title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการขอรับและการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยก่อการร้าย พ.ศ. 2556
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการขอรับและการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัย สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยก่อการร้าย พ.ศ. 2556 ----------------------------------------------- เพื่อให้การสนับสนุนการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้ประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจดําเนินการต่อไป ประกอบกับมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดําเนินการมาตรการชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยก่อการร้าย และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 เห็นชอบการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 ให้ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหน่วยงานเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการขอรับและการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยก่อการร้าย พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการจากภัยก่อการร้ายในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ข้อ ๔ ผู้ประกอบการที่เอาประกันภัยทรัพย์สินที่มีสิทธิขอรับเงินชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยในอัตราร้อยละ 0.3 ถึงร้อยละ 2 สําหรับกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินที่มีความคุ้มครองภัยก่อการร้ายต้องมีลักษณะดังนี้ (1) เป็นผู้ประกอบการที่เอาประกันภัยทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ประกอบด้วย จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และ 4 อําเภอ ของจังหวัดสงขลา (อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอสะบ้าย้อย และอําเภอเทพา) ตามกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยก่อการร้ายหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองภัยก่อการร้าย (2) กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยก่อการร้าย หรือกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองภัยก่อการร้าย มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้น ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 (3) จ่ายเบี้ยประกันภัยสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ข้อ ๕ การชดเชยเงินส่วนต่างเบี้ยประกันภัย มีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ข้อ ๖ ส่วนต่างเบี้ยประกันภัยที่ได้รับการชดเชยไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อ ๗ การขอรับเงินชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัย ให้ทําตามแบบ กร.1 ท้ายประกาศนี้ และให้ยื่นคําขอพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในคําขอต่อสํานักงาน หรือสํานักงานจังหวัด ให้สํานักงานหรือสํานักงานจังหวัดตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามวรรคหนึ่ง ถ้าเห็นว่าครบถ้วนถูกต้อง ให้ส่งคําขอและเอกสารดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ ข้อ ๘ ในการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการเห็นชอบให้จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัย ให้ส่งเรื่องต่อศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงินดังกล่าว ดําเนินการเบิกจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการที่เอาประกันภัยทรัพย์สินดังกล่าวต่อไป ข้อ ๙ กรณีมีการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยก่อการร้ายหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองภัยก่อการร้าย ไม่ว่าผู้เอาประกันภัยหรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้บอกเลิก ให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไขการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยจ่ายคืนเบี้ยประกันภัยผ่านสํานักงานและให้สํานักงานมีสิทธิหักเงินชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยโดยจ่ายคืนให้กับทางราชการตามอัตราส่วนสําหรับระยะเวลาที่เหลืออยู่ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ
5,146
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอรับใบรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) พ.ศ. 2556
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอรับใบรับรองมาตรฐาน การให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) พ.ศ. 2556 ------------------------------------- เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและควบคุมมาตรฐานการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปอย่างถูกต้องสะดวกและรวดเร็ว สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอรับใบรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) หมวด ๑ คุณสมบัติของบริษัทที่จะขอรับใบรับรองมาตรฐานการให้บริการ ผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) ------------------------------------- ข้อ ๓ บริษัทที่จะขอรับใบรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติจากสํานักงานต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีข้อมูลการรับประกันภัยในระบบฐานข้อมูลการประกันภัยตามที่สํานักงานกําหนด (2) มีการลงทะเบียนกับสํานักงานเพื่อเข้าใช้งานระบบสินไหมอัตโนมัติ (3) มีการเข้าใช้ระบบสินไหมอัตโนมัติเป็นประจําทุกวันทําการและทุกครั้งที่มีการแจ้งเตือน (Mail Alert) (4) มีระบบการตรวจสอบและยืนยันความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถและกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกับสถานพยาบาล ดังนี้ 1) กรณีที่มีข้อมูลการเอาประกันภัยในระบบฐานข้อมูลการประกันภัย ระบบต้องตรวจสอบและยืนยันได้โดยอัตโนมัติ 2) กรณีไม่มีข้อมูลการเอาประกันภัยในระบบฐานข้อมูลการประกันภัย ระบบต้องตรวจสอบและยืนยันได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับจากเวลาที่มีการแจ้งเหตุในระบบ (5) พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทมีความรู้ความเข้าใจในระบบสินไหมอัตโนมัติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด (6) ผ่านการประเมินผลการตรวจสอบมาตรฐานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด หมวด ๒ การขออนุญาต เงื่อนไขการอนุญาตและการอนุญาตให้ได้รับ การรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) ------------------------------- ข้อ ๔ บริษัทที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3 ประสงค์จะขอรับใบรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ ให้ยื่นคําขอรับใบรับรองต่อสํานักงานตามแบบที่คณะกรรมการกําหนด ข้อ ๕ คณะกรรมการจะพิจารณาคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคําขอก่อนเสนอสํานักงานพิจารณาอนุญาตและออกใบรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติให้กับบริษัทภายในหกสิบวันนับแต่วันที่บริษัทยื่นคําขอ เว้นแต่คณะกรรมการหรือสํานักงานขอให้บริษัทจัดส่งเอกสารหรือชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ใบรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศฉบับนี้ ข้อ ๖ บริษัทที่ได้รับใบรับรองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับสถานพยาบาลภายในเจ็ดวันนับจากวันที่ได้รับการแจ้งหนี้จากสถานพยาบาล หรือภายในระยะเวลาที่มีการตกลงกับสถานพยาบาลแต่ละแห่ง (2) บันทึกและส่งข้อมูลรายละเอียด การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมส่วนเกิน ค่าเสียหายเบื้องต้นในระบบสินไหมอัตโนมัติภายในสี่สิบแปดชั่วโมงหลังจากที่มีการจ่ายให้กับสถานพยาบาลแล้ว (3) ให้ความร่วมมือในการประเมินมาตรฐานเมื่อได้รับการร้องขอจากสํานักงานและรักษามาตรฐานการให้บริการตามหลักเกณฑ์ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบรับรอง ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการตรวจสอบรับรองมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนด อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หมวด ๓ การเพิกถอนใบรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ (E - Claim) ------------------------------------- ข้อ ๘ สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนใบรับรองมาตรฐานการให้บริการผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติของบริษัท เมื่อปรากฏแก่สํานักงานว่าบริษัท (1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 3 (2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตตามข้อ 6 (3) ไม่ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานตามข้อ 7 (4) สํานักงานโดยคําแนะนําของคณะกรรมการเห็นควรเพิกถอนใบรับรองมาตรฐาน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,147
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2554
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต ให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2554 -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 73 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 และมาตรา 77 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 8/2554 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินเป็นนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินเป็นนายหน้าประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “เงินกองทุน” หมายความว่า สินทรัพย์ส่วนที่เกินกว่าหนี้สินของนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หมวด ๑ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของนิติบุคคลที่จะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต -------------------------------------------- ข้อ ๕ นิติบุคคลที่จะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตตามประกาศฉบับนี้ได้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด หรือสถาบันการเงิน (2) มีสํานักงานใหญ่ในประเทศไทย (3) มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเป็นนายหน้าประกันชีวิต (4) มีผู้ถือหุ้นได้ใช้เงินในหุ้นแล้ว หรือมีทุนชําระแล้ว ไม่ต่ํากว่าสองล้านบาท แล้วแต่กรณี (5) ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันชีวิตต้องสอบความรู้ตามข้อ 7 (6) มีพนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตเป็นผู้ทําการแทนนิติบุคคลดังกล่าว (7) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตในระยะเวลาห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต หมวด ๒ การขอรับใบอนุญาต ----------------------------------- ข้อ ๖ นิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตตามแบบที่นายทะเบียนกําหนด พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียด หลักฐาน และข้อมูลของนิติบุคคล (2) รายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต (ก) แนวนโยบายและแผนการประกอบธุรกิจ นายหน้าประกันชีวิต ในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปีข้างหน้า เช่น เงินลงทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ปริมาณธุรกรรมแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของนิติบุคคล และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต เป็นต้น (ข) แผนภาพแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระบบงาน บุคลากร และเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต ซึ่งต้องมีรายละเอียด ขั้นตอนเกี่ยวกับระบบงานอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1) การรับเบี้ยประกันภัยและการออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามบริษัท 2) การนําส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัท 3) การส่งรายงานตามแบบและรายการที่คณะกรรมการหรือนายทะเบียนกําหนด (ค) รายละเอียดเกี่ยวกับสํานักงานและสาขาที่จะประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1) สถานที่ตั้ง 2) พื้นที่ใช้สอย และอุปกรณ์สํานักงานที่เหมาะสมพร้อมดําเนินกิจการนายหน้าประกันชีวิต และมีสัดส่วนที่ชัดเจน 3) ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการสาขาหรือผู้บริหารสาขา ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 13 4) รายชื่อนายหน้าประกันชีวิตที่จะปฏิบัติงานในสํานักงาน อย่างน้อยห้าคน และในแต่ละสาขาอย่างน้อยสามคน ทั้งนี้ นิติบุคคลไม่ต้องแสดงรายละเอียดตาม (ค) 2) (ค) 3) และ (ค) 4) หากสํานักงานหรือสาขานั้นจํากัดการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตเฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) โดยผู้ที่ประสงค์จะเอาประกันภัยต้องติดต่อทําประกันภัยกับบริษัทโดยตรง ข้อ ๗ เมื่อได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตแล้ว นิติบุคคลต้องส่งผู้แทนนิติบุคคลที่มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันชีวิตอย่างน้อยสองคน เข้ารับการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตตามที่นายทะเบียนกําหนด ผู้แทนนิติบุคคลที่เข้ารับการทดสอบความรู้ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันยื่นคําขอรับใบอนุญาต มีความเข้าใจในการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต ไม่เคยเป็นผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันชีวิตของนิติบุคคล ที่เคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนหรือคณะกรรมการประกาศกําหนดในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันสอบ และไม่เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งมีอํานาจกระทําการแทนบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยในช่วงเวลาที่บริษัทนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เว้นแต่ เป็นผู้ซึ่งนายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเช่นว่านั้นในช่วงเวลาดังกล่าว ข้อ ๘ นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตให้แก่นิติบุคคลเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศนี้ และผู้แทนนิติบุคคลที่มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันชีวิตได้ผ่านการทดสอบความรู้ตามข้อ 7 และชําระค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว หมวด ๓ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปในการประกอบธุรกิจของนิติบุคคล ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต ----------------------------------------- ข้อ ๙ นิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตต้องปฏิบัติตามแนวนโยบาย แผนงาน ระบบงาน และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้รับอนุญาต รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๑๐ นิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตต้องมีผู้แทนนิติบุคคลที่มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันชีวิตอย่างน้อยสองคนที่ผ่านการทดสอบความรู้ตามข้อ 7 ปฏิบัติงานตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต ข้อ ๑๑ การประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตโดยตรง ต้องมีผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต และการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตต่อ ต้องมีผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและผ่านการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยต่อด้วย ไม่น้อยกว่าสามคน ข้อ ๑๒ สํานักงานและสาขาของนิติบุคคลต้องมีลักษณะสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) มีพื้นที่ใช้สอย และอุปกรณ์สํานักงานที่เหมาะสมพร้อมดําเนินกิจการนายหน้าประกันชีวิตและมีสัดส่วนที่ชัดเจน (2) แสดงใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต มีป้ายชื่อและข้อความให้เห็นโดยชัดเจนว่าเป็นการดําเนินการในฐานะนายหน้าประกันชีวิต (3) มีนายหน้าประกันชีวิตปฏิบัติงานประจํา ณ สํานักงานและแต่ละสาขา ไม่น้อยกว่าหนึ่งคน เพื่อบริการประชาชนและให้คําชี้แจงต่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ความใน (1) และ (3) มิให้ใช้บังคับ หากสํานักงานหรือสาขานั้นจํากัดการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตเฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) โดยผู้ที่ประสงค์จะเอาประกันภัยต้องติดต่อทําประกันภัยกับบริษัทโดยตรง ข้อ ๑๓ ห้ามนิติบุคคลตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะต่อไปนี้เป็นหรือทําหน้าที่นายหน้าประกันชีวิต หรือบุคคลผู้ที่มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันชีวิต (1) บุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต (2) บุคคลที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตหรือใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต ในระยะเวลาห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต (3) บุคคลที่เป็นนายหน้าประกันชีวิตผู้ทําการแทนนิติบุคคลอื่นที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตในเวลาเดียวกัน (4) บุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ สมุห์บัญชี หรือพนักงานผู้ที่มีอํานาจในการจัดการกิจการของบริษัทในเวลาเดียวกัน (5) บุคคลที่เป็นกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลอื่นที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตในเวลาเดียวกัน (6) บุคคลที่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (7) บุคคลล้มละลาย (8) บุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (9) บุคคลที่เป็นตัวแทนประกันชีวิต ข้อ ๑๔ นิติบุคคลต้องดํารงไว้ซึ่งเงินกองทุนตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตไม่น้อยกว่าร้อยละศูนย์จุดสองห้าของรายได้จากค่าบําเหน็จสุทธิสําหรับรอบปีบัญชีที่ผ่านมา แต่ต้องไม่น้อยกว่าจํานวน ดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งล้านบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันชีวิตโดยตรง (2) หนึ่งล้านบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันชีวิตต่อ (3) หนึ่งล้านห้าแสนบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันชีวิตโดยตรง และนายหน้าประกันชีวิตต่อ ให้ถือว่าการดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินเป็นการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งแล้วและมิให้นําความในข้อ 15 มาใช้บังคับกับการดํารงเงินกองทุนของนิติบุคคลที่เป็นสถาบันการเงิน ข้อ ๑๕ ทรัพย์สินที่ต้องดํารงไว้เป็นเงินกองทุนตามข้อ 14 ต้องปราศจากภาระผูกพัน และเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรองค์การหรือรัฐวิสาหกิจหรือตั๋วเงินคลัง (2) เงินฝากธนาคาร (3) สลากออมทรัพย์ ที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (4) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงิน ซึ่งตราสารหนี้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ลงทุนได้ (investment grade) ระดับ BBB ขึ้นไป (5) ทรัพย์สินอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ข้อ ๑๖ นายหน้าประกันชีวิตซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินแทน ต้องรับชําระเบี้ยประกันภัยเข้าบัญชีบริษัทผู้รับประกันภัยเท่านั้น นายหน้าประกันชีวิตซึ่งเป็นนิติบุคคลอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้มีบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินสําหรับการรับหรือจ่ายเบี้ยประกันภัย แยกจากบัญชีที่ใช้ในการดําเนินการอื่น ๆ โดยบัญชีดังกล่าวต้องปราศจากภาระผูกพัน และให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ฝากเบี้ยประกันภัยที่ได้รับไว้ในบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับ (2) ทําหนังสือแจ้งต่อสถาบันการเงินแสดงความยินยอมให้นายทะเบียนตรวจสอบข้อมูลบัญชีตามวรรคหนึ่งจากสถาบันการเงินได้โดยตรง พร้อมส่งสําเนาหนังสือแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เปิดบัญชีตามวรรคหนึ่ง การเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดบัญชีเงินฝากตามวรรคสองจะต้องได้รับความเห็นชอบนายทะเบียน ความในวรรคสองและวรรคสามให้ใช้กับการจัดให้มีบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินสําหรับการรับหรือจ่ายเบี้ยประกันภัยต่อด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๑๗ นิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตที่ประสงค์ จะเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายและแผนการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตตามข้อ 6 (2) (ก) หรือแผนภาพแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระบบงาน บุคลากร และเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตตามข้อ 6 (2) (ข) ให้ยื่นหนังสือขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และให้นายทะเบียนพิจารณาให้แล้วเสร็จพร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณาให้นิติบุคคลทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือขอรับความเห็นชอบ ทั้งนี้ หากนายทะเบียนมิได้แจ้งผลการพิจารณาภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่านายทะเบียนให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงนั้นแล้ว ข้อ ๑๘ ให้นิติบุคคลแจ้งนายทะเบียนเป็นหนังสือภายในห้าวันนับแต่วันที่ย้ายสํานักงานหรือสาขา ข้อ ๑๙ ให้นิติบุคคลแจ้งนายทะเบียนเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นิติบุคคลเปลี่ยนแปลง (1) ผู้จัดการสาขาหรือผู้บริหารสาขาตามข้อ 6 (2) (ค) 3) หรือนายหน้าประกันชีวิตผู้ปฏิบัติงานในสํานักงานหรือสาขาตามข้อ 6 (2) (ค) 4) (2) รายการทางทะเบียนที่จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ข้อ ๒๐ นิติบุคคลต้องจัดทําสมุดทะเบียน สมุดบัญชี เอกสารเกี่ยวกับธุรกิจ และยื่นรายงานเกี่ยวกับผลของการประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียน หมวด ๔ การต่ออายุใบอนุญาต ------------------------------------ ข้อ ๒๑ นิติบุคคลที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต ต้องยื่นคําขอตามแบบที่นายทะเบียนกําหนด ข้อ ๒๒ นายทะเบียนจะต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตได้ เมื่อผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติตามประกาศหรือคําสั่งของคณะกรรมการหรือนายทะเบียนครบถ้วน หมวด ๕ การเลิกประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต ----------------------------------- ข้อ ๒๓ นิติบุคคลที่ประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันจดทะเบียนยกเลิกวัตถุประสงค์เป็นนายหน้าประกันชีวิตพร้อมส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียน อื่นๆ - บทเฉพาะกาล ------------------------------------- ข้อ ๒๔ ให้ถือว่าบรรดานิติบุคคล หรือสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเป็นนายหน้าประกันชีวิต ที่ได้รับใบอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒๕ ให้นิติบุคคลตามข้อ 24 ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจตามข้อ 6 (2) ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศนี้มีผลใช้บังคับหรือก่อนวันต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตครั้งถัดไปแล้วแต่วันใดจะถึงหลัง หากนิติบุคคลดําเนินการไม่แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ใบอนุญาตของนิติบุคคลหรือสถาบันการเงินนั้นสิ้นอายุ ข้อ ๒๖ ให้นิติบุคคลตามข้อ 24 ที่มิใช่สถาบันการเงินดํารงเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามข้อ 14 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศนี้มีผลใช้บังคับหรือก่อนวันต่ออายุใบอนุญาต เป็นนายหน้าประกันชีวิตครั้งถัดไปแล้วแต่วันใดจะถึงหลัง ในระหว่างการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง นิติบุคคลต้องดํารงเงินกองทุนตลอดเวลาไม่น้อยกว่าจํานวน ดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งล้านบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันชีวิตโดยตรง (2) หนึ่งล้านบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันชีวิตต่อ (3) หนึ่งล้านห้าแสนบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันชีวิตโดยตรง และนายหน้าประกันชีวิตต่อ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,148
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาต ให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 68 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 และมาตรา 72 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 8/2554 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลประเภทสถาบันการเงินเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “เงินกองทุน” หมายความว่า สินทรัพย์ส่วนที่เกินกว่าหนี้สินของนิติบุคคล ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หมวด ๑ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของนิติบุคคลที่จะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ------------------------------------ ข้อ ๕ นิติบุคคลที่จะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตามประกาศฉบับนี้ได้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด หรือสถาบันการเงิน (2) มีสํานักงานใหญ่ในประเทศไทย (3) มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย (4) มีผู้ถือหุ้นได้ใช้เงินในหุ้นแล้ว หรือมีทุนชําระแล้ว ไม่ต่ํากว่าสองล้านบาท แล้วแต่กรณี (5) ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันวินาศภัยต้องสอบความรู้ตามข้อ 7 (6) มีพนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยเป็นผู้ทําการแทนนิติบุคคลดังกล่าว (7) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยในระยะเวลาห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต หมวด ๒ การขอรับใบอนุญาต ------------------------------ ข้อ ๖ นิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตามแบบที่นายทะเบียนกําหนด พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียด หลักฐาน และข้อมูลของนิติบุคคล (2) รายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย (ก) แนวนโยบายและแผนการประกอบธุรกิจ นายหน้าประกันวินาศภัยในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปีข้างหน้า เช่น เงินลงทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ปริมาณธุรกรรมแผนการจัดการทรัพยากรบุคคลในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของนิติบุคคล และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย เป็นต้น (ข) แผนภาพแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระบบงาน บุคลากร และเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย ซึ่งต้องมีรายละเอียด ขั้นตอนเกี่ยวกับระบบงานอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1) การรับเบี้ยประกันภัยและการออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามบริษัท 2) การนําส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัท 3) การส่งรายงานตามแบบและรายการที่คณะกรรมการหรือนายทะเบียนกําหนด (ค) รายละเอียดเกี่ยวกับสํานักงานและสาขาที่จะประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1) สถานที่ตั้ง 2) พื้นที่ใช้สอย และอุปกรณ์สํานักงานที่เหมาะสมพร้อมดําเนินกิจการนายหน้าประกันวินาศภัยและมีสัดส่วนที่ชัดเจน 3) ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการสาขาหรือผู้บริหารสาขา ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 13 4) รายชื่อนายหน้าประกันวินาศภัยที่จะปฏิบัติงานในสํานักงานอย่างน้อยห้าคน และในแต่ละสาขาอย่างน้อยสามคน ทั้งนี้ นิติบุคคลไม่ต้องแสดงรายละเอียดตาม (ค) 2) (ค) 3) และ (ค) 4) หากสํานักงานหรือสาขานั้นจํากัดการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยเฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) โดยผู้ที่ประสงค์จะเอาประกันภัยต้องติดต่อทําประกันภัยกับบริษัทโดยตรง ข้อ ๗ เมื่อได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยแล้ว นิติบุคคลต้องส่งผู้แทนนิติบุคคลที่มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันวินาศภัยอย่างน้อยสองคน เข้ารับการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยตามที่นายทะเบียนกําหนด ผู้แทนนิติบุคคลที่เข้ารับการทดสอบความรู้ตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันยื่นคําขอรับใบอนุญาต มีความเข้าใจในการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย ไม่เคยเป็นผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันวินาศภัยของนิติบุคคล ที่เคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนหรือคณะกรรมการประกาศกําหนดในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันสอบ และไม่เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งมีอํานาจกระทําการแทนบริษัทประกันวินาศภัยหรือบริษัทประกันชีวิตในช่วงเวลาที่บริษัทนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต เว้นแต่ เป็นผู้ซึ่งนายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเช่นว่านั้นในช่วงเวลาดังกล่าว ข้อ ๘ นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยให้แก่นิติบุคคล เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศนี้ และผู้แทนนิติบุคคลที่มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันวินาศภัยได้ผ่านการทดสอบความรู้ตามข้อ 7 และชําระค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว หมวด ๓ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปในการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาต เป็นนายหน้าประกันวินาศภัย --------------------------------------- ข้อ ๙ นิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยต้องปฏิบัติตามแนวนโยบาย แผนงาน ระบบงาน และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้รับอนุญาต รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๑๐ นิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยต้องมีผู้แทนนิติบุคคลที่มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันวินาศภัยอย่างน้อยสองคนที่ผ่านการทดสอบความรู้ตามข้อ 7 ปฏิบัติงานตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย ข้อ ๑๑ การประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยโดยตรง ต้องมีผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย และการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยต่อ ต้องมีผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและผ่านการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยต่อด้วย ไม่น้อยกว่าสามคน ข้อ ๑๒ สํานักงานและสาขาของนิติบุคคลต้องมีลักษณะสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) มีพื้นที่ใช้สอย และอุปกรณ์สํานักงานที่เหมาะสมพร้อมดําเนินกิจการนายหน้าประกันวินาศภัยและมีสัดส่วนที่ชัดเจน (2) แสดงใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย มีป้ายชื่อและข้อความให้เห็นโดยชัดเจนว่าเป็นการดําเนินการในฐานะนายหน้าประกันวินาศภัย (3) มีนายหน้าประกันวินาศภัยปฏิบัติงานประจํา ณ สํานักงานและแต่ละสาขา ไม่น้อยกว่าหนึ่งคน เพื่อบริการประชาชนและให้คําชี้แจงต่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ความใน (1) และ (3) มิให้ใช้บังคับ หากสํานักงานหรือสาขานั้นจํากัดการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยเฉพาะกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) โดยผู้ที่ประสงค์จะเอาประกันภัยต้องติดต่อทําประกันภัยกับบริษัทโดยตรง ข้อ ๑๓ ห้ามนิติบุคคลตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะต่อไปนี้เป็นหรือทําหน้าที่นายหน้าประกันวินาศภัย หรือบุคคลผู้ที่มีอํานาจในการจัดการกิจการนายหน้าประกันวินาศภัย (1) บุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย (2) บุคคลที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยหรือใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ในระยะเวลาห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต (3) บุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยผู้ทําการแทนนิติบุคคลอื่นที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยในเวลาเดียวกัน (4) บุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ สมุห์บัญชี หรือพนักงานผู้ที่มีอํานาจในการจัดการกิจการของบริษัทในเวลาเดียวกัน (5) บุคคลที่เป็นกรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลอื่นที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยในเวลาเดียวกัน (6) บุคคลที่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (7) บุคคลล้มละลาย (8) บุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (9) บุคคลที่เป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ข้อ ๑๔ นิติบุคคลต้องดํารงไว้ซึ่งเงินกองทุนตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยไม่น้อยกว่าร้อยละศูนย์จุดสองห้าของรายได้จากค่าบําเหน็จสุทธิสําหรับรอบปีบัญชีที่ผ่านมา แต่ต้องไม่น้อยกว่าจํานวน ดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งล้านบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยโดยตรง (2) หนึ่งล้านบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยต่อ (3) หนึ่งล้านห้าแสนบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยโดยตรง และนายหน้าประกันวินาศภัยต่อ ให้ถือว่าการดํารงเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินเป็นการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งแล้วและมิให้นําความในข้อ 15 มาใช้บังคับกับการดํารงเงินกองทุนของนิติบุคคลที่เป็นสถาบันการเงิน ข้อ ๑๕ ทรัพย์สินที่ต้องดํารงไว้เป็นเงินกองทุนตามข้อ 14 ต้องปราศจากภาระผูกพัน และเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรองค์การหรือรัฐวิสาหกิจหรือตั๋วเงินคลัง (2) เงินฝากธนาคาร (3) สลากออมทรัพย์ ที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (4) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงิน ซึ่งตราสารหนี้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ลงทุนได้ (investment grade) ระดับ BBB ขึ้นไป (5) ทรัพย์สินอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ข้อ ๑๖ นายหน้าประกันวินาศภัยซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ประกอบธุรกิจบริการรับชําระเงินแทน ต้องรับชําระเบี้ยประกันภัยเข้าบัญชีบริษัทผู้รับประกันภัยเท่านั้น นายหน้าประกันวินาศภัยซึ่งเป็นนิติบุคคลอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้มีบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินสําหรับการรับหรือจ่ายเบี้ยประกันภัย แยกจากบัญชี ที่ใช้ในการดําเนินการอื่น ๆ โดยบัญชีดังกล่าวต้องปราศจากภาระผูกพัน และให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ฝากเบี้ยประกันภัยที่ได้รับไว้ในบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับ (2) ทําหนังสือแจ้งต่อสถาบันการเงินแสดงความยินยอมให้นายทะเบียนตรวจสอบข้อมูลบัญชีตามวรรคหนึ่งจากสถาบันการเงินได้โดยตรง พร้อมส่งสําเนาหนังสือแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เปิดบัญชีตามวรรคหนึ่ง การเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดบัญชีเงินฝากตามวรรคสองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ความในวรรคสองและวรรคสามให้ใช้กับการจัดให้มีบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินสําหรับการรับหรือจ่ายเบี้ยประกันภัยต่อด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๑๗ นิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยที่ประสงค์ จะเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายและแผนการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยตามข้อ 6 (2) (ก) หรือแผนภาพแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระบบงาน บุคลากร และเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยตามข้อ 6 (2) (ข) ให้ยื่นหนังสือขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และให้นายทะเบียนพิจารณาให้แล้วเสร็จพร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณาให้นิติบุคคลทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือขอรับความเห็นชอบ ทั้งนี้ หากนายทะเบียนมิได้แจ้งผลการพิจารณาภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่านายทะเบียนให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงนั้นแล้ว ข้อ ๑๘ ให้นิติบุคคลแจ้งนายทะเบียนเป็นหนังสือภายในห้าวันนับแต่วันที่ย้ายสํานักงานหรือสาขา ข้อ ๑๙ ให้นิติบุคคลแจ้งนายทะเบียนเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นิติบุคคลเปลี่ยนแปลง (1) ผู้จัดการสาขาหรือผู้บริหารสาขาตามข้อ 6 (2) (ค) 3) หรือนายหน้าประกันวินาศภัยผู้ปฏิบัติงานในสํานักงานตามข้อ 6 (2) (ค) 4) (2) รายการทางทะเบียนที่จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ข้อ ๒๐ นิติบุคคลต้องจัดทําสมุดทะเบียน สมุดบัญชี เอกสารเกี่ยวกับธุรกิจ และยื่นรายงานเกี่ยวกับผลของการประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียน หมวด ๔ การต่ออายุใบอนุญาต ---------------------------- ข้อ ๒๑ นิติบุคคลที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยต้องยื่นคําขอตามแบบที่นายทะเบียนกําหนด ข้อ ๒๒ นายทะเบียนจะต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยได้ เมื่อผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตปฏิบัติตามประกาศหรือคําสั่งของคณะกรรมการหรือนายทะเบียนครบถ้วน หมวด ๕ การเลิกประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย ------------------------------ ข้อ ๒๓ นิติบุคคลที่ประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันจดทะเบียนยกเลิกวัตถุประสงค์เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยพร้อมส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียน อื่นๆ - บทเฉพาะกาล ----------------------------- ข้อ ๒๔ ให้ถือว่าบรรดานิติบุคคล หรือสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ที่ได้รับใบอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒๕ ให้นิติบุคคลตามข้อ 24 ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจตามข้อ 6 (2) ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศนี้มีผลใช้บังคับหรือก่อนวันต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยครั้งถัดไปแล้วแต่วันใดจะถึงหลัง หากนิติบุคคลดําเนินการไม่แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ใบอนุญาตของนิติบุคคลหรือสถาบันการเงินนั้นสิ้นอายุ ข้อ ๒๖ ให้นิติบุคคลตามข้อ 24 ที่มิใช่สถาบันการเงินดํารงเงินกองทุนให้ครบถ้วนตามข้อ 14 ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศนี้มีผลใช้บังคับหรือก่อนวันต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยครั้งถัดไปแล้วแต่วันใดจะถึงหลัง ในระหว่างการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง นิติบุคคลต้องดํารงเงินกองทุนตลอดเวลาไม่น้อยกว่าจํานวน ดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งล้านบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยโดยตรง (2) หนึ่งล้านบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยต่อ (3) หนึ่งล้านห้าแสนบาท สําหรับนิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยโดยตรง และนายหน้าประกันวินาศภัยต่อ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,149
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาทประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2554
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาทประกันภัย สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2554 ------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการประนอมข้อพิพาทประกันภัยในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2553 ประกอบมติคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาทประกันภัย สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประกาศขึ้นทะเบียนบุคคลตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ เป็นผู้ประนอมข้อพิพาทประกันภัย สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,150
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักทรัพย์ของบริษัทประกันวินาศภัยที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกัน พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักทรัพย์ของบริษัทประกันวินาศภัยที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกัน พ.ศ. 2552 ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักทรัพย์ของบริษัทประกันวินาศภัยที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกัน พ.ศ. 2552” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักทรัพย์ของบริษัทประกันวินาศภัยที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกัน ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๔ หลักทรัพย์อย่างอื่นของบริษัทที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนนอกจากเงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทย มีดังต่อไปนี้ 4.1 พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 4.2 บัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือสมุดคู่ฝากประเภทประจําที่มีระยะเวลาฝากเงินตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ซึ่งธนาคารในประเทศออกให้แก่บริษัทเพื่อเป็นหลักฐานในการฝากเงินของบริษัท 4.3 ตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง 4.4 พันธบัตรขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ 4.5 ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่มีระยะเวลาการใช้เงินตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปที่องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ธนาคารในประเทศ เป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออก ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,151
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักทรัพย์ของบริษัทประกันชีวิตที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกัน พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักทรัพย์ของบริษัทประกันชีวิตที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกัน พ.ศ. 2552 ----------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 20 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิตพ.ศ. 2535 และมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักทรัพย์ของบริษัทประกันชีวิตที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกัน พ.ศ. 2552” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักทรัพย์ของบริษัทประกันชีวิตที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ประกัน ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๔ หลักทรัพย์อย่างอื่นของบริษัทที่ต้องวางไว้กับนายทะเบียนนอกจากเงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทย มีดังต่อไปนี้ 4.1 พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 4.2 บัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือสมุดคู่ฝากประเภทประจําที่มีระยะเวลาฝากเงินตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ซึ่งธนาคารในประเทศออกให้แก่บริษัทเพื่อเป็นหลักฐานในการฝากเงินของบริษัท 4.3 ตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง 4.4 พันธบัตรขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ 4.5 ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่มีระยะเวลาการใช้เงินตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปที่องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ธนาคารในประเทศ เป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออก ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,152
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549 ข้อ ๔ ให้แบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันวินาศภัยต้องมีรายการอย่างน้อยตามแบบ ดังนี้ (1) สมุดทะเบียนการรับประกันวินาศภัย แบบ ทบ.1 (2) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยรถโดยข้อบังคับของกฎหมาย แบบ ทบ.1.1 (3) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยรถโดยความสมัครใจ แบบ ทบ.1.2 (4) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยสําหรับโครงการประกันภัยอุบัติเหตุ แบบ ทบ.1.3 เอื้ออาทร (5) สมุดทะเบียนสลักหลังกรมธรรม์ประกันวินาศภัย แบบ ทบ.1.4 (6) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยต่อเฉพาะรายในประเทศ แบบ ทบ.2.1 (7) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยต่อเฉพาะรายต่างประเทศ แบบ ทบ.2.2 (8) สมุดทะเบียนสลักหลังกรมธรรม์รับประกันภัยต่อเฉพาะราย แบบ ทบ.2.3 (9) สมุดทะเบียนการเอาประกันภัยต่อเฉพาะรายในประเทศ แบบ ทบ.2.4 (10) สมุดทะเบียนการเอาประกันภัยต่อเฉพาะรายต่างประเทศ แบบ ทบ.2.5 (11) สมุดทะเบียนจัดสรรการเอาประกันภัยต่อประเภทอัคคีภัย แบบ ทบ.2.6 (12) สมุดทะเบียนจัดสรรการเอาประกันภัยต่อประเภทภัยทางทะเล แบบ ทบ.2.7 และขนส่ง (13) สมุดทะเบียนค่าสินไหมทดแทน แบบ ทบ.3 (14) สมุดทะเบียนค่าสินไหมทดแทนรถโดยข้อบังคับของกฎหมาย แบบ ทบ.3.1 (15) สมุดทะเบียนค่าสินไหมทดแทนรถโดยความสมัครใจ แบบ ทบ.3.2 (16) สมุดทะเบียนค่าสินไหมทดแทนสําหรับโครงการประกันภัยอุบัติเหตุ แบบ ทบ.3.3 เอื้ออาทร ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,153
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2551 ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549 ข้อ ๔ ให้แบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทประกันชีวิตต้องมีรายการอย่างน้อยตามแบบ ดังนี้ (1) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยประเภทสามัญ แบบ ทบ.ช.1.1 (2) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยประเภทอุตสาหกรรม แบบ ทบ.ช.1.2 (3) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยประเภทกลุ่ม แบบ ทบ.ช.1.3 (4) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล แบบ ทบ.ช.1.4 (5) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยสําหรับโครงการประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร แบบ ทบ.ช.1.5 (6) สมุดทะเบียนการรับประกันภัยต่อ แบบ ทบ.ช.2.1 (7) สมุดทะเบียนการเอาประกันภัยต่อ แบบ ทบ.ช.2.2 (8) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย - มรณกรรม แบบ ทบ.ช.3.1 (9) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย - ครบกําหนด แบบ ทบ.ช.3.2 (10) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินเป็นงวดตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย แบบ ทบ.ช.3.3 - ยังไม่ครบกําหนด (11) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย-อุบัติเหตุและทุพพลภาพ แบบ ทบ.ช.3.4 (12) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย-การประกันสุขภาพ แบบ ทบ.ช.3.5 (13) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินบํานาญตามกรมธรรม์ประกันภัย แบบ ทบ.ช.3.6 (14) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินเวนคืนเงินสด แบบ ทบ.ช.3.7 (15) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทกลุ่ม แบบ ทบ.ช.3.8 (16) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยอื่น แบบ ทบ.ช.3.9 (17) สมุดทะเบียนค่าสินไหมทดแทนสําหรับโครงการประกันภัย อุบัติเหตุเอื้ออาทร แบบ ทบ.ช.3.10 (18) สมุดทะเบียนการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอุบัติเหตุส่วนบุคคล แบบ ทบ.ช.3.11 (19) สมุดทะเบียนคืนเบี้ยประกันภัย แบบ ทบ.ช.3.12 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,154
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัย พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัย พ.ศ. 2551 ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัย พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก 3.1 ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัย ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2537 3.2 ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัย ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๔ เมื่อมีการทําสัญญาประกันอัคคีภัย ให้บริษัทยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัย ตามแบบ อค. 1 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ในกรณีที่มีการออกบันทึกสลักหลัง เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงสัญญาประกันอัคคีภัย ให้บริษัทยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัย ตามแบบ อค. 3.01 แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ การยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามข้อ 4 และข้อ 5 ให้บริษัทดําเนินการจัดส่งในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามระบบที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัยกําหนดไว้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,155
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดจำนวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขการดำรงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทยของสาขาบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดจํานวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขการดํารงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทย ของสาขาบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ พ.ศ. 2551 ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดจํานวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขในการดํารงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทยของสาขาบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ธนาคาร” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์และให้หมายความรวมถึง ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน ข้อ ๔ ทรัพย์สินที่ต้องดํารงไว้ในประเทศไทย ต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่าจํานวนเงินกองทุนที่บริษัทต้องดํารงไว้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ข้อ ๕ ทรัพย์สินที่ต้องดํารงไว้ในประเทศไทยตามข้อ 4 ต้องเป็นไปตามชนิด วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) เงินสดวางไว้กับนายทะเบียน (2) ตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง (3) พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (4) เงินฝากประเภทฝากประจําไว้กับธนาคารหรือเงินฝากที่ฝากไว้กับบริษัทเงินทุน (5) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้สั่งจ่าย หรือเป็นผู้ออก (6) พันธบัตร หรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันการชําระเงินต้นและดอกเบี้ย (7) อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจหรือสําหรับใช้เพื่อสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท ซึ่งมีมูลค่าไม่เกินร้อยละสี่สิบของทรัพย์สินที่ต้องดํารงไว้ในประเทศไทย ข้อ ๖ ทรัพย์สินที่บริษัทต้องดํารงไว้ในประเทศไทยตามข้อ 5 ต้องปราศจากภาระผูกพัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,156
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดจำนวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขการดำรงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทยของสาขาบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดจํานวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขการดํารงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทย ของสาขาบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ พ.ศ. 2551 ----------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดจํานวน ชนิด วิธีการและเงื่อนไขในการดํารงทรัพย์สินไว้ในประเทศไทยของสาขาบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ธนาคาร” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึง ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน ข้อ ๔ ทรัพย์สินที่ต้องดํารงไว้ในประเทศไทย ต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่าจํานวนเงินกองทุนที่บริษัทต้องดํารงไว้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ข้อ ๕ ทรัพย์สินที่ต้องดํารงไว้ในประเทศไทย ตามข้อ 4 ต้องเป็นไปตามชนิด วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) เงินสดวางไว้กับนายทะเบียน (2) ตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง (3) พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (4) เงินฝากประเภทฝากประจําไว้กับธนาคารหรือเงินฝากที่ฝากไว้กับบริษัทเงินทุน (5) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้สั่งจ่าย หรือเป็นผู้ออก (6) พันธบัตร หรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันการชําระเงินต้นและดอกเบี้ย (7) อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่สําหรับประกอบธุรกิจหรือสําหรับใช้เพื่อสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท ซึ่งมีมูลค่าไม่เกินร้อยละสี่สิบของทรัพย์สินที่ต้องดํารงไว้ในประเทศไทย ข้อ ๖ ทรัพย์สินที่บริษัทต้องดํารงไว้ในประเทศไทยตามข้อ 5 ต้องปราศจากภาระผูกพัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,157
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2551 ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันชีวิต ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549 ข้อ ๔ แบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันชีวิต จะต้องทําตามแบบและให้มีรายการอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,158
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันวินาศภัย ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2549 ข้อ ๔ แบบและรายการสมุดทะเบียนเกี่ยวกับธุรกิจของนายหน้าประกันวินาศภัยจะต้องทําตามแบบและให้มีรายการอย่างน้อยตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,159
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตเปิดทำการติดต่อกับประชาชนประจำปี พ.ศ. 2550
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดให้บริษัทประกันชีวิตเปิดทําการติดต่อกับประชาชน ประจําปี พ.ศ. 2550 ---------------------------------------------- ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 39 นายทะเบียนได้ออกประกาศ เรื่อง กําหนดให้บริษัทประกันชีวิตเปิดทําการติดต่อกับประชาชน ประจําปี พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2549 นั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศกําหนดเวลาเปิดทําการติดต่อกับประชาชนของบริษัทแทนนายทะเบียน ประกอบกับในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่ออํานวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ได้อยู่ในภูมิลําเนาสามารถเดินทางไปและกลับจากการไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ภูมิลําเนาได้โดยสะดวกและปลอดภัย เพราะไม่ต้องเร่งรีบในการเดินทาง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - 1. วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550 บริษัทจะปิดทําการก็ได้ 2. ในกรณีที่บริษัทปิดทําการ ให้บริษัทจัดให้มีพนักงานที่มีหน้าที่รับแจ้งเหตุและพนักงานเจรจาตกลงใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยประจําอยู่ที่บริษัทและสํานักงานสาขาของบริษัทอย่างเพียงพอเพื่อให้การบริการและอํานวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,160
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยเปิดทำการติดต่อกับประชาชนประจำปี พ.ศ. 2550
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยเปิดทําการติดต่อกับประชาชน ประจําปี พ.ศ. 2550 --------------------------------------- ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 38 นายทะเบียนได้ออกประกาศ เรื่อง กําหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยเปิดทําการติดต่อกับประชาชน ประจําปี พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2549 นั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศกําหนดเวลาเปิดทําการติดต่อกับประชาชนของบริษัทแทนนายทะเบียน ประกอบกับในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่ออํานวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ได้อยู่ในภูมิลําเนาสามารถเดินทางไปและกลับจากการไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ภูมิลําเนาได้โดยสะดวกและปลอดภัย เพราะไม่ต้องเร่งรีบในการเดินทาง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535ประกอบกับมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศกําหนด ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - 1. วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550 บริษัทจะปิดทําการก็ได้ 2. ในกรณีที่บริษัทปิดทําการ ให้บริษัทจัดให้มีพนักงานที่มีหน้าที่รับแจ้งอุบัติเหตุตรวจสอบอุบัติเหตุและเจรจาตกลงค่าสินไหมทดแทนประจําอยู่ที่บริษัทและสํานักงานสาขาของบริษัทอย่างเพียงพอ เพื่อให้การบริการและอํานวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์และผู้ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,161
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2550
ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2550 ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0201/17676 ลงวันที่ 17 กันยายน 2550 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2550 และหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/16725 ลงวันที่ 21 กันยายน 2550คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงประกาศดังนี้ ข้อ ๑ ให้คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้กรรมการแต่ละคนเสนอชื่อผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย บัญชี บริหารธุรกิจ การเงิน เศรษฐศาสตร์ หรือการประกันภัยต่อประธานคนละไม่เกิน 4 ชื่อ โดยแต่ละชื่อต้องมีความเชี่ยวชาญที่ไม่ซ้ํากัน ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย คัดเลือกผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งมีความเหมาะสมสําหรับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เหลือ 12 คนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาคัดเลือกเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่น้อยกว่า 6 คนแต่ไม่เกิน 8 คน เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระหรือในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตําแหน่งให้ดําเนินการเช่นเดียวกันกับข้อ 2 โดยอนุโลม ทั้งนี้ให้เสนอรายชื่อเป็นสองเท่าของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะแต่งตั้ง ข้อ ๔ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคําสั่งแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวเป็นกรรมการในคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยต่อไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ 2550 ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,162
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 578/2549 เรื่อง การเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในกแห่งและคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 578/2549 เรื่อง การเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในกแห่งและคดีล้มละลาย --------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในคดีแพ่งและคดีล้มละลาย ของกรมบังคับคดี ดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงมีคําสั่งให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กรณีริบเงินมัดจําหรือริบเงิน ชําระราคาบางส่วนแล้วนําทรัพย์ ออกขายทอดตลาดใหม่ ในการทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากเงินที่รับมัดจําหรือเงินที่ชําระราคาบางส่วน และเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด ส่วนค่าอากรปิดใบรับเงินให้คิดจากการขายได้ครั้งใหม่ ข้อ ๒ กรณีรับเงินมัดจําหรือริบเงินที่ชําระราคาบางส่วนเมื่อมีการถอนการยืด หรือกรณีคืนเงิน มัดจําหรือเงินที่ชําระราคาบางส่วนที่รับไว้ให้แก่ลูกหนี้ ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากเงินที่รับมัดจําหรือเงินสาระราคาบางส่วน สําหรับอัตราในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในคดีแพ่งและคดีล้มละลายให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,163
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 457/2549 เรื่อง การดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 457/2549 เรื่อง การดําเนินคดีอาญาตามกฎหมายล้มละลาย ---------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการดําเนินคดีอาญาตามกฎหมาย ล้มละลายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมและเป็นแนวทางเดียวกันอันจะเป็นผลดีต่อการบังคับคดี ล้มละลาย จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อปรากฏต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่ามีกรณีที่มีหรืออาจมีการกระทําผิดอาญาตามที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการสอบสวน ผู้เกี่ยวข้อง และพิจารณาทําคําสั่งว่าสมควรดําเนินคดีอาญาต่อผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่เสนอต่ออธิบดีหรือรอง อธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณามีคําสั่ง ข้อ ๒ ในกรณีที่อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายมีคําสั่งว่าคดีมีมูลว่าเป็นการกระทําผิด อาญาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทํา หนังสือให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายลงนามมอบอํานาจให้ไปร้องทุกข์เพื่อดําเนินคดีอาญา ต่อพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น แล้วรายงานให้กรมบังคับคดีทราบต่อไป อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,164
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 457/2549 เรื่อง การดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายล้มละลาย (Update ฉบับล่าสุด)
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 457 / 2549 เรื่อง การดําเนินคดีอาญาตามกฎหมายล้มละลาย ------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการดําเนินคดีอาญาตามกฎหมาย ล้มละลายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมและเป็นแนวทางเดียวกันอันจะเป็นผลดีต่อการบังคับคดี ล้มละลาย จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อปรากฏต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่ามีกรณีที่มีหรืออาจมีการกระทําผิดอาญาตามที่ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการสอบสวน ผู้เกี่ยวข้อง และพิจารณาทําคําสั่งว่าสมควรดําเนินคดีอาญาต่อผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่เสนอต่ออธิบดีหรือรอง อธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณามีคําสั่ง ข้อ ๒ ในกรณีที่อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายมีคําสั่งว่าคดีมีมูลว่าเป็นการกระทําผิด อาญาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทํา หนังสือให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายลงนามมอบอํานาจให้ไปร้องทุกข์เพื่อดําเนินคดีอาญา ต่อพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น แล้วรายงานให้กรมบังคับคดีทราบต่อไป อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,165
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 449/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนทวงหนี้
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 449/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนทวงหนี้ --------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนทวงหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติดังนี้ 1.1 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลใดชําระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน หากไม่ปรากฏว่าถูกทวงหนี้ถูกศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกหนังสือทวงหนี้โดยเร็ว เพื่อให้บุคคลนั้นชําระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากปรากฏว่าศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้ถูกทวงหนี้เด็ดขาดหรือมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนใน คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และยังอยู่ในระยะเวลายื่นคําขอรับชําระหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หนี้ดังกล่าวไปยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีนั้นๆ 1.2 กรณีที่ต้องมีการสอบสวน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกหมายนัดภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือปฏิเสธหนี้ และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดวันนัดสอบสวนผู้ถูกทวงหนี้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องรวม 2 นัด ห่างกันไม่เกิน 15 วันและแจ้งไปด้วยว่า เมื่อถึงกําหนดถ้าผู้ถูกทวงหนี้หรือผู้ที่ เกี่ยวข้องไม่น่าพยานไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนตามนัด โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ทราบ หรือร้องขอเลื่อน ผู้ถูกทวงหนี้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องยินยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินกระบวน พิจารณาต่อไปได้ โดยถือว่าฝ่ายที่มาไม่มีพยานหรือไม่ติดใจ พยานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทําความเห็นต่อไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสํานวน 1.3 การเลื่อนวันนัดทําการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ว่ากรณีใดๆ ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาเหตุที่ขอเลื่อนโดยเคร่งครัดและให้เลื่อนกรณีจําเป็น แต่ทั้งนี้มิให้ เลื่อนไปเกินกว่า 20 วัน นับแต่วันขอเลื่อน และกําชับว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนอีกไม่ว่าด้วย เหตุใดๆ หากเหตุที่ขอเลื่อน ไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าไม่มีพยานหรือไม่ติดใจนําพยานมาให้การ สอบสวน 1.4 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการสอบสวนสํานวนทวงหนี้เสร็จในวันใด ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ทําความเห็นให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันสอบสวนเสร็จ ในกรณีจําเป็นไม่อาจทําความเห็น ให้เสร็จภายในกําหนดดังกล่าวได้ ให้รายงานตามลําดับเพื่อขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา ที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี 1.5 ความเห็นในกรณีที่ไม่สมควรดําเนินการ ตามมาตรา 118 และมาตรา 119 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หรือความเห็นในสํานวนทวงหนี้ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันหนี้ ลดยอดหนี้ หรือจําหน่ายชื่อผู้ถูกทวงหนี้ ให้เสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณา สั่งการ หรือเห็นชอบก่อนจึงจะ เเนินการต่อไปได้ 1.6 ในกรณีตามข้อ 1.2 ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกทวงหนี้มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตจังหวัดที่ลูกหนี้รายได้ มีภูมิลําเนา ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางส่งสํานวนให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขานั้น ดําเนินการสอบสวนและทําความเห็น รวมทั้งแจ้งความเห็นที่พิจารณาแล้วให้คู่ความทราบจนเสร็จการ กรณีอื่นนอกจากนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางเป็นผู้ดําเนินการ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา ดําเนินการเสร็จเรียบร้อย แล้ว ให้ ส่งสํานวนทั้งหมดคืนไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางเพื่อดําเนินการต่อไป 1.7 ในกรณีมีการร้องคัดค้านคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การอุทธรณ์ ฎีกา แก้อุทธรณ์ แก้ฎีกา ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางเป็นผู้ดําเนินการในชั้นศาลจนเสร็จการ ข้อ ๒ การอุทธรณ์หรือฎีกา หรือไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกา กําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติ ดังนี้ 2.1 รายงานเสนอความเห็นพร้อมสํานวนในการที่จะอุทธรณ์หรือฎีกา หรือไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกา ต่ออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งการหรือเห็นชอบก่อนจึงดําเนินการ ต่อไปได้ CH 2.2 กรณีตามข้อ 2.1 ในส่วนภูมิภาคให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขา เสนอความเห็นพร้อมสํานวนไปให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคลังการ แทนอธิบดีกรมบังคับคดี เว้นแต่ความเห็นของผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขากับ ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแตกต่างกัน ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและ วางทรัพย์ภูมิภาคพิจารณาส่งเรื่องให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาสั่งการต่อไป กรณีตามวรรคแรก แม้ความเห็นของผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค กับผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขาไม่แตกต่างกันก็ตาม หากเป็นคดีสําคัญหรือคดีมี ทุนทรัพย์สูง หรือมีปัญหายุ่งยากซับซ้อนให้รายงานอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบโดยเร็ว 2.3 การเสนอความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือไม่ อุทธรณ์หรือไม่ การพิพากษาหรือคําสั่งศาลต่ออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณี ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอความเห็นพร้อมกับส่ง สํานวนที่เกี่ยวข้องต่อบุคคลดังกล่าวก่อนที่จะครบกําหนดระยะเวลาในการอุทธรณ์หรือฎีกาไม่น้อยกว่า 15 วัน หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นต้องเสนอความเห็นล่าช้ากว่ากําหนดดังกล่าวให้ยื่นคําร้องเพื่อขยาย ระยะเวลาในการอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลและรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไปให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับ มอบหมายหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณีทราบด้วย อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,166
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 450/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนสาขายดีแห่ง
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 450/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนสาขายดีแห่ง ---------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนสาขาคดีแพ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนสาขาคดีแพ่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติดังนี้ 1.1 เมื่อปรากฏว่ามีคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มี คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์และคดีนั้นอยู่ในเขตสํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาค ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลาง ส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคเป็นผู้เข้าดําเนินการแทนจนเสร็จคดี และ รายงานผลคดีให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางทราบ เว้นแต่มีเหตุสมควรที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนกลางจะเข้าดําเนินคดีเอง 1.2 หากต้องมีการยื่นคําคู่ความ คําร้อง คําแถลง คําขอใด ๆ ต่อศาลในคดีที่อยู่ในเขต สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สํานักงาน บังคับคดีส่วนภูมิภาคดําเนินการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคดําเนินการ ตามขอ พร้อมทั้งติดตามคําสั่งศาลและแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางทราบโดยเร็ว 1.3 เมื่อปรากฏว่ามีคดีแพ่งที่ถูกหนี้ได้ฟ้องคดี และศาลได้มีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ชนะคดีก่อนหรือหลังจากที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการบังคับคดีใน ฐานะเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่อไป 1.4 กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องว่าจ้างทนายความเข้าดําเนินคดีแทน ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดี เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนกลาง ข้อ ๒ การอุทธรณ์หรือฎีกา หรือไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกา คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติ ดังนี้ 2.1 รายงานเสนอความเห็นพร้อมสํานวนในการที่จะอุทธรณ์หรือฎีกา หรือไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกา ต่ออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งการหรือเห็นชอบก่อนจึงดําเนินการ ต่อไปได้ 2.2 กรณีตามข้อ 2.1 ในส่วนภูมิภาคให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา เสนอความเห็นพร้อมสํานวนไปให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคสั่งการแทนอธิบดี กรมบังคับคดี เว้นแต่ความเห็นของผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขากับผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแตกต่างกัน ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคพิจารณา ส่งเรื่องให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาสั่งการต่อไป กรณีตามวรรคแรก แม้ความเห็นของผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค กับผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขา ไม่แตกต่างกันก็ตาม หากเป็นคดีสําคัญหรือคดีมี หรือมีปัญหายุ่งยากซับซ้อนให้รายงานอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบโดยเร็ว ทุนทรัพย์สูง 2.3 การเสนอความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือไม่ อุทธรณ์ หรือไม่มีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลต่ออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณี ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอความเห็นพร้อมกับ ส่งสํานวนที่เกี่ยวข้องต่อบุคคลดังกล่าวก่อนที่จะครบกําหนดระยะเวลาในการอุทธรณ์หรือฎีกาไม่น้อยกว่า 15 วัน หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นต้องเสนอความเห็นล่าช้ากว่ากําหนดดังกล่าวให้ยื่นคําร้องเพื่อขอขยายระยะเวลา ในการอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลและรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไปให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณีทราบด้วย อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังกคับคดี
5,167
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 398/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานสำนวนชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 398 /2549 เรื่อง การปฏิบัติงานสํานวนชําระบัญชีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ---------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับสํานวนชําระบัญชีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตามคําสั่งศาล เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน อันก่อให้เกิดผลดี แก่คู่ความยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 504/2558 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2538 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับหมายบังคับคดี หมายแจ้งคําสั่ง คําพิพากษาเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย การตั้งผู้ชําระบัญชี การวางทรัพย์และประเมินราคาทรัพย์ ข้อ 5 ข้อ ๒ เมื่อศาลมีคําสั่งตั้งเจ้าพนักงาน กรมบังคับคดีเป็นผู้ชําระบัญชีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้ 2.1 ในส่วนกลางให้เจ้าหน้าที่ธุรการกองบังคับคดีล้มละลายที่รับผิดชอบบันทึกข้อมูล ลงระบบงาน (ระบบคอมพิวเตอร์) และลงบัญชีสํานวนชําระบัญชีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วนําเสนอ ต่อผู้อํานวยการกองเพื่อสั่งจ่ายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการและบันทึกชื่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ผู้รับผิดชอบในระบบงาน 2.2 ในส่วนภูมิภาคให้เจ้าหน้าที่ธุรการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาที่รับผิดชอบ บันทึกข้อมูลลงระบบงาน (ระบบคอมพิวเตอร์) และลงบัญชีสํานวนชําระบัญชีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทแล้วนํา เสนอต่อผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาเพื่อสั่งจ่ายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการและ บันทึกชื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้รับผิดชอบในระบบงาน ข้อ ๓ เมื่อได้รับสํานวนแล้วให้ดําเนินการประกาศตามแบบ ช.1 โดยโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันสองครั้งเป็นอย่างน้อย และปิดไว้ ณ สํานักงานหนึ่งฉบับและให้ผู้ชําระบัญชี ส่งคําบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในสมุดบัญชีหรือเอกสาร โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ตามแบบ ช.2 และหมายนัดให้ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งให้เลิกกิจการและชําระบัญชีวางเงินค่าใช้จ่ายต่อผู้ชําระบัญชี ข้อ ๔ ให้ผู้ชําระบัญชีไปจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท โดยระบุชื่อผู้ชําระบัญชีต่อนาย ทะเบียนตามระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ ภายใน 14 วันนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งตั้งผู้ชําระบัญชี ในกรณีที่ไม่ อาจดําเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ผู้ชําระบัญชีทําหนังสือชี้แจงเหตุในการจดทะเบียนล่าช้าไปด้วย ข้อ ๕ การยืมสํานวนศาล และขอเอกสารทางทะเบียน 5.1 ให้ผู้ชําระบัญชีมีหนังสือขอยืมสํานวนศาลพร้อมขอเอกสารที่จําเป็น (ถ้ามี) รวมทั้งขอ อนุญาตถ่ายเอกสารที่เกี่ยวข้องในคดีเรื่องนี้ เมื่อได้รับสํานวนศาลแล้วให้ผู้ชําระบัญชีตรวจดูสาเหตุของการ ชําระบัญชี ภูมิลําเนาของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เลขประจําตัวผู้เสียภาษี งบดุล เอกสารทางบัญชี คําให้การ ของโจทก์ จําเลย และทําให้การของบุคคลอื่นที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาดําเนินการชําระบัญชี รวมทั้ง คําสั่งศาลทุกขั้นศาลและเอกสารอื่น ๆ ที่สําคัญเพื่อสําเนาและตั้งการสํานวนไว้ 5.2 กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่จดทะเบียนให้มีหนังสือขอสําเนาเอกสารเกี่ยวกับการ จดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นพร้อมทั้งรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจากนายทะเบียนหุ้นส่วนหรือบริษัทมาประกอบการชําระบัญชีด้วย 5.3 เมื่อได้รับเอกสารตาม 5.1 หรือ 5.2 แล้ว ให้ส่งนักบัญชีตรวจสอบเพื่อจัดทํางบดุล ข้อ ๖ การรวบรวมและจําหน่ายทรัพย์สิน ให้ผู้ชําระบัญชีปฏิบัติดังนี้ 6.1 มีหนังสือเรียกโจทก์ จําเลย หรือผู้ร้องขอ หรือกรรมการผู้จัดการ เลขานุการ สมุห์บัญชี ผู้สอบบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทมาชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินหรือข้อความที่ ต้องการ โดยให้แจ้งนักบัญชีมาร่วมซักถามข้อมูลด้วยทุกครั้ง เพื่อประกอบการจัดทํางบดุล ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท และจัดการชําระบัญชีต่อไป ถ้าบุคคลดังกล่าวได้รับหนังสือเรียกโดยชอบแล้ว ไม่มาหรือมาแต่ไม่ยอมชี้แจง ให้ถือเป็น เหตุขัดข้องในการชําระบัญชี 6.2 ในกรณีมีข้อสงสัยในข้อเท็จจริงตาม 6.1 ให้มีหนังสือเรียกผู้เกี่ยวข้องมาพร้อมกันเพื่อ ซักถามเกี่ยวกับข้อสงสัยดังกล่าวนั้น 6.3 เรียกให้ผู้ครอบครองส่งมอบทรัพย์สิน หรือสมุดเอกสาร หรือดวงตราภายในเวลา อันสมควร หากผู้นั้นขัดขืนให้รายงานศาล 6.4 ทวงหนี้ไปยังลูกหนี้ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทตามแบบ ช.3 หากลูกหนี้มีข้อโต้แย้ง อย่างใดก็ให้ทําการสอบสวนข้อเท็จจริงจากลูกหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการทําความเห็นของ ผู้ชําระบัญชี ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าลูกหนี้ที่ทวงหนีไปนั้นยังมีหนี้ค้างชําระอยู่ ให้ยืนยันหนีไปยังลูกหนี้ อีกครั้ง ถ้าลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ ให้ดําเนินการฟ้องร้องหรือหารือที่ประชุมใหญ่ สุดแต่ผู้ชําระบัญชีจะเห็นสมควร 6.5 จัดทําบัญชีรวบรวมทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ผู้ชําระบัญชีรวบรวมมาได้โดยไม่ต้องทําการยึดและมีอํานาจขาย โดยจะมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ขายทอดตลาดหรือจะขายเองก็ได้ โดยอนุโลมตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชีพ.ศ. 2520 ข้อ ๗ การทวงหนี้ของเจ้าหนี้ 7.1 ให้ฝ่ายค้าคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม ตรวจและรับคําทวงหนี้ของเจ้าหนี้ในสํานวน ชําระบัญชีโดยให้ยื่นภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันประกาศคําสั่งศาลให้ชําระบัญชีและตั้งสํานวนทวงหนี้ พร้อมบันทึกข้อมูลลงระบบงาน เสร็จแล้วรวบรวมสํานวนทวงหนี้ส่งกองบังคับคดีล้มละลายที่รับผิดชอบ พิจารณาคดําเนินการต่อไป ส่วนกรณีที่เจ้าหนี้ยื่นคําทวงหนี้เกินกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้ฝ่ายคําคู่ความลงรับคําทวงหนี้แล้วส่งกองบังคับคดีล้มละลายที่รับผิดชอบพิจารณาดําเนินการต่อไป การยื่นคําทวงหนี้ของเจ้าหนี้ในการชําระบัญชี เจ้าหนี้สามารถยื่นคําทวงหนี้ได้จนเสร็จสิ้นการชําระบัญชี 7.2 ให้ผู้ชําระบัญชีออกหมายนัดสอบสวนไปยังผู้ยื่นคําทวงหนี้ภายใน 3 วัน นับแต่วันรับ สํานวนและกําหนดวันนัดสอบสวนผู้ยื่นคําทวงหนี้ไว้รวม 2 นัด ห่างกันไม่เกิน 15 วันและแจ้งไปด้วยว่า เมื่อถึงกําหนดนัด ถ้าผู้ยื่นคําทวงหนี้ไม่นําพยานไปให้ผู้ชําระบัญชีสอบสวนตามนัด โดยมีแจ้งเหตุขัดข้อง หรือร้องขอเลื่อน ผู้ยื่นคําทวงหนี้ยินยอมให้ผู้ชําระบัญชีดําเนินการต่อไปได้ โดยถือว่าผู้ยื่นคําทวงหนี้ไม่มี พยานหรือไม่ติดใจนําพยายไปให้ผู้ชําระบัญชีสอบสวน ซึ่งผู้ชําระบัญชีจะทําคําสั่งต่อไปตามพยานหลักฐาน ที่ปรากฏในสํานวน 7.3 การเลื่อนวันนัดทําการสอบสวนของผู้ชําระบัญชีไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ผู้ชําระบัญชี พิจารณาเหตุที่ขอเลื่อนโดยเคร่งครัดและให้เลื่อนกรณีจําเป็น แต่ทั้งนี้มิให้เลื่อนไปเกินกว่า 20 วันนับแต่วัน ขอเลื่อน และกําชับว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนอีกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ หากเหตุที่ขอเลื่อน ไม่มีเหตุอัน สมควร ให้ถือว่าไม่มีพยานหรือไม่ติดใจนําพยานมาให้การสอบสวน 7.4 ให้ผู้ชําระบัญชีทําคําสั่งให้เสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันเสร็จการสอบสวน ทั้งนี้ไม่นับ รวมเวลาในการส่งสํานวนให้นักบัญชีคิดยอดหนี้ ในส่วนของดอกเบี้ยให้ผู้ยื่นคําทวงหนี้มีสิทธิได้รับจนถึงวัน ชําระเสร็จ ในกรณีจําเป็นไม่อาจทําคําสั่งให้เสร็จภายในกําหนดดังกล่าว ให้รายงานตามลําดับเพื่อขอ อนุญาตขยายระยะเวลาต่อผู้อํานวยการกองหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค 7.5 การพิจารณาให้ความเห็นชอบสํานวนทวงหนี้ของผู้ยื่นคําทวงหนี้ 7.5.1 สํานวนทวงหนี้ที่มีจํานวนหนี้ที่ขอมาไม่เกิน 20 ล้านบาทให้หัวหน้ากลุ่ม หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 7.5.2 สํานวนทวงหนี้ที่มีจํานวนหนี้ที่ขอมาเกิน 20 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ให้ ผู้อํานวยการกองหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 7.5.3 สํานวนทางหนีที่มีจํานวนหนี้ที่ขอมาเกิน 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาทให้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลายเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 7.5.4 สํานวนทวงหนี้ที่มีจํานวนหนี้ที่ขอมาเกินกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องให้ อธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 7.6 เมื่อผู้ชําระบัญชีมีคําสั่งแล้วให้แจ้งคําสั่งให้ผู้ยื่นคําทวงหนี้ทราบโดยเร็ว 7.7 หากผู้ชําระบัญชีพบว่ามีเจ้าหนี้อยู่แล้ว แต่ไม่มายื่นคําทวงหนี้ ให้นําหนี้ดังกล่าวไป แสดงให้ปรากฏในบัญชีงบดุล ณ วันสิ้นสุดการชําระบัญชีและให้ที่ประชุมใหญ่รับรองบัญชีงบดุลแล้วให้นํา เงินจํานวนนั้น (ถ้ามี) ไปวางทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1264 ข้อ ๘ การจัดทํางบดุลและบัญชี 8.1 เมื่อได้รับเอกสารตาม 5.3 และข้อมูลตาม 6.1 แล้ว ให้จัดทํางบดุล ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท (วันที่ศาลมีคําสั่งตั้งผู้ชําระบัญชี) โดยเร็วที่สุด และให้ผู้ชําระบัญชีนัดพร้อมผู้เป็นหุ้นส่วนหรือ ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบงบดุลดังกล่าว 8.2 ให้ผู้ชําระบัญชี งบดุล ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรอง เพื่อนําเสนอที่ประชุมใหญ่อนุมัติแล้วนําไปเป็นหลักในการชําระบัญชีต่อไป 8.3 เมื่อรวบรวมและจําหน่ายทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเสร็จสิ้นแล้ว ให้นักบัญชี จัดทําบัญชีแสดงการรับจ่ายเงินระหว่างการชําระบัญชีและบัญชีส่วนแบ่งทรัพย์สิน (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ชําระบัญชี เพื่อนําไปประกอบการรายงานการชําระบัญชีและนําเสนอที่ประชุมใหญ่อนุมัติ ข้อ ๙ การประชุมใหญ่ 9.1 เมื่อมีการเห็นชอบงบดุลตาม 8.1 แล้วให้เรียกประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาตั้งผู้สอบบัญชี และกําหนดค่าสินจ้าง เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้แก่ผู้สอบบัญชี 9.2 เมื่อผู้สอบบัญชีรับรองงบดุล ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทแล้ว ให้ผู้ชําระบัญชีเรียก ประชุมใหญ่ เพื่อพิจารณาอนุมัติงบดุล ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท 9.3 หากการชําระบัญชีดําเนินการไม่เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนตั้งผู้ชําระบัญชี ให้เรียกประชุมใหญ่ทุก ๆ ปี เพื่อแถลงความเป็นมาแห่งการชําระบัญชีให้ที่ประชุมทราบ หากการจัดทํางบดุล ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเสร็จสิ้นใกล้ระยะเวลาประชุมใหญ่ ตามวรรคหนึ่ง ให้นําเสนอที่ประชุมใหญ่ไปในคราวเดียวกัน 9.4 เมื่อการชําระบัญชีเสร็จสิ้น ให้ผู้ชําระบัญชีจัดทํารายงานการชําระบัญชีและเรียก ประชุมใหญ่ เพื่ออนุมัติรายงานการชําระบัญชีตามงบดุลและนําไปจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชําระบัญชี ตามแบบพิมพ์ของกระทรวงพาณิชย์ ภายใน 14 วันนับแต่วันประชุม 9.5 ให้ผู้ชําระบัญชีเป็นประธานในการประชุมใหญ่ทุกคราว และให้มีรายงานการประชุม ลงลายมือชื่อผู้ชําระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น เก็บไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งมีบัญชีรายชื่อผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น และกําหนดเงินลงทุนหรือจํานวนหุ้นแนบท้ายรายงาน 9.6 การเรียกประชุม การเลื่อนประชุม วิธีการประชุม องค์ประชุมและการนับคะแนนเสียง ให้ดําเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อ ๑๐ ในระหว่างการชําระบัญชี ให้ผู้ชําระบัญชีรายงานการชําระบัญชีอื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัททุกระยะ 3 เดือน ตามแบบพิมพ์ของกระทรวงพาณิชย์ มิฉะนั้นอาจต้องรับโทษปรับ ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการตามระยะเวลาในวรรคหนึ่งได้ ให้ผู้ชําระบัญชีทําหนังสือชี้แจงเหตุในการรายงานล่าช้าไปด้วย ข้อ ๑๑ การขอให้ล้มละลาย เมื่อผู้ชําระบัญชีพิจารณาแล้วเห็นว่าเงินลงทุนหรือเงินค่าหุ้นได้รับชําระจนครบถ้วนแล้ว สินทรัพย์ต่างๆ ที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะชําระหนี้สิน ให้ผู้ชําระบัญชีร้องขอต่อศาลโดยไม่ชักช้าเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งให้ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นล้มละลาย เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ๆ แล้ว ให้ผู้ชําระบัญชีโอนสินทรัพย์ ที่มีอยู่ในความครอบครองให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายล้มละลายต่อไป ข้อ ๑๒ การแบ่งทรัพย์สิน เมื่อผู้ชําระบัญชีรวบรวมทรัพย์สินและสั่งคําทวงหนี้ของเจ้าหนี้แต่ละรายเสร็จสิ้นแล้ว ให้ ผู้ชําระบัญชีจัดทําบัญชีส่วนแบ่งและบัญชีแสดงการรับจ่ายเงินตามแบบ ช. 6 ก. ข. ค. และ ง. โดยเร็ว ข้อ ๑๓ การสิ้นสุดแห่งการชําระบัญชี เมื่อผู้ชําระบัญชีได้ดําเนินการตาม 9.4 แล้วให้รายงานผลการชําระบัญชีให้ศาลทราบพร้อมกับส่ง บัญชีแสดงการรับจ่ายเงินระหว่างการชําระบัญชี งบดุล ณ วันเลิกกิจการและบัญชีส่วนแบ่งครั้งที่สุด (ถ้ามี) ข้อ ๑๔ การเปลี่ยนและถอนการตั้งผู้ชําระบัญชี 14.1 กรณีผู้อํานวยการกองหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขามีคําสั่งเปลี่ยน ผู้ชําระบัญชีให้ผู้ชําระบัญชีคนใหม่นําความไปจดทะเบียนตามแบบพิมพ์ของกระทรวงพาณิชย์ ภายใน 14 วัน นับแต่วันทีมีคําสั่ง 14.2 ให้รายงานศาลขอให้มีคําสั่งถอนการตั้งผู้ชําระบัญชีในกรณีดังต่อไปนี้ 14.2.1 ผู้ร้องขอให้มีการชําระบัญชีไม่วางค่าใช้จ่ายในการชําระบัญชีภายในเวลาที่กําหนด 14.2.2 ผู้ชําระบัญชีไม่สามารถรวบรวมเอกสารหรือเอกสารไม่เพียงพอในการจัดทํางบดุล 14.2.3 เมื่อมีการนัดพร้อมตาม 8.1 แล้ว ผู้เกี่ยวข้องไม่ให้ความเห็นชอบและไม่อาจ ตกลงกันได้ จนไม่สามารถจัดทํางบดุล ณ วันเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้ 14.2.4 ที่ประชุมใหญ่ไม่อนุมัติงบดุล จนไม่อาจดําเนินการต่อไปได้ 14.2.5 ผู้เกี่ยวข้องในการชําระบัญชีไม่ให้ความร่วมมือหรือมีเหตุอื่นใด อันเป็นเหตุ ขัดข้องในการชําระบัญชีจนไม่อาจดําเนินการชําระบัญชีต่อไปได้ 14.2.6 เหตุอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 14.3 เมื่อศาลมีคําสั่งถอนการตั้งผู้ชําระบัญชี ให้ผู้ชําระบัญชีแจ้งนายทะเบียน แจ้งไปยัง เจ้าหนี้ที่ยื่นคําทวงหนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น และประกาศโฆษณาตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการ บังคับคดีล้มละลายและชําระบัญชี พ.ศ. 2520 เว้นแต่เป็นการถอนการตั้งผู้ชําระบัญชีตาม 14.2.1 และยังไม่มี การแจ้งหรือการประกาศโฆษณา อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 เดือน กันยายน พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,168
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 393/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 393/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พ.ศ. 2541 จึงมีคําสั่งดังต่อไป ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 198/2541 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2541 เรื่อง ขั้นตอนการรายงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 533/2542 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในสํานวนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 94/2543 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานวางทรัพย์ในการบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับคดี ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1.4 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 117/2543 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 เรื่อง มอบอํานาจให้ ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นผู้อนุมัติการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรของข้าราชการ และลูกจ้างในสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1.5 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 251/2546 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในสํานวนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เกี่ยวกับการทําคําสั่งหรือความเห็น 1.6 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 97/2547 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2547 เรื่อง การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน 1.7 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 569/2547 ลงวันที่ 15 รับวาคม 2547 เรื่อง การออกเสียงลงคะแนน เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน 1.8 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 194/2548 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2548 เรื่อง การดําเนินการ ตามแผนของผู้บริหารแผน 1.9 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 140/2549 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2549 เรื่อง การสวมสิทธิเป็น เจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ 1.10 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 240/2549 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 เรื่อง การกํากับดูแล การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ข้อ ๒ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภายในสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ปฏิบัติดังนี้ 2.1 เพื่อให้การกํากับดูแลการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มอบหมายให้ข้าราชการในตําแหน่งดังต่อไปนี้เป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 2.1.1 ผู้อํานวยการส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟู 2.1.2 หัวหน้ากลุ่มงานกิจการทรัพย์สิน 2.1.3 หัวหน้ากลุ่มงานกํากับดูแลการฟื้นฟู 2.2 ค่าใช้จ่ายในส่วนวนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดําเนินการไป เกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นับตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จนถึงวัน ที่ศาลมีคําสั่งให้ยกคําร้องขอ หรือจําหน่ายคดี หรือยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดการประชุมเจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายในการประกาศโฆษณา คําสั่ง เป็นต้น ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถเบิกจากเงินในคดีได้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้นให้ใช้จ่ายโดยคํานึงถึงเหตุจําเป็นและเหมาะสมตามภาวะการณ์ และให้ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาสั่งจ่ายได้ตามควรแก่กรณี ข้อ ๓ การปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนการรายงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ปฏิบัติดังนี้ 3.1 ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นผู้รับผิดชอบจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลคดีฟื้นฟูกิจการของ ลูกหนี้ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ ในสังกัดกรมบังคับคดีตรวจสอบ 3.2 เมื่อสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้รับแจ้งว่าศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้ พิจารณา หรือยกคําร้องขอ หรือจําหน่ายคดี หรือยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือคําสั่งอื่นที่มีผลยกเลิกข้อจํากัดสิทธิ์ตามกฎหมาย ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้รับรายงานคําสั่งของ ศาลนั้นให้อธิบดีกรมบังคับคดีทราบภายในวันที่ได้รับแจ้งคําสั่งของศาลหรือโดยเร็วที่สุดพร้อมทั้งแจ้งให้ กองขีดทรัพย์สิน กองจําหน่ายทรัพย์สิน กองอายัดทรัพย์สิน กองบังคดีล้มละลาย 1-5 สํานักงาน วางทรัพย์กลางและสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคทราบ ข้อ ๔ การปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ปฏิบัติดังนี้ 4.1 เมื่อสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ได้รับแจ้งคําสั่งของศาลในคดีฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนี้ตามข้อ 3.2 แก้วให้บันทึกลงในระบบข้อมูลของสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และ แจ้งคําสั่งดังกล่าวโดยทางโทรสารไปยังสํานักงานบังคับคดีจังหวัดภายในเขตรับผิดชอบทราบภายในวันที่ ได้รับแจ้งหรือโดยเร็วที่สุด 4.2 เมื่อสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ได้รับแจ้ง สั่งตามข้อ 4.1 แล้ว ให้บันทึกลงสารบบไว้ เพื่อตรวจสอบการบังคับคดีแพ่ง หรือการบังคับคดีล้มละลายที่เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ 4.3 หน่วยราชการต่างๆ ในสังกัดกรมบังคับคดีเมื่อได้รับแจ้งคําสั่งศาลในคดีฟื้นฟูกิจการของ ลูกหนี้แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ธุรการของหน่วยงานราชการนั้นลงทะเบียนรับและนําเสนอต่อผู้บังคับบัญชาภายใน วันที่ได้รับหนังสือหรือรับโทรสารหรืออย่างช้าภายในเช้าวันทําการถัดไป 4.4 เมื่อได้รับแจ้งข้อมูลคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ แล้วแต่กรณี ให้หน่วยราชการต่างๆ ในสังกัดกรมบังคับคดีแจ้งข้อมูลดังกล่าวไปยังสํานักฟื้นฟูกิจการของ ลูกหนี้ทราบโดยเร็วที่สุด โดยทางโทรสาร หากเป็นกรณีของสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ให้สํานักงานบังคับคดี จังหวัดแจ้งสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคทราบด้วย ในกรณีที่ได้รับแจ้งว่าศาลได้มีคําสั่งรับคําร้องขอ ให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณาแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานผู้รับวางทรัพย์ตรวจสอบว่า ลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความ หรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสํานวนบังคับคดีแพ่ง หรือ สํานวนวางทรัพย์ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบหรือไม่ หากมี ให้แจ้งรายละเอียดแห่งคดีพร้อมส่งเอกสารที่จําเป็น และเกี่ยวข้องให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ทราบโดยเร็วที่สุด โดยให้ส่งทางโทรสารก่อนและให้ปฏิบัติ ตามคําขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 4.5 ในสํานวนบังคับคดีแพ่ง ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะออกไปทําการยืด อายัด ขาย ทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ถอนการยึด ถอนการอายัด ถอนการบังคับคดี หรือจ่ายเงิน ให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา หรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีแล้วแต่กรณี หรือในกรณีการวางทรัพย์หรือจ่ายเงิน ในสํานวนวางทรัพย์ นอกจากจะต้องตรวจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่แล้ว ให้ตรวจดูด้วย ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือไม่ด้วย หากมีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือ เจ้าพนักงานผู้รับวางทรัพย์ปฏิบัติตามข้อ 4.4 ข้อ ๕ การปฏิบัติเกี่ยวกับสํานวนทวงหนี้ การเพิกถอนการฉ้อฉล การเพิกถอนการกระทําอันเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้อื่น การรายงานศาลเพื่อมีคําสั่งให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งและการร้องขอให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนความผิดในทางอาญาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ปฏิบัติดังนี้ 5.1 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคําร้องขอให้ดําเนินการทวงหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 90/39 คําร้องขอให้ดําเนินการเพิกถอนการฉ้อฉล ตามมาตรา 90/40 คําร้องขอให้ดําเนินการเพิกถอนการกระทําอันเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 90/41 คําร้องขอให้ รายงานศาลเพื่อมีคําสั่งให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งหรือมีคําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 90/67 และ คําร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนความผิดในทางอาญาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการมีหนังสือทวงหนี้ หมายนัดสอบสวน หมายเรียก ตรวจสอบ หรือดําเนินการ อื่นใดตามกฎหมายภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําร้องหรือสํานวนแล้วแต่กรณี 5.2 ในการสอบสวนพยานหลักฐานในสํานวนทวงหนี้ จํานวนเพิกถอนการฉ้อฉล สํานวน เห็ดถอนการกระทําอันเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้อื่น สํานวนร้องขอให้ถอนผู้บริหารแผน และสํานวน สอบสวนความผิดทางอาญา ตามข้อ 5.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เนินการสอบสวน ติดต่อกันไปโดย ไม่เลื่อนการสอบสวนจนกว่าจะเสร็จการสอบสวนและมีความเห็น หรือคําสั่ง เว้นแต่มีเหตุจําเป็นที่จะต้องเลื่อนการสอบสวน แต่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคําสั่งอนุญาตให้เลื่อนการสอบสวนไปแล้วตามคําขอ ของคู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นจะขอเลื่อนการสอบสวนอีกไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุจําเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และความที่ขอเลื่อนแสดงให้เป็นที่พอใจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ว่าถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อนุญาตให้เลื่อนการสอบสวนต่อไปอีกจะทําให้เสียความยุติธรรม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจ อนุญาตให้เลื่อนการสอบสวนต่อไปได้เท่าที่จําเป็น โดยการเลื่อนการสอบสวนแต่ละครั้งให้เลื่อนไปได้ ไม่เกินกว่าครั้งละ 7 วัน เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย 5.3 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดําเนินการสอบสวน หรือตรวจสอบ หรือดําเนินการ อื่นใดตามข้อ 5.1 เสร็จให้ดําเนินการทําคําสั่งหรือความเห็นให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันเสร็จการสอบสวน หรือการตรวจสอบ หรือการดําเนินการอื่นใดแล้วแต่กรณี ในกรณีจําเป็นหรือมีเหตุขัดข้องที่ไม่อาจทําคําสั่ง หรือความเห็นให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานตามลําดับ ชั้นขออนุญาตขยายระยะเวลาต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณามีคําสั่ง ตามที่เห็นสมควรต่อไป ข้อ ๖ ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะลงนามหรือมีคําสั่งในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้จะ ต้องเสนออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อขอความเห็นชอบหรือมีคําสั่งก่อนจึงจะดําเนินการต่อไปได้ 6.1 คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อ พิจารณาแผนตามมาตรา 90/30 ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการที่มูลหนี้ไม่อาจกําหนดจํานวน ได้แน่นอน หนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Contingent liability) หนี้ที่มีเงื่อนไข (Condition precedent) มูลหนี้ที่ มีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่าหรือมีการโต้แย้งกล่าวอ้างว่าเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการฉ้อฉล หรือจากการสมยอม ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หรือมีมูลหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของหนี้ที่อาจขอรับชําระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนีนั้นๆ 6.2 คําสั่งในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ดังต่อไปนี้ 6.2.1 คําขอรับชําระหนี้มีจํานวนหนี้ที่ขอมาตั้งแต่ 100,000,000.- บาท (หนึ่งร้อยล้านบาท)ขึ้นไป 6.2.2 คําขอรับชําระหนี้ที่มีการโต้แย้งและมีจํานวนหนี้ที่ขอมาตั้งแต่ 10,000,000.- บาท(สิบล้านบาท) ขึ้นไป 6.2.3 กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน อันมิใช่การคํานวณหนผิดพลาดและจํานวนหนี้ที่ถูกยกคําขอมีจํานวนที่ขอมาตั้งแต่ 10,000,000.- บาท (สิบล้าน บาท) ขึ้นไป 6.3 ความเห็นในสํานวนทวงหนี้ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันหนี้ ลดยอดหนี้ หรือจําหน่ายชื่อ ลูกหนี้ซึ่งมีจํานวนทุนทรัพย์ตั้งแต่ 5,000,000.- บาท (ห้าล้านบาท ขึ้นไป 6.4 กรณีการทําความเป็นหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีกรณีขัดหรือแย้งกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย 6.5 ความเห็นควรดําเนินการร้องขอให้เพิกถอนหรือไม่เพิกถอนการฉ้อฉล หรือการกระทํา อื่นใดเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้อื่นในสํานวนเกลอน ตามมาตรา 90/40 และมาตรา 9041 6.6 ความเห็นควรรายงานหรือไม่ควรรายงานศาลให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตําแหน่งหรือมี คําสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 90/57 6.7 ความเห็นควรรายงานหรือไม่ควรรายงานศาลให้มีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือ คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 90/70 ยกเว้นเป็นกรณีที่ผู้บริหารของลูกหนี้หรือผู้บริหารแผนเป็นผู้อื่น คําร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 6.8 ความเห็นควรหรือไม่ควรร้องทุกข์หรือกล่าวโทษบุคคลใดต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนิน คดีอาญาในความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 6.9 คําสั่งหรือความเห็นไม่ดําเนินการตามมาตรา 90/39 มาตรา 90/40 มาตรา 90/41 มาตรา 90/57 และมาตรา 90/70 6.10 อุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์คําสั่งศาลในสํานวนทวงหนี้ สํานวนเพิกถอนการฉ้อฉลและ สํานวนเพิกถอนการให้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เมื่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีผู้ที่ได้รับมอบหมายมีคําสั่งประการใด ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการตามคําสั่งนั้นตามกฎหมายโดยเร็วต่อไปอย่างช้าไม่เกิน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบ คําสั่ง ส่วนคําสั่งตามข้อ 6.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่กําลังเสนอต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดี ผู้ที่ได้รับมอบหมายภายใน 3 วันนับแต่สอบสวนในเรื่องการโต้แย้งสิทธิออกเสียงลงคะแนนเสร็จและเมื่อได้รับ ความเห็นชอบจากอธิบดีกรมบังคับคดีแล้วให้ทําการประกาศคําสั่งดังกล่าวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน ข้อ ๗ การปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ปฏิบัติดังนี้ 7.1 ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน เมื่อเจ้าหนี้ได้ยื่นคําขอแสดงความประสงค์ จะเข้าประชุมเจ้าหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจหลักฐานแห่งความเป็นเจ้าหนี้ว่าเป็นเจ้าหนี้ที่อาจขอ รับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและลูกหนี้ได้ก่อนิติสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นขึ้นก่อนศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือ ไม่ เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับประกอบการมีคําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ออกเสียงลงคะแนนในจํานวน หนีเท่าใดในคําขอแสดงความประสงค์จะเข้าประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน ในกรณีที่มีการคัดค้านการ ออกเสียงลงคะแนนของเจ้าหนี้ที่ถูกคัดค้านนั้น แต่ถ้าไม่มีการคัดค้านการออกเสียงลงคะแนนของเจ้าหนี้รายได้ ให้เจ้าหนี้นั้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้เต็มตามจํานวนหนี้ตามที่เจ้าหนี้ระบุมาในคําขอดังกล่าว 7.2 ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถามลูกหนี้ และเจ้าหนี้ที่มาประชุมว่าจะคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายได้หรือไม่ ถ้ามีผู้คัดค้านการออกเสียงของ เจ้าหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นประธานในการประชุมเจ้าหนี้นั้นดําเนินการให้เจ้าหนี้ออกเสียงลง คะแนนเลือกผู้นําแผนในบัตรลงมติแต่ยังไม่ให้มีการรวมคะแนน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการตามข้อ 7.3 เสียก่อน สําหรับบัตรลงมติให้เก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยและให้มีคําสั่งพักการประชุมเจ้าหนี้ และนัดฟังคําสั่งว่าจะอนุญาตให้เจ้าหนี้ที่ถูกคัดค้านการออกเสียงมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในจํานวนหนี้ หรือไม่จํานวนเท่าใด และให้ดําเนินการรวมคะแนนในบัตรลงมติพร้อมแจ้งผลการลงมติดังกล่าวให้ ประชุมเจ้าหนี้ทราบในการประชุมเจ้าหนี้คราวต่อไป ทั้งนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดวันนัดประชุม เจ้าหนี้ภายใน 15 วันนับแต่วันประชุม 7.3 สํานวนคําขอแสดงความประสงค์จะเข้าประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้นําแผนของเจ้าหนี้ที่ถูก คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการสอบถามหรือสอบสวนผู้คัดค้าน เจ้าหนี้ผู้ถูกคัดค้านและลูกหนี้ เกี่ยวกับเรื่องที่คัดค้าน ถ้าบุคคลดังกล่าวมาประชุม จากนั้นให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสํานวนคําขอแสดง ความประสงค์จะเข้าประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้ทําแผนของเจ้าหนี้ดังกล่าวพร้อมเสนอคําสั่งว่าจะให้เจ้าหนี้ดังกล่าว ออกเสียงลงคะแนนได้หรือไม่ จํานวนเท่าใด ตามลําดับชั้นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือ รองอธิบดีผู้ที่ได้ รับมอบหมายเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็วก่อนจึงจะดําเนินการต่อไปได้ 7.4 ในการออกเสียงลงคะแนนเพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน กรณีที่มีผู้ถูกเสนอชื่อเป็นผู้ทําแผน หลายราย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้เจ้าหนี้ที่มาในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผน ทราบและให้ออกเสียงลงคะแนนว่าจะเลือกบุคคลใดเป็นผู้ทําแผน 7.5 ในกรณีที่มีผู้ถูกเสนอชื่อเป็นผู้ทําแผนเพียงรายเดียว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ เจ้าหนี้ที่มาในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทําแผนทราบและให้ออกเสียงลงคะแนนว่าจะเลือกหรือ ไม่เลือกบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทําแผน 7.6 ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการประชุมเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาหรือปรึกษาหารือในหัวข้อใดก็ตาม ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงาน ผลการประชุมให้ศาลทราบภายในวันรุ่งขึ้น ข้อ ๘ การกํากับดูแลการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ปฏิบัติดังนี้ 8.1 กรณีที่ผู้บริหารแผนมิได้ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนภายในกําหนดให้ส่วนจัด กิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูมีหนังสือภายใน 7 วันนับแต่วันครบกําหนดส่งรายงานผลการ ปฏิบัติงานตามแผนถึงผู้บริหารแผนให้ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ รับหนังสือ โดยให้ระบุในหนังสือด้วยว่า “ หากผู้บริหารแผน ไม่ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนตาม กําหนดนัดจะถือว่าผู้บริหารแผนไม่สามารถดําเนินการตามแผนได้ " ถ้าผู้บริหารแผนได้รับหนังสือดังกล่าว โดยชอบ แต่มิได้ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนตามกําหนดนัด และมิได้ขอขยายระยะเวลาส่งรายงาน ผลการปฏิบัติงานตามแผน ให้มีหนังสืออีกครั้งภายใน 7 วัน นับแต่วันครบกําหนดส่งตามหนังสือครั้งแรก ให้ผู้บริหารแผนส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยให้ระบุใน หนังสือด้วยว่า “หากผู้บริหารแผนไม่ส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนตามกําหนดนัด เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จะพิจารณาดําเนินการหรือรายงานขอให้ศาลมีคําสั่งตามที่เห็นสมควรต่อไป 8.2 ถ้าผู้บริหารแผนได้รับหนังสือครั้งหลังดังกล่าวโดยชอบ แต่มิได้ส่งรายงานผลการ ปฏิบัติงานตามแผนตามกําหนดนัด และมิได้ขอขยายระยะเวลาส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน ให้ส่วน จัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูรายงานส่วนกฎหมายภายใน 7 วันนับแต่วันครบกําหนด เพื่อรายงาน ขอให้ศาลมีคําสั่งตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 90/67 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 8.3 ในกรณีที่ผู้บริหารแผนขอขยายระยะเวลาการส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน ให้ ผู้อํานวยการส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟู เป็นผู้พิจารณาอนุญาตขยายระยะเวลาตามที่ เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน เว้นแต่มีพฤติการณ์พิเศษให้ผู้อํานวยการสํานัก ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต 8.4 ในกรณีที่ผู้บริหารแผนส่งรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผน หากปรากฏว่าผู้บริหารแผน ไม่ได้ดําเนินการตามแผนหรือไม่เป็นไปตามแผน ให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูตรวจสอบ หรือสอบถามผู้บริหารแผนถึงเหตุที่ผู้บริหารแผนไม่ดําเนินการตามแผน หรือไม่เป็นไปตามแผน ตลอดจน แนวทางในการดําเนินการแก้ไข ถ้าเห็นว่าผู้บริหารแผนมีเหตุผลเพียงพอในเชิงพาณิชย์ หรือธุรกิจของลูกหนี้ และมีแนวทางในการดําเนินการแก้ไขได้ให้รายงานส่วนกฎหมายเพื่อรายงานศาลทราบและพิจารณาต่อไป แต่ถ้าเห็นว่าผู้บริหารแผน ไม่มีเหตุผลเพียงพอในเชิงพาณิชย์หรือธุรกิจของลูกหนี้และไม่มีแนวทางแก้ไข หรือผู้บริหารแผนปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต หรือผู้บริหารแผนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ให้รายงานส่วนกฎหมาย โดยเร็ว เพื่อรายงานตามลําดับชั้นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับ มอบหมายเพื่อพิจารณาดําเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป 8.5 หากปรากฏจากรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนของผู้บริหารแผน หรือคําร้อง - ของเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้ที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ผู้บริหารแผนไม่สามารถชําระหนี้ให้ แก่เจ้าหนี้ได้ตามกําหนดระยะเวลาที่กําหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ สองไตรมาสติดต่อกัน ให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูตรวจสอบและพิจารณาว่า ภาพรวมผลการดําเนินงานทางการเงินว่าลูกหนี้มีรายได้จากการขายหรือบริการ กําไรขั้นต้น กําไร (ขาดทุน) สุทธิก่อนรายการพิเศษ กําไร (ขาดทุน) สุทธิหลังหักรายการพิเศษ เป็นอย่างไร ลูกหนี้ยังคงประกอบ กิจการอยู่หรือไม่ สาเหตุหรือพฤติการณ์ที่ทําให้ผู้บริหารแผนไม่สามารถชําระหนี้หรือดําเนินการตามแผนได้ ผู้บริหารแผนชําระหนี้หรือดําเนินการตามแผนไปได้มากน้อยเพียงใด ผู้บริหารแผนยังคงมีความสามารถ ชําระหนี้ หรือดําเนินการตามแผนต่อไปได้หรือไม่ และผู้บริหารแผนจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ หรือไม่อย่างไร ภายในกําหนดระยะเวลาเท่าใด รายงานและเสนอความเห็นต่อส่วนกฎหมายว่าสมควรจะ ดําเนินการประการใด เมื่อส่วนกฎหมาย ได้รับรายงานและความเห็นจากส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับ ดูแลการฟื้นฟู ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาและเสนอความเห็นตามลําดับชั้นต่อผู้อํานวยการสํานัก ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้พิจารณาดําเนินการ เว้นแต่เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์สูงเกินกว่าท่าพันล้านบาท คดีสําคัญ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน คดีที่ผู้บริหารแผนปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ เจ้าหนี้หรือลูกหนี้หรือกระทําผิดทางอาญาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาและเสนอความเห็นตามลําดับชั้นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อ พิจารณาค่าเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป 8.6 เมื่ออธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายหรือผู้อํานวยการ สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ แล้วแต่กรณี มีคําสั่งตาม 8.4 และ 8.5 ประการใด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการตามคําสั่งนั้นโดยเร็วต่อไป อย่างช้าไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคําสั่ง ในกรณีจําเป็นหรือ มีเหตุขัดข้องที่ไม่อาจ ดําเนินการได้ภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานขอ อนุญาตขยายระยะเวลาต่อผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อพิจารณามีคําสั่งตามที่เห็นสมควร ต่อไป 8.7 เมื่อระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุดลง ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการจะได้ดําเนินการเป็น ผลสําเร็จตามแผนหรือไม่ ให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟูรายงานส่วนกฎหมายโดยเร็วเพื่อ รายงานศาลทราบและพิจารณาภายใน 14 วัน นับแต่ระยะเวลาดําเนินการตามแผนสิ้นสุด ตามมาตรา 90/70 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ข้อ ๙ การสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ปฏิบัติดังนี้ 9.1 ในกรณีที่สํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ถูกสวมสิทธิ์มีผู้ร้อง คัดค้านคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือมีการอุทธรณ์คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต ให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ของศาลล้มละลายกลาง ผู้ร้องขอสามสิทธิชอบที่จะต้องยื่นคําร้องต่อศาลที่คดีค้าง พิจารณาอยู่ จึงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งยกคําร้องของผู้ร้องขอสวมสิทธิ 9.2 ในกรณีที่สํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ถูกสวมสิทธิ อยู่ระหว่างการพิจารณาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งอนุญาตให้ได้รับ ชําระหนี้ คดีถึงที่สุดแล้ว โดยไม่มีกระบวนพิจารณาขั้นคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการค้างพิจารณา อยู่ในศาล ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งรับคําร้อง นัดพิจารณาคําร้อง สําเนาคําร้องให้เจ้าหนี้ที่ถูกสวมสิทธิ และผู้ทําแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี หากจะคัดค้านประการใด ให้คัดค้านก่อนวันนัด หรือในวันนัด พิจารณา หากไม่คัดค้านภายในกําหนด ถือว่าไม่ติดใจคัดค้าน โดยให้ผู้ร้องขอสวมสิทธินําส่งหมายนัดและ สําเนาคําร้องภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีคําสั่ง และแถลงผลการส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายนัดและ สําเนาคําร้อง หากไม่ดําเนินการ จะถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจยื่นคําร้องดังกล่าว 9.3 ถ้าไม่มีผู้คัดค้านคําร้องขอสวมสิทธิของผู้ร้อง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่ง อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามจํานวนหนี้ที่ผู้ร้อง ขอสวมสิทธิ์ เว้นแต่จะมีเหตุผลสมควรประการอื่น หรือปรากฏว่าแผนที่ศาลมีคําสั่งเห็นชอบแล้วกําหนดวิธี ปฏิบัติ เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง หรือโอนหนี้ไว้เป็นอย่างอื่น 9.4 ถ้ามีผู้คัดค้านคําร้องขอสวมสิทธิของผู้ร้อง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและ พิจารณามีคําสั่ง เมื่อเสร็จการสอบสวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกําหนดวันนัดฟังคําสั่งให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องทราบในรายงานการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 9.5 ความในข้อ 9.2 มิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ 9.5.1 การควบรวม และการโอนกิจการโดยผลของกฎหมาย เช่น ตามพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 เป็นต้น 9.5.2 การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือการโอนสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ตามกฎหมาย เช่น ตามพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 พระราชกําหนด บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 เป็นต้น 9.5.3 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลาย ซึ่งผู้ซื้อได้ชําระราคา ครบถ้วนและได้บอกกล่าวการโอนสิทธิไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 9.5.4 การรับช่วงสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 9.5.5 การโอนสิทธิเรียกร้อง หรือการโอนหนี้ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้ทําเป็น หนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนและได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังผู้ที่มีอํานาจกระทําการแทน ลูกหนี้ หรือผู้ที่มีอํานาจกระทําการแทนลูกหนี้ได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นเป็นหนังสือโดยถูกต้องตาม กฎหมาย ในกรณีดังกล่าวข้างต้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคําสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิแทน เจ้าหนี้ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ โดยไม่ต้องนัดพิจารณาคําร้อง เว้นแต่จะมีเหตุผล - สมควรประการอื่น หรือปรากฏว่าแผนที่ศาลมีคําสั่งเห็นชอบแล้วกําหนดวิธีปฏิบัติ เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง หรือ โอนหนี้ไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งประการใดให้แจ้งคําสั่งให้ ผู้ร้องขอสวมสิทธิ เจ้าหนี้ที่ถูกสวมสิทธิ และผู้ทําแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณีทราบ อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 เดือน กันยายน พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,169
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 386/2549 เรื่อง การคำนวณและแสดงบัญชีรับ - จ่ายในคดีแพ่ง
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 386/2549 เรื่อง การคํานวณและแสดงบัญชีรับ - จ่ายในคดีแพ่ง ------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการคํานวณและการทําบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย (บัญชีรายละเอียดแสดงจํานวนเงินทั้งหมดหรือบัญชีส่วนเฉลี่ย) ในคดีแพ่งของกรมบังคับคดี ดําเนินไป ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 537/2548 เรื่อง การคํานวณและแสดงบัญชี รับ-จ่ายในคดีแพ่ง ข้อ ๒ เมื่อสํานวนบังคับคดีแพ่งเรื่องใดเสร็จสิ้น หรือต้องดําเนินการในส่วนการคํานวณ การคิดค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งสํานวนให้นักบัญชีดําเนินการในทันที ข้อ ๓ ในการทําบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ให้นักบัญชีและผู้ตรวจสอบลงลายมือชื่อใน บัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้คิดและผู้ตรวจสอบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้อง ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมายด้วย ข้อ ๔ ในกรณีมีผู้คัดค้านบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ให้นักบัญชีส่งเรื่องให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีผู้รับผิดชอบดําเนินการตามกฎหมายต่อไป กรณีไม่มีผู้คัดค้านบัญชี ให้นักบัญชีจ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้ตามบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายนั้น ข้อ ๕ เมื่อได้จัดทําบัญชีเสร็จแล้วและไม่มีผู้คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือผู้ได้รับ มอบหมายรายงานบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้ศาลทราบ ข้อ ๖ เมื่อนักบัญชีได้รับสํานวนให้ทําการคํานวณหรือทําบัญชีแสดงรายการจ่ายให้ เนินการให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลา ดังต่อไปนี้ 4 6.1 การคํานวณจํานวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาต้อง ชําระให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ได้รับสํานวนหรืออย่างช้าในวันทําการถัดไป 6.2 การแสดงบัญชีรับจ่ายคดีอายัด ในกรณีไม่มีเจ้าหนีอื่นขอเฉลี่ยให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 วันทําการ กรณีมีเจ้าหนี้อื่นขอเฉลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับสํานวน 6.3 การทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินได้จากการขายทอดตลาดให้แล้วเสร็จ กรณีมีเจ้าหนี้อื่นขอจงให้แล้วเสร็จภายใน 10 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับสํานวน ให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบการสํานวนหรือการทําบัญชีตามข้อ 6.2 และ 6.3 ภายใน 3 วันทําการ ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทําการ ในกรณีที่มีความจําเป็นไม่อาจปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้ให้รายงานเหตุผลและความจําเป็นตามลําดับชั้น ไปยังอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายภายใน 3 วัน นับจากวันที่ มีความจําเป็นดังกล่าว ข้อ ๗ ให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกองหรือผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดหรือสาขารับผิดชอบในการควบคุมดูแลให้นักบัญชีปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคดี
5,170
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 240/2549 เรื่อง การกำกับดูแลการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 240/2549 เรื่อง การกํากับดูแลการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ----------------------- เพื่อให้การกํากับดูแลการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ ของผู้บริหารแผนแล้ว หากปรากฏจากรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนของผู้บริหารแผน หรือคําร้อง ของเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้ที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ผู้บริหารแผนไม่สามารถ ชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ตามกําหนดระยะเวลาที่กําหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผน ฟื้นฟูกิจการสองไตรมาสติดต่อกัน ให้เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีตรวจสอบและพิจารณาว่าภาพรวม ผลการดําเนินงานทางการเงินว่าลูกหนี้มีรายได้จากการขายหรือบริการ กําไรขั้นต้น กําไร/(ขาดทุนสุทธิ) ก่อนรายการพิเศษ กําไร (ขาดทุน) สุทธิหลังหักรายการพิเศษ เป็นอย่างไร ลูกหนี้ยังคงประกอบกิจการ อยู่หรือไม่ สาเหตุหรือพฤติการณ์ที่ทําให้ผู้บริหารแผนไม่สามารถชําระหนี้หรือดําเนินการตามแผนได้ ประการใด ผู้บริหารแผนชําระหนี้หรือดําเนินการตามแผนไปได้มากน้อยเพียงใด ผู้บริหารแผนยังคงมีความ สามารถชําระหนี้หรือดําเนินการตามแผนต่อไปได้หรือไม่ และผู้บริหารแผนจะสามารถแก้ไขปัญหา ดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร ภายในกําหนดระยะเวลาเท่าใด รายงานเสนอต่อผู้อํานวยการส่วนจัดกิจการ ทรัพย์สินและกํากับดูแลโดยเร็วเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นต่อส่วนกฎหมายว่าสมควรจะดําเนินการประการใด ข้อ ๒ เมื่อส่วนกฎหมาย ได้รับรายงานและความเห็นจากผู้อํานวยการส่วนจัดกิจการทรัพย์สิน และกํากับดูแล ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาและเสนอความเห็นตามลําดับขั้นต่อผู้อํานวยการ สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้พิจารณาดําเนินการ เว้นแต่เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์สูงเกินกว่าห้าพันล้านบาท คดีสําคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชน คดีที่ผู้บริหารแผนปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือก่อให้เกิด ความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้หรือกระทําผิดทางอาญาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ พิจารณาและเสนอความเห็นตามลําดับชั้นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือรองอธิบดี กรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาดําเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป ข้อ ๓ เมื่อผู้อํานวยการสํานักในกิจการของลูกหนี้ อธิบดีกรมบังคับคดี หรือรองอธิบดี กรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี มีคําสั่งประการใด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เนินการตามคําสั่งนั้นโดยเร็วต่อไป อย่างช้าไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคําสั่ง ในกรณีจําเป็นหรือมีเหตุ ขัดข้องที่ไม่อาจดําเนินการได้ภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงาน ขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อพิจารณามีคําสั่งตามที่เห็น สมควรต่อไป ข้อ ๔ ให้ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้อํานวยการส่วนกฎหมาย และผู้อํานวยการ ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินและกํากับดูแลการฟื้นฟู กํากับดูแลและควบคุมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคําสั่งนี้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,171
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 140/2549 เรื่อง การสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 140/2549 เรื่อง การสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ -------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําร้อง ขอสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีที่สํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ถูกสวมสิทธิมีผู้ร้อง คัดค้านคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือมีการอุทธรณ์คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต ให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ของศาลล้มละลายกลาง ผู้ร้องขอสวมสิทธิชอบที่จะต้องยื่นคําร้องต่อศาล คดีค้าง พิจารณาอยู่ จึงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งยกคําร้องของผู้ร้องขอสวมสิทธิ ข้อ ๒ ในกรณีที่สํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ถูกสวมสิทธิ อยู่ระหว่างการพิจารณาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งอนุญาตให้ได้รับ ชําระหนี้ คดีถึงที่สุดแล้ว โดยไม่มีกระบวนพิจารณาชั้นคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการค้างพิจารณา อยู่ในศาล ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งรับคําร้อง นัดพิจารณาคําร้อง สําเนาคําร้องให้เจ้าหนี้ที่ถูกสวมสิทธิ และผู้ทําแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี หากจะคัดค้านประการใด ให้คัดค้านก่อนวันนัด หรือในวันนัด พิจารณา หากไม่คัดค้านภายในกําหนด ถือว่าไม่ติดใจคัดค้าน โดยให้ผู้ร้องขอสวมสิทธินําส่งหมายนัดและ สําเนาคําร้องภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีคําสั่ง และแถลงผลการส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายนัดและ สําเนาคําร้อง หากไม่ดําเนินการ จะถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจยื่นคําร้องดังกล่าว ข้อ ๓ สํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ถูกสวมสิทธิที่คดีถึงที่สุด และได้ดําเนินการส่งเก็บแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้รับผิดชอบแจ้งฝ่ายบริหารงานทั่วไปเบิกสํานวนคําขอ รับชําระหนี้ดังกล่าวมาดําเนินการก่อนวันนัดพิจารณา ข้อ ๔ ถ้าไม่มีผู้คัดค้านคําร้องขอสวมสิทธิของผู้ร้อง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่ง อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามจํานวนหนี้ที่ผู้ร้อง ขอสวมสิทธิ เว้นแต่จะมีเหตุผลสมควรประการอื่น หรือปรากฏว่าแผนที่ศาลมีคําสั่งเห็นชอบแล้วกําหนดวิธี ปฏิบัติ เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง หรือโอนหนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๕ ถ้ามีผู้คัดค้านค้าร้องขอสวมสิทธิของผู้ร้อง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและ พิจารณามีคําสั่ง เมื่อเสร็จการสอบสวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกําหนดวันนัดฟังคําสั่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทราบในรายงานการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้ในสํานวนคําขอ รับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการแล้ว ให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไปบัน ข้อ ๗ ความในข้อ 2 มิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ 7.1 การควบรวม และการโอนกิจการโดยผลของกฎหมาย เช่น ตามพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 เป็นต้น 7.2 การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือการโอนสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ตามกฎหมาย เช่น ตามพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 พระราชกําหนด บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 เป็นต้น 7.3 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลาย ซึ่งผู้ซื้อได้ชําระราคา ครบถ้วนและได้บอกกล่าวการโอนสิทธิไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 7.4 การรับช่วงสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 7.5 การโอนสิทธิเรียกร้อง หรือการโอนหนี้ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้ทําเป็น หนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนและได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังผู้ที่มีอํานาจกระทําการ แทนลูกหนี้ หรือผู้ที่มีอํานาจกระทําการแทนลูกหนี้ได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นเป็นหนังสือ โดยถูกต้อง ตามกฎหมาย ในกรณีดังกล่าวข้างต้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคําสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิ แทนเจ้าหนี้ในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ โดยไม่ต้องนัดพิจารณาคําร้อง เว้นแต่จะมี เหตุผลสมควรประการอื่น หรือปรากฏว่าแผนที่ศาลมีคําสั่งเห็นชอบแล้วกําหนดวิธีปฏิบัติ เรื่องการโอนสิทธิ เรียกร้อง หรือโอนหนี้ไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งประการใดให้แจ้งคําสั่งให้ผู้ร้อง ขอสวมสิทธิ์ เจ้าหนี้ที่ถูกสวมสิทธิ์ และผู้ทําแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณีทราบ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ 2549 (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,172
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 417/2549 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คำคู่ความหรือเอกสาร
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 417/2549 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร -------------------------- ด้วยเห็นเป็นการสมควรให้กําหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร สําหรับพนักงานเดินหมายกรมบังคับคดีเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน จึงให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 125/2538 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการ ส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร ลงวันที่ 10 มีนาคม 2538 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “1. หมาย คําคู่ความ หรือเอกสารที่คู่ความต้องนําส่ง 1.1 ชั้นใน ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 120 บาท 1.2 ชั้นกลาง ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 150 บาท 1.3 เขตชั้นนอก ใ จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะไม่เกิน 200 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,173
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 451/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานสำนวนเพิกถอน สำนวนร้องขัดทรัพย์ สำนวนปฏิบัติตามสัญญา สำนวนหักกลบลบหนี สำนวนร้องกันส่วน
คําสั่งกรมบังคับ ที่ 451/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานสํานวนเพิกถอน สํานวนร้องขัดทรัพย์ สํานวนปฏิบัติตามสัญญา สํานวนหักกลบลบหนี้ สํานวนร้องกันส่วน ------------------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในสํานวนเพิกถอนการโอน สํานวนร้องขัดทรัพย์ สํานวนปฏิบัติตามสัญญา สํานวนหักกลบลบหนี้ และสํานวนร้องขอกันส่วน ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 228/2523 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2523 เรื่อง การขายย จะต้องมีการโอนทะเบียนในคดีล้มละลาย กรณีการเพิกถอนการโอน 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 1222533 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2553 เรื่อง การส่งคําร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ข้อ ๒ เมื่อมีคําสั่งให้ตั้งสํานวนเพิกถอนการโอนหรือการกระทํา สํานวนร้องขัดทรัพย์ สํานวน ปฏิบัติตามสัญญา สํานวนหักกลบลบหนี้ หรือสํานวนร้องขอกันส่วนและจ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รับผิดชอบดําเนินการแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกหมายเรียก หรือออกหมายนัด สอบสวนผู้เกี่ยวข้อง และให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ 2.1 สํานวนเพิกถอนการโอนหรือการกระทํา เมื่อเรียกผู้รับโอนหรือผู้รับการกระทํารวมทั้งบุคคลภายนอกมาสอบสวนเสร็จแล้ว ให้หมายนัดสอบสวนพยานเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ เจ้าหนี้ผู้ร้องขอให้เพิกถอน เจ้าหนี้มีประกัน (ถ้ามี) และลูกหนี้มาสอบสวนต่อไป ในกรณีทรัพย์สินที่จะสอบสวนเป็นทรัพย์มีทะเบียนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มี หนังสือขอความร่วมมือไปยังเจ้าพนักงานผู้รับจดทะเบียนขอให้เจ้าพนักงานดังกล่าวแจ้งแก่ผู้มาติดต่อ ขอทํานิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวทราบว่าทรัพย์ดังกล่าวอยู่ระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวน เรื่องเพิกถอนการโอนหรือการกระทํา 2.2 ชนวนร้องขัดทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่มีการร้องขัดทรัพย์ไว้ และสั่ง ในคําร้องให้ผู้ร้องจัดทําสําเนาคําร้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ลูกหนี้ เจ้าหนี้มีประกัน(ถ้ามี) พร้อมวางเงิน ค่าใช้จ่ายจํานวน 2,000 บาท ภายใน 7 วันนับแต่ยื่นคําร้อง หากผู้ร้องเพิกเฉยให้ถือว่าทั้งคําร้องและมีคําสั่ง จําหน่ายคําร้องของผู้ร้องออกจากสารบบ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดพร้อมสําเนาคําร้อง โดยในหมายนัดสอบสวน ระบุให้ยื่นคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนหรือภายในวันนัดสอบสวน ในการสอบสวนพยานของผู้ร้องขัดทรัพย์ เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ต้องให้คู่ความฝ่ายอื่นซักค้านพยานด้วย หากกรณีมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคําร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเรีย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจสั่งให้ผู้ร้องวางประกันแก่กองทรัพย์สินตามจํานวนที่เห็นสมควร โดยให้เสนอความเห็นตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาให้ความเห็นชอบ ประวิงคดี 2.3 สํานวนปฏิบัติตามสัญญา ในการสอบสวนผู้ขอปฏิบัติตามสัญญาหรือคู่สัญญา ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่ง หมายนัดแจ้งวันนัดสอบสวนพร้อมสําเนาคําร้องขอปฏิบัติตามสัญญาหรือเรื่องเกี่ยวกับสัญญาที่จะสอบสวน ให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ลูกหนี้ ทราบเพื่อให้ยื่นคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนหรือภายใน วันนัดสอบสวนและมากด้านในวันนัด และเมื่อสอบสวนผู้ขอปฏิบัติตามสัญญาและผู้ที่เกี่ยวข้องเสร็จ แล้วให้ทําการสอบสวนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และลูกหนี้ต่อไป หักกลบลบหนี้ 2.4 สํานวนหักกลบลบหนี้ ในการสอบสวนผู้ขอหักกลบลบหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดแจ้งวันนัด สอบสวนพร้อมสําเนาคําขอหักกลบลบหนี้ให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ลูกหนี้ ทราบเพื่อให้ยื่นคําคัดค้านต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนหรือภายในวันนัดสอบสวนและมากด้านในวันนัด และเมื่อสอบสวนขอ หักกลบลบหนี้เสร็จแล้วให้ทําการสอบสวนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และลูกหนี้ต่อไป 2.5 สํานวนร้องขอกันส่วน ในการสอบสวนผู้ร้องขอกันส่วน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดแจ้งวันนัด สอบสวนพร้อมสําเนาคําร้องขอกันส่วนให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ลูกหนี้ ทราบเพื่อให้ยื่นคําคัดค้านต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนหรือภายในวันนัดสอบสวนและมาซักด้านในวันนัด และเมื่อสอบสวนผู้ร้อง ขอกันส่วนเสร็จแล้วให้ทําการสอบสวนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และลูกหนี้ต่อไป ข้อ ๓ การนัดสอบสวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดวันนัดสอบสวนผู้ร้องหรือผู้เกี่ยวข้อง รวม 2 นัด ห่างกันไม่เกิน 15 วันและแจ้งไปด้วยว่าเมื่อถึงกําหนดนัดถ้าผู้ร้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีพยาน ไปให้การสอบสวนโดยแจ้งเหตุขัดข้องให้ทราบหรือร้องขอเลื่อนคดี ร้องหรือผู้เกี่ยวข้องยินยอมให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ค้าเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ โดยถือว่าฝ่ายไม่มาไม่มีพยานหรือไม่ติดใจ พยานมาให้การสอบสวน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทําความเห็นหรือคําสั่งตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ ใน สํานวน การเลื่อนวันนัดสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ว่ากรณีใดๆ ให้พิจารณาเหตุที่ ขอเลื่อนโดยเคร่งครัดและให้เลื่อนกรณีที่จําเป็น แต่ทั้งนี้ไม่ให้เลื่อนไปเกินกว่า 20 วันนับแต่วันขอเลื่อน และให้กําชับว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนอีกไม่ว่าด้วยเหตุอันใดๆ หากเหตุที่จะเลื่อนไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าไม่มีพยานหรือไม่ติดใจนําพยานมาให้การสอบสวน ข้อ ๔ เมื่อได้ทําการสอบสวนพยานหลักฐานหมดทุกฝ่ายแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ พิจารณาทําความเห็นหรือคําสั่งให้เสร็จภายใน 15 วันนับแต่มีคําสั่งให้ทําความเห็นหรือคําสั่งและภายใต้ เวลาที่กฎหมายกําหนดเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นเพื่อมีคําสั่งต่อไป ข้อ ๕ ความเห็นหรือคําสั่งในกรณีดังต่อไปนี้ให้เสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งการหรือเห็นชอบจึงจะดําเนินการต่อไปได้ 5.1 ความเห็นให้เพิกถอนหรือไม่เพิกถอนการฉ้อฉล การโอนหรือการกระทํา 5.2 ความเห็นไม่สมควร ดําเนินการตามมาตรา 113 หรือมาตรา 115 5.3 คําสั่งถอนหรือไม่ถอนการยึดทรัพย์ในสํานวนร้องขัดทรัพย์ 5.4 คําสั่งปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา 5.5 คําสั่งอนุญาตให้หักกลบลบหนี้หรือไม่อนุญาต 5.6 คําสั่งอนุญาตให้กับส่วนหรือไม่อนุญาต ข้อ ๖ กรณีที่อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายมีความเห็นให้เพิกถอนการฉ้อฉล การโอนหรือ การกระทํา ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําคําร้องยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันมีความเห็น ข้อ ๗ เมื่ออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายมีคําสั่งในสํานวนร้องขัดทรัพย์ สํานวนปฏิบัติ ตามสัญญา สํานวนหักกลบลบหนี้ สํานวนร้องขอกันส่วนแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออกหมายแจ้ง คําสั่งให้ผู้ร้อง คู่ความ หรือผู้มีส่วนได้เสียทราบภายใน 3 วันนับแต่มีคําสั่ง ข้อ ๘ กรณีมีการยื่นคําร้องต่อศาลในสํานวนเพิกถอน หรือมีการต่อสู้คดีในสํานวนร้องจัดทรัพย์ สํานวนปฏิบัติตามสัญญา สํานวนหักกลบลบหนี สํานวนร้องขอกันส่วนเมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาและเสนอความเห็นว่าควรอุทธรณ์ หรือไม่อุทธรณ์ ฎีกา หรือไม่ฎีกา คําพิพากษาหรือคําสั่งศาลนั้นต่ออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายก่อนที่จะครบกําหนดระยะเวลา อุทธรณ์หรือฎีกา ไม่น้อยกว่า 15 วัน เว้นแต่กรณีมีเหตุขัดข้องที่มิอาจก้าวล่วงได้ ข้อ ๙ เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นโดยเร็วที่สุด ข้อ ๑๐ เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการโอนที่ดินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่ จะต้องจดทะเบียนการโอน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รีบดําเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนกลับมาเป็น ของลูกหนี้ก่อนการนําทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่น ข้อ ๑๑ เมื่อมีการตั้งสํานวนเพิกถอนการโอนหรือการกระทํา สํานวนร้องขัดทรัพย์ สํานวน ปฏิบัติตามสัญญา สํานวนหักกลบลบหนี้ หรือสํานวนร้องขอกันส่วนแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกเพิกถอน ผู้ร้องขัดทรัพย์ ขอปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขอหักกลบลบหนี้ หรือผู้ร้องขอร้องกันส่วน มีภูมิลําเนาอยู่ในเขต จังหวัดที่ลูกหนี้รายใดมีภูมิลําเนา ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางส่งสํานวนให้สํานักงานบังคับคดี ส่วนภูมิภาคนั้นดําเนินการสอบสวน และทําความเห็นหรือคําสั่ง โดยดําเนินการตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และ ข้อ 5 รวมทั้งแจ้งความเห็นหรือคําสั่งนั้นให้คู่ความทราบจนเสร็จการ ตลอดทั้งมีอํานาจสั่งคําร้อง คําขอ ต่างๆ อันเกี่ยวกับสํานวนดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนภูมิภาคดําเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้วให้ส่งสํานวน ทั้งหมดคืนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางเพื่อรวบรวมไว้ การยื่นคําร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉล การโยนหรือการกระทํา การยื่นคําให้การหรือยื่น กํากับก้านคําร้องคัดค้านคําสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฎีกา หรือแก้ฎีกา ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางเป็นผู้ดําเนินการในชั้นศาลจนเสร็จการ อนึ่ง หากค่าสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,174
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 454/2549 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
คําสั่งกรมบังคดี ที่ 454/2549 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ------------------------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายดําเนินไปด้วย ความเรียบร้อย เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นประโยชน์แก่ความและผู้มาติดต่อราชการ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 136/2530 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2530 เรื่อง การขอตรวจ คัดสําเนา หรือถ่ายภาพเอกสารสํานวนคดีล้มละลาย 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 238/2530 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2530 เรื่อง การตรวจสํานวนการบังคับคดีล้มละลายในส่วนกลาง 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 82/2553 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2533 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในส่วนภูมิภาค 1.4 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 151/2533 ลงวันที่ 30 เมษายน 2533 เรื่อง การตรวจ สอบสํานวนการบังคับคดีล้มละลายในส่วนภูมิภาค 1.5 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 366/2533 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2553 เรื่อง การตรวจและ ควบคุมการปฏิบัติ สํานวน 1.6 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 337/2535 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2554 เรื่อง การปฏิบัติ หน้าของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในสํานวนกิจการและทรัพย์สิน 1.7 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 307/2540 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2540 เรื่อง การปฏิบัติ หน้าที่ของผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ข้อ ๒ การขอตรวจคัดสําเนาหรือภาพถ่ายเอกสารในสํานวนคดีล้มละลายนอกจากที่ กําหนดไว้ในข้อ 3 ให้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 54 มาบังคับใช้โดยอนุโลม แต่การสั่งไม่อนุญาตโดยเหตุผลนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องได้รับความ เห็นชอบจากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย สําหรับในส่วนภูมิภาคให้อยู่ในดุลยพินิจ ของผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี จังหวัด หรือสาขาแล้วแต่กรณี ข้อ ๓ การอนุญาตให้ตรวจคัดสําเนาหรือถ่ายภาพทําให้การของผู้ถูกเพิกถอนการโอนหรือ การกระทํา ผู้ถูกทวงหนี้ ผู้ร้องขัดทรัพย์ หรือผู้ร้องขอปฏิบัติตามสัญญา จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับ ความเห็นชอบจากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย สําหรับในส่วนภูมิภาคให้อยู่ในดุลยพินิจ ของผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี จังหวัดหรือสาขาแล้ว กรณี ข้อ ๔ การตรวจ คัดสําเนาหรือถ่ายภาพเอกสารดังกล่าวข้างต้น ให้กระทําภายในบริเวณ กรมบังคับคดีหรือสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าพนักงานผู้รับ ผิดชอบอย่างใกล้ชิด โดยคํานึงถึงความปลอดภัยของเอกสารนั้นๆ ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยอนุโลม อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 - (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,175
คำสั่งกรมบังคับคดี 453/2549 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เวรสั่ง
คําสั่งกรมบังคับ ที่ 453/2549 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เวรสั่ง ------------------------ เพื่อให้การบริการประชาชนผู้มาติดต่อราชการกรมบังคับคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย เป็นไปด้วยความสะดวก เรียบร้อย และเป็นผลดีต่อราชการ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ให้กองบังคับคดีล้มละลาย 1 กองบังคับคดีล้มละลาย 3 กองบังคับคดีล้มละลาย 4 และกอง บังคับคดีล้มละลาย 5 รับผิดชอบเป็นเวรสั่งในวันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี ตามลําดับ โดยจัดหัวหน้ากลุ่มงาน 1 คน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 1 คน ทําหน้าที่เวรสั่ง สําหรับในวันศุกร์ให้กองบังคับคดีล้มละลาย 1 และกองบังคับคดีล้มละลาย 5 หัวหน้ากลุ่มงาน 1 คน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 1 คน ผลัดเปลี่ยนกัน ทําหน้าที่เวรสั่งกองละ 1 วัน โดยเริ่มจากกองบังคับคดีล้มละลาย 1 ก่อน ทั้งนี้ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งทําหน้าที่เวรสั่งไปปฏิบัติหน้าที่ที่ฝ่ายคําคู่ความในวันที่แต่ละกองต้องรับผิดชอบ โดยให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรสั่ง มีหน้าที่ดังนี้ ข้อ ๑ เมื่อได้รับแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ให้มอบหมายฝ่ายกความดําเนินการประกาศคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ กําหนดวันนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ ออกหมายเรียก หมายแจ้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพื่อ เรียกลูกหนี้มาให้การสอบสวนพร้อมแจ้งหน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ออกหมายนัดให้เจ้าหนี้ผู้เป็น โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายพร้อมทั้งแถลงเกี่ยวกับกิจการทรัพย์สินของลูกหนี้ภายในวันเดียวกันนั้น เสร็จ แล้วให้รวบรวมส่งกองบังคับคดีล้มละลายที่รับผิดชอบเพื่อสั่งจ่ายสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดาเนินการต่อไปในวันที่ได้รับสํานวนหรืออย่างช้าในวันทําการถัดไป ข้อ ๒ ตรวจและมีคําสั่งในคําขอรับชําระหนี้ที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ว่าเจ้าหนี้ดําเนินการ ถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หรือไม่ หากเจ้าหนี้ไม่ส่ง เอกสารประกอบหนี้หรือส่งเอกสารไม่ครบถ้วน ให้มีคําสั่งให้เจ้าหนี้นําส่งวันหนึ่งวันใดก่อนหรือในวันนัด ตรวจคําขอรับชําระหนี้ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นสมควร พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า หากประสงค์จะ ยื่นบันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงประกอบให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ให้ สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคถือปฏิบัติในกรณีที่รับคําขอรับชําระหนี้ไว้แทนด้วย ข้อ ๓ ตรวจคําร้อง คําขอ หรือหมายต่างๆ ที่มีผู้อื่นในคดีล้มละลายและมีคําสั่งหรือส่งให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้รับผิดชอบดําเนินการต่อไป อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,176
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 456/2549 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายในคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 456/2549 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายในคดี ---------------------------- เพื่อให้การสั่งจ่ายเงินในคดีเป็นค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ ราชการ ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานผู้รับวางทรัพย์ เจ้าพนักงาน ประเมินราคาทรัพย์และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของกรมบังคับคดีทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเหมาะสม ยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 258/2533 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2533 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายในคดี 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 44/2538 ลงวันที่ 26 มกราคม 2538 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 468/2546 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2546 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการ และค่าใช้จ่ายในคดี ข้อ ๒ ค่าพาหนะและค่าป่วยการในการส่งหมายและเอกสารต่างๆ ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้ส่ง 2.1 ในส่วนกลางให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดีว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการส่งหมายคําคู่ความหรือเอกสาร 2.2 ในส่วนภูมิภาคให้อนุโลมจ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการตามบัญชีของศาล ข้อ ๓ ค่าพาหนะและค่าป่วยการเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการยึด ขายทอดตลาด หรือออกไปปฏิบัติงานตามคําสั่งศาล 3.1 ในส่วนกลาง ให้จ่ายค่าพาหนะตามที่จ่ายจริง ส่วนค่าป่วยการใช้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท ในกรณีที่มีการเดหรือเลื่อนการขายก่อนออกไปทําการขาย ให้จ่ายค่าป่วยการ 3.2 ในส่วนภูมิภาค ให้จ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการตามบัญชีของศาลยุติธรรม โดยอนุโลม เว้นแต่เป็นการ าเนินการในที่ทําการสํานักงานบังคับคดี ให้จ่ายเฉพาะค่าป่วยการเป็นราย จํานวนคนละ 50 บาท ในกรณีที่มีการจหรือเลียนการขายก่อน จ่ายค่าป่วยการ การขาย ก ข้อ ๔ ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการไปค้าเป็นกระบวนที่จารณาในกาล ให้จ่ายค่าพาหนะตามที่จ่ายจริงและจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 100 บาท การยื่นคําคู่ความ ตรวจ คัดเอกสาร ให้จ่ายค่าใช้จ่ายเป็นราชสํานวนคนละ 50 บาท โดยไม่จ่ายค่าพาหนะ ข้อ ๕ ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานในคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานรับวางทรัพย์ เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ และเจ้าพนักงานอื่น ให้สั่งจ่ายในลักษณะ เหมาจ่ายดังต่อไปนี้ 5.1 การไปส่งหนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ ทางไปรษณีย์หรือการไปรับส่งเงินทางไปรษณีย์ ให้จ่ายเป็นราย นวนๆ ละ 30 บาท หากสํานวนใดมีการส่งหนังสือหรือเอกสาร หรือรับส่งเงินหลายราย ในคราวเดียวกัน ให้สั่งจ่ายครั้งเดียว 5.2 การที่เจ้าหน้าที่การเงินไปรับเงินในระหว่างการขายทอดตลาด ไม่ว่าในหรือนอก ให้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท สถานที่ทําการ หรือออกไปปฏิบัติงานในคดีนอกสถานที่ทําการ 5.3 การทําบัญชีกิจการและทรัพย์สินแทนลูกหนี้ ในคดีล้มละลายให้สั่งจ่ายคนละ 100 บาท เว้นแต่กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ทําบัญชีมิให้สั่งจ่ายค่าใช้จ่าย 5.4 พนักงานเดินหมายที่ร่วมไปทําการยึดหรือขายทอดตลาดนอกสถานที่ทําการใน ส่วนภูมิภาคให้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท ไม่ว่าจะมีการยึดหรือขายหรือไม่ 5.5 การออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ทําการตั้งอยู่ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับ บัญชาให้สั่งจ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท 5.6 การทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงิน และการทําบัญชีแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายให้ จ่ายเป็นรายคดีๆ ละ 100 บาท เว้นแต่กรณีทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินเพื่อรายงานศาลขอปิดคดีไม่มี แบ่งทรัพย์สิน ให้จ่ายเป็นราก ๆ ละ 50 บาท การทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินในคดีแพ่งให้จ่ายเป็นรายคดี ๆ ละ 50 บาท ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน เห็นว่ามีเหตุสมควร ที่จะต้องมอบหมายให้เจ้าพนักงานไปปฏิบัติงานดังกล่าวแล้วข้างต้นเกินกว่า 1 คน ก็ให้สั่งจ่ายเป็นรายคน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ข้อ ๗ การสั่งจ่ายตามข้อ 5 หากมีเหตุจําเป็นที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กําหนดให้สั่งจ่ายได้ ให้ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน พิจารณาสั่งจ่ายได้ตามควรแก่กรณี การพิจารณา สั่งจ่ายค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กําหนด ตามข้อ 5.6 วรรคหนึ่งกรณีการทําบัญชี แบ่งทรัพย์สิน ให้คํานึงถึงจํานวนเงินในคดี ความยากง่ายของงานที่ทําและระยะเวลาที่ต้องเสียไปใน การจัดทําบัญชีของเจ้าหน้าที่ประกอบการพิจารณาสั่งง่าย ข้อ ๘ การเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในศาลที่อยู่นอกจังหวัดซึ่งเป็นที่ทําการ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการจากเงินในคดีล้มละลายตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ โดยอนุโลม ในกรณีที่เงินในคดีล้มละลายไม่มีหรือมีแต่ไม่เพียงพอให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ข้อ ๙ ให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปราชการร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเบิก ค่าใช้จ่ายได้ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8 อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,177
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 452/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 452/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ---------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกรมบังคับคดีซึ่งมีงานที่ต้องปฏิบัติ ร่วมกันหรือเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันดําเนินไปโดยไม่มีเหตุขัดข้องและเป็นประโยชน์แก่ราชการ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 190/2523 ลงวันที่ 19 กันยายน 2523 เรื่อง การแจ้งเรื่องที่มี ความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน และคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 50/2533 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2533 เรื่อง การทํา ความเห็นหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีขัดแย้งกัน ข้อ ๒ เมื่อปรากฏว่ามีงานที่ต้องปฏิบัติร่วมกันหรือเกี่ยวเนื่องกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ให้ เจ้าหน้าที่ผู้ที่เป็นต้นเรื่องหรือผู้รับเรื่องไว้พิจารณารีบดําเนินการแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบโดยวิธีทํา บันทึกหรือมีคําสั่งในต้นเรื่องและสําเนาให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ข้อ ๓ ในกรณีที่มีการขัดแย้งกันในความเห็นหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่าง หน่วยงานกัน หรือระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือกับนักบัญชี ให้เจ้าพนักงาน ที่มีความเห็นหรือคําสั่งที่ขัดแย้งเสนอความเห็นหรือคําสั่งพร้อมรายงานข้อขัดแย้งต่ออธิบดีหรือรอง อธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณามีคําสั่งต่อไป อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) นายสิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัด จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,178
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 456/2545 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายในคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 456/2545 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายในคดี ---------------------------------- เพื่อให้การสั่งจ่ายเงินในคดีเป็นค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ ราชการ ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือเจ้าพนักงานผู้รับวางทรัพย์ เจ้าพนักงาน ประเมินราคาทรัพย์และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของกรมบังคับคดีทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเหมาะสม ยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 258/2533 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายในคดี 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 44/2538 ลงวันที่ 26 มกราคม 2538 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 468/2546 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2546 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ คําค่าป่วยการ และค่าใช้จ่ายในคดี ข้อ ๒ ค่าพาหนะและค่าป่วยการในการส่งหมายและเอกสารต่างๆ ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้ส่ง 2.1 ในส่วนกลางให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดีว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการส่งหมายทําคู่ความหรือเอกสาร 2.2 ในส่วนภูมิภาคให้อนุโลมจ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการตามบัญชีของศาล ข้อ ๓ ค่าพาหนะและค่าป่วยการเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการ ขายทอดตลาด หรือออกไปปฏิบัติงานตามคําสั่งศาล 3.1 ในส่วนกลาง ให้จ่ายค่าพาหนะตามที่จ่ายจริง ส่วนค่าป่วยการให้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท ในกรณีที่มีการงดหรือเลื่อนการขายก่อนออกไปทําการขาย มิให้จ่ายค่าป่วยการ 3.2 ในส่วนภูมิภาค ให้จ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการตามบัญชีของศาลยุติธรรมโดยอนุโลม เว้นแต่เป็นการ ดําเนินการในที่ทําการสํานักงานบังคับ ให้จ่ายเฉพาะปายการเป็นราย สํานวนคนละ 50 บาท ในกรณีที่มีการดหรือเลียนการขานก่อนออกไป บาย มีให้จ่ายค่าป่วยการ ข้อ ๔ ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการไปดําเนินกระบวนพิจารณาในศาล ให้จ่ายค่าพาหนะตามที่จ่ายจริงและจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 100 บาท การยื่นคําคู่ความ ตรวจคัดถ่ายเอกสาร ให้จ่ายค่าใช้จ่ายเป็นราชสํานวนคนละ 50 บาท โดยไม่จ่ายค่าพาหนะ ข้อ ๕ ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานในคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานรับวางทรัพย์ เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ และเจ้าพนักงานอื่น ให้สั่งจ่ายในลักษณะ เหมาจ่ายดังต่อไปนี้ 5.1 การไปส่งหนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ ทางไปรษณีย์หรือการไปรับส่งเงินทางไปรษณีย์ ให้จ่ายเป็นรายสํานวนๆ ละ 30 บาท หากสํานวนใดมีการส่งหนังสือหรือเอกสาร หรือรับส่งเงินหลายราย ในคราวเดียวกัน ให้สั่งจ่ายครั้งเดียว 5.2 การที่เจ้าหน้าที่การเงินไปรับเงินในระหว่างการขายทอดตลาดไม่ว่าในหรือนอก สถานที่ทําการ หรือออกไปปฏิบัติงานในคดีนอกสถานที่ทําการ ให้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท 5.3 การทําบัญชีกิจการและทรัพย์สินแทนลูกหนี้ ในคดีล้มละลายให้สั่งจ่ายคนละ 100 บาท เว้นแต่กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ทําบัญชีมิให้สั่งจ่ายค่าใช้จ่าย 5.4 พนักงานเดินหมายที่ร่วมไปทําการยึดหรือขายทอดตลาดนอกสถานที่ทําการใน ส่วนภูมิภาคให้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท ไม่ว่าจะมีการยึดหรือขายหรือไม่ 5.5 การออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ทําการตั้งอยู่ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้สั่งจ่ายเป็นราชสํานวนคนละ 50 บาท 5.6 การทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงิน และการทําบัญชีแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายให้ จ่ายเป็นรายคดีๆ ละ 100 บาท เว้นแต่กรณีทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินเพื่อรายงานศาลขอปิดคดีไม่มี แบ่งทรัพย์สิน ให้จ่ายเป็นราย ๆ ละ 50 บาท การทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินในคดีแพ่งให้จ่ายเป็นรายคดี ๆ ละ 50 บาท ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน เห็นว่ามีเหตุสมควร ที่จะต้องมอบหมายให้เจ้าพนักงานไปปฏิบัติงานดังกล่าวแล้วข้างต้นเกินกว่า 1 คน ก็ให้สั่งจ่ายเป็นรายคน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ข้อ ๗ การสั่งจ่ายตามข้อ 5 หากมีเหตุจําเป็นที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กําหนดให้สั่งจ่ายได้ ให้ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน พิจารณาสั่งจ่ายได้ตามควรแก่กรณี การพิจารณา สั่งจ่ายค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กําหนด ตามข้อ 5.6 วรรคหนึ่งกรณีการทําบัญชี แบ่งทรัพย์สิน ให้คํานึงถึงจํานวนเงินในคดี ความยากง่ายของงานที่ทํา และระยะเวลาที่ต้องเสียไปใน การจัดทําบัญชีของเจ้าหน้าที่ประกอบการพิจารณาสั่งจ่าย ข้อ ๘ การเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในศาลที่อยู่นอกจังหวัดซึ่งเป็นที่ทําการ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการจากเงินในคดีล้มละลายตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ โดยอนุโลม ในกรณีที่เงินในคดีล้มละลายไม่มีหรือมีแต่ไม่เพียงพอให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ข้อ ๙ ให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปราชการร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 8 อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,179
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอผ่อนชำระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. 2561
ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. 2561 --------------------------------- เพื่อให้สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมีวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยที่ชัดเจนเหมาะสม เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับข้อ 7 วรรคสอง ของประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเรียกเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืน การงดและลดเงินเพิ่มของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย พ.ศ. 2560 เลขาธิการจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. 2561” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “ผู้ต้องชดใช้เงิน” หมายความว่า เจ้าของรถซึ่งอยู่ใต้บังคับของคําสั่งทางปกครองให้ชําระเงินคืนกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยภาค สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจังหวัด สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเขต “หนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น” หมายความว่า ค่าเสียหายเบื้องต้นที่กองทุนได้จ่ายไป พร้อมเงินเพิ่ม (ถ้ามี) ข้อ ๔ กรณีที่ผู้ต้องชดใช้เงินมีความประสงค์จะขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น เนื่องจากไม่สามารถชําระหนี้ครบถ้วนทั้งหมดในคราวเดียวได้ ให้เจ้าหน้าที่จัดให้มีการยื่นแสดงความจํานงเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนตามแบบคําร้องขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น ตามเอกสารแนบ 1 ท้ายระเบียบนี้ ณ สํานักงานพร้อมแสดงหรือยื่นหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) กรณีบุคคลธรรมดา (ก) ในกรณีผู้ต้องชดใช้เงินมาดําเนินการด้วยตนเอง ให้ผู้ต้องชดใช้เงินแสดงบัตรประจําตัว ใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง หรือหลักฐานแสดงตัวอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ (ข) ในกรณีผู้ต้องชดใช้เงินไม่มาดําเนินการด้วยตนเอง ให้ยื่นหนังสือมอบอํานาจ พร้อมสําเนาเอกสารตาม (ก) ของผู้ต้องชดใช้เงิน และแสดงเอกสารตาม (ก) ของผู้รับมอบอํานาจ (2) กรณีนิติบุคคล (ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือเอกสารการจดทะเบียนอื่นใดที่ทางราชการ เป็นผู้ออกให้ และ (ข) ในกรณีผู้มีอํานาจผูกพันนิติบุคคลมาดําเนินการด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจําตัว ใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง หรือหลักฐานแสดงตัวอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ (ค) ในกรณีผู้มีอํานาจผูกพันนิติบุคคลไม่มาดําเนินการด้วยตนเอง ให้ยื่นหนังสือมอบอํานาจ พร้อมสําเนาเอกสารตาม (ข) ของกรรมการผู้มีอํานาจผูกพันนิติบุคคล และแสดงเอกสารตาม (ข) ของผู้รับมอบอํานาจ ข้อ ๕ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคําร้องขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น พร้อมหลักฐานตามข้อ 4 ครบถ้วนแล้ว ให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบจํานวนหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น พร้อมทั้งตกลงจํานวนงวดและจํานวนเงินที่ผ่อนชําระ แต่ละงวดเสนอนายทะเบียนเพื่อพิจารณาอนุมัติ (2) เมื่อนายทะเบียนอนุมัติ ให้สํานักงานจัดทําสัญญาผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น ตามเอกสารแนบ 2 ท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้ต้องชดใช้เงินชําระเงินงวดแรกตามสัญญา พร้อมทั้งออกใบเสร็จรับเงิน ข้อ ๖ การขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ต้องชดใช้เงินจะต้องชําระเงินเป็นงวดรายเดือน โดยเฉลี่ยงวดละเท่า ๆ กันทุกงวด เว้นแต่งวดแรกหรืองวดสุดท้ายอาจจะชําระมากกว่าหรือน้อยกว่างวดอื่นก็ได้ การผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น ให้มีระยะเวลาผ่อนชําระสูงสุดไม่เกินสองปี โดยจํานวนเงิน ที่ผ่อนชําระในแต่ละงวดต้องไม่ต่ํากว่าห้าร้อยบาท ข้อ ๗ การขอเปลี่ยนจํานวนงวดที่ขอผ่อนชําระ หรือจํานวนเงินที่ผ่อนชําระต่องวด ให้แตกต่างไปจากสัญญาผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้ทําความตกลงไว้เดิม ให้เป็นอํานาจของ นายทะเบียนเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ ระยะเวลาผ่อนชําระ จํานวนงวด และจํานวนเงินที่ขอเปลี่ยนแปลง จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ในข้อ 6 และให้จัดทําบันทึกแนบท้ายสัญญาผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น ตามเอกสารแนบ 3 ท้ายระเบียบนี้ พร้อมแสดงหรือยื่นเอกสารตามข้อ 4 โดยอนุโลม ข้อ ๘ การขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นสามารถชําระในคราวเดียวกันมากกว่าหนึ่งงวดได้ แต่จํานวนเงินที่ขอชําระต้องเพิ่มขึ้นให้ครบเต็มจํานวนเงินที่ขอผ่อนของงวดถัด ๆ ไปนั้นด้วย ข้อ ๙ การผิดนัดไม่ผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นสองงวดติดต่อกัน หรือผิดนัดไม่ผ่อนชําระ หนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นงวดสุดท้ายเป็นเวลาเกินหนึ่งเดือนขึ้นไป ให้นายทะเบียนดําเนินการตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และกฎระเบียบ ข้อบังคับอื่นที่เกี่ยวข้อง กรณีการผิดนัดไม่ผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นสองงวดติดต่อกันตามวรรคหนึ่ง หากผู้ต้องชดใช้เงิน มีเหตุผลและความจําเป็น นายทะเบียนอาจจะพิจารณาอนุญาตให้ผ่อนชําระหนี้ต่อไปได้ โดยผู้ต้องชดใช้เงิน ต้องชําระหนี้ในงวดที่ค้างทั้งหมด พร้อมกับงวดที่ถึงกําหนดชําระ ทั้งนี้ ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับ หากการอนุญาตให้ผ่อนชําระหนี้จะทําให้ระยะเวลาผ่อนชําระเกินสองปี ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานจัดทําสรุปผลการดําเนินงานการขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นและรายงานต่อเลขาธิการ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นรอบไตรมาส ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,180
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยเข็มวิทยฐานะของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2560
ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยเข็มวิทยฐานะของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2560 -------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรให้มีเข็มวิทยฐานะของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยเข็มวิทยฐานะของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2560” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “สํานักงาน คปภ.” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง” หมายความว่า สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “เข็มวิทยฐานะ” หมายความว่า เข็มวิทยฐานะของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง “หลักสูตร วปส.” หมายความว่า หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ข้อ ๔ ให้มีเข็มวิทยฐานะของสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง มีขนาดสูง 5.5 เซนติเมตร และกว้าง 3 เซนติเมตร ทําด้วยโลหะทองเหลืองชุบด้วยกระไหล่ทองเงา ลงด้วยสียาเย็น สีน้ําเงิน ปั้มนูนขึ้นรูปซ้อนลายเป็นชั้น ลักษณะเป็นรูปโล่พื้นสีน้ําเงินขอบสีทองมีตราสัญลักษณ์ของสํานักงาน คปภ. อยู่ตรงกลางโดยมีช่อชัยพฤกษ์ช่อเล็กขนาบข้างด้านละ 1 ช่อ มีอักษรย่อ คปภ. อยู่ด้านบน และมีลายไทยล้อมรอบเป็นวงกลม และถัดจากลายไทยมีช่อชัยพฤกษ์ช่อใหญ่ล้อมรอบเป็นวงกลมอีกชั้นหนึ่ง ด้านบนของช่อชัยพฤกษ์ช่อใหญ่เป็นประภาคารสีทองส่องแสง ด้านล่างของช่อชัยพฤกษ์ช่อใหญ่มีแสงประภาคารรูปสี่เหลี่ยม ด้านหลังมีเข็มกลัดทําด้วยวัสดุทองเหลืองชุบกระไหล่ทองเงาสําหรับใช้กลัดติดเสื้อรายละเอียดตามรูปแบบที่กําหนดท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕ ผู้มีสิทธิประดับเข็มวิทยฐานะตามข้อ 4 มีดังนี้ (1) เลขาธิการ (2) รองเลขาธิการ (3) ผู้ช่วยเลขาธิการ (4) ผู้สําเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตร วปส. (5) ผู้ที่ทําคุณประโยชน์ต่อภารกิจของสํานักงาน คปภ. อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการเสนอชื่อจากสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูงและได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการ ข้อ ๖ การประดับเข็มวิทยฐานะ ตามข้อ 4 ให้ประดับที่กึ่งกลางกระเป๋าขวาของเสื้อ เครื่องแบบ ส่วนเครื่องแต่งกายอื่นให้ประดับได้ในโอกาสอันควรในตําแหน่งที่เหมาะสม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,181
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2559
ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2559 -------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2559” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ข้อ ๔ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือระเบียบนี้ไม่ได้กําหนดเรื่องใดไว้ให้เลขาธิการเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด หมวด ๑ ชนิดของเครื่องแบบ --------------------------------- ข้อ ๕ เครื่องแบบมี 3 ชนิด คือ (1) เครื่องแบบปฏิบัติการ เป็นเครื่องแต่งกายที่กําหนดไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานปกติหรือปฏิบัติงานอื่นตามที่เลขาธิการมอบหมาย (2) เครื่องแบบตรวจการ เป็นเครื่องแต่งกายที่กําหนดไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสํานักงานเกี่ยวกับการกํากับ ตรวจสอบ ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และเข้าร่วมพิธีกับหน่วยงานราชการอื่น หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่เลขาธิการมอบหมาย (3) เครื่องแบบพิธีการ เป็นเครื่องแต่งกายที่กําหนดไว้เพื่อใช้ในโอกาสที่เข้าร่วมพิธีตามหมายกําหนดการของสํานักพระราชวัง และตามกําหนดการของพิธีที่ส่วนราชการอื่นหรือสํานักงานกําหนด หมวด ๒ เครื่องแบบปฏิบัติการ ---------------------------------- ข้อ ๖ เครื่องแบบปฏิบัติการ มีลักษณะและส่วนประกอบดังนี้ (1) เสื้อสีฟ้าอ่อน (ก) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้เสื้อได้ 2 แบบ 1) แบบที่ 1 เสื้อคอพับแขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ 1 ดุม ตัวเสื้อ ผ่าอกตลอด มีสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมที่คอและแนวอกเสื้อ 6 ดุม ระยะห่างเท่า ๆ กัน พอสมควร อกเสื้อทั้งสองข้างมีกระเป๋ารูปมน ปะข้างละ 1 กระเป๋า มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลม กึ่งกลางกระเป๋ามีแถบทางดิ่งกว้าง 3.5 เซนติเมตร ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างมีดุมสําหรับขัดใบปกกระเป๋าที่ไหล่เสื้อทั้งสองข้างมีอินทรธนูประดับติดกับเสื้อบริเวณไหล่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ที่ปกเสื้อทั้งสองข้างประดับเครื่องหมายสังกัดตราสัญลักษณ์สํานักงานทําด้วยโลหะโปร่งสีทองสูง 2 เซนติเมตร เมื่อสวมเสื้อนี้ให้ขัดดุมทุกดุม ยกเว้นดุมบนสุดที่อกเสื้อติดกับคอ และให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกง 2) แบบที่ 2 เสื้อคอพับแขนสั้น ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมที่คอและแนวอกเสื้อ 6 ดุม ระยะห่างเท่า ๆ กันพอสมควร อกเสื้อทั้งสองข้างมีกระเป๋ารูปมน ปะข้างละ 1 กระเป๋า มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลม กึ่งกลางกระเป๋ามีแถบทางดิ่งกว้าง 3.5 เซนติเมตร ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้าง มีดุมสําหรับขัดใบปกกระเป๋า ที่ไหล่เสื้อทั้งสองข้างมีอินทรธนูประดับติดกับเสื้อบริเวณไหล่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ที่ปกเสื้อทั้งสองข้างประดับเครื่องหมายสังกัดตราสัญลักษณ์สํานักงานทําด้วยโลหะโปร่งสีทองสูง 2 เซนติเมตร เมื่อสวมเสื้อนี้ให้ขัดดุมทุกดุม ยกเว้นดุมบนสุดที่อกเสื้อติดกับคอและให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกง (ข) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้เสื้อได้ 3 แบบ 1) แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบที่ 1 ของเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย 2) แบบที่ 2 เสื้อคอพับแขนสั้น ตัวเสื้อผ่าอกตลอดมีสาบกว้าง 2.5 เซนติเมตรมีดุมที่คอและแนวอกเสื้อ 6 ดุม ระยะห่างเท่า ๆ กันพอสมควร อกเสื้อทั้งสองข้างมีกระเป๋ารูปมนปะข้างละ 1 กระเป๋า มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลม กึ่งกลางกระเป๋ามีแถบทางดิ่งกว้าง 2.5 เซนติเมตร ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้าง มีดุมสําหรับขัดใบปกกระเป๋า ที่ไหล่เสื้อทั้งสองข้างมีอินทรธนูประดับติดกับเสื้อบริเวณไหล่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ที่ปกเสื้อทั้งสองข้างประดับเครื่องหมายสังกัดตราสัญลักษณ์สํานักงานทําด้วยโลหะโปร่งสีทองสูง 2 เซนติเมตร เมื่อสวมเสื้อนี้ให้ขัดดุมทุกดุม ยกเว้นดุมบนสุดที่อกเสื้อติดกับคอและให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกงหรือกระโปรง 3) แบบที่ 3 เสื้อคอแบะ (ปกเทเลอร์) ปล่อยเอว แขนสั้นตัวเสื้อผ่าอกตลอด ไม่มีสาบเสื้อ มีดุมเสื้อที่แนวอกเสื้อ 3 ดุม ระยะห่างเท่า ๆ กัน พอสมควร มีกระเป๋าปะด้านล่าง 2 กระเป๋า รูปสี่เหลี่ยมปะติดกับตัวเสื้อในระดับเอวข้างละ 1 กระเป๋า มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลม กึ่งกลางกระเป๋า มีแถบทางดิ่งกว้าง 2.5 เซนติเมตร ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างมีดุมสําหรับขัดใบปกกระเป๋าที่ไหล่เสื้อทั้งสองข้างมีอินทรธนูประดับติดกับเสื้อตรงบริเวณไหล่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ที่ปกเสื้อทั้งสองข้างประดับเครื่องหมายสังกัดตราสัญลักษณ์สํานักงานทําด้วยโลหะโปร่งสีทองสูง 2 เซนติเมตร เมื่อสวมเสื้อนี้ให้ขัดดุมทุกดุม และการสวมเครื่องแบบปฏิบัติการ แบบที่ 3 ให้ปล่อยชายเสื้อทับกระโปรงหรือกางเกงดุมที่ใช้กับเสื้อทั้งหมดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนทําด้วยวัตถุสีเดียวกับเสื้อ (2) กางเกง กระโปรง สีกรมท่าเข้ม (ก) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้กางเกงขายาวทรงสุภาพ ไม่พับปลายขาปลายขาปิดข้อเท้า กว้างไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร และไม่เกิน 22 เซนติเมตร มีจีบไม่เกินข้างละ 2 จีบหรือไม่มีจีบ ที่ขอบเอวมีห่วงสําหรับสอดเข็มขัดทําด้วยผ้าสีเดียวกับกางเกงกว้างไม่เกิน 1 เซนติเมตร จํานวน 6 ห่วง ที่แนวตะเข็บ ขอบกางเกงด้านข้างมีกระเป๋าเจาะข้างละ 1 กระเป๋า ด้านหลังมีกระเป๋าเจาะข้างละ 1 กระเป๋าไม่มีใบปกกระเป๋า (ข) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้กางเกงและกระโปรง รวม 3 แบบ 1) แบบที่ 1 กางเกงขายาว อนุโลมตามแบบเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างชาย 2) แบบที่ 2 กางเกงขายาวทรงสุภาพ ขาตรง ไม่พับปลายขา ปลายขาปิดข้อเท้า กว้างไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตรและไม่เกิน 22 เซนติเมตร ไม่มีลวดลายขอบกางเกงกว้างประมาณ 1 นิ้ว มีหรือไม่มีกระเป๋าก็ได้ ที่ขอบเอวมีห่วงสําหรับสอดเข็มขัดทําด้วยผ้าสีเดียวกับกางเกงกว้างไม่เกิน 1 เซนติเมตร จํานวน 5 ห่วง ที่แนวตะเข็บขอบกางเกง 3) แบบที่ 3 กระโปรงยาว ทรงตรงหรือปลายบานเล็กน้อยปิดเข่าพอสมควร ด้านข้าง มีกระเป๋าเจาะข้างละ 1 กระเป๋า ไม่มีใบปกกระเป๋า ปากกระเป๋าเฉียงลงทางข้างเล็กน้อยหรือจะไม่มีกระเป๋าก็ได้ กรณีเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิงมุสลิม หากจะใช้กระโปรง อนุโลมให้ยาวคลุมข้อเท้าก็ได้ (3) อินทรธนู ให้มีอินทรธนู มีลักษณะแข็ง สําหรับใช้ประดับเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอพื้นทําด้วยสักหลาดสีกรมท่าเข้ม ด้านปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราสัญลักษณ์สํานักงาน ขนาด 2 เซนติเมตร สําหรับตําแหน่งเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างชาย ขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 12.5 เซนติเมตร สําหรับตําแหน่งเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างหญิง ขนาดกว้าง 4.8 เซนติเมตร ยาว 12 เซนติเมตร โดยมีเครื่องหมายตําแหน่งติดบนอินทรธนูดังนี้ (ก) เลขาธิการ อินทรธนูมีสัญลักษณ์แสงประภาคารรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยโลหะสีทอง จํานวน 5 ดวง โดย 4 ดวงเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยม และดวงที่ 5 เรียงต่อยอดห่างกันพองาม มีช่อชัยพฤกษ์ห่างจากขอบอินทรธนูด้านฐาน 0.5 เซนติเมตร (ข) พนักงานตําแหน่งรองเลขาธิการ อินทรธนูมีสัญลักษณ์แสงประภาคารรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยโลหะสีทอง จํานวน 4 ดวง เรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมห่างกันพองาม มีช่อชัยพฤกษ์ห่างจากขอบอินทรธนูด้านฐาน 0.5 เซนติเมตร (ค) พนักงานตําแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ อินทรธนูมีสัญลักษณ์แสงประภาคารรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยโลหะสีทอง จํานวน 3 ดวง เรียงตามแนวยาวห่างกันพองาม มีช่อชัยพฤกษ์ห่างจากขอบอินทรธนูด้านฐาน 0.5 เซนติเมตร (ง) พนักงานตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส ผู้อํานวยการภาคอาวุโส และผู้ทรงคุณวุฒิอินทรธนูมีสัญลักษณ์แสงประภาคารรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยโลหะสีทอง จํานวน 2 ดวง เรียงตามแนวยาวห่างกันพองาม มีช่อชัยพฤกษ์ห่างจากขอบอินทรธนูด้านฐาน 0.5 เซนติเมตร (จ) พนักงานตําแหน่งผู้อํานวยการกลุ่มงาน ผู้อํานวยการภาค นักวิชาการเชี่ยวชาญพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจังหวัดนักวิชาการเชี่ยวชาญอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และนักวิชาการเชี่ยวชาญ อินทรธนูมีสัญลักษณ์แสงประภาคารรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยโลหะสีทอง จํานวน 1 ดวง มีแถบสีทองขนาด 1.2 เซนติเมตร จํานวน 4 แถบ ติดใต้สัญลักษณ์แสงประภาคารรูปสี่เหลี่ยม แต่ละแถบห่างกัน 0.5 เซนติเมตรและห่างจากขอบอินทรธนูด้านฐาน 0.5 เซนติเมตร (ฉ) พนักงานตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชํานาญงานอาวุโสและผู้ชํานาญงาน อินทรธนูมีแถบสีทองขนาด 1.2 เซนติเมตร จํานวน 4 แถบ แต่ละแถบห่างกัน 0.5 เซนติเมตรและห่างจากขอบอินทรธนูด้านฐาน 0.5 เซนติเมตร (ช) พนักงานตําแหน่งเจ้าหน้าที่ชํานาญการ เจ้าหน้าที่อาวุโส และเจ้าหน้าที่ อินทรธนูมีแถบสีทองขนาด 1.2 เซนติเมตร จํานวน 3 แถบ แต่ละแถบห่างกัน 0.5 เซนติเมตรและห่างจากขอบอินทรธนูด้านฐาน 0.5 เซนติเมตร (ซ) พนักงานตําแหน่งพนักงานปฏิบัติการอาวุโส และพนักงานปฏิบัติการ อินทรธนูมีแถบสีทองขนาด 1.2 เซนติเมตร จํานวน 2 แถบ แต่ละแถบห่างกัน 0.5 เซนติเมตรและห่างจากขอบอินทรธนูด้านฐาน 0.5 เซนติเมตร (ฌ) พนักงานตําแหน่งพนักงานขับรถ อินทรธนูมีแถบสีทองขนาด 1.2 เซนติเมตร จํานวน 1 แถบ ติดห่างจากขอบอินทรธนูด้านฐาน 0.5 เซนติเมตร (ญ) ลูกจ้าง อินทรธนูไม่มีเครื่องหมายตําแหน่งติดบนอินทรธนู (4) เข็มขัด ให้ใช้สายเข็มขัดทําด้วยด้ายถักสีกรมท่าเข้ม หัวเข็มขัดทําด้วยโลหะสีทองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน มีตราสัญลักษณ์สํานักงานประดับกึ่งกลางหัวเข็มขัด (5) รองเท้า ถุงเท้า (ก) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้น หรือหุ้มข้อทําด้วยหนัง หรือวัตถุเทียมหนังสีดําไม่มีลวดลาย ถุงเท้าสีดํา (ข) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้น ทําด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดําปิดปลายเท้าส้นสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ไม่มีลวดลาย (6) ป้ายชื่อ ให้มีป้ายชื่อพื้นสีดําขนาดกว้างไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร แสดงชื่อตัว ชื่อสกุลและอาจแสดงชื่อตําแหน่งในการบริหารหรือชื่อตําแหน่งในสายงาน ประดับที่อกเสื้อด้านขวา หมวด ๓ เครื่องแบบตรวจการ ------------------------------------ ข้อ ๗ เครื่องแบบตรวจการ มีลักษณะและส่วนประกอบดังนี้ (1) หมวก (ก) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีกรมท่าเข้ม กะบังหน้า ทําด้วยหนังหรือวัสดุเทียมหนังสีดํา ที่ขอบโค้งของกะบังหน้าหมวกมีช่อชัยพฤกษ์ จํานวน 1 แถว ปักด้วยดิ้นทอง สายรัดคางหนังเทียมหรือวัสดุเทียมหนังสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราสัญลักษณ์สํานักงานขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีดํา ที่หน้าหมวกติดตราสัญลักษณ์สํานักงานล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์ ปักดิ้นทองสูง 5 เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีกรมท่าเข้ม (ข) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกรมท่าเข้ม กะบังหน้าสีเดียวกับหมวก ที่ขอบโค้งของกะบังหน้าหมวกมีช่อชัยพฤกษ์ จํานวน 1 แถว ปักด้วยดิ้นทอง สายรัดคางสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราสัญลักษณ์สํานักงาน ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีดํา ที่หน้าหมวกติดตราสัญลักษณ์สํานักงานล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์ ปักดิ้นสีทองสูง 4.5 เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีกรมท่าเข้ม กรณีเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิงมุสลิม หากจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ ให้ใช้ผ้าคลุมศีรษะสีกลมกลืนกับเสื้อ กระโปรงหรือกางเกง โดยให้คลุมศีรษะทั้งหมดเว้นใบหน้าชายผ้าคลุมศีรษะด้านข้างยาวถึงบ่าด้านหน้ายาวถึงระดับหน้าอก ขอบผ้าคลุมเย็บเรียบ ในกรณีที่มีการสวมหมวก ให้สวมหมวกทับผ้าคลุมศีรษะ การสวมหมวกให้สวมในโอกาสอันควร (2) เสื้อสีกรมท่าเข้ม (ก) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้เสื้อได้ 2 แบบ 1) แบบที่ 1 เสื้อคอพับแขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ 1 ดุม ตัวเสื้อ ผ่าอกตลอด มีสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมที่คอและแนวอกเสื้อ 6 ดุม ระยะห่างเท่า ๆ กันพอสมควรอกเสื้อทั้งสองข้างมีกระเป๋ารูปมนปะข้างละ 1 กระเป๋า มีใบปกกระเป๋าเป็นรูปมนชายกลางแหลมกึ่งกลางกระเป๋ามีแถบทางดิ่งกว้าง 3.5 เซนติเมตร ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างมีดุมสําหรับขัดใบปกกระเป๋าที่ไหล่เสื้อทั้งสองข้างมีอินทรธนูประดับติดกับเสื้อบริเวณไหล่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ที่ปกเสื้อทั้งสองข้างประดับเครื่องหมายสังกัดตราสัญลักษณ์สํานักงานทําด้วยโลหะโปร่งสีทองสูง 2.5 เซนติเมตร เมื่อสวมเสื้อนี้ให้ขัดดุมทุกดุม ยกเว้นดุมบนสุดที่อกเสื้อติดกับคอ และให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกง 2) แบบที่ 2 เสื้อคอพับแขนสั้น ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมที่คอและแนวอกเสื้อ 6 ดุม ระยะห่างเท่า ๆ กันพอสมควร อกเสื้อทั้งสองข้างมีกระเป๋ารูปมนปะข้างละ 1 กระเป๋า มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลม กึ่งกลางกระเป๋ามีแถบทางดิ่งกว้าง 3.5 เซนติเมตร ที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างมีดุมสําหรับขัดใบปกกระเป๋า ที่ไหล่เสื้อทั้งสองข้างมีอินทรธนูประดับติดกับเสื้อบริเวณไหล่เหนือบ่าทั้งสองข้างที่ปกเสื้อทั้งสองข้างประดับเครื่องหมายสังกัดตราสัญลักษณ์สํานักงานทําด้วยโลหะโปร่งสีทองสูง 2.5 เซนติเมตร เมื่อสวมเสื้อนี้ให้ขัดดุมทุกดุม ยกเว้นดุมบนสุดที่อกเสื้อติดกับคอและให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกง (ข) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้เสื้อได้ 2 แบบ 1) แบบที่ 1 อนุโลมตามแบบที่ 1 ของเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย 2) แบบที่ 2 เสื้อคอพับแขนสั้น ตัวเสื้อผ่าอกตลอดมีสาบกว้าง 2.5 เซนติเมตร มีดุมที่คอและแนวอกเสื้อ 6 ดุม ระยะห่างเท่า ๆ กันพอสมควร อกเสื้อทั้งสองข้างมีกระเป๋ารูปมนปะข้างละ 1 กระเป๋า มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลม กึ่งกลางกระเป๋ามีแถบทางดิ่งกว้าง 2.5 เซนติเมตรที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างมีดุมสําหรับขัดใบปกกระเป๋าที่ไหล่เสื้อทั้งสองข้างมีอินทรธนูประดับติดกับเสื้อบริเวณไหล่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ที่ปกเสื้อทั้งสองข้างประดับเครื่องหมายสังกัดตราสัญลักษณ์สํานักงานทําด้วยโลหะโปร่งสีทองสูง 2 เซนติเมตร เมื่อสวมเสื้อนี้ให้ขัดดุมทุกดุมยกเว้นดุมบนสุดที่อกเสื้อติดกับคอและให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกงหรือกระโปรง กรณีเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิงมุสลิม อนุโลมให้ใช้เสื้อคอพับ ตามแบบที่ 2 โดยในส่วนแขนเสื้อให้เป็นแขนยาวรัดข้อมือ ดุมที่ใช้กับเสื้อทั้งหมดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบน ทําด้วยวัตถุสีเดียวกับเสื้อ (3) กางเกง กระโปรง สีกรมท่าเข้ม ให้ใช้ตามแบบที่กําหนดในข้อ 6 (2) (4) อินทรธนูให้ใช้ตามแบบที่กําหนดในข้อ 6 (3) (5) เข็มขัด ให้ใช้ตามแบบที่กําหนดในข้อ 6 (4) (6) รองเท้า ถุงเท้า ให้ใช้ตามแบบที่กําหนดในข้อ 6 (5) (7) ป้ายชื่อ ให้ใช้ตามแบบที่กําหนดในข้อ 6 (6) หมวด ๔ เครื่องแบบพิธีการ -------------------------------- ข้อ ๘ เครื่องแบบพิธีการมี 3 ประเภท คือ (1) เครื่องแบบปกติขาว (2) เครื่องแบบครึ่งยศ (3) เครื่องแบบเต็มยศ ข้อ ๙ เครื่องแบบปกติขาว ประกอบด้วย (1) หมวก (ก) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีขาว กะบังหน้าทําด้วยหนังหรือวัสดุเทียมหนังสีดําที่ขอบโค้งของกะบังหน้าหมวกมีช่อชัยพฤกษ์ จํานวน 1 แถว ปักด้วยดิ้นทอง สายรัดคางสีทองกว้าง 1 เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองตราสัญลักษณ์สํานักงานขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราสัญลักษณ์สํานักงานล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์ ปักดิ้นทองสูง 5 เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีดํา (ข) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกขาว กะบังหน้าสีเดียวกับหมวก ที่ขอบโค้งของกะบังหน้าหมวกมีช่อชัยพฤกษ์ จํานวน 1 แถว ปักด้วยดิ้นทองสายรัดคางสีทอง มีดุมโลหะสีทองตราสัญลักษณ์สํานักงาน ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละ 1 ดุม ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราสัญลักษณ์สํานักงานล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์ ปักดิ้นสีทองสูง 4.5 เซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีดํา (2) เสื้อ (ก) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว ใช้ดุมโลหะสีทองตราสัญลักษณ์สํานักงาน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร 5 ดุม (ข) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้เสื้อแบบราชการสีขาว ใช้ดุมโลหะสีทองตราสัญลักษณ์สํานักงาน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร 3 ดุม (3) อินทรธนู ให้มีอินทรธนู มีลักษณะแข็ง สําหรับใช้ประดับเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอพื้นทําด้วยสักหลาดสีดํา ด้านปลายมนติดดุมโลหะสีทองตราสัญลักษณ์สํานักงาน ขนาด 2 เซนติเมตร สําหรับตําแหน่งเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างชาย ขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 12.5 เซนติเมตร สําหรับตําแหน่งเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างหญิง ขนาดกว้าง 4.8 เซนติเมตร ยาว 12 เซนติเมตร โดยมีเครื่องหมายตําแหน่งติดบนอินทรธนูดังนี้ (ก) เลขาธิการ อินทรธนูปักดิ้นทองลายดอกพุดตานต่อดอกเต็มแผ่นอินทรธนูล้อมฐานดุมมีดาวสิบหกแฉกทําด้วยโลหะสีทองติดทับบนดอกพุดตานกึ่งกลางอินทรธนู มีขอบสีทองล้อมรอบอินทรธนู (ข) พนักงานตําแหน่งรองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ และผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส ผู้อํานวยการภาคอาวุโส และผู้ทรงคุณวุฒิ อินทรธนูปักดิ้นทองลายดอกพุดตานต่อดอกเต็มแผ่นอินทรธนูล้อมฐานดุม มีดาวสิบหกแฉกทําด้วยโลหะสีทองติดทับบนดอกพุดตานกึ่งกลางอินทรธนูมีขอบสีทองล้อมรอบอินทรธนู ยกเว้นด้านฐาน (ค) พนักงานตําแหน่งผู้อํานวยการกลุ่มงาน ผู้อํานวยการภาค นักวิชาการเชี่ยวชาญพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจังหวัด นักวิชาการเชี่ยวชาญอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และนักวิชาการเชี่ยวชาญ อินทรธนูปักดิ้นทองลายดอกพุดตานต่อดอกเต็มแผ่นอินทรธนูล้อมฐานดุม มีขอบสีทองล้อมรอบอินทรธนูยกเว้นด้านฐาน (ง) พนักงานตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชํานาญงานอาวุโสและผู้ชํานาญงาน อินทรธนูปักดิ้นทองลายดอกพุดตานต่อดอก จํานวน 3 ดอก มีขอบสีทองล้อมรอบอินทรธนูยกเว้นด้านฐาน (จ) พนักงานตําแหน่งเจ้าหน้าที่ชํานาญการ เจ้าหน้าที่อาวุโส และเจ้าหน้าที่ อินทรธนูปักดิ้นทองลายดอกพุดตาน จํานวน 2 ดอก มีขอบสีทองล้อมรอบอินทรธนูยกเว้นด้านฐาน (ฉ) พนักงานตําแหน่ง พนักงานปฏิบัติการอาวุโส พนักงานปฏิบัติการ และพนักงานขับรถ อินทรธนูปักดิ้นทองลายดอกพุดตาน จํานวน 1 ดอก มีขอบสีทองล้อมรอบอินทรธนูยกเว้นด้านฐาน (ช) ลูกจ้าง อินทรธนูไม่มีเครื่องหมายตําแหน่งติดบนอินทรธนู มีขอบสีทองล้อมรอบ อินทรธนูยกเว้นด้านฐาน (4) กางเกง กระโปรง (ก) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีขาว ขายาวไม่พับปลายขา (ข) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้กระโปรงแบบราชการสีขาว (5) รองเท้า ถุงเท้า (ก) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้น หรือหุ้มข้อไม่มีลวดลายทําด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดํา ถุงเท้าสีดํา (ข) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นทําด้วยหนังหรือวัตถุเทียม หนังสีดํา แบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย ส้นสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ไม่มีลวดลาย ถุงน่อง หรือถุงเท้ายาวสีเนื้อ (6) เครื่องหมายสังกัด ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเป็นรูปตราสัญลักษณ์สํานักงานทําด้วยโลหะโปร่งสีทองสูง 2 เซนติเมตร ติดที่คอเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง ข้อ ๑๐ เครื่องแบบครึ่งยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว เว้นแต่กางเกงหรือกระโปรงให้ใช้ผ้าสีดํา ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ และผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่ไม่ต้องสวมสายสะพาย ข้อ ๑๑ เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับและผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์พร้อมสวมสายสะพายตามที่กําหนดไว้ใน หมายกําหนดการหรือกําหนดการ หมวด ๕ การแต่งกายในวันปฏิบัติงาน ------------------------------------- ข้อ ๑๒ การแต่งกายของเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้าง ในวันปฏิบัติงานนอกเหนือจากที่กําหนดตามหมวด 1 ถึงหมวด 4 ให้แต่งกายโดยใช้แบบและสีที่สุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะดังนี้ (1) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างชาย ให้ใช้เสื้อเชิ้ต มีปกและกางเกงขายาว ซึ่งต้องไม่ใช่ผ้ายีนส์ มีสีและแบบที่สุภาพ ไม่พับปลายขา ปลายขาปิดข้อเท้า รองเท้าหุ้มส้นสีเข้ม และถุงเท้าสีเดียวกันกับรองเท้า (2) เลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิง ให้ใช้เสื้อแบบมีแขนเสื้อหรือถ้าแบบไม่มีแขนเสื้อต้องมีเสื้อคลุมเพื่อความเรียบร้อย กางเกงหรือกระโปรงต้องไม่ใช่ผ้ายีนส์ ให้ใช้สีและแบบที่สุภาพกระโปรงต้องมีความยาวคลุมเข่าพอสมควร หรือวัดจากเหนือเข่าขึ้นไปไม่เกิน 2 นิ้ว โดยอนุโลม รองเท้าต้องเป็นรองเท้าหุ้มส้นหรือรัดส้น มีแบบและสีสุภาพ กรณีเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างหญิงมุสลิม อนุโลมให้ใช้เสื้อแขนยาวรัดข้อมือได้หากจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ ให้ใช้ผ้าคลุมศีรษะที่มีสีกลมกลืนกับเสื้อ กระโปรง หรือกางเกงโดยให้คลุมศีรษะทั้งหมดเว้นใบหน้า ชายผ้าคลุมศีรษะด้านข้างยาวถึงบ่า ด้านหน้ายาวถึงระดับหน้าอก ขอบผ้าคลุมเย็บเรียบ หมวด ๖ เบ็ดเตล็ด ------------------------------- ข้อ ๑๓ เครื่องแบบสําหรับเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้าง ชนิดใดจะแต่งในวันหรือโอกาสกรณีใดให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๔ เลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าซ้าย เว้นแต่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ซึ่งมีกฎหมายกําหนดให้ประดับที่อกเสื้อข้างขวา ให้ติดแพรแถบที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าขวา และในกรณีที่มีแพรแถบหลายแถบให้ติดเรียงกันเป็นแถวยาวแถวละไม่เกิน 5 แถบ ข้อ ๑๕ เลขาธิการ พนักงานและลูกจ้าง ซึ่งได้รับเครื่องหมายแสดงความสามารถหรือเข็มแสดงวิทยฐานะของสถาบันการศึกษาของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ให้ประดับเครื่องหมายหรือเข็มนั้นได้ตามที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกําหนด ข้อ ๑๖ ให้สํานักงานจัดให้มีหรือเขียนรูปตัวอย่างเครื่องแบบแต่ละชนิด แบบหมวก แบบอินทรธนู แบบดุม แบบเข็มกลัดคอเสื้อ และแบบหัวเข็มขัดตามระเบียบนี้ โดยให้ประกาศไว้เป็นมาตรฐาน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,182
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 455/2549 เรื่อง การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการรับส่ง การเสนอความเห็น หรือสั่งคำคู่ความ หนังสือ หรือเอกสารต่าง ๆ
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 455/2549 เรื่อง การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการรับส่ง การเสนอความเห็น หรือสั่งคําคู่ความ หนังสือ หรือเอกสารต่าง ๆ ----------------------- เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการรับส่ง การเสนอความเห็นหรือสั่งคําคู่ความ หนังสือ หรือเอกสารของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าพนักงานผู้รับบางทรัพย์ดําเนินไป ด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว เป็นประโยชน์แก่คู่ความและผู้มาติดต่อราชการ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 134/2531 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2531 เรื่อง การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการรับส่ง การเสนอความเห็น หรือสั่งคําคู่ความ หนังสือ หรือเอกสาร และคําสั่ง กรมบังคับคดีที่ 101/2540 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2540 เรื่อง พิจารณาทําคําสั่งหรือความเห็น ข้อ ๒ ให้เจ้าหน้าที่ธุรการผู้มีหน้าที่ในการรับส่ง คําคู่ความ หนังสือ หรือเอกสารต่างๆ ที่จะต้อง นําเสนอต่อเจ้าพนักงานส่งคําคู่ความ หนังสือหรือเอกสารนั้นต่อเจ้าพนักงานภายในวันที่ได้รับคําคู่ความ หนังสือ หรือเอกสารนั้น หรือเมื่อได้รับเอกสารดังกล่าวจากเจ้าพนักงาน เพื่อส่งไปยังบุคคลภายนอกให้ ดําเนินการส่งเอกสารนั้นภายในวันที่ได้รับทันที หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นต้องส่งช้ากว่ากําหนดเวลา ดังกล่าว ให้รายงานเหตุขัดข้องให้เลขานุการกรม ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี ทราบโดยเร็ว ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานได้รับความ หนังสือ หรือเอกสารต่างๆ จากเจ้าหน้าที่ธุรการหรือความ หรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีแล้ว ให้พิจารณามีคําสั่งหรือมีความเห็นในคําคู่ความ หนังสือ หรือเอกสารนั้น ๆ ตามหาอํานาจหน้าที่ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ได้รับคําคู่ความ เอกสาร หรือหนังสือนั้น ในกรณีที่ต้องมีการ เสนอ สิ่งหรือความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น ให้ดําเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าวเช่ ข้อ ๔ ให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการพิจารณามีคําสั่งหรือความเห็นในคําคู่ความ หนังสือหรือเอกสารที่เสนอตามข้อ 3 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ได้รับการเสนอนั้น ข้อ ๕ การทําคําสั่งหรือความเห็นในคําคู่ความ หนังสือ หรือเอกสารที่ต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริง ก่อน ให้เจ้าพนักงานรีบดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ หรือคําสั่ง กรมบังคับคดีให้ถือปฏิบัติแล้วแต่กรณี และให้เสนอคําสั่งหรือความเห็นนั้น ต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น ภายในวันที่ได้ทําคําสั่งหรือความเห็นนั้นเสร็จ และให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการพิจารณามีคําสั่งหรือความเห็นให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันนับแต่ได้รับการเสนอ และหากต้องมีการเสนอคําสั่ง หรือความเห็นนั้นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปให้รีบนําเสนอภายในวันที่ได้มีคําสั่งหรือความเห็น ข้อ ๖ ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการได้ภายในระยะเวลาตามข้อ 2 ถึง ข้อ 5 ให้ผู้ที่ไม่อาจปฏิบัติ ดังกล่าวได้รายงานความจําเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นไปยังอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย ภายใน 3 วันนับแต่วันที่มีความจําเป็นดังกล่าว อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่20 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,183
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 448/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 448/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 ----------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการดําเนินการในสํานวนเจ้าหนี้ มีประกันตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กรณีเจ้าหนี้มีประกันยังไม่เคยฟ้องบังคับจํานองหรือขอรับชําระหนี้บุริมสิทธิ์ ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ในคดีแพ่งและเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคําร้องตามมาตรา 95 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 พร้อมนําส่งบันทึกถ้อยคํา เอกสารหลักฐานประกอบหนี้ และ เอกสารประกอบการยึดทรัพย์ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคําร้องและทําการยึดทรัพย์ประกันภายใน วันนั้นแล้วพิจารณามีคําสั่งต่อไป หากเอกสารไม่ครบถ้วนให้แจ้งเจ้าหนี้นําส่งเอกสารให้ครบถ้วนและยึดทรัพย์หลักประกัน ภายใน 15 วันนับแต่วันยื่นคําร้อง มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งคําร้อง 1.1 การเลื่อนวันนัดสอบสวน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาเหตุที่ขอเลื่อนโดย เคร่งครัดและให้เลื่อนกรณีจําเป็น แต่ทั้งนี้มิให้เลื่อนไปเกินกว่า 20 วัน และกําชับว่าในนัดหน้าจะไม่ อนุญาตให้เลื่อนอีกไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ หากการขอเลื่อนไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าไม่มีพยานหรือไม่ติดใจ นําพยานมาให้การสอบสวน 1.2 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําความเห็นหรือคําสั่งให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันเสร็จ การสอบสวน และงดการส่งสํานวนให้นักบัญชีคํานวณยอดหนี้ กรณีจําเป็นไม่อาจทําความเห็นหรือคําสั่งให้ แล้วเสร็จภายในกําหนดดังกล่าว ให้รายงานตามลําดับเพื่อขออนุญาตขยายระยะเวลาต่ออธิบดีหรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณี 1.3 คําสั่งมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เสนออธิบดีหรือรอง อธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งการหรือเห็นชอบ ในส่วนภูมิภาคให้เสนอความเห็นหรือคําสั่งพร้อม สํานวนให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคสั่งการ เว้นแต่ความเห็นของผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขากับผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแตกต่างกัน ให้ ส่งเรื่องให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายสั่งการ กรณีที่สําคัญหรือคดีมีทุนทรัพย์มากหรือมีปัญหา ยุ่งยากซับซ้อน ให้รายงานอธิบดีหรือรองรับผู้ได้รับมอบหมายคราบโดยเร็ว ข้อ ๒ กรณีเจ้าหนี้มีประกันได้ฟ้องบังคับจํานองหรือขอรับชําระหนี้บุริมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ในคดีแพ่ง และศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับ ชําระหนี้บุริมสิทธิ์แล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง หากพบว่าการทํานิติกรรม ของลูกหนี้ไม่อยู่ในข่ายเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้แจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ดําเนินการบังคับคดีต่อไปในคดีแพ่งและจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันให้แก่เจ้าหนี้มี ประกันตามสิทธิแต่ไม่เกินวงเงินบุริมสิทธิ์ หากมีเงินเหลือให้ส่งเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ข้อ ๓ กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งติดจํานองบุคคลภายนอกคดีซึ่งมิได้ ยื่นคําขอรับชําระหนี้หรือยื่นคําร้องตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งการยึดทรัพย์สินให้เจ้าหนี้ผู้รับจํานองทราบ โดยระบุในหนังสือแจ้งการยึดว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวโดยวิธีปลอดการจํานองหากเจ้าหนี้ผู้รับ จํานองประสงค์จะขอรับชําระหนี้จํานองจากเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าว ให้ยื่นคําร้องพร้อม เอกสารประกอบหนีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการยึด แล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โดยปลอดการจํานอง เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์ได้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งคําร้องของเจ้าหนี้ผู้รับจํานองแล้ว ให้ทําบัญชีจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ผู้รับ จํานองตามคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าหนี้ผู้รับจํานองมิได้ยื่นคําร้องขอรับชําระหนี้จํานองต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ทําบัญชีกันเงินในส่วนของเจ้าหนี้ผู้รับจํานองไว้ และแจ้งเจ้าหนี้ผู้รับจํานอง ทราบ หากคดีไม่มีกิจการทรัพย์สินใดต้องดําเนินการต่อไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้มีคําสั่งปิดคดี อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,184
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 447/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนคำขอรับชำระหนี้
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 447 / 2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ ----------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับสํานวนคําขอรับชําระหนี้ เป็นไปโดยเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพและเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 50/2533 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง การทําความเห็นหรือ คําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีขัดแย้งกัน 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดี 3032542 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2542 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับหนี้ด้อยสิทธิ ข้อ ๒ ให้ฝ่ายคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม ตรวจและรับคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ใน คดีล้มละลายที่ยื่นภายในกําหนด 2 เดือนนับแต่วันประกาศโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและตั้ง สํานวนคําขอรับชําระหนี้ พร้อมบันทึกข้อมูลระบบงานเสร็จแล้วรวบรวมสํานวนคําขอรับชําระหนี้ส่ง กองบังคับคดีล้มละลายที่รับผิดชอบภายในวันนั้น ส่วนกรณีที่เจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้เกินกําหนดระยะเวลา ให้ฝ่ายคําคู่ความลงรับคําขอ รับชําระหนี้แล้วส่งให้กองบังคับคดีล้มละลายที่รับผิดชอบพิจารณาสั่งในวันนั้น ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่รับคําขอรับชําระหนี้ตรวจและมีคําสั่งในคําขอรับชําระหนี้ที่ยื่น ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ว่าดําเนินการโดยถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หรือไม่ หากเจ้าหนี้ไม่ส่งเอกสารหลักฐานประกอบหนี้หรือส่งเอกสารหลักฐาน ประกอบหนี้ไม่ครบถ้วนในวันยื่นคําขอรับชําระหนี้ให้มีคําสั่งให้เจ้าหนี้นําส่งก่อนหรือในวันนัดตรวจ คําขอรับชําระหนี้ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่าหากประสงค์จะยื่นบันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงประกอบ ให้ยื่น ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาดังกล่าว ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ ให้แจ้งบรรดาเจ้าหนี้ทราบว่าหาก ประสงค์จะโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดให้ยื่นคําโต้แย้งเป็นหนังสือพร้อมสําเนาต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ภายใน 7 วันนับแต่วันตรวจคําขอรับชําระหนี้ ข้อ ๕ สํานวนคําขอรับชําระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้มิได้เป็นบุคคลภายในของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ ไม่ได้โต้แย้งไม่ว่าเป็นหนี้ประเภทใดและไม่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าจะเป็นหนี้ที่ขอรับชําระหนี้ไม่ได้ ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําความเห็น เสนอต่อศาลให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ ตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ภายใน 15 วันนับแต่วันครบกําหนดโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ตามข้อ 4 โดยไม่ต้องทําการสอบสวนเว้นแต่ จะมีเหตุสมควรซึ่งจะเป็นผลให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้น้อยกว่าที่ขอมาหรือไม่ได้รับชําระหนี้ตามขอ กรณีสํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีผู้ได้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดสอบสวนไป ยังเจ้าหนี้และผู้โต้แย้งภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ครบกําหนดโต้แย้งและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนด วันนัดสอบสวนเจ้าหนี้หรือผู้โต้แย้งไว้รวม 2 นัด ห่างกันไม่เกิน 15 วัน และแจ้งไปด้วยว่าเมื่อถึงกําหนดนัดถ้า เจ้าหนี้หรือผู้โต้แย้งไม่นําพยานไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนตามนัด โดยมีแจ้งเหตุขัดข้อง หรือ โดย ถือว่าฝ่ายที่ไม่มาไม่มีพยานหรือไม่ติดใจนําพยานไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวน ซึ่งเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จะทําความเห็นต่อไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสํานวน ร้องขอเลื่อน เจ้าหนี้หรือผู้โต้แย้งยินยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ข้อ ๖ การเลื่อนวันนัดทําการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ว่ากรณีใดๆ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์พิจารณาเหตุที่ขอเลื่อนโดยเคร่งครัดและให้เลื่อนกรณีจําเป็น แต่ทั้งนี้มิให้เลื่อนไปเกินกว่า 20 วัน นับแต่วันขอเลื่อน และกําชับว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนอีกไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ หากการขอเลื่อน ไม่มี เหตุอันสมควรให้ถือว่าไม่มีพยานหรือไม่ติดใจนําพยานมาให้การสอบสวน ข้อ ๗ ในวันนัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้รายใดยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 96(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งยังไม่มีการยึดทรัพย์ไว้ในคดีแพ่ง ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แจ้งเจ้าหนี้ให้ดําเนินการดังนี้ 7.1 กรณีสํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถทําความเห็นเสนอศาล ได้โดยไม่ต้องสอบสวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งเจ้าหนี้ให้ส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์หลัก ประกันต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 15 วัน นับแต่วันตรวจคําขอรับชําระหนี้พร้อมให้ยึดทรัพย์หลัก ประกันในวันเดียวกันนั้น 7.2 กรณีสํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่ต้องทําการสอบสวนในหมายนัดสอบสวนพยานเจ้าหนี้ นัดแรก ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้เจ้าหนี้ดําเนินการดังกล่าวข้างต้นในวันที่กําหนดนัดสอบสวน พยานเจ้าหนี้ ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําความเห็นให้เสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันเสร็จการสอบสวน ทั้งนี้ไม่นับรวมเวลาในการส่งสํานวนให้นักบัญชีติดยอดหนี้ เพื่อขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อผู้อํานวยการกอง ในกรณีจําเป็นไม่อาจทําความความเห็นให้เสร็จภายในกําหนดดังกล่าวให้รายงานตามลําดับ ข้อ ๙ การพิจารณาให้ความเห็นชอบสํานวนคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ตามมาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 93 และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 9.1 สํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีจํานวนหนี้ที่ขอมาไม่เกิน 20 ล้านบาท ให้หัวหน้ากลุ่มเป็น ผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 9.2 สํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีจํานวนหนี้ ที่ขอมาเกิน 20 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ให้ผู้อํานวยการกองเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 9.3 สํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีจํานวนหนี้ขอมาเกิน 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท ให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลายเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 9.4 สํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีจํานวนหนี้ที่ขอมาเกินกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป ให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอความเห็นว่าควรอุทธรณ์หรือฎีกาหรือไม่อุทธรณ์ หรือ ไม่ถูก คําพิพากษาหรือคําสั่งศาลนั้นต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายก่อนที่จะครบกําหนดระยะ เวลานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 15 วัน หากมีเหตุขัดข้องจําเป็นต้องเสนอความเห็นช้ากว่ากําหนดดังกล่าวให้รายงาน เหตุขัดข้องดังกล่าวให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ และกรณีมีความจําเป็นให้ยื่นคําร้อง เพื่อขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลด้วย ข้อ ๑๑ กรณีที่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคําสั่งศาลเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่งสํานวนคําขอรับชําระหนี้ไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา พร้อมกับอุทธรณ์หรือฎีกาหรือคําแก้อุทธรณ์หรือ คําแก้แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ การดําเนินการสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในส่วนภูมิภาคที่ลูกหนี้มีภูมิลําเนา ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ 12.1 เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ให้สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาครับคําขอรับชําระหนี้ ไว้และส่งสําเนาคําขอรับชําระหนี้พร้อมขอลําดับเจ้าหนี้โดยทางโทรสารไปยังฝ่ายคําคู่ความ สํานักงาน เลขานุการกรม เพื่อตั้งภาคสํานวนไว้ที่ส่วนกลาง ส่วนต้นฉบับให้สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคที่รับคําขอ รับชําระหนี้ตั้งสํานวนไว้เพื่อดําเนินการสอบสวนและทําความเห็นส่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลาง พิจารณาเสนอศาลตามขั้นตอน 12.2 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่รับคําขอรับชําระหนี้ตรวจและมีคําสั่งในคําขอรับชําระหนี้ โดย ดําเนินการตามข้อ 3 12.3 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางทําการตรวจคําขอรับชําระหนี้ ปรากฏว่ามีการ ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในส่วนภูมิภาค ให้สําเนารายงานตรวจคําขอรับชําระหนี้ให้สํานักงานบังคับคดีส่วน ภูมิภาคทราบ ในกรณีที่มีการโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ให้ส่งคําโต้แย้ง รายชื่อ และภูมิลําเนาของผู้โต้แย้งไปด้วย 12.4 การนัด การเลื่อนการสอบสวน สํานวนคําขอรับชําระหนี้ให้ดําเนินการตามข้อ 5 ข้อ 6 7 และข้อ 8 12.5 การพิจารณาให้ความเห็นชอบ สํานวนคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ตามมาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 93 และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 12.5.1 สํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีจํานวนหนี้ที่ขอมาไม่เกิน 20 ล้านบาทให้ผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 12.5.2 สํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีจํานวนหนี้พี่ขอมาเกิน 20 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 12.5.3 สํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีจํานวนหนึ่งขอมาเกิน 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน เกินกว่า 100 ล้านบาท ให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 12.5.4 จํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีจํานวนหนีมาเกินกว่า 100 ล้านบาท ขึ้นไป ให้อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ 12.6 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําความเห็นเสร็จแล้วให้จัดส่งสํานวนและความเห็นให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางเพื่อส่งศาลต่อไป และเมื่อศาลมีคําสั่งสํานวนคําขอรับชําระหนี้แล้ว ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางแจ้งคําสั่งศาลให้คู่ความทราบ 12.7 การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการแก้อุทธรณ์ แก้ฎีกา ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลาง เป็นผู้ดําเนินการโดยเร็วที่สุด ข้อ ๑๓ เมื่อเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนี้ลําดับรอง) ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนในเรื่องหนี้สิน และข้อตกลงหรือข้อกําหนดตามสัญญาหรือตาม กฎหมายในการก่อหนี้ด้อยสิทธิไว้ให้ชัดเจนว่า เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนี้ลําดับรอง) จะได้รับชําระหนี้ต่อเมื่อ เจ้าหนี้รายใดบ้างได้รับชําระหนี้ก่อน ตลอดจนวิธีการก่อหนี้ด้อยสิทธิว่าเป็น รูปแบบ : หนี้ด้อยสิทธิไม่ชําระหนี้ (Contractual Subordination ) กล่าวคือ เจ้าหนี้ลําดับรองจะไม่ยอมรับชําระหนี้จนกว่าเจ้าหนลําดับแรกจะได้ รับชําระหนี้จนครบถ้วน หรือเป็น รูปแบบ : หนี้ด้อยสิทธิส่งคืน (Turnover Subordination) กล่าวคือเจ้าหนี้ ลําดับรองตกลงว่าจะถือทรัพย์สินที่คนได้รับชําระหนี้ จากลูกหนี้ไว้แทนเจ้าหนี้ลําดับแรกหรือจะส่งมอบ ทรัพย์สินที่ตนได้รับชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ลําดับแรกจนกว่าที่เจ้าหนี้ลําดับแรกจะได้รับการชําระหนี้จน ครบถ้วน และเมื่อได้ทําการสอบสวนพยานฝ่ายเจ้าหนี้และฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อื่นผู้โต้แย้งเสร็จ ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําความเห็นเสนอศาลเพื่อมีคําสั่งว่าเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนี้ลําดับรอง) จะได้รับ ชําระหนี้เป็นเงินจํานวนเท่าใด ตามมาตรา 130(7) และมีเงื่อนไขในการที่จะได้รับชําระหนี้ภายหลังเจ้าหนี้อื่น รายใดบ้างตลอดจนรูปแบบการก่อหนี้ด้อยสิทธิว่าเป็นรูปแบบใดดังกล่าวข้างต้นชัดเจน 13.1 ในการแบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ให้ชําระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามลําดับดังที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 139(1) - (6) ก่อน ต่อเมื่อเหลือเงินจึงให้นํามาแบ่งให้แก่เจ้าหนี้อื่นๆ ตามมาตรา 130(7) โดยให้ ดําเนินการแบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนีลําดับแรก เจ้าหนี้อื่นและเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ ดังนี้ 13.1.1 ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องก่อหนี้ด้อยสิทธิ รูปแบบ : หนี้ด้อยสิทธิ์ไม่รับชําระหนี้ (Contractual Subordination) ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ลําดับแรกและเจ้าหนี้อื่น จนเต็มจํานวนหนี้ที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ได้รับชําระหนี้ก่อน ต่อเมื่อเจ้าหนลําดับแรก ได้รับชําระหนี้ ครบถ้วน ซึ่งให้แบ่งทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนีลําดับรอง) ต่อไป แต่ถ้ามีเงินไม่พอชําระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้ลําดับแรกและเจ้าหนี้อื่น ให้แบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ลําดับแรกและเจ้าหนี้อื่นตามส่วนเฉลี่ยโดย ไม่ต้องนําจํานวนหนี้ที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ด้อยสิทธิได้รับชําระหนี้มาคํานวณด้วย 13.1.2 ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องก่อหนี้ด้อยสิทธิ รูปแบบ : หนี้ด้อยสิทธิส่งคืน (Turnover Subordination) ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ลําดับแรกและเจ้าหนี้อื่น จนเต็มจํานวนหนี้ที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ได้รับชําระหนี้ก่อน ต่อเมื่อเจ้าหนลําดับแรก ได้รับชําระหนี้ ครบถ้วน จึงให้แบ่งทรัพย์สินแต่เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนี้ลําดับรอง) ต่อไป แต่ถ้ามีเงินไม่พอชําระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้ลําดับแรกและเจ้าหนี้อื่น ให้ทําบัญชีแบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ลําดับแรก เจ้าหนี้อื่น และเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนี้รับรอง) ตามส่วนเฉลี่ยก่อนแต่เนื่องจากเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ์ (เจ้าหนีลําดับรอง) มีข้อตกลงหรือข้อกําหนด ตามสัญญาหรือตามกฎหมายว่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ตนได้รับจากการชําระหนี้ของตนให้แก่เจ้าหนี้ ลําดับแรกจนกว่าเจ้าหนลําดับแรกจะได้รับชําระหนี้ครบถ้วน ดังนั้นจึงให้นําส่วนแบ่งที่เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนี้ลําดับรอง)ได้รับชําระหนี้จากการแบ่งทรัพย์สินครั้งแรกมาแบ่งให้แก่เฉพาะเจ้าหนี้ลําดับแรกอีกครั้ง ต่อไป เว้นแต่กรณีเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ์ (เจ้าหนี้ลําดับรอง) จะมีสิทธิได้รับชําระหนี้ต่อเมื่อเจ้าหนี้อื่นทุกรายได้รับ ชําระหนี้ก่อน จึงให้แบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ลําดับแรกตามส่วนเฉลี่ยได้เลย โดยไม่ต้องป่าจํานวนหนี้ที่ เจ้าหนี้ลําดับรองมีสิทธิได้รับนํามาคํานวณด้วย อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2549 (ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,185
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559
ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559 --------------------------------------- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัย ให้ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยและเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการด้านสินไหมทดแทนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นการเพิ่มทางเลือกอีกทางหนึ่งให้กับประชาชนที่จะระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัย โดยผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นผู้ชํานาญการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และมาตรา 37/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบมาตรา 32 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 และมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกระเบียบไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2559” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บทนิยาม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานสํานักงาน ที่มีหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ในการพิจารณาข้อร้องเรียนและดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย “ผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า ผู้ชํานาญการด้านกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ทั้งนี้ รวมถึงคณะผู้ไกล่เกลี่ยด้วย ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยมากกว่าหนึ่งคนในข้อพิพาทเรื่องใด ๆ ที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ชํานาญการและได้รับการแต่งตั้งให้ทําหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามระเบียบนี้ “ผู้ร้องเรียน” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับชําระหนี้ตามสัญญาประกันภัยที่ยื่นคําร้องต่อสํานักงาน ไม่ว่าจะยื่นโดยตรง หรือผ่านช่องทางต่าง ๆ ของสํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ของประชาชนและสํานักงานได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว “ข้อพิพาท” หมายความว่า ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทนการชดใช้เงินหรือประโยชน์อื่นใดตามสัญญาประกันภัย “คําร้อง” หมายความว่า การกระทําด้วยวิธีการใด ๆ ที่ผู้ร้องเรียน ยื่นขอความเป็นธรรมต่อสํานักงาน ไม่ว่าจะยื่นโดยตรง หรือผ่านช่องทางต่าง ๆ ของสํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนของประชาชน และสํานักงานได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว “บริษัท” หมายความว่า บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต “คู่กรณี” หมายความว่า ผู้ร้องเรียนและบริษัท ซึ่งประสงค์ใช้วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยการไกล่เกลี่ยตามระเบียบนี้ “ทะเบียนรายชื่อ” หมายความว่า ทะเบียนรายชื่อผู้ชํานาญการซึ่งสํานักงานอาจแต่งตั้งให้ทําหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามระเบียบนี้” หมวด ๑ บททั่วไป ---------------------------------- ข้อ ๔ ให้สํานักงานจัดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามระเบียบนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือคู่กรณีให้สามารถยุติข้อพิพาทในกระบวนการไกล่เกลี่ยและให้ดําเนินงานธุรการที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยดังกล่าว ข้อ ๕ ให้สํานักงานดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการเพื่อให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามที่ผู้ร้องเรียนร้องขอ (2) ส่งเสริมและเผยแพร่วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยการไกล่เกลี่ย (3) จัดทําสารบบและสํานวนเรื่องไกล่เกลี่ย (4) จัดทําข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับการดําเนินการไกล่เกลี่ย ตลอดจนการประเมินผลการดําเนินงานไกล่เกลี่ยเสนอต่อเลขาธิการ (5) จัดทําทะเบียนรายชื่อและประสานงานกับผู้ไกล่เกลี่ย (6) ประสานงานกับหน่วยงานอื่น เพื่อการดําเนินการไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาททางเลือกตามระเบียบนี้ หมวด ๒ ผู้ไกล่เกลี่ย ----------------------------------- ส่วน ๑ การขึ้นทะเบียนรายชื่อและการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ย ------------------------------- ข้อ ๖ ให้สํานักงานจัดให้มีทะเบียนรายชื่อ ซึ่งมาจากบุคคลภายนอก ทั้งนี้ บุคคลตามทะเบียนรายชื่อ ต้องเป็นผู้ชํานาญการ โดยผ่านการอบรมหลักสูตรเทคนิคหรือวิธีการไกล่เกลี่ยที่สํานักงานจัด หรือหลักสูตรในลักษณะเดียวกันที่สํานักงานให้การรับรอง หรือเป็นผู้ที่สํานักงานเห็นว่ามีความรู้และประสบการณ์ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นอย่างดีโดยไม่จําต้องผ่านการอบรมดังกล่าว ข้อ ๗ ผู้ขึ้นทะเบียนรายชื่อ นอกจากต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 6 แล้ว ยังต้องผ่านการคัดเลือกจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนกําหนด ทั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบปีบริบูรณ์ (2) เป็นผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีและเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทํางานด้านประกันภัยหรือด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (3) เป็นผู้มีความพร้อมที่จะอุทิศเวลาปฏิบัติหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยประจําสํานักงาน (4) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี (5) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (6) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (7) ไม่เป็นพนักงาน ผู้บริหาร ที่ปรึกษาของบริษัทประกันภัย (8) ไม่เป็นผู้ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือกระทํากิจการใดอันอาจกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย ข้อ ๘ ในกรณีที่บุคคลภายนอกประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนรายชื่อตามข้อ 6 ให้ยื่นคําขอต่อสํานักงานพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (1) สําเนาทะเบียนบ้าน (2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) สําเนาแสดงวุฒิการศึกษา (4) สําเนาหลักฐานรับรองการผ่านการอบรมหลักสูตรเทคนิค หรือวิธีการไกล่เกลี่ยที่สํานักงานจัดหรือรับรอง (5) หนังสือรับรองประสบการณ์ในการทํางาน เมื่อสํานักงานตรวจสอบเอกสารหลักฐานของผู้ขอขึ้นทะเบียนรายชื่อแล้วพบว่ามีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามรวมทั้งผ่านการคัดเลือกตามข้อ 7 แล้ว ให้เสนอนายทะเบียนเพื่อให้ความเห็นชอบและขึ้นทะเบียนรายชื่อตามระเบียบนี้ ในกรณีผู้ที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนรายชื่อแล้วและประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนรายชื่ออีก อาจขอใช้เอกสารหลักฐานเดิมก็ได้ ข้อ ๙ ให้ทะเบียนรายชื่อมีอายุสองปีนับแต่วันจัดทําทะเบียนรายชื่อโดยไม่ต้องคํานึงว่าผู้มีชื่อในทะเบียนรายชื่อได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้ ณ เวลาใด ในกรณีที่การจัดทําทะเบียนรายชื่อใหม่ไม่แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาที่ทะเบียนรายชื่อเดิมได้สิ้นผลให้ถือว่าบุคคลในทะเบียนรายชื่อเดิมยังคงเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนรายชื่ออยู่จนกว่าทะเบียนรายชื่อใหม่จะแล้วเสร็จ การที่ทะเบียนรายชื่อสิ้นผลตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบถึงการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยในช่วงเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองของข้อพิพาทที่ได้ดําเนินการไปแล้วและให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการไกล่เกลี่ย ข้อ ๑๐ ผู้ที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนรายชื่อแล้วและไม่ได้เป็นผู้ที่เคยถูกจําหน่ายชื่อออกจากทะเบียนรายชื่อเพราะเหตุใด ๆ นอกเหนือจากการลาออก อาจขอขึ้นทะเบียนรายชื่อได้อีก ในการพิจารณาเสนอชื่อผู้ที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนรายชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนรายชื่ออีก ให้สํานักงานคํานึงถึงผลการปฏิบัติงานความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่และการอุทิศเวลามาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนความประพฤติตนและดํารงตนในฐานะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยอย่างเหมาะสมของบุคคลดังกล่าวในรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนที่ผ่านมา ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยจากผู้ที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อ โดยคํานึงถึงลักษณะของข้อร้องเรียนและความเหมาะสมของผู้ไกล่เกลี่ย เว้นแต่คู่กรณีประสงค์ร่วมกันที่จะเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ข้อ ๑๒ ผู้ไกล่เกลี่ยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งละสองพันบาท แต่รวมกันแล้วไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทต่อข้อพิพาทหนึ่งเรื่อง ส่วน ๒ การคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ย --------------------------------- ข้อ ๑๓ คู่กรณีอาจคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ยได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางของผู้ไกล่เกลี่ย ข้อ ๑๔ คู่กรณีที่ประสงค์จะคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ยต้องแจ้งเหตุแห่งการคัดค้านต่อสํานักงานก่อนเริ่มกระบวนการไกล่เกลี่ย ทั้งนี้ การคัดค้านต้องกระทําก่อนกระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง โดยให้สํานักงานเป็นผู้พิจารณาและมีคําสั่งตามที่เห็นสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเหตุแห่งการคัดค้าน การที่ผู้ไกล่เกลี่ยถอนตัว ไม่ถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่คู่กรณียกขึ้นคัดค้าน ส่วน ๓ การพ้นจากหน้าที่การเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในข้อพิพาท ---------------------------------- ข้อ ๑๕ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยพ้นจากหน้าที่ในข้อพิพาทที่ได้รับแต่งตั้งในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ไกล่เกลี่ยถอนตัว (2) สํานักงานจําหน่ายชื่อออกจากทะเบียนรายชื่อ (3) สํานักงานมีคําสั่งไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า (ก) มีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางในการทําหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย (ข) บกพร่องต่อหน้าที่ หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย (ค) ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่การเป็นผู้ไกล่เกลี่ย (ง) กระทําหรือละเว้นกระทําการตามหน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ย โดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้คู่กรณีเสียหาย (4) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ไกล่เกลี่ยมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 7 (4) (5) (6) (7) และ (8) ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ไกล่เกลี่ยพ้นจากหน้าที่ตามข้อ 15 สํานักงานอาจมีคําสั่งให้กระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง หรือแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยคนใหม่จากทะเบียนรายชื่อตามข้อ 6 เข้าดําเนินการไกล่เกลี่ยในข้อพิพาทนั้นต่อไปก็ได้ สิทธิในการรับค่าตอบแทนตามข้อ 12 ของผู้ไกล่เกลี่ยคนใหม่ถูกจํากัดโดยสิทธิในการรับค่าตอบแทน ของผู้ไกล่เกลี่ยที่พ้นจากหน้าที่ ส่วน ๔ การจําหน่ายชื่อออกจากทะเบียนรายชื่อ -------------------------------- ข้อ ๑๗ ให้สํานักงานจําหน่ายชื่อผู้ชํานาญการออกจากทะเบียนรายชื่อ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 7 (4) ขาดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดถึงสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (5) กระทําผิด หรือฝ่าฝืนต่อจริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ยอย่างร้ายแรง ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงตามข้อ 17 (1) และ (2) ให้สํานักงานพิจารณาจําหน่ายชื่อโดยเร็ว ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงตามข้อ 17 (3) (4) และ (5) ให้สํานักงาน ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรับฟังคําชี้แจงของผู้ไกล่เกลี่ยที่เกี่ยวข้องก่อนพิจารณาดําเนินการ ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่ามีเหตุตามวรรคสอง แต่ถ้าเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการกระทําผิดหรือฝ่าฝืนต่อจริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ตักเตือนผู้ไกล่เกลี่ยนั้นเป็นหนังสือ ส่วน ๕ จริยธรรมสําหรับผู้ไกล่เกลี่ย ----------------------------------- ข้อ ๑๙ ผู้ไกล่เกลี่ยต้องเคารพและสนับสนุนให้คู่กรณีตัดสินใจด้วยตนเองบนพื้นฐานของการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล เพื่อตกลงระงับข้อพิพาทด้วยความสมัครใจ รวมทั้งต้องละเว้นไม่ออกคําสั่งหรือคําตัดสินใด ๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทและทางเลือกในการตกลงระงับข้อพิพาท ตลอดจนต้องไม่พยายามโน้มน้าวหรือบังคับให้คู่พิพาทเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยหรือให้ทําการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งในกระบวนการไกล่เกลี่ย ข้อ ๒๐ ผู้ไกล่เกลี่ยต้องดําเนินการไกล่เกลี่ยด้วยความเป็นกลาง ข้อ ๒๑ ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ในการเปิดเผยความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นของผู้ไกล่เกลี่ยตลอดเวลาในกระบวนการไกล่เกลี่ย ภายหลังจากเปิดเผยถึงความขัดแย้งในผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ไกล่เกลี่ยต้องปฏิเสธหรือขอถอนตัวออกจากการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย เว้นแต่คู่พิพาททุกฝ่ายจะตกลงร่วมกันให้ผู้ไกล่เกลี่ยทําหน้าที่ต่อไป ข้อ ๒๒ ในระหว่างการไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องไม่รับทํางานใด ๆ ให้คู่กรณีที่ตนกําลังไกล่เกลี่ยอยู่และจะต้องเปิดเผยโดยทันทีถึงความพยายามของการติดต่อผู้ไกล่เกลี่ยให้ทําการงานให้เว้นแต่จะกระทําในฐานะผู้ไกล่เกลี่ย ข้อ ๒๓ ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องไม่กระทําการใด ๆ ให้กับคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายหลังการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงในเรื่องหรือเกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่กรณีทุกฝ่ายในกระบวนการไกล่เกลี่ย ข้อ ๒๔ ผู้ไกล่เกลี่ยต้องเก็บบรรดาข้อมูลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นความลับ เว้นแต่ในกรณีที่จะต้องมีการเปิดเผยตามที่กฎหมายกําหนด หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการดําเนินการหรือบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือคู่กรณีจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๕ ห้ามผู้ชํานาญการที่มีชื่อในทะเบียนรายชื่อโฆษณาและเชิญชวนให้คู่กรณีแต่งตั้งตนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและต้องละเว้นที่จะรับประกันว่าคู่กรณีจะตกลงกันได้ หรือให้สัญญาว่าจะเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่สมประโยชน์ของคู่กรณี ข้อ ๒๖ ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษา ประวัติการทํางานและประสบการณ์ในการไกล่เกลี่ย หมวด ๓ การไกล่เกลี่ย ------------------------------ ส่วน ๑ การเริ่มกระบวนการไกล่เกลี่ย ------------------------------ ข้อ ๒๗ เมื่อสํานักงานดําเนินการรับเรื่องร้องเรียนตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการพิจารณาข้อร้องเรียนและดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2552 ให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการดังนี้ (1) ตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หลักฐานที่เกี่ยวข้อง และประเด็นเบื้องต้น เพื่อชี้แจงทําความเข้าใจกับคู่กรณีเกี่ยวกับประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากคู่กรณีตกลงยุติข้อพิพาทกันได้ ให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการให้คู่กรณีทําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่หากคู่กรณีตกลงยุติข้อพิพาทกันไม่ได้ และเป็นกรณีที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ให้เจ้าหน้าที่สอบถามคู่กรณีว่าประสงค์จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือไม่ หากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยให้ดําเนินการตามระเบียบนี้ต่อไป แต่หากคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายไม่ตกลงที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยตามระเบียบนี้ ให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการพิจารณาข้อร้องเรียนและดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2552 ต่อไป เว้นแต่เป็นกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้นายทะเบียนจัดให้มีการดําเนินการไกล่เกลี่ยได้ (2) กรณีไม่เป็นข้อพิพาทตามระเบียบนี้ ให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงทําความเข้าใจกับผู้ร้องเรียนแต่หากผู้ร้องเรียนยังคงยืนยันที่จะให้พิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการพิจารณาข้อร้องเรียนและดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2552 ต่อไป ข้อ ๒๘ ในกรณีที่มีผู้ร้องเรียนได้ร้องเรียนบริษัทหลายรายในเหตุการณ์เดียวกันและร้องเรียนครั้งเดียวกันให้ถือว่าเป็นข้อพิพาทหนึ่งเรื่องในการคิดค่าตอบแทนให้ผู้ไกล่เกลี่ยตามข้อ 12 ส่วน ๒ วิธีการไกล่เกลี่ย ------------------------------- ข้อ ๒๙ เมื่อมีการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยในข้อพิพาทแล้ว ให้สํานักงานประสานงานผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อจัดให้มีการเริ่มไกล่เกลี่ยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สํานักงานแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ย ข้อ ๓๐ คู่กรณีพึงเข้าร่วมประชุมไกล่เกลี่ยด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุจําเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ คู่กรณีอาจแต่งตั้งตัวแทนที่มีอํานาจตัดสินใจและทําบันทึกความตกลงประนีประนอมยอมความเข้าร่วมประชุมไกล่เกลี่ยก็ได้ ข้อ ๓๑ ในกรณีที่คู่กรณีมิได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ไกล่เกลี่ยอาจกําหนดขั้นตอน หรือแนวทางในการดําเนินการไกล่เกลี่ยตามที่เห็นสมควร โดยคํานึงถึงพฤติการณ์แห่งข้อพิพาท ความประสงค์ของคู่กรณี การปฏิบัติต่อคู่กรณีอย่างเป็นธรรมและความต้องการที่จะระงับข้อพิพาทด้วยความรวดเร็ว ก่อนการไกล่เกลี่ยให้ผู้ไกล่เกลี่ยแจ้งขั้นตอนการไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีทราบว่า ข้อเสนอและคําแถลงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในชั้นไกล่เกลี่ยสํานักงานจะเก็บเป็นความลับ คู่กรณีไม่มีสิทธิใช้อ้างอิงไม่ว่ากรณีใด ๆ และไม่ผูกมัดคู่กรณี ข้อ ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยอาจให้คู่กรณีเสนอข้อเท็จจริง หรือข้อมูลเบื้องต้นแห่งข้อพิพาทตลอดจนข้อเสนอในการระงับข้อพิพาทต่อผู้ไกล่เกลี่ย หรืออาจเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวระหว่างคู่กรณีก็ได้ คู่กรณีอาจขอให้ผู้ไกล่เกลี่ยดําเนินการตามความในวรรคหนึ่งก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ผู้ไกล่เกลี่ยจะจัดให้มีการดําเนินการตามที่คู่กรณีขอหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๓๓ การไกล่เกลี่ยจะทําด้วยวิธีใด ณ วันเวลาและสถานที่ใด ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนดโดยแจ้งให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบ ข้อ ๓๔ การไกล่เกลี่ยต้องกระทําต่อหน้าคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยหากคู่กรณียินยอม ผู้ไกล่เกลี่ยอาจกระทําการไกล่เกลี่ยเฉพาะแต่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ไกล่เกลี่ยต้องแจ้งถึงขั้นตอนการดําเนินการไกล่เกลี่ยนั้น ให้คู่กรณีฝ่ายที่มิได้เข้าร่วมทราบด้วย ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่ตัวแทนของคู่กรณี หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ผู้ไกล่เกลี่ยอนุญาตให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยด้วย ข้อ ๓๕ เมื่อผู้ไกล่เกลี่ยได้รับข้อมูลอันเกี่ยวกับข้อพิพาทจากคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง ผู้ไกล่เกลี่ยอาจเปิดเผยสาระของข้อมูลนั้นให้แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งทราบ เว้นแต่คู่กรณีที่ให้ไว้ห้ามมิให้เปิดเผย ข้อ ๓๖ กระบวนการไกล่เกลี่ยให้ดําเนินการเป็นการลับและไม่ให้มีการบันทึกรายละเอียดของการไกล่เกลี่ยไว้ เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้บันทึกรายละเอียดของการไกล่เกลี่ยทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ข้อ ๓๗ ผู้ไกล่เกลี่ยอาจจัดทําบันทึกความตกลงประนีประนอมยอมความให้แก่คู่กรณี หรือจะให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดทําบันทึกความตกลงประนีประนอมยอมความให้ก็ได้ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้เป็นผู้จัดทําบันทึกความตกลงประนีประนอมยอมความนั้น ผู้ไกล่เกลี่ยอาจขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบว่าข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือระเบียบที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยกําหนดก็ได้ ข้อ ๓๘ ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องดําเนินการไกล่เกลี่ยให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มกระบวนการไกล่เกลี่ย หากผู้ไกล่เกลี่ยเห็นสมควรหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ผู้ไกล่เกลี่ยอาจขยายระยะเวลาในการดําเนินการไกล่เกลี่ยออกไปอีกก็ได้ ถ้าการขยายระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ของคู่กรณีทุกฝ่ายและมิได้ทําให้การพิจารณาข้อพิพาทล่าช้าเกินสมควร ทั้งนี้ ให้ขยายระยะเวลาได้ไม่เกินสิบห้าวัน และขยายได้ไม่เกินสองครั้ง โดยให้ขอขยายระยะเวลาก่อนครบกําหนดตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยห้าวันทําการ ส่วน ๓ การสิ้นสุดแห่งกระบวนการไกล่เกลี่ย -------------------------------------- ข้อ ๓๙ ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามระเบียบนี้ (1) คู่กรณีตกลงยุติข้อพิพาทได้ ให้ทําบันทึกความตกลงประนีประนอมยอมความ (2) คู่กรณีไม่สามารถตกลงยุติข้อพิพาทได้ ให้ดําเนินการตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการพิจารณาข้อร้องเรียนและดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ด้านการประกันภัย พ.ศ. 2552 ต่อไป ข้อ ๔๐ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้ถือว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง (1) คู่กรณีได้ทําบันทึกความตกลงประนีประนอมยอมความเป็นลายลักษณ์อักษร (2) คู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทด้วยการถอนข้อพิพาท (3) คู่กรณีไม่สามารถระงับข้อพิพาทได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 38 (4) ผู้ไกล่เกลี่ยเห็นว่าการดําเนินการไกล่เกลี่ยต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี การสิ้นสุดการไกล่เกลี่ยตาม (3) (4) ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้งเหตุดังกล่าวจากผู้ไกล่เกลี่ยและให้สํานักงานดําเนินการพิจารณาข้อร้องเรียน ตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการพิจารณาข้อร้องเรียนและดําเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. 2552 ต่อไปและไม่สามารถนําเรื่องดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้อีก ข้อ ๔๑ เมื่อกระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง ให้ผู้ไกล่เกลี่ยบันทึกแจ้งผลการไกล่เกลี่ยให้สํานักงานทราบโดยเร็ว ส่วน ๔ การรักษาความลับของข้อมูลในการไกล่เกลี่ย ------------------------------------- ข้อ ๔๒ ในกรณีที่คู่กรณีไม่ได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ให้รักษาข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นความลับ เว้นแต่เป็นการใช้เท่าที่จําเป็นเพื่อปฏิบัติหรือบังคับให้เป็นไปตามบันทึกความตกลงประนีประนอมยอมความ ข้อ ๔๓ ห้ามมิให้คู่กรณีที่เข้าร่วมในการไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ย หรือบุคคลภายนอก รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไกล่เกลี่ยนําความลับไปอ้างอิง หรือนําสืบเป็นพยานหลักฐานในกระบวนพิจารณาของสํานักงาน หรือเพื่อดําเนินการอื่นใด ไม่ว่าจะนําไปใช้ในรูปแบบใดเกี่ยวกับเรื่อง ดังต่อไปนี้ (1) ความประสงค์ หรือความเต็มใจของคู่กรณีในการขอเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ย (2) ความเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทาง หรือวิธีการในการระงับข้อพิพาทของคู่กรณีในการไกล่เกลี่ย (3) การยอมรับ หรือข้อความที่กระทําโดยคู่กรณีในการไกล่เกลี่ย (4) ข้อเสนอใด ๆ ที่เสนอโดยผู้ไกล่เกลี่ย (5) ข้อเท็จจริงที่ได้แสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะยอมรับข้อเสนอในการไกล่เกลี่ย (6) เอกสารที่จัดทําโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะใช้หรือใช้ในการไกล่เกลี่ยโดยเฉพาะ อนึ่ง พยานหลักฐานใดที่ใช้ในการไกล่เกลี่ย หากเป็นพยานหลักฐานที่นําสืบได้อยู่แล้วในกระบวนพิจารณาของสํานักงาน หรือเพื่อดําเนินการอื่นใด ย่อมไม่ต้องห้ามตามความในวรรคหนึ่ง ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,186
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 446/2545 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนกิจการและทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 446/2545 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนกิจการและทรัพย์สิน -------------------- เพื่อให้การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เป็น ไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม เป็นผลดีแก่คู่ความและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกค่าสั่งกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 285/2552 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2552 เรื่อง การโอนทรัพย์ที่ยึดหรือ อายัดในคดีแพ่งมาไว้ในคดีล้มละลาย 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 228/2523 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2523 เรื่อง การขายทรัพย์ที่ จะต้องมีการโอนทะเบียนในคดีล้มละลาย กรณีมีการเพิกถอนการโอน 1.3 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 65/2531 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2531 เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับ การยึด อายัด และจําหน่ายทรัพย์สิน ในคดีล้มละลาย 1.4 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 220/2533 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2533 เรื่อง วิธีการรวบรวมเงิน ในการบังคับคดีแก่ พันธบัตร หุ้นกู้ หรือ หุ้นในคดีล้มละลาย 1.5 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 284/2553 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2533 เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับ การยึด อายัด และจําหน่ายทรัพย์สินในคดีล้มละลาย 1.6 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 7/2558 ลงวันที่ 10 มกราคม 2538 เรื่อง การขายทรัพย์ในคดีแพ่งและคดีล้มละลาย 1.7 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 307/2540 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2540 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีในส่วนภูมิภาค ข้อ 1.5, 1.6 1.8 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 170/2545 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2545 เรื่อง การขายทรัพย์สินในคดีล้มละลาย 1.9 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 21/2546 ลงวันที่ 14 มกราคม 2546 เรื่อง การส่งประกาศขาย ทอดตลาดทรัพย์สินในคดีล้มละลาย 1.10 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 47/2546 ลงวันที่ 31 มกราคม 2546 เรื่อง การประกาศขาย ทอดตลาดทรัพย์สินในคดีแห่งคาบเกี่ยวกับคดีล้มละลาย 1.11 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 343/2547 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2547 เรื่อง การดําเนินการกับ ทรัพย์สินของเจ้าหนี้มีประกัน 1.12 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 612/2548 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 เรื่อง การนําทรัพย์สินของ ลูกหนีขายในที่ประชุมเจ้าหนี้ ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ จากคําให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ทําให้การชั้นไต่สวน โดยเปิดเผย สมุดบัญชีหรือเอกสาร เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน เอกสารทางทะเบียน รวมทั้งบรรดาคําร้อง คําแถลงและเอกสารในสํานวน เพื่อ จะได้ดําเนินการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายโดยไม่ชักช้า ข้อ ๓ ในการดําเนินการยึด อายัด และจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดี เรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการยึด อายัด และ จําหน่ายทรัพย์สิน โดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดกับคําสั่งนี้ ข้อ ๔ การดําเนินการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าของสํานวนเป็นผู้ทําการยึด เว้นแต่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าหนี้ผู้นํายึดแถลงความประสงค์ขอยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ ณ สํานักงาน บังคับคดีที่ทรัพย์ของลูกหนี้ตั้งอยู่ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าของสํานวนที่บันทึกขอให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ สํานักงานบังคับคดีที่ทรัพย์ของลูกหนี้ตั้งอยู่ ดําเนินการยึดและขายทอดตลาดแทนจนเสร็จการ โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ทําการยึดแทนตั้งสํานวนกิจการและทรัพย์สินไว้ และสําเนาเอกสารให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าของสํานวนทราบ เมื่อขายทรัพย์ที่ยึดได้ให้ส่งเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาด ทรัพย์หลังหักค่าใช้จ่ายไปให้เจ้าของสํานวน ข้อ ๕ การขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้ในคดีล้มละลาย ให้ปฏิบัติดังนี้ 5.1 เมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แต่ยังมิได้พิพากษาให้ล้มละลาย หากมีการยึด ทรัพย์สินซึ่งเป็นของเสียง่าย หรือถ้าหน่วงข้าไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายจะเป็นส่วน แห่งค่าของทรัพย์สินนั้นให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายโดยเร็ว เว้นแต่กรณีมีเหตุพิเศษให้รายงานเสนอ ผู้อํานวยการกองหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาเพื่อพิจารณาอนุญาต 5.2 เมื่อลูกหนี้ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการขายทรัพย์ ของลูกหนี้ผู้ล้มละลาย โดยเร็วตามวิธีที่เห็นว่าสะดวกและเป็นผลดีที่สุดแก่กองทรัพย์สิน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามีความจําเป็น หรือเหตุผลสมควรที่จะขายโดยวิธีอื่น นอกจากวิธีการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดี หรือ รองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงให้นัดประชุมเจ้าหนีหรือกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อขอความเห็นชอบ ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนําทรัพย์สินของลูกหนี้ขายในที่ประชุมกรรมการ เจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 123 หรือมาตรา 145 ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์กระทําการขายในที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายเท่านั้น โดยกําหนดหัวข้อประชุม เงื่อนไขและวิธีการ ขายให้แจ้งชัด แล้วแจ้งกําหนดนัด สถานที่ และหัวข้อประชุมให้เจ้าหนี้ทุกรายทราบตามระเบียบ ทั้งนี้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ห้ามมิให้ดําเนินการขายทรัพย์สินของลูกหนี้ในที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ 5.3 การขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดีล้มละลายของส่วนกลาง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะ มอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้รับผิดชอบขายทอดตลาดแทนหรือจะไปทําการขายทอดตลาดด้วย ตนเอง ก็ได้ 5.4 กรณีทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางยึดไว้ตั้งอยู่ในเขตภูมิภาค ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สํานักงานบังคับคดีที่ทรัพย์ของลูกหนี้ตั้งอยู่ทําการขายทอดตลาด โดยให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางขอกําหนดวันขายทอดตลาดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สํานักงานบังคับคดี ที่ทรัพย์ของลูกหนี้ตั้งอยู่ เพื่อจัดทําประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ และเมื่อจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้ ผู้มีส่วนได้เสียตามระเบียบแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สํานักงานบังคับคดีที่ทรัพย์ของ ลูกหนี้ตั้งอยู่ดําเนินการขายทอดตลาดตามกําหนดพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อจนเสร็จการ โดยจัดส่ง เอกสารสิทธิ์ และเอกสารที่จําเป็นในการดําเนินการขายไปด้วย เสร็จแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สํานักงาน บังคับคดีที่ทรัพย์ของลูกหนี้ตั้งอยู่แจ้งผลการขายพร้อมส่งเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดหลังหักค่าใช้จ่าย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลาง หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางเห็นสมควรนําทรัพย์ตามวรรคหนึ่งมาทําการขายใน ส่วนกลางให้รายงานเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณาอนุญาต 5.5 กรณีสํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาค และขายทอดตลาดแทน หากประสงค์ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางจัดส่งประกาศขายทอดตลาดให้บรรดาเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้มีส่วนได้เสียรายใด ให้ส่ง ประกาศขายทอดตลาดให้ส่วนกลางล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 45 วัน และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลาง แจ้งผลการส่งประกาศให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนภูมิภาคทราบก่อนวันขายทอดตลาด ข้อ ๖ เมื่อปรากฏทรัพย์สินของลูกหนี้ถูกบังคับคดีไว้ในคดีแพ่ง ซึ่งการบังคับคดียังไม่สําเร็จ บริบูรณ์ ให้ปฏิบัติดังนี้ 6.1 ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นต่อไปจนเสร็จสิ้น เสร็จแล้วส่งเงินสุทธิ หลังหักค่าใช้จ่ายไปไว้ในคดีล้มละลาย เว้นแต่ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ขายนั้น เป็นทรัพย์หลักประกันของเจ้าหนี้ มีประกันซึ่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วแต่กรณีมีกําลังแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจแจ้งกําลัง ดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบเพื่อดําเนินการจัดทําบัญชีและจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้มีประกันในคดีแพ่งก็ได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวรรคแรกแล้ว แม้ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะได้ขอให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบดําเนินการ ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ต่อไป เมื่อประกาศขายทอดตลาดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่ง ประกาศขายทอดตลาดต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่า 3 วัน เมื่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เจ้าของสํานวน ได้รับประกาศขายทอดตลาด ให้ลงนัดและติดตามผลการขายทอดตลาดภายใน 7 วันนับแต่วันขายและรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบต่อไป ในการนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องส่ง ประกาศขายทอดตลาดให้บรรดาเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย 6.2 หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้ว เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มี การยึดไว้ในคดีแพ่งเข้ามาไว้ในคดีล้มละลายจะทําให้การรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นไปได้ สะดวก รวดเร็ว และเป็นผลดีแก่คู่ความในคดีมากกว่าการขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์สินดังกล่าว ในคดีแพ่งแล้ว ให้ดําเนินการดังนี้ 6.2.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอรายงาน พร้อมเหตุผลต่อผู้อํานวยการกอง หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณี ขอโอบการยึดทรัพย์สินเข้ามาไว้ใน คดีล้มละลาย เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้แจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบโดยเร็ว 6.2.2 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้โอนทรัพย์สิน ของลูกหนี้ที่มีการยึดไว้ในคดีแพ่งมาไว้ในคดีล้มละลาย หากทรัพย์สินที่ยึดเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีแจ้งนายทะเบียน คู่ความ และผู้เกี่ยวข้องในคดีแพ่งทราบว่าได้โอนทรัพย์สินที่ยึดไปไว้ในคดีล้มละลาย แล้ว เสร็จแล้วจึงส่งสํานวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับไปทําเนินการต่อไปทันที กรณีทรัพย์สินที่ยึดเป็นสังหาริมทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายนักโจทก์ ในคดีแพ่งพร้อมแจ้งกําหนดนัดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อออกหมายนัดเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดี ล้มละลาย การมอบและรับมอบทรัพย์มาไว้ในคดีล้มละลาย หากโจทก์ในคดีแพ่งไม่ทําการมอบทรัพย์ที่ยึด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปตรวจสอบทรัพย์พร้อมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดี -:ล้มละลายเพื่อโอนการยึดเข้ามาไว้ในคดีล้มละลาย หากสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีเอกสารทางทะเบียน ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการแจ้งนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งด้วย 6.2.3 ถ้าเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลาย ไม่ไปรับมอบทรัพย์หรือไม่ยอมรับมอบ ทรัพย์ หรือบ่ายเบี่ยงการรับมอบทรัพย์ที่ยึดในคดีแห่ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อ พิจารณาว่าจะดําเนินการอย่างไรกับทรัพย์ที่ยึดไว้ในคดีแห่งโดยระบุในประกาศประชุมเจ้าหนี้ว่า หากไม่มี เจ้าหนี้ไปประชุมหรือไม่ลงมติประการใดหรือไม่ยินยอมรับโอนทรัพย์ที่ยึดจะถือว่าที่ประชุมเจ้าหนี้สละสิทธิ ในทรัพย์ที่ยึดไว้ในคดีแพ่งดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งผลการประชุมเจ้าหนี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ 6.3 ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ไว้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ลูกหนีแห่งสิทธิเรียกร้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกอายัดนั้นแก่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นสืบต่อจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ส่วนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับแล้ว ให้จัดทําบัญชีรับ-จ่ายและส่งเงินสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายไปไว้ในคดี ล้มละลาย ข้อ ๗ การอายัดสิทธิเรียกร้องหรือเงินได้อย่างใดๆ ของลูกหนี้ให้ดําเนินการดังนี้ 7.1 เมื่อปรากฎว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องหรือมีสิทธิได้รับเงินใดๆ จากบุคคลภายนอกให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสืออายัดเงินดังกล่าวไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้องทันทีอย่างช้าภายในวันทําการ ถัดไป กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนภูมิภาค สอบสวนกิจการทรัพย์สินของลูกหนี้คนใด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนภูมิภาคเป็นผู้ดําเนินการตาม วรรคหนึ่ง และเมื่อได้รับเงินตามอายัดให้รวบรวมส่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลาง เพื่อรวบรวมไว้ใน กองทรัพย์สิน 7.2 กรณีที่ลูกหนี้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจํา ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือน ค่าจ้างประจํา เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ หรือเงินอื่นใดในทํานองเดียวกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือแจ้งอายัด เงินดังกล่าวไปยังส่วนราชการต้นสังกัดของลูกหนี้ทราบ และแจ้งให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเพื่อให้ โอนเงินที่ถูกอายัดเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมบังคับคดี หรือสํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาค แล้วแต่ กรณีว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนกลางหรือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่วนภูมิภาคเป็นผู้อายัดเงินดังกล่าว พร้อมแนบสําเนาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหรือ สําเนาคําพิพากษาล้มละลาย และสําเนาสมุดบัญชี เงินฝากของกรมบังคับคดี หรือสํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคแล้วแต่กรณีไปด้วย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงนัดติดตามผลการอายัดไว้ไม่เกิน 1 เดือน เมื่อกรมบัญชีกลาง ตอบรับการอายัดเงินแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดรายงานขอให้เจ้าหน้าที่การเงินตรวจสอบเงินที่โอน เข้าบัญชีและออกใบรับเงิน กรณีที่เป็นเงินที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับเป็นรายเดือน ให้ลงนัดติดตามผลไว้ทุกเดือน ข้อ ๘ การกําหนดเงินค่าเลี้ยงชีพแก่ลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติดังนี้ 8.1 ในกรณีที่ลูกหนี้ยื่นคําขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดจํานวนเงินเพื่อใช้จ่ายเป็น ค่าเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวตามมาตรา 67(1) และมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณากําหนดจํานวนเงินค่าเลี้ยงชีพให้แก่ลูกหนี้และครอบครัวตามสมควร แก่ฐานานุรูป ในกรณีที่ลูกหนี้มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นควรกําหนด จ่ายค่าเลี้ยงชีพเกินกว่าร้อยละ 70 หรือกรณีที่ลูกหนี้มีรายได้เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอหัวหน้ากลุ่มงานหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดพิจารณา กําหนดจ่ายค่าเลี้ยงชีพ กรณีรายได้เกิน 50,000 บาทขึ้นไปให้รายงานขออนุญาตผู้อํานวยการกองหรือผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณีก่อน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม 7.1 วรรคสอง มีอํานาจกําหนดค่าเลี้ยงชีพแก่ลูกหนี้ด้วย 8.2 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กําหนดค่าเลี้ยงชีพแก่ลูกหนี้และครอบครัวแล้ว ให้ แจ้งผู้มีหน้าที่จ่ายเงินแก่ลูกหนี้ทราบ และให้ส่งเงินเฉพาะส่วนที่เหลือจากที่ได้กําหนดให้เป็นค่าเลี้ยงชีพแล้ว ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป 8.3 กรณีอายัดเงินเดือนหรือเงินรายได้อื่นใดของลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ เมื่อศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระงับการจ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพให้แก่ลูกหนี้ และระงับการ แบ่งเงินที่ได้รับจากต้นสังกัดของลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ศาลมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายไว้จนกว่าจะได้ สอบถามและได้รับแจ้งจากต้นสังกัดของลูกหนี้ว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการแบ่งเงินดังกล่าว ข้อ ๙ การดําเนินการบังคับคดีแก่พันธบัตร หุ้นกู้ และหุ้น ซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ทรงสิทธิเรียกร้อง ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติดังนี้ 9.1 ในกรณีพันธบัตรหรือหุ้นของลูกหนี้ถึงกําหนดชําระเงินแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอรับชําระเงินตามพันธบัตรหรือหุ้นกู้นั้น 9.2 ในกรณีพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของลูกหนี้ยังไม่ถึงกําหนดชําระ ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ว่าจะนําไปเรียกชําระเงินตามพันธบัตร หรือหุ้นกู้เมื่อใด ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความรวดเร็ว และ เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป 9.3 การบังคับคดีแก่น ให้ดําเนินการดังนี้ 9.3.1 หากเป็นหุ้นที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ใน ตลาดหลักทรัพย์ให้รวบรวมและพิจารณาขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ 9.3.2 หากเป็นหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ ให้ทําการยึดและขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดยวิธีอื่น ข้อ ๑๐ หากปรากฏว่าลูกหนี้ได้ทําประกันชีวิตไว้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบรายละเอียด เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในกรมธรรม์ เพื่อจะทําการเวนคืนหรือไถ่ถอนกรมธรรม์หรือดําเนินการอื่นๆ ที่เป็น ประโยชน์แก่กองทรัพย์สิน ในกรณีที่มีผู้เสนอขอชดใช้เงิน หรือเสนอผลประโยชน์ใดๆ ต่อกองทรัพย์สินหรือมีความจําเป็น ที่จะให้สัญญาประกันชีวิตมีผลต่อไปโดยไม่ต้องเวนคืนหรือไถ่ถอนกรมธรรม์ ให้เสนอที่ประชุมเจ้าหนี้ พิจารณา ข้อ ๑๑ กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาเห็นว่าการนําทรัพย์สินของลูกหนี้ออกให้เช่าจะทําให้ กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับประโยชน์ ให้เสนอที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณา หากที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบ ให้น่าทรัพย์ออกให้เช่า ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณา ถึงตัวผู้เช่าโดยละเอียด เช่น ฐานะความมั่นคง มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เป็นต้น และควรจัดให้มีหลักประกันในกรณีทรัพย์ที่ให้เช่าสูญหายหรือบุบสลายด้วย เงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบด้วยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บันทึกไว้ใน รายงาน ส่วนสัญญาเช่า ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร่างขึ้นต่างหากและเสนอเรื่องราว รายละเอียดพร้อม สัญญาเช่าต่อผู้อํานวยการกองหรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคตรวจสอบก่อนเสนอต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาก่อนที่จะให้ผู้เช่าและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงนามในสัญญาเช่า ข้อ ๑๒ กรณีลูกหนี้กระทําการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนหรือดําเนินธุรกิจของตน ต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 และ 120 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ 12.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีคําสั่งโดยแจ้งชัด ให้ลูกหนี้ หรือกรรมการผู้จัดการหรือ กรรมการผู้มีอํานาจทําบัญชีกิจการทรัพย์สินอื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน นับแต่ได้ดําเนินกิจการของลูกหนี้ดังกล่าวคือ 12.1.1 บัญชีแสดงการรับและจ่ายเงิน 12.1.2 บัญชีรายละเอียดทรัพย์สิน 12.1.3 บัญชีสินค้าค้างสต๊อกคงเหลือ 12.1.4 บัญชีงบขาดทุน กําไร 12.1.5 บัญชีอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร สําหรับส่วนกลาง ให้เจ้าหน้าที่กองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ทําหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง ของบัญชีข้างต้นรายงานเสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย ส่วนภูมิภาคให้ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีส่วนภูมิภาคสั่งเจ้าหน้าที่หรือจัดบุคคลอื่นใดที่มีความรู้ความชํานาญดําเนินการตรวจสอบแล้วรายงาน อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย 12.2 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตให้ลูกหนี้ไปทํางานต่างประเทศ ให้แจ้งลูกหนี้ จัดทําบัญชีรับจ่ายส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุก 6 เดือน พร้อมนําส่งรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของ รายได้ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนด เพื่อรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สิน และให้ลูกหนี้แจ้งชื่อ และภูมิลําเนาของผู้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะติดต่อได้ไว้ด้วย อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549 (ลงชื่อ) สิรวัด จันทรัฐ (นายสิรวัด จันทรัฐ) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,187
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการประนอมข้อพิพาทประกันภัยในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2553
ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการประนอมข้อพิพาทประกันภัยในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2553 ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับข้อ 26 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ บทนิยาม -------------------------- ข้อ ๑ ในระเบียบนี้ “สํานักงาน คปภ.” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ที่เลขาธิการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ “ข้อพิพาท” หมายความว่า ข้อพิพาทอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญาประกันภัย ภายใต้การดําเนินกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน คปภ. ที่อาจระงับข้อพิพาทได้ด้วยการตกลงหรือประนอมยอมความของคู่พิพาท “ผู้ประนอมข้อพิพาท” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งสํานักงาน คปภ. ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนอมข้อพิพาทประกันภัยไว้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ “คู่พิพาท” หมายความว่า ผู้เสนอข้อพิพาทและผู้คัดค้านในกระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน คปภ. ข้อ ๒ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับระเบียบนี้ และกําหนด ข้อบังคับ จริยธรรม หรือหลักเกณฑ์อื่นใดเพื่อให้การประนอมข้อพิพาทเป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของคู่พิพาท หมวด ๑ การประนอมข้อพิพาทและผู้ประนอมข้อพิพาท ---------------------------- ส่วน ๑ การแต่งตั้งและการพ้นจากหน้าที่ของผู้ประนอมข้อพิพาท ---------------------------- ข้อ ๓ เมื่อมีการยื่นคําเสนอข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการแล้ว ก่อนคู่พิพาทตกลงตั้งอนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทหากเลขาธิการเห็นสมควรหรือคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้สํานักงาน คปภ. จัดให้มีการตกลงหรือประนอมข้อพิพาทก่อนการตั้งอนุญาโตตุลาการ ในกรณีเช่นว่านี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นัดพร้อมเพื่อประนอมข้อพิพาทในเบื้องต้นก่อน หากคู่พิพาทไม่อาจตกลงกันได้ในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่และคู่พิพาทประสงค์จะให้มีการตั้งผู้ประนอมข้อพิพาท ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งผู้ประนอมข้อพิพาทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนของสํานักงาน คปภ. เพื่อดําเนินการประนอมข้อพิพาทไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประนอมข้อพิพาทแล้ว ผู้ประนอมข้อพิพาทจะต้องเปิดเผยข้อมูลอันเกี่ยวกับส่วนได้เสียหรือความเกี่ยวข้องเป็นส่วนตัวกับคู่พิพาททุกฝ่ายให้ทราบโดยทันที ข้อ ๕ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประนอมข้อพิพาทพ้นจากหน้าที่ (1) เมื่อผู้ประนอมข้อพิพาทถูกจําหน่ายชื่อจากทะเบียนรายชื่อผู้ประนอมข้อพิพาทของสํานักงาน คปภ. ตามข้อ 22 (2) เลขาธิการมีคําสั่งถอดถอนผู้ประนอมข้อพิพาท เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ประนอมข้อพิพาทนั้น (ก) กระทําการใด ๆ ในฐานะเป็นผู้แทนหรือกระทําการใดแทนคู่พิพาท (ข) มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องกับคู่พิพาทฝ่ายใดอันอาจกระทบกับความเป็นกลางในการประนอมข้อพิพาท (ค) ข่มขู่ บังคับ หรือใช้อิทธิพลในทางใด ๆ อันอาจกระทบกระเทือนต่อความสมัครใจในการระงับข้อพิพาทของคู่พิพาท (ง) ใช้อํานาจใด ๆ ที่มีหรืออาจจะมีไม่ว่าด้วยประการใด อันจะมีผลกระทบต่อการตกลงของคู่พิพาท ข้อ ๖ เมื่อผู้ประนอมข้อพิพาทพ้นจากหน้าที่ตามข้อ 5 แล้ว ถ้าคู่พิพาทประสงค์จะให้มีการประนอมข้อพิพาทต่อไปโดยผู้ประนอมข้อพิพาทที่ขึ้นทะเบียน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แต่งตั้งผู้ประนอมข้อพิพาทตามทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาทของสํานักงาน คปภ. คนใหม่ เพื่อดําเนินการประนอมข้อพิพาทต่อไป ส่วน ๒ กระบวนการประนอมข้อพิพาท ---------------------------- ข้อ ๗ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่งตั้งผู้ประนอมข้อพิพาทแล้ว การรับส่งเอกสารสํานวนหรือหลักฐานใด ๆ เกี่ยวกับสํานวนข้อพิพาทหรือการติดต่อใด ๆ ระหว่างผู้ประนอมข้อพิพาทกับคู่พิพาททั้งสองฝ่าย ให้เป็นไปตามที่ผู้ประนอมข้อพิพาทและคู่พิพาทตกลงกัน ข้อ ๘ ก่อนเริ่มกระบวนการประนอมข้อพิพาท ให้ผู้ประนอมข้อพิพาทจัดให้คู่พิพาทลงลายมือชื่อตกลงเข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาท และยอมรับที่จะปฏิบัติตามระเบียบนี้เป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่สํานักงาน คปภ. กําหนด ข้อ ๙ ผู้ประนอมข้อพิพาทอาจหารือกับคู่พิพาทเพื่อพิจารณากําหนดขั้นตอนหรือแนวทางในการดําเนินการประนอมข้อพิพาทก่อนเริ่มต้นกระบวนการประนอมข้อพิพาทก็ได้ ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการประนอมข้อพิพาท ผู้ประนอมข้อพิพาทอาจให้คู่พิพาทเสนอข้อเท็จจริงหรือข้อมูลเบื้องต้นแห่งข้อพิพาท ตลอดจนข้อเสนอในการระงับข้อพิพาทต่อผู้ประนอมข้อพิพาทหรืออาจเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวระหว่างคู่พิพาทก็ได้ คู่พิพาทอาจขอให้ผู้ประนอมข้อพิพาทดําเนินการตามความในวรรคหนึ่งก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ผู้ประนอมข้อพิพาทจะจัดให้มีการดําเนินการตามที่คู่พิพาทขอหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๑๑ การประนอมข้อพิพาทจะกระทําได้ด้วยวิธีใด ณ วันเวลาและสถานที่ใดให้เป็นไปตามที่สํานักงาน คปภ. กําหนดและผู้ประนอมข้อพิพาทจะต้องแจ้งให้คู่พิพาททั้งสองฝ่ายทราบถึงการดําเนินการประนอมข้อพิพาทที่คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้เข้าร่วมให้คู่พิพาทฝ่ายนั้นทราบด้วย ข้อ ๑๒ ในการประนอมข้อพิพาทต่อหน้าคู่พิพาท หากผู้ประนอมข้อพิพาทเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการประนอมข้อพิพาท ผู้ประนอมข้อพิพาทอาจอนุญาตให้เฉพาะแต่ตัวคู่พิพาททั้งสองฝ่ายหรือเพียงแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ในการประชุมการประนอมข้อพิพาทก็ได้ ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่ผู้แทน ผู้รับมอบอํานาจ ที่ปรึกษาของคู่พิพาทหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ผู้ประนอมข้อพิพาทอนุญาตให้เข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาทด้วย ข้อ ๑๓ ภายใต้บังคับข้อ 14 และข้อ 17 วรรคสาม กระบวนการประนอมข้อพิพาทให้ดําเนินการเป็นการลับ โดยไม่มีการบันทึกรายละเอียดของการประนอมข้อพิพาทไว้ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรหรือบันทึกในรูปแบบของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ข้อ ๑๔ เมื่อข้อพิพาทมีการประนอมกันได้ ผู้ประนอมข้อพิพาทอาจจัดให้มีการทําสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่คู่พิพาทก็ได้ ข้อ ๑๕ ผู้ประนอมข้อพิพาทจะต้องดําเนินการประนอมข้อพิพาทให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันตั้งผู้ประนอมข้อพิพาท โดยคู่พิพาทอาจร้องขอขยายระยะเวลาในการดําเนินการประนอมข้อพิพาทออกไปอีกก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่เกินสองครั้ง ๆ ละไม่เกินเจ็ดวัน แต่ถ้าผู้ประนอมข้อพิพาทเห็นว่า ข้อพิพาทใกล้จะบรรลุความตกลงในการระงับข้อพิพาทและมีเหตุอันสมควรให้เป็นดุลพินิจของผู้ประนอมข้อพิพาทในการขยายเวลาให้เกินกว่าระยะเวลาดังกล่าวได้อีกตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่ผู้ประนอมข้อพิพาทเห็นว่า คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดําเนินกระบวนการประนอมข้อพิพาทโดยมีลักษณะประวิงข้อพิพาทให้ชักช้าหรือไม่สุจริต ให้ผู้ประนอมข้อพิพาทแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบโดยเร็วเพื่อดําเนินการต่อไป เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเหตุตามวรรคสองแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมีคําสั่งให้กระบวนการประนอมข้อพิพาทสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงประโยชน์ของคู่พิพาททั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ ส่วน ๓ การสิ้นสุดแห่งกระบวนการประนอมข้อพิพาท ---------------------------- ข้อ ๑๖ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้ถือว่ากระบวนการประนอมข้อพิพาทสิ้นสุดลง (1) คู่พิพาทสามารถระงับข้อพิพาทได้ด้วยการถอนคําเสนอข้อพิพาท หรือทําสัญญาประนีประนอมยอมความ (2) ผู้ประนอมข้อพิพาทไม่อาจดําเนินการประนอมข้อพิพาทให้เป็นผลสําเร็จได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง (3) ผู้ประนอมข้อพิพาทเห็นว่าข้อพิพาทดังกล่าวไม่อาจยุติลงได้ด้วยวิธีประนอมข้อพิพาทหรือการประนอมข้อพิพาทไม่เป็นประโยชน์แก่คู่พิพาทอีกต่อไป (4) พนักงานเจ้าหน้าที่มีคําสั่งให้กระบวนการประนอมข้อพิพาทสิ้นสุดลงตามข้อ 15 วรรคสาม กรณีกระบวนการประนอมข้อพิพาทสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง และคู่พิพาทประสงค์จะดําเนินกระบวนการระงับข้อพิพาทต่อไป ให้คู่พิพาทร่วมกันตั้งอนุญาโตตุลาการตามระเบียบสํานักงาน คปภ. ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยผู้ประนอมข้อพิพาทที่ทําการประนอมข้อพิพาทนั้น ไม่อาจรับการแต่งตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องนั้นได้อีก หมวด ๓ การเก็บรักษาความลับ ---------------------------- ข้อ ๑๗ เว้นแต่คู่พิพาทจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น คู่พิพาทและบุคคลที่เกี่ยวข้องตกลงที่จะเก็บรักษาความลับของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกระบวนการประนอมข้อพิพาท และตกลงที่จะไม่นําข้อเท็จจริงและการดําเนินการในกระบวนการประนอมข้อพิพาทไปใช้เป็นหลักฐานในกระบวนพิจารณาใด ๆ ในชั้นอนุญาโตตุลาการ หรือศาล ข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึง การติดต่อระหว่างคู่พิพาท หรือข้อเท็จจริงใด ๆ เกี่ยวกับการดําเนินการประนอมข้อพิพาท ข้อเท็จจริงที่เป็นเนื้อหาหรือรายละเอียดแห่งการเจรจาตกลงในกระบวนการประนอมข้อพิพาท ข้อเท็จจริงที่คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งได้ยอมรับหรือปฏิเสธในกระบวนการประนอมข้อพิพาท ความเห็นหรือข้อเสนอใด ๆ ซึ่งได้เสนอโดยคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งในกระบวนการประนอมข้อพิพาท ความเห็นหรือข้อเสนอใด ๆ ซึ่งได้เสนอโดยผู้ประนอมข้อพิพาท ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการทําสัญญาระหว่างคู่พิพาทโดยมีข้อตกลงที่จะเก็บรักษาความลับของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกระบวนการประนอมข้อพิพาท และตกลงที่จะไม่นําข้อเท็จจริงและการดําเนินการในกระบวนการประนอมข้อพิพาทไปใช้เป็นหลักฐานในกระบวนพิจารณาใด ๆ ในชั้นอนุญาโตตุลาการ หรือศาล เว้นแต่คู่พิพาทจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น หมวด ๔ การขึ้นทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาท ---------------------------- ข้อ ๑๘ ให้สํานักงาน คปภ. จัดให้มีทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาทประกันภัยขึ้น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงความจําเป็นและความต้องการของสํานักงาน คปภ. การขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนอมข้อพิพาท ให้สํานักงาน คปภ. จัดให้มีการขึ้นทะเบียนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยในส่วนกลางให้ยื่นคําขอที่สํานักงาน คปภ. ส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาคให้ยื่นคําขอที่สํานักงาน คปภ. ภาค แห่งใดแห่งหนึ่งเพียงแห่งเดียว ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงาน คปภ. ประกาศกําหนด ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนอมข้อพิพาทจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานสาขาประกันภัยหรือสาขาอื่นอันจะเป็นประโยชน์แก่การประนอมข้อพิพาทไม่น้อยกว่าห้าปี (2) เป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรเทคนิคหรือวิธีการประนอมข้อพิพาททางประกันภัยที่สํานักงาน คปภ. จัด หรือหลักสูตรในลักษณะเดียวกันที่สํานักงาน คปภ. ให้การรับรองหรือเป็นผู้ที่สํานักงาน คปภ. เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการระงับข้อพิพาทเป็นอย่างดีแล้วโดยไม่จําต้องผ่านการอบรมดังกล่าว (3) มีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ (4) ไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย (5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายไม่ถึงห้าปี (6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (7) ไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจําคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ข้อ ๑๙ ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนอมข้อพิพาทของสํานักงาน คปภ. ยื่นคําขอตามแบบที่กําหนดพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (1) สําเนาทะเบียนบ้าน (2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน สําเนาบัตรข้าราชการ หรือสําเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (3) สําเนาแสดงคุณวุฒิ (4) สําเนาหลักฐานรับรองผ่านการอบรมหรือประสบการณ์การปฏิบัติงานตามข้อ 18 (2) ข้อ ๒๐ ให้ผู้อํานวยการฝ่ายระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการหรือผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. ภาค แล้วแต่กรณี เป็นผู้ดําเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและเสนอรายชื่อผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนอมข้อพิพาทต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ข้อ ๒๑ ให้ทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาทสิ้นผลทุกสี่ปี นับแต่วันจัดทําทะเบียน ครั้งแรกโดยไม่คํานึงว่าผู้มีชื่อในทะเบียนได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ ณ เวลาใด ในการจัดทําทะเบียนครั้งแรก ถ้าวันสิ้นผลตามวรรคหนึ่งไม่ตรงกับวันสิ้นปี ให้ถือเอาวันสิ้นปีปฏิทินนั้นเป็นวันสิ้นผล การสิ้นผลของทะเบียนรายชื่อ ไม่กระทบถึงการแต่งตั้งผู้ประนอมข้อพิพาทที่ได้ดําเนินการไปก่อนแล้ว โดยให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ เมื่อทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาทสิ้นผลลง ให้สํานักงาน คปภ. จัดทําทะเบียนใหม่ภายในหกสิบวัน ในระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดทําทะเบียนขึ้นใหม่ให้ใช้ทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาทเดิมไปพลางก่อนจนกว่าสํานักงาน คปภ. จัดทําทะเบียนผู้ประนอมข้อพิพาทแล้วเสร็จและให้นําความในวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๒ ให้สํานักงานจําหน่ายชื่อผู้ประนอมข้อพิพาทออกจากทะเบียนเมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ขาดคุณสมบัติ ตามข้อ 18 (4) ผู้ประนอมข้อพิพาทประพฤติตนไม่เหมาะสมในการกระทําหรือละเว้นกระทําการตามหน้าที่ของผู้ประนอมข้อพิพาทโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้คู่พิพาทได้รับความเสียหาย ข้อ ๒๓ ถ้าปรากฏภายหลังว่าผู้ประนอมข้อพิพาทขาดคุณสมบัติหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากการเป็นผู้ประนอมข้อพิพาท การพ้นจากการเป็นผู้ประนอมข้อพิพาทเช่นว่านี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอํานาจหน้าที่ ข้อ ๒๔ ผู้ประนอมข้อพิพาทจะต้อง (1) เตรียมการประนอมข้อพิพาท (2) ช่วยเหลือสนับสนุนการเจรจาระหว่างคู่พิพาท แนะนําแนวทางแก้ปัญหาเพื่อยุติข้อพิพาท (3) ไม่ออกความเห็นในลักษณะใด ๆ ที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท เว้นแต่คู่พิพาทจะได้ตกลงกันให้ผู้ประนอมข้อพิพาทออกความเห็นเช่นว่านั้นได้ (4) ไม่ข่มขู่ บังคับ หรือใช้อิทธิพลในทางใด ๆ อันอาจกระทบกระเทือนต่อความสมัครใจในการระงับข้อพิพาทของคู่พิพาท (5) ไม่ใช้อํานาจใด ๆ ที่มีหรืออาจจะมี ไม่ว่าด้วยประการใด อันจะมีผลกระทบต่อการตกลงของคู่พิพาท ข้อ ๒๕ ผู้ประนอมข้อพิพาทจะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ รวมทั้ง ประกาศ ข้อบังคับ จริยธรรม หรือหลักเกณฑ์อย่างใดที่ออกตามระเบียบนี้ เพื่อให้การประนอมข้อพิพาทเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของคู่พิพาท ข้อ ๒๖ ผู้ประนอมข้อพิพาทไม่ต้องรับผิดต่อคู่พิพาทในการกระทําใด ๆ ที่ได้ดําเนินการไปเพื่อประนอมข้อพิพาทและระงับข้อพิพาท เว้นแต่การกระทําหรือละเว้นการกระทําเป็นไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้คู่พิพาทเสียหาย คู่พิพาทจะไม่อ้างผู้ประนอมข้อพิพาทเป็นพยานในกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการหรือศาลเกี่ยวกับข้อพิพาทนั้น ซึ่งเป็นมูลแห่งกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการหรือศาล หมวด ๕ ค่าป่วยการและค่าใช้จ่าย ---------------------------- ข้อ ๒๗ ผู้ประนอมข้อพิพาทมีสิทธิได้รับค่าป่วยการตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 40 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ผู้ประนอมข้อพิพาทเห็นว่าจะต้องว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ดําเนินการอย่างใดหรือจะต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกจากที่กําหนดเพื่อความจําเป็นเกี่ยวกับกระบวนการประนอมข้อพิพาท อันจะเป็นประโยชน์แก่การประนอมข้อพิพาทและคู่พิพาท ให้ผู้ประนอมข้อพิพาทดําเนินการเช่นว่านั้นได้ต่อเมื่อคู่พิพาทตกลงที่จะรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,188
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (Update ฉบับล่าสุด)
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 10 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจํากัด” หมายความว่า บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทประกันภัยรถ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ข้อ ๒ ให้บริษัทจํากัดจ่ายเงินสมทบให้แก่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจํากัด ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบสามเดือน ในอัตราร้อยละสองของเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ ๓ การจ่ายเงินสมทบตามข้อ 1 ให้บริษัทจํากัดจ่ายดังนี้ (1) เงินสด เช็ค หรือดร๊าฟ (2) โอนเงินจ่ายเข้าบัญชี บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจํากัดจ่ายเงินสมทบเป็นเช็คหรือดร๊าฟ จะต้องสั่งจ่ายบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจํากัดส่งเงินสมทบเพื่อจ่ายให้แก่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด เกินจํานวนที่ต้องชําระในรอบสามเดือนใดให้บริษัทจํากัดยื่นคําร้องตามแบบที่นายทะเบียนกําหนดเพื่อขอนําเงินในส่วนที่เกินนั้นไปจ่ายเป็นเงินสมทบให้แก่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ในรอบสามเดือนต่อๆ ไปได้ จนกว่าเงินในส่วนที่เกินนั้นจะหมดลง ข้อ ๖ ประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินสมทบรอบสามเดือนแรกคือ เดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
5,189
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ----------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 10 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจํากัด” หมายความว่า บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทประกันภัยรถ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ข้อ ๒ ให้บริษัทจํากัดจ่ายเงินสมทบให้แก่ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ภายในสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบสามเดือน ในอัตราร้อยละสองจุดห้าของเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 การคํานวณเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นําเบี้ยประกันภัยที่เกิดขึ้นในรอบสามเดือนใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชําระในรอบสามเดือนนั้นมารวมคํานวณเป็นเบี้ยประกันภัยของรอบสามเดือนนั้น ข้อ ๓ การจ่ายเงินสมทบตามข้อ 1 ให้บริษัทจํากัดจ่ายดังนี้ (1) เงินสด เช็ค หรือดร๊าฟ (2) โอนเงินจ่ายเข้าบัญชี บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจํากัดจ่ายเงินสมทบเป็นเช็คหรือดร๊าฟ จะต้องสั่งจ่ายบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจํากัดส่งเงินสมทบเพื่อจ่ายให้แก่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด เกินจํานวนที่ต้องชําระในรอบสามเดือนใดให้บริษัทจํากัดยื่นคําร้องตามแบบที่นายทะเบียนกําหนดเพื่อขอนําเงินในส่วนที่เกินนั้นไปจ่ายเป็นเงินสมทบให้แก่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด ในรอบสามเดือนต่อๆ ไปได้ จนกว่าเงินในส่วนที่เกินนั้นจะหมดลง ข้อ ๖ ประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการจ่ายเงินสมทบรอบสามเดือนแรกคือ เดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
5,190
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ (Update ฉบับล่าสุด)
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่าย และส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหาย สําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ------------------------------------------ ตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ให้นายทะเบียนจัดทําเครื่องหมายส่งให้บริษัทเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของรถที่ได้จัดให้มีการประกันความเสีบหายกับบริษัท ตามมาตรา 7 หรือมาตรา 9 แล้ว นั้น เพื่อให้บริษัทมีเครื่องหมายส่งมอบและประชาชนสามารถซื้อประกันภัยได้อย่างทั่วถึงเพื่อให้การควบคุม ดูแลและบริหารการใช้เครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นายทะเบียนจึงวางหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ เครื่องหมาย หมายความว่า เครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เครื่องหมายชํารุด หมายความว่า การฉีกขาด (รวมถึงการฉีกขาดจากต้นขั้ว)การเปรอะเปื้อน การประทับชื่อบริษัท การเขียนหรือพิมพ์ข้อความใด ๆ ลงในเครื่องหมายหรือกรณีใดๆก็ตาม อันเป็นเหตุให้เครื่องหมายไม่อยู่ในสภาพเดิมที่ได้เบิกไปจากนายทะเบียน เครื่องหมายสูญหาย หมายความว่า ตัวเครื่องหมายได้สูญหายไป ไม่สามารถนํามาส่งคืนต่อนายทะเบียนได้ และหมายความรวมถึง เครื่องหมายที่บริษัทไม่สามารถนําส่งต่อนายทะเบียนได้ไม่ว่ากรณีใดๆ เครื่องหมายส่งคืน หมายความว่า เครื่องหมายที่ยังไม่ได้ใช้หรือเหลือใช้ซึ่งไม่ชํารุดและอยู่ในสภาพเดิมที่ได้เบิกไปจากนายทะเบียน ข้อ ๓ การเบิกจ่ายเครื่องหมายให้ปฏิบัติ ดังนี้ (3.1) การเบิกจ่ายเครื่องหมายในแต่ละปีให้ดําเนินการได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนของปีก่อนเครื่องหมายเริ่มคุ้มครอง เป็นต้นไป (3.2) ให้บริษัทเบิกจ่ายเครื่องหมายรถจักรยานยนต์เมื่อเทียบกับรถประเภทอื่นไม่น้อยกว่าอัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเบิกจ่ายเครื่องหมายของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด (3.3) ให้บริษัทประมาณการเครื่องหมายแยกตามประเภทรถที่บริษัทคาดว่าจะใช้ในปีถัดไป แล้วแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนสิงหาคมของปีก่อนเครื่องหมายเริ่มคุ้มครอง ตามแบบและรายละเอียดที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (คร.1) และให้บริษัทสามารถปรับปรุงค่าประมาณการได้ปีละ 2 ครั้ง โดยแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิ้นเดือนมิถุนายนและเดือนสิงหาคมของปีเครื่องหมายคุ้มครองเป็นอย่างช้าตามแบบท้ายประกาศนี้ (คร.1.1 คร.1.2) หากพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทไม่มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงค่าประมาณการดังกล่าว (3.4) การเบิกจ่ายเครื่องหมาย บริษัทสามารถทําการเบิกทั้งหมดได้ในคราวเดียวตามจํานวนประมาณการทั้งปีที่แจ้งต่อนายทะเบียน หรือเบิกเป็นครั้งคราวตามจํานวนที่บริษัทได้ประมาณการรายเดือนไว้แล้ว โดยให้ทยอยเบิกจ่ายไปจนครบจํานวนประมาณการที่แจ้งไว้ (3.5) ในกรณีที่บริษัทได้เบิกจ่ายเครื่องหมายไม่ครบตามจํานวนที่บริษัทได้ประมาณการที่แจ้งต่อนายทะเบียนไว้แล้ว บริษัทต้องชําระเงินค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เครื่องหมายตามจํานวนที่คงเหลือฉบับละ 5 บาท คืนให้แก่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย (3.6) ในกรณีที่บริษัทได้เบิกจ่ายเครื่องหมายครบตามจํานวนที่บริษัทประมาณการที่แจ้งต่อนายทะเบียนไว้แล้ว และบริษัทมีความประสงค์ที่จะเบิกจ่ายเครื่องหมายเพิ่มเติมเกินกว่าจํานวนที่ประมาณการไว้ ให้บริษัทจัดทําหนังสือขอเบิกจ่ายเครื่องหมายเพิ่มเติม พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลมาพร้อมกับหนังสือขอเบิกเพิ่มเติมด้วย ประกอบการขออนุมัติ ทั้งนี้ ให้บริษัททําหนังสือขอเบิกเครื่องหมายต่อนายทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน เพื่อให้การบริหารเครื่องหมายคงเหลือมีจํานวนที่เพียงพอแก่ความต้องการของบริษัท (3.7) การเบิกจ่ายเครื่องหมาย บริษัทจะต้องทําหนังสือมอบอํานาจหรือมอบอํานาจช่วงให้ผู้รับมอบอํานาจดําเนินการเบิกเครื่องหมาย ตามแบบที่นายทะเบียนกําหนดท้ายประกาศนี้ (คร.2) ข้อ ๔ การส่งคืนเครื่องหมายชํารุดและเครื่องหมายส่งคืนให้บริษัทปฏิบัติดังนี้ (4.1) ให้บริษัทส่งคืนเครื่องหมายส่งคืนต่อนายทะเบียนภายในวันที่ 30 เมษายนของปีถัดไป พร้อมทั้งส่งรายงานการส่งคืนเครื่องหมายตามแบบท้ายประกาศนี้ (คร.3 คร.3.1 และ คร.3.2) (4.2) ในการส่งคืนเครื่องหมายชํารุดและเครื่องหมายส่งคืน ให้บริษัทชําระค่าเครื่องหมายชํารุดและส่งคืนในอัตราเดียวกัน ทั้งเครื่องหมายรถจักรยานยนต์และเครื่องหมายรถประเภทอื่นให้แก่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตามอัตรา ดังนี้ (4.2.1) ถ้าเครื่องหมายชํารุดและส่งคืนไม่เกินร้อยละ 25 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 5 บาท (4.2.2) ถ้าเครื่องหมายชํารุดและส่งคืนเกินกว่าร้อยละ 25 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 50 บาท (4.2.3) ถ้าเครื่องหมายชํารุดและส่งคืนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 100 บาท (4.3) ให้บริษัทชําระค่าเครื่องหมายสูญหายแก่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตามอัตรา ดังนี้ (4.3.1) ถ้าเป็นเครื่องหมายรถจักรยานยนต์สูญหายไม่เกินร้อยละ 0.25 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 50 บาท ส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 0.25 ฉบับละ 150 บาท (4.3.2) ถ้าเป็นเครื่องหมายรถประเภทอื่นสูญหายไม่เกินร้อยละ 0.25 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 200 บาท ส่วนที่เกินร้อยละ 0.25 ฉบับละ 700 บาท ทั้งนี้ หากมีเครื่องหมายสูญหายรายเดือน ให้บริษัทชําระค่าเครื่องหมายสูญหายไว้ก่อน ถ้าเป็นเครื่องหมายรถจักรยานยนต์สูญหาย ฉบับละ 50 บาท และถ้าเป็นเครื่องหมายรถประเภทอื่นสูญหาย ฉบับละ 200 บาท เมื่อบริษัทรายงานการส่งคืนเครื่องหมายตามแบบที่นายทะเบียนกําหนดแล้ว จึงให้คํานวณค่าเครื่องหมายสูญหายตามอัตราที่กําหนดใน (4.3.1) และ (4.3.2) (4.4) ให้บรรจุเครื่องหมายที่ชํารุดและส่งคืนทั้งหมดลงในกล่อง ปิดผนึกให้เรียบร้อย ลงชื่อกํากับทุกกล่อง โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ได้รับมอบอํานาจให้นําส่งคืนและปิดรายละเอียดของเครื่องหมายที่ชํารุด และส่งคืนทั้งหมดไว้ข้างกล่องของแต่ละกล่องตามแบบและรายละเอียดที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (คร.3.1) ข้อ 4/1[1] เมื่อบริษัทประสงค์จะหยุดรับประกันภัย เพื่อประโยชน์ในการควบบริษัท โอน หรือรับโอนกิจการกับบริษัทประกันวินาศภัยอื่น ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี หรือได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้บริษัทแจ้งให้นายทะเบียนทราบ และส่งคืนเครื่องหมายชํารุดและเครื่องหมายส่งคืนต่อนายทะเบียน ภายใน 120 วัน นับแต่วันแจ้งการหยุดรับประกันภัย บริษัทจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องชําระค่าเครื่องหมายชํารุดและเครื่องหมายส่งคืนตาม (4.2) ทั้งนี้ เฉพาะเครื่องหมายชํารุดและเครื่องหมายส่งคืนในปีหลังสุด การส่งคืนเครื่องหมายชํารุด และเครื่องหมายส่งคืนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทดําเนินการตาม (4.4) โดยอนุโลม ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับเครื่องหมายที่ใช้ในการรับประกันภัยของปี 2546 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2546 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,192
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่าย และส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหาย สําหรับผู้ประสบภัยจากรถ --------------------------------------------- ตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ให้นายทะเบียนจัดทําเครื่องหมายส่งให้บริษัทเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของรถที่ได้จัดให้มีการประกันความเสีบหายกับบริษัท ตามมาตรา 7 หรือมาตรา 9 แล้ว นั้น เพื่อให้บริษัทมีเครื่องหมายส่งมอบและประชาชนสามารถซื้อประกันภัยได้อย่างทั่วถึงเพื่อให้การควบคุม ดูแลและบริหารการใช้เครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถือปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นายทะเบียนจึงวางหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ เครื่องหมาย หมายความว่า เครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เครื่องหมายชํารุด หมายความว่า การฉีกขาด (รวมถึงการฉีกขาดจากต้นขั้ว)การเปรอะเปื้อน การประทับชื่อบริษัท การเขียนหรือพิมพ์ข้อความใด ๆ ลงในเครื่องหมายหรือกรณีใดๆก็ตาม อันเป็นเหตุให้เครื่องหมายไม่อยู่ในสภาพเดิมที่ได้เบิกไปจากนายทะเบียน เครื่องหมายสูญหาย หมายความว่า ตัวเครื่องหมายได้สูญหายไป ไม่สามารถนํามาส่งคืนต่อนายทะเบียนได้ และหมายความรวมถึง เครื่องหมายที่บริษัทไม่สามารถนําส่งต่อนายทะเบียนได้ไม่ว่ากรณีใดๆ เครื่องหมายส่งคืน หมายความว่า เครื่องหมายที่ยังไม่ได้ใช้หรือเหลือใช้ซึ่งไม่ชํารุดและอยู่ในสภาพเดิมที่ได้เบิกไปจากนายทะเบียน ข้อ ๓ การเบิกจ่ายเครื่องหมายให้ปฏิบัติ ดังนี้ (3.1) การเบิกจ่ายเครื่องหมายในแต่ละปีให้ดําเนินการได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนของปีก่อนเครื่องหมายเริ่มคุ้มครอง เป็นต้นไป (3.2) ให้บริษัทเบิกจ่ายเครื่องหมายรถจักรยานยนต์เมื่อเทียบกับรถประเภทอื่นไม่น้อยกว่าอัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเบิกจ่ายเครื่องหมายของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด (3.3) ให้บริษัทประมาณการเครื่องหมายแยกตามประเภทรถที่บริษัทคาดว่าจะใช้ในปีถัดไป แล้วแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนสิงหาคมของปีก่อนเครื่องหมายเริ่มคุ้มครอง ตามแบบและรายละเอียดที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (คร.1) และให้บริษัทสามารถปรับปรุงค่าประมาณการได้ปีละ 2 ครั้ง โดยแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิ้นเดือนมิถุนายนและเดือนสิงหาคมของปีเครื่องหมายคุ้มครองเป็นอย่างช้าตามแบบท้ายประกาศนี้ (คร.1.1 คร.1.2) หากพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทไม่มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงค่าประมาณการดังกล่าว (3.4) การเบิกจ่ายเครื่องหมาย บริษัทสามารถทําการเบิกทั้งหมดได้ในคราวเดียวตามจํานวนประมาณการทั้งปีที่แจ้งต่อนายทะเบียน หรือเบิกเป็นครั้งคราวตามจํานวนที่บริษัทได้ประมาณการรายเดือนไว้แล้ว โดยให้ทยอยเบิกจ่ายไปจนครบจํานวนประมาณการที่แจ้งไว้ (3.5) ในกรณีที่บริษัทได้เบิกจ่ายเครื่องหมายไม่ครบตามจํานวนที่บริษัทได้ประมาณการที่แจ้งต่อนายทะเบียนไว้แล้ว บริษัทต้องชําระเงินค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เครื่องหมายตามจํานวนที่คงเหลือฉบับละ 5 บาท คืนให้แก่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย (3.6) ในกรณีที่บริษัทได้เบิกจ่ายเครื่องหมายครบตามจํานวนที่บริษัทประมาณการที่แจ้งต่อนายทะเบียนไว้แล้ว และบริษัทมีความประสงค์ที่จะเบิกจ่ายเครื่องหมายเพิ่มเติมเกินกว่าจํานวนที่ประมาณการไว้ ให้บริษัทจัดทําหนังสือขอเบิกจ่ายเครื่องหมายเพิ่มเติม พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลมาพร้อมกับหนังสือขอเบิกเพิ่มเติมด้วย ประกอบการขออนุมัติ ทั้งนี้ ให้บริษัททําหนังสือขอเบิกเครื่องหมายต่อนายทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน เพื่อให้การบริหารเครื่องหมายคงเหลือมีจํานวนที่เพียงพอแก่ความต้องการของบริษัท (3.7) การเบิกจ่ายเครื่องหมาย บริษัทจะต้องทําหนังสือมอบอํานาจหรือมอบอํานาจช่วงให้ผู้รับมอบอํานาจดําเนินการเบิกเครื่องหมาย ตามแบบที่นายทะเบียนกําหนดท้ายประกาศนี้ (คร.2) ข้อ ๔ การส่งคืนเครื่องหมายชํารุดและเครื่องหมายส่งคืนให้บริษัทปฏิบัติดังนี้ (4.1) ให้บริษัทส่งคืนเครื่องหมายส่งคืนต่อนายทะเบียนภายในวันที่ 30 เมษายนของปีถัดไป พร้อมทั้งส่งรายงานการส่งคืนเครื่องหมายตามแบบท้ายประกาศนี้ (คร.3 คร.3.1 และ คร.3.2) (4.2) ในการส่งคืนเครื่องหมายชํารุดและเครื่องหมายส่งคืน ให้บริษัทชําระค่าเครื่องหมายชํารุดและส่งคืนในอัตราเดียวกัน ทั้งเครื่องหมายรถจักรยานยนต์และเครื่องหมายรถประเภทอื่นให้แก่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตามอัตรา ดังนี้ (4.2.1) ถ้าเครื่องหมายชํารุดและส่งคืนไม่เกินร้อยละ 25 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 5 บาท (4.2.2) ถ้าเครื่องหมายชํารุดและส่งคืนเกินกว่าร้อยละ 25 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 50 บาท (4.2.3) ถ้าเครื่องหมายชํารุดและส่งคืนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 100 บาท (4.3) ให้บริษัทชําระค่าเครื่องหมายสูญหายแก่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตามอัตรา ดังนี้ (4.3.1) ถ้าเป็นเครื่องหมายรถจักรยานยนต์สูญหายไม่เกินร้อยละ 0.25 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 50 บาท ส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 0.25 ฉบับละ 150 บาท (4.3.2) ถ้าเป็นเครื่องหมายรถประเภทอื่นสูญหายไม่เกินร้อยละ 0.25 ของจํานวนเครื่องหมายที่เบิก ฉบับละ 200 บาท ส่วนที่เกินร้อยละ 0.25 ฉบับละ 700 บาท ทั้งนี้ หากมีเครื่องหมายสูญหายรายเดือน ให้บริษัทชําระค่าเครื่องหมายสูญหายไว้ก่อน ถ้าเป็นเครื่องหมายรถจักรยานยนต์สูญหาย ฉบับละ 50 บาท และถ้าเป็นเครื่องหมายรถประเภทอื่นสูญหาย ฉบับละ 200 บาท เมื่อบริษัทรายงานการส่งคืนเครื่องหมายตามแบบที่นายทะเบียนกําหนดแล้ว จึงให้คํานวณค่าเครื่องหมายสูญหายตามอัตราที่กําหนดใน (4.3.1) และ (4.3.2) (4.4) ให้บรรจุเครื่องหมายที่ชํารุดและส่งคืนทั้งหมดลงในกล่อง ปิดผนึกให้เรียบร้อย ลงชื่อกํากับทุกกล่อง โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ได้รับมอบอํานาจให้นําส่งคืนและปิดรายละเอียดของเครื่องหมายที่ชํารุด และส่งคืนทั้งหมดไว้ข้างกล่องของแต่ละกล่องตามแบบและรายละเอียดที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (คร.3.1) ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับเครื่องหมายที่ใช้ในการรับประกันภัยของปี 2546 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2546 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,193
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2551
ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2551 --------------------------------------- โดยที่ความในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 บัญญัติให้ในกรณีที่เจ้าของรถหรือบริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจํานวนตามมาตรา 23 (1) หรือมาตรา 23 (5) แล้วแต่กรณี เมื่อสํานักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปตามมาตรา 25 แล้ว ให้นายทะเบียนมีคําสั่งเรียกเงินตามจํานวนที่ได้จ่ายไปนั้นคืนจากเจ้าของรถหรือบริษัท แล้วแต่กรณี พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของจํานวนค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายจากกองทุนส่งเข้าสมทบกองทุนอีกต่างหาก และโดยที่คําสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองกําหนดให้ชําระเงิน ดังนั้น หากเจ้าของรถหรือบริษัทเพิกเฉยไม่ชําระค่าเสียหายเบื้องต้นพร้อมเงินเพิ่มคืนกองทุนตามคําสั่ง นายทะเบียนให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งของนายทะเบียน นายทะเบียนมีอํานาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของเจ้าของรถ หรือบริษัทนั้น และขายทอดตลาดเพื่อชําระเงินให้ครบถ้วนได้ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ดังนั้น เพื่อให้การใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของเจ้าของรถหรือบริษัทและขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยอาศัยอํานาจตามความในพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 32 (2) จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมการประกันภัยว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2549 ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย “นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมายให้เป็นนายทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ทําการยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินตามระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย “สํานักงาน” หมายความว่า ฝ่ายบริหารทั่วไปและกองทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเขต สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยภาค สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจังหวัด หรือหน่วยงานอื่นที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเดียวกัน แล้วแต่กรณี “ผู้ประสบภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น และให้หมายความรวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ “ผู้ต้องชดใช้เงิน” หมายความว่า เจ้าของรถหรือบริษัทผู้รับประกันภัยรถซึ่งอยู่ใต้บังคับของคําสั่งทางปกครองให้ชําระเงินคืนกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ “ยึด” หมายความว่า การกระทําใด ๆ ต่อทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินเพื่อให้ทรัพย์สินนั้นได้เข้ามาอยู่ในความควบคุมดูแลหรือครอบครองของเจ้าหน้าที่ “อายัด” หมายความว่า การสั่งให้ผู้ต้องชดใช้เงินหรือบุคคลภายนอกมิให้จําหน่ายจ่าย โอน หรือกระทํานิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ได้สั่งอายัดไว้ รวมตลอดถึงการสั่งให้บุคคลภายนอกมิให้นําส่งทรัพย์สินหรือชําระหนี้แก่ผู้ต้องชดใช้เงิน แต่ให้ส่งมอบหรือชําระหนี้ ต่อกองทุน “การขายทอดตลาด” หมายความว่า การนําเอาทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินออกขายโดยวิธีให้สู้ราคากันโดยเปิดเผย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สิน และให้หมายความรวมถึงผู้ทอดตลาดด้วย หมวด ๑ บททั่วไป ------------------------------ ข้อ ๕ เลขาธิการเป็นผู้มีอํานาจสั่งให้ยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงิน ข้อ ๖ หนังสือเตือนให้ผู้ต้องชดใช้เงินชําระเงินคืนกองทุน คําสั่งให้ยึดทรัพย์สิน ประกาศยึดทรัพย์สิน คําสั่งให้อายัดทรัพย์สิน คําสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สิน และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ใช้ตามแบบที่เลขาธิการกําหนด ข้อ ๗ การส่งหนังสือ คําสั่ง หรือประกาศตามระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามหมวด 4 ว่าด้วยการแจ้ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ข้อ ๘ ในกรณีนายทะเบียนมีคําสั่งให้ผู้ต้องชดใช้เงินชําระเงินคืนกองทุน ถ้าถึงกําหนดแล้วไม่มีการชําระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้นายทะเบียนมีหนังสือเตือนให้ผู้ต้องชดใช้เงินชําระเงินคืนกองทุนภายในระยะเวลาที่กําหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยให้ระบุด้วยว่าถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคําเตือน เลขาธิการมีอํานาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินเพื่อชําระเงินให้ครบถ้วนได้ ข้อ ๙ การใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามข้อ 8 ให้มีระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคําสั่งให้ผู้ต้องชดใช้เงินชําระเงินคืนกองทุน ในกรณีที่เห็นสมควร เลขาธิการอาจมีคําสั่งให้ย่นเวลาการใช้มาตรการบังคับทางปกครองให้น้อยกว่าระยะเวลาที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้ หมวด ๒ การยึดทรัพย์สิน ------------------------------ ส่วน ๑ วิธีการยึดทรัพย์สิน ------------------------------ ข้อ ๑๐ เมื่อถึงกําหนดเวลาที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดทรัพย์สินได้ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ให้สํานักงานที่ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยดําเนินการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินโดยไม่ชักช้าและประเมินราคาทรัพย์สินนั้นตามข้อ 36 ถึงข้อ 40 ในการนี้ อาจประสานงานกับสํานักงานในเขตพื้นที่ที่ทรัพย์สินตั้งอยู่เพื่อช่วยดําเนินการให้ด้วยก็ได้ การสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงิน ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ประสานงานกับกรมที่ดินเพื่อตรวจสอบหลักทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ปรากฏชื่อของผู้ต้องชดใช้เงิน ครอบครัวของผู้ต้องชดใช้เงิน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องชดใช้เงินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิเรียกร้องซึ่งอาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดเพื่อชําระหนี้ได้ โดยให้ตรวจสอบตามภูมิลําเนาเดิมที่เคยอยู่อาศัย สถานที่ที่เคยย้ายไปดํารงตําแหน่งหรือทํางาน และภูมิลําเนาปัจจุบันด้วย (2) ตรวจสอบทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ของผู้ต้องชดใช้เงิน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ หุ้น หรือหลักประกันการขอใช้ไฟฟ้า น้ําประปา โทรศัพท์ โดยประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่จัดทําทะเบียนหรือมีบัญชีควบคุมสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว (3) สืบหาทรัพย์สินอื่นของผู้ต้องชดใช้เงินในสํานักงาน บ้าน และที่อยู่อาศัยของผู้ต้องชดใช้เงินหรือจากครอบครัวหรือผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจมีทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินไว้ในความครอบครอง (4) ขอความร่วมมือจากธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อตรวจสอบหลักทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากในธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น ๆ (5) ดําเนินการอื่นใดเพื่อให้การสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล ให้สํานักงานตามวรรคหนึ่งรายงานผลการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินให้เลขาธิการทราบทุกระยะสามเดือน ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานตามข้อ 10 รายงานการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของ ผู้ต้องชดใช้เงิน ดังต่อไปนี้ (1) สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเขต ให้รายงานต่อฝ่ายบริหารทั่วไปและกองทุน (2) สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจังหวัด ให้รายงานต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยภาค หลังจากฝ่ายบริหารทั่วไปและกองทุน หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยภาคได้ดําเนินการตามข้อ 10 หรือได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เสนอร่างคําสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไปทําการยึดทรัพย์สิน ร่างคําสั่งให้ยึดทรัพย์สิน ร่างประกาศยึดทรัพย์สิน หรือร่างคําสั่งให้อายัดทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี เพื่อให้เลขาธิการลงนาม ทั้งนี้ถ้าทรัพย์สินตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่รับผิดชอบ เลขาธิการจะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเจ้าหน้าที่ก็ได้ ข้อ ๑๒ เมื่อเลขาธิการลงนามในคําสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ คําสั่งให้ยึดทรัพย์สิน ประกาศยึดทรัพย์สิน หรือคําสั่งให้อายัดทรัพย์สินแล้ว ให้ส่งเรื่องคืนไปให้สํานักงานตามข้อ 11 เพื่อดําเนินการต่อไป ข้อ ๑๓ ถ้าในคําสั่งให้ยึดทรัพย์สินได้ระบุเฉพาะเจาะจงให้ยึดทรัพย์สินสิ่งใด ให้เจ้าหน้าที่ยึดแต่เฉพาะทรัพย์สินสิ่งนั้น ข้อ ๑๔ ก่อนไปทําการยึดทรัพย์สิน ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบให้แน่ชัดว่าจะต้องยึดทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินหรือไม่ และจํานวนราคาทรัพย์สินที่จะยึดได้ตามกฎหมายมีประมาณเท่าใด พร้อมทั้งนําประกาศยึดทรัพย์สินไปด้วย เพื่อปิดไว้ ณ สถานที่ที่ยึดทรัพย์สิน ข้อ ๑๕ ให้เจ้าหน้าที่ไปทําการยึดทรัพย์สินโดยเร็วและให้นําคําสั่งให้ยึดทรัพย์สิน กับเครื่องมือและอุปกรณ์สําหรับการยึดทรัพย์สิน เช่น ครั่งและตราตีครั่งไปด้วย ทั้งนี้ จะมีพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นร่วมไปช่วยเหลือด้วยก็ได้ ข้อ ๑๖ ให้เจ้าหน้าที่และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 15 ดําเนินการยึดทรัพย์สินด้วยความสุภาพและระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายเกินกว่าที่จําเป็น ถ้ามีผู้ใดขัดขวางในการยึดทรัพย์สิน ให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงหรือว่ากล่าวแต่โดยดีก่อน ถ้าผู้นั้นยังขัดขวางอยู่อีก ก็ให้เจ้าหน้าที่ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตํารวจเพื่อดําเนินการยึดทรัพย์สินจนได้ ข้อ ๑๗ เจ้าหน้าที่จะต้องดําเนินการยึดทรัพย์สินในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทําการงานปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือจําเป็นอย่างยิ่งจะทําการยึดทรัพย์สินในวันหยุดราชการก็ได้ โดยได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ ข้อ ๑๘ ก่อนทําการยึดทรัพย์สิน ให้เจ้าหน้าที่แสดงคําสั่งให้ยึดทรัพย์สินต่อผู้ต้องชดใช้เงินหรือบุคคลที่ระบุไว้ในคําสั่งให้ยึดทรัพย์สิน ถ้าไม่ปรากฏตัวบุคคลดังกล่าว ให้แสดงต่อบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้น ข้อ ๑๙ เพื่อให้พบและทําการยึดทรัพย์สิน ให้เจ้าหน้าที่มีอํานาจเท่าที่จําเป็นที่จะค้นสถานที่ใด ๆ อันเป็นของผู้ต้องชดใช้เงินหรือได้ครอบครองอยู่ เช่น บ้าน ที่อยู่อาศัย คลังสินค้า โรงงานหรือร้านค้าขาย เป็นต้น ที่จะยึดและตรวจสมุดบัญชี เอกสาร หรือแผ่นกระดาษ และที่จะกระทําการใด ๆ ตามสมควรเพื่อเปิดสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งตู้นิรภัย ตู้ หรือที่เก็บของอื่น ๆ แล้วรายงานให้เลขาธิการทราบ ข้อ ๒๐ ให้เจ้าหน้าที่ยึดทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินแต่เพียงพอกับจํานวนเงินที่ต้องชําระตามคําสั่งให้ยึดทรัพย์สินพร้อมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินและขายทอดตลาด แต่ถ้าผู้ต้องชดใช้เงินมีแต่ทรัพย์สินซึ่งมีราคามากกว่าจํานวนหนี้และไม่อาจแบ่งยึดโดยมิให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมราคา เช่น ทําให้เปลี่ยนสภาพและราคาตกต่ํา ทั้งทรัพย์สินอื่นที่จะยึดให้เพียงพอกับจํานวนหนี้ก็ไม่ปรากฏด้วยแล้ว ให้ยึดทรัพย์สินที่ว่านั้นมาขายทอดตลาดทั้งหมด ข้อ ๒๑ เจ้าหน้าที่ยอมไม่ยึดทรัพย์สินที่พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อนแล้ว หรือทรัพย์สินที่มีกฎหมายบัญญัติให้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ข้อ ๒๒ เมื่อปรากฏว่าทรัพย์สินนั้นไม่อาจยึดได้ตามกฎหมาย ให้เจ้าหน้าที่งดการยึดไว้ก่อน แล้วรีบรายงานให้เลขาธิการทราบเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป เมื่อยึดทรัพย์สินใดมาแล้ว ปรากฏในภายหลังว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นของบุคคลอื่น ให้เจ้าหน้าที่รายงานให้เลขาธิการทราบเพื่อพิจารณาดําเนินการเพิกถอนการยึดทรัพย์สินนั้นต่อไป ข้อ ๒๓ การยึดที่ดิน ให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการให้ได้เอกสารสิทธิในที่ดินหรือสําเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ดินรับรองเพื่อตรวจสอบจําลองแผนที่หลังโฉนดที่ดินว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่ หากเชื่อได้ว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันแล้ว ให้บันทึกในรายการยึดโดยบรรยายให้เห็นสภาพ ทําเลที่ตั้ง และสิ่งอ้างอิงของที่ดินนั้น ข้อ ๒๔ ถ้าที่ดินที่ยึดนั้นมีสิ่งปลูกสร้างหรือไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีเป็นของผู้อื่นปลูกอยู่ ให้เจ้าหน้าที่บันทึกถ้อยคําของเจ้าของสิ่งนั้น ๆ ให้ปรากฏว่ามีสิทธิในที่ดินอย่างไร เช่น สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน หรือสิทธิตามสัญญาเช่า เป็นต้น ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของกสิกร พุทธศักราช 2475 การยึดที่ไร่นาซึ่งมีไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวได้ตามฤดูกาลจะยึดแต่ที่ดินไม่ยึดไม้ล้มลุกและธัญชาติ หรือจะยึดทั้งที่ดินและไม้ล้มลุกหรือธัญชาติด้วยก็ได้ ข้อ ๒๕ การยึดที่ดินซึ่งมีไม้ยืนต้น ให้เจ้าหน้าที่จดชนิดและประมาณจํานวนต้นไม้ไว้ด้วย ข้อ ๒๖ ถ้าทรัพย์สินที่ยึดมีดอกผลธรรมดาที่ผู้ต้องชดใช้เงินจะต้องเป็นผู้เก็บเกี่ยวหรือบุคคลอื่นเป็นผู้เก็บเกี่ยวในนามของผู้ต้องชดใช้เงิน เมื่อมีผู้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เก็บเกี่ยวและเจ้าหน้าที่เห็นสมควรจัดการให้ เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ต้องชดใช้เงินทราบในขณะทําการยึด แล้วจึงให้ทําการเก็บดอกผลนั้นเมื่อถึงกําหนด ข้อ ๒๗ การยึดเรือน โรง หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ให้เจ้าหน้าที่บันทึกในรายการยึดโดยบรรยายให้เห็นสภาพของสิ่งนั้น ๆ เช่น พื้น ฝาผนัง ประตู หน้าต่าง เสา เครื่องบนและหลังคา ใช้วัสดุชนิดใด มีกี่ชั้น กี่ห้อง ขนาดกว้างยาวสูงเท่าใด เก่าหรือใหม่เพียงใด เลขทะเบียนเท่าไร ถ้าเป็นสถานที่ให้เช่า ค่าเช่าเท่าใด เป็นต้น ข้อ ๒๘ การยึดย่อมครอบคลุมไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้นด้วย เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๙ ให้เจ้าหน้าที่แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งตามวิธีที่เห็นสมควรว่าได้มีการยึดทรัพย์สินแล้ว เช่น (1) การยึดสิ่งของ ให้เจ้าหน้าที่ปิดหรือผูกแผ่นเลขหมายบนสิ่งของที่ยึดให้ตรงตามบัญชีทรัพย์สิน ถ้าสามารถจะเก็บรวมเข้าหีบหรือตู้ได้ ก็ให้รวมไว้แล้วปิดหีบหรือตู้ประทับตราครั่งอีกชั้นหนึ่ง (2) การยึดที่ดิน ห้องชุด เรือน โรง หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ให้ปิดประกาศหรือทําเครื่องหมายไว้ (3) การยึดสัตว์ สัตว์พาหนะ หรือปศุสัตว์ จะใช้สีทาที่เขาหรือที่ตัว หรือจะใช้แผ่นเลขหมายผูกคอ หรือจะต้อนเข้าคอกแล้วผูกเชือกประทับตราครั่งที่ประตูคอกก็ได้ แล้วแต่ จะเห็นสมควร แต่อย่าให้เป็นการขัดข้องต่อการเลี้ยงการรักษาสัตว์ ข้อ ๓๐ เมื่อได้ยึดเรือกําปั่น เรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ เรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ หรือสัตว์พาหนะ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งการยึดทรัพย์สินนั้นไปยังกรมการขนส่งทางน้ําและพาณิชย์นาวีหรือนายทะเบียนแห่งท้องที่ด้วย แล้วแต่กรณี กรณียึดทรัพย์สินอื่นที่มีทะเบียน เช่น รถยนต์ เครื่องจักร ให้เจ้าหน้าที่แจ้งการยึดไปยังนายทะเบียนแห่งทรัพย์สินนั้นด้วย ข้อ ๓๑ ในการยึดทรัพย์สิน ให้เจ้าหน้าที่จัดทําบันทึกรายงานการดําเนินการโดยสังเขป หากมีพฤติการณ์หรือเหตุการณ์ที่สมควรบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ก็ให้บันทึกไว้ แล้วอ่านบันทึกนั้นให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ต้องชดใช้เงิน ผู้มีส่วนได้เสีย บุคคลที่อยู่ ณ ที่ยึดฟัง แล้วให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย ถ้าผู้ใดไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้บันทึกว่าอ่านให้ฟังแล้วไม่ยอมลงลายมือชื่อพร้อมกับลงลายมือชื่อเจ้าหน้าที่และพยานรับรองไว้ ข้อ ๓๒ ห้ามยึดทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินดังต่อไปนี้ (1) เครื่องนุ่งห่มหลับนอนหรือเครื่องใช้ในครัวเรือนหรือเครื่องใช้สอยส่วนตัวโดยประมาณราคารวมกันตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 285 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในกรณีเลขาธิการเห็นสมควรจะกําหนดทรัพย์สินดังกล่าวที่มีราคาเกินกว่าที่กําหนดไว้ตามมาตรา 285 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้เป็นทรัพย์สินที่ห้ามยึดตามระเบียบนี้ก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นตามฐานะของผู้ต้องชดใช้เงิน (2) เครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จําเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินกว่าที่กําหนดไว้ตามมาตรา 285 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ถ้าผู้ต้องชดใช้เงินมีคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อเลขาธิการขออนุญาตใช้เครื่องมือหรือเครื่องใช้อันจําเป็น เพื่อดําเนินการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพอันมีราคาเกินกว่าจํานวนราคาดังกล่าวแล้ว ให้เลขาธิการมีอํานาจใช้ดุลพินิจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในบังคับแห่งเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร (3) วัตถุ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ทจําเป็นต้องใช้ทําหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะของผู้ต้องชดใช้เงิน (4) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมายหรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือสําหรับวงศ์ตระกูล โดยเฉพาะจดหมายหรือสมุดบัญชีต่าง ๆ นั้น ถ้าจําเป็นอาจยึดมาตรวจดูเพื่อประโยชน์แห่งการยึดทรัพย์สินได้ แต่ห้ามมิให้เอาออกขายทอดตลาด (5) ทรัพย์สินของกสิกรตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของกสิกร พุทธศักราช 2475 ได้แก่ พืชพันธุ์ที่ใช้ในปีต่อไปตามสมควร พืชผลที่เก็บไว้สําหรับเลี้ยงตัว และครอบครัวตามฐานานุรูปสําหรับหนึ่งปี สัตว์และเครื่องมือประกอบอาชีพที่มีไว้พอแก่การดําเนินอาชีพต่อไป ข้อ ๓๓ ให้เจ้าหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินที่ยึดโดยแสดงรายละเอียด เช่น ชื่อ ประเภท จํานวน ขนาด น้ําหนัก สภาพ และราคาประเมินแห่งทรัพย์สิน เป็นต้น ตามลําดับหมายเลขไว้ ข้อ ๓๔ การจดบัญชีทรัพย์สิน ถ้าเป็นทรัพย์สินหลายสิ่งราคาเล็กน้อย จะมัดรวมหรือกองรวมกันแล้วจดเป็นเลขหมายเดียวกันก็ได้ ข้อ ๓๕ เมื่อกระทําการยึดทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินแล้ว ให้แจ้งรายการยึดและราคาประเมินให้ผู้ต้องชดใช้เงินทราบ และถ้าทรัพย์สินที่ยึดมีผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ให้แจ้งการยึดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมทราบด้วย หากไม่สามารถจะกระทําตามความในวรรคหนึ่งได้ ให้ปิดประกาศแจ้งการยึดไว้ ณ สถานที่ที่ยึด หรือประกาศแจ้งการยึดทางหนังสือพิมพ์รายวันไม่เกินเจ็ดวัน ถ้าทรัพย์สินที่ยึดเป็นที่ดินและห้องชุด ให้เจ้าหน้าที่แจ้งการยึดนั้นให้เจ้าหน้าที่ที่ดินแห่งท้องที่ที่ที่ดินตั้งอยู่ทราบเพื่อบันทึกการยึดไว้ในทะเบียน เมื่อดําเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ ให้เจ้าหน้าที่รายงานการยึดทรัพย์สินพร้อมบัญชีทรัพย์สินที่ยึดต่อเลขาธิการ ส่วน ๒ วิธีการประเมินราคาทรัพย์สิน ----------------------------------- ข้อ ๓๖ การประเมินราคาที่ดิน ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ประกอบกัน คือ (1) ราคาซื้อขายกันในท้องตลาด โดยคํานึงถึงสภาพแห่งที่ดินนั้นว่าเป็นที่ดินประเภทใดเช่น ที่อยู่อาศัย ที่โรงงาน ที่ให้บริการหรือค้าขาย ที่สวน ที่นา ที่ไร่ เป็นต้น และที่นั้นอยู่ในทําเลอย่างใด เช่น อยู่ในทําเลค้าขาย ที่ชุมนุมชน อยู่ติดถนนหรือแม่น้ําลําคลองหรือไม่ รถยนต์เข้าถึงหรือไม่ หากเป็นที่ให้เช่า มีผลประโยชน์หรือรายได้มากน้อยเพียงใด (2) ราคาที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเจ้าหน้าที่เคยขายทอดตลาดไปแล้ว (3) ราคาซื้อขาย หรือจํานอง หรือขายฝากครั้งสุดท้ายของที่ดินที่ยึด และของที่ดินข้างเคียง (4) ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ข้อ ๓๗ การประเมินราคาทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดิน ให้ประเมินตามราคาซื้อขายในท้องตลาดตามสภาพความเก่าใหม่ของทรัพย์สินนั้น ๆ ข้อ ๓๘ การประเมินราคาทรัพย์สินอื่นที่ติดจํานองหรือจํานํา ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 36 และข้อ 37 แต่ให้หมายเหตุไว้ด้วยว่าจํานองหรือจํานําเมื่อใด ต้นเงินเท่าใด เพื่อประกอบดุลพินิจในการขายทอดตลาด ข้อ ๓๙ หากเลขาธิการเห็นว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ประเมินไม่เหมาะสมหรือผู้มีส่วนได้เสียในการยึดทรัพย์สินร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร เลขาธิการมีอํานาจแก้ไขราคาประเมินได้เอง หรือมีคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ทําการประเมินราคาใหม่ หรืออาจขอให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สินหรือผู้เชี่ยวชาญในการประเมินราคาทรัพย์สินช่วยประเมินราคาให้ กรณีประเมินราคาตามคําร้องขอของผู้มีส่วนได้เสียในการยึดทรัพย์สิน ให้ผู้ร้องขอเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย เมื่อได้มีการแก้ไขราคาประเมินแล้ว ให้เจ้าหน้าที่แจ้งราคาประเมินที่ได้แก้ไขใหม่ให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ ข้อ ๔๐ การประเมินราคาทรัพย์สินบางประเภท หากมีความจําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชํานาญพิเศษ หรือผู้มีความรู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและประเมินราคา ให้เลขาธิการสั่งให้ดําเนินการได้ ส่วน ๓ การคัดค้านการยึดทรัพย์สิน ----------------------------------- ข้อ ๔๑ ถ้าบุคคลใดจะยื่นคําร้องคัดค้านการยึดทรัพย์สินโดยกล่าวอ้างว่าผู้ต้องชดใช้เงินไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ได้ยึดไว้ก่อนเอาทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด บุคคลนั้นอาจยื่นคําร้องขอต่อเลขาธิการเพื่อให้มีคําสั่งปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคําร้องขอเช่นว่านั้น ให้งดการขายทอดตลาดหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้นไว้ในระหว่างรอคําวินิจฉัยชี้ขาดของเลขาธิการ เว้นแต่ (1) หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคําร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงเวลาให้เนิ่นช้า เลขาธิการมีอํานาจสั่งให้ผู้ร้องขอวางเงินต่อเลขาธิการในเวลาที่กําหนดตามจํานวนเงินที่เห็นสมควรเพื่อประกันความเสียหายใด ๆ ที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุที่เนิ่นช้าในการขายทอดตลาดอันเกิดแต่การยื่นคําร้องขอนั้น ถ้าผู้ร้องขอไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเช่นว่านั้น ให้เลขาธิการยกคําร้องขอนั้นเสียและมีคําสั่งให้ดําเนินการต่อไป (2) ถ้าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์และมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคําร้องขอนั้นไม่มีเหตุผลอันควรฟัง หรือถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ เลขาธิการมีอํานาจสั่งให้คณะกรรมการทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือจําหน่ายทรัพย์สินนั้นโดยไม่ชักช้า ส่วน ๔ การเก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึด ------------------------------ ข้อ ๔๒ ทรัพย์สินที่ได้ยึดไว้แล้ว ให้นํามาเก็บรักษาไว้ที่สํานักงาน แต่ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสิ่งของอื่นซึ่งลําบากต่อการขนย้าย ให้มอบให้แก่บุคคลที่สมควรเป็นผู้ดูแลรักษาไว้ การมอบทรัพย์สินที่ได้ยึดไว้ให้แก่บุคคลอื่นดูแลรักษา ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้ต้องชดใช้เงินยอมรับรักษาทรัพย์สินที่ยึด และเจ้าหน้าที่เห็นสมควรจะมอบทรัพย์สินนั้นให้ผู้ต้องชดใช้เงินเป็นผู้ดูแลรักษาก็ได้ (2) ถ้าผู้ต้องชดใช้เงินไม่รับรักษาทรัพย์สินที่ยึด และเจ้าหน้าที่เห็นสมควรจะมอบทรัพย์สินนั้นไว้ในความดูแลรักษาของบุคคลอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก็ได้ (3) ถ้าไม่สามารถปฏิบัติตาม (1) และ (2) ได้ เลขาธิการจะเช่าสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึดและจ้างคนดูแลรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ก็ได้ ข้อ ๔๓ ให้เจ้าหน้าที่จดไว้ในรายการยึดทรัพย์สินโดยชัดแจ้งว่าได้จัดการเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นอย่างไร และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์สิน ค่าเช่าสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สิน ค่าจ้างคนดูแลรักษาทรัพย์สินเท่าใด ข้อ ๔๔ ให้ผู้รับดูแลรักษาทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ดี หรือผู้ให้เช่าสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินก็ดี หรือผู้รับจ้างดูแลรักษาทรัพย์สินก็ดี ทําหนังสือสัญญากับเลขาธิการ ข้อ ๔๕ ในกรณีที่ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทําให้สูญหาย ทําให้เสื่อมค่า หรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินที่ยึด ให้เลขาธิการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดทุกเรื่อง หมวด ๓ การอายัดทรัพย์สิน ------------------------------ ส่วน ๑ วิธีการอายัดทรัพย์สิน ------------------------------ ข้อ ๔๖ เมื่อเห็นสมควรใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการอายัดทรัพย์สิน ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ในกรณีเลขาธิการมีคําสั่งให้อายัดทรัพย์สินแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ไปทําการอายัดทรัพย์สินโดยเร็ว ข้อ ๔๗ ภายใต้บังคับข้อ 46 ในกรณีที่ยังไม่มีคําสั่งให้อายัดทรัพย์สิน ให้สํานักงานตามข้อ 11 หรือเจ้าหน้าที่ตามข้อ 12 แล้วแต่กรณี รายงานการสืบหาทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินและขออนุญาตอายัดทรัพย์สิน พร้อมทั้งเสนอร่างคําสั่งให้อายัดทรัพย์สินเพื่อให้เลขาธิการลงนาม เมื่อเลขาธิการอนุญาตและลงนามในคําสั่งให้อายัดทรัพย์สินแล้ว ให้ส่งเรื่องคืนไปให้สํานักงานหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าว แล้วแต่กรณี เพื่อดําเนินการต่อไป ข้อ ๔๘ เจ้าหน้าที่อาจอายัดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งสิทธิทั้งปวงอันมีอยู่ในทรัพย์เหล่านั้น หรือเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องส่งมอบหรือโอนหรือชําระให้แก่ผู้ต้องชดใช้เงิน ในการอายัดดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่มีอํานาจที่จะยึดบรรดาเอกสารทั้งปวงที่ให้สิทธิหรือรับรองสิทธิให้แก่ผู้ต้องชดใช้เงินในอันที่จะได้รับการส่งมอบหรือรับการโอนทรัพย์สินหรือสิทธิหรือได้รับการชําระเงินเช่นว่านั้น ให้นําความในหมวด 2 การยึดทรัพย์สิน ส่วนที่ 1 วิธีการยึดทรัพย์สิน มาปฏิบัติกับวิธีการอายัดทรัพย์สินโดยอนุโลม ข้อ ๔๙ เจ้าหน้าที่ย่อมไม่อายัดทรัพย์สินที่พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อนแล้ว หรือทรัพย์สินที่มีกฎหมายบัญญัติให้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เมื่ออายัดทรัพย์สินใดแล้ว ปรากฏในภายหลังว่าทรัพย์สินที่อายัดนั้นเป็นของบุคคลอื่น หรือไม่มีความจําเป็นต้องอายัดทรัพย์สินนั้นต่อไปแล้ว ให้เจ้าหน้าที่รายงานให้เลขาธิการทราบ เพื่อพิจารณาดําเนินการเพิกถอนการอายัดทรัพย์สินนั้นต่อไป ข้อ ๕๐ ห้ามอายัดทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินดังต่อไปนี้ (1) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกําหนดไว้และเงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพเป็นจํานวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือตามจํานวนที่เลขาธิการเห็นสมควร (2) เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ บําเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บํานาญ หรือบําเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น (3) เงินเดือน ค่าจ้าง บํานาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (2) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจํานวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือตามจํานวนที่เลขาธิการเห็นสมควร (4) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ผู้ต้องชดใช้เงินได้รับอันเนื่องมาแต่ความตายของบุคคลอื่นเป็นจํานวนตามที่จําเป็นในการดําเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายที่เลขาธิการเห็นสมควร ในการกําหนดจํานวนเงินตาม (1) และ (3) ให้เลขาธิการกําหนดให้ไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ําสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้นและไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงฐานะทางครอบครัวของผู้ต้องชดใช้เงิน และจํานวนบุพการี และผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะของผู้ต้องชดใช้เงินด้วย ส่วน ๒ การคัดค้านการอายัดทรัพย์สิน ------------------------------ ข้อ ๕๑ ถ้าบุคคลใดซึ่งอยู่ใต้บังคับของคําสั่งให้อายัดทรัพย์สินปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตน ให้เจ้าหน้าที่ทําการไต่สวนตรวจสอบ หากปรากฏว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริง ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้บุคคลนั้นปฏิบัติตามคําสั่งให้อายัดทรัพย์สินภายในระยะเวลาที่กําหนดอีกครั้ง ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามคําเตือน ให้เจ้าหน้าที่รายงานให้เลขาธิการทราบเพื่อพิจารณาดําเนินการฟ้องคดีกับบุคคลดังกล่าวให้รับผิดเสมือนหนึ่งบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องชดใช้เงิน รวมทั้งค่าแห่งความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นเพราะการไม่ปฏิบัติตามคําสั่งให้อายัดทรัพย์สินด้วย ถ้าไม่มีการคัดค้านการอายัดทรัพย์สิน แต่บุคคลผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับของคําสั่งให้อายัดทรัพย์สินไม่ปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ส่วน ๓ การจัดการทรัพย์สินที่อายัด ------------------------------ ข้อ ๕๒ ทรัพย์สินที่อายัด ให้จัดการดังต่อไปนี้ (1) ถ้าเป็นพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ที่เป็นประกันซึ่งผู้ต้องชดใช้เงินได้ออกให้แก่ผู้ถือหรือออกในนามของผู้ต้องชดใช้เงิน เจ้าหน้าที่อาจร้องขอต่อเลขาธิการมิให้มีคําสั่งอนุญาตให้จําหน่ายสิ่งเหล่านั้นตามรายการขานราคาในวันที่ขายก็ได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีรายการขานราคากําหนดไว้ ณ สถานแลกเปลี่ยนหรือถูกยกคําขอเสีย ก็ให้ขายพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ที่เป็นประกันนั้นโดยวิธีการขายทอดตลาด (2) ถ้าเป็นตราสารเปลี่ยนมือ เช่น ตั๋วเงิน เจ้าหน้าที่อาจร้องขอให้เลขาธิการมีคําสั่งอนุญาตจําหน่ายตามราคาที่ปรากฏในตราสารหรือราคาต่ํากว่านั้นตามที่เลขาธิการเห็นสมควร ถ้าเลขาธิการยกคําขอเสีย ก็ให้ขายตราสารเปลี่ยนมือนั้นโดยวิธีการขายทอดตลาด (3) ถ้าสิ่งของที่จะต้องส่งมอบตามสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัดนั้นได้ส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่แล้ว ก็ให้นําออกขายโดยวิธีการขายทอดตลาด (4) ถ้าการจําหน่ายสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัดนั้นกระทําได้โดยยากเนื่องจากการชําระหนี้นั้นต้องอาศัยการชําระหนี้ตอบแทน หรืออาจต้องด้วยเหตุผลอื่นอันจะทําให้การชําระหนี้นั้นเนิ่นช้าออกไปอีกและอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าหน้าที่ร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร เลขาธิการอาจมีคําสั่งให้จําหน่ายสิทธิเรียกร้องนั้นโดยวิธีการอื่นก็ได้ หมวด ๔ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ------------------------------ ส่วน ๑ คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ------------------------------ ข้อ ๕๓ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้เลขาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดขึ้นคณะหนึ่ง โดยแต่งตั้งจากพนักงานของสํานักงานตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับพนักงานปฏิบัติงาน จํานวนไม่น้อยกว่าสามคน และให้กรรมการคนใดคนหนึ่งตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับพนักงานชํานาญงาน เจ้าหน้าที่อาวุโส หรือเทียบเท่า เป็นประธานกรรมการ ในกรณีจําเป็นจะแต่งตั้งบุคคลอื่นที่เห็นสมควรเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ส่วน ๒ วิธีการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ------------------------------ ข้อ ๕๔ ให้สํานักงานตามข้อ 11 รายงานและขออนุญาตขายทรัพย์สินที่ได้ยึดหรืออายัดไว้โดยวิธีการขายทอดตลาด พร้อมทั้งเสนอร่างคําสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สําเนาคําสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไปทําการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน สําเนาคําสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน สําเนาประกาศยึดทรัพย์สิน บัญชีทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด และเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เป็นต้น รวมทั้งความเห็นว่าควรขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้ในรายงานเสนอให้เลขาธิการอนุญาตและลงนามในคําสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเสร็จสิ้น ข้อ ๕๕ เมื่อเลขาธิการลงนามในคําสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ให้เจ้าหน้าที่จัดทําประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขาย เช่น ชื่อเจ้าของทรัพย์สิน วันเวลา และสถานที่ที่จะขาย ชื่อ ประเภท ลักษณะ จํานวน ขนาด น้ําหนัก และภาระติดพันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นต้น ถ้าเป็นที่ดิน ให้แจ้งเนื้อที่อาณาเขตกว้างยาว ชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง สถานที่ตั้งพร้อมทั้งแผนที่โดยสังเขป เสนอประธานกรรมการเพื่อลงนาม ข้อ ๕๖ เมื่อประธานกรรมการลงนามในประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ให้เจ้าหน้าที่จัดส่งสําเนาประกาศนั้น ให้แก่ผู้ต้องชดใช้เงินและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งปิดประกาศไว้ โดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่จะขายทอดตลาด สถานที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ที่ชุมนุมชน และสถานที่ราชการที่เห็นสมควร ก่อนกําหนดวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าประธานกรรมการเห็นสมควร จะลงประกาศโฆษณาการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นในหนังสือพิมพ์รายวันหรือทางวิทยุกระจายเสียงหรือทางโทรทัศน์หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนกําหนดวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ได้ ข้อ ๕๗ การกําหนดวันขายทอดตลาดในประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้กําหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น กําหนดวันขายไม่น้อยกว่าสามสิบวันแต่ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ที่ลงในประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน (2) โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือสังหาริมทรัพย์อื่น กําหนดวันขายไม่น้อยกว่ายี่สิบวันแต่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ลงในประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน (3) ในกรณีจําเป็นเร่งด่วน คณะกรรมการอาจขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่างน้อยห้าวันนับแต่วันที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเสร็จสิ้น ในกรณีของสดหรือของเสียง่าย ให้นําออกขายทอดตลาดได้ทันทีหรือดําเนินการโดยวิธีการอื่นตามที่เห็นสมควร (4) เมื่อประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินไปแล้ว กรณีมีความจําเป็น คณะกรรมการอาจเลื่อนหรืองดการขายทอดตลาดนั้นก็ได้ ข้อ ๕๘ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ติดจํานอง ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจํานองทราบถึงวันเวลาและสถานที่ที่จะทําการขายทอดตลาด พร้อมทั้งให้สอบถามผู้รับจํานองถึงรายละเอียดของภาระจํานอง เช่น ต้นเงิน ดอกเบี้ยที่ค้างชําระ ตลอดจนวิธีการขายทอดตลาดว่าประสงค์จะให้ขายโดยติดจํานองหรือปลอดจํานอง ถ้าผู้รับจํานองไม่มีหนังสือตอบรับแจ้งให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว ก็ให้ขายทรัพย์สินนั้นโดยติดจํานอง ในกรณีที่ได้รับแจ้งจากผู้รับจํานองว่าประสงค์ให้ขายทรัพย์สินนั้นโดยปลอดจํานอง คณะกรรมการอาจขายทรัพย์สินนั้นโดยติดจํานองก็ได้ ถ้าได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ การขายทรัพย์สินโดยติดจํานอง ให้แสดงรายชื่อผู้รับจํานอง พร้อมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชําระจนถึงวันขาย และข้อความว่าผู้ใดซื้อทรัพย์สินนั้นต้องรับภาระจํานองติดไปด้วยไว้ในประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยชัดเจน การขายทรัพย์สินโดยปลอดจํานอง การกําหนดราคาขายให้พิจารณาถึงต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชําระจนถึงวันขายรวมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดทรัพย์สิน และเงินที่ผู้ต้องชดใช้เงินต้องชําระ ถ้าคาดหมายว่าเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด ไม่อาจปลดเปลื้องหนี้ได้หรือหากขายทอดตลาดแล้วเจ้าหนี้จํานองจะได้รับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นไปทั้งหมด ก็ให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ๆ และรายงานให้เลขาธิการทราบเพื่อพิจารณาสั่งการเป็นราย ๆ ไป การขอรับชําระหนี้ของผู้รับจํานอง ให้ถือเอาหนังสือตอบรับของผู้รับจํานองตามวรรคหนึ่งเป็นคําขอรับชําระหนี้จํานอง ก่อนจ่ายเงินชําระหนี้จํานองพร้อมดอกเบี้ย ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่าหนี้จํานองและดอกเบี้ยเป็นหนี้บุริมสิทธิที่จะได้รับชําระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญหรือไม่ และผู้รับจํานองได้ปลดหนี้จํานองให้แล้ว พร้อมทั้งให้ขอใบรับยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการชําระหนี้จํานองพร้อมดอกเบี้ยด้วย จึงจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจํานองได้ (2) การขายทอดตลาดตู้นิรภัย กําปั่นเหล็ก ตู้ หีบ หรือที่เก็บของอื่น ๆ ให้คณะกรรมการจัดการเปิดเสียก่อนจึงจะขายได้ (3) การขายทอดตลาดทรัพย์สินประเภทซึ่งผู้ยึดถือหรือครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเสียก่อน เช่น อาวุธปืน เป็นต้น ให้ผู้ซื้อวางมัดจําไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และให้ผู้ซื้อจัดการนําใบอนุญาตมาแสดงภายในสามสิบวัน พร้อมทั้งชําระเงินที่ค้างให้ครบถ้วน ถ้าพ้นกําหนดแล้ว ผู้ซื้อไม่สามารถนําใบอนุญาตมาแสดงได้ ก็ให้ริบเงินมัดจํานั้น และให้ขายทอดตลาดใหม่ได้ (4) การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จะต้องมีใบอนุญาตกํากับ เช่น สุราจํานวนตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป ให้คณะกรรมการขอความร่วมมือไปยังเจ้าหน้าที่สรรพสามิตจัดการออกใบอนุญาตขนสุราให้แก่ผู้ซื้อด้วย (5) การขายทอดตลาดทรัพย์สินหลายสิ่ง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (ก) ให้แยกขายทีละสิ่งต่อเนื่องกัน แต่คณะกรรมการมีอํานาจ 1) จัดสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาเล็กน้อยรวมขายเป็นกอง ๆ ได้ 2) จัดสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์สองสิ่งหรือกว่านั้นขึ้นไป รวมขายไปด้วยกันได้ ถ้าเป็นที่คาดหมายว่าเงินรายได้จากการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น (ข) ในการขายอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่และทรัพย์สินนั้นอาจแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ ได้ คณะกรรมการมีอํานาจขายทรัพย์สินนั้นเป็นส่วน ๆ ได้ ถ้าเป็นที่คาดหมายว่าเงินรายได้จากการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น (ค) การขายทรัพย์สินหลายสิ่งด้วยกัน คณะกรรมการมีอํานาจกําหนดลําดับที่จะขายทรัพย์สินนั้นได้ (ง) บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด อาจร้องขอให้คณะกรรมการรวมหรือแยกหรือให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลําดับที่กําหนดไว้หรือจะร้องคัดค้านการขายของคณะกรรมการตาม (ก) ถึง (ค) ก็ได้ ในกรณีที่คณะกรรมการไม่ยอมปฏิบัติตามคําร้องขอหรือคําคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นคําขอต่อเลขาธิการโดยทําเป็นคําร้อง ภายในเจ็ดวันนับแต่วันปฏิเสธ เพื่อขอให้มีคําวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องนั้นก็ได้ ข้อ ๕๙ วิธีการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ก่อนเริ่มขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปักธงหรือเครื่องหมายการขายทอดตลาดและอ่านประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ณ สถานที่ที่ขายโดยเปิดเผย (2) คณะกรรมการจะใช้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ตนเป็นผู้จัดการขายไม่ได้ (3) เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าทรัพย์สินที่ทําการขายทอดตลาดมีมูลค่าสูงมากหรือมีผู้ใดจะสู้ราคาโดยไม่สุจริตหรือไม่สามารถจะชําระราคาได้ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการวางหลักประกันที่เชื่อถือได้ตามที่เห็นสมควร (4) การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงขายด้วยวิธีเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ถ้ายังไม่ได้แสดงเช่นนั้น ผู้สู้ราคาจะถอนคําสู้ราคาก็ได้ (5) ให้ผู้ทอดตลาดร้องขานจํานวนเงินที่มีผู้สู้ราคาครั้งที่หนึ่งและกล่าวคําว่า “หนึ่ง” 3 - 4 หน ถ้าไม่มีผู้สู้ราคาสูงขึ้น ให้เปลี่ยนร้องขานจํานวนเงินนั้นเป็นครั้งที่สองและกล่าวคําว่า “สอง” อีก 3 - 4 หน เมื่อไม่มีผู้สู้ราคาสูงกว่านั้นและผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดไม่คัดค้านราคา และคณะกรรมการเห็นว่าได้ราคาพอสมควรแล้ว ก็ให้ผู้ทอดตลาดกล่าวคําว่า “สาม” พร้อมกับเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด แต่ถ้าก่อนเคาะไม้หรือแสดงกิริยาดังกล่าวมีผู้สู้ราคาสูงขึ้นไปอีก ก็ให้ร้องขานราคานั้นตั้งต้นใหม่ตามลําดับ กรณีผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดคนใดคนหนึ่งคัดค้านราคา ให้คณะกรรมการเลื่อนการขายออกไปนัดหนึ่ง และในนัดต่อไป หากราคาที่มีผู้เสนอไม่ต่ํากว่าราคาที่เสนอไว้ในครั้งก่อนและคณะกรรมการเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขาย ก็ให้ดําเนินการขายทอดตลาดและเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดดังกล่าว (6) ถ้าผู้สู้ราคาถอนคําสู้ราคาของตนเสียก่อนที่ผู้ทอดตลาดจะเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ให้ผู้ทอดตลาดตั้งต้นร้องขานราคาใหม่ (7) ในการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการบันทึกเหตุการณ์ในการขายทอดตลาดไว้ทุกครั้ง โดยให้มีข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนบุคคลซึ่งมาฟังการขายและสู้ราคา (ข) ในการสู้ราคาทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ให้บันทึกชนิดของทรัพย์สิน ชื่อและราคาของผู้ให้ราคาสูงสุด รวมทั้งชื่อและราคาของผู้ให้ราคาตามลําดับรองลงมาด้วย กรณีการสู้ราคาทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ ให้บันทึกชนิดของทรัพย์สิน ชื่อและราคาของผู้ให้ราคาสูงสุดเท่านั้น (ค) คณะกรรมการขายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด (ง) คณะกรรมการและผู้ทอดตลาดต้องลงนามและวันเดือนปีกํากับไว้ด้วย ข้อ ๖๐ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) เมื่อผู้ทอดตลาดตกลงขายโดยวิธีเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ซื้อจะต้องชําระเงินทันที เว้นแต่ทรัพย์สินมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป คณะกรรมการอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อวางมัดจําไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และให้ทําสัญญาใช้เงินที่ค้างชําระภายในเวลาไม่เกินสิบห้าวัน นับแต่วันที่ซื้อนั้นก็ได้ (2) ถ้าผู้ซื้อวางมัดจําไวแล้วไม่ชําระเงินส่วนที่เหลือภายในกําหนดตามสัญญา ให้ริบเงินมัดจําที่ผู้ซื้อวางไว้ และถือว่าเงินมัดจํานั้นเป็นเงินส่วนหนึ่งจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงิน ย่อมนําไปชําระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน และเงินที่ผู้ต้องชดใช้เงินต้องชําระ โดยให้คณะกรรมการเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดใหม่ได้ (3) กรณีผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด การชําระราคานั้นจะขอหักส่วนของตนออกจากราคาซื้อก็ได้ ข้อ ๖๑ เมื่อการขายทอดตลาดบริบูรณ์โดยผู้ทอดตลาดตกลงขายโดยวิธีเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาดแล้ว ถ้าผู้ซื้อไม่ชําระเงินหรือไม่วางเงินมัดจําตามสัญญา ให้คณะกรรมการเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ําอีกและแจ้งให้ผู้ซื้อเดิม ทราบกําหนดวันเวลาขายด้วย เมื่อขายได้เงินเท่าใดโดยหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ยังไม่คุ้มราคาที่ขายทอดตลาดได้ในครั้งก่อน ให้เรียกร้องให้ผู้ซื้อเดิมชําระเงินส่วนที่ยังขาดนั้น ข้อ ๖๒ ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าราคาซื้อที่มีผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นยังไม่เพียงพออาจถอนทรัพย์สินนั้นจากการขายทอดตลาดได้ แล้วดําเนินการประกาศขายใหม่โดยไม่ต้องขออนุญาตเลขาธิการในการขายทอดตลาดอีก ข้อ ๖๓ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้กําหนดสถานที่ดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ข้อ ๖๔ เมื่อคณะกรรมการดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ให้คณะกรรมการรายงานผลการขายทอดตลาดนั้นให้เลขาธิการทราบทุกครั้ง ภายในเจ็ดวันทําการ นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด ในกรณีที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไม่ได้ ก็ให้รายงานเลขาธิการทราบ เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ส่วน ๓ การคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ------------------------------ ข้อ ๖๕ ถ้าคณะกรรมการได้ดําเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบ เช่น มิได้ส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่ผู้ต้องชดใช้เงินหรือผู้มีส่วนได้เสีย เป็นต้น ผู้ต้องชดใช้เงินหรือผู้มีส่วนได้เสียซึ่งต้องเสียหายจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น อาจยื่นคําร้องต่อเลขาธิการขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นได้ แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวัน นับแต่ทราบการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ถูกต้องนั้น ส่วน ๔ การโอนและการส่งมอบทรัพย์สิน ------------------------------ ข้อ ๖๖ เมื่อผู้ซื้อชําระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ให้โอนและส่งมอบทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ ให้คณะกรรมการส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้ผู้ซื้อไปได้ (2) ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น เรือกําปั่น เรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ เรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ สัตว์พาหนะ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องแก้ทะเบียนชื่อผู้เป็นเจ้าของ เช่น อาวุธปืน รถยนต์ เป็นต้น ให้คณะกรรมการแจ้งแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ๆ จัดการโอนหรือแก้ทะเบียนชื่อผู้เป็นเจ้าของให้ต่อไป หมวด ๕ การอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง ------------------------------ ข้อ ๖๗ การอุทธรณ์คําสั่งหรือประกาศให้ยึดทรัพย์สิน คําสั่งให้อายัดทรัพย์สิน คําสั่งหรือประกาศให้ขายทอดตลาดทรัพย์สิน หรือคําสั่งทางปกครองอื่น ให้ปฏิบัติตามส่วนที่ 5 การอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หมวด ๖ การถอนการบังคับทางปกครอง ------------------------------ ข้อ ๖๘ ให้เจ้าหน้าที่ถอนการบังคับทางปกครองในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อผู้ต้องชดใช้เงินได้วางเงินต่อเจ้าหน้าที่เป็นจํานวนพอชําระหนี้ที่ต้องชําระค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (2) เลขาธิการมีคําสั่งให้ถอนการบังคับทางปกครอง ข้อ ๖๙ ภายใต้บังคับข้อ 68 เมื่อได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องชดใช้เงินแล้ว ถ้าได้ถอนการบังคับทางปกครองทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แล้วแต่กรณี และคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ถูกยึดหรือถูกอายัดไป เว้นแต่เลขาธิการจะสั่งเป็นอย่างอื่น และให้แจ้งการถอนการยึดหรืออายัดแก่ผู้ต้องชดใช้เงินและผู้ถูกอายัดทรัพย์สินนั้นให้ทราบด้วย แล้วรายงานให้เลขาธิการทราบ ข้อ ๗๐ ให้เจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกับที่กําหนดไว้ในตาราง 5 ค่าธรรมเนียมเจ้าหน้าที่บังคับคดี ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเมื่อผู้ต้องชดใช้เงินชําระครบถ้วนแล้ว จึงถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น หมวด ๗ การรับและจ่ายเงิน ------------------------------ ข้อ ๗๑ การรับเงิน การนําส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และการเบิกจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติตามระเบียบซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ ๗๒ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้หักเป็นเงินที่ผู้ต้องชดใช้เงินต้องชําระค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กรณีที่มีเงินเหลือจากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการมอบเงินที่เหลือนั้นให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
5,194
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ให้บริษัทรายงานการรับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ให้บริษัทรายงานการรับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ---------------------------------------- เพื่อการกํากับดูแลการรับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ให้ดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็ว และเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้เอาประกันภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 นายทะเบียนจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ให้บริษัทรายงานการรับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 เมษายน 2550 (2) ประกาศนายทะเบียน เรื่อง ขยายระยะเวลาการผ่อนผันการรายงานการรับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 4 กันยายน 2550 ข้อ ๒ ให้บริษัทยื่นรายงานการรับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ตามแบบและรายการที่แนบท้ายประกาศนี้ ต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เริ่มต้นให้ความคุ้มครอง ข้อ ๓ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,195
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท --------------------------------------- เพื่อให้สอดคล้องกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่มีการเปลี่ยนแปลง อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 ของกฎกระทรวง กําหนดความเสียหายที่จะให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จํานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. 2552 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงกําหนดแบบคําร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทใหม่ ตามแบบ บต. 3 และบต. 4 แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,197
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน ------------------------------------- เพื่อให้สอดคล้องกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่มีการเปลี่ยนแปลง อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 ของกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน พ.ศ. 2552 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงกําหนดแบบคําร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนใหม่ ตามแบบ บต. 1 และบต. 2 แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,198
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่าย และส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ------------------------------------------------ ตามที่ได้มีประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ลงวันที่ 8 เมษายน 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนายทะเบียน เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2546 12 มกราคม 2548 20 มกราคม 2549 และ 3 กรกฎาคม 2549 ตามลําดับ นั้น เนื่องจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 และมีผลการบังคับใช้ ในวันที่ 6 เมษายน 2550 โดยมีผลเป็นการยกเลิกการใช้เครื่องหมาย บริษัทจึงไม่ต้องส่งมอบเครื่องหมายให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถกับบริษัทอีกต่อไป ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการเครื่องหมายที่บริษัทได้เบิกจ่ายไป และเพื่อความเป็นธรรมต่อบริษัท นายทะเบียนจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่เบิกเครื่องหมายฯ ปี 2550 (สีน้ําเงิน) ไปเพื่อใช้ในการรับประกันภัยรายงานการใช้เครื่องหมาย เครื่องหมายชํารุด เครื่องหมายสูญหาย พร้อมส่งคืนเครื่องหมายชํารุดเครื่องหมายส่งคืนให้กรมการประกันภัย ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ 6 เมษายน 2550 (วันที่ 3 สิงหาคม 2550) ข้อ ๒ เมื่อบริษัทได้ส่งคืนเครื่องหมายภายในกําหนดเวลาตามข้อ 1 ให้บริษัทได้รับการยกเว้น ไม่ต้องชําระค่าเครื่องหมายชํารุดและเครื่องหมายส่งคืนตาม (4.2) ของประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและส่งคืนเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ลงวันที่ 8 เมษายน 2546 โดยการส่งคืนเครื่องหมายชํารุดเครื่องหมายส่งคืนดังกล่าว ให้บริษัทดําเนินการ ตาม (4.4) โดยอนุโลม ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2550 จันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,199
ประกาศกรมการประกันภัย เรื่อง มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ประกาศกรมการประกันภัย เรื่อง มอบหมายให้เป็นนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 อธิบดีกรมการประกันภัย มอบหมายให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกเป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก เป็นนายทะเบียนมีอํานาจตรวจสอบและเปรียบเทียบปรับเจ้าของรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ การเปรียบเทียบปรับให้เป็นไปตามตารางเปรียบเทียบปรับที่กรมการประกันภัยประกาศกําหนด ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย
5,200
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบคำร้องขอนำเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินเป็นเงินสมทบในรอบสามเดือนต่อๆ ไป
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําร้องขอนําเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกิน เป็นเงินสมทบในรอบสามเดือนต่อๆ ไป ------------------------------------------ เพื่อให้บริษัทประกันภัยที่ส่งเงินสมทบกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยไว้เกินกว่าจํานวนที่ต้องชําระ สามารถขอนําเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินไปนั้นเป็นเงินสมทบในรอบสามเดือนต่อๆ ไปได้ จนกว่าเงินในส่วนที่เกินนั้นจะหมดลง อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นายทะเบียนเห็นสมควรประกาศกําหนดแบบคําร้องขอนําเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินเป็นเงินสมทบในรอบสามเดือนต่อๆ ไป ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 บรรพต หงษ์ทอง อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,201
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถ ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยคําแนะนําของคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อบริษัทได้รับประกันความเสียหายสําหรับผู้ประสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว ให้บริษัทออกใบเสร็จรับเงิน กรมธรรม์ประกันภัย และเครื่องหมายให้กับเจ้าของรถ ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
5,202
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีจ่าย และระยะเวลาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีจ่าย และระยะเวลาการจ่ายค่าสินไหมทดแทน นอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 14 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีจ่าย และระยะเวลาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น ที่บริษัทต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย มีดังต่อไปนี้ (1) ความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย ให้จ่ายตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกินจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดห้าหมื่นบาทต่อหนึ่งคน ทั้งนี้ รวมค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้รับมาแล้ว (ถ้ามี) โดยค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ประสบภัยมีสิทธิเรียกร้อง ได้แก่ (ก) ค่าใช้จ่ายที่ผู้ประสบภัยต้องเสียไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต ค่าอวัยวะเทียม ค่าพาหนะนําส่งหรือกลับจากโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล เป็นต้น (ข) ค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยต้องขาดประโยชน์ทํามาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต (ค) ค่าเสียหายอื่น ๆ ที่ผู้ประสบภัยมีสิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด (2) ความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย ในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีดังต่อไปนี้ ให้จ่ายเต็มตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดแปดหมื่นบาทต่อหนึ่งคน ทั้งนี้รวมค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้รับมาแล้ว (ถ้ามี) (ก) ตาบอด (ข) หูหนวก (ค) เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด (ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ (จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด (ฉ) จิตพิการอย่างติดตัว (ช) ทุพพลภาพอย่างถาวร (3) ความเสียหายต่อชีวิต ให้จ่ายเต็มตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดแปดหมื่นบาทต่อหนึ่งคน ทั้งนี้ รวมค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้รับมาแล้ว (ถ้ามี) (4) กรณีได้รับความเสียหายตามข้อ 1 (1) และต่อมาได้รับความเสียหายตามข้อ 1 (2) หรือข้อ 1 (3) หรือทั้งตามข้อ 1 (2) และข้อ 1 (3) ให้จ่ายเต็มตามจํานวนเงินคุ้มครองสูงสุดแปดหมื่นบาทต่อหนึ่งคน ทั้งนี้ รวมค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้รับมาแล้ว (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่กล่าวข้างต้นแล้วไม่ตัดสิทธิผู้ประสบภัยที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอื่น ๆ อีกตามกฎหมาย ข้อ ๒ การเรียกร้องให้บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น ต้องมีหลักฐานและเอกสารดังต่อไปนี้ (1) หลักฐานและเอกสารพิสูจน์การเกิดเหตุและความรับผิดของผู้ขับขี่รถประกันภัย (2) หลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น ข้อ ๓ หลักฐานและเอกสารพิสูจน์การเกิดเหตุและความรับผิดของผู้ขับขี่รถประกันภัย (1) ผู้ขับขี่รถฝ่ายใดยอมรับผิด และออกหนังสือยอมรับผิดหรือเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรในการยอมรับผิด ให้ถือว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายผิด เช่น บันทึกการยอมรับผิด สัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นต้น (2) ให้ถือความเห็นของพนักงานสอบสวนว่าเปรียบเทียบปรับฝ่ายใด ให้ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายผิด (3) หากไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิดและไม่มีฝ่ายใดยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ ให้ถือความเห็นของพนักงานสอบสวนหรือความเห็นของพนักงานอัยการหรือคําพิพากษาของศาล แล้วแต่กรณี หากหลักฐานและเอกสารมีความขัดแย้งกันให้ใช้เอกสารของทางราชการเป็นหลัก ข้อ ๔ หลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น (1) ความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย ตามข้อ 1 (1) (ก) ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ข) สําเนาบัตรประจําตัว หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย (ค) ใบรับรองแพทย์หรือใบความเห็นแพทย์ กรณีเรียกร้องความเสียหายต่ออนามัย (ง) เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง และจํานวนเงินที่เรียกร้อง (2) ความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย ตามข้อ 1 (2) (ก) ใบความเห็นแพทย์เกี่ยวกับความเสียหาย หรือผู้ประสบภัยแสดงตน (ข) สําเนาบันทึกประจําวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ (3) ในกรณีเสียชีวิต (ก) สําเนามรณบัตร (ข) สําเนาบันทึกประจําวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ ข้อ ๕ ให้บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยเป็นเงินสด หรือเป็นเช็คที่มิได้ลงวันที่ล่วงหน้า ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับหลักฐานเอกสารตามข้อ 2 และตกลงจํานวนค่าสินไหมทดแทนกันได้แล้ว ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ศุภชัย พานิชภักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
5,203
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การกําหนดอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ---------------------------------------- เพื่อให้อัตราเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ยกเว้นรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2536 รถยนต์สามล้อที่แปรสภาพมาจากรถจักรยานยนต์ (รถสกายแลป) และรถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไม่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย และให้มีเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนผู้ประสบภัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ของเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนเห็นสมควรให้เปลี่ยนอัตราเบี้ยประกันภัย ไม่รวมภาษีอากร สําหรับการประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เสียใหม่ ให้เป็นอัตราเบี้ยประกันภัยสูงสุดสําหรับการรับประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ไม่รวมภาษีอากร ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ จํานวน 1 แผ่น ทั้งนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน 2536 สนิท วรปัญญา อธิบดีกรมการประกันภัย
5,204
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนประกาศกําหนดให้บริษัทปฏิบัติการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2535 และประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 เมษายน 2541 หมวด ๑ การประเมินราคาทรัพย์สิน ---------------------------------------- ข้อ ๒ ทรัพย์สินที่ประเมินราคาได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) มีอยู่ในประเทศไทย เว้นแต่ทรัพย์สินที่ได้รับอนุญาตเพื่อการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศ หรือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบธุรกิจประกันภัยต่อกับต่างประเทศ หรือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (2) บริษัทมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิเรียกร้อง และ (3) บริษัทได้มาหรือมีอยู่โดยไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศหรือคําสั่งของนายทะเบียน และเงื่อนไขที่ออกหรือกําหนดตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศหรือคําสั่งของนายทะเบียนซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ข้อ ๓ การประเมินราคาทรัพย์สิน นอกจากต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ในข้อ 2 แล้ว ต้องเป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ด้วย (1) พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และดอกเบี้ยค้างรับ จากพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ให้ประเมินราคา ดังนี้ (1.1) ถ้ามีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ให้ประเมินราคาตามราคาขายครั้งหลังสุด (Last Execution Clean Price) ณ วันประเมินราคาถาวันประเมินราคาไม่มีราคาขาย ให้ประเมินราคาพันธบัตรรัฐบาลโดยใช้ราคาเสนอซื้อเฉลี่ย (Average Bid) ณ วันประเมินราคา ส่วนพันธบัตรรัฐวิสาหกิจให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาขายครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา ถ้าราคาขายครั้งหลังสุดที่มีอยู่เกินกว่าสามสิบวันนับจากวันประเมินราคา ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาทุนตัดจําหน่าย (1.2) ถ้าไม่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (1.3) ดอกเบี้ยค้างรับจากพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (2) ตั๋วเงินคลัง ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (3) บัตรภาษีของกระทรวงการคลัง ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ปรากฏในบัตรภาษีนั้น (4) หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ และดอกเบี้ยค้างรับจากหุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ประเมินราคา ดังนี้ (4.1) หุ้นกู้และหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ประเมินราคา ดังนี้ (ก) ถ้ามีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ประเมินราคาตามราคาปิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันประเมินราคาแต่ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาปิด ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาปิดครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา ถ้าราคาปิดครั้งหลังสุดที่มีอยู่เกินกว่าสามสิบวันนับจากวันประเมินราคา ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (ข) ถ้ามีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ให้ประเมินราคาตามราคาขายครั้งหลังสุด ณ วันประเมินราคา ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาขายครั้งหลังสุด ให้ประเมินราคาตามราคาขายครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา ถ้าราคาขายครั้งหลังสุดที่มีอยู่เกินกว่าสามสิบวันนับจากวันประเมินราคา ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (ค) ถ้าไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (4.2) ดอกเบี้ยค้างรับจากหุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ และดอกเบี้ยค้างรับจากหุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพไม่สามารถประเมินราคาได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (ก) หุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพที่ค้างชําระดอกเบี้ยเกินกว่าระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันที่ถึงกําหนดชําระ (ข) หุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพที่คบกําหนดชําระเงินต้นและถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน เว้นแต่ได้มีการดําเนินคดีทางศาลและศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดให้บริษัทมีสิทธิได้รับชําระหนี้ ให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นต่อไปได้อีกไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่บริษัทมีสิทธิบังคับคดี เว้นแต่จะได้ดําเนินการบังคับคดี (ค) หุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพที่ผู้ออกเลิกกิจการหรือถูกสั่งปิดกิจการ (5) ตั๋วเงินและดอกเบี้ยค้างรับจากตั๋วเงิน ให้ประเมินราคา ดังนี้ (5.1) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (5.2) เช็คที่กําหนดจ่ายเงินเมื่อทวงถามและได้ยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับเช็คนั้น ให้ประเมินราคาตามจํานวนที่ปรากฏในเช็คนั้น (5.3) ดอกเบี้ยค้างรับจากตั๋วเงิน ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ ตั๋วเงินและดอกเบี้ยค้างรับจากตั๋วเงินไม่สามารถประเมินราคาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ตั๋วเงินที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่หากมีการดําเนินคดีทางศาลและศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดให้บริษัทมีสิทธิได้รับชําระหนี้ ให้ประเมินราคาตามแต่กรณี คือ กรณีบริษัทยังไม่ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งต่อไปได้ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันพ้นกําหนดในคําบังคับ กรณีบริษัทร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาแล้วให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งแต่ไม่เกินราคาทรัพย์ที่ร้องขอให้ยึด (ข) ตั๋วเงินที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกเลิกกิจการหรือถูกสั่งปิดกิจการ เว้นแต่ตั๋วเงินนั้นเป็นตั๋วเงินที่มีผู้อาวัลการใช้เงินทั้งจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ย (6) หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ให้ประเมินราคาดังนี้ (6.1) ถ้ามีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาเสนอซื้อ ณ สิ้นวันประเมินราคา แต่ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาเสนอซื้อ ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาเสนอซื้อครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา ในกรณีที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย “อยู่ระหว่างห้ามซื้อหรือขายชั่วคราว” (SP) เป็นเวลาสี่เดือนติดต่อกัน ให้ประเมินราคาตามราคาซื้อแต่ไม่เกินราคาตามมูลค่าตามบัญชี (Book Value) ของหุ้นตามบัญชีงบดุลของผู้ออกหุ้น ณ วันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย (6.2) ถ้าอยู่ในระหว่างการขอนําหลักทรัพย์นั้นไปจดทะเบียนการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้วให้ประเมินราคาตามราคาที่เสนอขายต่อบุคคลทั่วไป (6.3) ถ้าไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ประเมินราคาตามราคาซื้อ แต่ไม่เกินราคาตามมูลค่าตามบัญชี (Book Value) ของหุ้นตามบัญชีงบดุลของผู้ออกหุ้น ณ วันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเมื่อบริษัทร้องขอสําหรับหุ้นสามัญที่บริษัทลงทุนซื้อเพื่อการรวมกิจการหรือรับโอนกิจการ ทั้งนี้นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิที่บริษัทผู้ออกเลิกกิจการหรือถูกสั่งปิดกิจการไม่สามารถประเมินราคาได้ (7) หน่วยลงทุน ให้ประเมินราคาดังนี้ (7.1) ถ้ามีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาเสนอซื้อ ณ สิ้นวันประเมินราคา แต่ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาเสนอซื้อ ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาเสนอซื้อครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา (7.2) ถ้าอยู่ในระหว่างการขอนําหลักทรัพย์นั้นไปจดทะเบียนการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว ให้ประเมินราคาตามราคาที่เสนอขายต่อบุคคลทั่วไป (7.3) ถ้าไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคามูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย (Net Assets Value per Unit) ของกองทุนรวม ณ วันประเมินราคา (8) ใบสําคัญแสดงสิทธิ ให้ประเมินราคาดังนี้ (8.1) ถ้ามีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาเสนอซื้อ ณ สิ้นวันประเมินราคา แต่ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาเสนอซื้อ ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาเสนอซื้อครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา (8.2) ถ้าไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาซื้อ ถ้าไม่มีราคาซื้อให้ประเมินราคาตามราคาบัญชี (9) เงินให้กู้ยืม ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระเว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (9.1) เงินให้กู้ยืมที่มีทรัพย์สินจํานํา จํานองเป็นประกัน หากลูกหนี้ไม่ได้ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย หรือเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ละงวดครบจํานวนตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม เป็นระยะเวลาเกินกว่าสิบสองเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระให้ประเมินราคาตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ต่อไปนี้ (ก) เงินให้กู้ยืมโดยมีพันธบัตรจํานําเป็นประกัน ให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละเก้าสิบของมูลค่าพันธบัตรที่จํานําเป็นประกัน เงินให้กู้ยืมโดยมีหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน จํานําเป็นประกัน ให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละหกสิบของมูลค่าหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุนที่จํานําเป็นประกัน โดยให้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่จํานําเป็นประกันนั้น ตามหลักเกณฑ์การประเมินราคาที่กําหนดไว้ใน (1) (4) (6) และ (7) ของประกาศฉบับนี้ แล้วแต่กรณี (ข) เงินให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกัน ให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละสี่สิบของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่จํานองเป็นประกันหรือราคาที่เสนอขายทั่วไปในโครงการนั้น ซึ่งเป็นราคาที่ใช้ในการทําสัญญากู้ยืม เว้นแต่กรณีมีเฉพาะที่ดินอย่างเดียวจํานองเป็นประกันให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละหกสิบของราคาประเมินกรมธนารักษ์ครั้งสุดท้าย แต่ทั้งนี้ หากได้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่จํานองเป็นประกันไว้ไม่เกินยี่สิบสี่เดือนโดยผู้ประเมินราคาอิสระที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละหกสิบของราคาประเมินนั้น (ค) เงินให้กู้ยืมโดยมีเครื่องจักรจํานองเป็นประกัน ให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าเครื่องจักรที่จํานองเป็นประกัน โดยให้ประเมินมูลค่าเครื่องจักรที่จํานองเป็นประกันนั้น ตามราคาซื้อขายในตลาดโดยไม่รวมค่าติดตั้งและค่าขนส่ง (ง) การประเมินราคาเงินให้กู้ยืมตาม (ก) (ข) และ (ค) ต้องไม่เกินมูลค่าทรัพย์สินที่มีการจดจํานอง จํานํา รวมทั้งไม่เกินจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระ (9.2) เงินให้กู้ยืมที่มีทรัพย์สินจํานํา จํานองเป็นประกัน หากลูกหนี้ไม่ได้ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย หรือเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ละงวดครบจํานวนตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม เป็นระยะเวลาเกินกว่าหกสิบเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระหรือเกินกว่าสามสิบหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการให้กู้ยืม ไม่สามารถประเมินราคาได้ (9.3) เงินให้กู้ยืมที่มีทรัพย์สินจํานํา จํานองเป็นประกัน หากได้มีการทําข้อตกลงประนอมหนี้และลูกหนี้ได้ชําระเงินตามข้อตกลงประนอมหนี้ติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกงวด หรือรวมเป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของยอดเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระตามข้อตกลงประนอมหนี้ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระตามข้อตกลงประนอมหนี้ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ไม่สามารถประเมินราคาได้ (ก) ข้อตกลงในการประนอมหนี้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการให้กู้ยืมที่กําหนดในประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัยที่ออกตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (ข) ลูกหนี้ได้ขาดชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย หรือเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ละงวดครบจํานวนตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม เป็นระยะเวลาเกินกว่าหกสิบเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระหรือเกินกว่าสามสิบหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการให้กู้ยืม เงินให้กู้ยืมที่มีการทําข้อตกลงประนอมหนี้และลูกหนี้ได้ชําระเงินตามวรรคหนึ่งแล้ว ภายหลังขาดการชําระหนี้ติดต่อกันสองงวด หรือเป็นระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระตามข้อตกลงประนอมหนี้ หากระยะเวลาขาดการชําระหนี้ยังไม่เกินกว่าหกสิบเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระและไม่เกินกว่าสามสิบหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการให้กู้ยืม ตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม ให้ประเมินราคาเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์และวิธีการใน (9.1) (ก) หรือ (ข) หรือ (ค) ไปจนสิ้นระยะเวลา ทั้งนี้ ต้องไม่เกินมูลค่าทรัพย์สินที่มีการจดจํานอง จํานํา รวมทั้งไม่เกินจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้าชําระตามข้อตกลงประนอมหนี้ อนึ่ง การขาดชําระหนี้ตามวรรคสอง แม้จะได้ทําข้อตกลงประนอมหนี้อีกไม่สามารถประเมินราคาตามวรรคแรกได้ (9.4) เงินให้กู้ยืมที่ไม่มีทรัพย์สินจํานํา จํานองเป็นประกัน หากลูกหนี้ไม่ได้ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย หรือเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ละงวดครบจํานวนตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม เป็นระยะเวลาเกินกว่าสิบสองเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระไม่สามารถประเมินราคาได้ (9.5) เงินให้กู้ยืมตาม (9.1) (9.2) (9.3) และ (9.4) หากศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดให้บริษัทมีสิทธิได้รับชําระหนี้ ให้ประเมินราคาตามแต่กรณี คือ กรณีบริษัทยังไม่ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งต่อไปได้ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันพ้นกําหนดในคําบังคับ กรณีบริษัทร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาแล้วให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งแต่ไม่เกินราคาทรัพย์ที่ร้องขอให้ยึด (10) เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินให้เช่าซื้อคงค้างหักยอดคงเหลือของดอกผลจากการให้เช่าซื้อรอตัดบัญชี แต่ทั้งนี้ต้องค้างชําระค่างวดไม่เกินหกเดือน กรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญาซื้อและบริษัทได้ดําเนินการยึดทรัพย์สินให้ประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมาตามราคาซื้อขายเงินสด ณ วันเริ่มทําสัญญาหักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุด ตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย (11) เงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งประเภทสัญญาเช่าการเงินให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินลูกหนี้คงค้างหักรายได้ดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้รับ แต่ทั้งนี้ต้องค้างชําระค่าเช่าไม่เกินหกเดือน กรณีผู้เช่าผิดสัญญาเช่าและบริษัทได้ดําเนินการยึดทรัพย์สินให้ประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมาตามราคาซื้อขายเงินสด ณ วันเริ่มทําสัญญาหักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุด ตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย (12) เงินฝากธนาคาร บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ฝากไว้ เว้นแต่บัตรเงินฝาก (Negotiable Certificate of Deposit) ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (13) เงินสดหรือเงินตราต่างประเทศที่เก็บไว้ที่สํานักงานของบริษัทให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่มีอยู่ (14) ธนาณัติ การรับจ่ายและการโอนเงิน ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ระบุไว้ (15) ดอกเบี้ยค้างรับจากเงินฝากธนาคาร บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (16) เงินปันผลที่ประกาศจ่ายและยังค้างรับอยู่ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (17) รายได้จากการลงทุนค้างรับอื่นๆ นอกจาก (1) (4) (5) (9) และ (15) ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ แต่ทั้งนี้ ต้องค้างรับไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ครบกําหนดชําระ (18) เงินวางไว้จากการประกันภัยต่อ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่วางไว้ (19) เงินค้างรับจากการประกันภัยต่อ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (20) เบี้ยประกันภัยต่อไปนี้ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (20.1) เบี้ยประกันภัยค้างรับตามสัญญาคุ้มครองชั่วคราว (20.2) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การระหว่างประเทศ (20.3) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากการประกันภัยทางทะเล (20.4) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากการประกันภัยต่อ เบี้ยประกันภัยค้างรับนอกจาก (20.1) (20.2) (20.3) และ (20.4) ซึ่งค้างรับไม่เกินกําหนดระยะเวลาชําระเบี้ยประกันภัยที่กําหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย หรือไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่สัญญาประกันภัยเริ่มต้นให้ความคุ้มครองหรือไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ถึงกําหนดชําระในงวดต่อๆ ไป ในกรณีที่สัญญาประกันภัยนั้นได้กําหนดให้มีการชําระเป็นงวดหรือภายในระยะเวลากว่านั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัยซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (21) อสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินราคา ดังนี้ (21.1) ที่ดิน ให้ประเมินราคาตามราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ครั้งสุดท้ายหรือตามราคาตลาดเมื่อได้รับการร้องขอจากบริษัทตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด (21.2) อาคารซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของบริษัทและอาคารชุดให้ประมินราคาตามราคาบัญชี หรือตามราคาตลาดเมื่อได้รับการร้องขอจากบริษัทตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด (21.3) อาคารซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่น ให้ประเมินราคาตามราคาบัญชี หรือตามราคาตลาดเมื่อได้รับการร้องขอจากบริษัท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด ในการประเมินราคาให้หักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุดตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้ายหรือในอัตราส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาการเช่าตามที่กําหนดไว้ในหนังสือสัญญาเช่าที่ดินนั้น แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า การประเมินราคาตาม (21.1) (21.2) และ (21.3) นายทะเบียนอาจมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงราคาประเมินได้ตามที่เห็นสมควร (22) สังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินราคาตามราคาบัญชี โดยหักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุด ตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย แต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างการเช่าซื้อ ให้ประเมินราคาตามราคาซื้อขายเงินสด โดยหักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุด ตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย สังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง นอกจาเครื่องสมองกล ให้ประเมินราคารวมกันได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์รวมของบริษัทที่ได้รับการประเมินราคาครั้งสุดท้าย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเมื่อบริษัทร้องขอ (23) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้จ่ายล่วงหน้า ภาษีที่ได้ชําระไว้เกิน และภาษีซื้อ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่บริษัทสามารถถือเป็นเครดิตในการคํานวณภาษีเงินได้ในปีนั้นๆ หรือในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมีสิทธิเรียกคืนได้ตามกฎหมาย (24) เงินมัดจํา ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่บริษัทมีสิทธิเรียกคืนได้ตามกฎหมาย (25) ทรัพย์สินอื่นซึ่งมิได้กําหนดไว้ในหมวดนี้ จะประเมินราคาให้ได้ต่อเมื่อบริษัทร้องขอ และให้ประเมินราคาตามราคาที่นายทะเบียนกําหนด หมวด ๒ การประเมินราคาหนี้สิน ---------------------------------------- ข้อ ๔ บรรดาหนี้สินทั้งปวงที่บริษัทต้องชําระ หรือมีความผูกพันที่ต้องชําระหรือคาดว่าต้องชําระ รวมทั้งเงินสํารองที่บริษัทต้องจัดสรรไว้ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 หรือเงินสํารองอื่น ให้ประเมินราคาเต็มจํานวน เว้นแต่ค่านายหน้าค้างจ่ายจากเบี้ยประกันภัยค้างรับที่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดไว้ในประกาศนายทะเบียน ว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ยังมิให้ถือเป็นหนี้สินที่บริษัทมีความผูกพันต้องชําระ หมวด ๓ เบ็ดเตล็ด ---------------------------------------- ข้อ ๕ ทรัพย์สินของบริษัทซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศให้คํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยโดยใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยคํานวณไว้ ณ สิ้นวันของวันที่ประเมินราคา หนี้สินของบริษัทซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทย โดยใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยคํานวณไว้ ณ สิ้นวันของวันที่ประเมินราคา ข้อ ๖ การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนสมบูรณ์ภายในเวลาที่นายทะเบียนกําหนด หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ---------------------------------------- ข้อ ๗ บรรดาตั๋วเงินตามข้อ 2 (5) อสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 2 (17) สังหาริมทรัพย์ตามข้อ 2 (18) ทรัพย์สินอื่นตามข้อ 2 (22) และทรัพย์สินที่เกิดจากการลงทุนในสถาบันการเงินที่ถูกทางราชการสั่งปิดกิจการตามข้อ 2 (23) ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2535 และประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 เมษายน 2541 ที่บริษัทได้ร้องขอการประเมินราคาและนายทะเบียนได้ประกาศกําหนดราคาประเมินไว้ก่อนที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงสิ้นภาระหรือสิ้นระยะเวลาที่ผูกพันไว้หรือจนกว่านายทะเบียนจะได้มีประกาศหรือคําสั่งเปลี่ยนแปลง ข้อ ๘ ภายในกําหนดสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เบี้ยประกันภัยค้างรับนอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 3 (20.1) (20.2) (20.3) และ (20.4) ซึ่งค้างรับไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่สัญญาประกันภัยเริ่มต้นความคุ้มครอง หรือนับแต่วันที่ถึงกําหนดชําระในงวดต่อๆ ไปในกรณีที่สัญญาประกันภัยนั้นได้กําหนดให้มีการชําระเบี้ยประกันภัยเป็นงวดหรือภายในระยะเวลากว่านั้น ตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัยซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2547 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,205
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนประกาศกําหนดให้บริษัทปฏิบัติการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2535 และประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 เมษายน 2541 หมวด ๑ การประเมินราคาทรัพย์สิน -------------------------------------- ข้อ ๒ ทรัพย์สินที่ประเมินราคาได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) มีอยู่ในประเทศไทย เว้นแต่ทรัพย์สินที่ได้รับอนุญาตเพื่อการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศ หรือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบธุรกิจประกันภัยต่อกับต่างประเทศ หรือทรัพย์สินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (2) บริษัทมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิเรียกร้อง และ (3) บริษัทได้มาหรือมีอยู่โดยไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศหรือคําสั่งของนายทะเบียน และเงื่อนไขที่ออกหรือกําหนดตามกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศหรือคําสั่งของนายทะเบียนซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ข้อ ๓ การประเมินราคาทรัพย์สิน นอกจากต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ในข้อ 2 แล้ว ต้องเป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ด้วย (1) พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และดอกเบี้ยค้างรับจากพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ให้ประเมินราคา ดังนี้ (1.1) พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ให้ประเมินราคาตามราคาเสนอซื้อเฉลี่ย (Average Bid) ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ณ วันประเมินราคา ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาเสนอซื้อเฉลี่ย ให้ประเมินราคาตามราคาขายครั้งหลังสุด (Last Execution Clean Price) ณ วันประเมินราคา ถ้าไม่มีราคาเสนอซื้อเฉลี่ยหรือราคาขายครั้งหลังสุด ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาขายครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา ถ้าราคาขายครั้งหลังสุดที่มีอยู่เกินกว่าสามสิบวัน นับจากวันประเมินราคา ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (1.2) ดอกเบี้ยค้างรับจากพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (2) ตั๋วเงินคลัง ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (3) บัตรภาษีของกระทรวงการคลัง ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ปรากฏในบัตรภาษีนั้น (4) หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ และดอกเบี้ยค้างรับจากหุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพให้ประเมินราคาดังนี้ (4.1) หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ประเมินราคา ดังนี้ (ก) ถ้ามีการจดทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ให้ประเมินราคาตามราคาเสนอซื้อเฉลี่ย (Average Bid) ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ณ วันประเมินราคา ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาเสนอซื้อเฉลี่ย ให้ประเมินราคาตามราคาขายครั้งหลังสุด (Last Execution Clean Price) ณ วันประเมินราคา ถ้าไม่มีราคาเสนอซื้อเฉลี่ยหรือราคาขายครั้งหลังสุด ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาขายครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา ถ้าราคาขายครั้งหลังสุดที่มีอยู่เกินกว่าสามสิบวัน นับจากวันประเมินราคา ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (ข) ถ้ามีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาเสนอซื้อ ณ สิ้นวันประเมินราคา แต่ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาเสนอซื้อ ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาเสนอซื้อครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา ถ้าราคาเสนอซื้อครั้งหลังสุดที่มีอยู่เกินกว่าสามสิบวันนับจากวันประเมินราคา ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (ค) ถ้าไม่มีการจดทะเบียน ตาม (ก) และ (ข) ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (ง) ถ้ามีการจดทะเบียน ตาม (ก) และ (ข) ให้ประเมินราคาตาม (ก) (4.2) ดอกเบี้ยค้างรับจากหุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ และดอกเบี้ยค้างรับจากหุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพไม่สามารถประเมินราคาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพที่ค้างชําระดอกเบี้ยเกินกว่าระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันที่ถึงกําหนดชําระ (ข) หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพที่ครบกําหนดชําระเงินต้นและถูกปฏิเสธการจ่ายเงินแต่หากมีการดําเนินคดีทางศาลและศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดให้บริษัทมีสิทธิได้รับชําระหนี้ ให้ประเมินราคาตามแต่กรณี คือ กรณีบริษัทยังไม่ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งต่อไปได้ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันพ้นกําหนดในคําบังคับ กรณีบริษัทร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาแล้วให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งแต่ไม่เกินราคาทรัพย์ที่ร้องขอให้ยึด (ค) หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพที่ผู้ออกเลิกกิจการหรือถูกสั่งปิดกิจการ (5) ตั๋วเงินและดอกเบี้ยค้างรับจากตั๋วเงิน ให้ประเมินราคา ดังนี้ (5.1) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (5.2) เช็คที่กําหนดจ่ายเงินเมื่อทวงถามและได้ยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้รับเช็คนั้น ให้ประเมินราคาตามจํานวนที่ปรากฏในเช็คนั้น (5.3) ดอกเบี้ยค้างรับจากตั๋วเงิน ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ ตั๋วเงินและดอกเบี้ยค้างรับจากตั๋วเงินไม่สามารถประเมินราคาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ตั๋วเงินที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่หากมีการดําเนินคดีทางศาลและศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดให้บริษัทมีสิทธิได้รับชําระหนี้ ให้ประเมินราคาตามแต่กรณี คือ กรณีบริษัทยังไม่ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งต่อไปได้ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันพ้นกําหนดในคําบังคับ กรณีบริษัทร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาแล้วให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งแต่ไม่เกินราคาทรัพย์ที่ร้องขอให้ยึด (ข) ตั๋วเงินที่ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกเลิกกิจการหรือถูกสั่งปิดกิจการ เว้นแต่ตั๋วเงินนั้นเป็นตั๋วเงินที่มีผู้อาวัลการใช้เงินทั้งจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ย (6) หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ให้ประเมินราคาดังนี้ (6.1) ถ้ามีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาเสนอซื้อ ณ สิ้นวันประเมินราคา แต่ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาเสนอซื้อ ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาเสนอซื้อครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา ในกรณีที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย “อยู่ระหว่างห้ามซื้อหรือขายชั่วคราว” (SP) เป็นเวลาสี่เดือนติดต่อกัน ให้ประเมินราคาตามราคาซื้อแต่ไม่เกินราคาตามมูลค่าตามบัญชี (Book Value) ของหุ้นตามบัญชีงบดุลของผู้ออกหุ้น ณ วันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย (6.2) ถ้าอยู่ในระหว่างการขอนําหลักทรัพย์นั้นไปจดทะเบียนการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้วให้ประเมินราคาตามราคาที่เสนอขายต่อบุคคลทั่วไป (6.3) ถ้าไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ประเมินราคาตามราคาซื้อ แต่ไม่เกินราคาตามมูลค่าตามบัญชี (Book Value) ของหุ้นตามบัญชีงบดุลของผู้ออกหุ้น ณ วันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเมื่อบริษัทร้องขอสําหรับหุ้นสามัญที่บริษัทลงทุนซื้อเพื่อการรวมกิจการหรือรับโอนกิจการ ทั้งนี้นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิที่บริษัทผู้ออกเลิกกิจการหรือถูกสั่งปิดกิจการไม่สามารถประเมินราคาได้ (7) หน่วยลงทุน ให้ประเมินราคาดังนี้ (7.1) ถ้ามีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาเสนอซื้อ ณ สิ้นวันประเมินราคา แต่ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาเสนอซื้อ ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาเสนอซื้อครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา (7.2) ถ้าอยู่ในระหว่างการขอนําหลักทรัพย์นั้นไปจดทะเบียนการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว ให้ประเมินราคาตามราคาที่เสนอขายต่อบุคคลทั่วไป (7.3) ถ้าไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคามูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย (Net Assets Value per Unit) ของกองทุนรวม ณ วันประเมินราคา (8) ใบสําคัญแสดงสิทธิ ให้ประเมินราคาดังนี้ (8.1) ถ้ามีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาเสนอซื้อ ณ สิ้นวันประเมินราคา แต่ถ้าวันประเมินราคาไม่มีราคาเสนอซื้อ ให้ประเมินราคาโดยใช้ราคาเสนอซื้อครั้งหลังสุดที่มีอยู่ก่อนวันประเมินราคา (8.2) ถ้าไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ประเมินราคาตามราคาซื้อ ถ้าไม่มีราคาซื้อให้ประเมินราคาตามราคาบัญชี (9) เงินให้กู้ยืม ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระเว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (9.1) เงินให้กู้ยืมที่มีทรัพย์สินจํานํา จํานองเป็นประกัน หากลูกหนี้ไม่ได้ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย หรือเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ละงวดครบจํานวนตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม เป็นระยะเวลาเกินกว่าสิบสองเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระให้ประเมินราคาตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ต่อไปนี้ (ก) เงินให้กู้ยืมโดยมีพันธบัตรจํานําเป็นประกัน ให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละเก้าสิบของมูลค่าพันธบัตรที่จํานําเป็นประกัน เงินให้กู้ยืมโดยมีหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน จํานําเป็นประกัน ให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละหกสิบของมูลค่าหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุนที่จํานําเป็นประกัน โดยให้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่จํานําเป็นประกันนั้น ตามหลักเกณฑ์การประเมินราคาที่กําหนดไว้ใน (1) (4) (6) และ (7) ของประกาศฉบับนี้ แล้วแต่กรณี (ข) เงินให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกัน ให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละสี่สิบของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่จํานองเป็นประกันหรือราคาที่เสนอขายทั่วไปในโครงการนั้น ซึ่งเป็นราคาที่ใช้ในการทําสัญญากู้ยืม เว้นแต่กรณีมีเฉพาะที่ดินอย่างเดียวจํานองเป็นประกันให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละหกสิบของราคาประเมินกรมธนารักษ์ครั้งสุดท้าย แต่ทั้งนี้ หากได้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่จํานองเป็นประกันไว้ไม่เกินยี่สิบสี่เดือนโดยผู้ประเมินราคาอิสระที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละหกสิบของราคาประเมินนั้น (ค) เงินให้กู้ยืมโดยมีเครื่องจักรจํานองเป็นประกัน ให้ประเมินราคาเท่ากับร้อยละสามสิบห้าของมูลค่าเครื่องจักรที่จํานองเป็นประกัน โดยให้ประเมินมูลค่าเครื่องจักรที่จํานองเป็นประกันนั้น ตามราคาซื้อขายในตลาดโดยไม่รวมค่าติดตั้งและค่าขนส่ง (ง) การประเมินราคาเงินให้กู้ยืมตาม (ก) (ข) และ (ค) ต้องไม่เกินมูลค่าทรัพย์สินที่มีการจดจํานอง จํานํา รวมทั้งไม่เกินจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระ (9.2) เงินให้กู้ยืมที่มีทรัพย์สินจํานํา จํานองเป็นประกัน หากลูกหนี้ไม่ได้ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย หรือเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ละงวดครบจํานวนตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม เป็นระยะเวลาเกินกว่าหกสิบเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระหรือเกินกว่าสามสิบหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการให้กู้ยืม ไม่สามารถประเมินราคาได้ (9.3) เงินให้กู้ยืมที่มีทรัพย์สินจํานํา จํานองเป็นประกัน หากได้มีการทําข้อตกลงประนอมหนี้และลูกหนี้ได้ชําระเงินตามข้อตกลงประนอมหนี้ติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกงวด หรือรวมเป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของยอดเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระตามข้อตกลงประนอมหนี้ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระตามข้อตกลงประนอมหนี้ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ไม่สามารถประเมินราคาได้ (ก) ข้อตกลงในการประนอมหนี้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการให้กู้ยืมที่กําหนดในประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัยที่ออกตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (ข) ลูกหนี้ได้ขาดชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย หรือเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ละงวดครบจํานวนตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม เป็นระยะเวลาเกินกว่าหกสิบเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระหรือเกินกว่าสามสิบหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการให้กู้ยืม เงินให้กู้ยืมที่มีการทําข้อตกลงประนอมหนี้และลูกหนี้ได้ชําระเงินตามวรรคหนึ่งแล้ว ภายหลังขาดการชําระหนี้ติดต่อกันสองงวด หรือเป็นระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระตามข้อตกลงประนอมหนี้ หากระยะเวลาขาดการชําระหนี้ยังไม่เกินกว่าหกสิบเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระและไม่เกินกว่าสามสิบหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการให้กู้ยืม ตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม ให้ประเมินราคาเช่นเดียวกับหลักเกณฑ์และวิธีการใน (9.1) (ก) หรือ (ข) หรือ (ค) ไปจนสิ้นระยะเวลา ทั้งนี้ ต้องไม่เกินมูลค่าทรัพย์สินที่มีการจดจํานอง จํานํา รวมทั้งไม่เกินจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างชําระตามข้อตกลงประนอมหนี้ อนึ่ง การขาดชําระหนี้ตามวรรคสอง แม้จะได้ทําข้อตกลงประนอมหนี้อีกไม่สามารถประเมินราคาตามวรรคแรกได้ (9.4) เงินให้กู้ยืมที่ไม่มีทรัพย์สินจํานํา จํานองเป็นประกัน หากลูกหนี้ไม่ได้ชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย หรือเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ละงวดครบจํานวนตามข้อตกลงในสัญญากู้ยืม เป็นระยะเวลาเกินกว่าสิบสองเดือนนับแต่วันถึงกําหนดชําระไม่สามารถประเมินราคาได้ (9.5) เงินให้กู้ยืมตาม (9.1) (9.2) (9.3) และ (9.4) หากศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งถึงที่สุดให้บริษัทมีสิทธิได้รับชําระหนี้ ให้ประเมินราคาตามแต่กรณี คือ กรณีบริษัทยังไม่ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งต่อไปได้ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันพ้นกําหนดในคําบังคับ กรณีบริษัทร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาแล้วให้ประเมินราคาตามคําพิพากษาหรือคําสั่งแต่ไม่เกินราคาทรัพย์ที่ร้องขอให้ยึด (10) เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินให้เช่าซื้อคงค้างหักยอดคงเหลือของดอกผลจากการให้เช่าซื้อรอตัดบัญชี แต่ทั้งนี้ต้องค้างชําระค่างวดไม่เกินหกเดือน กรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญาซื้อและบริษัทได้ดําเนินการยึดทรัพย์สินให้ประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมาตามราคาซื้อขายเงินสด ณ วันเริ่มทําสัญญาหักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุด ตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย (11) เงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งประเภทสัญญาเช่าการเงินให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินลูกหนี้คงค้างหักรายได้ดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้รับ แต่ทั้งนี้ต้องค้างชําระค่าเช่าไม่เกินหกเดือน กรณีผู้เช่าผิดสัญญาเช่าและบริษัทได้ดําเนินการยึดทรัพย์สินให้ประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมาตามราคาซื้อขายเงินสด ณ วันเริ่มทําสัญญาหักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุด ตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย (12) เงินฝากธนาคาร บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ฝากไว้ เว้นแต่บัตรเงินฝาก (Negotiable Certificate of Deposit) ให้ประเมินราคาตามราคาทุนตัดจําหน่าย (13) เงินสดหรือเงินตราต่างประเทศที่เก็บไว้ที่สํานักงานของบริษัทให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่มีอยู่ (14) ธนาณัติ การรับจ่ายและการโอนเงิน ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ระบุไว้ (15) ดอกเบี้ยค้างรับจากเงินฝากธนาคาร บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (16) เงินปันผลที่ประกาศจ่ายและยังค้างรับอยู่ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (17) รายได้จากการลงทุนค้างรับอื่นๆ นอกจาก (1) (4) (5) (9) และ (15) ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ แต่ทั้งนี้ ต้องค้างรับไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ครบกําหนดชําระ (18) เงินวางไว้จากการประกันภัยต่อ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่วางไว้ (19) เงินค้างรับจากการประกันภัยต่อ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (20) เบี้ยประกันภัยต่อไปนี้ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (20.1) เบี้ยประกันภัยค้างรับตามสัญญาคุ้มครองชั่วคราว (20.2) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การระหว่างประเทศ (20.3) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากการประกันภัยทางทะเล (20.4) เบี้ยประกันภัยค้างรับจากการประกันภัยต่อ เบี้ยประกันภัยค้างรับนอกจาก (20.1) (20.2) (20.3) และ (20.4) ซึ่งค้างรับไม่เกินกําหนดระยะเวลาชําระเบี้ยประกันภัยที่กําหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย หรือไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่สัญญาประกันภัยเริ่มต้นให้ความคุ้มครองหรือไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ถึงกําหนดชําระในงวดต่อๆ ไป ในกรณีที่สัญญาประกันภัยนั้นได้กําหนดให้มีการชําระเป็นงวดหรือภายในระยะเวลากว่านั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัยซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ (21) อสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินราคา ดังนี้ (21.1) ที่ดิน ให้ประเมินราคาตามราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ครั้งสุดท้ายหรือตามราคาตลาดเมื่อได้รับการร้องขอจากบริษัทตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด (21.2) อาคารซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของบริษัทและอาคารชุดให้ประมินราคาตามราคาบัญชี หรือตามราคาตลาดเมื่อได้รับการร้องขอจากบริษัทตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด (21.3) อาคารซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของบุคคลอื่น ให้ประเมินราคาตามราคาบัญชี หรือตามราคาตลาดเมื่อได้รับการร้องขอจากบริษัท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด ในการประเมินราคาให้หักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุดตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้ายหรือในอัตราส่วนเฉลี่ยของระยะเวลาการเช่าตามที่กําหนดไว้ในหนังสือสัญญาเช่าที่ดินนั้น แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า การประเมินราคาตาม (21.1) (21.2) และ (21.3) นายทะเบียนอาจมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงราคาประเมินได้ตามที่เห็นสมควร (22) สังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินราคาตามราคาบัญชี โดยหักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุด ตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย แต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างการเช่าซื้อ ให้ประเมินราคาตามราคาซื้อขายเงินสด โดยหักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุด ตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย สังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง นอกจากเครื่องสมองกลให้ประเมินราคารวมกันกับค่าปรับปรุงตกแต่งอาคารตามข้อ 3 (26) แล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์รวมของบริษัทที่ได้รับการประเมินราคาครั้งสุดท้าย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเมื่อบริษัทร้องขอ (23) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้จ่ายล่วงหน้า ภาษีที่ได้ชําระไว้เกิน และภาษีซื้อ ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่บริษัทสามารถถือเป็นเครดิตในการคํานวณภาษีเงินได้ในปีนั้นๆ หรือในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมีสิทธิเรียกคืนได้ตามกฎหมาย (24) เงินมัดจํา ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่บริษัทมีสิทธิเรียกคืนได้ตามกฎหมาย (25) ลูกหนี้จากการขายพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพหน่วยลงทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับได้อีกสามวันทําการนับจากวันที่ขาย (26) ค่าปรับปรุงตกแต่งอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจและเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ให้ประเมินราคาตามราคาบัญชี โดยให้หักค่าเสื่อมราคาในอัตราสูงสุด ตามประมวลรัษฎากรครั้งสุดท้าย ซึ่งเมื่อรวมกับสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 3 (22) แล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์รวมของบริษัทที่ได้รับการประเมินราคาครั้งสุดท้าย สําหรับค่าปรับปรุงตกแต่งอาคารเช่า มิให้ประเมินราคา (27) ทรัพย์สินอื่นซึ่งมิได้กําหนดไว้ในหมวดนี้ จะประเมินราคาให้ได้ต่อเมื่อบริษัทร้องขอและให้ประเมินราคาตามราคาที่นายทะเบียนกําหนด หมวด ๒ การประเมินราคาหนี้สิน -------------------------------- ข้อ ๔ บรรดาหนี้สินทั้งปวงที่บริษัทต้องชําระ หรือมีความผูกพันที่ต้องชําระหรือคาดว่าต้องชําระ รวมทั้งเงินสํารองที่บริษัทต้องจัดสรรไว้ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 หรือเงินสํารองอื่น ให้ประเมินราคาเต็มจํานวน เว้นแต่ค่านายหน้าค้างจ่ายจากเบี้ยประกันภัยค้างรับที่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดไว้ในประกาศนายทะเบียน ว่าด้วยการเก็บเบี้ยประกันภัย ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ยังมิให้ถือเป็นหนี้สินที่บริษัทมีความผูกพันต้องชําระ หมวด ๓ เบ็ดเตล็ด --------------------------- ข้อ ๕ ทรัพย์สินของบริษัทซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศให้คํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยโดยใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยคํานวณไว้ ณ สิ้นวันของวันที่ประเมินราคา หนี้สินของบริษัทซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทย โดยใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยคํานวณไว้ ณ สิ้นวันของวันที่ประเมินราคา ข้อ ๖ การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ให้นายทะเบียนมีอํานาจสั่งให้บริษัทแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องหรือครบถ้วนสมบูรณ์ภายในเวลาที่นายทะเบียนกําหนด หมวด ๔ บทเฉพาะกาล --------------------------- ข้อ ๗ บรรดาตั๋วเงินตามข้อ 2 (5) อสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 2 (17) สังหาริมทรัพย์ตามข้อ 2 (18) ทรัพย์สินอื่นตามข้อ 2 (22) และทรัพย์สินที่เกิดจากการลงทุนในสถาบันการเงินที่ถูกทางราชการสั่งปิดกิจการตามข้อ 2 (23) ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2535 และประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 เมษายน 2541 ที่บริษัทได้ร้องขอการประเมินราคาและนายทะเบียนได้ประกาศกําหนดราคาประเมินไว้ก่อนที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงสิ้นภาระหรือสิ้นระยะเวลาที่ผูกพันไว้หรือจนกว่านายทะเบียนจะได้มีประกาศหรือคําสั่งเปลี่ยนแปลง ข้อ ๘ ภายในกําหนดสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เบี้ยประกันภัยค้างรับนอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 3 (20.1) (20.2) (20.3) และ (20.4) ซึ่งค้างรับไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่สัญญาประกันภัยเริ่มต้นความคุ้มครอง หรือนับแต่วันที่ถึงกําหนดชําระในงวดต่อๆ ไปในกรณีที่สัญญาประกันภัยนั้นได้กําหนดให้มีการชําระเบี้ยประกันภัยเป็นงวดหรือภายในระยะเวลากว่านั้น ตามที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัยซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ให้ประเมินราคาตามจํานวนเงินที่ค้างรับ ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2547 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,206
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบและรายการรายงานประจำปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการ ของบริษัทประกันวินาศภัย ------------------------------------------ เพื่อให้ได้ข้อมูลทางการเงินครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถใช้ในการกํากับและส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนกําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 19 มีนาคม 2539 (2) ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 เมษายน 2543 (3) ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน” หมายความว่า บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ตามความหมายที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่ออกโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดทํารายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัยตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดส่งรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทตามข้อ 3 ต่อนายทะเบียน จํานวน 2 ชุด พร้อมแผ่น Diskette ที่บันทึกข้อมูลถูกต้องตรงกัน จํานวน 1 ชุด ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,207
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบและรายการรายงานประจำปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการ ของบริษัทประกันวินาศภัย --------------------------------------------- เพื่อให้ได้ข้อมูลทางการเงินครบถ้วน สมบูรณ์ สามารถใช้ในการกํากับและส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนประกาศกําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก 1) ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2546 2) ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและรายการรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 มกราคม 2548 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน” หมายความว่า บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ตามความหมายที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดส่งรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทตามคู่มือการจัดทําข้อมูลทางการเงินประจําปีในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยกรมการประกันภัยและในรูปกระดาษ (Hard Copy) ที่บันทึกข้อมูลถูกต้องตรงกัน ตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ จํานวน 2 ชุด การจัดส่งรายงานในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง หากข้อมูลเบื้องต้นไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ตามที่กําหนดไว้ในคู่มือการจัดทําข้อมูลทางการเงินประจําปีให้ถือว่าบริษัทยังไม่จัดส่งรายงาน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับรายงานประจําปีแสดงฐานะการเงินและกิจการของบริษัทสําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2548 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,208
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดอัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืมและการซื้อหรือซื้อลดตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดอัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืมและการซื้อหรือซื้อลดตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทประกันวินาศภัย ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 11 เมษายน 2535 นายทะเบียนประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีพนักงานบริษัทเดียวกันค้ําประกันหรือมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกันการให้กู้ยืมแต่ละรายไม่เกินห้าแสนบาท บริษัทต้องกําหนดอัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืมไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 ต่อปี ข้อ ๒ การให้กู้ยืมแก่เกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทจะต้องกําหนดอัตราดอกเบี้ยไม่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้กู้ยืมแก่เกษตรกร หรือ สหกรณ์เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ออมทรัพย์ให้กู้ยืมแก่สมาชิกแล้วแต่กรณี ข้อ ๓ การให้กู้ยืม นอกจากที่ได้กําหนดไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 บริษัทจะต้องกําหนดอัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืมไม่ต่ํากว่าร้อยละ 10 ต่อปี ข้อ ๔ การซื้อหรือซื้อลดตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นจะต้องมีอัตราดอกเบี้ย ดังต่อไปนี้ (1) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม จะต้องมีอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7 ต่อปี (2) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน จะต้องมีอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8 ต่อปี (3) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน จะต้องมีอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.5 ต่อปี (4) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี จะต้องมีอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8.75 ต่อปี หรือร้อยละ 8.25 ต่อปี โดยถัวเฉลี่ยเป็นรายเดือน (5) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี จะต้องมีอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 8 ต่อปี หรือร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยถัวเฉลี่ยเป็นรายเดือน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2535 สนิท วรปัญญา อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,209
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทำรายงานการดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํา รายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพบัญชี “นักคณิตศาสตร์ประกันภัย” หมายความว่า นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงผู้มีสิทธิรับรองรายงานการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ด้วย ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุน ดังต่อไปนี้ (1) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี (2) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส (เดือนมีนาคม เดือนมิถุนายน และเดือนกันยายน) (3) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน (เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ เดือนเมษายนเดือนพฤษภาคม เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม) ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13 การจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทคํานวณเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการกําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย เว้นแต่รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือนให้คํานวณเงินกองทุนโดยวิธีประมาณการตามที่นายทะเบียนกําหนดไว้ (2) ให้บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย เว้นแต่ รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน ให้ประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินโดยวิธีประมาณการที่นายทะเบียนยอมรับ (3) ให้บริษัทใช้แบบรายการ ดังต่อไปนี้ (ก) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 1แนบท้ายประกาศนี้ (ข) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 2แนบท้ายประกาศนี้ (ค) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 3แนบท้ายประกาศนี้ (4) ให้บริษัทเสนอรายงานการดํารงเงินกองทุนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี ภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน (ข) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นแต่ละไตรมาส (ค) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน ภายในสิ้นเดือนถัดไป (5) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี ต้องผ่านการตรวจสอบ (audit) จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (6) รายงานการดํารงเงินกองทุนในไตรมาสที่สองของทุกปี (เดือนมิถุนายน) ต้องผ่านการสอบทาน(review) จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราดังต่อไปนี้ให้บริษัทเสนอรายงานการดํารงเงินกองทุนโดยใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 2 แนบท้ายประกาศนี้ที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกเดือน จนกว่านายทะเบียนจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น (1) ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 อัตราร้อยละหนึ่งร้อยยี่สิบห้า (2) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป อัตราร้อยละหนึ่งร้อยสี่สิบ ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควร นายทะเบียนอาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทจัดหาผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ/หรือ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยอื่นที่นายทะเบียนยอมรับเป็นผู้สอบทานหรือตรวจสอบรายงานอีกครั้งหนึ่ง โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท (2) ให้บริษัทแก้ไขรายงานการดํารงเงินกองทุน หากบริษัทไม่แก้ไขตามที่นายทะเบียนสั่งให้ถือว่าบริษัทไม่ได้ส่งรายงาน ข้อ ๘ บริษัทต้อง ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วนแก่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อใช้ในการสอบทานหรือการตรวจสอบรายงานการดํารงเงินกองทุน ข้อ ๙ การส่งรายงานตามประกาศนี้ ให้บริษัทดําเนินการจัดส่งในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามระบบที่สํานักงานกําหนดไว้ และในรูปกระดาษ (hard copy) ที่บันทึกข้อมูลถูกต้องตรงกัน ข้อ ๑๐ การรายงานการดํารงเงินกองทุนในไตรมาสที่สองของทุกปี ให้บริษัทสามารถนําเสนอต่อนายทะเบียนได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส ตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับจนถึงปี พ.ศ. 2557 ข้อ ๑๑ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสามารถตรวจสอบรายงานโดยใช้วิธีการที่ตกลงร่วมกัน (agreeupon procedure) แทนการสอบทานรายงานการดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 (6) ข้อ 6 ข้อ 7 (1) และข้อ 8 จนกว่าสภาวิชาชีพบัญชีจะมีการประกาศมาตรฐานการสอบบัญชีว่าด้วยการสอบทานรายงานอื่น ๆ นอกเหนือจากรายงานทางการเงิน ข้อ ๑๒ รายงานการดํารงเงินกองทุนในไตรมาสที่สามของปี พ.ศ. 2554 (เดือนกันยายน) ต้องผ่านการตรวจสอบตามวิธีการที่ตกลงร่วมกันจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และให้บริษัทสามารถนํา เสนอต่อนายทะเบียนได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ข้อ ๑๓ รายงานการดํารงเงินกองทุนในเดือนตุลาคมของปี พ.ศ. 2554 ให้บริษัทสามารถนําเสนอต่อนายทะเบียนได้ภายในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,210
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทำรายงานการดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํา รายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพบัญชี “นักคณิตศาสตร์ประกันภัย” หมายความว่า นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงผู้มีสิทธิรับรองรายงานการคํานวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ด้วย ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุน ดังต่อไปนี้ (1) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี (2) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส (เดือนมีนาคม เดือนมิถุนายน และเดือนกันยายน) (3) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน (เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคม เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม) ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13 การจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทคํานวณเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการกําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย เว้นแต่รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือนให้คํานวณเงินกองทุนโดยวิธีประมาณการตามที่นายทะเบียนกําหนดไว้ (2) ให้บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย เว้นแต่ รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน ให้ประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินโดยวิธีประมาณการที่นายทะเบียนยอมรับ (3) ให้บริษัทใช้แบบรายการ ดังต่อไปนี้ (ก) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 1 แนบท้ายประกาศนี้ (ข) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 2 แนบท้ายประกาศนี้ (ค) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 3 แนบท้ายประกาศนี้ (4) ให้บริษัทเสนอรายงานการดํารงเงินกองทุนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (ก) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี ภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน (ข) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นแต่ละไตรมาส (ค) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน ภายในสิ้นเดือนถัดไป (5) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี ต้องผ่านการตรวจสอบ (audit) จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (6) รายงานการดํารงเงินกองทุนในไตรมาสที่สองของทุกปี (เดือนมิถุนายน) ต้องผ่านการสอบทาน (review) จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราดังต่อไปนี้ ให้บริษัทเสนอรายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือนตามข้อ 4 (3) โดยใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 2 แนบท้ายประกาศนี้ ที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลในรายงานโดยกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทหรือผู้จัดการสาขาของบริษัท ต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกเดือน จนกว่านายทะเบียนจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ การจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปีตามข้อ 4 (1) และรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาสตามข้อ 4 (2) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 5 ตามเดิม (1) ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 อัตราร้อยละหนึ่งร้อยยี่สิบห้า (2) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป อัตราร้อยละหนึ่งร้อยสี่สิบ ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควร นายทะเบียนอาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทจัดหาผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ/หรือ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยอื่น ที่นายทะเบียนยอมรับเป็นผู้สอบทานหรือตรวจสอบรายงานอีกครั้งหนึ่ง โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท (2) ให้บริษัทแก้ไขรายงานการดํารงเงินกองทุน หากบริษัทไม่แก้ไขตามที่นายทะเบียนสั่งให้ถือว่าบริษัทไม่ได้ส่งรายงาน ข้อ ๘ บริษัทต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนแก่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อใช้ในการสอบทานหรือการตรวจสอบรายงานการดํารงเงินกองทุน ข้อ ๙ การส่งรายงานตามประกาศนี้ ให้บริษัทดําเนินการจัดส่งในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามระบบที่สํานักงานกําหนดไว้ และในรูปกระดาษ (hard copy) ที่บันทึกข้อมูลถูกต้องตรงกัน ข้อ ๑๐ การรายงานการดํารงเงินกองทุนในไตรมาสที่สองของทุกปี ให้บริษัทสามารถนําเสนอต่อนายทะเบียนได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส ตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับจนถึงปี พ.ศ. 2557 ข้อ ๑๑ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสามารถตรวจสอบรายงานโดยใช้วิธีการที่ตกลงร่วมกัน (agree upon procedure) แทนการสอบทานรายงานการดํารงเงินกองทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 (6) ข้อ 6 ข้อ 7 (1) และข้อ 8 จนกว่าสภาวิชาชีพบัญชีจะมีการประกาศมาตรฐานการสอบบัญชีว่าด้วยการสอบทานรายงานอื่น ๆ นอกเหนือจากรายงานทางการเงิน ข้อ ๑๒ รายงานการดํารงเงินกองทุนในไตรมาสที่สามของปี พ.ศ. 2554 (เดือนกันยายน) ต้องผ่านการตรวจสอบตามวิธีการที่ตกลงร่วมกันจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และให้บริษัทสามารถนําเสนอต่อนายทะเบียนได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๑๓ รายงานการดํารงเงินกองทุนในเดือนตุลาคมของปี พ.ศ. 2554 ให้บริษัทสามารถนําเสนอต่อนายทะเบียนได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,211
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทำรายงานการดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํา รายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 --------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 และข้อ 13 แห่งประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 รายงานการดํารงเงินกองทุนในไตรมาสที่สามของปี พ.ศ. 2554 (เดือนกันยายน) ต้องผ่านการตรวจสอบตามวิธีการที่ตกลงร่วมกันจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และให้บริษัทสามารถนําเสนอต่อนายทะเบียนได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ข้อ 13 รายงานการดํารงเงินกองทุนในเดือนตุลาคมของปี พ.ศ. 2554 ให้บริษัทสามารถนําเสนอต่อนายทะเบียนได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,212
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทำรายงานการดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํา รายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยวินาศภัยในราชอาณาจักร “รายงานการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี และรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส (เดือนมีนาคม เดือนมิถุนายน และเดือนกันยายน)ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๓ ในระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 (1) ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมจากวิกฤตการณ์อุทกภัย ตามเอกสารแนบ 1 ท้ายประกาศนี้ และให้รายงานการดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมจากวิกฤตการณ์อุทกภัยเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการของรายงานการดํารงเงินกองทุน (2) ให้บริษัทใช้แบบคํา รับรองของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามเอกสารแนบ 2ท้ายประกาศนี้ ในการรับรองรายงานการดํารงเงินกองทุน แทนแบบคํารับรองของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,213
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทำรายงานการดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงาน การดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555 -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555” ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบรายการรายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือนตามเอกสารแนบ 3 ที่แนบท้ายประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554และให้ใช้แบบรายการรายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือนตามเอกสารที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 (3) (ค) แห่งประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 1 แนบท้ายประกาศนี้ โดยไม่ต้องมีคํารับรองของผู้สอบบัญชี และคํารับรองของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือแบบรายการตามเอกสารแนบ 3 แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ เมื่อบริษัทได้เลือกใช้แบบรายการใดแล้วให้ใช้แบบรายการนั้นตลอดไป จะเปลี่ยนแปลงได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ในกรณีที่บริษัทมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ํากว่าอัตราดังต่อไปนี้ให้บริษัทเสนอรายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือนตามข้อ 4 (3) โดยใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 2 แนบท้ายประกาศนี้ ที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลในรายงานโดยกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทหรือผู้จัดการสาขาของบริษัท ต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกเดือน จนกว่านายทะเบียนจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ การจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปีตามข้อ 4 (1) และรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาสตามข้อ 4 (2) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามข้อ 5 ตามเดิม (1) ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 อัตราร้อยละหนึ่งร้อยยี่สิบห้า (2) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป อัตราร้อยละหนึ่งร้อยสี่สิบ” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,214
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทำรายงานการดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2556
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงาน การดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2556 ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2556” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและหมายความรวมถึง สาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร “รายงานการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปีและรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส (เดือนมีนาคม เดือนมิถุนายน และเดือนกันยายน) ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 “รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน” หมายความว่า รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน (เดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ เดือนเมษายน เดือนพฤษภาคม เดือนกรกฎาคม เดือนสิงหาคมเดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม) ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๓ ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 (1) ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมจากวิกฤตการณ์อุทกภัยตามเอกสารแนบ 1 ท้ายประกาศนี้ และให้รายงานการดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมจากวิกฤตการณ์อุทกภัยเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการของรายงานการดํารงเงินกองทุน (2) ให้บริษัทใช้แบบคํารับรองของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามเอกสารแนบ 2 ท้ายประกาศนี้ในการรับรองรายงานการดํารงเงินกองทุน แทนแบบคํารับรองของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (3) ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือนตามเอกสารแนบ 3 ท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,215
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทำรายงานการดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงาน การดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558 -------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27/5 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 (3) แห่งประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “(3) ให้บริษัทใช้แบบรายการ ดังต่อไปนี้ (ก) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 1 แนบท้ายประกาศนี้ (ข) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 2 แนบท้ายประกาศนี้ (ค) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายเดือน ให้ใช้แบบรายการตามเอกสารแนบ 3 แนบท้ายประกาศนี้” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,216
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย -------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 64 (8) และมาตรา 67 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนประกาศกําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย สําหรับผู้สมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย และผู้สมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัย ลงวันที่ 22 มกราคม 2542 และประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยสําหรับตัวแทนประกันวินาศภัยที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหรือองค์กรที่เป็นคู่สัญญาของบริษัทประกันวินาศภัยเฉพาะการประกันความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 หมวด ๑ หลักสูตรการสอบและวิธีการสอบ --------------------------------- ข้อ ๒ ผู้สมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยและผู้สมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการจัดการประกันภัยโดยตรง และนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการจัดการประกันภัยต่อ ต้องสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยตามหลักสูตร ดังต่อไปนี้ ก. ตัวแทนประกันวินาศภัย ต้องสอบความรู้ ดังนี้ (1) วิชาหลักการประกันวินาศภัย คะแนนเต็ม 60 คะแนน ประกอบด้วย - ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันวินาศภัย - การประกันอัคคีภัย - การประกันภัยรถยนต์ - การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง - การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (2) วิชาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย คะแนนเต็ม 20 คะแนน (3) วิชาพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 คะแนนเต็ม 20 คะแนน ข. ตัวแทนประกันวินาศภัย เฉพาะบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลและประกันสุขภาพ ต้องสอบความรู้ ดังนี้ (1) วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลและการประกันสุขภาพ คะแนนเต็ม 60 คะแนน (2) วิชาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย คะแนนเต็ม 20 คะแนน (3) วิชาพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 คะแนนเต็ม 20 คะแนน ค. ตัวแทนประกันวินาศภัย เฉพาะการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ต้องสอบความรู้วิชาพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 คะแนนเต็ม 100 คะแนน ง. นายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการจัดการประกันภัยโดยตรง ต้องสอบความรู้ ดังนี้ โดยมีคะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน (1) วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันวินาศภัย (2) วิชาการประกันอัคคีภัย (3) วิชาการประกันภัยรถยนต์ (4) วิชาการประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง (5) วิชาการประกันภัยเบ็ดเตล็ด (6) วิชาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย (7) วิชาพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 จ. นายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการจัดการประกันภัยต่อ เมื่อสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการจัดการประกันภัยโดยตรงได้แล้ว ต้องสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยต่ออีกวิชาหนึ่ง คะแนนเต็ม 100 คะแนน ข้อ ๓ ใช้วิธีการสอบแบบอัตนัย หรือแบบปรนัย หรือทั้งแบบอัตนัยและแบบปรนัยก็ได้ ยกเว้นการสอบตัวแทนประกันวินาศภัย เฉพาะการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ใช้วิธีการสอบแบบปรนัย หรือสอบสัมภาษณ์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หมวด ๒ การสมัครสอบ ------------------------------- ข้อ ๔ ผู้สมัครสอบความรู้ตามข้อ 2 ต้องยื่นใบสมัครสอบ พร้อมทั้งแนบหลักฐานดังต่อไปนี้มาพร้อมกับใบสมัครสอบ คือ (1) รูปถ่ายขนาด 2.5 × 3 ซ.ม. จํานวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือนก่อนวันสมัครสอบ (2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้าน ในกรณีที่เป็นผู้สมัครสอบความรู้ตามข้อ 2. จ ต้องแนบสําเนาใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการจัดการประกันภัยโดยตรงมาด้วย ข้อ ๕ ผู้สมัครสอบความรู้ต้องชําระค่าธรรมเนียมในวันสมัครสอบ ตามอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น ข้อ ๖ การกําหนดสถานที่รับสมัครสอบ กําหนดวันรับสมัครสอบ และกําหนดวันสอบ จะประกาศโดย (1) สมาคมประกันวินาศภัย กรณีการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย (2) กรมการประกันภัย กรณีการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย เว้นแต่ตัวแทนประกันวินาศภัย เฉพาะการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะประกาศโดย กรมการประกันภัย สมาคมประกันวินาศภัย สํานักส่วนคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต หรือสํานักงานประกันภัยจังหวัด หมวด ๓ ระเบียบการเข้าสอบ -------------------------- ข้อ ๗ ให้ผู้สมัครสอบความรู้ปฏิบัติตามระเบียบดังต่อไปนี้ (1) ต้องแสดงบัตรประจําตัวสอบต่อผู้ควบคุมการสอบก่อนเข้าห้องสอบ (2) ต้องเข้าห้องสอบตามวัน เวลา และสถานที่ตามประกาศกําหนด หากเวลากําหนดเข้าห้องสอบผ่านไปแล้วสิบห้านาที ผู้สมัครสอบไม่มีสิทธิเข้าห้องสอบ (3) ต้องแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย ตามสากลนิยม (4) ต้องนั่งสอบในที่ที่กําหนดไว้ และแสดงบัตรประจําตัวสอบและบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรอื่นๆ ที่ออกโดยส่วนราชการซึ่งติดภาพถ่ายของผู้ถือบัตร โดยวางไว้บนโต๊ะที่นั่งสอบ (5) ต้องใช้กระดาษคําตอบที่ผู้ควบคุมห้องสอบแจกให้เท่านั้น (6) ต้องนําอุปกรณ์ในการตอบข้อสอบ เช่น ปากกา ดินสอ น้ําหมึก ยางลบ หรือเครื่องคํานวณ มาด้วยตนเอง (7) ต้องลงลายมือชื่อของผู้เข้าสอบด้วยตนเองในทะเบียนผู้เข้าสอบตามที่ผู้ควบคุมห้องสอบจัดให้ (8) ห้ามนํากระดาษ สมุด ตํารา เอกสารอื่นใด หรืออุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด เข้าไปในห้องสอบเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมห้องสอบ (9) ห้ามนําข้อสอบ หรือกระดาษคําตอบออกจากห้องสอบ (10) ห้ามพูดคุย ปรึกษาหารือ ลอกเลียนผู้อื่น ส่งเสียงดัง หรือกระทําการใดอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญต่อผู้อื่นในขณะทําการสอบ หมวด ๔ เกณฑ์การตัดสินและการประกาศผลสอบ -------------------------- ข้อ ๘ ผู้สมัครสอบความรู้ตามข้อ 2 ต้องสอบได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบจึงถือว่าสอบได้ ข้อ ๙ การประกาศผลสอบจะประกาศโดยกรมการประกันภัย หมวด ๕ ระยะเวลาในการขอรับใบอนุญาต -------------------------- ข้อ ๑๐ ผู้ที่สอบได้ต้องยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยต่อนายทะเบียนภายในกําหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศผลสอบ ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย และใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุก็ให้ขอรับใบอนุญาตใหม่ได้ภายในกําหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ ข้อ ๑๒ ผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยตามข้อ 10 และข้อ 11 ไม่ขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาดังกล่าว จะถูกตัดสิทธิในการขอรับใบอนุญาต แต่ไม่ตัดสิทธิในการสมัครสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยใหม่ตามประกาศนี้ หมวด ๖ การฝ่าฝืนระเบียบการเข้าสอบและการทุจริต -------------------------- ข้อ ๑๓ ผู้เข้าสอบผู้ใดฝ่าฝืนระเบียบการเข้าสอบข้อหนึ่งข้อใดตามที่กําหนดในข้อ 7 แห่งประกาศนายทะเบียนฉบับนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นสอบตก ข้อ ๑๔ ผู้สมัครสอบผู้ใดกระทําการทุจริต หรือมีส่วนร่วมทุจริตในการสอบหรือยินยอมให้ผู้อื่นทําการสอบแทน ทั้งผู้สมัครสอบ และผู้ทําการสอบแทนต้องถูกตัดสิทธิการรับสมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือสมัครสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย มีกําหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้กระทําความผิด ผู้ทําการสอบแทนหรือผู้มีส่วนร่วมทุจริตในการสอบ เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัยอยู่แล้ว ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวกระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย และให้นายทะเบียนมีอํานาจเพิกถอนใบอนุญาตได้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2542 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,217
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันภัย (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบ เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันภัย -------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 วรรคท้ายแห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และข้อ 10 วรรคท้ายแห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2544 นายทะเบียนประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันภัยไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทประกันภัย” หมายความว่า บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทใหญ่และบริษัทย่อย “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (1) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี (2) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (1) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (3) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (2) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (4) บริษัทที่ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในบริษัทที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี หรือบริษัทตาม (1) (2) หรือ (3) รวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี การถือหุ้นของบริษัทตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ให้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย “บริษัทย่อย” หมายความว่า (1) บริษัทที่บริษัทซึ่งผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่บริษัทตาม (1) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (3) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอดๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม (2) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (4) บริษัทที่ถูกถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในบริษัทที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีหรือบริษัทตาม (1) (2) หรือ (3) รวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น การถือหุ้นของบริษัทที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อ เพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี หรือบริษัทตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ให้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว (2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (3) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน (4) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่บุคคลดังกล่าว หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (5) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าว หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (6) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าว หรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) หรือบริษัทตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (7) นิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล ข้อ ๒ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของบริษัทประกันภัยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 และใบอนุญาตไม่ขาดอายุ ไม่ถูกสั่งพักใบอนุญาต และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) (2) ต้องปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ติดต่อกัน และได้ลงลายมือชื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 บริษัท (3) ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในสังกัดสํานักงานที่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งใบอนุญาตไม่ขาดอายุ ไม่ถูกสั่งพักใบอนุญาต และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) ปฏิบัติงานเต็มเวลาอีกไม่น้อยกว่า 2 คน และมีผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางบัญชี ปฏิบัติงานเต็มเวลาอีกไม่น้อยกว่า 6 คน (4) ไม่เคยเป็นผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตในการตรวจสอบและรับรองบัญชีโดยอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร หรือไม่เคยเป็นผู้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่นของทางราชการเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ไม่รับรอง หรือไม่อนุญาตให้ตรวจสอบกิจการที่อยู่ในการกํากับดูแลของหน่วยงานดังกล่าวนั้น (5) ไม่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทประกันภัยที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี หรือบริษัทในเครือของบริษัทที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี ตามข้อ 1 ทั้งนี้รวมถึงสํานักงานสอบบัญชีที่ปฏิบัติงานอยู่ หัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีที่ตนปฏิบัติงานอยู่หรือเทียบเท่า ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นหรือเทียบเท่า หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอื่น หรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชีในสํานักงานสอบบัญชีที่มีส่วนต่อการตัดสินใจในการแสดงความเห็นของตน และให้รวมถึงคู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของตน และของบุคคลดังกล่าวข้างต้นด้วย (6) ไม่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือตัวแทนของบริษัทประกันภัยที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี หรือบริษัทในเครือของบริษัทที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี ตามข้อ 1 ทั้งนี้รวมถึงหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีที่ตนปฏิบัติงานอยู่หรือเทียบเท่า ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นหรือเทียบเท่า หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอื่น หรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชีในสํานักงานสอบบัญชีที่มีส่วนต่อการตัดสินใจในการแสดงความเห็นของตน และให้รวมถึงคู่สมรส บุตรของตน และของบุคคลดังกล่าวข้างต้นด้วย (7) ไม่เป็นพนักงาน ลูกจ้าง ของบริษัทประกันภัยที่ตนเป็นผู้สอบบัญชีหรือบริษัทในเครือของบริษัทประกันภัยที่ตนเป็นผู้สอบบัญชี ตามข้อ 1 ทั้งนี้รวมถึงหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีที่ตนปฏิบัติงานอยู่หรือเทียบเท่า ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นหรือเทียบเท่า หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตอื่น หรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชีในสํานักงานสอบบัญชีที่มีส่วนต่อการตัดสินใจในการแสดงความเห็นของตน (8) ไม่สอบบัญชีในลักษณะที่ขาดความเป็นอิสระหรือความเป็นกลางนอกเหนือจาก ข้อ 2 (5) (6) และ (7) (9) ไม่มีพฤติกรรม หรือไม่มีประวัติการปฏิบัติงานสอบบัญชีบกพร่อง หรือไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้สอบบัญชี ข้อ ๓ ผู้สอบบัญชีผู้ใด ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2 ประสงค์จะเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียนตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนตามประกาศนี้ จนกว่านายทะเบียนจะกําหนดเปลี่ยนแปลงเป็นประการอื่น ข้อ ๔ ให้ผู้ยื่นขอรับความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทประกันภัยปฏิบัติ ดังนี้ (1) จัดส่งข้อมูลกระดาษทําการตรวจสอบบัญชี แนวการตรวจสอบบัญชีโดยแสดงให้เห็นถึงขอบเขตการตรวจสอบอย่างละเอียด ปริมาณการทดสอบ รวมทั้งประมาณจํานวนชั่วโมงทําการในการตรวจสอบแต่ละเรื่อง จํานวน 3 บริษัท ยกเว้นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ทําหน้าที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงิน ให้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามวรรคก่อน ยื่นหนังสือรับรองการเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ต่อนายทะเบียน ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ (2) อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของกรมการประกันภัยเข้าตรวจเยี่ยมสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานในระหว่างเวลาทําการ หรือในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก (3) จัดส่งข้อมูล หรือชี้แจงเพิ่มเติมตามที่นายทะเบียนเห็นสมควร ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกําหนด นายทะเบียนจะถือว่าผู้ขอรับความเห็นชอบไม่ประสงค์จะยื่นขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามข้อ 3 ข้อ ๕ นายทะเบียนจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง ครบถ้วนและหากนายทะเบียนไม่ให้ความเห็นชอบนายทะเบียนจะแจ้งเหตุผลให้ทราบ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่ให้ความเห็นชอบเนื่องจากผู้ขอรับความเห็นชอบมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 นายทะเบียนจะกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของผู้ขอรับความเห็นชอบรายนั้นในคราวต่อไป และเมื่อพ้นระยะเวลา หรือผู้ขอรับความเห็นชอบได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว หากบุคคลนั้นประสงค์จะยื่นคําขอรับความเห็นชอบใหม่นายทะเบียนจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้นายทะเบียนเคยไม่ให้ความเห็นชอบประกอบการพิจารณาอีก ข้อ ๖ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทประกันภัยมีกําหนดระยะเวลาคราวละไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชี ให้ผู้สอบบัญชีที่ประสงค์จะเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทประกันภัยต่อไป ยื่นขอรับความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีต่อนายทะเบียนภายในกําหนด 4 เดือน ก่อนสิ้นระยะเวลาการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๗ หากนายทะเบียนพบภายหลังว่า ผู้สอบบัญชีรายใดที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้เป็นไปตามข้อ 2 หรือปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วนตามประกาศนายทะเบียน นายทะเบียนอาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีได้ การเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบต่อรายงานการประเมินระบบการควบคุมภายใน ของบริษัทประกันภัยที่ได้ยื่นต่อนายทะเบียนก่อนวันที่นายทะเบียนมีคําสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,218
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่สามารถเสนอขายได้ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่สามารถเสนอขายได้ตามประกาศคณะกรรมการ กํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขาย กรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ------------------------------------------------- เพื่อกําหนดแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่สามารถเสนอขายได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อันเป็นการส่งเสริมการจําหน่ายและตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมถึงพัฒนาช่องทางการจําหน่ายให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายทะเบียนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่สามารถเสนอขายได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็น (5) ของข้อ 3 แห่งประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยที่สามารถเสนอขายได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 “(5) กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุเพื่อคนพิการสําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,219
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต และเอกสารเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัยสำหรับการประกันภัยรายย่อยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต และเอกสาร เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 63 วรรคสอง มาตรา 65 วรรคสี่ มาตรา 66 วรรคสี่ และมาตรา 68 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาตใบอนุญาต และเอกสารเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (1) ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต และเอกสารเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต และเอกสารเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และให้หมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย “ตัวแทนประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทําการชักชวนให้บุคคลทําสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัท “ตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทําการชักชวนให้บุคคลทําสัญญาประกันวินาศภัยที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยว่า ไมโครอินชัวรันส์กับบริษัท “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทําสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัท โดยกระทําเพื่อบําเหน็จเนื่องจากการนั้น “สถาบันการศึกษา” หมายความว่า สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากสํา นักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ข้อ ๕ แบบคําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาตและเอกสารเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย ให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศ ดังนี้ (1) คําขอรับใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบ ตว. 1 (2) ใบอนุญาตอายุหนึ่งปี ให้เป็นไปตามแบบ ตว. 2 หรือ ตว. 2.1 (ก) ใบอนุญาตตามแบบ ตว. 2 ให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง ดังนี้ 1) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีน้ําตาลนอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา 2) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้สีขาวนอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีฟ้า (ข) ใบอนุญาตตามแบบ ตว. 2.1 ให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง ดังนี้ 1) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีขาว นอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา 2) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้สีเหลืองนอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีฟ้า (3) ใบอนุญาตอายุห้าปี ให้เป็นไปตามแบบ ตว. 3 หรือ ตว. 3.1 (ก) ใบอนุญาตตามแบบ ตว. 3 ให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง ดังนี้ 1) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีน้ําตาลนอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา 2) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้สีขาวนอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีเงิน (ข) ใบอนุญาตตามแบบ ตว. 3.1 ให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง ดังนี้ 1) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีขาว นอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา 2) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้สีเหลืองนอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีเงิน (4) ใบอนุญาตอายุห้าปีและผ่านการอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาด้านประกันภัย (CharteredInsurance Advisor) ให้เป็นไปตามแบบ ตว. 4 โดยให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง ดังนี้ (ก) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีน้ําตาล นอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา (ข) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย” ให้ใช้สีขาว นอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีทอง (5) หนังสือแสดงความต้องการของบริษัทให้เป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย ให้เป็นไปตามแบบ ตว. 5 (6) หนังสือแสดงความยินยอมของบริษัทให้เป็นตัวแทนประกันวินาศภัย หรือตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อยของบริษัทอื่น ให้เป็นไปตามแบบ ตว. 6 (7) คําขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบ ตว. 7 (8) คําขอต่ออายุใบอนุญาต ผ่านทางธนาคารและระบบอินเทอร์เน็ต ให้เป็นไปตามแบบ ตว. 8 (9) หนังสือมอบอํานาจของบริษัทให้ทําสัญญาประกันวินาศภัย ให้เป็นไปตามแบบ ตว. 9 ข้อ ๖ แบบคําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาตและเอกสารเกี่ยวกับการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศ ดังนี้ (1) คําขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย (ก) ประเภทบุคคลธรรมดา ให้เป็นไปตามแบบ นว. 1 (ข) ประเภทนิติบุคคลหรือสถาบันการเงิน ให้เป็นไปตามแบบ นว. 2 (2) ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย (ก) ประเภทบุคคลธรรมดาอายุหนึ่งปี ให้เป็นไปตามแบบ นว. 3 หรือ นว. 3.1 ดังนี้ 1) ใบอนุญาตตามแบบ นว. 3 ให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง ดังนี้ ก) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีน้ําเงินนอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา ข) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย”ให้ใช้สีขาว นอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีฟ้า 2) ใบอนุญาตตามแบบ นว. 3.1 ให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง ดังนี้ ก) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีขาวนอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา ข) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย”ให้ใช้สีน้ําเงิน นอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีฟ้า (ข) ประเภทบุคคลธรรมดาอายุห้าปี ให้เป็นไปตามแบบ นว. 4 หรือ นว. 4.1 ดังนี้ 1) ใบอนุญาตตามแบบ นว. 4 ให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง ดังนี้ ก) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีน้ําเงินนอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา ข) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย”ให้ใช้สีขาว นอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีเงิน 2) ใบอนุญาตตามแบบ นว. 4.1 ให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลัง ดังนี้ ก) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีขาวนอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา ข) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย”ให้ใช้สีน้ําเงิน นอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีเงิน (ค) ประเภทบุคคลธรรมดาอายุห้าปีและผ่านการอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาด้านประกันภัย(Chartered Insurance Advisor) ให้เป็นไปตามแบบ นว. 5 โดยให้ใช้สีตัวอักษร และสีพื้นหลังดังนี้ 1) คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย” ให้ใช้ตัวอักษรสีน้ําเงินนอกนั้นให้ใช้ตัวอักษรสีดํา 2) พื้นหลังส่วนที่พิมพ์คําว่า “ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย” ให้ใช้สีขาวนอกนั้นให้ใช้พื้นหลังสีทอง (ง) ประเภทนิติบุคคลหรือสถาบันการเงิน ให้เป็นไปตามแบบ นว. 6 (3) คําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย (ก) ประเภทบุคคลธรรมดา ให้เป็นไปตามแบบ นว. 7 (ข) ประเภทนิติบุคคลหรือสถาบันการเงิน ให้เป็นไปตามแบบ นว. 8 (4) คําขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ผ่านทางธนาคารและระบบอินเทอร์เน็ต (ก) ประเภทบุคคลธรรมดา ให้เป็นไปตามแบบ นว. 9 (ข) ประเภทนิติบุคคลหรือสถาบันการเงิน ให้เป็นไปตามแบบ นว. 10 (5) คําขออนุญาตเปิดสาขาของนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยให้เป็นไปตามแบบ นว. 11 (6) หนังสือมอบอํานาจให้รับเบี้ยประกันภัย ให้เป็นไปตามแบบ นว. 12 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,220
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต และเอกสารเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัยสำหรับการประกันภัยรายย่อยหรือนายหน้าประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต และเอกสาร เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 63 วรรคสอง มาตรา 65 วรรคสี่ มาตรา 66 วรรคสี่ และมาตรา 68 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต และเอกสารเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยอายุหนึ่งปี ตามแบบ ตว.2 และแบบใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทบุคคลธรรมดาอายุหนึ่งปี ตามแบบ นว.3 ที่แนบท้ายประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต และเอกสารเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันวินาศภัยสําหรับการประกันภัยรายย่อย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๔ ให้ใช้แบบใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยอายุหนึ่งปีตามแบบ ตว.2 และแบบใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทบุคคลธรรมดาอายุหนึ่งปี ตามแบบ นว.3 ที่แนบท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,221
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัย
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัย --------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนประกาศกําหนดให้บริษัทปฏิบัติการเกี่ยวกับการเก็บเบี้ยประกันภัยของบริษัทไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัทให้แก่ผู้เอาประกันภัยทันทีเมื่อได้รับชําระเบี้ยประกันภัย ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทได้ตกลงทําสัญญาประกันภัย นอกจากสัญญาคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note) กับผู้เอาประกันภัยแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชําระเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัยให้บริษัทเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยนั้นโดยมิชักช้า แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาดังกล่าวต่อไปนี้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน 2.1 สัญญาประกันภัยที่มีการชําระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี สัญญาประกันภัยระยะสั้นที่มีการชําระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว หรือสัญญาประกันภัยที่ต้องมีการปรับปรุงเบี้ยประกันภัยเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย บริษัทต้องเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยภายในหกสิบวันตั้งแต่วันที่สัญญาประกันภัยนั้นเริ่มต้นให้ความคุ้มครอง 2.2 สัญญาประกันภัยที่มีการชําระเบี้ยประกันภัยเป็นรายงวด บริษัทต้องเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยงวดแรกภายในหกสิบวันตั้งแต่วันที่สัญญาประกันภัยนั้นเริ่มต้นให้ความคุ้มครองและงวดต่อๆ ไปไม่เกินหกสิบวันตั้งแต่วันสุดท้ายของวันที่ถึงกําหนดชําระเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัยของงวดนั้นๆ ข้อ ๓ เมื่อบริษัทได้เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัยภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวในข้อ 2 แล้ว แต่บริษัทยังไม่ได้รับชําระเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย และสัญญาประกันภัยนั้นยังไม่สิ้นสุดลง ให้บริษัทมีหนังสือบอกเลิกสัญญาประกันภัยนั้นไปยังผู้เอาประกันภัยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในสามวันทํางานของบริษัทนับแต่วันสุดท้ายของระยะเวลาที่บริษัทต้องเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยในข้อ 2 ตามแต่กรณี ข้อ ๔ บริษัทจะรับชําระเบี้ยประกันภัยที่เป็นตั๋วเงินได้ต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นเป็นตั๋วเงินซึ่งพึงชําระเงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น และบริษัทต้องเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินภายในสามวันตั้งแต่วันที่ได้รับตั๋วเงินนั้น ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทตั้งหรือมอบหมายหรือมอบอํานาจให้ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย นิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินเป็นผู้รับชําระเบี้ยประกันภัย ให้บริษัทปฏิบัติการดังนี้ 5.1 จัดทําสมุดทะเบียนควบคุมการเก็บเบี้ยประกันภัยของบริษัทตามแบบและรายการที่แนบท้ายประกาศนี้ และเมื่อมีเหตุจะต้องลงในสมุดทะเบียนดังกล่าว ให้บริษัทลงรายการที่เกี่ยวกับเหตุนั้นในสมุดทะเบียนไม่ช้ากว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุอันจะต้องลงรายการนั้น 5.2 ออกระเบียบหรือข้อบังคับให้ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย นิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินดังกล่าวส่งเบี้ยประกันภัยที่ได้รับให้แก่บริษัทภายในกําหนดเวลา ดังนี้ (ก) การรับชําระเบี้ยประกันภัยที่จังหวัดที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ของบริษัท หรือสํานักงานสาขาของบริษัทตั้งอยู่ ให้ส่งเบี้ยประกันภัยต่อสํานักงานแห่งใหญ่ของบริษัทหรือสํานักงานสาขาของบริษัทในจังหวัดนั้น ภายในสามวันตั้งแต่วันที่ได้รับชําระเบี้ยประกันภัย (ข) การรับชําระเบี้ยประกันภัยที่จังหวัดที่ไม่มีสํานักงานแห่งใหญ่ของบริษัท หรือสํานักงานสาขาของบริษัทตั้งอยู่ ให้ส่งเบี้ยประกันภัยต่อสํานักงานแห่งใหญ่ของบริษัทหรือสํานักงานสาขาของบริษัท ณ แห่งใดก็ได้ภายในเจ็ดวันตั้งแต่วันที่ได้รับชําระเบี้ยประกันภัย ข้อ ๖ ในกรณีที่ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย นิติบุคคลที่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินที่ได้รับการตั้งหรือมอบหมายหรือมอบอํานาจจากบริษัทให้เป็นผู้รับชําระเบี้ยประกันภัยไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับที่บริษัทกําหนดให้ส่งเบี้ยประกันภัยที่ได้รับไว้ตามระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 5.2 ให้บริษัทมีหนังสือบอกเลิกการตั้งหรือมอบหมายหรือการมอบอํานาจให้บุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับชําระเบี้ยประกันภัยนั้นเสีย ข้อ ๗ สมุดทะเบียนควบคุมการเก็บเบี้ยประกันภัยของบริษัท ตามข้อ 5.1 ให้เริ่มใช้สําหรับสัญญาประกันภัยที่เริ่มต้นให้ความคุ้มครองตั้งแต่ 1 มกราคม 2545 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,222
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัย (ฉบับที่ 2)
ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัย (ฉบับที่ 2) ---------------------------------------------- เพื่อให้การเก็บเบี้ยประกันภัยและการชําระเบี้ยประกันภัยสําหรับสัญญาประกันภัยบางประเภทสอดคล้องกับการประเมินราคาทรัพย์สินของบริษัทประกันภัย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 37 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนประกาศกําหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเก็บเบี้ยประกันภัย ดังต่อไปนี้ 1. ภายในกําหนดสองปีนับแต่วันที่ประกาศนายทะเบียน เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย ฉบับลงวันที่ 25 เมษายน 2545 มีผลใช้บังคับ มิให้นําความในข้อ 2 และข้อ 3 ของประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัย ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 มาใช้บังคับกับการเก็บเบี้ยประกันภัยของบริษัท และในการเก็บเบี้ยประกันภัยให้บริษัทปฏิบัติดังนี้ 1.1 ในกรณีที่บริษัทได้ตกลงทําสัญญาประกันภัย นอกจากสัญญาคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note) กับผู้เอาประกันภัยแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชําระเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัย ให้บริษัทเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยนั้นโดยมิชักช้า แต่ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินระยะเวลาดังกล่าวต่อไปนี้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน 1.1.1 สัญญาประกันภัยที่มีการชําระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี สัญญาประกันภัยระยะสั้นที่มีการชําระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว หรือสัญญาประกันภัยที่ต้องมีการปรับปรุงเบี้ยประกันภัยเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย บริษัทต้องเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยภายในเก้าสิบวันตั้งแต่วันที่สัญญาประกันภัยนั้นเริ่มต้นให้ความคุ้มครอง 1.1.2 สัญญาประกันภัยที่มีการชําระเบี้ยประกันภัยเป็นรายงวดบริษัทต้องเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยงวดแรกภายในเก้าสิบวันตั้งแต่วันที่สัญญาประกันภัยนั้นเริ่มต้นให้ความคุ้มครองและงวดต่อ ๆ ไปไม่เกินเก้าสิบวันตั้งแต่วันสุดท้ายของวันที่ถึงกําหนดชําระเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัยของงวดนั้น ๆ 1.1.3 เมื่อบริษัทได้เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัยภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวใน ข้อ 1.1.1 และ 1.1.2 แล้ว แต่บริษัทยังไม่ได้รับชําระเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย และสัญญาประกันภัยนั้นยังไม่สิ้นสุดลง ให้บริษัทมีหนังสือบอกเลิกสัญญาประกันภัยนั้นไปยังผู้เอาประกันภัยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในสามวันทํางานของบริษัท นับแต่วันสุดท้ายของระยะเวลาที่บริษัทต้องเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยใน ข้อ 1.1.1 และ 1.1.2 ตามแต่กรณี 2. มิให้นําความใน ข้อ 1.1.1 และ 1.1.2 แห่งประกาศฉบับนี้ และข้อ 2 แห่งประกาศนายทะเบียน เรื่อง การเก็บเบี้ยประกันภัย ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 มาใช้บังคับสําหรับกรณี ดังนี้ 2.1 การทําสัญญาประกันภัยกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การระหว่างประเทศ 2.2 การประกันภัยทางทะเล 2.3 การประกันต่อ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,223
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2548 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่แก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก (ฉบับ Update ล่าสุด)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2548 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่แก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก -------------------------------------------- เพื่อให้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ รวมทั้งเอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ (2) พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยรถยนต์ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ ข้อ ๒ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ รวมทั้งเอกสารประกอบเอกสารแนบท้าย ที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนแบบและข้อความที่ถูกยกเลิกตาม ข้อ 1 (1) ข้อ ๓ ให้ใช้พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 (2) ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,224
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2548 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่แก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 6/2548 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่แก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก ----------------------------------------------- เพื่อให้แบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ รวมทั้งเอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ (2) พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยรถยนต์ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ ข้อ ๒ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ รวมทั้งเอกสารประกอบเอกสารแนบท้าย ที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนแบบและข้อความที่ถูกยกเลิกตาม ข้อ 1 (1) ข้อ ๓ ให้ใช้พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 (2) ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับสําหรับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,225
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 20/2548 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท (ฉบับ Update ล่าสุด)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 20/2548 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับ ฐานะการเงินและกิจการของบริษัท ------------------------------------------- เพื่อให้การกํากับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้รูปแบบของข้อมูลทางการเงินสอดคล้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่งให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก 1.1 คําสั่งนายทะเบียนที่ 67/2543 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2543 1.2 คําสั่งนายทะเบียนที่ 50/2546 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 ข้อ ๒ ในคําสั่งนี้ “บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน” หมายความว่า บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ตามความหมายที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ข้อ ๓ ให้บริษัทยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทตามคู่มือการจัดทําข้อมูลทางการเงินประจําเดือนในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยกรมการประกันภัย และในรูปกระดาษ (Hard Copy) ที่บันทึกข้อมูลถูกต้องตรงกัน ตามแบบและรายการที่แนบท้ายคําสั่งนี้ จํานวน 2 ชุด เป็นประจําทุกรอบเดือน ภายในสิ้นเดือนถัดไป ยกเว้นรายละเอียดประกอบรายงานดังต่อไปนี้ ให้บริษัทยื่นเป็นรายไตรมาส (1) รายงานทุนเรือนหุ้น ตามแบบและรายการ ว0200 (2) รายงานเงินให้กู้ยืม ตามแบบและรายการ ว3521 ถึง ว3523 ว3530 ว3540 ว3550 ว3560 และ ว3570 (3) รายงานเงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ ตามแบบและรายการ ว3610 (4) รายงานเงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง ตามแบบและรายการ ว3620 (5) รายงานที่ทําการ อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ดําเนินงาน ตามแบบและรายการ ว5100 ว5200 และ ว5300 (6) รายงานเงินค้างรับ/เงินค้างจ่ายเกี่ยวกับการประกันภัยต่อ ตามแบบและรายการ ว4200 และ ว4210 การยื่นรายงานในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง หากข้อมูลเบื้องต้นไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์ ตามที่กําหนดไว้ในคู่มือการจัดทําข้อมูลทางการเงินประจําเดือน ให้ถือว่าบริษัทยังไม่ยื่นรายงาน ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับสําหรับรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทสําหรับรอบเดือนมีนาคม 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2548 พจนีย์ ธนวรานิช อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,226
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 30/2542 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความ ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก (ฉบับ Update ล่าสุด)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 30/2542 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความ ตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงแทนแบบ ข้อความ พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิก -------------------------------------------- เพื่อให้รูปแบบการประกันภัย ตลอดจนโครงสร้างอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์มีความเป็นสากล สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยที่แท้จริง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง มาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่ง ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ รวมทั้งเอกสารประกอบเอกสารแนบท้าย ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ (2) พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัย สําหรับการประกันภัยรถยนต์ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับ ข้อ ๒ ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ รวมทั้งเอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย ที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนแบบและข้อความที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 (1) แต่ไม่รวมถึงการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ ๓ ให้ใช้พิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ที่แนบท้ายคําสั่งนี้แทนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยที่ถูกยกเลิกตาม ข้อ 1 (2) แต่ไม่รวมถึงการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2542 บรรพต หงษ์ทอง อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,227
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2543 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2543 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงาน การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ------------------------------------------ ตามที่คณะกรรมการนโยบายธุรกิจประกันวินาศภัย ได้มีมติให้พิจารณาทบทวนแบบข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 30/2542 ลงวันที่ 14 กันยายน 2542 และนายทะเบียนได้มีคําสั่งที่ 1/2543 ลงวันที่ 18 มกราคม 2543 เลื่อนกําหนดระยะเวลาให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ออกไปก่อนนั้น บัดนี้ การพิจารณาทบทวนตามมติคณะกรรมการนโยบายธุรกิจประกันวินาศภัยได้เสร็จสิ้นแล้ว และนายทะเบียนได้มีคําสั่งที่ 6/2543 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ลงวันที่ 28 มีนาคม 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไป ฉะนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งให้การปฏิบัติของแต่ละบริษัทเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนที่ 32/2542 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2542 และให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจตามคําสั่งนี้แทน ข้อ ๒ เมื่อบริษัทรับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแล้วให้บริษัทดําเนินการดังนี้ (1) ยื่นหนังสือนําส่งรายงานข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ และ (2) รายงานข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบรายการข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ โดยส่งข้อมูลผ่านทางสื่อ Diskette 3.5” หรือส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย Intranet ของสมาคมประกันวินาศภัย โดยข้อมูลอยู่ในรูป PC – DOS Format ที่มีชื่อไฟล์ตามเอกสาร Record Layout จํานวน 1 ชุด การยื่นหนังสือนําส่งและการรายงานข้อมูลดังกล่าวต้องยื่นต่อนายทะเบียนทุกเดือน ภายในวันสุดท้ายของเดือนถัดจากเดือนที่บริษัทรับประกันภัยรถยนต์นั้น ข้อ ๓ เมื่อมีการแก้ไข เพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจให้บริษัทดําเนินการดังนี้ (1) ยื่นหนังสือนําส่งรายงานการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ และ (2) รายงานการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบรายการข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ โดยส่งข้อมูลผ่านทางสื่อ Diskette 3.5” หรือส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย Intranet ของสมาคมประกันวินาศภัย โดยข้อมูลอยู่ในรูป PC – DOS Format ที่มีชื่อไฟล์ตามเอกสาร Record Layout จํานวน 1 ชุด การยื่นหนังสือนําส่งและการรายงานการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ต้องยื่นต่อนายทะเบียนภายในวันสุดท้ายของเดือนถัดจากเดือนที่มีการแก้ไข เพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลนั้น ข้อ ๔ การยื่นหนังสือนําส่งรายงานและการรายงานข้อมูลตามข้อ 2 และข้อ 3 (ถ้ามี) เฉพาะของเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม พ.ศ. 2543 หากบริษัทไม่สามารถยื่นและรายงานต่อนายทะเบียนได้ภายในระยะเวลาตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 และ ข้อ 3 (ถ้ามี) แล้วแต่กรณี ให้บริษัทยื่นและรายงานให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2543 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,228
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2543 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (ฉบับ Update ล่าสุด)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 8/2543 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงาน การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ -------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการนโยบายธุรกิจประกันวินาศภัย ได้มีมติให้พิจารณาทบทวนแบบข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 30/2542 ลงวันที่ 14 กันยายน 2542 และนายทะเบียนได้มีคําสั่งที่ 1/2543 ลงวันที่ 18 มกราคม 2543 เลื่อนกําหนดระยะเวลาให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ออกไปก่อนนั้น บัดนี้ การพิจารณาทบทวนตามมติคณะกรรมการนโยบายธุรกิจประกันวินาศภัยได้เสร็จสิ้นแล้ว และนายทะเบียนได้มีคําสั่งที่ 6/2543 เรื่อง ให้แก้ไขแบบ ข้อความตลอดจนพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ลงวันที่ 28 มีนาคม 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไป ฉะนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งให้การปฏิบัติของแต่ละบริษัทเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนที่ 32/2542 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2542 และให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจตามคําสั่งนี้แทน ข้อ ๒ เมื่อบริษัทรับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแล้วให้บริษัทดําเนินการ ดังนี้ (1) ยื่นหนังสือนําส่งรายงานข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ (2) รายงานข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบรายการข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ โดยส่งข้อมูลผ่านทางสื่อ Diskette 3.5” หรือส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย Intranet ของสมาคมประกันวินาศภัย โดยข้อมูลอยู่ในรูป PC – DOS Format ที่มีชื่อไฟล์ตามเอกสาร Record Layout จํานวน 1 ชุด การยื่นหนังสือนําส่งและการรายงานข้อมูลดังกล่าวต้องยื่นต่อนายทะเบียนทุกเดือน ภายในวันสุดท้ายของเดือนถัดจากเดือนที่บริษัทรับประกันภัยรถยนต์นั้น ข้อ ๓ เมื่อมีการแก้ไข เพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจให้บริษัทดําเนินการดังนี้ (1) ยื่นหนังสือนําส่งรายงานการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ และ (2) รายงานการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ตามแบบรายการข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ที่กําหนดไว้ท้ายคําสั่งนี้ โดยส่งข้อมูลผ่านทางสื่อ Diskette 3.5” หรือส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย Intranet ของสมาคมประกันวินาศภัย โดยข้อมูลอยู่ในรูป PC – DOS Format ที่มีชื่อไฟล์ตามเอกสาร Record Layout จํานวน 1 ชุด การยื่นหนังสือนําส่งและการรายงานการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ต้องยื่นต่อนายทะเบียนภายในวันสุดท้ายของเดือนถัดจากเดือนที่มีการแก้ไข เพิ่มเติมหรือปรับปรุงข้อมูลนั้น ข้อ ๔ การยื่นหนังสือนําส่งรายงานและการรายงานข้อมูลตามข้อ 2 และข้อ 3 (ถ้ามี) เฉพาะของเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม พ.ศ. 2543 หากบริษัทไม่สามารถยื่นและรายงานต่อนายทะเบียนได้ภายในระยะเวลาตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 และ ข้อ 3 (ถ้ามี) แล้วแต่กรณีให้บริษัทยื่นและรายงานให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2543 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,229
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 68/2543 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด (ฉบับ Update ล่าสุด)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 68/2543 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด[[1]](#_ftn1) --------------------------------- เพื่อให้ได้ข้อมูลและสถิติการประกันภัยเบ็ดเตล็ดที่สมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้นนอกเหนือจากข้อมูลที่ได้กําหนดไว้แล้วตามคําสั่งนายทะเบียนที่ 10/2543 เรื่อง ให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2543 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยพ.ศ. 2535 นายทะเบียนมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ (ยกเลิก) ข้อ ๒ (ยกเลิก) ข้อ ๓ (ยกเลิก) ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดเก็บข้อมูลการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล การประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม การประกันภัยอุบัติเหตุสําหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษา ที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป และให้ยื่นรายงานข้อมูลการประกันภัยดังกล่าว ต่อนายทะเบียนเป็นประจําทุกปี ภายในวันที่ 1 เมษายน ของปีถัดไป ตามแบบสรุปรายงานข้อมูลเฉพาะการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม การประกันอุบัติเหตุสําหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษาที่แนบท้ายคําสั่งนี้ การยื่นแบบสรุปรายงานข้อมูลปี 2544 ให้บริษัทยื่นภายในวันที่ 1 เมษายน 2546แบบสรุปรายงานข้อมูลปี 2545 ให้บริษัทยื่นภายในวันที่ 1 เมษายน 2547 และการยื่นแบบสรุปรายงานข้อมูลในปีต่อๆ ไปให้ปฏิบัติทํานองเดียวกัน ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2543 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,230
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 61/2543 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด (ฉบับ Update ล่าสุด)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 61/2543 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ----------------------------------------- ด้วยนายทะเบียนเห็นสมควรให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับทางปฏิบัติยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนที่ 41/2540 เรื่อง แก้ไขเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ข้อรับรอง พิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยพิเศษการประกันการเสียงภัยทุกชนิด ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2540 เฉพาะในส่วนว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยพิเศษการประกันอัคคีภัยและคําสั่งนายทะเบียน ที่ 18/2542 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ในคําสั่งนี้ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันในลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง (2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด (3) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด (4) บุคคลไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอํานาจจัดการในนิติบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอํานาจจัดการในอีกนิติบุคคลหนึ่ง ข้อ ๓ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน สําหรับการทําประกันภัยทรัพย์สินของเจ้าของรายเดียวกัน หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันต่อสถานที่ตั้งทรัพย์สินหนึ่งแห่งหรือหลายแห่ง ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ จะเป็นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวกันหรือหลายฉบับก็ได้ (1) การทําประกันอัคคีภัยที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.375 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี (2) การทําประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยสูงสุด ไม่เกินร้อยละ 2.5 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี” ข้อ ๔ การทําประกันอัคคีภัย หรือการทําประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยแต่ละประเภทต่ํากว่า 50 ล้านบาท ต่อสถานที่ตั้งทรัพย์สินหนึ่งแห่งหรือหลายแห่งให้บริษัทใช้อัตราเบี้ยประกันภัย ดังต่อไปนี้ (1) การทําประกันอัคคีภัย ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย (2) การทําประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 105 ของอัตราเบี้ยประกันภัยของการประกันอัคคีภัยตามที่กําหนดใน (1) และสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.5 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้บังคับใช้สําหรับการทําประกันอัคคีภัยและการทําประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่เริ่มให้ความคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,231
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 61/2543 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 61/2543 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด -------------------------------------- ด้วยนายทะเบียนเห็นสมควรให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับทางปฏิบัติยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งนายทะเบียนที่ 41/2540 เรื่อง แก้ไขเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ข้อรับรอง พิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยและอัตราเบี้ยประกันภัยพิเศษการประกันการเสียงภัยทุกชนิด ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2540 เฉพาะในส่วนว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยพิเศษการประกันอัคคีภัยและคําสั่งนายทะเบียน ที่ 18/2542 เรื่อง แก้ไข เปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ในคําสั่งนี้ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันในลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่ง (2) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งมีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด (3) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด (4) บุคคลไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอํานาจจัดการในนิติบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการหรือเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีอํานาจจัดการในอีกนิติบุคคลหนึ่ง ข้อ ๓ ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยการประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดสําหรับการทําประกันภัยทรัพย์สินของเจ้าของเดียวกัน หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันต่อสถานที่ตั้งทรัพย์สินหนึ่งแห่งหรือหลายแห่งดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ จะเป็นกรมธรรม์เดียวหรือหลายกรมธรรม์ก็ได้ 3.1 การประกันอัคคีภัย (1) การทําประกันอัคคีภัยที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 300 ล้านบาท ถึง 2,000 ล้านบาท ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 0.085 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี และสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.375 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยตกลงยอมรับภาระในความเสียหายส่วนแรก (deductible) ให้บริษัทลดเบี้ยประกันภัยลงให้สอดคล้องกับจํานวนเงินความรับผิดส่วนแรก (deductible) แต่ ทั้งนี้ อัตราเบี้ยประกันภัยที่ใช้จะต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 0.045 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี (2) การทําประกันอัคคีภัยที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยมากกว่า 2,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้บริษัทใช้อัตราเบี้ยประกันภัยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.375 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี 3.2 การประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด (1) การทําประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยตั้งแต่ 300 ล้านบาท ถึง 2,000 ล้านบาท ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 0.09 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี และสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.50 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยตกลงยอมรับภาระในความเสียหายส่วนแรก (deductible) ให้บริษัทลดเบี้ยประกันภัยลงให้สอดคล้องกับจํานวนเงินความรับผิดส่วนแรก (deductible) แต่ทั้งนี้อัตราเบี้ยประกันภัยที่ใช้จะต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 0.05 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี (2) การทําประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยมากกว่า 2,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยไม่เกินร้อยละ 2.50 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อไปนี้ ทั้งนี้ การทําประกันอัคคีภัยหรือการทําประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดรายใดที่อัตราส่วนค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ในระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันภัย 3 ปี รวมกัน ให้บริษัททําประกันภัยต่อในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของจํานวนเงินเอาประกันภัย ข้อ ๔ การทําประกันอัคคีภัย หรือการทําประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่มีจํานวนเงินเอาประกันภัยแต่ละประเภทต่ํากว่า 300 ล้านบาท ต่อสถานที่ตั้งทรัพย์สินหนึ่งแห่งหรือหลายแห่งให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัย ดังต่อไปนี้ 4.1 การทําประกันอัคคีภัย ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย 4.2 การทําประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 105 ของอัตราเบี้ยประกันภัยของการประกันอัคคีภัยตามที่กําหนดในข้อ 4.1 และสูงสุดไม่เกินร้อยละ 2.50 ของจํานวนเงินเอาประกันภัยต่อปี ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้บังคับใช้สําหรับการทําประกันอัคคีภัยและการทําประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่เริ่มให้ความคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 นรวัฒน์ สุวรรณ อธิบดีกรมการประกันภัย นายทะเบียน
5,232
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ล่าสุด)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย ---------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ฉบับลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในคําสั่งนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อ ๔ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ตามแบบ ปผว. 1 แนบท้ายคําสั่งนี้ โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1 ฐานะการเงิน โดยให้เปิดเผยฐานะการเงินรายปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และฐานะการเงินรายไตรมาสที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชี โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในขณะที่บริษัทยังไม่มีการนําส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยตามความในมาตรา 47 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้บริษัทเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประจําเดือน มีนาคม มิถุนายน และกันยายน แทน การเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1.1 งบดุล และสถานะเงินกองทุน ประกอบด้วย (1) สินทรัพย์ (2) หนี้สิน (3) ส่วนของผู้ถือหุ้น (4) เงินกองทุน (5) เงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย (6) อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย 4.1.2 อัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratio) กล่าวคือ สินทรัพย์สภาพคล่องต่อเงินสํารองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายจากการรับประกันภัยโดยตรง 4.2 ผลการดําเนินงานรายปี และผลการดําเนินงานสะสมรายไตรมาส โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.2.1 งบกําไรขาดทุน ประกอบด้วย (1) รายได้ (2) รายจ่าย (3) กําไร (ขาดทุน) สุทธิ 4.2.2 งบกระแสเงินสด ประกอบด้วย (1) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดําเนินงาน (2) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน (3) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน (4) เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 4.2.3 สัดส่วนร้อยละของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงแยกตามประเภทของการรับประกันภัย 4.3 การรับประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและวิธีการติดต่อกับบริษัท โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.3.1 ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสาร และวิธีการในการขอเอาประกันภัย 4.3.2 ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสาร และวิธีการในการขอรับค่าสินไหมทดแทน หรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย 4.3.3 วิธีการติดต่อบริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีมีข้อพิพาทหรือเรื่องร้องเรียน ข้อ ๕ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายไตรมาส ภายในหกสิบวันนับจากวันสิ้นไตรมาสนั้น ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายปี ภายในห้าเดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่บริษัทมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย ต่ํากว่าร้อยละร้อยระหว่างไตรมาส ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตลอดระยะเวลาที่อัตราส่วนดังกล่าวต่ํากว่าร้อยละร้อยตามแบบ ปผว. 2 แนบท้ายคําสั่งนี้ ทั้งนี้ บริษัทต้องปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยทุกสิ้นเดือน ข้อ ๖ ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทลงนามรับรองความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย ข้อ ๗ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ผ่านทางเว็บไซต์ (website) ของบริษัท และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขาของบริษัท พร้อมทั้งแจ้งตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (Universal resource locator : URL) ที่เป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ นายทะเบียน
5,233
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ฉบับลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในคําสั่งนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อ ๔ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ตามแบบ ปผว. 1 แนบท้ายคําสั่งนี้ โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1 ฐานะการเงิน โดยให้เปิดเผยฐานะการเงินรายปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และฐานะการเงินรายไตรมาสที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชี โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในขณะที่บริษัทยังไม่มีการนําส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยตามความในมาตรา 47 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้บริษัทเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประจําเดือน มีนาคม มิถุนายน และกันยายน แทน การเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1.1 งบดุล และสถานะเงินกองทุน ประกอบด้วย (1) สินทรัพย์ (2) หนี้สิน (3) ส่วนของผู้ถือหุ้น (4) เงินกองทุน (5) เงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย (6) อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย 4.1.2 อัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratio) กล่าวคือ สินทรัพย์สภาพคล่องต่อเงินสํารองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายจากการรับประกันภัยโดยตรง 4.2 ผลการดําเนินงานรายปี และผลการดําเนินงานสะสมรายไตรมาส โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.2.1 งบกําไรขาดทุน ประกอบด้วย (1) รายได้ (2) รายจ่าย (3) กําไร (ขาดทุน) สุทธิ 4.2.2 งบกระแสเงินสด ประกอบด้วย (1) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดําเนินงาน (2) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน (3) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน (4) เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 4.2.3 สัดส่วนร้อยละของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงแยกตามประเภทของการรับประกันภัย 4.3 การรับประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและวิธีการติดต่อกับบริษัท โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.3.1 ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสาร และวิธีการในการขอเอาประกันภัย 4.3.2 ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสาร และวิธีการในการขอรับค่าสินไหมทดแทน หรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย 4.3.3 วิธีการติดต่อบริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีมีข้อพิพาทหรือเรื่องร้องเรียน ข้อ ๕ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายไตรมาส ภายในสี่สิบห้าวัน นับจากวันสิ้นไตรมาสนั้น ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายปี ภายในห้าเดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่บริษัทมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย ต่ํากว่าร้อยละร้อยระหว่างไตรมาส ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตลอดระยะเวลาที่อัตราส่วนดังกล่าวต่ํากว่าร้อยละร้อยตามแบบ ปผว. 2 แนบท้ายคําสั่งนี้ ทั้งนี้ บริษัทต้องปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยทุกสิ้นเดือน ข้อ ๖ ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทลงนามรับรองความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย ข้อ ๗ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ผ่านทางเว็บไซต์ (website) ของบริษัท และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขาของบริษัท พร้อมทั้งแจ้งตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (Universal resource locator : URL) ที่เป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ นายทะเบียน
5,234
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ณ วันที่ 30/6/2553) (ฉบับที่3)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ฉบับลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังนี้ ข้อ 1 คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย” ข้อ 2 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในคําสั่งนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อ 4 ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ตามแบบ ปผว. 1 แนบท้ายคําสั่งนี้ โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1 ฐานะการเงิน โดยให้เปิดเผยฐานะการเงินรายปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และฐานะการเงินรายไตรมาสที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชี โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในขณะที่บริษัทยังไม่มีการนําส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยตามความในมาตรา 47 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้บริษัทเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประจําเดือน มีนาคม มิถุนายน และกันยายน แทน การเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1.1 งบดุล และสถานะเงินกองทุน ประกอบด้วย (1) สินทรัพย์ (2) หนี้สิน (3) ส่วนของผู้ถือหุ้น (4) เงินกองทุน (5) เงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย (6) อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย 4.1.2 อัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratio) กล่าวคือ สินทรัพย์สภาพคล่องต่อเงินสํารองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายจากการรับประกันภัยโดยตรง 4.2 ผลการดําเนินงานรายปี และผลการดําเนินงานสะสมรายไตรมาส โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.2.1 งบกําไรขาดทุน ประกอบด้วย (1) รายได้ (2) รายจ่าย (3) กําไร (ขาดทุน) สุทธิ 4.2.2 งบกระแสเงินสด ประกอบด้วย (1) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดําเนินงาน (2) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน (3) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน (4) เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 4.2.3 สัดส่วนร้อยละของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงแยกตามประเภทของการรับประกันภัย 4.3 การรับประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและวิธีการติดต่อกับบริษัท โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.3.1 ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสาร และวิธีการในการขอเอาประกันภัย 4.3.2 ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสาร และวิธีการในการขอรับค่าสินไหมทดแทน หรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย 4.3.3 วิธีการติดต่อบริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีมีข้อพิพาทหรือเรื่องร้องเรียน ข้อ 5 ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายไตรมาส ภายในหกสิบวันนับจากวันสิ้นไตรมาสนั้น (แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)) ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายปี ภายในห้าเดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่บริษัทมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย ต่ํากว่าร้อยละร้อยระหว่างไตรมาส ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตลอดระยะเวลาที่อัตราส่วนดังกล่าวต่ํากว่าร้อยละร้อยตามแบบ ปผว. 2 แนบท้ายคําสั่งนี้ ทั้งนี้ บริษัทต้องปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยทุกสิ้นเดือน ข้อ 6 ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทลงนามรับรองความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย ข้อ 7 ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ผ่านทางเว็บไซต์ (website) ของบริษัท และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขาของบริษัท พร้อมทั้งแจ้งตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (Universal resource locator : URL) ที่เป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สั่ง ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ นายทะเบียน [เอกสารแนบท้าย] 1. บริษัทประกันวินาศภัย เปิดเผย ณ วันที่....... เดือน..............พ.ศ. 25x2 ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน (ปผว. 1) 2. บริษัท...................... เปิดเผย ณ วันที่....... เดือน..............พ.ศ. 25xx ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน (ปผว.2) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) คําสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)[3] ข้อ 2 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป คําสั่งนายทะเบียน ที่ 29/2553 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3)[4] ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณชนทําให้บริษัทไม่สามารถจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทได้ภายในกําหนดเวลา ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้วของไตรมาสที่หนึ่งของปี พ.ศ. 2553 งบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วของปี พ.ศ. 2552 รายงานประจําปีแสดงการดําเนินงานของบริษัทของปี พ.ศ. 2552 และรายงานการเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศสํานักงานดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งให้ขยายระยะเวลาการเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายไตรมาสของไตรมาสที่หนึ่งของปี พ.ศ. 2553 และข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายปีของปี พ.ศ. 2552 ออกไปอีกสามสิบวันนับแต่วันครบกําหนดเดิม
5,235
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับ Update ณ วันที่ 8/4/2552) (ฉบับที่2)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ฉบับลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังนี้ ข้อ 1 คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย” ข้อ 2 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ 3 ในคําสั่งนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อ 4 ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ตามแบบ ปผว. 1 แนบท้ายคําสั่งนี้ โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1 ฐานะการเงิน โดยให้เปิดเผยฐานะการเงินรายปีที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และฐานะการเงินรายไตรมาสที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชี โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในขณะที่บริษัทยังไม่มีการนําส่งงบการเงินรายไตรมาสที่ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยตามความในมาตรา 47 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้บริษัทเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประจําเดือน มีนาคม มิถุนายน และกันยายน แทน การเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.1.1 งบดุล และสถานะเงินกองทุน ประกอบด้วย (1) สินทรัพย์ (2) หนี้สิน (3) ส่วนของผู้ถือหุ้น (4) เงินกองทุน (5) เงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย (6) อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย 4.1.2 อัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratio) กล่าวคือ สินทรัพย์สภาพคล่องต่อเงินสํารองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายจากการรับประกันภัยโดยตรง 4.2 ผลการดําเนินงานรายปี และผลการดําเนินงานสะสมรายไตรมาส โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.2.1 งบกําไรขาดทุน ประกอบด้วย (1) รายได้ (2) รายจ่าย (3) กําไร (ขาดทุน) สุทธิ 4.2.2 งบกระแสเงินสด ประกอบด้วย (1) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดําเนินงาน (2) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน (3) กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน (4) เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 4.2.3 สัดส่วนร้อยละของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงแยกตามประเภทของการรับประกันภัย 4.3 การรับประกันภัย การจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยและวิธีการติดต่อกับบริษัท โดยให้มีรายละเอียด ดังนี้ 4.3.1 ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสาร และวิธีการในการขอเอาประกันภัย 4.3.2 ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสาร และวิธีการในการขอรับค่าสินไหมทดแทน หรือผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย 4.3.3 วิธีการติดต่อบริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีมีข้อพิพาทหรือเรื่องร้องเรียน ข้อ 5 ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายไตรมาส ภายในหกสิบวันนับจากวันสิ้นไตรมาสนั้น (แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)) ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายปี ภายในห้าเดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่บริษัทมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมาย ต่ํากว่าร้อยละร้อยระหว่างไตรมาส ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตลอดระยะเวลาที่อัตราส่วนดังกล่าวต่ํากว่าร้อยละร้อยตามแบบ ปผว. 2 แนบท้ายคําสั่งนี้ ทั้งนี้ บริษัทต้องปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยทุกสิ้นเดือน ข้อ 6 ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทลงนามรับรองความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย ข้อ 7 ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล ผ่านทางเว็บไซต์ (website) ของบริษัท และปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานใหญ่ และสํานักงานสาขาของบริษัท พร้อมทั้งแจ้งตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (Universal resource locator : URL) ที่เป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สั่ง ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ นายทะเบียน [เอกสารแนบท้าย] 1. บริษัทประกันวินาศภัย เปิดเผย ณ วันที่....... เดือน..............พ.ศ. 25x2 ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน (ปผว. 1) 2. บริษัท...................... เปิดเผย ณ วันที่....... เดือน..............พ.ศ. 25xx ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน (ปผว.2) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) คําสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ข้อ 2 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
5,236
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 7/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ฉบับลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งไว้ ดังนี้ ข้อ 1 คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียนที่ 7/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)” ข้อ 2 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 วรรคหนึ่ง ของคําสั่งนายทะเบียนที่ 2/2552 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายไตรมาส ภายในหกสิบวันนับจากวันสิ้นไตรมาสนั้น” สั่ง ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ นายทะเบียน
5,237
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 29/2553 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 29/2553 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) ------------------------------------------------ ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณชนทําให้บริษัทไม่สามารถจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทได้ภายในกําหนดเวลา ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้วของไตรมาสที่หนึ่งของปี พ.ศ. 2553 งบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วของปี พ.ศ. 2552 รายงานประจําปีแสดงการดําเนินงานของบริษัทของปี พ.ศ. 2552 และรายงานการเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทประจําเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศสํานักงานดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งให้ขยายระยะเวลาการเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายไตรมาสของไตรมาสที่หนึ่งของปี พ.ศ. 2553 และข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายปีของปี พ.ศ. 2552 ออกไปอีกสามสิบวันนับแต่วันครบกําหนดเดิม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,238
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 46/2554 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 46/2554 เรื่อง ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) --------------------------------------------------- ตามที่ได้เกิดเหตุอุทกภัยอันถือเป็นเหตุภัยพิบัติร้ายแรงของประเทศในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณชนทําให้บริษัทไม่สามารถจัดทําและยื่นงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัทได้ภายในกําหนดเวลา ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้วของไตรมาสที่สามของปี พ.ศ. 2554 นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศสํานักงานดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 นายทะเบียนจึงออกคําสั่งให้ขยายระยะเวลาการเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานรายไตรมาสของไตรมาสที่สามของปี พ.ศ. 2554 ออกไปอีกสามสิบวันนับแต่วันครบกําหนดเดิม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,239
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 14/2551 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สำหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 14/2551 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สําหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง -------------------------------------------- เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องน้ํามันเชื้อเพลิงมีราคาสูง จึงส่งเสริมให้เจ้าของรถปรับเปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถยนต์จากน้ํามันเชื้อเพลิงเป็นแก๊สธรรมชาติ (Compressed Natural Gas: CNG) ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 14/2551 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สําหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง” ข้อ ๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ข้อ ๓ ให้บริษัทประกันภัยตามรายชื่อแนบท้ายคําสั่งนี้ให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัย ในการรับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจทุกประเภทเป็นส่วนลดอื่นในอัตราร้อยละ 10 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิสําหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (Natural Gas Vehicle: NGV) ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยต้องแสดงหลักฐานการติดตั้งจากสถานบริการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานรัฐ ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,240
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 19/2551 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สำหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 19/2551 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สําหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) ------------------------------------------- ตามที่ นายทะเบียนได้มีคําสั่งที่ 14/2551 เรื่อง ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สําหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ให้บริษัทประกันภัย ที่มีรายชื่อแนบท้ายคําสั่งให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัย ในการรับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจทุกประเภทเป็นส่วนลดอื่นในอัตราร้อยละ 10 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิ สําหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (Natural Gas Vehicle: NGV) นั้น เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนที่ประสงค์จะทําประกันภัย ให้เพิ่มชื่อ “บริษัท เมืองไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน)” ลงในเอกสารแนบท้ายคําสั่งนายทะเบียนที่ 14/2551 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ทั้งนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,241
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2557 เรื่อง กำหนดแบบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเพิ่มเติม
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2557 เรื่อง กําหนดแบบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเพิ่มเติม ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้เพิ่มเติมแบบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2557 เรื่อง กําหนดแบบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเพิ่มเติม” ข้อ ๒ ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามแบบที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ให้บริษัทใช้ได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมการขอรับความเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนแล้ว ข้อ ๓ บริษัทที่จะยื่นขอรับความเห็นชอบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามข้อ 2 ได้จะต้องปฏิบัติให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้เสนอขายส่งข้อมูลการขอรับประกันภัยรถตามรายการที่แนบท้ายคําสั่งนี้ให้บริษัทพิจารณารับประกันภัย เมื่อบริษัทได้รับข้อมูลครบถ้วนและได้รับชําระเงินค่าเบี้ยประกันภัยแล้ว ผู้เสนอขายต้องดําเนินการจัดพิมพ์กรมธรรม์ประกันภัยพร้อมเงื่อนไขความคุ้มครองส่งมอบแก่ผู้ขอเอาประกันภัยทันที (2) จัดให้มีระบบการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง เพื่อให้ผู้ขอเอาประกันภัยสามารถตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้ทันทีตั้งแต่เริ่มต้นสัญญาประกันภัยและตลอดอายุสัญญาประกันภัย (3) กําหนดสถานที่ตั้งจุดจําหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถต่อนายทะเบียนก่อนดําเนินการจําหน่าย ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือยกเลิกสถานที่จําหน่ายให้แจ้งต่อนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนดําเนินการจําหน่าย ทั้งนี้ ห้ามมิให้บริษัทจําหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนอกสถานที่ตั้งที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนไว้ (4) ยื่นรายงานการรับประกันภัยตามรายการและโครงสร้างข้อมูลตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง ให้บริษัทรายงานการรับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อนายทะเบียนทันทีหลังจากรับประกันภัย (real time) (5) กําหนดแนวทางการปฏิบัติตาม (1) (2) (3) และ (4) เป็นลายลักษณ์อักษร และ (6) จัดการให้ผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่า บริษัทฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) นายทะเบียนสงวนสิทธิที่จะเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ให้ไว้แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,242
คำสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2557 เรื่อง กำหนดแบบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเพิ่มเติม (ฉบับ Update ล่าสุด)
คําสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2557 เรื่อง กําหนดแบบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเพิ่มเติม ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 นายทะเบียนจึงมีคําสั่งให้เพิ่มเติมแบบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําสั่งนี้เรียกว่า “คําสั่งนายทะเบียน ที่ 28/2557 เรื่อง กําหนดแบบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเพิ่มเติม” ข้อ ๒ ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามแบบที่แนบท้ายคําสั่งนี้ ให้บริษัทใช้ได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมการขอรับความเห็นชอบและได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนแล้ว ข้อ ๓ บริษัทที่จะยื่นขอรับความเห็นชอบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามข้อ 2 ได้จะต้องปฏิบัติให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้เสนอขายส่งข้อมูลการขอรับประกันภัยรถตามรายการที่แนบท้ายคําสั่งนี้ให้บริษัทพิจารณารับประกันภัย เมื่อบริษัทได้รับข้อมูลครบถ้วนและได้รับชําระเงินค่าเบี้ยประกันภัยแล้ว ผู้เสนอขายต้องดําเนินการจัดพิมพ์กรมธรรม์ประกันภัยพร้อมเงื่อนไขความคุ้มครองส่งมอบแก่ผู้ขอเอาประกันภัยทันที (2) จัดให้มีระบบการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง เพื่อให้ผู้ขอเอาประกันภัยสามารถตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้ทันทีตั้งแต่เริ่มต้นสัญญาประกันภัยและตลอดอายุสัญญาประกันภัย (3) กําหนดสถานที่ตั้งจุดจําหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถต่อนายทะเบียนก่อนดําเนินการจําหน่าย ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือยกเลิกสถานที่จําหน่ายให้แจ้งต่อนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนดําเนินการจําหน่าย ทั้งนี้ ห้ามมิให้บริษัทจําหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนอกสถานที่ตั้งที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนไว้ (4) ยื่นรายงานการรับประกันภัยตามรายการและโครงสร้างข้อมูลตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง ให้บริษัทรายงานการรับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อนายทะเบียนทันทีหลังจากรับประกันภัย (real time) (5) กําหนดแนวทางการปฏิบัติตาม (1) (2) (3) และ (4) เป็นลายลักษณ์อักษร และ (6) จัดการให้ผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามคําสั่งนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขาย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงานของบริษัทในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย 200 สําหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) และกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2556 ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่า บริษัทฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) นายทะเบียนสงวนสิทธิที่จะเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ให้ไว้แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายทะเบียน
5,243
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 536/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 536/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน ---------------------------- เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทาง เดียวกัน จึงให้มีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ 1.1 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 247/2533 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2533 เรื่อง วิธีปฏิบัติใน การอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคําพิพากษาในคดีแพ่ง 1.2 คําสั่งกรมบังคับคดีที่ 321/2547 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2547 เรื่อง การอายัดทรัพย์สิน ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตั้งเรื่องอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้วางเงิน ทดรองค่าใช้จ่ายในบังคับคดีสํานวนละ 1,500.-บาท ที่เห็นสมควร ในระหว่างการบังคับคดีหากค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมายแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามจํานวน ข้อ ๓ การอายัดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา แถลงยืนยันจํานวนเงินที่ขออายัดพร้อมส่งเอกสารดังต่อไปนี้ 3.1 อายัดเงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน ให้ส่งสําเนาเอกสารที่ มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ของเงินนั้น อายัดเงินตามสัญญา หรือสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ให้ส่งสําเนาหนังสือสัญญา หรือเอกสาร หลักฐานแห่งหนี้ที่ระบุว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิได้รับเงินนั้นๆ อายัดเงินฝากในบัญชีจากสถาบันการเงิน ให้ส่งสําเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ ของเงินนั้นพร้อมรายละเอียดว่าต้องการอายัดเงินจากสถาบันการเงินใดพร้อมระบุสาขา เลขบัญชีและจํานวนเงิน 3.2 สําเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือ คู่สมรสที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเรียกร้องที่อายัดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน 3.3 สําเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของนายจ้าง หรือบุคคลภายนอก ผู้รับคําสั่งอายัดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน ข้อ ๔ การอายัดเงินตามข้อ 3.1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา หรือผู้ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีเพื่อมีคําสั่งอายัดหรือไม่ กรณีการอายัดตามข้อ 3.1 วรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคํานึงถึงพฤติการณ์ แห่งการดํารงชีพของลูกหนี้ประกอบด้วย หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่สามารถส่งเอกสารประกอบคําขออายัดตามข้อ 3.1 แต่ได้แสดงเหตุแห่งการนั้นมาในคําขออายัดพร้อมแถลงยืนยันถึงความมีอยู่แห่งสิทธิเรียกร้องนั้นๆ และยินยอมรับผิดในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาและ เสนอความเห็นว่าสมควรมีคําสั่งอายัดให้หรือไม่ต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดหรือสาขาหรือผู้ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีเพื่อมีคําสั่งต่อไป ห้ามมิให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสิทธิ เรียกร้องประเภทใด ข้อ ๕ เมื่อมีคําสั่งอายัดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหนังสืออายัดภายในวันที่มีคําสั่ง หรืออย่างช้าในวันทําการถัดไป โดยระบุให้ส่งมอบเงินตามอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ออกหนังสืออายัด การอายัดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินไปยังจังหวัดอื่น ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๖ การอายัดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินตั้งแต่ 20,000,000.- บาท ขึ้นไป หรืออายัดทรัพย์สินของ บุคคลสําคัญ หรือบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการ อายัดแล้ว ให้รายงานอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ ข้อ ๗ กรณีอายัดเงินเป็นคราวๆ เมื่อมีการส่งเงินมายังเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสํานวนทุก 3 เดือน หากเงินที่รวบรวมได้มีจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000.-บาท ให้ส่งสํานวนให้นักบัญชีดําเนินการทําบัญชีรับ - จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทันที เว้นแต่ ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อ ๘ การสั่งเพิ่มหรือลดอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือลูกหนี้ ตามคําพิพากษายื่นคําร้องขอเพิ่มหรือลดอายัด พร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็นในการขอเพิ่มหรือ ลดอายัดและส่งเอกสารใบรับรองเงินเดือน หลักฐานค่าใช้จ่ายอันจําเป็นแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาหลักฐานดังกล่าว โดยคํานึงถึงฐานะทางครอบครัวจํานวนบุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ ในอุปการะ รวมทั้งจํานวนหนี้ตามหมายบังคับคดีโดยเสนอความเห็นพร้อมระบุข้อมูลโดยย่อ ต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา หรือผู้ได้รับมอบหมายแล้ว แต่กรณีเพื่อมีคําสั่ง ข้อ ๙ ในกรณีอายัดทรัพย์สินที่ต้องมีการส่งมอบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 315 คําสั่งกรมบังคับคดี หรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,244
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 538/2548 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสำหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 538/2548 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี ------------------------ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับการส่วนกลาง กรมบังคับคดี ไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อคนและผู้ติดต่อ ราชการยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 188/2545 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2545 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี ข้อ ๒ การรับเงิน 2.1 คดีแพ่ง 2.1.1 การรับเงินค่าขายทรัพย์ ณ ที่ทําการกรมบังคับคดี เมื่อได้รับเงินแล้ว ให้เจ้าหน้าที่การเงิน กองคลัง ออกใบรับเงินให้ผู้ซื้อ โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงซื้อเป็นผู้รับเงินใน ใบรับเงินร่วมกับเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การรับเงินค่าขายทรัพย์นอกที่ทําการกรมบังคับคดีเมื่อได้รับเงินแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกใบรับเงินให้ผู้ซื้อ เมื่อเสร็จการขายวันหนึ่งแล้วแต่กรณี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ดําเนินการ ในวันนั้น ทําบัญชีรายการขายทรัพย์เสนอผู้บังคับบัญชาพร้อมทั้งจํานวนเงินและสําเนาสู่รอบใบเสร็จ คลัง กรมบังคับคดีในวันเดียวกัน 2.1.2 การรับเงินอื่น ๆ นอกจากข้อ 2.1.1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายจดรายงานการรับเงินเสนอผู้บังคับบัญชา แล้วให้กองคลังรับเงินและออกใบรับเงินให้โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบรับเงินร่วมกับผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินนั้นให้มีสําเนา 3 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงิน ส่วนสําเนากองคลังที่รับไว้ ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว 2.1.3 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือผู้อํานวยการกองคลังเห็นสมควรอาจรับเงิน เป็นเช็ค หรือตั๋วแลกเงินก็ได้ แต่ต้องเป็นเช็ดหรือตั๋วแลกเงินที่ธนาคารสั่งจ่าย หรือเช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คของส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจสั่งจ่ายในนามกรมบังคับคดี พร้อมจด เลขหมายเช็คลงในใบรับเงินด้วย ในกรณีจะต้องตอบรับเงินจากผู้ส่งเงิน ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตอบรับเงินพร้อมกับส่งใบรับเงิน 2.2 คดีล้มละลาย 2.2.1 เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือส่งในคดี จะเป็นเงินสด เช็ค คร๊าฟท์หรือตั๋วเงิน ก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายดําเนินการในเรื่องนั้นจดรายงานการรับเงินนั้น โดย ละเอียดว่าเป็นเงินประเภทใดในคดีใด ของผู้ใด จํานวนเงินเท่าใดและมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้ว นําผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงินพร้อมกับสํานวนและรายงานดังกล่าวไปส่งที่กองคลังเพื่อที่กองคลังจะได้รับ เงินและออกใบรับเงิน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงนามในใบรับเงินตามแบบ ล.47 ร่วมกับ ผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินให้มีสําเนาสามฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระ หรือนําส่งเงิน ส่วนนากองคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว เมื่อผู้อํานวยการกองคลังเห็นสมควรรับเงินเป็นเช็ค ให้จดหมายเลขเช็คในใบรับเงินด้วย ในกรณีจะต้องตอบรับเงินจากผู้ส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้ รับมอบหมายเป็นผู้ตอบรับเงินพร้อมส่งใบรับเงิน 2.2.2 ในกรณีที่ผู้นําเงินมาชําระหรือนําส่งในคดีด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ฉบับเดียวหรือหลายฉบับในคราวเดียวกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายดําเนินการ เรื่องนั้นจดรายงานการรับเช็คนั้นโดยละเอียดว่าเป็นเช็คของธนาคารใด เลขที่เท่าไรลงวันที่อะไร จํานวนเงินเท่าไหรับไว้เป็นเงินประเภทใด ในคดีใดของผู้ใด และมีเงื่อนไขอย่างไรหรือไม่ แล้วส่งเสร็จไป ให้กองคลัง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินผู้ได้รับมอบหมายลงชื่อรับเช็ค เมื่อเช็คฉบับใดถึงกําหนดชําระให้กองคลังนําไปเรียกเก็บเงินแล้วแจ้งผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คดังกล่าวไป ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในกําหนด 3 วันนับจากวันที่เรียกเก็บเงินได้ หรือนับจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วแต่กรณี ในกรณีที่เรียกเก็บเงินตามเช็คได้ให้กองคลัง แนบไปรับเงินส่งไปให้ด้วยเพื่อผู้อํานวยการหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่ง ในกรณีที่เช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ให้ยกเลิกใบเสร็จรับเงินทําการปรับปรุงบัญชีแล้วแจ้งให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ผู้ดําเนินการในเรื่องนั้นทราบพร้อมทั้งส่งหลักฐานการคืนเช็คเพื่อดําเนินการต่อไป 2.3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 2.3.1 เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือส่งในคดีจะเป็นเงินสด เช็ค คราฟท์ หรือ ตั๋วแลกเงินก็ดีให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายดําเนินการในเรื่องนั้นจดรายงานการรับเงินนั้น โดยละเอียดว่าเป็นเงินประเภทใดในคดีใด ของผู้ใด จํานวนเงินเท่าใดและมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้วนําผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงินพร้อมกับสํานวนและรายงานดังกล่าวส่งให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินเป็น ผู้รับเงินและออกใบเสร็จรับเงิน โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงนามเป็นผู้รับเงินร่วมกับผู้อํานวยการสํานัก ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินให้มีสําเนาสามฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระ หรือผู้นําส่งเงิน ส่วนสําเนาส่วนจัดกิจการทรัพย์สินเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นชั่ว การรับเงินเป็นเช็ค คราฟท์ หรือตั๋วแลกเงินให้จดเลขหมายในใบรับเงินด้วย 2.3.2 ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารประเภท บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี “สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้” แล้วนําฝากเงินประเภทเงินค่าใช้จ่าย ของผู้ขอฟื้นฟูกิจการ ซึ่งชําระไว้ตามข้อ 2.3.1 2.3.3 ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารประเภท บัญชีออมทรัพย์ในนามของลูกหนี้ขอฟื้นฟูแต่ละราย แล้วนําเงินรายรับที่รวบรวมได้จากกองทรัพย์สินนําเข้าฝากในบัญชีของลูกหนี้ผู้ขอฟื้นฟูรายนั้นๆ 2.4 การวางทรัพย์ ให้เจ้าหน้าที่สํานักงานวางทรัพย์กลางจดรายงานโดยแสดงให้ ปรากฏถึงรายละเอียดแห่งการรับเงิน และออกใบรับเงินโดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับเงิน ใบรับเงินร่วมกับผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินนั้นให้มีสําเนา 4 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระเงิน ส่วนสําเนากองคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมไว้ในสํานวนฉบับหนึ่ง คืนสํานักงาน วางทรัพย์ฉบับหนึ่งอีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว ในกรณีที่จะต้องตอบรับจากผู้ส่งเงิน ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ตอบรับพร้อมส่งใบเสร็จนับเงินไปให้ ข้อ ๓ การจ่ายเงิน 3.1 คดีแพ่ง เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในคดี ให้ผู้มีส่วนได้ยื่นคําขอรับเงินต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีเพื่อขออนุมัติก่อน เว้นแต่จะมีการสั่งอนุมัติไว้แล้วในบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือบัญชีส่วนเฉลี่ย แล้วให้ผู้มีส่วนได้นั้นทําใบรับเงิน และให้กองของหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจัดทําใบสั่งจ่ายเงินให้ อธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย ลงชื่อพร้อมกับหมายเหตุไว้ในรายงาน การจ่ายเงินหรือบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือบัญชีส่วนเฉลี่ยแล้วแต่กรณีว่าได้จ่ายเงินให้ผู้มีส่วนได้คนใด ไปแค่วันเดือนปีใดทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้ลงบัญชีโดยครบถ้วนตามระเบียบของราชการและเก็บ เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน ถ้ามีเหตุสงสัยว่าผู้รับเงินมิใช่ผู้มีส่วนได้อันแท้จริง ผู้อํานวยการกองคลังอาจสั่งให้ ผู้ขอรับเงินหาผู้รับรองมาจนเป็นที่พอใจก่อนก็ได้ และถ้าเป็นการมอบฉันทะให้ตัวแทนมารับเงินอาจสั่งให้ ตัวการมารับเงินเองก็ได้ 3.2 คดีล้มละลาย เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในคดีให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอรับเงินต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น เมื่อได้รับคําสั่งให้จ่ายเงินได้แล้ว ให้ผู้นั้นทําใบรับเงิน ตามแบบ ล.48 ที่กองคลังและให้กองคลังจัดทําใบสั่งจ่ายเงินตามแบบ ล.42 แล้วจ่ายเงินให้แก่ผู้ขอรับเงิน นั้นให้กองคลังจัดทําใบสั่งจ่ายเงินให้อธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย ลงชื่อพร้อมกับหมายเหตุไว้ในรายงานการจ่ายเงินหรือบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือบัญชีแสดงส่วนแบ่ง ทรัพย์สินแล้วแต่กรณีว่าได้จ่ายเงินให้ผู้มีส่วนได้คนใดไป แต่วันเดือนปีใด ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้ ลงบัญชีโดยครบถ้วนตามระเบียบของราชการและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน ถ้ามีเหตุสงสัยว่าผู้ขอรับเงินมิใช่เป็นผู้ที่มีส่วนได้อันแท้จริง ผู้อํานวยการกองคลัง อาจสั่งให้ผู้ขอรับเงินหาผู้มารับรองจนเป็นที่พอใจก่อนก็ได้ และถ้าเป็นการมอบฉันทะหรือมอบอํานาจให้ ตัวแทนมารับเงินแล้ว อาจสั่งให้ตัวการมารับเองก็ได้ 3.3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการสํานัก ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะกําหนดโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมบังคับคดี 3.4 การวางทรัพย์ เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในสํานวนวางทรัพย์ให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอรับเงิน ต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น เมื่อได้รับคําสั่งจ่ายเงินได้แล้วให้เจ้าหน้าที่การเงินทําใบรับเงิน และใบสั่งจ่ายให้ผู้อํานวยการสํานักงานวางทรัพย์กลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามสั่งจ่าย และ หมายเหตุไว้ในรายงานเจ้าหน้าที่ว่าได้จ่ายเงินให้ผู้ใด แต่วันเดือนปีใด ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้ลงบัญชี โดยครบถ้วนตามระเบียบของราชการและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน 3.5 การจ่ายเงินตามข้อ 3.13.23.3 และ 3.4 กรณีสั่งจ่ายเงินจํานวนตั้งแต่สองพันบาท ขึ้นไป ให้จ่ายเงินโดยเช็คธนาคารที่กรมบังคับคดีได้เปิดบัญชีไว้ให้แก่ผู้รับเงินนั้น ถ้าจํานวนเงิน กว่าสองพันบาทจะจ่ายเงินสดหรือเช็ค ก็ได้ ในกรณีจํานวนเงินที่สั่งจ่ายไม่ถึงสองพันบาท ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อในใบสั่งจ่ายได้ การลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงิน ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือหัวหน้าฝ่ายการเงินหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมายฝ่ายหนึ่งลงชื่อร่วมกับอธิบดีหรือรองอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอีกฝ่ายหนึ่งรวมสองคน ในกรณีที่จะต้องส่งเงินให้ผู้รับเงินโดยมีหนังสือนําส่งให้จัดส่งเงินจํานวนนั้นเป็นเช็ค หรือตั๋วแลกเงินโดยจ่ายเช็คสั่งจ่ายธนาคารเพื่อซื้อตั๋วแลกเงินตามจํานวนนั้น และให้กองที่มีหน้าที่นั้น ๆ เป็นผู้ดําเนินการจัดส่ง กรณีจะต้องเบิกเงินจากธนาคารให้ผู้มีอํานาจสั่งจ่ายเป็นไปตามที่กล่าวข้างต้น และสั่งจ่ายในนาม “กรมบังคับคดี” เป็นผู้รับเงิน 3.6 เมื่อเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินในคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หรือสํานวนวางทรัพย์แสดงเจตนาขอรับเงินผ่านธนาคาร ให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอตามแบบคําขอรับเงิน ผ่านธนาคารที่กระทรวงการคลังกําหนด วิธีการและขั้นตอนในการจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารของเจ้าหนี้ หรือผู้ขอรับเงินให้ เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ข้อ 38 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ข้อ ๔ การรับ การเก็บรักษา และนําส่งค่าธรรมเนียมเป็นรายได้แผ่นดินให้ปฏิบัติตามระเบียบ การเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ข้อ 65 ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,245
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 175/2548 เรื่อง ผลการประชุมเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 175/2548 เรื่อง ผลการประชุมเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ------------------------------- เพื่อให้การพิจารณาผลการประชุมเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ดําเนินไปด้วย ความเรียบร้อย จึงได้มีคําสั่งดังต่อไปนี้ ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการประชุมเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการของ ลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณา หรือปรึกษาหารือในหัวข้อใดก็ตาม ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์รายงานผลการประชุมพร้อมกับส่งสํานวนการประชุมเจ้าหนี้นั้นให้อธิบดีกรมบังคับคดีพิจารณา อย่างช้าภายในวันทําการรุ่งขึ้นนับแต่ได้มีการประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าวก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดําเนินการตามผลการประชุมเจ้าหนี้นั้นต่อไป ทั้งนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2548 (ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,246
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 453/2548 เรื่อง การประเมินราคาเพื่อประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์สินในส่วนกลาง
คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 453/2548 เรื่อง การประเมินราคาเพื่อประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์สินในส่วนกลาง -------------------------------------- เพื่อให้การประเมินราคาทรัพย์สินประกอบการขายทอดตลาดในคดีแพ่งในส่วนกลาง ด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 267/2548 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2548 เรื่อง การ ประเมินราคาเพื่อประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์ในส่วนกลาง ข้อ ๒ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาประเมินขณะยึดตั้งแต่ 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท) ขึ้นไปหรือมีราคาต่ํากว่า 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท) แต่เจ้าพนักงาน บังคับคดีเห็นสมควร ก่อนนําทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้พนักงาน ประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง ประเมินราคาทรัพย์ดังกล่าวและให้ใช้เป็นราคาประกอบ ดุลพินิจในการขายด้วยทุกกรณี ข้อ ๓ ในการขายทอดตลาดห้องชุดซึ่งมีราคาประเมินขณะยึดต่ํากว่า 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท) ให้ใช้ราคาประเมินของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการประเมินราคาที่ดินประกอบ ดุลพินิจในการขายทอดตลาดด้วย ข้อ ๔ ให้พนักงานประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง ประเมินราคาทรัพย์และแจ้งผล การประเมินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายใน 15 วันนับแต่ได้รับเรื่องไว้ ให้ผู้อํานวยการกองกวดขันดูแล ให้ ดําเนินการให้แล้วเสร็จในระยะเวลาดังกล่าว กรณีมีเหตุจําเป็นไม่สามารถดําเนินการตามระยะเวลาดังกล่าวได้ให้รายงานเพื่อขออนุญาตขยาย ระยะเวลาต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ได้รับมอบหมาย หากไม่สามารถประกาศขายทอดตลาดได้ภายในระยะเวลาอันสมควรหรือมีการงด การขายทอดตลาดไว้เนื่องมาจากเหตุดังกล่าวให้ถือว่าเป็นความบกพร่องของพนักงานผู้ประเมิน หัวหน้าฝ่าย และผู้อํานวยการกองด้วย ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน 2548 ไกรสร บารมีอวยชัย (นายไกรสร บารมีอวยชัย) อธิบดีกรมบังคับคดี
5,247