title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 | ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง มาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง
ตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2565
-------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสม เป็นมาตรฐาน และสอดคล้องกับประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2564 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง มาตรฐานกําหนดตําแหน่งประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่ง ตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีมาตรฐานกําหนดตําแหน่งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญประเภทอํานวยการ ตามบัญชีมาตรฐานกําหนดตําแหน่งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญท้ายประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง มาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ประเภทตําแหน่ง สายงาน และระดับตําแหน่งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 5 กันยายน 2557 และให้ใช้บัญชีมาตรฐานกําหนดตําแหน่งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ประเภทอํานวยการท้ายประกาศนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2565
วรวิทย์ กังศศิเทียม
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,939 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 501/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 501/2554
เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
---------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เกี่ยวกับวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายว่าด้วยการขายรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน ตามมาตรา96 (2)หรือมาตรา 96 (3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 81/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554
ข้อ ๒ ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 96 (2) หรือมาตรา 96 (3) โดยมูลหนี้ ดังกล่าวเป็นกรณีที่เจ้าหนี้มีประกันได้ฟ้องบังคับจํานอง หรือขอรับชําระหนี้บุริมสิทธิ ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ในคดีแพ่ง และศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับ ชําระหนี้บุริมสิทธิแล้ว หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบพบว่า ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ที่จะต้องดําเนินการขายทอดตลาดนั้นอยู่ระหว่างการบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันในคดีแพ่ง หรือศาลในคดีแพ่งได้ออกหมายบังคับคดีไว้แล้วแต่ยังไม่มีการบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันใน คดีแพ่ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีเอากับทรัพย์อันเป็น หลักประกันดังกล่าวต่อไปจนเสร็จสิ้น และหากมีเงินเหลือให้ส่งเข้ามาในคดีล้มละลาย
ข้อ ๓ การจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันของเจ้าหนี้มีประกันในคดีแพ่ง โดยให้ กองคํานวณเงินในคดีแพ่งดําเนินการจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ดังนี้
3.1 กรณีตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เจ้าหนี้มีประกันประสงค์จะบังคับในคดีแพ่ง โดยมิได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลาย และจะต้อง เป็นกรณีที่ศาลมีคําพิพากษาและออกหมายบังคับคดีแล้วกองคํานวณเงินในคดีแพ่งต้องพิจารณาจาก คําพิพากษาของศาลประกอบการคํานวณมูลหนี้ประธานที่มีการจํานองเป็นหลักประกันเท่านั้น หากเอกสาร ประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้โจทก์นําส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อ ประกอบการคํานวณมูลหนี้และวงเงินจํานองตามสัญญาจํานอง โดยคํานวณดอกเบี้ยได้ถึงวันขายทอดตลาด และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
3.2 กรณีเจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 96 (2) มาตรา 96 (3) แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หากมูลหนี้ตามคําพิพากษาหรือตามหมายบังคับคดีใน คดีแพ่งบางคดีมีมูลหนี้หลายมูลหนี้ ทั้งมูลหนี้จํานองและมูลหนี้สามัญ หรือบางคดีเจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องเป็น มูลหนี้เดียว โดยมิได้แยกมูลหนี้จํานองหรือมูลหนี้สามัญ หากเอกสารที่ปรากฏในสํานวนคดีแพ่งไม่สามารถ จัดทําบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายได้ให้กองคํานวณเงินในคดีแพ่งแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่ง เอกสารที่เกี่ยวข้อง (หากมี) เพื่อประกอบการคํานวณมูลหนี้ประธานและวงเงินจํานอง โดยคํานวณดอกเบี้ยถึง วันพิทักษ์ทรัพย์และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
3.3 กรณีที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ชั่วคราวและภายหลังต่อมาศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การจัดทําบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ให้กองคํานวณเงินในคดีแพ่ง คํานวณดอกเบี้ย ถึงวันพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว
ข้อ ๔ ในกรณีที่คดีล้มละลายนั้นเป็นคดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สิน นอกเหนือจากทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดรายงานงดดําเนินการสํานวนคําขอรับชําระหนี้ไว้และ ดําเนินการตามแนวทางในข้อ 5 แห่งคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 445/2559 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดี ล้มละลายในสํานวนกลาง ต่อไป
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีทรัพย์สินของลูกหนี้เพียงพอที่จะทําการแบ่งทรัพย์สินได้ หากเจ้าหนี้ มีประกันตามมาตรา 96 (2) หรือมาตรา 96 (3) ได้รับชําระหนี้ในคดีแพ่งยังไม่ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการทําความเห็นในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ดังกล่าว โดยในการคํานวณหนี้ของเจ้าหนี้ ที่จะมีสิทธิได้รับชําระหนี้ตามมาตรา 96 (2) หรือมาตรา 96 (3) ให้คํานวณดอกเบี้ยในส่วนที่ขาดถึงเพียง วันพิทักษ์ทรัพย์
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 เดือน กันยายน พ.ศ. 2554
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,940 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 199 / 2554 เรื่อง การมอบอำนาจให้นิติกรผู้ประสานคดีปฏิบัติราชการ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 199 / 2554
เรื่อง การมอบอํานาจให้นิติกรผู้ประสานคดีปฏิบัติราชการ
------------------------------
อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 426/2553 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติ กรณีกรมบังคับคดี หรือเจ้าหน้าที่ถูกฟ้องคดี ซึ่งกําหนดให้สํานักงานวางทรัพย์กลาง มีหน้าที่เป็นผู้ประสานคดี โดยกําหนดตัวบุคคลเป็นผู้ประสานคดี นั้น โดยที่ยังมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ประสานคดี เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังนี้
ในกรณีการปฏิบัติงานของนิติกร ผู้ประสานคดี ว่าด้วยการที่กรมบังคับคดี หรือเจ้าหน้าที่ถูกฟ้องคดี ให้นิติกร ผู้ประสานคดี ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในสํานวนที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องคดี ตามแต่กรณี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2554
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,941 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 93/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานกรณีทรัพย์สินที่ยึดไว้สูญหาย หรือถูกรื้อถอน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 93/2554
เรื่อง การปฏิบัติงานกรณีทรัพย์สินที่ยึดไว้สูญหาย หรือถูกรื้อถอน
---------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินเป็นไป ด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้สูญหาย ถูกรื้อถอน หรือเสียหาย ทั้งหมด หรือแต่เพียงบางส่วน โดยไม่ทราบว่าเป็นการกระทําผิดของบุคคลใด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตาม ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 64 และคําสั่ง กรมบังคับคดีที่ 452/2548 ข้อ 8
ข้อ ๒ สอบถามความประสงค์ของโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยึดส่วนที่เหลืออยู่ หากโจทก์แสดงความประสงค์
2.1. ดําเนินการบังคับคดีต่อไปในทรัพย์สินที่ยึดส่วนที่เหลือ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการต่อไป
2.2 ขอถอนการยึดทรัพย์สินที่สูญหาย หรือถูกรื้อถอน นั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี เรียกเก็บค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินไม่ใช่ตัวเงินและไม่มีการขายหรือจําหน่าย ท้ายตาราง 5 แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทุกกรณี และไม่อาจใช้ดุลพินิจไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมฯ ดังกล่าวได้
ข้อ ๓ การดําเนินการกับทรัพย์สินที่ยึดไว้ส่วนที่เหลือ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําการบังคับคดี ต่อไปโดยไม่ต้องรอให้ทรัพย์สินที่สูญหาย หรือถูกรื้อถอน แล้วแต่กรณี กลับคืนมาก่อน
ข้อ ๔ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากสภาพทรัพย์สินที่ยึดส่วนเหลือแล้ว มีความจําเป็น ที่จะต้องประเมินราคาใหม่ในทรัพย์สินดังกล่าว เช่น
- สิ่งปลูกสร้างถูกรื้อถอน หรือเสียหาย แต่เพียงบางส่วน
- ทรัพย์สินที่สูญหายเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่ยึด
- ทรัพย์สินที่สูญหายเป็นส่วนควบของทรัพย์ที่ยึด
- กรณีที่ไม่อาจแยกราคาประเมินที่ดิน และราคาสิ่งปลูกสร้างได้ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดี จะได้ประเมินราคาไว้อยู่ก่อนแล้วขณะทําการยึด
- ที่ดินมีราคาสูงขึ้นโดยโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ แถลงขอให้ประเมินราคาใหม่ตามหลักเกณฑ์ของกรมบังคับคดี
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทําการประเมินราคาและแจ้งราคาประเมินใหม่ให้ผู้มีส่วนเสียทราบก่อนท้าการขายทอดตลาด
ข้อ ๕ กรณีทรัพย์สูญหายไม่ใช่เกิดจากการกระทําความผิดอาญา อาทิ เช่น เกิดจาก เหตุสุดวิสัย หรือเกิดจากการกระทําของบุคคลภายนอก (คําสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอน) หรือเกิด จากจําเลยเป็นผู้กระทําเอง เช่น ต่อเติม ซ่อมแซม ทุบสร้างใหม่ให้ดีขึ้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปดําเนินการ จดแจ้งรายงานเจ้าหน้าที่พร้อมประเมินทรัพย์ใหม่ให้เป็นไปตามสภาพความเป็นจริง เพื่อใช้เป็นหลักฐาน ในการคํานวณราคาค่าธรรมเนียมตามตาราง 5 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และให้แจ้ง ราคาประเมินใหม่ให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบก่อนทําการขาย
ข้อ ๖ หากทรัพย์สินที่สูญหาย หรือถูกรื้อถอนสามารถเรียกกลับคืนมาได้ ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทําการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นต่อไปจนเสร็จสิ้น
ข้อ ๗ การปลดเผาสํานวนที่ทรัพย์สินสูญหาย ให้คงถือเป็นสํานวนที่ต้องดําเนินการต่อไป จนกว่าจะได้ทรัพย์สินคืนและหาผู้กระทําความผิดมาลงโทษได้ ภายในกําหนดอายุความตามมาตรา 95 แห่งประมวลกฎหมายอาญา การบังคับคดีย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงตามอายุความในทางอาญา เจ้าพนักงานบังคับคดี จึงจะปลดเผาจํานวนดังกล่าวได้
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554
(ลงชื่อ) วิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,942 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 84/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กรณีถูกฟ้องบังคับจำนอง | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 84/2554
เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กรณีถูกฟ้องบังคับจํานอง
--------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ในคดีล้มละลายกรณีบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปตามคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 32/2554 ลงวันที่ 24 มกราคม 2554
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 จึงมีคําสั่งให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่เห็นชอบให้ดําเนินการที่จะบังคับเอากับทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้มีประกันที่ยื่นคําร้องตามมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หรือกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการดําเนินการบังคับเอากับทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกันดังกล่าวจะไม่เป็นประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งต่อมา เจ้าหนี้มีประกันดังกล่าวได้ใช้สิทธิฟ้องบังคับจํานอง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้
1.1 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องแล้วให้ส่งหมายเรียก และสําเนาคําฟ้องดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้ทราบภายในกําหนด 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายเรียก และสําเนาคําฟ้อง พร้อมแจ้งให้ลูกหนี้ทราบด้วยว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่เห็นชอบให้ดําเนินการกับทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกันดังกล่าว จึงขอมอบหมายให้ลูกหนี้เข้าดําเนินกระบวนพิจารณาคดีด้วยตนเอง
1.2 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคําแถลงต่อศาลว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่เห็นชอบ ให้ดําเนินการกับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและได้มอบหมายให้ลูกหนี้เข้าดําเนินกระบวนพิจารณาคดี ด้วยตนเองแล้ว
ข้อ ๒ ในกรณีที่ลูกหนี้หลบหนีไม่มาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาว่าสมควรจะเข้าต่อสู้คดีหรือไม่ โดยเสนอความเห็นต่ออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2554
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,943 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 81/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน | คําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 81/2554
เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
--------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ว่าด้วยการขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (2) หรือ มาตรา 96 (3) แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่มีผู้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 96 (2) หรือ มาตรา 96 (3) โดยมูลหนี้ดังกล่าว เป็นกรณีที่เจ้าหนี้มีประกันได้ฟ้องบังคับจํานอง หรือขอรับชําระหนี้บุริมสิทธิ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ในคดีแพ่ง และศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชําระหนี้บุริมสิทธิแล้ว หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันที่จะต้องดําเนินการขายทอดตลาด นั้นอยู่ระหว่างการบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันในคดีแพ่ง หรือศาลในคดีแพ่งได้ออกหมายบังคับคดี ไว้แล้วแต่ยังไม่มีการบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันในคดีแพ่ง ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันดังกล่าวต่อไปจนเสร็จสิ้นแล้วให้จัดทํา บัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินโดยคํานวณดอกเบี้ยถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหากมีเงินเหลือให้ส่งเข้ามา ในคดีล้มละลาย
ข้อ ๒ ในกรณีที่คดีล้มละลายนั้นเป็นคดีล้มละลายที่ไม่มีทรัพย์สินอื่น นอกเหนือจากทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดรายงานงดดําเนินการสํานวนคําขอรับชําระหนี้ไว้ และดําเนินการตามแนวทางในข้อ 5 ของคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 445/2549 เรื่อง การปฏิบัติงาน บังคับคดีล้มละลายในสํานวนกลาง ต่อไป
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีทรัพย์สินของลูกหนี้เพียงพอที่จะทําการแบ่งทรัพย์สินได้ หากเจ้าหนี้มีประกัน ตามมาตรา 96 (2) หรือ มาตรา 96 (3) ได้รับชําระหนี้ในคดีแพ่งยังไม่ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดําเนินการทําความเห็นในสํานวนคําขอรับชําระหนี้ดังกล่าว โดยในการคํานวณหนี้ของเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิได้รับชําระหนี้ ตามมาตรา 96 (2) หรือ มาตรา 96 (3) ให้คํานวณดอกเบี้ยในส่วนที่ขาดถึงเพียงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,944 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 77/2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 77/2554
เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์
---------------------------
ด้วยปรากฏความผิดพลาดในการออกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 68/2554 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 25545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 68/2554 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สิน
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3.3 แห่งข้อ 3 ในคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 452/2548 ลงวันที่ 8 กันยายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“การยึดทรัพย์สินซึ่งติดจํานองบุคคลภายนอก ในการแจ้งการยึดให้ผู้รับจํานองทราบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีระบุในหนังสือแจ้งการยึดให้ผู้รับจํานองแถลงวิธีการขายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ภายใน 1 เดือนนับแต่วันรับหนังสือแจ้งการยึด ว่ามีความประสงค์จะขายโดยปลอดการจํานองหรือ ขายโดยการจํานองติดไป
ในกรณีที่ผู้รับจํานองไม่แถลงวิธีการขายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกําหนด เพื่อให้ การขายทอดตลาดไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจํานอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศ ขายทอดตลาดโดยการจํานองติดไป
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,945 |
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลว่าด้วยเรื่อง กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ | ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
ว่าด้วยเรื่อง กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ
-----------------------------------------------
ตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารงานภาครัฐและการจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทําบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัลโดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทํางานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล
เพื่อให้การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น โดยที่พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 13 กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทําและครอบครองตามที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่น ร้องขอ ที่จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน ประกอบมาตรา 15 กําหนดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดําเนินการของหน่วยงานของรัฐ ในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล และดําเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบายและมาตรฐานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ความเห็นชอบ
(2) ประสานและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างกัน รวมทั้งกํากับติดตามให้การดําเนินการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกําหนด
(3) จัดทําคําอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ และจัดเก็บบันทึกหลักฐานของการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
(4) เรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมายอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 (3) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2565 วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565 จึงมีมติให้ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล ว่าด้วยเรื่อง กรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ”
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“มาตรฐานการทํางานร่วมกัน” (Interoperability) หมายความว่า การที่ระบบหรือหน่วยงานซึ่งมีความแตกต่างกันสามารถทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนกัน
“การแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับเทคนิค” (Technical Data Exchange) หมายความว่าระบบสารสนเทศตั้งแต่สองระบบขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยมิได้คํานึงถึงความหมายของข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกัน
“การแลกเปลี่ยนความหมายข้อมูล” (Semantic Meaning Exchange) หมายความว่าระบบสารสนเทศตั้งแต่สองระบบขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้และสามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกัน
“ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง” (Data Exchange Center) หมายความว่า ศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดําเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล
“ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูล” (Data Exchange Provider) หมายความว่า หน่วยงานที่มีความรับผิดชอบในการดําเนินการศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง
“ผู้ให้บริการข้อมูล” (Data Provider หรือ Service Provider) หมายความว่า บุคคลหรือหน่วยงานผู้เป็นเจ้าของข้อมูลที่ให้บริการอยู่ในศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง
“ผู้ใช้บริการข้อมูล” (Data Consumer หรือ Service Consumer) หมายความว่า บุคคลหรือหน่วยงานผู้ใช้บริการข้อมูลจากหน่วยงานอื่นที่ให้บริการข้อมูลอยู่ในศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง
“ทรัพยากรข้อมูล” (Data Resource) หมายความว่า ระบบสารสนเทศที่เชื่อมต่อกับศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางในการให้บริการข้อมูล ซึ่งผู้ให้บริการข้อมูลมีความรับผิดชอบต่อระบบสารสนเทศนี้
“แอปพลิเคชัน” (Application) หมายความว่า ระบบสารสนเทศที่เชื่อมต่อกับศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง โดยใช้ข้อมูลจากรีซอร์สข้อมูลในการให้บริการประชาชน หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน
“กลุ่มข้อมูลหลัก” (Core Data) หมายความว่า กลุ่มข้อมูลที่ไม่อ้างอิงกับโดเมนข้อมูล(Data Domain) ใด ๆ เช่น ข้อมูลบุคคล ข้อมูลสถานที่ ข้อมูลองค์กร เป็นต้น
“กลุ่มข้อมูลอ้างอิงทั่วไป” (Common Reference Data) หมายความว่า กลุ่มข้อมูลที่ใช้สําหรับการอ้างอิงจากกลุ่มข้อมูลอื่น เช่น ข้อมูลจังหวัด ข้อมูลอําเภอ ข้อมูลตําบล ข้อมูลถนนข้อมูลเพศ ข้อมูลศาสนา เป็นต้น
“กลุ่มข้อมูลขยาย” (Extend Data) หมายความว่า กลุ่มข้อมูลเฉพาะทางโดเมนนั้น ๆ เช่น
กลุ่มข้อมูลด้านการเกษตร กลุ่มข้อมูลด้านสาธารณสุข กลุ่มข้อมูลด้านการเงิน เป็นต้น
“กลุ่มข้อมูลอ้างอิงเฉพาะโดเมน” (Domain Reference Data) หมายความว่า ข้อมูลอ้างอิงพื้นฐานที่ขึ้นกับความต้องการเฉพาะธุรกิจ (Business Data) เช่น ข้อมูลสถานะนิติบุคคล ข้อมูลรหัสวัตถุประสงค์นิติบุคคล เป็นต้น
หมวด ๑ บททั่วไป
------------------------------------
ข้อ ๓ เพื่อให้การพัฒนามาตรฐานการเชื่อมและการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐเป็นไปตามกรอบแนวทางที่กําหนดไว้ทั้งสองระดับ ได้แก่
(1) มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (TGIX Linkage Standards) หรือมาตรฐานสําหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับเทคนิค
(2) มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (TGIX Semantic Standards) หรือมาตรฐานสําหรับการแลกเปลี่ยนความหมายข้อมูล
ให้สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานของรัฐสร้างความร่วมมือในการดําเนินการตามแนวทางที่กําหนดไว้ในมาตรฐานนี้ เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐต่อไป
หมวด ๒ การพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ
--------------------------------------
ข้อ ๔ ภายใต้กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและกรอบแนวทางการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐฉบับนี้ ให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาถึงข้อมูลตามพันธกิจของหน่วยงานว่า หน่วยงานเป็นเจ้าของทรัพยากรข้อมูลใดอยู่และสามารถให้บริการข้อมูลใดบ้างแก่หน่วยงานอื่น ในบริบทของผู้ให้บริการข้อมูล
(2) พิจารณาถึงข้อมูลตามพันธกิจของหน่วยงานว่า หน่วยงานเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันใดอยู่และต้องการบริการข้อมูลใดบ้างจากหน่วยงานอื่น ในบริบทของผู้ใช้บริการข้อมูล
(3) พิจารณาตามพันธกิจของหน่วยงานว่า หน่วยงานมี (หรือจําเป็นต้องมี) ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางหรือไม่ เพื่อให้หน่วยงานร่วมที่อยู่ในพันธกิจเดียวกันสามารถดําเนินการร่วมกันได้ ในบริบทของผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูล
(4) พิจารณาถึงทรัพยากรข้อมูลที่สามารถให้บริการแก่หน่วยงานอื่นว่า ข้อมูลเหล่านั้นอยู่ในหมวดหมู่ใด ดังต่อไปนี้
(4.1) กลุ่มข้อมูลอ้างอิงทั่วไป (Common Reference Data)
(4.2) กลุ่มข้อมูลหลัก (Core Data)
(4.3) กลุ่มข้อมูลขยาย (Extend Data)
(4.4) ข้อมูลอ้างอิงเฉพาะธุรกิจ (Domain Reference Data)
(5) พิจารณาถึงทรัพยากรข้อมูลที่สามารถให้บริการแก่หน่วยงานอื่นว่า ข้อมูลเหล่านั้นมีการจัดทําพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ที่มีรายละเอียด เช่น องค์ประกอบข้อมูล (Data Element) ประเภทข้อมูล (Data Type) ชื่อแอดทริบิวต์ข้อมูล (Data Attribute Name) รูปแบบข้อมูล (Data Format) หรืออื่น ๆ หรือไม่ เพื่อให้มีความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานสําหรับการแลกเปลี่ยนความหมายข้อมูลต่อไป
ข้อ ๕ ในระยะเริ่มแรก มิให้นามาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐ จนกว่าจะพ้นกําหนดสอง (2) ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และมอบหมายให้สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ไปดําเนินการพัฒนาชุดมาตรฐานทั้งสองระดับตามข้อ 3 ต่อไป
อื่นๆ - ทั้งนี้ กําหนดให้อ้างอิงรายละเอียดจากมาตรฐาน เลขที่ มรด 2-1 : 2565 ซึ่งข้อมูลมาตรฐานแสดงไว้ตามแนบท้ายประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฉบับนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ดอน ปรมัตถ์วินัย
ประธานกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | 4,946 |
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย | ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทํากระบวนการและการดําเนินงานทางดิจิทัล
ว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสําหรับบริการภาครัฐ สําหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
---------------------------------------------
ตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารงานภาครัฐและการจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทําบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัลโดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทํางานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล ประกอบกับให้เป็นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือ และมีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการทาธุรกรรมโดยวิธีการทั่วไปที่เคยปฏิบัติ รวมทั้งให้หน่วยงานต่าง ๆ เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีและส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องตามมาตรฐานที่กําหนด
เพื่อให้การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น โดยที่พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 12 (2) กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทํากระบวนการหรือการดําเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน กระบวนการหรือการดําเนินงานทางดิจิทัลนั้นต้องทํางานร่วมกันได้ตามมาตรฐาน ข้อกําหนด และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกําหนดเพื่อให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ ประกอบมาตรา 12 (4) จัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 หมวด 3/1 ระบบการพิสูจน์และการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อกํากับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย จึงจําเป็นต้องกําหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทํากระบวนการและการดําเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสําหรับบริการภาครัฐ สําหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 7 (3) (9) มาตรา 12 (2) (4) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ในคราวการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 13 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 จึงมีมติให้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทํากระบวนการและการดําเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสําหรับบริการภาครัฐ สําหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย”
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริการภาครัฐ” หมายความว่า การดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่หน่วยงานของรัฐจัดทําหรือจัดให้มีขึ้นหรือที่มอบอํานาจให้เอกชนดําเนินการแทนเพื่ออํานวยความสะดวกหรือตอบสนองความต้องการของประชาชน
“ไอเดนทิตี” (identity หรือ ID) หมายความว่า คุณลักษณะ หรือชุดของคุณลักษณะที่ใช้ระบุตัวบุคคลในบริบทที่กําหนด
“ดิจิทัลไอดี” (digital identity หรือ digital ID) หมายความว่า คุณลักษณะ หรือชุดของคุณลักษณะที่ถูกรวบรวมและบันทึกในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถใช้ระบุตัวบุคคลในบริบทที่กําหนดและสามารถใช้ทาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
“ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน” (identity provider) หมายความว่า บุคคลหรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือซึ่งทําหน้าที่
(1) รับลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน และ
(2) บริหารจัดการสิ่งที่ใช้รับรองตัวตน ซึ่งเชื่อมโยงไอเดนทิตีเข้ากับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ
โดยผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนอาจบริหารจัดการสิ่งที่ใช้รับรองตัวตนเพื่อใช้ภายในองค์กรหรือใช้ภายนอกองค์กรก็ได้
“ผู้ให้บริการภาครัฐ” (relying party) หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่ให้บริการภาครัฐหรืออนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลหรือระบบบริการภาครัฐ โดยอาศัยสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนและผลการยืนยันตัวตนหรือสิ่งที่ใช้รับรองตัวตนจากผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
“แหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ” (authoritative source) หมายความว่า หน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถเข้าถึงหรือมีข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งทําหน้าที่
(1) ตรวจสอบข้อมูลหรือสถานะของหลักฐานแสดงตนของผู้ใช้บริการตามการร้องขอจากผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือ
(2) อนุญาตให้ผู้ให้บริการภาครัฐเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการ
“ผู้สมัครใช้บริการ” (applicant) หมายความว่า บุคคลที่สมัครใช้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
“ผู้ใช้บริการ” (subscriber) หมายความว่า ผู้สมัครใช้บริการที่ผ่านการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และได้รับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนสําหรับใช้ยืนยันตัวตนกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
“การลงทะเบียน” (enrolment) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้สมัครใช้บริการลงทะเบียนเป็นผู้ใช้บริการของผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
“การพิสูจน์ตัวตน” (identity proofing) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนรวบรวมข้อมูลตรวจสอบหลักฐานแสดงตน และตรวจสอบตัวตนของผู้สมัครใช้บริการ
“การยืนยันตัวตน” (authentication) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตนกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างด้วยการใช้สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
“สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน” (authenticator) หมายความว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการครอบครองเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนโดยสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนจะมีปัจจัยของการยืนยันตัวตนอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย
“สิ่งที่ใช้รับรองตัวตน” (credential) หมายความว่า เอกสาร วัตถุ หรือกลุ่มข้อมูลที่เชื่อมโยงไอเดนทิตีเข้ากับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
“คุณลักษณะ” (attribute) หมายความว่า ลักษณะหรือคุณสมบัติที่ใช้ระบุตัวบุคคล
หมวด 1
บททั่วไป
---------------------------------------------
ข้อ ๓ เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล มีความน่าเชื่อถือ พร้อมใช้ ตรวจสอบได้และเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด โดยพิจารณาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสําคัญ ให้ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีมาตรการหรือระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
(2) จัดให้มีข้อตกลงในการดําเนินการและปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น
(3) ให้ความสําคัญและบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของบริการภาครัฐโดยพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อกําหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ให้จัดทําธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและดําเนินการให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสําหรับบริการภาครัฐด้วย
หมวด 2
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
----------------------------------------
ข้อ ๔ ให้ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดรูปแบบของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และจัดสรรบุคลากร ระบบเทคโนโลยีที่จําเป็น ให้สอดคล้องกับระดับความน่าเชื่อถือ
(2) กําหนดนโยบายและกระบวนการปฏิบัติงานภายในที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องทบทวน สื่อสาร ทําความเข้าใจ สร้างความตระหนักให้กับเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้เห็นถึงความสําคัญ และปฏิบัติตามนโยบายและกระบวนการปฏิบัติงานภายในหรือหน่วยงานกํากับดูแลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องสื่อสารทําความเข้าใจและให้ความรู้กับผู้ใช้บริการด้วย
(3) กรณีที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนเป็นหน่วยงานของรัฐให้ดําเนินการตามข้อกําหนดการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์นี้ หากผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนเป็นหน่วยงานของเอกชนให้ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(4) จัดให้มีการขอความยินยอมของผู้สมัครใช้บริการ โดยต้องแจ้งวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลด้วย
(5) จัดให้มีการแสดงตนและรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตนที่จําเป็นจากผู้สมัครใช้บริการเพื่อแยกแยะว่าไอเดนทิตีของผู้สมัครใช้บริการมีเพียงหนึ่งเดียว และมีความเฉพาะเจาะจงภายในบริบทของผู้ใช้บริการทั้งหมดที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนดูแล
(6) ตรวจสอบหลักฐานแสดงตนของผู้สมัครใช้บริการ เพื่อตรวจสอบความแท้จริงสถานะการใช้งาน และความถูกต้องของหลักฐานแสดงตน และตรวจสอบข้อมูลในหลักฐานแสดงตนว่าเป็นของบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง
(7) ตรวจสอบตัวบุคคลของผู้สมัครใช้บริการที่แสดงหลักฐานแสดงตนว่าเป็นเจ้าของไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างจริง โดยอาจตรวจสอบช่องทางติดต่อว่าเป็นเจ้าของช่องทางที่ใช้ในการติดต่อ และสามารถติดต่อหรือส่งข้อมูลไปยังผู้สมัครใช้บริการผ่านช่องทางดังกล่าวได้จริง
(8) เก็บรักษาข้อมูลและหลักฐานแสดงตน รวมถึงภาพและเสียง (ถ้ามี) และการบันทึกเหตุการณ์และรายละเอียดการทาธุรกรรมเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยระยะเวลาการเก็บรักษาและการบันทึกดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือแนวนโยบายที่เกี่ยวข้อง
(9) ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(10) ประกาศข้อกําหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลทราบโดยทั่วกัน
ข้อ ๕ ให้ผู้ให้บริการภาครัฐดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดความต้องการและระบบของหน่วยงานที่ต้องการใช้ดิจิทัลไอดี
(2) ประเมินความเสี่ยงเพื่อพิจารณาถึงผลกระทบ ระดับความรุนแรง และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้หากการพิสูจน์หรือยืนยันตัวตนผิดพลาด
(3) นาผลการจัดระดับความเสี่ยงเทียบกับระดับความน่าเชื่อถือทั้งระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตีและระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
(4) เลือกรูปแบบ และวิธีการลงทะเบียน การพิสูจน์ตัวตนและยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมถึงกําหนดเงื่อนไขให้สอดคล้องตามข้อกําหนดในแต่ละระดับความน่าเชื่อถือตามกลุ่มให้บริการภาครัฐและแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ข้อ ๖ ให้แหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือตรวจสอบข้อมูลหรือสถานะของหลักฐานแสดงตนของผู้สมัครใช้บริการตามการร้องขอจากผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และส่งผลการตรวจสอบข้อมูลกลับไปยังผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
บทเฉพาะกาล
---------------------------------
ข้อ ๗ ในระยะเริ่มแรกมิให้นามาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จนกว่าจะพ้นกําหนดสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564
ดอน ปรมัตถ์วินัย
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | 4,947 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 825/2555 เรื่อง การกำหนดค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 825/2555
เรื่อง การกําหนดค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
--------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานคดีล้มละลายของกรมบังคับคดีดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์แก่ราชการ และดําเนินการไปในทิศทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 8 ตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 446/2549 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนกิจการและทรัพย์สิน และให้ปฏิบัติตามคําสั่งนี้
ข้อ ๒ เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณา กําหนดค่าเลี้ยงชีพของลูกหนี้ ตามแนวทางในคําสั่งนี้
ข้อ ๓ ในกรณีที่ลูกหนี้มีรายได้ประจํา ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้อื่นที่มีลักษณะจ่ายเพื่อ ตอบแทนการทํางานเป็นรายเดือน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบรายได้และรายจ่ายของลูกหนี้และ กําหนดค่าเลี้ยงชีพจากรายได้ดังกล่าวจนถึงวันปลดจากการล้มละลายโดยคํานึงถึงฐานานุรูป สภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ให้กําหนดค่าเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าอัตราเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ในการกําหนดค่าเลี้ยงชีพ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ควรกําหนดค่าเลี้ยงชีพสูงกว่าร้อยละ 70 ของรายได้ประจํา เว้นแต่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามีเหตุจําเป็นที่จะกําหนดค่าเลี้ยงชีพ เกินกว่าจํานวนดังกล่าวก็ให้เสนอความเห็นเพื่อให้ผู้อํานวยการกอง อนุญาตตามแต่กรณี
ในกรณีที่ลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายเปลี่ยนแปลงไป และสามารถแสดงเอกสารหลักฐานได้ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์พิจารณาประเด็นนี้ประกอบด้วย
ข้อ ๔ ในการกําหนดค่าเลี้ยงชีพตามข้อ 3 นั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจกําหนด ค่าเลี้ยงชีพให้แก่ลูกหนี้ตั้งแต่วันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จ่ายจากเงินที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดมาแก่ลูกหนี้เป็นรายเดือน
ข้อ ๕ ในกรณีที่ลูกหนี้มายื่นขอค่าเลี้ยงชีพ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจสอบพบว่าลูกหนี้ ได้รับเงินรายได้ประจําไปก่อนหน้าที่จะมายื่นคําขอ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นําเงินที่ลูกหนี้ได้รับไป มาคํานวณและหักออกจากค่าเลี้ยงชีพที่ลูกหนี้จึงจะได้รับต่อไปด้วย
ข้อ ๖ ในกรณีที่ลูกหนี้ได้รับเงินที่มีลักษณะจ่ายคราวเดียว ได้แก่ เงินตอบแทนการออกจากงาน เงินบําเหน็จ หรือเงินได้อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับเงินประเภทดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณา กําหนดค่าเลี้ยงชีพโดยถือตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 3 มากําหนดเป็นเงินที่ลูกหนี้ต้องใช้ในการดํารงชีพในแต่ละเดือน และให้หักจ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกหนี้เป็นรายเดือน นับแต่วันที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับเงินนั้นจนถึงวันที่ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลาย
ข้อ ๗ กรณีที่ลูกหนี้ออกจากงานเป็นเหตุให้ไม่ได้รับเงินรายได้เป็นรายเดือนตามข้อ 3 อีก แต่ได้รับ เงินที่มีลักษณะจ่ายคราวเดียวตามข้อ 6 แทน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณากําหนดค่าเลี้ยงชีพใหม่ ตามแนวทางในค่าสั่งนี้
ข้อ ๘ เงินที่มีลักษณะจ่ายเป็นคราวๆ ได้แก่ เงินโบนัส เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืนหรือเงินได้อื่นใด ที่มีลักษณะเดียวกับเงินประมาทดังกล่าว เป็นเงินตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยไม่ต้องพิจารณาในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ
ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กําหนดค่าเลี้ยงชีพแก่ลูกหนี้และครอบครัวแล้วให้แจ้ง ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินแก่ลูกหนี้ทราบ และให้ส่งเงินเฉพาะส่วนที่เหลือจากที่ได้กําหนดให้เป็นค่าเลี้ยงชีพแล้ว ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป
ข้อ ๑๐ กรณีอายัดเงินเดือนหรือเงินรายได้อื่นใดของลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ เมื่อศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระงับการจ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพให้แก่ลูกหนี้ และระงับการ แบ่งเงินที่ได้รับจากต้นสังกัดของลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ศาลมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายไว้จนกว่าจะ ได้สอบถามและได้รับแจ้งจากต้นสังกัดของลูกหนี้ว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการแบ่งเงินดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,948 |
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ | ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
---------------------------------------------
โดยที่พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานภาครัฐและการจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน รวมทั้งกําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทํางานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล จึงจําเป็นต้องกําหนดให้มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการดําเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะนําไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สําคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 (2) (9) และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2562 วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จึงมีมติให้ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ”
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ข้อมูล” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทาได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทําไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียมฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสํารวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทาให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
“ชุดข้อมูล” หมายความว่า การนําข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล
“บัญชีข้อมูล” หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จําแนกแยกแยะ
โดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
ข้อ ๓ ให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐแนบท้ายประกาศนี้ และจัดทําธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงานให้สอดคล้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐด้วย
ข้อ ๔ ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน ต้องประกอบด้วยเนื้อหาอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การกําหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน
(2) การวางแผนการดําเนินงาน การปฏิบัติตามแผนการดําเนินงาน การตรวจสอบและการรายงานผลการดําเนินงาน และการปรับปรุงแผนการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบบริหารและกระบวนการจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพสามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และคุ้มครองข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ
(3) การกําหนดมาตรการควบคุมและพัฒนาคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย และไม่ถูกละเมิดความเป็นส่วนบุคคล รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน บูรณาการ และใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(4) การวัดผลการบริหารจัดการข้อมูล โดยอย่างน้อยประกอบด้วย การประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน การประเมินคุณภาพข้อมูล และการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
(5) การจําแนกหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อกําหนดนโยบายข้อมูลหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน สําหรับให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายหรือกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันจะนําไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐอย่างเป็นระบบ
(6) การจัดทําคําอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐและบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | 4,949 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 538/2555 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวกรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 538/2555
เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
------------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 410/2552 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2552 เรื่อง ตั้งกรรมการ เก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบ การเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 410/2552 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2552 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทน ชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. นางสาวรัตนา วิมุกตานนท์ ผู้อํานวยการกองคลัง กรรมการ
2. นางสาวจุฑาทิพย์ ศังขะธร นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
3. นางผุสดี ทั่วจบ หัวหน้าฝ่ายการเงิน กรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1. นายประเวทย์ กุทาพันธ์ หัวหน้าฝ่ายพัสดุ กรรมการ
2. นางสาวมัลลิกา ล้อมทรัพย์ นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
3. นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการน่าสงหรือรับเงิน หรือการทําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสําานักงาน คือ
1. นางผุสดี ทั่วจบ กรรมการ หัวหน้าฝ่ายการเงิน กรรมการ
2. นางอลิศรา วิไลเนตร นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
3. นางสาววรรณี ธีรพลวานิชกุล เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ
4. นางประชุมพร ทองนิล เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ
5. นางสาวลดาวัลย์ วิริยะศิริวัฒนา เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใดซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือหัวหน้า ฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุมรักษา ความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2555
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,950 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 456/2555 เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์เพื่อกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาสมควรขายในการขายทอดตลาด ในเขตจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 456/2555
เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์เพื่อกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาสมควรขายในการขายทอดตลาด
ในเขตจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ
-------------------------------
ด้วยกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ข้อ 6 (3) (4) (5) วรรคสอง ได้กําหนดให้มีราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ราคาที่กําหนดโดยคณะกรรมการ กําหนดราคาทรัพย์และราคาประเมินของสํานักงานวางทรัพย์กลาง ระบุไว้ในประกาศขายทอดตลาด และ ประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการ ขายทอดตลาด กําหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจาก ราคาประเมินของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ราคาประเมินของสํานักงานวางทรัพย์กลางและราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นราคาเริ่มต้นในการ ขายทอดตลาด
เพื่อให้การประเมินราคาทรัพย์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาสมควรขายในการขาย ทอดตลาดในเขตจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ เป็นไปด้วยความ เรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด พ.ศ. 2540 ข้อ 4 วรรคสอง จึงมี คําสั่งดังนี้
ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในเขตจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรีและ จังหวัดสมุทรปราการ ยึดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีราคาประเมินตั้งแต่ 5,000,000 บาท ขึ้นไปหรือมีราคาต่ํากว่า 5,000,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร ก่อนนําทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีขอให้เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลางประเมินราคาทรัพย์ดังกล่าวและให้ใช้ เป็นราคาประกอบดุลพินิจในการขายด้วยทุกกรณี
ข้อ ๒ ในการขายทอดตลาดห้องชุดซึ่งมีราคาประเมินต่ํากว่า 5,000,000 บาท ให้ใช้ราคาประเมิน ของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการประเมินราคาที่ดินประกอบดุลพินิจในการขายทอดตลาดด้วย
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง ออกไปทําการประเมินราคา ทรัพย์และแจ้งผลการประเมินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายใน 15 วันนับแต่ได้รับเรื่องไว้ ให้ผู้อํานวยการ สํานักงานวางทรัพย์กลาง กวดขันดูแลให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว
กรณีมีเหตุจําเป็นไม่สามารถดําเนินการตามระยะเวลาดังกล่าวได้ให้ผู้อํานวยการสํานักงานวางทรัพย์กลาง รายงานเพื่อขออนุญาตขยายระยะเวลาต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้กับการยึดทรัพย์หลังจากวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป และให้ใช้สําหรับกรณี ทรัพย์ที่ยึดและประเมินราคาไว้ก่อนคําสั่งนี้ แต่เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้ทําการขายทอดตลาดและพบว่าหาก การประเมินราคาทรัพย์เพื่อประกอบการขายทอดตลาด จะสามารถขายได้ในราคาสูงกว่า 5,000,000.-บาท
ข้อ ๕ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2555
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,951 |
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ | ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ
ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ
--------------------------------------------------
โดยที่มาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทําข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ โดยต้องให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถนําไปเผยแพร่ ใช้ประโยชน์ หรือพัฒนาบริการและนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ได้ และกําหนดให้มีศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐทําหน้าที่ประสานงานให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเพื่อเปิดเผยแก่ประชาชน ดังนั้น จึงจําเป็นต้องกําหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการเข้าถึงข้อมูล และกําหนดแนวทางและมาตรฐานให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยแก่ประชาชน ณ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 7 (3) (9) มาตรา 17 และมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2563 วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563 จึงมีมติให้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ”
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ข้อมูล” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทาได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทําไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียม ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสํารวจระยะไกลหรือวิธีอื่นใดที่ทาให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
“ข้อมูลดิจิทัล” หมายความว่า ข้อมูลที่ได้จัดทํา จัดเก็บ จําแนกหมวดหมู่ ประมวลผล ใช้ปกปิด เปิดเผย ตรวจสอบ ทําลาย ด้วยเครื่องมือหรือวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัล
“ข้อมูลเปิดภาครัฐ” หมายความว่า ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรีไม่จํากัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทําซ้ํา หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จํากัดวัตถุประสงค์
“ชุดข้อมูล” หมายความว่า การนําข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล
“บัญชีข้อมูล” หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จําแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ
“คุณลักษณะแบบเปิด” หมายความว่า คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจํากัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์
“ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ” หมายความว่า ศูนย์กลางในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐที่สํานักงานจัดให้มีขึ้นเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนาข้อมูลเปิดภาครัฐมาเปิดเผยในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ
“ผู้ใช้ข้อมูล” หมายความว่า บุคคลที่เข้าใช้ข้อมูลซึ่งเปิดเผยบนศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
“หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานของรัฐ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ข้อ ๓ เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ มีคุณภาพ เชื่อถือได้ และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้หน่วยงานของรัฐจัดทําธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน และดําเนินการให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลอย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะที่หน่วยงานของรัฐจัดทําและครอบครองในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและสามารถนาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
ข้อ ๕ ให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ดังต่อไปนี้
(1) จัดทําบัญชีข้อมูลภายในหน่วยงาน ระบุชุดข้อมูล และจัดระดับความสําคัญของข้อมูลเปิดภาครัฐที่จะนําไปเปิดเผย อย่างน้อยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด ตามหน้าที่หรือภารกิจของหน่วยงานของรัฐ
(2) จําแนกหมวดหมู่ กําหนดและจัดประเภทชั้นความลับของชุดข้อมูล ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด โดยพิจารณาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสําคัญ
(3) กําหนดรูปแบบของชุดข้อมูลของข้อมูลเปิดภาครัฐ อย่างน้อยให้อยู่ในรูปแบบคุณลักษณะแบบเปิด และจัดทําคําอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลเพื่อให้ทราบรายละเอียดของชุดข้อมูล
(4) ให้จัดส่งหรือเชื่อมโยงชุดข้อมูลของข้อมูลเปิดภาครัฐตามประเภท รูปแบบ และมาตรฐานของข้อมูลที่เปิดเผยแก่ประชาชน ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด
ก่อนการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
ข้อ ๖ เพื่ออํานวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชนและการดําเนินงานเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐของหน่วยงานของรัฐผ่านระบบดิจิทัล ให้สํานักงานดําเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีแพลตฟอร์มกลางซึ่งมีระบบบริหารจัดการที่มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและอํานวยความสะดวกในการเปิดเผยและใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลของข้อมูลเปิดภาครัฐ
(2) ประสานงาน แนะนํา และให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อให้สามารถจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลมาที่ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ
(3) สนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อต่อยอดหรือพัฒนาบริการและนวัตกรรม
(4) จัดให้มีช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานของรัฐและผู้ใช้ข้อมูล เพื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ ทั้งนี้ ให้สรุปและเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นให้สาธารณชนทราบเป็นระยะด้วย
ข้อ ๗ หน่วยงานของรัฐและผู้ใช้ข้อมูลต้องปฏิบัติตามข้อกําหนด ข้อตกลง หรือเงื่อนไขการให้บริการและการใช้ข้อมูลของศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐตามที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๘ การดําเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐตามประกาศนี้ ให้หน่วยงานของรัฐผู้ใช้ข้อมูล และสํานักงาน ดําเนินการตามแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐที่กําหนดไว้แนบท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | 4,952 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 194 /2555 เรื่อง มอบอำนาจการพิจารณาหรืออนุญาตการลา | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 194 /2555
เรื่อง มอบอํานาจการพิจารณาหรืออนุญาตการลา
--------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการพิจารณาหรืออนุญาตการลาเป็นไปด้วยความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 มาตรา 38 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการ มอบอํานาจ พ.ศ. 2550 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2546 และข้อ 8 แห่ง ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 จึงมอบอํานาจในการพิจารณาหรือ อนุญาตการลาดังนี้
ข้อ ๑ บรรดาคําสั่ง ระเบียบ หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่มีกําหนดไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับ คําสั่งนี้ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๒ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
ข้อ ๓ ให้หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมมีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาแก่ข้าราชการ พนักงาน ราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัด (เว้นผู้ตรวจราชการกรม) ได้เท่าที่ผู้อํานวยการสํานัก/กองมีอํานาจตามระเบียบ สํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
ข้อ ๔ ให้หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบภายใน หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร หัวหน้าศูนย์ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ หัวหน้าศูนย์บังคับคดีล้มละลายส่วนหน้า ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี กรุงเทพ เขตพื้นที่ ผู้อํานวยการกองคํานวณเงินในคดีแพ่ง ผู้อํานวยการศูนย์สารสนเทศ และผู้อํานวยการกอง การเจ้าหน้าที่ มีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจํา พนักงานราชการ และ เจ้าหน้าที่ในสังกัด ได้เท่าที่ผู้อํานวยการสํานัก/กอง มีอํานาจตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของ ข้าราชการ พ.ศ. 2555
ข้อ ๕ ผู้รับมอบอํานาจตามข้อ 3 และข้อ 4 สามารถมอบอํานาจให้ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นเป็นผู้ พิจารณาหรืออนุญาตการลาแทนได้โดยให้คํานึงถึงระดับตําแหน่งและความรับผิดชอบของผู้รับมอบอํานาจเป็น สําคัญ โดยได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมบังคับคดี ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555
(ลงชื่อ) วิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,953 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2540
-------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538 ให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว จึงกําหนดระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๐ ให้บุคคลตามข้อ 9 ยื่นคําขอรับเงินสงเคราะห์ตามแบบขอรับเงินสงเคราะห์ กสว.อ.01 ต่อกองสวัสดิการแรงงาน หรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน
(2) สําเนาทะเบียนบ้าน
(3) กรณีขอรับทุนการศึกษา ให้แนบเอกสาร
(ก) หนังสือรับรองจากสถานศึกษาว่ากําลังศึกษาอยู่จริง
(ข) สําเนาทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรของผู้ศึกษา
(4) ใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือหนังสือรับรองของนักสังคมสงเคราะห์ประจําสถานพยาบาล”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๕ เงินสงเคราะห์ที่ได้รับจากการบริจาคตามข้อ 5 (2) หรือการจัดกิจกรรมหาทุนตามข้อ 5 (4) ให้นําฝากไว้กับธนาคารของรัฐ ชื่อบัญชี “เงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว””
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๗ ดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคาร ชื่อบัญชี “เงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว” ให้นํามาใช้ประโยชน์ เพื่อการสงเคราะห์ตามข้อ 6 แห่งระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538”
ข้อ ๖ ให้อธิบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
รังสฤษฎ์ จันทรัตน์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,954 |
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2560 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย
พ.ศ. 2560
-------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และการบริหารกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเป็นไปด้วยความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเอื้ออํานวยประโยชน์ต่อการดําเนินงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2546
(2) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“เงินสงเคราะห์” หมายความว่า เงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
“คําขอ” หมายความว่า คําขอรับเงินสงเคราะห์
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสงเคราะห์
------------------------------
ข้อ ๖ การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามระเบียบนี้ ให้จ่ายจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในส่วนที่มิใช่เงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลจากเงินดังกล่าว
ข้อ ๗ ลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์ได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว และคําสั่งนั้นเป็นที่สุด
(2) นายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจาก (1) ได้แก่ ค่าจ้างเฉพาะที่จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทํางาน ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด เงินประกันการทํางานเฉพาะที่นายจ้างหักจากค่าจ้าง และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าว และคําสั่งนั้นเป็นที่สุด
ลูกจ้างที่ได้รับเงินสงเคราะห์ตาม (1) แล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตาม (2) เฉพาะกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ข้อ ๘ ให้ลูกจ้างที่ประสงค์จะใช้สิทธิตามข้อ 7 ยื่นคําขอตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่มีคําสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยหรือเงินอื่น พร้อมแสดงบัตรประจําตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งแสดงได้ว่าระบุถึงตัวผู้นั้น
การยื่นคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ลูกจ้างยื่นคําขอภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวเป็นที่สุด
ข้อ ๙ เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้รับคําขอตามข้อ 8 แล้ว ให้ดําเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์ตามข้อ 7
(2) ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนทางการเงินจนไม่สามารถดํารงชีพได้ตามอัตภาพ
(3) ขณะยื่นคําขอ นิติสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างและนายจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว
ให้พนักงานตรวจแรงงานบันทึกข้อมูลตาม (2) ลงในแบบแจ้งข้อมูลความเดือดร้อนในการดํารงชีพตามที่อธิบดีกําหนด พร้อมทั้งจัดทําสรุปความเดือดร้อนในภาพรวม
หมวด ๒ ขั้นตอนการพิจารณาคําขอ และอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ (กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย)
----------------------------------------
ข้อ ๑๐ กรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิตามข้อ 7 (1) เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้ดําเนินการตามข้อ 9 แล้ว ให้พนักงานตรวจแรงงานเสนอคําขอและเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยความเห็นต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ตามข้อ 14 ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอดังกล่าว
ข้อ ๑๑ อัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ กรณีตามข้อ 7 (1) ให้จ่ายในอัตรา ดังต่อไปนี้
(1) สามสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ํารายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ํา สําหรับลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบสามปี
(2) ห้าสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ํารายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ํา สําหรับลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบสิบปี
(3) เจ็ดสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ํารายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ํา สําหรับลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป
ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในคราวเดียวกันทั้งจํานวน แต่ไม่เกินกว่าจํานวนเงินค่าชดเชยที่พนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้นายจ้างจ่าย
หมวด ๓ ขั้นตอนการพิจารณาคําขอ และอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์
(กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย)
--------------------------------------
ข้อ ๑๒ กรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิตามข้อ 7 (2) เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้ดําเนินการตามข้อ 9 แล้ว ให้พนักงานตรวจแรงงานส่งคําขอรับเงินสงเคราะห์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยความเห็นต่อคณะกรรมการภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอดังกล่าว
เมื่อคณะกรรมการได้รับคําขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พิจารณาและมีมติโดยไม่ชักช้า
กรณีคณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้จ่ายเงินสงเคราะห์ ให้พนักงานตรวจแรงงานเสนอคําขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง และมติคณะกรรมการ พร้อมด้วยความเห็นต่อผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ตามข้อ 14 ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่คณะกรรมการมีมติ
กรณีคณะกรรมการมีมติไม่เห็นชอบให้จ่ายเงินสงเคราะห์ ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดมีหนังสือแจ้งมติดังกล่าวแก่ลูกจ้างด้วยวิธีการที่กําหนดไว้ตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบมติดังกล่าว
ข้อ ๑๓ อัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ กรณีตามข้อ 7 (2) ให้จ่ายในอัตราไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ํารายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ํา
ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในคราวเดียวกันทั้งจํานวน แต่ไม่เกินกว่าจํานวนเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยที่พนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้นายจ้างจ่าย
หมวด ๔ ผู้มีอํานาจอนุมัติ และระยะเวลาการจ่ายเงินสงเคราะห์
------------------------------------
ข้อ ๑๔ ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์
(1) อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สําหรับกรณีที่ลูกจ้างได้ยื่นคําขอตามข้อ 8 ต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนกลาง
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สําหรับกรณีที่ลูกจ้างได้ยื่นคําขอตามข้อ 8 ต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งพิจารณาคําขอให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ได้รับการเสนอจากพนักงานตรวจแรงงานตามข้อ 10 หรือข้อ 12 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่ลูกจ้างได้ยื่นคําขอตามข้อ 8 แล้วแต่กรณี มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาของบุคคลตามข้อ 14 แก่ลูกจ้างด้วยวิธีการที่กํา หนดไว้ตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบผลการพิจารณาดังกล่าว
กรณีตามวรรคหนึ่ง หากผลการพิจารณาของบุคคลดังกล่าวอนุมัติให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง ให้ลูกจ้างมารับเงินสงเคราะห์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าว
กรณีลูกจ้างไม่มารับเงินสงเคราะห์ภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้สิทธิในการรับเงินสงเคราะห์ดังกล่าวระงับสิ้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560
หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง | 4,955 |
ระเบียบกระทรวงแรงงาน ยกเลิกระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2556 | ระเบียบกระทรวงแรงงาน
ยกเลิกระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2556
--------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงแรงงานยกเลิกระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2556”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
เผดิมชัย สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | 4,956 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการรับคำร้องและการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2554 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการรับคําร้องและการพิจารณาคําร้องของพนักงานตรวจแรงงาน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พ.ศ. 2554
----------------------------------------------
โดยที่มาตรา 123 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรม กรณีที่ลูกจ้างถึงแก่ความตายมีสิทธิยื่นคําร้องเรียกบรรดาเงินที่นายจ้างไม่ชําระหรือคืนให้แก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทํางานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลําเนาอยู่ตามแบบที่อธิบดีกําหนด และให้พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริง และมีคําสั่งวินิจฉัยคําร้องนั้น
เพื่อให้การรับคําร้องและการพิจารณาคําร้องของพนักงานตรวจแรงงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเป็นธรรม มีระบบ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการรับคําร้องและการพิจารณาคําร้องของพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการรับคําร้องและการพิจารณาคําร้องของพนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2542 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหา กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การรับคําร้อง
--------------------------------
ข้อ ๕ เมื่อลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายยื่นคําร้องตามมาตรา 123 เพื่ออํานวยความสะดวกและเป็นการให้บริการแก่ผู้ร้อง ไม่ว่าผู้ร้องจะยื่นคําร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ใด ให้พนักงานตรวจแรงงานนั้นรับคําร้องไว้
กรณีที่มีการยื่นคําร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่อื่นซึ่งมิใช่พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ตามข้อ 8 ให้พนักงานตรวจแรงงานผู้รับคําร้องชี้แจงให้ผู้ร้องได้ทราบว่าการรับคําร้องไว้เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ร้อง โดยจะส่งคําร้องให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบเป็นผู้ดําเนินการ พร้อมทั้งบันทึกจดแจ้งคําชี้แจงนั้นไว้เป็นหลักฐาน
ให้พนักงานตรวจแรงงานที่รับคําร้องไว้ตามวรรคสอง ประสานกับพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบโดยจัดส่งคําร้องทางโทรสารหรือโดยวิธีอื่นใดภายในวันทําการถัดไปเป็นอย่างช้าและจัดส่งคําร้อง บันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ไปภายในสามวันทําการนับแต่วันที่รับคําร้องเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ร้องตามวรรคสอง ทั้งนี้ ให้แจ้งให้ผู้ร้องได้ทราบโดยมิชักช้า
ในกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ดําเนินการประสานตามวรรคสาม ไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๖ เพื่อให้การยื่นคําร้องของลูกจ้าง ทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย รวมตลอดถึงการพิจารณาคําร้องของพนักงานตรวจแรงงานเป็นไปอย่างถูกต้องและเสร็จสิ้นภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด ให้พนักงานตรวจแรงงานผู้รับคําร้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
(1) คําร้องให้ใช้แบบ คร.7 ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคําร้องและแบบคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
(2) เอกสารหลักฐานที่ผู้ร้องพึงให้ไว้แก่พนักงานตรวจแรงงานเพื่อประกอบการพิจารณาดําเนินการ เช่น สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนซึ่งรับรองสําเนาถูกต้อง และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับคําร้อง
ข้อ ๗ เมื่อการยื่นคําร้องเป็นไปตามข้อ 5 และข้อ 6 ให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบลงทะเบียนรับคําร้องไว้เป็นหลักฐาน
หมวด ๒ การพิจารณาคําร้อง
--------------------------------------
ข้อ ๘ ให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทํางานอยู่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนข้อเท็จจริง รวบรวมเอกสาร พยานหลักฐาน จากนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีคําสั่งวินิจฉัยคําร้องของลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่สถานที่ทํางานของลูกจ้างอยู่ต่างท้องที่กับภูมิลําเนาของนายจ้างและในสถานที่ทํางานของลูกจ้างนั้น ไม่มีผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายจ้างควบคุมดูแลการทํางานของลูกจ้าง ให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่นายจ้างมีภูมิลําเนาอยู่เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ต่อเนื่องในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ถ้าผู้ร้องได้ยื่นคําร้องในคราวเดียวกันต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทํางานอยู่ครั้งสุดท้าย ให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่นั้นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ควรเป็นพนักงานตรวจแรงงานผู้รับผิดชอบ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นผู้ชี้ขาด ในระหว่างรอคําชี้ขาด ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวนข้อเท็จจริง รวบรวมเอกสาร พยานหลักฐาน จากนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้เกี่ยวข้อง
หากนายจ้างให้ลูกจ้างไปทํางานต่างประเทศและนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แล้วลูกจ้างกลับมายื่นคําร้องในประเทศไทย ให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่นายจ้างมีภูมิลําเนาเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ
ข้อ ๙ การสอบสวนข้อเท็จจริง การรวบรวมเอกสารและพยานหลักฐาน พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบอาจขอความร่วมมือพนักงานตรวจแรงงานท้องที่อื่นที่เกี่ยวข้องดําเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง รวบรวมเอกสารและพยานหลักฐานให้ก็ได้
การขอความร่วมมือไปให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่อื่นดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบ กําหนดประเด็นที่ต้องการให้สอบสวนข้อเท็จจริง ระบุเอกสารหรือพยานหลักฐานที่ต้องการอย่างชัดเจนก็ได้
ข้อ ๑๐ ให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ได้รับการร้องขอดําเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงตามประเด็น รวบรวมเอกสารและพยานหลักฐานตามที่ร้องขอรวมตลอดถึงทําการสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมเอกสาร พยานหลักฐานเพิ่มเติมโดยมิชักช้า
ให้พนักงานตรวจแรงงานตามวรรคหนึ่ง จัดส่งบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริง เอกสารและพยานหลักฐานไปให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ
ข้อ ๑๑ ให้พนักงานตรวจแรงงานแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาให้คู่กรณีทราบตามความจําเป็นแก่กรณี
ถ้าคําร้อง คําให้การ หรือคําชี้แจง มีข้อบกพร่องหรือมีข้อความที่อ่านไม่เข้าใจหรือหลงผิด อันเห็นได้ชัดว่าเกิดจากความไม่รู้หรือความเลินเล่อของคู่กรณี ให้พนักตรวจแรงงานแนะนําให้คู่กรณีแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
ข้อ ๑๒ ในการสอบสวนข้อเท็จจริงจากคู่กรณี ให้พนักงานตรวจแรงงานทําการสอบสวนข้อเท็จจริงโดยเปิดเผยในการนี้คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนร่วมได้
ในกรณีที่นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างมิได้มาชี้แจงข้อเท็จจริง หลบหนี หรือจงใจประวิงการชี้แจงข้อเท็จจริงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้พนักงานตรวจแรงงาน ดําเนินการตามข้อ 14 และมีคําสั่งวินิจฉัยคําร้องของลูกจ้างต่อไป
ข้อ ๑๓ ในกรณีลูกจ้างเกินกว่าหนึ่งคนขึ้นไปที่มีนายจ้างคนเดียวกัน ยื่นคําร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในวันเดียวกัน ให้พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาและมีคําสั่งรวมกันไป
ข้อ ๑๔ พนักงานตรวจแรงงานต้องพิจารณาพยานบุคคล เอกสาร หรือหลักฐานที่เห็นว่าจําเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
(2) รับฟังพยานบุคคล หลักฐาน คําชี้แจง หรือความเห็นของคู่กรณี พยาน หรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณีกล่าวอ้าง เว้นแต่พนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จําเป็น ฟุ่มเฟือย หรือเพื่อประวิงเวลา
(3) ขอข้อเท็จจริงหรือความเห็นจากคู่กรณี พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
(4) ขอให้ผู้ครอบครองเอกสาร ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(5) ออกไปตรวจสอบสถานที่
ข้อ ๑๕ พนักงานตรวจแรงงานต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสจะได้โต้แย้งหรือแสดงพยานหลักฐานของตน
ความในวรรคหนึ่งมิให้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่พนักงานตรวจแรงงานจะเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น
(1) เมื่อมีความจําเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไป จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
(2) เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาตามที่กฎหมายกําหนดไว้ในการทําคําสั่งต้องล่าช้าออกไป
(3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีได้ให้ไว้ในคําร้อง คําให้การ หรือคําชี้แจง
(4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทําได้
ข้อ ๑๖ คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสาร หรือพยานหลักฐานที่จําเป็นเพื่อการโต้แย้ง ชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้
พนักงานตรวจแรงงานอาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสาร หรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ
หมวด ๓ คําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
------------------------------
ข้อ ๑๗ โดยที่พนักงานตรวจแรงงานต้องดําเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคําสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รับคําร้อง การนับระยะเวลาในการดําเนินการให้นับเมื่อ
(1) ในกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทํางานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลําเนาอยู่เป็นผู้รับคําร้อง ให้เริ่มนับระยะเวลาเมื่อพนักงานตรวจแรงงานนั้นได้รับคําร้อง
(2) ในกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานนอกท้องที่ตาม (1) เป็นผู้รับคําร้อง และส่งคําร้องทางโทรสารให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบตามข้อ 8 ให้เริ่มนับระยะเวลาเมื่อโทรสารไปถึงจังหวัดหรือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ การนับระยะเวลาเป็นวัน มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย เว้นแต่จะได้เริ่มการในวันนั้นตั้งแต่เวลาที่เริ่มต้นทําการตามปกติในทางราชการของพนักงานตรวจแรงงาน
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานไม่อาจมีคําสั่งภายในกําหนดเวลาตามข้อ 17 ได้ ให้พนักงานตรวจแรงงานรายงานการดําเนินการ เหตุผลและความจําเป็นเพื่อขอขยายเวลาต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมอบหมายก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว สิบวันเป็นอย่างน้อย
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมอบหมายอาจพิจารณาอนุญาตให้ขยายเวลาได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดตามข้อ 17
ข้อ ๑๙ เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้าง ซึ่งถึงแก่ความตายภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคําสั่ง
ในกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้าง ซึ่งถึงแก่ความตายไม่มีสิทธิได้รับเงินตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งและแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างและลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายทราบ
คําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ใช้แบบ คร.8 ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคําร้องและแบบคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ข้อ ๒๐ ให้พนักงานตรวจแรงงานลงทะเบียนคําสั่งตามข้อ 19 ในทะเบียนออกคําสั่งไว้เป็นหลักฐานตามลําดับคําสั่ง
ข้อ ๒๑ ให้พนักงานตรวจแรงงานส่งคําสั่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือนําไปส่งเองหรือให้เจ้าหน้าที่นําไปส่ง ณ ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสํานักงานของนายจ้างในเวลาทําการของนายจ้าง ถ้าไม่พบนายจ้างหรือพบ แต่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมรับให้ส่งแก่บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและอยู่หรือทํางานในบ้านหรือสํานักงานที่ปรากฏว่าเป็นของนายจ้างนั้นได้
กรณีไม่สามารถส่งคําสั่งตามวรรคหนึ่งได้ ให้ส่งโดยปิดคําสั่ง ณ สํานักงานของนายจ้าง สถานที่ทํางานของลูกจ้าง ภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ของนายจ้าง
หมวด ๔ การอุทธรณ์คําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
-------------------------------------
ข้อ ๒๒ ให้พนักงานตรวจแรงงานแจ้งสิทธิการนําคดีไปสู่ศาลแรงงาน ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่เห็นด้วยกับคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้น ไว้ท้ายคําสั่ง ทั้งนี้ เพื่อแจ้งให้บุคคลดังกล่าวนําคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคําสั่งดังกล่าว
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย นําคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในกําหนดเวลาตามข้อ 22 ให้พนักงานตรวจแรงงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรายงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะได้มอบหมายให้กองนิติการประสานการต่อสู้คดีต่อไป สําหรับพนักงานตรวจแรงงานในส่วนภูมิภาคให้ประสานกับสํานักงานคดีแรงงานเขต สํานักงานอัยการสูงสุดเพื่อดําเนินการต่อไป
หมวด ๕ การเพิกถอนหรือการแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่ง
---------------------------------
ข้อ ๒๔ เมื่อคู่กรณีมีคําขอ พนักงานตรวจแรงงานอาจเพิกถอนหรือเพิ่มเติมคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่พ้นกําหนดอุทธรณ์ตามหมวด 4 ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทําให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นอันยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ
(2) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาคําร้อง หรือได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาครั้งก่อนแล้ว แต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาคําร้อง
(3) พนักงานตรวจแรงงานไม่มีอํานาจหน้าที่จะทําคําสั่งตามคําร้องนั้น
(4) ถ้าคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี
การยื่นคําขอตาม (1) (2) หรือ (3) ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคู่กรณีไม่อาจทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณาครั้งที่แล้วมาก่อนโดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น
การยื่นคําขอให้พิจารณาใหม่ต้องกระทําภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้
ข้อ ๒๕ พนักงานตรวจแรงงานหรือผู้บังคับบัญชาของพนักงานตรวจแรงงานอาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานได้ ไม่ว่าจะพ้นกําหนดอุทธรณ์ตามหมวด 4 หรือไม่ก็ตาม เมื่อมีเหตุหนึ่งเหตุใดตามข้อ 24 (1) (2) (3) หรือ (4)
หมวด ๖ การบังคับตามคําสั่ง
---------------------------------
ข้อ ๒๖ คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่กําหนดให้นายจ้างชําระเงินภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคําสั่ง ถ้ากําหนดแล้วไม่มีการชําระเงินโดยถูกต้อง ครบถ้วนและครบกําหนดสามสิบวันแล้วให้พนักงานตรวจแรงงานใช้มาตรการบังคับตามคําสั่งโดยการดําเนินคดีอาญา ต่อไป
ข้อ ๒๗ การดําเนินคดีอาญาให้เป็นอันระงับไปในกรณีที่นายจ้างได้ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานภายในระยะเวลาที่กําหนดหรือได้ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล
หมวด ๑ ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554
อาทิตย์ อิสโม
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,957 |
ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง ว่าด้วยองค์ประชุมและวิธีการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด | ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง
ว่าด้วยองค์ประชุมและวิธีการดําเนินงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด
-----------------------------------------------
เพื่อให้การประชุมและการดําเนินงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการค่าจ้างจึงวางระเบียบกําหนดองค์ประชุมและวิธีการดําเนินงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างว่าด้วยองค์ประชุมและวิธีการดําเนินงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างกลางว่าด้วยองค์ประชุมและวิธีดําเนินงานของคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2542
ข้อ ๔ การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดให้ดําเนินการ ดังนี้
(1) ในการประชุมต้องมีอนุกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนอนุกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยมีอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคน จึงจะเป็นองค์ประชุม
สําหรับการประชุมเพื่อพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ต้องมีอนุกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนอนุกรรมการทั้งหมด โดยมีอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละสองคน จึงจะเป็นองค์ประชุม แต่ถ้าไม่ครบองค์ประชุมให้จัดให้มีการประชุมอีกครั้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก ซึ่งการประชุมครั้งหลังนี้ แม้ไม่มีอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างเข้าร่วมประชุม ถ้ามีอนุกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนอนุกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม
(2) ในการประชุมคราวใด ถ้าประธานอนุกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อนุกรรมการที่มาประชุมเลือกอนุกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
(3) ในการประชุมนอกจากเจ้าหน้าที่ และผู้ที่ได้รับเชิญมาให้ข้อเท็จจริงหรือความเห็นผู้อื่นที่จะเข้าร่วมประชุมได้ต้องได้รับอนุญาตจากประธานในที่ประชุม
(4) มติของที่ปรุชมให้ถือเสียงข้างมาก อนุกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
สําหรับการประชุมเพื่อพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ต้องได้มติอย่างน้อยสองในสามของอนุกรรมการที่เข้าประชุม
(5) บันทึกการประชุมของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดให้จัดทําเป็นเอกสารลับตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
ในการประชุมอนุกรรมการมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสําคัญ และไม่ควรนํามติที่ประชุมหรือความเห็นของตนเองหรือผู้อื่นไปแถลงให้บุคคลภายนอกทราบ
(6) ประธานอนุกรรมการหรืออนุกรรมการที่ประธานอนุกรรมการมอบหมาย เป็นผู้แถลงผลการประชุม เว้นแต่ผลการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดที่จะต้องเสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณา ตามขั้นตอนต่อไป
ข้อ ๕ ในการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ให้คณะอนุกรรมการศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างในจังหวัดได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่น ๆ ในจังหวัด โดยคํานึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวม และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ทั้งนี้ การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดของคณะอนุกรรมการต้องนําผลสํารวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้าง มาตรฐานการครองชีพ ค่าใช้จ่ายที่จําเป็นของลูกจ้างและข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดมาประกอบการพิจารณาด้วย
ให้อนุกรรมการเสนอผลการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดพร้อมรายละเอียดตามที่เห็นสมควรต่อคณะกรรมการค่าจ้างเพื่อพิจารณาต่อไป
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการค่าจ้างรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมชาย ชุ่มรัตน์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง | 4,958 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และการดำเนินการฝึกอบรม พ.ศ. 2549 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน และการดําเนินการฝึกอบรม
พ.ศ. 2549
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งออกตามความในกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน และการดําเนินการฝึกอบรม พ.ศ. 2549”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
หมวด ๑ การขึ้นทะเบียน
------------------------------------------------
ข้อ ๓ การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานมีห้าระดับ ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน
(2) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค
(3) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง
(4) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ
(5) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
ทั้งนี้ หน่วยงานตามข้อ 16 แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานหนึ่งระดับหรือหลายระดับได้
ข้อ ๔ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีบุคลากรซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทําหน้าที่บริหารจัดการการฝึกอบรมอย่างน้อยหนึ่งคน
(2) มีวิทยากรซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 15 ปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานอย่างน้อยหนึ่งคน เว้นแต่หน่วยงานตามข้อ 16 (5) แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549
(3) มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมที่มีเนื้อหาและรายละเอียดตามที่หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานกําหนดไว้ในแต่ละระดับที่ขอขึ้นทะเบียน
(4) มีอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานในแต่ละระดับที่ขอขึ้นทะเบียน
(5) ในกรณีที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลอื่น หรือสถาบันอุดมศึกษาต้องได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ หรือประกันคุณภาพการศึกษา แล้วแต่กรณี เว้นแต่เคยเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ต้องดําเนินการให้ได้รับการรับรองดังกล่าวภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียนตามระเบียบนี้
(6) ไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียน เว้นแต่พ้นกําหนดสามปี นับแต่วันที่เพิกถอนการขึ้นทะเบียน
(7) ไม่มีผู้มีอํานาจกระทําการแทน กรรมการ ผู้บริหาร หุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นหรือเคยเป็นกรรมการของหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานอื่นที่ถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียน เว้นแต่พ้นกําหนดสามปี นับแต่วันที่เพิกถอนการขึ้นทะเบียน
ข้อ ๕ ให้หน่วยงานที่มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ยื่นคําขอพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้ ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
(1) สําเนาเอกสารที่แสดงถึงความเป็นหน่วยงานตามข้อ 16 แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่18 สิงหาคม พ.ศ. 2549
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงาน
(3) สําเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงาน
(4) แผนที่แสดงที่ตั้งของหน่วยงานโดยสังเขป
(5) เอกสารแสดงรายชื่อ และวุฒิการศึกษาของบุคลากรซึ่งทําหน้าที่บริหารจัดการฝึกอบรม
(6) เอกสารแสดงรายชื่อ และคุณสมบัติของวิทยากร รวมทั้งหนังสือยืนยันการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานสําหรับวิทยากรอื่นซึ่งมิได้ปฏิบัติงานเต็มเวลา
(7) เอกสารประกอบการฝึกอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานในแต่ละระดับที่ขอขึ้นทะเบียน
(8) เอกสารแสดงรายการอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานในแต่ละระดับที่ขอขึ้นทะเบียน
(9) สําเนาเอกสารรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพ หรือประกันคุณภาพการศึกษา
(10) เอกสารแสดงรายชื่อผู้มีอํานาจกระทําการแทน กรรมการ ผู้บริหาร หุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นของหน่วยงาน
(11) เอกสารแสดงแผนและเป้าหมายการจัดฝึกอบรม พร้อมอัตราค่าบริการที่จะเรียกเก็บจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงานลงลายมือชื่อรับรองสําเนาถูกต้องของเอกสารตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๖ เมื่อมีการยื่นคําขอตามข้อ 5 และอธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคําขอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4 ให้อธิบดีขึ้นทะเบียนผู้ยื่นคําขอนั้นเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน และออกใบทะเบียนพร้อมมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในห้าวัน นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน
ในกรณีที่อธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคําขอขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 4 ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอทราบโดยเร็ว
ข้อ ๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 6 แล้วขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 4 ให้อธิบดีเพิกถอนการขึ้นทะเบียน
ข้อ ๘ ในกรณีที่หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 6 มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง สถานภาพของหน่วยงาน วิทยากรฝึกอบรม หรือเปลี่ยนแปลงอื่นใดจากที่ได้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนไว้ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานนั้นส่งเอกสารแสดงการเปลี่ยนแปลงนั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อ ๙ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 6 อาจยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนได้ภายในระยะเวลาสามสิบวัน ก่อนวันที่การขึ้นทะเบียนจะสิ้นสุดลง
ให้นําความในข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 มาใช้บังคับแก่การยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนโดยอนุโลม
หมวด ๒ การดําเนินการฝึกอบรม
------------------------------
ส่วน ๑ บททั่วไป
--------------------------------
ข้อ ๑๐ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องดําเนินการฝึกอบรมตามที่หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานแต่ละระดับกําหนดไว้
ในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติในสถานที่จริง และได้รับการฝึกอบรม โดยใช้อุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมอย่างทั่วถึง
ข้อ ๑๑ การฝึกอบรมภาคทฤษฎี หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องจัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินหกสิบคน และวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินยี่สิบคน
ข้อ ๑๒ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํา งานแจ้งกําหนดการฝึกอบรมแต่ละครั้งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ก่อนวันฝึกอบรมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม และเอกสารประเมินผลการฝึกอบรมของผู้ผ่านการฝึกอบรมแต่ละราย โดยให้วิทยากรซึ่งเป็นผู้ดําเนินการฝึกอบรมเป็นผู้รับรองเอกสารดังกล่าว และส่งเอกสารนั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม
ข้อ ๑๔ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเข้าไปในสํานักงานของหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน และสถานที่จัดการฝึกอบรมในเวลาทําการเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ตรวจสอบ หรือควบคุมให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานดําเนินการฝึกอบรมให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ส่วน ๒ วิทยากร
ข้อ ๑๕ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องจัดให้มีวิทยากรที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ตามเนื้อหาวิชาที่หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานกําหนด และมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
(1) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่มีคุณวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า หรือผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรด้านความปลอดภัยในการทํางานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทํางานมาไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี
(2) เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า โดยสอนวิชาที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน และมีประสบการณ์การสอนเกี่ยวกับวิชาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
(3) เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่าห้าปี หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี ทั้งนี้ มีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับหัวข้อวิชาที่บรรยายมาไม่น้อยกว่าสามปี
วิทยากรตามวรรคหนึ่ง ต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติม หรือพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานอย่างต่อเนื่องปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง
ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํา งานส่งหลักฐานการฝึกอบรมเพิ่มเติมหรือการพัฒนาความรู้ของวิทยากรตามข้อ 15 ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในวันที่ 15 ของเดือนมกราคม นับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,959 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย พ.ศ. 2548 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย
พ.ศ. 2548
-------------------------------------------
เพื่อให้การฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและเป็นแนวทางเดียวกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย พ.ศ. 2548”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ คําสั่งและแนวปฏิบัติอื่นในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอํานาจฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
“หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่า ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการกลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่หรือสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๕ คดีแรงงานที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจฟ้องคดีให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) พนักงานตรวจแรงงานได้มีคําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง และคําสั่งนั้นเป็นที่สุดตามมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(2) ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่อาจจัดหาทนายความฟ้องคดีเองได้
ข้อ ๖ ให้ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ซึ่งประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดียื่นคําร้องขอตามแบบท้ายระเบียบนี้ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ออกคําสั่งตามข้อ 5 หรือท้องที่ที่ลูกจ้างหรือนายจ้างมีภูมิลําเนา หรือท้องที่ที่มูลคดีเกิด แล้วแต่กรณีและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับให้ไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๗ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําร้องขอตามข้อ 6 แล้วให้ดําเนินการดังนี้
(1) ลงทะเบียนรับคําร้องขอไว้เป็นหลักฐาน
(2) ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าคดีมีมูลหรือไม่ ซึ่งในกรณีดังกล่าวหากมีการออกคําสั่ง พนักงานตรวจแรงงานตามข้อ 5 ถือว่าคดีมีมูล
(3) ให้ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความอย่างน้อย 2 ฉบับ และแบบพิมพ์อื่นของศาลตามที่จําเป็น
(4) กรณีที่มีลูกจ้างหลายคนประสงค์จะฟ้องนายจ้างรายเดียวกันในมูลเหตุเดียวกัน ให้ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายแต่งตั้งผู้แทนในการดําเนินคดี
(5) เสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานเพื่อให้ความเห็นชอบในการฟ้องคดีและดําเนินคดีไปจนถึงที่สุด
ข้อ ๘ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับคําร้องตามข้อ 6 และข้อ 7 พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นคดีที่มีข้อยุ่งยาก หรือเป็นคดีที่มีลูกจ้างจํานวนมากฟ้องนายจ้างรายเดียวกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเรื่องให้กองนิติการดําเนินการฟ้องคดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รับคําร้องขอ
กรณีที่กองนิติการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากให้เสนอความเห็นต่ออธิบดีเพื่อพิจารณาสั่งการ
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีเหตุผลความจําเป็นหรือมีพฤติการณ์พิเศษอันก่อให้เกิดผลกระทบต่อลูกจ้าง พนักงานเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย อาจรับเป็นทนายความฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 5 ก็ได้ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามข้อ 7 (1) (2) (3) และ (4)
ข้อ ๑๐ กรณีที่ไม่รับเป็นทนายความฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่รับคําร้องขอมีหนังสือแจ้งเหตุผลให้ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายทราบโดยไม่ชักช้า
ในกรณีรับเป็นทนายความฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความในศาลแรงงานจนคดีถึงที่สุด เมื่อศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งแล้ว หากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลแรงงาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการแก้อุทธรณ์และหากลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายประสงค์ให้อุทธรณ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาตามรูปคดีและข้อกฎหมายว่าสมควรอุทธรณ์หรือไม่ แล้วเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามที่อธิบดีแต่งตั้ง เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคําบังคับภายในระยะเวลาหรือภายในเงื่อนไขที่ศาลกําหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคําร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีภายในสามสิบวันนับแต่วันล่วงพ้นระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่ศาลกําหนดและส่งสําเนาหมายบังคับคดีให้ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายเพื่อดําเนินการบังคับคดีโดยเร็ว ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการในการบังคับคดีตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๑๒ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความ วินิจฉัยปัญหา กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,960 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานและการทดสอบการเรียนรู้ในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ พ.ศ. 2548 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
และการทดสอบการเรียนรู้ในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ
พ.ศ. 2548
โดยที่ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ข้อ 7 ข้อ 9 (2) (ค) และข้อ 9 (3) (ข) กําหนดให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกําหนดรายละเอียดการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน และกําหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ต้องผ่านการทดสอบการเรียนรู้ตามที่อธิบดีกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 ข้อ 9 (2) (ค) และข้อ 9 (3) (ข) แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยมาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน และการทดสอบการเรียนรู้ในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ พ.ศ. 2548”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“การทดสอบการเรียนรู้” หมายความว่า การทดสอบข้อเขียนและการทดสอบภาคปฏิบัติ
“หน่วยงานฝึกอบรม” หมายความว่า หน่วยงานที่ได้รับใบรับรองให้เป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ การฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับหน่วยงานฝึกอบรมต้องใช้คู่มือการฝึกอบรมของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับใดตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ไม่จําต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานในระดับเดียวกันตามระเบียบนี้อีก
หมวด ๑ มาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน
ข้อ ๖ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน มี 2 หลักสูตรดังต่อไปนี้
6.1 หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐานในงานอุตสาหกรรมทั่วไป มีระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง ประกอบด้วย 5 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. B1110 ปัญหาการประสบอันตรายจากการทํางาน 1 ชั่วโมง
ข. B1120 สาเหตุของอุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน 1 ชั่วโมง
ค. B1130 บทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัยของบุคลากรในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง
ง. B1140 กฎหมายแรงงานด้านความปลอดภัยในการทํางานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3 ชั่วโมง
(2) หมวดวิชาที่ 2 การค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุและโรคจากการทํางานระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. B1210 การตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ข. B1220 การรายงาน การสอบสวน และการวิเคราะห์อุบัติเหตุ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ค. B1230 การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ง. B1240 มาตรฐานการปฏิบัติงานและการเฝ้าสังเกตงาน 1 ชั่วโมง30 นาที
(3) หมวดวิชาที่ 3 การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุและโรคจากการทํางานระยะเวลาการฝึกอบรม 9 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. B1310 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางเคมี 3 ชั่วโมง
ข. B1320 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายวัสดุและการเก็บรักษา 1 ชั่วโมง 30 นาที
ค. B1330 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง30 นาที
ง. B1340 การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรและไฟฟ้า 2 ชั่วโมง
จ. B1350 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 1 ชั่วโมง
(4) หมวดวิชาที่ 4 สุขภาพอนามัยของพนักงานและการปรับปรุงสภาพการทํางาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรมได้แก่
ก. B1410 ปัญหาและการดูแลสุขภาพพนักงาน 3 ชั่วโมง
ข. B1420 การปรับปรุงสภาพการทํางานโดยใช้ WISE เทคนิค 3 ชั่วโมง
(5) หมวดวิชาที่ 5 การส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
B1510 กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย การฝึกอบรมความปลอดภัยและกิจกรรม 5 ส 3 ชั่วโมง
6.2 หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับพื้นฐานในงานก่อสร้างมีระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง ประกอบด้วย
(1) หมวดวิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. B2110 ปัญหาการประสบอันตรายจากการทํางานในงานก่อสร้าง 1 ชั่วโมง
ข. B2120 สาเหตุของอุบัติเหตุในงานก่อสร้างและโรคจากการทํางาน 1 ชั่วโมง
ค. B1130 บทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัยของบุคลากรในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง
ง. B1140 กฎหมายแรงงานด้านความปลอดภัยในการทํางานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3 ชั่วโมง
(2) หมวดวิชาที่ 2 การค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุและโรคจากการทํางานระยะเวลาในการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. B2210 การตรวจความปลอดภัยในงานก่อสร้าง 1 ชั่วโมง 30 นาที
ข. B1220 การรายงาน การสอบสวน และการวิเคราะห์อุบัติเหตุ 1 ชั่วโมง30 นาที
ค. B1230 การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ง. B1240 มาตรฐานการปฏิบัติงานและการเฝ้าสังเกตงาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
(3) หมวดวิชาที่ 3 การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุและโรคจากการทํางานระยะเวลาการฝึกอบรม 9 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. B2310 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง 3 ชั่วโมง
ข. B1310 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางเคมี 1 ชั่วโมง 30 นาที
ค. B1320 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายวัสดุและการเก็บรักษา 1 ชั่วโมง 30 นาที
ง. B1330 การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง
จ. B1340 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักรและไฟฟ้า 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฉ. B1350 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 30 นาที
(4) หมวดวิชาที่ 4 สุขภาพอนามัยพนักงานและการปรับปรุงสภาพการทํางานระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. B1410 ปัญหาและการดูแลสุขภาพพนักงาน 3 ชั่วโมง
ข. B1420 การปรับปรุงสภาพการทํางานโดยใช้ WISE เทคนิค 3 ชั่วโมง
(5) หมวดวิชาที่ 5 การส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
B1510 กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย การฝึกอบรมและกิจกรรม 5 ส 3 ชั่วโมง
หมวด ๒ มาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน
ข้อ ๗ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับหัวหน้างานมี 2 หลักสูตรดังต่อไปนี้
7.1 หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับหัวหน้างานในงานอุตสาหกรรมทั่วไป มีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. H1110 ปัญหาการประสบอันตรายและความสูญเสีย 1 ชั่วโมง
ข. H1120 สาเหตุของอุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน 1 ชั่วโมง
ค. H1130 บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างานด้านความปลอดภัย 1 ชั่วโมง
(2) หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายด้านความปลอดภัยและกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรมได้แก่
ก. H1210 กฎหมายแรงงานด้านความปลอดภัยในการทํางานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2 ชั่วโมง
ข. H1220 กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย 1 ชั่วโมง
(3) หมวดวิชาที่ 3 การค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุและโรคจากการทํางานระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. H1310 การตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการและการตรวจระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย 1 ชั่วโมง
ข. H1320 การสอบสวน การรายงานและการวิเคราะห์อุบัติเหตุเบื้องต้น 1 ชั่วโมง
ค. H1330 การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย การกําหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและการเฝ้าสังเกตงาน 1 ชั่วโมง
(4) หมวดวิชาที่ 4 การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุและโรคจากการทํางานระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. H1410 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักรและไฟฟ้า 1 ชั่วโมง
ข. H1420 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากภาวะแวดล้อมและสารเคมี 1 ชั่วโมง
ค. H1430 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายวัสดุ 30 นาที
ง. H1440 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 30 นาที
7.2 หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับหัวหน้างานในงานก่อสร้างมีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานก่อสร้างระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. H2110 ปัญหาการประสบอันตรายและความสูญเสียในงานก่อสร้าง 1 ชั่วโมง
ข. H2120 สาเหตุของอุบัติเหตุและโรคจากการทํางานในงานก่อสร้าง 1 ชั่วโมง
ค. H1130 บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างานด้านความปลอดภัย 1 ชั่วโมง
(2) หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายด้านความปลอดภัยและกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. H1210 กฎหมายแรงงานด้านความปลอดภัยในการทํางานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2 ชั่วโมง
ข. H1220 กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย 1 ชั่วโมง
(3) หมวดวิชาที่ 3 การค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุและโรคจากการทํางานมีระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. H2310 การตรวจความปลอดภัยในงานก่อสร้าง 1 ชั่วโมง
ข. H1320 การสอบสวน การรายงานและการวิเคราะห์อุบัติเหตุเบื้องต้น1 ชั่วโมง
ค. H1330 การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย การกําหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและการเฝ้าสังเกตงาน 1 ชั่วโมง
(4) หมวดวิชาที่ 4 การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุและโรคจากการทํางานระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. H2410 การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง 1 ชั่วโมง
ข. H1440 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 30 นาที
ค. H2420 การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรไฟฟ้า ภาวะแวดล้อมสารเคมี และการเคลื่อนย้ายวัสดุ 1 ชั่วโมง 30 นาที
หมวด ๓ มาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
ข้อ ๘ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับบริหาร มีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย
(1) หมวดวิชาที่ 1 การบริหารความปลอดภัยในการทํางาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมงประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. M1110 ปัญหาการประสบอันตรายและความสูญเสีย 1 ชั่วโมง
ข. M1120 การบริหารเพื่อควบคุมความสูญเสีย 2 ชั่วโมง
(2) หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. M1210 กฎหมายแรงงานด้านความปลอดภัยในการทํางาน 2 ชั่วโมง 30 นาที
ข. M1220 กฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 30 นาที
(3) หมวดวิชาที่ 3 บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารด้านความปลอดภัยในการทํางาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. M1310 บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารด้านความปลอดภัยในการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ข. M1320 การจัดองค์กร แผนงาน โครงการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
(4) หมวดวิชาที่ 4 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมงประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. M1410 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2 ชั่วโมง
ข. M1420 การสัมมนาระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 1 ชั่วโมง
หมวด ๔ มาตรฐานหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ
ข้อ ๙ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับวิชาชีพ มีระยะเวลาการฝึกอบรม 192 ชั่วโมง และการฝึกภาคปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ 30 วัน ประกอบด้วย
(1) หมวดวิชาที่ 1 กฎหมายและการพัฒนาพนักงานเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. 1010 กลุ่มสัมพันธ์และการสร้างทีมงาน 3 ชั่วโมง
ข. 1020 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ค. 1030 คนกับสิ่งแวดล้อมในการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ง. 1040 กฎหมายแรงงานด้านความปลอดภัยในการทํางาน 2 ชั่วโมง
จ. 1050 กฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทํางาน 1 ชั่วโมง
ฉ. 1060 พระราชบัญญัติเงินทดแทนและกองทุนเงินทดแทน 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ช. 1070 พระราชบัญญัติเงินทดแทนและกองทุนเงินทดแทน 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ซ. 1080 การสื่อสารระหว่างบุคคล และการมีส่วนร่วม 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฌ. 1090 มนุษย์สัมพันธ์ในสถานประกอบการ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ญ. 1100 ความปลอดภัยสําหรับพนักงานใหม่ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฎ. 1110 กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฏ. 1120 การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฐ. 1130 การฝึกอบรมพนักงานด้านความปลอดภัย 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฑ. 1140 ความปลอดภัยในงาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฒ. 1150 ความปลอดภัยนอกงาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ณ. 1160 สารสนเทศความปลอดภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที 30 นาที
ต. 1180 ประสบการณ์การดําเนินงานด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ 3 ชั่วโมง
(2) หมวดวิชาที่ 2 สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมงประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. 2010 ความรู้พื้นฐานและกฎหมายเกี่ยวกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม 3 ชั่วโมง
ข. 2020 อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ 30 นาที
ค. 2030 อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 1 ชั่วโมง
ง. 2040 เสียงดังและการอนุรักษ์การได้ยิน 1 ชั่วโมง 30 นาที
จ. 2050 อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางเคมี 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฉ. 2060 อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางเคมี 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ช. 2070 ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ซ. 2080 ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฌ. 2090 หลักการระบายอากาศ 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ญ. 2100 หลักการระบายอากาศ 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฎ. 2110 การป้องกันและควบคุมอันตรายจากรังสี 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฏ. 2120 การสัมมนาการตรวจวินิจฉัยสภาพแวดล้อมในการทํางาน 1 1 ชั่วโมง30 นาที
ฐ. 2130 การสัมมนาการตรวจวินิจฉัยสภาพแวดล้อมในการทํางาน 2 1 ชั่วโมง30 นาที
ฑ. 2140 การสัมมนาการตรวจวินิจฉัยสภาพแวดล้อมในการทํางาน 3 1 ชั่วโมง30 นาที
ฒ. 2150 หลักการควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ณ. 2160 หลักการควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ด. 2170 การจัดการอุบัติภัยจากสารเคมี 1 ชั่วโมง 30 นาที
ต. 2180 ระบบการอนุญาตให้ทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ถ. 2190 ประสบการณ์การดําเนินงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม 3 ชั่วโมง
(3) หมวดวิชาที่ 3 เทคโนโลยีและวิศวกรรมความปลอดภัย ระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมงประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. 3010 ความรู้พื้นฐานและกฎหมายเกี่ยวกับวิศวกรรมความปลอดภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ข. 3020 การออกแบบและวางผังโรงงาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ค. 3030 ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร 1 ชั่วโมง 30 นาที
ง. 3040 ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับหม้อน้ําและถังความดัน 1 ชั่วโมง30 นาที
จ. 3050 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องมือกล 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฉ. 3060 หลักการบํารุงรักษาเพื่อความปลอดภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ช. 3070 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล 1 ชั่วโมง 30 นาที
ซ. 3080 มาตรฐานสีและเครื่องหมายความปลอดภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฌ. 3090 ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ญ. 3100 ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฎ. 3110 ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายวัสดุและการเก็บรักษาวัสดุ 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฏ. 3120 ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายวัสดุและการเก็บรักษาวัสดุ 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฐ. 3130 การป้องกันและระงับอัคคีภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฑ. 3140 การตรวจระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฒ. 3150 ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ณ. 3160 ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ด. 3170 ความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะ 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ต. 3180 ความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะ 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ถ. 3190 ประสบการณ์การดําเนินงานทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมความปลอดภัย 3 ชั่วโมง
(4) หมวดวิชาที่ 4 การดูแลสุขภาพอนามัยพนักงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมงประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. 4010 ความรู้พื้นฐานและกฎหมายเกี่ยวกับเวชศาสตร์แรงงาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ข. 4020 หลักการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ค. 4030 การสัมมนาโรคจากการทํางาน 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ง. 4040 การสัมมนาโรคจากการทํางาน 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
จ. 4050 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฉ. 4060 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ช. 4070 การสาธิตและฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาล 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ซ. 4080 การสาธิตและฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาล 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฌ. 4090 การตรวจสุขภาพพนักงาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ญ. 4100 เทคนิคการประเมินผลข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อการวางแผน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฎ. 4110 การส่งเสริมสุขภาพอนามัยส่วนบุคคลในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฏ. 4120 การส่งเสริมสุขภาพจิตในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฐ. 4130 หลักการเฝ้าระวังโรคจากการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฑ. 4140 สัมมนาแนวการดําเนินงานเฝ้าระวังโรคในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฒ. 4150 หลักการด้านระบาดวิทยา 1 ชั่วโมง 30 นาที
ณ. 4160 เทคนิคระบาดวิทยาในงานอาชีวอนามัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ด. 4170 การจัดหน่วยบริการสุขภาพและสวัสดิการเพื่อสุขภาพในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ต. 4180 การป้องกันและควบคุมสารเสพติดในสถานประกอบกิจการ 1 ชั่วโมง30 นาที
ถ. 4190 ประสบการณ์การดําเนินงานด้านสุขภาพคนงานในสถานประกอบกิจการ 3 ชั่วโมง
(5) หมวดวิชาที่ 5 การยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมงประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. 5010 ความรู้พื้นฐานทางการยศาสตร์ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ข. 5020 การค้นหาปัญหาการยศาสตร์ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ค. 5030 การวิเคราะห์ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ง. 5040 ขนาดสัดส่วนของร่างกายมนุษย์และความเครียดในสถานที่ทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
จ. 5050 การปฏิบัติงานโดยการนั่งและยืน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฉ. 5060 การยกย้ายวัสดุด้วยมือ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ช. 5070 ความผิดปกติที่เกิดกับร่างกายส่วนบนอันเกี่ยวเนื่องจากการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ซ. 5080 การปวดหลังเนื่องจากการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฌ. 5090 เครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมและแผงหน้าปัดจอแสดงภาพและวิธีการนําการยศาสตร์มาใช้ 3 ชั่วโมง
ญ. 5110 การสํารวจทางด้านการยศาสตร์ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฎ. 5130 การเพิ่มผลผลิตและการปรับปรุงสถานที่ทํางาน (แบบสํารวจ 46 ข้อ) 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฏ. 5190 ประสบการณ์การดําเนินงานด้านการยศาสตร์ 3 ชั่วโมง
ฐ. 5120 การศึกษาดูงานในสถานประกอบกิจการ 3 ชั่วโมง
ฑ. 5140 การสัมมนา วิเคราะห์ผลการศึกษาดูงาน (การจัดเก็บ ขนย้ายออกแบบหน่วยที่ทํางานและผลิตภาพของเครื่องจักรที่ปลอดภัย การควบคุมสารเคมีอันตราย แสงสว่างและสวัสดิการ อาคารสถานที่ การจัดรูปงานฯลฯ และวิธีการปรับปรุง) 6 ชั่วโมง
(6) หมวดวิชาที่ 6 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง ประกอบด้วยรหัสวิชา หัวข้อวิชา และระยะเวลาอบรม ได้แก่
ก. 6010 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ข. 6020 ความปลอดภัยในการทํางานแบบยั่งยืนเพื่อการควบคุมความสูญเสีย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ค. 6030 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ง. 6040 สาเหตุและผลของอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ 1 ชั่วโมง 30 นาที
จ. 6050 การสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฉ. 6060 การวิเคราะห์อุบัติเหตุ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ช. 6070 การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ซ. 6080 การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฌ. 6090 มาตรฐานการปฏิบัติงานและการเฝ้าสังเกตงาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
ญ. 6100 การวางแผนการตรวจความปลอดภัย 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฎ. 6110 มาตรฐานการดําเนินงานและระบบการวัดผล 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฏ. 6120 สัมมนาการวัดผล/ประเมินผล 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฐ. 6130 5 ส เพื่อความปลอดภัยและเพิ่มผลผลิต 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฑ. 6140 5 ส เพื่อความปลอดภัยและเพิ่มผลผลิต 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ฒ 6150 การพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัยด้วยวิธีการฝึกเพื่อหยั่งรู้อันตราย 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ณ. 6160 การพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัยด้วยวิธีการฝึกเพื่อหยั่งรู้อันตราย 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ด. 6170 การประเมินความเสี่ยง 1 1 ชั่วโมง 30 นาที
ต. 6180 การประเมินความเสี่ยง 2 1 ชั่วโมง 30 นาที
ถ. 6190 ประสบการณ์การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ 3 ชั่วโมง
(7) หมวดวิชาที่ 7 การฝึกอบรมเสริมประสบการณ์เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ โดยการบรรยาย การประชุมกลุ่ม การศึกษาดูงานด้านความปลอดภัยและการวิเคราะห์จากกรณีศึกษา ระยะเวลา 12 ชั่วโมง
(8) หมวดวิชาที่ 8 การฝึกภาคปฏิบัติในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา 30 วัน ณ สถานประกอบกิจการของตนเอง โดยศึกษาสภาพการทํางานและสภาพความไม่ปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงแก้ไข พร้อมจัดทํารายงานการฝึกภาคปฏิบัติโดยนายจ้างลงนามรับรองเสนอต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๑๐ ให้นําความในข้อ 9 (7) มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับวิชาชีพ สําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติตามข้อ 4 (4) (ค) แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โดยมีระยะเวลาในการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง
หมวด ๕ การทดสอบการเรียนรู้ในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับวิชาชีพ
ข้อ ๑๑ หน่วยงานฝึกอบรมต้องแจ้งรายชื่อผู้เข้ารับการอบรมที่จะเข้ารับการทดสอบข้อเขียนให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันทดสอบข้อเขียนโดยแนบเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนของผู้เข้ารับการทดสอบ ดังต่อไปนี้
(1) หนังสือส่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากนายจ้าง
(2) สําเนาหนังสือหรือหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(3) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(4) สําเนาเอกสารการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน และผลงานการลดอัตราการประสบอันตรายในสองปีที่ผ่านมาสําหรับผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 4 (4) (ข) แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
(5) เอกสารแสดงระยะเวลาการฝึกอบรมภาคทฤษฎีของผู้สมัครเข้ารับการทดสอบจําแนกตามหมวดวิชา
ข้อ ๑๒ การทดสอบข้อเขียน มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) การทดสอบข้อเขียนประกอบด้วยข้อสอบแยกแต่ละหมวดวิชา รวม 6 หมวดวิชามีทั้งข้อสอบปรนัยและข้อสอบอัตนัย โดยใช้ระยะเวลาการทดสอบ 6 ชั่วโมง
(2) การทดสอบข้อเขียนถือเกณฑ์ผ่านด้วยคะแนนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60 ของแต่ละหมวดวิชา
(3) ผู้ที่ทดสอบข้อเขียนไม่ผ่านเกณฑ์ในหมวดวิชาใดให้ผู้นั้นเข้าทดสอบแก้ตัวในหมวดวิชาที่ทดสอบไม่ผ่านได้ 1 ครั้ง โดยถือเกณฑ์ผ่านด้วยคะแนนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60
(4) ผู้ที่ทดสอบแก้ตัวในหมวดวิชาใดแล้วยังไม่ผ่าน ให้ผู้นั้นเข้ารับการอบรมเฉพาะหมวดวิชานั้นและทดสอบแก้ตัวใหม่ โดยถือเกณฑ์ผ่านด้วยคะแนนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60
ข้อ ๑๓ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะกําหนดวันสอบข้อเขียน สอบแก้ตัวและสถานที่สอบก่อนการดําเนินการทดสอบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,961 |
ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง ว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด พ.ศ. 2547 | ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง
ว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2547
-------------------------------------
เพื่อให้การได้มาซึ่งอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดเกิดความเหมาะสมและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 คณะกรรมการค่าจ้างจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง ว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2547”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2541
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“องค์กรนายจ้าง” หมายความว่า สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
“องค์กรลูกจ้าง” หมายความว่า สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสรรหาอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดที่กระทรวงแรงงานแต่งตั้งขึ้นในจังหวัดเพื่อทําหน้าที่พิจารณาคัดเลือกและเสนอรายชื่อผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเป็นคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด
ข้อ ๕ ให้มีคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดจํานวนไม่เกินสิบห้าคนประกอบด้วยอนุกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละเท่ากัน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการและแรงงานจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๖ อนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป
(3) เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(4) เป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการในจังหวัดนั้น และในกรณีที่นายจ้างเป็นสมาชิกขององค์กรนายจ้างต้องมีหนังสือรับรองสมาชิกภาพจากองค์กรนายจ้างนั้น
(5) เป็นลูกจ้างซึ่งไม่ใช่ระดับผู้บังคับบัญชาของสถานประกอบกิจการในจังหวัดนั้น โดยมีหนังสือรับรองจากสถานประกอบกิจการ และในกรณีที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกขององค์กรลูกจ้างต้องมีหนังสือรับรองสมาชิกภาพจากองค์กรลูกจ้างนั้น
(6) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(7) ไม่เป็นกรรมการค่าจ้าง หรืออนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดในจังหวัดอื่น
(8) ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๗ การได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ให้สํานักงานแรงงานจังหวัดเสนอรายชื่อผู้แทนฝ่ายรัฐบาลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาสรรหาตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๘ การได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่จังหวัดใดมีองค์กรนายจ้างหรือองค์กรลูกจ้างตั้งแต่สามองค์กรขึ้นไป ให้แจ้งให้องค์กรนายจ้างหรือองค์กรลูกจ้างนั้นทราบ เพื่อเสนอรายชื่อผู้สมัครไม่เกินองค์กรละสามคน
(2) ในกรณีที่จังหวัดใดไม่มีองค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้าง หรือมีแต่ไม่ครบตาม (1) หรือองค์กรนายจ้างหรือองค์กรลูกจ้างไม่เสนอรายชื่อผู้สมัครให้ประกาศให้นายจ้างและลูกจ้างในจังหวัดนั้นสมัครเข้ารับการคัดเลือกและแจ้งให้องค์กรนายจ้างหรือองค์กรลูกจ้างในจังหวัด (ถ้ามี) เสนอรายชื่อผู้สมัครไม่เกินองค์กรละสามคน
ทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การคัดเลือกเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๙ เมื่อมีผู้สมัครตามข้อ 8 แล้ว ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดส่งรายชื่อผู้สมัครและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) แก่คณะกรรมการ
ข้อ ๑๐ เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครซึ่งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเสร็จแล้ว ให้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกนั้นและเสนอรายชื่อผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างพร้อมกับผู้แทนฝ่ายรัฐบาลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบและนําเสนอรายชื่อให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด
ภายใต้บังคับข้อ 12 ผู้สมัครที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ขึ้นบัญชีเป็นผู้แทนสํารอง โดยการขึ้นบัญชีดังกล่าวให้มีระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่คณะกรรมการค่าจ้างได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดนั้น
ข้อ ๑๑ คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ํามีวาระในการดํารงตําแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
ในกรณีที่คณะอนุกรรมการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการใหม่ให้คณะอนุกรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการใหม่เข้ารับหน้าที่ซึ่งต้องแต่งตั้งให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการเดิมพ้นจากตําแหน่ง
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่อนุกรรมการฝ่ายนายจ้างหรืออนุกรรมการฝ่ายลูกจ้างพ้นจากตําแหน่ง ก่อนครบวาระ ให้สํานักงานแรงงานจังหวัดเสนอชื่อผู้แทนสํารองที่มีคุณสมบัติครบตามข้อ 6 และได้รับการคัดเลือกในลําดับถัดไปเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการแทนตําแหน่งอนุกรรมการที่ว่าง โดยให้มีวาระเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของอนุกรรมการที่ตนแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้แทนสํารอง ให้สํานักงานแรงงานจังหวัดแจ้งสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด เพื่อดําเนินการสรรหาผู้แทนฝ่ายนายจ้างหรือผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการแทนตําแหน่งที่ว่าง โดยให้มีวาระเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของอนุกรรมการที่ตนแทน ทั้งนี้ให้นําความในข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามข้อ 11 อนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6
ข้อ ๑๔ ให้ประธานกรรมการค่าจ้างรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง | 4,962 |
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2542 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
พ.ศ. 2542
-------------------------------------------
โดยที่มาตรา 129 วรรคสาม (4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีอํานาจหน้าที่วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดยความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า " ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2542"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างนําเงินหรือทรัพย์สินไปลงทุนเพื่อจัดหาผลประโยชน์ได้โดยวิธีต่อไปนี้ คือ
(1) ฝากไว้กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ
(2) ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงิน
(3) ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) ซื้อตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก
(5) ซื้อตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
ข้อ ๔ การนําเงินหรือทรัพย์สินไปลงทุนเพื่อจัดหาผลประโยชน์ หรือการถอนคืน การลงทุนนอกจากข้อ 3 (1) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ประสงค์ รณะนันทน์
ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง | 4,963 |
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการส่งเงินค่าปรับและกำหนดเวลาส่งเงินค่าปรับ พ.ศ. 2542 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ว่าด้วยการส่งเงินค่าปรับและกําหนดเวลาส่งเงินค่าปรับ
พ.ศ. 2542
------------------------------------
โดยที่มาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้การส่งเงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างและกําหนดเวลาส่งเงินดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกําหนด คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการส่งเงินค่าปรับและกําหนดเวลาส่งเงินค้าปรับ พ.ศ. 2542"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การส่งเงินค่าปรับที่ได้รับจากการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ให้หน่วยงานที่ได้รับเงินค่าปรับนําส่งเงินค่าปรับให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดงหวัด เพื่อนําส่งเข้าบัญชี "กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างบัญชีกระแสรายวัน 1" ภายในวันที่ได้รับเงินหรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไป
ข้อ ๔ การส่งเงินค่าปรับที่ศาลมีคําพิพากษาให้ปรับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2541 เข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ให้นําส่งเดือนละหนึ่งครั้งในวันที่สามสิบของเดือนถัดไป โดยในกรุงเทพมหานครให้นําส่งสํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ในจังหวัดอื่นให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนั้น
กรณีที่ส่งเงินค่าปรับเป็นเช็ค ให้สั่งจ่ายแก่ "กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง" และขีดคร่อมพร้อมทั้งขีดฆ่าคําว่า "ผู้ถือ" ออก
ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือสํานักงานสวัดสิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดออกใบเสร็จรับเงินเป็นรายคดี โดยระบุหมายเลขดําและคดีแดงและชื่อศาลในใบเสร็จรับเงินแต่ละฉบับเพื่อเป็นหลักฐานให้แก่หน่วยงานที่นําส่งและนําส่งเงินค่าปรับเข้าบัญชี "กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างบัญชีกระแสรายวัน 1" ภายในวันที่ได้รับเงิน หรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไป
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ประสงค์ รณะนันทน์
ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง | 4,964 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการนำส่งเงินเพื่อเก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างและการจ่ายคืน พ.ศ. 2542 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการนําส่งเงินเพื่อเก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
และการจ่ายคืน พ.ศ. 2542
--------------------------------------------
โดยที่มาตรา 124 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้พนักงานตรวจแรงงานนําส่งที่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่มารับตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อเก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้มีมติในที่การประชุม ครั้งที่ 4/2542 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2542 ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกําหนดระเบียบว่าด้วยการนําส่งเงินเพื่อเก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และการจ่ายคืน
เพื่อให้การนําส่งเงินเพื่อเก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างของพนักงานตรวจแรงงานและการจ่ายคืนให้กับลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า " ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการนําส่งเงินเพื่อเก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และการจ่ายคืน พ.ศ. 2542"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ วิธีปฏิบัติอื่นใดนอกจากที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2542
ข้อ ๔ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การนําส่งเงินเพื่อเก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
---------------
ข้อ ๕ ในกรณ๊ที่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่มารับเงินตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พนักงานตรวจแรงงานมีหนังสือแจ้งให้มานับเงินดังกล่าวให้พนักงานตรวจแรงงานนําส่งเงินนั้นเก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดยนําฝากเข้าบัญชี"เงินเพื่อจ่ายให้ลูกจ้างพื้นที่...." หรือบัญชี "เงินเพื่อจ่ายให้ลุกจ้างจังหวัด...." แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดไปนับแต่วันที่ครบกําหนดดังกล่าว
หมวด ๒ การเก็บรักษาเงิน
---------------
ข้อ ๖ ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคาร 1 บัญชี โดยใช้ชื่อบัญชีว่า "เงินเพื่อจ่ายให้ลูกจ้างพื้นที่...." เพื่อรับและจ่ายคืนให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย
ข้อ ๗ ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคาร 1 บัญชี โดยใช้ชื่อบัญชีว่า "เงินเพื่อจ่ายให้ลูกจ้างจังหวัด...." เพื่อรับและจ่ายคืนให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย
ข้อ ๘ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชี "เงินเพื่อจ่ายให้ลูกจ้างพื้นที่...." หรือบัญชี "เงินเพื่อจ่ายให้ลูกจ้างจังหวัด...." ให้มีผู้ลงลายมือในเช็คร่วมกันสองคน ซึ่งต้องเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 5 ในสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่หรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดแล้วแต่กรณี
หมวด ๓ การจ่ายเงิน
---------------
ข้อ ๙ ให้ลูกจ้างหรือทยาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายที่ประสงค์จะรับเงินที่เก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามข้อ 5 ยื่นคําขอตามแบบท้ายระเบียบนี้ต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่มีคําสั่ง พร้อมแสดงหลักฐานและมอบสําเนาเอกสารดังต่อไปนี้
(1) บัตรประจําตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งแสดงได้ว่าระบุถึงตัวผู้นั้น
(2) ใบมรณบัตรของลูกจ้าง และสําเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงความเป็นทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย
ข้อ ๑๐ การจ่ายเงินที่เก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนและระยะเวลาดังนี้
(1) ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบความถูกต้องของคําขอและหลักฐานประกอบคําขอว่าผู้ขอรับเงินเป็นลูกจ้างหรือทยาทโดยธรรมของลุกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตามคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้วเสนอต่อผู้อํานวยการสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่หรือสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน
(2) ให้ผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินพิจารณาการอนุมัติ ในกรณีคําขอได้รับการอนุมัติให้จ่ายเงินให้ผู้มีสิทธิรับเงินทันที ในกรณีคําขอไม่ได้รับการอนุมัติให้แจ้งเป็นหนังสือระบุเหตุผลประกอบให้ผู้ยื่นคําขอทราบ
การปฏิบัติตาม (1) และ (2) ให้ดําเนินการแล้วเสร็จภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ได้รับคําขอ ในกรณีมีเหตุอันควรที่ไม่อาจดําเนินการแล้วเสร็จภายในกําหนดนี้ได้ ให้ขยายเวลาดําเนินการได้เท่าที่จําเป็น
ข้อ ๑๑ ให้พนักงานตรวจแรงงานนําส่งเงินที่ได้รับไว้เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ฝากเข้าบัญชี "เงินเพื่อจ่ายให้ลูกจ้างพื้นที่...." หรือบัญชี "เงินเพื่อจ่ายให้ลูกจ้างจังหวัด...." แล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๑๒ ให้ใช้ใบรับเงินท้ายแบบคําขอตามข้อ 9 ซึ่งผู้รับเงินลงชื่อรับเงินแล้วเป็นหลักฐานการจ่ายและให้เก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่และสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดจัดทํารายงานการรับจ่ายเงินประจําเดือนส่งให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ศักดิ์ชัย ศักดิ์กุลวงศ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,965 |
ระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2541 | ระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
ในคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พ.ศ. 2541
------------------------------------------
โดยที่มาตรา 78 มาตรา 94 มาตรา 102 และมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้มีคณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างสําหรับหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จึงกําหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ในคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2541”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“สมาคมนายจ้าง” หมายความว่า สมาคมนายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
“สหภาพแรงงาน” หมายความว่า สหภาพแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
“สภาองค์การนายจ้าง” หมายความว่า สภาองค์การนายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
“สภาองค์การลูกจ้าง” หมายความว่า สภาองค์การลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอํานวยการเลือกตั้ง
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การเสนอชื่อผู้สมัครและผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
----------------------------------
ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการอํานวยการเลือกตั้ง ซึ่งปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแต่งตั้ง โดยมีผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างรวมอยู่ด้วยเพื่ออํานวยการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้เป็นไปโดยเรียบร้อย บริสุทธิ์ และยุติธรรม
ข้อ ๖ ให้สภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างเสนอรายชื่อผู้สมัครเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการคณะต่างๆ ตามข้อ 5 ต่อคณะกรรมการได้ไม่เกินคนละสองคณะ
หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสมัครรับเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๗ ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งตามข้อ 6 ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป
(3) เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(4) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(5) ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(6) เป็นนายจ้างหรือลูกจ้างของสถานประกอบกิจการ
(7) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการสมาคมนายจ้างหรือกรรมการสหภาพแรงงานหรือเป็นหรือเคยเป็นกรรมการลูกจ้างหรือกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเฉพาะในคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(8) เป็นผู้มีความรู้หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เว้นแต่ในคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(ก) เป็นผู้มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการ หรือปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในสถานประกอบกิจการอย่างน้อย 2 ปี
(ข) ไม่เคยเป็นผู้กระทําหรือมีส่วนร่วมในการทําให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงหรือเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทํางาน จนเป็นเหตุให้มีผู้สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
(9) ไม่เคยต้องคําพิพากษาว่าได้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
ผู้สมัครที่ได้รับการเสนอชื่อต้องแสดงหลักฐานและให้การรับรองคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งด้วยตนเอง
ข้อ ๘ สภาองค์การนายจ้างหรือสภาองค์การลูกจ้างอาจเปลี่ยนรายชื่อผู้สมัครที่ตนเสนอก็ได้ ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายในเวลาที่กําหนดไว้ตามข้อ 6
ข้อ ๙ เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งแล้ว หากเห็นว่าผู้สมัครรายใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้แจ้งผลการพิจารณาให้สภาองค์การนายจ้างหรือสภาองค์การลูกจ้างทราบ
สภาองค์การนายจ้างหรือสภาองค์การลูกจ้างซึ่งไม่พอใจผลการพิจารณาตามวรรคหนึ่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
ข้อ ๑๐ สมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานมีสิทธิเสนอชื่อผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการของสมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานนั้นแห่งละหนึ่งคน เพื่อทําหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการแต่ละคณะ
การเสนอชื่อผู้แทนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบและระยะเวลาที่คณะกรรมการกําหนด ให้นําข้อ 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๒ การดําเนินการเลือกตั้ง
--------------------------------------------
ข้อ ๑๑ การเลือกตั้งให้ใช้วิธีการลงคะแนนลับ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๒ ในการเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) จัดเตรียมบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง บัญชีรายชื่อผู้สมัครและผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งรวมตลอดถึงอุปกรณ์และเอกสารอื่นเพื่อใช้ในการเลือกตั้ง
(2) พิจารณาตรวจสอบความถูกต้องของบัตรเลือกตั้งที่มีการลงคะแนนเสียงแล้ว
(3) นับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ ๑๓ เมื่อนับคะแนนเสียงเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการประกาศผลการนับคะแนนและจัดทําบัญชีรายชื่อเรียงลําดับผู้ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดตามลําดับจนถึงผู้ได้รับคะแนนเสียงน้อยที่สุด
ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่ากันในลําดับใด ให้จับสลากเพื่อเรียงลําดับในลําดับนั้น
ข้อ ๑๔ ให้คณะกรรมการเก็บบัตรเลือกตั้งที่ได้นับคะแนนเสียงแล้วใส่ซองปิดผนึกและลงลายมือชื่อคณะกรรมการอย่างน้อยสามคนกํากับไว้บนซอง โดยแยกเก็บบัตรเลือกตั้งที่วินิจฉัยว่าเป็นบัตรเสียไว้ต่างหาก ทั้งนี้ กรณีที่เป็นบัตรเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการค่าจ้างให้มอบแก่สํานักงานคณะกรรมการค่าจ้างพร้อมกับบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งตามข้อ 13 สําหรับบัตรเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการอื่นให้มอบแก่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพร้อมกับบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งเช่นกัน
ให้ผู้รับมอบเอกสารตามวรรคหนึ่งเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะต่างๆ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ ให้ผู้รับมอบเอกสารตามข้อ 14 เสนอรายชื่อผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างที่มีคะแนนเสียงมากที่สุดตามลําดับจนครบจํานวนที่พึงมีในคณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานและคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างแล้วแต่กรณี เพื่อให้คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการดังกล่าวต่อไป
ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการไตรภาคีด้านแรงงานได้ไม่เกินคนละสองคณะ
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างหรือกรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้างพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ให้ผู้รับมอบเอกสารตามข้อ 14 เสนอชื่อผู้แทนฝ่ายนายจ้างหรือผู้แทนฝ่ายลูกจ้างที่มีคะแนนมากในลําดับถัดไปเพื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนตําแหน่งกรรมการที่ว่างโดยให้มีวาระเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | 4,966 |
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551 (Update ฉบับล่าสุด) | ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน
ของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. 2551
------------------------------------------------
โดยที่ปัจจุบันสภาพสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไป วิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทในสังคมยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้น ทําให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีการนําเทคโนโลยี มาใช้งานหรือดําเนินการทางธุรกิจตามกระแสที่มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดังนั้น จึงเห็นควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2547 ให้มีความสอดคล้องตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค อนุวัติไปตามเทคโนโลยีที่ภาครัฐนํามาใช้ปฏิบัติงาน จึงเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้บริการแก่ประชาชนมีความเหมาะสมตามสภาพการณ์ในปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“ผู้บังคับบัญชา” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือผู้ได้รับมอบหมาย
“ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง เลขานุการกรมหรือผู้อํานวยการส่วน หรือผู้ได้รับมอบหมายอื่น ๆ ในสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้อํานวยการมอบหมายงานให้พิจารณาดําเนินการ
“ผู้ประสานคดี” หมายความว่า นิติกร หรือเจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบสํานวนคดีที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีมติให้ดําเนินคดี
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“หน่วยงาน” หมายความว่า สํานัก กอง ส่วน หรือกลุ่มงาน ในสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง” หมายความว่า คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก และคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
“คู่กรณี” หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคําร้องเรียนหรือถูกร้องเรียนต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและเพื่อประโยชน์แห่งการดําเนินการพิจารณาให้รวมถึงบุคคล ผู้มีสิทธิกระทําการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมาย
“หน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค” หมายความว่า หน่วยงานที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“ระบบสารสนเทศ”[2] หมายความว่า ระบบสารสนเทศตามช่องทางโปรแกรมประยุกต์ (Application)
“ผู้ช่วยผู้บริโภคในการร้องทุกข์”[3] หมายความว่า บุคคลที่อาสาสมัครร้องทุกข์และประสานงานให้กับผู้บริโภคผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตามคุณสมบัติที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนด
หมวด ๑ การปฏิบัติราชการทั่วไป
------------------------------------------
ข้อ ๕ การรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคหรือรับเรื่องอื่นใด ให้สํานักงานเลขานุการกรมลงรับหนังสือและเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการภายใน 1 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
ข้อ ๖ เมื่อหน่วยงานได้รับเรื่องพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อ 5 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ธุรการของหน่วยงานดําเนินการเสนอผู้อํานวยการพิจารณามอบหมายเจ้าหน้าที่คนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวภายใน 1 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควร ผู้บังคับบัญชามีอํานาจเรียกสํานวนเอกสารเรื่องร้องทุกข์หรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดมาตรวจสอบ พิจารณาหรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบใหม่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเพิ่มเติมร่วมดําเนินการสืบสวนสอบสวน หรือดําเนินการสืบสวนสอบสวนแทนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบก็ได้
หมวด ๒ การรับเรื่องร้องทุกข์
----------------------------------------------
ข้อ ๘ ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคดําเนินการรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคตามแบบพิมพ์บันทึกคําร้องทุกข์ที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนด
ข้อ ๙ ภายใต้บังคับข้อ 10 การรับเรื่องร้องทุกข์หรือเรื่องร้องเรียนจากประชาชนให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการให้คําแนะนําและแจ้งสิทธิให้ผู้ยื่นเรื่องร้องทุกข์ทราบดังนี้
(1) การร้องทุกข์หรือร้องเรียนต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ทําให้อายุความสะดุดหยุดอยู่หรือสะดุดหยุดลง
(2) การร้องทุกข์หรือร้องเรียนต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้บริโภคที่จะนําเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนดังกล่าวไปดําเนินคดีตามกฎหมายด้วยตนเอง
(3) กรณีที่ผู้บริโภคได้ไปใช้สิทธิดําเนินคดีในศาลด้วยตนเองแล้ว ให้ทําเป็นหนังสือแจ้งยุติเรื่องร้องเรียนต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
(4) ผู้ร้องเรียนมีหน้าที่ในการตรวจสอบคําสั่งฟื้นฟูกิจการและสถานะบุคคลล้มละลายจากกรมบังคับคดีโดยตรง
(5) ภายหลังจากการร้องเรียน 15 วัน หากผู้บริโภคยังไม่ได้รับการติดต่อจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ติดตามเรื่อง และควรติดตามเรื่องที่ร้องเรียนทุกเดือน
ข้อ ๑๐ การรับเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากประชาชนที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไม่รับพิจารณาดําเนินการหรือให้ยุติการพิจารณาในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาวินิจฉัยว่ามีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) เรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคได้ไปใช้สิทธิดําเนินคดีทางศาลด้วยตนเองแล้ว
(2) เรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือเรื่องที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งเสร็จเด็ดขาดแล้ว
(3) เรื่องที่ประชาชนได้ใช้สิทธิทางศาลด้วยตนเอง แต่จะให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคดําเนินการบังคับคดีตามพิพากษาให้
(4) เรื่องที่อยู่ในกระบวนการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
(5) เรื่องที่อายุความในการดําเนินคดีสิ้นสุดแล้ว
(6) เรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคได้ยื่นไว้ไม่มีความชัดเจน ไม่สามารถทําความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ร้องเรียน ไม่มีการลงลายมือชื่อของผู้ร้องเรียน ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการเรื่องร้องเรียน หรือไม่มีการติดหรือชําระค่าอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด
(7) เรื่องร้องทุกข์ที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องเรียนไม่ใช่ผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
(8) เรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องเรียนมาพบหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม แต่ผู้ร้องเรียนไม่มาพบ ไม่ส่งเอกสารหรือให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ข้อ ๑๑ กรณีเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากประชาชนที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับไว้ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้ผู้บริโภคทราบ
ข้อ ๑๒ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้รับเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากประชาชนที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายให้รับผิดชอบ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงประเด็นแห่งการร้องเรียน ตลอดจนรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นนําเสนอผู้อํานวยการเพื่อนําเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามในหนังสือเชิญหรือหนังสือเรียก ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนและเพียงพอ เพื่อให้คู่กรณีจัดส่งเอกสารหลักฐานหรือให้มาพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ถ้อยคําและเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งนี้ การติดต่อดังกล่าวเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอาจจะกระทําด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้ทําเป็นหนังสือก็ให้แจ้งยืนยันเป็นหนังสืออีกครั้งหนึ่ง
ข้อ ๑๓ ในการดําเนินกระบวนการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ร้องเรียนหรือประเด็นข้อพิพาทของเรื่องที่ร้องเรียนตลอดจนการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนําเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาต่อไป เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอาจดําเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วยก็ได้
ในกรณีที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีหนังสือเชิญหรือหนังสือเรียกคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มาชี้แจงข้อเท็จจริง โดยวิธีการส่งทางไปรษณีย์ให้จัดส่งไปยังที่ทําการหรือที่อยู่ตามภูมิลําเนาของคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หากเป็นการแจ้งโดยวิธีบุคคลนําไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้าขณะนําไปส่งไม่พบผู้รับ และหากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทํางานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือนั้นหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้นต่อหน้าเจ้าพนักงานตามที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ไปเป็นพยานก็ให้ถือว่าได้รับหนังสือแล้ว
ในกรณีที่คู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามหนังสือเชิญหรือมีหนังสือเรียก ให้สอบถามคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องว่าประสงค์ที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือไม่ และถ้าคู่กรณีให้ถ้อยคําอย่างไร ก็ให้บันทึกถ้อยคําตามนั้น
ข้อ ๑๔ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทําการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ร้องเรียนหรือประเด็นข้อพิพาทที่ร้องเรียนเสร็จแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทําการสรุปสํานวนการสอบสวนและความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเห็นควรยุติเรื่องหรือให้ดําเนินคดีแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสรุปสํานวนและความเห็นพร้อมทั้งประมวลเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ภายใน 10 วันทําการ นับแต่วันที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งการดังกล่าว
ในกรณีที่เป็นการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี หากคณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ได้พิจารณาและมีมติเห็นสมควรให้ดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดหรือมีมติให้ยุติเรื่อง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประมวลเรื่องเสนอหน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคภายใน 10 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ได้ให้การรับรองมติดังกล่าว เพื่อนําเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาต่อไป
ข้อ ๑๕ เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติในการประชุมแต่ละครั้ง ให้หน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคส่งให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบภายใน 7 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีหน้าที่แจ้งผู้บริโภคที่ร้องเรียนทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหนังสือภายใน 7 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา
ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ดําเนินการนํามติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป
หมวด ๓ การดําเนินการตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
--------------------------------------------
ข้อ ๑๗ กรณีที่มีมติให้เปรียบเทียบผู้กระทําความผิด
(1) เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้เปรียบเทียบความผิด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีอํานาจเปรียบเทียบความผิด เห็นสมควรดําเนินการเปรียบเทียบความผิดบุคคลและหรือนิติบุคคลผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประมวลเรื่องและจัดส่งสํานวนเรื่องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินคดี เพื่อดําเนินการเปรียบเทียบความผิดภายใน 1 วันทําการ นับแต่วันที่รับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือผู้ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี
(2) ให้ผู้อํานวยการหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินคดีสั่งการให้ผู้ประสานคดีดําเนินการตรวจสอบสํานวนเรื่องและเอกสารที่เกี่ยวข้องและนําเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามในหนังสือแจ้งให้ผู้กระทําความผิดชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายใน 3 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับสํานวนเรื่อง
(3) ให้ผู้ประสานคดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้กระทําความผิดมาชําระค่าปรับตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยกําหนดเวลาให้ผู้กระทําความผิดไปชําระค่าปรับภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
(4) เมื่อผู้กระทําความผิดยินยอมชําระค่าปรับ ให้ผู้ประสานคดีแจ้งให้ผู้กระทําผิดกรอกรายละเอียดรับทราบข้อกล่าวหาตามแบบ คคบ. 1, คคบ. 2, คคบ. 3 และ คคบ. 4 เสร็จแล้ว ตรวจสอบหลักฐานพร้อมนําเสนอผู้กล่าวหาและผู้มีอํานาจเปรียบเทียบความผิด นําผู้กระทําความผิดไปชําระเงินต่อเจ้าหน้าที่การเงิน เก็บหลักฐานพร้อมสําเนาใบเสร็จรับเงินรวมไว้ในสํานวนเรื่อง ทั้งนี้ ให้ดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1 วันทําการ
(5) ภายหลังล่วงเลยกําหนดระยะเวลาตามข้อ 17 (3) และมีพยานหลักฐานว่าผู้กระทําความผิดได้รับหนังสือแจ้งแล้วไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบความผิด ให้ผู้ประสานคดีสรุปเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณามอบหมายให้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือส่งสํานวนเรื่องให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดําเนินคดีภายใน 3 วันทําการ
ข้อ ๑๘ กรณีที่มีมติให้ดําเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
(1) เมื่อได้รับสํานวนเรื่องการดําเนินคดีจากหน่วยงานเจ้าของเรื่อง ให้ผู้อํานวยการหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินคดีมอบหมายผู้ประสานคดีตรวจสอบสํานวนเอกสารการดําเนินคดีสรุปข้อเท็จจริงจัดทําตารางรายละเอียดของผู้บริโภคให้แล้วเสร็จภายใน 10 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับสํานวนเรื่อง
(2) กรณีจําเป็นต้องบอกเลิกสัญญา หรือบอกกล่าว หรือแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกดําเนินคดีปฏิบัติตามกฎหมาย ให้จัดทําหนังสือบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถาม หรือหนังสือแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติภายในกําหนด 15 วัน เว้นแต่กรณีที่กฎหมายกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
(3) ภายหลังล่วงเลยกําหนดระยะเวลาตามข้อ 18 (2) และมีพยานหลักฐานว่า ผู้ประกอบธุรกิจได้รับหนังสือแจ้งแล้วไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ประสานคดีนําเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามจัดส่งสํานวนเรื่องให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดําเนินคดีตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคภายใน 5 วันทําการ
(4) การดําเนินคดีตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ประสานคดีติดตามคดีและประสานงานกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคทุก ๆ 3 เดือน และต้องรายงานผลการดําเนินคดีให้ผู้บังคับบัญชาและประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบทุก 30 วันทําการ
(5) ภายหลังการดําเนินคดีและศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ประกอบธุรกิจแพ้คดี ให้ผู้ประสานคดีแจ้งผลการดําเนินคดีให้กับผู้บริโภคทราบและหากมีความจําเป็นต้องดําเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย ให้ผู้ประสานคดีดําเนินการเชิญผู้บริโภคในคดีมาประชุมชี้แจง และดําเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีภายใน 90 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับหมายบังคับคดีของศาล
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่มีความจําเป็นซึ่งจะดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ไม่ได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือผู้ประสานคดีรายงานเหตุที่ดําเนินการไม่แล้วเสร็จเพื่อขยายระยะเวลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว
หมวด ๔ การปฏิบัติราชการเฉพาะเรื่อง
------------------------------------
ข้อ ๒๐ การปฏิบัติราชการในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรองสมาคม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการดังนี้
(1) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานตาม “แบบคําขอรับการรับรองเป็นสมาคมที่มีสิทธิและอํานาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค” (แบบ ส.ค.บ. 1) ให้เสร็จภายใน 15 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับคําขอจากสมาคม
(2) กรณีเอกสารหลักฐานตามแบบ ส.ค.บ. 1 ที่สมาคมยื่นคําขอครบถ้วนและสมาคมนั้นเป็นสมาคมซึ่งมีลักษณะถูกต้องตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้ประกาศชื่อของสมาคมและชื่อของคณะกรรมการของสมาคมไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและประกาศทางวิทยุกระจายเสียงเป็นเวลาสามวัน ตามข้อ 2 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2540) ภายใน 20 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับเอกสารประกอบคําขอครบถ้วน
(3) กรณีเอกสารหลักฐานตามแบบ ส.ค.บ. 1 ที่สมาคมยื่นคําขอไม่ครบถ้วน ให้แจ้งสมาคมทราบภายใน 7 วันทําการ นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจเอกสารหลักฐานตามแบบ ส.ค.บ. 1 เสร็จตามข้อ 20 (1)
(4) กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าสมาคมที่ยื่นคําขออาจมีลักษณะไม่ถูกต้องตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้เสนอเรื่องขอความเห็นต่อคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายที่คณะกรรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้งโดยเร็ว
(5) การสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในกรณีที่มีผู้คัดค้านให้ดําเนินการภายใน 30 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับคําคัดค้าน และให้ขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วันทําการ แต่ต้องบันทึกเหตุผลการขยายระยะเวลาแต่ละครั้งไว้ในสํานวนการสอบสวนด้วย
(6) เมื่อได้ดําเนินการเสร็จสิ้นตามข้อ 20 (2) หรือข้อ 20 (5) แล้วแต่กรณี ให้นําเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาโดยเร็ว
(7) กรณีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้การรับรองสมาคมให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ “แบบหนังสือรับรองให้สมาคมที่มีสิทธิและอํานาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค” แบบ ส.ค.บ. 2 ให้ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อลงนามภายใน 7 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติ และให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคส่งเรื่องไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับส่งหนังสือรับรองดังกล่าวให้แก่สมาคมภายใน 15 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติ
(8) กรณีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติไม่ให้การรับรอง ให้แจ้งสมาคมทราบภายใน 15 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติ
หมวด ๕ การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านระบบสารสนเท
-----------------------------------------
ข้อ ๒๑ ให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดให้มีระบบให้ผู้บริโภคร้องทุกข์และติดตามเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านระบบสารสนเทศได้
ข้อ ๒๒ ผู้ร้องทุกข์หรือร้องเรียนจะต้องลงทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนด เพื่อให้มีสิทธิในการดําเนินการผ่านระบบสารสนเทศ
ข้อ ๒๓ การร้องทุกข์หรือร้องเรียนจะมีผลเมื่อระบบได้มีการยืนยันตอบรับแก่ผู้ร้องทุกข์ หรือร้องเรียนผ่านระบบสารสนเทศแล้ว
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ผู้บริโภคประสงค์ที่จะร้องทุกข์ผ่านผู้ช่วยผู้บริโภคในการร้องทุกข์ ให้กระทําได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนด
ข้อ ๒๕ นอกจากที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ให้นําระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ในหมวดที่ 1 ถึงหมวดที่ 3 มาใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ชูศักดิ์ ศิรินิล
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 4,967 |
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551 | ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน
ของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. 2551
---------------------------------------
โดยที่ปัจจุบันสภาพสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไป วิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทในสังคมยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้น ทําให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีการนําเทคโนโลยี มาใช้งานหรือดําเนินการทางธุรกิจตามกระแสที่มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดังนั้น จึงเห็นควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2547 ให้มีความสอดคล้องตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค อนุวัติไปตามเทคโนโลยีที่ภาครัฐนํามาใช้ปฏิบัติงาน จึงเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้บริการแก่ประชาชนมีความเหมาะสมตามสภาพการณ์ในปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“ผู้บังคับบัญชา” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือผู้ได้รับมอบหมาย
“ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง เลขานุการกรมหรือผู้อํานวยการส่วน หรือผู้ได้รับมอบหมายอื่น ๆ ในสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้อํานวยการมอบหมายงานให้พิจารณาดําเนินการ
“ผู้ประสานคดี” หมายความว่า นิติกร หรือเจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบสํานวนคดีที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีมติให้ดําเนินคดี
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“หน่วยงาน” หมายความว่า สํานัก กอง ส่วน หรือกลุ่มงาน ในสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง” หมายความว่า คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก และคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
“คู่กรณี” หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคําร้องเรียนหรือถูกร้องเรียนต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและเพื่อประโยชน์แห่งการดําเนินการพิจารณาให้รวมถึงบุคคล ผู้มีสิทธิกระทําการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมาย
“หน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค” หมายความว่า หน่วยงานที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หมวด ๑ การปฏิบัติราชการทั่วไป
-----------------------------------------
ข้อ ๕ การรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคหรือรับเรื่องอื่นใด ให้สํานักงานเลขานุการกรมลงรับหนังสือและเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการภายใน 1 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
การรับเรื่องตามวรรคหนึ่ง หากได้รับภายหลังเวลา 16.00 นาฬิกา ให้รีบดําเนินการ ในวันทําการถัดไป
ข้อ ๖ เมื่อหน่วยงานได้รับเรื่องพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อ 5 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ธุรการของหน่วยงานดําเนินการเสนอผู้อํานวยการพิจารณามอบหมายเจ้าหน้าที่คนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวภายใน 1 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควร ผู้บังคับบัญชามีอํานาจเรียกสํานวนเอกสารเรื่องร้องทุกข์หรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดมาตรวจสอบ พิจารณาหรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบใหม่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเพิ่มเติมร่วมดําเนินการสืบสวนสอบสวน หรือดําเนินการสืบสวนสอบสวนแทนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบก็ได้
หมวด ๘ การรับเรื่องร้องทุกข์
-----------------------------------
ข้อ ๘ ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคดําเนินการรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคตามแบบพิมพ์บันทึกคําร้องทุกข์ที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนด
ข้อ ๙ ภายใต้บังคับข้อ 10 การรับเรื่องร้องทุกข์หรือเรื่องร้องเรียนจากประชาชนให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการให้คําแนะนําและแจ้งสิทธิให้ผู้ยื่นเรื่องร้องทุกข์ทราบดังนี้
(1) การร้องทุกข์หรือร้องเรียนต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ทําให้อายุความสะดุดหยุดอยู่หรือสะดุดหยุดลง
(2) การร้องทุกข์หรือร้องเรียนต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้บริโภคที่จะนําเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนดังกล่าวไปดําเนินคดีตามกฎหมายด้วยตนเอง
(3) กรณีที่ผู้บริโภคได้ไปใช้สิทธิดําเนินคดีในศาลด้วยตนเองแล้ว ให้ทําเป็นหนังสือแจ้งยุติเรื่องร้องเรียนต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
(4) ผู้ร้องเรียนมีหน้าที่ในการตรวจสอบคําสั่งฟื้นฟูกิจการและสถานะบุคคลล้มละลายจากกรมบังคับคดีโดยตรง
(5) ภายหลังจากการร้องเรียน 15 วัน หากผู้บริโภคยังไม่ได้รับการติดต่อจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ติดตามเรื่อง และควรติดตามเรื่องที่ร้องเรียนทุกเดือน
ข้อ ๑๐ การรับเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากประชาชนที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไม่รับพิจารณาดําเนินการหรือให้ยุติการพิจารณาในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาวินิจฉัยว่ามีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) เรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคได้ไปใช้สิทธิดําเนินคดีทางศาลด้วยตนเองแล้ว
(2) เรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือเรื่องที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งเสร็จเด็ดขาดแล้ว
(3) เรื่องที่ประชาชนได้ใช้สิทธิทางศาลด้วยตนเอง แต่จะให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคดําเนินการบังคับคดีตามพิพากษาให้
(4) เรื่องที่อยู่ในกระบวนการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
(5) เรื่องที่อายุความในการดําเนินคดีสิ้นสุดแล้ว
(6) เรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคได้ยื่นไว้ไม่มีความชัดเจน ไม่สามารถทําความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ร้องเรียน ไม่มีการลงลายมือชื่อของผู้ร้องเรียน ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการเรื่องร้องเรียน หรือไม่มีการติดหรือชําระค่าอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนด
(7) เรื่องร้องทุกข์ที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องเรียนไม่ใช่ผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
(8) เรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องเรียนมาพบหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม แต่ผู้ร้องเรียนไม่มาพบ ไม่ส่งเอกสารหรือให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ข้อ ๑๑ กรณีเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากประชาชนที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับไว้ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้ผู้บริโภคทราบ
ข้อ ๑๒ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้รับเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากประชาชนที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายให้รับผิดชอบ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงประเด็นแห่งการร้องเรียน ตลอดจนรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นนําเสนอผู้อํานวยการเพื่อนําเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามในหนังสือเชิญหรือหนังสือเรียก ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนและเพียงพอ เพื่อให้คู่กรณีจัดส่งเอกสารหลักฐานหรือให้มาพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ถ้อยคําและเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งนี้ การติดต่อดังกล่าวเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอาจจะกระทําด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้ทําเป็นหนังสือก็ให้แจ้งยืนยันเป็นหนังสืออีกครั้งหนึ่ง
ข้อ ๑๓ ในการดําเนินกระบวนการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ร้องเรียนหรือประเด็นข้อพิพาทของเรื่องที่ร้องเรียนตลอดจนการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนําเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาต่อไป เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอาจดําเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วยก็ได้
ในกรณีที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีหนังสือเชิญหรือหนังสือเรียกคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มาชี้แจงข้อเท็จจริง โดยวิธีการส่งทางไปรษณีย์ให้จัดส่งไปยังที่ทําการหรือที่อยู่ตามภูมิลําเนาของคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หากเป็นการแจ้งโดยวิธีบุคคลนําไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้าขณะนําไปส่งไม่พบผู้รับ และหากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทํางานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือนั้นหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้นต่อหน้าเจ้าพนักงานตามที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ไปเป็นพยานก็ให้ถือว่าได้รับหนังสือแล้ว
ในกรณีที่คู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามหนังสือเชิญหรือมีหนังสือเรียก ให้สอบถามคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องว่าประสงค์ที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทหรือไม่ และถ้าคู่กรณีให้ถ้อยคําอย่างไร ก็ให้บันทึกถ้อยคําตามนั้น
ข้อ ๑๔ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทําการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ร้องเรียนหรือประเด็นข้อพิพาทที่ร้องเรียนเสร็จแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทําการสรุปสํานวนการสอบสวนและความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเห็นควรยุติเรื่องหรือให้ดําเนินคดีแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสรุปสํานวนและความเห็นพร้อมทั้งประมวลเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ภายใน 10 วันทําการ นับแต่วันที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งการดังกล่าว
ในกรณีที่เป็นการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี หากคณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ได้พิจารณาและมีมติเห็นสมควรให้ดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดหรือมีมติให้ยุติเรื่อง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประมวลเรื่องเสนอหน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคภายใน 10 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ได้ให้การรับรองมติดังกล่าว เพื่อนําเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาต่อไป
ข้อ ๑๕ เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติในการประชุมแต่ละครั้ง ให้หน่วยงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคส่งให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบภายใน 7 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีหน้าที่แจ้งผู้บริโภคที่ร้องเรียนทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหนังสือภายใน 7 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา
ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ดําเนินการนํามติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป
หมวด ๓ การดําเนินการตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
--------------------------------------
ข้อ ๑๗ กรณีที่มีมติให้เปรียบเทียบผู้กระทําความผิด
(1) เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้เปรียบเทียบความผิด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีอํานาจเปรียบเทียบความผิด เห็นสมควรดําเนินการเปรียบเทียบความผิดบุคคลและหรือนิติบุคคลผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประมวลเรื่องและจัดส่งสํานวนเรื่องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินคดี เพื่อดําเนินการเปรียบเทียบความผิดภายใน 1 วันทําการ นับแต่วันที่รับทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือผู้ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี
(2) ให้ผู้อํานวยการหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินคดีสั่งการให้ผู้ประสานคดีดําเนินการตรวจสอบสํานวนเรื่องและเอกสารที่เกี่ยวข้องและนําเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามในหนังสือแจ้งให้ผู้กระทําความผิดชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายใน 3 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับสํานวนเรื่อง
(3) ให้ผู้ประสานคดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้กระทําความผิดมาชําระค่าปรับตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยกําหนดเวลาให้ผู้กระทําความผิดไปชําระค่าปรับภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
(4) เมื่อผู้กระทําความผิดยินยอมชําระค่าปรับ ให้ผู้ประสานคดีแจ้งให้ผู้กระทําผิดกรอกรายละเอียดรับทราบข้อกล่าวหาตามแบบ คคบ. 1, คคบ. 2, คคบ. 3 และ คคบ. 4 เสร็จแล้ว ตรวจสอบหลักฐานพร้อมนําเสนอผู้กล่าวหาและผู้มีอํานาจเปรียบเทียบความผิด นําผู้กระทําความผิดไปชําระเงินต่อเจ้าหน้าที่การเงิน เก็บหลักฐานพร้อมสําเนาใบเสร็จรับเงินรวมไว้ในสํานวนเรื่อง ทั้งนี้ ให้ดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1 วันทําการ
(5) ภายหลังล่วงเลยกําหนดระยะเวลาตามข้อ 17 (3) และมีพยานหลักฐานว่าผู้กระทําความผิดได้รับหนังสือแจ้งแล้วไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบความผิด ให้ผู้ประสานคดีสรุปเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณามอบหมายให้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือส่งสํานวนเรื่องให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดําเนินคดีภายใน 3 วันทําการ
ข้อ ๑๘ กรณีที่มีมติให้ดําเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
(1) เมื่อได้รับสํานวนเรื่องการดําเนินคดีจากหน่วยงานเจ้าของเรื่อง ให้ผู้อํานวยการหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินคดีมอบหมายผู้ประสานคดีตรวจสอบสํานวนเอกสารการดําเนินคดีสรุปข้อเท็จจริงจัดทําตารางรายละเอียดของผู้บริโภคให้แล้วเสร็จภายใน 10 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับสํานวนเรื่อง
(2) กรณีจําเป็นต้องบอกเลิกสัญญา หรือบอกกล่าว หรือแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกดําเนินคดีปฏิบัติตามกฎหมาย ให้จัดทําหนังสือบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถาม หรือหนังสือแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติภายในกําหนด 15 วัน เว้นแต่กรณีที่กฎหมายกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
(3) ภายหลังล่วงเลยกําหนดระยะเวลาตามข้อ 18 (2) และมีพยานหลักฐานว่า ผู้ประกอบธุรกิจได้รับหนังสือแจ้งแล้วไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ประสานคดีนําเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามจัดส่งสํานวนเรื่องให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดําเนินคดีตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคภายใน 5 วันทําการ
(4) การดําเนินคดีตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ประสานคดีติดตามคดีและประสานงานกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคทุก ๆ 3 เดือน และต้องรายงานผลการดําเนินคดีให้ผู้บังคับบัญชาและประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบทุก 30 วันทําการ
(5) ภายหลังการดําเนินคดีและศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ประกอบธุรกิจแพ้คดี ให้ผู้ประสานคดีแจ้งผลการดําเนินคดีให้กับผู้บริโภคทราบ และหากมีความจําเป็นต้องดําเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย ให้ผู้ประสานคดีดําเนินการเชิญผู้บริโภคในคดีมาประชุมชี้แจง และดําเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีภายใน 90 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับหมายบังคับคดีของศาล
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่มีความจําเป็นซึ่งจะดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ไม่ได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหรือผู้ประสานคดีรายงานเหตุที่ดําเนินการไม่แล้วเสร็จเพื่อขยายระยะเวลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันที่ครบกําหนดเวลาดังกล่าว
หมวด ๔ การปฏิบัติราชการเฉพาะเรื่อง
-----------------------------------
ข้อ ๒๐ การปฏิบัติราชการในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรองสมาคม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการดังนี้
(1) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานตาม “แบบคําขอรับการรับรองเป็นสมาคมที่มีสิทธิและอํานาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค” (แบบ ส.ค.บ. 1) ให้เสร็จภายใน 15 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับคําขอจากสมาคม
(2) กรณีเอกสารหลักฐานตามแบบ ส.ค.บ. 1 ที่สมาคมยื่นคําขอครบถ้วนและสมาคมนั้นเป็นสมาคมซึ่งมีลักษณะถูกต้องตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้ประกาศชื่อของสมาคมและชื่อของคณะกรรมการของสมาคมไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและประกาศทางวิทยุกระจายเสียงเป็นเวลาสามวัน ตามข้อ 2 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2540) ภายใน 20 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับเอกสารประกอบคําขอครบถ้วน
(3) กรณีเอกสารหลักฐานตามแบบ ส.ค.บ. 1 ที่สมาคมยื่นคําขอไม่ครบถ้วน ให้แจ้งสมาคมทราบภายใน 7 วันทําการ นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจเอกสารหลักฐานตามแบบ ส.ค.บ. 1 เสร็จตามข้อ 20 (1)
(4) กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าสมาคมที่ยื่นคําขออาจมีลักษณะไม่ถูกต้องตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ให้เสนอเรื่องขอความเห็นต่อคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายที่คณะกรรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้งโดยเร็ว
(5) การสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในกรณีที่มีผู้คัดค้านให้ดําเนินการภายใน 30 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับคําคัดค้าน และให้ขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วันทําการ แต่ต้องบันทึกเหตุผลการขยายระยะเวลาแต่ละครั้งไว้ในสํานวนการสอบสวนด้วย
(6) เมื่อได้ดําเนินการเสร็จสิ้นตามข้อ 20 (2) หรือข้อ 20 (5) แล้วแต่กรณี ให้นําเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาโดยเร็ว
(7) กรณีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้การรับรองสมาคมให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอ “แบบหนังสือรับรองให้สมาคมที่มีสิทธิและอํานาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค” แบบ ส.ค.บ. 2 ให้ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อลงนามภายใน 7 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติ และให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคส่งเรื่องไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับส่งหนังสือรับรองดังกล่าวให้แก่สมาคมภายใน 15 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติ
(8) กรณีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติไม่ให้การรับรอง ให้แจ้งสมาคมทราบภายใน 15 วันทําการ นับแต่วันที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ชูศักดิ์ ศิรินิล
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 4,968 |
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับการฟ้องคดีและการใช้สิทธิและอำนาจฟ้องของสมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2560 | ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ว่าด้วยการดําเนินการเกี่ยวกับการฟ้องคดีและการใช้สิทธิและอํานาจฟ้องของสมาคมและมูลนิธิ
พ.ศ. 2560
-----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดระเบียบเพื่อให้สมาคมหรือมูลนิธิที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตามมาตรา 40 ถือปฏิบัติในการดําเนินการเกี่ยวกับการฟ้องคดีและการใช้สิทธิและอํานาจฟ้องของสมาคมและมูลนิธิต่อไป
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการดําเนินการเกี่ยวกับการฟ้องคดีและการใช้สิทธิและอํานาจฟ้องของสมาคมหรือมูลนิธิ พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการดําเนินการของสมาคมเกี่ยวกับการฟ้องคดีและการใช้สิทธิและอํานาจฟ้องของสมาคม พ.ศ. 2540
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตามมาตรา 40
“มูลนิธิ” หมายความว่า มูลนิธิที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตามมาตรา 40
“ผู้ดําเนินคดี” หมายความว่า ผู้ดําเนินคดีตามกฎกระทรวงการยื่นคําขอและการรับรองสมาคมและมูลนิธิเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2560
หมวด ๑ การดําเนินการของสมาคมและมูลนิธิเกี่ยวกับการฟ้องคดี
----------------------------------------
ข้อ ๕ ให้สมาคมและมูลนิธิส่งรายงานการประชุมของสมาคมและมูลนิธิที่มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุด การเปลี่ยนแปลงกรรมการ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รับทราบการจดทะเบียน เมื่อสมาคมหรือมูลนิธิมีเหตุต้องเลิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้คณะกรรมการของสมาคมหรือมูลนิธิที่อยู่ในตําแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมหรือมูลนิธิแจ้งสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเลิกสมาคมหรือมูลนิธิ
ข้อ ๖ ให้สมาคมและมูลนิธิรายงานงบดุลแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และบัญชีรายรับรายจ่าย รวมทั้งผลการดําเนินคดีของสมาคมและมูลนิธิในรอบปีที่ผ่านมา ไปยังสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่
หมวด ๒ การใช้สิทธิและอํานาจฟ้องของสมาคมและมูลนิธิ
-------------------------------------
ข้อ ๗ ในการพิจารณาดําเนินคดีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามมาตรา 41 คณะกรรมการของสมาคมและคณะกรรมการของมูลนิธิต้องดําเนินการให้มีการรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดให้เพียงพอ การลงมติให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ ให้คณะกรรมการของสมาคมและคณะกรรมการของมูลนิธิพิจารณาจากพยานหลักฐานและความเห็นของผู้ดําเนินคดีตามข้อ 8 โดยสุจริตและมีเหตุผลอันสมควร ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคโดยส่วนรวม สิทธิของบุคคลในการประกอบกิจการ และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจเป็นสําคัญ
การลงมติให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่ง ให้สมาคมและมูลนิธิแจ้งมติพร้อมเหตุผลอย่างชัดเจนประกอบด้วย ให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันลงมติดังกล่าว
ข้อ ๘ คณะกรรมการของสมาคมและคณะกรรมการของมูลนิธิต้องมอบหมายให้ผู้ดําเนินคดีตามบัญชีรายชื่อผู้ดําเนินคดีที่สมาคมและมูลนิธิแจ้งไว้กับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อทําหน้าที่ดําเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภค
ให้สมาคมและมูลนิธิรายงานการเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ดําเนินคดีให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้บริโภคขอให้สมาคมหรือมูลนิธิเรียกทรัพย์สินและค่าเสียหายแทนตน สมาคมหรือมูลนิธิต้องช่วยผู้บริโภคดังกล่าวในการจัดทําหนังสือมอบหมายให้เรียกทรัพย์สินและค่าเสียหาย โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อยสองคน
ข้อ ๑๐ เมื่อสมาคมหรือมูลนิธิได้ยื่นฟ้องคดีใดแล้ว ให้สมาคมหรือมูลนิธิดําเนินการส่งสําเนาคําฟ้องให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคําฟ้อง
ข้อ ๑๑ ถ้าสมาคมหรือมูลนิธิจะถอนฟ้องคดีใด ต้องแจ้งให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ในกรณีที่สมาคมหรือมูลนิธิได้ทําการประนีประนอมยอมความกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ให้สมาคม หรือมูลนิธิมีหนังสือแจ้งสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ประนีประนอมยอมความ
ในการดําเนินการตามวรรคสอง เมื่อศาลได้มีคําพิพากษาตามที่สมาคมหรือมูลนิธิได้ทําการประนีประนอมยอมความกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ให้สมาคมหรือมูลนิธินั้นรีบส่งสําเนาคําพิพากษาและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบโดยเร็ว
การดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้สมาคมหรือมูลนิธิ แนบสําเนาหนังสือแสดงความยินยอมให้ถอนฟ้องหรือประนีประนอมยอมความของผู้บริโภคมาด้วย
ข้อ ๑๒ ในการฟ้องคดี สมาคมและมูลนิธิจะเรียกเงินหรือทรัพย์สินใดจากผู้บริโภคไม่ได้ เว้นแต่ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าคัดถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสาร ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งต้องชําระต่อศาล
ข้อ ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีแทนผู้บริโภค สมาคมและมูลนิธิอาจขอรับการสนับสนุนจากสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้
ข้อ ๑๔ ให้สมาคมหรือมูลนิธิแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับผลการดําเนินคดีให้ผู้บริโภคทราบด้วย
ข้อ ๑๕ เมื่อได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งในคดีที่สมาคมหรือมูลนิธิได้ยื่นฟ้องแล้ว ให้สมาคมหรือมูลนิธิส่งสําเนาคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง เว้นแต่มีเหตุจําเป็นไม่สามารถดําเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าวได้ ให้สมาคมหรือมูลนิธินั้นแจ้งสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบ และให้รีบส่งสําเนาคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นโดยเร็วเมื่อพ้นเหตุจําเป็นดังกล่าว
ข้อ ๑๖ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว บรรดาค่าเสียหายที่สมาคมหรือมูลนิธิได้รับไว้อันเนื่องมาจากการดําเนินคดีของสมาคมหรือมูลนิธิโดยได้รับมอบหมายจากผู้บริโภคต้องส่งให้แก่ผู้บริโภคภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับค่าเสียหายนั้น แล้วแจ้งให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบโดยเร็ว
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่สมาคมหรือมูลนิธิไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏว่าได้ดําเนินการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาจพิจารณาเพิกถอนการรับรองสมาคม หรือมูลนิธิดังกล่าวได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ออมสิน ชีวะพฤกษ์
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 4,969 |
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2560 | ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1)
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2560
-------------------------------------------------
โดยที่มาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจในการนับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจสินค้า และเก็บหรือนําสินค้าในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อทํา การทดสอบโดยไม่ต้องชําระราคาสินค้านั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนด
เพื่อให้การกําหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง เหมาะสม ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง (10) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงออกระเบียบ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2560 ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“นับ” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ เพื่อทําให้ทราบจํานวนสินค้า
“ชั่ง” หมายความว่า การกระทําเพื่อให้รู้ถึงน้ําหนักสินค้าโดยใช้เครื่องชั่ง
“ตวง” หมายความว่า การกระทําเพื่อให้ทราบจํานวนหรือปริมาณสินค้าโดยใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเป็นภาชนะสําหรับใช้ตวง
“วัด” หมายความว่า การกระทําใด ๆ เพื่อให้ทราบขนาดหรือปริมาณสินค้า
“ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย
“สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ผลิตหรือมีไว้เพื่อขาย
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
“ผู้บังคับบัญชา” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมอบหมาย
ข้อ ๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการนับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจสินค้าตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงตน โดยแสดงบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อผู้ประกอบธุรกิจก่อนที่จะทําการนับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจสินค้า หรือต่อผู้ครอบครองสถานที่ก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องทําการตรวจต่อหน้าบุคคลดังกล่าวด้วย หากไม่สามารถกระทําการดังกล่าวต่อหน้าบุคคลนั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทําการต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ร้องขอมาเป็นพยาน
(2) ให้ตรวจตามประเภทสินค้าทั่วไปที่มีการซื้อขายหรือที่มีการโฆษณาหรือมีการแสดงฉลากหรือสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการนับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจสินค้า ไว้ในบันทึกการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) ตามแบบ พ. 1 ท้ายระเบียบนี้ หลังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจ ลงลายมือชื่อรับทราบ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ยอมลงลายมือชื่อก็ให้บันทึกไว้
ข้อ ๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการเก็บตัวอย่างสินค้าเพื่อทําการทดสอบ โดยไม่ต้องชําระราคา ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการเก็บหรือนําสินค้าไปเป็นตัวอย่างเพื่อทดสอบในปริมาณที่คาดว่าจะเพียงพอต่อการทดสอบ และทดสอบด้วยตนเองหรือจัดส่งสินค้านั้นไปทดสอบที่หน่วยงานทดสอบของรัฐหรือเอกชนที่รัฐให้การรับรองเป็นหน่วยทดสอบแล้วแต่กรณี โดยให้จัดส่งสินค้านั้นไปทดสอบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ดําเนินการจัดเก็บตัวอย่างดังกล่าว ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการเก็บสินค้าดังกล่าวไว้ในบันทึกบัญชีหรือทะเบียนควบคุมการเก็บสินค้าตามแบบ พ. 2 ท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้ประกอบธุรกิจลงลายมือชื่อยินยอม หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ยินยอมลงลายมือชื่อก็ให้บันทึกไว้
(2) กรณีเห็นว่าสินค้าใดที่จะเก็บไปเป็นตัวอย่างเพื่อทดสอบเป็นของเสียง่ายหรือหากเก็บไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายหรือมีค่าใช้จ่ายหรือยากต่อการขนย้ายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการ ดังนี้
(2.1) ทําเครื่องหมายสัญลักษณ์ลงในหีบห่อหรือภาชนะบรรจุสินค้านั้น
(2.2) ถ่ายภาพสินค้านั้นไว้แทนการเก็บสินค้านั้น
(2.3) บันทึกชนิดและจํานวนสินค้าว่าอยู่ในสภาพใดและเก็บไว้ในสถานที่ใด
(2.4) ให้บันทึกกรณี 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 แต่ละกรณีลงไว้ในแบบ พ. 2 ที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนดท้ายระเบียบนี้
(3) กรณีเห็นว่าสินค้าใดที่จะเก็บไปเป็นตัวอย่างเพื่อทดสอบเป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานผู้บังคับบัญชาพิจารณาเสนอสินค้านั้นต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อพิจารณาใช้อํานาจตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๖ กรณีเห็นควรจําหน่ายสินค้าใดที่มิได้เป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคตามข้อ 5 (3) ออกจากสารบบเมื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเสร็จแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นวิธีการจําหน่ายสินค้านั้นออกจากสารบบด้วยการส่งคืนหรือทําลาย แล้วแต่กรณี ต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนที่ตนจะดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการจําหน่ายสินค้าออกจากระบบตามแบบ พ. 3 ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณี หากพบว่ามีปัญหาที่ระเบียบนี้มิได้กําหนดไว้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อผู้บังคับบัญชาเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยและรายงานให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบ
ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ดําเนินการเสร็จสิ้น เว้นแต่ในกรณีมีภารกิจต่อเนื่องที่ไม่อาจรายงานได้ในเวลาที่กําหนด ก็ให้รายงานเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจนั้นโดยเร็วที่สุด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ออมสิน ชีวะพฤกษ์
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 4,970 |
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 | ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. 2560
--------------------------------------------------
โดยที่ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว ประกอบกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปและไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน สมควรกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้อํานาจเปรียบเทียบของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ ขั้นตอนการเปรียบเทียบ การกําหนดเงินค่าปรับของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ และการจัดทําประวัติของผู้ต้องหา ให้มีความเหมาะสมชัดเจนและใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงวางระเบียบเกี่ยวกับการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526 และระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ดําเนินการเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“ผู้ต้องหา” หมายความว่า ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๕ ให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบมีอํานาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อ ๖ บรรดาคดีที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบเห็นว่าอยู่ในอํานาจเปรียบเทียบให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบปฏิบัติ ดังนี้
(1) บันทึกชื่อ ชื่อสกุล อายุ ที่อยู่ของผู้กล่าวหาและผู้ต้องหา ข้อหา วัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ ในสมุดรับคํากล่าวโทษตามแบบ คคบ.1 ท้ายระเบียบนี้
(2) แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําความผิดที่ถูกกล่าวหาและแจ้งข้อหาในความผิดดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบ
(3) ชี้แจงให้ผู้ต้องหาทราบและเข้าใจว่าความผิดที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นคดีที่เปรียบเทียบได้
ถ้าผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบบันทึกคําให้การของผู้กล่าวหาและผู้ต้องหาตามแบบ คคบ.2 ท้ายระเบียบนี้ แล้วจึงเปรียบเทียบ
ในกรณีผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้บันทึกคําให้การไว้ในสํานวน
บรรดาคดีที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบเห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจเปรียบเทียบ หรือไม่สมควรเปรียบเทียบ หรือคดีที่ผู้ต้องหาไม่มาให้เปรียบเทียบภายในเวลาที่กําหนด หรือมาทําการเปรียบเทียบแต่ไม่ยินยอมตามที่ได้เปรียบเทียบ หรือไม่ยินยอมยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน ให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ดําเนินคดี
ข้อ ๗ ในการเปรียบเทียบ ให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบกําหนดเงินค่าปรับตามบัญชีอัตราค่าปรับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามแนวทางปฏิบัติสําหรับการกําหนดค่าปรับที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนด
ถ้าการเปรียบเทียบนั้นมีปัญหาสําคัญซึ่งยากแก่การวินิจฉัย ให้หารือคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นนิติบุคคล ให้บันทึกคําให้การและบันทึกเปรียบเทียบให้แยกกันระหว่างนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบการดําเนินงานของนิติบุคคล
ข้อ ๙ ถ้าคดีที่เปรียบเทียบมีของกลางที่จะต้องจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบบันทึกความยินยอมของเจ้าของสิ่งของนั้น ๆ ว่ายินยอมให้เป็นของแผ่นดินตามแบบ คคบ.3 ท้ายระเบียบนี้ และจัดการแก่สิ่งของนั้นตามควรแก่กรณี ภายในขอบเขตของอํานาจหน้าที่ที่จะกระทําได้
ข้อ ๑๐ เมื่อผู้ต้องหาชําระเงินค่าปรับแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกัน และสิทธินําคดีอาญามาฟ้อง เป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ต้องหา และให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อรับทราบจํานวนเงินค่าปรับไว้ที่คู่ฉบับใบเสร็จรับเงิน
ข้อ ๑๑ เมื่อเปรียบเทียบเสร็จและได้รับชําระเงินค่าปรับแล้วให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบบันทึกการเปรียบเทียบตามแบบ คคบ.4 ท้ายระเบียบนี้ และให้จัดทําระบบข้อมูลประวัติของผู้ต้องหาจัดทําบันทึกประวัติของผู้ต้องหาตามแบบ คคบ. 5 ท้ายระเบียบนี้ และรายงานผลการเปรียบเทียบตลอดจนรวบรวมสํานวนการเปรียบเทียบที่เสร็จคดีแล้วเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อทราบ
ข้อ ๑๒ การเก็บรักษาเงินค่าปรับและการนําเงินค่าปรับส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเก็บรักษาสํานวนเปรียบเทียบที่เสร็จคดีไว้ภายในกําหนดอายุความ เมื่อพ้นกําหนดอายุความแล้วให้ขออนุญาตทําลายตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณต่อไป
ข้อ ๑๔ ให้ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ออมสิน ชีวะพฤกษ์
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 4,971 |
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2560 | ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ว่าด้วยการเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2560
-------------------------------------------
เนื่องด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง (3) ได้ให้อํานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อตรวจสอบการผลิตสินค้า การขายสินค้าหรือบริการ รวมทั้งตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อมิให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการรบกวน หรือส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ครอบครองสถานที่ของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว จึงสมควรกําหนดระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้อํานาจตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ในการเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อตรวจสอบการผลิตสินค้าหรือบริการ รวมทั้งตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงความบริสุทธิ์ต่อผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ครอบครองสถานที่ทําการ หรือผู้ครอบครองยานพาหนะใด ๆ นั้นก่อนเข้าไป และพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่เป็นการเร่งด่วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่หรือยานพาหนะนั้นทราบล่วงหน้าตามสมควรและให้กระทําการต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือยานพาหนะของผู้ประกอบธุรกิจนั้น หรือถ้าผู้ครอบครองไม่อยู่ในที่นั้นก็ให้กระทําต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ร้องขอมาเป็นพยาน
ข้อ ๗ ในการเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อตรวจสอบการผลิตสินค้า การขายสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจประสานขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือเจ้าหน้าที่ตํารวจเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วยก็ได้
ข้อ ๘ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้เสร็จแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ครอบครองสถานที่หรือยานพาหนะของผู้ประกอบธุรกิจหรือพยานที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ร้องขอมาเป็นพยานลงลายมือชื่อรับทราบผลการตรวจสอบตามแบบบันทึกการเข้าตรวจสอบสถานที่หรือยานพาหนะท้ายระเบียบนี้ และรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ให้เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พลตํารวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์
เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 4,972 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 852/2555 เรื่อง การวางเงินของผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทน | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 852/2555
เรื่อง การวางเงินของผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทน
-------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการจําหน่ายทรัพย์สินตามความใน ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการการวางหลักประกัน ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 และข้อ 79 แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามคําสั่งนี้ในสํานวนคดีที่กําหนดวันขายทอดตลาดตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนเป็นผู้ผูกพันราคาหรือเป็นผู้ซื้อได้ ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีเรียกให้บุคคลนั้นวางเงินเป็นจํานวนร้อยละ 5 ของราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาดในวันที่มีการ ผูกพันราคาหรือวันที่ซื้อได้ตามแต่กรณี เพื่อเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้น
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้สัญญาซื้อขายตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,973 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 451/2555 เรื่อง ข้อปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีเกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการขายทอดตลาด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 451 /2555
เรื่อง ข้อปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีเกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการขายทอดตลาด
--------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีที่ปฏิบัติงานในสํานักงานบังคับคดีหรือสํานักงาน บังคับคดีเขตพื้นที่ เข้าสู้ราคาหรือเป็นผู้รับมอบอํานาจเพื่อเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดของสํานักงาน บังคับคดีหรือสํานักงานบังคับคดีเขตพื้นที่นั้น หากฝ่าฝืนจะถือว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน ของทางราชการ
เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหมายความรวมถึงบุคลากรในสํานักงานบังคับคดีหรือสํานักงาน บังคับคดีเขตพื้นที่นั้นทุกคน
ข้อ ๒ เจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีไม่พึงเข้าสู้ราคาหรือเป็นผู้รับมอบอํานาจเพื่อเข้าสู้ราคา ในการขายทอดตลาดในสํานักงานบังคับคดีหรือสํานักงานบังคับคดีเขตพื้นที่อื่น หากฝ่าฝืนจะถือว่าเจ้าหน้าที่ ผู้นั้น ประพฤติผิดต่อความในข้อ 5 แห่งประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ กรมบังคับคดี ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2553
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,974 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ ที่ 831/2555 เรื่อง การยึดทรัพย์สินให้เป็นไปตามลำดับในหมายบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 831/2555
เรื่อง การยึดทรัพย์สินให้เป็นไปตามลําดับในหมายบังคับคดี
-----------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินเป็นไปด้วยความ เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีที่หมายบังคับคดีระบุให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จํานองออกขายทอดตลาด หากขายได้ไม่พอ จึงให้ยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคําพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตาม หมายบังคับคดีโดยเคร่งครัด หากยังขายทอดตลาดทรัพย์จํานองไม่ได้ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึด ทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคําพิพากษาแม้จะมีคําขอ เนื่องจากหมายบังคับคดีมิได้กําหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดี าเนินการได้
ข้อ ๒ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธคําขอตามข้อ 1. ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาให้ไปดําเนินการทางศาลโดยเฉพาะเจาะจง หากใกล้จะครบระยะเวลาในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีด้วยในคราวเดียวกัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,975 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 24/2556 เรื่อง การคืนเอกสารสิทธิ์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 24/2556
เรื่อง การคืนเอกสารสิทธิ์
-----------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมี คําสั่งดังต่อไปนี้
ในการยึดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้นําส่งต้นฉบับเอกสารสิทธิ์ไว้แก่ เจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อมีการถอนการยึดทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอถอนการยึดหรือ ลูกหนี้ตามคําพิพากษาชําระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ตาม ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเอกสารสิทธิ์นั้นแก่บุคคลผู้นําส่ง เว้นแต่จะมีคําสั่งศาลเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556
(ลงชื่อ) วิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,976 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 774/2556 เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจำสำนักงานบังคับคดีจังหวัด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 774/2556
เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัด
--------------------------------
เพื่อให้การดําเนินการของหน่วยงานในสังกัดกรมบังคับคดีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์ที่ถูกยึดจากการบังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ถูกต้อง ตามหลักวิชาการและระเบียบที่วางไว้ ซึ่งจะทําให้กระบวนการบังคับคดีสามารถอํานวยประโยชน์สูงสุดให้แก่ ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับคดีให้ประสบความสําเร็จ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบตามความในมาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 จึงให้จัดตั้งกลุ่มงาน ประเมินราคาทรัพย์ในส่วนภูมิภาค ดังนี้
ข้อ ๑ กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัดชลบุรี มีจังหวัดในเขตความรับผิดชอบ ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา
ข้อ ๒ กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดในเขต ความรับผิดชอบ ได้แก่ ลําปาง ลําพูน แม่ฮ่องสอน
ข้อ ๓ ให้กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัด เป็นหน่วยงานในสังกัด กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์
ข้อ ๔ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด กํากับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในกลุ่มงาน ประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัด เฉพาะการปฏิบัติงานในเขตจังหวัด
ข้อ ๕ ให้กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัด มีอํานาจหน้าที่และ อัตรากําลัง ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,977 |
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
พ.ศ. 2559
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 (1/1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“ข้อพิพาท” หมายความว่า ข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
“คู่กรณี” หมายความว่า ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
“ผู้ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอม ข้อพิพาท หรือคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้งให้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท
“ผู้บังคับบัญชา” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อํานวยการสํานัก หรือผู้อํานวยการกองในสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งผู้บังคับบัญชามอบหมายให้พิจารณาดําเนินการตามระเบียบนี้
ข้อ ๔ ให้สํานักงานจัดให้มีการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทตามระเบียบนี้ และให้ความช่วยเหลือแก่คู่กรณีในการระงับข้อพิพาทให้ยุติโดยเร็ว
ข้อ ๕ เมื่อสํานักงานได้รับเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากประชาชนตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไว้แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงประเด็นแห่งการร้องเรียน ตลอดจนรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นและนําเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามในหนังสือเชิญหรือหนังสือเรียกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนและเพียงพอ เพื่อให้คู่กรณีจัดส่งเอกสารหลักฐานหรือให้มาพบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ถ้อยคําและเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งนี้ การติดต่อดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอาจจะกระทําด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้ทําเป็นหนังสือ ก็ให้แจ้งยืนยันเป็นหนังสืออีกครั้งหนึ่ง
ในกรณีที่คู่กรณีไม่ประสงค์ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หรือในกรณีอื่นใดที่ถือได้ว่าคู่กรณีไม่ประสงค์ไกล่เกลี่ย รวมทั้งกรณีที่ไม่สามารถติดต่อคู่กรณีได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาและให้ดําเนินการตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป
การเจรจาไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทจะกระทําด้วยวิธีใด ณ วันเวลาใด และสถานที่ใด ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด โดยแจ้งให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบ
ข้อ ๖ ก่อนดําเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้ผู้ไกล่เกลี่ยชี้แจงขั้นตอนและวิธีการในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทให้คู่กรณีทุกฝ่ายทราบ
ข้อ ๗ ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้ผู้ไกล่เกลี่ยดําเนินการให้คู่กรณีตกลงยินยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยเปิดโอกาสให้คู่กรณีเสนอข้อผ่อนผันให้แก่กัน หรือผู้ไกล่เกลี่ยอาจเสนอทางเลือกในการผ่อนผันให้แก่คู่กรณีพิจารณาตกลงยินยอมยุติข้อพิพาทนั้น ทั้งนี้ ห้ามมิให้ผู้ไกล่เกลี่ยชี้ขาดข้อพิพาท
ให้ผู้ไกล่เกลี่ยรับฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อพิพาทจากคู่กรณีทุกฝ่าย ทั้งนี้ ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทนั้น ผู้ไกล่เกลี่ยอาจไกล่เกลี่ยพร้อมกันหรือแยกกันก็ได้ แต่ในการตกลงกันนั้นให้กระทําต่อหน้าคู่กรณีทุกฝ่าย
เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทผู้ไกล่เกลี่ยอาจอนุญาตให้เฉพาะแต่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายอยู่ในการประชุมไกล่เกลี่ยก็ได้
ข้อ ๘ กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท ให้ดําเนินการเป็นการลับ และไม่ให้มีการบันทึกรายละเอียดของการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทไว้ เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้บันทึกรายละเอียดของการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาททั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่ตัวแทน ทนายความ ที่ปรึกษาของคู่ความ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ผู้ไกล่เกลี่ยอนุญาตให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยด้วย
ข้อ ๙ ในกรณีที่คู่กรณีไม่ได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่นให้รักษาข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทเป็นความลับ เว้นแต่สํานักงานนําไปใช้เท่าที่จําเป็นเพื่อปฏิบัติหรือบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้คู่กรณีที่เข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทหรือผู้ไกล่เกลี่ยหรือบุคคลภายนอก รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไกล่เกลี่ยนําข้อเท็จจริงหรือเอกสารพยานหลักฐานในการไกล่เกลี่ยไปอ้างอิงหรือนําสืบเป็นพยานหลักฐานในกระบวนการอนุญาโตตุลาการกระบวนพิจารณาของศาล เว้นแต่สํานักงานนําไปใช้เท่าที่จําเป็นเพื่อปฏิบัติหรือบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอหรือผู้ไกล่เกลี่ยเห็นสมควรอาจให้นําพยานบุคคลเข้าชี้แจงหรือให้ข้อมูลก็ได้ แต่ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องคํานึงถึงหลักการที่จะให้การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
ข้อ ๑๒ การไกล่เกลี่ยในชั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้กระทําได้ไม่เกินสองครั้ง และมีระยะเวลารวมกันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันทําการไกล่เกลี่ยครั้งแรก
ในการเจรจาไกล่เกลี่ยในครั้งแรก หากคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทําสรุปผลการไกล่เกลี่ยรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อยุติเรื่อง
ในกรณีที่คู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ และคู่กรณียังมีความประสงค์ที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยต่อไปให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการไกล่เกลี่ยในครั้งที่สอง และหากคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทําสรุปผลการไกล่เกลี่ยรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อยุติเรื่อง
ในกรณีที่คู่กรณีสามารถตกลงกันได้บางประเด็น ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการตามความในวรรคสอง สําหรับประเด็นที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดําเนินการตามข้อ 13
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยในชั้นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไม่สามารถหาข้อยุติได้ และคู่กรณียังมีความประสงค์ที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยต่อไป ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบนําเสนอข้อพิพาทนั้นต่อคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค และให้สํานักงานมีหนังสือเชิญคู่กรณีมาพบคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคดังกล่าวเพื่อทําการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่อไปโดยการไกล่เกลี่ยในชั้นคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคให้กระทําได้ไม่เกินสองครั้งและมีระยะเวลารวมกันไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันทําการไกล่เกลี่ยครั้งแรก เว้นแต่มีความจําเป็นและคู่กรณียินยอมให้ผู้ไกล่เกลี่ยขยายระยะเวลาการไกล่เกลี่ยได้อีกครั้งหนึ่ง
ในการเจรจาไกล่เกลี่ยตามวรรคหนึ่ง หากได้ข้อยุติเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทําสรุปผลการไกล่เกลี่ยรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อยุติเรื่อง
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่การไกล่เกลี่ยในชั้นคณะอนุกรรมการตามข้อ 13 หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคต่อไป
ข้อ ๑๕ ในระหว่างการดําเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท หากคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจที่จะให้ดําเนินการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทต่อไป คู่กรณีฝ่ายนั้นมีสิทธิบอกเลิกการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทต่อผู้ไกล่เกลี่ย โดยทําเป็นหนังสือ หรือมีเหตุอื่นใด ทําให้การไกล่เกลี่ยไม่อาจดําเนินการต่อไปได้ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยยุติกระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท และให้ผู้ไกล่เกลี่ยดําเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ต่อไป
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่คู่กรณีตกลงกันได้ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยจัดให้มีการทําสัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึกข้อตกลงระหว่างคู่กรณี และให้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึกข้อตกลงมีผลผูกพันคู่กรณี
ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึกข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง ย่อมทําให้ข้อเรียกร้องเดิมของคู่กรณีได้ระงับสิ้นไป และทําให้คู่กรณีได้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึกข้อตกลง
ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือบันทึกข้อตกลงให้สํานักงานพิจารณาดําเนินการตามกฎหมายต่อไป
ข้อ ๑๗ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยจัดทําบันทึกสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อพิพาทผลของการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท และข้อตกลงยินยอมร่วมกันระหว่างคู่กรณี เพื่อเก็บรวมไว้ในสารบบการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท
ข้อ ๑๘ ให้ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 4,978 |
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในส่วนของข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551 | ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ว่าด้วยการดําเนินคดีแพ่งแก่ผู้กระทําการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในส่วนของข้าราชการ
สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. 2551
--------------------------------------------
โดยที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาดําเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคที่คณะกรรมการเห็นสมควรหรือมีผู้ร้องขอ ตลอดจนปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายกําหนดให้ไว้เป็นอํานาจและหน้าที่ รวมทั้งแต่งตั้งข้าราชการสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีคุณวุฒิที่ไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดําเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทําการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการดําเนินคดีแพ่งแก่ผู้กระทําการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในส่วนของข้าราชการสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาระเบียบและข้อบังคับอื่น ซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค” หมายความว่า ข้าราชการสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีคุณวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ และเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สํานักงานกําหนด
“เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
“ผู้ประสานคดี” หมายความว่า นิติกรหรือเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ผู้อํานวยการสํานักกฎหมายและคดีมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบสํานวนคดีที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้ดําเนินคดี
“ผู้บังคับบัญชา” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือผู้ได้รับมอบหมาย
“คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการดําเนินคดีแพ่งแก่ผู้กระทําการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง
“ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการกอง หรือผู้ได้รับมอบหมายอื่น ๆ ในสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“หน่วยงาน” หมายความว่า สํานัก กอง ส่วนหรือกลุ่มงาน ในสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
“คดี” หมายความว่า คดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
ข้อ ๕ การดําเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาดําเนินการ
ข้อ ๖ สารบบ และงานธุรการคดีแพ่ง ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด
หมวด ๑ เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค
---------------------------------
ข้อ ๗ เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นข้าราชการสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีคุณวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ และ
(2) ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๘ ภายใต้ขอบเขตอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ และคําสั่งของสํานักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอิสระในการดําเนินคดีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค
ข้อ ๙ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจมอบหมายคดีให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดําเนินคดีตลอดจนการควบคุม ตรวจสอบ รวมทั้งการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบ
ผู้บังคับบัญชาอาจกําหนดการแบ่งภาระหน้าที่และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบภายใต้บังคับบัญชาคนใดคนหนึ่งปฏิบัติงาน หรือช่วยกลั่นกรองงานเป็นการทั่วไป หรือเป็นการเฉพาะเรื่องก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันควร ผู้บังคับบัญชามีอํานาจเรียกสํานวนคดีใดคดีหนึ่งมาตรวจสอบพิจารณาหรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคคนใดคนหนึ่งร่วมดําเนินคดี หรือดําเนินคดีแทนก็ได้
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ระเบียบนี้ไม่ได้กล่าวถึงไว้ หรือมีเหตุจําเป็นอื่นใดที่จะต้องรีบปฏิบัติให้ทันกําหนดระยะเวลามิฉะนั้นจะเสียหายแก่คดี ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบ ใช้ดุลพินิจพิจารณาปฏิบัติไปตามที่เห็นสมควรโดยไม่ให้เสียหายแก่คดี และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว
หมวด ๒ การพิจารณาดําเนินการก่อนฟ้อง
--------------------------------------
ข้อ ๑๑ เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติมอบหมายให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดําเนินคดี ให้หน่วยงานจัดส่งสํานวนคดีของผู้บริโภคทุกรายให้สํานักกฎหมายและคดีโดยมิชักช้า
ข้อ ๑๒ ให้ผู้อํานวยการสํานักกฎหมายและคดีมอบหมายให้ผู้ประสานคดีตรวจสอบสํานวนคดีและนําเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาสั่งการส่งสํานวนคดีให้พนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดําเนินการ
คําสั่งของผู้บังคับบัญชาถือเป็นที่สุด
ข้อ ๑๓ กรณีผู้บังคับบัญชามอบหมายให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดําเนินการให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบและให้ผู้ประสานคดีส่งสํานวนคดีต่อไป
ข้อ ๑๔ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบตรวจพิจารณาสํานวนคดี ในประเด็นแห่งคดีที่สําคัญ เช่น อายุความ เขตอํานาจศาล มติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ข้ออ้าง ข้อเถียง พยานหลักฐาน ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และอื่น ๆ ที่จําเป็นในการวินิจฉัยคดี
ข้อ ๑๕ สํานวนเรื่องใดที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้ดําเนินคดีและอยู่ระหว่างการทบทวนมติ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีจะขาดอายุความฟ้องร้อง ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบรีบดําเนินการฟ้องร้องดําเนินคดีภายในกําหนดอายุความ ทั้งนี้ จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาและต้องนําเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบในภายหลัง
ให้บันทึกในหน้าปกรายงานบัญชีสํานวนคดีว่าคดีขาดอายุความเมื่อใด
ข้อ ๑๖ เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบอาจเรียกบุคคลที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่คดีมาซักถามและบันทึกไว้ก็ได้ หรือจะเรียกให้ผู้เกี่ยวข้องในคดีส่งต้นฉบับเอกสารหรือสําเนาที่รับรองความถูกต้องแล้วก็ได้ และหากเอกสารใดที่เป็นตราสารซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ให้ผู้บริโภคดําเนินการจัดให้มีการปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วน ตามกฎหมาย
เอกสารใดที่ต้องส่งศาล ให้บุคคลผู้เกี่ยวข้องจัดส่งต้นฉบับและให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบจัดทําสําเนาไว้ในสํานวน 1 ชุด
ข้อ ๑๗ เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบอาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคอื่นหรือผู้ประสานคดีดําเนินการตามขอบอํานาจและหน้าที่ของตนก็ได้
ข้อ ๑๘ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบจัดทําบัญชีพยานวัตถุ บันทึกรายละเอียดภาพถ่ายรับรองความถูกต้องและนําบัญชีพยานวัตถุรวมไว้ในสํานวนด้วย
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบพิจารณาเห็นว่าสํานวนคดีใดมีพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดําเนินคดีได้ ให้ร่างคําฟ้องพร้อมบัญชีระบุพยานเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาต่อไป
หากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะดําเนินคดีได้ หรือกรณีที่มีความเห็นแย้งกับมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อนําเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องราว ร้องทุกข์จากผู้บริโภคพิจารณา
ข้อ ๒๐ สํานวนคดีใดค้างดําเนินการหรือยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับสํานวนคดี ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบรายงานและชี้แจงเหตุขัดข้องต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อกําหนดแนวทางแก้ไขตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๑ ให้นําระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับ
หมวด ๓ การดําเนินคดีในศาล
-------------------------------------
ข้อ ๒๒ การดําเนินกระบวนพิจารณาในศาลใด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีในศาลนั้น
ข้อ ๒๓ เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบอาจมอบหมายให้ผู้ประสานคดีหรือบุคคลอื่นใด ยื่นคําคู่ความ บัญชีระบุพยานและเอกสารอื่นต่อศาล รวมทั้งติดตามคําสั่งศาลคัดถ่ายคําพิพากษา คําเบิกความ และเอกสารอื่นจากศาลด้วย
การขอถ่ายสําเนาเอกสารจากศาล ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบจัดทําบัญชีและรับรองค่าใช้จ่ายไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๒๔ ในขณะยื่นคําฟ้องต่อศาลให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบดําเนินการขอให้ศาลออกหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องส่งให้แก่จําเลยเพื่อแก้คดี โดยให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบจัดทําบัญชีและรับรองค่าใช้จ่ายไว้เป็นหลักฐาน
ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบอ้างพยานหลักฐาน ในบัญชีระบุพยาน ให้ครบถ้วนทุกประเด็นที่จะนําสืบสนับสนุนคําฟ้อง รวมทั้งให้จัดทําสําเนาบัญชีระบุพยานและสําเนาพยานเอกสารเพื่อยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามกฎหมายด้วย และหากเห็นสมควรจะยื่นบัญชีระบุพยานไปพร้อมกับคําฟ้องด้วยก็ได้
ข้อ ๒๕ กรณีที่คู่ความอีกฝ่ายยื่นคําให้การ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบตรวจสอบคําให้การและข้อเท็จจริง กําหนดประเด็นและหน้าที่นําสืบ นําเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณา
คดีที่มีการชี้สองสถานให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบตรวจสอบการกําหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกต้องครบถ้วนก็ให้คัดค้านไว้ตามกฎหมาย และนําเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณา
ข้อ ๒๖ การติดต่อพยานบุคคลไปเบิกความที่ศาล กรณีเป็นพยานนําให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบมีหนังสือแจ้งพยานให้ไปเบิกความที่ศาล หรือกรณีเป็นพยานหมายให้ยื่นคําขอให้ศาลออกหมายเรียกพยาน โดยให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบดําเนินการ ส่งหมายเรียกให้แก่พยานและให้เบิกค่าใช้จ่ายในการส่งหมายเรียกตามแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
ในกรณีที่พยานได้รับหนังสือแจ้ง หรือได้รับหมายเรียกโดยชอบแล้ว แต่มิได้มาเป็นพยานศาลโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบพิจารณา หากเห็นว่าพยานดังกล่าวเป็นพยานสําคัญในคดีก็ให้ขอศาลเลื่อนการพิจารณาคดีไปก่อน แต่หากเห็นว่า พยานดังกล่าวไม่ใช่พยานสําคัญในคดี ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบงดการสืบพยานปากนั้น หรือขอส่งเอกสารแทนการสืบพยานบุคคลได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๗ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบเตรียมการสืบพยานบุคคล พยานเอกสารและพยานวัตถุให้พร้อมก่อนวันนัดพิจารณา กรณีพยานบุคคลเป็นพยานหมาย ให้เตรียมค่าป่วยการและค่าพาหนะพยานหรือค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อจ่ายให้แก่พยานตามคําสั่งศาลด้วย
ในการสืบพยาน ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบไปศาลทุกนัดและดําเนินการสืบพยานทุกประเด็นที่อยู่ในคําฟ้องและคําให้การ
ข้อ ๒๘ การดําเนินกระบวนพิจารณาทุกครั้งให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบบันทึกรายละเอียดไว้ในรายงานการดําเนินคดี ให้ได้ความเพียงพอที่จะทราบการดําเนินคดีครั้งใดหรือวันใด ได้จัดการเกี่ยวกับคดีอย่างไรบ้าง ถ้าเหตุที่ได้จัดการไปนั้นสมควรจะให้ปรากฏถึงเจตนาเพื่อผลใด ๆ ก็ให้บันทึกให้ปรากฏไว้และให้รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบต่อไป
ข้อ ๒๙ ถ้าเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบพิจารณาแล้วเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขอลดหนี้ลงบางส่วน หรือขอผ่อนผันการชําระหนี้ หรือขอทําสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีเหตุอันสมควร ให้เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อมีหนังสือแจ้งข้อเสนอดังกล่าวให้ผู้บริโภคพิจารณาต่อไป
เมื่อผู้บริโภคตกลงประนีประนอมยอมความโดยแจ้งเงื่อนไขมาให้ทราบแล้ว ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบตกลงประนีประนอมยอมความตามนั้น หรือจะให้ผู้บริโภคหรือผู้แทนมาแถลงต่อศาลในวันประนีประนอมยอมความก็ได้ ในกรณีนี้ให้ผู้บริโภคหรือผู้แทนลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย
ข้อ ๓๐ การดําเนินคดีในทางจําหน่ายสิทธิของผู้บริโภค ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณา ผลการพิจารณาเป็นประการใด ให้ดําเนินการไปตามนั้น และให้สํานักงานรายงานให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบ
ข้อ ๓๑ เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบควรแถลงการณ์ปิดคดี เว้นแต่คดีที่มีเอกสารอ้างอิงมากหรือคดีที่มีทุนทรัพย์สูง หรือคดีที่มีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายยุ่งยาก ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบแถลงการณ์ปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเสนอร่างคําแถลงให้คณะอนุกรรมการพิจารณาก่อน
ข้อ ๓๒ เมื่อศาลได้อ่านคําพิพากษาแล้ว ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบดําเนินการขอคัดถ่ายคําพิพากษาประกอบสํานวนไว้ทุกเรื่อง
ในกรณีที่ศาลมีคําพิพากษายกฟ้อง พิพากษาไม่เต็มตามฟ้องหรือแพ้คดีในประเด็นใด ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบคัดถ่ายสําเนาคําเบิกความพยานและพยานเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย
ข้อ ๓๓ ในการดําเนินคดี เมื่อมีผู้บริโภคร้องขอและมีเหตุจําเป็นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบใช้ดุลพินิจเพื่อดําเนินการยื่นคําร้องต่อศาล ขอให้นําวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับ และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
หมวด ๔ อุทธรณ์และฎีกา
--------------------------------
ข้อ ๓๔ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบไปฟังคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลตามนัดทุกครั้ง
ในกรณีที่ยังไม่สามารถคัดคําพิพากษาหรือคําสั่งได้ในวันที่ศาลอ่านคําพิพากษากรณีที่ศาลพิพากษาให้ชนะคดีเต็มตามฟ้องให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบหรือผู้รับมอบฉันทะจดย่อคําพิพากษาหรือคําสั่ง ในกรณีที่ศาลพิพากษาหรือมีคําสั่งให้แพ้คดีทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบจดย่อคําพิพากษาหรือประเด็นที่วินิจฉัยแห่งคดีพร้อมเหตุผลที่ให้แพ้คดีนั้น
ข้อ ๓๕ เมื่อศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคําพิพากษาหรือคําสั่งแล้ว ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบเสนอสํานวนพร้อมความเห็นต่อคณะอนุกรรมการ
กรณีที่ศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคําสั่งให้โจทก์ชนะคดีโดยได้รับชําระหนี้เต็มตามฟ้อง เป็นการสมประโยชน์ของผู้บริโภคและเป็นไปตามมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแล้วนั้น ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบใช้ดุลพินิจเพื่อพิจารณาใช้สิทธิว่าจะสมควรอุทธรณ์หรือฎีกาคําพิพากษาหรือไม่ และรายงานให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อทราบ
สําหรับกรณีที่ศาลมีคําพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีหรือพิพากษาให้โจทก์ได้รับชําระหนี้ ไม่เต็มตามฟ้องหรือคําพิพากษามีข้อแตกต่างไปจากมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบใช้ดุลพินิจเพื่อพิจารณาว่าจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคําพิพากษาหรือไม่ประการใด และนําเสนอคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป หากมีความเห็นประการใดให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบดําเนินการตามนั้น และรายงานให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อทราบ ทั้งนี้ หากเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบมีความเห็นควรอุทธรณ์หรือฎีกาให้เสนอร่างอุทธรณ์หรือร่างฎีกา แล้วแต่กรณี ไปด้วย
ระหว่างรอผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาไว้ด้วย
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบดําเนินการแก้อุทธรณ์หรือฎีกาทุกคดี โดยนําเสนอร่างอุทธรณ์หรือฎีกาให้คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา และให้นําความในหมวด 2 และ 3 มาบังคับใช้โดยอนุโลม
หมวด ๕ การบังคับคดี
--------------------------------
ข้อ ๓๗ ในกรณีจําเป็นต้องดําเนินการบังคับคดีและศาลยังไม่ออกคําบังคับ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบขอให้ศาลออกคําบังคับภายในกําหนด 45 วัน นับแต่วันที่ศาลอ่านคําพิพากษาหรือคําสั่ง เว้นแต่คดีถึงที่สุดหรือคดีที่มีคําสั่งไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ให้ขอออกคําบังคับภายในกําหนด 15 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด หรือวันที่มีคําสั่งไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๘ ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขอทุเลาการบังคับคดี ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบคัดค้านการขอทุเลาการบังคับคดี
ข้อ ๓๙ เมื่อระยะเวลาที่ศาลกําหนดให้ปฏิบัติตามคําพิพากษาได้ล่วงพ้นไปแล้วและลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําบังคับให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบยื่นคําขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีภายใน 30 วัน นับแต่ล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าว เพื่อดําเนินการบังคับคดีต่อไป
ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ศาลออกหมายบังคับคดี ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบส่งหมายบังคับคดีและสํานวนที่เกี่ยวข้องจําเป็นแก่การบังคับคดีให้ผู้อํานวยการสํานักกฎหมายและคดีพิจารณามอบหมายให้ผู้ประสานคดีเป็นผู้ดําเนินการสืบหาทรัพย์สินของจําเลยเพื่อดําเนินการบังคับคดีต่อไป ทั้งนี้ สํานักงานอาจมอบหมายให้ผู้บริโภค หรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีเป็นผู้ช่วยดําเนินการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาก็ได้
ข้อ ๔๑ ในการดําเนินการบังคับคดี หากมีกระบวนการที่ต้องดําเนินการพิจารณาในชั้นศาล ให้ผู้ประสานคดีนําเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาสั่งการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดําเนินการเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้นําความในหมวด 2 3 และ 4 มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ในการดําเนินคดีในชั้นบังคับคดีให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบรวบรวมพยานหลักฐานพร้อมทําความเห็นเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณา
หมวด ๖ การเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
------------------------------------
ข้อ ๔๒ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบดําเนินการยืมเงินค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีตามระเบียบว่าด้วยการยืมเงินราชการ และกรณีต้องเดินทางไปดําเนินคดีนอกเขตท้องที่ให้ดําเนินการตามระเบียบของราชการที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๔๓ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบเบิกเงินค่าใช้จ่ายเพื่อสํารอง ในการดําเนินคดีได้ไม่เกินคดีละห้าพันบาท แต่เมื่อรวมกันทุกคดีให้เบิกเงินสํารองค่าใช้จ่ายได้รวมกันไม่เกินสองหมื่นบาท
การเบิกเงินเพื่อนําไปใช้จ่ายในการดําเนินคดีให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบเป็นผู้ยืมโดยความเห็นชอบของผู้บังคับบัญชาและให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบจัดทําบัญชีค่าใช้จ่ายในแต่ละคดีไว้ให้สามารถตรวจสอบได้ทุกเวลา ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๔๔ เมื่อคดีเสร็จกระบวนพิจารณาในศาลใดและไม่จําต้องดําเนินการอย่างใดต่อไปอีก ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบหักล้างทะเบียนเงินยืม และจัดทําบันทึกแจ้งว่าคดีถึงที่สุดแล้วพร้อมส่งบัญชีค่าใช้จ่ายและเงินเหลือจ่าย เพื่อหักล้างทะเบียนเงินยืมภายใน 30 วัน
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบ ได้ยืมเงินค่าใช้จ่ายไปแล้ว ต่อมาเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบผู้นั้นจะต้องส่งมอบสํานวนคดีให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้อื่นรับไปดําเนินการต่อ ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบส่งมอบสํานวนคดี และดําเนินการหักล้างทะเบียนเงินยืมให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันส่งมอบสํานวนคดี
ข้อ ๔๕ ในระหว่างอุทธรณ์ ฎีกา หรือการดําเนินการบังคับคดี และมีกระบวนพิจารณาในชั้นศาลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายดําเนินคดีให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบดําเนินการตามความในหมวดนี้
ข้อ ๔๖ สํานวนคดีที่มีการดําเนินคดีถึงที่สุดให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคผู้รับผิดชอบทําความเห็นว่าสํานวนคดีนั้นควรทําลายหรือควรเก็บรอไว้ต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาสั่งต่อไป
การทําลายเอกสารตามวรรคแรก ให้ดําเนินการตามระเบียบราชการว่าด้วยเรื่องนั้น
ข้อ ๔๗ การติดตาม การประเมินผล และการรายงานผลการปฏิบัติงาน ให้ดําเนินการตามแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ชูศักดิ์ ศิรินิล
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 4,979 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 809/2556 เรื่อง แบบหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 809/2556
เรื่อง แบบหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์
----------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555 จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน และ จําหน่ายทรัพย์สิน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้หนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ตามแบบ 22 - 24 แนบท้ายคําสั่งนี้สําหรับการประกาศขายทอดตลาดนัดแรกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,980 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 809/2556 เรื่อง แบบหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ (Update ฉบับล่าสุด) | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 809/2556
เรื่อง แบบหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์
----------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555 จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ ขับไล่ รื้อถอน และ จําหน่ายทรัพย์สิน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2551
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้หนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ตามแบบ 22 - 24 แนบท้ายคําสั่งนี้สําหรับการประกาศขายทอดตลาดนัดแรกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,981 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 672/2556 เรื่อง การยืดอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน น.ส. 3 | คําสั่งกรมบังคับ
ที่ 672/2556
เรื่อง การยืดอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดิน น.ส. 3
-----------------------
อนุสนธิคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 452/2548 ลงวันที่ 8 กันยายน 2548 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความ เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
การยึดอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ น.ส. 3 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปดําเนินการยึด ณ ที่ตั้งทรัพย์นั้น
สําหรับคดีที่ได้ทําการยึดที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ น.ส. 3 ไว้ก่อนที่คําสั่งกรมบังคับคดีนี้มีผล ใช้บังคับ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหมายแจ้งให้ผู้แทนโจทก์มานําไปตรวจสอบสภาพที่ดินที่เป็นปัจจุบันเพื่อ ยืนยันตําแหน่งที่ดินก่อนดําเนินการบังคับคดีต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,982 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 715 /2556 เรื่อง การขายทรัพย์สินโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 715 /2556
เรื่อง การขายทรัพย์สินโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด
------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานคดีล้มละลายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดี ล้มละลายว่าด้วยการขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องเหมาะสม และประหยัด ค่าใช้จ่าย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 จึงมีคําสั่ง ดังนี้ต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 5.2 ในคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 446/2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนกิจการและทรัพย์สิน และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“เมื่อลูกหนี้ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการขายทรัพย์ ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายโดยเร็ว ตามวิธีที่เห็นว่าสะดวกและเป็นผลดีที่สุดแก่กองทรัพย์สิน
หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามีความจําเป็น หรือเหตุผลสมควรที่ขายโดยวิธีอื่น นอกจากวิธีการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานตามลําดับชั้นจนถึงอธิบดี หรือ รองอธิบดีผู้ได้รับมอบหมาย เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงให้นัดประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้เพื่อ ขอความเห็นชอบ”
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,983 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 407 /2556 เรื่อง การขายทอดตลาดโดยการจำนองติดไป | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 407 /2556
เรื่อง การขายทอดตลาดโดยการจํานองติดไป
------------------------------
ด้วยปรากฏปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการกําหนดราคาเริ่มต้น และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยการจํานองติดไปตามข้อ 4 ของประกาศ คณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด ลงวันที่ 11 มิ.ย. 2555 ซึ่งยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไป ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยการจํานองติดไป หากผู้รับจํานองหรือผู้ครอบครอง เอกสารสิทธิ์ไม่นําส่งต้นฉบับเอกสารสิทธิ์เพื่อประกอบการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานการ ยึดต่อศาลและขอให้ศาลมีคําสั่งเรียกผู้ครอบครองเอกสารสิทธิ์ส่งต้นฉบับเอกสารสิทธิ์หรือมีคําสั่งอนุญาตขาย ทอดตลาดทรัพย์สินนั้นตามสําเนาเอกสารสิทธิ์ต่อไป
ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีไม่แถลงยอดหนี้จํานองที่เป็นปัจจุบันต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีเพื่อประกอบการพิจารณากําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด ห้ามมิให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายการนั้น
ข้อ ๓ หากผู้รับจํานองไม่แถลงยอดหนี้จํานองที่เป็นปัจจุบัน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถาม ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ตามแต่กรณี ว่าได้ดําเนินการชําระหนี้จํานองไปแล้วหรือไม่ เพียงใด และเหลือยอดหนี้จํานองที่เป็นปัจจุบันอยู่เท่าใด หากลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมไม่ แถลงภายในเวลาที่กําหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือว่ายอดหนี้ตามสัญญาจํานองเป็นยอดหนี้จํานองที่เป็น ปัจจุบัน
ข้อ ๔ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีถือว่ายอดหนี้ตามสัญญาจํานองเป็นยอดหนี้จํานองที่เป็น ปัจจุบัน ก่อนการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดประกาศอย่างชัดเจนให้ผู้เข้าเสนอราคา ต้องตรวจสอบยอดหนี้จํานองที่เป็นปัจจุบันด้วยตนเองอย่างรอบคอบและระมัดระวัง เพราะผู้ซื้อทรัพย์โดยการ จํานองติดไปมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องรับภาระในหนี้จํานองที่เป็นปัจจุบันนั้นติดไปด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(ลงชื่อ) วิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,984 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจดู การคัดสำเนา และการคัดสำเนาที่มีคำรับรองความถูกต้องของเอกสารในสำนวนคดี พ.ศ. 2560 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการตรวจดู การคัดสําเนา และการคัดสําเนาที่มีคํารับรอง
ความถูกต้องของเอกสารในสํานวนคดี
พ.ศ. 2560
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจดู การคัดสําเนา และการคัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้องของเอกสารในสํานวนคดีให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อการบริหารการจัดระบบการขอ การอนุญาต และการให้บริการในการตรวจดู การคัดสําเนา และการคัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้องของเอกสารในสํานวนคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็วในการอํานวยประโยชน์แห่งความยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
อาศัยอํานาจตามความในข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทําคําวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 5 ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจดู การคัดสําเนา และการคัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้องของเอกสารในสํานวนคดี พ.ศ. 2560"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2542
บรรดาหลักเกณฑ์ ประกาศ หรือข้อกําหนดอื่นใดที่มีกําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ รวมทั้งออกประกาศหรือคําสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
"ศาล" หมายความว่า ศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
"ตุลาการ" หมายความว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
"ตุลาการประจําคดี" หมายความว่า ตุลาการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าของสํานวนเป็นรายคดี
"คู่กรณี" หมายความว่า ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง หรือผู้เข้ามาในคดีตามคําสั่งศาล
"บุคคลภายนอก" หมายความว่า บุคคลซึ่งไม่ใช่คู่กรณีหรือพยานในคดี แต่มีส่วนได้เสีย
"เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
"หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวน" หมายความว่า สํานักคดี หรือกลุ่มงานคดีที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
"เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน" หมายความว่า ผู้อํานวยการสายงานคดีหรือนักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
"การไต่สวน" หมายความว่า การตรวจพยานหลักฐาน การนั่งพิจารณา หรือการสืบพยาน
"เอกสารในสํานวนคดี" หมายความว่า คําร้อง คําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เอกสารประกอบวัตถุพยาน และให้หมายความรวมถึงเอกสารอื่นใดที่ศาลให้นําเข้าสู่สํานวน
ข้อ ๖ เอกสารในสํานวนคดีให้คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดู ทราบ คัดสําเนา หรือคัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้อง และศาลอาจส่งสําเนาให้คู่กรณีตามวิธีการที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายคุ้มครองให้ไม่ต้องเปิดเผย หรือกรณีที่ศาลเห็นสมควรให้ไม่ต้องเปิดเผยเพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล
ในกรณีที่เอกสารหรือพยานหลักฐานมีการกําหนดชั้นความลับไว้ หรือมีข้อความที่ไม่เหมาะสมหรือมีข้อความที่อาจเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทบุคคลใด ศาลอาจไม่อนุญาตให้คู่กรณีขอตรวจดูทราบคัดสําเนา คัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้อง หรือไม่ส่งให้คู่กรณี ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดอํานาจศาลที่จะจัดให้มีการทําสรุปเรื่องและอนุญาตให้คู่กรณีขอตรวจดู ทราบ หรือคัดสําเนาสรุปเรื่อง หรือคัดสําเนาอันรับรองความถูกต้องของสรุปเรื่อง หรือส่งสําเนาสรุปเรื่องดังกล่าวให้คู่กรณี
สําเนาสรุปเรื่องตามวรรคสอง ศาลอาจมอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนเป็นผู้จัดทําก็ได้
ข้อ ๗ พยานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้ถ้อยคําของตนในคดี หรือบุคคลภายนอกอาจยื่นคําขอต่อศาล เพื่อขอตรวจดูเอกสารทั้งหมดหรือบางฉบับในสํานวนคดี คัดสําเนาหรือคัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้องก็ได้ ทั้งนี้ ห้ามอนุญาตแก่
(1) บุคคลภายนอก ในคดีที่ศาลมีมติไม่ให้เปิดเผย
(2) พยานหรือบุคคลภายนอก ในคดีที่ศาลห้ามการตรวจหรือคัดสําเนาเอกสารในสํานวนคดีทั้งหมดหรือบางฉบับ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือประโยชน์สาธารณะ
(3) พยานหรือบุคคลภายนอก กรณีที่มีกฎหมายคุ้มครองให้ไม่ต้องเปิดเผย หรือกรณีที่ศาลเห็นสมควรให้ไม่ต้องเปิดเผยเพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ ๘ คู่กรณี พยาน หรือบุคคลภายนอกไม่อาจขอตรวจดู คัดสําเนา หรือคัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้องของเอกสารที่เจ้าหน้าที่ศาล ตุลาการ หรือศาลจัดทําขึ้นเพื่อใช้เป็นการภายใน
ข้อ ๙ คู่กรณี พยาน หรือบุคคลภายนอก ซึ่งประสงค์จะขอตรวจดู คัดสําเนา หรือคัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้องของเอกสารในสํานวนคดี ให้ยื่นคําขอเป็นหนังสือต่อศาล โดยจะยื่นด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นยื่นแทน หรือจะกระทําโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ เว้นแต่ในระหว่างการไต่สวนอาจทําคําขอด้วยวาจาต่อศาล ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลบันทึกไว้ในรายงานการพิจารณาคดี
ข้อ ๑๐ คําขอที่ยื่นตามข้อ 9 ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนตรวจสอบเพื่อนําเสนอตุลาการประจําคดีที่รับผิดชอบคดีนั้นหรือศาลพิจารณาและมีคําสั่ง
ตุลาการประจําคดีหรือศาลอาจมอบหมายให้ตุลาการคนหนึ่งคนใดพิจารณาและมีคําสั่งก็ได้
ในกรณีที่ศาลมีคําวินิจฉัยหรือมีคําสั่งที่ทําให้คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว คําขอที่ยื่นตามข้อ 9 ให้เลขาธิการหรือผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาและมีคําสั่ง เว้นแต่
(1) กรณีเลขาธิการหรือผู้ได้รับมอบหมายเห็นว่ามีเหตุจําเป็น ให้เสนอศาลพิจารณาและมีคําสั่ง
(2) กรณีมิใช่คู่กรณีขอคัดสําเนารายงานการพิจารณาคดี ให้เลขาธิการหรือผู้ได้รับมอบหมายเสนอตุลาการคนใดคนหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากศาลพิจารณาและมีคําสั่ง
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีคําสั่งอนุญาตตามคําขอ ให้ผู้ขอหรือบุคคลซึ่งได้รับมอบฉันทะจากผู้ขอเป็นผู้ตรวจดู คัดสําเนา หรือคัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้อง โดยผู้อนุญาตจะกําหนดเงื่อนไขหรือวิธีการในการตรวจดูหรือคัดสําเนาเอกสารก็ได้ ทั้งนี้ ให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน
การรับรองความถูกต้องของเอกสาร ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนเป็นผู้รับรอง โดยลงลายมือชื่อพร้อมทั้งชื่อตัว ชื่อสกุล และตําแหน่ง ตลอดจนวัน เดือน ปีให้ชัดเจน ทั้งนี้ ให้รับรองตามจํานวนที่ผู้ยื่นคําขอขอให้รับรอง
ข้อ ๑๒ การคัดสําเนาหรือคัดสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้องของเอกสารในสํานวนคดีให้เรียกค่าธรรมเนียมตามประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการโดยอนุโลม
การพิจารณายกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจอนุญาต
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,985 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 330/2556 เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์เพื่อกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาสมควรขายในการขายทอดตลาดในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 330/2556
เรื่อง การประเมินราคาทรัพย์เพื่อกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาสมควรขายในการขายทอดตลาด
ในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ
-------------------------------
เพื่อให้การประเมินราคาทรัพย์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาสมควรขายในการขาย ทอดตลาดในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัด สมุทรปราการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการประเมินราคา ทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลาง สํานักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค และสํานักงานบังคับคดี จังหวัด พ.ศ. 2540 ข้อ 4 วรรคสอง จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 458/2558 ลงวันที่ 8 กันยายน 2548 เรื่อง การประเมิน ราคาเพื่อประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์สินในส่วนกลาง และคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 456/2555 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 เรื่องการประเมินราคาทรัพย์เพื่อกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาสมควรขาย ในการขายทอดตลาดในเขตจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ 4. และให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๒ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการยึดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาประเมินขณะยึดตั้งแต่ 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) ขึ้นไป หรือมีราคาต่ํากว่า 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) แต่เจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นสมควร ก่อนนาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้พนักงานประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานวางทรัพย์กลางประเมินราคาทรัพย์ดังกล่าวและให้ใช้เป็นราคาประกอบดุลพินิจในการขายด้วย ทุกกรณี
ข้อ ๓ ในการขายทอดตลาดห้องชุดซึ่งมีราคาประเมินขณะยึดต่ํากว่า 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท) ให้ใช้ราคาประเมินของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการประเมินราคาที่ดินประกอบดุลพินิจใน การขายทอดตลาด
ข้อ ๔ ให้พนักงานประเมินราคาทรัพย์ สํานักงานทรัพย์กลาง ออกไปทําการประเมินราคาทรัพย์ และแจ้งผลการประเมินให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายใน 15 วันนับแต่ได้รับเรื่องไว้
กรณีมีเหตุจําเป็นไม่สามารถดําเนินการตามระยะเวลาดังกล่าวได้ ให้ผู้อํานวยการ สํานักงานวางทรัพย์กลางรายงานเพื่อขออนุญาตขยายระยะเวลาต่ออธิบดีกรมบังคับคดีหรือผู้ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๕ คําสั่งนี้ให้ใช้กับการยึดทรัพย์หลังจากวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป และให้ใช้สําหรับกรณี ทรัพย์ที่ยึดและประเมินราคาไว้ก่อนคําสั่งนี้ แต่เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้ทําการขายทอดตลาดและพบว่า หาก มีการประเมินราคาทรัพย์เพื่อประกอบการขายทอดตลาด จะสามารถขายได้ในราคาสูงกว่า 10,000,000 บาท
ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,986 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2563 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดีรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2563
อาศัยอํานาจตามความในข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ข้อ 5 ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2563"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555
(2) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
"คณะตุลาการ" หมายความว่า คณะตุลาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 49
"สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดี" หมายความว่า สํานักที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานสารบบคดี ทะเบียนหนังสือรับ ทะเบียนหนังสือส่ง ทะเบียนการเบิกจ่ายสํานวนคดี และการดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง
"หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวน" หมายความว่า สํานักคดีหรือกลุ่มงานคดีที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
"ผู้เชี่ยวชาญประจําสํานวน" หมายความว่า ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคดีหรือผู้เชี่ยวชาญด้านคดีที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
"เอกสารในสํานวนคดี" หมายความว่า คําร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัย คําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คําร้องทั่วไป/คําขออื่น คําชี้แจง บันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็น คําคัดค้าน คําแถลงการณ์เปิดคดี คําแถลงการณ์ปิดคดี ใบมอบฉันทะ บัญชีระบุพยานบุคคล บัญชีระบุพยานเอกสาร บัญชีระบุพยานวัตถุ คําร้องหรือหนังสืออื่นใดที่คู่กรณี ผู้เกี่ยวข้อง หรือบุคคลอื่นยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตามข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเอกสารประกอบคําร้องหรือหนังสือดังกล่าว หรือเอกสารที่ศาลรัฐธรรมนูญ คู่กรณี ผู้เกี่ยวข้อง หรือบุคคลอื่นนําเข้าสู่สํานวนคดี
"เอกสารทางธุรการคดี" หมายความว่า เอกสารประกอบสํานวนคดีที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดทําขึ้นเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้
ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจออกประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของประธานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑ สารบบคดี การตรวจคําร้อง และแยกประเภทคําร้อง
ข้อ ๖ ให้สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีจัดให้มีสารบบคดี ทะเบียนหนังสือรับ ทะเบียนหนังสือส่ง และทะเบียนการเบิกจ่ายสํานวนคดีหลัก
หลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมสารบบคดีและทะเบียนงานคดีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๗ การรับคําร้องหรือเอกสารอื่นใด ให้สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีเป็นหน่วยงานรับคําร้องโดยตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคําร้องหรือเอกสารอื่นใด พร้อมทั้งออกใบรับไว้เป็นหลักฐาน
การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงการรับคําร้องหรือเอกสารอื่นใดผ่านระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใด
ข้อ ๘ การแยกประเภทคําร้องให้แยกตามความเร่งด่วน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
(1) ด่วนที่สุด เป็นคําร้องที่รัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) ด่วน เป็นคําร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควรกําหนด
(3) ปกติ เป็นคําร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยที่ไม่ใช่ตาม (1) และ (2)
เมื่อแยกประเภทคําร้องแล้ว ให้สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีประทับตราประเภทคดีดังกล่าวและช่องทางการยื่นคําร้องไว้ที่ปกหน้าสํานวนก่อนลงสารบบคดี
หมวด ๒ การจ่ายและการจัดทําสํานวนคดี
ข้อ ๙ เมื่อได้รับคําร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัย ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมายจ่ายสํานวนคดีให้แก่หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนและผู้เชี่ยวชาญประจําสํานวน
ในกรณีที่คําร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยมีหลายเรื่องในคําร้องเดียวกัน อาจจ่ายสํานวนคดีแยกเป็นรายเรื่องก็ได้
ข้อ ๑๐ ให้สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีเสนอสําเนาสํานวนคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมาย หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนและผู้เชี่ยวชาญประจําสํานวน
ข้อ ๑๑ เมื่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนได้รับสํานวนคดี ให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารในสํานวนคดี พร้อมทั้งประทับตรา คําว่า "สํานวนคดีหลัก" ไว้มุมขวาบนของเอกสารในสํานวนคดีหลัก และจัดทําสารบัญเอกสารในสํานวนคดี จัดเก็บพยานหลักฐาน ตลอดจนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาคดีรวมไว้ในสํานวนคดีหลัก
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นในแต่ละคราวแล้ว ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนนําเอกสารในสํานวนคดีดังกล่าวส่งมอบให้สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีดําเนินการตามหมวด 4
ในระหว่างการพิจารณาคดี หากศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งรับคําร้องหรือเอกสารอื่นใดรวมไว้ในสํานวนคดีหลัก ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
หมวด ๓ การสนับสนุนกระบวนการพิจารณาในศาล
ข้อ ๑๒ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญทําหน้าที่สนับสนุนและช่วยเหลือศาลรัฐธรรมนูญในการดําเนินกระบวนพิจารณา
ข้อ ๑๓ ก่อนจัดให้มีการประชุมคณะตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญ ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนหรือผู้เชี่ยวชาญประจําสํานวนจัดทําบันทึกสรุปสํานวนเกี่ยวกับอํานาจศาลรัฐธรรมนูญในการรับคําร้อง ความเห็นที่เกี่ยวกับคําร้องหรือคําขอใด ๆหรือความเห็นที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี แล้วแต่กรณี เสนอต่อคณะตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญเพื่อประกอบการพิจารณา เว้นแต่กรณีจําเป็นเร่งด่วน อาจกระทําด้วยวาจาก็ได้
ข้อ ๑๔ การพิจารณาคดีของคณะตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนยกร่างรายงานการพิจารณา โดยเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นก่อนเสนอต่อคณะตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๕ การจัดทําวาระการประชุมของศาลรัฐธรรมนูญ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดทําระเบียบวาระการประชุมตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๑๖ ระหว่างการพิจารณาคดีของคณะตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนดําเนินการให้เป็นไปตามผลการพิจารณาคดี และให้รายงานความคืบหน้าการดําเนินการดังกล่าวต่อคณะตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๗ การไต่สวนหรือการออกนั่งพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๘ ในการไต่สวนและต้องมีการหมายพยานหลักฐาน ให้ประทับตราหมายพยานหลักฐานของศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง ดังนี้
(1) พยานเอกสารที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียก คือ "หมาย ศ" และวัตถุพยานที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียก คือ "หมาย วศ"
(2) พยานเอกสารของผู้ร้อง คือ "หมาย ร" และวัตถุพยานของผู้ร้อง คือ "หมาย วร"
(3) พยานเอกสารของผู้ถูกร้อง คือ "หมาย ถ" และวัตถุพยานของผู้ถูกร้อง คือ "หมาย วถ"
ส่วนพยานหลักฐานประเภทอื่น ให้เป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๑๙ ในกระบวนพิจารณาที่ศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการบันทึกคําให้การของคู่กรณีหรือคําเบิกความของพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญโดยอุปกรณ์บันทึกเสียง หรืออุปกรณ์บันทึกภาพและเสียง หรือโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพหรือเสียง ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนถอดความคําให้การหรือคําเบิกความรวมไว้ในสํานวนคดีหลัก
ข้อ ๒๐ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติในคําร้องใด ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนและผู้เชี่ยวชาญประจําสํานวนร่วมกันยกร่างคําสั่งหรือร่างคําวินิจฉัยตามมติดังกล่าวโดยเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นก่อนเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๒๑ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการตรวจสอบความถูกต้องของคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญก่อนส่งไปประกาศราชกิจจานุเบกษาและความเห็นส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก่อนเผยแพร่ต่อสาธารณะ
หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควรอาจให้แปลย่อคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เป็นภาษาต่างประเทศก็ได้
หมวด ๔ การเก็บรักษา การเบิกจ่าย และการจัดเก็บสํานวนคดีหลัก
ข้อ ๒๒ เมื่อสํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีได้รับเอกสารในสํานวนคดีจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนแล้ว ให้จัดเก็บรักษาไว้ในห้องจัดเก็บสํานวนคดีหลัก
ข้อ ๒๓ การเบิกจ่ายสํานวนคดีหลัก ให้สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีดําเนินการควบคุมดูแลการเบิกจ่ายและจัดเก็บรักษาเอกสารในสํานวนคดี
ข้อ ๒๔ การจัดเก็บสํานวนคดีหลักในคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเสร็จแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนดําเนินการจัดเก็บสํานวนคดีหลักและจัดทําสําเนาอีกหนึ่งชุดให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยหรือคําสั่ง และส่งมอบให้สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีดําเนินการ ดังนี้
(1) นําเอกสารสํานวนคดีหลักลงระบบจัดเก็บข้อมูลสํานวนคดีในระบบอิเล็กทรอนิกส์
(2) ส่งสํานวนคดีหลักจัดเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ
(3) จัดเก็บสําเนาสํานวนคดีหลักไว้ที่ห้องสํานวนคดี
ข้อ ๒๕ หลักเกณฑ์และวิธีการเก็บรักษา การเบิกจ่าย และการจัดเก็บสํานวนคดีหลัก ให้เป็นไปตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
หมวด ๕ การทําลายสําเนาสํานวนคดี
ข้อ ๒๖ เมื่อคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและความเห็นส่วนตนเผยแพร่ต่อสาธารณะแล้ว ให้สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีประสานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและเจ้าหน้าที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทําลายสําเนาเอกสารในสํานวนคดี สําเนาเอกสารทางธุรการคดีและเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสํานวนคดีดังกล่าว
ประเภทเอกสารที่ต้องทําลายตามวรรคหนึ่ง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
(1) สําเนาเอกสารในสํานวนคดี
(2) สําเนาเอกสารทางธุรการคดี
(3) เอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสํานวนคดี
ภายในเดือนมิถุนายนของทุกปี ให้สํานักที่รับผิดชอบสารบบคดีขอรับเอกสารตามวรรคสองจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและเจ้าหน้าที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการทําลาย เว้นแต่ผู้ครอบครองเอกสารดังกล่าวจะแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือว่าขอเก็บเอกสารนั้นไว้ก่อน
ข้อ ๒๗ หลักเกณฑ์และวิธีการทําลายสําเนาเอกสารในสํานวนคดี สําเนาเอกสารทางธุรการคดี หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสํานวนคดี ให้เป็นไปตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563
วรวิทย์ กังศศิเทียม
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,987 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในที่ทำการศาล พ.ศ. 2562 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในที่ทําการศาล
พ.ศ. 2562
เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยของศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญและการรักษาความสงบเรียบร้อยของการพิจารณาคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมและรัดกุมสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงโครงสร้างการบริหารราชการของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 และข้อ 8 (8) ของข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในที่ทําการศาล พ.ศ. 2562"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการรักษาระเบียบและความเรียบร้อยในที่ทําการหรือบริเวณที่ทําการศาลรัฐธรรมนูญและเข้าฟังการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
"ศาล" หมายความว่า ศาลรัฐธรรมนูญ
"เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
"คณะผู้สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" หมายความว่า บุคคลซึ่งแต่งตั้งให้ทําหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนั้น
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
"ที่ทําการศาล" หมายความว่า อาณาบริเวณหรือพื้นที่ที่ศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน และให้หมายความรวมถึงอาณาบริเวณหรือพื้นที่อื่นใดที่มีการประกาศของศาลกําหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน
"สถานการณ์ฉุกเฉิน" หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือกรณีที่เกิดภยันตรายหรือเหตุอื่นใดที่คุกคามศาลหรือสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรงและเร่งด่วน จนน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หรือปลอดภัย หรืออิสระในการพิจารณาวินิจฉัยคดี ไม่ว่าภยันตรายหรือเหตุอันคุกคามนั้นจะเกิดขึ้นจากการกระทําของบุคคล หรือเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
"สื่อมวลชน" หมายความว่า สื่อกลางที่นําข่าวสาร สาร และเนื้อหาสาระทุกประเภทไปเผยแพร่สู่มวลชน สาธารณชน เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ว่าอยู่ในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อดิจิทัล หรือในรูปอื่นใดที่สามารถสื่อความหมายให้ประชาชนทราบได้เป็นการทั่วไป และให้หมายความรวมถึงเจ้าของ หรือบรรณาธิการ หรือผู้แทนของสื่อดังกล่าว
"ผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน" หมายความว่า รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจออกระเบียบสํานักงานประกาศสํานักงาน และกําหนดมาตรการหรือข้อปฏิบัติ ให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๖ การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในที่ทําการศาลให้ใช้ระเบียบนี้ และให้นําระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ และระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๗ ให้ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน และผู้ซึ่งมาช่วยปฏิบัติงานในสํานักงาน ที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบนี้อย่างเคร่งครัด โดยให้อยู่ในความควบคุมและรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น
ข้อ ๘ หากเกิดความบกพร่อง เสียหาย หรือมีกรณีที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอันอาจกระทบกระเทือนถึงการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามระเบียบนี้ประการใด ให้ผู้ทราบเหตุการณ์ต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นหรือหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยโดยตรงทันที
ข้อ ๙ ที่ทําการศาลเป็นสถานที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม จําเป็นต้องมีความสงบเรียบร้อยและปลอดภัย ควรได้รับความเคารพและเป็นเขตหวงห้าม บุคคลหรือยานพาหนะที่จะเข้ามาจําต้องปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๑๐ ที่ทําการศาลถือเป็นเขตปลอดอาวุธ ห้ามผู้ใดนําหรือพกพาอาวุธติดตัวเข้ามาในที่ทําการศาลโดยเด็ดขาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลหรือเลขาธิการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๑ การรักษาความลับของทางราชการ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการนั้น
หมวด ๒ พื้นที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๑๒ พื้นที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ดังนี้
(1) พื้นที่ชั้นนอก
(2) พื้นที่ควบคุม
(3) พื้นที่หวงห้าม
ข้อ ๑๓ พื้นที่ชั้นนอก หมายถึง พื้นที่ที่ทําการศาลทั้งหมด หรือพื้นที่อื่นใดตามที่ศาลกําหนด ยกเว้นพื้นที่ควบคุม และพื้นที่หวงห้าม
บุคคลและยานพาหนะที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๑๔ พื้นที่ควบคุม หมายถึง พื้นที่ภายในที่ทําการศาล หรือพื้นที่อื่นใดตามที่ศาลกําหนดซึ่งอยู่ถัดจากพื้นที่ชั้นนอกเข้ามา ยกเว้นพื้นที่หวงห้าม
ห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มาปฏิบัติงานหรือมาติดต่อราชการ
บุคคลที่เข้าไปในพื้นที่ตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการตรวจตัวบุคคลและสิ่งของที่นําพามาตามวิธีการของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๑๕ พื้นที่หวงห้าม หมายถึง ห้องประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ห้องออกนั่งพิจารณาคดี และห้องทํางานของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ห้องเก็บสํานวนคดี รวมถึงพื้นที่อื่นใดตามที่ศาลกําหนด
ห้ามผู้ใดเข้าไปในห้องประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และห้องออกนั่งพิจารณาคดี เว้นแต่บุคคลที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน และผู้ที่ได้รับอนุญาตจากศาล
ห้ามผู้ใดเข้าไปในห้องทํางานของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
ห้ามผู้ใดเข้าไปในห้องเก็บสํานวนคดี เว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ
การอนุญาตให้บุคคลเข้าในห้องออกนั่งพิจารณาคดี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 7 การเข้าฟังการไต่สวนของศาล
ข้อ ๑๖ ให้ศาลมีอํานาจประกาศกําหนดพื้นที่ทําการศาล หรือพื้นที่อื่นใดตามข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15 หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง พื้นที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย รวมถึงกําหนดขอบเขตของพื้นที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยภายในที่ทําการศาล
หมวด ๓ ระดับการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๑๗ ระดับการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
(1) ระดับปกติ
(2) ระดับเตือนภัย
(3) ระดับสูงสุด
ให้เลขาธิการมีอํานาจประกาศกําหนดระดับและมาตรการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย วิธีการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามระดับและมาตรการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยต่าง ๆ
ข้อ ๑๘ ระดับปกติ หมายถึง สถานการณ์ทั่วไปเป็นปกติ ไม่มีสิ่งบอกเหตุหรือข้อมูลใด ๆ ว่าจะมีเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยและความไม่สงบเรียบร้อยเกิดขึ้นกับที่ทําการศาล
การกําหนดมาตรการและวิธีการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในระดับปกติ ให้มุ่งหมายถึงความสะดวกและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการผ่านเข้าออกที่ทําการศาลเป็นหลัก
ข้อ ๑๙ ระดับเตือนภัย หมายถึง สถานการณ์ที่มีสิ่งบอกเหตุ หรือข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าอาจจะมีเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยและความไม่สงบเรียบร้อยเกิดขึ้นในที่ทําการศาลหรือแก่บุคคลที่อยู่ในที่ทําการศาล
การกําหนดมาตรการและวิธีการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในระดับเตือนภัย ให้มุ่งหมายถึงความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยมากกว่าความสะดวกในการผ่านเข้าออกที่ทําการศาล
ข้อ ๒๐ ระดับสูงสุด หมายถึง สถานการณ์ที่มีสิ่งบอกเหตุ หรือข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าศาลเป็นเป้าหมายของการก่อเหตุร้าย หรือจะมีความไม่ปลอดภัยหรือความไม่สงบเรียบร้อยเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
การกําหนดมาตรการและวิธีการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในระดับสูงสุด ให้มุ่งหมายถึงความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยเป็นความสําคัญสูงสุด
หมวด ๔ การอนุญาต
ข้อ ๒๑ ให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยจัดให้มีบัตรแสดงตนสําหรับบุคคลที่ปฏิบัติงานภายในที่ทําการศาล เพื่อใช้แสดงว่าเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติงานในที่ทําการศาล
ข้อ ๒๒ ห้ามผู้ใดเข้ามาในที่ทําการศาล เว้นแต่ผู้มีบัตรอนุญาตสําหรับบุคคล
ข้อ ๒๓ ห้ามผู้ใดนํายานพาหนะเข้ามาในที่ทําการศาล เว้นแต่มีบัตรอนุญาตหรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
ให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยเป็นผู้ออกบัตรอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๔ ให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยจัดให้มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกที่ทําการศาลสําหรับบุคคลภายนอก หรือสื่อมวลชน อันเป็นผู้มาติดต่อราชการโดยบุคคลหรือสื่อมวลชนดังกล่าวจะต้องติดต่อขอแลกบัตรดังกล่าวกับหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๒๕ ผู้มีบัตรแสดงตนหรือบัตรอนุญาตสําหรับบุคคลผ่านเข้าที่ทําการศาลต้องติดบัตรแสดงตนหรือบัตรอนุญาตตลอดเวลาที่อยู่ในที่ทําการศาล
บุคคลตามวรรคหนึ่งรายใดที่พ้นจากหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานหรือปฏิบัติภารกิจในที่ทําการศาล ให้ส่งคืนบัตรแสดงตนหรือบัตรอนุญาตสําหรับบุคคลให้สํานักงาน
ข้อ ๒๖ ห้ามผู้ใดนําบัตรแสดงตนหรือบัตรอนุญาตสําหรับบุคคลนําบัตรไปใช้แอบอ้างหรือแสดงเป็นหลักฐานในสถานที่อื่นใดในทางที่ไม่เหมาะสม
หากพบว่ามีผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานเรียกบัตรคืนหรือยกเลิกบัตรแสดงตนหรือบัตรอนุญาตสําหรับบุคคลดังกล่าว
หมวด ๕ การปฏิบัติ
ส่วน ๑ บุคคลทั่วไป
ข้อ ๒๗ บุคคลที่เข้ามาในที่ทําการศาลต้องแต่งกายสุภาพ ประพฤติตนให้เรียบร้อย รักษามารยาท ปฏิบัติตนให้เหมาะสม และปฏิบัติตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๒๘ ห้ามผู้ใดแจกจ่าย เผยแพร่ จําหน่ายเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสิ่งอื่นใดในที่ทําการศาล เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ
ข้อ ๒๙ ห้ามผู้ใดถ่ายภาพ ถ่ายทําภาพยนตร์ บันทึกภาพและเสียง หรือกระทําอย่างอื่นในทํานองเดียวกันในที่ทําการศาล เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
ข้อ ๓๐ ห้ามนําสัตว์ วัตถุ หรือสิ่งของที่น่าจะเป็นอันตราย หรือก่อความเดือดร้อนรําคาญแก่บุคคลเข้ามาในพื้นที่ควบคุมและพื้นที่หวงห้าม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ
ข้อ ๓๑ ห้ามผู้ใดพักอาศัยอยู่ในที่ทําการศาล
ห้ามผู้ใดอยู่ในที่ทําการศาลนอกเวลาราชการตั้งแต่เวลา 20.00 นาฬิกา ถึง 05.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่ผู้มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ
ส่วน ๒ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและ
ความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๓๒ ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยบุคคล ทรัพย์สิน และอาคารสถานที่ในที่ทําการศาล
(2) ป้องกันการกระทําความผิดอาญา หรือการละเมิดอํานาจศาลในที่ทําการศาล
(3) รักษาความปลอดภัยและคุ้มครองประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะผู้สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของสํานักงาน ซึ่งกระทําการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทําหรือได้กระทําการตามหน้าที่
(4) รวบรวมตรวจสอบข้อเท็จจริง และปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งศาลหรือเลขาธิการในการดําเนินคดีละเมิดอํานาจศาล
(5) ควบคุมดูแลให้การจราจรบริเวณที่ทําการศาล เป็นไปโดยสะดวกและปลอดภัย และให้มีอํานาจในการเคลื่อนย้ายยานพาหนะตามสมควร
(6) ดําเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยตามที่เลขาธิการมอบหมาย
ข้อ ๓๓ เมื่อมีภัยคุกคามหรือพบว่าผู้อยู่ในบริเวณที่ทําการศาลอาจกระทําความผิดอาญาหรืออาจก่อให้เกิดการละเมิดอํานาจศาลให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยทําการระงับเหตุเท่าที่จําเป็น และประสานเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือเจ้าหน้าที่อื่นเพื่อดําเนินการตามกฎหมาย
ข้อ ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของศาล เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเลขาธิการ ร้องขอว่ามีเหตุตามข้อ 32 และข้อ 33 หรือในการพิจารณาคดีที่สําคัญหรือมีเหตุอันสมควรอื่น ให้สํานักงานเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย และจัดเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นรักษาความปลอดภัยบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลอื่นตามที่เลขาธิการเห็นสมควรก็ได้
ข้อ ๓๕ ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยที่ได้รับมอบหมายให้รักษาความปลอดภัยบุคคลตามข้อ 34 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยทั้งภายในที่ทําการศาลและภายนอกที่ทําการศาล
ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเฉพาะหน้าซึ่งอาจกระทบต่อบุคคลตามข้อ 34 ให้ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการความปลอดภัยนั้น มีอํานาจสั่งการแก้ไขสถานการณ์ตามความเหมาะสมและพอสมควรแก่เหตุ
ในกรณีที่เห็นเป็นการสมควร เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยอาจร้องขอเจ้าหน้าที่ตํารวจท้องที่หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่ออํานวยความสะดวกหรือดําเนินการแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น แล้วรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบในโอกาสแรก
หมวด ๖ การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อ ๓๖ เมื่อมีเหตุอันถือได้ว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้เลขาธิการหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่ชักช้า หากได้รับความเห็นชอบให้ประกาศใช้มาตรการในสถานการณ์ฉุกเฉินตามหมวดนี้ได้ และแจ้งให้บุคลากรของศาลและสํานักงานทราบโดยด่วน
ข้อ ๓๗ ให้เลขาธิการมีอํานาจสั่งการใด ๆ เพื่อป้องกัน ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นต่อศาลและสํานักงาน รวมถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ บุคลากรของศาล และสํานักงาน หรือมีอํานาจสั่งการใด ๆ เพื่อให้ศาลและสํานักงานสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของประธานศาลรัฐธรรมนูญ
การใช้อํานาจตามวรรคหนึ่งอาจหมายความรวมถึง
(1) สั่งให้ปิดที่ทําการศาล หรือกําหนดวันและเวลาทําการเป็นกรณีพิเศษ
(2) สั่งให้บุคลากรของสํานักงานดําเนินการใด ๆ เพื่อความเหมาะสมแก่สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นได้โดยไม่จําต้องคํานึงถึงภารกิจตามตําแหน่งหน้าที่และสายการบังคับบัญชา
(3) สั่งให้บุคลากรของสํานักงานประสานงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก หากเห็นว่าจําเป็นต่อการจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น
(4) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน
การใช้อํานาจตามวรรคหนึ่งและวรรคสองจะต้องกระทําเท่าที่จําเป็น เพื่อป้องกัน ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และให้รายงานต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญทราบโดยไม่ชักช้า และเมื่อเห็นว่าสถานการณ์ฉุกเฉินยุติลงหรือมีเหตุเปลี่ยนแปลงประการใดแล้ว ให้เลขาธิการหารือต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิกมาตรการในสถานการณ์ฉุกเฉินก็ได้
ข้อ ๓๘ ให้มีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินคณะหนึ่ง ตามข้อ 37 วรรคสอง (4) ประกอบด้วยเลขาธิการ เป็นประธานกรรมการ รองเลขาธิการที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธาน ผู้แทนสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ผู้แทนผู้บัญชาการกองทัพไทย ผู้กํากับการสถานีตํารวจนครบาลทุ่งสองห้อง ผู้อํานวยการเขตหลักสี่ เป็นกรรมการ และผู้อํานวยการกลุ่มงานรักษาความปลอดภัย เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๓๙ คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉินตามข้อ 37 วรรคสอง (4) มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ป้องกัน ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น
(2) ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภายนอกในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
(3) กําหนดแผนรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยที่ทําการศาล หรือแผนเผชิญเหตุ
(4) ดําเนินการอื่นตามที่เลขาธิการมอบหมาย
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉินรายงานเลขาธิการทราบโดยทันที
หมวด ๗ การเข้าฟังการไต่สวนของศาล
ข้อ ๔๐ คู่กรณี ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่ประสงค์จะเข้าฟังการไต่สวนของศาล ต้องนําบัตรประจําตัวประชาชน บัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรอื่นที่หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยเห็นสมควรให้ใช้แทนได้ มาแลกบัตรเข้าฟังการไต่สวนหรือการออกนั่งพิจารณาคดี และให้ระบุชื่อ ชื่อสกุล พร้อมลงลายมือชื่อในสมุดที่สํานักงานจัดไว้
เลขาธิการหรือผู้ได้รับมอบหมายมีอํานาจพิจารณาและออกบัตรอนุญาตให้ตามที่เห็นสมควรและบัตรอนุญาตนี้ ให้ใช้ได้เฉพาะวันที่มีการไต่สวนของศาล
ข้อ ๔๑ สื่อมวลชนใดประสงค์จะเข้าฟังการไต่สวนของศาล ให้ทําเป็นหนังสือถึงเลขาธิการโดยระบุเรื่องพิจารณา วันเวลาที่นัดพิจารณา และระบุชื่อ ชื่อสกุลของสื่อมวลชนดังกล่าว ทั้งนี้ บัตรอนุญาตและการแลกบัตรเข้าฟังการไต่สวนของศาลให้นําข้อ 40 มาใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๔๒ ในกรณีที่สถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานใด หรือคณะบุคคลใดขอเข้าฟังการไต่สวนของศาล เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษานั้น ให้เลขาธิการหรือผู้ได้รับมอบหมายมีอํานาจพิจารณาและอนุญาตตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ บัตรอนุญาตและการแลกบัตรเข้าฟังการไต่สวนของศาล ให้นําข้อ 40 มาใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๔๓ ห้ามผู้เข้าฟังการไต่สวนของศาลแสดงกิริยาไม่เรียบร้อย หรือกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนหรือขัดขวางการไต่สวนของศาล ทั้งต้องปฏิบัติตามคําแนะนําของเจ้าหน้าที่ของสํานักงานโดยเคร่งครัดด้วย
ข้อ ๔๔ บัตรอนุญาตตามข้อ 40 ข้อ 41 และข้อ 42 ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนดและเลขาธิการหรือผู้ได้รับมอบหมายจะยกเลิก เปลี่ยนแปลง หรือเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๕ ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบ ประกาศ และมาตรการหรือข้อปฏิบัติที่ออกตามความในข้อ 7 ให้การดําเนินการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยเป็นไปตามระเบียบสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2543 และแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่เดิมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,988 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาล พ.ศ. 2562 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการดําเนินการเกี่ยวกับการละเมิดอํานาจศาล
พ.ศ. 2562
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 210 บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอํานาจพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมาย ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ รวมทั้งหน้าที่และอํานาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 38 และมาตรา 39 กําหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจรักษาความสงบเรียบร้อยของการพิจารณาคดีโดยมีอํานาจในการมีคําสั่งให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการ ตลอดจนมีอํานาจพิจารณาและสั่งหรือลงโทษกรณีมีการกระทําที่เป็นการละเมิดอํานาจศาล ดังนั้น เพื่อปกป้องคุ้มครองรักษากระบวนพิจารณาให้ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม สมควรวางหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในคดีละเมิดอํานาจศาลไว้เพื่อถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 และข้อ 13 ของข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการดําเนินการเกี่ยวกับการละเมิดอํานาจศาล พ.ศ. 2562"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การดําเนินคดีละเมิดอํานาจศาลให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ และให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๔ ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การขอถอนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจากการพิจารณา ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพิจารณาคดี สถานที่พิจารณา เวลาการพิจารณา การแจ้งคําสั่งศาลหรือหมาย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๕ เมื่อมีการกระทําที่เป็นการละเมิดอํานาจศาล ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญรวบรวมข้อเท็จจริงพร้อมความเห็น เสนอต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าควรเสนอให้ศาลพิจารณาเป็นคดีละเมิดอํานาจศาลหรือไม่
หากประธานศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบให้เสนอศาลพิจารณาเป็นคดีละเมิดอํานาจศาล ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งสํานวนกล่าวหาเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณา
กรณีการกระทําละเมิดอํานาจศาลปรากฏต่อศาลในขณะพิจารณาคดี ศาลอาจพิจารณาเป็นคดีละเมิดอํานาจศาลและมีคําสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 39 ได้ทันที โดยไม่ต้องดําเนินการไต่สวนตามวรรคหนึ่งและวรรคสองก็ได้
ข้อ ๖ ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือรองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมาย พิจารณามอบหมายหน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนคดีละเมิดอํานาจศาล
เมื่อได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบมอบหมายเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนคดีละเมิดอํานาจศาล
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนคดีละเมิดอํานาจศาลเสนอสํานวนคดีละเมิดอํานาจศาล พร้อมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของศาลต่อเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผ่านผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้น แล้วให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอต่อศาล
ข้อ ๗ ให้ศาลมีอํานาจเรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคํา ตลอดจนขอให้หน่วยงานของรัฐ หรือพนักงานสอบสวน ดําเนินการเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาได้
ศาลอาจแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งรวบรวมพยานหลักฐานที่ได้ตามวรรคหนึ่ง แล้วเสนอรายงานต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้
ข้อ ๘ ให้ศาลมีอํานาจออกคําสั่งหรือออกหมายในการพิจารณาคดีและการดําเนินการให้เป็นไปตามคําสั่งของศาล
ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งซึ่งได้รับมอบหมายจากศาลเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําสั่งหรือในหมายตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๙ แบบพิมพ์คําสั่งหรือหมายของศาลตามข้อ 8 และแบบพิมพ์ที่ใช้ในการดําเนินกระบวนพิจารณาของศาล กําหนดให้ใช้เพื่อการใด มีรูปแบบ ขนาดและข้อความอย่างใด ให้เป็นไปตามท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๐ เพื่อให้การพิจารณาและการดําเนินการให้เป็นไปตามคําสั่งของศาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ศาลหรือสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ อาจร้องขอเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือเจ้าหน้าที่อื่นดําเนินการใด ๆ ช่วยสนับสนุนก็ได้
ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดส่งตัวอย่างลายมือชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนที่มีหน้าที่ลงชื่อในหมายศาล และตัวอย่างตราดุนศาลไปให้ผู้บัญชาการเรือนจํา ผู้ควบคุมดูแลสถานที่กักขังแห่งท้องที่ที่ศาลตั้งอยู่ และเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการตรวจสอบลายมือชื่อในหมาย หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใดพันจากหน้าที่ดังกล่าวแล้วก็ให้แจ้งไปให้ทราบด้วย
ข้อ ๑๒ องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาคดีละเมิดอํานาจศาลและในการทําคําสั่งต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเจ็ดคน
คําสั่งของศาลรัฐธรรมนูญในคดีละเมิดอํานาจศาลให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่การลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง (3) ต้องมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ข้อ ๑๓ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,989 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการจ่ายเงินค่ารับรองของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการจ่ายเงินค่ารับรองของประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2551
---------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่ารับรองของประธานศาลรัฐธรรมนูญและ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นไว้ เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจ่ายเงินค่ารับรองของประธาน ศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“ค่ารับรอง” หมายความว่า ค่าเลี้ยงรับรอง ค่าของขวัญ ค่าพิมพ์เอกสารและค่าใช้จ่ายอื่น ซึ่งจําเป็นต้องจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรับรองเพื่อเกียรติแห่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญ
“ค่าเลี้ยงรับรอง” หมายความว่า ค่าอาหาร เครื่องดื่มต่างๆ รวมทั้งประเภทที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องใช้ในการเลี้ยงรับรอง ค่าสถานที่และค่าบริการ
ข้อ ๔ ค่ารับรองของประธานศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง โดยอนุมัติของประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย ภายในวงเงินงบประมาณรายจ่ายประเภทค่ารับรองของประธานศาลรัฐธรรมนูญและคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551
เชาวน์ สายเชื้อ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,990 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพของ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
-----------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจําตําแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2541 ศาลรัฐธรรมนูญจึงกําหนดหลักเกณฑ์การจัดหาผู้รับประกัน การจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายเงินและอัตราประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่น ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2541 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดตั้งงบประมาณและเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพประจําปีให้กับประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในอัตราคนละไม่เกินอัตราเงินเดือนของประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ในการจัดหาผู้รับประกันตามระเบียบนี้ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธาน ผู้อํานวยการสํานักอํานวยกิจการ ศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอีกจํานวนสามคน เป็นกรรมการ และผู้อํานวยการส่วนการคลังและพัสดุ เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอํานาจหน้าที่กําหนดแนวทางจัดหาและพิจารณา เงื่อนไข ผลประโยชน์ที่ได้รับและอัตราเบี้ยประกันของผู้รับประกัน เพื่อเสนอเลขาธิการสํานักงาน ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอนุมัติ แล้วเสนอให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรับทราบ”
ประกาศ ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546
กระมล ทองธรรมชาติ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,991 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่น
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2544
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการ และกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2541 ศาลรัฐธรรมนูญจึงกําหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายเงินและอัตราค่าประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2544”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาระเบียบหรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบ
“การประกันสุขภาพ” หมายความว่า การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านการเงินเพื่อ เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายต่างๆ สําหรับการดูแลสุขภาพหรือรักษาตัวในสถานพยาบาล หรือคลินิก หรือเข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์ ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีความจําเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพ เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ
ข้อ ๕ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดหาผู้รับประกันเพื่อเสนอคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาอนุมัติ และให้เบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพให้กับผู้รับประกันในอัตราคนละไม่เกินสามหมื่นบาทต่อปี
ข้อ ๖ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับความคุ้มครองจากการประกันสุขภาพ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อ ๗ สิทธิที่จะได้รับเงินเกี่ยวกับการประกันสุขภาพของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงเมื่อพ้นจากตําแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ หรือสัญญาการประกันสุขภาพสิ้นสุด ระยะเวลา
ข้อ ๘ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554
อิสสระ นิติทัณฑ์ประกาศ
ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | 4,992 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2551
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2544 ข้อ 4 ข้อ 7 และข้อ 8 ประกอบมาตรา 108 และมาตรา 139 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การต่อเวลาราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามความต้องการของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่สิทธิของข้าราชการที่จะขอต่อเวลาราชการได้เอง
ข้อ ๔ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่จะได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) ปฏิบัติหรือเคยปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาการไม่ต่ํากว่าระดับ 9 หรือระดับเชี่ยวชาญเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
(2) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการที่จะเกษียณอายุราชการตามพระราชบัญญัติบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป และสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ามีความจําเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว
(3) เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ผ่านการตรวจสุขภาพ โดยมีใบรับรองแพทย์จากสถาบันของรัฐรับรอง และรับรองไว้ไม่เกินหกเดือน
(4) มีผลงานทางวิชาการนับแต่ปฏิบัติหรือเคยปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาการไม่ต่ํากว่าระดับ 9 หรือระดับเชี่ยวชาญ จนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีที่เกษียณอายุราชการ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) หนังสือ ตํารา หรืองานวิจัย ที่ได้รับการเผยแพร่ จํานวนไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง และ
(ข) บทความทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่อย่างน้อย 5 เรื่อง หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการเผยแพร่อย่างน้อย 5 รายการ หรือ
(ค) การยกร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการประกาศใช้เป็นกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง หรือ
(ง) ปฏิบัติหรือเคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับคดีที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในฐานะเจ้าของสํานวนที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เป็นคดีสําคัญที่จําเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงมากเป็นผู้จัดทํา ซึ่งผลงานการจัดทําสํานวนคดีนั้นได้รับการยอมรับจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๕ ข้าราชการผู้ที่ได้รับการต่อเวลาราชการ ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอนุมัติให้ต่อเวลาราชการ โดยการต่อเวลาราชการให้ต่อได้คราวละไม่เกินสองปี
การต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์นับถึงวันสิ้นปีงบประมาณในปีนั้น
ข้อ ๖ การพิจารณาต่อเวลาราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ดําเนินการดังนี้
(1) สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมการ จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน เพื่อพิจารณากําหนดจํานวนข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญและบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการต่อเวลาราชการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้
(2) การพิจารณาต่อเวลาราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านการพิจารณาตามข้อ 6 (1) ต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้น และให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอขออนุมัติต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และในการนี้จะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่ข้าราชการผู้นั้นเกษียณอายุราชการ
(3) ข้าราชการที่ได้รับการต่อเวลาราชการต้องมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยมีหนังสือรับรองจากสถาบันทางการแพทย์ของรัฐที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า สมควรใช้พิจารณาประกอบการขอต่อเวลาราชการได้ และในระหว่างที่มีการต่อเวลาราชการให้มีหนังสือรับรองการตรวจสุขภาพดังกล่าวเป็นประจําทุกปี
ข้อ ๗ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ และได้รับคําสั่งให้รับราชการต่อไป ต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในทางวิชาการเท่านั้น ไม่สามารถดํารงตําแหน่งทางการบริหารได้
ข้อ ๘ ในระหว่างการต่อเวลาราชการให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ได้รับอนุมัติให้ต่อเวลาราชการเป็นประจําทุกปี และต้องรายงานผลการประเมินก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมของทุกปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๙ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,993 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล
พ.ศ. 2557
-------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารบุคคล เพื่อให้การกําหนดตําแหน่งและการได้รับเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับการกําหนดตําแหน่งและการได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (2) (3) (11) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2544
ข้อ ๔ ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรียกโดยย่อว่า
“อ.ศร.” ประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน โดยมีประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธาน อ.ศร. มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับตามระเบียบนี้
ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญทําหน้าที่เลขานุการ อ.ศร. และรองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญทําหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการ อ.ศร.
ข้อ ๕ การประชุม อ.ศร. ต้องมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุม อ.ศร. ถ้าประธาน อ.ศร. ไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งทําหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๖ ในการบริหารงานบุคคลของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้มีคณะอนุกรรมการเพื่อทําหน้าที่เป็นคณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรียกว่า “คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ” เรียกโดยย่อว่า “อ.กศร.” ประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญมอบหมายเป็นประธาน เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ จํานวน 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายจํานวน 2 คน ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูงหรือประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง จํานวน 1 คน รวมแล้วไม่เกิน 7 คน เป็นอนุกรรมการ
โดยมีผู้อํานวยการสํานักพัฒนาระบบบริหารเป็นเลขานุการและผู้อํานวยการกลุ่มงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ให้สํานักพัฒนาระบบบริหารเป็นฝ่ายธุรการของ อ.กศร.
ข้อ ๗ อ.ศร. มีอํานาจตั้งกรรมการหรืออนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ ตามที่ อ.ศร.มอบหมาย
ข้อ ๘ การกําหนดคุณสมบัติ การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การย้าย การเลื่อนตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน ค่าตอบแทนพิเศษการออกจากราชการ การสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน วินัย การสอบสวนและการลงโทษทางวินัย การร้องทุกข์ การอุทธรณ์การลงโทษ การรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทนการรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่ อ.ศร. กําหนดในระเบียบนี้ หรือระเบียบอื่น การใดมิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนสามัญ กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๙ ในกรณีที่นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับนั้น ให้บรรดาอํานาจหน้าที่ของคณะบุคคลและบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะบุคคลและบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) อํานาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ก.พ. ก.พ.ค. เป็นอํานาจหน้าที่ของ อ.ศร.
(2) อํานาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. กรม เป็นอํานาจหน้าที่ของ อ.กศร.
(3) อํา นาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เป็นอํา นาจหน้าที่ของประธานศาลรัฐธรรมนูญ
(4) อํานาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงและอธิบดี เป็นอํานาจหน้าที่ของเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๐ วันเวลาทํางาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจําปีและการลาหยุดราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนี้และมติคณะรัฐมนตรี ส่วนผู้มีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตและอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาให้เป็นไปตามตารางแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๑ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
(1) ตําแหน่งประเภทบริหาร คือ ตําแหน่งบริหารระดับสูง ได้แก่ ตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และตําแหน่งอื่นที่ อ.ศร. กําหนดให้เป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(2) ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) อํานวยการระดับต้น ได้แก่ ผู้อํานวยการกลุ่มงานหรือตําแหน่งอื่นที่ อ.ศร.กําหนดให้เป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น
(ข) อํานวยการระดับสูง ได้แก่ ตําแหน่งผู้อํานวยการสํานัก ผู้อํานวยการสถาบัน หรือตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ อ.ศร. กําหนดให้เป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง
(3) ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ อ.ศร. กําหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับปฏิบัติการ
(ข) ระดับชํานาญการ
(ค) ระดับชํานาญการพิเศษ
(ง) ระดับเชี่ยวชาญ
(จ) ระดับทรงคุณวุฒิ
(4) ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภทอํานวยการ และตําแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ อ.ศร. กําหนด มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับปฏิบัติงาน
(ข) ระดับชํานาญงาน
(ค) ระดับอาวุโส
(ง) ระดับทักษะพิเศษ
ข้อ ๑๒ ตําแหน่งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใดและเป็นตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งอย่างใดให้เป็นไปตามที่ อ.ศร. กําหนด โดยต้องคํานึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และไม่ซ้ําซ้อน ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ อ.ศร. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งตามข้อ 13
ข้อ ๑๓ ให้ อ.ศร. จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง โดยจําแนกตําแหน่งประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ระบุชื่อตําแหน่งในสายงานหน้าที่ความรับผิดชอบหลักและคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย
ข้อ ๑๔ การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญนอกจากที่กฎ ระเบียบของศาลรัฐธรรมนูญกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ กฎ ก.พ. และระเบียบอื่นที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลมตําแหน่งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตําแหน่งใด ที่มิใช่ตําแหน่งที่กําหนดไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนจะมีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามที่ อ.ศร. กําหนด
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จําเป็นต้องดําเนินการสอบแข่งขัน อ.ศร. อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ศร. กําหนด
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ อ.ศร. กําหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตร หรือคุณวุฒิที่ อ.ศร. รับรองในกรณีที่มีเหตุผลและความจํา เป็น อ.ศร. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งได้
ข้อ ๑๗ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญและการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ให้ผู้มีอํานาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(1) การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้เสนอด้วยความเห็นชอบของ อ.ศร. เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ และนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง
(2) การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจาก (1) ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ข้อ ๑๘ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดําเนินการทางวินัยตามระเบียบนี้ หรือดําเนินการสอบสวนข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้ไม่เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ หรือซึ่งมีกรณีถูกกล่าวหา หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือสั่งให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว ให้รายงานผลการดําเนินการทางวินัย การสอบสวน หรือการสั่งให้ออกจากราชการต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตามลําดับจนถึงประธานศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ดําเนินการทางวินัยหรือได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง และได้พิจารณาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ศร.
ในกรณีที่ อ.ศร. ได้รับรายงานตามวรรคสอง เห็นว่าการดําเนินการดังกล่าวเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม และมีมติเป็นประการใด ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
ข้อ ๑๙ การอุทธรณ์คําสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ให้อุทธรณ์ได้
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคําสั่ง
การอุทธรณ์คําสั่งของเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ หรือประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ศร. และให้ อ.กศร. เป็นผู้พิจารณาทําความเห็นเสนอต่อ อ.ศร. เพื่อพิจารณาอุทธรณ์
เมื่อ อ.ศร. มีมติเป็นประการใด ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
ข้อ ๒๐ การอุทธรณ์คําสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกให้อุทธรณ์ต่อ อ.ศร. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคําสั่งให้ อ.กศร. เป็นผู้พิจารณาทําความเห็นเสนอต่อ อ.ศร. เพื่อพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อ อ.ศร.มีมติเป็นประการใด ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
ข้อ ๒๑ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ ตามข้อ 19 และข้อ 20ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ศร. กําหนด
ข้อ ๒๒ ประธานศาลรัฐธรรมนูญอาจมอบอํานาจเป็นหนังสือให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดผู้หนึ่งที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย เป็นผู้รักษาราชการแทน และให้ผู้รักษาราชการแทนมีอํานาจเช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มอบหมายให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดเป็นผู้รักษาราชการแทน ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้มีอายุสูงสุดในขณะนั้นเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง อาจมอบอํานาจเป็นหนังสือให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน
ข้อ ๒๔ การรักษาราชการแทนและการปฏิบัติราชการแทนของข้าราชการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้นํากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๕ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทําและรักษาทะเบียนประวัติของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๒๖ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดให้มีแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดทําบันทึกผลการดําเนินงาน โดยให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการและระดับของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ต้องจัดทําบันทึกผลการดําเนินงานดังกล่าวทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการ
ข้อ ๒๗ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ ๒๘ ในระหว่างที่ อ.ศร. ยังมิได้ออกระเบียบ ประกาศ หรือกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างอื่น ให้นําระเบียบ ประกาศหรือมติของ อ.ศร. เดิมก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ มาบังคับใช้ในส่วนที่เกี่ยวกับการนั้นเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
บรรดาการดําเนินการตามระเบียบ ประกาศ มติ คําสั่ง หรือการดําเนินการใด ๆ ของ อ.ศร.หรือของเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกตามระเบียบนี้ แต่ยังไม่แล้วเสร็จให้ดําเนินการต่อไปตามระเบียบ ประกาศ มติ หรือคําสั่งที่ใช้บังคับอยู่เดิมต่อไปจนกว่าแล้วเสร็จ และให้มีผลบังคับใช้ได้เว้นแต่ อ.ศร. จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557
นุรักษ์ มาประณีต
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,994 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 328/2556 เรื่อง การรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 328/2556
เรื่อง การรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (2)
แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานคดีล้มละลายของกรมบังคับคดีดําเนินไปอย่างรวดเร็ว และคุ้มครอง สิทธิของลูกหนี้และเจ้าหนี้อย่างเป็นธรรม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแนวปฏิบัติตามหนังสือกรมบังคับคดีที่ ยธ 0501/3442 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่อง การรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (2) แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
ข้อ ๒ ในกรณีล่วงพ้นกําหนดระยะเวลา 2 เดือนนับแต่วันประกาศโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตรวจสอบว่ามีเจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้หรือไม่ หากปรากฏว่าไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ หรือมี เจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ไว้แต่ได้ถอนคําขอรับชําระหนี้เสียทั้งสิ้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาล เพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา 135 (2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช
ข้อ ๓ ในกรณีที่มีเจ้าหนี้มายื่นขอขยายระยะเวลาภายหลังจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ รายงานศาลเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้แล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอถอนเรื่อง การยกเลิกการล้มละลายคืนจากศาล แต่ทั้งนี้ ถ้าศาลมีคําสั่งในเรื่องดังกล่าวแล้วก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ยุติการ าเนินการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,995 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนของ
ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2558
------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกํา หนดระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับเงินเดือนในอัตราที่เท่าเทียมกับข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการประเภทอื่นที่มีคุณวุฒิและระยะเวลาการรับราชการในลักษณะเดียวกัน ตามที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการกําหนดตําแหน่งและการได้รับเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นในลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (2) (11) และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 ประกอบมาตรา 138 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 14 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2557 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรองตามเอกสารแนบท้าย 1 (ก) หรือเอกสารแนบท้าย 1 (ข) ของหนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุดที่ นร 1008.1/ว 31 ลงวันที่ 17 กันยายน 2553
ข้อ ๔ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ให้ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามเอกสารแนบท้าย 3 (ก) หรือเอกสารแนบท้าย 3 (ข) ของหนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว 31 ลงวันที่ 17 กันยายน 2553
ข้อ ๕ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรองตามเอกสารแนบท้าย 1 (ก) หรือเอกสารแนบท้าย 1 (ข) ของหนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุดที่ นร 1008.1/ว 3 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2555
ข้อ ๖ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 ให้ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามเอกสารแนบท้าย 3 (ก) หรือเอกสารแนบท้าย 3 (ข) ของหนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว 3 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2555
ข้อ ๗ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย 1 (ก) หรือเอกสารแนบท้าย 1 (ข) ของหนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุดที่ นร 1008.1/ว 3 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2555
ข้อ ๘ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย 1 (ก) หรือเอกสารแนบท้าย 1 (ข) ของหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร1008.1/ว 20 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555
ข้อ ๙ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 ให้ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย 3 (ก) หรือเอกสารแนบท้าย 3 (ข) ของหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/ว 20 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555
ข้อ ๑๐ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย 1 (ง) หรือเอกสารแนบท้าย 1 (จ) ของหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร1008.1/ว 20 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555
ข้อ ๑๑ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ก่อนวันที่ 1มกราคม 2557 ให้ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย 3 (ง) หรือเอกสารแนบท้าย 3 (จ) ของหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร1008.1/ว 20 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555
ข้อ ๑๒ การปรับอัตราเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด ตามข้อ 3 ถึงข้อ 11 หากต้องมีการแก้ไขคําสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553 - 1 ตุลาคม 2557 ให้ใช้ผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่ข้าราชการผู้นั้นเคยได้รับอยู่เดิม เป็นฐานในการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550หรือพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ การปรับอัตราเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนดตามข้อ 3 ถึง ข้อ 11 แล้วแต่กรณี หากไม่มีอัตราเงินเดือนในขั้นที่ตรงกันตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 หรือพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ให้ปรับเงินเดือนให้ได้รับอัตราเงินเดือนขั้นใกล้เคียงที่ต่ํากว่า เว้นแต่การปรับเงินเดือนกรณีอัตราแรกบรรจุตามข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 10 หากไม่มีอัตราเงินเดือนที่ตรงกัน ให้ปรับเงินเดือนแรกบรรจุโดยให้ได้รับอัตราเงินเดือนขั้นใกล้เคียงที่สูงกว่า
ข้อ ๑๔ กรณีข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามข้อ 3 ถึงข้อ 11 แล้วแต่กรณี และได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553 - 1 มกราคม 2557 หากต้องมีการแก้ไขคําสั่งการให้ได้รับเงินเดือนให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับเงินเดือนในอันดับของตําแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้สูงขึ้นในอัตราที่เท่ากัน ในกรณีที่ไม่มีอัตราเงินเดือนที่เท่ากันให้ได้รับในอัตราขั้นใกล้เคียงที่สูงกว่า
ข้อ ๑๕ กรณีอัตราเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับอยู่ไม่ถึงอัตราขั้นต่ําของการได้รับการปรับเงินเพิ่มตามคุณวุฒิตามข้อ 3 ถึงข้อ 11 ให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นได้รับการปรับในอัตราเดียวกับผู้ที่มีอัตราเงินเดือนอยู่ในระดับขั้นต่ําสุดของการได้รับการปรับเงินเพิ่มตามคุณวุฒิ ตามที่ ก.พ. กําหนด
ข้อ ๑๖ หากมีกรณีการปรับอัตราเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามข้อ 3 ถึงข้อ 11 แล้ว ทําให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใด ได้รับเงินเดือนน้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิมให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอัตราเท่าเดิม
ข้อ ๑๗ หากมีกรณีการปรับอัตราเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามข้อ 3 ถึงข้อ 11 แล้ว ทําให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใด มีอัตราเงินเดือนเต็มขั้นในระดับตําแหน่งที่ดํารงอยู่ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 หรือพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ทําให้ไม่สามารถปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มได้อีก ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นได้รับอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของระดับตําแหน่งที่ดํารงอยู่
ข้อ ๑๘ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งโอนมาจากข้าราชการตามกฎหมายอื่นซึ่งเคยได้รับการปรับเงินเพิ่มตามคุณวุฒิตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุดที่ นร 1008.1/ว 31 ลงวันที่ 17 กันยายน 2553 หนังสือสํานักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร1008.1/ว 3 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2555 และหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.1/ว 20ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555 ครบถ้วนแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับการปรับเงินเดือนตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๙ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทใดสายงานใด ระดับใด ในวันที่ 2 ตุลาคม 2557 ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ํากว่าขั้นต่ําของระดับเงินเดือนสําหรับตําแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับที่ได้รับแต่งตั้งตามบัญชีท้ายของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ําของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 17 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจํา ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 หน้า 41 เล่ม 132 ตอนที่ 61 ก ราชกิจจานุเบกษา 10 กรกฎาคม 2558
ข้อ ๒๐ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.) มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติและการบังคับใช้ระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,996 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 267/2556 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการน่าสงหรือรับเงินจองกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 267/2556
เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการน่าสงหรือรับเงินจองกรมบังคับคดี
-----------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 538/2555 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2555 เรื่อง ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 538/2555 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2555 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงิน แทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. นางสาวรัตนา วิมุกตานนท์ ผู้อํานวยการกองคลัง กรรมการ
2. นางสาวจุฑาทิพย์ คงจะธร นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการพิเศษ กรรมการ
3. นางสาวจิตติมา ศรีด้วงกัง หัวหน้าฝายการเงิน กรรมการ
อื่นๆ - ข.กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้
1. นางจรรยา รุจิไพโรจน์ นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการพิเศษ กรรมการ
2. นางสาวมัลลิกา ล้อมทรัพย์ นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการพิเศษ กรรมการ
3. นางสาวพนารัตน์ ดาวเรือง นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการพิเศษ กรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการน่าส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่าย สํานักงาน นอกที่ตั้งสํานักงาน คือ
1. นางสาวจิตติมา ศรีวงกัง หัวหน้าฝ่ายการเงิน กรรมการ
2. นางอภิศรา วิไลเนตร นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
3.นางสาวพนารัตน์ ดาวเรือง นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
4. นางประชุมพร ทองนิล เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ
5. นางสาวลดาวัลย์ วิริยะศิริวัฒนา เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใดซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือ หัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุม รักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 เมษายน 2556
(ลงชื่อ) วิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,997 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2557
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (8) (11) และวรรคสอง มาตรา 7 และมาตรา 8แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 ข้อ 14 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2557 ประกอบมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง พ.ศ. 2551และ กฎก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจําตําแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทสายงาน และระดับตําแหน่งใด มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา ดังต่อไปนี้
(1) ประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่
(ก) ตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 21,000 บาท
(ข) ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตามที่ อ.ศร. กําหนด ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 21,000 บาท
(ค) ตําแหน่งรองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 14,500 บาท
(2) ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 10,000 บาท
(3) ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 5,600 บาท
(4) ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่
(ก) ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษา ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 15,600 บาท
(ข) ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ อ.ศร. กําหนด ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 15,600 บาท
(ค) ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 13,000 บาท
(5) ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 9,900 บาท
(6) ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษ สายงานนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 5,600 บาท
(7) ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ สายงานนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ที่มีประสบการณ์ทักษะ และสมรรถนะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ อ.ศร. กําหนด ให้ได้รับเงินประจําตําแหน่งในอัตรา 3,500 บาท
ข้อ ๔ ให้ อ.ศร. มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้หรืออันเนื่องมาจากระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในกรณีอื่นนอกจากที่ได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอ อ.ศร. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,998 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 225/2556 เรื่อง การเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 225/2556
เรื่อง การเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
-----------------------
เพื่อให้การปฏิบัติงานคดีล้มละลายของกรมบังคับคดีดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์แก่ราชการ และดําเนินการไปในทิศทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 7 ตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 445/2559 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2549 เรื่อง การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายในสํานวนกลาง และให้ปฏิบัติตามคําสั่งนี้
ข้อ ๒ การอนุญาตให้ลูกหนี้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ปฏิบัติตามแนวทางในคําสั่งนี้
ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคําร้องของลูกหนี้ เพื่อขอเดินทางออกนอก ราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการตรวจสอบว่ามีการสอบสวนกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ แล้วหรือไม่ หากยังไม่มีการสอบสวนให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําการสอบสวนกิจการและทรัพย์สิน ของลูกหนี้นั้น แล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานเสนอต่อหัวหน้ากลุ่มงานหรือผู้อํานวยการสํานักงาน บังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี เพื่อมีคําสั่งอนุญาตให้ลูกหนี้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และ มีหนังสือรายงานศาลขอเพิกถอนหมายจับ ในกรณีที่มีการออกหมายจับลูกหนี้ไว้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว ให้รายงานศาลอย่างช้าในวันทําการถัดไป เพื่อให้ศาลกําหนดวันนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย
ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ลูกหนี้ทราบหน้าที่ที่ต้องไปทําการไต่สวนโดยเปิดเผย ตามกําหนดนัดของศาล ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะส่งหมายเรียกแจ้งกําหนดนัดดังกล่าวให้ลูกหนี้ทราบ โดยส่งไปยังภูมิลําเนาของลูกหนี้ที่ปรากฏในสําเนาการตรวจสอบทะเบียนประวัติบุคคลของสํานักบริหาร การทะเบียนหน่วยข้อมูล กรมการปกครอง หรือตามภูมิลําเนาที่ลูกหนี้แจ้งไว้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ข้อ ๕ ในการพิจารณาอนุญาตให้ลูกหนี้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กําหนดระยะเวลาในการเดินทางออกไปดังกล่าว และกําหนดให้ลูกหนี้ต้องมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๖ ในการมารายงานตัว หากลูกหนี้มารายงานตัวเกินกําหนด 7 วัน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กําชับลูกหนี้ในคราวต่อไปว่าลูกหนี้มีหน้าที่ต้องมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนด มิฉะนั้น อาจเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ และหากลูกหนี้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรบ่อยครั้ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะตั้งเป็นข้อสังเกต เพื่อประกอบในการสอบสวน ถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เพิ่มเติม
ข้อ ๗ ในการขออนุญาตและการมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์แจ้งแก่ลูกหนี้ว่าลูกหนี้ต้องมาดําเนินการด้วยตนเอง
ข้อ ๘ เมื่อมีคําสั่งอนุญาตให้ลูกหนี้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์มีหนังสือแจ้งผู้อํานวยการกองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล และผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้า เมือง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ อนุญาตให้ลูกหนี้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,999 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการ
สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2542
--------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 (4) แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑ เครื่องแบบข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
-----------------------------------
ข้อ ๔ เครื่องแบบข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีสามชนิด คือ
(1) เครื่องแบบปฏิบัติราชการ
(2) เครื่องแบบพิธีการ
(3) เครื่องแบบประจําสํานักงาน
ข้อ ๕ เครื่องแบบปฏิบัติราชการมีสองแบบ คือ
(1) เครื่องแบบสีกากีคอพับ
(2) เครื่องแบบสีกากีคอแบะ
ข้อ ๖ เครื่องแบบพิธีการมีห้าแบบ คือ
(1) เครื่องแบบปกติขาว
(2) เครื่องแบบครึ่งยศ
(3) เครื่องแบบเต็มยศ
(4) เครื่องแบบปกติกากคอตั้ง
(4) เครื่องแบบสโมสร
ข้อ ๗ ส่วนประกอบของเครื่องแบบปฏิบัติราชการตามข้อ 5 และเครื่องแบบพิธีการตามข้อ 6 ที่เป็นหมวก เสื้อ อินทรธนู กางเกง กระโปรง เข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า หรือป้ายชื่อและตําแหน่ง ให้นําส่วนประกอบของเครื่องแบบที่ใช้สําหรับข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับ เว้นแต่เครื่องหมายแสดงสังกัด ให้ใช้เครื่องหมายรูปรัฐธรรมนูญประดิษฐานอยู่บนพานสองชั้น เบื้องบนมีพระดุลพาห์ เบื้องล่างมีช่อชัยพฤกษ์ขนาดสูง 2.5 เซนติเมตร ทําด้วยโลหะโปร่งสีทอง
ข้อ ๘ เครื่องแบบประจําสํานักงาน ตามข้อ 4 (3)
(1) ชาย ให้ใช้ชุดสากลนิยม (เสื้อ - กางเกง) สีกรมท่า โดยที่หน้าอกเสื้อสากลนิยมด้านซ้าย มีตราสัญลักษณ์ของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ปักด้วยไหมสีตามที่กําหนดไว้ในตราสัญลักษณ์สวมทับเสื้อเชิ้ตสีขาว
(2) หญิง ให้ใช้ชุดสากลนิยม (เสื้อ กระโปรง) สีกรมท่า โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับข้าราชการชาย
หมวด ๒ การแต่งกายของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
-----------------------------
ข้อ ๙ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ตามระเบียบของทางราชการ
ข้อ ๑๐ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ซึ่งได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ เครื่องหมาย แสดงความสามารถ เครื่องหมายกิตติมศักดิ์ เข็มแสดงวิทยฐานะ เครื่องหมายหรือเข็มอื่นใด แล้วแต่กรณี ให้ประดับเครื่องหมายหรือเข็มนั้นตามระเบียบของทางราชการหรือระเบียบของส่วนราชการนั้นๆ ได้ ราคาตามสมควร
ข้อ ๑๑ การแต่งเครื่องแบบที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้แต่งตามหมายของสํานักพระราชวัง หรือตามระเบียบ คําสั่งหรือมติของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญในโอกาสอันควร
ข้อ ๑๒ การแต่งเครื่องแบบประจําสํานักงาน ให้แต่งในโอกาสที่มีการออกนั่งพิจารณาตาม ข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ หรือในโอกาสอื่นตามที่คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควร
หมวด ๓ บทสุดท้าย
-----------------------------
ข้อ ๑๓ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญนอกประจําการ ให้ใช้เครื่องแบบและแต่งได้ เช่นเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญประจําการ เว้นแต่ให้ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างซ้าย และเครื่องหมาย “นก” ทําด้วยโลหะโปร่งสีทองไม่มีขอบ สูง 2 เซนติเมตร ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542
เชาวน์ สายเชื้อ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,000 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการสั่งข้าราชการให้ประจำสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2561 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการสั่งข้าราชการให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว
พ.ศ. 2561
------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้มีระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสั่งข้าราชการให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสั่งข้าราชการให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การสั่งข้าราชการให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตําแหน่งหน้าที่เดิมให้กระทําได้ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็น ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อข้าราชการผู้ใด
(ก) มีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทําความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และ
(ข) ถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตําแหน่งหน้าที่เดิมต่อไปจะเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนสอบสวนหรืออาจเกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือทางราชการ
(2) เมื่อข้าราชการกระทําหรือละเว้นกระทําการใดจนต้องคําพิพากษาว่าเป็นผู้กระทําความผิดอาญา และผู้มีอํานาจสั่งบรรจุพิจารณาเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคําพิพากษานั้นได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทําหรือละเว้นกระทําการนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือเป็นกรณีที่ศาลยกฟ้อง แต่มิได้ยกฟ้องในประเด็นเนื้อหาแห่งคดี และผู้มีอํานาจดังกล่าวเห็นว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(3) เมื่อข้าราชการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ และผู้บังคับบัญชาได้ดําเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร และการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือทางราชการอย่างร้ายแรง
(4) เมื่อข้าราชการถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงและได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา หรือให้ถ้อยคํารับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และได้มีการบันทึกถ้อยคํารับสารภาพเป็นหนังสือ
(5) เมื่อข้าราชการมีกรณีถูกสอบสวนเพราะหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ราชการ และถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตําแหน่งหน้าที่เดิมต่อไปจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือจะเป็นการเสียหายต่อองค์กรหรือทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(6) เมื่อข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตําแหน่งหน้าที่นั้น ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้สืบสวนแล้วเห็นว่ากรณีมีมูลและถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตําแหน่งเดิมต่อไป อาจเกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือทางราชการ
(7) เมื่อข้าราชการผู้ใดประพฤติปฏิบัติตนไม่สมควร ขัดต่อนโยบายสําคัญของศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบ คําสั่ง ข้อบังคับ อันส่งผลต่ออํานาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือการพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ หรือมีผลต่อการบริหารงานของศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ หรือทําให้การบังคับใช้กฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศของศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเสื่อมประสิทธิภาพ ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้สืบสวนแล้วเห็นว่ากรณีมีมูลและถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตําแหน่งหน้าที่เดิมต่อไปอาจเกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือทางราชการ
(8) เมื่อข้าราชการผู้ใดไม่รักษาความลับของทางราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้สืบสวนแล้วเห็นว่ากรณีมีมูล และถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตําแหน่งหน้าที่เดิมต่อไปอาจเกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือทางราชการ
(9) เมื่อข้าราชการผู้ใดไม่รักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการด้วยกันซึ่งผู้บังคับบัญชาได้สืบสวนแล้วเห็นว่ากรณีมีมูล และถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตําแหน่งหน้าที่เดิมต่อไปอาจเกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือทางราชการ
(10) กรณีอื่นที่มีเหตุผลและความจําเป็นอย่างอื่น โดยได้รับอนุมัติจากองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๔ การสั่งข้าราชการให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตําแหน่งหน้าที่เดิมให้กระทําได้ ในกรณีเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ดังต่อไปนี้
(1) ไปปฏิบัติราชการนอกสังกัดสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ หรือไปราชการต่างประเทศมีกําหนดระยะเวลาเกินหนึ่งปี
(2) ไปศึกษาหรือฝึกอบรมมีกําหนดระยะเวลาเกินหนึ่งปี
(3) ได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศตามระเบียบว่าด้วยการลา
(4) ได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสที่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศตามระเบียบว่าด้วยการลา
(5) กรณีอื่นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ โดยได้รับอนุมัติจากองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๕ การสั่งข้าราชการในตําแหน่งตั้งแต่ผู้เชี่ยวชาญด้านคดี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารขึ้นไป ให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้พ้นจากตําแหน่งหน้าที่เดิมให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้สั่งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
การสั่งให้ข้าราชการในตําแหน่งอื่นนอกเหนือจากวรรคหนึ่งให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยให้พ้นจากตําแหน่งหน้าที่เดิม ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้สั่ง และให้รายงานองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบด้วย
ข้อ ๖ การสั่งข้าราชการให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามข้อ 3 ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุสั่งได้เป็นเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นั้นถูกสั่ง ส่วนการสั่งข้าราชการให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามข้อ 4 ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุสั่งได้ตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติราชการหรือไปราชการ หรือไปศึกษาหรือไปฝึกอบรม หรือได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงาน หรือได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรส หรือตามความจําเป็น แล้วแต่กรณี
เมื่อมีการสั่งข้าราชการผู้ใดให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามข้อ 3 แล้ว และผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ เห็นว่ายังมีเหตุผลความจําเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องให้ผู้นั้นประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญต่อไปเกินกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ขออนุมัติขยายเวลาต่อองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้อีก แต่กําหนดเวลาที่ขอขยายนั้น เมื่อรวมกับกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้วต้องไม่เกินหนึ่งปีหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นั้นถูกสั่งให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ให้ขอขยายเวลาก่อนวันครบกําหนดเวลาเดิมไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ข้อ ๗ กรณีที่มีการสั่งข้าราชการผู้ใดให้ประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามข้อ 3 แล้วและเป็นกรณีที่มิได้มีคํา สั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง หรือมิได้มีคํา สั่งให้ออกจากราชการให้ข้าราชการผู้นั้นจัดทําข้อตกลงการปฏิบัติราชการกับผู้มีอํานาจสั่งบรรจุหรือผู้ได้รับมอบหมายและทําการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการผู้นั้นตามประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญหากปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติราชการในระดับที่ต้องปรับปรุงก็ให้แจ้งข้าราชการผู้นั้นทราบพร้อมทั้งกําหนดให้ข้าราชการผู้นั้นทําคํามั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองเป็นระยะเวลาสามเดือนโดยกําหนดเป้าหมายในระดับตั้งแต่ระดับพอใช้ขึ้นไปตามประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่ผลการประเมินตามคํามั่นดังกล่าวอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงก็ให้แจ้งข้าราชการผู้นั้นทราบและให้ข้าราชการผู้นั้นทําทัณฑ์บนว่าจะพัฒนาปรับปรุงตนเองเป็นระยะเวลาสามเดือนโดยกําหนดเป้าหมายการประเมินในระดับตั้งแต่ระดับพอใช้ขึ้นไปตามประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ หากผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการผู้นั้นอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุดําเนินการสั่งให้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๘ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,001 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2559
-----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับลูกจ้างของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๔ ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542
(2) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
(3) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545
(4) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546
(5) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2547
(6) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2549
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกและบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับลูกจ้างของสํานักงาน
“ลูกจ้าง” หมายความว่า บุคลากรประเภทลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“ลูกจ้างประจํา” หมายความว่า บุคลากรประเภทที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจําที่จ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสํานักงาน เพื่อปฏิบัติงานที่มีลักษณะประจําโดยไม่มีกําหนดเวลา
“ลูกจ้างชั่วคราว” หมายความว่า บุคลากรประเภทที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสํานักงาน เพื่อปฏิบัติงานที่มีลักษณะชั่วคราวเป็นรายเดือนและมีกําหนดเวลาจ้าง แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาการจ้างต้องไม่เกินปีงบประมาณ
หมวด ๑ คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกและบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับลูกจ้างของสํานักงาน
----------------------------------------
ข้อ ๖ ให้เลขาธิการมีอํานาจแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกและบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับลูกจ้างของสํานักงาน” จํานวนไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วยรองเลขาธิการที่กํากับดูแลด้านการบริหารงานบุคคล เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เลขาธิการมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ ข้าราชการสํานักงานผู้ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษา รองเลขาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อํานวยการสํานัก หรือผู้อํานวยการกลุ่มงานที่ดํารงตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการภายใน เป็นกรรมการ โดยให้ผู้อํานวยการกลุ่มงานที่รับผิดชอบด้านการบริหารงานบุคคลเป็นเลขานุการ
คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติการตามระเบียบนี้และโดยเฉพาะให้มีอํานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับลูกจ้าง
(2) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นลูกจ้าง
(3) สรรหาและคัดเลือกบุคคลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ใน (2) เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้ง รวมทั้งการจ้าง
(4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
(5) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๗ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทําหน้าที่เป็นประธาน
การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
หมวด ๒ ลูกจ้างของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
----------------------------------------
ข้อ ๘ ลูกจ้างของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีสองประเภท ดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างประจํา
(2) ลูกจ้างชั่วคราว
ข้อ ๙ สํานักงานจะมีลูกจ้างจํานวนเท่าใด อยู่ในกลุ่มงานใด และจะต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะตําแหน่งใดให้คณะกรรมการกําหนด โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และปริมาณของงาน
ข้อ ๑๐ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้าง จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุตามที่คณะกรรมการกําหนด แต่ต้องไม่ต่ํากว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน60 ปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(4) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(6) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(7) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือสติฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้
(8) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกพักงาน พักราชการ หรือสั่งให้หยุดงานเป็นการชั่วคราวในลักษณะเดียวกันกับพักงาน หรือพักราชการ
(9) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(10) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษ ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพราะกระทําผิดวินัย
(11) ไม่เป็นผู้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนกรณีหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม หรือกรณีมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของสํานักงาน อาจจ้างลูกจ้างที่ขาดคุณสมบัติตาม (1) หรือ (2) ได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
หมวด ๓ การบรรจุและแต่งตั้ง การจ้าง และการจัดทําและรักษาทะเบียนประวัติ
---------------------------------------------------
ข้อ ๑๑ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นลูกจ้างประจําให้ดําเนินการบรรจุและแต่งตั้งจากผู้ที่ผ่านกระบวนการสรรหาและคัดเลือกตามที่คณะกรรมการกําหนด เว้นแต่เป็นกรณีการโอนลูกจ้างประจําของส่วนราชการตามข้อ 12
ข้อ ๑๒ การโอนลูกจ้างประจํา ของส่วนราชการอื่นมาดํา รงตําแหน่งลูกจ้างประจําในสํานักงานอาจทําได้เมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุของส่วนราชการนั้นกับเลขาธิการได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นทั้งนี้ การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับใดและรับค่าจ้างอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการตามข้อ 6 กําหนด
ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการเป็นผู้มีอํานาจบรรจุและแต่งตั้ง สั่งจ้างลูกจ้างทุกตําแหน่งผู้ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผ่านกระบวนการสรรหาคัดเลือก ซึ่งมิใช่การโอนตามข้อ 12 ต้องผ่าน
การทดลองการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๔ ให้สํานักงานออกบัตรประจําตัวให้กับลูกจ้างชั่วคราวตามแบบที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๕ ให้สํานักงานมีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทําและรักษาทะเบียนประวัติของลูกจ้าง
หมวด ๔ วันเวลาทํางาน และการลาหยุดราชการ
---------------------------------------------------------
ข้อ ๑๖ วันเวลาทํางาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจําปี และการลาหยุดราชการของลูกจ้างของสํานักงาน ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการและมติคณะรัฐมนตรีโดยอนุโลม
การอนุญาตการลาให้เป็นอํานาจของเลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย
หมวด ๕ เงินเดือน ค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ประโยชน์ตอบแทนอื่น สวัสดิการและการสงเคราะห์อื่น
---------------------------------------------------------
ข้อ ๑๗ อัตราเงินเดือน การให้ได้รับเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของลูกจ้างประจําหรือลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นไปดังเช่นลูกจ้างประจําหรือลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ และให้นําระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการการสงเคราะห์อื่นและประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างของส่วนราชการมาใช้บังคับกับลูกจ้างประจําหรือลูกจ้างชั่วคราวโดยอนุโลม แล้วแต่กรณี และให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามที่กําหนดโดยระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งให้ได้รับค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าเครื่องแบบสํานักงาน
หมวด ๖ เครื่องแบบและการแต่งกาย
------------------------------------------------
ข้อ ๑๘ การแต่งกายของลูกจ้างชาย ให้ใช้ชุดพระราชทาน ชุดซาฟารีสีเข้ม หรือชุดสุภาพสวมถุงเท้า รองเท้าหุ้มส้น หรือตามที่สํานักงานกําหนด
การแต่งกายของลูกจ้างหญิง ให้ใช้ชุดสุภาพ หรือตามที่สํานักงานกําหนด
หมวด ๗ วินัย และการรักษาวินัย
---------------------------------------------------
ข้อ ๑๙ วินัยการรักษาวินัยและการดําเนินการทางวินัยของลูกจ้าง ให้นําระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจําของส่วนราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๐ ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามนโยบาย คําสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อกําหนด ข้อบังคับประกาศ และแบบธรรมเนียมของศาลรัฐธรรมนูญ
หมวด ๘ การออกจากงาน การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์
-------------------------------------------------
ข้อ ๒๑ การออกจากงาน การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์ของลูกจ้าง ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจําของส่วนราชการโดยอนุโลม โดยให้คณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.กศร.) ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคลเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยการร้องทุกข์ และการอุทธรณ์ของลูกจ้าง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,002 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ พ.ศ. 2558 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ
พ.ศ. 2558
--------------------------------------------
ด้วยได้มีพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.4/ว. 132 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 กําหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ ประกอบกับระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ พ.ศ. 2557 ไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการหรือลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จึงสมควรให้มีระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ
อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 และมาตรา 6 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการในคณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๔ ประธานกรรมการ หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบนี้ มีดังต่อไปนี้
(1) คณะกรรมการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(1.1) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
(1.2) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา
(1.3) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
(1.4) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
(1.5) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
(1.6) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ยกเว้นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโดยวิธีตกลงราคา
(1.7) คณะกรรมการตรวจการจ้าง
(1.8) คณะกรรมการดําเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง
(1.9) คณะกรรมการดําเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
(1.10) คณะกรรมการดําเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีตกลง
(1.11) คณะกรรมการรับซองเสนองาน (การจ้างโดยวิธีคัดเลือก)
(1.12) คณะกรรมการดําเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก
(1.13) คณะกรรมการรับซองเสนองาน (การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจํากัดข้อกําหนด)
(1.14) คณะกรรมการดําเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจํากัดข้อกําหนด
(1.15) คณะกรรมการตรวจสอบและตรวจนับพัสดุประจําปี
(1.16) คณะกรรมการจําหน่ายพัสดุ
(2) คณะกรรมการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
(2.1) คณะกรรมการกําหนดร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR)และร่างเอกสารการประกวดราคา
(2.2) คณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ
(3) คณะกรรมการกําหนดราคากลางตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การคํานวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ
(4) คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
(5) คณะกรรมการจัดหาประกันสุขภาพตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
(6) คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(7) คณะกรรมการที่เกี่ยวกับการพัสดุอื่น ทั้งนี้ ตามที่เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๕ การประชุมคณะกรรมการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบนี้ จะต้องมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการนั้น จึงจะเป็นองค์ประชุม
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับค่าตอบแทนเป็นรายครั้งสําหรับการประชุมตามอัตราและไม่เกินจํานวนครั้งตามบัญชีท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗ ประธานกรรมการและกรรมการผู้ใดเป็นผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งตามแบบบรรยายลักษณะงานกําหนดให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน หรือกรณีที่แบบบรรยายลักษณะงานมิได้กําหนดไว้ชัดแจ้งแต่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประจําเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวถือเป็นการปฏิบัติงานปกติประจําที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้นั้นมิให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนคณะกรรมการ
ข้อ ๘ หลักฐานการจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๙ ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจออกประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๐ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความหรือวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,003 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ พ.ศ. 2561 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
พ.ศ. 2561
------------------------------------------------------------------------
โดยที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้รับเบี้ยประชุมสําหรับการประชุมในฐานะกรรมการเป็นรายครั้งเท่ากับกรรมการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ จึงสมควรวางหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือโดยองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.) หรือโดยเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 6 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการพ.ศ. 2557
(2) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือโดยองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.) หรือโดยเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือโดยองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.) หรือโดยเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ“กรรมการที่ปรึกษา” หมายความว่า กรรมการที่ปรึกษาในคณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้ง โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือโดยองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.)
“อนุกรรมการที่ปรึกษา” หมายความว่า อนุกรรมการที่ปรึกษาในคณะอนุกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือโดยองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ(อ.ศร.)
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือโดยองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.)หรือโดยเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“อนุกรรมการ” หมายความว่า อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือโดยองค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.)หรือโดยเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“เลขานุการ” หมายความว่า เลขานุการขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.) หรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ
“ผู้ช่วยเลขานุการ” หมายความว่า ผู้ช่วยเลขานุการขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.) หรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนหรือได้รับเงินที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นเป็นรายเดือนจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๕ กรรมการที่ปรึกษา กรรมการ อนุกรรมการที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะที่มาประชุมตามอัตราในวรรคสอง และให้ได้รับเบี้ยประชุมแต่ละคณะเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวัน ทั้งนี้ ไม่เกินวันละสองคณะ
กรรมการที่ปรึกษาและกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมในอัตราครั้งละ 1,000 บาท อนุกรรมการที่ปรึกษาและอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมในอัตราครั้งละ 500 บาท ส่วนเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการให้ได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย ให้เบิกเบี้ยประชุมได้เพียงตําแหน่งเดียว
กรรมการที่ปรึกษา กรรมการ อนุกรรมการที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเบี้ยประชุมแล้วแต่กรณี ตามวรรคสอง
ข้อ ๖ ประธานกรรมการและประธานอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับกรณีประธานกรรมการ หรือประธานอนุกรรมการไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ให้ผู้ซึ่งทําหน้าที่ประธานในที่ประชุมให้ได้รับเบี้ยประชุมในตําแหน่งของกรรมการหรืออนุกรรมการ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ ประธานกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 12,500 บาทต่อเดือนประธานอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 6,250 บาทต่อเดือน
กรรมการที่ปรึกษา กรรมการ เลขานุการของคณะกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน
อนุกรรมการที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการของคณะอนุกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการของคณะอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
กรณีที่บุคคลใดได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ กรรมการที่ปรึกษา กรรมการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมากกว่าหนึ่งคณะ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในแต่ละเดือนรวมกันแล้วต้องไม่เกินอัตราที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม โดยให้ถือเกณฑ์การได้รับเบี้ยประชุมที่บุคคลนั้นได้รับแต่งตั้งในตําแหน่งซึ่งได้รับเบี้ยประชุมสูงสุด
ข้อ ๘ การประชุมของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ต้องมีกรรมการที่ปรึกษากรรมการ อนุกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการ ร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการหรืออนุกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิเบิกเบี้ยประชุมตามระเบียบนี้
ข้อ ๙ ในกรณีกรรมการหรืออนุกรรมการ ซึ่งเป็นการแต่งตั้งโดยตําแหน่งไม่สามารถเข้าประชุมได้ อาจมอบหมายเป็นหนังสือให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทน ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าประชุมแทนมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับกรรมการและอนุกรรมการ
ข้อ ๑๐ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมสําหรับการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเท่ากับกรรมการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ
ข้อ ๑๑ ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการ ในคณะกรรมการหรือในคณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๒ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความหรือวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,004 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์อื่นแก่ข้าราชการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์อื่นแก่ข้าราชการ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2542
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ อื่นแก่ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นําพระราชกฤษฎีกา ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบการเบิกจ่ายและระเบียบของ ทางราชการที่เกี่ยวกับสวัสดิการและการสงเคราะห์อื่น ซึ่งการรักษาพยาบาล การศึกษาของบุตรการช่วยเหลือบุตรและอื่น ๆ ซึ่งใช้บังคับกับข้าราชการพล มาใช้บังคับแก่ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๔ ให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าเครื่องแบบประจํา สํานักงาน ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการสํานักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๕ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542
เชาวน์ สายเชื้อ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,005 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 43 /2562 เรื่อง แนวทางการจัดทำรับ ส่ง หนังสือและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 43 /2562
เรื่อง แนวทางการจัดทํา รับ ส่ง หนังสือและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์
-----------------------------------------
ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ข้อ 29 กําหนดให้การติดต่อราชการโดยหนังสือ สามารถดําเนินการด้วยระบบ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับงานสารบรรณของกรมบังคับคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว ลดการ ใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติราชการ และเตรียมความพร้อมไปสู่องค์กรไร้กระดาษ อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 716/2561 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2561 เรื่อง แนวทาง การจัดทํา รับ ส่ง หนังสือราชการและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และยกเลิกบันทึกซักซ้อมความเข้าใจทุกฉบับ ที่ออกโดยอาศัยคําสั่งดังกล่าว
ข้อ ๒ การปฏิบัติงานสารบรรณของกรมบังคับคดีให้ใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) ในการจัดทํา รับ-ส่ง หนังสือภายนอก/หนังสือภายใน/ประกาศ/คําสั่ง ยกเว้นหนังสือในงานที่มีระบบงานเฉพาะ ให้ดําเนินการในระบบงานตามปกติ
ข้อ ๓ ในการปฏิบัติงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) ให้ปฏิบัติตามคู่มือการใช้งาน ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) กรมบังคับคดี
ข้อ ๔ ให้ทุกหน่วยงานมอบหมายเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทําลงรับและส่ง หนังสือ หรือเอกสารทางสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo)
ข้อ ๕ หนังสือภายนอก ให้ปฏิบัติ ดังนี้
5.1 การรับหนังสือให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทําการบันทึกข้อมูลโดยสแกนหนังสือ หรือเอกสารที่ได้รับและลงทะเบียนรับหนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) พร้อมจัดเก็บ ต้นฉบับเอกสารไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบต่อไป และเสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งตามลําดับชั้น ในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) โดยไม่ต้องพิมพ์เอกสาร
5.2 การจัดหาและส่งหนังสือให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจัดทําเอกสารเสนอผู้บังคับบัญชาลงนามโดยให้พิมพ์เฉพาะเอกสารต้นฉบับและออกเลขหนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์(E-memo)เพื่อส่งให้กับหน่วยงานภายนอกโดยไม่ต้องพิมพ์เอกสารสําเนาคู่ฉบับ
ข้อ ๖ หนังสือภายใน ให้ปฏิบัติ ดังนี้
6.1 การรับหนังสือให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทําการบันทึกข้อมูลและลงทะเบียนรับ หนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) จากนั้นให้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งตาม ลําดับชั้นในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) โดยไม่ต้องพิมพ์เอกสาร
6.2 การจัดทําและส่งหนังสือให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจัดทําหนังสือเสนอ ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนามตามลําดับชั้น และจัดส่งหนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) โดยไม่ต้องพิมพ์ต้นฉบับและสําเนาเอกสาร
ข้อ ๗ กรณีเป็นหนังสือเกี่ยวกับการเงิน เมื่อดําเนินการตามข้อ 5 หรือ ข้อ 6 แล้วให้เจ้าหน้าที่ที่ ได้รับมอบหมายส่งหนังสือให้กองบริหารการคลังผ่านทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) โดยให้ใส่ เลขหนังสือที่ส่งให้กองบริหารการคลังทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (E-memo) ต้นฉบับเอกสารหรือ หลักฐานการเบิกจ่ายและส่งต้นฉบับเอกสารหรือหลักฐานนั้นไปยังกองบริหารการคลังเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง ทั้งนี้กองบริหารการคลังจะลงรับหนังสือในระบบและถือว่าได้รับหนังสือดังกล่าว ต่อเมื่อได้รับต้นฉบับเอกสาร หรือหลักฐานการเบิกจ่ายแล้ว
ข้อ ๘ หนังสือหรือเอกสารภายในที่ไม่ต้องทําเป็นบันทึกข้อความให้ติดต่อระหว่างหน่วยงานผ่าน ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ภาครัฐ ไปยังจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ภาครัฐ ของหน่วยงานนั้นๆ
ข้อ ๙ ในการสอบถามความประสงค์ หรือการสํารวจข้อมูลต่างๆ ให้จัดทําในรูปแบบ Google Form โดยระบุช่องทางการเข้าถึงเอกสารผ่าน Link หรือ QR Code เพื่อให้เจ้าของเรื่องสามารถประมวลผลได้ทันที ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวนวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,006 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคลการงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดำเนินการอื่นของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2555 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล
การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดําเนินการอื่น
ของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2555
-------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคลการงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดําเนินการอื่นของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยสามารถนําบทบัญญัติหรือข้อกําหนดแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศของราชการฝ่ายบริหารมาใช้บังคับกับการบริหารราชการของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 217พระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 3 และมาตรา 6 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคลการงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดําเนินการอื่นของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นําบทบัญญัติหรือข้อกําหนดแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของทางราชการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สินและการดําเนินการอื่นที่ใช้บังคับได้กับข้าราชการพลเรือนสามัญและลูกจ้างประจํามาใช้บังคับกับข้าราชการและลูกจ้างของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม เว้นแต่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ออกระเบียบประกาศ หรือมีมติเป็นอย่างอื่น
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณการเงินและทรัพย์สิน และการดําเนินการอื่นของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับอยู่ต่อไป
ข้อ ๔ บทบัญญัติหรือข้อกําหนดในกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่นํามาใช้บังคับตามข้อ 3 นั้น ให้คําว่า
“คณะรัฐมนตรี” หรือ “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
“นายกรัฐมนตรี” หรือ “รัฐมนตรี” หมายถึง ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
“ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี” หมายถึง สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ
“หัวหน้าส่วนราชการ” หมายถึง เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๕ การบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สินและการดําเนินการอื่นของข้าราชการและลูกจ้างของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้ดําเนินการไปแล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้มีผลสมบูรณ์และใช้บังคับได้
ข้อ ๖ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,007 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง การรับและจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง การรับและจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
--------------------------------------------------------------
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล กระทรวงยุติธรรม และกรมบังคับคดีในการอํานวย ความสะดวกแก่ประชาชนโดยการนําระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับสถานการณ์ กรมบังคับคดีจึงออกประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง การรับและจ่ายเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในการยื่นคําร้องขอตั้งเรื่องยึดทรัพย์และอายัดทรัพย์ในคดีแพ่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) คู่ความ ผู้มีส่วนได้เสียสามารถวางชําระเงิน โดยใช้บริการผ่านเว็บไซต์กรมบังคับคดี www.led.go.th ในหัวข้อ “E-SERVICE” และกดเลือกระบบ การยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์” เมื่อบันทึกข้อมูลสามารถพิมพ์ ใบแจ้งการชําระเงิน (PAY IN SLIP) ไปชําระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ทุกสาขา ทั่วประเทศ หรือชําระเงินผ่านระบบธนาคาร (mobile-banking) ได้ทุกธนาคารทั่วประเทศ
ข้อ ๒ ในการขอรับเงินในคดี คู่ความ ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถยื่นคําร้องขอรับเงินพร้อมแนบสําเนา สมุดบัญชีธนาคารเพื่อให้กรมบังคับคดีโอนเงินส่วนได้ต่าง ๆ เข้าบัญชีได้ โดยผู้นั้นเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียม ในการโอน (หากมี) ทั้งนี้ กรมบังคับคดีจะโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ที่เป็นตัวความเท่านั้น
ข้อ ๓ คู่ความ ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนสามารถติดต่อหน่วยงานเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม ผ่านทางไลน์ Open Chat โดยเข้าไปที่เว็บไซต์กรมบังคับคดี www.led.go.th ในหัวข้อ “E-SERVICE” และกด เลือกระบบ “ช่องทางติดต่อหน่วยงานสังกัดกรมบังคับคดีในช่วงสถานการณ์โควิด” และสแกน QR Code ของ หน่วยงานที่ต้องการติดต่อ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2564
(ลงชื่อ อรัญญา ทองน้ําตะโก
(นางอรัญญา ทองน้ําตะโก)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,008 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ พ.ศ. 2559 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ
พ.ศ. 2559
-------------------------------------------
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควรให้มีการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ คดีรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปอย่างกว้างขวางและแพร่หลายมากขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการเงินสมนาคุณผลงานทางวิชาการ และบทความทางวิชาการ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ข้อ ๖ ในระเบียบนี้
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ
“ทุน” หมายความว่า ทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ
“ผู้ขอรับทุน” หมายความว่า บุคคลที่ยื่นข้อเสนอขอรับทุนต่อสํานักงาน
“ผู้รับทุน” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการได้คัดเลือกให้เป็นผู้รับทุน
“งานศึกษาวิจัยทางวิชาการ” หมายความว่า งานศึกษาวิจัย วิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยส่วนบุคคลตามหลักสูตรที่สูงกว่าปริญญาตรี
“สถาบันการศึกษา” หมายความว่า สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยที่มีหลักสูตรการศึกษาในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี ที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)รับรองวิทยฐานะ
“ผลงานทางวิชาการ” หมายความว่า เอกสารรายงานผลการศึกษาวิจัยทางวิชาการ และให้หมายความถึงเอกสารอื่นที่คณะกรรมการกําหนด
“สัญญา” หมายความว่า สัญญาการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และบุคคลที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนเป็นรายเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของสํานักงาน
หมวด ๑ บททั่วไป
------------------------------------
ข้อ ๗ การสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) เพื่อสนับสนุนบุคลากรของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้มีการเพิ่มพูนและสร้างองค์ความรู้ด้านรัฐธรรมนูญ คดีรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงาน
(2) เพื่อสนับสนุนบุคคลทั่วไปให้มีการสร้างองค์ความรู้ด้านรัฐธรรมนูญ คดีรัฐธรรมนูญกฎหมาย และงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงาน
(3) เพื่อสนับสนุนการศึกษาในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี
(4) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านรัฐธรรมนูญ คดีรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงาน
ข้อ ๘ เงินทุนที่ได้รับการสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการมาจากเงิน ดังต่อไปนี้
(1) งบประมาณแผ่นดิน
(2) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้บริจาคให้เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ
(3) ดอกเบี้ยหรือดอกผลตามข้อ (2)
เงินทุนตามวรรคหนึ่งให้ครอบคลุมสําหรับเป็นทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการเงินสมนาคุณผลงานทางวิชาการ และเงินค่าตอบแทนบทความทางวิชาการ
ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ” ประกอบด้วย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคนเป็นประธานกรรมการ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสองคน เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญรองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าระดับอํานวยการระดับสูง หรือระดับเชี่ยวชาญ ตามที่เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนออีกห้าคนเป็นกรรมการ ผู้อํานวยการสถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อํานวยการกลุ่มงานวิจัยและพัฒนารัฐธรรมนูญเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ โดยเฉพาะให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาการให้ทุนสนับสนุนสําหรับการจัดทํางานศึกษาวิจัยทางวิชาการ การกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ทุน การคัดเลือกผู้รับทุน ตลอดจนการตรวจพิจารณาผลงานของผู้รับทุน ตามที่ได้บัญญัติไว้ในหมวด 2
(2) พิจารณาการให้เงินสมนาคุณสําหรับผลงานทางวิชาการ การตรวจพิจารณา และการประเมินระดับคุณค่าของผลงานทางวิชาการ ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 3
(3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมายจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกรรมการผู้ใดผู้หนึ่งจะพิจารณาหรือกระทําการใด ๆ ตามระเบียบนี้ ต่อผลงานของตนมิได้ในกรณีกรรมการผู้นั้นได้จัดทํางานศึกษาวิจัยทางวิชาการหรือมีผลงานทางวิชาการอันอาจจะขอรับทุนตามระเบียบนี้ได้ ให้ยื่นหนังสือต่อประธานกรรมการเพื่อขอถอนตัวจากการเข้าร่วมพิจารณาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลงานของตน
ข้อ ๑๐ ให้นําระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการและค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล มาบังคับใช้กับการประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๒ การศึกษาวิจัยทางวิชาการ
----------------------------------------------
ข้อ ๑๑ งานศึกษาวิจัยทางวิชาการที่จะขอรับทุน จะต้องมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญคดีรัฐธรรมนูญ กฎหมาย งานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงานในสาขาวิชานิติศาสตร์รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นตามที่คณะกรรมการกําหนด
งานศึกษาวิจัยทางวิชาการประเภทวิทยานิพนธ์ จะต้องผ่านการอนุมัติให้เป็นหัวข้อที่สามารถดําเนินการจัดทําเป็นงานศึกษาวิจัยทางวิชาการได้จากสถาบันการศึกษาที่ผู้ขอรับทุนศึกษาอยู่
ข้อ ๑๒ เมื่อสํานักงานประสงค์จะให้ทุนสนับสนุนการทํางานศึกษาวิจัยทางวิชาการประเภทใด และสาขาใดแล้วให้ประกาศเป็นหนังสือ โดยระบุถึงสาขาวิชาที่ประสงค์จะให้ทุนสนับสนุน วงเงินทุน จํานวนทุน และกําหนดเวลาในการยื่นข้อเสนอขอรับทุน
ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับทุนประเภทวิทยานิพนธ์จะต้องเป็นนักศึกษาระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีในสถาบันการศึกษาหรือผู้ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาที่มีฐานะเทียบเท่า โดยผู้ขอรับทุนจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับทุนสนับสนุนการทํางานศึกษาวิจัยทางวิชาการในหัวข้อเรื่องเดียวกันจากแหล่งทุนอื่นในประเทศและต้องไม่เป็นผู้ถูกหรือเคยถูกสํานักงานระงับการให้ทุนใด ๆ มาก่อน
ข้อ ๑๔ การคัดเลือกผู้มีสิทธิได้รับทุน จะกระทําและพิจารณาโดยคณะกรรมการในการคัดเลือกผู้มีสิทธิได้รับทุนตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจเชิญผู้ขอรับทุนมาสัมภาษณ์เพื่อประเมินคุณสมบัติและความเหมาะสมหรือความเป็นไปได้ของข้อเสนอขอรับทุนสนับสนุนการทํางานศึกษาวิจัยทางวิชาการก็ได้ รวมทั้งอาจตรวจสอบเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารวิชาการที่ผู้ขอรับทุนจะนํามาใช้ในการศึกษาวิจัย เพื่อประกอบการพิจารณาในเบื้องต้น
ข้อ ๑๕ ผู้ขอรับทุนจะต้องยื่นข้อเสนอขอรับทุนสนับสนุนการทํางานศึกษาวิจัยทางวิชาการตามแบบและระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด กรณีผู้ขอรับทุนประเภทวิทยานิพนธ์ต้องยื่นหนังสือรับรองการได้รับอนุมัติให้เป็นหัวข้อที่จัดทําเป็นงานศึกษาวิจัยทางวิชาการจากสถาบันการศึกษาซึ่งผู้ขอรับทุนได้ศึกษาอยู่ พร้อมเค้าโครงและขั้นตอนของงานศึกษาวิจัยทางวิชาการฉบับดังกล่าว รวมทั้งกําหนดระยะเวลาที่ใช้ในการดําเนินงานแต่ละขั้นตอนเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการการยื่นข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง ให้เสนอต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๖ เมื่อสํานักงานได้พิจารณาคัดเลือกผู้มีสิทธิได้รับทุนแล้ว สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอรับทุนทราบโดยเร็ว โดยผู้ขอรับทุนที่ได้รับการคัดเลือกต้องเข้าทําสัญญากับสํานักงานตามแบบและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๗ ระยะเวลาในการดําเนินงาน วงเงินทุน และจํานวนทุน ให้เป็นไปตามประกาศที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๘ ผู้รับทุนสามารถขอรับบริการข้อมูลข่าวสารของศาลรัฐธรรมนูญตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2542 โดยมิต้องเสียค่าธรรมเนียมและได้รับอนุญาตให้ใช้ห้องสมุดของสํานักงานได้ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่กําหนดในสัญญา
ข้อ ๑๙ ผู้รับทุนจะต้องส่งงานแต่ละขั้นตอนจนถึงขั้นตอนสุดท้ายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานกําหนดหรือที่กําหนดไว้ในสัญญา โดยการส่งงานในงวดสุดท้ายจะต้องได้มาตรฐานคุณภาพตามรูปแบบที่สมบูรณ์พร้อมที่จะจัดพิมพ์ได้ตามมาตรฐานการจัดพิมพ์งานศึกษาวิจัยทางวิชาการของสถาบันการศึกษาที่ผู้รับทุนศึกษาอยู่
ในการตรวจพิจารณางานศึกษาวิจัยทางวิชาการ คณะกรรมการอาจเชิญผู้รับทุนชี้แจงเกี่ยวกับผลงานนั้นตามสมควร
ข้อ ๒๐ การเบิกจ่ายเงินทุน จะให้เมื่อเริ่มต้นทํางานศึกษาวิจัยทางวิชาการ เมื่อทํางานศึกษาวิจัยทางวิชาการเสร็จแล้วหรืออาจแบ่งเป็นงวดก็ได้ ทั้งนี้ โดยระบุไว้ในสัญญา
การเบิกจ่ายเงินในงวดสุดท้าย สํานักงานจะทําการเบิกจ่ายเงินให้ภายหลัง ที่สถาบันการศึกษาที่ผู้รับทุนศึกษาอยู่นั้น ได้พิจารณาอนุมัติผลสอบหรือรับรองผลงานนั้น หรือได้พิจารณาตัดสินขั้นสุดท้ายในงานศึกษาวิจัยทางวิชาการของผู้รับทุนแล้ว
ข้อ ๒๑ สํานักงานมีสิทธิที่จะระงับการให้ทุน และเรียกคืนเงินทุนเมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(1) ผู้รับทุนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดหรือที่กําหนดไว้ในสัญญา โดยสํานักงานบอกกล่าวเป็นหนังสือแก่ผู้รับทุน และเรียกให้ผู้รับทุนชําระเงินที่ได้รับไปแล้วคืนสํานักงานรวมถึงดอกเบี้ยของจํานวนเงินดังกล่าว
(2) ผู้รับทุนไม่สามารถดําเนินงานต่อไปให้แล้วเสร็จได้ และประสงค์จะขอยุติการทํางานศึกษาวิจัยทางวิชาการตามหัวข้อที่ได้รับอนุมัตินั้น โดยผู้รับทุนยื่นคําร้องต่อสํานักงานเพื่อให้พิจารณากําหนดวงเงินที่ผู้รับทุนจะต้องชําระคืนรวมทั้งดอกเบี้ย ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินจํานวนเงินที่ผู้รับทุนได้รับไปแล้ว
(3) ผู้รับทุนไม่สามารถดําเนินงานต่อไปให้แล้วเสร็จ หากสํานักงานพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรสํานักงานอาจจะไม่เรียกคืนเงินที่ผู้รับทุนได้รับไปแล้วโดยพิจารณาจากสัดส่วนของงานก็ได้ ทั้งนี้สํานักงานมีสิทธิที่จะนําผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์หรือให้ผู้อื่นดําเนินการต่อไปตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๒ งานศึกษาวิจัยทางวิชาการอันเป็นผลงานที่ได้มาจากการรับเงินทุนตามระเบียบนี้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้รับทุน หรือของสถาบันการศึกษาที่ผู้รับทุนศึกษาอยู่ ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบของสถาบันนั้น แต่สํานักงานมีสิทธิเผยแพร่ แจกจ่าย ทําซ้ํา หรือมีสิทธิใช้ประโยชน์อื่นใดจากงานศึกษาวิจัยทางวิชาการของผู้รับทุนตามสมควร โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนอื่นใดอีก นับแต่วันที่ส่งมอบผลงาน
หมวด ๓ ผลงานทางวิชาการ
------------------------------------------
ข้อ ๒๓ ให้สํานักงานจ่ายเงินสมนาคุณสําหรับผู้จัดทําผลงานทางวิชาการผลงานที่จะได้รับเงินสมนาคุณตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
(1) งานวิจัย อันมีระเบียบวิธีวิจัยถูกต้องตามมาตรฐานของระเบียบวิธีวิจัยในสาขาวิชานั้น
(2) งานประมวลและวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการที่มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ เนื้อหาข้อมูลอย่างลึกซึ้งและมีการนําเสนอในรูปของรายงานที่ได้มาตรฐาน
(3) งานศึกษาเบื้องต้นตามโครงการของสํานักงาน
(4) งานเขียนทางวิชาการอื่น ๆ เช่น เอกสารทางวิชาการ ความเห็นทางกฎหมายที่มีเนื้อหาสาระและอรรถประโยชน์ในระดับที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ข้อ ๒๔ ให้คณะกรรมการมีอํานาจพิจารณาให้ความเห็นโดยกําหนดจํานวนเงินสมนาคุณและอัตราการเบิกจ่ายเงินสมนาคุณผลงานทางวิชาการตามข้อ 23 ในอัตราเรื่องละไม่เกิน 200,000 บาท
ข้อ ๒๕ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประสงค์จะขอรับเงินสมนาคุณผลงานทางวิชาการ เสนอคําร้องตามแบบที่คณะกรรมการกําหนดพร้อมกับเสนอผลงานที่อยู่ในรูปแบบสมบูรณ์ตามแต่ลักษณะของงานต่อคณะกรรมการ
ผลงานทางวิชาการที่ขอรับเงินสมนาคุณ ต้องไม่เป็นผลงานที่เคยได้รับเงินสมนาคุณหรือค่าตอบแทนใด ๆ จากสํานักงานหรือแหล่งเงินทุนอื่น
ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาคุณภาพของผลงานว่าสมควรได้รับเงินสมนาคุณหรือไม่ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามความต้องการของศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงาน
หมวด ๔ บทความทางวิชาการ
-----------------------------------
ข้อ ๒๖ ให้สํานักงานจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่ผู้เขียนบทความทางวิชาการที่พิมพ์ลงในวารสารศาลรัฐธรรมนูญหรือสิ่งพิมพ์อื่นของสํานักงานในอัตรา ดังต่อไปนี้
(1) บทความทางวิชาการที่เป็นภาษาไทย ได้รับค่าตอบแทนอัตราหน้าละ 250 บาทและในอัตราไม่เกินบทความละ 5,000 บาท
(2) บทความทางวิชาการที่เป็นภาษาอังกฤษ ได้รับค่าตอบแทนอัตราหน้าละ 500 บาทและในอัตราไม่เกินบทความละ 10,000 บาท
คณะกรรมการมีอํานาจออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าตอบแทนสําหรับบทความที่ลงพิมพ์ในวารสารศาลรัฐธรรมนูญหรือสิ่งพิมพ์อื่นของสํานักงาน
ข้อ ๒๗ บทความทางวิชาการใดที่ได้พิมพ์เผยแพร่แล้ว ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการเบิกจ่ายเงินสมนาคุณบทความทางวิชาการให้แก่ผู้เขียน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,009 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง การประชุมเจ้าหนี้นคดีล้มละลายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง การประชุมเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
-----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศกรมบังคับคดีเกี่ยวกับการประชุมเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กรมบังคับคดีจึงออกประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง การประชุมเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดให้มีการจัดประชุมเจ้าหนี้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งเจ้าหนี้ และจําเลย ทราบล่วงหน้าว่าการประชุมครั้งนั้นจะดําเนินการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒ การประชุมต้องมีการเชื่อมโยงสถานที่ประชุมตั้งแต่สองแห่งขึ้นไป และมีการสื่อสารหรือ ปฏิสัมพันธ์กันได้ด้วยเสียง หรือทั้งภาพและเสียง
ข้อ ๓ การส่งประกาศประชุมเจ้าหนี้และเอกสารประกอบการประชุมจะส่งโดยทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นแทนการติดต่อโดยทางไปรษณีย์ หรือประกอบกัน ก็ได้ และผู้มีหน้าที่จัดการประชุมต้องจัดเก็บสําเนาประกาศประชุมเจ้าหนี้และเอกสารประกอบการประชุมไว้ เป็นหลักฐาน โดยจะจัดเก็บในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ข้อ ๔ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องกําหนดรหัสประจําตัว หรือชื่อผู้ใช้ระบบ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมล่วงหน้า และเตรียมอุปกรณ์การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้พร้อมก่อนเวลาการประชุม ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
ข้อ ๕ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้อง
(1) จัดให้ผู้ร่วมประชุมแสดงตนเพื่อร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนร่วมการประชุม
(2) จัดให้ผู้ร่วมประชุมสามารถลงคะแนนได้ ทั้งการลงคะแนนโดยเปิดเผย และการลงคะแนนลับ
(3) จัดทํารายงานการประชุมเป็นหนังสือ หรืออาจทําในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
(4) จัดให้มีการจัดเก็บข้อมูลหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการบันทึกเสียง หรือทั้งเสียงและภาพ แล้วแต่กรณี ของผู้ร่วมประชุมทุกคนตลอดระยะเวลาที่มี การประชุมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่เป็นการประชุมลับ
(5) จัดเก็บข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ร่วมประชุมทุกคนไว้เป็นหลักฐาน
(6) กําหนดช่องทางแจ้งเหตุปัญหาข้อขัดข้องในระหว่างการประชุม
ข้อมูลตาม (4) และ (5) ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุม
ข้อ ๖ ผู้ร่วมประชุมทุกคนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลประกอบการประชุม
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้จัดการประชุมประสานศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร จัดเตรียมเทคโนโลยีที่จําเป็นเพื่อให้การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามมาตรฐานการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศ กําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2554
(ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก
(นางอรัญญา ทองน้ําตะโก)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,010 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาอบรมของวิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาอบรมของวิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2559
-----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาอบรมของวิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาอบรมของวิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“วิทยาลัย” หมายความว่า วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ สังกัดสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาอบรมของวิทยาลัย
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาอบรมของวิทยาลัย
“เข็มวิทยฐานะ” หมายความว่า เข็มวิทยฐานะของวิทยาลัย
“สัญลักษณ์” หมายความว่า สัญลักษณ์ของวิทยาลัย
“ตรา” หมายความว่า ตราของวิทยาลัย
“เครื่องหมาย” หมายความว่า เครื่องหมายของวิทยาลัย
หมวด ๑ **วิทยาลัย**
ข้อ ๔ ให้วิทยาลัยจัดการศึกษาอบรมให้เป็นไปตามพันธกิจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะธํารงไว้ซึ่งหลักนิติธรรมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อ ๕ ให้มีสัญลักษณ์ ตรา และเครื่องหมาย เพื่อใช้สําหรับแทนความหมายของวิทยาลัยตามที่คณะกรรมการกําหนด
การใช้สัญลักษณ์ ตรา และเครื่องหมายตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการ
ข้อ ๖ วิทยาลัยอาจออกประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรแก่ผู้สํา เร็จการศึกษาอบรมตามหลักสูตรที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ได้
ให้วิทยาลัยมีอํานาจออกประกาศหรือข้อบังคับอื่นได้ตามความจําเป็น เพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามความในระเบียบนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความในระเบียบนี้หรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง
ประกาศหรือข้อบังคับตามความในวรรคสอง ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอํานาจลงนาม
ข้อ ๗ วิทยาลัยอาจออกประกาศกําหนดเครื่องแบบและเครื่องแต่งกายอื่นของผู้เข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตรและผู้สําเร็จการศึกษาอบรมได้
หมวด ๒ **คณะกรรมการ**
ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาอบรมของวิทยาลัยขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วย
(1) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานกรรมการ
(2) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จํานวน 2 คนเป็นกรรมการ
(3) เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ปรึกษาของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และรองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นกรรมการ
(4) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารและจัดการหลักสูตรหรือด้านวิชาการ ทั้งนี้ต้องไม่เป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจํานวนไม่เกิน 3 คน เป็นกรรมการ
(5) ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป หรือเทียบเท่า ที่เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย จํานวนไม่เกิน 2 คน เป็นกรรมการ
(6) ผู้อํานวยการสถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา เป็นกรรมการ
(7) ผู้อํานวยการวิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ เป็นกรรมการและเลขานุการการแต่งตั้งคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการตาม (2) (4) และ (5)
ข้อ ๙ กรรมการตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง (4) และ (5) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสองปีในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน
ข้อ ๑๐ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระข้อ 9 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ 8วรรคหนึ่ง (4) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(5) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๑๑ คณะกรรมการมีอํานาจและหน้าที่กํากับดูแลให้การศึกษาอบรมหลักสูตรของวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนี้
(1) กําหนดนโยบาย กํากับดูแล และทบทวนการดําเนินงานของวิทยาลัย อันเกี่ยวเนื่องกับการดําเนินการจัดศึกษาอบรม การพัฒนา และการประเมินหลักสูตร รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอบรมของวิทยาลัย
(2) พิจารณาอนุมัติการจัดทําโครงการและหลักสูตรการศึกษาอบรม
(3) ออกระเบียบหรือประกาศที่เกี่ยวข้อง
(4) อนุมัติรายนามบุคคลผู้มีสิทธิเข้ารับการศึกษาอบรม
(5) อนุมัติให้ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษาอบรม
(6) พิจารณาอนุมัติให้เข็มวิทยฐานะแก่ผู้สําเร็จการศึกษาอบรม และบุคคลผู้ทําคุณประโยชน์อย่างยิ่งแก่ศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และการพัฒนาหลักนิติธรรมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามควรแก่กรณี
(7) แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดําเนินกิจการใด ๆ ตามแต่ที่จะได้มอบหมาย
(8) พิจารณาความเห็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตร
ข้อ ๑๒ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
หมวด ๓ **หลักสูตรและคุณสมบัติผู้เข้ารับการศึกษาอบรม**
ข้อ ๑๓ หลักสูตรการศึกษาอบรม มีดังต่อไปนี้
(1) หลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย” โดยใช้คําย่อว่า “นธป.”
(2) หลักสูตรอื่นตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๔ หลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย” ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมไม่สามารถขอเทียบโอนความรู้หรือประสบการณ์ เพื่อขอยกเว้นการเข้ารับการศึกษาอบรมในแต่ละกลุ่มวิชาหรือขอยกเว้นการศึกษาอบรมบางหัวข้อวิชา และจะต้องเข้ารับการศึกษาดูงานตามที่วิทยาลัยกําหนด
ข้อ ๑๕ คุณสมบัติ จํานวน วิธีการคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาอบรม ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนดในแต่ละหลักสูตร
ข้อ ๑๖ ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมจะพ้นจากสภาพการเป็นผู้ศึกษาอบรม เมื่อ
(1) สําเร็จการศึกษาอบรมตามหลักสูตร
(2) ตาย
(3) ลาออก
(4) ขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้ศึกษาอบรม
(5) คณะกรรมการเห็นสมควรให้พ้นจากสภาพการเป็นผู้ศึกษาอบรม ด้วยเหตุประพฤติตนเสื่อมเสียอันอาจนํามาซึ่งความเสียหายต่อชื่อเสียงของวิทยาลัย
หมวด ๔ **การศึกษาอบรม คุณวุฒิ ศักดิ์และสิทธิ์**
ข้อ ๑๗ ผู้ที่สําเร็จการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยจะต้องผ่านการประเมินผลการศึกษาอบรมภายใต้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) มีเวลาศึกษาอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของระยะเวลาการศึกษาอบรมตามหลักสูตรภายใต้หลักเกณฑ์การลาศึกษาอบรมที่วิทยาลัยกําหนด
(2) เข้ารับการศึกษาดูงานตามที่วิทยาลัยกําหนดไว้
(3) จัดทําเอกสารทางวิชาการตามที่วิทยาลัยกําหนด
(4) มีส่วนร่วมในกิจกรรมการศึกษาอบรมหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อหลักสูตร
ข้อ ๑๘ ให้มีเข็มวิทยฐานะและการประดับตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๙ ผู้มีสิทธิประดับเข็มวิทยฐานะตามข้อ 18 ได้แก่
(1) ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง (4)
(3) เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(4) ที่ปรึกษาของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(5) รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(6) ผู้สําเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรตามข้อ 17
(7) ผู้ที่ทําคุณประโยชน์แก่ศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และการพัฒนาหลักนิติธรรมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามควรแก่กรณี โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ข้อ ๒๐ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ มีอํานาจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้และคําวินิจฉัยนั้นให้เป็นที่สุด
บทเฉพาะกาล - **บทเฉพาะกาล**
ข้อ ๒๑ ให้ที่ปรึกษาและคณะกรรมการอํานวยการหลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย”(นธป.) รุ่นที่ 4 และที่ปรึกษาและคณะกรรมการบริหารการฝึกอบรมหลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (นธป.) รุ่นที่ 4 ทําหน้าที่คณะกรรมการไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตามข้อ 8 แล้วเสร็จ และให้กลุ่มงานวิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สังกัดสถาบันรัฐธรรมนูญศึกษาทําหน้าที่สนับสนุนการดําเนินงานของวิทยาลัย
ข้อ ๒๒ การใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย”(นธป.) ซึ่งได้ดําเนินการไปก่อนวันที่ระเบียบนี้บังคับใช้ ให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,011 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการผู้สนับสนุนภารกิจทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2564 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยคณะกรรมการผู้สนับสนุนภารกิจทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2564
------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรให้ที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนภารกิจทางวิชาการให้กับศาลรัฐธรรมนูญและสานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการผู้สนับสนุนภารกิจทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2564”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจาศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2547
(2) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจาศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ข้อ ๔ มิให้นาระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางวิชาการ พ.ศ. 2559 มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการผู้สนับสนุนภารกิจทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการผู้สนับสนุนภารกิจทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญ
“บุคคลภายนอก” หมายความว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ซึ่งคณะกรรมการได้เชิญให้เข้าร่วมดาเนินการ และไม่ได้ดารงตําแหน่งเป็นกรรมการ หรือที่ปรึกษาของคณะกรรมการผู้สนับสนุนภารกิจทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๖ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมการผู้สนับสนุนภารกิจทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ที่ปรึกษาตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้เชี่ยวชาญตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้เสนอ เป็นกรรมการ
ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งกรรมการตามวรรคหนึ่งคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการแต่งตั้งข้าราชการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งเป็นเลขานุการ และแต่งตั้งข้าราชการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ช่วยเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามจานวนที่เห็นสมควรเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ และแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามที่เห็นสมควรเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ
ข้อ ๗ คณะกรรมการมีหน้าที่ ดังนี้
(1) จัดให้มีหรือดาเนินการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญหรือสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งควบคุมดูแลให้การศึกษาวิจัยดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์
(2) ให้คาปรึกษาด้านวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(3) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๘ ในการประชุมของคณะกรรมการ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
ข้อ ๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 7 (1) คณะกรรมการอาจเป็นผู้ดาเนินการเอง หรือมอบหมายให้ประธานกรรมการ กรรมการ หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้ดาเนินการก็ได้
ในการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการและบุคคลภายนอก ให้บุคคลภายนอกมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในฐานะกรรมการตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
ประธานกรรมการ กรรมการ บุคคลภายนอก ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดาเนินการตามวรรคหนึ่งมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการจัดทารายงานผลการศึกษาเรื่องละไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาทแต่ไม่เกินสองแสนบาท ขึ้นอยู่กับลักษณะ คุณภาพ ความยากง่ายของงาน และความเร่งรัดของเวลาในการทาผลงานทั้งนี้ การจะได้รับค่าตอบแทนในอัตราใดให้คณะกรรมการเป็นผู้เสนอ โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
ข้อ ๑๐ ผลงานที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยตามข้อ 7 (1) และข้อ 9ให้มีการพิจารณาความถูกต้องและความเหมาะสมของผลงาน (Peer review) โดยคณะกรรมการทาหน้าที่ดังกล่าวเอง หรือแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเป็นผู้พิจารณาก็ได้
ในกรณีที่คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเป็นผู้พิจารณาความสมบูรณ์ของรายงานผลการศึกษา ให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเรื่องละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทขึ้นอยู่กับลักษณะ คุณภาพ ความยากง่ายของงาน และความเร่งรัดของเวลาในการทาผลงาน ทั้งนี้การจะได้รับค่าตอบแทนในอัตราใดให้คณะกรรมการเป็นผู้เสนอ โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
ข้อ ๑๑ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564
วรวิทย์ กังศศิเทียม
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,012 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยทุนพัฒนาข้าราชการ พ.ศ. 2565 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยทุนพัฒนาข้าราชการ
พ.ศ. 2565
-----------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้มีระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยทุนพัฒนาข้าราชการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยทุนพัฒนาข้าราชการ พ.ศ. 2565”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“การพัฒนาข้าราชการ” หมายความว่า การพัฒนาข้าราชการโดยการให้ทุนการศึกษาเพื่อเป็นเงินช่วยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของข้าราชการ และโดยการให้ทุนสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อการพัฒนาข้าราชการด้วยวิธีการอื่นนอกจากการศึกษาตามที่คณะกรรมการกําหนด
“ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการพัฒนาข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“ทุนพัฒนาข้าราชการ” หมายความว่า ทุนการศึกษา และทุนสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อการพัฒนาข้าราชการ
“ทุนการศึกษา” หมายความว่า เงินงบประมาณแผ่นดินที่สํานักงานจัดสรรไว้เพื่อเป็นเงินช่วยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของข้าราชการ
“ทุนสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อการพัฒนาข้าราชการ” หมายความว่า เงินงบประมาณแผ่นดินที่สํานักงานจัดสรรไว้เพื่อเป็นเงินช่วยค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจเพื่อการพัฒนาข้าราชการด้วยวิธีอื่นนอกจากการศึกษาตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๔ ในแต่ละปีงบประมาณ ให้สํานักงานตั้งเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีเพื่อเป็นทุนพัฒนาข้าราชการ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 8 ของเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนค่าตอบแทนพิเศษ ค่าตอบแทนนอกเหนือเงินเดือน และเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการของปีนั้น
ข้อ ๕ ให้เลขาธิการมีอํานาจอนุมัติสั่งจ่ายเงินงบประมาณของสํานักงานเป็นทุนพัฒนาข้าราชการให้แก่ข้าราชการที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุนพัฒนาข้าราชการตามระเบียบนี้
ข้อ ๖ ให้มีคณะกรรมการการพัฒนาข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญมอบหมายเป็นประธานกรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการทุกคน ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย จํานวน 1 คน ผู้อํานวยการกองวิเทศสัมพันธ์และการต่างประเทศเป็นกรรมการ และผู้อํานวยการสํานักบริหารและอํานวยการ เป็นกรรมการและเลขานุการให้เลขาธิการแต่งตั้งข้าราชการ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการมีอํานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบายและแผน รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการในการพัฒนาข้าราชการ
(2) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้ทุนพัฒนาข้าราชการ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับทุนพัฒนาข้าราชการ สาขาวิชาที่จะให้ทุนพัฒนาข้าราชการ รวมทั้งจํานวนทุนพัฒนาข้าราชการที่จะให้ในแต่ละปี และให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
(3) พิจารณาอนุมัติให้ทุนพัฒนาข้าราชการแก่ข้าราชการ โดยให้คํานึงถึงผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ความรับผิดชอบต่องาน ความประพฤติ ความอุตสาหะและเสียสละในการปฏิบัติงานผลของงาน และประโยชน์ที่ได้รับหรือเกิดขึ้นแก่ศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงานเป็นสําคัญ
(4) พิจารณาอนุมัติเรื่องการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนา เช่น ระยะเวลาสถานศึกษาหรือสถานที่ หรือสาขาวิชา รวมถึงการอนุมัติในเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) พิจารณาอนุมัติให้ทุนพัฒนาข้าราชการแก่ข้าราชการผู้ได้รับทุนจากแหล่งทุนอื่นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนที่สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบนี้แต่ทุนดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึง และคณะกรรมการเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงาน เช่น ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พักอาศัย เป็นต้น
(6) ปฏิบัติการตามอํานาจหน้าที่อื่นที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้
ข้อ ๘ การให้ทุนการศึกษาตามระเบียบนี้ จะให้แก่ข้าราชการที่จะศึกษาหรืออยู่ในระหว่างการศึกษา ดังนี้
(1) สถาบันการศึกษาในประเทศและหลักสูตรที่จัดการศึกษานอกเวลาราชการในสาขาที่คณะกรรมการกําหนด โดยระยะเวลาการให้ทุนการศึกษาเป็นไปตามระยะเวลาที่สถาบันการศึกษากําหนดไว้สําหรับแต่ละหลักสูตร
(2) สถาบันการศึกษาต่างประเทศ ในระดับการศึกษา สถาบันการศึกษา สาขาวิชาและระยะเวลาตามที่คณะกรรมการกําหนดในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร คณะกรรมการอาจขยายหรือย่นระยะเวลาการให้ทุนการศึกษาตาม (1) และ (2) แก่ข้าราชการที่ได้รับทุนการศึกษาได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๙ การให้ทุนสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อการพัฒนาข้าราชการตามระเบียบนี้จะให้แก่ข้าราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร คณะกรรมการอาจขยายหรือย่นระยะเวลาการให้ทุนสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อการพัฒนาข้าราชการแก่ข้าราชการที่ได้รับทุนได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๑๐ ข้าราชการที่ได้รับอนุมัติทุนพัฒนาข้าราชการต้องทําสัญญาและจัดให้มีการทําสัญญาค้ําประกันไว้กับสํานักงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่สํานักงานกําหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขว่าข้าราชการที่ได้รับทุนพัฒนาข้าราชการจะต้องรับราชการที่สํานักงานต่อไปภายหลังจากที่สิ้นสุดการรับทุนพัฒนาข้าราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนพัฒนาข้าราชการ
ข้าราชการที่ได้รับทุนพัฒนาข้าราชการผู้ใดไม่ได้รับราชการตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งต้องชดใช้เงินทุนพัฒนาข้าราชการคืนให้แก่สํานักงานตามจํานวนที่ได้รับไป กับให้ใช้เงินอีกจํานวนหนึ่งเท่าของจํานวนทุนพัฒนาข้าราชการดังกล่าวให้เป็นเบี้ยปรับแก่สํานักงาน
ในกรณีข้าราชการที่ได้รับทุนพัฒนาข้าราชการลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นก่อนครบระยะเวลาตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง เลขาธิการจะลดจํานวนเงินที่จะต้องชดใช้และเบี้ยปรับลงตามส่วนก็ได้
ข้อ ๑๑ ข้าราชการที่ได้รับทุนการศึกษาต้องรายงานผลการศึกษาทุกภาคการศึกษาตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุนการศึกษาให้สํานักงานทราบ หรือเมื่อได้รับการร้องขอ
ในกรณีที่ข้าราชการที่ได้รับทุนการศึกษาสําเร็จการศึกษาแล้ว ให้ส่งสําเนารายงานผลการศึกษาพร้อมสําเนาปริญญาบัตรให้แก่สํานักงานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สําเร็จการศึกษา ในการนี้หากมีการจัดทําวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือเอกสารรายงานทางการศึกษาอื่น ให้ข้าราชการที่ได้รับทุนการศึกษาส่งวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือเอกสารรายงานทางการศึกษาดังกล่าวไปพร้อมกับรายงานผลการศึกษาด้วย
ข้อ ๑๒ ข้าราชการที่ได้รับทุนสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อการพัฒนาข้าราชการต้องรายงานผลการปฏิบัติภารกิจให้สํานักงานทราบตามระยะเวลาที่กําหนด หรือเมื่อได้รับการร้องขอ
ทั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติภารกิจแล้ว ให้จัดทํารายงานสรุปผลการปฏิบัติภารกิจให้แก่สํานักงานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการปฏิบัติภารกิจ
ข้อ ๑๓ ให้จ่ายทุนพัฒนาข้าราชการแก่ข้าราชการที่ได้รับทุนพัฒนาข้าราชการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายแต่ไม่เกินจํานวนเงินตามที่คณะกรรมการกําหนดในลักษณะเหมาจ่ายโดยมีเกณฑ์อ้างอิงประกอบการพิจารณาทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่สถาบันการศึกษากําหนดไว้ตามข้อ 8 (1) หรือตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกําหนดตามข้อ 8 (2)
ข้อ ๑๔ การเบิกจ่ายทุนพัฒนาข้าราชการ ให้ข้าราชการที่ได้รับทุนพัฒนาข้าราชการขอรับได้ที่หน่วยงานที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๕ ให้ยุติการให้ทุนพัฒนาข้าราชการ เมื่อมีกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) ข้าราชการที่ได้รับทุนการศึกษาพ้นจากสภาพการเป็นนักศึกษาในสถาบันการศึกษา
(2) ครบกําหนดระยะเวลาการให้ทุนการศึกษา หรือครบกําหนดระยะเวลาการให้ทุนสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเพื่อการพัฒนาข้าราชการ
(3) เป็นผู้ที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าการศึกษาหรือการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับการสนับสนุนอาจทาให้เกิดความเสียหายแก่ราชการของศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงาน แล้วแต่กรณีหรือหย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติงานลงไปจากเดิมมาก หรือมีผลการศึกษาหรือการปฏิบัติภารกิจอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ
(4) เหตุอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ข้อ ๑๖ ให้คณะกรรมการมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้คําวินิจฉัยนี้ให้เป็นที่สุด
ข้อ ๑๗ ให้เลขาธิการรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจออกระเบียบ ประกาศหรือคําสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
วรวิทย์ กังศศิเทียม
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 5,013 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง การติดต่อขอรับบริการของสำนักงานบังคับคดีแพ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 1) | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง การติดต่อขอรับบริการของสํานักงานบังคับคดีแพ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (ฉบับที่ 1)
--------------------------
ด้วยรัฐบาลได้ออกข้อกําหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 23) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ผ่อนคลายมาตรการการควบคุมบางกรณี และ ปรับระดับการกําหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ ซึ่งมีพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวม 4 จังหวัด คือ พื้นที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้มาติดต่อราชการใน สํานักงานบังคับคดีแพ่งและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีซึ่งปฏิบัติงานในจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดดังกล่าว ประชาชนสามารถขอรับบริการ ของสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 6 สํานักงานบังคับคดีจังหวัด นนทบุรี สํานักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดปทุมธานี และสํานักงานบังคับคดีจังหวัด ปทุมธานี สาขาธัญบุรี เพื่อรับคิวในการดําเนินการบังคับคดีได้ ตั้งแต่เวลา 07.30 นาฬิกา จนถึงเวลา 14.00 นาฬิกา เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นให้เป็นดุลพินิจของผู้อํานวยการแต่ละแห่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศกรมบังคับคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 - 6 สํานักงานบังคับคดี จังหวัดนนทบุรี สํานักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ สํานักงานบังคับคดีจังหวัดปทุมธานี และสํานักงานบังคับคดี จังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรี หรือ สายด่วนกรมบังคับคดี 1111 กด 79 และเว็บไซต์กรมบังคับคดี www.led.go.th
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2564
(นางอรัญญา ทองน้ําตะโก)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,014 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง การติดต่อขอรับบริการคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง การติดต่อขอรับบริการคดีล้มละลายและคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19)
-----------------------
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Cavid - 19) ระลอกใหม่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ทําให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวจํานวนมากและมีแนวโน้มการแพร่ระบาด ของโรคมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของผู้มาติดต่อราชการและบุคลากรกรมบังคับคดี และเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ขอความร่วมมือประชาชนในการติดต่อขอรับบริการคดีล้มละลาย และคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ดังนี้
ข้อ ๑ การยื่นคําขอรับชําระหนี้ ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และคดีล้มละลายเจ้าหนี้สามารถ ยื่นคําขอรับชําระหนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยเข้าเว็บไซต์กรมบังคับคดีหัวข้อยื่นคําขอรับชําระหนี้คดีฟื้นฟูกิจการ โดยสามารถศึกษาขั้นตอน การยื่นคําขอรับชําระหนี้ดังกล่าวจากตัวอย่างที่แสดงไว้ (สามารถดาวน์โหลดได้จาก QR Code ท้ายประกาศนี้ ของลูกหนี้หรือคดีล้มละลายและดําเนินการกรอกข้อมูลตามขั้นตอนที่กําหนดไว้
ข้อ ๒ การตรวจค้าขอรับชําระหนี้ ตามมาตรา 104 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 หากเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะโต้แย้งคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่น ขอให้งดเดินทางมากรมบังคับคดีในวันดังกล่าว และติดตามผลการตรวจคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทางโทรศัพท์
ข้อ ๓ การประชุมเจ้าหนี้ กรณีที่เจ้าหนี้ประสงค์จะลงมติในกรณีที่ลูกหนี้ยื่นคําขอประนอมหนี้ ก่อนหรือหลังล้มละลาย ขอให้เจ้าหนี้ทําหนังสือลงมติล่วงหน้านําส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนวันประชุมเจ้าหนี้ และประสานแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทางโทรศัพท์ ส่วนคดีล้มละลายคดีใดที่ลูกหนี้ไม่ได้ยื่นคําขอประนอมหนี้ แม้เจ้าหนี้ไม่มาร่วมประชุมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามกฎหมายต่อไป เจ้าหนี้สามารถสอบถามผลการประชุมเจ้าหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทางโทรศัพท์ได้
ข้อ ๔ การสอบสวนกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ สอบสวนคําขอรับชําระหนี้และการสอบสวนอื่นๆ ในสํานวนคดี ให้เจ้าหนี้หรือลูกหนี้และผู้เกี่ยวข้องส่งบันทึกถ้อยคําพยานแทนการมาสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในกําหนดโดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคําให้การพยาน (ล.5) ได้จากเว็บไซต์กรมบังคับคดี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีล้มละลายได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2881 4999 และคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2887 5095 - 77 หรือสายด่วนกรมบังคับคดี 1111 กด 79 เว็บไซต์กรมบังคับคดี www.led.go.th
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2564
ลงชื่อ อรัญญา ทองน้ําตะโก
(นางอรัญญา ทองน้ําตะโก)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,015 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง ยกเลิกใบเสร็จรับเงินคดีแพ่ง (ต่างจังหวัด) ในราชการกรมบังคับคดี | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง ยกเลิกใบเสร็จรับเงินคดีแพ่ง (ต่างจังหวัด) ในราชการกรมบังคับคดี
----------------------------------
ด้วยใบเสร็จรับเงินคดีแพ่ง (ต่างจังหวัด) ในราชการกรมบังคับคดีของสํานักงานบังคับคดี จังหวัดพิจิตร เลขที่ 3761 - 3770 ได้สูญหายไป และได้แจ้งความลงบันทึกประจําวันไว้แล้วที่สถานี ตํารวจภูธรเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
กรมบังคับคดี จึงขอยกเลิกใบเสร็จรับเงินคดีแพ่ง (ต่างจังหวัด) ในราชการกรมบังคับคดี เลขที่
3761-3770
ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ลงชื่อ ทัศนีย์ เปาอินทร์
(นางทัศนีย์ เปาอินทร์)
รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,016 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง กำหนดสถานที่ราชการเพื่อปิดประกาศขายทอดตลาด | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี
เรื่อง กําหนดสถานที่ราชการเพื่อปิดประกาศขายทอดตลาด
------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 (4) แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงประกาศกําหนดสถานที่ราชการ เพื่อปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทสิ่งปลูกสร้าง
(1) ในส่วนกลาง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ และสํานักงานที่ดินที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่
(2) ในส่วนภูมิภาค ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ว่าการอําเภอ และสํานักงานที่ดินที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่
ข้อ ๒ ในกรณีสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ สํานักงานเขตหรือที่ว่าการอําเภอ และสํานักงานที่ดินที่สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขานั้นตั้งอยู่
ข้อ ๓ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ สถานที่ราชการอื่น เพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดี
ข้อ ๔ การปิดประกาศขายทอดตลาด ณ สถานที่ราชการตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับ สําหรับการขายทอดตลาดตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2563
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563
อรัญญา ทองน้ําตะโก
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,017 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันพิเศษ | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี
เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันพิเศษ
---------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และ มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ การวางหลักประกันพิเศษไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคดีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ใหม่ อันเนื่องมาจากเหตุที่ผู้เสนอราคาสูงสุดเดิมไม่ชําระราคาส่วนที่เหลือ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดให้ ผู้เข้าเสนอราคาวางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคาเป็นสองเท่าของจํานวนเงินหลักประกันตามประกาศ คณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา
ข้อ ๒ ในคดีที่มีผู้เสนอราคาสูงสุดไม่ชําระราคาส่วนที่เหลือมาแล้วสามครั้ง ในการประกาศ ขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดให้ผู้เข้าเสนอราคาวางหลักประกันก่อนเข้า เสนอราคาเป็นสี่เท่าของจํานวนเงินหลักประกันตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการ กําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกัน การเข้าเสนอราคา เว้นแต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาแล้ว เห็นสมควรกําหนดหลักประกัน พิเศษสูงกว่าสี่เท่า ให้รายงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับขั้นเพื่อเสนออธิบดี หรือรองอธิบดีผู้ได้รับ มอบหมายเป็นผู้พิจารณากําหนดหลักประกันการเข้าเสนอราคา
ข้อ ๓ ความในข้อ 1 - 2 ไม่ใช้บังคับในกรณีที่ผู้เข้าเสนอราคาเป็นผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทน หรือคู่สมรสที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว หรือผู้ที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับประกาศขายทอดตลาดที่ประกาศตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563
อรัญญา ทองน้ําตะโก
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,019 |
ประกาศคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด | ประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด
------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขาย ในการขายทอดตลาดให้มีความเหมาะสม อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2563 คณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด จึงประกาศหลักเกณฑ์ ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายทอดตลาดแต่ละครั้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือว่าราคาเริ่มต้นเป็นราคา ที่สมควรขาย
ข้อ ๒ ในการกําหนดราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาด
ในกรณีที่มีราคาของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณา จากราคาของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์
ในกรณีที่ไม่มีราคาของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ แต่มีราคาประเมินของเจ้าพนักงาน ประเมินราคาทรัพย์ กรมบังคับคดี และราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี พิจารณาจากราคาประเมินของเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ กรมบังคับคดี
ในกรณีที่ไม่มีราคาของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์และราคาประเมินของเจ้าพนักงาน ประเมินราคาทรัพย์ กรมบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาประเมินของเจ้าพนักงาน บังคับคดี
ข้อ ๓ การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยปลอดการจํานอง หรือปลอดภาระผูกพัน ในทางจํานอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นสําหรับการขายทอดตลาดแต่ละครั้ง ดังนี้
(1) ในการขายทอดตลาดครั้งที่หนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นตามราคาประเมิน ในข้อ 2 โดยปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
(2) ในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง หากการขายทอดตลาดครั้งที่หนึ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้งดการขายทอดตลาดไว้เนื่องจากไม่มีผู้เข้าสู้ราคา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้น เป็นจํานวนร้อยละเก้าสิบของราคาประเมินในข้อ 2 โดยปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
(3) ในการขายทอดตลาดครั้งที่สาม หากการขายทอดตลาดครั้งที่สอง เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้งดการขายทอดตลาดไว้เนื่องจากไม่มีผู้เข้าสู่ราคา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้น เป็นจํานวนร้อยละแปดสิบของราคาประเมินในข้อ 2 โดยปิดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
(4) ในการขายทอดตลาดครั้งที่สี่เป็นต้นไป หากการขายทอดตลาดครั้งที่สาม เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้งดการขายทอดตลาดไว้เนื่องจากไม่มีผู้เข้าสู้ราคา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้น เป็นจํานวนร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินในข้อ 2 โดยปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
ข้อ ๔ การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยการจํานองติดไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี คํานวณร้อยละตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 โดยยังไม่ต้องปัดเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น หักด้วยยอดหนี้จํานอง ที่เป็นปัจจุบันตามที่ผู้รับจํานองแจ้งมา คงเหลือเท่าใดให้ปัดเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
หากยอดหนี้จํานองดังกล่าวเกินกว่าราคาที่ได้คํานวณไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงค่าใช้จ่ายและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย รวมถึงความเหมาะสมประการอื่นประกอบด้วย
ข้อ ๕ ในกรณีที่ราคาประเมินตามข้อ 2 ต่ํากว่าหนึ่งแสนบาท เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี คํานวณราคาตามแต่กรณีแล้ว ให้ปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนพัน
ข้อ ๖ การขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นสําหรับ การขายทอดตลาดแต่ละครั้งตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงสภาพของทรัพย์ในปัจจุบัน ราคาซื้อขาย ในท้องตลาด รวมถึงความเหมาะสมประการอื่น ๆ ประกอบด้วย
กรณีขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์โดยการจํานองติดไป ให้นําความในข้อ 4 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
กรณีที่สังหาริมทรัพย์มีราคาประเมินตามข้อ 2 ตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป ให้ผู้อํานวยการ สํานักงานพิจารณาเห็นชอบกับราคาเริ่มต้นก่อนทําการขายทอดตลาดแต่ละครั้ง
ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดาเนินการขายทอดตลาดใหม่หลังจากที่เคย เคาะไม้ขายทอดตลาดไปแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นสําหรับการขายทอดตลาด ดังนี้
(1) ในการขายทอดตลาดครั้งที่หนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นโดยใช้ราคา ที่เคาะไม้ขายทอดตลาดครั้งก่อน
(2) ในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง หากการขายทอดตลาดครั้งที่หนึ่ง ได้งดการขาย ทอดตลาดไว้เนื่องจากไม่มีผู้เข้าสู้ราคา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับไปใช้ราคาเริ่มต้นเดียวกันกับราคา ในครั้งที่ได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดครั้งก่อน (ราคาเริ่มต้นร้อยละในครั้งที่มีการเคาะไม้)
(3) ในการขายทอดตลาดในครั้งต่อไป ให้กําหนดราคาเริ่มต้นตามความในข้อ 3 (1) ถึง (4)
แล้วแต่กรณี มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ทั้งนี้ การกําหนดราคาเริ่มต้นตาม (1) และ (2) ต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมิน ในข้อ 2 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาประเมินที่ใช้ในการกําหนดราคาเริ่มต้นตามข้อ 2
ความในข้อนี้ ให้ใช้บังคับกับการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์โดยอนุโลม ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นตามข้อ
ข้อ ๘ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการขายทอดตลาดโดยกําหนดราคาเริ่มต้นสําหรับการขายทอดตลาดตามข้อ 2 ถึงข้อ 5 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563
อรัญญา ทองน้ําตะโก
อธิบดีกรมบังคับคดี
ประธานคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด | 5,020 |
ประกาศคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคาโครงการประชารัฐสวัสดิการ | ประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด
เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา โครงการประชารัฐสวัสดิการ
---------------------------------
ด้วยกรมบังคับคดีได้สนับสนุนนโยบายในการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย โดยจัดทําโครงการการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดเพื่อใช้อยู่อาศัย จากการขายทอดตลาด ของกรมบังคับคดี สําหรับโครงการประชารัฐสวัสดิการ โดยผู้ซื้อทอดตลาดซึ่งเป็นผู้ที่ลงทะเบียน เพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีสิทธิซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุด ที่กรมบังคับคดีน่าออกขายทอดตลาด ซึ่งมีราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาท 1 ราย ต่อ 1 รายการ
เพื่อให้การกําหนดหลักประกันในการเข้าเสนอราคาสําหรับโครงการดังกล่าวของผู้ที่ลงทะเบียน เพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีความเหมาะสม และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจ ตามความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2563 คณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขาย ในการขายทอดตลาด จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดที่กรมบังคับคดีนําออกขายทอดตลาด ในโครงการการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและห้องชุดเพื่อใช้อยู่อาศัย สําหรับโครงการ ประชารัฐสวัสดิการซึ่งมีราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาท และผู้ซื้อเป็นผู้ที่ลงทะเบียน เพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ผู้ซื้อวางเงินหลักประกัน 3,000 บาท
ข้อ ๒ หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา นอกจากที่ระบุไว้ในประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขาย ในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน 2563 และประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันในการเข้าเสนอราคา โครงการบ้านมือสองสําหรับผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน 2563
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563
อรัญญา ทองน้ําตะโก
อธิบดีกรมบังคับคดี
ประธานคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด | 5,021 |
ประกาศคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคาโครงการบ้านมือสองสำหรับผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา | ประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด
เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา
โครงการบ้านมือสองสําหรับผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา
-----------------------------------
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เห็นชอบหลักการโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” (ปี 2560 - 2563) เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นพื้นที่ เศรษฐกิจเฉพาะ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งภารกิจของกรมบังคับคดีในเรื่องการขายทอดตลาดมีส่วนช่วยในการสนับสนุน โครงการดังกล่าวได้ กรมบังคับคดีจึงได้มีโครงการบ้านมือสองสําหรับผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี และยะลาขึ้น และเพื่อให้การกําหนดหลักประกันในการเข้าเสนอราคาสําหรับ โครงการดังกล่าวเหมาะสมกับรายได้ของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และเพื่อให้การปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจ ตามความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2563 คณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขาย ในการขายทอดตลาด จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ให้ผู้เข้าเสนอราคาวางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคา โดยพิจารณาจากราคาประเมินทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องนําไปกําหนดเป็นราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาดตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| ราคาประเมิน (บาท) | หลักประกัน (บาท) |
| เกิน 100,000 - 200,000 | 8,000 |
| เกิน 200,000 - 500,000 | 20,000 |
| เกิน 500,000 -1,000,000 | 40,000 |
กรณีการขายทอดตลาดโดยการจํานองติดไปให้ผู้เสนอราคาวางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคา โดยพิจารณาจากราคาเริ่มต้นตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาดโดยให้ถือเป็นราคาประเมินตามตาราง
ข้อ ๒ หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา นอกจากที่ระบุไว้ในประเทศนี้ ให้ใช้บังคับตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขาย ในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน 2563 และประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา โครงการประชารัฐสวัสดิการ ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน 2563
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563
อรัญญา ทองน้ําตะโก
อธิบดีกรมบังคับคดี
ประธานคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด | 5,022 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการใช้งานระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ในการบังคับคดีแพ่ง | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการใช้งานระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ในการบังคับคดีแพ่ง
----------------------------------------------
ด้วยกรมบังคับคดีได้นําระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ในการบังคับคดีแพ่ง มาใช้ ในการปฏิบัติงาน เพื่อการพัฒนาสู่ Thailand 4.0 และองค์กรไร้กระดาษ (Paperless) กรมบังคับคดี จึงออกประกาศทําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การยื่น ส่งและรับคําขอ คําแถลง คําร้อง หมาย ประกาศ หนังสือ และเอกสารต่าง ๆ ในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ในการบังคับคดีแพ่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศฉบับนี้
เจ้าหน้าที่” หมายความว่า กรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับคําร้อง เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสังกัด ตรวจ มีคําสั่ง และส่งคําสั่งทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์(e-Filing)
“ผู้ใช้ระบบ” หมายความว่า คู่ความ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้แทนหรือผู้รับมอบอํานาจ ที่ได้ลงทะเบียนขอใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ไว้ต่อหน่วยงานสังกัดกรมบังคับคดี
ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ระบบงานรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ของกรมบังคับคดี เพื่อรองรับการยื่นส่งและรับคําขอ คําแถลง คําร้อง หมาย ประกาศ หนังสือ และเอกสาร ทางคดีในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้ใช้บังคับกับสํานวนบังคับคดีที่มีการยื่นคําร้องขอบังคับคดี (ตั้งเรื่อง) ศ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
หมวด ๑ การลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๔ ผู้ประสงค์เป็นผู้ใช้ระบบให้ลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวบุคคลผ่านระบบรับส่ง อิเล็กทรอนิกส์ทางหน้าเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี (www.led.go.th) และนําบัตรประจําตัวประชาชน มาแสดงตัวที่กรมบังคับคดีหรือสํานักงานบังคับคดี เมื่อได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ใช้ระบบตามเงื่อนไขและวิธีการ ที่กรมบังคับคดีกําหนดแล้ว จะได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) แจ้งชื่อผู้ใช้ระบบ (Username) และ รหัสผ่าน (Password) เพื่อใช้เข้าระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ในทุกคดีที่เกี่ยวข้อง
การเข้าใช้งานระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ โดยชื่อผู้ใช้ระบบ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับ ถือเป็นการยืนยันตัวตนผู้ใช้ระบบและรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นหลักฐานแสดงการลงลายมือชื่อของผู้ใช้ระบบในการติดต่อกับหน่วยงานสังกัดกรมบังคับคดี ผ่านระบบ รับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ผู้ใช้ระบบต้องเก็บรักษาชื่อผู้ใช้ระบบและรหัสผ่านไว้เป็นความลับ
ข้อ ๕ หากผู้ใช้ระบบเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หมายเลขโทรศัพท์ หรือผู้ใช้ระบบไม่ประสงค์จะใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์อีกต่อไป ผู้ใช้ระบบต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยยื่นคําร้องผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ทันที
การติดต่อผู้ใช้ระบบไปยังที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ ได้รับแจ้งไว้เดิม ถือว่าเป็นการติดต่อโดยชอบจนกว่าจะได้มีการยื่นคําร้องผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้ตามวรรคหนึ่ง
หมวด ๒ การยื่นส่งและรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๖ ผู้ใช้ระบบสามารถยื่นคําขอ คําร้อง คําแถลง และเอกสารในคดีทางระบบรับส่ง อิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาที่ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์เปิดใช้งาน หากยื่นนอกวันเวลาทําการปกติ ให้ถือว่า เป็นการยื่นในวันเวลาแรกที่สํานักงานบังคับคดีเปิดทําการปกติถัดไป
ข้อ ๗ คําขอตั้งเรื่อง คําร้อง คําแถลง และเอกสารที่ยื่นผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์จะต้อง ที่กําหนดไว้ในภาคผนวก ท้ายประกาศนี้จัดทําตามประเภท รูปแบบ และขนาด
ข้อ ๘ คําขอ คําร้อง คําแถลง หรือเอกสารที่ได้ยื่นและส่งทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนคําสั่ง หรือการอื่นใดที่กระทําโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าหน้าที่ ถือว่ามีการลงลายมือชื่อ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้ทํารายการจนเสร็จสมบูรณ์ในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๙ การแจ้งคําสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าหน้าที่ หรือข้อความอื่นใดอันเกี่ยวกับ การยื่นส่งหรือรับคําคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้ระบบโดยทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดตามที่กรมบังคับคดีกําหนด ให้ถือว่าผู้ใช้ระบบ ได้ทราบคําสั่งนับแต่คําสั่งเช่นว่านั้นไปถึงผู้ใช้ระบบตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้
หมวด ๓ คําร้องด้านการบังคับคดี
ข้อ ๑๐ ในการตั้งเรื่องบังคับคดีทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้ระบบต้องปฏิบัติ ตามขั้นตอนการทํางานของระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ตามแต่ละประเภทการบังคับคดี โดยยื่นคําร้อง พร้อมแนบเอกสารในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามภาคผนวก ท้ายประกาศนี้ และชําระเงินครบถ้วนแล้ว เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องชําระเงิน ทั้งนี้ การตั้งเรื่องจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่แจ้งยืนยัน
หากข้อมูล หรือเอกสารไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่รับตั้งเรื่อง บังคับคดีและแจ้งกลับไปยังผู้ใช้ระบบผ่านช่องทางที่ได้แจ้งไว้
ผู้ใช้ระบบต้องส่งต้นฉบับเอกสารสิทธิ์หรือเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีทะเบียน ภายใน 7 วัน นับจากวันที่เจ้าหน้าที่แจ้งยืนยัน
ข้อ ๑๑ ผู้ใช้ระบบสามารถร้องขอสําเนาเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีอนุญาต ผู้ใช้ระบบสามารถดาวน์โหลดเอกสารตามที่ร้องขอได้ หากประสงค์ให้มีการรับรองเอกสาร ผู้ใช้ระบบต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กรมบังคับคดีกําหนด โดยให้ถือว่าเอกสารที่จัดพิมพ์จากระบบรับส่ง อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสําเนาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับรองแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อ ๑๒ การยื่นคําร้องขอชําระเงินหรือชําระค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือ ที่มีกําาหนดระยะเวลา การชําระเงินหรือชําระราคา ผู้ใช้ระบบจะต้องชําระเงินหรือชําระราคาภายในเวลา 16.30 นาฬิกาของ วันสุดท้ายแห่งกําหนดระยะเวลานั้น โดยถือตามเวลาในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๑๓ ผู้ใช้ระบบสามารถขอกําหนดวัน เวลา เพื่อนัดเจ้าหน้าที่ดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับ การบังคับคดีนอกที่ทําการได้ โดยยื่นคําร้องผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
หมวด ๔ การส่งหมาย ประกาศ หนังสือ และเอกสารต่าง ๆ
ทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๑๔ ผู้ใช้ระบบอาจร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งหมาย หนังสือ ประกาศ หรือ เอกสารต่าง ๆ ให้แก่ตนเอง โดยผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดําเนินการส่งหมาย หนังสือ ประกาศ หรือเอกสารต่าง ๆ ให้แก่ผู้ร้องขอ โดยผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) แล้ว ให้ถือว่าเป็นการส่งได้โดยชอบ
หมวด ๕ การรับและจ่ายเงินผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๑๕ ผู้ใช้ระบบสามารถเลือกใช้วิธีการชําระเงินผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนี้
1. ชาระผ่านเครื่อง Electronic Data Capture (EDC)
2. ชําระผ่านทางบัญชีธนาคาร
3. ชาระโดยการจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)
4. วิธีการอื่นใดตามที่กรมบังคับคดีกําหนด
ข้อ ๑๖ การชําระเงินผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์จะสมบูรณ์ ต่อเมื่อกรมบังคับคดี หรือ สํานักงานบังคับคดี ได้รับเงินครบถ้วนจากผู้ให้บริการในการรับชําระเงินนั้นแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ ที่กรมบังคับคดีและผู้ให้บริการกําหนด
ข้อ ๑๗ ผู้ใช้ระบบสามารถขอรับเงินผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตามวิธีการที่กรมบังคับคดีกําหนด
หมวด ๖ การควบคุมการใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๑๘ หากผู้ใช้ระบบพบปัญหาหรือความบกพร่องในระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ หรือ พบเหตุที่อาจทําให้เกิดความไม่มั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ชื่อผู้ใช้ระบบและ รหัสผ่านของตนอาจถูกบุคคลอื่นนําไปใช้ เป็นต้น ให้ผู้ใช้ระบบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ทันที
ข้อ ๑๙ หากกรมบังคับคดีพบว่ามีเหตุอันอาจทําให้เกิดความไม่มั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบ รับส่งอิเล็กทรอนิกส์ หรือมีเหตุจําเป็นอย่างอื่น กรมบังคับคดีอาจดําเนินการปิดระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการชั่วคราวได้ทันทีเพื่อซ่อมแซม บํารุงรักษา หรือรักษาความปลอดภัยของระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒๐ กรมบังคับคดีขอสงวนสิทธิในการระงับหรือเพิกถอนสิทธิการเข้าใช้ระบบรับส่ง อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้ระบบ หากพบว่าผู้ใช้ระบบได้ใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการใช้บริการของระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ หรือกระทําการใดอันอาจก่อให้เกิด ความขัดข้อง หรือความไม่มั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒๑ อธิบดีกรมบังคับคดีมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานระบบรับส่ง อิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
(ลงชื่อ) อรัญญา ทองน้ําตะโก
(นางอรัญญา ทองน้ําตะโก)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,023 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในภาวะฉุกเฉินของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ของกรมบังคับคดี | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในภาวะฉุกเฉินของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ของกรมบังคับคดี
--------------------------
สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้น ในต่างประเทศ และในประเทศไทย โดยมีแนวโน้มความรุนแรง และมีการแพร่กระจายของโรคไปยังหลายพื้นที่ เพิ่มมากขึ้น และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ลําดับที่ 14 และกระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งเตือนให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่องตามที่ระบุไว้โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับสถานการณ์ดังกล่าว กรมบังคับคดี จึงกําหนด
มาตรการ และแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดในภาวะฉุกเฉินของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMID-19) ของกรมบังคับคดี ดังนี้
อื่นๆ - มาตรการที่ 1 การป้องกัน
ดําเนินการดังนี้
1.1 สร้างความตระหนักรู้ และสื่อสารข้อมูล เพื่อให้รับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรค การแพร่ระบาด และการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
1.2 เพิ่มความถี่ในการดูแลทําความสะอาดพื้นที่ และบริเวณห้องที่บุคลากรใช้งาน รวมทั้ง ทางเดิน ห้องประชุม ห้องทํางาน ห้องน้ํา ลิฟต์ และตรวจเช็ดทําความสะอาดจุดสัมผัส เช่น ราวบันได ที่จับบริเวณประตู ปุ่มกดลิฟต์ ด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ ดูแลเครื่องปรับอากาศเป็นกรณีพิเศษ ทําความสะอาดใหญ่ (Big Cleaning) ทุกสัปดาห์ และฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เป็นต้น
1.3 จัดพื้นที่ที่มีการรวมตัวของคนจํานวนมากแต่มีความจําเป็นในการปฏิบัติงาน เช่น ห้องขายทอดตลาด ตามมาตรการเร่งด่วนของกระทรวงสาธารณสุข และงดให้บริการสําหรับพื้นที่ที่ไม่มีความจําเป็นการปฏิบัติงาน
1.4 จัดให้มีจุดคัดกรองโดยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ณ บริเวณทางเข้าพื้นที่หน่วยงาน และ จุดบริการแอลกอฮอล์เจลล้างมือประจําพื้นที่ที่เป็นจุดให้บริการประชาชน เช่น เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ หน้าห้องประชุมโรงอาหาร หน้าลิฟต์ เป็นต้น
กรณีพบบุคคลที่มีอุณหภูมิร่างกายเกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ไม่อนุญาตให้เข้าพื้นที่หน่วยงาน โดยให้แจ้งวัตถุประสงค์ และหน่วยงานที่จะติดต่อราชการเพื่อจักได้จัดช่องทางในการให้บริการตาม ความเหมาะสม หากมีอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ํามูก เจ็บคอ หอบ เหนื่อย ร่วมด้วย แนะนําให้ ไปพบแพทย์ โดยให้แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อและสอบถามวิธีปฏิบัติต่อไป และให้รายงานประธาน คณะทํางานบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
1.5 ให้บุคลากรรับผิดชอบ ดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองตามที่กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุขแนะนํา เช่น สวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลไม่น้อยกว่า 1 เมตร ล้างมือ ทําความสะอาดทุกครั้งเมื่อสัมผัสพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เป็นต้น
1.6 ไม่อนุมัติหรืออนุญาตให้บุคลากรเดินทางไปยังประเทศหรือจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการ ติดเชื้อและการแพร่ระบาดของโรค ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ แต่หากมีความจําเป็นอย่างยิ่ง หลีกเลี่ยงไม่ได้ให้เสนอผู้มีอํานาจอนุมัติ พิจารณาเป็นรายกรณี และเมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย ให้ดําเนินการตามข้อ 2.1
1.7 ให้งดหรือเลื่อนการประชุม การสัมมนา ที่ไม่มีความจําเป็นเร่งด่วนออกไปก่อน และใช้วิธี ประสานงานการทํางานในรูปแบบอื่นทดแทน หากมีความจําเป็นในการจัดประชุม สัมมนา ให้เตรียม การป้องกันตามความเหมาะสม ดังนี้ จัดให้มีระบบคัดกรองผู้เข้าประชุมสัมมนา เตรียมอุปกรณ์การป้องกัน เช่น เจลล้างมือ หน้ากากอนามัย ทําความสะอาดอุปกรณ์ที่คนมักสัมผัสอย่างสม่ําเสมอ ลดความแออัดของผู้เข้าร่วม ประชุม และติดตั้งสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันการแพร่กระจายให้ผู้เข้าประชุมทราบ
อื่นๆ - มาตรการที่ 2 กรณีมีผู้อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง
หากมีผู้อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังในพื้นที่ของหน่วยงาน ให้ดําเนินการ ดังนี้
2.1 ให้บุคคลดังต่อไปนี้เฝ้าระวังและสังเกตอาการตนเองและปฏิบัติงานที่บ้าน เป็นเวลา 14 วัน โดยปฏิบัติตัวตามหลักเกณฑ์คําแนะนําของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรายงาน ผู้บังคับบัญชาอย่างสม่ําเสมอ และหากพบว่ามีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ํามูก เจ็บคอ หอบ เหนื่อย ร่วมด้วย ให้ไปพบแพทย์พร้อมทั้งรายงานผู้บังคับบัญชาทันที
2.1.1 บุคลากรที่เดินทางไปยังหรือเดินทางผ่าน (transit) พื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือพื้นที่ที่มี การระบาด ตามที่ระบุไว้โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก
2.1.2 บุคลากรที่พักอาศัยร่วมกับบุคคลที่ติดเชื้อ
2.2 ให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ตามข้อ 2.1.1 และข้อ 2.1.2 เฝ้าระวัง หมั่นสังเกตอาการของตนเอง และหลีกเลี่ยงในการติดต่อใกล้ชิดกับบุคคลอื่น
2.3 ทําความสะอาดพื้นที่ และบริเวณห้องที่บุคคล ตามข้อ 2.1.1 และข้อ 2.1.2 ใช้งาน ด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ โดยเร็ว
2.4 กรณีตามข้อ 2.1 ให้หัวหน้าหน่วยงานรายงานประธานคณะทํางานบริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อทราบโดยเร็ว และให้ประธานคณะทํางาน บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รายงานอธิบดีกรมบังคับคดี เพื่อทราบโดยเร็ว
อื่นๆ - มาตรการที่ 3 กรณีมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
หากมีผู้ติดเชื้อในพื้นที่ของหน่วยงาน ให้ดําเนินการ ดังนี้
3.1 ให้หัวหน้าหน่วยงานรายงานประธานคณะทํางานบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อทราบโดยทันที
3.2 ประธานคณะทํางานบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รายงานอธิบดีกรมบังคับคดีทราบทันที
3.3 แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เบอร์โทร 1422 (กรมควบคุมโรคติดต่อ) หรือ 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)
3.4 หากคณะทํางานบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COMID-19) เห็นว่าเข้าเงื่อนไขการปิดสถานที่ทํางานชั่วคราว ให้รายงานอธิบดีเพื่อพิจารณารายงาน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปิดสถานที่ทํางานชั่วคราว
สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหากผู้อํานวยการเห็นว่าเข้าเงื่อนไขการปิดสถานที่ทํางานชั่วคราว ให้รายงานผู้ว่าราชการจังหวัด และรายงานกรมบังคับคดีให้ทราบโดยด่วน
3.5 ทําความสะอาดบริเวณสถานที่ ด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ โดยเร็วที่สุด
อื่นๆ - มาตรการที่ 4 กรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน
กรณีมีเหตุฉุกเฉิน เช่น พบผู้มีใช้สูงและหมดสติ เป็นต้น หรือมีกรณีสุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ให้ดําเนินการ
ดังนี้
4.1 ผู้พบเห็นแจ้งเลขานุการกรม หรือหัวหน้าหน่วยงานเพื่อรายงานประธานคณะทํางาน บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
4.2 แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เบอร์โทร 1422 (กรมควบคุมโรคติดต่อ) หรือ 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) หรือมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย I
จึงประกาศมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม 2563
(นางอรัญญา ทองน้ําตะโก)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,024 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี พ.ศ. 2561 | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี พ.ศ. 2561
------------------------------
ตามข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี พ.ศ. 2561 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานบังคับคดี พ.ศ. 2561 ซึ่งอนุญาต ให้กรมบังคับคดีหักเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีที่ได้รับชําระตามกฎหมายในอัตราร้อยละ 50 ก่อนนําส่ง คลังเป็นรายได้แผ่นดินไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานบังคับคดี ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 จนถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 นั้น
เพื่อให้การใช้เงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีเป็นประโยชน์ของทางราชการ และไม่เป็น ประโยชน์ทับซ้อน จึงประกาศ หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี พ.ศ. 2561 ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานสังกัดกรมบังคับคดี
ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการกํากับดูแลการใช้เงินค่าธรรมเนียมเสริมงบประมาณของ กรมบังคับคดี เป็นผู้พิจารณา กํากับดูแล ตรวจสอบ และควบคุมการใช้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี
ข้อ ๓ การพิจารณาอนุมัติใช้เงินค่าธรรมเนียมให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่จะพึงจ่าย จากเงินงบประมาณได้ แต่เงินงบประมาณไม่มีหรือมีไม่เพียงพอหรือมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน หรือมีเหตุขัดข้อง ประการอื่น โดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสําคัญ
กรณีแผนงาน โครงการ ที่ไม่ได้รับจัดสรรจากงบประมาณ หรือเงินดอกเบี้ยอันเกิด จากเงินกลางให้นํามาพิจารณาอนุมัติตามวรรคแรกด้วย
ข้อ ๔ หน่วยงานที่ต้องการใช้เงินค่าธรรมเนียมจะต้องจัดทําแผนงาน โครงการ หรือประมาณการรายจ่าย โดยคํานึงถึงแผนยุทธศาสตร์ นโยบายรัฐบาล ตามความจําเป็นเหมาะสม ความคุ้มค่า และประสิทธิภาพในการทํางาน ตามระเบียบที่ใช้กับเงินงบประมาณรายจ่ายโดยอนุโลม เพื่อให้คณะกรรมการ พิจารณาอนุมัติ
กรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนไม่อาจนําเสนอคณะกรรมการพิจารณาได้ทัน ให้ประธาน คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติแล้วแจ้งคณะกรรมการทราบ
ข้อ ๕ อํานาจในการอนุมัติสั่งจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมาย
ข้อ ๖ ให้หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินค่าธรรมเนียมจัดทํารายงานการรับ-จ่ายเงิน ค่าธรรมเนียมที่ได้รับการจัดสรร รายงานให้กองบริหารการคลังทราบภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป
ข้อ ๗ ให้กองบริหารการคลังจัดทํารายงานการรับ-จ่ายค่าธรรมเนียม ตามแบบ กรมบัญชีกลางกําหนด และรายงานให้อธิบดีกรมบังคับคดีทราบภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป พร้อมประกาศให้ทราบทั่วกัน
ให้กองบริหารการคลังจัดทํารายงานการรับ-จ่ายค่าธรรมเนียม และผลการดําเนินงาน ที่ใช้จ่ายจากเงินค่าธรรมเนียม ส่งให้กรมบัญชีกลางทราบภายใน 60 วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ
ข้อ ๘ หากหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรเงินค่าธรรมเนียม ไม่สามารถดําเนินการตามแผน การใช้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมได้ หรือมีเงินเหลือจ่ายจากแผนงาน โครงการ หรือประมาณการรายจ่ายที่ได้ ดําเนินการแล้วเสร็จ หรือเงินที่ได้ทําสัญญา ข้อตกลงต่าง ๆ ต่ํากว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติและมีเงินคงเหลือ ให้โอนเงินดังกล่าวส่งคืนไปยังกองบริหารการคลัง พร้อมชี้แจงรายละเอียดให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่เสร็จ สิ้นโครงการหรือวันที่ไม่มีความจําเป็นต้องใช้เงิน
ข้อ ๙ ก่อนสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานที่มีเงินคงเหลือจากแผนงาน โครงการ หรือประมาณการรายจ่าย เงินที่ยังไม่มีภาระผูกพันหรือไม่ได้ขอขยายการเบิกจ่ายไว้ ส่งคืนไปยังกองบริหาร การคลัง ภายในวันที่ 25 เดือนกันยายน เพื่อนํามาคํานวณเงินที่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวนวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,025 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง กำหนดสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะเพื่อโฆษณาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลหรือประกาศหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี
เรื่อง กําหนดสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะเพื่อโฆษณาคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาล
หรือประกาศหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมาตรา 17 ให้ยกเลิกความในมาตรา 148/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายเพื่อํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน
“ มาตรา 148/1 ในกรณีที่บทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้กําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โฆษณาคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาล หรือประกาศหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือพิมพ์ รายวัน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะอื่นใดแทนตามที่อธิบดี กรมบังคับคดีประกาศกําหนดก็ได้”
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมบังคับคดี จึงประกาศให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงโฆษณาในเว็บไซต์ กรมบังคับคดี (http://www.led.go.th)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,026 |
ประกาศกองบริหารการคลัง เรื่อง จรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุกองบริหารการคลังกรมบังคับคดี | ประกาศกองบริหารการคลัง
เรื่อง จรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุของกองบริหารการคลังกรมบังคับคดี
---------------------------------
เพื่อให้การดําเนินงานของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุของกองบริหารการคลังกรมบังคับคดีเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ของการปฏิบัติงานด้านพัสดุซึ่งต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต รอบคอบ ระมัดระวัง ดูแลรักษาผลประโยชน์ ของกรมบังคับคดีจึงเห็นสมควรให้มีจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ
“ ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ” หมายถึง เจ้าหน้าที่ซึ่งดํารงตําแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือได้รับ แต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่ปฏิบัติ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และหมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้มีอํานาจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุของหน่วยงานภาครัฐตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
“การพัสดุ” หมายถึง การซื้อ การจ้าง การเช่า การจัดทําเอง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบ การจ้าง ควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจําหน่าย ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และการดําเนินการอื่นๆ ที่กําหนดไว้ในกฎหมายระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุ
ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังจะกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นประพฤติผิด จรรยาบรรณและวินัยของกรมบังคับคดี
ข้อ ๑ วางตนเป็นกลาง ในการดําเนินการเกี่ยวกับพัสดุ
ข้อ ๒ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสํานึก และด้วยความโปร่งใส สามารถให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทุกเวลา
ข้อ ๓ มีความมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน โดยเรียนรู้ถึงเทคนิควิทยาการใหม่ๆ เพิ่มเติม อยู่เสมอ และนํามาใช้ปฏิบัติงานให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
ข้อ ๔ ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือกฎหมาย กฎ ระเบียบปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๕ ดําเนินการให้มีการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินของหน่วยงานอย่างประหยัด คุ้มค่า และให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ข้อ ๖ คํานึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานและประโยชน์ส่วนรวมของทางราชการเป็นหลัก โดยคํานึงถึงความ ถูกต้อง ยุติธรรม และความสมเหตุสมผล
ข้อ ๗ ปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานด้วยความเอาใจใส่ โดยให้ความร่วมมือช่วยเหลือในเรื่อง การให้ความคิดเห็นตามหลักวิชาการ แก้ไขปัญหาร่วมกันและการพัฒนางาน
ข้อ ๘ ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากผู้ขาย ผู้รับจ้าง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้ามามีนิติสัมพันธ์กับทางราชการเกี่ยวกับการพัสดุเพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
ข้อ ๙ ปฏิบัติต่อผู้ขาย ผู้รับจ้าง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้ามามีมติสัมพันธ์กับทางราชการเกี่ยวกับการพัสดุ รวมถึงการฟังผู้มาร้องเรียน ร้องทุกข์ ด้วยความเป็นธรรมเอื้อเฟื้อ มีน้ําใจ แต่ทั้งนี้การปฏิบัติดังกล่าวต้องไม่เป็น ปฏิปักษ์ต่อการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
ข้อ ๑๐ ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในการเสริมสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับ งานพัสดุ ให้สามารถพัฒนางานจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นวิชาชีพเฉพาะสาขาหนึ่ง
ข้อ ๑๑ ผู้บังคับบัญชาด้านพัสดุพึงใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงาน และในการส่งเสริม สนับสนุน การให้ คําปรึกษา คําแนะนํา และรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานอย่างมีเหตุผล
ข้อ ๑๒ ผู้บังคับบัญชาด้านพัสดุพึงควบคุม ตรวจสอบ ดูแล และกําชับให้ผู้ปฏิบัติงานประพฤติปฏิบัติตาม จรรยาบรรณนี้อย่างเคร่งครัด ในกรณีที่พบว่ามีการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามจรรยาบรรณนี้ ให้ดําเนินการ ตามควรแก่กรณี เพื่อให้มีการดําเนินการให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณนี้ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560
(ลงชื่อ) วิไล เพ็ชรประดับฟ้า
(นางวิไล เพ็ชรประดับฟ้า)
ผู้อํานวยการกองบริหารการคลัง | 5,027 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง การเลื่อนการชำระราคาส่วนที่เหลือ | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง การเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ
---------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมี ประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 20 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ การเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์มีทะเบียน หุ้น หรือสิทธิการเช่า ผู้ซื้อได้มีหน้าที่ตามสัญญาต้องชําระราคาทรัพย์ให้ครบถ้วนต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ซื้อได้
ข้อ ๒ ผู้ซื้ออาจยื่นคําร้องขอเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ โดยมีเหตุจําเป็นในการขอเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือตามแต่กรณี ดังนี้
2.1 กรณีอยู่ระหว่างการพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีตรวจสอบพยานหลักฐานเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวประกอบด้วย
2.2 กรณีผู้ซื้อกล่าวอ้างเหตุอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาว่าเหตุดังกล่าว มีความจําเป็นหรือไม่อย่างไร และผู้ซื้อจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถในการชําระราคาทรัพย์ ได้ครบถ้วนเมื่อได้รับการเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ
ข้อ ๓ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคําร้องตามข้อ 2 แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจอนุญาต ให้เลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือได้แต่ไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันที่ต้องชําระราคาส่วนที่เหลือ
ข้อ ๔ เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตให้เลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือ ให้เป็นไปตามที่กรมบังคับคดีกําหนด
ข้อ ๕ การเลื่อนการชําระราคาส่วนที่เหลือตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้กับการขายทอดตลาด ตามกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559
รื่นวดี สุวรรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,029 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง กำหนดสถานที่ราชการเพื่อปิดประกาศขายทอดตลาด | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง กําหนดสถานที่ราชการเพื่อปิดประกาศขายทอดตลาด
---------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมี ประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 (4) แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงประกาศกําหนดสถานที่ราชการ เพื่อปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกรณีอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทสิ่งปลูกสร้าง
(1) ในส่วนกลาง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ สํานักงานเขต และสํานักงานที่ดินที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่
(2) ในส่วนภูมิภาค ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ว่าการอําเภอ และสํานักงานที่ดินที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่
ข้อ ๒ ในกรณีสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ สํานักงานเขตหรือที่ว่าการอําเภอ และสํานักงานที่ดินที่สํานักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขานั้นตั้งอยู่
ข้อ ๓ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ สถานที่ราชการอื่น เพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้อํานวยการกอง หรือผู้อํานวยการสํานักงาน
ข้อ ๔ การปิดประกาศขายทอดตลาด ณ สถานที่ราชการตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับ สําหรับการขายทอดตลาดตามกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด
พ.ศ. 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559
รื่นวดี สุวรรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,030 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง กำหนดเว็บไซต์เพื่อโฆษณาประกาศขายทอดตลาดและการโฆษณาประกาศขายทอดตลาดในหนังสือพิมพ์รายวัน | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง กําหนดเว็บไซต์เพื่อโฆษณาประกาศขายทอดตลาดและการโฆษณาประกาศขายทอดตลาดในหนังสือพิมพ์รายวัน
-------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมี ประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 (2) (3) แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงประกาศกําหนดเว็บไซต์ เพื่อโฆษณาประกาศขายทอดตลาดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโฆษณาประกาศขายทอดตลาดในเว็บไซต์กรมบังคับคดี (http:/*/www*.led.go.th) ก่อนวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ข้อ ๒ ในกรณีที่เห็นสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้อํานวยการกองหรือผู้อํานวยการสํานักงาน แล้วแต่กรณี เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้โฆษณาประกาศขายทอดตลาดในหนังสือพิมพ์รายวัน ที่แพร่หลายก่อนวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่าห้าวัน
ข้อ ๓ การโฆษณาประกาศขายทอดตลาดในเว็บไซต์และการโฆษณาประกาศขายทอดตลาด ในหนังสือพิมพ์รายวันตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการขายทอดตลาดตามกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554
รื่นวดี สุวรรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,032 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 233/2557 เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจำสำนักงานบังคับคดีจังหวัด | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 233/2557
เรื่อง จัดตั้งกลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัด
---------------------------
เพื่อให้การดําเนินการของหน่วยงานในสังกัดกรมบังคับคดีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์ที่ถูกยึดจากการบังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ถูกต้อง ตามหลักวิชาการและระเบียบที่วางไว้ ซึ่งจะทําให้กระบวนการบังคับคดีสามารถอํานวยประโยชน์สูงสุดให้แก่ ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับคดีให้ประสบความสําเร็จ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 31 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบตามความในมาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 จึงให้จัดตั้งกลุ่มงาน ประเมินราคาทรัพย์ในส่วนภูมิภาค ดังนี้
ข้อ ๑ กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี มีจังหวัดในเขต ความรับผิดชอบ ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
ข้อ ๒ กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัดสงขลา มีจังหวัดในเขต ความรับผิดชอบ ได้แก่ พัทลุง สตูล
ข้อ ๓ กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัดภูเก็ต มีจังหวัดในเขต ความรับผิดชอบ ได้แก่ กระบี่ พังงา ตรัง
ข้อ ๔ กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัดนครราชสีมา มีจังหวัดใน เขตความรับผิดชอบ ได้แก่ สระบุรี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ
ข้อ ๕ ให้กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัด เป็นหน่วยงานในสังกัด กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ โดยให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีจังหวัด กํากับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในกลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัด เฉพาะการปฏิบัติงานในเขตจังหวัด และให้กลุ่มงานประเมินราคาทรัพย์ ประจําสํานักงานบังคับคดีจังหวัด มีอํานาจหน้าที่และอัตรากําลัง ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557
(นายอรรถ อรรถานนท์)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,033 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 177 /2557 เรื่อง แบบหนังสือเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 177 /2557
เรื่อง แบบหนังสือเจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์
--------------------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยถูกต้องและความเรียบร้อย อาศัยอ้านาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้นั้น
เพื่อให้แบบหนังสือดังกล่าวถูกต้องตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 จึงเห็นควร
ข้อ ๑ ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 809/2556 เรื่อง แบบหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดิน พ.ศ.2526 จึงเห็นควร โอนกรรมสิทธิ์
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้หนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดิน ตามแบบ 22-24 แนบท้าย คําสั่งนี้สําหรับการประกาศขายทอดตลาดนัดแรก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 ในส่วนการลงนามท้าย 139/2554 เรื่อง การแจ้งเจ้าพนักงาน หนังสือถึงเจ้ ที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ นักงานที่ดินให้ปฏิบัติตามคําสั่งกรมบังคับคดีที่
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,034 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 98/2557 เรื่อง เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการชำระราคาส่วนที่เหลือ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 98/2557
เรื่อง เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการชําระราคาส่วนที่เหลือ
----------------------------
ตามประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง การขยายระยะเวลาในการชําระราคาส่วนที่เหลือ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 ข้อ 5 ให้กรมบังคับคดีกําหนดเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอํานาจ พิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการชําระราคาส่วนที่เหลือตามประกาศดังกล่าว เพื่อให้การดําเนินการ ดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งกฎหมายซึ่งจะต้องเป็นไปด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545อธิบดี กรมบังคับคดี จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ผู้อํานวยการสํานักงานบังคับคดีหรือหัวหน้าสํานักงานบังคับคดีส่วนย่อยแล้วแต่กรณีเป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการชําระราคาส่วนที่เหลือ
ข้อ ๒ ในการขยายระยะเวลาการวางเงินส่วนที่เหลือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบ พบว่าผู้ซื้อเคยทิ้งมัดจําไม่ว่าคดีใด หรือคดีที่ผู้ซื้อทรัพย์ขอขยายระยะเวลานั้นมีการทิ้งมัดจํา ให้รองอธิบดี กรมบังคับคดีที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีให้ปฏิบัติราชการแทนในการกํากับดูแลงานบังคับคดีเป็นผู้มีอํานาจ ในการพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการชําระราคาส่วนที่เหลือ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,036 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 99/2557 เรื่อง แบบหนังสือสัญญาซื้อขาย | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 99/2557
เรื่อง แบบหนังสือสัญญาซื้อขาย
----------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 808/2556 เรื่อง แบบสัญญาซื้อขาย ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้แบบหนังสือสัญญาซื้อขายตามแบบแนบท้ายคําสั่งนี้ ดังนี้
2.1 กรณีที่ประกาศขายทอดตลาดมีการกําหนดให้คืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ให้ใช้ แบบที่ 1/2557
2.2 กรณีที่ประกาศขายทอดตลาดไม่มีการกําหนดให้คืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ให้ใช้ แบบที่ 2/2557
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือปฏิบัติโดยอนุโลม
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
(ลงชื่อ) วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,037 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 225/2558เรื่อง กรณีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามหมายบังคับคดีของศาลชำนัญพิเศษ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 225/2558
เรื่อง กรณีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามหมายบังคับคดีของศาลชํานัญพิเศษ
--------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการบังคับคดีของศาลชํานัญพิเศษ เป็นไป ด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม มีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอํานาจตามมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที 91/2556 เรื่อง การโอนสํานวนศาลชํานัญพิเศษไปยัง สํานักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556
ข้อ ๒ ให้สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 เป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีตามหมายบังคับคดี ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลภาษีอากรกลาง
ข้อ ๓ ให้สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 4 เป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีตามหมายบังคับคดี ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และหมายบังคับคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
ข้อ ๔ ให้สํานักงานบังคับคดีดําเนินการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีของศาลแรงงานกลาง (กรุงเทพมหานคร) และศาลแรงงานกลาง (สาขา) ตามเขตอํานาจศาลดังต่อไปนี้
4.1 ให้สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 2 เป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีตามหมาย บังคับคดีของศาลแรงงานกลาง ซึ่งมีเขตอํานาจในกรุงเทพมหานคร ยกเว้นเขตพื้นที่ในเขตอํานาจของศาล แรงงานกลาง สาขามีนบุรี และสาขานนทบุรี
4.2 ให้สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 3 เป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีตามหมาย บังคับคดีของศาลแรงงานกลาง สาขามีนบุรี ซึ่งมีเขตอํานาจพื้นที่เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง และเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
4.3 ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีตามหมายบังคับคดีของศาลแรงงานกลาง สาขาสมุทรปราการ ซึ่งมีเขตอํานาจพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
4.4 ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรสาคร เป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีตามหมายบังคับคดี ของศาลแรงงานกลาง สาขาสมุทรสาคร ซึ่งมีเขตอํานาจพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม
4.5 ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดนนทบุรี เป็นผู้ดําเนินการบังคับคดี ตามหมายบังคับคดี ของศาลแรงงานกลาง สาขานนทบุรีซึ่งมีเขตอํานาจพื้นที่เขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ทุกอําเภอในจังหวัดปทุมธานี และทุกอําเภอในจังหวัดนนทบุรี คดีแพ่ง
ข้อ ๕ สําหรับหมายบังคับคดีของศาลแรงงานกลาง (สาขา) ที่สํานักงานบังคับกรุงเทพมหานคร 2 ได้รับไว้เพื่อดําเนินการในเขตอํานาจตามข้อ 4.1 ถึง 4.5 ให้สํานักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร 2 ส่งหมายบังคับคดีของศาลแรงงานกลาง (สาขา) ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัดที่อยู่ในเขต ความรับผิดชอบตามหมายบังคับคดีของศาลแรงงานกลาง (สาขา) ดําเนินการต่อไป
ข้อ ๖ ในการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามหมายบังคับคดีของศาลชํานัญพิเศษ ให้ สํานักงานบังคับคดีเขตพื้นที่รับผิดชอบในคดีของศาลชํานัญพิเศษนั้น ส่งเรื่องให้สํานักงานบังคับคดีที่ทรัพย์สิน ตั้งอยู่เป็นผู้ดําเนินการบังคับคดีต่อไปจนเสร็จสิ้น
ข้อ ๗ สํานวนการบังคับคดีของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลภาษีอากรกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ซึ่งสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1, 2 และ 4 ได้ดําเนินการตามหมายบังคับคดีของศาลชํานัญพิเศษนั้นแล้วโดยอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมิได้อยู่ ในเขตอํานาจการบังคับคดี และยังอยู่ระหว่างการบังคับคดี ให้สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1,2 และ 4 ดําเนินการต่อไปจนเสร็จสิ้น
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,038 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 216/2558 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 216/2558
เรื่อง แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี
---------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีคําสั่งที่ 267/2556 ลงวันที่ 1 เมษายน 2556 เรื่องแต่งตั้ง กรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 นั้น
บัดนี้ เห็นสมควรแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมขึ้นมาใหม่ โดยให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดี ที่ 267/2556 ลงวันที่ 1 เมษายน 2556 และแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน กรรมการเก็บรักษาเงิน แทนชั่วคราว กรรมการนําส่งหรือรับเงินของกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ดังนี้
อื่นๆ - ก. กรรมการเก็บรักษาเงิน
1. นางวิไล เพ็ชรประดับฟ้า ผู้อํานวยการกองบริหารการคลัง กรรมการ
2. นางสาวมันทนา คล่องเลี้ยงชีพ นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
3. นางสาวจิตติมา ศรีด้วงกัง หัวหน้าฝ่ายการเงิน กรรมการ
อื่นๆ - ข. กรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราว
ในกรณีที่กรรมการเก็บรักษาเงินในข้อ ก. ผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้เป็นกรรมการเก็บรักษาเงินแทนชั่วคราวตามจํานวนกรรมการเก็บรักษาเงินซึ่งไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ คือ
1. นางสาวมัลลิกา ล้อมทรัพย์ นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
2. นางสาวพนารัตน์ ดาวเรือง นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
3. นางฉวีวรรณ สุวรรณสัมพันธ์ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ
อื่นๆ - ค. กรรมการน่าส่งหรือรับเงิน หรือการนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ให้ข้าราชการดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่าย สํานักงาน คือ
1. นางสาวจิตติมา ศรีวงกุ้ง หัวหน้าฝ่ายการเงิน กรรมการ
2. นางอลิศรา วิไลเนตร นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
3. นางสาวพนารัตน์ ดาวเรือง นักวิชาการเงินและบัญชีชํานาญการ กรรมการ
4. นางประชุมพร ทองนิล เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ
5. นางสาวลดาวัลย์ วิริยะศิริวัฒนา เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชํานาญงาน กรรมการ
ให้ข้าราชการดังกล่าวข้างต้นจํานวนอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งหรือรับเงิน หรือนําเงินไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงาน
ถ้ากรณีการนําส่งเงิน หรือนําไปจ่ายนอกที่ตั้งสํานักงานเป็นเงินสดมีจํานวนมาก หรือสถานที่ ที่จะนําเงินส่งอยู่ห่างไกล หรือกรณีใดซึ่งเห็นว่าจะไม่ปลอดภัยแก่เงินที่นําส่ง ให้ผู้อํานวยการกองคลังหรือ หัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือข้าราชการอื่นอย่างน้อยหนึ่งคนไปช่วยควบคุม รักษาความปลอดภัยด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนําเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวนวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,039 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 89 /2558 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คำคู่ความหรือเอกสารในเขตศาลกรุงเทพมหานคร | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 89 /2558
เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสารในเขตศาลกรุงเทพมหานคร
-------------------------------
ด้วยกรมบังคับคดีเห็นสมควรปรับอัตราค่าพาหนะและค่าป่วยการในการส่งหมายและประกาศ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งกรมบังคับคดีที่ 417/2549 เรื่อง ค่าใช้จ่ายในการส่งหมาย คําคู่ความ หรือเอกสาร ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2549
ข้อ ๒ ในการส่งหมาย คําคู่ความหรือเอกสารที่คู่ความต้องนําส่งในเขตกรุงเทพมหานคร ให้จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะ ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| เขต | อัตรา/บาท |
| 1. จตุจักร ดินแดง ห้วยขวาง ลาดพร้าว แขวงลาดพร้าว) วังทองหลาง หลักสี่ ราชเทวี พญาไท บางซื่อ ดุสิต พระนคร บางกะปิ บึงกุ่ม (แขวงบึงกุ่ม) ดอนเมือง บางเขน (แขวงอนุสาวรีย์) สายไหม (แขวงคลองถนน) | 350 |
| 2. บางรัก สาทร ยานนาวา บางคอแหลม ปทุมวัน สัมพันธวงศ์ป้อมปราบศัตรูพ่าย คลองเตย วัฒนา | 350 |
| 3. บางนา ประเวศ พระโขนง สวนหลวง | 350 |
| 4. ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ จอมทอง บางขุนเทียน คลองสาน บางบอน ทุ่งครุ บางแค ภาษีเจริญ | 350 |
| 5. ตลิ่งชัน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ หนองแขม ทวีวัฒนา | 350 |
| **หมายเหตุ** กรณีส่งหมายทางเรือซึ่งมีความจําเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างเหมาเรือ ให้คิดค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง |
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,040 |
คำสั่งกรมบังคับคดี ที่ 639/2559 เรื่อง กำหนดรูปแบบการปฏิบัติงานสำนวนคดีล้มละลาย เพื่อรองรับระบบการปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ | คําสั่งกรมบังคับคดี
ที่ 639/2559
เรื่อง กําหนดรูปแบบการปฏิบัติงานสํานวนคดีล้มละลาย เพื่อรองรับระบบการปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์
--------------------------------
เพื่อให้ระบบการปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ดําเนินได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้งานสารบรรณ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดส่ง ประกาศคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ประกาศคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ คําพิพากษาล้มละลาย ยกเลิกการล้มละลาย ปลดจากล้มละลาย และคําพิพากษาหรือคําสั่งศาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของ กลุ่มจัดการกลางด้านล้มละลาย กองบังคับคดีล้มละลาย 6 ได้แก่ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี สํานักหนังสือพิมพ์ และหน่วยงานราชการ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานเขต ที่ว่าการอําเภอ นายทะเบียนหุ้นส่วน บริษัท กรมการขนส่งทางบก และกรมที่ดิน และบันทึกรายละเอียด เล่ม ตอน หน้า และวันที่ลงประกาศ ราชกิจจานุเบกษา และวันที่ประกาศหนังสือพิมพ์นั้นลงในระบบปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายทาง อิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๒ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ทางหนังสือพิมพ์แยกเป็นรายคดี และเป็นรูปแบบข้อความ (ไม่มีตาราง) ในระบบการปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ปรากฏ ตามแบบ (Eล.10) ที่แนบท้ายนี้
ข้อ ๓ ให้สํานักงานบังคับคดีจังหวัด สํานักงานบังคับคดีจังหวัด สาขา และสํานักงานบังคับคดีแพ่ง กรุงเทพมหานคร 1-6 มีอํานาจดําเนินการบังคับคดีล้มละลายตามคําสั่งศาล ได้แก่ รับคําขอรับชําระหนี้ สอบสวนกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือสอบสวนตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมาย จัดทําหมายนัด หรือหมายเรียก และรับเงินในคดีแทน เป็นต้น และปฏิบัติงานหรือสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องในคดีล้มละลาย ตามที่ได้รับมอบหมาย และมีสิทธิตรวจสอบข้อมูลคดีล้มละลายและใช้ระบบการปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลาย ทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงคดีชําระบัญชี โดยกรมบังคับคดีเป็นผู้กําหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้ ระบบการปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางศูนย์สารสนเทศ
ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สํานักงานบังคับคดีจังหวัด สํานักงานบังคับคดีจังหวัด....สาขา... และสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1-6 มีหน้าที่พิมพ์ และลงนามในหมาย หนังสือ หรือเอกสารที่ได้รับ จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กองบังคับคดีล้มละลาย 1-6 กรมบังคับคดี ทางระบบการปฏิบัติงานบังคับคดี ล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ส่งหมาย หนังสือ หรือเอกสาร แทนให้แก่คู่ความที่มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจ ของสํานักงานบังคับคดีจังหวัด สํานักงานบังคับคดีจังหวัด....สาขา... และสํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1-6
ข้อ ๕ การทดสอบปฏิบัติงานในระบบการปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามคําสั่งนี้ ให้ใช้กับสํานวนคดีล้มละลายเฉพาะสํานวนกลางที่เกิดใหม่ นับแต่วันที่กําหนดเป็นหนังสือให้เริ่ม ปฏิบัติเฉพาะสํานวนประเภทไม่มีทรัพย์สิน เป็นต้นไป
สําหรับระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของงานสํานวนคดีล้มละลายประเภทไม่มีทรัพย์สินและมีทรัพย์สิน งานสํานวนสาขาอื่น งานการเงินและบัญชีและงานอื่นๆ พร้อมใช้ ปฏิบัติงานเมื่อใด กรมบังคับคดีจะมีหนังสือแจ้งเป็นคราวๆไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(ลงชื่อ) รื่นวดี สุวรรณมงคล
(นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 5,041 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด | ประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด
เรื่อง หลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด
-------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขาย ในการขายทอดตลาดให้มีความเหมาะสม อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนด ราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด จึงประกาศหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคา ที่สมควรขาย ในการขายทอดตลาด ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2558
ข้อ ๒ การขายทอดตลาดแต่ละครั้ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือว่าราคาเริ่มต้นเป็นราคา ที่สมควรขายได้ตามมาตรา 309 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อ ๓ ในการกําหนดราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาด
ในกรณีที่มีราคาของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจาก ราคาประเมินของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์
ในกรณีที่ไม่มีราคาของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์ แต่มีราคาประเมินของเจ้าพนักงาน ประเมินราคาทรัพย์ กรมบังคับคดี และราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี พิจารณาจากราคาประเมินของเจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ กรมบังคับคดี
ในกรณีที่ไม่มีราคาของคณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์และราคาประเมินของเจ้าพนักงาน ประเมินราคาทรัพย์ กรมบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาประเมินของเจ้าพนักงาน บังคับคดี
ข้อ ๔ การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยปลอดการจํานอง หรือปลอดภาระผูกพัน ในทางจํานอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นสําหรับการขายทอดตลาดแต่ละครั้ง ดังนี้
(1) ในการขายทอดตลาดครั้งที่หนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นตามราคาประเมิน ในข้อ 3 โดยปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
(2) ในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง หากการขายทอดตลาดครั้งที่หนึ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้งดการขายทอดตลาดไว้เนื่องจากไม่มีผู้เข้าสู้ราคา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้น เป็นจํานวนร้อยละเก้าสิบของราคาประเมินในข้อ 3 โดยปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
(3) ในการขายทอดตลาดครั้งที่สาม หากการขายทอดตลาดครั้งที่สอง เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้งดการขายทอดตลาดไว้เนื่องจากไม่มีผู้เข้าสู้ราคา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นเป็น จํานวนร้อยละแปดสิบของราคาประเมินในข้อ 3 โดยปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
(4) ในการขายทอดตลาดครั้งที่สี่เป็นต้นไป หากการขายทอดตลาดครั้งที่สาม เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้งดการขายทอดตลาดไว้เนื่องจากไม่มีผู้เข้าสู้ราคา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นเป็น จํานวนร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมินในข้อ 3 โดยปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
ข้อ ๕ การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยการจํานองติดไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี คํานวณร้อยละตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 โดยยังไม่ต้องปัดเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น หักด้วยยอดหนี้จํานอง ที่เป็นปัจจุบันตามที่ผู้รับจํานองแจ้งมา คงเหลือเท่าใดให้ปัดเศษขึ้นเป็นเรือนหมื่น
หากยอดหนี้จํานองดังกล่าวเกินกว่าราคาที่ได้คํานวณไว้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้น ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงค่าใช้จ่ายและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย รวมถึงความเหมาะสม ประการอื่นประกอบด้วย
ข้อ ๖ ในกรณีที่ราคาประเมินตามข้อ 3 ต่ํากว่าหนึ่งแสนบาทถ้วน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี คํานวณราคาตามแต่กรณีแล้ว ให้ปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนพัน
ข้อ ๗ การขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้น สําหรับการขายทอดตลาดแต่ละครั้งตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงสภาพของทรัพย์ในปัจจุบัน ราคาซื้อขายในท้องตลาด รวมถึงความเหมาะสมประการอื่น ๆ ประกอบด้วย ในกรณีที่สังหาริมทรัพย์นั้น มีราคาประเมินในข้อ 3 ตั้งแต่ห้าแสนบาทขึ้นไป ให้ผู้อํานวยการกอง หรือผู้อํานวยการสํานักงาน พิจารณาเห็นชอบก่อนทําการขายทอดตลาดแต่ละครั้ง
ข้อ ๘ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดําเนินการขายทอดตลาดใหม่หลังจากที่เคยเคาะไม้ ขายทอดตลาดไปแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นสําหรับการขายทอดตลาดดังนี้
(1) ในการขายทอดตลาดครั้งที่หนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกําหนดราคาเริ่มต้นโดยใช้ราคา ที่เคาะไม้ขายทอดตลาดครั้งก่อน
(2) ในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง หากการขายทอดตลาดครั้งที่หนึ่ง ได้งดการขายทอดตลาดไว้ เนื่องจากไม่มีผู้เข้าสู้ราคา ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับไปใช้ราคาเริ่มต้นเดียวกันกับราคาในครั้งที่ได้เคาะไม้ ในการขายทอดตลาดครั้งก่อน (ราคาเริ่มต้นร้อยละในครั้งที่มีการเคาะไม้)
(3) ในการขายทอดตลาดในครั้งต่อไป ให้กําหนดราคาเริ่มต้นตามความในข้อ 4 (1) ถึง (4) แล้วแต่กรณี มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ทั้งนี้ หากราคาเริ่มต้นต่ํากว่าหนึ่งแสนบาท ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปัดตัวเลขที่เป็นเศษขึ้นเป็นเรือนพัน ในกรณีที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนําความในข้อ 7 มาใช้บังคับ ข้อ 4 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559
รื่นวดี สุวรรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี ประธานคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด | 5,042 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.