัยเพิ่มเติม (แบบ อค. 1.39 ถึง แบบ อค. 1.53) และอัตราเบี้ยประกันภัย (รายปี) สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq
(2) เอกสารแนบท้ายว่าด้วยการจํากัดจํานวนเงินความรับผิด (แบบ ทส. 1.09 ถึง แบบ ทส. 1.14) และอัตราเบี้ยประกันภัย (รายปี) สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
วราวรรณ เวชชสัสถ์
รองเลขาธิการ รักษาการแทน
เลขาธิการ
นายทะเบียน | 5,431 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 46/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 46/2559
เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัด
สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)
------------------------------------------------
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบการประกันภัยได้อย่างทั่วถึง อันเป็นการสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้แก่ประชาชน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 46/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียน ที่ 9/2553 เรื่อง กําหนดแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ข้อ ๔ ให้ใช้แบบข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ดังต่อไปนี้
(1) กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)
(2) ใบคําขอเอาประกันภัยกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และใบรับรองการประกันภัย
(3) อัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)
ข้อ ๕ บริษัทที่ประสงค์จะใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบประหยัดสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ตามข้อ 4 ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบพร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมการขออนุญาต
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,432 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 25/2559 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยส่งรายงานกระทบยอดรายการตามงบการเงิน รายงานฐานะการเงินและกิจการของบริษัท และรายงานการดำรงเงินกองทุน | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 25/2559
เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยส่งรายงานกระทบยอดรายการตามงบการเงิน รายงานฐานะการเงิน
และกิจการของบริษัท และรายงานการดํารงเงินกองทุน
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 51 (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 25/2559 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยส่งรายงานกระทบยอดรายการตามงบการเงิน รายงานฐานะการเงินและกิจการของบริษัท และรายงานการดํารงเงินกองทุน”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกคําสั่งเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนที่ 6/2557 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยส่งรายงานกระทบยอดรายการตามงบการเงิน รายงานฐานะการเงินและกิจการของบริษัท และรายงานการดํารงเงินกองทุน ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ข้อ ๔ ให้บริษัทส่งรายงานกระทบยอดรายการตามงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้วรายงานฐานะการเงินและกิจการของบริษัท และรายงานการดํารงเงินกองทุนต่อนายทะเบียน โดยมีรายการอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๕ การส่งรายงานตามข้อ 4 ให้บริษัทจัดทําและนําส่งเป็น excel file ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) : [email protected] โดยนําส่งเป็นรายไตรมาสและรายปี ดังต่อไปนี้
(1) รายงานกระทบยอดประจําไตรมาส 1 (เดือนมีนาคม) รายงานประจําไตรมาส 2 (เดือนมิถุนายน) และรายงานประจําไตรมาส 3 (เดือนกันยายน) ให้ส่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันครบกําหนดยื่นรายงานการดํารงเงินกองทุนประจําไตรมาส
(2) รายงานกระทบยอดประจําปี ให้ส่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันครบกําหนดยื่นรายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี
ในกรณีที่รายงานตามวรรคหนึ่งที่บริษัทส่งมาไม่ถูกต้องหรือไม่มีรายการครบถ้วน นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด
ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถส่งรายงานได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้บริษัทยื่นคําขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียนก่อนครบกําหนดไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน โดยบริษัทต้องระบุเหตุผลและความจําเป็นมาด้วย หากนายทะเบียนเห็นสมควรจะอนุญาตขยายระยะเวลาก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,433 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2559 เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท สัญญาประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 21/2559
เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชน
ที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท สัญญาประกันภัย จํากัด (มหาชน)
---------------------------------------
เพื่อเป็นการรองรับโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท สัญญาประกันภัยจํากัด (มหาชน) ซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามคําสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 395/2559 ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ บริษัทที่รับประกันภัย ตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําประกันภัยไว้กับบริษัทสัญญาประกันภัย จํากัด (มหาชน) จะมีระยะเวลาประกันภัยหนึ่งปี และให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนไว้แล้ว โดยบริษัทจะขยายระยะเวลาคุ้มครองเพิ่มเติมเท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่กับบริษัท สัญญาประกันภัย จํากัด (มหาชน) หรือจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเท่ากับจํานวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับคืนจากบริษัท สัญญาประกันภัย จํากัด (มหาชน) ตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาประกันภัยที่เหลือก็ได้
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท สัญญาประกันภัย จํากัด (มหาชน) จํานวน 31 บริษัท ดังมีรายชื่อแนบท้ายคําสั่งนี้เท่านั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,434 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 15/2559
เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียน จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2559 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 1/2558 ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
(2) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 28/2552 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ข้อ ๔ ให้ใช้
(1) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามแบบแนบท้าย 1 แทนแบบที่ถูกยกเลิกตามข้อ 3 (1)
(2) ตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามแบบแนบท้าย 2 แทนแบบที่ถูกยกเลิกตามข้อ 3 (2)
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 28/2552 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3. การคุ้มครองผู้ประสบภัย ภายใต้บังคับข้อ 6. บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ดังนี้
3.1 ผู้ประสบภัย
3.1.1 ในกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย แต่ไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร ตามข้อ 3.1.2 บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิด ตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน
3.1.2 ในกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย ในกรณีใดกรณีหนึ่ง บริษัทจะจ่ายจํานวนเงินคุ้มครอง ดังนี้
(1) กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(2) กรณีสูญเสียมือสองข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนสองข้าง หรือเท้าสองข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาสองข้าง หรือสายตาสองข้าง (ตาบอด) บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(3) กรณีสูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ แขนหนึ่งข้าง เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า ขาหนึ่งข้าง สายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(4) กรณีสูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาหนึ่งข้าง หรือสายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) กรณีใดกรณีหนึ่ง บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 250,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(5) กรณีหูหนวก EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์หรือความสามารถสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 250,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(6) กรณีสูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน
กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัยหลายกรณี บริษัทจะจ่ายจํานวนเงินคุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีจํานวนเงินคุ้มครองที่สูงกว่า
3.1.3 ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาทต่อหนึ่งคน
3.1.4 ในกรณีได้รับความเสียหายตามข้อ 3.1.1 และต่อมาได้รับความเสียหายตามข้อ 3.1.2 บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 3.1.2 แต่หากเป็นกรณีได้รับความเสียหายตามข้อ 3.1.1 และต่อมาได้รับความเสียหายตามข้อ 3.1.3 หรือทั้งข้อ 3.1.2 และข้อ 3.1.3 บริษัทจะจ่าย 300,000 บาทต่อคน
3.1.5 ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จํานวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากความคุ้มครองที่ระบุในข้อ 3.1.1 ข้อ 3.1.2 ข้อ 3.1.3 และข้อ 3.1.4
3.1.6 กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย ซึ่งมิใช่ผู้ขับขี่ ทั้งนี้ในกรณีผู้ขับขี่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ให้นําความในข้อ 3.1.1 ข้อ 3.1.2 ข้อ 3.1.3 ข้อ 3.1.4 และข้อ 3.1.5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
3.1.7 กรณีผู้ประสบภัย เป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัย และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุหรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ประสบภัย บริษัทจะรับผิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
ทั้งนี้ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น ไม่เกินจํานวนคุ้มครองสูงสุดต่อหนึ่งคน และรวมกันแล้วไม่เกินจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ระบุไว้ในรายการที่ 4 ของตาราง”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 28/2552 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 การสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน และค่าปลงศพ ในกรณีรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประสบอุบัติเหตุชนกับรถอื่น ซึ่งมีการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วย EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq ร่างกาย บริษัทตกลงจะสํารองจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งโดยสารมาในรถ หรือกําลังขึ้นหรือกําลังลงจากรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ดังนี้
6.1 ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคนสําหรับกรณีได้รับบาดเจ็บ
6.2 ค่าทดแทน กรณีสูญเสียอวัยวะจํานวนเงินตามข้อ 3.1.2 ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต หรือค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพอย่างถาวร เป็นเงินจํานวน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
6.3 ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน วันละ 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน
6.4 ข้อ 6.1 และข้อ 6.2 รวมกันจํานวนเงินตามข้อ 3.1.4
สําหรับผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยรถอื่นจะร่วมกันสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพตามวรรคต้น โดยเฉลี่ยฝ่ายละเท่า ๆ กัน
เมื่อมีการสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายวัน ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพตามเงื่อนไขนี้แล้ว หากปรากฏว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความประมาทของผู้อื่น มิใช่ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทแล้ว EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพที่บริษัทได้สํารองจ่ายไปคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายต้องรับผิดตามกฎหมายนั้น
ในทางกลับกันหากบริษัทผู้รับประกันภัยรถอื่น ได้สํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทผู้ประสบภัยที่โดยสารมา หรือกําลังขึ้นหรือกําลังลงจากรถที่ตนรับประกันภัยไว้ หรือผู้ประสบภัยที่อยู่นอกรถแล้ว และปรากฏว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทแล้ว บริษัทตกลงจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายวัน ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพคืนแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถอื่นซึ่งได้สํารองจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายในกําหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 หมวดการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 28/2552 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 1 . การคุ้มครองผู้ประสบภัย
ภายใต้บังคับข้อ 4. บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถนั้น ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ดังนี้
1.1 ผู้ประสบภัย
1.1.1 ในกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย แต่ไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ตามข้อ 1.1.2 บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิด ตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน
1.1.2 ในกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย ในกรณีใดกรณีหนึ่ง บริษัทจะจ่ายจํานวนเงินคุ้มครอง ดังนี้
(1) กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(2) กรณีสูญเสียมือสองข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนสองข้าง หรือเท้าสองข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาสองข้าง หรือสายตาสองข้าง (ตาบอด) บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาทต่อหนึ่งคน
(3) กรณีสูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ แขนหนึ่งข้าง เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้าขาหนึ่งข้าง สายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(4) กรณีสูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้าง ตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาหนึ่งข้าง หรือสายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) กรณีใดกรณีหนึ่ง บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 250,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(5) กรณีหูหนวก EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์หรือความสามารถสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 250,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(6) กรณีสูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน
กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัยหลายกรณี บริษัทจะจ่ายจํานวนเงินคุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีจํานวนเงินคุ้มครองที่สูงกว่า
1.1.3 ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาทต่อหนึ่งคน
1.1.4 ในกรณีได้รับความเสียหายตามข้อ 1.1.1 และต่อมาได้รับความเสียหายตามข้อ 1.1.2 บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 1.1.2 แต่หากเป็นกรณีได้รับความเสียหายตามข้อ 1.1.1 และต่อมาได้รับความเสียหายตามข้อ 1.1.3 หรือทั้งข้อ 1.1.2 และข้อ 1.1.3 บริษัทจะจ่าย 300,000 บาทต่อคน
1.1.5 ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จํานวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากความคุ้มครองที่ระบุในข้อ 1.1.1 ข้อ 1.1.2 ข้อ 1.1.3 และข้อ 1.1.4
1.1.6 กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลในครอบครัวของผู้เอาประกันภัยซึ่งมิใช่ผู้ขับขี่ ทั้งนี้ในกรณีผู้ขับขี่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ให้นําความในข้อ 1.1.1 ข้อ 1.1.2 ข้อ 1.1.3 ข้อ 1.1.4 และข้อ 1.1.5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
1.1.7 กรณีผู้ประสบภัย เป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัย และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุหรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ประสบภัย บริษัทจะรับผิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
ทั้งนี้ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น ไม่เกินจํานวนคุ้มครองสูงสุดต่อหนึ่งคน และรวมกันแล้วไม่เกินจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 หมวดการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แห่งเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 28/2552 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4. การสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน และค่าปลงศพ ในกรณีรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประสบอุบัติเหตุชนกับรถอื่น ซึ่งมีการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถด้วย EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq ร่างกาย บริษัทตกลงจะสํารองจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งโดยสารมาในรถ หรือกําลังขึ้นหรือกําลังลงจากรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ดังนี้
4.1 ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน สําหรับกรณีได้รับบาดเจ็บ
4.2 ค่าทดแทน กรณีสูญเสียอวัยวะจํานวนเงินตามข้อ 3.1.2 ค่าปลงศพกรณีเสียชีวิตหรือค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพอย่างถาวร เป็นเงินจํานวน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
4.3 ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน วันละ 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน
4.4 ข้อ 4.1 และข้อ 4.2 จํานวนเงินตามข้อ 1.1.4
สําหรับผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยรถอื่นจะร่วมกันสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพตามวรรคต้น โดยเฉลี่ยฝ่ายละเท่า ๆ กัน
เมื่อมีการสํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพตามเงื่อนไขนี้แล้ว หากปรากฏว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความประมาทของผู้อื่น มิใช่ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทแล้ว EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพที่บริษัทได้สํารองจ่ายไปคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายต้องรับผิดตามกฎหมายนั้น
ในทางกลับกันหากบริษัทผู้รับประกันภัยรถอื่น ได้สํารองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพให้แก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทผู้ประสบภัยที่โดยสารมา หรือกําลังขึ้น หรือกําลังลงจากรถที่ตนรับประกันภัยไว้ หรือผู้ประสบภัยที่อยู่นอกรถแล้ว และปรากฏว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทแล้ว บริษัทตกลงจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน หรือค่าปลงศพคืนแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถอื่นซึ่งได้สํารองจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายในกําหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ”
ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทยังไม่สามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยให้เป็นไปตามคําสั่งนี้ได้ ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยเดิมออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปพลางก่อนได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 แต่บริษัทต้องยึดถือตามแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการแก้ไขตามคําสั่งนี้
ข้อ ๑๐ ให้บริษัทออกเอกสารแนบท้ายตามแบบแนบท้าย 3 ให้แก่ผู้เอาประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่บริษัทออกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,435 |
คำสั่งคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ 12/2560 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทน | คําสั่งคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ที่ 12/2560
เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทน
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 10/2560 เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ 12/2560 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทน”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในคําสั่งนี้
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ข้อ ๔ ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนเป็นรายกรมธรรม์ประกันภัย ดังต่อไปนี้ ตามแบบรายงานที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(1) การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
(2) การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
(3) การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
(4) การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
(5) การประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ
(6) การประกันอัคคีภัย
ในรายงานเกี่ยวกับการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนของบริษัทตามวรรคหนึ่ง บริษัทต้องไม่แสดงข้อความอันเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง
ในกรณีที่รายงานตามวรรคหนึ่งที่บริษัทยื่นมาไม่ถูกต้องหรือมีรายการไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด
ข้อ ๕ ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 4 ต่อคณะกรรมการผ่านสํานักงานภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้
(1) รายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 4 ตามปีรับประกันภัย (Underwriting Year) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ให้บริษัทยื่นภายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ เว้นแต่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้บริษัทยื่นรายงานค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 5 (2)
(2) รายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 4 (1) ข้อ 4 (2) ข้อ 4 (3) ข้อ 4 (4) และข้อ 4 (5) และรายงานค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 4 (6) ตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้บริษัทยื่นเป็นประจําทุกเดือนภายในสิ้นเดือนถัดไป
(3) รายงานการรับประกันอัคคีภัยตามข้อ 4 (6) ตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้บริษัทยื่นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ทําสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น
ข้อ ๖ ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 5 ดังต่อไปนี้
(1) รายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 5 (1) ในรูปไฟล์บันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในแผ่นซีดี (compact disc : CD)
(2) รายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนตามข้อ 5 (2) และข้อ 5 (3) ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามระบบที่พัฒนาโดยสํานักงาน หากข้อมูลดังกล่าวไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ตามที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าบริษัทมิได้ยื่นรายงานตามความในคําสั่งนี้
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถยื่นรายงานในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามระบบที่พัฒนาโดยสํานักงานได้ ให้บริษัทมีหนังสือขอขยายระยะเวลายื่นรายงานต่อนายทะเบียนก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นรายงานครั้งนั้นได้ โดยแสดงเหตุผลและความจําเป็น หากนายทะเบียนเห็นสมควรจะอนุญาตขยายระยะเวลาก็ได้ ทั้งนี้ บริษัทต้องยื่นรายงานในรูปแบบกระดาษ (hard copy) จํานวนสองชุดมาพร้อมกับการร้องขอขยายระยะเวลาด้วย
ข้อ ๘ ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนเนื่องจากประเทศประสบภัยพิบัติร้ายแรง หรือมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณชน ทําให้บริษัทไม่สามารถยื่นรายงานการรับประกันวินาศภัยและค่าสินไหมทดแทนได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 7 ให้นายทะเบียนมีอํานาจขยายระยะเวลาได้ตามความจําเป็นแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
ข้อ ๙ การรายงานตามข้อ 4 ถึงข้อ 8 ให้ดําเนินการควบคู่กับการรายงานตามประกาศหรือคําสั่ง ดังต่อไปนี้
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัย พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551
(2) คําสั่งนายทะเบียน ที่ 65/2543 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการใช้อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ข้อ 1 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง
(3) คําสั่งนายทะเบียน ที่ 14/2545 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2545
(4) คําสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2548 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548
(5) คําสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2549 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549
(6) คําสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2550 เรื่อง ให้บริษัทยื่นรายงานการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 ข้อ 1
เมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ ให้ประกาศหรือคําสั่งตาม (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) เป็นอันยกเลิก
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
สมชัย สัจจพงษ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,436 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 45/2560เรื่อง กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 45/2560
เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย
----------------------------------------------------
เพื่อเป็นการส่งเสริมและจูงใจให้ประชาชนทําประกันภัยเพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ตนและครอบครัวมากขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 45/2560 เรื่อง กําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ บริษัทอาจกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทต่ํากว่าอัตราที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบไว้ได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของจํานวนเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภท ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นการทําสัญญาประกันภัยกับบริษัท ในช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 15 กันยายน ถึงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560 และ
(2) วันเริ่มต้นคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ข้อ ๔ อัตราเบี้ยประกันภัยสําหรับผู้เอาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้อ 3 ให้บริษัทกําหนดใช้ตามอัตราที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบไว้ก่อนหน้าแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,437 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 47/2560 เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท สัจจะประกันภัย จำกัด (มหาชน) | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 47/2560
เรื่อง การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามโครงการช่วยเหลือประชาชน
ที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท สัจจะประกันภัย จํากัด (มหาชน)
-------------------------------------
เพื่อเป็นการรองรับโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท สัจจะประกันภัย จํากัด (มหาชน) ซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามคําสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 1196/2560 ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ บริษัทที่รับประกันภัย ตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท สัจจะประกันภัย จํากัด (มหาชน) จะมีระยะเวลาประกันภัยหนึ่งปี และให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนไว้แล้ว โดยบริษัทจะขยายระยะเวลาคุ้มครองเพิ่มเติมเท่ากับระยะเวลาประกันภัยที่เหลืออยู่กับบริษัท สัจจะประกันภัย จํากัด (มหาชน) หรือจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเท่ากับจํานวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับคืนจากบริษัท สัจจะประกันภัย จํากัด (มหาชน) ตามส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาประกันภัยที่เหลือก็ได้
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ทําสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัท สัจจะประกันภัย จํากัด (มหาชน) จํานวน 23 บริษัท ดังมีรายชื่อแนบท้ายคําสั่งนี้เท่านั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,438 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2560 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการใช้เรือกลเดินทะเลเฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 21/2560
เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการใช้เรือกลเดินทะเล
เฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า
----------------------------------------
เพื่อรองรับกฎหมายว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตใช้เรือกลเดินทะเลเฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า ที่ประสงค์ให้เจ้าของเรือที่ขอรับใบอนุญาตใช้เรือกลเดินทะเลเฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า จัดทําประกันภัยเพื่อคุ้มครองการเสียชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้ใช้เรือที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการใช้เรือ หรือทายาทของผู้ใช้เรือ หรือบุคคลภายนอก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2560 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการใช้เรือกลเดินทะเลเฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการใช้เรือกลเดินทะเลเฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า ที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ดังต่อไปนี้
(1) กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการใช้เรือกลเดินทะเลเฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า
(2) ใบคําขอเอาประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการใช้เรือกลเดินทะเลเฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า
(3) อัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการใช้เรือกลเดินทะเลเฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า
ข้อ ๔ บริษัทที่ประสงค์จะใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการใช้เรือกลเดินทะเลเฉพาะเขตที่ใช้ในกิจการพิเศษประเภทเจ็ตสกีเพื่อเช่า ตามข้อ 3 ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบพร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมการขออนุญาตก่อนจึงนําออกใช้ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,439 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 16/2560 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 16/2560
เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย และ
อัตราเบี้ยประกันภัยการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน
-------------------------------------------
เพื่อเป็นการผ่อนคลายการกํากับอัตราเบี้ยประกันภัย และให้การกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันภัยมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และเกิดความคล่องตัวในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 16/2560 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งคําสั่งนายทะเบียนที่ 61/2543 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 3 ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน สําหรับการทําประกันภัยทรัพย์สินของเจ้าของรายเดียวกัน หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันต่อสถานที่ตั้งทรัพย์สินหนึ่งแห่งหรือหลายแห่ง ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ จะเป็นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกันหรือหลายฉบับก็ได้
(1) การทําประกันอัคคีภัยที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป EG4YAup2hySgcimq8MkLuB6e34rNB2SF9h94LL1ryzzq 2.375 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี
(2) การทําประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยสูงสุด ไม่เกินร้อยละ 2.5 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งคําสั่งนายทะเบียน ที่ 61/2543 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 การทําประกันอัคคีภัย หรือการทําประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยแต่ละประเภทต่ํากว่า 50 ล้านบาท ต่อสถานที่ตั้งทรัพย์สินหนึ่งแห่งหรือหลายแห่งให้บริษัทใช้อัตราเบี้ยประกันภัย ดังต่อไปนี้
(1) การทําประกันอัคคีภัย ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
(2) การทําประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 105 ของอัตราเบี้ยประกันภัยของการประกันอัคคีภัยตามที่กําหนดใน (1) และสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.5 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี”
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้สําหรับการทําประกันอัคคีภัยหรือการทําประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มให้ความคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,440 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2560 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัย (รายปี) สำหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 15/2560
เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัย (รายปี) สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
สําหรับที่อยู่อาศัย
----------------------------------------
เพื่อให้การกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (รายปี) สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยเกิดความเหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่แท้จริงในปัจจุบัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 15/2560 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัย (รายปี) สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัย”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกอัตราเบี้ยประกันภัย (รายปี) สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยตามที่แนบท้ายคําสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2558 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยและเอกสารแนบท้าย ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัย (รายปี) สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยตามที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทน
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสําหรับที่อยู่อาศัยที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มให้ความคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,441 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 14/2560 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยตามลักษณะของภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 14/2560
เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยตามลักษณะของภัย
สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
----------------------------
เพื่อให้การกําหนดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยตามลักษณะของภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมีความเหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 14/2560 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยตามลักษณะของภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยตามลักษณะของภัยตามที่แนบท้ายคําสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2552 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง พิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 และให้อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยตามลักษณะของภัยตามที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทน
ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับใช้สําหรับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มให้ความคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,442 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 11/2560 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 11/2560
เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัย
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 11/2560 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัย”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อต่อไปนี้ของกรมธรรม์ประกันภัย ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551
(1) ข้อ 7.6 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
(2) ข้อ 9.3 ของหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
(3) ข้อ 7.1.10 แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
(4) ข้อ 7.6 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย
(5) ข้อ 9.3 ของเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์เนื่องจากการชนกับยานพาหนะทางบก (ร.ย.ภ.10) แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย
(6) ข้อ 6.6 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
(7) ข้อ 9.3 ของหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
(8) ข้อ 6.6 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกรวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
(9) ข้อ 6.6 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัยรวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
(10) ข้อ 9.3 ของเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์เนื่องจากการชนกับยานพาหนะทางบก (ร.ย.ภ.10) แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัยรวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อยกเว้น “การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์” สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่บริษัทได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
ข้อ ๔ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทนในข้อที่ถูกยกเลิกตามข้อ 2 และข้อ 3
“การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 กําหนดให้ถือว่าเมาสุรา”
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการทําสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,443 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2560 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)ที่ติดตั้งกับรถยนต์ | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 8/2560
เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ สําหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)
ที่ติดตั้งกับรถยนต์
-----------------------------------------
เพื่อเป็นการเสริมสร้างวินัยจราจรแก่ประชาชน จึงส่งเสริมให้เจ้าของรถมีการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed - Circuit Television : CCTV) ที่ติดตั้งกับรถยนต์ อันเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนช่วยในการตรวจสอบวินัยจราจร อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นหลักฐานสําคัญในการยืนยันถึงการกระทําความผิดจากการใช้รถยนต์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2560 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สําหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งกับรถยนต์”
ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้บริษัทให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยในการรับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทเป็นส่วนลดอื่นในอัตราร้อยละ 5 - 10 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิ สําหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งกับรถยนต์ โดยแสดงหลักฐานภาพถ่ายการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งกับรถยนต์คันเอาประกันภัย ในเวลาทําสัญญาประกันภัย และต้องติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งกับรถยนต์ไว้ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัยด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,444 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 70/2561 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัย | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 70/2561
เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัย
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 70/2561 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัย”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อต่อไปนี้ของกรมธรรม์ประกันภัย ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551
(1) ข้อ 1.2 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
(2) ข้อ 3 แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
(3) ข้อ 1.2 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย
(4) ข้อ 1.2 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
(5) ข้อ 1 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกรวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
(6) ข้อ 1.2 ของหมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แห่งกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัยรวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อตกลงคุ้มครอง สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์และเอกสารแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่บริษัทได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนดังนี้
“ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจํานวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางความเสียหายต่อทรัพย์สินดังต่อไปนี้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
(ก) ทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัย ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายต้องรับผิดตามกฎหมาย คู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุม หรือครอบครอง
(ข) เครื่องชั่ง สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน สนาม หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อยู่ใต้สิ่งดังกล่าว อันเกิดจากการสั่นสะเทือน หรือจากน้ําหนักรถยนต์ หรือน้ําหนักบรรทุกของรถยนต์
(ค) สัมภาระหรือทรัพย์สินอื่นใดที่นําติดตัวขึ้นบนรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ หรือกําลังยกขึ้น หรือกําลังยกลง จากรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่รถยนต์กําลังยกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
(ง) ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากการรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตรายที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ เว้นแต่การรั่วไหลนั้นเกิดจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ หรือการรั่วไหลของแก๊สหรือเชื้อเพลิงเพื่อการเดินเครื่องของรถยนต์”
ข้อ ๔ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทนในข้อที่ถูกยกเลิกตามข้อ 2 (1) (3) (4) (5) และ (6) และข้อ 3
“ความเสียหายต่อทรัพย์สิน บริษัทจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจํานวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตาราง
กรณีเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และมีการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้ประโยชน์รถยนต์ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจริง ทั้งนี้ สําหรับรถยนต์ที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่ไม่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท รถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท และรถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
ในกรณีบุคคลภายนอกนั้นมีสิทธิได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มากกว่า 1 กรมธรรม์ประกันภัย บริษัทจะเฉลี่ยจ่ายเท่า ๆ กัน ความเสียหายต่อทรัพย์สินดังต่อไปนี้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
(ก) ทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัย ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายต้องรับผิดตามกฎหมาย คู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุม หรือครอบครอง
(ข) เครื่องชั่ง สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน สนาม หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อยู่ใต้สิ่งดังกล่าว อันเกิดจากการสั่นสะเทือน หรือจากน้ําหนักรถยนต์ หรือน้ําหนักบรรทุกของรถยนต์
(ค) สัมภาระหรือทรัพย์สินอื่นใดที่นําติดตัวขึ้นบนรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ หรือกําลังยกขึ้น หรือกําลังยกลง จากรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่รถยนต์กําลังยกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
(ง) ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากการรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตรายที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ เว้นแต่การรั่วไหลนั้นเกิดจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ หรือการรั่วไหลของแก๊สหรือเชื้อเพลิงเพื่อการเดินเครื่องของรถยนต์”
ข้อ ๕ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทนในข้อที่ถูกยกเลิกตามข้อ 2 (2)
“ข้อตกลงคุ้มครอง
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสุญเสีย หรือความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากรถยนต์ที่ใช้ หรืออยู่ในทาง หรือสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถยนต์นั้น ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยในนามผู้เอาประกันภัย ความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจํานวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตาราง
กรณีเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และมีการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้ประโยชน์รถยนต์ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจริง ทั้งนี้ สําหรับรถยนต์ที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่ไม่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท รถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท และรถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คนหรือรถยนต์บรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่เกิน 7 คน ในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
ในกรณีบุคคลภายนอกนั้นมีสิทธิได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มากกว่า 1 กรมธรรม์ประกันภัย บริษัทจะเฉลี่ยจ่ายเท่า ๆ กัน”
ข้อ ๖ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการทําสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ในกรณีที่บริษัทยังไม่สามารถออกกรมธรรม์ประกันภัยให้เป็นไปตามคําสั่งนี้ได้ ให้ใช้กรมธรรม์ประกันภัยเดิมออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปพลางก่อนได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2562 แต่บริษัทต้องยึดถือตามแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่มีการแก้ไขตามคําสั่งนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,445 |
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 21/2555 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งให้บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว | คําสั่งนายทะเบียน
ที่ 21/2555
เรื่อง ยกเลิกคําสั่งให้บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัด
หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว
----------------------------------------
ตามที่นายทะเบียน ได้มีคําสั่งที่ 1/2555 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 สั่งให้บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จํากัด หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ดังรายละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงมีคําสั่งให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียน ที่ 1/2555 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 โดยให้บริษัทประกอบธุรกิจต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
นายทะเบียน | 5,446 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 283/2529 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 283/2529
เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เป็นระเบียบเดียวกันทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จึงมีคําสั่งให้ข้าราชการกรมบังคับคดีปฏิบัติดังนี้
ข้อ ๑ การเดินทางไปปฏิบัติราชการ ณ ศาลหรือในเขตศาลที่ตั้งอยู่นอกจังหวัดซึ่งสถานที่ทําการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งอยู่ และเป็นคดีของศาลที่ไปปฏิบัติราชการ ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการจากเงินในงบประมาณ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชกา พ.ศ. 2526
ข้อ ๒ การเดินทางไปปฏิบัติราชการ ณ ศาลหรือในเขตศาลที่ตั้งอยู่นอกเขตจังหวัด ซึ่งสถานที่ทําการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งอยู่ และมิใช่คดีของศาลที่ไปปฏิบัติราชการ ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จากเงินในคดี ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 โดยอนุโลม ยกเว้น ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พัก ให้เบิกได้ตามบัญชีท้ายคําสั่งนี้
ในกรณีที่เงินในคดีไม่มี หรือมีแต่ไม่เพียงพอ ให้เบิกจ่ายตามข้อ 1
ข้อ ๓ ให้ผู้ที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติราชการร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 1 และ 2
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีคําสั่งนี้เป็นต้นไป \*
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2529
(นายสวิน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,447 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 85/2525 เรื่อง ข้อกำหนดและวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2529 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 85/2525
เรื่อง ข้อกําหนดและวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2529
------------------
เพื่อให้การดําเนินงานของคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินสวัสดิการ เป็นไปโดยรอบคอบ รัดกุม และสมตามเป้าหมายของทางราชการ
อาศัยความตามข้อ 12 แห่งระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี พ.ศ. 2525 คณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการได้เสนอข้อกําหนดและวิธีดําเนินการเกี่ยวกับ การให้ข้าราชการกรมบังคับคดีกู้ยืมเงินสวัสดิการ จึงมีคําสั่งออกข้อกําหนดและวิธีการเกี่ยวกับ เงินสวัสดิการกรมบังคับคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2529 เมื่อคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการ และข้าราชการกรมบังคับคดีได้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกําหนดและวิธีการดําเนินการเกี่ยวกับ เงินสวัสดิการ พ.ศ. 2527 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เงินยืมฉุกเฉิน
1.1 ข้าราชการกรมบังคับคดีมีสิทธิยืมเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี ในกรณี ฉุกเฉินได้ครั้งละไม่เกิน 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) ต่อ 1 เดือน โดยให้ยืมได้หลังจาก วันที่ 15 ของทุกเดือน ตามแบบขอยืมเงินสวัสดิการประเภทเงินยืมฉุกเฉิน (ย.ส.1) แนบท้ายคําสั่งนี้
1.2 ผู้ยืมยินยอมให้กองคลังหักเงินเดือน เดือนนั้นของผู้ยืมชําระหนี้เงินยืมจนครบ
ข้อ ๒ เงินยืมทดแทนสิทธิ
2.1 ข้าราชการกรมบังคับคดี ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินจากทางราชการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยการศึกษาบุตร ค่าเช่าบ้าน ค่าเบี้ยเลี้ยง เงินเดือนตกเบิก ฯลฯ ซึ่งได้ยื่นคําขอรับเงิน แต่ยังไม่ได้รับเงินดังกล่าว มีสิทธิที่จะขอยืมเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี ประเภทเงินยืมทดแทนสิทธิ์ (น.ส.) ตามแบบขอยืมเงินสวัสดิการประเภทอื่นทดแทนสิทธิแนบหาย คําสั่งนี้
2.2 ผมยินยอมให้กองคลัง หักเงินของผู้ยืมที่เบิกได้ หรือเงินเดือนของผู้ยืม ชําระหนี้เงินยืมจนครบ
ข้อ ๓ ผู้พิจารณาอนุญาตให้ยืมเงิน
อธิบดีกรมบังคับคดี หรือประธานคณะกรรมการบริหารเงินสวัสดิการกรมบังคับคดี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ขา ติให้ข้าราชการกรมบังคับคดีกู้ยืมเงินสวัสดิการ โดยพิจารณาถึงจํานวนเงินสวัสดิการที่คงเหลืออยู่ในขณะนั้น ประกอบกับความเห็นของผู้อํานวยการ กองคลัง
ข้อ ๔ ให้ผู้อํานวยการกองคลัง จัดเจ้าหน้าที่การเงิน และบัญชี ตามที่เห็นสมควรเพื่อ
รับผิดชอบดําเนินการเกี่ยวกับการยืมเงินสวัสดิการของกรมบังคับคดี ตลอดจนการจัดทําบัญชีและ 6. เก็บเอกสารในเรื่องนี้เพื่อตรวจสอบภายในจะได้ตรวจสอบตามต้องการ
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2529เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน 2529
(นายสวน อักขรายุธ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,448 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.