title
stringlengths 8
870
| text
stringlengths 0
298k
| __index_level_0__
int64 0
54.3k
|
---|---|---|
ประกาศคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เรื่อง หลักเกณฑ์และกรอบวงเงินการค้ำประกันและการให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐ | ประกาศคณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ
เรื่อง หลักเกณฑ์และกรอบวงเงินการค้ําประกันและการให้กู้ต่อ
แก่รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐ
------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 คณะกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“หนี้ของรัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า หนี้เงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน หรือการออกตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อกู้ยืมเงิน หนี้ระยะยาว โดยรวมถึงหนี้ระยะยาวที่ครบกําหนดชําระคืนภายในระยะเวลาหนึ่งปีด้วย แต่ไม่รวมถึงหนี้ระยะสั้นประเภทเจ้าหนี้การค้า และหนี้หมุนเวียนอื่น ๆ
“หนี้ของสถาบันการเงินภาครัฐ” หมายความว่า หนี้เงินกู้ระยะสั้นที่กู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือธนาคารแห่งประเทศไทย หรือการออกตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อกู้ยืมเงิน หนี้ระยะยาว โดยรวมถึงหนี้ระยะยาวที่ครบกําหนดชําระคืนภายในระยะเวลาหนึ่งปีด้วย แต่ไม่รวมถึงหนี้จากการรับฝากเงินจากประชาชน หนี้ระยะสั้นประเภทเจ้าหนี้การค้า และหนี้หมุนเวียนอื่น ๆ
“เงินกองทุน” หมายความว่า ทุนที่เรียกชําระแล้ว ส่วนล้ํามูลค่าหุ้น ทุนสํารอง เงินที่ได้รับจากการออกใบสําคัญแสดงสิทธิเพื่อซื้อหุ้น เงินสํารองที่ได้จากกําไรสุทธิ กําไรสุทธิคงเหลือจากการจัดสรรแล้วและเงินสํารองจากการตีราคาสินทรัพย์ และในกรณีของสถาบันการเงินภาครัฐ ให้รวมถึงเงินที่ได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปี ที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญด้วย
ข้อ ๒ กระทรวงการคลังจะค้ําประกันหรือให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐรายใดได้ไม่เกินจํานวนเงินซึ่งรวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจหรือหนี้ของสถาบันการเงินภาครัฐ แล้วแต่กรณีในขณะที่ก่อหนี้ผูกพันดังต่อไปนี้
(1) กรณีรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ไม่เกินสามเท่าของเงินกองทุนของรัฐวิสาหกิจนั้น
(2) กรณีสถาบันการเงินภาครัฐ ไม่เกินหกเท่าของเงินกองทุนของสถาบันการเงินภาครัฐนั้น
ข้อ ๓ ในกรณีที่กระทรวงการคลังจะค้ําประกันหรือให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐรายใด เกินกว่าจํานวนเงินที่กําหนดไว้ในข้อ 2 ให้กระทรวงการคลังขออนุมัติจากคณะกรรมการเป็นรายกรณี โดยจะต้องแสดงเหตุผลและความจําเป็นในการค้ําประกันหรือให้กู้ต่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการด้วย
ข้อ ๔ ในการค้ําประกันหรือการให้กู้ต่อแก่องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐซึ่งมีกฎหมายจัดตั้ง หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของคณะกรรมการจะพิจารณากรอบวงเงินตามความจําเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจําปีงบประมาณ
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังเสนอความเห็นเกี่ยวกับกรอบวงเงินการค้ําประกันหรือการให้กู้ต่อที่เหมาะสมต่อคณะกรรมการด้วย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการนโยบายและกํากับการบริหารหนี้สาธารณะ | 4,325 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2550)
เรื่อง ให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
---------------------------------------------------
โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันได้มีการนําสินค้าหลายชนิดมาบรรจุหรือห่อหุ้มรวมกันเป็นสินค้าชุดสังฆทานหรือชุดไทยธรรมเพื่อขายให้นําไปถวายแด่นักบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งสินค้าบางชนิดที่นํามารวมนั้น มีกําหนดอายุหรือเวลาที่ควรใช้โดยผู้ซื้อไม่อาจทราบได้ และสินค้าดังกล่าวอาจทําปฏิกิริยากัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี กลิ่น หรือรส จนอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเนื่องในการใช้ หรือโดยสภาพได้ ดังนั้น การกําหนดฉลากของสินค้าชุดสังฆทานหรือชุดไทยธรรมจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสําคัญเกี่ยวกับสินค้า ลักษณะ ข้อความ และข้อความที่จําเป็นของฉลากสินค้านั้น จึงสมควรกําหนดให้ชุดสังฆทาน หรือชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ชุดสังฆทาน หรือชุดไทยธรรม” หมายความว่า สินค้าที่นํามารวมเป็นชุด ไม่ว่าด้วยวิธีการใด เพื่อขายให้นําไปถวายแด่นักบวชในพระพุทธศาสนา
ข้อ ๒ ให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๓ ให้ติดตั้งหรือแสดงฉลากของสินค้าที่ควบคุมตามข้อ 2 ซึ่งต้องเป็นข้อความภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน ตามตัวอย่างท้ายประกาศนี้ไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือสิ่งที่นํามาห่อหุ้ม โดยให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ด้วย
(1) คําว่า “ชุดสังฆทาน หรือชุดไทยธรรม”
(2) รายการสินค้าที่ระบุขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ําหนัก จํานวน และราคาของสินค้า แต่ละรายการ
(3) ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้จําหน่ายชุดสังฆทานหรือชุดไทยธรรม
(4) วันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน ของสินค้าใดสินค้าหนึ่งที่นํามารวมนั้นระบุว่าเร็วที่สุด
(5) วันเดือนปีที่บรรจุ
(6) ราคารวมชุดจัดบรรจุที่ระบุหน่วยเป็นบาท
ข้อ ๔ ชุดสังฆทานหรือชุดไทยธรรมใดที่มีการนําสินค้าที่อาจทําปฏิกิริยากันจนทําให้มี สี กลิ่น หรือรส เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเนื่องในการใช้หรือโดยสภาพของสินค้านั้นได้ ให้ระบุคําเตือนในฉลากตามข้อ 3 ด้วย เช่น ใบชา ข้าวสาร สบู่ และผงซักฟอก อาจทําปฏิกิริยากัน จนทําให้มีสี กลิ่น หรือรส เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค เนื่องในการใช้ หรือโดยสภาพของสินค้านั้นได้ ดังนั้น ผู้ใช้ควรแยกสินค้าที่อาจทําปฏิกิริยากันได้นั้นออกจากกันโดยเร็ว
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2550
รัศมี วิศทเวทย์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,326 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการพยุงตัวเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2549)
เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการพยุงตัวเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
--------------------------------------------------
โดยที่ได้มีผลการวิจัยโดยแพทย์จากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการพยุงตัวเด็กที่มีลักษณะเป็นเบาะนั่งมีขอบแข็ง และมีล้อเลื่อน โดยมีการใช้งานด้วยวิธีให้เด็กนั่งอยู่ภายในเบาะ และใช้ขาช่วยในการเคลื่อนไหว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ช่วยในการหัดเดินของเด็กแต่อย่างใด และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง เช่น การพลัดตก หรือพลิกคว่ํา เป็นต้น จึงสมควรกําหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการพยุงตัวเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการพยุงตัวเด็ก” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการพยุงตัวเด็กที่มีลักษณะเป็นเบาะนั่งมีขอบแข็งและมีล้อเลื่อน โดยในส่วนที่นั่งมีการเจาะเป็นรูเพื่อให้ขาสอดลงไปได้
ข้อ ๒ ให้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการพยุงตัวเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยห้ามใช้ชื่อเรียกว่ารถหัดเดิน และให้ระบุข้อความ ดังต่อไปนี้
(1) ให้มีข้อแนะนําในการใช้ โดยใช้ตัวอักษรขนาดไม่ต่ํากว่า 2 มิลลิเมตร ระบุดังต่อไปนี้
(ก) การใช้ผลิตภัณฑ์นี้อาจทําให้เกิดการบาดเจ็บจากการพลิกคว่ําหรือตกจากที่สูง โดยเฉพาะเมื่อใช้บนพื้นที่มีความต่างระดับ
(ข) ขณะที่ให้เด็กใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
(ค) ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้บนพื้นต่างระดับ
(2) คําเตือน ต้องระบุว่า “ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ช่วยในการหัดเดิน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต”
ข้อความที่เป็นคําเตือน “ต้องใช้ตัวอักษรสีแดงขนาดไม่ต่ํากว่า 5 มิลลิเมตร และแสดงไว้ที่ตัวสินค้าในลักษณะคงทนถาวร สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน”
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1]
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2549
รัศมี วิศทเวทย์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,327 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ให้ที่นอนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2548)
เรื่อง ให้ที่นอนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
--------------------------------------------------------
โดยที่ที่นอนเป็นสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจํา ประกอบกับสินค้าดังกล่าวบางส่วนมิได้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสําคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น สมควรกําหนดให้สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก และระบุข้อความอันจําเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ที่นอน” หมายความว่า เครื่องปูลาดสําหรับนอนที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ และเย็บติดหรือห่อหุ้มด้วยผ้าหรือวัสดุอื่นใดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์
ข้อ ๒ ให้ที่นอนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความ ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อประเภทหรือชนิดของที่นอน เช่น ที่นอนสปริง ที่นอนฟองน้ํา ที่นอนใยธรรมชาติที่นอนยางพารา หรือที่นอนอื่น ๆ
(2) วัสดุที่ใช้ในการผลิต ในกรณีที่ใช้วัสดุในการผลิตตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปให้แสดงข้อความและภาพตัดขวางของที่นอนที่แสดงให้เห็นถึงวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิต เช่น สปริง ใยมะพร้าว ยางพารา หรือวัสดุอื่น ๆ ด้วย
ฉลากของสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมีขนาดไม่ต่ํากว่า 6 นิ้ว x 8 นิ้ว และติดไว้ที่สินค้าให้สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
รัศมี วิศทเวทย์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,328 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2547) เรื่อง ให้น้ำมันอเนกประสงค์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2547)
เรื่อง ให้น้ํามันอเนกประสงค์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
----------------------------------------------------
โดยที่สินค้าน้ํามันอเนกประสงค์เป็นสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้กันอย่างแพร่หลายประกอบกับสินค้าดังกล่าวแสดงสาระสําคัญเกี่ยวกับฉลากสินค้าไม่ชัดเจนในการเลือกซื้อเพื่อนําไปใช้งาน ทําให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าสามารถนําไปใช้เป็นน้ํามันเครื่องในเครื่องยนต์ได้ ความจริงแล้วไม่เหมาะสมกับการใช้กับเครื่องยนต์ทําให้เครื่องยนต์ชํารุดเสียหายมีอายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับทราบข้อมูลที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน จึงกําหนดให้น้ํามันอเนกประสงค์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศฉบับนี้
“น้ํามันอเนกประสงค์” หมายความว่า น้ํามันที่ได้จากการกลั่นน้ํามันปิโตรเลียมหรือการแปรสภาพของน้ํามันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว โดยจะมีส่วนผสมของสารเติมแต่งหรือไม่ก็ได้ และใช้สําหรับงานหล่อลื่นภายนอกได้ทุกประเภท
ข้อ ๒ ให้น้ํามันอเนกประสงค์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย
(ก) ข้อแนะนําในการใช้ต้องระบุว่า “ใช้สําหรับงานหล่อลื่นภายนอกได้ทุกประเภท เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักรทั่วไป เป็นน้ํามันหยอดทิ้ง น้ํามันหยอดใบเลื่อย โซ่และเฟือง หรืออื่น ๆ ”
(ข) ข้อห้ามในการใช้ต้องระบุว่า “ห้ามนําไปใช้หล่อลื่นภายในเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล หรือใช้แทนน้ํามันเครื่อง 2T”
ข้อความที่เป็น “ข้อห้ามในการใช้” ต้องใช้ตัวอักษรสีแดงขนาดไม่ต่ํากว่า 3 มิลลิเมตร และติดไว้ที่ด้านหน้าของน้ํามันอเนกประสงค์
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2547
อนุวัฒน์ ธรมธัช
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,329 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2547) เรื่อง ให้เครื่องเล่นชนิดที่มีล้อเลื่อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2547)
เรื่อง ให้เครื่องเล่นชนิดที่มีล้อเลื่อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
--------------------------------------------------------
โดยที่ปรากฏว่ามีการนําเครื่องเล่นชนิดที่มีล้อเลื่อนมาจําหน่ายอย่างแพร่หลายซึ่งมีผู้บริโภคได้ซื้อและนําไปใช้และเกิดความไม่ปลอดภัย บางกรณีประสบอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าดังกล่าว จึงกําหนดให้สินค้าเครื่องเล่นชนิดที่มีล้อเลื่อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศฉบับนี้
“เครื่องเล่นชนิดที่มีล้อเลื่อน” หมายความว่า สิ่งที่ใช้เพื่อการกีฬาหรือสําหรับเล่นหรืออุปกรณ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการทําให้ร่างกายเคลื่อนที่ โดยต้องมีองค์ประกอบคือ ล้อหมุน และส่วนที่ใช้ยึดติด หรือประสานกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น รองเท้าสเก็ตชนิดมีล้อ, โรลเลอร์สเก็ต, โรลเลอร์เบลด, สเก็ตบอร์ด และรถสกู๊ตเตอร์ขนาดเล็ก
ข้อ ๒ ให้เครื่องเล่นชนิดที่มีล้อเลื่อนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย
(1) ข้อแนะนําในการใช้ ต้องระบุดังต่อไปนี้
(ก) ไม่เหมาะสําหรับเด็กอายุต่ํากว่า 4 ปี
(ข) การเล่นต้องใส่อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยทุกครั้ง ประกอบด้วยหมวกนิรภัย สนับข้อมือ สนับศอก สนับเข่า
(ค) ผู้เริ่มฝึกหัดใช้ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
(ง) ต้องเล่นในพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเล่นโดยเฉพาะ
(2) คําเตือน ต้องระบุว่า “ถ้าไม่ใส่อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต”
ข้อความที่เป็น “คําเตือน” ต้องใช้ตัวอักษรสีแดงขนาดไม่ต่ํากว่า 3 มิลลิเมตร และติดไว้ที่ตัวสินค้า
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
อนุวัฒน์ ธรมธัช
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,330 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2547) เรื่อง ให้ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนสำหรับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2547)
เรื่อง ให้ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนสําหรับอาหาร
เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
--------------------------------------------
โดยที่ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนสําหรับอาหารเป็นสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้กันอย่างแพร่หลายประกอบกับสินค้าดังกล่าวไม่มีการระบุข้อแนะนําในการใช้งานและคําเตือนให้ผู้บริโภคได้รับทราบ ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับทราบข้อมูลที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้งานและทําให้เกิดความปลอดภัย จึงกําหนดให้ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนสําหรับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศฉบับนี้ “ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนสําหรับอาหาร” หมายถึง ภาชนะและเครื่องใช้สําหรับอาหารที่ผลิตจากสารอัดแบบเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ชนิดใช้ทําผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับอาหารโดยผ่านกระบวนการอัดขึ้นรูปด้วยความร้อน
ข้อ ๒ ให้ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนสําหรับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย
(1) ข้อแนะนําในการใช้ ต้องระบุดังต่อไปนี้
(ก) “ควรใช้ฟองน้ําหรือผ้านุ่มทําความสะอาด”
(ข) “ก่อนใช้งานครั้งแรกควรล้างด้วยน้ําเพื่อชะล้างสิ่งสกปรก”
(ค) “ไม่แนะนําให้ใช้กับเตาไมโครเวฟ”
(2) คําเตือน ต้องระบุว่า “ห้ามใช้บรรจุอาหารหรือของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส”
ข้อความที่เป็น “คําเตือน” ต้องใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น
ข้อ ๔ ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนสําหรับอาหารที่ผลิตหรือนําเข้า ถ้าปรากฏว่าฉลากที่ได้จัดทําขึ้นไว้ก่อนวันประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ถูกต้องตามประกาศฉบับนี้ ให้ใช้ฉลากเดิมต่อไปได้แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2547
อนุวัฒน์ ธรมธัช
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,331 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2547) เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ให้สุราเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2547)
เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2546)
เรื่อง ให้สุราเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
-------------------------------------------------------
โดยที่ปรากฏว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 272) พ.ศ. 2546 เรื่อง สุรา กําหนดให้สุราต้องระบุข้อความคําเตือนไว้บนฉลากจํานวน 3 ข้อความว่า ห้ามจําหน่ายสุราแก่เด็กอายุต่ํากว่า 18 ปี การดื่มสุราทําให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง และเด็กอายุต่ํากว่า 18 ปีไม่ควรดื่มโดยใช้ตัวอักษรเส้นทึบขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 5 มิลลิเมตรในกรอบสี่เหลี่ยมสีของกรอบและข้อความตัดกับสีพื้นของฉลาก โดยกําหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไปและต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 275) พ.ศ. 2546 เรื่อง สุรา (ฉบับที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 272) โดยกําหนดให้ข้อความที่เป็นคําเตือนอยู่ในกรอบที่แยกส่วนจากข้อความอื่น สีของกรอบและข้อความตัดกับสีพื้นของฉลากโดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป และเนื่องจากประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ให้สุราเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากได้กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้ผลิตสุราต้องระบุคําเตือนไว้ในฉลากสินค้าว่า เด็กอายุต่ํากว่า 18 ปี ไม่ควรดื่ม ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไปนั้น มีข้อความซ้ํากันกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 272) และ (ฉบับที่ 275) พ.ศ. 2546 เรื่อง สุรา ซึ่งได้มีการกําหนดให้ระบุคําเตือนข้อความว่าเด็กอายุต่ํากว่า 18 ปี ไม่ควรดื่มไว้ด้วย และมีผลใช้บังคับแล้ว และทั้งผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าสุราก็ได้มีการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ให้สุราเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2546
ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2547
อนุวัฒน์ ธรมธัช
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,332 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2545) เรื่อง ให้แปรงสีฟ้นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2545)
เรื่อง ให้แปรงสีฟ้นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
-------------------------------------------------------
โดยที่สินค้าแปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจํา ประกอบกับยังไม่มีการแสดงฉลากเพื่อให้ข้อมูลที่จําเป็นในการเลือกใช้สําหรับผู้บริโภคเท่าที่ควรและเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สินค้าเพื่อรักษาสุขอนามัยในช่องปาก จึงกําหนดให้แปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศฉบับนี้ “แปรงสีฟัน” หมายความถึงอุปกรณ์ด้านสุขอนามัยที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แปรงฟันมีส่วนประกอบโดยทั่วไปคือด้ามจับและกระจุกของขนแปรงที่จัดเรียงเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทําความสะอาดฟันโดยไม่ทําอันตรายต่ออวัยวะในช่องปาก
ข้อ ๒ ให้แปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย
(1) ลักษณะขนแปรง เช่น มนกลม เรียวแหลม รูปโดม ปลายตัด หรืออื่น ๆ
(2) ชนิดของขนแปรง เช่น นุ่มพิเศษ นุ่มปานกลาง หรือแข็ง
(3) วัสดุที่ใช้ทําด้ามและขนแปรงสีฟัน
(4) วิธีใช้ เช่น ใช้แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
(5) ข้อแนะนํา เช่น ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อขนแปรงเริ่มบาน และล้างแปรงให้สะอาดหลังใช้และเก็บในที่แห้ง
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2545
อนุวัฒน์ ธรมธัช
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,333 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2545) เรื่อง ให้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าและเครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2545)
เรื่อง ให้เครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้าและเครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้า
เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
-----------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“เครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้า” หมายความว่า บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ทําน้ําให้ร้อนขึ้นในทันทีที่น้ําไหลผ่านโดยตรงเพื่อใช้ในการชําระล้างสัมผัสร่างกายผู้บริโภคหรือเพื่อใช้ในการอื่นที่คล้ายคลึงกันหรือทํานองเดียวกัน
“เครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้า” หมายความว่า บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ทําน้ําให้ร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิประมาณใกล้จุดน้ําเดือด หรือในบางครั้งอาจสูงกว่าเล็กน้อย แต่ไม่เกิน 130 องศาเซลเซียสเพื่อใช้ในการชําระล้างสัมผัสร่างกายผู้บริโภคหรือเพื่อใช้ในการอื่นที่คล้ายคลึงกันหรือทํานองเดียวกัน
ข้อ ๒ ให้เครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้าและเครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย
(ก) ข้อแนะนําในการใช้ ต้องระบุว่า “ต้องติดตั้งสายดินพร้อมติดตั้งเครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้าหรือเครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้า” สําหรับเครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้าหรือเครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้าที่มีเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วชนิดที่มีสายดิน หรือ
“ต้องติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วชนิดที่มีสายดินและติดตั้งสายดินพร้อมติดตั้งเครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้าหรือเครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้า” สําหรับเครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้าหรือเครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้าที่ไม่มีเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วชนิดที่มีสายดิน
(ข) ในคําเตือน ต้องระบุว่า “อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ติดตั้งสายดิน” สําหรับเครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้าหรือเครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้าที่มีเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วชนิดที่มีสายดิน หรือ
“อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วชนิดที่มีสายดินและไม่ติดตั้งสายดิน” สําหรับเครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้าหรือเครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้าที่ไม่มีเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วชนิดที่มีสายดิน
ข้อความที่เป็น “คําเตือน” ต้องใช้ตัวอักษรสีแดงขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่นและติดไว้ด้านหน้าของเครื่องทําน้ําอุ่นไฟฟ้าหรือเครื่องทําน้ําร้อนไฟฟ้า
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2545
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,334 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2544) เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2544)
เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
-------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2526) เรื่อง กําหนดภาชนะพลาสติกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2526
(2) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2531) เรื่อง กําหนดภาชนะพลาสติกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
(3) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2533) เรื่อง กําหนดภาชนะพลาสติกเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2533
ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผลิตภัณฑ์พลาสติก” หมายความว่า ภาชนะหรือสิ่งบรรจุสิ่งของหรือเครื่องใช้ที่ทําขึ้นจากพลาสติก หรือฟิล์มพลาสติกหรือฟิล์มหดด้วยความร้อนหรือฟิล์มไนลอนหรือไนลอนเรซิน ที่ทําขึ้นเพื่อใช้สําหรับอาหาร หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทําขึ้นจากพลาสติกหรือฟิล์มดังกล่าว เพื่อใช้เป็นสิ่งบรรจุหรือเป็นภาชนะหรือเป็นเครื่องใช้ เช่น ถุงร้อน PP. ถุงเย็น PE.ถุงหูหิ้ว HD. ถุงจีบชนิดใสพิเศษ IPP. ถุงแก้ว OPP. ถุงใส่น้ํามะพร้าว ถุงใส่เครื่องดื่มน้ําผลไม้ น้ํานม ถุงใส่เสื้อผ้า เป็นต้น
ข้อ ๓ ให้ผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๔ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 3 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความในข้อ 5 และข้อ 6 ไว้ในฉลากที่กํากับผลิตภัณฑ์พลาสติก หรือที่ภาชนะหรือที่สิ่งบรรจุหรือเครื่องใช้ที่ทําขึ้นจากพลาสติกหรือฟิล์มตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ในข้อกําหนดเกี่ยวกับ “วิธีใช้” ในฉลากนั้น ให้ระบุว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้เพื่อสิ่งใด ถ้าเป็นภาชนะหรือสิ่งบรรจุ หรือเครื่องใช้ให้ระบุข้อความที่เป็น “คําเตือน” ไว้ด้วย
ข้อ ๖ ในข้อกําหนดเกี่ยวกับ “คําเตือน” ในฉลากนั้นให้มีข้อความว่า
(1) “ห้ามใช้บรรจุหรือห่อหุ้มอาหาร” สําหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทําขึ้นเพื่อไม่ต้องการให้ใช้กับอาหาร
(2) “ใช้บรรจุอาหารหรือห่อหุ้มอาหาร หรือใช้บรรจุเครื่องดื่มใช้เพียงครั้งเดียว” หรือ “ไม่ควรใช้บรรจุอาหารที่กําลังร้อนจัดโดยเฉพาะอาหารทอดด้วยน้ํามัน” หรือ “ปลอดภัยใช้กับอาหาร” หรือ “ปลอดภัยใช้กับเครื่องดื่ม” แล้วแต่กรณี
(3) “ห้ามใช้บรรจุของร้อน” สําหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ไม่ทนความร้อนสูงกว่า 95 องศาเซลเซียส
(4) “รับน้ําหนักได้ไม่เกิน ............ กิโลกรัม หรือ กก.” สําหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เพื่อรองรับน้ําหนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ บันได
(5) “มีส่วนผสมจากวัสดุที่ใช้แล้ว” สําหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ทําจากพลาสติกที่ใช้ทําสิ่งของอื่นมาแล้วหลอมผลิตเป็นสินค้าใหม่
ข้อความที่เป็น “คําเตือน” ต้องใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2545 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2544
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,335 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น
พ.ศ. 2553
----------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นเพื่อให้นายจ้างได้ติดไว้ที่จุดหรือตําแหน่งที่ลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานเห็นได้ชัดเจน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 60 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อนํ้า พ.ศ. 2552 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการกําจัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ รูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,336 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2544) เรื่อง ให้บอแรกซ์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2544)
เรื่อง ให้บอแรกซ์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
-----------------------------------------------------------
โดยที่มีการนําบอแรกซ์มาใช้ผิดวัตถุประสงค์โดยใช้ในอาหาร ซึ่งมีผลทําให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพของผู้บริโภคที่รับประทานอาหารที่มีบอแรกซ์ผสมอยู่ ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย จึงสมควรแก้ไขการกําหนดข้อความในฉลากเกี่ยวกับบอแรกซ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2525) เรื่อง กําหนดบอแรกซ์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526) เรื่อง กําหนดบอแรกซ์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2526
ข้อ ๒ ในประกาศฉบับนี้ “บอแรกซ์” หมายความว่า สารเคมีที่มีสูตร Na2 B4 O7 หรือ Na2 B4 O7 .1OH2 O ซึ่งมีชื่อเรียกทางเคมีว่า โซเดียมบอเรต (Sodium borate) ไดโซเดียมเตตราบอเรต (Disodium tetraborate) หรือโซเดียมไพโรบอเรต (Sodium pyroborate) หรือสารเคมีดังกล่าวที่เรียกชื่ออย่างอื่น เช่น น้ําประสานทอง เพ่งแซ หรือผงกรอบ
ข้อ ๓ ให้บอแรกซ์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๔ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 3 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากที่ภาชนะบรรจุสินค้าในหน้าเดียวกัน
“(1) “บอแรกซ์”
(2) คําเตือน : “อันตราย อาจทําให้ไตวาย ห้ามใช้ในอาหาร” โดยใช้ตัวอักษรสีแดงขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น”
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2544
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,337 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 ( พ.ศ. 2544 ) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 6 ( พ.ศ. 2544 )
เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
---------------------------------------------------------
โดยที่สินค้าทองรูปพรรณแสดงสาระสําคัญเกี่ยวกับฉลากสินค้าไม่แจ้งชัดในการเลือกซื้อ เพื่อป้องกันการหลอกลวงผู้บริโภค สมควรแก้ไขการกําหนดข้อความในฉลากเกี่ยวกับการขายทองรูปพรรณให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 50 ( พ.ศ. 2533) เรื่อง กําหนดทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
ข้อ ๒ ในประกาศฉบับนี้ “ทองรูปพรรณ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทําหรือประกอบขึ้นด้วยโลหะทองคําบริสุทธิ์หรือโลหะทองคําผสม
ข้อ ๓ ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๔ ฉลากของทองรูปพรรณที่ควบคุมฉลากตามข้อ 3 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และข้อ 3 ทวิ (1) แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย
(1) ชื่อประเภทหรือชนิดของทองรูปพรรณ ในกรณีที่เป็นทองรูปพรรณที่สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
(2) ชื่อและสถานที่ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายหรือของผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายแล้วแต่กรณี
(3) ปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกะรัต หรือเปอร์เซ็นต์ หรือร้อยละ หรือใช้สัญลักษณ์ K หรือ % แทนก็ได้
(4) น้ําหนักทองรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก. หรือ g แทนก็ได้
(5) ราคาให้ระบุเป็นเงินสกุลไทย และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่น หรือใช้สัญลักษณ์ของสกุลเงินแทนก็ได้
ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2544
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,338 |
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2544) เรื่อง ให้อัญมณีเจียระไน และเครื่องประดับอัญมณีเจียระไนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก | ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2544)
เรื่อง ให้อัญมณีเจียระไน และเครื่องประดับอัญมณีเจียระไน
เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
----------------------------------------------------------
โดยที่สินค้าอัญมณีเจียระไน และเครื่องประดับอัญมณีเจียระไนแสดงสาระสําคัญเกี่ยวกับฉลากสินค้าไม่แจ้งชัดในการเลือกซื้อ เพื่อป้องกันการหลอกลวงผู้บริโภค สมควรแก้ไขการกําหนดข้อความในฉลากเกี่ยวกับการขายอัญมณีเจียระไน และเครื่องประดับอัญมณีเจียระไนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศฉบับนี้
“อัญมณีเจียระไน” หมายความว่า รัตนชาติที่เป็นเพชรและพลอยตามธรรมชาติที่นํามาเจียระไนตกแต่ง หรือขัดมันแล้ว และหมายความรวมถึง วัสดุที่เลียนแบบหรือวัสดุสังเคราะห์ที่นํามาทําเป็นเครื่องประดับ
“เครื่องประดับอัญมณีเจียระไน” หมายความว่า เครื่องประดับที่ทําขึ้นด้วยอัญมณีเจียระไน ประกอบขึ้นรูปเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ ชนิด โดยใช้ทองรูปพรรณหรือแพลทินัม หรือเงิน หรือวัสดุอื่นประกอบด้วย
ข้อ ๒ ให้อัญมณีเจียระไน และเครื่องประดับอัญมณีเจียระไนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และข้อ 3 ทวิ (1) แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย
(1) ชื่อและสถานที่ประกอบการ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้จําหน่าย หรือของผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย แล้วแต่กรณี และในกรณีที่เป็นอัญมณีเจียระไนหรือเครื่องประดับอัญมณีเจียระไนที่สั่ง หรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
(2) อัญมณีเจียระไน หรือเครื่องประดับอัญมณีเจียระไน แล้วแต่กรณี ให้ระบุชื่ออัญมณีซึ่งเป็นชื่อทางการค้า โดยอนุโลม ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมศัพท์บัญญัติอัญมณี มอก. 1215 เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความในวรรคสอง และวรรคสามของ (2) และระบุว่าเป็นอัญมณีธรรมชาติ หรืออัญมณีสังเคราะห์ หรืออัญมณีเทียม
ห้ามใช้ชื่อของอัญมณีธรรมชาติประกอบคําที่ไม่ใช่อัญมณีธรรมชาติที่เป็นวัสดุเลียนแบบหรือสังเคราะห์ เช่น มรกตเทียม เพชรเทียม มรกตสังเคราะห์ หรือเพชรสังเคราะห์ โดยให้ระบุว่าอัญมณีเลียนแบบ หรืออัญมณีสังเคราะห์ แล้วแต่กรณี
ห้ามใช้คําว่า “เพชร” สําหรับอัญมณีที่ไม่ได้ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (carbon) เพียงธาตุเดียวตามธรรมชาติ
(3) ต้องแสดงน้ําหนักอัญมณีเจียระไนหรือเครื่องประดับอัญมณีเจียระไนแต่ละชนิดที่ใช้ในการทําเครื่องประดับหรือขึ้นรูป โดยระบุหน่วยเป็นกะรัตหรือใช้สัญลักษณ์ ct แทนก็ได้
(4) ปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณที่ใช้ในการขึ้นรูป โดยระบุหน่วยเป็นกะรัต หรือเปอร์เซ็นต์ หรือร้อยละ หรือใช้สัญลักษณ์ K หรือ % แทนก็ได้
(5) ราคาให้ระบุเป็นเงินสกุลไทย และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่น หรือใช้สัญลักษณ์ของสกุลเงินแทนก็ได้
ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2544
มาลดี วสีนนท์
ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก | 4,339 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้บริษัทจัดการมีสำนักงานสาขา | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 2/2550
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาต
ให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขา
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 92 วรรคสอง มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 117 และมาตรา 133 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 10/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตมีสํานักงานบริการด้านธุรกิจจัดการลงทุน ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น โดยการจัดตั้งสํานักงานสาขาของบริษัทดังกล่าวให้เป็นตามกฎหมายอื่นนั้น ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 92 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ข้อ ๔ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอยู่ด้วย หากบริษัทดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ตั้งสาขาเต็มรูปแบบสําหรับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นนั้นแล้ว ให้สํานักงานอนุญาตให้สาขาเต็มรูปแบบดังกล่าวให้บริการลูกค้าสําหรับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลด้วย
ข้อ ๕ บริษัทจัดการรายใดที่ประสงค์จะมีสํานักงานสาขา ให้บริษัทจัดการนั้นยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด โดยสํานักงานจะอนุญาตให้บริษัทจัดการมีสํานักงานสาขาได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจัดการมีฐานะการเงินที่เหมาะสม
(2) บริษัทจัดการไม่มีพฤติกรรมและประวัติที่ไม่เหมาะสมต่อการขยายธุรกิจด้วยการมีสํานักงานสาขา หรือที่อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน
(3) บริษัทจัดการแสดงให้เห็นได้ว่ามีการจัดเตรียมระบบงานสําหรับสํานักงานสาขาที่ขออนุญาตอย่างเหมาะสมต่อการให้บริการลูกค้า โดยระบบงานที่เตรียมนั้นต้องสอดคล้องต่อการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสํานักงานใหญ่สามารถควบคุมดูแลระบบงานและการให้บริการของสํานักงานสาขาที่ขออนุญาตนั้นได้
ข้อ ๖ ในการอนุญาตให้มีสํานักงานสาขา สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ให้บริษัทจัดการปฏิบัติได้
(1) ขอบเขตการดําเนินงานของสํานักงานสาขาที่อนุญาตนั้นตามความเหมาะสม
(2) การดําเนินการของบริษัทจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมหรือเพื่อให้สํานักงานตรวจความพร้อมก่อนเริ่มเปิดดําเนินการ
(3) การจัดสถานที่เพื่อเป็นสํานักงานสาขาหรือบุคลากรประจําสํานักงานสาขา ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนในการติดต่อกับสํานักงานสาขาและเพื่อประโยชน์ในการที่สํานักงานจะตรวจสอบการดําเนินงานของสํานักงานสาขาให้เป็นไปตามกฎหมาย
(4) เงื่อนไขก่อนหรือภายหลังการปิดสํานักงานสาขา
ข้อ ๗ ในการให้บริการของสํานักงานสาขา หากจะมีการมอบหมายการดําเนินการของสํานักงานสาขาให้บุคคลอื่นดําเนินการแทน จะต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน และสํานักงานจะอนุญาตได้ต่อเมื่อมีความจําเป็นโดยสภาพที่สํานักงานสาขาไม่อาจดําเนินการเช่นนั้นได้ด้วยตนเองหรือการมอบหมายนั้นจะทําให้การให้บริการของสํานักงานสาขามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าการให้บริการของสํานักงานสาขาอาจก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ผู้ลงทุน หรือการเปิดสํานักงานสาขานั้นต่อไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทจัดการ หรือบริษัทจัดการไม่สามารถดํารงลักษณะตามข้อ 5 ได้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งปิดการให้บริการสํานักงานสาขานั้นเป็นการชั่วคราวหรือถาวรก็ได้หรือจะสั่งห้ามการมีสํานักงานสาขาเพิ่มเติมก็ได้
ข้อ ๙ บริษัทจัดการรายใดที่มีการให้บริการในรูปแบบสํานักงานบริการซึ่งได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 10/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตมีสํานักงานบริการด้านธุรกิจจัดการลงทุน ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2540 อยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าสํานักงานบริการดังกล่าวเป็นสํานักงานสาขาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้แล้วโดยยังคงให้บริการต่อไปได้ตามขอบเขตกิจการที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศนี้และประกาศสํานักงานที่เกี่ยวข้องกับประกาศนี้
ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2550
(นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากรูปแบบของสํานักงานบริการที่กําหนดไว้เดิมมีขอบเขตการให้บริการอย่างจํากัดซึ่งไม่เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันที่ธุรกิจหลักทรัพย์การจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลกําลังเติบโตและมีการแข่งขันในการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างมากดังนั้น เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจด้วยการเปิดให้บริการสํานักงานสาขาที่ไม่จํากัดขอบเขตของธุรกรรมและพัฒนารูปแบบการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเหมาะสม จึงจําเป็นต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้มีสํานักงานสาขาขึ้น | 4,340 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 20/2561
เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
-------------------------------------------------------
เนื่องจากได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 และข้อ 10 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวดังต่อไปนี้มีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
1.1 คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ที่ประสงค์จะทํางานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศกําหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next - Generation Automotive)
(2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
(3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
(4) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
(5) อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)
(6) อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics)
(7) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
(8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
(9) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
(10) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
1.2 ผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวตามข้อ 1.1 มีสิทธิได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA โดยมีรหัสกํากับดังนี้
ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง (Talent) : SMART “T”
นักลงทุน (Investor) : SMART “I”
ผู้บริหารระดับสูง (Executive) : SMART “E”
ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) : SMART “S”
คู่สมรสหรือบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (Other) : SMART “O”
ข้อ ๒ ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
2.1 สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงและผู้ติดตาม อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามที่กําหนดในสัญญาจ้าง แต่ต้องไม่เกิน 4 ปี
2.2 สําหรับนักลงทุนและผู้ติดตาม อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 4 ปี
2.3 สําหรับผู้บริหารระดับสูงและผู้ติดตาม อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามที่กําหนดในสัญญาจ้าง แต่ต้องไม่เกิน 4 ปี
2.4 สําหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และผู้ติดตาม อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวครั้งแรก 1 ปี และสามารถขยายระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปอีกได้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี
ข้อ ๓ การตรวจลงตรา SMART VISA
3.1 คนต่างด้าวที่ได้รับหนังสือรับรองคุณสมบัติการมีสิทธิได้รับ SMART VISA จากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้ว หากประสงค์จะขอรับการตรวจลงตรา SMART VISA ที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางาน (One Stop Service Center for Visa and Work Permit: OSS) ให้ดําเนินการยื่นคําขอรับการตรวจลงตราตามแบบ ตม. 90 (ผนวก ก) ก่อนระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประเภทการตรวจลงตราเดิมสิ้นสุด พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการขอรับการตรวจลงตราตาม ผนวก ข แนบท้ายคําสั่งนี้ และชําระค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ในอัตราปีละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เศษของปีให้คิดเป็น 1 ปี โดยให้กองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 มีหน้าที่รับคําขอรับการตรวจลงตรา และให้ผู้กํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือ รองผู้กํากับการที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้พิจารณาสั่งการ และให้ผู้ดํารงตําแหน่งสารวัตรขึ้นไปหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนในสังกัดกองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 เป็นผู้มีอํานาจลงนามในการตรวจลงตรา SMART VISA สําหรับใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้ง พร้อมทั้งตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไม่เกินกําหนดระยะเวลาอนุญาตตามข้อ 2 ตามหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และไม่เกินอายุหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
กรณีที่คนต่างด้าวประสงค์จะขอรับการตรวจลงตรา SMART VISA ที่ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 จังหวัดชลบุรี ให้หน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีหน้าที่รับคําขอรับการตรวจลงตรา และให้ผู้ดํารงตําแหน่งรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้พิจารณาสั่งการ และมีอํานาจลงนามในการตรวจลงตรา SMART VISA สําหรับใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้ง พร้อมทั้งตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง[2]
3.2 แนวทางในการดําเนินการและวิธีปฏิบัติสําหรับการตรวจลงตรา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ดําเนินการดังต่อไปนี้
3.2.1 ตรวจสอบเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดในผนวก ข แนบท้ายคําสั่งนี้
3.2.2 ประทับตรา ตามตัวอย่าง
(1) ตราประทับการตรวจลงตรา ใช้อักษร TH Saraban PSK ขนาด 15 พอยท์ ประทับตราด้วยหมึกสีน้ําเงิน โดยวันที่อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในตราประทับการตรวจลงตรา ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(2) ตราประจําส่วนราชการ ให้ประทับตราด้วยหมึกสีแดงบนตราตรวจลงตรา มีลักษณะวงกลมซ้อนกัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง วงนอก 4.5 เซนติเมตร วงใน 3.5 เซนติเมตร ล้อมครุฑ สูง 3 เซนติเมตร ระหว่างเส้นรอบวงในและเส้นรอบวงนอก มีข้อความ “สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง” ด้านบนวงกลม และ “IMMIGRATION BUREAU” ด้านล่างวงกลมมีดอกจันทน์ซ้ายขวา
(3) ตราประทับระบุชื่อ ที่อยู่ บริษัทที่คนต่างด้าวทํางานอยู่ ใช้อักษร TH Saraban PSK ขนาด 13 พอยท์ โดยให้ประทับตราด้วยหมึกสีน้ําเงิน ใต้ตราตรวจลงตรา
หมายเหตุ กรณีที่คนต่างด้าวมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทํางานในภายหลังให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตราเพิ่มเติม หรือยกเลิกตราประทับสถานที่ทํางานเดิม และ/หรือประทับตราสถานที่ทํางานใหม
(4) ตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร (Stay Permit) ใช้อักษร TH Saraban PSK ขนาด 15 พอยท์ โดยให้ประทับตราด้วยหมึกสีน้ําเงิน และประทับตราวันที่อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ตามวันที่ที่อนุญาตในการตรวจลงตรา
หากหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวมีอายุน้อยกว่าระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตราวันที่อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเท่าวันหมดอายุหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางนั้น และเมื่อคนต่างด้าวนําหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเล่มใหม่มาแสดง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ขยายระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมในการขยายสิทธิการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจัก
3.2.3 บันทึกหมายเลขการตรวจลงตราลงในแบบคําขอรับการตรวจลงตราด้านหน้า มุมบนด้านขวาไว้เป็นหลักฐาน
3.2.4 ลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในรอยตราตรวจลงตรา SMART VISA และรอยตราอนุญาต STAY PERMI
3.2.5 แนบใบนัดเพื่อให้คนต่างด้าวมารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยในครั้งแรก โดยระบุวันนัดรายงานตัวเป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจัก
ตัวอย่าง ใบนัดรายงานตัว 1 ปี (SMART VISA
3.2.6 แจ้งให้คนต่างด้าวรับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (SMART VISA) ตามแบบ สตม. 6 (ผนวก ค) แนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๔ การอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร
4.1 กรณีคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA จากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ และเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งแรกให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 - 6 แล้วแต่กรณีดําเนินการดังนี้
4.1.1 ตรวจอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยประทับตราขาเข้าและประทับตราวันที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรตามกําหนดระยะเวลาอนุญาต ตามข้อ 2 สําหรับใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้งตามอายุการตรวจลงตรา ทั้งนี้ ให้พิจารณาหมายเหตุใต้ตราการตรวจลงตราของสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ประกอบการพิจารณาอนุญาตด้วย หากหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวมีอายุน้อยกว่าวันอนุญาตดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตราวันที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเท่าวันหมดอายุหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางนั้น โดยระบุหมายเหตุใต้ตราประทับว่าเป็นการอนุญาตเท่าอายุหนังสือเดินทา
4.1.2 ในกรณีที่ประทับตราวันที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเท่าอายุหนังสือเดินทางในครั้งแรก เมื่อคนต่างด้าวนําหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเล่มใหม่มาแสดงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง กองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ขยายระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต โดยไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมในการขยายสิทธิการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจัก
4.2 กรณีคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA และตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จากกองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามข้อ 3 หรือคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA จากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตามข้อ 4.1 หรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร ตามข้อ 5 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 - 6 แล้วแต่กรณี ตรวจอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว
ข้อ ๕ การขออยู่ต่อในราชอาณาจักร
คนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA เมื่อครบกําหนดระยะเวลาอนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีก ให้คนต่างด้าวยื่นคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวต่อไป ก่อนระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเดิมสิ้นสุดตามแบบคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (ตม.7) และแบบคําขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (ตม.8) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปตาม ผนวก ง แนบท้ายคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษสําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และชําระค่าธรรมเนียมในอัตราปีละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เศษของปีให้คิดเป็น 1 ปี ณ ศูนย์บริการ วีซ่าและใบอนุญาตทํางานฯ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับสารวัตรขึ้นไปหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีหน้าที่รับคําขอและเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีก ตามระยะเวลาตามข้อ 2
ในกรณีที่คนต่างด้าวยื่นคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับรองสารวัตรขึ้นไป มีหน้าที่รับคําขอและเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกตามระยะเวลาตามข้อ 2
เมื่อคนต่างด้าวมายื่นขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปอีก (SMART VISA) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
5.1 ตรวจสอบเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดใน ผนวก ง
5.2 ประทับตรา ตามตัวอย่าง
(1) ตราประทับการขออยู่ต่อ ให้ประทับตราด้วยหมึกสีน้ําเงินและประทับตราวันที่อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในตราขออยู่ต่อ ตามระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
SMART VISA
(เลขเรื่อง)
(.......หน่วยงาน......)
EXTENSION OF STAY PERMITTED FOR UP TO.................
HOLDER MUST LEAVE THE KINGDOM WITHIN THE
DATE SPECIFIED HEREIN , OFFENDERS WILL BE
PROSECUTED
SIGNED ......................................
IMMIGRATION OFFICER
DATE .................................
(2) ตราประทับระบุชื่อ ที่อยู่ บริษัทที่คนต่างด้าวทํางานอยู่ใช้อักษร TH Saraban PSK ขนาด 13 พอยท์ โดยให้ประทับตราด้วยหมึกสีน้ําเงิน ใต้ตราประทับการขออยู่ต่อ
ชื่อบริษัท/ Company Name.......................................
ที่อยู่/Address....................................................................
หมายเหตุ กรณีที่คนต่างด้าวมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทํางานในภายหลังให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตราเพิ่มเติม หรือยกเลิกตราประทับสถานที่ทํางานเดิม และ/หรือประทับตราสถานที่ทํางานใหม่
(3) ตราประทับการขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้ง ให้ประทับตราด้วยหมึกสีดํา พร้อมประทับตราประจําส่วนราชการด้วยหมึกสีแดง
กว้าง 4 ซม.
SMART VISA
หากหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวมีอายุน้อยกว่าระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตราวันที่อนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร เท่าวันหมดอายุหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางนั้น ในตราขออยู่ต่อ และตราประทับการขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกและเมื่อคนต่างด้าวนําหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเล่มใหม่มาแสดง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ขยายระยะเวลาการอนุญาต ให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรตามระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมในการขยายสิทธิการขออยู่ต่อ
ข้อ ๖ การรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยทุก 1 ปี
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร SMART VISA ต้องมารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยเมื่อพํานักในราชอาณาจักรครบทุก 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร โดยให้คนต่างด้าวยื่นแบบการแจ้งอยู่เกินกว่า 1 ปี ของบุคคลต่างด้าวบางจําพวกที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (SMART VISA) ตามแบบ ตม.91 (ผนวก จ) ที่ กองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางานฯ หรือหน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยดังกล่าว ได้ก่อนวันครบกําหนด 15 วัน หรือหลังวันครบกําหนด 7 วัน
ข้อ ๗ การสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเป็นอันสิ้นผลนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งกรณีคนต่างด้าวขาดคุณสมบัติตามข้อ 1 จากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 1
(2) มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคมหรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
(3) กรณีผู้ใช้สิทธิติดตาม หากภายหลังการอนุญาตของผู้ได้รับสิทธิหลักสิ้นสุดลงการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของผู้ติดตามย่อมสิ้นสุดลงด้วย
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบกรณีใดกรณีหนึ่งข้างต้น ให้บันทึกข้อมูลการสิ้นผลการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวลงในระบบของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง และดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
ข้อ ๘ การตรวจลงตราเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวด้วยวัตถุประสงค์อื่น
คนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA ต่อมามีความประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวด้วยวัตถุประสงค์อื่น ให้สามารถกระทําได้โดยแสดงหนังสือรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติตามระเบียบสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา รวมทั้งคําสั่งและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยอนุโลม
ข้อ ๙ การรายงาน
9.1 ให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศตรวจคนเข้าเมือง จัดส่งรายงานการอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรครั้งแรกของผู้ที่ได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA ตามข้อ 4.1 ผ่านกองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 และหน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทุกวันที่ 5 ของเดือน เพื่อรวบรวมรายงานสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
9.2 ให้กองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 และหน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จัดส่งรายงานการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรครั้งแรกของผู้ที่ได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA ต่อสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางานฯ ทุกวันที่ 10 ของเดือน
9.3 ให้กองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือหน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นผู้รับคําร้องจัดให้มีการควบคุมแสดงรายละเอียดการตรวจลงตรําไว้ให้ชัดเจน และรายงานผลการดําเนินการให้กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 แล้วแต่กรณี ทุกวันที่ 10 ของเดือน เพื่อกํากับดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
พลตํารวจโท สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,341 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 192/2561 เรื่อง กำหนดรายการข้อมูลที่พัก (Accommodation) หรือสถานที่อยู่ในประเทศไทย(Place of stay in Thailand) เพื่อให้คนต่างด้าวแจ้งล่วงหน้าโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 192/2561
เรื่อง กําหนดรายการข้อมูลที่พัก (Accommodation) หรือสถานที่อยู่ในประเทศไทย
(Place of stay in Thailand) เพื่อให้คนต่างด้าวแจ้งล่วงหน้า
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
----------------------------------------------------------
ด้วยเป็นการสมควรกําหนดให้คนต่างด้าวที่จะเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแจ้งข้อมูลที่พัก (Accommodation) หรือสถานที่อยู่ในประเทศไทย (Place of stay in Thailand) ซึ่งคนต่างด้าวจะต้องพักอาศัย ตามมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 42/2560 เรื่อง แก้ไขกฎหมายคนเข้าเมืองเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางสัญชาติไทย ลงวันที่ 13 กันยายน พุทธศักราช 2560 และมาตรา 37 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ล่วงหน้าโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจสอบข้อมูลล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ด้านความปลอดภัยของคนต่างด้าว และการอํานวยความสะดวกในการตรวจอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร
อาศัยอํานาจตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 ประกอบมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 42/2560 เรื่อง แก้ไขกฎหมายคนเข้าเมืองเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางสัญชาติไทย ลงวันที่ 13 กันยายน พุทธศักราช 2560 และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2554 มาตรา 3 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 ซึ่งคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เห็นชอบนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง และสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองได้มีประกาศ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558 รองรับการดําเนินการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ จึงกําหนดให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยทางอากาศแจ้งข้อมูลที่พัก (Accommodation) หรือสถานที่อยู่ในประเทศไทย (Place of stay in Thailand) ล่วงหน้าโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบข้อมูลการตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า ตามนัยข้อ 2 (2) (ฌ) แห่งข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 87 ว่าด้วยการอํานวยความสะดวกเพื่อการตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และให้เจ้าของหรือผู้จดทะเบียนอากาศยาน หรือผู้ดําเนินการเดินอากาศ จัดเก็บข้อมูลที่พัก (Accommodation) หรือสถานที่อยู่ในประเทศไทย (Place of stay in Thailand) ของคนต่างด้าวดังกล่าวทุกเที่ยวบิน ตามมาตรฐาน Platform สําหรับจัดเก็บข้อมูลแนบท้ายคําสั่งนี้ นําส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ไปยังระบบการตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (Advance Passenger Processing System : APPS) เพื่อนําเข้าระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมือง ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้ถือว่าคนต่างด้าวได้แจ้งที่พักอาศัยตามกฎหมายแล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561
พลตํารวจตรี สุรเชษฐ์ หักพาล
รองผู้บัญชาการตํารวจท่องเที่ยว รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,342 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการก่อสร้างอุโมงค์และการทำงานในอุโมงค์ พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการก่อสร้างอุโมงค์และการทํางานในอุโมงค์
พ.ศ. 2553
-------------------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 กําหนดให้การก่อสร้างอุโมงค์และการทํางานในอุโมงค์ นายจ้างต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 103 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการก่อสร้างอุโมงค์และการทํางานในอุโมงค์ พ.ศ. 2553 ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การทํางานในอุโมงค์ให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ นายจ้างต้องจัดให้มีคู่มือการทํางานในอุโมงค์และมอบให้ลูกจ้างทุกคนที่ทํางานในอุโมงค์ใช้เป็นคู่มือในการทํางานตลอดเวลาปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
คู่มือการทํางานในอุโมงค์อย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการทํางานในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน วิธีใช้อุปกรณ์ระบบการสื่อสาร อุปกรณ์สัญญาณแจ้งเหตุ ตลอดจนการใช้สัญลักษณ์ และพื้นที่งานส่วนต่าง ๆ ในอุโมงค์
ข้อ ๕ นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกก่อนให้ลูกจ้างทํางานในอุโมงค์และต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทํางานในอุโมงค์เพื่อเฝ้าระวังทุกสามเดือน
ข้อ ๖ ห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในอุโมงค์ หากนายจ้างรู้หรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในอุโมงค์อาจเป็นอันตรายต่อบุคคลดังกล่าว
ข้อ ๗ นายจ้างต้องจัดให้มีป้ายแสดงรายชื่อลูกจ้างซึ่งทํางานในอุโมงค์ติดไว้ที่ปากทางเข้าอุโมงค์ให้เห็นชัดเจน และต้องตรวจสอบจํานวนลูกจ้างทุกครั้งที่เลิกปฏิบัติงาน
ข้อ ๘ นายจ้างต้องกําหนดมาตรการและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะงานตลอดเวลาที่ทํางานในอุโมงค์
ข้อ ๙ นายจ้างต้องจัดให้มีปล่องที่ใช้เป็นเส้นทางเพื่อให้ลูกจ้างขึ้นหรือลงอุโมงค์แยกต่างหากจากปล่องที่ใช้ขนส่งวัสดุ
กรณีจําเป็นที่ต้องใช้ปล่องเดียวกัน นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการดูแลเพื่อความปลอดภัย
ข้อ ๑๐ นายจ้างต้องจัดทํารั้วกั้นหรือวิธีการอื่นใดเพื่อปิดกั้นบริเวณรอบปล่องที่ใช้ขนวัสดุขึ้นหรือลงทั้งด้านบนและด้านล่าง และต้องไม่ให้ผู้ใดอยู่ในบริเวณดังกล่าวขณะทําการยก หรือขนวัสดุขึ้นหรือลง
ข้อ ๑๑ นายจ้างต้องจัดให้มีระบบสัญญาณกรณีที่มีการใช้เครื่องจักรยกขนย้ายวัสดุหรือส่งลูกจ้างขึ้นหรือลงอุโมงค์
ข้อ ๑๒ นายจ้างต้องติดตั้งสัญญาณแสงวับวาบเตือนในบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานเฉพาะจุด
ข้อ ๑๓ นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณหรือระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ และติดป้ายแสดงหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินให้สามารถเห็นได้ชัดเจนเพื่อสามารถติดต่อเรียกผู้ช่วยเหลือหรือแจ้งเหตุได้ทันที
ข้อ ๑๔ นายจ้างต้องตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องมือ เครื่องจักร เส้นทางขนส่งตู้ยาสามัญและอุปกรณ์ช่วยชีวิต ระบบสุขาภิบาล และพื้นที่ทํางานทั่ว ๆ ไป อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
ข้อ ๑๕ นายจ้างต้องควบคุมดูแลและไม่ให้ลูกจ้างโดยสารไปกับเครื่องยกวัสดุอุปกรณ์
ข้อ ๑๖ นายจ้างต้องติดตั้งไฟฟ้าสํารอง ไฟฉุกเฉิน สัญญาณแจ้งเหตุ และจัดให้มีป้ายหรือเครื่องหมายเตือนภัยไว้ในอุโมงค์ให้เห็นชัดเจน
ข้อ ๑๗ นายจ้างต้องไม่ให้ลูกจ้างทํางานในอุโมงค์ ในกรณีเกิดอัคคีภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว หรือภัยอื่นใดซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตราย
ข้อ ๑๘ ห้ามนายจ้างเก็บน้ํามันเชื้อเพลิง วัตถุไวไฟ และสารเคมีไว้ในอุโมงค์ เว้นแต่เก็บไว้เท่าที่จําเป็นแก่การใช้งานประจําวันเท่านั้น
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,343 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 234/2561 เรื่อง การปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 234/2561
เรื่อง การปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษสําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
-----------------------------------------------------------------
โดยที่กระทรวงแรงงานได้จัดตั้งศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : ECC) ของรัฐบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ภายใต้แนวคิดไทยแลนด์ 4.0 และพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 สําหรับการอํานวยความสะดวกในการอนุมัติ อนุญาตให้แก่คนต่างด้าวซึ่งเป็นนักลงทุน ผู้บริหารหรือผู้ชํานาญการ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง
ในส่วนของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อให้มีการกําหนดแนวทางปฏิบัติในการตรวจลงตราการประทับตราวันที่อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร การอยู่ต่อในราชอาณาจักร และการรายงานของคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิอนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับการให้การบริการด้านแรงงานของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 และข้อ 10 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 จึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง ของข้อ 3 3.1 แห่งคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
“กรณีที่คนต่างด้าวประสงค์จะขอรับการตรวจลงตรา SMART VISA ที่ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 จังหวัดชลบุรี ให้หน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีหน้าที่รับคําขอรับการตรวจลงตรา และให้ผู้ดํารงตําแหน่งรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้พิจารณาสั่งการ และมีอํานาจลงนามในการตรวจลงตรา SMART VISA สําหรับใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้ง พร้อมทั้งตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 4.1.2 แห่งคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“4.1.2 ในกรณีที่ประทับตราวันที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเท่าอายุหนังสือเดินทางในครั้งแรก เมื่อคนต่างด้าวนําหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเล่มใหม่มาแสดงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง กองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ขยายระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต โดยไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมในการขยายสิทธิการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 4.2 แห่งคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“4.2 กรณีคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA และตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จากกองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามข้อ 3 หรือคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA จากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร ตามข้อ 4.1 หรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร ตามข้อ 5 เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 - 6 แล้วแต่กรณี ตรวจอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรตามระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตไว้แล้ว”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 การขออยู่ต่อในราชอาณาจักร
คนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA เมื่อครบกําหนดระยะเวลาอนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีก ให้คนต่างด้าวยื่นคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวต่อไป ก่อนระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเดิมสิ้นสุดตามแบบคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (ตม.7) และแบบคําขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (ตม.8) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปตาม ผนวก ง แนบท้ายคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษสําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และชําระค่าธรรมเนียมในอัตราปีละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เศษของปีให้คิดเป็น 1 ปี ณ ศูนย์บริการ วีซ่าและใบอนุญาตทํางานฯ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับสารวัตรขึ้นไปหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีหน้าที่รับคําขอและเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีก ตามระยะเวลาตามข้อ 2
ในกรณีที่คนต่างด้าวยื่นคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับรองสารวัตรขึ้นไป มีหน้าที่รับคําขอและเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกตามระยะเวลาตามข้อ 2
เมื่อคนต่างด้าวมายื่นขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปอีก (SMART VISA) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
5.1 ตรวจสอบเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดใน ผนวก ง
5.2 ประทับตรา ตามตัวอย่าง
(1) ตราประทับการขออยู่ต่อ ให้ประทับตราด้วยหมึกสีน้ําเงินและประทับตราวันที่อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในตราขออยู่ต่อ ตามระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
SMART VISA
(เลขเรื่อง)
(.......หน่วยงาน......)
EXTENSION OF STAY PERMITTED FOR UP TO.................
HOLDER MUST LEAVE THE KINGDOM WITHIN THE
DATE SPECIFIED HEREIN , OFFENDERS WILL BE
PROSECUTED
SIGNED ......................................
IMMIGRATION OFFICER
DATE .................................
(2) ตราประทับระบุชื่อ ที่อยู่ บริษัทที่คนต่างด้าวทํางานอยู่ใช้อักษร TH Saraban PSK ขนาด 13 พอยท์ โดยให้ประทับตราด้วยหมึกสีน้ําเงิน ใต้ตราประทับการขออยู่ต่อ
ชื่อบริษัท/ Company Name.......................................
ที่อยู่/Address....................................................................
หมายเหตุ กรณีที่คนต่างด้าวมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทํางานในภายหลังให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตราเพิ่มเติม หรือยกเลิกตราประทับสถานที่ทํางานเดิม และ/หรือประทับตราสถานที่ทํางานใหม่
(3) ตราประทับการขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกใช้ได้ไม่จํากัดจํานวนครั้ง ให้ประทับตราด้วยหมึกสีดํา พร้อมประทับตราประจําส่วนราชการด้วยหมึกสีแดง
กว้าง 4 ซม.
SMART VISA
หากหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวมีอายุน้อยกว่าระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตราวันที่อนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร เท่าวันหมดอายุหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางนั้น ในตราขออยู่ต่อ และตราประทับการขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกและเมื่อคนต่างด้าวนําหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางเล่มใหม่มาแสดง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ขยายระยะเวลาการอนุญาต ให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรตามระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือรับรองของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมในการขยายสิทธิการขออยู่ต่อ”
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 การรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยทุก 1 ปี
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร SMART VISA ต้องมารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยเมื่อพํานักในราชอาณาจักรครบทุก 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร โดยให้คนต่างด้าวยื่นแบบการแจ้งอยู่เกินกว่า 1 ปี ของบุคคลต่างด้าวบางจําพวกที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (SMART VISA) ตามแบบ ตม.91 (ผนวก จ) ที่ กองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางานฯ หรือหน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยดังกล่าว ได้ก่อนวันครบกําหนด 15 วัน หรือหลังวันครบกําหนด 7 วัน”
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 การรายงาน
9.1 ให้ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศตรวจคนเข้าเมือง จัดส่งรายงานการอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรครั้งแรกของผู้ที่ได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA ตามข้อ 4.1 ผ่านกองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 และหน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทุกวันที่ 5 ของเดือน เพื่อรวบรวมรายงานสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
9.2 ให้กองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 และหน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จัดส่งรายงานการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรครั้งแรกของผู้ที่ได้รับการตรวจลงตรา SMART VISA ต่อสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทํางานฯ ทุกวันที่ 10 ของเดือน
9.3 ให้กองกํากับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือหน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ณ ศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นผู้รับคําร้องจัดให้มีการควบคุมแสดงรายละเอียดการตรวจลงตรําไว้ให้ชัดเจน และรายงานผลการดําเนินการให้กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 แล้วแต่กรณี ทุกวันที่ 10 ของเดือน เพื่อกํากับดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด”
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกผนวก จ แนบท้ายคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 20/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ สําหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 และให้ใช้ ผนวก จ แนบท้ายคําสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561
พลตํารวจตรี สุรเชษฐ์ หักพาล
รองผู้บัญชาการตํารวจท่องเที่ยว รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,344 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 191/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการคัดกรองและตรวจสอบเอกสารล่วงหน้าสำหรับผู้ยื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS VISA ON ARRIVAL : E - VOA) | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 191/2561
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการคัดกรองและตรวจสอบเอกสารล่วงหน้า
สําหรับผู้ยื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS VISA ON ARRIVAL : E - VOA)
----------------------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดวิธีการยื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS VISA ON ARRIVAL : E - VOA) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คัดกรองและตรวจสอบเอกสารล่วงหน้าก่อนการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล รวมทั้งเพื่ออํานวยความสะดวกแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และถูกต้อง อันเป็นการสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวและยกระดับการอํานวยความสะดวกให้อยู่ในระดับสากล (World Class) ภายใต้การรักษามาตรฐานความมั่นคงของประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1 1.2.5 และข้อ 3 แห่งระเบียบสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 3 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 ซึ่งคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เห็นชอบต่อนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านสารสนเทศของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง และสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองได้มีประกาศ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558 รองรับการดําเนินการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ จึงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการคัดกรองและตรวจสอบเอกสารล่วงหน้า สําหรับผู้ยื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง โดยวิธีการทางทางอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS VISA ON ARRIVAL : E-VOA) ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
“อิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
“ข้อความ” ให้มีความหมายตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
“ผู้ส่งข้อมูล” ให้มีความหมายตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
“ผู้รับข้อมูล” ให้มีความหมายตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
“บุคคลที่เป็นสื่อกลาง” ให้มีความหมายตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
“วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความรวมทั้งและใช้ตลอดถึง การดําเนินการใด ๆที่กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องบังคับให้ จัดทํา ยื่น ส่ง รับ เก็บรักษา การอนุญาต การชาระเงิน หรือดําเนินการอื่นใด โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือบางส่วน
“ระบบทําการแทน” หมายความว่า ระบบและเครือข่ายกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสมาชิก หน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อทําหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมือง เพื่อลดการเกิดความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดจากการดําเนินการ (human errors) การปลอมแปลงเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
“ตัวแทนผู้ยื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS VISA ON ARRIVAL : E - VOA)” หมายความถึง ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ให้บริการบันทึกข้อมูล และรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์กับระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมืองหรือดําเนินการอื่นใดตามที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนดในนามของคนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (VISA ON ARRIVAL)
ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์แก่การให้บริการคนต่างด้าวที่มาขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (VISA ON ARRIVAL) ให้ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระบบทําการแทนในการรับและส่งผ่านข้อมูลไปยังระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมืองได้ดังนี้.
2.1 ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในการปฏิบัติพิธีการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS VISA ON ARRIVAL : E - VOA)
2.1.1 ห้ามปฏิเสธความผูกพันและการบังคับใช้กฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2.1.2 ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การใดต้องทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้จัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้ โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว
2.1.3 ในกรณีที่ต้องลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว เมื่อได้ดําเนินการตามรูปแบบที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด
2.2 การปฏิบัติพิธีการตรวจคนเข้าเมืองตามคําสั่งนี้ ให้กระทําโดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการระบบทําการแทนเข้าสู่ระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมืองตามรูปแบบที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด แทนการจัดทํา ยื่น ส่ง รับเอกสาร และการลงลายมือชื่อในแบบ ตม.88 (APPLICATION FOR VISA ON ARRIVAL)
2.3 การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมืองทดแทนเอกสารใด หากระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมืองผู้รับข้อมูลได้ทําการตอบรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ๆ ในการปฏิบัติพิธีการตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ถือเป็นการยื่นเอกสารนั้นตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแล้ว
ข้อ ๓ วิธีการยื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS VISA ON ARRIVAL : E - VOA) การคัดกรองและตรวจสอบเอกสารล่วงหน้า มีขั้นตอนดําเนินการดังนี้
3.1 การส่งข้อมูลและการชําระค่าธรรมเนียม
3.1.1 การส่งข้อมูล
ก่อนคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนผู้ยื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์(ELECTRONICS VISA ON ARRIVAL : E - VOA) จัดทําข้อมูลโดยอ้างอิงกับหน้าข้อมูลหนังสือเดินทาง (Passport information page) ของคนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (VISA ON ARRIVAL) และข้อมูลอื่น ๆ ตามรูปแบบที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด และส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าเข้าสู่ระบบทําการแทน โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนส่งข้อมูลล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถคัดกรองและตรวจสอบล่วงหน้าก่อนที่คนต่างด้าวจะเดินทางมาถึงประเทศไทย
3.1.2 การชําระค่าธรรมเนียม
ให้ผู้ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดําเนินการตามรูปแบบที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนด เพื่อชําระค่าธรรมเนียมในอัตราตามที่กําหนดในกฎกระทรวงเป็นสกุลเงินไทยเท่านั้น(THAI CURRENCY ONLY) ทั้งนี้ จะได้รับการพิจารณาอนุญาตหรือไม่ก็ตาม จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมในทุกกรณี
3.2 การคัดกรองและตรวจสอบเอกสารล่วงหน้า
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดําเนินการคัดกรองและตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้า (Pre - Approved) ในระบบทําการแทน ให้เป็นไปตามระเบียบสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พร้อมทั้งตรวจสอบการชําระค่าธรรมเนียมให้เสร็จสิ้นและตอบกลับล่วงหน้าก่อนคนต่างด้าวเดินทางมาถึงประเทศไทย
ข้อ ๔ การตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (VISA ON ARRIVAL) และการตรวจอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร
4.1 เมื่อคนต่างด้าวที่ผ่านการคัดกรองและตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าแล้วมาแสดงตัว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจํา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองอ่านข้อมูลหนังสือเดินทางผ่านเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง Passport Reader ระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมืองจะแสดงข้อมูลการผ่านการคัดกรองและตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าและชําระค่าธรรมเนียมไว้เรียบร้อยแล้ว
4.2 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจํา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีหน้าที่ตรวจบุคคลเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นผู้มีอํานาจตรวจพิจารณาอนุญาต โดยให้ประทับตรา“VISA ON ARRIVAL” ลงในหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว และลงลายมือชื่อในตราประทับประจําตําแหน่งหากไม่มีให้ใช้ตราประจําส่วนราชการและลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญ พร้อมทั้งถ่ายภาพคนต่างด้าวแล้วดําเนินกระบวนการตรวจอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร และบันทึกผลการตรวจพิจารณาอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรไว้ในระบบให้เรียบร้อย
ข้อ ๕ การยื่นเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการดําเนินการใด ๆ เฉพาะที่กระทําในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับระบบสารสนเทศตรวจคนเข้าเมืองตามคําสั่งนี้ ให้มีกําหนดเวลาตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ
ข้อ ๖ ตัวแทนผู้ยื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONICS VISA ON ARRIVAL : E - VOA) ล่วงหน้า ในระบบทําการแทนต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561
พลตํารวจตรี สุรเชษฐ์ หักพาล
รองผู้บัญชาการตํารวจท่องเที่ยว รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,345 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 125/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาให้คนต่างด้าวใช้ช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 125/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาให้คนต่างด้าวใช้ช่องตรวจ
หนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel)
----------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 165/2558 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาให้คนต่างด้าวใช้ช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) ไว้แล้ว นั้น
เนื่องด้วยรัฐบาลมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียนในด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงทั้งทางบก ทางน้ําและทางอากาศ โดยทางอากาศมีการเพิ่มเที่ยวบินเชื่อมโยงจากเมืองหลักสู่เมืองรอง ซึ่งจะทําให้มีคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในและออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นจํานวนมาก จําเป็นต้องอํานวยความสะดวกให้คนต่างด้าวบางสัญชาติสามารถเดินทางเข้าและออกโดยผ่านช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) ประกอบกับปัจจุบันการคัดกรองคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้มีระบบการตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า Advance Passenger Processing System (APPS) ก่อนการเดินทาง สําหรับช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) ขณะนี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงระบบโดยขั้นตอนการทํางานสามารถตรวจสอบข้อมูลคนต่างด้าวได้จากใบรับรองอิเลคทรอนิกส์ (Certificate) กับข้อมูลจาก ICAO Public Key Directory ในการใช้งาน (Automatic Channel) ครั้งแรกซึ่งจะเป็นการลงทะเบียนโดยอัตโนมัติ
อาศัยอํานาจตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 ประกอบมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จึงให้ยกเลิกคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 165/2558 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาให้คนต่างด้าวใช้ช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) และกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาให้คนต่างด้าวใช้ช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ(Automatic Channel) ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ คนต่างด้าวผู้ใช้ช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.1 เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
1.2 ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภททูต ราชการ หรืออัธยาศัยไมตรี
1.3 ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติของประเทศที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา โดยมีระยะเวลาพํานักอยู่ในราชอาณาจักร 30 วัน (ผ. 30, ผผ. 30) ได้แก่ สิงคโปร์ และ ฮ่องกง
ข้อ ๒ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของคนต่างด้าวผู้ใช้ช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ
2.1 ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่าหกเดือนนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
2.2 ไม่เป็นคนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
2.3 ไม่เป็นผู้อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอนการอนุญาต
2.4 ไม่มีประวัติการกระทําความผิด หรือต้องหาคดีอาญาในราชอาณาจักร หรือไม่มีชื่อในระบบบัญชีเฝ้าดู (Watch list)
2.5 กรณีคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ต้องขอรับการสลักหลังแจ้งออก พร้อมทั้งหลักฐานการแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีกภายในกําหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทําหลักฐานให้
2.6 พนักงานเจ้าหน้าที่อาจสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวใช้ช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) ในกรณีใด ๆ ก็ได้
ข้อ ๓ สถานที่ใช้ช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel)
คนต่างด้าวสามารถเดินทางเข้า - ออกราชอาณาจักร ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560
พลตํารวจโท ณัฐธร เพราะสุนทร
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,346 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 12/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรแทนผู้ป่วยหรือผู้พิการซึ่งเป็นคนต่างด้าว | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 12/2560
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยื่นคําร้องขออยู่ต่อ
ในราชอาณาจักรแทนผู้ป่วยหรือผู้พิการซึ่งเป็นคนต่างด้าว
--------------------------------------------------------
เนื่องจากได้มีกฎกระทรวงกําหนดแบบเอกสารตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและวิธีการขอหลักฐานการแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก และการขอกลับเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามเดิม พ.ศ. 2559 กําหนดแบบคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป โดยในส่วนคําเตือนข้อ 1 กําหนดให้ผู้ขอจะต้องยื่นคําขออนุญาตด้วยตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยหรือผู้พิการที่ไม่สามารถมายื่นด้วยตนเองได้
อาศัยอํานาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 ประกอบมาตรา 35 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวงกําหนดแบบเอกสารตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และวิธีการขอหลักฐานการแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก และการขอกลับเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามเดิม พ.ศ. 2559 ข้อ 8 จึงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยื่นคําขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแทนคนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ป่วยหรือผู้พิการไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ผู้ป่วยหรือผู้พิการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นคําร้องขออยู่ต่อด้วยตนเอง ได้แก่
1.1 ผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถาบันทางการแพทย์ที่อยู่ในสังกัดของรัฐหรือพักฟื้นอยู่ในที่พักอาศัยซึ่งอาการป่วยเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและไม่สามารถมายื่นคําขอด้วยตนเองได้ โดยมีใบรับรองของแพทย์ประจําโรงพยาบาลหรือจากสถาบันทางการแพทย์ที่อยู่ในสังกัดของรัฐที่ทําการตรวจรักษา
1.2 ผู้พิการทางร่างกาย หรือทางสมอง อันเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและไม่สามารถมายื่นคําขอด้วยตนเองได้ โดยมีใบรับรองของแพทย์ประจําโรงพยาบาลหรือจากสถาบันทางการแพทย์ที่อยู่ในสังกัดของรัฐที่ทําการตรวจรักษา
ข้อ ๒ ผู้ยื่นคําร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรแทนผู้ป่วยหรือผู้พิการ ตามข้อ 1 ได้แก่
2.1 บิดา มารดา คู่สมรส บุตรที่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือน หรือ
2.2 ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ผู้ใช้อํานาจปกครอง หรือ
2.3 ผู้รับมอบอํานาจ
ข้อ ๓ เอกสารประกอบการยื่น
3.1 แบบคําขอ ตม.7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 เซนติเมตร
3.2 สําเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
3.3 หนังสือรับรองจากแพทย์ประจําโรงพยาบาลหรือจากสถาบันทางการแพทย์ที่อยู่ในสังกัดของรัฐที่ทําการตรวจรักษา
3.4 ภาพถ่ายแสดงสถานภาพการเจ็บป่วย
3.5 หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ของผู้ยื่นกับคนต่างด้าวตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 หรือหลักฐานการมอบอํานาจ ตามข้อ 2.3
ข้อ ๔ เมื่อได้ดําเนินการตามขั้นตอนการยื่นคําขอแทนผู้ป่วยหรือผู้พิการครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมาย ระเบียบ คําสั่ง หรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
พลตํารวจโท ณัฐธร เพราะสุนทร
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,347 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 11/2560 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือสำคัญประจำตัว ผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะ (ตม.1) | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 11/2560
เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือสําคัญประจําตัว
ผู้ควบคุมพาหนะและคนประจําพาหนะ (ตม.1)
-------------------------------------
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงกําหนดแบบเอกสารตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และวิธีการขอหลักฐานการแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก และการขอกลับเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามเดิม พ.ศ. 2559 กําหนดแบบหนังสือสําคัญประจําตัวผู้ควบคุมพาหนะและคนประจําพาหนะ (ตม.1) พร้อมทั้งกําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอํานาจออกหนังสือสําคัญประจําตัวดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามมาตรา 14 มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 ประกอบมาตรา 13 (1) วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวงกําหนดแบบเอกสารตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และวิธีการขอหลักฐานการแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก และการขอกลับเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามเดิม พ.ศ. 2559 ข้อ 3 จึงมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือสําคัญประจําตัวผู้ควบคุมพาหนะและคนประจําพาหนะ (ตม.1) ดังนี้
ข้อ ๑ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2
ข้าราชการตํารวจชั้นสัญญาบัตรที่มีหน้าที่รับผิดชอบระดับสารวัตรขึ้นไป
ข้อ ๒ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 – 6
2.1 หัวหน้าตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด หรือหัวหน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นการบังคับบัญชาต่อกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองโดยตรง ซึ่งมีระดับตําแหน่งสารวัตรใหญ่ขึ้นไป หรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบระดับไม่ต่ํากว่าสารวัตรที่ได้รับมอบหมาย
2.2 หัวหน้าตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด หรือหัวหน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นการบังคับบัญชาต่อกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองโดยตรง ซึ่งมีระดับตําแหน่งสารวัตร หรือข้าราชการตํารวจชั้นสัญญาบัตรผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓ การประทับตราสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองในหนังสือสําคัญประจําตัวผู้ควบคุมพาหนะและคนประจําพาหนะ (ตม.1) ให้ใช้ตราประทับตาม ผนวก ก. แบบแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
พลตํารวจโท ณัฐธร เพราะสุนทร
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,348 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 178/2558 เรื่อง วิธีการยื่นคำขอรับการตรวจลงตรา APPLICATION FOR VISA ON ARRIVAL ตามแบบ ตม.88 ทางอิเล็กทรอนิกส์ | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 178/2558
เรื่อง วิธีการยื่นคําขอรับการตรวจลงตรา APPLICATION FOR VISA ON ARRIVAL
ตามแบบ ตม.88 ทางอิเล็กทรอนิกส์
-----------------------------------------------
ตามระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ข้อ 1.2.4 กําหนดให้คนต่างด้าวที่มีสิทธิขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (VISA ON ARRIVAL) ขอรับการตรวจลงตราต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่กําหนดไว้ โดยยื่นคําขอรับการตรวจลงตรา APPLICATION FOR VISA ON ARRIVAL ตามแบบ ตม.88 ที่กําหนดไว้ท้ายระเบียบ นั้น
ต่อมาภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 35 และพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 มาตรา 7 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เห็นชอบต่อนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง และสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองได้มีประกาศ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558 รองรับการดําเนินการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 ของระเบียบสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 จึงกําหนดวิธีการยื่นคําขอรับการตรวจลงตรา APPLICATION FOR VISA ON ARRIVAL ตามแบบ ตม.88 ทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อปฏิบัติการใช้งานระบบการยื่นคําร้องขอรับการตรวจลงตรา (TR 15) ทางอิเล็กทรอนิกส์ (VOA Application Online) และสถานที่ยื่นคําขอรับการตรวจลงตรา (TR 15) ทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามผนวก ก. และผนวก ข. ท้ายคําสั่งนี้ โดยให้ถือว่าคนต่างด้าวได้ยื่นคําขอรับการตรวจลงตรา APPLICATION FOR VISA ON ARRIVAL ตามแบบ ตม.88 แล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558
พลตํารวจโท ศักดา ชื่นภักดี
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,349 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 48/2558 เรื่อง วิธีการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกินเก้าสิบวันทางอิเล็กทรอนิกส์ | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 48/2558
เรื่อง วิธีการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกินเก้าสิบวันทางอิเล็กทรอนิกส์
------------------------------------------------------
ตามประมวลระเบียบการตํารวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 34 การตรวจคนเข้าเมือง บทที่ 8 คนอยู่ชั่วคราว ข้อ 4.5 ประกอบคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 155/2554 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554 กําหนดวิธีปฏิบัติการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน ตามมาตรา 37 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ไว้แล้ว นั้น
ต่อมาภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 35 และพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 มาตรา 7 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เห็นชอบต่อนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง และสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองได้มีประกาศ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558 รองรับการดําเนินการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
อาศัยอํานาจตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 ประกอบมาตรา 37 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 จึงกําหนดวิธีการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกินเก้าสิบวันทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อปฏิบัติฯ ท้ายคําสั่งนี้ โดยให้ถือว่าคนต่างด้าวได้มีหนังสือแจ้งที่พักอาศัยเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกินเก้าสิบวันแล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558
พลตํารวจโท ศักดา ชื่นภักดี
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,350 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 49/2558 เรื่อง การตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราให้กับคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 49/2558
เรื่อง การตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา
ให้กับคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
----------------------------------------------------------
ตามที่สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 ของระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2547 ออกคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 175/2552 ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ 176/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 กําหนดเหตุผลและความจําเป็น หลักเกณฑ์การพิจารณา และรายการเอกสารประกอบการพิจารณาในการขอรับการตรวจลงตราและเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา นั้น
ต่อมาได้มีระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เรื่อง ยกเลิกระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557 โดยมีระเบียบสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ใช้บังคับแทน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 ของระเบียบสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจลงตราและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557 จึงยกเลิกคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ 175/2552 ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ 176/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และกําหนดเหตุผลและความจําเป็น หลักเกณฑ์การพิจารณา และเอกสารประกอบในการขอรับการตรวจลงตราและเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราตามตารางแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558
พลตํารวจโท ศักดา ชื่นภักดี
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,351 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 138/2557เรื่อง รายการเอกสารประกอบการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 138/2557
เรื่อง รายการเอกสารประกอบการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออยู่
ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
-------------------------------------------------
ตามที่ได้มีคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 327/2557 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณี คนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไว้แล้ว นั้น
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 ของคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 327/2557 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 จึงยกเลิกคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 305/2551 ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 118/2556 ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556 และกําหนดรายการเอกสารประกอบการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามตารางแนบท้ายคําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
พลตํารวจโท ศักดา ชื่นภักดี
จเรตํารวจ (สบ 8) รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,352 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 304/2551 เรื่อง การมอบอำนาจในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 304/2551
เรื่อง การมอบอํานาจในการพิจารณากรณีคนต่างด้าว
ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
-------------------------------------
ตามที่ได้มีคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 543/2549 ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2549 มอบอํานาจให้ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ทําการแทนผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้มีคําสั่งที่ 227/2549 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยความเห็นชอบของผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ มอบอํานาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไว้แล้ว นั้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติว่าด้วยการกําหนดอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการในสํานักงานตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ประกอบกับความเห็นชอบของผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง จึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 227/2549 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 เรื่อง การมอบอํานาจในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
บรรดาคําสั่ง ระเบียบ ประกาศ มติ บันทึกสั่ง และหนังสือใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๒ ในคําสั่งนี้
2.1 “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในสังกัดสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
2.2 “ผู้รับมอบอํานาจ” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ มอบหมายให้มีอํานาจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
ข้อ ๓ ในการพิจารณาให้คนต่างด้าวอยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 543/2549 ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เรื่อง การมอบอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ข้อ 4 และข้อ 5 นั้น ให้เป็นอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตามตารางแนบท้ายคําสั่งนี้
ข้อ ๔ ในการพิจารณาตามข้อ 3 นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอํานาจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 777/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 607/2549 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในฐานะตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และคําสั่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
เมื่อได้อนุญาตแล้ว หากเกินกําหนดระยะเวลาตามมาตรา 35 (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้รายงานต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองเพื่อทราบพร้อมด้วยเหตุผลภายในเจ็ดวันนับแต่วันอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
ข้อ ๕ เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ หรือการระงับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้อํานาจของผู้รับมอบอํานาจตามข้อ 3 จึงให้ผู้บังคับบัญชาตําแหน่งตั้งแต่รองผู้บัญชาการลงไป มีหน้าที่แนะนํา กํากับ และติดตามการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจดังกล่าว และในกรณีที่เห็นว่าผู้รับมอบอํานาจ ปฏิบัติราชการในเรื่องใดโดยไม่สมควร ให้รายงานผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เพื่อโปรดพิจารณาแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอํานาจนั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551
พลตํารวจโท ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,353 |
คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 228/2549 เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 | คําสั่งสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
ที่ 228/2549
เรื่อง การกําหนดอํานาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
--------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 543/2549 ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เรื่อง การมอบอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มอบอํานาจตามมาตรา 26 วรรคสอง มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 47 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ไว้แล้ว โดยได้ยกเลิกคําสั่งกรมตํารวจ ที่ 707/2540 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2540 เรื่อง การมอบอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตามมาตรา 39 มาตรา 46 มาตรา 50 และมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศในสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอํานาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง จึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งอยู่ระหว่างรอรับใบสําคัญถิ่นที่อยู่ หรืออยู่ในระหว่างรอรับทราบผลของการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้เป็นอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ดังต่อไปนี้
1.1 หากอยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไปเป็นผู้อนุญาต และเป็นผู้ลงนามในตราประทับเพื่ออนุญาตให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
1.2 หากอยู่ในความรับผิดชอบของด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองในสังกัดศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคใต้ หรืองานขออยู่ต่อของศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคใต้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้อนุญาต และเป็นผู้ลงนามในตราประทับเพื่ออนุญาตให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
ข้อ ๒ การสลักหลังทําหลักฐานการแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีกของคนต่างด้าวตามมาตรา 50 (1) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้เป็นอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ดังต่อไปนี้
2.1 หากอยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้อนุญาตและลงนามในตราสลักหลังแจ้งออก แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
2.2 หากอยู่ในความรับผิดชอบของด่านตรวจคนเข้าเมืองในสังกัดศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคใต้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้อนุญาต และลงนามในตราสลักหลังแจ้งออก แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
ข้อ ๓ การออกใบสําคัญถิ่นที่อยู่ให้แก่คนต่างด้าวตามมาตรา 50 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้เป็นอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ดังต่อไปนี้
3.1 หากอยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับผู้กํากับการ หรือผู้ปฏิบัติราชการแทนเป็นผู้อนุญาต โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไปเป็นผู้ออกใบสําคัญถิ่นที่อยู่ แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
3.2 หากอยู่ในความรับผิดชอบของด่านตรวจคนเข้าเมืองในสังกัดศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคใต้ ให้หัวหน้าด่านตรวจคนเมือง หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน เป็นผู้อนุญาต โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้ออกใบสําคัญถิ่นที่อยู่ แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
ข้อ ๔ การออกใบแทนใบสําคัญถิ่นที่อยู่ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้เป็นอํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ดังต่อไปนี้
4.1 กรณีออกให้เนื่องจากใบสําคัญถิ่นที่อยู่สูญหาย
4.1.1 หากอยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับผู้กํากับการขึ้นไปหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน เป็นผู้อนุญาต โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้ออกใบแทนใบสําคัญถิ่นที่อยู่ แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
4.1.2 หากอยู่ในความรับผิดชอบของด่านตรวจคนเข้าเมืองในสังกัดศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคใต้ ให้หัวหน้าด่านตรวจคนเมือง หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน เป็นผู้อนุญาต โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้ออกใบแทนใบสําคัญถิ่นที่อยู่ แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
4.2 กรณีออกให้เนื่องจากใบสําคัญถิ่นที่อยู่ชํารุด หรือไม่มีที่ว่างที่จะสลักหลังตามมาตรา 50 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
4.2.1 หากอยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับสารวัตร หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน เป็นผู้อนุญาต โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้ออกใบแทนใบสําคัญถิ่นที่อยู่ แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
4.2.2 หากอยู่ในความรับผิดชอบของด่านตรวจคนเข้าเมืองในสังกัดศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคใต้ ให้หัวหน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน เป็นผู้อนุญาต โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไป เป็นผู้ออกใบแทนใบสําคัญถิ่นที่อยู่ แล้วให้ประทับตราประจําตําแหน่งไว้เป็นสําคัญ กรณีไม่มีตราประจําตําแหน่งให้ใช้ตราประจําส่วนราชการนั้นแทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549
พลตํารวจโท สุวัฒน์ ธํารงศรีสกุล
ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง | 4,354 |
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 608/2549 เรื่อง การมอบอำนาจในการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว | คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
ที่ 608/2549
เรื่อง การมอบอํานาจในการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้น
การตรวจลงตรา เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
---------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2545 และกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2546 กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นการตรวจลงตราตามมาตรา 12 (1) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ไว้แล้วนั้น
เพื่อให้การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราประเภทต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และมาตรา 11 (4) แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 จึงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ มีอํานาจอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามประเภทของการยกเว้นการตรวจลงตราดังนี้
ข้อ ๑ ผู้ถือหนังสือเดินทางของประเทศที่รัฐบาลของประเทศนั้นได้ทําความตกลงไว้กับรัฐบาลไทยตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2545 ข้อ 13 (1) ให้อนุญาตตามกําหนดระยะเวลาที่รัฐบาลของประเทศนั้นได้ทําความตกลงไว้กับรัฐบาลไทย
ข้อ ๒ ผู้ถือหนังสือเดินทางซึ่งเดินทางมาจากประเทศที่ไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยตั้งอยู่ตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2545 ข้อ 13 (2) ให้อนุญาตไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๓ ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งมีสัญชาติของประเทศที่รัฐมนตรีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ข้อ 13 (3) ดังนี้
3.1 ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งมีสัญชาติของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนํา 7 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น ให้อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้หลายครั้ง โดยให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
3.2 ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งมีสัญชาติของประเทศนอกเหนือจาก 3.1 ให้อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้หลายครั้ง โดยให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่เป็นการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
สําหรับคนชาติมาเลเซียที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ให้อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้หลายครั้ง โดยให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๔ ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการประชุมหรือการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2545 ข้อ 13 (4) ให้อนุญาตไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๕ ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของประเทศสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก และมีบัตรเดินทางสําหรับนักธุรกิจเอเปค ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อประกอบธุรกิจ ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2545 ข้อ 13 (5) ให้อนุญาตไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ข้อ ๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคําสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549
พลตํารวจเอก โกวิท วัฒนะ
ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ | 4,355 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 1/2549 เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับการควบรวมกองทุน และการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชำระหนี้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 1/2549
เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับการควบรวมกองทุน และ
การจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้
หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการกองทุนรวมในกรณีที่ผู้ออกตราสารแห่งหนี้หรือลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องผิดนัดชําระหนี้ ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 44/2545 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2545
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 12/2547 เรื่อง การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ข้อ ๒ ให้ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 1 รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง หรือหนังสือเวียนในเรื่องดังกล่าวออกใช้บังคับ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,356 |
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 327/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว | คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
ที่ 327/2557
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าว
ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
---------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติที่ 543/2549 ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2549 มอบอํานาจในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 35 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 777/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 และคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติที่ 368/2556 ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (4) แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ จึงออกคําสั่งกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 35 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
1.1 คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 777/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
1.2 คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 368/2556 ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เพิ่มเติม)
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคําสั่งอื่นใด ในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในคําสั่งนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๒ หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ต่อในราชอาณาจักรกรณีมีเหตุจําเป็นครั้งละไม่เกิน 1 ปี ตามนัยมาตรา 35 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ต่อในราชอาณาจักรท้ายคําสั่งนี้ สําหรับรายการเอกสารประกอบการพิจารณาให้สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองกําหนดเป็นคําสั่งและรายงานสํานักงานตํารวจแห่งชาติเพื่อทราบ ทั้งนี้ ตามเหตุผลและความจําเป็นในแต่ละกรณี ๆ ไป
ข้อ ๓ ในระหว่างการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ต่อในราชอาณาจักรตามข้อ 2 ให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักรไปพลางก่อนได้ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตรานัดฟังผลเพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่รอฟังผลได้หลายครั้งตามความจําเป็น แต่รวมแล้วไม่เกิน 30 วัน นับถัดจากวันอนุญาตสิ้นสุด
ข้อ ๔ กรณีที่คนต่างด้าวผู้ยื่นคําขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในคําสั่งนี้ให้แจ้งคําสั่งไม่อนุญาตและให้คนต่างด้าวเดินทางกลับภายใน 7 วัน นับถัดจากวันอนุญาตสิ้นสุด
ข้อ ๕ กรณีคนต่างด้าวผู้ยื่นคําขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในคําสั่งนี้หรือในกรณีอื่น ๆ ที่ไม่ได้กําหนดไว้ในคําสั่ง ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตั้งแต่ระดับสารวัตรขึ้นไปเห็นว่าคนต่างด้าวรายใดมีเหตุจําเป็นต้องอยู่ในราชอาณาจักร ให้พิจารณาเสนอผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาคําขอของคนต่างด้าวต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557
พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
รองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ รักษาราชการแทน
ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ | 4,357 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 8/2549 เรื่อง การจัดทำและการเปิดเผยงบการเงินของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 8 /2549
เรื่อง การจัดทําและการเปิดเผยงบการเงินของ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ไม่รวมถึงผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอื่น
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
“ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาใช้ในการยื่นรายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญากับสํานักงาน ก.ล.ต.
ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดทําและส่งงบการเงินประจํางวดการบัญชีสําหรับรอบระยะเวลาหกเดือนและรอบระยะเวลาหนึ่งปี ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วต่อสํานักงาน ก.ล.ต. จํานวนหนึ่งฉบับ พร้อมทั้งดําเนินการดังนี้
(1) เปิดเผยงบดุล งบกําไรขาดทุน และรายงานของผู้สอบบัญชีเพื่อให้ประชาชนตรวจดูได้ ณ ที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา
(2) ลงประกาศงบดุล งบกําไรขาดทุน และรายงานของผู้สอบบัญชีในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ตลอดจนส่งสําเนาหนังสือพิมพ์ฉบับที่ได้มีการลงประกาศดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. จํานวนหนึ่งฉบับ
การดําเนินการตามวรรคหนึ่งสําหรับงบการเงินประจํางวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของปีบัญชีต้องกระทําให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชี และสําหรับงบการเงินประจํางวดการบัญชีรอบระยะเวลาหนึ่งปีต้องกระทําให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบเอ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น แต่ระยะเวลาทั้งหมดต้องไม่เกินสี่เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชี ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดทํางบการเงินตามแบบแนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบงบการเงินสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยถือปฏิบัติตาคําชี้แจงท้ายประกาศดังกล่าวด้วย
ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาประสงค์จะยื่นงบการเงินตามข้อ 3 ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญายื่นงบการเงินดังกล่าวผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญา โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและเปิดเผยงบการเงินตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หากผู้ประกอบธุรกิจสัญญาได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมายดังกล่าวและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจสัญญาได้ปฏิบัติตามประกาศนี้ด้วยแล้ว
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําและการเปิดเผยงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดหลังวันที่ 31 มีนาคม 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,358 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 9/2549 เรื่อง การเปิดทำการและหยุดทำการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 9/2549
เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของ
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
------------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ข้อ ๒ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องเปิดทําการตามเวลาและหยุดทําการตามวันที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เปิดทําการหรือหยุดทําการในเวลาหรือวันอื่น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการเปิดทําการและหยุดทําการของ
(1) สํานักงานในต่างประเทศของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ
(2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอื่น
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,359 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 11/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 11/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงาน
ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 61/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
“ประกาศ ที่ กธ. 42/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ประกาศ ที่ กธ. 43/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๓ ให้นําความในข้อ 4 ข้อ 4/1 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 14 ข้อ 25และข้อ 26 ของประกาศ ที่ กธ. 42/2543 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ โดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุน
ข้อ ๔ ให้นําความในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 12 ข้อ 16 ข้อ 20 และข้อ 21ของประกาศ ที่ กธ. 43/2543 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็น ตราสารแห่งหนี้ โดยอนุโลม
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 3 เฉพาะในส่วนที่ให้นําความในข้อ 4/1 ของประกาศ ที่ กธ. 42/2543 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,360 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 16/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 16 /2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้น
เพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 98(7)(ข) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 15/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อหรือมีหุ้นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดตามข้อ 2(6) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ สํานักงานจะผ่อนผันให้บริษัทจัดการซื้อหรือมีหุ้นของบริษัทใด ๆ ได้ ต่อเมื่อการซื้อหรือมีหุ้นดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นเงินลงทุนระยะยาวเกินกว่าหนึ่งปี
(2) เป็นเงินลงทุนที่มิได้เกิดจากการเพิ่มทุนโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงเพื่อซื้อหรือมีหุ้นดังกล่าว และ
(3) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (PROPRIETARY TRADING) ตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุนและหลักเกณฑ์ในการป้องกัน
บริษัทจัดการที่ได้รับการผ่อนผันตามวรรคหนึ่งต้องถือหุ้นที่ลงทุนในหรือมีไว้เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหุ้นนั้น เว้นแต่คณะกรรมการของบริษัทจัดการเห็นว่ามีเหตุจําเป็นอันสมควรที่จะต้องจําหน่ายหุ้นนั้นก่อนเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องรายงานการจําหน่ายหุ้นพร้อมทั้งหลักฐานแสดงการพิจารณาความจําเป็นอันสมควรของคณะกรรมการของบริษัทจัดการในการจําหน่ายหุ้นก่อนเวลาให้แก่สํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่มีการจําหน่ายหุ้นดังกล่าว
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลสามารถบริหารเงินทุนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวสามารถซื้อหรือมีหุ้นได้ หากการซื้อหรือมีหุ้นเป็นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (PROPRIETARY TRADING ) ตามปกติ และไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับกองทุนซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทหลักทรัพย์นั้น | 4,361 |
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 649/2556 เรื่อง มอบอำนาจในการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว | คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
ที่ 649/2556
เรื่อง มอบอํานาจในการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา
เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
--------------------------------------------------------------------
ตามที่ได้มีคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติที่ 778/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยให้ยกเลิกความในข้อ 3. ของคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติที่ 608/2549 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 เรื่อง การมอบอํานาจในการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เสียใหม่ให้เหมาะสม อาศัยอํานาจตามมาตรา 11 (4) แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติจึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติที่ 778/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เรื่อง มอบอํานาจในการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“3. ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งมีสัญชาติของประเทศที่รัฐมนตรีกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ข้อ 13 (3) ดังนี้
3.1 ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งมีสัญชาติของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนํา 7 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น ให้อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้หลายครั้ง โดยให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
3.2 ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งมีสัญชาติของประเทศนอกเหนือจาก 3.1 ให้อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้หลายครั้ง โดยให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่เป็นการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
สําหรับคนชาติมาเลเซียที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ให้อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้หลายครั้ง โดยให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร”
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคําสั่งอื่นใด ในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในคําสั่งนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556
พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ | 4,362 |
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 368/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เพิ่มเติม) | คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
ที่ 368/2556
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าว
ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เพิ่มเติม)
-----------------------------------------------------------
ตามที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ได้มีคําสั่ง ที่ 777/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามเหตุแห่งความจําเป็นข้อ 2.7 กรณีเป็นครู หรืออาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษาเอกชน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการกําหนดจํานวนครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในระบบ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
นอกจากนี้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามเหตุแห่งความจําเป็นข้อ 2.25 กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาลหรือการพักฟื้น หรือเพื่อดูแลผู้ป่วย ให้รองรับกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการตรวจการยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตาม ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11 (4) แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ประกอบตามมาตรา 35 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จึงให้ยกเลิกความในข้อ 2.7 และข้อ 2.25 ของหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ต่อในราชอาณาจักรแนบท้ายคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 777/2551 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 และให้ใช้ความตามตารางแนบท้ายคําสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556
พลตํารวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ | 4,363 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 24/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กธ. 24/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงาน
ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการควบคุมการปฏิบัติงานในการจัดจําหน่าย หลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์
“ประกาศ ที่ กธ. 42/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 42/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
“ประกาศ ที่ กธ. 43/2543” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 43/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543
ข้อ ๓ ให้นําความในข้อ 4 ข้อ 4/1 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 14 ข้อ 25ข้อ 25/1 และข้อ 26 ของประกาศ ที่ กธ. 42/2543 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้ โดยอนุโลม
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุน
ข้อ ๔ ให้นําความในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 12 ข้อ 16 ข้อ 20 ข้อ 20/1 และข้อ 21 ของประกาศ ที่ กธ. 43/2543 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ โดยอนุโลม
ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 3 เฉพาะในส่วนที่ให้นําความในข้อ 4/1 ของประกาศ ที่ กธ. 42/2543 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,364 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ/น/ข. 28/2549 เรื่อง แก้ไขข้อกำหนดลักษณะต้องห้ามของบุคลากรภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ/น/ข. 28/2549
เรื่อง แก้ไขข้อกําหนดลักษณะต้องห้ามของบุคลากรภายใต้
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 35 และมาตรา 41(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน พ.ศ. 2545 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้แก้ไขข้อความว่า “เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ในประกาและแบบท้ายประกาศดังต่อไปนี้ เป็นข้อความว่า “เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน”
(1) ข้อ 4(3)(ค) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2544 เรื่อง คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(2) ข้อ 3(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 43/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546
(3) ข้อ 3(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2548 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
(4) ข้อ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการกระทําความผิดของแบบรับรองประวัติการปฏิบัติตามกฎหมายของบุคคลที่จะเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ของบริษัทจัดการเงินร่วมลงทุนท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 21/2545 เรื่อง แบบคําขอรับความเห็นชอบจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน แบบคําขอและแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,366 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 30/2549 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์และการประกอบการเป็นสำนักหักบัญชี | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 30/2549
เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขาย
หลักทรัพย์และการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชี
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 205 มาตรา 206 มาตรา 207 มาตรา 222 และมาตรา 223 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 10/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2538
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 16/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2539
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 27/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้และการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีสําหรับหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,367 |
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 607/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในฐานะตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว | คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
ที่ 607/2549
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในฐานะตามมาตรา 15 แห่ง
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
--------------------------------------------------
เพื่อให้การพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในฐานะตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เป็นไปตามข้อตกลงและแนวทางการปฏิบัติระหว่างประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และมาตรา 11 (4) แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 จึงกําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในฐานะตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติของสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
1.1 “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในสังกัดสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง
1.2 “ผู้รับมอบอํานาจ” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติมอบหมายให้มีอํานาจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
ข้อ ๒ การอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งอยู่ในฐานะตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จะกระทําได้ต่อเมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอันถูกต้องสมบูรณ์อยู่ และทางราชการไทยให้การรับรองและได้รับการตรวจลงตราหรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราดังนี้
2.1 ถือหนังสือเดินทางทูต (DIPLOMATIC PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางราชการ (OFFICIAL/SERVICE/SPECIAL PASSPORT) หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UNITED NATIONS LAISSEZ-PASSER) ที่ได้รับการตรวจลงตราหรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามที่รัฐบาลของประเทศนั้นได้ทําความตกลงไว้กับรัฐบาลไทย
2.2 ถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) และได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (NON - IMMIGRANT VISA category F)
2.3 ถือหนังสือเดินทางธรรมดา (ORDINARY PASSPORT) และได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเพื่อการต่าง ๆ นอกจากข้อ 2.2
ข้อ ๓ เป็นผู้ที่เดินทางเข้ามาตามช่องทาง ด่านตรวจคนเข้าเมือง เขตท่า สถานี หรือท้องที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด และผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๔ การประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร หรือการอนุญาตให้อยู่รอฟังผลการพิจารณาคําขอที่ได้ยื่นไว้ ต้องไม่เกินกว่าอายุของหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางนั้น
ข้อ ๕ การพิจารณาอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และรายการเอกสาร ดังต่อไปนี้
| | | |
| --- | --- | --- |
| เหตุแห่งความจําเป็น | หลักเกณฑ์การพิจารณา | รายการเอกสาร |
| 5.1 เป็นบุคคลในคณผู้แทนทางทูต (ตามมาตรา 15 (1) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522) ให้อนุญาตตามกําหนดระยะเวลาตามความจําเป็น | (1) เป็นบุคคลในคณะผู้แทนทางทูตซึ่งรัฐบาลต่างประเทศส่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร หรือซึ่งเดินทางผ่านราชอาณาจักรเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอื่น และ(2) ถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตรา หรือยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 และ(3) ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ | 1. สําเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออยู่ต่อ2.หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ |
| 5.2 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างฝ่ายกงสุล (ตามมาตรา 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522) ให้อนุญาตตามกําหนดระยะเวลาตามความจําเป็น | (1) เป็นพนักงานฝ่ายกงสุลหรือลูกจ้างฝ่ายกงสุล ซึ่งรัฐบาลต่างประเทศส่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร หรือซึ่งเดินทางผ่านราชอาณาจักรเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอื่น และ(2) ถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตรา หรือยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 และ(3) ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ | 1. สําเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออยู่ต่อ2. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ |
| 5.3 เป็นบุคคลซึ่งรัฐบาลต่างประเทศโดยความเห็นชอบของรัฐบาลไทยให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชอาณาจักร (ตามมาตรา 15 (3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522)- กรณีถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตราหรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 ให้อนุญาตตามความจําเป็น- กรณีถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตราตามข้อ 2.3 ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปี | (1) เป็นบุคคลซึ่งรัฐบาลต่างประเทศโดยความเห็นชอบของรัฐบาลไทยให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชอาณาจักร และ(2) ถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตราหรือยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 และ(3) ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า | 1. สําเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออยู่ต่อ2. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า |
| 5.4 เป็นบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจในราชอาณาจักรตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (ตามมาตรา 15 (4) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522)- กรณีถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตราหรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 ให้อนุญาตตามความจําเป็น- กรณีถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตราตามข้อ 2.3 ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปี | (1) เป็นบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจในราชอาณาจักรเพื่อรัฐบาลไทย ตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ และ(2) ถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตรา หรือยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 และ(3) ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า | 1. สําเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออยู่ต่อ2. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า3. บันทึกความตกลงที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ |
| 5.5 เป็นหัวหน้าสํานักงานหรือพนักงาน หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือบุคคลอื่นซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในราชอาณาจักรตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ (ตามมาตรา 15 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522)- กรณีถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตราหรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 ให้อนุญาตตามความจําเป็น- กรณีถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตราตามข้อ 2.3 ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปี | (1) เป็นหัวหน้าสํานักงานขององค์การหรือทบวงการระหว่างประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองการดําเนินงานในประเทศไทย หรือซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว หรือเป็นพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลอื่น ซึ่งองค์การ หรือทบวงการตามวรรคแรก แต่งตั้ง หรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจในราชอาณาจักรเพื่อองค์การ หรือทบวงการดังกล่าว หรือเพื่อรัฐบาลไทยตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศนั้น และ(2) ถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตรา หรือยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 และ(3) ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า | 1. สําเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออยู่ต่อ2. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า |
| 5.6 เป็นคู่สมรส หรือบุตรซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือน (ตามมาตรา 15 (6) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522)- กรณีถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตราหรือได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 ให้อนุญาตตามความจําเป็น- กรณีถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตราตามข้อ 2.3 ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปี | (1) เป็นคู่สมรส หรือบุตรซึ่งอยู่ในความอุปการะ และเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลตามมาตรา 15 (1) (2) (3) (4) หรือ (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และ(2) ถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตรา หรือยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 และ(3) ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า | 1. สําเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออยู่ต่อ2. หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า |
| 5.7 เป็นคนรับใช้ส่วนตัว (ตามมาตรา 15 (7) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522)ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปี | (1) เป็นคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางจากต่างประเทศ เพื่อมาทํางานประจําเป็นปกติ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลตามมาตรา 15 (1) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลซึ่งได้รับเอกสิทธิเท่าเทียมกันกับบุคคลซึ่งมีตําแหน่งทางทูตตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือกับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ และ(2) ถือหนังสือเดินทางและได้รับการตรวจลงตรา หรือยกเว้นการตรวจลงตราตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 และ(3) ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ | 1. สําเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออยู่ต่อ2.หนังสือรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ |
ข้อ ๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคําสั่งอื่นใด ในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในคําสั่งนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549
พลตํารวจเอก โกวิท วัฒนะ
ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ | 4,368 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 31/2549 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 31/2549
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 14 มาตรา 34(1) มาตรา 35 มาตรา 40(11) มาตรา 41(3) และ (4) มาตรา 42(10) มาตรา 43(3) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 5 และมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2544 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2545 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 14/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 33/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 9/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2548
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2548
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 12 ตุลาคม
พ.ศ. 2548
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 4/2546 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 22/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547
(10) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548
(11) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 27/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2548
(12) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 42/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(13) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 59/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
(14) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(15) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 54/2547 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
(16) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 41/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(17) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 58/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
(1) คําว่า “ตั๋วเงิน” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(2) “ตราสารหนี้” หมายความว่า หุ้นกู้และตั๋วเงิน
(3) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(4) “หุ้นกู้แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้ที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้
(5) “โครงการ” หมายความว่า โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(6) “หุ้นกู้อนุพันธ์” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มูลค่าผลตอบแทนที่ชําระขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งปัจจัยอ้างอิงดังกล่าวไม่ใช่อัตราดอกเบี้ย
(ข) มูลค่าต้นเงินทั้งหมดหรือบางส่วนที่ไถ่ถอนขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า หรือ
(ค) ให้สิทธิผู้ออกในการไถ่ถอนต้นเงินหรือจ่ายผลตอบแทน หรือให้สิทธิผู้ถือในการได้รับชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่หุ้นที่ออกใหม่โดยผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์หรือทรัพย์สินอื่น
(7) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้
(8) “ข้อกําหนดสิทธิ” หมายความว่า ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้
(9) “การเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า การเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ และมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ให้จํากัดอยู่เฉพาะผู้ลงทุนดังกล่าว
(10) “สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย” หมายความว่า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยที่ได้รับใบอนุญาตและจดทะเบียนกับสํานักงาน
(11) “ตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน” หมายความว่า ตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
(12) “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า หุ้นกู้ไม่มีประกันที่มีการกําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
(13) “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” หมายความว่า บุคคลที่อยู่ในฐานะที่อาจมีโอกาสล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงอันเนื่องมาจากการมีโครงสร้างการถือหุ้นหรือการจัดการร่วมกับบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง
(ข) มีบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงเป็นผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ค) มีผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกับผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ง) มีกรรมการหรือผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง
(จ) มีโครงสร้างการถือหุ้นหรือการจัดการในลักษณะอื่นใดที่แสดงให้เห็นได้ว่าผู้ที่ประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตมีอํานาจควบคุมบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง หรือมีบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงเป็นผู้มีอํานาจควบคุม หรือมีผู้มีอํานาจควบคุมเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีอํานาจควบคุมบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง
การนับรวมจํานวนหุ้นตาม (ก) (ข) (ค) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวด้วย และในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นนิติบุคคล ให้นับรวมการถือหุ้นของกรรมการและผู้บริหารในสายงานที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ของนิติบุคคลดังกล่าวด้วย
(14) “การใช้สิทธิแปลงสภาพ” หมายความว่า การแปลงสภาพแห่งสิทธิในหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้น ไม่ว่าการแปลงสภาพดังกล่าวจะเกิดจากการใช้สิทธิแปลงสภาพหรือเกิดจากข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ
(15) “นิติบุคคลเฉพาะกิจ” หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะได้กระทําภายใต้พระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 หรือไม่ก็ตาม
(16) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ค) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
(17) “ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้” (servicer) หมายความว่า ผู้ที่ให้บริการเรียกเก็บและรับชําระหนี้ที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง และดําเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(18) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ของบริษัท ซึ่งให้รวมถึงการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นที่รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวอาจมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีประกาศใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ซึ่งรวมถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังต่อไปนี้
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย
ข้อ ๕ ให้บริษัทเสนอขายตราสารหนี้ที่มีกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
ข้อ ๖ ในกรณีเป็นการเสนอขายตั๋วเงิน หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามหมวดนี้ประกอบหมวด 3 ให้กระทําได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว
ข้อ ๗ ให้บริษัทที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานที่สํานักงานประกาศกําหนด และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขออนุญาตในอัตราคําขอละ 30,000 บาท
กรณีการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น ผู้ขออนุญาตต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงต่อสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมในอัตราคําขอละ 10,000 บาท ในวันที่ยื่นคําขอ โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดลักษณะของหุ้นอ้างอิงที่ได้รับยกเว้น
ไม่ต้องยื่นคําขอตรวจสอบดังกล่าวต่อสํานักงานไว้ด้วยก็ได้
ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด
ข้อ ๘ ในการพิจารณาคําขอ ให้สํานักงานมีอํานาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขอมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอไม่ประสงค์จะขออนุญาตเพื่อเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
ข้อ ๙ ในการพิจารณาว่าคําขออนุญาตใดมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายตราสารหนี้มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่า ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายตราสารหนี้นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ตามคําขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน
(2) ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตได้ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก็ได้
(ก) ประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนของผู้ขออนุญาตในการปฏิบัติ และมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น
(ข) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
(ค) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน
ข้อ ๑๐ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาลักษณะของผู้ขออนุญาตตามข้อ 11 ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ในกรณีเป็นการยื่นคําขออนุญาตเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ ให้ผู้ยื่นคําขอปฏิบัติตามข้อ 57 และสํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน
ข้อ ๑๑ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นนิติบุคคลที่มีสถานะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
(ก) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือ
(ข) ธนาคารต่างประเทศ ซึ่งมีสาขาที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์เป็นสาขาเต็มรูปแบบในประเทศไทยเป็นผู้ดําเนินการขออนุญาตต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ธนาคารต่างประเทศดังกล่าวจะต้องมีความรับผิดในการชําระหนี้ต่อเจ้าหนี้ของตนจากทรัพย์สินของตนโดยสิ้นเชิง
(2) มีงบการเงินและงบการเงินรวม ประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ที่ถูกต้อง และจัดทําขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศตาม (1)(ข) งบการเงินและงบการเงินรวม ประจํางวดการบัญชีปีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขอ ต้องถูกต้องและการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ International Financial Reporting Standards (IFRS) หรือ Financial Accounting Standards (FAS) หรือ United States Generally Accepted Accounting Principle (US GAAP) หรือมาตรฐานการบัญชีอื่นที่สํานักงานยอมรับ
(3) ไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ หรือไม่อยู่ระหว่างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรายงานต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 57 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 57 แล้วแต่กรณี หรือไม่อยู่ระหว่างการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมาตรา 58 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 58 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน
(4) มีผู้บริหารที่มีรายชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศ ผู้ขออนุญาตต้องมีผู้บริหารที่ดํารงตําแหน่งในสาขาในประเทศไทย ที่มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง
(5) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม
(6) ไม่เคยเสนอขายตราสารหนี้โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตอย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับแก่กรณี
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ในระหว่างระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ผู้ขออนุญาตต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้เพิ่มเติมจากลักษณะตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (6)
(1) กรณีที่จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นราคาทองคํา ดัชนีราคาทองคํา หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผู้ขออนุญาตต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ทําธุรกรรมเกี่ยวกับอนุพันธ์ที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นราคาหรือดัชนีราคาทองคํา หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
(2) กรณีที่จะเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ในกรณีทั่วไปตามหมวด 2 ต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
(ก)เป็นผู้ได้รับอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
(ข) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตหรือมิใช่ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจตาม (ก) จะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1. มีกระแสรายรับหรือรายจ่ายเกิดจากธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์
2. มีธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับราคาสินค้าหรือดัชนีราคาสินค้าซึ่งจะเป็นปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์
3. ยื่นหนังสือต่อสํานักงานเพื่อยืนยันว่าก่อนดําเนินการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ผู้ขออนุญาตจะมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives position) กับผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจตาม (ก) เพื่อป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นจากการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในระหว่างระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต นอกจากลักษณะตาม (1) ถึง (6) แล้ว ผู้ขออนุญาตต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดด้วย
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายตราสารหนี้เฉพาะในกรณีจํากัดตามหมวด 3 หรือประสงค์จะเสนอขายเฉพาะตั๋วเงินระยะสั้นหรือหุ้นกู้ระยะสั้นที่ไม่ใช่หุ้นกู้แปลงสภาพระหว่างระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ผู้ขออนุญาตไม่จําต้องมีลักษณะเป็นไปตามวรรคหนึ่ง (2) (4) และ(5)
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง(5) หรือ (6) ในการแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาต ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการพิจารณาคําขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคํานึงถึงความมีนัยสําคัญของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้าม หรือการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตต่อผู้ขออนุญาต
เมื่อพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อผู้ยื่นคําขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดแล้ว มิให้สํานักงานนําข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการสั่งการตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาคําขอในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สํานักงานเห็นว่าเหตุที่ทําให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตมีลักษณะไม่เป็นไปตามข้อ 11 วรรคหนึ่ง (5) หรือ (6) เป็นเรื่องไม่ร้ายแรง หรือได้มีการแก้ไขหรือกําหนดมาตรการป้องกันแล้วสํานักงานอาจไม่นําข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขาดคุณลักษณะดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้
ข้อ ๑๓ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ สามารถเสนอขายตราสารหนี้ ได้ทุกลักษณะโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขาย ภายในระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติตามวรรคสองและวรรคสาม เพื่อให้การอนุญาตมีผลสมบูรณ์ก่อนการเสนอขายในแต่ละครั้ง
ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ในแต่ละครั้ง หากผู้ได้รับอนุญาตได้ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่จะเสนอขายตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ครั้งนั้นมีผลสมบูรณ์ ณ วันที่มีการยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน และในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) จากสํานักงานในวันเดียวกัน แต่ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ต้องมีการตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ดังกล่าวจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อสํานักงานได้แจ้งยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิงแล้ว
ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ สํานักงานจะแจ้งผลการตรวจสอบและเอกสารหลักฐานที่ผู้ได้รับอนุญาตยื่นต่อสํานักงานเพื่อให้การอนุญาตมีผลสมบูรณ์ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่การยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน
ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ การขออนุญาตและการอนุญาตจะกระทําเป็นรายโครงการ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ตามหมวด 6 ของประกาศนี้
ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขายตราสารหนี้
(1) สําเนาข้อกําหนดสิทธิ
(2) สําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(3) หนังสือยอมรับการแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนหุ้นกู้ (ถ้ามี)
(4) สําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(5) สําเนาสัญญาหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการซึ่งได้ยื่นเป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ในกรณีการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ
ข้อ ๑๕ ระหว่างระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งผลการอนุญาต หากบริษัทมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 11 หรือข้อ 44 วรรคหนึ่ง หรือไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขตามประกาศนี้ได้ ให้บริษัทแจ้งเหตุดังกล่าวต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุนั้น
ข้อ ๑๖ เมื่อปรากฏว่าบริษัทใดไม่สามารถแก้ไขเหตุที่ทําให้คุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 11 หรือข้อ 44 วรรคหนึ่งได้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรือจงใจหรือเพิกเฉยไม่แจ้งเหตุดังกล่าวต่อสํานักงาน หรือเสนอขายตราสารหนี้โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามประกาศนี้อย่างมีนัยสําคัญ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งยกเลิกสิทธิของบริษัทในการเสนอขายตราสารหนี้สําหรับระยะเวลาที่เหลืออยู่
คําสั่งของสํานักงานตามวรรคหนึ่งไม่กระทบต่อการบังคับตามกฎหมายระหว่างคู่สัญญาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ที่ได้ออกไปก่อนหรือหลังวันที่คําสั่งของสํานักงานมีผลบังคับ
หมวด ๒ การเสนอขายตราสารหนี้ในกรณีทั่วไป
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไป
ข้อ ๑๗ ตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายตามหมวดนี้ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามที่กําหนดไว้ในข้อ 18 เว้นแต่เป็นการเสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้น ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(2) เป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามที่กําหนดไว้ในข้อ 19
ข้อ ๑๘ ตราสารหนี้ที่เสนอขายต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
(1) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง หรือในแต่ละโครงการ
(2) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับอนุญาต เว้นแต่จะเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ หรือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
(3) อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ําประกันตราสารหนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการค้ําประกันที่มีผลบังคับให้ผู้ค้ําประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ โดยไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกําหนดอายุของตราสารหนี้ ซึ่งรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือของผู้รับอาวัลต้นเงินและดอกเบี้ยตามตั๋วเงินเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไขด้วย
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงานว่าไม่สามารถทําการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้นั้นได้โดยมีเหตุอันสมควร และเหตุนั้นมิได้เกิดจากผู้ออกตราสารหนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้นกระทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นที่สํานักงานกําหนดได้
(2) กรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน โดยมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือเป็นกรณีที่พิจารณาได้ว่าไม่จําเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้จะต้องมีอยู่จนกว่าสิทธิเรียกร้องตามตราสารหนี้จะระงับลง เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ โดยกําหนดเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความจําเป็นของผู้ลงทุนในการมีข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องยื่นคําขอให้สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยพิจารณารับตราสารหนี้ที่ออกและเสนอขายเป็นตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันออกตราสารหนี้ดังกล่าว
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับหุ้นกู้
ข้อ ๒๐ นอกจากลักษณะตามข้อ 17 แล้ว หุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายตามหมวดนี้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหุ้นกู้ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ คําเรียกชื่อหุ้นกู้ดังกล่าวต้องแสดงถึงปีที่ครบกําหนดไถ่ถอน และลักษณะพิเศษของหุ้นกู้ (ถ้ามี) ไว้โดยชัดเจน
(2) ออกตามข้อกําหนดสิทธิที่เป็นไปตามข้อ 21
(3) มีการกําหนดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างแน่นอน หรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น เว้นแต่เป็นหุ้นกู้อนุพันธ์
(4) มีมูลค่าไถ่ถอนรวมเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหุ้นกู้นั้นจะมีการไถ่ถอนครั้งเดียวหรือหลายครั้ง เว้นแต่เป็นหุ้นกู้อนุพันธ์
(5) มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นไปตามข้อ 22 เว้นแต่เป็นหุ้นกู้ที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ซึ่งเสนอขายโดยมิได้จัดให้มีหลักประกันสําหรับหุ้นกู้ และมิได้จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(ก) เป็นหุ้นกู้ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(ข) เป็นหุ้นกู้ระยะสั้น
ข้อ ๒๑ ข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ต้องมีความชัดเจน ไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และมีการลงลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ออกหุ้นกู้และประทับตราสําคัญของผู้ออกหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทั้งนี้ รายการและสาระสําคัญของข้อกําหนดสิทธิสําหรับหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามหมวดนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางของข้อกําหนดสิทธิตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๒๒ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่จัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีความชัดเจน ไม่มีข้อกําหนดที่เป็นการเอาเปรียบคู่สัญญาอย่างไม่เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อกําหนดสิทธิ โดยอย่างน้อยต้องมีรายการและสาระสําคัญดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา
(2) วันที่สัญญามีผลใช้บังคับ
(3) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา โดยมีข้อตกลงที่ระบุให้ผู้ขออนุญาตและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้มีอํานาจ หน้าที่ และความรับผิดตามข้อกําหนดสิทธิทุกประการ
(4) อัตราและวิธีการจ่ายค่าตอบแทน หรือบําเหน็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งต้องกําหนดไว้เป็นจํานวนที่แน่นอน รวมทั้งอัตราและวิธีการจ่ายคืนเงินทดรองซึ่งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้จ่ายไปเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อกําหนดภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
(5) การสิ้นสุดของสัญญา
ข้อ ๒๓ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ต้องมีการกําหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ออกหุ้นกู้กับผู้ถือหุ้นกู้ในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้ด้อยสิทธินั้นอย่างชัดเจน โดยหุ้นกู้นั้นต้องเป็นหุ้นกู้ที่กําหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ด้อยกว่าสิทธิของเจ้าหนี้สามัญเฉพาะในเรื่องการรับชําระหนี้ตามหุ้นกู้นั้นเมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ออกหุ้นกู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย หรือ
(2) มีการชําระบัญชีเพื่อการเลิกบริษัท หรือ
(3) กรณีอื่นใดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน
ข้อ ๒๔ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท(perpetual bond) ผู้ออกหุ้นกู้ต้องระบุให้ชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกบริษัท
ความในข้อนี้มิได้เป็นการห้ามมิให้ผู้ออกหุ้นกู้ให้สิทธิผู้ถือหุ้นกู้ในการเรียกให้ผู้ออกหุ้นกู้ไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวก่อนมีการเลิกบริษัท แต่ในกรณีเช่นว่านี้ผู้ออกหุ้นกู้ต้องระบุถึงสิทธิดังกล่าว ตลอดจนเงื่อนไขและระยะเวลาที่ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธินั้นไว้ให้ชัดเจนในข้อกําหนดสิทธิ
ข้อ ๒๕ ในกรณีหุ้นกู้ที่เสนอขายเป็นหุ้นกู้มีประกันไม่ว่าหลักประกันของหุ้นกู้นั้นจะได้จัดให้มีพร้อมกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือจัดเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง หลักประกันของหุ้นกู้ดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นทรัพย์สินหรือการค้ําประกันที่มีการดําเนินการให้มีผลบังคับได้ตามกฎหมายโดยคํานึงถึงสภาพของหลักประกันแต่ละประเภท สามารถดํารงได้ตลอดอายุหุ้นกู้ และดูแลได้โดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
(2) ในกรณีที่หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสัญญาเช่าระยะยาว ผู้ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประเมินค่าของหลักประกันดังกล่าวโดยผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การประเมินราคาหรือการคํานวณมูลค่าของหลักประกันต้องคํานึงถึงสิทธิและภาระผูกพันใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยบทกฎหมายหรือโดยสัญญาที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นด้วย และต้องจัดทําขึ้นไม่เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่ออกหุ้นกู้นั้นเว้นแต่จะเป็นกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของหลักประกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ผู้ออกหุ้นกู้จัดให้มีการประเมินค่าหลักประกันดังกล่าวใหม่
ข้อ ๒๖ ในกรณีการออกหุ้นกู้มีประกันโดยหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดําเนินการจดทะเบียนให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เป็นผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นประกันตามกฎหมายด้วย
ข้อ ๒๗ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่หุ้นกู้ที่เสนอขายต้องเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ และในการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความในใบหุ้นกู้ที่แสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะทําให้ผู้ถือหุ้นกู้เป็นบุคคลอื่นนอกจากผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองด้วย
ข้อ ๒๘ ในการเปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้ ให้ผู้ออกหุ้นกู้ส่งเอกสารต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
เมื่อผู้ออกหุ้นกู้ได้ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานครบถ้วนแล้ว ให้ผู้ออกหุ้นกู้เปลี่ยนแปลงผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว และให้ผู้ออกหุ้นกู้ส่งสําเนาสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นั้น
ข้อ ๒๙ การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หรือหลักประกันตามหุ้นกู้ภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดขอประกาศนี้และการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวได้ดําเนินการโดยชอบตามข้อกําหนดสิทธิ โดยผู้ออกหุ้นกู้ต้องแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวพร้อมทั้งส่งสําเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่การดําเนินการตามวรรคหนึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิซึ่งได้กําหนดให้กระทําได้โดยการมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงสาเหตุแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ และผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้
ส่วน ๓ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับตั๋วเงิน
ข้อ ๓๐ ตั๋วเงินที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามหมวดนี้ ต้องเป็นตั๋วเงินระยะสั้น
ข้อ ๓๑ นอกจากลักษณะตามข้อ 17 แล้ว ในกรณีเป็นการเสนอขายตั๋วเงิน ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความ “ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายในกรณีทั่วไป” อยู่บนด้านหน้าตั๋ว และในกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่จะต้องจัดให้มีข้อความ “โดยเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่และมีวัตถุประสงค์ให้เปลี่ยนมือได้เฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกันไว้ด้วย
ข้อ ๓๒ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายตั๋วเงินตามหมวดนี้ รายงานการชําระหนี้ตามตั๋วเงิน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
หมวด ๓ การเสนอขายตราสารหนี้ในกรณีจํากัด
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับหุ้นกู้
ข้อ ๓๓ การเสนอขายหุ้นกู้ต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีมูลค่าการเสนอขายไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
(2) เสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ
ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองหุ้นกู้แทนบุคคลอื่น การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหุ้นกู้นั้น
(3) เสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
(4) เสนอขายโดยได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยบริษัทที่จะได้รับอนุญาตต้องแสดงได้ว่า
(ก) มีเหตุจําเป็นและสมควร
(ข) การเสนอขายดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และ
(ค) มีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
ข้อ ๓๔ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตต้องจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ที่จะเสนอขาย ซึ่งแสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าทอดใด ๆ หากการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวจะทําให้หุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนั้นไม่สามารถคงลักษณะตามข้อ 33(1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ข้อ ๓๕ ในกรณีเป็นการขอผ่อนผันเพื่อเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามข้อ 33(4) บริษัทที่ขอผ่อนผันต้องแสดงได้ถึงเหตุจําเป็นและสมควรของกรณีดังกล่าว การไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และการมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ และสํานักงานอาจผ่อนผันมิให้นําหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขกําหนดไว้ในส่วนนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มาใช้บังคับกับการเสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวก็ได้เท่าที่จําเป็น โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน
ข้อ ๓๖ หุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายต้องเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือและมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 20(1) (3) และ (4)
(2) เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในข้อ 23 และข้อ 24 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือหุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond)
ข้อ ๓๗ ในการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ให้ผู้ได้รับอนุญาตดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีข้อความในใบหุ้นกู้ที่เสนอขายแต่ละครั้ง แสดงว่าผู้ออกหุ้นกู้จะไม่รับจดทะเบียนการโอนหุ้นกู้ไม่ว่าในทอดใด ๆ หากการโอนนั้นจะขัดกับข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ตามที่ระบุไว้ ซึ่งต้องเป็นข้อจํากัดการโอนเดียวกับที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน
(2) จัดให้เอกสารประกอบการเสนอขาย (ถ้ามี) มีข้อความที่ระบุถึงข้อจํากัดการโอนตาม (1) และในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ให้ระบุการด้อยสิทธินั้นไว้ให้ชัดเจน
ข้อ ๓๘ ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตโฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าว และหากจะมีการแจกจ่ายเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือมีจํานวนอยู่ภายในขอบเขตที่กําหนดไว้ในข้อ 33(1) (2) (3) หรือ (4) ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ข้อ ๓๙ ในกรณีที่มีบุคคลใดแสดงความประสงค์ต่อผู้ได้รับอนุญาตที่จะลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบความถูกต้องของการโอนหุ้นกู้ หากพบว่าเป็นการโอนที่ขัดต่อข้อจํากัดการโอนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสํานักงาน ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ เว้นแต่เป็นการโอนทางมรดก
ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจัดให้มีนายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการ ให้นายทะเบียนหุ้นกู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับตั๋วเงิน
ข้อ ๔๐ การเสนอขายตั๋วเงินต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ตั๋วเงินที่บริษัทออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ ไม่จํากัดจํานวนและมูลค่า
(2) ตั๋วเงินที่สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากผู้ลงทุนสถาบันอื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ทั้งนี้ ไม่จํากัดจํานวนและมูลค่า
ให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วเงินตามวรรคหนึ่ง ยื่นรายงานสรุปมูลค่ารวมของตั๋วเงินที่ยังมิได้มีการชําระหนี้ให้แก่ผู้ทรงหรือผู้ถือ ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายตั๋วเงินเป็นครั้งแรกตามประกาศนี้ โดยปฏิบัติตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด
(3) ตั๋วเงินที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) หรือ (2) ซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่งเมื่อนับรวมตั๋วเงินทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัท
ข้อ ๔๑ ตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายตามหมวดนี้ต้องมีข้อความ “ตั๋วเงินนี้เป็นหลักทรัพย์ และได้รับอนุญาตให้เสนอขายในกรณีจํากัด” บนด้านหน้าของตั๋วเงิน
นอกจากข้อความตามวรรคหนึ่งแล้ว ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายตามข้อ 40(2) ให้ผู้ออกตั๋วเงินจัดให้มีข้อความเพิ่มเติมว่า “โดยเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่” รวมทั้งต้องจัดให้มีข้อความ “และเปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “และมีวัตถุประสงค์ให้เปลี่ยนมือได้เฉพาะในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่” หรือคําอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกันไว้ด้วย
หมวด ๔ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับ
หุ้นกู้อนุพันธ์
ข้อ ๔๒ นอกจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามหมวด 1 ประกอบหมวด 2 เมื่อเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป หรือหมวด 1 ประกอบหมวด 3 เมื่อเป็นการเสนอขายในกรณีจํากัดแล้ว บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในหมวดนี้ด้วย
ข้อ ๔๓ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายต้องมีปัจจัยอ้างอิงใดปัจจัยอ้างอิงหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ไทย กลุ่มหลักทรัพย์ไทย หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ไทย
(2) ราคาหรือผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ (organized market) หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ต่างประเทศดังกล่าว เฉพาะกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(3) กระแสรายรับหรือรายจ่าย
(4) ราคาสินค้าหรือดัชนีราคาสินค้า
(5) ราคาทองคําหรือดัชนีราคาทองคํา
(6) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(7) อันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) หรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ (credit events) ของตราสารหนี้ พันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้อื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน หรืออันดับความน่าเชื่อหรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ของผู้ออกตราสารดังกล่าวหรือของลูกหนี้ของผู้ขออนุญาต
(8) ปัจจัยอ้างอิงอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
ข้อ ๔๔ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้น ผู้ขออนุญาตต้องไม่เป็นบุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความเป็นธรรมและระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ใน
ตลาดหลักทรัพย์ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดลักษณะของหุ้นที่จะนํามาใช้เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับการออกและเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยส่งมอบเป็นหุ้นได้
สํานักงานสามารถผ่อนผันข้อกําหนดที่ห้ามมิให้ผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามข้อนี้ได้ เมื่อไม่มีเหตุให้สงสัยว่าการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ขออนุญาตจะมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ขออนุญาตมีข้อกําหนดให้มีการชําระหนี้ทั้งหมดโดยการส่งมอบเป็นหุ้นอ้างอิงหรือชําระเป็นเงินเท่านั้น แต่ทั้งนี้ ในกรณีที่จะชําระเป็นเงิน มูลค่าที่ต้องชําระต้องไม่อ้างอิงกับหุ้นอ้างอิงดังกล่าว และ
(2) ผู้ขออนุญาตแสดงได้ว่ามีหุ้นอ้างอิงในจํานวนที่เพียงพอสําหรับส่งมอบเพื่อชําระหนี้ตามหุ้นกู้อนุพันธ์ และมีกลไกในการดูแลรักษาหุ้นอ้างอิงดังกล่าว โดยกลไกนั้นจะต้องสามารถป้องกันมิให้มีการนําหุ้นอ้างอิงไปใช้เพื่อการอื่นได้
ข้อ ๔๕ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่เสนอขายต้องมีมูลค่าไถ่ถอนรวมของหุ้นกู้อนุพันธ์ไม่ต่ํากว่าร้อยละแปดสิบของมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(2) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ในกรณีจํากัดตามหมวด 3 ประกอบหมวดนี้
(3) เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันเป็นการเฉพาะจากสํานักงาน
หมวด ๕ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับ
หุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับ
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไป
ข้อ ๔๖ นอกจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามหมวด 1 ประกอบหมวด 2 เมื่อเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป หรือหมวด 1 ประกอบหมวด 3 เมื่อเป็นการเสนอขายในกรณีจํากัดแล้ว บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในหมวดนี้ด้วย
ในกรณีที่หุ้นกู้แปลงสภาพที่จะเสนอขายเข้าลักษณะเป็นหุ้นกู้อนุพันธ์ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามหมวด 4 ด้วย
ข้อ ๔๗ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้รวมถึงการขออนุญาตและอนุญาตให้เสนอขายหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพด้วย
ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต้องดําเนินการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพภายในอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่อาจใช้สิทธิแปลงสภาพได้แล้ว ให้การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพในส่วนที่ไม่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ ๔๘ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพและหุ้นรองรับตามประกาศนี้ต้อง
(1) ได้จัดให้มีหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อขออนุมัติการออกหุ้นเพื่อ
รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยหนังสือนัดประชุมดังกล่าวต้องระบุข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในข้อ 50
(2) ได้รับมติโดยชัดแจ้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอ และมตินั้นได้มาไม่เกินหนึ่งปีก่อนวันที่ยื่นสําเนามติดังกล่าวต่อสํานักงานเพื่อการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ
(3) เป็นการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีหุ้นรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัท ในจํานวนไม่เกินอัตราส่วนที่กําหนดในข้อ 49 เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเนื่องจากบริษัทอยู่ในภาวะที่มีความจําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท หรือได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากเป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม
(ข) มีการกําหนดราคาและอัตราแปลงสภาพไว้อย่างแน่นอนและไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 51
(ค) ในกรณีที่มีข้อกําหนดบังคับแปลงสภาพ หรือข้อกําหนดที่ให้สิทธิบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกําหนด ข้อกําหนดนั้นต้อง
1. มีความเป็นธรรม ชัดเจน และเหตุแห่งการเรียกให้ใช้สิทธิก่อนกําหนดจะอ้างอิงเหตุการณ์หรือการกระทําที่อยู่ในอํานาจควบคุมของบุคคลใด ๆ ไม่ได้
2. กําหนดให้บริษัทต้องบังคับแปลงสภาพหรือเรียกให้มีการใช้สิทธิแปลงสภาพเมื่อมีเหตุการณ์ที่กําหนดไว้
3. มีมาตรการที่เพียงพอซึ่งทําให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพในทอดต่อ ๆ ไปทราบถึงข้อกําหนดดังกล่าว
(ง) ต้องมีระยะเวลาให้แสดงความจํานงในการใช้สิทธิแปลงสภาพครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันใช้สิทธิ เว้นแต่เป็นการแปลงสภาพตามข้อกําหนดบังคับการแปลงสภาพ
(4) ส่งเอกสารดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน
(ก) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และ
(ข) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(5) มีคุณลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน
(6) ในกรณีที่การกําหนดราคาใช้สิทธิแปลงสภาพเข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําและอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ บริษัทที่จะได้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําด้วย
ข้อ ๔๙ จํานวนหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ขออนุญาตเสนอขายในครั้งนี้ เมื่อรวมกับจํานวนหุ้นที่บริษัทจัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นในครั้งอื่น ต้องไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
การคํานวณจํานวนหุ้นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) จํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ให้รวมถึงจํานวนหุ้นอื่นนอกจากหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งบริษัทจะเสนอขายควบคู่กับหุ้นกู้แปลงสภาพในครั้งนี้ (ถ้ามี)
(2) จํานวนหุ้นที่บริษัทได้จัดไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นไม่ให้รวมถึงจํานวนหุ้นเพื่อรองรับการเสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน
ข้อ ๕๐ หนังสือนัดประชุมตามข้อ 48(1) ต้องระบุข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพ เช่น ราคาหรืออัตราที่คาดว่าจะเป็นราคาหรืออัตราการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันสิ้นสุดของการใช้สิทธิ และเหตุให้ต้องออกหุ้นใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น
(2) ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท (dilution effect) หากมีการใช้สิทธิแปลงสภาพครบถ้วนตามหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว โดยอย่างน้อยให้ระบุผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (price dilution) เมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพ ผลกระทบต่อส่วนแบ่งกําไร และผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (control dilution)
(3) วิธีการจัดสรรหุ้นกู้แปลงสภาพ
(4) ข้อมูลอื่นใดที่สํานักงานประกาศกําหนดโดยคํานึงถึงการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท
ส่วน ๒ การเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ
และการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกําหนดสิทธิ
ข้อ ๕๑ นอกจากรายการและสาระสําคัญที่กําหนดไว้ในข้อ 21 แล้ว ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องจัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพ รวมทั้งวิธีการคํานวณการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อมิให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม เมื่อมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพอันเป็นผลมาจากการรวมหุ้นหรือแบ่งแยกหุ้น
(2) เมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ใด ๆ ในราคาที่ต่ํากว่าราคาหุ้นที่คํานวณตามวิธีที่ใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายหุ้นนั้นหรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายหุ้นนั้น และเป็นวิธีการคํานวณราคาที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ หรือหนังสือที่ให้ไว้กับผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ
(3) เมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพใด ๆ โดยกําหนดราคาหรือคํานวณราคาของหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นต่ํากว่าราคาหุ้นที่คํานวณโดยใช้ราคาตลาดในขณะเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น หรือราคาตลาดในช่วงก่อนการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น ทั้งนี้ ตามวิธีการคํานวณราคาที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ
(4) เมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจ่ายเงินปันผลทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น
(5) เมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจ่ายเงินปันผลเป็นเงินซึ่งเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ในข้อกําหนดสิทธิ
(6) เมื่อมีกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกับ (1) ถึง (5) ที่ทําให้ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับเมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับเหตุการณ์เฉพาะเจาะจงที่เข้าลักษณะตาม (1) ถึง (6) ซึ่งได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน โดยแสดงได้ว่าจะมีมาตรการอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ลงทุนในทุกทอดทราบก่อนการลงทุนว่า ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจะไม่ดําเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว
เมื่อมีเหตุการณ์ที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าว เป็นลายลักษณ์อักษรให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธินั้น
ข้อ ๕๒ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพไม่ว่าจะด้วยเหตุที่กําหนดไว้ในประกาศนี้หรือไม่ก็ตาม หากผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพต้องออกหุ้นที่ออกใหม่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิดังกล่าว ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจะสามารถขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพได้ยื่นมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ออกหุ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพอย่างเพียงพอต่อสํานักงานแล้ว
ข้อ ๕๓ ให้ผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพจัดให้ข้อกําหนดสิทธิมีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับ ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถจัดให้มีหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพได้
ในการกําหนดค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเป็นจํานวนไม่ต่ํากว่าส่วนต่างของราคาตลาดของหุ้นของบริษัทซึ่งเป็นประเภทเดียวกับหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพในวันที่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพ กับราคาที่คํานวณได้จากอัตราการแปลงสภาพ
ข้อ ๕๔ การแก้ไขเพิ่มเติมให้หุ้นกู้มีสิทธิแปลงสภาพภายหลังการออกหุ้นกู้นั้น จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ในการนี้ ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๕๕ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ในกรณีทั่วไปตามหมวด 2 ประกอบหมวดนี้ หรือเป็นการเสนอขายในกรณีจํากัดตามหมวด 3 ประกอบหมวดนี้ มิให้นําข้อกําหนดหรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้มาใช้บังคับ
(1) ข้อกําหนดบังคับแปลงสภาพตามข้อ 48(3)(ค)
(2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้สิทธิแปลงสภาพครั้งสุดท้ายตามข้อ 48(3)(ง)
(3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามข้อ 48(5)
(4) เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพตามข้อ 51
(5) ข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับ ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถจัดให้มีหุ้นเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพได้ตามข้อ 53
หมวด ๖ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับการเสนอขาย
หุ้นกู้ตามโครงการ
ส่วน ๑ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไป
ข้อ ๕๖ นอกจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามหมวด 1 ประกอบหมวด 2 เมื่อเป็นการเสนอขายในกรณีทั่วไป หรือหมวด 1 ประกอบหมวด 3 เมื่อเป็นการเสนอขายในกรณีจํากัดแล้ว บริษัทที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในหมวดนี้ด้วย
ข้อ ๕๗ ให้บุคคลที่จะเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากสํานักงานและบริษัทที่จะเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจยื่นคําขออนุมัติโครงการและคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่มาพร้อมกันในแต่ละครั้งก่อนเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๕๘ มีสิทธิเสนอโครงการ (originator) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นนิติบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) สถาบันการเงิน
(ข) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ค) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ง) บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด
(2) มีผู้บริหารที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารเป็นไปตามข้อ 11(4) โดยอนุโลม
(3) มีผู้มีอํานาจควบคุมที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 11(5) โดยอนุโลม
ข้อ ๕๙ โครงการที่จะได้รับอนุมัติจากสํานักงานต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) สินทรัพย์ที่จะโอนไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องเป็นสิทธิเรียกร้องไม่ว่าประเภทใด ๆ ของผู้ยื่นโครงการที่ก่อให้เกิดกระแสรายรับในอนาคต หรือสิทธิอื่นใดที่ผู้เสนอโครงการสามารถแสดงได้อย่างชัดเจนว่าจะก่อให้เกิดกระแสรายรับในอนาคต โดยสิทธิเรียกร้องหรือสิทธิอื่นใดดังกล่าวต้องเป็นประเภทเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องกัน และผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องแสดงได้ว่าจะไม่เพิกถอนสิทธิหรือกระทําการใด ๆ ที่จะมีหรืออาจมีผลให้สิทธินั้นด้อยลง
(2) หุ้นกู้ที่จะออกและเสนอขายตามโครงการต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 17 และข้อ 20 และต้องไม่เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพหรือหุ้นกู้อนุพันธ์
(3) ในกรณีที่จะมีการลงทุนหรือหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับที่เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้อง ซึ่งสามารถกระทําได้ตามข้อ 64(3) ต้องกําหนดแนวทางและวิธีการลงทุนหรือการหาผลประโยชน์นั้นไว้อย่างชัดเจน
(4) จัดให้มีผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ (servicer)โดยอาจจัดให้มีผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (backup servicer) ด้วยก็ได้
ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้หรือผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) ที่ไม่ใช่ผู้เสนอโครงการ ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) สถาบันการเงิน
(ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(ค) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตามกฎหมายหรือนโยบายของทางการ หรือ
(ง) นิติบุคคลที่มีลักษณะตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความสามารถในการให้บริการหรือการจัดให้มีระบบเพื่อรองรับการเรียกเก็บหนี้
(5) ระบุแผนการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการให้ชัดเจน
ข้อ ๖๐ นิติบุคคลเฉพาะกิจจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ ก็ต่อเมื่อนิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวไม่เคยได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการอื่น เว้นแต่สิทธิเรียกร้องตามหุ้นกู้ดังกล่าวจะระงับไปทั้งหมดแล้ว
เมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงาน นิติบุคคลเฉพาะกิจอาจเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เสนอขายหุ้นกู้รุ่นหนึ่งหรือหลายรุ่นในคราวเดียว
(2) เสนอขายหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้รุ่นเดิมภายใต้วงเงินที่ระบุไว้ตามโครงการ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้เดิมนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) มีกําหนดระยะเวลาการไถ่ถอนไว้ไม่เกินอายุโครงการ
(ข) เป็นหุ้นกู้ที่เสนอขายภายใต้ข้อกําหนดสิทธิหลักฉบับเดียวกันหรือที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกใหม่ไม่ด้อยไปกว่าผู้ถือหุ้นกู้รุ่นเดิมที่จะไถ่ถอน ทั้งนี้ หุ้นกู้แต่ละรุ่นอาจมีข้อกําหนดในเชิงพาณิชย์ (commercial terms) ที่แตกต่างกันได้ เช่น อัตราดอกเบี้ย อายุ วันที่ออก วันที่ครบกําหนดไถ่ถอน เป็นต้น
สํานักงานอาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อนี้ได้ หากผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจแสดงได้ว่าการออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่ขออนุญาตจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นกู้ที่นิติบุคคลเฉพาะกิจเคยออกและเสนอขายไปแล้ว
ข้อ ๖๑ สัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้อย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ ดังต่อไปนี้
(1) การจัดให้มีระบบบัญชีสําหรับการปฏิบัติหน้าที่และจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องแยกต่างหากจากส่วนงานอื่นของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้
(2) หน้าที่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้รายเดิมในการดําเนินการใด ๆ เพื่อให้ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้รายใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ โดยต้องกําหนดเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ไว้ให้ชัดเจน
(3) การโอนเงินที่เรียกเก็บได้จากสินทรัพย์เข้าบัญชีของนิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งต้องกระทําโดยเร็วที่สุด แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวันทําการนับแต่วันที่เรียกเก็บเงินได้ดังกล่าว โดยต้องกําหนดข้อห้ามนําเงินซึ่งได้รับมาเพื่อนิติบุคคลเฉพาะกิจไปใช้เพื่อการอื่นใด ในกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจมีข้อตกลงที่จะหักกลบลบหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์กับผู้เสนอโครงการซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ด้วย ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้มีสิทธิหักค่าซื้อสินทรัพย์จากเงินที่เรียกเก็บได้แต่ต้องโอนเงินส่วนที่เหลือเข้าบัญชีของนิติบุคคลเฉพาะกิจภายในระยะเวลาเดียวกัน
(4) การจัดทําและนําส่งรายงานเป็นรายไตรมาส ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการเรียกเก็บเงินจากสินทรัพย์ และยอดสินทรัพย์คงเหลือของโครงการต่อนิติบุคคลเฉพาะกิจและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง สัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารองต้องมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารองตามวรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๖๒ นอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 21 แล้ว ข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ที่เสนอขายตามโครงการอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) รายการทั่วไปของโครงการ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุถึงชื่อและที่อยู่ของผู้เสนอโครงการ ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) รวมทั้งประเภท ลักษณะและมูลค่าของสินทรัพย์ที่นิติบุคคลเฉพาะกิจรับโอนมาจากผู้เสนอโครงการ
(2) ข้อกําหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เพื่อพิจารณาดําเนินการอันจําเป็นตามควรโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่ผู้เสนอโครงการ นิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือบุคคลอื่นใดที่เป็นคู่สัญญาที่มีภาระผูกพันตามสัญญาที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามโครงการ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาในสาระสําคัญ
(3) ข้อกําหนดให้การแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้รายใหม่ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ก่อนการแต่งตั้ง
(4) ข้อกําหนดให้นิติบุคคลเฉพาะกิจต้องรายงานให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) ทราบถึงการซื้อสินทรัพย์ รับโอน หรือโอนคืนสินทรัพย์ให้กับผู้เสนอโครงการ ภายในกําหนดระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนที่มีการทํารายการดังกล่าว
ข้อ ๖๓ นอกจากรายการและสาระสําคัญที่กําหนดไว้ในข้อ 22 แล้ว สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายตามโครงการ ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ต้องติดตามให้ผู้เสนอโครงการ นิติบุคคลเฉพาะกิจ ผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้และผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง (ถ้ามี) หรือบุคคลอื่นใดที่เป็นคู่สัญญาที่มีภาระผูกพันตามสัญญาที่ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการ ดําเนินการตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
ข้อ ๖๔ นิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ดําเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามโครงการ โดยต้องรับโอนสินทรัพย์ตามจํานวนขั้นต่ําที่ระบุไว้ในโครงการให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สํานักงานอนุมัติโครงการ ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(2) ต้องเสนอขายหุ้นกู้ตามโครงการที่ได้รับอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้รุ่นเดิมตามข้อ 60 วรรคสอง (2)
(3) ในกรณีที่มีการหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับจากสินทรัพย์ ต้องเป็นการลงทุนในธุรกรรมที่มีความเสี่ยงต่ําและมีกําหนดระยะเวลาการชําระคืนก่อนวันถึงกําหนดชําระหนี้ตามหุ้นกู้ที่กําหนดไว้ในข้อกําหนดสิทธิ และต้องไม่เป็นผลให้กระแสรายรับไม่เพียงพอต่อการชําระหนี้ดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน ซึ่งรวมถึง การลงทุนในบัตรเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ออกโดยสถาบันการเงินตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(4) รายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกําหนดไถ่ถอนต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการไถ่ถอน
ข้อ ๖๕ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายที่เข้าลักษณะตามข้อ 33(1) (2) (3) หรือ (4) หรือเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ มิให้นําข้อกําหนดดังต่อไปนี้มาใช้บังคับ
(1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมของผู้เสนอโครงการตามข้อ 58 (2) และ (3)
(2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้หรือผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้สํารอง ตามข้อ 59(4) วรรคสอง
(3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ตามข้อ 61
(4) ข้อกําหนดสิทธิของหุ้นกู้ตามข้อ 62
(5) สัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามข้อ 63
(6) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการหาผลประโยชน์จากกระแสรายรับที่เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องตามข้อ 64(3)
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ มิให้นําข้อกําหนดตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง (2) ถึง (6) มาใช้บังคับ
ส่วน ๒ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับโครงการที่จะเสนอขาย
ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
ข้อ ๖๖ ความในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามโครงการต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายมีข้อตกลงที่จะชําระดอกเบี้ย และไถ่ถอนหุ้นกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ
ข้อ ๖๗ ผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ตามส่วนนี้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) สามารถแสดงได้ว่าการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ยื่นขออนุญาตจะกระทําต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ
(2) สามารถแสดงได้ว่าการซื้อขาย หรือการโอนหุ้นกู้ที่ยื่นขออนุญาตไม่ว่าทอดใด ๆ จะกระทําในต่างประเทศ
ข้อ ๖๘ ในกรณีที่มีการจัดให้มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจต้องจัดให้มีการขอความเห็นชอบบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวจะได้รับความเห็นชอบก็ต่อเมื่อสามารถแสดงได้ว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายแห่งประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะเสนอขายหุ้นกู้นั้นหรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
(2) เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะเสนอขาย หุ้นกู้นั้น หรือประเทศที่จะนําหุ้นกู้ดังกล่าวไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อแสดงได้ว่ากฎหมายของประเทศดังกล่าวมีข้อห้ามการจัดตั้งทรัสต์
การให้ความเห็นชอบผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ตามวรรคหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้และการกระทําตามอํานาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ข้อ ๖๙ ให้ผู้เสนอโครงการและนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่แจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศภายในสามวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายโดยให้แนบหนังสือชี้ชวนไปพร้อมกับการแจ้งดังกล่าวด้วย
ส่วน ๓ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเฉพาะสําหรับโครงการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์
และความคุ้มครองตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจ
เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
ข้อ ๗๐ นอกจากที่กําหนดไว้ในข้อ 11 แล้ว นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จะได้รับอนุมัติจากสํานักงานต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีวัตถุประสงค์จํากัดเฉพาะการประกอบธุรกิจเฉพาะเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(2) มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหุ้นกู้ไปชําระให้แก่ผู้เสนอโครงการ เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการโอนสินทรัพย์ตามโครงการ
(3) มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรกระแสรายรับที่เกิดจากการรับโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องเพื่อชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตลอดอายุโครงการ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ข้อ ๗๑ นอกจากคําเรียกชื่อหุ้นกู้ตามข้อ 20(1) แล้ว หุ้นกู้ที่เสนอขายตามส่วนนี้ต้องระบุคําเรียกชื่อเป็นการเฉพาะไว้ให้ชัดเจนว่าเป็นหุ้นกู้ที่ออกภายใต้โครงการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชกําหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 รวมทั้งต้องระบุไว้ให้ชัดเจนด้วยว่าเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ ๗๒ เมื่อสถานะนิติบุคคลเฉพาะกิจสิ้นสุดลง ให้บุคคลดังกล่าวโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์คงเหลือทั้งหมดกลับคืนให้ผู้เสนอโครงการภายในสามสิบวัน นับแต่วันสิ้นสุดสถานะดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร
ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งรายงานการโอนสินทรัพย์และผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดสถานะของนิติบุคคลเฉพาะกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด
บทเฉพาะกาล - บทเฉพาะกาล
ข้อ ๗๓ คําขออนุญาตที่ได้ยื่นต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 2 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขออนุญาตและการอนุญาตยังคงเป็นไปตามประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป เว้นแต่ผู้ยื่นคําขออนุญาตจะได้แจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ถึงความประสงค์ที่จะอยู่ภายใต้บังคับข้อกําหนดในการขออนุญาตและการอนุญาตตามประกาศนี้
ข้อ ๗๔ ให้หุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 2 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๗๕ ให้หุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๗๖ ให้หุ้นกู้แปลงสภาพที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ และหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพ และการอนุญาต ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๗๗ ให้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับภายใต้ประกาศนี้ และประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป
(1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2545 เรื่อง ข้อกําหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2545
(2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบ และการยืนยันการใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิง ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 39/2547 เรื่อง กําหนดลักษณะผู้ลงทุนเพื่อประโยชน์ตามประกาศเกี่ยวกับตั๋วเงิน ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2547
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,369 |
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 543/2549 เรื่อง การมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 | คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
ที่ 543/2549
เรื่อง การมอบอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
---------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงคําสั่งกรมตํารวจ ที่ 707/2540 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2540 เรื่อง การมอบอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 474/2548 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เรื่อง การมอบอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพิ่มเติม เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 26 วรรคสอง มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 47 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ จึงออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
1.1 คําสั่งกรมตํารวจ ที่ 707/2540 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2540 เรื่อง การมอบอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
1.2 คําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 474/2548 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เรื่อง การมอบอํานาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพิ่มเติม
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคําสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับคําสั่งนี้ ให้ใช้คําสั่งนี้แทน
ข้อ ๒ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นต้องทําการตรวจพาหนะ ณ ที่อื่นนอกจากที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติประกาศกําหนด ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นผู้อนุญาต
ข้อ ๓ การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบมีอํานาจอนุญาตตามประเภทการตรวจลงตรา (VISA) ที่คนต่างด้าวได้รับดังนี้
3.1 คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (TRANSIT VISA) ให้อนุญาตไม่เกินสามสิบวัน
3.2 คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (COURTESY VISA) ให้อนุญาตดังนี้
3.2.1 กรณีคนต่างด้าวถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ ให้อนุญาตไม่เกินเก้าสิบวัน
3.2.2 กรณีคนต่างด้าวเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ ให้อนุญาตตามกําหนดระยะเวลาตามความจําเป็น
3.3 คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว (TOURIST VISA) ให้อนุญาตไม่เกินเก้าสิบวัน
3.4 คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON - IMMIGRANT VISA) โดยมีรหัสกํากับตามวัตถุประสงค์ ให้อนุญาตไม่เกินหนึ่งปี
3.5 คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภททูต (DIPLOMATIC VISA) ให้อนุญาตตามกําหนดระยะเวลาตามความจําเป็น
3.6 คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทราชการ (OFFICIAL VISA) ให้อนุญาตตามกําหนดระยะเวลาตามความจําเป็น
3.7 การอนุญาตตามข้อ 3.1 ถึง 3.6 นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ อนุญาตได้เพียงครั้งเดียว
ข้อ ๔ ในกรณีที่คนต่างด้าวมีเหตุจําเป็นจะต้องอยู่ในราชอาณาจักรเกินกําหนดระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตามข้อ 3 ได้อนุญาตไว้แล้ว ให้ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองเป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต ทั้งนี้ หากพิจารณาอนุญาตก็ให้อนุญาตให้อยู่ต่อไปได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้
4.1 กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 34 (1) หรือ (2) ให้อนุญาตให้อยู่ต่อไปได้ตามกําหนดระยะเวลาตามความจําเป็น
4.2 กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 34 (7) ให้ อนุญาตให้อยู่ต่อไปได้ตามกําหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาเห็นสมควร
ข้อ ๕ คนต่างด้าวที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา หรือเป็นบุคคลสัญชาติที่ได้ทําความตกลงให้ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา รวมทั้งคนชาติของประเทศที่ขอรับการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง เมื่ออยู่ในราชอาณาจักรครบกําหนดแล้ว แต่มีเหตุจําเป็นจะต้องอยู่ต่อเกินกว่าระยะเวลาตามที่กําหนด ให้ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นผู้มีอํานาจในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต ทั้งนี้ หากพิจารณาอนุญาตก็ให้อนุญาตให้อยู่ต่อไปได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งปี
ข้อ ๖ อํานาจในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามข้อ 4 และข้อ 5 นั้น ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองจะมอบให้ข้าราชการตํารวจชั้นสัญญาบัตร ในสังกัดสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ต่อไปก็ได้ โดยให้ขอรับความเห็นชอบจากผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติก่อน
ข้อ ๗ ให้ผู้บัญชาการสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง มีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับสารวัตร มีอํานาจออกใบสําคัญถิ่นที่อยู่ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
ข้อ ๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับรองสารวัตรขึ้นไป มีอํานาจหน้าที่ทําการจับกุมและปราบปรามผู้กระทําผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยให้มีอํานาจออกหมายเรียก หรือควบคุมผู้กระทําผิด และให้มีอํานาจสอบสวนตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2549
พลตํารวจเอก โกวิท วัฒนะ
ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ | 4,370 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 44/2543
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 63(5) มาตรา 64(2) และ (3) มาตรา 67 มาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2539 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2539
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 18/2540 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2540
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 22/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 38/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2541
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 48/2541เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์(ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ข้อ ๓ ในประกาศนี้และในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ท้ายประกาศนี้
(1) “หลักทรัพย์” หมายความว่า พันธบัตร หุ้น หุ้นกู้ หรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ
(2) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(3) “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
(4) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระคืนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ
(5) “หุ้นกู้หมุนเวียนระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระคืนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ซึ่งบริษัทได้ขอและได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายได้หลายครั้งภายในวงเงินและระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน
(6) “หลักทรัพย์ที่เคยเสนอขายต่อประชาชน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์ได้เคยยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์นั้นได้นําหลักทรัพย์ดังกล่าวเสนอขายต่อประชาชนแล้วภายหลังแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
(7) “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า การใช้สิทธิแปลงสภาพตามหุ้นกู้แปลงสภาพ การใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น การใช้สิทธิซื้อหุ้นกู้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ การใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ แล้วแต่กรณี
(8) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(9) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
(10) “บริษัทใหญ่” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ข) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ง) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้น
การถือหุ้นของบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(11) “บริษัทย่อย” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ง) บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(จ) บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) มีอํานาจควบคุมในเรื่องการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทนั้น
การถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(12) “บริษัทร่วม” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ข) บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า
การถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(13) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนตามมาตรา 258(1) ถึง (7) โดยอนุโลม
(14) “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ค) ผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(ง) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิทอื่น
(จ) นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น หรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสําคัญ
(15) “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(16) “คณะกรรมการตรวจสอบ” หมายความว่า กรรมการของบริษัทมหาชนจํากัดที่คณะกรรมการของบริษัทแต่งตั้งให้ทําหน้าที่เป็นกรรมการตรวจสอบตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดําเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
(17) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(18) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
(ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท
(ข) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทนั้นได้
(ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายการจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท
(ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น
(19) “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” หมายความว่า บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่
(20) “งบการเงินรวม” หมายความว่า งบการเงินรวมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทย่อย
(21) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ตามหมวด 2 เว้นแต่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวด 1
ข้อ ๕ การยื่นหรือการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้หมายความรวมถึงการยื่นหรือการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้น หุ้นกู้ หรือหุ้นอ้างอิงที่รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพด้วย
หมวด ๑ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ส่วน ๑ หลักทรัพย์ที่ได้รับการยกเว้น
ข้อ ๖ ให้หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้เป็นหลักทรัพย์ที่มิให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในหมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับ
(1) หุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ
(2) หน่วยลงทุนที่เสนอขายโดยเจ้าของหลักทรัพย์ โดยหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(3) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน ซึ่งมีลักษณะและการเสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนซึ่งเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และเสนอขายพร้อมหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(ข) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนซึ่งเสนอขายโดยเจ้าของหลักทรัพย์ และใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวได้เสนอขายครั้งแรกพร้อมหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(4) หลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ และหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ที่เคยเสนอขายต่อประชาชนซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวมีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56
(ข) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ และบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ทําข้อตกลงไว้กับสํานักงานยินยอมที่จะปฏิบัติดังนี้
1. จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56
2. รายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อมีเหตุการณ์ตามมาตรา 57
(5) หุ้นกู้ระยะสั้น
ส่วน ๒ ลักษณะการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับการยกเว้น
ข้อ ๗ การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งในจํานวนเงินหรือต่อบุคคลในวงจํากัด ซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของหุ้นดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายหุ้นนั้นเป็นเกณฑ์
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นแก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสามสิบห้ารายภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
(3) การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทอื่นนอกจากหุ้นแก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงณ ขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อนับรวมกับจํานวนผู้ถือหลักทรัพย์ดังกล่าวทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีจํานวนไม่เกินสามสิบห้าราย
(4) การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นนิติบุคคลตาม (ฌ)
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฐ) กองทุนรวม
(ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) โดยอนุโลม
(ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหลักทรัพย์ตามที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นในมูลค่าตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายเป็นเกณฑ์
(5) การเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยผู้ขายและผู้ซื้อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นนั้น
การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหุ้นตาม (1) หรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตาม (2) หรือ (3) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนตาม (4) หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นตาม (5) ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากันในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
ผู้ลงทุนตาม (4)(ก) ถึง (ฉ) ซึ่งได้หลักทรัพย์มาจากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง หากประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์นั้นต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ที่มิใช่ผู้ลงทุนตาม (4) ให้ผู้ลงทุนดังกล่าวยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามหมวด 2 แม้ว่าการเสนอขายนั้นจะเข้าลักษณะตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) ก็ตาม
ในกรณีที่ผู้ลงทุนตาม (4) ประสงค์จะเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ที่มิใช่ผู้ลงทุนตาม (4) ผู้ลงทุนดังกล่าวต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามหมวด 2 แม้ว่าการเสนอขายนั้นจะเข้าลักษณะตาม (3) ก็ตาม
ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามข้อ 7(1) (2) และ (3) ให้ถือว่าเจ้าของหลักทรัพย์หลายรายที่ร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งออกโดยบริษัทเดียวกันเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์เพียงหนึ่งราย ทั้งนี้ การร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้รวมถึงพฤติการณ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายเสนอขายหลักทรัพย์ในราคาและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และ
(2) ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
(ข) เจ้าของหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย หรือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว
(ค) เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ของเจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายในที่สุดไปสู่บุคคลเดียวกัน
(ง) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายใช้ใบจองซื้อหลักทรัพย์หรือตัวแทนรับจองซื้อหลักทรัพย์ร่วมกัน โดยมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้จองซื้อหลักทรัพย์มิได้คํานึงว่าตนได้จองซื้อหลักทรัพย์จากเจ้าของหลักทรัพย์รายใด
ข้อ ๙ การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้น หรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหมวด 2 มิให้ถือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 7(4)
เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม ให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการเสนอขายที่มิให้ถือเป็นการเสนอขายแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามวรรคหนึ่งข้อ 7(4)
(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ให้กองทุนรวมนั้นเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น ในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในหลักทรัพย์ที่เสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ
(ข) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานพร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสารหลักฐานประกอบ และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะในครั้งนั้นได้
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๑๐ การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ โดยเจ้าของหลักทรัพย์ที่เข้าถือหลักทรัพย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเนื่องจากการปฏิบัติตามนโยบายของทางการเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินหรือรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน และประสงค์จะขายหลักทรัพย์นั้นตามนโยบายของทางการ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะ ดังนี้
(ก) กระทรวงการคลัง
(ข) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ค) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ง) หน่วยงานของรัฐ
(จ) บุคคลที่เข้าถือหลักทรัพย์เนื่องจากได้รับการร้องขอจากบุคคลตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง)
(2) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนซึ่งรู้หรือควรได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานของบริษัทนั้นได้อย่างเพียงพอตามสมควรแล้ว
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานพิจารณาอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) ความเพียงพอของข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่เปิดเผยอยู่เป็นการทั่วไป หรือในตลาดรองของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
(2) วิธีการกําหนดราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
ข้อ ๑๑ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่เสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) วันที่เสนอขายหลักทรัพย์
(2) ชื่อเฉพาะของหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(3) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหลักทรัพย์ที่ขายได้ทั้งหมด
(4) ราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย
(5) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อหลักทรัพย์ และจํานวนที่ผู้ซื้อหลักทรัพย์แต่ละรายได้รับจัดสรร
หมวด ๒ การยื่นและการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูล
และร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๒ การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานจํานวนห้าชุด พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(1) แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์นอกจากกรณีตาม (2)
(2) แบบ 69-dw ท้ายประกาศนี้ กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ในกรณีที่ผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวไม่จําต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนอีก
ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว และผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ในส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน
ข้อ ๑๓ ก่อนปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้วต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น
การปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง กรณีเป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพให้หมายถึงการปิดการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้น
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใดในต่างประเทศ โดยมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศนั้น เมื่อมีการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันในประเทศไทย ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไม่น้อยกว่ารายละเอียดของข้อมูลที่ได้เปิดเผยในการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นในต่างประเทศ
ข้อ ๑๕ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) ได้ หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นแสดงได้ว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อมูลนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๑๖ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ข้อ ๑๗ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์และที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลดังกล่าวทุกคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราสําคัญของนิติบุคคลนั้นด้วย เว้นแต่
(1) ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรทําให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลบางรายไม่สามารถลงลายมือชื่อขณะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานได้ และเมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อทันทีเพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 19
(2) ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นแสดงต่อสํานักงานได้ว่า ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลดังกล่าวรายใดอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่จําต้องจัดให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลรายดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์ ผู้เสนอขาย หลักทรัพย์ต้องจัดให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลด้วย
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่เจ้าของหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนตามข้อ 12 ให้เจ้าของหลักทรัพย์จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่าบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นทราบถึงการเสนอขายหลักทรัพย์ของเจ้าของหลักทรัพย์ต่อสํานักงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ทราบถึงหน้าที่ที่จะต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56
ข้อ ๒๐ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และ มาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่ไม่เข้าลักษณะตาม (2) และ (3)
(2) เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(ข) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานภายในสามเดือนภายหลังที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว
(3) เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในสามเดือนนับแต่วันที่แบบเแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กําหนด เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นในครั้งแรก
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในข้อ 2 ไว้แล้วก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศฉบับดังกล่าวต่อไป แต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2543
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,371 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 47/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 47/2543
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 2)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 69 มาตรา 70 และมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
#### ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (20/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ (20/1) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2543
### “นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,372 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 19/2544 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 19/2544
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 3)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในหมายเหตุท้ายหัวข้อ 3 การประกอบธุรกิจของแต่ละสายผลิตภัณฑ์ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หมายเหตุ ในเรื่องการระบุชื่อลูกค้าหรือผู้จัดจําหน่าย (supplier) ที่มีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 30 ของรายได้รวมในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเดิมกําหนดให้เป็นข้อมูลที่ต้องเปิดเผยนั้น ตามแบบแสดงรายการข้อมูลนี้ไม่บังคับให้ต้องระบุชื่อ แต่หากบริษัทมีการพึ่งพิงลูกค้าหรือผู้จัดจําหน่ายรายใดที่มีบทบาทสําคัญต่อการอยู่รอดของบริษัท ก็ให้เปิดเผยเป็นปัจจัยความเสี่ยง โดยหากมีสัดส่วนเกินร้อยละ 30 ของรายได้รวมหรือยอดซื้อรวม ตามแต่กรณี ตามงบการเงินรวม ก็ให้ระบุจํานวนราย ลักษณะความสัมพันธ์และประเภทของสินค้าที่ซื้อขาย อย่างไรก็ดี หากบริษัทมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อลูกค้าหรือผู้จัดจําหน่ายให้แก่บุคคลอื่น เช่น ผู้ลงทุนหรือนักวิเคราะห์ด้านหลักทรัพย์หรือการลงทุน ก็ให้ระบุชื่อดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลด้วย เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลเท่าเทียมกันด้วย”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของหัวข้อ 5 ทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) ในกรณีที่บริษัทหรือบริษัทย่อยประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ให้แสดงราคาประเมินของที่ดินหรืออาคารที่มีไว้เพื่อขายด้วย (ไม่รวมทรัพย์สินส่วนกลางของโครงการ) โดยให้ระบุชื่อผู้ประเมินราคา วันที่ประเมินราคา และราคาประเมินไว้ด้วย โดยในกรณีที่บริษัทเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ราคาประเมินดังกล่าวต้องจัดทําไว้ไม่เกิน 1 ปีก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและถ้าการประเมินราคาที่ดินหรืออาคารใดจัดทําไว้เกิน 6 เดือนก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ให้ปรับราคาประเมินที่ดินหรืออาคารดังกล่าวตามมูลค่างานที่ได้ส่งมอบให้ลูกค้าแล้วด้วย ทั้งนี้ การประเมินราคาดังกล่าวต้องประเมินโดยผู้ประเมินราคาที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานด้วย”
ข้อ 3 ให้ผู้เสนอขายหุ้นของบริษัทดังต่อไปนี้ซึ่งได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่งของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ในส่วนที่กําหนดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
(1) บริษัทที่ประสงค์จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment)
(2) บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
=============================
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,373 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 34/2544 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 34/2544
###### เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
###### การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 4)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 64(2) และ (3) มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (5) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“(9/1) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงบริษัทมหาชนจํากัดที่เกิดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีหุ้นซึ่งจดทะเบียนไว้โดยยังมิได้เริ่มทําการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 และข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 7 การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งในจํานวนเงินหรือต่อบุคคลในวงจํากัด ซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของหุ้นดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายหุ้นนั้นเป็นเกณฑ์
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นแก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสามสิบห้ารายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
(3) การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทอื่นนอกจากหุ้นและหุ้นกู้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อนับรวมกับจํานวนผู้ถือหลักทรัพย์ดังกล่าวทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีจํานวนไม่เกินสามสิบห้าราย
(4) การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุน
ส่วนบุคคลหรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ)
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฏ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฐ) กองทุนรวม
(ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) โดยอนุโลม
(ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหลักทรัพย์ตามที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นในมูลค่าตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายเป็นเกณฑ์
เพื่อประโยชน์ตาม (4) นี้ คําว่า “หลักทรัพย์” ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ ให้หมายถึง หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ที่ออกโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(5) การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ที่มิได้อยู่ในความหมายของคําว่า “หลักทรัพย์” ตาม (4) และเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ที่มีมูลค่าที่เสนอขายไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขายให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
(ข) การเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย
(ค) การเสนอขายหุ้นกู้ต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
(ง) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามหมวด 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่
(6) การเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยผู้ขายและผู้ซื้อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นนั้น
การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็น ดังนี้
(1)การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหุ้นตามวรรคหนึ่ง (1) หรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง (2) หรือ (3) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง (4) หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นตามวรรคหนึ่ง (6) ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากันในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
(2) การนับจํานวนผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง (2) (3) หรือ (5)(ข) สําหรับหลักทรัพย์ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใด มีการถือครองหลักทรัพย์แทนบุคคลอื่น ให้นับจากบุคคลที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหลักทรัพย์นั้น
ผู้ลงทุนตาม (4)(ก) ถึง (ฉ) ซึ่งได้หลักทรัพย์มาจากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง หากประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์นั้นต่อประชาชนหรือบุคคลใดๆ ที่มิใช่ผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง (4) ให้ผู้ลงทุนดังกล่าวยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามหมวด 2 แม้ว่าการเสนอขายนั้นจะเข้าลักษณะตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) หรือ (3) ก็ตาม
ในกรณีที่ผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง (4) ประสงค์จะนําหุ้นกู้ที่ออกตามประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ มาเสนอขายต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ที่มิใช่ผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง (4) ผู้ลงทุนดังกล่าวต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามหมวด 2 แม้ว่าการเสนอขายนั้นจะเข้าลักษณะตาม (3) ก็ตาม
ข้อ 8 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามข้อ 7(1) (2) (3) และ (5)(ก) และ (ข) ให้ถือว่าเจ้าของหลักทรัพย์หลายรายที่ร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งออกโดยบริษัทเดียวกันเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์เพียงหนึ่งราย ทั้งนี้ การร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้รวมถึงพฤติการณ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) เจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายเสนอขายหลักทรัพย์ในราคาและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และ
(2) ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
(ข) เจ้าของหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย หรือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว
(ค) เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ของเจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายในที่สุดไปสู่บุคคลเดียวกัน
(ง) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เจ้าของหลักทรัพย์แต่ละรายใช้ใบจองซื้อหลักทรัพย์หรือตัวแทนรับจองซื้อหลักทรัพย์ร่วมกัน โดยมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้จองซื้อหลักทรัพย์มิได้คํานึงว่าตนได้จองซื้อหลักทรัพย์จากเจ้าของหลักทรัพย์รายใด”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12 ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามแบบดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานจํานวนห้าชุด พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ใด ๆ นอกจากกรณีตาม (3) ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ จะใช้แบบ 69-1 หรือแบบ 69-2 ท้ายประกาศนี้ก็ได้
(ก) หุ้นกู้ซึ่งมิใช่หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน
(ข) หุ้นกู้ซึ่งมิใช่หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยบริษัทที่มิใช่บริษัทจดทะเบียน และมิใช่การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานเป็นครั้งแรก กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้นั้นได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กําหนด
(3) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 69-dw ท้ายประกาศนี้
ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง
(1) กรณีที่ผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน
ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว และผู้เสนอขายหลักทรัพย์ในส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน
นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน”
ข้อ 5 ในการเสนอขายหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้ ให้ผู้เสนอขายจัดให้มีคําเตือนที่มีความหมายในลักษณะทํานองว่า “การเสนอขายหุ้นในครั้งนี้มีการเสนอขายให้แก่กลุ่มบุคคลพิเศษในราคาต่ํากว่าราคาเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ผู้จองซื้อหุ้นในครั้งนี้จึงมีความเสี่ยงจากการลดลงของราคาหุ้นดังกล่าว เมื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์” เป็นลําดับแรกของคําเตือนในหน้า 1 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(1) มีวัตถุประสงค์จะนําหุ้นที่เสนอขายเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก และ
(2) มีการเสนอขายหุ้นประเภทเดียวกันต่อบุคคลใดในราคาที่ต่ํากว่าราคาที่เสนอขายในครั้งนี้ โดยการเสนอขายดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างหกเดือนก่อนการเสนอขายในครั้งนี้ และจํานวนหุ้นที่เสนอขายในระหว่างหกเดือนดังกล่าวรวมกันแล้วเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายในครั้งนี้
ข้อ 6 ให้เพิ่มแบบ 69-2 เป็นแบบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 7 ให้การเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 ของหมวด 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศนี้ หากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544
ให้เจ้าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 ของหมวด 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2537 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศนี้ หากการเสนอขายดังกล่าวเป็นการเสนอขายแก่ผู้ลงทุนที่เข้าลักษณะตามข้อ 7(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 8 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,374 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 17/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 17/2545
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 5)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 69(11) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของหัวข้อ 9 การจัดการ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การกํากับดูแลกิจการ : ให้อธิบายว่าที่ผ่านมาบริษัทมีการปฏิบัติตามหลักการของการกํากับดูแลกิจการที่ดี 15 ข้อ ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดหรือไม่ หากมีเรื่องใดที่บริษัทมิได้มีการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว ให้ระบุเรื่องที่ไม่ปฏิบัตินั้น พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบ ทั้งนี้ ในการแสดงเหตุผลประกอบดังกล่าว บริษัทอาจเลือกใช้วิธีอ้างอิงไปยังคําอธิบายที่เกี่ยวข้องในหัวข้ออื่นก็ได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย
หลักทรัพย์ต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,375 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 5/2546
###### เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
###### การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 64(2) และ (3) มาตรา 67 มาตรา 69(11มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้อนุพันธ์ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(7) “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า การใช้สิทธิแปลงสภาพตามหุ้นกู้แปลงสภาพ การใช้สิทธิส่งมอบหลักทรัพย์อ้างอิงตามหุ้นกู้อนุพันธ์ การใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น การใช้สิทธิซื้อหุ้นกู้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ การใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ แล้วแต่กรณี”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (19) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(19) “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” หมายความว่า บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ แล้วแต่กรณี”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 5 การยื่นหรือการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้หมายความรวมถึงการยื่นหรือการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้น หุ้นกู้ หรือหลักทรัพย์อื่นที่รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพด้วย”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) หุ้นกู้ระยะสั้น แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้อนุพันธ์”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
“(1/1) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งทําให้มีผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น ไม่เกินสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
(ข) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/2 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 12 ให้เป็นดังนี้
1. การเสนอขายหลักทรัพย์ทุกประเภทและทุกลักษณะที่ไม่ได้มีข้อกําหนดไว้ เป็นประการอื่นโดยเฉพาะ ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้
(2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 69-dw ท้ายประกาศนี้
(3) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่โดยบริษัทดังต่อไปนี้ซึ่งไม่ใช่หุ้นกู้แปลงสภาพ และมิใช่กรณีตาม (4) (5) (6) หรือ (7) ให้เลือกใช้แบบ 69-1 หรือแบบ 69-2 ท้ายประกาศนี้
(ก) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
(ข) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มิใช่บริษัทจดทะเบียน และในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา บริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นได้เคยยื่นแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ ต่อสํานักงานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งก่อนแล้ว
(4) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ซึ่งไม่เข้าลักษณะตาม (5) (6) หรือ (7) ให้ใช้แบบแสดงรายการข้อมูลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(ข) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลถูกต้อง และเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบ ลักษณะสําคัญ ขั้นตอน และกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ประเภท ลักษณะและคุณภาพของสินทรัพย์ที่เป็นแหล่งที่มาของกระแสรายรับที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ การเรียกเก็บกระแสรายรับจากสินทรัพย์ รูปแบบหรือวิธีการที่เป็นประกันว่าผู้ลงทุนในหุ้นกู้จะได้รับชําระหนี้คืน (credit enhancement) (ถ้ามี) โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ รวมทั้งรายละเอียดการวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(ค) มีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลเป็นไปตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม
(5) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ซึ่งมิใช่หุ้นกู้อนุพันธ์ ต่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน ให้เลือกใช้แบบ 69-1 หรือแบบ 69-2 ท้ายประกาศนี้หรือแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(ข) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลถูกต้อง และเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบ ลักษณะและเงื่อนไขของหุ้นกู้ที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ รวมทั้งโอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้
(ค) มีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลเป็นไปตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม
(6) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ ให้ใช้แบบแสดงรายการข้อมูลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีข้อมูลอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(ข) มีข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบลักษณะสําคัญของหุ้นกู้อนุพันธ์ ประเภท ลักษณะสําคัญของสิ่งอ้างอิง รูปแบบและวิธีการบริหารความเสี่ยง ข้อมูลของผู้ค้ําประกันการชําระหนี้หรือคู่สัญญาบริหารความเสี่ยง (ถ้ามี) โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระหนี้คืนตามหุ้นกู้อนุพันธ์ รวมทั้งรายละเอียดการวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธ์หรือบริษัทที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(ค) มีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลเป็นไปตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม
1. การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ระยะสั้น ให้ใช้แบบแสดงรายการข้อมูลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีข้อมูลอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
1. มีรายละเอียดการวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อนุพันธหรือบริษัทที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
2. มีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลเป็นไปตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44 /2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่มิได้กําหนดไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น
(2) เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน
(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
(ค) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายเป็นรายบริษัท เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นเป็นครั้งแรกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้ง
ความในวรรคหนึ่ง (ก) และ (ข) มิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
(3) เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กําหนด เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นในครั้งแรก
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
(4) ในวันทําการถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 12/2(5) หรือการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ระยะสั้นตามข้อ 12/2(7)
ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่โดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ได้หลายครั้งภายในวงเงินและระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด เมื่อบริษัทที่ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ระยะสั้นครั้งแรกแล้ว ในการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ระยะสั้นครั้งต่อไป ให้บริษัทปฏิบัติตามมาตรา 66”
ข้อ 9 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,376 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 10/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 10/2546
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 8)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
“(4) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 และมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวไม่จําเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้น
(ข) กําหนดวันใช้สิทธิครั้งแรกจะเกิดขึ้นหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว และ
(ค) ไม่มีการเรียกชําระราคาใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นจากผู้ถือหุ้น”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
“(8) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 12/1(4) ให้ใช้แบบแสดงรายการข้อมูลที่ลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 71(1) ถึง (4)
(ข) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลถูกต้องและเพียงพอที่จะทําให้ผู้ลงทุนทราบลักษณะสําคัญและปัจจัยความเสี่ยงของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(ค) มีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลเป็นไปตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม
ในการนี้ ผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นอาจอ้างอิงข้อมูลที่ปรากฏตามแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีล่าสุด (แบบ 56-1) หรืองบการเงินรายไตรมาสหรืองบการเงินประจํางวดการบัญชีล่าสุด ซึ่งบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นได้ยื่นต่อสํานักงานแล้วตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ แทนการระบุรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลก็ได้ แต่ทั้งนี้ ผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นต้องระบุแหล่งในการตรวจดูข้อมูลอ้างอิงดังกล่าวและต้องเพิ่มเติมข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลที่ถูกอ้างอิงให้เป็นปัจจุบันด้วย
ผู้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อข้อมูลที่อ้างอิงตามความในวรรคสองเช่นเดียวกับการนําข้อมูลนั้นมาแสดงให้ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลนั้นเอง”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการ
ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กําหนด เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นในครั้งแรก
(ค) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 12/1(4) ความในวรรคหนึ่ง (ก) และ (ข) มิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ร้อยเอก
(สุชาติ เชาว์วิศิษฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย | 4,377 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 34/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 34/2547
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการ
ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 10)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 63(5) มาตรา 64(2) และ (3) มาตรา 67 มาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) “หลักทรัพย์” หมายความว่า พันธบัตร หุ้น หุ้นกู้ หลักทรัพย์แปลงสภาพ หรือตั๋วเงิน”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) และ (4/2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
“(4/1) “ตั๋วเงิน” หมายความว่า ตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
(4/2) “ตั๋วเงินระยะสั้น” หมายความว่า ตั๋วเงินที่มีกําหนดเวลาใช้เงินไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกตั๋ว หรือตั๋วเงินที่ถึงกําหนดใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) ตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ค) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ง) บุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 8 ให้การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
1. การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ไม่ใช่หุ้นกู้ระยะสั้น ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีมูลค่าการเสนอขายรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
(ข) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบราย
1. การเสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
2. การเสนอขายหุ้นกู้ตามที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะจากสํานักงาน เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
3. การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันโดยมีมูลค่าการเสนอขายรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
1. การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งทําให้มีผู้ถือหุ้นกู้ระยะสั้นทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้ออกหุ้นกู้ระยะสั้นนั้น ไม่เกินสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
2. การเสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
3. การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ตามที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะจากสํานักงาน เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
(จ) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน และเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
1. การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
1. การเสนอขายที่ไม่เข้าลักษณะตาม 1. แต่มีการแจกจ่ายรายงานการวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ระยะสั้น ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้ระยะสั้น หรือของผู้ค้ําประกัน เป็นเอกสารประกอบการเสนอขาย
ทั้งนี้ หากเป็นการเสนอขายที่เข้าลักษณะตาม (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) 1. ต้องไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน
1. การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
2. การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งทําให้มีผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น ไม่เกินสิบราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
3. การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ออกใหม่ตามที่ได้รับการผ่อนผันเป็นการเฉพาะจากสํานักงาน เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
(4) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ เมื่อเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
1. การเสนอขายหุ้นกู้ในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
2. เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีข้อจํากัดการโอน และเสนอขายโดยไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนดังกล่าว
3. เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน และได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้นกู้ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอนนั้นแล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ยังมีหน้าที่ต้องนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในมาตรา 56 หรือบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีลักษณะและการปฏิบัติที่เป็นไปตามข้อ 6(4)(ข) ในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ โดยอนุโลม”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ.44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 8/1 ให้การเสนอขายตั๋วเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
1. การเสนอขายตั๋วเงินที่ไม่เข้าลักษณะตามข้อ 6(5) ซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อนับรวมตั๋วเงินทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัท
2. การเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน หากไม่เข้าลักษณะตามข้อ 6(5) หรือในส่วนที่เกินสิบฉบับตาม (1) ให้ได้รับยกเว้นเมื่อเป็นการเสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) การเสนอขายที่ไม่เข้าลักษณะตาม (ก) แต่มีการแจกจ่ายรายงานการวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตั๋วเงินระยะสั้น ของบริษัทที่ออกตั๋วเงินระยะสั้น หรือของผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกัน
(ค) การเสนอขายในทอดต่อ ๆ ไป สําหรับตั๋วเงินระยะสั้นที่มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก”
ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 10/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
“(5) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ให้เลือกใช้แบบ 69-1 หรือแบบ 69-2 ท้ายประกาศนี้ หรือแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(ข) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลถูกต้อง และเพียงพอที่ทําให้ผู้ลงทุนทราบลักษณะและเงื่อนไขของหุ้นกู้หรือตั๋วเงินที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน รวมทั้งโอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้
(ค) มีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลเป็นไปตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) ในวันทําการถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงินตามข้อ 12/2(5) หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ระยะสั้นตามข้อ 12/2(7)”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ หรือตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกใหม่ เฉพาะที่มีกําหนดเวลาใช้เงินไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน เมื่อบริษัทที่ออกหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นนั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานในการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้นครั้งแรกแล้ว ในการเสนอขายครั้งต่อไป ให้บริษัทปฏิบัติตามมาตรา 66 โดยอนุโลม”
ข้อ 10 หุ้นกู้ที่เสนอขายโดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล และร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ต่อไป
ข้อ 11 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,378 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 55/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 55/2547
###### เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 11)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 64(3) มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9/2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“(9/2) “สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“(5) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ซึ่งไม่ใช่หุ้นกู้อนุพันธ์ ต่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน การเสนอขายตั๋วเงินที่ออกโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ต่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น ให้เลือกใช้แบบ 69-1 หรือแบบ 69-2 ท้ายประกาศนี้ หรือแบบแสดงรายการข้อมูลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) มีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 69(1) ถึง (10) และมาตรา 70(1) ถึง (8)
(ข) ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลถูกต้อง และเพียงพอที่ทําให้ผู้ลงทุน
ทราบลักษณะและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย แหล่งที่มาของเงินที่จะนํามาชําระคืนหนี้ตามหลักทรัพย์ ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โอกาสและความเสี่ยงในการได้รับชําระคืนหนี้ และรายละเอียดการวิเคราะห์อันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
(ค) มีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลเป็นไปตามส่วนที่ 4 ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม”
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกใหม่เฉพาะที่มีกําหนดเวลาใช้เงินไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน หรือการเสนอขายตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 12/2(5) เมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานในการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแล้ว ในการเสนอขายครั้งต่อไป ให้บริษัทปฏิบัติตามมาตรา 66 โดยอนุโลม”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
#### ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,379 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 63/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 12) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 63/2547
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 12)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 69(11) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“(6) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,380 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 17/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 17/2548
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 13)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 64(3) มาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และ มาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคลหรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฏ) กองทุนรวม
(ฐ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฏ) โดยอนุโลม”
ข้อ 2 ให้ยกเลิก (5/1) และ (5/2) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 10 การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 7 และข้อ 9 ให้เป็นดังนี้
(1) การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหุ้นตามข้อ 7(1) ไม่ให้นับรวมส่วนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 7(3) และที่เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามข้อ 7(4)
(2) การนับจํานวนผู้ลงทุนในหุ้นตามข้อ 7(2) หรือจํานวนผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ 9(1) ไม่ให้นับรวมส่วนที่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 7(3) หรือข้อ 9(2) ตามแต่กรณี
ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตาม (1) หรือ (2) ไม่จําต้องคํานึงว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 11/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามส่วนนี้
=====================================================================================================================================================================================================
(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบัน
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ให้กองทุนรวมนั้นเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น ในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในหลักทรัพย์ที่เสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ
(ข) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กําหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสารหลักฐานประกอบ และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนสถาบันในครั้งนั้นได้”
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความใน (1) โครงสร้างการจัดการ ของหัวข้อที่ 9. การจัดการ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(1) โครงสร้างการจัดการ :
(1.1) ให้อธิบายโครงสร้างกรรมการบริษัทว่าประกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมดกี่ชุด เช่น คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกําหนดค่าจ้างผู้บริหาร เป็นต้น และขอบเขตอํานาจหน้าที่ของกรรมการแต่ละชุด
(1.2) ให้ระบุรายชื่อกรรมการ และหากกรรมการรายใดเป็นกรรมการอิสระหรือกรรมการในชุดอื่นตาม (1.1) ให้ระบุให้ชัดเจน นอกจากนี้ ให้ระบุหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกรรมการอิสระ ได้แก่ คุณสมบัติ และกระบวนการสรรหา ด้วย
(1.3) จํานวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการ และจํานวนครั้งที่กรรมการแต่ละรายเข้าประชุมคณะกรรมการบริษัท ในปีที่ผ่านมา
(1.4) ให้ระบุรายชื่อและตําแหน่งของผู้บริหาร ผู้มีอํานาจควบคุม (ถ้ามี) และรายชื่อของเลขานุการบริษัท
ทั้งนี้ ให้แนบข้อมูลของกรรมการของบริษัท ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาล่าสุด ประวัติการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และทักษะของการเป็นกรรมการ (เช่น การอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)) ประสบการณ์หลักที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และประวัติการกระทําผิด รวมทั้งรายชื่อของกรรมการในบริษัทย่อย ตามเอกสารแนบ”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความใน (3) ค่าตอบแทนผู้บริหาร ของหัวข้อที่ 9. การจัดการ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(3) ค่าตอบแทนผู้บริหาร : ให้อธิบายในประเด็นดังนี้
(3.1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน
(ก) ให้แสดงค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทแต่ละรายในปีที่ผ่านมา โดยให้ระบุเฉพาะค่าตอบแทนในฐานะกรรมการเท่านั้น ในกรณีที่กรรมการได้รับค่าตอบแทนในฐานะผู้บริหารตาม (ข) ด้วย ให้แยกระบุค่าตอบแทนไว้ใน (ข) และให้อธิบายลักษณะค่าตอบแทนด้วย (เช่น ค่าตอบแทนกรรมการรายนาย ก เท่ากับ xx บาท ในปี 25xx โดยเป็นค่าตอบแทนในรูปเบี้ยประชุม และบําเหน็จกรรมการซึ่งแปรตามผลดําเนินงานของบริษัท เป็นต้น)
(ข) ให้แสดงค่าตอบแทนรวมและจํานวนรายของกรรมการบริหารและผู้บริหารของบริษัทในปีที่ผ่านมา และให้อธิบายลักษณะค่าตอบแทนด้วย (ในข้อนี้ คําว่า “ผู้บริหาร” ให้หมายความว่า ผู้จัดการ ผู้บริหารสี่รายแรกต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้บริหารรายที่สี่ทุกราย โดยไม่รวมถึงผู้จัดการฝ่ายบัญชีหรือการเงินหากตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกันกับผู้บริหารรายที่สี่)
ในกรณีที่ค่าตอบแทนในปีที่ผ่านมาไม่สะท้อนค่าตอบแทนที่แท้จริง(เช่น มีการตั้งผู้บริหารใหม่จํานวนมากในปีปัจจุบัน) ให้ประมาณค่าตอบแทนดังกล่าวสําหรับปีปัจจุบันด้วย
ทั้งนี้ สําหรับบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ให้แสดงค่าตอบแทนและจํานวนรายของกรรมการและผู้บริหารทุกคนของบริษัทย่อยที่เป็นธุรกิจหลักในปีที่ผ่านมาตามแนวทางข้างต้นด้วย
(3.2) ค่าตอบแทนอื่น (ถ้ามี)
ให้แสดงค่าตอบแทนอื่นและอธิบายลักษณะของค่าตอบแทนนั้น เช่น โครงการให้สิทธิซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพแก่ผู้บริหาร (อธิบายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรหลักทรัพย์ดังกล่าว และสัดส่วนการได้รับหุ้นของผู้บริหารเมื่อเทียบกับจํานวนหุ้นหรือโครงการทั้งหมด) รวมทั้งเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้ใน (3.1)”
ข้อ 9 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ในหัวข้อที่ 12. ฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ของส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“(3) ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
ให้แสดงค่าตอบแทนที่ผู้สอบบัญชี สํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด และบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ได้รับจากบริษัทและบริษัทย่อย โดยให้ระบุแยกเป็น
(3.1) ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (audit fee)
(3.2) ค่าบริการอื่น (non-audit fee)
การเปิดเผยค่าบริการอื่นให้แสดงข้อมูลของค่าบริการอื่นที่ได้จ่ายไปแล้วในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา และค่าบริการอื่นที่จะต้องจ่ายในอนาคตอันเกิดจากการตกลงที่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา และประเภทของการให้บริการอื่น
ทั้งนี้ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ให้รวมถึง
1. คู่สมรสและบุตรที่ยังต้องพึ่งพิงหรืออยู่ในอุปการะของผู้สอบบัญชี
2. กิจการที่มีอํานาจควบคุมสํานักงานสอบบัญชี กิจการที่ถูกควบคุมโดยสํานักงานสอบบัญชี และกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับสํานักงานสอบบัญชี ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(ค) กิจการที่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างเป็นสาระสําคัญของสํานักงานสอบบัญชี
(ง) หุ้นส่วนหรือเทียบเท่าของสํานักงานสอบบัญชี
(จ) คู่สมรสและบุตรที่ยังต้องพึ่งพิงหรืออยู่ในอุปการะของบุคคลตาม (ง)
(ฉ) กิจการที่ผู้สอบบัญชี บุคคลตาม (ก) (ง) หรือ (จ) มีอํานาจควบคุมหรือมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสําคัญ ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาลักษณะของการควบคุมหรือการมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสําคัญที่จะเข้าข่ายเป็นบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีข้างต้น ให้นํานิยามตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันมาใช้บังคับ”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 28/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ส่วนที่ 4
การรับรองความถูกต้องของข้อมูล
1. ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
1.1 กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริหารของบริษัทหรือผู้ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า
(1) งบการเงินและข้อมูลทางการเงินที่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ได้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัทและบริษัทย่อยแล้ว
(2) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว
(3) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว และข้าพเจ้าได้แจ้งข้อมูลการประเมินระบบการควบคุมภายใน ณ วันที่ ......................................................... ต่อผู้สอบบัญชีและกรรมการตรวจสอบของบริษัทแล้ว ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการกระทําที่มิชอบที่อาจมีผลกระทบต่อการจัดทํารายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ............................................ เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
1.2 กรรมการคนอื่นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นอกจาก 1.1 ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริษัท ข้าพเจ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ...................................... เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ..................................... กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
2. ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์
2.1 ให้เจ้าของหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล หากเจ้าของหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกคนลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวัง [ในฐานะผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคล] ข้าพเจ้า ขอรับรองว่า/ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า\*\* ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ........................................... เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ .................................... กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
2.2 พร้อมกันนี้ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบดังต่อไปนี้
2.2.1 กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่เจ้าของหลักทรัพย์ได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริหารของบริษัทหรือผู้ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า
(1) งบการเงินและข้อมูลทางการเงินที่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ได้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัทและบริษัทย่อยแล้ว
(2) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว
(3) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว และข้าพเจ้าได้แจ้งข้อมูลการประเมินระบบการควบคุมภายใน ณ วันที่ ............................................ ต่อผู้สอบบัญชีและกรรมการตรวจสอบของบริษัทแล้ว ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการกระทําที่มิชอบที่อาจมีผลกระทบต่อการจัดทํารายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ............................................... เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
2.2.2 กรรมการคนอื่นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นอกจาก 2.2.1 ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริษัท ข้าพเจ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ .................................... เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ .................................... กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
3. การรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (ถ้ามี)
ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ขอรับรองว่าข้าพเจ้า
(1) ได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
(2) ได้พิจารณานโยบายและแผนการประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคตแล้ว เห็นว่าสมมติฐานได้จัดทําขึ้นอย่างสมเหตุสมผล และมีการอธิบายผลกระทบต่อบริษัทหรือผู้ลงทุนอย่างชัดเจนเพียงพอ (เฉพาะกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการระบุนโยบายและแผนการประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคตในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์)”
ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแบบแสดงรายการข้อมูลบางส่วน หรือเห็นว่าข้อมูลบางส่วนไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้อธิบายเงื่อนไขไว้เพิ่มเติม เช่น
“เว้นแต่ข้อมูลในเรื่อง ................... ของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นี้ ที่ข้าพเจ้าไม่สามารถให้ความเห็นได้ เนื่องจาก ......................... (ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตรวจสอบ หรือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารของบริษัทในการตรวจสอบข้อมูลในเรื่องนี้)” หรือ
“เว้นแต่ข้อความในหน้า........ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าควรใช้ข้อความ...............แทน”
ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินนําข้อมูลจากบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นมาอ้างอิง ให้ระบุข้อความเพิ่มเติม ดังนี้
“เว้นแต่ข้อมูลในเรื่อง ..................... ของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นี้ ที่ข้าพเจ้าใช้ข้อมูลจาก .............................. ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นอย่างดี”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
1.
2.
\* หมายเหตุ หากในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงาน มีเหตุจําเป็นที่ทําให้บุคคลใด ยังไม่สามารถลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลได้ เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นแล้ว ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อทันที เว้นแต่เหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวไม่สามารถลงลายมือชื่อได้เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าว อยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\*\* ให้ใช้คําว่า “ขอรับรองว่า” สําหรับเจ้าของหลักทรัพย์ที่เป็นกรรมการบริหาร และให้ใช้คําว่า “ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า” สําหรับเจ้าของหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่กรรมการบริหาร”
ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 4 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 28/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ส่วนที่ 4
การรับรองความถูกต้องของข้อมูล
การรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลให้เป็น ดังนี้
1. ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
1.1 กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริหารของบริษัทหรือผู้ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า
(1) งบการเงินและข้อมูลทางการเงินที่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ได้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัทและบริษัทย่อยแล้ว
(2) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว
(3) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว และข้าพเจ้าได้แจ้งข้อมูลการประเมินระบบการควบคุมภายใน ณ วันที่ .................................................... ต่อผู้สอบบัญชีและกรรมการตรวจสอบของบริษัทแล้ว ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการกระทําที่มิชอบที่อาจมีผลกระทบต่อการจัดทํารายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ .................................................. เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
1.2 กรรมการคนอื่นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นอกจาก 1.1 ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริษัท ข้าพเจ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อมูล
ดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ................................. เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ................................... กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
2. ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์
2.1 ให้เจ้าของหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูล หากเจ้าของหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกคนลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวัง [ในฐานะผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคล] ข้าพเจ้า ขอรับรองว่า/ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า\*\* ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ................................. เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
2.2 พร้อมกันนี้ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบดังต่อไปนี้
2.2.1 กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่เจ้าของหลักทรัพย์ได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริหารของบริษัทหรือผู้ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า
(1) งบการเงินและข้อมูลทางการเงินที่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ได้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัทและบริษัทย่อยแล้ว
(2) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว
(3) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว และข้าพเจ้าได้แจ้งข้อมูลการประเมินระบบการควบคุมภายใน ณ วันที่ ............................................ ต่อผู้สอบบัญชีและกรรมการตรวจสอบของบริษัทแล้ว ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการกระทําที่มิชอบที่อาจมีผลกระทบต่อการจัดทํารายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ .................................................. เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
2.2.2 กรรมการคนอื่นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นอกจาก 2.2.1 ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริษัท ข้าพเจ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ................................... เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ .................................... กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
3. การรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (ถ้ามี)
ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ขอรับรองว่าข้าพเจ้า
(1) ได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
(2) ได้พิจารณานโยบายและแผนการประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคตแล้ว เห็นว่าสมมติฐานได้จัดทําขึ้นอย่างสมเหตุสมผล และมีการอธิบายผลกระทบต่อบริษัทหรือผู้ลงทุนอย่างชัดเจนเพียงพอ (เฉพาะกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีการระบุนโยบายและแผนการประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคตในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์)”
ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแบบแสดงรายการข้อมูลบางส่วน หรือเห็นว่าข้อมูลบางส่วนไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้อธิบายเงื่อนไขไว้เพิ่มเติม เช่น
“เว้นแต่ข้อมูลในเรื่อง ...................... ของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นี้ ที่ข้าพเจ้าไม่สามารถให้ความเห็นได้ เนื่องจาก ....................... (ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตรวจสอบ หรือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารของบริษัทในการตรวจสอบข้อมูลในเรื่องนี้)” หรือ
“เว้นแต่ข้อความในหน้า........ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าควรใช้ข้อความ................แทน”
ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินนําข้อมูลจากบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นมาอ้างอิง ให้ระบุข้อความเพิ่มเติม ดังนี้
“เว้นแต่ข้อมูลในเรื่อง ....................... ของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นี้ ที่ข้าพเจ้าใช้ข้อมูลจาก ............................... ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นอย่างดี”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
1.
2.
\* หมายเหตุ หากในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงาน มีเหตุจําเป็นที่ทําให้บุคคลใด ยังไม่สามารถลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลได้ เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นแล้ว ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อทันที เว้นแต่เหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวไม่สามารถลงลายมือชื่อได้เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าว อยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\*\* ให้ใช้คําว่า “ขอรับรองว่า” สําหรับเจ้าของหลักทรัพย์ที่เป็นกรรมการบริหาร และให้ใช้คําว่า “ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า” สําหรับเจ้าของหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่กรรมการบริหาร”
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 6 การรับรองความถูกต้องของข้อมูล ของแบบ 69-dwท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 28/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ส่วนที่ 6
การรับรองความถูกต้องของข้อมูล
การรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลให้เป็น ดังนี้
1. ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
1.1 กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริหารของบริษัทหรือผู้ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า
(1) งบการเงินและข้อมูลทางการเงินที่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ได้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัทและบริษัทย่อยแล้ว
(2) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว
(3) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว และข้าพเจ้าได้แจ้งข้อมูลการประเมินระบบการควบคุมภายใน ณ วันที่ ................................................... ต่อผู้สอบบัญชีและกรรมการตรวจสอบ
ของบริษัทแล้ว ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการกระทําที่มิชอบที่อาจมีผลกระทบต่อการจัดทํารายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ............................................ ...เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
1.2 กรรมการคนอื่นของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นอกจาก 1.1 ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริษัท ข้าพเจ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ................................. เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ.................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ \*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
2. ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง โดยบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบตามที่กําหนดใน 1.
พร้อมกันนี้ให้กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงทุกคนลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบดังต่อไปนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการหรือการปรับโครงสร้างหนี้ และข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงที่บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ............................................ เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการหรือการปรับโครงสร้างหนี้ และข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงที่บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีฉบับนี้แล้วด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
3. ในกรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยเจ้าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
3.1 ให้เจ้าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลหากเจ้าของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกคนลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) พร้อมทั้งมอบอํานาจให้บุคคลใดลงนามกํากับเอกสารในแบบแสดงรายการข้อมูลแทนด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ข้าพเจ้า ขอรับรองว่า/ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า\*\* ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องที่เป็นชุดเดียวกัน ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ...................................................... เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ .................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลไว้”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
3.2 พร้อมกันนี้ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวด้วย โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบดังต่อไปนี้
3.2.1 กรรมการบริหารทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่เจ้าของหลักทรัพย์ได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริหารของบริษัทหรือผู้ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชี ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า
(1) งบการเงินและข้อมูลทางการเงินที่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ได้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนในสาระสําคัญเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัทและบริษัทย่อยแล้ว
(2) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสําคัญทั้งของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว รวมทั้งควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว
(3) ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามระบบดังกล่าว และข้าพเจ้าได้แจ้งข้อมูลการประเมินระบบการควบคุมภายใน ณ วันที่ .......................................... ต่อผู้สอบบัญชีและกรรมการตรวจสอบของบริษัทแล้ว ซึ่งครอบคลุมถึงข้อบกพร่องและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งการกระทําที่มิชอบที่อาจมีผลกระทบต่อการจัดทํารายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
ในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ............................................ เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ ................................. กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
3.2.2 กรรมการคนอื่นของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นอกจาก 3.2.1 ให้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะกรรมการบริษัท ข้าพเจ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญในการนี้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าเอกสารทั้งหมดเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้ ........................................... เป็นผู้ลงลายมือชื่อกํากับเอกสารนี้ไว้ทุกหน้าด้วย หากเอกสารใดไม่มีลายมือชื่อของ .................................... กํากับไว้ ข้าพเจ้าจะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้สอบทานแล้วดังกล่าวข้างต้น”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ\*
1.
2.
3.
4.
5.
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
ผู้รับมอบอํานาจ
4. การรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (ถ้ามี)
ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูล โดยให้ใช้ข้อความและรูปแบบ ดังนี้
“ข้าพเจ้าในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ขอรับรองว่า ข้าพเจ้าได้สอบทานข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด หรือไม่ขาดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ”
ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแบบแสดงรายการข้อมูลบางส่วน หรือเห็นว่าข้อมูลบางส่วนไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้อธิบายเงื่อนไขไว้เพิ่มเติม เช่น
“เว้นแต่ข้อมูลในเรื่อง .................. ของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นี้ ที่ข้าพเจ้าไม่สามารถให้ความเห็นได้ เนื่องจาก .................... (ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตรวจสอบ หรือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารของบริษัทในการตรวจสอบข้อมูลในเรื่องนี้)” หรือ
“เว้นแต่ข้อความในหน้า........ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าควรใช้ข้อความ..............แทน”
ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินนําข้อมูลจากบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นมาอ้างอิง ให้ระบุข้อความเพิ่มเติม ดังนี้
“เว้นแต่ข้อมูลในเรื่อง .................... ของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นี้ ที่ข้าพเจ้าใช้ข้อมูลจาก ............................. ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นอย่างดี”
ชื่อ ตําแหน่ง ลายมือชื่อ
1.
2.
\* หมายเหตุ หากในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงาน มีเหตุจําเป็นที่ทําให้บุคคลใด ยังไม่สามารถลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลได้ เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นแล้ว ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อทันที เว้นแต่เหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวไม่สามารถลงลายมือชื่อได้เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าว อยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
\*\* ให้ใช้คําว่า “ขอรับรองว่า” สําหรับเจ้าของหลักทรัพย์ที่เป็นกรรมการบริหาร และให้ใช้คําว่า “ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า” สําหรับเจ้าของหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่กรรมการบริหาร”
ข้อ 13 เว้นแต่กรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ให้การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้เสนอขายครั้งแรกก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ เนื่องจากเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศดังกล่าวและประกาศที่เกี่ยวข้อง ต่อไป
ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,381 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 38/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 14) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 38/2548
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 14)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (5) ในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน และได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก โดยผู้ออกหลักทรัพย์ยังมีการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหน้าที่ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ออกตามความในมาตรา 56 หรือผู้ออกหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับสํานักงานตามข้อ 6(4)(ข) ในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (3) ในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน และได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก โดยผู้ออกหลักทรัพย์ยังมีการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหน้าที่ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ออกตามความในมาตรา 56 หรือผู้ออกหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับสํานักงานตามข้อ 6(4)(ข) ในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี”
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,382 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 46/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 15) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 46/2548
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 15)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 64(2) และ(3) มาตรา 67 มาตรา 69(11) มาตรา 70(9) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(9) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9/3) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมกากํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
“(9/3) “นิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (19/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
“(19/1) “หุ้นอ้างอิง” หมายความว่า หุ้นอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (4) ในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะที่ได้ทําข้อตกลงไว้กับสํานักงานยินยอมที่จะปฏิบัติดังนี้
1. จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56
1. รายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อมีเหตุการณ์ตามมาตรา 57”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 และข้อ 6/2 ในส่วนที่ 2 ลักษณะการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้น ของหมวด 1 การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
“ข้อ 6/1 การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ต่อสํานักงานตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป
1. ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อ 6/2 ข้อ 8(5)(ข) ข้อ 8/1(2) และ (3) และข้อ 9(3)(ข)
ข้อ 6/2 การเสนอขายหลักทรัพย์ที่กระทําโดยการเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเสนอราคาและกําหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ได้รับคัดเลือกให้ซื้อหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทแต่ละแห่ง ต้องเป็นบุคคลเพียงหนึ่งรายหรือหนึ่งกลุ่ม ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ได้รับเลือกเป็นกลุ่มบุคคล กลุ่มดังกล่าวต้องประกอบด้วยบุคคลจํานวนไม่เกินสิบราย ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน”
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(2) การเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน ซึ่งในกรณีเป็นการเสนอขายที่ไม่เข้าลักษณะตาม ข้อ 6(5) หรือในส่วนที่เกินสิบฉบับตาม (1) หรือเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้แจกจ่ายรายงานการวิเคราะห์การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตั๋วเงินระยะสั้น ของบริษัทที่ออกตั๋วเงินระยะสั้น หรือของผู้รับอาวัลหรือผู้ค้ําประกันเป็นเอกสารประกอบการเสนอขายด้วยสําหรับการเสนอขายในครั้งแรก”
ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
“(3) การเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทที่มิใช่บริษัทจดทะเบียนในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับตั๋วเงินระยะสั้นนั้นแล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก”
ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 38/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 9 เว้นแต่เป็นกรณีที่มีข้อกําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้หรือประกาศอื่นให้การเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดง
รายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งทําให้มีผู้ถือหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้ออกหลักทรัพย์นั้นไม่เกินสามสิบห้าราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(3) การเสนอขายหลักทรัพย์ในทอดต่อ ๆไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอน และเสนอขายโดยไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนดังกล่าว
1. การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน และได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก โดยผู้ออกหลักทรัพย์ยังมีการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหน้าที่ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ออกตามความในมาตรา 56 หรือผู้ออกหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับสํานักงานตามข้อ 6(4)(ข) ในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี”
ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 11/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 11/3 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามส่วนนี้ รายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อ 6/2 ข้อ 8(5)(ข) ข้อ 8/1(2) และ (3) และข้อ 9(3)(ข) ให้ผู้เสนอขายรายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามความในมาตรา 81 ในส่วนที่ใช้บังคับกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวต่อประชาชน โดยอนุโลม
(2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. วันที่เสนอขายหลักทรัพย์
2. ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
3. จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหลักทรัพย์ที่ขายได้ทั้งหมด
4. ราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ราคาและอัตราใช้สิทธิ (กรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ) และในกรณีหลักทรัพย์ที่เสนอขายหรือหุ้นรองรับหลักทรัพย์ที่เสนขายเป็นหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ให้ระบุราคาตลาดของหุ้นนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณแหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย
5. ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อหลักทรัพย์ และจํานวนที่ผู้ซื้อหลักทรัพย์แต่ละรายได้รับจัดสรร
(ฉ) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย”
ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 12/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 55/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 12/2 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 12 ให้เป็นดังนี้
1. การเสนอขายหลักทรัพย์ทุกประเภทและทุกลักษณะที่ไม่ได้มีข้อกําหนดไว้เป็นประการอื่นโดยเฉพาะ ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้
2. การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ หากมิใช่หุ้นกู้แปลงสภาพ ให้เลือกใช้แบบ 69-1 หรือแบบ 69-2 ท้ายประกาศนี้
1. การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่โดยบริษัทจดทะเบียนหรือนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ
3. การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่โดยบริษัทที่มิใช่บริษัทจดทะเบียน และในรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา บริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นได้เคยยื่นแบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้ ต่อสํานักงานสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งก่อนแล้ว
4. การเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ใช้แบบ 69-3 ท้ายประกาศนี้
1. การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
2. การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
5. การเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ให้เลือกใช้แบบ 69-1 แบบ 69-2 หรือแบบ 69-3 ท้ายประกาศนี้
(ก) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน
1. การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น
2. การเสนอขายตั๋วเงินที่ออกโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ต่อผู้ลงทุนสถาบัน
3. การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 12/1(4)
(5) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 69-dw ท้ายประกาศนี้”
ข้อ 11 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 12/3 งบการเงินและงบการเงินรวมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ออกตามความในมาตรา 56 โดยอนุโลม”
ข้อ 12 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ.44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 55/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่ ตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกใหม่ เฉพาะที่มีกําหนดเวลาใช้เงินไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน การเสนอขายตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 12/2(4)(ค) หรือพันธบัตรที่ออกใหม่ที่มีกําหนดระยะเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน เมื่อบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานในการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแล้ว ในการเสนอขายครั้งต่อไป ให้บริษัทปฏิบัติตามมาตรา 66 โดยอนุโลม”
ข้อ 13 ให้ยกเลิกความใน (4) ของหัวข้อ 1 ลักษณะการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่ 2 บริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ของแบบ 69-dw ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(4) การบริหารความเสี่ยง
ให้อธิบายวิธีการบริหารความเสี่ยง และในกรณีที่บริษัทบริหารความเสี่ยงโดยการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีข้อกําหนดและเงื่อนไขให้บริษัทเป็นผู้ได้รับชําระหนี้จากคู่สัญญาในจํานวนและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับจํานวนและระยะเวลาที่บริษัทต้องชําระหนี้ให้ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (back to back agreement) ให้ระบุพร้อมทั้งแสดงรายละเอียดของผู้ที่เป็นคู่สัญญาบริหารความเสี่ยงดังกล่าวในส่วนที่ 3 ด้วย”
ข้อ 14 ให้ยกเลิกความนําในส่วนที่ 3 ผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และผู้ที่เป็นคู่สัญญาบริหารความเสี่ยงของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ของ แบบ 69-dw ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่บริษัทจัดให้มีผู้ค้ําประกันการชําระหนี้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือจัดให้มีการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีข้อกําหนดและเงื่อนไขให้บริษัทเป็นผู้ได้รับชําระหนี้จากคู่สัญญาในจํานวนและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับจํานวนและระยะเวลาที่บริษัทต้องชําระหนี้ให้ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (back to back agreement) ให้แสดงข้อมูลของผู้ค้ําประกัน หรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาบริหารความเสี่ยงของบริษัทที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ดังนี้”
ข้อ 15 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมายเหตุประกอบหัวข้อ 1 หุ้นอ้างอิง กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้น ในส่วนที่ 4 หุ้นอ้างอิงหรือดัชนีอ้างอิง ของแบบ 69-dw ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“หมายเหตุ ในกรณีที่หุ้นอ้างอิงเป็นใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงที่มีหลักทรัพย์รองรับเป็นหุ้น ให้เปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหุ้นที่ใช้เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิและหุ้นดังกล่าวเช่นเดียวกับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธินั้นด้วย”
ข้อ 16 ให้เพิ่มแบบ 69-3 ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ข้อ 17 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป เว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทจํากัดที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย การปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดทํา
งบการเงินและงบการเงินรวมตามมาตรฐานการบัญชีที่ใช้บังคับกับบริษัทมหาชนจํากัด ให้เริ่มตั้งแต่
งบการเงินประจํางวดการบัญชีที่สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2548 และงบการเงินรายไตรมาสของปีบัญชีดังกล่าวเป็นต้นไป
###### ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,383 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 3/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 16) | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 3/2549
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล
การเสนอขายหลักทรัพย์
(ฉบับที่ 16)
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 64(2) และ(3) และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 และข้อ 7/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 7/1 การเสนอขายหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ตามข้อ 8 ข้อ 8/1 หรือข้อ 9 แล้วแต่กรณี ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้วก่อนผู้ออกหลักทรัพย์เสนอขายต่อผู้ลงทุนในครั้งแรก ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด หรือ
2. ผู้ออกหลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวมิใช่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
ข้อ 7/2 บุคคลใดจะนําหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ที่นิติบุคคลต่างประเทศเป็นผู้ออกและเสนอขายในต่างประเทศมาเสนอขายในประเทศไทย บุคคลนั้นจะได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 20 ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว เว้นแต่จะเป็นกรณีที่กําหนดไว้เฉพาะตามข้อ 20/1 หรือข้อ 20/2 แล้วแต่กรณี”
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/1 ข้อ 20/2 และข้อ 20/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
“ข้อ 20/1 ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ไม่เข้าลักษณะที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามข้อ 20/2 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
(1).เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน
(2).เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยผู้ออกหลักทรัพย์รายเดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กําหนด เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นในครั้งแรก
(ค) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 12/1(4)”
ข้อ 20/2 ในกรณีเป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน เว้นแต่จะเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
(ข) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ที่ออกโดยนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ เว้นแต่จะเป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์
(ค) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้นั้นเป็นครั้งแรกในแต่ละโครงการ
(ง) การเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายเป็นรายบริษัท เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์นั้นเป็นครั้งแรกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้ง
(2) เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งไม่ใช่หุ้นกู้อนุพันธ์ ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยผู้ออกหลักทรัพย์รายเดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
(ข) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายเป็นรายปี เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้นั้นในครั้งแรกภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตในแต่ละครั้ง
(3) ในวันทําการถัดจากวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีการจดข้อจํากัด
การโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนสถาบัน
(ข) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นหรือตั๋วเงินระยะสั้น
(ค) การเสนอขายตั๋วเงินที่ออกโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เมื่อเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน
ข้อ 20/3 ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ เมื่อผู้ออกหลักทรัพย์นั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานในการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแล้ว ในการเสนอขายครั้งต่อไป ให้ผู้ออกหลักทรัพย์ปฏิบัติตามมาตรา 66 โดยอนุโลม
1. หุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่
2. ตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกใหม่เฉพาะที่มีกําหนดเวลาใช้เงินไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน
3. ตั๋วเงินที่ออกโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เมื่อเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน”
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
(นายทนง พิทยะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,384 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 32/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 32/2549
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 63(5) มาตรา 64(2) และ (3) มาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 47/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2543
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 19/2544 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่4 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2544 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2544
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2545
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2545 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 10/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 28/2546 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(10) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 34/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547
(11) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 55/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
(12) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 63/2547 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
(13) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 17/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(14) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 38/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(15) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 46/2548 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548
(16) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2549
ข้อ ๓ ในประกาศนี้และในแบบแสดงรายการข้อมูลท้ายประกาศนี้
(1) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ
(2) “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
(3) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคลหรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฏ) กองทุนรวม
(ฐ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฏ) โดยอนุโลม
(4) “การใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า การใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น การใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หรือการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ แล้วแต่กรณี
(5) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(6) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึง นิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ
(7) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(8) “นิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
(9) “บริษัทใหญ่” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์
(ข) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิ ออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ง) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกหลักทรัพย์ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์นั้น
การถือหุ้นของบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(10) “บริษัทย่อย” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ง) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ที่ถูกถือหุ้นนั้น
(จ) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) มีอํานาจควบคุมในเรื่องการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทนั้น
การถือหุ้นของผู้ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(11) “บริษัทร่วม” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ข) บริษัทที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า
การถือหุ้นของผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดย ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(12) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนตามมาตรา 258(1) ถึง (7) โดยอนุโลม
(13) “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ผู้บริหารของผู้ออกหลักทรัพย์
(ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ออกหลักทรัพย์
(ค) ผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ออกหลักทรัพย์
(ง) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียน ตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิทอื่น
(จ) นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น หรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสําคัญ
(14) “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(15) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในผู้ออกหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหลักทรัพย์ การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(16) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
(ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท
(ข) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทนั้นได้
(ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายผู้บริหารการจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท
(ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น
(17) “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” หมายความว่า บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่
(18) “หุ้นอ้างอิง” หมายความว่า หุ้นอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่
(19) “งบการเงินรวม” หมายความว่า งบการเงินรวมของผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทย่อย
(20) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
(21) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๔ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ตามหมวด 2 เว้นแต่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวด 1
ข้อ ๕ การยื่นหรือการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้หมายความรวมถึงการยื่นหรือการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นที่รับรองการใช้สิทธิ ตามหลักทรัพย์แปลงสภาพด้วย
หมวด ๑ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ส่วน ๑ หลักทรัพย์ที่ได้รับการยกเว้น
ข้อ ๖ มิให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535ในหมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้
(1) หน่วยลงทุนที่เสนอขายโดยผู้ถือหน่วยลงทุน โดยหน่วยลงทุนดังกล่าวต้อง
ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(2) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน ซึ่งมีลักษณะและการเสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนซึ่งเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่ออกใหม่และเสนอขายพร้อมหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(ข) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนซึ่งเสนอขายโดยผู้ถือหลักทรัพย์ และใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวได้เสนอขายครั้งแรกพร้อมหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
(3) หลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ และหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ที่เคยเสนอขายต่อประชาชนซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด และผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวมีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56
(ข) ผู้ออกหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะที่ได้ทําข้อตกลงไว้
กับสํานักงานยินยอมที่จะปฏิบัติดังนี้
1. จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56
2. รายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อมีเหตุการณ์ตามมาตรา 57
ส่วน ๒ ลักษณะการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้น
ข้อ ๗ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป
(2) ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อ 8 และข้อ 10(3)(ข)
ข้อ ๘ การเสนอขายหลักทรัพย์ที่กระทําโดยการเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเสนอราคาและกําหนดเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ได้รับคัดเลือกให้ซื้อหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทแต่ละแห่ง ต้องเป็นบุคคลเพียงหนึ่งรายหรือหนึ่งกลุ่ม ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ได้รับเลือกเป็นกลุ่มบุคคล กลุ่มดังกล่าวต้องประกอบด้วยบุคคลจํานวนไม่เกินสิบราย ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
ข้อ ๙ ให้การเสนอขายหุ้นที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ที่มีมูลค่ารวมกันไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่ารวมของหุ้นดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายหุ้นนั้นเป็นเกณฑ์
(2) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินสามสิบห้ารายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
(3) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(4) การเสนอขายหุ้นที่ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นนั้น และไม่มีลักษณะเป็นการเสนอขายโดยทั่วไป
(5) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่บุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่แผนฟื้นฟูกิจการกําหนดให้เจ้าหนี้ต้องรับหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวแทนการรับชําระหนี้
ข้อ ๑๐ เว้นแต่เป็นกรณีที่มีข้อกําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้หรือประกาศอื่น ให้การเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งทําให้มีผู้ถือหลักทรัพย์ ประเภทเดียวกันทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้ออกหลักทรัพย์นั้นไม่เกินสามสิบห้าราย ณ ขณะใดขณะหนึ่ง
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน
(3) การเสนอขายหลักทรัพย์ในทอดต่อ ๆไปซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีข้อจํากัดการโอน และเสนอขายโดยไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนดังกล่าว
(ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน และได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในครั้งแรก โดยผู้ออกหลักทรัพย์ยังมีการนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหน้าที่ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในมาตรา 56 หรือผู้ออกหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับสํานักงานตาม ข้อ 6(3)(ข) ในส่วนที่ 1 ของหมวดนี้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑ การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 9 และข้อ 10 ให้เป็นดังนี้
(1) การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหุ้นตามข้อ 9(1) ไม่ให้นับรวมส่วนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 9(3) และที่เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตาม 9(4)
(2) การนับจํานวนผู้ลงทุนในหุ้นตามข้อ 9(2) หรือจํานวนผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ 10(1) ไม่ให้นับรวมส่วนที่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 9(3) หรือข้อ 10(2) ตามแต่กรณี
ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าการเสนอขายหรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตาม (1) หรือ (2) ไม่จําต้องคํานึงว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน
ข้อ ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือการนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 9 และข้อ 10 ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนการจําหน่ายหลักทรัพย์ของผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหลักทรัพย์ ให้นับรวมการเสนอขายหลักทรัพย์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนการจําหน่ายหลักทรัพย์นั้นทุกรายเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ของผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหลักทรัพย์ตามแต่กรณี ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นเข้าบัญชีของตนเองก่อนหรือไม่
(2) ในกรณีที่มีผู้ถือหลักทรัพย์หลายรายร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน ซึ่งออกโดยบริษัทเดียวกัน หรือเสนอขายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ให้นับรวมการเสนอขายของผู้ถือหลักทรัพย์ทุกราย เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์เพียงหนึ่งราย ทั้งนี้ การร่วมกัน เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้รวมถึงพฤติการณ์ ดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) ผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายเสนอขายหลักทรัพย์ในราคาและระยะเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน และ
(ข) ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
2. ผู้ถือหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย หรือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว
3. เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายในที่สุดไปสู่บุคคลเดียวกัน
4. เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายใช้ใบจองซื้อหลักทรัพย์หรือตัวแทนรับจองซื้อหลักทรัพย์ร่วมกัน โดยมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้จองซื้อหลักทรัพย์มิได้คํานึงว่าตนได้จองซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหลักทรัพย์รายใด
(3) ในกรณีผู้ลงทุนที่จองซื้อหลักทรัพย์เป็น ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใดที่มีการถือครองหลักทรัพย์แทนบุคคลอื่นให้นับจํานวนผู้ลงทุนหรือประเภทผู้ลงทุนจากบุคคลที่เป็นผู้ถือหลักทรัพย์ที่แท้จริง
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ซึ่งผู้ถือหลักทรัพย์มีเหตุจําเป็นและสมควรที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานได้ และผู้ถือหลักทรัพย์ดังกล่าวเข้าถือหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายเนื่องจากการปฏิบัติตามนโยบายของทางการเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินหรือรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน หรือในกรณีอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบ
แสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนซึ่งรู้หรือควรได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานของบริษัทนั้นได้
(2) มีความเพียงพอของการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์และผู้ออกหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุน
ข้อ ๑๔ การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้น หรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหมวด 2 ไม่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามส่วนนี้
เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามวรรคสาม การเสนอขายหลักทรัพย์ แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามส่วนนี้
(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จํากัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบัน
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์ให้กองทุนรวมนั้นเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุน ในหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น ในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในหลักทรัพย์ที่เสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ
(ข) ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบ ของมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมที่มี ลักษณะตามที่กําหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมนั้น เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบ ต่อสํานักงาน พร้อมทั้งคําชี้แจงและเอกสารหลักฐานประกอบ และให้สํานักงานมีอํานาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหลักทรัพย์แก่กองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนสถาบันในครั้งนั้นได้
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้
“กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
“บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ข้อ ๑๕ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามส่วนนี้ รายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะตามข้อ 8 และข้อ 10(3)(ข) ให้ผู้เสนอขายรายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามความในมาตรา 81 ในส่วนที่ใช้บังคับกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวต่อประชาชน โดยอนุโลม
(2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) วันที่เสนอขายหลักทรัพย์
(ข) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของหลักทรัพย์ (ถ้ามี)
(ค) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหลักทรัพย์ที่ขายได้ทั้งหมด
(ง) ราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ราคาและอัตราใช้สิทธิ (กรณีที่เป็นการ
เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิ) และในกรณีหลักทรัพย์ที่เสนอขายหรือหุ้นรองรับหลักทรัพย์ที่เสนอขาย เป็นหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ระบุราคาตลาดของหุ้นนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณแหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย
(จ) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อหลักทรัพย์ และจํานวนที่ผู้ซื้อหลักทรัพย์แต่ละรายได้รับจัดสรร
(ฉ) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย
ข้อ ๑๖ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์รองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิซึ่งเสนอขายโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามส่วนนี้ โดยมีรายละเอียดตามข้อ 15 โดยอนุโลม ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้ถือใบสําคัญแสดงสิทธิอาจใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้ผู้ออกใบสําคัญแสดงสิทธิยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ
หมวด ๒ การยื่นและการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูล
และร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๗ ก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ต่อสํานักงานจํานวนห้าชุด พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อนอีก ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน
นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๑๘ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 17 ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล เว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ผู้เสนอขายเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ
(2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 และมีลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวไม่จําเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้น
(ข) กําหนดวันใช้สิทธิครั้งแรกจะเกิดขึ้นหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว และ
(ค) ไม่มีการเรียกชําระราคาใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นจากผู้ถือหุ้น
(3) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
ข้อ ๑๙ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 17 ให้เป็นดังนี้
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์ทุกประเภทและทุกลักษณะที่ไม่ได้มีข้อกําหนดไว้เป็นประการอื่นโดยเฉพาะ ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศนี้
(2) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 18(2) ให้เลือกใช้แบบ 69-1 แบบ 69-2 หรือแบบ 69-3 ท้ายประกาศนี้
(3) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 69-dw ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒๐ งบการเงินและงบการเงินรวมของผู้ออกหลักทรัพย์ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในมาตรา 56 โดยอนุโลม
ข้อ ๒๑ ก่อนปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้วต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้นการปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง กรณีเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิให้หมายถึงการปิดการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธินั้น
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้เสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใดในต่างประเทศ โดยมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศนั้น เมื่อมีการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันในประเทศไทย ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไม่น้อยกว่ารายละเอียดของข้อมูลที่ได้เปิดเผยในการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นในต่างประเทศ
ข้อ ๒๓ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 69(11) และมาตรา 71(5) ได้ หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นแสดงได้ว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อมูลนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๒๔ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ข้อ ๒๕ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
(1) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ออกหลักทรัพย์ ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารง
ตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อ
(2) การเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อ ซึ่งในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกคนลงลายมือชื่อในการนี้ ผู้ถือหลักทรัพย์ต้องจัดให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อด้วย
(3) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ไม่สามารถลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในขณะที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 27
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนตามข้อ 17 ให้ผู้ถือหลักทรัพย์จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ออกหลักทรัพย์นั้นทราบถึงการเสนอขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหลักทรัพย์ต่อสํานักงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ทราบถึงหน้าที่ที่จะต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา 56
ข้อ ๒๗ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่มิได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ
(2) เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน
(3) เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนภายในสามเดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนของการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยผู้ออกหลักทรัพย์รายเดียวกันมีผลใช้บังคับในครั้งก่อน
(ข) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 18(2)
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๘ ให้ถือว่าแบบ 69-1 แบบ 69-2 แบบ 69-3 และแบบ 69-dw ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เป็นแบบแสดงรายการข้อมูลท้ายประกาศนี้ต่อไป จนกว่าจะมีการกําหนดแบบแสดงรายการข้อมูลขึ้นใหม่เพื่อใช้แทนแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,385 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กย. 40/2549
เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 63(5) มาตรา 64(2) และ (3) มาตรา 67 มาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้และในแบบแสดงรายการข้อมูลท้ายประกาศนี้
(1) “ตราสารหนี้” หมายความว่า พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน
(2) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้อนุพันธ์
(3) “หุ้นกู้อนุพันธ์” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) มูลค่าผลตอบแทนที่ชําระขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งปัจจัยอ้างอิงดังกล่าวไม่ใช่อัตราดอกเบี้ย
(ข) มูลค่าต้นเงินทั้งหมดหรือบางส่วนที่ไถ่ถอนขึ้นอยู่กับปัจจัยอ้างอิงที่กําหนดไว้ล่วงหน้า หรือ
(ค) ให้สิทธิผู้ออกในการไถ่ถอนต้นเงินหรือจ่ายผลตอบแทน หรือให้สิทธิผู้ถือในการได้รับชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่หุ้นที่ออกใหม่โดยผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์หรือทรัพย์สินอื่น
(4) “การเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง” หมายความว่า การที่ผู้ออกตราสารหนี้ยังมีการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) นําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56 กรณีผู้ออกตราสารหนี้เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(ข) ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้กับสํานักงานในการจัดทํางบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดตามความในมาตรา 56 และรายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อมีเหตุการณ์ตามมาตรา 57 กรณีผู้ออกตราสารหนี้มิใช่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(5) “หุ้นกู้ระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้ไม่เกินสองร้อย เจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ
(6) “ตั๋วเงิน” หมายความว่า ตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะของตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์
(7) “ตั๋วเงินระยะสั้น” หมายความว่า ตั๋วเงินที่มีกําหนดเวลาใช้เงินไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกตั๋ว หรือตั๋วเงินที่ถึงกําหนดใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น
(8) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ญ) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(ฎ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
(ฏ) กองทุนรวม
(ฐ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฏ) โดยอนุโลม
(9) “ผู้ลงทุนรายใหญ่” หมายความว่า
(ก) บุคคลธรรมดาที่มีทรัพย์สินตั้งแต่สี่สิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่รวมหนี้สินของบุคคลดังกล่าว
(ข) นิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่สองร้อยล้านบาทขึ้นไป
(10) “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า การใช้สิทธิแปลงสภาพตามหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือการใช้สิทธิส่งมอบหลักทรัพย์อ้างอิงตามหุ้นกู้อนุพันธ์ แล้วแต่กรณี
(11) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้
(12) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ
(13) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(14) “สถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์”
(15) “นิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ
(16) “บริษัทใหญ่” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้
(ข) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ง) บริษัทที่ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกัน เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้นั้น
การถือหุ้นของบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(17) “บริษัทย่อย” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น
(ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ง) บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(จ) บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) มีอํานาจควบคุมในเรื่องการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทนั้น
การถือหุ้นของผู้ออกตราสารหนี้หรือของบริษัทตาม (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(18) “บริษัทร่วม” หมายความว่า
(ก) บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทย่อยถือหุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น
(ข) บริษัทที่ผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทย่อยมีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือกิจการร่วมค้า
การถือหุ้นของผู้ออกตราสารหนี้หรือบริษัทย่อยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(19) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนตามมาตรา 258(1) ถึง (7) โดยอนุโลม
(20) “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ผู้บริหารของผู้ออกตราสารหนี้
(ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ออกตราสารหนี้
(ค) ผู้มีอํานาจควบคุมของผู้ออกตราสารหนี้
(ง) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียน ตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิทอื่น
(จ) นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น หรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสําคัญ
(21) “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(22) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในผู้ออกตราสารหนี้เกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกตราสารหนี้ การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
(23) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
(ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท
(ข) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทนั้นได้
(ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายการจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของบริษัท
(ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น
(24) “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” หมายความว่า บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
(25) “งบการเงินรวม” หมายความว่า งบการเงินรวมของผู้ออกตราสารหนี้และบริษัทย่อย
(26) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
(27) “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ ของผู้ออกตราสารหนี้ ของผู้ค้ําประกันตราสารหนี้ หรือของผู้รับอาวัลผู้ออกตั๋วเงิน
(28) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ตามหมวด 2 เว้นแต่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหมวด 1
ข้อ ๔ การยื่นหรือการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ ให้หมายความรวมถึงการยื่นหรือการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับหุ้น หุ้นกู้ หรือหลักทรัพย์อื่นที่รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพด้วย
หมวด ๑ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
ส่วน ๑ ตราสารหนี้ที่ได้รับการยกเว้น
ข้อ ๕ มิให้นําบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในหมวด 3 ว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับตราสารหนี้ดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ
(2) ตราสารหนี้ที่เสนอขายโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ และผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
(3) ตั๋วเงินที่ออกและเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมเงินจากบุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ค) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(ง) บุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด
ส่วน ๒ ลักษณะการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับยกเว้น
ข้อ ๖ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายตราสารหนี้เป็นการทั่วไป
(2) ในกรณีที่ผู้เสนอขายตราสารหนี้ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีการเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะตาม ข้อ 10(3)(ข) ข้อ 11(2) และ (3) และข้อ 12(3)(ข)
ข้อ ๗ การเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ตามข้อ 10 ข้อ 11 หรือข้อ 12 แล้วแต่กรณี ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้วก่อนผู้ออกตราสารหนี้เสนอขายต่อผู้ลงทุนในทอดแรก ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้เป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด หรือ
(2) ผู้ออกตราสารหนี้ที่เสนอขายเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวมิใช่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
ข้อ ๘ บุคคลใดจะนําตราสารหนี้ที่นิติบุคคลต่างประเทศเป็นผู้ออกและเสนอขายในต่างประเทศมาเสนอขายในประเทศไทย บุคคลนั้นจะได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน เฉพาะกรณีที่เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ ๙ ให้การเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
ข้อ ๑๐ ให้การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีมูลค่าการเสนอขายรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่ตราไว้เป็นเกณฑ์
(ค) การเสนอขายต่อบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทอยู่แล้วก่อนการเสนอขายเพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างหนี้
(ง) การเสนอขายหุ้นกู้ตามที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะจากสํานักงาน เนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ไม่มีผลกระทบต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง และมีมาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างเพียงพอแล้ว
(2) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้อนุพันธ์ระยะสั้น
(3) การเสนอขายหุ้นกู้ในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงานทั้งนี้ ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีข้อจํากัดการโอนให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ หากหุ้นกู้ดังกล่าวมิใช่หุ้นกู้ระยะสั้น หุ้นกู้นั้นจะต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย
(ข) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก
2. ผู้ออกหุ้นกู้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
3. หุ้นกู้ที่เสนอขายได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ ๑๑ ให้การเสนอขายตั๋วเงินที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายตั๋วเงิน โดยไม่เข้าลักษณะตามข้อ 5(3) ซึ่งมีจํานวนไม่เกินสิบฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อนับรวมตั๋วเงินทุกลักษณะที่ออกโดยบริษัท
(2) การเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน
(3) การเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกโดยบริษัทที่มิใช่บริษัทจดทะเบียนในทอดต่อ ๆ ไป เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับตั๋วเงินระยะสั้นนั้นแล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก
(ข) เป็นตั๋วเงินระยะสั้นที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เว้นแต่เป็นตั๋วเงินที่ เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
ข้อ ๑๒ ให้การเสนอขายพันธบัตรที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน
(1) การเสนอขายพันธบัตรต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งทําให้มีผู้ถือพันธบัตรประเภทเดียวกันทุกรุ่นทุกลักษณะที่ออกโดยผู้ออกพันธบัตรนั้นไม่เกินสิบราย ในรอบระยะเวลาสี่เดือนใด ๆ
(2) การเสนอขายพันธบัตรต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
(3) การเสนอขายพันธบัตรในทอดต่อ ๆไป ซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) การเสนอขายพันธบัตรซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน
(ข) การเสนอขายพันธบัตรที่ไม่มีข้อจํากัดการโอน เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ได้มีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายพันธบัตรดังกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การเสนอขายในทอดแรก
2. ผู้ออกพันธบัตรมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
3. พันธบัตรที่เสนอขายได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ข้อ ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 7 ถึงข้อ 12 ในกรณีผู้ลงทุนที่จองซื้อตราสารหนี้เป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ผู้รับฝากทรัพย์สิน นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือบุคคลอื่นใดที่มีการถือครองตราสารหนี้แทนบุคคลอื่นให้นับจํานวนผู้ลงทุนหรือประเภทผู้ลงทุนจากบุคคลที่เป็นผู้ถือตราสารหนี้ที่แท้จริง
ข้อ ๑๔ ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ตามส่วนนี้ รายงานผลการขายตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะตามข้อ 9 ให้ผู้เสนอขายรายงานผลการขายตราสารหนี้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศ โดยอนุโลม
(2) ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะตามข้อ 10(3)(ข) ข้อ 11(2) และ (3)และข้อ 12(3)(ข) ให้ผู้เสนอขายรายงานผลการขายตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดตามความในมาตรา 81 ในส่วนที่ใช้บังคับกับการรายงานผลการขายตราสารหนี้ประเภทดังกล่าวต่อประชาชน โดยอนุโลม
(3) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้รายงานผลการขายตราสารหนี้ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) วันที่เสนอขายตราสารหนี้
(ข) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของตราสารหนี้ (ถ้ามี)
(ค) จํานวนตราสารหนี้ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนตราสารหนี้ที่ขายได้ทั้งหมด
(ง) ราคาของตราสารหนี้ที่เสนอขาย ราคาและอัตราใช้สิทธิ (กรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพ) และในกรณีตราสารหนี้ที่เสนอขายหรือหุ้นรองรับตราสารหนี้ที่เสนอขายเป็นหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ระบุราคาตลาดของหุ้นนั้น วันที่ใช้ในการคํานวณแหล่งอ้างอิงของราคาตลาด พร้อมทั้งวิธีการคํานวณราคาตลาดดังกล่าวด้วย
(จ) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อตราสารหนี้ และจํานวนที่ผู้ซื้อตราสารหนี้แต่ละรายได้รับจัดสรร
(ฉ) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้รายงานผลการขาย
ข้อ ๑๕ ให้ผู้ออกตราสารหนี้รายงานผลการขายหลักทรัพย์รองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งเสนอขายโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามส่วนนี้ โดยมีรายละเอียดตามข้อ 14 โดยอนุโลม ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์แปลงสภาพอาจใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้ผู้ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ
หมวด ๒ การยื่นและการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูล
และร่างหนังสือชี้ชวน
ข้อ ๑๖ ก่อนการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ต่อสํานักงานจํานวนสามชุด พร้อมทั้งร่างหนังสือชี้ชวน และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด
ในกรณีที่ระยะเวลาการเสนอขายตราสารหนี้ตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลสิ้นสุดลงแล้ว หากผู้เสนอขายตราสารหนี้ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเสนอขายครั้งก่อนอีก ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลฉบับใหม่ต่อสํานักงาน
นอกจากการยื่นข้อมูลในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลที่ผู้เสนอขายตราสารหนี้ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน
ข้อ ๑๗ แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 16 ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําและรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล เว้นแต่เป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้
(1) หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนหรือนิติบุคคลตามกฎหมายเฉพาะ แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ
(2) หุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ และมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนดังกล่าว
(3) หุ้นกู้ระยะสั้น
(4) ตั๋วเงินระยะสั้น
ข้อ ๑๘ เว้นแต่จะเข้าลักษณะที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามข้อ 19 แบบแสดงรายการข้อมูลที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามข้อ 16 ให้เป็นดังนี้
(1) การเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภทและทุกลักษณะที่ไม่ได้มีข้อกําหนดไว้เป็นประการอื่นโดยเฉพาะ ให้ใช้แบบ 69-SR ท้ายประกาศนี้
(2) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้เลือกใช้แบบ 69-1 แบบ 69-2 หรือแบบ 69-3 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(3) การเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ให้เลือกใช้แบบ 69-SR หรือแบบ 69-S ท้ายประกาศนี้
(ก) หุ้นกู้ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนดังกล่าว
(ข) หุ้นกู้ที่เสนอขายเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ค) หุ้นกู้ระยะสั้น
(ง) ตั๋วเงินระยะสั้น
(จ) ตั๋วเงินที่ออกโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เมื่อเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
ข้อ ๑๙ เว้นแต่เป็นการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพหรือหุ้นกู้ที่เสนอขายเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่หากผู้ออกตราสารหนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่ไม่ต่ํากว่า investment grade ผู้ออกตราสารหนี้อาจเลือกยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามข้อ 18 หรือแบบแสดงรายการข้อมูลดังต่อไปนี้ก็ได้
(1) ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ยังไม่เคยยื่นแบบ 69-SR ต่อสํานักงานสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ให้ใช้แบบดังกล่าว
(2) ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้เคยยื่นแบบ 69-SR ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ให้ใช้แบบ 69-SSR ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒๐ งบการเงินและงบการเงินรวมของผู้ออกตราสารหนี้ที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในมาตรา 56 โดยอนุโลม
ข้อ ๒๑ ก่อนปิดการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุนในตราสารหนี้ที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในตราสารหนี้ที่เสนอขาย ผู้เสนอขายตราสารหนี้ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้วต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น
การปิดการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง กรณีเป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพให้หมายถึงการปิดการเสนอขายหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้น
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้เสนอขายตราสารหนี้ประเภทใดในต่างประเทศ โดยมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายตราสารหนี้ตามกฎหมายต่างประเทศนั้น เมื่อมีการเสนอขายตราสารหนี้ประเภทเดียวกันในประเทศไทย ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายตราสารหนี้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไม่น้อยกว่ารายละเอียดของข้อมูลที่ได้เปิดเผยในการเสนอขายตราสารหนี้นั้นในต่างประเทศ
ข้อ ๒๓ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 69(11) และมาตรา 70(9) ได้ หากผู้เสนอขายตราสารหนี้นั้นแสดงได้ว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อมูลนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ
ข้อ ๒๔ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด
(1) แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลหรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม
(2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
หากผู้เสนอขายตราสารหนี้ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าผู้เสนอขายตราสารหนี้ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป
ข้อ ๒๕ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
(1) การเสนอขายโดยผู้ออกตราสารหนี้ ให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของผู้ออกตราสารหนี้ลงลายมือชื่อ
(2) การเสนอขายโดยผู้ถือตราสารหนี้ ให้ผู้ถือตราสารหนี้ลงลายมือชื่อ ซึ่งในกรณีที่
ผู้ถือตราสารหนี้เป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลทุกคนลงลายมือชื่อ ในการนี้ ผู้ถือตราสารหนี้ต้องจัดให้กรรมการทุกคนและผู้ที่ดํารงตําแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานบัญชีของผู้ออกตราสารหนี้ลงลายมือชื่อด้วย
(3) การเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ผู้มีอํานาจลงนาม ผูกพันที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อ
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ไม่สามารถลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในขณะที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วย ทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายตราสารหนี้ไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน
(2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายตราสารหนี้จัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 27
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ถือตราสารหนี้ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนตามข้อ 16 ให้ผู้ถือตราสารหนี้จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ออกตราสารหนี้นั้นทราบถึงการเสนอขายตราสารหนี้ของผู้ถือตราสารหนี้ต่อสํานักงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าวได้ทราบถึงหน้าที่ที่จะต้องจัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของผู้ออกตราสารหนี้ตามมาตรา 56
ข้อ ๒๗ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 เมื่อผู้เสนอขายตราสารหนี้ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนดแล้ว ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันดังต่อไปนี้
(1) เมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีทั่วไป
(2) เมื่อพ้นกําหนดสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ในการเสนอขายตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้
(ก) ก่อนการเสนอขายในครั้งนี้ ผู้เสนอขายตราสารหนี้เคยยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (ค) ถึง (ฉ) ต่อสํานักงานในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
(ข) ก่อนการเสนอขายในครั้งนี้ ผู้เสนอขายตราสารหนี้เคยยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (ค) ถึง (ฉ) ต่อสํานักงานในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆ กรณีผู้ออกตราสารหนี้มิใช่บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด
(ค) การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยมีการจดข้อจํากัดการโอนให้จํากัดอยู่ในผู้ลงทุนดังกล่าว
(ง) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น
(จ) การเสนอขายตั๋วเงินระยะสั้น
(ฉ) การเสนอขายตั๋วเงินที่ออกโดยสถาบันสินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เมื่อเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่
ข้อ ๒๘ ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ หากเป็นตราสารหนี้ที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ เมื่อผู้ออกตราสารหนี้นั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานในการเสนอขายตราสารหนี้ครั้งแรกแล้ว ในการเสนอขายครั้งต่อไป ให้ผู้ออกตราสารหนี้ปฏิบัติตามมาตรา 66
(1) หุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกใหม่
(2) ตั๋วเงินระยะสั้นที่ออกใหม่เฉพาะที่มีกําหนดเวลาใช้เงินไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน
หมวด ๓ บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ ซึ่งได้ยื่นไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศฉบับดังกล่าวต่อไป แต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับภายใน 60 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๓๐ ให้ตราสารหนี้ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 44/2543 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ยังคงสามารถเสนอขายโดยได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศฉบับดังกล่าวต่อไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,386 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 43/2549 เรื่อง การกำหนดการจัดการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กน. 43/2549
เรื่อง การกําหนดการจัดการลงทุนที่ไม่ถือเป็น
การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
“ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commission (IOSCO)
“ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ ที่สามารถนําเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศได้โดยชอบ
(1) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(2) กองทุนประกันสังคม
(3) บริษัทประกันชีวิต
(4) ธนาคารพาณิชย์
(5) ธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
(6) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อการจัดการทรัพย์สินของตนเอง
(7) สถาบันการเงินอื่นใดที่สํานักงานกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(8) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อการจัดการทรัพย์สินของบุคคลตาม (1) ถึง (7) ในลักษณะกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวม
ข้อ ๒ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ติดต่อชักชวนผู้ลงทุนสถาบันให้มอบหมายให้จัดการเงินทุน หากการติดต่อชักชวนดังกล่าวมีเป้าหมายในการให้บริการแก่ผู้ลงทุนสถาบันเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศดังกล่าวจัดการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ผู้ลงทุนสถาบันสามารถลงทุนได้ตามกฎหมาย ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549
(หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ -
เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่ามีผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศประสงค์จะเข้ามาชักชวนผู้ลงทุนสถาบันในประเทศให้มอบเงินลงทุนให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวนําไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งการดําเนินการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศที่จะมีช่องทางในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต่างประเทศสามารถกระทําได้โดยไม่ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล จึงได้ออกประกาศนี้ | 4,387 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง โรคที่ห้ามทำงานประดาน้ำ พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง โรคที่ห้ามทํางานประดาน้ํา
พ.ศ. 2553
----------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานประดาน้ํา พ.ศ. 2548 กําหนดให้ลูกจ้าง ซึ่งทํางานประดาน้ําต้องไม่เป็นโรคที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 (2) แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานประดาน้ํา พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง โรคที่ห้ามทํางานประดาน้ํา พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทํางานประดาน้ํา ในกรณีที่เป็นโรค ดังต่อไปนี้
(1) โรคหรือปัญหาการไม่สามารถปรับความดันในหูชั้นกลาง และหรือไซนัสอย่างเรื้อรัง เช่น โรคทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบเรื้อรัง
(2) การฉีกขาดของเยื่อแก้วหู
(3) โรคหูน้ําหนวกเรื้อรัง
(4) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน รวมถึงเวสติบูลาร์ เช่น โรคเมเนียร์ (Meniere’s Disease)
(5) โรคปอดอุดกั้นหรือเรื้อรัง รวมถึงโรคหืดหอบ และโรคถุงลมโป่งพอง
(6) โรคโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax)
(7) โรคของปอดที่มีโพรง หรือถุงอากาศภายในเนื้อปอด
(8) ประวัติโรคลมชักหรือการชักใด ๆ นอกเหนือจากการชักไข้ในเด็ก
(9) โรคของระบบประสาทส่วนกลางที่อาจส่งผลต่อการทํางานอย่างปลอดภัย
(10) โรคจิตเภท หรือโรคทางจิตเวชที่ต้องรับประทานยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอย่างต่อเนื่อง
(11) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคลิ้นหัวใจ ผนังหัวใจผิดปกติ การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจที่อาจส่งผลต่อการทํางานอย่างปลอดภัย
(12) โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
(13) โรคเบาหวาน ยกเว้นโรคเบาหวานที่ควบคุมได้โดยไม่ต้องใช้ยา
(14) โรคการตายของเนื้อกระดูกบริเวณใกล้ข้อ (Juxta - articular Osteonecrosis)
(15) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮีโมโกลบิน
(16) โรคมะเร็งนอกเหนือจากมะเร็งที่รักษาหายขาด และไม่มีการกําเริบภายใน 5 ปี
(17) โรคไส้เลื่อนที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด
(18) โรคอื่น ๆ ที่แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ํา หรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ําตรวจวินิจฉัยแล้วว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้างที่ทํางานประดาน้ํา
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553
นางอัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,388 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราวลิฟต์โดยสารชั่วคราว และลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว
ลิฟต์โดยสารชั่วคราว และลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว
พ.ศ. 2553
------------------------------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 กําหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราวและลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราวเป็นประจําทุกเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 80 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราวและลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑ บททั่วไป
------------------------------------------------
ข้อ ๓ นายจ้างที่มีการใช้ลิฟต์ที่มีความสูงตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป ต้องจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราว และลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว ภายใต้การควบคุมโดยวิศวกรอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
ข้อ ๔ ขณะที่มีการตรวจสอบส่วนประกอบ อุปกรณ์ หรือระบบควบคุมการทํางานของลิฟต์ นายจ้างต้องมีการใส่กุญแจ หรือจัดให้มีระบบระมัดระวังป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปใกล้หรือใช้ลิฟต์ พร้อมทั้งติดป้าย “ห้ามใช้ลิฟต์” ให้ชัดเจน
ข้อ ๕ นายจ้างต้องแสดงข้อมูลและรายละเอียดทั่วไปของลิฟต์ ดังนี้
(1) ยี่ห้อและประเทศผู้ผลิต
(2) รุ่น หมายเลขเครื่องและปีที่ผลิต
(3) น้ําหนักยกหรือพิกัดยกมากสุดของลิฟต์
(4) ชื่อผู้ผลิต ผู้นําเข้า
(5) แบบรายการคํานวณ และข้อมูลของวิศวกรผู้ออกแบบ กรณีเป็นลิฟต์ที่นายจ้างสร้างลิฟต์เอง
หมวด ๒ ลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราว
และลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว
------------------------------------
ข้อ ๖ กรณีที่นายจ้างมีการใช้ลิฟต์ ต้องจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ ให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน หัวข้อ ดังนี้
(1) โครงสร้างของลิฟต์
(2) รอยเชื่อมต่อ
(3) สลักเกลียว แป้นเกลียวและหมุดย้ํา
(4) ฐานที่รองรับและจุดยึดต่าง ๆ
(5) กว้าน หรือตะขอยก
(6) ระบบรอก เช่น สลัก ลูกปืน เพลา เฟือง
(7) เบรกหรืออุปกรณ์ควบคุมการหยุด
(8) ลวดสลิง
(9) ระบบหล่อลื่น
(10) สิ่งป้องกันอันตรายต่อผู้ใช้งานจากส่วนที่เคลื่อนที่ได้
(11) อุปกรณ์ประคองสายไฟฟ้า
(12) ระบบการควบคุมการหยุด ระบบควบคุมน้ําหนักเกิน
(13) ระบบนิรภัยอัตโนมัติ
(14) ระบบไฟฟ้า
(15) ส่วนประกอบและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ผู้ผลิตกําหนดให้มีการตรวจสอบ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,389 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพและจัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพและจัดทําบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทํางานประดาน้ํา
พ.ศ. 2553
------------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานประดาน้ํา พ.ศ. 2548 กําหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทํางานประดาน้ําได้รับการตรวจสุขภาพตามกําหนดระยะเวลา และจัดทําบัตรตรวจสุขภาพลูกจ้างไว้ ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานประดาน้ํา พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพและจัดทําบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทํางานประดาน้ํา พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทํางานประดาน้ํา เข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ํา หรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ํา ตามกําหนดระยะเวลา ดังนี้
(1) ก่อนให้ลูกจ้างทํางานประดาน้ํา
(2) ตรวจสุขภาพเป็นระยะ อย่างน้อยปีละครั้ง
(3) ตรวจสุขภาพเป็นระยะอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง สําหรับลูกจ้างที่ทํางานประดาน้ําที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
(4) เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วยจากการทํางานประดาน้ํา หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นที่แพทย์สั่งให้ลูกจ้างหยุดงานตั้งแต่ 7 วันขึ้นไป
ข้อ ๔ ในการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทํางานประดาน้ํา ตามข้อ 3 หากพบความผิดปกติในร่างกายของลูกจ้างหรือลูกจ้างเจ็บป่วยเนื่องจากการทํางานเกี่ยวกับงานประดาน้ํา ให้นายจ้างปฏิบัติ ดังนี้
4.1 ไม่ให้ลูกจ้างทํางานประดาน้ํา
4.2 ให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที
ข้อ ๕ นายจ้างต้องจัดให้มีระบบการให้คําปรึกษาและการส่งต่อลูกจ้างผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการรักษาโดยมิชักช้าในกรณีเกิดอันตรายจากการทํางานประดาน้ํา
ข้อ ๖ ให้นายจ้างจัดทําบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้าง โดยมีรายละเอียดตามแนบท้ายประกาศนี้ และเก็บบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างไว้ในสถานประกอบกิจการพร้อมให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,390 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2553
------------------------------------------------
โดยที่ระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยแนวทางและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2551 ข้อ 9 กําหนดให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกําหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี ในกรณีที่กฎหมายมิได้กําหนดไว้
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยแนวทางและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) เป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง
(3) ไม่ดํารงตําแหน่งกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติติดต่อกันเกินสี่ปี
ข้อ ๔ ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการค่าจ้าง ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป
(3) เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(4) เป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง
(5) ในกรณีผู้สมัครถูกเสนอชื่อโดยสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน หรือคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ต้องเป็นหรือเคยเป็นกรรมการสมาคมนายจ้างหรือกรรมการสหภาพแรงงาน หรือเป็นหรือเคยเป็นกรรมการลูกจ้างหรือกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
(6) เป็นผู้มีความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและการแรงงานสัมพันธ์
(7) ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(8) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สมชาย วงษ์ทอง
รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,391 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ
พ.ศ. 2553
-------------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 กําหนดให้นายจ้างจัดทําโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการในกรณีที่สภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทําโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายจ้างจัดทําโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่สภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ ดังนี้
(1) นโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน
(2) การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)
(3) การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)
(4) หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ให้นายจ้างประกาศโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการให้ลูกจ้างทราบ
ข้อ ๔ ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสํารวจและตรวจวัดระดับเสียงการศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการแล้วแจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ
ข้อ ๕ ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยิน โดยให้ดําเนินการดังนี้
(1) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric Testing) แก่ลูกจ้างที่สัมผัสเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป และให้ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(2) แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบผลการทดสอบ
(3) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ําอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบผลการทดสอบ กรณีพบว่าลูกจ้างมีสมรรถภาพการได้ยินเป็นไปตามข้อ 7
ข้อ ๖ เกณฑ์การพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้เป็นไป ดังนี้
(1) ใช้ผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งแรกของลูกจ้างที่ความถี่ 500 1000 2000 3000 4000 และ 6000 เฮิรตซ์ ของหูทั้งสองข้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Audiogram) และ
(2) นําผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งต่อไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง
ข้อ ๗ หากผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินพบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่ 15 เดซิเบลขึ้นไป ที่ความถี่ใดความถี่หนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ลูกจ้าง ดังนี้
(1) จัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่สามารถลดระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงเหลือน้อยกว่าแปดสิบห้าเดซิเบลเอ
(2) เปลี่ยนงานให้ลูกจ้าง หรือหมุนเวียนสลับหน้าที่ระหว่างลูกจ้างด้วยกันเพื่อให้ระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงน้อยกว่าแปดสิบห้าเดซิเบลเอ
ข้อ ๘ ให้นายจ้างติดประกาศผลการตรวจวัดระดับเสียง แผนผังแสดงระดับเสียงในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ลูกจ้างทุกคนได้รับทราบ
ข้อ ๙ ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยินความสําคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกันและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล แก่ลูกจ้างที่ทํางานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๑๐ ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๑๑ ให้นายจ้างบันทึกข้อมูลและจัดทําเอกสารการดําเนินการตามข้อ 3 ถึงข้อ 10 เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าห้าปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,392 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2553 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2553
---------------------------------------------------
โดยที่ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการออกบัตรประจําตัวเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2552 กําหนดให้เครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต้องผ่านการอบรมหรือสัมมนาตามหลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน หรือหลักสูตรอื่นตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 ของระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการออกบัตรประจําตัวเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2552 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2553”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บุคคลที่จะเป็นเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต้องผ่านการอบรมหรือสัมมนาหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) หลักสูตรการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน (ครูแนะแนว)
(2) หลักสูตรการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายด้านแรงงาน (ครูแนะแนว)
(3) หลักสูตรการสร้างเครือข่ายที่ปรึกษาแรงงานหญิงในสถานประกอบกิจการ
(4) หลักสูตรการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายที่ปรึกษาแรงงานหญิงในสถานประกอบกิจการ
(5) หลักสูตรการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ
(6) หลักสูตรการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายผู้ประกอบการ
(7) หลักสูตรการสร้างเครือข่ายลูกจ้าง
(8) หลักสูตรการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายลูกจ้าง
(9) หลักสูตรการสร้างเครือข่ายท้องถิ่น
(10) หลักสูตรการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายท้องถิ่น
(11) หลักสูตรการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชน
(12) หลักสูตรการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายสื่อมวลชน
(13) หลักสูตรการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานหญิงและเด็กระหว่างภาครัฐและเอกชน
(14) หลักสูตรการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานหญิงและเด็กระหว่างภาครัฐและเอกชน
(15) หลักสูตรการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานในระบบ
(16) หลักสูตรการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานในระบบ
(17) หลักสูตรการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,393 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดสถานที่ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะ
การทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2552
-------------------------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 กําหนดให้อธิบดีประกาศสถานที่ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดสถานที่ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอ ณ กองตรวจความปลอดภัย หรือกลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทุกพื้นที่
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,394 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำงานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบไอน้ำ ระบบลมระบบไฮดรอลิค ระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ระบบดีเซลแฮมเมอร์ หรือระบบอื่น พ.ศ. 2552 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทํางานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบไอน้ํา ระบบลม
ระบบไฮดรอลิค ระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ระบบดีเซลแฮมเมอร์ หรือระบบอื่น
พ.ศ. 2552
----------------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 กําหนดให้นายจ้างที่มีการทํางานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบไอน้ํา ระบบลม ระบบไฮดรอลิค ระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในระบบดีเซลแฮมเมอร์ หรือระบบอื่น ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 56 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทํางานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบไอน้ํา ระบบลม ระบบไฮดรอลิค ระบบเครื่องยนต์ เผาไหม้ภายใน ระบบดีเซลแฮมเมอร์ หรือระบบอื่น พ.ศ. 2552”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทํางานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบไอน้ํา ระบบลม ระบบไฮดรอลิค ระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ระบบดีเซลแฮมเมอร์ หรือระบบอื่น ต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) ก่อนเริ่มปฏิบัติงานตอกเสาเข็มให้จัดฝึกอบรมให้กับลูกจ้างเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามคู่มือการใช้เครื่องตอกเสาเข็มและคู่มือการใช้สัญญาณสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ในการตอกเสาเข็มตามข้อ 43 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 และจัดเก็บหลักฐานการฝึกอบรมพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
(2) จัดให้มีผู้ให้สัญญาณสื่อสารในการตอกเสาเข็มเพื่อปฏิบัติตามคู่มือการใช้เครื่องตอกเสาเข็มและคู่มือการใช้สัญญาณสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานในการตอกเสาเข็ม
(3) ควบคุมดูแล ให้ลูกจ้างอยู่ในสภาพที่พร้อมในการปฏิบัติงาน
ข้อ 4 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในสถานที่ก่อสร้างเขตก่อสร้าง หรือในพื้นที่รับผิดชอบของนายจ้างอยู่ใกล้บริเวณแท่นเครื่องตอกเสาเข็มในระยะน้อยกว่า 2 เท่าของความสูงของโครงเครื่องตอกเสาเข็มหรือเสาเข็ม ในขณะที่มีการใช้เครื่องตอกเสาเข็ม เช่น การเคลื่อนย้ายเครื่องตอกเสาเข็ม การยกเสาเข็ม การตอกเสาเข็ม
ข้อ 5 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดโหนเชือกหรือลวดสลิงของเครื่องตอกเสาเข็ม
ข้อ 6 การทํางานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็ม นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้
(1) การทํางานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบลม หรือระบบไฮดรอลิค
ก. จัดให้มีการยึดโยง ท่อลม หรือท่อไฮดรอลิคกับตัวลูกตุ้มของเครื่องตอกเสาเข็มให้มั่นคงแข็งแรง
ข. หยุดการใช้เครื่องตอกเสาเข็มระบบลมหรือระบบไฮดรอลิค กรณีท่อลมหรือท่อไฮดรอลิคชํารุด จนกว่าจะมีการแก้ไขให้มีความปลอดภัย
(2) การทํางานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน
ก. ตรวจสอบลวดสลิงให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ก่อนและหลังการใช้งานทุกครั้งหากพบว่าชํารุดต้องหยุดการใช้ทํางานจนกว่าจะแก้ไขให้มีความปลอดภัย
ข. จัดให้มีแผ่นเหล็กเหนียวกั้นหรือมีลูกกลิ้งบริเวณเหนือร่องรอกส่วนบนของเครื่องตอกเสาเข็มเพื่อป้องกันลวดสลิงหลุดจากร่องรอก
ค. จัดให้มีการยึดปลายสลักที่สอดร้อยลูกตุ้มเพื่อป้องกันลูกตุ้มหลุด
ง. เมื่อหยุดการตอกเสาเข็ม ต้องดูแลและควบคุมให้ลดระดับลูกตุ้มตอกเสาเข็มไว้ในตําแหน่งต่ําสุดของรางนําส่งเสาเข็มบนที่รองรับที่มีความมั่นคงแข็งแรง
(3) การทํางานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบดีเซลแฮมเมอร์
ก. จัดให้มีบันไดพร้อมราวจับ และโครงกันตกโลหะติดกับโครงเครื่องตอกเสาเข็ม
ข. กรณีโครงเครื่องตอกเสาเข็มมีชั้นพัก ต้องจัดทําพื้นและทางเดินบนชั้นพักเป็นแบบกันลื่น และมีราวกันตกที่มีความมั่นคงแข็งแรงโดยรอบ
ค. จัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องหยุดอัตโนมัติที่สามารถหยุดการทํางานของเครื่องตอกได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน
ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,395 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2552 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้าง
พ.ศ. 2552
---------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 กําหนดให้นายจ้างจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้าง ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายจ้างจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้าง ดังต่อไปนี้
(1) งานอาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 2,000 เมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 1,000 ตารางเมตร
(2) งานสะพานที่มีช่วงความยาวตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไป หรืองานสะพานข้ามทางแยกหรือทางยกระดับ สะพานกลับรถ หรือทางแยกต่างระดับ
(3) งานขุด งานซ่อม หรืองานรื้อถอนระบบสาธารณูปโภคที่ลึกตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป
(4) งานอุโมงค์หรือทางลอด
(5) งานก่อสร้างอื่นที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศกําหนด
การจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานดังกล่าว ให้จัดทําก่อนเริ่มดําเนินการก่อสร้าง และเก็บไว้พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้
ข้อ ๔ แผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้างต้องจัดทําเป็นหนังสือและสอดคล้องกับแผนงานการก่อสร้าง ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(1) แผนควบคุมดูแลความปลอดภัยในการทํางานที่สอดคล้องกับกฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน
(2) แผนฝึกอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทํางานแก่ลูกจ้างที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทํางานตาม ข้อ 3
(3) แผนรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางาน
(4) แผนฉุกเฉินกรณีเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน
(5) แผนการตรวจสอบ วิเคราะห์ และรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
ข้อ ๕ แผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้างตามข้อ 4 ต้องมีรายละเอียด เช่น ชื่อโครงการหรือกิจกรรม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ แผนการปฏิบัติงาน ซึ่งระบุวิธีการ ขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหรือกิจกรรม วิธีการประเมินผลโครงการหรือกิจกรรม ระยะเวลาการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขแผนงาน และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,397 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบแจ้งสถานที่ปฏิบัติงานของลูกจ้างทำงานประดาน้ำ พ.ศ. 2552 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบแจ้งสถานที่ปฏิบัติงานของลูกจ้างทํางานประดาน้ํา
พ.ศ. 2552
-------------------------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานประดาน้ํา พ.ศ. 2548 กําหนดว่า นายจ้างจะให้ลูกจ้างทํางานประดาน้ํา ณ สถานที่ใด หรือเปลี่ยนสถานที่การทํางานประดาน้ําต้องแจ้งสถานที่นั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบล่วงหน้าก่อนการทํางานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานประดาน้ํา พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบแจ้งสถานที่ปฏิบัติงานของลูกจ้างทํางานประดาน้ํา พ.ศ. 2552”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ แบบแจ้งสถานที่ปฏิบัติงานของลูกจ้างทํางานประดาน้ํา ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
อัมพร นิติสิริ
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,398 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานของสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2551 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง แบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทํางานของสถานประกอบกิจการ
พ.ศ. 2551
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 115/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทํางานของสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ แบบแสดงสภาพการจ้างและสภาพการทํางานของสถานประกอบกิจการ ให้เป็นไปตามแบบ คร. 11 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,399 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบคำร้องและแบบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบคําร้องและแบบคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
--------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคหนึ่ง และมาตรา 124 วรรคสาม และวรรคหก แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกําหนดแบบคําร้องและแบบคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคําร้องและแบบคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ข้อ ๔ คําร้องที่ลูกจ้างยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อดําเนินการในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด ตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้เป็นไปตามแบบ คร. 7 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งวินิจฉัยสั่งการตามคําร้องของลูกจ้าง ในข้อ 4 ให้เป็นไปตามแบบ คร. 8 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย]
1. แบบคําร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (แบบ คร. 7)
2. คําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน (แบบ คร. 8)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) | 4,400 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบคำร้องและแบบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2551 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบคําร้องและแบบคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
พ.ศ. 2551
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบคําร้องและแบบคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบคําร้องและแบบคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ คําร้องที่ลูกจ้างยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อดําเนินการในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด ตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้เป็นไปตามแบบ คร. 7 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งวินิจฉัยสั่งการตามคําร้องของลูกจ้างในข้อ 4 ให้เป็นไปตามแบบ คร. 8 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,401 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย พ.ศ. 2551 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย
พ.ศ. 2551
----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 35 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
หมวด ๑ บททั่วไป
-------------------------------------
ข้อ ๓ ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิเข้ารับการอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยต้องเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับบริหาร
ข้อ ๔ นายจ้างซึ่งประสงค์ให้ลูกจ้างตามข้อ 3 เข้ารับการอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยต้องจัดให้ลูกจ้างนั้นได้รับการอบรมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย พร้อมยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือสําเนาหนังสือเดินทางของผู้เข้ารับการอบรม
(2) สําเนาหนังสือรับรองการเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับบริหาร
ข้อ ๕ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีแล้ว ให้เป็นหน่วยงานอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยตามประกาศนี้
หมวด ๒ หลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย
---------------------------------------------
ข้อ ๖ หลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย ต้องมีระยะเวลาการอบรม ดังต่อไปนี้
(1) ไม่น้อยกว่าสี่สิบสองชั่วโมง สําหรับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน หรือเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
(2) ไม่น้อยกว่าสามสิบชั่วโมง สําหรับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค หรือเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง
ข้อ ๗ หลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยตามข้อ 6 หน่วยงานอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยต้องจัดให้มีการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ข้อ ๘ การอบรมภาคทฤษฎีสําหรับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน หรือเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารต้องมีกําหนดระยะเวลาการอบรมสามสิบชั่วโมง ประกอบด้วย 6 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 กลยุทธ์ในการบริหารงานตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานในสถานประกอบกิจการ มีระยะเวลาการอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของหน่วยงานต่างๆ
(ข) การบริหารจัดการตามกฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน
(2) หมวดวิชาที่ 2 กลยุทธ์การบริหารองค์กร มีระยะเวลาการอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและการพัฒนาความเป็นผู้นํา
(ข) เทคนิคการบริหารองค์กร
(ค) การสื่อสาร มนุษย์สัมพันธ์ และการประสานงาน
(3) หมวดวิชาที่ 3 การจัดการความเสี่ยงและการจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยง มีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การชี้บ่งอันตราย
(ข) การประเมินความเสี่ยง
(ค) การจัดทําแผนจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
(4) หมวดวิชาที่ 4 การจัดการสิ่งแวดล้อมในการทํางาน สภาพการทํางาน และการป้องกันโรคจากการทํางาน มีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทํางาน
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพการทํางาน
(ค) การป้องกันและควบคุมโรคจากการทํางาน
(5) หมวดวิชาที่ 5 การจัดการด้านวิศวกรรมความปลอดภัย มีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การวางผังโรงงาน
(ข) การจัดการด้านวิศวกรรมความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักรและไฟฟ้า
(ค) การจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายวัสดุและการเก็บรักษาวัสดุ
(ง) แผนฉุกเฉินและการจัดการด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัย
(6) หมวดวิชาที่ 6 ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และการตรวจประเมิน มีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและการประยุกต์ใช้
(ข) การจัดทําคู่มือและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทํางาน
(ค) การประเมินผลและการวัดผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย
(ง) การตรวจประเมิน
ข้อ ๙ การอบรมภาคปฏิบัติสําหรับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน หรือเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารต้องมีกําหนดระยะเวลาการอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยงพร้อมนําเสนอรายงานการจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยงในสถานประกอบกิจการของตน และการระดมความคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนาแผน
ข้อ ๑๐ การอบรมภาคทฤษฎีสําหรับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค หรือเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงต้อง มีกําหนดระยะเวลาการอบรมสิบแปดชั่วโมง ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 กลยุทธ์ในการบริหารงานตามกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในสถานประกอบกิจการ มีระยะเวลาการอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของหน่วยงานต่างๆ
(ข) การบริหารจัดการตามกฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน
(2) หมวดวิชาที่ 2 กลยุทธ์การบริหารองค์กร มีระยะเวลาการอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและการพัฒนาความเป็นผู้นํา
(ข) เทคนิคการบริหารองค์กร
(ค) การสื่อสาร มนุษย์สัมพันธ์ และการประสานงาน
(3) หมวดวิชาที่ 3 การจัดการความเสี่ยงและการจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยง มีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การชี้บ่งอันตราย
(ข) การประเมินความเสี่ยง
(ค) การจัดทําแผนจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
(4) หมวดวิชาที่ 4 ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และการตรวจประเมิน มีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและการประยุกต์ใช้
(ข) การจัดทําคู่มือและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทํางาน
(ค) การประเมินผลและการวัดผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย
(ง) การตรวจประเมิน
ข้อ ๑๑ การอบรมภาคปฏิบัติสําหรับผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค หรือเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงต้องมีกําหนดระยะเวลาการอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยงพร้อมนําเสนอรายงานการจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยงในสถานประกอบกิจการของตน และการระดมความคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนาแผน
ข้อ ๑๒ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย ต้องเข้ารับการอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรตามข้อ 6 รวมทั้งต้องผ่านการวัดผลและประเมินผลตามข้อ 14 (4)
หมวด ๓ วิทยากร
---------------------------------------
ข้อ ๑๓ วิทยากรหลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่มีคุณวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า หรือผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรด้านความปลอดภัยในการทํางานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทํางานมาไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี
(2) เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า โดยสอนวิชาที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน และมีประสบการณ์การสอนเกี่ยวกับวิชาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
(3) เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่าห้าปี หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี ทั้งนี้ ต้องมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับหัวข้อวิชาที่บรรยายมาไม่น้อยกว่าสามปี
หมวด ๔ การดําเนินการอบรม
---------------------------------------
ข้อ ๑๔ หน่วยงานอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยต้องดําเนินการอบรมตามหลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยและต้องดําเนินการ ดังนี้
(1) แจ้งกําหนดการอบรมแต่ละครั้งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายก่อนวันอบรมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
(2) จัดให้มีเอกสารประกอบการอบรมที่มีเนื้อหาและรายละเอียดตามหลักสูตร
(3) จัดให้ห้องอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการอบรมไม่เกินหกสิบคนและวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน
(4) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลการอบรม
(5) ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการอบรม
ข้อ ๑๕ ให้หน่วยงานอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย และเอกสารประเมินผลการอบรมของผู้ผ่านการอบรมแต่ละราย โดยให้วิทยากรซึ่งเป็นผู้ดําเนินการอบรมเป็นผู้รับรองเอกสารดังกล่าว และส่งเอกสารนั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการอบรม
ข้อ ๑๖ หน่วยงานอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้อธิบดีมีอํานาจดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) สั่งให้หยุดการดําเนินการอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยเป็นการชั่วคราว
(3) ยกเลิกการให้ความเห็นชอบเป็นหน่วยงานอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,402 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและแบบแจ้งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วยการให้การรักษาพยาบาล และการป้องกันแก้ไขพ.ศ. 2551 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบสมุดสุขภาพประจําตัวของลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง
และแบบแจ้งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย
การให้การรักษาพยาบาล และการป้องกันแก้ไข
พ.ศ. 2551
----------------------------------------------
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547 ข้อ 6 กําหนดให้นายจ้างจัดให้มีสมุดสุขภาพประจําตัวของลูกจ้าง ที่ทํางานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด และข้อ 9 วรรคสอง กําหนดให้นายจ้างส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติ หรือการเจ็บป่วย การให้การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 และข้อ 9 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547 อธิบดี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบสมุดสุขภาพประจําตัวของลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง และแบบแจ้งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง ที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย การให้การรักษาพยาบาล และการป้องกันแก้ไข พ.ศ. 2551”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ สมุดสุขภาพประจําตัวของลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ แบบแจ้งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย การให้การรักษาพยาบาล และการป้องกันแก้ไข ให้เป็นไปตามแบบ จผส. 1 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,403 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ พ.ศ. 2550 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ
พ.ศ. 2550
-----------------------------------------------
โดยที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทํางานสําหรับลูกจ้าง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ข้อ 19 (3) กําหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกําหนดหรือยอมรับไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจํานวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบการและข้อ 36 วรรคสาม กําหนดให้นายจ้างที่ไม่สามารถฝึกซ้อมดับเพลิงหรือหนีไฟได้เองให้ขอความร่วมมือหน่วยงานดับเพลิงท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่ทางราชการรับรองช่วยดําเนินการฝึกซ้อม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19 (3) และข้อ 36 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทํางานสําหรับลูกจ้าง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 166 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ พ.ศ. 2550”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นแก่ลูกจ้าง ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ข้อ ๔ ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้เป็นหน่วยงานที่ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ฝึกซ้อมดับเพลิงหรือฝึกซ้อมหนีไฟ ได้แก่
(1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
(2) สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร
(3) หน่วยงานดับเพลิงของเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตําบลและเมืองพัทยา
(4) หน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,404 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน พ.ศ. 2550 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง แบบคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน
พ.ศ. 2550
------------------------------------------------
โดยที่ข้อ 17 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 กําหนดให้ผู้ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานยื่นคําขอพร้อมสําเนาเอกสารหลักฐานต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน พ.ศ. 2550”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ แบบคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานให้เป็นไปตามแบบ รสส.1 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,405 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อนแสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ พ.ศ. 2550 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีดําเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน
แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ
พ.ศ. 2550
-------------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 วรรคสอง ข้อ 9 วรรคสอง และข้อ 15 วรรคสองแห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีดําเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ พ.ศ. 2550”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
หมวด ๑ บททั่วไป
-------------------------------------
ข้อ ๓ นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการในสภาวะที่เป็นจริงของสภาพการทํางานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
กรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการผลิต วิธีการทํางานหรือการดําเนินการใดๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงให้นายจ้างดําเนินการตามวรรคหนึ่งเพิ่มเติมภายในเก้าสิบวันนับจากวันที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง
หมวด ๒ การตรวจวัดระดับความร้อนและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ
----------------------------------
ข้อ ๔ ให้ตรวจวัดระดับความร้อนบริเวณที่มีลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ในสภาพการทํางานปกติและต้องตรวจวัดในเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดของการทํางานในปีนั้น
ข้อ ๕ ประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการตรวจวัด ได้แก่ การผลิตน้ําตาลและทําให้บริสุทธิ์การปั่นทอที่มีการฟอกหรือย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษหรือกระดาษ การผลิตยางรถยนต์หรือหล่อดอกยางการผลิตกระจก เครื่องแก้วหรือหลอดไฟ การผลิตซีเมนต์หรือปูนขาว การถลุง หล่อหลอมหรือรีดโลหะ กิจการที่มีแหล่งกําเนิดความร้อนหรือมีการทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากความร้อน
ข้อ ๖ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดระดับความร้อน ประกอบด้วย
(1) เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง เป็นชนิดปรอทหรือแอลกอฮอล์ที่มีความละเอียดของสเกล 0.5 องศาเซลเซียส และมีความแม่นยําบวกหรือลบ 0.5 องศาเซลเซียส มีการกําบังป้องกันเทอร์โมมิเตอร์จากแสงอาทิตย์และการแผ่รังสีความร้อน
(2) เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกตามธรรมชาติ มีผ้าฝ้ายชั้นเดียวที่สะอาดห่อหุ้มกระเปาะหยดน้ํากลั่นลงบนผ้าฝ้ายที่หุ้มกระเปาะให้เปียกชุ่ม และปล่อยให้ปลายอีกด้านหนึ่งของผ้าจุ่มอยู่ในน้ํากลั่นตลอดเวลา
(3) โกลบเทอร์โมมิเตอร์ มีช่วงการวัดตั้งแต่ลบ 5 องศาเซลเซียส ถึง 100 องศาเซลเซียสที่เสียบเข้าไปในกระเปาะทรงกลมกลวงทําด้วยทองแดง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสิบห้าเซนติเมตรภายนอกทาด้วยสีดําชนิดพิเศษที่สามารถดูดกลืนรังสีความร้อนได้ดีโดยให้ปลายกระเปาะของเทอร์โมมิเตอร์อยู่กึ่งกลางของกระเปาะทรงกลม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดระดับความร้อนตามวรรคหนึ่งต้องทําการปรับเทียบความถูกต้อง (Calibration) อย่างน้อยปีละครั้ง
ในกรณีที่ไม่ใช้อุปกรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เครื่องวัดระดับความร้อนที่สามารถอ่านและคํานวณค่าอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ได้โดยตรงตามมาตรฐาน ISO 7243 ขององค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization) หรือเทียบเท่า และให้ทําการปรับเทียบความถูกต้อง (Calibration) ก่อนใช้งานทุกครั้ง
ข้อ ๗ วิธีการตรวจวัดระดับความร้อน ให้ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องวัดตามข้อ 6ในตําแหน่งสูงจากพื้นระดับหน้าอกของลูกจ้าง
อุปกรณ์ตามข้อ 6 วรรคหนึ่ง ก่อนเริ่มอ่านค่าต้องตั้งทิ้งไว้อย่างน้อยสามสิบนาที ทั้งนี้อุณหภูมิที่อ่านค่าเป็นองศาเซลเซียสให้คํานวณหาค่าอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง
ให้หาค่าระดับความร้อน จากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ที่คํานวณได้ในช่วงเวลาทํางานสองชั่วโมงที่ร้อนที่สุดได้จากสูตร ดังต่อไปนี้
WBGT1 หมายถึง WBGT( O C) ในเวลา t1 (นาที)
WBGT2 หมายถึง WBGT( O C) ในเวลา t2 (นาที)
WBGTn หมายถึง WBGT( O C) ในเวลา tn (นาที)
t1+ t2 + ............+ tn = 120 นาที ที่มีอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) สูงสุด
ในกรณีที่ไม่สามารถระบุได้ว่าลักษณะงานที่ลูกจ้างทําในช่วงเวลาทํางานสองชั่วโมงที่ร้อนที่สุดตามวรรคสาม เป็นงานเบา งานปานกลางหรืองานหนักตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ให้คํานวณภาระงาน (Work-Load Assessment) เพื่อกําหนดลักษณะงานตามแนวทางของ OSHA Technical Manual (U.S. Department of Labor, Occupational Safety and Health Administration) หรือเทียบเท่า
ให้นําค่าระดับความร้อนที่คํานวณได้ตามวรรคสาม และลักษณะงานที่คํานวณได้ตามวรรคสี่เปรียบเทียบกับมาตรฐานระดับความร้อนตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง
หมวด ๓ การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ
------------------------------------
ข้อ ๘ ให้ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างในสถานประกอบกิจการทุกประเภทกิจการโดยให้ตรวจวัดบริเวณพื้นที่ทั่วไป บริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้างทํางานและบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทํางานในสภาพการทํางานปกติและในช่วงเวลาที่มีแสงสว่างตามธรรมชาติน้อยที่สุด
ข้อ ๙ การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ต้องใช้เครื่องวัดแสงที่ได้มาตรฐาน CIE 1931 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยความส่องสว่าง (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527 หรือเทียบเท่า และก่อนเริ่มการตรวจวัดต้องปรับให้เครื่องวัดแสงอ่านค่าที่ศูนย์ (Photometer Zeroing)
ข้อ ๑๐ การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างบริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้างทํางาน ให้ตรวจวัดในแนวระนาบสูงจากพื้นเจ็ดสิบห้าเซนติเมตร
ให้หาค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่าง โดยวัดค่าความเข้มของแสงสว่างทุกๆ 2x2 ตารางเมตร แต่หากมีการติดหลอดไฟที่มีลักษณะที่แน่นอนซ้ําๆ กัน สามารถวัดแสงในจุดที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีแสงตกกระทบในลักษณะเดียวกันได้ ตามวิธีการวัดแสงและการคํานวณค่าเฉลี่ยในหนังสือ IES Lighting Handbook (1981 Reference Volume หรือเทียบเท่า) ของสมาคมวิศวกรรมด้านความส่องสว่างแห่งอเมริกาเหนือ (Illuminating Engineering Society of North America) หรือเทียบเท่า
นําค่าเฉลี่ยที่คํานวณได้ตามวรรคสอง เปรียบเทียบกับความเข้มของแสงสว่างตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง
ข้อ ๑๑ การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทํางาน ให้ตรวจวัดในจุดที่สายตาตกกระทบชิ้นงานหรือจุดที่ทํางานของลูกจ้าง (Workstation)
นําค่าความเข้มของแสงสว่างที่ตรวจวัดได้ตามวรรคหนึ่ง เปรียบเทียบกับความเข้มของแสงสว่างตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง
หมวด ๔ การตรวจวัดระดับเสียงและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ
--------------------------------------------
ข้อ ๑๒ ประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการตรวจวัดระดับเสียง ได้แก่ การระเบิด ย่อย โม่หรือบดหิน การผลิตน้ําตาลหรือทําให้บริสุทธิ์ การผลิตน้ําแข็ง การปั่น ทอโดยใช้เครื่องจักร การผลิตเครื่องเรือน เครื่องใช้จากไม้ การผลิตเยื่อกระดาษหรือกระดาษ กิจการที่มีการปั๊มหรือเจียรโลหะกิจการที่มีแหล่งกําเนิดเสียงหรือสภาพ การทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากเสียง
ข้อ ๑๓ การตรวจวัดระดับเสียง ต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า (International Electrotechnical Commission) หรือเทียบเท่า ดังนี้
(1) เครื่องวัดเสียง ต้องได้มาตรฐาน IEC 651 Type 2
(2) เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม ต้องได้มาตรฐาน IEC 61252
(3) เครื่องวัดเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก ต้องได้มาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 60804
อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจวัดระดับเสียงตามวรรคหนึ่ง ต้องทําการปรับเทียบความถูกต้อง (Calibration) ด้วยอุปกรณ์ตรวจสอบความถูกต้อง (Noise Calibrator) ที่ได้มาตรฐาน IEC 60942 หรือเทียบเท่าตามวิธีการที่ระบุในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตก่อนการใช้งานทุกครั้ง
ข้อ ๑๔ วิธีการตรวจวัดระดับเสียง ให้ตรวจวัดบริเวณที่มีลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ในสภาพการทํางานปกติ โดยตั้งค่าเครื่องวัดเสียงที่สเกลเอ (Scale A) การตอบสนองแบบช้า (slow) และตรวจวัดที่ระดับหูของลูกจ้างที่กําลังปฏิบัติงาน ณ จุดนั้นรัศมีไม่เกินสามสิบเซนติเมตร
กรณีใช้เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม ต้องตั้งค่าให้เครื่องคํานวณปริมาณเสียงสะสมที่ระดับแปดสิบเดซิเบล Criteria Level ที่ระดับเก้าสิบเดซิเบล Energy Exchange rate ที่ห้า ส่วนการใช้เครื่องวัดเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกให้ตั้งค่าตามที่ระบุในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต
ข้อ ๑๕ กรณีบริเวณที่ลูกจ้างปฏิบัติงานมีระดับเสียงดังไม่สม่ําเสมอ หรือลูกจ้างต้องย้ายการทํางานไปยังจุดต่างๆ ที่มีระดับเสียงดังแตกต่างกัน ให้ใช้สูตรในการคํานวณหาระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางานในแต่ละวัน ดังนี้
เมื่อ D = ปริมาณเสียงสะสมที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ หน่วยเป็นร้อยละ
C = ระยะเวลาที่สัมผัสเสียง
T = ระยะเวลาที่อนุญาตให้สัมผัสระดับเสียงนั้น ๆ
(ตามตารางที่ 6 ในกฎกระทรวง)
TWA (8) = ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางาน 8 ชั่วโมง/วัน
ค่า TWA (8) ที่คํานวณได้ต้องไม่เกินเก้าสิบเดซิเบลเอ
หมวด ๕ การวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง และเสียง
-------------------------------------
ข้อ ๑๖ ให้นายจ้างทําการวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่างหรือเสียงที่ลูกจ้างได้รับ
กรณีผลการตรวจวัดมีค่าเกินหรือต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง แล้วแต่กรณีต้องระบุสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาคารสถานที่ การระบายอากาศ เครื่องจักรการบํารุงรักษา จํานวนลูกจ้างที่สัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับอันตราย สภาพและลักษณะการทํางานของลูกจ้างรวมถึงวิธีการหรือมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,406 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2549 | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ
พ.ศ. 2549
-----------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 28 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและ การจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2549”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายจ้างจัดให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการได้รับการอบรมเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ตามกฎหมาย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรการอบรมและวิทยากรที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้จัดอบรมตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมดังต่อไปนี้ ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนการอบรมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
(1) กําหนดการอบรม ซึ่งประกอบด้วย วัน เวลา และสถานที่
(2) จํานวนผู้เข้ารับการอบรม
(3) รายชื่อและคุณสมบัติวิทยากรแต่ละหัวข้อวิชา
การส่งรายละเอียดตามวรรคสอง ให้ถือว่านายจ้างได้แจ้งการอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามข้อ 6 (1) แล้ว
ในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดอบรมได้ ให้นายจ้างจัดให้คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการเข้ารับการอบรมกับกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อ ๔ หลักสูตรการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางานของสถานประกอบกิจการต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการอบรมรวมสิบสองชั่วโมง ดังนี้
(1) หมวดวิชาที่ 1 การบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางานของสถานประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ระยะเวลาสามชั่วโมง ประกอบด้วย หัวข้อวิชา ได้แก่
(ก) แนวคิดระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
(ข) การพิจารณาแผนงานและโครงการความปลอดภัยในการทํางานและความปลอดภัยนอกงาน
(2) หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน ระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที ประกอบด้วย หัวข้อวิชา ได้แก่
(ก) กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549
(ข) สาระสําคัญของกฎหมายความปลอดภัยในการทํางานที่เกี่ยวข้อง
(3) หมวดวิชาที่ 3 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ระยะเวลาเจ็ดชั่วโมงสามสิบนาที ประกอบด้วย หัวข้อวิชา ได้แก่
(ก) การควบคุมและป้องกันการประสบอันตรายจากการทํางาน
(ข) การสํารวจความปลอดภัย
(ค) การจัดทําข้อบังคับ คู่มือและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทํางาน
(ง) การวางระบบการรายงานสภาพการทํางานที่ไม่ปลอดภัย
(จ) การประเมินผลการดําเนินงานด้านความปลอดภัยในการทํางาน
(ฉ) การประชุมและการติดตามงาน
ข้อ ๕ วิทยากรอบรมหลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
(1) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่มีคุณวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า หรือผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรด้านความปลอดภัยในการทํางานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทํางานมาไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี
(2) เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า โดยสอนวิชาที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน และมีประสบการณ์การสอนเกี่ยวกับวิชาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
(3) เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่าห้าปี หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี ทั้งนี้ มีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับหัวข้อวิชาที่บรรยายมาไม่น้อยกว่าสามปี
ข้อ ๖ ในการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ผู้จัดอบรมต้องดําเนินการ ดังนี้
(1) แจ้งกําหนดการอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนการจัดอบรม
(2) จัดให้มีเอกสารประกอบการอบรมที่มีเนื้อหาและรายละเอียดตามหลักสูตร
(3) จัดให้ห้องอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการอบรมไม่เกินหกสิบคนต่อวิทยากรหนึ่งคน
(4) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้ารับการอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กําหนด
(5) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม
(6) ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการอบรม
ข้อ ๗ ให้นายจ้างแจ้งผลการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางานของสถานประกอบกิจการเป็นหนังสือต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการอบรม และหนังสือแจ้งผลการอบรมนั้นอย่างน้อยต้องมีรายการและเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ และที่ตั้งสถานประกอบกิจการของนายจ้าง
(2) กําหนดการอบรมที่มีการลงลายมือชื่อของวิทยากรในแต่ละหัวข้อวิชา
(3) สําเนาใบรับรองของผู้ผ่านการอบรม
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,407 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นหน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น
หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ
---------------------------------------------------
โดยที่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทํางานสําหรับลูกจ้าง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ข้อ 19 (3) กําหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกําหนดหรือยอมรับไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจํานวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบการ และข้อ 36 วรรคสาม กําหนดให้นายจ้างที่ไม่สามารถฝึกซ้อมดับเพลิงหรือหนีไฟได้เองให้ขอความร่วมมือหน่วยงานดับเพลิงท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่ทางราชการรับรองช่วยดําเนินการฝึกซ้อม
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19 (3) และข้อ 36 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทํางานสําหรับลูกจ้าง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 166 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547
หมวด ๑ การขึ้นทะเบียน
-----------------------------------------------
ข้อ ๔ หน่วยงานที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ ได้แก่
(1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน
(2) รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
(3) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทํางาน
(4) หน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ในกรณีที่นายจ้างมีความประสงค์จะจัดฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นให้แก่ลูกจ้างของนายจ้างนั้นให้สามารถขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่งได้เฉพาะการเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น
ข้อ ๕ หน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีบุคลากรซึ่งมีวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทําหน้าที่บริหารจัดการการฝึกอบรมอย่างน้อยหนึ่งคน
(2) มีวิทยากรซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 11 หรือข้อ 12 แล้วแต่กรณี ปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานฝึกอบรมอย่างน้อยหนึ่งคน เว้นแต่หน่วยงานตามข้อ 4 วรรคสอง ที่ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาก็ได้
(3) มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมที่มีเนื้อหาและรายละเอียดตามหลักสูตรการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟที่ขอขึ้นทะเบียน
(4) มีอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับหลักสูตรการฝึกอบรมที่ขอขึ้นทะเบียน
(5) ไม่เคยถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง เว้นแต่พ้นกําหนดสามปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง แล้วแต่กรณี
(6) ไม่มีผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟอื่น ณ วันที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง เว้นแต่พ้นกําหนดสามปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง
ข้อ ๖ ให้หน่วยงานที่มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ ยื่นคําขอพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้ ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
(1) สําเนาเอกสารที่แสดงความเป็นหน่วยงานตามข้อ 4
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงาน
(3) สําเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงาน
(4) สําเนาหนังสือแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการของนิติบุคคลหรือวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหน่วยงาน
(5) แผนที่แสดงที่ตั้งของหน่วยงานโดยสังเขป
(6) แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ฝึกภาคปฏิบัติโดยสังเขป
(7) รายชื่อวิทยากร เอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติของวิทยากร รวมทั้งหนังสือยืนยันการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงาน
(8) เอกสารประกอบการฝึกอบรมที่มีเนื้อหาวิชาตามที่กําหนดในหลักสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน
(9) เอกสารแสดงรายการอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในหลักสูตรที่ขอขึ้นทะเบียน
ให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงานลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสําเนาเอกสารตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๗ เมื่อมีการยื่นคําขอตามข้อ 6 และอธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคําขอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 ให้อธิบดีขึ้นทะเบียนผู้ยื่นคําขอนั้นเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ และออกใบสําคัญแสดงการขึ้นทะเบียน พร้อมมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอทราบภายในห้าวัน นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน
ในกรณีที่อธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคําขอขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 5 ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคําขอทราบโดยเร็ว
ข้อ ๘ ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่า หน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 7 ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 5 ให้อธิบดีเพิกถอนทะเบียน
ข้อ ๙ ในกรณีที่หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 7 มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสถานภาพของหน่วยงาน วิทยากรฝึกอบรมหรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใดจากที่ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนไว้ให้หน่วยงานนั้นส่งเอกสารแสดงการเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อ ๑๐ การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ ให้มีอายุคราวละห้าปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน
หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายได้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันที่การขึ้นทะเบียนจะสิ้นสุดลง และให้นําความในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 มาใช้บังคับแก่การยื่นคําขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนโดยอนุโลม
หมวด ๒ วิทยากร
-------------------------------------
ข้อ ๑๑ วิทยากรผู้ทําการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรีที่มีการเรียนวิชาเกี่ยวกับอัคคีภัย และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(2) ผ่านการอบรมในหลักสูตรการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นก้าวหน้า ขั้นสูง หรือทีมดับเพลิงและมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าสองปี
(3) ผ่านการอบรมหลักสูตรครูฝึกดับเพลิงหรือครูฝึกป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจากหน่วยงานราชการและมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าสองปี
(4) ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานหรือเป็นพนักงานดับเพลิงในทีมดับเพลิงของสถานประกอบการ ทั้งนี้ ต้องผ่านการอบรมในหลักสูตรการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นขึ้นไป โดยมีประสบการณ์ในการทํางานด้านความปลอดภัยในการทํางานไม่น้อยกว่าสามปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(5) เคยปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานหรือเคยเป็นพนักงานดับเพลิงในทีมดับเพลิงของสถานประกอบการ ทั้งนี้ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นขึ้นไป โดยมีประสบการณ์ในการทํางานด้านความปลอดภัยในการทํางานไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(6) ปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานดับเพลิงของหน่วยงานราชการที่ผ่านการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นขึ้นไป โดยมีประสบการณ์ในการทํางานในหน้าที่พนักงานดับเพลิงไม่น้อยกว่าสามปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรเกี่ยวกับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ข้อ ๑๒ วิทยากรผู้ทําการฝึกอบรมการฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรีที่มีการเรียนวิชาเกี่ยวกับอัคคีภัย และมีประสบการณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าสองปี
(2) ผ่านการอบรมด้านอัคคีภัยในหลักสูตรผู้อํานวยการการดับเพลิงหรือผ่านการอบรมหลักสูตรครูฝึกดับเพลิงหรือครูฝึกป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจากหน่วยงานราชการ โดยมีประสบการณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าสองปี
(3) ผ่านการอบรมในหลักสูตรการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นก้าวหน้า ขั้นสูง หรือทีมดับเพลิงโดยมีประสบการณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าสองปี
(4) ปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานโดยมีประสบการณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าห้าปี
(5) ปฏิบัติงานหรือเคยปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานดับเพลิงของหน่วยงานราชการ โดยมีประสบการณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยไม่น้อยกว่าห้าปี
ข้อ ๑๓ วิทยากรต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มเติมหรือพัฒนาความรู้เกี่ยวข้องกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง
ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนส่งหลักฐานการฝึกอบรมเพิ่มเติมหรือการพัฒนาความรู้ของวิทยากรต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายในวันที่สิบห้าของเดือนมกราคม
หมวด ๓ การดําเนินการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น
---------------------------------------------------
ข้อ ๑๕ หน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นต้องจัดให้มีการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ข้อ ๑๖ การฝึกอบรมภาคทฤษฎีต้องมีกําหนดระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมงต่อหลักสูตร และอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชา ดังต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้
(2) การแบ่งประเภทของเพลิง
(3) จิตวิทยาเมื่อเกิดอัคคีภัย
(4) การป้องกันแหล่งกําเนิดของการติดไฟ
(5) วิธีดับเพลิงประเภทต่างๆ
(6) เครื่องมือดับเพลิงชนิดต่างๆ
(7) วิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการดับเพลิง
(8) แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
(9) การจัดระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การประยุกต์ใช้ระบบและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในสถานประกอบการ
ข้อ ๑๗ การฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องมีกําหนดระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมงต่อหลักสูตร โดยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนได้รับการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงและอย่างน้อยต้องมีการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) การดับเพลิงจากเพลิงประเภท เอ โดยต้องให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือที่ใช้น้ําสะสมแรงดัน หรือสารเคมีดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงประเภท เอ
(2) การดับเพลิงจากเพลิงประเภท บี โดยต้องให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือที่ใช้สารเคมีดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ โฟม ผงเคมีแห้งหรือสารเคมีดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงประเภท บี
(3) การดับเพลิงจากเพลิงประเภท ซี โดยต้องให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือที่ใช้สารเคมีดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้งหรือสารเคมีที่สามารถใช้ดับเพลิงประเภท ซี
(4) การดับเพลิงจากเพลิงประเภท ดี โดยต้องให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการฝึกโดยวิธีการให้วิทยากรผู้ฝึกสาธิตการดับเพลิงจริงต่อผู้เข้ารับการฝึก
(5) การดับเพลิงโดยใช้สายดับเพลิง
ข้อ ๑๘ สถานที่ฝึกภาคปฏิบัติอย่างน้อยต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) มีสถานที่เป็นสัดส่วน
(2) มีความปลอดภัยต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมและชุมชนใกล้เคียง
(3) ไม่อยู่ในบริเวณที่ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดการระเบิด หรือติดไฟได้ง่ายต่อสถานที่ใกล้เคียง
(4) ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีระบบกําจัดที่เหมาะสม
ข้อ ๑๙ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(1) เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่สามารถดับเพลิงประเภท เอ ประเภท บี และประเภท ซี
(2) สายส่งน้ําดับเพลิง สายฉีดน้ําดับเพลิง กระบอกฉีดน้ําดับเพลิง หรือหัวฉีดน้ําดับเพลิง
(3) อุปกรณ์ดับเพลิงที่จําเป็นต้องใช้ในสถานประกอบการ
(4) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ชุดดับเพลิงถุงมือ รองเท้า หมวกดับเพลิงที่มีกระบังหน้า หน้ากากป้องกันความร้อน
อุปกรณ์ตาม (1) ถึง (4) ต้องสามารถใช้งานได้ดี มีความปลอดภัยต่อการฝึกและต้องมีจํานวนที่เพียงพอต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ข้อ ๒๐ การฝึกอบรมภาคทฤษฎี หน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นต้องจัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้อง มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินหกสิบคน และมีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน
การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ หน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินยี่สิบคน
หมวด ๔ การดําเนินการฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ
-------------------------------------------------
ข้อ ๒๑ หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟต้องจัดให้มีการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ
ข้อ ๒๒ การฝึกอบรมภาคทฤษฎีต้องมีกําหนดระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมงต่อหลักสูตร และอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังต่อไปนี้
(1) แผนการดับเพลิงและวิธีการดับเพลิงของสถานประกอบการ
(2) แผนการอพยพหนีไฟและวิธีการอพยพหนีไฟของสถานประกอบการ
(3) การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ข้อ ๒๓ การฝึกภาคปฏิบัติต้องมีการฝึกซ้อม ดังต่อไปนี้
(1) การดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงแบบมือถือและสายดับเพลิง
(2) การดับเพลิงจากเพลิงประเภทต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับสถานประกอบการ
(3) การอพยพหนีไฟ
(4) การค้นหา ช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย
ให้หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟจัดให้มีการฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงานอยู่
ข้อ ๒๔ หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟต้องจัดให้มีอุปกรณ์ที่จําเป็นต่อการฝึกอบรมและการฝึกซ้อม รวมทั้งต้องมีความเหมาะสมกับการดับเพลิงและการหนีไฟของสถานประกอบการ
อุปกรณ์ตามวรรคหนึ่ง ต้องสามารถใช้งานได้ มีความปลอดภัยต่อการฝึกอบรม การฝึกซ้อมและมีจํานวนที่เพียงพอต่อผู้เข้ารับการฝึก
หมวด ๔ การกํากับดูแล
--------------------------------------------------------
ข้อ ๒๕ ให้หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแจ้งการฝึกอบรม หรือการฝึกซ้อมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนการฝึกอบรม หรือการฝึกซ้อม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๖ ให้หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนส่งรายงานสรุปผลการฝึกอบรม หรือการฝึกซ้อมพร้อมด้วยรายชื่อวิทยากรผู้ทําการฝึกอบรมหรือฝึกซ้อมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม หรือการฝึกซ้อม แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๗ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเข้าไปในหน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสถานที่จัดฝึกอบรมหรือฝึกซ้อม เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ตรวจสอบ หรือกํากับดูแลให้หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอํานวยความสะดวก ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งสิ่งของ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๘ หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนใด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) สั่งให้หยุดการดําเนินงานเป็นการชั่วคราว
(3) เพิกถอนทะเบียน
บทเฉพาะกาล - ---------------------------------------
ข้อ ๒๙ หน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟซึ่งได้ใบรับรองตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ให้ถือว่าเป็นหน่วยงานฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนตามประกาศนี้ จนกว่าใบรับรองจะสิ้นอายุ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,408 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบรายงานผลการดําเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
ระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ
-----------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 37 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบรายงานผลการดําเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ รายงานผลการดําเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง ที่นายจ้างส่งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามข้อ 37 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 ให้เป็นไปตามแบบ จป. (ท) ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ รายงานผลการดําเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ที่นายจ้างส่งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามข้อ 37 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐาน ในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 ให้เป็นไปตามแบบ จป. (ว) ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,409 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเพื่อขึ้นทะเบียน และแจ้งกรณีลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
เพื่อขึ้นทะเบียน และแจ้งกรณีลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย
---------------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 36 และข้อ 38 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเพื่อขึ้นทะเบียน และแจ้งกรณีลูกจ้างประสบอันตรายเจ็บป่วย หรือสูญหาย”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายจ้างแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเพื่อขึ้นทะเบียน หรือแจ้งกรณีลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย เป็นหนังสือต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สถานที่ดังต่อไปนี้ โดยแจ้งด้วยตนเอง ทางไปรษณีย์ หรือทางโทรสาร
(1) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ที่นายจ้างมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขต ซึ่งได้แก่ กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ ดังต่อไปนี้
(ก) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 1 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร และเขตสัมพันธวงศ์
(ข) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 2 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตบางซื่อ เขตบางเขน และเขตหลักสี่
(ค) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 3 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตดินแดง เขตพญาไท เขตราชเทวี และเขตห้วยขวาง
(ง) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 4 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตยานนาวา เขตสาทร และเขตบางคอแหลม
(จ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 5 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตคลองสาน เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางพลัด
(ฉ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 6 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตบางแค เขตภาษีเจริญ และเขตหนองแขม
(ช) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 7 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตจอมทอง เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตราษฎร์บูรณะ
(ซ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 8 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตคลองเตย เขตบางนา เขตประเวศ เขตพระโขนง เขตวัฒนา และเขตสวนหลวง
(ฌ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 9 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตคันนายาว เขตบางกะปิ เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง และเขตบึงกุ่ม
(ญ) กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 10 สําหรับนายจ้างที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ในท้องที่เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตสะพานสูง เขตหนองจอก และเขตสายไหม
(2) สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่นายจ้างมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนั้น
ข้อ ๔ ให้นายจ้างแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเพื่อขึ้นทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน พร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาหนังสือเดินทางของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
(2) สําเนาเอกสารการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
(3) สําเนาใบรับรองผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
(4) สําเนาเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
ข้อ ๕ การแจ้งกรณีลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหายอย่างน้อยต้องมีรายการและรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อตัว ชื่อสกุล และตําแหน่งของนายจ้าง
(2) ชื่อ และที่ตั้งสถานประกอบกิจการของนายจ้าง
(3) ประเภทกิจการ
(4) ชื่อตัว ชื่อสกุล เพศ อายุ ตําแหน่งหน้าที่ และอายุงานของลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายเจ็บป่วย หรือสูญหาย
(5) วัน เวลาและสถานที่ที่เกิดการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย
(6) ลักษณะการทํางานของลูกจ้างในขณะที่เกิดการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย รวมทั้งรายละเอียดของการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย
(7) สาเหตุของการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย
(8) อวัยวะของลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บหรือสูญเสีย และผลกระทบที่ลูกจ้างได้รับจากการประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือสูญหาย
(9) จํานวนวันที่ลูกจ้างไม่สามารถทํางานได้
(10) การดําเนินการแก้ไข หรือป้องกัน
(11) การช่วยเหลือลูกจ้าง
ข้อ ๖ ในกรณีที่นายจ้างแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเพื่อขึ้นทะเบียน หรือแจ้งกรณีลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน “www.labour.go.th” ให้ถือว่านายจ้างได้แจ้งตาม ข้อ 3 แล้ว ทั้งนี้ จะดําเนินการแจ้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้กับการแจ้งเกินกําหนดเวลาตามที่กําหนดในข้อ 4 แห่งประกาศนี้ หรือตามที่กําหนดในข้อ 38 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,410 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนลูกจ้าง | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนลูกจ้าง
---------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 24 (2) แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนลูกจ้าง”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างระดับปฏิบัติการซึ่งไม่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้างจํานวนไม่น้อยกว่าสามคน แต่ไม่เกินห้าคน เป็นคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
ข้อ ๔ ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทุกคนซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งทราบ และปิดประกาศรายชื่อคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทํางานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบทั่วกัน ทั้งนี้ ภายในสามวัน นับแต่วันที่แต่งตั้ง
ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งดําเนินการประกาศกําหนดวัน เวลา สถานที่รับสมัคร และจํานวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่จะได้รับการเลือกตั้ง ภายในห้าวัน นับแต่วันที่นายจ้างปิดประกาศรายชื่อตามข้อ 4 ทั้งนี้ ต้องกําหนดวัน และเวลาให้ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนลูกจ้างยื่นใบสมัครได้ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวัน แต่ไม่เกินห้าวัน นับจากวันประกาศรับสมัคร
ข้อ ๖ ภายใต้บังคับข้อ 3 ลูกจ้างระดับปฏิบัติการในสถานประกอบกิจการทุกคนมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้าง
ลูกจ้างระดับปฏิบัติการในสถานประกอบกิจการทุกคน รวมทั้งลูกจ้างซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ ๗ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการรับสมัครแล้ว หากมีจํานวนผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่ากับจํานวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่ได้ประกาศไว้ตามข้อ 5 ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นเป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้าง
ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดสมัครรับเลือกตั้ง หรือมีจํานวนผู้สมัครรับเลือกตั้งน้อยกว่าจํานวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่ได้ประกาศไว้ตามข้อ 5 ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งดําเนินการประกาศรับสมัครใหม่ หรือประกาศรับสมัครเพิ่ม แล้วแต่กรณี โดยต้องกําหนดระยะเวลารับสมัครใหม่ไม่น้อยกว่าสองวัน
หากดําเนินการรับสมัครใหม่ตามวรรคสองแล้วไม่ได้มาซึ่งกรรมการผู้แทนลูกจ้างครบตามจํานวนที่ได้กําหนดไว้ตามข้อ 5 ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ถ้ามี และลูกจ้างระดับปฏิบัติการอื่นซึ่งไม่เป็นคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง และไม่ได้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้างจนครบจํานวน
ข้อ ๘ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการรับสมัครแล้ว หากมีจํานวนผู้สมัครรับเลือกตั้งมากกว่าจํานวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่ได้ประกาศไว้ตามข้อ 5 ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งดําเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อให้ได้รายชื่อกรรมการผู้แทนลูกจ้างภายในสิบวันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลาการประกาศรับสมัคร
(1) ประกาศรายชื่อและหมายเลขประจําตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(2) ประกาศกําหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกตั้ง
ข้อ ๙ ให้นายจ้างจัดทําบัญชีรายชื่อลูกจ้างระดับปฏิบัติการทุกคนในสถานประกอบกิจการเป็นสองชุด ส่งให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งหนึ่งชุดก่อนวันเลือกตั้ง อีกหนึ่งชุดปิดประกาศไว้ให้ลูกจ้างตรวจดูรายชื่อก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสามวัน
ในกรณีที่ไม่มีรายชื่อลูกจ้างระดับปฏิบัติการผู้ใดในบัญชี หรือบัญชีรายชื่อลูกจ้างดังกล่าวไม่ถูกต้อง ลูกจ้างระดับปฏิบัติการมีสิทธิคัดค้านและขอให้นายจ้างแก้ไขให้ถูกต้องได้ ให้นายจ้างดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว และปิดประกาศพร้อมส่งบัญชีรายชื่อลูกจ้างระดับปฏิบัติการใหม่ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง
ข้อ ๑๐ การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างให้กระทําโดยวิธีลงคะแนนลับ
วิธีลงคะแนนลับตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งจัดให้มีการลงคะแนนเสียงในบัตรเลือกตั้งและนําไปใส่ในหีบบัตรเลือกตั้งตามวัน เวลา และสถานที่ที่กําหนด
ข้อ ๑๑ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งนับคะแนนเสียงทั้งหมดโดยเปิดเผยทันที
เมื่อนับคะแนนเสียงเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งประกาศผลการนับคะแนนเสียงและจัดทําบัญชีรายชื่อเรียงลําดับผู้ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดตามลําดับจนถึงผู้ได้รับคะแนนเสียงน้อยที่สุด
ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งเท่ากันในลําดับใด ให้จับสลากเพื่อเรียงลําดับระหว่างผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันนั้นโดยเปิดเผย
ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งได้คะแนนเสียงมากที่สุดตามลําดับครบจํานวนกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่ได้ประกาศไว้ตามข้อ 5 เป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้าง ที่เหลือให้ขึ้นบัญชีรายชื่อสํารองไว้
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งแจ้งผลการเลือกตั้งให้นายจ้างทราบภายในสามวัน นับแต่วันสิ้นสุดการเลือกตั้ง
ข้อ ๑๓ ให้ผู้แทนลูกจ้างซึ่งได้รับการเลือกตั้งตามข้อ 11 หรือได้รับการแต่งตั้งตามข้อ 7 มีหน้าที่และสิทธิในฐานะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานนับแต่วันเลือกตั้งหรือวันแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่กรรมการผู้แทนลูกจ้างพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ให้ลูกจ้างซึ่งได้คะแนนเสียงในลําดับถัดไปตามบัญชีรายชื่อตามข้อ 11 เป็นกรรมการผู้แทนลูกจ้างแทนตําแหน่งที่ว่างถ้าไม่มีลูกจ้างในบัญชีรายชื่อดังกล่าวเหลืออยู่ ให้นายจ้างจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนลูกจ้างตามข้อกําหนดข้างต้น ทั้งนี้ ต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ตําแหน่งว่าง และให้กรรมการผู้แทนลูกจ้างซึ่งแทนตําแหน่งที่ว่างดํารงตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้แทนลูกจ้างที่ตนแทน
ข้อ ๑๕ ให้นายจ้างอํานวยความสะดวก จัดหาอุปกรณ์สําหรับลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและออกค่าใช้จ่ายในการดําเนินการเลือกตั้งตามประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,411 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสําหรับการทํางานในที่อับอากาศ
โดยที่ข้อ 9 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 กําหนดให้นายจ้างจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสําหรับการทํางานในที่อับอากาศ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลสําหรับการทํางานในที่อับอากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานอื่นที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับ
ข้อ ๔ อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสําหรับการทํางานในที่อับอากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานอื่นที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,412 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการอบรมความปลอดภัยในการทำงานในการป้องกันอันตรายจากรังสี | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการอบรมความปลอดภัยในการทํางานในการป้องกันอันตรายจากรังสี
โดยที่ข้อ 27 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 กําหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีได้รับการอบรมให้เข้าใจและทราบถึงอันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสีก่อนเข้ารับหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 27 แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการอบรมความปลอดภัยในการทํางานในการป้องกันอันตรายจากรังสี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายจ้างจัดให้ผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีตามข้อ 9 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 เป็นผู้อบรมลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี
ข้อ ๔ การอบรมตามข้อ 3 อย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาดังต่อไปนี้
(1) ความหมาย ชนิด ประเภทของรังสี
(2) กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน
(3) การป้องกันอันตรายจากรังสี
(4) การประเมินสภาพงานและการเตรียมความพร้อมในการทํางานในพื้นที่ควบคุมทางรังสี
(5) วิธีการปฏิบัติงานในบริเวณรังสีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
(6) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉิน และวิธีการหลีกหนีภัย
(7) กฎและข้อปฏิบัติในการทํางานเกี่ยวกับรังสี
(8) ป้าย เครื่องหมายเตือนภัย ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับรังสี
(9) การใช้อุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสีประจําตัวบุคคล
(10) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ข้อ ๕ ให้นายจ้างจัดให้มีการอบรมภาคทฤษฎี โดยใช้วิธีการบรรยาย การสาธิตและการฝึกปฏิบัติโดยมีระยะเวลาการอบรมรวมกันไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง
ข้อ ๖ ให้นายจ้างจัดทําทะเบียนรายชื่อลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม วัน เวลาและสถานที่อบรมพร้อมลายมือชื่อของวิทยากรผู้ทําการอบรมเก็บไว้ในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่ลูกจ้างทํางานพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ในเวลาทําการ
ข้อ ๗ ให้นายจ้างจัดให้มีการทบทวนความรู้แก่ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจํานวนหรือปริมาณความแรงรังสีของต้นกําเนิดรังสี
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,413 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยติดไว้ที่ภาชนะที่ใช้บรรจุ หรือห่อหุ้มสารกัมมันตรังสี | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยติดไว้ที่ภาชนะที่ใช้บรรจุ
หรือห่อหุ้มสารกัมมันตรังสี
โดยที่ข้อ 17 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 กําหนดให้นายจ้างจัดทําฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยติดไว้ที่ภาชนะที่ใช้บรรจุหรือห่อหุ้มสารกัมมันตรังสีตามแบบที่อธิบดีกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 17 แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยติดไว้ที่ภาชนะที่ใช้บรรจุหรือห่อหุ้มสารกัมมันตรังสี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ แบบฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยติดไว้ที่ภาชนะที่ใช้บรรจุหรือห่อหุ้มสารกัมมันตรังสีตามข้อ 17 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 ให้เป็นไปตามแบบ ร.6 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย]
1. แบบฉลากที่มีเครื่องหมาย และข้อความเตือนภัยบนภาชนะบรรจุ หรือห่อหุ้มสารกัมมันตรังสี (แบบ ร.6)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) | 4,414 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดเงื่อนไขและวิธีการเก็บรักษา เคลื่อนย้าย ขนส่งต้นกำเนิดรังสีและการจัดการกากกัมมันตรังสี | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดเงื่อนไขและวิธีการเก็บรักษา เคลื่อนย้าย ขนส่งต้นกําเนิดรังสี
และการจัดการกากกัมมันตรังสี
โดยที่ข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 กําหนดให้นายจ้าง เก็บรักษา เคลื่อนย้าย และขนส่งต้นกําเนิดรังสี รวมทั้งการจัดการกากกัมมันตรังสีเพื่อให้เกิดความปลอดภัย แก่ลูกจ้างตามเงื่อนไขและวิธีการที่อธิบดีกําหนด
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดเงื่อนไขและวิธีการเก็บรักษา เคลื่อนย้าย ขนส่งต้นกําเนิดรังสี และการจัดการกากกัมมันตรังสี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายจ้างจัดสถานที่เก็บต้นกําเนิดรังสีแยกไว้จากบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและการโจรกรรม
ข้อ ๔ ให้นายจ้างจัดทําเครื่องหมายเตือนภัยตามแบบ ร.4 ติดไว้ในบริเวณที่เก็บรักษา เคลื่อนย้าย ขนส่งต้นกําเนิดรังสีและในบริเวณที่มีการจัดการกากกัมมันตรังสีโดยเปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน
ข้อ ๕ ให้นายจ้างควบคุมดูแลลูกจ้างที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่เก็บรักษาต้นกําเนิดรังสีและบริเวณที่มีการจัดการกากกัมมันตรังสี
ข้อ ๖ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างที่ได้รับมอบหมายให้ทําการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งต้นกําเนิดรังสีทราบถึงวิธีการและขั้นตอนการเคลื่อนย้าย การขนส่งต้นกําเนิดรังสี รวมทั้งอันตรายและการป้องกันอันตรายจากรังสีที่อาจเกิดขึ้นขณะทําการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง
ข้อ ๗ ให้นายจ้างจัดทําแผนป้องกันและระงับอันตรายจากเหตุฉุกเฉินทางรังสีขณะทําการเคลื่อนย้าย หรือขนส่งต้นกําเนิดรังสี โดยให้นําแผนดังกล่าวติดไว้กับต้นกําเนิดรังสีที่ทําการเคลื่อนย้าย หรือขนส่งโดยเปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน
ข้อ ๘ ให้นายจ้างแยกประเภทกากกัมมันตรังสีซึ่งเป็นวัสดุหรือของเสียในรูปของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซที่เป็นสารกัมมันตรังสี หรือปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี และให้บรรจุไว้ในภาชนะสําหรับเก็บกากกัมมันตรังสีโดยเฉพาะ
ข้อ ๙ ให้นายจ้างจัดทําฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยตามแบบ ร.6 และให้มีข้อความที่แสดงปริมาณของกากกัมมันตรังสี ชนิดของรังสี และปริมาณความแรงรังสีติดไว้บนภาชนะที่บรรจุ กากกัมมันตรังสี
ในกรณีที่กากกัมมันตรังสีเป็นต้นกําเนิดรังสี ให้นายจ้างติดฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือนภัยตามแบบ ร.6 และให้มีข้อความที่แสดงชนิดและอัตราปริมาณรังสีสูงสุดติดไว้บนภาชนะที่บรรจุกากกัมมันตรังสี
ข้อ ๑๐ การเก็บรักษา เคลื่อนย้าย ขนส่งต้นกําเนิดรังสี และการจัดการกากกัมมันตรังสีที่ไม่ได้กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้นายจ้างปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติกําหนด
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,415 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี
โดยที่ข้อ 24 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 กําหนดให้อธิบดีกําหนดแบบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี ตามวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีตามข้อ 24 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 ให้เป็นไปตามแบบ ร.5 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย]
1. แบบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องของรังสีตามข้อ 24 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) | 4,416 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบเครื่องหมายเตือนภัยในบริเวณรังสี บริเวณรังสีสูง บริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสี หรือบริเวณหรือห้องใดๆ ที่มีการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสี | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบเครื่องหมายเตือนภัยในบริเวณรังสี บริเวณรังสีสูง บริเวณที่มีการฟุ้งกระจาย
ของสารกัมมันตรังสี หรือบริเวณหรือห้องใดๆ ที่มีการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสี
โดยที่ข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 กําหนดให้อธิบดีกําหนดแบบเครื่องหมายเตือนภัยในบริเวณรังสี บริเวณรังสีสูง บริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสี หรือบริเวณหรือห้องใดๆ ที่มีการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสี อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบเครื่องหมายเตือนภัยในบริเวณรังสี บริเวณรังสีสูง บริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสี หรือบริเวณหรือห้องใด ๆ ที่มีการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสี”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ เครื่องหมายเตือนภัยในบริเวณรังสี บริเวณรังสีสูง บริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสี หรือบริเวณหรือห้องใดๆ ที่มีการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสี ตามข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีว
อนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 ให้เป็นไปตามแบบ ร. 4 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย]
1. แบบเครื่องหมายเตือนภัยในบริเวณรังสี บริเวณรังสีสูง บริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสี หรือบริเวณหรือห้องใดๆ ที่มีการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสีตามข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) | 4,417 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีและแบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีแทนผู้รับผิดชอบเดิมซึ่งพ้นจากหน้าที่ | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี
และแบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี
แทนผู้รับผิดชอบเดิมซึ่งพ้นจากหน้าที่
โดยที่ข้อ 8 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 กําหนดให้อธิบดีกําหนดแบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีตามวรรคหนึ่ง และแบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีแทนผู้รับผิดชอบเดิมซึ่งพ้นจากหน้าที่ตามวรรคสอง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี และแบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีแทนผู้รับผิดชอบเดิมซึ่งพ้นจากหน้าที่”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 ให้เป็นไปตามแบบ ร. 3-1 ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ การแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีแทนผู้รับผิดชอบเดิมซึ่งพ้นจากหน้าที่ ตามข้อ 8 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 ให้เป็นไปตามแบบ ร. 3-2 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย]
1. แบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีตามข้อ 8 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 (แบบ ร.3-1)
2. แบบแจ้งชื่อและคุณสมบัติของผู้รับผิดชอบดําเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีแทนผู้รับผิดชอบเดิมซึ่งพ้นจากหน้าที่ตามข้อ 8 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 (แบบ ร.3-2)
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] | 4,418 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำทุกเดือน | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง กําหนดแบบการจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจําทุกเดือน
โดยที่ข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 กําหนดให้อธิบดีกําหนดแบบการจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจําทุกเดือน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบการจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจําทุกเดือน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจําทุกเดือนตามข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547 ให้เป็นไปตามแบบ ร. 2 ท้ายประกาศนี้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย]
1. แบบการจัดทําข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจําทุกเดือนตามข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) | 4,419 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
------------------------------------
ตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้กําหนดหลักเกณฑ์การขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานไว้ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2540 นั้น
เพื่อให้การพิจารณารับรองการเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานมีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ และได้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 ข้อ 10 ข้อ 12 และข้อ 15 แห่งประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 ประกอบกับมาตรา 166 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2540
หมวด ๑ หลักเกณฑ์การขอใบรับรอง
เป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
---------------------------------------
ข้อ ๔ หน่วยงานที่สามารถขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ได้แก่
(1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือเอกชน ซึ่งมีหลักสูตรการสอนเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
(2) หน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
(3) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
(4) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลอื่นและมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
(5) สถานประกอบกิจการที่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพประจํา ซึ่งมีความประสงค์จะจัดฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน หรือหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร ให้กับบุคลากรของสถานประกอบกิจการนั้นเอง
(6) หน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ ๕ ให้หน่วยงานที่มีความประสงค์จะขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ยื่นคําขอต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายพร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(1) สําเนาเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงความเป็นสถาบันอุดมศึกษาและมีหลักสูตรการสอนเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ความเป็นหน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ความเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการ
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงาน
(3) สําเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงาน
(4) แผนที่ หรือเอกสารแสดงที่ตั้งของหน่วยงานโดยสังเขป
(5) รายชื่อวิทยากร เอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติของวิทยากร และหนังสือยืนยันการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงาน
(6) เอกสารประกอบการฝึกอบรมที่มีเนื้อหาวิชาตามที่กําหนดในหลักสูตรมาตรฐาน
(7) แผนและเป้าหมายการจัดฝึกอบรมพร้อมทั้งอัตราค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการฝึกอบรม
(8) เอกสารแสดงรายการอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรม และเฉพาะหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพอย่างน้อยต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้ ดังต่อไปนี้
(ก) เครื่องมือวัดสภาพความร้อน
(ข) เครื่องมือวัดระดับความดังของเสียง
(ค) เครื่องมือวัดความเข้มข้นของแสงสว่าง
(ง) เครื่องมือวัดความเข้มข้นของสารเคมี
(จ) อุปกรณ์สาธิตและฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาล
(9) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามเนื้อหาหลักสูตร
ให้ผู้มีอํานาจกระทําการแทนหน่วยงานรับรองเอกสารที่เป็นสําเนา
ข้อ ๖ หน่วยงานที่จะขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเพื่อเป็นวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน จะต้องจัดให้มี
(1) บุคลากรที่ทําหน้าที่บริหารจัดการการฝึกอบรมซึ่งมีวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีอย่างน้อยหนึ่งคน
(2) วิทยากรที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานฝึกอบรม อย่างน้อยหนึ่งคน
(3) อุปกรณ์สํานักงานซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรสาร และโสตทัศนูปกรณ์ที่จําเป็นในการจัดฝึกอบรม
ข้อ ๗ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องดําเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตรมาตรฐานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกําหนดไว้
การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานจะต้องจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการฝึกอบรมในสถานที่จริง และได้รับการฝึกอบรมมาใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมอย่างทั่วถึง
ข้อ ๘ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ต้องจัดให้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละครั้งไม่เกิน 70 คนต่อหนึ่งห้องฝึกอบรม
หมวด ๒ การควบคุม การเพิกถอน และการต่ออายุใบรับรอง
-----------------------------------------------
ข้อ ๙ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน แจ้งกําหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการจัดฝึกอบรม
ข้อ ๑๐ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ส่งรายงานการฝึกอบรม การประเมินผลการฝึกอบรมโดยมีวิทยากรรับรอง รายชื่อและเอกสารแสดงประวัติของผู้ผ่านการฝึกอบรมตามแบบรายงานแนบท้ายประกาศนี้ ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม
ข้อ ๑๑ ให้อธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอํานาจเข้าไปในหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเพื่อสอบข้อเท็จจริง ตรวจสอบ หรือควบคุมให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานดําเนินการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้
ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอํานวยความสะดวก ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งสิ่งของ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่อธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๑๒ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้อธิบดีมีอํานาจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด
(2) สั่งให้หยุดการดําเนินงานเป็นการชั่วคราว
(3) เพิกถอนใบรับรอง
ข้อ ๑๓ ใบรับรองให้เป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน มีผลใช้บังคับสองปีนับแต่วันที่ออกใบรับรอง
หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานใดมีความประสงค์จะดําเนินการต่อไป ให้ยื่นคําขอต่ออายุใบรับรองต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งมอบหมายก่อนวันที่ใบรับรองหมดอายุไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ให้นําความในข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 มาใช้บังคับแก่การขอต่ออายุใบรับรองตามวรรคสองโดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ ใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่ออกให้ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การขอใบรับรองเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2540 ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุที่กําหนดไว้
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547
สุรินทร์ จิรวิศิษฏ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,420 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
--------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร และระดับวิชาชีพ ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 ให้เป็นไปด้วยความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 7 ข้อ 10 ข้อ 12 และข้อ 15 แห่งประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 ประกอบกับมาตรา 166 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2540
(2) ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานสําหรับหน่วยงานฝึกอบรมของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2540
(3) ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2543
หมวด ๑ คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่
ความปลอดภัยในการทํางาน
---------------------------------------
ข้อ ๔ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเป็นลูกจ้างที่ทําหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงานซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนลูกจ้างตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างไม่ถึงห้าสิบคน
(2) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเป็นลูกจ้างผู้มีหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา หรือสั่งงานให้ลูกจ้างทํางานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
(3) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเป็นลูกจ้างตั้งแต่ระดับผู้จัดการหน่วยงานขึ้นไปของสถานประกอบกิจการ หรือเป็นนายจ้างซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ
(4) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเป็นลูกจ้างที่นายจ้างประสงค์จะแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพประจําสถานประกอบกิจการ และเป็นผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ข) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐานโดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐานมาไม่น้อยกว่าห้าปี และมีผลงานการลดอัตราการประสบอันตรายในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าร้อยละสิบต่อปีของการประสบอันตรายในสองปีที่ผ่านมา
(ค) เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานซึ่งผ่านการศึกษาอบรมและทดสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานประจําสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๕ การสมัครเข้ารับการฝึกอบรม ให้นายจ้างที่ประสงค์จะส่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมกับเอกสารหลักฐาน ดังนี้
(1) สําเนาหนังสือหรือหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาของผู้เข้ารับการฝึกอบรมจํานวนหนึ่งฉบับ
(2) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้เข้ารับการฝึกอบรม จํานวนหนึ่งฉบับ
(3) ผู้ที่สมัครเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ตามข้อ 4 (4) (ข) ต้องยื่นสําเนาเอกสารการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน และผลงานการลดอัตราการประสบอันตรายในสองปีที่ผ่านมา จํานวนหนึ่งฉบับ
ข้อ ๖ การยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 5 ให้ยื่นได้ที่หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง
หมวด ๒ การฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
--------------------------------------------
ข้อ ๗ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกําหนดมาตรฐานของหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานไว้ ดังนี้
(1) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน มีระยะเวลาในการฝึกอบรมจํานวนสามสิบชั่วโมง
(2) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน มีระยะเวลาในการฝึกอบรมจํานวนสิบสองชั่วโมง
(3) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร มีระยะเวลาในการฝึกอบรมจํานวนสิบสองชั่วโมง
(4) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ มีระยะเวลาในการฝึกอบรมภาคทฤษฎีจํานวนหนึ่งร้อยเก้าสิบสองชั่วโมง และภาคปฏิบัติในสถานประกอบกิจการจํานวนสามสิบวัน
(5) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ เฉพาะผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติตามข้อ 4 (4) (ค) มีระยะเวลาในการฝึกอบรมจํานวนสิบสองชั่วโมง
การฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานให้มีรายละเอียดตามที่อธิบดีกําหนด
หมวด ๓ คุณสมบัติของวิทยากร
---------------------------------------
ข้อ ๘ วิทยากรในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ตามเนื้อหาวิชาที่กําหนดเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยเป็นผู้มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพและมีประสบการณ์เกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย ไม่น้อยกว่าสามปี
(2) เป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทํางานและมีประสบการณ์เกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย ไม่น้อยกว่าสามปี
(3) เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน โดยสอนวิชาเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และมีประสบการณ์การสอนเกี่ยวกับวิชาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
(4) เป็นผู้มีความรู้และมีประสบการณ์เกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย ไม่น้อยกว่าห้าปี
หมวด ๔ การประเมินผล และการรับรองผลการฝึกอบรม
---------------------------------------------
ข้อ ๙ ในการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานให้มีหลักเกณฑ์ การประเมินผล และการรับรองผลการฝึกอบรม ดังนี้
(1) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน และหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กําหนด
(ข) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องจัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วย
(2) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของระยะเวลาการฝึกอบรมในแต่ละหมวดวิชา
(ข) หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานต้องจัดให้มีการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อนการฝึกอบรม และหลักการฝึกอบรมในแต่ละหมวดวิชา
(ค) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องสอบผ่านการทดสอบการเรียนรู้ตามที่อธิบดีกําหนด
(3) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ เฉพาะผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติตามข้อ 4 (4) (ค) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กําหนด
(ข) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องสอบผ่านการทดสอบการเรียนรู้ตามที่อธิบดีกําหนด
ข้อ ๑๐ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐาน หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน และหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
ข้อ ๑๑ ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,421 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้น
การตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน
--------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงรายชื่อประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 วรรคหนึ่ง (3) (ก) ของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน ฉบับลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545
(3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(4) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
(5) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550
(6) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
(7) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ข้อ ๒ ให้กําหนดรายชื่อประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน ดังนี้
(1) ราชรัฐอันดอร์รา
(2) เครือรัฐออสเตรเลีย
(3) สาธารณรัฐออสเตรีย
(4) ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม
(5) รัฐบาห์เรน
(6) สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
(7) เนการาบรูไนดารุสซาลาม
(8) แคนาดา
(9) สาธารณรัฐเช็ก
(10) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก
(11) สาธารณรัฐเอสโตเนีย
(12) สาธารณรัฐฟินแลนด์
(13) สาธารณรัฐฝรั่งเศส
(14) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
(15) สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ)
(16) สาธารณรัฐฮังการี
(17) สาธารณรัฐไอซ์แลนด์
(18) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
(19) ไอร์แลนด์
(20) รัฐอิสราเอล
(21) สาธารณรัฐอิตาลี
(22) ญี่ปุ่น
(23) รัฐคูเวต
(24) สาธารณรัฐลัตเวีย
(25) ราชรัฐลิกเตนสไตน์
(26) สาธารณรัฐลิทัวเนีย
(27) ราชรัฐลักเซมเบิร์ก
(28) มาเลเซีย
(29) สาธารณรัฐมัลดีฟส์
(30) สาธารณรัฐมอริเชียส
(31) ราชรัฐโมนาโก
(32) ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
(33) นิวซีแลนด์
(34) ราชอาณาจักรนอร์เวย์
(35) รัฐสุลต่านโอมาน
(36) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
(37) สาธารณรัฐโปแลนด์
(38) สาธารณรัฐโปรตุเกส
(39) รัฐกาตาร์
(40) สาธารณรัฐซานมารีโน
(41) สาธารณรัฐสิงคโปร์
(42) สาธารณรัฐสโลวัก
(43) สาธารณรัฐสโลวีเนีย
(44) ราชอาณาจักรสเปน
(45) สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
(46) สาธารณรัฐเกาหลี
(47) ราชอาณาจักรสวีเดน
(48) สมาพันธรัฐสวิส
(49) สาธารณรัฐตุรกี
(50) ยูเครน
(51) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
(52) สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
(53) สหรัฐอเมริกา
(54) สาธารณรัฐเปรู
(55) ฮ่องกง
(56) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,422 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาใน
ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง
-----------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคสอง ของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(2) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545
(3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
(4) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553
(5) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553
(6) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่คนชาติจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ข้อ ๒ ให้กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง ดังนี้
(1) สาธารณรัฐบัลแกเรีย
(2) ราชอาณาจักรภูฏาน
(3) สาธารณรัฐประชาชนจีน (รวมทั้งไต้หวัน)
(4) สาธารณรัฐไซปรัส
(5) สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย
(6) สาธารณรัฐฟิจิ
(7) จอร์เจีย
(8) สาธารณรัฐอินเดีย
(9) สาธารณรัฐคาซัคสถาน
(10) สาธารณรัฐมอลตา
(11) สหรัฐเม็กซิโก
(12) สาธารณรัฐนาอูรู
(13) ปาปัวนิวกินี
(14) โรมาเนีย
(15) สหพันธรัฐรัสเซีย
(16) ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย
(17) สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน
(18) สาธารณรัฐวานูอาตู
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,423 |
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 96 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2541
ข้อ ๔ ให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบห้าสิบคน
ข้อ ๕ ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งให้เลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการได้หนึ่งคณะ
สถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง สํานักงานสาขาหรือหน่วยงานของนายจ้างแต่ละแห่งที่ตั้งอยู่ภายนอกซึ่งแต่ละแห่งมีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปด้วย
ข้อ ๖ ให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าห้าคนซึ่งไม่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเป็นคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง
ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ประกาศวิธีการเลือกตั้ง กําหนดวัน เวลา สถานที่เลือกตั้งและกําหนดระยะเวลารับสมัครผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทํางานของลูกจ้างก่อนการเลือกตั้งและแจ้งให้นายจ้างและพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ทราบโดยเร็ว
(2) เตรียมการเลือกตั้ง
(3) ดําเนินการเลือกตั้ง
(4) ดําเนินการนับคะแนนเสียง
การดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบห้าสิบคนหรือวันที่กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการพ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี
ให้นายจ้างอํานวยความสะดวก จัดหาอุปกรณ์สําหรับใช้ประกาศหาเสียงและลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และออกค่าใช้จ่ายในการดําเนินการเลือกตั้งตามประกาศนี้
ข้อ ๘ ภายใต้บังคับข้อ 6 ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการทุกคนมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ข้อ ๙ ให้นายจ้างจัดทําบัญชีรายชื่อลูกจ้างทุกคนในสถานประกอบกิจการเป็นสองชุดส่งให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งหนึ่งชุดก่อนวันเลือกตั้ง อีกหนึ่งชุดปิดประกาศไว้ให้ลูกจ้างตรวจดูรายชื่อก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสามวัน
ในกรณีที่ไม่มีรายชื่อลูกจ้างผู้ใดในบัญชี หรือบัญชีรายชื่อลูกจ้างดังกล่าวไม่ถูกต้องลูกจ้างมีสิทธิคัดค้านและขอให้นายจ้างแก้ไขให้ถูกต้องได้ ให้นายจ้างดําเนินการแก้ไขโดยเร็วและปิดประกาศบัญชีรายชื่อลูกจ้างใหม่ก่อนวันเลือกตั้ง
ข้อ ๑๐ ในวันเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งประกาศรายชื่อและหมายเลขประจําตัวผู้รับสมัครรับเลือกตั้งไว้ ณ สถานที่ทําการเลือกตั้ง
ข้อ ๑๑ การเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในการประกอบกิจการให้กระทําโดยวิธีลงคะแนนลับ
ข้อ ๑๒ วิธีลงคะแนนลับตามข้อ 11 ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งจัดให้มีการลงคะแนนเสียงในบัตรเลือกตั้งและนําไปใส่ในหีบบัตรเลือกตั้งตามวัน เวลาและสถานที่ที่กําหนด
ในสถานประกอบกิจการที่ลูกจ้างทํางานเป็นกะหรือทํางานในเวลาแตกต่างกันหรือมีลูกจ้างทํางานต่างสถานที่กัน หรือสภาพของงานมีลักษณะต้องทํางานต่อเนื่องกันไป และไม่อาจมาลงคะแนนเสียงพร้อมกันในระยะเวลาเดียวกันได้ ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งจัดให้มีการลงคะแนนเสียงแยกกันหรือในระยะเวลาหนึ่งระยะเวลาใดที่ลูกจ้างมีโอกาสลงคะแนนเสียงได้ทุกคน ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งเก็บรักษาบัตรเลือกตั้งและหีบบัตรเลือกตั้งไว้จนกว่าลูกจ้างจะได้ใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงตามระยะเวลาที่คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งกําหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อดําเนินการนับคะแนนเสียงตามข้อ 13 ในคราวเดียวกัน
ข้อ ๑๓ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเลือกตั้งตามข้อ 12แล้ว ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งนับคะแนนเสียงทั้งหมดโดยเปิดเผยในทันที เมื่อนับคะแนนเสียงเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งประกาศผลการนับคะแนนเสียงและจัดทําบัญชีรายชื่อเรียงลําดับผู้ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดตามลําดับจนถึงผู้ได้รับคะแนนเสียงน้อยที่สุด
ในกรณีที่มีผู้ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งเท่ากันในลําดับใด ให้จับสลากเพื่อเรียงลําดับระหว่างผู้ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งเท่ากันนั้นโดยเปิดเผย
ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งได้คะแนนเสียงมากที่สุดตามลําดับครบจํานวนที่กําหนดในแต่ละสถานประกอบกิจการเป็นกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๑๔ ให้คณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง แจ้งผลการเลือกตั้งให้นายจ้างทราบภายในสามวันนับแต่วันสิ้นสุดการเลือกตั้ง
ข้อ ๑๕ ภายใต้บังคับข้อ 16 วรรคสาม ให้กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการซึ่งได้รับการเลือกตั้งตามข้อ 13 มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการนับแต่วันเลือกตั้ง
ข้อ ๑๖ กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการอยู่ในตําแหน่งคราวละสองปี แต่อาจได้รับการเลือกตั้งใหม่ได้
ในกรณีกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการพ้นจากตําแหน่งตามวาระหรือลาออกทั้งคณะแต่ยังมิได้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้เลือกตั้งกรรมการใหม่เข้ารับหน้าที่ ซึ่งต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการเดิมพ้นจากตําแหน่งหรือลาออกทั้งคณะ
นายจ้างอาจจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการคณะใหม่ก่อนกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการครบวาระได้ แต่ให้มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการในวันถัดจากวันครบวาระกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการคณะเดิม
ข้อ ๑๗ นอกจากการพ้นตําแหน่งตามวาระตามข้อ 16 กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
(4) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการพ้นจากตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้ลูกจ้างที่ได้คะแนนในลําดับถัดไปตามบัญชีรายชื่อในข้อ 13 เป็นกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการแทนตําแหน่งที่ว่าง ถ้าไม่มีลูกจ้างในบัญชีรายชื่อดังกล่าวเหลืออยู่ ให้นายจ้างจัดให้มีกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการแทนตําแหน่งที่ว่าง โดยนําวิธีการเลือกตั้งตามข้อกําหนดข้างต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตําแหน่งว่างและให้กรรมการที่แทนตําแหน่งที่ว่างดํารงตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่จํานวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นมีจํานวนลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบคน ให้คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการพ้นจากตําแหน่งทั้งคณะนับแต่วันที่จํานวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นมีจํานวนลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบคน
ข้อ ๑๙ ให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการใหม่ทั้งคณะเมื่อกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการพ้นจากตําแหน่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งโดยนําวิธีการเลือกตั้งตามข้อกําหนดข้างต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการพ้นจากตําแหน่งเกินกว่ากึ่งหนึ่ง
ข้อ ๒๐ ให้นายจ้างเผยแพร่หรือปิดประกาศรายชื่อและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเมื่อมีการเลือกตั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเป็นภาษาไทยโดยเปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างทราบ ณ สถานประกอบกิจการที่มีคณะกรรมการดังกล่าวภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้งหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
ให้นายจ้างส่งสําเนาประกาศตามวรรคหนึ่งให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการดําเนินการเลือกตั้ง หรือวันที่เปลี่ยนแปลงกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการแล้วแต่กรณี
การปิดประกาศรายชื่อตามวรรคหนึ่งต้องปิดไว้จนกว่ามีการเลือกตั้งใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
ฐาปบุตร ชมเสวี
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | 4,424 |
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือด่านพรมแดนที่เป็นเขตติดต่อกับพรมแดนทางบกได้เกินสองครั้งต่อปีปฏิทิน | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง กําหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ทางช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือด่านพรมแดนที่เป็นเขตติดต่อกับพรมแดนทางบก
ได้เกินสองครั้งต่อปีปฏิทิน
--------------------------------------------------
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้บุคคลซึ่งมีสัญชาติของประเทศอื่นเพิ่มจากประเทศที่กําหนดในข้อ 13 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจการยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สามารถใช้สิทธิการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือด่านพรมแดนที่เป็นเขตติดต่อกับพรมแดนทางบก ได้เกินสองครั้งต่อปีปฏิทิน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ บุคคลซึ่งมีสัญชาติของประเทศดังต่อไปนี้ ที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว สามารถเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการท่องเที่ยว ทางช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือด่านพรมแดนที่เป็นเขตติดต่อกับพรมแดนทางบก ได้เกินสองครั้งต่อปีปฏิทิน
(1) บรูไนดารุสซาลาม
(2) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
(3) สาธารณรัฐสิงคโปร์
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 4,425 |
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 1/2548 เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนการตั้งตัวแทนสนับสนุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล | ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กข. 1/2548
เรื่อง การยกเลิกประกาศเกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
การตั้งตัวแทนสนับสนุน และการตั้งตัวแทนด้านการตลาด
กองทุนส่วนบุคคล
โดยที่เป็นการสมควรให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนดําเนินธุรกิจภายใต้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน เพื่อให้การกํากับดูแลเป็นระดับเดียวกับการกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันของหลักทรัพย์ประเภทอื่น จึงจําเป็นต้องยกเลิกประกาศเกี่ยวกับการตั้งตัวแทนสนับสนุน โดยมีบทเฉพาะกาลให้ตัวแทนสนับสนุนดําเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 116 มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 3/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 17/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
(3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 7/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 25/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546
(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 23/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ประกันชีวิต และการตั้งตัวแทนสนับสนุน ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2546
(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 34/2546เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายหน่วยลงทุน และการตั้งตัวแทนสนับสนุนสําหรับกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546
(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น. 36/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ และการตั้งตัวแทนจําหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
(8) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 6/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการชักชวนลูกค้า การวางแผนการลงทุน และการตั้งตัวแทน ด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ตัวแทนสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืน หน่วยลงทุนหรือหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์
“หน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ขายควบคู่ไปกับการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตในรูปแบบของกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ ๓ นิติบุคคลที่เป็นตัวแทนสนับสนุนตามประกาศในข้อ 1 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ ใช้บังคับ ซึ่งได้ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน พ.ศ. 2547 ก่อนวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ให้สามารถประกอบธุรกิจการเป็นตัวแทนสนับสนุนต่อไปได้ จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
ข้อ ๔ นิติบุคคลที่เป็นบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่เป็นตัวแทนสนับสนุนอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ซึ่งได้ยื่นคําขอจัดตั้งธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 หรือได้ดําเนินการควบหรือรวมกิจการกับธนาคารพาณิชย์ในเครือ นิติบุคคลดังกล่าวสามารถประกอบธุรกิจ การเป็นตัวแทนสนับสนุนต่อไปได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 และหากได้ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้า หลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน พ.ศ. 2547 ก่อนวันดังกล่าว ให้สามารถประกอบธุรกิจการเป็นตัวแทนสนับสนุนต่อไปได้ จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
ข้อ ๕ ให้ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 1(1) ถึง (5) รวมทั้งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งใช้บังคับอยู่ ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับกับนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการเป็นตัวแทนสนับสนุนตามข้อ 3 และข้อ 4 ได้ต่อไป จนกว่าจะได้รับแจ้งการ ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ | 4,426 |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.