title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ข. 3/2548 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 3/2548 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ โดยที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นสมควรประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ไว้เป็นข้อกําหนดกลางเพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการใช้บังคับและมีหลักพิจารณาบนบรรทัดฐานเดียวกัน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 มาตรา 103 มาตรา 113 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 134 และมาตรา 135 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า (ก) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ในตําแหน่งหรือลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ การบริหารจัดการธุรกิจหลักทรัพย์ การบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด และ (ข) บุคคลซึ่งเป็นกรรมการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการนิติบุคคลที่ทําหน้าที่ในการรับฝากทรัพย์สินหรือดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด (2) “บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า (ก) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตําแหน่งหรือลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การวิเคราะห์สัญญาซื้อขายล่วงหน้า การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการทรัพย์สิน ของลูกค้าในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด และ (ข) บุคคลซึ่งเป็นกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด (3) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ เว้นแต่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงานจะมีประกาศเฉพาะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๓ บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นบุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (4) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้เป็นหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน (5) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงานให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใดในการเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (6) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงานให้ถอนรายชื่อจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือปฏิเสธการแสดงรายชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม (7) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งขององค์กรที่มีอํานาจตามกฎหมายต่างประเทศให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใด ซึ่งเทียบได้กับการเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (8) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน โดยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้น หรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. (9) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตาม (3) หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดตาม (3) (10) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานหรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ต่อผู้ใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจบริการทางการเงินอื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (11) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งกําหนดโดยหน่วยงานหรือสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (12) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉลต่อผู้อื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (13) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (14) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือต่อองค์กรที่มีอํานาจกํากับดูแลสถาบันการเงิน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (15) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควร เพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแล (ถ้ามี) กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจหลักทรัพย์โดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ การดําเนินธุรกิจ หรือลูกค้าของธุรกิจนั้น ข้อ ๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์คนใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 สํานักงานจะไม่ให้ความเห็นชอบ หรือไม่ขึ้นทะเบียน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งนั้น เว้นแต่กรณีที่ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) หรือ (15) และข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวรับฟังได้ว่า พฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้น มิใช่กรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบห้าปีนับถึงวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบหรือคําขอขึ้นทะเบียนต่อสํานักงาน หรือนับถึงวันที่เริ่มปฏิบัติงานในตําแหน่งนั้น สํานักงานจะใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ก็ได้ ในการนี้ สํานักงานจะกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่ใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่าบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์คนใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ให้สํานักงานสั่งพัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวเป็นระยะเวลาตามที่กําหนด แต่ไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานมีคําสั่ง เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) หรือ (15) ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังนี้ (1) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบห้าปีนับถึงวันที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อสํานักงาน สํานักงานจะใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ก็ได้ หรือ (2) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลในกรณีนั้นมิได้มีลักษณะร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ สํานักงานจะกําหนดให้บุคคลดังกล่าวยังสามารถปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ต่อไปก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ สํานักงานจะสั่งภาคทัณฑ์บุคคลดังกล่าว หรือกําหนดให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการเรื่องหนึ่งเรื่องใดด้วยก็ได้ ข้อ ๖ เมื่อกรณีมีเหตุสมควร โดยคํานึงถึงประโยชน์ของสาธารณชน และประสิทธิภาพในการป้องปรามมิให้บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจในการปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ สํานักงานจะดําเนินการแจ้งข่าวข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งพัก เพิกถอน หรือภาคทัณฑ์บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ต่อสาธารณชน หรือจัดข้อมูลดังกล่าวไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้ ข้อ ๗ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 4 หรือข้อ 5 ให้สํานักงานคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงานสามารถนํามาใช้ประกอบการพิจารณาให้รวมถึง (1) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น (2) นัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (3) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม (4) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น (5) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (6) ประวัติพฤติกรรมในอดีต เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น (7) ความตระหนักของผู้กระทําในเรื่องดังกล่าว เช่น จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (8) ข้อเท็จจริงอื่น เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือดําเนินการ การปิดบังอําพรางหรือทําลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น ข้อ ๘ เพื่อให้การใช้ดุลพินิจสั่งการของสํานักงานตามประกาศนี้มีความชัดเจนและผ่านกระบวนการทบทวนตามสมควร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงใดที่อาจนําไปสู่การสั่งการที่ไม่เป็นคุณต่อบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์คนใด ก่อนที่สํานักงานจะมีคําวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว สํานักงานต้องกําหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทําหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ภายใต้กระบวนพิจารณาของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานดังกล่าว อย่างน้อยต้องกําหนดให้มีการแจ้งให้บุคคลที่อาจเป็นผู้รับการสั่งการนั้นได้ทราบข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับข้อสงสัยถึงการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลดังกล่าว และแจ้งสิทธิของบุคคลดังกล่าวในการชี้แจงและนําเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสงสัยนั้น ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีข้อเท็จจริงที่แสดงถึงการมีลักษณะต้องห้าม ตามข้อ 3(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) หรือกรณีอื่นใดที่สํานักงานเห็นว่าได้ผ่านกระบวนวิธีพิจารณามาเพียงพอแล้ว ข้อ ๙ ข้อเท็จจริงใดที่สํานักงานได้นํามาใช้ประกอบการพิจารณากําหนดมาตรการทางปกครองตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้ว สํานักงานจะนําข้อเท็จจริงดังกล่าวมาสั่งการซ้ําอีกไม่ได้ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบถึงการใช้เป็นปัจจัยประกอบการเพิ่มระดับหรือการกําหนดประเภทของมาตรการทางปกครอง เพราะเหตุที่บุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามขึ้นอีก ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,427
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่จัดประชุม สัมมนา อบรม ฝึก หรือการอื่น ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่จัดประชุม สัมมนา อบรม ฝึก หรือการอื่น ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 -------------------------------------------- โดยที่มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ํากว่าสิบแปดปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึกหรือลาเพื่อการอื่น ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทํางานของเด็กซึ่งจัดโดยสถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่อธิบดีเห็นชอบ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องสถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่จัดประชุม สัมมนา อบรม ฝึกหรือการอื่น ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ "สถานศึกษา" หมายความว่า โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบันมหาวิทยาลัย ที่มีอํานาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ข้อ ๔ สถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเห็นชอบให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ํากว่าสิบแปดปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุมสัมมนา รับการอบรม รับการฝึกหรือลาเพื่อการอื่นตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้แก่ (1) สถานศึกษาของรัฐทุกแห่ง (2) สถานศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (3) หน่วยงานของรัฐทุกแห่งที่มีอํานาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ประชุม สัมมนา อบรม ฝึกหรือการอื่น เพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทํางานของเด็กหรือเยาวชน หรือฝึกอาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งหน่วยงาน (4) หน่วยงานของเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย อันมีวัตถุประสงค์ในการดําเนินการเพื่อให้การศึกษา ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทํางาน หรือเป็นผู้ดําเนินการฝึกตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกอาชีพ ข้อ ๕ หน่วยงานอื่นนอกเหนือจากข้อ 4 ซึ่งประสงค์จะจัดประชุม สัมมนาอบรม ฝึกหรือการอื่น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทํางานให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ํากว่าสิบแปดปี ให้ยื่นคําขอต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อให้ความเป็นชอบ คําขอและหนังสือให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ศักดิ์ชัย ศักดิ์กุลวงศ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,428
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเข้ามาพำนักระยะยาว ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้ที่ประสงค์จะเข้ามาพํานักระยะยาว ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 -------------------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะเข้ามาพํานักระยะยาว ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะเข้ามาพํานักระยะยาวในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป (2) เป็นผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนมีสัญชาติต่อไปนี้ (1) ญี่ปุ่น (2) เครือรัฐออสเตรเลีย (3) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (4) สาธารณรัฐฟินแลนด์ (5) สาธารณรัฐฝรั่งเศส (6) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (7) สาธารณรัฐอิตาลี (8) ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (9) ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (10) ราชอาณาจักรสวีเดน (11) สมาพันธรัฐสวิส (12) สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (13) แคนาดา และ(14) สหรัฐอเมริกา (3) มีเงินฝากประจําในธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือมีเงินฝากประจําในธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและมีรายได้ประจําต่อปี ดังนี้ (ก) มีเงินฝากประจําเป็นมูลค่าเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่าสามล้านบาท หรือ (ข) มีเงินฝากประจําเป็นมูลค่าเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาท และมีรายได้ประจําต่อปีไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านสองแสนบาท และจะต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่าสามล้านบาทภายในกําหนดระยะเวลาหนึ่งปี ทั้งนี้ ให้คงเงินในบัญชีตามวรรคหนึ่งไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อครบระยะเวลาดังกล่าวแล้วให้ถอนเงินนั้นได้ ทั้งนี้ จะต้องมีเงินฝากเหลือในบัญชีไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านห้าแสนบาท ซึ่งการถอนเงินฝากจะถอนเงินได้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซื้อคอนโดมิเนียม ซื้อยานพาหนะ และการศึกษาของบุตร ในราชอาณาจักรเท่านั้น (4) มีเอกสารหรือหลักฐานรับรองความประพฤติ หรือหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่คนต่างด้าวถือสัญชาติ และหากคนต่างด้าวมีถิ่นพํานักถาวรอยู่ในประเทศอื่นต้องมีเอกสารดังกล่าวจากประเทศที่คนต่างด้าวมีถิ่นพํานักถาวรด้วย และ (5) มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพของไทยคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พํานักในราชอาณาจักรโดยมีจํานวนเงินเอาประกันภัยสําหรับค่ารักษาพยาบาลในกรณีผู้ป่วยนอกไม่น้อยกว่าสี่หมื่นบาท และในกรณีผู้ป่วยในไม่น้อยกว่าสี่แสนบาท ข้อ ๒ คู่สมรสของคนต่างด้าวที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถติดตามเข้ามาพํานักระยะยาวในราชอาณาจักรได้ โดยต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 1 (2) (3) (4) และ (5) ข้อ ๓ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุไม่เกินยี่สิบปีบริบูรณ์ สามารถติดตามมาพํานักในราชอาณาจักร โดยมีสิทธิได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 1 (5) ข้อ ๔ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มีสิทธิได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวประเภทพํานักระยะยาว โดยมีรหัสกํากับ Non - O-X จากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ หรือจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง สําหรับใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้ง อายุการใช้งานการตรวจลงตราห้าปี โดยเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราครั้งละหนึ่งหมื่นบาท ข้อ ๕ เมื่อคนต่างด้าวตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้พํานักอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาไม่เกินห้าปีตามอายุการตรวจลงตรา ข้อ ๖ การอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ภายหลังจากที่ครบกําหนดเวลาอนุญาตตามข้อ 5 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอํานาจอนุญาตให้อยู่ต่อไปอีกไม่เกินห้าปีและยื่นคําขอตามแบบที่กําหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดแบบเอกสารตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และวิธีการขอหลักฐานการแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก และการขอกลับเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามเดิม พร้อมทั้งเสียค่าธรรมเนียมรายละหนึ่งหมื่นบาท ข้อ ๗ ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ดําเนินการแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อพํานักในราชอาณาจักรครบกําหนดเก้าสิบวัน และต่อไปให้กระทําเช่นเดียวกันทุกระยะเก้าสิบวัน ข้อ ๘ การตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อ 5 การอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามข้อ 6 และการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวตามข้อ 7 ให้เป็นไปตามที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด ข้อ ๙ คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทํางานเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือภารกิจของหน่วยงานราชการและสถานสาธารณกุศลให้สามารถทํางานดังกล่าวได้ ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ข้อ ๑๐ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเป็นอันสิ้นผลในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ 1 (3) (2) ไม่มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพตามข้อ 1 (5) (3) ทํางานโดยไม่ได้รับอนุญาต (4) มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวให้หมายรวมถึงคู่สมรสและบุตรด้วย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองดําเนินการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งทุกระยะหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ข้อ ๑๑ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรประเภทอื่นใด ต่อมามีความประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ ให้สามารถกระทําได้ ข้อ ๑๒ การดําเนินการตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการต่างประเทศหรือสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนดแล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,429
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบตามระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2544
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบตามระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2544 -------------------------------------------- โดยที่ระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่าด้วยการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2544 ข้อ 5 ข้อ 9ข้อ 11 ข้อ 35 ข้อ 36 ข้อ 37 ข้อ 43 ข้อ 44 และข้อ 60 กําหนดให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกําหนดแบบหนังสือเตือน คําสั่งยึด อายัดทรัพย์สิน ประกาศยึด อายัดทรัพย์สินคําร้องคัดค้านการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน คําสั่งถอนการยึด อายัดทรัพย์สิน และประกาศถอนการยึด อายัดทรัพย์สิน เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบดังกล่าว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงกําหนดแบบหนังสือเตือน คําสั่งยึด อายัดทรัพย์สิน ประกาศยึด อายัดทรัพย์สิน คําร้อง คัดค้านการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน คําสั่งถอนการยึด อายัดทรัพย์สิน และประกาศ ถอนการยึด อายัดทรัพย์สิน ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2544 รังสฤษฏ์ จันทรัตน์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,430
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5 /2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยที่เป็นการสมควรออกข้อกําหนดกลางเกี่ยวกับลักษณะของผู้บริหารของบริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน เพื่อประโยชน์ประกอบการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว โดยดําเนินการภายใต้ระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร อันเป็นระบบที่รองรับข้อมูลรายชื่อผู้บริหารที่นําส่งโดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 ด้วย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) “ระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร” หมายความว่า ระบบข้อมูลที่จัดขึ้นโดยสํานักงานภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ เพื่อแสดงรายชื่อบุคคลที่เป็นผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ เมื่อประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับใดวางข้อกําหนดให้การพิจารณาลักษณะของผู้บริหารของบริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว การพิจารณาองค์ประกอบดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศฉบับนี้ ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 บริษัทใด ประสงค์จะนํารายชื่อบุคคลที่เป็นผู้บริหารของบริษัทเข้าสู่ระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ให้การดําเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศนี้ด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๓ ผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (4) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งขององค์กรที่มีอํานาจตามกฎหมายต่างประเทศ ห้ามมิให้เป็นผู้บริหารของบริษัท (5) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตาม (3) หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดตาม (3) (6) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง (duties of care) และซื่อสัตย์สุจริต (duties of loyalty) เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวมของกิจการที่ตนเป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุม หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (7) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉลผู้อื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (8) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (9) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมการอําพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่ว่าจะเป็นการกระทําในนามของตนเองหรือกระทําแทนนิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (10) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเยี่ยงผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ที่ตนเป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุม หรือบริษัทย่อยของบริษัทดังกล่าว เพื่อมิให้บริษัทฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตลาดทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดําเนินธุรกิจของบริษัทนั้น ข้อ ๔ ผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องเป็นบุคคลซึ่งบริษัทได้แจ้งชื่อต่อสํานักงาน และสํานักงานได้แสดงรายชื่อบุคคลนั้นไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารแล้ว สํานักงานจะแสดงรายชื่อผู้บริหารไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารก็ต่อเมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือข้อสงสัยใด ๆ ต่อสํานักงานเกี่ยวกับการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ของบุคคลดังกล่าว แต่ทั้งนี้ การแสดงรายชื่อบุคคลใดไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร มิได้เป็นการรับรองว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลที่บริษัทแจ้งชื่อเพื่อการนําเข้าสู่ระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 และพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้วไม่เกินสิบห้าปีนับถึงวันที่แจ้งชื่อต่อสํานักงาน สํานักงานจะปฏิเสธการแสดงรายชื่อไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร เว้นแต่กรณีที่ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้น มิได้ร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร สํานักงานจะใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้น มาเป็นเหตุในการปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้บริหารรายดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารก็ได้ ในการนี้ สํานักงานจะกําหนดเงื่อนไขในการแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารด้วยก็ได้ ในกรณีที่สํานักงานปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้บริหารไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร เนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) สํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์และผู้บริหารรายดังกล่าวทราบถึงกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณารับรายชื่อผู้บริหารรายดังกล่าวเพื่อแสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้บริหารรายดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคสองเป็นเหตุให้สํานักงานมีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทใด สํานักงานจะกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขสําหรับการรับพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งต่อไป โดยคํานึงถึงระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคสองด้วยก็ได้ ข้อ ๖ ในระหว่างที่คําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการพิจารณา หรือระหว่างที่การอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ยังคงมีผล หากผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงจากรายชื่อที่ได้แจ้งชื่อต่อสํานักงาน ให้บริษัทแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมกับการแจ้งรายชื่อผู้บริหารรายใหม่ (ถ้ามี) ต่อสํานักงาน เพื่อให้สํานักงานพิจารณานํารายชื่อดังกล่าวไปแสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารต่อไป เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าบริษัทไม่แจ้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร หรือมีผู้บริหารรายใหม่ที่สํานักงานจะปฏิเสธการแสดงรายชื่อไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ให้สํานักงานมีอํานาจนําข้อเท็จจริงดังกล่าวไปใช้ประกอบการพิจารณาคําขออนุญาตที่ค้างอยู่หรือทบทวนการอนุญาตที่ได้ให้ไว้แล้วสําหรับหลักทรัพย์ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อก็ได้ ข้อ ๗ การแจ้งข้อมูลผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือข้อมูลการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกากําหนด ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่าผู้บริหารรายใดที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ให้สํานักงานถอนการแสดงรายชื่อบุคคลนั้นจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังนี้ (1) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบห้าปีนับถึงวันที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อสํานักงาน สํานักงานจะไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะ ต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการถอนการแสดงรายชื่อบุคคลนั้นจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร หรือ (2) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลในกรณีนั้นมิได้มีลักษณะร้ายแรงถึงขนาดที่จะถอนการแสดงรายชื่อบุคคลนั้นจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร สํานักงานจะแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารต่อไปก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ สํานักงานจะกําหนดเงื่อนไขในการแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารด้วยก็ได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่สํานักงานถอนการแสดงรายชื่อบุคคลใดจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร เนื่องจากการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(5) (6) (7) (8) (9) หรือ (10) สํานักงานอาจแจ้งให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์และผู้บริหารรายดังกล่าว ทราบถึงกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณารับรายชื่อผู้บริหารรายดังกล่าวเพื่อแสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งถอนการแสดงรายชื่อผู้บริหารรายดังกล่าวจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ตามประกาศนี้ ให้สํานักงานจัดให้มีฐานข้อมูลรายชื่อผู้บริหารที่ประชาชนเข้าตรวจดูได้ สํานักงานอาจแจ้งข่าวข้อมูลต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการปฏิเสธการแสดงรายชื่อหรือการถอนรายชื่อผู้บริหารจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม หรือการกําหนดเงื่อนไขในการแสดงรายชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือจัดข้อมูลดังกล่าวไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้ ข้อ ๑๑ เพื่อประโยชน์ตามข้อ 5 และข้อ 8 สํานักงานอาจนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาประกอบการพิจารณาในการปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อของบุคคลใดในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร หรือเพื่อกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการแสดงรายชื่อผู้บริหารรายดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร (1) ลักษณะของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม (2) ผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม (3) ระดับความร้ายแรงของผลกระทบหรือความเสียหายต่อบริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม (4) พฤติกรรมอื่นของบุคคลดังกล่าว เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของสํานักงาน การให้ความร่วมมือในการแก้ไขหรือเยียวยาการกระทําที่เกิดขึ้น การปิดบังอําพรางหรือทําลายข้อมูล หรือการให้ข้อมูลเท็จ เป็นต้น ข้อ ๑๒ นอกจากเหตุแห่งการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 แล้ว การยกเลิกการแสดงรายชื่อบุคคลไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารให้กระทําได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) ผู้บริหารตาย (2) ผู้บริหารพ้นจากตําแหน่งหน้าที่ในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทซึ่งผู้บริหารดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ สิ้นสุดหน้าที่ในการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 เว้นแต่ผู้บริหารรายดังกล่าวยังคงดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารของบริษัทอื่นที่ได้แจ้งชื่อผู้บริหารรายนั้นเพื่อแสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ข้อ ๑๓ เพื่อให้การใช้ดุลพินิจสั่งการของสํานักงานตามประกาศนี้มีความชัดเจนและผ่านกระบวนการทบทวนตามสมควร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงใดที่อาจนําไปสู่การปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อของบุคคลใดในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ก่อนที่สํานักงานจะมีคําวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว สํานักงานต้องเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายเพื่อทําหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ภายใต้กระบวนพิจารณาของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงานดังกล่าว อย่างน้อยต้องกําหนดให้มีการแจ้งให้บุคคลที่อาจถูกปฏิเสธหรือถอนการแสดงรายชื่อนั้น ได้ทราบข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับข้อสงสัยถึงการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลดังกล่าว และแจ้งสิทธิของบุคคลดังกล่าวในการชี้แจงและนําเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสงสัยนั้น ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีข้อเท็จจริงที่แสดงถึงการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(1) (2) (3) หรือ (4) หรือกรณีอื่นใดที่สํานักงานเห็นว่าได้ผ่านกระบวนวิธีพิจารณามาเพียงพอแล้ว ข้อ ๑๔ ข้อเท็จจริงใดที่สํานักงานได้นํามาใช้ประกอบการพิจารณากําหนดมาตรการทางปกครองตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 8 แล้ว สํานักงานจะนําข้อเท็จจริงดังกล่าวมาสั่งการซ้ําอีกไม่ได้ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบถึงการใช้ข้อเท็จจริงนั้นเป็นปัจจัยประกอบการพิจารณา เพราะบุคคลซึ่งเป็นเหตุแห่งการสั่งการในครั้งก่อนมีพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามขึ้นอีก ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,431
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคำขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคําขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ------------------------------------------- โดยที่ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2542 ข้อ 6 กําหนดให้ลูกจ้างซึ่งประสงค์จะรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือในกรณีอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างยื่นคําขอรับเงินสงเคราะห์ตามแบบที่อธิบดีกําหนด เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบดังกล่าว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงกําหนดแบบคําขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2543 ศักดิ์ชัย ศักดิ์กุลวงศ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,432
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การออกหนังสือผ่านแดนไทย - มาเลเซีย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การออกหนังสือผ่านแดนไทย - มาเลเซีย --------------------------------------------------------- โดยที่มีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าฯ ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตร์ ให้มีหนังสือเดินทาง ลงวันที่ 17 กันยายน พระพุทธศักราช 2460 ให้ประชาชนผู้จะเดินทางไปแต่เพียงเมืองต่างประเทศใกล้เคียงติดต่อกับพระราชอาณาเขตร์ และจะออกจากหัวเมืองไปแล้วก็ให้ไปขอรับหนังสือเดินทางจากผู้ว่าราชการจังหวัด ประกอบกับการเดินทางข้ามแดนระหว่างไทย - มาเลเซีย ของบุคคลที่มีภูมิลําเนาในพื้นที่ชายแดนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการจราจรข้ามแดนระหว่างมะลายูของอังกฤษกับประเทศไทย ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) และการออกใบเบิกทางไทย - มาเลเซีย ของฝ่ายไทยที่กําหนดไว้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การออกใบเบิกทางไทย - มาเลเซีย ลงวันที่ 16 มีนาคม 2549 เป็นอัตราที่ไม่เหมาะสมในปัจจุบัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การออกใบเบิกทางไทย – มาเลเซีย ลงวันที่ 16 มีนาคม 2549 ข้อ ๒ กําหนดค่าใช้จ่ายในการขอออกหนังสือผ่านแดนไทย - มาเลเซีย ของฝ่ายไทย ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการขอให้ออกหนังสือผ่านแดน ฉบับละ 200 บาทต่อคน กรณีบุตรซึ่งมีอายุต่ํากว่า 12 ปี เดินทางพร้อมผู้ถือหนังสือผ่านแดน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจให้นายอําเภอ ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซียเป็นผู้ดําเนินการได้ ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,433
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 12/2548 เรื่อง การกำหนดลักษณะศูนย์กลางหรือเครือข่ายที่ไม่ถือเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 12/2548 เรื่อง การกําหนดลักษณะศูนย์กลางหรือเครือข่ายที่ไม่ถือเป็น ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ศูนย์กลางหรือเครือข่ายที่จัดให้มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มิได้มีการรวบรวมคําเสนอซื้อเสนอขายจากผู้เสนอซื้อหลายรายและผู้เสนอขายหลายราย หรือมิได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์หรือจัดให้มีระบบซึ่งกําหนดเกี่ยวกับวิธีการในการซื้อขายไว้เป็นการล่วงหน้า มิให้ถือเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,434
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับหน่วยงานฝึกอบรมของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน สําหรับหน่วยงานฝึกอบรมของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม 2540 กําหนดให้สถานประกอบการจัดให้ลูกจ้างระดับต่าง ๆ เข้ารับการฝึกอบรมและแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐานหัวหน้างาน บริหาร และวิชาชีพเพื่อให้การจัดฝึกอบรมสามารถขยายผลเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าว กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2540 และหลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 เพื่อให้หน่วยงานเอกชนเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานได้ และเพื่อให้หน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีแนวปฏิบัติในการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานไปในทิศทางเดียวกัน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงกําหนดแนวปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้แก่ สถาบันความปลอดภัยในการทํางาน กองฝึกอบรมแรงงาน สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ศูนย์ความปลอดภัยในการทํางานเป็นหน่วยจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ข้อ ๒ หน่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตามข้อ 1 สามารถจัดฝึกอบรมได้ในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหารและระดับวิชาชีพ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้างข้อ 15 (3)สถาบันความปลอดภัยในการทํางานเป็นหน่วยจัดฝึกอบรม ข้อ ๓ ให้หน่วยฝึกอบรมฯ ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขออนุญาตการจัดฝึกอบรมต่ออธิบดี พร้อมแนบรายละเอียด ได้แก่ หลักสูตรการจัดอบรมกําหนดการ สถานที่จํานวนผู้เข้ารับการอบรม และประวัติวิทยากร โดยระบุหัวข้อวิชาการบรรยายนําส่งต่ออธิบดีล่วงหน้า ข้อ ๔ การดําเนินการฝึกอบรมต้องจัดให้มีการฝึกอบรมตามหลักสูตรมาตรฐานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกําหนด ข้อ ๕ จํานวนผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับวิชาชีพ ต้องมีจํานวนผู้เข้ารับการอบรมไม่เกิน 70 คน ต่อ 1 ห้องอบรม ข้อ ๖ ให้หน่วยงานฝึกอบรมของกรมฯ รายงานสรุปผลการฝึกอบรมโดยแนบรายชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน สถานประกอบการ หลักสูตรที่ผ่านการอบรมวันเดือนปีที่อบรม ต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเสร็จสิ้นการอบรม ข้อ ๗ ให้หน่วยงานจัดฝึกอบรมของกรมฯ เป็นผู้ออกใบรับรองผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร ข้อ ๘ ให้สถาบันความปลอดภัยในการทํางาน ดําเนินการแทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการทดสอบตามหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นผู้ออกวุฒิบัตร ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2540 รังสฤษฎ์ จันทรรัตน์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,435
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวแก่บุคคลซึ่งถือหนังสือเดินทางจีน และถือหนังสือเดินทางจีนไทเปเป็นการชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวแก่บุคคลซึ่งถือหนังสือเดินทางจีน และถือหนังสือเดินทางจีนไทเปเป็นการชั่วคราว ---------------------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรอนุญาตให้บุคคลซึ่งถือหนังสือเดินทางจีนและถือหนังสือเดินทางจีนไทเปที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราเป็นการชั่วคราว เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะเป็นผู้ใช้อํานาจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 43 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บุคคลซึ่งถือหนังสือเดินทางจีนและถือหนังสือเดินทางจีนไทเปซึ่งประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับสามเดือนนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในฐานะผู้ใช้อํานาจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี วิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,436
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 13/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำรงความเพียงพอของเงินกองทุนและการทำประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงความเพียงพอของ เงินกองทุนและการทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 97 มาตรา 109 มาตรา 117 มาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 41/2543 เรื่อง การกําหนดความเพียงพอของเงินกองทุนหมุนเวียน หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนหมุนเวียน หลักประกัน หรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทจัดการ และข้อกําหนดของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “กฎหมายหลักทรัพย์” หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทจัดการ “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลที่มอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ส่วนของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ปรากฏในงบการเงินของบริษัทจัดการ ซึ่งมีวิธีการคํานวณตามมาตรฐานการบัญชี “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ บริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดํารงความเพียงพอของเงินกองทุน ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือน โดยการดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่ายี่สิบล้านบาท ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมจัดให้มีการประกันภัยสําหรับความรับผิดที่เกิดขึ้น จากการดําเนินธุรกิจหรือการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการกองทุนรวม ผู้บริหาร และพนักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทุกกองทุนรวมซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการ ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันทําสัญญาประกันภัยดังกล่าว ไม่เกินสองหมื่นห้าพันล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมต่ํากว่าหนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดังกล่าวจัดทําประกันภัยในวงเงินไม่น้อยกว่าส่วนต่างของเงินจํานวนหนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาทหักด้วยมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมนั้น (2) ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทุกกองทุนรวมซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการ ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันทําสัญญาประกันภัยดังกล่าว มากกว่าสองหมื่นห้าพันล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมต่ํากว่าสองร้อยยี่สิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดังกล่าวจัดทําประกันภัยในวงเงินไม่น้อยกว่าส่วนต่างของเงินจํานวนสองร้อยยี่สิบล้านบาทหักด้วยมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมนั้น ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ด้วย ให้คํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทุกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพรวมเข้าในมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าสามสิบล้านบาทแต่ไม่น้อยกว่ายี่สิบล้านบาท ณ วันสุดท้ายของเดือนใด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดังกล่าวปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) รายงานส่วนของผู้ถือหุ้นต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรืออาจรู้ว่าส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าจํานวนดังกล่าว (2) จัดทําแผนการปรับปรุงเพื่อให้มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่าสามสิบล้านบาท และให้ยื่นต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรืออาจรู้ว่าส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าจํานวนดังกล่าว เว้นแต่ก่อนพ้นกําหนดเวลา บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามจํานวนดังกล่าวได้ (3) ดําเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแผนการปรับปรุงที่ได้ยื่นต่อสํานักงานตาม (2) และรายงานความคืบหน้าในการดําเนินการตามแผนดังกล่าว ตลอดจนรายงานส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงานภายในวันทําการที่เจ็ดของเดือนถัดไป ทั้งนี้ จนกว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมจะมีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่าสามสิบล้านบาท ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมแจ้งต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมนั้นสามารถปรับปรุงส่วนของผู้ถือหุ้นได้โดยมีจํานวนไม่ต่ํากว่าสามสิบล้านบาท ข้อ ๗ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนตามข้อ 4 ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) รายงานต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรืออาจรู้ถึงการไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนดังกล่าว (2) เปลี่ยนให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมหรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในข้อ 8 ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรู้หรืออาจรู้ถึงการไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนดังกล่าว เว้นแต่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาขยายระยะเวลาออกไปได้ ทั้งนี้ การคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุนรวมรายใหม่ต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ และในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนบริษัทจัดการ กองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดําเนินการภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการเลิกกองทุนรวม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (3) ระงับการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวมจนกว่าจะสามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนตามประกาศนี้และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจได้ตามปกติ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อป้องกันมิให้มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการได้รับความเสียหาย เพื่อใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวมในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ลงทุน หรือเพื่อเปลี่ยนตั๋วเงินที่ครบกําหนดไถ่ถอนกับบริษัทเงินทุนที่เป็นผู้ออกตั๋วเงินดังกล่าว (4) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานมีคําสั่ง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความเพียงพอของเงินกองทุนหรือการปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อนี้สามารถดําเนินการได้อย่างลุล่วง หรือเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงจากการลงทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม ข้อ ๘ ในการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวมตามข้อ 7(2) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ขอรับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ขอมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวมนั้น ข้อ ๙ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้มีรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมเกี่ยวกับการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวมตามข้อ 7(2) โดยให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หมวด ๒ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๑๐ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดํารงความเพียงพอของเงินกองทุน ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ด้วย ให้ดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่ายี่สิบล้านบาท (2) ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งไม่ได้จัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ต่ํากว่าสิบล้านบาท (3) ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีการกํากับดูแลฐานะตามกฎหมายอื่นหรือที่ต้องดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามกฎหมายหลักทรัพย์อยู่แล้ว ให้ดํารงเงินกองทุนและเงินสํารองไม่น้อยกว่าหลักเกณฑ์ของกฎหมายอื่นหรือกฎหมายหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๑๑ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ด้วยจัดให้มีการประกันภัยสําหรับความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจหรือการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการ ผู้บริหาร และพนักงาน โดยให้นําความในข้อ 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีการกํากับดูแลฐานะตามกฎหมายอื่นหรือที่ต้องดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามกฎหมายหลักทรัพย์อยู่แล้ว ข้อ ๑๒ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่ตามข้อ 10(1) และ (2) ปฏิบัติตามข้อ 6 วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม (1) บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ด้วย มีส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าสามสิบล้านบาทแต่ไม่น้อยกว่ายี่สิบล้านบาท ณ วันสุดท้ายของเดือนใด (2) บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งไม่ได้จัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มีส่วนของผู้ถือหุ้นต่ํากว่าสิบห้าล้านบาทแต่ไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ณ วันสุดท้ายของเดือนใด ข้อ ๑๓ เมื่อบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลปรับปรุงส่วนของผู้ถือหุ้นได้ตามจํานวนดังต่อไปนี้ ให้แจ้งต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลนั้นสามารถปรับปรุงส่วนของผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้ (ก) ไม่ต่ํากว่าสามสิบล้านบาท ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ด้วย (ข) ไม่ต่ํากว่าสิบห้าล้านบาท ในกรณีของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลซึ่งไม่ได้จัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนตามข้อ 10 ได้ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) รายงานต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรู้หรืออาจรู้ถึงการไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนดังกล่าว (2) รายงานให้ลูกค้าทราบถึงการไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรู้หรืออาจรู้ถึงการไม่สามารถดํารงความเพียงพอของเงินกองทุนดังกล่าว (3) ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลกับลูกค้ารายใหม่ หรือยอมให้ลูกค้าเพิ่มเงินทุนของกองทุนส่วนบุคคล หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในสัญญากับลูกค้ารายเดิมอันอาจส่งผลกระทบต่อความเพียงพอของเงินกองทุน แต่ไม่รวมถึง (ก) การรับบริหารเงินสะสมและเงินสมทบของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่เป็นลูกค้าอยู่แล้วในขณะนั้น และ (ข) การจ่ายเงินให้แก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สิ้นสมาชิกภาพ (4) หากบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้รับแจ้งจากลูกค้าว่าประสงค์จะเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเป็นรายอื่น ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลเปลี่ยนให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายอื่นเข้าจัดการกองทุนส่วนบุคคล ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากลูกค้า ทั้งนี้ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว (5) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานมีคําสั่ง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความเพียงพอของเงินกองทุนหรือการปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อนี้สามารถดําเนินการได้อย่างลุล่วง หรือเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงจากการลงทุนของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2548 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,437
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปให้แก่คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาช่วยเหลือฟื้นฟูโรงงานและสถานประกอบการที่ประสบอุทกภัย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปให้แก่คนต่างด้าว ที่เดินทางเข้ามาช่วยเหลือฟื้นฟูโรงงานและสถานประกอบการที่ประสบอุทกภัย ------------------------------------------------------------- ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555 ได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปให้แก่คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาช่วยเหลือฟื้นฟูโรงงานและสถานประกอบการที่ประสบอุทกภัย ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555 มีกําหนดเวลาใช้บังคับถึงวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 นั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 อนุมัติขยายเวลาดําเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปให้แก่คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาช่วยเหลือฟื้นฟูโรงงานและสถานประกอบการที่ประสบอุทกภัย ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555 ต่อไป จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 อาศัยอํานาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ประกอบกับมาตรา 12 (1) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 และมาตรา 35 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมสําหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวให้แก่คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่กําหนดในข้อ 1 (1) (ค) แห่งกฎกระทรวง พ.ศ. 2523 ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2546) และค่าธรรมเนียมสําหรับคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปตามที่กําหนดในข้อ 1 (3) แห่งกฎกระทรวง พ.ศ. 2523 ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2546) เฉพาะคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ (รหัส Non-Ex) เพื่อการติดต่อหรือประกอบธุรกิจและการทํางาน (รหัส Non-B) เพื่อการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง (รหัส Non-IM) เพื่อการลงทุนหรือการอื่นที่เกี่ยวกับการลงทุนภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (รหัส Non-IB) หรือเพื่อการอื่น ๆ (รหัส Non-O) ที่เกี่ยวข้องเป็นการชั่วคราว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,438
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นและการลดหย่อนค่าธรรมเนียมให้แก่คนต่างด้าวที่ได้รับการกำหนดสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นและการลดหย่อนค่าธรรมเนียมให้แก่คนต่างด้าว ที่ได้รับการกําหนดสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย ของบุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ----------------------------------------------------------------- ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 อนุมัติหลักเกณฑ์การกําหนดสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย ประเภทไร้สัญชาตินอกกําหนดคนต่างด้าว ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 4 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยและอาศัยอยู่มานาน 2. ประเภทกลุ่มเด็กและบุคคลทั้งที่กําลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาและจบการศึกษาแล้วแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย 3. ประเภทคนต่างด้าวที่ถูกบุพการีทอดทิ้งหรือไม่ปรากฏบิดาและมารดา (คนไร้รากเหง้า) 4. ประเภทบุคคลที่ทําคุณประโยชน์แก่ประเทศ ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกระทรวงมหาดไทยมีประกาศลงวันที่ 26 กันยายน 2555 เรื่อง ให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยและอาศัยอยู่มานาน ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เนื่องจากมีอัตราค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ค่าธรรมเนียมใบสําคัญถิ่นที่อยู่ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และค่าธรรมเนียมในการออกใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว หรือการต่ออายุใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2498) ออกตามความในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 แต่ผู้ที่ได้รับการกําหนดสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 26 กันยายน 2555 ดังกล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นผู้มีฐานะยากจน สมควรได้รับการยกเว้นและลดหย่อนค่าธรรมเนียม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 มาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศให้บุคคลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 26 กันยายน 2555 ดังกล่าวข้างต้นได้รับการยกเว้นและลดหย่อนค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเพื่อมีถิ่นที่อยู่ ค่าธรรมเนียมใบสําคัญถิ่นที่อยู่ค่าธรรมเนียมในการออกใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว และค่าธรรมเนียมในการต่ออายุใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว ในเขตท้องที่ทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บุคคลประเภท (ก) กลุ่มเด็กและบุคคลทั้งที่กําลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาและจบการศึกษาแล้วแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย และ (ข) คนต่างด้าวที่ถูกบุพการีทอดทิ้งหรือไม่ปรากฏบิดาและมารดา (คนไร้รากเหง้า) ให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม และลดหย่อนค่าธรรมเนียม คือ (1) ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเพื่อมีถิ่นที่อยู่ และค่าธรรมเนียมใบสําคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (2) ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการออกใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว และลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการต่ออายุใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว เป็นอัตราปีละหนึ่งร้อยบาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2498) ออกตามความในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ข้อ ๒ บุคคลประเภท (ก) บุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยและอาศัยอยู่มานาน ที่มิได้มีเชื้อสายไทย และ (ข) บุคคลที่ทําคุณประโยชน์แก่ประเทศ ให้ได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียม คือ (1) ให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเพื่อมีถิ่นที่อยู่ เป็นอัตราคนละหนึ่งร้อยบาท และลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบสําคัญถิ่นที่อยู่ เป็นอัตราฉบับละห้าร้อยบาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (2) ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการออกใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว และลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการต่ออายุใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าว เป็นอัตราปีละหนึ่งร้อยบาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2498) ออกตามความในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,439
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ข. 33/2548 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 33/2548 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมอีทีเอฟ โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มี หลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund)” หมายความว่า กองทุนรวมเปิดที่โดยทั่วไปบริษัทจัดการกองทุนรวมจะขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ และจัดให้มีตลาดรอง (organized market) สําหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนของผู้ลงทุนใด ๆ โดยบริษัทได้จัดให้มีผู้ลงทุนรายใหญ่อย่างน้อยหนึ่งรายที่พร้อมจะซื้อและขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรองสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียง “การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องซื้อหรือยืมหลักทรัพย์มาเพื่อส่งมอบ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟกับบริษัทจัดการกองทุนรวมในปริมาณหรือมูลค่าตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท” “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ทําการขายชอร์ตหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟ (exchange traded fund) ที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อบัญชีตนเองได้ โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของสํานักงาน ข้อ ๓ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์จะทําการขายชอร์ตตามข้อ 2 โดยการยืมหน่วยลงทุนมาเพื่อส่งมอบ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการจัดหาแหล่งยืมหน่วยลงทุนไว้ให้พร้อมเพื่อให้สามารถส่งมอบหน่วยลงทุนตามรายการดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่สํานักหักบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดหรือภายในเวลาที่คู่สัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ตกลงกัน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการข้างต้นก่อนการขายชอร์ตหน่วยลงทุนนั้น ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์เก็บรักษาข้อมูลและจัดทํารายงานเกี่ยวกับการขายชอร์ตตามข้อ 2 และข้อ 3 ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,440
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคำขออนุญาตและแบบใบอนุญาตให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กทำงานในเวลาทำงานปกติ ระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึงเวลา 06.00 นาฬิกา
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคําขออนุญาตและแบบใบอนุญาตให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก ทํางานในเวลาทํางานปกติ ระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึงเวลา 06.00 นาฬิกา --------------------------------------- โดยที่มาตรา 47 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ํากว่าสิบแปดปีทํางานในระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึงเวลา 06.00 นาฬิกา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงกําหนดแบบคําขออนุญาตและแบบใบอนุญาตให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กทํางานในเวลาทํางานปกติ ระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึงเวลา 06.00 นาฬิกา ดังนี้ (1) คําขออนุญาตให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กทํางานในเวลาทํางานปกติระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึงเวลา 06.00 นาฬิกา ให้เป็นไปตามแบบ คร. 5 ท้ายประกาศนี้ (2) ใบอนุญาตให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กทํางานตามคําขออนุญาตในข้อ 1 ให้เป็นไปตามแบบ คร. 6 ท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ศักดิ์ชัย ศักดิ์กุลวงศ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,441
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ข. 34/2548 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 34/2548 เรื่อง การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการให้บริการ ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(3)(4) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 30/2543 เรื่อง การทําธุรกรรมและการให้บริการด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ (1) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการค้าหลักทรัพย์ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 5 ข้อ 11 และข้อ 12 (2) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (3) “สถาบันการเงินต่างประเทศ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น (4) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) สัญญาที่กําหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ชําระราคา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เป็นจํานวนและราคาตามที่กําหนดไว้ในสัญญา (ข) สัญญาที่กําหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับชําระเงินหรือต้องชําระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับจํานวนเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในสัญญา (ค) สัญญาที่กําหนดให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะเรียกให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินค้าหรือชําระราคาของสินค้า หรือชําระเงินที่คํานวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กําหนดไว้ในสัญญา หรือเรียกให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าทําสัญญาตาม (ก) หรือ (ข) (5) “สินค้า” หมายความว่า หลักทรัพย์ ทองคํา น้ํามันดิบ เงินตราสกุลใด ๆ หรือทรัพย์สินอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด (6) “ตัวแปร” หมายความว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย ดัชนีทางการเงิน ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ หรือตัวแปรอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนด (7) “ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (8) “ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ภาระหรือสิทธิของบุคคลหนึ่งบุคคลใดอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (9) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (จ) บริษัทประกันวินาศภัย (ฉ) บริษัทประกันชีวิต (ช) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ญ) (ซ) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฌ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ญ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (ฎ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ฏ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ฐ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฑ) กองทุนรวม (ฒ) นิติบุคคลที่มีสินทรัพย์รวมตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป (ณ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป (ด) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ณ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด (ต) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ด) โดยอนุโลม (10) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและได้รับการยอมรับจากสํานักงาน (recognized exchange) (11) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ให้สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองได้และไม่ให้นําความในหมวด 1 มาใช้บังคับกับสถาบันการเงินดังกล่าว หมวด ๑ การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือภาระผูกพันที่บริษัทหลักทรัพย์มีอยู่หรือจะมีในอนาคตอันใกล้นอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินต่างประเทศ หรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้ บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๖ นอกจากกรณีตามข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองนอกศูนย์ซื้อขายสัญญากับคู่สัญญาที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือในศูนย์ซื้อขายสัญญาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ข้อ ๗ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 6 ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามที่สํานักงานประกาศกําหนด บริษัทหลักทรัพย์ที่จะได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีบุคลากรที่ทําหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในจํานวนที่เพียงพอ โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่องานที่รับผิดชอบ (2) มีนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยงจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การจัดการด้านการปฏิบัติการ และระบบการตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทที่มีประสิทธิภาพ และมีระเบียบวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การมีระบบรองรับการคํานวณความเพียงพอของเงินกองทุนตามมาตรฐานที่สํานักงานกําหนดหรือมาตรฐานอื่นที่สูงกว่าตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (ข) การจํากัดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (position limit) ที่บริษัทจะมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อพิจารณาจาก 1. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม 2. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าส่วนที่บริษัทไม่มีการป้องกันความเสี่ยง 3. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสินค้าหรือตัวแปรประเภทใดประเภทหนึ่ง 4. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อคู่สัญญารายใดรายหนึ่ง 5. ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีผลขาดทุน (ค) การมีหน่วยงานตรวจสอบภายใน (internal audit) ที่ทําหน้าที่ตรวจสอบการดําเนินกิจการของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ง) การมีหน่วยงานดูแลการปฏิบัติงาน (compliance unit) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ และมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของบริษัท (จ) การมีระบบการบันทึกข้อมูลและการรายงานข้อมูลต่อผู้บริหารตามลําดับชั้นที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้ ข้อ ๘ ให้สํานักงานพิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับการขออนุญาตซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 7 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งต้องดํารงคุณสมบัติตามข้อ 7 ไว้ตลอดเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๙ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าเป็นทองคําหรือน้ํามันดิบนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาตามข้อ 6 ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ (perfectly hedge) โดยไม่ชักช้า ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทที่กําหนดในข้อ 3(4) (ค) ในฐานะผู้ได้รับสิทธิตามสัญญา ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ให้คําแนะนําแก่คู่สัญญาเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อตนเองตามหมวดนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงคู่สัญญา หรืออันอาจก่อให้คู่สัญญาสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมวด ๒ การให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๑๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบันเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้ บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๑๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นนายหน้าจัดหาคู่สัญญาซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ผู้ลงทุนสถาบันในลักษณะที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยไม่มีภาระรับผิดชอบอย่างอื่นโดยกระทําเป็นทางค้าปกติได้ บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือการจัดการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๑๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 11 หรือข้อ 12 แจ้งให้สํานักงานทราบถึงลักษณะและขอบเขตของการให้บริการล่วงหน้าอย่างน้อยห้าวันทําการก่อนวันเปิดให้บริการดังกล่าว ข้อ ๑๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน หรือให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา โดยจะกระทําเป็นทางค้าปกติได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน บริษัทหลักทรัพย์ที่จะได้รับอนุญาตให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามระบบที่วางไว้ (2) มีนโยบายและมาตรการในการควบคุมและบริหารความเสี่ยง การจัดการด้านการปฏิบัติการ และระบบการควบคุมภายใน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบาย มาตรการ และระบบที่วางไว้ ให้นําความในข้อ 7 วรรคหนึ่งและข้อ 8 มาใช้บังคับกับการยื่นคําขออนุญาตและการพิจารณาอนุญาตของสํานักงานตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ ๑๕ ในการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 11 และข้อ 14 บริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับใบอนุญาตหรือได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๖ ในการให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหมวดนี้ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้า หรืออันอาจก่อให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมวด ๓ อื่นๆ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือให้บริการด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมประการอื่นในการซื้อขายหรือให้บริการดังกล่าว สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการทําธุรกรรมด้านอนุพันธ์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับผู้ลงทุนประเภทที่มีการลงทุนในอนุพันธ์โดยมีมูลค่าที่ใช้อ้างอิง (notional amount) ตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 30/2543 เรื่อง การทําธุรกรรมและการให้บริการด้านอนุพันธ์ของบริษัทหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นยังคงมีฐานะอนุพันธ์หรือปฏิบัติตามความผูกพันของอนุพันธ์ได้เพียงเท่าระยะเวลาที่ยังเหลืออยู่ของสัญญาดังกล่าวและห้ามมิให้ทําการขยายระยะเวลาหรือต่ออายุสัญญานั้น ทั้งนี้ ให้ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์นั้นจนกว่าสัญญาจะสิ้นสุดลง ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ทําธุรกรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศฉบับเดิมให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 รวมทั้งอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เพิ่มเติม
4,442
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ช่วงเวลาการทำงานในวันทำงานปกติและในวันหยุดในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ช่วงเวลาการทํางานในวันทํางานปกติและในวันหยุดในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล ----------------------------------------------- โดยที่ข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กําหนดว่า "แรง" หมายความว่าช่วงเวลาการทํางานในวันทํางานปกติและในวันหยุดตามที่อธิบดีประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ตามประเพณีในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กะกลางวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 นาฬิกา ถึงเวลา 17.00 นาฬิกา เป็นหนึ่งแรงโดยมีเวลาพักตั้งแต่เวลา 12.00 นาฬิกา ถึงเวลา 13.00 นาฬิกา ข้อ ๒ กะกลางคืน ตั้งแต่เวลา 19.00 นาฬิกา ถึงเวลา 23.30 นาฬิกาเป็นหนึ่งแรง ข้อ ๓ กะดึก ตั้งแต่เวลา 01.00 นาฬิกา ถึงเวลา 04.30 นาฬิกาเป็นหนึ่งแรง ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน 2541 ศักดิ์ชัย ศักดิ์กุลวงศ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,444
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดระยะเวลาทำงานปกติและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าจ้างในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดระยะเวลาทํางานปกติและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าจ้าง ในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล ----------------------------------------- โดยที่ข้อ 3 และข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กําหนดให้อธิบดีประกาศกําหนดระยะเวลาทํางานปกติและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าจ้างในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเพื่อตอบแทนการทํางานในระหว่างกําหนดเวลาทํางานปกติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กะกลางวัน เวลา 08.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา จ่ายค้างจ้างหนึ่งแรง เวลา 08.00 นาฬิกา ถึง 12.00 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง เวลา 13.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (2) กะกลางคืน เวลา 19.00 นาฬิกา ถึง 23.30 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างหนึ่งแรง (3) กะดึก เวลา 01.00 นาฬิกา ถึง 04.30 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างหนึ่งแรง ข้อ ๒ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างพิเศษแก่ลูกจ้างตามช่วงเวลาการทํางานดังต่อไปนี้ (1) เวลา 12.00 นาฬิกา ถึง 13.00 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (2) เวลา 17.00 นาฬิกา ถึง 18.00 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (3) เวลา 18.00 นาฬิกา ถึง 19.00 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (4) เวลา 23.30 นาฬิกา ถึง 01.00 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (5) เวลา 04.30 นาฬิกา ถึง 06.00 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (6) เวลา 06.00 นาฬิกา ถึง 07.00 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (7) เวลา 07.00 นาฬิกา ถึง 08.00 นาฬิกา จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง ข้อ ๓ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างซึ่งทํางานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเลภายในสองวันนับแต่วันที่ลูกจ้างทํางานแล้วเสร็จ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2541 ศักดิ์ชัย ศักดิ์กุลวงศ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,445
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรของบุคคลที่ได้รับการตรวจลงตราเดียวภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS Single Visa)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร ของบุคคลที่ได้รับการตรวจลงตราเดียวภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS Single Visa) ----------------------------------------------------------- ด้วยได้มีกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 กําหนดให้ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ยื่นเรื่องขอรับการตรวจลงตราเดียวในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา – แม่โขง ต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลกัมพูชา และได้รับความเห็นชอบให้ตรวจลงตราเดียวจากกระทรวงการต่างประเทศให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่รัฐมนตรีกําหนด โดยเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองประจําช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กําหนดช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในการเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรของบุคคลที่ได้รับการตรวจลงตราเดียวภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS Single Visa) ดังนี้ 1. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ 2. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงใหม่ 3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานภูเก็ต 4. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานหาดใหญ่ 5. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานอู่ตะเภา 6. ด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย 7. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน 8. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงของ 9. ด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง 10. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา 11. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุย ณ บริเวณเขตท่าอากาศยานเกาะสมุย 12. ด่านตรวจคนเข้าเมืองตาก ณ บริเวณเขตสนามบินสุโขทัย 13. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าเรือกรุงเทพ 14. ด่านตรวจคนเข้าเมืองศรีราชา 15. ด่านตรวจคนเข้าเมืองมาบตาพุด 16. ด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย 17. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสมุย ณ ทําเลจอดเรือบริเวณอ่าวหน้าทอน 18. ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต 19. ด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูล 20. ด่านตรวจคนเข้าเมืองกระบี่ 21. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าเรือสงขลา 22. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงราย 23. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี 24. ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 25. ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่ 26. ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,446
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดในกิจการบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดระยะเวลาและวิธีการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดในกิจการบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล --------------------------------------------- โดยที่ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง การคุ้มครองแรงงานในกิจการบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ข้อ 6 กําหนดให้อธิบดีประกาศกําหนดระยะเวลาและวิธีการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกิจการบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้หารือผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างแล้ว จึงกําหนดระยะเวลาและวิธีการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กะกลางวัน เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. จ่ายค่าจ้างหนึ่งแรง เวลา 08.00 น. ถึง 12.00 น. จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง เวลา 13.00 น. ถึง 17.00 น. จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (2) กะกลางคืน เวลา 19.00 น. ถึง 23.30 น. จ่ายค่าจ้างหนึ่งแรง (3) กะดึก เวลา 01.00 น. ถึง 04.30 น. จ่ายค่าจ้างหนึ่งแรง ข้อ ๒ ให้นายจ้างจ่ายค่าพิเศษแก่ลูกจ้างตามช่วงเวลาการทํางานดังต่อไปนี้ (1) เวลา 12.00 น. ถึง 13.00 น. จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (2) เวลา 17.00 น. ถึง 18.00 น. จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (3) เวลา 18.00 น. ถึง 19.00 น. จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (4) เวลา 23.30 น. ถึง 01.00 น. จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (5) เวลา 04.30 น. ถึง 06.00 น. จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (6) เวลา 06.00 น. ถึง 07.00 น. จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง (7) เวลา 07.00 น. ถึง 08.00 น. จ่ายค่าจ้างครึ่งแรง ข้อ ๓ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างซึ่งทํางานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเลภายในสองวันนับแต่วันที่ลูกจ้างทํางานแล้วเสร็จ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 รังสฤษฎ์ จันทรัตน์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,447
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการตรวจลงตรา การขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป และการขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกแก่นายทหารมิตรประเทศ ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม พร้อมทั้งครอบครัว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการตรวจลงตรา การขออนุญาตเพื่ออยู่ใน ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป และการขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก แก่นายทหารมิตรประเทศ ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันการศึกษาทางทหารของ กระทรวงกลาโหม พร้อมทั้งครอบครัว ------------------------------------------------------------------ โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการตรวจลงตรา การขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป และการขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกให้แก่นายทหารมิตรประเทศ ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม ตามอนุมัติกระทรวงกลาโหม พร้อมทั้งครอบครัว เพื่อดํารงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือและการปฏิบัติงานร่วมกันในอนาคต อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้นายทหารมิตรประเทศ ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันการศึกษาทางทหารของกระทรวงกลาโหม ตามอนุมัติกระทรวงกลาโหม พร้อมทั้งครอบครัว ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม การตรวจลงตรา ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป และค่าธรรมเนียมการขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ตามระยะเวลาการศึกษาที่กระทรวงกลาโหมกําหนด ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,448
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ/น/ข. 35/2548 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ข. 35/2548 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 15 มาตรา 18 มาตรา 61 และมาตรา 89 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า (1) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตําแหน่งหรือลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การวิเคราะห์สัญญาซื้อขายล่วงหน้า การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด และ (2) บุคคลซึ่งเป็นกรรมการของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด “บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า (1) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของบริษัทหลักทรัพย์หรือเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ในตําแหน่งหรือลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ การชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับหลักทรัพย์ การบริหารจัดการธุรกิจหลักทรัพย์ การบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. หรือขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. หรือจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด และ (2) บุคคลซึ่งเป็นกรรมการหรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการนิติบุคคลที่ทําหน้าที่ในการรับฝากทรัพย์สินหรือดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือตําแหน่งหรือลักษณะงานอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งหรือลักษณะงานที่ผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติงานได้ก็ต่อเมื่อไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนด “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. จะมีประกาศเฉพาะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๓ บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นบุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (4) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้เป็นหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน (5) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใดในการเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ (6) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ถอนรายชื่อจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือปฏิเสธการแสดงรายชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม (7) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งขององค์กรที่มีอํานาจตามกฎหมายต่างประเทศให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใด ซึ่งเทียบได้กับการเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ (8) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงินโดยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้น หรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. (9) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตาม (3) หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดตาม (3) (10) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานหรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ต่อผู้ใช้บริการธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือธุรกิจบริการทางการเงินอื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (11) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกําหนดโดยหน่วยงานหรือสมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (12) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉลต่อผู้อื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (13) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (14) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือต่อองค์กรที่มีอํานาจกํากับดูแลสถาบันการเงิน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (15) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแล (ถ้ามี) กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ การดําเนินธุรกิจ หรือลูกค้าของธุรกิจนั้น ข้อ ๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคนใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 สํานักงาน ก.ล.ต. จะไม่ให้ความเห็นชอบ หรือไม่ขึ้นทะเบียน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งนั้น เว้นแต่กรณีที่ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) หรือ (15) และข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวรับฟังได้ว่า พฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้น มิใช่กรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบห้าปีนับถึงวันที่ยื่นคําขอรับความเห็นชอบหรือคําขอขึ้นทะเบียนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. หรือนับถึงวันที่เริ่มปฏิบัติงานในตําแหน่งนั้น สํานักงาน ก.ล.ต. จะใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก็ได้ ในการนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่ใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่าบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคนใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งพัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวเป็นระยะเวลาตามที่กําหนด แต่ไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. มีคําสั่ง เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(9) (10) (11) (12) (13) (14) หรือ (15) ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบห้าปีนับถึงวันที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. สํานักงาน ก.ล.ต. จะใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุอันเป็นลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก็ได้ หรือ (2) หากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลในกรณีนั้นมิได้มีลักษณะร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดให้บุคคลดังกล่าวยังสามารถปฏิบัติงานเป็นบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อไปก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ สํานักงาน ก.ล.ต. จะสั่งภาคทัณฑ์บุคคลดังกล่าว หรือกําหนดให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการเรื่องหนึ่งเรื่องใดด้วยก็ได้ ข้อ ๖ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ให้สํานักงาน ก.ล.ต. หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากสํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการแจ้งข่าวข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งพัก เพิกถอน หรือภาคทัณฑ์บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสาธารณชน หรือจัดข้อมูลดังกล่าวไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้ ข้อ ๗ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 4 หรือข้อ 5 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. คํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงาน ก.ล.ต. สามารถนํามาใช้ประกอบการพิจารณาให้รวมถึง (1) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น (2) นัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (3) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม (4) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น (5) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (6) ประวัติพฤติกรรมในอดีต เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น (7) ความตระหนักของผู้กระทําในเรื่องดังกล่าว เช่น จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (8) ข้อเท็จจริงอื่น เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือการดําเนินการ การปิดบังอําพรางหรือการทําลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น ข้อ ๘ เพื่อให้การใช้ดุลพินิจสั่งการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศนี้มีความชัดเจนและผ่านกระบวนการทบทวนตามสมควร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงใดที่อาจนําไปสู่การสั่งการที่ไม่เป็นคุณต่อบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคนใด ก่อนที่สํานักงาน ก.ล.ต. จะมีคําวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว สํานักงาน ก.ล.ต. ต้องกําหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทําหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ภายใต้กระบวนพิจารณาของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากสํานักงาน ก.ล.ต. ดังกล่าว อย่างน้อยต้องกําหนดให้มีการแจ้งให้บุคคลที่อาจเป็นผู้รับการสั่งการนั้นได้ทราบข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับข้อสงสัยถึงการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลดังกล่าว และแจ้งสิทธิของบุคคลดังกล่าวในการชี้แจงและนําเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสงสัยนั้น ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีข้อเท็จจริงที่แสดงถึงการมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) หรือกรณีอื่นใดที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นว่าได้ผ่านกระบวนวิธีพิจารณามาเพียงพอแล้ว ข้อ ๙ ข้อเท็จจริงใดที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้นํามาใช้ประกอบการพิจารณากําหนดมาตรการทางปกครองตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. จะนําข้อเท็จจริงดังกล่าวมาสั่งการซ้ําอีกไม่ได้ แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบถึงการใช้เป็นปัจจัยประกอบการเพิ่มระดับหรือการกําหนดประเภทของมาตรการทางปกครองเพราะเหตุที่บุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามขึ้นอีก ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นสมควรประกาศข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไว้เป็นข้อกําหนดกลางเพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการใช้บังคับและมีหลักพิจารณาบนบรรทัดฐานเดียวกัน
4,449
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดอัตราการประเมินราคาอาหาร และที่พักที่นายจ้างจัดให้
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดอัตราการประเมินราคาอาหาร และที่พักที่นายจ้างจัดให้ ----------------------------------------- โดยที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเล ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ข้อ 3 ได้กําหนดนิยามคําว่า “ค่าจ้าง” ให้หมายความรวมถึง ค่าอาหาร ค่าที่พัก หรืออาหารและที่พักที่นายจ้างจัดให้ โดยมีข้อตกลงเป็นหนังสือให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และอาหารหรือที่พักที่นายจ้างจัดให้นี้ นายจ้างจะประเมินราคาได้ไม่เกินอัตราที่อธิบดีกําหนด อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเล ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงกําหนดอัตราสําหรับการประเมินราคาอาหารและที่พักที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างดังนี้ 1. ค่าอาหารวันละสามมื้อไม่เกินวันละ 30 บาท 2. ค่าอาหารวันละสามมื้อและค่าที่พัก ในกรณีนายจ้าง จัดที่พักให้บนบกไม่เกินวันละ 40 บาท ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน 2535 ประสงค์ รณะนันทน์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,450
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นแก่การปฐมพยาบาลลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีอันตราย
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จําเป็นแก่การปฐมพยาบาล ลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีอันตราย ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 22 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงกําหนดอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จําเป็นแก่การปฐมพยาบาลลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้ (ก) สายยางรัดห้ามเลือด (ข) กรรไกร (ค) สําลี ผ้าชะแผล ผ้าพันแผล และผ้ายางปลาสเตอร์ (ฆ) ถ้วยตวงยา (ง) ถ้วยล้างตา (จ) หลอดหยดยา (ฉ) ถ้วยน้ํา (ช) ที่ป้ายยา (ซ) เข็มกลัด (ฌ) ปากคีบปลายทู่ (ญ) ปรอทวัดไข้ (ฎ) ยาแดงใส่แผล ยาเหลืองใส่แผล หรือทิงเจอร์ไอโอดีน (ฏ) แอลกอฮอล์เอธิลบริสุทธิ์ 70 % (ฐ) ยาแก้ไฟไหม้น้ําร้อนลวก (ฑ) น้ํากรดบอริคล้างตา (ฒ) แอมโมเนียหอม (ณ) ยาลดไข้แก้ปวด (ด) ทิงเจอร์ฝิ่นการบูร (ต) โซดาไบคาร์บอเนต (ถ) วาสลินขาว (ท) น้ําเกลือล้างแผล 90 % (ธ) ถังบรรจุออกซิเจน และ (น) อุปกรณ์ช่วยในการหายใจ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2535 สิทธิ ไชยทองพันธ์ นักบริหาร 9 รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,451
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้างและแบบรายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง และแบบรายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง และกําหนดแบบรายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้นายจ้างดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้ 1.1 ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ของลูกจ้างแต่ละคน รวมทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการทํางาน และประวัติการเจ็บป่วย 1.2 การตรวจร่างกายทั่วไปของลูกจ้าง เช่น การวัดชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต การตรวจการทํางานของอวัยวะต่าง ๆ และผิวหนัง ระบบประสาท การเอกซเรย์ปอด รวมทั้งการวัดส่วนสูง ชั่งน้ําหนัก 1.3 การตรวจเฝ้าระวังผลกระทบทางชีวภาพของลูกจ้าง ที่อาจเกิดจากพิษของสารเคมีอันตราย เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ เนื้อเยื่อ ลมหายใจ การตรวจสารเคมีอันตรายในเลือด เพื่อทราบถึงความเปลี่ยนแปลง และความผิดปกติที่เกิดขึ้น 1.4 ในกรณีที่พบความเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติในตัวลูกจ้างให้มีการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ ทั้งผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ 1.5 ตรวจสุขภาพลูกจ้างก่อนที่จะให้ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย และให้มีการตรวจอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ข้อ ๒ แบบรายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายให้เป็นไปตามแบบ สอ. 4 ท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2535 สิทธิ ไชยทองพันธ์ นักบริหาร 9 รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,452
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบแจ้งรายละเอียด แบบรายงานความปลอดภัย และประเมินการก่ออันตราย และแบบรายงานผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบแจ้งรายละเอียด แบบรายงานความปลอดภัย และประเมินการก่ออันตราย และแบบรายงานผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 16 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2534 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงกําหนดแบบแจ้งรายละเอียด แบบรายงานความปลอดภัยและประเมินการก่ออันตราย และแบบรายงานผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ แบบแจ้งรายละเอียดสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการ ให้เป็นไปตามแบบ สอ. 1 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ แบบรายงานความปลอดภัยและประเมินการก่ออันตรายของสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการ ให้เป็นไปตามแบบ สอ. 2 ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ แบบรายงานผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศบริเวณสถานที่ทํางาน และสถานที่เก็บสารเคมีอันตราย ให้เป็นไปตามแบบ สอ. 3 ท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2535 สิทธิ ไชยทองพันธ์ นักบริหาร 9 รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,453
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 36/2548 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นบุคคลธรรมดา
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 36/2548 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่เป็นบุคคลธรรมดา อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 23(3) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่มีประวัติเสียหายหรือดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอนุโลม ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,454
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขนส่ง เก็บรักษา เคลื่อนย้าย และกำจัดหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขนส่ง เก็บรักษา เคลื่อนย้าย และกําจัดหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย --------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขนส่ง เก็บรักษา เคลื่อนย้าย และกําจัดหีบห่อ ภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้นายจ้างปฏิบัติเกี่ยวกับการขนส่งเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้ (1) ป้องกันฝุ่น ฟูม ไอ ละออง เส้นใย และการกระเด็นของสารเคมีอันตรายมิให้เป็นอันตรายต่อลูกจ้าง (2) การขนถ่ายด้วยท่อหรือราง ต้องมีโครงสร้างที่ป้องกันการกระเด็น หก/ล้น รั่วไหล ตกหล่น (3) ก่อนที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทํางานเกี่ยวกับการขนส่งเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายให้นายจ้างตรวจสอบยานพาหนะให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยฝึกซ้อมให้ลูกจ้างรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมเป็นประจําอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง พร้อมทั้งจัดให้มีคู่มือหรือข้อปฏิบัติในการแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินเป็นภาษาไทยเก็บไว้ในยานพาหนะ พร้อมที่จะใช้ได้ทันที (4) ต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิงชนิดมือถือที่มีคุณสมบัติสามารถดับเพลิงจากสารเคมีอันตราย และจัดให้มีหน้ากากป้องกันสารเคมีอันตรายหรือเครื่องช่วยหายใจ ติดประจําไว้ในยานพาหนะที่บรรทุกสารเคมีอันตรายพร้อมที่จะใช้งานได้ทันที (5) หีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายขณะบรรทุกต้องยึดแน่นกับฐานรองรับและยานพาหนะเพื่อมิให้เคลื่อนหรือลอยตัวได้ ฐานรองรับและยานพาหนะต้องมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ําหนักของหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มรวมกับน้ําหนักของสารเคมีอันตรายในอัตราสูงสุดไม่เกินน้ําหนักที่จะบรรทุกได้ (6) ห้ามบรรทุกสารเคมีอันตรายที่อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันไว้รวมกันเว้นแต่มีมาตรการที่ปลอดภัย ข้อ ๒ ให้นายจ้างปฏิบัติเกี่ยวกับท่อส่งสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้ (1) ท่อและข้อต่อที่ใช้ต้องไม่รั่ว ผุกร่อน หรือชํารุด (2) ต้องติดตั้งหรือวางในลักษณะที่ไม่ทําให้เกิดการชํารุด เสียหาย และมีการป้องกันการชน การกระแทกจากยานพาหนะ หรือสิ่งอื่นใด (3) หากฝังใต้พื้นดิน ต้องป้องกันการเสียหายเนื่องจากยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใด และมีเครื่องหมายแสดงตําแหน่งของท่อที่ฝังอยู่เป็นระยะตลอดแนวให้เห็นได้โดยชัดเจน (4) ท่อส่งสารเคมีอันตรายต่างชนิดกัน ต้องใช้สีต่างกัน หรือทําเครื่องหมายแสดงความแตกต่างให้ชัดเจน (5) หากผิวภายนอกท่อมีความร้อน ต้องมีฉนวนหุ้มโดยรอบ (6) สารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ต้องวางท่อส่งให้อยู่ห่างจากแหล่งความร้อน หรือแหล่งกําเนิดไฟฟ้า และให้ต่อสายดินที่ท่อนั้น ข้อ ๓ ให้นายจ้างจัดสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้ (1) มีระยะห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทํางานไม่น้อยกว่าแปดเมตร (2) ต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟที่สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง และต้องให้อยู่ในสภาพที่ไม่ชํารุด ผุ กร่อน ถ้าเป็นสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ สถานที่เก็บรักษาต้องเป็นวัสดุที่สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง (3) พื้นต้องเรียบไม่ขรุขระ เปียก ลื่น และสามารถรับน้ําหนักได้ (4) ให้จัดทําเขื่อน กําแพง ทํานบ ผนังหรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกันเพื่อป้องกันมิให้สารเคมีอันตรายรั่วไหลออกมาภายนอก และมีรางระบายสารเคมีอันตรายที่รั่วไหลไปยังที่ปลอดภัย เพื่อไม่ให้มีการสะสมตกค้างโดยรางระบายต้องแยกจากระบบระบายน้ํา (5) ภายในสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย ต้องสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยปราศจากเชื้อเพลิง เศษขยะ วัชพืช (6) ต้องจัดให้มีการระบายอากาศ เพื่อระบายความร้อนที่เกิดขึ้นและ/หรือระบบกําจัดการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายในอากาศ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อลูกจ้างที่ปฏิบัติงาน (7) สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายต้องมีลักษณะปิดมิดชิดมีทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 2 ทาง ประตูต้องเป็นชนิดที่เปิดออกภายนอก และปิดประตูตลอดเวลาที่ไม่มีการปฏิบัติงาน ทางเดินภายในและภายนอก ต้องกว้างพอที่จะนําเอาเครื่องมือและอุปกรณ์สําหรับดับเพลิงมาใช้ได้อย่างสะดวกไม่มีสิ่งกีดขวาง และต้องจัดให้มีมาตรการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยตลอดทาง (8) สถานที่เก็บสารเคมีอันตรายที่อยู่นอกอาคาร ต้องจัดทํารั้วล้อมรอบสูงไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร และต้องไม่ชํารุด ผุ กร่อน ข้อ ๔ ให้นายจ้างเก็บรักษาสารเคมีอันตรายที่อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันแยกไว้ไม่ปะปนกัน ในกรณีเป็นสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟ หรือระเบิดได้ห้ามเก็บรักษาไว้ปะปนกับสารเคมีอันตรายอื่น ข้อ ๕ ให้นายจ้างจัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดที่สามารถดับเพลิงจากสารเคมีอันตรายที่เก็บรักษาไว้ ข้อ ๖ ให้นายจ้างป้องกันสาเหตุที่อาจทําให้เกิดอัคคีภัยในบริเวณสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย เช่น ประกายไฟ เปลวไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า การเสียดสี ท่อร้อน ข้อ ๗ ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับหีบห่อภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้ (1) ต้องทําด้วยวัสดุที่แข็งแรง ไม่ชํารุด ผุ กร่อน (2) ต้องเป็นชนิดที่เคลื่อนย้ายได้ด้วยความปลอดภัย หากมีการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง (3) ห้ามบรรจุสารเคมีอันตรายเกินพิกัดที่กําหนดไว้สําหรับภาชนะนั้น (4) หากปรากฏรอยรั่ว รอยกัดกร่อน รอยบุบ รอยบวม สึกกร่อน หรือถูกไฟไหม้ห้ามใช้จนกว่าจะได้มีการซ่อม และทดสอบว่ามีความปลอดภัยในการใช้งาน (5) กรณีมีความดันอยู่ภายใน ต้องมีอุปกรณ์นิรภัย เพื่อระบายความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย (6) ต้องทําการตรวจสอบ และซ่อมบํารุงให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง (7) การบรรจุสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟ หรือระเบิดได้ต้องห่างจากแหล่งความร้อนไม่น้อยกว่า 8 เมตร (8) หากสารเคมีอันตรายที่บรรจุอยู่ในภาชนะทําให้ผิวภายนอกของภาชนะมีความร้อนต้องมีฉนวนหุ้มโดยรอบภาชนะนั้น (9) สิ่งที่นํามายึดติดหรือต่อ ต้องไม่ทําให้หีบห่อ ภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมี อันตราย รั่ว ชํารุด เสียหาย (10) การต่อท่อหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับภาชนะ หากมีลิ้นปิดเปิดต้องจัดให้ลิ้นปิดเปิดอยู่ใกล้กับผู้ปฏิบัติงาน (11) กรณีเก็บไว้ใต้ดิน ต้องมีการป้องกันการเสียหายอันอาจเกิดจากยานพาหนะ มีเครื่องหมายแสดงตําแหน่งจัดเก็บให้เห็นชัดเจน ข้อ ๘ หากพบว่ามีสารเคมีอันตรายรั่วไหล หรือคาดว่าจะรั่วไหลออกจากหีบห่อภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้ม ต้องแยกเก็บหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายที่รั่วไหลหรือคาดว่าจะรั่วไหลนั้นไว้ต่างหากในที่ที่ปลอดภัยและทําความสะอาดสิ่งที่รั่วไหลโดยเร็ว ข้อ ๙ ให้นายจ้างจัดเก็บสารเคมีอันตรายโดยไม่ทําให้หีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ชํารุดหรือพังทลาย ในกรณีสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ให้จัดเก็บไว้ในชั้นแรกที่ไม่ใช่ชั้นใต้ดินของสถานที่เก็บรักษา ข้อ ๑๐ ให้นายจ้างป้องกันไม่ให้ยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใดชนกระแทกหีบห่อ ภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มที่มีสารเคมีอันตรายบรรจุอยู่ ข้อ ๑๑ ให้นายจ้างควบคุมดูแลมิให้หีบห่อ ภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มที่มีสารเคมีอันตรายบรรจุอยู่เปิดทิ้งไว้ ในสถานที่ทํางาน เว้นแต่เพื่อการตรวจสอบหรือใช้ประโยชน์ โดยต้องป้องกันให้ปลอดภัย เมื่อเลิกใช้ในแต่ละวันโดยต้องปิดฝาให้มิดชิด และนําไปเก็บในสถานที่เก็บรักษา ข้อ ๑๒ ให้นายจ้างปฏิบัติเกี่ยวกับหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายที่ไม่ต้องการใช้ หรือจะกําจัด ดังต่อไปนี้ (1) เก็บรวบรวมไว้ในภาชนะ หรือในที่ที่ปลอดภัยนอกบริเวณที่ลูกจ้างทํางานทุกวัน (2) ให้กําจัดโดยวิธีที่ปลอดภัย เช่น การเผา การฝัง หรือการใช้สารเคมีเพื่อให้มีการสลายตัว (3) ห้ามใช้บรรจุสิ่งของอื่น ข้อ ๑๓ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขนส่ง เก็บรักษา เคลื่อนย้ายและกําจัดหีบห่อภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ที่มิได้กําหนดไว้ในประกาศนี้ให้นายจ้างปฏิบัติตามคู่มือหรือคําแนะนําของผู้ผลิต ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2535 สิทธิ ไชยทองพันธ์ นักบริหาร 9 รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,455
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 44/2548 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจำกัดภายในประเทศหรือต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2548 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อบุคคลในวงจํากัดภายในประเทศหรือต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 34(1) และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 5 มาตรา 10 และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 อันเป็นพระราชบัญญัติและพระราชกําหนดที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้ยกเลิกประกาศดังต่อไปนี้ 1. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 31/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัดภายในประเทศหรือต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2540 2. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2541 เรื่อง การกําหนดประเภทนิติบุคคลผู้มีสิทธิเสนอโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เพิ่มเติม ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 3. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัดภายในประเทศหรือต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 4. ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 11/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจํากัดภายในประเทศหรือต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,456
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 50/2548 เรื่อง การจัดทำและการเปิดเผยงบการเงินของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 50/2548 เรื่อง การจัดทําและการเปิดเผยงบการเงินของศูนย์ซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าและสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 74 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 28 และมาตรา 89 วรรคหนึ่งประกอบกับมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาและสํานักหักบัญชีสัญญาจัดทําและส่งงบการเงินประจํางวดการบัญชีสําหรับรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วต่อสํานักงาน ก.ล.ต. จํานวนหนึ่งฉบับ พร้อมทั้งดําเนินการดังนี้ (1) เปิดเผยงบดุล งบกําไรขาดทุน และรายงานของผู้สอบบัญชีเพื่อให้ประชาชนตรวจดูได้ ณ ที่ทําการของศูนย์ซื้อขายสัญญาและสํานักหักบัญชีสัญญา (2) ลงประกาศงบดุล งบกําไรขาดทุน และรายงานของผู้สอบบัญชีในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ตลอดจนส่งสําเนาหนังสือพิมพ์ฉบับที่ได้มีการลงประกาศดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. จํานวนหนึ่งฉบับ การดําเนินการตามวรรคหนึ่งต้องกระทําให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบเอ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น แต่ไม่เกินสี่เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชี ข้อ ๓ การจัดทําและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นไปตามมาตรฐาน การบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ในกรณีที่การจัดทําหรือการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องใดไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยครอบคลุมถึง ให้ศูนย์ซื้อขายสัญญาและสํานักหักบัญชีสัญญาปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีต่อไปนี้ (1) มาตรฐานการบัญชีของ International Accounting Standards Committee (2) มาตรฐานการบัญชีของ American Institution of Certified Public Accountants หรือ Financial Accounting Standards Board ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีตาม ในกรณีที่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีใน (1) หรือ (2) ให้ระบุแหล่งที่มาของมาตรฐานการบัญชีดังกล่าวด้วย ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,457
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 52/2548 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินที่สำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 52/2548 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชี สัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 82 และมาตรา 83 วรรคสองประกอบกับมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก” หมายความว่า (1) ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญาได้รับมาจากสมาชิกทั้งที่เป็นของสมาชิกและของลูกค้าเพื่อเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ทรัพย์สินที่สํานักหักบัญชีสัญญาได้รับมาเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งของสมาชิกและของลูกค้า (3) ทรัพย์สินที่สมาชิกนํามาวางไว้กับสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ สํานักหักบัญชีสัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกโดยจะมอบหมายให้ผู้อื่นดําเนินการดังกล่าวแทนมิได้ การที่สํานักหักบัญชีสัญญาจัดเก็บทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 4 มิให้ถือว่าเป็นการมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลรักษาทรัพย์สินดังกล่าวแทนตน ข้อ ๓ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก สํานักหักบัญชีสัญญาต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกแยกจากบัญชีทรัพย์สินของสํานักหักบัญชีสัญญาโดยให้ดําเนินการแยกเป็นบัญชีของสมาชิกแต่ละรายด้วยรวมทั้งจัดทําและเก็บรักษาบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าแยกจากบัญชีทรัพย์สินของสมาชิกให้ถูกต้องครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน (2) จัดเก็บทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกให้มีความมั่นคงปลอดภัยและมีรายการและจํานวนตรงตามที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินตาม (1) (3) จัดเก็บทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกแยกจากทรัพย์สินของสํานักหักบัญชีสัญญาในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิกโดยปราศจากเหตุสงสัย (4) รายงานการดูแลรักษาทรัพย์สินดังกล่าวให้สมาชิกทราบภายในระยะเวลา ที่เหมาะสม ทั้งนี้ การดําเนินการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด ข้อ ๔ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ได้รับมาหรือมีไว้เพื่อสมาชิก หากสํานักหักบัญชีสัญญาได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินตามข้อ 3 (3) แล้ว (1) ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินประเภทเงิน ให้จัดเก็บโดยการฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนตามกรอบหรือนโยบายการลงทุนที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด โดยให้ระบุว่าการฝากหรือการลงทุนดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรา 83 ทั้งนี้ ให้ระบุวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนด้วย (2) ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ ให้จัดเก็บโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้ระบุว่าการฝากหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยสํานักหักบัญชีสัญญาเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามที่กําหนดในมาตรา 83 ทั้งนี้ ให้ระบุวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนด้วย ข้อ ๕ ในการกําหนดกรอบหรือนโยบายการลงทุนตามข้อ 4 (1) ให้สํานักหักบัญชีสัญญาคํานึงถึงสภาพคล่องและความเสี่ยงในการลงทุน ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเสถียรภาพของระบบการซื้อขายและการชําระหนี้ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สํานักหักบัญชีสัญญารายงานกรอบหรือนโยบายการลงทุนที่กําหนดขึ้น ตลอดจนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรอบหรือนโยบายการลงทุนดังกล่าว ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยไม่ชักช้า ข้อ ๖ สํานักหักบัญชีสัญญาต้องตรวจสอบและดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งสํานักหักบัญชีสัญญากําหนดขึ้นโดยเคร่งครัด ข้อ ๗ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าสํานักหักบัญชีสัญญาแห่งใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือกฎเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนดขึ้น หรือดําเนินการที่ไม่เหมาะสมในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสัญญา สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้สํานักหักบัญชีแห่งนั้นดําเนินการให้เป็นไปตามประกาศและกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือดําเนินการใดๆ ตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,458
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามา อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ------------------------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรเอกสิทธิ์พิเศษ (Thailand Elite) เข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2546 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรเอกสิทธิ์พิเศษ (Thailand Elite) เข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้เงื่อนไขและได้รับการยกเว้นไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในกรณีตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้บุคคลตามข้อ 1 มีสิทธิได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นพิเศษ (Special Entry Visa) จากสถานทูต สถานกงสุลในต่างประเทศ หรือจากกระทรวงการต่างประเทศหรือจากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง สําหรับใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้งเป็นเวลาห้าปี ตลอดอายุบัตรสมาชิก โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ข้อ ๓ เมื่อบุคคลตามข้อ 1 เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจอนุญาตให้พํานักอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาเก้าสิบวันทุกครั้ง ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่จํากัดจํานวนครั้ง ข้อ ๔ การอนุญาตให้อยู่ต่อเป็นการชั่วคราว ภายหลังจากที่ครบกําหนดเวลาอนุญาตตามข้อ 3 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอํานาจอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้ครั้งละเก้าสิบวัน โดยให้ยื่นคําขอตามแบบและเสียค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2546 วันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,459
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวตามประกาศนี้ หมายความว่า บุคคลสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่มาทําทะเบียนประวัติ หรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และมีหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 118/2557 เรื่อง การกําหนดมาตรการชั่วคราวเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานมิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ข้อ ๓ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือเอกสารตามข้อ 3 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 เมื่อคนต่างด้าวตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 118/2557 เรื่อง การกําหนดมาตรการชั่วคราวเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 อยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางานให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินสองปี บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งที่อายุไม่เกินสิบห้าปีในวันที่คนต่างด้าวนั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งติดตามมาด้วยอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของตนได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ในกรณีบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบห้าปีให้มีสิทธิอยู่ได้ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา แต่ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ข้อ ๕ สิทธิการอยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 4 ในกรณี (1) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (2) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,462
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 --------------------------------------------------------- ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 2019) ระลอกใหม่ที่แพร่ระบาดในคนต่างด้าว โดยมีทั้งที่เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง ซึ่งในขณะนี้ไม่อาจทราบได้ว่าคนต่างด้าวนั้นมีจํานวนเท่าใด ทําให้ยากต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค จําเป็นต้องให้คนต่างด้าวนั้นต้องแสดงตน โดยการแจ้งความประสงค์ที่จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานและให้คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษได้ต่อไป อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษได้ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานต่อไป ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ต้องดําเนินการตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทํางานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสําหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 สําหรับคนต่างด้าวที่เป็นผู้ติดตามซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปี และมิได้ดําเนินการตามวรรคสอง ให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๓ ให้คนต่างด้าวตามข้อ 2 วรรคสาม หรือบิดาหรือมารดาของผู้นั้น ดําเนินการ ดังนี้ (1) แจ้งชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ เพศ หมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องต่อกระทรวงแรงงานโดยผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (2) เข้ารับการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด (3) ยื่นคําขอจัดทําทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร สําหรับคนต่างด้าวซึ่งมีอายุสิบแปดปีภายหลังวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว และแก้ไขทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายในหกสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปี ข้อ ๔ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าว ข้อ ๕ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร เป็นอันสิ้นสุดเมื่อ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ไม่ดําเนินการตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทํางานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสําหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 (4) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อํานวยการเขต หรือนายอําเภอซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในพื้นที่ที่คนต่างด้าวพักอาศัย หรือกรณีดังต่อไปนี้ (ก) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ําให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือหรือทางบก เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล หรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า (ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลโดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,463
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะเพื่อการทำงานสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะเพื่อการทํางาน สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทํางานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 --------------------------------------------------------------- ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามา ในราชอาณาจักร เป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 กําหนดให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทํางานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานเป็นระยะเวลา 2 ปี และเมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาการอนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียว เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นั้น แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในประเทศต้นทางที่สําคัญในการจัดส่งคนต่างด้าวเข้ามาทํางานในราชอาณาจักร จึงมีความจําเป็นต้องยกเว้นให้คนต่างด้าวซึ่งครบกําหนดระยะเวลาการอนุญาตดังกล่าวที่ประสงค์จะทํางาน สามารถขออยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจในระยะฟื้นฟูประเทศ ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิของคนต่างด้าวที่จะได้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทํางานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าว ตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทํางานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยได้รับการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อทํางานครบกําหนดระยะเวลา 4 ปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 ที่ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่มีอายุใช้ได้ ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อทํางานได้อีกไม่เกิน 2 ปี ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว โดยมิให้นําข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้น ข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 มาใช้บังคับ ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคําสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 มาบังคับใช้แก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ซึ่งระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ดําเนินการตามข้อ 2 อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อทํางานเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,464
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายระยะเวลาการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายระยะเวลาการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทํางานในราชอาณาจักร ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ------------------------------------------------------- โดยที่ได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ขึ้นในราชอาณาจักร ทําให้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวไม่ให้ขยายเป็นวงกว้าง โดยได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และออกข้อกําหนดตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และประเทศไทยหรือประเทศต้นทางของคนต่างด้าวซึ่งมีสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ได้มีมาตรการระงับการเข้าออกราชอาณาจักร เป็นเหตุให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทํางานในราชอาณาจักรในลักษณะไป - กลับ หรือตามฤดูกาลบริเวณแนวชายแดน ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ครบวาระการจ้างงานหรือการอนุญาตให้พํานักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุดแต่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการทํางานตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งถือบัตรผ่านแดนตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทํางานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 แห่งพระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และการอนุญาตให้พํานักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุด และไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ก่อนหรือในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เนื่องจากการปิดช่องทางการเข้าออกราชอาณาจักรหรือประเทศต้นทางของคนต่างด้าวซึ่งมีสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการทํางานได้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยมิให้นํามาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับ ข้อ ๓ การยกเว้นให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการทํางานถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ก่อนครบระยะเวลา ตามประกาศนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) มาตรการปิดช่องทางการเข้าออกราชอาณาจักรและประเทศต้นทางของคนต่างด้าวซึ่งมีสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา สิ้นสุด ข้อ ๔ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามข้อ 3 ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกเจ็ดวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,465
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถมายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถมายื่นคําขอ รับหนังสือคนประจําเรือ เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทํางานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นให้สามารถมายื่นคําขอรับหนังสือคนประจําเรือ เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทํางานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามประกาศนี้ ได้แก่ (1) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ที่ยังไม่หมดอายุและได้รับการตรวจลงตราโดยมีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้าในหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อนหรือในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลงแต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (2) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ที่ยังไม่หมดอายุและได้รับการตรวจลงตราโดยมีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้าในหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อนหรือในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่ (3) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลที่ยังไม่หมดอายุโดยไม่มีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้าในหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล แต่มีหลักฐานการจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 17 ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทํางานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ใน 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) จังหวัดชลบุรี (5) จังหวัดชุมพร (6) จังหวัดตราด (7) จังหวัดตรัง (8) จังหวัดนครศรีธรรมราช (9) จังหวัดนราธิวาส (10) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (11) จังหวัดปัตตานี (12) จังหวัดพังงา (13) จังหวัดเพชรบุรี (14) จังหวัดภูเก็ต (15) จังหวัดระนอง (16) จังหวัดระยอง (17) จังหวัดสมุทรปราการ (18) จังหวัดสมุทรสาคร (19) จังหวัดสมุทรสงคราม (20) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (21) จังหวัดสงขลา และ (22) จังหวัดสตูล นําเอกสารตามข้อ 1 (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี พร้อมกับนายจ้างที่รับเข้าทํางานไปดําเนินการขอหนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมงเพื่อรับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และรับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเลตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานคนต่างด้าวพร้อมทั้งจัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562 ณ สถานที่ที่อธิบดีกรมประมงประกาศกําหนด เมื่อคนต่างด้าวได้รับหนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมงแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวมีระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีตามอายุหนังสือคนประจําเรือ ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 12 (10) และมาตรา 54 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ 2 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นสุดในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงอันเป็นอุปสรรคต่อการทํางาน โดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้ทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานโดยใช้หนังสือคนประจําเรือ เว้นแต่ (ก) เพื่อขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองในหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ตามอายุหนังสือคนประจําเรือ (ข) ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือหรือทางบกเพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล ในกรณีเคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางบก ต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมงหรือหน่วยงานในสังกัด (ค) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐ หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้มาแสดง แล้วแต่กรณี (ง) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ในกิจการประมงทะเล ตามเงื่อนไขที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อยรายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) ถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่ในกิจการประมงทะเลรับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ข้อ ๕ เมื่อครบระยะเวลาการอนุญาตตามหนังสือคนประจําเรือหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,466
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวร(บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำสาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวร (บริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) --------------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้านจังหวัดเชียงราย ตาก และระนอง ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2540 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า ตั้งแต่เวลา 06.30 น. - 18.30 น. ของทุกวัน นั้น ด้วยจังหวัดเชียงรายได้ขอให้พิจารณาขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดงาน “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2 แผ่นดิน (Count Down Maesai-Thachilek 2011)” ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนในพื้นที่ของทั้งสองประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวร บริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า ตั้งแต่เวลา 18.30 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงเวลา 01.30 น. ของวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,467
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก อําเภอภูซาง จังหวัดพะเยา -------------------------------------------------- ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เห็นชอบให้ยกระดับจุดผ่อนปรนการค้าบ้านฮวก อําเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เป็นจุดผ่านแดนถาวร เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอํานวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งสนับสนุนการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน การขนส่ง การแลกเปลี่ยนด้านศิลปวัฒนธรรมและการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก อําเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ราชอาณาจักรไทย ตรงข้ามกับบ้านปางมอน เมืองคอบ แขวงไซยะบุลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเปิดทําการระหว่างเวลา 06.00 นาฬิกา ถึง 18.00 นาฬิกา ของทุกวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,468
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553) ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวตามประกาศนี้ หมายความว่าบุคคลสัญชาติพม่าที่มาทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับใบอนุญาตทํางาน ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ซึ่งได้แจ้งความประสงค์ขอเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการพิสูจน์สัญชาติ ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีพิสูจน์สัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนด ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําบัญชีรายชื่อพร้อมเลขประจําตัว 13 หลัก ของคนต่างด้าวที่จะเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติที่ต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัด คนต่างด้าวจะออกนอกเขตท้องที่ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น (2) กรณีที่เดินทางไปพิสูจน์สัญชาติและรับเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางในสหภาพพม่าให้กรมการจัดหางานจัดทําบัญชีรายชื่อพร้อมเลขประจําตัว 13 หลัก ของคนต่างด้าวที่สหภาพพม่าตอบรับ เพื่อปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายพิจารณาอนุญาต เมื่อได้รับผลการอนุญาตแล้วให้กรมการจัดหางานดําเนินการต่อไป พร้อมทั้งแจ้งสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เพื่อประสานด่านตรวจคนเข้าเมืองที่คนต่างด้าวเดินทางออกในการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และการเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขออนุญาตทํางาน ทั้งนี้ ให้นายจ้างและคนต่างด้าวใช้เอกสารการอนุญาตออกนอกเขตท้องที่ พร้อมทั้งบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ท.ร.38/1) และเอกสารที่กรมการจัดหางานกําหนดสําหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในการเดินทางออกนอกเขตท้องที่เพื่อไปดําเนินการพิสูจน์สัญชาติ ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานมิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 1 ข้อ ๔ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือเอกสาร ตามข้อ 4 อยู่ในราชอาณาจักร เป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาอนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อทํางาน ให้สามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียว เป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,469
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2561
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทาง เพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2561 ---------------------------------------------------------- เพื่อเป็นการผ่อนผันให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งเข้ามาเพื่อทํางานในราชอาณาจักร ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2561 แล้วกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2561 ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 ตามประกาศนี้ ได้แก่ (1) คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี อนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 17 โดยได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรซึ่งอยู่ระหว่างได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี (2) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งเข้ามาเพื่อทํางานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L - A และระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่ (3) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 17 ที่ผ่านการตรวจสัญชาติและมีหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลตามที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L – A รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ได้รับการตรวจลงตราประเภทผู้ติดตาม และระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่ ข้อ ๒ การอนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 (1) ที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2561 ให้นายจ้างหรือคนต่างด้าวที่มีนายจ้างคนเดียวกันรวบรวมรายชื่อ พร้อมสําเนาบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยของคนต่างด้าวดังกล่าว ไปยื่นขอหนังสือรับรองจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน หรือหน่วยงานในสังกัด สําหรับใช้เป็นเอกสารหลักฐานแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเพื่อประทับตราในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรหรือเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ถือว่าเป็นการออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ข้อ ๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และประทับตราการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในหนังสือรับรองที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน หรือหน่วยงานในสังกัดออกให้ ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ หากต้องมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดในการดําเนินการ ให้คนต่างด้าวได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งหมด คนต่างด้าวตามข้อ 1 (1) หากเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองใดให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองนั้น ข้อ ๔ คนต่างด้าวตามข้อ 1 (2) และ (3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และประทับตราการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลตามที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง คนต่างด้าวตามข้อ 1 (2) และ (3) ที่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกราชอาณาจักรตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับอนุญาตกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก โดยไม่ต้องดําเนินการยื่นคําขออนุญาตตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง ข้อ ๕ คนต่างด้าวผู้ใดเดินทางออกนอกราชอาณาจักร หรือเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่เป็นไปตามระยะเวลาตามข้อ 1 หรือเงื่อนไขตามข้อ 3 วรรคสอง ให้การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุด ให้สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง รวบรวมรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของคนต่างด้าวตามข้อ 1 (1) ที่ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ส่งให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลทางทะเบียนให้เป็นปัจจุบัน ภายในหกสิบวันนับแต่สิ้นสุดการอนุญาตตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,470
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา(ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553) ------------------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวตามประกาศนี้หมายความว่าบุคคลสัญชาติลาว และกัมพูชา ที่มาทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับใบอนุญาตทํางาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ดังต่อไปนี้ (1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอสะบ้าย้อย และอําเภอเทพา ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 (3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (4) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขตามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานมิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 1 ข้อ ๓ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือเอกสารตามข้อ 3 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาอนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อทํางาน ให้สามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวเป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,471
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 (สำหรับผู้ที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติไว้ในปี พ.ศ. 2551)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 (สําหรับผู้ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติไว้ในปี พ.ศ. 2551) ------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งได้แจ้งความประสงค์ขอเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ และไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวเพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทํางานภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองกลุ่มอื่นสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรีมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะไม่อยู่ในข่ายการอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ส่งเอกสารหลักฐานการอนุญาตทํางานให้แก่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดทําบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ให้คนต่างด้าวดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลเมื่อคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด หรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 6 เว้นแต่ (ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบโดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ (ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ํา ให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล หรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่คนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ข้อ ๖ เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาลได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานหรือเพื่อการรักษาพยาบาลคนต่างด้าวจะออกนอกเขตท้องที่ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการเคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่เพื่อการทํางานโดยให้สามารถกระทําได้ เมื่อได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนเขตท้องที่ทํางานไปยังเขตท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวหรือได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่และต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,472
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ------------------------------------------- ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 เห็นชอบการเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา อํานวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง และเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และการท่องเที่ยว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ราชอาณาจักรไทย ตรงข้ามกับบ้านพนมได จังหวัดพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยเปิดทําการระหว่างเวลา 06.00 น. - 22.00 น. ของทุกวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,473
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ------------------------------------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูงและผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนและดึงดูดบุคลากรซึ่งมีความรู้ความสามารถสูงเข้ามาทํางานอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวดังต่อไปนี้มีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ (1) ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง หรือผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นซึ่งประสงค์จะทํางานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเป้าหมายดังต่อไปนี้ และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ก) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (ข) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ค) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (ง) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (จ) อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (ฉ) อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (ช) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (ซ) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (ฌ) อุตสาหกรรมดิจิทัล (ญ) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (2) ผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวตาม (1) ข้อ ๒ คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้ยื่นขอหนังสือรับรองคุณสมบัติตามข้อ 1 (1) ต่อสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน หรือสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ข้อ ๓ ในกรณีที่คนต่างด้าวได้รับหนังสือรับรองตามข้อ 2 แล้ว ให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งประสงค์จะขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) จากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน หรือสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ สําหรับใช้ได้หลายครั้งภายในอายุการใช้งานการตรวจลงตรา ดังต่อไปนี้ (1) ระยะเวลาตามที่กําหนดในสัญญาจ้างแต่ไม่เกินสี่ปี สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงหรือผู้บริหารระดับสูง (2) ไม่เกินสี่ปี สําหรับนักลงทุน (3) หนึ่งปี สําหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (4) ผู้ติดตามของคนต่างด้าว ให้มีอายุการใช้งานการตรวจลงตราไม่เกินระยะเวลาตามสิทธิของคนต่างด้าวผู้นั้น ให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตราปีละหนึ่งหมื่นบาท เศษของปีให้คิดเป็นหนึ่งปี ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นเวลาไม่เกินอายุการใช้งานการตรวจลงตราตามข้อ 3 โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตราเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ข้อ ๕ คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งประสงค์จะขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปอีกภายหลังจากที่ครบกําหนดเวลาอนุญาตตามข้อ 4 แล้ว ให้ดําเนินการตามข้อ 2 และเมื่อได้รับหนังสือรับรองคุณสมบัติจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน ประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ครั้งละไม่เกินกําหนดเวลาตามข้อ 3 และอนุญาตให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีกโดยไม่จํากัดจํานวนครั้ง เว้นแต่คนต่างด้าวตามข้อ 3 (3) ให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ครั้งละไม่เกินสองปี ให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตราปีละหนึ่งหมื่นบาท เศษของปีให้คิดเป็นหนึ่งปี ข้อ ๖ ให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามดําเนินการแจ้งที่พักอาศัยตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เมื่อพํานักในราชอาณาจักรครบทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ข้อ ๗ การประทับตราอนุญาตตามข้อ 4 การอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกตามข้อ 5 และการแจ้งที่พักอาศัยตามข้อ 6 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด ข้อ ๘ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ 1 (1) (2) มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงผู้ติดตามของคนต่างด้าวนั้นด้วย และให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ผู้ติดตามด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๙ คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) ต่อมามีความประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวด้วยวัตถุประสงค์อื่น ให้สามารถกระทําได้ ข้อ ๑๐ การดําเนินการตามประกาศนี้ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการต่างประเทศ สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องกําหนดด้วย ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,474
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ดังต่อไปนี้ (1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สําหรับผู้ที่ได้จัดทําทะเบียนไว้ในปี พ.ศ. 2547) ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สําหรับผู้ที่ได้จัดทําทะเบียนไว้ในปี พ.ศ. 2549) ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 (3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอสะบ้าย้อย และอําเภอเทพา ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 (4) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (5) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งได้แจ้งความประสงค์ขอเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติ และไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว เพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทํางานภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าว ตาม (1) (4) และ (5) ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ และยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดามารดา ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองกลุ่มอื่นสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรีมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะไม่อยู่ในข่ายการอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ส่งเอกสารหลักฐานการอนุญาตทํางานให้แก่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดทําบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้คนต่างด้าวดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด สําหรับบุตรของคนต่างด้าวตามข้อ 1 (1) (4) และ (5) ที่ประสงค์จะทํางานให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว เพื่อขอรับใบอนุญาตทํางานตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด คนต่างด้าวตามข้อ 1 (1) (4) และ (5) ที่มีบุตรซึ่งมิได้ขออนุญาตทํางาน ให้นําบุตรพร้อมเอกสารหลักฐานไปรายงานตัวที่สํานักทะเบียนที่คนต่างด้าวมีชื่ออยู่ ตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 และข้อ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผล เมื่อคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด หรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 6 เว้นแต่ (ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบโดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ (ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ํา ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล หรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล หรือขนถ่ายสินค้า ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่คนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ข้อ ๖ เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาลได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานหรือเพื่อการรักษาพยาบาล คนต่างด้าวและผู้ติดตามจะออกนอกเขตท้องที่ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการเคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่เพื่อการทํางานโดยให้สามารถกระทําได้ เมื่อได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนเขตท้องที่ทํางานไปยังเขตท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวหรือได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่และต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่คนต่างด้าวตามข้อ 1 (3) ให้เคลื่อนย้ายเพื่อการทํางานได้เฉพาะในเขตท้องที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอสะบ้าย้อย และอําเภอเทพา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,475
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็กตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นการชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นการชั่วคราว ---------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้านจังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด และจังหวัดสุรินทร์ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2546 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ตรงข้ามกับบ้านจามเยี่ยม อําเภอมณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างเวลา 07.00 น. - 20.00 น. ของทุกวัน นั้น ด้วยจังหวัดตราดร่วมกับเทศบาลตําบลหาดเล็ก ได้กําหนดจัดงานสงกรานต์และงานประจําปีวัดเกษมสีมาราม (วัดหาดเล็ก) หมู่ที่ 4 ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน 2553 เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนกัมพูชาที่เดินทางเข้ามาเที่ยวชมงาน อันเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตราด อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นการชั่วคราว โดยกําหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ ข้อ ๑ ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ตรงข้ามกับบ้านจามเยี่ยม อําเภอมณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง ราชอาราจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน พ.ศ. 2553 จากเวลา 07.00 น. - 20.00 น. เป็นเวลา 07.00 น. - 24.00 น. ข้อ ๒ ในช่วงเวลา 20.00 น. - 24.00 น. ให้อนุญาตเฉพาะประชาชนกัมพูชาเดินทางผ่านเข้า - ออก เท่านั้น ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,476
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านประกอบอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านประกอบ อําเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ---------------------------------------------------------- ด้วยรัฐบาลมีนโยบายที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทย และประเทศมาเลเซีย โดยเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างสองประเทศ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเมืองชายแดน การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านประกอบ อําเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ราชอาณาจักรไทย ตรงข้ามกับบ้านดูเรียนบูรง อําเภอปาดังเตอรับ รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างเวลา 07.00 น. - 17.00 น. ของทุกวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,477
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะขอรับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 15 ปีซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับซึ่งได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา กลุ่มอื่นซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรีมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะไม่อยู่ในข่ายอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ ท้องที่ ที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวมีทะเบียนประวัติ ในระยะเวลาระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตามเงื่อนไข และวิธีการ ที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกรมการปกครองกําหนด ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แห่งประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ทํางาน ข้อ ๔ การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว การขออนุญาตออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ใช้บังคับกับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,478
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว จังหวัดหนองคาย เป็นการชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว จังหวัดหนองคาย เป็นการชั่วคราว ------------------------------------------------ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2544 กําหนดเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว บริเวณบ้านเหล่าจอมมณี หมู่ 6 ตําบลมีชัย อําเภอเมืองหนองคาย - บ้านดงพูสี เมืองหาดทรายฟอง กําแพงนครเวียงจันทน์ ระหว่างเวลา 06.00 - 22.00 น. นั้น ด้วยสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2552 ให้การดําเนินการร่วมมือทวิภาคีไทยกับลาว ในการส่งผู้ลักลอบเข้าเมืองชาวม้งลาวที่พื้นที่ควบคุมชั่วคราวบ้านห้วยน้ําขาว อําเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และสถานที่กักตัวของสํานักงานจังหวัดหนองคาย จํานวนประมาณ 4,000 คน กลับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อาศัยอํานาจตามมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว เป็นการชั่วคราว จากเวลา 06.00 - 22.00 น. เป็นเวลาตลอด 24 ชั่วโมง เฉพาะเพื่ออํานวยความสะดวกในการดําเนินการส่งกลับชาวม้งลาวข้างต้น เท่านั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,479
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน - สตึงบท
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน - สตึงบท ---------------------------------------------------- ด้วยรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาได้ทําความตกลงว่าด้วยการก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน - สตึงบท เพื่ออํานวยความสะดวกในการก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน - สตึงบท ให้สามารถดําเนินการไปด้วยความเรียบร้อย และให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน – สตึงบท ระหว่างบ้านหนองเอี่ยน ตําบลท่าข้าม อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ราชอาณาจักรไทย กับ สตึงบท เมืองปอยเปต จังหวัดบันเตียเมียนเจย ราชอาณาจักรกัมพูชา สําหรับให้บุคคล และพาหนะที่เกี่ยวข้องผ่านเข้า - ออก เขตก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน - สตึงบท ตามข้อกําหนดว่าด้วยเขตก่อสร้างสําหรับโครงการก่อสร้างสะพานหนองเอี่ยน - สตึงบท ฉบับลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560 แต่ไม่รวมถึงการสัญจรไป - มาของบุคคลหรือพาหนะอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสะพาน ทั้งนี้ การกําหนดพื้นที่เขตก่อสร้างและพิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการผ่านเข้า - ออกเขตก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าว และเมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จให้ประกาศนี้สิ้นผลการใช้บังคับ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,480
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำสาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นการชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นการชั่วคราว --------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้าน จังหวัดเชียงราย ตากและระนอง ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2540 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า ตั้งแต่เวลา 06.30 น. - 18.30 น. ของทุกวัน นั้น ด้วยจังหวัดเชียงราย ได้ขอให้พิจารณาขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดงาน “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2 แผ่นดิน (Count Down Maesai - Thachilek 2010)” ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนในพื้นที่ของทั้งสองประเทศ อาศัยอํานาจตามมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เวลา 18.30 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ถึงเวลา 01.30 น. ของวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,481
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเลตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และไม่อยู่ในระหว่างการได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับอื่น ใน 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลได้แก่ (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) จังหวัดชลบุรี (5) จังหวัดชุมพร (6) จังหวัดตราด (7) จังหวัดตรัง (8) จังหวัดนครศรีธรรมราช (9) จังหวัดนราธิวาส (10) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (11) จังหวัดปัตตานี (12) จังหวัดพังงา (13) จังหวัดเพชรบุรี (14) จังหวัดภูเก็ต (15) จังหวัดระนอง (16) จังหวัดระยอง (17) จังหวัดสมุทรปราการ (18) จังหวัดสมุทรสาคร (19) จังหวัดสมุทรสงคราม (20) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (21) จังหวัดสงขลา และ (22) จังหวัดสตูล ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้ไปรายงานตัวเพื่อดําเนินการ ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ใน 22 จังหวัดชายทะเล ดังนี้ (1) ยื่นคําขอจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ (2) เมื่อคนต่างด้าวได้หลักฐานการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ พร้อมทั้งเอกสารที่นายจ้างรับเข้าทํางานแล้ว ให้ไปยื่นคําขอรับหนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ได้ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เมื่อคนต่างด้าวได้รับหนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมงแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ได้ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามข้อ 2 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานเว้นแต่ (ก) ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ หรือทางบก เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล (ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน หรือมีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐ หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง แล้วแต่กรณี (ค) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมประมงกําหนด โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ราชการออกให้มาแสดง (ง) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษาหรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทางและเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) ถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวทราบ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานในเรือประมงทะเล ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับหรือแก้ไข หนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการ ดังนี้ (1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กําหนดให้กรมประมง หรือหน่วยงานในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และเลขที่หนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด (2) กรณีการเดินทางไปเพื่อตรวจสัญชาติ และรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมประมง หรือหน่วยงานในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและเลขที่หนังสือคนประจําเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ข้อ ๙ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,482
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับและกำหนดเขตพื้นที่ควบคุม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับและกําหนดเขตพื้นที่ควบคุม ----------------------------------------------------------------- โดยที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2549 ได้มีมติให้ความคุ้มครองดูแลกลุ่มบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่ได้รับการสํารวจตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลซึ่งได้สํารวจและจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ชนกลุ่มน้อยกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย (เข้ามาหลังวันที่ 9 มีนาคม 2519) ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา (เข้ามาหลังวันที่ 15 พฤศจิกายน 2520) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา ลาวอพยพ และผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า โดยให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ และอนุญาตให้ออกนอกเขตที่อยู่อาศัยเพื่อไปทํางานตามพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 โดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ไปแล้ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2549 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวบางจําพวกที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ดังต่อไปนี้ (1) คนต่างด้าวที่ได้รับการสํารวจเพื่อจัดทําทะเบียนสําหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการสํารวจและจัดทําทะเบียนสําหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 (2) คนต่างด้าวที่ได้รับการสํารวจจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการสํารวจและจัดทําทะเบียนสําหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 (3) คนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่มีรายการในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร และได้รับการจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัว ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยที่เข้ามาหลังวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2519 (ข) ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชาที่เข้ามาหลังวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 (ค) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา (ง) ลาวอพยพ (จ) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า คนต่างด้าวตาม (3) หมายความรวมถึง ผู้ที่ได้รับการจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวชนกลุ่มน้อยเดิม และผู้ที่ได้รับการจัดทําบัตรประจําตัวให้ใหม่ตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทําบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ. 2547 ข้อ ๒ บรรดาประกาศ คําสั่ง หรือหนังสือสั่งการใด ๆ ซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้ ข้อ ๓ เขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าว หมายถึง กรุงเทพมหานคร จังหวัด อําเภอ หรือกิ่งอําเภอ อันเป็นพื้นที่ที่ได้ดําเนินการสํารวจและจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามข้อ 1 ข้อ ๔ ให้คนต่างด้าวอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมตามข้อ 3 และให้มีการรายงานตัวเพื่อการควบคุมตรวจสอบตามที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเป็นพยานศาลได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวนมีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อการรักษาพยาบาล หรือเหตุจําเป็นอย่างอื่นคนต่างด้าวจะออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมได้โดยยื่นคําขอออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมได้ต่อผู้มีอํานาจ เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็นโดยเร่งด่วนและไม่อาจรอการขออนุญาตได้ให้ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมได้ แต่จะต้องแจ้งให้ผู้มีอํานาจทราบโดยด่วน คนต่างด้าวจะออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมเพื่อไปทํางานให้ยื่นคําขอต่อผู้มีอํานาจ การเปลี่ยนแปลงหรือย้ายภูมิลําเนาจากเขตพื้นที่ควบคุมหนึ่งไปอีกเขตพื้นที่ควบคุมหนึ่งให้กระทําได้เฉพาะกรณีต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย หรือตามนโยบายที่ทางราชการกําหนด ข้อ ๕ คนต่างด้าวจะออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้มีอํานาจ ดังต่อไปนี้ (1) ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือระหว่างจังหวัด (2) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัด (3) นายอําเภอ ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในเขตท้องที่อําเภอ หรือกิ่งอําเภอ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางท้ายประกาศ ข้อ ๖ ให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวสิ้นสุดเป็นการเฉพาะรายในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ (2) คนต่างด้าวตามข้อ 1 (1) มิได้ผ่านกระบวนการจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการสํารวจและจัดทําทะเบียนสําหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 ตามแนวทางที่กําหนด (3) เดินทางไปนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่กฎหมายกําหนด เมื่อการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวสิ้นสุดเป็นการเฉพาะรายให้คนต่างด้าวผู้นั้นส่งคืนหลักฐานแสดงตน หรือหนังสืออนุญาตต่อผู้มีอํานาจในเขตท้องที่ คนต่างด้าวผู้นั้นได้จัดทําทะเบียน หรือได้รับอนุญาตให้ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมและให้ผู้มีอํานาจแจ้งนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่คนต่างด้าวผู้นั้นมีภูมิลําเนาเพื่อจําหน่ายชื่อออกจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร หรือแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ให้ระยะเวลาในการอนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวเป็นอันสิ้นสุดตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ข้อ ๘ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่หน่วยงานด้านความมั่นคง หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยรายงานว่า คนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (2) ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามแนวทางท้ายประกาศ (3) ไม่มารายงานตัวตามที่กระทรวงมหาดไทยกําหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ข้อ ๙ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามประกาศนี้ และให้มีอํานาจวินิจฉัยสั่งการเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,483
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2552
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2552 ---------------------------------------------------------------- โดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เห็นควรกําหนดให้คนต่างด้าวทั้งที่มีสัญชาติและไร้สัญชาติ เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2552 ได้ ตามจํานวนที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี จึงประกาศกําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2552 ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หนึ่งร้อยคน สําหรับคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ บรรดาอาณานิคมของประเทศหนึ่งรวมกันหรือแต่ละอาณาจักรซึ่งมีการปกครองตนเองให้ถือเป็นประเทศหนึ่ง ข้อ ๒ ห้าสิบคน สําหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,484
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เปลี่ยนประเภทการทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เปลี่ยนประเภทการทํางาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึง (1) คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ในกิจการประมงทะเล และกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ที่ได้เปลี่ยนประเภทการทํางานจากเดิมไปทํางานช่างเครื่องยนต์ในเรือประมง งานผู้ประสานงานด้านภาษากัมพูชา ลาว หรือเมียนมา งานกรรมกร หรืองานรับใช้ในบ้าน แล้วแต่กรณี และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ดังนี้ (ก) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (ข) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 (ค) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 หรือ (ง) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย (ข) และ (ง) ที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา มารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร (2) คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 17 โดยได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ที่ได้เปลี่ยนประเภทการทํางานจากเดิมไปทํางานผู้ประสานงานด้านภาษากัมพูชา ลาว หรือเมียนมา และให้หมายความรวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา มารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว ณ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 - 10 หรือสํานักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) จังหวัดชลบุรี (5) จังหวัดชุมพร (6) จังหวัดตราด (7) จังหวัดตรัง (8) จังหวัดนครศรีธรรมราช (9) จังหวัดนราธิวาส (10) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (11) จังหวัดปัตตานี (12) จังหวัดพังงา (13) จังหวัดเพชรบุรี (14) จังหวัดภูเก็ต (15) จังหวัดระนอง (16) จังหวัดระยอง (17) จังหวัดสมุทรปราการ (18) จังหวัดสมุทรสาคร (19) จังหวัดสมุทรสงคราม (20) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (21) จังหวัดสงขลา และ (22) จังหวัดสตูล แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรประจําตัวใหม่ ตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทํางาน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ณ สถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงานในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดชายทะเลทั้ง 22 จังหวัด หรือในกรณีกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใดเห็นสมควรดําเนินการโดยศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีหน้าที่บริหารจัดการ และประกาศจัดตั้ง หรือยุบเลิกศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งนี้ ในกรณีบุตรที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้างให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและแก้ไขทะเบียนประวัติ ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่ (ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตเพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ (ข) ได้รับอนุญาตทํางานช่างเครื่องยนต์ในเรือประมง ให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณที่เรือที่ทําการประมงทะเล (ค) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี (ง) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง (จ) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทาง และเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน (ฉ) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึงข้อ (จ) (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปีให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด (2) กรณีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัดและการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 สําหรับบุตรของคนต่างด้าวที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ในกรณีบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองภายในสามสิบวัน ก่อนมีอายุจะครบสิบแปดปีบริบูรณ์ หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง เมื่ออายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ ให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และในกรณีที่เจ้าหน้าที่พิจารณาและอนุญาตให้เจ้าหน้าที่แก้ไขทะเบียนประวัติ พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส O (L - A) และให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L – A ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี (1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน (2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๑๐ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,485
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อดำเนินการตามโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 3 ระหว่างนครพนม - คำม่วน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อดําเนินการ ตามโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 3 ระหว่างนครพนม - คําม่วน -------------------------------------------------------- ด้วยรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ทําความตกลงว่าด้วยการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 3 ระหว่างนครพนม - คําม่วน โดยมีกําหนดแล้วเสร็จภายในปี 2554 เพื่ออํานวยความสะดวกในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ ดังกล่าวให้สามารถดําเนินการไปด้วยความเรียบร้อย และให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการก่อสร้างสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ําโขง แห่งที่ 3 ที่บริเวณบ้านห้อม ตําบลอาจสามารถ อําเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ตรงข้ามกับบ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคําม่วน สําหรับให้บุคคล เจ้าหน้าที่ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้ง พาหนะที่เกี่ยวข้องผ่านเข้า - ออกเขตก่อสร้างสะพานมิตรภาพฯ ดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงการสัญจรไป - มาของบุคคลหรือพาหนะอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสะพาน ทั้งนี้ การกําหนดพื้นที่เขตก่อสร้าง และพิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการผ่านเข้า - ออกเขตก่อสร้าง (Construction Zone) ให้เป็นไปตามข้อกําหนดว่าด้วยเขตก่อสร้าง (Construction Zone) สําหรับโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 3 ระหว่างนครพนม - คําม่วน ฉบับลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้มงวดกวดขันเรื่องการลักลอบค้ายาเสพติด อาวุธสงครามและสิ่งผิดกฎหมายอื่น ๆ รวมทั้งควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ําโขงแห่งที่ 3 ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย เมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จให้ปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวนี้ทันที ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,486
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552) --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะขอรับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งที่เคยจดทะเบียนราษฎรคนต่างด้าว (มี ท.ร.38/1) และที่ไม่เคยจดทะเบียนราษฎรคนต่างด้าว (ไม่มี ท.ร.38/1) ที่นายจ้างประสงค์จะรับเข้าทํางาน คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา กลุ่มอื่นซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรีมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะไม่อยู่ในข่ายอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 ดําเนินการ ดังนี้ (1) ไปรายงานตัวต่อ นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ ท้องที่ที่คนต่างด้าวอยู่ในระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2552 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กําหนด (2) ให้ยื่นขอรับใบอนุญาตทํางานต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกําหนด ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แห่งประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 6 เว้นแต่ (ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามี หรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบโดยนายจ้าง สามี หรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ (ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ําให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล หรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อยรายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ข้อ ๖ เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล คนต่างด้าวจะออกนอกเขตจังหวัดได้เมื่อได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น สําหรับการเคลื่อนย้ายออกนอกเขตพื้นที่เพื่อการทํางานให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานประกาศกําหนด และเมื่อได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนท้องที่ทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวหรือได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ และต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,487
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคมพุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และในพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) จังหวัดชลบุรี (5) จังหวัดชุมพร (6) จังหวัดตราด (7) จังหวัดตรัง (8) จังหวัดนครศรีธรรมราช (9) จังหวัดนราธิวาส (10) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (11) จังหวัดปัตตานี (12) จังหวัดพังงา (13) จังหวัดเพชรบุรี (14) จังหวัดภูเก็ต (15) จังหวัดระนอง (16) จังหวัดระยอง (17) จังหวัดสมุทรปราการ (18) จังหวัดสมุทรสาคร (19) จังหวัดสมุทรสงคราม (20) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (21) จังหวัดสงขลา และ (22) จังหวัดสตูล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่ยังไม่ผ่านการตรวจสัญชาติ และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา มารดา ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรด้วย ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว ณ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 - 10 หรือสํานักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล พร้อมทั้งนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรประจําตัวใหม่ ตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทํางาน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ณ สถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงานในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดชายทะเล ทั้ง 22 จังหวัด หรือในกรณีกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใดเห็นสมควรดําเนินการโดยศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีหน้าที่บริหารจัดการ และประกาศจัดตั้งหรือยุบเลิกศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งนี้ ในกรณีบุตรที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้างให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและแก้ไขทะเบียนประวัติภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่ (ก) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี (ข) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง (ค) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทาง และเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน (ง) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึงข้อ (ค) (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปีให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด (2) กรณีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัดและการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาต จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 สําหรับบุตรของคนต่างด้าวที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ในกรณีบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสอง ต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและแก้ไขทะเบียนประวัติ พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส O (L - A) และให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L - A ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี (1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน (2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๑๐ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,488
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวตามประกาศนี้ หมายความว่า บุคคลสัญชาติพม่าที่มาทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับใบอนุญาตทํางาน ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ดังนี้ (1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สําหรับผู้ที่ได้จัดทําทะเบียนไว้ในปี พ.ศ. 2547) ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สําหรับผู้ที่ได้จัดทําทะเบียนไว้ในปี พ.ศ. 2549) ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอสะบ้าย้อย และอําเภอเทพา ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ซึ่งจะต้องดําเนินการขออนุญาตพิสูจน์สัญชาติตามข้อ 2 ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ซึ่งจะต้องดําเนินการขออนุญาตพิสูจน์สัญชาติตามข้อ 2 ภายในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ การออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการพิสูจน์สัญชาติ ให้ดําเนินการ ดังนี้ (1) กรณีพิสูจน์สัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนดให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําบัญชีรายชื่อพร้อมเลขประจําตัว 13 หลักของคนต่างด้าวที่จะเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติที่ต้องออกนอกเขตพื้นที่จังหวัด คนต่างด้าวจะออกนอกพื้นที่ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น (2) กรณีที่เดินทางไปพิสูจน์สัญชาติและรับเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางในสหภาพพม่าให้กรมการจัดหางานจัดทําบัญชีรายชื่อพร้อมเลขประจําตัว 13 หลัก ของคนต่างด้าวที่สหภาพพม่าตอบรับ เพื่อปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายพิจารณาอนุญาต เมื่อได้รับผลการอนุญาตแล้วให้กรมการจัดหางานดําเนินการต่อไป พร้อมทั้งแจ้งสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อประสานด่านตรวจคนเข้าเมืองที่คนต่างด้าวเดินทางออกในการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และการเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขออนุญาตทํางาน ทั้งนี้ ให้นายจ้างและคนต่างด้าวใช้เอกสารการอนุญาตออกนอกพื้นที่ พร้อมทั้งบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ท.ร.38/1) และเอกสารที่กรมการจัดหางานกําหนดสําหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในการเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อไปดําเนินการพิสูจน์สัญชาติ ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานดังกล่าว มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าว ข้อ ๔ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสาร ตามข้อ 4 อยู่ในราชอาณาจักร เป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาอนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อทํางาน ให้สามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียว เป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,489
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวแก่คนต่างด้าวเป็นการชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวแก่คนต่างด้าวเป็นการชั่วคราว --------------------------------------------------- ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2552 ได้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวแก่คนต่างด้าวเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวให้แก่คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการท่องเที่ยวมีกําหนดเวลาไม่เกินสามเดือน ซึ่งได้ครบกําหนดเวลาไปแล้ว นั้น บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2552 อนุมัติหลักการมาตรการเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องเพื่อฟื้นฟูวิกฤตการท่องเที่ยวและสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประกอบกับมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เร่งรัดให้กระทรวงมหาดไทยดําเนินการออกประกาศ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวแก่คนต่างด้าวเป็นการชั่วคราว โดยให้ขยายระยะเวลาการดําเนินมาตรการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2552 ออกไป 1 รอบปี นับแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมีผลใช้บังคับ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้คนต่างด้าวจําพวกซึ่งประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปถึงวันที่ 4 มีนาคม 2553 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,490
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ------------------------------------------------------ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้านจังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด และจังหวัดสุรินทร์ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2546 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ตรงข้ามกับบ้านจามเยี่ยม อําเภอมณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง ระหว่างเวลา 07.00 น. - 20.00 น. ของทุกวัน นั้น ด้วยจังหวัดตราดร่วมกับเทศบาลตําบลหาดเล็ก ได้กําหนดจัดงานประจําปีวัดเกษมสีมาราม (วัดหาดเล็ก) หมู่ที่ 4 ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน 2552 เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนกัมพูชาที่เดินทางเข้ามาเที่ยวชมงาน อันเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตราด ตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ และวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นเวลา 5 วัน โดยกําหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ ข้อ ๑ ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ตรงข้ามกับบ้านจามเยี่ยม อําเภอมณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน พ.ศ. 2552 จากเวลา 07.00 น. - 20.00 น. เป็นเวลา 07.00 น. - 24.00 น. ข้อ ๒ ในช่วงเวลา 20.00 น. - 24.00 น. ให้อนุญาตเฉพาะประชาชนกัมพูชาเดินทางผ่านเข้า - ออก สําหรับประชาชนไทยให้เดินทางผ่านเข้า - ออก เฉพาะในช่วงเวลาที่เปิดปกติ (เวลา 07.00 น. - 20.00 น.) เท่านั้น ข้อ ๓ ให้จังหวัดตราดเพิ่มมาตรการตรวจตราการเข้า - ออก ให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทย - กัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ตลอดจนจัดให้มีมาตรการปฏิบัติเป็นพิเศษในการควบคุมความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่จัดงาน รวมทั้งป้องกันการลักลอบนําเข้ายาเสพติด การป้องกันมิให้ประชาชนไทยเดินทางออกไปเล่นการพนันตามแนวชายแดนและป้องกันการหลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมายของประชาชนกัมพูชา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 - 16 เมษายน พ.ศ. 2552 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,491
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ดังนี้ (1) ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ใน 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ (1) จังหวัดกระบี่ (2) จังหวัดจันทบุรี (3) จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) จังหวัดชลบุรี (5) จังหวัดชุมพร (6) จังหวัดตราด (7) จังหวัดตรัง (8) จังหวัดนครศรีธรรมราช (9) จังหวัดนราธิวาส (10) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (11) จังหวัดปัตตานี (12) จังหวัดพังงา (13) จังหวัดเพชรบุรี (14) จังหวัดภูเก็ต (15) จังหวัดระนอง (16) จังหวัดระยอง (17) จังหวัดสมุทรปราการ (18) จังหวัดสมุทรสาคร (19) จังหวัดสมุทรสงคราม (20) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (21) จังหวัดสงขลา และ (22) จังหวัดสตูล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ฉบับลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 รวมถึงผู้ที่ทํางานเป็นช่างเครื่องยนต์ในเรือประมงทะเล และ (2) ยังไม่ผ่านการตรวจสัญชาติและมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล และนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรประจําตัวใหม่ ตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทํางาน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคมพ.ศ. 2560 ณ สถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน ในจังหวัดชายทะเลหรือในกรณีจังหวัดใดเห็นสมควรดําเนินการโดยศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่บริหารจัดการ และประกาศจัดตั้ง หรือยุบเลิกศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ กรณีคนต่างด้าวที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานในทะเล ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล หรือศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง และเมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้าฝั่งให้ไปดําเนินการตามวรรคหนึ่งภายในสามสิบวัน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าว ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่ (ก) ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล (ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี (ค) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง (ง) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทาง และเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนดให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด (2) กรณีการเดินทางไปเพื่อตรวจสัญชาติ และรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี (1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน (2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้างและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๑๐ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,492
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาการเปิดด่านพรมแดนไทย - มาเลเซีย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาการเปิดด่านพรมแดนไทย - มาเลเซีย ---------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 24 มกราคม 2536 เรื่อง การขยายเวลาการเปิดด่านพรมแดนไทย - มาเลเซีย กําหนดเวลาการเปิดด่านพรมแดนไทย - มาเลเซีย ด้านอําเภอเบตง จังหวัดยะลา นั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และเพื่ออํานวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง การค้า และการท่องเที่ยวระหว่างกัน ตามผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ 48 ระหว่างวันที่ 12 - 16 กรกฎาคม 2551 ณ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการขยายเวลาเปิดด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา ตรงข้ามกับด่านเปิงกาลันฮูลู รัฐเประ ประเทศมาเลเซีย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 มาตรา 18 มาตรา 23 และมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงขยายเวลาการเปิดด่านพรมแดนไทย - มาเลเซีย ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อให้บุคคลและยานพาหนะเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร จากระหว่างเวลา 05.00 น. - 18.00 น. เป็นระหว่างเวลา 05.00 น. - 22.00 น. (06.00 - 23.00 น. เวลามาเลเซีย) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,494
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2551
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2551 ---------------------------------------------------- โดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เห็นควรกําหนดให้คนต่างด้าวทั้งที่มีสัญชาติและไร้สัญชาติ เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2551 ได้ตามจํานวนที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี จึงประกาศกําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2551 ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หนึ่งร้อยคน สําหรับคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ บรรดาอาณานิคมของประเทศหนึ่งรวมกันหรือแต่ละอาณาจักรซึ่งมีการปกครองตนเองให้ถือเป็นประเทศหนึ่ง ข้อ ๒ ห้าสิบคน สําหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พลตํารวจเอก โกวิท วัฒนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,495
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทาง เพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2560 ---------------------------------------------- เพื่อเป็นการผ่อนผันให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งเข้ามาเพื่อทํางานในราชอาณาจักร ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2560 แล้วกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคมพุทธศักราช 2557 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2560 ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560 ตามประกาศนี้ ได้แก่ (1) คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี อนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 17 โดยได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรซึ่งอยู่ระหว่างได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี (2) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งเข้ามาเพื่อทํางานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A และระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่ (3) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 17 ที่ผ่านการตรวจสัญชาติและมีหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลตามที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ได้รับการตรวจลงตราประเภทผู้ติดตามและระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่ ข้อ ๒ การอนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 (1) ที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2560 ให้นายจ้างหรือคนต่างด้าวที่มีนายจ้างคนเดียวกันรวบรวมรายชื่อ พร้อมสําเนาบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยของคนต่างด้าวดังกล่าวไปยื่นขอหนังสือรับรองจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน หรือหน่วยงานในสังกัด สําหรับใช้เป็นเอกสารหลักฐานแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเพื่อประทับตราในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรหรือเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ถือว่าเป็นการออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ข้อ ๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และประทับตราการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในหนังสือรับรองที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน หรือหน่วยงานในสังกัดออกให้ ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ หากต้องมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดในการดําเนินการ ให้คนต่างด้าวได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งหมด คนต่างด้าวตามข้อ 1 (1) หากเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองใดให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองนั้น ข้อ ๔ คนต่างด้าวตามข้อ 1 (2) และ (3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และประทับตราการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลตามที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง คนต่างด้าวตามข้อ 1 (2) และ (3) ที่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกราชอาณาจักรตามวรรคหนึ่งให้ได้รับอนุญาตกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก โดยไม่ต้องดําเนินการยื่นคําขออนุญาตตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง ข้อ ๕ คนต่างด้าวผู้ใดเดินทางออกนอกราชอาณาจักร หรือเข้ามาในราชอาณาจักรไม่เป็นไปตามระยะเวลาตามข้อ 1 หรือเงื่อนไขตามข้อ 3 วรรคสอง ให้การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุด ให้สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง รวบรวมรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของคนต่างด้าวตามข้อ 1 (1) ที่ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ส่งให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลทางทะเบียนให้เป็นปัจจุบัน ภายในหกสิบวันนับแต่สิ้นสุดการอนุญาตตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,496
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ำโก - ลก อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ําโก - ลก อําเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ------------------------------------------------------ ด้วยรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศมาเลเซียได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ําโก - ลก ที่บ้านบูเก๊ะตา อําเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ตรงข้ามบ้านบุเก๊ะบุหงา รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยและประเทศมาเลเซีย และประโยชน์ในการสัญจรไปมาของประชาชนทั้งสองประเทศแล้ว ยังมีส่วนสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งการเสริมสร้างความมั่นคงในการสกัดกั้นยาเสพติดอาวุธสงครามและสิ่งผิดกฎหมาย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ําโก - ลก ระหว่างบ้านบูเก๊ะตา อําเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ตรงข้ามกับบ้านบุเก๊ะบุหงา รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ระหว่างเวลา 05.00 น. - 18.00 น. ของทุกวัน และกําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านบูเก๊ะตา ตําบลโล๊ะจูด อําเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส โดยมีช่องทางอนุญาตให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตามเส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองบูเก๊ะตา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พลตํารวจเอก โกวิท วัฒนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,497
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่ชาวมอแกนที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่ชาวมอแกนที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักร -------------------------------------------------------------- โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550 เห็นชอบให้สถานะคนต่างด้าวชาวมอแกนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย ประเภทไร้สัญชาตินอกกําหนดคนต่างด้าว ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 และมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ประกอบกับมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศให้ชาวมอแกนที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเพื่อมีถิ่นที่อยู่ ใบสําคัญถิ่นที่อยู่ และใบสําคัญถิ่นที่อยู่ในกรณีที่ผู้ขอใบสําคัญถิ่นที่อยู่เป็นคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลกลุ่มนี้ ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร และขอรับหรือได้รับใบสําคัญถิ่นที่อยู่แล้ว ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และยกเว้นค่าธรรมเนียมใบสําคัญประจําตัวคนต่างด้าวตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2498) ออกตามความในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ในเขตท้องที่จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยธรณีพิบัติ 6 จังหวัด ต่อไปนี้ 1. จังหวัดกระบี่ 2. จังหวัดตรัง 3. จังหวัดพังงา 4. จังหวัดภูเก็ต 5. จังหวัดระนอง 6. จังหวัดสตูล ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551 ร้อยตํารวจเอก เฉลิม อยู่บํารุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,498
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และในพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่ยังไม่ผ่านการตรวจสัญชาติ และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา มารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรด้วย ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว ณ สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 - 10 หรือสํานักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล พร้อมทั้งนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรประจําตัวใหม่ ตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทํางานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ณ สถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงานในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดชายทะเลทั้ง 22 จังหวัด หรือในกรณีกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใดเห็นสมควรดําเนินการโดยศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีหน้าที่บริหารจัดการ และประกาศจัดตั้ง หรือยุบเลิกศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งนี้ ในกรณีบุตรที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้างให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางานและแก้ไขทะเบียนประวัติภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตท้องที่กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่ (ก) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี (ข) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง (ค) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทาง และเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน (ง) เป็นบุตรซึ่งเดินทางไปพร้อมกับบิดาหรือมารดาตามเงื่อนไขตามข้อ (ก) ถึง ข้อ (ค) (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปีให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวเพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด (2) กรณีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวตามที่ประเทศต้นทางตอบรับเพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัดและการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 สําหรับบุตรของคนต่างด้าวที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ในกรณีบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปจะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน และแก้ไขทะเบียนประวัติ พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส O (L-A) และให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี (1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน (2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๑๐ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,499
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้านจังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด และจังหวัดสุรินทร์ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2546 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก ตําบลท่าข้าม อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ตรงข้ามกับปอยเปต อําเภอโอโจรว จังหวัดบันเตียเมียนเจย ระหว่างเวลา 07.00 น. - 20.00 น. ของทุกวัน นั้น ด้วยจังหวัดสระแก้วร่วมกับอําเภออรัญประเทศ ได้จัดงานประจําปี “วันแคนตาลูป และของดีเมืองอรัญฯ 51” ในระหว่างวันที่ 6 - 15 เมษายน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนกัมพูชาที่เดินทางเข้ามาเที่ยวชมงาน และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของ จังหวัดสระแก้วและเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก ตําบลท่าข้าม อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นเวลา 4 วัน โดยกําหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ ข้อ ๑ ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก ตําบลท่าข้าม อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ตรงข้ามกับปอยเปต อําเภอโอโจรว จังหวัดบันเตียเมียนเจย ระหว่างวันที่ 12 - 15 เมษายน พ.ศ. 2551 จากเวลา 07.00 น. - 20.00 น. เป็นเวลา 07.00 น. - 24.00 น. ข้อ ๒ ในช่วงเวลา 20.00 น. - 24.00 น. ให้อนุญาตเฉพาะประชาชนกัมพูชาเดินทางผ่านเข้า - ออก สําหรับประชาชนชาวไทยให้เดินทางผ่านเข้า - ออก เฉพาะในช่องเวลาที่เปิดปกติ (07.00 น. - 20.00 น.) เท่านั้น ข้อ ๓ ให้จังหวัดเพิ่มมาตรการตรวจตราการเข้า - ออก ให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างไทย - กัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ตลอดจนให้มีมาตรการปฏิบัติเป็นพิเศษในการควบคุมความสงบเรียบร้อยบริเวณพื้นที่จัดงาน รวมทั้งป้องกันการลักลอบนําเข้ายาเสพติด การป้องกันมิให้ประชาชนไทยเดินทางออกไปเล่นการพนันตามแนวชายแดน และป้องกันการหลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมายของประชาชนกัมพูชา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 - 15 เมษายน พ.ศ. 2551 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551 ร้อยตํารวจเอก เฉลิม อยู่บํารุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,500
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ใน 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ (เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ที่ยังไม่ผ่านการตรวจสัญชาติ และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปี นับถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล และนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อขอรับบัตรประจําตัวใหม่ ตรวจสุขภาพและขออนุญาตทํางาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ณ สถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน ในจังหวัดชายทะเลหรือในกรณีจังหวัดใดเห็นสมควรดําเนินการโดยศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่บริหารจัดการและประกาศจัดตั้ง หรือยุบเลิกศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ กรณีคนต่างด้าวที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานในทะเล ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล หรือศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง และเมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้าฝั่งให้ไปดําเนินการตามวรรคหนึ่งภายในสามสิบวัน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 คนต่างด้าวที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับได้ไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าว ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่ (ก) ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล (ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี (ค) ได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง (ง) กรณีแรงงานต่างด้าวขอไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้นายจ้างจัดทําหนังสือพร้อมรายชื่อและเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่จะไปทัศนศึกษา หรือสันทนาการ แจ้งให้นายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นทราบก่อนวันเดินทางและเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในท้องที่ ทั้งนี้ ไม่เกินครั้งละเจ็ดวัน (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวเพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนด ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด (2) กรณีการเดินทางไปเพื่อตรวจสัญชาติ และรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรที่ประเทศต้นทางตอบรับ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี (1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน (2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๑๐ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,502
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่อำเภอจะนะ อำเภอนาทวีอำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพา
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอสะบ้าย้อย และอําเภอเทพา ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาซึ่งได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอสะบ้าย้อย และอําเภอเทพา ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งได้ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวเพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทํางาน ภายในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ให้กรมการจัดหางานส่งเอกสารหลักฐานการอนุญาตทํางาน ให้กรมการปกครองเพื่อจัดทําบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้คนต่างด้าวดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด หรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 6 เว้นแต่ (ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามี หรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้าง สามี หรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ (ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ําให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล หรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่หน่วยงานด้านความมั่นคง หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยรายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ข้อ ๖ เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล คนต่างด้าวจะออกนอกเขตจังหวัดได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย สําหรับการเคลื่อนย้ายออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดเพื่อการทํางานให้สามารถเคลื่อนย้ายได้เฉพาะในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอสะบ้าย้อย และอําเภอเทพา โดยต้องได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนท้องที่ทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว และการขออนุญาตออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗ คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา กลุ่มอื่นซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี มติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ไม่อยู่ในข่ายการอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,503
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สำหรับผู้ที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติไว้ในปี พ.ศ. 2549)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สําหรับผู้ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติไว้ในปี พ.ศ. 2549) -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สําหรับผู้ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติไว้ในปี พ.ศ. 2549) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งได้ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว เพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทํางานภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ให้กรมการจัดหางานส่งเอกสารหลักฐานการอนุญาตทํางาน ให้กรมการปกครองเพื่อจัดทําบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้คนต่างด้าวดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด หรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 6 เว้นแต่ (ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบโดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและ (ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ํา ให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล หรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่หน่วยงานด้านความมั่นคง หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยรายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ข้อ ๖ เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงานหรือเพื่อการรักษาพยาบาล คนต่างด้าวจะออกนอกเขตท้องที่ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น สําหรับการเคลื่อนย้ายออกนอกเขตพื้นที่เพื่อการทํางานสามารถกระทําได้ เมื่อได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนท้องที่ทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวหรือได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่และต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗ คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา กลุ่มอื่นซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี มติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ไม่อยู่ในข่ายการอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,504
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และได้รับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ในกรณี (1) คนต่างด้าวที่ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 หรือ (2) คนต่างด้าวที่ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 และมีอายุไม่เกินห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา หรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปขอหนังสือรับรองการทํางานหรือเคยทํางานกับนายจ้างจากกรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัดตามแบบที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนด เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบในการดําเนินการขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง และนําหลักฐานการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรมาประกอบการขอรับใบอนุญาตทํางานตามที่กระทรวงแรงงานกําหนดภายในสิบห้าวัน ในกรณีบุตรที่มีอายุตั้งแต่สิบห้าปี แต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้าง ให้สามารถทํางานได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย บุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไป จะต้องทํางานกับนายจ้าง โดยให้ดําเนินการขอรับใบอนุญาตทํางาน พร้อมทั้งยกเลิกรอยตราประทับ รหัส O (L-A) และให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A ภายในสามสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 12 (3) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามข้อ 2 ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 3 อยู่ในราชอาณาจักร ตามระยะเวลาของหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล ที่มีอายุเหลืออยู่ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เว้นแต่มีอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561 ในกรณีหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล หมดอายุให้ย้ายรอยตราประทับ ไปยังเอกสารเล่มใหม่เพื่อตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร โดยมีระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๕ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 4 ในกรณี (1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน (2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๖ เมื่อสิ้นสุดการอนุญาตหรือการอนุญาตเป็นอันสิ้นผลตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกสิบห้าวัน เพื่อเตรียมการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,505
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สำหรับผู้ที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติไว้ในปี พ.ศ. 2547)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สําหรับผู้ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติไว้ในปี พ.ศ. 2547) ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (สําหรับผู้ที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติไว้ในปี พ.ศ. 2547) ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งได้ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว เพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทํางานภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 และให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติและยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดา มารดา ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๒ ให้กรมการจัดหางานส่งเอกสารหลักฐานการอนุญาตทํางานให้กรมการปกครองเพื่อจัดทําบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้คนต่างด้าวดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด สําหรับบุตรของคนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะทํางานให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว เพื่อขอรับใบอนุญาตทํางานตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด คนต่างด้าวที่มีบุตรตามข้อ 1 ซึ่งมิได้ขออนุญาตทํางานตามวรรคสอง ให้นําบุตรพร้อมเอกสารหลักฐานไปรายงานตัวที่สํานักทะเบียนที่คนต่างด้าวมีชื่ออยู่ ตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 และข้อ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด หรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 6 เว้นแต่ (ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามี หรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้าง สามีหรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ (ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ํา ให้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล หรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวตามประกาศนี้ ในกรณีที่หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อยรายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ข้อ ๖ เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงานหรือเพื่อการรักษาพยาบาล คนต่างด้าวและผู้ติดตามจะออกนอกเขตท้องที่ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในเขตท้องที่จังหวัดอื่น สําหรับการเคลื่อนย้ายออกนอกเขตพื้นที่เพื่อการทํางานสามารถกระทําได้ เมื่อได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนท้องที่ทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวหรือได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่และต้องออกนอกเขตจังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗ คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา กลุ่มอื่นซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี มติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ไม่อยู่ในข่ายการอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,506
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ําเมย แห่งที่ 2 ------------------------------------------------------ ด้วยรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาได้ทําความตกลงว่าด้วยการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ําเมย แห่งที่ 2 เพื่ออํานวยความสะดวกในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ําเมย แห่งที่ 2 ให้สามารถดําเนินการไปด้วยความเรียบร้อย และให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ําเมย แห่งที่ 2 ระหว่างบ้านวังตะเคียน ตําบลท่าสายลวด อําเภอแม่สอด จังหวัดตากราชอาณาจักรไทย กับบ้านเยปู หมู่ที่ 5 เมืองเมียวดี จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สําหรับให้บุคคล เจ้าหน้าที่ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งพาหนะที่เกี่ยวข้องผ่านเข้า - ออกเขตก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมาข้ามแม่น้ําเมย แห่งที่ 2 แต่ไม่รวมถึงการสัญจรไป - มาของบุคคลหรือพาหนะอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสะพาน ทั้งนี้ การกําหนดพื้นที่เขตก่อสร้างและพิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการผ่านเข้า - ออกเขตก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อกําหนดว่าด้วยเขตก่อสร้าง สําหรับโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ําเมย แห่งที่ 2 ฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และเมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จให้ปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวนี้ทันที ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,507
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่ควบคุมและการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวออกนอกเขตพื้นที่ควบคุม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกําหนดเขตพื้นที่ควบคุมและการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวก ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวออกนอกเขตพื้นที่ควบคุม ------------------------------------------------------------- เพื่อดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 เรื่อง ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ ที่ให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ในประเทศไทย กลุ่มชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่เป็นเวลานานและกลับประเทศต้นทางไม่ได้ โดยให้กําหนดสถานะแก่กลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานและมีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนราษฎร และกําหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณากําหนดสถานะของทางราชการ เกี่ยวกับสิทธิในการเดินทาง โดยให้พิจารณากําหนดเขตพื้นที่ควบคุมเป็นระดับจังหวัด การกําหนดเขตพื้นที่และการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และสนับสนุนการแก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มอื่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวบางจําพวกที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยและอาศัยอยู่เป็นเวลานานที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ก่อนวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 และบุตรหลานที่เกิดในประเทศไทยที่ไม่ได้สัญชาติไทย ดังต่อไปนี้ (1) คนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ที่มีรายการในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร และได้รับการจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวดังนี้ (ก) เวียดนามอพยพ (ข) อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา (ค) อดีตทหารจีนคณะชาติ (ง) จีนฮ่ออพยพพลเรือน (จ) ไทยลื้อ (ฉ) จีนฮ่ออิสระ (ช) ชาวเขาหรือบุคคลบนพื้นที่สูงและชุมชนบนพื้นที่สูง (ซ) เนปาลอพยพ (ฌ) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า (ญ) ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (ฎ) ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย (ฏ) ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา (ฐ) ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวกัมพูช (ฑ) ลาวอพยพ (ฒ) ชาวลาวภูเขาอพยพ (ณ) ม้งถ้ํากระบอก ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดของกลุ่มคนต่างด้าวตามบัญชีท้ายประกาศ (2) กลุ่มชาวมอแกนที่ประสบภัยสึนามิที่ได้รับการสํารวจจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการสํารวจและจัดทําทะเบียนสําหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 (3) คนต่างด้าวที่ได้รับการสํารวจจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการสํารวจและจัดทําทะเบียนสําหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 ดังนี้ (ก) ประเภทกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน ที่มีหรือไม่มีความเกี่ยวพันกับผู้ที่ได้รับการจัดทําทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อยไว้เดิมแต่ตกสํารวจ (ข) ประเภทกลุ่มเด็กและบุคคลทั้งที่กําลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาและจบการศึกษาแล้วแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย (ค) ประเภทกลุ่มบุคคลไร้รากเหง้า (ง) ประเภทกลุ่มบุคคลที่ทําคุณประโยชน์แก่ประเทศ (4) คนต่างด้าวที่ได้รับการสํารวจเพื่อจัดทําทะเบียนสําหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการสํารวจและจัดทําทะเบียนสําหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 ข้อ ๒ บรรดาระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือหนังสือสั่งการใด ๆ ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้ ข้อ ๓ เขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าว” หมายถึง กรุงเทพมหานคร หรือ จังหวัด อันเป็นพื้นที่ที่ได้ดําเนินการสํารวจและจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวของคนต่างด้าวตามข้อ 1 และตามบัญชีเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าวท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้คนต่างด้าวอยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าว และให้มีการรายงานตัวเพื่อการควบคุมตรวจสอบตามที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าวเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐเพื่อการศึกษาหรือการรักษาพยาบาล หรือเหตุจําเป็นอื่น คนต่างด้าวจะออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าวได้โดยยื่นคําขอออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าวต่อผู้มีอํานาจ เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็นโดยเร่งด่วนและไม่อาจรอการขออนุญาตได้ให้ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมได้ แต่จะต้องแจ้งให้ผู้มีอํานาจทราบโดยด่วน การอนุญาตออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าวนอกเหนือข้างต้น ต้องได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนแปลงหรือย้ายภูมิลําเนาเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าว ให้กระทําได้เฉพาะกรณี ต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย หรือตามนโยบายที่ทางราชการกําหนด ข้อ ๕ คนต่างด้าวจะออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าวได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้มีอํานาจ ดังต่อไปนี้ (1) นายอําเภอที่ผู้ขออนุญาตมีภูมิลําเนาในกรณีออกนอกพื้นที่จังหวัด (2) ผู้อํานวยการสํานักกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง กรณีออกนอกเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (3) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรณีออกนอกราชอาณาจักรและให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางการขออนุญาตออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ให้สิทธิอาศัยในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวสิ้นสุดเป็นการเฉพาะรายในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่ ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (2) คนต่างด้าวตามข้อ 1 (4) มิได้ผ่านกระบวนการจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามระเบียบสํานักทะเบียนกลางว่าด้วยการสํารวจและจัดทําทะเบียนสําหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 หรือ (3) เดินทางไปนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่กฎหมายกําหนด เมื่อการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวสิ้นสุดเป็นการเฉพาะรายให้คนต่างด้าวผู้นั้นส่งคืนหลักฐานแสดงตนหรือหนังสืออนุญาตต่อผู้มีอํานาจในเขตท้องที่ที่คนต่างด้าวผู้นั้นมีภูมิลําเนาหรือได้รับอนุญาตให้ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าว และให้ผู้มีอํานาจแจ้งนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่คนต่างด้าวผู้นั้นมีภูมิลําเนาเพื่อจําหน่ายชื่อออกจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร หรือแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ซึ่งได้รับมอบอํานาจมีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าวในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่หน่วยงานด้านความมั่นคง หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยรายงานว่า คนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (2) ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมคนต่างด้าวโดยไม่ได้รับอนุญาตตามแนวทางท้ายประกาศ (3) ไม่มารายงานตัวตามที่กระทรวงมหาดไทยกําหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ข้อ ๘ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามประกาศนี้ และให้มีอํานาจวินิจฉัยสั่งการเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,508
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการแปรรูปสัตว์น้ํา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ------------------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และทํางานกับนายจ้างที่มีกิจการหลักเกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ํา ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและในพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล และให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร แปรรูปสัตว์น้ํา หมายถึง การแปรรูปและการถนอมปลา และสัตว์น้ําที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู หมึก หอย โดยการเตรียมและถนอมปลา และสัตว์น้ําไม่มีกระดูกสันหลัง การแช่แข็ง การแช่เยือกแข็ง การอบแห้ง การรมควัน การหมักเค็ม การหมักในน้ําเกลือ การบรรจุอาหารสําเร็จรูป เช่น การบรรจุกระป๋อง การผลิต หรือผลิตภัณฑ์จากปลาและสัตว์น้ําไม่มีกระดูกสันหลังที่ปรุงสําเร็จ แล่เป็นชิ้น ๆ เพื่อเป็นอาหารสําหรับบริโภคหรือเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งไข่ปลา การทําน้ําปลาจากปลา และจากสัตว์ทะเลอื่น ๆ ทั้งนี้ ให้รวมกิจกรรมในการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ําดังกล่าวที่กระทําบนเรือและกิจการโรงน้ําแข็งเพื่อการประมง ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อยื่นคําขอจัดทําทะเบียนประวัติตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทํางาน ภายในเวลาระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดชายทะเลที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ ทั้งนี้ ในกรณีบุตรที่มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีประสงค์จะทํางานกับนายจ้าง ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี ให้มีสิทธิอยู่ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา ไม่เกินวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และต้องทํางานกับนายจ้าง ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ของประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่ (ก) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี (ข) ได้รับอนุญาตให้ทํางานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ํากับนายจ้างใหม่ หรือให้เพิ่มท้องที่การทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางาน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัดจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด (2) กรณีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว ให้กรมการจัดหางานจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้แก่คนต่างด้าวดังกล่าวตามที่ประเทศต้นทางตอบรับเพื่อใช้เป็นเอกสารในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางหรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์ จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวเป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีในวันที่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามระยะเวลาที่บิดา หรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ในกรณีผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีให้มีสิทธิอยู่ได้ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา แต่ไม่เกินวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และต้องทํางานกับนายจ้าง ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี (1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน (2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานและพื้นที่ตามข้อ 1 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม หรือ (3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,509
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ----------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจและมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 และวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และทํางานในเรือประมงเพื่อจับสัตว์น้ําทางทะเลกับนายจ้างอยู่แล้ว ใน 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล และให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรระหว่างบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว พร้อมทั้งนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อยื่นคําขอจัดทําทะเบียนประวัติ ตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทํางาน ภายในเวลาระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ในพื้นที่จังหวัดชายทะเลที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ ทั้งนี้ ในกรณีบุตรที่มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ประสงค์จะทํางานกับนายจ้าง ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต่อมามีอายุเกินสิบแปดปีให้มีสิทธิอยู่ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา แต่ต้องไม่เกินวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 และต้องทํางานกับนายจ้าง ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ของประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้ เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เว้นแต่ (ก) ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล (ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี (ค) ได้รับอนุญาตให้ทํางานในเรือประมงกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานในเรือประมงทะเลเท่านั้น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบแปดปี ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนด ให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด (2) กรณีการเดินทางไปเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่ประเทศต้นทางตอบรับ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้วหากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินสองปี สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งที่อายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี ให้ได้รับอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้สามารถทํางานอื่นได้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ในกรณีผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวตามวรรคสองต่อมามีอายุเกินสิบแปดปี ให้มีสิทธิอยู่ได้ตามสิทธิของบิดาหรือมารดา แต่ต้องไม่เกินวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 และต้องทํางานกับนายจ้าง ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี (1) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานและพื้นที่ตามข้อ 1 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (2) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้างและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,510
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลสัญชาติเวียดนามที่ถือหนังสือเดินทางโดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อทํางานภายใต้เงื่อนไขตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าว ตามข้อ 1 ข้อ ๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือหนังสือเดินทางเพื่อเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาไม่เกินสองปีในกรณีที่หนังสือเดินทางมีอายุใช้ได้น้อยกว่าสองปีให้ประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินอายุของหนังสือเดินทางนั้น เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกแต่เมื่อนับรวมระยะเวลาตั้งแต่ประทับตราอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้วจะต้องไม่เกินสี่ปี ข้อ ๔ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวประสงค์จะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังมีเหลืออยู่ ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,511
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558และเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 --------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวตามประกาศนี้ หมายถึง (1) คนต่างด้าวสัญชาติเวียดนามที่ถือหนังสือเดินทางซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (2) ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตาม (1) ได้สิ้นสุดลงและไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และ (3) ต้องการจะทํางานกับนายจ้างในงานรับใช้ในบ้าน งานกรรมกรในกิจการก่อสร้าง ประมงทะเล และร้านอาหาร คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร ระหว่างบิดา หรือมารดา ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศนี้ ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และได้รับการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะตามประกาศนี้ ให้ดําเนินการขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ตรวจสุขภาพประกันสุขภาพ และขออนุญาตทํางานภายในเวลาระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ณ สถานที่ที่ตั้งของแต่ละหน่วยงานในจังหวัดโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบริหารจัดการและประกาศกําหนด ข้อ ๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าวซึ่งถือหนังสือเดินทางนับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และเมื่อครบกําหนดเวลาดังกล่าวต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ ในกรณีคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งที่ทํางานกรรมกรในกิจการก่อสร้างหรือประมงทะเลหาก นายจ้างมีความประสงค์จะจ้างงานต่อไปให้นายจ้างนําคนต่างด้าวไปขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานที่ที่กระทรวงแรงงานกําหนดภายในระยะเวลาระหว่างวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าว ตามระยะเวลาของหนังสือเดินทางที่เหลืออยู่แต่ต้องไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี เมื่อทํางานครบกําหนดสี่ปีแล้ว ต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ข้อ ๔ มิให้นํามาตรา 12 (3) มาตรา 54 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประกาศนี้แล้ว ข้อ ๕ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 3 ในกรณี (1) ได้รับการตรวจลงตราแล้วไม่ขออนุญาตทํางานภายในสิบห้าวัน (2) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานที่คนต่างด้าวขออนุญาตทํางานตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (3) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้างและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,512
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ---------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจและมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 และวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และทํางานในเรือประมงเพื่อจับสัตว์น้ําทางทะเลกับนายจ้างอยู่แล้ว ใน 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวและนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวเพื่อยื่นคําขอจัดทําทะเบียนประวัติ ตรวจสุขภาพ และขออนุญาตทํางาน ภายในเวลาระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559 ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ในพื้นที่จังหวัดชายทะเลที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แห่งประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานเว้นแต่ (ก) ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล (ข) เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลโดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดงในแต่ละกรณี (ค) ได้รับอนุญาตให้ทํางานในเรือประมงกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว โดยมีหนังสือหรือเอกสารที่ทางราชการออกให้แสดง (4) หน่วยงานด้านความมั่นคงหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานในเรือประมงทะเลเท่านั้น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้คนต่างด้าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ข้อ ๕ การออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติของคนต่างด้าว เพื่อไปดําเนินการตรวจสัญชาติ ให้ดําเนินการดังนี้ (1) กรณีตรวจสัญชาติในราชอาณาจักร ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกําหนดให้กรมการจัดหางานหรือหน่วยงานในสังกัด จัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่จะเข้ารับการตรวจสัญชาติ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด (2) กรณีการเดินทางไปเพื่อตรวจสัญชาติและรับหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ให้กรมการจัดหางานจัดทําหนังสือรับรองรายชื่อพร้อมเลขประจําตัวของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่ประเทศต้นทางตอบรับ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการออกนอกเขตท้องที่จังหวัด และการดําเนินกรรมวิธีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการทํางาน ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 3 ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๗ หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือเอกสารตามข้อ 7 เข้ามาและทํางานอยู่ในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่อนุญาตจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินสองปี ข้อ ๙ การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวจะสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 8 ในกรณี (1) ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ ในลักษณะงานและพื้นที่ตามข้อ 1 ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม (2) เมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้างและได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,513
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 --------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ มาตรา 12 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กําหนดให้บัตรผ่านแดนตามความตกลง ดังต่อไปนี้ เป็นเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสําหรับการขออนุญาตทํางานตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 (1) ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 (2) ความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2540 (3) ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสัญจรข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2540 สําหรับเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอื่น ๆ ต้องเป็นแบบที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรอง ข้อ ๒ มิให้นํามาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่ถือเอกสารตามข้อ 1 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,514
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 1 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกําหนดเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ําสายแห่งที่ 1 อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ------------------------------------------------------------ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้านจังหวัดเชียงราย ตาก และระนอง ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2540 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวร บริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย เขตสุขาภิบาลแม่สาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็กประเทศสหภาพพม่า ตั้งแต่เวลา 06.30 น. - 18.30 น. นั้น เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง และสนับสนุนการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงประกาศเปลี่ยนแปลงกําหนดเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ําสายแห่งที่ 1 อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็ก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จากเวลา 06.30 น. - 18.30 น. เป็น 06.30 น. - 21.00 น. (เวลาเมียนมา 06.00 น. - 20.30 น.) ของทุกวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,515
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกําหนดเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย ตําบลท่าสายลวด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก ----------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้านจังหวัดเชียงราย ตาก และระนอง ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2540 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย หมู่ที่ 2 ตําบลท่าสายลวด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามเมืองเมียวดี ประเทศสหภาพพม่า ตั้งแต่เวลา 06.30 น. - 18.30 น. ของทุกวัน นั้น เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง และสนับสนุนการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงประกาศเปลี่ยนแปลงกําหนดเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย ตําบลท่าสายลวด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามเมืองเมียวดี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จากเวลา 06.30 น. - 18.30 น. เป็น 05.30 น. - 20.30 น. (เวลาเมียนมา 05.00 น. - 20.00 น.) ของทุกวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,516
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 1 (แม่สาย - ท่าขี้เหล็ก) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นการชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ําสายแห่งที่ 1 (แม่สาย - ท่าขี้เหล็ก) อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นการชั่วคราว ------------------------------------------------------------------------ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้านจังหวัดเชียงราย ตาก และระนอง ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2540 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ําสายแห่งที่ 1 (แม่สาย - ท่าขี้เหล็ก) อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่าระหว่างเวลา 06.30 น. - 18.30 น. ของทุกวัน นั้น ด้วย กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับกองกําลังรักษาความสงบเรียบร้อยหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่ 3 และสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย - เมียนมา สาขาจังหวัดเชียงราย ได้กําหนดจัดกิจกรรมเนื่องในวันลอยกระทง ณ สนามฝึกยุววรรณ อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 ดังนั้น เพื่ออํานวยความสะดวกในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวของราษฎรชาวเมียนมา อันเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในระดับท้องถิ่น และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ําสายแห่งที่ 1 (แม่สาย - ท่าขี้เหล็ก) อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็ก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เป็นการชั่วคราวในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 จากเวลา 06.30 น. - 18.30 น. เป็น 06.30 น. - 23.00 น. ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,517
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และการยกเว้นข้อห้ามมิให้ คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557 ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสําหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสําหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 หรือประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสําหรับคนต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ที่ได้ดําเนินการพิสูจน์สัญชาติแล้ว และถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ยังมีอายุเหลืออยู่ ดังนี้ (1) อยู่ในราชอาณาจักรจะครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้จ้างงาน 4 ปี ภายในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557 หรือ (2) ครบกําหนดระยะเวลา 4 ปี ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประทับตรา ให้คนต่างด้าวอยู่เพื่อการทํางาน และอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และได้รับการยกเว้นข้อห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะตามประกาศนี้ ให้ดําเนินการขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และยื่นขอรับใบอนุญาตทํางานต่อเจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางาน ตามขั้นตอนและสถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด นับแต่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557 คนต่างด้าวผู้ใดที่นายจ้างได้ยื่นแบบคําร้องขอจ้างแรงงานต่างด้าว บัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว และเอกสารต่าง ๆ ไว้กับกรมการจัดหางานก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้ยื่นโดยชอบตามวรรคหนึ่งแล้ว ข้อ ๓ ให้นายจ้างของคนต่างด้าวตามข้อ 2 นําเอกสารที่อธิบดีกรมการจัดหางานรับรองแล้วเป็นหลักฐานในการนําคนต่างด้าวไปดําเนินการขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวให้แก่คนต่างด้าวและประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรตามระยะเวลาของหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่เหลืออยู่ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559 ข้อ ๔ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประกาศนี้แล้ว ข้อ ๕ สิทธิของคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามข้อ 3 เป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร เว้นแต่มีหนังสือรับรองการจ้างงานต่อไปจากนายจ้าง และได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,518
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ(เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ------------------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และทํางานในเรือประมงเพื่อจับสัตว์น้ําทางทะเลกับนายจ้างอยู่แล้ว ใน 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา กลุ่มอื่นซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี มติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะไม่อยู่ในข่ายอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวและนายจ้างของคนต่างด้าวดังกล่าว ดําเนินการดังนี้ (1) ให้นายจ้างของคนต่างด้าวไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางาน ว่ามีคนต่างด้าวเป็นลูกจ้างของตนจํานวนเท่าใด พร้อมรายชื่อ หลักฐานการจ้างงาน และรูปถ่าย 2 รูป เพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกเอกสารรับรองว่ามีการจ้างงานจริง ตามแบบที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดท้ายประกาศนี้ (2) ให้นายจ้างนําเอกสารที่กรมการจัดหางานรับรองแล้วตาม (1) ใช้เป็นหลักฐานในการนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวพร้อมคนต่างด้าว โดยให้คนต่างด้าวรายงานตัวต่อนายทะเบียนจังหวัด นายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ ท้องที่ที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ในจังหวัดตามข้อ 1 ภายในเวลาระหว่างวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร (ท. ร. 38/1) ตามเงื่อนไข และวิธีการที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลาง กรมการปกครองกําหนด (3) ให้คนต่างด้าวและนายจ้างของคนต่างด้าวดังกล่าวนําเอกสาร ตาม (2) ไปยื่นคําขอรับใบอนุญาตทํางาน ภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกําหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แห่งประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 5 เว้นแต่ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล (4) หน่วยงานด้านความมั่นคง หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวผู้ใดมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไปต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานในเรือประมงทะเลเท่านั้น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 2 (3) มาบังคับใช้กับนายจ้างใหม่ในกรณีนี้โดยอนุโลม ข้อ ๕ เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลคนต่างด้าวจะออกนอกเขตท้องที่ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีได้รับอนุญาตให้ทํางานในเรือประมงกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานกําหนดและต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,519
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวร บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำสาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นการชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวร บริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นการชั่วคราว ----------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้านจังหวัดเชียงราย ตาก และระนอง ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2540 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวร บริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย เขตสุขาภิบาลแม่สาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศสหภาพพม่า ตั้งแต่เวลา 06.30 น. - 18.30 น. ของทุกวัน นั้น จังหวัดเชียงราย ได้เสนอให้ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดงาน “มวยไทยสัญจรศึกรวมใจมวยไทยสองแผ่นดิน ต้อนรับสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ระหว่างวันที่ 15 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นว่าการจัดงานดังกล่าวเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของประชาชนในพื้นที่ของทั้งสองประเทศ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนอําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ดังนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อนุมัติให้ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณสะพานข้ามแม่น้ําสาย อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามเมืองท่าขี้เหล็ก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เวลา 06.30 น. ของวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2557 ถึงเวลา 01.00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2557 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,520
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ - ห้วยทราย) บ้านดอนมหาวัน ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ - ห้วยทราย) บ้านดอนมหาวัน ตําบลเวียง อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย -------------------------------------------------------- ด้วยรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เห็นชอบร่วมกันให้มีการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ - ห้วยทราย) ระหว่างบ้านดอนมหาวัน ตําบลเวียง อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ราชอาณาจักรไทย กับบ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างสองประเทศส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้า และการท่องเที่ยวระหว่างกัน อาศัยอํานาจตามมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวร ณ สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ - ห้วยทราย) บ้านดอนมหาวัน ตําบลเวียง อําเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ราชอาณาจักรไทย ตรงข้ามกับบ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างเวลา 06.00 น. - 22.00 น. ของทุกวัน และกําหนดที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ที่อําเภอเชียงของ โดยมีช่องทางอนุญาตให้บุคคลหรือพาหนะที่จะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตามเส้นทางคมนาคมทางบก จากพรมแดนถึงที่ตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงของ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,522
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกําหนดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2556 ------------------------------------------------------------ โดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี เห็นควรกําหนดให้คนต่างด้าวทั้งที่มีสัญชาติและไร้สัญชาติ เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2556 ได้ตามจํานวนที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงประกาศกําหนดจํานวนคนต่างด้าว ซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจําปี พ.ศ. 2556 ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หนึ่งร้อยคน สําหรับคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ บรรดาอาณานิคมของประเทศหนึ่งรวมกันหรือแต่ละอาณาจักรซึ่งมีการปกครองของตนเองให้ถือเป็นประเทศหนึ่ง ข้อ ๒ ห้าสิบคน สําหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,523
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (เฉพาะกิจการประมงทะเล) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และทํางานในเรือประมงเพื่อจับสัตว์น้ําทางทะเลกับนายจ้างอยู่แล้วใน 22 จังหวัด ที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา กลุ่มอื่นซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี มติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ไม่อยู่ในข่ายอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒ คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ประสงค์จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ ให้คนต่างด้าวและนายจ้างของคนต่างด้าวดังกล่าว ดําเนินการดังนี้ (1) ให้นายจ้างของคนต่างด้าวไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางาน ว่ามีคนต่างด้าวเป็นลูกจ้างของตนจํานวนเท่าใด พร้อมรายชื่อ หลักฐานการจ้างงาน และรูปถ่าย 2 รูป เพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกเอกสารรับรองว่ามีการจ้างงานจริง ตามแบบที่อธิบดีกรมการจัดหางานกําหนดท้ายประกาศนี้ (2) ให้นายจ้างนําเอกสารที่กรมการจัดหางานรับรองแล้วตาม (1) ใช้เป็นหลักฐานในการนําคนต่างด้าวไปรายงานตัวพร้อมคนต่างด้าว โดยให้คนต่างด้าวรายงานตัวต่อนายทะเบียนจังหวัด นายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ ท้องที่ที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ในจังหวัดตามข้อ 1 ภายในเวลาระหว่างวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร (ท.ร.38/1) ตามเงื่อนไขและวิธีการ ที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลาง กรมการปกครองกําหนด (3) ให้คนต่างด้าวและนายจ้างของคนต่างด้าวดังกล่าวนําเอกสาร ตาม (2) ไปยื่นคําขอรับใบอนุญาตทํางาน ภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แห่งประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผลในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 5 เว้นแต่ได้เคลื่อนย้ายออกนอกท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเล ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเล (4) หน่วยงานด้านความมั่นคง หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวผู้ใดมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร (5) คนต่างด้าวถูกเลิกจ้างไม่ว่าในกรณีใด ๆ ในกรณีตาม (5) ให้นายจ้างแจ้งให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เลิกจ้าง คนต่างด้าวที่ถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างตาม (5) หากประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานในเรือประมงทะเลเท่านั้น ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 2 (3) มาบังคับใช้กับนายจ้างใหม่ในกรณีนี้โดยอนุโลม ข้อ ๕ เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาล คนต่างด้าวจะออกนอกเขตท้องที่ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีได้รับอนุญาตให้ทํางานในเรือประมงกับนายจ้างใหม่ ตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานกําหนด และต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,524
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทํางานกับนายจ้างอยู่แล้ว รวมทั้งผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งนายจ้างได้ยื่นแบบแจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าว บัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว และเอกสารต่าง ๆ ไว้กับกรมการจัดหางานแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลจากประเทศต้นทาง คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองกลุ่มอื่นสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี มติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ไม่อยู่ในข่ายการอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 ดําเนินการดังนี้ (1) ไปรายงานตัวต่อนายทะเบียนกรุงเทพมหานคร นายทะเบียนจังหวัด นายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ ท้องที่ที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ ในระยะเวลาระหว่างวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เพื่อจัดทําทะเบียนประวัติและบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ตามเงื่อนไข และวิธีการ ที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กําหนด ให้นายจ้างนําเอกสารที่กรมการจัดหางานรับรองแล้ว ใช้เป็นหลักฐานในการนําคนต่างด้าวไปรายงานตัว และในระหว่างการจัดทําทะเบียนประวัติมิให้เคลื่อนย้ายไปยังท้องที่จังหวัดอื่น (2) ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตทํางาน ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ยกเว้นผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกําหนด ให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ส่งข้อมูลหลักฐานการอนุญาตทํางานให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดทําบัตรประจําตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ให้คนต่างด้าวดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่ผู้อํานวยการทะเบียนกลางกําหนด ข้อ ๓ มิให้นํามาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 แห่งประกาศนี้แล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ ตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ข้อ ๔ การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผล เมื่อคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโรคต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด หรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง ที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ (2) ต้องโทษตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ออกนอกเขตท้องที่จังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 5 เว้นแต่ (ก) ได้รับอนุญาตทํางานรับใช้ในบ้าน ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาต เพื่อติดตามนายจ้าง สามี หรือภรรยาของนายจ้างไปทําหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ โดยนายจ้าง สามี หรือภรรยาของนายจ้างและลูกจ้างจะต้องเดินทางไปด้วยกันและต้องแสดงบัตรประจําตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มีการขอตรวจสอบ (ข) ได้รับอนุญาตทํางานในกิจการประมงหรือขนถ่ายสินค้าทางน้ํา ให้เคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้รับอนุญาตโดยทางเรือ เพื่อไปทํางานในท้องที่ทุกแห่งที่มีท่าเรือทําการประมงทะเลหรือในเส้นทางที่เป็นปกติทางการค้าของกิจการขนถ่ายสินค้าได้ ทั้งนี้ มิให้ออกนอกเขตบริเวณท่าเรือที่ทําการประมงทะเลหรือขนถ่ายสินค้า (4) ในกรณีที่หน่วยงานด้านความมั่นคง หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย รายงานว่าคนต่างด้าวผู้ใดมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุข หรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร สําหรับการสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ของผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บังคับใช้กับบิดาหรือมารดาของคนต่างด้าว ข้อ ๕ เมื่อมีเหตุจําเป็นต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติ หรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นพยานศาล ได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีหนังสือเรียกตัวจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเพื่อการรักษาพยาบาลคนต่างด้าวและผู้ติดตามจะออกนอกเขตท้องที่ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทยสําหรับในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดสําหรับในเขตท้องที่จังหวัดอื่น กรณีมีการเคลื่อนย้ายออกนอกเขตท้องที่เพื่อการทํางาน ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมการจัดหางานกําหนด และเมื่อได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนท้องที่ทํางานไปยังท้องที่จังหวัดอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว หรือได้รับอนุญาตให้ทํางานกับนายจ้างใหม่ และต้องออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่ได้จัดทําทะเบียนประวัติหรือจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ทํางาน ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๖ เมื่อคนต่างด้าวตามข้อ 3 ได้รับหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางจากประเทศต้นทาง ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตทํางานตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าว ข้อ ๗ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 6 ที่ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางโดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่มีอายุใช้ได้ไม่น้อยกว่าสองปี อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวเป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี ในกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามวรรคหนึ่ง ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิมไม่ว่าในกรณีใด ๆ และประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม มิฉะนั้นสิทธิในการอยู่ในราชอาณาจักรตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นสุด สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๙ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ประสงค์จะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่โดยต้องมีหนังสือรับรองการจ้างจากนายจ้าง และแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,525
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านพุน้ำร้อนหมู่ที่ 12 ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านพุน้ําร้อน หมู่ที่ 12 ตําบลบ้านเก่า อําเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ---------------------------------------------------- ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 เห็นชอบการเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านพุน้ําร้อน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างสองประเทศ และเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อาศัยอํานาจตามมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านพุน้ําร้อน หมู่ที่ 12 ตําบลบ้านเก่า อําเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ราชอาณาจักรไทย ตรงข้ามกับบ้านทิกิ เมืองทวาย ภาคตะนาวศรี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยเปิดทําการระหว่างเวลา 06.00 น. - 20.00 น. ของทุกวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,526
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556 ------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทํางานกับนายจ้างอยู่แล้ว รวมทั้งผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งนายจ้างได้ยื่นแบบแจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าว บัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าวและเอกสารต่าง ๆ ไว้กับกรมการจัดหางานแล้ว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองกลุ่มอื่นสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรี มติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะไม่อยู่ในข่ายการอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 ขอรับหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางจากประเทศต้นทาง ตามขั้นตอนและสถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ถึงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยให้นายจ้างเป็นผู้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการ ข้อ ๓ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่อยู่ระหว่างดําเนินการตามข้อ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๔ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 2 ที่ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางโดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่มีอายุใช้ได้ไม่น้อยกว่าสองปี อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียว เป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี ในกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามวรรคหนึ่ง ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิมไม่ว่าในกรณีใด ๆ และประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม มิฉะนั้น สิทธิในการอยู่ในราชอาณาจักรตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นสุด สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๖ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ประสงค์จะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่โดยต้องมีหนังสือรับรองการจ้างจากนายจ้าง และแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,527
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรภูดู่หมู่ที่ 2 ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ หมู่ที่ 2 ตําบลม่วงเจ็ดต้น อําเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ----------------------------------------------------------------------- ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 และวันที่ 21 มกราคม 2556 เห็นชอบให้เร่งรัดการยกระดับจุดผ่อนปรนการค้าภูดู่ หมู่ที่ 2 ตําบลม่วงเจ็ดต้น อําเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจุดผ่านแดนถาวร เพื่ออํานวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อาศัยอํานาจตามมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ หมู่ที่ 2 ตําบลม่วงเจ็ดต้น อําเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ราชอาณาจักรไทย ตรงข้ามกับด่านท้องถิ่นผาแก้ว เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างเวลา 06.00 น. - 20.00 น. ของทุกวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,528
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคำหมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคํา หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตําบลเวียง อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ------------------------------------------------------------- ด้วยรัฐบาลมีนโยบายที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างสองประเทศ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อาศัยอํานาจตามมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศเปิดจุดผ่านแดนถาวรสามเหลี่ยมทองคํา หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตําบลเวียง อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ราชอาณาจักรไทย ตรงข้ามกับเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเปิดทําการระหว่างเวลา 06.00 น. - 20.00 น. ของทุกวัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,529
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นการชั่วคราว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นการชั่วคราว ---------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้านจังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด และจังหวัดสุรินทร์ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2546 กําหนดให้เปิดจุดผ่านแดนถาวร บ้านหาดเล็ก ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ตรงข้ามบ้านจามเยี่ยม อําเภอมณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างเวลา 07.00 - 20.00 น. ของทุกวัน นั้น ด้วยจังหวัดตราดร่วมกับเทศบาลตําบลหาดเล็ก ได้กําหนดจัดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ณ วัดเกษมสีมาราม ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน พ.ศ. 2556 เพื่อเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านในระดับท้องถิ่น ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดตราด และอํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนกัมพูชาที่เดินทางเข้ามาเที่ยวชมงาน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นการชั่วคราว โดยกําหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ ข้อ ๑ ขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ตําบลหาดเล็ก อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ตรงข้ามกับบ้านจามเยี่ยม อําเภอมณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน พ.ศ. 2556 จากเวลา 07.00 น. - 20.00 น. เป็นเวลา 07.00 น. - 24.00 น. ข้อ ๒ ในช่วงเวลา 20.00 น. - 24.00 น. ให้อนุญาตเฉพาะประชาชนกัมพูชาเดินทางผ่านเข้า - ออก เท่านั้น ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,530
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คนต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศนี้ หมายถึงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักร ถึงวันที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ และทํางานกับนายจ้างอยู่แล้ว รวมทั้งผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกินสิบห้าปี คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองกลุ่มอื่นสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้มีมติคณะรัฐมนตรีมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือคําสั่งของกระทรวงมหาดไทย กําหนดแนวทางปฏิบัติเป็นการเฉพาะ ไม่อยู่ในข่ายการอนุญาตตามประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 ขอรับหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางจากประเทศต้นทาง ตามขั้นตอนและสถานที่ที่กรมการจัดหางานกําหนด ถึงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยให้นายจ้างเป็นผู้นําคนต่างด้าวไปดําเนินการ ข้อ ๓ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่อยู่ระหว่างดําเนินการตามข้อ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556 ข้อ ๔ มิให้นําบทบัญญัติตามมาตรา 12 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวตามข้อ 2 ที่ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางโดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทํางาน ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประทับตราอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่มีอายุใช้ได้ไม่น้อยกว่าสองปี อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาสองปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทํางาน ให้มีสิทธิขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวเป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี ในกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามวรรคหนึ่ง ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิมไม่ว่าในกรณีใด ๆ และประสงค์จะทํางานในราชอาณาจักรต่อไป ต้องมีนายจ้างใหม่รับเข้าทํางานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่ได้ทํางานอยู่กับนายจ้างเดิม มิฉะนั้นสิทธิในการอยู่ในราชอาณาจักรตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นสุด สําหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรที่อายุไม่เกินสิบห้าปี ให้ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ข้อ ๖ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ประสงค์จะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร และเดินทางกลับเข้ามาอีกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่โดยต้องมีหนังสือรับรองการจ้างจากนายจ้าง และแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และเมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,531
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขยายเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ------------------------------------------------------------- ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรไทย - ลาว ได้เปลี่ยนแปลงเวลาเปิดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เป็นระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น. นั้น เพื่ออํานวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว และเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนไทย - ลาว จังหวัดน่านกับแขวงไชยะบุรี ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอํานาจตามมาตรา 11 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ขยายเวลาการเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน จากระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น. เป็นระหว่างเวลา 08.00 - 20.00 น. ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4,532