title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 22/2543 เรื่อง แบบคำขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือขอขึ้นทะเบียนบุคคล เพื่อปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล สำหรับกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2543 เรื่อง แบบคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือ ขอขึ้นทะเบียนบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล สําหรับกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 และข้อ 15 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุน ส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือการขอขึ้นทะเบียนบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลสําหรับกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอรับความเห็นชอบหรือขอขึ้นทะเบียนต่อสํานักงานตามแบบ 134-1 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,638
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 23/2543 เรื่อง การกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับความเห็นชอบ เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ในการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2543 เรื่อง การกําหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับความเห็นชอบ เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลในการทดสอบ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล และการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า กรรมการหรือพนักงานของบริษัทจัดการที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการนั้นให้มีอํานาจตัดสินใจลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้แก่ลูกค้า “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อดําเนินการใด ๆ ตามประกาศนี้และประกาศที่เกี่ยวข้อง “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องผ่านการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพในหลักสูตรดังต่อไปนี้ (1) Certified Investment and Securities Analysts Program (CISA) ระดับ 1 ขึ้นไป ซึ่งจัดสอบโดยสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (2) Chartered Financial Analyst (CFA) ระดับ 1 ขึ้นไป ซึ่งจัดสอบโดย Association for Investment Management and Research (AIMR) หรือ (3) หลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่าตามที่สมาคมกําหนด ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,639
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 25/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการอนุญาตให้บริษัทจัดการลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า โดยไม่ต้องลงชื่อของบริษัทจัดการในฐานะผู้ทำการแทน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการอนุญาตให้บริษัทจัดการ ลงชื่อในทรัพย์สินของลูกค้า โดยไม่ต้องลงชื่อ ของบริษัทจัดการในฐานะผู้ทําการแทน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 138 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หากเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้มีการลงชื่อของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในทรัพย์สินนั้นแล้ว บริษัทจัดการจะไม่ลงชื่อของบริษัทจัดการในทรัพย์สินดังกล่าวในฐานะผู้ทําการแทนก็ได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,640
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 26/2543 เรื่อง การกำหนดลักษณะของกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการ ต้องจัดทำงบการเงิน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2543 เรื่อง การกําหนดลักษณะของกองทุนส่วนบุคคล ที่บริษัทจัดการต้องจัดทํางบการเงิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 140 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๒ ให้กองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการต้องจัดทํางบการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงตามมาตรา 140 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,641
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 34/2543 เรื่อง การกำหนดระยะเวลาให้บริษัทจัดการนำทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สิน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2543 เรื่อง การกําหนดระยะเวลาให้บริษัทจัดการนําทรัพย์สินของลูกค้า ไปฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 136 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ลูกค้า” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุน “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนตามมาตรา 15 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ให้จัดการกองทุนตามบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นําทรัพย์สินของลูกค้าที่อยู่ในความครอบครองของตนไปฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินภายในสิบห้าวันทําการนับตั้งแต่วันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการเริ่มจัดการกองทุนตามบทบัญญัติดังกล่าว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,642
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 37/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ และการจัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศ ที่เสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการ หรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อยหรือสาขาของบริษัทดัง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ และการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหารและ ผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการ หรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขา ของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2543 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47 /2541 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ และการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหารและผู้สอบบัญชี ของบริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทหรือบริษัทย่อยในประเทศไทย ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ประกาศ ที่ กจ. 26/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2543 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทต่างประเทศ บริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ในประเทศไทย ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ให้นําบทนิยามในข้อ 3 แห่งประกาศ ที่ กจ. 26/2543 มาใช้บังคับกับประกาศฉบับนี้ด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๔ บริษัทต่างประเทศที่เสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศ ที่ กจ. 26/2543 ให้อยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้ ส่วน ๑ หน้าที่ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๕ ร่างหนังสือชี้ชวนที่บริษัทต่างประเทศต้องยื่นต่อสํานักงานเพื่อให้เป็นไปตามข้อ 8(2) แห่งประกาศ ที่ กจ. 26/2543 ให้ประกอบด้วยเอกสารและข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดโครงการให้สิทธิซื้อหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงาน (2) ชื่อ ที่อยู่ และสถานที่ติดต่อของบุคคลในประเทศไทยซึ่งบริษัทต่างประเทศแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการติดต่อกับสํานักงานและผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศซึ่งอยู่ในประเทศไทย และในการดําเนินการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว (3) คําอธิบายภาระหน้าที่ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทต่างประเทศตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานหรือองค์การตามข้อ 5 หรือข้อ 6 แห่งประกาศ ที่ กจ. 26/2543 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดส่งงบการเงิน รายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน และรายงานเหตุการณ์สําคัญที่กระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณชน (4) คํารับรองว่าบริษัทต่างประเทศจะจัดส่งรายงานการเปิดเผยข้อมูลตาม (3) ให้แก่สํานักงาน จํานวนสองชุด และจะจัดให้มีสําเนาเอกสารดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ตั้งของบุคคลที่เป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศหรือ ณ สถานประกอบการที่กรรมการหรือพนักงานปฏิบัติงานอยู่ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทต่างประเทศจัดส่งเอกสารนั้นให้กับหน่วยงานหรือองค์การตามข้อ 5 หรือข้อ 6 แห่งประกาศ ที่ กจ. 26/2543 พร้อมทั้งจะจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลในเอกสารดังกล่าวเพื่อทําหน้าที่ตอบข้อซักถามของกรรมการหรือพนักงานเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวในระหว่างเวลาทําการ (5) คําเตือนว่า บริษัทต่างประเทศจะสิ้นสุดหน้าที่ในการดําเนินการตาม (4) เมื่อบริษัทยกเลิกโครงการก่อนการขายหลักทรัพย์แก่กรรมการหรือพนักงานหรือเมื่อปิดการขาย ทั้งนี้ ให้ระบุด้วยว่าภายหลังเวลาดังกล่าว การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทต่างประเทศจะกระทําได้จากแหล่งใดและด้วยวิธีการใด ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทต่างประเทศลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในเอกสารและข้อความของร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่เอกสารและข้อมูลตามวรรคหนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ ให้บริษัทต่างประเทศจัดให้มีคําแปลเอกสารดังกล่าวเป็นภาษาไทย โดยให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทร่วม บริษัทย่อย หรือสาขาของบริษัทดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของคําแปลเอกสารดังกล่าว ส่วน ๒ หน้าที่ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๖ ให้บริษัทต่างประเทศรายงานผลการขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานในวงจํากัด (ก) การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ให้ยื่นต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย (ข) การรายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นให้ยื่นต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินใด ๆ ที่มีการใช้สิทธิ (2) กรณีมิใช่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานในวงจํากัด (ก) การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ให้ยื่นต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย (ข) การรายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นให้ยื่นต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินใด ๆ ที่มีการใช้สิทธิ เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ วันปิดการเสนอขายให้หมายความรวมถึงวันดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กรรมการหรือพนักงานสามารถใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์ได้เฉพาะตามระยะเวลาที่กําหนดไว้เป็นรอบๆ ให้ถือว่าวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กําหนดในแต่ละรอบนั้นเป็นวันปิดการเสนอขาย (2) ในกรณีที่กรรมการหรือพนักงานสามารถใช้สิทธิซื้อหลักทรัพย์ได้ในวันใด ๆในรอบปีปฏิทินปีหนึ่งปีปฏิทินใด ให้ถือว่าวันสิ้นปีปฏิทินของแต่ละปีปฏิทินนั้นเป็นวันปิดการเสนอขาย ข้อ ๗ ในการรายงานตามข้อ 6(2) ให้ใช้แบบรายงานดังต่อไปนี้โดยอนุโลม (1) การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ให้ใช้แบบ 81-4 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 13/2538 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2538 โดยให้รายงานเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์และผลการขายหลักทรัพย์ (2) การรายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ให้ใช้แบบ 81-5 แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 13/2538 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2538 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2538 ข้อ ๘ ให้ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีของบริษัทต่างประเทศได้รับยกเว้นหน้าที่ตามมาตรา 59 ในการจัดทําและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ของตน ของคู่สมรส และของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อสํานักงาน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,643
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 39/2543 เรื่อง แบบแจ้งการจัดตั้งสำนักงานสาขาเต็มรูปแบบ หรือสำนักงานสาขาออนไลน์ หรือยกระดับสำนักงานบริการด้านหลักทรัพย์ หรือสำนักงานสาขาออนไลน์ ให้เป็นสำนักงานสาขาเต็มรูปแบบ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 39/2543 เรื่อง แบบแจ้งการจัดตั้งสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ หรือยกระดับสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์หรือสํานักงานสาขาออนไลน์ ให้เป็นสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 31/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแจ้งรายละเอียดการจัดตั้งสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ หรือยกระดับสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์หรือสํานักงานสาขาออนไลน์ให้เป็นสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 31/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2543 ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งรายละเอียดตามแบบ 92-2แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,644
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 41/2543 เรื่อง การยื่นคำขออนุญาตทำธุรกรรมด้านอนุพันธ์ นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 41/2543 เรื่อง การยื่นคําขออนุญาตทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์ นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 30/2543 เรื่อง การทําธุรกรรมและการให้บริการด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์เพื่อตนเองตามข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 30/2543 เรื่อง การทําธุรกรรมและการให้บริการด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 98-1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานการศึกษาและประสบการณ์ของบุคลากรที่รับผิดชอบในการตัดสินใจในการทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์เพื่อบริษัทหรือการบริหารความเสี่ยงจากการดําเนินกิจการของบริษัทต่อสํานักงาน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,645
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 1/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9) (7) ธนาคารแห่งประเทศไทย (8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (13) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (15) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15) (17) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (16) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป “สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องแสดงรายละเอียดของโครงการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการ (2) ชื่อ ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของโครงการ (3) จํานวนเงินทุนของโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ จํานวน ประเภทและราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขาย รวมทั้งจํานวนเงินจองซื้อขั้นต่ํา (4) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (5) หน่วยลงทุนแต่ละชนิด และสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) (6) หลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนรวม (7) ทรัพย์สินที่กองทุนรวมจะลงทุน (8) การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) (9) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (10) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน (11) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ รวมทั้งเงื่อนไขการเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ (12) ชื่อผู้สอบบัญชี และนายทะเบียนหน่วยลงทุน (13) การแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุนของกองทุนรวม (ถ้ามี) (14) วิธีการจําหน่ายหน่วยลงทุน การรับชําระเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน และวิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน (15) การออกและการส่งมอบใบหน่วยลงทุนหรือหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการออกให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เงื่อนไข และวิธีการโอนหน่วยลงทุน รวมทั้งข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน (16) อัตราและวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดที่จะเรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม (17) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (18) วิธีการเพิ่มเงินทุนและลดเงินทุนของกองทุนรวม (19) การเรียกชําระเงินทุนเพิ่ม (20) การคํานวณและกําหนดเวลาในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (21) วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม (22) การจัดทํารายงานกองทุนรวม (23) วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (24) การเลิกโครงการ และเหตุที่จะเลิกโครงการในกรณีที่ไม่กําหนดอายุโครงการ (25) วิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมเมื่อเลิกโครงการ และวิธีการเฉลี่ยคืนเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (26) รายละเอียดอื่นที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,646
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 2/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 2/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9) (7) ธนาคารแห่งประเทศไทย (8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (13) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (15) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15) (17) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (16) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป “สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้นอย่างน้อยต้องมีข้อมูลที่สรุปสาระสําคัญเกี่ยวกับโครงการจัดการกองทุนรวม และระบุวันที่ที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,647
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2544 เรื่อง แบบคำขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 3/2544 เรื่อง แบบคําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ข้อ ๒ คําขอจดทะเบียนลดเงินทุนของกองทุนรวมให้เป็นไปตามแบบ 117-13ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,648
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประกาศรายการ และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ปิดประกาศรายการต่อไปนี้ไว้ในที่เปิดเผยภายในสํานักงานทุกแห่งของบริษัทหลักทรัพย์ที่ใช้ติดต่อกับประชาชน (1) ใบอนุญาตหรือสําเนาใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (2) งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี พร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงินของงวดการบัญชีหลังสุดที่ถูกต้องครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่จัดให้มีตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทหลักทรัพย์แก้ไขข้อมูลนั้นให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริงโดยพลัน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,649
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 53 /2544 เรื่อง แบบคำขออนุญาตให้เสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ต่อกรรมการหรือพนักงาน และเอกสารหลักฐาน ประกอบคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 53/2544 เรื่อง แบบคําขออนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ และในแบบท้ายประกาศนี้ (1) ให้นําบทนิยามตามข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับกับประกาศนี้ และแบบท้ายประกาศนี้ (2) “ประกาศที่ กจ. 36/2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศที่ กจ. 36/2544 ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-ESOP ท้ายประกาศนี้ และเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้จํานวนหนึ่งชุด (1) เอกสารสรุปรายละเอียดหรือโครงการเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน (2) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต และสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ผู้ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน (3) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ (4) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (5) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดตามข้อ 4(3) แห่งประกาศที่ กจ. 36/2544 ที่เป็นบริษัทย่อยของบริษัทตามข้อ 4(1) หรือข้อ 4(2) แห่งประกาศที่ กจ. 36/2544 ให้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทตามข้อ 4(1) หรือข้อ 4(2) แห่งประกาศที่ กจ. 36/2544 (2) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทตามข้อ 4(1) หรือข้อ 4(2) แห่งประกาศที่ กจ. 36/2544 ซึ่งออกเสียงเห็นชอบด้วยกับการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทตามข้อ 4(3) แห่งประกาศที่ กจ. 36/2544 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,650
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 54/2544 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวนและการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2544 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวนและการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ต่อกรรมการหรือพนักงาน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 25 และข้อ 27 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ และในแบบท้ายประกาศนี้ (1) ให้นําบทนิยามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับกับประกาศนี้ และแบบท้ายประกาศนี้ (2) “บริษัทที่ออกหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36/2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (3) “ประกาศที่ กจ. 36 /2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 36 /2544 เรื่อง การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (4) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษาหรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (5) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ ๓ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ร่วมกับผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ต้องยื่นต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อกรรมการหรือพนักงานตามประกาศที่ กจ. 36/2544 ให้อนุโลมตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่บุคคลดังกล่าวยื่นต่อสํานักงานตามนัยแห่งประกาศที่ กจ. 36/2544 และให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล นอกจากการยื่นร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน หมวด ๒ การรายงานผลการขาย ข้อ ๔ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ร่วมกับผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกตามประกาศที่ กจ. 36/2544 รายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามแบบ 81-4 ท้ายประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายในแต่ละครั้ง ข้อ ๕ ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่เสนอขายตามข้อ 4 เป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์รายงานผลการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพตามแบบ 81-5 ท้ายประกาศนี้ต่อสํานักงาน ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์สามารถใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพได้เฉพาะตามระยะเวลาที่กําหนดไว้เป็นรอบ ๆ ให้รายงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของการใช้สิทธิ ทั้งนี้ ให้ถือว่าวันสุดท้ายของระยะเวลาที่กําหนดในแต่ละรอบนั้นเป็นวันสุดท้ายของการใช้สิทธิ (2) ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์สามารถใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพได้ในวันใด ๆ ในรอบปีปฏิทินหนึ่งปีปฏิทินใด ให้รายงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการจดทะเบีบนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วในส่วนของหุ้นดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,651
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 55/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 55/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนรวม ที่ลงทุนในต่างประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 31/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนเปิดที่ปรากฏเหตุตามลักษณะเดียวกันกับที่กําหนดไว้ในข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และบริษัทจัดการต้องดําเนินการเพื่อเลิกกองทุนเปิดนั้นตามที่กําหนดในข้อดังกล่าว ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (1) ตราสารแห่งทุนหรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ Federation International des Bourses de Valeurs (FIBV) (2) ตราสารแห่งหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนหรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (3) ตราสารแห่งหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนหรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานเป็นผู้ออก ผู้รับรอง รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ทั้งนี้ การรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันดังกล่าวต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข (4) เงินฝากในสถาบันการเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับตราสารที่ขายในต่างประเทศที่เป็นตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตร ที่ออกโดยรัฐบาลต่างประเทศรวมในอัตราส่วนที่กําหนดไว้ในอัตราส่วนดังกล่าว การลงทุนในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง ข้อ 4 และข้อ 5 เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม แต่การลงทุนในกรณีดังกล่าวซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกันเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมด้วย ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารนั้นและให้รวมคํานวณเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศได้ ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งบริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ (2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการอื่นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของแต่ละกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งบริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามอัตราส่วนการลงทุนตาม (1) และ (2) เป็นประการอื่นได้ มิให้นําอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศซึ่งเป็นกองทุนรวมประเภทกองทุนรวมหน่วยลงทุน ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศซึ่งเป็นกองทุนรวมประเภทกองทุนรวมหน่วยลงทุนได้ ไม่เกินอัตราส่วนดังต่อไปนี้ (1) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกองทุนใดกองทุนหนึ่งได้ ไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (2) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของทุกกองทุนรวมที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการบริษัทใดบริษัทหนึ่งได้ ไม่เกินร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (3) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกองทุนใดกองทุนหนึ่งได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น (4) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนได้ ไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ อัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศซึ่งเป็นกองทุนรวมประเภทกองทุนรวมใบสําคัญแสดงสิทธิ ข้อ ๗ อัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศที่ประสงค์จะไม่ดํารงอัตราส่วนดังกล่าว (specific fund) ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทใดที่กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทนั้น และการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเหตุให้การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นของบริษัทดังกล่าวมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 3 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่มีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดไว้แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรสํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันระยะเวลาการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนที่เกินกําหนดดังกล่าวได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 หากต่อมาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบภายในสามวันทําการนับแต่วันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการรับชําระหนี้เพื่อกองทุนรวมด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ และการรับชําระหนี้นั้นเป็นผลให้มูลค่าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนรวมเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวต่อไปได้ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ รวมทั้งวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้น และส่งให้สํานักงานและผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,652
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 31/2544 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษัทจัดการดำเนินการในกรณีที่ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดไม่ถูกต้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 31/2544 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษัทจัดการดําเนินการ ในกรณีที่ราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ของกองทุนเปิดไม่ถูกต้อง อาศัยอํานาจตามความในข้อ 26/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม(ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2543 เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษัทจัดการดําเนินการในกรณีที่ราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดไม่ถูกต้อง ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “ราคาหน่วยลงทุน” หมายความว่า ราคาขายหน่วยลงทุนหรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน “การชดเชยราคา” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนที่มีราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุน “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนเปิด “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนเปิด “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่างจากราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้องน้อยกว่าหนึ่งสตางค์ หรือต่างจากราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงร้อยละ 0.5 ของราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ทราบถึงความผิดพลาดภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่พบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และจัดให้มีสําเนารายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้อง (2) ราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง (3) สาเหตุที่ทําให้ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง (4) มาตรการป้องกันเพื่อมิให้ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง ในกรณีที่เหตุของความผิดพลาดซึ่งทําให้ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่งมีผลต่อเนื่องต่อการคํานวณราคาหน่วยลงทุนครั้งต่อไป เช่น การกําหนดอัตราดอกเบี้ยผิดพลาด เป็นต้น ให้บริษัทจัดการแก้ไขราคาหน่วยลงทุนให้ถูกต้องนับแต่วันที่บริษัทจัดการพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องด้วย ข้อ ๔ ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่างจากราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการคํานวณราคาหน่วยลงทุนย้อนหลังนับแต่วันที่พบราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องจนถึงวันที่ราคาหน่วยลงทุนถูกต้อง และดําเนินการดังต่อไปนี้เฉพาะวันที่ราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่างจากราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไปและคิดเป็นอัตราส่วนตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง (1) จัดทํารายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคาให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดจากวันที่พบว่าราคาหน่วยลงทุนนั้นไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณราคาหน่วยลงทุนเสร็จสิ้น เพื่อให้ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าวภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการส่งรายงานให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้อง (ข) ราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง (ค) สาเหตุที่ทําให้ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง (ง) การดําเนินการของบริษัทจัดการเมื่อพบว่าราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีสําเนารายงานตาม (1) ไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ (2) แก้ไขราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องให้เป็นราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้องภายในวันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคาตาม (1) (3) ประกาศชื่อกองทุนรวมที่มีการแก้ไขราคาตาม (2) และวัน เดือน ปีที่มีการแก้ไขราคาตาม (2) ในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าว (4) ชดเชยราคาให้แล้วเสร็จและแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนที่ได้ซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องทราบถึงการแก้ไขราคาตาม (2) และการชดเชยราคา ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานดังกล่าว (5) จัดทํารายงานมาตรการป้องกันเพื่อมิให้ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งสําเนารายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคาที่จัดทําตาม (1)ให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคานั้น เว้นแต่ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ บริษัทจัดการไม่ต้องส่งรายงานมาตรการป้องกันให้สํานักงาน แต่ให้ส่งสําเนาเอกสารที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่าการที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้แทน ข้อ ๕ ในการชดเชยราคาตามข้อ 4(4) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องต่ํากว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง (understate)ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หากปรากฏว่าผู้ซื้อหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองเป็นจํานวเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แก่กองทุนเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว (ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน แต่หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ ให้บริษัทจัดการจ่ายเงินของกองทุนเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุน (2) กรณีราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องสูงกว่าราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง (overstate)ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการเพิ่มจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนเปิดเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคา เพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุน (ข) กรณีที่เป็นการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ขายคืนหน่วยลงทุนเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่ไม่ถูกต้องกับราคาหน่วยลงทุนที่ถูกต้อง หากปรากฏว่าผู้ขายคืนหน่วยลงทุนไม่มีหน่วยลงทุนเหลืออยู่ หรือมีหน่วยลงทุนเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยลงทุนที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของราคาที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยราคาให้แก่กองทุนเปิด เว้นแต่การที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง และผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองว่ามีสาเหตุดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการต้องชดเชยราคาเป็นเงินให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ขายคืนหน่วยลงทุนรายใดมีมูลค่าไม่ถึงหนึ่งร้อยบาท บริษัทจัดการอาจนําเงินชดเชยราคาไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่มีการจ่ายเงินให้ผู้ถือหน่วยลงทุน แต่ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่มีสถานะเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ให้บริษัทจัดการชดเชยราคาให้แล้วเสร็จภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ผู้ดูแลผลประโยชน์รับรองข้อมูลในรายงานการแก้ไขราคาย้อนหลังและรายงานการชดเชยราคา การจ่ายเงินของกองทุนเปิดเพื่อชดเชยราคาให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนตาม (1)(ข) หรือผู้ซื้อหน่วยลงทุนตาม (2)(ก) บริษัทจัดการอาจจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองแทนกองทุนเปิดก็ได้ ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้อง เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกาศการแก้ไขราคาตามข้อ 4(3) ในหนังสือพิมพ์ ค่าออกเช็คค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเงินชดเชยราคาให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนและผู้ขายคืนหน่วยลงทุน เป็นต้นเว้นแต่ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,653
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 35/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมมีประกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมมีประกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมมีประกัน “ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันเพื่อผูกพันตนต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน “เงินลงทุน” หมายความว่า เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกรณีกองทุนเปิดหรือเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนในกรณีกองทุนปิด โดยไม่รวมค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในโครงการ (ถ้ามี) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมมีประกันที่บริษัทจัดการจัดทําขึ้นเพื่อใช้ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมมีประกัน ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2536 แล้วแต่กรณี และให้มีรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมตามที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการแสดงรายละเอียดของโครงการ ดังต่อไปนี้เพิ่มเติม (1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน เช่น (ก) ชื่อ และที่อยู่ของผู้ประกัน (ข) ประเภท และการประกอบธุรกิจของผู้ประกัน (ค) ฐานะทางการเงิน และผลการดําเนินงานของผู้ประกัน (ง) ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน (จ) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน (2) รายละเอียดเกี่ยวกับการประกัน เช่น (ก) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี) (ข) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี) (ค) วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน ตามที่ประกันไว้ ทั้งนี้ ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนกรณีกองทุนเปิด หรือภายใน 30 วันนับแต่วันไถ่ถอนหน่วยลงทุนกรณีเลิกกองทุนรวม แล้วแต่กรณี (ง) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาการประกัน (จ) ผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาการประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน (ฉ) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,654
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 36/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 36/2544 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมมีประกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันเพื่อผูกพันตนต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน “เงินลงทุน” หมายความว่า เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกรณีกองทุนเปิดหรือเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนในกรณีกองทุนปิด โดยไม่รวมค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในโครงการ(ถ้ามี) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมมีประกัน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน ซึ่งบริษัทจัดการจัดทําขึ้นให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 51/2541 เรื่อง แบบหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และให้มีรายการเพิ่มเติมตามที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีรายการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ทั้งในส่วนสรุปข้อมูลสําคัญที่ผู้ลงทุนควรทราบ และส่วนข้อมูลโครงการ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกัน เช่น (ก) ชื่อ และที่อยู่ของผู้ประกัน (ข) ประเภท และการประกอบธุรกิจของผู้ประกัน (ค) ฐานะทางการเงิน และผลการดําเนินงานของผู้ประกัน (ง) ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ประกัน (จ) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ประกัน (2) รายละเอียดเกี่ยวกับการประกัน เช่น (ก) จํานวนเงินลงทุนที่ประกัน และผลตอบแทนที่ประกัน (ถ้ามี) (ข) ระยะเวลาการประกัน และวันครบกําหนดระยะเวลาการประกันแต่ละงวด (ถ้ามี) (ค) วันที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน ตามที่ประกันไว้ ทั้งนี้ ภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนกรณีกองทุนเปิด หรือภายใน 30 วันนับแต่วันไถ่ถอนหน่วยลงทุนกรณีเลิกกองทุนรวม แล้วแต่กรณี (ง) ผลของการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกําหนดระยะเวลาประกัน (จ) ผลของการขายคืนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาการประกันในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิสูงกว่ามูลค่าที่ประกัน (ฉ) การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ และการดําเนินการของบริษัทจัดการในกรณีที่ไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ (3) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของกองทุนรวมมีประกันว่า “การประกันไม่ได้รวมถึงการประกันความสามารถในการชําระหนี้ในอนาคตของผู้ประกัน” (4) ข้อความว่า “การประกันเงินลงทุน X% หมายถึง การประกันเงินลงทุน X% ที่ไม่รวมค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน (ถ้ามี)” และข้อความว่า “เฉพาะผู้ลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุนหรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุนตามจํานวนเงินที่ประกันไว้” (5) ประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจัดให้มีผู้ประกัน และสัดส่วนของประมาณการค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกัน เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวมมีประกัน (6) รายละเอียดอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างมีนัยสําคัญของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,655
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 38/2544 เรื่อง การให้บริษัทจัดการหยุดรับคำสั่งซื้อ หรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 38/2544 เรื่อง การให้บริษัทจัดการหยุดรับคําสั่งซื้อ หรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด ตามที่ได้มีการก่อวินาศกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการซื้อขายหลักทรัพย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ และอาจส่งผลกระทบต่อระบบการเงินของประเทศไทยได้ ดังนั้น เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน และเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ รวมทั้งเพื่อรักษาเสถียรภาพในระบบตลาดการเงิน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 30 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงมีคําสั่งให้บริษัทจัดการหยุดรับคําสั่งซื้อหรือคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นเวลา 1 วัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2544 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,656
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 40/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการ พิจารณาวัตถุประสงค์หลัก ในการให้คำแนะนำทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 40/ 2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาวัตถุประสงค์หลักในการ ให้คําแนะนําทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(3)(ค) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2544 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การให้คําแนะนํา” หมายความว่า การให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ ข้อ ๒ การให้คําแนะนําทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นใด ในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่ามีวัตถุประสงค์หลักในการให้คําแนะนํา (ก) กรณีเป็นการให้คําแนะนําในรายการใดรายการหนึ่งทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ และช่วงเวลาในการให้คําแนะนําน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของช่วงเวลาทั้งหมดของรายการนั้น (ข) กรณีเป็นการให้คําแนะนําทางหนังสือพิมพ์ และเนื้อที่ที่ใช้ในการให้คําแนะนําน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเนื้อที่ทั้งหมดของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น เว้นแต่หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมีการแบ่งแยกออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น เนื้อที่ที่ใช้ในการให้คําแนะนําต้องน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเนื้อที่ทั้งหมดของส่วนนั้น ๆ กรณีการให้คําแนะนําปรากฏในบทความหรือคอลัมน์ที่แบ่งแยกเนื้อที่อย่างชัดเจน ไม่ว่าหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจะมีการแบ่งแยกออกเป็นส่วนหรือไม่ก็ตาม ให้นับเนื้อที่ทั้งหมดของบทความหรือคอลัมน์นั้นเป็นเนื้อที่ในการให้คําแนะนํา ช่วงเวลาทั้งหมดของรายการตาม (ก) และเนื้อที่ทั้งหมดของหนังสือพิมพ์หรือของส่วนของหนังสือพิมพ์ตาม (ข) ไม่นับรวมช่วงเวลาและเนื้อที่ที่ใช้ในการโฆษณา ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,657
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 25/2544 เรื่อง การกำหนดมูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลักเกณฑ์และวิธีการในการคำนวณ จำนวนหน่วย และมูลค่าต่อหน่วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และการให้บริษัทจัดการดำเนินการ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ถูกต้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2544 เรื่อง การกําหนดมูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หลักเกณฑ์และวิธีการในการคํานวณจํานวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และการให้บริษัทจัดการดําเนินการในกรณีที่ มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไม่ถูกต้อง อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17/1 ข้อ 18/2 และข้อ 18/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 “จํานวนหน่วย” หมายความว่า จํานวนหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งคํานวณโดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยทั้งหมด ณ วันที่คํานวณมูลค่าต่อหน่วยนั้น “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “วันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date)” หมายความว่า วันคํานวณจํานวนหน่วยเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิก ซึ่งเป็นวันที่บริษัทจัดการและกองทุนกําหนดไว้ในสัญญาแต่งตั้งบริษัทจัดการ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “การชดเชยมูลค่า” หมายความว่า การเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง หรือการจ่ายเงินซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ต้องมีมูลค่าสิบบาท ข้อ ๓ เมื่อมีการจดทะเบียนกองทุนตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 แล้ว ให้บริษัทจัดการคํานวณจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกครั้งแรกในวันที่มีการส่งเงินสะสมและเงินสมทบครั้งแรกเข้ากองทุนพร้อมทั้งข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วนต่อบริษัทจัดการแล้ว โดยให้ใช้มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ตามที่กําหนดในข้อ 2 เป็นมูลค่าในการคํานวณ ในกรณีที่เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นแล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการคํานวณจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ โดยใช้มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ในข้อ 2 เป็นมูลค่าในการคํานวณ ข้อ ๔ การใช้ตัวเลขทศนิยมของจํานวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) คํานวณจํานวนหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมอย่างน้อยสี่ตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล และให้ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมตามตําแหน่งที่คํานวณได้ดังกล่าว (2) คํานวณมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมอย่างน้อยสี่ตําแหน่งโดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล และให้ใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมตามตําแหน่งที่คํานวณได้ดังกล่าว (3) เปิดเผยมูลค่าต่อหน่วยดังนี้ (ก) ในกรณีที่บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าต่อหน่วยตาม (2) เพียงสี่ตําแหน่ง ให้เปิดเผยมูลค่าต่อหน่วยตามที่คํานวณได้นั้น (ข) ในกรณีที่บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าต่อหน่วยตาม (2) มากกว่าสี่ตําแหน่งให้เปิดเผยมูลค่าต่อหน่วยเพียงสี่ตําแหน่ง โดยใช้วิธีการปัดเศษทศนิยมตามหลักสากล ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ของแต่ละกองทุนอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งวัน ข้อ ๖ ในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดมูลค่าต่อหน่วย ให้บริษัทจัดการเพิ่มหรือลดมูลค่าต่อหน่วยสําหรับหน่วยแต่ละหน่วยที่มีอยู่แล้ว ณ วันที่คํานวณมูลค่าต่อหน่วย ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกในวันถัดจากวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ที่ใช้เป็นวันคํานวณการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วย เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) เพิ่มจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกทุกรายที่มีการส่งเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนพร้อมทั้งข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วนต่อบริษัทจัดการแล้ว (2) ลดจํานวนหน่วยสําหรับสมาชิกรายที่สิ้นสมาชิกภาพและบริษัทจัดการได้รับแจ้งจากคณะกรรมการกองทุนโดยได้รับเอกสารเกี่ยวกับการสิ้นสมาชิกภาพพร้อมข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการเพิ่มจํานวนหน่วยของเงินสะสมและเงินสมทบตาม (1) ให้แก่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพก่อนการคํานวณการลดจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกรายดังกล่าว หากมีเงินสะสมและเงินสมทบตาม (1) เข้ามาในช่วงเวลาเดียวกัน และยังมิได้ทําการคํานวณเพื่อเพิ่มจํานวนหน่วยของเงินสะสมและเงินสมทบนั้น (3) ลดจํานวนหน่วยสําหรับสมาชิกรายที่มีการโอนย้ายออกจากการเป็นสมาชิก โดยบริษัทจัดการของกองทุนผู้โอนได้รับหนังสือแจ้งการโอนย้ายความเป็นสมาชิกจากคณะกรรมการกองทุนพร้อมข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วน (4) เพิ่มจํานวนหน่วยสําหรับสมาชิกรายที่มีการโอนย้ายเข้าเป็นสมาชิกใหม่ โดยบริษัทจัดการของกองทุนผู้รับโอนได้รับเงินและข้อมูลทะเบียนสมาชิกที่ครบถ้วนจากบริษัทจัดการของกองทุนผู้โอนแล้ว (5) เพิ่มจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกทุกรายเมื่อเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบที่ได้ทําการลดจํานวนหน่วยตาม (2) แล้ว แต่สมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพไม่มีสิทธิได้รับเงิน และตามข้อบังคับกองทุนกําหนดให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการคํานวณการเพิ่มจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกทุกรายที่มีการส่งเงินสะสมและเงินสมทบตาม (1) ก่อนการคํานวณการเพิ่มจํานวนหน่วยของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบดังกล่าว หากมีเงินสะสมและเงินสมทบเข้ามาในช่วงเวลาเดียวกัน และยังมิได้ทําการคํานวณเพื่อเพิ่มจํานวนหน่วยของเงินสะสมและเงินสมทบนั้น (6) เพิ่มจํานวนหน่วยให้แก่สมาชิกทุกรายเมื่อสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพไม่มารับผลประโยชน์ที่ได้รับภายในเวลาที่กําหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนและตามข้อบังคับกองทุนกําหนดให้เงินดังกล่าวตกเป็นของกองทุน หรือเมื่อมีเงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการคํานวณการเพิ่มจํานวนหน่วยของเงินดังกล่าวก่อนการคํานวณการเพิ่มจํานวนหน่วยของเงินสะสมและเงินสมทบตาม (1) หากมีเงินสะสมและเงินสมทบเข้ามาในช่วงเวลาเดียวกัน และยังมิได้ทําการคํานวณเพื่อเพิ่มจํานวนหน่วยของเงินสะสมและเงินสมทบนั้น ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดการดําเนินการปรับปรุงรายการเพื่อเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วย(adjustment) ให้แก่สมาชิกทุกรายหรือบางรายแล้วแต่กรณี ในวันถัดจากวันคํานวณจํานวนหน่วย(trade date) เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) เพิ่มจํานวนหน่วยเมื่อนายจ้างส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเพิ่มเติมในกรณีที่นายจ้างส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบไม่ครบ (2) ลดจํานวนหน่วยเมื่อบริษัทจัดการพบว่านายจ้างส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนเกินเพื่อคืนเงินให้แก่นายจ้างเท่ากับจํานวนที่นายจ้างส่งเกิน (3) เพิ่มจํานวนหน่วยเมื่อมีการส่งเงินคืนกองทุนในกรณีที่สมาชิกยกเลิกการลาออกจากกองทุน หรือกรณีที่นายจ้างระบุชื่อสมาชิกที่พ้นสมาชิกภาพผิดราย ข้อ ๙ การคํานวณการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยตามข้อ 7 หรือข้อ 8 ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วยดังต่อไปนี้ในการคํานวณ (1) ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) สําหรับสัปดาห์นั้น หากกรณีที่ทําให้ต้องคํานวณการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยเกิดขึ้นก่อนวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date)สําหรับสัปดาห์นั้น (2) ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) สําหรับสัปดาห์ถัดไป หากกรณีที่ทําให้ต้องคํานวณการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยเกิดขึ้นหลังวันคํานวณจํานวนหน่วย(trade date) สําหรับสัปดาห์นั้น (3) ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) หากกรณีที่ทําให้ต้องคํานวณการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยเกิดขึ้นในวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) นั้นเอง ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดให้มีวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) มากกว่าหนึ่งวันในแต่ละสัปดาห์ มูลค่าต่อหน่วยที่ใช้ในการคํานวณตาม (1) และ (2) ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ที่จะถึงเร็วที่สุด ข้อ ๑๐ ให้บริษัทจัดการเพิ่มมูลค่าต่อหน่วยอย่างช้าในวันคํานวณจํานวนหน่วย (trade date) ที่จะถึงเร็วที่สุด เมื่อปรากฏกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่มีการจ่ายเงินเพิ่มที่เกิดจากนายจ้างไม่ส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบทั้งหมดหรือบางส่วนเข้ากองทุนภายในเวลาที่กําหนดตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (2) กรณีที่นายจ้างแจ้งความประสงค์ว่าจะไม่รับเงินที่ส่งเข้ากองทุนเกินกลับคืนไป ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องน้อยกว่าหนึ่งสตางค์ หรือต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงร้อยละ 0.5 ของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบถึงความผิดพลาดภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่พบว่ามูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง และจัดให้มีสําเนารายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยรายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้อง (2) มูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (3) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง (4) มาตรการป้องกันเพื่อมิให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง เป็นต้น ในกรณีที่เหตุของความผิดพลาดซึ่งทําให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่งมีผลต่อเนื่องต่อการคํานวณมูลค่าต่อหน่วยครั้งต่อไป เช่น การกําหนดอัตราดอกเบี้ยผิดพลาดเป็นต้น ให้บริษัทจัดการแก้ไขมูลค่าต่อหน่วยให้ถูกต้องตั้งแต่วันที่บริษัทจัดการพบว่ามูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องด้วย ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าต่อหน่วยย้อนหลังนับแต่วันที่พบมูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องจนถึงวันที่มูลค่าต่อหน่วยถูกต้อง และดําเนินการดังต่อไปนี้ เฉพาะวันที่มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องตั้งแต่หนึ่งสตางค์ขึ้นไป และคิดเป็นอัตราส่วนตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (1) จัดทํารายงานการแก้ไขมูลค่าย้อนหลังและรายงานการชดเชยมูลค่าให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดจากวันที่พบว่ามูลค่าต่อหน่วยนั้นไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าวให้คณะกรรมการกองทุนภายในวันทําการถัดจากวันที่คํานวณมูลค่าต่อหน่วยเสร็จสิ้น หากคณะกรรมการกองทุนเห็นว่ารายงานดังกล่าวไม่ถูกต้อง คณะกรรมการกองทุนอาจทักท้วงได้ ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้อง (ข) มูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (ค) สาเหตุที่ทําให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง (ง) การดําเนินการของบริษัทจัดการเมื่อพบว่ามูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีสําเนารายงานตาม (1) ไว้ ณ ที่ทําการของบริษัทจัดการ เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ (2) แก้ไขมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องให้เป็นมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องภายในวันที่ส่งรายงานตาม (1) ให้แก่คณะกรรมการกองทุน (3) ชดเชยมูลค่าให้แล้วเสร็จและแจ้งเป็นหนังสือให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนเปิดเผยให้สมาชิกที่ได้เพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยในช่วงระยะเวลาที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องทราบถึงการแก้ไขมูลค่าย้อนหลังตาม (2) และการชดเชยมูลค่า ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ส่งรายงานตาม (1) ให้แก่คณะกรรมการกองทุน (4) จัดทํารายงานมาตรการป้องกันเพื่อมิให้มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง และส่งรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งสําเนารายงานการแก้ไขมูลค่าย้อนหลังและรายงานการชดเชยมูลค่าที่จัดทําตาม (1) ให้สํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ส่งรายงานตาม (1) ให้แก่คณะกรรมการกองทุน เว้นแต่ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ บริษัทจัดการไม่ต้องส่งรายงานมาตรการป้องกันให้สํานักงาน ข้อ ๑๓ ในการชดเชยมูลค่าตามข้อ 12(3) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) กรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องต่ํากว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (understate) ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการเพิ่มจํานวนหน่วย ให้บริษัทจัดการลดจํานวนหน่วยของสมาชิกเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง หากปรากฏว่าบุคคลที่จะได้รับการชดเชยไม่มีหน่วยเหลืออยู่หรือมีหน่วยเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยมูลค่าให้แก่กองทุน เว้นแต่การที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง เป็นต้น (ข) กรณีที่เป็นการลดจํานวนหน่วย ให้บริษัทจัดการเพิ่มจํานวนหน่วยของสมาชิกเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของมูลค่า เพื่อชดเชยมูลค่าให้แก่สมาชิก แต่หากปรากฏว่าบุคคลที่จะได้รับการชดเชยไม่มีหน่วยเหลืออยู่ ให้บริษัทจัดการจ่ายเงินของกองทุนเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าเพื่อชดเชยมูลค่าให้แก่บุคคลดังกล่าว (2) กรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องสูงกว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (overstate)ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการเพิ่มจํานวนหน่วย ให้บริษัทจัดการเพิ่มจํานวนหน่วยของสมาชิกเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง หรือจ่ายเงินของกองทุนเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของมูลค่า เพื่อชดเชยมูลค่าให้แก่สมาชิก (ข) กรณีที่เป็นการลดจํานวนหน่วย ให้บริษัทจัดการลดจํานวนหน่วยของสมาชิกเป็นจํานวนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง หากปรากฏว่าบุคคลที่จะได้รับการชดเชยไม่มีหน่วยเหลืออยู่ หรือมีหน่วยเหลืออยู่น้อยกว่าจํานวนหน่วยที่จะต้องลด ให้บริษัทจัดการจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าที่ขาดอยู่ หรือลดจํานวนหน่วยที่เหลืออยู่นั้นและจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองเป็นจํานวนเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าที่ขาดอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยมูลค่าให้แก่กองทุน เว้นแต่การที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ราคาหลักทรัพย์ตามราคาตลาดครั้งสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ถูกต้อง เป็นต้น การจ่ายเงินของกองทุนเพื่อชดเชยมูลค่าให้แก่สมาชิกตาม (1) (ข) หรือตาม (2) (ก) บริษัทจัดการอาจจ่ายเงินของบริษัทจัดการเองแทนกองทุนก็ได้ ข้อ ๑๔ ให้บริษัทจัดการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากมูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง เช่น ค่าออกเช็ค ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเงินชดเชยมูลค่าให้แก่สมาชิก เป็นต้น เว้นแต่ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,658
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 26/2544 เรื่อง การกำหนดรายการข้อมูลในคู่มือผู้ลงทุน หรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายหน่วยลงทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2544 เรื่อง การกําหนดรายการข้อมูลในคู่มือผู้ลงทุนหรือเอกสารอื่นใด ที่ใช้ในการขายหน่วยลงทุน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่บริษัทจัดการตั้งให้เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุน “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “การขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ” (cold calling) หมายความว่า การขายหรือชักชวนโดยบริษัทจัดการกับบุคคลที่ไม่เคยเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนั้นมาก่อน หรือโดยผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนของบริษัทจัดการกับบุคคลที่ไม่เคยเป็นลูกค้าของตนมาก่อน แล้วแต่กรณี เพื่อให้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก ในลักษณะที่บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวตั้งใจเข้าพบผู้ลงทุนโดยตรงหรือติดต่อผู้ลงทุนทางโทรศัพท์ โดยผู้ลงทุนมิได้เป็นฝ่ายร้องขอ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามบทนิยาม “ผู้ลงทุนสถาบัน” ที่กําหนดไว้ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ คู่มือผู้ลงทุนหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน และตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลจัดทําต้องใช้ภาษาที่ง่ายต่อการทําความเข้าใจ และต้องมีรายการข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (1) สิทธิของผู้ลงทุน (2) การรับข้อร้องเรียนของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๓ รายการข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของผู้ลงทุนตามข้อ 2(1) ให้แสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดเจน (1) สิทธิในการได้รับทราบรายชื่อของบริษัทจัดการทุกแห่งที่ได้มอบหมายให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเป็นตัวแทนสนับสนุนเพื่อทําการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ของบริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนสนับสนุน รวมทั้งชื่อ ที่อยู่ และเลขประจําตัวของพนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของนิติบุคคลดังกล่าว (3) สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุนที่ได้รับคําแนะนําเพื่อซื้อหน่วยลงทุนนั้น ตลอดจนรับทราบคําเตือนและคําอธิบายเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหน่วยลงทุน (4) สิทธิในการได้รับทราบข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือต่อการตัดสินใจในการลงทุน เช่น การขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่อยู่ในขั้นตอนการดําเนินการเพื่อการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม เป็นต้น (5) สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น ค่าธรรมเนียมหรือผลตอบแทนที่ตัวแทนสนับสนุนอาจได้รับจากการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน เป็นต้น (6) สิทธิในการแสดงเจตนาว่าไม่ต้องการรับการติดต่อในลักษณะที่เป็นการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ (cold calling) (7) สิทธิของผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันที่จะยกเลิกคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนหรือขายคืนหน่วยลงทุนในกรณีที่เป็นการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ (cold calling) ข้อ ๔ รายการข้อมูลเกี่ยวกับการรับข้อร้องเรียนของผู้ถือหน่วยลงทุนตามข้อ 2(2) ให้แสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดเจน (1) วิธีการรับข้อร้องเรียน (2) สถานที่ที่บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน และตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลใช้ในการรับข้อร้องเรียนของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,659
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 27/2544 เรื่อง รายละเอียดของบัตรประจำตัวของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นตัวแทนสนับสนุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 27/2544 เรื่อง รายละเอียดของบัตรประจําตัวของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ ให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “ประกาศ ที่ กน. 3/2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 “การขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ” (cold calling) หมายความว่า การขายหรือชักชวนโดยบริษัทจัดการกับบุคคลที่ไม่เคยเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนั้นมาก่อน หรือโดยผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนของบริษัทจัดการกับบุคคลที่ไม่เคยเป็นลูกค้าของตนมาก่อน แล้วแต่กรณี เพื่อให้ซื้อหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก ในลักษณะที่บริษัทจัดการ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน หรือตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวตั้งใจเข้าพบผู้ลงทุนโดยตรง หรือติดต่อผู้ลงทุนทางโทรศัพท์ โดยผู้ลงทุนมิได้เป็นฝ่ายร้องขอ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่บริษัทจัดการตั้งให้เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ บัตรประจําตัวของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งจะติดต่อกับผู้ลงทุนในการเสนอขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอ ต้องเป็นบัตรที่สํานักงานออกให้โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ และนามสกุลของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ และระดับการได้รับความเห็นชอบ (2) วันออกบัตรและวันหมดอายุของบัตร (3) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามของสํานักงาน ข้อ ๓ นับตั้งแต่วันที่ประกาศที่ กน. 3/2544 มีผลใช้บังคับจนถึงวันครบกําหนดการผ่อนผันการจัดให้มีพนักงานที่ได้รับความเห็นชอบประจําอยู่ที่สํานักงานใหญ่หรือสาขาตามที่กําหนดในข้อ 30 แห่งหมวด 5 บทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าว ให้พนักงานที่ยังไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบที่เข้าพบผู้ลงทุนเพื่อทําการขายโดยผู้ลงทุนมิได้ร้องขอแสดงบัตรประจําตัวพนักงานของนิติบุคคลที่ตนสังกัดในขณะที่เข้าพบผู้ลงทุนแทนบัตรประจําตัวตามข้อ 2 ในกรณีที่ตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานรายใดยังไม่เคยมีการจัดทําบัตรประจําตัวให้กับพนักงานในสังกัดของตน ให้จัดทําบัตรประจําตัวพนักงานโดยขนาดของบัตรต้องไม่เล็กกว่า 8.0 x 5.0 ซ.ม. พร้อมติดรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดํา ขนาด 1 นิ้ว ที่มุมบนด้านซ้ายของบัตร และต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ และนามสกุล ของพนักงานเจ้าของบัตร (2) ชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลที่พนักงานเจ้าของบัตรสังกัด (3) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามของตัวแทนสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคล ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,660
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 28/2544 เรื่อง การจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนสนับสนุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 28/2544 เรื่อง การจัดทํารายงานเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนสนับสนุน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 20(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “สถาบันฝึกอบรม” หมายความว่า สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์ และสถาบันฝึกอบรมอื่นที่สํานักงานให้การยอมรับ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบที่เป็นนิติบุคคลจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนสนับสนุนดังต่อไปนี้ให้สํานักงาน (1) รายงานวันเริ่มและวันสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของพนักงานในสังกัดของตนที่เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้สํานักงานภายในสามวันนับแต่วันที่พนักงานเริ่มหรือสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยจัดส่งข้อมูลผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ และนําส่งเอกสารที่มีข้อมูลเช่นเดียวกับที่ได้ส่งผ่านระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ให้สํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านระบบดังกล่าว (2) รายงานรายชื่อพนักงานในสังกัดของตนที่ผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือการเป็นตัวแทนสนับสนุนจากสถาบันฝึกอบรม หรือตามหลักสูตรที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (refresher course)โดยจัดทําเป็นรายไตรมาสและจัดส่งให้สํานักงานภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,661
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 6/2544 เรื่อง การยื่นรายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2544 เรื่อง การยื่นรายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 11/2543 เรื่อง การยื่นรายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ดังต่อไปนี้ จัดทํารายงานการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ตามแบบ 116-1 ที่แนบท้ายประกาศนี้เป็นรายปี โดยให้ยื่นรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือ (3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ ให้ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง ยื่นรายงานดังกล่าวต่อสํานักงาน สําหรับกรณีที่ไม่มีธุรกรรมการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้เกิดขึ้นในปีดังกล่าวด้วย ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและยื่นรายงานการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ตามแบบ สง.6 หรือรายงานการจัดจําหน่ายตราสารแห่งหนี้ของภาครัฐตามแบบ 63-1 ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 11/2543 เรื่อง การยื่นรายงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2543 ยังคงมีหน้าที่ต้องจัดทําและยื่นรายงานดังกล่าวสําหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับต่อสํานักงานตามประกาศฉบับดังกล่าวด้วย ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,662
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 8/2544 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2544 เรื่อง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง โดยที่ข้อ 7 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 กําหนดข้อจํากัดในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้องซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง โดยให้นับรวมจํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องรวมเข้ากับการถือหน่วยลงทุนและการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของผู้ถือหน่วยลงทุนด้วย ทั้งนี้ เพื่อมิให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องโอนทรัพย์สินเข้ากองทุนรวมเพื่อให้ได้รับประโยชน์ทางด้านภาษีผ่านการถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวโดยไม่มีเม็ดเงินใหม่เข้ามาลงทุนในกองทุนรวม และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ในข้อ 7 ดังกล่าวคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงได้ให้อํานาจสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในการประกาศกําหนดบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นได้ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 วรรคสี่ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ประกาศที่ กน. 54/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 “ผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 7แห่งประกาศ ที่ กน. 54/2543 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่กําหนดไว้ในข้อ 7 แห่งประกาศที่ กน. 54/2543 ซึ่งต้องนับการถือหน่วยลงทุน หรือการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือการเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของบุคคลดังกล่าว เข้ากับการถือหน่วยลงทุน หรือการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือการเป็นเจ้าหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของผู้ถือหน่วยลงทุน (1) บุคคลที่ถือหรือมีหุ้นในผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนนั้น (2) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหน่วยลงทุนถือหรือมีหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น (3) คู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือของบุคคลตาม (1) ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการถือหรือมีหุ้นโดยทางอ้อมตามข้อ 2(1) และ (2) หากบริษัทจัดการจัดส่งโครงสร้างการถือหุ้นที่เกี่ยวข้องไม่ว่าในชั้นใด ๆ กับผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ที่จะเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน มาให้สํานักงานพิจารณาและหากสํานักงานมิได้แจ้งเป็นประการอื่นใดภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงาน ให้ถือว่าการถือหรือมีหุ้นของบุคคลตามโครงสร้างการถือหุ้นที่ส่งมานั้น ไม่เป็นการถือหุ้นโดยทางอ้อมตามข้อ 2(1) และ (2) ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บริษัทจัดการได้จัดส่งไว้บริษัทจัดการจะถือเอาประโยชน์ตามวรรคหนึ่งต่อไปไม่ได้ เว้นแต่บริษัทจัดการได้จัดส่งข้อมูลใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นให้สํานักงานพิจารณาใหม่ และหากสํานักงานมิได้แจ้งเป็นประการอื่นใดภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการส่งข้อมูลใหม่ต่อสํานักงาน ให้ถือว่าการถือหรือมีหุ้นตามข้อมูลใหม่ไม่เป็นการถือหุ้นโดยทางอ้อมตามข้อ 2(1) และ (2) ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,663
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์ จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จาก อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ประกาศ ที่ กน. 54/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมนอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 17 แห่งประกาศ ที่ กน. 54/2543 โดยการให้เช่าพื้นที่และมีการจัดหาผลประโยชน์โดยการให้บริการประกอบด้วย เช่น เซอร์วิซ อะพาร์ตเมนท์ (service apartment) บริษัทจัดการจะกระทําได้ก็ต่อเมื่อกองทุนรวมมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่เพียงอย่างเดียวไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นในรอบปีการเงินใด ๆ ให้บริษัทจัดการรายงานผลการดําเนินงานเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่งของแต่ละอาคารให้สํานักงานทราบภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นรอบปีการเงินของกองทุนรวม ในการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง หากกองทุนรวมมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้ประกอบกิจการรายอื่นนําอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปจัดหาผลประโยชน์ หรือจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือเลิกกองทุนรวม ทั้งนี้ ภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นรอบปีการเงินของกองทุนรวม และแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้ดําเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,664
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จาก อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) ---------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 54/2343 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 2 การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมนอกจากที่กําหนดใว้ในข้อ 17 แห่งประกาศ ที่ กน. 54/2543 โดยการให้เช่าพื้นที่และมีการจัดหาผลประโยชน์โดยการให้บริการประกอบด้วย เช่น เซอร์วิซ อะพาร์ตเมนท์ (service apartment) บริษัทจัดการจะกระทําได้ก็ต่อเมื่อกองทุนรวมมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นในรอบปีการเงินใด ๆ ทั้งนี้ รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ดังกล่าวให้รวมถึงรายได้จากการให้เช่าเครื่องใช้และอุปกรณ์ตกแต่งที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงจากการให้เช่าพื้นที่นั้นด้วย เช่น ชุดรับแขก ชุดครัว เครื่องปรับอากาศ เป็นตัน" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 119 ตอนพิเศษ 21ง ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2545
4,665
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 11/2537 เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2537 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 45/2541เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและกองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า (1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์เป็นหุ้นส่วน (2) ห้างหุ้นส่วนจํากัดที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดหรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (3) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์หรือห้างหุ้นส่วนตาม (1) หรือ (2) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (4) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์หรือห้างหุ้นส่วนตาม (1) หรือ (2) หรือบริษัทตาม (3) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (5) นิติบุคคลที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์สามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลนั้น “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ที่มีคุณสมบัติดังนี้ (1) เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) ไม่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจัดการที่รับผิดชอบดําเนินการกองทุนรวมที่ตนเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจัดการ โดยนับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผลประโยชน์ด้วย (3) ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลเดียวกันถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทั้งในผู้ดูแลผลประโยชน์และในบริษัทจัดการที่รับผิดชอบดําเนินการกองทุนรวมที่ตนเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ เว้นแต่ผู้ถือหุ้นรายนั้นเป็นกระทรวงการคลัง (4) ไม่มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ดูแลผลประโยชน์ให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของผู้ดูแลผลประโยชน์ เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของบริษัทจัดการที่รับผิดชอบดําเนินการกองทุนรวมที่ตนเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ (5) ไม่มีความเกี่ยวข้องในการจัดการกองทุนรวมในลักษณะที่อาจทําให้ขาดความเป็น ข้อ ๔ ให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อีกไม่เกินหกเดือนนับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,666
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนการลงทุน ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2544 เรื่อง การกําหนดอัตราส่วนการลงทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ประกาศที่ กน. 14/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” หมายความว่า การซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนตามข้อดังต่อไปนี้แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 (1) ข้อ 6/2 เว้นแต่ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 (2) ข้อ 6/3 ถึงข้อ 6/12 ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (7) มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แต่การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ที่มิใช่หลักทรัพย์และทรัพย์สินตาม (1) ถึง (7) ซึ่งบุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (1) ตราสารแห่งทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ออก (2) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน หรือที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน (3) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้ออก ผู้รับรองผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (ก) บริษัทจดทะเบียน (ข) รัฐวิสาหกิจ (ค) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมิได้เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศตาม (จ) (ง) ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (จ) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ ซึ่งธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (4) เงินฝากที่บุคคลตาม (3) (ค) (ง) และ (จ) เป็นผู้รับฝากไว้ (5) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน (6) ตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (7ป หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) และ (5) ต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ในกรณีที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกัน ตาม (2) (3) และ (5)ให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดหรือภาระผูกพันของผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ําประกัน แต่ในกรณีอื่นให้คํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามความรับผิดของผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทั้งนี้ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ให้รวมคํานวณเงินฝากที่บุคคลที่ต้องรับผิดหรือมีภาระผูกพันดังกล่าวได้รับฝากไว้ด้วย ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในใบสําคัญแสดงสิทธิ ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ 3 ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่บุคคลใดเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในขณะใดขณะหนึ่ง มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ให้นับหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน ตามธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนรวมในอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าวด้วย การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นับตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน ตามข้อ 3(2) รวมในอัตราส่วนดังกล่าวทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 3 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์และทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ และให้นับเงินฝากในธนาคารดังกล่าวรวมในอัตราส่วนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศให้นับอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศหรือธนาคารต่างประเทศดังกล่าวเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน และเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศดังกล่าว รวมกัน การคํานวณอัตราส่วนการลงทุนตามวรรคสาม มิให้นับเงินฝากในบัญชีเงินฝากเพื่อการดําเนินงานของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพยกรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของ 16 สถาบันการเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จํากัด (มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ตามโครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วบริษัทเงินทุน 42 บริษัท (คปต. 42) รวมในอัตราส่วนดังกล่าว ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทใดที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทนั้น และการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเหตุให้การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กําหนดในประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขอัตราส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดข้างต้นภายในหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ตลาดหลักทรัพย์ติดประกาศเครื่องหมาย XR ไว้ที่หุ้นของบริษัทนั้น หรือนับตั้งแต่วันถัดจากวันแรกที่ผู้ซื้อหุ้นหมดสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ข้อ ๗ ในกรณีที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้และข้อ 6/2 แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 หากต่อมาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ เว้นแต่คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประสงค์ให้บริษัทจัดการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นเพื่อให้มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ และส่งให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพทราบภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนด พร้อมทั้งจัดทําสําเนาไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการรับชําระหนี้เพื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินแทนการรับชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชําระหนี้ดังกล่าวได้ และการรับชําระหนี้นั้นเป็นผลให้มูลค่าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้และข้อ 6/2 แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานโดยระบุชื่อ จํานวน อัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น และวันที่หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดพร้อมสาเหตุ รวมทั้งวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้น และส่งให้คณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ข้อ ๙ ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้และข้อ 6/2 แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้ แต่ถ้ามีการจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวที่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้ได้เพียงจํานวนที่เหลือเท่านั้น ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,667
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 17/2544 เรื่อง การกำหนดอันดับความน่าเชื่อถือ สำหรับหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ สามารถลงทุนได้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17/2544 เรื่อง การกําหนดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับหลักทรัพย์และ ทรัพย์สินที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุน ในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ําสามารถลงทุนได้ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6/2 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ หลักทรัพย์และทรัพย์สินตามข้อ 6/2 (2) (3) (4) (5) (6) และ (7) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ที่บริษัทจัดการจะลงทุนในหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ําได้นั้น ต้องเป็นหลักทรัพย์ ทรัพย์สิน ผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้สลักหลังที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,668
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 18/2544 เรื่อง วิธีการคำนวณมูลค่าเงินทุนและมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2544 เรื่อง วิธีการคํานวณมูลค่าเงินทุนและมูลค่าทรัพย์สิน ของกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการคํานวณมูลค่าเงินทุนและมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลให้บริษัทจัดการคํานวณตามลักษณะของตลาดซื้อขายหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ประเภทหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน การกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการของสมาคมให้คํานึงถึงมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่มีธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2544 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,669
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98 (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 15 และข้อ 17 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 35/2540 เรื่อง การจัดทําบัญชีหลักทรัพย์ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 48/2540 เรื่อง การแยกบัญชีเงินของลูกค้า ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2542เรื่อง การแยกบัญชีเงินของลูกค้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2542 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ทรัพย์สิน” หมายความว่า (1) เงินสด (2) หลักทรัพย์ (3) ทรัพย์สินอื่น (4) สิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรัพย์สินตาม (1) ถึง (3) เช่น สิทธิในเงินปันผลหรือดอกเบี้ย สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน และสิทธิในการเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ เป็นต้น “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์เพื่อการขาย “บัญชีเงินสด” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่รายการที่ต้องบันทึกไว้ในบัญชีมาร์จิ้น “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่รับดูแลรักษาทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าไม่ว่าเพื่อประโยชน์ด้านการเก็บรักษา หรือเพื่อการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อเป็นประกันการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกองทรัพย์สินหรือบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับบริหารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือรับดูแลรักษาในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์หรือผู้รับฝากทรัพย์สิน (2) สถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในภายหลัง ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งเป็นอิสระจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการให้คําแนะนําด้านหลักทรัพย์ และต้องจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดีในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยระบบดังกล่าวอย่างน้อยต้องแยกบุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้า และบุคลากรที่ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้า ออกจากกัน และกําหนดให้การจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกค้าทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากบุคลากรที่มีอํานาจของบริษัทซึ่งต้องมิใช่บุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและบุคลากรที่ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าดังกล่าว ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดระเบียบหรือวิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้สอดคล้องกับข้อกําหนดในประกาศนี้ โดยให้จัดทําไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงถึง ขั้นตอนการจัดการและบุคลากรที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบหรือวิธีปฏิบัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การรับหรือส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้า (2) การบันทึกรายการทรัพย์สินของลูกค้า (3) การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๗ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงวิธีปฏิบัติของลูกค้าในการฝากหรือถอนทรัพย์สินกับหรือจากบริษัทหลักทรัพย์ วิธีการของบริษัทหลักทรัพย์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี) ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ลูกค้าทราบโดยไม่ชักช้า (2) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบว่าในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสบปัญหาทางการเงิน เงินของลูกค้าที่เก็บรักษาไว้กับบริษัทหลักทรัพย์จะไม่อยู่ภายใต้มาตรการให้ความคุ้มครองของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (3) จัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่มีความตอนใดที่ทําให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถปฏิเสธความรับผิดต่อลูกค้าในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าสูญหายหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบริษัทหลักทรัพย์ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งบุคคลอื่นใดที่บริษัทหลักทรัพย์ยินยอมให้มีอํานาจดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๘ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของตนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ความในวรรคหนึ่งมิให้หมายความรวมถึงกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามความในข้อ 18 (1) (ก) หรือ (2) (ก) ข้อ ๙ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการใดอันมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิของลูกค้าในทรัพย์สิน โดยปราศจากหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งหรือความยินยอมของลูกค้าหรือบุคคลที่มีอํานาจสั่งการแทนลูกค้า ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําทรัพย์สินของลูกค้ารายหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าอีกรายหนึ่งหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือของบริษัทหลักทรัพย์เอง เว้นแต่จะได้รับคําสั่งหรือความยินยอมจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นรายกรณี ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือตราสารใดที่อยู่ในการดูแลรักษาของบริษัทหลักทรัพย์จากผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารนั้นได้ภายในเวลาอันสมควร ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงเจตนาใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าโดยปราศจากคําสั่งหรือความยินยอมของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร หมวด ๒ การบันทึกรายการทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําบัญชีแสดงทรัพย์สินทุกรายการของลูกค้าแต่ละรายที่อยู่ในการดูแลรักษา โดยต้องแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินอื่นใดของบริษัทหลักทรัพย์ และให้แยกไว้เป็นบัญชีมาร์จิ้นหรือบัญชีเงินสด แล้วแต่กรณี บัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน (2) จํานวนและประเภททรัพย์สิน (3) เหตุที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายใดเป็นทรัพย์สินของบุคคลที่สามซึ่งถูกวางไว้เป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์ของลูกค้ารายนั้น บริษัทหลักทรัพย์ต้องบันทึกชื่อบุคคลที่สามซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายนั้นด้วย ข้อ ๑๓ บริษัทหลักทรัพย์ต้องบันทึกรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน และในกรณีที่เป็นการบันทึกเพื่อแก้ไขรายการ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการที่พบเหตุแห่งการแก้ไขรายการ และต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขรายการทุกครั้ง ข้อ ๑๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการตรวจนับทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์เก็บรักษาไว้เองอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อสอบทานความถูกต้องกับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดทํา สําหรับทรัพย์สินของลูกค้าส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์มิได้เก็บรักษาไว้เอง บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อสอบทานความถูกต้องของรายการทรัพย์สินที่ปรากฏในรายงานของบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้า กับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดทํา ข้อ ๑๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้าไปให้แก่ลูกค้าอย่างน้อยเดือนละครั้ง เว้นแต่ในเดือนนั้นลูกค้าไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินที่มอบให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ดูแลรักษา โดยในกรณีที่ลูกค้ารายดังกล่าวไม่มีธุรกรรมติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้าไปให้แก่ลูกค้ารายนั้นอย่างน้อยทุกหกเดือนครั้ง ข้อ ๑๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ให้พร้อมสําหรับให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบย้อนหลังไม่น้อยกว่าสองปี หมวด ๓ การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาจํานวนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้เป็นทรัพย์สินของลูกค้า (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน จํานวนเงินที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิซึ่งคํานวณได้ ณ สิ้นวันทําการก่อน จากบัญชีเงินสดและบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าทุกราย หลังจากหักเงินประกันการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตของลูกค้าแต่ละรายนั้นในอัตราตามที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ตกลงกับลูกค้าซึ่งเป็นผู้ยืมหลักทรัพย์แล้ว บริษัทหลักทรัพย์อาจหักเงินดังต่อไปนี้ออกจากจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งได้ (ก) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ก่อนวันครบกําหนดชําระราคาตามธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว (ข) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์เกินกว่าจํานวนที่ต้องชําระหนี้ตามธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว และบริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งเงินส่วนเกินดังกล่าวคืนให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับเงินจํานวนนั้น (ค) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้าตามธุรกรรมการขายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้น และบริษัทหลักทรัพย์ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ลูกค้าหรือส่งมอบเงินให้แก่ลูกค้าภายในวันครบกําหนดชําระราคาแล้ว (ง) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้า เนื่องจากเป็นเงินปันผลหรือดอกเบี้ยของหลักทรัพย์หรือตราสารที่ลูกค้าเป็นเจ้าของ และบริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งเงินทั้งหมดนั้นให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเงินนั้น แต่ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ให้บริษัทหลักทรัพย์เก็บรักษาเงินตาม (ข) (ค) หรือ (ง) ไว้เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมของลูกค้าในอนาคต บริษัทหลักทรัพย์ต้องนําเงินจํานวนดังกล่าวมารวมในยอดเงินของวันทําการที่ได้รับทราบความประสงค์ของลูกค้า เพื่อการคํานวณจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งต่อไป (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ จํานวนทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์บันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น (3) ทรัพย์สินประเภทอื่น จํานวนทรัพย์สินประเภทอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการทรัพย์สินประเภทอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์บันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น ข้อ ๑๘ การดําเนินการดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินตามข้อ 17 แล้ว (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน (ก) แยกโดยการฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือการลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือการลงทุนในลักษณะอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด โดยต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า ในกรณีที่เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินตามวรรคหนึ่งเป็นประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเงินจํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ (ก) แยกโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องระบุอย่างชัดเจนว่าหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นการฝากโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าใบหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (3) ทรัพย์สินอื่น ให้แยกไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ข้อ ๑๙ บริษัทหลักทรัพย์อาจตกลงกับลูกค้าเพื่อกําหนดอัตราดอกผลที่บริษัทหลักทรัพย์จะคํานวณให้แก่ลูกค้าสําหรับยอดเงินจํานวนที่บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามประกาศนี้ไว้ด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้ อัตราดอกผลดังกล่าวต้องไม่เกินอัตราที่บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับจริงจากการฝากเงินหรือลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินหรือการลงทุนในลักษณะอื่น ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําเงินของลูกค้าที่ได้แยกไว้ตามข้อ 18 ไปเป็นหลักประกันหนี้เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือของบริษัทหลักทรัพย์เอง ข้อ ๒๑ ภายใต้บังคับข้อ 18 (1) (ก) ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําเงินจํานวนที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากไว้กับสถาบันการเงินที่มีความสัมพันธ์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมกับบริษัทหลักทรัพย์ในลักษณะบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม เว้นแต่ลูกค้าจะแสดงความยินยอมโดยชัดแจ้ง เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม”ให้หมายถึง บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทร่วมตามบทนิยามแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามลําดับ ทั้งนี้ ความในตอนใดของบทนิยามดังกล่าวที่กล่าวถึง “บริษัทที่ออกหลักทรัพย์” ให้หมายถึง “บริษัทหลักทรัพย์”ตามประกาศนี้ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าไว้เอง ไม่ว่าการจัดเก็บจะกระทําในสถานที่ของบริษัทหลักทรัพย์เองหรือใช้สถานที่ของบุคคลอื่น สถานที่นั้นต้องมีความมั่นคงและปลอดภัย และในกรณีที่เป็นการใช้สถานที่ของบุคคลอื่น บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้บุคคลอื่นนั้นทราบอย่างชัดเจนด้วยว่าทรัพย์สินที่นํามาเก็บรักษาเป็นทรัพย์สินของลูกค้า ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,670
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 29 /2545 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2545 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 “(3) เงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเนื่องจากการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของตนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า เว้นแต่การตั้งตัวแทนดังกล่าวจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งให้เป็นตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์ (ง) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (จ) สถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) จัดให้มีสัญญาตั้งตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีข้อห้ามมิให้ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วง และมีข้อกําหนดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแทน ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าเกิดความเสียหายและข้อกําหนดให้ตัวแทนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่ประกาศนี้กําหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการตั้งตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าโดยไม่ชักช้า และในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมเป็นตัวแทน บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งความสัมพันธ์ดังกล่าวให้ลูกค้าทราบด้วย คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม” ตามวรรคสอง ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ การที่บริษัทหลักทรัพย์แยกทรัพย์สินของลูกค้าตามวิธีที่กําหนดในข้อ 18(1)(ก) หรือ (2)(ก) มิให้ถือว่าเป็นการตั้งตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่4 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้า ณ วันสิ้นเดือนให้แก่ลูกค้าภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป เว้นแต่ในเดือนนั้นลูกค้าไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินที่มอบให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ดูแลรักษา โดยในกรณีที่ลูกค้ารายดังกล่าวไม่มีธุรกรรมติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้าไปให้แก่ลูกค้ารายนั้นอย่างน้อยทุกหกเดือนครั้งภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ทรัพย์สินประเภทเงิน จํานวนเงินที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิซึ่งคํานวณได้ ณ สิ้นวันทําการก่อนหรือ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบัน จากบัญชีเงินสดและบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าทุกราย หลังจากหักเงินประกันการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตของลูกค้าแต่ละรายนั้นในอัตราตามที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ตกลงกับลูกค้าซึ่งเป็นผู้ยืมหลักทรัพย์แล้ว ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เลือกใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณแล้ว บริษัทหลักทรัพย์จะต้องใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณตลอดไป เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นทําให้บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณต่อไป ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการก่อนเป็นฐานในการคํานวณในระหว่างที่มีเหตุจําเป็นได้ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้สํานักงานทราบโดยทันที บริษัทหลักทรัพย์อาจหักเงินดังต่อไปนี้ออกจากจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งได้ (ก) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ก่อนวันครบกําหนดชําระราคาตามธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว (ข) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์เกินกว่าจํานวนที่ต้องชําระหนี้ตามธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว และบริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งเงินส่วนเกินดังกล่าวคืนให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับเงินจํานวนนั้น (ค) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้าตามธุรกรรมการขายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้น และบริษัทหลักทรัพย์ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ลูกค้าหรือส่งมอบเงินให้แก่ลูกค้าภายในวันครบกําหนดชําระราคาแล้ว (ง) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้า เนื่องจากเป็นเงินปันผลหรือดอกเบี้ยของหลักทรัพย์หรือตราสารที่ลูกค้าเป็นเจ้าของ และบริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งเงินทั้งหมดนั้นให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเงินนั้น แต่ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ให้บริษัทหลักทรัพย์เก็บรักษาเงินตาม (ข)(ค) หรือ (ง) ไว้เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมของลูกค้าในอนาคต บริษัทหลักทรัพย์ต้องนําเงินจํานวนดังกล่าวมารวมในยอดเงินของวันทําการที่ได้รับทราบความประสงค์ของลูกค้า เพื่อการคํานวณจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งต่อไป” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 ภายใต้บังคับข้อ 18(1)(ก) ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําเงินจํานวนที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนกับสถาบันการเงินที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทใหญ่บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม เว้นแต่ลูกค้าจะแสดงความยินยอมโดยชัดแจ้ง คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม” ตามวรรคหนึ่ง ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,671
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 6/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ พร้อมการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัท
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับ การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อ ปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 มาตรา 69 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 247 มาตรา 248 มาตรา 250 และมาตรา 256 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ นอกจากบทนิยามที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในข้อนี้ ให้ใช้บทนิยามตามที่กําหนดในประกาศว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ เป็นบทนิยามของคําเดียวกันในประกาศและในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ท้ายประกาศนี้ “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หลักทรัพย์แปลงสภาพ และหมายความรวมถึงหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพด้วย “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น “บริษัทลงทุน” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ไม่มีการประกอบธุรกิจหลักของตนเอง แต่กําหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทเป็นการลงทุนในกิจการอื่น “ผู้ขออนุญาต” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และในขณะเดียวกันจะทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นกิจการที่จะถูกครอบงํากิจการจากการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยผู้ขออนุญาต “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน โดยผู้ขออนุญาตจะเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ดังกล่าวแก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน พร้อมกับทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนนั้นเพื่อถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน โดยประกาศนี้เป็นข้อกําหนดเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันของบริษัทจดทะเบียน (2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตาม (1) (3) การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน (4) การทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตาม (3) โดยบริษัทจดทะเบียน ข้อ ๔ มิให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ มาใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ หมวด ๑ การขออนุญาตและการอนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ข้อ ๕ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามแบบพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด จํานวนห้าชุด โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุญาต ให้ผู้ขออนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาต คําขอละ 50,000 บาท และในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์หลายประเภทหรือหลายรุ่น ผู้ขออนุญาตอาจรวมการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ทุกประเภท และทุกรุ่นไว้ในคําขอเดียวกันก็ได้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตตามวรรคหนึ่งประสงค์จะเข้าเป็นลูกหนี้แทนที่บริษัทจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ออกหุ้นกู้ ผู้ขออนุญาตอาจขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่มาในคําขอเดียวกันกับคําขออนุญาตตามวรรคสองก็ได้ และในกรณีนี้ให้คําว่า “หลักทรัพย์” ตามที่ปรากฏในหมวดนี้หมายความรวมถึงหุ้นกู้ด้วย ข้อ ๖ ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ขออนุญาตเป็น (ก) บริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยบริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ดําเนินการให้มีการจัดตั้งเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทในครั้งนี้ หรือ (ข) บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และไม่เป็นบริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้นตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ (2) ผู้ขออนุญาตมีลักษณะครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ทั้งนี้ ตามแต่ประเภทหลักทรัพย์ที่ขออนุญาตนั้น และในกรณีตาม (1) (ก) ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าบริษัทจดทะเบียนที่เป็นผู้ดําเนินการจัดตั้งมีลักษณะครบถ้วนตามข้อกําหนดในประกาศดังกล่าวด้วย และกรณีตาม (1) (ข)ผู้ขออนุญาตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (4) (6) และ (7) ด้วย โดยอนุโลม (3) แสดงได้ว่าหลักทรัพย์ที่ขออนุญาตมีลักษณะดังนี้ (ก) หลักทรัพย์ที่ขออนุญาตมีลักษณะสอดคล้องกับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะเสนอซื้อ และสิทธิที่ผู้ถือหลักทรัพย์จะได้รับไม่ด้อยไปกว่าสิทธิที่ผู้ถือหลักทรัพย์นั้นเคยได้รับอยู่เดิม (ข) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ทั้งนี้ ตามแต่ประเภทหลักทรัพย์ที่ขออนุญาตนั้น เว้นแต่กรณีเป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพ มิให้นําหลักเกณฑ์ในเรื่องจํานวนหุ้นที่รองรับหลักทรัพย์แปลงสภาพมาใช้บังคับ (4) แสดงได้ว่าบริษัทจดทะเบียนได้รับแจ้งผลการอนุญาตเบื้องต้นจากตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับ (ก) แผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว (ข) หลักทรัพย์ที่ยื่นขออนุญาตในครั้งนี้จะจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว (5) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือบริษัทจดทะเบียนอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่มีข้อกําหนดให้การปรับโครงสร้างการถือหุ้นต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่กํากับดูแล ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตหรือบริษัทจดทะเบียนนั้นได้รับความเห็นชอบเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นจากหน่วยงานที่กํากับดูแลดังกล่าวแล้ว (6) แสดงได้ว่าบริษัทจดทะเบียนได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องมีรายละเอียดของข้อมูลตามรายการที่สํานักงานประกาศกําหนด และที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการในหนังสือนัดประชุม ได้เข้าร่วมในการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่ออธิบายและให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้นด้วย (7) แสดงได้ว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนมีมติเห็นชอบในเรื่องดังต่อไปนี้ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหุ้นทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง (ก) แผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัทจดทะเบียน (ข) แผนการอื่นใดในขั้นตอนการปรับโครงสร้างที่จําเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนก่อนจึงดําเนินการได้ เช่น แผนการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน แผนการนําหลักทรัพย์ที่ยื่นขออนุญาตในครั้งนี้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว แผนการขายสินทรัพย์ที่บริษัทจดทะเบียนมีอยู่ให้แก่ผู้ขออนุญาต เป็นต้น ข้อ ๗ ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือ ให้ผู้ขออนุญาตมาชี้แจง ส่งต้นฉบับหรือสําเนาเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมิได้ดําเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์ที่จะยื่นคําขออนุญาตอีกต่อไป ข้อ ๘ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับอนุญาตขายหลักทรัพย์ให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวและยังประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตมีหนังสือถึงสํานักงานก่อนพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าว เพื่อขอขยายระยะเวลาการเสนอขาย โดยต้องชี้แจงเหตุผลพร้อมแจ้งการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับผู้ได้รับอนุญาตด้วย ในการพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานมีอํานาจขยายระยะเวลาการเสนอขายให้อีกได้ตามที่เห็นสมควร แต่ระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการอนุญาต และในการผ่อนผันดังกล่าว สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการอื่นใดได้เพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนก็ได้ หากผู้ได้รับอนุญาตไม่ดําเนินการขายหลักทรัพย์ให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดเมื่อครบกําหนดเวลาดังกล่าว ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ทั้งนี้ ตามแต่ประเภทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายนั้น หมวด ๒ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ข้อ ๑๑ เว้นแต่ความในหมวดนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ มาใช้บังคับกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหมวดนี้โดยอนุโลม ข้อ ๑๒ ในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นพร้อมกับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามแบบ 69/247 –1 ท้ายประกาศนี้ และผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในหมวดนี้ด้วย ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทลงทุนตามข้อ 6 (1)(ก) ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําแบบ 69/247 –1 ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับบริษัทจดทะเบียนในลักษณะเดียวกับข้อกําหนด ตามประกาศว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงานที่เกี่ยวกับการไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียของที่ปรึกษาทางการเงินกับลูกค้าหรือที่เกี่ยวกับความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินด้วย ข้อ ๑๔ ให้แบบ 69/247 –1 และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับวันที่รับซื้อหลักทรัพย์ วิธีการแสดงเจตนาขายหลักทรัพย์ วิธีการส่งมอบหลักทรัพย์ และผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกรายของผู้ได้รับอนุญาตได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบ 69/247 –1 แล้ว ข้อ ๑๕ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน ข้อ ๑๖ นอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 17 ถึงข้อ 20 ให้นําหลักเกณฑ์ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ในเรื่องดังต่อไปนี้มาบังคับใช้กับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ โดยอนุโลม (1) การส่งคําเสนอซื้อให้ผู้ถือหลักทรัพย์และการโฆษณาการทําคําเสนอซื้อภายหลังการยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (2) การยินยอมให้ผู้ถือหลักทรัพย์ยกเลิกการแสดงเจตนาขาย (3) การกําหนดระยะเวลาการรับซื้อของผู้ทําคําเสนอซื้อ และการขยายระยะเวลารับซื้อ (4) การรายงานจํานวนหลักทรัพย์ที่มีผู้แสดงเจตนาขายระหว่างการทําคําเสนอซื้อ และเมื่อครบกําหนดระยะเวลารับซื้อ (5) การดําเนินการในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาการรับซื้อ การแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อ การประกาศข้อเสนอซื้อสุดท้ายหรือประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้าย และการแก้ไขรายละเอียดอื่น ๆ ในคําเสนอซื้อด้วย (6) การดําเนินการต่าง ๆ เมื่อมีการยกเลิกคําเสนอซื้อ (7) ข้อบังคับหลังการทําคําเสนอซื้อ (8) หลักเกณฑ์อื่นใดตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการซึ่งสํานักงานได้ประกาศกําหนดเพิ่มเติมให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติ ข้อ ๑๗ ข้อมูลในแบบ 69/247 –1 ต้องถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ไม่มีการปกปิดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ และไม่มีข้อความที่อาจทําให้ผู้ถือหลักทรัพย์หลงผิด (misleading) ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์กับผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ข้อ ๑๘ เมื่อแบบ 69/247 –1 มีผลใช้บังคับแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการรับซื้อหลักทรัพย์ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่แบบดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๙ การแก้ไขข้อเสนอในการทําคําเสนอซื้อที่มีผลกระทบต่ออัตราส่วนหรือราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอให้มีการแลกเปลี่ยน จะกระทําได้เฉพาะกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทตามข้อ 6 (1) (ข) และการแก้ไขดังกล่าวได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตแล้ว ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับอนุญาตอาจยกเลิกการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องระบุเหตุแห่งการยกเลิกไว้ในแบบ 69/247 –1 ด้วย (1) มีเหตุการณ์หรือการกระทําใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากสํานักงานรับแบบ 69/247 –1 และยังไม่สิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ อันเป็นเหตุหรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อฐานะหรือทรัพย์สินของบริษัทจดทะเบียน โดยเหตุการณ์หรือการกระทําดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทําของผู้ได้รับอนุญาตหรือการกระทําที่ผู้ได้รับอนุญาตต้องรับผิดชอบ (2) บริษัทจดทะเบียนกระทําการใด ๆ ภายหลังจากสํานักงานรับแบบ 69/247 –1 และยังไม่สิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ อันเป็นผลให้มูลค่าของหุ้นลดลงอย่างมีนัยสําคัญ (3) เมื่อครบระยะเวลารับซื้อที่กําหนดไว้ในแบบ 69/247 –1 แล้ว ปรากฏว่าจํานวนหุ้นที่มีผู้แสดงเจตนาขายรวมกับจํานวนหุ้นที่ผู้ได้รับอนุญาตถืออยู่เดิมก่อนการทําคําเสนอซื้อ มีจํานวนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนดในการแจ้งอนุญาตเบื้องต้นตามข้อ 6(4) ข้อ ๒๑ ในกรณีจําเป็นและสมควร ให้สํานักงานมีอํานาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 16 หรือเหตุตามข้อ 20 ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การปรับโครงสร้างการถือหุ้นสามารถดําเนินการต่อไปได้ หมวด ๓ การทําความเห็นของกิจการ ข้อ ๒๒ ให้บริษัทจดทะเบียนจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยแบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อเป็นบริษัทตามข้อ 6(1) (ก) ให้ถือว่ารายการความเห็นที่เกี่ยวกับความเหมาะสมของแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นในแบบ 69/247 –1 ของคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนและของที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นรายการความเห็นของกิจการตามมาตรา 250 แล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,672
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 8/2543 เรื่อง การผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 8/2543 เรื่อง การผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ภายในระยะเวลาสามปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้สํานักงานมีอํานาจพิจารณาการขอผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 9 ข้อ 24 ข้อ 35(5) และข้อ 45 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สําหรับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ตามความจําเป็นและสมควร ตลอดจนกําหนดข้อปฏิบัติหรือเงื่อนไขใด ๆ ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ในกรณีที่มีการขอผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวเป็นประการอื่น ให้สํานักงานมีอํานาจพิจารณาการขอผ่อนผันและกําหนดข้อปฏิบัติหรือเงื่อนไขใด ๆ เพิ่มเติมได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,673
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 15/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15 /2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 135 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 10/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้รับฝากทรัพย์สินให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของผู้รับฝากทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเป็น (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะตามที่สํานักงานประกาศกําหนด หรือ (6) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่มีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเก็บรักษาหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน และประกอบธุรกิจอื่นตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (ถ้ามี) ข้อ ๔ ผู้ขอรับความเห็นชอบตามข้อ 3(1) ถึง (5) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) สามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของผู้ขอรับความเห็นชอบ และไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่เสื่อมลงอย่างมีนัยสําคัญ ในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันที่สํานักงานพิจารณาการให้ความเห็นชอบ (2) มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาการมีจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ และประวัติการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต ทั้งนี้ ในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่สํานักงานพิจารณาการให้ความเห็นชอบ การพิจารณาคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาไปถึงกรรมการ ผู้จัดการ และกรรมการบริหาร รวมทั้งรองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของผู้ขอรับความเห็นชอบด้วย (3) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย (ก) ระบบการแยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของผู้รับฝากทรัพย์สินและระบบการดูแลรวมทั้งการเก็บรักษาทรัพย์สินดังกล่าว ตลอดจนการควบคุมภายในเพื่อป้องกันการนําทรัพย์สินของลูกค้าไปใช้โดยทุจริต (ข) ระบบการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของลูกค้า ตลอดจนข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระบบการควบคุมการรับจ่ายทรัพย์สินของลูกค้า (ค) ระบบการตรวจสอบและตรวจนับทรัพย์สินของลูกค้าเพื่อความถูกต้องครบถ้วน (ง) ระบบการจัดทําบัญชีทรัพย์สินเพื่อแสดงรายการและจํานวนทรัพย์สิน ของลูกค้า ตลอดจนการบันทึกรายการรับหรือจ่ายทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย (จ) ระบบการดูแลและติดตามสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินของลูกค้า (ฉ) ระบบการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการเก็บรักษาความลับของลูกค้า (ช) ระบบอื่นใดที่แสดงถึงความพร้อมในการประกอบธุรกิจตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (4) แสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบงานด้านการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน โดยบุคลากรดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่รับผิดชอบ และมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปในการประกอบวิชาชีพ ข้อ ๕ ผู้ขอรับความเห็นชอบตามข้อ 3(6) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีคุณสมบัติตามข้อ 4 (3) และ (4) (2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินเสื่อมลงอย่างมีนัยสําคัญในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันที่สํานักงานพิจารณาการให้ความเห็นชอบ (3) มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพตามข้อ 4(2) ในระยะเวลาสามปีก่อน วันที่สํานักงานพิจารณาการให้ความเห็นชอบ (4) แสดงได้ว่าจะมีเงินกองทุนหมุนเวียนที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ และสามารถแสดงได้ว่ามีหลักประกันหรือทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วที่เพียงพอเพื่อรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของลูกค้า ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด (5) ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่เป็นสถาบันการเงินต้องสามารถดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของผู้ถือหุ้นดังกล่าว ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบตามข้อ 3(6) ประกอบธุรกิจมาเป็นเวลาน้อยกว่าสามปี การพิจารณาคุณสมบัติตามข้อ 5(2) และ (3) ให้พิจารณาคุณสมบัติของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ตลอดจนกรรมการและผู้จัดการของผู้ถือหุ้นดังกล่าวประกอบด้วย ทั้งนี้ จนครบระยะเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ขอรับความเห็นชอบตามข้อ 3(6) เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ การพิจารณาคุณสมบัติตามข้อ 5(2) และ (3) ให้พิจารณาคุณสมบัติของผู้ถือหุ้น ตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ตลอดจนกรรมการและผู้จัดการของ ผู้ถือหุ้นดังกล่าวแทน ข้อ ๘ ในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด การยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นพร้อมด้วยสําเนาคําขอและสําเนาเอกสารหลักฐานประกอบคําขอจํานวนอย่างละสองชุด ข้อ ๙ ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน ให้แล้วเสร็จ ภายในสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ข้อ ๑๐ ก่อนเริ่มประกอบธุรกิจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ โดยแสดงให้สํานักงานมั่นใจได้ว่าผู้รับฝากทรัพย์สินได้จัดให้มีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 4(3) และมีความพร้อมด้านบุคลากรของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบงานด้านการเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 4(4) และในกรณีที่ผู้ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 3(6) ต้องแสดงว่ามีเงินกองทุนหมุนเวียนที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการประกอบ ธุรกิจตามข้อ 5(4) และเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้วจึงจะเริ่มประกอบธุรกิจได้ ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน ที่สํานักงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีระบบงานที่มีความพร้อมตามข้อ 4(3) และมีความพร้อมด้านบุคลากร ตามข้อ 4(4) อยู่แล้วในขณะที่ยื่นคําขอ ข้อ ๑๑ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน ให้มีกําหนดคราวละสามปีนับตั้งแต่วันที่สํานักงานกําหนดไว้ในหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่ผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินประสงค์ที่จะต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องยื่นคําขอต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานประกาศกําหนดก่อนวันสิ้นสุดอายุของการให้ความเห็นชอบอย่างน้อยหกสิบวัน ให้สํานักงานพิจารณาคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับตั้งแต่ วันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในระหว่างการพิจารณาการต่ออายุตามวรรคสอง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้รับฝากทรัพย์สินแก้ไขเพิ่มเติมการดําเนินงาน ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด และให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าสํานักงานจะสั่งการเป็นอย่างอื่น ในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบการต่ออายุ ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องแจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบให้บริษัทจัดการทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่สํานักงานแจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบการต่ออายุ และดําเนินการส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้าให้ผู้รับฝากทรัพย์สินรายใหม่ที่บริษัทจัดการจัดให้มีให้เสร็จสิ้นก่อนวันสิ้นสุดอายุของการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๒ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับฝากทรัพย์สิน ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้วต้องจัดให้มีระบบงานตามข้อ 4(3) อย่างน้อยตามที่ได้เสนอสํานักงาน การเปลี่ยนแปลงระบบงานตามวรรคหนึ่ง ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหากสํานักงานไม่ทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแจ้ง ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินดําเนินการเปลี่ยนแปลงระบบงานได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบงานอย่างเร่งด่วน ผู้รับฝากทรัพย์สินอาจแจ้งต่อ สํานักงานเพื่อขอทราบผลการพิจารณาโดยไม่ต้องรอให้ครบระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวก็ได้ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 3(6) ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินดังกล่าวขอความเห็นชอบจากสํานักงานก่อน ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้ผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 3(6) แต่งตั้งหรือยอมให้บุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ เป็นหรือทําหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สิน ทั้งนี้ ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินมีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้จัดการ พร้อมด้วยสําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนกับนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกระทรวงพาณิชย์ ให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียน (1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (3) เคยเป็นผู้บริหารของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากสํานักงาน (4) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ หรือผู้จัดการตามมาตรา 144 หรือมาตรา 145หรือเคยถูกถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น (5) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (7) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีดําตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (8) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (9) เคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (10) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในทํานองเดียวกัน (11) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต (12) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้นหรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ (13) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต (14) จงใจอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของผู้รับฝากทรัพย์สิน หรือฐานะทรัพย์สินของลูกค้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากไว้ (15) จงใจละเลยการดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (16) มีการบริหารงานที่แสดงถึงการละเลยการทําหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้บุคคลที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจรับฝากทรัพย์สินโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจ หรือต่อลูกค้าของธุรกิจนั้น ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลที่จะเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 3(6) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 14 (9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สิน โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีคําวินิจฉัยของหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว ปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับบุคคลที่เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สิน และปรากฏลักษณะต้องห้ามตามข้อ 14 (9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) ในภายหลัง ข้อ ๑๖ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลใดเข้าข่ายที่กําหนดในข้อ 14 (9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) และความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเมื่อได้พิจารณาตามปัจจัยที่สํานักงานประกาศกําหนดตามข้อ 15 แล้วอยู่ในกลุ่มของพฤติกรรมที่กําหนดระยะเวลาในการห้ามมิให้เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สินสูงสุดไม่เกินหนึ่งปี สํานักงานอาจพิจารณาให้ถือว่าพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 14 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการที่บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สิน จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของลูกค้า หรือจะทําให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจรับฝากทรัพย์สิน ข้อ ๑๗ ในกรณีที่บุคคลใดต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 3(6) อันเนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 14 (9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) เมื่อพ้นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 15 หรือกรณีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 15 แล้ว มิให้สํานักงานนําพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 14 (9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) หรือ (16) ที่ได้เคยใช้เป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สินในครั้งก่อนมาเป็นเหตุในการห้ามในครั้งหลังอีก ข้อ ๑๘ เมื่อปรากฏในข้อเท็จจริงว่ากรรมการหรือผู้จัดการรายใดของผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 3(6) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 14 และสํานักงานมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับฝากทรัพย์สินทราบแล้ว ผู้รับฝากทรัพย์สินต้องดําเนินการให้กรรมการหรือผู้จัดการรายนั้นพ้นจากการเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของผู้รับฝากทรัพย์สินภายในระยะเวลาที่จําเป็นและสมควรโดยไม่ชักช้า ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 3(6) มีกรรมการหรือผู้จัดการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 14 ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้จัดการรายนั้น ข้อ ๒๐ ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 3(1) ถึง (6) ดํารงคุณสมบัติตามข้อ 4 หรือข้อ 5(1) (2) (3) และ (4) แล้วแต่กรณี หากผู้รับฝากทรัพย์สินรายใดไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวได้ ให้ผู้รับฝากทรัพย์สินรายนั้นแจ้งให้สํานักงานทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันทําการถัดจากวันที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติได้ และเมื่อผู้รับฝากทรัพย์สินสามารถดํารงคุณสมบัติดังกล่าวได้แล้ว ให้แจ้ง ต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันทําการถัดจากวันดังกล่าว ข้อ ๒๑ ให้สํานักงานมีอํานาจห้ามมิให้ผู้รับฝากทรัพย์สินรับฝากทรัพย์สินของลูกค้ารายใหม่ แต่ยังสามารถรับฝากทรัพย์สินของลูกค้ารายเดิมตามสัญญาเดิมจนกว่าสัญญาจะสิ้นสุดลง หรือมีอํานาจเพิกถอนหรือสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินรายนั้นเป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานเห็นสมควร หรือดําเนินการอื่นใดตามที่สํานักงานเห็นสมควร ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้รับฝากทรัพย์สินที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ (2) ผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 3(1) ถึง (5) ที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 4 (3) ผู้รับฝากทรัพย์สินตามข้อ 3(6) ที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามข้อ 5(1) (2) (3) หรือ (4) ข้อ ๒๒ ให้ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อีกไม่เกินหกเดือนนับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,674
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 17/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทำงบการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 17 /2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดทํางบการเงิน ของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการจัดทํางบการเงินของกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดทํางบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีสําหรับกิจการที่มีธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนที่กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย และตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,675
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 21 /2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็น หรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 ทวิ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 4(2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 9 ข้อ 16 ข้อ 20 และข้อ 21 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ต่อสํานักงานตามแบบที่สํานักงานกําหนดโดย (1) กรณีที่การเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบุคคลดังกล่าวจะเกิดขึ้นเนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์มีการเพิ่มทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นคําขอรับความเห็นชอบก่อนวันที่บริษัทหลักทรัพย์จะขายหุ้นเพิ่มทุนอันเป็นผลให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นคําขอรับความเห็นชอบภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่ามีบุคคลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่โดยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๓ ภายใต้บังคับข้อ 4 และข้อ 5 บุคคลที่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้ (1) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต 3) เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริต (4) เคยต้องคําพิพากษาว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (5) เคยถูกเปรียบเทียบปรับในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่ว่าด้วยการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายต่างประเทศในความผิดทํานองเดียวกัน (6) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน อันเนื่องจากการกระทําโดยทุจริต (7) เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ตามมาตรา 144 หรือมาตรา 145 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือเคยถูกถอดถอนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นอันเนื่องมาจากเหตุในทํานองเดียวกัน (8) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการ เนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้นหรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินหรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ (9) มีการทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต (10) จงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในการขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์หรือในรายงานอื่นใดที่ต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. (11) มีการทํางานที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณหรือขาดมาตรฐานในการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินหรือการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล กรรมการหรือหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดใน (1) ถึง (11) ด้วย ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม บุคคลนั้นต้องไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมอื่นอยู่ก่อนแล้ว ข้อ ๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลที่จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทหลักทรัพย์มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(3)(4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์โดยคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคําพิพากษา หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคําวินิจฉัยของหน่วยงานที่มีอํานาจกํากับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ และปรากฏลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) ในภายหลังด้วย โดยอนุโลม ปัจจัยที่อาจนํามาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๕ เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลใดเข้าข่ายที่กําหนดในข้อ 3(3) (4) (5)(6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) และความร้ายแรงของพฤติกรรมของบุคคลนั้นเมื่อได้พิจารณาตามปัจจัยที่สํานักงานประกาศกําหนดตามข้อ 4 แล้ว อยู่ในกลุ่มของพฤติกรรมที่มีระยะเวลาสูงสุดไม่เกินหนึ่งปีสําหรับการห้ามมิให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ สํานักงานอาจพิจารณาให้ถือว่าพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวมิได้เป็นลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 3 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าการที่บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของประชาชนหรือจะทําให้ผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจหลักทรัพย์ ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ใดมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 3 บริษัทหลักทรัพย์นั้นต้องรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่รู้หรือมีเหตุอันควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่าบุคคลที่สํานักงานเห็นชอบให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ให้สํานักงานมีอํานาจเพิกถอนความเห็นชอบที่ได้ให้ไว้แล้วได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่บุคคลใดต้องห้ามมิให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์อันเนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) เมื่อพ้นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 4 หรือกรณีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 4 แล้ว มิให้สํานักงานนําพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) ที่ได้เคยใช้เป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ในครั้งก่อนมาเป็นเหตุในการห้ามในครั้งหลังอีก ข้อ ๘ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเพราะเหตุที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 หรือถูกสํานักงานเพิกถอนความเห็นชอบตามข้อ 6 ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นดําเนินการแก้ไขเหตุที่มิชอบดังกล่าวภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน ข้อ ๙ มิให้นําความในข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับแก่การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากในวันหรือหลังจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บุคคลตามวรรคหนึ่งที่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้มาหรือจะได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นดังกล่าวมิได้เกิดจากการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามส่วนจํานวนหุ้นที่มีอยู่ก่อนแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามความในข้อ 2 หรือข้อ 6 โดยอนุโลม ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,676
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 13 /2546 เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์อื่นที่มิให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2546 เรื่อง กําหนดหลักทรัพย์อื่นที่มิให้นําบทบัญญัติว่าด้วย การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 63(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2542 เรื่อง กําหนดหลักทรัพย์อื่นที่มิให้นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ให้ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐดังต่อไปนี้ เป็นหลักทรัพย์ที่มิให้นําบทบัญญัติในหมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับ (1) กระทรวงการคลัง (2) ธนาคารแห่งประเทศไทย (3) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (4) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,677
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 22/2546 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2546 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ประเภท การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 6/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดํารงเงินกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (2) “เงินกองทุน” หมายความว่า (ก) ทุนชําระแล้วซึ่งรวมทั้งส่วนล้ํามูลค่าหุ้นที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับ และเงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์นั้น (ข) ทุนสํารองตามกฎหมาย (ค) เงินสํารองที่ได้จัดสรรจากกําไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือตามข้อบังคับของบริษัทหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงเงินสํารองสําหรับการลดค่าของสินทรัพย์และเงินสํารองเพื่อการชําระหนี้ (ง) กําไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร (จ) เงินสํารองจากการตีราคาสินทรัพย์และเงินสํารองอื่นตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด และ (ฉ) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับจากการออกตราสารตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) “เงินกองทุนชั้นที่ 1” หมายความถึง เงินกองทุนตาม (2) (ก) (ข) (ค) และ (ง) ทั้งนี้ ให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกก่อน และให้หักค่าแห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด (4) “เงินกองทุนชั้นที่ 2” หมายความถึง เงินกองทุนตาม (2) (จ) และ (ฉ) (5) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดํารงเงินกองทุนเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละแปดของสินทรัพย์และภาระผูกพัน โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละสี่ของสินทรัพย์และภาระผูกพันดังกล่าว และเงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจํานวนสูงสุดไม่เกิน เงินกองทุนชั้นที่ 1 การคํานวณเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,678
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 29/2543 เรื่อง ข้อกำหนดสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ดำรง เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ได้ตามเกณฑ์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2543 เรื่อง ข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 35/2541 เรื่อง ข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2541 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ “ออปชัน” หมายความว่า ออปชันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2542 เรื่อง การกําหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2542 “ฐานะออปชัน” หมายความว่า ภาระหรือสิทธิอันเนื่องมาจากการซื้อขายออปชัน “ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิหรือฐานะการเงินตามเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ โดยไม่เป็นการจํากัดอํานาจของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่จะสั่งเป็นประการอื่น บริษัทหลักทรัพย์ใดไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดทําแผนการแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ และยื่นต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันแรกที่บริษัทหลักทรัพย์ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด เว้นแต่ก่อนพ้นกําหนดเวลาสามสิบวันดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์นั้นสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการติดต่อกัน (2) ดําเนินการให้เป็นไปตามแผนการแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตาม (1) ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดในแผนดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันแรกที่บริษัทหลักทรัพย์ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด ข้อ ๔ ในระหว่างที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิหรืออยู่ระหว่างการดําเนินการตามข้อ 2(1) หรือ (2) ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นขยายการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จนกว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นจะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ตามปกติ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง “การขยายการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์” ให้หมายถึง (1) การเพิ่มวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าบัญชีเงินสด เว้นแต่เป็นการซื้อหลักทรัพย์ที่ลูกค้าได้วางเงินไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ หรือเป็นการขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่อยู่ในความครอบครองของบริษัทหลักทรัพย์แล้ว (2) การเพิ่มยอดหนี้คงค้างของลูกค้าบัญชีมาร์จิ้นหรือลูกค้าสถาบันที่ยืมหลักทรัพย์จากยอดหนี้คงค้างที่ปรากฏในวันแรกที่บริษัทหลักทรัพย์ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด เว้นแต่เป็นการเพิ่มขึ้นเนื่องจากดอกเบี้ยค้างรับ (3) การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้ารายใหม่ (4) การเพิ่มความเสี่ยงโดยรวมในเงินลงทุนของบริษัท (portfolio) (5) การทําสัญญารับประกันการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์เพิ่ม เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่มีผลผูกพันอยู่ก่อนวันที่บริษัทหลักทรัพย์จะดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด (6) การเพิ่มมูลค่าเงินทุนที่รับบริหารให้แก่ลูกค้าบัญชีกองทุนส่วนบุคคล หรือการเปิดบัญชีกองทุนส่วนบุคคลให้แก่ลูกค้ารายใหม่ (7) การซื้อขายออปชันเพิ่มให้แก่ลูกค้า เว้นแต่เป็นการซื้อขายเพื่อล้างฐานะออปชันของลูกค้า ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) บริษัทหลักทรัพย์ไม่ยื่นแผนการแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อสํานักงานภายในเวลาที่กําหนดในข้อ 2(1) (2) บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามแผนและระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 2(2) (3) บริษัทหลักทรัพย์มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่ํากว่าศูนย์ติดต่อกันเกินห้าวันทําการ หรือ (4) บริษัทหลักทรัพย์มีการผิดนัดชําระราคาหรือผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์ต่อบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จํากัด หรือต่อลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดตามวรรคหนึ่งกระทําการดังต่อไปนี้ (1) ระงับการดําเนินธุรกิจทุกประเภทจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจได้ตามปกติ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการลดความเสี่ยงโดยรวมในเงินลงทุนของบริษัทหรือการดําเนินการตามภาระผูกพันที่ค้างอยู่ (2) ให้ล้างฐานะออปชันที่มีไว้เพื่อตนเอง (3) ให้บริษัทหลักทรัพย์โอนฐานะออปชันและทรัพย์สินของลูกค้าในบัญชีออปชันและบัญชีเงินสดไปให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นดําเนินการแทน ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการโอนได้เนื่องจากลูกค้ามีมูลค่าหลักประกันต่ํากว่าที่กําหนด และไม่นําหลักประกันมาวางเพิ่ม ให้บริษัทหลักทรัพย์ล้างฐานะออปชันของลูกค้า และในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการโอนได้เนื่องจากเหตุอื่น ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการอื่นใดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบและลูกค้า ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,679
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 23/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ประกันชีวิตและการตั้งตัวแทนสนับสนุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 23/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืน หน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ประกันชีวิต และการตั้งตัวแทนสนับสนุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “หน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ขายควบคู่ไปกับการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตในรูปแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด “กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน” (Unit-linked Life Insurance) หมายความว่า กรมธรรม์ที่บริษัทประกันชีวิตออกให้ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันชีวิตได้มีการทําสัญญาประกันชีวิตและสัญญาการลงทุนในหน่วยลงทุน โดยมีข้อตกลงว่าผู้เอาประกันภัยจะชําระเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตให้แก่บริษัทประกันชีวิตสําหรับการให้ความคุ้มครองต่อการมรณะหรือการจ่ายเงินเมื่อมีการทรงชีพ และผู้เอาประกันภัยจะชําระเงินค่าหน่วยลงทุนเพื่อการลงทุนในกองทุนรวมโดยผ่านบริษัทประกันชีวิตในฐานะตัวแทนสนับสนุน “บริษัทประกันชีวิต” หมายความว่า บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ “ขาย” ให้หมายความรวมถึง การเสนอขายด้วย “ตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิต” หมายความว่า ตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต “ตัวแทนสนับสนุนช่วง” หมายความว่า บุคคลซึ่งตัวแทนสนับสนุนตั้งให้เป็นตัวแทนช่วงในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ “ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้สนใจจะลงทุนในหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ หรือผู้ถือหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ แล้วแต่กรณี “คําแนะนําเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลนั้น “การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การบริการธุรกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (automatic teller machine) บริการธนาคารทางโทรศัพท์ (telebanking) อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ และการขออนุญาตและการอนุญาตให้ตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนสนับสนุนหรือจัดให้มีตัวแทนสนับสนุนช่วง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการทําการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ด้วยตนเอง นอกจากบริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้ว บริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องให้พนักงานที่ได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากกรมการประกันภัยให้เป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องกํากับดูแลให้พนักงานดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ข้อ ๕ ในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ บริษัทจัดการอาจตั้งตัวแทนสนับสนุนโดยได้รับอนุญาตจากสํานักงานก็ได้ ทั้งนี้ บุคคลที่บริษัทจัดการจะขออนุญาตจากสํานักงานเพื่อตั้งให้เป็นตัวแทนสนับสนุน ต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากกรมการประกันภัยให้เป็นผู้ออกและเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (2) ไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการอนุญาตให้บริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนสนับสนุน (3) ไม่เคยถูกสํานักงานสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้บริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนสนับสนุนในช่วงระยะเวลาสามปีย้อนหลัง ข้อ ๖ ตัวแทนสนับสนุนอาจตั้งตัวแทนสนับสนุนช่วงในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ตัวแทนสนับสนุนของตนตั้งตัวแทนสนับสนุนช่วงได้ (2) บริษัทจัดการตาม (1) ให้ความยินยอมในการตั้งตัวแทนสนับสนุนช่วง (3) บุคคลที่ตัวแทนสนับสนุนตั้งให้เป็นตัวแทนสนับสนุนช่วงจะต้องเป็นตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิตที่ได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากกรมการประกันภัยให้เป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน และไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนตามที่กําหนดไว้ใน (2) และ (3) ~~และ (4)~~ของข้อ 5 โดยอนุโลม ข้อ ๗ ในการตั้งตัวแทนสนับสนุนตามข้อ 5 บริษัทจัดการต้องทําสัญญาตั้งตัวแทนสนับสนุนเป็นหนังสือ โดยกําหนดสิทธิและหน้าที่ของบริษัทจัดการและตัวแทนสนับสนุนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ และต้องมีข้อสัญญาที่กําหนดให้ตัวแทนสนับสนุนต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ การจัดให้มีตัวแทนสนับสนุนช่วงตามข้อ 6 บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ตัวแทนสนับสนุนปฏิบัติให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม บริษัทจัดการต้องกํากับดูแลให้ตัวแทนสนับสนุนและตัวแทนสนับสนุนช่วงปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ หมวด ๑ การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ ข้อ ๘ ในการทําหน้าที่เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ ตัวแทนสนับสนุนต้องให้พนักงานที่ได้รับความเห็นชอบหรือขึ้นทะเบียนจากกรมการประกันภัยให้เป็นผู้ขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุนช่วง เป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ดังกล่าว ข้อ ๙ ในการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ ให้บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุน และตัวแทนสนับสนุนช่วง เปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ให้ผู้ลงทุนทราบ เว้นแต่ผู้ลงทุนแสดงเจตนาว่าต้องการจบการสนทนา (1) ชื่อผู้ติดต่อ และชื่อของบริษัทจัดการหรือตัวแทนสนับสนุน (แล้วแต่กรณี) ที่ตนสังกัด พร้อมทั้งแสดงบัตรประจําตัวที่กรมการประกันภัยเป็นผู้ออก (2) วัตถุประสงค์ในการติดต่อ (3) สิทธิของผู้ลงทุนที่จะแสดงเจตนาว่าไม่ต้องการรับการติดต่อ (4) สิทธิของผู้ลงทุนที่จะยกเลิกการซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ภายในระยะเวลาและตามวิธีการที่กําหนดตามข้อ 16 ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุน และตัวแทนสนับสนุนช่วง เร่งรัดให้ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ และหากผู้ลงทุนได้แสดงเจตนาว่าไม่ต้องการซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์หรือต้องการจบการสนทนา ให้หยุดการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ทันที ข้อ ๑๑ ให้บริษัทจัดการ และตัวแทนสนับสนุน จัดให้มีบัญชีรายชื่อของผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการรับการติดต่อจากตน ห้ามมิให้บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุน และตัวแทนสนับสนุนช่วง ติดต่อกับผู้ลงทุนนั้นเพื่อขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์อีกเป็นเวลาสองปีนับแต่วันที่ผู้ลงทุนปฏิเสธที่จะรับการติดต่อ เว้นแต่ผู้ลงทุนดังกล่าวได้ติดต่อเพื่อซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์เอง ข้อ ๑๒ บริษัทจัดการและตัวแทนสนับสนุนต้องจัดให้มีคู่มือผู้ลงทุนหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ และให้พนักงานของบุคคลดังกล่าวและตัวแทนสนับสนุนช่วงที่ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ แจกจ่ายคู่มือผู้ลงทุนหรือเอกสารอื่นใดดังกล่าว ทั้งนี้ คู่มือผู้ลงทุนหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ต้องมีรายการข้อมูลตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๑๓ ในการให้คําแนะนําเพื่อขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุน และตัวแทนสนับสนุนช่วง ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในการให้คําแนะนําดังต่อไปนี้ (1) ให้คําแนะนําด้วยความสุจริต เป็นธรรม รวมทั้งใช้ความระมัดระวังเอาใจใส่ในการให้คําแนะนํา โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) ให้คําแนะนําตามหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับ โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนรวมและมีเอกสารหลักฐานที่สามารถนํามาใช้อ้างอิงได้ (3) ให้คําแนะนําโดยอธิบายให้ผู้ลงทุนทราบถึงลักษณะและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ที่ให้คําแนะนํานั้น (4) เปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบถึงข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุนหรือต่อการตัดสินใจลงทุน (5) เปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น ค่าธรรมเนียมหรือผลตอบแทนที่ตัวแทนสนับสนุนหรือตัวแทนสนับสนุนช่วง อาจได้รับจากการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์นั้น (6) ไม่ให้คําแนะนําซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือละเว้นการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การรับประกันผลตอบแทนในกองทุนรวมที่มิได้มีลักษณะการประกันไว้เช่นนั้น เป็นต้น หรือให้คําแนะนําโดยมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่น (7) ไม่ให้คําแนะนําในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ผู้ลงทุนซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์บ่อยครั้งหรือเกินสมควร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะได้รับค่าธรรมเนียมหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดจากการให้บริการการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ดังกล่าว (8) ไม่นําข้อมูลของผู้ลงทุนไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่น ข้อ ๑๔ ในการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ ให้บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุน และตัวแทนสนับสนุนช่วง เปิดเผยคําเตือนให้ผู้ลงทุนทราบ ดังต่อไปนี้ (1) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ว่า “การลงทุนในหน่วยลงทุนตามรูปแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้เอาประกันภัยอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินที่ได้ลงทุนไป” (2) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหน่วยลงทุน (3) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม (4) คําเตือนเกี่ยวกับสถานะของกองทุนรวมว่ากองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทประกันชีวิตและบริษัทจัดการ และผลการดําเนินงานของกองทุนรวมซึ่งออกหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์แยกต่างหากจากฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทจัดการ (5) คําเตือนในกรณีการให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงว่า ในกรณีที่ผู้ลงทุนปฏิเสธการให้ข้อมูลส่วนตัว หรือให้ข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นปัจจุบันหรือไม่ครบถ้วน ผู้ลงทุนอาจได้รับคําแนะนําที่ไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของผู้ลงทุน เนื่องจากคําแนะนําที่ให้นั้นได้พิจารณาจากข้อมูลเพียงเท่าที่ผู้ลงทุนเปิดเผยให้ทราบ ข้อ ๑๕ ในการเสนอขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุน และตัวแทนสนับสนุน~~ช่วง~~ช่วง ต้องให้คําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน และให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ทําความรู้จักกับผู้ลงทุน (know your customer) โดยจะต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของผู้ลงทุน และจัดให้มีบันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ลงทุน (customer’s profile) แต่ละรายที่เปิดบัญชีเพื่อซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์กับบริษัทจัดการ และปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ให้คําแนะนําที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน (suitability) โดยประเมินจากปัจจัยต่าง ๆ ของผู้ลงทุน เช่น วัตถุประสงค์ในการลงทุน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน ภาระทางการเงิน ความต้องการและข้อจํากัดในการลงทุน ในกรณีที่ผู้ลงทุนประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการลงทุนในหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ได้ตกลงกันไว้ บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุน และตัวแทนสนับสนุนช่วงต้องดําเนินการปรับปรุงบันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ลงทุน (customer’s profile) ตาม (1) ให้เป็นปัจจุบัน และให้คําแนะนําที่เหมาะสมแก่ผู้ลงทุนตาม (2) ด้วย ข้อ ๑๖ ในการซื้อหน่วยลงทุนตามกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนเป็นครั้งแรกสําหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนแต่ละกรมธรรม์ บริษัทจัดการต้องให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนที่จะยกเลิกการซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าว ภายในเวลาสองวันทําการนับแต่วันที่จองซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุนหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ข้อ ๑๗ ห้ามมิให้ตัวแทนสนับสนุน และตัวแทนสนับสนุนช่วง เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวกับหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์จากผู้ลงทุนนอกเหนือจากที่ผู้ลงทุนมีหน้าที่ต้องชําระตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนหรือตามที่กําหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเรียกเก็บค่าบริการอื่นใดที่ตัวแทนสนับสนุนอาจเรียกได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต ข้อ ๑๘ ให้ตัวแทนสนับสนุนและตัวแทนสนับสนุนช่วงขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ตามกําหนดระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนและในกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน และในการขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ ให้ตัวแทนสนับสนุนและตัวแทนสนับสนุนช่วงจัดส่งหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ พร้อมใบจองซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์หรือใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ ให้แก่ผู้ลงทุน ข้อ ๑๙ บริษัทจัดการต้องกําหนดให้ตัวแทนสนับสนุนหรือตัวแทนสนับสนุนช่วงนําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ของผู้ลงทุนให้บริษัทจัดการ โดยให้เป็นไปตามระยะเวลา ดังต่อไป (1) ในกรณีที่หน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์อยู่ระหว่างการขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ให้นําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ภายในสามวันทําการนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาจองซื้อ (2) ในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1) ให้นําส่งเงินค่าสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ระบุในใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์นั้น ข้อ ๒๐ ในการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ ให้ตัวแทนสนับสนุนหรือตัวแทนสนับสนุนช่วงชําระเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ เว้นแต่กรณีที่มีการเลื่อนกําหนดการชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ตามข้อ 28 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ข้อ ๒๑ ในกรณีตัวแทนสนับสนุนได้จัดให้มีบริการการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนผ่านการบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยอนุโลม ข้อ ๒๒ ตัวแทนสนับสนุนและตัวแทนสนับสนุนช่วงต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีความระมัดระวังเอาใจใส่ในการทํางาน โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) ปฏิบัติตามและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒๓ ให้ตัวแทนสนับสนุนจัดทําคู่มือเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์สําหรับพนักงานหรือตัวแทนสนับสนุนช่วงที่ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ หมวด ๒ การดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนและการกํากับดูแลการตั้ง ตัวแทนสนับสนุนหรือจัดให้มีตัวแทนสนับสนุนช่วง ข้อ ๒๔ ให้ตัวแทนสนับสนุนดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนดังต่อไปนี้ (1) รับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนสนับสนุน พนักงานของตัวแทนสนับสนุน หรือตัวแทนสนับสนุนช่วง และหากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ให้บันทึกการร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ผู้ลงทุนลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวจะดําเนินการแก้ไขปัญหา (2) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว (3) แจ้งข้อร้องเรียนให้บริษัทจัดการทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน (4) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ให้ตัวแทนสนับสนุนดังกล่าวดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) แจ้งผลการดําเนินการให้ผู้ลงทุนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุติ (ข) แจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้ลงทุนเพื่อให้บริษัทจัดการทราบ หรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของผู้ลงทุนเพื่อให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น (5) สรุปจํานวนข้อร้องเรียนที่สามารถแก้ไขและที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นหมวดหมู่ของข้อร้องเรียน และแจ้งให้กรมการประกันภัยทราบเป็นรายไตรมาสภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาสนั้น (6) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น ข้อ ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุน หรือตัวแทนสนับสนุนช่วง ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการต่อบริษัทจัดการดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้มาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) สั่งให้กระทําหรืองดเว้นการกระทํา (3) ภาคทัณฑ์ (4) สั่งพักการอนุญาตตั้งตัวแทนสนับสนุนหรือตัวแทนสนับสนุนช่วเป็นระยะเวลาที่กําหนด (5) สั่งเพิกถอนการอนุญาตตั้งตัวแทนสนับสนุนหรือตัวแทนสนับสนุนช่วง ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่ดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตาม (1) หรือ (2) สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนตาม (4) หรือ (5) ก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,680
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 30/2543 เรื่อง การทำธุรกรรมและการให้บริการด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 30/2543 เรื่อง การทําธุรกรรมและการให้บริการด้านอนุพันธ์ของ บริษัทหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98 (3) (4) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2541 เรื่อง การทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 6 และข้อ 15 “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน “สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จดทะเบียนและตั้งอยู่ในต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการด้านอนุพันธ์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น “อนุพันธ์” หมายความว่า สัญญาที่มีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตามมูลค่าของสินค้าอ้างอิงหรือระดับตัวเลขของตัวแปรอ้างอิง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิง “สินค้าอ้างอิง” หมายความว่า หลักทรัพย์ เงินตราสกุลใด ๆ หรือสินทรัพย์ทางการเงินอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด “ตัวแปรอ้างอิง” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ย ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ ดัชนีทางการเงิน หรือตัวแปรทางการเงินอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด “ซื้อขายอนุพันธ์” หมายความว่า เข้าผูกพันตามอนุพันธ์ “ฐานะอนุพันธ์” หมายความว่า ภาระหรือสิทธิอันเนื่องมาจากการซื้อขายอนุพันธ์ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ให้สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์เพื่อตนเองได้ตามมาตรา 98 (4) หมวด ๑ การทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ความในหมวดนี้ไม่ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ข้อ ๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์เพื่อตนเองกับสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่บริษัทหลักทรัพย์มีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้ได้ บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ไม่ว่าประเภทใด ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์จะซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์เพื่อตนเองนอกจากกรณีตามข้อ 6 ได้เฉพาะกับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนตามประเภทที่กําหนดในข้อ 11 และเป็นอนุพันธ์ที่มีสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงตามที่กําหนดในข้อ 12 และต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ข้อ ๘ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขออนุญาตซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์ตามข้อ 7 ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบและหลักฐานที่สํานักงานกําหนด บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับอนุญาตให้ซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์ได้ต่อเมื่อแสดงได้ถึงคุณลักษณะในเรื่องต่อไปนี้ (1) บุคลากรที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจในการทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์เพื่อบริษัทหรือการบริหารความเสี่ยงจากการดําเนินกิจการของบริษัทมีจํานวนที่เพียงพอ และเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจหรือประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์เพียงพอกับงานที่รับผิดชอบ (2) นโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยงจากการดําเนินกิจการ การจัดการด้านการปฏิบัติการ และระบบการควบคุมภายในของบริษัท มีประสิทธิภาพ มีระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนอย่างน้อยในเรื่อง (ก) การมีระบบรองรับการคํานวณความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรฐานที่สํานักงานกําหนดหรือมาตรฐานอื่นที่สูงกว่าตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (ข) การจํากัดฐานะอนุพันธ์ (position limit) ที่บริษัทจะมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อพิจารณาจาก 1. ฐานะอนุพันธ์โดยรวม 2. ฐานะอนุพันธ์ส่วนที่บริษัทไม่มีการป้องกันความเสี่ยง 3. ฐานะอนุพันธ์ต่อสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงประเภทใดประเภทหนึ่ง 4. ฐานะอนุพันธ์ต่อคู่สัญญารายใดรายหนึ่ง 5. ฐานะอนุพันธ์ที่มีผลขาดทุน (ก) หน่วยงานตรวจสอบภายใน (internal audit) ที่ทําหน้าที่ตรวจสอบการดําเนินกิจการของบริษัทอย่างสม่ําเสมอ (ข) หน่วยงานดูแลการปฏิบัติงาน (compliance unit) ซึ่งต้องเป็นอิสระและทําหน้าที่อย่างสม่ําเสมอ (ค) ระบบที่เหมาะสมและเชื่อถือได้ในการบันทึกข้อมูลและการรายงานข้อมูลต่อผู้บริหารตามลําดับชั้น ข้อ ๙ ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทหลักทรัพย์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วน ข้อ ๑๐ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ต้องดํารงคุณลักษณะไม่ให้ต่ํากว่าที่ได้แสดงไว้ต่อสํานักงานตลอดเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์มีการซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์ ข้อ ๑๑ คู่สัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์จะซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์ตามข้อ 7ต้องเป็นผู้ลงทุนตามประเภทต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9) (7) ธนาคารแห่งประเทศไทย (8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (13) กองทุนรวม (14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (15) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15) โดยอนุโลม (17) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (16) ซึ่งลงทุนในอนุพันธ์โดยมีมูลค่าที่ใช้อ้างอิง (notional amount) ตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์พิจารณาแล้วว่าผู้ลงทุนได้ลงทุนในอนุพันธ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันความเสี่ยงสําหรับสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระที่มีอยู่หรือกําลังจะมีในอนาคตอันใกล้ หรือเพื่อเป็นการปรับโครงสร้างผลตอบแทนการลงทุนในตราสารทางการเงินที่ผู้ลงทุนมีอยู่หรือกําลังจะลงทุน ข้อ ๑๒ อนุพันธ์ที่บริษัทหลักทรัพย์จะซื้อขายหรือมีฐานะอนุพันธ์ตามข้อ 7 ต้องเป็นอนุพันธ์ที่มีสินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงเป็น (1) หลักทรัพย์ (2) ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (3) อัตราดอกเบี้ย (4) เงินตราสกุลใด ๆ (5) สินค้าอ้างอิงหรือตัวแปรอ้างอิงอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๑๓ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์จะให้คําแนะนําแก่คู่สัญญาเพื่อการซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์เพื่อตนเอง ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงคู่สัญญา หรืออันอาจก่อให้คู่สัญญาสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับอนุพันธ์ ข้อ ๑๔ บริษัทหลักทรัพย์ใดซื้อขายอนุพันธ์หรือมีฐานะอนุพันธ์โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในหมวดนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้น (1) หยุดการซื้อขายอนุพันธ์เป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานเห็นสมควรหรือจนกว่าบริษัทหลักทรัพย์จะดําเนินการแก้ไขหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวดนี้ (2) กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอื่นใดที่จําเป็นเพื่อให้การดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวดนี้ หมวด ๒ การให้บริการด้านอนุพันธ์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๕ บริษัทหลักทรัพย์ในหมวดนี้ให้หมายความรวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ข้อ ๑๖ บริษัทหลักทรัพย์สามารถให้คําแนะนําแก่ลูกค้าเกี่ยวกับการซื้อขายอนุพันธ์ คุณค่าของอนุพันธ์ หรือความเหมาะสมในการซื้อขายอนุพันธ์ หรือเป็นนายหน้าหาคู่สัญญาซื้อขายอนุพันธ์ในลักษณะที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่มีภาระรับผิดชอบอย่างอื่น หรือให้บริการอื่นที่จําเป็นอันเกี่ยวกับหรือเนื่องจากบริการดังกล่าวได้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่จะให้บริการด้านอนุพันธ์ตามวรรคหนึ่ง แจ้งให้สํานักงานทราบถึงการให้บริการด้านอนุพันธ์ที่ประสงค์จะดําเนินการล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันทําการก่อนวันเปิดให้บริการด้านอนุพันธ์ดังกล่าว ข้อ ๑๗ การให้บริการด้านอนุพันธ์ตามข้อ 16 ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนตามประเภทที่กําหนดในข้อ 11 ข้อ ๑๘ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้า หรืออันอาจก่อให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับอนุพันธ์ ข้อ ๑๙ ในการให้บริการด้านอนุพันธ์ตามข้อ 16 บริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในหมวดนี้ที่พิจารณาได้ว่าบริษัทหลักทรัพย์นั้นไม่เหมาะสมที่จะให้บริการด้านอนุพันธ์ต่อไป ให้สํานักงานมีอํานาจสั่ง (1) ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นระงับการให้บริการด้านอนุพันธ์เป็นระยะเวลาตามที่สํานักงานเห็นสมควรหรือจนกว่าบริษัทจะดําเนินการแก้ไขหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวดนี้ (2) ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอื่นใดที่จําเป็นเพื่อให้การดําเนินงานของบริษัทเป็นไปตามข้อกําหนดในหมวดนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,681
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 31/2546 เรื่อง ข้อกำหนดตามบทบัญญัติว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการสำหรับผู้ถือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2546 เรื่อง ข้อกําหนดตามบทบัญญัติว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์ เพื่อครอบงํากิจการสําหรับผู้ถือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย โดยที่ปัจจุบันบริษัทสามารถออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยมีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งผู้ถือใบแสดงสิทธิดังกล่าวสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินในลักษณะเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และมีการไถ่ถอนใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนได้ นอกจากนี้ บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิยังสามารถกําหนดความผูกพันที่ยินยอมให้ผู้ถือใบแสดงสิทธิสามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในบริษัทจดทะเบียนโดยผ่านบริษัทผู้ออกใบแสดงสิทธิได้ด้วย จึงทําให้พิจารณาได้ว่าผู้ถือใบแสดงสิทธิที่มีลักษณะดังกล่าวมีสิทธิในทํานองเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และใบแสดงสิทธิที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ที่มีคุณลักษณะของการแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นอยู่ตลอดเวลาโดยไม่จําต้องมีการเวนคืนใบแสดงสิทธิ การใช้สิทธิผ่านใบแสดงสิทธิที่มีลักษณะเช่นนี้จึงสามารถก่อให้เกิดอํานาจครอบงําบริษัทจดทะเบียนได้ในทางอ้อม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 246 มาตรา 247 มาตรา 248 และมาตรา 256 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงกําหนดให้ผู้ถือใบแสดงสิทธิที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และข้อกําหนดสิทธิของใบแสดงสิทธดังกล่าวยินยอมให้ผู้ถือใบแสดงสิทธิสามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในบริษัทจดทะเบียนผ่านบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิได้ เป็นบุคคลที่อยู่ในบังคับต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการเช่นเดียวกับบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงของบริษัทจดทะเบียนนั้น ภายใต้ข้อกําหนดดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) “ใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียน” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ซึ่งออกและเสนอขายภายใต้ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีหลักทรัพย์รองรับเป็นหุ้นที่ออกโดยกิจการ และ (ข) มีข้อกําหนดสิทธิที่ยินยอมให้ผู้ถือใบแสดงสิทธิสามารถใช้สิทธิออกเสียง ลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการผ่านบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิอย่างมีข้อจํากัดหรือไม่มีข้อจํากัด (3) “บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิ” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (4) “ประกาศว่าด้วยการรายงาน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 58/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 (5) “ประกาศว่าด้วยการทําคําเสนอซื้อ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (6) “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการแต่งตั้งและอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (7) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกําหนดตามประกาศนี้ ประกาศว่าด้วยการรายงาน หรือประกาศว่าด้วยการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้สํานักงานเป็นผู้มีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาด เว้นแต่เป็นกรณีปัญหาเกี่ยวกับราคาในการเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้คณะอนุกรรมการเป็นผู้มีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้ การวินิจฉัยชี้ขาดให้กระทําโดยคํานึงถึงหลักความสอดคล้องของการใช้บังคับ และความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง หมวด ๑ ข้อกําหนดสําหรับผู้ถือใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียน ข้อ ๔ นอกจากที่ได้กําหนดไว้เพิ่มเติมในประกาศนี้ ให้บุคคลที่ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ประกาศว่าด้วยการรายงาน และประกาศว่าด้วยการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ เช่นเดียวกับ บุคคลที่มีการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งหุ้นของกิจการ โดยให้นับรวมการถือใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนเข้ากับการถือหุ้นของกิจการ หากบุคคลที่มีหน้าที่ต้องคําทําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศว่าด้วยการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ มีการได้มาซึ่งใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนด้วย การทําคําเสนอซื้อของบุคคลดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับข้อกําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๕ การคํานวณอัตราร้อยละสําหรับบุคคลที่มีการถือครองใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนและหุ้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาหน้าที่ในการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายไปตามมาตรา 246 และประกาศว่าด้วยการรายงาน ให้คํานวณดังนี้ (จํานวนหุ้น + จํานวนใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียน) X 100 จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ (2) การคํานวณเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาหน้าที่ในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามมาตรา 247 และประกาศว่าด้วยการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้คํานวณดังนี้ (ก) เมื่อคํานวณตามจํานวนหุ้น (ทุกประเภท) (จํานวนหุ้น + จํานวนใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียน) X 100 จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ – หุ้นที่กิจการซื้อคืนและยังคงค้างอยู่ ณ วันสิ้นเดือนของเดือนก่อนเดือนที่มีการได้มา (ข) เมื่อคํานวณตามจํานวนหุ้นสามัญ (เฉพาะกรณีที่กิจการมีการออกหุ้นบุริมสิทธิที่มีสิทธิออกเสียงน้อยกว่าหนึ่งเสียงต่อหนึ่งหุ้น) (จํานวนหุ้นสามัญ + จํานวนใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียน (หุ้นสามัญ)) X 100 จํานวนหุ้นสามัญที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ – หุ้นสามัญที่กิจการซื้อคืนและยังคงค้างอยู่ ณ วันสิ้นเดือนของเดือนก่อนเดือนที่มีการได้มา (ค) เมื่อคํานวณตามสิทธิออกเสียง (จํานวนสิทธิออกเสียงจากการถือหุ้น + จํานวนสิทธิออกเสียงผ่านการถือใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียน) X 100 จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ - สิทธิออกเสียงของหุ้นที่กิจการซื้อคืนและยังคงค้างอยู่ ณ วันสิ้นเดือนของเดือนก่อนเดือนที่มีการได้มา ข้อ ๖ เมื่อบุคคลใดมีหน้าที่ต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการตามประกาศว่าด้วยการรายงาน หรือมีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศว่าด้วยการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หากบุคคลดังกล่าวมีการถือใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนอยู่ด้วย ให้บุคคลดังกล่าวแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการถือครองใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนไว้เป็นรายการต่อจากหุ้นของกิจการ ข้อ ๗ เมื่อบุคคลใดมีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศว่าด้วยการทําคําเสนอซื้อ บุคคลดังกล่าวจะไม่เสนอซื้อใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนก็ได้แต่หากมีการเสนอซื้อ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องปฏิบัติต่อผู้ถือใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ข้อ ๘ เมื่อบุคคลใดมีหน้าที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศว่าด้วยการทําคําเสนอซื้อ หากบุคคลดังกล่าวมีการได้มาซึ่งใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ให้ถือว่าราคาสูงสุดที่ได้มาซึ่งใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาได้มาซึ่งหุ้นประเภทเดียวกับที่เป็นหลักทรัพย์รองรับการออกใบแสดงสิทธิในหุ้นจดทะเบียนนั้น และเป็นราคาที่ต้องใช้ประกอบการกําหนดราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทนั้นด้วย หมวด ๒ ข้อกําหนดสําหรับบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิ ข้อ ๙ บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิอาจยื่นคําขอผ่อนผันไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการได้ หากแสดงต่อสํานักงานได้ว่า บริษัทถือหุ้นของกิจการโดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้อํานาจควบคุมกิจการ เช่น ตามข้อผูกพันที่บริษัทได้ให้ไว้กับผู้ถือใบแสดงสิทธิ หากไม่มีการแสดงเจตนาใช้สิทธิจากผู้ถือใบแสดงสิทธิดังกล่าว บริษัทไม่มีอํานาจใช้ดุลพินิจโดยลําพังในการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ เว้นแต่เป็นการออกเสียงลงคะแนนในการพิจารณาวาระที่กิจการประสงค์จะขอเพิกถอนหุ้นของกิจการจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น ในกรณีที่สํานักงานเห็นควรพิจารณาให้การผ่อนผัน คําผ่อนผันนั้นให้มีผลเฉพาะการถือหุ้นของกิจการในจํานวนเพื่อรองรับภาระผูกพันตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่จําหน่ายได้แล้วและยังไม่ได้ไถ่ถอนเท่านั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานในภายหลังว่า บริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิรายใด มีพฤติกรรมการใช้อํานาจควบคุมกิจการซึ่งขัดต่อการผ่อนผันที่ได้รับ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนการผ่อนผันที่ได้ให้ไว้แล้ว โดยให้มีผลนับแต่เวลาที่พบพฤติกรรมที่ขัดต่อการผ่อนผันดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,682
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 33/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการผ่อนผันให้กองทุนรวมกู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพัน ดูเอกสาร MS Word File
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 33/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการผ่อนผันให้กองทุนรวม กู้ยืมเงินหรือก่อภาระผูกพัน โดยที่กองทุนเปิดซึ่งเป็นกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน จําเป็นต้องมีสภาพคล่องอย่างเพียงพอเพื่อรองรับการขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ลงทุน ซึ่งในบางช่วงเวลาบริษัทจัดการไม่สามารถจําหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของกองทุนเปิดได้อย่างสมเหตุสมผลหรือในทันที ดังนั้น เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถบริหารสภาพคล่องของกองทุนเปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยอยู่ภายใต้ขอบเขตอันสมควรที่จะไม่ทําให้เกิดความเสี่ยงต่อกองทุนเปิดมากเกินไป อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 126 (5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (repurchase agreement)” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะซื้อคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันที่จัดตั้งขึ้นหรือสามารถประกอบธุรกิจได้ตามกฎหมายไทย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถทําธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (7) (7) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (8) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (9) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (10) กองทุนส่วนบุคคล (11) กองทุนรวม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุนเปิด บริษัทจัดการอาจกู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามกองทุนเปิดได้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) กู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนได้เฉพาะเพื่อบริหารสภาพคล่องของกองทุนเปิด (2) เงินที่ได้จากการกู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนต้องนํามาชําระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นค่าขายคืนหน่วยลงทุน (3) จํานวนเงินกู้ยืมเมื่อรวมธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ต้องไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเปิด เว้นแต่ในกรณีจําเป็นและสมควรเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหน่วยลงทุนอันเนื่องมาจากปัญหาความผันผวน (fluctuation) ของตลาดเงินและตลาดทุนในวงกว้าง สํานักงานอาจผ่อนผันอัตราดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนเปิด (4) คู่สัญญาในการกู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนต้องเป็นผู้ลงทุนสถาบัน และไม่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนเปิดนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นกองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนรวมนั้นจะต้องไม่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการนั้นเอง (5) จัดทํารายงานพร้อมระบุสาเหตุของการกู้ยืมเงินหรือการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน และส่งให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนเปิดนั้นภายในสามวันทําการนับแต่วันทําสัญญากู้ยืมเงินหรือทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ข้อ ๓ การกู้ยืมเงินตามข้อ 2 บริษัทจัดการอาจทําคําขอวงเงินสินเชื่อไว้ล่วงหน้า(credit line) ก็ได้ แต่การกู้ยืมเงินแต่ละครั้งต้องมีระยะเวลาตามสัญญากู้ยืมเงินแต่ละสัญญาไม่เกินเก้าสิบวัน ข้อ ๔ การทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนในนามกองทุนเปิดตามข้อ 2 ต้องใช้สัญญามาตรฐานตามที่กําหนดโดยศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย หรือบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จํากัด แล้วแต่กรณี หรือใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ และต้องมีอายุสัญญาไม่เกินเก้าสิบวัน ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งรายงานการกู้ยืมเงินหรือการทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,683
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 34/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุนสำหรับกองทุนรวมวายุภักษ์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 34/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุนสําหรับกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ เพื่อปฏิรูปแนวทางการลงทุนของกระทรวงการคลังให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การออม และการลงทุนของประเทศ และเพื่อเพิ่มทางเลือกของประชาชนผู้ออมเงินในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ํา รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ จึงต้องกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุนสําหรับกองทุนรวมวายุภักษ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว ดังนั้น คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศ ที่ สน. 49/2544 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่บริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ “ประกาศ ที่ สน. 49/2544” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 “กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศ ที่ กน. 3/2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์โดยบริษัทจัดการหรือตัวแทนสนับสนุน พนักงานของบริษัทจัดการหรือพนักงานของตัวแทนสนับสนุนซึ่งทําหน้าที่ดังกล่าวจะเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศ ที่ สน. 49/2544 หรือไม่ก็ได้ ให้บริษัทจัดการ ตัวแทนสนับสนุน และพนักงานของบุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามประกาศ ที่ กน. 3/2544 ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการและตัวแทนสนับสนุนดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีพนักงานหรือระบบสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนเกี่ยวกับกองทุนรวมวายุภักษ์ และความเสี่ยงของการลงทุนในกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้ลงทุนได้ทราบถึงวิธีการเพื่อขอรับข้อมูลดังกล่าวด้วย (2) กํากับดูแลให้พนักงานของตนที่ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้ข้อมูลตาม (1) แก่ผู้ลงทุนอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง และกํากับดูแลให้พนักงานดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 3/2544 ข้อ ๔ ในกรณีที่ตัวแทนสนับสนุนไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือข้อ 3 ให้สํานักงาน มีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กําหนด (3) เพิกถอนการเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ ในกรณีที่ตัวแทนสนับสนุนฝ่าฝืนคําสั่งของสํานักงานตาม (2) สํานักงานอาจสั่งตาม (3) ได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,684
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 31/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ มีสำนักงานสาขา
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 31/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาต ให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ “สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ” หมายความว่า สํานักงานสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ที่สามารถให้บริการได้ตามขอบเขตการให้บริการที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับอนุญาต “สํานักงานสาขาออนไลน์” หมายความว่า สํานักงานสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และจํากัดการให้บริการเฉพาะกิจการที่กําหนดไว้ในข้อ 6 “สํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์” หมายความว่า สํานักงานสาขาของบริษัทหลักทรัพย์ที่จํากัดการให้บริการเฉพาะกิจการที่กําหนดไว้ในข้อ 12 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ สํานักงานสาขาออนไลน์ อํานาจสั่งการของสํานักงานและการแจ้งวันปิดทําการของสํานักงานสาขา ส่วน ๑ สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบและสํานักงานสาขาออนไลน์ ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะมีสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว หากในวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการบริษัทหลักทรัพย์มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มิได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนด้วย (2) สามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ตามเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (3) ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินฉบับล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบแล้วมีสถานะเป็นบวก ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการเพิ่มทุนภายหลังจากวันที่ในงบการเงินฉบับล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์อาจนําข้อมูลการเพิ่มทุนดังกล่าวมาปรับปรุงส่วนของผู้ถือหุ้นได้ (4) ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่มีประวัติการกระทําความผิดดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดแต่ไม่เกินห้าปีย้อนหลังก่อนวันที่จะ เริ่มเปิดดําเนินการ (5) ไม่อยู่ระหว่างถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งห้ามขยายหรือระงับการประกอบธุรกิจหรืออยู่ระหว่างแก้ไขการดําเนินการตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งการตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (6) ในช่วงระยะเวลาสิบสองเดือนย้อนหลังก่อนวันที่จะเริ่มเปิดดําเนินการ ไม่ปรากฏว่ามีความผิดในลักษณะที่เป็นการจงใจอําพรางฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทหลักทรัพย์ (7) สํานักงานไม่ได้มีคําสั่งห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขาเพิ่มเติม อันเนื่องมาจากบริษัทหลักทรัพย์มีความบกพร่องของระบบงานในลักษณะที่ร้ายแรง ในกรณีดังต่อไปนี้สํานักงานจะพิจารณาว่าเป็นความบกพร่องของระบบงาน ในลักษณะที่ร้ายแรงตามวรรคหนึ่ง (ก) นําทรัพย์สินหรือบัญชีของลูกค้ารายหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของลูกค้า อีกรายหนึ่ง หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น หรือของบริษัทหลักทรัพย์ โดยไม่มีเหตุอันสมควร (ข) ไม่มีการแยกหน้าที่ความรับผิดชอบโดยชัดเจนระหว่างหน่วยงานให้บริการด้านหลักทรัพย์ (front office) และหน่วยงานปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ (back office) (ค) กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอื่นใดในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิด ความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ลูกค้า ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ขาดคุณลักษณะตาม (4) หรือ (6) บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อแสดงต่อสํานักงานได้ว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการให้ผู้บริหารหรือพนักงานที่รับผิดชอบต่อการกระทําที่เป็นเหตุให้บริษัทหลักทรัพย์ขาดคุณลักษณะดังกล่าวออกจากบริษัทแล้ว ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบมีหน่วยงานและบุคลากร ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยงานให้บริการด้านหลักทรัพย์ (2) หน่วยงานปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์อาจจัดให้สํานักงานสาขาเต็มรูปแบบใช้หน่วยงานปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ร่วมกับสํานักงานใหญ่ หรือสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่นก็ได้ (3) ผู้จัดการซึ่งมีคุณลักษณะตามข้อ 4(4) โดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการหรือผู้จัดการขาดคุณลักษณะตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ ต้องดําเนินการแต่งตั้งผู้จัดการรายใหม่ภายในหนึ่งเดือนเว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวบริษัทหลักทรัพย์อาจให้เจ้าหน้าที่ของสํานักงานใหญ่หรือผู้จัดการสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบแห่งอื่นเป็นผู้จัดการสํานักงานสาขาแห่งนั้นก็ได้ ข้อ ๖ ให้สํานักงานสาขาออนไลน์ทําหน้าที่ได้เฉพาะกิจการต่อไปนี้ (1) จัดให้มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ลูกค้าส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยตนเอง (2) รับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อส่งให้สํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบพิจารณาอนุมัติ (3) รับหรือส่งมอบเงินหรือหลักทรัพย์โดยทางอิเล็กทรอนิกส์ (4) ดําเนินการอื่นใดที่จําเป็นหรือเกี่ยวเนื่องตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ในการให้บริการตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้สํานักงานสาขาออนไลน์ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้า ทั้งนี้ ต้องมีข้อความแสดงไว้โดยชัดแจ้งว่าไม่ได้รับอนุญาตให้ทําการให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้าด้วย ข้อ ๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบการดําเนินงานสํานักงานสาขาออนไลน์ ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบดังกล่าวอาจเป็นเจ้าหน้าที่สํานักงานใหญ่หรือผู้จัดการสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือผู้จัดการสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์อื่น ข้อ ๘ ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งรายละเอียดการจัดตั้งสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์ตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนดให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการ ข้อ ๙ บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะยกระดับสํานักงานสาขาออนไลน์ให้เป็นสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ ให้ดําเนินการได้หากในวันที่จะเริ่มยกระดับบริษัทหลักทรัพย์มีคุณลักษณะตามข้อ 4 และต้องแจ้งรายละเอียดการยกระดับสํานักงานสาขาตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนดให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนวันที่จะเริ่มยกระดับด้วย ส่วน ๒ อํานาจสั่งการของสํานักงานและการแจ้งวันปิดทําการสํานักงานสาขา ข้อ ๑๐ เมื่อปรากฏหลักฐานต่อสํานักงานว่าสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์แห่งใดของบริษัทหลักทรัพย์ใดมีการดําเนินงานในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า หรือไม่สามารถดํารงคุณลักษณะหรือไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ตลอดระยะเวลาที่มีและเปิดดําเนินการสํานักงานสาขาแห่งนั้น ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไขหรือกระทําการหรืองดเว้นกระทําการเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้มีสํานักงานสาขาแห่งนั้นได้ ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะปิดสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานสาขาออนไลน์แห่งใดไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ให้แจ้งวันปิดทําการต่อสํานักงานและปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทําการของสํานักงานสาขาแห่งนั้นล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควร ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ยังมีหน้าที่ต้องดําเนินการให้ลูกค้าได้รับบริการจากสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขาแห่งอื่นหรืออํานวยความสะดวกให้ลูกค้าได้รับบริการจากบริษัทหลักทรัพย์อื่น หมวด ๒ สํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ ข้อ ๑๒ ให้สํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ทําหน้าที่ได้เฉพาะกิจการต่อไปนี้ (1) รับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อส่งให้สํานักงานใหญ่หรือสํานักงาน สาขาเต็มรูปแบบพิจารณาอนุมัติ (2) รับคําสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ (3) ยืนยันการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ (4) รับชําระเงินสดจากลูกค้าเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการทําธุรกรรมต่าง ๆ จํานวนไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทต่อวันต่อราย (5) รับเช็คค่าซื้อหลักทรัพย์จากลูกค้าหรือส่งมอบเช็คค่าขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า (6) รับหลักทรัพย์จากลูกค้าหรือส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า (7) รับทรัพย์สินจากลูกค้าไว้เป็นหลักประกันหรือส่งคืนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันให้แก่ลูกค้า (8) จัดแสดงความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์และข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้า (9) จัดพิมพ์และจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเรียก รับ หรือจ่ายเงินของลูกค้าได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) เอกสารต้องจัดพิมพ์โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงข้อมูลมาจากระบบคอมพิวเตอร์ของสํานักงานใหญ่ (ข) ผู้ลงนามในเอกสารต้องเป็นพนักงานประจําสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ที่ได้รับมอบอํานาจจากสํานักงานใหญ่ และต้องมิใช่เจ้าหน้าที่การตลาดหรือเจ้าหน้าที่รับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (ค) เอกสารต้องจัดส่งให้แก่ลูกค้าโดยตรงหรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และต้องไม่ดําเนินการผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดหรือเจ้าหน้าที่รับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมีสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้สํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวทําหน้าที่ดังต่อไปนี้ได้เพิ่มเติม (1) แจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จําหน่าย (2) แจกจ่ายหรือรับใบขอซื้อหรือใบจองซื้อหลักทรัพย์ (3) รับชําระเงินค่าซื้อหลักทรัพย์หรือค่าจองซื้อหลักทรัพย์ (4) ยืนยันการซื้อหลักทรัพย์ (5) ส่งมอบหลักทรัพย์ให้ผู้ซื้อ (6) คืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ ข้อ ๑๓ บริษัทหลักทรัพย์ใดประสงค์จะยกระดับสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ ให้เป็นสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบ ให้ดําเนินการได้หากในวันที่จะเริ่มยกระดับบริษัทหลักทรัพย์มีคุณลักษณะตามข้อ 4 และต้องแจ้งรายละเอียดการยกระดับสํานักงานสาขาตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนดให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนวันที่จะเริ่มยกระดับด้วย ข้อ ๑๔ ให้นําความในข้อ 5 ข้อ 10 และข้อ 11 มาใช้บังคับกับสํานักงานบริการด้าน หลักทรัพย์โดยอนุโลม บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๕ ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เนื่องจากการแยกการประกอบธุรกิจ เงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้มีสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ได้ตามจํานวนและภายในเขตพื้นที่ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีและเปิดดําเนินการอยู่ในขณะแยกธุรกิจภายใต้หลักเกณฑ์ต่อไปนี้ (1) ในเวลาที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบการแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน ผู้ยื่นคําขอได้แสดงรายละเอียดไว้ในโครงการการจัดตั้งและการดําเนินงานของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ถึงความประสงค์ที่จะให้บริษัทหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์เพื่อทดแทนสํานักงานสาขาเต็มรูปแบบหรือสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีและเปิดดําเนินการอยู่ในขณะแยกธุรกิจ (2) ให้การอนุญาตมีผลใช้บังคับในวันเดียวกับที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาแห่งที่สํานักงานได้ให้อนุญาตไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แต่บริษัทหลักทรัพย์ยังมิได้เปิดดําเนินการและยังไม่พ้นระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตหรือระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานออกไปอีก ประสงค์จะเปิดดําเนินการสํานักงานสาขาแห่งดังกล่าว ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งรายละเอียดการจัดตั้งสํานักงานสาขาแห่งดังกล่าวตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนดให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มเปิดดําเนินการสํานักงานสาขาดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,685
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น. 36/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ และการตั้งตัวแทนจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น. 36/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมวายุภักษ์ และการตั้งตัวแทนจําหน่าย หน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ เพื่อปฏิรูปแนวทางการลงทุนของกระทรวงการคลังให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การออม และการลงทุนของประเทศ และเพื่อเพิ่มทางเลือกของประชาชนผู้ออมเงินในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ํา รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนของประเทศ จึงต้องกําหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ และการตั้งตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้สอดคล้องกับวิธีการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ ดังนั้น คณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมวายุภักษ์” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 “ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่บริษัทจัดการตั้งให้เป็นผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุน” หมายความว่า บุคคลที่ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตั้งให้เป็นตัวแทนในการจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ “ประกาศ ที่ สน. 49/2544” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 “ประกาศ ที่ กน. 3/2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนต้องดําเนินการตามที่ระบุไว้ในโครงการ ข้อ ๓ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนจะตั้งตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนได้ ต่อเมื่อเป็นการตั้งนิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศ ที่ สน. 49/2544 การตั้งตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อสัญญาที่กําหนดห้ามมิให้ตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนตั้งตัวแทนช่วง และต้องมีข้อสัญญาที่กําหนดให้ตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนต้องดูแลให้ตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวด้วย ข้อ ๔ ในการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ พนักงานของผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและพนักงานของตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนจะเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศ ที่ สน. 49/2544 หรือไม่ก็ได้ ข้อ ๕ ในการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุน และพนักงานของบุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามประกาศ ที่ กน. 3/2544 โดยอนุโลม ข้อ ๖ ให้ผู้จัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีพนักงานหรือระบบสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนเกี่ยวกับกองทุนรวมวายุภักษ์ และความเสี่ยงของการลงทุนในกองทุนรวมวายุภักษ์ โดยต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้ลงทุนได้ทราบถึงวิธีการเพื่อขอรับข้อมูลดังกล่าวด้วย (2) กํากับดูแลให้พนักงานของตนที่ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ให้ข้อมูลตาม (1) แก่ผู้ลงทุนอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง และกํากับดูแลให้พนักงานดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 3/2544 ข้อ ๗ ในกรณีที่ตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กําหนด (3) เพิกถอนการเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ ในกรณีที่ตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนฝ่าฝืนคําสั่งของสํานักงานตาม (2) สํานักงานอาจสั่งตาม (3) ได้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,686
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่กจ. 46/2546 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การระหว่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2546 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การระหว่างประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 64(3) มาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ (2) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้สามารถเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ดังกล่าวในประเทศไทยได้ ข้อ ๓ ก่อนการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง ให้องค์การระหว่างประเทศผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานจํานวนสองชุด โดยแบบแสดงรายการข้อมูลต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8) ทั้งนี้ งบการเงินต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Accounting Standards (IAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) (2) มีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบลักษณะและเงื่อนไขของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ หรือของผู้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้ รวมทั้งโอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ (3) มีลายมือชื่อของผู้มีอํานาจลงนามผูกพันองค์การระหว่างประเทศผู้ออกหลักทรัพย์เพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง จะจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่ในกรณีที่จัดทําเป็นภาษาอังกฤษ ให้องค์การระหว่างประเทศผู้ออกหลักทรัพย์จัดให้มีคําแปลภาษาไทยของเอกสารดังกล่าวที่มีการรับรองความถูกต้องของคําแปล และยื่นต่อสํานักงานพร้อมแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว เว้นแต่การเสนอขายในลักษณะดังต่อไปนี้ องค์การระหว่างประเทศผู้ออกหลักทรัพย์จะไม่จัดทําคําแปลภาษาไทยของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนก็ได้ (1) การเสนอขายที่มีมูลค่าการเสนอขายรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขายให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์ (2) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบรายนอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้องค์การระหว่างประเทศผู้ออกหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนพร้อมทั้งคําแปล (ถ้ามี) ต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน ข้อ ๔ ให้ถือว่าผู้ให้บริการจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายใต้ชื่อ Standard & Poor, Moody’sหรือ Fitch หรือสถาบันอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะการจัดอันดับความน่าเชื่อถือองค์การระหว่างประเทศที่ออกหลักทรัพย์ภายใต้บังคับประกาศฉบับนี้ หรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศฉบับนี้ ข้อ ๕ ภายใต้บังคับมาตรา 75 เมื่อองค์การระหว่างประเทศผู้ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นตามข้อ 3 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนครบถ้วน ข้อ ๖ เมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ และการเสนอขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ต่อประชาชนได้ดําเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ให้องค์การระหว่างประเทศผู้ออกหลักทรัพย์รายงานผลการขายพันธบัตรหรือหุ้นกู้โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน โดยรายงานผลการขายดังกล่าวจะจัดทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ข้อ ๗ พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ได้มีการเสนอขายครั้งแรกโดยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานโดยชอบแล้ว ให้ขายในทอดต่อ ๆ ไปได้โดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,687
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 35/2543 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิงไทย โดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 35/2543 เรื่อง การเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 มาตรา 56 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “หลักทรัพย์จดทะเบียน” หมายความว่า (1) หุ้นซึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2) หุ้นของบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ออกและเสนอขายต่อประชาชนและได้ยื่นคําขอต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อนําหุ้นที่ออกไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (3) หุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทที่ออกหุ้นตาม (1) ให้สิทธิผู้ถือหุ้นที่จะซื้อได้ตามส่วนจํานวนที่ผู้ถือหุ้นมีอยู่ก่อนแล้ว (4) ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ “ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย” หมายความว่า ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ส่วน ๑ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบแสดงสิทธิ ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ข้อ ๓ บริษัทใดประสงค์จะเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ อ้างอิงไทยให้ยื่นคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน ในการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาต มาชี้แจง ส่งต้นฉบับ หรือสําเนาเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมไว้ตามสมควร ทั้งนี้ ภายในเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๔ ผู้ขออนุญาตเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่ จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจํากัดที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นและถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบเก้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (2) ผู้ขออนุญาตมีวัตถุประสงค์จํากัดเฉพาะการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (3) ข้อบังคับของผู้ขออนุญาตมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการจํากัดการลงทุน โดยให้ลงทุนได้เฉพาะในหลักทรัพย์จดทะเบียนเพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ อ้างอิงไทยที่ผู้ขออนุญาตได้เสนอขาย ในจํานวนเท่ากับจํานวนใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่คงค้าง การจํากัดการลงทุนตามวรรคหนึ่ง ไม่ให้หมายความรวมถึง การนําเงินสดที่มีสภาพคล่องส่วนเกินจากการลงทุนไปลงทุนหาผลประโยชน์ใน (ก) ตั๋วเงินคลัง (ข) พันธบัตรรัฐบาล (ค) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ง) พันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย (จ) บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน ที่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เป็นผู้ออกหรือผู้สั่งจ่าย หรือเป็นผู้รับรองหรือผู้รับอาวัล (ฉ) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ (ช) ลงทุนหาผลประโยชน์โดยวิธีอื่นใดตามที่สํานักงานอนุญาต (3) แสดงได้ว่าข้อกําหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ขออนุญาตและผู้ถือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยจะไม่มีข้อกําหนดที่ขัดแย้งกับเงื่อนไขการอนุญาตตามข้อ 7 ข้อ 11 และข้อ 12 เมื่อได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ออกใหม่ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าเวลาใด และโดยมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหลักทรัพย์ใดก็ได้ ส่วน ๒ หน้าที่ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานจํานวน 2 ชุด พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน โดยแบบแสดงรายการข้อมูลให้ประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลตามรายการที่กําหนดไว้ในมาตรา 69 (2) หลักทรัพย์จดทะเบียนที่เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่เสนอขาย (3) ข้อกําหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ได้รับอนุญาตและผู้ถือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ข้อ ๖ เมื่อสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว ข้อ ๗ ผู้ได้รับอนุญาตจะออกใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ อ้างอิงไทย ให้แก่ผู้ถือได้ ต่อเมื่อผู้ได้รับอนุญาตสามารถซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงที่รองรับใบแสดงสิทธิ ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยนั้นได้แล้ว ข้อ ๘ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่ผู้ได้รับอนุญาตจะเสนอขาย ต้องมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเท่านั้น ส่วน ๓ หน้าที่ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งสําเนางบดุลต่อสํานักงานภายใน ระยะเวลาเดียวกับที่ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งต่อนายทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลงจากแบบแสดงรายการข้อมูลที่ผู้ได้รับอนุญาตได้ยื่นไว้ตามข้อ 5 ให้ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อปรับปรุงข้อมูลตามแบบแสดงรายการข้อมูลที่ผู้ได้รับอนุญาตได้ยื่นไว้ให้เป็นปัจจุบัน ต่อสํานักงานโดยเร็ว ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่เข้าประชุมและไม่ใช้สิทธิออกเสียงในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อ้างอิง เว้นแต่เป็นการเข้าประชุมและออกเสียงเพื่อพิจารณามติเกี่ยวกับการเพิกถอนหลักทรัพย์อ้างอิงออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับอนุญาตจะซื้อคืนใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ อ้างอิงไทยได้ ต่อเมื่อผู้ได้รับอนุญาตสามารถขายหลักทรัพย์อ้างอิงที่รองรับใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยนั้นได้แล้ว โดยราคาที่ซื้อคืนจะต้องเท่ากับราคาที่ขายหลักทรัพย์อ้างอิง ดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,688
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 37/2543 เรื่อง แบบคำขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดขึ้นใหม่ เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล เอกสารหลักฐานประกอบคำขอ และระยะเวลาการยื่นคำขอ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 37/2543 เรื่อง แบบคําขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล แบบคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน ส่วนบุคคล เอกสารหลักฐานประกอบคําขอ และระยะเวลาการยื่นคําขอ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 5 ข้อ 7 และข้อ 8 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ผู้ที่ประสงค์จะจัดตั้งบริษัทดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบ 90-12 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอคําขอ ท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ข้อ ๓ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตดังกล่าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแบบ 90-13 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,689
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 38/2543 เรื่อง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 38/2543 เรื่อง การกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 12 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๒ อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลสําหรับปี พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2544 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.0045 ของค่าเฉลี่ยของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคลทุกกองทุนที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการในแต่ละรอบระยะเวลาการชําระค่าธรรมเนียม เว้นแต่ในกรณีที่ระยะเวลาการประกอบธุรกิจที่ต้องคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ไม่ถึงหกเดือน ให้คิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในอัตราดังกล่าวตามสัดส่วนของระยะเวลาที่เหลืออยู่ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,690
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 39/2543 เรื่อง การกำหนดแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 39/2543 เรื่อง การกําหนดแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การจัดการกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 10 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,691
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 12/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืม และการให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 "(3) เพื่อให้ผู้ยืมหรือบุคคลอื่นสามารถปฏิบัติตามความผูกพันตามประเภทหรือลักษณะที่สํานักงานประกาศกําหนด" ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 9/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 "ข้อ 9/1 ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบกิจการและผู้ให้ยืมอาจมีข้อตกลงในการดําเนินการตามความในข้อ 7 (1) หรือ (2) หรือข้อ 9 ไว้ให้ชัดเจนเป็นประการอื่นก็ได้ (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (2) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (3) ธนาคารเพื่อการนําเข้าและการส่งออกแห่งประเทศไทย (4) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (5) ธนาคารพาณิชย์ (6) บริษัทเงินทุน (7) บริษัทหลักทรัพย์ (8) บริษัทประกันชีวิต (9) สถาบันการเงินต่างประเทศที่กระทําเพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือในฐานะตัวแทน ของบุคคลอื่นที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (10) กองทุนรวม (11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (12) กองทุนส่วนบุคคล (13) กองทุนบําเหน็จบํานาญ (14) นิติบุคคลอื่นที่สํานักงานประกาศกําหนด ในกรณีที่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งมีข้อตกลงกับผู้ประกอบกิจการว่าผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ไม่ประสงค์จะเรียกหลักประกันจากผู้ยืม ผู้ประกอบกิจการต้องแจ้งให้ผู้ให้ยืมดังกล่าวทราบและเข้าใจความเสี่ยงจากการให้ยืมหลักทรัพย์โดยไม่เรียกหลักประกันด้วย" ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 "ข้อ 10/1 ในการยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ หากผู้ยื่นคําขอรายใดขอจํากัดขอบเขตการประกอบธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของตนไว้ ไม่ว่าการจํากัดขอบเขตจะเป็นไปในรูปแบบใด เมื่อผู้ยื่นคําขอรายนั้นได้รับใบอนุญาตแล้ว การประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องอยู่ภายในขอบเขตธุรกิจที่ขอจํากัดไว้ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งประสงค์จะขอผ่อนคลายหรือยกเลิกการจํากัดขอบเขตในการประกอบกิจการ ผู้ประกอบกิจการรายนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อน ทั้งนี้ ในการขอรับความเห็นชอบ ผู้ประกอบกิจการจะต้องแสดงเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับแผนงาน ระบบงานในการปฏิบัติการหรือการให้บริการ ระบบการควบคุมภายใน และระบบการบริหารความเสี่ยง ในการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ที่แสดงได้ว่าผู้ประกอบกิจการมีความพร้อมและสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ใช้บังคับกับกิจการส่วนที่ขอผ่อนคลายหรือยกเลิกข้อจํากัดนั้นได้ ผู้ประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งต้องติดประกาศที่แสดงถึงการประกอบกิจการแบบจํากัดขอบเขตไว้ในที่เปิดเผย และแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้บุคคลที่จะเป็นลูกค้าหรือคู่สัญญาของตนทราบอย่างชัดแจ้ง" ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,692
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 40/2543 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 40/2543 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การจัดการกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 4(1) แห่ง กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบล้านบาท เว้นแต่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวมีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทหลักทรัพย์นั้นต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท (1) มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในครอบครอง (2) มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเอง (3) มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,693
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 41/2543 เรื่อง การกำหนดความเพียงพอของเงินกองทุนหมุนเวียน หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการดำรงความเพียงพอของเงินกองทุนหมุนเวียน หลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทจัดการ และข้อกำหนดของบริษัทจัดการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 41/2543 เรื่อง การกําหนดความเพียงพอของเงินกองทุนหมุนเวียน หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนหมุนเวียน หลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทจัดการ และข้อกําหนดของบริษัทจัดการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 97 และมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 4(3) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เงินกองทุนหมุนเวียน” หมายความว่า ผลรวมสินทรัพย์สภาพคล่องตาม (ก)(ข) (ค)และ (ง) ที่มีอายุคงเหลือไม่เกินเก้าสิบวัน “สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์ดังต่อไปนี้ (ก) เงินสดและเงินฝากธนาคาร (ข) บัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (ค) ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยและพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และ (ง) สินทรัพย์สภาพคล่องอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องตาม (ก) (ข) (ค) และ (ง) ต้องเป็นสินทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพัน “หลักประกัน” หมายความว่า หลักประกันเพื่อชดเชยความเสียหายของลูกค้าที่อาจเกิดขึ้นโดยลูกค้าได้มีการฟ้องร้อง ทั้งนี้ ต้องมิใช่ความเสียหายอันเกิดขึ้นจากการจัดการลงทุนตามปกติ อันได้แก่ (ก) กรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย (ข) หนังสือค้ําประกันของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ (ค) หลักประกันอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกิน” หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์สภาพคล่องหักด้วยประมาณการรายจ่ายในการประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการในระยะเวลาสามเดือนล่วงหน้า “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามข้อ 2(6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามข้อ 2(6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ต้องแสดงว่าบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่นั้นจะมีเงินกองทุนหมุนเวียนที่เพียงพอต่อประมาณการรายจ่ายในการประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการในระยะเวลาสิบสองเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๓ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้บริษัทจัดการดํารงเงินกองทุนหมุนเวียนทุกสิ้นวันทําการให้เพียงพอโดยไม่น้อยกว่าประมาณการรายจ่ายในการประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการในระยะเวลาสามเดือนล่วงหน้า ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการคํานวณและรายงานการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนหมุนเวียน และหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๕ ในการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการดํารงหลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกิน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันให้มีมูลค่าเพียงพอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๖ โดยไม่เป็นการจํากัดอํานาจคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่จะสั่งเป็นประการอื่น บริษัทจัดการใดไม่สามารถดํารงเงินกองทุนหมุนเวียน หลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินให้เพียงพอตามข้อ 3 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี ให้บริษัทจัดการปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานที่แสดงถึงความไม่เพียงพอดังกล่าวตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด ของทุกสิ้นวันทําการและยื่นต่อสํานักงานภายในสองวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันทําการแรกที่บริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องจัดทํารายงานดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าบริษัทจัดการจะสามารถดํารงความเพียงพอดังกล่าวได้หรือได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (2) จัดทําแผนการแก้ไขปัญหาการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนหมุนเวียน หลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินให้เพียงพอเพื่อยื่นต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันทําการแรกที่บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงความเพียงพอดังกล่าวได้ เว้นแต่ก่อนพ้นกําหนดเวลาสามสิบวันดังกล่าว บริษัทจัดการนั้นสามารถดํารงเงินกองทุนหมุนเวียน หลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินให้เพียงพอตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการติดต่อกัน (3) ดําเนินการให้เป็นไปตามแผนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตาม (2) ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดในแผนดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินสามเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันทําการแรกที่บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงความเพียงพอดังกล่าวได้ ข้อ ๗ ในระหว่างที่บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนหมุนเวียน หลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินให้เพียงพอ หรืออยู่ระหว่างการดําเนินการตามข้อ 6 (2) หรือ (3) ห้ามมิให้บริษัทจัดการขยายการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จนกว่าบริษัทจัดการจะสามารถดํารงความเพียงพอดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ขยายการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง “การขยายการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์” ให้หมายถึง (1) การทําสัญญากับลูกค้ารายใหม่ (2) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในสัญญากับลูกค้ารายเดิม อันอาจส่งผลกระทบต่อความเพียงพอของเงินกองทุนหมุนเวียน หลักประกันหรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทจัดการได้ (3) การต่ออายุสัญญากับลูกค้ารายเดิม (4) การกระทําอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ๙ ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,694
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 55/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สิน เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 55/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อจําหน่ายหน่วยลงทุนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการนําเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว หรือลงทุนในสิทธิเรียกร้องหรือในทรัพย์สินอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (9) (7) ธนาคารแห่งประเทศไทย (8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (9) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (10) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (13) กองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 (14) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (15) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (1) ถึง (14) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (16) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (15) (17) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (16) ซึ่งซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป“สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมยื่นคําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนของโครงการแต่ละโครงการเป็นกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนของโครงการ พร้อมทั้งแสดงรายชื่อและสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนสิบรายแรกทั้งนี้ การจดทะเบียนกองทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทจัดการต้องดําเนินการภายในระยะเวลาหกเดือนนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่มีการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุน คําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามแบบ 124-5 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ เมื่อสํานักงานดําเนินการตรวจสอบแล้วเห็นว่า คําขอจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมหรือคําขอจดทะเบียนเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมมีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง และบริษัทจัดการได้ชําระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามอัตราที่สํานักงานกําหนดแล้ว ให้รับจดทะเบียนพร้อมออกหลักฐานการรับจดทะเบียนดังกล่าวให้แก่บริษัทจัดการที่ยื่นขอจดทะเบียนนั้น ข้อ ๔ ในกรณีที่หลักฐานการรับจดทะเบียนตามข้อ 3 สูญหายหรือถูกทําลายให้บริษัทจัดการยื่นคําขอรับใบแทนต่อสํานักงานได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะตรวจดูหรือขอคัดและรับรองสําเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนกองทุนรวม ให้กระทําได้เมื่อชําระค่าธรรมเนียมตามที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,695
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 57/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชำระบัญชีของกองทุนรวม เนื่องจากการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 57/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวม เนื่องจากการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด “กองทุนปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “การควบกองทุนรวม” หมายความว่า การควบกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยจัดตั้งกองทุนรวมใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมเดิมตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมใหม่ และเลิกกองทุนรวมเดิม อ“กองทุนรวมใหม่” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในการควบกองทุนรวม “กองทุนรวมเดิม” หมายความว่า กองทุนรวมที่ทําการควบกองทุนรวมเข้าด้วยกัน “การรวมกองทุนรวม” หมายความว่า การรวมกองทุนรวมตั้งแต่สองกองทุนรวมขึ้นไปเข้าเป็นกองทุนรวมเดียว โดยกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สินตามที่กําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สินมาเป็นของตน และเลิกกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สิน “กองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน” หมายความว่า กองทุนรวมที่ซื้อหรือรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ของกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สินในการรวมกองทุนรวม “กองทุนรวมที่โอนทรัพย์สิน” หมายความว่า กองทุนรวมที่ขายหรือโอนทรัพย์สิน สิทธิและหน้าที่ของตนในการรวมกองทุนรวม “ประกาศ ที่ กน. 9/2540” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 9/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒ ในกรณีที่มีการเลิกกองทุนรวมเนื่องจากการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม การชําระบัญชีของกองทุนรวมเดิมและกองทุนรวมที่โอนทรัพย์สิน ให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 9/2540โดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ การจัดส่งเงินและเอกสารให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเดิมหรือกองทุนรวม ที่โอนทรัพย์สินที่มีมติให้ทําการควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม และผู้ถือหน่วยลงทุนที่แสดงเจตนายินยอมให้มีการเปลี่ยนหน่วยลงทุนของตนเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใหม่หรือกองทุนรวมที่รับโอนทรัพย์สิน มิให้นําความในข้อ 9 แห่งประกาศ ที่ กน. 9/2540 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดส่งเงินและเอกสารให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนมาใช้บังคับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,696
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 15/2542 เรื่อง การยกเว้นมิให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมบางประเภท เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุน ประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2542 เรื่อง การยกเว้นมิให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวม บางประเภทเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภท สถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งออกตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ได้กําหนดให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมหรือบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลีกเลี่ยงการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในวงกว้างโดยอาศัยการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 35 และมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ "หลักทรัพย์" หมายความว่า หลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับตามหมวด 3 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 "กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม "การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนในวงกว้าง" หมายความว่า การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ต้องยื่นคําขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนก่อนการเสนอขาย "บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม "สํานักงาน" หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นหรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนในวงกว้างมิให้ถือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง "ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ" หมายความว่า (1) ผู้ลงทุนตามข้อ 2(3) แห่งประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต ลงวันที่ 18 พฤษภาคมพ.ศ. 2535 (2) ผู้ลงทุนตามข้อ 9(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537 (3) ผู้ลงทุนตามข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (4) ผู้ลงทุนตามข้อ 4(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิและหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิ และการอนุญาตลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 หรือ (5) ผู้ลงทุนตามข้อ 7(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539 ข้อ ๓ เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 4 ให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการเสนอขายที่มิให้ถือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 2 (1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ (2) การเสนอขายหลักทรัพย์ให้กองทุนรวมนั้นเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น ในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ (3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในหลักทรัพย์ที่เสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ (ก) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ (ข) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานพร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสาหลักฐานประกอบ และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะในครั้งนั้นได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,697
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงาน ในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงาน ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ “ประกาศ ที่ กธ. 42/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 “ประกาศ ที่ กธ. 43/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ให้นําความในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 14 ข้อ 23 ข้อ 25 และข้อ 26 ของประกาศ ที่ กธ. 42/2543 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ โดยอนุโลม ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุน ข้อ ๓ ให้นําความในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 12 ข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 20 และข้อ 21 ของประกาศ ที่ กธ. 43/2543 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ โดยอนุโลม ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,698
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 16/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนใน หรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนใน หรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98 (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กองทุนเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปรวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวด้วย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อการลงทุนของบริษัทจัดการนั้นเองได้ โดยให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 98 (8) แล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๓ บริษัทจัดการจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้เพื่อบริษัทจัดการก็ได้ (1) เงินฝาก บัตรเงินฝาก หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้รับฝาก หรือเป็นผู้ออกที่เป็นการลงทุนในทอดแรก แล้วแต่กรณี (2) บัตรเงินฝาก หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออก ที่เป็นการลงทุนในตลาดรอง (3) พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยและพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (4) ตั๋วเงินคลัง (5) หน่วยลงทุนของกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการเฉพาะในกรณีจําเป็นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (6) หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๔ ในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามข้อ 3(1) และการมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามข้อ 3(2) ถึง (6) ที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เพื่อบริษัทจัดการ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ภายในเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามข้อ 3(2) ถึง (6) ตั้งแต่วันที่ ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เพื่อบริษัทจัดการ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (2) จัดให้มีเอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ในการตัดสินใจ และเก็บรักษาเอกสารดังกล่าวไว้อย่างครบถ้วนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันลงทุน ข้อ ๖ ระเบียบวิธีปฏิบัติในการควบคุมภายใน อย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ที่ทําการที่บริษัทจัดการจะใช้เป็นสถานที่ดําเนินงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ ซึ่งต้องกําหนดไว้เพียงแห่งเดียว เว้นแต่กรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (2) นโยบายและหลักเกณฑ์การลงทุน (investment guideline) ซึ่งต้องจัดทําไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (3) หลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการกับเพื่อกองทุนรวมซึ่งต้องมีข้อกําหนดขั้นต่ําตามข้อ 7 และตามที่บริษัทจัดการกําหนดเพิ่มเติม (ถ้ามี) (4) หลักเกณฑ์การรายงานการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นให้ผู้บริหารของบริษัทจัดการทราบ (5) การดําเนินการในกรณีที่มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ไม่สามารถทราบหรือคํานวณราคาตลาดหรือไม่เป็นไปตามราคาตลาด ซึ่งต้องมีข้อกําหนดให้ผู้ดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการ (compliance officer) รับทราบด้วย (6) ข้อกําหนดอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๗ บริษัทจัดการต้องลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการตามหลักเกณฑ์ในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๘ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทจัดการใดไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติในการควบคุมภายใน สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทจัดการนั้นชี้แจงแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น การเปิดเผยข้อมูล หรือการกระทําอื่นที่เกี่ยวข้องก็ได้ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2542 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,699
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 17/2542 เรื่อง การแยกบัญชีเงินของลูกค้า (ฉบับที่ 2)
### ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2542 เรื่อง การแยกบัญชีเงินของลูกค้า ( ฉบับที่ 2 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 48/2540 เรื่อง การแยกบัญชีเงินของลูกค้า ลงวันที่ 31 ธันวาคม2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “บริษัทหลักทรัพย์อาจนําเงินของลูกค้าที่แยกไว้ไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้เฉพาะในเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์เป็นผู้ออก ทั้งนี้ ในกรณีที่เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา ต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา --------------------------------------------------------------------- เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2542 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,700
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 21/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาต และการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสำนักงานสาขา (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ------------------------------------------------ ที่ กธ. 21/2542 #### เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาต ให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ =================================================================================================================================================================== ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) มีประวัติและชื่อเสียงในการดําเนินธุรกิจที่น่าเชื่อถือ โดยในขณะที่ยื่นคําขออนุญาตจนถึงเวลาที่ได้รับอนุญาต (ก) บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้บริหารต้องไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทํานองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต” (ข) บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้บริหารต้องไม่อยู่ระหว่างถูกห้ามมิให้เข้าทําการซื้อขายหลักทรัพย์โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เนื่องจากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือกฎระเบียบที่ออกโดยองค์กรดังกล่าว (ค) บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่อยู่ระหว่างถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานสั่งห้ามขยายหรือระงับการประกอบธุรกิจหรืออยู่ระหว่างแก้ไขการดําเนินการตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.หรือสํานักงานสั่งการตามมาตรา 141 มาตรา 142 หรือมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ง) บริษัทหลักทรัพย์ต้องไม่มีผู้บริหารที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์มีสํานักงานสาขา ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) จัดให้มีการตรวจสอบสํานักงานสาขาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง (ก) ภายในสามเดือนแรกของการเปิดดําเนินการ เว้นแต่เป็นสํานักงานสาขาซึ่งมีขึ้นเพื่อทดแทนสํานักงานสาขาที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีและเปิดดําเนินการในขณะแยกการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน หรือ (ข) ภายในสามเดือนนับแต่วันที่สํานักงานสาขาซึ่งเกิดจากการยกระดับสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์ขยายกิจการที่ให้บริการนอกเหนือขอบเขตของการทําหน้าที่เป็นสํานักงานบริการด้านหลักทรัพย์” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,701
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 44/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 44/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน (ฉบับที่ 3) เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนผ่านกองทุนรวมมีความสําคัญมากขึ้นเป็นลําดับ การมีข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมในเบื้องต้นเผยแพร่อย่างเพียงพอและมีคุณภาพจึงจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับผู้ลงทุนที่ประสงค์จะลงทุนผ่านกองทุนรวมเหล่านั้น และเพื่อให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนในฐานะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพในการให้คําแนะนําหรือความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าหลักทรัพย์และความเหมาะสมในการลงทุนได้ทําหน้าที่ในการให้คําแนะนําดังกล่าวอย่างมีมาตรฐาน เป็นธรรมเป็นกลาง และเป็นอิสระ รวมทั้งด้วยความระมัดระวังโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 109 และมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “การจัดอันดับกองทุนรวม” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน” และคําว่า “หลักประกัน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ดังต่อไปนี้ “การจัดอันดับกองทุนรวม” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการลงทุนของกองทุนรวมเชิงเปรียบเทียบ โดยอาจให้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดเพื่อประกอบการให้ความเห็นด้วยก็ได้ ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดําเนินการดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ หากบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนประสงค์จะดําเนินการจัดอันดับกองทุนรวมด้วยให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 2/1 ด้วย (1) จัดให้มีระบบงานที่แสดงความพร้อมในการประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งรวมถึงระบบการควบคุมภายในในส่วนที่เกี่ยวกับการให้คําแนะนํา และระบบการควบคุมดูแลการลงทุนของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ และผู้ให้คําแนะนํา (2) จัดให้มีผู้ดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนเพื่อรับผิดชอบในการออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การควบคุมภายในของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนนั้น รวมทั้งดูแลให้ผู้ให้คําแนะนําปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 “ข้อ 2/1 บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนจะดําเนินการจัดอันดับกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีระบบงานที่พร้อมในการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม โดยต้องแสดงได้ว่าหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวมเป็นหลักเกณฑ์ที่มีหลักวิชาการรองรับซึ่งสามารถสะท้อนวัตถุประสงค์ของการจัดอันดับกองทุนรวม และไม่ก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญของข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวมดังกล่าว (2) มีโครงสร้างการถือหุ้น โครงสร้างองค์กร ขอบเขตการประกอบธุรกิจ กรรมการผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ ที่เชื่อได้ว่าไม่มีส่วนได้เสียอันอาจก่อให้เกิดขาดความเป็นอิสระในการจัดอันดับกองทุนรวม และสามารถดําเนินงานได้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรม ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 “ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดําเนินการจัดอันดับกองทุนรวม ให้เก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวมและข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาจัดอันดับกองทุนรวมไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 11/1 ข้อ 11/2 และข้อ 11/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 “ข้อ 11/1 ในการจัดอันดับกองทุนรวม บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้ข้อมูลประกอบการจัดอันดับกองทุนรวมที่มาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและสามารถอ้างอิงได้ (2) จัดอันดับกองทุนรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวมด้วยความสุจริต เป็นธรรม เป็นกลาง และเป็นอิสระ รวมทั้งใช้ความระมัดระวัง โดยคํานึงถึงผู้รับข้อมูลเป็นสําคัญ (3) ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดอันดับกองทุนรวม หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวม และคําอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวม ตลอดจนแสดงคําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวม โดยมีสาระสําคัญของคําเตือนว่า ข้อมูลการจัดอันดับกองทุนเป็นเพียงข้อมูลหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน ไว้ในเอกสารที่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวม (4) จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ชี้แจงอธิบายข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวมเมื่อได้รับการซักถาม (5) ในกรณีที่มีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดประกอบการจัดอันดับกองทุนรวม สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (6) ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนมีความประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวม และสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดที่ใช้ประกอบการจัดอันดับกองทุนรวม ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ หรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอื่นใดนั้น ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนดําเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการจัดอันดับกองทุนรวมได้ (7) ห้ามมิให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนทําการจัดอันดับกองทุนรวมใด หากบริษัทที่ปรึกษาการลงทุน กรรมการ ผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมกับกองทุนรวมหรือบริษัทจัดการนั้นในลักษณะที่จะทําให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนขาดความเป็นธรรม เป็นกลางและเป็นอิสระในการจัดอันดับกองทุนรวม (8) ห้ามมิให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนกระทําการใด ๆ อย่างไม่เหมาะสมจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ข้อมูล กองทุนรวม บริษัทจัดการ หรือความเชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์หรือตลาดทุนโดยรวม ข้อ 11/2 ให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนยื่นรายงานหรือแสดงเอกสารเกี่ยวกับการจัดอันดับกองทุนรวมตามระยะเวลาหรือเป็นครั้งคราวตามที่สํานักงานกําหนด ในการนี้ สํานักงาน จะให้ทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายหรือขยายความแห่งรายงานหรือเอกสารนั้นด้วยก็ได้ ข้อ 11/3 ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2/1 ข้อ 11/1หรือข้อ 11/2 หรือกระทําการใด ๆ อย่างไม่เหมาะสมจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ข้อมูล กองทุนรวมหรือความเชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตลาดทุนโดยรวม ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนกระทําการ แก้ไขการกระทํา หรืองดเว้นการกระทําได้ ในกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนไม่สามารถกระทําการ แก้ไขการกระทํา หรืองดเว้นการกระทํา ตามคําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่ง ให้การให้ความเห็นชอบตามข้อ 2/1 เป็นอันสิ้นสุดลงทันที” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,702
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กช. 1/2544 เรื่อง การจัดทำและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 1/2544 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัทที่ออก หลักทรัพย์เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 กําหนดให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี แต่เนื่องจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีอยู่ระหว่างพิจารณาประกาศให้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การบัญชีสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา ซึ่งกําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เป็นมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา อันเป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นต่อผู้ลงทุนในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลในงบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรวางข้อกําหนดทางการบัญชีเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา เพื่อใช้บังคับกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยให้มีผลใช้บังคับจนกว่าจะมีมาตรฐานการบัญชีในเรื่องดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จัดทําและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาของบริษัทในงบการเงินตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การบัญชีสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา ซึ่งกําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย หรือตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดไว้เป็นการเฉพาะเกี่ยวกับการบัญชีสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (2) ในกรณีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อื่นนอกจากที่ระบุใน (1) ให้จัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การบัญชีสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา ซึ่งกําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับงบการเงินประจํางวดการบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่31 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป และให้สิ้นผลบังคับเมื่อมีมาตรฐานการบัญชีสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2544 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,703
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กช. 2/2544 เรื่อง การจัดทำบัญชีเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา ของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กช. 2/2544 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ ที่มีปัญหาของบริษัทหลักทรัพย์ โดยที่ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 กําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดทําบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และตามมาตรฐานการบัญชีที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีให้ความเห็นชอบตามที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยกําหนด แต่เนื่องจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีอยู่ระหว่างพิจารณาประกาศให้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การบัญชีสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา ซึ่งกําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เป็นมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่บริษัทหลักทรัพย์ในการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา อันเป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นต่อผู้ลงทุนในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลในงบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรวางข้อกําหนดทางการบัญชีเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา เพื่อใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ โดยให้มีผลใช้บังคับจนกว่าจะมีมาตรฐานการบัญชีในเรื่องดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนด้วย ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําบัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาของบริษัทตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เรื่อง การบัญชีสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา ซึ่งกําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับงบการเงินประจํางวดการบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป และให้สิ้นผลบังคับเมื่อมีมาตรฐานการบัญชีสําหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2544 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,704
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกำหนดให้บริษัทจัดการ อาจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้าได้
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 9/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกําหนด ให้บริษัทจัดการอาจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้าได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 135 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในกรณีที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการหลายรายจัดการทรัพย์สินของลูกค้าบริษัทจัดการรายใดที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน บริษัทจัดการรายนั้นอาจเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้าได้เมื่อได้รับความยินยอมจากลูกค้าและได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,705
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 10/2544 เรื่อง การกำหนดแบบใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 10/2544 เรื่อง การกําหนดแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การจัดการกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 10 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 39/2543 เรื่อง การกําหนดแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,706
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 13/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมมีประกัน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ กองทุนรวมมีประกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมมีประกัน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งได้ถือหน่วยลงทุนจนครบตามระยะเวลาที่กําหนดว่าจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศ ที่ กน. 46/2541” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 “เงินลงทุน” หมายความว่า เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกรณีกองทุนเปิดหรือเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนในกรณีกองทุนปิด โดยไม่รวมค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนตามที่กําหนดไว้ในโครงการ(ถ้ามี) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมมีประกัน “ผู้ประกัน” หมายความว่า ผู้ที่ทําสัญญาประกันเพื่อผูกพันตนต่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีประกัน “มติของผู้ถือหน่วยลงทุน” หมายความว่า มติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมมีประกัน ให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 46/2541 และประกาศนี้ ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนรวมมีประกัน บริษัทจัดการต้องจัดให้มีบุคคลที่ประกันต่อผู้ถือหน่วยลงทุนว่าจะได้รับชําระเงินลงทุน หรือเงินลงทุนและผลตอบแทน จากการไถ่ถอนหรือการขายคืนหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณี ตามจํานวนเงินที่ประกันไว้ โดยไม่มีเงื่อนไขความรับผิดและต้องสามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ตามกฎหมายไทย ข้อ ๔ บุคคลที่บริษัทจัดการอาจจัดให้เป็นผู้ประกันต้องมิใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีประกันดังกล่าว และต้องเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่มีคุณสมบัติตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๕ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาประกันในเรื่องใด ๆ อันมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเสียผลประโยชน์ จะต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๖ เมื่อเกิดหรือรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทําให้บริษัทจัดการต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ที่มีคุณสมบัติและมีข้อกําหนดตามสัญญาประกันในระดับที่ไม่ต่ํากว่าของผู้ประกันรายเดิม ณ ขณะทําสัญญาเดิมหรือตามที่กําหนดไว้ในโครงการ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคสี่ (2) บริษัทจัดการได้ระบุไว้ในโครงการว่าในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าว บริษัทจัดการจะขอสงวนสิทธิเลิกกองทุนรวมมีประกันหรือจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไปโดยยกเลิกการประกันและเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกันโดยถือว่าบริษัทจัดการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ในกรณีที่การจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของบริษัทจัดการเอง บริษัทจัดการต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนตัวผู้ประกันหรือที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่อาจจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ให้แก่กองทุนรวมมีประกันหรือผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วแต่กรณีเช่น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อครบกําหนดระยะเวลาการประกันสําหรับกองทุนปิดหรือครบกําหนดตามรอบระยะเวลาการประกันล่าสุดสําหรับกองทุนเปิด หากมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันครบกําหนดดังกล่าวต่ํากว่ามูลค่าหน่วยลงทุนที่ได้เคยประกันไว้ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันที่กองทุนรวมมีประกันได้ชําระไว้ล่วงหน้า เป็นต้น หากการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ตามวรรคหนึ่งจะมีผลทําให้ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันสําหรับงวดการประกันล่าสุด บริษัทจัดการต้องดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการในเรื่องดังกล่าวโดยต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน เว้นแต่บริษัทจัดการได้ระบุไว้ในโครงการว่าในกรณีที่ปรากฏเหตุดังกล่าว บริษัทจัดการจะขอสงวนสิทธิเลิกกองทุนรวมมีประกัน หรือจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไป โดยยกเลิกการประกันและเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน โดยถือว่าบริษัทจัดการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว ในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อเปลี่ยนผู้ประกันรายใหม่ที่มีคุณสมบัติและมีข้อกําหนดตามสัญญาประกันในระดับที่ต่ํากว่าของผู้ประกันรายเดิม ณ ขณะทําสัญญาเดิม ให้บริษัทจัดการดําเนินการชี้แจงรายละเอียดซึ่งเป็นสาระสําคัญที่แตกต่างกันระหว่างผู้ประกันรายเดิมกับรายใหม่ และเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนที่สืบเนื่องจากการเปลี่ยนผู้ประกันรายใหม่ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบด้วย ข้อ ๗ หากบริษัทจัดการไม่ได้รับมติให้ดําเนินการตามข้อ 6 วรรคสาม หรือวรรคสี่แล้วแต่กรณี หรือมีค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่สูงกว่าผลประโยชน์ที่กองทุนรวมมีประกันจะได้รับ หรือไม่สามารถจัดให้มีผู้ประกันรายใหม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ให้บริษัทจัดการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เลิกกองทุนรวมมีประกันเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (2) ยกเลิกการประกันเมื่อได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนและจัดการกองทุนรวมดังกล่าวต่อไปโดยให้บริษัทจัดการเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อที่มีความหมายในทํานองเดียวกันตามที่กําหนดในประกาศ ที่ กน. 46/2541 และห้ามบริษัทจัดการโฆษณาหรือเปิดเผยว่าเป็นกองทุนรวมมีประกันอีกต่อไป การดําเนินการตามวรรคหนึ่งไม่เป็นผลให้บริษัทจัดการหลุดพ้นจากความรับผิดตามข้อ 6 และบริษัทจัดการยังต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับกองทุนรวมมีประกันและผู้ถือหน่วยลงทุนจนถึงวันที่บริษัทจัดการได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่งด้วย เช่น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหากมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันที่ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวต่ํากว่ามูลค่าหน่วยลงทุนที่ประกันไว้ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีผู้ประกันที่กองทุนรวมมีประกันได้ชําระไว้ล่วงหน้าจนถึงวันที่ได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว เป็นต้น ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,707
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 14/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้ หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ผิดนัดชำระหนี้
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 43/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด “สิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “เงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้” หมายความว่า เงินได้จากการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น รายได้ที่เกิดจากการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน ตลอดจนดอกผลที่ได้จากทรัพย์สินดังกล่าว และเงินสํารอง (ถ้ามี) หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการได้มา หรือการมีไว้ หรือการจําหน่ายทรัพย์สินนั้น “เงินสํารอง” หมายความว่า จํานวนเงินที่ตั้งสํารองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในการจัดการกองทุนรวม หากมีการผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น ข้อ ๔ กรณีกองทุนรวมที่บริษัทจัดการได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งประเภท จํานวน ชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องและเงินสํารอง (ถ้ามี) รวมทั้งวันที่บริษัทจัดการบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ไปยังสํานักงาน ภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ (2) จัดให้มีรายละเอียดตาม (1) ไว้ที่สํานักงานใหญ่ สํานักงานสาขาของบริษัทจัดการและสถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้แจ้งสํานักงานตาม (1) เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน ข้อ ๕ กรณีกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่บริษัทจัดการได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ ข้อ ๖ กรณีบริษัทจัดการมิได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์บริษัทจัดการจะรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนรวมได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม และก่อนการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวมนั้น หรือได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่าในขณะนั้นการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าว เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้น ในการขอความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ดูแลผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนรวมจะได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจําเป็นในการรับชําระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทําเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชําระหนี้เกิดขึ้น หรือ (2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการจัดทําซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ข้อ ๗ เมื่อบริษัทจัดการได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น เพื่อกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งประเภท จํานวน และชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องวันที่บริษัทจัดการได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา (2) จัดให้มีรายละเอียดตาม (1) ไว้ที่สํานักงานใหญ่ สํานักงานสาขาของบริษัทจัดการ และสถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนที่ใช้ในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้แจ้งสํานักงานตาม (1) เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน กรณีเป็นกองทุนปิด นอกจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บริษัทจัดการระบุไว้ในการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนในครั้งถัดจากวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมาว่า กองทุนรวมมีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นซึ่งผู้ลงทุนสามารถขอดูรายละเอียดได้ที่สํานักงานใหญ่และสํานักงานสาขาของบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ให้ระบุไว้ในการประกาศดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามครั้งติดต่อกัน ข้อ ๘ ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนรวมได้รับมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่มีการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ บริษัทจัดการไม่ต้องนําทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น และเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ มารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (2) กรณีกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการมิได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หรือกรณีกองทุนปิด บริษัทจัดการต้องนําทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มารวมคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ข้อ ๑๐ ให้บริษัทจัดการดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วย ทรัพย์สินอื่น ดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้บริษัทจัดการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ตกลงรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวแทนเงิน ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในระหว่างที่บริษัทจัดการยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น บริษัทจัดการอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้ (2) กรณีกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการมิได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หรือกรณีกองทุนปิด ให้บริษัทจัดการดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมก็ได้ ทั้งนี้ หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการอาจจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ข) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนรวมนั้นไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้โดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ และในระหว่างที่บริษัทจัดการยังไม่สามารถจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทจัดการอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุนรวม เว้นแต่กรณีกองทุนเปิดที่บริษัทจัดการบันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ ให้บริษัทจัดการจ่ายจากเงินสํารอง รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการบริหารทรัพย์สินนั้น ข้อ ๑๑ เมื่อมีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวมในแต่ละครั้ง ให้บริษัทจัดการเฉลี่ยเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดตามข้อ 5 ภายในสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ และให้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเฉลี่ยเงินคืนไปยังสํานักงานภายในสิบห้าวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้เฉลี่ยเงินคืน เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันระยะเวลาการเฉลี่ยเงินคืนเป็นอย่างอื่น ในการเฉลี่ยเงินคืนในแต่ละครั้งตามวรรคหนึ่ง หากบริษัทจัดการมีเหตุผลแสดงให้เห็นว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการอาจนําเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวไปรวมจ่ายในโอกาสแรกที่การเฉลี่ยเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะคุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายก็ได้ ทั้งนี้ หากได้มีการจําหน่ายทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นจนครบถ้วนแล้ว และปรากฏว่าเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้นั้นไม่คุ้มกับภาระค่าใช้จ่ายในการเฉลี่ยเงินคืน บริษัทจัดการอาจนําเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ดังกล่าวมารวมคํานวณเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมก็ได้ บริษัทจัดการจะดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดหลักเกณฑ์ตามวรรคสองไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว ข้อ ๑๒ กองทุนเปิดที่บริษัทจัดการได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ หากต่อมาปรากฏว่าบริษัทจัดการได้รับชําระหนี้ตามตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นเงิน ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามความในข้อ 11 โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการใดได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวมตามประกาศนี้ ยกเว้นความในข้อ 4 และข้อ 5 และให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ แทน (1) กรณีกองทุนปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนณ วันเลิกโครงการจัดการกองทุนปิด เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ (2) กรณีกองทุนเปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนณ วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา หรือวันที่บริษัทจัดการได้บันทึกมูลค่าตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเป็นศูนย์ เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ (3) กรณีที่กองทุนรวมได้รับทรัพย์สินจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นมาในขณะที่เป็นกองทุนปิด แต่ต่อมาได้ขอแก้ไขเป็นกองทุนเปิดโดยมิได้จําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวก่อนการเปลี่ยนประเภทโครงการจัดการกองทุนรวมเป็นกองทุนเปิด ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันครบกําหนดอายุโครงการจัดการกองทุนปิดเดิม เป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการเปลี่ยนประเภทโครงการดังกล่าวก่อนครบกําหนดอายุโครงการจัดการกองทุนปิดเดิม ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในสองวันก่อนวันที่บริษัทจัดการยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียนต่อสํานักงานเป็นโครงการจัดการกองทุนเปิดเป็นผู้มีสิทธิในเงินได้สุทธิจากทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,708
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 15/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 15/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้น เพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 98(7) (ข) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้น ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536 ลงวันที่27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 9/2538เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 23/2540เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อหรือมีหุ้น (ฉบับที่ 4)ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม และบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดตามข้อ 2(6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ “นายทะเบียนสมาชิก” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้จัดทําและส่งรายงานให้แก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามที่กําหนดในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการจัดการกองทุนรวม และถือหรือมีไว้ซึ่งหุ้นเป็นของตนเองต่อไปได้ตามมาตรา 325 อาจขอผ่อนผันจากสํานักงานให้ซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นที่ออกใหม่ได้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) เป็นการได้มาเนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ตามสิทธิที่ได้รับจัดสรรตามส่วนจํานวนหุ้นที่ตนถืออยู่ตามมาตรา 325 ทั้งนี้ ต้องเป็นการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่เพียงครั้งเดียวนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (2) จํานวนหุ้นที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้มาตาม (1) หากจําหน่ายหุ้นไปเท่าใดก็ให้ได้รับผ่อนผันให้ถือหรือมีไว้เพียงเท่าจํานวนหุ้นที่เหลือนั้น (3) บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องจัดทํารายงานการได้มาซึ่งหุ้นตาม (1) รวมทั้งการจําหน่ายหุ้นที่ถือหรือมีไว้เป็นของตนเองตามมาตรา 325 และตาม (1) แต่ละรายการ โดยระบุวัน เดือน ปี จํานวน และราคาหุ้นที่ได้มาหรือจําหน่ายไป แล้วแต่กรณี และส่งให้สํานักงานเป็นรายเดือนภายในสิบสี่วันนับตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของเดือน ข้อ ๔ หุ้นที่บริษัทจัดการอาจซื้อหรือมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการต้องเป็นหุ้นของบริษัทดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้บริการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน การพัฒนาโปรแกรม การติดตั้งโปรแกรม การอบรมการใช้งาน การปรับปรุงดูแลการทํางานของโปรแกรมที่ได้พัฒนาและใช้งานแล้ว และการให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (2) บริษัทที่ประกอบธุรกิจให้บริการด้านการรวบรวมและประมวลผลข้อมูล และการนําเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ (3) บริษัทที่ประกอบธุรกิจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนสมาชิก (4) บริษัทที่ประกอบธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือบริษัทที่อยู่ระหว่างยื่นคําขอรับความเห็นชอบให้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสํานักงาน (5) บริษัทที่ประกอบธุรกิจการให้คําแนะนําหรือให้บริการด้านงานสนับสนุน (back office) แก่บริษัทอื่น อันได้แก่ งานปฏิบัติการ งานบัญชีและการเงิน งานธุรการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานทรัพยากรบุคคล งานตรวจสอบภายใน งานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (compliance) หรืองานสนับสนุนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานดังกล่าว (6) บริษัทที่ประกอบธุรกิจประเภทการเป็นนายหน้าประกันชีวิต ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตด้วย (7) บริษัทที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับธุรกิจการจัดการลงทุนตามที่สํานักงานกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๕ การซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) บริษัทดังกล่าวต้องมิใช่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือตราสารอื่นใดที่บริษัทจัดการลงทุนไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม หรือของลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการนั้นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ (2) บริษัทจัดการต้องไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเพื่อบริษัทจัดการในลักษณะที่เป็นรายการระหว่างบริษัทจัดการกับกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการนั้นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีของกองทุนรวม หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลก่อนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหุ้นดังกล่าวในกรณีของกองทุนส่วนบุคคล (3) มูลค่าของหุ้นที่จะขอผ่อนผันเมื่อรวมกับมูลค่าหุ้นของทุกบริษัทที่บริษัทจัดการได้รับการผ่อนผันแล้วต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ให้คํานวณมูลค่าหุ้นตามราคาที่บริษัทจัดการได้มาซึ่งหุ้นนั้น ข้อ ๖ การซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตามข้อ 4(4) จะต้องไม่เกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ในกรณีที่บริษัทจัดการซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตามข้อ 4(1) (2) (3) (5) (6) หรือ (7) มีจํานวนเกินร้อยละห้าสิบ ให้ถือว่าบริษัทจัดการประกอบกิจการอื่นที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต และต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 98(8) ข้อ ๗ ให้บริษัทจัดการรายงานการซื้อหรือมีไว้ หรือจําหน่ายไปซึ่งหุ้นของบริษัทตามข้อ 4 ให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่ซื้อหรือมีไว้ หรือจําหน่ายไปซึ่งหุ้นนั้น โดยระบุชื่อของบริษัท อัตราร้อยละของจํานวนหุ้นที่ซื้อหรือมีไว้ต่อจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท และอัตราร้อยละของมูลค่าของหุ้นที่ซื้อหรือมีไว้รวมกับหุ้นของทุกบริษัทที่บริษัทจัดการถืออยู่ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจัดการนั้น และในกรณีที่เป็นการซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวครั้งแรก ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจหลักและขอบเขตการดําเนินธุรกิจของบริษัทดังกล่าวด้วย ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นที่บริษัทตามข้อ 4 เป็นผู้ออก และต่อมาบริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารอื่นใดที่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ออก เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือของลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการนั้นเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการ ให้การได้รับผ่อนผันการซื้อหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง เว้นแต่ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร บริษัทจัดการอาจขอผ่อนผันจากสํานักงานให้มีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าวต่อไปได้โดยยื่นขอผ่อนผันก่อนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือตราสารดังกล่าว เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมหรือของลูกค้ากองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,709
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 26/2544 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2544 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 16/2542เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2542 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2543เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,710
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 27/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง และจัดการกองทุนรวมตลาดเงิน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 27/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ กองทุนรวมตลาดเงิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมตลาดเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ ธุรกรรมทางการเงิน หรือตราสารการเงินอื่นใด ที่มีกําหนดชําระคืนเมื่อทวงถามหรือจะครบกําหนดชําระคืนไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ธุรกรรมทางการเงิน” หมายความว่า ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารแห่งหนี้ ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ธุรกรรมการทําสัญญาฟิวเจอร์ สัญญาฟอร์เวิร์ด สัญญาสวอป หรือธุรกรรมอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด “ธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน” หมายความว่า การซื้อตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา “ประกาศ ที่ กน. 46/2541” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตลาดเงิน นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 46/2541 ยกเว้นข้อ 13 ถึงข้อ 23 มิให้นํามาใช้บังคับ ข้อ ๓ การลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ ธุรกรรมทางการเงิน หรือตราสารการเงินอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมตลาดเงินต้องเป็นไปตามอัตราส่วน หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,711
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 40/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือ ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ผิดนัดชำระหนี้
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 40/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการจัดการกองทุน หากมีการผิดนัดชําระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น ข้อ ๓ บริษัทจัดการจะรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันเพื่อกองทุนได้ต่อเมื่อได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นไว้ในสัญญาแต่งตั้งบริษัทจัดการ ข้อบังคับกองทุน หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน และก่อนการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่หลักประกันในแต่ละครั้ง บริษัทจัดการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน โดยคณะกรรมการกองทุนจะต้องตรวจสอบและแสดงความเห็นพร้อมเหตุผลว่าในขณะนั้นการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกมากกว่าการถือหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้หรือสิทธิเรียกร้องนั้น ในการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่กองทุนจะได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น มูลค่าของทรัพย์สิน ประมาณการค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน และค่าใช้จ่ายในการจําหน่ายทรัพย์สิน เป็นต้น พร้อมเหตุผลและความจําเป็นในการรับชําระหนี้ รวมทั้งต้องจัดให้มีหรือจัดทําเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่ามีการผิดนัดชําระหนี้เกิดขึ้น หรือ (2) บทวิเคราะห์และเหตุผลประกอบบทวิเคราะห์ที่บริษัทจัดการจัดทําซึ่งแสดงถึงพฤติการณ์ว่าผู้ออกตราสารแห่งหนี้จะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ข้อ ๔ เมื่อบริษัทจัดการได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุน ให้บริษัทจัดการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับประเภท จํานวน และชื่อผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง วันที่บริษัทจัดการได้รับทรัพย์สินมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้รับโดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น ไปยังคณะกรรมการกองทุนภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดจากเดือนที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการดําเนินการกับทรัพย์สินที่ได้จากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนนั้นสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการอาจมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนได้ (2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนนั้นไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่กองทุนได้รับทรัพย์สินนั้นมาเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการอาจจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุน ข้อ ๗ ทรัพย์สินใดที่กองทุนได้มาจากการรับชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 5 และข้อ 6 ทั้งนี้ ในกรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินตามข้อ 6(2) บริษัทจัดการต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,712
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 41/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 41/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 8/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2544 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 28/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ และมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศ ที่ กน. 46/2541” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 46/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ นอกจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้เป็นไปตามประกาศ ที่ กน. 46/2541 ยกเว้น ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 38 ข้อ 39 ข้อ 46(1) (2) ข้อ 49 และข้อ 50 มิให้นํามาใช้บังคับ ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดทําคู่มือภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยคู่มือดังกล่าวต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ถือหน่วยลงทุน ประเภทของเงินได้ที่นํามาซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และเงื่อนไขการลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (2) การชําระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับ การชําระเงินเพิ่มและเบี้ยปรับกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนปฏิบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการลงทุนหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนกําหนดพร้อมยกตัวอย่างประกอบ รายการตาม (1) และ (2) ให้มีรูปแบบและรายละเอียดตามที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการจัดส่ง แจกจ่าย หรือจัดให้มีคู่มือภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่เป็นปัจจุบัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการจัดส่งและดําเนินการให้ตัวแทนสนับสนุนจัดส่งคู่มือภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้ผู้ที่สนใจจะลงทุนพร้อมกับใบคําสั่งซื้อหน่วยลงทุน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ที่สนใจจะลงทุนเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพกองทุนใดกองทุนหนึ่งที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการอยู่แล้วในขณะนั้น บริษัทจัดการจะไม่จัดส่งคู่มือภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าวก็ได้ หากข้อมูลของคู่มือภาษีนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเคยได้รับ (2) ให้บริษัทจัดการจัดให้มีคู่มือภาษีเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ ณ ที่ทําการทุกแห่งของบริษัทจัดการและ ณ สถานที่ติดต่อทุกแห่งของตัวแทนสนับสนุนเพื่อประโยชน์ในการแจกจ่ายแก่ผู้ที่สนใจจะลงทุนได้ตลอดเวลาที่เสนอขายหน่วยลงทุน ข้อ ๖ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพโครงการใดแล้ว หากปรากฏว่าจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ประชาชนได้ไม่ถึงสิบราย ให้บริษัทจัดการยุติการจําหน่ายหน่วยลงทุนและให้ถือว่าการอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนั้นสิ้นสุดลง และให้บริษัทจัดการแจ้งให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าว และคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินที่ได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน หากบริษัทจัดการไม่สามารถคืนเงินและผลประโยชน์ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการต้องชําระดอกเบี้ยให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุน ในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทจัดการชําระเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนครบถ้วน ข้อ ๗ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อความที่แสดงว่าบริษัทจัดการหรือนายทะเบียนจะปฏิเสธการลงทะเบียนการโอนหรือการจํานําหน่วยลงทุนไว้ในคําขอเปิดบัญชีเพื่อซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ (2) แจ้งให้นายทะเบียนทราบถึงข้อจํากัดตาม (1) ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการว่าจะออกใบหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน ใบหน่วยลงทุนต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) คําบอกชื่อว่าเป็นหน่วยลงทุน (2) ชื่อ ประเภท อายุโครงการ (ถ้ามี) และวัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดอายุโครงการ (ถ้ามี) (3) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (4) เลขที่ใบหน่วยลงทุน และจํานวนหน่วยลงทุนที่ถือ (5) วัน เดือน ปี ที่ออกใบหน่วยลงทุน (6) ชื่อบริษัทจัดการ (7) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ (8) ข้อจํากัดว่าจะนําหน่วยลงทุนไปจําหน่ายจ่ายโอน จํานําหรือนําไปเป็นประกันมิได้ (9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการ และตราประทับของบริษัทจัดการ(ถ้ามี) หรือลายมือชื่อนายทะเบียน แล้วแต่กรณี ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในใบหน่วยลงทุนตาม (2) (3) (4) (6) และ (7)ให้บริษัทจัดการดําเนินการยกเลิกและเปลี่ยนใบหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยไม่ชักช้า ข้อ ๙ บริษัทจัดการอาจกําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพว่า จะออกหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนแทนการออกใบหน่วยลงทุนก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้บริษัทจัดการต้องออกหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน หรือปรับปรุงรายการในสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนให้เป็นปัจจุบัน และส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในโครงการ หนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ประเภท และอายุโครงการ (ถ้ามี) และวัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดอายุโครงการ (ถ้ามี) (2) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (3) ประเภทของหน่วยลงทุน (ถ้ามี) (4) วัน เดือน ปี ที่ซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุน (5) จํานวนหน่วยลงทุนหรือจํานวนเงินที่ซื้อหรือขายคืนแต่ละครั้ง และจํานวนหน่วยลงทุนคงเหลือ (6) ชื่อบริษัทจัดการ (7) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ (8) ข้อจํากัดว่าจะนําหน่วยลงทุนไปจําหน่ายจ่ายโอน จํานํา หรือนําไปเป็นประกันมิได้ (9) ลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามรับรองเพื่อบริษัทจัดการ ข้อ ๑๐ ในการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบในการตรวจสอบการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้บริษัทจัดการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๒ ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับข้อมูลการจัดการกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้สํานักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทจัดการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการลงทุนในหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ขายคืนหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับควาเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,713
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 51/2543 เรื่อง แบบรายการและระยะเวลาจัดทำความเห็นเกี่ยวกับคำเสนอซื้อ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 51/2543 เรื่อง แบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 250 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “กิจการ” และคําว่า “สํานักงาน” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 5/2538 เรื่อง แบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 ““ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือ ประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กก. 5/2538 เรื่อง แบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 “ข้อ 4/1 นอกจากการส่งข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้กิจการส่งความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อตามแบบ 250-2 หรือความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอใหม่ในคําเสนอซื้อตามแบบ 250-2-ก ต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ความเห็นที่กิจการยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,714
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 59/2545 เรื่อง แบบรายการและระยะเวลาจัดทำความเห็นเกี่ยวกับคำเสนอซื้อ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 59/2545 เรื่อง แบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 250 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 5/2538 เรื่อง แบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 51/2543เรื่อง แบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 ตุลาคมพ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “คําเสนอซื้อ” หมายความว่า คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (2) “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (3) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (4) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ เมื่อกิจการได้รับสําเนาคําเสนอซื้อจากผู้ทําคําเสนอซื้อ ให้กิจการจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อตามแบบ 250-2 ท้ายประกาศนี้ และยื่นต่อสํานักงาน พร้อมทั้งส่งสําเนาความเห็นดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายของกิจการตามรายชื่อในทะเบียนผู้ถือหุ้นล่าสุด และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่กิจการได้รับสําเนาคําเสนอซื้อ ข้อ ๔ เมื่อกิจการได้รับสําเนาประกาศแสดงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อเสนอในคําเสนอซื้อตามแบบ 247-6-ก จากผู้ทําคําเสนอซื้อ ให้กิจการจัดทําความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอใหม่ในคําเสนอซื้อดังกล่าวตามแบบ 250-2-ก ท้ายประกาศนี้ และยื่นต่อสํานักงาน พร้อมทั้งส่งสําเนาความเห็นดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายของกิจการ และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่กิจการได้รับสําเนาประกาศดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้กิจการจะไม่จัดทําความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอซื้อใหม่ก็ได้ (1) กรณีผู้ทําคําเสนอซื้อแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อให้ดีกว่าเดิม และในการให้ความเห็นในครั้งก่อน กิจการและที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นของกิจการได้ให้ความเห็นต่อข้อเสนอเดิมว่าเป็นข้อเสนอที่สมควรตอบรับ (2) กรณีผู้ทําคําเสนอซื้อแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อให้ดีกว่าเดิม และในการให้ความเห็นในครั้งก่อน กิจการและที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นของกิจการได้ให้ความเห็นถึงความสมควรหรือไม่สมควรในการตอบรับข้อเสนอเดิม พร้อมทั้งได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับราคาขั้นต่ําของราคาเสนอซื้อที่ผู้ถือหุ้นสมควรตอบรับไว้ด้วยแล้ว ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของกิจการ ในกรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการหรือผู้ทําคําเสนอซื้อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในคําเสนอซื้ออย่างมีนัยสําคัญ สํานักงานอาจสั่งการให้กิจการจัดทําความเห็นของกิจการเพิ่มเติมตามแบบ 250-2 และยื่นต่อสํานักงาน พร้อมทั้งส่งสําเนาความเห็นดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายของกิจการ และตลาดหลักทรัพย์ ภายในระยะเวลาที่กําหนดก็ได้ ข้อ ๖ ในการจัดทําความเห็นตามแบบ 250-2 หรือแบบ 250-2-ก กิจการต้องจัดให้มีความเห็นของบุคคลที่กิจการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นของกิจการด้วย ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาทางการเงินที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ข้อ ๗ ภายหลังจากการทําคําเสนอซื้อในครั้งก่อนสิ้นสุดลง หากกิจการได้รับสําเนาคําเสนอซื้อจากผู้ทําคําเสนอซื้อรายเดิมอีก ให้กิจการจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อครั้งใหม่ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีความเห็นของที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ราคาเสนอซื้อในคําเสนอซื้อที่ยื่นครั้งใหม่นี้เป็นราคาที่ไม่ด้อยไปกว่าราคาเสนอซื้อที่กําหนดในคําเสนอซื้อเดิม และ (2) ข้อเท็จจริงที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นของกิจการ ณ ปัจจุบัน มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสําคัญแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างการทําคําเสนอซื้อครั้งก่อน ข้อ ๘ ข้อมูลกิจการและข้อมูลของที่ปรึกษาผู้ถือหุ้นที่แสดงในแบบ 250-2 และแบบ 250-2-ก ต้องมีข้อความถูกต้องครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริง ไม่มีข้อมูลที่อาจทําให้ บุคคลอื่นสําคัญผิดในสาระสําคัญ รวมทั้งไม่มีการปกปิดข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญซึ่งควร บอกให้แจ้ง ข้อ ๙ นอกจากการส่งข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้กิจการส่งความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อตามแบบ 250-2 หรือความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอใหม่ในคําเสนอซื้อตามแบบ 250-2-ก ต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๐ การจัดทําความเห็นของกิจการเกี่ยวกับคําเสนอซื้อที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 5/2538 เรื่อง แบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,715
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 5/2542 เรื่อง แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2542 เรื่อง แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศใช้แบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ให้ใช้แบบ F81-1 ท้ายประกาศนี้ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นอันเนื่องมาจากการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพให้ใช้แบบ F81-2 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,716
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณ เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกส่วนที่ 1 หน้า 1 และส่วนที่ 2 ถึงส่วนที่ 4 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2541 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้แบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกหน้า 3 ถึงหน้า 6 หน้า 8 ถึงหน้า 10 หน้า 14 และหน้า 16 ถึงหน้า 29 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2541 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้คําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป เว้นแต่บริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ใดเข้ามีภาระผูกพันในลักษณะใดดังต่อไปนี้ภายหลังจากวันที่ประกาศนี้ได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา แต่ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2543 ให้ประกาศนี้มีผลใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นั้นตั้งแต่วันที่บริษัทเข้ามีภาระผูกพันดังกล่าวเป็นต้นไป (1) ภาระผูกพันในฐานะเป็นผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative warrants)หรือออปชัน (Options) ไม่ว่าออปชันนั้นจะเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ หรือ (2) ภาระผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาตามอนุพันธ์ประเภทฟิวเจอร์ (Futures) ฟอร์เวิร์ด (Forwards) สวอป (Swaps) หรือสัญญาอื่นในทํานองเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์อื่นใดที่มิใช่เพื่อการป้องกันความเสี่ยงตามที่สํานักงานยอมรับ ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,717
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 64/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 64/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการค้าหลักทรัพย์ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ รายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามแบบและวิธีการที่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยกําหนดด้วยความเห็นชอบของสํานักงานและอย่างน้อยต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้ (1) ชื่อหลักทรัพย์ (2) เป็นรายการซื้อหรือรายการขายหลักทรัพย์ (3) ราคาซื้อขายและอัตราผลตอบแทน (yield) (4) ปริมาณการซื้อขาย (5) เวลาที่ซื้อขาย (6) ประเภทของคู่ค้า (7) วันส่งมอบหลักทรัพย์ (8) เป็นการทําธุรกรรมซื้อหรือขายตามปกติ (outright transaction) หรือเป็นการซื้อหรือขายโดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน (repurchase agreement) ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์รายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์แก่ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลา 9.00 - 12.00 น. ให้รายงานภายในเวลา 12.30 น.ของวันที่ทําการซื้อขาย (2) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลา 12.01 - 15.30 น. ให้รายงานภายในเวลา 16.00 น.ของวันที่ทําการซื้อขาย (3) รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นภายหลังเวลา 15.30 น. ให้รายงานภายในเวลา 9.00 น. ของวันทําการถัดไป ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,718
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2543 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 3 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 1 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความในส่วนที่ 1 ของแบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้เพิ่มความในส่วนที่ 6 ของแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นส่วนที่ 6 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ข้อ 3 ให้เพิ่มความในส่วนที่ 7 ของแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นส่วนที่ 7 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 - 2 - ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในหน้า 9/1 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความในหน้า 9/1 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในหน้า 11 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความในหน้า 11 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 6 ให้เพิ่มความในหน้า 31 และหน้า 32 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นความในหน้า 31 และหน้า 32 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 3 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 29/2543 เรื่อง ข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับ #### ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 #### (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,719
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และ วิธีการยื่นคําขออนุญาต อาศัยอํานาจตามความในข้อ11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้ จํานวน 5 ชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขออนุญาต (1) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้น โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแบบ 69-1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ยกเว้นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นมานั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่บริษัทยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว (2) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (3) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ (4) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (5) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกหุ้น (6) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี) (7) รายงานการตรวจสอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับล่าสุด (กรณีสถาบันการเงิน) (8) หนังสืออนุญาตให้เพิ่มทุนจากกระทรวงการคลัง (กรณีบริษัทเงินทุน) (9) หนังสือรับรองจากบริษัทเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (10) หนังสือรับรองจากผู้บริหารเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 (11) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (12) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันจากคณะกรรมการตรวจสอบ หรือกรรมการอิสระ (ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบ) หรือผู้สอบบัญชี (13) หนังสือรับรองจากกรรมการอิสระว่า มีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการบริษัท และสามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาตในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นต่างๆ และเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (14) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่คณะกรรมการบริษัทมีการมอบอํานาจให้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลอื่นทําหน้าที่แทน (ถ้ามี) (15) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยจากคณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการอิสระ(ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบ) (16)กระดาษทําการของผู้สอบบัญชี (กรณีบริษัทที่ไม่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรก) ข้อ ๒ เมื่อผู้ขออนุญาตได้ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามข้อ 1 แล้ว สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ตรวจพิจารณาความครบถ้วนของข้อมูลและเอกสารหลักฐานโดยละเอียด ทั้งนี้ ในกรณีที่คําขออนุญาตที่ยื่นยังมีรายละเอียดไม่ครบถ้วน ให้ผู้ยื่นขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลตามที่สํานักงานแจ้งให้ทราบให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากผู้ขออนุญาตรายใดไม่จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่สํานักงานแจ้งให้ทราบภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตอีกต่อไป (2) เมื่อสํานักงานได้รับข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนหรือที่ได้แก้ไขจนถูกต้องครบถ้วนแล้ว สํานักงานจะมีหนังสือแจ้งตอบรับแบบคําขออนุญาต ในกรณีจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจเดินทางไปเยี่ยมชมกิจการของผู้ขออนุญาต และให้บริษัทจัดทําสรุปข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเพิ่มเติมภายหลังการเยี่ยมชมกิจการส่งให้สํานักงานก่อนที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งตอบรับแบบคําขออนุญาต (3) มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 45 วันนับจากวันที่สํานักงานตอบรับแบบคําขออนุญาต ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,720
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 2/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเป็นตัวแทนในการซื้อขายหน่วยลงทุน โดยบริษัทหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 2/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเป็นตัวแทนในการซื้อขายหน่วยลงทุน โดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 113 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนปิดและกองทุนเปิด “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “ขาย” หมายความรวมถึง การเสนอขายด้วย “ประกาศที่ สน. 49/2544” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 49/2544 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือเป็นตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “ประกาศที่ กน. 3/2544” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “คําแนะนําทั่วไป” หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใด โดยมิได้คํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน และความต้องการของบุคคลนั้น “คําแนะนําเฉพาะเจาะจง” หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลนั้น “เจ้าหน้าที่การตลาด” หมายความว่า ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด “บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน “ผู้ให้คําแนะนํา” หมายความว่า ผู้ให้คําแนะนําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน “ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล “ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่จะเป็นตัวแทนในการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีพนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ ทั้งนี้ คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การขอรับความเห็นชอบ การให้ความเห็นชอบ และการสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าว ให้เป็นไปตามประกาศที่ สน. 49/2544 โดยอนุโลม (2) มีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนในการซื้อขายหน่วยลงทุนในลักษณะเดียวกันกับระบบงานในการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนสนับสนุนของนิติบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศที่ สน. 49/2544 โดยอนุโลม ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องจัดส่งข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานดังกล่าวให้สํานักงานพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนในการซื้อขายหน่วยลงทุน ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ปฏิบัติ หรือดูแลให้พนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามข้อ 2(1) ปฏิบัติตามประกาศที่ กน. 3/2544 หมวด 1 การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และหมวด 3 การควบคุมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึงข้อ 26 โดยอนุโลม ในกรณีที่พนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนรายใดมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศที่ กน. 3/2544 หมวด 1 การขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และหมวด 3 การควบคุมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้มาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) สั่งให้กระทําหรืองดเว้นการกระทํา (3) ภาคทัณฑ์ (4) สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลาที่กําหนด ในกรณีที่พนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่ดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตาม (1) (2) หรือ (3) สํานักงานอาจสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรายนั้น ๆ ได้ ข้อ ๔ ในกรณีที่พนักงานผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนรายใดถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด การอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา การปฏิบัติงานเป็นผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุน หรือการปฏิบัติงานเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล สํานักงานมีอํานาจสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 3(4) ได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่การลงทุนในหน่วยลงทุนเกิดจากความประสงค์ของผู้ลงทุนเองโดยบริษัทหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ได้ให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน (execution only) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต้องจัดทําหลักฐานที่แสดงให้เห็นได้ว่าการลงทุนดังกล่าวบริษัทหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ได้มีการให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ประเภทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีพนักงานตามข้อ 2(1) ประจําอยู่ที่สํานักงานใหญ่หรือสาขาอย่างน้อยแห่งละหนึ่งคนในขณะที่สํานักงานใหญ่หรือสาขานั้นทําการขายหน่วยลงทุน เว้นแต่ สํานักงานใหญ่หรือสาขาดังกล่าวได้จัดให้มีบริการการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออื่นใดแทน หรือได้จัดให้มีบริการเฉพาะการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่านั้นโดยไม่มีการให้คําแนะนําทั่วไปหรือคําแนะนําเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ลงทุน การจัดให้มีพนักงานตามวรรคหนึ่ง สําหรับสํานักงานใหญ่หรือสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้จัดให้มีพนักงานดังกล่าวภายในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 และสําหรับสํานักงานใหญ่หรือสาขาอื่นนอกเหนือจากนั้น ให้จัดให้มีพนักงานดังกล่าวภายในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,721
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 6/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 6/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 5 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ชักชวนลูกค้า” หมายความว่า การชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการโดยมีการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าด้วย “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สัญญา” หมายความว่า สัญญาจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนลูกค้า “ประกาศ ที่ กน. 14/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า หรือบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ทําหน้าที่วางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “เจ้าหน้าที่การตลาด” หมายความว่า ผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่การตลาด “บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน “ผู้ให้คําแนะนํา” หมายความว่า ผู้ให้คําแนะนําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการตั้งตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุน “ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน” หมายความว่า ผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน “ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า ตัวแทนสนับสนุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและการตั้งตัวแทนสนับสนุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการทําการชักชวนลูกค้าด้วยตนเอง นอกจากบริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามประกาศ ที่ กน. 14/2543 แล้ว บริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ในการชักชวนลูกค้าด้วยตนเอง บริษัทจัดการต้องมีพนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าที่เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ และในกรณีที่บริษัทจัดการมอบหมายให้พนักงานผู้ใดทําหน้าที่วางแผนการลงทุนโดยมิได้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า พนักงานผู้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบด้วย พนักงานตามวรรคสองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๔ ในการตั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บุคคลดังกล่าวต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ ให้นําความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 3 มาใช้กับตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นนิติบุคคล โดยอนุโลม ข้อ ๕ การให้ความเห็นชอบบุคคลตามข้อ 3 และข้อ 4 ให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๖ ในการตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการต้องทําสัญญาตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลเป็นหนังสือ โดยกําหนดสิทธิและหน้าที่ของบริษัทจัดการและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ และต้องมีข้อตกลงที่กําหนดให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และบริษัทจัดการต้องดูแลให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลปฏิบัติตามข้อตกลงและข้อกําหนดในประกาศนี้ด้วย หมวด ๑ การชักชวนลูกค้า ข้อ ๗ ในการชักชวนลูกค้า บริษัทจัดการและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นนิติบุคคลต้องจัดให้มีคู่มือลูกค้าหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการชักชวนลูกค้าเพื่อให้พนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าแจกจ่ายให้แก่ลูกค้าที่ยังไม่เคยทําสัญญากับบริษัทจัดการนั้น ทั้งนี้ คู่มือลูกค้าหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการชักชวนลูกค้าต้องมีรายการข้อมูลตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดาแจกจ่ายคู่มือลูกค้าหรือเอกสารอื่นใดที่ใช้ในการชักชวนลูกค้าตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๘ ในการชักชวนลูกค้า บริษัทจัดการและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องปฏิบัติตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ (1) ชักชวนด้วยความสุจริต เป็นธรรม รวมทั้งใช้ความระมัดระวังเอาใจใส่ในการชักชวน โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) ชักชวนโดยอธิบายให้ลูกค้าทราบถึงลักษณะและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ (3) ชักชวนโดยมีหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์และทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ และมีเอกสารหลักฐานที่สามารถนํามาใช้อ้างอิงได้ (4) ไม่นําข้อมูลของลูกค้าไปเปิดเผย เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ตามกฎหมาย (5) เปิดเผยข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อสิทธิประโยชน์ของลูกค้า (6) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น ค่าธรรมเนียมหรือผลตอบแทนที่ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลอาจได้รับจากการชักชวนนั้น เป็นต้น (7) ไม่ชักชวนในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือละเว้นการเปิดเผยข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือให้คําแนะนําโดยมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่น ข้อ ๙ ในการชักชวนลูกค้า ให้บริษัทจัดการและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลที่สําคัญในการตัดสินใจลงทุนดังต่อไปนี้ให้ลูกค้าทราบ (1) ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจัดการ ซึ่งมีรายละเอียดตามที่กําหนดในข้อ 21 แห่งประกาศที่ กน. 14/2543 (2) คําเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของลูกค้าว่าอาจไม่ได้รับเงินทุนและผลประโยชน์คืนเท่ากับจํานวนเงินทุนที่ได้มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการลงทุน (3) คําเตือนในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธการให้ข้อมูลส่วนตัวหรือการให้ข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นปัจจุบันแก่บริษัทจัดการว่าลูกค้าอาจได้รับคําแนะนําที่ไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของลูกค้า เนื่องจากบริษัทจัดการได้พิจารณาจากข้อมูลเพียงเท่าที่ลูกค้าเปิดเผยให้ทราบเท่านั้น และ (4) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด หมวด ๒ ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๑๐ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบที่สํานักงานอนุญาตให้บริษัทจัดการตั้งเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล นอกจากต้องปฏิบัติตามที่กําหนดในหมวด 1 แล้ว บุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ด้วย ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตั้งตัวแทนช่วงในการชักชวนลูกค้าหรือในการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีความระมัดระวังเอาใจใส่ในการทํางาน โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) ปฏิบัติตามและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (3) จัดทํารายงาน ชี้แจง หรือจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลเรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้านอกเหนือจากที่ลูกค้ามีหน้าที่ต้องชําระต่อบริษัทจัดการ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเรียกเก็บค่าบริการที่สถาบันการเงินอาจเรียกได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นนิติบุคคลอาจรับมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ลูกค้ามอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากลูกค้า พร้อมทั้งมอบหลักฐานการรับมอบหลักทรัพย์และทรัพย์สินดังกล่าวให้ลูกค้าด้วย ข้อ ๑๓ ในการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า ให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดา และพนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าของนิติบุคคลที่เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล เสนอนโยบายการลงทุนให้เหมาะสม (suitability) โดยคํานึงถึงข้อมูลและปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้จากการทําความรู้จักกับลูกค้า (know your customer) หมวด ๓ การควบคุมการชักชวนลูกค้าและการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า ข้อ ๑๔ บริษัทจัดการต้องดูแลให้พนักงานของตนที่ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าหรือวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ และบริษัทจัดการต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้พนักงานของตนเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการจัดทําบันทึกข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า (customer’s profile) การชักชวนลูกค้าและการวางแผนการลงทุน และดูแลให้พนักงานด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดาเข้ารับการอบรมดังกล่าวด้วย (2) จัดให้มีระบบควบคุมภายในในส่วนที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าและการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า เช่น จัดทําและจัดเก็บเอกสารหลักฐานการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น (3) จัดให้มีหน่วยงานที่ควบคุมดูแลให้พนักงานของตนปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ และมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นนิติบุคคลต้องดูแลให้พนักงานของตนผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าและทําหน้าที่วางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดในประกาศนี้ และต้องดําเนินการตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ ให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าและวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้าที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลหรือพนักงานของตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลนั้น และหากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ให้บันทึกการร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ลูกค้าลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวจะดําเนินการแก้ไขปัญหา (2) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว (3) แจ้งข้อร้องเรียนให้บริษัทจัดการทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน (4) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ให้ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลแจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้บริษัทจัดการทราบ หรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น (5) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น หมวด ๔ การกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามประกาศนี้ หรือตามประกาศที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้มาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (2) สั่งให้กระทําหรืองดเว้นการกระทํา (3) ภาคทัณฑ์ (4) สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลาที่กําหนด ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่ดําเนินการตามคําสั่งของสํานักงานตาม (1) (2) หรือ (3) สํานักงานอาจสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลนั้นได้ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบรายใดถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด หรือการอนุญาตให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนตั้งให้เป็นผู้ให้คําแนะนํา หรือการปฏิบัติงานเป็นผู้ทําหน้าที่ขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหรือตัวแทนสนับสนุน สํานักงานมีอํานาจสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 16(4) ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,722
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น. 8/2545 เรื่อง การกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ./น. 8/2545 เรื่อง การกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับ ข้อร้องเรียนของลูกค้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 113 วรรคสอง มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุนการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ และกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ “ตัวแทน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ตั้งให้เป็นตัวแทนตามมาตรา 100โดยได้รับอนุญาตจากสํานักงาน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการรับข้อร้องเรียนของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอธุรกิจหลักทรัพย์ที่เกิดจากการกระทําของบริษัท พนักงาน หรือตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์ (2) รับข้อร้องเรียนตาม (1) จากลูกค้า และรับข้อร้องเรียนของลูกค้าที่มาจากตัวแทนซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าได้ (3) บันทึกการร้องเรียนตาม (1) จากลูกค้าที่กระทําด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้ลูกค้าลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่บริษัทหลักทรัพย์จะดําเนินการแก้ไขปัญหา (4) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนตามข้อ 3 และข้อ 4 (5) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียน และการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการต่อข้อร้องเรียนของลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว และในกรณีที่เป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนที่บริษัทหลักทรัพย์รับจากลูกค้าไว้ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งข้อร้องเรียนดังกล่าวให้ตัวแทนเพื่อดําเนินการแก้ไขก่อน (2) สรุปจํานวนข้อร้องเรียนที่สามารถแก้ไขปัญหาได้และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยแยกหมวดหมู่ของข้อร้องเรียนและแจ้งให้สํานักงานทราบเป็นรายไตรมาสภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาสนั้น (3) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งผลการแก้ไขปัญหาของข้อร้องเรียนดังกล่าวให้ลูกค้าภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น ข้อ ๔ เมื่อปรากฏว่าลูกค้าร้องเรียนต่อสํานักงาน และสํานักงานได้จัดส่งข้อร้องเรียนให้บริษัทหลักทรัพย์แล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว และรายงานผลการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียนนั้น และหาก บริษัทหลักทรัพย์ยังดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนดังกล่าวไม่แล้วเสร็จ ให้รายงานความคืบหน้าของการดําเนินการทุกระยะเวลาสามสิบวันจนกว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จ เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,723
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 13/2545 เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2545 เรื่อง แบบคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่อาจขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้ตามข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้สถาบันการเงินที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามแบบ 90 -14 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยสําเนาสองชุดต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ผ่านสํานักงาน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,724
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น. 19/2545 เรื่อง การบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่มิใช่บริษัทมหาชนจำกัด
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น. 19 /2545 เรื่อง การบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ที่มิใช่บริษัทมหาชนจํากัด เนื่องจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 004/2544-2546 เรื่อง มาตรฐานการบัญชีที่ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจํากัด ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2544 เพื่อยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีจํานวน 7 ฉบับกับธุรกิจที่มิใช่บริษัทมหาชนจํากัด แต่โดยที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าบริษัทหลักทรัพย์ที่มิใช่บริษัทมหาชนจํากัดนั้น ยังคงมีความจําเป็นต้องจัดทําบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยประกาศยกเว้นในบางฉบับอยู่ เพื่อให้สามารถแสดงถึงผลการดําเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อประกอบการตัดสินใจในการทําธุรกรรมกับบริษัทหลักทรัพย์ได้ ดังนั้น เพื่อให้ลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ทั้งที่เป็นบริษัทมหาชนจํากัดและบริษัทจํากัดมีโอกาสได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลการดําเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์อย่างเท่าเทียมกัน จึงเห็นควรวางข้อกําหนดเกี่ยวกับการบัญชีสําหรับบริษัทหลักทรัพย์เพิ่มเติม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล และการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะที่มิได้เป็นบริษัทมหาชนจํากัด และมิได้เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่น ยังคงมีหน้าที่ต้องจัดทําบัญชีเพื่อแสดงผลการดําเนินงานและฐานะการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ประกาศยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่มิได้เป็นบริษัทมหาชนจํากัด จํานวน 5 ฉบับ ดังต่อไปนี้ด้วย (1) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25 เรื่อง งบกระแสเงินสด (2) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (3) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสําหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (4) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 45 เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม (5)มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 48 เรื่อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงิน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับงบการเงินประจํางวดการบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,725
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 20/2545 เรื่อง กำหนดลักษณะของคำว่า "ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน" "นิติบุคคลร่วมลงทุน" และ "กิจการ"
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2545 เรื่อง กําหนดลักษณะของคําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” “นิติบุคคลร่วมลงทุน” และ “กิจการ” อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กําหนดกิจการการจัดการเงินร่วมลงทุนให้เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้คําว่า “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” “นิติบุคคลร่วมลงทุน” และ “กิจการ” มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) “ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่ลงทุนในนิติบุคคลร่วมลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บริษัทประกันภัย (ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นนิติบุคคลตาม (ฌ) (ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฐ) กองทุนรวม (ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศที่มีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) (ต) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุนตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป (2) “นิติบุคคลร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (3) “กิจการ” หมายความว่า วิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อมที่มีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,726
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 21/2545 เรื่อง แบบคำขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน แบบคำขอและแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 21/2545 เรื่อง แบบคําขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน แบบคําขอและแบบใบอนุญาต ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 5 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน พ.ศ. 2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คําขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน ให้เป็นไปตามแบบ 90-15 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ คําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน ให้เป็นไปตามแบบ 90-16 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระธานกรรมการ คณะกรรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,727
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 22/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการเงินร่วมลงทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการเงินร่วมลงทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 6 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน พ.ศ. 2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน “นิติบุคคลร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน “กิจการ” หมายความว่า วิสาหกิจขนาดกลางหรือวิสาหกิจขนาดย่อมที่มีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนจัดทํารายงานดังต่อไปนี้ ตามแบบที่สํานักงานประกาศกําหนด และจัดส่งให้สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส (1)รายงานการถือหุ้นของนิติบุคคลร่วมลงทุนในกิจการภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุน (2)รายงานการเพิ่มหรือลดเงินทุน และการลงทุนของนิติบุคคลร่วมลงทุน (3)รายงานการรับรองมูลค่าสินทรัพย์ถาวรและการจ้างแรงงานของกิจการที่นิติบุคคลร่วมลงทุนได้ลงทุน ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนดําเนินการให้นิติบุคคลร่วมลงทุนจัดส่งงบการเงินของนิติบุคคลร่วมลงทุนต่อสํานักงานภายในกําหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) งบการเงินสําหรับงวดการบัญชีในรอบระยะเวลาหกเดือนภายในสองเดือนนับแต่วันสิ้นงวด (2) งบการเงินสําหรับงวดการบัญชีประจําปีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ข้อ ๔ บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนจะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของกิจการใดเพื่อนิติบุคคลร่วมลงทุนหนึ่ง ๆ เกินหนึ่งในสามของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการมิได้ หากนิติบุคคลร่วมลงทุนดังกล่าวมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งถือหุ้นเกินหนึ่งในสามของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลร่วมลงทุน และในขณะเดียวกันถือหุ้นในกิจการเกินหนึ่งในสามของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการนั้น ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่ามีการถือหุ้นโดยบุคคลใด ๆ อันเป็นการฝ่าฝืนวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนต้องดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการถือหุ้นเกินอัตราส่วนดังกล่าว การนับจํานวนหุ้นที่บุคคลใดถือในนิติบุคคลร่วมลงทุนหรือในกิจการตามวรรคหนึ่งให้นับรวมจํานวนหุ้นของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 4 ให้การขึ้นทะเบียนนิติบุคคลร่วมลงทุนสิ้นสุดลง และให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนแจ้งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 4 ข้อ ๖ ให้บริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนแจ้งการเลิกนิติบุคคลร่วมลงทุนต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จดทะเบียนเลิกนิติบุคคลร่วมลงทุนกับกระทรวงพาณิชย์ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,728
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 25/2545 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ แบบคำขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม แบบคำขอและแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 25/2545 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ แบบคําขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม แบบคําขอและ แบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 3(1) ข้อ 5 ข้อ 7 และข้อ 9 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม พ.ศ. 2545 ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนจดทะเบียน ทั้งนี้ ทุนจดทะเบียนต้องไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท และเมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมแล้ว ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๒ คําขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้เป็นไปตามแบบ 90-17 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ คําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามแบบ 90-18 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,729
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 26/2545 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2545 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การจัดการกองทุนรวม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,730
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 27/2545 เรื่อง แบบคำขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน เอกสารหลักฐานประกอบคำขอ และระยะเวลาการยื่นคำขอ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 27/2545 เรื่อง แบบคําขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน แบบคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน เอกสารหลักฐานประกอบคําขอ และระยะเวลาการยื่นคําขอ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน พ.ศ. 2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดขึ้นใหม่ เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ให้ผู้ที่ประสงค์จะจัดตั้งบริษัทดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบ 90-19 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 ข้อ ๓ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตดังกล่าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแบบ 90-20 หรือแบบ 90-21พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ ท้ายประกาศนี้ โดยให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,731
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 28/2545 เรื่อง การกำหนดแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 28/2545 เรื่อง การกําหนดแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 9 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน พ.ศ. 2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,732
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 33/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 ทวิ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 4(2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 9 ข้อ 16 ข้อ 20 และข้อ 21 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2543เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ให้นําข้อกําหนดในประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มาใช้บังคับกับการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามข้อ 7 ทวิ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 4(2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 9 ข้อ 16 ข้อ 20 และข้อ 21 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยอนุโลม ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,733
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 34/2545 เรื่อง แบบคำขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัท แบบคำขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลัก
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 34/2545 เรื่อง แบบคําขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัท แบบคําขอ รับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์แ1.34\_ที่ กย. 34ทับ2545ละตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 5 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2545 ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ยื่นคําขอรับความเห็นชอบตามแบบ 90-22 พร้อมเอกสารหลักฐานท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยสําเนาสองชุดต่อสํานักงาน ข้อ ๓ ห้บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามข้อ 2 ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามแบบ 90-23 พร้อมเอกสารหลักฐานท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยสําเนาสองชุดต่อสํานักงาน โดยให้ยื่นภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัท ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,734
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 35/2545 เรื่อง สัดส่วนหรือลักษณะของผู้ถือหุ้นหรือผู้มีอำนาจควบคุม ของบริษัทหลักทรัพย์ ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 35/2545 เรื่อง สัดส่วนหรือลักษณะของผู้ถือหุ้นหรือผู้มีอํานาจควบคุมของ บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 1(1) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2545 ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ “ตราสารแห่งหนี้” หมายความว่า ตราสารแห่งหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์สามารถให้บริการได้ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เกี่ยวกับการประกอบกิจการอื่นของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากข้อตกลง ความเข้าใจ ความสัมพันธ์ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือโดยประการอื่น และไม่ว่าจะเกิดจากการได้มาหรือการถือหุ้นโดยตนเองหรือโดยบุคคลอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลดังต่อไปนี้ด้วย (1) บุคคลที่โดยพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ (2) บุคคลที่โดยพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงานของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ข้อ ๒ บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ต้องไม่มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไปของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือผู้มีอํานาจควบคุม เป็นผู้ค้าหลักทรัพย์ซึ่งมีการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนตราสารแห่งหนี้เป็นปกติ ผู้ค้าหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,735
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 39/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการทรัพย์สิน ที่มีผู้อุทิศให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 39/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้เพื่อใช้ในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการดําเนินการกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้กองทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนนั้นสามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการจะมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนก็ได้ (2) กรณีเป็นทรัพย์สินประเภทที่กองทุนนั้นไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้ บริษัทจัดการต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่กองทุนได้รับทรัพย์สินนั้นมาหรือภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดระยะเวลาที่ผู้อุทิศให้ระบุห้ามมิให้กองทุนจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวบริษัทจัดการจะจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวก็ได้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์สิน ให้บริษัทจัดการจ่ายจากทรัพย์สินของกองทุน ข้อ ๕ ทรัพย์สินใดที่กองทุนได้รับจากผู้อุทิศอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 3 และข้อ 4 ด้วย ทั้งนี้ ในกรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินตามข้อ 4(2) บริษัทจัดการต้องจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวภายในสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ ใช้บังคับ หรือภายในสองปีนับแต่พ้นกําหนดระยะเวลาที่ผู้อุทิศให้ระบุห้ามมิให้กองทุนจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว แล้วแต่ระยะเวลาใดจะนานกว่า เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการกองทุน ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,736
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กนทับย. 43/2545 เรื่อง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ บุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน/ย. 43/2545 เรื่อง บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับความเห็นชอบ บุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 1 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนที่เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามข้อ 1(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน พ.ศ. 2545 (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,737