title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 623 /2559 เรื่อง การปรับปรุงและกำหนดภารกิจงานของกองบังคับคดีล้มละลาย 6 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 623 /2559
เรื่อง การปรับปรุงและกําหนดภารกิจงานของกองบังคับคดีล้มละลาย 6
---------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 788/2556 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ตัดโอนงาน และอัตรากําลังไปอยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับคดีล้มละลาย 6 นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติราชการกรมบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมี ประสิทธิภาพประสิทธิผล เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ และประชาชนผู้มาติดต่อราชการยิ่งขึ้น จึงให้ยกเลิก คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 788/2556 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เฉพาะในส่วนที่เป็นภารกิจงานของ กองบังคับคดีล้มละลาย 5 และกําหนดภารกิจใหม่ของกองบังคับคดีล้มละลาย 6 ดังนี้
ข้อ ๑ คดีล้มละลายที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป ลูกหนี้ซึ่งเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจํา ลูกจ้าง พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงาน ภาคเอกชน ที่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ค่าจ้างประจํา เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ หรือเงินอื่นใดในทํานองเดียวกัน และได้มีหนังสือแจ้งอายัดเงินดังกล่าวไปยังต้นสังกัดหรือนายจ้างและไม่ว่าจะมีทรัพย์หลักประกันหรือทรัพย์สิน อื่นด้วยหรือไม่ ให้ถือการอายัดดังกล่าวเป็นหลักในการพิจารณาให้กองบังคับคดีล้มละลาย 6 เป็นผู้รับผิดชอบ หากเป็นคดีมีทรัพย์สินที่ไม่เข้าเงื่อนไขนี้ให้ส่งกองบังคับคดีล้มละลาย 1 - 5 ดําเนินการต่อไปตามเลขคดีที่ แต่ละกองรับผิดชอบ
ข้อ ๒ สํานวนคดีในกรณีที่มีผู้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 96 (2) หรือ มาตรา 96 (3) ตาม คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 501/2554 ลงวันที่ 21 กันยายน 2554 ให้กองบังคับคดีล้มละลาย 6 เป็น ผู้รับผิดชอบดําเนินการสํานวนที่ได้รับ ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป จนแล้วเสร็จ
ข้อ ๓ คดีล้มละลายสถาบันการเงิน
ข้อ ๔ คดีล้มละลายบริษัทประกันภัย และประกันวินาศภัย
ข้อ ๕ คดีล้มละลายที่ลงนัดรอรับเงินส่วนได้ในคดีแพ่ง หรือเงินส่วนแบ่งจากคดีล้มละลายอื่น และไม่มีกิจการทรัพย์สินหรือสํานวนสาขาอื่นต้องดําเนินการอีก
ข้อ ๖ คดีล้มละลายตามที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาว รื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,043 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 558/2559เรื่อง การใช้เอกสารประกอบในการจ่ายเงินในคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 558/2559
เรื่อง การใช้เอกสารประกอบในการจ่ายเงินในคดี
--------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินในคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการ และ วางทรัพย์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 171/2522 เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการ รับคําขอรับชําระหนี้ การมอบอํานาจ และการจ่ายเงิน ข้อ 3 และ 4 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2522
ข้อ ๒ การสั่งจ่ายเงินสด หรือเช็ค ให้ผู้รับแสดงบัตรประจําตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นที่มี กฎหมายรับรองซึ่งต้องมีรูปถ่ายและสามารถแสดงตนได้
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีการมอบอํานาจหรือมอบฉันทะให้รับเงินแทน ผู้รับมอบอํานาจจะต้องมีบัตร ประจําตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นที่มีกฎหมายรับรองซึ่งต้องมีรูปถ่ายและสามารถแสดงตนได้ และแนบ สําเนารับรองถูกต้องของผู้รับมอบอํานาจมาแสดง พร้อมกับบัตรตัวจริง หรือสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นที่มีกฎหมายรับรองซึ่งต้องมีรูปถ่ายและสามารถแสดงตนได้ โดยรับรองถูกต้องของผู้มอบอํานาจ มาแสดงในการรับเงินแทนด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559
(ลงชื่อ)รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,045 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 220/2533 เรื่อง วิธีการรวบรวมเงินในการบังคับคดีแก่พันธบัตร หุ้นหรือหุ้นในคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 220/2533
เรื่อง วิธีการรวบรวมเงินในการบังคับคดีแก่พันธบัตร หุ้นหรือหุ้นในคดีล้มละลาย
-----------------------
เพื่อให้การดําเนินการบังคับคดีแก่พันธบัตร หุ้นกู้และหุ้นซึ่งลูกหนี้ในคดีล้มละลายเป็นผู้ทรงสิทธิเรียกร้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็ว จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ โดยเหตุที่พันธบัตรหรือหุ้นเป็นตราสารที่ทรงมีสิทธิเรียกร้องตามเนื้อความที่ปรากฏ ในตราสาร การบังคับคดีแก่พันธบัตรหรือหุ้นกู้ จึงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติดังนี้
1.1. ในกรณีพันธบัตรหรือหุ้นของลูกหนี้ถึงกําหนดชําระเงินแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ติดต่อขอรับชําระเงินตามพันธบัตรหรือหุ้นกู้ นั้น
1.2 ในกรณีพันธบัตรหรือหุ้นของลูกหนี้ยังไม่ถึงกําหนดชําระ ให้อยู่ในดุลพินิจของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะนําไปเรียกชําระเงินตามพันธบัตรหรือหุ้นกู้เมื่อใด ทั้งนี้โดยคํานึงถึงความ รวดเร็ว เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
1.3 หากสํานวนคดีใดที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศขายทอดตลาดพันธบัตรหรือ หุ้นกู้แล้ว ก็ให้งดการขายและนําพันธบัตรหรือหุ้นกู้ไปขอรับชําระเงินตาม 1.1 หรือ 1.2 แล้วแต่กรณี
1.4 การขอรับชําระเงินตามพันธบัตรหรือหุ้นกู้ข้างต้น ถือเป็นการรวบรวมทรัพย์สิน ต้องคิดค่าธรรมเนียม จึงไม่ต้องคิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจําหน่ายอีก
ข้อ ๒ การบังคับคดีแก่ทุนนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นําออกขายทอดตลาดหรือจําหน่ายโดย วิธีอื่นภายในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533
(นายสมชัย ศิริบุตร)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,046 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 313 /2559 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 313 /2559
เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนคําขอรับชําระหนี้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558
-------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับสํานวนคําขอรับชําระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและเป็น แนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 จึงมี คําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับกับสํานวนคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2558 ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๒ ให้ฝ่ายคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม ตรวจและรับคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ ในคดีล้มละลายที่ยื่นภายในกําหนด 2 เดือน แต่วันประกาศโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และตั้งสํานวนคําขอรับชําระหนี้พร้อมบันทึกข้อมูลระบบงานเสร็จแล้วรวบรวมสํานวนคําขอรับชําระหนี้ ส่งกองบังคับคดีล้มละลายที่รับผิดชอบภายในวันนั้น
ส่วนกรณีที่เจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้เกินกําหนดระยะเวลา ให้ฝ่ายคําคู่ความส่งคําขอ รับชําระหนี้ให้กองบังคับคดีล้มละลายที่รับผิดชอบพิจารณาสั่งในวันนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับ คําขอรับชําระหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบ หากมีคําสั่งรับคําขอรับชําระหนี้ไว้พิจารณา ให้ส่งฝ่ายคําคู่ความตั้งสํานวนคําขอรับชําระหนี้พร้อมบันทึกข้อมูลระบบงาน
กรณีเจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้โดยอาศัยเหตุตามมาตรา 91/1 ให้เจ้าหนี้นําส่งสําเนา คําสั่งอนุญาตของศาลฉบับเจ้าพนักงานศาลรับรองด้วย ถ้าไม่สามารถนําส่งได้ให้ยื่นคําชี้แจงเหตุขัดข้อง พร้อมนําส่งหลักฐานอื่นประกอบ เช่น สําเนาคําร้องที่ยื่นต่อศาล สําเนารายงานกระบวนพิจารณา และให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งให้เจ้าหนี้นําส่งสําเนาคําสั่งศาลฉบับเจ้าพนักงานศาลรับรองภายใน 15 วัน นับแต่วันยื่นขอรับชําระหนี้ หากพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้ไม่นําส่งโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ให้ทราบแต่อย่างใด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งไม่รับคําขอไว้พิจารณา ทั้งนี้ถ้าในเวลายื่นคําขอ รับชําระหนี้ตามวรรคนี้อยู่ระหว่างการแบ่งทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งการรับคําขอรับชําระหนี้ ให้กองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลายทราบในทันที
การยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามคําสั่งนี้ ให้หมายรวมถึงการยื่นคําขอรับชําระหนี้ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อ ๓ การดําเนินการสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในส่วนภูมิภาค เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ ให้สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคตรวจและรับคําขอรับชําระหนี้ไว้ และส่งสําเนาคําขอรับชําระหนี้ พร้อมขอลําดับเจ้าหนี้โดยทางโทรสารไปยังฝ่ายคําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรม เพื่อตั้งสํานวนไว้ ที่ส่วนกลาง และนําส่งต้นฉบับคําขอรับชําระหนี้ให้ฝ่ายค้าคู่ความโดยเร็ว เพื่อนําส่งให้กองบังคับคดีล้มละลาย
ที่รับผิดชอบสอบสวนและมีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ต่อไป เว้นแต่กรณีมีเหตุอื่นอันสมควรอธิบดีหรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมอบหมายอาจมีคําสั่งให้สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาคดําเนินการแทนได้
ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานที่รับคําขอรับชําระหนี้แจ้งให้เจ้าหนี้นําส่งบันทึกชี้แจงข้อเท็จจริง ประกอบมูลหนี้และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนหรือภายในวันนัดตรวจ ค่าขอรับชําระหนี้
ข้อ ๕ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดตรวจคําขอรับชําระหนี้ ให้แจ้งบรรดาเจ้าหนี้ทราบว่า หากประสงค์จะโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดให้ยื่นคําโต้แย้งเป็นหนังสือพร้อมสําเนา ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 7 วันนับแต่วันตรวจคําขอรับชําระหนี้
กรณีเจ้าหนี้ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามคําสั่งศาลตามมาตรา 91/1 ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รีบนัดบรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้มาพร้อมกันเพื่อตรวจคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ หากไม่มา ให้ถือว่าไม่ติดใจโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ กรณีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ที่ประสงค์จะโต้แย้งให้ยื่นคําโต้แย้ง เป็นหนังสือพร้อมสําเนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 7 วัน นับแต่วันตรวจคําขอรับชําระหนี้ ทั้งนี้ ไม่กระทบถึงการใดที่ศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ดําเนินการไปแล้ว
ข้อ ๖ สํานวนคําขอรับชําระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้มิได้เป็นบุคคลภายในของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้ไม่ได้โต้แย้ง ไม่ว่าเป็นหนี้ประเภทใด และไม่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าจะเป็นหนี้ที่ขอรับชําระหนี้ ไม่ได้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่ง คําขอรับชําระหนี้ ตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 ภายใน 15 วันนับแต่วันครบกําหนดโต้แย้งคําขอ รับชําระหนี้ตามข้อ 5 โดยไม่ต้องทําการสอบสวน เว้นแต่มีเหตุสมควรสั่งเป็นอย่างอื่น
กรณีสํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่มีผู้โต้แย้ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายนัดสอบสวน ไปยังเจ้าหนี้และผู้โต้แย้งภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ครบกําหนดโต้แย้ง และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กําหนดวันนัดสอบสวนเจ้าหนี้หรือผู้โต้แย้งไว้รวม 2 นัด ห่างกันไม่เกิน 15 วัน และแจ้งไปด้วยว่า เมื่อถึงกําหนดนัดถ้าเจ้าหนี้หรือผู้โต้แย้งไม่นําพยานไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนตามกําหนดนัด โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง หรือร้องขอเลื่อน เจ้าหนี้หรือผู้โต้แย้งยินยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนิน กระบวนพิจารณาต่อไปได้ โดยถือว่าฝ่ายที่ไม่มาไม่มีพยานหรือไม่ติดใจนําพยานไปให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์สอบสวน ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้มีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ ตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 ตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสํานวนต่อไป
ข้อ ๗ การเลื่อนวันนัดทําการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ว่ากรณีใดๆ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาเหตุที่ขอเลื่อนโดยเคร่งครัดและให้เลื่อนกรณีจําเป็น แต่ทั้งนี้มิให้เลื่อนไป เกินกว่า 20 วันนับแต่วันขอเลื่อน และกําชับว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนอีกไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ หากการขอเลื่อนไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าไม่มีพยานหรือไม่ติดใจนําพยานมาให้การสอบสวน
กรณีคําขอรับชําระหนี้มีหลายมูลหนี้หรือมีผู้โต้แย้งและเจ้าหนี้ยื่นคําร้องขอเลื่อน การสอบสวนออกไปเกิน 20 วัน หรือเลื่อนการสอบสวนมากกว่าหนึ่งนัด เมื่อมีเหตุจําเป็นอย่างยิ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้เลื่อนได้ตามความเหมาะสม
ข้อ ๘ ในวันนัดตรวจค่าขอรับชําระหนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้รายใดยื่นคําขอรับชําระหนี้ ตามมาตรา 96(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งยังไม่มีการยึดทรัพย์ไว้ในคดีแพ่ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งเจ้าหนี้ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
8.1 กรณีสํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถมีคําสั่งคําขอ รับชําระหนี้ ตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 โดยไม่ต้องสอบสวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง เจ้าหนี้ให้ส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์หลักประกันต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 15 วันนับแต่วัน ตรวจคําขอรับชําระหนี้พร้อมให้ยึดทรัพย์หลักประกันในวันเดียวกันนั้น
8.2 กรณีสํานวนคําขอรับชําระหนี้ที่ต้องทําการสอบสวน ในหมายนัดสอบสวนพยาน เจ้าหนี้นัดแรก ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้เจ้าหนี้ดําเนินการดังกล่าวข้างต้นในวันที่กําหนดนัด สอบสวนพยานเจ้าหนี้
ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ ตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2558 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 ให้เสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันเสร็จการสอบสวน ทั้งนี้ไม่นับรวมเวลาในการส่งสํานวน ให้นักบัญชีคิดยอดหนี้
ในกรณีจําเป็นไม่อาจทําคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ให้เสร็จภายในกําหนดดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้รับผิดชอบรายงานตามลําดับเพื่อขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อผู้อํานวยการกอง หรือผู้ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๐ ในการพิจารณามีคําสั่งในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลาย ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และมีประสบการณ์ในด้านการบังคับคดี ล้มละลายไม่น้อยกว่า 2 ปี เป็นผู้มีอํานาจพิจารณาและมีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ โดยต้องมีเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์อย่างน้อยสองคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจ และหนึ่งในองค์คณะต้องเป็นเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่ระดับชํานาญการพิเศษขึ้นไปเป็นองค์คณะ โดยให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
10.1 คําขอรับชําระหนี้ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินยี่สิบล้านบาท ต้องมีเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ระดับชํานาญการพิเศษเป็นองค์คณะ
10.2 คําขอรับชําระหนี้ที่มีทุนทรัพย์เกินกว่ายี่สิบล้านบาทแต่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ต้องมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้อํานวยการกองเป็นองค์คณะ
10.3 คําขอรับชําระหนี้ที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทแต่ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท ต้องมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้อํานวยการกองและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์คณะ
10.4 คําขอรับชําระหนี้ที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าร้อยล้านบาท ต้องมีเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้อํานวยการกองและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์คณะ โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระดับอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๑ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งสํานวนคําขอรับชําระหนี้แล้ว ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แจ้งคําสั่งให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้โต้แย้ง(หากมี) ทราบโดยเร็ว
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ ตามมาตรา 106 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอความเห็นว่าควรอุทธรณ์ หรือไม่อุทธรณ์ คําพิพากษาหรือคําสั่งศาลต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายก่อนที่จะครบกําหนดระยะเวลานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 15 วัน หากมีเหตุขัดข้อง จําเป็นต้องเสนอความเห็นช้ากว่ากําหนดดังกล่าวให้รายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวให้อธิบดี หรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมอบหมายทราบ และกรณีมีความจําเป็นให้ยื่นคําร้องเพื่อขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลด้วย
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งอนุญาตให้ได้รับชําระหนี้เต็มจํานวนหรือชําระหนี้บางส่วน หากปรากฏต่อมาว่าการพิจารณามีคําสั่งเป็นไปโดยผิดหลง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีอํานาจยกคําขอรับชําระหนี้ หรือลดจํานวนหนี้ที่ได้มีคําสั่งอนุญาตไปแล้วได้
ข้อ ๑๔ เมื่อเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนี้ลําดับรอง) ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนในเรื่องหนี้สิน และข้อตกลงหรือข้อกําหนดตาม สัญญาหรือตามกฎหมายในการก่อหนี้ด้อยสิทธิไว้ให้ชัดเจนว่า เจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนี้ลําดับรอง) จะได้รับ ชําระหนี้ต่อเมื่อเจ้าหนี้รายใดบ้างได้รับชําระหนี้ก่อน ตลอดจนวิธีการก่อหนี้ด้อยสิทธิว่าเป็น รูปแบบ : หนี้ด้อยสิทธิไม่ชําระหนี้ (Contractual Subordination) กล่าวคือ เจ้าหนี้ลําดับรองจะไม่ยอมรับชําระหนี้ จนกว่าเจ้าหนี้ลําดับแรกจะได้รับชําระหนี้จนครบถ้วน หรือเป็น รูปแบบ : หนี้ด้อยสิทธิส่งคืน (Turnover Subordination) กล่าวคือ เจ้าหนี้ลําดับรองตกลงว่าจะถือทรัพย์สินที่ตนได้รับชําระหนี้ จากลูกหนี้ไว้แทน เจ้าหนี้ลําดับแรกหรือจะส่งมอบทรัพย์สินที่ตนได้รับชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ลําดับแรกจนกว่าที่เจ้าหนี้ลําดับแรก จะได้รับการชําระหนี้จนครบถ้วน และเมื่อได้ทําการสอบสวนพยานฝ่ายเจ้าหนี้และฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อื่น ผู้โต้แย้งเสร็จ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ ตามมาตรา 106 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 ว่าเจ้าหนี้ด้อยสิทธิ (เจ้าหนี้ลําดับรอง) จะได้รับชําระหนี้เป็นเงินจํานวนเท่าใด ตามมาตรา 130(7) และมี เงื่อนไขในการที่จะได้รับชําระหนี้ภายหลังเจ้าหนี้อื่นรายใดบ้างตลอดจนรูปแบบการก่อหนี้ด้อยสิทธิ ว่าเป็นรูปแบบใดดังกล่าวข้างต้นชัดเจน
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจพบว่าคดีล้มละลายคดีใดเป็นคดีล้มละลาย ที่ไม่มีทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดรายงานงดําเนินการสํานวนค่าขอรับชําระหนี้ไว้จนกว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพียงพอที่จะทําการแบ่งทรัพย์สินได้
อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,047 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง วิธีการเสนอราคา | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี
เรื่อง วิธีการเสนอราคา
-----------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมี ประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมบังคับคดี จึงประกาศกําหนดวิธีการเสนอราคาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ผู้เข้าเสนอราคา เสนอราคาด้วยวาจาหรือด้วยการยกป้าย หรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒ วิธีการเสนอราคาตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับสําหรับประกาศขายทอดตลาด ที่กําหนดวันขายทอดตลาดตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559
รื่นวดี สุวรรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,048 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี
เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย
----------------------------------
โดยที่กรมบังคับคดีได้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั่วประเทศเพื่อเป็นทางเลือกในการ ระงับข้อพิพาทให้แก่ประชาชนและจะดําเนินการคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้ไกล่เกลี่ย จึงสมควร วางหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ยให้เหมาะสม เพื่อให้กระบวนการคัดเลือกเป็นระบบ และเป็นไป ด้วยความเรียบร้อย อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 แห่งระเบียบกรมบังคับคดีว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2558 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงออกประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท” หมายความว่า ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี และ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจําหน่วยงานในสังกัดกรมบังคับคดี
“ผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า บุคคลซึ่งกรมบังคับคดีมีคําสั่งแต่งตั้งให้ทําหน้าที่ในการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยไม่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาท
“คณะกรรมการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า คณะบุคคลที่ทําหน้าที่ดําเนินกระบวนการ คัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย
หมวด ๑ การรับสมัคร
---------------------------------------
ข้อ ๒ คุณสมบัติของบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ให้เป็นไปตามระเบียบที่ กรมบังคับคดีกําหนด
ข้อ ๓ ผู้ประสงค์สมัครเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ให้ยื่นใบสมัครตามแบบพิมพ์ บัญชีหมายเลข 1 ท้ายประกาศนี้ พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(1) รูปถ่ายสี หน้าตรง ไม่สวมหมวกหรือแว่นตาดํา ขนาด 1 นิ้ว 2 รูป
(2) สําเนาบัตรประชาชน หรือสําเนาทะเบียนบ้าน
(3) สําเนาปริญญาบัตรหรือหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา
(4) สําเนาหลักฐานรับรองการผ่านการฝึกอบรมไกล่เกลี่ย หรือหลักฐานแสดงประสบการณ์ ในการไกล่เกลี่ย
กรณีสมัครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในส่วนกลาง ให้ยื่นต่อศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี หากสมัครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นต่อสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสํานักงานบังคับคดีสาขา หรือสํานักงานบังคับคดีส่วนย่อย ที่รับสมัคร
หมวด ๒ การคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย
------------------------------
ข้อ ๔ เมื่อมีผู้สมัครเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ให้หน่วยงานที่รับสมัครตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ผู้ไกล่เกลี่ย ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
ส่วนกลาง
(1) รองอธิบดีกรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมาย จํานวน 1 คน เป็นประธานคณะกรรมการ
(2) คณะกรรมการบริหารงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จํานวน 1 คน เป็นคณะกรรมการ
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จํานวน 1 คน เป็นกรรมการ
(4) หัวหน้าหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หรือหัวหน้าหน่วยงานราชการอื่น
จํานวน 1 คน เป็นกรรมการ
(5) เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือ เจ้าหน้าที่ธุรการ หรือนิติกรที่ได้รับ
มอบหมาย จําวน 1 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ย ดําเนินการคัดเลือกโดยพิจารณาคุณสมบัติ จากใบสมัคร และใช้วิธีการสัมภาษณ์ และกรรมการแต่ละคนให้คะแนนตามแบบพิมพ์บัญชีหมายเลข 2 ท้ายประกาศนี้ ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนนสัมภาษณ์ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50
ในการคัดเลือก ต้องมีคณะกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด
ข้อ ๖ กรณีเห็นสมควรแต่งตั้งเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ยดําเนินการ ดังนี้
ส่วนกลาง จัดทํารายงานเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อพิจารณา
ส่วนภูมิภาค จัดทํารายงานเสนอความเห็นพร้อมส่งสําเนาหลักฐานการรับสมัครไปยัง ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี เพื่อเสนออธิบดีกรมบังคับคดีพิจารณา
คําสั่งอธิบดีกรมบังคับคดีถือเป็นที่สุด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,049 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 227/2559 เรื่อง การวางเงินของผู้เสนอราคาในการขายสังหาริมทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 227/2559
เรื่อง การวางเงินของผู้เสนอราคาในการขายสังหาริมทรัพย์
--------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ตามความในประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขาย เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา ลงวันที่ 14 มีนาคม 2559 ข้อ 2 เป็นไปโดย ความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้น ที่สมควรขายต่ํากว่า 500,000 บาท และมีผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ผูกพันราคาตามมาตรา 309 ทวิ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือเป็นผู้ซื้อได้ในราคาตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป โดยผู้ซื้อ ใช้สิทธิในการเลื่อนการวางชําระราคาส่วนที่เหลือ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้บุคคลนั้นวางเงินเป็น จํานวนร้อยละ 5 ของราคาที่มีการผูกพันราคาไว้ หรือราคาวันที่ซื้อได้ ตามแต่กรณี เป็นการประกันการที่จะ ปฏิบัติตามสัญญานั้น
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดให้ผู้ซื้อทําสัญญาตามแบบพิมพ์ที่กรมบังคับคดีกําหนด
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
ลงชื่อ รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวนวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,050 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ไกล่เกลี่ย | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ไกล่เกลี่ย
โดยที่เป็นการสมควรให้วางหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของ ผู้ไกล่เกลี่ย อาศัยอํานาจตามความในข้อ 25 ของระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2558 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ไกล่เกลี่ย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า บุคคลซึ่งกรมบังคับคดีมีคําสั่งแต่งตั้งให้ทําหน้าที่ในการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยไม่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาท
“คู่ความ” หมายความว่า ผู้ร้องขอไกล่เกลี่ย คู่กรณีในข้อพิพาท รวมถึงผู้แทนหรือผู้รับมอบ อํานาจของบุคคลหรือหน่วยงานนั้น
“ค่าตอบแทน” หมายความว่า ค่าตอบแทนเนื่องจากการปฏิบัติงานไกล่เกลี่ย “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
“ค่าตอบแทนพิเศษ” หมายความว่า ค่าตอบแทนเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าตอบแทนปกติ ตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนดในการไกล่เกลี่ยที่มีความสําคัญ
หมวด ๑ ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่าย
----------------------------------
ข้อ ๒ ผู้ไกล่เกลี่ย มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่าย ดังนี้
(1) ให้ผู้ไกล่เกลี่ยมาดําเนินการไกล่เกลี่ยตามกําหนดวัน เวลา ณ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ที่กําหนดแจ้งไว้ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเรื่อง เรื่องละ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ในกรณี ไกล่เกลี่ยหลายเรื่องในวันเดียวกัน ให้จ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเรื่อง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 เรื่อง ต่อวัน
(2) ในกรณีมีผู้ไกล่เกลี่ยหลายคนทําการไกล่เกลี่ยในเรื่องเดียวกัน ให้ผู้อํานวยการหรือหัวหน้า หน่วยงานสังกัดกรมบังคับคดีพิจารณากําหนดตัวผู้ไกล่เกลี่ยที่สมควรได้รับค่าตอบแทนในเรื่องนั้นหรือแบ่งจ่าย ค่าตอบแทนให้ผู้ไกล่เกลี่ยหลายคนเป็นสัดส่วนตามที่เห็นสมควรเมื่อการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลงก็ได้ โดยพิจารณา ถึงความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่และระยะเวลาที่ใช้ไกล่เกลี่ยเป็นสําคัญ ทั้งนี้ ค่าตอบแทนเรื่องหนึ่งต้อง ไม่เกินอัตราที่กําหนดในข้อ (1)
(3) ในการเดินทางไปไกล่เกลี่ยในเขตพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายตามกําหนดนัด ให้ผู้ไกล่เกลี่ย ได้รับค่าพาหนะเหมาจ่ายครั้งละ 300 บาท (สามร้อยบาทถ้วน)
(4) ในกรณีไม่มีคู่ความแม้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมาไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน โดยให้ได้รับเฉพาะค่าพาหนะเดินทาง
ข้อ ๓ กรณีอธิบดีกรมบังคับคดีมีคําสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยนอกเขตพื้นที่ ที่ได้รับมอบหมาย หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการไกล่เกลี่ย หรือไปเข้ารับการอบรม สัมมนา ตามที่ มีคําสั่งอนุมัติ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยอ้างอิงจากพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งระเบียบและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยให้ใช้สิทธิเบิกจ่ายเทียบเท่าข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
ข้อ ๔ เจ้าหน้าที่สังกัดกรมบังคับคดีที่ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและ ค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้
หมวด ๒ ค่าตอบแทนพิเศษ
------------------------
ข้อ ๕ กรณีทําการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในเรื่องที่มีความสําคัญ เช่น ข้อพิพาทที่อาจมีผลกระทบ ต่อประชาชนจํานวนมาก หรือมีความยุ่งยากซับซ้อน หรืออยู่ในความสนใจของประชาชน ฯลฯ หากการไกล่เกลี่ยเป็นผลสําเร็จทั้งหมดหรือบางส่วนสมประโยชน์ของทางราชการ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยมีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติมจากค่าตอบแทนปกติตามที่อธิบดีเห็นสมควรกําหนด ทั้งนี้ ไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้เสนออธิบดีกรมบังคับคดีพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,051 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 198/2559 เรื่อง เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้เลื่อนการชำระราคาส่วนที่เหลือ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 198/2559
เรื่อง เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตให้เลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ
--------------------------------------
ตามประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง การเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ ลงวันที่ 7 เมษายน 2559 ข้อ 4 ให้กรมบังคับคดีกําหนดเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตเลื่อน การชําระราคาส่วนที่เหลือตามประกาศดังกล่าว เพื่อให้การดําเนินการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งกฎหมายซึ่งจะต้องเป็นไปด้วยความรวดเร็วโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมบังคับคดี จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 98/2557 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 เรื่อง เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการชําระราคาส่วนที่เหลือ
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกหนังสือซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาในการชําระราคา ส่วนที่เหลือ ที่ ยธ 0508/ว 9 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
ข้อ ๓ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี เป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตให้เลื่อนการ ชําระราคาส่วนที่เหลือ
ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ข้อ ๕ ประกาศ คําสั่ง หรือหนังสือเวียนที่ออกขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้ใช้คําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559
รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,052 |
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market: e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e-bidding) | ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market: e - market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e - bidding)
------------------------------------
ด้วยกระทรวงการคลังได้พัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้จัดทํา แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e - market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e - bidding) ขึ้น เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในกระบวนการ จัดซื้อจัดจ้างและมีมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้บังคับสําหรับส่วนราชการนําร่องในระยะแรก เพื่อประโยชน์ ในการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไข เพิ่มเติม ในระยะต่อไป
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังนําแนวทางปฏิบัติแนบท้ายประกาศนี้ไปดําเนินการ ในลักษณะของโครงการนําร่องในระยะแรก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี | 5,053 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 187/2559 เรื่อง การเลื่อนการชำระราคาส่วนที่เหลือสำหรับสังหาริมทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 187/2559
เรื่อง การเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือสําหรับสังหาริมทรัพย์
------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 20 (1) แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงกําหนดหลักเกณฑ์การเลื่อนการชําระ ราคาส่วนที่เหลือไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ ผู้ซื้อได้มีหน้าที่ตามสัญญาต้องชําระราคาทรัพย์ ให้ครบถ้วนในวันที่ซื้อได้
ข้อ ๒ ในกรณีที่สังหาริมทรัพย์ที่ขายได้มีราคาตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป ผู้ซื้ออาจยื่น คําร้องขอเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โดยมีเหตุจําเป็นในการขอเลื่อนการ ชําระราคาส่วนที่เหลือ ตามแต่กรณี ดังนี้
2.1 กรณีอยู่ระหว่างการพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีตรวจสอบพยานหลักฐานเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวประกอบด้วย
2.2 กรณีผู้ซื้อกล่าวอ้างเหตุอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาว่าเหตุดังกล่าว มีความจําเป็นหรือไม่อย่างไร และผู้ซื้อจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถในการชําระราคาทรัพย์ได้ ครบถ้วนเมื่อได้รับการเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ
ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคําร้องตามข้อ 2 แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจ อนุญาตให้เลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือได้แต่ไม่เกิน 15 วันนับแต่วันที่ต้องชําระราคาส่วนที่เหลือ
ข้อ ๔ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี เป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตให้เลื่อน การชําระราคาส่วนที่เหลือ
ข้อ ๕ การเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือตามคําสั่งฉบับนี้ให้ใช้กับการขายทอดตลาด ตามกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559
ข้อ ๖ ในระหว่างวันที่เคาะไม้ขายจนถึงวันที่ผู้ซื้อขอเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีรอการส่งมอบสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไว้จนกว่าผู้ซื้อจะชําระราคาส่วนที่เหลือ ครบถ้วน หากมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสังหาริมทรัพย์ในระหว่างเวลานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้ซื้อทราบและผู้ซื้อมีหน้าที่ในการชําระค่าใช้จ่ายดังกล่าวด้วย ถ้าผู้ซื้อไม่ชําระค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้รอ การส่งมอบสังหาริมทรัพย์นั้นไว้จนกว่าจะชําระค่าใช้จ่ายดังกล่าวครบถ้วน แม้ต่อมาผู้ซื้อได้ชําระราคา ส่วนที่เหลือแล้วก็ตาม
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,054 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการวางหลักประกันพิเศษหรือหลักประกันเพิ่ม | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการวางหลักประกันพิเศษหรือหลักประกันเพิ่ม
-----------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และ มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 16 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคห้าแห่งกฎกระทรวงกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 อธิบดีกรมบังคับคดี โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จึงประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ วางหลักประกันไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ใดใหม่ อันเนื่องมาจากเหตุที่ผู้เสนอราคาสูงสุดเดิมไม่ชําระราคาส่วนที่เหลือ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดให้ ผู้เข้าเสนอราคาวางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคาโดยพิจารณาจากราคาประเมินทรัพย์สินซึ่งจะต้อง นําไปกําหนดเป็นราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาดตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด ดังนี้
(1) ทรัพย์ที่ขายมีราคาประเมินไม่เกินห้าแสนบาท ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีส่วนย่อยใช้ดุลพินิจกําหนดให้วางหลักประกันตามที่เห็นสมควร โดยหลักประกันที่พึงกําหนดนั้นควรมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของราคาประเมิน
(2) ทรัพย์ที่ขายมีราคาประเมินเกินห้าแสนบาทแต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท ให้วางหลักประกัน จํานวนหนึ่งแสนบาท
(3) ทรัพย์ที่ขายมีราคาประเมินเกินหนึ่งล้านบาทแต่ไม่เกินห้าล้านบาท ให้วางหลักประกัน จํานวนห้าแสนบาท
(4) ทรัพย์ที่ขายมีราคาประเมินเกินห้าล้านบาทแต่ไม่เกินสิบล้านบาท ให้วางหลักประกัน จํานวนหนึ่งล้านบาท
(5) ทรัพย์ที่ขายมีราคาประเมินเกินสิบล้านบาทแต่ไม่เกินยี่สิบล้านบาท ให้วางหลักประกัน จํานวนสองล้านบาท
(6) ทรัพย์ที่ขายมีราคาประเมินเกินยี่สิบล้านบาทแต่ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ให้วางหลักประกัน จํานวนห้าล้านบาท
(7) ทรัพย์ที่ขายมีราคาประเมินเกินห้าสิบล้านบาทแต่ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ให้วางหลักประกัน จํานวนสิบล้านบาท
(8) ทรัพย์ที่ขายมีราคาประเมินเกินหนึ่งร้อยล้านบาทแต่ไม่เกินสองร้อยล้านบาท ให้วางหลักประกัน จํานวนยี่สิบล้านบาท
(9) ทรัพย์ที่ขายมีราคาประเมินเกินสองร้อยล้านบาท ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานเสนออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณากําหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของราคาประเมิน
ข้อ ๒ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วพบว่าผู้เข้าเสนอราคาเคยเป็นผู้เสนอ ราคาสูงสุดและไม่ชําระราคาส่วนที่เหลือหลังจากที่กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขายทอดตลาด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้ผู้นั้น วางหลักประกันเพิ่มขึ้นอีกเท่าหนึ่งของจํานวนที่ต้องวางตามประกาศขายทอดตลาด
ข้อ ๓ ความในข้อ 1 ให้ใช้กับการขายทอดตลาดตามประกาศขายทอดตลาดที่ได้ประกาศไว้ นับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฐ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,055 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง กำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง กําหนดแบบบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
------------------------------------
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน กรมบังคับคดี ในการปฏิบัติงาน ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเพื่อคุ้มครองสิทธิ ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือ เพื่อดําเนินการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล เป็นไปโดยถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการประสานการปฏิบัติงานตามกฎหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดี ในสังกัดกรมบังคับคดี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมาย ในการปฏิบัติการตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 1 (14) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับ 22) พ.ศ. 2548 และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ประกอบกับมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมบังคับคดี จึงออกประกาศกําหนดแบบบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีและการใช้บัตร ประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีสีขาว ขนาดและลักษณะให้เป็นไป ตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ให้อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นผู้ออกบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดี
ข้อ ๓ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญและพนักงานราชการ ตําแหน่ง นิติกร ในสังกัด กรมบังคับคดี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เฉพาะงานด้านการบังคับคดีแพ่ง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั่วประเทศ ทําคําขอมีบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมกับแนบรูปถ่าย ซึ่งจ่ายไม่เกิน 6 เดือน ก่อนวันยื่นคําขอมีบัตร ขนาด 2.5X3 เซนติเมตร ครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก โดยสวมเครื่องแบบ ข้าราชการปกติขาว หรือเครื่องแบบข้าราชการสีกากี จํานวน 2 รูป ยื่นผ่านผู้บังคับบัญชาตามลําดับ ชั้นไปยังกลุ่มงานการเจ้าหน้าที่สํานักงานเลขานุการกรม กรมบังคับคดี เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง แล้วเสนออธิบดีกรมบังคับคดีเพื่อพิจารณา
ข้อ ๔ คําขอตามข้อ 3 ให้เป็นไปตามแบบคําขอแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ บัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ใช้ได้มีกําหนดเวลา 2 ปีนับแต่วันออกบัตร
ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคนใดได้พ้นจากการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือ พนักงานราชการ กรมบังคับคดี หรือโดยคําสั่งยกเลิกการเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนในบัตร หมดอายุ ให้ถือว่าบัตรนั้นหมดอายุก่อนวันหมดอายุที่กําหนดในบัตรนั้น
ข้อ ๖ เมื่อได้ออกบัตรประจําตัวให้แก่ผู้ใด ให้ผู้ออกบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดี จัดให้มีสําเนาข้อความและรายการบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งติดรูปถ่ายของผู้นั้นไว้ด้วย หนึ่งฉบับและให้เก็บไว้เป็นหลักฐานที่ กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่สํานักงานเลขานุการกรม กรมบังคับคดี
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแสดงบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีพร้อม หมายบังคับคดีของศาลในขณะปฏิบัติการ เมื่อบุคคลผู้เกี่ยวข้องร้องขอ
ข้อ ๘ กรณีบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ใด หมดอายุ สูญหาย หรือชํารุดใน สาระสําคัญ ให้ผู้นั้น ยื่นคําขอทําบัตรใหม่
ข้อ ๙ ผู้ใดได้รับบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับใหม่ หรือผู้ถือบัตร ประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่มีสิทธิใช้บัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อไป ให้คืนบัตรต่อ กรมบังคับคดีภายในกําหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับบัตรประจําตัวเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับใหม่ หรือวันที่หมดสิทธิใช้บัตรเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553
ลงชื่อ ชูจิรา กองแก้ว
(นางชูจิรา กองแก้ว)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,057 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 186 /2559 เรื่อง แบบสัญญาซื้อขาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 186 /2559
เรื่อง แบบสัญญาซื้อขาย
-------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 99/2557 เรื่อง แบบสัญญาซื้อขาย ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้แบบหนังสือสัญญาซื้อขายตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้ ดังนี้
2.1 กรณีประกาศขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้แบบที่ 1/2559
2.2 กรณีประกาศขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้แบบที่ 2/2559
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,058 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง กำหนดจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องวางประกันค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลาย | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง กําหนดจํานวนเงินที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องวางประกันค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลาย
-------------------------
เนื่องจากปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการประกาศหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายมีอัตราสูงทําให้ จํานวนเงินวางประกันค่าใช้จ่ายตามที่กรมบังคับคดีกําหนดไว้ไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้เกิดการขัดข้องใน การดําเนินงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อันทําให้อดีต้องล่าช้า อาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ ประกอบกับ กรมบังคับคดียังมีความจําเป็นต้องลงประกาศโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือพิมพ์ฉบับที่แพร่หลาย เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ และผู้มีส่วนได้เสียในคดีจะได้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อจะได้มายื่นคําขอรับชําระหนี้ ภายในกําหนด ในการนี้จําเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงประกาศในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งกรมบังคับคดีก็มิอาจจะละเว้นหรือหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของเจ้าหนี้ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้จึง จําเป็นต้องขอเพิ่มจํานวนเงินวางประกันค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลาย เพื่อให้มีจํานวนเพียงพอที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ดําเนินการตามหน้าที่ต่อไป
ฉะนั้น จึงกําหนดจํานวนเงินที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดังต่อไปนี้
1. คดีล้มละลายที่ศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว เป็นเงิน 8,000 บาท
2. คดีล้มละลายที่ศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นเงิน 10,000 บาท
3. คดีล้มละลายที่ศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์วางเงิน ประกันค่าใช้จ่ายตาม
ข้อ ๑ ไว้แล้ว ต่อมาเมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีนั้นให้เจ้าหนี้ผู้เป็น โจทก์วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 5,000 บาท เว้นแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมเงินในกอง ทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เพียงพอแก่ค่าใช้จ่ายในภายหน้าแล้วก็ไม่ต้องวางเงินเพิ่ม
อนึ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดําเนินการเพื่อนประกาศลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ เท่าที่จําเป็นเพื่อให้แพร่หลายและเสียค่าใช้จ่ายตามความจําเป็นที่สุดเพื่อมิให้เป็นภาระเกินควรแก่เจ้าหนี้ หรือกองทรัพย์สินของลูกหนี้ และในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมเงินจากกองทรัพย์สินของ ลูกหนี้ได้เพียงพอแก่ค่าใช้จ่ายในคดีแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่เรียกวางเงินประกันค่าใช้จ่ายจาก เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และจะคืนเงินวางประกันค่าใช้จ่ายที่ได้เรียกไว้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ทันที
จึงแจ้งมาเพื่อทราบทั่วกัน และให้ยกเลิกประกาศกรมบังคับคดี ฉบับลงวันที่ 18 ตุลาคม 2528 เฉพาะจํานวนเงินในคดีล้มละลายเท่านั้น โดยให้ใช้ประกาศกรมบังคับคดีฉบับนี้แทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2549
(ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ (นายสิรวัต จันทรัฐ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,059 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 89/2559 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสำหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 89/2559
เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี
-------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลาง กรมบังคับคดี เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อคู่ความผู้มาติดต่อ ราชการยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 538/2548 ลงวันที่ 30 กันยายน 2548 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี
ข้อ ๒ การรับเงิน
2.1 คดีแพ่ง
2.1.1 การรับเงินค่าขายทรัพย์ ณ ที่ทําการกรมบังคับคดี เมื่อได้รับเงินแล้ว ให้เจ้าหน้าที่การเงินหรือผู้ได้รับมอบหมาย ออกใบรับเงินให้ผู้ซื้อ โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อเป็นผู้รับ เงินในใบรับเงินร่วมกับเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
การรับเงินค่าขายทรัพย์นอกที่ทําการกรมบังคดีเมื่อได้รับเงินแล้วให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีออกใบรับเงินให้ผู้ซื้อ
เมื่อเสร็จการขายวันหนึ่งแล้วแต่กรณี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ดําเนินการขาย ในวันนั้น ทําบัญชีรายการขายทรัพย์เสนอผู้บังคับบัญชาพร้อมทั้งจํานวนเงินและสําเนาคู่สอบ ใบเสร็จรับเงินแล้วนําส่งสํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานคร กรมบังคับคดีในวันเดียวกัน
2.1.2 การรับเงินอื่น ๆ นอกจากข้อ 2.1.1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้รับ มอบหมายจดรายงานการรับเงินเสนอผู้บังคับบัญชา แล้วให้เจ้าหน้าที่การเงินหรือผู้ได้รับมอบหมายรับ เงินและออกใบเสร็จให้ โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินหรือผู้ได้รับมอบหมายลงชื่อเป็นผู้รับเงินในใบรับเงิน ร่วมกับผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินนั้นให้มีสําเนา 2 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงิน รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว
2.1.3 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี กรุงเทพมหานครเห็นสมควรรับเงินเป็นเช็ค หรือตั๋วแลกเงินก็ได้ แต่ต้องเป็นเช็คหรือตั๋วแลกเงินที่ ธนาคารสั่งจ่าย หรือเช็คที่ธนาคารรับรองหรือเช็คของส่วนราชการ องค์กรของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจสั่งจ่าย ในนามกรมบังคับคดี พร้อมจดเลขหมายเช็คลงในใบรับเงินด้วย
ในกรณีนี้จะต้องตอบรับเงินจากผู้ส่งเงิน ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี กรุงเทพมหานครหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตอบรับเงินพร้อมกับส่งใบรับเงิน
2.2 คดีล้มละลาย
2.2.1 เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือส่งในคดี จะเป็นเงินสด เช็ค คราฟท์หรือ ตั๋วเงินก็ดีให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายดําเนินการในเรื่องนั้นจดรายงานการรับเงินนั้น โดยละเอียดว่าเป็นเงินประเภทใดในคดีใด ของผู้ใด จํานวนเงินเท่าใดและมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้วนําผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงินพร้อมกับสํานวนและรายงานดังกล่าวไปส่งที่กองบริหารการคลัง เพื่อที่ กองบริหารการคลังจะได้รับเงินและออกใบรับเงิน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงนามในใบรับเงิน ตามแบบ ส.47 ร่วมกับผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบเสร็จให้มีสําเนาสาม ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือนําส่งเงิน ส่วนสําเนากองบริหารการคลังเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว
เมื่อผู้อํานวยการกองบริหารการคลังเห็นสมควรรับเงินเป็นเช็ค ให้จด หมายเลขเช็คในใบเสร็จรับเงินด้วย
ในกรณีจะต้องตอบรับเงินจากผู้ส่ง ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตอบรับเงินพร้อมส่งใบรับเงิน
2.2.2 ในกรณีที่ผู้นําเงินมาชําระหรือนําส่งในคดีด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ฉบับเดียวหรือหลายฉบับในคราวเดียวกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายดําเนินการ เรื่องนั้นจดรายการรับเช็คนั้นโดยละเอียดว่าเป็นเช็คของธนาคารใด เลขที่เท่าไรลงวันที่อะไร จํานวนเงิน เท่าไรรับไว้เป็นประเภทใด ในคดีใตของผู้ใด และมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้วส่งเช็คไปกองบริหารการคลัง
ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินผู้ได้รับมอบหมาย ลงชื่อรับเช็ค เมื่อเช็คฉบับใดถึงกําหนดชําระให้กองบริหารการคลังนําไปเรียกเก็บแล้วแจ้งผลการเรียก เก็บเงินตามเช็คดังกล่าวไปให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายใน กําหนด 3 วันนับจากวันที่เรียกเก็บเงินได้ หรือนับจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วแต่กรณี ในกรณีที่เรียกเก็บเงินตามเช็คได้ให้กองบริหารการคลังแนบใบรับเงินส่งไปให้ด้วยเพื่อผู้อํานวยการหรือ เจ้าพนักพิทักษ์ทรัพย์จะมอบให้ผู้ชําระหรือผู้นําส่ง ในกรณีที่เช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ให้ยกเลิก ใบเสร็จรับเงินทําการปรับปรุงบัญชีแล้วแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ดําเนินการในเรื่องนั้นทราบ พร้อมทั้งส่งหลักฐานการคืนเช็คเพื่อดําเนินการต่อไป
2.3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
2.3.1 เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือส่งในคดีจะเป็นเงินสด เช็ค ดร๊าฟท์ หรือ ตั๋วแลกเงินก็ดีให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายดําเนินการในเรื่องนั้นจดรายงานการรับเงิน นั้นโดยละเอียดว่าเป็นเงินประเภทใด ในคดีใด ของผู้ใด จํานวนเงินเท่าใดและมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้วนําผู้ชําระหรือผู้นําส่งเงินพร้อมกับสํานวนและรายงานดังกล่าวส่งให้ส่วนจัดกิจการทรัพย์สินเป็น ผู้รับเงินและออกใบเสร็จรับเงิน โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงนามเป็นผู้รับเงินร่วมกับผู้อํานวยการสํานัก ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินให้มีสําเนาสามฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระหรือ ผู้นําส่งเงิน ส่วนสําเนาส่วนจัดกิจการทรัพย์สินเก็บไว้ฉบับหนึ่ง รวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้ เป็นต้นขั้ว
การรับเงินเป็นเช็ค ดร๊าฟท์ หรือตั๋วแลกเงินให้จดเลขหมายในใบรับเงินด้วย
2.3.2 ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารประเภท บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี “สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้” แล้วนําฝากเงินประเภทเงินค่าใช้จ่ายของ ผู้ขอฟื้นฟูกิจการ ซึ่งชําระไว้ตามข้อ 2.3.1
2.3.3 ให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารประเภท บัญชีออมทรัพย์ในนามของลูกหนี้ผู้ขอฟื้นฟูแต่ละราย แล้วนําเงินรายรับที่รวบรวมได้จากกองทรัพย์สิน นําเข้าฝากในบัญชีของลูกหนี้ผู้ขอฟื้นฟูรายนั้น ๆ
2.4 การวางทรัพย์ ให้เจ้าหน้าที่สํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานครจดรายงาน โดยแสดงให้ปรากฏถึงรายละเอียดแห่งการรับเงิน และออกใบรับเงินโดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงขอ เป็นผู้รับเงิน ใบรับเงินร่วมกับผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบรับเงินนั้นให้มีสําเนา 4 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระเงิน ส่วนสําเนาสํานักงานบังคดีกรุงเทพมหานคร เก็บไว้ ฉบับ รวมไว้ในสํานวนฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งคงไว้เป็นต้นขั้ว
ในกรณีที่จะต้องตอบรับจากผู้ส่งเงิน ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี กรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตอบรับพร้อมส่งใบเสร็จรับเงินไปให้
ข้อ ๓ การจ่ายเงิน
3.1 คดีแพ่ง เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในคดี ให้ผู้มีส่วนได้ยื่นคําขอรับเงินต่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขออนุมัติก่อน เว้นแต่จะมีการสั่งอนุมัติไว้แล้วในบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือ บัญชีส่วนเฉลี่ยแล้วให้มีผู้มีส่วนได้นั้นทําใบรับเงิน และให้สํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานครหรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจัดทําใบสั่งจ่ายเงินให้อธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย ลงชื่อพร้อมกับหมายเหตุไว้ในรายงานการจ่ายเงินหรือบัญชีแสดงการรับจ่ายหรือบัญชีส่วนเฉลี่ยแล้วแต่กรณี ว่าได้จ่ายเงินให้ผู้มีส่วนได้คนใดไปแต่วันเดือนปีใดทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้ลงบัญชีโดยครบถ้วน ตามระเบียบของราชการและเก็บไว้เอกสารหลักฐานต่างๆ ไว้ในสํานวน
ถ้ามีเหตุสงสัยว่าผู้รับเงินมิใช่ผู้มีส่วนได้อันแท้จริง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี กรุงเทพมหานครสั่งให้ผู้ขอรับเงินหาผู้รับรองมาจนเป็นที่พอใจก่อนก็ได้ และถ้าเป็นการมอบฉันทะ ให้ตัวแทนมารับเงินอาจสั่งให้ตัวการมารับเงินเองก็ได้
3.2 คดีล้มละลาย เมื่อมีผู้ประสงค์ขอรับเงินในคดีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ ยื่นคําแถลงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลโดยทําการพิจารณาและมีคําสั่งในระบบจ่ายเงินคดีล้มละลาย ทางอิเล็กทรอนิกส์ และส่งคําสั่งให้นักบัญชีผู้ที่ได้รับมอบหมายดําเนินการจ่าย/โอนเงินให้ผู้ขอรับเงินนั้น พร้อมจัดทําใบสั่งจ่ายเงินให้อธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมายลงชื่อ พร้อมกับ หมายเหตุไว้ในรายงานการจ่ายเงิน หรือบัญชีแสดงการรับจ่าย หรือบัญชีส่วนแบ่งทรัพย์ หรือหลักฐาน การอนุมัติจ่ายเงินจากระบบ แล้วแต่กรณีว่าได้จ่ายเงินแบบใดให้ผู้มีส่วนได้คนใดไป แต่วันเดือนปีใด ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้ลงบัญชีโดยครบถ้วนตามระเบียบของราชการและเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้ในสํานวน
3.3 - คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการ สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะกําหนดโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมบังคับคดี
3.4 การวางทรัพย์ เมื่อมีผู้มาขอรับเงินในสํานวนวางทรัพย์ให้ผู้ขอรับเงิน ยื่นคําขอรับเงินต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดําเนินการในเรื่องนั้น เมื่อได้รับคําสั่งจ่ายเงินได้แล้วให้เจ้าหน้าที่ การเงินทําใบรับเงินและใบสั่งจ่ายให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายลงนามสั่งจ่าย และหมายเหตุไว้ในรายงานเจ้าหน้าที่ว่าได้จ่ายเงินให้ผู้ใด แต่วันเดือนปีใด ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินให้ลงบัญชีโดยครบถ้วนตามระเบียบของราชการและเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ไว้ในสํานวน
3.5 การจ่ายเงินตามข้อง 3.1 3.2 3.3 และ 3.4 กรณีสั่งจ่ายเงินจํานวนตั้งแต่ ห้าพันบาทขึ้นไป ให้จ่ายโดยเช็คธนาคารที่กรมบังคับคดีได้เปิดบัญชีไว้ให้แก่ผู้รับเงินนั้น ถ้าจํานวนเงิน ต่ํากว่าห้าพันบาทจะจ่ายเงินสดหรือเช็คก็ได้
ในกรณีจํานวนเงินที่สั่งจ่ายไม่ถึงห้าพันบาท ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อในใบสั่งจ่ายได้
การลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงิน ให้ผู้อํานวยการกองบริหารการคลังหรือหัวหน้า ฝ่ายการเงินหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายฝ่ายหนึ่งลงชื่อร่วมกับอธิบดีหรือรองอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย อีกฝ่ายหนึ่งรวมสองคน
ในกรณีที่จะต้องส่งเงินให้ผู้รับเงินโดยมีหนังสือนําส่งให้จัดส่งเงินจํานวนนั้นเป็น เช็คหรือตั๋วแลกเงินโดยจ่ายเช็คสั่งจ่ายธนาคารเพื่อซื้อตั๋วแลกเงินตามจํานวนนั้น และให้กองที่มีหน้าที่ นั้นๆ เป็นผู้ดําเนินการจัดส่งหรือโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
กรณีจะต้องเบิกจากธนาคารให้ผู้มีอํานาจสั่งจ่ายเป็นไปตามที่กล่าวข้างต้น และกรมบังคับคดี” เป็นผู้รับเงิน
3.6 เมื่อเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินในคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของ ลูกหนี้หรือสํานวนวางทรัพย์แสดงเจตนาขอรับเงินผ่านธนาคาร ให้ผู้ขอรับเงินยื่นคําขอตามแบบคําขอรับ เงินผ่านธนาคารที่กระทรวงการคลังกําหนด
วิธีการและขั้นตอนในการจ่ายเงินเข้าบัญชีธนาคารของเจ้าหนี้ หรือผู้ขอรับเงิน ให้เป็นไปตามระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2551 การรับ การเก็บรักษา และนําส่งค่าธรรมเนียมเป็นรายได้แผ่นดินให้ปฏิบัติตามระเบียบการเก็บรักษาเงิน และ การนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2551
ข้อ ๔ การรับ การเก็บรักษา และนําส่งค่าธรรมเนียมเป็นรายได้แผ่นดินให้ปฏิบัติตาม ระเบียบการเก็บรักษาเงิน และนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2551
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,060 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง การยืดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการ
------------------------------------
ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 กําหนดให้ถือว่าการที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้แจ้งการยึดต่อลูกหนี้ตามคําพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดิน นั้น เป็นการยึด อสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายแล้ว และประกอบกับกรมบังคับคดีมีนโยบายให้คู่ความดําเนินการยึด อสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทําการได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกแก่คู่ความและเป็นการประหยัด เวลาและค่าใช้จ่าย
ดังนั้นจึงขอแจ้งให้ทราบทั่วกันว่า ในกรณียึดอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด เจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี จะดําเนินการยึด ณ ที่ทําการโดยผู้นํายึด ไม่ต้องนําเจ้าพนักงานบังคับคดีไป ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ทั้งนี้ให้ผู้นํายึดยื่นคําแถลงขอยึดอสังหาริมทรัพย์ พร้อมนําส่งเอกสารดังต่อไปนี้
1. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส.3/น.ส.3 ก.) หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดหรือเอกสารสําคัญที่ดินอื่น ๆ หรือสําเนาที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน รับรองไม่เกิน 1 เดือน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (หากมี) เช่น หนังสือสัญญาจํานอง เป็นต้น
2. สําเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ และ/หรือหนังสือ รับรองนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นปัจจุบันซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
3. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่จะยึด พร้อมสําเนา
4. ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึดโดยระบุขนาดกว้างยาว
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปดําเนินการยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทรัพย์ตั้งอยู่ เฉพาะในกรณีที่ ผู้อํานวยการกอง หรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีจังหวัดมีคําสั่งอนุญาตเนื่องจากสภาพทรัพย์มี รายละเอียดมาก มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น โรงแรม โรงงาน ฯลฯ เป็นต้น หรือมีราคาประเมินเป็น กว่า 20 ล้านบาท
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2544
(ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,061 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง นโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สินของกรมบังคับคดี | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง นโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สินของกรมบังคับคดี
----------------------------------
จากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยทําให้เกิดปัญหา การขาดสภาพคล่องทางการเงิน ส่งผลให้การขายทอดตลาดทรัพย์สินของกรมบังคับคดี ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและค้างดําเนินการมาก แม้กรมบังคับคดีได้ประกาศกําหนดนโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้สอดคล้องกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ได้แก้ไข เพิ่มเติมให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นแล้วก็ตาม แต่การขาย ทอดตลาดทรัพย์สินยังไม่สามารถดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการบังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลายของกรมบังคับคดี เป็นไปด้วยความรวดเร็ว เรียบร้อย มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงให้กําหนด นโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สินของกรมบังคับคดี ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนี้
ข้อ ๑ 1.การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์
1.1. เจ้าพนักงานจะแจ้งราคาประเมินขณะยึด หรือราคาประเมินของฝ่าย ประเมินราคา สํานักงานวางทรัพย์กลาง (ถ้ามี) แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่ากันในประกาศ ขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อให้คู่ความ ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนผู้สนใจได้ทราบ
1.2. ในการขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานจะกําหนดราคาเริ่มต้นเป็น จํานวนร้อยละแปดสิบของราคาตามข้อ 1.1 โดยจะปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น เช่น ราคาประเมินสูงสุดตามข้อ 1.1 เท่ากับ 1,340,000.- บาท ราคาเริ่มต้น คือ 1,080,000.- บาท เป็นต้น
1.3. เจ้าพนักงานจะถือเอาราคาเริ่มต้นตามข้อ 1.2 เป็นราคาที่สมควรขาย
1.4. หากมีราคาที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ได้กําหนดไว้ จะถือเอาราคาของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ เป็นราคาเริ่มต้น และเป็นราคาที่สมควรขาย (หลักเกณฑ์การกําหนดราคาทรัพย์ของ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ เป็นไปตามระเบียบกรมบังคับคดี ว่าด้วยข้อปฏิบัติของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ พ.ศ. 2543)
1.5. เมื่อได้ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตามราคาในข้อ 1.2 หรือข้อ 1.4 แล้วไม่มีผู้เข้าสู้ราคา หรือมีผู้เข้าสู้ราคา แต่เสนอราคาต่ํากว่าราคาตามข้อ 1.2 หรือ ข้อ 1.4 แล้วแต่กรณีรวม 3 ครั้งในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ ตั้งแต่ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป ไม่ว่าจะเคยมีผู้เสนอราคาสูงสุดไว้หรือไม่เคยมีผู้เสนอราคาก็ตาม เจ้าพนักงานจะถือเอาราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอสูงสุดในครั้งนั้นเป็นราคาที่สมควรขาย แต่ทั้งนี้ราคาดังกล่าวต้องไม่ต่ํากว่า (ร้อยละ 50 ของราคาตามข้อ 1.1 หรือข้อ 1.4 แล้วแต่กรณี
1.6.ในกรณีคณะกรรมการหรืออนุกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ได้กําหนดราคาทรัพย์ในระหว่างการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป ให้ถือราคาดังกล่าวเป็นราคาเริ่มต้น และเป็นราคาที่สมควรขายในครั้งนั้น และในการขาย ครั้งต่อไป ให้เป็นตามข้อ 1.5
ข้อ ๒ การขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์
เจ้าพนักงานจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดทุกกรณี เว้นแต่จะเห็น โดยชัดแจ้งว่าราคาสูงสุดที่เสนอนั้นต่ํากว่ามูลค่าที่แท้จริงแห่งทรัพย์สินมากหรือมีผู้มีส่วน ได้เสีย คัดค้านราคา เจ้าพนักงานอาจงดการขายทอดตลาดไว้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2544
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,062 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 25/2559 เรื่อง การบังคับคดีแพ่งเกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 25/2559
เรื่อง การบังคับคดีแพ่งเกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจ
---------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการบังคับคดีแพ่งเกี่ยวกับหลักประกัน ทางธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการพิจารณาเพื่อมีคําสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบข้อมูลจากสํานักงานทะเบียนหลักประกัน ทางธุรกิจผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ว่าทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงให้ยึดหรืออายัดนั้น เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษายึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วย หลักประกันทางธุรกิจหรือไม่
1.1 หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งผู้รับหลักประกันได้มีหนังสือแจ้งผู้ให้หลักประกันหรือผู้ยึดถือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันทราบว่ามีเหตุบังคับ หลักประกันเกิดขึ้น และผู้ให้หลักประกันหรือผู้ที่ยึดถือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันยินยอมส่งมอบ การครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแก่ผู้รับหลักประกัน และมีหนังสือยินยอมให้นําหลักประกันไปจําหน่าย อันต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ปฏิเสธการบังคับคดี และแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไปดําเนินการเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จาก การจําหน่ายทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ
1.2 หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่า สิทธิเรียกร้องประเภทเงินฝากในสถาบันการเงิน เป็นหลักประกันทางธุรกิจ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาทราบว่าเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาสามารถขออายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้เฉพาะเงินฝาก ในส่วนที่เหลืออยู่หลังจาก ผู้รับหลักประกันได้นําเงินฝากหักชําระหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจแล้วเท่านั้น
1.3 ในกรณีที่ทรัพย์สินไม่ได้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ หรือเป็นหลักประกันทางธุรกิจ 1.1 และข้อ 1.2 ให้เจ้าพนักงาน แต่มีต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษายึดหรืออายัดดังที่กล่าวมาในข้อ บังคับคดีพิจารณาค่าเนินการบังคับคดีไปตามปกติ
ข้อ ๒ ในการยึดทรัพย์สินซึ่งเป็นหลักประกันทางธุรกิจ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการยึด ให้ผู้รับหลักประกันและเจ้าพนักงานทะเบียนทราบด้วย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุในประกาศขาย ทอดตลาด และประกาศแจ้งให้ผู้เข้าเสนอราคาในการขายทอดตลาดทราบโดยชัดแจ้งว่า ทรัพย์สินที่จะทําการขาย
เป็นหลักประกันทางธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ผู้ซื้อทรัพย์ได้มีสิทธิในทรัพย์สินภายใต้ เงื่อนไขตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจและกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ
ข้อ ๓ ในการบังคับคดีกับทรัพย์สินที่มีการจํานองซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทําการยึดไว้แล้ว หากความปรากฏแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ว่าในขั้นตอนใดระหว่างการบังคับคดี ว่าทรัพย์จํานองดังกล่าว เป็นหลักประกันทางธุรกิจและมีเหตุบังคับหลักประกันแล้วตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ไม่ว่าโดย เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นเอง หรือผู้รับหลักประกันหรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้แจ้งให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทราบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรีบรายงานให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีทราบในทันที
เมื่อได้รับรายงานตามความในวรรคหนึ่ง ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีกําชับให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดําเนินการบังคับคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้ผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีติดตามความคืบหน้าของการบังคับคดีทุกระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน จนกว่าการบังคับคดีนั้นจะแล้วเสร็จ
การบังคับคดีตามความในข้อนี้ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อ ๔ การบังคับทรัพย์หลักประกันที่เป็นกิจการตามคําสั่งศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ดําเนินการยึดหรืออายัดกิจการที่เป็นหลักประกัน และส่งมอบให้แก่ผู้บังคับหลักประกันโดยเร็ว
ในระหว่างที่กิจการอยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดี ในฐานะผู้บังคับหลักประกันชั่วคราว มีอํานาจหน้าที่บํารุงรักษา จัดการ และดําเนินกิจการที่เป็นหลักประกัน
ทั้งนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจจําหน่ายจ่ายโอน เช่า ให้เช่า ชําระหนี้ ก่อหนี้ หรือ กระทําการใดๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในกิจการที่เป็นหลักประกัน ได้เพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อให้กิจการสามารถ ดาเนินการต่อไปได้
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความในข้อนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่อง อย่างผู้ประกอบวิชาชีพจะพึงปฏิบัติโดยพฤติการณ์เช่นนั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,063 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง การบังคับคดีล้มละลายและการชำระบัญชีส่วนภูมิภาค | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง การบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชีส่วนภูมิภาค
-------------------------------------------
ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการปกครองและการปฏิบัติราชการของสํานักงาน บังคับคดีในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 11 มกราคม 2544 ข้อ 9.1 กําหนดให้ การปฏิบัติงานใน สํานวนคดีล้มละลาย ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดมีเขตอํานาจดําเนินการตามที่อธิบดีกรมบังคับคดี กําหนด และข้อ 9.2 กําหนดให้การชําระบัญชีตามคําสั่งศาลในคดีซึ่งอยู่ในเขตอํานาจของสํานักงาน บังคับคดีจังหวัด ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดมีเขตอํานาจดําเนินการ ตามคําสั่งศาลได้ทุกท้องที่ใน เขตจังหวัดหรือตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนด
ดังนั้น จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า จังหวัดใดมีศาลยุติธรรมเปิดทําการเกินกว่า หนึ่งศาล ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดที่ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดนั้น มีอํานาจดําเนินการปฏิบัติงานใน สํานวนคดีล้มละลาย และการชําระบัญชีตามคําสั่งศาลตลอดท้องที่จังหวัดทุกเขตอํานาจศาล เว้นแต่ เขตอํานาจศาลยุติธรรมใดในท้องที่จังหวัดนั้นมีสํานักงานบังคับคดีจังหวัดสาขาเปิดทําการให้อํานาจ การปฏิบัติงานในสํานวนคดีล้มละลาย และการชําระบัญชีตามคําสั่งศาลเป็นของสํานักงานบังคับคดี จังหวัดสาขา
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2544
(ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,064 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 11/2557 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 15 (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“(ข) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27 การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ให้นับรวมมูลค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่คู่สัญญาแต่ละรายเป็นผู้ออก รับรอง รับอาวัล สลักหลัง ค้ําประกัน เงินฝากส่วนที่เกินจากที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเงินฝาก เงินให้กู้ยืม เงินให้เช่าซื้อรถ ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับอาวัลตั๋วเงินและออกหนังสือค้ําประกัน สิทธิเรียกร้อง ที่เกิดจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่เกินกว่ามูลค่าหลักประกันที่ได้รับจากคู่สัญญา ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และสิทธิเรียกร้องและภาระผูกพันอื่นที่เกิดขึ้นจากการลงทุนที่บริษัทมีต่อคู่สัญญารายหนึ่งรายใด ไม่เกินมูลค่าที่กําหนดตามประเภทผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ดังต่อไปนี้
(1) รัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ไม่จํากัดสัดส่วน
(2) สถาบันการเงิน แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(3) องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทจํากัดภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่นํารายได้ทั้งจํานวนไปใช้ในโครงการของราชการ บริษัทจํากัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ บริษัทจํากัดที่อยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(4) บริษัทจํากัดที่ออกตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ กรณีการลงทุนอื่นนอกจากตราสารหนี้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(5) องค์กรระหว่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(6) กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แต่ละกองทรัสต์หรือกองทุนรวม ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(7) คู่สัญญาอื่น แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทอาจมีสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญาเกินกว่าสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้เฉพาะกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) นับแต่วันที่บริษัทได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ห้ามมิให้บริษัทลงทุนใด ๆ ที่มีผลทําให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อมีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจํากัด
(2) เมื่อบริษัทลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้ว ให้นําส่วนของการลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน นับรวมกับส่วนการลงทุนอื่น หากเป็นผลให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ห้ามมิให้บริษัทลงทุนเพิ่มในกลุ่มการลงทุนที่เกินสัดส่วนนั้นอีก
การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญาตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมกรณี ดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในหน่วยลงทุนอื่น นอกจากหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (6)
(2) การให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทเป็นประกัน และการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัลหรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตั๋วเงินซื้อลดที่บริษัทเป็นผู้รับอาวัล ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัด และตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละหกสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 38 บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้แต่ละประเภท ได้ไม่เกินสัดส่วน ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน หรือตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง รวมถึงตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัดรายเดียวกันแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด แต่ละกองทรัสต์ ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(3) ตราสารหนี้ที่ผู้ออกหรือผู้ค้ําประกันเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 41 บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถ รับอาวัลตั๋วเงิน และออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อรวมกันแล้วให้บริษัทลงทุนแก่บุคคลนั้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัทเว้นแต่ การให้กู้ยืมในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) การให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทเป็นประกัน และการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
(2) การให้กู้ยืมแก่กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานแต่ละกองทรัสต์หรือกองทุนรวม ให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“(2) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ซึ่งมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้ หรือของผู้ค้ําประกันไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ เว้นแต่ เป็นตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัลหรือค้ําประกัน โดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือตราสารหนี้ที่บริษัทเป็นผู้รับอาวัล
(ข) กรณีตราสารหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตั๋วแลกเงิน ต้องไม่มีข้อจํากัดความรับผิด
(ค) กรณีตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด กองทรัสต์นั้นต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและมีมูลค่าไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท”
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ 55 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 55 บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมโดยมีทรัพย์สินจํานองหรือจํานําเป็นประกันได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินที่ใช้จํานองหรือจํานําเป็นประกันการกู้ยืม ต้องเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) ให้กู้เฉพาะในประเทศ ในสกุลเงินบาท
(3) กําหนดระยะเวลาชําระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวด ไม่น้อยกว่าปีละครั้ง เว้นแต่นโยบายการให้กู้ยืมของบริษัทมีการกําหนดระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นและดอกเบี้ยคืน และระยะเวลาดังกล่าวไม่เกินหนึ่งในสี่ของระยะเวลาให้กู้ยืม
(4) ให้กู้ยืมแต่ละรายได้ไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีผู้กู้ยืมเป็นบุคคลธรรมดา ได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินหรือของราคาซื้อขายของโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย ที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(ข) กรณีผู้กู้ยืมเป็นนิติบุคคล กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
ทั้งนี้ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตาม (ข) ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและมีมูลค่าไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
(5) การจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูกสร้างนั้นจะต้องมีการประกันวินาศภัยและให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดระยะเวลาตามสัญญากู้ยืม
(6) การให้กู้ยืมโดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้”
ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 58 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 58 บริษัทสามารถรับอาวัลตั๋วเงิน หรือออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ แก่บุคคลใดได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ จํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) จํากัดวงเงินการรับอาวัลตั๋วเงิน และการออกหนังสือค้ําประกันให้แก่บุคคลแต่ละรายไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่นํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(3) การรับอาวัลตั๋วเงิน หรือการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ โดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,065 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต
พ.ศ. 2556
----------------------------------------
ธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่บริษัทรับโอนความเสี่ยงภัยจากประชาชนและภาคธุรกิจ มีความรับผิดต้องชดใช้เงินตามสัญญาประกันภัย โดยได้รับชําระเบี้ยประกันภัยเป็นการตอบแทน เพื่อให้บริษัทสามารถจัดสรรสํารองประกันภัยให้เพียงพอต่อภาระผูกพันที่มีต่อเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย บริษัทจึงต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เพียงพอและสอดคล้องกับภาระผูกพันที่มีอยู่สําหรับบริษัทที่มีศักยภาพ ระบบงาน บุคลากร และทรัพยากรเพียงพอ บริษัทอาจประกอบธุรกิจอื่นนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจประกันชีวิตเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติมได้ โดยระมัดระวังมิให้การประกอบธุรกิจอื่นดังกล่าวก่อความเสียหาย หรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานตามปกติของบริษัท ดังนั้น การลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท จึงเป็นธุรกรรมที่สําคัญต่อการดําเนินงานและความมั่นคงของบริษัทที่คณะกรรมการบริษัทต้องให้ความสําคัญในการกําหนดนโยบายการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม รวมทั้งติดตามควบคุมการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการดําเนินการอย่างเหมาะสม เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับภาระผูกพันความพร้อมของระบบงาน ความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 ครั้งที่ 8/2556 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 และครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(2) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(3) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
“คณะกรรมการบริษัท” หมายความว่า คณะกรรมการของบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่ประกอบธุรกิจภายในราชอาณาจักร
“บริษัทจํากัด” หมายความว่า บริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ตราสารหนี้” หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ให้แก่ผู้ถือตราสารตามจํานวนและเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย ได้แก่ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน สลากออมทรัพย์ หุ้นกู้ ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภทคุ้มครองเงินต้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นกู้ (DR) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงศุกูก หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“สลากออมทรัพย์” หมายความว่า สลากระดมเงินออมที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น มีการจ่ายผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยเมื่อครบกําหนด และมีสิทธิได้รับเงินรางวัลเป็นงวด
“ศุกูก” หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นใบทรัสต์ที่ออกโดยทรัสต์ผู้ออกศุกูก
(2) มีการกําหนดโครงสร้างของการทําธุรกรรมของกองทรัสต์เพื่อนําเงินที่ได้จากการออกตราสารไปหาประโยชน์ในรูปแบบที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม และ
(3) มีการกําหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้ระดมทุนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือตราสาร และมีการกําหนดเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะจ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารด้วย ซึ่งการกําหนดอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม
“ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ตราสารทุน” หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่าผู้ถือตราสารมีความเป็นเจ้าของในส่วนได้เสียคงเหลือของกิจการที่ไปลงทุน ได้แก่ หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ (DR) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หรือใบทรัสต์ของกองทรัสต์อื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้าขั้นพื้นฐาน (Plain Vanilla Derivatives)” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่สามารถแยกเป็นองค์ประกอบย่อยได้ และไม่มีการเพิ่มโครงสร้าง หรือเงื่อนไขอื่น ๆ เข้าไปในสัญญา เช่น currency futures, cross currency swaps, interest rate futures, interest rate swaps, equity futures หรือ equity options
“ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นองค์การหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และหมายความรวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรูปแบบพิเศษ
“องค์กรระหว่างประเทศ” หมายความว่า World Bank หรือ Asian Development Bank (ADB) หรือ International Finance Corporation (IFC) หรือองค์กรหรือนิติบุคคลตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ธนาคารต่างประเทศ” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร
“อันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“อันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)” หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่แต่ละสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กําหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้
“สินทรัพย์ลงทุนของบริษัท” หมายความว่า สินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนได้ตามประกาศฉบับนี้ตามราคาประเมินที่ปรากฏในรายงานการดํารงเงินกองทุน ณ สิ้นไตรมาสหรือสิ้นปีครั้งล่าสุดที่บริษัทเสนอต่อนายทะเบียนตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต ทั้งนี้ หมายความรวมถึงสินทรัพย์ลงทุนของกรมธรรม์ประกันภัยแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (universal life) แต่ไม่รวมถึงการรับอาวัลตั๋วเงินและการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ ตามข้อ 25 (8)
ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะใช้มูลค่าของสินทรัพย์ลงทุนในช่วงระยะเวลาระหว่างรอบรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาสหรือรายปี ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุน ตามแบบและรายการตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบทาน พร้อมทั้งแสดงจํานวนความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยตามประเภทของการประกันชีวิต ซึ่งรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
“ราคาประเมิน” หมายความว่า ราคาประเมินทรัพย์สินของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันชีวิต
“ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือหัวหน้าส่วนงานของหน่วยงานการลงทุน ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการลงทุนให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุน และบริหารเงินลงทุนของบริษัท หรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งอื่นที่เทียบเท่า
“ภาระผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันที่เป็นเหตุให้เจ้าของสินทรัพย์จําต้องยอมรับการกระทําบางอย่างซึ่งกระทบกับสินทรัพย์นั้น หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีผลอยู่ในสินทรัพย์นั้น
“งานสนับสนุน” หมายความว่า งานปฏิบัติการซึ่งบริษัทจะต้องปฏิบัติในการดําเนินธุรกิจปกติหรืองานที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานปกติของบริษัท เช่น การจัดตั้งการบริหารกลุ่มรับเสี่ยงภัย (pool) การให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน งานบัญชีการเงิน งานธุรการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานทรัพยากรบุคคล งานตรวจสอบภายใน งานกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (compliance) หรืองานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว หรืองานสนับสนุนอื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“งานเทคโนโลยีสารสนเทศ” หมายความว่า งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นงานสนับสนุนการให้บริการด้านการประกันภัย เช่น งานด้านการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูล
“งานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า การให้บริการแนะนํา เผยแพร่ข้อมูลและบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้าและติดต่อชักชวนลูกค้าให้มาใช้บริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ เช่น การเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงการแจก รวบรวม ตรวจสอบเอกสารคําขอ และหลักฐานประกอบในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
“สินทรัพย์รวมของบริษัท” หมายความว่า สินทรัพย์ของบริษัทตามราคาประเมินที่ปรากฏในรายงานการดํารงเงินกองทุน ณ สิ้นไตรมาสหรือสิ้นปีครั้งล่าสุด รวมถึงสินทรัพย์ลงทุนของกรมธรรม์ประกันภัยแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ที่บริษัทเสนอต่อนายทะเบียนตามประกาศนายทะเบียน ว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต แต่ไม่รวมถึงการรับอาวัลตั๋วเงินและการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ ตามข้อ 25 (8)
ในกรณีที่ประสงค์จะใช้มูลค่าของสินทรัพย์รวมในช่วงระยะเวลาระหว่างรอบรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาสหรือรายปี ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุน ตามแบบและรายการตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบทาน พร้อมทั้งแสดงจํานวนความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยตามประเภทของการประกันชีวิต ซึ่งรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
“เงินกองทุนส่วนเกิน” หมายความว่า เงินกองทุนส่วนที่เกินจากจํานวนที่บริษัทต้องดํารงไว้ตามมาตรา 27 ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต ที่ปรากฏในรายงานการดํารงเงินกองทุน ณ สิ้นไตรมาสหรือสิ้นปีครั้งล่าสุด
ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะใช้มูลค่าของเงินกองทุนส่วนเกิน ในช่วงระยะเวลาระหว่างรอบรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาสหรือรายปี ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุน ตามแบบและรายการตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบทาน พร้อมทั้งแสดงจํานวนความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยตามประเภทของการประกันชีวิต ซึ่งรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
ข้อ ๕ ในการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท ให้บริษัทดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ โดยยึดถือหลักการ ดังต่อไปนี้
(1) คณะกรรมการบริษัทต้องให้ความสําคัญในการกําหนดนโยบายการลงทุนและ การประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม และกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมกับความพร้อมของบริษัท รวมถึงติดตาม ควบคุมดูแลให้การลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยคํานึงถึงความมั่นคง สถานะทางการเงิน การดําเนินงานของบริษัทรวมถึงหลักธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยง
(2) บริษัทต้องบริหารสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต และเหมาะสมต่อภาระผูกพันที่บริษัทมีต่อผู้เอาประกันภัย ทั้งในรูปกระแสเงินสด จํานวนเงิน ระยะเวลา และสกุลเงิน
(3) ในการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทจะต้องพิจารณาถึงความพร้อมทั้งด้านระบบงานความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากร โดยคํานึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และการกระจายความเสี่ยง รวมทั้งความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ความเสี่ยงด้านตลาด (market risk) ความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (operational risk) ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว (concentration risk) หรือความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (strategic risk)
ข้อ ๖ บริษัทต้องลงทุนและประกอบธุรกิจอื่น ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทําการหรืองดเว้นการที่ต้องกระทําใด ๆ อันเป็นผลให้บริษัทต้องจ่ายเงินหรือสินทรัพย์อื่นมากกว่าจํานวนที่พึงจ่าย หรือให้บริษัทได้รับเงินหรือทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ใด ๆ น้อยกว่าจํานวนที่พึงได้รับ
อื่นๆ ๑ การลงทุน
---------------------------
หมวด ๑ บททั่วไป
----------------------------
ข้อ ๗ คณะกรรมการบริษัทต้องมีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจประกันภัย สินทรัพย์ที่บริษัทลงทุน และการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน และมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาอนุมัติ
(ก) กรอบนโยบายการลงทุน
(ข) กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน
การพิจารณาอนุมัติตาม (1) ให้หมายความรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ
(2) จัดให้มีกระบวนการติดตามสอดส่องผลการดําเนินงานด้านการลงทุน ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เพื่อให้การลงทุนของบริษัทเป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุน และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(3) จัดให้มีการทบทวนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ของบริษัท และกระบวนการระบุความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในตราสารทางการเงินในปัจจุบัน และจากตราสารทางการเงินใหม่ ทั้งในและนอกงบแสดงฐานะการเงิน
(4) แต่งตั้งคณะกรรมการลงทุน
(5) มอบหมายหน่วยงานที่เป็นอิสระจากหน่วยงานการลงทุนในการระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน
ข้อ ๘ บริษัทต้องจัดให้มีคณะกรรมการลงทุน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทจํานวนไม่น้อยกว่าสามคน ประกอบด้วย
(1) กรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัท และ
(2) บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีเกี่ยวกับการบริหารการลงทุน การบริหารความเสี่ยง หรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ซึ่งอาจเป็นกรรมการผู้บริหารของบริษัท หรือบุคคลภายนอกก็ได้
ข้อ ๙ ในการลงทุนของบริษัท คณะกรรมการลงทุนมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) จัดทํากรอบนโยบายการลงทุน เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
(2) พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนของบริษัทที่สอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม
(3) กํากับดูแลการลงทุนของบริษัท ให้เป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุน และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) กํากับดูแลในเรื่องธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับธุรกรรมการลงทุนของบริษัท
(5) กํากับดูแล ระบบงาน บุคลากร และข้อมูลที่ใช้ประกอบการลงทุนของบริษัทให้มีความเพียงพอต่อการดําเนินงาน
(6) บริหารเงินลงทุนตามกรอบนโยบายการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
(7) รายงานผลการลงทุนให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างสม่ําเสมอ
ข้อ ๑๐ บริษัทต้องจัดทํากรอบนโยบายการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม การออกแบบผลิตภัณฑ์ การรับประกันภัย การทําสัญญาประกันภัยต่อการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน ฐานะเงินกองทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนที่คาดหวัง ความพร้อมของระบบงานและบุคลากรในการรองรับการลงทุน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตประเภทสินทรัพย์ที่บริษัทจะลงทุน (asset allocation)
(2) จํานวนวงเงินลงทุนที่ผู้บริหารแต่ละระดับสามารถอนุมัติให้ลงทุนได้
(3) เงื่อนไขการนําสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพัน
(4) เงื่อนไขการทําธุรกรรมยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ และการทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (ถ้ามี)
(5) นโยบายการว่าจ้างนิติบุคคลภายนอกให้ดําเนินการลงทุนแทนบริษัท ที่กําหนดคุณสมบัติและแนวทางการคัดเลือกนิติบุคคลภายนอก ข้อกําหนดให้นิติบุคคลที่บริษัทว่าจ้างปฏิบัติตามกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัทที่ชัดเจน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของนิติบุคคลที่บริษัทว่าจ้าง และการรายงานผลการปฏิบัติงานของนิติบุคคลดังกล่าวให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททราบ
(6) กรณีที่บริษัทมีการเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง บริษัทต้องกําหนดแนวนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (policy on the use of derivatives)
บริษัทต้องทบทวนกรอบนโยบายการลงทุนตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งให้สํานักงานเป็นประจําทุกปีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑ บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวมตามประกาศว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันชีวิต และต้องสอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุน ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ความสอดคล้องระหว่างทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท เพื่อให้บริษัทสามารถประเมิน บริหาร ควบคุม และติดตามความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน เช่น ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว หรือความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานการลงทุน
(2) การระบุประเภทความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน ประเภทของความเสี่ยงที่บริษัทอาจมีและการกําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจากความมั่นคงทางการเงินของบริษัท ความพร้อมในการบริหารและรองรับความเสี่ยงดังกล่าว
(3) วิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการลงทุนแต่ละประเภทได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็วทันเวลา
(4) แนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยง บริษัทอาจกําหนดนโยบายให้มีการปิดความเสี่ยงที่ไม่มีระบบบริหารความเสี่ยงรองรับ หรือไม่สามารถบริหารความเสี่ยงนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือกําหนดให้มีการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ แนวทางที่ใช้ต้องสอดคล้องกับลักษณะการลงทุนความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และระบบข้อมูลที่บริษัทมี
(5) การรายงานและติดตามความเสี่ยง บริษัทต้องจัดให้มีผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารความเสี่ยงคอยติดตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน และรายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
บริษัทต้องทบทวนกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่งอย่างสม่ําเสมอ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๒ บริษัทต้องจัดทําแผนการลงทุนของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) สัดส่วนของสินทรัพย์ลงทุนแต่ละประเภท (limits for the allocation of assets) ที่คํานึงถึงการกระจายการลงทุนในแต่ละประเภทสินทรัพย์ ผู้ออกตราสาร คู่สัญญา ประเภทธุรกิจ ตลาด หรือประเทศที่จะลงทุน สกุลเงิน สภาพคล่อง และระยะเวลาการลงทุน
(2) วิธีการคัดเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุน (policy on the selection of individual securities)
(3) กรณีบริษัทมีการให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ การรับอาวัลตั๋วเงิน และการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ เว้นแต่การให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทเป็นประกัน บริษัทต้องกําหนดนโยบายที่ครอบคลุมหลักเกณฑ์และกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(ก) การพิจารณาอนุมัติ กําหนดวงเงิน และระยะเวลาให้กู้ยืมที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของคู่สัญญา และประเภทของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการกู้ยืม
(ข) การวิเคราะห์การให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ การรับอาวัลตั๋วเงิน และการออกหนังสือค้ําประกัน
(ค) การประเมินมูลค่าหลักประกัน
(ง) การสอบทานและตรวจสอบเกี่ยวกับสถานะและการชําระเงินคืนของลูกหนี้ และการใช้เงินตามวัตถุประสงค์การให้กู้ยืม ภายหลังจากการอนุมัติการให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ การรับอาวัลตั๋วเงิน และการออกหนังสือค้ําประกัน แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ บริษัทอาจกําหนดหลักเกณฑ์ และกระบวนการพิจารณาการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท แตกต่างจากที่กําหนดไว้ใน (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ก็ได้
(4) กรณีที่บริษัทมีการเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง บริษัทต้องกําหนดแผนงานการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ที่สอดคล้องกับแนวนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงโดยอาจแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ประเภทธุรกรรม ประเภทตัวแปรหรือสินทรัพย์อ้างอิง ประเภทของคู่สัญญา
บริษัทต้องทบทวนแผนการลงทุนตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งให้สํานักงานเป็นประจําทุกปีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการลงทุนอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบเกี่ยวกับการลงทุนโดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติงาน และการติดตามดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัทและข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนโดยหน่วยงานอิสระตามระเบียบ วิธีการ และความถี่ที่บริษัทกําหนด
(3) การประเมินผลและการรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัท
ข้อ ๑๔ บริษัทต้องจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีรายละเอียดการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการลงทุน การแบ่งแยกหน้าที่ (segregation of duty) ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการสอบยันความถูกต้องระหว่างกัน (checks and balances) การกําหนดอํานาจในการอนุมัติการลงทุน (authority) โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการขออนุมัติการลงทุน
(2) รายละเอียดในการพิจารณาโครงสร้าง ความเสี่ยงของสินทรัพย์ และความสามารถในการรองรับความเสี่ยงดังกล่าวของบริษัท
(3) ขั้นตอนการลงทุน และการรายงานผลการลงทุน
(4) ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
(5) บันทึกเหตุผลการตัดสินใจลงทุน และจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทต้องจัดทําให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของปีที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ บริษัทต้องทบทวนระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนอย่างสม่ําเสมอ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๕ องค์ประกอบของหน่วยงานการลงทุน
(1) บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบดูแลการลงทุนของบริษัท โดยมีโครงสร้างความพร้อมของบุคลากร ระบบงาน ข้อมูลต่าง ๆ ที่เพียงพอและสอดคล้องกับลักษณะและความซับซ้อนของการลงทุนของบริษัท รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง เพื่อประเมินและติดตามอย่างสม่ําเสมอ เช่น value at risk, position limit และกําหนดมาตรการดําเนินการที่เหมาะสมเพื่อบริหารความเสี่ยง เช่น การกําหนด stop loss โดยรายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการลงทุนทราบอย่างสม่ําเสมอ
(2) ให้บริษัทมอบหมายให้บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการลงทุน เป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน โดยมีประสบการณ์และคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) ผ่านการอบรมหลักสูตรตามที่นายทะเบียนกําหนดให้เป็นหลักสูตรสําหรับผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทประกันภัย
(ข) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
(ค) มีคุณสมบัติ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1) สอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analysts Program (CISA) ระดับ 1 ขึ้นไป หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าตามที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสามปี
2) จบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป ในสาขาการเงิน บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการลงทุน และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสามปี
3) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาการเงิน บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการลงทุน และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าเจ็ดปี
4) ได้รับวุฒิบัตร (ระดับ 3) ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analysts Program (CISA) หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าตามที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ
5) เป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน นับแต่วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ภายในสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทต้องดําเนินการให้มีบุคคลที่มีลักษณะตาม (2) ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน
ให้บริษัทจัดส่งรายชื่อของบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน พร้อมทั้งรายละเอียดคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่แต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน ไม่มีลักษณะตามข้อ 15 ให้บริษัทดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ว่าจ้างหรือมอบหมายนิติบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน โดยนําความใน ข้อ 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) ลงทุนได้เฉพาะในสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ค) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์กรหรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หรือของผู้ออกตราสาร ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารตาม (ก) (ข) และ (ค)
(จ) การให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทเป็นประกัน
(ฉ) การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท หรือ
(ช) สินทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
ข้อ ๑๗ ตลอดเวลาการลงทุน บริษัทต้องประเมินราคายุติธรรมของตราสาร หรือมูลค่าการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันชีวิต และต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุนได้ตามที่กฎหมายกําหนด
ข้อ ๑๘ การลงทุนตามประกาศนี้ หากอยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศและมีกระแสเงินสดรับจ่ายที่แน่นอน เช่น ตราสารหนี้ที่เสนอขายในสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้บริษัทดําเนินการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจํานวน และให้แจ้งรายละเอียดการป้องกันความเสี่ยงให้นายทะเบียนทราบในรายงานผลการดําเนินงานและฐานะการเงินที่จัดส่งให้นายทะเบียนประจํางวด
ข้อ ๑๙ บริษัทสามารถว่าจ้างหรือมอบหมายให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นนิติบุคคลลงทุนแทนบริษัทได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลภายนอกนั้นต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการลงทุน มีความพร้อมของระบบงานและบุคลากร
(2) บริษัทต้องกําหนดคุณสมบัติ แนวทางการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ทําหน้าที่ลงทุนแทนบริษัทตามกรอบนโยบายการลงทุน พร้อมทั้งกําหนดการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และ
(3) บริษัทต้องขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
การว่าจ้างหรือมอบหมายบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในรูปของการจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลลงทุนแทนบริษัท ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน และให้บริษัทแจ้งให้นายทะเบียนทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ว่าจ้างหรือมอบหมาย
ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้บริษัทให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถ ค้ําประกัน แก่บุคคลดังต่อไปนี้ รวมทั้งซื้อ สลักหลัง รับรอง หรือรับอาวัลตั๋วเงินที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย เว้นแต่การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท และการให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทเป็นประกัน
(1) กรรมการ
(2) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
(3) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตาม (1) หรือ (2) ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทประกันชีวิต
บริษัทอาจขออนุญาตจากนายทะเบียนให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ เฉพาะกรณีจําเป็นและการดําเนินการดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินและความมั่นคงของบริษัท โดยต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการบริษัทและเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนทราบ
ข้อ ๒๑ การลงทุนในตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศนี้ หากต่อมาผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าเกณฑ์ที่สามารถลงทุนได้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทจําหน่ายตราสารหนี้นั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้
ข้อ ๒๒ การพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้ออกสินทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย หากไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศ
(2) ในกรณีผู้ออกสินทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศ หากไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย
(3) ในกรณีที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ (issue rating) ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือนั้น
(4) ในกรณีที่ไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหรือคู่สัญญา ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้หมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็น
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันโดยการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันของบุคคลที่กําหนดต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข
(ค) ในกรณีมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าหนึ่งอันดับ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ดีที่สุดลําดับที่สอง (the second best rating)
ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้บริษัทนําสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพันใด ๆ เว้นแต่ กรณี ดังต่อไปนี้
(1) การนําสินทรัพย์ลงทุนไปวางเป็นประกันต่อศาล หรือนําไปใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการออกหนังสือค้ําประกันจากสถาบันการเงินเพื่อนําไปวางเป็นประกันต่อศาล เพื่อขอทุเลาการบังคับคดีที่ศาลมีคําพิพากษาให้บริษัทชดใช้หนี้ตามสัญญาประกันภัย หรือสัญญาประกันภัยต่อ ทั้งนี้ บริษัทต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(2) การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 9
(3) การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 10
(4) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๒๔ การดําเนินการลงทุนของบริษัท หากไม่เป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน และระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัท หรือไม่สอดคล้องกับความพร้อมของระบบงานและบุคลากรฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติ หรือสั่งให้ระงับการลงทุนดังกล่าว จนกว่าจะสามารถดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดได้
หมวด ๒ ประเภทสินทรัพย์
---------------------
ข้อ ๒๕ บริษัทสามารถลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์หรือเข้าเป็นคู่สัญญาได้ ดังต่อไปนี้
(1) ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 1
(2) ตราสารหนี้ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 2
(3) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 3
(4) ตราสารทุน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 4
(5) หน่วยลงทุน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 5
(6) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามหมวด 4 ส่วนที่ 6
(7) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ตามหมวด 4 ส่วนที่ 7
(8) การให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ การรับอาวัลตั๋วเงิน และการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 8
(9) การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 9
(10) การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 10
หมวด ๓ การกําหนดสัดส่วนการลงทุน
------------------------
ส่วน ๑ เงื่อนไขทั่วไป
-------------------------
ข้อ ๒๖ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัท ให้ใช้ราคาประเมิน
ส่วน ๒ สัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา
------------------------------
ข้อ ๒๗ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ให้นับรวมมูลค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่คู่สัญญาแต่ละรายเป็นผู้ออก รับรอง รับอาวัล สลักหลัง ค้ําประกัน เงินฝากส่วนที่เกินจากที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเงินฝาก เงินให้กู้ยืม เงินให้เช่าซื้อรถ ภาระผูกพันที่เกิดจากการรับอาวัลตั๋วเงินและออกหนังสือค้ําประกัน สิทธิเรียกร้อง ที่เกิดจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่เกินกว่ามูลค่าหลักประกันที่ได้รับจากคู่สัญญา ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และสิทธิเรียกร้องและภาระผูกพันอื่นที่เกิดขึ้นจากการลงทุนที่บริษัทมีต่อคู่สัญญารายหนึ่งรายใด ไม่เกินมูลค่าที่กําหนดตามประเภทผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ดังต่อไปนี้
(1) รัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ไม่จํากัดสัดส่วน
(2) สถาบันการเงิน แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(3) องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทจํากัดภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่นํารายได้ทั้งจํานวนไปใช้ในโครงการของราชการ บริษัทจํากัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ บริษัทจํากัดที่อยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(4) บริษัทจํากัดที่ออกตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ กรณีการลงทุนอื่นนอกจากตราสารหนี้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(5) องค์กรระหว่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(6) กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แต่ละกองทรัสต์หรือกองทุนรวม ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(7) คู่สัญญาอื่น แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทอาจมีสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญาเกินกว่าสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้เฉพาะกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) นับแต่วันที่บริษัทได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ห้ามมิให้บริษัทลงทุนใด ๆ ที่มีผลทําให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อมีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจํากัด
(2) เมื่อบริษัทลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้ว ให้นําส่วนของการลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน นับรวมกับส่วนการลงทุนอื่น หากเป็นผลให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ห้ามมิให้บริษัทลงทุนเพิ่มในกลุ่มการลงทุนที่เกินสัดส่วนนั้นอีก
การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญาตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมกรณี ดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในหน่วยลงทุนอื่น นอกจากหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (6)
(2) การให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทเป็นประกัน และการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
ส่วน ๓ สัดส่วนการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์
----------------------------
ข้อ ๒๘ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้นับรวมมูลค่าของสินทรัพย์หรือดัชนีที่กองทุนรวมนั้นถือครอง ณ วันที่คํานวณ ตามสัดส่วนมูลค่าหน่วยลงทุนที่บริษัทลงทุนในกองทุนรวมนั้น ตามที่กําหนดในรายงานประจําปีล่าสุดของกองทุนรวม หรือ fund fact sheet รวมกับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีประเภทเดียวกันที่บริษัทได้ลงทุนหรือมีไว้ ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ (look - through approach)
ข้อ ๒๙ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัลหรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตั๋วเงินซื้อลดที่บริษัทเป็นผู้รับอาวัล ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัด และตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละหกสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๐ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้กับกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ และให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 27 วรรคสอง
ข้อ ๓๑ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๒ บริษัทสามารถเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยหรือจากสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุน โดยมีผลรวมของสถานะถือครองสัญญาสุทธิ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินมูลค่าความเสี่ยงที่บริษัทมีอยู่
ข้อ ๓๓ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืมและให้เช่าซื้อรถ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ ไม่นับรวมการให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทเป็นประกันและการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
ข้อ ๓๔ บริษัทสามารถรับอาวัลตั๋วเงิน และออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๕ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๖ บริษัทสามารถลงทุนในเงินฝากธนาคารต่างประเทศ ตราสารหนี้ต่างประเทศ ตราสารทุนต่างประเทศ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ และใบทรัสต์ของกองทรัสต์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ รวมกันทั้งหมดไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๗ บริษัทสามารถลงทุนในสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(1) ตราสารหนี้ที่กําหนดให้ผู้ทรงตราสารหนี้มีสิทธิในการรับชําระหนี้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
(2) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เว้นแต่ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภทคุ้มครองเงินต้น ตามข้อ 44 (3)
(3) ตราสารทุนที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ หรือไม่ได้อยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ และสินทรัพย์หรือดัชนีที่บริษัทถือครองผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่กําหนดนโยบายลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีที่บริษัทลงทุนได้โดยตรง แต่มีการจัดสรรลงทุนบางส่วนในสินทรัพย์หรือดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคํา
(5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49 หรือข้อ 50 ที่บริษัทไม่สามารถแยกองค์ประกอบได้ หรือไม่มีข้อมูลสัดส่วนประเภทการลงทุนของกองทุนรวมที่เพียงพอ
ส่วน ๔ สัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์
-----------------------------
ข้อ ๓๘ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้แต่ละประเภท ได้ไม่เกินสัดส่วน ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน หรือตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง รวมถึงตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัดรายเดียวกันแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด แต่ละกองทรัสต์ ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(3) ตราสารหนี้ที่ผู้ออกหรือผู้ค้ําประกันเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๙ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนของผู้ออกแต่ละรายได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารทุนของบริษัทจํากัดที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือของบริษัทจํากัดที่อยู่ระหว่างการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (initial public offering: IPO) แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(2) ตราสารทุนอื่นนอกจาก (1) แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้กับกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ และให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 27 วรรคสอง
ข้อ ๔๐ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม ได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท เว้นแต่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย แต่ละกองทุนรวมหรือกองทรัสต์ ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๔๑ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถ รับอาวัลตั๋วเงิน และออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อรวมกันแล้วให้บริษัทลงทุนแก่บุคคลนั้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัทเว้นแต่ การให้กู้ยืมในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) การให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทเป็นประกัน และการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
(2) การให้กู้ยืมแก่กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานแต่ละกองทรัสต์หรือกองทุนรวม ให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
หมวด ๔ ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุน
------------------------
ส่วน ๑ ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน
--------------------------
ข้อ ๔๒ การฝากเงินในประเทศ บริษัทต้องฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือสถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
ข้อ ๔๓ การฝากเงินในต่างประเทศ บริษัทต้องฝากไว้กับธนาคารต่างประเทศตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นธนาคารต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) เป็นการฝากเงินระยะสั้นในธนาคารต่างประเทศ โดยธนาคารดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่บริษัทได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินต่างประเทศ ทั้งนี้ การฝากเงินดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการชําระราคา อํานวยความสะดวก หรือป้องกันปัญหาในการดําเนินงานในต่างประเทศของบริษัท
ส่วน ๒ ตราสารหนี้
--------------------------
ข้อ ๔๔ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน บริษัทสามารถลงทุนได้โดยไม่จํากัดจํานวน
(2) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ซึ่งมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้ หรือของผู้ค้ําประกันไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ เว้นแต่ เป็นตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัลหรือค้ําประกัน โดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือตราสารหนี้ที่บริษัทเป็นผู้รับอาวัล
(ข) กรณีตราสารหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตั๋วแลกเงิน ต้องไม่มีข้อจํากัดความรับผิด
(ค) กรณีตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด กองทรัสต์นั้นต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและมีมูลค่าไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
(3) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามหมวด 4 ส่วนที่ 7 ข้อ 52 ประเภทคุ้มครองเงินต้น
กรณีตราสารหนี้ตาม (1) และ (2) ที่เสนอขายในต่างประเทศ ให้ถือว่าเป็นตราสารหนี้ในประเทศที่บริษัทสามารถลงทุนได้ โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดใน (1) และ (2)
การรับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน ตาม (1) และ (2) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข
ข้อ ๔๕ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิที่ออกหรือค้ําประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ และต้องเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสาร หรือของผู้ค้ําประกัน ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ และต้องเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(3) ตราสารหนี้ตาม (1) และ (2) ต้องเป็นตราสารหนี้ที่บริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารหนี้ดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
ส่วน ๓ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
-------------------------
ข้อ ๔๖ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทจํากัด ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) เป็นตราสารที่ขึ้นทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(3) เป็นตราสารที่มีราคาเหมาะสมตามที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด หรือมีผู้แสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะเสนอราคาซื้อและรับซื้อตราสารนั้นในราคาดังกล่าว ตามจํานวนและวิธีการที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนดอยู่เสมอ โดยได้ส่งสําเนาราคาแก่สมาคมตลาด ตราสารหนี้ไทยตลอดอายุของตราสารนั้น หรือในกรณีที่เป็นตราสารที่มีการเสนอขายครั้งแรกต้องเป็นตราสารที่มีนักลงทุนสถาบันไม่น้อยกว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสารดังกล่าว
ส่วน ๔ ตราสารทุน
-----------------------------
ข้อ ๔๗ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนในประเทศที่ออกโดยบริษัทจํากัดได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น เว้นแต่การถือตราสารทุนเพื่อการประกอบธุรกิจอื่น
(2) กรณีตราสารทุนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศหรือไม่มีตลาดรองซื้อขายเป็นการทั่วไป หรือไม่ได้เป็นตราสารทุนที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ซึ่งผู้ออกตราสารทุนดังกล่าวอยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๔๘ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของผู้ออกนั้น
(2) กรณีตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องเป็นตราสารทุนที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) หรือที่อยู่ระหว่างการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น และบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารทุนดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านอินเตอร์เน็ต
(3) กรณีตราสารทุนอื่นนอกจาก (2) บริษัทสามารถลงทุนได้เฉพาะตราสารทุนที่ออกโดยนิติบุคคล ดังต่อไปนี้ และต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(ก) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น หรือที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยดังกล่าว
(ข) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนธุรกิจประกันภัย
(ค) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific : ESCAP) เพื่อประกอบธุรกิจเฉพาะการประกันต่อ
ส่วน ๕ หน่วยลงทุน
---------------------------
ข้อ ๔๙ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีประเภทและชนิดเดียวกับสินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์
(2) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ และมีมูลค่ากองทุนไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
ข้อ ๕๐ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) หรือที่อยู่ระหว่างการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น
(2) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่ลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีประเภทและชนิดเดียวกับสินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์
(3) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
(4) ไม่ใช่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทเฮ็ดจ์ฟันด์
(5) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ และมีมูลค่ากองทุนไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
(6) กรณีกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ ต้องลงทุนสินค้าหรือดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดและประเภทเดียวกับที่กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศสามารถลงทุนได้
ส่วน ๖ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
--------------------------
ข้อ ๕๑ บริษัทสามารถเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มิใช่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าขั้นพื้นฐาน (plain vanilla derivatives) บริษัทต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด
(2) เป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยหรือจากสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุนโดยอ้างอิงสินทรัพย์หรือดัชนีตามภาระความเสี่ยงที่บริษัทมีอยู่ และมูลค่าของสัญญาต้องไม่เกินมูลค่าความเสี่ยงที่บริษัทมี
(3) ไม่ทําให้การบริหารสินทรัพย์ลงทุนของบริษัทเบี่ยงเบนไปจากกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัท
(4) กระทําในบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด หรือในกรณีที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(5) มีสินค้าหรือตัวแปร อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) หลักทรัพย์
(ข) อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
(ค) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(ง) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้
(จ) ดัชนีทางการเงินที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1) เกิดจากการคํานวณโดยใช้ตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง)
2) พัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ
3) นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล
4) มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันผ่านสื่อที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์
5) มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยระบุแหล่งข้อมูลของตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณ ซึ่งต้องมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีบุคคลใดสามารถมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแปร ปัจจัย หรือดัชนีทางการเงินนั้นได้
ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงถึงการพิจารณาคุณสมบัติดัชนีทางการเงินนั้นไว้ที่บริษัท เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบ หรือจัดส่งให้สํานักงานเมื่อสํานักงานร้องขอ
(ฉ) สินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(6) การส่งมอบสินค้าเมื่อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสิ้นสุดลง สินค้านั้นต้องเป็นสินทรัพย์ที่บริษัทสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัทจะเป็นผู้มีสิทธิรับมอบหรือมีหน้าที่ส่งมอบสินค้านั้นก็ตาม เว้นแต่กรณีการรับชําระหนี้ที่เกิดจากคู่สัญญาผิดนัดชําระหนี้ ให้บริษัทจําหน่ายทรัพย์สินนั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้
(7) มีการวางแผนการบริหารสภาพคล่องให้เพียงพอตามวันครบกําหนดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(8) ห้ามมิให้บริษัทเข้าเป็นคู่สัญญาออปชันที่ผูกพันบริษัทในฐานะผู้ให้สัญญา (option writer)
(9) การเข้าเป็นคู่สัญญาของบริษัทต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับสัดส่วนการลงทุน การประเมินราคา และการคํานวณเงินกองทุนของบริษัท
(10) ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดย International Swaps and Derivatives Association (ISDA) หรือสัญญารูปแบบอื่นที่ใช้มาตรฐานทางธุรกิจ
(11) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทต้องจัดให้มีข้อตกลงในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(ก) ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลที่สามที่ได้รับการแต่งตั้งจากคู่สัญญาคํานวณมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน และแจ้งมูลค่ายุติธรรมให้บริษัททราบในวันดังกล่าว หรือวันทําการแรกที่สามารถกระทําได้
(ข) ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างมีนัยสําคัญ ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้บริษัททราบทันที
(ค) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมให้มีการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อบริษัทร้องขอได้
ส่วน ๗ ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
------------------------------
ข้อ ๕๒ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ไม่ทําให้การบริหารสินทรัพย์ลงทุนของบริษัทเบี่ยงเบนไปจากกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัท
(2) ในกรณีการซื้อตราสารดังกล่าวมีผลทําให้บริษัทต้องรับมอบสินทรัพย์ สินทรัพย์ดังกล่าวต้องเป็นประเภทที่บริษัทสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ และไม่ทําให้สัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวเกินกว่าที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เว้นแต่กรณีการรับชําระหนี้ที่เกิดจากคู่สัญญาผิดนัดชําระหนี้ ให้บริษัทจําหน่ายสินทรัพย์นั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้
(3) เป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยหรือจากสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุนหรือเพื่อเพิ่มผลตอบแทนของบริษัทภายใต้ระดับความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้
(4) เป็นตราสารที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสาร ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(5) เป็นตราสารที่มีการจ่ายผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) หลักทรัพย์
(ข) อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
(ค) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(ง) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้
(จ) ทองคํา
(ฉ) ดัชนีทางการเงิน ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) เกิดจากการคํานวณโดยใช้ตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ตาม (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ)
2) พัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ
3) นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล
4) มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันผ่านสื่อที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ และ
5) มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยระบุแหล่งข้อมูลของตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีบุคคลใดสามารถมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแปร ปัจจัย หรือดัชนีทางการเงินนั้นได้
ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงถึงการพิจารณาคุณสมบัติดัชนีทางการเงินนั้นไว้ที่บริษัท เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบ หรือจัดส่งให้สํานักงานเมื่อสํานักงานร้องขอ
(ช) สินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(6) ในกรณีตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภทไม่คุ้มครองเงินต้นบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๘ การให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ การรับอาวัลตั๋วเงิน
และการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ
---------------------------
ข้อ ๕๓ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทเป็นประกันได้ไม่เกินจํานวนมูลค่าเวนคืนเงินสดในวันที่ให้กู้ยืม
ข้อ ๕๔ บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ให้กู้ยืมแต่ละรายได้ไม่เกินหนึ่งล้านบาท
(2) มีพนักงานของบริษัทเดียวกัน คนเดียว หรือหลายคนซึ่งมีเงินเดือนรวมกันสูงกว่าเงินเดือนของผู้กู้ยืมเป็นผู้ค้ําประกัน พนักงานของบริษัทคนหนึ่งให้ค้ําประกันได้ไม่เกินหนึ่งราย หรือมีข้าราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ค้ําประกัน
(3) กําหนดระยะเวลาชําระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยตามนโยบายการให้กู้ยืมของบริษัท หรือระเบียบว่าด้วยการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๕ บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมโดยมีทรัพย์สินจํานองหรือจํานําเป็นประกันได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินที่ใช้จํานองหรือจํานําเป็นประกันการกู้ยืม ต้องเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) ให้กู้เฉพาะในประเทศ ในสกุลเงินบาท
(3) กําหนดระยะเวลาชําระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวด ไม่น้อยกว่าปีละครั้ง เว้นแต่นโยบายการให้กู้ยืมของบริษัทมีการกําหนดระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นและดอกเบี้ยคืน และระยะเวลาดังกล่าวไม่เกินหนึ่งในสี่ของระยะเวลาให้กู้ยืม
(4) ให้กู้ยืมแต่ละรายได้ไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีผู้กู้ยืมเป็นบุคคลธรรมดา ได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินหรือของราคาซื้อขายของโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย ที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(ข) กรณีผู้กู้ยืมเป็นนิติบุคคล กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
ทั้งนี้ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตาม (ข) ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและมีมูลค่าไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
(5) การจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูกสร้างนั้นจะต้องมีการประกันวินาศภัยและให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดระยะเวลาตามสัญญากู้ยืม
(6) การให้กู้ยืมโดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๕๖ บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมโดยมีสถาบันการเงิน ธนาคารต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศค้ําประกันได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) สถาบันการเงิน ธนาคารต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่ค้ําประกันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) ให้กู้ยืมในสกุลเงินบาท
ข้อ ๕๗ บริษัทสามารถลงทุนให้เช่าซื้อรถได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ หรือรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(2) ผู้เช่าซื้อรถมีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(3) ให้เช่าซื้อแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาตลาดของรถนั้น
(4) รถที่ให้เช่าซื้อต้องจัดให้มีการประกันวินาศภัย โดยให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดระยะเวลาการเช่าซื้อ
ข้อ ๕๘ บริษัทสามารถรับอาวัลตั๋วเงิน หรือออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ แก่บุคคลใดได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ จํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) จํากัดวงเงินการรับอาวัลตั๋วเงิน และการออกหนังสือค้ําประกันให้แก่บุคคลแต่ละรายไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่นํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(3) การรับอาวัลตั๋วเงิน หรือการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ โดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๙ การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
------------------------------
ข้อ ๕๙ บริษัทสามารถทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาของการทําธุรกรรมเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เว้นแต่คู่สัญญาเป็นบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ทําสัญญายืมและให้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีลักษณะและสาระสําคัญตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด เว้นแต่กรณีทําธุรกรรมให้ยืมตราสารหนี้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ทําสัญญาตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(3) หลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืมต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
(4) กรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้า (custodian) หากต้องการยืมหลักทรัพย์จากบริษัท หรือต้องการนําหลักทรัพย์ของบริษัทไปให้บุคคลอื่นยืม ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร
(5) การให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ จากผู้ยืมหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์
(ก) เงินสด
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามข้อ 44 (1)
(ค) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 44 (2)
(ง) หลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(6) การวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมหลักทรัพย์ตาม (5) บริษัทต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(ก) ให้บริษัทมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน หรือดําเนินการโดยวิธีอื่นซึ่งจะมีผลให้บริษัทสามารถบังคับชําระหนี้เอาจากหลักประกันดังกล่าวได้โดยพลัน
(ข) ห้ามมิให้บริษัทนําหลักประกันตาม (5) ที่บริษัทมีกรรมสิทธิ์ไปโอนหรือขายต่อ เว้นแต่เป็นการบังคับชําระหนี้ตามข้อตกลงธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(ค) ดํารงมูลค่าหลักประกัน ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(7) ให้นับหลักทรัพย์ที่บริษัทให้ยืม และหลักทรัพย์ที่บริษัทนําไปวางไว้กับคู่สัญญาเพื่อเป็นหลักประกันการยืม ในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัทในหลักทรัพย์ดังกล่าว
ส่วน ๑๐ การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน
-------------------------
ข้อ ๖๐ บริษัทสามารถทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการทําธุรกรรมกับคู่สัญญา ดังต่อไปนี้
(ก) สถาบันการเงิน
(ข) บริษัทหลักทรัพย์
(ค) บริษัทประกันภัย
(ง) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(จ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฉ) กองทุนบําเหน็จบํานาญ
(ช) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ซ) กองทุนรวม
(ฌ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ญ) ส่วนราชการ หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจ
(ฎ) บริษัทจํากัดที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) เป็นการทําธุรกรรมซื้อหรือขายโดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนตราสารหนี้ ที่ขึ้นทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ในประเภทและชนิดเดียวกับสินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ หรือตราสารอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(3) ทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยต้องเป็นสัญญามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เว้นแต่ เป็นสัญญาที่บริษัททํากับธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จะมีเอกสารแนบท้ายสัญญาด้วยก็ได้ โดยธุรกรรมดังกล่าวให้ทําได้เฉพาะสกุลเงินบาทและมีระยะเวลาการขายและซื้อคืนไม่เกินหนึ่งปี
(4) การคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ให้คํานวณตามมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้ (market convention) ในการทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(5) การทําธุรกรรมซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืน ให้ราคาซื้อ ณ วันเริ่มต้นสัญญาต่ํากว่ามูลค่าหลักทรัพย์ โดยมีส่วนลดในอัตราที่เหมาะสม และสะท้อนความเสี่ยงของคู่สัญญา ระยะเวลาของสัญญาและหลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมนั้น ในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับบริษัทต้องดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าราคาซื้อรวมกับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการทําธุรกรรมนับแต่วันเริ่มต้นสัญญาจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าหลักทรัพย์คูณด้วย (1+อัตราส่วนลดหลักทรัพย์) หากมูลค่าไม่เป็นไปตามที่กําหนดบริษัทต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงินหรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ให้บริษัทเพื่อให้มูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่ทําธุรกรรมและสินทรัพย์ที่โอนมาดังกล่าว เป็นไปตามที่กําหนดภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ได้มีการกําหนดส่วนต่างขั้นต่ําที่บริษัทไม่ต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงิน หรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ไว้ โดยการกําหนดส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
(6) ให้นับหลักทรัพย์ที่ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัทในหลักทรัพย์ดังกล่าว
อื่นๆ ๒ การประกอบธุรกิจอื่น
-------------------------
หมวด ๑ บททั่วไป
-------------------------
ข้อ ๖๑ ในการประกอบธุรกิจอื่น บริษัทต้องให้ความสําคัญกับฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท และการดําเนินธุรกิจการรับประกันภัยซึ่งเป็นธุรกิจหลักเป็นอันดับแรก รวมทั้งต้องคํานึงถึงหลักธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยง การประกอบธุรกิจอื่นต้องเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรหรือความเชี่ยวชาญที่บริษัทมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมีนัยสําคัญต่อบริษัท
ข้อ ๖๒ ในการประกอบธุรกิจอื่น คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาอนุมัติ
(ก) นโยบายการประกอบธุรกิจอื่น
(ข) กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่น
การพิจารณาอนุมัติตาม (1) ให้หมายความรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ
(2) จัดให้มีกระบวนการติดตามสอดส่องผลการดําเนินงานของการประกอบธุรกิจอื่น ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เพื่อให้การประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทเป็นไปตามนโยบายการประกอบธุรกิจอื่น และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(3) แต่งตั้งคณะกรรมการอื่นหรือมอบหมายคณะกรรมการลงทุน เพื่อทําหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก) กํากับดูแลการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายการประกอบธุรกิจอื่น นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการตามปกติของบริษัท
(ข) กํากับดูแลในเรื่องธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท
(ค) รายงานผลการดําเนินงานให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างสม่ําเสมอ
ข้อ ๖๓ บริษัทต้องจัดทํานโยบายการประกอบธุรกิจอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต้องสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม ความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และทรัพยากรของบริษัทฐานะเงินกองทุน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตและประเภทการประกอบธุรกิจอื่นที่บริษัทจะดําเนินการ
(2) นโยบายการประกอบธุรกิจอื่น ในแต่ละประเภท
(3) ขอบเขตอํานาจในการอนุมัติ และการตัดสินใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น
(4) กลยุทธ์ แผนงาน และระเบียบวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงาน
(5) ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจอื่น
(6) การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการกับลูกค้า
บริษัทต้องทบทวนนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งให้สํานักงานเป็นประจําทุกปีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖๔ บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันชีวิต และต้องสอดคล้องกับนโยบายการประกอบธุรกิจอื่น เพื่อให้บริษัทสามารถประเมิน บริหาร ควบคุม และติดตาม ความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจอื่นได้อย่างเหมาะสม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบการประกอบธุรกิจอื่น
(2) การระบุประเภทความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่น ประเภทของความเสี่ยงที่บริษัทอาจมี และการกําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจากความมั่นคงทางการเงินของบริษัท ความพร้อมในการบริหารและรองรับความเสี่ยงดังกล่าว
(3) วิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอื่นแต่ละประเภทได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็วทันเวลา
(4) แนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยงที่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และระบบข้อมูลที่บริษัทมี
(5) การรายงานและติดตามความเสี่ยง บริษัทต้องจัดให้มีผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารความเสี่ยงคอยติดตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอื่น และรายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
บริษัทต้องทบทวนกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่งอย่างสม่ําเสมอ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๖๕ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติงาน และการติดตามดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นโดยหน่วยงานอิสระตามระเบียบ วิธีการ และความถี่ที่บริษัทกําหนด
(3) การประเมินผลและการรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัท
ข้อ ๖๖ บริษัทต้องแยกแสดงรายได้จากการประกอบธุรกิจอื่นแต่ละประเภทให้ครบถ้วนและถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
ข้อ ๖๗ บริษัทต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ข้อ ๖๘ การประกอบธุรกิจอื่น ต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตาม ข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับสัดส่วนการลงทุน การประเมินราคา และการคํานวณเงินกองทุนของบริษัท กฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัท
ข้อ ๖๙ กรณีการประกอบธุรกิจอื่นที่มีหน่วยงานกํากับเป็นการเฉพาะ บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
ข้อ ๗๐ การดําเนินการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท หากไม่เป็นไปตามนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท หรือไม่สอดคล้องกับความพร้อมของระบบงานและบุคลากร ฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติ หรือสั่งให้ระงับการประกอบธุรกิจดังกล่าว จนกว่าจะสามารถดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดได้
หมวด ๒ ประเภทการประกอบธุรกิจอื่น
------------------------------
ข้อ ๗๑ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจอื่นได้ ดังต่อไปนี้
(1) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามหมวด 3 ส่วนที่ 1
(2) ประกอบธุรกิจให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น ตามหมวด 3 ส่วนที่ 2
(3) ถือตราสารทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจอื่น ตามหมวด 3 ส่วนที่ 3
(4) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามหมวด 3 ส่วนที่ 4
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจอื่น
-----------------------------
ส่วน ๑ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
--------------------------
ข้อ ๗๒ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ได้ ดังต่อไปนี้
(1) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
(2) การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์
ข้อ ๗๓ อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทนําออกให้เช่าได้ ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทใช้เป็นสถานที่สําหรับดําเนินธุรกิจ ตามมาตรา 33 (9) (ก) ซึ่งยังมิได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น สถานที่ทําการ ที่จอดรถ
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทต้องจําหน่าย ตามมาตรา 34
ข้อ ๗๔ บริษัทสามารถนําอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 73 ออกให้เช่าได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเช่าเพื่อป้องกันการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันเสื่อมสภาพ
(2) มีการทําสัญญาเช่าเป็นหนังสือ
(3) ไม่ทําสัญญาเช่าที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้พื้นที่ และการจําหน่ายของบริษัท
(4) ให้เช่าไม่เกินกว่าระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย
(5) กําหนดเงื่อนไขในการให้เช่า ค่าเช่า และผลประโยชน์ที่เหมาะสมตามสภาวะตลาดและเป็นปกติทางการค้า
(6) บริษัทอาจปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 73 ได้ตามความจําเป็น แต่มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงได้แห่งละไม่เกินสามล้านบาท เว้นแต่ ได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๗๕ การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการจําหน่ายหรือให้เช่าตามข้อ 72 (2) ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทได้รับอนุญาตให้เช่าหรือซื้อหรือได้มาเพื่อใช้สําหรับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นตามมาตรา 33 (9) (ข) โดยบริษัทต้องทําเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการให้เช่า
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทต้องจําหน่ายตามมาตรา 34 ซึ่งบริษัทได้รับอนุญาตให้มีไว้เพื่อใช้สําหรับการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นตามมาตรา 33 (9) (ข) บริษัทจะทําเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการจําหน่ายหรือให้เช่าก็ได้
ข้อ ๗๖ บริษัทสามารถนําอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 75 มาจัดทําเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการจําหน่ายหรือให้เช่าได้ ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทต้องจัดทําเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด และโครงการดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(2) โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทสามารถยื่นขอรับความเห็นชอบตามประกาศนี้ต้องเป็นโครงการลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) อาคารสํานักงาน
(ข) อาคารเพื่อการพาณิชย์
(ค) อาคารโรงงาน
(ง) อาคารเก็บสินค้า
(จ) อาคารที่พักอาศัย
(ฉ) อสังหาริมทรัพย์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(4) บริษัทต้องมีเงินกองทุนส่วนเกินไม่น้อยกว่ามูลค่าโครงการ และจํานวนเงินลงทุนในแต่ละโครงการ ต้องไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์รวมของบริษัท
(5) มูลค่าของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เมื่อรวมกับอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองตามมาตรา 33 (9) (ก) และอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจําหน่ายตามมาตรา 34 แล้ว ต้องมีมูลค่าไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์รวมของบริษัท
ส่วน ๒ การประกอบธุรกิจให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น
---------------------------
ข้อ ๗๗ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดขอบเขตและระบุรายละเอียดของประเภทงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น ในนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงประเภทการให้บริการหรือนโยบาย ให้จัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลง
(2) ประเมินศักยภาพและความเพียงพอของทรัพยากรของบริษัท เพื่อให้บริษัทใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และช่วยลดต้นทุน โดยระมัดระวังไม่ให้ปริมาณของงานให้บริการมีมากเกินบทบาทของงานด้านการรับประกันภัยหรือเกินความสามารถของบริษัท
(3) จัดให้มีสัญญาที่กําหนดรายละเอียด ประเภทของการให้บริการ ขั้นตอนหรือวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการระหว่างกัน และระบบการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและทรัพย์สินของบริษัทและของผู้ใช้บริการ
ข้อ ๗๘ การให้บริการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคคลอื่น บริษัทต้องมีความพร้อมของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลของบริษัท โดยต้องมีการแยกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทมีความปลอดภัยและประสิทธิภาพเพียงพอ
ส่วน ๓ การถือตราสารทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจอื่น
-----------------------------
ข้อ ๗๙ บริษัทสามารถถือตราสารทุนตั้งแต่ร้อยละสิบขึ้นไปของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยนิติบุคคลนั้นต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัย หรือประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทประกันภัยต่างประเทศในประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๘๐ บริษัทสามารถถือตราสารทุนตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคล ซึ่งมีลักษณะและประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้น เพื่อประกอบกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจประกันภัยโดยส่วนรวมโดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(2) บริษัทจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัย เฉพาะในส่วนนายหน้าประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือจัดตั้งขึ้นเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(3) บริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขฐานะการเงินหรือการดําเนินกิจการโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และให้บริษัทลดสัดส่วนการถือครองตราสารทุนให้เหลือไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมด ภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ซื้อ ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจพิจารณาขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกินห้าปี เมื่อบริษัทร้องขอก่อนสิ้นระยะเวลาโดยมีเหตุผลอันสมควร
ข้อ ๘๑ การถือตราสารทุนของนิติบุคคลเพื่อการประกอบธุรกิจอื่นตามข้อ 79 และข้อ 80 ให้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) มูลค่ารวมของตราสารทุนที่บริษัทถือเพื่อการประกอบธุรกิจอื่นทั้งหมดต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์รวมของบริษัท
(2) บริษัทต้องมีฐานะการเงินที่มั่นคง และมีความสามารถในการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นิติบุคคลที่บริษัทถือตราสารทุนได้ตามสมควร
(3) บริษัทต้องสามารถควบคุม ดูแล และติดตามฐานะและการดําเนินงานของนิติบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามนโยบายและแผนกลยุทธ์ที่บริษัทกําหนดอย่างสม่ําเสมอ
(4) กรณีบริษัทถือตราสารทุนของนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศ หรือไม่สามารถหาราคาตลาดที่เหมาะสมได้ บริษัทต้องกําหนดแนวทางและวิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนดังกล่าวอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
(5) บริษัทต้องแจ้งให้สํานักงานทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่กระทบต่อฐานะการเงินและการดําเนินการของนิติบุคคลดังกล่าว หรือทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่อาจกระทบต่อฐานะและชื่อเสียงของบริษัท
(6) บริษัทต้องจัดเตรียมข้อมูลของนิติบุคคลที่บริษัทถือตราสารทุนเป็นรายนิติบุคคล และในภาพรวมอย่างเพียงพอ เพื่อให้สํานักงานสามารถเข้าตรวจสอบ หรือจัดส่งให้สํานักงานเมื่อร้องขอได้ เช่น งบการเงิน ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญ
ข้อ ๘๒ บริษัทต้องกําหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงของนิติบุคคลที่บริษัทถือตราสารทุนเพื่อการประกอบธุรกิจอื่น โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามข้อ 64 โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การระบุประเภทความเสี่ยงที่สําคัญของการถือตราสารทุนเพื่อการประกอบธุรกิจอื่นในภาพรวมและรายนิติบุคคล
(2) วิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงของการถือตราสารทุนของนิติบุคคลเพื่อการประกอบธุรกิจอื่น
(3) แนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยง เช่น การกําหนดขอบเขตการมอบอํานาจในการตัดสินใจของผู้มีอํานาจอย่างชัดเจน
ส่วน ๔ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์
---------------------------------
ข้อ ๘๓ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(2) เป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(3) เป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
(4) เป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(5) เป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคล
(6) ทําธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ข้อ ๘๔ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามข้อ 83 บริษัทต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด และได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน โดยนายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน บริษัทต้องคํานวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงของหน่วยลงทุน หรือภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิต
อื่นๆ ๓ บทเฉพาะกาล
----------------------------
ข้อ ๘๕ การลงทุนของบริษัทตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้บริษัทดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในตราสารทุนของนิติบุคคล ซึ่งมีลักษณะและประกอบกิจการแตกต่างจากที่กําหนดไว้ในข้อ 79 และข้อ 80 เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ให้บริษัทถือตราสารทุนดังกล่าวต่อไปได้ แต่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนของนิติบุคคลนั้นมิได้ จนกว่าสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนของนิติบุคคลดังกล่าวจะลดลงเหลือไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(2) การลงทุนอื่น นอกจาก (1) ให้บริษัทดําเนินการต่อไปได้ เพียงสิ้นภาระหรือสิ้นระยะเวลาที่ผูกพันไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงนั้น
ในกรณีที่บริษัทเคยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ลงทุนได้ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และบริษัทยังไม่ได้ลงทุนหรือได้ลงทุนแล้วแต่เพียงบางส่วน ให้บริษัทสามารถลงทุนต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ข้อ ๘๖ การประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับแต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เช่น ไม่มีการจัดทํานโยบายการประกอบธุรกิจอื่นกระบวนการบริหารความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจอื่น หรือระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น ให้บริษัทดําเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
ข้อ ๘๗ บริษัทที่ประกอบธุรกิจจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจดังกล่าวต่อไปได้ และระมัดระวังมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างการลงทุนของบริษัท และการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,066 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2556
--------------------------------------
ธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นธุรกิจที่บริษัทรับโอนความเสี่ยงภัยจากประชาชนและภาคธุรกิจมีความรับผิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยได้รับชําระเบี้ยประกันภัยเป็นการตอบแทน เพื่อให้บริษัทสามารถจัดสรรสํารองประกันภัยให้เพียงพอต่อภาระผูกพันที่มีต่อเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย บริษัทจึงต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เพียงพอและสอดคล้องกับภาระผูกพันที่มีอยู่ สําหรับบริษัทที่มีศักยภาพ ระบบงาน บุคลากร และทรัพยากรเพียงพอบริษัทอาจประกอบธุรกิจอื่นนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติมได้โดยระมัดระวังมิให้การประกอบธุรกิจอื่นดังกล่าวก่อความเสียหาย หรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานตามปกติของบริษัท ดังนั้น การลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท จึงเป็นธุรกรรมที่สําคัญต่อการดําเนินงานและความมั่นคงของบริษัทที่คณะกรรมการบริษัทต้องให้ความสําคัญในการกําหนดนโยบายการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม รวมทั้งติดตามควบคุมการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการดําเนินการอย่างเหมาะสมเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับภาระผูกพัน ความพร้อมของระบบงาน ความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 ครั้งที่ 8/2556 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 และครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
(2) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(3) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“คณะกรรมการบริษัท” หมายความว่า คณะกรรมการของบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่ประกอบธุรกิจภายในราชอาณาจักร
“บริษัทจํากัด” หมายความว่า บริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ตราสารหนี้” หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ให้แก่ผู้ถือตราสารตามจํานวนและเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย ได้แก่ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน สลากออมทรัพย์ หุ้นกู้ ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภทคุ้มครองเงินต้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นกู้ (DR) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงศุกูก หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“สลากออมทรัพย์” หมายความว่า สลากระดมเงินออมที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น มีการจ่ายผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยเมื่อครบกําหนด และมีสิทธิได้รับเงินรางวัลเป็นงวด
“ศุกูก” หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นใบทรัสต์ที่ออกโดยทรัสต์ผู้ออกศุกูก
(2) มีการกําหนดโครงสร้างของการทําธุรกรรมของกองทรัสต์เพื่อนําเงินที่ได้จากการออกตราสารไปหาประโยชน์ในรูปแบบที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม และ
(3) มีการกําหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตรา หรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้ระดมทุนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือตราสาร และมีการกําหนดเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะจ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารด้วย ซึ่งการกําหนดอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม
“ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ตราสารทุน” หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่าผู้ถือตราสารมีความเป็นเจ้าของในส่วนได้เสียคงเหลือของกิจการที่ไปลงทุน ได้แก่ หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ (DR) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หรือใบทรัสต์ของกองทรัสต์อื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้าขั้นพื้นฐาน (Plain Vanilla Derivatives)” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่สามารถแยกเป็นองค์ประกอบย่อยได้ และไม่มีการเพิ่มโครงสร้าง หรือเงื่อนไขอื่น ๆ เข้าไปในสัญญา เช่น currency futures, cross currency swaps, interest rate futures, interest rate swaps, equity futures หรือ equity options
“ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นองค์การหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และหมายความรวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรูปแบบพิเศษ
“องค์กรระหว่างประเทศ” หมายความว่า World Bank หรือ Asian Development Bank (ADB) หรือ International Finance Corporation (IFC) หรือองค์กรหรือนิติบุคคลตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ธนาคารต่างประเทศ” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร
“อันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“อันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)” หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่แต่ละสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กําหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้
“สินทรัพย์ลงทุนของบริษัท” หมายความว่า สินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนได้ตามประกาศฉบับนี้ตามราคาประเมินที่ปรากฏในรายงานการดํารงเงินกองทุน ณ สิ้นไตรมาสหรือสิ้นปีครั้งล่าสุด ที่บริษัทเสนอต่อนายทะเบียนตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย แต่ไม่รวมถึงการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ ตามข้อ 25 (8)
ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะใช้มูลค่าของสินทรัพย์ลงทุนในช่วงระยะเวลาระหว่างรอบรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาสหรือรายปี ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุน ตามแบบและรายการตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบทานพร้อมทั้งแสดงจํานวนความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยตามประเภทของการประกันวินาศภัยซึ่งรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
“ราคาประเมิน” หมายความว่า ราคาประเมินทรัพย์สินของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
“ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือหัวหน้าส่วนงานของหน่วยงานการลงทุน ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการลงทุนให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุน และบริหารเงินลงทุนของบริษัท หรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งอื่นที่เทียบเท่า
“ภาระผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันที่เป็นเหตุให้เจ้าของสินทรัพย์จําต้องยอมรับการกระทําบางอย่างซึ่งกระทบกับสินทรัพย์นั้น หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีผลอยู่ในสินทรัพย์นั้น
“งานสนับสนุน” หมายความว่า งานปฏิบัติการซึ่งบริษัทจะต้องปฏิบัติในการดําเนินธุรกิจปกติหรืองานที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานปกติของบริษัท เช่น การจัดตั้งการบริหารกลุ่มรับเสี่ยงภัย (pool) การให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน งานบัญชีการเงิน งานธุรการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานทรัพยากรบุคคล งานตรวจสอบภายใน งานกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (compliance) หรืองานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว หรืองานสนับสนุนอื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“งานเทคโนโลยีสารสนเทศ” หมายความว่า งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นงานสนับสนุนการให้บริการด้านการประกันภัย เช่น งานด้านการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูล
“งานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า การให้บริการแนะนํา เผยแพร่ข้อมูลและบริการ ของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้าและติดต่อชักชวนลูกค้าให้มาใช้บริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ เช่น การเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงการแจก รวบรวม ตรวจสอบเอกสารคําขอ และหลักฐานประกอบในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
“สินทรัพย์รวมของบริษัท” หมายความว่า สินทรัพย์ของบริษัทตามราคาประเมินที่ปรากฏในรายงานการดํารงเงินกองทุน ณ สิ้นไตรมาสหรือสิ้นปีครั้งล่าสุด ที่บริษัทเสนอต่อนายทะเบียนตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย แต่ไม่รวมถึงการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ ตามข้อ 25 (8)
ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะใช้มูลค่าของสินทรัพย์รวม ในช่วงระยะเวลาระหว่างรอบรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาสหรือรายปี ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุน ตามแบบและรายการตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบทาน พร้อมทั้งแสดงจํานวนความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยตามประเภทของการประกันวินาศภัย ซึ่งรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
ข้อ ๕ ในการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท ให้บริษัทดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ โดยยึดถือหลักการ ดังต่อไปนี้
(1) คณะกรรมการบริษัทต้องให้ความสําคัญในการกําหนดนโยบายการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม และกระบวนการบริหารความเสี่ยง ที่เหมาะสมกับความพร้อมของบริษัท รวมถึงติดตาม ควบคุมดูแลให้การลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยคํานึงถึงความมั่นคง สถานะทางการเงิน การดําเนินงานของบริษัทรวมถึงหลักธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยง
(2) บริษัทต้องบริหารสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย และเหมาะสมต่อภาระผูกพันที่บริษัทมีต่อผู้เอาประกันภัย ทั้งในรูปกระแสเงินสด จํานวนเงินระยะเวลา และสกุลเงิน
(3) ในการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทจะต้องพิจารณาถึงความพร้อมทั้งด้านระบบงาน ความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากร โดยคํานึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และการกระจายความเสี่ยง รวมทั้งความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ความเสี่ยงด้านตลาด (market risk) ความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (operational risk) ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว (concentration risk) หรือความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (strategic risk)
ข้อ ๖ บริษัทต้องลงทุนและประกอบธุรกิจอื่น ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทําการหรืองดเว้นการที่ต้องกระทําใด ๆ อันเป็นผลให้บริษัทต้องจ่ายเงินหรือสินทรัพย์อื่นมากกว่าจํานวนที่พึงจ่ายหรือให้บริษัทได้รับเงินหรือทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ใด ๆ น้อยกว่าจํานวนที่พึงได้รับ
อื่นๆ - การลงทุน
---------------------------------
หมวด ๑ บททั่วไป
--------------------------------
ข้อ ๗ คณะกรรมการบริษัทต้องมีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจประกันภัย สินทรัพย์ที่บริษัทลงทุน และการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน และมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาอนุมัติ
(ก) กรอบนโยบายการลงทุน
(ข) กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน
การพิจารณาอนุมัติตาม (1) ให้หมายความรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ
(2) จัดให้มีกระบวนการติดตามสอดส่องผลการดําเนินงานด้านการลงทุน ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เพื่อให้การลงทุนของบริษัทเป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุน และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(3) จัดให้มีการทบทวนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ของบริษัท และกระบวนการระบุความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในตราสารทางการเงินในปัจจุบัน และจากตราสารทางการเงินใหม่ ทั้งในและนอกงบแสดงฐานะการเงิน
(4) แต่งตั้งคณะกรรมการลงทุน
(5) มอบหมายหน่วยงานที่เป็นอิสระจากหน่วยงานการลงทุนในการระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน
ข้อ ๘ บริษัทต้องจัดให้มีคณะกรรมการลงทุน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทจํานวนไม่น้อยกว่าสามคน ประกอบด้วย
(1) กรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัท และ
(2) บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีเกี่ยวกับการบริหารการลงทุน การบริหารความเสี่ยง หรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ซึ่งอาจเป็นกรรมการผู้บริหารของบริษัท หรือบุคคลภายนอกก็ได้
ข้อ ๙ ในการลงทุนของบริษัท คณะกรรมการลงทุนมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) จัดทํากรอบนโยบายการลงทุน เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
(2) พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนของบริษัทที่สอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม
(3) กํากับดูแลการลงทุนของบริษัท ให้เป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุน และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) กํากับดูแลในเรื่องธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับธุรกรรมการลงทุนของบริษัท
(5) กํากับดูแล ระบบงาน บุคลากร และข้อมูลที่ใช้ประกอบการลงทุนของบริษัทให้มีความเพียงพอต่อการดําเนินงาน
(6) บริหารเงินลงทุนตามกรอบนโยบายการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
(7) รายงานผลการลงทุนให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างสม่ําเสมอ
ข้อ ๑๐ บริษัทต้องจัดทํากรอบนโยบายการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม การออกแบบผลิตภัณฑ์ การรับประกันภัย การทําสัญญาประกันภัยต่อการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน ฐานะเงินกองทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนที่คาดหวัง ความพร้อมของระบบงานและบุคลากรในการรองรับการลงทุน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตประเภทสินทรัพย์ที่บริษัทจะลงทุน (asset allocation)
(2) จํานวนวงเงินลงทุนที่ผู้บริหารแต่ละระดับสามารถอนุมัติให้ลงทุนได้
(3) เงื่อนไขการนําสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพัน
(4) เงื่อนไขการทําธุรกรรมยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ และการทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (ถ้ามี)
(5) นโยบายการว่าจ้างนิติบุคคลภายนอกให้ดําเนินการลงทุนแทนบริษัท ที่กําหนดคุณสมบัติและแนวทางการคัดเลือกนิติบุคคลภายนอก ข้อกําหนดให้นิติบุคคลที่บริษัทว่าจ้างปฏิบัติตามกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัทที่ชัดเจน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของนิติบุคคลที่บริษัทว่าจ้างและการรายงานผลการปฏิบัติงานของนิติบุคคลดังกล่าวให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททราบ
(6) กรณีที่บริษัทมีการเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง บริษัทต้องกําหนดแนวนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (policy on the use of derivatives)
บริษัทต้องทบทวนกรอบนโยบายการลงทุนตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งให้สํานักงานเป็นประจําทุกปีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑ บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวมตามประกาศว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัยและต้องสอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุน ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ความสอดคล้องระหว่างทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท เพื่อให้บริษัทสามารถประเมิน บริหาร ควบคุมและติดตาม ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน เช่น ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว หรือความเสี่ยงด้านกลยุทธ์โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานการลงทุน
(2) การระบุประเภทความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน ประเภทของความเสี่ยงที่บริษัทอาจมีและการกําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจากความมั่นคงทางการเงินของบริษัท ความพร้อมในการบริหารและรองรับความเสี่ยงดังกล่าว
(3) วิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการลงทุนแต่ละประเภทได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็วทันเวลา
(4) แนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยง บริษัทอาจกําหนดนโยบายให้มีการปิดความเสี่ยงที่ไม่มีระบบบริหารความเสี่ยงรองรับ หรือไม่สามารถบริหารความเสี่ยงนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือกําหนดให้มีการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ แนวทางที่ใช้ต้องสอดคล้องกับลักษณะการลงทุน ความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และระบบข้อมูลที่บริษัทมี
(5) การรายงานและติดตามความเสี่ยง บริษัทต้องจัดให้มีผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารความเสี่ยงคอยติดตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน และรายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
บริษัทต้องทบทวนกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่งอย่างสม่ําเสมอ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๒ บริษัทต้องจัดทําแผนการลงทุนของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) สัดส่วนของสินทรัพย์ลงทุนแต่ละประเภท (limits for the allocation of assets) ที่คํานึงถึงการกระจายการลงทุนในแต่ละประเภทสินทรัพย์ ผู้ออกตราสาร คู่สัญญา ประเภทธุรกิจ ตลาดหรือประเทศที่จะลงทุน สกุลเงิน สภาพคล่อง และระยะเวลาการลงทุน
(2) วิธีการคัดเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุน (policy on the selection of individual securities)
(3) กรณีบริษัทมีการให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ และการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ บริษัทต้องกําหนดนโยบายที่ครอบคลุมหลักเกณฑ์และกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(ก) การพิจารณาอนุมัติ กําหนดวงเงิน และระยะเวลาให้กู้ยืมที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของคู่สัญญา และประเภทของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการกู้ยืม
(ข) การวิเคราะห์การให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ และการออกหนังสือค้ําประกัน
(ค) การประเมินมูลค่าหลักประกัน
(ง) การสอบทานและตรวจสอบเกี่ยวกับสถานะและการชําระเงินคืนของลูกหนี้ และการใช้เงินตามวัตถุประสงค์การให้กู้ยืม ภายหลังจากการอนุมัติการให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ และการออกหนังสือค้ําประกัน แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ บริษัทอาจกําหนดหลักเกณฑ์ และกระบวนการพิจารณาการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทแตกต่างจากที่กําหนดไว้ใน (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ก็ได้
(4) กรณีที่บริษัทมีการเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง บริษัทต้องกําหนดแผนงานการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ที่สอดคล้องกับแนวนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงโดยอาจแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ประเภทธุรกรรม ประเภทตัวแปรหรือสินทรัพย์อ้างอิง ประเภทของคู่สัญญา
บริษัทต้องทบทวนแผนการลงทุนตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งให้สํานักงานเป็นประจําทุกปีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการลงทุนอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบเกี่ยวกับการลงทุนโดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติงาน และการติดตามดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัทและข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนโดยหน่วยงานอิสระตามระเบียบ วิธีการ และความถี่ที่บริษัทกําหนด
(3) การประเมินผลและการรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัท
ข้อ ๑๔ บริษัทต้องจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีรายละเอียดการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการลงทุน การแบ่งแยกหน้าที่ (segregation of duty) ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการสอบยันความถูกต้องระหว่างกัน (checks and balances) การกําหนดอํานาจในการอนุมัติการลงทุน (authority) โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการขออนุมัติการลงทุน
(2) รายละเอียดในการพิจารณาโครงสร้าง ความเสี่ยงของสินทรัพย์ และความสามารถในการรองรับความเสี่ยงดังกล่าวของบริษัท
(3) ขั้นตอนการลงทุน และการรายงานผลการลงทุน
(4) ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
(5) บันทึกเหตุผลการตัดสินใจลงทุน และจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทต้องจัดทําให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของปีที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ บริษัทต้องทบทวนระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนอย่างสม่ําเสมอและจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๕ องค์ประกอบของหน่วยงานการลงทุน
(1) บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบดูแลการลงทุนของบริษัท โดยมีโครงสร้างความพร้อมของบุคลากร ระบบงาน ข้อมูลต่าง ๆ ที่เพียงพอและสอดคล้องกับลักษณะและความซับซ้อนของการลงทุนของบริษัท รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง เพื่อประเมินและติดตามอย่างสม่ําเสมอ เช่น value at risk, position limit และกําหนดมาตรการดําเนินการที่เหมาะสมเพื่อบริหารความเสี่ยง เช่น การกําหนด stop loss โดยรายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการลงทุนทราบอย่างสม่ําเสมอ
(2) ให้บริษัทมอบหมายให้บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการลงทุน เป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน โดยมีประสบการณ์และคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) ผ่านการอบรมหลักสูตรตามที่นายทะเบียนกําหนดให้เป็นหลักสูตรสําหรับผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทประกันภัย
(ข) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
(ค) มีคุณสมบัติ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1) สอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analysts Program (CISA) ระดับ 1 ขึ้นไป หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าตามที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสามปี
2) จบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป ในสาขาการเงิน บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การลงทุน และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุนการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสามปี
3) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาการเงิน บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการลงทุน และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าเจ็ดปี
4) ได้รับวุฒิบัตร (ระดับ 3) ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analysts Program (CISA) หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าตามที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ
5) เป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน นับแต่วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ภายในสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทต้องดําเนินการให้มีบุคคลที่มีลักษณะตาม (2) ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน
ให้บริษัทจัดส่งรายชื่อของบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน พร้อมทั้งรายละเอียดคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่แต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน ไม่มีลักษณะตามข้อ 15 ให้บริษัทดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ว่าจ้างหรือมอบหมายนิติบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน โดยนําความใน ข้อ 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) ลงทุนได้เฉพาะในสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ค) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์กรหรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสาร ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารตาม (ก) (ข) และ (ค)
(จ) ตราสารทุนที่ออกโดยบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด
(ฉ) การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท หรือ
(ช) สินทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
ข้อ ๑๗ ตลอดเวลาการลงทุน บริษัทต้องประเมินราคายุติธรรมของตราสาร หรือมูลค่าการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย และต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุนได้ตามที่กฎหมายกําหนด
ข้อ ๑๘ การลงทุนตามประกาศนี้ หากอยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศและมีกระแสเงินสดรับจ่ายที่แน่นอน เช่น ตราสารหนี้ที่เสนอขายในสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้บริษัทดําเนินการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจํานวน และให้แจ้งรายละเอียดการป้องกันความเสี่ยงให้นายทะเบียนทราบในรายงานผลการดําเนินงานและฐานะการเงินที่จัดส่งให้นายทะเบียนประจํางวด
ข้อ ๑๙ บริษัทสามารถว่าจ้างหรือมอบหมายให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นนิติบุคคลลงทุนแทนบริษัทได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลภายนอกนั้นต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการลงทุน มีความพร้อมของระบบงานและบุคลากร
(2) บริษัทต้องกําหนดคุณสมบัติ แนวทางการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ทําหน้าที่ลงทุนแทนบริษัทตามกรอบนโยบายการลงทุน พร้อมทั้งกําหนดการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และ
(3) บริษัทต้องขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
การว่าจ้างหรือมอบหมายบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในรูปของการจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลลงทุนแทนบริษัท ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน และให้บริษัทแจ้งให้นายทะเบียนทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ว่าจ้างหรือมอบหมาย
ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้บริษัทให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถ ค้ําประกัน แก่บุคคลดังต่อไปนี้ รวมทั้งซื้อ สลักหลังรับรอง หรือรับอาวัลตั๋วเงินที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย เว้นแต่การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
(1) กรรมการ
(2) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
(3) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตาม (1) หรือ (2) ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทประกันวินาศภัย
บริษัทอาจขออนุญาตจากนายทะเบียนให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ เฉพาะกรณีจําเป็นและการดําเนินการดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินและความมั่นคงของบริษัท โดยต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการบริษัทและเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนทราบ
ข้อ ๒๑ การลงทุนในตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศนี้ หากต่อมาผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าเกณฑ์ที่สามารถลงทุนได้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทจําหน่ายตราสารหนี้นั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้
ข้อ ๒๒ การพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้ออกสินทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย หากไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทยให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศ
(2) ในกรณีผู้ออกสินทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศ หากไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย
(3) ในกรณีที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ (issue rating) ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือนั้น
(4) ในกรณีที่ไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหรือคู่สัญญา ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้หมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็น
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันโดยการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันของบุคคลที่กําหนดต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลังหรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข
(ค) ในกรณีมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าหนึ่งอันดับ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ดีที่สุดลําดับที่สอง (the second best rating)
ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้บริษัทนําสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพันใด ๆ เว้นแต่ กรณี ดังต่อไปนี้
(1) การนําสินทรัพย์ลงทุนไปวางเป็นประกันต่อศาล หรือนําไปใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการออกหนังสือค้ําประกันจากสถาบันการเงินเพื่อนําไปวางเป็นประกันต่อศาล เพื่อขอทุเลาการบังคับคดีที่ศาลมีคําพิพากษาให้บริษัทชดใช้หนี้ตามสัญญาประกันภัย หรือสัญญาประกันภัยต่อ ทั้งนี้ บริษัทต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(2) การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 9
(3) การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 10
(4) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๒๔ การดําเนินการลงทุนของบริษัท หากไม่เป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน และระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัท หรือไม่สอดคล้องกับความพร้อมของระบบงานและบุคลากรฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติ หรือสั่งให้ระงับการลงทุนดังกล่าว จนกว่าจะสามารถดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดได้
หมวด ๒ ประเภทสินทรัพย์
----------------------------
ข้อ ๒๕ บริษัทสามารถลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์หรือเข้าเป็นคู่สัญญาได้ ดังต่อไปนี้
(1) ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 1
(2) ตราสารหนี้ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 2
(3) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 3
(4) ตราสารทุน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 4
(5) หน่วยลงทุน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 5
(6) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามหมวด 4 ส่วนที่ 6
(7) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ตามหมวด 4 ส่วนที่ 7
(8) การให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ และการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 8
(9) การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 9
(10) การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 10
หมวด ๓ การกําหนดสัดส่วนการลงทุน
------------------------------
ส่วน ๑ เงื่อนไขทั่วไป
----------------------------
ข้อ ๒๖ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัท ให้ใช้ราคาประเมิน
ส่วน ๒ สัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา
----------------------------
ข้อ ๒๗ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ให้นับรวมมูลค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่คู่สัญญาแต่ละรายเป็นผู้ออก รับรอง รับอาวัล สลักหลัง ค้ําประกันเงินฝากส่วนที่เกินจากที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเงินฝาก เงินให้กู้ยืม เงินให้เช่าซื้อรถ ภาระผูกพันที่เกิดจากการออกหนังสือค้ําประกัน สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่เกินกว่ามูลค่าหลักประกันที่ได้รับจากคู่สัญญา ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และสิทธิเรียกร้องและภาระผูกพันอื่นที่เกิดขึ้นจากการลงทุน ที่บริษัทมีต่อคู่สัญญารายหนึ่งรายใด ไม่เกินมูลค่าที่กําหนดตามประเภทผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ดังต่อไปนี้
(1) รัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ไม่จํากัดสัดส่วน
(2) สถาบันการเงิน แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(3) องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทจํากัดภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่นํารายได้ทั้งจํานวนไปใช้ในโครงการของราชการ บริษัทจํากัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ บริษัทจํากัดที่อยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(4) บริษัทจํากัดที่ออกตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ กรณีการลงทุนอื่นนอกจากตราสารหนี้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(5) องค์กรระหว่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(6) กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนดกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แต่ละกองทรัสต์หรือกองทุนรวม ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(7) คู่สัญญาอื่น แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทอาจมีสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญาเกินกว่าสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้เฉพาะกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) นับแต่วันที่บริษัทได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ห้ามมิให้บริษัทลงทุนใด ๆ ที่มีผลทําให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อมีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจํากัด
(2) เมื่อบริษัทลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้ว ให้นําส่วนของการลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน นับรวมกับส่วนการลงทุนอื่น หากเป็นผลให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ห้ามมิให้บริษัทลงทุนเพิ่มในกลุ่มการลงทุนที่เกินสัดส่วนนั้นอีก
การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญาตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมกรณี ดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในหน่วยลงทุนอื่น นอกจากหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (6)
(2) การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
ส่วน ๓ สัดส่วนการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์
-------------------------
ข้อ ๒๘ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้นับรวมมูลค่าของสินทรัพย์หรือดัชนีที่กองทุนรวมนั้นถือครอง ณ วันที่คํานวณ ตามสัดส่วนมูลค่าหน่วยลงทุนที่บริษัทลงทุนในกองทุนรวมนั้น ตามที่กําหนดในรายงานประจําปีล่าสุดของกองทุนรวม หรือ fund fact sheet รวมกับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีประเภทเดียวกันที่บริษัทได้ลงทุนหรือมีไว้ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ (look - through approach)
ข้อ ๒๙ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัลหรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัด และตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละหกสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๐ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท เว้นแต่ การลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจํากัดที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด ทั้งนี้ บริษัทต้องดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมจากจํานวนที่ต้องดํารงตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการกําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย โดยคํานวณจากผลรวมของเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาด บวกด้วยผลรวมของเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวหรือมูลค่าตราสารทุนที่ลงทุนเกินเงื่อนไขที่กําหนด แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ทั้งนี้ การดํารงเงินกองทุนสําหรับการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต้องไม่เกินมูลค่าของตราสารทุนที่บริษัทลงทุนโดยตรงและลงทุนผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุน
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้กับกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ และให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 27 วรรคสอง
ข้อ ๓๑ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๒ บริษัทสามารถเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยหรือจากสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุน โดยมีผลรวมของสถานะถือครองสัญญาสุทธิ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินมูลค่าความเสี่ยงที่บริษัทมีอยู่
ข้อ ๓๓ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืมและให้เช่าซื้อรถ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ ไม่นับรวมการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
ข้อ ๓๔ บริษัทสามารถออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๕ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๖ บริษัทสามารถลงทุนในเงินฝากธนาคารต่างประเทศ ตราสารหนี้ต่างประเทศ ตราสารทุนต่างประเทศ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ และใบทรัสต์ของกองทรัสต์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ รวมกันทั้งหมดไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๗ บริษัทสามารถลงทุนในสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(1) ตราสารหนี้ที่กําหนดให้ผู้ทรงตราสารหนี้มีสิทธิในการรับชําระหนี้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
(2) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เว้นแต่ ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภทคุ้มครองเงินต้น ตามข้อ 44 (3)
(3) ตราสารทุนที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ หรือไม่ได้อยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ และสินทรัพย์หรือดัชนีที่บริษัทถือครองผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่กําหนดนโยบายลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีที่บริษัทลงทุนได้โดยตรง แต่มีการจัดสรรลงทุนบางส่วนในสินทรัพย์หรือดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคํา
(5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49 หรือข้อ 50 ที่บริษัทไม่สามารถแยกองค์ประกอบได้หรือไม่มีข้อมูลสัดส่วนประเภทการลงทุนของกองทุนรวมที่เพียงพอ
ส่วน ๔ สัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์
------------------------------------
ข้อ ๓๘ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้แต่ละประเภท ได้ไม่เกินสัดส่วน ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันหรือตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง รวมถึงตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัดรายเดียวกัน แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด แต่ละกองทรัสต์ ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(3) ตราสารหนี้ที่ผู้ออกหรือผู้ค้ําประกันเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๙ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนของผู้ออกแต่ละรายได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารทุนของบริษัทจํากัดที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือของบริษัทจํากัดที่อยู่ระหว่างการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (initial public offering: IPO) แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(2) ตราสารทุนอื่นนอกจาก (1) แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้กับกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ และให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 27 วรรคสอง
ข้อ ๔๐ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม ได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท เว้นแต่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย แต่ละกองทุนรวมหรือกองทรัสต์ ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๔๑ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถ และออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเมื่อรวมกันแล้วให้บริษัทลงทุนแก่บุคคลนั้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท เว้นแต่การให้กู้ยืมในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
(2) การให้กู้ยืมแก่กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานแต่ละกองทรัสต์หรือกองทุนรวม ให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
หมวด ๔ ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุน
----------------------------------
ส่วน ๑ ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน
--------------------------------
ข้อ ๔๒ การฝากเงินในประเทศ บริษัทต้องฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือสถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
ข้อ ๔๓ การฝากเงินในต่างประเทศ บริษัทต้องฝากไว้กับธนาคารต่างประเทศตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นธนาคารต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) เป็นการฝากเงินระยะสั้นในธนาคารต่างประเทศ โดยธนาคารดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่บริษัทได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินต่างประเทศ ทั้งนี้ การฝากเงินดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการชําระราคา อํานวยความสะดวก หรือป้องกันปัญหาในการดําเนินงานในต่างประเทศของบริษัท
ส่วน ๒ ตราสารหนี้
--------------------------------
ข้อ ๔๔ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน บริษัทสามารถลงทุนได้โดยไม่จํากัดจํานวน
(2) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ซึ่งมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้ หรือของผู้ค้ําประกันไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ เว้นแต่ เป็นตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัลหรือค้ําประกัน โดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ข) กรณีตราสารหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตั๋วแลกเงิน ต้องไม่มีข้อจํากัดความรับผิด
(ค) กรณีตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด กองทรัสต์นั้นต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและมีมูลค่าไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
(3) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามหมวด 4 ส่วนที่ 7 ข้อ 52 ประเภทคุ้มครองเงินต้น
กรณีตราสารหนี้ตาม (1) และ (2) ที่เสนอขายในต่างประเทศ ให้ถือว่าเป็นตราสารหนี้ในประเทศที่บริษัทสามารถลงทุนได้ โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดใน (1) และ (2)
การรับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน ตาม (1) และ (2) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลังหรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข
ข้อ ๔๕ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิที่ออกหรือค้ําประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ และต้องเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หรือของผู้ออกตราสาร หรือของผู้ค้ําประกัน ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ และต้องเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือ ที่สามารถลงทุนได้
(3) ตราสารหนี้ตาม (1) และ (2) ต้องเป็นตราสารหนี้ที่บริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารหนี้ดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
ส่วน ๓ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
--------------------------------------
ข้อ ๔๖ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทจํากัด ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) เป็นตราสารที่ขึ้นทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(3) เป็นตราสารที่มีราคาเหมาะสมตามที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด หรือมีผู้แสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะเสนอราคาซื้อและรับซื้อตราสารนั้นในราคาดังกล่าว ตามจํานวนและวิธีการที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนดอยู่เสมอ โดยได้ส่งสําเนาราคาแก่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตลอดอายุของตราสารนั้น หรือในกรณีที่เป็นตราสารที่มีการเสนอขายครั้งแรกต้องเป็นตราสารที่มีนักลงทุนสถาบันไม่น้อยกว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสารดังกล่าว
ส่วน ๔ ตราสารทุน
----------------------------------
ข้อ ๔๗ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนในประเทศที่ออกโดยบริษัทจํากัดได้ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น เว้นแต่ การถือตราสารทุนเพื่อการประกอบธุรกิจอื่น และตราสารทุนที่ออกโดยบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด
(2) กรณีตราสารทุนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศหรือไม่มีตลาดรองซื้อขายเป็นการทั่วไป หรือไม่ได้เป็นตราสารทุนที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ซึ่งผู้ออกตราสารทุนดังกล่าวอยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๔๘ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของผู้ออกนั้น
(2) กรณีตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องเป็นตราสารทุนที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) หรือที่อยู่ระหว่างการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น และบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารทุนดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านอินเตอร์เน็ต
(3) กรณีตราสารทุนอื่นนอกจาก (2) บริษัทสามารถลงทุนได้เฉพาะตราสารทุนที่ออกโดยนิติบุคคล ดังต่อไปนี้ และต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(ก) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น หรือที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยดังกล่าว
(ข) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนธุรกิจประกันภัย
(ค) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific : ESCAP) เพื่อประกอบธุรกิจเฉพาะการประกันต่อ
ส่วน ๕ หน่วยลงทุน
---------------------------------------
ข้อ ๔๙ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีประเภทและชนิดเดียวกับสินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์
(2) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ และมีมูลค่ากองทุนไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
ข้อ ๕๐ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) หรือที่อยู่ระหว่างการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น
(2) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีประเภทและชนิดเดียวกับสินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์
(3) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
(4) ไม่ใช่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทเฮ็ดจ์ฟันด์
(5) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ และมีมูลค่ากองทุนไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
(6) กรณีกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ ต้องลงทุนสินค้าหรือดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดและประเภทเดียวกับที่กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศสามารถลงทุนได้
ส่วน ๖ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
----------------------------------
ข้อ ๕๑ บริษัทสามารถเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มิใช่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าขั้นพื้นฐาน (plain vanilla derivatives) บริษัทต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด
(2) เป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยหรือจากสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุนโดยอ้างอิงสินทรัพย์หรือดัชนีตามภาระความเสี่ยงที่บริษัทมีอยู่ และมูลค่าของสัญญาต้องไม่เกินมูลค่าความเสี่ยงที่บริษัทมี
(3) ไม่ทําให้การบริหารสินทรัพย์ลงทุนของบริษัทเบี่ยงเบนไปจากกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัท
(4) กระทําในบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด หรือในกรณีที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(5) มีสินค้าหรือตัวแปร อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) หลักทรัพย์
(ข) อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
(ค) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(ง) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้
(จ) ดัชนีทางการเงินที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1) เกิดจากการคํานวณโดยใช้ตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง)
2) พัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ
3) นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล
4) มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันผ่านสื่อที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์
5) มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยระบุแหล่งข้อมูลของตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณ ซึ่งต้องมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีบุคคลใดสามารถมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแปร ปัจจัย หรือดัชนีทางการเงินนั้นได้
ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงถึงการพิจารณาคุณสมบัติดัชนีทางการเงินนั้นไว้ที่บริษัท เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบ หรือจัดส่งให้สํานักงานเมื่อสํานักงานร้องขอ
(ฉ) สินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(6) การส่งมอบสินค้าเมื่อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสิ้นสุดลง สินค้านั้นต้องเป็นสินทรัพย์ที่บริษัทสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัทจะเป็นผู้มีสิทธิรับมอบหรือมีหน้าที่ส่งมอบสินค้านั้นก็ตาม เว้นแต่ กรณีการรับชําระหนี้ที่เกิดจากคู่สัญญาผิดนัดชําระหนี้ ให้บริษัทจําหน่ายทรัพย์สินนั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้
(7) มีการวางแผนการบริหารสภาพคล่องให้เพียงพอตามวันครบกําหนดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(8) ห้ามมิให้บริษัทเข้าเป็นคู่สัญญาออปชันที่ผูกพันบริษัทในฐานะผู้ให้สัญญา (option writer)
(9) การเข้าเป็นคู่สัญญาของบริษัทต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับสัดส่วนการลงทุน การประเมินราคา และการคํานวณเงินกองทุนของบริษัท
(10) ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดย International Swaps and Derivatives Association (ISDA) หรือสัญญารูปแบบอื่นที่ใช้มาตรฐานทางธุรกิจ
(11) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทต้องจัดให้มีข้อตกลงในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(ก) ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลที่สามที่ได้รับการแต่งตั้งจากคู่สัญญาคํานวณมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน และแจ้งมูลค่ายุติธรรมให้บริษัททราบในวันดังกล่าว หรือวันทําการแรกที่สามารถกระทําได้
(ข) ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างมีนัยสําคัญให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้บริษัททราบทันที
(ค) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมให้มีการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อบริษัทร้องขอได้
ส่วน ๗ ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
---------------------------------
ข้อ ๕๒ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ไม่ทําให้การบริหารสินทรัพย์ลงทุนของบริษัทเบี่ยงเบนไปจากกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัท
(2) ในกรณีการซื้อตราสารดังกล่าวมีผลทําให้บริษัทต้องรับมอบสินทรัพย์ สินทรัพย์ดังกล่าวต้องเป็นประเภทที่บริษัทสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ และไม่ทําให้สัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวเกินกว่าที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เว้นแต่กรณีการรับชําระหนี้ที่เกิดจากคู่สัญญาผิดนัดชําระหนี้ ให้บริษัทจําหน่ายสินทรัพย์นั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้
(3) เป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยหรือจากสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุน หรือเพื่อเพิ่มผลตอบแทนของบริษัทภายใต้ระดับความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้
(4) เป็นตราสารที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หรือของผู้ออกตราสาร ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(5) เป็นตราสารที่มีการจ่ายผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) หลักทรัพย์
(ข) อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
(ค) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(ง) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้
(จ) ทองคํา
(ฉ) ดัชนีทางการเงิน ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) เกิดจากการคํานวณโดยใช้ตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ตาม (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ)
2) พัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ
3) นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล
4) มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันผ่านสื่อที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ และ
5) มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยระบุแหล่งข้อมูลของตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีบุคคลใดสามารถมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแปร ปัจจัย หรือดัชนีทางการเงินนั้นได้
ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงถึงการพิจารณาคุณสมบัติดัชนีทางการเงินนั้นไว้ที่บริษัท เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบ หรือจัดส่งให้สํานักงานเมื่อสํานักงานร้องขอ
(ช) สินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(6) ในกรณีตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภทไม่คุ้มครองเงินต้น บริษัทต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๘ การให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ
และการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ
---------------------------------
ข้อ ๕๓ บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ให้กู้ยืมแต่ละรายได้ไม่เกินหนึ่งล้านบาท
(2) มีพนักงานของบริษัทเดียวกัน คนเดียว หรือหลายคนซึ่งมีเงินเดือนรวมกันสูงกว่าเงินเดือนของผู้กู้ยืมเป็นผู้ค้ําประกัน พนักงานของบริษัทคนหนึ่งให้ค้ําประกันได้ไม่เกินหนึ่งราย หรือมีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ค้ําประกัน
(3) กําหนดระยะเวลาชําระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยตามนโยบายการให้กู้ยืมของบริษัท หรือระเบียบว่าด้วยการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๔ บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมโดยมีทรัพย์สินจํานองหรือจํานําเป็นประกัน ได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินที่ใช้จํานองหรือจํานําเป็นประกันการกู้ยืม ต้องเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) ให้กู้เฉพาะในประเทศ ในสกุลเงินบาท
(3) กําหนดระยะเวลาชําระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวด ไม่น้อยกว่าปีละครั้ง เว้นแต่นโยบายการให้กู้ยืมของบริษัทมีการกําหนดระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนและระยะเวลาดังกล่าวไม่เกินหนึ่งในสี่ของระยะเวลาให้กู้ยืม
(4) ให้กู้ยืมแต่ละรายได้ไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีผู้กู้ยืมเป็นบุคคลธรรมดา ได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินหรือของราคาซื้อขายของโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย ที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(ข) กรณีผู้กู้ยืมเป็นนิติบุคคล กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
ทั้งนี้ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตาม (ข) ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและมีมูลค่าไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
(5) การจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูกสร้างนั้นจะต้องมีการประกันวินาศภัยและให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดระยะเวลาตามสัญญากู้ยืม
(6) การให้กู้ยืมโดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๕๕ บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมโดยมีสถาบันการเงิน ธนาคารต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศค้ําประกันได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) สถาบันการเงิน ธนาคารต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่ค้ําประกันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) ให้กู้ยืมในสกุลเงินบาท
ข้อ ๕๖ บริษัทสามารถลงทุนให้เช่าซื้อรถได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ หรือรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(2) ผู้เช่าซื้อรถมีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(3) ให้เช่าซื้อแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาตลาดของรถนั้น
(4) รถที่ให้เช่าซื้อต้องจัดให้มีการประกันวินาศภัย โดยให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดระยะเวลาการเช่าซื้อ
ข้อ ๕๗ บริษัทสามารถออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ แก่บุคคลใดได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ จํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) จํากัดวงเงินการออกหนังสือค้ําประกันให้แก่บุคคล แต่ละรายไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่นํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(3) การออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ โดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๙ การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
--------------------------------------
ข้อ ๕๘ บริษัทสามารถทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาของการทําธุรกรรมเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เว้นแต่คู่สัญญาเป็นบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ทําสัญญายืมและให้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีลักษณะและสาระสําคัญตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด เว้นแต่กรณีทําธุรกรรมให้ยืมตราสารหนี้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ทําสัญญาตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(3) หลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืมต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
(4) กรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้า (custodian) หากต้องการยืมหลักทรัพย์จากบริษัท หรือต้องการนําหลักทรัพย์ของบริษัทไปให้บุคคลอื่นยืม ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร
(5) การให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ จากผู้ยืมหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์
(ก) เงินสด
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามข้อ 44 (1)
(ค) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 44 (2)
(ง) หลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(6) การวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมหลักทรัพย์ตาม (5) บริษัทต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) ให้บริษัทมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน หรือดําเนินการโดยวิธีอื่นซึ่งจะมีผลให้บริษัทสามารถบังคับชําระหนี้เอาจากหลักประกันดังกล่าวได้โดยพลัน
(ข) ห้ามมิให้บริษัทนําหลักประกันตาม (5) ที่บริษัทมีกรรมสิทธิ์ไปโอนหรือขายต่อ เว้นแต่เป็นการบังคับชําระหนี้ตามข้อตกลงธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(ค) ดํารงมูลค่าหลักประกัน ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(7) ให้นับหลักทรัพย์ที่บริษัทให้ยืม และหลักทรัพย์ที่บริษัทนําไปวางไว้กับคู่สัญญาเพื่อเป็นหลักประกันการยืม ในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัทในหลักทรัพย์ดังกล่าว
ส่วน ๑๐ การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน
-------------------------------------
ข้อ ๕๙ บริษัทสามารถทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการทําธุรกรรมกับคู่สัญญา ดังต่อไปนี้
(ก) สถาบันการเงิน
(ข) บริษัทหลักทรัพย์
(ค) บริษัทประกันภัย
(ง) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(จ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฉ) กองทุนบําเหน็จบํานาญ
(ช) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ซ) กองทุนรวม
(ฌ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ญ) ส่วนราชการ หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจ
(ฎ) บริษัทจํากัดที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) เป็นการทําธุรกรรมซื้อหรือขายโดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนตราสารหนี้ ที่ขึ้นทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ในประเภทและชนิดเดียวกับสินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ หรือตราสารอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(3) ทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยต้องเป็นสัญญามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เว้นแต่ เป็นสัญญาที่บริษัททํากับธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จะมีเอกสารแนบท้ายสัญญาด้วยก็ได้ โดยธุรกรรมดังกล่าวให้ทําได้เฉพาะสกุลเงินบาทและมีระยะเวลาการขายและซื้อคืนไม่เกินหนึ่งปี
(4) การคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ให้คํานวณตามมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้ (market convention) ในการทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(5) การทําธุรกรรมซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืน ให้ราคาซื้อ ณ วันเริ่มต้นสัญญาต่ํากว่ามูลค่าหลักทรัพย์ โดยมีส่วนลดในอัตราที่เหมาะสม และสะท้อนความเสี่ยงของคู่สัญญา ระยะเวลาของสัญญาและหลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมนั้น ในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับบริษัทต้องดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าราคาซื้อรวมกับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการทําธุรกรรมนับแต่วันเริ่มต้นสัญญาจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าหลักทรัพย์คูณด้วย (1+อัตราส่วนลดหลักทรัพย์) หากมูลค่าไม่เป็นไปตามที่กําหนดบริษัทต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงินหรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ให้บริษัทเพื่อให้มูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่ทําธุรกรรมและสินทรัพย์ที่โอนมาดังกล่าว เป็นไปตามที่กําหนดภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ ได้มีการกําหนดส่วนต่างขั้นต่ําที่บริษัทไม่ต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงิน หรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ไว้ โดยการกําหนดส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
(6) ให้นับหลักทรัพย์ที่ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัทในหลักทรัพย์ดังกล่าว
อื่นๆ ๒ การประกอบธุรกิจอื่น
------------------------------------
หมวด ๑ บททั่วไป
-----------------------------------
ข้อ ๖๐ ในการประกอบธุรกิจอื่น บริษัทต้องให้ความสําคัญกับฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท และการดําเนินธุรกิจการรับประกันภัยซึ่งเป็นธุรกิจหลักเป็นอันดับแรก รวมทั้งต้องคํานึงถึงหลักธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยง การประกอบธุรกิจอื่นต้องเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรหรือความเชี่ยวชาญที่บริษัทมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมีนัยสําคัญต่อบริษัท
ข้อ ๖๑ ในการประกอบธุรกิจอื่น คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาอนุมัติ
(ก) นโยบายการประกอบธุรกิจอื่น
(ข) กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่น
การพิจารณาอนุมัติตาม (1) ให้หมายความรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ
(2) จัดให้มีกระบวนการติดตามสอดส่องผลการดําเนินงานของการประกอบธุรกิจอื่น ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เพื่อให้การประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทเป็นไปตามนโยบายการประกอบธุรกิจอื่น และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(3) แต่งตั้งคณะกรรมการอื่นหรือมอบหมายคณะกรรมการลงทุน เพื่อทําหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก) กํากับดูแลการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายการประกอบธุรกิจอื่น นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการตามปกติของบริษัท
(ข) กํากับดูแลในเรื่องธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท
(ค) รายงานผลการดําเนินงานให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างสม่ําเสมอ
ข้อ ๖๒ บริษัทต้องจัดทํานโยบายการประกอบธุรกิจอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต้องสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม ความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และทรัพยากรของบริษัท ฐานะเงินกองทุน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตและประเภทการประกอบธุรกิจอื่นที่บริษัทจะดําเนินการ
(2) นโยบายการประกอบธุรกิจอื่น ในแต่ละประเภท
(3) ขอบเขตอํานาจในการอนุมัติ และการตัดสินใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น
(4) กลยุทธ์ แผนงาน และระเบียบวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงาน
(5) ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจอื่น
(6) การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการกับลูกค้า
บริษัทต้องทบทวนนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งให้สํานักงานเป็นประจําทุกปีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖๓ บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัยและต้องสอดคล้องกับนโยบายการประกอบธุรกิจอื่น เพื่อให้บริษัทสามารถประเมิน บริหาร ควบคุม และติดตาม ความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจอื่นได้อย่างเหมาะสม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบการประกอบธุรกิจอื่น
(2) การระบุประเภทความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่น ประเภทของความเสี่ยงที่บริษัทอาจมี และการกําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจากความมั่นคงทางการเงินของบริษัท ความพร้อมในการบริหารและรองรับความเสี่ยงดังกล่าว
(3) วิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอื่นแต่ละประเภทได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็วทันเวลา
(4) แนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยงที่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และระบบข้อมูลที่บริษัทมี
(5) การรายงานและติดตามความเสี่ยง บริษัทต้องจัดให้มีผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารความเสี่ยงคอยติดตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอื่น และรายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
บริษัทต้องทบทวนกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่งอย่างสม่ําเสมอ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๖๔ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นโดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติงาน และการติดตามดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นโดยหน่วยงานอิสระตามระเบียบ วิธีการ และความถี่ที่บริษัทกําหนด
(3) การประเมินผลและการรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัท
ข้อ ๖๕ บริษัทต้องแยกแสดงรายได้จากการประกอบธุรกิจอื่นแต่ละประเภทให้ครบถ้วนและถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
ข้อ ๖๖ บริษัทต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ข้อ ๖๗ การประกอบธุรกิจอื่น ต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับสัดส่วนการลงทุน การประเมินราคา และการคํานวณเงินกองทุนของบริษัท กฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัท
ข้อ ๖๘ กรณีการประกอบธุรกิจอื่นที่มีหน่วยงานกํากับเป็นการเฉพาะ บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
ข้อ ๖๙ การดําเนินการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท หากไม่เป็นไปตามนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท หรือไม่สอดคล้องกับความพร้อมของระบบงานและบุคลากร ฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติ หรือสั่งให้ระงับการประกอบธุรกิจดังกล่าวจนกว่าจะสามารถดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดได้
หมวด ๒ ประเภทการประกอบธุรกิจอื่น
---------------------------------------
ข้อ ๗๐ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจอื่นได้ ดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามหมวด 3 ส่วนที่ 1
(2) ประกอบธุรกิจให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น ตามหมวด 3 ส่วนที่ 2
(3) ถือตราสารทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจอื่น ตามหมวด 3 ส่วนที่ 3
(4) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามหมวด 3 ส่วนที่ 4
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจอื่น
---------------------------------------
ส่วน ๑ การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
---------------------------------
ข้อ ๗๑ อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทนําออกให้เช่าได้ ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทใช้เป็นสถานที่สําหรับดําเนินธุรกิจ ตามมาตรา 31 (10) (ก) ซึ่งยังมิได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น สถานที่ทําการ ที่จอดรถ
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทต้องจําหน่าย ตามมาตรา 33
ข้อ ๗๒ บริษัทสามารถนําอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 71 ออกให้เช่าได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเช่าเพื่อป้องกันการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันเสื่อมสภาพ
(2) มีการทําสัญญาเช่าเป็นหนังสือ
(3) ไม่ทําสัญญาเช่าที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้พื้นที่ และการจําหน่ายของบริษัท
(4) ให้เช่าไม่เกินกว่าระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย
(5) กําหนดเงื่อนไขในการให้เช่า ค่าเช่า และผลประโยชน์ที่เหมาะสมตามสภาวะตลาดและเป็นปกติทางการค้า
(6) บริษัทอาจปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 71 ได้ตามความจําเป็น แต่มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงได้แห่งละไม่เกินสามล้านบาท เว้นแต่ ได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๒ การประกอบธุรกิจให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น
----------------------------------
ข้อ ๗๓ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดขอบเขตและระบุรายละเอียดของประเภทงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น ในนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงประเภทการให้บริการหรือนโยบาย ให้จัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลง
(2) ประเมินศักยภาพและความเพียงพอของทรัพยากรของบริษัท เพื่อให้บริษัทใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และช่วยลดต้นทุน โดยระมัดระวังไม่ให้ปริมาณของงานให้บริการมีมากเกินบทบาทของงานด้านการรับประกันภัยหรือเกินความสามารถของบริษัท
(3) จัดให้มีสัญญาที่กําหนดรายละเอียด ประเภทของการให้บริการ ขั้นตอนหรือวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการระหว่างกัน และระบบการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและทรัพย์สินของบริษัทและของผู้ใช้บริการ
ข้อ ๗๔ การให้บริการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคคลอื่น บริษัทต้องมีความพร้อมของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลของบริษัท โดยต้องมีการแยกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทมีความปลอดภัยและประสิทธิภาพเพียงพอ
ส่วน ๓ การถือตราสารทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจอื่น
-------------------------------------
ข้อ ๗๕ บริษัทสามารถถือตราสารทุนตั้งแต่ร้อยละสิบขึ้นไปของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยนิติบุคคลนั้นต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัย หรือประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทประกันภัยต่างประเทศในประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๗๖ บริษัทสามารถถือตราสารทุนตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคล ซึ่งมีลักษณะและประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจประกันภัยโดยส่วนรวมโดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(2) บริษัทจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัย เฉพาะในส่วนนายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือจัดตั้งขึ้นเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(3) บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เฉพาะการประกันภัยต่อ สามารถซื้อตราสารทุนของบริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต เฉพาะการประกันภัยต่อ โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขฐานะการเงินหรือการดําเนินกิจการโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และให้บริษัทลดสัดส่วนการถือครองตราสารทุนให้เหลือไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมด ภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ซื้อ ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจพิจารณาขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกินห้าปี เมื่อบริษัทร้องขอก่อนสิ้นระยะเวลาโดยมีเหตุผลอันสมควร
ข้อ ๗๗ การถือตราสารทุนของนิติบุคคลเพื่อการประกอบธุรกิจอื่นตามข้อ 75 และ ข้อ 76 ให้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) มูลค่ารวมของตราสารทุนที่บริษัทถือเพื่อการประกอบธุรกิจอื่นทั้งหมดต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์รวมของบริษัท
(2) บริษัทต้องมีฐานะการเงินที่มั่นคง และมีความสามารถในการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นิติบุคคลที่บริษัทถือตราสารทุนได้ตามสมควร
(3) บริษัทต้องสามารถควบคุม ดูแล และติดตามฐานะและการดําเนินงานของนิติบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามนโยบายและแผนกลยุทธ์ที่บริษัทกําหนดอย่างสม่ําเสมอ
(4) กรณีบริษัทถือตราสารทุนของนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศ หรือไม่สามารถหาราคาตลาดที่เหมาะสมได้ บริษัทต้องกําหนดแนวทางและวิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนดังกล่าวอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
(5) บริษัทต้องแจ้งให้สํานักงานทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่กระทบต่อฐานะการเงินและการดําเนินการของนิติบุคคลดังกล่าว หรือทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่อาจกระทบต่อฐานะและชื่อเสียงของบริษัท
(6) บริษัทต้องจัดเตรียมข้อมูลของนิติบุคคลที่บริษัทถือตราสารทุนเป็นรายนิติบุคคล และในภาพรวมอย่างเพียงพอ เพื่อให้สํานักงานสามารถเข้าตรวจสอบ หรือจัดส่งให้สํานักงานเมื่อร้องขอได้ เช่น งบการเงิน ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญ
ข้อ ๗๘ บริษัทต้องกําหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงของนิติบุคคลที่บริษัทถือตราสารทุนเพื่อการประกอบธุรกิจอื่น โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามข้อ 63 โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การระบุประเภทความเสี่ยงที่สําคัญของการถือตราสารทุนเพื่อการประกอบธุรกิจอื่นในภาพรวมและรายนิติบุคคล
(2) วิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงของการถือตราสารทุนของนิติบุคคลเพื่อการประกอบธุรกิจอื่น
(3) แนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยง เช่น การกําหนดขอบเขตการมอบอํานาจในการตัดสินใจของผู้มีอํานาจอย่างชัดเจน
ส่วน ๔ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์
--------------------------------
ข้อ ๗๙ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(2) เป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคล
(3) ทําธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ข้อ ๘๐ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามข้อ 79 บริษัทต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด และได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
อื่นๆ ๓ บทเฉพาะกาล
----------------------------------
ข้อ ๘๑ การลงทุนของบริษัทตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับแต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้บริษัทดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในตราสารทุนของนิติบุคคล ซึ่งมีลักษณะและประกอบกิจการแตกต่างจากที่กําหนดไว้ในข้อ 75 และข้อ 76 เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ให้บริษัทถือตราสารทุนดังกล่าวต่อไปได้ แต่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนของนิติบุคคลนั้นมิได้ จนกว่าสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนของนิติบุคคลดังกล่าวจะลดลงเหลือไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(2) การลงทุนอื่น นอกจาก (1) ให้บริษัทดําเนินการต่อไปได้ เพียงสิ้นภาระหรือสิ้นระยะเวลาที่ผูกพันไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงนั้น
ในกรณีที่บริษัทเคยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ลงทุนได้ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัยที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และบริษัทยังไม่ได้ลงทุนหรือได้ลงทุนแล้วแต่เพียงบางส่วน ให้บริษัทสามารถลงทุนต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ข้อ ๘๒ การประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เช่น ไม่มีการจัดทํานโยบายการประกอบธุรกิจอื่นกระบวนการบริหารความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจอื่น หรือระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น ให้บริษัทดําเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,067 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2556
-------------------------------------------
ธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นธุรกิจที่บริษัทรับโอนความเสี่ยงภัยจากประชาชนและภาคธุรกิจมีความรับผิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยได้รับชําระเบี้ยประกันภัยเป็นการตอบแทน เพื่อให้บริษัทสามารถจัดสรรสํารองประกันภัยให้เพียงพอต่อภาระผูกพันที่มีต่อเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย บริษัทจึงต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เพียงพอและสอดคล้องกับภาระผูกพันที่มีอยู่ สําหรับบริษัทที่มีศักยภาพ ระบบงาน บุคลากร และทรัพยากรเพียงพอบริษัทอาจประกอบธุรกิจอื่นนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติมได้โดยระมัดระวังมิให้การประกอบธุรกิจอื่นดังกล่าวก่อความเสียหาย หรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานตามปกติของบริษัท ดังนั้น การลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท จึงเป็นธุรกรรมที่สําคัญต่อการดําเนินงานและความมั่นคงของบริษัทที่คณะกรรมการบริษัทต้องให้ความสําคัญในการกําหนดนโยบายการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม รวมทั้งติดตามควบคุมการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการดําเนินการอย่างเหมาะสมเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับภาระผูกพัน ความพร้อมของระบบงาน ความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 ครั้งที่ 8/2556 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 และครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
(2) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(3) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“คณะกรรมการบริษัท” หมายความว่า คณะกรรมการของบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือคณะผู้บริหารที่มีอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่ประกอบธุรกิจภายในราชอาณาจักร
“บริษัทจํากัด” หมายความว่า บริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจํากัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ตราสารหนี้” หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ให้แก่ผู้ถือตราสารตามจํานวนและเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย ได้แก่ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน สลากออมทรัพย์ หุ้นกู้ ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภทคุ้มครองเงินต้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นกู้ (DR) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงศุกูก หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“สลากออมทรัพย์” หมายความว่า สลากระดมเงินออมที่ออกโดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น มีการจ่ายผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยเมื่อครบกําหนด และมีสิทธิได้รับเงินรางวัลเป็นงวด
“ศุกูก” หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นใบทรัสต์ที่ออกโดยทรัสต์ผู้ออกศุกูก
(2) มีการกําหนดโครงสร้างของการทําธุรกรรมของกองทรัสต์เพื่อนําเงินที่ได้จากการออกตราสารไปหาประโยชน์ในรูปแบบที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม และ
(3) มีการกําหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตรา หรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้ระดมทุนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือตราสาร และมีการกําหนดเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะจ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารด้วย ซึ่งการกําหนดอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม
“ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ตราสารทุน” หมายความว่า ตราสารที่แสดงว่าผู้ถือตราสารมีความเป็นเจ้าของในส่วนได้เสียคงเหลือของกิจการที่ไปลงทุน ได้แก่ หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ (DR) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หรือใบทรัสต์ของกองทรัสต์อื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
“สัญญาซื้อขายล่วงหน้าขั้นพื้นฐาน (Plain Vanilla Derivatives)” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่สามารถแยกเป็นองค์ประกอบย่อยได้ และไม่มีการเพิ่มโครงสร้าง หรือเงื่อนไขอื่น ๆ เข้าไปในสัญญา เช่น currency futures, cross currency swaps, interest rate futures, interest rate swaps, equity futures หรือ equity options
“ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นองค์การหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และหมายความรวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรูปแบบพิเศษ
“องค์กรระหว่างประเทศ” หมายความว่า World Bank หรือ Asian Development Bank (ADB) หรือ International Finance Corporation (IFC) หรือองค์กรหรือนิติบุคคลตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“ธนาคารต่างประเทศ” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร
“อันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“อันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ (investment grade)” หมายความว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่แต่ละสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กําหนดว่าเป็นอันดับความน่าเชื่อถือที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้
“สินทรัพย์ลงทุนของบริษัท” หมายความว่า สินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนได้ตามประกาศฉบับนี้ตามราคาประเมินที่ปรากฏในรายงานการดํารงเงินกองทุน ณ สิ้นไตรมาสหรือสิ้นปีครั้งล่าสุด ที่บริษัทเสนอต่อนายทะเบียนตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย แต่ไม่รวมถึงการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ ตามข้อ 25 (8)
ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะใช้มูลค่าของสินทรัพย์ลงทุนในช่วงระยะเวลาระหว่างรอบรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาสหรือรายปี ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุน ตามแบบและรายการตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบทานพร้อมทั้งแสดงจํานวนความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยตามประเภทของการประกันวินาศภัยซึ่งรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
“ราคาประเมิน” หมายความว่า ราคาประเมินทรัพย์สินของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
“ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือหัวหน้าส่วนงานของหน่วยงานการลงทุน ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการลงทุนให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุน และบริหารเงินลงทุนของบริษัท หรือผู้ที่ดํารงตําแหน่งอื่นที่เทียบเท่า
“ภาระผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันที่เป็นเหตุให้เจ้าของสินทรัพย์จําต้องยอมรับการกระทําบางอย่างซึ่งกระทบกับสินทรัพย์นั้น หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีผลอยู่ในสินทรัพย์นั้น
“งานสนับสนุน” หมายความว่า งานปฏิบัติการซึ่งบริษัทจะต้องปฏิบัติในการดําเนินธุรกิจปกติหรืองานที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินงานปกติของบริษัท เช่น การจัดตั้งการบริหารกลุ่มรับเสี่ยงภัย (pool) การให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน งานบัญชีการเงิน งานธุรการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานทรัพยากรบุคคล งานตรวจสอบภายใน งานกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (compliance) หรืองานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว หรืองานสนับสนุนอื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
“งานเทคโนโลยีสารสนเทศ” หมายความว่า งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นงานสนับสนุนการให้บริการด้านการประกันภัย เช่น งานด้านการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูล
“งานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า การให้บริการแนะนํา เผยแพร่ข้อมูลและบริการ ของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้าและติดต่อชักชวนลูกค้าให้มาใช้บริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ เช่น การเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงการแจก รวบรวม ตรวจสอบเอกสารคําขอ และหลักฐานประกอบในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
“สินทรัพย์รวมของบริษัท” หมายความว่า สินทรัพย์ของบริษัทตามราคาประเมินที่ปรากฏในรายงานการดํารงเงินกองทุน ณ สิ้นไตรมาสหรือสิ้นปีครั้งล่าสุด ที่บริษัทเสนอต่อนายทะเบียนตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย แต่ไม่รวมถึงการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ ตามข้อ 25 (8)
ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะใช้มูลค่าของสินทรัพย์รวม ในช่วงระยะเวลาระหว่างรอบรายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาสหรือรายปี ให้บริษัทจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุน ตามแบบและรายการตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบทาน พร้อมทั้งแสดงจํานวนความรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยตามประเภทของการประกันวินาศภัย ซึ่งรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
ข้อ ๕ ในการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท ให้บริษัทดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ โดยยึดถือหลักการ ดังต่อไปนี้
(1) คณะกรรมการบริษัทต้องให้ความสําคัญในการกําหนดนโยบายการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม และกระบวนการบริหารความเสี่ยง ที่เหมาะสมกับความพร้อมของบริษัท รวมถึงติดตาม ควบคุมดูแลให้การลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยคํานึงถึงความมั่นคง สถานะทางการเงิน การดําเนินงานของบริษัทรวมถึงหลักธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยง
(2) บริษัทต้องบริหารสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย และเหมาะสมต่อภาระผูกพันที่บริษัทมีต่อผู้เอาประกันภัย ทั้งในรูปกระแสเงินสด จํานวนเงินระยะเวลา และสกุลเงิน
(3) ในการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทจะต้องพิจารณาถึงความพร้อมทั้งด้านระบบงาน ความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากร โดยคํานึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และการกระจายความเสี่ยง รวมทั้งความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ความเสี่ยงด้านตลาด (market risk) ความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (operational risk) ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว (concentration risk) หรือความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (strategic risk)
ข้อ ๖ บริษัทต้องลงทุนและประกอบธุรกิจอื่น ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทําการหรืองดเว้นการที่ต้องกระทําใด ๆ อันเป็นผลให้บริษัทต้องจ่ายเงินหรือสินทรัพย์อื่นมากกว่าจํานวนที่พึงจ่ายหรือให้บริษัทได้รับเงินหรือทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ใด ๆ น้อยกว่าจํานวนที่พึงได้รับ
อื่นๆ ๑ การลงทุน
------------------------
หมวด ๑ บททั่วไป
------------------------
ข้อ ๗ คณะกรรมการบริษัทต้องมีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจประกันภัย สินทรัพย์ที่บริษัทลงทุน และการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน และมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาอนุมัติ
(ก) กรอบนโยบายการลงทุน
(ข) กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน
การพิจารณาอนุมัติตาม (1) ให้หมายความรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ
(2) จัดให้มีกระบวนการติดตามสอดส่องผลการดําเนินงานด้านการลงทุน ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เพื่อให้การลงทุนของบริษัทเป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุน และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(3) จัดให้มีการทบทวนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ของบริษัท และกระบวนการระบุความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในตราสารทางการเงินในปัจจุบัน และจากตราสารทางการเงินใหม่ ทั้งในและนอกงบแสดงฐานะการเงิน
(4) แต่งตั้งคณะกรรมการลงทุน
(5) มอบหมายหน่วยงานที่เป็นอิสระจากหน่วยงานการลงทุนในการระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน
ข้อ ๘ บริษัทต้องจัดให้มีคณะกรรมการลงทุน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทจํานวนไม่น้อยกว่าสามคน ประกอบด้วย
(1) กรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัท และ
(2) บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีเกี่ยวกับการบริหารการลงทุน การบริหารความเสี่ยง หรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ซึ่งอาจเป็นกรรมการผู้บริหารของบริษัท หรือบุคคลภายนอกก็ได้
ข้อ ๙ ในการลงทุนของบริษัท คณะกรรมการลงทุนมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) จัดทํากรอบนโยบายการลงทุน เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
(2) พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนของบริษัทที่สอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม
(3) กํากับดูแลการลงทุนของบริษัท ให้เป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุน และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) กํากับดูแลในเรื่องธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับธุรกรรมการลงทุนของบริษัท
(5) กํากับดูแล ระบบงาน บุคลากร และข้อมูลที่ใช้ประกอบการลงทุนของบริษัทให้มีความเพียงพอต่อการดําเนินงาน
(6) บริหารเงินลงทุนตามกรอบนโยบายการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
(7) รายงานผลการลงทุนให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างสม่ําเสมอ
ข้อ ๑๐ บริษัทต้องจัดทํากรอบนโยบายการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม การออกแบบผลิตภัณฑ์ การรับประกันภัย การทําสัญญาประกันภัยต่อการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน ฐานะเงินกองทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนที่คาดหวัง ความพร้อมของระบบงานและบุคลากรในการรองรับการลงทุน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตประเภทสินทรัพย์ที่บริษัทจะลงทุน (asset allocation)
(2) จํานวนวงเงินลงทุนที่ผู้บริหารแต่ละระดับสามารถอนุมัติให้ลงทุนได้
(3) เงื่อนไขการนําสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพัน
(4) เงื่อนไขการทําธุรกรรมยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ และการทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (ถ้ามี)
(5) นโยบายการว่าจ้างนิติบุคคลภายนอกให้ดําเนินการลงทุนแทนบริษัท ที่กําหนดคุณสมบัติและแนวทางการคัดเลือกนิติบุคคลภายนอก ข้อกําหนดให้นิติบุคคลที่บริษัทว่าจ้างปฏิบัติตามกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัทที่ชัดเจน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของนิติบุคคลที่บริษัทว่าจ้างและการรายงานผลการปฏิบัติงานของนิติบุคคลดังกล่าวให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททราบ
(6) กรณีที่บริษัทมีการเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง บริษัทต้องกําหนดแนวนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (policy on the use of derivatives)
บริษัทต้องทบทวนกรอบนโยบายการลงทุนตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งให้สํานักงานเป็นประจําทุกปีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑ บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวมตามประกาศว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัยและต้องสอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุน ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ความสอดคล้องระหว่างทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท เพื่อให้บริษัทสามารถประเมิน บริหาร ควบคุมและติดตาม ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน เช่น ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว หรือความเสี่ยงด้านกลยุทธ์โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานการลงทุน
(2) การระบุประเภทความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน ประเภทของความเสี่ยงที่บริษัทอาจมีและการกําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจากความมั่นคงทางการเงินของบริษัท ความพร้อมในการบริหารและรองรับความเสี่ยงดังกล่าว
(3) วิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการลงทุนแต่ละประเภทได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็วทันเวลา
(4) แนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยง บริษัทอาจกําหนดนโยบายให้มีการปิดความเสี่ยงที่ไม่มีระบบบริหารความเสี่ยงรองรับ หรือไม่สามารถบริหารความเสี่ยงนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือกําหนดให้มีการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ แนวทางที่ใช้ต้องสอดคล้องกับลักษณะการลงทุน ความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และระบบข้อมูลที่บริษัทมี
(5) การรายงานและติดตามความเสี่ยง บริษัทต้องจัดให้มีผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารความเสี่ยงคอยติดตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน และรายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
บริษัทต้องทบทวนกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่งอย่างสม่ําเสมอ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๒ บริษัทต้องจัดทําแผนการลงทุนของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งสอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุน และนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) สัดส่วนของสินทรัพย์ลงทุนแต่ละประเภท (limits for the allocation of assets) ที่คํานึงถึงการกระจายการลงทุนในแต่ละประเภทสินทรัพย์ ผู้ออกตราสาร คู่สัญญา ประเภทธุรกิจ ตลาดหรือประเทศที่จะลงทุน สกุลเงิน สภาพคล่อง และระยะเวลาการลงทุน
(2) วิธีการคัดเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุน (policy on the selection of individual securities)
(3) กรณีบริษัทมีการให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ และการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ บริษัทต้องกําหนดนโยบายที่ครอบคลุมหลักเกณฑ์และกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(ก) การพิจารณาอนุมัติ กําหนดวงเงิน และระยะเวลาให้กู้ยืมที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของคู่สัญญา และประเภทของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการกู้ยืม
(ข) การวิเคราะห์การให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ และการออกหนังสือค้ําประกัน
(ค) การประเมินมูลค่าหลักประกัน
(ง) การสอบทานและตรวจสอบเกี่ยวกับสถานะและการชําระเงินคืนของลูกหนี้ และการใช้เงินตามวัตถุประสงค์การให้กู้ยืม ภายหลังจากการอนุมัติการให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ และการออกหนังสือค้ําประกัน แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ บริษัทอาจกําหนดหลักเกณฑ์ และกระบวนการพิจารณาการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทแตกต่างจากที่กําหนดไว้ใน (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ก็ได้
(4) กรณีที่บริษัทมีการเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง บริษัทต้องกําหนดแผนงานการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ที่สอดคล้องกับแนวนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงโดยอาจแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ประเภทธุรกรรม ประเภทตัวแปรหรือสินทรัพย์อ้างอิง ประเภทของคู่สัญญา
บริษัทต้องทบทวนแผนการลงทุนตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งให้สํานักงานเป็นประจําทุกปีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการลงทุนอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบเกี่ยวกับการลงทุนโดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติงาน และการติดตามดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัทและข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนโดยหน่วยงานอิสระตามระเบียบ วิธีการ และความถี่ที่บริษัทกําหนด
(3) การประเมินผลและการรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัท
ข้อ ๑๔ บริษัทต้องจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีรายละเอียดการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการลงทุน การแบ่งแยกหน้าที่ (segregation of duty) ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการสอบยันความถูกต้องระหว่างกัน (checks and balances) การกําหนดอํานาจในการอนุมัติการลงทุน (authority) โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการขออนุมัติการลงทุน
(2) รายละเอียดในการพิจารณาโครงสร้าง ความเสี่ยงของสินทรัพย์ และความสามารถในการรองรับความเสี่ยงดังกล่าวของบริษัท
(3) ขั้นตอนการลงทุน และการรายงานผลการลงทุน
(4) ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
(5) บันทึกเหตุผลการตัดสินใจลงทุน และจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทต้องจัดทําให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของปีที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ บริษัทต้องทบทวนระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนอย่างสม่ําเสมอและจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๕ องค์ประกอบของหน่วยงานการลงทุน
(1) บริษัทต้องจัดให้มีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบดูแลการลงทุนของบริษัท โดยมีโครงสร้างความพร้อมของบุคลากร ระบบงาน ข้อมูลต่าง ๆ ที่เพียงพอและสอดคล้องกับลักษณะและความซับซ้อนของการลงทุนของบริษัท รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง เพื่อประเมินและติดตามอย่างสม่ําเสมอ เช่น value at risk, position limit และกําหนดมาตรการดําเนินการที่เหมาะสมเพื่อบริหารความเสี่ยง เช่น การกําหนด stop loss โดยรายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการลงทุนทราบอย่างสม่ําเสมอ
(2) ให้บริษัทมอบหมายให้บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการลงทุน เป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน โดยมีประสบการณ์และคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) ผ่านการอบรมหลักสูตรตามที่นายทะเบียนกําหนดให้เป็นหลักสูตรสําหรับผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนของบริษัทประกันภัย
(ข) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1) เป็นบุคคลล้มละลาย
2) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต และ
(ค) มีคุณสมบัติ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1) สอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analysts Program (CISA) ระดับ 1 ขึ้นไป หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าตามที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสามปี
2) จบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป ในสาขาการเงิน บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การลงทุน และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุนการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสามปี
3) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาการเงิน บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการลงทุน และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน เป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าเจ็ดปี
4) ได้รับวุฒิบัตร (ระดับ 3) ตามหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือหลักสูตร Certified Investment and Securities Analysts Program (CISA) หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าตามที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ
5) เป็นบุคคลที่มีรายชื่อในทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทุนตามที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด และมีประสบการณ์ทํางานด้านการบริหารเงินลงทุน การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวิเคราะห์การลงทุน นับแต่วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ภายในสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทต้องดําเนินการให้มีบุคคลที่มีลักษณะตาม (2) ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน
ให้บริษัทจัดส่งรายชื่อของบุคคลที่ดํารงตําแหน่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน พร้อมทั้งรายละเอียดคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่แต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดให้ดํารงตําแหน่งผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน ไม่มีลักษณะตามข้อ 15 ให้บริษัทดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ว่าจ้างหรือมอบหมายนิติบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน โดยนําความใน ข้อ 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) ลงทุนได้เฉพาะในสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ค) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์กรหรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสาร ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารตาม (ก) (ข) และ (ค)
(จ) ตราสารทุนที่ออกโดยบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด
(ฉ) การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท หรือ
(ช) สินทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
ข้อ ๑๗ ตลอดเวลาการลงทุน บริษัทต้องประเมินราคายุติธรรมของตราสาร หรือมูลค่าการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย และต้องดํารงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุนได้ตามที่กฎหมายกําหนด
ข้อ ๑๘ การลงทุนตามประกาศนี้ หากอยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศและมีกระแสเงินสดรับจ่ายที่แน่นอน เช่น ตราสารหนี้ที่เสนอขายในสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้บริษัทดําเนินการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจํานวน และให้แจ้งรายละเอียดการป้องกันความเสี่ยงให้นายทะเบียนทราบในรายงานผลการดําเนินงานและฐานะการเงินที่จัดส่งให้นายทะเบียนประจํางวด
ข้อ ๑๙ บริษัทสามารถว่าจ้างหรือมอบหมายให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นนิติบุคคลลงทุนแทนบริษัทได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) บุคคลภายนอกนั้นต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการลงทุน มีความพร้อมของระบบงานและบุคลากร
(2) บริษัทต้องกําหนดคุณสมบัติ แนวทางการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ทําหน้าที่ลงทุนแทนบริษัทตามกรอบนโยบายการลงทุน พร้อมทั้งกําหนดการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และ
(3) บริษัทต้องขอรับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
การว่าจ้างหรือมอบหมายบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในรูปของการจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลลงทุนแทนบริษัท ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน และให้บริษัทแจ้งให้นายทะเบียนทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ว่าจ้างหรือมอบหมาย
ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้บริษัทให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถ ค้ําประกัน แก่บุคคลดังต่อไปนี้ รวมทั้งซื้อ สลักหลังรับรอง หรือรับอาวัลตั๋วเงินที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้สั่งจ่าย เว้นแต่การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
(1) กรรมการ
(2) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
(3) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตาม (1) หรือ (2) ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทประกันวินาศภัย
บริษัทอาจขออนุญาตจากนายทะเบียนให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ เฉพาะกรณีจําเป็นและการดําเนินการดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินและความมั่นคงของบริษัท โดยต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการบริษัทและเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนทราบ
ข้อ ๒๑ การลงทุนในตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศนี้ หากต่อมาผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าเกณฑ์ที่สามารถลงทุนได้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทจําหน่ายตราสารหนี้นั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้
ข้อ ๒๒ การพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้ออกสินทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย หากไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทยให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศ
(2) ในกรณีผู้ออกสินทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศ หากไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศไทย
(3) ในกรณีที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ (issue rating) ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือนั้น
(4) ในกรณีที่ไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหรือคู่สัญญา ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้หมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็น
(ข) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันโดยการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันของบุคคลที่กําหนดต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลังหรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข
(ค) ในกรณีมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือมากกว่าหนึ่งอันดับ ให้ใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ดีที่สุดลําดับที่สอง (the second best rating)
ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้บริษัทนําสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพันใด ๆ เว้นแต่ กรณี ดังต่อไปนี้
(1) การนําสินทรัพย์ลงทุนไปวางเป็นประกันต่อศาล หรือนําไปใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการออกหนังสือค้ําประกันจากสถาบันการเงินเพื่อนําไปวางเป็นประกันต่อศาล เพื่อขอทุเลาการบังคับคดีที่ศาลมีคําพิพากษาให้บริษัทชดใช้หนี้ตามสัญญาประกันภัย หรือสัญญาประกันภัยต่อ ทั้งนี้ บริษัทต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(2) การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 9
(3) การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 10
(4) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๒๔ การดําเนินการลงทุนของบริษัท หากไม่เป็นไปตามกรอบนโยบายการลงทุน และระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัท หรือไม่สอดคล้องกับความพร้อมของระบบงานและบุคลากรฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติ หรือสั่งให้ระงับการลงทุนดังกล่าว จนกว่าจะสามารถดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดได้
หมวด ๒ ประเภทสินทรัพย์
------------------------
ข้อ ๒๕ บริษัทสามารถลงทุนหรือมีไว้ซึ่งสินทรัพย์หรือเข้าเป็นคู่สัญญาได้ ดังต่อไปนี้
(1) ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 1
(2) ตราสารหนี้ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 2
(3) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 3
(4) ตราสารทุน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 4
(5) หน่วยลงทุน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 5
(6) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามหมวด 4 ส่วนที่ 6
(7) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ตามหมวด 4 ส่วนที่ 7
(8) การให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ และการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 8
(9) การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ตามหมวด 4 ส่วนที่ 9
(10) การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามหมวด 4 ส่วนที่ 10
หมวด ๓ การกําหนดสัดส่วนการลงทุน
------------------------
ส่วน ๑ เงื่อนไขทั่วไป
------------------------
ข้อ ๒๖ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัท ให้ใช้ราคาประเมิน
ส่วน ๒ สัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา
------------------------
ข้อ ๒๗ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ให้นับรวมมูลค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่คู่สัญญาแต่ละรายเป็นผู้ออก รับรอง รับอาวัล สลักหลัง ค้ําประกัน เงินฝากส่วนที่เกินจากที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเงินฝาก เงินให้กู้ยืม เงินให้เช่าซื้อรถ ภาระผูกพันที่เกิดจากการออกหนังสือค้ําประกัน สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่เกินกว่ามูลค่าหลักประกันที่ได้รับจากคู่สัญญา ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และสิทธิเรียกร้องและภาระผูกพันอื่นที่เกิดขึ้นจากการลงทุน เว้นแต่การลงทุนในหน่วยลงทุน และการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท ที่บริษัทมีต่อคู่สัญญารายหนึ่งรายใด ไม่เกินมูลค่าที่กําหนดตามประเภทผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ดังต่อไปนี้
(1) รัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ไม่จํากัดสัดส่วน
(2) สถาบันการเงิน แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(3) องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทจํากัดภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่นํารายได้ทั้งจํานวนไปใช้ในโครงการของราชการ บริษัทจํากัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในและต่างประเทศ บริษัทจํากัดที่อยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(4) บริษัทจํากัดที่ออกตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ กรณีการลงทุนอื่นนอกจากตราสารหนี้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(5) องค์กรระหว่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(6) คู่สัญญาอื่น แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ และให้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) นับแต่วันที่บริษัทได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ห้ามมิให้บริษัทลงทุนใด ๆ ที่มีผลทําให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อมีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจํากัด
(2) เมื่อบริษัทลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้ว ให้นําส่วนของการลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนนับรวมกับส่วนการลงทุนอื่น หากเป็นผลให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ห้ามมิให้บริษัทลงทุนเพิ่มในกลุ่มการลงทุนที่เกินสัดส่วนนั้นอีก
ส่วน ๓ สัดส่วนการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์
------------------------
ข้อ ๒๘ การคํานวณสัดส่วนการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้นับรวมมูลค่าของสินทรัพย์หรือดัชนีที่กองทุนรวมนั้นถือครอง ณ วันที่คํานวณ ตามสัดส่วนมูลค่าหน่วยลงทุนที่บริษัทลงทุนในกองทุนรวมนั้น ตามที่กําหนดในรายงานประจําปีล่าสุดของกองทุนรวม หรือ fund fact sheet รวมกับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีประเภทเดียวกันที่บริษัทได้ลงทุนหรือมีไว้ตามสัดส่วนที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ (look - through approach)
ข้อ ๒๙ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัลหรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัด และตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละหกสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๐ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท เว้นแต่ การลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจํากัดที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด ทั้งนี้ บริษัทต้องดํารงเงินกองทุนเพิ่มเติมจากจํานวนที่ต้องดํารงตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการกําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย โดยคํานวณจากผลรวมของเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านตลาด บวกด้วยผลรวมของเงินกองทุนสําหรับความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวหรือมูลค่าตราสารทุนที่ลงทุนเกินเงื่อนไขที่กําหนด แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ทั้งนี้ การดํารงเงินกองทุนสําหรับการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต้องไม่เกินมูลค่าของตราสารทุนที่บริษัทลงทุนโดยตรงและลงทุนผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุน
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้กับกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ และให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 27 วรรคสอง
ข้อ ๓๑ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๒ บริษัทสามารถเข้าเป็นคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยหรือจากสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุน โดยมีผลรวมของสถานะถือครองสัญญาสุทธิ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินมูลค่าความเสี่ยงที่บริษัทมีอยู่
ข้อ ๓๓ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืมและให้เช่าซื้อรถ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ ไม่นับรวมการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
ข้อ ๓๔ บริษัทสามารถออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๕ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๖ บริษัทสามารถลงทุนในเงินฝากธนาคารต่างประเทศ ตราสารหนี้ต่างประเทศ ตราสารทุนต่างประเทศ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ และใบทรัสต์ของกองทรัสต์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศ รวมกันทั้งหมดไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๓๗ บริษัทสามารถลงทุนในสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(1) ตราสารหนี้ที่กําหนดให้ผู้ทรงตราสารหนี้มีสิทธิในการรับชําระหนี้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
(2) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เว้นแต่ ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภทคุ้มครองเงินต้น ตามข้อ 44 (3)
(3) ตราสารทุนที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ หรือไม่ได้อยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ และสินทรัพย์หรือดัชนีที่บริษัทถือครองผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่กําหนดนโยบายลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีที่บริษัทลงทุนได้โดยตรง แต่มีการจัดสรรลงทุนบางส่วนในสินทรัพย์หรือดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคํา
(5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49 หรือข้อ 50 ที่บริษัทไม่สามารถแยกองค์ประกอบได้หรือไม่มีข้อมูลสัดส่วนประเภทการลงทุนของกองทุนรวมที่เพียงพอ
ส่วน ๔ สัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์
------------------------
ข้อ ๓๘ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือ ค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน หรือที่ออกโดยบริษัทจํากัด หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน หรือตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ กรณีผู้ออกหรือผู้ค้ําประกันเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
การลงทุนในตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัดรายเดียวกันให้นับรวมในสัดส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๓๙ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนของผู้ออกแต่ละรายได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารทุนของบริษัทจํากัดที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือของบริษัทจํากัดที่อยู่ระหว่างการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (initial public offering: IPO) แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(2) ตราสารทุนอื่นนอกจาก (1) แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้กับกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ และให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 27 วรรคสอง
ข้อ ๔๐ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม ได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท เว้นแต่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย แต่ละกองทุนรวมหรือกองทรัสต์ ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ข้อ ๔๑ บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถ และออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเมื่อรวมกันแล้วให้บริษัทลงทุนแก่บุคคลนั้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท เว้นแต่การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
หมวด ๔ ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของตราสารและหลักเกณฑ์การลงทุน
------------------------
ส่วน ๑ ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน
------------------------
ข้อ ๔๒ การฝากเงินในประเทศ บริษัทต้องฝากไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือสถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
ข้อ ๔๓ การฝากเงินในต่างประเทศ บริษัทต้องฝากไว้กับธนาคารต่างประเทศตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นธนาคารต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) เป็นการฝากเงินระยะสั้นในธนาคารต่างประเทศ โดยธนาคารดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่บริษัทได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินต่างประเทศ ทั้งนี้ การฝากเงินดังกล่าวต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการชําระราคา อํานวยความสะดวก หรือป้องกันปัญหาในการดําเนินงานในต่างประเทศของบริษัท
ส่วน ๒ ตราสารหนี้
------------------------
ข้อ ๔๔ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน บริษัทสามารถลงทุนได้โดยไม่จํากัดจํานวน
(2) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ บริษัทสามารถลงทุนได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้หรือของผู้ค้ําประกัน ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ เว้นแต่ ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่ายรับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ข) กรณีตราสารหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตั๋วแลกเงิน ต้องไม่มีข้อจํากัดความรับผิด
(3) ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงตามหมวด 4 ส่วนที่ 7 ข้อ 52 ประเภทคุ้มครองเงินต้น
กรณีตราสารหนี้ตาม (1) และ (2) ที่เสนอขายในต่างประเทศ ให้ถือว่าเป็นตราสารหนี้ในประเทศที่บริษัทสามารถลงทุนได้ โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดใน (1) และ (2)
การรับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน ตาม (1) และ (2) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลังหรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข
ข้อ ๔๕ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิที่ออกหรือค้ําประกันโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ และต้องเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หรือของผู้ออกตราสาร หรือของผู้ค้ําประกัน ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ และต้องเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือ ที่สามารถลงทุนได้
(3) ตราสารหนี้ตาม (1) และ (2) ต้องเป็นตราสารหนี้ที่บริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารหนี้ดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
ส่วน ๓ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
------------------------
ข้อ ๔๖ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทจํากัด ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) เป็นตราสารที่ขึ้นทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(3) เป็นตราสารที่มีราคาเหมาะสมตามที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด หรือมีผู้แสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะเสนอราคาซื้อและรับซื้อตราสารนั้นในราคาดังกล่าว ตามจํานวนและวิธีการที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนดอยู่เสมอ โดยได้ส่งสําเนาราคาแก่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตลอดอายุของตราสารนั้น หรือในกรณีที่เป็นตราสารที่มีการเสนอขายครั้งแรกต้องเป็นตราสารที่มีนักลงทุนสถาบันไม่น้อยกว่าสามรายเป็นผู้ซื้อตราสารดังกล่าว
ส่วน ๔ ตราสารทุน
------------------------
ข้อ ๔๗ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนในประเทศที่ออกโดยบริษัทจํากัดได้ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของบริษัทจํากัดนั้น เว้นแต่ การถือตราสารทุนเพื่อการประกอบธุรกิจอื่น และตราสารทุนที่ออกโดยบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด
(2) กรณีตราสารทุนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศหรือไม่มีตลาดรองซื้อขายเป็นการทั่วไป หรือไม่ได้เป็นตราสารทุนที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ซึ่งผู้ออกตราสารทุนดังกล่าวอยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๔๘ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่ออกโดยนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของผู้ออกนั้น
(2) กรณีตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ต้องเป็นตราสารทุนที่ซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) หรือที่อยู่ระหว่างการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น และบริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับตราสารทุนดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษผ่านอินเตอร์เน็ต
(3) กรณีตราสารทุนอื่นนอกจาก (2) บริษัทสามารถลงทุนได้เฉพาะตราสารทุนที่ออกโดยนิติบุคคล ดังต่อไปนี้ และต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(ก) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น หรือที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยดังกล่าว
(ข) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนธุรกิจประกันภัย
(ค) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific : ESCAP) เพื่อประกอบธุรกิจเฉพาะการประกันต่อ
ส่วน ๕ หน่วยลงทุน
------------------------
ข้อ ๔๙ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีประเภทและชนิดเดียวกับสินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์
(2) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ และมีมูลค่ากองทุนไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
ข้อ ๕๐ บริษัทสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จดทะเบียนจัดตั้งในต่างประเทศได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federations of Exchange (WFE) หรือที่อยู่ระหว่างการเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศนั้น
(2) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์หรือดัชนีประเภทและชนิดเดียวกับสินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์
(3) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
(4) ไม่ใช่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทเฮ็ดจ์ฟันด์
(5) กรณีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ และมีมูลค่ากองทุนไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
(6) กรณีกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ ต้องลงทุนสินค้าหรือดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดและประเภทเดียวกับที่กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศสามารถลงทุนได้
ส่วน ๖ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
------------------------
ข้อ ๕๑ บริษัทสามารถเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มิใช่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าขั้นพื้นฐาน (plain vanilla derivatives) บริษัทต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนด
(2) เป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยหรือจากสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุนโดยอ้างอิงสินทรัพย์หรือดัชนีตามภาระความเสี่ยงที่บริษัทมีอยู่ และมูลค่าของสัญญาต้องไม่เกินมูลค่าความเสี่ยงที่บริษัทมี
(3) ไม่ทําให้การบริหารสินทรัพย์ลงทุนของบริษัทเบี่ยงเบนไปจากกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัท
(4) กระทําในบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด หรือในกรณีที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(5) มีสินค้าหรือตัวแปร อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) หลักทรัพย์
(ข) อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
(ค) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(ง) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้
(จ) ดัชนีทางการเงินที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1) เกิดจากการคํานวณโดยใช้ตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง)
2) พัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ
3) นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล
4) มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันผ่านสื่อที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์
5) มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยระบุแหล่งข้อมูลของตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณ ซึ่งต้องมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีบุคคลใดสามารถมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแปร ปัจจัย หรือดัชนีทางการเงินนั้นได้
ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงถึงการพิจารณาคุณสมบัติดัชนีทางการเงินนั้นไว้ที่บริษัท เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบ หรือจัดส่งให้สํานักงานเมื่อสํานักงานร้องขอ
(ฉ) สินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(6) การส่งมอบสินค้าเมื่อสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสิ้นสุดลง สินค้านั้นต้องเป็นสินทรัพย์ที่บริษัทสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัทจะเป็นผู้มีสิทธิรับมอบหรือมีหน้าที่ส่งมอบสินค้านั้นก็ตาม เว้นแต่ กรณีการรับชําระหนี้ที่เกิดจากคู่สัญญาผิดนัดชําระหนี้ ให้บริษัทจําหน่ายทรัพย์สินนั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้
(7) มีการวางแผนการบริหารสภาพคล่องให้เพียงพอตามวันครบกําหนดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(8) ห้ามมิให้บริษัทเข้าเป็นคู่สัญญาออปชันที่ผูกพันบริษัทในฐานะผู้ให้สัญญา (option writer)
(9) การเข้าเป็นคู่สัญญาของบริษัทต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับสัดส่วนการลงทุน การประเมินราคา และการคํานวณเงินกองทุนของบริษัท
(10) ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดย International Swaps and Derivatives Association (ISDA) หรือสัญญารูปแบบอื่นที่ใช้มาตรฐานทางธุรกิจ
(11) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทต้องจัดให้มีข้อตกลงในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(ก) ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลที่สามที่ได้รับการแต่งตั้งจากคู่สัญญาคํานวณมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน และแจ้งมูลค่ายุติธรรมให้บริษัททราบในวันดังกล่าว หรือวันทําการแรกที่สามารถกระทําได้
(ข) ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างมีนัยสําคัญให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งคํานวณและแจ้งมูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้บริษัททราบทันที
(ค) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมให้มีการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อบริษัทร้องขอได้
ส่วน ๗ ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
------------------------
ข้อ ๕๒ บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ไม่ทําให้การบริหารสินทรัพย์ลงทุนของบริษัทเบี่ยงเบนไปจากกรอบนโยบายการลงทุนของบริษัท
(2) ในกรณีการซื้อตราสารดังกล่าวมีผลทําให้บริษัทต้องรับมอบสินทรัพย์ สินทรัพย์ดังกล่าวต้องเป็นประเภทที่บริษัทสามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ และไม่ทําให้สัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวเกินกว่าที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เว้นแต่กรณีการรับชําระหนี้ที่เกิดจากคู่สัญญาผิดนัดชําระหนี้ ให้บริษัทจําหน่ายสินทรัพย์นั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้
(3) เป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยหรือจากสินทรัพย์ที่บริษัทลงทุน หรือเพื่อเพิ่มผลตอบแทนของบริษัทภายใต้ระดับความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้
(4) เป็นตราสารที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หรือของผู้ออกตราสาร ไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(5) เป็นตราสารที่มีการจ่ายผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) หลักทรัพย์
(ข) อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
(ค) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(ง) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้
(จ) ทองคํา
(ฉ) ดัชนีทางการเงิน ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) เกิดจากการคํานวณโดยใช้ตัวแปรอ้างอิงที่กําหนดไว้ตาม (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ)
2) พัฒนาโดยสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ
3) นิยมแพร่หลายในตลาดการเงินไทยหรือสากล
4) มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวันผ่านสื่อที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ และ
5) มีการกําหนดวิธีการคํานวณไว้อย่างชัดเจน โดยระบุแหล่งข้อมูลของตัวแปรและปัจจัยที่นํามาใช้ในการคํานวณ ซึ่งมีการเคลื่อนไหวตามสภาวะตลาดอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มีบุคคลใดสามารถมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตัวแปร ปัจจัย หรือดัชนีทางการเงินนั้นได้
ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจัดทําเอกสารหลักฐานแสดงถึงการพิจารณาคุณสมบัติดัชนีทางการเงินนั้นไว้ที่บริษัท เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบ หรือจัดส่งให้สํานักงานเมื่อสํานักงานร้องขอ
(ช) สินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(6) ในกรณีตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภทไม่คุ้มครองเงินต้น บริษัทต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๘ การให้กู้ยืม การให้เช่าซื้อรถ
และการออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ
------------------------
ข้อ ๕๓ บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ให้กู้ยืมแต่ละรายได้ไม่เกินหนึ่งล้านบาท
(2) มีพนักงานของบริษัทเดียวกัน คนเดียว หรือหลายคนซึ่งมีเงินเดือนรวมกันสูงกว่าเงินเดือนของผู้กู้ยืมเป็นผู้ค้ําประกัน พนักงานของบริษัทคนหนึ่งให้ค้ําประกันได้ไม่เกินหนึ่งราย หรือมีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ค้ําประกัน
(3) กําหนดระยะเวลาชําระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยตามนโยบายการให้กู้ยืมของบริษัท หรือระเบียบว่าด้วยการให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๔ บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมโดยมีทรัพย์สินจํานองหรือจํานําเป็นประกัน ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินที่ใช้จํานองหรือจํานําเป็นประกันการกู้ยืม ต้องเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด หรือองค์กรหรือรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) ให้กู้เฉพาะในประเทศ ในสกุลเงินบาท
(3) กําหนดระยะเวลาชําระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวด ไม่น้อยกว่าปีละครั้ง เว้นแต่นโยบายการให้กู้ยืมของบริษัทมีการกําหนดระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นและดอกเบี้ยคืน และระยะเวลาดังกล่าวไม่เกินหนึ่งในสี่ของระยะเวลาให้กู้ยืม
(4) กรณีผู้กู้ยืมเป็นบุคคลธรรมดา ให้กู้ยืมแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาประเมินของทรัพย์สิน หรือของราคาซื้อขายของโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย ที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกันและกรณีผู้กู้ยืมเป็นนิติบุคคล ให้กู้ยืมแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(5) การจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูกสร้างนั้นจะต้องมีการประกันวินาศภัยและให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดระยะเวลาตามสัญญากู้ยืม
(6) การให้กู้ยืมโดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๕๕ บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมโดยมีสถาบันการเงิน ธนาคารต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศค้ําประกันได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) สถาบันการเงิน ธนาคารต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่ค้ําประกันได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) ให้กู้ยืมในสกุลเงินบาท
ข้อ ๕๖ บริษัทสามารถลงทุนให้เช่าซื้อรถได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ หรือรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
(2) ผู้เช่าซื้อรถมีภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(3) ให้เช่าซื้อแต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาตลาดของรถนั้น
(4) รถที่ให้เช่าซื้อต้องจัดให้มีการประกันวินาศภัย โดยให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดระยะเวลาการเช่าซื้อ
ข้อ ๕๗ บริษัทสามารถออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ แก่บุคคลใดได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ จํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์กรหรือรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) จํากัดวงเงินการออกหนังสือค้ําประกันให้แก่บุคคล แต่ละรายไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่นํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(3) การออกหนังสือค้ําประกัน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ โดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๙ การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
------------------------
ข้อ ๕๘ บริษัทสามารถทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาของการทําธุรกรรมเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เว้นแต่คู่สัญญาเป็นบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ทําสัญญายืมและให้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีลักษณะและสาระสําคัญตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด เว้นแต่กรณีทําธุรกรรมให้ยืมตราสารหนี้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ทําสัญญาตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
(3) หลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืมต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
(4) กรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้า (custodian) หากต้องการยืมหลักทรัพย์จากบริษัท หรือต้องการนําหลักทรัพย์ของบริษัทไปให้บุคคลอื่นยืม ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร
(5) การให้ยืมหลักทรัพย์ บริษัทต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ จากผู้ยืมหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการให้ยืมหลักทรัพย์
(ก) เงินสด
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามข้อ 44 (1)
(ค) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 44 (2)
(ง) หลักทรัพย์อื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(6) การวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมหลักทรัพย์ตาม (5) บริษัทต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(ก) ให้บริษัทมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน หรือดําเนินการโดยวิธีอื่นซึ่งจะมีผลให้บริษัทสามารถบังคับชําระหนี้เอาจากหลักประกันดังกล่าวได้โดยพลัน
(ข) ห้ามมิให้บริษัทนําหลักประกันตาม (5) ที่บริษัทมีกรรมสิทธิ์ไปโอนหรือขายต่อ เว้นแต่เป็นการบังคับชําระหนี้ตามข้อตกลงธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์
(ค) ดํารงมูลค่าหลักประกัน ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืม
(7) ให้นับหลักทรัพย์ที่บริษัทให้ยืม และหลักทรัพย์ที่บริษัทนําไปวางไว้กับคู่สัญญาเพื่อเป็นหลักประกันการยืม ในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัทในหลักทรัพย์ดังกล่าว
ส่วน ๑๐ การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน
------------------------
ข้อ ๕๙ บริษัทสามารถทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการทําธุรกรรมกับคู่สัญญา ดังต่อไปนี้
(ก) สถาบันการเงิน
(ข) บริษัทหลักทรัพย์
(ค) บริษัทประกันภัย
(ง) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(จ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฉ) กองทุนบําเหน็จบํานาญ
(ช) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ซ) กองทุนรวม
(ฌ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ญ) ส่วนราชการ หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจ
(ฎ) บริษัทจํากัดที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้
(2) เป็นการทําธุรกรรมซื้อหรือขายโดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนตราสารหนี้ ที่ขึ้นทะเบียนในสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ในประเภทและชนิดเดียวกับสินทรัพย์ที่บริษัทอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ หรือตราสารอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(3) ทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยต้องเป็นสัญญามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เว้นแต่ เป็นสัญญาที่บริษัททํากับธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จะมีเอกสารแนบท้ายสัญญาด้วยก็ได้ โดยธุรกรรมดังกล่าวให้ทําได้เฉพาะสกุลเงินบาทและมีระยะเวลาการขายและซื้อคืนไม่เกินหนึ่งปี
(4) การคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ให้คํานวณตามมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้ (market convention) ในการทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(5) การทําธุรกรรมซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืน ให้ราคาซื้อ ณ วันเริ่มต้นสัญญาต่ํากว่ามูลค่าหลักทรัพย์ โดยมีส่วนลดในอัตราที่เหมาะสม และสะท้อนความเสี่ยงของคู่สัญญา ระยะเวลาของสัญญาและหลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมนั้น ในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับบริษัทต้องดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าราคาซื้อรวมกับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการทําธุรกรรมนับแต่วันเริ่มต้นสัญญาจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าหลักทรัพย์คูณด้วย (1+อัตราส่วนลดหลักทรัพย์) หากมูลค่าไม่เป็นไปตามที่กําหนดบริษัทต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงินหรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ให้บริษัทเพื่อให้มูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่ทําธุรกรรมและสินทรัพย์ที่โอนมาดังกล่าว เป็นไปตามที่กําหนดภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ ได้มีการกําหนดส่วนต่างขั้นต่ําที่บริษัทไม่ต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงิน หรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ไว้ โดยการกําหนดส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
(6) ให้นับหลักทรัพย์ที่ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัทในหลักทรัพย์ดังกล่าว
อื่นๆ ๒ การประกอบธุรกิจอื่น
-----------------------
หมวด ๑ บททั่วไป
------------------------
ข้อ ๖๐ ในการประกอบธุรกิจอื่น บริษัทต้องให้ความสําคัญกับฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท และการดําเนินธุรกิจการรับประกันภัยซึ่งเป็นธุรกิจหลักเป็นอันดับแรก รวมทั้งต้องคํานึงถึงหลักธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยง การประกอบธุรกิจอื่นต้องเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรหรือความเชี่ยวชาญที่บริษัทมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมีนัยสําคัญต่อบริษัท
ข้อ ๖๑ ในการประกอบธุรกิจอื่น คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาอนุมัติ
(ก) นโยบายการประกอบธุรกิจอื่น
(ข) กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่น
การพิจารณาอนุมัติตาม (1) ให้หมายความรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญ
(2) จัดให้มีกระบวนการติดตามสอดส่องผลการดําเนินงานของการประกอบธุรกิจอื่น ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เพื่อให้การประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทเป็นไปตามนโยบายการประกอบธุรกิจอื่น และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(3) แต่งตั้งคณะกรรมการอื่นหรือมอบหมายคณะกรรมการลงทุน เพื่อทําหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก) กํากับดูแลการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายการประกอบธุรกิจอื่น นโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการตามปกติของบริษัท
(ข) กํากับดูแลในเรื่องธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท
(ค) รายงานผลการดําเนินงานให้คณะกรรมการบริษัททราบอย่างสม่ําเสมอ
ข้อ ๖๒ บริษัทต้องจัดทํานโยบายการประกอบธุรกิจอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต้องสอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม ความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และทรัพยากรของบริษัท ฐานะเงินกองทุน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ขอบเขตและประเภทการประกอบธุรกิจอื่นที่บริษัทจะดําเนินการ
(2) นโยบายการประกอบธุรกิจอื่น ในแต่ละประเภท
(3) ขอบเขตอํานาจในการอนุมัติ และการตัดสินใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น
(4) กลยุทธ์ แผนงาน และระเบียบวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงาน
(5) ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจอื่น
(6) การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการกับลูกค้า
บริษัทต้องทบทวนนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งให้สํานักงานเป็นประจําทุกปีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน และภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖๓ บริษัทต้องจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวมตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัยและต้องสอดคล้องกับนโยบายการประกอบธุรกิจอื่น เพื่อให้บริษัทสามารถประเมิน บริหาร ควบคุม และติดตาม ความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจอื่นได้อย่างเหมาะสม โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงานในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระจากหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบการประกอบธุรกิจอื่น
(2) การระบุประเภทความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจอื่น ประเภทของความเสี่ยงที่บริษัทอาจมี และการกําหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาจากความมั่นคงทางการเงินของบริษัท ความพร้อมในการบริหารและรองรับความเสี่ยงดังกล่าว
(3) วิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอื่นแต่ละประเภทได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็วทันเวลา
(4) แนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยงที่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นความพร้อมของระบบงาน บุคลากร และระบบข้อมูลที่บริษัทมี
(5) การรายงานและติดตามความเสี่ยง บริษัทต้องจัดให้มีผู้ที่มีหน้าที่ดูแลบริหารความเสี่ยงคอยติดตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอื่น และรายงานผลให้ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
บริษัทต้องทบทวนกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามวรรคหนึ่งอย่างสม่ําเสมอ และจัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๖๔ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นโดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การจัดทําระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการปฏิบัติงาน และการติดตามดูแลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท และข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่นโดยหน่วยงานอิสระตามระเบียบ วิธีการ และความถี่ที่บริษัทกําหนด
(3) การประเมินผลและการรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัท
ข้อ ๖๕ บริษัทต้องแยกแสดงรายได้จากการประกอบธุรกิจอื่นแต่ละประเภทให้ครบถ้วนและถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
ข้อ ๖๖ บริษัทต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ข้อ ๖๗ การประกอบธุรกิจอื่น ต้องไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับสัดส่วนการลงทุน การประเมินราคา และการคํานวณเงินกองทุนของบริษัท กฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัท
ข้อ ๖๘ กรณีการประกอบธุรกิจอื่นที่มีหน่วยงานกํากับเป็นการเฉพาะ บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
ข้อ ๖๙ การดําเนินการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท หากไม่เป็นไปตามนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท หรือไม่สอดคล้องกับความพร้อมของระบบงานและบุคลากร ฐานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติ หรือสั่งให้ระงับการประกอบธุรกิจดังกล่าวจนกว่าจะสามารถดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดได้
หมวด ๒ ประเภทการประกอบธุรกิจอื่น
------------------------
ข้อ ๗๐ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจอื่นได้ ดังต่อไปนี้
(1) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามหมวด 3 ส่วนที่ 1
(2) ประกอบธุรกิจให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น ตามหมวด 3 ส่วนที่ 2
(3) ถือตราสารทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจอื่น ตามหมวด 3 ส่วนที่ 3
(4) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามหมวด 3 ส่วนที่ 4
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจอื่น
------------------------
ส่วน ๑ การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
------------------------
ข้อ ๗๑ อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทนําออกให้เช่าได้ ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทใช้เป็นสถานที่สําหรับดําเนินธุรกิจ ตามมาตรา 31 (10) (ก) ซึ่งยังมิได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น สถานที่ทําการ ที่จอดรถ
(2) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทต้องจําหน่าย ตามมาตรา 33
ข้อ ๗๒ บริษัทสามารถนําอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 71 ออกให้เช่าได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเช่าเพื่อป้องกันการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องกันเสื่อมสภาพ
(2) มีการทําสัญญาเช่าเป็นหนังสือ
(3) ไม่ทําสัญญาเช่าที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้พื้นที่ และการจําหน่ายของบริษัท
(4) ให้เช่าไม่เกินกว่าระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย
(5) กําหนดเงื่อนไขในการให้เช่า ค่าเช่า และผลประโยชน์ที่เหมาะสมตามสภาวะตลาดและเป็นปกติทางการค้า
(6) บริษัทอาจปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 71 ได้ตามความจําเป็น แต่มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงได้แห่งละไม่เกินสามล้านบาท เว้นแต่ ได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ส่วน ๒ การประกอบธุรกิจให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น
------------------------
ข้อ ๗๓ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจให้บริการด้านงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่นได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดขอบเขตและระบุรายละเอียดของประเภทงานสนับสนุนแก่บุคคลอื่น ในนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงประเภทการให้บริการหรือนโยบาย ให้จัดส่งให้สํานักงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเปลี่ยนแปลง
(2) ประเมินศักยภาพและความเพียงพอของทรัพยากรของบริษัท เพื่อให้บริษัทใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และช่วยลดต้นทุน โดยระมัดระวังไม่ให้ปริมาณของงานให้บริการมีมากเกินบทบาทของงานด้านการรับประกันภัยหรือเกินความสามารถของบริษัท
(3) จัดให้มีสัญญาที่กําหนดรายละเอียด ประเภทของการให้บริการ ขั้นตอนหรือวิธีการดําเนินการ ขอบเขตความรับผิดชอบ การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการระหว่างกัน และระบบการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลและทรัพย์สินของบริษัทและของผู้ใช้บริการ
ข้อ ๗๔ การให้บริการงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคคลอื่น บริษัทต้องมีความพร้อมของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลของบริษัท โดยต้องมีการแยกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทมีความปลอดภัยและประสิทธิภาพเพียงพอ
ส่วน ๓ การถือตราสารทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจอื่น
------------------------
ข้อ ๗๕ บริษัทสามารถถือตราสารทุนตั้งแต่ร้อยละสิบขึ้นไปของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยนิติบุคคลนั้นต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัย หรือประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทประกันภัยต่างประเทศในประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ข้อ ๗๖ บริษัทสามารถถือตราสารทุนตั้งแต่ร้อยละยี่สิบขึ้นไปของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคล ซึ่งมีลักษณะและประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจประกันภัยโดยส่วนรวมโดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(2) บริษัทจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันภัย เฉพาะในส่วนนายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือจัดตั้งขึ้นเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(3) บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เฉพาะการประกันภัยต่อ สามารถซื้อตราสารทุนของบริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต เฉพาะการประกันภัยต่อ โดยได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
(4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขฐานะการเงินหรือการดําเนินกิจการโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และให้บริษัทลดสัดส่วนการถือครองตราสารทุนให้เหลือไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมด ภายในระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ซื้อ ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจพิจารณาขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกินห้าปี เมื่อบริษัทร้องขอก่อนสิ้นระยะเวลาโดยมีเหตุผลอันสมควร
ข้อ ๗๗ การถือตราสารทุนของนิติบุคคลเพื่อการประกอบธุรกิจอื่นตามข้อ 75 และ ข้อ 76 ให้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) มูลค่ารวมของตราสารทุนที่บริษัทถือเพื่อการประกอบธุรกิจอื่นทั้งหมดต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์รวมของบริษัท
(2) บริษัทต้องมีฐานะการเงินที่มั่นคง และมีความสามารถในการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นิติบุคคลที่บริษัทถือตราสารทุนได้ตามสมควร
(3) บริษัทต้องสามารถควบคุม ดูแล และติดตามฐานะและการดําเนินงานของนิติบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามนโยบายและแผนกลยุทธ์ที่บริษัทกําหนดอย่างสม่ําเสมอ
(4) กรณีบริษัทถือตราสารทุนของนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศ หรือไม่สามารถหาราคาตลาดที่เหมาะสมได้ บริษัทต้องกําหนดแนวทางและวิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนดังกล่าวอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
(5) บริษัทต้องแจ้งให้สํานักงานทราบถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่กระทบต่อฐานะการเงินและการดําเนินการของนิติบุคคลดังกล่าว หรือทําให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะในกรณีที่อาจกระทบต่อฐานะและชื่อเสียงของบริษัท
(6) บริษัทต้องจัดเตรียมข้อมูลของนิติบุคคลที่บริษัทถือตราสารทุนเป็นรายนิติบุคคล และในภาพรวมอย่างเพียงพอ เพื่อให้สํานักงานสามารถเข้าตรวจสอบ หรือจัดส่งให้สํานักงานเมื่อร้องขอได้ เช่น งบการเงิน ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญ
ข้อ ๗๘ บริษัทต้องกําหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงของนิติบุคคลที่บริษัทถือตราสารทุนเพื่อการประกอบธุรกิจอื่น โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามข้อ 63 โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) การระบุประเภทความเสี่ยงที่สําคัญของการถือตราสารทุนเพื่อการประกอบธุรกิจอื่นในภาพรวมและรายนิติบุคคล
(2) วิธีการวัดและประเมินความเสี่ยงของการถือตราสารทุนของนิติบุคคลเพื่อการประกอบธุรกิจอื่น
(3) แนวทางและวิธีการควบคุมความเสี่ยง เช่น การกําหนดขอบเขตการมอบอํานาจในการตัดสินใจของผู้มีอํานาจอย่างชัดเจน
ส่วน ๔ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์
------------------------
ข้อ ๗๙ บริษัทสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
(2) เป็นตัวแทนด้านการตลาดของกองทุนส่วนบุคคล
(3) ทําธุรกิจงานติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
ข้อ ๘๐ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามข้อ 79 บริษัทต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด และได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
อื่นๆ ๓ บทเฉพาะกาล
------------------------
ข้อ ๘๑ การลงทุนของบริษัทตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับแต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้บริษัทดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในตราสารทุนของนิติบุคคล ซึ่งมีลักษณะและประกอบกิจการแตกต่างจากที่กําหนดไว้ในข้อ 75 และข้อ 76 เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ให้บริษัทถือตราสารทุนดังกล่าวต่อไปได้ แต่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนของนิติบุคคลนั้นมิได้ จนกว่าสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนของนิติบุคคลดังกล่าวจะลดลงเหลือไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนตราสารทุนที่ออกจําหน่ายทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(2) การลงทุนอื่น นอกจาก (1) ให้บริษัทดําเนินการต่อไปได้ เพียงสิ้นภาระหรือสิ้นระยะเวลาที่ผูกพันไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงนั้น
ในกรณีที่บริษัทเคยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนให้ลงทุนได้ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัยที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และบริษัทยังไม่ได้ลงทุนหรือได้ลงทุนแล้วแต่เพียงบางส่วน ให้บริษัทสามารถลงทุนต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้
ข้อ ๘๒ การประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย และประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ที่ออกก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เช่น ไม่มีการจัดทํานโยบายการประกอบธุรกิจอื่นกระบวนการบริหารความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจอื่น หรือระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น ให้บริษัทดําเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,068 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558
----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 11/2557 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 15 (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“(ข) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 27 การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ให้นับรวมมูลค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่คู่สัญญาแต่ละรายเป็นผู้ออก รับรอง รับอาวัล สลักหลัง ค้ําประกันเงินฝากส่วนที่เกินจากที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเงินฝาก เงินให้กู้ยืม เงินให้เช่าซื้อรถ ภาระผูกพันที่เกิดจากการออกหนังสือค้ําประกัน สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่เกินกว่ามูลค่าหลักประกันที่ได้รับจากคู่สัญญา ตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และสิทธิเรียกร้องและภาระผูกพันอื่นที่เกิดขึ้นจากการลงทุน ที่บริษัทมีต่อคู่สัญญารายหนึ่งรายใด ไม่เกินมูลค่าที่กําหนดตามประเภทผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญา ดังต่อไปนี้
(1) รัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ไม่จํากัดสัดส่วน
(2) สถาบันการเงิน แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(3) องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทจํากัดภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่นํารายได้ทั้งจํานวนไปใช้ในโครงการของราชการ บริษัทจํากัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ บริษัทจํากัดที่อยู่ระหว่างการดําเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(4) บริษัทจํากัดที่ออกตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ กรณีการลงทุนอื่นนอกจากตราสารหนี้ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(5) องค์กรระหว่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(6) กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนดกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แต่ละกองทรัสต์หรือกองทุนรวม ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(7) คู่สัญญาอื่น แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทอาจมีสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญาเกินกว่าสัดส่วนที่กําหนดในวรรคหนึ่งได้เฉพาะกรณีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือซื้อตราสารทุนอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทจํากัดตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) นับแต่วันที่บริษัทได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ห้ามมิให้บริษัทลงทุนใด ๆ ที่มีผลทําให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อมีการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจํากัด
(2) เมื่อบริษัทลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้ว ให้นําส่วนของการลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน นับรวมกับส่วนการลงทุนอื่น หากเป็นผลให้สัดส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามประกาศนี้ ห้ามมิให้บริษัทลงทุนเพิ่มในกลุ่มการลงทุนที่เกินสัดส่วนนั้นอีก
การคํานวณสัดส่วนการลงทุนตามผู้ออกสินทรัพย์หรือคู่สัญญาตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมกรณี ดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในหน่วยลงทุนอื่น นอกจากหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (6)
(2) การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 29 บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัลหรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงิน ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกัน ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัด และตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง รวมทั้งหมดได้ไม่เกินร้อยละหกสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 38 บริษัทสามารถลงทุนในตราสารหนี้แต่ละประเภท ได้ไม่เกินสัดส่วน ดังต่อไปนี้
(1) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกันโดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด หรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันหรือตราสารหนี้ที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง รวมถึงตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ออกโดยบริษัทจํากัดรายเดียวกัน แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด แต่ละกองทรัสต์ ได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท
(3) ตราสารหนี้ที่ผู้ออกหรือผู้ค้ําประกันเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ แต่ละรายได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 41 บริษัทสามารถลงทุนโดยการให้กู้ยืม ให้เช่าซื้อรถ และออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเมื่อรวมกันแล้วให้บริษัทลงทุนแก่บุคคลนั้นได้ไม่เกินร้อยละห้าของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท เว้นแต่การให้กู้ยืมในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัท
(2) การให้กู้ยืมแก่กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานแต่ละกองทรัสต์หรือกองทุนรวม ให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ลงทุนของบริษัท”
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“(2) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ซึ่งมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ หรือของผู้ออกตราสารหนี้ หรือของผู้ค้ําประกันไม่ต่ํากว่าอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ เว้นแต่ เป็นตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัลหรือค้ําประกัน โดยธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ข) กรณีตราสารหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตั๋วแลกเงิน ต้องไม่มีข้อจํากัด ความรับผิด
(ค) กรณีตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด กองทรัสต์นั้นต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและมีมูลค่าไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท”
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ 54 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 54 บริษัทสามารถลงทุนให้กู้ยืมโดยมีทรัพย์สินจํานองหรือจํานําเป็นประกัน ได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินที่ใช้จํานองหรือจํานําเป็นประกันการกู้ยืม ต้องเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) ให้กู้เฉพาะในประเทศ ในสกุลเงินบาท
(3) กําหนดระยะเวลาชําระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวด ไม่น้อยกว่าปีละครั้ง เว้นแต่นโยบายการให้กู้ยืมของบริษัทมีการกําหนดระยะเวลาปลอดการชําระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนและระยะเวลาดังกล่าวไม่เกินหนึ่งในสี่ของระยะเวลาให้กู้ยืม
(4) ให้กู้ยืมแต่ละรายได้ไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้
(ก) กรณีผู้กู้ยืมเป็นบุคคลธรรมดา ได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินหรือของราคาซื้อขายของโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย ที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(ข) กรณีผู้กู้ยืมเป็นนิติบุคคล กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่ผู้กู้ยืมนํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
ทั้งนี้ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตาม (ข) ต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศและมีมูลค่าไม่ต่ํากว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านบาท
(5) การจํานองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูกสร้างนั้นจะต้องมีการประกันวินาศภัยและให้บริษัทเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยตลอดระยะเวลาตามสัญญากู้ยืม
(6) การให้กู้ยืมโดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม จํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้”
ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 57 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 57 บริษัทสามารถออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ แก่บุคคลใดได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ จํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(ก) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยรัฐบาลไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตามข้อ 44 (1)
(ข) ตราสารหนี้ที่ออก สั่งจ่าย รับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน โดยสถาบันการเงินหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจํากัด องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทรัสต์อื่นที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตามข้อ 44 (2)
(ค) ตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ ตามข้อ 47
(ง) หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 49
(จ) อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(2) จํากัดวงเงินการออกหนังสือค้ําประกันให้แก่บุคคล แต่ละรายไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินของทรัพย์สินที่นํามาจํานองหรือจํานําเป็นประกัน
(3) การออกหนังสือค้ําประกันเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาของโครงการต่าง ๆ โดยมีตราสารทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ หรือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมจํานําเป็นประกัน ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,069 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2553 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต
พ.ศ. 2553
---------------------------------
ด้วยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 บัญญัติให้คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นผู้กําหนดการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ฉะนั้นอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 9/2553 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท นอกจากที่กําหนดไว้แล้วตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้บริษัทลงทุนซื้อตราสารหนี้อื่นที่ออกโดยกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดยไม่จํากัดจํานวน
ข้อ ๒ การบริหารสินทรัพย์ลงทุนของกรมธรรม์ประกันภัยแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (universal life) ของบริษัท นอกจากบริษัทจะบริหารสินทรัพย์โดยลงทุนตามประกาศกระทรวงพาณิชย์แล้วให้บริษัทลงทุนในตราสารหนี้อื่นที่ออกโดยกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้เงื่อนไขเช่นเดียวกับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามข้อ 42 (2.2) แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าว
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,070 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2554
-----------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และต่อมาได้มีประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2553 กําหนดประเภทการลงทุนที่ให้บริษัทประกันชีวิตสามารถลงทุนเพิ่มเติมได้ นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และมาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และครั้งที่ 3/2554 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “การทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์” ระหว่างคําว่า “งานสนับสนุน” และ “อันดับความน่าเชื่อถือ” ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547
““การทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า การเผยแพร่ข้อมูลและบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า และติดต่อชักชวนลูกค้าให้มาใช้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ เช่น การเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์รวมถึงการแจก รวบรวมตรวจสอบเอกสารคําขอและหลักฐานประกอบในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (38) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547
“(38) การทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(8) ซื้อพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน ซึ่งออกหรือค้ําประกันโดยองค์กรระหว่างประเทศรัฐบาลต่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังหรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ให้ออกหรือเสนอขายในประเทศไทย”
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 และข้อ 5/2 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 5/1 บริษัทที่มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมายน้อยกว่าร้อยละสามร้อย ห้ามมิให้ลงทุนประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมายไม่น้อยกว่าร้อยละสามร้อยติดต่อกันเป็นเวลาสามเดือน
(1) ซื้อหุ้น ตามข้อ 3 (8)
(2) ซื้อหน่วยลงทุน ตามข้อ 3 (8) เว้นแต่หน่วยลงทุนตามข้อ 19 (4.1) และ (4.2)
(3) ให้กู้ยืมโดยมีหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน จํานําเป็นประกัน ตามข้อ 3 (14)
(4) ให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกัน ตามข้อ 3 (15)
(5) ให้กู้ยืมโดยมีเครื่องจักรจํานองเป็นประกัน ตามข้อ 3 (16)
(6) ให้กู้ยืมแก่สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จํากัด ตามข้อ 3 (18)
(7) ให้กู้ยืมแก่เกษตรกร ตามข้อ 3 (19)
(8) รับอาวัลตั๋วเงิน ตามข้อ 3 (20)
(9) ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (leasing) ตามข้อ 3 (22)
(10) ให้เช่าซื้อรถ ตามข้อ 3 (23)
(11) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ตามข้อ 3 (24)
(12) ซื้อขายหรือมีฐานะอนุพันธ์ ตามข้อ 3 (28) เว้นแต่เป็นการซื้อขายเพื่อลดฐานะอนุพันธ์ที่มีอยู่ หรือเพื่อการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนนอกราชอาณาจักร
เมื่อประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิตมีผลใช้บังคับ อัตราส่วนเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ร้อยละหนึ่งร้อยห้าสิบ
ข้อ 5/2 อัตราส่วนเงินกองทุนตามข้อ 5/1 ให้พิจารณาจากรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ให้บริษัทประกันชีวิตยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทที่บริษัทนําส่งทุกรอบเดือน
เมื่อประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิตมีผลใช้บังคับ อัตราส่วนเงินกองทุนตามข้อ 5/1 ให้พิจารณาจากรายงานการดํารงเงินกองทุนตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิตที่บริษัทนําส่งทุกรอบเดือน
บริษัทใดไม่ส่งรายงานตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ห้ามมิให้บริษัทนั้นลงทุนประกอบธุรกิจตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5/1 จนกว่าบริษัทจะส่งรายงานที่ขาดส่งให้ครบถ้วน”
ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 และข้อ 8/2 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547
“ข้อ 8/1 การลงทุนดังต่อไปนี้ เมื่อรวมกันแล้ว ให้บริษัทลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสี่สิบของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือมีอยู่จากการลงทุนตามข้อ 3 ทั้งหมด เว้นแต่สินทรัพย์ลงทุนของกรมธรรม์ประกันภัยแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (universal life) ตามข้อ 3 (37)
(1) ซื้อหุ้น ตามข้อ 3 (8)
(2) ซื้อหน่วยลงทุน ตามข้อ 3 (8) เว้นแต่หน่วยลงทุนตามข้อ 19 (4.1) และ (4.2)
(3) ให้กู้ยืมโดยมีหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน จํานําเป็นประกัน ตามข้อ 3 (14)
(4) ให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกัน ตามข้อ 3 (15)
(5) ให้กู้ยืมโดยมีเครื่องจักรจํานองเป็นประกัน ตามข้อ 3 (16)
(6) ให้กู้ยืมแก่สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จํากัด ตามข้อ 3 (18)
(7) ให้กู้ยืมแก่เกษตรกร ตามข้อ 3 (19)
(8) รับอาวัลตั๋วเงิน ตามข้อ 3 (20)
(9) ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (leasing) ตามข้อ 3 (22)
(10) ให้เช่าซื้อรถ ตามข้อ 3 (23)
(11) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ตามข้อ 3 (24)
(12) ซื้อขายหรือมีฐานะอนุพันธ์ ตามข้อ 3 (28) เว้นแต่เป็นการซื้อขายเพื่อลดฐานะอนุพันธ์ที่มีอยู่ หรือเพื่อการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนนอกราชอาณาจักร
ข้อ 8/2 การลงทุนในตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศนี้ หากต่อมาผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าเกณฑ์ที่สามารถลงทุนได้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทจําหน่ายตราสารหนี้นั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้”
ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547
“เมื่อประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันชีวิตมีผลใช้บังคับ ให้ใช้ราคาประเมินทรัพย์สินและหนี้สินตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันชีวิต”
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความใน (2.2) ของข้อ 19 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2.2) การซื้อหุ้นของบริษัทจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกําหนด และการซื้อหุ้นส่วนที่เกินให้ใช้เงินกองทุนส่วนเกินตามข้อ 47
การซื้อหุ้นของบริษัทจํากัดตาม (2.2) ให้หมายความรวมถึงการที่บริษัทดําเนินการจัดตั้งบริษัทจํากัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนด้วย”
ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 38 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 38 การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามข้อ 3 (32) บริษัทสามารถทําได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทสามารถทําธุรกรรมดังกล่าวได้เฉพาะกับสถาบันการเงิน หรือผู้ลงทุนประเภทสถาบันดังนี้
(ก) ธนาคาร
(ข) บริษัทเงินทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์
(ค) บริษัทประกันภัย
(ง) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(จ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ฉ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ช) กองทุนบําเหน็จบํานาญ
(ซ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฌ) กองทุนรวม
(ญ) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ฎ) ส่วนราชการหรือองค์การหรือรัฐวิสาหกิจ
(2) หลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมดังกล่าว อาจเป็นตราสารอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตั๋วเงินคลัง
(ข) พันธบัตร หุ้นกู้องค์การ หรือรัฐวิสาหกิจ
(ค) ตราสารอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(3) ต้องทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยต้องเป็นสัญญาที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เว้นแต่เป็นสัญญาที่บริษัททํากับธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จะมีเอกสารแนบท้ายสัญญา (annex) ด้วยก็ได้ ธุรกรรมดังกล่าวให้ทําได้เฉพาะสกุลเงินบาท และมีระยะเวลาการขายและซื้อคืนไม่เกินหนึ่งปี
(4) การคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ ให้คํานวณตามมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้ (market convention) ในการทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)
(5) การทําธุรกรรมซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืน ให้ราคาซื้อ ณ วันเริ่มต้นสัญญาต่ํากว่ามูลค่าหลักทรัพย์ โดยมีส่วนลดในอัตราที่เหมาะสมและสะท้อนความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมนั้น
ในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับ บริษัทต้องดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าราคาซื้อรวมกับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการทําธุรกรรมนับแต่วันเริ่มต้นสัญญาจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าหลักทรัพย์คูณด้วย (1+อัตราส่วนลดหลักทรัพย์) หากมูลค่าไม่เป็นไปตามที่กําหนด บริษัทต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงินหรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ให้บริษัท เพื่อให้มูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่ทําธุรกรรมและทรัพย์สินที่โอนมาดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนด ภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ได้มีการกําหนดส่วนต่างขั้นต่ําที่บริษัทไม่ต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงินหรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ไว้ โดยการกําหนดส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญา
(6) ให้บริษัทนับหลักทรัพย์ที่ได้จากการทําธุรกรรมซื้อโดยมีสัญญาขายคืนรวมกับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่บริษัทลงทุนไว้แล้วในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัทในหลักทรัพย์ดังกล่าว
ยอดคงค้างสุทธิของธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ณ สิ้นวันใดเมื่อรวมกันทุกสัญญาแล้วต้องมีอัตราส่วนไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือมีอยู่จากการลงทุนตามข้อ 3 ทั้งหมด เว้นแต่สินทรัพย์ลงทุนของกรมธรรม์ประกันภัยแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (universal life) ตามข้อ 3 (37)
หากบริษัทไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้นี้ นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติหรือสั่งให้ยกเลิกการทําธุรกรรมในข้อนี้ได้”
ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 39 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 39 การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ตามข้อ 3 (33) บริษัทสามารถทําได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาของการทําธุรกรรม จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เว้นแต่คู่สัญญาเป็นบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ต้องทําสัญญายืมและให้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีลักษณะและสาระสําคัญ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด เว้นแต่กรณีทําธุรกรรมให้ยืมตราสารหนี้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ทําสัญญาตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
หลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืม ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
(3) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้า (custodian) หากต้องการยืมหลักทรัพย์จากบริษัท หรือต้องการนําหลักทรัพย์ของบริษัทไปให้บุคคลอื่นยืม ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร
(4) ยอดคงค้างสุทธิของธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ณ สิ้นวันใดรวมกันทุกสัญญา เว้นแต่การทําธุรกรรมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือมีอยู่จากการลงทุนตามข้อ 3 ทั้งหมด เว้นแต่สินทรัพย์ลงทุนของกรมธรรม์ประกันภัยแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (universal life) ตามข้อ 3 (37)
การคํานวณมูลค่าธุรกรรมให้คํานวณจากมูลค่าหลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืม ณ วันที่ตกลงทําธุรกรรม”
ข้อ ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 17/1 เงื่อนไขการทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ และข้อ 40/1 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2547
“ส่วนที่ 17/1
เงื่อนไขการทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์
------------------------------------
ข้อ 40/1 การทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัท
(2) บริษัทต้องมีความพร้อมในการประกอบธุรกิจดังกล่าว และใช้ความระมัดระวังไม่ให้การให้บริการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการตามปกติของบริษัท
(3) จัดให้มีการบันทึกบัญชีโดยแยกรายได้และรายจ่ายของการให้บริการออกจากธุรกิจประกันชีวิต
ในกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้นี้ นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติหรือสั่งให้ยกเลิกการทําธุรกรรมในข้อนี้ได้”
ข้อ ๑๓ บริษัทใดลงทุนประกอบธุรกิจอื่นเกินสัดส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 8/1 ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทนั้นลดสัดส่วนการลงทุนส่วนที่เกินให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,071 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
พ.ศ. 2559
----------------------------------------
เพื่อปรับปรุงทะเบียนอนุญาโตตุลาการของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีความสมบูรณ์เป็นปัจจุบัน และให้การปฏิบัติงานของอนุญาโตตุลาการของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเกิดประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3.3 และข้อ 6 (4) แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 ประกอบมติคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2558 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ข้อ ๔ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประกาศขึ้นทะเบียนบุคคลดังบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ เป็นอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,072 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2559 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
พ.ศ. 2559
-----------------------------------
เพื่อปรับปรุงทะเบียนอนุญาโตตุลาการของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีความสมบูรณ์เป็นปัจจุบัน และให้การปฏิบัติงานของอนุญาโตตุลาการของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเกิดประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3.3 และข้อ 6 (4) แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 ประกอบมติคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2558 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกประกาศ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
(4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ข้อ ๔ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประกาศขึ้นทะเบียนบุคคลดังบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ เป็นอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,073 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม
การประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2559
--------------------------------------------
เพื่อให้การดําเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ โดยมีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถรวมทั้งประสบการณ์ที่หลากหลายมาทําหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ จึงเห็นสมควรขึ้นทะเบียนเป็นอนุญาโตตุลาการของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเพิ่มเติม อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3.3 และข้อ 6 (4) ของระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 ประกอบมติคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ทะเบียนอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประกาศขึ้นทะเบียนบุคคลตามบัญชีรายชื่อที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นอนุญาโตตุลาการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเพิ่มเติม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,074 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราเงินสมทบที่บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิตต้องนำส่งให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราเงินสมทบที่บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต
ต้องนําส่งให้แก่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 12 (4) และมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“บริษัทประกันวินาศภัย” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“บริษัทประกันชีวิต” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
“เบี้ยประกันภัยรับโดยตรง” หมายความว่า เบี้ยประกันภัยที่บริษัทประกันวินาศภัยบริษัทประกันชีวิตได้รับจากผู้เอาประกันภัย แต่หากเป็นบริษัทประกันวินาศภัยหรือบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบธุรกิจเฉพาะการประกันภัยต่อ ให้หมายความว่าเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากการรับประกันภัยต่อหักด้วยเบี้ยประกันภัยต่อที่ได้จ่ายจากการเอาประกันภัยต่อช่วงในประเทศตามสัญญาประกันภัยต่อภายใต้ข้อตกลงของตลาดประกันภัยในประเทศ
ข้อ ๒ ให้บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิตนําส่งเงินสมทบให้แก่สํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบสามเดือน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของคณะกรรมการและสํานักงาน
ข้อ ๓ การคํานวณเงินสมทบที่บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต ต้องนําส่งให้แก่สํานักงาน ให้คํานวณจากเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง และให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นําเบี้ยประกันภัยที่เกิดขึ้นในรอบสามเดือน แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชําระในรอบสามเดือนนั้นมารวมคํานวณเป็นเบี้ยประกันภัยสําหรับรอบสามเดือนนั้น
ข้อ ๔ อัตราเงินสมทบ
4.1 สําหรับบริษัทประกันวินาศภัย ให้คํานวณอัตราเงินสมทบจากเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง ดังนี้
(1) เบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 1,000 ล้านบาทแรก บริษัทประกันวินาศภัยต้องนําส่งในอัตราร้อยละ 0.3
(2) เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงส่วนที่เกิน 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท บริษัทประกันวินาศภัยต้องนําส่งในอัตราร้อยละ 0.25
(3) เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงส่วนที่เกิน 5,000 ล้านบาท บริษัทประกันวินาศภัยต้องนําส่งในอัตราร้อยละ 0.2
4.2 สําหรับบริษัทประกันชีวิต ให้คํานวณอัตราเงินสมทบจากเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง ดังนี้
(1) กรมธรรม์ประกันภัยทุกแบบนอกจาก (2) บริษัทประกันชีวิตต้องนําส่งในอัตราร้อยละ 0.3 ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงปีแรกและร้อยละ 0.15 ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงปีต่อไป
กรณีกรมธรรม์ประกันภัยที่กําหนดให้ชําระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว บริษัทประกันชีวิตต้องนําส่งเงินสมทบในอัตราร้อยละ 0.15 ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงที่ชําระครั้งเดียวนั้น
(2) กรมธรรม์ประกันภัยแบบควบการลงทุน บริษัทประกันชีวิตต้องนําส่งเงินสมทบในอัตราร้อยละ 0.1 ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงปีแรกและปีต่อไป
กรณีกรมธรรม์ประกันภัยแบบควบการลงทุน ที่กําหนดให้ชําระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว บริษัทประกันชีวิตต้องนําส่งเงินสมทบในอัตราร้อยละ 0.1 ของเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงที่ชําระครั้งเดียวนั้น
ข้อ ๕ การนําส่งเงินสมทบให้บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต ดําเนินการดังนี้
(1) จ่ายเป็นเงินสด เช็ค หรือดร๊าฟ
(2) โอนเข้าบัญชี
ข้อ ๖ ในกรณีที่นําส่งเงินสมทบเป็นเช็คหรือดร๊าฟ บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิตจะต้องสั่งจ่ายในนาม “เงินสมทบสํานักงาน คปภ.” และเช็คหรือดร๊าฟนั้นต้องเป็นเช็คหรือดร๊าฟที่ไม่ลงวันที่ล่วงหน้า
ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิตนําส่งเงินสมทบให้แก่สํานักงานเกินจํานวนที่ต้องจ่ายสําหรับรอบสามเดือน ให้บริษัทขอนําเงินในส่วนที่เกินนั้นไปจ่ายเป็นเงินสมทบให้แก่สํานักงานสําหรับรอบสามเดือนต่อๆ ไปได้จนกว่าเงินในส่วนที่เกินนั้นจะหมดลง
ข้อ ๘ การส่งเงินสมทบ การขอนําเงินสมทบส่วนที่เกินไปจ่ายเป็นเงินสมทบสําหรับรอบสามเดือนต่อๆ ไป ให้บริษัทยื่นคําร้องตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้เริ่มใช้บังคับสําหรับการคํานวณเงินสมทบตั้งแต่รอบเดือน มกราคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,075 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราเงินสมทบที่บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิตต้องนำส่งให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราเงินสมทบที่บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต
ต้องนําส่งให้แก่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2556
----------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 12 (4) และมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราเงินสมทบที่บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต ต้องนําส่งให้แก่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “เบี้ยประกันภัยโดยตรง” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราเงินสมทบที่บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิตต้องนําส่งให้แก่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““เบี้ยประกันภัยรับโดยตรง” หมายความว่า เบี้ยประกันภัยที่บริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตได้รับจากผู้เอาประกันภัย เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(1) กรณีบริษัทประกันวินาศภัยหรือบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบธุรกิจเฉพาะการประกันภัยต่อให้หมายความว่า เบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากการรับประกันภัยต่อหักด้วยเบี้ยประกันภัยต่อที่ได้จ่ายจากการเอาประกันภัยต่อช่วงในประเทศตามสัญญาประกันภัยต่อภายใต้ข้อตกลงของตลาดประกันภัยในประเทศ
(2) กรณีการรับประกันภัยพิบัติภายใต้พระราชกําหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 ของบริษัทประกันวินาศภัยให้หมายความว่า เบี้ยประกันภัยที่บริษัทประกันวินาศภัยได้รับจากผู้เอาประกันภัยหักด้วยเบี้ยประกันภัยต่อที่นําส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,076 |
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการเบิกจ่าย การเก็บรักษา การจัดการกองทุน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | ระเบียบคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ว่าด้วยการเบิกจ่าย การเก็บรักษา การจัดการกองทุน และค่าใช้จ่าย
ในการดําเนินงานของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2554
-------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 34 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 ประกอบมาตรา 3 (3) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 และมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 7/2553 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการเบิกจ่าย การเก็บรักษา การจัดการกองทุน และค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 11 แห่งระเบียบคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการเบิกจ่าย การเก็บรักษา การจัดการกองทุน และค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้สํานักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจัดทําประมาณการรายรับ - รายจ่ายประจําปีของกองทุนเสนอคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเดือนธันวาคมทุกปี สําหรับการทํางบประมาณปีถัดไป”
ข้อ ๓ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,077 |
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 | ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและ
ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
พ.ศ. 2551
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 เลขาธิการออกระเบียบไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
หมวด ๑ บทนิยาม
----------------------------
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
3.1 “สํานักงาน คปภ.” หมายถึง สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
3.2 “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ
3.3 “อนุญาโตตุลาการ” หมายถึง อนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดข้อพิพาท ซึ่งสํานักงาน คปภ. ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุญาโตตุลาการไว้ ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการ
3.4 “ระเบียบอนุญาโตตุลาการ” หมายถึง ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
3.5 “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ที่เลขาธิการมอบให้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบอนุญาโตตุลาการนี้
3.6 “เลขาธิการ” หมายถึง เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย
3.7 “ผู้เสนอข้อพิพาท” หมายถึง บุคคลที่ยื่นคําเสนอข้อพิพาท เพื่อเรียกร้องสิทธิอันมีฐานแห่งสิทธิเรียกร้องจากสัญญาประกันภัยต่อสํานักงาน คปภ.
3.8 “ผู้คัดค้าน” หมายถึง บริษัทประกันภัยที่ถูกผู้เสนอข้อพิพาทเรียกร้องให้รับผิดตามสิทธิเรียกร้องจากสัญญาประกันภัย
3.9 “คู่พิพาท” หมายถึง ผู้เสนอข้อพิพาทและผู้คัดค้าน
3.10 “คําคู่ความ” หมายถึง บรรดาคําเสนอข้อพิพาท คําคัดค้าน หรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อสํานักงาน คปภ. หรืออนุญาโตตุลาการ เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่พิพาท
หมวด ๒ คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ
----------------------------
ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ” ประกอบด้วย เลขาธิการเป็นประธานคณะกรรมการ ผู้ช่วยเลขาธิการสายกฎหมายและคดี ผู้แทนสํานักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด นายกสมาคมประกันวินาศภัย นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายกสมาคมนายหน้าประกันภัย ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 3 คน ซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งเป็นกรรมการ และผู้อํานวยการสํานักกฎหมายและคดี สํานักงาน คปภ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้ผู้อํานวยการส่วนอนุญาโตตุลาการ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละ 4 ปี เมื่อครบวาระแล้ว อาจได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้
นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(5) ได้รับโทษจําคุกโดยมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ให้เลขาธิการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ โดยให้อยู่ในตําแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตําแหน่งนั้น
เมื่อครบวาระดังกล่าวในวรรคสาม หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่ง เพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนนั้นเข้ารับหน้าที่
ข้อ ๕ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานคณะกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมคณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มติของที่ประชุมคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งชี้ขาด
ข้อ ๖ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
(1) ประกาศกําหนดสถานที่ทําการของอนุญาโตตุลาการ
(2) ประกาศกําหนดอัตราค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ ค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณา และอัตราการวางเงินเป็นหลักประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการและค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณา
(3) ให้คําแนะนําหรือให้คําปรึกษาเกี่ยวกับระเบียบอนุญาโตตุลาการ
(4) ให้คําแนะนํา หรือให้ความเห็นชอบบุคคลที่เหมาะสมจะทําหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการเสนอต่อสํานักงาน คปภ. เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นอนุญาโตตุลาการสํานักงาน คปภ. ทะเบียนอนุญาโตตุลาการนี้อาจเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งคราวตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
(5) ออกประกาศ กําหนดระเบียบต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบอนุญาโตตุลาการนี้
หมวด ๓ การใช้ระเบียบอนุญาโตตุลาการ
----------------------------
ข้อ ๗ ให้ใช้ระเบียบอนุญาโตตุลาการนี้แก่การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการในกรณีที่มีข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใด ๆ ระหว่างผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ภายใต้การดําเนินการของสํานักงาน คปภ.
การใดที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบอนุญาโตตุลาการ ให้ดําเนินการนั้นไปตามความตกลงของคู่พิพาท หรือตามที่อนุญาโตตุลาการเห็นสมควร หรือตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการตีความระเบียบอนุญาโตตุลาการ การส่งคําคู่ความหนังสือแจ้งความหรือเอกสารอื่นใด ให้ถือว่ามีผลสมบูรณ์ เมื่อคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งหรือผู้แทนฝ่ายนั้นได้รับแล้วด้วยตนเองหรือได้มีการส่งไปถึงภูมิลําเนา หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้รับ หากไม่สามารถสืบหาภูมิลําเนาหรือสถานที่ประกอบธุรกิจที่แท้จริงได้ ให้ส่งไปยังถิ่นที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจที่ทราบครั้งสุดท้ายของบุคคลนั้น
เพื่อประโยชน์ในการคํานวณระยะเวลาตามระเบียบอนุญาโตตุลาการ มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคํานวณเข้าด้วย ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลานั้นเป็นวันหยุดซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงานให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวจนถึงวันที่เริ่มทํางานใหม่
วันหยุดซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงาน และอยู่ระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้รวมคํานวณเข้าไปในระยะเวลาด้วย
หมวด ๔ การดําเนินกระบวนการระงับข้อพิพาท
----------------------------
ส่วน ๑ การเสนอข้อพิพาท
----------------------------
ข้อ ๙ ในการเสนอข้อพิพาทให้ผู้เสนอข้อพิพาท ยื่นคําเสนอข้อพิพาทของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่กําหนด พร้อมสําเนาที่เพียงพอเพื่อมอบให้แก่อนุญาโตตุลาการและผู้คัดค้าน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) คําเสนอให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการภายใต้การดําเนินการของสํานักงาน คปภ.
(2) ชื่อและที่อยู่ของคู่พิพาท
(3) สัญญาหรือข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการ
(4) ข้อเท็จจริงและรายละเอียดแห่งข้อพิพาท หากข้อพิพาทนั้นเกี่ยวกับจํานวนเงินให้ระบุจํานวนเงินที่เรียกร้องด้วย
(5) คําขอให้ชี้ขาด
(6) จํานวนอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนหรือสามคน
ในการเสนอข้อพิพาทตามวรรคแรก ให้ผู้เสนอข้อพิพาทยื่นสัญญาประกันภัยอันก่อให้เกิดข้อพิพาท หรือต้นฉบับเอกสารที่แสดงข้อเท็จจริงอันเป็นฐานแห่งสิทธิเรียกร้อง หรือสําเนาเอกสารนั้นที่รับรองความถูกต้องแล้ว
ข้อ ๑๐ คําเสนอข้อพิพาทให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนงานสังกัดสํานักงาน คปภ. ซึ่งผู้เสนอข้อพิพาทมีภูมิลําเนาอยู่ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สํานักงาน คปภ.
(2) ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สํานักงาน คปภ. จังหวัด หรือสํานักงาน คปภ. ภาค
นอกจากเขตอํานาจตามวรรคแรก หากผู้เสนอข้อพิพาทมีความสะดวก อาจยื่นคําเสนอข้อพิพาทตามสถานที่ที่เกิดเหตุ หรือที่ออกกรมธรรม์ประกันภัย หรือที่ทําสัญญาประกันภัยที่อยู่ในเขตอํานาจตาม (1) หรือ (2) ก็ได้
การยื่นคําเสนอข้อพิพาทตามวรรคสอง ให้ผู้เสนอข้อพิพาทแสดงเหตุผลของความสะดวกและเงื่อนไขในการยื่นคําเสนอข้อพิพาทนั้นด้วย
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคําเสนอข้อพิพาทที่มีการยื่นตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องครบถ้วนให้มีคําสั่งคืนคําเสนอข้อพิพาทไปให้ทํามาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําเสนอข้อพิพาทแล้ว ผู้เสนอข้อพิพาทจะยื่นคําเสนอข้อพิพาทเดียวกันนั้นต่อสํานักงาน คปภ. หรือส่วนงานสังกัดสํานักงาน คปภ. ที่อื่นอีกไม่ได้
ส่วน ๒ การแจ้งเสนอข้อพิพาท
----------------------------
ข้อ ๑๑ เมื่อมีการยื่นคําเสนอข้อพิพาท และพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าคําเสนอข้อพิพาทนั้นถูกต้องก็ให้รับคําเสนอข้อพิพาทเพื่อดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการเสนอข้อพิพาทเป็นหนังสือและส่งสําเนาคําเสนอข้อพิพาทดังกล่าวไปยังผู้คัดค้านโดยไม่ชักช้า ณ ภูมิลําเนาหรือสถานที่ประกอบธุรกิจหรือถิ่นที่อยู่ของผู้คัดค้านนั้นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือวิธีอื่นตามที่เลขาธิการกําหนด
ส่วน ๓ การยื่นคําคัดค้านและคําเรียกร้องแย้ง
----------------------------
ข้อ ๑๒ เมื่อผู้คัดค้านได้รับหนังสือแจ้งการเสนอข้อพิพาทและสําเนาคําเสนอข้อพิพาทแล้วจะยื่นคําคัดค้านและเสนอคําเรียกร้องแย้งตามแบบที่เลขาธิการกําหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเสนอข้อพิพาทและสําเนาคําเสนอข้อพิพาทนั้น
ในกรณีมีเหตุจําเป็นที่ผู้คัดค้านไม่อาจยื่นคําคัดค้านได้ภายในกําหนดเวลาตามวรรคแรก ให้ยื่นคําร้องขอขยายเวลายื่นคําคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคําสั่งให้ขยายเวลายื่นคําคัดค้านได้ตามสมควร แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 15 วัน
ข้อ ๑๓ เมื่อมีการยื่นคําเรียกร้องแย้ง ให้นําความในข้อ 11 มาใช้บังคับกับคําเรียกร้องแย้งโดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ การยื่นคําแก้คําเรียกร้องแย้ง ให้นําความในข้อ 12 มาใช้บังคับกับคําแก้คําเรียกร้องแย้งโดยอนุโลม
ข้อ ๑๕ คําคัดค้าน คําเรียกร้องแย้ง และคําแก้คําเรียกร้องแย้ง ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนงานสังกัดสํานักงาน คปภ. ที่ได้ยื่นคําเสนอข้อพิพาทไว้
ส่วน ๔ การแต่งตั้งผู้แทนและบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดําเนินกระบวนพิจารณา
----------------------------
ข้อ ๑๖ คู่พิพาทอาจแต่งตั้งผู้แทนหรือบุคคลใด เพื่อช่วยเหลือตนในการดําเนินกระบวนการระงับข้อพิพาทก็ได้ ให้คู่พิพาทดังกล่าวแจ้งชื่อและที่อยู่ของผู้แทน หรือบุคคลซึ่งตนแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเหลือ โดยทําเป็นหนังสือตามแบบที่เลขาธิการกําหนดยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อรวมไว้ในสํานวนความ
ส่วน ๕ การตั้งอนุญาโตตุลาการ
----------------------------
ข้อ ๑๗ ให้คู่พิพาทตั้งอนุญาโตตุลาการตามจํานวนดังต่อไปนี้
(1) กรณีข้อพิพาทที่ไม่มีทุนทรัพย์ หรือข้อพิพาทที่มีจํานวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องไม่เกิน 2,000,000 บาท ให้มีอนุญาโตตุลาการ จํานวน 1 คน
(2) กรณีข้อพิพาทที่มีจํา นวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องเกิน 2,000,000 บาท ให้มีอนุญาโตตุลาการจํานวน 3 คน เว้นแต่คู่พิพาทตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการ จํานวน 1 คน ก็ได้
ข้อ ๑๘ เว้นแต่คู่พิพาทตกลงกันเป็นอย่างอื่น การตั้งอนุญาโตตุลาการจํานวน 1 คน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นัดพร้อมคู่พิพาทภายใน 15 วัน นับแต่วันรับคําคัดค้าน หรือคําคัดค้านแก้คําเรียกร้องแย้ง เมื่อคู่พิพาทมาพร้อมกันแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอรายชื่ออนุญาโตตุลาการ ในทะเบียนอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน คปภ. พร้อมประวัติโดยย่อ และให้คู่พิพาทเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่อในทะเบียนดังกล่าว
เมื่อตั้งอนุญาโตตุลาการตามวรรคแรกแล้ว ให้อนุญาโตตุลาการกําหนดวันพิจารณานัดแรก
ข้อ ๑๙ เว้นแต่คู่พิพาทตกลงกันเป็นอย่างอื่น การตั้งอนุญาโตตุลาการจํานวน 3 คน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นัดพร้อมคู่พิพาทภายใน 15 วัน นับแต่วันรับคําคัดค้าน หรือคําคัดค้านแก้คําเรียกร้องแย้ง เมื่อคู่พิพาทมาพร้อมกันแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอรายชื่ออนุญาโตตุลาการในทะเบียนอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน คปภ. พร้อมประวัติโดยย่อ และให้คู่พิพาทเลือกอนุญาโตตุลาการจากรายชื่อในทะเบียนดังกล่าว
เมื่อตั้งอนุญาโตตุลาการตามวรรคแรกแล้ว ให้อนุญาโตตุลาการนัดวันในการพิจารณานัดแรกและให้อนุญาโตตุลาการกําหนดผู้ที่จะทําหน้าที่เป็นประธานคณะอนุญาโตตุลาการ
หากคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายมิได้ดําเนินการเลือกหรือไม่อาจตกลงเลือกอนุญาโตตุลาการกันได้ตามข้อ 18 หรือข้อ 19 ให้เลขาธิการทําการตั้งอนุญาโตตุลาการให้แก่คู่พิพาท ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความเป็นอิสระ และความเป็นกลางของบุคคลที่จะได้รับการตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการ
ข้อ ๒๐ การตั้งอนุญาโตตุลาการต้องทําเป็นหนังสือตามแบบที่เลขาธิการกําหนด
ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับการตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการและตลอดระยะเวลาที่ดําเนินการทางอนุญาโตตุลาการให้อนุญาโตตุลาการเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงอันอาจทําให้คู่พิพาทเกิดความสงสัยอันควรในความเป็นอิสระและความเป็นกลางของตน ถ้าหากพึงมี
อนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระ แต่คู่พิพาทจะคัดค้านอนุญาโตตุลาการซึ่งตนเป็นผู้ตั้งหรือร่วมตั้งตามข้อ 18 หรือข้อ 19 มิได้ เว้นแต่คู่พิพาทฝ่ายนั้นจะมิได้รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการคัดค้านในขณะที่ตั้งอนุญาโตตุลาการนั้น
การคัดค้านให้ทําเป็นหนังสือแจ้งเหตุแห่งการคัดค้านโดยแจ้งชัด ยื่นต่อเลขาธิการภายใน 15 วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุแห่งการคัดค้าน ทั้งนี้ ต้องกระทําเสียก่อนวันที่อนุญาโตตุลาการสั่งปิดการพิจารณา
ข้อ ๒๒ หากคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งเห็นชอบกับการคัดค้านอนุญาโตตุลาการหรือผู้เป็นอนุญาโตตุลาการขอถอนตัวหลังจากการคัดค้าน ให้ดําเนินการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นใหม่แทนอนุญาโตตุลาการที่ถูกคัดค้านตามข้อ 18 และข้อ 19 ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นสุดการเป็นอนุญาโตตุลาการ
การที่คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งเห็นชอบกับการคัดค้านอนุญาโตตุลาการหรือผู้เป็นอนุญาโตตุลาการขอถอนตัวตามวรรคแรกมิได้หมายถึงอนุญาโตตุลาการผู้นั้นยอมรับถึงความถูกต้องแห่งเหตุคัดค้านอนุญาโตตุลาการ
ข้อ ๒๓ หากคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นชอบกับการคัดค้านอนุญาโตตุลาการและอนุญาโตตุลาการที่ถูกคัดค้านมิได้ถอนตัว ถ้าเลขาธิการเห็นชอบกับคําคัดค้านให้ดําเนินการตามข้อ 18 หรือข้อ 19 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลขาธิการเห็นชอบ ถ้าไม่เห็นชอบกับคําคัดค้านให้ยกคําคัดค้านเสียและให้เป็นที่ยุติ
กรณีคู่พิพาทที่คัดค้านไม่เห็นด้วยในคําวินิจฉัยของเลขาธิการตามวรรคแรกให้ดําเนินการคัดค้านต่อศาลได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลขาธิการมีคําวินิจฉัย การดําเนินการดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้กระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการต้องหยุดชะงัก เว้นแต่ศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๔ ในระหว่างดําเนินกระบวนพิจารณา หากอนุญาโตตุลาการตาย ลาออก ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยเหตุอื่น ให้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นใหม่แทน โดยวิธีเดียวกับการตั้งอนุญาโตตุลาการผู้นั้น ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นสุดการเป็นอนุญาโตตุลาการ
ข้อ ๒๕ หากอนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้นใหม่แทนตามข้อ 22, 23 และ 24 เป็นอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนหรือเป็นอนุญาโตตุลาการสามคนแล้วแต่กรณี การที่จะดําเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการใหม่หรือไม่นั้น ให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการหรือคณะอนุญาโตตุลาการ นั้น
ส่วน ๖ การตกลงและการประนีประนอมยอมความ
----------------------------
ข้อ ๒๖ ก่อนวันที่อนุญาโตตุลาการพิจารณานัดแรกหากเลขาธิการเห็นสมควรหรือคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะให้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความโดยสํานักงาน คปภ. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นัดคู่พิพาทมาพร้อมกันเพื่อหาทางเจรจาทําการตกลงหรือประนีประนอมยอมความในข้อพิพาทนั้น
เมื่อคู่พิพาทตกลงหรือประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทกันได้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ให้คู่พิพาททําสัญญาตกลงหรือประนีประนอมยอมความนั้นเป็นหนังสือ และให้คู่พิพาทลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าว
หากคู่พิพาทประสงค์จะให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ให้ดําเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการตามระเบียบอนุญาโตตุลาการนี้ต่อไป
หมวด ๕ วิธีพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ
----------------------------
ข้อ ๒๗ ไม่ว่าการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการจะได้ดําเนินไปแล้วเพียงใดหากอนุญาโตตุลาการเห็นเป็นการสมควร ให้อนุญาโตตุลาการมีอํานาจที่จะทําการประนอมข้อพิพาทนั้นได้
ข้อ ๒๘ เว้นแต่คู่พิพาทได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การสืบพยานให้เป็นไปตามวิธีการต่อไปนี้
(1) ให้คู่พิพาทยื่นบัญชีระบุพยานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนข้ออ้าง หรือคําคัดค้าน หรือคําเรียกร้องแย้ง หรือคําแก้คําเรียกร้องแย้งของตนต่ออนุญาโตตุลาการในวันพิจารณานัดแรก ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการเห็นสมควร อนุญาโตตุลาการมีอํานาจสั่งให้คู่พิพาททําบันทึกคําพยานหรือส่งเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทล่วงหน้าให้ก็ได้
(2) การสืบพยานบุคคลให้กระทําต่อหน้าอนุญาโตตุลาการ โดยให้อนุญาโตตุลาการบันทึกคําพยานโดยย่อ เพื่ออ่านและให้พยานลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน แล้วเก็บรวมไว้ในสํานวนความ
(3) ขณะนั่งพิจารณา อนุญาโตตุลาการจะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงาน คปภ. ช่วยบันทึกคําพยานแทนก็ได้
(4) การสืบพยานจะต้องกระทําอย่างเปิดเผย เว้นแต่คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะร้องขอหรืออนุญาโตตุลาการเห็นสมควรให้ดําเนินกระบวนพิจารณาลับ
ข้อ ๒๙ คู่พิพาทฝ่ายใดกล่าวอ้างข้ออ้างใด ต้องเป็นฝ่ายมีหน้าที่นําสืบให้ประจักษ์ตามข้ออ้างของตน
ข้อ ๓๐ อนุญาโตตุลาการจะให้ผู้เชี่ยวชาญคนใดทํารายงานความเห็นเสนอก็ได้ กรณีเช่นนี้ให้คู่พิพาทแจ้งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องตามที่ผู้เชี่ยวชาญสอบถาม
เมื่อได้รับรายงานความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ให้อนุญาโตตุลาการแจ้งให้คู่พิพาททราบรายละเอียดในรายงานความเห็นนั้น และหากคู่พิพาทร้องขอก็ให้ทําสําเนารายงานความเห็นนั้นให้
คู่พิพาทอาจยื่นคําร้องขอซักถามผู้เชี่ยวชาญก็ได้ หากอนุญาโตตุลาการพิจารณาอนุญาตก็นําวิธีการสืบพยานในข้อ 28 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๓๑ ถ้าผู้เสนอข้อพิพาทไม่มาตามกําหนดนัดพิจารณานัดแรกโดยมิได้ยื่นคําร้องขอเลื่อนการพิจารณาหรือมิได้แจ้งเหตุขัดข้อง อนุญาโตตุลาการสั่งจําหน่ายข้อพิพาทเสียก็ได้
ถ้าผู้คัดค้านไม่มาตามกําหนดนัดพิจารณานัดแรก หรือคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาตามกําหนดในนัดต่อไป โดยมิได้ยื่นคําร้องขอเลื่อนการพิจารณา หรือมิได้แจ้งเหตุขัดข้องก่อนเริ่มพิจารณา หากอนุญาโตตุลาการเห็นเป็นการสมควรให้ดําเนินการพิจารณาไปแต่ฝ่ายเดียว
กรณีคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาตามกําหนดนัดตามวรรคสอง โดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนการพิจารณา ให้อนุญาโตตุลาการคิดค่าปรับจากคู่พิพาทฝ่ายนั้นตามความเป็นจริงได้ เพื่อจ่ายให้แก่คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งหรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายแก่การดําเนินกระบวนพิจารณา
คู่พิพาทอาจยื่นคําร้องขอเลื่อนคดีได้ โดยจะต้องแสดงเหตุผลในการขอเลื่อนให้ชัดแจ้ง และให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการ
ถ้าคู่พิพาทไม่มีพยานอื่นใดมาเสนอต่ออนุญาโตตุลาการอีก ก็ให้อนุญาโตตุลาการสั่งปิดการพิจารณาและนัดชี้ขาด
หมวด ๖ คําชี้ขาด
----------------------------
ข้อ ๓๒ คําชี้ขาดจะต้องทําให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่กระบวนการตั้งอนุญาโตตุลาการเสร็จสิ้นลง ถ้ามีเหตุจําเป็นให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายเวลาออกไปได้อีกตามสมควร
ข้อ ๓๓ คําชี้ขาดให้วินิจฉัยไปตามเสียงข้างมากของอนุญาโตตุลาการ
อนุญาโตตุลาการ จะกําหนดหรือชี้ขาดการใดให้เกินขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือคําขอให้ชี้ขาดของคู่พิพาทไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นการกําหนดค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณา หรือค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ หรือเป็นการชี้ขาดให้เป็นไปตามข้อตกลง หรือประนีประนอมยอมความกันระหว่างคู่พิพาท
ข้อ ๓๔ อนุญาโตตุลาการจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามหลักแห่งกฎหมาย และความยุติธรรมในการตีความสัญญาประกันภัย ให้คํานึงถึงสภาพความเป็นไปได้และแนวปฏิบัติทางการค้าของสัญญาประกันภัยนั้น ๆ ด้วย
ข้อ ๓๕ คําชี้ขาดจะต้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของอนุญาโตตุลาการ ระบุ วัน เดือน ปีและสถานที่ที่ทําคําชี้ขาดไว้โดยชัดแจ้ง ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการคนใดไม่ลงลายมือชื่อไว้ให้อนุญาโตตุลาการอื่นหรือเลขาธิการ จดแจ้งเหตุขัดข้องไว้
คําชี้ขาดจะต้องระบุเหตุผลแห่งข้อวินิจฉัยทั้งปวงไว้โดยชัดแจ้ง
คําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้สํานักงาน คปภ. เปิดเผยต่อสาธารณชนได้ เว้นแต่เป็นกระบวนพิจารณาลับต้องได้รับความยินยอมจากคู่พิพาท
เมื่อทําคําชี้ขาดแล้ว ให้มีผลผูกพันคู่พิพาทนับแต่วันอ่าน เว้นแต่คู่พิพาทไม่มาฟังคําชี้ขาด ก็ให้รีบส่งสําเนาคําชี้ขาดไปถึงคู่พิพาทที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและให้ถือว่าคําชี้ขาดมีผลผูกพันคู่พิพาทตั้งแต่สําเนาคําชี้ขาดไปถึงคู่พิพาทฝ่ายนั้น
ข้อ ๓๖ ภายในกําหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่สําเนาคําชี้ขาดไปถึง เมื่อเกิดความสงสัยตามสมควรเกี่ยวกับข้อความในคําชี้ขาด คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคําร้องขอเป็นหนังสือต่อเลขาธิการ ให้อนุญาโตตุลาการตีความข้อความนั้นได้ คําตีความให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของคําชี้ขาด และต้องปฏิบัติไปในทํานองเดียวกับการทําคําชี้ขาด
ข้อ ๓๗ ถ้าในคําชี้ขาดใดมีข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย เมื่ออนุญาโตตุลาการหรือเมื่อคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยื่นคําร้องขอเป็นหนังสือต่อเลขาธิการ อนุญาโตตุลาการอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
ข้อ ๓๘ ภายในกําหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่สําเนาคําชี้ขาดไปถึง เมื่อคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่ามิได้ชี้ขาดในข้อประเด็นสาระสําคัญใด ก็อาจยื่นคําร้องขอต่อเลขาธิการเป็นหนังสือตามแบบที่สํานักงาน คปภ. กําหนด ขอให้อนุญาโตตุลาการทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมในประเด็นข้อนั้นได้
ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการเห็นว่าข้อประเด็นนั้นเป็นข้อสาระสําคัญ และยังมิได้ชี้ขาดไว้ ก็ให้ทําคําชี้ขาดในประเด็นนั้นให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 30 วัน นับแต่วันที่คู่พิพาทฝ่ายนั้นได้ยื่นคําร้องขอ
ถ้าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าการทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมนั้น ไม่อาจกระทําได้ นอกจากจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ก็อาจสั่งให้คู่พิพาทนําพยานหลักฐานมาสืบได้ อนึ่ง อนุญาโตตุลาการจะต้องทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมดังกล่าว ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คู่พิพาทได้ยื่นคําร้องขอ
ถ้ามีเหตุจําเป็นให้เป็นดุลยพินิจของอนุญาโตตุลาการที่จะขยายเวลาออกไปได้อีกตามสมควรและเมื่อทําคําชี้ขาดแล้ว ให้รีบส่งสําเนาคําชี้ขาดไปถึงคู่พิพาทที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและให้ถือว่าคําชี้ขาดมีผลผูกพันแล้วตั้งแต่สําเนาคําชี้ขาดไปถึงคู่พิพาทฝ่ายนั้น
ข้อ ๓๙ เมื่ออนุญาโตตุลาการทําคําชี้ขาด ทําคําตีความ แก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย หรือทําคําชี้ขาดเพิ่มเติมเสร็จสิ้นแล้ว ให้อนุญาโตตุลาการส่งมอบสํานวนทั้งหมดให้แก่สํานักงาน คปภ.
หมวด ๗ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ ค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนการพิจารณา
และการวางเงินเป็นหลักประกัน
----------------------------
ข้อ ๔๐ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการและค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
ข้อ ๔๑ ให้คู่พิพาทวางเงินเป็นหลักประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณา ในวันยื่นคําเสนอข้อพิพาทตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
ถ้าผู้เสนอข้อพิพาทมิได้วางเงินเป็นหลักประกันตามวรรคแรกให้ครบจํานวนให้เลขาธิการมีคําสั่งไม่รับคําเสนอข้อพิพาท
ในกรณีที่จัดให้มีการประนีประนอมยอมความโดยสํานักงาน คปภ. หรือถอนข้อพิพาทก่อนตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือก่อนพิจารณานัดแรกให้คืนเงินที่วางเป็นหลักประกันตามวรรคแรกแก่ผู้วางหลักประกันหลังจากหักค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนการพิจารณาแล้ว ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
หมวด ๘ บทเฉพาะกาล
----------------------------
ข้อ ๔๒ กระบวนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการที่ค้างพิจารณาอยู่ก่อนวันที่ระเบียบอนุญาโตตุลาการนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการต่อไปตามข้อบังคับกรมการประกันภัย ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการที่ใช้อยู่ในขณะเสนอข้อพิพาท
บรรดาประกาศคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ประกาศกรมการประกันภัย แบบเอกสารที่เกี่ยวกับกระบวนอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับกรมการประกันภัย ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการที่ใช้อยู่ในขณะเสนอข้อพิพาท ให้ใช้ต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบอนุญาโตตุลาการนี้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยระเบียบอนุญาโตตุลาการนี้ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยสํานักงาน คปภ.
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ | 5,078 |
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 | ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม
การประกอบธุรกิจประกันภัย
ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2553
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 4 ให้มีคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ประกอบด้วย เลขาธิการเป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยเลขาธิการสายกฎหมาย ผู้ช่วยเลขาธิการสายคดี ผู้แทนสํานักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด นายกสมาคมประกันวินาศภัย นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสามคนซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งเป็นกรรมการ และผู้อํานวยการฝ่ายระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ สํานักงาน คปภ. เป็นกรรมการและเลขานุการ”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 19 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 26 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 26 ก่อนคู่พิพาทตกลงตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาท หากเลขาธิการเห็นสมควรหรือคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้สํานักงาน คปภ. จัดให้มีการตกลงหรือประนีประนอมยอมความ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินกระบวนการประนอมข้อพิพาทตามระเบียบสํานักงาน คปภ. ที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 39 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551
“คู่พิพาทจะไม่อ้างอนุญาโตตุลาการเป็นพยานในกระบวนพิจารณาชั้นศาลเกี่ยวกับข้อพิพาท ซึ่งเป็นมูลแห่งกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 40 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 40 ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการและค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกําหนด”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 41 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 41 ให้คู่พิพาทวางเงินเป็นหลักประกันค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณา ในวันยื่นคําเสนอข้อพิพาทและวันยื่นคําคัดค้านตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
หากคู่พิพาทมิได้วางเงินเป็นหลักประกันสําหรับค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ครบจํานวน ให้เลขาธิการมีคําสั่งไม่รับคําเสนอข้อพิพาทหรือคําคัดค้าน หรือมีคําสั่งเป็นอย่างอื่นตามสมควรแก่กรณี
ในกรณีที่จัดให้มีการประนีประนอมยอมความ โดยสํานักงาน คปภ. ตามระเบียบสํานักงาน คปภ. ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามความในข้อ 26 ค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนการประนอมข้อพิพาท ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณา ตามความในข้อ 40 โดยจ่ายจากเงินวางหลักประกันตามวรรคหนึ่ง
หากภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสามออกจากเงินวางหลักประกันแล้วมีเงินเหลือ ให้คืนแก่ผู้วางหลักประกัน”
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,079 |
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาล
และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัย
หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จึงออกประกาศกําหนดมาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทประกันวินาศภัยที่รับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด และกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยดําเนินการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น สําหรับความเสียหายต่อร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถ ตามจํานวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินจํานวนเงินสูงสุดซึ่งกําหนดโดยกฎกระทรวง โดยให้จ่ายแต่ละรายการในอัตราไม่เกินราคาสูงสุดที่กําหนดตามมาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ
ข้อ ๒ ให้มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นไปตามนิยาม บัญชีรายการ และอัตราค่ารักษาพยาบาลแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอื่นใดในส่วนที่ได้กําหนดไว้แล้วตามประกาศนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547
การุณ กิตติสถาพร
ปลัดกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ | 5,080 |
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาล
และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัย
หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จึงออกประกาศกําหนดมาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บริษัทประกันวินาศภัยที่รับประกันภัยรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จํากัด และกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยดําเนินการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น สําหรับความเสียหายต่อร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถ ตามจํานวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินจํานวนเงินสูงสุดซึ่งกําหนดโดยกฎกระทรวง โดยให้จ่ายแต่ละรายการในอัตราไม่เกินราคาสูงสุดที่กําหนดตามมาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ
ข้อ ๒ ให้มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นไปตามนิยาม บัญชีรายการ และอัตราค่ารักษาพยาบาลแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอื่นใดในส่วนที่ได้กําหนดไว้แล้วตามประกาศนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547
การุณ กิตติสถาพร
ปลัดกระทรวงพาณิชย์
ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ | 5,081 |
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาล
และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัย
หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2560
-------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560 คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีแนบท้ายมาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (รายการบัญชีแนบท้ายของอัตราค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ) ตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัย หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
สมชัย สัจจพงษ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ | 5,082 |
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจาเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาล
และค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัย
หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2561
--------------------------------------------------
เพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นธรรม เหมาะสมและสอดคล้อง กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจําเป็นต้องปรับปรุงมาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถบางรายการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ข้อ ๔ ให้ใช้บัญชีแนบท้ายมาตรฐานกลางของรายการและจํานวนเงิน ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ (รายการบัญชีแนบท้ายของอัตราค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ)ที่แนบท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ | 5,083 |
ประกาศกรมการประกันภัย เรื่อง มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่มีโทษปรับสถานเดียว (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรมการประกันภัย
เรื่อง มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนเปรียบเทียบความผิด
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ที่มีโทษปรับสถานเดียว (ฉบับที่ 2)
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 อธิบดีกรมการประกันภัยมอบหมายให้เจ้าพนักงานตํารวจเป็นนายทะเบียนเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540ที่มีโทษปรับสถานเดียวไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกรมการประกันภัย เรื่อง มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่มีโทษปรับสถานเดียว ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2536
ข้อ 2 บรรดาความผิด ซึ่งเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร ให้เจ้าพนักงานตํารวจผู้ดํารงตําแหน่งต่อไปนี้มีอํานาจเปรียบเทียบ
(1) หัวหน้าสถานีตํารวจในสถานีตํารวจนครบาล ในเขตพื้นที่ปกครองและเขตอํานาจความรับผิดชอบของแต่ละสถานีตํารวจ
(2) พนักงานสอบสวนของกองบังคับการตํารวจจราจรที่มีตําแหน่งตั้งแต่สารวัตรหรือเทียบสารวัตรขึ้นไป ในเขตอํานาจความรับผิดชอบ
ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงผู้รักษาการในตําแหน่ง ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนในตําแหน่ง ตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณีดังกล่าวทุกตําแหน่งด้วย
ข้อ 3 บรรดาความผิด ซึ่งเกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้เจ้าพนักงานตํารวจผู้ดํารงตําแหน่งต่อไปนี้มีอํานาจเปรียบเทียบ
(1) ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัด ในเขตพื้นที่ปกครองและเขตอํานาจความรับผิดชอบของแต่ละสถานีตํารวจภูธรจังหวัด
(2) หัวหน้าสถานีตํารวจ ในสถานีตํารวจภูธรอําเภอ สถานีตํารวจภูธรกิ่งอําเภอ และสถานีตํารวจภูธรตําบล ในเขตพื้นที่ปกครองและเขตอํานาจความรับผิดชอบของแต่ละสถานีตํารวจภูธร
(3) พนักงานสอบสวนของกองตํารวจทางหลวงที่มีตําแหน่งตั้งแต่สารวัตรหรือเทียบสารวัตรขึ้นไปในเขตอํานาจความรับผิดชอบ
ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงผู้รักษาการในตําแหน่ง ผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนในตําแหน่ง ตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณีดังกล่าวทุกตําแหน่งด้วย
ข้อ 4 การเปรียบเทียบปรับให้เป็นไปตามระเบียบกรมการประกันภัย ว่าด้วยอัตราเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2541
บรรพต หงษ์ทอง
อธิบดีกรมการประกันภัย | 5,084 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2544 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่น
ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2544
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจําตําแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2541 ศาลรัฐธรรมนูญจึงกําหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายเงินและอัตราค่าประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2544”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาระเบียบหรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“การประกันสุขภาพ” หมายความว่า การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สําหรับการดูแลสุขภาพหรือรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือคลินิก หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีความจําเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพ เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ
ข้อ ๕ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดหาผู้รับประกันเพื่อเสนอคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอนุมัติ และให้เบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพให้กับผู้รับประกันในอัตราคนละไม่เกินสามหมื่นบาทต่อปี
ข้อ ๖ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับความคุ้มครองจากการประกันสุขภาพ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อ ๗ สิทธิที่จะได้รับเงินเกี่ยวกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงเมื่อพ้นจากตําแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ หรือสัญญาการประกันสุขภาพสิ้นสุดระยะเวลา
ข้อ ๘ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2544
อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | 5,085 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2553
-------------------------------------------
ด้วยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 บัญญัติให้คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นผู้กําหนดการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 9/2553 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัท นอกจากที่กําหนดไว้แล้วตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้บริษัทลงทุนซื้อตราสารหนี้อื่นที่ออกโดยกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดยไม่จํากัดจํานวน
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,086 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2554
-------------------------------------------
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และต่อมาได้มีประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2553 กําหนดประเภทการลงทุนที่ให้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถลงทุนเพิ่มเติมได้ นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และครั้งที่ 3/2554 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “การทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์” ระหว่างคําว่า “งานสนับสนุน” และ “อันดับความน่าเชื่อถือ” ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
““การทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า การเผยแพร่ข้อมูลและบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า และติดต่อชักชวนลูกค้าให้มาใช้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ เช่น การเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงการแจก รวบรวมตรวจสอบเอกสารคําขอ และหลักฐานประกอบในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (30) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
“(30) การทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(8) ซื้อพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน ซึ่งออกหรือค้ําประกันโดยองค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ โดยหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังหรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี ให้ออกหรือเสนอขายในประเทศไทย”
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 และข้อ 5/2 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
“ข้อ 5/1 บริษัทที่มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมายน้อยกว่าร้อยละสามร้อย ห้ามมิให้ลงทุนประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามกฎหมายไม่น้อยกว่าร้อยละสามร้อยติดต่อกันเป็นเวลาสามเดือน
(1) ซื้อหุ้น ตามข้อ 3 (8)
(2) ซื้อหน่วยลงทุน ตามข้อ 3 (8) เว้นแต่หน่วยลงทุนตามข้อ 18 (4.1) และ (4.2)
(3) ให้กู้ยืมโดยมีหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน จํานําเป็นประกัน ตามข้อ 3 (13)
(4) ให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกัน ตามข้อ 3 (14)
(5) ให้กู้ยืมโดยมีเครื่องจักรจํานองเป็นประกัน ตามข้อ 3 (15)
(6) ให้กู้ยืมแก่สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จํากัด ตามข้อ 3 (17)
(7) ให้กู้ยืมแก่เกษตรกร ตามข้อ 3 (18)
(8) ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (leasing) ตามข้อ 3 (20)
(9) ให้เช่าซื้อรถ ตามข้อ 3 (21)
(10) ซื้อขายหรือมีฐานะอนุพันธ์ ตามข้อ 3 (24) เว้นแต่เป็นการซื้อขายเพื่อลดฐานะอนุพันธ์ที่มีอยู่ หรือเพื่อการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนนอกราชอาณาจักร
เมื่อประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัยมีผลใช้บังคับ อัตราส่วนเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ร้อยละหนึ่งร้อยห้าสิบ
ข้อ 5/2 อัตราส่วนเงินกองทุนตามข้อ 5/1 ให้พิจารณาจากรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัทที่บริษัทนําส่งทุกรอบเดือน
เมื่อประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัยมีผลใช้บังคับ อัตราส่วนเงินกองทุนตามข้อ 5/1 ให้พิจารณาจากรายงานการดํารงเงินกองทุนตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัยที่บริษัทนําส่งทุกรอบเดือน
บริษัทใดไม่ส่งรายงานตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ห้ามมิให้บริษัทนั้นลงทุนประกอบธุรกิจตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5/1 จนกว่าบริษัทจะส่งรายงานที่ขาดส่งให้ครบถ้วน”
ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 และข้อ 8/2 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
“ข้อ 8/1 การลงทุนดังต่อไปนี้ เมื่อรวมกันแล้ว ให้บริษัทลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสี่สิบของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือมีอยู่จากการลงทุนตามข้อ 3 ทั้งหมด
(1) ซื้อหุ้น ตามข้อ 3 (8)
(2) ซื้อหน่วยลงทุน ตามข้อ 3 (8) เว้นแต่หน่วยลงทุนตามข้อ 18 (4.1) และ (4.2)
(3) ให้กู้ยืมโดยมีหุ้น หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน จํานําเป็นประกัน ตามข้อ 3 (13)
(4) ให้กู้ยืมโดยมีอสังหาริมทรัพย์จํานองเป็นประกัน ตามข้อ 3 (14)
(5) ให้กู้ยืมโดยมีเครื่องจักรจํานองเป็นประกัน ตามข้อ 3 (15)
(6) ให้กู้ยืมแก่สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จํากัด ตามข้อ 3 (17)
(7) ให้กู้ยืมแก่เกษตรกร ตามข้อ 3 (18)
(8) ให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง (leasing) ตามข้อ 3 (20)
(9) ให้เช่าซื้อรถ ตามข้อ 3 (21)
(10) ซื้อขายหรือมีฐานะอนุพันธ์ ตามข้อ 3 (24) เว้นแต่เป็นการซื้อขายเพื่อลดฐานะอนุพันธ์ที่มีอยู่หรือเพื่อการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนนอกราชอาณาจักร
ข้อ 8/2 การลงทุนในตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศนี้ หากต่อมาผู้ออกตราสารหนี้หรือตราสารหนี้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าเกณฑ์ที่สามารถลงทุนได้ตามประกาศนี้ ให้บริษัทจําหน่ายตราสารหนี้นั้นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้”
ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
“เมื่อประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคํานวณเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัยมีผลใช้บังคับ ให้ใช้ราคาประเมินทรัพย์สินและหนี้สินตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย”
ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ 35 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 35 การทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ตามข้อ 3 (27) บริษัทสามารถทําได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทสามารถทําธุรกรรมดังกล่าวได้เฉพาะกับสถาบันการเงินหรือผู้ลงทุนประเภทสถาบันดังนี้
(ก) ธนาคาร
(ข) บริษัทเงินทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์
(ค) บริษัทประกันภัย
(ง) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(จ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ฉ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ช) กองทุนบําเหน็จบํานาญ
(ซ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฌ) กองทุนรวม
(ญ) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ฎ) ส่วนราชการหรือองค์การ หรือรัฐวิสาหกิจ
(2) หลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมดังกล่าวอาจเป็นตราสารอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตั๋วเงินคลัง
(ข) พันธบัตร หุ้นกู้องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ
(ค) ตราสารอื่นตามที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
(3) ต้องทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยต้องเป็นสัญญาที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เว้นแต่เป็นสัญญาที่บริษัททํากับธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จะมีเอกสารแนบท้ายสัญญา (annex) ด้วยก็ได้ ธุรกรรมดังกล่าวให้ทําได้เฉพาะสกุลเงินบาท และมีระยะเวลาการขายและซื้อคืนไม่เกินหนึ่งปี
(4) การคํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ ให้คํานวณตามมาตรฐานการปฏิบัติงานในตลาดตราสารหนี้ (market convention) ในการทําธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)
(5) การทําธุรกรรมซื้อหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายคืน ให้ราคาซื้อ ณ วันเริ่มต้นสัญญาต่ํากว่ามูลค่าหลักทรัพย์ โดยมีส่วนลดในอัตราที่เหมาะสมและสะท้อนความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ใช้ทําธุรกรรมนั้น
ในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับ บริษัทต้องดํารงมูลค่าหลักทรัพย์ ณ สิ้นวัน ไม่น้อยกว่าราคาซื้อรวมกับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการทําธุรกรรมนับแต่วันเริ่มต้นสัญญาจนถึงวันที่คํานวณมูลค่าหลักทรัพย์ คูณด้วย (1+อัตราส่วนลดหลักทรัพย์) หากมูลค่าไม่เป็นไปตามที่กําหนด บริษัทต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงินหรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ให้บริษัท เพื่อให้มูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่ทําธุรกรรมและทรัพย์สินที่โอนมาดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนดภายในวันทําการถัดจากวันที่มูลค่าหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ได้มีการกําหนดส่วนต่างขั้นต่ําที่บริษัทไม่ต้องเรียกให้คู่สัญญาโอนเงินหรือโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ไว้ โดยการกําหนดส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญา
(6) ให้บริษัทนับหลักทรัพย์ที่ได้จากการทําธุรกรรมซื้อโดยมีสัญญาขายคืนรวมกับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่บริษัทลงทุนไว้แล้ว ในการคํานวณสัดส่วนการลงทุนของบริษัทในหลักทรัพย์ดังกล่าว
ยอดคงค้างสุทธิของธุรกรรมซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน ณ สิ้นวันใด เมื่อรวมกันทุกสัญญาแล้วต้องมีอัตราส่วนไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือมีอยู่จากการลงทุนตามข้อ 3 ทั้งหมด
ในกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้นี้ นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติหรือสั่งให้ยกเลิกการทําธุรกรรมในข้อนี้ได้”
ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ 36 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 36 การทําธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ตามข้อ 3 (28) บริษัทสามารถทําได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) คู่สัญญาของการทําธุรกรรม จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เว้นแต่คู่สัญญาเป็นบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) ต้องทําสัญญายืมและให้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีลักษณะและสาระสําคัญ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนด เว้นแต่กรณีทําธุรกรรมให้ยืมตราสารหนี้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ทําสัญญาตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด
หลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืม ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์
(3) ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์ของลูกค้า (custodian) หากต้องการยืมหลักทรัพย์จากบริษัท หรือต้องการนําหลักทรัพย์ของบริษัทไปให้บุคคลอื่นยืม ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร
(4) ยอดคงค้างสุทธิของธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ณ สิ้นวันใดรวมกันทุกสัญญา เว้นแต่การทําธุรกรรมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องไม่เกินร้อยละสิบของสินทรัพย์ที่ได้มาหรือมีอยู่จากการลงทุนตามข้อ 3 ทั้งหมด
การคํานวณมูลค่าธุรกรรมให้คํานวณจากมูลค่าหลักทรัพย์ที่ยืมหรือให้ยืม ณ วันที่ตกลงทําธุรกรรม”
ข้อ ๑๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 16/1 เงื่อนไขการทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ และข้อ 37/1 แห่งประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
“ส่วนที่ 16/1
เงื่อนไขการทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์
-----------------------------------
ข้อ 37/1 การทําธุรกิจติดต่อหรือแนะนําบริการของบริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัท
(2) บริษัทต้องมีความพร้อมในการประกอบธุรกิจดังกล่าว และใช้ความระมัดระวังไม่ให้การให้บริการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการตามปกติของบริษัท
(3) จัดให้มีการบันทึกบัญชีโดยแยกรายได้และรายจ่ายของการให้บริการออกจากธุรกิจประกันวินาศภัย
ในกรณีที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้นี้ นายทะเบียนอาจสั่งให้บริษัทชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เห็นสมควร นายทะเบียนอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้บริษัทปฏิบัติหรือสั่งให้ยกเลิกการทําธุรกรรมในข้อนี้ได้”
ข้อ ๑๒ บริษัทใดลงทุนประกอบธุรกิจอื่นเกินสัดส่วนที่กําหนดไว้ในข้อ 8/1 ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทนั้นลดสัดส่วนการลงทุนส่วนที่เกินให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ นายทะเบียนจะกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,087 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 68 /2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 68 /2554
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
----------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สินเป็นไป โดยสอดคล้องกับมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 86/2547 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2557 เรื่อง การขาย ทอดตลาดทรัพย์สินในคดีแพ่ง
ข้อ ๒ ในการแจ้งการยึดทรัพย์ซึ่งติดจํานองบุคคลภายนอก ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ ผู้รับจํานองนําส่งต้นฉบับเอกสารสิทธิพร้อมต้นฉบับสัญญาจํานอง และให้แถลงวิธีการขายต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับหมาย ว่ามีความประสงค์จะขายโดยปลอดการจํานองหรือขาย โดยการจํานอง ไป
ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้รับจํานองไม่แถลงวิธีการขายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกําหนด ขายทอดตลาดโดยการจํานองติดไป เพื่อให้การขายทอดตลาดไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจํานอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศ
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,088 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 64/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 64/2554
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
-------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สินเป็นไป ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามคําสั่งนี้ในสํานวนคดีที่กําหนดวันขายทอดตลาด ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2554 เป็นต้นไปให้ปัดขึ้นเป็นเรือนหมื่น
ข้อ ๒ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดใหม่ เนื่องจากผู้ซื้อได้ไม่ชําระ ราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ประสงค์จะ เสนอราคาต้องน่าเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค หรือหนังสือค้ําประกันของธนาคารโดยไม่มีเงื่อนไขมาวาง เป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในอัตราร้อยละ 30 ของราคาประเมิน หากมีเศษ
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,089 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดบัตรทะเบียนผู้พักและทะเบียนผู้พักตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดบัตรทะเบียนผู้พักและทะเบียนผู้พักตามพระราชบัญญัติโรงแรม
พ.ศ. 2547
---------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแบบบัตรทะเบียนผู้พักและทะเบียนผู้พักตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดบัตรทะเบียนผู้พักและทะเบียนผู้พักตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2548
ข้อ ๒ บัตรทะเบียนผู้พัก ให้ใช้กระดาษสีขาว ความกว้างไม่เกิน 210 มิลลิเมตร ความยาวไม่เกิน 297 มิลลิเมตร และมีรายการตามแบบ ร.ร. 3 ท้ายประกาศนี้ ข้อความในรายการนั้นจะพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศกํากับไว้ใต้ตัวอักษรภาษาไทยด้วยก็ได้
ข้อ ๓ ทะเบียนผู้พักให้ใช้ตามแบบ ร.ร. 4 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ การบันทึกรายการลงในทะเบียนผู้พัก ให้บันทึกเป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,090 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 32/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 32/2554
เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95
---------------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 486/2553 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2553 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 เพื่อกําหนด แนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย กรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั้น โดยที่กรณี มีความจําเป็นต้องปรับปรุงคําสั่งดังกล่าวเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2550 จึงมีคําสั่งให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 และ ข้อ 3 ตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 486/2553 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 2 ในกรณีเจ้าหนี้มีประกันยื่นคําร้องตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
2.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกันและหนี้ที่มีประกัน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการดําเนินการบังคับเอากับทรัพย์สิน ดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แจ้งงดําเนินการ
2.2 ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการ ดําเนินการบังคับเอากับทรัพย์สิน ดังกล่าวอาจจะมีประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นําเสนอ ต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าประสงค์จะดําเนินการต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันหรือไม่
2.3 หากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้ดําเนินการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการสอบสวน และมีคําสั่งต่อไป ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์ให้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นผู้รับผิดชอบ
2.4 หากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่เห็นชอบให้ดําเนินการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้น
2.5 ในกรณีที่งดดําเนินการ หากไม่มีกิจการและทรัพย์สินใดค้างดําเนินการให้ทําการ ขอปิดคดีต่อไป การงดดําเนินการนี้ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้มีประกันที่จะไปดําเนินการบังคับต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
ข้อ 3 ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยเจ้าหนี้มีประกันที่ยื่นคําร้อง ตามมาตรา 95 ไว้ในคดีแพ่งอยู่ก่อนแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการตามแนวทางในข้อ 2 และหากงดําเนินการให้แจ้งต่อเจ้าหนี้มีประกันและเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบและแจ้งด้วยว่าเป็นหน้าที่ ของเจ้าหนี้ดังกล่าวที่จะดําเนินการต่อไปในคดีแพ่งนั้น
ข้อ ๒ นอกจากที่แก้ไขคําสั่งนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 486/2553 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2553 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิ ของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 45 ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 เดือน มกราคม พ.ศ. 2554
(ลงชื่อ) วิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,091 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งสำเนาทะเบียนผู้พักและการออกหลักฐานรับมอบทะเบียนผู้พัก | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งสําเนาทะเบียนผู้พัก
และการออกหลักฐานรับมอบทะเบียนผู้พัก
-----------------------------------------
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นการอํานวยความสะดวก และเพิ่มทางเลือกในการส่งสําเนาทะเบียนผู้พักในแต่ละวันของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมไปให้นายทะเบียนทุกสัปดาห์ ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดส่งสําเนาทะเบียนผู้พักในแต่ละวันไปให้นายทะเบียนทุกสัปดาห์ ให้ผู้จัดการโรงแรมดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ส่งด้วยตนเองหรือมอบหมายเป็นหนังสือให้ผู้อื่นเป็นผู้นําส่ง
(2) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
(3) ส่งทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒ กรณีส่งสําเนาทะเบียนผู้พักตาม ข้อ 1 (3) ผู้จัดการโรงแรมต้องเป็นผู้ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับนายทะเบียน และเป็นผู้ได้รับมอบรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่านจากนายทะเบียน เพื่อสามารถเข้าใช้งานส่งสําเนาทะเบียนผู้พักทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๓ ให้นายทะเบียนออกหลักฐานการรับมอบไว้เป็นสําคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) กรณีส่งสําเนาทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) ตามข้อ 1 (1) ให้ถือใบรับมอบเป็นหลักฐานการรับ
(2) กรณีส่งสําเนาทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) ตามข้อ 1 (2) ให้ถือไปรษณีย์ตอบรับเป็นหลักฐานการรับ
(3) กรณีส่งสําเนาทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) ตามข้อ 1 (3) ให้ถือการแจ้งตอบรับทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานการรับ
ข้อ ๔ การดําเนินการตามข้อ 2 และข้อ 3 (3) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ การแจ้งตอบรับทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,092 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโทษทางปกครอง | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโทษทางปกครอง
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 33 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโทษทางปกครองไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“การพิจารณาโทษทางปกครอง” หมายความว่า การดําเนินการที่เกี่ยวกับการพิจารณาโทษปรับทางปกครอง
“ผู้ถูกกล่าวหา” หมายความว่า ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
“ค่าปรับ” หมายความว่า เงินค่าปรับทางปกครองที่นายทะเบียนสั่งให้ผู้กระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมชําระให้แก่นายทะเบียน
หมวด ๑ บททั่วไป
------------------------------
ข้อ ๒ ในการพิจารณาและมีคําสั่งลงโทษปรับทางปกครอง การอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าว หากประกาศนี้หรือกฎหมายว่าด้วยโรงแรมมิได้กําหนดไว้ ให้นํากฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๓ การแจ้งข้อกล่าวหา กําหนดวันนัด คําสั่งลงโทษทางปกครอง ผลการพิจารณาอุทธรณ์ หรือการแจ้งอย่างอื่นตามประกาศนี้ให้ทําเป็นหนังสือ
ข้อ ๔ การเสนอเรื่องในการกําหนดโทษทางปกครองต่อนายทะเบียนโรงแรม สําหรับกรุงเทพมหานคร ให้สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองเป็นผู้เสนอเรื่อง สําหรับจังหวัดอื่นให้อําเภอหรือกิ่งอําเภอท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่เป็นผู้เสนอเรื่อง โดยให้ดําเนินการรวบรวมตรวจสอบเอกสารหลักฐานสรุปเรื่องแล้วทําความเห็นเสนอนายทะเบียนโรงแรมเพื่อพิจารณาสั่งการ
หมวด ๒ การพิจารณาโทษทางปกครอง
------------------------------
ข้อ ๕ เมื่อปรากฏเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมที่บัญญัติให้มีโทษปรับทางปกครอง ให้นายทะเบียนดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ข้อ ๖ ให้นายทะเบียนพิจารณาพยานหลักฐานที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยมีอํานาจดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
(2) รับฟังพยานหลักฐาน คําชี้แจง หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เว้นแต่นายทะเบียนเห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จําเป็นฟุ่มเฟือยหรือเพื่อประวิงเวลา
(3) ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(4) ออกไปตรวจสถานที่หรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดออกไปตรวจสถานที่
ข้อ ๗ การพิจารณาโทษทางปกครองจะต้องมีบันทึกการสอบสวนและพยานหลักฐานเสนอเป็นหลักฐาน ประกอบด้วย
(1) บันทึกคําให้การของผู้กล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา และพยานสําคัญ
(2) รายงานพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา
(3) สําเนาบันทึกการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ (ถ้ามี)
(4) หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิด (ถ้ามี)
แบบบันทึกการสอบสวนให้เป็นไปตาม แบบ คป. 1 - 3 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๘ ก่อนมีคําสั่งลงโทษปรับให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งผู้ที่จะถูกลงโทษมีโอกาสที่จะทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งแสดงหลักฐานของตนถึงเหตุที่จะใช้เป็นเหตุผลในการออกคําสั่งทางปกครอง
ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่นายทะเบียนจะเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น
(1) เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
(2) เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป
(3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคําขอ คําให้การหรือคําแถลง
(4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทําได้
(5) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
(6) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ห้ามมิให้นายทะเบียนให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ
หมวด ๓ การกําหนดโทษทางปกครอง
------------------------------
ข้อ ๙ ในการกําหนดโทษทางปกครอง นายทะเบียนต้องคํานึงถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้
(1) พฤติการณ์แห่งความผิดโดยทั่วไปให้พิจารณาจาก
ก. ความผิดเกิดขึ้นโดยความจงใจหรือเกิดจากความประมาทเลินเล่อ
ข. พฤติการณ์แห่งความผิดเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศ คําสั่งอันเป็นสาระสําคัญ
ค. ประโยชน์ที่ผู้กระทําผิดหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทําผิดหรือบุคคลอื่นได้รับหรือจะได้รับจากการกระทํานั้น
(2) ความเสียหายที่เกิดจากการกระทํานั้นให้พิจารณาจาก
ก. ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความเสียหายที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
ข. ระดับของความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้มาใช้บริการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ค. การเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหาย หรือการดําเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทําความผิดนั้นอีก
(3) ประวัติการกระทําความผิด
ก. ความถี่ของการกระทําความผิด
ข. ประวัติการถูกลงโทษทางปกครองของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือผู้แทน นิติบุคคลหรือลูกจ้างของนิติบุคคลนั้น
(4) ประเภท ขนาด ราคาห้องพักของโรงแรมนั้น
ข้อ ๑๐ ผู้ใดต้องถูกลงโทษปรับ ให้นายทะเบียนพิจารณากําหนดโทษตามแนวทางดังนี้ เว้นแต่มีเหตุอันควรกําหนดโทษเป็นอย่างอื่นที่ต่างจากแนวทางนี้
(1) กรณีเป็นการกระทําผิดครั้งแรก สําหรับฐานความผิดที่ไม่ได้กําหนดอัตราโทษขั้นต่ําไว้ ให้นายทะเบียนกําหนดค่าปรับได้ไม่เกินสองในห้าของอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น
(2) กรณีเป็นการกระทําผิดครั้งแรก สําหรับฐานความผิดที่กําหนดอัตราโทษขั้นต่ําไว้ ให้นายทะเบียนกําหนดค่าปรับได้ไม่เกินกว่าสองในห้าของอัตราโทษสูงสุดที่กําหนดไว้สําหรับฐานความผิดนั้น เว้นแต่อัตราโทษขั้นต่ําของฐานความผิดจะสูงกว่าสองในห้าของอัตราโทษสูงสุด ในกรณีเช่นนี้ให้กําหนดเงินค่าปรับเท่ากับอัตราขั้นต่ําสําหรับความผิดนั้น
(3) การกระทําความผิดครั้งที่สองและครั้งต่อ ๆ ไป ในฐานความผิดเดียวกัน ให้นายทะเบียนลงโทษปรับเพิ่มขึ้นจากโทษที่เคยได้รับมาแล้วครั้งละไม่เกินหนึ่งในห้าของอัตราโทษ ที่กําหนดในฐานความผิด แต่ทั้งนี้ การกําหนดเงินค่าปรับต้องไม่เกินอัตราโทษสูงสุดของโทษปรับที่กําหนดสําหรับฐานความผิดนั้น ถ้าการกําหนดเงินค่าปรับคํานวณได้เกินกว่าอัตราโทษสูงสุดของฐานความผิดให้นายทะเบียนลงโทษปรับในอัตราสูงสุดของฐานความผิด
ข้อ ๑๑ กรณีเป็นการกระทําผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้นายทะเบียนกําหนดค่าปรับในฐานความผิดที่มีอัตราโทษปรับสูงสุด
หมวด ๔ คําสั่งลงโทษทางปกครอง
------------------------------
ข้อ ๑๒ คําสั่งลงโทษทางปกครองให้ทําเป็นหนังสือระบุ วัน เดือน ปี ที่ออกคําสั่งลงโทษทางปกครอง ลงลายมือชื่อและตําแหน่งของผู้มีอํานาจออกคําสั่ง
ข้อ ๑๓ คําสั่งลงโทษทางปกครองต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับกับกรณี ดังต่อไปนี้
ก. เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จําเป็นต้องระบุอีก
ข. เป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
ค. เป็นกรณีเร่งด่วน แต่ต้องให้เหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาอันควร หากผู้ถูกลงโทษร้องขอ
ข้อ ๑๔ เมื่อออกคําสั่งแล้วให้นายทะเบียนแจ้งคําสั่งและสิทธิในการอุทธรณ์แก่ผู้ถูกลงโทษด้วย
ข้อ ๑๕ คําสั่งลงโทษทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อผู้ถูกลงโทษตั้งแต่ขณะที่ผู้ถูกลงโทษได้รับแจ้งเป็นต้นไป
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองได้รับแจ้งคําสั่งปรับแล้วให้ผู้ถูกลงโทษปรับชําระค่าปรับให้แก่นายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้รับชําระเงินออกใบเสร็จรับเงินค่าปรับแต่ละครั้งให้แก่ผู้ถูกลงโทษปรับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๗ ให้ผู้ถูกลงโทษปรับชําระค่าปรับให้เสร็จสิ้นในคราวเดียว
หมวด ๕ การอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางปกครอง
------------------------------
ข้อ ๑๘ ผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งปรับโดยให้ทําเป็นหนังสือระบุข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง หรือข้อกฎหมายอ้างอิงยื่นต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งปรับและให้เจ้าหน้าที่ออกใบรับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๙ สิทธิในการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
หมวด ๖ การขอให้พิจารณาคําสั่งลงโทษทางปกครองใหม่
------------------------------
ข้อ ๒๐ เมื่อผู้ถูกลงโทษปรับมีคําขอให้พิจารณาใหม่ นายทะเบียนอาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งปรับที่พ้นกําหนดอุทธรณ์ได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) มีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทําให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ
(2) ผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาครั้งก่อนแล้ว แต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
(3) คําสั่งปรับทางปกครองในเรื่องนั้น กระทําโดยเจ้าหน้าที่ผู้ไม่มีอํานาจ
(4) ถ้าคําสั่งปรับทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด และต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกสั่งปรับ
การยื่นคําขอตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อผู้ถูกลงโทษปรับไม่อาจทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณาครั้งที่แล้วมาก่อนโดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น
ให้ผู้ถูกลงโทษปรับยื่นคําขอให้พิจารณาใหม่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่
ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคําขอให้พิจารณาใหม่แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ออกใบรับคําขอให้พิจารณาใหม่แก่ผู้ทําคําขอ และให้นายทะเบียนพิจารณาคําขอพร้อมมีคําสั่ง โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามหมวด 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๗ การใช้มาตรการบังคับโทษปรับทางปกครอง
------------------------------
ข้อ ๒๒ เมื่อถึงกําหนดระยะเวลาชําระค่าปรับตามคําสั่งปรับแล้ว ถ้าผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครอง ไม่นําค่าปรับมาชําระให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเวลากําหนดให้นายทะเบียนดําเนินการบังคับทางปกครองโดยนําบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๘ บทเฉพาะกาล
------------------------------
ข้อ ๒๓ การพิจารณาโทษทางปกครองที่ได้ดําเนินการไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นการดําเนินการตามประกาศนี้ ส่วนการดําเนินการต่อไปให้ปฏิบัติตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,093 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 25/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 25/2554
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน
--------------------------------
โดยที่ยังมีข้อขัดข้องในการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน ของลูกหนี้ตามคําพิพากษา เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในเรื่องนี้เป็นไปโดยเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังนี้
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 3.3 แห่งข้อ 3 ในคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 334/2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับอายัดทรัพย์สิน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
3.3 สําเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของนายจ้างหรือบุคคลภายนอก ผู้รับคําสั่งอายัดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน เว้นแต่ นิติบุคคลหรือบุคคลภายนอก นั้นเป็นธนาคาร"
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,094 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 85/2553 เรื่อง การปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเดินหมาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 85/2553
เรื่อง การปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเดินหมาย
---------------------------------
เพื่อให้การส่งหมาย คําคู่ความ ประกาศและเอกสาร ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พนักงานเดินหมายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันเป็นประโยชน์ต่อคู่ความ และราชการยิ่งขึ้น กรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 157/2521 เรื่องการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พนักงานเดินหมาย ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2521
ข้อ ๒ ให้พนักงานเดินหมายที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ส่งหมาย คําคู่ความ ประกาศและ เอกสาร นอกสถานที่ แต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการโดยถูกต้อง
ข้อ ๓ ให้พนักงานเดินหมาย นําหมาย คําคู่ความ ประกาศ หรือเอกสารที่ตนได้รับ มอบหมายให้เป็นผู้ส่ง ดําเนินการส่งด้วยตนเองเท่านั้น ยกเว้นในกรณีจําเป็น อาจจะขอให้พนักงาน เดินหมายคนอื่นปฏิบัติหน้าที่แทน แต่ทั้งนี้จะต้องรายงานเหตุจําเป็นและได้รับอนุญาตจากหัวหน้างาน เดินหมายและประกาศเสียก่อน
กรณีตามวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ หากสํานักงานบังคับคดีจังหวัดและสาขา ไม่มี ตําแหน่งพนักงานเดินหมาย หรือมีความจําเป็นอื่นใดที่จะให้เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานตําแหน่งอื่น ปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานเดินหมายแทน ทั้งนี้ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด และสาขาพิจารณา หากเห็นสมควรให้เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานตําแหน่งอื่นปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พนักงานเดินหมายได้ แต่ต้องมีคําสั่งอนุญาตเป็นหนังสือ
ข้อ ๔ พนักงานเดินหมายผู้ที่มีหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ไปส่งหมาย คําคู่ความ ประกาศหรือเอกสารตามข้อ 3 จะต้องเป็นผู้เขียนรายงานการส่งหมายดังกล่าวด้วยตนเอง ห้ามมิให้ พนักงานเดินหมายคนอื่นหรือบุคคลภายนอกเขียนรายงานการส่งหมายแทน ส่วนตนเองเพียงแต่ลงชื่อ เท่านั้นเป็นอันขาด
ในกรณี...ในกรณีที่ปรากฏว่า บุคคลภายนอกเป็นผู้เขียนรายงาน และพนักงานเดินหมายลงชื่อ กรมบังคับคดีจะถือว่า พนักงานเดินหมายผู้นั้นมิได้ส่งหมายด้วยตนเอง
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ลงชื่อ ชูจิรา กองแก้ว
(นางรุจิรา กองแก้ว)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,095 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 545/2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 545/2553
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
-----------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 489/2553 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน กําหนดแนวทางการดําเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี เกี่ยวกับการกําหนดจํานวนหลักประกันก่อนเข้าสู้ราคานั้น โดยที่มีความจําเป็นต้องปรับปรุงคําสั่งดังกล่าว เพื่อให้การดําเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงมีคําสั่งต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มเติมแนวปฏิบัติในการประกาศขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดไว้ในกรณี ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ จํานวนหลักประกันที่พึงกําหนดนั้น ควรมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของราคาประเมิน
ข้อ ๒ ในการคิดราคาประเมินของทรัพย์เพื่อกําหนดจํานวนหลักประกันก่อนเข้าสู้ราคาสําหรับ การขายทอดตลาดห้องชุดซึ่งมีค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชําระหรือกรณีขายทอดตลาดทรัพย์จํานองโดยการ จํานองติดไป หากเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบจํานวนค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชําระหรือยอดหนี้จํานองคงค้าง ที่เป็นปัจจุบัน อาจกําหนดให้หักค่าใช้จ่ายหรือหนี้จํานองนั้นออกจากราคาประเมินด้วย หากเจ้าพนักงาน บังคับคดีไม่ทราบจํานวนค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชําระหรือยอดหนี้จํานองคงค้างที่เป็นปัจจุบัน ให้กําหนด หลักประกันเป็นจํานวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท)
ข้อ ๓ นอกเหนือจากที่แก้ไขตามคําสั่งนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามคําสั่งที่ 489/2553 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,096 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 40 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเสนอความเห็นในการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(1) รองอธิบดีกรมการปกครอง เป็นประธานกรรมการ
ที่อธิบดีกรมการปกครองมอบหมาย
(2) ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ
(3) ผู้แทนสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ
(4) ผู้อํานวยการสํานักการสอบสวนและนิติการ เป็นกรรมการ
กรมการปกครอง
(5) ผู้แทนกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ
(6) ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
(7) ผู้อํานวยการส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 เป็นกรรมการและเลขานุการ
สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(8) หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานและระเบียบกฎหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3
สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
ให้คณะกรรมการทําหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็นในการสั่งพักใช้ใบอนุญาตต่อนายทะเบียน
ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเสนอความเห็นในการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ในจังหวัดอื่นประกอบด้วย
(1) รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
(2) ปลัดจังหวัด เป็นกรรมการ
(3) อัยการจังหวัด เป็นกรรมการ
(4) ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัด เป็นกรรมการ
(5) นายอําเภอท้องที่ที่โรงแรมนั้นตั้งอยู่ เป็นกรรมการ
(6) นายกเทศมนตรี หรือ เป็นกรรมการ
นายกองค์การบริหารส่วนตําบล หรือ นายกเมืองพัทยา ที่โรงแรมนั้นตั้งอยู่แล้วแต่กรณี
(7) ผู้แทนสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกรรมการ
ที่โรงแรมนั้นตั้งอยู่
(8) จ่าจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
(9) ผู้ช่วยจ่าจังหวัด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้คณะกรรมการทําหน้าที่พิจารณากลั่นกรอง และเสนอความเห็นในการสั่งพักใช้ใบอนุญาตต่อนายทะเบียน
ข้อ ๓ การสั่งพักใช้ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจโรงแรมให้พิจารณาจากความผิดที่ได้กระทําภายในกําหนดอายุใบอนุญาต และจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกําหนดระยะเวลาในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หรือผู้จัดการไม่ระงับการกระทําหรือดําเนินการแก้ไขตามคําสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ซึ่งนายทะเบียนได้มีหนังสือแจ้งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนด ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน แต่ไม่มีการปฏิบัติตามคําเตือน กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง (1) ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
ครั้งที่ 1 มีกําหนด 10 วัน
ครั้งที่ 2 มีกําหนด 15 วัน
ครั้งที่ 3 มีกําหนด 15 วัน
ครั้งที่ 4 มีกําหนด 15 วัน
(2) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม หรือผู้จัดการไม่ระงับการกระทําหรือดําเนินการแก้ไขตามคําสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ซึ่งนายทะเบียนได้มีหนังสือแจ้งให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนด ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน แต่ไม่มีการปฏิบัติตามคําเตือน กรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง (2) ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
ครั้งที่ 1 มีกําหนด 5 วัน
ครั้งที่ 2 มีกําหนด 10 วัน
ครั้งที่ 3 มีกําหนด 15 วัน
ครั้งที่ 4 มีกําหนด 15 วัน
ข้อ ๔ การเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาสั่งพักใช้ใบอนุญาตโรงแรมจะต้องมีบันทึกการสอบสวนและพยานหลักฐานแน่ชัดเสนอเป็นหลักฐาน ซึ่งต้องประกอบด้วย
(1) สําเนาคําให้การของผู้กล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา และพยานสําคัญ
(2) รายงานพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นอย่างไร
(3) ผู้ถูกกล่าวหามีประวัติต้องโทษหรือไม่ ข้อหาใด
(4) สําเนาบันทึกการจับกุม (ถ้ามี)
(5) กรณีเป็นคดีที่เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจเปรียบเทียบปรับได้ และผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ และยินยอมให้เปรียบเทียบปรับแล้ว ให้สําเนาบันทึกการเปรียบเทียบปรับไว้เป็นหลักฐาน
(6) กรณีคดีอยู่ในอํานาจศาลแขวง และผู้ต้องหาให้การรับสารภาพให้สําเนาคําพิพากษาไว้เป็นหลักฐานแทน
(7) หลักฐานเกี่ยวกับโทษปรับทางปกครอง (ถ้ามี)
ข้อ ๕ การออกคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ให้นายทะเบียนแจ้งข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมทราบเพื่อให้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนก่อนออกคําสั่ง และเมื่อออกคําสั่งแล้ว ให้แจ้งคําสั่งและแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์คําสั่งให้ผู้ขออนุญาตทราบด้วย
ข้อ ๖ การแจ้งคําสั่งและการบังคับตามคําสั่งพักใช้ใบอนุญาต เมื่อนายทะเบียนมีคําสั่งให้พักใช้ใบอนุญาตแล้ว ให้ผู้อํานวยการสํานักการสอบสวนและนิติการ และนายอําเภอท้องที่หรือปลัดอําเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี ดําเนินการดังนี้
(1) ส่งคําสั่งให้แก่โรงแรมที่ถูกพักใช้ใบอนุญาต โดยทําเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ณ โรงแรมที่บุคคลดังกล่าวประกอบธุรกิจ และให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมได้ทราบคําสั่งนั้นแล้วเมื่อครบกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่ง เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น
(2) ให้โรงแรมหยุดดําเนินกิจการภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคําสั่ง
(3) ให้สําเนาคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตปิดไว้หน้าโรงแรมโดยเปิดเผย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,097 |
คำสั่งกรมบังคับคดี 546/2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 546/2553
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
----------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 489/2553 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน และคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 545/2553 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน และคําสั่งดังกล่าว ไม่ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีการดําเนินการใกล้เคียงกันนั้น อาศัยอํานาจ ตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงมีคําสั่งต่อไปนี้
ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 489/2553 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน และคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 555 /2553 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,098 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 489/2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 489/2553
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
-----------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สินเป็นไป ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงมีคําสั่งต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามคําสั่งนี้ในสํานวนคดีที่กําหนดวันขายทอดตลาด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ การประกาศขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี กําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอราคาต้องนําเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค หรือหนังสือค้ําประกันของ ธนาคารโดยไม่มีเงื่อนไขมาวางเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังนี้
2.1 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินไม่เกิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ให้วาง หลักประกันจํานวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท)
2.2 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินเกิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท) ให้วางหลักประกันจํานวน 250,000 บาท (สองแสนห้าหมื่นบาท)
2.3 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินเกิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท) แต่ไม่เกิน 00,000,000 บาท (สิบล้านบาท) ให้วางหลักประกันจํานวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท)
2.4 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินเกิน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) แต่ไม่เกิน 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาท) ให้วางหลักประกันจํานวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
2.5 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินเกิน 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาท) แต่ไม่เกิน 50,000,000 บาท (ห้าสิบล้านบาท) ให้วางหลักประกันจํานวน 2,500,000 บาท (สองล้าน ห้าแสนบาท)
2.6 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินเกิน 50,000,000 บาท (ห้าสิบล้านบาท) แต่ไม่เกิน 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อยล้านบาท) ให้วางหลักประกันจํานวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท)
2.7 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินเกิน 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อยล้านบาท) แต่ไม่เกิน 200,000,000 บาท (สองร้อยล้านบาท) ให้วางหลักประกันจํานวน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท)
2.8 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินเกิน 200,000,000 บาท (สองร้อยล้านบาท) ให้เสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณากําหนด
หากเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอ ราคาวางหลักประกันนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ตาม 2.1 ถึง 2.7 ให้เสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับ มอบหมายเป็นผู้พิจารณากําหนด
เงินสดหรือแคชเชียร์เช็คดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาในกรณีที่ผู้วาง เป็นผู้ซื้อได้ ส่วนหนังสือค้ําประกันของธนาคารจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาเมื่อเรียกเก็บเงิน ได้แล้ว การชําระราคาส่วนที่เหลือให้ชําระภายใน 15 วันนับแต่ซื้อทอดตลาดทรัพย์
การวางเงินประกันที่กล่าวมาข้างต้นมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประสงค์เสนอราคาเป็น บุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อประเภทผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิร่วมกับลูกหนี้ ตามคําพิพากษา หรือผู้มีส่วนได้จากกองมรดกตามคําพิพากษา
(2) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อประเภทเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขาย (2) ตามคําชี้ขาดของศาล
(3) คู่สมรสที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,099 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาการแจ้งเลิกกิจการธุรกิจโรงแรม | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาการแจ้งเลิกกิจการธุรกิจโรงแรม
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมใดประสงค์จะขอเลิกการประกอบธุรกิจโรงแรมระหว่างอายุใบอนุญาตหรือเมื่อใบอนุญาตหมดอายุให้ยื่นคําขอ/แจ้งความประสงค์ทั่วไป ตามแบบ ร.ร.1/3 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนเลิกกิจการ พร้อมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
ข้อ ๒ การยื่นคําขอเลิกการประกอบธุรกิจโรงแรมให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(2) ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ ที่ทําการปกครองอําเภอ หรือ ที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่
ข้อ ๓ การอนุญาตให้เลิกการประกอบธุรกิจโรงแรมให้นายทะเบียนประทับตรายกเลิกไว้ด้านหน้าใบอนุญาต พร้อมลงลายมือชื่อกํากับและประทับตราประจําตําแหน่ง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,100 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 486/2553 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 486/2553
เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95
------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ในคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 จึงมีคําสั่งให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 448/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลาย ในสํานวนเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2549
ข้อ ๒ ในกรณีเจ้าหนี้มีประกันยื่นคําร้องตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ก่อนดําเนินการสอบสวนและมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
2.1 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและหนี้ ที่มีประกันนําเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าประสงค์จะดําเนินการต่อทรัพย์หลักประกันหรือไม่
2.2 หากที่ประชุมเจ้าหนี้ให้ดําเนินการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการสอบสวนและมีคําสั่ง ต่อไป ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์ให้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นผู้รับผิดชอบ
2.3 หากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่เห็นชอบให้ดําเนินการ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดดําเนินการ เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น และหากไม่มีกิจการทรัพย์สินใดค้างดําเนินการให้ทําการขอปิดคดีต่อไป การงดดําเนินการนี้ ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้มีประกันที่จะไปดําเนินการบังคับต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามกฎหมายอื่น
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยเจ้าหนี้มีประกันที่ยื่นคําร้องตามข้อ 2 ไว้ในคดีแพ่งอยู่ก่อนแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าจะดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ เหล่านั้นหรือไม่ หากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ประสงค์จะดําเนินการให้แจ้งให้เจ้าหนี้มีประกันและเจ้าพนักงานบังคับคดี และแจ้งด้วยว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ดังกล่าวที่จะดําเนินการต่อไปในคดีแพ่งนั้น
ข้อ ๔ ในกรณีที่ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติให้ดําเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รีบดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์นั้นโดยเร็ว
ข้อ ๕ บรรดาสํานวนคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ที่ได้ทําการยึดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับใช้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการขายทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันดังกล่าว ต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2553
(ลงชื่อ) วิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,101 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจโรงแรมผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามแบบ ร.ร.1/1 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่เสียก่อนวันที่ใบอนุญาตจะหมดอายุพร้อมสําเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
ในกรณีที่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเอกสารที่ยื่นไว้เดิม นายทะเบียนอาจขอเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ที่ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตเพื่อประกอบการพิจารณาได้
เมื่อนายทะเบียนได้รับคําขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องให้ครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของคําขอ หากปรากฏเอกสารหลักฐานที่จําเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ขอทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันยื่นคําขอ พร้อมทั้งกําหนดระยะเวลาให้ผู้ขอแก้ไข หากพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วผู้ขอไม่ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ให้นายทะเบียนคืนคําขอแก่ผู้ขอ
ข้อ ๒ การยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(2) ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ ที่ทําการปกครองอําเภอหรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่
ข้อ ๓ เมื่อนายทะเบียนได้รับเรื่องการขอต่ออายุใบอนุญาตจากสํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองหรือที่ทําการปกครองอําเภอหรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอนายทะเบียนอาจแจ้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการดําเนินการตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ไปดําเนินการตรวจโรงแรมตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมให้เสร็จสิ้นภายในยี่สิบวันนับแต่วันได้รับเรื่องการขอต่ออายุใบอนุญาตจากสํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง หรือที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี และให้คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการดําเนินการตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมเสนอความเห็นต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาต่อไป
ข้อ ๔ คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 พิจารณากลั่นกรองตรวจหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมแล้ว หากเห็นว่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ให้นําเสนอนายทะเบียนเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้ง ผู้ประกอบกิจการธุรกิจโรงแรมปรับปรุงแก้ไข โดยมีกําหนดเวลาให้ตามสมควร หากผู้ประกอบกิจการธุรกิจโรงแรมไม่ปรับปรุงแก้ไขตามกําหนดเวลา ให้นายทะเบียนพิจารณาสั่งไม่อนุญาต
ข้อ ๕ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้นายทะเบียนพิจารณาไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
(1) ผู้ขอรับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
(2) ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมเป็นผู้ต้องห้ามประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(3) อาคารสถานที่ไม่เป็นไปตามกฎกระทรวงกําหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551
(4) เหตุสําคัญอย่างอื่น ๆ ที่ปรากฏชัดทําให้ไม่สมควรประกอบธุรกิจโรงแรม
ข้อ ๖ เมื่อนายทะเบียนได้รับคําขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมพร้อมความเห็นของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการดําเนินการตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 แล้วให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาต หรือไม่อนุญาตตามคําขอ ในกรณีอนุญาตให้แจ้งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมทราบเพื่อมารับใบอนุญาตและชําระค่าธรรมเนียมโดยเร็ว กรณีที่นายทะเบียนพิจารณาเห็นว่ามีเหตุสมควรไม่อนุญาตให้นายทะเบียนแจ้งเหตุดังกล่าว ให้ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตทราบเพื่อให้ผู้ขอโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งก่อนออกคําสั่ง เมื่อออกคําสั่งแล้วให้แจ้งคําสั่งและแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์คําสั่งให้ผู้ขอทราบด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,102 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงประเภทของโรงแรม | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงประเภทของโรงแรม
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจโรงแรมประสงค์ ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงประเภท เพิ่มหรือลดจํานวนห้องพัก หรือเปลี่ยนชื่อของโรงแรม ให้ยื่นคําขอ/แจ้งความประสงค์ทั่วไป ตามแบบ ร.ร. 1/3 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ต่อนายทะเบียน ณ ท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่
เมื่อนายทะเบียนได้รับคําขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องให้ครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของคําขอ หากปรากฏเอกสารหลักฐานที่จําเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ขอทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันยื่นคําขอ พร้อมทั้งกําหนดระยะเวลาให้ผู้ขอแก้ไข หากพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วผู้ขอไม่ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ให้นายทะเบียนคืนคําขอแก่ผู้ขอ
กรณีผู้ขอยืนยันความถูกต้อง หรือความครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของเอกสารแล้วให้นายทะเบียนดําเนินการต่อไป
ข้อ ๒ การยื่นคําขอ/แจ้งความประสงค์ทั่วไป ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(2) ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ ที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่
ข้อ ๓ การยื่นขออนุญาตเกี่ยวกับการดําเนินกิจการโรงแรมดังกล่าวในข้อ 1 ให้เจ้าของผู้ประกอบการหรือผู้จัดการโรงแรมหรือผู้ได้รับมอบอํานาจตามกฎหมายเป็นผู้ยื่นคําขอได้
ข้อ ๔ กรณีขออนุญาตเปลี่ยนแปลงประเภท เพิ่มหรือลดจํานวนห้องพัก หรือเปลี่ยนชื่อโรงแรม ให้นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลในคําขออนุญาต และกรณีอนุญาตให้สลักหลังไว้ในใบอนุญาตด้วย
ข้อ ๕ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้นายทะเบียนพิจารณาไม่อนุญาต
(1) อาคารหรือสถานที่ตั้งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงกําหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551
(2) ที่ดินและอาคารที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงแรมผู้ขอไม่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือไม่มีสิทธิครอบครองหรือไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารดังกล่าว เช่น สิทธิในการเช่า การยินยอมให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินและอาคารเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรม เป็นต้น
(3) อาคารที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ก่อสร้าง ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
(4) เหตุสําคัญอย่างอื่น ๆ ที่ปรากฏชัดทําให้ไม่สมควรประกอบธุรกิจโรงแรม
ข้อ ๖ กรณีที่นายทะเบียนพิจารณาเห็นว่ามีเหตุที่ไม่สมควรอนุญาต ให้นายทะเบียนแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ขอทราบ เพื่อให้ผู้ขอโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งก่อนออกคําสั่ง และเมื่อออกคําสั่งแล้วให้แจ้งคําสั่งและแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์คําสั่งให้ผู้ขอทราบด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,103 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 368/2553 เรื่อง การใช้แบบรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 368 / 2553
เรื่อง การใช้แบบรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลาย
-----------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเดินหมายเกี่ยวกับการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือ ในการบังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลาย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นไปโดยเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด และเป็น แนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้พนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี โดยใช้แบบรายงานการเดินหมายแนบท้ายคําสั่งนี้
1.1 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.1) ให้ใช้รายงานในกรณีที่พนักงานเดินหมาย ทําการ ปิดประกาศ และให้ใช้รายงานในกรณีที่พนักงานเดินหมายทําการส่งหมาย ส่งประกาศ และหนังสือ แก่ผู้รับ ที่มีภูมิลําเนาตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ในกรณีที่สถานที่ที่พนักงานเดินหมายทําการปิดประกาศ กับภูมิลําเนาของผู้รับ เป็นสถานที่เดียวกัน ให้พนักงานเดินหมายรายงานการปิดประกาศมาพร้อมกับรายงานการส่งหมาย และ หนังสือให้แก่ผู้รับในแบบรายงานเดินหมาย (ม.1)
ในกรณีที่พนักงานเดินหมายส่งหมาย ประกาศ และหนังสือไม่ได้หรือส่งโดยวิธี ปิดหมาย ให้รายงานรายละเอียดสถานที่ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี ที่ปรากฏด้านหลังแบบ ม.1 พร้อมจัดทําแผนที่พอสังเขป เว้นแต่สถานที่ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือเป็นสถานที่ราชการ
1.2 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.2) ให้ใช้รายงานในกรณีที่พนักงานเดินหมาย ทําการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือ แก่ผู้รับที่มีภูมิลําเนาตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แล้วมี เหตุขัดข้องในการส่งหมาย ประกาศ และหนังสือ แก่ผู้รับตามภูมิลําเนาไม่ได้ เช่น สถานที่ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือ ตามภูมิลําเนาได้ถูกรื้อถอน หาบ้านตามภูมิลําเนาไม่พบ เป็นต้น ให้รายงาน รายละเอียดสถานที่ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี ที่ปรากฏด้านหลังแบบ ม.2 พร้อม จัดทําแผนทีโดยสังเขป
1.3 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.3) ใช้รายงานในกรณีที่พนักงานเดินหมายทําการส่ง หนังสือแจ้งการขีดหรือแจ้งถอนการยึดให้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน
1.4 แบบรายงานการปิดประกาศยึดทรัพย์ (ม.4) ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง) ใช้รายงานในกรณีที่พนักงานเดินหมายทําการปิดประกาศยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทําการยึดที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ณ ที่ทําการ
เมื่อพนักงานเดินหมายไปทําการปิดประกาศแล้ว ปรากฏว่าที่ตั้งทรัพย์คลาดเคลื่อน หรือที่ตั้งทรัพย์ไม่ตรงตามแผนที่หาแล้วไม่พบ ให้พนักงานเดินหมายจัดทําแผนที่โดยสังเขปในใบแนบ เสนอมาพร้อมกับรายงานการปิดประกาศ
1.5 แบบรายงานการปิดประกาศยึดทรัพย์ (ม.5) (ห้องชุด) ใช้รายงานในกรณีที่พนักงาน เดินหมายทําการปิดประกาศยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้ทําการยึดห้องชุด ณ ที่ทําการ
เมื่อพนักงานเดินหมายไปทําการปิดประกาศแล้ว ปรากฏว่าที่ตั้งทรัพย์คลาดเคลื่อน หรือที่ตั้งทรัพย์ไม่ตรงตามแผนที่หาแล้วไม่พบ ให้พนักงานเดินหมายจัดทําแผนที่โดยสังเขปในใบแนบ เสนอมาพร้อมกับรายงานการปิดประกาศ
1.6 แบบรายงานการเดินหมาย (ม.6) ใช้รายงานในกรณีที่พนักงานเดินหมายทําการ ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือ แก่ผู้รับที่มีภูมิลําเนาตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แทนเจ้าพนักงาน บังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้มีคําสั่งให้ส่งหมาย ประกาศ และหนังสือในการบังคับคดี
ข้อ ๒ ในการส่งหมาย ประกาศ หนังสือ ในส่วนงานวางทรัพย์ หรือการชําระบัญชีตามคําสั่งศาลให้ใช้คําสั่งนี้บังคับโดยอนุโลม
อนึ่ง หากคําสั่ง บันทึกข้อความ หรือแนวปฏิบัติใด ที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติ ตามคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 กันยายน 2553
ชูจิรา กองแก้ว
(นางชูจิรา กองแก้ว)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,104 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับโอนใบอนุญาต และการอนุญาตในกรณีผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมถึงแก่ความตาย | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับโอนใบอนุญาต และการอนุญาต
ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมถึงแก่ความตาย
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้ใดประสงค์จะดําเนินธุรกิจโรงแรมต่อจากผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ถึงแก่ความตายให้ยื่นคําขอ/แจ้งความประสงค์ทั่วไป ตามแบบ ร.ร.1/3 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(1) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
(2) หลักฐานแสดงความเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
(3) การรับมรดกแทนที่กันเฉพาะเหตุสาบสูญ จะต้องมีคําสั่งศาลมาแสดงด้วย
(4) เอกสารหลักฐานที่ยื่นไว้ในการขออนุญาตมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง (ถ้ามี)
เมื่อนายทะเบียนได้รับคําขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องให้ครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของคําขอ หากปรากฏเอกสารหลักฐานที่จําเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ขอทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันยื่นคําขอ พร้อมทั้งกําหนดระยะเวลาให้ผู้ขอแก้ไข หากพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วผู้ขอไม่ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ให้นายทะเบียนคืนคําขอแก่ผู้ขอ
กรณีผู้ขอยืนยันความถูกต้อง หรือความครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของเอกสารแล้วให้นายทะเบียนดําเนินการต่อไป
ข้อ ๒ การยื่นคําขอรับโอนใบอนุญาตและการอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(2) ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ ที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่
ข้อ ๓ การขอรับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมของผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดการงานของตนเองได้ ต้องยื่นหลักฐานว่าได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยความสามารถของบุคคลก่อนแล้ว
ข้อ ๔ การสละมรดกจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือได้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความ มายื่นต่อนายทะเบียน
ข้อ ๕ ให้สํานักการสอบสวนและนิติการ ที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอตรวจสอบหลักฐานประกอบการยื่นคําขอดังนี้
(1) หลักฐานแสดงความเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
(2) การรับมรดกแทนที่กันเฉพาะเหตุสาบสูญ จะต้องมีคําสั่งศาลมาแสดงด้วย
ข้อ ๖ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้นายทะเบียนพิจารณาไม่อนุญาตให้รับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
(1) ผู้จัดการมรดก หรือทายาทขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
(2) ผู้ขอรับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมเป็นคนต่างด้าวขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(3) กรณียื่นคําขอต่อนายทะเบียนเกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมถึงแก่ความตาย
(4) เหตุสําคัญอย่างอื่น ๆ ที่ปรากฏชัดทําให้ไม่สมควรประกอบธุรกิจโรงแรม
ข้อ ๗ เมื่อสํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง หรือที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอได้รับเรื่องการขอรับมรดกจะประกอบธุรกิจโรงแรมให้ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมแล้วให้นําเสนอนายทะเบียนเพื่อพิจารณาต่อไป
เมื่อนายทะเบียนได้รับเรื่องการขอรับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมจากสํานักการสอบสวนและนิติการ หรือที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอ แล้วแต่กรณี นายทะเบียนอาจแจ้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการดําเนินการตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ไปดําเนินการตรวจโรงแรมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมให้เสร็จสิ้นภายในยี่สิบวันนับแต่วันได้รับคําขอจากสํานักการสอบสวนและนิติการ หรือที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี และให้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมเสนอความเห็นต่อนายทะเบียนโรงแรมเพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป
กรณีที่นายทะเบียนพิจารณาอนุญาตให้ออกใบอนุญาตฉบับใหม่ให้ผู้ขออนุญาต กรณีที่นายทะเบียนพิจารณาเห็นว่ามีเหตุสมควรไม่อนุญาตให้นายทะเบียนแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ขอทราบเพื่อให้ผู้ขอโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งก่อนออกคําสั่งและเมื่อออกคําสั่งแล้วให้แจ้งคําสั่งและแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์คําสั่งให้ผู้ขอทราบด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,106 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอโอนและการอนุญาตให้รับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอโอน
และการอนุญาตให้รับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
--------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจโรงแรมผู้ใดประสงค์จะขอโอนใบอนุญาตให้ยื่นคําขอโอน/รับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ตามแบบ ร.ร.1/2 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอ หรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(1) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมของผู้โอน
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้านของผู้โอนและผู้รับโอน
(3) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของอาคารหรือสถานที่ที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตประกอบกิจการพาณิชย์ในกรณีที่อาคารหรือสถานที่นั้นเป็นของผู้อื่นของผู้รับโอน
(4) สําเนาหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงแรม
(5) สําเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อวัตถุประสงค์ ที่ตั้งสํานักงานและผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่เป็นปัจจุบันของผู้โอนและผู้รับโอน
(6) หนังสือแต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลซึ่งต้องเป็นกรรมการหรือบุคคลผู้มีอํานาจ ลงนามผูกพันนิติบุคคล
เมื่อนายทะเบียนได้รับคําขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องให้ครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของคําขอ หากปรากฏเอกสารหลักฐานที่จําเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ขอทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันยื่นคําขอ พร้อมทั้งกําหนดระยะเวลาให้ผู้ขอแก้ไข หากพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วผู้ขอไม่ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ให้นายทะเบียนคืนคําขอแก่ผู้ขอ
กรณีผู้ขอยืนยันความถูกต้อง หรือความครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของเอกสารแล้วให้นายทะเบียนดําเนินการต่อไป
ข้อ ๒ การยื่นคําขอโอน/รับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(2) ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ ที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่
ข้อ ๓ เมื่อนายทะเบียนได้รับเรื่องการขอโอน/รับโอน ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมจากสํานักการสอบสวนและนิติการ หรือที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอ แล้วแต่กรณี นายทะเบียนอาจแจ้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการดําเนินการตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ไปดําเนินการตรวจโรงแรมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ให้เสร็จสิ้นภายในยี่สิบวันนับแต่วันได้รับคําขอจากสํานักการสอบสวนและนิติการ หรือที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี และให้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมเสนอความเห็นต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป
ข้อ ๔ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้นายทะเบียนพิจารณาไม่อนุญาตให้โอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
(1) ผู้ขอรับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
(2) ผู้ขอรับโอนใบอนุญาตเป็นบุคคลต้องห้ามประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(3) เหตุสําคัญอย่างอื่น ๆ ที่ปรากฏชัดทําให้ไม่สมควรประกอบธุรกิจโรงแรม
ข้อ ๕ กรณีที่นายทะเบียนพิจารณาอนุญาต ให้ออกใบอนุญาตฉบับใหม่ให้แก่ผู้รับโอนกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาเห็นว่ามีเหตุสมควรไม่อนุญาตให้นายทะเบียนแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ขอทราบเพื่อให้ผู้ขอโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งก่อนออกคําสั่งและเมื่อออกคําสั่งแล้ว ให้แจ้งคําสั่งและแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์คําสั่งให้ผู้ขอทราบด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,107 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจโรงแรม | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาการขอใบอนุญาต
และการออกใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจโรงแรม
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะประกอบธุรกิจโรงแรมให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามแบบ ร.ร. 1 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้าน
(2) แบบแปลนแผนผังพร้อมรายการประกอบแบบแปลน
(3) แผนที่แสดงบริเวณและสถานที่ตั้งของโรงแรมและสถานที่ใกล้เคียง
(4) หลักฐานแสดงว่าอาคารที่ใช้ในการประกอบธุรกิจโรงแรมได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคารโดยผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร ในกรณีที่อยู่นอกเขตควบคุมอาคาร
(5) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของอาคารหรือสถานที่ที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตประกอบกิจการพาณิชย์ ในกรณีที่อาคารหรือสถานที่นั้นเป็นของผู้อื่น
(6) หนังสือรับรองการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรณีต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ)
(7) สําเนาหนังสือสําคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งโรงแรม
(8) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล วัตถุประสงค์ ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล พร้อมสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้านของบุคคลดังกล่าว
(9) หนังสือแต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลซึ่งต้องเป็นกรรมการหรือบุคคลผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
เมื่อนายทะเบียนได้รับคําขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องให้ครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของคําขอ หากปรากฏเอกสารหลักฐานที่จําเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายในห้าวันนับแต่วันยื่นคําขอ พร้อมทั้งกําหนดระยะเวลาให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไข หากพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ให้นายทะเบียนคืนคําขอแก่ผู้ขอรับใบอนุญาต
กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตยืนยันความถูกต้อง หรือความครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของเอกสารแล้วให้นายทะเบียนดําเนินการต่อไป
การยื่นเอกสารตาม (4) และ (6) นั้น ผู้ขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมอาจยื่นคําขอตามแบบที่กฎหมายว่าด้วยการนั้นกําหนดต่อนายทะเบียนพร้อมกับการยื่นคําขอก็ได้ กรณีเช่นนี้ให้นายทะเบียนส่งแบบคําขอดังกล่าวพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาดําเนินการ และให้นายทะเบียนรอการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับผลการพิจารณาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบและให้ถือว่าคําขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจโรงแรม เป็นคําขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น โดยให้นําความในวรรคนี้มาใช้บังคับกับกรณีดังกล่าวด้วย
ข้อ ๒ การยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(2) ในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ ที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่
ข้อ ๓ เมื่อนายทะเบียนได้รับเรื่องการขออนุญาตจากสํานักการสอบสวนและนิติการ หรือที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอ แล้วแต่กรณี นายทะเบียนอาจแจ้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการดําเนินการตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ไปดําเนินการตรวจโรงแรมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ให้เสร็จสิ้นภายในยี่สิบวันนับแต่วันได้รับคําขอจากสํานักการสอบสวนและนิติการ หรือที่ทําการปกครองอําเภอ หรือที่ทําการปกครองกิ่งอําเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี และให้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมเสนอความเห็นต่อนายทะเบียนโรงแรมเพื่อพิจารณาดําเนินการต่อไป
ข้อ ๔ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้นายทะเบียนพิจารณาไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจโรงแรม
(1) กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16
(2) กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมเป็นคนต่างด้าวขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(3) อาคารหรือสถานที่ตั้งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงกําหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม
(4) ที่ดินและอาคารที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงแรมผู้ขออนุญาตไม่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือไม่มีสิทธิครอบครองหรือไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารดังกล่าว เช่น สิทธิในการเช่า การยินยอมให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินและอาคารเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรม เป็นต้น
(5) อาคารที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
(6) เหตุสําคัญอย่างอื่น ๆ ที่ปรากฏชัดทําให้ไม่สมควรประกอบธุรกิจโรงแรม
ข้อ ๕ กรณีที่นายทะเบียนพิจารณาเห็นว่ามีเหตุที่ไม่สมควรอนุญาต ให้นายทะเบียนแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ขออนุญาตทราบเพื่อให้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนก่อนออกคําสั่งและเมื่อออกคําสั่งแล้วให้แจ้งคําสั่งและแจ้งสิทธิการอุทธรณ์คําสั่งให้ผู้ขออนุญาตทราบด้วย
ข้อ ๖ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ใช้แบบ ร.ร. 2 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
ข้อ ๗ การออกใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญให้ยื่นคําขอตามแบบ ร.ร. 1/3 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดแบบ คําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคําขอ ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่
ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ใช้แบบ ร.ร. 2 ตามที่กําหนดไว้ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 โดยให้ระบุข้อความว่า “ใบแทน” กําหนดไว้ที่ด้านหน้าเหนือตราครุฑของแบบดังกล่าวด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,108 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอโอน/รับโอนใบอนุญาตคำขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต
คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
--------------------------------------------------
โดยที่สมควรกําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาต คําขอหรือการแจ้งความประสงค์อื่น และใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 15 มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24 มาตรา 25 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม และคําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไปให้ใช้คําขอตามแบบที่กําหนดไว้ดังนี้
(1) คําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ให้ใช้แบบ ร.ร. 1
(2) คําขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ให้ใช้แบบ ร.ร. 1/1
(3) คําขอโอน/รับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ให้ใช้แบบ ร.ร. 1/2
(4) คําขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป ให้ใช้แบบ ร.ร. 1/3
ข้อ ๒ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ให้ใช้แบบ ร.ร. 2 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ให้ใช้แบบ ร.ร. 2 โดยมีคําว่า “ใบแทน” กํากับไว้ที่ด้านหน้า
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550
อารีย์ วงศ์อารยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,109 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 212/2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 212 /2553
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นไป ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 233/2551 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สินและให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“9 ในการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรขายให้รายงาน ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณี เพื่อขออนุมัติก่อนเคาะไม้ขาย ผู้อํานวยการกอง
ส่วนการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ที่ออกไปทําการขายเป็นผู้ พิจารณาอนุมัติและเคาะไม้ขาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ลงชื่อ ชูจิรา กองแก้ว
(นางซูจิรา กองแก้ว)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,110 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 98/2553 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเงิน การรับคำขอรับชำระหนี้ การรับคำคู่ความและเอกสารอื่น ๆ ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 98/2553
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเงิน การรับคําขอรับชําระหนี้
การรับคําคู่ความและเอกสารอื่น ๆ ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
---------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเงิน เช่น ค่าธรรมเนียมในการยื่นคําขอรับชําระหนี้ เงินประกันการปฏิบัติหน้าที่ผู้ทําแผนผู้บริหารแผน เงินค่าใช้จ่ายในคดี เงินค่ารับรองเอกสาร และการรับ คําขอรับชําระหนี้ การรับคําคู่ความ หนังสือและเอกสารต่าง ๆ ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย รวดเร็ว และอํานวยความสะดวกแก่คู่ความและประชาชนผู้มาติดต่อ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 538/2548 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 เรื่อง การรับและจ่ายเงินในคดีสําหรับราชการส่วนกลางกรมบังคับคดี ข้อ 2.3
ข้อ ๒ การรับเงิน
2.1 เมื่อมีผู้นําเงินมาชําระหรือนําส่งในคดีจะเป็นเงินสด เช็ค คราฟท์ หรือตั๋วแลกเงิน ก็ดี ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการในเรื่องนั้น จดรายงานการรับเงิน โดยละเอียดว่าเป็นเงินประเภทใด ในคดีใดของผู้ใด จํานวนเงินเท่าใด และมีเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ แล้วนําผู้ชําระเงินหรือส่งเงินพร้อมสํานวนและรายงานดังกล่าวส่งให้เจ้าหน้าที่การเงินของสํานักฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนี้เป็นผู้รับเงินและออกใบเสร็จรับเงินให้โดยให้เจ้าหน้าที่การเงินลงนามเป็นผู้รับเงินร่วมกับ ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ใบเสร็จรับเงินนั้นให้มีสําเนา 3 ฉบับ ต้นฉบับมอบให้ผู้ชําระเงินหรือผู้นําส่งเงิน ส่วนสําเนารวมสํานวนไว้ฉบับหนึ่ง คงไว้เป็นต้นขั้วฉบับหนึ่ง อีกฉบับให้สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้รวมไว้เพื่อส่งกองคลัง
การรับเงินเป็นเช็ค ดร๊าฟท์ หรือตั๋วแลกเงิน ให้จดเลขหมายในใบเสร็จรับเงินด้วย
2.2 ให้เจ้าหน้าที่การเงิน สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นําส่งเงินที่รับไว้ตามข้อ 2.1 พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อฝ่ายการเงิน กองคลัง ภายในเวลา 15.30 นาฬิกา ของทุกวันทําการนั้น ๆ หากมีการรับเงินภายหลังกําหนดเวลาปิดบัญชีสําหรับวันนั้นแล้ว ให้นําส่งกองคลังในวันถัดไป
ข้อ ๓ การรับคําคู่ความ หนังสือหรือเอกสารอื่น ๆ ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้ฝ่าย บริหารงานทั่วไปของสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นผู้รับโดยปฏิบัติตามระเบียบงานสารบรรณ
ข้อ ๔ การรับคําขอรับชําระหนี้ ให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไปของสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการรับ การตั้งสํานวน การจัดเก็บข้อมูล และลงข้อมูลในระบบสารสนเทศ โดยให้ฝ่าย คําคู่ความ สํานักงานเลขานุการกรมใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปฏิบัติงานรวบรวมข้อมูลคดีต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ลงชื่อ ชูจิรา กองแก้ว
(นางซูจิรา กองแก้ว)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,111 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 83/2553 เรื่อง การพิจารณาและมีคำสั่งในสำนวนคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 83/2553
เรื่อง การพิจารณาและมีคําสั่งในสํานวนคดีล้มละลาย
------------------------------
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2551 ข้อ 3 ให้แบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี ดังต่อไปนี้ ก. ราชการบริหารส่วนกลาง (5) (9) กองบังคับคดี ล้มละลาย 1 - 5 และ (13) สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ข.ราชการบริหารส่วนภูมิภาค สํานักงาน บังคับคดีจังหวัด ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 และคําสั่งกรมบังคับคดี ซึ่งกําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้ ผู้อํานวยการกองบังคับคดีล้มละลาย ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด รายงาน เสนอความเห็นหรือรายงานให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการ บังคับคดีล้มละลาย เพื่อพิจารณาสั่งการหรือเพื่อให้ความเห็นชอบหรือ เพื่อทราบในสํานวน คดีล้มละลาย นั้น
อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ประกอบกับมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งตามคําสั่งกรมบังคับคดีกําหนดให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เสนอเรื่องให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งการ หรือ เพื่อให้ความเห็นชอบ หรือเพื่อทราบ นั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอเรื่องให้ผู้อํานวยการ สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นผู้พิจารณามีคําสั่งแทน
ในคดีล้มละลาย ซึ่งตามคําสั่งกรมบังคับคดีกําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอ เรื่องให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย เพื่อพิจารณาสั่งการ หรือเพื่อให้ความเห็นชอบ หรือเพื่อทราบนั้นให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอเรื่อง ให้ผู้อํานวยการกองบังคับคดีล้มละลาย หรือผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือผู้อํานวยการ สํานักบังคับคดีพื้นที่เขตมีนบุรี เป็นผู้พิจารณามีคําสั่งแทน
กรณีตามวรรคหนึ่ง หากผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พิจารณาแล้วเห็น ว่าเป็นกรณีที่มีปัญหายุ่งยาก สลับซับซ้อน หรือเป็นที่สนใจของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อ กองทรัพย์สินเป็นอย่างมาก หรือกรณีอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรให้เสนอสํานวนพร้อมความเห็นต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งการ หรือเพื่อให้ความเห็นชอบ หรือเพื่อทราบ
กรณีตามวรรคสอง หากผู้อํานวยการกองบังคับคดีล้มละลาย หรือผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือผู้อํานวยการสํานักบังคับคดีพื้นที่เขตมีนบุรี พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็น กรณีที่มีปัญหายุ่งยาก สลับซับซ้อน หรือเป็นที่สนใจของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน เป็นอย่างมาก หรือกรณีอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร ให้เสนอสํานวนพร้อมความเห็นต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การบังคับคดีล้มละลายเพื่อพิจารณาสั่งการ หรือเพื่อให้ความเห็นชอบ หรือเพื่อทราบ
ทั้งนี้ เมื่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบังคับคดีล้มละลาย พิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุ อันสมควรที่จะต้องได้รับการพิจารณาจากอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายอาจเสนอสํานวน พร้อมความเห็นต่อบุคคลดังกล่าวเพื่อพิจารณาสั่งการหรือเพื่อให้ความเห็นชอบก็ได้
ข้อ ๒ ความในข้อ 1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 452/2555 เรื่อง การปฏิบัติงานที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน และคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 457/2555 เรื่อง การดําเนินคดีอาญาตามกฎหมายล้มละลาย
ข้อ ๓ ให้รองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายสุ่มตรวจสํานวนคดีล้มละลายแล้วรายงานต่ออธิบดี ทุกระยะเวลาสามเดือน
อนึ่ง หากคําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ลงชื่อ ชูจิรา กองแก้ว
(นางซูจิรา กองแก้ว)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,112 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง แบบบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงแรม
พ.ศ. 2547
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ทําด้วยกระดาษแข็งสีขาว โดยมีขนาดและลักษณะเป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ ให้นายทะเบียนเป็นผู้ออกบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
ข้อ ๓ รูปถ่ายที่ติดบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ใช้รูปถ่ายที่ถ่ายไม่เกินหกเดือนก่อนวันยื่นคําขอมีบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นรูปถ่ายครึ่งตัว ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร หน้าตรงและแต่งเครื่องแบบปกติ หรือเครื่องแบบที่ตนสังกัด ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดํา
ข้อ ๔ บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้มีอายุตามที่กําหนดไว้ในบัตรแต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันออกบัตร
ในกรณีบุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่พ้นจากตําแหน่งหรือสังกัดที่ระบุในคําสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ถือว่าพ้นจากการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้บุคคลนั้นส่งคืนบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่แก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่พ้นจากการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,113 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง แต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
---------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่ง ดังต่อไปนี้เป็นนายทะเบียน
ข้อ ๑ อธิบดีกรมการปกครอง ในเขตกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒ ผู้ว่าราชการจังหวัด ในเขตจังหวัดอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548
พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 5,114 |
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ 140/2560 เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 | คําสั่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ที่ 140/2560
เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเป็นนายทะเบียน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
---------------------------
ตามที่ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้มีคําสั่งที่ 111/2556 เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ไปแล้ว นั้น
เนื่องจากสํานักงาน คปภ. ได้ปรับโครงสร้างองค์กรและตําแหน่งงานบางส่วนตามข้อบังคับสํานักงาน คปภ. ว่าด้วยการจัดองค์กร พ.ศ. 2559 และระเบียบสํานักงาน คปภ. ว่าด้วยการจัดองค์กรการแบ่งงาน และสายการบังคับบัญชาของส่วนงานระดับต่ํากว่าสาย พ.ศ. 2559 ไปแล้ว ประกอบกับเพื่อให้การดําเนินงานของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 (3) และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับข้อ 4 แห่งข้อบังคับสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการมอบอํานาจให้ปฏิบัติงานแทน พ.ศ. 2550 และข้อ 5 แห่งระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการเทียบตําแหน่งพนักงาน พ.ศ. 2560 เลขาธิการจึงยกเลิกคําสั่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ 111/2556 เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 และมอบหมายให้พนักงานดังต่อไปนี้ เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
อื่นๆ - 1. รองเลขาธิการด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์
2. ผู้ช่วยเลขาธิการสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์
3. ผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส สํานักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
4. ผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์
5. ผู้อํานวยการภาคอาวุโส ผู้อํานวยการภาค
6. ผู้อํานวยการกลุ่มงานระงับข้อพิพาท
7. หัวหน้ากลุ่มคุ้มครองสิทธิประโยชน์ หัวหน้ากลุ่มระบบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหัวหน้ากลุ่ม สํานักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
8. ผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. จังหวัด (ใหญ่) ผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. จังหวัด และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สํานักงาน คปภ. เขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. จังหวัด (ใหญ่) ผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. จังหวัด และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สํานักงาน คปภ. เขต
ในกรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายตามคําสั่งนี้ ดําเนินการใด ๆ โดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายในฐานะนายทะเบียน ให้ผู้ได้รับมอบหมายระบุคําลงท้ายว่า “ปฏิบัติหน้าที่แทนนายทะเบียน” ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,115 |
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ 134/2554 เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเป็นนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 | คําสั่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ที่ 134/2554
เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเป็นนายทะเบียน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
-----------------------------------
ตามที่ ได้มีคําสั่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ 20/2550 เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเป็นนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ไปแล้ว นั้น
เนื่องจาก สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และถูกต้อง ตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการจัดโครงสร้างองค์กร การแบ่งงาน และสายบังคับบัญชาของส่วนงานระดับต่ํากว่าสาย พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 (3) มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับข้อบังคับสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการมอบอํานาจให้ปฏิบัติงานแทน พ.ศ. 2550 ข้อ 4 เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงให้ยกเลิกคําสั่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ 20/2550 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมอบหมายให้พนักงานดังต่อไปนี้ เป็นนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
อื่นๆ - 1. รองเลขาธิการด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์
2. ผู้ช่วยเลขาธิการสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์
3. ผู้อํานวยการสํานักงานภาค หรือผู้อํานวยการสํานักงานภาคอาวุโส
4. ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์
5. ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้อํานวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสํานักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
6. ผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. จังหวัด หรือผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. จังหวัดอาวุโส
7. ผู้อํานวยการส่วนหรือผู้อํานวยการส่วนอาวุโส ที่ปฏิบัติงานในฝ่ายสํานักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,116 |
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ 19/2550 เรื่อง การมอบหมายอำนาจหน้าที่ | คําสั่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม
การประกอบธุรกิจประกันภัย
ที่ 19/2550
เรื่อง การมอบหมายอํานาจหน้าที่
---------------------------------------------
เพื่อให้การดําเนินงานของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุประสิทธิผล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิติ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบข้อบังคับสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการมอบอํานาจให้ปฏิบัติงานแทน พ.ศ. 2550 เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงมีคําสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑ มอบหมายรองเลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยสายกํากับ
1.1 เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ทั้งนี้เฉพาะ
1.1.1 อํานาจตามความในมาตรา 16 และอํานาจตามประกาศที่ออกตามความในมาตราดังกล่าว เว้นแต่การลงนามในใบอนุญาตเปิดสาขา เปลี่ยนแปลงประเภทสาขา และใบแทนใบอนุญาตต่างๆ ของสาขา
1.1.2 อํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 เว้นแต่
ก) อํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือยกเลิกแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย ตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และเปลี่ยนอัตราเบี้ยประกันภัยตามความในมาตรา 30 วรรคสอง
ข) อํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือยกเลิกแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และเปลี่ยนอัตราเบี้ยประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ การประกันภัยรถยนต์
ค) อํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือยกเลิกแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยมาตรฐาน และเปลี่ยนอัตราเบี้ยประกันภัยมาตรฐาน
ง) อํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือยกเลิกแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกันภัย ที่บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จํากัด (มหาชน) และสมาคมประกันวินาศภัยยื่นคําขอรับความเห็นชอบ
1.1.3 อํานาจในการอนุญาตตามมาตรา 31 (2)
1.1.4 อํานาจตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 37 เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่สามสิบล้านขึ้นไป
1.1.5 อํานาจตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 37 เรื่อง การประกันภัยต่อ
1.2 เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ทั้งนี้เฉพาะ
1.2.1 อํานาจตามความในมาตรา 17 และอํานาจตามประกาศที่ออกตามความในมาตราดังกล่าว เว้นแต่การลงนามในใบอนุญาตเปิดสาขา เปลี่ยนแปลงประเภทสาขา และใบแทนใบอนุญาตต่างๆ ของสาขา
1.2.2 อํานาจตามความในมาตรา 29 มาตรา 30 เว้นแต่ อํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือยกเลิกแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารประกอบ เอกสารแนบท้าย ตามความในมาตรา 29 วรรคสอง และเปลี่ยนอัตราเบี้ยประกันภัย ตามความในมาตรา 30 วรรคสอง
1.2.3 อํานาจตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 38 เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่สามสิบล้านขึ้นไป
1.2.4 อํานาจตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 38 เรื่อง การประกันภัยต่อ
ข้อ ๒ มอบหมายผู้อํานวยการฝ่ายกํากับกิจกรรมทางการเงินและการลงทุน
2.1 เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ทั้งนี้เฉพาะ
2.1.1 อํานาจการพิจารณาใดๆ ที่กฎหมายในส่วนที่ว่าด้วยเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ได้กําหนดให้เป็นอํานาจนายทะเบียน
2.1.2 อํานาจในส่วนที่เกี่ยวกับการวางและการเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ประกันและเงินสํารองประกันภัยตามมาตรา 19 วรรคสี่ มาตรา 25 และมาตรา 56
2.1.3 อํานาจในการรับรองเอกสารตามความในมาตรา 56
2.2 เป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ทั้งนี้เฉพาะ
2.2.1 อํานาจในการพิจารณาใดๆ ที่กฎหมายในส่วนที่ว่าด้วยเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจประกันชีวิต ได้กําหนดให้เป็นอํานาจนายทะเบียน
2.2.2 อํานาจในส่วนที่เกี่ยวกับการวางและการเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ประกันและเงินสํารองประกันภัยตามมาตรา 20 วรรคสาม มาตรา 24 วรรคสองตอนท้าย (เฉพาะในส่วนที่ให้นําความในมาตรา 21 และมาตรา 22 มาใช้บังคับโดยอนุโลม) มาตรา 25 และมาตรา 50
2.2.3 อํานาจในการรับรองเอกสารตามความในมาตรา 50
ข้อ ๓ มอบหมายผู้อํานวยการฝ่ายกํากับบุคลากรประกันภัย
3.1 เป็นนายทะเบียนตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 68 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และมาตรา 73 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535
3.2 เป็นผู้ทําการแทนในการอนุญาตให้เปิดสอบ และประกาศผลสอบความรู้เพื่อขอรับใบรับอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย ใบรับอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต
3.3 เป็นผู้ลงนามกํากับในใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัย ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต
อํานาจตาม 3.3 ให้เป็นอํานาจของผู้อํานวยการส่วนในฝ่ายกํากับบุคลากรประกันภัยด้วย
ข้อ ๔ มอบหมายผู้อํานวยการฝ่ายบริหารทั่วไปและกองทุน
4.1 เป็นผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งมีการเบิกจ่าย ณ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานและค่าใช้จ่ายอื่นของสํานักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ในการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ตามที่เลขาธิการเห็นชอบ
4.2 เป็นผู้รับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
ข้อ ๕ มอบหมายผู้อํานวยการฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ผู้อํานวยการส่วนคุ้มครองสิทธิประโยชน์ เป็นผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเพื่อจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 23 ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัย
ข้อ ๖ มอบหมายผู้อํานวยการฝ่าย ผู้อํานวยการสํานัก เป็นผู้ทําการในการติดต่อขอข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของฝ่าย หรือสํานักนั้นๆ
ข้อ ๗ มอบหมายผู้อํานวยการฝ่าย ผู้อํานวยการสํานัก เป็นผู้ทําการแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทราบถึงผลการพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่าย หรือสํานัก
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,117 |
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ 20/2550 เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 | คําสั่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ที่ 20/2550
เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเป็นนายทะเบียน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
---------------------------------
ตามที่ พระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และตําแหน่งบุคคลผู้มีอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และถูกต้องตามโครงสร้าง และตําแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไป อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 (3) มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับข้อบังคับสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการมอบอํานาจให้ปฏิบัติงานแทน พ.ศ. 2550 ข้อ 4 เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงให้ยกเลิกคําสั่งกรมการประกันภัย ที่ 50/2538 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2538 และมอบหมายให้พนักงานดังต่อไปนี้ เป็นนายทะเบียน
อื่นๆ - 1. รองเลขาธิการ
2. ผู้ช่วยเลขาธิการ
3. ผู้อํานวยการฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ผู้อํานวยการส่วน หรือผู้บริหารส่วนคุ้มครองสิทธิประโยชน์
4. ผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. เขต ผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. ภาค ผู้อํานวยการสํานักงาน คปภ. จังหวัด หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป[1]
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550
จันทรา บูรณฤกษ์
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,118 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 410/2552 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนำส่งหรือรับเงิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 410/2552
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
-------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 135/2552 ลงวันที่ 8 เมษายน 2552 เรื่อง ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 135/2552 ลงวันที่ 8 เมษายน 2552 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. ผู้อํานวยการกองคลัง (นางสาวรัตนา วิมุกตานนท์) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดีแพ่ง (นางวิไล อุปปาติก) เป็นกรรมการ
3. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางผุสดี ทั่วจบ) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ คือ
1. หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางสาวมาลี วลัญไชย) เป็นกรรมการ
2. นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ นางสาวจิตติมา ศรีด้วงกัง) เป็นกรรมการ
3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
1. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางผุสดี ทั่วจบ) เป็นกรรมการ
2. นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ (นางสาวจิตติมา ศรีด้วงกัง) เป็นกรรมการ
3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน (นางทศพร วิสิทธิ์) เป็นกรรมการ
5. นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ (นางสนทอง ลัทธิธรรม) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือ รับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ที่ จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใดซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือหัวหน้า ฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุมรักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2552
(ลงชื่อ) ชูจิรา กองแก้ว
(นางชูจิรา กองแก้ว)
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,119 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 62/2552 เรื่อง การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 62/2552
เรื่อง การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
-------------------------------------
ตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 83/5 กําหนดให้ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงกรณีที่ส่วนราชการขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดมีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าพนักงานของ กรมบังคับคดีซึ่งถือเป็นผู้ทอดตลาด ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของคู่ความรวมถึงเป็นผู้ดําเนินการขายโดย วิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งศาล จึงมีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ของลูกหนี้ตามคําพิพากษาซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าวเป็นไปด้วยความถูกต้อง เรียบร้อย และเป็นแนวทาง เดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะร่างประกาศขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตาม คําพิพากษาที่ยึดไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจดูว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ โดยตรวจดูได้จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (http://www.rd.go.th) หรือตรวจจาก สํานักงานสรรพากรพื้นที่หรือสํานักงานสรรพากรจังหวัดที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นมีภูมิลําเนาอยู่ในเขต
ข้อ ๒ หากพบว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้นเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีระบุเพิ่มเติมในประกาศขายทอดตลาดว่า “ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชําระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราตามที่ กฎหมายกําหนดนอกเหนือจากราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเกาะไม้ขายทอดตลาด
ข้อ ๓ ก่อนทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ตามคําพิพากษาเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประมูลซื้อทรัพย์ทราบถึงข้อความดังที่กําหนดในข้อ 2
ข้อ ๔ ในรายงานการขายทอดตลาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อต้องชําระให้ชัดเจนแยกต่างหากจากราคาที่เคาะไม้ขายทอดตลาด
ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อในวันที่ขายทอดตลาดไว้ โดยคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราตามที่กฎหมายกําหนด (ปัจจุบันคิดในอัตราร้อยละ 7 ของราคาที่เกาะไม้ขายทอดตลาด)
ข้อ ๖ เมื่อผู้ซื้อชําระราคาทรัพย์และภาษีมูลค่าเพิ่มครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือ นักบัญชีแล้วแต่กรณี ออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ซื้อโดยระบุราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเกาะไม้ขายทอดตลาดและ จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อต้องชําระให้ชัดเจน พร้อมทั้งจัดทําสําเนาใบเสร็จรับเงินให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ไว้เป็นหน้า
ข้อ ๗ ให้นักบัญชี ส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยยื่นแบบส่งภาษีตามกําหนดวัน เวลา และสถานที่ ที่กรมสรรพากรกําหนด
ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้โดยอนุโลม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
(ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ
(นายสิรวัต จันทรัฐ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,120 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 165/2552 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 165/2552
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 333/2551 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สินและให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
4. การประกาศขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดเงื่อนไข ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอราคาต้องนําเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค หรือหนังสือค้ําประกันของธนาคารโดยไม่มีเงื่อนไข มาวางเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังนี้
4.1 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินต่ํากว่า 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาท) ให้วางประกัน เป็นจํานวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท) เว้นแต่ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา ใช้ดุลพินิจกําหนดหลักประกันตามที่เห็น สมควร
4.2 ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินตั้งแต่ 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาท) ให้วางประกัน เป็นจํานวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
หากเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประสงค์จะเสนอ ราคาวางหลักประกันนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ตาม 4.1 หรือ 4.2 ให้เสนออธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้พิจารณากําหนด
เงินสด หรือแคชเชียร์เช็คดังกล่าว ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาในกรณีที่ผู้วางเป็นผู้ซื้อได้ ส่วนหนังสือค้ําประกันของธนาคารจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาเมื่อเรียกเก็บเงิน ได้แล้ว การชําระราคาส่วนที่เหลือให้ชําระภายใน 15 วัน นับแต่ซื้อทอดตลาดทรัพย์
ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประสงค์เสนอราคาเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 79
(2) คู่สมรสที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้กันส่วน
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติในสํานวนคดีที่กําหนดวันขายทอดตลาดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
(ลงชื่อ)สิรวัต จันทรัง
(นายสิรวัต จันทรัฐ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,121 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 135/2552 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่135/2552
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
---------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 12/2551 ลงวันที่ 12 มกราคม 2551 เรื่อง ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการน่าส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 12/2551 ลงวันที่ 12 มกราคม 2551 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ง. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. ผู้อํานวยการกองคํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ รักษาราชการแทน ผู้อํานวยการกองคลัง
(นางสาวทนใจ ศรีวังพล) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดีแพ่ง (นางวิไล อุปปาติก) เป็นกรรมการ
3. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางผุสดี ทั่วจบ) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - จ. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1. หัวหน้ากลุ่มงานบัญชีและงบประมาณ (นางสาวรัตนา วิมุกดานนท์) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางสาวมาลี วลัญไชย) เป็นกรรมการ
3. นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ นางสาวจิตติมา ศรีวงกุ้ง) เป็นกรรมการ
4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการน่าส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้ง สํานักงาน คือ
1. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางผุสดี ทั่วจบ) เป็นกรรมการ
2. นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ (นางสาวจิตติมา ศรีวงกุ้ง) เป็นกรรมการ
3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน (นางทศพร วิสิทธิ์) เป็นกรรมการ
5. นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ (นางสนทอง ลัทธิธรรม) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือ รับเงินหรือ าเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใดซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือ หัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุม รักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และ การนําเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 เมษายน 2552
(ลงชื่อ) สิริวัต จันทรัฐ
(นายสิรวัต จันทรัฐ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,122 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 96/2552 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ (Update ฉบับล่าสุด) | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 96/2552
เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
---------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6.2 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 393/2549 ลงวันที่ 28 กันยายน 2549 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
6.2 คําสั่งในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการดังต่อไปนี้
6.2.1 คําขอรับชําระหนี้ที่มีการโต้แย้งและมีจํานวนหนี้ที่ขอมาตั้งแต่ 100,000,000 บาท(หนึ่งร้อยล้านบาท) ขึ้นไป
6.2.2 กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนอันมิใช่การคํานวณหนี้ผิดพลาด และจํานวนหนี้ที่ถูกยกคําขอมีจํานวนที่ขอมาตั้งแต่ 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อย ล้านบาท) ขึ้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 6.3 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 393/2549 ลงวันที่ 28 กันยายน 2549 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 6.3 ความเห็นในสํานวนทวงหนี้ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันหนี้ ลดยอดหนี้ หรือจําหน่ายชื่อลูกหนี้ ซึ่งมีจํานวนทุนทรัพย์ตั้งแต่ 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาท) ขึ้นไป
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552
(ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ
(นายสิรวัต จันทรัฐ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,123 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 96/2552 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 96/2552
เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
---------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6.2 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 393/2549 ลงวันที่ 28 กันยายน 2549 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
6.2 คําสั่งในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการดังต่อไปนี้
6.2.1 คําขอรับชําระหนี้ที่มีการโต้แย้งและมีจํานวนหนี้ที่ขอมาตั้งแต่ 100,000,000 บาท(หนึ่งร้อยล้านบาท) ขึ้นไป
6.2.2 กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนอันมิใช่การคํานวณหนี้ผิดพลาด และจํานวนหนี้ที่ถูกยกคําขอมีจํานวนที่ขอมาตั้งแต่ 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อย ล้านบาท) ขึ้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 6.3 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 393/2549 ลงวันที่ 28 กันยายน 2549 เรื่อง การปฏิบัติงานคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 6.3 ความเห็นในสํานวนทวงหนี้ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันหนี้ ลดยอดหนี้ หรือจําหน่ายชื่อลูกหนี้ ซึ่งมีจํานวนทุนทรัพย์ตั้งแต่ 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาท) ขึ้นไป
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552
(ลงชื่อ) สิรวัต จันทรัฐ
(นายสิรวัต จันทรัฐ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,124 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 12/2551 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการป่าส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 12/2551
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการป่าส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
--------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 37/2550 ลงวันที่ 22 มกราคม 2550 เรื่อง ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการ ส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2550 นั่น
บัดนี้ เป็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแมนชั่วคราว กรรมการ ส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 37/2550 ลงวันที่ 22 มกราคม 2550 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการ นําส่งหรือรักษาเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. ผู้อํานวยการกองคลัง (หม่อมหลวงผกาพรรณ สันติกุญชร) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดีแห่ง (นางวิไล อุปปาตึก) เป็นกรรมการ
3. หัวหน้าฝ่ายการเงิน เป็นกรรมการ (นางผุสดี วจบ) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้คือ
1. หัวหน้ากลุ่มงานบัญชีและงบประมาณ (นางสาวรัตนา วิมุกดานนท์ เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางสาวมาลี วญไชย) เป็นกรรมการ
3. เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 (นางสาวจิตติมา ศรีล้างกุ้ง) เป็นกรรมการ
4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสาววรรณี กร พลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค.กรรมการนําส่ง หรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ สํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานคือ
1. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางผุสดี ทั่วจบ) เป็นกรรมการ
2 เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6: (นางสาวจิตติมา ศรีค้างดัง) เป็นกรรมการ
3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี : (นางทศพร วิสิทธิ์) เป็นกรรมการ
5. นักวิชาการเงินและบัญชี 3 (นางสนทอง ลัทธิธรรม) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือ รับเงินหรือชาเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการน่าส่งเงิน หรือนําไปถ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดจํานวนมาก หรือสถานที่ ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใดซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือหัวหน้า ฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคน ไปช่วยควบคุมรักษา ความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงิน ส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551
(ลงชื่อ) กัญญานุช สอทิพย์
(นางสาวกัญญานุช สอทิพย์)
อธิบกรมบังคับคดี | 5,125 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 744/2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 744/2551
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน
---------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคําพิพากษา ไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงให้มีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี 536/2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน ลงวันที่30 กันยายน 2548
ข้อ ๒ เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตั้งเรื่องอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้วางเงินทดรอง ค่าใช้จ่ายขั้นบังคับคดีสํานวนละ 1,500 บาท
ในระหว่างการบังคับคดีจากค่าใช้จ่ายชั้นบังคับคดีเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหมายแจ้งเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามจํานวนที่เห็นสมควร
ข้อ ๓ การอายัดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแถลงยืนยันจํานวนเงินที่ขออายัดพร้อมส่งเอกสารดังต่อไปนี้
3.1 อายัดเงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน ให้ส่งสําเนาเอกสารที่มีข้อความ ระบุถึงความมีอยู่ของเงินนั้น
อายัดเงินตามสัญญา หรือสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ให้ส่งสําเนาหนังสือสัญญา หรือเอกสารหลักฐาน แห่งหนี้ที่ระบุว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิได้รับเงินนั้น ๆ
อายัดเงินฝากในบัญชีจากสถาบันการเงิน ให้ส่งสําเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ ของเงินนั้นพร้อมรายละเอียดว่าต้องการอายัดเงินจากสถาบันการเงินใดพร้อมระบุสาขา เลขบัญชี และจํานวนเงิน
3.2 สําเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือคู่สมรส ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเรียกร้องที่อายัดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
3.3 สําเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของนายจ้าง หรือบุคคลภายนอกผู้รับ คําสั่งอายัดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน
ข้อ ๔ การอายัดเงินตามข้อ 3.1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเสนอผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดหรือสาขา หรือผู้ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีเพื่อมีคําสั่งอายัดหรือไม่
กรณีการอายัดตามข้อ 3.1 วรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคํานึงถึงพฤติการณ์แห่งการดํารงชีพ ของลูกหนี้ประกอบด้วย
หากเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาไม่สามารถส่งเอกสารประกอบคําขออายัดตามข้อ 3.1 แต่ได้แสดงเหตุแห่ง การนั้นมาในคําขออายัดพร้อมแถลงยืนยันถึงความมีอยู่แห่งสิทธิเรียกร้องนั้น ๆ และยินยอมรับผิดในค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาและเสนอความเห็นว่าสมควรมีคําสั่งอายัดให้หรือไม่ ต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา หรือผู้ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีเพื่อ มีคําสั่งต่อไป
ห้ามมิให้เจ้าพนักงานบังคับคดียัดสิทธิเรียกร้องซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสิทธิเรียกร้องประเภทใด
ข้อ ๕ เมื่อมีคําสั่งอายัดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหนังสืออายัดไปยังบุคคลภายนอกผู้รับคําสั่ง อายัดภายในวันที่มีคําสั่งหรืออย่างช้าในวันทําการถัดไป องประเภทใด โดยระบุให้ส่งมอบเงินตามอายัดต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีผู้ออกหนังสืออายัด และให้แจ้งการอายัดไปยังลูกหนี้ตามคําพิพากษาในคราวเดียวกัน
การอายัดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินไปยังจังหวัดอื่น ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องขอศาล บังคับคดีแทน
ข้อ ๖ การอายัดสิทธิเรียกร้องเป็นเงินตั้งแต่ 20,000,000 บาทขึ้นไป หรืออายัดทรัพย์สินของบุคคล สําคัญ หรือบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน เมื่อได้ดําเนินการอายัดแล้วให้รายงาน อธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ
ข้อ ๗ กรณีอายัดเงินเป็นคราว ๆ เมื่อมีการส่งเงินมายังเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ตรวจสํานวนทุก 3 เดือน หากเงินที่รวบรวมได้มีจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ให้ส่งสํานวนให้นักบัญชี ดําเนินการทําบัญชีรับ – จ่ายเงินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทันที เว้นแต่ ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี เห็นเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๘ การสั่งเพิ่มหรือลดอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคําพิพากษา ยื่นคําร้องขอเพิ่มหรือลดอายัด พร้อมชี้แจงเหตุผลความจําเป็นในการขอเพิ่มหรือลดอายัดและส่งเอกสาร ใบรับรองเงินเดือน หลักฐานค่าใช้จ่ายอันจําเป็นแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาหลักฐานดังกล่าวโดยคํานึงโดยคํานึงถึงฐานะทางครอบครัวจํานวนบุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในอุปการะ รวมทั้งจํานวนหนึ่ง ตามหมายบังคับคดีโดยเสนอความเห็นพร้อมระบุข้อมูลโดยย่อต่อผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดหรือสาขา หรือผู้ได้รับมอบหมายแล้วแต่กรณีเพื่อมีคําสั่ง
ข้อ ๙ ในกรณีอายัดทรัพย์สินที่ต้องมีการส่งมอบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามมาตรา 315 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คําสั่งกรมบังคับคดี หรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
กัญญานุช สอทิพย์
(นางสาวกัญญานุช สอทิพย์
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,126 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 333/2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน | คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 333/2551
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
--------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตาม คําพิพากษาและคดีนายประกันเป็นไปโดยเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงให้มีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 453/2548 ลงวันที่ 8 กันยายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
ข้อ ๒ ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เป็นไปตามที่กรมบังคับคดีกําหนด
ข้อ ๓ การประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งทรัพย์ตามประกาศขายที่ราคาประเมินของเจ้าพนักงาน บังคับคดีตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป หรือคาดหมายว่าจะขายได้ราคาตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป หรือเป็นทรัพย์สิน ของบุคคลที่มีฐานะในทางสังคม หรือเป็นที่สนใจของประชาชน ให้รายงานพร้อมเสนอประกาศขายทอดตลาด ให้อธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายทราบ
ข้อ ๔ การประกาศขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดไว้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดเงื่อนไข ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอราคาต้องนําเงินสด หรือเครเชียร์เช็ค หรือหนังสือค้ําประกันของธนาคาร โดยไม่มีเงื่อนไข มาวางเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจํานวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ทุกรายการ เว้นแต่ ทรัพย์ที่ยึดมีราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาท ให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัด สาขาใช้ดุลพินิ กําหนดหลักประกันตามที่เห็นสมควร
หากเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอราคา วางหลักประกันนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้เสนอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้พิจารณากําหนด
เงินสด หรือแคชเชียร์เช็คดังกล่าว ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาในกรณีที่ผู้วางเป็น ผู้ซื้อได้ ส่วนหนังสือค้ําประกันของธนาคารจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาเมื่อเรียกเก็บเงินได้แล้ว การชําระราคาส่วนที่เหลือให้ชําระภายใน 15 วัน นับแต่ ทอดตลาดทรัพย์
ความในวรรคก่อน มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ประสงค์เสนอราคาเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วย การบังคับคดี ของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 79
(2) คู่สมรสที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว
ข้อ ๕ การขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เป็นไปตามกฎหมาย และตามที่กรมบังคับคดีกําหนด
ข้อ ๖ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กําหนดนัด ตลาดทรัพย์สินแล้ว ก่อนถึงวันนัดไม่น้อย กว่า 20 วัน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ของสํานวนตรวจสอบสํานวนคดีดังกล่าวว่า การจัดส่งประกาศขาย ทอดตลาดทรัพย์สินให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่ และรายงานผลการตรวจสอบ ตามแบบต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือ สาขาแล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ ก่อนทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้สนใจเข้าราคาซึ่งจะเข้าสู้ราคาในนามของบุคคลอื่นแสดงใบมอบอํานาจก่อนเข้าสู่ราคา และแจ้งด้วยว่าหากผู้เข้าสู้ราคาผู้ใด เข้าสู้ราคาแทนบุคคลอื่นโดยมิได้แสดงใบมอบอํานาจก่อนจะถือว่าผู้เข้าสู้ราคาผู้นั้นกระทําการในนามของตนเอง และในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ผู้เข้าสู้ราคาผู้นั้นจะขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ซื้อโดยอ้างว่า ตนเป็นเพียงตัวแทนมิได้
ข้อ ๘ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินทุกครั้ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศกําหนดราคา สมควรขายแล้ว ให้ประกาศกําหนดจํานวนเงินขั้นต่ําที่ผู้เข้าสู้ราคาการเสนอเพิ่มให้สูงกว่าราคาที่มีผู้เสนอก่อนตนได้ ดังนี้
ราคาสมควรขาย เพิ่มราคาไม่น้อยกว่าครั้งละ
ต่ํากว่า 50,000 บาท 1,000 บาท
ตั้งแต่ 50,000 -100,000 บาท 2,000 บาท
เกิน 100,000-300,000 บาท 5,000 บาท
เกิน 300,000-500,000 บาท 10,000 บาท
เกิน 500,000-700,000 บาท 20,000 บาท
เกิน 700,000-1,000,000 บาท 30,000 บาท
เกิน 1,000,000-5,000,000 บาท 50,000 บาท
เกิน 5,000,000-20,000,000 บาท 100,000 บาท
เกิน 20,000,000-50,000,000 บาท 200,000 บาท
เกิน 50,000,000-80,000,000 บาท 500,000 บาท
เกิน 80,000,000 ขึ้นไป 1,000,000 บาท
อัตราการเพิ่มราคา กําหนดดังกล่าวให้ใช้ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินแต่ละราชโดยตลอด ตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้น ไม่ว่าจะมีการเสนอราคาสูงขึ้นเพียงใดก็ตาม
ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับกับการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาประเมินต่ํากว่า 50,000 บาท
ข้อ ๙ ในการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่มีผู้เสนอราคาสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรขายให้รายงานผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด หรือสาขาแล้วแต่กรณี เพื่อขออนุมัติก่อนเคาะไม้ขาย ถ้าเป็นทรัพย์ที่มีผู้เสนอราคาสูงสุดเกินกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรขายให้รายงานตามลําดับชั้นเพื่อขออนุมัติอธิบดีหรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมอบหมายก่อนเคาะ ไม้ขาย ทั้งนี้การรายงานในส่วนภูมิภาคให้ใช้วิธีโทรสาร
ส่วนการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ที่ออกไปทําการขายเป็น ผู้พิจารณาอนุมัติและเกาะไม้ขาย
ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคําร้องขอขยายระยะเวลาในการชําระราคาทรัพย์ส่วนที่ค้างชําระ ซึ่งมิใช่กรณี บังคับคดี ที่เป็นผลมาจากการยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือศาลมีคําสั่งให้งดการบังคับคดี โดยมีหนังสือขอขยายระยะเวลาการพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงินมาแสดงหรือมีเหตุอื่นอันสมควร ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานข้อเท็จจริงตลอดจนพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของผู้ร้องว่าผู้ร้องได้ยื่นคําร้อง โดยสุจริตหรือไม่แล้วเสนอ ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณี พิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันครบกําหนดชําระราคา 15 วัน และไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่ให้มีการขยายระยะเวลาอีก
ข้อ ๑๑ เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ชําระเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีจัดทําหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในวันนั้นหรืออย่างช้าในวันทําการ ถัดไป หนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามและแจ้งให้ผู้ซื้อทราบว่าตามสัญญาผู้ซื้อทรัพย์ต้องขอรับหนังสือใน กรรมสิทธิ์ และมีสิทธิ ใบเสร็จรับเงินที่มีรายการชําระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ขอคืนภาษีภายใน 20 วัน นับแต่วันชําระราคาครบถ้วนแล้ว หากไม่มารับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์ หรือรับคืนภาษีภายใน กําหนดข้างต้น จะถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับคืนภาษีดังกล่าว
กรณีขายทอดตลาดตามสําเนาเอกสารสิทธิ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้ซื้อทราบข้อ และหากไม่สามารถดําเนินการได้ภายในกําหนด ผู้ซื้อมีสิทธิขอขยายระยะเวลาการขอ และให้เจ้าพนักงานบังคับคดี คืนภาษีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 20 วัน นับแต่วันชิงะรายาครบถ้วน เสนอผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณี พิจารณาอนุญาตให้ขยาย ระยะเวลาการขอคืนภาษีได้อีก ไม่เกิน 2 เดือน นับแต่วันครบกําหนดตามวรรคแรก
กรณีดังต่อไปนี้ผู้ซื้อไม่มีสิทธิขอรับเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืน
(1) การขายโดยวิธีจํานองคิดไป หรือการขายทอดตลาดห้องชุดที่มีค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชําระเกินกว่าราคาสมควรขาย
(2) การขายในราคาที่ต่ํากว่าร้อยละ 50 ของราคาประเมินตามประกาศกรมบังคับคดี เรื่องนโยบายขายทอดตลาดทรัพย์สิน
กรณีหักส่วนได้ใช้แทนให้ถือวันที่ผู้ซื้อวางเงินค่าซื้อทรัพย์เพิ่มเป็นวันชําระเงินครบถ้วน หากไม่ต้องวางเงินเพิ่มให้ถือวันที่ครบกําหนดตามหมายแจ้งให้มารับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์
เมื่อหันกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือวรรคสี่แล้วแต่กรณี ให้ส่งสํานวนให้ นักบัญชีแสดงบัญชีรับ - จ่าย ต่อไป
ข้อ ๑๒ กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเกาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดแล้ว ต่อมาผู้ซื้อไม่ชําระ ราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือภายในระยะเวลาที่กําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคําสั่งริบเงินมัดจําทันทีในวันทําการ ถัดไปนับจากวันครบกําหนด และให้นําทรัพย์ ดังกล่าวออกทําการขายใหม่
ในการประกาศขายทอดตลาดใหม่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดเงื่อนไขในการวางเงินประกัน การเข้าสู่ราคาเป็นจํานวนเงินในอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่เคยมีผู้เสนอสูงสุด (หากมีเศษให้ปัดขึ้นเป็นเรือนหมื่น)หากเห็นสมควรกําหนดเงื่อนไขการวางเงินประกันการเข้าสู้ราคาสูงกว่าอัตราร้อยละ 5 ให้เป็นอธิบดีหรือ รองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณากําหนด
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทําการขายทอดตลาดทรัพย์ได้แค่เพียงบางส่วนให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทําบัญชีเพื่อจ่ายเงินได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าวให้เจ้าหนี้โดยกันเงินไว้สําหรับค่า ใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะมีในการบังคับคดีต่อไป
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากผู้ซื้อประสงค์ที่จะ ได้รับเงินคืน และผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณี มีคําสั่งให้กิน เงินให้ผู้ซื้อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อโดยเหลือไว้ร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อขาย
หากศาลมีคําสั่งถึงที่สุดให้ยกคําร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี 14. แจ้งให้ผู้ซื้อชําระราคาส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับแจ้ง
การขอขยายระยะเวลาตามวรรคสอง ให้ปฏิบัติตามข้อ 10.
ข้อ ๑๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
คําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
กัญญานุช สายทิพย์
(นางสาวกัญญานุช เอทิพย์)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,127 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 267/2551 เรื่อง มอบหมายให้ลงนามแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในใบรับเงิน | คําสั่งกรมบังคดี
ที่ 267/2551
เรื่อง มอบหมายให้ลงนามแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในใบรับเงิน
--------------------------
ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชี พ.ศ. 2520 ลักษณะ 1 หมวดที่ 4 บทที่ 2 ข้อ 83 กําหนดให้หัวหน้ากองหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ได้รับมอบหมาย ลงนามในใบรับเงินตามแบบ ล.47 ร่วมกับหัวหน้ากองคลังด้วย นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่ออํานวยความสะดวก รวดเร็ว และ เป็นประโยชน์แก่ประชาชน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้รับผิดชอบสํานวนคดีล้มละลาย จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี กองคลัง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รับเงินเป็นผู้ลงนามในใบรับเงินแทน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551
(ลงชื่อ) กัญญานุช สอทิพย์
(นางสาวกัญญานุช สยทิพย์)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,128 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 115/2551 เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการ และค่าใช้จ่ายในคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 115/2551
เรื่อง การสั่งจ่ายค่าพาหนะ ค่าป่วยการ และค่าใช้จ่ายในคดี
--------------------------
เพื่อให้การสั่งจ่ายเงินค่าพาหนะ ค่าป่วยการ และค่าใช้จ่ายในคดีให้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงาน รับวางทรัพย์ เจ้าพนักงาน ประเมินราคาทรัพย์และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของกรมบังคับคดีทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาคเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี 456/2549 คนที่ 20 ตุลาคม 2549 เรื่อง การสั่งจ่าย ค่าพาหนะ ค่ารายการ และค่าใช้จ่ายในคดี
ข้อ ๒ ค่าพาหนะและค่าป่วยการในการส่งหมายและเอกสารต่าง ๆ ในกรณีที่ เจ้าพนักงานเป็นผู้ส่ง
2.1 ในส่วนกลางให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคติว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการ ส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสาร
2.2 ในส่วนภูมิภาคให้จ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการตามบัญชีของศาลจังหวัดที่ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณีตั้งอยู่
ข้อ ๓ ค่าพาหนะและค่าป่วยการเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการยืด ขายทอดตลาดหรือออกไปปฏิบัติงานตามคําสั่งของศาล
3.1 ในส่วนกลางให้จ่ายค่าพาหนะตามที่จ่ายจริง ส่วนค่าป่วยการให้จ่าย เป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท เว้นแต่เป็นการดําเนินการในที่ทําการให้จ่ายเฉพาะค่าป่วยการ เป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท
ในกรณีที่มีการงดหรือเลื่อนการขายก่อนวันที่มีการขายทอดตลาด หรือก่อน ออกไปทําการขายทอดตลาดแล้วแต่กรณีมิให้จ่ายค่าป่วยการ
3.2 ในส่วนภูมิภาคให้จ่ายค่าพาหนะและค่าป่วยการตามบัญชีของศาลจังหวัด ที่สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขาแล้วแต่กรณีตั้งอยู่โดยอนุโลม เว้นแต่เป็นการดําเนินการ ในที่ทําการให้จ่ายเฉพาะค่าป่วยการเป็นราย สํานวนคนละ 50 บาท
ในกรณีที่มีการงดหรือเลื่อนการขายก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดหรือ ก่อนออกไปหาการขายทอดตลาดแล้วแต่กรณีมีให้จ่ายค่าป่วยการ
ข้อ ๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปศาลตามนัด เช่น นัดพร้อม นัดฟังคําสั่ง คําพิพากษา หรือการไปยื่นคําคู่ความเอกสาร ตรวจหรือคัดถ่ายสํานวนศาล ให้จ่ายค่าใช้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 50 บาทโดยไม่จ่ายค่าพาหนะ
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปดําเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนหรือ สืบพยานในศาล ให้จ่ายค่าใช้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 100 บาท โดยไม่จ่ายค่าพาหนะ เว้นแต่ กระบวนพิจารณาในศาลเสร็จเมื่อล่วงพ้นเวลาราชการตามปกติ ให้จ่ายค่าพาหนะตามที่จ่ายจริง โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดแจ้งเหตุดังกล่าวในรายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ ชัดเจน และให้ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน แล้วแต่กรณีกับ ดูแลการเบิกจ่ายดังกล่าว
ข้อ ๕ ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานในคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานผู้รับวางทรัพย์ เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์และเจ้าพนักงานอื่น ให้สั่งจ่ายในลักษณะเหมาจ่ายดังต่อไปนี้
5.1 การส่งหนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ ทางไปรษณีย์หรือการไปรับส่งเงินทาง ไปรษณีย์ ตามที่กรมบังคับคดีมีคําสั่งกําหนดไว้ให้จ่ายเป็นรายสํานวนละ 30 บาท หาก สํานวนคดีใดมีการส่งหนังสือหรือเอกสารหลายฉบับหรือรับส่งเงินหลายรายในคราวเดียวกัน ให้สั่งจ่ายครั้งเดียว
5.2 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่การเงินไปรับเงินในระหว่างการขายทอดตลาดไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ทําการหรือออกไปปฏิบัติงานในคดีนอกสถานที่ทําการให้จ่ายเป็นรายสํานวน คนละ 50 บาท
5.3 การทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินในคดีแพ่งให้จ่ายเป็นรายคดีๆ ละ คนละ 50 บาท
5.4 การทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินและการทําบัญชีแบ่งทรัพย์สินในคดี ล้มละลายให้จ่ายเป็นรายคดี ๆละ 100 บาท เว้นแต่กรณีทําบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินเพื่อ รายงานศาลขอปิดคดีไม่มีแบ่งทรัพย์สินให้จ่ายเป็นรายดดี ๆ ละ 50 บาท
5.5 การจัดทําบัญชีกิจการและทรัพย์สินแทนลูกหนี้ในคดีล้มละลายให้จ่าย ค่าทําบัญชีลูกหนี้รายละ 100 บาทเว้นแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ทําบัญชีเองให้สั่งจ่าย
5.6 ในส่วนภูมิภาค ในกรณีที่พนักงานเดินหมายร่วมไปทําการยึดหรือ ขายทอดตลาดนอกสถานที่ทําการ ให้จ่ายเป็นรายสํานวนคนละ 50 บาท
ข้อ ๖ ในกรณีที่จํานวนการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงาน แล้วแต่กรณี เห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะต้องมอบหมายให้เจ้าพนักงานไปปฏิบัติงานดังกล่าว เกินกว่า 1 คน ให้พิจารณาสั่งจ่ายเป็นรายคนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดดังกล่าวข้างต้น
ข้อ ๗ การเดินทางไปราชการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในศาลที่อยู่นอกจังหวัด ซึ่งเป็นที่ทําการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการจาก เงินในคดีล้มละลายตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิก ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการโดยอนุโลม ในกรณีที่เงินในคดีล้มละลายไม่มีหรือมีแต่ไม่ เพียงพอ ให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
การเบิกจ่ายนอกเหนือจากกรณีดังกล่าวข้างต้น ให้ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานักงานแล้วแต่กรณี เสนอความเห็นต่ออธิบดีหรือรองอธิบดี ผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาสั่ง
คําสั่งหรือบันทึกข้อความใดที่ขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคําสั่งนี้
ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มีนาคม 2551
กัญญานุช สอทิพย์
(นางสาวกัญญานุช สวทิพย์)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,129 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 20/2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อพิจารณาและ กำหนดวิธีการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 20/2551
เรื่อง แต่งตั้งคณะทํางานเพื่อพิจารณาและ
กําหนดวิธีการจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน
--------------------------
ด้วยสํานักงานบังคับคดีจังหวัดนนทบุรี ได้หารือปัญหาข้อขัดข้องในการจัดทําบัญชีแสดง รายการรับ - จ่ายเงินในชนวนเกี่ยวกับการจ่ายเงินท่าป่วยการ และ/หรือเงินค่าพาหนะ เงินค่าถ่ายเอกสาร และเงินหรือเงินทดรองจ่ายค่าป.ณ.
ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินงานเกี่ยวกับการจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินในสํานวนเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้นเป็นไปอย่างถูกต้อง จึงแต่งตั้งคณะทํางานเพื่อพิจารณาและกําหนดวิธีการจัดทําบัญชี แสดงรายการรับ - จ่ายเงินในสํานวนของสํานักงานบังคับคดีจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1. นางลางน้อย ปาลวัฒน์ ไชย รองอธิบดีกรมบังคับคดี (ฝ่ายบริหาร) ประธานคณะทํางาน
2. นายศิธร วรรณแสง ผู้ตรวจการบังคับคดี คณะทํางาน
3. หม่อมหลวงผกาพรรณ สันติกุญชร ผู้อํานวยการกองคลัง คณะทํางาน
4. นางสาวทันใจ ศรีวังพล ผู้อํานวยการกองอํานวณและเฉลี่ยทรัพย์ คณะทํางาน
5. นางสาวรัตนาวดี สมบูรณ์ นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการเงินและบัญชี 2 คณะทํางาน
6. นางวิไล เพชรประดับ นักวิชาการเงินและบัญชี 8 ว คณะทํางาน
7. นางสาว นทนา กล่องเลี้ยงชีพ นักวิชาการเงินและบัญชี 7 ว เลขานุการคณะทํางาน
8. นางสาวนาวรัตน์ โรจน์วิน นิติกร 5 ผูู้ช่วยเลขานุการคณะทํางาน
ทั้งนี้ ให้คณะทํางานดังกล่าวดําเนินการพิจารณาและกําหนดวิธีการจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ จ่ายเงินในสํานวนของสํานักงานบังคับคดีจังหวัดนนทบุรีให้แล้วเสร็จต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551
(ลงชื่อ) กัญญานุช สดทิพย์
(นางสาวกัญญานุช สดทิพย์)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,130 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 630/2548 เรื่อง การพิจารณาสั่งคำขอรับชำระหนี้ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 630/2548
เรื่อง การพิจารณาสั่งคําขอรับชําระหนี้
-------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ในการนับระยะเวลาที่เจ้าหนี้จะยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 90/26 และ มาตรา 91 สําหรับกรณีที่จะต้องเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันโฆษณาคําสั่งตั้งผู้ทําแผนหรือคําสั่งพิทักษ์ ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษานั้น ให้ถือวันที่ราชกิจจานุเบกษา ได้นําออกเผยแพร่สําหรับ สมาชิกและประชาชน เป็นวันโฆษณาคําสั่งตั้งผู้ทําแผนหรือคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
(ลงชื่อ) ไกรสร บารมีอวยชัย
(นายไกรสร บารมีอวยชัย)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,131 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 612/2548 เรื่อง การนำทรัพย์สินของลูกหนี้ขายในที่ประชุมเจ้าหนี้ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 612/2548
เรื่อง การนําทรัพย์สินของลูกหนี้ขายในที่ประชุมเจ้าหนี้
-------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนําทรัพย์สินของลูกหนี้ขายในที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 123 หรือมาตรา 145 ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์กระทําการขายในที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายเท่านั้น โดยกําหนดหัวข้อประชุม เงื่อนไขและ วิธีการขายให้แจ้งชัด แล้วแจ้งกําหนดนัด สถานที่ และหัวข้อประชุมให้เจ้าหนี้ทุกรายทราบตาม ระเบียบ ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามมิให้ดําเนินการขายทรัพย์สินของลูกหนี้ในที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้
อนึ่งคดีที่มีกําหนดนัดขายทรัพย์สินของลูกหนี้ในที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ไว้ก่อนที่คําสั่งนี้ มีผลใช้บังคับและยังไม่ถึงกําหนดนัด ให้ยกเลิกนัดเดิมและดําเนินการขายในที่ประชุมเจ้าหนี้ตามวิธีการดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ไกรสร บารมีอวยชัย
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,132 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 512 2550 เรื่อง การปฏิบัติราชการกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 512 2550
เรื่อง การปฏิบัติราชการกรมบังคับคดี
----------------------------
ด้วยกรมบังคับคดีมีนโยบายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และปรับเปลี่ยนระบบการลงชื่อมาปฏิบัติราชการในตอนเช้าและลงชื่อกลับในตอนเย็น มาใช้ระบบ เครื่องอ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์แทนการลงชื่อแทน จึงให้ยกเลิกการลงชื่อมาปฏิบัติราชการในตอนเช้าและ ลงชื่อกลับในตอนเย็นของเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีที่ปฏิบัติงานในส่วนกลาง พร้อมทั้งยกเลิกบัตรเจ้าหน้าที่ กรมบังคับคดีเดิม (บัตรพลาสติก) และมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีที่ปฏิบัติงานในส่วนกลางใช้บัตรเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี (อิเล็กทรอนิกส์) บันทึกเวลาการมาปฏิบัติราชการในตอนเช้าและกลับในตอนเย็น เว้นข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไป
ข้อ ๒ บัตรเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี กําหนดให้มี 2 รูปแบบ คือ
2.1 บัตรสีบานเย็น สําหรับข้าราชการ
2.2 บัตรสีบานเย็นมีแถบสีขาวด้านล่าง สําหรับพนักงานราชการ และลูกจ้าง
ประเภทอื่น ๆ ของกรมบังคับคดี
ข้อ ๓ บัตรเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี มี 2 ประเภท
3.1 บัตรเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี (อิเล็กทรอนิกส์) ให้ใช้เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เพื่อใช้ในการบันทึกเวลาแทนการลงชื่อมาปฏิบัติราชการในตอนเช้าและลงชื่อกลับในตอนเย็น
3.2 บัตรเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี (พลาสติก) สําหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานใน ส่วนภูมิภาค และหากภายหลังได้รับคําสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนกลาง ให้รีบดําเนินการขอมีบัตรเจ้าหน้าที่ กรมบังคับคดี (อิเล็กทรอนิกส์) โดยเร็ว
ข้อ ๔ เจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องติดบัตรคลอดเวลา เมื่ออยู่ในกรมบังคับคดี และขณะปฏิบัติงาน
ข้อ ๕ รูปถ่ายสําหรับจัดทําบัตรเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี กําหนดให้ข้าราชการระดับ 7 ลงมา พนักงานราชการ และลูกจ้างประเภทอื่นของกรมบังคับคดี แต่งเครื่องแบบปกติกาก สําหรับข้าราชการ ระดับ 8 ขึ้นไป กําหนดให้แต่งชุดสากล (สูทสีเข้ม เสื้อตัวในสีขาว)
5 1 ส่วนกลาง ให้ถ่ายรูปที่กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่ สํานักงานเลขานุการกรม
5.2 ส่วนภูมิภาค ให้จัดส่งรูปถ่ายที่ชัดเจน เป็นรูปสี (พื้นหลังสีขาว) และถ่ายไม่เกิน หกเดือนนับถึงวันยื่นคําขอมีบัตร ขนาด 2.5 คูณ 3 เซนติเมตร ครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตา
ข้อ ๖ ในกรณีบัตรสูญหายต้องรายงานผู้บังคับบัญชาทราบตามลําดับในทันทีที่สามารถ กระทําได้ และดําเนินการขอทําบัตรใหม่โดยเร็ว
ข้อ ๗ การยื่นคําขอทําบัตรใหม่ให้ชําระค่าธรรมเนียม ดังนี้
7.1 กรณีบัตรชํารุดฃ
- บัตรพลาสติก ค่าธรรมเนียม 50 บาท
- บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ค่าธรรมเนียม 100 บาท
7.2 กรณีเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ค่าธรรมเนียม 100 บาท
7.2 กรณีบัตรสูญหาย ค่าธรรมเนียม 200 บาท
ยกเว้นกรณีขอทําบัตรใหม่เนื่องจากได้รับการเลื่อนหรือเปลี่ยนตําแหน่ง และกรณีทําบัตรครั้งแรก ไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่รวมค่าอุปกรณ์แขวนบัตร จํานวน 50 บาท (การทําบัตรครั้งแรกไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมและค่าอุปกรณ์แขวนบัตร)
ข้อ ๘ ให้กองคลัง กรมบังคับคดี รับชําระค่าธรรมเนียมการทําบัตรใหม่ และค่าอุปกรณ์ แขวนบัตร ตามที่กําหนด
ข้อ ๙ บัตรเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีเป็นทรัพย์สินของทางราชการ เมื่อสิ้นสุดสภาพการเป็น เจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดี ต้องคืนบัตรโดยทันที
ข้อ ๑๐ ให้เลขานุการกรม เป็นผู้ควบคุมดูแลการออกบัตรให้เป็นไปตามคําสั่งนี้
ข้อ ๑๑ ผู้ใดนําบัตรของผู้อื่นไปลงเวลาแทนไม่ว่าเจ้าของบัตรจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ถูกดําเนินการทางวินัยทั้งผู้ลงเวลาแทนและเจ้าของบัตร
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
(ลงชื่อ) กัญญานุช สอทิพย์
(นางสาวกัญญานุช สอทิพย์)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,133 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 321/2550 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนกลาง | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 321/2550
เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนกลาง
-------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนกลางของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดี เป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้อง และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ แห่งกฎหมายล้มละลายอันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน จึงมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดี ปฏิบัติดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 10.1 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดี 445/2549 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีและภายในสํานวนกลาง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
10.1 การแบ่งทรัพย์สินให้กระทําทุกระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ศาล พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ถ้าไม่อาจกระทําการแบ่งทรัพย์สินได้ตามกําหนดเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานการขออนุญาตขยายเวลา แบ่งทรัพย์สินต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น จนถึงอธิบดีหรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย สําหรับส่วนภูมิภาค ให้รายงานของผู้อํานวยการ สํานักงานบังคับคดีส่วนภูมิภาค ก่อนกําหนดการรายงานขยายเวลาแบ่งทรัพย์สินตาม มาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ไม่น้อยกว่า 20 วัน ทุกครั้ง โดยในการ รายงานขอขยายเวลาแบ่งทรัพย์สินในแต่ละครั้ง ต้องแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการปฏิบัติงาน ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งนี้ ให้รวมถึงกรณีการดําเนินคดีและสวยที่สุด เป็นบุคคลธรรมดา ได้รับการปลดจากล้มละลาย ซึ่งอยู่ระหว่างรวบรวมทรัพย์สินและยังไม่อาจแบ่งทรัพย์สินด้วย
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อความใน ข้อ 13.4.1 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดี 445-2549 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสนามกลาง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
134.1 ถ้าปรากฏว่าบุคคลล้มละลายไทยในหลักเกณฑ์ประกอบและ ได้ ในทันทีที่พ้นกําหนดระยะเวลาตามมาตรา 81/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปสํานวนรายงานผู้อํานวยการกองเรือผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคแล้วแต่กรณี เพื่อขออนุญาตประกาศโฆษณาการปลดจากล้มละลาย ตามกฎหมาย
ในกรณีที่ปรากฏว่ายังมีกิจการและทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายกันอาจแบ่ง แต่เจ้าหนี้ได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ และจัดทําบัญชีแบ่งครั้งที่สุด แล้วรายงานทางดี สําหรับกรณี ไม่มีการและทรัพย์สินของบุคลานละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ ได้ ให้ดําเนินการจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย และรายงานศาลปิดคดีต่อไป
เมื่อได้แบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดหรือไม่มีทรัพย์สินแบ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้วเป็นเวลา 10 ปี และไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงาน ศาลสั่งยกเล็กการล้มละลายตามมาตรา 135 (4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เมื่อศาลมีคําสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว ให้จัดทําบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และรายงานผล การปฏิบัติงานให้ศาลทราบ
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2550
(ลงชื่อ) กัญญานุช สจทิพย์
นางสาวกัญญา สจทิพย์
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,134 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 40/2550 เรื่อง การบังคับคดีเกษตรกร | ค่าสั่งกรมบังคับ
ที่ 40/2550
เรื่อง การบังคับคดีเกษตรกร
--------------------------
ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 16 มกราคม 2550 เรื่อง การแก้ไขหนี้สินของเกษตรกร ได้กําหนดแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรโดยมีเนื้อหาบางประการเกี่ยวข้องกับการบังคับคดี นั้น
เพื่อให้แนวทางการปฏิบัติงานบังคับคดีสอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สมควร กําหนดแนวทางการบังคับคดีเฉพาะหนี้สินของเกษตรกร ดังนี้
คดีซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตร หรือหน่วยงาน ภายใต้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ประสงค์ที่จะงด การบังคับคดีโดยมีหนังสือแสดงความยินยอมของเกษตรกรลูกหนี้ตามคําพิพากษา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
มีคําสั่งอนุญาตตามระยะเวลาที่ขอ
กรณีสถาบันการเงินอื่นประสงค์ที่จะของดการบังคับคดี นอกจากจะต้องดําเนินการ ตามความในวรรคหนึ่งแล้ว จักต้องมีหนังสือรับรองการเป็นเกษตรกรจากเกษตร ตําบลหรือเกษตรอําเภอหรือ เกษตรจังหวัดแล้วแต่กรณี ประกอบการของการบังคับคดีด้วย
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550
(ลงชื่อ) กัญญานุช สอทิพย์
(นางสาวกัญญานุช สอทิพย์)
อธิบดีกรมบังคับดี | 5,135 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 37/2550 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวกรรมการน่าสงหรือรับเงินของกรมบังคับดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 37/2550
เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการน่าสงหรือรับเงินของกรมบังคับดี
-------------------------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 518/2547 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2547 เรื่อง ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการมาส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนําส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2550 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการ น่าส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 518/2547 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2547 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการ นําส่งหรือรักษาเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. ผู้อํานวยการกองคลัง (หม่อมหลวงผกาพรรณ สันติกุญชร) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายบัญชีเงินในคดีล้มละลายและวางทรัพย์ (นางวิไล เพชรประดับฟ้า) เป็นกรรมการ
3. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางผุสดี วจบ) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงิน ซึ่งไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1. หัวหน้ากลุ่มงานบัญชีและงบประมาณ (นางสาวรัตนา วิมุกตานนท์) เป็นกรรมการ
2. หัวหน้าฝ่ายพัสดุ (นางสาวมาลี วลัญไชย) เป็นกรรมการ
3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการนําส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายบอกที่ตั้งสํานักงานคือ
1. หัวหน้าฝ่ายการเงิน (นางผุสดี ทั่วจบ) เป็นกรรมการ
2. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล) เป็นกรรมการ
3. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางประชุมพร ทองนิล) เป็นกรรมการ
4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 (นางทศพร วิสิทธิ์) เป็นกรรมการ
5. นักวิชาการเงินและบัญชี 3 (นางสาวสนทอง ก๊งไฉ่) เป็นกรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงินหรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใดซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือหัวหน้า ฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคน ไปช่วยควบคุมรักษา ความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเก็บรักษาเงิน และการนําเงิน ส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2550
(ลงชื่อ) กัญญานุช สอทิพย์
(นางสาวกัญญานุช สอทิพย์)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,136 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย
ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2552
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 8/2552 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“เงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย” หมายความว่า เงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท ตามมาตรา 23 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 สําหรับการประกันภัยทุกประเภท ยกเว้นการประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางที่มีระยะเวลาและความคุ้มครองน้อยกว่าหนึ่งเดือน และการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
“รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
“องค์กรระหว่างประเทศ” หมายความว่า
(1) World Bank
(2) Asian Development Bank (ADB)
(3) International Finance Corporation (IFC)
(4) องค์กร หรือนิติบุคคลระหว่างประเทศอื่นตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนดตามประกาศว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย
“หุ้นกู้” หมายความรวมถึง หุ้นกู้แปลงสภาพแต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้ที่กําหนดสิทธิของผู้ถือให้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
“หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ภายใต้บังคับวรรคสอง บริษัทต้องวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนเป็นมูลค่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยตามมาตรา 23 (1) ที่ปรากฏในงบการเงินรายไตรมาสของไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 3 ของทุกปี เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทยังไม่ได้จัดทํางบการเงินรายไตรมาส ให้บริษัทใช้รายงานประจําเดือนสําหรับเดือนที่สาม และเดือนที่เก้า ตามลําดับแทนไปพลางก่อน
การวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยสําหรับปี 2553 ปี 2554 และปี 2555 ที่วางไว้กับนายทะเบียนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ภายในเดือนมกราคม 2553 ให้บริษัทวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยเป็นจํานวนร้อยละสิบห้าของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ปรากฏในรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท ประจําเดือน กันยายน ปี 2552
(2) ภายในเดือนมิถุนายน 2554 ให้บริษัทวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยเป็นจํานวนร้อยละยี่สิบของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย
(3) ภายในเดือนมิถุนายน 2555 เป็นต้นไป ให้บริษัทวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยเป็นจํานวนร้อยละยี่สิบห้าของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย
ข้อ ๔ ทรัพย์สินที่จะนํามาวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนต้องเป็นเงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทยที่จําหน่ายในราชอาณาจักร หรือเป็นทรัพย์สินบางประเภทที่บริษัทลงทุนในประเทศไทย ตามประกาศว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ดังต่อไปนี้
(1) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ ที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันการชําระเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งจํานวน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลัง หรือตราสารหนี้อื่นที่ออกโดยกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) บัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือสมุดคู่ฝากประเภทฝากประจําที่มีระยะเวลาฝากเงินตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปซึ่งธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและประกอบกิจการภายในราชอาณาจักรหรือธนาคารในประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่าออกให้กับบริษัทเพื่อเป็นหลักฐานในการฝากเงินของบริษัท
(3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันการชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย
(4) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่าซึ่งออกหรือค้ําประกันโดยองค์กรระหว่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกและเสนอขายในประเทศไทย
(5) พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่าซึ่งออกโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกและเสนอขายในประเทศไทย
(6) หุ้นกู้ของบริษัทจํากัด ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่า
(7) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่รัฐวิสาหกิจ ธนาคารในประเทศ หรือบริษัทจํากัดเป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออก โดยธนาคารหรือบริษัทจํากัดนั้นต้องได้รับการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่า
(8) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดเป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออก และมีรัฐวิสาหกิจ ธนาคารในประเทศ บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทจํากัด เป็นผู้รับรองหรืออาวัลการใช้เงินทั้งจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ย โดยธนาคาร บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทจํากัดนั้นต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่า
(9) หุ้นที่มีชื่ออยู่ในกลุ่ม SET 50 Index หรือหน่วยลงทุน ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (2) (4) (5) (6) (7) และ (8) ต้องกระทําโดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับหรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๕ พันธบัตรรัฐบาลไทย และทรัพย์สินตามข้อ 4 ให้วางได้ตามราคาประเมินของแต่ละประเภท ตามประกาศว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
ข้อ ๖ ภายใต้บังคับข้อ 5 ทรัพย์สินตามข้อ 4 ให้วางได้ในอัตราดังนี้
(1) เงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทยและทรัพย์สินตามข้อ 4 (1) และข้อ 4 (2) ให้วางได้ไม่จํากัดจํานวน
(2) ทรัพย์สินตามข้อ 4 (3) ให้วางได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้ทั้งสิ้น
(3) ทรัพย์สินตามข้อ 4 (4) และข้อ 4 (5) ให้วางได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้ทั้งสิ้น
(4) ทรัพย์สินตามข้อ 4 (6) ให้วางได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้ทั้งสิ้น
(5) ทรัพย์สินตามข้อ 4 (7) และข้อ 4 (8) ให้วางได้รวมกันไม่เกินร้อยละห้าสิบของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้ทั้งสิ้น
(6) ทรัพย์สินตามข้อ 4 (9) ให้วางได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้ทั้งสิ้น
ข้อ ๗ ในกรณีที่นายทะเบียนตรวจพบว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่วางไว้กับนายทะเบียนลดต่ําลง ให้นายทะเบียนแจ้งให้บริษัทนําทรัพย์สินมาวางเพิ่มจนครบจํานวนที่กําหนดภายในสองเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในกรณีที่นายทะเบียนตรวจพบว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่วางไว้กับนายทะเบียนเพิ่มขึ้น ให้นายทะเบียนคืนทรัพย์สินส่วนที่เกินให้แก่บริษัท เมื่อบริษัทร้องขอ
ข้อ ๘ ในกรณีที่หุ้นหรือหน่วยลงทุนตามข้อ 4 (9) ที่บริษัทนํามาวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนอยู่ระหว่างการห้ามซื้อหรือขายเป็นการชั่วคราว (Suspension) เป็นระยะเวลาเกินกว่าสองเดือน หรือไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาเกินกว่าหกเดือน ให้ถือว่าหุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นไม่สามารถวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนได้ต่อไป และให้นําความในข้อ 7 วรรคแรกมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๙ ทรัพย์สินที่บริษัทนํามาวางเป็นเงินสํารองตามประกาศนี้ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาหรือมีอยู่โดยไม่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ประกาศ หรือคําสั่งที่ออกหรือกําหนดตามความในกฎหมายดังกล่าว และต้องปราศจากภาระผูกพัน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยและการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน
ข้อ ๑๐ บริษัทต้องนําทรัพย์สินตามข้อ 4 มาวางไว้กับนายทะเบียนให้ถูกต้องภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาที่บริษัทต้องส่งรายงานเกี่ยวกับงบการเงินรายไตรมาสตามข้อ 3 วรรคแรก ของไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 3 ของทุกปี ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
ข้อ ๑๑ การวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,137 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2561
--------------------------------------------------
เพื่อให้ผู้เอาประกันภัย ประชาชน และผู้มีส่วนได้เสีย มีข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจผลการดําเนินงาน ฐานะการเงิน และความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย ที่ชัดเจนเพียงพอ ครบถ้วนตามระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจทําประกันภัย และทําให้มีปฏิสัมพันธ์กับบริษัทประกันวินาศภัย อันจะเป็นการยกระดับการดําเนินธุรกิจของบริษัทประกันวินาศภัยให้มีความโปร่งใสได้รับความเชื่อมั่น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 12 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 และมาตรา 50/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“ข้อมูลเชิงปริมาณ” หมายความว่า การแสดงข้อมูลในลักษณะการอธิบายรายละเอียดให้เห็นถึงจํานวนหรือปริมาณของข้อมูลดังกล่าว
“ข้อมูลเชิงคุณภาพ” หมายความว่า การแสดงข้อมูลในลักษณะการอธิบายรายละเอียดโดยการบรรยาย ให้เห็นถึงคุณภาพหรือวิธีการของข้อมูลดังกล่าว
หมวด ๑ บททั่วไป
----------------------------------
ข้อ ๕ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพที่แสดงให้เห็นถึงข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน และผลการดําเนินงานของบริษัท ที่ครอบคลุมถึงลักษณะการประกอบธุรกิจการกํากับดูแลและควบคุมกิจการ การบริหารความเสี่ยง การลงทุน การวิเคราะห์ผล การดําเนินงานและงบการเงิน ตามข้อมูลที่กําหนดให้บริษัทเปิดเผยในหมวด 2 ข้อมูลที่บริษัทต้องเปิดเผย ทั้งนี้ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลทั่วไปที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของบริษัท ตามแบบ รายการ เงื่อนไขระยะเวลา และรายละเอียดตามที่นายทะเบียนกําหนด และบริษัทต้องรับรองความถูกต้องของข้อมูล ดังกล่าวด้วย
ข้อ ๖ ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยต้องมีความน่าเชื่อถือ มีความชัดเจน ดํารงอยู่ตลอดเวลาทําให้สามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างบริษัทที่ประกอบธุรกิจภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน และแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการดําเนินธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทต้องมีการทบทวนข้อมูลที่เปิดเผยให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และต้องดําเนินการปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องตามความเป็นจริงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูลดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ
หมวด ๑ ข้อมูลที่บริษัทต้องเปิดเผย
----------------------------------
ข้อ ๗ บริษัทต้องเปิดเผยประวัติของบริษัท นโยบาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจตามที่กําหนดไว้ รวมถึงแสดงข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการประกอบธุรกิจ รายละเอียดลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการที่สําคัญ ช่องทางการติดต่อกับบริษัทวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการเรียกร้อง พิจารณา และชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
ข้อ ๘ บริษัทต้องเปิดเผยกรอบการกํากับดูแลกิจการที่ดี และกระบวนการควบคุมภายในของบริษัท รวมถึงรายละเอียดในการดําเนินการตามกรอบและกระบวนการดังกล่าว
ข้อ ๙ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงองค์กรของบริษัท (enterprise risk management : ERM) และการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (asset liability management : ALM)
ข้อ ๑๐ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับความเสี่ยงจากการรับประกันภัยที่สามารถคาดการณ์ได้และมีนัยสําคัญอันอาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทการบริหารจัดการประกันภัยต่อ ความเชื่อมโยงของเงินกองทุนและความเสี่ยงภัย และการกระจุกตัวของภัย
ข้อ ๑๑ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับมูลค่า วิธีการและสมมติฐานในการประเมินหนี้สินจากสัญญาประกันภัย
ข้อ ๑๒ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับนโยบายวัตถุประสงค์ และกระบวนการ รวมถึงประเภทการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทโดยบริษัทต้องแสดงสมมติฐานวิธีการประเมินมูลค่าที่ใช้ในการจัดทํารายงานทางการเงินโดยทั่วไปและรายงานความเพียงพอของเงินกองทุน
ข้อ ๑๓ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัท กําไรจากการรับประกันภัย กําไรจากการลงทุน สถิติการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย และความเพียงพอของเบี้ยประกันภัย รวมถึงผลการวิเคราะห์และอัตราส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๔ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับความเพียงพอของเงินกองทุน นโยบาย วัตถุประสงค์ และกระบวนการในการบริหารเงินกองทุนของบริษัท รวมถึงการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน
ข้อ ๑๕ บริษัทต้องเปิดเผยงบการเงิน พร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงิน ดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
(2) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฏข้อมูลอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่บริษัทต้องเปิดเผยตามประกาศนี้ซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทําให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในการรับทราบข้อมูล หรือเป็นไปตามมาตรฐานสากลนายทะเบียนอาจกําหนดให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวด้วยก็ได้
หมวด ๓ วิธีการเปิดเผยข้อมูล
---------------------------------
ข้อ ๑๗ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้
(1) ช่องทางเว็บไซต์ (website) ของบริษัท
(2) ช่องทางอื่น หรือรูปแบบอื่นตามที่นายทะเบียนกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,138 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2561 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทประกันชีวิต
พ.ศ. 2561
-------------------------------------------
เพื่อให้ผู้เอาประกันภัย ประชาชน และผู้มีส่วนได้เสีย มีข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจผลการดําเนินงาน ฐานะการเงิน และความเสี่ยงของบริษัทประกันชีวิต ที่ชัดเจนเพียงพอ ครบถ้วน ตามระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจทําประกันภัย และทําให้มีปฏิสัมพันธ์กับบริษัทประกันชีวิตอันจะเป็นการยกระดับการดําเนินธุรกิจของบริษัทประกันชีวิตให้มีความโปร่งใส ได้รับความเชื่อมั่นและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 12 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 และมาตรา 46/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“ข้อมูลเชิงปริมาณ” หมายความว่า การแสดงข้อมูลในลักษณะการอธิบายรายละเอียดให้เห็นถึงจํานวนหรือปริมาณของข้อมูลดังกล่าว
“ข้อมูลเชิงคุณภาพ” หมายความว่า การแสดงข้อมูลในลักษณะการอธิบายรายละเอียดโดยการบรรยายให้เห็นถึงคุณภาพหรือวิธีการของข้อมูลดังกล่าว
หมวด ๑ บททั่วไป
--------------------------
ข้อ ๕ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพที่แสดงให้เห็นถึงข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน และผลการดําเนินงานของบริษัท ที่ครอบคลุมถึงลักษณะการประกอบธุรกิจการกํากับดูแลและควบคุมกิจการ การบริหารความเสี่ยง การลงทุน การวิเคราะห์ผล การดําเนินงานและงบการเงิน ตามข้อมูลที่กําหนดให้บริษัทเปิดเผยในหมวด 2 ข้อมูลที่บริษัทต้องเปิดเผย ทั้งนี้ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลทั่วไปที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของบริษัท ตามแบบ รายการ เงื่อนไข ระยะเวลา และรายละเอียดตามที่นายทะเบียนกําหนด และบริษัทต้องรับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวด้วย
ข้อ ๖ ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยต้องมีความน่าเชื่อถือ มีความชัดเจน ดํารงอยู่ตลอดเวลาทําให้สามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างบริษัทที่ประกอบธุรกิจภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน และแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการดําเนินธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทต้องมีการทบทวนข้อมูลที่เปิดเผยให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และต้องดําเนินการปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องตามความเป็นจริงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูลดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ
หมวด ๒ ข้อมูลที่บริษัทต้องเปิดเผย
-------------------------------
ข้อ ๗ บริษัทต้องเปิดเผยประวัติของบริษัท นโยบาย วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจตามที่กําหนดไว้ รวมถึงแสดงข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการประกอบธุรกิจ รายละเอียดลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการที่สําคัญ ช่องทางการติดต่อกับบริษัท วิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการเรียกร้อง พิจารณา และชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต
ข้อ ๘ บริษัทต้องเปิดเผยกรอบการกํากับดูแลกิจการที่ดี และกระบวนการควบคุมภายในของบริษัท รวมถึงรายละเอียดในการดําเนินการตามกรอบและกระบวนการดังกล่าว
ข้อ ๙ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงองค์กรของบริษัท (enterprise risk management : ERM) และการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (asset liability management : ALM)
ข้อ ๑๐ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับความเสี่ยงจากการรับประกันภัยที่สามารถคาดการณ์ได้และมีนัยสําคัญอันอาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทการบริหารจัดการประกันภัยต่อ ความเชื่อมโยงของเงินกองทุนและความเสี่ยงภัย และการกระจุกตัวของภัย
ข้อ ๑๑ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับมูลค่า วิธีการและสมมติฐานในการประเมินหนี้สินจากสัญญาประกันภัย
ข้อ ๑๒ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับนโยบายวัตถุประสงค์ และกระบวนการ รวมถึงประเภทการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทโดยบริษัทต้องแสดงสมมติฐานวิธีการประเมินมูลค่าที่ใช้ในการจัดทํารายงานทางการเงินโดยทั่วไปและรายงานความเพียงพอของเงินกองทุน
ข้อ ๑๓ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณ 6และข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับผลการดําเนินงานของบริษัท กําไรจากการรับประกันภัย กําไรจากการลงทุน สถิติการชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตและความเพียงพอของเบี้ยประกันภัย รวมถึงผลการวิเคราะห์และอัตราส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๔ บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับความเพียงพอของเงินกองทุน นโยบาย วัตถุประสงค์ และกระบวนการในการบริหารเงินกองทุนของบริษัท รวมถึงการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน
ข้อ ๑๕ บริษัทต้องเปิดเผยงบการเงิน พร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงิน ดังต่อไปนี้
(1) งบการเงินสําหรับรอบปีปฏิทินที่ล่วงมาที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว
(2) งบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ปรากฏข้อมูลอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่บริษัทต้องเปิดเผยตามประกาศนี้ซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทําให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในการรับทราบข้อมูล หรือเป็นไปตามมาตรฐานสากลนายทะเบียนอาจกําหนดให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวด้วยก็ได้
หมวด ๓ วิธีการเปิดเผยข้อมูล
----------------------------
ข้อ ๑๗ ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้
(1) ช่องทางเว็บไซต์ (website) ของบริษัท
(2) ช่องทางอื่น หรือรูปแบบอื่นตามที่นายทะเบียนกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ประสงค์ พูนธเนศ
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,139 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเรียกเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืน การงดและลดเงินเพิ่มของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย พ.ศ. 2560 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเรียกเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืน การงดและลดเงินเพิ่ม
ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
พ.ศ. 2560
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 26 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และมาตรา 3 (3) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ในการเรียกเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืน การงดและลดเงินเพิ่ม ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
“ผู้ต้องชดใช้เงิน” หมายความว่า เจ้าของรถหรือบริษัทผู้รับประกันภัยรถซึ่งอยู่ใต้บังคับของคําสั่งทางปกครองให้ชําระเงินคืนกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
“คําสั่ง” หมายความว่า คําสั่งทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข้อ ๔ ให้เลขาธิการรักษาการให้เป็นไปตามประกาศนี้
ข้อ ๕ เมื่อนายทะเบียนได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย ให้นายทะเบียนมีคําสั่งเรียกเงินตามจํานวนที่ได้จ่ายไปคืนจากเจ้าของรถหรือบริษัทแล้วแต่กรณี พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจํานวนค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายจากกองทุน ส่งเข้าสมทบกองทุน และดําเนินการอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง หรือตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรการบังคับทางปกครอง
ข้อ ๖ เมื่อผู้ต้องชดใช้เงินได้แสดงหลักฐานเป็นที่แน่ชัดในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้งดเงินเพิ่มตามข้อ 5 ได้
(1) กรณีเจ้าของรถที่กรมธรรม์ประกันภัยหมดอายุแต่ยังไม่เกินสามสิบวัน โดยเจ้าของรถไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการทําประกันภัย เช่น กรณีรถที่ติดสัญญาเช่าซื้อและเจ้าของรถได้มีการชําระค่าเบี้ยประกันภัยพร้อมกับการเสียภาษีรถให้กับผู้ให้เช่าซื้อไว้ก่อนสิ้นสุดสัญญาประกันภัยแล้ว เป็นต้น หรือกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถจัดทําประกันภัยได้ เช่น กรณีอุทกภัยใหญ่เมื่อปี 2554 ที่บริษัทในท้องถิ่นต้องปิดดําเนินการชั่วคราวเพราะเหตุอุทกภัยดังกล่าว เป็นต้น
(2) กรณีความเสียหายเกิดแก่ผู้ประสบภัยเพราะเหตุตามมาตรา 23 (4) และเจ้าของรถไม่ทราบถึงเหตุนั้นโดยสุจริต
(3) กรณีผู้ต้องชดใช้เงินเป็นผู้มีรายได้น้อย และได้ลงทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐแล้ว
ข้อ ๗ ในกรณีผู้ต้องชดใช้เงินที่เป็นเจ้าของรถมีความประสงค์ขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นเนื่องจากไม่มีความสามารถชําระหนี้ครบถ้วนทั้งหมดในคราวเดียวได้ ให้ยื่นแสดงความจํานงเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้น ให้เป็นไปตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่เลขาธิการกําหนด
ในกรณีที่ผู้ต้องชดใช้เงินที่เป็นเจ้าของรถดําเนินการผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในวรรคสอง ให้ดําเนินการตามระเบียบสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ข้อ ๘ เมื่อนายทะเบียนได้ดําเนินการเรียกเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืน พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของเงินดังกล่าวจากผู้ต้องชดใช้เงินจนถึงที่สุดแล้ว ให้เสนอขอยุติการดําเนินการจากเลขาธิการ
กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าดําเนินการเรียกเงินคืนจนถึงที่สุดแล้ว
(1) กองทุนได้รับเงินตามจํานวนที่ได้จ่ายไปคืน พร้อมเงินเพิ่มครบถ้วน
(2) กรณีไม่สามารถติดตามตัวบุคคลที่ต้องรับผิดตามกฎหมายได้ หรือกรณีได้รับอนุมัติให้จําหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญตามระเบียบคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการเบิกจ่าย การเก็บรักษา การจัดการกองทุน และค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สมชัย สัจจพงษ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,140 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง แนวทางการเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง แนวทางการเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นําเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการ
สําหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox)
----------------------------------------
ปัจจุบันโลกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีครั้งสําคัญจนได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและกิจกรรมของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น รูปแบบการดําเนินชีวิตสังคมความเป็นอยู่ การปกครอง และเศรษฐกิจ โดยการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลนั้นดําเนินไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคการผลิต ภาคการบริการ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศก็มีการเตรียมพร้อมรับมือกับเรื่องดังกล่าว สําหรับประเทศไทยเองได้มีการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยได้กําหนดแผนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการผลักดันให้นําเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้เป็นเครื่องมือสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางความคิดในทุกภาคส่วน
ธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจหนึ่งจะต้องเผชิญกับกระแสของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจ แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงรูปแบบใหม่ในธุรกิจประกันภัยขึ้นได้
สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการยกระดับการกํากับและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อม (ecosystem) ที่เหมาะสมต่อการดําเนินธุรกิจประกันภัยในยุคดิจิทัล เพื่อให้บริษัทประกันภัยและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังคงรักษาระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้จึงจัดทําโครงการการทดสอบนวัตกรรมที่นําเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสําหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) เพื่อให้ภาคธุรกิจประกันภัยสามารถทดสอบนวัตกรรม โดยการให้บริการแก่ผู้บริโภคจริง ภายในสภาพแวดล้อมและการให้บริการที่จํากัด ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การกํากับดูแลที่พิจารณากําหนดหรือแก้ไขปรับปรุงให้ยืดหยุ่นตามความจําเป็น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 20 (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 เลขาธิการจึงออกประกาศแนวทางการเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นําเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสําหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) ตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,141 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
--------------------------------
ด้วยสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยเป็นการปรับเปลี่ยนสถานะจากกรมการประกันภัย ซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงพาณิชย์ มาเป็นสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่ใช่ส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ และมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 และสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้กําหนดตราสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมสีน้ําเงินสองรูปซ้อนกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีรูปประภาคารสีทองตั้งอยู่ตรงกลาง เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในหนังสือต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้มีการประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจึงออกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ โดยมีรายละเอียดของตราสัญลักษณ์ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,142 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit – Linked life Policy) และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ พ.ศ. 2558 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ
และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง หลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Unit – Linked life Policy) และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
พ.ศ. 2558
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 และข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit – Linked Life Policy) และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
“ตัวแทนประกันชีวิต” หมายความว่า ตัวแทนประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
“นายหน้าประกันชีวิต” หมายความว่า นายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
หมวด ๑ หลักสูตรการอบรม
-----------------------------------
ส่วน ๑ หลักสูตรการอบรมความรู้ของตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต
เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
-------------------------------
ข้อ ๔ ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ดังต่อไปนี้
(1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกองทุนรวมและหน่วยลงทุน อย่างน้อยจํานวนหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที โดยมีรายละเอียดเนื้อหาที่ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) ความรู้เกี่ยวกับหลักทรัพย์
(ข) ประเภทของกองทุนรวม
(ค) ประโยชน์ของกองทุนรวม
(ง) ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวม
(จ) การเปรียบเทียบผลการดําเนินงานของกองทุนรวม
(ฉ) หลักในการแนะนํากองทุนรวมให้เหมาะสมกับลักษณะความเสี่ยงของลูกค้า
(2) ความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน อย่างน้อยจํานวนสามชั่วโมง โดยมีรายละเอียดเนื้อหาที่ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) พัฒนาการ รูปแบบ และลักษณะความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบต่าง ๆ
(ข) โครงสร้างและส่วนประกอบของเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
(ค) ความแตกต่างในด้านต่าง ๆ ของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
(ง) ความสําคัญและประโยชน์ของการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(จ) โครงสร้างกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน คําศัพท์หรือคํานิยามที่เกี่ยวข้อง
(ฉ) รูปแบบความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(ช) การคํานวณเงินผลประโยชน์ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน พร้อมหลักการและเหตุผลในการคํานวณเงินผลประโยชน์ดังกล่าว
(3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย อย่างน้อยจํานวนหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที โดยมีรายละเอียดเนื้อหาที่ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนประกันชีวิต และนายหน้าประกันชีวิต
(ข) การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิต และนายหน้าประกันชีวิต
ส่วน ๒ หลักสูตรการอบรมความรู้ของตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต
เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
---------------------------------------
ข้อ ๕ ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ดังต่อไปนี้
(1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการลงทุน อย่างน้อยจํานวนหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที โดยมีรายละเอียดเนื้อหาที่ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) ความรู้เกี่ยวกับตลาดการเงินและการลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทต่าง ๆ
(ข) ผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารทางการเงิน
(ค) ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวมและการเปรียบเทียบผลดําเนินงานของกองทุนรวม
(2) ความรู้เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ อย่างน้อยจํานวนสามชั่วโมง โดยมีรายละเอียดเนื้อหาที่ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) พัฒนาการ รูปแบบ และลักษณะความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบต่าง ๆ
(ข) โครงสร้างและส่วนประกอบของเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
(ค) ความแตกต่างในด้านต่าง ๆ ของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบพื้นฐาน กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
(ง) ความสําคัญและประโยชน์ของการทํากรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
(จ) โครงสร้างกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ คําศัพท์หรือคํานิยามที่เกี่ยวข้อง
(ฉ) รูปแบบความคุ้มครอง และการจ่ายผลประโยชน์ของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
(ช) การคํานวณเงินผลประโยชน์ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ พร้อมหลักการและเหตุผลในการคํานวณเงินผลประโยชน์ดังกล่าว
(3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย อย่างน้อยจํานวนหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที โดยมีรายละเอียดเนื้อหาที่ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(ก) กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนประกันชีวิต และนายหน้าประกันชีวิต
(ข) การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตของตัวแทนประกันชีวิต และนายหน้าประกันชีวิต
หมวด ๒ ผู้จัดอบรม และการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดอบรม
-----------------------------
ข้อ ๖ ผู้จัดอบรมหลักสูตรตามข้อ 4 หรือข้อ 5 ให้กระทําได้โดยสํานักงาน หรือบริษัทที่ได้รับความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ และอัตราเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว แล้วแต่กรณี จากนายทะเบียนแล้วเท่านั้น เว้นแต่เป็นสถาบันหรือองค์กรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๗ บริษัทที่ประสงค์จะจัดอบรมหลักสูตรตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี ต้องยื่นขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน โดยจัดทําแผนการจัดอบรมประจําปี และรายละเอียดหลักสูตร จัดส่งให้สํานักงานพิจารณาก่อนการจัดอบรมไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในการให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะกําหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
ในกรณีที่สํานักงานมิได้มีหนังสือทักท้วงไปยังบริษัทภายในสิบห้าวันทําการ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารดังกล่าวครบถ้วน ให้ถือว่าสํานักงานได้ให้ความเห็นชอบให้บริษัทจัดอบรมหลักสูตรตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณีได้
ข้อ ๘ สถาบันหรือองค์กรที่ประสงค์จะเป็นผู้จัดอบรมหลักสูตรตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี ต้องยื่นขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดอบรมต่อสํานักงาน พร้อมจัดทําแผนการจัดอบรมในปีที่ขอรับความเห็นชอบ และรายละเอียดหลักสูตร โดยจัดส่งให้สํานักงานพิจารณาก่อนการจัดอบรมไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ทั้งนี้ สถาบันหรือองค์กรดังกล่าวจะจัดอบรมหลักสูตรตามประกาศนี้ไม่ได้จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และในการให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะกําหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
สถาบันหรือองค์กรตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นสถาบันหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์การจดทะเบียนประกอบธุรกิจจัดให้มีการศึกษาอบรมด้านการประกันภัย เพื่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัยและวิชาชีพประกันภัยที่ชัดเจน และมีการดําเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากรในธุรกิจประกันภัยมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าสี่ปี
(2) มีจํานวนวิทยากรที่มีคุณสมบัติตามประกาศนี้อย่างเพียงพอ
(3) มีข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าหลักสูตรการอบรม การสัมมนาเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัย การพัฒนาบุคลากรประกันภัย ที่เคยจัดอบรมสัมมนามาแล้วได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับจากภาคธุรกิจประกันภัย สถาบันวิชาการ หรือสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
(4) มีการจัดสถานที่จัดอบรมที่เหมาะสม
สําหรับการจัดอบรมในปีถัดจากปีที่ได้รับความเห็นชอบเป็นต้นไป สถาบันหรือองค์กรตามวรรคหนึ่ง ต้องยื่นขอรับความเห็นชอบในการจัดอบรมต่อสํานักงาน โดยจัดทําแผนการจัดอบรมประจําปี และรายละเอียดหลักสูตร จัดส่งให้สํานักงานพิจารณาก่อนการจัดอบรมไม่น้อยกว่าสามสิบวันในการ ให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะกําหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
ในกรณีที่สํานักงานมิได้มีหนังสือทักท้วงไปยังสถาบันหรือองค์กรดังกล่าวภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารดังกล่าวครบถ้วน ให้ถือว่าสํานักงานได้ให้ความเห็นชอบการจัดอบรมประจําปีนั้นแล้ว
ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัท สถาบันหรือองค์กรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ มีการแก้ไข ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงแผนการจัดอบรมประจําปี หรือรายละเอียดหลักสูตร ต้องจัดส่งให้สํานักงานพิจารณาก่อนการจัดอบรมครั้งที่มีการแก้ไข ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวัน หากสํานักงานมิได้มีหนังสือทักท้วงไปหน่วยงานการจัดอบรมภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารดังกล่าวครบถ้วน ให้ถือว่าสํานักงานได้ให้ความเห็นชอบ
ข้อ ๑๐ การจัดอบรมที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ไม่ถือว่าเป็นการอบรมตามประกาศนี้
หมวด ๓ การจัดอบรม
-------------------------------
ข้อ ๑๑ ในการจัดอบรม บริษัท สถาบันหรือองค์กร ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ประกาศกําหนดการรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมในที่ที่เปิดเผยหรือผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ช่องทางต่าง ๆ หรือเว็บไซต์ของบริษัท สถาบันหรือองค์กรผู้จัดอบรม
(2) รับสมัครการอบรมโดยให้ผู้สมัครเข้ารับการอบรมกรอกใบสมัครพร้อมระบุหลักสูตร พร้อมยื่นสําเนาใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิต แล้วแต่กรณี และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน
(3) ประกาศรายชื่อตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต ผู้มีสิทธิเข้ารับการอบรมในที่เปิดเผยหรือในเว็บไซต์ของบริษัท สถาบันหรือองค์กรผู้จัดอบรม ก่อนทําการอบรมอย่างน้อยสามวัน
(4) ส่งข้อมูลผู้สมัครเข้ารับการอบรมทั้งหมดก่อนทําการอบรมอย่างน้อยหนึ่งวัน และข้อมูลผู้ผ่านการอบรมทั้งหมดภายในเจ็ดวันนับแต่สิ้นสุดวันอบรมให้สํานักงานทางระบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Private Network : VPN) ตามแบบที่สํานักงานกําหนด
(5) บริษัท สถาบันหรือองค์กรผู้จัดอบรม ต้องดําเนินการอบรมตามหลักสูตรการอบรมตามข้อ 4 หรือข้อ 5 ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน แล้วแต่กรณี และกํากับควบคุมให้ผู้เข้ารับการอบรม อบรมตามวัน เวลา และสถานที่ที่กําหนด โดยจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมลงลายมือชื่อ ในใบลงทะเบียนการอบรมสองครั้งต่อวัน ครั้งแรกสําหรับการอบรมช่วงเช้า ครั้งที่สองสําหรับการอบรมช่วงบ่าย และต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง หากผู้เข้ารับการอบรมเข้ารับการอบรมช้ากว่ากําหนดเกินกว่าสามสิบนาที ให้บุคคลดังกล่าวไม่มีสิทธิเข้าห้องอบรม
(6) วิทยากรที่อบรมต้องเป็นวิทยากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามรายชื่อและหัวข้อการอบรมที่ระบุไว้ในแผนการจัดอบรมประจําปี
(7) ต้องจัดให้มีเอกสารประกอบการอบรมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม
(8) ต้องจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมกรอกแบบประเมินผลการอบรม เมื่อสิ้นสุดการอบรมตามหลักสูตร
(9) ในกรณีที่บริษัท สถาบันหรือองค์กรผู้จัดอบรม รับสมัครผู้เข้ารับการอบรมตามกําหนดในแผนการอบรมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว แต่ยกเลิกหรือเลื่อนการอบรมในภายหลังให้บริษัท สถาบันหรือองค์กรผู้จัดอบรมจัดหาบริษัท สถาบันหรือองค์กรอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ทําการอบรมให้แก่ผู้สมัครเข้ารับการอบรมดังกล่าวแทน และแจ้งให้สํานักงานทราบในโอกาสแรกที่กระทําได้
ข้อ ๑๒ วิทยากรของบริษัท สถาบันหรือองค์กรที่เป็นผู้บรรยายหรืออบรมหลักสูตรการอบรมความรู้ของตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนตามประกาศนี้ ต้องมีการทํางานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่บรรยาย โดยมีคุณสมบัติอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ในด้านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(ก) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานในธุรกิจประกันชีวิต ไม่น้อยกว่าสิบปี
(ข) มีประสบการณ์การบรรยายในด้านประกันภัย ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าชั่วโมง และ
(ค) มีประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน ไม่น้อยกว่าสามปี
(2) ในด้านกฎหมาย
(ก) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมาย หรือมีประสบการณ์ในการทํางานในธุรกิจประกันภัยไม่น้อยกว่าสิบปี
(ข) มีประสบการณ์การบรรยายในด้านกฎหมายประกันภัย ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าชั่วโมง และ
(ค) มีประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายประกันภัย ไม่น้อยกว่าสามปี
(3) ในด้านการลงทุน
(ก) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานในธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไม่น้อยกว่าสิบปี
(ข) มีประสบการณ์การบรรยายในด้านหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าชั่วโมง และ
(ค) ได้รับความเห็นชอบให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน หรือนักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๑๓ วิทยากรของบริษัท สถาบันหรือองค์กร ที่เป็นผู้บรรยายหรืออบรมหลักสูตรการอบรมความรู้ของตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ตามประกาศนี้ ต้องมีการทํางานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่บรรยาย โดยมีคุณสมบัติอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(1) ในด้านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
(ก) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานในธุรกิจประกันชีวิต ไม่น้อยกว่าสิบปี
(ข) มีประสบการณ์การบรรยายในด้านประกันภัย ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าชั่วโมง และ
(ค) มีประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ไม่น้อยกว่าสามปี
(2) ในด้านกฎหมาย
(ก) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมาย หรือมีประสบการณ์ในการทํางานในธุรกิจประกันภัย ไม่น้อยกว่าสิบปี
(ข) มีประสบการณ์การบรรยายในด้านกฎหมายประกันภัย ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าชั่วโมง และ
(ค) มีประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายประกันภัย ไม่น้อยกว่าสามปี
(3) ในด้านการลงทุน
(ก) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการทํางานในด้านการลงทุน ไม่น้อยกว่าสิบปี และ
(ข) มีประสบการณ์การบรรยายในด้านการลงทุน ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าชั่วโมง
ข้อ ๑๔ ให้บริษัท สถาบันหรือองค์กรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้จัดเก็บหลักฐานใบสมัครเข้ารับการอบรม การจัดอบรม ข้อมูลของผู้เข้ารับการอบรมและแบบประเมินผลการอบรม พร้อมทั้งสรุปผลการประเมินการอบรมภายในระยะเวลาสองปี เพื่อแสดงต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานร้องขอ
ข้อ ๑๕ ให้บริษัท สถาบันหรือองค์กรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ออกหนังสือรับรองการผ่านการอบรมตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ ให้แก่ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตผู้ผ่านการอบรม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวนํามายื่นต่อสํานักงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ แล้วแต่กรณี
หมวด ๔ การนับชั่วโมงการอบรมเพื่อขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต
หรือนายหน้าประกันชีวิต
----------------------------------
ข้อ ๑๖ ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต ที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กําหนดในประกาศนี้ ซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต ครั้งที่สี่เป็นต้นไป ให้นําการอบรมดังกล่าว นับเป็นจํานวนชั่วโมงการอบรมตามข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต สําหรับผู้ขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต และนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2556 ได้ ดังต่อไปนี้
(1) หลักสูตรการอบรมความรู้ของตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน ให้นับได้ไม่เกินหกชั่วโมง
(2) หลักสูตรการอบรมความรู้ของตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ให้นับได้ไม่เกินหกชั่วโมง
ทั้งนี้ สามารถนําชั่วโมงการอบรมตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) มารวมกันเพื่อนับเป็นชั่วโมงการอบรมในคราวเดียวกันได้ และการนับชั่วโมงการอบรมดังกล่าว ให้ใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กําหนดให้ครบถ้วนก่อนวันยื่นขอต่อใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต ไม่เกินห้าปี
ข้อ ๑๗ ผู้เป็นวิทยากรอบรมตามประกาศนี้ ซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต ครั้งที่สี่เป็นต้นไป ให้จํานวนชั่วโมงการอบรมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักสูตรและวิธีการ การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต สําหรับผู้ขอรับหรือขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต และนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2556 ลดลงเหลือสิบห้าชั่วโมงสําหรับกรณีตัวแทนประกันชีวิต และยี่สิบห้าชั่วโมงสําหรับกรณีนายหน้าประกันชีวิต ทั้งนี้ ต้องเป็นวิทยากรตามประกาศนี้ภายใน ห้าปีก่อนขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิตด้วย
หมวด ๕ การตรวจสอบ การสั่งระงับการดําเนินการ และการเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ
-----------------------------
ข้อ ๑๘ บริษัท สถาบันหรือองค์กรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ต้องยินยอมให้สํานักงานเข้าไปตรวจสอบการจัดอบรมตามประกาศนี้ ในการตรวจสอบการอบรมของสํานักงานดังกล่าว บริษัท สถาบันหรือองค์กรดังกล่าว ต้องอํานวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๙ สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัท สถาบันหรือองค์กรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ระงับการดําเนินการจัดอบรมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามประกาศนี้ เมื่อปรากฏแก่สํานักงานว่า
(1) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้
(2) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบตามข้อ 7 หรือข้อ 8
(3) ออกหนังสือรับรองการอบรมโดยมิชอบ
ทั้งนี้ การสั่งการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะพิจารณาตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งกรณี
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,143 |
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การพิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อกรณีภาวะอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2558 | ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม
การประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง การพิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์จากการประกันภัย
ต่อกรณีภาวะอุทกภัยปี พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2558
-----------------------------------------------
สืบเนื่องจากภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินและการดําเนินธุรกิจของผู้เอาประกันภัยเป็นวงกว้าง มีความเสียหายที่ได้เอาประกันวินาศภัย ไว้เป็นจํานวนกว่าสี่แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละห้าสิบสามจุดสองเก้าของมูลค่าสินทรัพย์รวมของธุรกิจประกันวินาศภัยและส่งผลให้บริษัทไม่ได้รับชําระหนี้จากบริษัทประกันภัยต่อที่รับโอนความเสี่ยงภัยของบริษัทไว้ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างครบถ้วน
เพื่อให้การแสดงฐานะการเงินของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากภาวะอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2554 เป็นไปในแนวทางเดียวกัน สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงกําหนดหลักเกณฑ์ที่บริษัทอาจถือว่าเป็นกรณีที่บริษัทมีหลักฐานที่ปรากฏอย่างชัดเจนว่าบริษัทอาจไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมทั้งหมดหรือบางส่วนตามเงื่อนไขของสัญญาประกันภัยต่อ และผลกระทบที่สามารถวัดเป็นจํานวนเงินได้อย่างน่าเชื่อถือเพื่อใช้ในการพิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อ ตามข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัยประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558 สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การพิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อกรณีภาวะอุทกภัย ปี พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
“ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนสําหรับความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือความเสียหายสืบเนื่อง อันเกิดจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
“สินทรัพย์จากการประกันภัยต่อ” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่บริษัทมีสิทธิได้รับคืนจากบริษัทประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ข้อ ๔ บริษัทอาจด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ ๕ บริษัทต้องจัดให้มีนโยบายและมาตรการในการติดตามค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่บริษัทมีสิทธิได้รับคืนจากบริษัทประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทซึ่งครอบคลุมเหตุผลและความจําเป็นในการด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อ โดยพิจารณาถึงความสามารถในการชําระค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัยต่อขั้นตอน วิธีการและความถี่ในการติดตามค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม
บริษัทต้องพร้อมให้สํานักงานตรวจสอบนโยบายและมาตรการตามวรรคหนึ่ง เมื่อสํานักงานร้องขอ ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควร สํานักงานอาจให้บริษัทแก้ไข เพิ่มเติมนโยบายและมาตรการดังกล่าวได้
ข้อ ๖ การด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อต้องเป็นหนี้ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) บริษัททําสัญญาประนีประนอมค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมกับบริษัทประกันภัยต่อ เป็นลายลักษณ์อักษร โดยบริษัทต้องมีหลักฐานแสดงถึงจํานวนมูลหนี้ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมตามสัญญาประกันภัยต่อและจํานวนหนี้ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่ประนีประนอมได้
(2) บริษัทใช้สิทธิทางศาลหรือกระทําการอย่างใดซึ่งถือได้ว่ามีการมอบข้อพิพาท ให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย หรือประเทศสิงคโปร์ ในมูลหนี้ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่มีจํานวนแน่นอน
(3) บริษัทใช้สิทธิทางศาลหรือกระทําการอย่างใดซึ่งถือได้ว่ามีการมอบข้อพิพาท ให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย หรือประเทศสิงคโปร์ ในมูลหนี้ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่มีจํานวนไม่แน่นอน ให้บริษัทด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อในจํานวนรวมเท่ากับมูลหนี้ที่บริษัทได้ใช้สิทธิทางศาลหรือกระทําการอย่างใดซึ่งถือได้ว่ามีการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(ก) มูลหนี้ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่บริษัทเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยต่อแต่ละราย มีจํานวนไม่เกินสี่ร้อยล้านบาท บริษัทต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้
1) ติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตาม ทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชําระหนี้ และ
2) ได้ดําเนินการฟ้องบริษัทประกันภัยต่อในคดีแพ่งและศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่บริษัทประกันภัยต่อถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคําสั่งรับคําขอนั้นแล้ว หรือ
3) ได้ดําเนินการฟ้องบริษัทประกันภัยต่อในคดีล้มละลายและศาลได้มีคําสั่งรับคําฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่บริษัทประกันภัยต่อถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลายและศาลได้มีคําสั่งรับคําขอรับชําระหนี้นั้นแล้ว หรือ
4) ได้กระทําการอย่างใดซึ่งถือได้ว่ามีการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
(ข) มูลหนี้ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่บริษัทเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยต่อแต่ละราย มีจํานวนเกินสี่ร้อยล้านบาท บริษัทต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
1) ติดตามทวงถามให้ชําระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตาม ทวงถามอย่างชัดแจ้งและไม่ได้รับชําระหนี้ และ
2) ได้ดําเนินการฟ้องบริษัทประกันภัยต่อในคดีแพ่ง หรือได้ยื่นคําขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่บริษัทประกันภัยต่อถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่ง และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคําบังคับหรือคําสั่งของศาลแล้วแต่บริษัทประกันภัยต่อไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้ หรือ
3) ได้ดําเนินการฟ้องบริษัทประกันภัยต่อในคดีล้มละลาย หรือได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในคดีที่บริษัทประกันภัยต่อถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีล้มละลาย และในกรณีนั้น ๆ ได้มีการประนอมหนี้ กับบริษัทประกันภัยต่อ โดยศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือบริษัทประกันภัยต่อ ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยต่อครั้งแรกแล้ว หรือ
4) ได้กระทําการอย่างใดซึ่งถือได้ว่ามีการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา และในกรณีนั้น ๆ ได้มีคําชี้ขาดให้บริษัทประกันภัยต่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมแล้ว แต่บริษัทประกันภัยต่อไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชําระหนี้ได้
(4) บริษัทเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมจากบริษัทประกันภัยต่อมีจํานวนไม่เกินสิบล้านบาท และบริษัทไม่สามารถตกลงประนีประนอมค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมกับบริษัทประกันภัยต่อ และสามารถพิสูจน์ได้ว่าหากดําเนินการฟ้องร้องดําเนินคดีกับบริษัทประกันภัยต่อจะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับ ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมดังกล่าว
(5) บริษัทประกันภัยต่อเลิกกิจการและไม่สามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมได้
ข้อ ๗ กรณีที่บริษัทได้รับชําระค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมจากบริษัทประกันภัยต่อภายหลังจากได้ด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อตาม ข้อ 4 ข้อ 5 และ ข้อ 6 ให้บริษัทนําค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วมที่ได้มารับรู้เป็นรายได้ทั้งจํานวนในรอบบัญชีที่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนน้ําท่วม
ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดทํารายงานการพิจารณาด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และนําส่งพร้อมงบการเงินที่บริษัทต้องจัดทําแก่สํานักงานตามมาตรา 47 (2)
ข้อ ๙ บริษัทใดด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 6 (1) (2) (3) หรือ (5) ข้อ 7 และข้อ 8 ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าบริษัทนั้นปฏิบัติ ตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ประเวช องอาจสิทธิกุล
เลขาธิการ
คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,144 |
ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 | ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัย
ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2557
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ครั้งที่ 12/2556 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง อัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า องค์การหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น องค์การหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
“องค์กรระหว่างประเทศ” หมายความว่า
(1) World Bank
(2) Asian Development Bank (ADB)
(3) International Finance Corporation (IFC)
(4) องค์กรหรือนิติบุคคลตามรายชื่อที่นายทะเบียนประกาศกําหนด ตามประกาศว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย
“หุ้นกู้” หมายความรวมถึง หุ้นกู้แปลงสภาพแต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้ที่กําหนดสิทธิของผู้ถือให้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
“หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๕ บริษัทต้องวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยตามมาตรา 23 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ไว้กับนายทะเบียนเป็นมูลค่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่ปรากฏในรายงาน ดังต่อไปนี้
(1) รายงานการดํารงเงินกองทุนรายไตรมาส ไตรมาสที่ 2 ตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย หักด้วยจํานวนเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางที่มีระยะเวลาและความคุ้มครองน้อยกว่าหนึ่งเดือน และการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
(2) รายงานฐานะการเงินและกิจการของบริษัทไตรมาสที่ 4 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการให้บริษัทประกันวินาศภัยยื่นรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและกิจการของบริษัท หักด้วยจํานวนเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางที่มีระยะเวลาและความคุ้มครองน้อยกว่าหนึ่งเดือน และการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
(3) รายงานการดํารงเงินกองทุนประจําปี ตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัยหักด้วยจํานวนเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยสําหรับการประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทางที่มีระยะเวลาและความคุ้มครองน้อยกว่าหนึ่งเดือน และการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บริษัทต้องวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาที่บริษัทต้องนําส่งรายงานดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ ทรัพย์สินที่บริษัทจะนํามาวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียน ตามข้อ 5 ต้องเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทยที่จําหน่ายในราชอาณาจักร หรือทรัพย์สินที่บริษัทลงทุนในประเทศ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย ดังต่อไปนี้
(1) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันการชําระเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งจํานวน พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตั๋วเงินคลังของกระทรวงการคลังหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทย
(2) บัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือสมุดคู่ฝากประเภทฝากประจําที่มีระยะเวลาฝากเงินตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ซึ่งธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและประกอบกิจการภายในราชอาณาจักรหรือธนาคารในประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่าออกให้กับบริษัทเพื่อเป็นหลักฐานในการฝากเงินของบริษัท
(3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ขององค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันการชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ย
(4) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่า ซึ่งออกหรือค้ําประกันโดยองค์กรระหว่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกและเสนอขายในประเทศไทย
(5) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่าซึ่งออกโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกและเสนอขายในประเทศไทย
(6) หุ้นกู้ของบริษัทจํากัด ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่า
(7) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่องค์การหรือรัฐวิสาหกิจ ธนาคารในประเทศ หรือบริษัทจํากัด เป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออก โดยธนาคารหรือบริษัทจํากัดนั้นต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่า
(8) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่บริษัทจํากัดเป็นผู้สั่งจ่ายหรือเป็นผู้ออก และมีองค์การ หรือรัฐวิสาหกิจ ธนาคารในประเทศ บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทจํากัด เป็นผู้รับรองหรืออาวัลการใช้เงินทั้งจํานวนเงินต้นและดอกเบี้ย โดยธนาคาร บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทจํากัดนั้นต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ํากว่า A- หรือเทียบเท่า
(9) หุ้นที่อยู่ในกลุ่มดัชนี SET50 Index หรือหน่วยลงทุน ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (2) (4) (5) (6) (7) และ (8) ต้องกระทําโดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับหรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๗ ทรัพย์สินตามข้อ 6 ที่บริษัทนํามาวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนตามข้อ 5 ให้คํานวณตามราคาประเมินตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย
ข้อ ๘ ทรัพย์สินตามข้อ 6 ที่บริษัทนํามาวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนตามข้อ 5 ให้วางตามสัดส่วน ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด พันธบัตรรัฐบาลไทย และทรัพย์สินตามข้อ 6 (1) และข้อ 6 (2) ให้วางได้ไม่จํากัดจํานวน
(2) ทรัพย์สินตามข้อ 6 (3) ให้วางได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้กับนายทะเบียน
(3) ทรัพย์สินตามข้อ 6 (4) และข้อ 6 (5) ให้วางได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้กับนายทะเบียน
(4) ทรัพย์สินตามข้อ 6 (6) ให้วางได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้กับนายทะเบียน
(5) ทรัพย์สินตามข้อ 6 (7) และข้อ 6 (8) ให้วางได้รวมกันไม่เกินร้อยละห้าสิบของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้กับนายทะเบียน
(6) ทรัพย์สินตามข้อ 6 (9) ให้วางได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยที่บริษัทต้องวางไว้กับนายทะเบียน
ข้อ ๙ ในกรณีที่หุ้นหรือหน่วยลงทุนตามข้อ 6 (9) ที่บริษัทนํามาวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนตามประกาศนี้อยู่ระหว่างการห้ามซื้อหรือขายเป็นการชั่วคราว (suspension) เป็นระยะเวลาเกินกว่าสองเดือน หรือไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาเกินกว่าหกเดือน ให้ถือว่าหุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นไม่สามารถวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนได้ต่อไป
ข้อ ๑๐ ทรัพย์สินที่บริษัทนํามาวางเป็นเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยตามประกาศนี้ต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาหรือมีอยู่โดยไม่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ประกาศ หรือคําสั่งที่ออกหรือกําหนดตามความในกฎหมายดังกล่าว และต้องปราศจากภาระผูกพันโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการจัดสรรสินทรัพย์ไว้สําหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยและการฝากสินทรัพย์ไว้กับสถาบันการเงิน
ข้อ ๑๑ การวางเงินสํารองสําหรับเบี้ยประกันภัยไว้กับนายทะเบียนตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่นายทะเบียนประกาศกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557
รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | 5,145 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.