title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 52/2545 เรื่อง การทำธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจำกัดการโอนโดยบริษัทหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 52/2545
เรื่อง การทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอน
โดยบริษัทหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 มาตรา 117 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 34/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการทําธุรกรรมเกี่ยวกับหุ้นกู้ที่เสนอขายแก่บุคคลในวงจํากัดโดยบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “หลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้จดข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์นั้นไว้ต่อสํานักงาน
(2) “ทําธุรกรรม” ให้หมายความรวมถึง ซื้อ รับโอน ขาย หรือโอน
(3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์จะทําธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอนได้ก็ต่อเมื่อการทําธุรกรรมนั้นจะไม่ก่อให้เกิดผลที่ขัดหรือแย้งกับข้อจํากัดการโอนหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําเพื่อตนเองหรือเพื่อบุคคลอื่น
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,738 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 58/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มา หรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 58/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่าย
หลักทรัพย์ของกิจการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กก. 3/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
(1) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ ที่กิจการเป็นผู้ออก เพื่อให้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง
(2) “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัด
(3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ให้บุคคลที่มีหน้าที่ต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการตามมาตรา 246 ยื่นรายงานตามแบบ 246-2 ที่สํานักงานประกาศกําหนด ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการนั้น โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) รายงานให้จัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ รายงานหนึ่งฉบับใช้สําหรับการรายงานข้อมูลหลักทรัพย์หนึ่งประเภท
(2) ในกรณีเป็นการรายงานการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่กิจการออกใหม่ วันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์นั้นให้หมายถึง
(ก) วันที่กิจการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเสร็จ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่ได้มาเป็นหุ้น
(ข) วันที่กิจการออกหลักทรัพย์ดังกล่าว ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่ได้มาเป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพ
(3) การคํานวณร้อยละของหลักทรัพย์ที่ถือครองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ในกรณีหลักทรัพย์ที่รายงานเป็นหุ้น
จํานวนหุ้นทั้งหมดที่ถือครอง x 100
จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ
(ข) ในกรณีหลักทรัพย์ที่รายงานเป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพ
จํานวนหุ้นทั้งหมดที่จะได้มาหากมีการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพทั้งหมดที่ถือครองx100
จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ
ข้อ ๔ เมื่อบุคคลใดได้แจ้งข้อมูลต่อสํานักงานเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หรือได้แสดงในรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการที่ยื่นต่อสํานักงาน ว่าตนเป็นกลุ่มเดียวกับบุคคลใดในการเข้าถือหลักทรัพย์ของกิจการ นับแต่เวลาดังกล่าวเป็นต้นไป หน้าที่ในการรายงานตามมาตรา 246 ให้พิจารณาจากผลรวมของหลักทรัพย์ที่ถือโดยบุคคลทุกรายในกลุ่ม และบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลในกลุ่ม
รายงานตามวรรคหนึ่งจะจัดทําและยื่นโดยบุคคลใดที่ข้อมูลต้องถูกรวมอยู่ในรายงานตามวรรคหนึ่งก็ได้ และเมื่อได้ยื่นต่อสํานักงานแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้มาหรือจําหน่ายนั้นได้รายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานตามมาตรา 246 แล้ว
ข้อ ๕ ในกรณีที่เป็นการได้มาซึ่งหลักทรัพย์เนื่องจากการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หากผู้ได้มาจากการทําคําเสนอซื้อได้รายงานผลการซื้อหลักทรัพย์ตามคําเสนอซื้อตามแบบ 256-2 ของประกาศดังกล่าวต่อสํานักงานแล้ว ให้ถือว่ารายงานผลการซื้อหลักทรัพย์ตามแบบ 256-2 ดังกล่าวเป็นรายงานการได้มาตามประกาศนี้แล้ว
ข้อ ๖ ในการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศนี้ ให้ผู้รายงานส่งสําเนารายงานดังกล่าวให้แก่องค์กรดังต่อไปนี้โดยทันทีหลังจากยื่นรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการต่อสํานักงาน
(1) ตลาดหลักทรัพย์ กรณีหลักทรัพย์ที่รายงานเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(2) ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ กรณีหลักทรัพย์ที่รายงานเป็นหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์
ข้อ ๗ ให้ถือว่าการจําหน่ายหลักทรัพย์แปลงสภาพเป็นการจําหน่ายที่ไม่มีผลทําให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือธุรกิจของกิจการ และให้บุคคลที่จําหน่ายหลักทรัพย์แปลงสภาพได้รับยกเว้นการรายงานการจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าว
ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,739 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 51/2545 เรื่อง การขอยกเลิกข้อจำกัดการโอนหุ้นกู้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 51/2545
เรื่อง การขอยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้
โดยที่บริษัทที่ออกและเสนอขายหุ้นกู้ต่อบุคคลในวงจํากัดหรือต่อผู้ลงทุนประเภทที่กําหนด สามารถดําเนินการดังกล่าวได้โดยได้รับยกเว้นหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน การจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่เสนอขายใลักษณะดังกล่าวจึงมีความจําเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าหุ้นกู้ดังกล่าวจะยังคงซื้อขายอยู่ภายในกลุ่มบุคคลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จําเป็นประกอบการตัดสินใจในการลงทุนในหุ้นกู้ดังกล่าวได้เองโดยไม่จําต้องอาศัยข้อกําหนดบังคับเรื่องการเปิดเผยข้อมูล อย่างไรก็ดี หากบริษัทที่ออกหุ้นกู้ใดมีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อยู่แล้ว หรือตกลงที่จะทําหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่องตามกฎหมายดังกล่าว อันจะทําให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นกู้ได้เป็นการทั่วไป โดยบริษัทดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนที่สามารถได้รับอนุญาตให้ออกหุ้นกู้เสนอขายต่อประชาชนที่มิใช่ในวงจํากัดหรือต่อผู้ลงทุนประเภทที่กําหนดได้ด้วย ก็เป็นการสมควรที่จะเปิดโอกาสให้บริษัทดังกล่าวขอยกเลิกข้อจํากัดการโอนได้ เพื่อเป็นการเพิ่มฐานผู้ลงทุนในหุ้นกู้ดังกล่าว และเพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมและพัฒนาตลาดรองตราสารหนี้ได้อีกทางหนึ่ง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้และแบบท้ายประกาศนี้
(1) คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) “ข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้” หมายความว่า ข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าวได้จดไว้ต่อสํานักงาน
(3) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(4) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(5) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๒ การขออนุญาตยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่ได้ออกและเสนอขายต่อประชาชนหรือบุคคลใดไปแล้วจะกระทําได้ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้ที่จะขอยกเลิกข้อจํากัดการโอนต้องเป็นหุ้นกู้ที่มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537
(ข) เป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว เว้นแต่เป็นหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่งจะต้องมีอยู่จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้จะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
(ค) เป็นหุ้นกู้ซึ่งมีข้อกําหนดสิทธิที่มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 42(1) ถึง (9) และ
(ง) เป็นหุ้นกู้ที่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(2) บริษัทที่ออกหุ้นกู้มีการเปิดเผยข้อมูลในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบริษัทที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี ในขณะที่ขอยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ และไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตราดังกล่าว หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(ข) มิใช่บริษัทที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี อยู่ก่อน แต่ได้ยื่นเอกสารตามข้อ 3(5) ต่อสํานักงานพร้อมกับการยื่นคําขอยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ เพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสาธารณชน และได้รับทราบและผูกพันที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามความในมาตรา 56 เริ่มตั้งแต่วันที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้นั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
(3) ผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ เป็นผู้ที่มีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจของผู้ขออนุญาต มีการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังเพื่อประโยชน์ของบริษัท มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
(ข) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(ค) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ง) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต
(จ) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น
(ฉ) เคยต้องคําพิพากษา หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทําความผิดตาม (ง) หรือ (จ)
(ช) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทําโดยทุจริต
(ซ) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(ฌ) มีพฤติกรรมในระหว่างเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความซื่อสัตย์สุจริหรือขาดความระมัดระวังเพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง หรือทําให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องนั้น
(ญ) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้ผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ ๓ ให้บริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่ประสงค์จะยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมคําขอละ 10,000 บาทต่อสํานักงาน ในวันยื่นคําขอ
(1) คําขออนุญาตยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด
(2) สําเนาข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ที่จะขอยกเลิกข้อจํากัดการโอน
(3) สําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(4) รายงานวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ประสงค์จะยกเลิกข้อจํากัดการโอน
(5) เอกสารที่มีข้อมูลอย่างเดียวกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ 69-1) ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (เฉพาะกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ยังไม่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี ในขณะที่ขอยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้)
ข้อ ๔ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้
(1) สิบห้าวัน กรณีบริษัทที่ออกหุ้นกู้มีลักษณะตามข้อ 2(2)(ก)
(2) สามสิบวัน กรณีบริษัทที่ออกหุ้นกู้มีลักษณะตามข้อ 2(2)(ข)
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้นับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๕ บริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามประกาศนี้ ต้องดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนดําเนินการอื่นใดเพื่อให้การยกเลิกข้อจํากัดการโอนมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต และให้การอนุญาตให้ยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามประกาศนี้ สิ้นสุดลงหากบริษัทที่ออกหุ้นกู้มิได้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว
ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ได้ดําเนินการตามข้อ 5 แล้ว ให้บริษัทที่ออกหุ้นกู้รายงานผลการดําเนินการดังกล่าวเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ พร้อมกับเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ตัวอย่างใบหุ้นกู้
(2) สําเนาหนังสือแจ้งนายทะเบียนและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องถึงการยกเลิกข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(3) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(4) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าการยกเลิกข้อจํากัดการโอนได้ดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิแล้ว
ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,740 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 46 /2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 46/2545
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 6)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 64(2) และ (3) มาตรา 67 มาตรา 69(11)มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) (5/1) และ (5/2) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“(5) “ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่
(5/1) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคลหรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฏ) กองทุนรวม
(ฐ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฏ)
โดยอนุโลม
(5/2) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า
(ก) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ข) นิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (ก) หรือผู้ลงทุนสถาบันถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ค) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) หรือ (ข) โดยอนุโลม
(ง) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งซื้อหลักทรัพย์ตามที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นในมูลค่าตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายเป็นเกณฑ์”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 2 ลักษณะการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับการยกเว้นของหมวด 1 การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34 /2544 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ส่วน ๒ ลักษณะการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้น
ข้อ 7 ให้การเสนอขายหุ้นที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของหุ้นดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายหุ้นนั้นเป็นเกณฑ์
(2) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสามสิบห้ารายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
(3) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ
(4) การเสนอขายหุ้นที่ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นนั้น และไม่มีลักษณะเป็นการเสนอขายโดยทั่วไป
ข้อ 8 ให้การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายที่มีมูลค่าการเสนอขายรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขายให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
(ข) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย
(ค) การเสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
(ง) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ
(2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ เมื่อเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(3) การเสนอขายหุ้นกู้ในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นการเสนอขายที่ไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอน ในกรณีที่หุ้นกู้นั้นมีข้อจํากัดการโอน
(ข) มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้นกู้นั้นแล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ที่ออกตามความในมาตรา 56 และกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่เป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 6(4)(ข) ในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ โดยอนุโลม
ข้อ 9 นอกจากกรณีตามข้อ 7 ข้อ 8 หรือกรณีอื่นที่มีข้อกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้การเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งทําให้มีผู้ถือหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้ออกหลักทรัพย์นั้นไม่เกินสามสิบห้าราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ
(3) การเสนอขายหลักทรัพย์ในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นการเสนอขายที่ไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอน ในกรณีที่หลักทรัพย์นั้นมีข้อจํากัดการโอน
(ข) มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหลักทรัพย์นั้นแล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ออกตามความในมาตรา 56 และกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่เป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 6(4)(ข) ในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ โดยอนุโลม
ข้อ 10 การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 7 และข้อ 9 ให้เป็นดังนี้
(1) การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหุ้นตามข้อ 7(1) ไม่ให้นับรวมส่วนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) และที่เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามข้อ 7(4)
(2) การนับจํานวนผู้ลงทุนในหุ้นตามข้อ 7(2) หรือจํานวนผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ 9(1) ไม่ให้นับรวมส่วนที่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(3) หรือข้อ 9(2) ตามแต่กรณี
ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตาม (1) หรือ (2) ไม่จําต้องคํานึงว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน
ข้อ 11 เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 7 ถึงข้อ 9 ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนการจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์ ให้นับรวมการเสนอขาหลักทรัพย์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนการจําหน่ายหลักทรัพย์นั้นทุกรายเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์ตามแต่กรณี ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นเข้าบัญชีของตนเองก่อนหรือไม่
(2) ในกรณีที่มีเจ้าของหลักทรัพย์หลายรายร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งออกโดยบริษัทเดียวกัน หรือเสนอขายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ให้นับรวมการเสนอขายของเจ้าของหลักทรัพย์ทุกราย เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์เพียงหนึ่งราย ทั้งนี้ การร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้รวมถึงพฤติการณ์ ดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) เจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายเสนอขายหลักทรัพย์ในราคาและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และ
(ข) ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. เจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
2. เจ้าของหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย หรือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว
3. เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ของเจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายในที่สุดไปสู่บุคคลเดียวกัน
4. เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายใช้ใบจองซื้อหลักทรัพย์หรือตัวแทนรับจองซื้อหลักทรัพย์ร่วมกัน โดยมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้จองซื้อหลักทรัพย์มิได้คํานึงว่าตนได้จองซื้อหลักทรัพย์จากเจ้าของหลักทรัพย์รายใด
(3) ในกรณีผู้ลงทุนที่จองซื้อหลักทรัพย์เป็น ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใดที่มีการถือครองหลักทรัพย์แทนบุคคลอื่น ให้นับจํานวนผู้ลงทุนหรือประเภทผู้ลงทุนจากบุคคลที่เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ที่แท้จริง
ข้อ 11/1 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ซึ่งเจ้าของหลักทรัพย์มีเหตุจําเป็นและสมควรที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานได้ และเจ้าของหลักทรัพย์ดังกล่าวเข้าถือหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายเนื่องจากการปฏิบัติตามนโยบายของทางการเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินหรือรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน หรือในกรณีอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนซึ่งรู้หรือควรได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานของบริษัทนั้นได้
(2) มีความเพียงพอของการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุน
ข้อ 11/2 การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้น หรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหมวด 2 ไม่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามส่วนนี้
เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามส่วนนี้
(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ให้กองทุนรวมนั้นเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น ในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในหลักทรัพย์ที่เสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ
(ข) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสารหลักฐานประกอบ และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันในครั้งนั้นได้
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ 11/3 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามส่วนนี้ รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) วันที่เสนอขายหลักทรัพย์
(2) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(3) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหลักทรัพย์ที่ขายได้ทั้งหมด
(4) ราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ราคาและอัตราใช้สิทธิ (กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ) และในกรณีหลักทรัพย์ที่เสนอขายหรือหุ้นรองรับหลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ให้ระบุราคาตลาดของหุ้นนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณ แหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย
(5) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อหลักทรัพย์ และจํานวนที่ผู้ซื้อหลักทรัพย์แต่ละรายได้รับจัดสรร
(6) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย
ข้อ 11/4 ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งเสนอขายโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามส่วนนี้ โดยมีรายละเอียดตามข้อ 11/3 โดยอนุโลม ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์แปลงสภาพอาจใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34 /2544 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ต่อสํานักงานจํานวนห้าชุดพร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อนอีก ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน
นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 และข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 12/1 แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 12 ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ผู้เสนอขายเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ เว้นแต่หุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ
(3) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบัน และมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ 12/2 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 12 ให้เป็นดังนี้
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ทุกประเภทและทุกลักษณะที่ไม่ได้มีข้อกําหนดไว้ เป็นประการอื่นโดยเฉพาะ ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้
(2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 69-dw ท้ายประกาศนี้
(3) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ซึ่งไม่ใช่หุ้นกู้แปลงสภาพ และมีลักษณะดังต่อไปนี้ รวมทั้งมิใช่กรณีตาม (4) หรือ (5) ให้เลือกใช้แบบ 69-1 หรือแบบ 69-2 ท้ายประกาศนี้
(ก) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
(ข) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มิใช่บริษัทจดทะเบียน และในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา บริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นได้เคยยื่นแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ ต่อสํานักงานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งก่อนแล้ว
(4) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ซึ่งไม่เข้าลักษณะตาม (5) ให้ใช้แบบแสดงรายการข้อมูลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(ข) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลถูกต้อง และเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบ ลักษณะสําคัญ ขั้นตอน และกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ประเภท ลักษณะและคุณภาพของสินทรัพย์ที่เป็นแหล่งที่มาของกระแสรายรับที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ การเรียกเก็บกระแสรายรับจากสินทรัพย์ รูปแบบหรือวิธีการที่เป็นประกันว่าผู้ลงทุนในหุ้นกู้จะได้รับชําระหนี้คืน (credit enhancement) (ถ้ามี) โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้
รวมทั้งรายละเอียดการวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(ค) มีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลเป็นไปตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม
(5) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน ให้เลือกใช้แบบ 69-1 หรือแบบ 69-2 ท้ายประกาศนี้ หรือแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(ข) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลถูกต้อง และเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบ ลักษณะและเงื่อนไขของหุ้นกู้ที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ รวมทั้งโอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้
(ค) มีข้อความที่เห็นได้ชัดเจนในหน้าแรกของแบบแสดงรายการข้อมูลที่แสดงว่า การเปิดเผยข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลนี้ เป็นการเปิดเผยตามที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์เห็นว่าถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน หากข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จหรือขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ผู้จองซื้อหุ้นกู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้เสนอขายหุ้นกู้ได้ตามมาตรา 82 ถึงมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(ง) มีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลเป็นไปตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่มิได้กําหนดไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น
(2) เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน
(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
(3) เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กําหนด เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นในครั้งแรก
(4) ในวันทําการถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 12/2(5)”
ข้อ ๖ ให้การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายกาข้อมูลตามประกาศนี้ หากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวเสร็จสิ้นภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ให้เจ้าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศนี้ หากการเสนอขายดังกล่าวเป็นการเสนอขายแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้
ข้อ ๗ ให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ ที่เป็นเจ้าของหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงสามารถเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะดังกล่าวต่อไปโดยให้ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศนี้
ข้อ ๘ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนเพื่อการเสนอขายหุ้หรือหลักทรัพย์แปลงสภาพของบริษัทดังต่อไปนี้ ที่ได้ยื่นต่อสํานักงานก่อนวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
(1) บริษัทที่ประสงค์จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment)
(2) บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่
ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,741 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 55/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 55/2545
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 นอกจากการประกอบกิจการตามข้อ 3 ห้ามมิให้สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจ หลักทรัพย์ประกอบกิจการอื่นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 98(8)”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,742 |
ประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรมบังคับคดี
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2)
------------------------------------------------------------------
ตามที่กรมบังคับคดีได้มีประกาศกรมบังคับคดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้อง ทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 และกําหนดให้มีการยื่นคําขอรับชําระหนี้ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ นั้น
บัดนี้ กรมบังคับคดีได้พัฒนาการยื่นคําร้องขอวางเงินค่าใช้จ่ายในคดี และคําร้องขอเดินทาง จึงออกประกาศกําหนด ออกนอกราชอาณาจักรในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์เสร็จสิ้นแล้ว หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) เพิ่มเติมสําหรับ การยื่นคําร้องขอวางเงินค่าใช้จ่ายในคดี และคําร้องขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับกับสํานวนคดีล้มละลายที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ยกเว้นในคดีที่ศาลเคยมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไว้ก่อนแล้วไม่ให้ใช้ระบบการบังคับคดี ล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๓ กรมบังคับคดีกําหนดประเภทคําร้อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้อง ทางอิเล็กทรอนิกส์ ในระบบการบังคับคดีล้มละลายทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามภาคผนวกท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
(ลงชื่อ) วิศิษฐ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
(ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศิษฏ์สรอรรถ)
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,743 |
ประกาศคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา | ประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด
เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา
------------------------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมี ประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 และข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนด ราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้เข้าเสนอราคาวางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคา โดยพิจารณาจากราคาประเมินทรัพย์สิน :ซึ่งจะต้องนําไปกําหนดเป็นราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาด ทอดตลาด ดังนั้น ตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการทอดตลาด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| ราคาประเมิน (บาท) | หลักประกัน (บาท) |
| ไม่เกิน 100,000 | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของราคาประเมิน |
| เกิน 100,000-200,000 | 10,000 |
| เกิน 200,000-500,000 | 25,000 |
| เกิน 500,000-1,000,000 | 50,000 |
| เกิน 1,000,000-3,000,000 | 150,000 |
| เกิน 3,000,000-5,000,000 | 250,000 |
| เกิน 5,000,000-10,000,000 | 500,000 |
| เกิน 10,000,000-20,000,000 | 1,000,000 |
| เกิน 20,000,000-50,000,000 | 2,500,000 |
| เกิน 50,000,000-100,000,000 | 5,000,000 |
| เกิน 100,000,000-200,000,000 | 10,000,000 |
| เกิน 200,000,000 | อธิบดีหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณา |
กรณีการขายทอดตลาดโดยการจํานองติดไปให้ผู้เสนอราคาวางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคา โดยพิจารณาจากราคาเริ่มต้นตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาดโดยให้ถือเป็นราคาประเมินตามตารางนี้
ข้อ ๒ การขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาประเมินตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป ให้นําหลักเกณฑ์การวางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคาตามความในข้อ 1 มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559
รื่นวดี สุวรรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี
ประธานคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด | 4,744 |
ประกาศคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด
เรื่อง หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา (ฉบับที่ 2)
--------------------------
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เห็นชอบหลักการโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” (ปี 2560 - 2563) เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นพื้นที่ เศรษฐกิจเฉพาะ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และ พื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งภารกิจของกรมบังคับคดีในเรื่องการขายทอดตลาดมีส่วนช่วยในการสนับสนุนโครงการ ดังกล่าวได้ กรมบังคับคดีจึงได้มีโครงการบ้านมือสองสําหรับผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลาขึ้น และเพื่อให้การกําหนดหลักประกันในการเข้าเสนอราคาสําหรับโครงการดังกล่าว เหมาะสมกับรายได้ของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความใน ข้อ 8 และข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการ ขายทอดตลาด จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ให้ผู้เข้าเสนอราคาวางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคา โดยพิจารณาจากราคาประเมินทรัพย์สิน ซึ่งจะต้อง นําไปกําหนดเป็นราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาดตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด ดังนี้
| | |
| --- | --- |
| ราคาประเมิน (บาท) | หลักประกัน (บาท) |
| เกิน 100,000 - 200,000 | 8,000 |
| เกิน 200,000 - 500,000 | 20,000 |
| เกิน 500,000 - 1,000,000 | 40,000 |
กรณีการขายทอดตลาดโดยการจํานองติดไปให้ผู้เสนอราคาวางหลักประกันก่อนเข้าเสนอราคา โดยพิจารณาจากราคาเริ่มต้นตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและ ราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาดโดยให้ถือเป็นราคาประเมินตามตารางนี้
ข้อ ๒ หลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคานอกจากที่ระบุไว้ในประกาศนี้
ให้ใช้บังคับตามประกาศคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้นและราคาที่สมควรขาย
ในการขายทอดตลาด เรื่องหลักเกณฑ์การวางหลักประกันการเข้าเสนอราคา ฉบับลงวันที่ 14 มีนาคม 2559
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
รื่นวดี สุวรรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี
ประธานคณะกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาเริ่มต้น
และราคาที่สมควรขายในการขายทอดตลาด | 4,745 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง แบบประกาศขายทอดตลาด (ฉบับที่ 8) | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี
เรื่อง แบบประกาศขายทอดตลาด (ฉบับที่ 8)
-------------------------
ตามที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง แบบประกาศขายทอดตลาด (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 8 มกราคม 2559 กําหนดแบบประกาศขายทอดตลาดแล้ว นั้น
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบที่ 1.6 แบบที่ 2.6 แบบที่ 3.6 แบบที่ 4.6 และแบบที่ 5.6 ของ ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง แบบประกาศขายทอดตลาด (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 4 มกราคม 2559 และให้ใช้แบบท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๒ ประกาศขายทอดตลาดที่ออกไปก่อนหน้าที่ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดีฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการขายทอดตลาดต่อไปจนเสร็จสิ้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559
รื่นวดี สุวรรณมงคล
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,746 |
ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง การขยายระยะเวลาในการชำระราคาส่วนที่เหลือ (ฉบับที่ 3) | ประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี
เรื่อง การขยายระยะเวลาในการชําระราคาส่วนที่เหลือ
(ฉบับที่ 3)
-------------------
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยความเรียบร้อย เหมาะสม และ มีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 23 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขในการขายทอดตลาด พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขในการขายทอดตลาด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 อธิบดีกรมบังคับคดีจึงประกาศกําหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการวางหลักประกันไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ซื้อทรัพย์มีหน้าที่ตามสัญญาต้องชําระราคาทรัพย์ให้ครบถ้วนต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ซื้อได้
ข้อ ๒ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคําร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินส่วนที่เหลือของ ผู้ซื้อทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบสวนข้อเท็จจริงว่าผู้ซื้อทรัพย์ได้ยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาโดยสุจริต หรือไม่ โดยการจัดทําบันทึกถ้อยคําผู้ซื้อทรัพย์ตามแบบแนบท้ายหนังสือนี้
ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบเหตุจําเป็นในการขอขยายระยะเวลา ตามแต่กรณี ดังนี้
3.1 ในกรณีอยู่ระหว่างการพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีตรวจสอบพยานหลักฐานเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวประกอบด้วย
3.2 ในกรณีผู้ซื้อทรัพย์กล่าวอ้างเหตุอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาว่า เหตุดังกล่าวมีความจําเป็นหรือไม่อย่างไร และผู้ซื้อจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถในการชําระราคาทรัพย์ได้ครบถ้วนเมื่อได้รับการขยายระยะเวลา
หากผู้ซื้อทรัพย์สามารถวางเงินเพิ่มอีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของราคาที่ซื้อได้พร้อม ทําหนังสือสัญญาขยายระยะเวลาการวางเงินตามแบบแนบท้ายนี้ แสดงว่าผู้ซื้อทรัพย์รายนั้นไม่มีเจตนาจะทิ้งมัดจํา
ข้อ ๔ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการตามข้อ 2 และข้อ 3 เรียบร้อยแล้ว ให้พิจารณา อนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันครบกําหนด
ข้อ ๕ เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาให้เป็นไปตาม ที่กรมบังคับคดีกําหนด
ข้อ ๕ หลักเกณฑ์ตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้แก่การขายทอดตลาดที่ทําหนังสือสัญญาซื้อขาย ตามแบบที่ 1/2557 และแบบที่ 2/2557 ส่วนสัญญาซื้อขายขายทอดตลาดที่ได้ดําเนินการแล้วตามคําสั่ง กรมบังคับคดีที่ 852/2555 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2555 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในประกาศอธิบดีกรมบังคับคดี เรื่อง การขยายระยะเวลาในการชําระราคาส่วนที่เหลือ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2556 จนเสร็จสิ้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
(ลงชื่อ) วิศิษฐ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฐ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
อธิบดีกรมบังคับคดี | 4,747 |
ระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 | ระเบียบกระทรวงแรงงาน
ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2547
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547”
ข้อ ๒ ะเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่าด้วยการดําเนินคดีอาญา และการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
อุไรวรรณ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | 4,748 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่14/02/2561 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน
พ.ศ. 2558
------------------------------------
โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 159 บัญญัติให้บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 157 เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 มาตรา 49 บัญญัติให้บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 มาตรา 71 บัญญัติให้ความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ และมาตรา 72 บัญญัติให้ความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เป็นอํานาจของคณะกรรมการเปรียบเทียบในการดําเนินคดีเปรียบเทียบ
เพื่อให้การดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2554
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“การดําเนินคดี” หมายความว่า การดําเนินคดีโดยการเปรียบเทียบ รวมทั้งการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษผู้กระทําผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
“พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541” หมายความว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553” หมายความว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554” หมายความว่า พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“นิติกร” หมายความว่า ข้าราชการที่ดํารงตําแหน่งนิติกร กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจความปลอดภัย และนิติกร
“ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น
“คณะกรรมการเปรียบเทียบ” หมายความว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอํานาจตีความ วินิจฉัยปัญหา กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การพิจารณาดําเนินคดี
---------------------------------------
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีและการรวบรวมพยานหลักฐาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังนี้
(1) บันทึกวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ ชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิด หากผู้ถูกกล่าวหาเป็นนิติบุคคลให้ระบุชื่อผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะกระทําความผิดและในขณะที่บันทึกข้อเท็จจริง
(2) บันทึกรายละเอียดแห่งการกระทําทั้งหลายที่อ้างว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําความผิดทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องและตรวจพบ หรือพบเห็นพยานหลักฐาน และให้บันทึกไว้ด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหายอมรับหรือไม่ว่าได้กระทําความผิด
(3) สอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคํา และบันทึกรายละเอียดไว้
(4) บันทึกจะต้องระบุสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทําบันทึก ชื่อ และตําแหน่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้บันทึก และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทําบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น
การบันทึก ถ้ามีผิดที่ใดห้ามมิให้ลบออก ให้ขีดฆ่าคําผิดนั้นแล้วเขียนใหม่ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทําบันทึกและผู้ให้ถ้อยคําลงนามย่อรับรอง แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคําไม่ยินยอมลงลายมือชื่อให้บันทึกเหตุนั้นไว้
(5) อ่านบันทึกให้ผู้ให้ถ้อยคําฟัง หรือให้ผู้ให้ถ้อยคําอ่านด้วยตนเอง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้แก้ไขให้ถูกต้อง หรือมิฉะนั้นให้บันทึกไว้และให้ผู้ให้ถ้อยคําลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคําไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ผู้นั้นพิมพ์ลายนิ้วมือแทน แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคําไม่ยินยอมลงลายมือชื่อ ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ และให้เจ้าหน้าที่ที่ทราบเหตุดังกล่าวจํานวนหนึ่งคนลงลายมือชื่อเป็นพยาน
(6) มีหนังสือเรียกพยานหลักฐาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องจากผู้ครอบครองมารวบรวมไว้ในสํานวนโดยเฉพาะเอกสารหลักฐานที่นายจ้างจะต้องจัดทําไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 รวมทั้งสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้และมีหมายเลขประจําตัวประชาชนของผู้ถือบัตร สําเนาทะเบียนบ้าน สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับคดี
เอกสารที่ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จัดทําเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นจัดทําคําแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กําหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําแปลนั้น เว้นแต่พนักงานเจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารนั้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการรับรองความถูกต้องของคําแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทํา ขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
(7) กระทําการอื่นตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้อํานาจไว้ โดยให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงแน่ชัดในการกระทําความผิด
การบันทึกตาม (1) ถึง (4) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อื่นทําการบันทึกแทนได้ ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนหรือพิมพ์แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มอบหมายลงลายมือชื่อในบันทึกนั้น และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มอบหมายเป็นผู้ทําบันทึกนั้น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ความผิดตามข้อ 9 (2) (3) (4) และ (7)
ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะสามารถทําได้เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา และเพื่อจะรู้ตัว หรือยืนยันหรือชี้ชัด และพิสูจน์ให้เห็นความผิดของผู้กระทําความผิด
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําความเห็นว่าควรดําเนินคดีหรือไม่ดําเนินคดีแล้วส่งพร้อมกับสํานวนไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาสั่งการถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าควรดําเนินคดี ให้ผู้บังคับบัญชานั้นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีต่อไป
สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาและสั่งการให้ดําเนินคดีต่อไปหรือให้งดการดําเนินคดี
สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ความเห็นของผู้บังคับบัญชานั้นเป็นที่สุด
ผู้ใดจะเป็นผู้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๘ เมื่อมีคําสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามข้อ 7 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการดําเนินคดีในทะเบียนการดําเนินคดีอาญาแล้วเร่งรัดดําเนินคดีอาญาต่อไปโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ภายในกําหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๙ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการเปรียบเทียบก่อน เว้นแต่ความผิดดังต่อไปนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีโดยการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนโดยเร็ว โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการเปรียบเทียบ
(1) ความผิดที่มีพฤติการณ์พิเศษ หรือเกิดผลกระทบกับลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจํานวนมาก
(2) ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กโดยมีการทารุณ หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือการบังคับใช้แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(3) ความผิดตามมาตรา 16 มาตรา 45 (1) มาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(4) ความผิดตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(5) ความผิดตามมาตรา 139 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 37 (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553
(6) ความผิดตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือความผิดตามมาตรา 45 หรือมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือความผิดตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย
(7) ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 39/1 มาตรา 42 มาตรา 47 มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้าง หรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
(8) ความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 หรือความผิดตามมาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
(9) ความผิดตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 10 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยมีเจตนาที่จะหน่วงเหนี่ยวให้ลูกจ้างทํางานต่อไปโดยลูกจ้างไม่ยินยอม
(10) ความผิดตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันมีลักษณะเป็นการหักเพื่อชําระหนี้ที่เป็นค่าใช้จ่ายหรือที่ทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการนําลูกจ้างมาทํางาน ไม่ว่าหนี้นั้นจะมีอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม หรือมีลักษณะเป็นการหักค่าจ้างอันเนื่องมาจากการหลอกลวงให้ลูกจ้างเป็นหนี้เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง
(11) ความผิดตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยเรียกเก็บบัตรประจําตัวประชาชนของลูกจ้าง หนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางชั่วคราว เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเอกสารรับรองบุคคล ใบอนุญาตทํางาน และบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยของลูกจ้าง เป็นหลักประกันการทํางาน
(12) ความผิดที่มีการกระทําความผิดอาญาตามกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วย
ข้อ ๑๐ ความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ หรือที่สามารถเปรียบเทียบได้แต่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบเห็นสมควรไม่เปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 159 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือมาตรา 49 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือมาตรา 71 วรรคสี่ และมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
หมวด ๒ การดําเนินคดีเปรียบเทียบ
-----------------------------------
ข้อ ๑๑ การดําเนินคดีเปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบหรือไปพบผู้ถูกกล่าวหาด้วยตนเอง เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือวาจาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบแล้วสอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกคําให้การ ตามแบบ กสร.นก. 1 ท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อไว้ด้วย
การมาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ผู้ถูกกล่าวหาอาจมอบอํานาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นซึ่งเป็นผู้ที่รู้หรือเข้าใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพการจ้างและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการของผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานเจ้าหน้าที่แทนก็ได้ ทั้งนี้ ผู้รับมอบอํานาจนั้นสามารถให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธแทนผู้ถูกกล่าวหาได้
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยินยอมให้เปรียบเทียบหรือไม่ เมื่อผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อในบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบตามแบบ กสร.นก. 2 ท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ ผู้รับมอบอํานาจตามวรรคสองจะลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 แทนผู้ถูกกล่าวหามิได้
หากเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 พนักงานเจ้าหน้าที่จะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้นําเงินมาชําระให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน หรือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านเว้นแต่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจะแจ้งการสละสิทธิในการรับเงินเป็นหนังสือ
ในกรณีที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พนักงานเจ้าหน้าที่จะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ชําระเงินคืนกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามจํานวนที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง
การลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 ตามวรรคสาม ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนิติบุคคลให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 ในฐานะนิติบุคคลและในฐานะส่วนตัวโดยในฐานะนิติบุคคลนั้น ให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะยินยอมให้เปรียบเทียบเป็นผู้ลงลายมือชื่อและประทับตราเป็นสําคัญตามที่หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลกําหนดและในฐานะส่วนตัวให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะกระทําความผิดเป็นผู้ลงลายมือชื่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าเป็นดุลพินิจของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบที่จะทําการเปรียบเทียบหรือไม่ก็ได้
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบจะดําเนินการเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหานําเงินมาชําระให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน หรือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน เว้นแต่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจะแจ้งการสละสิทธิในการรับเงินเป็นหนังสือ
ถ้าผู้ถูกกล่าวหาตกลงกับลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านผ่อนชําระเงินตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกเหตุนั้นไว้ และเสนอผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 เพื่อพิจารณาสั่งให้ชะลอการดําเนินคดีเปรียบเทียบจนกว่าผู้ถูกกล่าวหาจะได้ชําระเงินครบตามที่ตกลงก็ได้ แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินกว่ากําหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา
ในกรณีที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบจะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ชําระเงินคืนกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามจํานวนที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง
ข้อ ๑๓ คดีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทําประวัติการกระทําความผิดรวมทั้งพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิดพร้อมด้วยความเห็นในการเปรียบเทียบเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบ
ในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้อํานวยการสํานักหรือผู้อํานวยการกองที่พนักงานเจ้าหน้าที่เจ้าของสํานวนสังกัดอยู่ ส่งสํานวนคดีที่จะทําการเปรียบเทียบให้กองนิติการเพื่อพิจารณาตรวจสํานวนคดี เสนอผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ โดยนิติกรกองนิติการตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อผู้อํานวยการกองนิติการพิจารณาสํานวนคดีและเสนอความเห็นในการพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมทั้งจํานวนเงินค่าปรับต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอํานาจของสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่พิจารณาตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบโดยส่งเรื่องผ่านกองนิติการเพื่อให้ความเห็นประกอบการเปรียบเทียบของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ
สําหรับจังหวัดอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด พิจารณาตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด โดยไม่ชักช้าหลังจากรับสํานวนคดี และให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพิจารณาสํานวนคดีและเสนอความเห็นในการพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมทั้งจํานวนเงินค่าปรับต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ
ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบให้มีอํานาจเปรียบเทียบได้เฉพาะความผิดที่มีเหตุเกิดในท้องที่ที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบดํารงตําแหน่งในท้องที่หรือภายในจังหวัดนั้น ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบที่จะเปรียบเทียบหรือไม่รับเปรียบเทียบก็ได้
การสรุปข้อเท็จจริงและความเห็นในการเปรียบเทียบให้เป็นไปตามแบบ กสร.นก. 3 ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๔ สําหรับความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปสํานวนคดีแล้วส่งสํานวนคดีให้กองนิติการ เพื่อสรุปข้อเท็จจริงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบดําเนินการเปรียบเทียบต่อไป ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการเปรียบเทียบที่จะเปรียบเทียบหรือไม่รับเปรียบเทียบก็ได้
ให้กองนิติการปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการเปรียบเทียบ
ข้อ ๑๕ ในการเปรียบเทียบ ให้ดําเนินการเปรียบเทียบโดยคํานึงถึงพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิด ความหนักเบาแห่งข้อหา ฐานะของผู้กระทําความผิด จํานวนลูกจ้าง เหตุบรรเทาโทษ และเหตุเพิ่มโทษ
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบมีความเห็นให้เปรียบเทียบให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้นิติกรกองนิติการหรือนิติกรสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่แจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยกําหนดให้ผู้ถูกกล่าวหานําเงินค่าปรับมาชําระ ณ กลุ่มงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สํานักคุ้มครองแรงงาน สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือกองบริหารการคลัง สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือกลุ่มงานกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน สํานักความปลอดภัยแรงงาน สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบ หากครบกําหนดแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชําระค่าปรับ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เว้นแต่กรณี มีเหตุอันสมควร นิติกรกองนิติการอาจนําคดีไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
(2) ในจังหวัดอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยกําหนดให้ผู้ถูกกล่าวหานําเงินค่าปรับมาชําระ ณ ที่ทําการของพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบ หากครบกําหนดแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชําระค่าปรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่นําคดีไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดได้กระทําความผิดในหลายท้องที่หรือหลายจังหวัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่หรือจังหวัดที่พบการกระทําความผิดก่อนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินคดี
ในกรณีที่ลูกจ้างยื่นคําร้องตามมาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือในกรณีที่ผู้รับงานไปทําที่บ้านยื่นคําร้องตามมาตรา 33 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยมีคําสั่งตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง สั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ที่ออกคําสั่งเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินคดี
ข้อ ๑๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับชําระเงินค่าปรับออกใบเสร็จรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือใบเสร็จรับเงินในราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือใบเสร็จรับเงินกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาและแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนทราบ เพื่อบันทึกหมายเหตุการชําระค่าปรับไว้ท้ายบันทึกความเห็นของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบในแบบ กสร.นก. 3
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับชําระค่าปรับนําเงินค่าปรับส่งเป็นรายได้ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือรายได้แผ่นดิน หรือรายได้ของกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือระเบียบกระทรวงการคลัง หรือระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานกําหนด แล้วแต่กรณี
หมวด ๓ การดําเนินคดีชั้นพนักงานสอบสวน
-----------------------------
ข้อ ๑๘ การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน ให้ดําเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนที่ความผิดเกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตท้องที่ และนําพยานหลักฐานที่รวบรวมได้อันเกี่ยวกับการกระทําความผิด พร้อมบันทึกเหตุที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบหรือไม่ชําระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบหรือกรณีที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบมีความเห็นไม่เปรียบเทียบหรือกรณีความผิดตามข้อ 9 (1) ไปมอบให้พนักงานสอบสวนผู้รับเรื่องร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ
ในกรณีลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านเป็นผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเองเมื่อได้รับการร้องขอจากพนักงานสอบสวน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่มีมอบให้พนักงานสอบสวนโดยเร็ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ติดตามผลการดําเนินคดีของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการเป็นระยะจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ข้อ ๑๙ ความผิดตามข้อ 9 (2) (4) และ (8) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนทันทีเมื่อทราบหรือพบว่ามีการกระทํา ความผิดเกิดขึ้น ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อใช้ในการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ความผิดตามข้อ 9 (3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการสอบสวนเบื้องต้นก่อนนําเรื่องไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยมีลูกจ้างผู้ถูกล่วงเกินทางเพศเป็นผู้เสียหายร่วมและพยานในคดี
ความผิดตามข้อ 9 (6) ให้พนักงานตรวจแรงงาน หรือพนักงานตรวจความปลอดภัยซึ่งมิได้รับการอํานวยความสะดวกหรือถูกขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นผู้ดําเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนพบว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 และผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบเมื่อพนักงานสอบสวนได้ส่งสํานวนการสอบสวนพร้อมหนังสือส่งตัวผู้ถูกกล่าวหาให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกกล่าวหานั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบตามมาตรา 159 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 49 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และมาตรา 71 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนเปรียบเทียบตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 โดยไม่ต้องดําเนินการบันทึกคําให้การตามแบบ กสร.นก. 1 และบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบตามแบบ กสร.นก. 2 สําหรับความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปสํานวนคดีส่งให้กองนิติการ เพื่อสรุปข้อเท็จจริงตามแบบ กสร.นก. 3 เสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบดําเนินการเปรียบเทียบต่อไป
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีหนังสือส่งตัวผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อเปรียบเทียบโดยมิได้ส่งสํานวนการสอบสวนมาด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการเปรียบเทียบตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบในชั้นพนักงานอัยการและพนักงานอัยการได้ส่งตัวผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อเปรียบเทียบ ให้นําความในข้อ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๑/๑ เมื่อมีการดําเนินคดีผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายตามข้อ 9 (8) และผู้กระทําความผิดมีหนังสือขอให้ทบทวนการพิจารณาเปรียบเทียบ หน่วยงานเจ้าของเรื่องอาจมีหนังสือขอให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพิจารณาทบทวนความเห็น การเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ให้สรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเสนอความเห็นส่งให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานโดยเร็ว
ให้มีคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ประกอบด้วย รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานซึ่งกํากับดูแลงานกองนิติการ เป็นประธาน ผู้อํานวยการกองความปลอดภัยแรงงาน และผู้อํานวยการกองนิติการ เป็นกรรมการ มีอํานาจพิจารณาทบทวนการดําเนินคดีอาญาผู้กระทําความผิด ตามวรรคหนึ่ง โดยให้นิติกร กองนิติการ รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการดังกล่าว
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 พิจารณาแล้วเสร็จ ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบพิจารณาดําเนินการต่อไป
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบในชั้นพนักงานสอบสวนหรือชั้นพนักงานอัยการ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการทราบว่าคดีเลิกกันตามมาตรา 159 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือมาตรา 49 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือมาตรา 71 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 (4)
ข้อ ๒๓ ในการดําเนินคดีทางพนักงานสอบสวนซึ่งพนักงานสอบสวนมีอํานาจเปรียบเทียบหรือมีการนําคดีไปสู่ศาล หากศาลมีคําพิพากษาให้ปรับผู้กระทําความผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานศาลส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี
หมวด ๔ การรายงานผลการดําเนินคดี
----------------------------------
ข้อ ๒๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานการดําเนินคดี การชําระค่าปรับและการส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือส่งเป็นรายได้แผ่นดิน หรือกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้อธิบดีโดยผ่านกองนิติการทราบทันทีที่มีการดําเนินคดี โดยส่งสําเนาแบบ กสร.นก. 1 กสร.นก. 2 กสร.นก. 3 หลักฐานการส่งเงินค่าปรับ หลักฐานการร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน หมายจับสําเนาคําฟ้องต่อศาลและสําเนาคําพิพากษาของศาลประกอบการรายงาน ส่วนสํานวนคดีให้เก็บรักษาไว้ที่สํานักงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกผลการดําเนินคดีผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทันทีที่มีการดําเนินคดี
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องคดี และหรือพนักงานอัยการมีคําสั่งไม่ฟ้องคดี หรือในกรณีศาลมีคําพิพากษายกฟ้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานรายงานผลคดีให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบทันที ทั้งนี้ ให้กองนิติการตรวจสํานวนคดี พร้อมทั้งสรุปและวิเคราะห์ผลคดีเพื่อหาแนวทางแก้ไข เสนอต่ออธิบดีโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๒๕ การดําเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้ดําเนินการตามระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2554 ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558
พีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,749 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2558 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน
พ.ศ. 2558
----------------------------------------
โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 159 บัญญัติให้บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 157 เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 มาตรา 49 บัญญัติให้บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 มาตรา 71 บัญญัติให้ความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ และมาตรา 72 บัญญัติให้ความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เป็นอํานาจของคณะกรรมการเปรียบเทียบในการดําเนินคดีเปรียบเทียบ
เพื่อให้การดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2554
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“การดําเนินคดี” หมายความว่า การดําเนินคดีโดยการเปรียบเทียบ รวมทั้งการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษผู้กระทําผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
“พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541” หมายความว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553” หมายความว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554” หมายความว่า พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“นิติกร” หมายความว่า ข้าราชการที่ดํารงตําแหน่งนิติกร กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจความปลอดภัย และนิติกร
“ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น
“คณะกรรมการเปรียบเทียบ” หมายความว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอํานาจตีความ วินิจฉัยปัญหา กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การพิจารณาดําเนินคดี
---------------------------------
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีและการรวบรวมพยานหลักฐาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังนี้
(1) บันทึกวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ ชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิด หากผู้ถูกกล่าวหาเป็นนิติบุคคลให้ระบุชื่อผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะกระทําความผิดและในขณะที่บันทึกข้อเท็จจริง
(2) บันทึกรายละเอียดแห่งการกระทําทั้งหลายที่อ้างว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําความผิดทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องและตรวจพบ หรือพบเห็นพยานหลักฐาน และให้บันทึกไว้ด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหายอมรับหรือไม่ว่าได้กระทําความผิด
(3) สอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคํา และบันทึกรายละเอียดไว้
(4) บันทึกจะต้องระบุสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทําบันทึก ชื่อ และตําแหน่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้บันทึก และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทําบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น
การบันทึก ถ้ามีผิดที่ใดห้ามมิให้ลบออก ให้ขีดฆ่าคําผิดนั้นแล้วเขียนใหม่ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทําบันทึกและผู้ให้ถ้อยคําลงนามย่อรับรอง แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคําไม่ยินยอมลงลายมือชื่อให้บันทึกเหตุนั้นไว้
(5) อ่านบันทึกให้ผู้ให้ถ้อยคําฟัง หรือให้ผู้ให้ถ้อยคําอ่านด้วยตนเอง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้แก้ไขให้ถูกต้อง หรือมิฉะนั้นให้บันทึกไว้และให้ผู้ให้ถ้อยคําลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคําไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ผู้นั้นพิมพ์ลายนิ้วมือแทน แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคําไม่ยินยอมลงลายมือชื่อ ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ และให้เจ้าหน้าที่ที่ทราบเหตุดังกล่าวจํานวนหนึ่งคนลงลายมือชื่อเป็นพยาน
(6) มีหนังสือเรียกพยานหลักฐาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องจากผู้ครอบครองมารวบรวมไว้ในสํานวนโดยเฉพาะเอกสารหลักฐานที่นายจ้างจะต้องจัดทําไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 รวมทั้งสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้และมีหมายเลขประจําตัวประชาชนของผู้ถือบัตร สําเนาทะเบียนบ้าน สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับคดี
เอกสารที่ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จัดทําเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นจัดทําคําแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กําหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําแปลนั้น เว้นแต่พนักงานเจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารนั้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการรับรองความถูกต้องของคําแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทํา ขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
(7) กระทําการอื่นตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้อํานาจไว้ โดยให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงแน่ชัดในการกระทําความผิด
การบันทึกตาม (1) ถึง (4) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อื่นทําการบันทึกแทนได้ ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนหรือพิมพ์แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มอบหมายลงลายมือชื่อในบันทึกนั้น และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มอบหมายเป็นผู้ทําบันทึกนั้น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ความผิดตามข้อ 9 (2) (3) (4) และ (7)
ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะสามารถทําได้เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา และเพื่อจะรู้ตัว หรือยืนยันหรือชี้ชัด และพิสูจน์ให้เห็นความผิดของผู้กระทําความผิด
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําความเห็นว่าควรดําเนินคดีหรือไม่ดําเนินคดีแล้วส่งพร้อมกับสํานวนไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาสั่งการถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าควรดําเนินคดี ให้ผู้บังคับบัญชานั้นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีต่อไป
สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาและสั่งการให้ดําเนินคดีต่อไปหรือให้งดการดําเนินคดี
สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ความเห็นของผู้บังคับบัญชานั้นเป็นที่สุด
ผู้ใดจะเป็นผู้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๘ เมื่อมีคําสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามข้อ 7 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการดําเนินคดีในทะเบียนการดําเนินคดีอาญาแล้วเร่งรัดดําเนินคดีอาญาต่อไปโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ภายในกําหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๙ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการเปรียบเทียบก่อน เว้นแต่ความผิดดังต่อไปนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีโดยการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการเปรียบเทียบ
(1) ความผิดที่มีพฤติการณ์พิเศษ หรือเกิดผลกระทบกับลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจํานวนมาก
(2) ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กโดยมีการทารุณ หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือมีการกระทําความผิดอาญาฐานอื่นรวมอยู่ด้วย
(3) ความผิดตามมาตรา 16 มาตรา 44 มาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(4) ความผิดตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และความผิดตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(5) ความผิดตาม 139 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 37 (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553
(6) ความผิดตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือความผิดตามมาตรา 45 หรือมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือความผิดตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย
(7) ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 39/1 มาตรา 42 มาตรา 47 มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย
(8) ความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 หรือความผิดตามมาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย
(9) ความผิดที่มีการกระทําความผิดอาญาตามกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วย
ข้อ ๑๐ ความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ หรือที่สามารถเปรียบเทียบได้แต่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบเห็นสมควรไม่เปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 159 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือมาตรา 49 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือมาตรา 71 วรรคสี่ และมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
หมวด ๒ การดําเนินคดีเปรียบเทียบ
----------------------------
ข้อ ๑๑ การดําเนินคดีเปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบหรือไปพบผู้ถูกกล่าวหาด้วยตนเอง เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือวาจาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบแล้วสอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกคําให้การ ตามแบบ กสร.นก. 1 ท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อไว้ด้วย
การมาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ผู้ถูกกล่าวหาอาจมอบอํานาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นซึ่งเป็นผู้ที่รู้หรือเข้าใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพการจ้างและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการของผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานเจ้าหน้าที่แทนก็ได้ ทั้งนี้ ผู้รับมอบอํานาจนั้นสามารถให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธแทนผู้ถูกกล่าวหาได้
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยินยอมให้เปรียบเทียบหรือไม่ เมื่อผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อในบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบตามแบบ กสร.นก. 2 ท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ ผู้รับมอบอํานาจตามวรรคสองจะลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 แทนผู้ถูกกล่าวหามิได้
หากเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ. 2554 พนักงานเจ้าหน้าที่จะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้นําเงินมาชําระให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน หรือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านเว้นแต่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจะแจ้งการสละสิทธิในการรับเงินเป็นหนังสือ
ในกรณีที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พนักงานเจ้าหน้าที่จะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ชําระเงินคืนกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามจํานวนที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง
การลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 ตามวรรคสาม ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนิติบุคคลให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 ในฐานะนิติบุคคลและในฐานะส่วนตัวโดยในฐานะนิติบุคคลนั้น ให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะยินยอมให้เปรียบเทียบเป็นผู้ลงลายมือชื่อและประทับตราเป็นสําคัญตามที่หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลกําหนดและในฐานะส่วนตัวให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะกระทําความผิดเป็นผู้ลงลายมือชื่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าเป็นดุลพินิจของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบที่จะทําการเปรียบเทียบหรือไม่ก็ได้
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบจะดําเนินการเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหานําเงินมาชําระให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน หรือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน เว้นแต่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจะแจ้งการสละสิทธิในการรับเงินเป็นหนังสือ
ถ้าผู้ถูกกล่าวหาตกลงกับลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านผ่อนชําระเงินตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกเหตุนั้นไว้ และเสนอผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 เพื่อพิจารณาสั่งให้ชะลอการดําเนินคดีเปรียบเทียบจนกว่าผู้ถูกกล่าวหาจะได้ชําระเงินครบตามที่ตกลงก็ได้ แต่ทั้งนี้ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินกว่ากําหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา
ในกรณีที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบจะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ชําระเงินคืนกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามจํานวนที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง
ข้อ ๑๓ คดีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทําประวัติการกระทําความผิดรวมทั้งพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิดพร้อมด้วยความเห็นในการเปรียบเทียบเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบ
ในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้อํานวยการสํานักหรือผู้อํานวยการกองที่พนักงานเจ้าหน้าที่เจ้าของสํานวนสังกัดอยู่ ส่งสํานวนคดีที่จะทําการเปรียบเทียบให้กองนิติการเพื่อพิจารณาตรวจสํานวนคดี เสนอผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ โดยนิติกรกองนิติการตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อผู้อํานวยการกองนิติการพิจารณาสํานวนคดีและเสนอความเห็นในการพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมทั้งจํานวนเงินค่าปรับต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอํานาจของสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่พิจารณาตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบโดยส่งเรื่องผ่านกองนิติการเพื่อให้ความเห็นประกอบการเปรียบเทียบของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ
สําหรับจังหวัดอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด พิจารณาตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด โดยไม่ชักช้าหลังจากรับสํานวนคดี และให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพิจารณาสํานวนคดีและเสนอความเห็นในการพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมทั้งจํานวนเงินค่าปรับต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ
ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบให้มีอํานาจเปรียบเทียบได้เฉพาะความผิดที่มีเหตุเกิดในท้องที่ที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบดํารงตําแหน่งในท้องที่หรือภายในจังหวัดนั้น ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบที่จะเปรียบเทียบหรือไม่รับเปรียบเทียบก็ได้
การสรุปข้อเท็จจริงและความเห็นในการเปรียบเทียบให้เป็นไปตามแบบ กสร.นก. 3 ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๔ สําหรับความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปสํานวนคดีแล้วส่งสํานวนคดีให้กองนิติการ เพื่อสรุปข้อเท็จจริงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบดําเนินการเปรียบเทียบต่อไป ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการเปรียบเทียบที่จะเปรียบเทียบหรือไม่รับเปรียบเทียบก็ได้
ให้กองนิติการปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการเปรียบเทียบ
ข้อ ๑๕ ในการเปรียบเทียบ ให้ดําเนินการเปรียบเทียบโดยคํานึงถึงพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิด ความหนักเบาแห่งข้อหา ฐานะของผู้กระทําความผิด จํานวนลูกจ้าง เหตุบรรเทาโทษ และเหตุเพิ่มโทษ
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบมีความเห็นให้เปรียบเทียบให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้นิติกรกองนิติการหรือนิติกรสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่แจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยกําหนดให้ผู้ถูกกล่าวหานําเงินค่าปรับมาชําระ ณ กลุ่มงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สํานักคุ้มครองแรงงาน สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือกองบริหารการคลัง สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือกลุ่มงานกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน สํานักความปลอดภัยแรงงาน สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบ หากครบกําหนดแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชําระค่าปรับ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เว้นแต่กรณี มีเหตุอันสมควร นิติกรกองนิติการอาจนําคดีไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
(2) ในจังหวัดอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยกําหนดให้ผู้ถูกกล่าวหานําเงินค่าปรับมาชําระ ณ ที่ทําการของพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบ หากครบกําหนดแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชําระค่าปรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่นําคดีไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดได้กระทําความผิดในหลายท้องที่หรือหลายจังหวัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่หรือจังหวัดที่พบการกระทําความผิดก่อนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินคดี
ในกรณีที่ลูกจ้างยื่นคําร้องตามมาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือในกรณีที่ผู้รับงานไปทําที่บ้านยื่นคําร้องตามมาตรา 33 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยมีคําสั่งตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง สั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ที่ออกคําสั่งเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินคดี
ข้อ ๑๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับชําระเงินค่าปรับออกใบเสร็จรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือใบเสร็จรับเงินในราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือใบเสร็จรับเงินกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาและแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนทราบ เพื่อบันทึกหมายเหตุการชําระค่าปรับไว้ท้ายบันทึกความเห็นของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบในแบบ กสร.นก. 3
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับชําระค่าปรับนําเงินค่าปรับส่งเป็นรายได้ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือรายได้แผ่นดิน หรือรายได้ของกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือระเบียบกระทรวงการคลัง หรือระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานกําหนด แล้วแต่กรณี
หมวด ๓ การดําเนินคดีชั้นพนักงานสอบสวน
---------------------------------
ข้อ ๑๘ การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน ให้ดําเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนที่ความผิดเกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตท้องที่ และนําพยานหลักฐานที่รวบรวมได้อันเกี่ยวกับการกระทําความผิด พร้อมบันทึกเหตุที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบหรือไม่ชําระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบหรือกรณีที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบมีความเห็นไม่เปรียบเทียบหรือกรณีความผิดตามข้อ 9 (1) ไปมอบให้พนักงานสอบสวนผู้รับเรื่องร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ
ในกรณีลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านเป็นผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเองเมื่อได้รับการร้องขอจากพนักงานสอบสวน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่มีมอบให้พนักงานสอบสวนโดยเร็ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ติดตามผลการดําเนินคดีของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการเป็นระยะจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ข้อ ๑๙ ความผิดตามข้อ 9 (2) (4) และ (8) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนทันทีเมื่อทราบหรือพบว่ามีการกระทํา ความผิดเกิดขึ้น ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อใช้ในการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ความผิดตามข้อ 9 (3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการสอบสวนเบื้องต้นก่อนนําเรื่องไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยมีลูกจ้างผู้ถูกล่วงเกินทางเพศเป็นผู้เสียหายร่วมและพยานในคดี
ความผิดตามข้อ 9 (6) ให้พนักงานตรวจแรงงาน หรือพนักงานตรวจความปลอดภัยซึ่งมิได้รับการอํานวยความสะดวกหรือถูกขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นผู้ดําเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนพบว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 และผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบเมื่อพนักงานสอบสวนได้ส่งสํานวนการสอบสวนพร้อมหนังสือส่งตัวผู้ถูกกล่าวหาให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกกล่าวหานั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบตามมาตรา 159 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 49 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และมาตรา 71 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนเปรียบเทียบตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 โดยไม่ต้องดําเนินการบันทึกคําให้การตามแบบ กสร.นก. 1 และบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบตามแบบ กสร.นก. 2 สําหรับความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปสํานวนคดีส่งให้กองนิติการ เพื่อสรุปข้อเท็จจริงตามแบบ กสร.นก. 3 เสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบดําเนินการเปรียบเทียบต่อไป
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีหนังสือส่งตัวผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อเปรียบเทียบโดยมิได้ส่งสํานวนการสอบสวนมาด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการเปรียบเทียบตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบในชั้นพนักงานอัยการและพนักงานอัยการได้ส่งตัวผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อเปรียบเทียบ ให้นําความในข้อ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบในชั้นพนักงานสอบสวนหรือชั้นพนักงานอัยการ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการทราบว่าคดีเลิกกันตามมาตรา 159 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือมาตรา 49 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือมาตรา 71 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 (4)
ข้อ ๒๓ ในการดําเนินคดีทางพนักงานสอบสวนซึ่งพนักงานสอบสวนมีอํานาจเปรียบเทียบหรือมีการนําคดีไปสู่ศาล หากศาลมีคําพิพากษาให้ปรับผู้กระทําความผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานศาลส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี
หมวด ๔ การรายงานผลการดําเนินคดี
----------------------------------
ข้อ ๒๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานการดําเนินคดี การชําระค่าปรับและการส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือส่งเป็นรายได้แผ่นดิน หรือกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้อธิบดีโดยผ่านกองนิติการทราบทันทีที่มีการดําเนินคดี โดยส่งสําเนาแบบ กสร.นก. 1 กสร.นก. 2 กสร.นก. 3 หลักฐานการส่งเงินค่าปรับ หลักฐานการร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน หมายจับสําเนาคําฟ้องต่อศาลและสําเนาคําพิพากษาของศาลประกอบการรายงาน ส่วนสํานวนคดีให้เก็บรักษาไว้ที่สํานักงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกผลการดําเนินคดีผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทันทีที่มีการดําเนินคดี
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องคดี และหรือพนักงานอัยการมีคําสั่งไม่ฟ้องคดี หรือในกรณีศาลมีคําพิพากษายกฟ้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานรายงานผลคดีให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบทันที ทั้งนี้ ให้กองนิติการตรวจสํานวนคดี พร้อมทั้งสรุปและวิเคราะห์ผลคดีเพื่อหาแนวทางแก้ไข เสนอต่ออธิบดีโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๒๕ การดําเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้ดําเนินการตามระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2554 ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558
พีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,750 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่23/08/2559) | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน
พ.ศ. 2558
------------------------------------------
โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 159 บัญญัติให้บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 157 เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 มาตรา 49 บัญญัติให้บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 มาตรา 71 บัญญัติให้ความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ และมาตรา 72 บัญญัติให้ความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เป็นอํานาจของคณะกรรมการเปรียบเทียบในการดําเนินคดีเปรียบเทียบ
เพื่อให้การดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2554
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“การดําเนินคดี” หมายความว่า การดําเนินคดีโดยการเปรียบเทียบ รวมทั้งการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษผู้กระทําผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
“พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541” หมายความว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553” หมายความว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554” หมายความว่า พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“นิติกร” หมายความว่า ข้าราชการที่ดํารงตําแหน่งนิติกร กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจความปลอดภัย และนิติกร
“ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น
“คณะกรรมการเปรียบเทียบ” หมายความว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอํานาจตีความ วินิจฉัยปัญหา กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การพิจารณาดําเนินคดี
----------------------------------------
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีและการรวบรวมพยานหลักฐาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังนี้
(1) บันทึกวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ ชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิด หากผู้ถูกกล่าวหาเป็นนิติบุคคลให้ระบุชื่อผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะกระทําความผิดและในขณะที่บันทึกข้อเท็จจริง
(2) บันทึกรายละเอียดแห่งการกระทําทั้งหลายที่อ้างว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําความผิดทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องและตรวจพบ หรือพบเห็นพยานหลักฐาน และให้บันทึกไว้ด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหายอมรับหรือไม่ว่าได้กระทําความผิด
(3) สอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคํา และบันทึกรายละเอียดไว้
(4) บันทึกจะต้องระบุสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทําบันทึก ชื่อ และตําแหน่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้บันทึก และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทําบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น
การบันทึก ถ้ามีผิดที่ใดห้ามมิให้ลบออก ให้ขีดฆ่าคําผิดนั้นแล้วเขียนใหม่ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทําบันทึกและผู้ให้ถ้อยคําลงนามย่อรับรอง แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคําไม่ยินยอมลงลายมือชื่อให้บันทึกเหตุนั้นไว้
(5) อ่านบันทึกให้ผู้ให้ถ้อยคําฟัง หรือให้ผู้ให้ถ้อยคําอ่านด้วยตนเอง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้แก้ไขให้ถูกต้อง หรือมิฉะนั้นให้บันทึกไว้และให้ผู้ให้ถ้อยคําลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคําไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ผู้นั้นพิมพ์ลายนิ้วมือแทน แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคําไม่ยินยอมลงลายมือชื่อ ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ และให้เจ้าหน้าที่ที่ทราบเหตุดังกล่าวจํานวนหนึ่งคนลงลายมือชื่อเป็นพยาน
(6) มีหนังสือเรียกพยานหลักฐาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องจากผู้ครอบครองมารวบรวมไว้ในสํานวนโดยเฉพาะเอกสารหลักฐานที่นายจ้างจะต้องจัดทําไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 รวมทั้งสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้และมีหมายเลขประจําตัวประชาชนของผู้ถือบัตร สําเนาทะเบียนบ้าน สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับคดี
เอกสารที่ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จัดทําเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นจัดทําคําแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กําหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําแปลนั้น เว้นแต่พนักงานเจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารนั้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการรับรองความถูกต้องของคําแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทํา ขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
(7) กระทําการอื่นตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้อํานาจไว้ โดยให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงแน่ชัดในการกระทําความผิด
การบันทึกตาม (1) ถึง (4) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อื่นทําการบันทึกแทนได้ ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนหรือพิมพ์แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มอบหมายลงลายมือชื่อในบันทึกนั้น และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มอบหมายเป็นผู้ทําบันทึกนั้น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ความผิดตามข้อ 9 (2) (3) (4) และ (7)
ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะสามารถทําได้เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา และเพื่อจะรู้ตัว หรือยืนยันหรือชี้ชัด และพิสูจน์ให้เห็นความผิดของผู้กระทําความผิด
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําความเห็นว่าควรดําเนินคดีหรือไม่ดําเนินคดีแล้วส่งพร้อมกับสํานวนไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาสั่งการถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าควรดําเนินคดี ให้ผู้บังคับบัญชานั้นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีต่อไป
สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาและสั่งการให้ดําเนินคดีต่อไปหรือให้งดการดําเนินคดี
สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ความเห็นของผู้บังคับบัญชานั้นเป็นที่สุด
ผู้ใดจะเป็นผู้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๘ เมื่อมีคําสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามข้อ 7 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการดําเนินคดีในทะเบียนการดําเนินคดีอาญาแล้วเร่งรัดดําเนินคดีอาญาต่อไปโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ภายในกําหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๙ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการเปรียบเทียบก่อน เว้นแต่ความผิดดังต่อไปนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีโดยการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนโดยเร็ว โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการเปรียบเทียบ
(1) ความผิดที่มีพฤติการณ์พิเศษ หรือเกิดผลกระทบกับลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจํานวนมาก
(2) ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กโดยมีการทารุณ หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือการบังคับใช้แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(3) ความผิดตามมาตรา 16 มาตรา 45 (1) มาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(4) ความผิดตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(5) ความผิดตามมาตรา 139 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 37 (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553
(6) ความผิดตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือความผิดตามมาตรา 45 หรือมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือความผิดตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย
(7) ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 39/1 มาตรา 42 มาตรา 47 มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้าง หรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
(8) ความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 หรือความผิดตามมาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
(9) ความผิดตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 10 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยมีเจตนาที่จะหน่วงเหนี่ยวให้ลูกจ้างทํางานต่อไปโดยลูกจ้างไม่ยินยอม
(10) ความผิดตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันมีลักษณะเป็นการหักเพื่อชําระหนี้ที่เป็นค่าใช้จ่ายหรือที่ทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการนําลูกจ้างมาทํางาน ไม่ว่าหนี้นั้นจะมีอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม หรือมีลักษณะเป็นการหักค่าจ้างอันเนื่องมาจากการหลอกลวงให้ลูกจ้างเป็นหนี้เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง
(11) ความผิดตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยเรียกเก็บบัตรประจําตัวประชาชนของลูกจ้าง หนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางชั่วคราว เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเอกสารรับรองบุคคล ใบอนุญาตทํางาน และบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยของลูกจ้าง เป็นหลักประกันการทํางาน
(12) ความผิดที่มีการกระทําความผิดอาญาตามกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วย
ข้อ ๑๐ ความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ หรือที่สามารถเปรียบเทียบได้แต่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบเห็นสมควรไม่เปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 159 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือมาตรา 49 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือมาตรา 71 วรรคสี่ และมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
หมวด ๒ การดําเนินคดีเปรียบเทียบ
----------------------------------
ข้อ ๑๑ การดําเนินคดีเปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบหรือไปพบผู้ถูกกล่าวหาด้วยตนเอง เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือวาจาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบแล้วสอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกคําให้การ ตามแบบ กสร.นก. 1 ท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อไว้ด้วย
การมาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ผู้ถูกกล่าวหาอาจมอบอํานาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นซึ่งเป็นผู้ที่รู้หรือเข้าใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพการจ้างและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการของผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานเจ้าหน้าที่แทนก็ได้ ทั้งนี้ ผู้รับมอบอํานาจนั้นสามารถให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธแทนผู้ถูกกล่าวหาได้
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยินยอมให้เปรียบเทียบหรือไม่ เมื่อผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อในบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบตามแบบ กสร.นก. 2 ท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ ผู้รับมอบอํานาจตามวรรคสองจะลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 แทนผู้ถูกกล่าวหามิได้
หากเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 พนักงานเจ้าหน้าที่จะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้นําเงินมาชําระให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน หรือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านเว้นแต่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจะแจ้งการสละสิทธิในการรับเงินเป็นหนังสือ
ในกรณีที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พนักงานเจ้าหน้าที่จะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ชําระเงินคืนกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามจํานวนที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง
การลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 ตามวรรคสาม ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนิติบุคคลให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 ในฐานะนิติบุคคลและในฐานะส่วนตัวโดยในฐานะนิติบุคคลนั้น ให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะยินยอมให้เปรียบเทียบเป็นผู้ลงลายมือชื่อและประทับตราเป็นสําคัญตามที่หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลกําหนดและในฐานะส่วนตัวให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะกระทําความผิดเป็นผู้ลงลายมือชื่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าเป็นดุลพินิจของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบที่จะทําการเปรียบเทียบหรือไม่ก็ได้
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบจะดําเนินการเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหานําเงินมาชําระให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน หรือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน เว้นแต่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจะแจ้งการสละสิทธิในการรับเงินเป็นหนังสือ
ถ้าผู้ถูกกล่าวหาตกลงกับลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านผ่อนชําระเงินตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกเหตุนั้นไว้ และเสนอผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 เพื่อพิจารณาสั่งให้ชะลอการดําเนินคดีเปรียบเทียบจนกว่าผู้ถูกกล่าวหาจะได้ชําระเงินครบตามที่ตกลงก็ได้ แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินกว่ากําหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา
ในกรณีที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบจะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ชําระเงินคืนกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามจํานวนที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง
ข้อ ๑๓ คดีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทําประวัติการกระทําความผิดรวมทั้งพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิดพร้อมด้วยความเห็นในการเปรียบเทียบเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบ
ในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้อํานวยการสํานักหรือผู้อํานวยการกองที่พนักงานเจ้าหน้าที่เจ้าของสํานวนสังกัดอยู่ ส่งสํานวนคดีที่จะทําการเปรียบเทียบให้กองนิติการเพื่อพิจารณาตรวจสํานวนคดี เสนอผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ โดยนิติกรกองนิติการตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อผู้อํานวยการกองนิติการพิจารณาสํานวนคดีและเสนอความเห็นในการพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมทั้งจํานวนเงินค่าปรับต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอํานาจของสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่พิจารณาตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบโดยส่งเรื่องผ่านกองนิติการเพื่อให้ความเห็นประกอบการเปรียบเทียบของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ
สําหรับจังหวัดอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด พิจารณาตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด โดยไม่ชักช้าหลังจากรับสํานวนคดี และให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพิจารณาสํานวนคดีและเสนอความเห็นในการพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมทั้งจํานวนเงินค่าปรับต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ
ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบให้มีอํานาจเปรียบเทียบได้เฉพาะความผิดที่มีเหตุเกิดในท้องที่ที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบดํารงตําแหน่งในท้องที่หรือภายในจังหวัดนั้น ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบที่จะเปรียบเทียบหรือไม่รับเปรียบเทียบก็ได้
การสรุปข้อเท็จจริงและความเห็นในการเปรียบเทียบให้เป็นไปตามแบบ กสร.นก. 3 ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๔ สําหรับความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปสํานวนคดีแล้วส่งสํานวนคดีให้กองนิติการ เพื่อสรุปข้อเท็จจริงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบดําเนินการเปรียบเทียบต่อไป ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการเปรียบเทียบที่จะเปรียบเทียบหรือไม่รับเปรียบเทียบก็ได้
ให้กองนิติการปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการเปรียบเทียบ
ข้อ ๑๕ ในการเปรียบเทียบ ให้ดําเนินการเปรียบเทียบโดยคํานึงถึงพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิด ความหนักเบาแห่งข้อหา ฐานะของผู้กระทําความผิด จํานวนลูกจ้าง เหตุบรรเทาโทษ และเหตุเพิ่มโทษ
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบมีความเห็นให้เปรียบเทียบให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้นิติกรกองนิติการหรือนิติกรสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่แจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยกําหนดให้ผู้ถูกกล่าวหานําเงินค่าปรับมาชําระ ณ กลุ่มงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สํานักคุ้มครองแรงงาน สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือกองบริหารการคลัง สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือกลุ่มงานกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน สํานักความปลอดภัยแรงงาน สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบ หากครบกําหนดแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชําระค่าปรับ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เว้นแต่กรณี มีเหตุอันสมควร นิติกรกองนิติการอาจนําคดีไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
(2) ในจังหวัดอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยกําหนดให้ผู้ถูกกล่าวหานําเงินค่าปรับมาชําระ ณ ที่ทําการของพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบ หากครบกําหนดแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชําระค่าปรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่นําคดีไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดได้กระทําความผิดในหลายท้องที่หรือหลายจังหวัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่หรือจังหวัดที่พบการกระทําความผิดก่อนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินคดี
ในกรณีที่ลูกจ้างยื่นคําร้องตามมาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือในกรณีที่ผู้รับงานไปทําที่บ้านยื่นคําร้องตามมาตรา 33 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยมีคําสั่งตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง สั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ที่ออกคําสั่งเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินคดี
ข้อ ๑๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับชําระเงินค่าปรับออกใบเสร็จรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือใบเสร็จรับเงินในราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือใบเสร็จรับเงินกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาและแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนทราบ เพื่อบันทึกหมายเหตุการชําระค่าปรับไว้ท้ายบันทึกความเห็นของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบในแบบ กสร.นก. 3
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับชําระค่าปรับนําเงินค่าปรับส่งเป็นรายได้ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือรายได้แผ่นดิน หรือรายได้ของกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือระเบียบกระทรวงการคลัง หรือระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานกําหนด แล้วแต่กรณี
หมวด ๓ การดําเนินคดีชั้นพนักงานสอบสวน
------------------------------------------
ข้อ ๑๘ การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน ให้ดําเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนที่ความผิดเกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตท้องที่ และนําพยานหลักฐานที่รวบรวมได้อันเกี่ยวกับการกระทําความผิด พร้อมบันทึกเหตุที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบหรือไม่ชําระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบหรือกรณีที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบมีความเห็นไม่เปรียบเทียบหรือกรณีความผิดตามข้อ 9 (1) ไปมอบให้พนักงานสอบสวนผู้รับเรื่องร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ
ในกรณีลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านเป็นผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเองเมื่อได้รับการร้องขอจากพนักงานสอบสวน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่มีมอบให้พนักงานสอบสวนโดยเร็ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ติดตามผลการดําเนินคดีของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการเป็นระยะจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ข้อ ๑๙ ความผิดตามข้อ 9 (2) (4) และ (8) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนทันทีเมื่อทราบหรือพบว่ามีการกระทํา ความผิดเกิดขึ้น ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อใช้ในการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ความผิดตามข้อ 9 (3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการสอบสวนเบื้องต้นก่อนนําเรื่องไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยมีลูกจ้างผู้ถูกล่วงเกินทางเพศเป็นผู้เสียหายร่วมและพยานในคดี
ความผิดตามข้อ 9 (6) ให้พนักงานตรวจแรงงาน หรือพนักงานตรวจความปลอดภัยซึ่งมิได้รับการอํานวยความสะดวกหรือถูกขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นผู้ดําเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนพบว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 และผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบเมื่อพนักงานสอบสวนได้ส่งสํานวนการสอบสวนพร้อมหนังสือส่งตัวผู้ถูกกล่าวหาให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกกล่าวหานั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบตามมาตรา 159 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 49 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และมาตรา 71 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนเปรียบเทียบตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 โดยไม่ต้องดําเนินการบันทึกคําให้การตามแบบ กสร.นก. 1 และบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบตามแบบ กสร.นก. 2 สําหรับความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปสํานวนคดีส่งให้กองนิติการ เพื่อสรุปข้อเท็จจริงตามแบบ กสร.นก. 3 เสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบดําเนินการเปรียบเทียบต่อไป
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีหนังสือส่งตัวผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อเปรียบเทียบโดยมิได้ส่งสํานวนการสอบสวนมาด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการเปรียบเทียบตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบในชั้นพนักงานอัยการและพนักงานอัยการได้ส่งตัวผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อเปรียบเทียบ ให้นําความในข้อ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบในชั้นพนักงานสอบสวนหรือชั้นพนักงานอัยการ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการทราบว่าคดีเลิกกันตามมาตรา 159 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือมาตรา 49 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือมาตรา 71 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 (4)
ข้อ ๒๓ ในการดําเนินคดีทางพนักงานสอบสวนซึ่งพนักงานสอบสวนมีอํานาจเปรียบเทียบหรือมีการนําคดีไปสู่ศาล หากศาลมีคําพิพากษาให้ปรับผู้กระทําความผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานศาลส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี
หมวด ๔ การรายงานผลการดําเนินคดี
------------------------------------
ข้อ ๒๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานการดําเนินคดี การชําระค่าปรับและการส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือส่งเป็นรายได้แผ่นดิน หรือกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้อธิบดีโดยผ่านกองนิติการทราบทันทีที่มีการดําเนินคดี โดยส่งสําเนาแบบ กสร.นก. 1 กสร.นก. 2 กสร.นก. 3 หลักฐานการส่งเงินค่าปรับ หลักฐานการร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน หมายจับสําเนาคําฟ้องต่อศาลและสําเนาคําพิพากษาของศาลประกอบการรายงาน ส่วนสํานวนคดีให้เก็บรักษาไว้ที่สํานักงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกผลการดําเนินคดีผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทันทีที่มีการดําเนินคดี
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องคดี และหรือพนักงานอัยการมีคําสั่งไม่ฟ้องคดี หรือในกรณีศาลมีคําพิพากษายกฟ้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานรายงานผลคดีให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบทันที ทั้งนี้ ให้กองนิติการตรวจสํานวนคดี พร้อมทั้งสรุปและวิเคราะห์ผลคดีเพื่อหาแนวทางแก้ไข เสนอต่ออธิบดีโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๒๕ การดําเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้ดําเนินการตามระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2554 ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558
พีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,751 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน
พ.ศ. 2558
--------------------------------------------------------------
โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 159 บัญญัติให้บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 157 เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 มาตรา 49 บัญญัติให้บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 มาตรา 71 บัญญัติให้ความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบได้ และมาตรา 72 บัญญัติให้ความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เป็นอํานาจของคณะกรรมการเปรียบเทียบในการดําเนินคดีเปรียบเทียบ
เพื่อให้การดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2554
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“การดําเนินคดี” หมายความว่า การดําเนินคดีโดยการเปรียบเทียบ รวมทั้งการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษผู้กระทําผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
“พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541” หมายความว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553” หมายความว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554” หมายความว่า พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“นิติกร” หมายความว่า ข้าราชการที่ดํารงตําแหน่งนิติกร กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจความปลอดภัย และนิติกร
“ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น
“คณะกรรมการเปรียบเทียบ” หมายความว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอํานาจตีความ วินิจฉัยปัญหา กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การพิจารณาดําเนินคดี
---------------------------------------
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีและการรวบรวมพยานหลักฐาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังนี้
(1) บันทึกวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ ชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิด หากผู้ถูกกล่าวหาเป็นนิติบุคคลให้ระบุชื่อผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะกระทําความผิดและในขณะที่บันทึกข้อเท็จจริง
(2) บันทึกรายละเอียดแห่งการกระทําทั้งหลายที่อ้างว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําความผิดทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องและตรวจพบ หรือพบเห็นพยานหลักฐาน และให้บันทึกไว้ด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหายอมรับหรือไม่ว่าได้กระทําความผิด
(3) สอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคํา และบันทึกรายละเอียดไว้
(4) บันทึกจะต้องระบุสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทําบันทึก ชื่อ และตําแหน่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้บันทึก และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทําบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น
การบันทึก ถ้ามีผิดที่ใดห้ามมิให้ลบออก ให้ขีดฆ่าคําผิดนั้นแล้วเขียนใหม่ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทําบันทึกและผู้ให้ถ้อยคําลงนามย่อรับรอง แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคําไม่ยินยอมลงลายมือชื่อให้บันทึกเหตุนั้นไว้
(5) อ่านบันทึกให้ผู้ให้ถ้อยคําฟัง หรือให้ผู้ให้ถ้อยคําอ่านด้วยตนเอง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้แก้ไขให้ถูกต้อง หรือมิฉะนั้นให้บันทึกไว้และให้ผู้ให้ถ้อยคําลงลายมือชื่อรับรองว่าถูกต้อง ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคําไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ผู้นั้นพิมพ์ลายนิ้วมือแทน แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคําไม่ยินยอมลงลายมือชื่อ ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ และให้เจ้าหน้าที่ที่ทราบเหตุดังกล่าวจํานวนหนึ่งคนลงลายมือชื่อเป็นพยาน
(6) มีหนังสือเรียกพยานหลักฐาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องจากผู้ครอบครองมารวบรวมไว้ในสํานวนโดยเฉพาะเอกสารหลักฐานที่นายจ้างจะต้องจัดทําไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 รวมทั้งสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้และมีหมายเลขประจําตัวประชาชนของผู้ถือบัตร สําเนาทะเบียนบ้าน สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวกับคดี
เอกสารที่ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จัดทําเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นจัดทําคําแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กําหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคําแปลนั้น เว้นแต่พนักงานเจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารนั้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการรับรองความถูกต้องของคําแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทําขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
(7) กระทําการอื่นตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้อํานาจไว้ โดยให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงแน่ชัดในการกระทําความผิด
การบันทึกตาม (1) ถึง (4) พนักงานเจ้าหน้าที่อาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อื่นทําการบันทึกแทนได้ ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนหรือพิมพ์แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มอบหมายลงลายมือชื่อในบันทึกนั้น และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มอบหมายเป็นผู้ทําบันทึกนั้น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ความผิดตามข้อ 9 (2) (3) (4) และ (7)
ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะสามารถทําได้เพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา และเพื่อจะรู้ตัว หรือยืนยันหรือชี้ชัด และพิสูจน์ให้เห็นความผิดของผู้กระทําความผิด
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําความเห็นว่าควรดําเนินคดีหรือไม่ดําเนินคดีแล้วส่งพร้อมกับสํานวนไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาสั่งการถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าควรดําเนินคดี ให้ผู้บังคับบัญชานั้นสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีต่อไป
สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาและสั่งการให้ดําเนินคดีต่อไปหรือให้งดการดําเนินคดี
สําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ความเห็นของผู้บังคับบัญชานั้นเป็นที่สุด
ผู้ใดจะเป็นผู้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๘ เมื่อมีคําสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามข้อ 7 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการดําเนินคดีในทะเบียนการดําเนินคดีอาญาแล้วเร่งรัดดําเนินคดีอาญาต่อไปโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ภายในกําหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ ๙ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการเปรียบเทียบก่อน เว้นแต่ความผิดดังต่อไปนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีโดยการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนโดยเร็ว โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการเปรียบเทียบ
(1) ความผิดที่มีพฤติการณ์พิเศษ หรือเกิดผลกระทบกับลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจํานวนมาก
(2) ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กโดยมีการทารุณ หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือการบังคับใช้แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(3) ความผิดตามมาตรา 16 มาตรา 45 (1) มาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(4) ความผิดตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(5) ความผิดตามมาตรา 139 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 37 (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553
(6) ความผิดตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือความผิดตามมาตรา 45 หรือมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือความผิดตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย
(7) ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 39/1 มาตรา 42 มาตรา 47 มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้าง หรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
(8) ความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 หรือความผิดตามมาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
(9) ความผิดตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 10 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยมีเจตนาที่จะหน่วงเหนี่ยวให้ลูกจ้างทํางานต่อไปโดยลูกจ้างไม่ยินยอม
(10) ความผิดตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันมีลักษณะเป็นการหักเพื่อชําระหนี้ที่เป็นค่าใช้จ่ายหรือที่ทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการนําลูกจ้างมาทํางาน ไม่ว่าหนี้นั้นจะมีอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม หรือมีลักษณะเป็นการหักค่าจ้างอันเนื่องมาจากการหลอกลวงให้ลูกจ้างเป็นหนี้เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง
(11) ความผิดตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยเรียกเก็บบัตรประจําตัวประชาชนของลูกจ้าง หนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางชั่วคราว เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเอกสารรับรองบุคคล ใบอนุญาตทํางาน และบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยของลูกจ้าง เป็นหลักประกันการทํางาน
(12) ความผิดที่มีการกระทําความผิดอาญาตามกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วย
ข้อ ๑๐ ความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ หรือที่สามารถเปรียบเทียบได้แต่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบเห็นสมควรไม่เปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 159 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือมาตรา 49 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือมาตรา 71 วรรคสี่ และมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
หมวด ๒ การดําเนินคดีเปรียบเทียบ
-----------------------------------------
ข้อ ๑๑ การดําเนินคดีเปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบหรือไปพบผู้ถูกกล่าวหาด้วยตนเอง เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือวาจาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบแล้วสอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกคําให้การ ตามแบบ กสร.นก. 1 ท้ายระเบียบนี้ และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อไว้ด้วย
การมาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ผู้ถูกกล่าวหาอาจมอบอํานาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นซึ่งเป็นผู้ที่รู้หรือเข้าใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพการจ้างและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการของผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานเจ้าหน้าที่แทนก็ได้ ทั้งนี้ ผู้รับมอบอํานาจนั้นสามารถให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธแทนผู้ถูกกล่าวหาได้
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยินยอมให้เปรียบเทียบหรือไม่ เมื่อผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อในบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบตามแบบ กสร.นก. 2 ท้ายระเบียบนี้ ทั้งนี้ ผู้รับมอบอํานาจตามวรรคสองจะลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 แทนผู้ถูกกล่าวหามิได้
หากเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 พนักงานเจ้าหน้าที่จะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้นําเงินมาชําระให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน หรือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านเว้นแต่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจะแจ้งการสละสิทธิในการรับเงินเป็นหนังสือ
ในกรณีที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พนักงานเจ้าหน้าที่จะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ชําระเงินคืนกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามจํานวนที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง
การลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 ตามวรรคสาม ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นนิติบุคคลให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อในแบบ กสร.นก. 2 ในฐานะนิติบุคคลและในฐานะส่วนตัวโดยในฐานะนิติบุคคลนั้น ให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะยินยอมให้เปรียบเทียบเป็นผู้ลงลายมือชื่อและประทับตราเป็นสําคัญตามที่หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลกําหนดและในฐานะส่วนตัวให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลในขณะกระทําความผิดเป็นผู้ลงลายมือชื่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าเป็นดุลพินิจของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบที่จะทําการเปรียบเทียบหรือไม่ก็ได้
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบจะดําเนินการเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหานําเงินมาชําระให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน หรือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้าน เว้นแต่ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจะแจ้งการสละสิทธิในการรับเงินเป็นหนังสือ
ถ้าผู้ถูกกล่าวหาตกลงกับลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านผ่อนชําระเงินตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกเหตุนั้นไว้ และเสนอผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 เพื่อพิจารณาสั่งให้ชะลอการดําเนินคดีเปรียบเทียบจนกว่าผู้ถูกกล่าวหาจะได้ชําระเงินครบตามที่ตกลงก็ได้ แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินกว่ากําหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา
ในกรณีที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบจะดําเนินคดีเปรียบเทียบได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้ชําระเงินคืนกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามจํานวนที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง
ข้อ ๑๓ คดีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทําประวัติการกระทําความผิดรวมทั้งพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิดพร้อมด้วยความเห็นในการเปรียบเทียบเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบ
ในกรุงเทพมหานคร ให้ผู้อํานวยการสํานักหรือผู้อํานวยการกองที่พนักงานเจ้าหน้าที่เจ้าของสํานวนสังกัดอยู่ ส่งสํานวนคดีที่จะทําการเปรียบเทียบให้กองนิติการเพื่อพิจารณาตรวจสํานวนคดี เสนอผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ โดยนิติกรกองนิติการตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อผู้อํานวยการกองนิติการพิจารณาสํานวนคดีและเสนอความเห็นในการพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมทั้งจํานวนเงินค่าปรับต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอํานาจของสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่พิจารณาตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบโดยส่งเรื่องผ่านกองนิติการเพื่อให้ความเห็นประกอบการเปรียบเทียบของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ
สําหรับจังหวัดอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด พิจารณาตรวจสํานวน สรุปข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด โดยไม่ชักช้าหลังจากรับสํานวนคดี และให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพิจารณาสํานวนคดีและเสนอความเห็นในการพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมทั้งจํานวนเงินค่าปรับต่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ
ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบให้มีอํานาจเปรียบเทียบได้เฉพาะความผิดที่มีเหตุเกิดในท้องที่ที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบดํารงตําแหน่งในท้องที่หรือภายในจังหวัดนั้น ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบที่จะเปรียบเทียบหรือไม่รับเปรียบเทียบก็ได้
การสรุปข้อเท็จจริงและความเห็นในการเปรียบเทียบให้เป็นไปตามแบบ กสร.นก. 3 ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๔ สําหรับความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปสํานวนคดีแล้วส่งสํานวนคดีให้กองนิติการ เพื่อสรุปข้อเท็จจริงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบดําเนินการเปรียบเทียบต่อไป ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการเปรียบเทียบที่จะเปรียบเทียบหรือไม่รับเปรียบเทียบก็ได้
ให้กองนิติการปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการเปรียบเทียบ
ข้อ ๑๕ ในการเปรียบเทียบ ให้ดําเนินการเปรียบเทียบโดยคํานึงถึงพฤติการณ์แห่งการกระทําความผิด ความหนักเบาแห่งข้อหา ฐานะของผู้กระทําความผิด จํานวนลูกจ้าง เหตุบรรเทาโทษ และเหตุเพิ่มโทษ
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบ หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบมีความเห็นให้เปรียบเทียบให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ให้นิติกรกองนิติการหรือนิติกรสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่แจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยกําหนดให้ผู้ถูกกล่าวหานําเงินค่าปรับมาชําระ ณ กลุ่มงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สํานักคุ้มครองแรงงาน สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือกองบริหารการคลัง สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือกลุ่มงานกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน สํานักความปลอดภัยแรงงาน สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบ หากครบกําหนดแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชําระค่าปรับ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เว้นแต่กรณี มีเหตุอันสมควร นิติกรกองนิติการอาจนําคดีไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
(2) ในจังหวัดอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยกําหนดให้ผู้ถูกกล่าวหานําเงินค่าปรับมาชําระ ณ ที่ทําการของพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบ หากครบกําหนดแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่มาชําระค่าปรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่นําคดีไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดได้กระทําความผิดในหลายท้องที่หรือหลายจังหวัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่หรือจังหวัดที่พบการกระทําความผิดก่อนเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินคดี
ในกรณีที่ลูกจ้างยื่นคําร้องตามมาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือในกรณีที่ผู้รับงานไปทําที่บ้านยื่นคําร้องตามมาตรา 33 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือในกรณีที่พนักงานตรวจความปลอดภัยมีคําสั่งตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง สั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ที่ออกคําสั่งเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินคดี
ข้อ ๑๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับชําระเงินค่าปรับออกใบเสร็จรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือใบเสร็จรับเงินในราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือใบเสร็จรับเงินกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาและแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนทราบ เพื่อบันทึกหมายเหตุการชําระค่าปรับไว้ท้ายบันทึกความเห็นของผู้มีอํานาจเปรียบเทียบในแบบ กสร.นก. 3
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับชําระค่าปรับนําเงินค่าปรับส่งเป็นรายได้ของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือรายได้แผ่นดิน หรือรายได้ของกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือระเบียบกระทรวงการคลัง หรือระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานกําหนด แล้วแต่กรณี
หมวด ๓ การดําเนินคดีชั้นพนักงานสอบสวน
-----------------------------------
ข้อ ๑๘ การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน ให้ดําเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนที่ความผิดเกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตท้องที่ และนําพยานหลักฐานที่รวบรวมได้อันเกี่ยวกับการกระทําความผิด พร้อมบันทึกเหตุที่ผู้กระทําความผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบหรือไม่ชําระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นให้เปรียบเทียบหรือกรณีที่ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบมีความเห็นไม่เปรียบเทียบหรือกรณีความผิดตามข้อ 9 (1) ไปมอบให้พนักงานสอบสวนผู้รับเรื่องร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ
ในกรณีลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านเป็นผู้ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเองเมื่อได้รับการร้องขอจากพนักงานสอบสวน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่มีมอบให้พนักงานสอบสวนโดยเร็ว
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ติดตามผลการดําเนินคดีของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการเป็นระยะจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ข้อ ๑๙ ความผิดตามข้อ 9 (2) (4) และ (8) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนทันทีเมื่อทราบหรือพบว่ามีการกระทํา ความผิดเกิดขึ้น ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อใช้ในการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ความผิดตามข้อ 9 (3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการสอบสวนเบื้องต้นก่อนนําเรื่องไปร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยมีลูกจ้างผู้ถูกล่วงเกินทางเพศเป็นผู้เสียหายร่วมและพยานในคดี
ความผิดตามข้อ 9 (6) ให้พนักงานตรวจแรงงาน หรือพนักงานตรวจความปลอดภัยซึ่งมิได้รับการอํานวยความสะดวกหรือถูกขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นผู้ดําเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนพบว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 และผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบเมื่อพนักงานสอบสวนได้ส่งสํานวนการสอบสวนพร้อมหนังสือส่งตัวผู้ถูกกล่าวหาให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกกล่าวหานั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบตามมาตรา 159 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 49 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และมาตรา 71 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนเปรียบเทียบตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2 โดยไม่ต้องดําเนินการบันทึกคําให้การตามแบบ กสร.นก. 1 และบันทึกคํายินยอมให้เปรียบเทียบตามแบบ กสร.นก. 2 สําหรับความผิดตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปสํานวนคดีส่งให้กองนิติการ เพื่อสรุปข้อเท็จจริงตามแบบ กสร.นก. 3 เสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบดําเนินการเปรียบเทียบต่อไป
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีหนังสือส่งตัวผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อเปรียบเทียบโดยมิได้ส่งสํานวนการสอบสวนมาด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการเปรียบเทียบตามที่กําหนดไว้ในหมวด 2
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบในชั้นพนักงานอัยการและพนักงานอัยการได้ส่งตัวผู้ถูกกล่าวหามาเพื่อเปรียบเทียบ ให้นําความในข้อ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๑/๑ เมื่อมีการดําเนินคดีผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายตามข้อ 9 (8) และผู้กระทําความผิดมีหนังสือขอให้ทบทวนการพิจารณาเปรียบเทียบ หน่วยงานเจ้าของเรื่องอาจมีหนังสือขอให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพิจารณา ทบทวนความเห็นการเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ให้สรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเสนอความเห็นส่งให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานโดยเร็ว
ให้มีคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ประกอบด้วยอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เป็นประธาน ผู้อํานวยการกองความปลอดภัยแรงงานหรือผู้แทน และผู้อํานวยการกองนิติการหรือผู้แทน เป็นกรรมการ มีอํานาจพิจารณาทบทวนการดําเนินคดีอาญาผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง โดยให้นิติกร กองนิติการ รับผิดชอบงานธุรการ ของคณะกรรมการดังกล่าว
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 พิจารณาแล้วเสร็จ ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบพิจารณาดําเนินการต่อไป
ข้อ ๒๑/๒ ความผิดที่เกิดในเขตกรุงเทพมหานคร สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิด เมื่อผู้มีอํานาจเปรียบเทียบพิจารณากําหนดค่าปรับผู้กระทําความผิด หากผู้กระทําความผิดมีหนังสือถึงหน่วยงานเจ้าของเรื่องหรือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อขอให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบพิจารณาทบทวนค่าปรับ ในกรณีมีหนังสือถึงหน่วยงานเจ้าของเรื่อง ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องมีหนังสือขอให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพิจารณาทบทวนค่าปรับ ทั้งนี้ ให้สรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องและเสนอความเห็นส่งให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานโดยเร็ว
ให้มีคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบด้วย อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เป็นประธาน ผู้อํานวยการกองนิติการหรือผู้แทน ผู้อํานวยการกองคุ้มครองแรงงานหรือผู้แทน เป็นกรรมการ มีอํานาจพิจารณาทบทวนการดําเนินคดีอาญาผู้กระทําความผิด ตามวรรคหนึ่ง โดยให้นิติกร กองนิติการ รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการดังกล่าว
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พิจารณาทบทวนค่าปรับแล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการดังกล่าว มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาทบทวนค่าปรับให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบพิจารณาต่อไป
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายินยอมให้เปรียบเทียบในชั้นพนักงานสอบสวนหรือชั้นพนักงานอัยการ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการทราบว่าคดีเลิกกันตามมาตรา 159 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือมาตรา 49 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 หรือมาตรา 71 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 (4)
ข้อ ๒๓ ในการดําเนินคดีทางพนักงานสอบสวนซึ่งพนักงานสอบสวนมีอํานาจเปรียบเทียบหรือมีการนําคดีไปสู่ศาล หากศาลมีคําพิพากษาให้ปรับผู้กระทําความผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานศาลส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี
หมวด ๔ การรายงานผลการดําเนินคดี
---------------------------------------------
ข้อ ๒๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานการดําเนินคดี การชําระค่าปรับและการส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง หรือส่งเป็นรายได้แผ่นดิน หรือกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้อธิบดีโดยผ่านกองนิติการทราบทันทีที่มีการดําเนินคดี โดยส่งสําเนาแบบ กสร.นก. 1 กสร.นก. 2 กสร.นก. 3 หลักฐานการส่งเงินค่าปรับ หลักฐานการร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน หมายจับสําเนาคําฟ้องต่อศาลและสําเนาคําพิพากษาของศาลประกอบการรายงาน ส่วนสํานวนคดีให้เก็บรักษาไว้ที่สํานักงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกผลการดําเนินคดีผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทันทีที่มีการดําเนินคดี
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องคดี และหรือพนักงานอัยการมีคําสั่งไม่ฟ้องคดี หรือในกรณีศาลมีคําพิพากษายกฟ้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานรายงานผลคดีให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบทันที ทั้งนี้ ให้กองนิติการตรวจสํานวนคดี พร้อมทั้งสรุปและวิเคราะห์ผลคดีเพื่อหาแนวทางแก้ไข เสนอต่ออธิบดีโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๒๕ การดําเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้ดําเนินการตามระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2554 ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558
พีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,752 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558
--------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2558 เพื่อให้การดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและทําให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการดําเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๙ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 ที่สามารถเปรียบเทียบได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีตามขั้นตอนการเปรียบเทียบก่อน เว้นแต่ความผิดดังต่อไปนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินคดีโดยการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนโดยเร็วโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการเปรียบเทียบ
(1) ความผิดที่มีพฤติการณ์พิเศษ หรือเกิดผลกระทบกับลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านจํานวนมาก
(2) ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กโดยมีการทารุณ หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือการบังคับใช้แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(3) ความผิดตามมาตรา 16 มาตรา 45 (1) มาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(4) ความผิดตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
(5) ความผิดตามมาตรา 139 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 37 (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553
(6) ความผิดตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือความผิดตามมาตรา 45 หรือมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือความผิดตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย
(7) ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 39/1 มาตรา 42 มาตรา 47 มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความผิดตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
(8) ความผิดตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 หรือความผิดตามมาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างหรือผู้รับงานไปทําที่บ้านได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
(9) ความผิดตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 10 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยมีเจตนาที่จะหน่วงเหนี่ยวให้ลูกจ้างทํางานต่อไปโดยลูกจ้างไม่ยินยอม
(10) ความผิดตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เฉพาะมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันมีลักษณะเป็นการหักเพื่อชําระหนี้ที่เป็นค่าใช้จ่ายหรือที่ทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการนําลูกจ้างมาทํางาน ไม่ว่าหนี้นั้นจะมีอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม หรือมีลักษณะเป็นการหักค่าจ้างอันเนื่องมาจากการหลอกลวงให้ลูกจ้างเป็นหนี้เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง
(11) ความผิดที่มีการกระทําความผิดอาญาตามกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วย”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558
พรรณี ศรียุทธศักดิ์
รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,753 |
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2542 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน
และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
พ.ศ. 2542
-----------------------------------------
โดยที่มาตรา 129 วรรคสาม (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีอํานาจหน้าที่วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2542”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ วิธีปฏิบัติอื่นใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกําหนดโดยอนุโลม
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การรับเงิน
-----------------------------------------
ข้อ ๖ ให้กองทุนรับเงินได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เงินสด เช็ค ตั๋วแลกเงิน หรือธนาณัติ
(2) โดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๗ เช็คที่จะรับทุกกรณีต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) มิใช่เช็คโอนสลักหลัง
(2) มีรายการครบถ้วนตามมาตรา 988 แห่งประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์
(3) วันที่ออกเช็คจะต้องเป็นวันที่นําเช็คนั้นมาชําระหรือเป็นเช็คที่ลงวันที่ก่อนวันชําระไม่เกินเจ็ดวัน และมิใช่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้า
(4) เป็นเช็คขีดคร่อม สั่งจ่ายเงินแก่ “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” และขีดฆ่าคําว่า “ผู้ถือ” ออก
ข้อ ๘ การรับเช็คเพื่อชําระค่าปรับตามมาตรา 159 และการรับเช็คเพื่อชดใช้คืนตามมาตรา 135 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ต้องเป็นเช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่ายให้กองทุน
ข้อ ๙ ให้กองทุนออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชําระเงินทุกครั้ง เว้นแต่รายรับซึ่งตามลักษณะไม่อยู่ในสภาพที่จะออกใบเสร็จรับเงินได้ก็ให้ใช้หลักฐานการรับเงินแทน
ใบเสร็จรับเงินให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ และให้มีสําเนาสองฉบับเพื่อส่งสํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหนึ่งฉบับ และติดไว้กับเล่มหนึ่งฉบับ
ข้อ ๑๐ เงินที่กองทุนได้รับ ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนําส่งเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” ภายในวันที่ได้รับเงินหรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไป
หมวด ๒ การจ่ายเงิน
---------------------------------------
ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินจากกองทุนให้จ่ายในกรณีดังต่อไปนี้
(1) จ่ายเป็นเงินสงเคราะห์ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
(2) จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน
(3) จ่ายเป็นเงินลงทุนเพื่อการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
การจ่ายเงินตามข้อ 11 (1) (2) และ (3) ในส่วนกลางให้จ่ายจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 2” และการจ่ายเงินตามข้อ 11 (1) และ (2) ในส่วนภูมิภาคให้จ่ายจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด.......บัญชีกระแสรายวัน” โดยผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินตามข้อ 12 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงิน
(1) การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามข้อ 11 (1) หรือการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนตามข้อ 11 (2) สําหรับส่วนกลางให้เป็นอํานาจของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สําหรับส่วนภูมิภาคให้เป็นอํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
(2) การจ่ายเงินลงทุนเพื่อจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนตามข้อ 11 (3) ให้เป็นอํานาจของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ข้อ ๑๓ วิธีการจ่ายเงินให้จ่ายได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เช็ค หรือตั๋วแลกเงิน
(2) โดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๑๔ การเขียนเช็คสั่งจ่าย ให้เขียนเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน และขีดฆ่าคําว่า “ผู้ถือ” ออก
ข้อ ๑๕ การจ่ายเงินตามข้อ 11 (1) ให้ใช้ใบรับเงินท้ายแบบคําขอซึ่งผู้รับเงินลงชื่อรับเงินแล้วเป็นหลักฐานการจ่าย และให้เก็บหลักฐานดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
ข้อ ๑๖ ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจัดทําประมาณการรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของกองทุนเสนอคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบในแต่ละปี และให้จัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละสิบของดอกผลของกองทุนต่อปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของกองทุน โดยให้ใช้จ่ายเฉพาะรายจ่ายในลักษณะหมวดรายจ่ายดังต่อไปนี้
(1) ค่าจ้างชั่วคราว
(2) ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
(3) ค่าสาธารณูปโภค
(4) ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
(5) รายจ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
หมวด ๓ การเก็บรักษาเงิน
-------------------------------------
ข้อ ๑๗ ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารแห่งละ 3 บัญชี คือ
(1) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” เพื่อการโอนเงินเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีออมทรัพย์” เท่านั้น
(2) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีออมทรัพย์” เพื่อการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างบัญชีกระแสรายวัน 2” เท่านั้น
(3) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 2” เพื่อจ่ายตามข้อ 11(1) (2) และ (3) หรือเพื่อการโอนเงินเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด.... บัญชีออมทรัพย์” เท่านั้น
ข้อ ๑๘ ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารแห่งละ 2 บัญชี คือ
(1) บัญชีเงินฝากออกทรัพย์ โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด บัญชีออมทรัพย์” เพื่อการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด... บัญชีกระแสรายวัน” เท่านั้น
(2) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างจังหวัด..... บัญชีกระแสรายวัน” เพื่อจ่ายตามข้อ 11 (1) และ (2) เท่านั้น
ข้อ ๑๙ บรรดาเงินรายรับทั้งปวงของทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้นําส่งเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” จะหักไว้เพื่อการใดมิได้
ข้อ ๒๐ บัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด... บัญชีออมทรัพย์” ให้มีวงเงินตามที่อธิบดีกําหนด การโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ข้อ ๒๑ การโอนเงินจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” ไปยังบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีออมทรัพย์” ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ข้อ ๒๒ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 2” ให้มีผู้ลงลายมือชื่อในเช็คร่วมกันสองคน ซึ่งต้องเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 8 ที่อธิบดีมอบหมาย และข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 6 ในสํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ข้อ ๒๓ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด.......บัญชีกระแสรายวัน” ให้มีผู้ลงลายมือชื่อในเช็คร่วมกันสองคน ซึ่งต้องเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 6 ที่อธิบดีมอบหมาย และข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 5 ในสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
ข้อ ๒๔ เงินกองทุนที่ได้รับไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้โอนเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
หมวด ๔ การบัญชี
--------------------------------------
ข้อ ๒๕ ระบบบัญชีของกองทุนให้ปฏิบัติตามระบบบัญชีคู่ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
ข้อ ๒๖ ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจัดทํารายงานการรับจ่ายเงินกองทุนประจําเดือนเสนอคณะกรรมการเพื่อทราบภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป
ข้อ ๒๗ การปิดบัญชีให้กระทําปีละครั้งตามปีปฏิทิน และจัดทํางบการเงินพร้อมรายละเอียดส่งสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
ข้อ ๒๘ ให้คณะกรรมการเสนองบการเงินซึ่งสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒๙ ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบเกี่ยวกับการดําเนินงาน การเงิน การบัญชี การพัสดุ แล้วรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
ข้อ ๓๐ นายจ้างรายใดเป็นบุคคลล้มละลาย หรือได้จดทะเบียนเลิกกิจการหรือมิได้ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนเลิกกิจการ หรือถูกถอนทะเบียนการประกอบกิจการและไม่อยู่ในฐานะที่จะชําระหนี้ได้ หรือในกรณีหนี้นั้นขาดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง ให้จําหน่ายออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดยให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขออนุมัติจากคณะกรรมการและขอทําความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นรายๆ ไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ประสงค์ รณะนันทน์
ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง | 4,754 |
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2542 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน
และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
พ.ศ. 2542
-----------------------------------------------
โดยที่มาตรา 129 วรรคสาม (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีอํานาจหน้าที่วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2542”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ วิธีปฏิบัติอื่นใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกําหนดโดยอนุโลม
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ การรับเงิน
-------------------------------------
ข้อ ๖ ให้กองทุนรับเงินได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เงินสด เช็ค ตั๋วแลกเงิน หรือธนาณัติ
(2) โดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๗ เช็คที่จะรับทุกกรณีต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) มิใช่เช็คโอนสลักหลัง
(2) มีรายการครบถ้วนตามมาตรา 988 แห่งประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์
(3) วันที่ออกเช็คจะต้องเป็นวันที่นําเช็คนั้นมาชําระหรือเป็นเช็คที่ลงวันที่ก่อนวันชําระไม่เกินเจ็ดวัน และมิใช่เช็คที่ลงวันที่ล่วงหน้า
(4) เป็นเช็คขีดคร่อม สั่งจ่ายเงินแก่ “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” และขีดฆ่าคําว่า “ผู้ถือ” ออก
ข้อ ๘ การรับเช็คเพื่อชําระค่าปรับตามมาตรา 159 และการรับเช็คเพื่อชดใช้คืนตามมาตรา 135 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ต้องเป็นเช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่ายให้กองทุน
ข้อ ๙ ให้กองทุนออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชําระเงินทุกครั้ง เว้นแต่รายรับซึ่งตามลักษณะไม่อยู่ในสภาพที่จะออกใบเสร็จรับเงินได้ก็ให้ใช้หลักฐานการรับเงินแทน
ใบเสร็จรับเงินให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ และให้มีสําเนาสองฉบับเพื่อส่งสํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหนึ่งฉบับ และติดไว้กับเล่มหนึ่งฉบับ
ข้อ ๑๐ เงินที่กองทุนได้รับ ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนําส่งเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” ภายในวันที่ได้รับเงินหรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไป
หมวด ๒ การจ่ายเงิน
-----------------------------------
ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินจากกองทุนให้จ่ายในกรณีดังต่อไปนี้
(1) จ่ายเป็นเงินสงเคราะห์ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
(2) จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน
(3) จ่ายเป็นเงินลงทุนเพื่อการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
การจ่ายเงินตามข้อ 11 (1) (2) และ (3) ในส่วนกลางให้จ่ายจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 2” และการจ่ายเงินตามข้อ 11 (1) และ (2) ในส่วนภูมิภาคให้จ่ายจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด.......บัญชีกระแสรายวัน” โดยผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงินตามข้อ 12 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นผู้มีอํานาจอนุมัติการจ่ายเงิน
(1) การจ่ายเงินสงเคราะห์ตามข้อ 11 (1) หรือการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนตามข้อ 11 (2) สําหรับส่วนกลางให้เป็นอํานาจของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สําหรับส่วนภูมิภาคให้เป็นอํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
(2) การจ่ายเงินลงทุนเพื่อจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนตามข้อ 11 (3) ให้เป็นอํานาจของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ข้อ ๑๓ วิธีการจ่ายเงินให้จ่ายได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เช็ค หรือตั๋วแลกเงิน
(2) โดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๑๔ การเขียนเช็คสั่งจ่าย ให้เขียนเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน และขีดฆ่าคําว่า “ผู้ถือ” ออก
ข้อ ๑๕ การจ่ายเงินตามข้อ 11 (1) ให้ใช้ใบรับเงินท้ายแบบคําขอซึ่งผู้รับเงินลงชื่อรับเงินแล้วเป็นหลักฐานการจ่าย และให้เก็บหลักฐานดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
ข้อ ๑๖ ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจัดทําประมาณการรายจ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของกองทุนเสนอคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบในแต่ละปี และให้จัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละสิบของดอกผลของกองทุนต่อปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของกองทุน โดยให้ใช้จ่ายเฉพาะรายจ่ายในลักษณะหมวดรายจ่ายดังต่อไปนี้
(1) ค่าจ้างชั่วคราว
(2) ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
(3) ค่าสาธารณูปโภค
(4) ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
(5) รายจ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
หมวด ๓ การเก็บรักษาเงิน
----------------------------------
ข้อ ๑๗ ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารแห่งละ 3 บัญชี คือ
(1) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” เพื่อการโอนเงินเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีออมทรัพย์” เท่านั้น
(2) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีออมทรัพย์” เพื่อการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างบัญชีกระแสรายวัน 2” เท่านั้น
(3) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 2” เพื่อจ่ายตามข้อ 11(1) (2) และ (3) หรือเพื่อการโอนเงินเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด.... บัญชีออมทรัพย์” เท่านั้น
ข้อ ๑๘ ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารแห่งละ 2 บัญชี คือ
(1) บัญชีเงินฝากออกทรัพย์ โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด บัญชีออมทรัพย์” เพื่อการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด... บัญชีกระแสรายวัน” เท่านั้น
(2) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างจังหวัด..... บัญชีกระแสรายวัน” เพื่อจ่ายตามข้อ 11 (1) และ (2) เท่านั้น
ข้อ ๑๙ บรรดาเงินรายรับทั้งปวงของทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้นําส่งเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” จะหักไว้เพื่อการใดมิได้
ข้อ ๒๐ บัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด... บัญชีออมทรัพย์” ให้มีวงเงินตามที่อธิบดีกําหนด การโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ข้อ ๒๑ การโอนเงินจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” ไปยังบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีออมทรัพย์” ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ข้อ ๒๒ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 2” ให้มีผู้ลงลายมือชื่อในเช็คร่วมกันสองคน ซึ่งต้องเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 8 ที่อธิบดีมอบหมาย และข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 6 ในสํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ข้อ ๒๓ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจังหวัด.......บัญชีกระแสรายวัน” ให้มีผู้ลงลายมือชื่อในเช็คร่วมกันสองคน ซึ่งต้องเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 6 ที่อธิบดีมอบหมาย และข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 5 ในสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
ข้อ ๒๔ เงินกองทุนที่ได้รับไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้โอนเข้าบัญชี “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง บัญชีกระแสรายวัน 1” ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
หมวด ๔ การบัญชี
--------------------------------------------
ข้อ ๒๕ ระบบบัญชีของกองทุนให้ปฏิบัติตามระบบบัญชีคู่ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
ข้อ ๒๖ ให้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจัดทํารายงานการรับจ่ายเงินกองทุนประจําเดือนเสนอคณะกรรมการเพื่อทราบภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดไป
ข้อ ๒๗ การปิดบัญชีให้กระทําปีละครั้งตามปีปฏิทิน และจัดทํางบการเงินพร้อมรายละเอียดส่งสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
ข้อ ๒๘ ให้คณะกรรมการเสนองบการเงินซึ่งสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒๙ ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบเกี่ยวกับการดําเนินงาน การเงิน การบัญชี การพัสดุ แล้วรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ประสงค์ รณะนันทน์
ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง | 4,755 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2545 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
พ.ศ. 2545
-----------------------------------------------------
โดยที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2545 เพื่อจัดตั้งกองทุนในลักษณะเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้ผู้รับงานไปทําที่บ้านกู้ไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการผลิตหรือการขยายการผลิตให้มากขึ้น เป็นการสร้างอาชีพ สร้างโอกาสการมีงานทําและรายได้ให้กับผู้รับงานไปทําที่บ้าน ก่อให้เกิดกระแสหมุนเวียนของเงินตราขึ้นในชุมชน การรับงานไปทําที่บ้านนั้น สามารถรองรับผู้ว่างงานและผู้ถูกเลิกจ้างอันเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและเป็นการสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยเร็ว ดังนั้น เพื่อให้การบริหารและการใช้จ่ายเงินกองทุนดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2545”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ วิธีปฏิบัติอื่นใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามข้อกําหนดในระเบียบนี้ ให้ขอทําความตกลงกับกระทรวงการคลัง
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้และมีอํานาจตีความ วินิจฉัยปัญหา กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ข้อ ๖ ในระเบียบนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
“ผู้รับงานไปทําที่บ้าน” หมายความว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรับงานจากเจ้าของงานหรือคนกลางไปผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมหรือแปรรูปสิ่งของตามที่ได้ตกลงในบ้านของตนเองหรือสถานที่ที่มิใช่สถานประกอบกิจการของเจ้าของงานเพื่อรับค่าจ้าง
“กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน” หมายความว่า กลุ่มของผู้รับงานไปทําที่บ้านที่รวมตัวกันไม่น้อยกว่าสิบคนเพื่อรับงานไปทําที่บ้าน และได้จดทะเบียนไว้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
หมวด ๑ กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
--------------------------------------------
ข้อ ๗ กองทุน ประกอบด้วย
(1) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(2) เงินที่มีผู้บริจาคให้
(3) ดอกผลของเงินกองทุน
(4) เงินรายได้อื่น
ข้อ ๘ กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับงานไปทําที่บ้านกู้ไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการผลิตหรือขยายการผลิต เพื่อสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับผู้รับงานไปทําที่บ้าน
ข้อ ๙ เงินกองทุนให้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้
(1) จ่ายเป็นเงินกู้ให้แก่กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน
(2) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดี
(3) ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการจัดกิจการของกองทุน
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านปิดบัญชีกองทุนไว้ที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เรียกว่า “บัญชีกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน”
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านมีบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ตามที่คณะกรรมการกําหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ วิเคราะห์และประเมินสินเชื่อ ติดตามสินเชื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บริการสินเชื่อ บริหารด้านการเงินการบัญชี รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการและอนุกรรมการมอบหมายเพื่อใช้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๒ คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
------------------------------
ข้อ ๑๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน” ประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนกรมการพัฒนาชุมชน ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนธนาคารออมสิน ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ผู้แทนกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผน ผู้แทนกองนิติการ ผู้แทนกองคลัง เป็นกรรมการ ผู้อํานวยการสํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน เป็นกรรมการและเลขานุการ และหัวหน้าฝ่ายโครงการพิเศษ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบาย กํากับและดูแลบริหารงานกองทุน
(2) อนุมัติเงินกู้
(3) ออกระเบียบและข้อบังคับการบริหารงานกองทุน
(4) อนุมัติค่าใช้จ่ายเพื่อการบริหารงานกองทุนตามความจําเป็น
(5) ปฏิบัติการอื่นตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้หรือตามที่อธิบดีมอบหมาย
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้
ข้อ ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มติในที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเรื่องที่พิจารณา ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม
ข้อ ๑๖ การประชุมของคณะอนุกรรมการให้นําข้อ 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การให้กู้และการชําระหนี้
-----------------------------------
ข้อ ๑๗ กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านที่ประสงค์จะกู้เงินจากกองทุน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านที่ได้จดทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(2) เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านที่มีการจัดการที่ชัดเจน
(3) เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านมีทรัพย์สินหรือเงินทุนร่วมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท
(4) เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านที่ดําเนินการร่วมกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(5) ยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกําหนดตามระเบียบนี้ทุกประการ
ข้อ ๑๘ ระยะเวลาการชําระคืนเงินกู้และอัตราดอกเบี้ย ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
หมวด ๔ การยื่นคําขอกู้และการพิจารณาคําร้องขอกู้
----------------------------------------
ข้อ ๑๙ การยื่นคําร้องขอกู้ ให้สมาชิกกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านยื่นคําร้องขอกู้ตามแบบที่อธิบดีกําหนด พร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของสมาชิกกลุ่มหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งแสดงได้ว่าระบุถึงตัวผู้นั้น
(2) สําเนาทะเบียนบ้านซึ่งต้องอยู่ในเขตจังหวัดที่ยื่นขอกู้
(3) โครงการที่ขอกู้ และรายละเอียดการประกอบกิจการของกลุ่ม
(4) แผนผังที่อยู่อาศัยของสมาชิกทุกคนและที่ตั้งของสถานที่ทํางานของกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน
(5) สําเนาหลักฐานการจดทะเบียนกลุ่ม
ข้อ ๒๐ การยื่นคําร้องขอ ให้ยื่นต่อ
(1) ส่วนกลาง ให้ยื่นคําร้องที่สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านหรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่
(2) ส่วนภูมิภาค ให้ยื่นคําร้องที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
ข้อ ๒๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาคําร้องขอกู้
ข้อ ๒๒ เมื่อสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดหรือสํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านหรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ ได้รับคําร้องแล้วให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและวิเคราะห์เสนอความเห็นให้คณะอนุกรรมการตามข้อ 21 เพื่อพิจารณา
ข้อ ๒๓ การพิจารณาอนุมัติเงินกู้ ให้พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) วัตถุประสงค์และความเป็นไปได้ของโครงการที่ขอกู้
(2) ความสามารถในการบริหารจัดการของกลุ่ม
(3) ความสามารถในการชําระคืนของกลุ่ม
(4) หลักประกันในการกู้
(5) หนี้สินของกลุ่ม
ข้อ ๒๔ คณะกรรมการเป็นผู้มีอํานาจอนุมัติเงินกู้ และอาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ภายในวงเงินที่คณะกรรมการกําหนดก็ได้
ข้อ ๒๕ ก่อนการจ่ายเงินกู้ให้แก่กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดให้ผู้กู้มาทําสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่อธิบดีกําหนด
ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายลงนามในสัญญาในฐานะผู้ให้กู้ และให้สมาชิกกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านผู้กู้เป็นผู้ลงนามในฐานะผู้กู้ทุกคน
ผู้กู้จะต้องชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนภายในระยะเวลาที่กําหนดตามสัญญา
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือความจําเป็นเกิดขึ้น ถ้าเห็นเป็นการสมควรคณะกรรมการอาจพิจารณาให้ระงับการคิดดอกเบี้ยหรือผ่อนผันเลื่อนกําหนดเวลาการส่งใช้คืน ทั้งนี้ ยกเว้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากกรณีที่กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านนําเงินที่ได้จากการกู้ไปใช้ผิดความมุ่งหมายตามที่ระบุในสัญญาและอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายได้เรียกเงินกู้คืน
ข้อ ๒๖ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาการใช้เงินคืนตามสัญญา หากกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านไม่ชําระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในกําหนดหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายบอกกล่าวเป็นหนังสือแก่กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านและให้ผู้กู้ชําระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวเมื่อพ้นกําหนดนี้แล้วหากไม่ชําระหนี้ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายดําเนินการตามกฎหมายเพื่อบังคับชําระหนี้ต่อไป
หมวด ๕ การเงินและการบัญชี
---------------------
ข้อ ๒๗ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร 3 บัญชี
(1) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 1” เพื่อรับเงินทั้งปวงของกองทุนและโอนเงินเข้าบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีออมทรัพย์”
(2) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านบัญชีออมทรัพย์” เพื่อการโอนเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 2” เท่านั้น
(3) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 2” เพื่อจ่ายเงินตามข้อ 9
ข้อ ๒๘ ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีกระแสรายวัน 1 บัญชี ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปที่บ้านจังหวัด.......บัญชีกระแสรายวัน” เพื่อรับเงินจากส่วนกลางและเพื่อจ่ายเงินตามข้อ 9
ข้อ ๒๙ ให้กองทุนรับเงินได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด เช็ค ตั๋วแลกเงิน หรือธนาณัติ
(2) โดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๓๐ ให้กองทุนออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชําระเงินทุกครั้ง เว้นแต่รายรับซึ่งตามลักษณะไม่อยู่ในสภาพที่จะออกใบเสร็จรับเงินได้ก็ให้ใช้หลักฐานการรับเงินแทน
ใบเสร็จรับเงินให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ และให้มีสําเนาสองฉบับเพื่อส่งสํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านหนึ่งฉบับ และติดไว้กับเล่มหนึ่งฉบับ
ข้อ ๓๑ เงินที่กองทุนได้รับ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านและสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนําส่งเข้าบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 1” ภายในวันที่ได้รับเงินหรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไป
ข้อ ๓๒ การจ่ายเงินกู้ในส่วนกลาง ให้จ่ายบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 2” ในส่วนภูมิภาคให้จ่ายจากบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านจังหวัด........บัญชีกระแสรายวัน”
ข้อ ๓๓ วิธีการจ่ายเงินให้จ่ายได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เช็ค หรือตั๋วแลกเงิน
(2) โดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๓๔ การเขียนเช็คสั่งจ่าย ให้เขียนเช็คสั่งจ่ายในนามผู้กู้หรือผู้ได้รับมอบอํานาจจากผู้กู้และขีดฆ่าคําว่า “ผู้ถือ” ออก
ข้อ ๓๕ การจ่ายเงินกู้ให้ใช้ใบรับเงินท้ายแบบสัญญากู้ ซึ่งผู้รับเงินลงชื่อรับเงินแล้วเป็นหลักฐานการจ่าย
ข้อ ๓๖ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 2” ให้มีผู้ลงลายมือชื่อในเช็คร่วมกันสองคน ซึ่งต้องเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 8 ที่อธิบดีมอบหมายและข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 6 ในสํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน
ข้อ ๓๗ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านจังหวัด.......บัญชีกระแสรายวัน” ให้มีผู้ลงลายมือชื่อในเช็คร่วมกันสองคน ซึ่งต้องเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 6 ที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดมอบหมาย
ข้อ ๓๘ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน จัดทําประมาณการรายรับรายจ่ายประจําปี และจัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละ 10 ของดอกผลของกองทุนต่อปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานกองทุน เสนอคณะกรรมการและกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นชอบในแต่ละปี โดยให้ใช้จ่ายเฉพาะรายจ่ายในลักษณะหมวดรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(1) ค่าจ้างชั่วคราว
(2) ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
(3) ค่าสาธารณูปโภค
(4) ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
(5) รายจ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
ข้อ ๓๙ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นผู้สั่งจ่ายตามรายการและภายในวงเงินประมาณรายจ่ายประจําปีที่กระทรวงการคลังอนุมัติตามข้อ 38
ข้อ ๔๐ การบัญชีให้ทําตามระบบบัญชีคู่ เกณฑ์เงินคงค้างตามที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
ข้อ ๔๑ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน จัดทํารายงานการรับจ่ายเงินกองทุนประจําเดือน เสนอคณะกรรมการเพื่อทราบภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นเดือน
ข้อ ๔๒ การปิดบัญชีให้กระทําปีละครั้งตามปีปฏิทิน และจัดทํางบการเงินพร้อมรายละเอียดประกอบส่งสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นสุดปีปฏิทิน เมื่อสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองแล้ว ให้ส่งสําเนางบการเงินดังกล่าว ให้กรมบัญชีกลางและคณะกรรมการเพื่อทราบต่อไป
ข้อ ๔๓ การตัดหนี้สูญ ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขออนุมัติจากคณะกรรมการและขอทําความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นรายๆ ไป
ข้อ ๔๔ ให้หน่วยงานตรวจสอบภายใน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบเกี่ยวกับการดําเนินงานการเงินและบัญชีกองทุน การพัสดุ แล้วรายงานผลการตรวจสอบให้อธิบดีทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
ฐาปบุตร ชมเสวี
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,756 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2545 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
พ.ศ. 2545
--------------------------------------------------------
โดยที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2545 เพื่อจัดตั้งกองทุนในลักษณะเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้ผู้รับงานไปทําที่บ้านกู้ไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการผลิตหรือการขยายการผลิตให้มากขึ้น เป็นการสร้างอาชีพ สร้างโอกาสการมีงานทําและรายได้ให้กับผู้รับงานไปทําที่บ้าน ก่อให้เกิดกระแสหมุนเวียนของเงินตราขึ้นในชุมชน การรับงานไปทําที่บ้านนั้น สามารถรองรับผู้ว่างงานและผู้ถูกเลิกจ้างอันเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและเป็นการสนองนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยเร็ว ดังนั้น เพื่อให้การบริหารและการใช้จ่ายเงินกองทุนดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2545”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ วิธีปฏิบัติอื่นใดนอกเหนือจากที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามข้อกําหนดในระเบียบนี้ ให้ขอทําความตกลงกับกระทรวงการคลัง
ข้อ ๕ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้และมีอํานาจตีความ วินิจฉัยปัญหา กําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ข้อ ๖ ในระเบียบนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
“ผู้รับงานไปทําที่บ้าน” หมายความว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรับงานจากเจ้าของงานหรือคนกลางไปผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมหรือแปรรูปสิ่งของตามที่ได้ตกลงในบ้านของตนเองหรือสถานที่ที่มิใช่สถานประกอบกิจการของเจ้าของงานเพื่อรับค่าจ้าง
“กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน” หมายความว่า กลุ่มของผู้รับงานไปทําที่บ้านที่รวมตัวกันไม่น้อยกว่าสิบคนเพื่อรับงานไปทําที่บ้าน และได้จดทะเบียนไว้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
หมวด ๑ กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
------------------------------------------------
ข้อ ๗ กองทุน ประกอบด้วย
(1) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(2) เงินที่มีผู้บริจาคให้
(3) ดอกผลของเงินกองทุน
(4) เงินรายได้อื่น
ข้อ ๘ กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับงานไปทําที่บ้านกู้ไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการผลิตหรือขยายการผลิต เพื่อสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับผู้รับงานไปทําที่บ้าน
ข้อ ๙ เงินกองทุนให้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้
(1) จ่ายเป็นเงินกู้ให้แก่กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน
(2) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดี
(3) ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการจัดกิจการของกองทุน
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านเปิดบัญชีกองทุนไว้ที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เรียกว่า “บัญชีกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน”
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านมีบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ตามที่คณะกรรมการกําหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ วิเคราะห์และประเมินสินเชื่อ ติดตามสินเชื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้บริการสินเชื่อ บริหารด้านการเงินการบัญชี รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการและอนุกรรมการมอบหมายเพื่อใช้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๒ คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน
-----------------------------------
ข้อ ๑๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน” ประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสํานักงบประมาณ ผู้แทนกรมการพัฒนาชุมชน ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนธนาคารออมสิน ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ผู้แทนกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาตรฐานคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผน ผู้แทนกองนิติการ ผู้แทนกองคลัง เป็นกรรมการ ผู้อํานวยการสํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน เป็นกรรมการและเลขานุการ และหัวหน้าฝ่ายโครงการพิเศษ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กําหนดนโยบาย กํากับและดูแลบริหารงานกองทุน
(2) อนุมัติเงินกู้
(3) ออกระเบียบและข้อบังคับการบริหารงานกองทุน
(4) อนุมัติค่าใช้จ่ายเพื่อการบริหารงานกองทุนตามความจําเป็น
(5) ปฏิบัติการอื่นตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้หรือตามที่อธิบดีมอบหมาย
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้
ข้อ ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มติในที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเรื่องที่พิจารณา ผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม
ข้อ ๑๖ การประชุมของคณะอนุกรรมการให้นําข้อ 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การให้กู้และการชําระหนี้
---------------------------------------------
ข้อ ๑๗ กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านที่ประสงค์จะกู้เงินจากกองทุน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านที่ได้จดทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
(2) เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านที่มีการจัดการที่ชัดเจน
(3) เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านมีทรัพย์สินหรือเงินทุนร่วมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท
(4) เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านที่ดําเนินการร่วมกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(5) ยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกําหนดตามระเบียบนี้ทุกประการ
ข้อ ๑๘ ระยะเวลาการชําระคืนเงินกู้และอัตราดอกเบี้ย ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
หมวด ๔ การยื่นคําขอกู้และการพิจารณาคําร้องขอกู้
-----------------------------------------
ข้อ ๑๙ การยื่นคําร้องขอกู้ ให้สมาชิกกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านยื่นคําร้องขอกู้ตามแบบที่อธิบดีกําหนด พร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของสมาชิกกลุ่มหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งแสดงได้ว่าระบุถึงตัวผู้นั้น
(2) สําเนาทะเบียนบ้านซึ่งต้องอยู่ในเขตจังหวัดที่ยื่นขอกู้
(3) โครงการที่ขอกู้ และรายละเอียดการประกอบกิจการของกลุ่ม
(4) แผนผังที่อยู่อาศัยของสมาชิกทุกคนและที่ตั้งของสถานที่ทํางานของกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน
(5) สําเนาหลักฐานการจดทะเบียนกลุ่ม
ข้อ ๒๐ การยื่นคําร้องขอ ให้ยื่นต่อ
(1) ส่วนกลาง ให้ยื่นคําร้องที่สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านหรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่
(2) ส่วนภูมิภาค ให้ยื่นคําร้องที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
ข้อ ๒๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาคําร้องขอกู้
ข้อ ๒๒ เมื่อสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดหรือสํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านหรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ ได้รับคําร้องแล้วให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและวิเคราะห์เสนอความเห็นให้คณะอนุกรรมการตามข้อ 21 เพื่อพิจารณา
ข้อ ๒๓ การพิจารณาอนุมัติเงินกู้ ให้พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) วัตถุประสงค์และความเป็นไปได้ของโครงการที่ขอกู้
(2) ความสามารถในการบริหารจัดการของกลุ่ม
(3) ความสามารถในการชําระคืนของกลุ่ม
(4) หลักประกันในการกู้
(5) หนี้สินของกลุ่ม
ข้อ ๒๔ คณะกรรมการเป็นผู้มีอํานาจอนุมัติเงินกู้ และอาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ภายในวงเงินที่คณะกรรมการกําหนดก็ได้
ข้อ ๒๕ ก่อนการจ่ายเงินกู้ให้แก่กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดให้ผู้กู้มาทําสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่อธิบดีกําหนด
ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายลงนามในสัญญาในฐานะผู้ให้กู้ และให้สมาชิกกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านผู้กู้เป็นผู้ลงนามในฐานะผู้กู้ทุกคน
ผู้กู้จะต้องชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนภายในระยะเวลาที่กําหนดตามสัญญา
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือความจําเป็นเกิดขึ้น ถ้าเห็นเป็นการสมควรคณะกรรมการอาจพิจารณาให้ระงับการคิดดอกเบี้ยหรือผ่อนผันเลื่อนกําหนดเวลาการส่งใช้คืน ทั้งนี้ ยกเว้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากกรณีที่กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านนําเงินที่ได้จากการกู้ไปใช้ผิดความมุ่งหมายตามที่ระบุในสัญญาและอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายได้เรียกเงินกู้คืน
ข้อ ๒๖ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาการใช้เงินคืนตามสัญญา หากกลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านไม่ชําระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในกําหนดหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายบอกกล่าวเป็นหนังสือแก่กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้านและให้ผู้กู้ชําระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว เมื่อพ้นกําหนดนี้แล้วหากไม่ชําระหนี้ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายดําเนินการตามกฎหมายเพื่อบังคับชําระหนี้ต่อไป
หมวด ๕ การเงินและการบัญชี
-----------------------------------
ข้อ ๒๗ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร 3 บัญชี
(1) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 1” เพื่อรับเงินทั้งปวงของกองทุนและโอนเงินเข้าบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีออมทรัพย์”
(2) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านบัญชีออมทรัพย์” เพื่อการโอนเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 2” เท่านั้น
(3) บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 2” เพื่อจ่ายเงินตามข้อ 9
ข้อ ๒๘ ให้สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีกระแสรายวัน 1 บัญชี ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านจังหวัด.......บัญชีกระแสรายวัน” เพื่อรับเงินจากส่วนกลางและเพื่อจ่ายเงินตามข้อ 9
ข้อ ๒๙ ให้กองทุนรับเงินได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด เช็ค ตั๋วแลกเงิน หรือธนาณัติ
(2) โดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๓๐ ให้กองทุนออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชําระเงินทุกครั้ง เว้นแต่รายรับซึ่งตามลักษณะไม่อยู่ในสภาพที่จะออกใบเสร็จรับเงินได้ก็ให้ใช้หลักฐานการรับเงินแทน
ใบเสร็จรับเงินให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ และให้มีสําเนาสองฉบับเพื่อส่งสํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านหนึ่งฉบับ และติดไว้กับเล่มหนึ่งฉบับ
ข้อ ๓๑ เงินที่กองทุนได้รับ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้านและสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนําส่งเข้าบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 1” ภายในวันที่ได้รับเงินหรืออย่างช้าภายในวันทําการถัดไป
ข้อ ๓๒ การจ่ายเงินกู้ในส่วนกลาง ให้จ่ายบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 2” ในส่วนภูมิภาคให้จ่ายจากบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านจังหวัด........บัญชีกระแสรายวัน”
ข้อ ๓๓ วิธีการจ่ายเงินให้จ่ายได้โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เช็ค หรือตั๋วแลกเงิน
(2) โดยวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๓๔ การเขียนเช็คสั่งจ่าย ให้เขียนเช็คสั่งจ่ายในนามผู้กู้หรือผู้ได้รับมอบอํานาจจากผู้กู้และขีดฆ่าคําว่า “ผู้ถือ” ออก
ข้อ ๓๕ การจ่ายเงินกู้ให้ใช้ใบรับเงินท้ายแบบสัญญากู้ ซึ่งผู้รับเงินลงชื่อรับเงินแล้วเป็นหลักฐานการจ่าย
ข้อ ๓๖ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน บัญชีกระแสรายวัน 2” ให้มีผู้ลงลายมือชื่อในเช็คร่วมกันสองคน ซึ่งต้องเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 8 ที่อธิบดีมอบหมายและข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 6 ในสํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน
ข้อ ๓๗ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชี “กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านจังหวัด.......บัญชีกระแสรายวัน” ให้มีผู้ลงลายมือชื่อในเช็คร่วมกันสองคน ซึ่งต้องเป็นข้าราชการพลเรือนไม่ต่ํากว่าระดับ 6 ที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดมอบหมาย
ข้อ ๓๘ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน จัดทําประมาณการรายรับรายจ่ายประจําปี และจัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละ 10 ของดอกผลของกองทุนต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานกองทุน เสนอคณะกรรมการและกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นชอบในแต่ละปี โดยให้ใช้จ่ายเฉพาะรายจ่ายในลักษณะหมวดรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(1) ค่าจ้างชั่วคราว
(2) ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
(3) ค่าสาธารณูปโภค
(4) ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
(5) รายจ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
ข้อ ๓๙ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นผู้สั่งจ่ายตามรายการและภายในวงเงินประมาณรายจ่ายประจําปีที่กระทรวงการคลังอนุมัติตามข้อ 38
ข้อ ๔๐ การบัญชีให้ทําตามระบบบัญชีคู่ เกณฑ์เงินคงค้างตามที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
ข้อ ๔๑ ให้สํานักงานผู้รับงานไปทําที่บ้าน จัดทํารายงานการรับจ่ายเงินกองทุนประจําเดือน เสนอคณะกรรมการเพื่อทราบภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นเดือน
ข้อ ๔๒ การปิดบัญชีให้กระทําปีละครั้งตามปีงบประมาณ และจัดทํางบการเงินพร้อมรายละเอียดประกอบ ส่งสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นสุดปีงบประมาณ เมื่อสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองแล้ว ให้ส่งสําเนางบการเงินดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางและคณะกรรมการเพื่อทราบต่อไป
ข้อ ๔๓ การตัดหนี้สูญ ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขออนุมัติจากคณะกรรมการและขอทําความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นรายๆ ไป
ข้อ ๔๔ ให้หน่วยงานตรวจสอบภายใน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบเกี่ยวกับการดําเนินงานการเงินและบัญชีกองทุน การพัสดุ แล้วรายงานผลการตรวจสอบให้อธิบดีทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
ฐาปบุตร ชมเสวี
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,757 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545
---------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน พ.ศ. 2545
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 42 แห่งระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้าน และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 42 การปิดบัญชีให้กระทําปีละครั้งตามปีงบประมาณ และจัดทํางบการเงินพร้อมรายละเอียดประกอบ ส่งสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นสุดปีงบประมาณ เมื่อสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองแล้ว ให้ส่งสําเนางบการเงินดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางและคณะกรรมการเพื่อทราบต่อไป”
ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2545
ฐาปบุตร ชมเสวี
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,758 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว
พ.ศ. 2538
---------------------------------------------
เพื่อให้การบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์หรือป่วยด้วยโรคเอดส์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงกําหนดระเบียบว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัวไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2538
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2536 และระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“เงินสงเคราะห์” หมายความว่า เงินช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“ผู้ใช้แรงาน” หมายความว่า บุคคลที่เป็นลูกจ้างหรือเคยเป็นลูกจ้างที่ทํางานให้กับสถานประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ โดยได้รับค่าจ้างเป็นสิ่งตอบแทน
“ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์” หมายความว่า ผู้ใช้แรงงานที่แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์หรือผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์
“ครอบครัว” หมายความว่า บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร รวมถึงบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะของผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์
หมวด ๑ เงินสงเคราะห์
--------------------------------------------
ข้อ ๕ เงินสงเคราะห์ประกอบด้วย
(1) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(2) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(3) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่นๆ โดยไม่ได้มีเงื่อนไขผูกพันต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาระติดพันอื่นๆ
(4) เงินที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมหาทุน
ข้อ ๖ การจ่ายเงินสงเคราะห์ให้จ่ายได้ไม่เกินรายละสองหมื่นบาทต่อปี ในกรณีต่อไปนี้
(1) ทุนฝึกอาชีพ
(ก) ค่าฝึกอาชีพไม่เกิน 5,000 บาท
(ข) ค่าอุปกรณ์การฝึกอาชีพและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการฝึกอาชีพ
(ค) เงินเลี้ยงชีพระหว่างฝึกอาชีพ ไม่เกิน 5,000 บาท
(2) ทุนประกอบอาชีพ
(ก) ค่าอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพ
(ข) เงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ
(3) ทุนการศึกษา ไม่เกินระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และอายุไม่เกิน 25 ปี จ่ายให้บุตรหรือผู้อยู่ในอุปการะ จํานวนไม่เกินครอบครัวละสามคน
(ก) ค่าเล่าเรียนตามระดับการศึกษาต่อปี ดังนี้
- ระดับอนุบาล คนละไม่เกิน 1,000 บาท
- ระดับประถมศึกษา คนละไม่เกิน 1,500 บาท
- ระดับมัธยมศึกษา คนละไม่เกิน 1,500 บาท
- ระดับไม่เกินประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง คนละไม่เกิน 2,500 บาท
(ข) ค่าอุปกรณ์การศึกษาและเสื้อผ้า ไม่เกินคนละ 2,000 บาท
(ค) เงินเลี้ยงชีพระหว่างศึกษา ไม่เกินครอบครัวละ 5,000 บาท
หมวด ๒ คณะกรรมการ
----------------------------------------------
ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการระดับกรม เรียกว่า “คณะกรรมการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว” มีจํานวนไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 13 คน ประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานกรรมการ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ที่กํากับดูแลงานกองสวัสดิการแรงงาน) เป็นรองประธานกรรมการ ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการเทียบเท่ากอง เป็นกรรมการ ผู้อํานวยการกองสวัสดิการแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการจัดสวัสดิการส่วนภูมิภาค เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการตามข้อ 7 มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กําหนดนโยบายและกํากับดูแลการบริหารเงินสงเคราะห์
(2) วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบ
(3) พิจารณาปรับปรุงระเบียบ
(4) พิจารณาจัดหาเงินสงเคราะห์
(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การให้เงินสงเคราะห์
-------------------------------
ข้อ ๙ บุคคลที่อยู่ในข่ายได้รับเงินสงเคราะห์ ได้แก่
(1) ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์
(2) ครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์
ข้อ ๑๐ ให้บุคคลตามข้อ 9 ยื่นคําขอรับเงินสงเคราะห์ตามแบบขอรับเงินสงเคราะห์ กสว.อ.01 ต่อกองสวัสดิการแรงงาน หรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน
(2) สําเนาทะเบียนบ้าน
(3) กรณีขอรับทุนการศึกษา ให้แนบเอกสาร
(ก) หนังสือรับรองจากสถานศึกษาว่ากําลังศึกษาอยู่จริง
(ข) สําเนาทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรของผู้ศึกษา
ข้อ ๑๑ การยื่นแบบคําขอรับเงินสงเคราะห์ (กสว.อ.01) ให้ยื่นที่จังหวัดที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดนั้น และให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบันทึกข้อเท็จจริงตามแบบสอบข้อเท็จจริง (กสว.อ.02) ประกอบแบบคําขอรับเงินสงเคราะห์ (กสว.อ.01) ด้วย
ข้อ ๑๒ การพิจารณาอนุมัติให้เงินสงเคราะห์ ให้พิจารณาหลังจากได้รับเงินประจํางวดแล้ว และให้มีผลนับตั้งแต่วันที่อนุมัติจนถึงสิ้นปีงบประมาณ
ข้อ ๑๓ เมื่อคณะอนุกรรมการฯ ได้อนุมัติให้เงินสงเคราะห์แล้วปรากฏว่า ผู้ขอรับเงินสงเคราะห์เสียชีวิตก่อนที่จะได้รับเงิน ให้บุคคลในครอบครัวยื่นคําร้องพร้อมแสดงหลักฐานการเสียชีวิต บัตรประจําตัวประชาชนของผู้ยื่นคําร้องและเอกสารหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต เพื่อขอรับเงินแทน โดยขอรับเงินในประเภทเดิมและในวงเงินเท่าเดิม ถ้าหากจะขอเปลี่ยนประเภทเงินสงเคราะห์ จะต้องให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาตามความเหมาะสมในวงเงินเท่าเดิม
หมวด ๔ การเก็บรักษาเงินและการเบิกจ่ายเงิน
-------------------------------
ข้อ ๑๔ เงินสงเคราะห์ที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีให้เบิกจ่ายและเก็บรักษาไว้ตามระเบียบของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๕ เงินสงเคราะห์ที่ได้รับจากการบริจาคหรือจัดกิจกรรมหาทุน รวมทั้งเงินทดรองจ่ายที่ขอยืมจากเงินงบประมาณให้นําฝากไว้กับธนาคารของรัฐ ในชื่อบัญชี “เงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว”
หมวด ๑๖ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีตามข้อ 15 ในส่วนกลางให้ข้าราชการกองสวัสดิการแรงงาน ตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป เป็นผู้ลงนามร่วมกันอย่างน้อยสองคนในใบถอนเงิน
ส่วนภูมิภาคให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกับข้าราชการสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป เป็นผู้ลงนามร่วมกันอย่างน้อยสองคนในใบถอนเงิน
ข้อ ๑๗ ดอกผลที่เกิดจากการนําเงินฝากธนาคารในชื่อบัญชี “เงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว” ให้นําส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดินเมื่อสิ้นปีงบประมาณ
ข้อ ๑๘ เงินสงเคราะห์ที่อนุมัติแล้วแต่ไม่มีผู้มารับเงินภายใน 15 วัน หากยังไม่สิ้นปีงบประมาณให้นําส่งคลังในลักษณะเบิกเกินส่งคืน เพื่อพิจารณาอนุมัติจ่ายให้ผู้ยื่นคําขอรายอื่นต่อไป หากสิ้นปีงบประมาณแล้วให้นําส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน
ข้อ ๑๙ การปฏิบัติอื่นใดซึ่งมิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
ข้อ ๒๐ ให้อธิบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2538
รังสฤษฎ์ จันทรัตน์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,759 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว
พ.ศ. 2538
------------------------------------------------
เพื่อให้การบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์หรือป่วยด้วยโรคเอดส์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงกําหนดระเบียบว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัวไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2538
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2536 และระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“เงินสงเคราะห์” หมายความว่า เงินช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
“ผู้ใช้แรงาน” หมายความว่า บุคคลที่เป็นลูกจ้างหรือเคยเป็นลูกจ้างที่ทํางานให้กับสถานประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ โดยได้รับค่าจ้างเป็นสิ่งตอบแทน
“ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์” หมายความว่า ผู้ใช้แรงงานที่แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์หรือผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์
“ครอบครัว” หมายความว่า บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร รวมถึงบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะของผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์
หมวด ๑ เงินสงเคราะห์
---------------------------
ข้อ ๕ เงินสงเคราะห์ประกอบด้วย
(1) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี
(2) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(3) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่นๆ โดยไม่ได้มีเงื่อนไขผูกพันต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาระติดพันอื่นๆ
(4) เงินที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมหาทุน
ข้อ ๖ การจ่ายเงินสงเคราะห์ให้จ่ายได้ไม่เกินรายละสองหมื่นบาทต่อปี ในกรณีต่อไปนี้
(1) ทุนฝึกอาชีพ
(ก) ค่าฝึกอาชีพไม่เกิน 5,000 บาท
(ข) ค่าอุปกรณ์การฝึกอาชีพและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการฝึกอาชีพ
(ค) เงินเลี้ยงชีพระหว่างฝึกอาชีพ ไม่เกิน 5,000 บาท
(2) ทุนประกอบอาชีพ
(ก) ค่าอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพ
(ข) เงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ
(3) ทุนการศึกษา ไม่เกินระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และอายุไม่เกิน 25 ปี จ่ายให้บุตรหรือผู้อยู่ในอุปการะ จํานวนไม่เกินครอบครัวละสามคน
(ก) ค่าเล่าเรียนตามระดับการศึกษาต่อปี ดังนี้
- ระดับอนุบาล คนละไม่เกิน 1,000 บาท
- ระดับประถมศึกษา คนละไม่เกิน 1,500 บาท
- ระดับมัธยมศึกษา คนละไม่เกิน 1,500 บาท
- ระดับไม่เกินประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง คนละไม่เกิน 2,500 บาท
(ข) ค่าอุปกรณ์การศึกษาและเสื้อผ้า ไม่เกินคนละ 2,000 บาท
(ค) เงินเลี้ยงชีพระหว่างศึกษา ไม่เกินครอบครัวละ 5,000 บาท
หมวด ๒ คณะกรรมการ
-----------------------------------
ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการระดับกรม เรียกว่า “คณะกรรมการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว” มีจํานวนไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 13 คน ประกอบด้วย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานกรรมการ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ที่กํากับดูแลงานกองสวัสดิการแรงงาน) เป็นรองประธานกรรมการ ผู้อํานวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการเทียบเท่ากอง เป็นกรรมการ ผู้อํานวยการกองสวัสดิการแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการจัดสวัสดิการส่วนภูมิภาค เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการตามข้อ 7 มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กําหนดนโยบายและกํากับดูแลการบริหารเงินสงเคราะห์
(2) วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบ
(3) พิจารณาปรับปรุงระเบียบ
(4) พิจารณาจัดหาเงินสงเคราะห์
(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานดําเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓ หลักเกณฑ์การให้เงินสงเคราะห์
----------------------------------
ข้อ ๙ บุคคลที่อยู่ในข่ายได้รับเงินสงเคราห์ ได้แก่
(1) ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์
(2) ครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์
ข้อ ๑๐ ให้บุคคลตามข้อ 9 ยื่นคําขอรับเงินสงเคราะห์ตามแบบขอรับเงินสงเคราะห์ กสว.อ.01 ต่อกองสวัสดิการแรงงาน หรือสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน
(2) สําเนาทะเบียนบ้าน
(3) กรณีขอรับทุนการศึกษา ให้แนบเอกสาร
(ก) หนังสือรับรองจากสถานศึกษาว่ากําลังศึกษาอยู่จริง
(ข) สําเนาทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตรของผู้ศึกษา
(4) ใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือหนังสือรับรองของนักสังคมสงเคราะห์ประจําสถานพยาบาล
ข้อ ๑๑ การยื่นแบบคําขอรับเงินสงเคราะห์ (กสว.อ.01) ให้ยื่นที่จังหวัดที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดนั้น และให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบันทึกข้อเท็จจริงตามแบบสอบข้อเท็จจริง (กสว.อ.02) ประกอบแบบคําขอรับเงินสงเคราะห์ (กสว.อ.01) ด้วย
ข้อ ๑๒ การพิจารณาอนุมัติให้เงินสงเคราะห์ ให้พิจารณาหลังจากได้รับเงินประจํางวดแล้ว และให้มีผลนับตั้งแต่วันที่อนุมัติจนถึงสิ้นปีงบประมาณ
ข้อ ๑๓ เมื่อคณะอนุกรรมการฯ ได้อนุมัติให้เงินสงเคราะห์แล้วปรากฏว่า ผู้ขอรับเงินสงเคราะห์เสียชีวิตก่อนที่จะได้รับเงิน ให้บุคคลในครอบครัวยื่นคําร้องพร้อมแสดงหลักฐานการเสียชีวิต บัตรประจําตัวประชาชนของผู้ยื่นคําร้องและเอกสารหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต เพื่อขอรับเงินแทน โดยขอรับเงินในประเภทเดิมและในวงเงินเท่าเดิม ถ้าหากจะขอเปลี่ยนประเภทเงินสงเคราะห์ จะต้องให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาตามความเหมาะสมในวงเงินเท่าเดิม
หมวด ๔ การเก็บรักษาเงินและการเบิกจ่ายเงิน
---------------------------------
ข้อ ๑๔ เงินสงเคราะห์ที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีให้เบิกจ่ายและเก็บรักษาไว้ตามระเบียบของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๕ เงินสงเคราะห์ที่ได้รับจากการบริจาคตามข้อ 5 (2) หรือการจัดกิจกรรมหาทุนตามข้อ 5 (4) ให้นําฝากไว้กับธนาคารของรัฐ ชื่อบัญชี “เงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว”
ข้อ ๑๖ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีตามข้อ 15 ในส่วนกลางให้ข้าราชการกองสวัสดิการแรงงาน ตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป เป็นผู้ลงนามร่วมกันอย่างน้อยสองคนในใบถอนเงิน
ส่วนภูมิภาคให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกับข้าราชการสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป เป็นผู้ลงนามร่วมกันอย่างน้อยสองคนในใบถอนเงิน
ข้อ ๑๗ ดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคาร ชื่อบัญชี “เงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว” ให้นํามาใช้ประโยชน์ เพื่อการสงเคราะห์ตามข้อ 6 แห่งระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการบริหารเงินสงเคราะห์ผู้ใช้แรงงานที่ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว พ.ศ. 2538
ข้อ ๑๘ เงินสงเคราะห์ที่อนุมัติแล้วแต่ไม่มีผู้มารับเงินภายใน 15 วัน หากยังไม่สิ้นปีงบประมาณให้นําส่งคลังในลักษณะเบิกเกินส่งคืน เพื่อพิจารณาอนุมัติจ่ายให้ผู้ยื่นคําขอรายอื่นต่อไป หากสิ้นปีงบประมาณแล้วให้นําส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน
ข้อ ๑๙ การปฏิบัติอื่นใดซึ่งมิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
ข้อ ๒๐ ให้อธิบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2538
รังสฤษฎ์ จันทรัตน์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,760 |
ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง ว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตำแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด พ.ศ. 2552 | ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง
ว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของ
คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด
พ.ศ. 2552
---------------------------------------
โดยที่มาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 กําหนดให้คณะกรรมการค่าจ้างมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมอบหมายได้ ดังนั้น เพื่อให้การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดเป็นไปอย่างเหมาะสม คณะกรรมการค่าจ้างจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“องค์การนายจ้าง” หมายความว่า สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
“องค์การลูกจ้าง” หมายความว่า สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
ข้อ ๕ ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดในแต่ละจังหวัดเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมอบหมาย ให้คณะอนุกรรมการประกอบด้วยอนุกรรมการฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละเท่ากัน จํานวนรวมกันไม่เกินสิบห้าคน
คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ และแรงงานจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๖ อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดซึ่งเป็นฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป
(3) เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4) เป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการในจังหวัดนั้น และในกรณีที่นายจ้างเป็นสมาชิกขององค์การนายจ้างต้องมีหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกจากองค์การนายจ้างนั้น หรือ
เป็นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการในจังหวัดนั้นซึ่งไม่มีอํานาจหน้าที่ทําการแทนนายจ้างสําหรับกรณีการจ้าง การให้บําเหน็จ หรือการเลิกจ้าง และในกรณีที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกขององค์การลูกจ้างต้องมีหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกจากองค์การลูกจ้างนั้น
(5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ไม่เป็นกรรมการค่าจ้าง อนุกรรมการสรรหา อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นตํ่ากรุงเทพมหานคร หรืออนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดในจังหวัดอื่น
(7) ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๗ การได้มาซึ่งอนุกรรมการฝ่ายรัฐบาล เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ให้แรงงานจังหวัดเสนอรายชื่อของหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดนั้น เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๘ การได้มาซึ่งอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ให้ปลัดกระทรวงแรงงานแจ้งให้สภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งทราบ เพื่อเสนอรายชื่อนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกในจังหวัด ไม่เกินองค์การละสามคนเพื่อสมัครเข้ารับการคัดเลือก ณ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดและให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดประกาศเชิญชวนให้ สหพันธ์นายจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สหภาพแรงงาน นายจ้างและลูกจ้างในจังหวัดนั้น ๆ สมัครเข้ารับการคัดเลือกด้วย
ข้อ ๙ เมื่อมีผู้สมัครตามข้อ 8 แล้วให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร และส่งรายชื่อผู้สมัครพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ให้แก่คณะอนุกรรมการสรรหาที่คณะกรรมการค่าจ้างแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการสรรหาประกอบด้วย อนุกรรมการฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างตามจํานวนที่คณะกรรมการค่าจ้างเห็นสมควร โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการและสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๑๐ ให้คณะอนุกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและทําการคัดเลือกอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดโดยให้พิจารณา ดังนี้
(1) อนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างซึ่งได้รับการคัดเลือก เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ต้องไม่มาจากสถานประกอบกิจการเดียวกัน ยกเว้นอนุกรรมการฝ่ายลูกจ้างที่มาจากองค์การลูกจ้าง
(2) อนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างซึ่งได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ต้องมาจากหลากหลายประเภทกิจการยกเว้นจังหวัดนั้น ๆ มีสถานประกอบกิจการไม่มากนัก
(3) ผู้สมัครที่มาจากสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างในจังหวัดนั้น ให้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกรวมอยู่ด้วย
(4) ผู้สมัครที่มาจากสหพันธ์นายจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์แรงงาน และสหภาพแรงงานในจังหวัดนั้น ให้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกรวมอยู่ด้วย
เมื่อคณะอนุกรรมการสรรหาได้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครซึ่งเป็นอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างเสร็จแล้วให้นํารายชื่ออนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างพร้อมกับรายชื่ออนุกรรมการฝ่ายรัฐบาลซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้คัดเลือกแล้วเสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดต่อไป
ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ขึ้นบัญชีเป็นอนุกรรมการสํารอง
ข้อ ๑๑ อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดซึ่งเป็นฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6
(4) คณะกรรมการค่าจ้างมีมติให้ออกเนื่องจากขาดการประชุมสามครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
(5) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดซึ่งเป็นฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างพ้นจากตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้แรงงานจังหวัดเสนอชื่ออนุกรรมการสํารองตามข้อ 10 วรรคสาม โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 วรรคหนึ่ง มาใช้โดยอนุโลมเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดแทน
ในกรณีไม่มีอนุกรรมการสํารอง ให้แรงงานจังหวัดแจ้งสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเพื่อดําเนินการสรรหาอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างในการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดแทนตําแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ ระเบียบนี้ไม่ใช้ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ํากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑๓ ให้ประธานกรรมการค่าจ้างรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมชาย ชุ่มรัตน์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง | 4,761 |
ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง ว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตำแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง
ว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของ
คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด
พ.ศ. 2552
---------------------------
โดยที่มาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 กําหนดให้คณะกรรมการค่าจ้างมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมอบหมายได้ ดังนั้น เพื่อให้การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดเป็นไปอย่างเหมาะสม คณะกรรมการค่าจ้างจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างว่าด้วยคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“องค์การนายจ้าง” หมายความว่า สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง และสภาองค์การนายจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
“องค์การลูกจ้าง” หมายความว่า สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
ข้อ ๕ ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดในแต่ละจังหวัดเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมอบหมาย ให้คณะอนุกรรมการประกอบด้วยอนุกรรมการฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละเท่ากัน จํานวนรวมกันไม่เกินสิบห้าคน
คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ และแรงงานจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๖ อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดซึ่งเป็นฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป
(3) เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4) เป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการในจังหวัดนั้น และในกรณีที่นายจ้างเป็นสมาชิกขององค์การนายจ้างต้องมีหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกจากองค์การนายจ้างนั้น หรือ
เป็นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการในจังหวัดนั้นซึ่งไม่มีอํานาจหน้าที่ทําการแทนนายจ้างสําหรับกรณีการจ้าง การให้บําเหน็จ หรือการเลิกจ้าง และในกรณีที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกขององค์การลูกจ้างต้องมีหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกจากองค์การลูกจ้างนั้น
(5) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ไม่เป็นกรรมการค่าจ้าง อนุกรรมการสรรหา อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นตํ่ากรุงเทพมหานคร หรืออนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดในจังหวัดอื่น
(7) ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๗ การได้มาซึ่งอนุกรรมการฝ่ายรัฐบาลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ให้แรงงานจังหวัดเสนอรายชื่อของผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในจังหวัดนั้นเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๘ การได้มาซึ่งอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ให้ปลัดกระทรวงแรงงานแจ้งให้สภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างทุกแห่งทราบ เพื่อเสนอรายชื่อนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกในจังหวัด ไม่เกินองค์การละสามคนเพื่อสมัครเข้ารับการคัดเลือก ณ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดและให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดประกาศเชิญชวนให้ สหพันธ์นายจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สหภาพแรงงาน นายจ้างและลูกจ้างในจังหวัดนั้น ๆ สมัครเข้ารับการคัดเลือกด้วย
ข้อ ๙ เมื่อมีผู้สมัครตามข้อ 8 แล้วให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร และส่งรายชื่อผู้สมัครพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ให้แก่คณะอนุกรรมการสรรหาที่คณะกรรมการค่าจ้างแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการสรรหาประกอบด้วย อนุกรรมการฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างตามจํานวนที่คณะกรรมการค่าจ้างเห็นสมควร โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการและสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๑๐ ให้คณะอนุกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและทําการคัดเลือกอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดโดยให้พิจารณา ดังนี้
(1) อนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างซึ่งได้รับการคัดเลือก เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ต้องไม่มาจากสถานประกอบกิจการเดียวกัน ยกเว้นอนุกรรมการฝ่ายลูกจ้างที่มาจากองค์การลูกจ้าง
(2) อนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างซึ่งได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ต้องมาจากหลากหลายประเภทกิจการยกเว้นจังหวัดนั้น ๆ มีสถานประกอบกิจการไม่มากนัก
(3) ผู้สมัครที่มาจากสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างในจังหวัดนั้น ให้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกรวมอยู่ด้วย
(4) ผู้สมัครที่มาจากสหพันธ์นายจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์แรงงาน และสหภาพแรงงานในจังหวัดนั้น ให้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกรวมอยู่ด้วย
เมื่อคณะอนุกรรมการสรรหาได้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครซึ่งเป็นอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างเสร็จแล้วให้นํารายชื่ออนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างพร้อมกับรายชื่ออนุกรรมการฝ่ายรัฐบาลซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้คัดเลือกแล้วเสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดต่อไป
ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 6 แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ขึ้นบัญชีเป็นอนุกรรมการสํารอง
ข้อ ๑๑ อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดซึ่งเป็นฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6
(4) คณะกรรมการค่าจ้างมีมติให้ออกเนื่องจากขาดการประชุมสามครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
(5) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดซึ่งเป็นฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างพ้นจากตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้แรงงานจังหวัดเสนอชื่ออนุกรรมการสํารองตามข้อ 10 วรรคสาม โดยให้นําหลักเกณฑ์ตามข้อ 10 วรรคหนึ่ง มาใช้โดยอนุโลมเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดแทน
ในกรณีไม่มีอนุกรรมการสํารอง ให้แรงงานจังหวัดแจ้งสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเพื่อดําเนินการสรรหาอนุกรรมการฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างในการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดแทนตําแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ ระเบียบนี้ไม่ใช้ในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ํากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑๓ ให้ประธานกรรมการค่าจ้างรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมชาย ชุ่มรัตน์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง | 4,762 |
ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง ว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตำแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 | ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้าง
ว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของ
คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2557
------------------------------------
โดยที่มาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 กําหนดให้คณะกรรมการค่าจ้างมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมอบหมายได้ ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2557 เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2552 เพื่อให้การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัดเป็นไปอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้นคณะกรรมการค่าจ้างจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของระเบียบคณะกรรมการค่าจ้างว่าด้วยการได้มาและการพ้นจากตําแหน่งของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗ การได้มาซึ่งอนุกรรมการฝ่ายรัฐบาลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ําจังหวัด ให้แรงงานจังหวัดเสนอรายชื่อของผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในจังหวัดนั้นเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกตามที่เห็นสมควร”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จีรศักดิ์ สุคนธชาติ
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง | 4,763 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2549 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
พ.ศ. 2549
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 กําหนดให้หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2549”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน
--------------------------------------
ข้อ ๔ ข้อ 4 หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน
(2) หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานมีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสําคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และการนํากฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
(3) หมวดวิชาที่ 3 การค้นหาอันตรายจากการทํางาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ค) การสอบสวนและการรายงานอุบัติเหตุ
(4) หมวดวิชาที่ 4 การป้องกันและควบคุมอันตราย มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทํางาน
(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
(ฌ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
หมวด ๒ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค
-----------------------------------------
ข้อ ๕ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํา งานระดับเทคนิค มีระยะเวลาการฝึกอบรมสิบแปดชั่วโมง ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 การจัดการความปลอดภัยในการทํางาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) แนวคิดการจัดการเพื่อความปลอดภัยในการทํางาน
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค
(2) หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานมีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) สาระสําคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(ข) การตรวจสอบความปลอดภัยตามข้อกําหนดของกฎหมาย
(3) หมวดวิชาที่ 3 การวิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย มีระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทํางาน
(ข) เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันโรคจากการทํางาน
(ค) เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติภัยร้ายแรง
(4) หมวดวิชาที่ 4 การฝึกปฏิบัติการป้องกันและควบคุมอันตราย มีระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การฝึกปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยตามข้อกําหนดของกฎหมาย
(ข) การฝึกปฏิบัติการจัดทําขั้นตอนการปฏิบัติงาน
(ค) การฝึกปฏิบัติการสอบสวนอุบัติเหตุและการจัดทํารายงาน
หมวด ๓ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง
---------------------------------------
ข้อ ๖ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง มีระยะเวลาการฝึกอบรมหนึ่งร้อยแปดสิบชั่วโมง ประกอบด้วย 6 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 กฎหมายและการส่งเสริมความปลอดภัย มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามสิบชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของกระทรวงแรงงาน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ข) สาระสําคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานระยะเวลาเก้าชั่วโมง
(ค) สาระสําคัญของกฎหมายกองทุนเงินทดแทน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ง) ความปลอดภัยสําหรับลูกจ้างที่รับเข้ามาทํางานใหม่และความปลอดภัยในสํานักงานระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(จ) ความปลอดภัยนอกงาน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฉ) มนุษย์สัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ช) การสื่อสารระหว่างบุคคลและการมีส่วนร่วม ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ซ) การสอนงานและการฝึกปฏิบัติ ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฌ) การฝึกอบรมลูกจ้างด้านความปลอดภัย ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ญ) สารสนเทศความปลอดภัย ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฎ) กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ระยะเวลาสามชั่วโมง
(2) หมวดวิชาที่ 2 สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามสิบชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ความรู้พื้นฐานและกฎหมายเกี่ยวกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ข) อันตรายจากความร้อน ความเย็น อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและการป้องกันระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ค) อันตรายจากเสียงดังและการอนุรักษ์การได้ยิน อันตรายจากความสั่นสะเทือน อันตรายจากความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติและการป้องกัน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ง) อันตรายจากรังสีและการป้องกัน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(จ) ความปลอดภัยในการทํางานในสถานที่อับอากาศ ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฉ) อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางเคมีและการป้องกัน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ช) ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ซ) การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางานและฝึกปฏิบัติ ระยะเวลาสิบสองชั่วโมง
(ฌ) หลักการควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ญ) การจัดการอุบัติภัยจากสารเคมี ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(3) หมวดวิชาที่ 3 เทคโนโลยีและวิศวกรรมความปลอดภัย มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามสิบชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ความรู้พื้นฐานและกฎหมายที่เกี่ยวกับวิศวกรรมความปลอดภัย ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ข) ระบบการอนุญาตทํางาน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ค) ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ง) ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับหม้อน้ําและถังความดัน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(จ) ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่นและเครื่องมือกล ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฉ) การบํารุงรักษาเพื่อความปลอดภัย ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ช) ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ซ) ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฌ) การป้องกันและระงับอัคคีภัย ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ญ) หลักการระบายอากาศ ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฎ) การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฏ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(4) หมวดวิชาที่ 4 การดูแลสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามสิบชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ความรู้พื้นฐานและกฎหมายที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของลูกจ้างมีระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ข) การค้นหาปัญหาสุขภาพและสาเหตุการเจ็บป่วยในกลุ่มลูกจ้าง ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ค) การประเมินความเสี่ยงโรคจากการทํางาน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ง) การตรวจสุขภาพลูกจ้าง ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(จ) การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อการวางแผน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฉ) การเฝ้าระวังสุขภาพลูกจ้าง ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ช) การเฝ้าระวังโรคด้วยวิธีการระบาดวิทยา ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ซ) หลักการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฌ) การปฐมพยาบาลในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ญ) การสาธิตและฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาล ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฎ) การสร้างเสริมสุขภาพลูกจ้าง ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฏ) การจัดการปัญหาจิตวิทยาสังคมในสถานที่ทํางานด้วยเทคนิค SOLVE ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฐ) การป้องกันและควบคุมปัญหาเหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติดในสถานประกอบกิจการระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฑ) การจัดสวัสดิการด้านสุขภาพและหน่วยบริการในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฒ) การสัมมนาแนวทางดําเนินงานเพื่อการดูแลสุขภาพลูกจ้าง ระยะเวลาสามชั่วโมง
(5) หมวดวิชาที่ 5 การยศาสตร์และการปรับปรุงสภาพการทํางาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามสิบชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการยศาสตร์ ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ข) จิตวิทยาในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์ ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ค) การวัดขนาดสัดส่วนของร่างกายมนุษย์ ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ง) หน่วยที่ทํางานและท่าทางการทํางาน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(จ) เครื่องมือและปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเครื่องจักร ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฉ) การยศาสตร์ในสํานักงาน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ช) การยกย้ายวัสดุสิ่งของโดยการใช้อุปกรณ์และไม่ใช้อุปกรณ์ ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ซ) การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทํางานและการบริหารเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฌ) มาตรฐานสีและเครื่องหมายความปลอดภัย ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ญ) การเพิ่มผลผลิตและการปรับปรุงสถานที่ทํางาน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฎ) การสํารวจทางด้านการยศาสตร์ ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฏ) การวิเคราะห์ลักษณะงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางการยศาสตร์เพื่อปรับปรุงสภาพการทํางาน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฐ) การศึกษาดูงานในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฑ) การสัมมนาวิเคราะห์ผลการศึกษาดูงาน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(6) หมวดวิชาที่ 6 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามสิบชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) แนวคิดระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ข) แนวคิดมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของกระทรวงแรงงาน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ค) ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของสํา นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ง) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย การจัดทํามาตรฐานการปฏิบัติงานและการเฝ้าสังเกตงาน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(จ) การสอบสวน การวิเคราะห์อุบัติเหตุ และการรายงานอุบัติเหตุ ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฉ) การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทํางาน ระยะเวลาหกชั่วโมง
(ช) การตรวจความปลอดภัย ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ซ) แผนฉุกเฉินและการเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉิน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที
(ฌ) การจัดทําและการวิเคราะห์แผนงานโครงการความปลอดภัย ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ญ) การวัดผล การประเมินผลการปฏิบัติงานและการตรวจประเมินภายใน ระยะเวลาสามชั่วโมง
(ฎ) ประสบการณ์การจัดทําระบบการจัดการอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลาสามชั่วโมง
หมวด ๔ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ
-------------------------------------
ข้อ ๗ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํา งานระดับวิชาชีพ มีระยะเวลาการฝึกอบรมสี่สิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย 3 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย มีระยะเวลาการฝึกอบรม สิบสองชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) แนวคิดการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
(ข) การประเมินความเสี่ยงและการจัดทําแผนงานจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
(ค) การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทําแผนงานจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
(2) หมวดวิชาที่ 2 การจัดทําและวิเคราะห์แผนงานโครงการความปลอดภัย มีระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) หลักการจัดทําแผนงานโครงการความปลอดภัย
(ข) กิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน
(ค) การตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการ
(ง) ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์แผนงานโครงการความปลอดภัย
(3) หมวดวิชาที่ 3 การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมยี่สิบสี่ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) หลักการประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(ข) วิธีการตรวจวัดและประเมินความเข้มของแสงสว่างและการฝึกปฏิบัติ
(ค) วิธีการตรวจวัดและประเมินระดับความร้อนและการฝึกปฏิบัติ
(ง) วิธีการตรวจวัดและประเมินการสัมผัสเสียงและการฝึกปฏิบัติ
(จ) การจัดทํารายงานการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางาน
หมวด ๕ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
----------------------------------------
ข้อ ๘ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร มีระยะเวลาการฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย 3 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 การจัดการความปลอดภัยในการทํางาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) แนวคิดการจัดการความปลอดภัยในการทํางาน
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
(2) หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานมีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสําคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และการนํากฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
(3) หมวดวิชาที่ 3 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) แนวคิดการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
(ข) แนวคิดมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของกระทรวงแรงงาน
(ค) ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของสํา นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(ง) การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,764 |
ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 | ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ว่าด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2553
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 กําหนดให้หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ (ฏ) ใน (4) ของข้อ 6 ของระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“(ฏ) การจัดการปัญหาจิตวิทยาสังคมในสถานที่ทํางาน ระยะเวลาสามชั่วโมง”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,765 |
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2546
---------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2542 เพื่อให้การบริหารกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเป็นไปด้วยความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเอื้ออํานวยประโยชน์ต่อการดําเนินงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 129 วรรคสาม (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นข้อ 30 แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. 2542
ข้อ ๓๐ นายจ้างรายใดเป็นบุคคลล้มละลาย หรือได้จดทะเบียนเลิกกิจการหรือมิได้ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนเลิกกิจการ หรือถูกถอนทะเบียนการประกอบกิจการและไม่อยู่ในฐานะที่จะชําระหนี้ได้ หรือในกรณีหนี้นั้นขาดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง ให้จําหน่ายออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดยให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขออนุมัติจากคณะกรรมการและขอทําความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นรายๆ ไป”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2546
อภัย จันทนจุลกะ
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง | 4,766 |
ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน
ของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2559
-------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เพื่อวางหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคผ่านระบบสารสนเทศให้มีความสอดคล้องตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 (1) และวรรคท้าย และมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 3/2559 จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ในข้อ 4 แห่งระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551
“ระบบสารสนเทศ” หมายความว่า ระบบสารสนเทศตามช่องทางโปรแกรมประยุกต์ (Application)
“ผู้ช่วยผู้บริโภคในการร้องทุกข์” หมายความว่า บุคคลที่อาสาสมัครร้องทุกข์และประสานงานให้กับผู้บริโภคผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตามคุณสมบัติที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนด
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 5 แห่งระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551
“หมวด 5” การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านระบบสารสนเทศ
ข้อ ๒๑ ให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดให้มีระบบให้ผู้บริโภคร้องทุกข์และติดตามเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านระบบสารสนเทศได้
ข้อ ๒๒ ผู้ร้องทุกข์หรือร้องเรียนจะต้องลงทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนด เพื่อให้มีสิทธิในการดําเนินการผ่านระบบสารสนเทศ
ข้อ ๒๓ การร้องทุกข์หรือร้องเรียนจะมีผลเมื่อระบบได้มีการยืนยันตอบรับแก่ผู้ร้องทุกข์ หรือร้องเรียนผ่านระบบสารสนเทศแล้ว
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ผู้บริโภคประสงค์ที่จะร้องทุกข์ผ่านผู้ช่วยผู้บริโภคในการร้องทุกข์ ให้กระทําได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกําหนด
ข้อ ๒๕ นอกจากที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ให้นําระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ในหมวดที่ 1 ถึงหมวดที่ 3 มาใช้บังคับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค | 4,767 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี
พ.ศ. 2555
อาศัยอํานาจตามความในข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทําคําวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 5 ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของศาล จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
"ศาล" หมายความว่า ศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
"ตุลาการประจําคดี" หมายความว่า ตุลาการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าของสํานวนเป็นรายคดี
"ข้อกําหนด" หมายความว่า ข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทําคําวินิจฉัย พ.ศ. 2550
"สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
"เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
"รองเลขาธิการ" หมายความว่า รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
"ผู้เชี่ยวชาญ" หมายความว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีและวิชาการที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
"สํานักคดีที่ได้รับมอบหมาย" หมายความว่า สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายให้รับคําร้องและการจ่ายสํานวนคดี
"หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวน" หมายความว่า สํานักคดี หรือกลุ่มงานคดีที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
"เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน" หมายความว่า เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
ข้อ ๔ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจออกประกาศโดยความเห็นชอบของศาลเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๕ ศาลเปิดทําการตั้งแต่เวลา 08.30 นาฬิกา ถึง 16.30 นาฬิกา ยกเว้นวันหยุดราชการ
การเปิดทําการนอกเวลาราชการหรือในวันหยุดราชการของศาลหรือสํานักงาน ให้เป็นไปตามประกาศของศาลหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖ การนับระยะเวลาที่มีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด ให้นับวันถัดไปเป็นวันเริ่มต้น และถ้าวันสิ้นสุดตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทําการของศาล ให้นับวันทําการถัดไปเป็นวันสิ้นสุดของระยะเวลา
การยื่นคําร้องหรือเอกสารอื่นใดต่อศาลให้ยื่นภายในกําหนดเวลาทําการตามข้อ 5 การยื่นภายหลังกําหนดเวลาดังกล่าว ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายลงรับในวันทําการถัดไป
ข้อ ๗ ให้ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนร่วมกันทําหน้าที่สนับสนุนและช่วยเหลือศาลในการดําเนินกระบวนพิจารณาคดี หรือตามที่ศาลมอบหมาย
กรณีผู้เชี่ยวชาญไม่เห็นพ้องด้วยกับความเห็นของหน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน ให้เสนอความเห็นต่อศาลเพื่อพิจารณาอีกทางหนึ่ง
หมวด ๒ การยื่นและการตรวจรับคําร้อง
ข้อ ๘ การยื่นคําร้องหรือเอกสารอื่นใดต่อศาลต้องมายื่นด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมายื่นแทนก็ได้ พร้อมสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ เว้นแต่การยื่นคําร้องตามข้อกําหนด ข้อ 17 (13) และ (14) อาจยื่นคําร้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ทั้งนี้ ให้ถือวันที่ไปรษณีย์ลงทะเบียนรับเป็นวันที่ยื่นคําร้องต่อศาล
ข้อ ๙ เอกสารหรือพยานหลักฐานยื่นต่อศาลเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนเสนอตุลาการประจําคดีเพื่อสั่งคู่กรณีหรือบุคคลที่ยื่น จัดทําคําแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนที่สําคัญพร้อมทั้งคํารับรองคําแปลว่าถูกต้องยื่นต่อศาลเพื่อแนบไว้กับเอกสารหรือพยานหลักฐานนั้น
ในกรณีที่คู่กรณีหรือบุคคลที่มาศาลไม่เข้าใจภาษาไทย หรือเป็นใบ้หรือหูหนวกและอ่านหนังสือไม่ได้ ให้คู่กรณีฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดหาล่าม
ข้อ ๑๐ ภายใต้บังคับข้อกําหนด ข้อ 31 การส่งคําร้อง ประกาศ หรือเอกสารอื่นใด ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนดําเนินการส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ในกรณีที่มีความจําเป็นเร่งด่วนและเพื่อความเหมาะสมตามสภาพแห่งเนื้อหาของเรื่องที่ทําการติดต่อ ศาลอาจสั่งให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งโดยทางโทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดก็ได้
ในการส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องมีหลักฐานการส่งจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนหรือหน่วยงานผู้จัดให้บริการไปรษณีย์หรือโทรคมนาคมที่เป็นสื่อในการส่งเอกสารนั้น ในกรณีนี้ ให้ถือว่าผู้รับได้รับเอกสารตามวันเวลาที่ปรากฏในหลักฐานดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้รับหรือได้รับหลังจากนั้น
หลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินการตามข้อนี้ ให้เป็นไปตามประกาศของศาล
ข้อ ๑๑ ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายจัดให้มีระบบควบคุมทะเบียนงานคดี
หลักเกณฑ์และวิธีการ ระบบควบคุมทะเบียนงานคดี ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๒ ภายใต้บังคับข้อกําหนด ข้อ 18 การรับคําร้องหรือเอกสารอื่นใด ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับคําร้องและตรวจสอบความถูกต้องของคําร้องหรือเอกสารอื่นใดและออกใบรับไว้เป็นหลักฐาน
หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าคําร้องหรือเอกสารอื่นใดไม่ถูกต้องให้บันทึกความเห็นไว้ และส่งความเห็นดังกล่าวให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนดําเนินการต่อไป
ในกรณีคําร้องที่ขอให้ศาลวินิจฉัยอาจแยกเป็นเรื่องพิจารณาได้หลายเรื่อง ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายแยกเป็นรายเรื่อง และลงทะเบียนในสารบบคดีตามจํานวนเรื่องที่แยกไว้
ข้อ ๑๓ ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายแยกคําร้องตามความเร่งด่วนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
(1) ด่วนที่สุด เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญกําหนดให้ศาลต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด ได้แก่ คดีที่อยู่ในอํานาจศาลรัฐธรรมนูญตามข้อกําหนด ข้อ 17 (5) และ (9)
(2) ด่วน เป็นกรณีที่ความเร่งด่วนต้องพิจารณาก่อนเรื่องปกติ ได้แก่ คดีที่อยู่ในอํานาจศาลรัฐธรรมนูญตามข้อกําหนด ข้อ 17 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (8) (10) (11) (12) และ (16)
(3) ปกติ เป็นคําร้องที่มิใช่กรณีตาม (1) และ (2)
เมื่อแยกประเภทคําร้องแล้ว ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายประทับตราประเภทคดีดังกล่าวไว้ที่ปกหน้าสํานวน
ข้อ ๑๔ ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายเสนอคําร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้อง เว้นแต่กรณีตามข้อกําหนด ข้อ 17 (5) และ (9) ให้ดําเนินการเสนอคําร้องให้ศาลโดยพลัน
การเสนอคําร้องตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายเสนอคําร้องให้เลขาธิการหรือรองเลขาธิการที่ได้รับมอบหมายด้วย
หมวด ๓ การจัดทําและการจ่ายสํานวนคดี
ข้อ ๑๕ ให้เลขาธิการหรือรองเลขาธิการที่ได้รับมอบหมาย ทําหน้าที่จ่ายสํานวนคดีให้ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวน
ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนจ่ายสํานวนคดีให้แก่เจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งในกลุ่มงานคดีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน
ข้อ ๑๖ เมื่อได้รับสํานวนคดี ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารในสํานวนคดี พร้อมทั้งประทับตราคําว่า "สํานวนคดีหลัก" ไว้มุมขวาบนของต้นฉบับคําร้องและจัดทําสารบัญเอกสารสํานวนคดี จัดเก็บพยานหลักฐาน ตลอดจนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาคดีรวมไว้ในสํานวนคดีหลัก
ในระหว่างการพิจารณาคดี หากศาลมีคําสั่งให้รับเอกสารใดรวมไว้ในสํานวนคดีหลัก ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๑๗ ในการจัดทําความเห็น บันทึกสรุปสํานวน และการดําเนินกระบวนพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นกลุ่มโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนต้องพิจารณาสํานวนคดีนั้นร่วมกับผู้อํานวยการสํานักคดี ผู้อํานวยการกลุ่มงานคดี และเจ้าหน้าที่อื่นภายในกลุ่มงานคดี
คําร้องตามข้อ 13 (3) กรณีมีเหตุอันควรเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หรือมีเหตุจําเป็นอย่างอื่น ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนเสนอความเห็นต่อตุลาการประจําคดีหรือศาลเพื่อพิจารณาเป็นเรื่องด่วนหรือด่วนที่สุดก็ได้
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้รวมพิจารณาคดีหรือคดีที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน เลขาธิการหรือรองเลขาธิการที่ได้รับมอบหมาย อาจมอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน ร่วมกันพิจารณาเสนอความเห็นต่อศาล
หมวด ๔ การสนับสนุนกระบวนพิจารณาในศาล
ข้อ ๑๙ ภายใต้บังคับข้อ 17 ก่อนจัดให้มีการประชุมตุลาการประจําคดีหรือศาล ให้จัดทําบันทึกสรุปสํานวนพร้อมความเห็นเกี่ยวกับอํานาจศาลในการรับคําร้องหรือความเห็นที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีเสนอต่อตุลาการประจําคดีหรือศาลเพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อ ๒๐ การจัดทําบันทึกความเห็นและรายงานการพิจารณาคดีของตุลาการประจําคดีหรือศาล แล้วแต่กรณี ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนเป็นผู้ยกร่างนําเสนอต่อตุลาการประจําคดีหรือศาล
ข้อ ๒๑ ในการจัดทําวาระการประชุมของศาล ให้เลขาธิการหรือรองเลขาธิการที่ได้รับมอบหมายจัดทําร่างระเบียบวาระเสนอต่อที่ประชุมศาลก่อนการประชุมในครั้งถัดไป เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
เรื่องที่อยู่ในระเบียบวาระการประชุมแต่ละครั้ง ให้เลขาธิการหรือรองเลขาธิการที่ได้รับมอบหมายพิจารณาตามความเร่งด่วนของคําร้องตามข้อ 13 เป็นหลัก หรือกรณีสํานวนคดีใดที่มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้ว หรือในกรณีที่ต้องขอให้ศาลมีคําสั่งในระหว่างการพิจารณาคดี หรือมีเหตุที่ศาลอาจพิจารณาสั่งจําหน่ายคําร้อง
ข้อ ๒๒ ในระหว่างการพิจารณาของตุลาการประจําคดีหรือศาล หากมีคําสั่งใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนดําเนินการให้เป็นไปตามคําสั่งนั้น ๆ แล้วรายงานความคืบหน้าการดําเนินงานต่อตุลาการประจําคดีหรือศาลเพื่อทราบ
ข้อ ๒๓ ในวันที่มีการไต่สวนหรือการออกนั่งพิจารณาคดีของศาล ให้สํานักงานมอบหมายผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน ดําเนินการตามข้อกําหนดและคู่มือการปฏิบัติงานคดีของสํานักงาน
ข้อ ๒๔ ในการไต่สวนให้ประทับตราหมายพยานหลักฐานของศาล ผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง ดังนี้
(1) พยานเอกสารที่ศาลเรียก คือ "หมาย ศ" และวัตถุพยานที่ศาลเรียก คือ "หมาย วศ"
(2) พยานเอกสารของผู้ร้อง คือ "หมาย ร" และวัตถุพยานของผู้ร้อง คือ "หมาย วร"
(3) พยานเอกสารของผู้ถูกร้อง คือ "หมาย ถ" และวัตถุพยานของผู้ถูกร้อง คือ "หมาย วถ"
ส่วนพยานหลักฐานประเภทอื่นให้เป็นไปตามที่ศาลกําหนด
ข้อ ๒๕ ในกระบวนพิจารณาที่ศาลดําเนินการบันทึกคําให้การของคู่กรณีหรือคําเบิกความของพยานบุคคลด้วยเครื่องบันทึกเสียง ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายถอดคําให้การหรือคําเบิกความโดยให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน เป็นผู้รับรองความถูกต้องแห่งเอกสารนั้น
การจัดเก็บคําให้การหรือคําเบิกความตามวรรคหนึ่งให้รวมไว้ในสํานวนคดีหลัก
ข้อ ๒๖ เมื่อศาลมีมติในคําสั่งหรือคําวินิจฉัยแล้วให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนช่วยยกร่างคําสั่งหรือคําวินิจฉัยเสนอศาลเพื่อพิจารณา
ก่อนส่งคําวินิจฉัยศาลและความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตนไปประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๒๗ การส่งคําวินิจฉัยศาลและความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตนไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลลงมติ เว้นแต่มีเหตุจําเป็นอย่างอื่น ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนบันทึกเหตุและแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบ
หมวด ๕ การตรวจและการขอสําเนาในสํานวนคดี
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้คู่กรณีหรือผู้เกี่ยวข้องตรวจเอกสารหรือพยานหลักฐานในสํานวนคดีหลัก ให้ผู้อํานวยการกลุ่มงานคดีหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนเป็นผู้ควบคุมดูแลและดําเนินการให้เป็นไปตามคําสั่งศาล ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของเอกสารและพยานหลักฐานนั้น
ข้อ ๒๙ การขอสําเนาหรือขอสําเนาที่มีคํารับรองความถูกต้องของเอกสารในสํานวนคดีหลักที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล เมื่อศาลอนุญาต ให้ผู้อํานวยการกลุ่มงานคดีหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนเป็นผู้รับรอง
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบศาลว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
หมวด ๖ การจัดเก็บและการทําลายสํานวนคดี
ข้อ ๓๐ ในการจัดเก็บสํานวนคดีหลักให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนดําเนินการจัดเก็บสํานวนคดีหลักและทําสําเนาอีกสองชุด
เมื่อคําวินิจฉัยประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้สํานักงานจัดส่งสํานวนหลักไปยังหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ส่วนสําเนาให้จัดเก็บไว้ในห้องสํานวนคดีและหอสมุดของศาลแห่งละหนึ่งชุด
กรณีการจัดเก็บสํานวนคดีหลักที่ศาลมีคําสั่ง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนจัดเก็บไว้ในห้องสํานวนคดี และทําสําเนาอีกหนึ่งชุดเก็บไว้ที่หอสมุดของศาล
บันทึกสรุปสํานวนและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนทั้งหมด ให้แยกเก็บไว้ท้ายสําเนาสํานวนคดีหลัก
ข้อ ๓๑ เมื่อดําเนินการตามข้อ 27 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนประสานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทําลายสํานวนคดีและเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสํานวนคดีดังกล่าว
หลักเกณฑ์และวิธีการ การทําลายสํานวนคดี ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๒ บรรดาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลก่อนวันที่ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับให้ใช้ความในระเบียบศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้บังคับ เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรกําหนดเป็นอย่างอื่น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,768 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2559
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทําคําวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 5 ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของศาล จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559"
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า "ผู้เชี่ยวชาญ" และ "เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน" ในข้อ 3 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ผู้เชี่ยวชาญ" หมายความว่า ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคดีหรือผู้เชี่ยวชาญด้านคดีที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
"เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวน" หมายความว่า ผู้อํานวยการสายงานคดีหรือนักวิชาการคดีรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสํานวนคดี
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 13 ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายแยกคําร้องตามความเร่งด่วนออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
(1) ด่วน เป็นกรณีที่รัฐธรมนูญกําหนดให้ศาลต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) ปกติ เป็นคําร้องที่ไม่ใช่กรณีตาม (1)
เมื่อแยกประเภทคําร้องแล้ว ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายประทับตราประเภทคดีดังกล่าวไว้ที่ปกหน้าสํานวน"
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 16 เมื่อได้รับสํานวนคดี ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารในสํานวนคดี พร้อมทั้งประทับตราคําว่า "สํานวนคดีหลัก" ไว้มุมขวาบนของต้นฉบับคําร้อง และจัดทําสารบัญเอกสารสํานวนคดี จัดเก็บพยานหลักฐาน ตลอดจนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาคดีรวมไว้ในสํานวนคดีหลัก
เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นในแต่ละคราวแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนนําเอกสารในสํานวนคดีดังกล่าวข้างต้นส่งมอบให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายดําเนินการตามระบบควบคุมทะเบียนงานคดีตามข้อ 11 และจัดเก็บไว้ที่ห้องสํานวนคดีต่อไป
ในระหว่างการพิจารณาคดี หากศาลมีคําสั่งให้รับเอกสารใดรวมไว้ในสํานวนคดีหลัก ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง"
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 17 ในการจัดทําความเห็น บันทึกสรุปสํานวน และการดําเนินกระบวนพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นกลุ่มโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนต้องพิจารณาสํานวนคดีนั้นร่วมกับผู้อํานวยการสํานักคดี ผู้อํานวยการกลุ่มงานคดี และเจ้าหน้าที่อื่นภายในกลุ่มงานคดี
คําร้องตามข้อ 13 (2) กรณีมีเหตุอันควรเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หรือมีเหตุจําเป็นอย่างอื่น ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวนเสนอความเห็นต่อตุลาการประจําคดีหรือศาลเพื่อพิจารณาเป็นเรื่องด่วนก็ได้"
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ 30 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 30 ในการจัดเก็บสํานวนคดีหลักให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนดําเนินการจัดเก็บสํานวนคดีหลักและทําสําเนาอีกหนึ่งชุดให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับเอกสารครบถ้วนและส่งมอบให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายดําเนินการ ดังนี้
(1) ส่งสํานวนคดีหลักจัดเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ
(2) จัดเก็บสําเนาสํานวนคดีหลักไว้ที่ห้องสํานวนคดี
บันทึกสรุปสํานวนและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานผู้รับผิดชอบสํานวน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนทั้งหมด ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายดําเนินการจัดเก็บรวบรวมไว้ในห้องสํานวนคดีแยกเล่มต่างหากจากสําเนาสํานวนคดีหลัก"
ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 31 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 31 เมื่อดําเนินการตามข้อ 27 แล้ว ให้สํานักคดีที่ได้รับมอบหมายประสานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทําลายสํานวนคดีและเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสํานวนคดีดังกล่าว
หลักเกณฑ์และวิธีการ การทําลายสํานวนคดี ให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด"
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,769 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยบัตรประจำตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2541 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2541
--------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบ ว่าด้วยบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประธานศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบ โดยความเห็นชอบของคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามนัยแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
“อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า บุคคลผู้เคยเป็นประธาน ศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว แต่พ้นจากตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปตามนัยแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อ ๔ ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีบัตรประจําตัว และบัตรประจําตัวให้ใช้ได้ห้าปีนับแต่วันออกบัตร
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจออกบัตรประจําตัว สําหรับตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๖ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดประสงค์จะขอมีบัตรประจําตัว ให้ทําคําขอพร้อมด้วยรูปถ่ายสามรูปยื่นต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ
รูปถ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้รูปถ่ายที่ถ่ายไม่เกินหกเดือนก่อนวันยื่นคําขอมีบัตรประจําตัว โดยรูปถ่ายมีขนาด 2.5 X 3 เซนติเมตร ครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก แต่งเครื่องแบบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือสากลนิยม
คําขอและบัตรประจําตัวให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗ เมื่อได้ออกบัตรประจําตัวให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดให้ผู้ออกบัตรประจําตัวดังกล่าวจัดให้มีสําเนาข้อความและรายการบัตรประจําตัว ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นสองฉบับ แต่ละฉบับให้ติดรูปถ่ายของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นไว้ด้วย ฉบับหนึ่งให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน อีกฉบับหนึ่งให้ส่งไปยังเจ้าพนักงานออกบัตรประจําตัวประชาชนแห่งท้องที่ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ถือบัตรประจําตัวดังกล่าวมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดได้รับบัตรประจําตัวใหม่แล้ว ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นส่งมอบบัตรประจําตัวเดิมให้แก่ผู้ออกบัตรประจําตัวใหม่นั้น
ข้อ ๘ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดที่ได้รับบัตรประจําตัวตามระเบียบนี้พ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นอันหมดสิทธิที่จะใช้บัตรประจําตัวนั้นต่อไป และให้ผู้นั้นส่งมอบบัตรประจําตัวคืนให้แก่ผู้ออกบัตรภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตําแหน่ง
ข้อ ๙ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิที่จะขอมีบัตรประจําตัวอดีต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ และให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญออกบัตรประจําตัว ดังกล่าวให้
บัตรประจําตัวอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ห้าปีนับแต่วันออกบัตรเว้นแต่บัตรประจําตัวที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ให้คงใช้ได้ตลอดชีวิต
การขอมีบัตรประจําตัว การขอมีบัตรประจําตัวใหม่ และการออกบัตรประจําตัว อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้นําข้อ 6 และข้อ 7 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
บัตรประจําตัวอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๐ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551
เชาวน์ สายเชื้อ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,770 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยบัตรประจำตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2557
----------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2541 เพื่อกําหนดให้มีเลขหมายประจําตัวประชาชนไว้ในบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และบัตรประจําตัวอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงกําหนดให้มีบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และบัตรประจําตัวอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบคําขอมีบัตรประจําตัว แบบบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและแบบบัตรประจําตัวอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแนบท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2541 และให้ใช้แบบคําขอมีบัตรประจําตัว แบบบัตรประจําตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และแบบบัตรประจําตัวอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท้ายระเบียบนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557
จรูญ อินทจาร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,771 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2551
---------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประจําประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 213 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประจําประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549
ข้อ ๔ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“ที่ปรึกษา” หมายความว่า ที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ และที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๖ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแต่งตั้งที่ปรึกษาตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือน และเงินประจําตําแหน่งของที่ปรึกษาให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
ในกรณีประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ประสงค์แต่งตั้งที่ปรึกษาตามระเบียบนี้ ให้มีสิทธิแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของจํานวนผู้เชี่ยวชาญที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิแต่งตั้งตามระเบียบดังกล่าวแล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ ที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบห้าปี
(3) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาโท หรือสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีคุณสมบัติพิเศษหรือประสบการณ์ตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควร แล้วแต่กรณี
(4) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(5) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา ข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
(6) ไม่เป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(7) ไม่เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(8) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(9) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้อ ๘ ที่ปรึกษาต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลติดยาเสพติดให้โทษ
(2) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว
(3) เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่เกิดจากการกระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(4) เป็นผู้เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทําทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
ข้อ ๙ ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คําปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาให้ยื่นแบบเสนอชื่อและใบรับรองพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาทะเบียนบ้าน
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ให้นําหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาแสดงด้วย
(3) หลักฐานการสําเร็จการศึกษา
(4) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีดํา ขนาด 1 นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จํานวน 4 รูป
(5) ใบรับรองแพทย์มีอายุไม่เกิน 6 เดือนให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติของที่ปรึกษาที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไปตามที่กําหนดในระเบียบนี้
ข้อ ๑๑ ที่ปรึกษาพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8
(4) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เห็นควรให้พ้นจากตําแหน่ง
(5) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ ที่ปรึกษามีสิทธิได้รับสวัสดิการและการสงเคราะห์อื่น ดังต่อไปนี้
(1) การประกันสุขภาพ มีอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินสองหมื่นบาทต่อปีในการจัดหาผู้รับประกันตามระเบียบนี้ ให้นํา หลักเกณฑ์และวิธีการตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพมาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) บําเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตําแหน่ง หลังจากที่ดํารงตําแหน่งครบหนึ่งปีขึ้นไปนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
ในการคํานวณบําเหน็จตอบแทน ให้นําค่าตอบแทนเป็นรายเดือนท้ายระเบียบนี้คูณด้วยระยะเวลาการดํารงตําแหน่งเป็นรายปี โดยให้นับจํานวนปีและเศษของปีด้วย การคํานวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้น ให้นําเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบ ได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคํานวณให้ใช้ทศนิยมสองตําแหน่ง และให้นําจํานวนที่คํานวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งซึ่งเป็นจํานวนปี
สิทธิในบําเหน็จตอบแทน เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้
ในกรณีที่ปรึกษาพ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะดํารงตําแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบําเหน็จตอบแทน โดยให้จ่ายแก่ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(3) ค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าเครื่องแบบประจําสํานักงานตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(4) ค่าใช้จ่ายการเดินทางไปราชการ ให้นํากฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว มาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของที่ปรึกษาโดยอนุโลม โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญระดับ 10 หรือเทียบเท่า
(5) ประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๑๓ ให้นําระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องแบบพิธีการและเครื่องแบบประจําสํานักงานมาใช้บังคับกับที่ปรึกษาโดยอนุโลม เว้นแต่อินทรธนูให้ใช้ตามแบบที่กําหนดท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญออกบัตรประจําตัวแก่ที่ปรึกษาเพื่อแสดงตน จัดทําและรักษาทะเบียนประวัติของที่ปรึกษาไว้เป็นหลักฐานบัตรประจําตัวตามวรรคหนึ่ง เป็นอันยกเลิกเมื่อมีกรณีตามข้อ 11
ข้อ ๑๕ ที่ปรึกษาต้องปฏิบัติตามนโยบาย คําสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแบบธรรมเนียมของศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่ปรึกษาปฏิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเป็นพิเศษ ให้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,772 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2552
----------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การอนุญาตหรืออนุมัติการเดินทางไปราชการของที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 213 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 12 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ค่าใช้จ่ายการเดินทางไปราชการ ให้นํากฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว มาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของที่ปรึกษาโดยอนุโลม โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญระดับ 10 หรือเทียบเท่า และให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอํานาจในกาพิจารณาอนุญาตหรืออนุมัติการเดินทางไปราชการ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,773 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2554
----------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเหมาะสมกัสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 213วรรคสอง และมาตรา 217 และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 การแต่งตั้งและการให้ที่ปรึกษาพ้นจากตําแหน่งให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้แต่งตั้งและให้พ้นจากตําแหน่งตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ จํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือน และเงินประจําตําแหน่งของที่ปรึกษาให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
ในกรณีประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ประสงค์แต่งตั้งที่ปรึกษาตามระเบียบนี้ ให้มีสิทธิเสนอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้เพิ่มขึ้นอีกจํานวนสองอัตราตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิเสนอแต่งตั้งตามระเบียบดังกล่าวแล้วแต่กรณี”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีจํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้บัญชีจํา นวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ เป็นที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีตามระเบียบนี้ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,774 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2557
--------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 213 วรรคสอง และมาตรา 217 และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีจํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 และให้ใช้บัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ เป็นที่ปรึกษาประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีตามระเบียบนี้ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จรูญ อินทจาร
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน | 4,775 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2559
----------------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 การแต่งตั้งและการให้ที่ปรึกษาพ้นจากตําแหน่ง ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้แต่งตั้งและให้พ้นจากตําแหน่งตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ จํานวนอัตราค่าตอบแทนเป็นรายเดือน และเงินประจําตําแหน่งของที่ปรึกษาให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
การแต่งตั้งที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอขอความเห็นชอบจากประธานศาลรัฐธรรมนูญก่อน หากประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่เห็นชอบให้เสนอคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา และให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการตามความเห็นของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ประสงค์แต่งตั้งที่ปรึกษาตามระเบียบนี้ ให้มีสิทธิเสนอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้เพิ่มขึ้นอีกจํานวนสองอัตราตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิเสนอแต่งตั้งตามระเบียบดังกล่าวแล้วแต่กรณี”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,776 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2551
--------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจด้านการพิจารณาวินิจฉัยคดีและด้านวิชาการของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 213 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2549
ข้อ ๔ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“ผู้เชี่ยวชาญ” หมายความว่า ผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ และผู้เชี่ยวชาญประจําตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๖ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของประธาน ศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และมิให้ถือว่าตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญมีฐานะเป็นลูกจ้างหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ จํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของผู้เชี่ยวชาญให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗ ผู้เชี่ยวชาญต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี
(3) สําเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีทางกฎหมาย รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์หรือสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมาย รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์และมีคุณสมบัติพิเศษหรือประสบการณ์ตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควรแล้วแต่กรณี
(4) ไม่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่งที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนเป็นรายเดือนจากงบประมาณที่ตั้งไว้ในสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
(5) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(6) ไม่เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(7) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(8) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(9) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว
(10) ไม่เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่เกิดจากการกระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(11) ไม่เป็นผู้เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
ข้อ ๘ ผู้เชี่ยวชาญต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่ต่ํากว่าข้าราชการพลเรือนระดับ 9 หรือเทียบเท่า
(2) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา และดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่ารองศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์พิเศษ
(3) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรืออัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ หรือประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ทางกฎหมายอย่างอื่นไม่น้อยกว่ายี่สิบปี
ข้อ ๙ ผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่ดังนี้
(1) ศึกษาค้นคว้า เสนอข้อคิดเห็น ข้อกฎหมาย และข้อมูลทางด้านวิชาการและกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยคําร้อง
(2) ศึกษาวิเคราะห์และวิจัยเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(3) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญให้ยื่นแบบเสนอชื่อและใบรับรองพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาทะเบียนบ้าน
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ให้นําหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาแสดงด้วย
(3) หลักฐานการสําเร็จการศึกษา
(4) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีดํา ขนาด 1 นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จํานวน 4 รูป
(5) ใบรับรองแพทย์มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
(6) หนังสือยินยอมจากหน่วยงานที่สังกัด ในกรณีที่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไปตามที่กําหนดในระเบียบนี้
ข้อ ๑๑ ผู้เชี่ยวชาญพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7 หรือข้อ 8
(4) หน่วยงานที่สังกัดไม่ยินยอม
(5) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ออก
(6) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เห็นควรให้พ้นจากตําแหน่ง
(7) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณีการพ้นจากตําแหน่งไม่ว่ากรณีใด ผู้เชี่ยวชาญไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนหรือเงินอื่นใดจากสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๒ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญออกบัตรประจําตัวแก่ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแสดงตน จัดทําและรักษาทะเบียนประวัติของผู้เชี่ยวชาญไว้เป็นหลักฐานบัตรประจําตัวตามวรรคหนึ่ง เป็นอันยกเลิกเมื่อมีกรณีตามข้อ 11
ข้อ ๑๓ ผู้เชี่ยวชาญต้องปฏิบัติตามนโยบาย คําสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแบบธรรมเนียมของศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,777 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2552
--------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเดินทางไปราชการและการอนุญาตหรืออนุมัติการเดินทางไปราชการของผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและผู้เชี่ยวชาญประจําตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 213 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551
“ข้อ 10/1 ผู้เชี่ยวชาญมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ให้นํากฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้เชี่ยวชาญโดยอนุโลม โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญระดับ 10 หรือเทียบเท่า
การเดินทางไปราชการของผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและผู้เชี่ยวชาญประจําตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตหรืออนุมัติ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,778 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2554
----------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํา นาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550มาตรา 213 วรรคสอง และมาตรา 217 และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542มาตรา 6 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 การแต่งตั้งและการให้ผู้เชี่ยวชาญพ้นจากตําแหน่งให้เลขาธิการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้แต่งตั้งและให้พ้นจากตําแหน่งตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอ และมิให้ถือว่าตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญมีฐานะเป็นลูกจ้างหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ จํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของผู้เชี่ยวชาญให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
ในกรณีประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ประสงค์แต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีมีสิทธิเสนอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามระเบียบนี้ ได้เพิ่มขึ้นอีกจํานวนสองอัตรา”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและผู้เชี่ยวชาญประจําตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551และให้ใช้บัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้เชี่ยวชาญประจําตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ เป็นผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้เชี่ยวชาญประจําตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีตามระเบียบนี้ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,779 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2557
---------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 213 วรรคสอง และมาตรา 217 และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542มาตรา 6 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554และให้ใช้บัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ เป็นผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีตามระเบียบนี้ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จรูญ อินทจาร
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,780 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2559
---------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 การแต่งตั้งและการให้ผู้เชี่ยวชาญพ้นจากตําแหน่ง ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้แต่งตั้งและให้พ้นจากตําแหน่งตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอ และมิให้ถือว่าตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญมีฐานะเป็นลูกจ้างหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้จํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของผู้เชี่ยวชาญให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจําตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอขอความเห็นชอบจากประธานศาลรัฐธรรมนูญก่อน หากประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่เห็นชอบ ให้เสนอคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา และให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการตามความเห็นของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ประสงค์แต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีมีสิทธิเสนอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามระเบียบนี้ ได้เพิ่มขึ้นอีกจํานวนสองอัตรา”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,781 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 6)
พ.ศ. 2563
-----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสานักงานศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ผู้เชี่ยวชาญต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดารงตําแหน่งหรือเคยดารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าประเภทอานวยการระดับสูง หรือไม่ต่ํากว่าประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
(2) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการประเภทอื่นซึ่งดารงตําแหน่งหรือเคยดารงตําแหน่งที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเทียบเท่ากับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญไม่ต่ํากว่าประเภทอานวยการระดับสูง หรือไม่ต่ํากว่าประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
(3) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนวิชาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา และดารงตําแหน่งหรือเคยดารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่ารองศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์พิเศษ
(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ หรือประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ทางกฎหมายอย่างอื่นมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบห้าปี
(5) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอื่น หรืออาชีพอื่นในหน่วยงานทางปกครองมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบห้าปี”
ข้อ ๔ ให้ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการแต่งตั้งตามคุณสมบัติเฉพาะของข้อ 8 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 ดารงตําแหน่งต่อไปจนกว่าจะพ้นจากตําแหน่งตามข้อ 11 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563
วรวิทย์ กังศศิเทียม
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,782 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2564
------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อกาหนดให้มีเครื่องแบบพิธีการและเครื่องแบบประจาสานักงานของผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 11/1 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจาประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551
“ข้อ 11/1 ให้นาระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายข้าราชการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องแบบพิธีการและเครื่องแบบประจาสานักงานมาใช้บังคับกับผู้เชี่ยวชาญโดยอนุโลม เว้นแต่อินทรธนูให้ใช้ตามแบบที่กาหนดท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ ให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าเครื่องแบบประจาสานักงานตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับข้าราชการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564
วรวิทย์ กังศศิเทียม
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,783 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2551
--------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประจําประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 213 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประจําประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2549
ข้อ ๔ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“เลขานุการ” หมายความว่า เลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๖ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแต่งตั้งเลขานุการตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของเลขานุการ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗ เลขานุการต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(3) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี หรือมีคุณสมบัติพิเศษหรือประสบการณ์ตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควร แล้วแต่กรณี
(4) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(5) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา ข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
(6) ไม่เป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(7) ไม่เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(8) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(9) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้อ ๘ เลขานุการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลติดยาเสพติดให้โทษ
(2) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว
(3) เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่เกิดจากการกระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(4) เป็นผู้เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทําทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
ข้อ ๙ เลขานุการมีหน้าที่ประสานการปฏิบัติงานในภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี การค้นคว้าทางวิชาการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาวินิจฉัยคําร้อง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นเลขานุการให้ยื่นแบบเสนอชื่อและใบรับรองพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาทะเบียนบ้าน
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ให้นําหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาแสดงด้วย
(3) หลักฐานการสําเร็จการศึกษา
(4) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีดํา ขนาด 1 นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จํานวน 4 รูป
(5) ใบรับรองแพทย์มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไปตามที่กําหนดในระเบียบนี้
ข้อ ๑๑ เลขานุการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8
(4) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เห็นควรให้พ้นจากตําแหน่ง
(5) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ เลขานุการมีสิทธิได้รับสวัสดิการและการสงเคราะห์อื่น ดังต่อไปนี้
(1) การประกันสุขภาพ มีอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินสองหมื่นบาทต่อปี
ในการจัดหาผู้รับประกัน ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาประกอบด้วยรองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง เป็นประธาน ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าสามคน เป็นกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านการเงินและบัญชีตามที่เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอํานาจหน้าที่กําหนด แนวทางการจัดหาและพิจารณาเงื่อนไข ผลประโยชน์ที่ได้รับและอัตราเบี้ยประกันของผู้รับประกัน แล้วเสนอเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอนุมัติ
(2) บําเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตําแหน่ง หลังจากที่ดํารงตําแหน่งครบหนึ่งปีขึ้นไปนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
ในการคํานวณบําเหน็จตอบแทน ให้นําค่าตอบแทนเป็นรายเดือนท้ายระเบียบนี้คูณด้วยระยะเวลาการดํารงตําแหน่งเป็นรายปี โดยให้นับจํานวนปีและเศษของปีด้วย การคํานวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้น ให้นําเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบ ได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคํานวณให้ใช้ทศนิยมสองตําแหน่ง และให้นําจํานวนที่คํานวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งซึ่งเป็นจํานวนปี
สิทธิในบําเหน็จตอบแทน เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ในกรณีเลขานุการพ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะดํารงตําแหน่งครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบําเหน็จตอบแทน โดยให้จ่ายแก่ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(3) ค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าเครื่องแบบประจําสํานักงานตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(4) ค่าใช้จ่ายการเดินทางไปราชการ ให้นํากฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว มาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเลขานุการโดยอนุโลม โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญระดับ 10 หรือเทียบเท่า
(5) ประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๑๓ ให้นําระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องแบบพิธีการและเครื่องแบบประจําสํานักงานมาใช้บังคับกับเลขานุการโดยอนุโลม เว้นแต่อินทรธนูให้ใช้ตามแบบที่กําหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๔ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญออกบัตรประจําตัวแก่เลขานุการเพื่อแสดงตน จัดทําและรักษาทะเบียนประวัติของเลขานุการไว้เป็นหลักฐานบัตรประจําตัวตามวรรคหนึ่ง เป็นอันยกเลิกเมื่อมีกรณีตามข้อ 11
ข้อ ๑๕ เลขานุการต้องปฏิบัติตามนโยบาย คําสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแบบธรรมเนียมของศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่เลขานุการปฏิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเป็นพิเศษ ให้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,784 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2552
-----------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การอนุญาตหรืออนุมัติการเดินทางไปราชการของเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 213 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 12 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ค่าใช้จ่ายการเดินทางไปราชการ ให้นํากฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว มาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเลขานุการโดยอนุโลม โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญระดับ 10 หรือเทียบเท่า และให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตหรืออนุมัติการเดินทางไปราชการ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,785 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2554
-----------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 213วรรคสอง และมาตรา 217 และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 การแต่งตั้งและการให้เลขานุการพ้นจากตําแหน่งให้เลขาธิการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งและพิจารณาให้พ้นจากตําแหน่งตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ จํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของเลขานุการให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีจํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้บัญชีจํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ เป็นเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีตามระเบียบนี้ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,786 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2557
---------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 213วรรคสอง และมาตรา 217 และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีจํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 และให้ใช้บัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและเงินประจําตําแหน่งของเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ เป็นเลขานุการประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีตามระเบียบนี้ต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จรูญ อินทจาร
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,787 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2551
--------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจัดจ้างบุคคลเพื่อปฏิบัติงานตําแหน่งผู้ช่วยเลขานุการประจําประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อํานาจตามความในมาตรา 213 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจัดจ้างบุคคลเพื่อปฏิบัติงานตําแหน่งผู้ช่วยเลขานุการประจําประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549
ข้อ ๔ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“ผู้ช่วยเลขานุการ” หมายความว่า ผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ช่วยเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๖ ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือน และค่าตอบแทนพิเศษของผู้ช่วยเลขานุการให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗ ผู้ช่วยเลขานุการต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปี
(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(4) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา ข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(5) ไม่เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(6) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(7) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจําของส่วนราชการหรือตามกฎหมายอื่น
(8) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(9) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว
(10) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(11) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(12) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทําผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
(13) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทําผิดวินัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจําของส่วนราชการหรือตามกฎหมายอื่น
ข้อ ๘ ผู้ช่วยเลขานุการต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง ดังต่อไปนี้
(1) มีวุฒิการศึกษาและมีคุณสมบัติพิเศษหรือมีประสบการณ์ตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควร แล้วแต่กรณี
(2) มีความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
ข้อ ๙ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการให้ยื่นแบบเสนอชื่อและใบรับรองพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาทะเบียนบ้าน
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ให้นําหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาแสดงด้วย
(3) หลักฐานการสําเร็จการศึกษา
(4) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีดํา ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือนจํานวน 4 รูป
(5) ใบรับรองแพทย์มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
ข้อ ๑๐ ผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) รับผิดชอบในงานจัดพิมพ์เอกสารและงานธุรการในส่วนที่เกี่ยวกับประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
(2) รับผิดชอบในการประสานงานและการอํานวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อราชการกับประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตนรับผิดชอบ
(3) ปฏิบัติตามหน้าที่ที่เลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย
ข้อ ๑๑ ผู้ช่วยเลขานุการพ้นจากหน้าที่เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7
(4) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เห็นควรให้พ้นจากตําแหน่ง
(5) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ ผู้ช่วยเลขานุการมีสิทธิได้รับสวัสดิการและการสงเคราะห์อื่น ดังต่อไปนี้
(1) การประกันสุขภาพ มีอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทต่อปีในการจัดหาผู้รับประกัน ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการที่ออกตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพมาใช้บังคับกับผู้ช่วยเลขานุการโดยอนุโลม
(2) บําเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน หลังจากที่ปฏิบัติงานครบหนึ่งปีขึ้นไป นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
ในการคํานวณบําเหน็จตอบแทนให้นําค่าตอบแทนเป็นรายเดือนท้ายระเบียบนี้คูณด้วยระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นรายปี โดยให้นับจํานวนปีและเศษของปีด้วย การคํานวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้น ให้นําเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคํานวณให้ใช้ทศนิยมสองตําแหน่ง และให้นําจํานวนที่คํานวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ปฏิบัติงานซึ่งเป็นจํานวนปี
สิทธิในบําเหน็จตอบแทน เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้
ในกรณีที่ผู้ช่วยเลขานุการออกจากงานเพราะถึงแก่ความตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะปฏิบัติงานครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบําเหน็จตอบแทน โดยให้จ่ายแก่ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(3) ค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าเครื่องแบบประจําสํานักงานตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(4) ประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญออกบัตรประจําตัวแก่ผู้ช่วยเลขานุการเพื่อแสดงตนจัดทําและรักษาทะเบียนประวัติของผู้ช่วยเลขานุการไว้เป็นหลักฐาน
บัตรประจําตัวตามวรรคหนึ่ง เป็นอันยกเลิกเมื่อมีกรณีตามข้อ 11
ข้อ ๑๔ ผู้ช่วยเลขานุการ ต้องปฏิบัติตามนโยบาย คําสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแบบธรรมเนียมของศาลรัฐธรรมนูญ และสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,788 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2552
-----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเดินทางไปราชการและการอนุญาตหรืออนุมัติการเดินทางไปราชการของผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและผู้ช่วยเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 213 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551
“ข้อ 10/1 ผู้ช่วยเลขานุการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ให้นํากฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่ออกตาม กฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ช่วยเลขานุการโดยอนุโลม โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญระดับ 6 หรือเทียบเท่า
การเดินทางไปราชการของผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและผู้ช่วยเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนู
ที่ตนสังกัดแล้วแต่กรณีเป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตหรืออนุมัติ จากนั้น รายงานให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทราบต่อไป”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,789 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2554
------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 213 วรรคสอง และมาตรา 217 และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีจํา นวนอัตราของผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและผู้ช่วยเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และบัญชีค่าตอบแทนเป็นรายเดือนตามวุฒิการศึกษาและค่าตอบแทนพิเศษของผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ช่วยเลขานุการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้บัญชีจํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและค่าตอบแทนพิเศษของผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท้ายระเบียบนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,790 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2564
----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อกาหนดให้มีเครื่องแบบพิธีการ และเครื่องแบบประจาสานักงานของผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551
“ข้อ 12/1 ให้นาระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายข้าราชการสานักงานศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องแบบพิธีการและเครื่องแบบประจาสานักงานมาใช้บังคับกับผู้ช่วยเลขานุการโดยอนุโลม เว้นแต่อินทรธนูให้ใช้ตามแบบที่กาหนดท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564
ประกาศวรวิทย์ กังศศิเทียม
ประกาศประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,791 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2551
-------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 (6) และ (10)และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2542 ข้อ 4 จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ และคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
(1) “ความปลอดภัย” หมายความว่า ความปลอดภัยส่วนตัวและครอบครัว ความปลอดภัยของสถานที่พัก ยานพาหนะ
(2) “พื้นที่” หมายความว่า บริเวณที่กําหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(3) “เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจํา ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า บุคคลที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ จ้างเพื่อปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กําหนดในระเบียบนี้
(4) “ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า บุคคลที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ จ้างเพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กําหนดในระเบียบนี้
ข้อ ๕ สัญญาจ้างให้เป็นไปตามแบบที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด และให้สั่งจ้างได้ครั้งละไม่เกินสามปี เจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้ปฏิบัติงานครบกําหนดระยะเวลา ตามสัญญาแล้วอาจได้รับการพิจารณาสั่งจ้างอีกได้ แต่ทั้งนี้จะสั่งจ้างต่ออีกเกินกว่าสามครั้งไม่ได้
กรณีที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีความจําเป็นพิเศษอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ของทางราชการและต้องการสั่งจ้างเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนเดิมเกินกว่าที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ขออนุมัติคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนดําเนินการสั่งจ้าง
ข้อ ๖ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ดําเนินการจ้างเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณี โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 25,000 บาท และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 18,000 บาท
ข้อ ๗ เจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้อง
(1) มีสภาพร่างกายแข็งแรง เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่
(2) มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
(2.1) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี และผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยหรืออารักขาบุคคลสําคัญของศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยหรืออารักขาบุคคลสําคัญมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปี หรือ
(2.2) เคยรับราชการทหารหรือตํารวจมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี หรือ
(2.3) มีคุณสมบัติอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควรแล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ เจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้อง
(1) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา ข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง หรือผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา
(3) ไม่เป็นผู้จัดการ กรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทนหรือลูกจ้างของบุคคล ห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือองค์กรใด ๆ ซึ่งทําธุรกิจเพื่อหากําไร
(4) ไม่เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รายงานตัวต่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญพร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) เอกสารรายงานตัวตามแบบที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
(2) สําเนาทะเบียนบ้านและสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน กรณีมีการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล ให้นําหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลมาแสดงด้วย
(3) หลักฐานแสดงคุณสมบัติตามข้อ 7
(4) รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จํานวน 4 รูป
(5) ใบรับรองแพทย์ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ จัดทําและรักษาทะเบียนประวัติของเจ้าหน้าที่และ
ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งออกบัตรประจําตัวเพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงตน
บัตรประจําตัวตามวรรคหนึ่ง เป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นจากตําแหน่งตามข้อ 14
ข้อ ๑๑ เจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ในการอารักขา ติดตาม ดูแล รักษาความปลอดภัยแก่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งความปลอดภัยของพื้นที่ส่วนตัวและครอบครัวสถานที่พัก ยานพาหนะ และบุคคลสําคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เป็นแขกรับเชิญของศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมายแล้วแต่กรณี โดยปฏิบัติงานเต็มเวลาของราชการปกติ รวมทั้งปฏิบัติงานนอกเหนือจากเวลาราชการปกติตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๒ ให้นํา กฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว มาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญระดับ 6 และให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอํานาจอนุญาตหรืออนุมัติ ให้เจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเดินทางไปราชการ
ข้อ ๑๓ เจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องปฏิบัติตามนโยบาย คําสั่งของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและแบบธรรมเนียมของทางราชการโดยเคร่งครัด
ข้อ ๑๔ เจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7 หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8
(4) ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เห็นสมควรให้พ้นจากตําแหน่งแล้วแต่กรณี
(5) ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ้นจากตําแหน่งแล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,792 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2554
-----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐและเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 217พระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 (6) และ (10) และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2544 ข้อ 4 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ความในข้อ 6 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้สั่งจ้างเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณี ทั้งนี้จํานวนอัตราและค่าจ้างเป็นรายเดือนให้เป็นไปตามบัญชีที่กําหนดไว้ในท้ายระเบียบนี้”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,793 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2557
----------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 217และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 (6) และ (10) และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2552 ข้อ 4 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และให้ใช้บัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จรูญ อินทจาร
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,794 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจำตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่ง
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2551
-----------------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546
(2) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“พนักงานขับรถยนต์” หมายความว่า พนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๖ ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ตามความประสงค์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จํานวนอัตราค่าตอบแทนเป็นรายเดือน และค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานขับรถยนต์ให้เป็นไปตามที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗ พนักงานขับรถยนต์ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปี
(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(4) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํา ข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(5) ไม่เป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(6) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(7) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจําของส่วนราชการหรือตามกฎหมายอื่น
(8) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(9) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว
(10) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(11) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(12) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทําผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
(13) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทําผิดวินัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจําของส่วนราชการหรือตามกฎหมายอื่น
ข้อ ๘ พนักงานขับรถยนต์ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตําแหน่ง ดังต่อไปนี้
(1) ต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล
(2) มีประสบการณ์ในการขับรถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถยนต์สาธารณะ หรือทั้งสองประเภทรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
ข้อ ๙ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานขับรถยนต์ให้ยื่นแบบเสนอชื่อและใบรับรองพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาทะเบียนบ้าน
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ให้นําหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาแสดงด้วย
(3) หลักฐานใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล
(4) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือแว่นตาสีดํา ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือนจํานวน 4 รูป
(5) ใบรับรองแพทย์มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
ข้อ ๑๐ พนักงานขับรถยนต์ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) รับผิดชอบและดูแลรักษารถยนต์ประจําตําแหน่งของประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
(2) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย
ข้อ ๑๑ พนักงานขับรถยนต์พ้นจากหน้าที่เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7 หรือข้อ 8
(4) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี เห็นควรให้พ้นจากตําแหน่ง
(5) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๒ พนักงานขับรถยนต์มีสิทธิได้รับสวัสดิการและการสงเคราะห์อื่น ดังต่อไปนี้
(1) การประกันสุขภาพ มีอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทต่อปี
ในการจัดหาผู้รับประกัน ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการที่ออกตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพมาใช้บังคับกับพนักงานขับรถยนต์โดยอนุโลม
(2) บําเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน หลังจากที่ปฏิบัติงานครบหนึ่งปีขึ้นไป นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
ในการคํานวณบําเหน็จตอบแทนให้นําค่าตอบแทนเป็นรายเดือนท้ายระเบียบนี้คูณด้วยระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นรายปี โดยให้นับจํานวนปีและเศษของปีด้วย การคํานวณเศษของปีที่เป็นเดือนหรือเป็นวันให้เป็นปีนั้น ให้นําเศษที่เป็นเดือนหารด้วยสิบสอง และเศษที่เป็นวันหารด้วยสามสิบได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงหารด้วยสิบสอง ในการคํานวณให้ใช้ทศนิยมสองตําแหน่ง และให้นําจํานวนที่คํานวณได้มารวมกันเป็นระยะเวลาที่ปฏิบัติงานซึ่งเป็นจํานวนปี
สิทธิในบําเหน็จตอบแทน เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ในกรณีที่พนักงานขับรถยนต์ออกจากงานเพราะถึงแก่ความตาย ไม่ว่าผู้นั้นจะปฏิบัติงานครบหนึ่งปีบริบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบําเหน็จตอบแทน โดยให้จ่ายแก่ทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(3) ค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นค่าเครื่องแบบประจําสํานักงานตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับลูกจ้างประจําสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(4) ประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญออกบัตรประจําตัวแก่พนักงานขับรถยนต์เพื่อแสดงตนจัดทําและรักษาทะเบียนประวัติของพนักงานขับรถยนต์ไว้เป็นหลักฐาน
บัตรประจําตัวตามวรรคหนึ่ง เป็นอันยกเลิกเมื่อมีกรณีตามข้อ 11
ข้อ ๑๔ พนักงานขับรถยนต์ ต้องปฏิบัติตามนโยบาย คําสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแบบธรรมเนียมของศาลรัฐธรรมนูญ และสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,795 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจำตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่ง
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2552
-------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเดินทางไปราชการและการอนุญาตหรืออนุมัติการเดินทางไปราชการของพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551
“ข้อ 10/1 พนักงานขับรถยนต์มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ให้นํากฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว มาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพนักงานขับรถยนต์โดยอนุโลม โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับลูกจ้างประจําของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
การเดินทางไปราชการของพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตนสังกัดแล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตหรืออนุมัติ จากนั้นรายงานให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทราบต่อไป”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,796 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจำตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่ง
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2554
--------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 217และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีจํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 และให้ใช้บัญชีจํานวนอัตรา ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,797 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจำตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่ง
ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2557
---------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐ และเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 217และพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 และให้ใช้บัญชีจํานวนอัตราและค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จรูญ อินทจาร
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,798 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน
ของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2554
------------------------------------------------------
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ใช้อํานาจตุลาการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดําเนินการอื่นเพื่อช่วยเหลืองานทางวิชาการสนับสนุนและอํา นวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญสามารถพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งและสมรรถนะของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้สามารถสนับสนุนยุทธศาสตร์ของศาลรัฐธรรมนูญในการดําเนินการพิจารณาวินิจฉัยคดีให้มีความรวดเร็ว อันจะส่งเสริมให้การดําเนินงานมีความเป็นกลางมีอิสระ ปราศจากอคติหรือสิ่งจูงใจจากภายนอก จึงเห็นสมควรกําหนดเงินเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการที่ดีให้แก่ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กรและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 217 พระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (8) (11) และวรรคสองและระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2544 ข้อ 4 และข้อ 7 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2544
(2) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ ให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในระเบียบนี้
ให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับเงินค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจําของส่วนราชการ
ข้อ ๕ อัตราค่าตอบแทนพิเศษและการรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๖ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ตามระเบียบนี้จะต้องได้รับการแต่งตั้งตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่งที่ อ.ศร. กําหนด และผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงานหรือผ่านการทดสอบศักยภาพในการปฏิบัติงาน หรือผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาหรือคณะกรรมการตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด แล้วแต่กรณี
หากข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดไม่ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงานหรือไม่ผ่านการทดสอบศักยภาพในการปฏิบัติงานหรือไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาหรือคณะกรรมการตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด ตามวรรคหนึ่ง ให้งดการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษไว้ จนกว่าข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นจะผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงานหรือผ่านการทดสอบศักยภาพในการปฏิบัติงานหรือผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาหรือคณะกรรมการตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๗ การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกรณีบรรจุใหม่ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่พ้นการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ส่วนกรณีขอกลับเข้ารับราชการใหม่ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่เริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๘ การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษกรณีที่มีการเลื่อนระดับของตําแหน่ง ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ระบุในคําสั่งของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ข้อ ๙ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดมีระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ถึงสองในสามของจํานวนวันทําการในเดือนใด ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษสําหรับเดือนนั้นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันควร หรือละทิ้งหน้าที่ราชการในเดือนใด ห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสําหรับวันที่ขาดราชการหรือละทิ้งหน้าที่ราชการดังกล่าว
กรณีมีภารกิจที่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการเร่งด่วน ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชา โดยไม่มีเหตุผลอันควร ห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสําหรับวันที่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าว
ให้หน่วยงานการเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและแจ้งจํานวนวันที่ปฏิบัติราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามไปยังหน่วยงานที่ทําหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษเพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือน
ข้อ ๑๐ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ไปประชุมสัมมนา ดูงาน หรือเข้ารับการอบรมตามแผนการฝึกอบรมของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
การอบรมที่จัดโดยหน่วยงานภายนอกไม่ถือเป็นระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบนี้เว้นแต่จะได้รับการอนุมัติจากสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในกรณีพ้นจากราชการหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการให้จ่ายได้ถึงก่อนวันเกษียณอายุราชการ
(2) ในกรณีพ้นจากการเป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญในกรณีอื่นให้งดการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ ตั้งแต่วันที่มีคําสั่งให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นพ้นจากการเป็นข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ หรือนับตั้งแต่วันที่ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ข้อ ๑๒ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นเป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่มีคําสั่ง
การสั่งงดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษตามวรรคหนึ่งสําหรับตําแหน่งเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอํานาจสั่ง
ข้อ ๑๓ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่มีคําสั่งให้ลงโทษ
ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหนักกว่าภาคทัณฑ์ ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นเป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งลงโทษ
ข้อ ๑๔ ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนและผู้ที่อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือในระหว่างการอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๑๕ การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้เบิกจ่ายควบกับเงินเดือน และให้จ่ายในวันทําการ
สุดท้ายของเดือน สําหรับกรณีที่ต้องเบิกเงินจากธนาคารให้จ่ายในวันทําการสุดท้ายของธนาคารในเดือนนั้น
แต่ทั้งนี้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจะกําหนดวันจ่ายเป็นอย่างอื่นก็ได้เมื่อมีเหตุพิเศษ
ข้อ ๑๖ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนสําหรับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกรณีใดที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บําเหน็จ บํานาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกและการจ่ายเงินเดือน เงินปี และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,799 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน
ของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2557
----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงอัตราค่าตอบแทนพิเศษให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน และภาระหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณคดีอันเนื่องมาจากความคาดหวังของประชาชนต่อการอํานวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ประกอบกับเป็นการสร้างขวัญและกําลังใจให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญดํารงตนอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีและเป็นหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปด้วยความเป็นอิสระและเป็นกลาง โดยปราศจากอคติหรือสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก รวมถึงส่งเสริมให้มีการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันจะทําให้การสนับสนุนยุทธศาสตร์ของศาลรัฐธรรมนูญในการดําเนินการพิจารณาวินิจฉัยคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 217พระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (8) (11) และวรรคสองและระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2544 ข้อ 4 และข้อ 7 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 อัตราค่าตอบแทนพิเศษและการรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้และบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 และให้ใช้บัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จรูญ อินทจาร
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,800 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน
ของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2557
--------------------------------------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนระบบการกําหนดตําแหน่งของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอํานาจตามความในพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (8) (11) และวรรคสอง และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2557 ข้อ 8 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญท้ายระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 และให้ใช้บัญชีอัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ท้ายระเบียบนี้แทน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,801 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน
ของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2558
----------------------------------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 เพื่อให้ครอบคลุมการลาประเภทต่าง ๆ ตามระเบียบและสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีที่ส่วนราชการต่าง ๆถือปฏิบัติ
อาศัยอํานาจตามความในพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 วรรคหนึ่(8) (11) และวรรคสอง และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2557 ข้อ 4และข้อ 8 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อความในข้อ 9 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดมีระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ถึงสองในสามของจํานวนวันทําการในเดือนใด ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษสําหรับเดือนนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ลาดังต่อไปนี้
(1) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาป่วย ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทําการ
(2) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
(3) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย และตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือยังไม่เคยลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน
(4) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน
ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดขาดราชการโดยไม่มีเหตุอันควร หรือละทิ้งหน้าที่ราชการในเดือนใด ห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสําหรับวันที่ขาดราชการหรือละทิ้งหน้าที่ราชการดังกล่าว
กรณีมีภารกิจที่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการเร่งด่วน ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยไม่มีเหตุอันควร ห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษสําหรับวันที่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าว
ให้หน่วยงานการเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและแจ้งจํานวนวันที่ปฏิบัติราชการของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไปยังหน่วยงานที่ทําหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษเพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือน”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,802 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2554
------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้มีค่าตอบแทนพิเศษ สําหรับลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเนื่องจากภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นตามภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 217 พระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 ข้อ 17 วรรคหนึ่ง คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2545
(2) ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ “ลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า ลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราว
ข้อ ๕ ให้ลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๖ อัตราค่าตอบแทนพิเศษและการรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ได้รับในอัตราเดือนละสี่พันบาท
ข้อ ๗ ให้นํา หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงานหรือผ่านการทดสอบศักยภาพในการปฏิบัติงาน หรือผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาหรือคณะกรรมการตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนดและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษและการห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับกับลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม
ข้อ ๘ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,803 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2557
---------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้มีค่าตอบแทนพิเศษ สําหรับลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเนื่องจากภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นตามภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอํานาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 217พระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 ข้อ 17 วรรคหนึ่ง คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 อัตราค่าตอบแทนพิเศษและการรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ได้รับอัตรา ดังนี้
(1) ลูกจ้างชั่วคราว ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 4,500 บาท
(2) ลูกจ้างประจําที่พ้นทดลองการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 5,500 บาท
(3) ลูกจ้างประจําที่รับราชการเกิน 5 ปี ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 6,500 บาท
(4) ลูกจ้างประจําที่รับราชการเกิน 10 ปี ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 7,500 บาท”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จรูญ อินทจาร
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,804 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพนักงานราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560
--------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้มีการปรับปรุงกระบวนการจ้างงานในส่วนลูกจ้างของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสม เพื่อให้การปฏิบัติราชการมีความคล่องตัวเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความสอดคล้องตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ จึงเห็นสมควรให้มีระเบียบการจ้างพนักงานราชการสําหรับการปฏิบัติงานของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ” หมายความว่า บุคคลซึ่งสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นพนักงานราชการของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญในการปฏิบัติงานให้กับสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“สัญญาจ้าง” หมายความว่า สัญญาจ้างพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามระเบียบนี้
“ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงินเดือนซึ่งจ่ายให้แก่พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญในการปฏิบัติงานให้กับสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๔ บรรดากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ คําสั่ง มติคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่กําหนดให้ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหรือเป็นข้อห้ามในเรื่องใด ให้ถือว่าพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหรือต้องห้ามเช่นเดียวกับข้าราชการหรือลูกจ้างด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่เรื่องใดมีกําหนดไว้แล้วโดยเฉพาะในระเบียบนี้ หรือตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง หรือเป็นกรณีที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญประกาศกําหนดให้พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญประเภทใดหรือตําแหน่งในกลุ่มงานลักษณะใด ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับข้าราชการหรือลูกจ้างในบางเรื่องเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๖ การใดที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ หรือประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ
หมวด ๑ พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
---------------------------------------
ข้อ ๗ พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีสองประเภท ดังต่อไปนี้
(1) พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญทั่วไป ได้แก่ พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจําทั่วไปของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญในด้านงานบริการงานเทคนิค งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะ หรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะ
(2) พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญพิเศษ ได้แก่ พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้หรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษเพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสําคัญและจําเป็นเฉพาะเรื่องของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ หรือมีความจําเป็นต้องใช้บุคคลในลักษณะดังกล่าว
ข้อ ๘ ในการกําหนดตําแหน่งของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้กําหนดโดยจําแนกเป็นกลุ่มงานตามลักษณะงานและผลผลิตของงาน ดังต่อไปนี้
ก. พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญทั่วไป ประกอบด้วย
(1) กลุ่มงานบริการ
(2) กลุ่มงานเทคนิค
(3) กลุ่มงานบริหารทั่วไป
(4) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ
(5) กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
ข. พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญพิเศษ ได้แก่ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษในแต่ละกลุ่มงานตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจกําหนดให้มีกลุ่มงานย่อยเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงานของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้
การกําหนดให้พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญประเภทใดมีตําแหน่งในกลุ่มงานใดและการกําหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการและอาจกําหนดชื่อตําแหน่งในกลุ่มงานตามความเหมาะสมกับหน้าที่การปฏิบัติงานของพนักงานราชการที่จ้างได้
ข้อ ๙ ผู้ซึ่งจะได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
(5) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(6) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นผู้พ้นโทษมาแล้วเกินห้าปี
การจ้างบุคคลผู้พ้นโทษมาแล้วเกินห้าปีตามวรรคหนึ่งเข้าเป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญต้องกําหนดให้บุคคลผู้นั้นยื่นหนังสือรับรองความประพฤติว่าไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมตามแบบที่เลขาธิการกําหนด เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
(7) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(8) ไม่เป็นข้าราชการ ลูกจ้าง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
(9) คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกําหนดไว้ในประกาศการสรรหาหรือการเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปเพื่อความจําเป็นหรือเหมาะสมกับภารกิจของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ความใน (1) ไม่ให้ใช้บังคับแก่พนักงานราชการชาวต่างประเทศ ซึ่งสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจําเป็นต้องจ้างตามข้อผูกพันหรือตามความจําเป็นของภารกิจของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ในกรณีที่เห็นสมควรคณะกรรมการอาจประกาศกําหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามเพิ่มขึ้นหรือกําหนดแนวทางปฏิบัติของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในการจ้างพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการกําหนดให้มีพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ จัดทํากรอบอัตรากําลังพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นระยะเวลาสี่ปี ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและแผนการปฏิบัติราชการของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่มีเหตุผลความจําเป็น สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจปรับเปลี่ยนกรอบอัตรากําลังพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้
ข้อ ๑๑ การสรรหาและการเลือกสรรบุคคล เพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนดในกรณีที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจะขอยกเว้นหรือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสรรหาหรือการเลือกสรรตามที่คณะกรรมการกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้สามารถกระทําได้เท่าที่จําเป็นและเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเป็นคราว ๆ ไป
ข้อ ๑๒ การจ้างพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้กระทําเป็นสัญญาจ้างไม่เกินคราวละสี่ปีหรือตามโครงการที่มีกําหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไว้ โดยอาจมีการต่อสัญญาจ้างได้ ทั้งนี้ตามความเหมาะสมและความจําเป็นของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
แบบสัญญาจ้างให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
การทําสัญญาตามวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างกับผู้ได้รับการสรรหาหรือการเลือกสรรเป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๓ การแต่งกาย เครื่องแบบปกติ และเครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๑๔ วันเวลาทํางาน หรือวิธีการทํางานในกรณีที่ไม่ต้องอยู่ปฏิบัติงานประจําของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
หมวด ๒ ค่าตอบแทน ค่าตอบแทนพิเศษ และสิทธิประโยชน์
--------------------------------------
ข้อ ๑๕ อัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการกําหนด
ข้อ ๑๖ ให้พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับค่าตอบแทนพิเศษเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญในอัตรา ดังนี้
(1) พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่พ้นทดลองปฏิบัติงาน ให้ได้รับในอัตราเดือนละสี่พันห้าร้อยบาท
(2) พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ปฏิบัติงานห้าปีขึ้นไป ให้ได้รับในอัตราเดือนละห้าพันห้าร้อยบาท ทั้งนี้ การนับระยะเวลาให้นับเฉพาะระยะเวลาที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องตามสัญญาจ้าง
ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงานหรือผ่านการทดสอบศักยภาพในการปฏิบัติงาน หรือผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาหรือคณะกรรมการตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษและการห้ามมิให้จ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษและค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ มาใช้บังคับกับพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม
ข้อ ๑๗ คณะกรรมการอาจกําหนดให้พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญประเภทใดหรือตําแหน่งในกลุ่มงานใด ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) สิทธิเกี่ยวกับการลา
(2) สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา
(3) สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา
(4) ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
(5) ค่าเบี้ยประชุม
(6) สิทธิในการขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
(7) สิทธิในการได้รับเครื่องแบบสํานักงาน
(8) สิทธิอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกําหนด
หลักเกณฑ์การได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ หรือตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์อื่นแก่ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด เว้นแต่คณะกรรมการจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๘ ให้พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับสิทธิประโยชน์และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
ข้อ ๑๙ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอาจกําหนดให้พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญประเภทใดหรือตําแหน่งในกลุ่มงานใดได้รับค่าตอบแทนการออกจากงานโดยไม่มีความผิดได้ ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการกําหนด
หมวด ๓ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
----------------------------------------------
ข้อ ๒๐ ในระหว่างสัญญาจ้าง ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
(1) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญทั่วไปให้กระทําในกรณี ดังต่อไปนี้
(ก) การประเมินผลการปฏิบัติงานประจําปี
(ข) การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้าง
(2) การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญพิเศษ ให้กระทําในกรณีการประเมินผลสําเร็จของงานตามช่วงเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาจ้าง
การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการกําหนด เว้นแต่คณะกรรมการจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๑ พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อ 20 ให้ถือว่าสัญญาจ้างของผู้นั้นสิ้นสุดลง ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งให้พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ทราบผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้น
ข้อ ๒๒ ให้สํานักพัฒนาระบบบริหารรายงานผลการดําเนินการจ้างพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
หมวด ๔ วินัย การรักษาวินัย และการอุทธรณ์
----------------------------------------------
ข้อ ๒๓ พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานตามที่กําหนดในระเบียบนี้ ตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาจ้าง และตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด รวมทั้งต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดตามที่กําหนดไว้เป็นข้อปฏิบัติและข้อห้ามตามระเบียบนี้ หรือตามที่คณะกรรมการกําหนด
พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นเป็นผู้กระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษทางวินัย
ข้อ ๒๔ พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องกระทําการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและเที่ยงธรรม
(2) ต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
(3) ต้องปฏิบัติงานให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะเอาใจใส่และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
(4) ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคําสั่งนั้นจะทําให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคําสั่งนั้นและเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคําสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
(5) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งการปฏิบัติงานมิได้
(6) ต้องรักษาความลับของทางราชการ
(7) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติงานระหว่างพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติงาน
(8) ต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
(9) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติงาน และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ทั้งจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วยโดยอนุโลม
(10) ต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตําแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานของตนมิให้เสื่อมเสีย
(11) กระทําการอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
ข้อ ๒๕ พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่กระทําการใด ดังต่อไปนี้
(1) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
(2) ต้องไม่ปฏิบัติงานอันเป็นการกระทําการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทําหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
(3) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตําแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
(4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน
(5) ต้องไม่กระทําการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทําการหาผลประโยชน์ อันอาจทําให้เสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตําแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานของตน
(6) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดํารงตําแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(7) ต้องไม่กระทําการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติงาน
(8) ต้องไม่กระทําการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามหรือก่อความเดือดร้อนรําคาญในทางเพศแก่ผู้อื่น
(9) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ
(10) ไม่กระทําการอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
ข้อ ๒๖ การกระทําความผิดดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(1) กระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
(2) จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขที่ทางราชการกําหนดให้ปฏิบัติจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(3) ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในสัญญา หรือขัดคําสั่ง หรือหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาตามข้อ 24 (4) จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(5) ประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(6) ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทํางานเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าเจ็ดวัน สําหรับตําแหน่งที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนดวันเวลาการมาทํางาน
(7) ละทิ้งหรือทอดทิ้งการทํางานจนทําให้งานไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กําหนดจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง สําหรับตําแหน่งที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนดการทํางานตามเป้าหมาย
(8) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือกระทําความผิดอาญาโดยมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกหรือหนักกว่าโทษจําคุก
(9) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(10) การกระทําอื่นใดที่คณะกรรมการกําหนดว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๒๗ เมื่อมีกรณีที่พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้เลขาธิการจัดให้มีคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดําเนินการสอบสวนโดยเร็วและต้องให้โอกาสพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกกล่าวหาชี้แจงและแสดงพยานหลักฐานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในกรณีที่ผลการสอบสวนปรากฏว่าพนักงานราชการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นกระทําความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้เลขาธิการมีคําสั่งไล่ออก แต่ถ้าไม่มีมูลกระทําความผิดให้สั่งยุติเรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกระทําความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้เลขาธิการสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินค่าตอบแทน หรือลดเงินค่าตอบแทนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ในการพิจารณาการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการพิจารณาสอบสวนให้ได้ความจริงและยุติธรรมตามวิธีการที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๙ พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามระเบียบนี้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (อ.กศร.) ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ภายในสามสิบวันนับแต่วันรับทราบคําสั่ง คําวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุด
หมวด ๕ การสิ้นสุดสัญญาจ้าง
---------------------------------------------
ข้อ ๓๐ สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อพนักงานราชการสํา นักงานศาลรัฐธรรมนูญมีกรณีดังต่อไปนี้
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) สิ้นปีงบประมาณที่พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญทั่วไป มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญพิเศษ มีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์
(4) ครบกําหนดตามสัญญาจ้าง
(5) ถูกไล่ออก เพราะกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(6) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบนี้ หรือตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
(7) ลาเกินกําหนดตามข้อ 17
(8) ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อ 20
(9) เหตุอื่นตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือตามข้อกําหนดของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือตามสัญญาจ้าง
ข้อ ๓๑ ในระหว่างสัญญาจ้าง พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากการปฏิบัติงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อเลขาธิการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ในกรณีที่พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดยื่นหนังสือขอลาออกต่อเลขาธิการล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวัน หากเลขาธิการเห็นว่าการลาออกมีเหตุผลความจําเป็นพิเศษจะอนุญาตให้ลาออกก็ได้
ข้อ ๓๒ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอาจบอกเลิกสัญญาจ้างกับพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดก่อนครบกําหนดตามสัญญาจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นเหตุที่พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจะเรียกร้องค่าตอบแทนการเลิกจ้างได้ เว้นแต่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจะกําหนดว่ากรณีใดได้รับค่าตอบแทนการออกจากงานโดยไม่มีความผิดไว้
ข้อ ๓๓ เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งให้พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญาจ้างได้ โดยไม่เป็นเหตุให้พนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอ้างขอเลิกสัญญาจ้าง หรือเรียกร้องประโยชน์ตอบแทนใด ๆในการนี้ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอาจกําหนดให้ค่าล่วงเวลา หรือค่าตอบแทนอื่นจากการสั่งให้ปฏิบัติงานดังกล่าวก็ได้
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่บุคคลใดพ้นจากการเป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญแล้วหากในการปฏิบัติงานของบุคคลนั้นในระหว่างที่เป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญก่อให้เกิดความเสียหายแก่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ บุคคลดังกล่าวต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในการนี้ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอาจหักค่าตอบแทนหรือเงินอื่นใดที่บุคคลนั้นจะได้รับจากสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญไว้เพื่อชําระค่าความเสียหายดังกล่าวก็ได้
หมวด ๖ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
--------------------------------------------------
ข้อ ๓๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ” ซึ่งประกอบด้วย เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานกรรมการรองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิหรือระดับเชี่ยวชาญซึ่งเลขาธิการมอบหมายจํานวนสองคน ข้าราชการประเภทอํานวยการ ระดับสูง ซึ่งเลขาธิการมอบหมายจํานวนสองคน และผู้อํานวยการสํานักพัฒนาระบบบริหาร เป็นกรรมการ ให้ผู้อํานวยการกลุ่มงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ และข้าราชการกลุ่มงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเลขาธิการมอบหมายจํานวนสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๓๖ ให้คณะกรรมการ มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กําหนดแผนงานและแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งเสนอแนะในการปรับปรุงหรือแก้ไขระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการบริหารพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้
(2) กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการสรรหาและการเลือกสรรบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งแบบสัญญาจ้าง
(3) กําหนดกลุ่มงานและลักษณะงานในกลุ่มงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานของพนักงานราชการ
(4) กําหนดกรอบอัตรากําลังพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามที่เห็นสมควร
(6) อํานาจหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้หรือกฎหมายอื่น
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
----------------------------------
ข้อ ๓๗ ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกและบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับลูกจ้างของสํานักงานตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติหน้าที่แทนจนกว่าจะมีคณะกรรมการตามระเบียบนี้
ข้อ ๓๘ เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอาจจ้างลูกจ้างชั่วคราวของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้ปฏิบัติงานอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับและสัญญาจ้างยังไม่สิ้นสุดลง เป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,805 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพนักงานราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2561
-------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เพื่อให้การดําเนินการสรรหาบุคคลมาเป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่ทางราชการรวมถึงความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญอาจจ้างเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และพนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งพนักงานรถยนต์ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ปฏิบัติงานอยู่ก่อนวันที่ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับและยังไม่พ้นจากการดํารงตําแหน่งดังกล่าวในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ เป็นพนักงานราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๔ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,806 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการงลประมาณ พ.ศ. 2542 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการงบประมาณ
พ.ศ. 2542
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 (7) แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการงบประมาณ พ.ศ. 2542”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามระเบียบนี้
ข้อ ๔ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการงบประมาณที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยอนุโลม
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“งบประมาณ” หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการอุดหนุนตามที่กําหนดไว้ ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินรายรับของสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“เงินรายรับ” หมายความว่า งบประมาณ และเงินอื่นใดที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับอนุญาต ให้เก็บไว้ใช้จ่ายโดยไม่ต้องนําส่งคลัง
“งบประมาณรายจ่ายข้ามปี” หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายที่กําหนดให้มีการใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายปีปัจจุบันและงบประมาณรายจ่ายปีถัดไปด้วย
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“ประธาน” หมายความว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
หมวด ๑ การจัดทําและการเสนองบประมาณ
------------------------------------
ข้อ ๖ ให้สํานักงานมีหน้าที่จัดทําคําของบประมาณรายจ่ายประจําปีเสนอขออนุมัติต่อคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อประธานเสนองบประมาณรายจ่ายประจําปีต่อคณะรัฐมนตรี ภายในเดือนธันวาคม ก่อนเริ่มต้นปีงบประมาณถัดไป
ข้อ ๗ การจัดทําคําของบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้ประกอบด้วย
(1) แผนการดําเนินงานประจําปีที่แสดงถึงแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี และแผนปฏิบัติงานจําแนกตามแผนงาน งาน โครงการ
(2) คําแถลงประกอบแผนการดําเนินงานประจําปีแสดงฐานะเงินรายรับ งบประมาณรายจ่ายในปีที่ล่วงมาแล้ว และความสัมพันธ์ระหว่างเงินรายรับ และงบประมาณที่ขอตั้ง
ข้อ ๘ งบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้งให้จําแนกตามแผนงาน งาน โครงการ เป็นงบประจําและงบลงทุน ดังนี้
(1) งบประจํา หมายถึง รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
(ก) เงินเดือน และค่าจ้างประจํา
(ข) ค่าจ้างชั่วคราว
(ค) ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ
(ง) ค่าสาธารณูปโภค
(จ) ค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินแต่ละรายการไม่เกิน 5,000 บาท
(2) งบลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
(ก) ค่าครุภัณฑ์ที่มีวงเงินแต่ละรายการเกิน 5,000 บาท
(ข) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
รายจ่ายงบลงทุนที่จะต้องก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปี ให้กําหนดรายการพร้อมทั้งระบุจํานวนเงินที่จะต้องผูกพันในแต่ละปีงบประมาณให้แน่ชัด
รายจ่ายใดจะจําแนกเป็นลักษณะใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์จําแนกประเภทรายจ่ายของสํานักงบประมาณ
ข้อ ๙ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําคําของบประมาณรายจ่ายประจําปีให้เป็นไปตามที่เลขาธิการกําหนดโดยความเห็นชอบของประธาน
หมวด ๒ การจัดทําแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปีและการบริหารงบประมาณรายจ่าย
-------------------------------------
ข้อ ๑๐ ให้เลขาธิการมีหน้าที่จัดทําแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปีในแต่ละงบประมาณของสํานักงาน โดยจําแนกรายการและลักษณะการใช้จ่ายให้สอดคล้องกับแผนงาน งาน โครงการ ที่กําหนดไว้ในแผนการดําเนินงานประจําปี เสนอต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาอนุมัติ ก่อนเริ่มต้นปีงบประมาณ
การจําแนกรายจ่ายและลักษณะค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการกําหนดโดยความเห็นชอบของประธาน
ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินและก่อหนี้ผูกพันของสํานักงาน ให้กระทําได้แต่เฉพาะที่ได้กําหนด ในแผนงาน งาน โครงการ และรายละเอียดที่กําหนดไว้ในแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี
การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายจ่ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็นตามที่กําหนดไว้ในข้อ 13 และข้อ 14
ข้อ ๑๒ ให้เลขาธิการมีอํานาจหน้าที่จัดสรร และรับผิดชอบในการจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี
ข้อ ๑๓ การโอนเปลี่ยนแปลงรายจ่ายที่มีผลเป็นการใช้รายจ่ายเกินกว่าแผนงานแต่ละแผนงานที่กําหนดไว้ในแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปีจะกระทํามิได้เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๔ การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงงาน โครงการ หรือรายการในแผนงานเดียวกัน เป็นอํานาจของเลขาธิการ เว้นแต่กรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายครุภัณฑ์ที่มีวงเงินเกิน 100,000 บาท และรายการสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินเกิน 1,000,000 บาท หรือกรณีที่มีผลทําให้เป็นการเพิ่มงานหรือโครงการขึ้นใหม่ ให้กระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากประธาน
การเปลี่ยนแปลงรายจ่ายหรือเพิ่มวงเงินรายการครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติ ให้ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ข้อ ๑๕ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรร การจ่ายเงิน การก่อหนี้ผูกพัน และหลักเกณฑ์การใช้ รายจ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นให้เป็นไปตามที่เลขาธิการกําหนดโดยความเห็นชอบของประธาน
ข้อ ๑๖ การเบิกจ่ายเงินตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี ให้ดําเนินการให้เสร็จสิ้นในปีงบประมาณนั้น หากเบิกจ่ายไม่ทันให้เสนอเป็นรายการค้างเบิกไว้ในแผนการใช้จ่ายประจําปีงบประมาณถัดไป
หมวด ๓ การควบคุม และการรายงานผลการดําเนินงาน
------------------------------------
ข้อ ๑๗ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ ให้เลขาธิการจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน ตลอดจนรายงานการรับและการจ่ายเงินประจําปีที่สิ้นสุด เพื่อให้สํานักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบก่อนนําเสนอต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยมิชักช้า
การรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทําตามแบบและวิธีการที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542
เชาวน์ สายเชื้อ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,807 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการงบประมาณ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (7) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการงบประมาณ (ฉบับที่ 2) 1 พ.ศ. 2545”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการงบประมาณ พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 16 การเบิกจ่ายเงินตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี ให้ดําเนินการให้เสร็จสิ้น ในปีงบประมาณนั้น
ในกรณีมีเงินงบประมาณเหลือจ่ายจากการดําเนินการหรือเบิกจ่ายไม่ทันไม่ว่าปีงบประมาณใด ให้ถือเป็นรายรับของสํานักงาน และในการใช้จ่ายรายรับดังกล่าว ให้สํานักงานจัดทําเป็นรายการค้างเบิก เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหรือในกรณีจําเป็นตามอํานาจหน้าที่ของสํานักงานไว้ในแผนการใช้จ่ายประจําปีงบประมาณถัดไป และให้ดําเนินการดังนี้
(1) รายการค้างเบิกซึ่งมีวงเงินไม่เกินห้าล้านบาท ให้เสนอต่อประธานเพื่อพิจารณาอนุมัติ
(2) รายการค้างเบิกซึ่งมีวงเงินเกินห้าล้านบาท ให้เสนอต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาอนุมัติ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2545
อิสสระ นิติทัณฑ์ประกาศ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,808 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเงิน พ.ศ. 2542 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเงิน
พ.ศ. 2542
----------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (7) แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเงิน พ.ศ. 2542”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายและแต่งตั้งตามระเบียบนี้ให้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของสํานักงาน
“ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือเลขาธิการแต่งตั้ง
“ปีงบประมาณ” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่งถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสําหรับปีงบประมาณนั้น
ข้อ ๔ เงินทุกประเภทของสํานักงานจะต้องนําฝากไว้ที่ธนาคารของรัฐที่ประสงค์จะจ่ายเงินผ่านในนามของสํานักงานและในชื่อบัญชีที่มีจุดประสงค์โดยเฉพาะเท่านั้น
ข้อ ๕ เงินรายรับที่จะนําส่งเข้าบัญชีตามข้อ 4 ได้แก่
(1) เงินงบประมาณที่ได้รับอุดหนุนจากรัฐบาล
(2) เงินรายรับที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง ให้เก็บไว้ได้โดยไม่ต้องนําส่งคลัง
เงินรายรับให้นําฝากเข้าบัญชีเงินดังกล่าวทันที อย่างช้าภายในวันทําการถัดไปนับตั้งแต่วันที่ได้รับเงิน โดยห้ามหักไว้หรือนําไปใช้จ่ายเพื่อการใดๆ ทั้งสิ้น ก่อนที่จะนําเข้าฝากธนาคารตามบัญชีในข้อ 4
ข้อ ๖ การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของสํานักงานให้เป็นอํานาจของเลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย
ข้อ ๗ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งต่อไปนี้มีอํานาจอนุมัติจ่ายเงินภายในวงเงิน ดังนี้
(1) ผู้อํานวยการสํานักหรือผู้อํานวยการกลุ่ม ไม่เกิน 10,000 บาท
(2) รองเลขาธิการ เกิน 10,000 บาท
แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
(3) เลขาธิการ อนุมัติได้ทั้งจํานวนโดยไม่จัดวงเงิน
ข้อ ๘ การจ่ายเงินตามระเบียบนี้ทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานการจ่าย ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน หลักฐานของธนาคารแสดงการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ เอกสาร หรือใบสําคัญลงลายมือชื่อผู้รับเงินหรือเอกสารอื่นที่เลขาธิการกําหนดให้ใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเงิน
ข้อ ๙ ให้ผู้จ่ายเงินประทับตราจ่ายเงินแล้ว ลงลายมือชื่อรับรองการจ่าย ลงวันเดือนปี พร้อมทั้งมีชื่อผู้จ่ายเงินด้วยตัวบรรจงกํากับไว้ในหลักฐานการจ่ายเงินทุกฉบับ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
ข้อ ๑๐ การจ่ายเงิน ถ้าผู้มีสิทธิรับเงินไม่สามารถมารับเงินด้วยตนเองได้ จะมอบฉันทะให้ผู้อื่น เป็นผู้รับเงินแทน จะต้องมีใบมอบฉันทะการรับเงิน แบบใบมอบฉันทะให้เป็นไปตามที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินในต่างประเทศ ซึ่งตามกฎหมายหรือประเพณีนิยมของประเทศนั้นๆ ไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน ให้ผู้จ่ายเงินทําใบรับรองการจ่ายเงินโดยระบุว่าเป็นการจ่ายเงินค่าอะไร วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน และจํานวนที่จ่ายและให้ลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายไว้ด้วย ในกรณีที่หลักฐานการจ่ายเงินเป็นอย่างอื่นให้แนบหลักฐานนั้นไปพร้อมกับใบรับรองเพื่อตรวจสอบด้วย
ข้อ ๑๒ การจ่ายเงินรายใด ซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้ ให้ผู้จ่ายเงินทําใบรับรองการจ่ายเงินได้ โดยให้บันทึกชี้แจงเหตุที่ไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินไว้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๓ การจ่ายเงินต่อไปนี้ ให้ผู้จ่ายทําใบรับรองการจ่ายเงิน โดยไม่ต้องทําบันทึกชี้แจงเหตุตามข้อ 12
(1) การจ่ายเงินรายหนึ่ง ๆ เป็นจํานวนไม่ถึงสิบบาท ๆ
(2) การจ่ายเงินเป็นค่ารถ หรือเรือนั่งรับจ้าง
(3) การจ่ายเงินเป็นค่าโดยสารรถไฟ รถยนต์ประจําทาง หรือเรือยนต์ประจําทาง
ข้อ ๑๔ ในกรณีหลักฐานการจ่ายสูญหาย ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ถ้าหลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงินสูญหายให้ใช้สําเนาใบเสร็จรับเงินหรือใบรับรองการรับเงิน ซึ่งผู้รับเงินรับรองแล้วแทนได้
(2) ถ้าหลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงินสูญหาย และไม่อาจขอสําเนาใบเสร็จรับเงินได้ ให้ผู้จ่ายเงินทําใบรับรองการจ่ายเงินโดยชี้แจงเหตุผล เสนอเลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย เพื่อพิจารณาอนุมัติเมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้ใช้ใบรับรองนั้นเป็นหลักฐานการจ่ายได้
ข้อ ๑๕ หลักฐานการจ่ายเงินต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึก การแก้ไขหลักฐานการจ่ายให้ใช้วิธีขีดฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ และให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อกํากับไว้ทุกแห่ง
ข้อ ๑๖ การยืมเงินทดรองจ่าย ผู้ยืมจะต้องทําสัญญาการยืมเงินและปฏิบัติตามข้อกําหนด เรื่องเงินยืมทดรองจ่าย
ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติการยืมเงินทดรองจ่ายได้เท่าที่จําเป็นเพื่อใช้ในราชการ
ข้อ ๑๗ การยืมเงินทดรองจ่ายจะกระทําได้ ในกรณีต่อไปนี้
(1) เพื่อจัดซื้อหรือจ้างเกี่ยวกับพัสดุที่จําเป็นต้องชําระด้วยเงินสด
(2) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน
(3) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอื่นตามภาระหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
(4) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานตามโครงการวิจัย
ข้อ ๑๘ การส่งคืนเงินยืมทดรองจ่าย มีกําหนดเวลาส่งใช้ใบสําคัญ พร้อมทั้งเงินที่เหลือจ่าย (ถ้ามี) ภายในเวลาที่กําหนดดังนี้
(1) กรณียืมเงินตามข้อ 17 (1) (3) และ (4) ให้ส่งใช้เงินยืมให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวัน นับจากวันที่ได้รับเงิน
(2) กรณียืมเงินตามข้อ 17 (2) ให้ส่งใช้เงินยืมให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับจากวันที่กลับจากการปฏิบัติงานถึงที่ทําการประจํา หากไม่ได้เดินทางตามที่กําหนด ให้นําเงินยืมทั้งสิ้นที่ได้รับส่งคืนทันที
ข้อ ๑๙ ผู้ยืมเงินทดรองจะต้องนําใบสําคัญส่งใช้สัญญายืมเงินครั้งก่อนให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะยืมเงินทดรองจํานวนใหม่ได้
ในกรณีที่จําเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติงานอีกโดยที่ยังไม่สามารถส่งใช้เงินยืมในการเดินทางไป ปฏิบัติงานครั้งที่แล้วได้ ให้ยืมเงินทดรองจ่ายเพื่อไปปฏิบัติงานได้อีกเพียงครั้งเดียว
ผู้ยืมเงินจะต้องใช้เงินที่ยืมตามที่ระบุไว้ในรายการและวัตถุประสงค์ในสัญญาการเท่านั้น
ข้อ ๒๐ เมื่อผู้ยืมเงินทดรองส่งใช้เงินยืม ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับเงินบันทึกการรับคืนเงินยืมในสัญญา การยืมเงิน พร้อมทั้งออกใบเสร็จการรับเงินคืน และ/หรือใบรับใบสําคัญให้ผู้ยืมไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๒๑ สัญญาการยืมเงิน ซึ่งยังไม่ได้ชําระคืนเงินยืมให้เสร็จสิ้นจะต้องเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย ไม่ให้สูญหาย และเมื่อผู้ยืมส่งใช้เงินยืมเรียบร้อยแล้ว ให้ทําเครื่องหมาย “จ่ายคืนเงินเรียบร้อยแล้ว ในสัญญาการยืมเงินฉบับนั้นทันที
ข้อ ๒๒ การเบิกเงินค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน ซึ่งได้แก่ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ให้แก่ กรรมการ อนุกรรมการ ข้าราชการ ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ปฏิบัติงาน ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของศาลรัฐธรรมนูญหรือระเบียบของทางราชการแล้วแต่กรณี โดยอนุโลม
ข้อ ๒๓ ให้สํานักงานจ่ายเงินเดือนและหรือเงินประจําตําแหน่งแล้วแต่กรณี ของประธานศาล รัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการ ลูกจ้าง และค่าจ้างหรือค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงาน ผ่านบัญชีธนาคารที่เปิดเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ ธนาคารที่ขอเปิดดังกล่าวจะต้องเป็นธนาคารที่สะดวกต่อสํานักงาน
ก่อนกําหนดการจ่ายเงินเดือนอย่างน้อยสามวัน ให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ด้านการเงิน จัดทําบัญชีเงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง และหรือค่าตอบแทนที่เหลือสุทธิหลังจากหักภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย และเงินที่ได้รับอนุมัติให้หัก แล้วนําเข้าฝากธนาคารในบัญชีของประธาน ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการ ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานแต่ละราย เพื่อให้สามารถ เบิกเงินจากธนาคารได้ตามกําหนดเวลา
ข้อ ๒๔ ให้เลขาธิการรับผิดชอบดําเนินการให้มีการจัดทําบัญชีการเงินตามหลักบัญชีสากล และจัดทํารายงานการรับจ่ายเงินเป็นรายเดือน เสนอต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ ภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดไป
เมื่อสิ้นปีงบประมาณรายจ่ายประจําปี ให้เลขาธิการจัดทํางบรายได้รายจ่ายและงบแสดงฐานะ การเงินภายในหกสิบวัน เพื่อให้มีการตรวจสอบโดยสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ข้อ ๒๕ ให้เลขาธิการรายงานผลการดําเนินงานและการใช้จ่ายเงินเปรียบเทียบกับแผนที่ได้เสนอไว้ ต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกหกเดือน
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามระเบียบในข้อหนึ่งข้อใดได้ ให้รายงานเลขาธิการหรือ ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายทราบเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ ๒๗ วิธีปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กําหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเงิน ของทางราชการโดยอนุโลม
ข้อ ๒๘ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542
เชาวน์ สายเชื้อ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,809 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเงิน (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2562
---------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเงิน พ.ศ. 2542เพื่อให้การเบิกเงินค่าใช้จ่ายของศาลรัฐธรรมนูญและสานักงานศาลรัฐธรรมนูญมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (7) แห่งพระราชบัญญัติสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคาว่า “ค่ารับรอง” และ “ค่าเลี้ยงรับรอง” ในข้อ 3 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเงิน พ.ศ. 2542 ดังนี้
“ค่ารับรอง” หมายความว่า ค่าพิธีการ ค่าเลี้ยงรับรอง ค่าที่พัก ค่ายานพาหนะ ค่าจัดการแสดงหรือเข้าชมการแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม ค่าของขวัญ ค่าพิมพ์เอกสาร ค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติงานให้กับศาลรัฐธรรมนูญหรือสานักงานศาลรัฐธรรมนูญ หรือค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งจาเป็นต้องจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรับรอง เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือสานักงานศาลรัฐธรรมนูญตามความเหมาะสมแห่งฐานะและตําแหน่ง
“ค่าเลี้ยงรับรอง” หมายความว่า ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มทั้งประเภทที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งค่าเครื่องใช้ในการเลี้ยงรับรอง ค่าสถานที่ ค่าบริการ และค่าภาษี
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกข้อ 7 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเงิน พ.ศ. 2542และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ให้ผู้ดารงตําแหน่งต่อไปนี้มีอํานาจอนุมัติจ่ายเงินภายในวงเงิน ดังนี้
(1) ผู้อานวยการสานักหรือเทียบเท่า ไม่เกิน 50,000 บาท
(2) รองเลขาธิการ ไม่เกิน 200,000 บาท
(3) เลขาธิการ อนุมัติได้ทั้งจานวนโดยไม่จากัดวงเงิน”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกข้อ 22 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 22 การเบิกเงินค่าใช้จ่ายในการดาเนินงาน ซึ่งได้แก่ ค่าเช่าที่พัก ค่าตอบแทนค่ารับรอง ค่าเลี้ยงรับรอง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค หรือค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการ อนุกรรมการ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการหรือผู้ปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการเบิกเงินค่าใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นรายการหรือเป็นรายกรณีตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกาหนด ในกรณีที่มิได้กาหนดไว้ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญหรือระเบียบของทางราชการ แล้วแต่กรณีโดยอนุโลม”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,810 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเงิน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2544
------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (7) แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 22 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเงิน พ.ศ. 2542
“การเบิกเงินค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานที่มีลักษณะเป็นค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายอื่น ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการดําเนินงาน คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาจพิจารณามีมติให้ความเห็นชอบกําหนดวงเงิน หลักเกณฑ์และวิธีการเบิกเงินค่าใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นรายการ หรือเป็นรายกรณีก็ได้”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2544
อิสสระ นิติทัณฑ์ประกาศ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | 4,811 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2557 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยรถราชการ
พ.ศ. 2557
--------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยรถราชการ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการของศาลรัฐธรรมนูญสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจึงกําหนดวิธีปฏิบัติให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2557”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2548
ข้อ ๔ บรรดาระเบียบและข้อบังคับอื่นในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ในกรณีมีเหตุสมควรคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาจยกเว้นหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามความในระเบียบนี้ได้
หมวด ๑ บททั่วไป
-----------------------------------
ข้อ ๖ ในระเบียบนี้
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“ที่ปรึกษา” หมายความว่า ที่ปรึกษาสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“ผู้เชี่ยวชาญ” หมายความว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีและวิชาการ ระดับ 10 หรือผู้เชี่ยวชาญด้านบริหาร ระดับ 10
“ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
“ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือนจากสํานักงาน
“รถประจําตําแหน่ง” หมายความว่า รถยนต์ที่ทางราชการจัดให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้
“รถรับรอง” หมายความว่า รถยนต์ที่ทางราชการจัดไว้เพื่อรับรองชาวต่างประเทศหรือบุคคลสําคัญซึ่งเป็นแขกของศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงาน หรือเพื่อกิจการอันเป็นส่วนรวมของสํานักงานหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
“รถส่วนกลาง” หมายความว่า รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่จัดไว้เพื่อกิจการอันเป็นส่วนรวมของสํานักงาน หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ หรือกิจการอื่นอันจําเป็น
“วัสดุที่ใช้ในการบํารุงรักษา” หมายความว่า วัสดุที่ใช้ในการบํารุงรักษารถยนต์ ได้แก่ น้ํายาล้างรถน้ํายาขัดสีรถ น้ํายาเช็ดกระจก น้ํายาขัดหนัง น้ํายาดับกลิ่นและอุปกรณ์อื่นที่ใช้ทําความสะอาดรถ
“ค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่ง” หมายความว่า เงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่งสําหรับข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับรถประจําตําแหน่งตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้
ข้อ ๗ ให้สํานักงานจัดทําบัญชีรถราชการแยกประเภทเป็นรถประจําตําแหน่ง รถรับรองและรถส่วนกลาง รวมทั้งแสดงหลักฐานการได้มาและการจําหน่ายจ่ายโอนรถราชการตามแบบ 1 หรือแบบ 2 ท้ายระเบียบนี้
การเปลี่ยนแปลงประเภทรถราชการ หรือการนํารถประจําตําแหน่งของตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดมาใช้ประจําตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง ให้อยู่ในอํานาจของเลขาธิการโดยความเห็นชอบของประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๘ รถรับรองให้ดําเนินการจัดหา หรือโดยวิธีเช่ารถยนต์จากเอกชนตามความจําเป็นเป็นคราว ๆ ไปโดยให้ขอความเห็นชอบจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๙ ในแต่ละปีงบประมาณ สํานักงานต้องสํารวจและกําหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถรับรองและรถส่วนกลาง เพื่อเป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายเชื้อเพลิงและการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
ข้อ ๑๐ รถประจําตําแหน่งให้มีได้ตําแหน่งละหนึ่งคัน โดยรถประจําตําแหน่งซึ่งมีอายุการใช้งานแล้วไม่น้อยกว่าหกปี หรือมีสภาพการใช้งานไม่เหมาะสมกับการใช้ในตําแหน่ง หรือมีการเปลี่ยนแปลงประเภทรถไปใช้กับตําแหน่งอื่น ให้ถือเป็นเกณฑ์ที่จะพิจารณาจัดหารถคันใหม่ทดแทนคันเก่าได้รถรับรองหรือรถส่วนกลางซึ่งมีอายุการใช้งานแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี ให้ถือเป็นเกณฑ์ที่จะพิจารณาจัดหารถคันใหม่ทดแทนคันเก่าได้
กรณีรถประจําตําแหน่ง รถรับรอง หรือรถส่วนกลาง ที่ได้รับความเสียหายต้องเสียค่าซ่อมสูงหรือประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่คุ้มกับค่าซ่อม หรือเมื่อซ่อมแล้วอาจไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้โดยปลอดภัยให้อยู่ในดุลยพินิจของเลขาธิการที่จะพิจารณาซ่อม หรือจัดหารถคันใหม่
รถประจําตําแหน่งหรือรถรับรองที่ได้รับการจัดหาเพื่อทดแทนแล้ว หากยังอยู่ในสภาพใช้การได้ตามสมควร ให้อยู่ในดุลยพินิจของเลขาธิการที่จะนํามาใช้ในราชการได้ต่อไปโดยขอความเห็นชอบจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๑ รถประจําตําแหน่ง รถรับรอง หรือรถส่วนกลาง ควรใช้รถขนาดใด และราคาเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกําหนดรถที่จัดหาอาจดําเนินการจัดหาจากกรมศุลกากรหรือส่วนราชการอื่นก็ได้
ข้อ ๑๒ สํานักงานมีหน้าที่รับผิดชอบการซ่อมบํารุงรถประจําตําแหน่ง รถรับรองและรถส่วนกลางให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ดีอยู่เสมอ
หมวด ๒ รถประจําตําแหน่ง
-----------------------------------------------
ข้อ ๑๓ บุคคลผู้มีสิทธิได้รับรถประจําตําแหน่ง ได้แก่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลขาธิการ ที่ปรึกษา และรองเลขาธิการ
เลขาธิการอาจพิจารณาจัดสรรรถประจําตําแหน่ง สําหรับผู้ที่ดํารงตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญซึ่งเคยดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับการจัดรถประจําตําแหน่งมาแล้ว และได้รับมอบหมายจากเลขาธิการให้รับผิดชอบงานด้านบริหารที่มีอํานาจการบังคับบัญชาก็ได้
ข้อ ๑๔ บุคคลที่สํานักงานจะจัดรถประจําตําแหน่งให้ ได้แก่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๕ รถประจําตําแหน่งให้ใช้ในการปฏิบัติราชการในตําแหน่งหน้าที่ หรือที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ หรืองานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับงานในตําแหน่งหน้าที่ หรือฐานะที่ดํารงตําแหน่งนั้นรวมตลอดถึงการใช้เพื่อเดินทางไปกลับระหว่างที่พักและสถานที่ปฏิบัติงาน หรือเพื่อการอื่นที่จําเป็นและเหมาะสมแก่การดํารงตําแหน่งหน้าที่ของตนในทางราชการและสังคม
ข้อ ๑๖ การเก็บรักษารถประจําตําแหน่งให้อยู่ในการควบคุมและความรับผิดชอบของผู้ใช้รถประจําตําแหน่ง
ข้อ ๑๗ เมื่อเกิดความสูญหายหรือเสียหายขึ้นกับรถประจําตําแหน่ง ให้ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งหรือพนักงานขับรถแจ้งให้เลขาธิการทราบในทันที
เมื่อมีการแจ้งว่ารถประจําตําแหน่งสูญหายหรือเสียหายตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งดําเนินการ ดังนี้
(1) หากรถประจําตําแหน่งสูญหาย ให้ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งจัดทําบันทึกรายงานการสูญหายเสนอต่อเลขาธิการ โดยมีรายละเอียดแสดงถึงยี่ห้อของรถ หมายเลขทะเบียน วัน เวลา สถานที่และการใช้งานในขณะเกิดเหตุ และเหตุการณ์แวดล้อมอื่น ๆ พร้อมทั้งแนบสําเนาบันทึกประจําวันของสถานีตํารวจประกอบบันทึกรายงานการสูญหายด้วย
(2) หากรถประจําตําแหน่งเสียหาย ให้ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งจัดทํารายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นเสนอต่อเลขาธิการ โดยใช้แบบ 5 ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่รถประจําตําแหน่งคันที่สูญหาย หรือเสียหายเป็นรถที่ได้ทําสัญญาประกันภัยไว้ ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่นอกเหนือจากที่สํานักงานได้รับตามสัญญาประกันภัยเฉพาะกรณีที่การสูญหายหรือเสียหายนั้นเกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนเท่านั้น แต่ถ้าการสูญหายหรือเสียหายนั้นเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งอนุญาตให้บุคคลอื่นนํารถประจําตําแหน่งไปใช้นอกเหนือจากหน้าที่ปกติประจําผู้ใช้รถประจําตําแหน่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้การสูญหายหรือเสียหายนั้นเกิดด้วยเหตุสุดวิสัย
ข้อ ๑๙ ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งเป็นผู้จ่ายค่าเชื้อเพลิง และวัสดุที่ใช้ในการบํารุงรักษา กรณีที่ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งได้รับอนุมัติให้นํารถไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติประจําให้เบิกจ่ายค่าเชื้อเพลิงได้ตามความเป็นจริง ทั้งนี้ การขออนุมัติและการอนุมัติให้เป็นไปตามข้อ 23 (1)หรือ (2) แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๐ ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งต้องคืนรถให้แก่สํานักงานภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่งหรือส่งมอบงาน แล้วแต่กรณี
กรณีที่เลขาธิการเห็นว่ามีเหตุผลสมควรจะผ่อนผันให้ส่งคืนรถประจําตําแหน่งเกินกําหนดเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ก็ให้กระทําได้ตามควรแก่กรณี แต่ต้องไม่เกินสามสิบวัน แล้วรายงานให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญทราบ
ข้อ ๒๑ กรณีที่ผู้ใช้รถประจําตําแหน่งพ้นจากหน้าที่ ให้สํานักงานตรวจสอบและซ่อมบํารุงรถดังกล่าว ให้พร้อมที่จะส่งมอบให้กับผู้ดํารงตําแหน่งต่อไป
หมวด ๓ รถรับรองและรถส่วนกลาง
---------------------------------------
ข้อ ๒๒ รถรับรอง ให้ใช้เพื่อรับรองชาวต่างประเทศหรือบุคคลสําคัญซึ่งเป็นแขกของศาลรัฐธรรมนูญหรือสํานักงาน หรือเพื่อกิจการอันเป็นส่วนรวมของสํานักงาน หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
รถส่วนกลาง ให้ใช้เพื่อกิจการอันเป็นส่วนรวมของสํานักงาน หรือเพื่อกิจการที่เป็นประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับราชการ และการกุศลสาธารณะ งานสาธารณประโยชน์ งานสวัสดิการของข้าราชการในสํานักงาน
ข้อ ๒๓ ผู้มีสิทธิขอใช้รถรับรองและรถส่วนกลางเพื่อปฏิบัติราชการ คือ ประธานศาลรัฐธรรมนูญตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการและลูกจ้างของสํานักงาน การขออนุญาตใช้รถ ให้ใช้ตามแบบ 3 ท้ายระเบียบนี้
การขออนุญาตใช้รถรับรองและรถส่วนกลาง
(1) ในกรณีที่ผู้ขอใช้รถเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือเลขาธิการให้เป็นอํานาจพิจารณาอนุญาตของประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ซึ่งประธานศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย
(2) ในกรณีที่ผู้ขอใช้รถเป็นข้าราชการและลูกจ้างของสํานักงาน ให้ขออนุญาตต่อเลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย
ข้อ ๒๔ การขออนุญาตนํารถรับรองหรือรถส่วนกลางไปใช้นอกจากข้อ 22 ให้กระทําได้เฉพาะกรณีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือกิจการอื่นอันจําเป็น และต้องขับขี่โดยพนักงานขับรถของสํานักงานหรือพนักงานขับรถของประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยขอต่อผู้มีอํานาจอนุญาตตามข้อ 23
ข้อ ๒๕ การนํารถรับรองและรถส่วนกลางไปใช้ในลักษณะรถประจําตําแหน่งจะกระทํามิได้เว้นแต่กรณีที่รถประจําตําแหน่งของผู้ดํารงตําแหน่งใดต้องเข้ารับการซ่อมแซม ผู้ดํารงตําแหน่งนั้นอาจขออนุมัติยืมรถรับรองและรถส่วนกลางไปใช้ในลักษณะรถประจําตําแหน่งเป็นการชั่วคราวจากผู้มีอํานาจอนุญาตตามข้อ 23 ได้
การใช้รถรับรองและรถส่วนกลางตามวรรคหนึ่ง ผู้ใช้เป็นผู้จ่ายค่าเชื้อเพลิง
ข้อ ๒๖ ให้สํานักงานจัดให้มีสมุดบันทึกการใช้รถรับรอง และรถส่วนกลางประจํารถแต่ละคันสมุดบันทึกอย่างน้อยให้มีข้อความตามแบบ 4 ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๒๗ การเก็บรักษารถรับรองและรถส่วนกลาง ให้อยู่ในการควบคุมและรับผิดชอบของสํานักงานโดยเก็บรักษาในสถานที่เก็บหรือในบริเวณของสํานักงาน เลขาธิการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบอํานาจจากเลขาธิการจะพิจารณาอนุญาตให้นํารถไปเก็บรักษาที่อื่นเป็นการชั่วคราวได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีสถานที่เก็บรักษาปลอดภัยเพียงพอ หรือ
(2) มีราชการจําเป็นและเร่งด่วน หรือการปฏิบัติราชการลับ
ข้อ ๒๘ การอนุญาตให้นํารถรับรองและรถส่วนกลางไปเก็บรักษาที่อื่นเป็นการชั่วคราวอันเนื่องมาจากสํานักงานไม่มีสถานที่เก็บรักษาปลอดภัยเพียงพอ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บรักษารถรับรองและรถส่วนกลางจัดทํารายงานขออนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลความจําเป็นและรายละเอียดของสถานที่ที่จะนํารถรับรองและรถส่วนกลางไปเก็บรักษาซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ เสนอประกอบการพิจารณาของผู้มีอํานาจอนุญาตด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่เกิดการสูญหายหรือเสียหายขึ้นกับรถรับรองและรถส่วนกลางในระหว่างการเก็บรักษาที่อื่นเป็นการชั่วคราว ตามข้อ 28 ผู้เก็บรักษาต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษาเยี่ยงวิญญูชนจะพึงสงวนรักษาทรัพย์ของตนแล้ว และการสูญหายหรือเสียหายนั้น มิได้เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เก็บรักษา
หากการสูญหายหรือเสียหายนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการนําไปใช้ในการอื่น ให้ผู้อื่นใช้หรือนําไปเก็บไว้ ณ ที่ที่มิได้รับอนุญาต แม้ว่าจะเกิดด้วยเหตุสุดวิสัย ผู้เก็บรักษาต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ถึงอย่างไรความสูญหายหรือเสียหายก็จะเกิดแก่รถรับรองและรถส่วนกลางคันนั้น กรณีที่รถดังกล่าวได้ทําประกันภัยไว้ให้เป็นไปตามสัญญาการทําประกันภัย (กรมธรรม์)ความรับผิดชอบนอกเหนือจากสัญญาการทําประกันภัยให้อยู่ในดุลยพินิจของเลขาธิการ
ข้อ ๓๐ เมื่อเกิดการสูญหายหรือเสียหายขึ้นกับรถรับรองและรถส่วนกลาง ให้พนักงานขับรถหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับ จนถึงเลขาธิการเพื่อทราบในทันที และให้นําความในข้อ 17 มาใช้บังคับกับการจัดทําบันทึกรายงานการสูญหายและรายงานความเสียหายโดยอนุโลม
ในระหว่างที่ดําเนินการหาตัวผู้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถดังกล่าว หากสํานักงานมีความจําเป็นต้องใช้รถคันนั้น ให้เลขาธิการพิจารณาอนุมัติซ่อมรถคันนั้นโดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณไปก่อนได้
การรายงานกรณีรถเสียหายให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลําดับนั้น ให้รายงานตามแบบ 5ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๓๑ รถรับรองและรถส่วนกลางให้เบิกจ่ายค่าเชื้อเพลิงและวัสดุที่ใช้ในการบํารุงรักษาที่ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้
ข้อ ๓๒ ให้สํานักงานจัดทําสมุดแสดงรายการซ่อมบํารุงรถแต่ละคันตามแบบ 6 ท้ายระเบียบนี้
หมวด ๔ ค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่ง
----------------------------------------------------
ข้อ ๓๓ บุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่ง ได้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับรถประจําตําแหน่งตามข้อ 13 ของระเบียบนี้ และจะต้องไม่มีรถประจําตําแหน่งตามข้อ 14 โดยการซื้อหรือเช่า
ข้อ ๓๔ บุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่งตามข้อ 33 ให้ได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่งตามอัตรา ดังนี้
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการ อัตรา 41,000 บาท ต่อเดือน
(2) ผู้ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษา อัตรา 41,000 บาท ต่อเดือน
(3) ผู้ดํารงตําแหน่งรองเลขาธิการ อัตรา 31,800 บาท ต่อเดือน
(4) ผู้ดํารงตําแหน่งผู้เชี่ยวชาญ อัตรา 31,800 บาท ต่อเดือน
ข้อ ๓๕ การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่ง ให้นําหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเดือนข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓๖ ให้บุคคลที่ได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่งจัดหารถส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติราชการในตําแหน่งหน้าที่ หรือที่ได้รับมอบหมายโดยชอบ หรืองานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับงานในตําแหน่งหน้าที่ หรือฐานะที่ดํารงตําแหน่งนั้น รวมตลอดถึงการใช้เพื่อเดินทางไปกลับระหว่างที่พักและสถานที่ปฏิบัติงาน และเพื่อการอื่นที่จําเป็นและโดยให้เหมาะสมกับเกียรติและฐานะแก่การดํารงตําแหน่งหน้าที่ของตน
ข้อ ๓๗ กรณีบุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่งได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการชั่วคราว ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ตามระเบียบของทางราชการ รวมทั้งมีสิทธิขออนุมัติใช้รถส่วนกลางเป็นพาหนะเดินทางไปราชการได้
ข้อ ๓๘ บุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่งจะนํารถราชการไปใช้มิได้ หากนําไปใช้ให้ถือเป็นความผิดวินัย เว้นแต่การใช้รถส่วนกลางเพื่อกิจการตามข้อ 22 หรือการเดินทางไปเป็นหมู่คณะเพื่อการที่จําเป็นและเหมาะสม
หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด
-------------------------------------------
ข้อ ๓๙ กรณีที่ไม่มีพนักงานขับรถ หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เลขาธิการอาจมอบหมายให้ข้าราชการหรือลูกจ้างของสํานักงานเป็นผู้ขับรถได้ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความสามารถและประสบการณ์ในการขับรถของผู้นั้น และต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถประเภทนั้นตามกฎหมาย
ให้ผู้ขับรถตามวรรคหนึ่งนํารถส่วนกลางหรือรถรับรอง เข้าเก็บในสถานที่เก็บทันทีที่เสร็จสิ้นการใช้รถแล้ว โดยให้ใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทุกชนิดที่มีอยู่และส่งมอบกุญแจรถให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมรถ
ในกรณีที่การใช้รถได้เสร็จสิ้นลงภายหลังเวลาราชการและไม่สามารถส่งมอบกุญแจรถให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมรถได้ ให้ส่งมอบแก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นกรณีไป หากไม่มีผู้รับมอบกุญแจรถดังกล่าวให้เก็บรักษากุญแจรถนั้นไว้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษและให้รีบส่งมอบผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในโอกาสแรกที่พึงกระทําได้
ข้อ ๔๐ ในกรณีเมื่อเกิดการสูญหายหรือเสียหายขึ้นแก่รถส่วนกลางหรือรถรับรอง ให้ผู้ขับรถทํารายงานตามแบบ 5 ท้ายระเบียบนี้ เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับจนถึงเลขาธิการและให้นําระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวมาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๔๑ ข้าราชการและลูกจ้างผู้ใดกระทําการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือกระทําการโดยมีเจตนาทุจริต หรือปราศจากอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจหน้าที่ ถือว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัยตามกฎหมาย และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๔๒ กรณีที่เห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรและมีความจําเป็นที่จะต้องปฏิบัติและระเบียบนี้ยังมิได้กําหนดวิธีปฏิบัติไว้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาสั่งการให้ปฏิบัติได้เป็นกรณี ๆ ไป และแจ้งให้ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทราบ
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
----------------------------------
ข้อ ๔๓ เลขาธิการ ที่ปรึกษา รองเลขาธิการ ซึ่งมีสิทธิได้รับรถประจําตําแหน่ง หากมีรถประจําตําแหน่งครอบครองอยู่แล้ว ให้ใช้รถประจําตําแหน่งที่ครอบครองอยู่นั้นต่อไปจนหมดอายุการใช้งาน หรือสิ้นสุดสัญญาเช่า แล้วห้ามมิให้สํานักงานจัดหารถมาทดแทนรถเดิมไม่ว่าจะโดยวิธีซื้อหรือเช่า แต่ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่งให้กับข้าราชการผู้มีสิทธิต่อไป
ข้อ ๔๔ กรณีเป็นผู้ดํารงตําแหน่งใหม่ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่ง และสํานักงานมีรถประจําตําแหน่งนั้นซึ่งยังไม่หมดอายุการใช้งาน หรือสิ้นสุดสัญญาเช่าให้ใช้รถประจําตําแหน่งนั้นต่อไปจนหมดอายุการใช้งาน หรือสิ้นสุดสัญญาเช่า แล้วห้ามมิให้สํานักงานจัดหารถมาทดแทนรถเดิมไม่ว่าจะโดยวิธีซื้อหรือเช่า แต่ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจําตําแหน่งให้กับผู้มีสิทธิต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557
จรูญ อินทจาร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,812 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยรถราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยรถราชการ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2561
-----------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2557 เพื่อให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยรถราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. 2557
“ข้อ 12/1 ให้สํานักงานจัดให้มีการประกันภัยภาคบังคับสําหรับรถราชการทุกประเภทนอกจากการจัดให้มีการประกันภัยภาคบังคับ ให้สํานักงานจัดให้มีการประกันภัยภาคสมัครใจสําหรับรถราชการ ดังนี้
(1) รถประจําตําแหน่ง และรถรับรอง ให้มีการประกันภัยประเภท 1
(2) รถส่วนกลาง ให้มีการประกันภัยได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม
การจัดหาประกันภัยตามวรรคสองที่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเกินปีละ 60,000 บาทต่อคันต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,813 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจำศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2547 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ.2547
----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรให้มีผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นคลังสมองและปฏิบัติหน้าที่หรือดําเนินกิจการใดๆ ตามที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2547”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชํานาญการของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542
ข้อ ๔ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“ผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้มีความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๖ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญรวบรวมเสนอรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญต่อ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาคัดเลือก การเสนอชื่อนี้ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลที่ได้รับ การเสนอชื่อเป็นหนังสือ
การพิจารณาคัดเลือกให้เป็นมติของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมติเสียงข้างมาก
ข้อ ๗ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์
(3) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีในสาขาวิชากฎหมาย รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์
(4) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(5) มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่ต่ํากว่าข้าราชการพลเรือนระดับ 9 หรือเทียบเท่า
(ข) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนในสาขาวิชากฎหมาย การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ในสถาบันอุดมศึกษา และดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่ารองศาสตราจารย์หรือ รองศาสตราจารย์พิเศษ
(ค) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่ต่ํากว่าอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หรือ
(ง) เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความไม่น้อยกว่ายี่สิบปี
(6) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
(7) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(8) ไม่เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่เกิดจากการกระทํา โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(9) ไม่เป็นผู้เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
ข้อ ๘ เมื่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ดําเนินการตามข้อ 6 และตรวจสอบคุณสมบัติถูกต้อง ตามข้อ 7 แล้ว ให้เสนอชื่อผู้นั้นเพื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๙ ผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่ให้คําปรึกษา และให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
(1) ริเริ่ม เสนอแนะ หรือให้คําปรึกษาด้านวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(2) ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ตลอดจนเสนอข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ ศาลรัฐธรรมนูญและสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
(3) วิเคราะห์ วิจัย เสนอข้อคิดเห็น ข้อกฎหมาย และให้คําแนะนําในเรื่องต่างๆ ตามที่ประธาน ศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย
(4) ปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมายจากศาลรัฐธรรมนูญ และสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ 8 ยื่นใบรายงานตัวตามแบบที่กําหนดต่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) สําเนาทะเบียนบ้านและสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนถ้ามีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลให้นําหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาแสดงด้วย
(2) หลักฐานแสดงคุณสมบัติตามข้อ 7
(3) รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จํานวน 4 รูป
(4) ใบรับรองแพทย์ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
ในกรณีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเป็นข้าราชการ ต้องมีหนังสือยืนยอมจากหน่วยงานที่ผู้นั้นสังกัด
ข้อ ๑๑ ผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งสองปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และผู้ที่พ้นจากหน้าที่ตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
ข้อ ๑๒ นอกจากการพ้นจากหน้าที่ตามวาระ ผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากหน้าที่เมื่อมีกรณี
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7
(4) ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้งที่ปรึกษา เลขานุการ และผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(5) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พ้นหน้าที่
(6) ถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทํา โดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญออกบัตรประจําตัวแก่ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อแสดงตน บัตรประจําตัวตามวรรคหนึ่ง เป็นอันยกเลิกเมื่อมีกรณีตามข้อ 12
ข้อ ๑๔ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการจัดทําและรักษาทะเบียนประวัติของผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อ ๑๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ และ ค่าตอบแทนบุคคลหรือคณะบุคคล แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖ การแต่งตั้งที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการแต่งตั้ง ที่ปรึกษา เลขานุการ และผู้เชี่ยวชาญประจําประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธาน ศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาจจะพิจารณาเสนอแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิตามระเบียบนี้ก็ได้
ข้อ ๑๗ การพ้นจากหน้าที่ไม่ว่ากรณีใด ผู้ทรงคุณวุฒิไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนหรือเงินอื่นใด จากสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๘ ให้เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
กระมล ทองธรรมชาติ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,814 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจำศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
----------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2547 เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติและสิทธิประโยชน์ของผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 265 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(4) มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่ตํ่ากว่าข้าราชการพลเรือนระดับ 9 หรือเทียบเท่า
(ข) เป็นหรือเคยเป็นผู้สอนในสาขาวิชากฎหมาย การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ในสถาบันอุดมศึกษา และดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่ารองศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์พิเศษ
(ค) รับราชการหรือเคยรับราชการไม่ต่ํากว่าอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษหรือผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
(ง) เป็นหรือเคยเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความไม่น้อยกว่าสิบห้าปี
(จ) เคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในฐานะผู้ใช้อํานาจในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
(ฉ) มีคุณวุฒิทางการศึกษาและคุณสมบัติหรือประสบการณ์ตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นสมควร
(5) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(6) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(7) ไม่เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่เกิดจากการกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(8) ไม่เป็นผู้เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทําการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประจําศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิ ให้มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่าย และค่าตอบแทน ดังนี้
(1) เบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ๆ ละสองพันห้าร้อยบาท หากไม่มาประชุมให้งดจ่าย
(2) ค่าพาหนะเดินทางและค่าที่พักให้เบิกจ่ายได้ตามสิทธิที่พึงมีอยู่เดิม หรือในอัตราเดียวกับข้าราชการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ ระดับ 9 แล้วแต่กรณี และมีหลักฐานมาแสดงประกอบการเบิกจ่าย หากรายการใดไม่อาจเรียกหลักฐานการจ่ายเงินได้ ให้ผู้ขอเบิกลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายเงินตามแบบที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
(3) ค่าตอบแทนการจัดทํารายงานความเห็น หรือรายงานทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ หรือสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญกําหนดค่าตอบแทนได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้พิจารณาจากลักษณะความยากง่ายและปริมาณของรายงานนั้น ๆ โดยเบิกจ่ายให้ครั้งเดียวไม่เกินห้าพันบาทต่อหนึ่งรายงาน”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2548
ผัน จันทรปาน
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ | 4,815 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2542
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจําตําแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2541 ศาลรัฐธรรมนูญจึงกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาระเบียบหรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ คําว่า“การเดินทาง” ให้หมายถึง การเดินทางไม่ว่าภายในประเทศหรือต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงการเดินทางไปราชการ เยือน ประชุม ศึกษาดูงาน อบรม สัมมนาและกิจกรรมอื่นเพื่อเกียรติแห่งประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อในการปฏิบัติภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ให้สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดใบเบิกทางโดยสารรถไฟ รถยนต์ประจําทางและเครื่องบินให้แก่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้ในการเดินทางภายในประเทศ
ใบเบิกทางโดยสารรถไฟและรถยนต์ประจําทาง ให้มีผู้ติดตามได้หนึ่งคนในชั้นเดียวกัน
ข้อ ๖ ให้นําพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และระเบียบกระทรวงการคลังที่ออกตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามระเบียบนี้โดยอนุโลม โดยให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับนายกรัฐมนตรี และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับรัฐมนตรี
ข้อ ๗ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามระเบียบนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2542
เชาวน์ สายเชื้อ
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,816 |
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 | ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2552
----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้การอนุญาตหรืออนุมัติการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจําตําแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2541 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 จึงกําหนดผู้มีอํานาจในการอนุญาตหรืออนุมัติการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของข้อ 4 ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยประโยชน์ตอบแทนอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542
“การเดินทางของประธานศาลรัฐธรรมนูญให้อยู่ในดุลพินิจของประธานศาลรัฐธรรมนูญและรายงานให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทราบ
การเดินทางในราชอาณาจักรของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้เดินทางแต่ให้รายงานประธานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทราบ สําหรับการเดินทางไปต่างประเทศของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตหรืออนุมัติ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
ชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,817 |
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 | ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2562
----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 และข้อ 15 วรรคสี่ และวรรคห้า แห่งข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ผู้ประสงค์จะยื่นคําร้องผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์จะต้องยอมรับและปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดไว้ในระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ และให้ถือว่าผู้ที่ได้ยื่นคําร้องผ่านทางระบบดังกล่าวได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลที่ให้ไว้ในระบบดังกล่าวนั้น
ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคําร้องทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด โดยไม่ต้องจัดทําสําเนาคําร้องเอกสารประกอบคําร้อง และเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับการดําเนินกระบวนพิจารณาของศาล
ข้อ ๔ การยื่นคําร้องผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอันเสร็จสมบูรณ์เมื่อระบบได้แจ้งข้อความยืนยันการรับเอกสารเข้าสู่ระบบไปยังที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือได้ออกเอกสารยืนยันการรับเอกสารเข้าสู่ระบบ ซึ่งข้อความดังกล่าวจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารที่ได้ยื่นทางระบบรวมถึงวันเวลาที่ยื่นคําร้องเสร็จสมบูรณ์เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นเอกสาร
หากผู้ร้องประสงค์จะยื่นคําร้องเพิ่มเติมผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ผู้ร้องจะต้องระบุเลขเรื่องพิจารณาที่ได้รับแจ้ง และดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๕ ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การใดต้องทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือมีเอกสารมาแสดง หรือแสดงพยานหลักฐานที่เป็นหนังสือ ถ้าได้มีการจัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ มีเอกสารมาแสดง หรือแสดงพยานหลักฐานที่เป็นหนังสือแล้ว
หนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่ง หากมีภาพ เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษร หรือข้อความใดปรากฏอยู่ด้วย อันแสดงให้เห็นได้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่า เป็นหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือที่ทําขึ้นโดยบุคคลใดให้ถือว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๖ ผู้ที่ได้ยื่นคําร้องหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ติดตามผลคําสั่งเกี่ยวกับคําร้องหรือเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือช่องทางอื่นตามที่ได้แจ้งไว้ในคําร้อง
ข้อ ๗ สํานวนคดี เอกสารของคู่กรณี พยานหลักฐาน รายงานกระบวนพิจารณาคําวินิจฉัย คําสั่ง หรือเอกสารอื่นใดที่รวมไว้ในสํานวนคดี ไม่ว่าจะเป็นเอกสารต้นฉบับหรือสําเนาคู่ฉบับถ้าศาลเห็นสมควร จะมีคําสั่งให้เก็บรักษาหรือนําเสนอในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเป็นต้นฉบับเอกสารนั้น
บรรดาเอกสารหรือพยานหลักฐานที่ได้ดําเนินการผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเสร็จสิ้นการพิจารณาคดีของศาลในคดีใดแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสํานวนจัดเก็บสํานวนคดีตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารจัดการงานคดี
ข้อ ๘ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,818 |
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 | ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2563
-------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 เพื่อนําระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย คําชี้แจง คําร้องทั่วไปหรือเอกสารอื่นใดในคดีรัฐธรรมนูญทุกประเภทของคู่กรณีหรือผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนการให้ผู้ที่ได้ยื่นคําร้องสามารถติดตามความคืบหน้าของคดีหรือผลของคําวินิจฉัยหรือคําสั่งเกี่ยวกับคําร้องหรือเอกสารที่ได้ยื่นไว้ผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 และข้อ 15 วรรคสี่ และวรรคห้า แห่งข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า“ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ผู้ที่ได้ยื่นคําร้องหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ติดตามความคืบหน้าของคดีหรือผลของคําวินิจฉัยหรือคําสั่งเกี่ยวกับคําร้องหรือเอกสารที่ได้ยื่นไว้ผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ลงทะเบียนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือช่องทางอื่นตามที่ได้แจ้งไว้ในคําร้องหรือเอกสารอื่นใด
เมื่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งผลของคําวินิจฉัยหรือคําสั่ง รวมทั้งผลการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับคําร้องหรือเอกสารอื่นใดที่ได้ยื่นไว้ผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าผู้ยื่นคําร้องหรือเอกสารนั้นทราบโดยชอบแล้วนับแต่วันที่ส่งผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562
“ข้อ 7/1 ผู้ประสงค์จะยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คําร้องทั่วไป/คําขออื่น คําชี้แจงบันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็น คําคัดค้าน คําแถลงการณ์เปิดคดี คําแถลงการณ์ปิดคดีหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ของคู่กรณีหรือผู้เกี่ยวข้อง ให้นําความในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ”
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
วรวิทย์ กังศศิเทียม
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,819 |
ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆแก่บุคคลที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียกมาให้ถ้อยคำ ให้ความเห็น หรือเบิกความ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเอกสารหรือการดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 | ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
แก่บุคคลที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียกมาให้ถ้อยคํา ให้ความเห็น หรือเบิกความ และค่าใช้จ่าย
ในการดําเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเอกสารหรือการดําเนินการใด
เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560
โดยที่เป็นการสมควรวางหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แก่บุคคลใดที่ศาลเรียกมาให้ถ้อยคํา ให้ความเห็น หรือเบิกความ และค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเอกสารหรือการดําเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาล
อาศัยอํานาจตามข้อ 8 แห่งข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทําคําวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แก่บุคคลที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียกมาให้ถ้อยคํา ให้ความเห็น หรือเบิกความ และค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเอกสาร หรือการดําเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560"
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้พยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชี้แจงที่ศาลเรียกมาให้ถ้อยคํา ให้ความเห็น หรือเบิกความ ซึ่งมิได้เป็นคู่กรณีหรือคู่กรณีอ้างเป็นพยาน มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเอกสารหรือการดําเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาล ทั้งนี้ ตามที่ศาลกําหนด
ข้อ ๔ พยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชี้แจงที่ศาลเรียกมาให้ถ้อยคํา ให้ความเห็น หรือเบิกความ ไม่ว่าจะให้นําพยานหลักฐานหรือทําบันทึกคําชี้แจงเสนอต่อศาลด้วยหรือไม่ ให้ศาลกําหนดค่าป่วยการได้ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินอัตรา ดังนี้
(1) ค่าป่วยการพยานบุคคล วันละไม่เกินหนึ่งพันบาท
(2) ค่าป่วยการพยานผู้เชี่ยวชาญและผู้ชี้แจง วันละไม่เกินห้าพันบาท
ข้อ ๕ พยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชี้แจงที่ศาลเรียกมาให้ถ้อยคํา ให้ความเห็น หรือเบิกความ โดยต้องใช้เวลา ความรู้ความสามารถสูง และเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลเห็นว่ามีความจําเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาล ให้ศาลกําหนดค่าป่วยการได้ตามที่เห็นสมควรตามลักษณะความยากง่ายและปริมาณของรายงานความเห็นที่จะต้องจัดทํา แต่ไม่เกินห้าพันบาทต่อรายงานความเห็นหนึ่งเรื่อง
ข้อ ๖ ศาลมีอํานาจกําหนดค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้แก่พยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ชี้แจงได้ตามที่เห็นสมควร ดังนี้
(1) ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมกันโดยเหมาจ่ายครั้งละหนึ่งพันบาท หรือ
(2) ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เบิกจ่ายตามจริงโดยประหยัดและมีหลักฐานมาแสดงประกอบการเบิกจ่ายด้วย หากรายการค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่อาจเรียกหลักฐานการจ่ายเงินได้ ให้ผู้ขอเบิกลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายเงินตามแบบที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๗ ศาลมีอํานาจกําหนดค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเอกสารหรือการดําเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาลได้ตามที่เห็นสมควร ดังนี้
(1) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเอกสารหรือการดําเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาลรวมกันโดยเหมาจ่ายครั้งละห้าร้อยบาท หรือ
(2) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเอกสารหรือการดําเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาของศาลเบิกจ่ายตามจริงโดยประหยัดและมีหลักฐานมาแสดงประกอบการเบิกจ่ายด้วย หากรายการค่ใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่อาจเรียกหลักฐานการจ่ายเงินได้ ให้ผู้ขอเบิกลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายเงินตามแบบที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด
ข้อ ๘ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ และมีอํานาจตีความหรือวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560
นุรักษ์ มาประณีต
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,820 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ข้อปฏิบัติและเงื่อนไข ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคำร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ข้อปฏิบัติและเงื่อนไข ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ที่ใช้ในการยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใด
ทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์
------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 ข้อ 4 วรรคสอง และข้อ 7/1 แห่งประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจึงประกาศกําหนดข้อปฏิบัติและเงื่อนไข ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า“ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ข้อปฏิบัติและเงื่อนไขประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้องทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ใช้บังคับ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ข้อปฏิบัติและเงื่อนไข ประเภทรูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคําร้องทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ข้อ ๔ ข้อปฏิบัติและเงื่อนไขก่อนการยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
(1) ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องยอมรับข้อปฏิบัติและเงื่อนไขตามที่กําหนดไว้ในระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะต้องทําการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือช่องทางอื่นที่สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญกําหนด เพื่อกําหนดรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านก่อนเข้าสู่ระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการลงทะเบียนเพียงครั้งเดียว
(2) ชื่อผู้ใช้ระบบและรหัสผ่านสําหรับระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ลงทะเบียนได้รับสามารถใช้ในการยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดในคดีรัฐธรรมนูญต่อศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการบริการแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของคดีและการติดตามความคืบหน้าของคดีหรือผลของคําวินิจฉัยหรือคําสั่งเกี่ยวกับคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารที่ได้ยื่นไว้ผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ลงทะเบียนจะต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับ การนําชื่อผู้ใช้ระบบและรหัสผ่านเข้าใช้งานในระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้ระบบงานดังกล่าว
(3) ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ได้ปฏิบัติหรือฝ่าฝืนข้อกําหนดการใช้งาน สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญขอสงวนสิทธิ์ในการระงับการใช้งานระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ของผู้นั้น
ข้อ ๕ ข้อปฏิบัติและเงื่อนไขในการยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดเมื่อเข้าสู่ระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
(1) การยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย คําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คําร้องทั่วไป/คําขออื่น คําชี้แจง บันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็น คําคัดค้าน คําแถลงการณ์เปิดคดี คําแถลงการณ์ปิดคดี หรือเอกสารอื่นใดของคู่กรณีหรือผู้เกี่ยวข้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องใช้ถ้อยคําสุภาพ มีรายการครบถ้วนตามแบบที่กําหนดในข้อกําหนดของศาลรัฐธรรมนูญ สําหรับการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 41 วรรคสอง สามารถจัดทําเป็นหนังสือราชการได้
(2) เลือกประเภทผู้มีสิทธิยื่นคําร้อง ประเภทคดี และระบุรายละเอียดที่จําเป็นของผู้ร้องผู้ถูกร้อง หรือผู้เกี่ยวข้องกับคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใด
(3) กรอกข้อมูลรายละเอียดในคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดตามที่ระบบกําหนด
(4) เอกสารประกอบการยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดที่จะแนบเข้าสู่ระบบก่อนยืนยันการส่งนั้น อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(4.1) คําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใด ทั้งนี้การลงลายมือชื่อของผู้ยื่นในเอกสารดังกล่าว สามารถใช้ข้อความชื่อและชื่อสกุลของผู้ยื่นตามแบบฟอร์มที่ระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์จัดทําขึ้นแทนการลงลายมือชื่อก็ได้
(4.2) เอกสารประกอบคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดในแต่ละประเภทคดีตามรายการที่จําเป็นตามที่ระบบกําหนดไว้
(4.3) กรณีที่มีการมอบฉันทะให้บุคคลอื่นดําเนินการแทน จะต้องแนบใบมอบฉันทะที่ลงลายมือชื่อครบถ้วน พร้อมสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ซึ่งปรากฏเลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก ของผู้มอบฉันทะและผู้รับมอบฉันทะ
(5) ผู้ยื่นจะต้องจัดทําคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดและเอกสารประกอบคําร้องหรือหนังสือหรือเอกสารอื่นใดตาม (4) ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามประเภท รูปแบบ และขนาดข้อมูลของอิเล็กทรอนิกส์ที่กําหนด
(6) เมื่อผู้ยื่นได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กําหนดไว้แล้ว ระบบจะแสดงข้อความยืนยันการรับเอกสารทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์และทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ลงทะเบียนไว้ ซึ่งข้อความดังกล่าวจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารที่ได้ยื่นทางระบบ รวมถึงวันเวลาที่ยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดเสร็จสมบูรณ์เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการยื่นเอกสาร
(7) เมื่อผู้ยื่นได้ยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ หากกฎหมายกําหนดให้ผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อหรือรับรองข้อความในเอกสารดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ยื่นได้ลงลายมือชื่อหรือรับรองข้อความในเอกสารนั้นแล้ว และให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเป็นต้นฉบับเอกสารนั้น
(8) ผู้ยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดมีหน้าที่ติดตามความคืบหน้าของคดีหรือผลของคําวินิจฉัยหรือคําสั่งเกี่ยวกับคําร้องหรือเอกสารที่ได้ยื่นไว้ซึ่งสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญจะแจ้งผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ลงทะเบียนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่นตามที่ได้แจ้งไว้ในคําร้องหรือเอกสารอื่นใดเมื่อสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งผลของคําวินิจฉัยหรือคําสั่ง รวมทั้งผลการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับคําร้องหรือเอกสารอื่นใดที่ได้ยื่นไว้ผ่านทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าผู้ยื่นคําร้องหรือเอกสารนั้นทราบโดยชอบแล้วนับแต่วันที่ส่งผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว
ข้อ ๖ ประเภท รูปแบบ และขนาดของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการยื่นคําร้องหรือหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหรือเอกสารอื่นใดทางระบบงานคดีรัฐธรรมนูญอิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้
(1) กรณีเอกสาร ให้ใช้รูปแบบไฟล์ประเภท PDF โดยมีมาตรฐานขั้นต่ําสําหรับความละเอียดของภาพ อย่างน้อย 200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi)
(2) กรณีภาพถ่าย ให้ใช้รูปแบบไฟล์ประเภท JPG JPEG หรือ PNG กรณีภาพเคลื่อนไหวให้ใช้รูปแบบไฟล์ประเภท MP4 MPEG หรือ WMV หรือกรณีเสียง ให้ใช้รูปแบบไฟล์ประเภท MP3MP4 หรือ WMV จํานวนไม่เกิน 2 ไฟล์
(3) ขนาดของไฟล์ทั้งหมดรวมต้องไม่เกิน 50 เมกะไบต์ (Megabyte)
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,821 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 12/2555) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
----------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 12/2555 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2555 ว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 54 ซึ่งบัญญัติว่า “ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สาหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น”ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 39 วรรคสองที่บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจาเลยไม่มีความผิด”
ดังนั้น พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 54 จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,822 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 15/2555 ) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
----------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 15/2555 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ว่าพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 26 (10) เฉพาะส่วนที่บัญญัติว่า “มีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ” ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความพิการจะกระทํามิได้”
ดังนั้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 26(10) ที่บัญญัติว่า “มีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ” จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,823 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 17/2555 ) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
-----------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30
ดังนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,824 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คําวินิจฉัยที่ 4/2556) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
-----------------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 4/2556 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2556 ว่า พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 มาตรา 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 29 และมาตรา 40 (2) (3) (4) (7)
ดังนั้น พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 มาตรา 41จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,825 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คําวินิจฉัยที่ 5/2565) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
----------------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 5/2556 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 74 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 39 วรรคสอง
ดังนั้น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 74 จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ปัญญา อุดชาชน
รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,826 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 10/2556) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
-----------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 10/2556 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2556 ว่าพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 78 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 39 วรรคสอง
ดังนั้น พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 78 จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,827 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 11/2556) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
--------------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 11/2556 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ว่าพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 28/4 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39วรรคสอง
ดังนั้น พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มาตรา 28/4 จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,828 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 13/2556) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
---------------------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 13/2556 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2556 ว่า บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 30 เฉพาะในส่วนที่บัญญัติให้การประปาส่วนภูมิภาคไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนในการใช้ที่ดินและในการรื้อถอนสิ่งที่สร้างหรือทําขึ้นหรือตัดฟัน ต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้ หรือพืชผลอย่างใด ๆ ให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินในกรณีที่มีการวางท่อน้ําที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึงแปดสิบเซนติเมตรไปใต้ เหนือ ตาม หรือข้ามพื้นดินที่มิใช่ที่ตั้งโรงเรือนสําหรับอยู่อาศัยเพื่อประโยชน์ในการผลิต การส่ง การจําหน่ายน้ําประปาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 29และมาตรา 41
ดังนั้น บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 30 เฉพาะในส่วนที่บัญญัติให้การประปาส่วนภูมิภาคไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนในการใช้ที่ดินและในการรื้อถอนสิ่งที่สร้างหรือทําขึ้นหรือตัดฟัน ต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้ หรือพืชผลอย่างใด ๆ ให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินในกรณีที่มีการวางท่อน้ําที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึงแปดสิบเซนติเมตรไปใต้ เหนือตาม หรือข้ามพื้นดินที่มิใช่ที่ตั้งโรงเรือนสําหรับอยู่อาศัยเพื่อประโยชน์ในการผลิต การส่ง การจําหน่ายน้ําประปาจึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
หมวด - ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สมฤทธิ์ ไชยวงค์
ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีและวิชาการ รักษาราชการแทน
รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,829 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 19 - 20/2556) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
----------------------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 19 - 20/2556 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ว่าพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 มาตรา 72/5 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคสอง
ดังนั้น พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 มาตรา 72/5 จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,830 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 5/2557) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
--------------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 5/2557 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2557 ว่าพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กําหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่สามารถจัดการให้เป็นการเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง
ดังนั้น พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กําหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,831 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 3/2559) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
--------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 3/2559 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่า “ในกรณีที่การกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลใดให้ถือว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลในเรื่องนั้น เป็นตัวการร่วมในการกระทําความผิดด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทําความผิดนั้น” เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 4
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
พิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,832 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 4/2561) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
----------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 4/2561 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2561 ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 140 และมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (5) และวรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2560 เรื่อง การดําเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 45 จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,833 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 6 - 7/2561) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
-----------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 6 - 7/2561 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ว่าพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ในส่วนที่ห้ามมิให้นามาตรา 15 วรรคสาม มาตรา 17 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 มาใช้บังคับแก่คดีที่ยังไม่ถึงที่สุด เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 29 วรรคสอง
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,834 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 8/2561) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
------------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 8/2561 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2561 ว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 51 วรรคสามไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,835 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 1/2562) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
--------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 1/2562 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 98/1 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคห้า
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,836 |
ประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยที่ 2/2562) | ประกาศสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เรื่อง ผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
----------------------------------------
ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยที่ 2/2562 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 25 เรื่อง การดําเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา ลงวันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2549 เฉพาะในส่วนที่กําหนดให้เป็นความผิดและโทษทางอาญา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสองมาตรา 26 วรรคหนึ่ง และมาตรา 28 วรรคหนึ่ง
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
เชาวนะ ไตรมาศ
เลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ | 4,837 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.