title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 7/2551 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 7/2551 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 40/2543เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2543 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 26/2545 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 ข้อ ๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนหรือการจัดการเงินร่วมลงทุนมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งมีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ บริษัทหลักทรัพย์นั้นต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท (1) มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (2) มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเอง (3) มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ ข้อ ๕ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) ยี่สิบล้านบาทตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เว้นแต่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวมีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่กําหนดในข้อ 4 วรรคสอง บริษัทหลักทรัพย์นั้นต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท และ (2) หนึ่งร้อยล้านบาทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,225
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 27/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 27/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 “(5) ดําเนินการอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป #### ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,226
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 8/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 8/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และข้อ 16(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 29/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 59/2543 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 27/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “ลูกค้าสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามคําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) "การขายชอร์ต" หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (3) "ผู้ประกอบกิจการ" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (4) "บัญชีมาร์จิ้น" หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ต ข้อ ๓ ผู้ประกอบกิจการต้องจัดโครงสร้างองค์กร ตลอดจนกําหนดนโยบาย ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมทั้งการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ซึ่งแสดงได้ว่ามีระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลระหว่างหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงาน ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินของลูกค้า และระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรม ที่สามารถรองรับการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้ ข้อ ๔ ผู้ประกอบกิจการต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการพิจารณารับลูกค้า และการทําสัญญากับลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีกระบวนการที่เพียงพอที่จะทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรากฏตามเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอทําธุรกรรมกับผู้ประกอบกิจการ รวมทั้งตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของลูกค้า ตลอดจนต้องพิจารณาและจัดให้มีข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะทราบถึงฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า ผู้ประกอบกิจการต้องทําความรู้จักลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของลูกค้า และผู้มีอํานาจควบคุมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของลูกค้า ให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งทบทวนฐานะการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้าแต่ละรายเป็นประจํา ผู้ประกอบกิจการต้องจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองไว้ให้ครบถ้วนในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และต้องจัดเก็บเอกสารดังกล่าวต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อยห้าปีนับแต่วันที่มีการเลิกสัญญากับลูกค้า ข้อ ๕ ในการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ผู้ประกอบกิจการต้องดําเนินการดังนี้ (1) จัดให้มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๖ ในการจัดให้มีการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ ผู้ประกอบกิจการ ไม่ว่าในฐานะผู้ยืมหรือตัวแทนของผู้ยืม หรือในฐานะผู้ให้ยืมหรือตัวแทนของผู้ให้ยืม ต้องดําเนินการดังนี้ (1) จัดให้มีการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์เฉพาะที่อยู่ในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์ (2) จัดให้มีสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่มีลักษณะและสาระสําคัญตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) จัดให้มีสัญญาตั้งตัวแทนในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมีฐานะเป็นตัวแทนของผู้ยืมหรือผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ (4) จัดให้มีขั้นตอนและวิธีการในการจัดสรรการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์และเปิดเผยให้ลูกค้าทราบ (5) จัดให้มีเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการวางหรือการคืนหลักประกัน และจัดส่งให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด (6) จัดให้มีการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานตาม (2) และ (3) ไว้ให้ครบถ้วนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่เลิกสัญญายืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์หรือเลิกสัญญาตั้งตัวแทน แล้วแต่กรณี และเก็บรักษาเอกสารหลักฐานตาม (5) ไว้ให้ครบถ้วนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่มีการทําธุรกรรมการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ ทั้งนี้ การจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที ข้อ ๗ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในวรรคสอง ผู้ประกอบกิจการต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันจากผู้ยืมหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) การวางหลักประกันที่เป็นหลักทรัพย์ให้ทําโดยการโอนหลักประกันจากผู้ยืมไปให้แก่ผู้ให้ยืม (2) หลักประกันต้องปลอดจากบุริมสิทธิหรือภาระผูกพันใด ๆ โดยประเภทของหลักประกันให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) รักษาสัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมไม่ต่ํากว่าที่สํานักงานประกาศกําหนด (4) ปรับปรุงมูลค่าหลักประกันและมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยทุกสิ้นวันทําการ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการเป็นผู้ให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าผ่านบัญชีมาร์จิ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง การวางหรือเรียกหลักประกันและการรักษาสัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมจากลูกค้าดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนดตามประกาศว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการจัดให้มีการให้ยืมหลักทรัพย์ในฐานะตัวแทนของผู้ให้ยืม ผู้ประกอบกิจการต้องดําเนินการเพิ่มเติมดังนี้ (1) ดูแลรักษาหลักประกัน และเรียกหลักประกันเพิ่มจากผู้ยืม ในกรณีที่จําเป็นต้องรักษาสัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเพื่อให้เป็นไปตามข้อ 7(3) (2) จัดให้มีระบบติดตามการที่ผู้ออกหลักทรัพย์ให้สิทธิประโยชน์ในหลักทรัพย์ที่ให้ยืมเพื่อดูแลให้ผู้ให้ยืมได้รับการชดเชยสําหรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นลูกค้าสถาบัน ผู้ประกอบกิจการและผู้ให้ยืมดังกล่าวอาจมีข้อตกลงที่ระบุไว้อย่างชัดเจนที่จะไม่นําข้อกําหนดในข้อ 7 หรือข้อ 8 มาใช้ในการดําเนินการ หรือมีข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวเป็นประการอื่นก็ได้ ข้อ ๑๐ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติและเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบการปฏิบัตินั้น ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้เพิ่มเติมได้ ข้อ ๑๑ ในการยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ หากผู้ยื่นคําขอรายใดขอจํากัดขอบเขตการประกอบธุรกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของตนไว้ ไม่ว่าการจํากัดขอบเขตจะเป็นไปในรูปแบบใด เมื่อผู้ยื่นคําขอรายนั้นได้รับใบอนุญาตแล้ว การประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องอยู่ภายในขอบเขตธุรกิจที่ขอจํากัดไว้ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งประสงค์จะขอผ่อนคลายหรือยกเลิกการจํากัดขอบเขตในการประกอบกิจการ ผู้ประกอบกิจการรายนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก่อน ทั้งนี้ ในการขอรับความเห็นชอบ ผู้ประกอบกิจการจะต้องแสดงเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับแผนงาน ระบบงานในการปฏิบัติการหรือการให้บริการ ระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลระหว่างหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงาน ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินของลูกค้า และระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรม ในการประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ที่แสดงได้ว่าผู้ประกอบกิจการมีความพร้อมและสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในส่วนที่ใช้บังคับกับกิจการส่วนที่ขอผ่อนคลายหรือยกเลิกข้อจํากัดนั้นได้ ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบกิจการที่จัดให้มีการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์กับลูกค้าก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและได้ดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันและการรักษาสัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมจากผู้ยืมหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศซึ่งถูกยกเลิกตามข้อ 1 รวมทั้งประกาศและหนังสือเวียนที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศที่ถูกยกเลิกดังกล่าว ยังคงสามารถดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้จนกว่าจะมีการคืนหลักทรัพย์ที่ยืมนั้น และในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมีการขยายระยะเวลาการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ดังกล่าวภายหลังวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ผู้ประกอบกิจการต้องดําเนินการให้มีการวางหรือเรียกหลักประกันและการรักษาสัดส่วนของมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่ให้ยืมจากผู้ยืมหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ทันที ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบกิจการ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการของผู้ประกอบกิจการให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
4,227
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 11/2551 เรื่อง การกำหนดนิยามผู้ที่เกี่ยวข้องตามประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 11/2551 เรื่อง การกําหนดนิยามผู้ที่เกี่ยวข้องตามประกาศเกี่ยวกับ การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยาม คําว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ในประกาศดังต่อไปนี้ และให้ใช้บทนิยามตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 แทน (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 32/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 40/2549 เรื่อง การยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ข้อ ๒ คําว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ให้หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลใดในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว (2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (3) ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วน (4) ห้างหุ้นส่วนสามัญจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (5) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น หรือ (6) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (3) หรือ (4) หรือบริษัทตาม (5) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (7) นิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4,228
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 15/2551 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2551 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ได้รับ ใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็น ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับตราสารแห่งหนี้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีฐานะการเงินที่มั่นคงและมีความน่าเชื่อถือ จึงจําเป็นต้องกําหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ําของผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว
4,229
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 16/2551 เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จำกัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคำ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 16/2551 เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา ------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “ธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา” หมายความว่า ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา (2) “ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายทองคํา” หมายความว่า บุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทองคําในประเทศไทย (3) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับใบอนุญาต เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับประโยชน์จากหุ้น หมายความถึง ผู้รับประโยชน์จากหุ้นตามที่กําหนดในมาตรา 25 วรรคสี่ (4) “ประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับทองคํา” หมายความว่า ประสบการณ์การทํางานในธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทองคําหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคํา ข้อ ๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําต้องเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยมีผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายทองคําซึ่งประกอบกิจการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี รายใดรายหนึ่งหรือหลายรายถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา ต่อเมื่อมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท (2) ไม่มีเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินหรือการดําเนินงานของผู้ขอรับใบอนุญาต (3) แสดงได้ว่ามีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับทองคําไม่น้อยกว่าสามปี (4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย (6) แสดงได้ว่าจะมีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (7) แสดงได้ว่าจะมีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (8) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา (9) แสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา ข้อ ๔ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๕ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 3 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ในการพิจารณาคําขอตามข้อ 5 นอกจากการพิจารณารายละเอียดที่ปรากฏในคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานใดๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาตามที่เห็นสมควรและภายในระยะเวลาที่กําหนดได้ และในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. มีคําสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ผู้ขอรับใบอนุญาตได้มาชี้แจงหรือได้ส่งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนแล้วรวมเข้ากับการนับระยะเวลาตามข้อ 5 ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) จะเริ่มประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคําได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตได้ดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 3(6) (7) (8) และ (9) ที่ได้แสดงไว้ในคําขอรับใบอนุญาต เว้นแต่กรณีที่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดซึ่งมิได้ทําให้คุณสมบัติดังกล่าวซึ่งได้แสดงไว้ในคําขอรับใบอนุญาตเปลี่ยนแปลงไปในสาระสําคัญ (2) ต้องดํารงคุณสมบัติและดําเนินการในเรื่องที่แสดงไว้ในข้อ 3 ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา (3) ต้องดํารงสัดส่วนการถือหุ้นให้มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 2 ตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวได้ ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) คําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา คําขอละ 30,000 บาท (2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตัวแทนซื้อขายสัญญาที่เกี่ยวกับทองคํา ฉบับละ 500,000 บาท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในวันที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายทองคําที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและความพร้อมในด้านการเงินและการบริหารงานสามารถประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับทองคําได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
4,230
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบและตรวจสอบระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อพ.ศ. 2561
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบและตรวจสอบระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ พ.ศ. 2561 -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 และข้อ 18 แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ พ.ศ. 2560 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “มาตรฐาน API 570” หมายความว่า มาตรฐานที่กําหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ลําดับที่ 570 เรื่อง Piping Inspection Code: In - service Inspection, Rating, Repair, and Alteration of Piping Systems “มาตรฐาน API 1160” หมายความว่า มาตรฐานที่กําหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ลําดับที่ 1160 เรื่อง Managing System Integrity for Hazardous Liquid Pipelines ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดให้มีการทดสอบและตรวจสอบระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ ข้อ ๔ การทดสอบและตรวจสอบระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ให้ใช้วิธีตามมาตรฐานการออกแบบ หรือมาตรฐาน API 570 หรือมาตรฐาน API 1160 แล้วแต่กรณี และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการท้ายประกาศนี้ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีสร้างขึ้นใหม่ในการขอรับใบอนุญาตให้ทดสอบและตรวจสอบท่อ ไม่น้อยกว่าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ 1 ท้ายประกาศนี้ (2) กรณีขอต่ออายุใบอนุญาตประจําปีให้ทดสอบและตรวจสอบระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อเหนือพื้นดิน ด้วยวิธีพินิจด้วยสายตาภายนอก (external visual examination) ส่วนระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อใต้พื้นดิน ให้ทดสอบและตรวจสอบด้วยวิธี above - grade visual surveillance ทั้งนี้ ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อเหนือพื้นดิน ให้หมายความรวมถึงระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อที่มีท่อเหนือพื้นดินซึ่งติดตั้งอยู่กับสะพานวางท่อ (Pipe Bridge) หรือชั้นวางท่อ (Pipe Rack) และระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อเหนือพื้นดินที่ประกอบด้วยท่อใต้พื้นดินบางส่วนรวมอยู่ในเส้นท่อเดียวกัน (3) กรณีทดสอบและตรวจสอบตามวาระ สําหรับระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อเหนือพื้นดิน ให้ทดสอบและตรวจสอบท่อไม่น้อยกว่าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ 2 ท้ายประกาศนี้ โดยให้ทดสอบและตรวจสอบตามวาระครั้งแรกภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และครั้งต่อไปภายในทุกห้าปี นับแต่วันที่ทดสอบและตรวจสอบครั้งหลังสุด ทั้งนี้ ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อเหนือพื้นดิน ให้หมายความรวมถึงระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อที่มีท่อเหนือพื้นดินซึ่งติดตั้งอยู่กับสะพานวางท่อ (Pipe Bridge) หรือชั้นวางท่อ (Pipe Rack) และระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อเหนือพื้นดินที่ประกอบด้วยท่อใต้พื้นดินบางส่วนรวมอยู่ในเส้นท่อเดียวกัน (4) กรณีทดสอบและตรวจสอบตามวาระ สําหรับระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อใต้พื้นดิน ให้ทดสอบและตรวจสอบท่อไม่น้อยกว่าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ 3 ท้ายประกาศนี้โดยให้ทดสอบและตรวจสอบตามวาระครั้งแรกภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และครั้งต่อไปภายในทุกห้าปี นับแต่วันที่ทดสอบและตรวจสอบครั้งหลังสุด ในกรณีมีเหตุจําเป็นที่ผู้ประกอบกิจการควบคุม ไม่สามารถทดสอบและตรวจสอบท่อตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้ ผู้ประกอบกิจการควบคุมอาจขอขยายระยะเวลาโดยยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน พร้อมเอกสารการประเมินความเสี่ยงในการใช้งานระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อใต้พื้นดิน ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันแต่ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนครบกําหนดระยะเวลาการทดสอบและตรวจสอบ เมื่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อใต้พื้นดินนั้น มีความมั่นคงแข็งแรง อาจมีคําสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกินห้าปี นับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาทดสอบและตรวจสอบดังกล่าวได้ (5) ในกรณีผลการทดสอบและตรวจสอบระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อตามวิธีการทดสอบและตรวจสอบใน (1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี นั้น ปรากฏเหตุอันควรสงสัยจากการทดสอบและตรวจสอบว่า อาจทําให้เกิดความไม่มั่นคงแข็งแรงต่อระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อหรืออาจเกิดอันตรายขึ้นเมื่อใช้งานต่อไปและจําเป็นต้องได้รับการแก้ไข ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมนําเสนอวิธีการแก้ไข และวิธีการทดสอบและตรวจสอบให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงดําเนินการได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,231
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขตในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ----------------------------------------------------- ด้วยกระทรวงพลังงาน โดยกรมธุรกิจพลังงาน ได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ให้แก่บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ตั้งอยู่ที่ ตําบลทัพหลวง อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม รวมความยาวท่อส่งก๊าซธรรมชาติประมาณ 734.50 เมตร และไม่มีสถานีควบคุมตลอดแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อขนส่งก๊าซธรรมชาติไปยังสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ จํานวน 3 แห่ง ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจเป็นอันตรายแก่ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ รวมทั้งอุปกรณ์ของระบบดังกล่าว จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 ประกอบกับมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ กําหนดให้พื้นที่ในเขตท้องที่ต่อไปนี้ เป็นเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อจํานวน 3 แนวท่อ มีรายละเอียดดังนี้ (1) แนวท่อที่ 1 มีความกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขตประมาณ 5 เมตร จากจุดเชื่อมต่อท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ โครงการระบบจําหน่ายก๊าซธรรมชาติไปยังกลุ่มลูกค้าจังหวัดนครปฐม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 9+600 ถึง 9+700 ค่าพิกัดที่ N 1535099 E 607014 ไปสิ้นสุดที่แนวเขตที่ดินของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ปตท. สาขาโฟร์ซีซั่นส์ ดิเวลลอปเมนท์ แอนด์ เซอร์วิส ค่าพิกัดที่ N 1535102 E 607018 ตั้งอยู่ที่ตําบลทัพหลวง อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (2) แนวท่อที่ 2 มีความกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขตประมาณ 38.5 เมตร จากจุดเชื่อมต่อท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ จากโครงการระบบจําหน่ายก๊าซธรรมชาติไปยังกลุ่มลูกค้าจังหวัดนครปฐม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 9+900 ถึง 10+000 ค่าพิกัดที่ N 1535377 E 606777 ไปสิ้นสุดที่แนวเขตที่ดินของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ปตท. ไผ่เตยเจริญ ค่าพิกัดที่ N 1535353 E 606751 ตั้งอยู่ที่ตําบลทัพหลวง อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (3) แนวท่อที่ 3 มีความกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขตประมาณ 691 เมตร จากจุดเชื่อมต่อท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ จากโครงการระบบจําหน่ายก๊าซธรรมชาติไปยังกลุ่มลูกค้าจังหวัดนครปฐม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 10+800 ถึง 10+900 ค่าพิกัดที่ N 1536066 E 606224 ไปสิ้นสุดที่แนวเขตที่ดินของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ บริษัท นครปฐม เอ็นจีวี จํากัด ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 11+400 ถึง 11+500 ค่าพิกัดที่ N 1536668 E 606137 ตั้งอยู่ที่ตําบลทัพหลวง อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ข้อ ๓ ให้บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ทําเครื่องหมายแสดงเขตไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามข้อ 2 เป็นไปตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และประกาศกระทรวงพลังงานเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการติดตั้งป้าย หรือเครื่องหมายเตือนแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติด้วย ข้อ ๔ แผนที่ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และเครื่องหมายแสดงเขต รวมทั้งรายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ปรากฏตามเอกสารที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ปิดประกาศฉบับนี้ ณ ที่ว่าการอําเภอแห่งท้องที่ที่ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อนั้นตั้งอยู่ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. รายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติในบริเวณเขตระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 2. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (แผนที่เลขที่ 1/7) 3. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (แผนที่เลขที่ 2/7) 4. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (แผนที่เลขที่ 3/7) 5. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (แผนที่เลขที่ 4/7) 6. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (แผนที่เลขที่ 5/7) 7. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (แผนที่เลขที่ 6/7) 8. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (แผนที่เลขที่ 7/7) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,232
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขตในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอนาหม่อม อำเภอหาดใหญ่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอจะนะ อําเภอนาหม่อม อําเภอหาดใหญ่ อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ---------------------------------------------------- ด้วยกระทรวงพลังงาน โดยกรมธุรกิจพลังงาน ได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุม ประเภทที่ 3 ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อให้แก่ บริษัท ทรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งเป็นการวางท่อส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว จากอุปกรณ์วัดปริมาตรต้นทาง บริเวณรั้วของบริษัท ทรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จํากัด ตั้งอยู่เลขที่ 181 หมู่ที่ 8 ตําบลตลิ่งชัน อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จนถึงอุปกรณ์วัดปริมาตรปลายทางบริเวณชายแดนไทย - มาเลเซีย อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา รวมความยาวท่อส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวประมาณ 86.845 กิโลเมตร และมีสถานีควบคุมตลอดแนวท่อส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว จํานวน 9 สถานี ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจเป็นอันตรายแก่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ รวมทั้งอุปกรณ์ของระบบดังกล่าว จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 ประกอบกับมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ กําหนดให้พื้นที่ในเขตท้องที่ต่อไปนี้ เป็นเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ จํานวน 10 ช่วง มีรายละเอียดดังนี้ (1) ช่วงที่ 1 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 6,900 เมตร จากรั้วของบริษัท ทรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จํากัด จนถึงสถานีควบคุมที่ 1 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลตลิ่งชัน และตําบลสะกอม อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (2) ช่วงที่ 2 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 5,600 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 1 จนถึงสถานีควบคุมที่ 2 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลตลิ่งชัน ตําบลจะโหนง ตําบลคลองเปียะ อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (3) ช่วงที่ 3 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 10,300 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 2 จนถึงสถานีควบคุมที่ 3 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลจะโหนง ตําบลคลองเปียะ อําเภอจะนะ ตําบลพิจิตร อําเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา (4) ช่วงที่ 4 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 10,000 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 3 จนถึงสถานีควบคุมที่ 4 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลพิจิตร ตําบลคลองหรั่ง ตําบลทุ่งขมิ้น ตําบลนาหม่อม อําเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา (5) ช่วงที่ 5 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 12,500 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 4 จนถึงสถานีควบคุมที่ 5 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลนาหม่อม อําเภอนาหม่อม ตําบลบ้านพรุ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (6) ช่วงที่ 6 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 9,900 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 5 จนถึงสถานีควบคุมที่ 6 ตั้งอยู่ในท้องที่ตํา บลพะตง ตํา บลบ้านพรุ อําเภอหาดใหญ่ ตําบลเขามีเกียรติ อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (7) ช่วงที่ 7 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 10,300 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 6 จนถึงสถานีควบคุมที่ 7 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลเขามีเกียรติ ตําบลพังลา ตําบลปริก อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (8) วงที่ 8 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 11,100 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 7 จนถึงสถานีควบคุมที่ 8 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลปริก ตําบลสํานักแต้ว อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (9) ช่วงที่ 9 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 9,900 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 8 จนถึงสถานีควบคุมที่ 9 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลสํานักแต้ว ตําบลสํานักขาม อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (10) ช่วงที่ 10 มีขนาดกว้างของเขต 20 เมตร และความยาวของเขต 345 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 9 จนถึงชายแดนไทย - มาเลเซีย ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลสํานักขาม อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ข้อ ๓ ในเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ให้มีสถานีควบคุม (Block Valve) จํานวน 9 สถานี มีรายละเอียดเนื้อที่ สถานที่ตั้งดังนี้ (1) สถานีควบคุมที่ 1 เนื้อที่ ประมาณ 2 - 0 - 00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลตลิ่งชัน อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (2) สถานีควบคุมที่ 2 เนื้อที่ ประมาณ 5 - 0 - 00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลคลองเปียะ อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (3) สถานีควบคุมที่ 3 เนื้อที่ ประมาณ 5 - 0 - 00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลพิจิตร อําเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา (4) สถานีควบคุมที่ 4 เนื้อที่ ประมาณ 5 - 0 - 00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลนาหม่อม อําเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา (5) สถานีควบคุมที่ 5 เนื้อที่ ประมาณ 5 - 0 - 00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลบ้านพรุ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (6) สถานีควบคุมที่ 6 เนื้อที่ ประมาณ 5 - 0 - 00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลเขามีเกียรติ อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (7) สถานีควบคุมที่ 7 เนื้อที่ ประมาณ 5 - 0 - 00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลปริก อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (8) สถานีควบคุมที่ 8 เนื้อที่ ประมาณ 5 - 0 - 00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลสํานักแต้ว อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (9) สถานีควบคุมที่ 9 เนื้อที่ ประมาณ 10 - 0 - 00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลสํานักขาม อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ข้อ ๔ ให้บริษัท ทรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จํากัด ทําเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อตามข้อ 2 เป็นไปตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมทางท่อ ข้อ ๕ แผนที่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ และเครื่องหมายแสดงเขต รวมทั้งรายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ปรากฏตามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ให้บริษัท ทรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จํากัด ปิดประกาศฉบับนี้ ณ ที่ว่าการอําเภอแห่งท้องที่ที่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อนั้นตั้งอยู่ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้มีอํานาจลงนาม - [เอกสารแนบท้าย] 1. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอจะนะ อําเภอนาหม่อม อําเภอหาดใหญ่ อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2. รายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติและบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,233
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2558
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2558 --------------------------------------------------- เพื่อให้การใช้บังคับพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2555 ข้อ ๒ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (1) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2) รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (3) อธิบดีกรมการแพทย์ (4) อธิบดีกรมควบคุมโรค (5) อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (6) อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (7) อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (8) อธิบดีกรมสุขภาพจิต (9) อธิบดีกรมอนามัย (10) เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (11) ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (12) สาธารณสุขนิเทศ (13) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข (14) รองอธิบดีกรมการแพทย์ (15) รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (16) รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (17) รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (18) รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (19) รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต (20) รองอธิบดีกรมอนามัย (21) รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (22) เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง สังกัดกรมการแพทย์ (23) เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง สังกัดกรมควบคุมโรค (24) เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง สังกัดกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (25) เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง สังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (26) เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง สังกัดกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (27 เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง สังกัดกรมสุขภาพจิต (28) เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง สังกัดกรมอนามัย (29) เลขานุการกรม ผู้อํานวยการกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง สังกัดสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (30) เภสัชกร และนักวิชาการอาหารและยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (31) นิติกร สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสุขภาพจิต กรมอนามัย และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (32) นักวิชาการสาธารณสุข สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสุขภาพจิต กรมอนามัย และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (33) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการเผยแพร่ นักวิชาการประชาสัมพันธ์ นักจัดการงานทั่วไป สังกัดกรมควบคุมโรค ข้อ ๓ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในสังกัดราชการบริหารส่วนภูมิภาค หรือสังกัดราชการบริหารส่วนกลางที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในส่วนภูมิภาค ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน ประจําสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด (3) นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านส่งเสริมพัฒนา ประจําสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด (4) ผู้อํานวยการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 - 12 กรมควบคุมโรค (5) ผู้อํานวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (6) ผู้อํานวยการศูนย์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต (7) ผู้อํานวยการศูนย์อนามัย กรมอนามัย (8) ผู้อํานวยการสํานักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 1 - 12 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (9) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลทั่วไป ผู้อํานวยการโรงพยาบาลชุมชนและผู้อํานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (10) ผู้อํานวยการศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สังกัดกรมการแพทย์ (11) ผู้อํานวยการศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สังกัดกรมการแพทย์ (12) ข้าราชการและพนักงานราชการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 - 12 สังกัดกรมควบคุมโรค (13) ข้าราชการและพนักงานราชการ สังกัดสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล ข้อ ๔ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2) รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (3) ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (4) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (5) รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (6) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (7) รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (8) เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (9) รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (10) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (11) อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทุกแห่ง (12) รองอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทุกแห่ง (13) ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้อํานวยการสํานักอํานวยการ สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (14) เลขาธิการสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (15) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (16) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (17) รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (18) รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (19) ผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมกิจการนักศึกษา (20) ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด (21) ผู้อํานวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต (22) ผู้อํานวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอ (23) ผู้อํานวยการโรงเรียน รองผู้อํานวยการโรงเรียนฝ่ายปกครอง รองผู้อํานวยการโรงเรียนฝ่ายบริหารงานบุคคล และครูฝ่ายปกครอง สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (24) ผู้อํานวยการโรงเรียนเอกชน ในกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (25) ข้าราชการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียน สังกัดสํานักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน (26) เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ (27) อาจารย์หรือครูซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบด้านการควบคุมความประพฤตินักเรียนหรือนักศึกษาในสถานศึกษาของเอกชน ข้อ ๕ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) ผู้ว่าราชการจังหวัด (2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด (3) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (4) รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (5) ผู้อํานวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (6) ผู้อํานวยการสํานักบูรณาการสาธารณภัย อุบัติภัย และความปลอดภัยทางถนน (7) ปลัดจังหวัด (8) นายอําเภอ (9) ปลัดอําเภอผู้เป็นหัวหน้าประจํากิ่งอําเภอ (10) ปลัดอําเภอ (11) เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าหน้าที่ปกครอง ประจําศาลากลางจังหวัด (12) นิติกร ที่ทําการปกครองจังหวัด (13) เจ้าหน้าที่ปกครอง ประจําที่ว่าการอําเภอ/กิ่งอําเภอ ข้อ ๖ ให้กรรมการในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดและคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรุงเทพมหานคร เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ข้อ ๗ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (2) รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (3) ปลัดกรุงเทพมหานคร (4) รองปลัดกรุงเทพมหานคร (5) ผู้อํานวยการสํานักการแพทย์ (6) รองผู้อํานวยการสํานักการแพทย์ (7) ผู้อํานวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร (8) ผู้อํานวยการสํานักอนามัย (9) รองผู้อํานวยการสํานักอนามัย (10) ผู้อํานวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สํานักอนามัย (11) ผู้อํานวยการกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สํานักอนามัย (12) ผู้อํานวยการกองสุขาภิบาลอาหาร สํานักอนามัย (13) ผู้อํานวยการศูนย์บริการสาธารณสุข สํานักอนามัย (14) ผู้อํานวยการสํานักงานป้องกันและบําบัดการติดยาเสพติด สํานักอนามัย (15) ผู้อํานวยการสํานักการศึกษา (16) รองผู้อํานวยการสํานักการศึกษา (17) ผู้อํานวยการสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (18) ผู้อํานวยการสํานักเทศกิจ (19) รองผู้อํานวยการสํานักเทศกิจ (20) ผู้อํานวยการเขต (21) ผู้ช่วยผู้อํานวยการเขต (22) ผู้อํานวยการกองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ 1 - 3 (23) เจ้าพนักงานเทศกิจ สังกัดสํานักงานเขต และสํานักงานเทศกิจ (24) นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร (25) เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สังกัดสํานักงานเขต (26) หัวหน้าฝ่ายเทศกิจ สังกัดสํานักงานเขต และสํานักเทศกิจ (27) นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข สังกัดกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (28) นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข สังกัดกองสุขาภิบาลอาหาร (29) เจ้าหน้าที่เทศกิจ สังกัดสํานักงานเขต และสํานักงานเทศกิจ (30) นักพัฒนาสังคม สังกัดสํานักงานเขต (31) นายแพทย์ หัวหน้ากลุ่มงานบริการสุขภาพ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลและการบริหารทั่วไป นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร นักจิตวิทยา สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข (32) นิติกร สังกัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดเทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตําบล ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) นายกเทศมนตรี (2) นายกเทศบาล (3) รองนายกเทศมนตรีที่ได้รับการมอบหมายให้ดูแลฝ่ายสาธารณสุข (4) รองนายกเทศบาลที่ได้รับการมอบหมายให้ดูแลฝ่ายสาธารณสุข (5) ปลัดเทศบาล (6) รองปลัดเทศบาล (7) ผู้อํานวยการกองหรือสํานักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (8) ผู้อํานวยการกองหรือสํานักการศึกษา (9) ผู้อํานวยการกองหรือสํานักสวัสดิการสังคม (10) ผู้อํานวยการกองหรือสํานักวิชาการและแผนงาน (11) ผู้อํานวยการกองหรือสํานักการแพทย์ (12) ผู้อํานวยการโรงเรียนเทศบาล (13) นายแพทย์ พยาบาล และนักวิชาการสุขาภิบาล (14) นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และเจ้าพนักงานเทศกิจ (15) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (16) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (17) รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (18) นายกองค์การบริหารส่วนตําบล (19) ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล (20) นักวิชาการสุขาภิบาล นักบริหารงานสาธารณสุข และพยาบาล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดองค์การบริหารส่วนตําบล (21) นายกเมืองพัทยา (22) รองนายกเมืองพัทยา (23) ปลัดเมืองพัทยา (24) รองปลัดเมืองพัทยา (25) ผู้อํานวยการกองอนามัยและสิ่งแวดล้อมเมืองพัทยา (26) นักบริหารงานสาธารณสุข สํานักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเมืองพัทยา (27) นักวิชาการสุขาภิบาล สํานักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเมืองพัทยา (28) เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน สํานักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเมืองพัทยา (29) เจ้าพนักงานสุขาภิบาล สํานักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเมืองพัทยา (30) เทศกิจ สังกัดเทศบาล (31) นิติกร สังกัดเทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อ ๙ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) ผู้อํานวยการสํานักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1 (2) หัวหน้าส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1 (3) หัวหน้าส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 (4) หัวหน้าส่วนมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 3 (5) เจ้าพนักงานสรรพสามิต สังกัดสํานักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1 (6) นักวิชาการสรรพสามิต สังกัดสํานักมาตรฐานและพัฒนาการการจัดเก็บภาษี 1 (7) ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบป้องกันและปราบปราม (8) เจ้าพนักงานสรรพสามิต สังกัดสํานักตรวจสอบป้องกันและปราบปราม (9) นักวิชาการสรรพสามิต สังกัดสํานักตรวจสอบป้องกันและปราบปราม (10) นักตรวจสอบภาษี สังกัดสํานักตรวจสอบป้องกันและปราบปราม (11) ผู้อํานวยการสํานักงานสรรพสามิตภาค (12) หัวหน้าส่วนตรวจสอบป้องกันและปราบปราม สํานักงานสรรพสามิตภาค (13) นักวิชาการสรรพสามิต นักตรวจสอบภาษี สังกัดสํานักงานสรรพสามิตภาค (14) เจ้าพนักงานสรรพสามิต สังกัดสํานักงานสรรพสามิตภาค (15) สรรพสามิตพื้นที่ (16) นักวิชาการสรรพสามิต นักตรวจสอบภาษี สังกัดสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่ (17) เจ้าพนักงานสรรพสามิต สังกัดสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่ (18) หัวหน้าสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา (19) นักวิชาการสรรพสามิต นักตรวจสอบภาษี สังกัดสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา (20) เจ้าพนักงานสรรพสามิต สังกัดสํานักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา ข้อ ๑๐ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) ผู้อํานวยการสํานักสืบสวนและปราบปราม (2) ผู้อํานวยการสํานักงานศุลกากรตรวจสอบของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (3) ผู้อํานวยการสํานักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (4) ผู้อํานวยการสํานักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ (5) ผู้อํานวยการสํานักงานศุลกากรกรุงเทพ (6) ผู้อํานวยการสํานักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ (7) ผู้อํานวยการสํานักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง (8) ผู้อํานวยการสํานักงานศุลกากรภาคที่ 1 - 4 (9) นายด่านศุลกากร (10) นักวิชาการศุลกากร สังกัดสํานักสืบสวนและปราบปราม สํานักงานศุลกากรตรวจสอบของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สํานักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สํานักงานศุลกากรกรุงเทพ สํานักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ สํานักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ สํานักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และสํานักงานศุลกากรภาค (11) เจ้าพนักงานศุลกากร สังกัดสํานักสืบสวนและปราบปราม สํานักงานศุลกากรตรวจสอบของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สํานักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สํานักงานศุลกากรกรุงเทพ สํานักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ สํานักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ สํานักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และสํานักงานศุลกากรภาค ข้อ ๑๑ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (2) รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (3) ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้อํานวยการสํานัก สังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม (4) วิศวกร วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า สังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม (5) เจ้าพนักงานตรวจโรงงาน สังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม (6) นักวิทยาศาสตร์ สังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม (7) นิติกร สังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม (8) อุตสาหกรรมจังหวัด สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (9) วิศวกรและเจ้าพนักงานตรวจโรงงาน ฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรม สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ข้อ ๑๒ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) อธิบดีกรมศิลปากร (2) รองอธิบดีกรมศิลปากร (3) ผู้อํานวยการสํานักการสังคีต (4) ผู้อํานวยการสํานักโบราณคดี (5) ผู้อํานวยการสํานักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (6) ผู้อํานวยการสํานักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (7) ผู้อํานวยการสํานักสถาปัตยกรรม (8) ผู้อํานวยการสํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (9) ผู้อํานวยการสํานักหอสมุดแห่งชาติ (10) ผู้อํานวยการสํานักช่างสิบหมู่ (11) ผู้อํานวยการสํานักบริหารกลาง (12) ผู้อํานวยการสํานักศิลปากรที่ 1 - 15 (13) ผู้อํานวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (14) ผู้อํานวยการอุทยานประวัติศาสตร์ (15) ผู้อํานวยการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (16) หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (17) หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ (18) หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติ (19) หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (20) อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (21) รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (22) ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (23) คณบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (24) ผู้อํานวยการวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (25) รองคณบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (26) รองผู้อํานวยการวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (27) ผู้อํานวยการสํานักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (28) ผู้อํานวยการกองในสํานักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (29) ผู้อํานวยการสํานักงานผู้อํานวยการวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (30) หัวหน้าภาควิชา สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (31) นิติกร สํานักงานอธิการบดี สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (32) วัฒนธรรมจังหวัด สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (33) นักวิชาการวัฒนธรรม สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ข้อ ๑๓ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (1) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2) รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (3) อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (4) รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (5) ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (6) รองผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (7) นิติกร สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (8) นักสังคมสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (9) นักพัฒนาสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และสํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ ข้อ ๑๔ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สังกัดราชการส่วนภูมิภาค หรือสังกัดราชการบริหารส่วนกลางที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในส่วนภูมิภาคซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (2) นักสังคมสงเคราะห์ สังกัดสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (3) นักพัฒนาสังคม สังกัดสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (4) เจ้าพนักงานพัฒนาสังคม สังกัดสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (5) นิติกร (พนักงานราชการ) สังกัดสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ข้อ ๑๕ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) เจ้ากรมสารวัตรทหารบก (2) ผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารที่ 11 (3) รองผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารที่ 11 (4) ผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 6 (5) รองผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 6 (6) ผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารที่ 12 (7) รองผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารที่ 12 (8) ผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 6 (9) รองผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 6 (10) ผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารจังหวัดทหารบก (11) รองผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารจังหวัดทหารบก (12) ผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารหญิง (13) รองผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารหญิง (14) ผู้บังคับการกรมสารวัตรทหารเรือ (15) รองผู้บังคับการกรมสารวัตรทหารเรือ (16) ผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารเรือที่ 1 (17) รองผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารเรือที่ 1 (18) ผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 6 (19) รองผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 6 (20) ผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารเรือที่ 2 (21) รองผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารเรือที่ 2 (22) ผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 3 (23) รองผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 3 (24) ผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารเรือที่ 3 (25) รองผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารเรือที่ 3 (26) ผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 3 (27) รองผู้บังคับกองร้อยสารวัตรทหารที่ 1 - 3 (28) ผู้บังคับการกรมทหารสารวัตรทหารอากาศ (29) รองผู้บังคับการกรมทหารสารวัตรทหารอากาศ (30) ผู้บังคับกองพันทหารสารวัตรทหารอากาศ (31) รองผู้บังคับกองพันทหารสารวัตรทหารอากาศ (32) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรทหารอากาศ 1 - 3 (33) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรทหารอากาศ 1 - 3 (34) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 1 (35) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 1 (36) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 2 (37) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 2 (38) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 21 (39) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 21 (40) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 23 (41) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 23 (42) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 4 (43) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 4 (44) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 41 (45) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 41 (46) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 46 (47) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 46 (48) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 5 (49) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 5 (50) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 6 (51) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 6 (52) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 7 (53) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 7 (54) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 56 (55) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรกองบิน 56 (56) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรโรงเรียนการบิน (57) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรโรงเรียนการบิน (58) ผู้บังคับกองทหารสารวัตร (59) รองผู้บังคับกองทหารสารวัตร (60) ผู้บังคับกองร้อยกองบังคับการ (61) รองผู้บังคับกองร้อยกองบังคับการ (62) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรที่ 1 (63) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรที่ 1 (64) ผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรที่ 2 (65) รองผู้บังคับกองร้อยทหารสารวัตรที่ 2 (66) ผู้บังคับหมวดทหารสารวัตรที่ 1 กองร้อยทหารสารวัตรที่ 1 (67) ผู้บังคับหมวดทหารสารวัตรที่ 2 กองร้อยทหารสารวัตรที่ 1 (68) ผู้บังคับหมวดทหารสารวัตรที่ 3 กองร้อยทหารสารวัตรที่ 1 (69) ผู้บังคับหมวดทหารสารวัตรที่ 1 กองร้อยทหารสารวัตรที่ 2 (70) ผู้บังคับหมวดทหารสารวัตรที่ 2 กองร้อยทหารสารวัตรที่ 2 (71) ผู้บังคับหมวดทหารสารวัตรหญิงที่ 2 กองร้อยทหารสารวัตรที่ 2 (72) สารวัตรทหารที่มียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี ขึ้นไป ข้อ ๑๖ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (2) รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (3) เลขานุการกรมประชาสัมพันธ์ (4) ประชาสัมพันธ์จังหวัด ข้อ ๑๗ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นข้าราชการตํารวจชั้นสัญญาบัตรผู้มียศตั้งแต่ร้อยตํารวจตรีหรือผู้ดํารงตําแหน่งรองสารวัตรขึ้นไป เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ข้อ ๑๘ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (1) เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (2) รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (3) ผู้อํานวยการสํานักกํากับผังและเนื้อหารายการและพัฒนาผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (4) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ระดับ ช1) สังกัดสํานักกํากับผังและเนื้อหารายการและพัฒนาผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (5) ผู้เชี่ยวชาญ (ระดับ ช2) สังกัดสํานักกํากับผังและเนื้อหารายการและพัฒนาผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (6) ผู้ชํานาญการ (ระดับ ช3) สังกัดสํานักกํากับผังและเนื้อหารายการและพัฒนาผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (7) พนักงานปฏิบัติการระดับสูง (ระดับ ก1) สังกัดสํานักกํากับผังและเนื้อหารายการและพัฒนาผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (8) พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง (ระดับ ก2) สังกัดสํานักกํากับผังและเนื้อหารายการและพัฒนาผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (9) พนักงานปฏิบัติการระดับต้น (ระดับ ก3) สังกัดสํานักกํากับผังและเนื้อหารายการและพัฒนาผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ข้อ ๑๙ ให้เจ้าหน้าที่สังกัดสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติสังกัดราชการบริหารส่วนภูมิภาค หรือสังกัดราชการบริหารส่วนกลางที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในส่วนภูมิภาค ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เฉพาะในเขตท้องที่ที่มีอํานาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (1) ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ภาค 1 - 4 (2) ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต 1 - 14 (3) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ระดับ ช1) ผู้เชี่ยวชาญ (ระดับ ช2) และผู้ชํานาญการ (ระดับ ช3) สังกัดสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ภาค 1 - 4 (4) พนักงานปฏิบัติการระดับสูง (ระดับ ก1) พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง (ระดับ ก2) และพนักงานปฏิบัติการระดับต้น (ระดับ ก3) สังกัดสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ภาค 1 - 4 (5) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ระดับ ช1) ผู้เชี่ยวชาญ (ระดับ ช2) และผู้ชํานาญการ (ระดับ ช3) สังกัดสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต 1 - 14 (6) พนักงานปฏิบัติการระดับสูง (ระดับ ก1) พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง (ระดับ ก2) และพนักงานปฏิบัติการระดับต้น (ระดับ ก3) สังกัดสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต 1 - 14 ข้อ ๒๐ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,234
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขตในท้องที่อำเภอเมืองระยอง อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง อำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองระยอง อําเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง อําเภอบางละมุง อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี -------------------------------------------------------------- ด้วยกระทรวงพลังงาน โดยกรมธุรกิจพลังงาน ได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อให้แก่บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นการวางท่อส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว และ 10 นิ้ว จากอุปกรณ์วัดปริมาตรต้นทางบริเวณรั้วบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) (“โรงแยกก๊าซธรรมชาติจังหวัดระยอง”) ตั้งอยู่เลขที่ 555 ถนนสุขุมวิท ตําบลมาบตาพุด อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง จนถึงอุปกรณ์วัดปริมาตรปลายทางที่บริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) (“คลังก๊าซเขาบ่อยา”) ตั้งอยู่เลขที่ 50 หมู่ 3 ตําบลทุ่งสุขลา อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี รวมความยาวท่อส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ประมาณ 61.13 กิโลเมตร และมีสถานีควบคุมตลอดแนวท่อส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว จํานวน 4 สถานี ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจเป็นอันตรายแก่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ รวมทั้งอุปกรณ์ของระบบดังกล่าว จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 ประกอบกับมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํา มันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ กําหนดให้พื้นที่ในเขตท้องที่ต่อไปนี้ เป็นเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อจํานวน 5 ช่วง มีรายละเอียดดังนี้ (1) ช่วงที่ 1 มีความกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขต 10,625 เมตร จากรั้วของบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) (“โรงแยกก๊าซธรรมชาติจังหวัดระยอง”) วางขนานทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3191 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 0 ถึง หลักกิโลเมตรที่ 5 และวางขนานทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 36 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 37 ถึง หลักกิโลเมตรที่ 33 จนถึงสถานีควบคุมที่ 1.1 ตั้งอยู่ในท้องที่ ตําบลมาบตาพุด อําเภอเมืองระยอง ตําบลมาบข่า อําเภอนิคมพัฒนา และตําบลนิคมพัฒนา อําเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง (2) ช่วงที่ 2 มีความกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขต 12,085.1 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 1.1 วางขนานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 33 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 21 จนถึงสถานีควบคุมที่ 1.2 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลนิคมพัฒนา อําเภอนิคมพัฒนา ตําบลมะขามคู่ อําเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง และตําบลโป่ง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (3) ช่วงที่ 3 มีความกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขต 11,413 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 1.2 วางขนานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 21 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 9 จนถึงสถานีควบคุมที่ 1.3 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลโป่ง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (4) ช่วงที่ 4 มีขนาดกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขต 11,832 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 1.3 วางขนานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 9 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 1 จนถึงสถานีควบคุมที่ 1.4 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลโป่ง ตําบลหนองปลาไหล ตําบลบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (5) ช่วงที่ 5 มีขนาดกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขต 15,176.712 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 1.4 จนถึงบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) (“คลังก๊าซเขาบ่อยา”) ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลบางละมุง อําเภอบางละมุง ตําบลทุ่งสุขลา อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ข้อ ๓ ในเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ให้มีสถานีควบคุม (Block Valve) จํานวน 4 สถานี มีรายละเอียดเนื้อที่ สถานที่ตั้งดังนี้ (1) สถานีควบคุมที่ 1.1 เนื้อที่ ประมาณ 1 - 2 - 46 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลมะขามคู่ อําเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง (2) สถานีควบคุมที่ 1.2 เนื้อที่ ประมาณ 1 - 0 - 46 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลโป่ง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (3) สถานีควบคุมที่ 1.3 เนื้อที่ ประมาณ 1 - 3 - 48 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลโป่ง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (4) สถานีควบคุมที่ 1.4 เนื้อที่ ประมาณ 0 - 1 - 44 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ข้อ ๔ ให้บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ทําเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อตามข้อ 2 เป็นไปตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ข้อ ๕ แผนที่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ และเครื่องหมายแสดงเขต รวมทั้งรายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ และบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ปรากฏตามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ให้บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ปิดประกาศฉบับนี้ ณ ที่ว่าการอําเภอแห่งท้องที่ที่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อนั้นตั้งอยู่ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองระยอง อําเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง อําเภอบางละมุง อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 2. รายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติและบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,235
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขตในท้องที่อำเภอเมืองระยอง อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองระยอง อําเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง -------------------------------------------------------- ด้วยกระทรวงพลังงาน โดยกรมธุรกิจพลังงาน ได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อให้แก่บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) (“สาขา 3”) ซึ่งเป็นการวางท่อส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว จากอุปกรณ์วัดปริมาตรต้นทาง บริเวณรั้วของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) (“สาขา 3”) ตั้งอยู่เลขที่ 9 ถนนไอ-สี่ ตําบลมาบตาพุด อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง จนถึงอุปกรณ์วัดปริมาตรปลายทางที่บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน) ตั้งอยู่เลขที่ 299 หมู่ที่ 5 ถนนสุขุมวิท ตําบลเชิงเนิน อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง รวมความยาวท่อส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ประมาณ 33.17 กิโลเมตร และมีสถานีควบคุมตลอดแนวท่อส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว จํานวน 2 สถานี ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจเป็นอันตรายแก่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ รวมทั้งอุปกรณ์ของระบบดังกล่าว จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 ประกอบกับมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํา มันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ กําหนดให้พื้นที่ในเขตท้องที่ต่อไปนี้ เป็นเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ จํานวน 3 ช่วง มีรายละเอียดดังนี้ (1) ช่วงที่ 1 มีขนาดกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขต 13,670 เมตร จากรั้วของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) (“สาขา 3”) จนถึงสถานีควบคุมที่ 1 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลมาบข่า อําเภอนิคมพัฒนา ตําบลมาบตาพุด อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (2) ช่วงที่ 2 มีขนาดกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขต 10,000 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 1 จนถึงสถานีควบคุมที่ 2 ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลมาบข่า อําเภอนิคมพัฒนา ตําบลทับมา อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (3) ช่วงที่ 3 มีขนาดกว้างของเขต 5 เมตร และความยาวของเขต 9,500 เมตร จากสถานีควบคุมที่ 2 จนถึงรั้วบริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน) ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลทับมา ตําบลเชิงเนิน อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ข้อ ๓ ในเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ให้มีสถานีควบคุม (Block Valve) จํานวน 2 สถานี มีรายละเอียดเนื้อที่ สถานที่ตั้งดังนี้ (1) สถานีควบคุมที่ 1 เนื้อที่ ประมาณ 20 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลมาบข่า อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (2) สถานีควบคุมที่ 2 เนื้อที่ ประมาณ 20 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในท้องที่ตําบลทับมา อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ข้อ ๔ ให้บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) ทําเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อตามข้อ 2 เป็นไปตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมทางท่อ ข้อ ๕ แผนที่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ และเครื่องหมายแสดงเขต รวมทั้งรายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ปรากฏตามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ให้บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) ปิดประกาศฉบับนี้ ณ ที่ว่าการอําเภอแห่งท้องที่ที่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อนั้นตั้งอยู่ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต ในท้องที่อําเภอเมืองระยอง อําเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง 2. รายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติและบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,236
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดสถานที่ลักษณะอื่น ๆ ที่ถือเป็นสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดสถานที่ลักษณะอื่น ๆ ที่ถือเป็นสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561 -------------------------------------------------------- เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการกํากับดูแลด้านความปลอดภัยของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียม เกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 ที่จะกํากับดูแลสถานที่ที่มีการนําก๊าซธรรมชาติไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มีความปลอดภัย และเนื่องจากปัจจุบันมีการนําก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงมากขึ้นในสถานที่ลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม สถานพยาบาลหรือห้างสรรพสินค้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 39 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดสถานที่ลักษณะอื่น ๆ ที่ถือเป็นสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการอนุญาตและอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “การผลิตน้ําเย็น หรือ น้ําร้อน” หมายความว่า การผลิตน้ําเย็น (Chilled Water) หรือน้ําร้อน (Hot Water) เพื่อการปรับอากาศภายในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ หรือเพื่อการทําประโยชน์อื่นใด ข้อ ๔ ให้สถานที่ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติสําหรับการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาตและอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 (1) การผลิตน้ําเย็น น้ําร้อน หรือไอน้ํา (2) การทดสอบ ทดลอง หรือทําวิจัย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561 ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,237
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวิธีการหรือลักษณะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการใช้เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณร้านค้าสะดวกซื้อ พ.ศ. 2561
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดวิธีการหรือลักษณะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการใช้เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในสถานที่หรือบริเวณร้านค้าสะดวกซื้อ พ.ศ. 2561 ------------------------------------------------------- ปัจจุบันการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในร้านค้าสะดวกซื้อ อันเป็นการจูงใจให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ทําให้เด็ก เยาวชนและประชาชนเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ ครอบครัว อุบัติเหตุ และอาชญากรรมโดยรวมของสังคม เพื่อให้การกําหนดวิธีการหรือลักษณะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 (8) และมาตรา 30 (6) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ประกอบมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศฉบับนี้ “เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” หมายความว่า อุปกรณ์ หรือหัวจ่าย หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้ระบบหรือกลไกจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สามารถบริโภคได้ทันที “ร้านค้าสะดวกซื้อ” หมายความว่า ร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าหรือบริการโดยตรง เพื่อความสะดวกและสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมีลักษณะของสถานประกอบการขายสุราของผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 2 ข้อ ๒ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยวิธีการใช้เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณ ดังต่อไปนี้ (1) ร้านค้าสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นการประกอบกิจการโดยบุคคลธรรมดา (2) ร้านค้าสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นการประกอบกิจการโดยนิติบุคคล (3) ร้านค้าสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นการประกอบกิจการ โดยได้รับความยินยอมให้ใช้สิทธิในการประกอบกิจการจากผู้ให้สิทธิ ข้อ ๓ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,238
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การบำรุงรักษาและการทดสอบและตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การบํารุงรักษาและการทดสอบและตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2560 -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 ข้อ 18 วรรคหนึ่ง และข้อ 21 แห่งกฎกระทรวงภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2560 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “เจ้าของถัง” หมายความว่า ผู้ค้าน้ํามันที่ปรากฏชื่อหรือเครื่องหมายที่กําหนดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม “ครบวาระ” หมายความว่า ที่ได้ผ่านการทดสอบ ตรวจสอบครบทุก ๆ 5 ปี ในกรณีของถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือที่ได้ผ่านการทดสอบและตรวจสอบครบทุก ๆ 6 ปี ในกรณีของถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ทั้งนี้ นับแต่วันที่ได้ทดสอบและตรวจสอบครั้งหลังสุด หมวด ๑ หลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติงาน การจัดให้มีและบํารุงรักษา ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม ลิ้น และอุปกรณ์ ----------------------------------- ข้อ ๓ การใช้และการซ่อมบํารุงถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องการใช้และการซ่อมบํารุงถังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อ ๔ การซ่อมบํารุงถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มตามข้อ 3 ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของถังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเจ้าของถัง ข้อ ๕ ลิ้นสําหรับถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่ผลิตขึ้นใหม่ ให้มีอายุการใช้งานไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับการทดสอบและตรวจสอบครั้งแรก และห้ามนําลิ้นที่มีอายุการใช้งานเกินกว่าที่กําหนดมาใช้กับถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม ข้อ ๖ การเปลี่ยนลิ้นสําหรับถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มตามข้อ 5 ให้เป็นหน้าที่เจ้าของถังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเจ้าของถัง ข้อ ๗ ลิ้นสําหรับถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มที่ไม่เป็นไปตามข้อ 5 ซึ่งใช้กับถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของถังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเจ้าของถังปฏิบัติตามข้อ 6 ภายในเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หมวด ๒ การทดสอบและตรวจสอบด้วยกรรมวิธีไม่ทําลายสภาพเดิม (nondestructive examination) ของถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ----------------------------------------------- ข้อ ๘ วิธีการทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้ปฏิบัติตามวิธีการทดสอบและตรวจสอบถัง ด้วยกรรมวิธีที่ไม่ทําลายสภาพเดิม (nondestructive examination) ตามมาตรฐาน ASME Boiler and Pressure Vessel Code Section VIII หรือมาตรฐาน API 620 และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ท้ายประกาศ ดังต่อไปนี้ (1) ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผลิต หรือสร้างขึ้นใหม่ต้องจัดให้มีการทดสอบและตรวจสอบไม่น้อยกว่าตามที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ 1 ท้ายประกาศนี้ (2) ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบเหนือพื้นดินครบวาระ ต้องทดสอบและตรวจสอบไม่น้อยกว่าตามที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ 2 ท้ายประกาศนี้ (3) ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบกลบหรือแบบฝังไว้ในดินครบวาระ ต้องทดสอบและตรวจสอบไม่น้อยกว่าตามที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ 3 ท้ายประกาศนี้ (4) ถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวครบวาระ ต้องทดสอบและตรวจสอบไม่น้อยกว่าตามที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ 4 ท้ายประกาศนี้ (5) ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิที่ออกแบบ ผลิต หรือสร้างตามมาตรฐาน API 620 ครบวาระ ต้องทดสอบและตรวจสอบไม่น้อยกว่าตามที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ 5 ท้ายประกาศนี้ (6) ในกรณีที่ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว เคยได้รับความเห็นชอบหนังสือรับรองและผลการทดสอบและตรวจสอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมาแล้ว แต่ไม่ได้ใช้งานหรือเลิกใช้งาน โดยถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวดังกล่าว พ้นกําหนดวันครบวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดให้มีการทดสอบและตรวจสอบภายในระยะเวลาไม่เกิน 12 ปี หากผู้ผลิตหรือสร้างถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือผู้ประกอบกิจการมีความประสงค์ที่จะนําถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวดังกล่าวมาใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องจัดให้มีการทดสอบและตรวจสอบไม่น้อยกว่าตามที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ 1 ท้ายประกาศนี้ (7) ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งไม่เคยได้รับความเห็นชอบหนังสือรับรองและผลการทดสอบและตรวจสอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมาก่อน แต่มีลักษณะถูกต้องตามกฎกระทรวงว่าด้วยภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวและมีประวัติการทดสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบ หากผู้ประกอบกิจการมีความประสงค์ที่จะนําถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวดังกล่าวมาใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องจัดให้มีการทดสอบและตรวจสอบไม่น้อยกว่าตามที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ 1 ท้ายประกาศนี้ หากผลการทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามวิธีการทดสอบและตรวจสอบใน (1) (2) (3) (4) หรือ (5) แล้วแต่กรณี นั้นปรากฏเหตุอันควรสงสัยจากการทดสอบและตรวจสอบว่า อาจทําให้เกิดความไม่มั่นคงแข็งแรงต่อถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรืออาจเกิดอันตรายขึ้นเมื่อใช้งานต่อไปและจําต้องได้รับการแก้ไข ให้ผู้ทดสอบและตรวจสอบนําเสนอวิธีการแก้ไขและวิธีการทดสอบและตรวจสอบให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงดําเนินการได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. หลักเกณฑ์ที่ 1 หลักเกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผลิต หรือสร้างขึ้นใหม่ 2. หลักเกณฑ์ที่ 2 หลักเกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบเหนือพื้นดินครบวาระ 3. หลักเกณฑ์ที่ 3 หลักเกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวแบบกลบหรือฝังไว้ในดินครบวาระ 4. หลักเกณฑ์ที่ 4 หลักเกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวครบวาระ 5. หลักเกณฑ์ที่ 5 หลักเกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิที่ออกแบบ ผลิตหรือสร้างตามมาตรฐาน API 620 ครบวาระ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,239
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ. 2558
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ. 2558 ----------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 27 (8) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา หรือหอพักบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา ตามข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2558 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแข่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในทาง และการควบคุมสถานบริการหรือสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,240
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. 2558
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. 2558 ------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 27 (8) และมาตรา 31 (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบและคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานีรถไฟ หรือในขบวนรถที่อยู่บนทางรถไฟตามกฎหมายว่าด้วยจัดวางการรถไฟและทางหลวง ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,241
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การทดสอบถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดินโดยวิธีการอื่น พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การทดสอบถังเก็บน้ํามันใต้พื้นดินโดยวิธีการอื่น พ.ศ. 2560 --------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 แห่งกฎกระทรวงการซ่อมบํารุงถังเก็บน้ํามันและถังขนส่งน้ํามัน พ.ศ. 2560 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้วิธีการทดสอบดังต่อไปนี้ เป็นการทดสอบถังเก็บน้ํามันใต้พื้นดินโดยวิธีการอื่นที่มีมาตรฐานไม่ต่ํากว่าที่กําหนดตามข้อ 36 (1) แห่งกฎกระทรวงการซ่อมบํารุงถังเก็บน้ํามันและถังขนส่งน้ํามัน พ.ศ. 2560 (1) วิธี MassTech 002 Ullage Test System ประกอบกับวิธี MassTech 2 Wet Test (2) วิธี EZY 3 Locator Plus ข้อ ๓ การดําเนินการทดสอบต้องเป็นไปตามที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน United States Environmental Protection Agency (U.S. EPA) ; Standard Test Procedures for Evaluating Leak Detection Methods: Volumetric Tank Tightness Testing Methods หรือ Standard Test Procedures for Evaluating Leak Detection Methods: Nonvolumetric Tank Tightness Testing Methods ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,242
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานีขนส่ง พ.ศ. 2558
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานีขนส่ง พ.ศ. 2558 ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 27 (8) และมาตรา 31 (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบและคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณสถานีขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,243
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง เพิกถอนประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง เพิกถอนประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง --------------------------------------------------- โดยเป็นการสมควรให้เพิกถอนประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง เนื่องจากประกาศดังกล่าวมีการอ้างบทอาศัยอํานาจที่ไม่ถูกต้อง จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,244
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การติดตั้งตัวนำล่อฟ้า จำนวนและระยะห่างของตัวนำลงดิน ที่ถังเก็บน้ำมัน พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การติดตั้งตัวนําล่อฟ้า จํานวนและระยะห่างของตัวนําลงดิน ที่ถังเก็บน้ํามัน พ.ศ. 2559 -------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 25 วรรคสอง และข้อ 26 (2) แห่งกฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ํามัน พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ถังเก็บน้ํามันเหนือพื้นดิน จะต้องติดตั้งตัวนําล่อฟ้าให้เป็นไปตามข้อ 20 และข้อ 25 วรรคหนึ่งของกฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ํามัน พ.ศ. 2556 เว้นแต่ถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่เหนือพื้นดิน สามารถใช้หลังคาถังเป็นตัวนําล่อฟ้าได้และต้องมีลักษณะ ดังนี้ (1) ถังเก็บน้ํามันแบบหลังคาติดตายหรือแบบหลังคาลอยภายใน (ก) หลังคาถังต้องเป็นโลหะและมีความหนาไม่น้อยกว่า 4.80 มิลลิเมตร (3/16 นิ้ว) (ข) โครงสร้างโลหะ จะต้องเชื่อมต่อด้วยวิธีการย้ําหมุด ยึดด้วยสลักเกลียวหรือวิธีการเชื่อม (ค) ท่อน้ํามันที่ต่อเชื่อมกับถังเก็บน้ํามัน ต้องเป็นท่อชนิดที่ทําด้วยโลหะ (ง) ช่องเปิดของถังที่อาจมีไอน้ํามันหรือก๊าซที่อยู่ในช่วงติดไฟได้ (lower explosive limit : lel) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์นิรภัยระบายแรงดันและสุญญากาศหรืออุปกรณ์ป้องกันเปลวไฟ (2) ถังเก็บน้ํามันแบบหลังคาลอยภายนอก (ก) ต้องมีลักษณะเป็นไปตามข้อ 2 (1) (ข) หลังคาลอย ต้องมีความสามารถในการนําไฟฟ้า และมีการเชื่อมต่อเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้าไปยังผนังถัง (ค) วัสดุที่ใช้เป็นตัวนําประสานระหว่างหลังคาลอยกับผนังถัง (shunts) ต้องทําด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม (austenitic stainless steel) หรือเทียบเท่า ที่มีการนํากระแสป้องกันการกัดกร่อน และมีความยืดหยุ่น ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร พื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 20 ตารางมิลลิเมตร และมีระยะห่างระหว่างกันไม่เกิน 3 เมตร (ง) วัสดุกันรั่วระหว่างหลังคาลอยกับผนังถังต้องสัมผัสกับผนังถังและเป็นวัสดุชนิดที่ไม่เป็นสนิม ข้อ ๓ กรณีที่ใช้หลังคาถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่เหนือพื้นดินเป็นตัวนําล่อฟ้า ต้องติดตั้งตัวนําลงดินอย่างน้อย 2 จุด ตัวนําลงดินมีระยะห่างระหว่างกันไม่เกิน 30 เมตร ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,245
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2558
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2558 -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 27 (8) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,246
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท่าเรือโดยสารสาธารณะ พ.ศ. 2558
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท่าเรือโดยสารสาธารณะ พ.ศ. 2558 --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 27 (8) และมาตรา 31 (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบและคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณท่าเรือโดยสารสาธารณะหรือบนเรือโดยสารสาธารณะประจําทาง ท่าเรือโดยสารสาธารณะ หมายความว่า สถานที่สําหรับให้บริการแก่เรือโดยสารสาธารณะในการจอด เทียบ บรรทุก หรือขนถ่ายคนหรือสิ่งของ เรือโดยสารสาธารณะประจําทาง หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ําทุกชนิดที่ใช้ขนส่งคนโดยสารตามเส้นทางที่หน่วยงานของรัฐกําหนด ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,247
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ที่อยู่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐพ.ศ. 2558
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ที่อยู่ในกํากับดูแล และใช้ประโยชน์ของราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2558 ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 27 (8) และมาตรา 31 (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบและคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ดังต่อไปนี้ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร (1) พื้นที่ที่อยู่ในกํากับดูแลและใช้ประโยชน์ของราชการ นอกเหนือจากสถานที่ราชการตามมาตรา 27 (3) (2) พื้นที่ที่อยู่ในกํากับดูแลและใช้ประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐนอกเหนือจากสถานที่หรือบริเวณที่กําหนดตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2555 ตอน ๒ ห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ดังต่อไปนี้ ยกเว้น บริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี (1) พื้นที่ที่อยู่ในกํากับดูแลและใช้ประโยชน์ของราชการ นอกเหนือจากสถานที่ราชการตามมาตรา 31 (3) (2) พื้นที่ที่อยู่ในกํากับดูแลและใช้ประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐนอกเหนือจากสถานที่หรือบริเวณที่กําหนดตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2555 ตอน ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,248
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558 -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาอื่น นอกจากตั้งแต่เวลา 11.00 นาฬิกา ถึงเวลา 14.00 นาฬิกา และตั้งแต่เวลา 17.00 นาฬิกา ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ยกเว้นการขายในกรณี ดังต่อไปนี้ (1) การขายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ (2) การขายในสถานบริการซึ่งเป็นไปตามกําหนดเวลาเปิดปิดของสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
4,249
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขาย หรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2556
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขาย หรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะ ของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2556 ------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 (8) และมาตรา 31 (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําและความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
4,250
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2555
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2555 -------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 27 (8) และมาตรา 31 (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบและคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้า หรือสโมสร ข้อ ๒ ห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับองค์การสุรา ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
4,251
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2555
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2555 -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 31 (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางในขณะขับขี่หรือในขณะโดยสารอยู่ในรถ หรือ บนรถ คําว่า “ทาง” และ “รถ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า “ทาง” และ “รถ” ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
4,252
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2555
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2555 --------------------------------------------- โดยที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอุบัติเหตุ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ประกอบกับการประกอบกิจการโรงงานในปัจจุบันมีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งต่อสภาพเศรษฐกิจ สมควรกําหนดมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมการขายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบกิจการโรงงาน เพื่อมิให้เกิดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย ดังนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 มาตรา 27 (8) และมาตรา 31 (7) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบและคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ข้อ ๒ การห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามข้อ 1 ไม่ใช้บังคับกับโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดําเนินการเป็นปกติธุระในทางการค้าของโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (2) การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นขั้นตอนของการผลิตหรือรักษามาตรฐานการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
4,253
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิต พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิต พ.ศ. 2559 ---------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งกฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ํามัน พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ คลังน้ํามัน สถานที่เก็บรักษาน้ํามัน ลักษณะที่สาม สถานีบริการน้ํามันประเภท ก สถานีบริการน้ํามันประเภท ข สถานีบริการน้ํามันประเภท ค ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ํามันประเภท จ ลักษณะที่สอง และสถานีบริการน้ํามันประเภท ฉ ต้องจัดให้มีการป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตในบริเวณ ดังนี้ (1) ระบบท่อรับน้ํามัน ท่อจ่ายน้ํามัน และท่อระบายไอน้ํามัน (2) บริเวณที่มีการบรรจุน้ํามันลงภาชนะบรรจุน้ํามัน (3) ระบบท่อระบายไอน้ํามันของระบบควบคุมไอน้ํามันเชื้อเพลิง ข้อ ๓ การป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตในบริเวณตามข้อ 2 ต้องมีลักษณะ ดังนี้ (1) ต้องมีการเชื่อมต่อเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้าอย่างเพียงพอและมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าโดยตลอด (2) ตัวนําลงดินต้องทําด้วยทองแดงชนิดตีเกลียว มีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 16 ตารางมิลลิเมตรหรืออะลูมิเนียมชนิดตีเกลียว มีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 25 ตารางมิลลิเมตร เพื่อป้องกันความเสียหายจากการหักงอ (3) ตัวนําประสานต้องเป็นวัสดุชนิดที่นําไฟฟ้าและมีค่าความต้านทานไม่เกิน 10 โอห์ม (4) ค่าความต้านทานของรากสายดิน ต้องมีค่าไม่เกิน 10 โอห์ม (5) ต้องมีจุดต่อลงดินเพื่อถ่ายเทไฟฟ้าสถิตจากรถขนส่งน้ํามัน หรือรถไฟขนส่งน้ํามัน (6) ระบบท่อน้ํามัน และอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ ต้องทําการต่อตัวนําประสานและต่อรากสายดิน (7) ระบบท่อน้ํามัน และอุปกรณ์ที่เป็นอโลหะ ซึ่งใช้งานอยู่ในบริเวณที่มีการรับหรือจ่ายน้ํามันต้องออกแบบและใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟจากไฟฟ้าสถิต (8) บริเวณที่ต่อตัวนําประสาน จุดต่อลงดินและที่คีบจุดต่อลงดิน ต้องมีความสะอาด และไม่มีการทาสี ข้อ ๔ ก่อนการถ่ายเทน้ํามันระหว่างรถขนส่งน้ํามันหรือรถไฟขนส่งน้ํามันกับถังเก็บน้ํามันต้องต่อตัวนําประสานเข้ากับจุดต่อลงดิน และปลดออกภายหลังการถ่ายเทน้ํามันเสร็จสิ้น เว้นแต่รถไฟขนส่งน้ํามันที่มีการถ่ายเทประจุไฟฟ้าผ่านรางรถไฟที่ต่อรากสายดินไว้แล้ว ข้อ ๕ ก่อนที่จะทําการบรรจุน้ํามันลงภาชนะบรรจุน้ํามัน ต้องต่อตัวนําประสานจากจุดต่อลงดินเข้ากับภาชนะบรรจุน้ํามัน และปลดออกภายหลังการบรรจุน้ํามันเสร็จสิ้น หรือทําการลดการสะสมของประจุไฟฟ้าด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสม ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,254
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2551
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดแบบบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2551 -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 35 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการนั้นเป็นผู้ออกบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัด แต่ไม่รวมถึงกรณีที่อยู่ในอํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัดตามข้อ 3 ข้อ ๓ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ออกบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของส่วนราชการซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคและหน่วยงานของส่วนราชการซึ่งเป็นราชการส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้นนอกจากกรุงเทพมหานคร ข้อ ๔ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ออกบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัด ข้อ ๕ รูปถ่ายที่ติดบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้รูปถ่ายที่ถ่ายไม่เกินหกเดือนก่อนวันยื่นคําขอมีบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ขนาด 2.5 x 3.0 เซนติเมตร ครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาสีเข้ม แต่งเครื่องแบบปกติขาวหรือแต่งกายสุภาพ ข้อ ๖ บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในบัตรแต่ต้องไม่เกินหกปีนับแต่วันออกบัตร ข้อ ๗ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. แบบบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ท้ายประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดแบบบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2551 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,255
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต พ.ศ. 2559 --------------------------------------------------- เพื่อให้การกํากับดูแลกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ประเภทระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อเป็นไปอย่างปลอดภัย เรียบร้อย และเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายหรือไม่ให้เกิดอุปสรรคแก่ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ รวมทั้งอุปกรณ์ของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อนั้น ๆ และโดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อลดความซ้ําซ้อนในการปฏิบัติภารกิจ และเพื่อให้การทํางานของหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 ประกอบกับมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต พ.ศ. 2559” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อขอประกาศกําหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามรายการอนุญาตท้ายใบอนุญาตโครงการใด หากโครงการนั้นได้รับการประกาศเขตระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 แล้ว ให้ถือว่าเขตดังกล่าวเป็นเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ด้วย ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อใช้เครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามข้อ 3 เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการติดตั้งป้าย หรือเครื่องหมายเตือนแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ด้วย ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามข้อ 3 ปิดประกาศฉบับนี้ และรายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 แนบท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยประกาศเขตระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ของโครงการดังกล่าวไว้ ณ สํานักงานเขตหรือที่ว่าการอําเภอแห่งท้องที่ที่ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อนั้นตั้งอยู่ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. รายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและบทกําหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,256
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเลือกและแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเลือกและแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ----------------------------------------------- เพื่อให้การเลือกและแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและโปร่งใส อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 10 (5) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการดําเนินการจัดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการดําเนินการจัดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ประกอบด้วย (1) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ (2) อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นกรรมการ (3) ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกรรมการ (4) ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ (5) ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกรรมการ (6) ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นกรรมการ (7) ผู้แทนสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นกรรมการ (8) ผู้อํานวยการ เป็นกรรมการ และเลขานุการ ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ สรรหาผู้ที่สมควรแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 จากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ด้านการแพทย์ จิตวิทยาหรือการสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์หรือนิเทศศาสตร์ ด้านการศึกษา การศาสนาหรือวัฒนธรรม ด้านละหนึ่งคน ข้อ ๔ การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ 3 ให้คํานึงถึงความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ รวมทั้งไม่เคยมีพฤติกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยดําเนินการดังนี้ (1) ให้เลขานุการคณะกรรมการทําการรวบรวมรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ 3 ด้านละไม่น้อยกว่า 3 คน (2) ให้เลขานุการคณะกรรมการพิจารณาความครบถ้วนถูกต้องของเอกสารหลักฐาน ทั้งคุณสมบัติและคุณวุฒิของบุคคลตาม (1) (3) ให้คณะกรรมการประชุมเพื่อคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิตาม (1) ให้เหลือด้านละ 1 คน และเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งต่อไป ข้อ ๕ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี
4,257
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการติดตั้งป้าย หรือเครื่องหมายเตือนแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2559
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการติดตั้งป้าย หรือเครื่องหมายเตือนแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2559 ----------------------------------------------------- เพื่อให้การประกาศกําหนดเกี่ยวกับการติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือนตามแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย อาศัยอํานาจตามความในข้อ 20 แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือนแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2559” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือนตามแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,258
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภัยอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2557
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายแก่ผู้ได้รับความเสียหาย จากภัยอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2557 ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 57 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 “ผู้ได้รับความเสียหาย” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินจากอัคคีภัยหรือการระเบิดอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 แต่ไม่หมายความรวมถึงบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลที่อยู่ด้วยกัน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมของผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ในระหว่างการว่าจ้าง หรือบุคคลซึ่งในขณะเกิดเหตุอยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานให้ผู้เอาประกันภัยภายใต้สัญญาว่าจ้างหรือการฝึกงาน ข้อ ๓ ให้ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอัคคีภัยหรือการระเบิดอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ข้อ ๔ การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมน้ํามันให้มีจํานวนเงินเอาประกันภัยสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สําหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าจํานวน ดังต่อไปนี้ (1) คลังน้ํามัน จํานวนเงินเอาประกันภัย 25,000,000 บาท (2) สถานที่เก็บรักษาน้ํามัน ลักษณะที่สาม จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,500,000 บาท (3) สถานีบริการน้ํามันประเภท ก หรือประเภท ข จํานวนเงินเอาประกันภัย 2,000,000 บาท (4) สถานีบริการน้ํามันประเภท ค ลักษณะที่สอง จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท (5) สถานีบริการน้ํามันประเภท จ ลักษณะที่สอง จํานวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท (6) สถานีบริการน้ํามันประเภท ฉ จํานวนเงินเอาประกันภัย เป็นดังต่อไปนี้ ก. สถานีบริการน้ํามันประเภท ฉ ที่เก็บน้ํามันไม่เกิน 500,000 ลิตร จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,500,000 บาท ข. สถานีบริการน้ํามันประเภท ฉ ที่เก็บน้ํามันเกิน 500,000 ลิตร จํานวนเงินเอาประกันภัย 20,000,000 บาท (7) ระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ จํานวนเงินเอาประกันภัย เป็นดังต่อไปนี้ ก. ระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อที่มีความยาวไม่เกิน 50 กิโลเมตร ให้คิดจํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท ต่อระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อทุก ๆ 10 กิโลเมตร เศษของ 10 กิโลเมตร ให้คิดเป็น 10 กิโลเมตร ข. ระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อที่มีความยาวเกิน 50 กิโลเมตร จํานวนเงินเอาประกันภัย 5,000,000 บาท ข้อ ๕ การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้มีจํานวนเงินเอาประกันภัยสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สําหรับการเสียชีวิตทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าจํานวน ดังต่อไปนี้ (1) คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว จํานวนเงินเอาประกันภัย 25,000,000 บาท (2) สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว จํานวนเงินเอาประกันภัย 2,000,000 บาท (3) สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว จํานวนเงินเอาประกันภัย 2,000,000 บาท (4) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม จํานวนเงินเอาประกันภัย เป็นดังต่อไปนี้ ก. สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม ที่เก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่เกิน 500,000 ลิตร จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,500,000 บาท ข. สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม ที่เก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลวเกิน 500,000 ลิตร จํานวนเงินเอาประกันภัย 20,000,000 บาท (5) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจําหน่าย ลักษณะที่สอง จํานวนเงินเอาประกันภัย เป็นดังต่อไปนี้ ก. สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจําหน่าย ลักษณะที่สอง ที่ไม่ตั้งอยู่ในตึกแถวหรือห้องแถว จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท ข. สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจําหน่าย ลักษณะที่สอง ที่ตั้งอยู่ในตึกแถวหรือห้องแถว จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,500,000 บาท (6) สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ ลักษณะที่สอง จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,500,000 บาท (7) ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ จํานวนเงินเอาประกันภัย เป็นดังต่อไปนี้ ก. ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อที่มีความยาวไม่เกิน 50 กิโลเมตร ให้คิดจํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท ต่อระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อทุก ๆ 10 กิโลเมตร เศษของ 10 กิโลเมตร ให้คิดเป็น 10 กิโลเมตร ข. ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อที่มีความยาวเกิน 50 กิโลเมตร จํานวนเงินเอาประกันภัย 5,000,000 บาท ข้อ ๖ การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมก๊าซธรรมชาติให้มีจํานวนเงินเอาประกันภัยสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สําหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) คลังก๊าซธรรมชาติ จํานวนเงินเอาประกันภัย 25,000,000 บาท (2) สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท (3) สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ จํานวนเงินเอาประกันภัย 5,000,000 บาท (4) ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ จํานวนเงินเอาประกันภัย เป็นดังต่อไปนี้ ก. ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีความยาวไม่เกิน 50 กิโลเมตร ให้คิดจํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท ต่อระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อทุก ๆ 10 กิโลเมตร เศษของ 10 กิโลเมตร ให้คิดเป็น 10 กิโลเมตร ข. ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีความยาวเกิน 50 กิโลเมตร จํานวนเงินเอาประกันภัย 5,000,000 บาท ข้อ ๗ ผู้รับใบอนุญาตที่ประกอบกิจการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงโดยถังขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงที่นํามาตรึงไว้กับตัวโครงรถหรือที่สร้างเข้าไว้ด้วยกันกับตัวรถ นอกจากต้องจัดให้มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว ยังจะต้องจัดให้มีการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่มีความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 โดยมีจํานวนเงินเอาประกันภัยสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สําหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ข้อ ๘ ในการประกันภัยสําหรับความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดขึ้นต่อครั้งตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ให้มีจํานวนเงินการชดใช้ต่อผู้ได้รับความเสียหายเป็นจํานวนเงิน ดังต่อไปนี้ (1) กรณีค่ารักษาพยาบาลให้จ่ายตามความเป็นจริงไม่เกิน 200,000 บาทต่อคน (2) กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือเสียชีวิตให้จ่าย 200,000 บาทต่อคน (3) กรณีทรัพย์สินเสียหายให้จ่ายตามความเป็นจริงสูงสุดไม่เกินจํานวนเงินเอาประกันภัยตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 แต่ทั้งนี้ในกรณี (1) และ (2) รวมกันต้องไม่เกิน 200,000 บาทต่อคน ข้อ ๙ ให้มีกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองตลอดเวลาที่ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ข้อ ๑๐ ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดทําสัญญาประกันภัยตามที่กําหนดในประกาศนี้ให้เสร็จสิ้นและให้จัดส่งสําเนาสัญญาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ให้ผู้อนุญาตก่อนรับใบอนุญาต ข้อ ๑๑ สัญญาประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้รับใบอนุญาตมีอยู่ หากประสงค์จะนํามาใช้ให้เป็นไปตามประกาศนี้ ต้องมีจํานวนเงินเอาประกันภัยและการชดใช้ตามประกาศนี้โดยได้รับการรับรองจากผู้รับประกันภัย เมื่อได้รับการรับรองแล้วให้ถือว่าเป็นสัญญาประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยตามประกาศนี้ ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับความเสียหายที่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามประกาศนี้แล้วยังคงสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากผู้กระทําให้เกิดการละเมิดนั้นได้ แต่มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมจากวงเงินเอาประกันภัยที่ได้รับประกันไว้ตามประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ให้ผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับใบอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หรือที่ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับไม่เกินเก้าสิบวันต้องจัดทําสัญญาประกันภัยตามที่กําหนดในประกาศนี้ให้เสร็จสิ้น ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,259
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดความกว้างของทางหลวง ถนนสาธารณะหรือถนนส่วนบุคคลสำหรับสถานีบริการน้ำมันประเภท ก และประเภท พ.ศ. 2557
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดความกว้างของทางหลวง ถนนสาธารณะหรือถนนส่วนบุคคล สําหรับสถานีบริการน้ํามันประเภท ก และประเภท พ.ศ. 2557 ----------------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 และข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กําหนดความกว้างของทางหลวงถนนสาธารณะหรือถนนส่วนบุคคล สําหรับสถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิงประเภท ก และประเภท ข ลงวันที่ 18 กันยายน 2546 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ความกว้างของถนน” หมายความว่า ระยะที่วัดจากเขตทางด้านหนึ่งไปยังเขตทางด้านตรงข้าม ข้อ ๔ สถานีบริการน้ํามันประเภท ก ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ติดเขตทางหลวงหรือถนนสาธารณะด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร หรือติดเขตถนนส่วนบุคคลด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ข้อ ๕ สถานีบริการน้ํามันประเภท ข ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ติดเขตถนนสาธารณะด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะที่มีความกว้างของถนนน้อยกว่า 12.00 เมตร หรือติดเขตถนนส่วนบุคคลด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสําหรับยานพาหนะที่มีความกว้างของถนนน้อยกว่า 10.00 เมตร ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,260
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงในคลังน้ำมัน พ.ศ. 2557
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทํารายงานการประเมินความเสี่ยงในคลังน้ํามัน พ.ศ. 2557 -------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 57 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงคลังน้ํามัน พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๒ รายงานการประเมินความเสี่ยง ต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลรายละเอียดการประกอบกิจการ (ก) ข้อมูลทั่วไปและแผนผังโดยสังเขปแสดงตําแหน่งที่ตั้งของคลังน้ํามันพร้อมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่อยู่รอบเขตคลังน้ํามัน (ข) แผนผังบริเวณโดยสังเขปแสดงลักษณะของคลังน้ํามันตามข้อ 5 และข้อ 6 ของกฎกระทรวงว่าด้วยคลังน้ํามัน (ค) ข้อมูลการเก็บน้ํามันและสารไวไฟอื่นภายในเขตคลังน้ํามั (ง) ขั้นตอนกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการรับจ่าย การจัดเก็บ การขนส่ง การซ่อมบํารุงการตรวจวัดปริมาณน้ํามัน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง (จ) จํานวนบุคลากรในคลังน้ํามัน และการจัดช่วงเวลาการทํางาน (2) รายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย (3) วิธีการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง (4) แผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง ข้อ ๓ รายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตราย ต้องครอบคลุมหัวข้ออย่างน้อยดังนี้ (1) อันตรายจากการดําเนินงานซึ่งมีลักษณะอาจก่อให้เกิดประกายไฟ ไฟไหม้หรือการระเบิดได้ (2) อันตรายที่อาจเกิดจากการเก็บ การรับจ่าย การบรรจุ การขนถ่ายขนย้าย และการใช้น้ํามัน (3) อันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากลักษณะและสภาพแวดล้อมการทํางาน (4) อันตรายที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ข้อ ๔ การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) การชี้บ่งอันตรายให้ใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน ดังต่อไปนี้ (ก) Checklist เป็นวิธีที่ใช้ในการชี้บ่งอันตรายโดยการนําแบบตรวจไปใช้ในการตรวจสอบการดําเนินงานในคลังน้ํามันเพื่อค้นหาอันตราย แบบตรวจประกอบด้วยหัวข้อคําถามที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการออกแบบ มาตรฐานการปฏิบัติงานหรือกฎหมาย เพื่อนําผลจากการตรวจสอบมาทําการชี้บ่งอันตราย ดังตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Checklist แนบท้ายประกาศนี้ (ข) What If Analysis เป็นกระบวนการในการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายในการดําเนินงานต่าง ๆ ในคลังน้ํามัน โดยการใช้คําถาม "จะเกิดอะไรขึ้น....ถ้า...." และหาคําตอบในคําถามเหล่านั้นเพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการดําเนินงาน ดังตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี What If Analysis แนบท้ายประกาศนี้ (ค) Failure Modes and Effects Analysis เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่ใช้การวิเคราะห์ในรูปแบบความล้มเหลวและผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการตรวจสอบชิ้นส่วนถังเก็บน้ํามัน ระบบท่อและอุปกรณ์ในแต่ละส่วนของระบบ แล้วนํามาวิเคราะห์หาผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความล้มเหลวของถังเก็บน้ํามันระบบท่อและอุปกรณ์ ดังตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Failure Modes and Effects Analysis แนบท้ายประกาศนี้ (ง) Event Tree Analysis เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อวิเคราะห์และประเมินหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุการณ์แรกขึ้น ซึ่งเป็นการคิดเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อวิเคราะห์หาผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้น เมื่อถังเก็บน้ํามันระบบท่อและอุปกรณ์เสียหายหรือคนทํางานผิดพลาด เพื่อให้ทราบสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด รวมทั้งเป็นการตรวจสอบว่าระบบความปลอดภัยที่มีอยู่มีปัญหาหรือไม่อย่างไร ดังตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Event Tree Analysis แนบท้ายประกาศนี้ (จ) Hazard and Operability Study (HAZOP) เป็นเทคนิคการศึกษา วิเคราะห์และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินงานในคลังน้ํามัน โดยการวิเคราะห์หาอันตรายและปัญหาของระบบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการออกแบบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยการตั้งคําถามที่สมมติสถานการณ์ของการผลิตในภาวะต่าง ๆ เพื่อนํามาชี้บ่งอันตรายหรือค้นหาปัญหา ซึ่งอาจทําให้เกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงขึ้นได้ ดังตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Hazard and Operability Study (HAZOP) แนบท้ายประกาศนี้ (ฉ) Fault Tree Analysis เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่เน้นถึงอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อนําไปวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดเหตุ ซึ่งเป็นเทคนิคในการคิดย้อนกลับที่อาศัยหลักการทางตรรกวิทยาในการใช้หลักการเหตุและผล เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรง โดยเริ่มวิเคราะห์จากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อพิจารณาหาเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นก่อน แล้วนํามาแจกแจงขั้นตอนการเกิดเหตุการณ์แรกว่ามาจากเหตุการณ์ย่อยอะไรได้บ้าง และเหตุการณ์ย่อยเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร การสิ้นสุดการวิเคราะห์ เมื่อพบว่าสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ย่อยเป็นผลเนื่องจากความบกพร่องของถังเก็บน้ํามัน ระบบท่อและอุปกรณ์หรือความผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ดังตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Fault Tree Analysis แนบท้ายประกาศนี้ (2) การประเมินความเสี่ยงให้ดําเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ (ก) ประเมินโอกาสการเกิดอันตรายจากรายการสิ่งที่เป็นความเสี่ยงและอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคคล ชุมชน ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม (ข) พิจารณาถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าจะก่อให้เกิดถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่อบุคคล ชุมชน ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด (ค) จัดระดับความเสี่ยง โดยพิจารณาถึงผลลัพธ์ของระดับโอกาสกับระดับความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อบุคคล ชุมชน ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ข้อ ๕ จัดทําแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยงโดยกําหนดมาตรการการป้องกัน ควบคุมและระงับอันตราย ข้อ ๖ คลังน้ํามันให้แสดงรายงานการประเมินความเสี่ยงเพื่อประกอบการขอรับใบอนุญาต คลังน้ํามันที่ได้รับใบอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศกระทรวงนี้บังคับใช้ ให้จัดทํารายงานการประเมินความเสี่ยงภายใน 270 วัน นับแต่วันที่ประกาศกระทรวงนี้บังคับใช้ และจัดส่งให้กรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะของสถานประกอบการ ต้องจัดทํารายงานการประเมินความเสี่ยงเก็บไว้เพื่อให้กรมธุรกิจพลังงานสามารถเรียกตรวจสอบได้ตลอดเวลา ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. ตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Checklist 2. ตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี What If Analysis 3. ตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Failure Modes and Effects Analysis 4. ตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Event Tree Analysis 5. ตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Hazard and Operability Study (HAZOP) 6. ตัวอย่างแบบการชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Fault Tree Analysis (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,261
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ถังเก็บน้ำมัน ระบบท่อน้ำมัน และอุปกรณ์ของคลังน้ำมัน พ.ศ. 2557
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ถังเก็บน้ํามัน ระบบท่อน้ํามัน และอุปกรณ์ของคลังน้ํามัน พ.ศ. 2557 ----------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 31 วรรคสอง ข้อ 36 ข้อ 38 วรรคสอง และข้อ 44 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงคลังน้ํามัน พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป หมวด ๑ ถังเก็บน้ํามันและอุปกรณ์ ---------------------------- ส่วน ๑ การออกแบบ การประกอบและติดตั้งถังเก็บน้ํามัน ----------------------------- ข้อ ๒ ถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้งดังต่อไปนี้ (1) แผ่นเหล็กผนังถังต้องมีค่าความเค้นที่เกิดขึ้น (allowable stress) เนื่องจากการรับแรงและน้ําหนักบรรทุกต่าง ๆ ไม่เกินกว่าค่าที่กําหนดไว้ตามมาตรฐาน API Standard 650 Welded Steel Tanks for Oil Storage (2) ผนังถังต้องมีความหนาตามค่าที่ได้จากการคํานวณออกแบบ ให้รับน้ําหนักบรรทุกสูงสุดบวกด้วยค่าการกัดกร่อน และต้องไม่น้อยกว่าความหนาต่ําสุดตามที่กําหนดไว้ในตารางดังต่อไปนี้ | | | | --- | --- | | ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง (เมตร) | ความหนาต่ําสุด (มิลลิเมตร) | | น้อยกว่า 15 (น้อยกว่า 50 ฟุต)15 แต่ไม่ถึง 36 (50 แต่ไม่ถึง 120 ฟุต)36 ถึง 60 (120 แต่ไม่ถึง 200 ฟุต)มากกว่า 60 (มากกว่า 200 ฟุต) | 5 (3 ส่วน 16 นิ้ว)6 (1 ส่วน 4 นิ้ว)8 (5 ส่วน 16 นิ้ว)10 (3 ส่วน 8 นิ้ว) | (3) การเชื่อมต่อท่อต่าง ๆ เข้ากับผนังถัง หากเป็นท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 นิ้ว ผนังของถังจะต้องมีการเสริมความแข็งแรงที่หน้าตัดของเหล็กเสริมแรงนั้น ซึ่งจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่าความหนาของผนังถัง และต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของพื้นที่ช่องท่อ (4) แผ่นเหล็กพื้นถังจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 6 มิลลิเมตร ถังที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 12.50 เมตรขึ้นไปจะต้องมีแผ่นเหล็กวงแหวนรองใต้แผ่นเหล็กผนังถัง โดยแผ่นเหล็กวงแหวนนี้จะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่าค่าที่ระบุไว้ในตารางดังต่อไปนี้ | | | | --- | --- | | ความหนาของแผ่นเหล็ก ผนังถัง ชั้นแรก (มิลลิเมตร)(Nominal Plate Thickness of First Shell Course) | ความหนาของแผ่นเหล็กวงแหวนรองใต้แผ่นเหล็กผนังถัง (มิลลิเมตร) | | ค่าความเค้นที่เกิดจากการทดสอบแรงดันน้ําที่ผนังถังชั้นแรก (MPa)(Hydrostatic Test Stress in First Shell Course) | | ไม่เกิน 190 | ไม่เกิน 210 | ไม่เกิน 230 | ไม่เกิน 250 | | ไม่เกิน 19(ไม่เกิน 0.75 นิ้ว)มากกว่า 19 ถึง 25(มากกว่า 0.75 แต่ไม่เกิน 1 นิ้ว)มากกว่า 25 ถึง 32(มากกว่า 1 แต่ไม่เกิน 1.25 นิ้ว)มากกว่า 32 ถึง 38(มากกว่า 1.25 แต่ไม่เกิน 1.5 นิ้ว)มากกว่า 38 ถึง 45(มากกว่า 1.5 แต่ไม่เกิน 1.75 นิ้ว) | 6(1 ส่วน 4 นิ้ว)6(1 ส่วน 4 นิ้ว)6(1 ส่วน 4 นิ้ว)8(5 ส่วน 16 นิ้ว)9(11 ส่วน 32 นิ้ว) | 6(1 ส่วน 4 นิ้ว)7(9 ส่วน 32 นิ้ว)9(11 ส่วน 32 นิ้ว)11(7 ส่วน 16 นิ้ว)13(1 ส่วน 2 นิ้ว) | 7(9 ส่วน 32 นิ้ว)10(3 ส่วน 8 นิ้ว)12(15 ส่วน 32 นิ้ว)14 (9 ส่วน 16 นิ้ว) 16 (5 ส่วน 8 นิ้ว) | 9(11 ส่วน 32 นิ้ว)11(7 ส่วน 16 นิ้ว)14(9 ส่วน 16 นิ้ว)17(11 ส่วน 16 นิ้ว)19(3 ส่วน 4 นิ้ว) | หมายเหตุ : การคํานวณค่าความเค้นที่เกิดจากการทดสอบแรงดันน้ําที่ผนังถังชั้นแรก (Hydrostatic Test Stress in First Shell Course) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน API Standard 650 (5) ต้องมีช่องทางเข้าออก (manhole) ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร (20 นิ้ว) อย่างน้อยจํานวนสามช่อง โดยอยู่ในตําแหน่งบริเวณหลังคาถังจํานวนหนึ่งช่องและบริเวณผนังถังจํานวนสองช่องและต้องวางอยู่ในตําแหน่งตรงกันข้าม (6) การประกอบและการติดตั้งถังต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (ก) การเชื่อมแผ่นเหล็กพื้นถัง 1) การเชื่อมผนังถังชั้นล่างที่ติดกับแผ่นวงแหวนรองและแผ่นเหล็กพื้นถัง จะต้องเชื่อมเต็มแบบต่อเนื่องทั้งในและนอกของผนังถัง 2) การเชื่อมแผ่นเหล็กพื้นถังต้องเกยกันอย่างน้อย 5 เท่าของความหนาของแผ่นเหล็กพื้นถัง โดยการเกยกันของแผ่นเหล็กพื้นถังกับแผ่นวงแหวนรองต้องเกยกันอย่างน้อย 65 มิลลิเมตร (ข) แนวเชื่อมในแนวตั้งของแผ่นเหล็กผนังถัง จะต้องห่างกันอย่างน้อย 0.30 เมตร หรือ 1 ใน 3 ของความยาวแผ่นเหล็ก และแนวเชื่อมจะต้องไม่อยู่ในแนวเดียวกันภายในสามแผ่นที่ตั้งซ้อนกัน (ค) การเชื่อมแผ่นเหล็กหลังคาของถังชนิดหลังคาติดตาย หรือชนิดหลังคาลอยภายในให้มีการเชื่อมต่อกันแบบเกยทับ และมีรอยเชื่อมด้านบนเพียงด้านเดียว แผ่นหลังคาส่วนที่เชื่อมต่อกับผนังถังให้มีรอยเชื่อมด้านบนเพียงด้านเดียวและการต่อแผ่นเหล็กหลังคาให้วางแผ่นเหล็กที่ตําแหน่งสูงกว่าอยู่บนแผ่นเหล็กที่ตําแหน่งต่ํากว่า (ง) ผิวภายนอกของถังต้องทารองพื้นกันสนิมแล้วทาทับด้วยสีทาภายนอก (จ) ถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่ชนิดหลังคาลอย ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้งดังต่อไปนี้ 1) มีการระบายน้ําฝนจากแผ่นหลังคาลอยให้เพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลังคาถัง 2) วัสดุกันรั่วที่ขอบถังจะต้องไม่ทําปฏิกิริยากับน้ํามัน 3) มีอุปกรณ์ระบายไอน้ํามัน เพื่อป้องกันมิให้มีความดันและสุญญากาศเกินความสามารถของการระบายไอน้ํามันขณะสูบน้ํามันเข้าออก 4) ระบบการต่อไฟฟ้าลงดิน (earthing) ต้องมีการเชื่อมต่อสายดินระหว่างหลังคาลอยกับตัวถังเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้าลงดิน 5) ต้องเสริมความมั่นคงแข็งแรงโดยรอบของผนังถังระดับไม่เกิน 1 เมตรจากส่วนสูงสุดของผนังถัง 6) ขาหยั่งของหลังคาลอยต้องสามารถปรับขึ้นลงได้ในตําแหน่งต่ําสุดขณะสูบน้ํามันเข้าออกและในตําแหน่งสูงสุดระหว่างการซ่อมบํารุง 7) แผ่นเหล็กหลังคา จะต้องวางซ้อนกันโดยแผ่นล่างจะอยู่ใต้แผ่นบนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ความชื้นสะสมอยู่ในแนวที่ซ้อนกันใต้หลังคา 8) ช่องทางเข้าออก (manhole) ที่บริเวณผนังถังและหลังคาถัง ขนาดของช่องทางเข้าออกต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร (20นิ้ว) ข้อ ๓ ถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่ตามแนวนอน ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้งดังต่อไปนี้ (1) ผนังถังต้องมีความหนาตามค่าที่ได้จากการคํานวณออกแบบให้รับน้ําหนักบรรทุกสูงสุดบวกด้วยค่าการสึกกร่อน (2) แผ่นเหล็กผนังถัง ต้องมีวิธีการเชื่อมให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยการเชื่อมต่อท่อต่าง ๆ เข้ากับผนังถัง หากเป็นท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 นิ้วผนังของถังจะต้องมีการเสริมความแข็งแรงที่หน้าตัดของเหล็กเสริมแรงนั้น ซึ่งจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่าความหนาของผนังถังและต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของพื้นที่ช่องท่อ (3) สําหรับถังที่มีปริมาณความจุเกิน 19,000 ลิตร ต้องมีช่องทางเข้าออกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 0.60 เมตรอย่างน้อยหนึ่งช่อง ข้อ ๔ ถังเก็บน้ํามันใต้พื้นดิน ต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้งดังต่อไปนี้ (1) ตัวถังต้องติดตั้งและยึดแน่นกับฐานรากในลักษณะที่ไม่อาจเคลื่อนที่หรือลอยตัวเนื่องจากแรงดันของน้ําใต้ดินและห้ามมีสิ่งก่อสร้างใด ๆ อยู่เหนือบริเวณดังกล่าว (2) ส่วนบนของผนังถังต้องอยู่ต่ํากว่าระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร (3) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ํามันไว้ทุกถัง สําหรับถังที่แบ่งเป็นห้อง (compartments) ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ํามันไว้ทุกห้องแยกจากกัน โดยท่อระบายไอน้ํามันต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ดังต่อไปนี้ (ก) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 40 มิลลิเมตร (ข) ปลายท่อระบายไอน้ํามันต้องอยู่สูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 4 เมตรและอยู่ห่างจากเขตคลังน้ํามันไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร (4) ปลายท่อรับน้ํามันต้องอยู่ห่างจากเขตคลังน้ํามันไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ข้อ ๕ การติดตั้งกลอุปกรณ์นิรภัยของถังเก็บน้ํามัน ต้องออกแบบโดยคํานึงถึงการระบายความดันของถังในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การรับและจ่ายน้ํามัน (2) การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ส่วน ๒ การทดสอบ และตรวจสอบถังเก็บน้ํามันก่อนการใช้งาน ------------------------------------------ ข้อ ๖ ในการก่อสร้างถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แนวเชื่อมของพื้นถังต้องได้รับการตรวจสอบว่าไม่มีการรั่วซึมโดยใช้กล่องสุญญากาศ (vacuum box) ที่มีแรงดูดไม่น้อยกว่า 17.23 กิโลปาสกาล (2.50 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) หรือวิธีการอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (2) แนวเชื่อมของผนังถังต้องได้รับการตรวจสอบด้วยการฉายรังสีหรือวิธีการอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (3) การตรวจสอบด้วยการฉายรังสีให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) แนวเชื่อมตั้ง 1) แผ่นเหล็กที่มีความหนาไม่เกิน 10 มิลลิเมตร ให้ตรวจสอบด้วยการฉายรังสีหนึ่งจุดต่อระยะความยาวไม่เกิน 3 เมตรของแนวเชื่อมแรก หลังจากนั้นให้ตรวจสอบอีกหนึ่งจุดต่อทุกระยะความยาวไม่เกิน 30 เมตร 2) แผ่นเหล็กที่มีความหนาเกิน 10 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 25 มิลลิเมตรให้ตรวจสอบด้วยการฉายรังสีตาม (1) โดยให้เพิ่มการตรวจสอบที่แนวเชื่อมตามแนวนอนติดกับแนวตั้งด้วย สําหรับแนวเชื่อมตามแนวตั้งของเหล็กชั้นล่างสุดแต่ละแนวเชื่อม ต้องมีการตรวจสอบอย่างน้อยสองจุดและต้องเป็นจุดที่อยู่ใกล้พื้นถังมากที่สุดเท่าที่จะกระทําได้อย่างน้อยหนึ่งจุด 3) แผ่นเหล็กที่มีความหนาเกิน 25 มิลลิเมตร ให้ตรวจสอบแนวเชื่อมตลอดทั้งแนวด้วยการฉายรังสี (ข) แนวเชื่อมนอนทุกระยะความยาว 3 เมตรของแนวแรก ต้องได้รับการตรวจสอบหนึ่งจุดหลังจากนั้นให้ตรวจสอบเพิ่มอีกหนึ่งจุดทุกระยะความยาว 60 เมตร (ค) การฉายรังสีแต่ละจุด จะต้องครอบคลุมความยาวของแนวเชื่อมอย่างน้อย 150 มิลลิเมตรและมีขนาดความกว้างของฟิล์มที่ใช้ไม่น้อยกว่า 45 มิลลิเมตร (ง) แนวเชื่อมแบบ fillet weld ระหว่างพื้นถังกับผนังถังต้องได้รับการตรวจสอบด้วยวิธีการ liquid dye penetrant test หรือ magnetic particle test (4) พิกัดขนาดของถังต้องอยู่ในค่ามาตรฐาน ดังต่อไปนี้ (ก) ค่าความดิ่ง (plumbness) ต้องไม่เกิน 1 ใน 200 ของความสูงของถังโดยวัดที่ขอบบนสุดของถังเทียบกับขอบล่างสุด (ข) ค่าความกลม (roundness) รัศมีของถังเมื่อวัดที่ระดับ 30 เซนติเมตรเหนือแนวเชื่อมพื้นถังต้องมีความคลาดเคลื่อนไม่เกินค่าตามที่กําหนดไว้ในตารางดังต่อไปนี้ | | | | --- | --- | | เส้นผ่าศูนย์กลางถัง (เมตร) | ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ (มิลลิเมตร) | | น้อยกว่า 12 (น้อยกว่า 40 ฟุต)12 แต่ไม่ถึง 45 (40 แต่ไม่ถึง 150 ฟุต)45 แต่ไม่ถึง 75 (150 แต่ไม่ถึง 250 ฟุต)มากกว่า 75 (มากกว่า 250 ฟุต) | 13 (1 ส่วน 2 นิ้ว)19 (3 ส่วน 4 นิ้ว)25 (1 นิ้ว)32 (1 กับเศษ 1 ส่วน 4 นิ้ว) | (ค) ค่าโก่งตัวหรือยุบตัวของผนังถังตามแนวเชื่อมตั้ง (peaking) ต้องไม่เกิน 13 มิลลิเมตรเมื่อวัดเทียบกับแบบความโค้งของผนังถังที่ยาว 900 มิลลิเมตร (ง) ค่าโก่งตัวหรือยุบตัวของผนังถังตามแนวเชื่อมนอน (banding) ต้องไม่เกิน 13 มิลลิเมตรเมื่อวัดเทียบกับแบบความตรงของผนังถังที่ยาว 900 มิลลิเมตร ข้อ ๗ ถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วต้องทําการทดสอบ ดังต่อไปนี้ (1) ถังจะต้องได้รับการทดสอบแรงดันด้วยน้ําที่ระดับความสูง ดังต่อไปนี้ (ก) ที่ระดับสูงสุดของถัง (ข) สําหรับถังที่มีหลังคาติดตาย ให้บรรจุน้ําที่ระดับความสูง 50 มิลลิเมตรเหนือรอยเชื่อมต่อระหว่างผนังถังกับหลังคาถัง (ค) กรณีที่ไม่สามารถดําเนินการตาม (ก) และ (ข) ได้ เนื่องจากถังมีการติดตั้งช่องระบายน้ํามันล้นถัง (overflow) หรือมีข้อจํากัดจากการทํางานของหลังคาลอยภายในให้ทดสอบที่ระดับสูงสุดเท่าที่จะสามารถทดสอบได้ (2) ระหว่างที่กําลังทดสอบแรงดันด้วยน้ําตาม (1) ต้องทําการตรวจวัดการทรุดตัวของถังเมื่อบรรจุน้ําได้ร้อยละห้าสิบ ร้อยละเจ็ดสิบห้า และร้อยละร้อยของระดับที่จะทดสอบตาม (1) โดยต้องรักษาระดับน้ําให้คงที่ไว้อย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง การวัดการทรุดตัวของถังต้องวัดก่อนและหลังที่มีการบรรจุน้ําในแต่ละช่วงการวัดต้องทําการวัดโดยรอบถัง โดยจุดที่วัดแต่ละจุดต้องห่างเท่ากันและให้มีระยะไม่เกิน 10 เมตร (3) ตรวจสอบรอยรั่วของแนวเชื่อมระหว่างแผ่นเหล็กเสริมความแข็งแรงกับผนังถัง โดยใช้แรงดันอากาศอัดด้วยแรงดันไม่น้อยกว่า 68.9 กิโลปาสกาล (10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แต่ไม่เกิน 103.4 กิโลปาสกาล (15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) (4) กรณีถังเก็บน้ํามันชนิดหลังคาลอยหรือหลังคาลอยภายใน ให้มีการทดสอบหารอยรั่วที่ทุ่นลอย ข้อ ๘ การทดสอบและตรวจสอบตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนการดําเนินการอย่างน้อย 7 วันทําการและผลการทดสอบและตรวจสอบ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๙ ถังเก็บน้ํามันใต้พื้นดินและถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่ตามแนวนอน เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วต้องทําการทดสอบ ดังต่อไปนี้ (1) ให้ทําการทดสอบถังและข้อต่อต่าง ๆ โดยใช้แรงดันน้ําหรือแรงดันอากาศอัดด้วยแรงดันไม่น้อยกว่า 20.6 กิโลปาสกาล (3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แต่ไม่เกิน 34.5 กิโลปาสกาล (5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ในกรณีใช้แรงดันน้ํา ให้ใช้เวลาในการทดสอบไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ในกรณีใช้แรงดันอากาศหรือก๊าซเฉื่อยให้ใช้เวลาในการทดสอบตามที่กําหนดไว้ในตารางดังต่อไปนี้ | | | | --- | --- | | ความจุของถัง (ลิตร) | เวลาที่ใช้ในการทดสอบ (ชั่วโมง) | | ไม่เกิน 15,000ไม่เกิน 30,000ไม่เกิน 45,000ไม่เกิน 60,000 | ไม่น้อยกว่า 24ไม่น้อยกว่า 48ไม่น้อยกว่า 72ไม่น้อยกว่า 96 | (2) ในกรณีที่พบการรั่วซึม ให้ตรวจสอบหารอยรั่วซึมแล้วทําการแก้ไขและทําการทดสอบตาม (1) ซ้ํา จนกระทั่งไม่ปรากฏการรั่วซึม (3) สําหรับถังเก็บน้ํามันที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ห้ามทําการทดสอบด้วยแรงดันอากาศ (4) ทําการทดสอบโดยวิธีการอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (5) ในกรณีที่ถังเก็บน้ํามันใต้พื้นดินเป็นผนังสองชั้นที่มีการทดสอบจากโรงงานผลิตและอัดแรงดัน หรือแรงดันสุญญากาศระหว่างผนังถังชั้นนอกและชั้นใน ให้ตรวจสอบมาตรวัดแรงดันหรือแรงดันสุญญากาศ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันเกินกว่าแรงดันที่ผู้ผลิตกําหนด ให้ถือว่าถังปราศจากการรั่วซึม โดยไม่ต้องทําการทดสอบตาม (1) ข้อ ๑๐ สําหรับถังเก็บผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่น้ํามัน หากจะนํามาใช้เป็นถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่ต้องดําเนินการทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามประกาศนี้ ในกรณีที่ถังดังกล่าวได้มีการทดสอบและตรวจสอบตามประกาศนี้แล้ว ให้นําผลการทดสอบและตรวจสอบยื่นต่อกรมธุรกิจพลังงานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้ถือว่าถังดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบและตรวจสอบ หมวด ๒ การทดสอบและตรวจสอบระบบท่อน้ํามันและอุปกรณ์ก่อนการใช้งาน ----------------------------------------------------- ข้อ ๑๑ ระบบท่อน้ํามันและอุปกรณ์ต้องได้รับการทดสอบ ดังต่อไปนี้ (1) ทดสอบโดยรับแรงดันที่ความดันอย่างน้อย 1.5 เท่าของค่าความดันออกแบบ (design pressure) และรักษาความดันไว้อย่างน้อยสามสิบนาที โดยไม่มีการรั่วไหล (2) ทดสอบการรับแรงดัน ให้ใช้น้ําเป็นตัวกลางในการทดสอบ (hydrostatic test) ในกรณีไม่สามารถใช้น้ําได้ ให้ใช้ก๊าซเฉื่อยแทนได้ (3) ท่ออ่อน (flexible hose) ให้ทดสอบการรับแรงดัน โดยใช้น้ําที่ความดัน 1.5 เท่าของความดันใช้งาน (working pressure) และรักษาความดันไว้อย่างน้อยสิบนาที ข้อ ๑๒ ระบบท่อน้ํามันของถังเก็บน้ํามันขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง ต้องทําการทดสอบและตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ (1) วัสดุหรือชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบท่อน้ํามันและอุปกรณ์ ต้องได้รับการตรวจพินิจว่าอยู่ในสภาพดีและสามารถใช้งานได้โดยปลอดภัย (2) แนวเชื่อมต้องได้รับการตรวจสอบโดยการฉายรังสี (Radiographic Examination) แนวเชื่อมรอบวงท่อ (Circumferential Welds) จํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจํานวนแนวเชื่อมทั้งหมดหรือโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonic Examination) แนวเชื่อมที่ไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบต้องได้รับการซ่อมและตรวจสอบอีกครั้งและต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (ก) จะต้องสุ่มตัวอย่าง (การสุ่มครั้งที่สอง) แนวเชื่อมชนิดเดียวกันอีก 2 แนวขึ้นมาทําการตรวจสอบแบบเดียวกัน ถ้าแนวเชื่อมที่ตรวจสอบใหม่นี้ผ่าน ให้ถือว่าแนวเชื่อมทั้งหมดผ่าน (ข) แนวเชื่อมใดในการสุ่มครั้งที่สองไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ ต้องสุ่มตัวอย่าง (การสุ่มครั้งที่สาม) แนวเชื่อมชนิดเดียวกันอีก 2 แนวเชื่อมขึ้นมาทําการตรวจสอบแบบเดียวกัน ถ้าแนวเชื่อมที่ตรวจสอบใหม่นี้ผ่านทั้งหมด ให้ถือว่าแนวเชื่อมทั้งหมดผ่าน (ค) หากพบว่ามีแนวเชื่อมใดในการสุ่มครั้งที่สามไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบให้ตรวจแนวเชื่อมที่เหลือทั้งหมด (ง) แนวเชื่อมใด ๆ ที่ตรวจสอบไม่ผ่าน ต้องได้รับการเชื่อมซ่อมและตรวจสอบด้วยเช่นเดียวกัน (จ) สําหรับงานปรับปรุง ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จํานวนแนวเชื่อมที่คํานวณมีไม่ถึงหนึ่งแนวเชื่อม ให้ยกเว้นไม่ต้องทําการตรวจสอบ (3) ผลการทดสอบและตรวจสอบตาม (1) และ (2) ต้องเก็บรักษาบันทึกไว้ให้กรมธุรกิจพลังงานสามารถเรียกตรวจสอบได้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,262
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดสถานที่ของท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ไม่ถือเป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2557
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดสถานที่ของท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ไม่ถือเป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ตามกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2557 ------------------------------------------------------------------- เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการกํากับดูแลด้านความปลอดภัยของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ตามกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ที่จะกํากับดูแลท่อส่งก๊าซธรรมชาติเฉพาะในพื้นที่ที่บุคคลทั่วไปอาจเข้าถึงได้ และไม่มีกฎหมายอื่นกํากับดูแลด้านความปลอดภัยเป็นการเฉพาะ อาศัยอํานาจตามความในบทนิยามของคําว่า ท่อส่งก๊าซธรรมชาติของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดสถานที่ของท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ไม่ถือเป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ท่อส่งก๊าซธรรมชาติในสถานที่ดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 (1) สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ คลังก๊าซธรรมชาติและสถานที่เก็บรักษาก๊าซธรรมชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (2) กิจการปิโตรเลียม ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (3) โรงแยกก๊าซธรรมชาติ (4) โรงผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557 ณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,263
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการดำเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่มีผลกระทบต่อระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2557
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการดําเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่มีผลกระทบต่อ ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2557 --------------------------------------------------- เพื่อให้การประกาศกําหนดเกี่ยวกับการดําเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่มีผลกระทบต่อระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ มีหลักเกณฑ์ และวิธีการในการดําเนินการที่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19 แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการดําเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่มีผลกระทบต่อระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ” หมายความว่า ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามนิยามของกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ข้อ ๔ เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ทําให้ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อชํารุดเสียหายจนเกิดก๊าซธรรมชาติรั่วไหลหรือเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้รับใบอนุญาตต้องแจ้งการเกิดอุบัติเหตุต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในทันทีที่ทราบเหตุ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 1 ชั่วโมง นับจากเวลาที่เกิดอุบัติเหตุและรายงานเบื้องต้นถึงสาเหตุ วิธีการระงับเหตุ ความเสียหาย จํานวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งแผนการฟื้นฟูสภาพเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 3 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้น ให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทํารายงานการเกิดอุบัติเหตุ โดยรายงานดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ แนวทางป้องกันและแก้ไข ปริมาณความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และให้รายงานกรมธุรกิจพลังงานทราบภายใน 60 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ ข้อ ๖ แผนการฟื้นฟูสภาพ และมาตรการติดตามตรวจสอบตามแผนดังกล่าวในข้อ 4 และแนวทางป้องกันและแก้ไขในข้อ 5 ต้องมีขั้นตอนการดําเนินการไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือรายงานด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง หรือแผนการฟื้นฟูสภาพมาตรการติดตามตรวจสอบ แนวทางป้องกันและแก้ไขที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ แผนการฟื้นฟูสภาพ มาตรการติดตามตรวจสอบ และแนวทางป้องกันแก้ไขที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ต้องมีขั้นตอนการดําเนินการไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีรายละเอียดโครงการในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557 ณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้น (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,264
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทาง ในการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตามและตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทาง ในการจัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ โครงการ หมายความว่า โครงการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ รายงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Report ; ER) หมายความว่า เอกสารการศึกษาสภาพแวดล้อมปัจจุบันและการกําหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสําหรับโครงการที่สามารถใช้ประมวลหลักการปฏิบัติงาน (Code of Practice) รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ (Monitoring Report ; MR) หมายความว่า รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ข้อ ๔ แนวทางในการจัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ ให้เป็นไปตามแนวทาง ดังต่อไปนี้ (1) หน้าปกของรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการต้องประกอบด้วย ชื่อของรายงาน ชื่อโครงการและที่ตั้งโครงการ ช่วงระยะเวลาของโครงการที่จัดส่งรายงาน ชื่อเจ้าของโครงการ และชื่อผู้จัดทํารายงาน (2) องค์ประกอบของรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย รายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ (ก) สรุปรายละเอียด และที่ตั้งโครงการ พร้อมแสดงแผนที่ประกอบ (ข) แผนการดําเนินการติดตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามที่ระบุไว้ในรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ของโครงการ (ค) ผลการปฏิบัติตามมาตรการตามที่ระบุในรายงานด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ ซึ่งเจ้าของโครงการจะต้องสรุปผลการปฏิบัติในรูปของตารางตามท้ายประกาศนี้ การรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการจะต้องแสดงรูปถ่ายกิจกรรมในระหว่างการดําเนินการหากพบว่าเจ้าของโครงการไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการได้ ให้อธิบายปัญหา อุปสรรคในการดําเนินการและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง (ง) หากในรายงานด้านสิ่งแวดล้อมระบุว่าจะต้องมีการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม การรายงานผลการปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1) ให้แสดงตําแหน่งสถานีตรวจวัดหรือจุดตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมพร้อมระบุพิกัด ลงในแผนที่ที่มีมาตราส่วนที่แสดงรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอต่อการพิจารณา 2) ให้แสดงหลักฐาน รูปถ่ายการเก็บตัวอย่าง ช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่าง และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเก็บตัวอย่างให้ครบถ้วน ซึ่งการเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อม (Environmental Sampling) การวิเคราะห์ผล จะต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ เกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานราชการ 3) ให้แสดงผลการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งการดําเนินการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้น จะต้องดําเนินการโดยหน่วยงานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น ในใบแสดงผลการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกําหนด หากพบว่าไม่สามารถตรวจวัดค่าได้ (Not Detectable; ND) ให้ระบุค่าต่ําสุดที่สามารถตรวจวัดได้ (Detection Limit) ของวิธีวิเคราะห์ที่ใช้ นอกจากนี้จะต้องแสดงผลเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ในกรณีที่ค่าตรวจวัดดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเกินเกณฑ์ที่กําหนด ผู้จัดทํารายงานจะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุ ระบุการแก้ไขปัญหา หรือเสนอแนะแนวทางในการบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เหมาะสม ข้อ ๕ ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ จะต้องได้รับใบรับรองจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ซึ่งคุณสมบัติและการสั่งพักใช้และการเพิกถอนใบรับรองของผู้มีสิทธิจัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกําหนด ข้อ ๖ ให้จัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูลต่อกรมธุรกิจพลังงาน จํานวนไม่น้อยกว่าห้าชุด ดังนี้ (1) ในระยะก่อสร้างอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หรือตามเงื่อนไขที่กรมธุรกิจพลังงานกําหนด (2) ในระยะดําเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยให้จัดส่งครั้งแรกนับจากวันที่เปิดใช้งานแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน (3) ในกรณีที่เจ้าของโครงการ ไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่ระบุในรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ผู้จัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการจะต้องแจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงานทันที ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,265
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การกำหนดประเภทและขนาดของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การกําหนดประเภทและขนาดของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และ หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556 ---------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การกําหนดประเภทและขนาดของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ โครงการ หมายความว่า โครงการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ความดันใช้งานสูงสุด (Maximum Operating Pressure) หมายความว่า ความดันสูงสุดของก๊าซภายในท่อที่มีโอกาสถูกใช้งาน พื้นที่ที่ไวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Sensitive Area) หมายความว่า พื้นที่หรือองค์ประกอบในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวหรือมีความเปราะบาง ที่มีโอกาสเกิดความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในเชิงลบหากได้รับผลกระทบไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ข้อ ๔ ให้การดําเนินโครงการที่มีลักษณะและพื้นที่ ดังต่อไปนี้ ต้องจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อมเสนอต่อกรมธุรกิจพลังงาน (1) โครงการที่มีความดันใช้งานสูงสุดน้อยกว่าหรือเท่ากับยี่สิบบาร์ และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้อยกว่าหรือเท่ากับสิบหกนิ้ว ในทุกพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่ที่มีมติคณะรัฐมนตรีหรือกฎหมายกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น (2) โครงการที่มีความดันใช้งานสูงสุดมากกว่ายี่สิบบาร์ขึ้นไป หรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อมากกว่าสิบหกนิ้วขึ้นไป ในเขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม ข้อ ๕ รายงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ให้เจ้าของโครงการจัดทําและเสนอรายงานด้านสิ่งแวดล้อมใหม่และเสนอต่อกรมธุรกิจพลังงานทุกครั้ง ข้อ ๖ แนวทางในการจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามแนวทางทั่วไป ดังต่อไปนี้ (1) หน้าปกของรายงานต้องประกอบด้วย ชื่อของรายงาน ชื่อโครงการและที่ตั้งโครงการ ชื่อเจ้าของโครงการ และชื่อผู้จัดทํารายงาน (2) องค์ประกอบของรายงานด้านสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ (ก) วัตถุประสงค์ของการดําเนินโครงการ (ข) รายชื่อหน่วยงานอื่นที่เจ้าของโครงการจะต้องขออนุญาตเพื่อดําเนินงานตามโครงการ พร้อมระบุสถานภาพของการขออนุญาตว่าอยู่ในขั้นตอนใด (ค) ข้อมูลโครงการ อย่างน้อยประกอบด้วย 1) ผลการศึกษาแนวทางเลือกในการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ 2) ข้อมูลการออกแบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ ระดับความหนาแน่นของชุมชน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ความหนาของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ค่าความดันออกแบบ ความดันใช้งานสูงสุด ความยาวของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ แบบแสดงแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติและวิธีการก่อสร้าง เป็นต้น 3) ระบุแผนการก่อสร้างและดําเนินการโครงการ โดยจะต้องระบุกิจกรรมที่สําคัญและระยะเวลาดําเนินการ 4) แสดงโครงข่ายระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีอยู่ระหว่างดําเนินการและที่มีอยู่เดิมในบริเวณใกล้เคียง 5) แสดงตําแหน่งที่ตั้งโครงการและแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ลงในแผนที่ที่มีมาตราส่วนที่แสดงรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอต่อการพิจารณา รวมทั้งจะต้องระบุพื้นที่ที่ไวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Sensitive Area) ข้างละหนึ่งร้อยเมตรจากกึ่งกลางแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เช่น ศาสนสถาน สถานศึกษา สถานที่ราชการ สถานพยาบาล สุสาน/กูโบร์ แหล่งประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณสถาน เป็นต้น 6) การประกันภัยบุคคลที่สามทั้งในระยะก่อสร้างและดําเนินการโครงการ รวมทั้งการชดเชยกรณีเกิดอุบัติเหตุ (ง) การมีส่วนร่วมของประชาชน เจ้าของโครงการต้องจัดให้มีการดําเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้องกับโครงการเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดําเนินโครงการ และเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและลดความวิตกกังวล รวมทั้งจะต้องรวบรวมประเด็นข้อคิดเห็นและความห่วงใยที่ได้จากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นมาพิจารณาในการกําหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบที่เหมาะสมเพิ่มเติม และนําเสนอข้อมูลผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้ดําเนินการทั้งหมดมาไว้ในภาคผนวกของรายงาน (จ) มาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เจ้าของโครงการต้องนํามาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม มากําหนดเป็นมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ดําเนินโครงการทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดําเนินการ หลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางการกําหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ให้เป็นไปตามประมวลหลักการปฏิบัติงาน (Code of Practice ; COP) เพื่อลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมสําหรับระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ตามท้ายประกาศนี้ (ฉ) การทดแทนความเสียหายต่ออสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิน (ถ้ามี) แสดงข้อมูลทรัพย์สินที่อาจจะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อประเมินสภาพเงื่อนไขต่าง ๆ และงบประมาณเกี่ยวกับเงิน ค่าทดแทนความเสียหายต่ออสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิน ซึ่งค่าทดแทนความเสียหายต่ออสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินนี้จะเป็นการสํารวจและประเมินราคาเบื้องต้น ตามกําหนดกฎเกณฑ์ที่คาดว่าจะต้องทําการจ่ายเงินเป็นค่าทดแทน เมื่อทําการก่อสร้างเจ้าของโครงการจะต้องทําการสํารวจอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นธรรมต่อผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยให้มีรายละเอียดการประเมินการทดแทนความเสียหายต่ออสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิน ดังนี้ 1) รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ราคาประเมิน ที่ดิน ราคาวัสดุก่อสร้าง ข้อมูลการประเมินราคาพืชผลต้นไม้ 2) การสํารวจจํานวน ชนิด และทรัพย์สินที่คาดว่าจะได้รับความเสียหาย 3) การประเมินค่าชดเชยทรัพย์สินและพืชผลต้นไม้ ข้อ ๗ หากผลการศึกษาตามรายงานด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าจําเป็นต้องมีมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมมากกว่าในประมวลหลักการปฏิบัติงานท้ายประกาศนี้ เจ้าของโครงการจะต้องกําหนดมาตรการดังกล่าวนั้นไว้ในรายงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ข้อ ๘ ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับใบรับรองจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ซึ่งคุณสมบัติและการสั่งพักใช้และการเพิกถอนใบรับรองของผู้มีสิทธิจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกําหนด ข้อ ๙ ให้จัดส่งรายงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อขอความเห็นชอบต่อกรมธุรกิจพลังงาน จํานวนไม่น้อยกว่าสิบห้าชุด และเมื่อได้รับหนังสือแจ้งให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าของโครงการต้องจัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูลจํานวนห้าชุด ภายในหนึ่งเดือนนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๐ โครงการตามข้อ 4 ที่ต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และได้รับความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. ประมวลหลักการปฏิบัติงาน (Code of Practice; COP) เพื่อลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สําหรับระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,266
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง วิธีการทดสอบถังเก็บน้ำมันใต้พื้นดินของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวิธีอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่า พ.ศ. 2555
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง วิธีการทดสอบถังเก็บน้ํามันใต้พื้นดินของสถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง โดยวิธีอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่า พ.ศ. 2555 ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 19 (3) แห่งกฎกระทรวงสถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้วิธีการทดสอบดังต่อไปนี้ เป็นวิธีการทดสอบถังเก็บน้ํามันใต้พื้นดินที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามข้อ 19 (1) แห่งกฎกระทรวงสถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552 (1) วิธี MassTech 002 Ullage Test System ประกอบกับวิธี MassTech 2 Wet Test (2) วิธี EZY 3 Locator Plus ข้อ ๓ การดําเนินการทดสอบต้องเป็นไปตามที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน United States Environmental Protection Agency (US EPA); Standard Test Procedures for Evaluating Leak Detection Methods: Volumetric Tank Tightness Testing Methods หรือ Standard Test Procedures for Evaluating Leak Detection Methods: Nonvolumetric Tank Tightness Testing Methods ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 อารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,267
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 2/2537 เรื่อง ห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA เป็นการชั่วคราว
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 2/2537 เรื่อง ห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และ ยี่ห้อ NA KAK SUA เป็นการชั่วคราว ------------------------------------------------------------ ด้วยปรากฏข่าวสีเทียนที่วางจําหน่ายโดยทั่วไปในปัจจุบัน อาจมีปริมาณของสารที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเจือปนอยู่ในเนื้อของสีเทียน โดยเฉพาะสารตะกั่วหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอาจมีผลทําให้เกิดอันตรายต่อสมอง ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารได้ ฉะนั้น เพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค สํานักงานคณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคจึงทําการเก็บตัวอย่างสีเทียน รวม 19 ยี่ห้อ จํานวน 36 กล่อง นําส่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่วและสารอื่นที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสีเทียนดังกล่าวตามหนังสือ ที่ สธ 0506/1305 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2537 สรุปได้ว่า สีเทียน 4 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA มีปริมาณของโลหะตะกั่วและโลหะโครเมี่ยมเกินเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีเทียน (มอก. 1149 - 2536) คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาในเบื้องต้นเห็นว่า แม้ว่าจะไม่ได้มีการกําหนดให้สินค้าสีเทียนต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีเทียน (มอก. 1149 - 2536) ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ก็ตาม แต่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีเทียนดังกล่าวเป็นการกําหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําของสินค้าสีเทียนเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค โดยกําหนดว่าสีเทียนต้องไม่มีสารพิษในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพและกําหนดปริมาณของโลหะหนักที่อาจเจือปนได้ในเนื้อของสีเทียน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณารายงานการตรวจวิเคราะห์สีเทียนทั้ง 19 ยี่ห้อ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว เห็นว่าสีเทียน ยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA มีปริมาณของโลหะตะกั่วและโลหะโครเมี่ยมเกินเกณฑ์มาตรฐานที่จะปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ฉะนั้น จึงมีเหตุที่น่าเชื่อว่าสินค้าสีเทียน 4 ยี่ห้อดังกล่าวอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาว่าผู้บริโภคสินค้าดังกล่าวโดยมากมักจะเป็นเด็กเล็กในวัยเรียน จึงมีความจําเป็นและเร่งด่วนที่ควรสั่งห้ามขายสินค้าสีเทียนนั้นเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการทดสอบหรือพิสูจน์ว่าสินค้าสีเทียน 4 ยี่ห้อดังกล่าวไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคอย่างแท้จริง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการประชุมครั้งที่ 3/2537 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2537 จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ 1. ห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B.[2]. และยี่ห้อ NA KAK SUA[3] เป็นการชั่วคราว 2. ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสีเทียนยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA ติดต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์ว่าสินค้าสีเทียนดังกล่าวไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2537 บัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,268
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ระบบรับและจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือถังสำหรับระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2553
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ระบบรับและจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงเหนือถังสําหรับระบบควบคุมไอน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2553 ------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 35 วรรคสอง และข้อ 36 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงควบคุมไอน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงควบคุมไอน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระบบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงเหนือถัง (top loading) ของแท่นจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิง (loading rack) ของคลังน้ํามันเชื้อเพลิง สถานที่เก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิงที่มีการจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงให้กับรถขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง สถานที่ที่มีการรับหรือจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงโดยระบบขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงทางท่อและจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงให้กับรถขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง ต้องออกแบบตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้ (1) ต้องมีระบบควบคุมไอน้ํามันเชื้อเพลิงที่สามารถเก็บไอน้ํามันเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 (2) ขณะจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิง ระบบควบคุมไอน้ํามันเชื้อเพลิงต้องผนึกแน่นกับถังขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง เพื่อป้องกันการรั่วซึมของไอน้ํามันเชื้อเพลิง (3) ขณะจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิง ปลายท่อจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงต้องจุ่มอยู่ในถังขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 97 ของความสูงของถังขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง (4) ระบบท่อรับไอน้ํามันเชื้อเพลิงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันไอน้ํามันเชื้อเพลิงไหลย้อนกลับข้อต่อท่อรับไอน้ํามันเชื้อเพลิงที่ต่อโดยตรงกับท่อไอน้ํามันเชื้อเพลิงของรถขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงต้องเป็นชนิดที่สามารถป้องกันไอน้ํามันเชื้อเพลิงรั่วไหล (dry break fitting) เพื่อป้องกันการรั่วซึมของไอน้ํามันเชื้อเพลิงระหว่างที่ไม่มีการจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิง (5) แท่นจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงต้องมีระบบอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะตามข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงควบคุมไอน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2550 ข้อ ๒ ระบบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงเหนือถังของแท่นจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิง ต้องแสดงรายละเอียดของระบบจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) แบบแปลน (2) แบบด้านข้าง (3) แบบรูปตัด (4) แบบฐานราก (5) แบบแสดงรายละเอียดการติดตั้งของแท่นจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิง พร้อมด้วยระบบท่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการจ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงให้สามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๓ ระบบรับน้ํามันเชื้อเพลิงเหนือถังของรถขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้ (1) การต่อเชื่อมระบบควบคุมไอน้ํามันเชื้อเพลิงของคลังน้ํามันเชื้อเพลิงกับถังขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงให้กระทําได้ ดังนี้ (ก) ผ่านช่องเปิดเหนือถังขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง (ข) ผ่านข้อต่อท่อไอน้ํามันเชื้อเพลิงของถังขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง (2) ช่องคนลง (manhole) ของถังขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามข้อกําหนด ดังต่อไปนี้ (ก) ต้องมีหน้าตัดรูปวงกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 380 มิลลิเมตร (ข) ช่องคนลงและอุปกรณ์ต้องมีความแข็งแรงสามารถปิดได้สนิทและป้องกันการรั่วไหลของน้ํามันเชื้อเพลิงและไอน้ํามันเชื้อเพลิงได้ทั้งในระหว่างการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงและเมื่อเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ํา และต้องสามารถรับแรงจากความดันของน้ํามันเชื้อเพลิงภายในถังขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่า 62 กิโลปาสกาล ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
4,269
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 2/2561 เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร กรณีฝ่าฝืนมาตรา 5 (4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 2/2561 เรื่อง มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการเปรียบเทียบความผิด ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร กรณีฝ่าฝืนมาตรา 5 (4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ----------------------------------------------------- ตามคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 11/2542 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2542 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ได้แต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้มีอํานาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร นั้น เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้มีหนังสือเรียกให้บุคคลมาให้ถ้อยคํา หรือส่งเอกสารและหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในแต่ละปีเป็นจํานวนมาก บุคคลส่วนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียก ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในการประชุมครั้งที่ 11/2560 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2560 จึงมีคําสั่งมอบหมายรองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 เป็นผู้ดําเนินการเปรียบเทียบความผิดตามมาตรา 5 (4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมโดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,270
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1/2561 เรื่อง ห้ามขายสินค้าอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่น
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1/2561 เรื่อง ห้ามขายสินค้าอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่น ---------------------------------------------- ตามคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 10/2552 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 เรื่อง ห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่น ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีคําสั่งห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่น เป็นการถาวร นั้น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในการประชุมครั้งที่ 11/2560 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2560 พิจารณาแล้วเห็นว่า สินค้าอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่นเป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งการใส่อุปกรณ์จัดฟันแฟชั่นอาจใช้เครื่องมือและกระบวนการที่ไม่สะอาด อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยในช่องปาก โดยทําให้เกิดฟันผุ ฟันผิดรูป หรือเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบของอวัยวะภายในช่องปากและติดเชื้อจนเป็นอันตรายถึงชีวิต และจากข้อมูลผลการทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า มีสารปนเปื้อนซึ่งเป็นโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว พลวง ซีลีเนียม โครเมียมและสารหนู เนื่องจากคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 10/2552 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 เรื่อง ห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่น ไม่ได้กําหนดบทนิยามคําว่า “สินค้าลวดดัดฟันแฟชั่น” และคําว่า “ขาย” ไว้ จึงทําให้ขาดความชัดเจนในคําสั่งห้ามขายดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 10/2552 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 เรื่อง ห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่น ข้อ ๒ ในคําสั่งนี้ “อุปกรณ์จัดฟันแฟชั่น” หมายความถึง สินค้าหรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ลวดหรือยางวงที่นําไปคล้องหรือผูกติดไว้ในบริเวณช่องปากหรือบนฟัน หรือการกระทํา อื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการความสวยงาม โดยไม่มีผลต่อการรักษาทางการแพทย์ “ขาย” หมายความว่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนเพื่อการดังกล่าวด้วย ข้อ ๓ ห้ามขายสินค้าอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561 สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,271
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับลักษณะ การติดตั้ง และการทดสอบและตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยแบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงในโรงเก็บ พ.ศ. 2561
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับลักษณะ การติดตั้ง และการทดสอบและตรวจสอบ ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยแบบหัวกระจายน้ําดับเพลิงในโรงเก็บ พ.ศ. 2561 ------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ พ.ศ. 2560 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยแบบหัวกระจายน้ําดับเพลิง สําหรับการเก็บกลุ่มถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือกระป๋องก๊าซปิโตรเลียมเหลวกลุ่มเดียวที่มีปริมาณไม่เกิน 2,400 ลิตร ต้องประกอบไปด้วยถังเก็บน้ํา เครื่องสูบน้ํา ระบบท่อ และหัวกระจายน้ํา มีรายละเอียดดังนี้ (1) ถังเก็บน้ําต้องมีปริมาตรรวมกันไม่น้อยกว่า 2 ลูกบาศก์เมตร และต้องมีการติดตั้งท่อรับน้ําประปามีการควบคุมการไหลเข้าด้วยลิ้นปิดเปิดแบบอัตโนมัติ (2) เครื่องสูบน้ําที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 1 แรงม้า หากมีการติดตั้งอยู่ในบริเวณอันตรายจะต้องเป็นชนิดป้องกันการระเบิดและสามารถควบคุมได้ทั้งอัตโนมัติและธรรมดา (3) ระบบท่อต้องเป็นชนิดเหล็กเหนียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว มีการจับยึดอย่างมั่นคงแข็งแรงอยู่เหนือบริเวณที่เก็บถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม และอยู่ต่ํากว่าหลอดไฟแสงสว่าง (4) หัวกระจายน้ําดับเพลิง ต้องมีรัศมีของการฉีดกระจายน้ําไม่น้อยกว่า 1.25 เมตร (5) จัดให้มีการทดสอบและตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยแบบหัวกระจายน้ําดับเพลิงว่าสามารถใช้งานได้ หลังจากที่มีการติดตั้งเสร็จ และทุก ๆ ปี ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๓ ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยแบบหัวกระจายน้ําดับเพลิง ตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยข้อกําหนดในการป้องกันอัคคีภัย ระบบหัวกระจายน้ําดับเพลิงอัตโนมัติ โดยกําหนดให้บริเวณที่เก็บถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มหรือกระป๋องก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นพื้นที่ครอบครอง ประเภทพื้นที่ครอบครองอันตรายปานกลาง กลุ่ม 2 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561 วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
4,272
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ พ.ศ. 2557
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ พ.ศ. 2557 -------------------------------------------------- เพื่อให้การประกอบกิจการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อเป็นไปด้วยความปลอดภัยและเป็นการป้องกันอันตรายต่อประชาชนและระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ จึงจําเป็นต้องกําหนดหลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 วรรคสี่ และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ระบบการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงทางท่อ” หมายความว่า ระบบที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายน้ํามันเชื้อเพลิงจากอุปกรณ์วัดปริมาตรน้ํามันเชื้อเพลิงผ่านท่อขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงต้นทาง ไปยังอุปกรณ์วัดปริมาตรน้ํามันเชื้อเพลิงที่ปลายทางของระบบการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงซึ่งประกอบด้วยท่อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง “ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ” หมายความว่า ระบบการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงทางท่อที่ใช้ในการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว “ผู้ประกอบกิจการ” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ “เครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ” หมายความว่า เครื่องหมายที่ผู้ประกอบกิจการจัดให้มีในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ข้อ ๔ ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อที่มีแนวท่อขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวใต้พื้นดิน เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ รวมถึงชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) หลักเขตแสดงระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อต้องทําจากคอนกรีตเสริมเหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีความคงทนแข็งแรง โดยหลักเขตมีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร พื้นผิวและสีที่ใช้มีความทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดเซาะ พื้นผิวใช้สีเหลืองและตัวอักษรใช้สีดํา หลักเขตต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร และติดตั้งให้มีส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ทุกด้านมีข้อความว่า “เขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ” โดยติดตั้งที่แนวเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อทั้งสองด้านในตําแหน่งเดียวกัน และมีระยะห่างตามแนวเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อไม่เกิน 200 เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 1 ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อตัดผ่านถนน ทางรถไฟ แม่น้ํา ลําคลอง ทะเล หรือที่ดินส่วนบุคคล ให้ติดตั้งหลักเขตบริเวณจุดตัดทั้งสองด้านด้วย (2) ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อต้องมีขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 40 x 60 เซนติเมตร ทําจากแผ่นโลหะหรือวัสดุอื่นที่มีความคงทนแข็งแรง พื้นผิวและสีที่ใช้มีความทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดเซาะ และให้มีตัวอักษรทั้งด้านหน้าและด้านหลังของป้ายคําเตือนที่แสดงรายละเอียด อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ข้อความว่า “คําเตือน” ความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร (ข) ข้อความว่า “เขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ” ความสูงไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร (ค) ข้อความว่า “ห้ามขุด เจาะ หรือกระทําการก่อสร้างใด ๆ กรณีฉุกเฉินโปรดติดต่อ” ความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร (ง) ชื่อผู้ประกอบกิจการและหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา ความสูง ไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร (จ) ข้อความว่า “เขตระมัดระวัง ..... เมตร” ความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร (ฉ) ข้อความว่า “การรื้อถอน ทําลาย ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง” ความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร พื้นผิวใช้สีเหลืองและตัวอักษรใช้สีดํา ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 2 ท้ายประกาศนี้ ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อให้ติดตั้งบนเสาที่มีความคงทนแข็งแรงในตําแหน่งเดียวกับหลักเขตแสดงระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ โดยติดตั้งป้ายคําเตือนในแนวตั้งฉากกับแนวท่อ และให้ขอบด้านล่างของป้ายคําเตือนอยู่สูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร หรือให้สูงพ้นจากสิ่งกีดขวางโดยรอบเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อที่ทําการติดตั้งบริเวณแม่น้ํา ลําคลอง หรือทะเล ให้มีขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 120 x 240 เซนติเมตร และต้องมีข้อความตาม (ก) ความสูงไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร ข้อความตาม (ข) ความสูงไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร ข้อความว่า “ห้ามขุดลอก ทอดสมอเรือ หรือกระทําการก่อสร้างใด ๆ กรณีฉุกเฉินโปรดติดต่อ” และข้อความตาม (ง) (จ) และ (ฉ) ความสูงไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 3 ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อที่ทําการติดตั้งบริเวณแม่น้ํา ลําคลอง หรือทะเล ต้องจัดให้มีเครื่องหมายตามที่กรมเจ้าท่ากําหนด ข้อ ๕ ในกรณีที่ไม่สามารถติดตั้งเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อในตําแหน่งที่กําหนดไว้ในข้อ 4 ให้ติดตั้งเฉพาะป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมทําการชี้บ่งตําแหน่งของท่อขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวและเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ข้อ ๖ ในกรณีที่มีแนวท่อขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวเกินกว่าหนึ่งแนวท่อ ต้องจัดให้มีป้ายแสดงภาพตัดแนวท่อขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว พร้อมระบุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแต่ละท่อและระยะห่างระหว่างท่อให้ชัดเจน โดยติดตั้งในบริเวณเดียวกับป้ายคํา เตือนเขตระบบขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ข้อ ๗ ในกรณีที่มีแนวท่อขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวเหนือพื้นดิน ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีการระบุชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อผู้ประกอบกิจการและหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ตลอดเวลาบนท่อขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทุกระยะไม่เกินกว่า 200 เมตร ตลอดแนวท่อขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ทั้งนี้ ตัวอักษรต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร และสีที่ใช้ต้องมีความทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดเซาะ ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการต้องบํารุงรักษาเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อให้มีสภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ ในกรณีที่เครื่องหมายดังกล่าวชํารุดหรือเสียหายหรือข้อความลบเลือนในสาระสําคัญ ให้ดําเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า ข้อ ๙ เครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ผู้ประกอบกิจการดําเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. ตัวอย่างภาพประกอบที่ 1 หลักเขตแสดงระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ 2. ตัวอย่างภาพประกอบที่ 2 ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ 3. ตัวอย่างภาพประกอบที่ 3 ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ในกรณีที่ติดตั้งบริเวณแม่น้ํา ลําคลอง หรือทะเล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,273
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า”
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ํายาสําหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” --------------------------------------------------- ด้วยปรากฏว่าในปัจจุบันมีการขายหรือให้บริการสินค้าสําหรับสูบยาสูบชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกกันว่า “บารากู่” “บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” หรือตัวยาบารากู่ น้ํายาสําหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่แพร่หลายและนิยมกันเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น และมีการโฆษณาว่ามีกลิ่นหอม ทํามาจากผลไม้แห้งไม่มีพิษภัยเป็นสมุนไพร ไม่มีนิโคตินเหมือนบุหรี่ทําให้สูบแล้วไม่ติดและยังมีความเชื่อว่าสามารถช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น หาซื้อได้ง่ายตามตลาดนัดและทางอินเทอร์เน็ต อีกทั้งมีการให้บริการสินค้าดังกล่าวตามสถานบันเทิงต่าง ๆ ซึ่งจากการทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหลายชนิด เช่น โพรพิลีน ไกลคอล (Propylene Glycol) เมนทอล (Menthol) ไซโคเฮกซานอล (Cyclohexanol) ไตรอะซิติน (Triacetin) อนุพันธ์ของเบนซีน (Benzene derivatives) ตะกั่ว (Lead) นอกจากนี้ยังพบโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง ได้แก่ โครเมียม (Chromium) สารหนู (Arsenic) และแคดเมียม (Cadmium) และยังพบว่าการสูบอุปกรณ์ดังกล่าวอาจทําให้ผู้สูบเกิดโรคต่าง ๆ หรือเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายโรคติดต่อหลายชนิด เช่น วัณโรค ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ คอตีบ ไอกรน ไวรัสตับอักเสบบี และมีโอกาสติดโรคร้ายแรงในช่องปาก เนื่องจากพฤติกรรมการสูบมักจะเป็นการผลัดเปลี่ยนและหมุนเวียนกับผู้เข้าร่วมสูบภายในกลุ่ม ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงและอาจนําไปสู่การเสพร่วมกับสารเสพติดชนิดอื่น ๆ เช่น ยาอี ยาเค ยาบ้า กัญชาหรือผงขาว และหากมีการใช้ยาเส้นหรือใบยาสูบจะมีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ปกติ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการประชุมครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 พิจารณาแล้ว เห็นว่าจากผลการทดสอบปรากฏว่า สินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ํายาสําหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคและไม่อาจป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากสินค้านั้นได้โดยการกําหนดฉลากตามมาตรา 30 หรือตามกฎหมายอื่น จึงมีมติให้มีคําสั่งห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่น้ํายาสําหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้ “บารากู่” หมายความว่า หม้อสูบยาสูบแบบอาหรับหรือลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกันหรืออุปกรณ์ หรือส่วนประกอบไม่ว่าจะกระทําขึ้นด้วยวัตถุใด ที่ใช้เป็นอุปกรณ์สําหรับสูบควันผ่านน้ําหรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นแหล่งกําเนิดควัน ละอองไอน้ํา หรือไอระเหย ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้หรือการใช้ความร้อนผ่านพืช ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมัก สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะมีใบยาสูบเป็นส่วนประกอบหรือไม่ก็ตาม “บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ที่ทําให้เกิดแหล่งกําเนิดควัน ละอองไอน้ํา หรือไอระเหยในลักษณะคล้ายควันบุหรี่ ไม่ว่าจะกระทําขึ้นด้วยวัตถุใด ซึ่งใช้สําหรับสูบในลักษณะเดียวกับการสูบบุหรี่ “ตัวยาบารากู่ น้ํายาสําหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” หมายความว่า สาร สารสกัดหรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นแหล่งกําเนิดควัน ละอองไอน้ํา หรือไอระเหย เพื่อใช้สําหรับบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงพืช ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมัก ที่ใช้เป็นแหล่งกําเนิดควันละอองไอน้ํา หรือไอระเหยสําหรับบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ตอน ๒ ห้ามขายสินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ํายาสําหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้ ให้รวมถึงการให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนเพื่อการดังกล่าว ข้อ ๓ ห้ามให้บริการสินค้าบารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่น้ํายาสําหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้ ให้รวมถึงการรับจัดทําการงาน การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558 หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,274
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2560
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง ข้อกําหนดด้านความปลอดภัยของภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2560 --------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5 วรรคสอง ข้อ 6 วรรคสอง ข้อ 18 วรรคสอง และข้อ 20 แห่งกฎกระทรวงภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2560 ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมวด ๑ เครื่องหมายอันตรายสําหรับกระป๋องก๊าซปิโตรเลียมเหลว ------------------------------------- ข้อ ๒ เครื่องหมายอันตรายให้เป็นตามแบบเครื่องหมายอันตรายท้ายประกาศนี้ หมวด ๒ ข้อความที่แสดงถึงกําหนดการทดสอบตามวาระหรือวันครบอายุการใช้งาน ของถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม ----------------------------------- ข้อ ๓ ให้ใช้ข้อความเป็นอย่างน้อยว่า “ถังหมดอายุ [ปีที่ครบวาระทดสอบ]” แสดงถึงกําหนดการทดสอบตามวาระและวันครบอายุการใช้งานของถังก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม ข้อความตามวรรคหนึ่งเป็นตัวอักษรสีขาวมีขนาดมองเห็นได้ชัดเจนตามขนาดของถัง หมวด ๓ หนังสือรับรองถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว ------------------------------------------------- ข้อ ๔ หนังสือรับรองถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผลิต หรือสร้างขึ้นใหม่ หรือครบวาระ ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ หมวด ๔ หลักเกณฑ์ในการกําหนดวันที่ได้ทดสอบและตรวจสอบครั้งหลังสุดของถังเก็บ และจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว -------------------------------------- ข้อ ๕ ในหมวดนี้ “ถังครบวาระ” หมายความว่า ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ได้ผ่านการทดสอบตรวจสอบครบทุก ๆ 5 ปี หรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ได้ผ่านการทดสอบและตรวจสอบครบทุก ๆ 6 ปี นับแต่วันที่ได้ทดสอบและตรวจสอบครั้งหลังสุด ข้อ ๖ วันที่ได้ทดสอบและตรวจสอบครั้งหลังสุดของถังครบวาระ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีการทดสอบและตรวจสอบถังครบวาระ ทําล่วงหน้าระยะเวลาเกิน 1 ปี ก่อนวันที่ต้องทดสอบและตรวจสอบครบวาระครั้งต่อไปที่ระบุในหนังสือรับรอง ให้ใช้วันที่ทดสอบจริงเป็นวันที่ได้ทดสอบและตรวจสอบครั้งหลังสุด (2) กรณีการทดสอบและตรวจสอบถังครบวาระ ทําล่วงหน้าภายในระยะเวลา 1 ปีก่อนวันที่ต้องทดสอบและตรวจสอบครบวาระครั้งต่อไปที่ระบุในหนังสือรับรอง ให้ใช้วันที่ระบุในหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นวันที่ได้ทดสอบและตรวจสอบครั้งหลังสุด (3) กรณีการทดสอบและตรวจสอบถังครบวาระ ล่าช้าหลังวันที่ต้องทดสอบและตรวจสอบครบวาระครั้งต่อไปที่ระบุในหนังสือรับรอง ให้ใช้วันที่ระบุในหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นวันที่ได้ทดสอบและตรวจสอบครั้งหลังสุด ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. แบบเครื่องหมายอันตราย 2. หนังสือรับรองถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว/ถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว หมายเลขประจําถัง......... (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,275
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 5/2556 เรื่อง ห้ามขายสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสำหรับแกล้งคน
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 5/2556 เรื่อง ห้ามขายสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน -------------------------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีคําสั่งที่ 1/2556 ห้ามขายสินค้า “อุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน” เป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า มีเหตุอันน่าเชื่อว่าสินค้าที่เรียกกันว่า “อุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน” เป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค จึงให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่ง หรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน ทําการติดต่อกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั้น เนื่องจากปรากฏว่าไม่มีผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคนรายใดติดต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ว่าสินค้านั้นไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคภายในกําหนดเวลาดังกล่าว คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการประชุมครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 พิจารณาแล้ว เห็นว่า สินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคนเป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคและเป็นกรณีไม่อาจป้องกันอันตรายที่เกิดจากสินค้านั้นได้ โดยการกําหนดฉลากตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 หรือตามกฎหมายอื่น จึงมีมติให้มีคําสั่งห้ามขายสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคนเป็นการถาวร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 1/2556 เรื่อง ห้ามขายสินค้า “อุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน” เป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ข้อ ๒ ห้ามขายสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556 วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,276
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุของถังขนส่งน้ำมัน พ.ศ. 2560
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุของถังขนส่งน้ํามัน พ.ศ. 2560 ------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 48 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงการขนส่งน้ํามันโดยถังขนส่งน้ํามัน พ.ศ. 2558 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุของถังขนส่งน้ํามันให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุของถังขนส่งน้ํามัน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,277
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1/2556 เรื่อง ห้ามขายสินค้า “อุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสำหรับแกล้งคน” เป็นการชั่วคราว
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1/2556 เรื่อง ห้ามขายสินค้า “อุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน” เป็นการชั่วคราว ------------------------------------------------- ด้วยปรากฏว่าในปัจจุบันมีการขายอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน ที่ผลิตออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หมากฝรั่ง รีโมทรถยนต์ ปากกา สวิตซ์เปิด - ปิดไฟฟ้า โดยอุปกรณ์ดังกล่าวใช้หลักการช็อตด้วยไฟฟ้า สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้ส่งสินค้าให้ห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดําเนินการทดสอบ พบว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคนมีค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 500 - 1,000 โวลต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอวัยวะของร่างกายได้อย่างต่อเนื่องและคงที่ตลอดระยะเวลาที่กดหรือดึงอุปกรณ์นั้น ซึ่งอาจทําให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วตามผิวหนังสูงเกินกว่า 0.02 แอมแปร์ มีผลให้บุคคลอาจหมดสติ หรือถ้าหากกระแสไฟฟ้าสูงเกินกว่า 0.2 แอมแปร์ จะทําให้ผิวหนังบริเวณที่เป็นเส้นทางการเดินของกระแสเกิดเป็นรอยแผลไหม้ได้ สินค้าดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อเด็กเล็กหรือผู้ป่วยโรคหัวใจ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการประชุมครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 ได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า มีเหตุอันน่าเชื่อว่าสินค้าที่เรียกกันว่า “อุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน” เป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และมีความจําเป็นเร่งด่วนที่จะต้องป้องกันอันตรายและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าชนิดนี้ จึงมีมติให้มีคําสั่งห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “อุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน” เป็นการชั่วคราว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้ (1) ห้ามขายสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคนเป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีคําสั่งยกเลิก ทั้งนี้ ให้รวมถึงการให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนเพื่อการดังกล่าว (2) ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่ง หรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสําหรับแกล้งคน ทําการติดต่อกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,278
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ แบบคำขอ แบบใบรับรอง แบบบัตรประจำตัว และหลักสูตรการฝึกอบรมของผู้ฝึกอบรม วิทยากร และผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2559
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ แบบคําขอ แบบใบรับรอง แบบบัตรประจําตัว และหลักสูตรการฝึกอบรม ของผู้ฝึกอบรม วิทยากร และผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2559 ---------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 7 วรรคสาม ข้อ 8 ข้อ 10 วรรคสาม ข้อ 11 วรรคสอง ข้อ 12 วรรคสอง ข้อ 16 วรรคหนึ่ง ข้อ 19 ข้อ 20 วรรคสอง ข้อ 21 ข้อ 22 วรรคสอง ข้อ 24 วรรคสี่ ข้อ 25 และข้อ 26 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป หมวด ๑ บททั่วไป ------------------------------- ข้อ ๒ การประกอบกิจการถังขนส่งน้ํามันประเภทรถขนส่งน้ํามัน คลังน้ํามัน สถานีบริการน้ํามัน ประเภท ก สถานีบริการน้ํามันประเภท ข สถานีบริการน้ํามันประเภท ค ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ํามัน ประเภท จ ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ํามัน ประเภท ฉ ระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ สถานที่เก็บรักษาน้ํามัน ลักษณะที่สาม ถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่นํามาตรึงไว้กับตัวโครงรถ คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจําหน่าย ลักษณะที่สอง สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ ลักษณะที่สอง ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ คลังก๊าซธรรมชาติ สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ต้องมีผู้ปฏิบัติงานจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคนตลอดระยะเวลาที่เปิดดําเนินการหรือทําการขนส่ง แล้วแต่กรณี การประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ผู้รับใบอนุญาตแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับใบอนุญาตกี่ฉบับก็ตาม ต้องมีผู้ปฏิบัติงานจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคน หมวด ๒ ผู้ฝึกอบรม -------------------------------------- ข้อ ๓ ใบรับรองผู้ฝึกอบรมมี 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ (1) ใบรับรองผู้ฝึกอบรมน้ํามัน (2) ใบรับรองผู้ฝึกอบรมก๊าซปิโตรเลียมเหลว (3) ใบรับรองผู้ฝึกอบรมก๊าซธรรมชาติ ข้อ ๔ แบบคําขอใบรับรอง แบบใบรับรอง แบบคําขอต่ออายุใบรับรอง แบบคําขอใบแทนใบรับรอง แบบใบแทนใบรับรองผู้ฝึกอบรม ของการประกอบกิจการตามที่กําหนดในข้อ 2 ให้เป็นไปตามท้ายประกาศ ดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขอใบรับรองผู้ฝึกอบรม ให้ใช้แบบ ธพ.พ.1อ (2) แบบใบรับรองผู้ฝึกอบรม ให้ใช้แบบ ธพ.พ.2อ (3) แบบคําขอต่ออายุใบรับรองผู้ฝึกอบรม และแบบคําขอใบแทนใบรับรองผู้ฝึกอบรม ให้ใช้แบบ ธพ.พ.3อ (4) แบบใบแทนใบรับรองผู้ฝึกอบรม ให้ใช้แบบ ธพ.พ.2อ และเขียนหรือประทับตราความว่า “ใบแทน” ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบรับรอง ข้อ ๕ ในการยื่นคําขอใบรับรองตามข้อ 4 ให้ยื่นต่ออธิบดี พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กําหนด ข้อ ๖ ผู้ฝึกอบรมต้องมีระบบการจัดเก็บเอกสารที่ดี โดยเฉพาะเอกสารหลักฐานประวัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยเอกสารดังกล่าวต้องสามารถตรวจสอบเรื่องเดิมได้โดยง่ายและรวดเร็ว ข้อ ๗ ผู้ฝึกอบรมมีหน้าที่ต้องตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมพร้อมทั้งจัดทําบัญชีรายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม เอกสารประเมินผลการฝึกอบรมของผู้ผ่านและไม่ผ่านการฝึกอบรมรายบุคคล และบันทึกข้อมูลลงในแผ่นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ส่งให้อธิบดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม ข้อ ๘ ผู้ฝึกอบรมต้องอํานวยความสะดวกให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ในการเข้าไปในสํานักงานของผู้ฝึกอบรม และสถานที่ฝึกอบรมในเวลาทําการ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ตรวจสอบหรือสังเกตการณ์ให้ผู้ฝึกอบรมดําเนินการฝึกอบรมให้เป็นไปตามประกาศนี้ ข้อ ๙ ผู้ฝึกอบรมต้องใช้ความระมัดระวังและควบคุมดูแลการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวิทยากร ผู้ฝึกอบรมมีหน้าที่ต้องแจ้งให้อธิบดีทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง หากการเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง เป็นผลทําให้ผู้ฝึกอบรมขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดให้ผู้ฝึกอบรมหยุดทําการฝึกอบรมจนกว่าอธิบดีจะให้ความเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงวิทยากรดังกล่าว ข้อ ๑๑ ใบรับรองผู้ฝึกอบรมจะถูกพักใช้ ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) ละเว้นหน้าที่ ตามข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 (2) กระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (3) แจ้งข้อมูลหรือแสดงเอกสารอันเป็นเท็จให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ข้อ ๑๒ ใบรับรองผู้ฝึกอบรมจะถูกเพิกถอน ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) ถูกพักใช้ใบรับรองเกินสองครั้ง (2) ขาดคุณสมบัติตามคําขอใบรับรอง หมวด ๓ วิทยากร ----------------------------------------------- ข้อ ๑๓ วิทยากรมี 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ (1) วิทยากรน้ํามัน (2) วิทยากรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (3) วิทยากรก๊าซธรรมชาติ ข้อ ๑๔ แบบคําขอใบรับรอง แบบใบรับรอง แบบคําขอต่ออายุใบรับรอง แบบคําขอใบแทนใบรับรองแบบใบแทนใบรับรองวิทยากร ให้เป็นไปตามท้ายประกาศ ดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขอใบรับรองวิทยากร ให้ใช้แบบ ธพ.พ.1ว (2) แบบใบรับรองวิทยากร ให้ใช้แบบ ธพ.พ.2ว (3) แบบคําขอต่ออายุใบรับรองวิทยากร และแบบคําขอใบแทนใบรับรองวิทยากร ให้ใช้แบบ ธพ.พ.3ว (4) แบบใบแทนใบรับรองวิทยากร ให้ใช้แบบ ธพ.พ.2ว และเขียนหรือประทับตราความว่า “ใบแทน” ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบรับรอง ข้อ ๑๕ ในการยื่นคําขอใบรับรองตามข้อ 14 ให้ยื่นต่ออธิบดี พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กําหนด ข้อ ๑๖ วิทยากรมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) เตรียมแผนการสอนที่มีเนื้อหา สื่อการสอน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมแก่เนื้อหาที่จะทําการฝึกอบรมตามหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานที่อธิบดีประกาศกําหนดและรับรองตามประกาศนี้ (2) ดําเนินการฝึกอบรมให้เป็นไปตามหลักสูตรที่กําหนด (3) ทําการตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ข้อ ๑๗ ใบรับรองวิทยากรจะถูกพักใช้ เมื่อกระทําการละเว้นหน้าที่ ตามข้อ 16 ข้อ ๑๘ ใบรับรองวิทยากรจะถูกเพิกถอน เมื่อกระทําความผิด ดังต่อไปนี้ (1) ถูกพักใช้ใบรับรองเกินสองครั้ง (2) ขาดคุณสมบัติตามคําขอใบรับรอง หมวด ๔ ผู้ปฏิบัติงาน ------------------------------------- ข้อ ๑๙ ผู้ปฏิบัติงาน มี 13 ประเภท ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งน้ํามันประเภทรถขนส่งน้ํามัน (2) ผู้ปฏิบัติงานคลังน้ํามันและระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ (3) ผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการน้ํามัน (4) ผู้ปฏิบัติงานสถานที่เก็บรักษาน้ํามัน (5) ผู้ปฏิบัติงานสถานีบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว (6) ผู้ปฏิบัติงานสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (7) ผู้ปฏิบัติงานร้านจําหน่ายและโรงเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว (8) ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเฉพาะพนักงานรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติ (9) ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเฉพาะพนักงานประจํารถ (10) ผู้ปฏิบัติงานคลังก๊าซธรรมชาติ (11) ผู้ปฏิบัติงานสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (12) ผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (13) ผู้ปฏิบัติงานระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ข้อ ๒๐ แบบคําขอรับบัตรประจําตัว แบบบัตรประจําตัว แบบคําขอต่ออายุบัตรประจําตัวแบบคําขอใบแทนบัตรประจําตัว แบบใบแทนบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงานของการประกอบกิจการตามที่กําหนดในข้อ 2 ให้เป็นไปตามท้ายประกาศ ดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขอรับบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงาน ให้ใช้แบบ ธพ.พ.1ผ (2) แบบบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงาน ให้ใช้แบบ ธพ.พ.2ผ (3) แบบคําขอต่ออายุบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงาน และแบบคําขอใบแทนบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงานให้ใช้แบบ ธพ.พ.3ผ (4) แบบใบแทนบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงาน ให้ใช้แบบ ธพ.พ.2ผ แต่ทั้งนี้ การกําหนดอายุบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงาน ต้องไม่เกินระยะเวลาที่ได้กําหนดไว้ในบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงานเดิม แบบบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงานตาม (2) ให้จัดทําด้วยกระดาษหรือพลาสติก ข้อ ๒๑ ในการยื่นคําขอรับบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงาน ตามข้อ 20 ให้ยื่นต่ออธิบดีพร้อมด้วยเอกสา ข้อ ๒๒ ผู้ปฏิบัติงานตามข้อ 19 จะปฏิบัติงานได้เฉพาะในกิจการควบคุม ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งน้ํามันประเภทรถขนส่งน้ํามัน ให้ปฏิบัติงานในกิจการถังขนส่งน้ํามัน (2) ผู้ปฏิบัติงานคลังน้ํามันและระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อให้ปฏิบัติงานในกิจการคลังน้ํามันและระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ (3) ผู้ปฏิบัติงานสถานที่เก็บรักษาน้ํามัน ให้ปฏิบัติงานในกิจการสถานที่เก็บรักษาน้ํามันลักษณะที่สาม (4) ผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการน้ํามัน ให้ปฏิบัติงานในกิจการสถานีบริการน้ํามันประเภท กสถานีบริการน้ํามันประเภท ข สถานีบริการน้ํามันประเภท ค ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ํามันประเภท จ ลักษณะที่สอง และสถานีบริการน้ํามันประเภท ฉ (5) ผู้ปฏิบัติงานสถานีบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้ปฏิบัติงานในกิจการถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว และระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ (6) ผู้ปฏิบัติงานสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้ปฏิบัติงานในกิจการสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม (7) ผู้ปฏิบัติงานร้านจําหน่ายและโรงเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้ปฏิบัติงานในกิจการสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจําหน่าย ลักษณะที่สอง และสถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ ลักษณะที่สอง (8) ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเฉพาะพนักงานรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติ ให้ปฏิบัติงานในกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ (9) ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเฉพาะพนักงานประจํารถ ให้ปฏิบัติงานในกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ (10) ผู้ปฏิบัติงานคลังก๊าซธรรมชาติ ให้ปฏิบัติงานในกิจการคลังก๊าซธรรมชาติ (11) ผู้ปฏิบัติงานสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ให้ปฏิบัติงานในกิจการสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (12) ผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ให้ปฏิบัติงานในกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (13) ผู้ปฏิบัติงานระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ให้ปฏิบัติงานในกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ผู้ปฏิบัติงานในกิจการควบคุมที่กําหนดตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้เกิดความปลอดภัยในการเก็บรักษา การขนส่ง การใช้ การจําหน่าย การแบ่งบรรจุน้ํามันเชื้อเพลิง และการตรวจสอบระบบการทํางานของถังหรือภาชนะ ระบบท่อและอุปกรณ์ รวมถึงเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี ตลอดเวลาที่มีการประกอบกิจการ และถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมแก่บุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้องในกิจการที่ตนปฏิบัติงาน ข้อ ๒๓ บัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงานจะถูกพักใช้คราวละไม่เกินสามสิบวัน ในกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงหรือกระทําการใดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานโดยประมาทที่ก่อให้เกิดอุบัติภัย ข้อ ๒๔ บัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงานจะถูกเพิกถอน เมื่อผู้ปฏิบัติงานกระทําความผิดดังต่อไปนี้ (1) ขาดคุณสมบัติตามคําขอรับการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน (2) ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกพักใช้บัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงานสองครั้งภายในหนึ่งปี (3) กระทําการใดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่ก่อให้เกิดอุบัติภัย หมวด ๕ หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน ----------------------------------------- ข้อ ๒๕ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน มี 13 หลักสูตร ดังต่อไปนี้ (1) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งน้ํามันประเภทรถขนส่งน้ํามัน (2) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานคลังน้ํามันและระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ (3) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการน้ํามัน (4) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานสถานที่เก็บรักษาน้ํามัน (5) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานสถานีบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว (6) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (7) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานร้านจําหน่ายและโรงเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว (8) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเฉพาะพนักงานรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติ (9) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเฉพาะพนักงานประจํารถ (10) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานคลังก๊าซธรรมชาติ (11) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (12) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (13) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงานระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒๖ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้ปฏิบัติงาน ต้องผ่านเกณฑ์ประเมิน ดังต่อไปนี้ (1) เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (2) ผ่านการประเมินผลการสอบภาคทฤษฎี ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 (3) ผ่านการประเมินผลภาคปฏิบัติ การประเมินผลตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําโดยอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ปฏิบัติงานที่จะเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงใหม่ต้องเป็นผู้ที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้ปฏิบัติงาน และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กําหนด ข้อ ๒๘ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ต้องผ่านเกณฑ์ประเมินตามที่กําหนดในข้อ 26 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 วิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. คําขอใบรับรองผู้ฝึกอบรม (แบบ ธพ.พ.1อ) 2. ใบรับรองผู้ฝึกอบรม (แบบ ธพ.พ.2อ) 3. คําขอ/ต่ออายุ/ใบแทนใบรับรองผู้ฝึกอบรม (แบบ ธพ.พ.3อ) 4. คําขอใบรับรองวิทยากร (แบบ ธพ.พ.1ว) 5. ใบรับรองวิทยากร (แบบ ธพ.พ.2ว) 6. คําขอ/ต่ออายุ/ใบแทนใบรับรองวิทยากร (แบบ ธพ.พ.3ว) 7. คําขอรับบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงาน (แบบ ธพ.พ.1ผ) 8. แบบบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงาน (แบบ ธพ.พ.2ผ) 9. คําขอ/ต่ออายุ/ใบแทนบัตรประจําตัวผู้ปฏิบัติงาน (แบบ ธพ.พ.3ผ) 10. หลักสูตรที่ 1 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน ถังขนส่งน้ํามันประเภทรถขนส่งน้ํามัน 11. หลักสูตรที่ 2 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน คลังน้ํามัน และระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ 12. หลักสูตรที่ 3 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน สถานีบริการน้ํามัน 13. หลักสูตรที่ 4 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน สถานที่เก็บรักษาน้ํามัน 14. หลักสูตรที่ 5 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน สถานีบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว 15. หลักสูตรที่ 6 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 16. หลักสูตรที่ 7 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน ร้านจําหน่ายและโรงเก็บก๊าซปิโตรเลียมเหลว 17. หลักสูตรที่ 8 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเฉพาะพนักงานรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติ 18. หลักสูตรที่ 9 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเฉพาะพนักงานประจํารถ 19. หลักสูตรที่ 10 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน คลังก๊าซธรรมชาติ 20. หลักสูตรที่ 11 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ 21. หลักสูตรที่ 12 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ 22. หลักสูตรที่ 13 หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,279
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 15/2551 เรื่อง ห้ามขายสินค้าภาชนะสำหรับปรุงหรือบรรจุอาหารที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อ
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 15/2551 เรื่อง ห้ามขายสินค้าภาชนะสําหรับปรุงหรือบรรจุอาหารที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อ -------------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกคําสั่งที่ 13/2550 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 ห้ามขายสินค้าภาชนะสําหรับปรุงหรือบรรจุอาหารที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อ เนื่องจากมีเหตุน่าเชื่อว่าสินค้าดังกล่าวอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้มีการทดสอบหรือพิสูจน์ให้ปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวนั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2551 แล้ว มีความเห็นว่า มีเหตุอันน่าเชื่อว่าสินค้าภาชนะสําหรับปรุงหรือบรรจุอาหารที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อเป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และเป็นกรณีไม่อาจป้องกันอันตรายที่เกิดจากสินค้านั้นได้ โดยการกําหนดฉลากตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 หรือตามกฎหมายอื่น จึงมีมติให้มีคําสั่งห้ามขายสินค้าภาชนะสําหรับปรุงหรือบรรจุอาหารที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อเป็นการถาวร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 13/2550 เรื่อง ห้ามขายสินค้าภาชนะสําหรับปรุงหรือบรรจุอาหารที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อเป็นการชั่วคราว ข้อ ๒ ห้ามขายสินค้าภาชนะสําหรับปรุงหรือบรรจุอาหารที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,280
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 14/2551เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ำหรือท่อส่งน้ำ
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 14/2551 เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องทําน้ําเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ําหรือท่อส่งน้ํา --------------------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกคําสั่งที่ 10/2550 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2550 ห้ามขายสินค้าเครื่องทําน้ําเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ําหรือท่อส่งน้ํา เนื่องจากมีเหตุน่าเชื่อว่าสินค้าดังกล่าวอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้มีการทดสอบหรือพิสูจน์ให้ปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวนั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2551 แล้ว มีความเห็นว่า มีเหตุอันน่าเชื่อว่าสินค้าเครื่องทําน้ําเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ําหรือท่อส่งน้ําเป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และเป็นกรณีไม่อาจป้องกันอันตรายที่เกิดจากสินค้านั้นได้ โดยการกําหนดฉลากตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 หรือตามกฎหมายอื่น จึงมีมติให้มีคําสั่งห้ามขายสินค้าเครื่องทําน้ําเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ําหรือท่อส่งน้ําเป็นการถาวร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 10/2550 เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องทําน้ําเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ําหรือท่อส่งน้ําเป็นการชั่วคราว ข้อ ๒ ห้ามขายสินค้าเครื่องทําน้ําเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ําหรือท่อส่งน้ํา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,281
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 11/2550 เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องเล่นล่องแก่ง ชื่อ “อินเดียน่า ล็อก” (Indiana Log) ในสวนสยามเป็นการชั่วคราว
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 11/2550 เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องเล่นล่องแก่ง ชื่อ “อินเดียน่า ล็อก” (Indiana Log) ในสวนสยามเป็นการชั่วคราว -------------------------------------------------- ด้วยปรากฏว่าเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2550 มีผู้บริโภคได้ไปใช้บริการเครื่องเล่นล่องแก่ง ชื่อ “อินเดียน่า ล็อก” (Indiana Log) ในสวนสยามแล้วได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับเครื่องเล่นดังกล่าว โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้บริการนั้น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการประชุมครั้งที่ 7/2550 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า มีเหตุอันน่าเชื่อว่าสินค้าเครื่องเล่นล่องแก่ง ชื่อ “อินเดียน่า ล็อก” (Indiana Log) ในสวนสยามเป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค จึงมีความจําเป็นและเร่งด่วนที่จะป้องกันอันตรายและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าชนิดนี้ ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ (1) ห้ามขายสินค้าเครื่องเล่นล่องแก่ง ชื่อ “อินเดียน่า ล็อก” (Indiana Log) ในสวนสยามเป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีคําสั่งยกเลิก ทั้งนี้ ให้รวมถึงการให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนเพื่อการดังกล่าว (2) ให้ผู้ประกอบธุรกิจทําการติดต่อกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด เพื่อดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าสินค้านั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ โดยให้ดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ให้สามารถรู้ผลได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คําสั่งนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,282
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2550 เรื่อง ห้ามขายสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคเป็นการชั่วคราว
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2550 เรื่อง ห้ามขายสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคเป็นการชั่วคราว ---------------------------------------------- ด้วยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พบว่า สารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคที่สถานพยาบาลนํามาฉีดเข้าส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้กับบุคคลทั่วไปนั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ และมีประชาชนได้รับความเสียหายจากการใช้สารดังกล่าวเป็นจํานวนมาก ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นมักเป็นความเสียหายอย่างถาวรซึ่งแก้ไขได้ยากและในบางกรณีไม่สามารถแก้ไขได้ โดยสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคที่ผลิตใช้ฉีดหรือนําเข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้คนไข้เป็นการผลิตวัสดุขึ้นเองและเป็นวิธีที่ไม่เคยผ่านกระบวนการวิจัยอย่างถูกขั้นตอนตามหลักวิชาการทางการแพทย์ เป็นวิธีที่ยังไม่ได้มีการกําหนดเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ในประเทศไทยและสารดัดแปลงนั้น ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียแก่คนในระยะยาวและยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา คณะกรรมการบริหารสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทยได้มีมติขอให้แพทย์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ระงับการฉีดสารเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยด้วยวิธีไบโอเทคนิค รวมทั้งระงับการแนะนําให้แพทย์อื่นฉีดให้คนไข้ไว้ก่อนจนกว่าจะมีหลักฐานหรือข้อมูลใหม่ที่ทําให้พิสูจน์ได้ว่าจะไม่ทําอันตรายและความเสียหายให้แก่คนไข้ และสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทยพบว่าจากการสอบถามแพทย์ที่เป็นสมาชิกเพียง 9 คน มีสถิติคนไข้จํานวนมากรวม 79 คน มีปัญหาจากการได้รับการฉีดสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิค นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยก็ได้มีมติว่าวิธีไบโอเทคนิคเป็นวิธีที่ยังไม่ได้มีการกําหนดเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ในประเทศไทย และทําให้เกิดปัญหาทางจริยธรรม เมื่อมีการนําวิธีการนี้ไปดําเนินการโดยไม่ได้ผ่านกระบวนการวิจัยอย่างถูกขั้นตอนที่กําหนดขึ้นโดยแพทย์สภา คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการประชุมครั้งที่ 5/2550 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2550 และครั้งที่ 6/2550 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2550 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุอันน่าเชื่อได้ว่าสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคเป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และมีความจําเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องป้องกันอันตรายและคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าชนิดนี้ ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ 1. ห้ามขายสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคเป็นการชั่วคราวจนกว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีคําสั่งยกเลิก ทั้งนี้ ให้รวมถึงการจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนเพื่อการดังกล่าวด้วย 2. ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคทําการติดต่อกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็วที่สุดเพื่อดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าสินค้านั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ โดยให้ดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ให้สามารถรู้ผลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,283
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 4/2550 เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องเล่นฉีดน้ำที่มีลักษณะเป็นกระบอกสูบ และใช้แรงอัดกระแทกน้ำในกระบอกสูบโดยตรง
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 4/2550 เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องเล่นฉีดน้ําที่มีลักษณะเป็นกระบอกสูบ และใช้แรงอัดกระแทกน้ําในกระบอกสูบโดยตรง ------------------------------------------------------------ ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกคําสั่งที่ 1/2546 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2546 ห้ามขายสินค้าเครื่องเล่นฉีดน้ําที่มีลักษณะเป็นกระบอกสูบและใช้แรงอัดกระแทกน้ําในกระบอกสูบโดยตรงเนื่องจากมีเหตุน่าเชื่อว่าสินค้าดังกล่าวอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการทดสอบหรือพิสูจน์ให้ปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวนั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค นั้น ต่อมาได้มีการดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์โดยผู้ประกอบธุรกิจและคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ปรากฏว่าสินค้านั้นอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นว่ากรณีไม่อาจป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากสินค้านั้นได้โดยการกําหนดฉลากตามมาตรา 30 หรือตามกฎหมายอื่น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคออกคําสั่งไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1/2546 เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องเล่นฉีดน้ําที่มีลักษณะเป็นกระบอกสูบและใช้แรงอัดกระแทกน้ําในกระบอกสูบโดยตรงเป็นการชั่วคราว ข้อ ๒ ห้ามขายสินค้าเครื่องเล่นฉีดน้ําที่มีลักษณะเป็นกระบอกสูบและใช้แรงอัดกระแทกน้ําในกระบอกสูบโดยตรง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,284
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจัดทำรายงาน และการออกใบรับรองให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลดติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2557
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน และการออกใบรับรองให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2557 ------------------------------------------------- อํานาจตามความในข้อ 8 แห่งประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การกําหนดประเภทและขนาดของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556 และข้อ 5 แห่งประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ออกตามความในกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติ ของผู้มีสิทธิจัดทํารายงานและการออกใบรับรองให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2557” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน” หมายความว่า ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ “ใบรับรอง” หมายความว่า ใบรับรองให้เป็นผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ข้อ ๔ ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษาวิจัย และให้คําปรึกษาทางวิชาการ หรือเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัย ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย (2) ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบรับรองตามข้อ 16 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) เว้นแต่ระยะเวลาได้ล่วงพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบรับรอง (3) ต้องจัดให้มีบุคลากร ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ชํานาญการอย่างน้อยหนึ่งคน ซึ่งอยู่ประจําเพื่อทําหน้าที่รับผิดชอบในการทํารายงานโดยผู้ชํานาญการดังกล่าวต้องสําเร็จการศึกษาขั้นต่ําในระดับอุดมศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์สาขาสิ่งแวดล้อม สาขานิเวศน์วิทยา หรือสาขาสุขาภิบาล หรือวิชาวิศวกรรมศาสตร์สาขาสิ่งแวดล้อม หรือสาขาสุขาภิบาล หรือวิชาเศรษฐศาสตร์สาขาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม และต้องมีประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่าสามปี หรือไม่น้อยกว่าสามโครงการ และต้องไม่เคยมีส่วนร่วมในการทํารายงานส่วนที่เป็นเท็จ เว้นแต่ระยะเวลาได้ล่วงพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามปี นับแต่วันที่ผู้ได้รับใบรับรองซึ่งตนเคยเป็นผู้มีส่วนร่วมในการทํารายงานส่วนที่เป็นเท็จถูกสั่งเพิกถอนใบรับรอง (ข) เจ้าหน้าที่อย่างน้อยสามคน ซึ่งอยู่ประจําเพื่อร่วมในการทํารายงาน โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องสําเร็จการศึกษาขั้นต่ําในระดับอุดมศึกษาในวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และต้องไม่เคยมีส่วนร่วมในการทํารายงานส่วนที่เป็นเท็จ เว้นแต่ระยะเวลาได้ล่วงพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับใบรับรองซึ่งตนเคยเป็นผู้มีส่วนร่วมในการทํารายงานส่วนที่เป็นเท็จถูกสั่งเพิกถอนใบรับรอง ข้อ ๕ การขอรับใบรับรอง ให้ยื่นคําขอต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย พร้อมด้วยหลักฐานและระบุชื่อ อายุ ที่อยู่ การศึกษาและประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของผู้ชํานาญการและเจ้าหน้าที่ซึ่งผู้ขอรับใบรับรองต้องจัดให้มีตามข้อ 4 (3) ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานต้องได้รับใบรับรองจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายก่อน จึงจะสามารถดําเนินการจัดทํารายงานดังกล่าวได้ แบบคําขอรับใบรับรองและใบรับรองให้ใช้ตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ใบรับรองให้มีอายุสามปีนับแต่วันที่ออกใบรับรอง ในการออกใบรับรอง กรมธุรกิจพลังงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ได้รับใบรับรองจะต้องปฏิบัติตามที่เห็นสมควรก็ได้ ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ให้ยื่นแบบคําขอรับใบรับรองใหม่พร้อมด้วยเอกสารประกอบคําขอต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ภายในหกสิบวันก่อนวันที่ใบรับรองสิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคําขอรับใบรับรองแล้ว ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขออยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ข้อ ๘ ในกรณีที่ใบรับรองสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญในลักษณะที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความถูกต้องของใบรับรองได้ ให้ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานยื่นคําขอรับใบแทนใบรับรองต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดเสียหาย พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคําขอรับใบแทนใบรับรองท้ายประกาศนี้ ใบแทนใบรับรองให้ใช้แบบใบรับรองและเขียนหรือประทับตราความว่า “ใบแทน” ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบรับรอง และให้ระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายกํากับไว้ด้วย ข้อ ๙ ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานที่ประสงค์จะยกเลิกกิจการ ให้ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานแจ้งเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในใบรับรองให้แจ้งเป็นหนังสือ พร้อมใบรับรองฉบับเดิมหรือใบแทนใบรับรอง และเอกสารที่เกี่ยวข้องต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในใบรับรอง ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายละเอียดของเอกสารที่ได้จัดส่งต่อกรมธุรกิจพลังงาน เช่น สําเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิ เป็นต้น ให้แจ้งเป็นหนังสือ พร้อมแนบเอกสารที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมดังกล่าวต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายละเอียดดังกล่าว ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิจัดทํา รายงานมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมผู้ชํานาญการหรือเจ้าหน้าที่ ให้ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานแจ้งเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ผู้ชํานาญการหรือเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ไม่สามารถร่วมจัดทํารายงานได้จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน ข้อ ๑๓ หากการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมผู้ชํานาญการหรือเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 12 เนื่องมาจากผู้มีสิทธิจัดทํารายงานขาดคุณสมบัติที่กําหนดไว้ในข้อ 4 (3) ให้ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานดังกล่าวหยุดทํารายงานจนกว่าจะดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ให้ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานตามวรรคหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏเหตุที่ทําให้ขาดคุณสมบัติ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็น กรมธุรกิจพลังงานมีอํานาจผ่อนผันให้ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานตามวรรคหนึ่ง ทํารายงานในระหว่างดําเนินการแก้ไขเกี่ยวกับคุณสมบัติได้ ในการนี้จะกําหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๑๔ รายงานด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ต้องมีลายมือชื่อผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลตามข้อ 4 (1) กับลายมือชื่อผู้ชํานาญการซึ่งอยู่ประจําตามข้อ 4 (3) (ก) และมีหน้าที่รับผิดชอบในการทํารายงานอย่างน้อยหนึ่งคน กับลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ของผู้มีสิทธิจัดทํารายงานซึ่งประจําตามข้อ 4 (3) (ข) และมีส่วนร่วมในการทํารายงานอย่างน้อยสามคน รวมทั้งให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ใบรับรองของผู้มีสิทธิจัดทํารายงานไว้ในรายงานดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๕ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมีอํานาจสั่งพักใช้ใบรับรองของผู้มีสิทธิจัดทํารายงานได้ไม่เกินหนึ่งปี เมื่อปรากฏว่า (1) ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ทํารายงานด้วยความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย (2) ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ยินยอมให้ผู้ชํานาญการ หรือเจ้าหน้าที่ของผู้มีสิทธิจัดทํารายงานอื่นซึ่งถูกเพิกถอนใบรับรอง เพราะทํารายงานอันเป็นเท็จหรือมีส่วนร่วมในการทํารายงานส่วนที่เป็นเท็จมาทํารายงาน (3) ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในใบรับรอง ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบรับรอง ต้องหยุดทํารายงานนับแต่วันที่ถูกสั่งพักใช้ใบรับรอง ข้อ ๑๖ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนใบรับรองของผู้มีสิทธิจัดทํารายงานได้ เมื่อปรากฏว่า (1) ผู้มีสิทธิจัดทํารายงานขาดคุณสมบัติตามข้อ 4 (2) ข้อความในคําขอรับใบรับรอง ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญในการขอรับใบรับรอง ไม่ตรงกับความจริงทั้งหมดหรือบางส่วน (3) ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบรับรอง ตามข้อ 15 มาแล้ว และได้กระทําตามข้อ 15 (1) หรือ 15 (2) หรือ 15 (3) ข้อหนึ่งข้อใดอีก (4) ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ทํารายงานอันเป็นเท็จ (5) ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ (6) ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในใบรับรอง ในกรณีที่เงื่อนไขในใบรับรอง นั้น ได้ระบุว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเป็นเหตุให้เพิกถอนใบรับรองได้ ผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบรับรอง ต้องหยุดทํารายงานนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบรับรอง ข้อ ๑๗ หากผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ถูกสั่งพักใช้ใบรับรองตามข้อ 15 หรือถูกสั่งเพิกถอนใบรับรองตามข้อ 16 หากการกระทําผิดดังกล่าว เกี่ยวข้องกับผู้ชํานาญการหรือเจ้าหน้าที่ของผู้มีสิทธิจัดทํารายงานซึ่งปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายมีอํานาจสั่งพักการดําเนินการของผู้ชํานาญการหรือเจ้าหน้าที่นั้นได้ไม่เกินสามปี และหากเป็นกรณีที่ทําให้ราชการเสียหายร้ายแรง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายมีอํานาจสั่งเพิกถอนสิทธิการเป็นผู้ชํานาญการหรือเจ้าหน้าที่ตลอดชีวิตและแจ้งสภาวิศวกรเพื่อทราบต่อไปด้วย ในกรณีที่มีการสั่งเพิกถอนใบรับรอง ตามข้อ 16 (4) ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานระบุชื่อของผู้ชํานาญการและเจ้าหน้าที่ซึ่งมีส่วนร่วมในการทํารายงานในส่วนที่เป็นเท็จของผู้มีสิทธิจัดทํารายงาน ซึ่งทํารายงานอันเป็นเท็จไว้ในคําสั่งเพิกถอนใบรับรองนั้นด้วย ข้อ ๑๘ สําหรับระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อใด ๆ ผู้จัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อมและผู้จัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะต้องไม่เป็นรายเดียวกัน หรือไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 สมนึก บํารุงสาลี อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. คําขอรับใบรับรองเป็นผู้มีสิทธิจัดทํารายงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ (แบบ ธพ.ช.1 ท-ส) 2. ใบรับรองเป็นผู้มีสิทธิจัดทํารายงานด้านสิ่งแวดล้อมระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ (แบบ ธพ.ช.2 ท-ส1) 3. ใบรับรองเป็นผู้มีสิทธิจัดทํารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตามและตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ (แบบ ธพ.ช.2 ท-ส2) 4. คําขอรับใบแทนใบรับรองเป็นผู้มีสิทธิจัดทํารายงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ (แบบ ธพ.ช.6 ท-ส) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,285
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2548 เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ลูกโป่งวิทยาศาสตร์” หรือ “ลูกโป่งพลาสติก” หรือ “Blowing balloon”
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2548 เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ลูกโป่งวิทยาศาสตร์” หรือ “ลูกโป่งพลาสติก” หรือ “Blowing balloon” ---------------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาเห็นว่า สินค้าที่เรียกกันว่า “ลูกโป่งวิทยาศาสตร์” หรือ “ลูกโป่งพลาสติก” หรือ “Blowing balloon” อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก จึงได้อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ออกคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 3/2535 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535 ห้ามขายสินค้าดังกล่าวเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคําสั่งยกเลิกและให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายซึ่งสินค้าดังกล่าวติดต่อกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด เพื่อการดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ว่าสินค้าดังกล่าวนั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค โดยให้ดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ให้สามารถรู้ผลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั้น สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ตรวจสอบพบว่า นับตั้งแต่ได้มีคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 3/2535 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535 เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ลูกโป่งวิทยาศาสตร์” หรือ “ลูกโป่งพลาสติก” หรือ “Blowing balloon” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ยังไม่มีผู้ประกอบธุรกิจรายใดติดต่อกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อขอดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ว่าสินค้าดังกล่าวไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้ส่งตัวอย่างสินค้าที่ตรวจพบไปให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ดําเนินการตรวจสอบวิเคราะห์ส่วนประกอบของสินค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผลการตรวจวิเคราะห์ พบสารเอทิลอาซีเทต ซึ่งจัดเป็นสารระเหยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2538) เรื่อง กําหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือขนาดบรรจุของสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์เป็นสารระเหย ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2538 และตามประกาศดังกล่าวได้กําหนดให้ลูกโป่งวิทยาศาสตร์หรือลูกโป่งพลาสติก (Blowing balloon) เป็นสารระเหยซึ่งสารระเหยจัดว่าเป็นยาเสพติดตามพระราชกําหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 การสูดดมสารระเหยทําให้เกิดอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายจนอาจทําให้ถึงแก่ชีวิตได้ ประกอบกับลักษณะการเล่นของเด็กเล็ก ในขณะที่เป่าสินค้าดังกล่าวให้เป็นลูกโป่ง ต้องมีการสูดลมหายใจเข้าออกหลายครั้งทําให้เด็กเล็กต้องสูดดมสารระเหยซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2548 แล้ว มีความเห็นว่า สินค้าที่เรียกกันว่า “ลูกโป่งวิทยาศาสตร์” หรือ “ลูกโป่งพลาสติก” หรือ “Blowing balloon” เป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2538) เรื่อง กําหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือขนาดบรรจุของสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์เป็นสารระเหย ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ได้กําหนดให้ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ หรือลูกโป่งพลาสติก (Blowing balloon) เป็นสารระเหย ซึ่งได้มีการควบคุมเกี่ยวกับการจําหน่าย ประกอบกับสินค้าดังกล่าวไม่ใช่ของเล่นที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มเด็กเล็ก จึงมีมติว่า สมควรมีคําสั่งห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ลูกโป่งวิทยาศาสตร์” หรือ “ลูกโป่งพลาสติก” หรือ “Blowing balloon” เป็นการถาวร ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ 1. ให้ยกเลิกคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 3/2535 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535 เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ลูกโป่งวิทยาศาสตร์” หรือ “ลูกโป่งพลาสติก” หรือ “Blowing balloon” เป็นการชั่วคราว 2. ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ลูกโป่งวิทยาศาสตร์” หรือ “ลูกโป่งพลาสติก” หรือ “Blowing balloon” เป็นการถาวร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2548 สุชัย เจริญรัตนกุล รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,286
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 8/2540 เรื่อง ยกเลิกการห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ P.P.B.
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 8/2540 เรื่อง ยกเลิกการห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ P.P.B. ---------------------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ใช้อํานาจตามมาตรา 36 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ออกคําสั่ง ที่ 2/2537 เรื่อง ห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA เป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2537 โดยเห็นว่าสีเทียนดังกล่าวมีปริมาณของโลหะตะกั่ว และโลหะโครเมี่ยมเกินเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีเทียน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ และให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสีเทียน ยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA ติดต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์ว่าสินค้าสีเทียนดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และต่อมาได้ออกคําสั่ง ที่ 10/2539 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 แก้ไขคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 2/2537 โดยยกเลิกการห้ามการขายสีเทียนยี่ห้อ NA KAK SUA แล้ว นั้น บัดนี้ ผู้ผลิตสีเทียนยี่ห้อ P.P.B. ได้ติดต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สีเทียนยี่ห้อ P.P.B. NON TOXIC ซึ่งปรับปรุงจากสีเทียนยี่ห้อ P.P.B. แล้วผลปรากฏว่า สีเทียนดังกล่าวมีปริมาณโลหะตะกั่วและโลหะโครเมี่ยมไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีเทียน ฉะนั้น จึงมีเหตุน่าเชื่อว่าสีเทียนยี่ห้อ P.P.B. ที่มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่เป็นยี่ห้อ P.P.B. NON TOXIC นี้ จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคต่อไป อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 5/2540 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2540 จึงมีคําสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 2/2537 เรื่อง ห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA เป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2537 และคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 10/2539 เรื่อง ยกเลิกการห้ามขายสีเทียน ยี่ห้อ NA KAK SUA ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 โดยให้ยกเลิกการห้ามขายสีเทียน ยี่ห้อ P.P.B. ที่ผลิตตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับเป็นต้นไปเสีย เพิ่มเติมอีกยี่ห้อหนึ่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2540 สมัคร สุนทรเวช รองนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,287
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 10/2539 เรื่อง ยกเลิกการห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ NA KAK SUA
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 10/2539 เรื่อง ยกเลิกการห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ NA KAK SUA -------------------------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ใช้อํานาจตามมาตรา 36 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ออกคําสั่งห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA เป็นการชั่วคราว ตามคําสั่ง ที่ 2/2537 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2537 โดยเห็นว่าสีเทียนดังกล่าวมีปริมาณของโลหะตะกั่ว และโลหะโครเมี่ยมเกินเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีเทียน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ และให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสีเทียน ยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA ติดต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์ว่าสินค้าสีเทียนดังกล่าวไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค นั้ บัดนี้ ผู้ผลิตสีเทียนยี่ห้อ NA KAK SUA ได้ติดต่อสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สีเทียนยี่ห้อ NA KAK SUA NON TOXIC ซึ่งปรับปรุงจากสีเทียนยี่ห้อ NA KAK SUA แล้ว ผลปรากฏว่าสีเทียนดังกล่าวมีปริมาณโลหะตะกั่วและโลหะโครเมี่ยมไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีเทียน ฉะนั้น จึงมีเหตุน่าเชื่อว่าสีเทียนยี่ห้อ NA KAK SUA ที่มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่เป็นยี่ห้อ NA KAK SUA NON TOXIC นี้ จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคต่อไป อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในการประชุมครั้งที่ 5/2539 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2539 จึงมีคําสั่งให้แก้ไขคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 2/2537 เรื่อง ห้ามขายสีเทียนยี่ห้อ LOVE GUITAR ยี่ห้อ funPax ยี่ห้อ P.P.B. และยี่ห้อ NA KAK SUA เป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2537 โดยให้ยกเลิกการห้ามขายสีเทียนเฉพาะยี่ห้อ NA KAK SUA ที่ผลิตตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลบังคับเป็นต้นไป เสีย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 สมัคร สุนทรเวช รองนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,288
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 06/2529 เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องต้มน้ำไฟฟ้าที่ทำให้น้ำร้อนโดยผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในน้ำโดยตรง หรือเครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแบบขั้วเปลือย1
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 06/2529 เรื่อง ห้ามขายสินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าที่ทําให้น้ําร้อนโดยผ่าน กระแสไฟฟ้าเข้าไปในน้ําโดยตรง หรือเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าแบบขั้วเปลือย1 --------------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้พิจารณาเห็นว่าสินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าที่ทําให้น้ําร้อนโดยผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในน้ําโดยตรง หรือ เครื่องต้มน้ําไฟฟ้าแบบขั้วเปลือย อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้ส่งสินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าดังกล่าวไปให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ทําการตรวจสอบแล้วเห็นว่าอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอันตรายจากสาเหตุของกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย ถ้าผู้ใช้บังเอิญเปิดฝาระหว่างการใช้งานและเสียบปลั๊กเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าไว้ หากถือจับวัตถุสื่อไฟฟ้าสัมผัสกับน้ําที่ต้ม เช่น ตักหรือคน หรือเทน้ําจากภาชนะโลหะลงไปในถ้วยหรือน้ําที่กําลังต้มนั้น กระแสไฟฟ้าจะวิ่งเข้าสู่ร่างกายและเป็นอันตรายทันที คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จึงได้ออกคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 2/2529 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2529 ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขายซึ่งสินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าที่ทําให้น้ําร้อนโดยผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในน้ําโดยตรงทําการติดต่อกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าสินค้านั้นเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคหรือไม่ ถ้าเป็นอันตรายจะเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด และจะมีวิธีป้องกันอย่างใดหรือไม่ ทั้งนี้ โดยให้ดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ให้สามารถรู้ผลได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศคําสั่ง และสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ประกาศคําสั่งดังกล่าวนี้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2529 พร้อมกันนั้นสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ส่งสินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าไปให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย แต่ปรากฏว่าไม่มีผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขายซึ่งสินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าที่ทําให้น้ําร้อนโดยผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในน้ําโดยตรง ดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าดังกล่าว ภายในกําหนดระยะเวลาหกสิบวัน ตามคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 2/2529 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2529 และถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จะได้ขยายระยะเวลาแจ้งการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าออกไปอีกชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวก็มิได้แจ้งผลการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าให้ทราบแต่อย่างใด คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 3/69-8/2529 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2529 แล้ว เห็นว่าจากผลการตรวจวิเคราะห์ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และผลการตรวจวิเคราะห์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แสดงว่าสินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าที่ทําให้น้ําร้อนโดยผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในน้ําโดยตรงหรือเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าแบบขั้วเปลือย เป็นสินค้าที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคจากสาเหตุของกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย แม้ว่าจะมีฉลากกํากับสินค้าวิธีใช้ไว้แล้วก็ตาม ก็ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงมีมติให้ออกคําสั่งห้ามขายสินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าที่ทําให้น้ําร้อนโดยผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในน้ําโดยตรง หรือเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าแบบขั้วเปลือย ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีคําสั่งห้ามขายสินค้าเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าที่ทําให้น้ําร้อนโดยผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในน้ําโดยตรง หรือเครื่องต้มน้ําไฟฟ้าแบบขั้วเปลือย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2529 ร้อยตํารวจโท ชาญ มนูธรรม รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,289
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อพ.ศ. 2554
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ พ.ศ. 2554 ---------------------------------------------------- เพื่อให้การประกอบกิจการขนส่งน้ํามันทางท่อเป็นไปด้วยความปลอดภัยและเป็นการป้องกันอันตรายต่อประชาชนและระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ จึงจําเป็นต้องกําหนดหลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 วรรคสี่ และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ พ.ศ. 2554” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ระบบการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงทางท่อ” หมายความว่า ระบบที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายน้ํามันเชื้อเพลิงจากอุปกรณ์วัดปริมาตรน้ํามันเชื้อเพลิงผ่านท่อขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงต้นทาง ไปยังอุปกรณ์วัดปริมาตรน้ํามันเชื้อเพลิงที่ปลายทางของระบบการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงซึ่งประกอบด้วยท่อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิง “ระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ” หมายความว่า ระบบการขนส่งน้ํามันเชื้อเพลิงทางท่อที่ใช้ในการขนส่งน้ํามัน “ผู้ประกอบกิจการ” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ “เครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ” หมายความว่า เครื่องหมายที่ผู้ประกอบกิจการจัดให้มีในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ ข้อ ๔ ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อที่มีแนวท่อขนส่งน้ํามันใต้พื้นดิน เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับระบบการขนส่งนํ้ามันทางท่อ รวมถึงชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) หลักเขตแสดงระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อต้องทําจากคอนกรีตเสริมเหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีความคงทนแข็งแรง โดยหลักเขตมีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร พื้นผิวและสีที่ใช้มีความทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดเซาะ พื้นผิวใช้สีเหลืองและตัวอักษรใช้สีดํา หลักเขตต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร และติดตั้งให้มีส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ทุกด้านมีข้อความว่า “เขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ” โดยติดตั้งที่แนวเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อทั้งสองด้านในตําแหน่งเดียวกัน และมีระยะห่างตามแนวเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อไม่เกิน 200 เมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 1 ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่ระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อตัดผ่านถนน ทางรถไฟ แม่น้ํา ลําคลอง ทะเล หรือที่ดินส่วนบุคคล ให้ติดตั้งหลักเขตบริเวณจุดตัดทั้งสองด้านด้วย (2) ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อต้องมีขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 40 x 60 เซนติเมตร ทําจากแผ่นโลหะหรือวัสดุอื่นที่มีความคงทนแข็งแรง พื้นผิวและสีที่ใช้มีความทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดเซาะ และให้มีตัวอักษรทั้งด้านหน้าและด้านหลังของป้ายคําเตือนที่แสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ข้อความว่า “คําเตือน” ความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร (ข) ข้อความว่า “เขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ” ความสูงไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร (ค) ข้อความว่า “ห้ามขุด เจาะ หรือกระทําการก่อสร้างใด ๆ กรณีฉุกเฉินโปรดติดต่อ” ความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร (ง) ชื่อผู้ประกอบกิจการและหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา ความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร (จ) ข้อความว่า “เขตระมัดระวัง..... เมตร” ความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร (ฉ) ข้อความว่า “การรื้อถอน ทําลาย ระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง” ความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร พื้นผิวใช้สีเหลืองและตัวอักษรใช้สีดํา ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 2 ท้ายประกาศนี้ ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อให้ติดตั้งบนเสาที่มีความคงทนแข็งแรงในตําแหน่งเดียวกับหลักเขตแสดงระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ โดยติดตั้งป้ายคําเตือนในแนวตั้งฉากกับแนวท่อ และให้ขอบด้านล่างของป้ายคําเตือนอยู่สูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร หรือให้สูงพ้นจากสิ่งกีดขวางโดยรอบเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อที่ทําการติดตั้งบริเวณแม่น้ํา ลําคลอง หรือทะเล ขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 120 x 240 เซนติเมตร และต้องมีข้อความตาม (ก) ความสูงไม่น้อยกว่า 18 เซนติเมตร ข้อความตาม (ข) ความสูงไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร ข้อความว่า “ห้ามขุดลอก ทอดสมอเรือ หรือกระทําการก่อสร้างใด ๆ กรณีฉุกเฉินโปรดติดต่อ” และข้อความตาม (ง) (จ) และ (ฉ) ความสูงไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร ดังตัวอย่างภาพประกอบที่ 3 ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ บริเวณป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อที่ทําการติดตั้งบริเวณ แม่น้ํา ลําคลอง ทะเล ต้องจัดให้มีเครื่องหมายตามที่กรมเจ้าท่ากําหนด ข้อ ๕ ในกรณีที่ไม่สามารถติดตั้งเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อในตําแหน่งที่กําหนดไว้ในข้อ 4 ให้ติดตั้งเฉพาะป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมทําการชี้บ่งตําแหน่งของท่อขนส่งน้ํามันและเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ ข้อ ๖ ในกรณีที่มีแนวท่อส่งน้ํามันใต้พื้นดินเกินกว่าหนึ่งแนวท่อ ต้องจัดให้มีป้ายแสดงภาพตัดแนวท่อส่งน้ํามันพร้อมระบุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละท่อและระยะห่างระหว่างท่อให้ชัดเจน โดยติดตั้งในบริเวณเดียวกับป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ ข้อ ๗ ในกรณีที่มีแนวท่อขนส่งน้ํามันเหนือพื้นดิน ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีการระบุชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อผู้ประกอบกิจการและหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา บนท่อขนส่งน้ํามันทุกระยะไม่เกินกว่า 200 เมตร ตลอดแนวท่อขนส่งน้ํามันเหนือพื้นดิน ทั้งนี้ ตัวอักษรมีความสูงไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร และสีที่ใช้มีความทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดเซาะ ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการต้องบํารุงรักษาเครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อให้มีสภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ ในกรณีที่เครื่องหมายดังกล่าวชํารุดหรือเสียหาย หรือข้อความลบเลือนในสาระสําคัญ ให้ดําเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า ข้อ ๙ เครื่องหมายแสดงในบริเวณเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ผู้ประกอบกิจการดําเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในระยะเวลาสามปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554 วีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. ตัวอย่างภาพประกอบที่ 1 หลักเขตแสดงระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ 2. ตัวอย่างภาพประกอบที่ 2 ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ 3. ตัวอย่างภาพประกอบที่ 3 ป้ายคําเตือนเขตระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อ ในกรณีที่ติดตั้งบริเวณแม่น้ํา ลําคลอง หรือทะเล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,290
คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2527 เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ำ” หรือ “ตัวดูดน้ำ”
คําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2527 เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ํา” หรือ “ตัวดูดน้ํา” -------------------------------------------------------- ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาเห็นว่า สินค้าที่เรียกกันว่า “ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ํา” หรือ “ตัวดูดน้ํา” อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เด็กได้ จึงได้อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ออกคําสั่งที่ 1/2526 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2526 ห้ามขายสินค้าดังกล่าวเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคําสั่งยกเลิก และให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่ง หรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ติดต่อกับสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อดําเนินการทดสอบหรือพิสูจน์เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่ง หรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าดังกล่าวได้ขอให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ดําเนินการตรวจวิเคราะห์เพื่อทดสอบพิสูจน์สินค้า ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ปรากฏตามรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แจ้งตามหนังสือที่ สธ 0505/71 ลงวันที่ 19 มกราคม 2527 สรุปได้ว่า สินค้าดังกล่าวสามารถพองตัวได้ในน้ําย่อยเทียม (ที่มีสภาพเช่นเดียวกับน้ําย่อยในกระเพาะและลําไส้ของมนุษย์) โดยสามารถพองตัวได้ภายในระยะเวลาตามสภาพการย่อยในร่างกายมนุษย์ได้ถึง 5 เท่า และยังคงมีลักษณะเหนียว ไม่แยกหรือแตกร่วน ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า สินค้าดังกล่าวนี้ ไม่ปรากฏว่ามีการย่อยตัว หากกลืนกินเข้าไป เป็นการผิดปกติต่อระบบการย่อยและการขับถ่าย ทําให้ลําไส้อุดตันได้ และในรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ ได้แสดงความเห็นไว้ด้วยว่า ของเล่นนี้ไม่น่าไว้วางใจในความปลอดภัย อาจมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ สมควรวางมาตรการป้องกัน และดังนั้น เมื่อผู้ประกอบธุรกิจไม่อาจนําทดสอบพิสูจน์เพื่อแสดงให้เห็นว่า สินค้าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้ประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งปริมาณสินค้าที่มีอยู่ในความครอบครองภายใน 15 วัน โดยได้ให้โอกาสแก่ผู้ประกอบธุรกิจในอันที่จะเสนอหลักฐานและวิธีการต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสินค้า เพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้ เพื่อประกอบการพิจารณาดําเนินการ ซึ่งมีผู้ประกอบธุรกิจแจ้งปริมาณสินค้าที่มีอยู่ในความครอบครองจํานวน 34 ราย รวม 126,300 ตัว พร้อมทั้งได้เสนอมาตรการป้องกันอันตรายโดยวิธีการให้กําหนดสินค้าควบคุมฉลาก และได้กล่าวอ้างว่า สินค้าที่เรียกกันว่า “ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ํา” หรือ “ตัวดูดน้ํา” นี้ มีจําหน่ายแพร่หลายในต่างประเทศหลายประเทศ ก็ได้ใช้วิธีกําหนดให้มีฉลากกํากับสินค้าเช่นกัน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 49-8/2527 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2527 แล้วมีความเห็นว่า สินค้าที่เรียกกันว่า “ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ํา” หรือ “ตัวดูดน้ํา” เป็นสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะแก่เด็กเล็ก แม้ในต่างประเทศหลายประเทศ จะยอมให้มีการจําหน่ายสินค้าดังกล่าวโดยมีฉลากกํากับได้ก็ตาม แต่ตามสภาพของประเทศไทยในปัจจุบัน การให้ความสนใจหรือความสําคัญแก่ฉลากกํากับสินค้าของผู้บริโภคยังมีน้อย ดังนั้น แม้ว่าจะกําหนดให้เป็นสินค้าควบคุมฉลากและกําหนดให้ฉลากแสดงคําเตือนวิธีใช้ และวัตถุประสงค์ของสินค้าอย่างถูกต้องเพียงพอ ก็ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้านี้เป็นสินค้าประเภทของเด็กเล่น ผู้ใช้สินค้าเป็นแต่เพียงแต่ผู้บริโภคที่เป็นเด็กเล็ก ๆ ซึ่งไม่เข้าใจความหมายของฉลาก ประกอบกับปริมาณสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งจํานวนมามีเพียง 126,300 ตัว ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่มาก ไม่เป็นสินค้าที่มีความจําเป็นและไม่ใช่ของเล่นที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่เด็ก จึงมีมติว่า สมควรมีคําสั่งห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ํา” หรือ “ตัวดูดน้ํา” เป็นการถาวร ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ 1. ให้ยกเลิกคําสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 1/2526 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2526 เรื่อง ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ํา” หรือ “ตัวดูดน้ํา” เป็นการชั่วคราว 2. ห้ามขายสินค้าที่เรียกกันว่า “ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ํา” หรือ “ตัวดูดน้ํา” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - สั่ง ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2527 ร้อยตํารวจโท ชาญ มนูธรรม รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4,291
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2552
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2552 ---------------------------------------------------------- เพื่อให้การโอนภารกิจงานควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามแผนปฏิบัติการกําหนดขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กําหนดขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจงานด้านควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 วรรคเก้า แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 กรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (2) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (3) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “น้ํามันเชื้อเพลิง” ให้หมายถึง น้ํามันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 แต่ไม่รวมถึงก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลว ข้อ ๓ กรมธุรกิจพลังงาน กําหนดขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจและวิธีปฏิบัติงาน ให้แก่กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (1) กิจการควบคุมประเภทที่ 1 ได้แก่ การตรวจตราสถานประกอบกิจการ (2) กิจการควบคุมประเภทที่ 2 ได้แก่ การรับแจ้งการประกอบกิจการ และการตรวจตราสถานประกอบกิจการ (3) กิจการควบคุมประเภทที่ 3 ได้แก่ การอนุญาตประกอบกิจการและการตรวจตราสถานประกอบกิจการ เฉพาะสถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง ยกเว้นประเภท ฉ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กําหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน มอบอํานาจการเป็นผู้อนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ให้ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ (1) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครหรือผู้อํานวยการเขตในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครที่รับผิดชอบ (2) นายกเมืองพัทยา ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา (3) นายกเทศมนตรี ในเขตพื้นที่เทศบาลที่รับผิดชอบ (4) นายกองค์การบริหารส่วนตําบล ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลที่รับผิดชอบ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อื่นๆ - [เอกสารแนบท้าย] 1. เอกสารแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจงานควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิงตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2552 (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
4,292
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีการประกันภัยความเสียหายแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภัยอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2549
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีการประกันภัยความเสียหายแก่ผู้ได้รับความเสียหาย จากภัยอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2549 ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 31 แห่งกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546 ออกตามความพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีการประกันภัยความเสียหายแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภัยอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2549” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับความเสียหาย” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินจากอัคคีภัยหรือการระเบิดอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 แต่ไม่หมายความรวมถึงบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลที่อยู่ด้วยกัน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงหรือ โดยอ้อมของผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ในระหว่างการว่าจ้างหรือบุคคลซึ่ง ในขณะเกิดเหตุอยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานให้ผู้เอาประกันภัยภายใต้สัญญาว่าจ้างหรือการฝึกงาน ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ต้องจัดให้มีการประกันภัยความเสียหายแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอัคคีภัยหรือการระเบิด อันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ข้อ ๕ การประกันภัยความเสียหายแต่ละแห่งของสถานที่ประกอบกิจการ ให้มีจํานวนเงินเอาประกันภัยสํา หรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้งสํา หรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) สถานที่เก็บรักษาน้ํามันเชื้อเพลิง ลักษณะที่สาม จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,500,000 บาท (2) คลังน้ํามันเชื้อเพลิง จํานวนเงินเอาประกันภัย 25,000,000 บาท (3) สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง ประเภท ก หรือประเภท ข จํานวนเงินเอาประกันภัย 2,000,000 บาท (4) สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง ประเภท ค ลักษณะที่สอง จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท (5) สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง ประเภท จ ลักษณะที่สอง จํานวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท (6) สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง ประเภท ฉ จํานวนเงินเอาประกันภัย เป็นดังนี้. ก. สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง ประเภท ฉ ที่เก็บน้ํามันเชื้อเพลิง ไม่เกิน 500,000 ลิตร จํานวนเงินเอาประกันภัย 1,500,000 บาท ข. สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง ประเภท ฉ ที่เก็บน้ํามันเชื้อเพลิง เกิน 500,000 ลิตร จํานวนเงินเอาประกันภัย 20,000,000 บาท ข้อ ๖ ในการประกันภัยสําหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้งตามข้อ 5 ให้มีจํานวนเงินการชดใช้ต่อผู้ได้รับความเสียหายเป็นจํานวนเงินดังต่อไปนี้ (1) กรณีค่ารักษาพยาบาลให้จ่ายตามความเป็นจริงไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน (2) กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือเสียชีวิตจ่าย 100,000 บาทต่อคน (3) กรณีทรัพย์สินเสียหายให้จ่ายตามความเป็นจริงสูงสุดไม่เกินจํานวนเงินเอาประกันภัยตามข้อ 5 แต่ทั้งนี้ในกรณี (1) และ (2) รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ข้อ ๗ อายุของกรมธรรม์ประกันภัยให้มีระยะเวลาคุ้มครอง ตลอดเวลาที่ผู้ประกอบการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ข้อ ๘ ให้ผู้ขอรับอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 จัดทําสัญญาประกันภัยตามที่ กําหนดในประกาศนี้ ให้เสร็จสิ้นและให้จัดส่งสําเนาสัญญาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าว ให้กรมธุรกิจพลังงานก่อนรับใบอนุญาต ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ที่ได้ทําการประกันภัยตามข้อ 4 แล้ว แสดงสําเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการทุกแห่งตามที่ระบุในใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับจัดทําสัญญาประกันภัยตามที่กําหนดในประกาศนี้ ให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
4,293
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับใบอนุญาต แบบใบอนุญาตแบบคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะของสถานที่ แบบใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะของสถานที่ แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตแบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต และแบบคำขอโอนใบอนุญาตของการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2546
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต แบบใบอนุญาตแบบคําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะของสถานที่ แบบใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะของสถานที่ แบบคําขอต่ออายุใบอนุญาตแบบคําขอรับใบแทนใบอนุญาต และแบบคําขอโอนใบอนุญาตของการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2546 ----------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 25 วรรคหนึ่ง ข้อ 27 วรรคหนึ่ง ข้อ 28 ข้อ 32 วรรคหนึ่ง ข้อ 33 วรรคหนึ่ง และข้อ 34 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต แบบใบอนุญาต แบบคําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะของสถานที่แบบคําขอต่ออายุใบอนุญาตแบบคําขอรับใบแทนใบอนุญาต และแบบคําขอโอนใบอนุญาต ของการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2546” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้กําหนดแบบคําขอรับใบอนุญาต แบบใบอนุญาต แบบคําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะสถานที่ แบบใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะของสถานที่ แบบคําขอต่ออายุใบอนุญาต แบบคําขอรับใบแทนใบอนุญาตและแบบคําขอโอนใบอนุญาต ตามท้ายประกาศนี้ ดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ใช้แบบ ธพ.น3 (2) แบบใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ใช้แบบ ธพ.น4 (3) แบบใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะของสถานที่ ให้ใช้แบบ ธพ.น4และเขียนหรือประทับตราความว่า “แก้ไขเปลี่ยนแปลง” ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบอนุญาต (4) แบบคําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะของสถานที่ประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ใช้แบบ ธพ.น5 (5) แบบคําขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ใช้แบบ ธพ.น6 (6) แบบคําขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ใช้แบบ ธพ. น7 (7) แบบคําขอโอนใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ให้ใช้แบบ ธพ.น8 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2546 วิโรจน์ คลังบุญครอง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
4,294
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 --------------------------------------------------- โดยที่สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ดังนั้น จําต้องกําหนดลักษณะฉลากสินค้าดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลาก จะต้องระบุข้อความ รูป รอยประดิษฐ์หรือภาพตามความเหมาะสม แล้วแต่กรณี แต่ข้อความนั้นจะต้องตรงต่อความเป็นจริงไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสําคัญของสินค้านั้นและต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกํากับภาษาต่างประเทศ เพื่ออธิบายให้เข้าใจความหมายของรูปรอยประดิษฐ์หรือภาพ ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อ 2 ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช่บังคับกับฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลาก ที่ผลิตขึ้นเพื่อการส่งออกและไม่ขายในประเทศไทย ข้อ ๒ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลาก จะต้องระบุ ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้าที่สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย (2) ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย (3) ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย (4) สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย แล้วแต่กรณี (5) ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ําหนักของสินค้า นั้น แล้วแต่กรณี สําหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็ม หรือชื่อย่อ หรือสัญลักษณ์แทนก็ได้ (6) ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด เช่น ใช้ทําความสะอาดพื้นไม้ หรือพื้นกระเบื้อง ภาชนะพลาสติก หรือภาชนะดินเผา ภาชนะเคลือบใช้ตั้งบนเตาไฟ ใช้เข้าไมโครเวฟ ใช้เก็บอาหารในตู้เย็น (7) ข้อแนะนําในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการใช้ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค เช่น ห้ามใช้ของมีคมกับการแซะน้ําแข็งในตู้เย็น (8) คําเตือน (ถ้ามี) (9) วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี) (10) ราคา โดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นด้วยก็ได้ ข้อ ๓ ในกรณีที่ไม่อาจแสดงฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากอย่างถูกต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 รวมไว้ในตําแหน่งที่เดียวกัน เช่น ไม่อาจแสดงไว้ที่สินค้าได้ทั้งหมด ก็ให้แสดงข้อความรูป รอยประดิษฐ์หรือภาพ อย่างหนึ่งอย่างใดไว้ในส่วนหนึ่งส่วนใดที่สินค้าหรือที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้า หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับสินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้า หรือในเอกสารหรือคู่มือสําหรับใช้ประกอบกับสินค้า หรือป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้น แต่เมื่อรวมการแสดงฉลากไว้ทุกแห่งแล้ว ต้องสามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ข้อ ๔ ในกรณีที่สินค้าใดเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ให้ผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย และผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย เป็นผู้จัดทําฉลากของสินค้าตามประกาศฉบับนี้ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่สินค้าใดเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากตามที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากประกาศกําหนด ตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้สินค้านั้นมีฉลากตามประกาศดังกล่าวใช้ได้ต่อไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ให้เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้รักษาการตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๖ ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,295
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ให้แปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ให้แปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) ------------------------------------------------------ โดยที่ปัจจุบันได้มีการจําหน่ายแปรงสีฟันที่ใช้สําหรับเด็กเป็นจํานวนมาก และจากการตรวจสอบฉลากแปรงสีฟันในท้องตลาด พบว่า มีแปรงสีฟันจํานวนหนึ่งที่ไม่ได้ระบุช่วงอายุที่เหมาะสมในการใช้แปรงสีฟันของเด็กไว้บนฉลาก ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองเด็กให้ได้รับความปลอดภัยและเลือกใช้แปรงสีฟันได้เหมาะสมกับวัย จึงสมควรเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับช่วงอายุของเด็กในฉลากสินค้าแปรงสีฟันและปรับปรุงบทนิยามคําว่า “แปรงสีฟัน” ให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2545) เรื่อง ให้แปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ในประกาศฉบับนี้ “แปรงสีฟัน” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้แปรงฟันเพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์หรือเศษอาหารออกจากฟัน ทําจากพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่า” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2545) เรื่อง ให้แปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2545 “(6) ช่วงอายุเด็กซึ่งใช้แปรงสีฟันได้อย่างเหมาะสม เช่น เริ่มมีฟันถึง 3 ปี หรือ 3 ปี ถึง 6 ปี หรือ 6 ปี ถึง 12 ปี” ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555 นิโรธ เจริญประกอบ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,296
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2544) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 ( พ.ศ. 2544 ) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ---------------------------------------------- โดยที่สินค้าทองรูปพรรณแสดงสาระสําคัญเกี่ยวกับฉลากสินค้าไม่แจ้งชัดในการเลือกซื้อ เพื่อป้องกันการหลอกลวงผู้บริโภค สมควรแก้ไขการกําหนดข้อความในฉลากเกี่ยวกับการขายทองรูปพรรณให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 50 ( พ.ศ. 2533) เรื่อง กําหนดทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และอัญมณีขึ้นรูปเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ข้อ ๒ ในประกาศฉบับนี้ “ทองรูปพรรณ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทําหรือประกอบขึ้นด้วยโลหะทองคําบริสุทธิ์หรือโลหะทองคําผสม ข้อ ๓ ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๔ ฉลากของทองรูปพรรณที่ควบคุมฉลากตามข้อ 3 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และข้อ 3 ทวิ (1) แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ชื่อประเภทหรือชนิดของทองรูปพรรณ ในกรณีที่เป็นทองรูปพรรณที่สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย (2) ชื่อและสถานที่ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายหรือของผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย แล้วแต่กรณี (3) ปริมาณความบริสุทธิ์ของทองรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกะรัต หรือเปอร์เซ็นต์ หรือร้อยละ หรือใช้สัญลักษณ์ K หรือ % แทนก็ได้ (4) น้ําหนักทองรูปพรรณ โดยระบุหน่วยเป็นกรัม หรือใช้สัญลักษณ์ ก. หรือ g แทนก็ได้ (5) ราคาให้ระบุเป็นเงินสกุลไทย และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่น หรือใช้สัญลักษณ์ของสกุลเงินแทนก็ได้ (6) ราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณขั้นต่ํา ตามที่สมาคมค้าทองคําประกาศ ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2544 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,297
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2526) เรื่อง กำหนดสีทาสำเร็จรูปบางประเภทเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2526) เรื่อง กําหนดสีทาสําเร็จรูปบางประเภทเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “สีทาสําเร็จรูป” หมายความว่า สีทาที่สามารถใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมวัตถุใดเพิ่มเติมเว้นแต่ตัวทําละลาย ข้อ ๒ ให้สีทาสําเร็จรูปบางประเภทดังต่อไปนี้ เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (1) สีอิมัลชัน ซึ่งหมายถึงสีอันอยู่ในความหมายของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีอิมัลชัน (มอก. 372) (2) สีเคลือบเงา ซึ่งหมายถึงสีอันอยู่ในความหมายของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีเคลือบเงา (มอก. 327) (3) สีอะลูมิเนียม ซึ่งหมายถึงสีอันอยู่ในความหมายของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีอะลูมิเนียม (มอก. 390) (4) สีรองพื้นอะลูมิเนียมสําหรับงานไม้ ซึ่งหมายถึงสีอันอยู่ในความหมายของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีรองพื้นอะลูมิเนียมสําหรับงานไม้ (มอก. 328) (5) สีรองพื้น (สีชั้นล่าง) สําหรับงานไม้ ซึ่งหมายถึงสีอันอยู่ในความหมายของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีรองพื้น (สีชั้นล่าง) สําหรับงานไม้ (มอก. 357) (6) สีรองพื้นตะกั่วแดงสําหรับพื้นผิวเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งหมายถึงสีอันอยู่ในความหมายของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีรองพื้นตะกั่วแดงสําหรับพื้นผิวเหล็กและเหล็กกล้า (มอก. 389) (7) สีรองพื้นซิงก์โครเมต ซึ่งหมายถึงสีอันอยู่ในความหมายของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีรองพื้นซิงก์โครเมต (มอก. 401) ข้อ ๓ สีทาสําเร็จรูปที่ควบคุมฉลาก ที่จะนําออกขาย ต้องมีฉลากปิดหรือติดไว้ที่ภาชนะบรรจุ ข้อ ๔ ฉลากนั้น ต้องใช้ความเป็นภาษาไทยให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิตในกรณีที่เป็นสินค้าที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นําเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นําเข้า ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นําเข้ารายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าก็ได้ (2) ชื่อประเภทของสีทาสําเร็จรูป (3) ชนิด ถ้ามี (4) สี (5) เดือนและปีที่ผลิต (6) รุ่นที่ผลิต ซึ่งจะใช้รหัสแทนก็ได้ (7) ปริมาตรสุทธิของสีทาสําเร็จรูปที่บรรจุ เป็นลูกบาศก์เดซิเมตร (ลิตร) (8) คําแนะนําเกี่ยวกับการใช้ รวมทั้งชื่อของตัวทําละลายที่สามารถใช้ผสม (9) คําเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ติดไฟง่าย มีสารพิษเป็นพิษระวังเข้าตา เก็บให้พ้นมือเด็ก วรรคสอง (ยกเลิก) ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2526 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,298
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2529) เรื่อง กำหนดทินเนอร์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2529) เรื่อง กําหนดทินเนอร์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก -------------------------------------------------------- โดยปรากฏว่า ในขณะนี้ มีการจําหน่ายสินค้าประเภทหนึ่งในท้องตลาดใช้ชื่อว่าทินเนอร์ ซึ่งมิใช่ทินเนอร์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ควบคุมทินเนอร์อยู่แล้ว บางส่วนสินค้าที่เรียกว่าทินเนอร์นี้ ยังไม่มีการควบคุมโดยสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผู้บริโภคมักจะนําสินค้าที่ใช้ชื่อว่าทินเนอร์นี้ ไปใช้ในการผสมสี ใช้ผสมกับแลคเกอร์ หรือใช้ล้าง หรือทําความสะอาดสิ่งต่าง ๆ และมีการนําไปใช้สูดดม โดยเฉพาะในหมู่เยาวชน อันเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง สมควรกําหนดทินเนอร์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อควบคุมให้ทําฉลาก โดยระบุวัตถุประสงค์ของการใช้ ส่วนประกอบ ปริมาตรสุทธิ คําแนะนําเกี่ยวกับการใช้ และคําเตือนเกี่ยวกับอันตราย ไว้ในฉลาก ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงการไม่ปฏิบัติ ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเพื่อคุ้มครองให้ผู้บริโภคใช้สินค้านี้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ทินเนอร์” หมายความว่า สารอินทรีย์ที่เป็นตัวทําละลายซึ่งใช้ผสมกับสิ่งอื่นเพื่อช่วยลดความหนืดหรือความข้นเหลว และตามปกติในการใช้ไม่มุ่งหมายให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีต่อสิ่งของนั้น ข้อ ๒ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่ทินเนอร์ ดังต่อไปนี้ (1) ทินเนอร์ที่ไม่ได้ขายปลีกแก่ผู้บริโภคโดยตรง เช่น ผู้ประกอบธุรกิจที่ซื้อเพื่อนําไปผลิตสินค้าอื่น (2) ทินเนอร์ที่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย หรือกฎหมายว่าด้วยเครื่องสําอาง (3) ทินเนอร์ที่มีการกําหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อ ๓ ให้ทินเนอร์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๔ ทินเนอร์ที่จะนําออกขาย ต้องจัดให้มีฉลาก ปิด หรือติดไว้ที่ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุ ข้อ ๕ ฉลากนั้น ต้องใช้ข้อความเป็นภาษาไทยให้เห็นและอ่านได้ชัดเจน ข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นําเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นําเข้า ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นําเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น คู่กรณีจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าดังกล่าวจะต้องส่งสําเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนําสินค้านั้นออกขาย ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้ (2) คําว่า “ทินเนอร์” (3) วัตถุประสงค์ของการใช้ (4) ส่วนประกอบที่สําคัญ (5) ปริมาตรสุทธิเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร หรือลูกบาศก์เดซิเมตร (6) คําแนะนําเกี่ยวกับการใช้งาน (7) คําเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น “ไวไฟ” “ห้ามใช้สูดดม” “เก็บให้พ้นมือเด็ก” ข้อ ๖ ให้ทินเนอร์ที่ควบคุมฉลากที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากในขณะนําเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนําออกขาย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป1 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2529 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,299
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2529) เรื่อง กำหนดตู้เย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2529) เรื่อง กําหนดตู้เย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ----------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่า ขณะนี้มีการจําหน่ายตู้เย็นซึ่งเป็นสินค้าที่ประชาชนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ยังแสดงสาระสําคัญอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะไม่แจ้งชัด ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัยของผู้บริโภค สมควรกําหนดตู้เย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตู้เย็น” หมายความว่า ตู้สําหรับแช่เย็นที่มีระบบทําความเย็นแบบคอมเพรสชัน ข้อ ๒ ให้ตู้เย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่ตู้เย็นที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ตู้เย็นดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อเป็นภาษาไทยว่า “สําหรับส่งออกเท่านั้น” หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า “For Export Only” (2) ตู้เย็นดังกล่าว ต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก ข้อ ๔ ตู้เย็นที่จะนําออกขาย ต้องจัดให้มีฉลากรวมทั้งเอกสารหรือคู่มือตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ข้อ ๕ ฉลากต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจดังนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต (ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นําเข้าและสถานที่ประกอบการผู้นําเข้า (ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นําเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้แต่ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าดังกล่าวจะต้องส่งสําเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนําสินค้านั้นออกขาย ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้ (2) ชื่อประเทศที่ผลิต (3) รุ่นที่ผลิตซึ่งจะใช้รหัสแทนก็ได้ (4) ปริมาตรภายในเป็นลูกบาศก์เดซิเมตรและลูกบาศก์ฟุต (5) ชนิดและน้ําหนักของสารทําความเย็นที่ใช้ (6) แรงดันไฟฟ้า ความถี่ และกระแสไฟฟ้า (7) วงจรไฟฟ้า (7) ทวิ เครื่องหมายแสดงระดับประสิทธิภาพตู้เย็น ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยประกาศกําหนด (ถ้ามี) (8) คําเตือนเรื่องอย่าใช้ของมีคมแซะหรืองัดน้ําแข็งในช่องแช่แข็ง และเรื่องอย่าใช้น้ําราดตู้เย็น ซึ่งจะทําให้เกิดกระแสไฟรั่ว แล้วแต่กรณี กรณีตาม (6) และ (7) จะใช้สัญลักษณ์แทนข้อความนั้นก็ได้ ข้อ ๖ ฉลากตามข้อ 5 (1) ถึง (7) จะปิดหรือติดไว้ที่ด้านในหรือด้านนอกของตู้เย็นก็ได้ สําหรับฉลากตามข้อ 5 (7) ทวิ ให้ปิดหรือติดไว้ที่ด้านนอกของตู้เย็น และฉลากตามข้อ 5 (8) ว่าด้วยคําเตือนให้ปิดหรือติดไว้ที่ด้านในของตู้เย็น ข้อ ๗ เอกสารหรือคู่มือสําหรับตู้เย็น ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ตามความเหมาะสม และอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) วิธีติดตั้ง (2) วิธีใช้และข้อควรระวังในการใช้ (3) วิธีใช้อุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ (4) การบํารุงรักษา และการทําความสะอาดตู้เย็น (5) ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ข้อ ๘ ให้ตู้เย็นที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากขณะนําเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ก่อนที่จะนําออกขาย ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาแนต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2529 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,300
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2531) เรื่อง กำหนดเครื่องตัดวงจรไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2531) เรื่อง กําหนดเครื่องตัดวงจรไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ----------------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่า ขณะนี้มีการจําหน่ายเครื่องตัดวงจรไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าที่ประชาชนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ยังแสดงสาระสําคัญอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะไม่แจ้งชัด ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัยของผู้บริโภค สมควรกําหนดเครื่องตัดวงจรไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เครื่องตัดวงจรไฟฟ้า” หมายความว่า เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติที่สามารถตัดวงจรเมื่อกระแสไฟฟ้าเกิน หรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน ข้อ ๒ ให้เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับแก่เครื่องตัดวงจรไฟฟ้า ดังต่อไปนี้ (1) เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าเกิน 750 โวลต์ (2) เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า “สําหรับส่งออกเท่านั้น” หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า “For Export Only” (ข) เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก (3) ฟิวส์ ข้อ ๔ เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าที่จะนําออกขาย ต้องจัดให้มีฉลากรวมทั้งเอกสารหรือคู่มือตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ข้อ ๕ ฉลากต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจดังนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต (ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อผู้นําเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นําเข้า (ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นําเข้าเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้านั้นจะต้องส่งสําเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนําสินค้านั้นออกขาย ถ้าผู้ผลิต หรือผู้นําเข้า หรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตน ก็ได้ (2) ชื่อประเทศที่ผลิต (3) แบบหรือรุ่น (model) (4) หมายเลขลําดับ (serial number) (4 ทวิ) ประเภทของเครื่องตัดวงจรไฟฟ้า โดยให้ระบุดังนี้ (ก) ในกรณีที่เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าสามารถตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินตั้งแต่ 5 มิลลิแอมแปร์ ลงมา ให้ระบุเป็น “ประเภทป้องกันบุคคล” (ข) ในกรณีที่เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าสามารถตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินเกิน 5 มิลลิแอมแปร์ ให้ระบุเป็น “ประเภทป้องกันอุปกรณ์” (ค) ในกรณีที่เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าสามารถตัดวงจรไฟฟ้าได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินตั้งแต่ 5 มิลลิแอมแปร์ลงมาและเกิน 5 มิลลิแอมแปร์ อยู่ในเครื่องเดียวกัน ให้ระบุเป็น “ประเภทป้องกันบุคคลและอุปกรณ์” (5) แรงดันไฟฟ้าที่กําหนด โดยระบุหน่วยเป็นโวลต์ (6) จํานวนเฟส (phase) หรือจํานวนขั้ว (pole) (7) กระแสไฟฟ้าที่กําหนด โดยระบุหน่วยเป็นแอมแปร์ (8) ความทนต่อกระแสไฟฟ้าฉับพลัน (interrupting capacity หรือ breaking capacity) โดยระบุหน่วยเป็นกิโลแอมแปร์ ที่แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ.....โวลต์ (9) ความถี่ที่กําหนด โดยระบุหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (10) ค่ากระแสไฟฟ้าเกิน โดยระบุหน่วยเป็นแอมแปร์ หรือค่ากระแสไฟฟ้ารั่วลงดินที่เครื่องจะตัดวงจรไฟฟ้า โดยระบุหน่วยเป็นมิลลิแอมแปร์ (11) ความไวในการตัดวงจรไฟฟ้า ที่อุณหภูมิทดสอบ 272 องศาเซลเซียส โดยระบุหน่วยเป็นวินาที (12) ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมสําหรับการใช้งาน (13) คําเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะแสดงรูปภาพแทนก็ได้ (14) ตําแหน่ง เปิด หรือ ปิด กรณีตาม (5) ถึง (10) จะใช้สัญลักษณ์แทนข้อความนั้น ก็ได้ ข้อความตาม (10) และ (11) นั้น จะระบุไว้รวมกันเป็นแผนภาพแสดงความสัมพันธ์แทน ก็ได้ ข้อ ๖ ฉลากตามข้อ 5 (4 ทวิ) (5) (6) (7) (8) (10) (11) และ (14) ให้ปิดหรือติดไว้ที่เครื่องตัดวงจรไฟฟ้า ส่วนฉลากตามข้อ 5 (1) (2) (3) (4) (9) (12) และ (13) จะปิดหรือติดไว้ที่ภาชนะบรรจุก็ได้ ข้อ ๗ เอกสารหรือคู่มือสําหรับเครื่องตัดวงจรไฟฟ้า ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถอ่านได้ตามความเหมาะสม และอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) วิธีใช้และข้อควรระวังในการใช้ (2) วิธีติดตั้งและการบํารุงรักษา (3) วิธีปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ข้อ ๘ ให้เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศนี้ขณะนําเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากดังกล่าวก่อนที่จะนําออกขาย ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2531 ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,301
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดน้ำมันเกียร์และน้ำมันเครื่องเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กําหนดน้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่องเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก -------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่า ขณะนี้น้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่องเป็นสินค้าที่ประชาชนใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่การแสดงลักษณะเฉพาะยังไม่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัยของผู้บริโภคสมควรกําหนดน้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่องเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศฉบับนี้ “น้ํามันเกียร์” หมายความว่า น้ํามันที่ใช้สําหรับหล่อลื่นชุดเฟืองที่ใช้ในยานยนต์ หรืองานอุตสาหกรรม และหมายความรวมถึงน้ํามันที่ใช้สําหรับเกียร์อัตโนมัติ “น้ํามันเครื่อง” หมายความว่า น้ํามันหล่อลื่นเหลวสําหรับหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ภายในทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์เบนซิน แต่ไม่รวมถึงน้ํามันเครื่องที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซินสองจังหวะ ข้อ ๒ ให้น้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่องเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับแก่น้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่องที่ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ก) น้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่องดังกล่าวต้องแสดงข้อความให้เห็นและอ่านได้ชัดเจนไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุเป็นภาษาไทยว่า “สําหรับส่งออกเท่านั้น” หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า “For Export Only” (ข) น้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่องดังกล่าวต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก หรือผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้จัดหาสินค้านั้นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการส่งออก ข้อ ๔ น้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่องที่จะนําออกขายต้องจัดให้มีฉลากตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 ตอน ๕ ฉลากต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ปิดหรือติดไว้ที่ภาชนะบรรจุน้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่อง และข้อความในฉลากอย่างน้อยต้องมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจดังนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ระบุชื่อผู้ผลิตและสถานที่ประกอบการของผู้ผลิต (ข) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อผู้นําเข้าและสถานที่ประกอบการของผู้นําเข้า และประเทศที่ผลิต (ค) ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นตามความต้องการหรือเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น หรือเป็นสินค้าที่นําเข้ามาเพื่อการขายของผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะตกลงกันให้ระบุเฉพาะชื่อผู้ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบการของผู้ประกอบธุรกิจรายหนึ่งรายใดแต่เพียงรายเดียวแทนก็ได้ แต่ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้านั้นจะต้องส่งสําเนาข้อตกลงดังกล่าวให้สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบก่อนจะนําสินค้านั้นออกขาย ถ้าผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าหรือผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยแล้ว จะระบุเครื่องหมายการค้าแทนชื่อและสถานที่ประกอบการของตนก็ได้ (2) เดือน และปีที่ผลิต (3) คําว่า “น้ํามันเกียร์” หรือ “น้ํามันเครื่อง” (3) ทวิ “เครื่องหมายและเลขทะเบียนคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ํามันหล่อลื่นเหลว ตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า” ในประเภทน้ํามันเครื่อง (4) ชั้นคุณภาพ (ตามมาตรฐานที่อ้างอิงได้) (5) ปริมาตรสุทธิ โดยระบุหน่วยเป็นระบบเมตริก (6) ข้อแนะนําในการใช้ และ/หรือข้อห้ามใช้ ข้อ ๖ ให้น้ํามันเกียร์และน้ํามันเครื่องที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีฉลากขณะนําเข้าที่ด่านศุลกากร แต่ต้องจัดให้มีฉลากตามประกาศฉบับนี้ก่อนที่จะนําออกขาย ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2537 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,302
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ให้ข้าวสารบรรจุถุงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ให้ข้าวสารบรรจุถุงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก -------------------------------------------------------- โดยที่มีการจําหน่ายข้าวสารบรรจุถุงอย่างแพร่หลาย และเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการซื้อเกี่ยวกับคุณภาพ และราคา จึงกําหนดให้ข้าวสารบรรจุถุงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ข้าวสารบรรจุถุง” หมายความว่า ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวทุกประเภทและทุกชนิดที่เรียกชื่ออื่น ซึ่งบรรจุในถุงหรือภาชนะบรรจุอื่นแล้วปิดผนึกวางจําหน่าย ข้อ ๒ ให้ข้าวสารบรรจุถุงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ชื่อประเภทหรือชนิดของข้าวสารบรรจุถุง (2) วิธีการใช้ หรือวิธีการหุงต้ม ในกรณีที่ในฉลากแสดงถึงคุณภาพหรือมาตรฐานของประเภทหรือชนิดของข้าวสารบรรจุถุง ให้ถือตามมาตรฐานสินค้าข้าวตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง มาตรฐานสินค้าข้าว พ.ศ. 2540 ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 หรือประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจําหน่ายภายในประเทศ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2540 หรือตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ หรือประกาศกรมการค้าภายในที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะประกาศใช้ต่อไป แล้วแต่กรณี ในกรณีที่มีการผสมหรือเจือปนข้าวสารอื่นนอกจากที่ระบุชื่อประเภท หรือชนิดของข้าวสารนั้นในฉลาก ให้ระบุจํานวน และชนิดของข้าวสารอื่นที่เป็นส่วนผสมหรือเจือปนนั้นไว้ในฉลากด้วย[2] ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,303
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541(ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ------------------------------------------------------ โดยที่สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ดังนั้น จําต้องกําหนดลักษณะฉลากสินค้าดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลาก จะต้องระบุข้อความ รูป รอยประดิษฐ์หรือภาพตามความเหมาะสม แล้วแต่กรณี แต่ข้อความนั้นจะต้องตรงต่อความเป็นจริงไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสําคัญของสินค้านั้นและต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกํากับภาษาต่างประเทศ เพื่ออธิบายให้เข้าใจความหมายของรูปรอยประดิษฐ์หรือภาพ ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อ 2 ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช่บังคับกับฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลาก ที่ผลิตขึ้นเพื่อการส่งออกและไม่ขายในประเทศไทย ข้อ ๒ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลาก จะต้องระบุ ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้าที่สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย (2) ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย (3) ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย (4) สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย แล้วแต่กรณี (5) ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ําหนักของสินค้า นั้น แล้วแต่กรณี สําหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็ม หรือชื่อย่อ หรือสัญลักษณ์แทนก็ได้ (6) ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด เช่น ใช้ทําความสะอาดพื้นไม้ หรือพื้นกระเบื้อง ภาชนะพลาสติก หรือภาชนะดินเผา ภาชนะเคลือบใช้ตั้งบนเตาไฟ ใช้เข้าไมโครเวฟ ใช้เก็บอาหารในตู้เย็น (7) ข้อแนะนําในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการใช้ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค เช่น ห้ามใช้ของมีคมกับการแซะน้ําแข็งในตู้เย็น (8) คําเตือน (ถ้ามี) (9) วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี) ข้อ ๓ ในกรณีที่ไม่อาจแสดงฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากอย่างถูกต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 รวมไว้ในตําแหน่งที่เดียวกัน เช่น ไม่อาจแสดงไว้ที่สินค้าได้ทั้งหมด ก็ให้แสดงข้อความรูป รอยประดิษฐ์หรือภาพ อย่างหนึ่งอย่างใดไว้ในส่วนหนึ่งส่วนใดที่สินค้าหรือที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้า หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับสินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้า หรือในเอกสารหรือคู่มือสําหรับใช้ประกอบกับสินค้า หรือป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้น แต่เมื่อรวมการแสดงฉลากไว้ทุกแห่งแล้ว ต้องสามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ข้อ 3 ทวิ ให้สินค้าที่ควบคุมฉลากดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดฉลากตามข้อ 1 และข้อ 2 ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (1) สินค้าที่ขายส่งแก่ผู้ประกอบการใช้ในโรงงานหรือสถานประกอบกิจการให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องติดฉลาก (2) สินค้าประเภทเครื่องจักรกล หรืออุปกรณ์ หรืออะไหล่ของสินค้าประเภทเครื่องจักรกล หรือรถยนต์ หรือรถไถ หรือรถอื่น ๆ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องสูบน้ํา และสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ 3 ได้ครบถ้วน ให้แสดงฉลากราคาและข้อความอื่นตามข้อ 2 ไว้ในคู่มือหรือเอกสารหรือบัญชีราคาสินค้า (Price List) ไว้ ณ จุดที่ขาย (3) สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไม่ต้องติดฉลาก ข้อ 3 ตรี สินค้าประเภทน้ํามันเครื่อง ให้ทําฉลากตามข้อ 1 ข้อ 2 และให้ระบุเครื่องหมายและเลขทะเบียนคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ํามันหล่อลื่นเหลวตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า ในประเภทน้ํามันเครื่องด้วย ข้อ 3 จัตวา[3] สินค้าประเภทก๊าชหุงต้ม ให้ทําฉลากตามข้อ 1 ข้อ 2 และให้แสดงเครื่องหมายประจําตัวของผู้บรรจุก๊าชตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้าในประเภทก๊าชหุงต้มด้วย ข้อ ๔ ในกรณีที่สินค้าใดเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ให้ผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย และผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย เป็นผู้จัดทําฉลากของสินค้าตามประกาศฉบับนี้ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่สินค้าใดเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากตามที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากประกาศกําหนด ตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้สินค้านั้นมีฉลากตามประกาศดังกล่าวใช้ได้ต่อไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ให้เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้รักษาการตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๖ ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ให้ไว้ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,304
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ให้ข้าวสารบรรจุถุงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ให้ข้าวสารบรรจุถุงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ---------------------------------------------------- โดยที่มีการจําหน่ายข้าวสารบรรจุถุงอย่างแพร่หลาย และเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการซื้อเกี่ยวกับคุณภาพ และราคา จึงกําหนดให้ข้าวสารบรรจุถุงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ข้าวสารบรรจุถุง” หมายความว่า ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวทุกประเภทและทุกชนิดที่เรียกชื่ออื่น ซึ่งบรรจุในถุงหรือภาชนะบรรจุอื่นแล้วปิดผนึกวางจําหน่าย ข้อ ๒ ให้ข้าวสารบรรจุถุงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ชื่อประเภทหรือชนิดของข้าวสารบรรจุถุง (2) วิธีการใช้ หรือวิธีการหุงต้ม ในกรณีที่ในฉลากแสดงถึงคุณภาพหรือมาตรฐานของประเภทหรือชนิดของข้าวสารบรรจุถุง ให้ถือตามมาตรฐานสินค้าข้าวตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง มาตรฐานสินค้าข้าว พ.ศ. 2540 ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 หรือประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง การรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงจําหน่ายภายในประเทศ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2540 หรือตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ หรือประกาศกรมการค้าภายในที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะประกาศใช้ต่อไป แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,305
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ให้ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ให้ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก --------------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่ามีการนําลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนมาจําหน่ายอย่างแพร่หลายซึ่งเกิดกรณีอุบัติเหตุจากการนําลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย จึงกําหนดให้ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจน” หมายความว่า ลูกโป่งหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเหมือนกับลูกโป่งที่อัดลมซึ่งมีส่วนผสมของก๊าซไฮโดรเจน ข้อ ๒ ให้ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย คําเตือน : “ห้ามนําเข้าใกล้เปลวไฟหรือความร้อน” โดยให้ระบุข้อความดังกล่าวเป็นเนื้อเดียวกันกับลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจน ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,306
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ให้ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก(ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ให้ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ---------------------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่ามีการนําลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนมาจําหน่ายอย่างแพร่หลายซึ่งเกิดกรณีอุบัติเหตุจากการนําลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย จึงกําหนดให้ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจน” หมายความว่า ลูกโป่งหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเหมือนกับลูกโป่งที่อัดลมซึ่งมีส่วนผสมของก๊าซไฮโดรเจน ข้อ ๒ ให้ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย คําเตือน : “ห้ามนําเข้าใกล้เปลวไฟหรือความร้อน” โดยให้พิมพ์ข้อความดังกล่าวเป็นเอกสารที่มีตัวอักษรขนาดไม่ต่ํากว่า 5 มิลลิเมตร ที่สามารถอ่านได้อย่างชัดเจนมอบแก่ผู้บริโภค ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 มาลดี วสีนนท์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,307
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ให้เครื่องทำน้ำเย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก(ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ให้เครื่องทําน้ําเย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ----------------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันได้มีการใช้สินค้าเครื่องทําน้ําเย็นในสถานที่ต่าง ๆ อย่างแพร่หลายและมีผู้บริโภคได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตจากการใช้สินค้าดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า จึงกําหนดให้เครื่องทําน้ําเย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เครื่องทําน้ําเย็น” หมายความว่า บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ทําให้น้ําเพื่อการบริโภคซึ่งไหลผ่านระบบการทํางานภายในบริภัณฑ์ดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือต่ําลง ข้อ ๒ ให้เครื่องทําน้ําเย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ (1) ข้อแนะนําในการใช้ ต้องระบุดังต่อไปนี้ (ก) “ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกวิธีพร้อมติดตั้งเครื่องทําน้ําเย็น” (ข) “ต้องติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว” (ค) “ต้องติดตั้งเครื่องทําน้ําเย็นในบริเวณที่เป็นฉนวนไฟฟ้าและไม่เปียกชื้น เช่น ปูพื้นด้วยผ้ายาง ฯลฯ และไม่ควรให้มีน้ําชื้นแฉะ” (ง) “ควรตรวจสอบสภาพความปลอดภัยของเครื่องทําน้ําเย็นโดยช่างผู้ชํานาญงานเป็นประจํา อย่างน้อยทุก 6 เดือน” (2) คําเตือน ต้องระบุว่า (ก) “อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ติดตั้งสายดินให้ถูกวิธี” (ข) “ห้ามใช้ตะกั่วบัดกรีในการซ่อมโดยเด็ดขาด” ข้อความที่เป็น คําเตือน “ต้องใช้ตัวอักษรสีแดงขนาดไม่ต่ํากว่า 5 มิลลิเมตร และแสดงไว้บริเวณก๊อกน้ําของเครื่องทําน้ําเย็น” ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2549 รัศมี วิศทเวทย์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,308
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ให้เครื่องทำน้ำเย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ให้เครื่องทําน้ําเย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ------------------------------------------------ โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันได้มีการใช้สินค้าเครื่องทําน้ําเย็นในสถานที่ต่าง ๆ อย่างแพร่หลายและมีผู้บริโภคได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตจากการใช้สินค้าดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า จึงกําหนดให้เครื่องทําน้ําเย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เครื่องทําน้ําเย็น” หมายความว่า บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ทําให้น้ําเพื่อการบริโภคซึ่งไหลผ่านระบบการทํางานภายในบริภัณฑ์ดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือต่ําลง ข้อ ๒ ให้เครื่องทําน้ําเย็นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ (1) ข้อแนะนําในการใช้ ต้องระบุดังต่อไปนี้ (ก) “ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกวิธีพร้อมติดตั้งเครื่องทําน้ําเย็น” (ข) “ต้องติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว” (ค) “ต้องติดตั้งเครื่องทําน้ําเย็นในบริเวณที่เป็นฉนวนไฟฟ้าและไม่เปียกชื้น เช่น ปูพื้นด้วยผ้ายาง ฯลฯ และไม่ควรให้มีน้ําชื้นแฉะ” (ง) “ควรตรวจสอบสภาพความปลอดภัยของเครื่องทําน้ําเย็นโดยช่างผู้ชํานาญงานเป็นประจํา อย่างน้อยทุก 6 เดือน” (2) คําเตือน ต้องระบุว่า “อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ติดตั้งสายดินให้ถูกวิธี” ข้อความที่เป็น คําเตือน “ต้องใช้ตัวอักษรสีแดงขนาดไม่ต่ํากว่า 5 มิลลิเมตร และแสดงไว้บริเวณก๊อกน้ําของเครื่องทําน้ําเย็น” ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1] ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2549 รัศมี วิศทเวทย์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,309
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2552 เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก(ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2552 เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก --------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันได้มีการใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งองค์การอนามัยโลกและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ทําการศึกษาพบว่าแร่ดังกล่าว อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค ดังนั้น การกําหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินต้องแสดงข้อแนะนําและคําเตือนไว้ในฉลาก จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า จึงสมควรกําหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สําหรับเป็นสารเสียดทานประเภท เบรก คลัตช์ และผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมก่อสร้างประเภทกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ไม้ฝา ท่อน้ํา ที่ยังมีการนําแร่ใยหินมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 และให้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ข้อแนะนําในการใช้ ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ หน้ากากป้องกันฝุ่นแร่ใยหิน ถุงมือยาง แว่นตา ชุดคลุม (ข) หลีกเลี่ยงการทําให้เกิดฝุ่นหรือแตกหัก เช่น หลีกเลี่ยงการเจาะ ตัด ด้วยเครื่องมือที่มีความเร็วสูง (ค) ระมัดระวังการฟุ้งกระจายของฝุ่น (ง) เศษวัสดุหรือฝุ่นที่เกิดจากการติดตั้งหรือประกอบผลิตภัณฑ์ ให้รวบรวมใส่ถุงพลาสติกหรือภาชนะและปิดให้มิดชิดก่อนทิ้ง (จ) การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารและน้ําดื่มขณะปฏิบัติงานในบริเวณที่ทํางานที่อาจมีฝุ่นแร่ใยหินฟุ้งกระจาย มีโอกาสทําให้ได้รับแร่ใยหินเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น (ฉ) อาบน้ําทันทีหลังปฏิบัติงานเสร็จ (ช) หากมีอาการผิดปกติ เช่น เกิดการเจ็บป่วยที่สงสัยว่าจะได้รับอันตรายจากสารแร่ใยหินควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียด (2) คําเตือน ต้องระบุว่า “ระวังอันตราย ผลิตภัณฑ์นี้มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ การได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกาย อาจก่อให้เกิดมะเร็งและโรคปอด” และแสดงตราสัญลักษณ์พร้อมข้อความตามท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ข้อความที่เป็น “คําเตือน” ต้องใช้ตัวอักษรขนาดไม่ต่ํากว่า 5 มิลลิเมตร ด้วยตัวอักษรที่มีสีต่างจากสีพื้นผิวผลิตภัณฑ์แสดงไว้ในลักษณะคงทนถาวรที่ผลิตภัณฑ์และภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ซึ่งผู้ใช้สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน สําหรับคําว่า “ระวังอันตราย” ต้องใช้ตัวอักษรขนาดไม่ต่ํากว่า 15 มิลลิเมตร ในกรณีที่ไม่สามารถระบุขนาดข้อความที่เป็นคําเตือนไว้ที่ผลิตภัณฑ์ได้เนื่องจากสินค้ามีขนาดเล็ก เช่น เบรก คลัตช์ เป็นต้น ให้แสดงข้อความที่เป็นคําเตือนด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่นที่มีการระบุไว้ในฉลาก ในกรณีที่ไม่สามารถแสดงตราสัญลักษณ์พร้อมข้อความตามท้ายประกาศนี้ไว้ที่ผลิตภัณฑ์ได้เนื่องจากสินค้ามีขนาดเล็ก เช่น เบรก คลัตช์ เป็นต้น ให้แสดงตราสัญลักษณ์พร้อมข้อความโดยปรับขนาดได้ตามความเหมาะสมของตัวผลิตภัณฑ์ที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 นิโรธ เจริญประกอบ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,310
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2552 เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2552 เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก -------------------------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันได้มีการใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งองค์การอนามัยโลกและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ทําการศึกษาพบว่าแร่ดังกล่าว อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค ดังนั้น การกําหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินต้องแสดงข้อแนะนําและคําเตือนไว้ในฉลาก จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า จึงสมควรกําหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สําหรับเป็นสารเสียดทานประเภท เบรก คลัตช์ และผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมก่อสร้างประเภทกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ไม้ฝา ท่อน้ํา ที่ยังมีการนําแร่ใยหินมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ข้อ ๒ ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 และให้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ข้อแนะนําในการใช้ ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ หน้ากากป้องกันฝุ่นแร่ใยหิน ถุงมือยาง แว่นตา ชุดคลุม (ข) หลีกเลี่ยงการทําให้เกิดฝุ่นหรือแตกหัก เช่น หลีกเลี่ยงการเจาะ ตัด ด้วยเครื่องมือที่มีความเร็วสูง (ค) ระมัดระวังการฟุ้งกระจายของฝุ่น (ง) เศษวัสดุหรือฝุ่นที่เกิดจากการติดตั้งหรือประกอบผลิตภัณฑ์ ให้รวบรวมใส่ถุงพลาสติกหรือภาชนะและปิดให้มิดชิดก่อนทิ้ง (จ) การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารและน้ําดื่มขณะปฏิบัติงานในบริเวณที่ทํางานที่อาจมีฝุ่นแร่ใยหินฟุ้งกระจาย มีโอกาสทําให้ได้รับแร่ใยหินเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น (ฉ) อาบน้ําทันทีหลังปฏิบัติงานเสร็จ (ช) หากมีอาการผิดปกติ เช่น เกิดการเจ็บป่วยที่สงสัยว่าจะได้รับอันตรายจากสารแร่ใยหินควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียด (2) คําเตือน ต้องระบุว่า “ระวังอันตราย ผลิตภัณฑ์นี้มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบการได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกาย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ” และแสดงตราสัญลักษณ์พร้อมข้อความตามท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ข้อความที่เป็น “คําเตือน” ต้องใช้ตัวอักษรขนาดไม่ต่ํากว่า 5 มิลลิเมตร ด้วยตัวอักษรที่มีสีต่างจากสีพื้นผิวผลิตภัณฑ์ แสดงไว้ในลักษณะคงทนถาวรที่ผลิตภัณฑ์และภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ซึ่งผู้ใช้สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน สําหรับคําว่า “ระวังอันตราย” ต้องใช้ตัวอักษรขนาดไม่ต่ํากว่า 15 มิลลิเมตร ในกรณีที่ไม่สามารถระบุขนาดข้อความที่เป็นคําเตือนตามวรรคหนึ่ง (2) ไว้ที่ผลิตภัณฑ์ได้เนื่องจากสินค้ามีขนาดเล็ก เช่น เบรก คลัตช์ เป็นต้น ให้แสดงข้อความที่เป็นคําเตือนด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่นที่มีการระบุไว้ในฉลาก ในกรณีที่ไม่สามารถแสดงตราสัญลักษณ์พร้อมข้อความตามท้ายประกาศนี้ไว้ที่ผลิตภัณฑ์ได้เนื่องจากสินค้ามีขนาดเล็ก เช่น เบรก คลัตช์ เป็นต้น ให้แสดงตราสัญลักษณ์พร้อมข้อความโดยปรับขนาดได้ตามความเหมาะสมของตัวผลิตภัณฑ์ที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 นิโรธ เจริญประกอบ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,311
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2561) เรื่อง ให้อุปกรณ์สำหรับห่อหุ้ม (Case) โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ตที่มีการนำสารเคมีมาบรรจุอยู่ภายในเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2561) เรื่อง ให้อุปกรณ์สําหรับห่อหุ้ม (Case) โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต ที่มีการนําสารเคมีมาบรรจุอยู่ภายในเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ------------------------------------------------- ด้วยปัจจุบันพบว่ามีการจําหน่ายอุปกรณ์สําหรับห่อหุ้ม (Case) โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต ที่มีการนําสารเคมีที่เป็นของเหลวบรรจุอยู่ภายใน และมีข่าวว่ามีผู้ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่รั่วไหลออกมา จากข้อมูลผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่าของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในเป็นสารเคมี เช่น เดคเคน (Decane) โนเนน (Nonane) เฮปเทน (Heptane) และกรดออกซาลิค (Oxalic acid) หากสินค้าดังกล่าวเกิดการชํารุดและสารเคมีรั่วไหลออกมาอาจส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าดังกล่าว จึงสมควรกําหนดให้อุปกรณ์สําหรับห่อหุ้ม (Case) โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ตที่มีการนําสารเคมีที่เป็นของเหลวมาบรรจุอยู่ภายในเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นบทบัญญัติในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า โดยกําหนดการแสดงฉลากของสินค้าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงในสาระสําคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “อุปกรณ์สําหรับห่อหุ้ม (Case) โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ตที่มีการนําสารเคมีที่เป็นของเหลวมาบรรจุอยู่ภายใน” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับห่อหุ้มโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ตที่มีสารเดคเคน (Decane) โนเนน (Nonane) เฮปเทน (Heptane) และกรดออกซาลิค (Oxalic acid) หรือสารอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์เป็นกรดมาบรรจุไว้ภายใน ข้อ ๒ ให้อุปกรณ์สําหรับห่อหุ้ม (Case) โทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องคอมพิวเตอร์แท็ปเล็ตที่มีการนําสารเคมีที่เป็นของเหลวมาบรรจุอยู่ภายในเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย คําเตือน ต้องระบุว่า “อันตรายหากของเหลวรั่วไหล” ทั้งนี้ ข้อความที่เป็น “คําเตือน” ต้องใช้ตัวอักษรที่มีสีต่างจากสีพื้นผิวผลิตภัณฑ์ และมีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่นแสดงไว้ในลักษณะคงทนที่ผลิตภัณฑ์ ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 พลตํารวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,312
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2560) เรื่อง ให้รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2560) เรื่อง ให้รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก --------------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันได้มีผู้บริโภคประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์เป็นจํานวนมากทําให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและร่างกาย รวมทั้งพบว่า เด็กที่ซ้อนรถจักรยานยนต์ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการเผลอหลับ ทรงตัวไม่ดี ไม่มีที่ยึดจับ เมื่อรถเสียการทรงตัวหรือห้ามล้อกะทันหัน ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าดังกล่าวจึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในฉลากสินค้ารถจักรยานยนต์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นบทบัญญัติในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า โดยกําหนดการแสดงฉลากของสินค้าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงในสาระสําคัญเกี่ยวกับสินค้านั้นคณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ให้รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รถจักรยานยนต์” หมายความว่า รถที่เดินด้วยกําลังเครื่องยนต์กําลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย ข้อ ๓ ให้รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๔ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 3 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ ไว้ในฉลากด้วย คําเตือน ต้องระบุว่า “อาจถึงตายหรือพิการ หากไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่ควรให้เด็กที่เท้ายังไม่ถึงที่วางเท้าโดยสาร” ข้อความที่เป็น คําเตือน “ต้องใช้ตัวอักษรขนาดไม่ต่ํากว่า 3 มิลลิเมตร โดยใช้สีตัดกับสีพื้นสําหรับแสดงไว้ที่คู่มือการใช้งานรถจักรยานยนต์ และแสดงไว้ในลักษณะคงทนถาวรที่บริเวณถังน้ํามันหรือบริเวณอื่นของรถจักรยานยนต์ ที่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน” ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1] ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 พลตํารวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,313
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ให้อ่างอาบน้ำสำหรับเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ให้อ่างอาบน้ําสําหรับเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก --------------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่าได้มีการเสียชีวิตในเด็กเป็นจํานวนมากซึ่งสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของเด็กเกิดจากการจมน้ํา และการจมน้ําของเด็กช่วงอายุ 1 - 4 ปี พบมากในภาชนะกักเก็บน้ํา อ่างน้ํา กะละมัง เป็นต้น การกําหนดให้อ่างอาบน้ําสําหรับเด็กต้องแสดงฉลากคําเตือนจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการตระหนัก และคํานึงถึงความปลอดภัยของเด็ก จึงสมควรกําหนดให้อ่างอาบน้ําสําหรับเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “อ่างอาบน้ําสําหรับเด็ก” หมายความว่า ภาชนะสําหรับใส่น้ํา หรืออุปกรณ์ที่ใช้สําหรับรองรับตัวเด็กที่มีไว้เพื่อใช้สําหรับอาบน้ําเด็ก ข้อ ๒ ให้อ่างอาบน้ําสําหรับเด็กเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย คําเตือน ต้องระบุว่า “ระวังอันตราย ไม่ควรปล่อยเด็กอยู่ในน้ําตามลําพังเพราะเด็กอาจจมน้ําได้แม้มีระดับน้ําเพียงเล็กน้อย” และแสดงตราสัญลักษณ์พร้อมข้อความตามท้ายประกาศนี้ ไว้ร่วมกับคําเตือน ทั้งนี้ ข้อความที่เป็น “คําเตือน” ต้องใช้ตัวอักษรที่มีสีต่างจากสีพื้นผิวผลิตภัณฑ์ และมีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่นแสดงไว้ในลักษณะคงทนที่ผลิตภัณฑ์ “ทั้งนี้ ลักษณะของตราสัญลักษณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีความกว้าง 3 นิ้ว ยาว 4 นิ้ว และข้อความที่เป็นคําเตือนต้องใช้ตัวอักษรทึบขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น ในกรอบสี่เหลี่ยม สีของกรอบและข้อความตัดกับสีพื้นของฉลากแสดงไว้ในลักษณะคงทนที่ผลิตภัณฑ์” ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 จิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,314
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ให้ดอกไม้เพลิงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ให้ดอกไม้เพลิงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก --------------------------------------------- โดยที่ในปัจจุบันพลุ ประทัดไฟ ประทัดลม ดอกไม้เพลิง และวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกันเป็นที่นิยมเล่นในช่วงเทศกาลต่าง ๆ และในทุกปีจะปรากฏข่าวผ่านทางสื่อเกี่ยวกับอุบัติเหตุและอันตรายที่เกิดจากพลุ ประทัด ดอกไม้เพลิง บางรายสูญเสียอวัยวะถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเล่นโดยคึกคะนอง การเล่นที่ไม่ถูกวิธี หรือเกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากสินค้าดังกล่าว จึงสมควรกําหนดให้ดอกไม้เพลิงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ดอกไม้เพลิง” หมายความรวมตลอดถึง พลุ ประทัดไฟ ประทัดลม และวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ข้อ ๒ ให้ดอกไม้เพลิงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ดอกไม้เพลิงตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ข้อแนะนําในการใช้ ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้เล่นดอกไม้เพลิงที่มีอายุต่ํากว่า 14 ปี ต้องอยู่ในการกํากับดูแลของผู้ใหญ่ (ข) ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก (ค) ไม่ควรเก็บรักษาไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง (ง) ไม่ควรจุดไฟใหม่ หากจุดชนวนแล้วไม่ติด (จ) ควรเล่นในที่โล่งกว้าง ห่างไกลจากวัตถุไวไฟ (2) คําเตือน ต้องระบุว่า “อันตรายอาจถึงตายหรือพิการหากเล่นไม่ถูกวิธี หรือคึกคะนอง” ทั้งนี้ ข้อความที่เป็นคําเตือนต้องใช้ตัวอักษรเส้นทึบขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น ในกรอบสี่เหลี่ยมสีของกรอบและข้อความตัดกับสีพื้นของฉลาก ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 จิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,315
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2556) เรื่อง ให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ---------------------------------------- โดยที่ในปัจจุบันได้มีการนํารถยนต์ใช้แล้วมาจําหน่ายเป็นจํานวนมากโดยไม่ได้แสดงสาระสําคัญเกี่ยวกับรถยนต์ไว้ในฉลากอย่างครบถ้วน ทําให้ผู้บริโภคไม่ได้รับทราบข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับรถยนต์ใช้แล้วเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อได้อย่างเพียงพอ ซึ่งจะนําไปสู่ปัญหาการหลอกลวงผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขการกําหนดข้อความในฉลากของรถยนต์ใช้แล้วให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รถยนต์ใช้แล้ว” หมายถึง รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ําหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 รวมถึงรถยนต์แท็กซี่ รถแทรกเตอร์ รถใช้งานเกษตร ที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งผ่านการใช้งานมาแล้ว และผู้ประกอบธุรกิจมีไว้เพื่อจําหน่าย ข้อ ๓ ให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๔ ฉลากรถยนต์ใช้แล้วตามข้อ 3 ให้ใช้ข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริงไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญของรถยนต์ใช้แล้วนั้น และต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกํากับภาษาต่างประเทศที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจนและให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ชื่อ ประเภทหรือชนิดของสินค้า ในกรณีที่เป็นสินค้าที่สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย (2) ชื่อและสถานที่ประกอบการของผู้ขาย (3) ขนาดหรือน้ําหนัก (4) สมุดคู่มือการบํารุงรักษารถ (ถ้ามี) (5) รุ่นปี (6) ราคา โดยระบุหน่วยเป็นบาท (7) วันจดทะเบียน (8) เลขทะเบียน (9) เลขตัวรถ (10) เลขเครื่องยนต์ (11) ยี่ห้อรถ (12) ยี่ห้อเครื่องยนต์ (13) สี (14) ชนิดเชื้อเพลิง (15) ลําดับของเจ้าของรถ ชื่อและชื่อสกุล (16) ภาระผูกพันของรถยนต์ที่มีอยู่ในวันจําหน่าย (ถ้ามี) (17) ข้อมูลการประสบภัย เช่น ถูกชน ถูกน้ําท่วม (ถ้ามี) (18) กรณีที่ถูกน้ําท่วมให้ระบุระดับของน้ําที่ท่วมตัวรถยนต์ เช่น ระดับพื้นรถยนต์ ระดับเบาะรถยนต์ ระดับเรือนไมล์แผงนวมหน้าปัด ท่วมทั้งคัน (19) ระยะทางการใช้งาน หรือชั่วโมงในการทํางานของรถ ข้อ ๕ ข้อความใน (7) (8) (9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) (18) และ (19) ให้ระบุข้อมูลด้วยตัวอักษรขนาดไม่ต่ํากว่าหนึ่งเซนติเมตร ข้อ ๖ ข้อความใน (7) (8) (9) (10) (11) (12) (13) (14) (15) (16) (17) (18) และ (19) ให้เป็นไปตามที่ปรากฏในรายการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ตั้งแต่วันจดทะเบียนจนถึงวันที่จําหน่าย ข้อ ๗ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556 จิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก อื่นๆ - ปริยานุช/ผู้จัดทํา 17 กรกฎาคม 2556 โชติกานต์/ผู้ตรวจ 3 สิงหาคม 2556
4,316
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ให้ภาชนะและเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิมสำหรับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2555) เรื่อง ให้ภาชนะและเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิมสําหรับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ------------------------------------------------------------ โดยที่ปัจจุบันภาชนะและเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิมสําหรับอาหารเป็นสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อการใช้งาน ไม่เกิดสนิม และมีอายุการใช้งานยาวนาน แต่จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่วางจําหน่ายพบว่า ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีชั้นคุณภาพแตกต่างกัน ผลิตภัณฑ์บางชนิดเมื่อนํามาใช้งานในสภาวะปกติทั่วไปจะเกิดสนิม ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าดังกล่าว จึงสมควรกําหนดให้ภาชนะและเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิมสําหรับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ภาชนะและเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิมสําหรับอาหาร” หมายความว่า ภาชนะหรือเครื่องใช้สําเร็จรูปที่ทําด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม เพื่อใช้สําหรับปรุง บรรจุ สัมผัส ประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งที่ใช้กับความร้อนหรือไม่ใช้กับความร้อนก็ได้ เช่น หม้อ จาน กระทะ ช้อน ส้อม มีด ถ้วยน้ํา ข้อ ๒ ให้ภาชนะและเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิมสําหรับอาหารเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ชนิดของเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 1378 หรือมาตรฐานสากล เช่น SST304 SST430 สําหรับกรณีเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้เป็นวัตถุดิบไม่อยู่ในข้อกําหนดมาตรฐานดังกล่าว ให้ระบุชนิดและร้อยละของส่วนผสมหลักขั้นต่ํา ได้แก่ โครเมียม และนิกเกิล โดยไม่ใช้ตัวย่อและสัญลักษณ์ (2) ข้อแนะนําในการใช้ อย่างน้อยต้องระบุ ดังต่อไปนี้ (ก) ไม่ควรแช่หรือสัมผัสกรดหรือเกลือหรือด่างเข้มข้น เช่น น้ําปลา น้ํามะนาว น้ําส้มสายชู สําหรับชนิดของเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้เป็นวัตถุดิบไม่อยู่ในข้อกําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานสากล (ข) ไม่ควรใช้ฝอยเหล็กขัดทําความสะอาด (ค) ควรใช้ฟองน้ําในการทําความสะอาดและเช็ดให้แห้งทันทีหลังใช้งาน (3) คําเตือน อย่างน้อยต้องระบุว่า “ห้ามใช้กับเตาไมโครเวฟ” ทั้งนี้ ข้อความที่เป็นคําเตือนต้องใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น และสีของข้อความจะต้องตัดกับสีพื้นด้วย ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555 จิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,317
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553 ------------------------------------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 86 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบด้วยมาตรา 33 มาตรา 41 มาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “เชือก” หมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นทําด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติเหนียวที่ไม่ใช่เส้นลวดหรือโซ่ เช่น ด้าย ป่าน หรือปอ ที่นํามาสาน ถัก มัดฟั่น หรือมัดตีเกลียว และให้หมายความรวมถึงสลิง ใยสังเคราะห์ เช่น สลิงอ่อน สลิงผ้าใบ หรือสลิงไนล่อน “ลวดสลิง” หมายถึง เชือกที่ทําด้วยเส้นลวดหลายเส้นที่ตีเกลียวหรือพันรอบแกนชั้นเดียวหรือหลายชั้น “รอก” หมายถึง อุปกรณ์ผ่อนแรงมีลักษณะคล้ายล้อเพื่ออํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ โดยร้อยไว้กับเชือก โซ่ หรือลวดสลิง หมวด ๑ บททั่วไป --------------------------------- ข้อ ๔ ให้นายจ้างใช้เชือก ลวดสลิง และรอก ให้เป็นไปตามคุณลักษณะและข้อกําหนดของการใช้งาน ที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกําหนด ข้อ ๕ ให้นายจ้างตรวจสอบเชือก ลวดสลิง รอก และอุปกรณ์ประกอบเบื้องต้นให้อยู่ในสภาพปลอดภัย พร้อมใช้งาน และตรวจตามรายการตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกําหนด ข้อ ๖ ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยในรัศมีการทํางานที่อาจได้รับอันตรายจากการใช้เชือก ลวดสลิง รอก เนื่องจากการตกหล่น ดีด หรือกระเด็น และจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายดังกล่าว ติดไว้ให้เห็นชัดเจน ณ บริเวณนั้น ข้อ ๗ ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยในรัศมีการทํางานที่อาจได้รับอันตรายจากการใช้เชือก ลวดสลิง รอก เนื่องจากการตกหล่น ดีด หรือกระเด็น และจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายดังกล่าว ติดไว้ให้เห็นชัดเจน ณ บริเวณนั้น ข้อ ๘ ให้นายจ้างควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดใช้เชือก ลวดสลิง หรือรอกในการห้อย โหน เกาะ ขึ้นลงหรือเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ข้อ ๙ ให้นายจ้างจัดให้มีการเก็บและบํารุงรักษาเชือก ลวดสลิง รอก ตามข้อกําหนดชนิด ประเภท วัตถุประสงค์ รายละเอียด และระยะเวลาที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกําหนด หมวด ๒ เชือก ------------------------------------ ข้อ ๑๐ ให้นายจ้างใช้เชือกที่มีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5 ขณะใช้งาน และต้องควบคุมตรวจสอบมิให้นําเชือกผุเปื่อย ยุ่ย ชํารุด สกปรก หรือพอง อันอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยมาใช้งาน นายจ้างต้องควบคุมตรวจสอบเพิ่มเติมมิให้นําสลิงใยสังเคราะห์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ มาใช้งาน (1) มีรอยเย็บปริ หรือขาด (2) มีเศษโลหะหรือสิ่งอื่นใดฝังตัวอยู่ในเส้นใย หรือเกาะที่ผิว (3) มีรอยเนื่องจากความร้อนหรือสารเคมี ข้อ ๑๑ ให้นายจ้างควบคุมดูแลการใช้เชือกสําหรับการยก ดึง ลาก ผูก มัด หรือยึดโยงมิให้ ถู ลาก กับพื้นดินหรือพื้นผิวขรุขระหรือในขณะใช้งาน ข้อ ๑๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการทําความสะอาดเชือกหลังจากใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว และเก็บรักษาไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ให้ถูกความชื้น ความร้อน หรือสารเคมี หมวด ๓ ลวดสลิง -------------------------------------- ข้อ ๑๓ ห้ามมิให้นายจ้างนําลวดสลิงที่มีลักษณะดังต่อไปนี้มาใช้งาน (1) ถูกกัดกร่อนชํารุด หรือเป็นสนิมจนเห็นได้ชัดเจน (2) มีร่องรอยเนื่องจากถูกความร้อนทําลาย (3) ขมวด (Kink) หรือแตกเกลียว (Bird Caging) (4) เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเกินร้อยละห้าของเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม (5) เส้นลวดในหนึ่งช่วงเกลียว (Lay) ขาดตั้งแต่สามเส้นขึ้นไปในเกลียว (Strand) เดียวกันหรือขาดตั้งแต่หกเส้นขึ้นไปในหลายเกลียว (Strands) รวมกัน ข้อ ๑๔ ลวดสลิงที่นายจ้างนํามาใช้สําหรับการผูก มัด หรือยึดโยงวัสดุ สิ่งอื่นใดต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5 กรณีใช้ลวดสลิงสําหรับยึดโยงส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องจักร หรือปั้นจั่น ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5 กรณีใช้ลวดสลิงสําหรับเป็นลวดสลิงวิ่ง ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 6 ข้อ ๑๕ กรณีนายจ้างใช้ลวดสลิงสําหรับการผูก มัด หรือยึดโยงวัสดุ และมีการใช้คลิปตัวยูเป็นตัวยึด ต้องจัดให้มีคลิปอย่างน้อยสามอัน โดยให้ด้านท้องของคลิปกดอยู่กับปลายลวดสลิงด้านที่รับแรง ข้อ ๑๖ ให้นายจ้างจัดให้มีการควบคุมดูแลให้มีลวดสลิงเหลืออยู่ในม้วนลวดสลิงไม่น้อยกว่าสองรอบในขณะทํางาน หมวด ๔ รอก ---------------------------------------- ข้อ ๑๗ ห้ามมิให้นํารอก มาใช้งานผิดประเภท เช่น ห้ามนํารอกที่ใช้กับเชือกมาใช้กับลวดสลิง ข้อ ๑๘ นายจ้างต้องใช้รอกที่ผลิตด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน เมื่อนํารอกมาใช้งาน รอกต้องไม่แตกบิ่น สึกหรอ หรือชํารุด ข้อ ๑๙ ให้นายจ้างปฏิบัติเมื่อมีการนํารอกมาใช้งานดังนี้ (1) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ครอบรอก รอกช่วย เพื่อมิให้เชือก ลวดสลิง หลุดจากร่องรอก (2) กําหนดมาตรการสําหรับผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเขตที่มีการใช้รอกเหนือระดับพื้นทางเดินและห้ามมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณดังกล่าว ข้อ ๒๐ ให้นายจ้างควบคุมตรวจสอบการใช้ชุดรอกที่ใช้แขวนกระเช้านั่งร้าน (Suspended Scaffold) ให้เป็นไปตามคุณลักษณะของชุดรอก หรือตามคู่มือหรือคําแนะนําการใช้งานของผู้ผลิตและต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 อัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
4,318
กฎกระทรวง ว่าด้วยการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๕๒
กฎกระทรวง ว่าด้วยการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๕๒ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๑๗ และมาตรา ๖๕ ทศ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้ “สนธิสัญญา” หมายความว่า สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร ทําขึ้น ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓ “ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับตามสนธิสัญญา “คําขอระหว่างประเทศ” หมายความว่า คําขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ที่ยื่นตามสนธิสัญญา “ผู้ขอ” หมายความว่า ผู้ยื่นคําขอระหว่างประเทศ “วันยื่นคําขอครั้งแรก” หมายความว่า (๑) วันยื่นคําขอระหว่างประเทศ หรือ (๒) วันยื่นคําขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ที่ผู้ขอได้ยื่นไว้ครั้งแรกก่อนการยื่นคําขอระหว่างประเทศในกรณีที่มีการขอถือสิทธิตามข้อ ๑๖ “สํานักระหว่างประเทศ”หมายความว่า สํานักระหว่างประเทศขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก “องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ”หมายความว่า สํานักงานสิทธิบัตรของประเทศสมาชิก หรือองค์การระหว่างประเทศ ที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมสมัชชาของสนธิสัญญาให้มีอํานาจดําเนินการตรวจค้นและรายงานความเห็นเกี่ยวกับงานที่ปรากฏอยู่แล้วที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ตามคําขอระหว่างประเทศ “องค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ” หมายความว่า สํานักงานสิทธิบัตรของประเทศสมาชิก หรือองค์การระหว่างประเทศ ที่ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมสมัชชาของสนธิสัญญาให้มีอํานาจดําเนินการพิจารณาและจัดทําความเห็นเบื้องต้นว่าการประดิษฐ์ที่ปรากฏตามข้อถือสิทธิของคําขอระหว่างประเทศเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ข้อ ๓ กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับแก่การขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ตามสนธิสัญญา ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญา เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ หมวด ๑ การยื่นคําขอระหว่างประเทศเพื่อขอรับความคุ้มครอง การประดิษฐ์ในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญา ข้อ ๔ บุคคลผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลําเนาในประเทศไทยอาจยื่นคําขอระหว่างประเทศต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา บุคคลผู้มีภูมิลําเนาในประเทศไทยให้หมายความรวมถึงบุคคลที่อยู่ในระหว่างการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมอย่างแท้จริงและจริงจังในประเทศไทย และนิติบุคคลที่มีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทยด้วย ในกรณีที่บุคคลผู้มีสัญชาติหรือมีภูมิลําเนาในประเทศภาคีอื่นแห่งสนธิสัญญายื่นคําขอระหว่างประเทศต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ผู้ขอชําระค่าดําเนินการในอัตราเท่ากับค่าดําเนินการเพื่อจัดส่งคําขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๐ และให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาส่งคําขอระหว่างประเทศนั้นไปยังสํานักระหว่างประเทศเพื่อดําเนินการต่อไป ในกรณีที่เป็นคําขอระหว่างประเทศของผู้ขอหลายคน ผู้ขออย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นบุคคลตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ขอประสงค์จะมอบอํานาจให้ผู้อื่นกระทําการแทน ให้มอบอํานาจแก่ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นผู้กระทําการแทน การมอบอํานาจให้แก่ตัวแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอยื่นหนังสือมอบอํานาจตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด ประกอบคําขอระหว่างประเทศ หรือในกรณีที่ผู้ขอเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคําขอระหว่างประเทศ ผู้ขออาจแต่งตั้งตัวแทนโดยระบุการมอบอํานาจนั้นไว้ในคําขอระหว่างประเทศก็ได้ ข้อ ๖ คําขอระหว่างประเทศ ให้มีรายการดังต่อไปนี้ (๑) คําร้อง (๒) รายละเอียดการประดิษฐ์ (๓) ข้อถือสิทธิ (๔) รูปเขียน (ถ้ามี) และ (๕) บทสรุปการประดิษฐ์ รายการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบคําขอระหว่างประเทศตามที่อธิบดีประกาศกําหนดตามสนธิสัญญา ข้อ ๗ คําขอระหว่างประเทศจะต้องไม่มีข้อความหรือรูปเขียนที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือดูหมิ่นบุคคลใด ๆ หากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเห็นว่าคําขอระหว่างประเทศปรากฏข้อความหรือรูปเขียนในลักษณะดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอแก้ไขข้อความหรือรูปเขียน พร้อมทั้งแจ้งให้สํานักระหว่างประเทศและองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศทราบด้วย ข้อ ๘ ให้ผู้ขอยื่นคําขอระหว่างประเทศและเอกสารประกอบที่มีรายการและข้อความถูกต้องครบถ้วนเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา จํานวนสามชุด ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาระบุเลขที่คําขอไว้ในคําขอระหว่างประเทศ และประทับข้อความในคําขอระหว่างประเทศแต่ละชุดว่าเป็นคําขอระหว่างประเทศฉบับสํานักระหว่างประเทศ คําขอระหว่างประเทศฉบับองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ หรือคําขอระหว่างประเทศฉบับสํานักงานรับคําขอ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ขอยื่นคําขอระหว่างประเทศและเอกสารประกอบเป็นภาษาไทย ให้ผู้ขอจัดทําคําแปลเป็นภาษาอังกฤษ และยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน นับแต่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับคําขอระหว่างประเทศ ในกรณีที่กรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้รับคําแปลก่อนที่มีหนังสือแจ้งตามข้อ ๑๓ (๑) ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาแจ้งเตือนกําหนดระยะเวลาการจัดทําคําแปลตามวรรคหนึ่งไปพร้อมกับหนังสือแจ้งด้วย ในกรณีที่ผู้ขอไม่อาจยื่นคําแปลภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้ขออาจยื่นคําแปลได้ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่กรมทรัพย์สินทางปัญญามีหนังสือแจ้งตามข้อ ๑๓ (๑) หรือภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับคําขอระหว่างประเทศ แล้วแต่ว่ากําหนดระยะเวลาใดจะสิ้นสุดลงภายหลัง โดยต้องชําระค่ายื่นคําแปลล่าช้าในอัตราร้อยละยี่สิบห้าของค่ายื่นคําขอระหว่างประเทศ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคสาม หากปรากฏว่าผู้ขอไม่ยื่นคําแปลต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ถือว่าผู้ขอถอนคําขอระหว่างประเทศ และให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศการถอนคําขอระหว่างประเทศในที่เปิดเผย ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งแจ้งไปยังสํานักระหว่างประเทศและผู้ขอเพื่อทราบ เว้นแต่ผู้ขอได้ยื่นคําแปลและชําระค่ายื่นคําแปลล่าช้าก่อนการประกาศการถอนคําขอระหว่างประเทศและก่อนครบกําหนดระยะเวลาสิบห้าเดือนนับแต่วันยื่นคําขอครั้งแรก ข้อ ๑๐ ผู้ขอต้องชําระเงินค่ายื่นคําขอระหว่างประเทศ ค่าตรวจค้นระหว่างประเทศ และค่าดําเนินการเพื่อจัดส่งคําขอระหว่างประเทศภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับคําขอระหว่างประเทศ และตามอัตราที่อธิบดีประกาศกําหนด ในกรณีที่ผู้ขอไม่ชําระเงินหรือชําระไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาแจ้งให้ผู้ขอชําระเงินที่ค้างชําระให้ครบถ้วน พร้อมทั้งค่าชําระเงินล่าช้า ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ระบุในหนังสือแจ้ง โดยค่าชําระเงินล่าช้าให้เป็นไปตามอัตราที่อธิบดีประกาศกําหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าค่าดําเนินการเพื่อจัดส่งคําขอระหว่างประเทศและไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่ายื่นคําขอระหว่างประเทศ ในกรณีที่ผู้ขอไม่ชําระเงินหรือชําระไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคสอง ให้ถือว่าผู้ขอถอนคําขอระหว่างประเทศ และให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศการถอนคําขอระหว่างประเทศในที่เปิดเผย ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งแจ้งไปยังสํานักระหว่างประเทศ และผู้ขอเพื่อทราบ ข้อ ๑๑ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาระบุวันที่ที่ได้รับคําขอระหว่างประเทศเป็นวันยื่นคําขอระหว่างประเทศ เมื่อปรากฏว่าในวันที่ได้รับคําขอระหว่างประเทศนั้น ผู้ขอเป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๔ วรรคหนึ่งและวรรคสี่ และคําขอระหว่างประเทศมีลักษณะครบถ้วนตามที่กําหนด ดังต่อไปนี้ (๑) คําขอระหว่างประเทศใช้ภาษาที่กําหนดในข้อ ๘ และ (๒) คําขอระหว่างประเทศมีข้อความและเอกสาร ดังต่อไปนี้ (ก) ข้อความที่ระบุว่าผู้ขอประสงค์จะยื่นเป็นคําขอระหว่างประเทศ (ข) ข้อความที่ระบุว่าผู้ขอประสงค์ที่จะขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ ในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญา (ค) ชื่อผู้ขอ (ง) เอกสารที่เป็นรายละเอียดการประดิษฐ์ และข้อถือสิทธิ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่คําขอระหว่างประเทศมีลักษณะไม่ครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ ๑๑ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอแก้ไขข้อบกพร่องภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่ระบุในหนังสือแจ้ง หากผู้ขอได้แก้ไขข้อบกพร่องถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่งให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาระบุวันที่ที่ได้รับคําขอระหว่างประเทศที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นวันยื่นคําขอระหว่างประเทศ ในกรณีที่ผู้ขอมิได้แก้ไขข้อบกพร่องภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาแจ้งให้ผู้ขอทราบพร้อมเหตุผลที่ไม่อาจดําเนินการต่อไปได้ และให้เก็บ คําขอระหว่างประเทศไว้เป็นหลักฐานและแจ้งไปยังสํานักระหว่างประเทศทราบด้วย ข้อ ๑๓ เมื่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาระบุวันยื่นคําขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๑ หรือข้อ ๑๒ แล้ว ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเก็บคําขอระหว่างประเทศฉบับสํานักงานรับคําขอ ไว้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และดําเนินการดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือแจ้งเลขที่คําขอและวันยื่นคําขอระหว่างประเทศให้ผู้ขอทราบโดยเร็ว (๒) ส่งคําขอระหว่างประเทศฉบับสํานักระหว่างประเทศและสําเนาหนังสือแจ้งตาม (๑) ไปยังสํานักระหว่างประเทศก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสิบสามเดือนนับแต่วันยื่นคําขอครั้งแรก (๓) ส่งคําขอระหว่างประเทศฉบับองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศไปยังองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสิบสามเดือนนับแต่วันยื่นคําขอครั้งแรก เมื่อผู้ขอได้ชําระเงินค่าตรวจค้นระหว่างประเทศครบถ้วนและส่งคําแปลตามข้อ ๙ แล้ว (๔) ส่งคําแปลตามข้อ ๙ ไปยังสํานักระหว่างประเทศโดยเร็ว (๕) ส่งเงินค่ายื่นคําขอระหว่างประเทศไปยังสํานักระหว่างประเทศ และค่าตรวจค้นระหว่างประเทศไปยังองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ ข้อ ๑๔ เมื่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาระบุวันยื่นคําขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๑ หรือข้อ ๑๒ แล้ว หากพบข้อบกพร่องของคําขอระหว่างประเทศ ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่พบว่าคําขอระหว่างประเทศไม่ปรากฏลายมือชื่อของผู้ขอ ที่อยู่ สัญชาติ หรือภูมิลําเนาของผู้ขอ หรือไม่ปรากฏชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ หรือไม่ปรากฏบทสรุปการประดิษฐ์ หรือไม่เป็นไปตามรูปแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอแก้ไขข้อบกพร่องภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่ระบุในหนังสือแจ้ง หากผู้ขอได้แก้ไขข้อบกพร่องถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดตาม (๑) วรรคหนึ่ง ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาส่งเอกสารการแก้ไขไปยังสํานักระหว่างประเทศ และองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ หากผู้ขอมิได้แก้ไขข้อบกพร่องให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กําหนดตาม (๑) วรรคหนึ่ง และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเห็นสมควรขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไป ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาแจ้งกําหนดระยะเวลาที่ขยายออกไปให้ผู้ขอดําเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง เมื่อครบกําหนดระยะเวลาที่ให้แก้ไขข้อบกพร่องแล้ว หากผู้ขอมิได้แก้ไขข้อบกพร่องให้ถูกต้องครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ขอถอนคําขอระหว่างประเทศ และให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศการถอนคําขอระหว่างประเทศในที่เปิดเผย ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งแจ้งไปยังสํานัก ระหว่างประเทศและผู้ขอเพื่อทราบ (๒) ในกรณีที่พบว่าคําขอระหว่างประเทศมีลักษณะไม่ครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ ๑๑ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีหนังสือแจ้งผู้ขอพร้อมด้วยเหตุผล ภายในระยะเวลาสี่เดือนนับแต่วันที่ระบุว่าเป็นวันยื่นคําขอระหว่างประเทศว่าจะดําเนินการถอนคําขอระหว่างประเทศ ให้ผู้ขอมีสิทธิยื่นคําโต้แย้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตาม (๒) วรรคหนึ่ง หากผู้ขอมิได้ยื่นคําโต้แย้งภายในระยะเวลาที่กําหนด หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่เห็นด้วยกับคําโต้แย้งนั้น ให้ถือว่าผู้ขอถอนคําขอระหว่างประเทศ และให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศการถอนคําขอระหว่างประเทศในที่เปิดเผย ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ข้อ ๑๕ เมื่อผู้ขอได้รับหนังสือแจ้งจากสํานักระหว่างประเทศว่าสํานักระหว่างประเทศยังไม่ได้รับคําขอระหว่างประเทศฉบับสํานักระหว่างประเทศ ผู้ขออาจขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญารับรองความถูกต้องของสําเนาคําขอระหว่างประเทศได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้ผู้ขอจัดส่งสําเนาคําขอระหว่างประเทศดังกล่าวไปยังสํานักระหว่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาอาจปฏิเสธการขอให้รับรองความถูกต้องของสําเนาคําขอระหว่างประเทศได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) สําเนาคําขอระหว่างประเทศที่ผู้ขอส่งให้รับรองไม่เหมือนกับคําขอระหว่างประเทศที่ได้ยื่นไว้ หรือ (๒) กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ส่งคําขอระหว่างประเทศฉบับสํานักระหว่างประเทศไปยังสํานักระหว่างประเทศ และสํานักระหว่างประเทศได้แจ้งให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบว่าได้รับคําขอระหว่างประเทศฉบับสํานักระหว่างประเทศแล้ว ในกรณีที่สํานักระหว่างประเทศไม่ได้รับคําขอระหว่างประเทศหรือสําเนาคําขอระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่สํานักระหว่างประเทศมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอทราบว่ายังไม่ได้รับคําขอระหว่างประเทศฉบับสํานักระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ขอถอนคําขอระหว่างประเทศ ข้อ ๑๖ ผู้ขออาจขอถือสิทธิการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์เริ่มตั้งแต่วันยื่นคําขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ที่ผู้ขอได้ยื่นไว้ครั้งแรกก่อนการยื่นคําขอระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาได้ หากผู้ขอได้ยื่นคําขอระหว่างประเทศสําหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันภายในสิบสองเดือนนับแต่วันที่ได้ยื่นคําขอนั้นเป็นครั้งแรก การขอถือสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอระบุการขอถือสิทธิไว้ในคําขอระหว่างประเทศ และยื่นสําเนาคําขอครั้งแรกที่ได้ยื่นไว้ พร้อมคํารับรองความถูกต้องจากสํานักงานสิทธิบัตรของประเทศที่ได้ยื่นคําขอไว้ครั้งแรกนั้นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสํานักระหว่างประเทศ ภายในระยะเวลาสิบหกเดือนนับแต่วันยื่นคําขอครั้งแรก ในกรณีที่ผู้ขอได้ยื่นคําขอครั้งแรกไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ขออาจทําคําร้องยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้จัดส่งสําเนาคําขอที่ได้ยื่นไว้ครั้งแรกในประเทศไทยพร้อมคํารับรองความถูกต้องไปยังสํานักระหว่างประเทศแทนผู้ขอ ภายในระยะเวลาสิบหกเดือนนับแต่วันยื่นคําขอครั้งแรก โดยผู้ขอเป็นผู้ชําระค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสารนั้น ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้ขอไม่อาจยื่นคําขอระหว่างประเทศภายในระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันยื่นคําขอครั้งแรก หากผู้ขอประสงค์จะขอถือสิทธิตามข้อ ๑๖ ผู้ขออาจยื่นคําร้องเพื่อขอฟื้นสิทธิการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์เริ่มตั้งแต่วันยื่นคําขอครั้งแรกต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันครบกําหนดระยะเวลาการขอถือสิทธิตามข้อ ๑๖ วรรคหนึ่ง พร้อมทั้งแจ้งเหตุผลและหลักฐานที่แสดงว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว หากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเห็นว่าผู้ขอได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้วแต่ไม่สามารถดําเนินการได้ตามที่กําหนด ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดําเนินการตามคําร้องต่อไปได้ ข้อ ๑๘ ผู้ขออาจถอนคําขอระหว่างประเทศในเวลาใดก็ได้ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบเดือนนับแต่วันยื่นคําขอครั้งแรก ต่อองค์กรดังต่อไปนี้ (๑) กรมทรัพย์สินทางปัญญา (๒) สํานักระหว่างประเทศ หรือ (๓) องค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ ในกรณีที่ผู้ขอประสงค์จะให้มี การตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ การขอถอนคําขอระหว่างประเทศให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดตามสนธิสัญญา และให้มีผลเมื่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสํานักระหว่างประเทศ หรือองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศได้รับแจ้งการขอถอนคําขอระหว่างประเทศ ในกรณีที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับแจ้งการขอถอนคําขอระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งการขอถอนดังกล่าวไปยังสํานักระหว่างประเทศโดยเร็ว และในกรณีที่ได้ส่งคําขอระหว่างประเทศฉบับองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศไปยังองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศตามข้อ ๑๓ แล้ว ให้แจ้งการขอถอนไปยังองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศด้วย ข้อ ๑๙ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาคืนเงินค่ายื่นคําขอระหว่างประเทศหรือค่าตรวจค้นระหว่างประเทศแก่ผู้ขอ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่ไม่มีการดําเนินการกับคําขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๒ วรรคสาม (๒) กรณีที่มีการถอนคําขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๐ วรรคสาม ข้อ ๑๔ (๑) วรรคสี่ ข้อ ๑๔ (๒) วรรคสอง และข้อ ๑๕ วรรคสาม หรือกรณีที่ผู้ขอถอนคําขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๘ ก่อนส่งคําขอระหว่างประเทศฉบับสํานักระหว่างประเทศไปยังสํานักระหว่างประเทศ หรือก่อนส่งคําขอระหว่างประเทศฉบับองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศไปยังองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๐ ในกรณีที่องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศที่สนธิสัญญารับรองมีหลายแห่งให้อธิบดีประกาศรายชื่อองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะให้ดําเนินการตรวจค้นคําขอระหว่างประเทศของผู้ขอที่ยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา และแจ้งให้สํานักระหว่างประเทศทราบ ในกรณีที่อธิบดีประกาศรายชื่อองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศมากกว่าหนึ่งองค์กรให้ผู้ขอระบุองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศที่ประสงค์จะให้ดําเนินการตรวจค้นคําขอระหว่างประเทศไว้ในคําขอระหว่างประเทศ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่องค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศที่สนธิสัญญารับรองมีหลายแห่ง ให้อธิบดีประกาศรายชื่อองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะให้ดําเนินการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศเกี่ยวกับการประดิษฐ์ตามคําขอระหว่างประเทศของผู้ขอที่ยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา และแจ้งให้สํานักระหว่างประเทศทราบ ในกรณีที่ผู้ขอประสงค์จะให้องค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศองค์กรใดที่อธิบดีประกาศรายชื่อเป็นองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศเกี่ยวกับการประดิษฐ์ตามคําขอระหว่างประเทศของตน ให้ยื่นคําร้องขอไปยังองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศนั้นโดยตรง หรือยื่นผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อส่งต่อไปยังองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ และให้ผู้ขอชําระค่าตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศต่อองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศโดยตรง หมวด ๒ การดําเนินการกับคําขอระหว่างประเทศ ที่ขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทย ข้อ ๒๒ ผู้ขอซึ่งได้ยื่นคําขอระหว่างประเทศในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญาไว้แล้ว หากประสงค์จะขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทย ให้แจ้งความประสงค์มายัง กรมทรัพย์สินทางปัญญาตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด พร้อมทั้งส่งคําแปลเป็นภาษาไทยและชําระค่าธรรมเนียมคําขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรตามอัตราที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ ภายในระยะเวลาสามสิบเดือนนับแต่วันยื่นคําขอครั้งแรก ในกรณีที่ผู้ขอมิได้ดําเนินการภายในระยะเวลาที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าคําขอระหว่างประเทศนั้นสิ้นผลในประเทศไทย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ขอไม่อาจดําเนินการภายในระยะเวลาสามสิบเดือนตามข้อ ๒๒ วรรคหนึ่ง ผู้ขออาจยื่นคําร้องเพื่อขอฟื้นสิทธิให้คําขอระหว่างประเทศยังคงมีผลในประเทศไทย ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่เหตุที่ทําให้ไม่สามารถดําเนินการภายในระยะเวลาที่กําหนดได้สิ้นสุดลง หรือภายในระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันครบกําหนดระยะเวลาตามข้อ ๒๒ วรรคหนึ่ง แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสิ้นสุดลงก่อน โดยแสดงเหตุผลและหลักฐาน พร้อมทั้งดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ ๒๒ เมื่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาคําร้องตามวรรคหนึ่งแล้ว เห็นว่าผู้ขอได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่สามารถดําเนินการได้ตามระยะเวลาที่กําหนด ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดําเนินการกับคําขอระหว่างประเทศตามขั้นตอนที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ต่อไป และแจ้งให้ผู้ขอทราบด้วย ข้อ ๒๔ ผู้ขอซึ่งได้ยื่นคําขอระหว่างประเทศไว้แล้วในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญาและประสงค์ที่จะขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทย อาจร้องขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาทบทวนผลการพิจารณาคําขอระหว่างประเทศในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่สํานักงานรับคําขอในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญาปฏิเสธที่จะระบุวันยื่นคําขอระหว่างประเทศ หรือ (๒) กรณีที่ถือว่ามีการถอนคําขอระหว่างประเทศ การยื่นคําร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอยื่นคําร้องไปยังสํานักระหว่างประเทศภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่ผู้ขอได้รับแจ้งผลการพิจารณา เพื่อขอให้สํานักระหว่างประเทศจัดส่งคําขอระหว่างประเทศนั้นมายังกรมทรัพย์สินทางปัญญา หากปรากฏแก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาว่า ผลการพิจารณาคําขอระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่ง เกิดจากความผิดพลาดหรือความละเลยของสํานักงานรับคําขอในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญาหรือสํานักระหว่างประเทศ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดําเนินการกับคําขอระหว่างประเทศนั้นตามขั้นตอนที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ต่อไป และให้ถือว่าคําขอระหว่างประเทศดังกล่าวเป็นคําขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ที่ได้ยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ข้อ ๒๕ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดําเนินการกับคําขอระหว่างประเทศที่ขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทยตามข้อ ๒๒ เมื่อครบกําหนดระยะเวลาสามสิบเดือนนับแต่วันยื่นคําขอครั้งแรก เว้นแต่ผู้ขอได้ยื่นคําร้องขอให้ดําเนินการก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว
4,319
ระเบียบกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ว่าด้วยการช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐
**ระเบียบกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว** **ว่าด้วยการช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม** **พ.ศ. ๒๕๖๐** \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยเกิดความต่อเนื่องและสอดคล้องกับภารกิจที่ได้รับโอนมาตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยได้โอนอํานาจหน้าที่ บุคลากร และทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสตรีและครอบครัวจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมาเป็นของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ซึ่งจะทําให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสตรีและครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคมและจําเป็นต้องได้รับการแก้ไขในเบื้องต้นเพื่อป้องกันไม่ให้นําไปสู่ปัญหาสังคมด้านอื่น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ยกเลิกระเบียบกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ว่าด้วยการช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ว่าด้วยการช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐" ข้อ ๓ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ "สตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม" หมายความว่า สตรีหรือครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและประสบปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากสาเหตุหัวหน้าครอบครัวถึงแก่ความตาย ถูกทอดทิ้ง ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้เป็นคนสาสูญ ต้องโทษจําคุกและถูกจําคุก เจ็บป่วยร้ายแรงจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ผู้พ้นโทษที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ผู้ค้าประเวณี ผู้ประสบภัยพิบัติซึ่งไม่อาจคาดหมายได้ ผู้ประสบภาวะยากลําบากในการดํารงชีพ หรือผู้ประสบปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขโดยฉับพลันทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาสังคมด้านอื่นตามมา "ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว" หมายความว่า สถานสงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี หรือสถานสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ซึ่งได้โอนมาสังกัดกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมีเขตพื้นที่รับผิดชอบตามที่กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวประกาศกําหนด "นักสังคมสงเคราะห์" หมายความว่า ข้าราชการที่ดํารงตําแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวให้ปฏิบัติหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ "นักพัฒนาสังคม" หมายความว่า ข้าราชการที่ดํารงตําแหน่งนักพัฒนาสังคม และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวให้ปฏิบัติหน้าที่นักพัฒนาสังคม "อธิบดี " หมายความว่า อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว "กรม " หมายความว่า กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ข้อ ๕ สตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคมหรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวซึ่งประสงค์จะได้รับการช่วยเหลือจากกรม สามารถยื่นคําขอรับการช่วยเหลือได้ตามระเบียบนี้ ข้อ ๖ สถานที่ยื่นคําขอรับการช่วยเหลือ (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอรับการช่วยเหลือได้ที่กรมหรือสถานที่ที่กรมกําหนด (๒) ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นคําขอรับการช่วยเหลือได้ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวหรือสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือสถานที่ที่หน่วยงานดังกล่าวกําหนดในการยื่นคําขอรับการช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบคําขอตามที่กรมกําหนด พร้อมด้วยสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาเอกสารประจําตัวที่ทางราชการออกให้ และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี เช่น ใบมรณบัตร สําเนาใบสําคัญการหย่า สําเนาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลสําเนาหนังสือรับรองจากเรือนจํา ใบรับรองแพทย์ สําเนาหนังสือปล่อยตัวผู้ต้องโทษ สําเนาหนังสือกําหนดพื้นที่ประสบภัยพิบัติ หรือสําเนาหลักฐานการสมัครเข้ารับการฝึกอบรมที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว เป็นต้น ข้อ ๗ วิธีการช่วยเหลือ ให้ดําเนินการตามหลักการสังคมสงเคราะห์ โดยเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาของผู้ยื่นคําขอรับการช่วยเหลือแต่ละราย ทั้งนี้ ให้นักสังคมสงเคราะห์หรือนักพัฒนาสังคมเป็นผู้ดําเนินการศึกษาพิจารณา ตรวจสอบข้อเท็จจริง วินิจฉัยปัญหา และติดตามผลซึ่งในการดําเนินการดังกล่าวอาจเรียกหลักฐานประกอบการพิจารณาตามควรแก่กรณีก่อนเสนอความเห็นเพื่ออนุมัติ ข้อ ๘ การอนุมัติเบิกจ่ายเงินหรือสิ่งของในการช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม ให้เสนอต่ออธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติ ข้อ ๙ การช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคมตามข้อ ๕ ให้ดําเนินการตามจําเป็น ซึ่งอาจให้การช่วยเหลือด้านการเงินหรือสิ่งของเป็นวงเงินในการช่วยเหลือไม่เกินครั้งละสามพันบาทต่อครอบครัว และช่วยติดต่อกันไม่เกินสามครั้งต่อครอบครัวต่อปีงบประมาณ ในกรณีมีความจําเป็นจะต้องให้การช่วยเหลือเกินกว่าที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง เนื่องจากสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นและจะต้องได้รับการแก้ไขโดยฉับพลันทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาสังคมด้านอื่นตามมา ให้อยู่ในดุลพินิจของอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ข้อ ๑๐ ในการช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคมตามข้อ ๙ อาจให้การช่วยเหลือตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้การช่วยเหลือเป็นค่าเครื่องอุปโภคบริโภคและหรือค่าใช้จ่ายในการครองชีพตามความจําเป็น (๒) ให้การช่วยเหลือเป็นค่ารักษาพยาบาล เช่น ค่ายา ค่าอุปกรณ์การรักษา ค่าอาหารตามที่สถานพยาบาลของทางราชการสั่ง รวมถึงค่าพาหนะ และค่าอาหารระหว่างติดต่อรักษาพยาบาลเท่าที่จําเป็น เว้นแต่ในกรณีได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น (๓) ค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเท่าที่จําเป็น (๔) ให้การช่วยเหลือเป็นเงินทุนประกอบอาชีพ รวมถึงการรวมกลุ่มอาชีพ (๕) กรณีอื่น ๆ เท่าที่จําเป็นตามที่อธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอนุมัติเป็นการเฉพาะรายนอกจากนี้อาจให้การช่วยเหลือโดยให้คําปรึกษา แนะนํา แก้ปัญหากรณีต่าง ๆ ตามหลักวิชาการเช่น การประกอบอาชีพ การติดต่อหางานอาชีพ การคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การดําเนินการกับผู้กระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และการเสริมสร้างหลักประกันของครอบครัว เป็นต้น ข้อ ๑๑ ในการจัดหาสิ่งของเพื่อช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคมตามระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ระเบียบว่าด้วยการพัสดุและระเบียบหรือหลักเกณฑ์ของทางราชการที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ ให้หน่วยงานรายงานการเบิกจ่ายเงินหรือสิ่งของในการช่วยเหลือสตรีหรือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคมตามระเบียบนี้ให้กรมทราบทุกสามเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้สรุปผลการดําเนินงานรายงานให้กรมทราบด้วย
4,320
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ให้ปืนอัดลมเบาที่จำลองเลียนแบบอาวุธปืนจริงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2554) เรื่อง ให้ปืนอัดลมเบาที่จําลองเลียนแบบอาวุธปืนจริงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ----------------------------------------------- โดยที่ปรากฏข้อมูลจากการศึกษาทางสถิติในประเทศไทยว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการใช้ปืนอัดลมในทุกจังหวัด ซึ่งจากการศึกษาในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร 4 แห่ง มีเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ได้รับบาดเจ็บจากปืนอัดลมถึงร้อยละ 0.4 ของผู้บาดเจ็บที่เป็นเด็กทั้งหมดและข้อมูลในระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า เด็กที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทั่วประเทศ มีจํานวนทั้งสิ้น 1,597,500 รายได้รับบาดเจ็บจากการใช้ปืนอัดลมประมาณ 4,892 รายต่อปี ซึ่งอันตรายจากการใช้ปืนอัดลมส่วนใหญ่มักเกิดจากลําแสงเลเซอร์ที่มีการติดตั้งไว้กับตัวปืนอัดลมหรืออาจนํามาติดตั้งในภายหลัง รวมทั้งความแรงและความเร็วของกระสุนปืน โดยลําแสงเลเซอร์จะมีผลต่อผิวหนังและนัยน์ตา ถ้าเข้าตาอาจส่งผลให้ตาบอดได้ ดังนั้น การกําหนดให้ปืนอัดลมเบาที่จําลองเลียนแบบอาวุธปืนจริงต้องแสดงข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญและคําเตือนไว้ในฉลากจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับความปลอดภัย จึงสมควรกําหนดให้ปืนอัดลมเบาที่จําลองเลียนแบบอาวุธปืนจริงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ปืนอัดลมเบาที่จําลองเลียนแบบอาวุธปืนจริง” หมายความว่า สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะที่ทําให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืนใช้สําหรับยิงกระสุนที่ทําจากวัสดุต่าง ๆ เช่น พลาสติก เซรามิก แต่ไม่รวมถึงกระสุนปืน มีกลไกการทํางานโดยใช้กําลังดันของแก๊ส หรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใดอย่างหนึ่ง และจะมีการติดเลเซอร์หรือนําเลเซอร์มาติดตั้งกับตัวปืนภายหลังหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๒ ให้ปืนอัดลมเบาที่จําลองเลียนแบบอาวุธปืนจริงเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ปืนอัดลมเบาที่จําลองเลียนแบบอาวุธปืนจริงที่ไม่อาจติดเลเซอร์ได้ให้ระบุ (ก) ความเร็วของวิถีลูกกระสุน (ข) ความแรงของวิถีลูกกระสุน (2) ปืนอัดลมเบาที่จําลองเลียนแบบอาวุธปืนจริงที่มีการติดเลเซอร์หรืออาจนําเลเซอร์มาติดตั้งภายหลังให้ระบุ (ก) ความเร็วของวิถีลูกกระสุน (ข) ความแรงของวิถีลูกกระสุน (ค) ความยาวคลื่นของแสงเลเซอร์ (ง) กําลังของแสงเลเซอร์ (จ) ข้อห้ามในการใช้ ต้องระบุว่า “ห้ามจ้องแสงเลเซอร์” ข้อความใน (1) และใน (2) ต้องใช้ตัวอักษรขนาดไม่ต่ํากว่า 2 มิลลิเมตร (3) คําเตือน ต้องระบุว่า “การเล็งหรือยิงเข้าหากัน อาจทําให้ตาบอดหรือร่างกายได้รับบาดเจ็บ” ทั้งนี้ ข้อความที่เป็น คําเตือน ต้องใช้ตัวอักษรที่มีขนาดไม่ต่ํากว่า 3 มิลลิเมตร และสีของข้อความจะต้องตัดกับสีพื้นด้วย ข้อความข้อห้ามในการใช้ใน (2) และคําเตือนใน (3) ต้องแสดงไว้ที่ตัวสินค้าในลักษณะคงทนถาวรที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554 นิโรธ เจริญประกอบ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,321
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ให้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2553) เรื่อง ให้ตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ---------------------------------------------- โดยที่ปรากฏว่าในปัจจุบันได้มีการให้บริการตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติแก่ผู้บริโภคเป็นจํานวนมากกระจายอยู่ทั้งกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดโดยเฉพาะชุมชนและที่พักอาศัยแต่จากการตรวจสอบของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่าน้ําจากตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติพบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค ดังนั้น การกําหนดให้ตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติต้องแสดงข้อแนะนําและคําเตือนไว้ในฉลากจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับความปลอดภัย จึงสมควรกําหนดให้ตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์สําหรับติดตั้งกับท่อจ่ายน้ํา เพื่อกรองน้ําให้สะอาด กําจัดสิ่งปนเปื้อนหรือสิ่งไม่พึงประสงค์ในการดื่ม ได้แก่ ความขุ่น สี กลิ่น แบคทีเรียบางชนิด ที่อาจปนเปื้อนในระบบส่งน้ํา ถังพักน้ํา หรือระบบท่อจ่ายน้ํา ซึ่งมีการนําน้ํามากักเก็บไว้และจําหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยผ่านเครื่องอัตโนมัติ ข้อ ๒ ให้ตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ไว้ในฉลากด้วย (1) ข้อแนะนําในการใช้ ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ต้องดูความสะอาดของหัวจ่ายน้ํา (ข) ต้องหลีกเลี่ยงการใช้บริการจากตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติที่มีลักษณะไม่ถูกสุขอนามัย (ค) ต้องใช้ภาชนะที่สะอาดในการบรรจุน้ํา (ง) ต้องหลีกเลี่ยงการดื่มน้ําจากตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติที่มีสีกลิ่นหรือรสผิดปกติ (จ) ไม่ควรนําภาชนะที่เคยบรรจุของเหลวชนิดอื่นมาบรรจุน้ํา (2) ระบุวัน เดือน ปี ที่เปลี่ยนไส้กรอง แต่ละชนิด (3) คําเตือน ต้องระบุว่า “ระวังอันตราย หากไม่ตรวจสอบวัน เดือน ปีที่เปลี่ยนไส้กรองและตรวจสอบคุณภาพน้ํา” ทั้งนี้ ข้อความที่เป็น “คําเตือน” ต้องใช้ตัวอักษรหนาสีแดงขนาดไม่ต่ํากว่า 1 เซนติเมตร บนพื้นสีขาว ข้อความที่เป็นข้อแนะนําใน (1) การระบุข้อมูลใน (2) และคําเตือน ใน (3) ต้องแสดงไว้ที่ด้านหน้าของตู้น้ําดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ ในลักษณะคงทนถาวรที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน ข้อ ๔ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 นิโรธ เจริญประกอบ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,322
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2553 เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ให้ปุ๋ยชีวภาพเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2553 เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ให้ปุ๋ยชีวภาพเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ------------------------------------------------------- เนื่องจากปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ให้มีบทบัญญัติเรื่องการควบคุมปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ไว้โดยเฉพาะแล้ว สมควรยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ให้ปุ๋ยชีวภาพเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก เพื่อให้ปุ๋ยชีวภาพบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยปุ๋ยดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ให้ปุ๋ยชีวภาพเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2546 ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 นิโรธ เจริญประกอบ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,323
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ให้อุปกรณ์เครื่องเล่นสนามเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ให้อุปกรณ์เครื่องเล่นสนามเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก --------------------------------------------------- โดยที่ปัจจุบันปรากฏว่ามีอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามเป็นสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพร่างกาย หรือจิตใจ โดยเฉพาะเด็กและบางรายนําไปสู่การเสียชีวิต อันเนื่องจากการเล่นอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามทั้งในสถานที่สาธารณะ สถานศึกษา และสถานที่ราชการ ดังนั้น การกําหนดฉลากของอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคในอันที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสําคัญเกี่ยวกับสินค้า และข้อความอันจําเป็นของฉลากสินค้าดังกล่าว จึงสมควรกําหนดให้อุปกรณ์เครื่องเล่นสนามเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “อุปกรณ์เครื่องเล่นสนาม” หมายความว่า สิ่งของ โครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ออกแบบและทําขึ้นสําหรับให้เด็กอายุ 2 ปี จนถึง 14 ปีเล่น ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งมีการจัดไว้บริการในสถานที่ราชการและสถานที่เอกชน เช่น สถานศึกษา สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก สนามเด็กเล่น วัด หรือโรงแรม เป็นต้น ข้อ ๒ ให้อุปกรณ์เครื่องเล่นสนามเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ ๓ ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 ให้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 และให้ระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ไว้ในฉลาก (1) ข้อแนะนําในการใช้ ให้แสดงไว้ที่สินค้า โดยมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) อุปกรณ์เครื่องเล่นสนามนี้เหมาะสมกับเด็กอายุ ..... ปี (ข) ควรตรวจสอบสภาพความปลอดภัยของอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามโดยช่างผู้ชํานาญงานอย่างสม่ําเสมอ (ค) ต้องมีผู้ควบคุมดูแลขณะเล่น (ง) ต้องติดตั้งอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น พื้นยางสังเคราะห์ พื้นทราย เป็นต้น (2) อุปกรณ์เครื่องเล่นสนามที่ผลิตโดยออกแบบให้ต้องยึดติดกับพื้นเพื่อความปลอดภัยต้องระบุคําเตือนว่า “หากไม่ได้ทําการยึดติดกับพื้น อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต” ด้วยตัวอักษรสีตัดกับสีพื้นขนาดไม่ต่ํากว่า 5 มิลลิเมตร (3) เอกสารหรือคู่มือการติดตั้ง ต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องเล่นสนาม (ข) ขั้นตอนการติดตั้ง (ค) คําแนะนําการติดตั้งที่มิให้อุปกรณ์เครื่องเล่นสนามโค่นลง และการอื่นที่ควรจัดให้มีเพื่อความปลอดภัยของผู้เล่น (ง) อุปกรณ์เครื่องเล่นสนามนี้เหมาะสมกับเด็กอายุ ..... ปี (จ) การตรวจสภาพอุปกรณ์โดยช่างผู้ชํานาญงาน (ฉ) ข้อแนะนําเพื่อความปลอดภัยในการเล่นและอื่น ๆ เช่น สั่งระงับการเล่นเมื่อชํารุด ข้อมูลการติดต่อผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือผู้จําหน่ายในกรณีชํารุด เป็นต้น ข้อความที่เป็นข้อแนะนําใน (1) และคําเตือนใน (2) ต้องแสดงไว้ที่ตัวสินค้าในลักษณะคงทนถาวร หรือบริเวณใกล้เคียงที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการเล่นและเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 นิโรธ เจริญประกอบ ประธานกรรมการว่าด้วยฉลาก
4,324